The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ประวัติพระอุบาลีคุณูปมาจารย์

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ืทีมงานกรุธรรม, 2022-05-06 22:44:56

ประวัติพระอุบาลีคุณูปมาจารย์

ประวัติพระอุบาลีคุณูปมาจารย์

Keywords: ประวัติพระอุบาลีคุณูปมาจารย์

185

เจา้ คณุ อุบาลีฯ ประชาชนเขาเคยเล่าใหฟ้ ังว่า เขาอยูน่ นู้ เลยพระโขนง
ไปนูน้ เสียคา่ รถเทา่ นนั้ เทา่ น้ี เขาเลา่ ใหฟ้ งั เขามาฟังเทศนเ์ จา้ คณุ
อบุ าลฯี วัดบรมนิวาส เขาอย่ทู างพระโขนงฟากพระโขนง เขาเสยี
ค่ารถเท่านน้ั เท่าน้ ี เขาเลา่ ใหฟ้ ังนะ เขาเปน็ คนมาฟงั เอง
คือทา่ นเจา้ คุณอุบาลีฯ ทา่ นเทศน์อยทู่ ่ีวดั บรมนิวาส เขาอยู่
ฟากพระโขนงยังอุตส่าห์มา เสยี คา่ รถเทา่ น้นั เท่าน ้ี เขาเลา่ ใหฟ้ ัง ฟัง
ท่ีไหนมันก็ไม่จใุ จ วา่ อย่างนั้นนะ มาฟงั เทศนท์ ่านเจ้าคุณอุบาลีฯ แล้ว
แหม ถงึ ใจ ไม่มจี ดื จางอะไรเลย ฟงั เมอ่ื ไรถงึ ใจทกุ คร้งั ๆ เขาอยู่ทาง
ฟากพระโขนง เสยี คา่ รถมาวดั บรมนิวาส เขายอมเสีย เขาไม่เสียดาย
เงินไมม่ ีคุณค่าเทา่ ธรรม เขาพดู น่าฟงั นะ เสียคา่ รถเท่าน้ันเทา่ น ้ี เขา
พดู เอง เขาอยูท่ างพระโขนงแลว้ เสียค่ารถมาฟงั เทศน์วัดบรมนวิ าส
เสยี เทา่ ไรเขากพ็ อใจ เงินไมม่ ีคุณคา่ เทา่ ธรรม นลี่ ะ่ จดุ นี้สำ�คัญมากนะ
เงินไมม่ ีคุณค่าเท่าธรรม ทา่ นเจา้ คุณอุบาลีฯ เทศน์อยูว่ ดั บรมนิวาส
เขามาฟัง เขาบอกว่าอยทู่ างฟากพระโขนงไปนูน้
เทศน์นี่ใหส้ มบูรณ์แบบ สมกับศาสนาของเราเปน็ ศาสนาของ
ศาสดาองค์เอก ใหไ้ ด้ทง้ั ภายนอกภายใน ภายนอกตีกระจายออกทัว่
โลกดินแดน ภายในหมุนเข้าหาอวิชชาตัวกอ่ ภพกอ่ ชาต ิ เทศน์คุย้ เขี่ย
ตลอดทว่ั ถึงทง้ั ภายนอกภายใน นั่นเรยี กวา่ รู้ธรรมเหน็ ธรรม เทศน์
เปน็ ธรรมล้วนๆ แต่เทศนส์ ว่ นมากมนั ก็มักจะเปน็ แกงหมอ้ ใหญ่ ไม่ใช่
แกงหมอ้ เลก็ หม้อจิว๋ คอื แกงหมอ้ เลก็ หมอ้ จวิ๋ น้ันหมนุ เข้าเลย ต้ังแต่
นอกตีเขา้ ไปๆ ถึงเรอื นรังของวัฏวน ไดแ้ ก่ อวชิ ฺชาปจจฺ ยา

186 ประวัติพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)

น่ันผู้รู้จริงเห็นจริงเทศน์ถอดออกมาๆ ดังพระพุทธเจ้าและ
สาวกท้ังหลายท่านเทศน์ ท่านจะดึงออกมาเลย รังแห่งภพแห่งชาติ
อยู่ท่ีไหน ท่านดึงออกมาๆ คือผู้เทศน์เทศน์ด้วยความรู้จริงๆ เห็น
จริงๆ ถอดถอนกิเลสเหล่าน้ีได้จริงๆ คุณค่าของธรรมที่เกิดขึ้นจาก
การถอดถอนกิเลส ทา่ นจะนำ� ออกมาเทศน์ทงั้ หมดเลย น่เี รียกวา่
เทศนถ์ ึงเหตุถงึ ผล ถงึ กิเลสถงึ ธรรม ถึงท้งั กเิ ลสถงึ ท้งั ธรรม
สมัยปัจจุบันน้ีไม่ค่อยม ี มนั กม็ ตี ัง้ แตเ่ ป็นหนอนแทะกระดาษ
เทศนต์ ามคมั ภงคัมภรี ์ ในหวั ใจไม่มธี รรม ธรรมไปอย่ใู นคัมภีร์หมด
ทนี มี้ ันกไ็ ม่มีรสมชี าต ิ ถอดออกจากหัวใจทเี่ ปน็ ธรรมล้วนๆ น้อี อกที่
ตรงไหนหมนุ ตวิ้ ๆๆ อยา่ งน้ันซ ี นีพ่ ูดจรงิ ๆ นะ นอี่ ยากให้มผี ู้ฟงั อย่าง
ทีว่ ่าถึงพริกถงึ ขิง มนั จะออกทนั ทเี ลย กม็ แี ตต่ สี ะเปะสะปะไปตาม
พุ่มไม้อะไรๆ มันไมถ่ งึ ใจ พูดเสยี ใหม้ ันชดั เจน เทศนท์ างภาคปฏบิ ตั ิ
ทางจิตตภาวนารื้อถอนอวิชชาออกจากใจนี้ ธรรมะโลกุตตรธรรม
จนถงึ นพิ พานพุ่งออกทนั ทีเลย

187

รน่ื เรงิ ในธรรมภาวนา
๔ มถิ นุ ายน ๒๕๕๓

จิตใจมนั ร่นื เริงในธรรม รื่นเริงไมม่ จี ดื มจี างนะ ร่ืนเรงิ ในธรรม
และผปู้ ฏิบตั ธิ รรมทงั้ หลายจติ ใจรื่นเรงิ บนั เทงิ กบั ธรรมเหลา่ น้ี แตม่ นั ก็
จวนแลว้ นะน ่ี พูดตรงๆ อย่างน้ลี ่ะเรา คอื มนั จวนแลว้ มา มาแลว้
นะมาเกิดเปน็ หลวงตาบวั แล้ว ไม่นานละ่ หลวงตาบวั ก็จะไปละ่ เข้าใจ
หลวงตาจะจูงไปหมดศาลานไ่ี ปกับหลวงตา ใหห้ ลวงตาไป หลวงตา
จะจูงกันไปหมดทัง้ ศาลา นย่ี ังจะไม่ใหเ้ ราไปอกี หรอื เราบอกว่า
หาไปกอ่ น แซงไปก่อน
(ท่ีหลวงตาพูดเมื่อสักครู่เหมือนที่พระผู้ใหญ่ถามหลวงปู่ม่ัน
วา่ ท่านไปอยู่นีท่ ่านไดฟ้ งั เทศนบ์ ้างหรือเปล่า หลวงปู่มน่ั บอกฟังทกุ วนั
เลย ตอนนหี้ ลวงตาก็เหมอื นกนั ) หลวงปู่มนั่ ท่านอยู่ถ้ำ� สาริกาตอนนัน้
นะ อยบู่ นถ�้ำสาริกา จิตสว่างไสว ไม่มอี ะไรจดื จางเลยในโลกนี้ทา่ น
ว่าอยา่ งนั้น พระทา่ นคดิ ถงึ บญุ ถงึ คณุ คดิ ไปถงึ เจา้ คุณอุบาลีฯ เวลา
นีท้ ่านเจ้าคณุ อุบาลฯี เปน็ อาจารย์ของทา่ นนะ ทา่ นท�ำอะไรอยู่หนา
ก�ำหนดจิตพงุ่ ไปวัดบรมนิวาส ทา่ นเองอยถู่ ำ�้ สาริกา ท่านพจิ ารณา
แล้วจติ มันลงเต็มทแี่ ลว้ มันกระจา่ งหมดเลย ท่านวา่ ในจติ คิดถงึ บุญ
ถึงคณุ ท่านเจ้าคณุ อุบาลฯี เวลาน้ที ่านทำ� อะไรอยหู่ นา ท่านส่งจิตป๊บั
ไป ท้งั ความเคารพ ท้งั ส่งจติ ไปดู

188 ประวัติพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)

ตอนนั้นท่านอยูถ่ ำ้� สาริกา ทา่ นเจา้ คณุ อบุ าลีฯ อยกู่ รงุ เทพฯ
ทา่ นเจา้ คณุ เป็นอาจารย์ของเรา ท่านจะทำ� อะไรนา พจิ ารณาอะไรนา
ท่านก�ำลงั พจิ ารณา อวชิ ชฺ าปจฺจยา สงขฺ ารา สงฺขาราปจฺจยา วิญฺาณํ
แลว้ กเ็ ร่ือย ทบทวนไปมาอยู่ พอไดเ้ วลาทา่ นจดจ�ำเวลาเรียบร้อยแล้ว
ได้เวลาท่านก็ไป ไปวัดบรมนิวาสหาท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ ส่งไปหา
ท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ พอไปก็ไปกราบเรียนถามท่านจริงๆ แต่ไม่ให้
เวลานาน กลัวท่านจะลืมก่อนท่านพิจารณาอะไรๆ อยู่ รีบเร่งมา
พอออกจากถำ้� สาริกาก็ตั้งใจจะมากราบเรยี นเรอ่ื งธรรมของท่านเจา้ คุณ
อุบาลีฯ เอง ให้ท่านไดฟ้ งั จากปากจากคำ� ของผเู้ ป็นลกู ศษิ ยจ์ งรกั ภักดี
คอื หลวงปมู่ น่ั เรา พจิ ารณาอย่างน้ันๆ
เวลามาก็ถามท่านจริงๆ ท่าน โห ต่ืนเต้นจริงๆ ท่านว่า
ตื่นเต้น ต่ืนเต้นในท่านอาจารย์ม่ันเรา..ท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ ท่าน
อาจารย์ม่ันพอจิตท่านรวมแล้วท่านส่งไปดูท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ ท่าน
เอาจรงิ เอาจัง ท่านหนักทางภาวนา แลว้ กไ็ ปหาทา่ น ทา่ นตืน่ เตน้ มาก
ตื่นเต้นกับหลวงปู่ม่ันมากนะ ท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ ท่านต่ืนเต้นมาก
ท่านพิจารณาอย่างนั้นจริงๆ ท่านว่า เวลาเท่าน้ันๆ อาจารย์มั่นไป
เย่ียมทา่ น ทา่ น (เจ้าคุณอบุ าลฯี ) ตนื่ เต้นมากนะ (ทา่ นตบเข่าทา่ น
บอกทา่ นม่นั สำ� คัญอย)ู่ เออ ! ใช ่ ท่านมคี วามรื่นเรงิ ในธรรม ทา่ นตบ
นน่ี ะ พอไดฟ้ ังธรรมหลวงปูม่ ัน่ เลา่ เร่อื งของทา่ นละ่ ให้ท่านฟงั ท่าน
ตน่ื เต้นมาก ตบเลย น่นั ละ่ ความตื่นเต้นในธรรม ถา้ ตื่นเต้นทางโลก
ก็เป็นอกี อยา่ งหนึ่งใช่ไหม ความตืน่ เต้นในธรรมของผู้นั้น เล่าใหฟ้ ัง
น่าฟงั มากนะ (หลวงปมู่ ่นั มาถามเจ้าคุณอบุ าลฯี และตรงตามหลวงปู่
ม่ันท่านจำ� เอาไว้ได ้ วนั เวลาตรง ท่านเจ้าคณุ อบุ าลีฯ ชอบใจ ทา่ นมนั่

189

สำ� คญั อยู่) ท่านชอบใจจนกระท่งั โอๆ้ ท่านยนิ ดกี บั ผ้ทู ำ� เพราะทา่ น
ดำ� เนนิ อย่างนัน้ จรงิ ๆ

หลวงปมู่ หาเขยี นเลา่ เรอื่ งทา่ นเจา้ คณุ อบุ าลฯี เคยอยากสกึ

จากหนงั สอื พระอรยิ เวที (เขยี น ฐติ สโี ล) ฐติ สลี านสุ รณ์

หลวงปู่ไดเ้ คยพดู กับบรรดาลูกศษิ ยว์ ่า การบวชเปน็ ของยาก
ผู้บวชแล้วที่จะไม่อยากสึกเลยน้ันก็หายากอีก บรรดาครูบาอาจารย์
ท่ีท่านมีช่อื เสียงโด่งดังท�ำคุณประโยชน์ให้แก่พระศาสนาเปน็ อันมากนน้ั
ท่านเหล่านั้นก็ล้วนอยากสึกหรือเตรียมตัวสึกมาแล้วทั้งนั้น แต่ท่าน
เหล่าน้ันก็อยู่มาได้ตลอดรอดฝั่งด้วยความอดทนและวิธีการอุบายท่ีจะ
ท�ำให้ตนสึกไม่ได้ อาทิเช่น ท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร ์
สริ ิจนโฺ ท)
ท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ก็อยากสึกมาแล้วเหมือนกัน
ในคราวที่ท่านไปประกาศพระศาสนาท่ีประเทศลาว ซึ่งเรื่องน้ีผู้เขียน
ได้กราบเรียนถามท่านเจ้าคุณพระธรรมโสภณ เจ้าคณะภาค ๘
เจ้าอาวาสวัดสุทธจินดาว่า หลวงปู่เคยเล่าให้ฟังว่า ท่านเจ้าคุณ
อุบาลีคุณูปมาจารย์ก็เคยอยากสึกนั้นเรื่องเป็นอย่างไร ท่านเจ้าคุณ
ธรรมโสภณเล่าว่า เรือ่ งท่านเจ้าคณุ อบุ าลีฯ อยากสึกนัน้ มวี ่า
เจ้าเมืองนครจ�ำปาศักด์ิได้ยินกิตติศัพท์กิตติคุณของพระมหา
จันทรว์ ่า เป็นผเู้ ฉลยี วฉลาดปราดเปรอ่ื งและเปน็ มหาเปรียญดว้ ย ซ่ึง

190 ประวัติพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)

ในสมยั นนั้ มหาเปรยี ญหาทำ� ยายาก ใครไดเ้ ป็นมหาเปรียญนนั้ โอ้โฮ !
ลือกระฉ่อนไปทั่วเลย เมื่อเป็นดังนั้นเจ้าเมืองแห่งนครจ�ำปาศักด์ิจึง
อยากให้พระมหาจันทร์ไปครองเมืองนครจ�ำปาศักด์ิและแต่งงานกับ
ลูกสาวของตนดว้ ย
เพราะเจ้าเมืองนครจ�ำปาศักดิ์ได้พิจารณาเห็นว่า คนอย่าง
พระมหาจันทร์น้ีอย่างไรก็คงปกครองบ้านเมืองได้ จึงได้ลงทุนนิมนต์
ท่านพระมหาจันทร์ข้ามไปฝั่งลาวเพื่อเทศน์ให้ชาวลาวที่นครจ�ำปาศักด์ิ
ไดฟ้ งั โดยเจา้ เมืองนครจ�ำปาศกั ดนิ์ �ำเรอื มารบั ด้วยตนเอง
เม่อื พระมหาจนั ทรร์ ับนิมนตแ์ ลว้ ทางเจ้าเมืองนครจำ� ปาศกั ดิ์
กก็ ลับไปบอกลูกสาวของตนวา่ ใหแ้ ต่งตัวสวยๆ งามๆ เตรยี มรับพระ
มหาจันทร์ทีจ่ ะไปจากจังหวัดอบุ ลราชธานี ซึง่ ทางลูกสาวเจา้ เมืองแห่ง
นครจำ� ปาศักดก์ิ ็คิดว่า “เอ ! มหานเ่ี ปน็ อย่างไร ท�ำไมพอ่ จึงใหเ้ รา
แต่งตวั สวยๆ งามๆ แตก่ อ่ นแต่ไหนแต่ไรมาไม่เห็นบอกให้แตง่ ตัวสวยๆ
งามๆ เลย มหาจันทร์นี่จะเหมอื นพระที่เคยเห็นทั่วไปหรือเปล่า ท�ำไม
พอ่ จึงใหแ้ ตง่ ตวั ใหด้ เี พอื่ ตอ้ นรบั พระมหาจันทร”์ จงึ ไดแ้ ต่ใจจดใจจอ่
พอถึงเวลาพระมหาจันทร์ก็เข้าไปบิณฑบาตในวังตามท่ีได้รับ
นิมนต์ไว้ ฝ่ายลูกสาวเจ้าเมืองก็ยังไม่กล้าออกมาตักบาตรพระมหา
จันทร์ แต่ใหพ้ ่อแม่ตกั บาตรแทน ส่วนตวั เองก็คอยแอบดูทางป่อง-
เอ้ียม (หน้าต่าง) โดยเปิดแง้มน้อยๆ คอยแอบดูพระมหาจันทร์เข้า
มาบิณฑบาต พอเห็นพระมหาจันทร์เท่าน้ัน ก็อุทานออกมาเบาๆ
“โอย ! คดิ วา่ สจิ ังได๋ซะอกี มันกพ็ ระธรรมทีเ่ คยเห็นทั่วไปน้ีเอง” วัน
ต่อมาจึงกล้าขึ้นกว่าเดิม แต่ยังไม่ลงไปใส่บาตร คราวนี้หลังจาก

191

มหาจันทร์รับบิณฑบาตเสร็จก�ำลังจะเดินกลับวัด ลูกสาวเจ้าเมือง
นครจ�ำปาศักด์ิเปิดหน้าต่างออกหมดพร้อมส่งผญาใส่พระมหาจันทร์
ว่า “โอ้ย ! เจ้าผหู้ งส์คำ� ผ่ายซางบนิ เตอะบินเตินแท้นอ้ ผดั แต่สิบม่ ่มปา๋
(ปลา) ช่อนฮ่องไถน้ันต๋ี” (ท่านพญาหงส์ทองผู้ซึ่งเร่ร่อนไปอย่าง
อสิ รเสรีไม่มเี ยื่อใยในส่ิงใดๆ กห็ ากแตว่ า่ (อยา่ งไรเสีย) คงจะไมพ่ น้
(ข้า) ไปไดด้ อกกระมงั )
ท่านพระมหาจันทร์พอได้ยินเสียงใสๆ ดังมาจากหน้าต่าง
จึงเงยหน้าขึ้นไปแลดูตามเสียงน้ัน ก็พบว่าเป็นหญิงสาว จึงได้ออก
บิณฑบาตต่อไป หลังจากนั้นมาไม่นานฝ่ายหญิงก็กล้าลงมาใส่บาตร
และพูดคยุ กบั พระมหาจนั ทร ์ เพราะพอ่ แมเ่ ปิดไฟเขียวผ่านตลอด ทัง้
แนะนำ� พระมหาจันทร์ใหร้ จู้ ักดว้ ย เมอื่ คนุ้ เคยกันแลว้ กบ็ อกความจรงิ
ให้ทราบโดยไม่ต้องอ้อมค้อม ว่าแต่พระมหาจันทร์จะสึกหรือไม่สึก
เทา่ น้นั เอง ทัง้ พ่อแม่และฝา่ ยหญงิ มีแต่คะย้ันคะยอและเรง่ วนั สกึ ให้ได้
ว่า ก�ำหนดวันหรือยัง ตกลงหรือยัง จนนับวันเป็นเดือนเป็นปีท่ี
ฝ่ายหญิงรอวนั ตดั สนิ ใจของพระมหาจันทร์
สุดทา้ ยท่านจงึ กลา่ ววา่ “เอา้ ! สกึ กส็ ึกนะ แต่ขอเวลาคดิ อีก
สักหน่งึ เดือน จะสกึ ทงั้ ทกี ็ขอให้ออกภาวนาดูก่อนหน่ึงเดอื น แล้วจาก
น้นั คอ่ ยมาว่ากนั อกี ท”ี
แล้วพระมหาจันทร์กอ็ อกไปหาทีส่ �ำหรบั ภาวนา โดยเดนิ เทา้
มุ่งหน้าข้ึนภูเขาเพ่ือไปภาวนา และในระหว่างทางก็ภาวนาไปด้วยว่า
“สึก-ไม่สึก สึก-ไมส่ ึก สกึ -ไม่สกึ ” ไปไดส้ ามวัน พอวันท่สี กี่ ็ตดั สนิ ใจ
วา่ “เอ้า ! สึกก็สึก” แลว้ ตดั สนิ ใจกลับหลงั หนั ทันทใี นขณะน้ัน โดย

192 ประวัติพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)

ตง้ั ใจว่าจะกลบั มาสกึ พอตดั สินใจวา่ สึกเทา่ น้นั เอง ระยะทางท่ีเดินมา
ได้ ๓ วนั ไม่รวู้ ่ากก่ี โิ ลเมตร เดนิ ทางจากจุดที่ตัดสินใจว่าสึกมาถงึ นคร
จ�ำปาศกั ดิใ์ ชเ้ วลาแค่วนั เดยี วโดยไมต่ ้องพักฉนั ข้าวฉันน�ำ้ และไมต่ ้อง
แวะในระหวา่ งทางเลย
พอมาถึงนครจ�ำปาศักดิ์ก็เข้าไปในวังเลยโดยตั้งใจจะไปบอก
ว่าตัดสินใจสึกแน่นอนแล้ว ฝ่ายหญิงพอเห็นพระมหาจันทร์กลับ
มาเรว็ กวา่ ท่ีได้ตกลงกนั ไวก้ ็ดีอกดใี จเปน็ การใหญ ่ เขา้ มานั่งใกล้ๆ พระ
มหาจันทร ์ พร้อมกับพูดวา่ “สึกคกั ๆ สกึ คักๆ” (สึกแน่ๆ สกึ จริงๆ)
โดยทยี่ ังไม่ไดห้ าน้ำ� หาอะไรมาตอ้ นรับเลย ไดแ้ ต่พดู วา่ “สึกคกั ๆ สึก
คักๆ” อยู่อย่างนั้น
ฝ่ายพระมหาจนั ทร์ ซง่ึ เดนิ ทางมาท้งั วนั ก�ำลงั เหน่ือยๆ กเ็ กิด
โมโหขึ้นมาในขณะนัน้ จงึ ตวาดไปด้วยเสยี งอนั ดงั ว่า “เยว่ ! อีเวรน่ีมงึ
พูดอะไรอยไู่ ด้” พร้อมกนั นน้ั ก็คว้ามีดโต้ซึ่งวางอยูข่ า้ งๆ เงอื้ ขึ้นท�ำทา่
ทางจะฟนั ฝา่ ยหญิงสาว ฝ่ายหญิงสาวเม่อื เหน็ ทา่ นท�ำทา่ จรงิ จังขึน้ มา
ดังนน้ั โดยท่ยี งั ไม่ได้คาดคิดมาก่อน จึงตกใจกลัวสุดขดี แล้วลกุ
กระโจนหนีไปอย่างรวดเร็วโดยไม่คิดชีวิต ในขณะน้ันพระมหาจันทร์
เห็นกิริยาของหญิงสาวขณะว่ิงหนีตายสุดชีวิต ก็เห็นว่าไม่เห็นสวย
เห็นงามตรงไหนเลย จึงตดั สนิ ใจในขณะนัน้ วา่ “ไมส่ ึกแลว้ ”
เพราะฉะนั้นผู้ท่ีบวชแล้วและอยู่มาได้ตลอดรอดฝั่งเป็นก�ำลัง
ของพระศาสนา ก็ล้วนแต่เคยอยากสึกมาแล้วท้ังนน้ั ผทู้ บ่ี วชมาแลว้
โดยไม่คดิ อยากสึกเลยนน้ั มนี อ้ ยมาก ถอื ได้ว่าเป็นผ้มู อี ุปนิสัยบญุ บารมี
จริงๆ

193

หลวงปเู่ จย๊ี ะเทศนย์ กภาษติ ทา่ นเจา้ คณุ อบุ าลฯี

(คดั จากเทศนาธรรม หลกั การภาวนา โดย หลวงปเู่ จยี๊ ะ จนุ โฺ ท)

ท่านเจ้าคุณอบุ าลีฯ ทา่ นเคยกลา่ วว่า “พายนะพ่อพาย ตะวนั
จะสาย สายบวั จะเน่า”
ทา่ นเทศน์ของท่าน หลวงตาจำ� มาเล่าให้ฟงั พายนะพ่อพาย
ตะวนั จะสาย สายบัวจะเนา่
สายบวั คอื อะไร คือ กายทม่ี ันจะแก่ จะปว่ ย จะเจบ็ จะตาย
พายๆ ตะวันจะสาย สาย หมายถงึ เวลาเจบ็ ป่วยอย่างนน้ั แลว้ หมด
เวลา เพราะเราไมไ่ ด้ฝกึ หดั ไว้ ถ้าไปบอกภาวนาไม่มโี อกาสที่จะทำ�
ข้าเจ็บขา้ จะตายพุทโธเวลานั้น โอ๊ย ! เอาอะไรก็ไม่ไดแ้ ล้วเปน็ อย่างน้ัน
น๊ะ
พายนะพอ่ พาย รีบพาย พากันเขา้ วดั เขา้ วามาน่งั สมาธิภาวนา
ตะวันจะสาย รา่ งกายมนั เปลย่ี นแปลงยกั ยา้ ย สายบัวจะเน่า นต่ี อน
จะตาย นอนแน่ๆ ใช่ไหม ? ไปไหนไมไ่ ด้ ต้องหยอดขา้ วหยอดน�้ำ
เม่ือได้ท�ำใจฝึกหัดเต็มที่แล้วอย่างนั้นแล้วไม่ต้องเป็นทุกข์
กำ� หนดดูอยกู่ ับเวทนาอย่างนั้นสบายท่ีสุด กำ� หนดใจของเราท่ีมีกำ� ลงั
สติปัญญาบริบูรณ์สมบูรณ์แล้ว มองดูเฉยๆ ไม่ต้องท�ำอันใดทั้งหมด
ตั้งสติจดก�ำหนดดูอย่างน้ันเพลินอยู่ไปเลย ตายเมื่อไหร่ก็ยิ่งดี ไอ้
รา่ งกายเรานที้ รมานมานานแล้วหลายสิบปียินดไี ปเถอะเจา้ ขา้ ใช่ไหม ?
(ตอนน้ีเทศนเ์ สยี งดงั )

194 ประวัติพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)

เรานกั ปฏบิ ตั จิ ดุ มุง่ หมายต้องเปน็ อย่างน ้ี เพราะพระพทุ ธเจ้า
ทรงตรัสคาถาว่า สจิตตฺ ปริโยทปนํ เอตํ พุทธฺ าน สาสน ํ บุคคล
ผชู้ ำ� ระใจของตนใหผ้ อ่ งแผว้ หมดจดผอ่ งใส อยา่ งตำ่� ทำ� ไดช้ ว่ั ครง้ั ชว่ั คราว
อยา่ งกลางไดเ้ ปน็ หลายคนื หลายเดอื นชวั่ ป ี อยา่ งสงู ไดจ้ นกระทง่ั ทำ� ลาย
อาสวะกิเลสของตนให้สิ้นไปน่ังเป็นบรมสุข น่ันแหละเป็นผู้ท่ีเข้าถึง
ธรรมะของพระพุทธเจ้าทไี่ ด้แสดงไวอ้ ย่างนน้ั

วธิ กี ารนวดกำ� โดยทา่ นเจา้ คณุ อบุ าลคี ณุ ปู มาจารย์

(จากประวัตหิ ลวงปู่เจ๊ียะ จนุ ฺโท)

เรา (หลวงปเู่ จ๊ียะ) พยายามปฏบิ ัติท่าน (หลวงป่มู น่ั ) อยู่ ๓
เดือน อาการของท่านดีข้ึนเร่ือยๆ กิจวัตรที่ต้องท�ำถวายท่านเป็น
ประจำ� คอื ในตอนพลบคำ�่ เขา้ ไปถวายการบบี นวด เวลานวดทา่ นให้
เอามือก�ำตามแขนตามขาทา่ น ก�ำยา้ ยไปย้ายมาอยู่อยา่ งน้ัน ทำ� ด้วย
วิธีการอยา่ งนี ้ คืนละหลายๆ ชว่ั โมง
วิธีการนวดก�ำแบบน้ี ท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ เคย
บอกกับท่าน (หลวงปูม่ ั่น) ไวว้ ่า
“พวกพระเณรหนุ่มธาตุไฟมันดี ถ้ามาบีบมาก�ำตามแขน
ตามขาใหค้ นแกๆ่ ไฟธาตมุ นั ช่วยไดม้ าก” ท�ำการบีบกำ� นวดอย่างน้ี
อยู่ ๓ เดอื น อาการทา่ นกฟ็ ื้นจากอาพาธ และในทส่ี ดุ ก็หายเป็นปกติ
เวลาถวายการนวด ตอ้ งเอามอื กำ� เฉยๆ ไม่ใหก้ ด เพราะทา่ นเจ็บ
ทา่ นผอม ทา่ นไมค่ อ่ ยมเี นือ้ หนงั

195

ทา่ นพระอาจารยจ์ วน กลุ เชฏโฺ  นมิ ติ ทา่ นเจา้ คณุ อบุ าลฯี

(จากหนังสอื ประวัตทิ ่านพระอาจารย์จวน กุลเชฏฺโ)

ในระยะหนึ่งได้ออกธุดงค์ไปอยู่ท่ีอุโมงค์ใกล้สนามบินจังหวัด
เชยี งใหม่ เชิงดอยสเุ ทพ ทางดา้ นตะวันตกของสนามบนิ มีเจดียเ์ กา่ ๆ
อยู่องค์หนง่ึ เขาท�ำเป็นอุโมงค์ มีถ�ำ้ เปน็ ชอ่ งๆ ข้าพเจา้ และหมู่เพ่อื น
พากันไปพักวิเวกท่ีน้ัน ตกกลางคืนได้นิมิตอีกปรากฏว่าข้าพเจ้ากับ
ท่านพระอาจารยม์ น่ั ไดพ้ ากันทำ� หีบศพอยู่ทบ่ี นเจดยี ์ และในขณะนนั้
ทา่ นเจ้าคุณอบุ าลีคุณปู มาจารย์ (จนั ทร์ สิริจนฺโท) เจ้าอาวาสวัดบรม-
นวิ าสไดเ้ หาะมากลางอากาศ แลว้ มาหยดุ ยนื ทีต่ รงหนา้ ขา้ พเจ้า แลว้
ท่านกใ็ หโ้ อวาทว่า “ทา่ นจวน อุเปกฺขินทฺ รยิ ”ํ แล้วทา่ นกห็ ายไป
ขา้ พเจ้าไดก้ �ำหนดจิตแปลดูวา่ อเุ ปกฺขินทฺ ริยํ แปลวา่ อะไร ก็
แปลได้ความวา่ ให้วางใจเป็นอุเบกขา เปน็ กลางจากอนิ ทรีย์ทงั้ ๖ คอื
ตา หู จมกู ล้นิ กาย และใจ เมื่อกระทบรปู เสียง กล่นิ รส เครื่องสัมผัส
และธรรมารมณ์ ดีกต็ าม ชว่ั กต็ าม ใหว้ างใจเปน็ อเุ บกขาเปน็ กลางๆ
ด้วยความมีสติและปัญญา อย่าเอาใจให้ฟั่นเฝือหลงใหลลุ่มหลงใน
อารมณท์ ่ีมากระทบ
ข้าพเจ้าก�ำหนดจิตคิดตามนิมิตนั้นว่า พรุ่งนี้อาจมีอันตราย
หรือเหตุการณ์อะไรอย่างหนงึ่ เกดิ ขึน้ เป็นแน่
พอรงุ่ ขน้ึ หลังจากฉันเช้าเสร็จแล้ว หมพู่ วกไดอ้ อกไปเท่ยี ว
ชมดูสถานทีต่ ่างๆ ในเมืองเชียงใหม่ ยงั แต่ตวั ขา้ พเจา้ อยู่คนเดยี วใน

196 ประวัติพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)

ถ�ำ้ นัน้ ในกลางวันก็มพี วกหญงิ สาวๆ สวยๆ ดาราเชยี งใหม่มาเทยี่ ว
บริเวณนั้นได้ยินเสียงคุยกันล่ันว่า แถวนี้มีพระธุดงค์ เรามาค้นหา
ตุ๊เจ้ากันดีกว่า มีหญิงสาวรูปสวยคนหน่ึงแยกจากหมู่มาเท่ียวค้นหา
พระในถ้�ำตามล�ำพัง ค้นไปค้นมาก็มาเห็นข้าพเจ้านั่งภาวนาอยู่ใน
ช่องถ้�ำคนเดียว เวลาน้ันข้าพเจ้าได้ภาวนาอยู่ในกลด แต่หญิงนั้น
กเ็ ขา้ มาแหวกมุ้งกลดออก และรอ้ งเอะอะเสียงล่นั “นี่ต๊เุ จ้าน่ี ตเุ๊ จา้
อยูน่ ี.่ ..ตเุ๊ จ้าอยนู่ ”ี่
หญิงสาวผู้น้ันยืนแหวกกลดเพ่งข้าพเจ้าอย่างไม่เกรงใจและยิ้ม
อยา่ งชวนเชญิ ขา้ พเจ้ามองดู เหน็ หน้าอกของเขาเตม็ อก พอสายตา
ลงตำ่� ลง กม็ องเห็นผา้ นุ่งบางๆ เป็นซ่นิ สเกริ ต์ สัน้ ๆ กเ็ ลยเกิดความ
ก�ำหนัดข้ึน ข้าพเจ้าจึงคิดถึงค�ำเทศน์ของท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมา-
จารย์ “อุเปกขฺ ินทฺ ริยํ” กเ็ ลยพิจารณาอบุ ายนั้นจิตก็คลายความฟุง้ ซา่ น
และสงบลง หญิงคนนัน้ กไ็ ปป่าวร้องเพอ่ื นเข้ามาดูขา้ พเจา้ เจ้าสวย
บ้างเอาของเขา้ มาถวาย ขา้ พเจา้ ให้พรเขาแลว้ เขาก็เลิกละไป
ข้าพเจ้าได้ท�ำความเพียรอยู่ท่ีถ้�ำนั้นพอประมาณแต่ต่อไปความ
สงบก็ลดลง ตอ้ งรบี หนี เพราะกิตตศิ ัพท์แพร่ไป มพี วกหญงิ สาวมา
เลน่ ค้นหาพระกนั มากขึ้นเวลาเสยี งคนมา พระรบี เอามงุ้ กลดลง แต่
บางทกี ็จะมหี ญิงใจกล้าอยา่ งที่กลา่ วแล้ว มาเปิดมงุ้ กลดดูพระสง่ เสยี ง
สรวลเสกนั จงึ ต้องรีบหนี แล้วก็ออกวเิ วกต่อไปตามแถบเชียงใหม่
อำ� เภอสันกำ� แพงบา้ ง อ�ำเภอแมแ่ ตง และแถบจงั หวัดลำ� พนู บา้ ง โดย
พยายามหลกี เร้นไปตามดอย ตามป่า ตามเขาทีส่ งดั หา่ งจากหมู่ชุมชน

197

แอบดทู า่ นเจา้ คณุ อบุ าลฯี นง่ั สมาธกิ บั หลวงปมู่ น่ั

(จากหนังสอื ปริศนาธรรมค�ำสอน หลวงพ่อเกษม สนฺตจติ โฺ ต
วัดเขาสนามแจง จ.ลพบรุ )ี

หลวงพอ่ เกษม สมัยทา่ นยังเปน็ เด็กไดเ้ คยบวชเปน็ สามเณรอยู่
ท่วี ัดบรมนวิ าส ขณะนั้นหลวงพอ่ อายุประมาณ ๑๒–๑๓ ป ี ซึ่งท่าน
เจา้ พระคุณอุบาลคี ุณปู มาจารย์ (จนั ทร์ สริ จิ นฺโท) เปน็ เจา้ อาวาสอยู่
และหลวงพอ่ ได้มโี อกาสอุปฏั ฐากรบั ใชท้ ่านเจ้าคุณอุบาลีฯ โดยทา่ น
เจา้ คณุ อุบาลีฯ ชอบใหส้ ามเณรเปลยี่ นเวรกนั รับใชท้ า่ น หลวงพ่อเลา่
ว่า ท่านไดม้ ีโอกาสถวายการนวดให้แก่ท่านหลายหน หลวงพ่อว่า
ทา่ นเจ้าคุณอุบาลฯี เป็นนกั เทศน์ทม่ี ีชื่อเสียงมากในยุคนน้ั เม่ือท่านจะ
แสดงธรรมคราวใด จะมีผมู้ าฟงั ธรรมกนั เต็มไปหมด
คราวหน่ึงทา่ นพระอาจารยม์ นั่ ภูรทิ ัตโต อาจารย์ใหญ่สาย
พระกรรมฐานได้เดนิ ทางมาพกั เย่ยี มเยยี นท่านเจ้าคุณอบุ าลฯี ซึง่ ท่าน
ทั้งสองสนิทสนมกันย่ิงนัก ท่านอาจารย์ม่ันมักจะอยู่สนทนากับท่าน
เจ้าคณุ อุบาลีฯ อยูใ่ นหอ้ งสองต่อสองกันเปน็ เวลานาน
หลวงพ่อซึ่งขณะน้ันก็ยังคงเป็นสามเณรน้อยอยู่ ยังมีนิสัย
ซุกซนอยากรู้อยากเห็นตามประสาเด็ก ท่านได้คิดว่าท่านอาจารย์
ม่ันกับท่านเจ้าคณุ อุบาลฯี ทำ� อะไรกันอย่นู ะ เขา้ ห้องไปที ทำ� ไมถงึ
นานจงั หลวงพ่อจงึ ได้แอบดตู ามชอ่ งฝาทพ่ี อจะมองเหน็ บา้ งในกฏุ ิได้
ภาพท่ีหลวงพอ่ เกษมไดพ้ บกค็ อื เหน็ ทา่ นพระอาจารยม์ นั่ กบั ทา่ นเจา้ คณุ

198 ประวัติพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)

อุบาลีฯ ทั้งสององค์ก�ำลังนั่งสมาธิ สงบนิ่งอยู่ท้ังสององค์ ภาพที่
หลวงพอ่ เห็นนป้ี ระทับใจ และน่าเกรงขามยง่ิ นัก
หลวงพ่อเล่าว่า ท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ กับ ท่านอาจารย์มั่น
น่ังสมาธสิ งบอยู่เป็นเวลานาน นบั เป็นชัว่ โมงๆ เลยทีเดยี ว โดยท่มี ิได้
เอ่ยวาจาอะไรกันเลย เนื่องจากหลวงพ่อเคยได้มีโอกาสได้รับใช้ท่าน
เจ้าคุณอุบาลีฯ และได้พบเห็นท่านพระอาจารย์ม่ัน แม้จะเป็นช่วง
เวลาเพยี งไม่นานนกั แต่ทา่ นก็ยงั คงนับถือและเคารพบูชาท่านเจ้าคุณ
อบุ าลฯี และท่านอาจารย์มั่นเป็นอยา่ งสูงทีเดยี ว

199



ภาคคตธิ รรมคำ� สอน

200 ประวัติพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)

ทา่ นเจา้ คณุ อบุ าลฯี
ไดร้ บั การยกยอ่ งเปน็ ธรรมกถกึ เอก

การแสดงพระธรรมเทศนาน้นั ทา่ นเจ้าคณุ อบุ าลีคณุ ปู มาจารย์
(จันทร์ สิริจนโฺ ท) นับได้วา่ เป็นนกั เทศนท์ ่จี ะหาผเู้ สมอเหมอื นไดย้ ากยง่ิ
เปน็ ธรรมกถึกเอก
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) ซ่ึงเป็นศิษย์ ได้เล่าว่า
แม้การมรณภาพกม็ สี าเหตุมาจากการเทศน์นั่นเอง
ท่านเจา้ คุณพระธรรมเจดยี ์ (จูม พนธฺ โุ ล) เปน็ พระมหาเถระอกี
รปู หนึ่ง ซึง่ ยกย่องท่านเจ้าคณุ อุบาลีฯ เปน็ ธรรมกถึกเอก โดยกล่าว
ยกย่ององค์หลวงตามหาบัวเทศน์เก่งหาตัวจับยากเปรียบเป็นเจ้าคุณ
อุบาลนี อ้ ย ดงั เทศนาธรรมขององคห์ ลวงตา ดงั น้ี

201

“ท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย ์ ทา่ นยังเคยพูด ผมไม่ลมื นะ เวลาอยู่
สองตอ่ สอง ท่านพดู แล้ว ทา่ นดหู น้าผมดว้ ยนะ ตาทา่ นใสแจ๋ว ดูอยู่
เฉยๆ “บางทนี ะบวั ” ว่างี้เลยนะ ทงั้ ๆ ท่ีอยดู่ ้วยกัน “บวั ” ทา่ นวา่
“เจา้ ข้อยนลี่ ่ะ” ภาษาทางภาคอสี าน ขอ้ ยพูดตามความจริงนะบวั
เจ้าเทศน์น้ีข้อยว่าหาตัวจับยากนะบัว” ท่านยังเคยพูด “ต่อไปนี้
เจ้าจะเป็นเจา้ คณุ อบุ าลีนอ้ ยนะบวั เจา้ เทศน์ แหม ! มันถงึ ใจขอ้ ย
เหลือเกนิ วา่ ไมอ่ ึ๊ ไมอ่ ๊ะ ไหลไปเลย” แต่กอ่ นธาตขุ นั ธ์ผมดนี ่ี เสียงก็
อำ� นวยด้วยแจว๋ ตอ่ จากนนั้ มาทา่ นกว็ า่ แต่ถ้าหากไมม่ ปี ัญหา เทศน์
ข้อยยกให้เจ้านะบัว แตถ่ ้ามีปัญหาแลว้ การตอบปญั หาเจ้าเป็นที่หนง่ึ
มนั ถงึ ใจข้อยเหลอื เกินนะบัว ตอบรวดเรว็ ที่สดุ ปบ๊ั เลย ใส่ป๊ับๆ”
สมเดจ็ พระมหามุนวี งศ์ (สนนั่ จนฺทปชโฺ ชโต) ก็กลา่ วยกย่อง
ความเป็นพระนักเทศน์เอกของทา่ นเจ้าคุณอบุ าลีฯ ไวว้ ่า พระอุบาลี-
คุณปู มาจารย์ (จันทร์ สิรจิ นฺโท) ไดก้ ลา่ วถงึ การเจบ็ ป่วยของทา่ นว่า
“...เราเป็นนักเทศน์มีช่ือเสียง เมื่อขาหักก็หักอยู่บนธรรมาสน์
เพราะขน้ึ เทศน์ จะหานกั เทศน์ทไ่ี หนได้นอกจากเรา...”

202 ประวัติพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)

คตธิ รรมคำ� สอนทา่ นเจา้ คณุ อบุ าลคี ณุ ปู มาจารย์
(จนั ทร์ สริ จิ นโฺ ท  )

นพิ พานดิบ นิพพานสุก จากหนงั สอื คิริมานนทสตู ร

บุคคลทีป่ รารถนาพน้ ทุกข์ไดส้ ุข
หรอื พระนพิ พานควรใหไ้ ดเ้ ม่อื ยงั มชี วี ติ อยู่
ดกู รอานนท ์ บุคคลท้งั หลายปรารถนาอยากพน้ ทกุ ข์ หรอื
ปรารถนาอยากไดส้ ขุ ประเภทใด ก็ควรใหไ้ ดถ้ งึ เสียแตใ่ นชาตินี้ ถา้ ถอื
เอาภายหนา้ เปน็ ประมาณแล้ว ช่อื ว่าเปน็ คนหลงท้ังสน้ิ แม้ความสุข
อยา่ งสงู คือ พระนิพพาน ผ้ปู รารถนากพ็ ึงรีบขวนขวายใหไ้ ดใ้ ห้ถึงเสยี
แต่เมือ่ เปน็ คนมชี วี ิตอยนู่ ้ ี
ดกู รอานนท ์ อนั วา่ ความสุขในพระนิพพานน้นั มี ๒ ประเภท
คอื ดิบ ๑ สุก ๑ ได้ความวา่ เม่ือยงั เป็นคนมชี ีวิตอยู่ไดเ้ สวยสขุ
ในพระนิพพานน้ัน ได้ชื่อว่า พระนิพพานดิบ เมื่อตายไปแล้วได้
เสวยสุขในพระนิพพานน้ัน ได้ชื่อว่า พระนิพพานสุก พระนิพพาน
มี ๒ ประการเท่าน้ี นิพพานโลกยี ์ นิพพานพรหม เป็นนพิ พานหลง
ไม่นบั เข้าไปในทนี่ ้ี
พระนิพพานดิบนั้นเป็นของส�ำคัญ ควรให้รู้ ให้เห็น ให้ได้
ให้ถึงเสียก่อนตาย ถ้าไม่ได้พระนิพพานดิบน้ีแล้ว ตายไปจักได้
พระนิพพานสุกน้นั ไมม่ เี ลย ถา้ ไมร่ ู้ไม่เข้าใจก็ย่งิ ไมม่ ีทางได ้ แต่รู้แล้ว
เห็นแล้ว พยายามจะใหไ้ ด้ ให้ถงึ ก็แสนยากแสนลำ� บากยงิ่ นกั หนา

203

ผู้ใดเห็นว่าพระนิพพานมีอย่างเดียว ตายแล้วจึงจะได้ ผู้นั้นชื่อว่า
คนหลง ส่วนพระนิพพานดิบน้ัน จักจัดเอาความสุขอย่างละเอียด
เหมอื นอย่างพระนพิ พานสกุ นัน้ ไมไ่ ด้ แตก่ ็เป็นความสขุ อันละเอยี ดสขุ มุ
หาสิ่งใดเปรียบมไิ ดอ้ ยแู่ ลว้ แต่หากยังมีกลิน่ รสแหง่ ทกุ ขก์ ระทบถกู ต้อง
อยู่ จึงไม่ละเอียดเหมือนพระนิพพานสุก เพราะพระนิพพานสุก
ไม่มีกล่ินรสแห่งทุกข์จะมากล้�ำกราย ปราศจากสรรพสิ่งทั้งปวง แต่
พระนพิ พานดบิ นั้นต้องให้ได้ไวก้ อ่ นตาย

ท�ำตัวเราใหเ้ หมือนแผ่นดนิ หรือปลอ่ ยวาง
จึงได้ชื่อว่า ถงึ พระนิพพานดบิ

ดูกรอานนท์ อันว่าพระนิพพานนั้น พึงให้ดูอย่างแผ่นดิน
พระธรณีมีลักษณะอาการฉันใด ก็ให้ตัวเรามีลักษณะอาการฉันนั้น
ถ้าทำ� ได้เชน่ นัน้ กไ็ ดช้ ือ่ วา่ ถึงพระนิพพานดบิ ถา้ ทำ� ไม่ได ้ แต่พูดว่า
อยากได้ จะพูดมากมายเท่าไรๆ ก็ตาม ก็ไม่อาจท่ีจะได้จะถึงเลย
ถ้าปรารถนาจักถึงพระนิพพานแล้ว ต้องท�ำจิตใจของตนให้เหมือน
แผน่ ดินเสยี ก่อน ไมใ่ ชเ่ ปน็ ของทำ� ไดด้ ้วยง่าย ตอ้ งพากเพียรล�ำบาก
ยากย่ิงนกั จึงจกั ได ้ จะเขา้ ใจวา่ ปรารถนาเอาด้วยปากกค็ งจักได้ อย่าง
น้ีเปน็ คนหลงไป ใช้ไม่ได ้ ตอ้ งทำ� ตัวท�ำใจให้เป็นเหมือนแผ่นดนิ ให้จงได ้
ลักษณะของแผ่นดินนั้นคนแลสัตว์ท้ังหลายจะท�ำร้ายท�ำดี กล่าวร้าย
กลา่ วดปี ระการใด มหาปฐพนี ัน้ ก็มิได้รูโ้ กรธรูเ้ คือง
ท่ีว่าท�ำใจให้เหมือนแผ่นดินนั้น คือว่าให้วางใจเสีย อย่า
เอ้ือเฟ้อื อาลยั วา่ ใจของตน ใหร้ ะลกึ อยู่ว่า ตวั มาอาศยั อย่ไู ปชว่ั คราว
เทา่ นนั้ เขาจะนึกคิดอะไรกอ็ ยา่ ตามเขาไป ใหเ้ ข้าใจอยวู่ า่ เราอยไู่ ป

204 ประวัติพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)

คอยวันตายเท่านัน้ ประโยชนอ์ ะไรกบั วตั ถุข้าวของและตวั ตน อันเป็น
ของภายนอก แต่ใจซึ่งเป็นของภายในแลเป็นของส�ำคัญ ก็ยังต้อง
ใหป้ ล่อยให้วาง อยา่ ถือเอาวา่ เป็นของๆ ตัว กลา่ วไว้แต่พอให้เข้าใจ
เพยี งเทา่ นีโ้ ดยสงั เขป

มนุษยแ์ ละสัตว์ท้งั หลาย อนั เปน็ ของมีชีวติ ท่อี ยู่ในโลกนี้ เจา้
กำ� หนดรคู้ วามเป็นไปของตนเองกนั วา่ เป็นเช่นไร เน้อื อยู่บนเขียง รอแต่
จะใหม้ ีดสับเพ่ือความป่นปี้ฉนั ใด ชีวิตของมนุษยส์ ตั วก์ ข็ น้ึ เขียง รอความ
เจ็บป่วย ทกุ ข์โศก แก่ชรา แตกดับ ตายไป สบั ตนเองอยู่ตลอดเวลา
อย่างน้ันเหมือนกนั ผู้ฉลาดควรพาตนออกไปจากเขยี งนัน้ เสีย
ในโลกน้ีย่อมไม่มีผู้ใดอยู่ได้นานนัก ตามความนึกคิดของเขา
ท้ังหลาย เพราะสังขารย่อมเดินไปตามทางของมันอยู่ นานเข้าก็แก ่
แล้วก็ตายหายไปจากโลก ต้องเป็นอยู่อย่างนี้แน่นอนและตลอดไป
ฉะนนั้ ไมค่ วรหลงใหลกบั ส่ิงต่างๆ ในโลกใหม้ ากนัก ควรมองโลกนีเ้ สีย
ให้ชัด ใหแ้ จง้ ใหจ้ ริง พาจิตใจและอารมณใ์ หอ้ อกห่างจากโลกนเี้ สีย
อะไรเปน็ ปจั จัยของอวิชชา เรานน่ั แหละเป็นปัจจยั ของอวิชชา
อะไรเป็นปัจจยั ของเรา อวิชชาน่นั แหละเป็นปจั จยั ของเรา ถ้ามีอวิชชา
ก็มเี รา ถ้ามีเรากม็ อี วิชชา

205

เกดิ เป็นคนจะงามและมคี วามสขุ ทสี่ ดุ นั้น งามท่ีเมื่อเกิดมาแล้ว
ในโลก และได้ทำ� ส่งิ ตา่ งๆ อนั จะยงั ประโยชนใ์ หเ้ กิดขึ้นในภายหนา้
ในโลกน้ีอันมากไปด้วยความทุกข์นั้นแหละ คือ ความสุขบริสุทธิ์ท่ี
ไรม้ ลทนิ มิใช่วา่ เมื่อเกดิ มามสี ังขารแล้ว จะจ้องแต่หาความสุขในการ
เสพกามคณุ ในสงั ขารรา่ งกายของฝ่ายตรงขา้ ม แลว้ ไปคิดวา่ นนั้ แหละ
คอื ความสุขที่จะขาดเสยี มิได้เมอื่ เกดิ มา การคิดอย่างนน้ั มันเป็น
เรือ่ งของคนไม่มีปญั ญา ตกเป็นทาสของตณั หา ชอบเกลอื กกล้วั กบั
ของเหม็นของเน่า แล้วจะเอาความสุขบริสุทธ์ิท่ีแท้จริงจากไหนกับ
สงิ่ เหล่านนั้
ใครเล่าจะห้ามความตายได้ ใครเล่าจะท�ำตัวเองให้ดีกว่าเก่า
ใครเลา่ จะท�ำส่ิงที่ยงั ไม่รู้ให้รู้ขึ้นมา
การศึกษาท่สี งู ท่ีสุด คือ การศกึ ษาตัวเอง
ในพวกเราชาวสยามน ้ี ควรไดเ้ หน็ วา่ เปน็ คนมบี ญุ มาก เกดิ มาได้
พบพระพุทธศาสนาเลยทีเดียว ด้วยบุรพบรรพบุรุษพาถือกันมานาน
แลว้ กว่า ๒,๐๐๐ ปี อย่าพากันมคี วามประมาท พงึ ต้ังใจปฏิบตั ิกันให้
เห็นผลจนรูส้ กึ ตวั ว่า เรามที ี่พึ่งอนั ใดแลว้ จงึ จะเป็นคนทไ่ี ม่เสียทีท่ีได้
พบพระพทุ ธศาสนา
ต�ำราแบบแผนมิใช่ยา ยามิใช่ต�ำราแบบแผน ความไข้ไม่ได้
หายด้วยยาอยา่ งเดียว ต้องอาศยั กนิ ยานัน้ ดว้ ยไข้จงึ หาย

206 ประวัติพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)

ความจริงการท่ีจักได้อัตภาพมาเป็นมนุษย์ ท่านแสดงว่าเป็น
ของแสนยาก เพราะเปน็ ชาติที่อดุ ม อาจทีจ่ ักประกอบคุณงามความดี
ได้ทกุ ประเภท ชีวิตความเป็นอย่ตู ลอดมาถึงวัยนขี้ ยั น้ ี ก็เป็นของแสน
ยากแสนลำ� บาก ต้องฝา่ ฝนื อุปสรรคขดั ขอ้ งมาโดยลำ� ดบั มหิ น�ำซ้ำ�
เกิดในตระกลู อนั เป็นสัมมาทฐิ ิ สว่ นตนกม็ ีศรัทธา เชอื่ กรรม ผลของ
กรรม และเช่ือคณุ พระรัตนตรัยวา่ เปน็ สรณะท่ีพ่ึงได้ แต่มกั พดู กนั โดย
มากวา่ ความเพียรของตนยังอ่อน ถา้ เชน่ น้นั กค็ วรปรารภความเพยี ร
ให้หนักข้นึ เอาตวั ออกจากความทกุ ข์ได้ในชาตินเ้ี ป็นดี เพราะชาติหนา้
หมายไม่ได้ว่าจะได้อัตภาพเป็นอะไร จึงจะได้อัตภาพเป็นมนุษย์อีก
จะวางใจวา่ เราคงมศี รัทธาเหมือนชาตนิ ไี้ ม่ได ้ เพราะขา้ มภพขา้ มชาติ
ไปแลว้
ความระงับสังขารทั้งหลายนั้น ท่านมิได้หมายถึงความตาย
ทา่ นหมายถึงวปิ ัสสนาญาณและอาสวักขยญาณ คอื ปัญญารู้เทา่ สงั ขาร
รูค้ วามสิน้ ไปแหง่ อาสวะ เป็นชือ่ ของพระนิพพาน เป็นยอดแหง่ ความ
สขุ
เดินมากก็มีรอยมาก เดินน้อยก็มีรอยน้อย หากไม่เดินเลย
ก็ไม่มีรอยเลย คบคนมากก็มีเพื่อนมาก คบคนน้อยก็มีเพ่ือนน้อย
ไม่คบคนเลยก็ไมม่ ีเพอื่ นเลย ทุกสงิ่ ทุกอยา่ งในโลกนีก้ เ็ หมอื นกนั เรา
วา่ กันวา่ ต้องอยา่ งนั้น ตอ้ งอยา่ งน้ี ตอ้ งอย่างโนน้ ปรุงไปมากมาย
หลายอย่าง มันจงึ มอี ะไรๆ ขนึ้ มาได ้ หากเราไม่เก่ียวพันกบั สงิ่ ต่างๆ
ทั้งหมดแลว้ จะมอี ะไรได้ท่ีไหน

207



ภาคสมณศกั ดแิ์ ละผลงานสำ� คญั

208 ประวัติพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)

สมณศกั ดิ์

พระอบุ าลีคณุ ปู มาจารย์ (จนั ทร์ สิรจิ นโฺ ท) ได้รับพระราชทาน
สมณศักดิต์ ามลำ� ดับดงั น้ี
๑๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๓๓ พระครูวิจิตรธรรมภาณี (พระครู
สัญญาบัตร)
๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๒ พระญาณรกั ขิต (พระราชา
คณะชน้ั สามัญ)
๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๒ พระราชกวี (พระราชาคณะ
ชั้นราช)
๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๗ พระเทพโมลี (พระราชาคณะ
ชัน้ เทพ)
ปลายปี พ.ศ. ๒๔๕๘ ถกู ถอดสมณศักด์ิจากตำ� แหนง่ พระเทพ
โมลี

209

๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๙ พระธรรมธีรราชมหามุนี (เทียบ
พระราชาคณะชัน้ เทพ)
๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๖ พระโพธิวงศาจารย์ (เทียบ
พระราชาคณะชั้นธรรม)
๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์
(พระราชาคณะชั้นรองสมเด็จพระราชาคณะ ต�ำแหน่งเจ้าคณะรอง
ฝ่ายอรัญญวาสี) อันเป็นสมณศักดิ์สูงสุดท่ีท่านได้รับ และเป็นรอง
สมเดจ็ พระราชาคณะรปู แรกของชาวจงั หวัดอุบลราชธานี มีนามจารึก
ตามหิรญั บัตร ดงั น้ี
พระอุบาลคี ุณูปมาจารย์ ญาณวิสทุ ธจรยิ าปรณิ ายก ตรปี ิฎก
คุณาลงั การ นานาสถานราชคมนยี ์ สาธกุ ารีธรรมากร สุนทรศลี าทขิ ันธ์
มฐี านานกุ รม ๖ รูป ได้แก่ พระครปู ลัดนิพทั ธโพธิพงศ์ ๑ พระครู
วนิ ยั ธร ๑ พระครธู รรมธร ๑ พระครสู งั ฆรกั ษ์ ๑ พระครสู มหุ ์ ๑ และ
พระครูใบฎีกา ๑ ซ่งึ ทา่ นเจา้ คุณอุบาลฯี ได้ตัง้ หลวงปูม่ นั่ ภูริทัตโต
เปน็ พระฐานานกุ รมที ่ พระครวู นิ ยั ธร

210 ประวัติพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)

ผลงานสำ� คญั

พระอบุ าลคี ุณูปมาจารย์ (จนั ทร์ สิริจนฺโท) มผี ลงานมากมาย
เฉพาะท่ีสำ� คัญ มีดังนี้
๑) การปกครองวัด ไดแ้ ก่
พ.ศ. ๒๔๓๒  เจา้ อาวาสวดั มหามาตยาราม เมอื งนครจำ� ปาศกั ด์ิ
(นครจำ� ปาศกั ด์ิ เปน็ อาณาเขตของประเทศไทยสมยั นัน้ )
พ.ศ. ๒๔๓๙  เจ้าอาวาสวัดสุปัฏนาราม อ�ำเภอเมืองอุบล-
ราชธาน ี จงั หวดั อุบลราชธานี
พ.ศ. ๒๔๔๗  เจา้ อาวาสวัดบรมนวิ าส กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๔๗๑  เจา้ อาวาสวดั เจดยี ห์ ลวง จงั หวดั เชยี งใหม่
ในปี พ.ศ. ๒๔๓๗  สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา-
วชิรญาณวโรรส โปรดให้ท่านเป็นผู้ชว่ ยเจ้าอาวาสวดั เทพศริ นิ ทราวาส
กรุงเทพฯ
๒) การปกครองคณะ ได้แก่
พ.ศ. ๒๔๓๑  เจ้าคณะสงั ฆปาโมกข์ เมอื งนครจำ� ปาศกั ด์ิ
พ.ศ. ๒๔๓๓  เจา้ คณะใหญน่ ครจำ� ปาศกั ด์ิ เมอื งนครจำ� ปาศกั ด์ิ
พ.ศ. ๒๔๔๒  เจ้าคณะมณฑลอีสาน พ�ำนักท่ีวัดสุปัฏนาราม
อำ� เภอเมือง จงั หวัดอุบลราชธานี

211

พ.ศ. ๒๔๕๑ เจา้ คณะมณฑลจันทบรุ ี
พ.ศ. ๒๔๕๒ เจา้ คณะมณฑลราชบุรี
พ.ศ. ๒๔๕๓ เจ้าคณะมณฑลหวั เมอื งกรุงเทพฯ
๓) การสร้างและบรู ณะวัด ได้แก่
๓.๑ วัดสภุ รตั นาราม ตำ� บลคเู มอื ง อำ� เภอวารินช�ำราบ จงั หวดั
อุบลราชธานี รว่ มมอื กับพระสงฆแ์ ละประชาชน สร้างวดั ขึน้ ในพื้นท่ี
ป่าดงท่ีอยู่ระหว่างวดั บ้านคอ้ กบั บา้ นหวาง เมื่อกลางปี พ.ศ. ๒๔๔๐
เรมิ่ ลงมือปรบั พ้ืนที่ดิน ถางป่า เมอ่ื พ.ศ. ๒๔๔๒ ขอตั้งเปน็ สำ� นกั สงฆ์
และเมือ่ พ.ศ. ๒๔๕๐ ได้ขอพระราชทานวสิ ุงคามสีมาและผกู พัทธสมี า
นับวา่ เป็นวัดที่ถูกต้องตามกฎหมาย ต้งั แตบ่ ัดน้ันเป็นตน้ มา
๓.๒ วดั บรมนวิ าส กรงุ เทพมหานคร ปรับปรุงบริเวณ ซอ่ มแซม
เสนาสนะ โบสถ์ วิหาร ศาลา กฏุ ิ สรา้ งถนนเขา้ วัด และสรา้ งศาลา
การเปรยี ญ กฏุ ิ ดังนี้
พ.ศ. ๒๔๔๙ สร้างถนนวดั บรมนวิ าส
พ.ศ. ๒๔๕๐ สรา้ งกุฏิปทั มราช
พ.ศ. ๒๔๕๓ สร้างกฏุ ยิ ทุ ธนา
พ.ศ. ๒๔๕๔ สร้างศาลาการเปรยี ญช่อื ศาลาอุรพุ งษ์
พ.ศ. ๒๔๖๑ สรา้ งกฏุ เิ พ่ิมโชฎกึ
พ.ศ. ๒๔๖๕ สร้างกฏุ ิผ่องดำ� รง ธรรมาชีวะ

212 ประวัติพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)

๓.๓  วัดสิริจนั ทรนมิ ติ อำ� เภอเมอื ง จงั หวัดลพบุรี พระอุบาล-ี
คณุ ปู มาจารย์ และพระครปู ลดั อำ�่ พรอ้ มดว้ ยญาตโิ ยม ไดร้ ว่ มกนั สรา้ ง
วดั ขึน้ ทเี่ ชงิ เขาบอ่ งาม เมือ่ พ.ศ. ๒๔๕๕ พรอ้ มทงั้ สรา้ งพระพุทธรูป
ปางใหญ่ขน้ึ ระหว่างเชงิ เขา โดยตง้ั ชอ่ื ว่า “พระพทุ ธปฏภิ าคมัธยม
พทุ ธกาล” สว่ นวัดต้งั ชอ่ื วา่ “วัดเขาพระงาม” จนถงึ พ.ศ. ๒๔๖๖
พระบาทสมเดจ็ พระมงกฎุ เกลา้ เจา้ อยหู่ วั ไดท้ รงพระกรณุ าพระราชทาน
นามใหมว่ า่ “วดั สริ จิ นั ทรนมิ ติ ร” ปจั จบุ นั เขยี นเปน็ “วดั สริ จิ นั ทรนมิ ติ ”
๓.๔  วัดเจดยี ห์ ลวง อำ� เภอเมอื ง จังหวัดเชียงใหม่ ปรับปรงุ
บริเวณวัดและพระเจดีย์หลวง สรา้ งพระวหิ ารหลวง กุฏิ เสนาสนะ
๓.๕  วดั บวรมงคล กรงุ เทพมหานคร ปฏิสงั ขรณโ์ บสถแ์ ละ
วหิ ารคต
๓.๖  วัดกลางบ้านแปง้ อำ� เภอพรหมบุรี จงั หวัดสงิ หบ์ รุ ี สร้าง
มณฑปพระบาท
๔) ดา้ นพระปรยิ ัติธรรม
พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ ท่านให้ความส�ำคัญท้ังด้านปริยัติ
และปฏบิ ัติ ในด้านปริยัตทิ า่ นไดจ้ ัดต้งั โรงเรียนพระปรยิ ตั ิธรรมข้ึนใน
วัดบรมนวิ าส ช่ือ โรงเรยี นสนุ่ วิทยานุกูล ท่านเปน็ ครสู อนพระปรยิ ัติ
ธรรม และเป็นกรรมการมหามกุฏราชวิทยาลัย ต่อมาท่านได้สอน
พระปรยิ ัตธิ รรมท่วี ัดเจดียห์ ลวง ซ่งึ กาลตอ่ มาได้จัดต้งั เปน็ ส�ำนกั เรียน
พระปริยัติธรรม จนเป็นศนู ย์กลางการเรียนพระปริยตั ธิ รรมในจังหวดั
เชียงใหม่

213

พระปัญญาพิศาลเถร (หนู) เจา้ อาวาสรูปท่ี ๕ ของวดั ปทุม-
วนาราม ท่านมองเห็นความส�ำคัญทางการศึกษา จึงเปิดการเรียน
การสอนขึน้ ภายในวดั โดยขอครูจากวดั บรมนิวาส สมัยเจ้าคณุ พระ
อุบาลีคุณูปมาจารย์เป็นเจ้าอาวาสให้มาถวายความรู้แก่ภิกษุสามเณร
ภายในวัด และส่งบัญชีสอบในนามวัดบรมนิวาส เมื่อมีการเรียน
การสอบ ผลก็คอื มีพระมหาเปรียญมากขึน้ เช่น พระมหาหลี พระมหา
นาม พระมหาจารย์ พระมหาผุย เป็นต้น ทางส�ำนักเรียนจึงขอ
แยกจากวดั บรมนวิ าสมาจัดการศึกษาเอง
๕) การตงั้ โรงเรยี นสอนหนงั สอื ไทยในบรเิ วณเมอื งอบุ ลราชธานี
และมณฑลอสี าน
พระอบุ าลคี ุณปู มาจารย์ (จันทร์ สริ ิจนฺโท) นับไดว้ า่ เป็นผมู้ ี
แนวคิดทกี่ ว้างไกลมาก โดยเฉพาะในดา้ นการศึกษาท้งั ภาษาไทยและ
บาลี หากในสมยั ปัจจบุ นั ก็เรยี กไดว้ า่ เป็นผ้มู ี “วิสยั ทศั น์” ที่เย่ียม
ยอดมาก ดงั จะเหน็ ไดจ้ ากเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๔๓๒ ขณะดำ� รง
ต�ำแหนง่ เจ้าอาวาสวัดมหามาตยาราม เมืองนครจำ� ปาศกั ด ์ิ และเป็น
เจา้ คณะสังฆปาโมกข์ เมอื งนครจ�ำปาศกั ดน์ิ ้ัน ก็ได้จดั ตง้ั โรงเรียนบรู พา
สยามเขตต ข้นึ ที่วัดมหามาตยาราม สอนทงั้ ภาษาบาลีและภาษาไทย
ต่อมาเมอ่ื พ.ศ. ๒๔๓๘ – ๒๔๓๙ ขณะทพี่ ำ� นกั อยู่ในกรงุ เทพฯ
ในช่วงเวลาดังกลา่ ว พระบาทสมเด็จพระจลุ จอมเกลา้ เจ้าอยู่หัว ทรงมี
พระบรมราโชบายท่ีจะขยายการศึกษาเพื่อทวยราษฎร์ หรือการ
ตั้งโรงเรียนสอนหนังสือไทยส�ำหรับราษฎรออกไปให้กว้างขวางท่ัว
พระราชอาณาจกั ร พระอบุ าลคี ุณูปมาจารย์ (จันทร์ สริ ิจนฺโท) ก็ได้

214 ประวัติพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)

รวบรวมหนังสือแบบเรียนท้ังภาษาไทยกับภาษาบาลีไว้เป็นจ�ำนวนมาก
เมื่อได้หนงั สอื มากจนคดิ วา่ เพยี งพอแล้วกไ็ ด้พาคณะศษิ ยจ์ ำ� นวน ๖ รปู
คือ พระมหาอ้วน ติสโฺ ส (สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ อ้วน ตสิ โฺ ส) พระมหา
แกว้ อินทวงั โส พระมหาลอ้ ม ติ าโภ พระปลัดหรุ่น พระใบฎีกา
และพระเทียบ ออกเดนิ ทางจากกรงุ เทพฯ มาเมอื งอุบลราชธาน ี อนั
เป็นทีต่ ั้งทวี่ า่ การมณฑลลาวกาว ซงึ่ มีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวง
สรรพสิทธปิ ระสงค์ เป็นขา้ หลวงตา่ งพระองค์ ส�ำเร็จราชการมณฑล
ในช่วงเวลานัน้
พระอบุ าลีคณุ ูปมาจารย์ (จนั ทร์ สิริจนฺโท) พร้อมคณะได้
พ�ำนักทีว่ ดั สุปฏั นาราม ไดบ้ ูรณะซ่อมแซมส่ิงกอ่ สร้างให้เป็นระเบยี บ
เรียบร้อย พรอ้ มทงั้ สรา้ งอาคารเรยี นและทำ� พิธีเปดิ เรียน เมอื่ วนั ท่ี ๘
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๔๐ ใหช้ ่ือวา่ “โรงเรียนอบุ ลวทิ ยาคม” เปิดสอน
ท้งั ภาษาบาลแี ละภาษาไทย นบั เปน็ โรงเรยี นสอนหนังสอื ไทยแหง่ แรก
ที่ก่อต้งั ข้นึ ในบรเิ วณเมอื งอบุ ลราชธานี ท่จี ดั การสอนเปน็ ระบบท่เี ปน็
โรงเรียนอยา่ งแทจ้ ริง
หลงั จากนั้นแลว้ พระอุบาลีคุณปู มาจารย์ (จันทร์ สริ ิจนฺโท)
ก็ได้ด�ำเนินการจัดตั้งโรงเรียนสอนหนังสือไทยข้ึนในบริเวณเมืองต่างๆ
อีกหลายโรงเรียน เชน่
พ.ศ. ๒๔๔๒ ตัง้ โรงเรยี นอดุ มวิทยากร ขน้ึ ท่ีวัดพระเหลาเทพ
นิมติ เมอื งพนานคิ ม ขึ้นตรงกบั เมืองอุบลราชธานี
สว่ นการจัดการศึกษาในเมอื งอ่นื ๆ ที่อยู่ในบรเิ วณมณฑลอสี าน
พระอบุ าลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิรจิ นโฺ ท) กม็ อบหมายใหค้ ณะศษิ ย์

215

ดูแลรบั ผิดชอบคล้ายกับทำ� หน้าทีผ่ ชู้ ว่ ยเจ้าคณะมณฑล ดังน้ี
พระมหาอว้ น ตสิ ฺโส เปน็ ผกู้ ำ� กับดูแลการจัดการศึกษาใน
บรเิ วณเมอื งอบุ ลราชธานีและอำ� เภอในสังกัด
พระมหาทา กติ ฺติวณโฺ ณ เป็นผกู้ �ำกบั ดูแลการจดั การศึกษาใน
บริเวณเมืองรอ้ ยเอ็ดและอำ� เภอในสงั กัด
พระมหาแกว้ อินทวังโส เปน็ ผกู้ �ำกับดูแลการจดั การศกึ ษาใน
บริเวณเมืองนครจำ� ปาศกั ดิ์
พระมหารัฐ รฏฺปาโล เป็นผู้ก�ำกับดแู ลการจดั การศึกษาใน
บริเวณเมืองขุขนั ธ์ และเมอื งสรุ นิ ทร์ รวมท้งั อ�ำเภอในสงั กดั
หลังจากนั้นการจัดตั้งโรงเรียนสอนหนังสือไทยในบริเวณเมือง
อุบลราชธานี และเมืองอื่นๆ ที่อยใู่ นอาณาเขตมณฑลอีสานก็เจรญิ
ก้าวหนา้ พอสมควร จนกระทงั่ ปลายปี พ.ศ. ๒๔๔๒ ได้เขา้ เฝา้ ไปรเวท
กราบบังคมทูล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรง
พระราชปรารภถึงการศึกษาเล่าเรียนที่ออกไปจัดการต้ังโรงเรียนขึ้นได้
น้นั เป็นทีพ่ อพระราชหฤทัยสมด้วยพระราชประสงค ์ แล้วพระราชทาน
ตรามณฑลอีสานใหเ้ ป็นผอู้ �ำนวยการเจา้ คณะมณฑล ต่อมาปี พ.ศ.
๒๔๔๗ พระอุบาลคี ุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิรจิ นฺโท) จงึ ไดร้ ับพระกรณุ า
โปรดเกลา้ ฯ ใหด้ �ำรงตำ� แหนง่ เจา้ อาวาสวดั บรมนวิ าส
จงึ นับไดว้ า่ พระอบุ าลีคุณูปมาจารย์ เปน็ ผูม้ บี ทบาทในการตั้ง
โรงเรยี นสอนหนังสือไทยขน้ึ ในบริเวณเมอื งต่างๆ ในมณฑลอสี านเป็น
อยา่ งมาก

216 ประวัติพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)

๖) การอบรมสง่ั สอนประชาชน
พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จนั ทร์ สริ ิจนฺโท) นบั ไดว้ ่าเป็นผมู้ ี
ความรู้ความสามารถสูง มีความเฉลียวฉลาดปฏิภาณไหวพริบเป็น
เยี่ยม เป็นนักเทศน์ท่ีมีส�ำนวนโวหารเป็นเย่ียม ถ้าไม่มีเหตุการณ์
ผิดปกต ิ ทา่ นจะแสดงพระธรรมเทศนาอบรมสัง่ สอนทายก ทายกิ า
ท่มี าท�ำบุญทวี่ ดั ในวันส�ำคญั ๆ อยูเ่ สมอ โดยเฉพาะในวนั พระที่อยู่ใน
ชว่ งเขา้ พรรษา เม่ือเทศนาเสรจ็ แลว้ กใ็ ห้ศิษยานุศษิ ย์จดั พมิ พเ์ ผยแพร่
แจกจ่ายเป็นธรรมทานแก่ผู้สนใจได้อ่านเพ่ือเป็นการศึกษาหาความรู้
เพ่มิ เติมด้วย โดยท่านมดี ำ� ริว่า คนที่มาฟังพระธรรมเทศนามจี ำ� นวน
ไม่มากนัก ถ้าหากเอาเนื้อหาที่ได้แสดงพระธรรมเทศนาได้จัดพิมพ์
เผยแผ ่ จ�ำนวนคนที่ได้อ่านไดเ้ ขา้ ใจเน้ือหาสาระของธรรมจะมีจ�ำนวน
เพม่ิ ข้ึนอีกมาก
จากการศึกษาค้นคว้าผลงานการแสดงพระธรรมเทศนาของ
พระอุบาลีคุณปู มาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) พบวา่ มผี จู้ ดั พมิ พแ์ จกจ่าย
เป็นจ�ำนวนมาก เชน่
หนังสือพุทธคุณเทศนากับอริยสัจกถา เป็นการรวบรวมค�ำ
แสดงพระธรรมเทศนาในวันพระระหว่างเข้าพรรษาที่วัดบรมนิวาส
พ.ศ. ๒๔๖๖
หนังสือรตั นตรัยวิภาค เป็นค�ำบรรยายในการแสดงพระธรรม
เทศนาในระหว่างเข้าพรรษาทว่ี ดั บรมนิวาส เมอื่ พ.ศ. ๒๔๖๘ พิมพใ์ น
งานศพนางสุ่น และนางสาวเปลง่ สริ ิอัศวรกั ษ์ เมษายน ๒๔๗๑

217

หนังสือมงคลสุตตวิภาคบรรยายและทศบารมีวิภาค เป็นค�ำ
บรรยายในการแสดงพระธรรมเทศนาระหว่างเข้าพรรษา เม่ือ พ.ศ.
๒๔๗๐ ท่วี ัดบรมนวิ าส กรุงเทพฯ
หนงั สอื ธรรมรตั นกถา พมิ พใ์ นงานท�ำบญุ ศพพระยาไกรเพช็ ร์
รัตนสงคราม พ.ศ. ๒๔๕๗
คำ� บรรยายธรรมดงั กลา่ วของพระอุบาลคี ุณูปมาจารย์ (จันทร์
สิริจนฺโท) แม้จะแสดงไวเ้ ปน็ เวลาเกือบรอ้ ยปแี ล้ว ถา้ ศกึ ษาอยา่ ง
ละเอียดใหเ้ ข้าใจอย่างลกึ ซ้ึงแลว้ แม้ในปจั จบุ นั ก็จะเห็นไดว้ ่าเปน็ สิง่ ที่
มคี ุณค่ายิ่ง
๗) ผลงานดา้ นการประพันธ์
นอกจากเป็นนกั เทศนช์ ้ันเย่ยี มแล้ว ผลงานด้านการประพันธ์
ก็นับว่าเยี่ยมเช่นกัน แม้ว่าการงานต่างๆ ที่รับผิดชอบและท่ีต้อง
ปฏบิ ตั ิอกี มากมาย ไมว่ า่ จะเปน็ งานในตำ� แหนง่ เจา้ อาวาส งานบูรณะ
ปฏสิ งั ขรณ์วดั วาอาราม การสร้างถาวรวัตถุ การเปน็ เจา้ คณะมณฑล
และอื่นๆ ก็มีมากมายอยู่แล้ว กระน้ันก็ดี พระอุบาลีคุณูปมาจารย์
ก็ได้เขียนหนังสือท้ังที่เป็นร้อยแก้วและร้อยกรอง ท่ีจัดพิมพ์เผยแพร่
มีหลายเรอ่ื ง อาทิ
• ประเภทรอ้ ยแกว้ ไดแ้ ก่
หนังสอื อตฺตปวตฺต ิ ซ่งึ เป็นหนังสอื ทกี่ ลา่ วถึงประวตั ขิ องทา่ น
เอง กล่าวถึงวัยเด็กการบรรพชาและอปุ สมบท การศกึ ษาเลา่ เรียน
การปฏบิ ัตงิ านในต�ำแหน่งตา่ งๆ จนถงึ อายุ ๖๙ ปี พมิ พ์แจกในงาน

218 ประวัติพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)

ท�ำบญุ อายคุ รบ ๗๐ ปบี รบิ ูรณ์ วันท่ี ๒๗ มนี าคม พ.ศ. ๒๔๖๙
หนังสอื นสิ สยโกศลวกานศุ าสน์และเขมสรณคมน ์ วิธีเจริญ
สมถะและวปิ ัสสนาภูมิ นางเพ็ชร เกษตรนิวาส (บญุ เลย่ี ม) พิมพ์แจก
เปน็ ธรรมทาน เม่ือ พ.ศ. ๒๔๘๐
หนังสือ คิริมานนทสูตร
ฯลฯ
• ประเภทร้อยกรอง ไดแ้ ก่
กาพยป์ สู่ อนหลาน กาพย์หลานสอนปู่ กาพย์พระใหญ่ เขา
พระงาม กาพยพ์ ระยาช้างฉทั ทนั ต์ กาพยโ์ ลกนติ ิ กาพยร์ ถไฟ ฯลฯ
จากผลงานอนั ทรงคุณคา่ มากมาย ทา่ นเจา้ คณุ อุบาลฯี คือ
“ปราชญ์” ของเมอื งอบุ ลราชธานีโดยแท้

219



ภาคผนวก
การสรา้ งวดั สริ จิ นั ทรนมิ ติ วรวหิ าร
และพระพทุ ธปฏภิ าคมธั ยมพทุ ธกาล

220 ประวัติพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)

ประวตั วิ ดั สริ จิ นั ทรนมิ ติ วรวหิ าร

ความเบื้องต้น

วดั สิริจันทรนมิ ติ วรวหิ าร (เขาพระงาม) เป็นอารามหลวงชน้ั ตรี
ตง้ั อยู่ ณ เชิงเขาพระงาม ตำ� บลเขาพระงาม อำ� เภอเมอื ง จงั หวดั ลพบุร ี
มีเน้ือที่ ๙๙ ไร่ ภูเขาอนั เป็นทตี่ ง้ั วดั น ี้ เจ้าพระคุณสมเดจ็ พระมหา
วีรวงค์ (ตสิ สมหาเถร) วดั บรมนวิ าส กล่าวไว้ในประวตั ิวัดสปุ ัฏนฯ์ วา่
“เดมิ เรยี กวา่ เขาบอ่ งาม หรือเขาวัวงาม ตอ่ เมื่อสรา้ งพระใหญแ่ ล้ว
จงึ เรียกว่า เขาพระงาม แต่นน้ั มา” ท่ีเรยี กว่าเขาบ่องามแต่เดมิ นัน้ ณ
ปัจจุบันนี้ยังมีหลักฐานปรากฏอยู่เป็นบ่อน้�ำเรียงรายต้ังแต่สามแยกเขา
พระงามไปสุดท่ีบอ่ ใน คส.๒ รวม ๖ บอ่ สรา้ งดว้ ยเงนิ บ่อละ ๔๐๐
บาท รวม ๒,๔๐๐ บาท ซงึ่ แตล่ ะบ่อมชี ่อื เป็นมงคลนาม ดงั นี้
๑. บอ่ งามนามเดมิ อยู่หม่ทู ี่ ๑ ใกลส้ ระน�ำ้ เฉลิมพระเกียรติ
๒. บ่อเจรญิ เกษมสุข อยหู่ มู่ที่ ๑ รมิ ถนนหน้าวดั ตรงกับต้น
นโิ ครธ
๓. บ่อสนุกหายโรค อยู่บรเิ วณใตต้ ้นพิกลุ หนา้ พระอุโบสถ
๔. บ่อบริโภคหายภัย อยู่บริเวณแผนกท่ี ๒ กองคลังแสง
(หมู่ที่ ๑)
๕. บอ่ น้ำ� ใสส�ำราญราษฎร์ อยูห่ มู่ที่ ๒ ริมถนนหน้าวัดตรงกบั
ประตวู ัดซ้มุ ท่ี ๒

221

๖. บอ่ สะอาดวมิ ลศลิ ป์ อย่หู มู่ที่ ๙ ริมถนนพหลโยธิน ใกล้
สามแยกเขาพระงาม
และยังมีหลักฐานการขุดสระนำ้� ยาว ๒๐ วา ลกึ ๔ ศอก สิน้
เงนิ ๓ พนั บาทเศษ ไวเ้ ก็บน�ำ้ ใหช้ าวบา้ นได้ใชก้ นั ตลอดท้งั ปี ซงึ่ อยู่
ด้านตะวันออกของวัด (ป่าช้าเก่า) ทั้งบ่อน้�ำและสระน้�ำเป็นเสมือน
เขตแดนของวัดมาแต่เดิมด้วย ส่วนเขาวัวงาม ชาวบ้านใช้เรียกกัน
ตามอาชีพ ทีถ่ ิ่นน้ีเล้ยี งววั กันเพอ่ื ไวใ้ ช้งานและซือ้ ขาย เป็นพันธวุ์ วั ท่ีมี
ลกั ษณะสวยงามกวา่ ท่อี ื่นๆ ทงั้ เป็นถนิ่ ศนู ย์รวมแหง่ การซอื้ ขายอีกด้วย
อันบรเิ วณที่ตง้ั วดั อย่ใู นบดั นี ้ อาศัยโบราณวตั ถุต่างๆ เท่าที่มอี ย่ใู นวดั
แตเ่ ดมิ มา เชน่ พระพทุ ธรปู ทท่ี ำ� ดว้ ยศลิ าทรายแดงปางไสยาสนภ์ ายใน
ถ�้ำภัทราวุโธ ซากฐานพระอุโบสถหลังเดิม ซ่ึงอยู่ตรงพระวิหาร
พระกจั จายน์ในบดั นี ้ ใบเสมาเกา่ ทที่ �ำด้วยศิลา ซากสถปู ใหญ่บนยอด
เขา เหล่าน้ีเปน็ ตน้ จึงท�ำให้มีผู้รู้บางทา่ นสนั นษิ ฐานวา่ วัดนคี้ งเปน็
วัดส�ำคัญและเป็นวัดท่ีเคยรุ่งเรืองมาแต่โบราณวัดหนึ่งในจังหวัดลพบุรี
แตเ่ พราะเหตกุ ารณ์บ้านเมืองได้ผนั แปรไปตามกาลสมัย จงึ ท�ำให้กลาย
สภาพเป็นวัดร้างในกาลต่อมา
จนเม่อื ในรชั สมยั พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสนิ ทรมหา
วชิราวธุ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั รัชกาลที่ ๖ แหง่ กรุงรัตนโกสนิ ทร ์
ท่านเจา้ คุณพระอบุ าลีคณุ ปู มาจารย์ (สริ ิจนฺโท จนั ทร์) อดตี เจ้าอาวาส
วัดบรมนิวาส จงั หวัดพระนคร แต่ครง้ั ดำ� รงสมณศักดเ์ิ ป็นพระราชกวี
ไดส้ ถาปนาใหม่ ณ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๕ จึงกลบั เป็นวดั ท่ีมพี ระสงฆ์อยู่แต่
น้ันมา

222 ประวัติพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)

วัดสริ จิ นั ทรนิมติ ก่อนแตท่ ่านเจา้ คุณพระอุบาลีคณุ ปู มาจารย์
(สริ ิจนโฺ ท จนั ทร)์ จะสถาปนาใหม่เม่อื พ.ศ. ๒๔๕๕ นั้นไมม่ ที างจะ
สืบทราบได้ว่า ใครเป็นผู้สร้างและสร้างแต่เมื่อไร แต่นายประยูร
อุลุชาฏระ อดีตข้าราชการกรมศลิ ปากร ไดส้ นั นิษฐานจากศลิ ปวตั ถุ
ที่พบในวัดนั้นว่า คงเป็นวัดที่สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. ๑๑๐๐
โดยท่ีวัดน้ีเป็นวัดโบราณดังกล่าวแล้ว แต่เดิมจะมีช่ือเรียกว่าอย่างไร
หามีทางสืบทราบได้ไม่ ต่อเมื่อท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์
(สิริจนโฺ ท จันทร)์ ได้สถาปนาใหม่เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๕ จงึ เรยี กกนั ว่า
“วัดเขาพระงาม” และเมื่อพระบาทสมเดจ็ พระมงกุฎเกล้าเจา้ อยหู่ ัว
เสด็จพระราชดำ� เนนิ ในงานผูกพทั ธสมี าของวดั น้นั เมอื่ พ.ศ. ๒๔๖๖
แลว้ จึงได้พระราชทานนามใหม่วา่ “วัดสิริจนั ทรนมิ ิต” แต่นัน้ มา
เหตุที่ได้รับพระราชทานนามเช่นน้ีก็คงจะทรงอาศัยเนมิตก
นาม จากฉายาของพระอบุ าลีคุณปู มาจารยว์ า่ สิรจิ นโฺ ท น้นั อยา่ งหน่งึ
กบั จากข้อทพ่ี ระอุบาลคี ณุ ปู มาจารย์ ได้นมิ ติ จากเทวนกิ ายในคราวท่ี
ตกลงใจสรา้ งพระพทุ ธปฏภิ าคมธั ยมพทุ ธกาล (หลวงพอ่ ใหญ)่ น้นั
อีกอยา่ งหน่งึ ภายหลังเมอ่ื ไดส้ ถาปนาวดั สิริจันทรนมิ ิตขน้ึ ใหมแ่ ล้ว วดั
นกี้ ็ถงึ ซ่งึ ความเจริญรงุ่ เรืองมาโดยลำ� ดับ เป็นวดั ธรรมยุตนกิ ายสำ� คัญ
วัดหนึ่งในจังหวัดลพบุรี ทางราชการได้เล็งเห็นความส�ำคัญของวัด
สิริจันทรนิมิตนี้ จึงได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานยกขึ้นเป็น
พระอารามหลวง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบันได้
ทรงพระกรณุ าโปรดเกลา้ ฯ ใหย้ กวดั สริ จิ นั ทรนิมติ ข้นึ เปน็ พระอาราม
หลวงชน้ั ตร ี ชนิดวรวหิ าร เม่ือวนั ท่ี ๙ มกราคม ๒๔๙๙ เปน็ ตน้ มา
ตามประกาศแจง้ ความกระทรวงวัฒนธรรม ดงั นี้

223

ประกาศแจง้ ความกระทรวงวฒั นธรรม
เรอื่ ง ยกวดั ราษฎรเ์ ปน็ พระอารามหลวง

ด้วยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชา-
นญุ าตให้ยกวดั สริ ิจันทรนมิ ิต ต�ำบลเขาพระงาม อำ� เภอเมอื งลพบุรี
จงั หวัดลพบรุ ี เป็นพระอารามหลวงชนั้ ตรี ชนิดวรวหิ ารและให้มนี ามวา่
วดั สริ ิจนั ทรนิมิตวรวหิ าร ตั้งแตว่ นั ท่ี ๙ มกราคม ๒๔๙๙ เปน็ ต้นไป

แจ้งความ ณ วนั ท่ี ๒๕ มกราคม พระพุทธศักราช ๒๔๙๙
พลเรอื เอก ป.ยุทธศาสตร์โกศล (หลวงยุทธศาสตรโ์ กศล)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวฒั นธรรม

ประกาศกรมธรรมการ

เร่ือง พระราชทานเงนิ ชว่ ยในการปฏสิ งั ขรณ ์
และพระราชทานนามวัด

ดว้ ยเมื่อวนั ที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๖ ขณะเมอื่ พระบาท
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชด�ำเนินกลับจากโรงเรียนทหารปืน
ใหญ ่ ท่ีต�ำบลโคกกระเทยี ม จังหวดั ลพบุรี ไดเ้ ลยเสด็จทอดพระเนตร
วดั เขาพระงาม ทพี่ ระโพธวิ งศาจารยก์ ำ� ลังมงี านผกู พทั ธสีมาอยู่ ได้
ทรงพระราชศรัทธาบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ช่วยในการ

224 ประวัติพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)

ปฏิสังขรณ์ ๒๐๐ บาท พระโพธวิ งศาจารยถ์ วายพระพรวา่ วัดน้ีได้
จัดการก่อสร้างเป็นเวลานานปีมาแล้ว แต่เพ่ือเป็นเหตุท่ีจะให้ระลึก
ได้ว่าการได้ส�ำเร็จลงในรัชสมัยปัจจุบนั พระโพธิวงศาจารย์และทายก
ทายิกา จึงพร้อมกันขอพระราชทานถวายวัดเขาพระงามไว้เป็นพระ
อารามหลวง ไดม้ พี ระราชด�ำรัสวา่ การบูรณะวัดน้ันยงั ไมแ่ ลว้ บริบูรณ ์
โปรดใหร้ อไวก้ ่อน แต่ไดท้ รงพระกรุณาโปรดพระราชทานนามใหมว่ ่า
“วัดสริ จิ ันทรนิมติ ร”
ประกาศมา ณ วันท่ี ๒๕ มีนาคม พระพุทธศักราช ๒๔๖๖
พระยาเมธาธบิ ด ี มหาเสวกตรี
อธิบดีกรมธรรมการ

พระพทุ ธปฏภิ าคมธั ยมพทุ ธกาล
(หลวงพอ่ พระงาม)

พระพุทธปฏภิ าคมธั ยมพุทธกาล หรอื ที่ประชาชนนยิ มเรยี กว่า
“หลวงพ่อใหญ่” “หลวงพ่อพระงาม” ประดิษฐานอยู่บนไหล่เขา
พระงาม เร่มิ สรา้ งเมอ่ื ปชี วด พ.ศ. ๒๔๕๕ นบั ว่าเป็นพระพทุ ธรูปน่งั
ทใ่ี หญท่ สี่ ดุ ในโลกในสมัยน้ัน หนา้ ตกั กวา้ ง ๑๑ วา ๑ ศอก สว่ นสงู
จากหนา้ ตักถงึ พระเกศ ๑๘ วา สิน้ เงินค่าก่อสร้าง ๖๐,๐๐๐ บาท

225

คำ� ปรารภในการสรา้ ง
พระพทุ ธปฏภิ าคมธั ยมพทุ ธกาล

ในการสร้างพระพุทธรูปใหญ่ของพระอุบาลีคุณูปมาจารย์
(สิรจิ นโฺ ท จันทร์) เจ้าอาวาสวัดบรมนวิ าส เจา้ คณะรองฝ่ายอรญั ญวาสี
เมอ่ื ยังด�ำรงสมณศักด์เิ ป็นพระราชกวี พ.ศ. ๒๔๕๕ ดังต่อไปนี้
ขา้ พเจา้ ไดด้ �ำรมิ าถึง ๕ ปแี ลว้ ว่า ในปีชวดจัตวาศก พระพุทธ
ศกั ราช ๒๔๕๕ เป็นปีครบ ๒,๕๐๐ แหง่ พทุ ธกาล คอื นบั แต่ปีตรสั รู้
เป็นพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ แห่งองค์สมเด็จพระบรมศาสดา
สัมมาสมั พุทธเจ้านน้ั มา นับวา่ เปน็ ปกี ึง่ ๕,๐๐๐ แหง่ พุทธกาล ชวี ติ
ของเราไดม้ าประสบมหาสมัยส�ำคัญเช่นนี ้ ควรจะแสดงกตัญญูกตเวที
ตอ่ พระพุทธศาสนาไวเ้ ป็นทรี่ ะลกึ สักส่ิงหนึ่ง แตจ่ ะท�ำอะไรด ี ใหพ้ อ
สมควรแก่กำ� ลังความสามารถแหง่ ตน เหน็ แต่สร้างพระพทุ ธปฏมิ ากร
ให้เหมาะแก่สมัยไว้สักองค์หนึ่ง เดิมคิดจะหล่อด้วยทองเหลือง ให้
แล้วเสร็จทนั ไดส้ มโภชในวันวสิ าขปุณณมใี นปชี วดน ี้ การด�ำรนิ ั้นก็ขัดๆ
ข้องๆ เพราะตอ้ งการองค์ใหญ่หาท่ปี ระดิษฐานไมเ่ หมาะ การท่คี ดิ นัน้
กล็ ้มละลายไป
ครนั้ มาถงึ ต้นเดอื น ๕ พระพุทธศักราช ๒๔๕๕ ในต้นปีชวด
น้ีเอง ได้ชะลอพระพุทธรูปศิลาแดงซึ่งช�ำรุดมาจากวัดหลุมดินเก่า
เมืองราชบุรี มาปฏิสังขรณ์ข้ึน ที่ศาลาการเปรียญวัดบรมนิวาสซึ่ง
สรา้ งข้ึนใหม ่ หน้าตักกวา้ ง ๔ ศอกคบื โดยสงู ๖ ศอก ทำ� การอยู่
๒ เดอื นจงึ สำ� เร็จ ทันไดส้ มโภชในวันวสิ าขปุณณม ี ถวายพระนามวา่

226 ประวัติพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)

“พระพิชิตมารมัธยมพุทธกาล” อาศัยท่านผู้มีศรัทธาบริจาคทรัพย์
สิน้ เงิน ๑,๕๐๐ บาทเศษ ทำ� การนนั้ เสรจ็ แล้ว แตก่ ็ยังไมอ่ มิ่ แกใ่ จ
ดว้ ยพระพทุ ธรปู ขนาดนม้ี ีถมไปในประเทศสยาม คร้ันจะสรา้ งใหโ้ ตก็
ติดขดั ด้วยสถานท่ี อกี ประการหนงึ่ ด�ำรไิ ว้วา่ จะพมิ พ์หนังสอื ปฏจิ จ-
สมุปบาท แจกในงานสมโภชพระพุทธรปู น้นั แตไ่ ม่มเี วลาพอทจ่ี ะแต่ง
หนังสอื ให้เสร็จได้ เพราะเหตนุ ั้นจงึ ไดด้ ำ� ริการนน้ั ต่อไปอกี
ครน้ั อย่มู าถึงเดือน ๑๒ ขา้ งข้ึนมีเวลาว่าง ไดอ้ อกไปเท่ียว ณ
เขาบอ่ งาม ต�ำบลธรณี อ�ำเภอสระโบสถ์ แขวงเมอื งลพบุรี เพราะได้
ทำ� การปฏสิ งั ขรณถ์ �ำ้ เรียบร้อยอยแู่ ลว้ สถานท่ีนั้นกเ็ ป็นที่ชอบกลดี คือ
ท่ีถ�้ำน้ันเป็นเจดียสถานที่ขึ้นนมัสการของมหาชนบริเวณเหล่านั้นอยู่แต่
เดิมด้วย สว่ นหนา้ ถ้ำ� กผ็ นิ สู่ทิศตะวนั ออก ถึงเวลาบา่ ย ดวงอาทติ ย์
ลับภูเขาเย็นส�ำราญดีด้วย ถ้าสร้างพระพุทธรูปลงในท่ีนี้ ผินพระ
ปฤษฎางคเ์ ขา้ หายอดเขา ดไู กลๆ คลา้ ยกับพระนาคปรก ผินพระพกั ตร์
สู่ทิศบูรพาเป็นสง่าดี จึงได้ปรึกษากับพระครูปลัด (ภทฺราวุโธ อ่�ำ)
ผ้เู ปน็ นอ้ งชายซง่ึ ลาออกมาจ�ำพรรษาอยทู่ ถี่ ำ้� น้นั เธอก็เหน็ ชอบดว้ ย
เม่ือปรึกษากันตกลงแล้ว ก็เกิดปีติโสมนัสเป็นอันมาก จึง
ได้ตั้งสัตยาธิษฐานเส่ียงทายหลายประการ ได้นิมิตดีไม่มีการขัดข้อง
เดอื น ๑๒ ขน้ึ ๗ ค่ำ� กลบั เข้ามากรงุ เทพฯ เล่าความดำ� รินนั้ ใหส้ ัปปรุ ษุ
ฟัง ต่างท่านกเ็ กดิ ศรทั ธาบรจิ าคทรพั ย ์ ในระหว่าง ๓ วัน ไดต้ ้นทนุ
ถงึ ๕,๐๐๐ บาท เห็นการจะสะดวกจงึ เรยี กจีนเถ้าแกช่ า่ งไมท้ ่จี ะผกู
โครง และจนี เถ้าแกช่ า่ งปนู มาปรึกษาตกลงกันแล้ว

227

ครนั้ ณ วนั เดอื น ๑๒ ข้นึ ๑๔ ค่ำ� ไดน้ ำ� เถ้าแกแ่ ละลกู จา้ ง
ออกไปท�ำงาน เดอื น ๑๒ ขนึ้ ๑๕ ค่�ำ ก็ได้ลงมือตดั ไม้ผกู โครง พวก
ชา่ งปูนก็รวมศิลาส�ำหรบั ก่อ ครนั้ ถงึ ณ วนั พฤหัสบดี เดือนอ้าย ขน้ึ
๔ ค�ำ่ เวลาโมงเชา้ ไดศ้ ุภฤกษ ์ พระสงฆ์ ๔๐ รูป ซ่ึงเจริญพทุ ธมนต์
วานนี้ ยืนรอบสถานท่ีที่จะก่อพระพุทธรูปนั้น สวดชยันโต พระ
เถระผู้ใหญ่มีข้าพเจ้า (พระราชกวี) และพระครูเจ้าคณะเมืองลพบุรี
เป็นประธาน เป็นผ้วู างกอ้ นศลิ าก่อฤกษ์ เสร็จการกอ่ ฤกษแ์ ล้วทายก
ทายกิ าได้อังคาสพระสงฆด์ ้วยอาหารบิณฑบาตเปน็ เสร็จการ
ตอ่ นั้นมาพวกจีนกล็ งมือก่อเทคอนกรตี นอกจากตรษุ จีนแลว้
เกอื บจะไม่มวี นั เว้น นับเวลาได้ ๓ เดือนก่ึง การเทคอนกรตี นบั ว่า
เป็นการส�ำเร็จ แต่ส่วนการตกแต่งพระพุทธรูปนั้น ยังไม่แล้วโดย
เรยี บร้อยดี เพราะไดต้ ้งั เจตนาไวว้ า่ จะสมโภชให้ทันในปชี วด ซง่ึ นับ
วา่ เป็นปีกึ่ง ๕,๐๐๐ ของพุทธกาล
ครั้นถึงเดือน ๔ เพ็ญ จึงได้ต้ังการสมโภชสมกับเจตนาเดิม
พระพุทธรปู นัน้ พร้อมด้วยคุณสมบัติ ๔ ประการ คอื ใหญส่ งู ประการ
หนึง่ ทำ� โดยมนั่ คงแนน่ หนาดปี ระการหนึ่ง มสี งา่ งามไดพ้ ระพุทธ
ลกั ษณะประการหน่งึ ทำ� สำ� เร็จรวดเร็วท่ีสดุ ประการหนึ่ง จงึ ถวาย
พระนามวา่ “พระพทุ ธนฤมติ รมธั ยมพุทธกาล” มีก�ำหนดโดยกวา้ ง
หน้าตกั ๑๑ วา โดยสูงวัดแต่หน้าตักขน้ึ ถงึ ทสี่ ดุ ยอดรศั มี ๑๗ วา ๒
ศอก การสรา้ งพระพุทธรูปใหญ่ถงึ เพยี งน้ี ท้งั ต้ังอยู่บนไหล่เขาที่สูง
ด้วย สำ� เรจ็ ในภายใน ๔ เดอื น ส้นิ เงินกว่า ๒๐,๐๐๐ บาท เงินสร้าง
น้ีจะได้ออกฎีกาเที่ยวเรี่ยไรแห่งหนึ่งแห่งใดก็ไม่มี มีแต่เป็นการพูด

228 ประวัติพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)

ด้วยปาก ท่านผู้มีศรทั ธาหากเตม็ ใจช่วยใหก้ ารนนั้ สำ� เรจ็ โดยไมข่ ดั ขอ้ ง
เป็นนา่ อัศจรรย์เหลือเกิน ด้วยอำ� นาจพระพทุ ธศาสนาหากแสดงพระ
ปาฏหิ าริย์ให้เห็นอศั จรรย ์ และได้แต่งหนงั สือธรรมรตั นกถา แสดง
ปฏิจจสมุปบาทโดยย่อ แจกแก่พุทธบริษัทในงานสมโภชนี้ไว้เป็นที่
ระลึกตลอดกาลนาน

เหตกุ ารณร์ ะหวา่ งสรา้ งพระพทุ ธปฏภิ าคมธั ยมพทุ ธกาล

ในการสร้างพระพทุ ธปฏภิ าคมธั ยมพุทธกาลน ี้ ท่านเจ้าคุณ
พระศลี วรคุณ (สงกฺ ิจโฺ จ ลำ� เจยี ก) เจา้ อาวาสรูปท่ี ๒ ซง่ึ ไดต้ ดิ ตามท่าน
เจ้าคณุ พระอุบาลคี ุณูปมาจารย์ (สิริจนฺโท จันทร์) ผู้เป็นพระอปุ ัชฌายะ
และมาอย่จู ำ� พรรษากับทา่ นเจา้ คุณพระเทพวรคุณ (ภทฺราวุโธ อ่ำ� )
ผู้เปน็ พระอาจารยท์ ีว่ ดั นี้ ตง้ั แต่ พ.ศ. ๒๔๕๕ เล่าไว้วา่ เม่อื จะทำ�
น่ังร้านกอ่ องคห์ ลวงพอ่ ใหญ่น้นั ปรากฏวา่ จนี ท่เี ปน็ ชา่ งรับเหมา หาไมไ้ ผ่
ท่จี ะท�ำนัง่ รา้ นไม่ได้ ขนาดทต่ี อ้ งการน้นั มอี ยูแ่ ห่งเดยี วที่บ้านหว้ ยอเี ห็น
ซ่ึงอยู่ห่างจากเขาพระงามไปประมาณ ๒ กิโลเมตร แตท่ ปี่ ่าไผ่แห่งนนั้
ศกั ด์สิ ิทธ์มิ าก ถ้าใครไปตดั ไม้มากม็ อี ันตรายต่างๆ ก็ไมม่ ีใครยอมไป
ตดั ให้ แมผ้ ูร้ ับเหมาจะขอรอ้ งอย่างไร เพราะกลัวภยั อันตรายที่เคย
ประสบกันมาแลว้

229

ความทราบถึงท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ ท่านจึงแนะน�ำกับ
บรรดาผู้ทจ่ี ะไปตัดไมว้ ่า “ให้ไปบอกกบั เทพยดาทัง้ หลายผ้รู ักษาปา่ ไผ่
นัน้ ว่า ฉันใหม้ าขอไม้ไผ่เพื่อจะเอาไปทำ� นง่ั รา้ นสร้างพระใหญ่ แล้วให้
เทพยดาไปชว่ ยฉนั สร้างพระใหญ่ดว้ ย” พวกชาวบ้านก็พากนั ทำ� ตาม
บญั ชาของท่าน แลว้ กต็ ดั ไม้ได้โดยไม่มอี ันตรายใดๆ เลย ปรากฏว่า
คืนวันน้ันในบรรดาผู้ที่ไปตัดไม้เหล่าน้ัน คนหน่ึงฝันไปว่าได้พบกับ
เทพยดาผ้รู กั ษาป่า และไดส้ ั่งเขาวา่ ใหเ้ รียนท่านเจ้าคณุ ราชกวี (ขณะ
นัน้ ทา่ นเจา้ คณุ พระอบุ าลีฯ ดำ� รงสมณศักดิเ์ ป็นพระราชกวี) ด้วยวา่
หากไม้ไผ่ไม่พอ และท่านเจา้ คณุ ต้องการอกี กใ็ หค้ นไปเอาได้อนุญาต
ให้แลว้ ดังน้ี
อกี เร่ืองหนง่ึ ทา่ นเลา่ ว่า กอ่ นทา่ นเจา้ คุณพระอุบาลฯี จะมา
สร้างพระใหญ่นนั้ มจี ีนคนหน่งึ อาศยั ทำ� กมั มฏั ฐานอยใู่ นถ้�ำภทั ราวุโธ
มาก่อน จนี คนนม้ี ีคณุ วิเศษหลายอยา่ ง ชาวบ้านเคารพนับถือมาก
จงึ เรยี กกนั ว่า “เซยี น” เซียนผู้น้ไี ด้ทำ� นายไวว้ ่า “ต่อไปอีกไม่นานจะมี
ผู้มบี ญุ สองพน่ี อ้ งมาสร้างวัดที่น่ี และวัดนีส้ ร้างข้นึ จะเจริญรงุ่ เรือง
มาก” อยู่ต่อมาไม่นานท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ และท่านเจ้าคุณ
พระเทพวรคุณ (ภทรฺ าวุโธ อ่ำ� ) แตค่ ร้ังยงั เปน็ พระครูปลัด กไ็ ดจ้ าริก
มาพักและตกลงใจสร้างวดั และสร้างพระใหญ ่ ตามที่ปรากฏอย่ใู นบดั นี้
สมจริงตามทเ่ี ซยี นไดท้ ำ� นายไวก้ ่อนนนั้
เซียนผ้นู ี้มคี ณุ วิเศษถงึ กับหา้ มฝนไมต่ กก็ได ้ คร้งั หนงึ่ ถึงคราว
มงี านมหกรรมสมโภชหลวงพ่อใหญ่ พอเรม่ิ งานฝนกเ็ ริ่มต้ังเคา้ มดื ครึ้ม
มาทุกทศิ ทาง ท่านเจา้ คุณพระอบุ าลีฯ จึงให้เซียนไปทำ� พธิ หี า้ มฝนอยู่
บนภูเขา ปรากฏเปน็ ทอ่ี ัศจรรย์ว่าฝนไมต่ กในบรเิ วณวดั ซงึ่ ก�ำลงั มงี าน

230 ประวัติพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)

อยู่นนั้ เลย แตไ่ ดต้ กอย่างหนกั โดยรอบๆ วัดและรอบภเู ขานนั้ และตก
อยู่เป็นเวลานาน เปน็ เหตุการณท์ นี่ ่าอศั จรรย์ยง่ิ นกั

คำ� จารกึ แผน่ ศลิ าทแ่ี ทน่ พระใหญ่ ครง้ั ที่ ๑

อยํ มหาพทุ ธฺ รูโป พทุ ฺธปฏิภาโค นาม
มหาเตโช มหานภุ าโว มหิทธฺ ิโก ตฏิ ฺ ตุ ยาว สาสนา

สุมังคลสวัสด์ิมีพระนามบอกไว้ว่า พระพุทธรูปใหญ่มหึมา
พระองค์นี้ วัดแต่หน้าตักเหนือพระแท่นขึ้นไปถึงท่ีสุดยอดพระเกศ
๑๘ วา วดั โดยขวางหน้าตักกว้าง ๑๑ วาขนาด ทรงพระนามวา่
“พระพุทธปฏิภาคมัธยมพุทธกาล” เป็นพระเฉลิมยุคแห่งพระพุทธ-
ศาสนา คอื สรา้ งเม่อื ปีชวด จตั วาศก นบั แตอ่ งคส์ มเดจ็ พระสัมมา
สัมพุทธเจา้ ตรัสรูพ้ ระอนตุ ตรสัมมาสมั โพธิญาณมาเปน็ ปที ่ีครบ ๒,๕๐๐
เป็นปีกงึ่ ๕,๐๐๐ แห่งพุทธกาล เป็นปที ี่ ๓ ในรัชกาลท่ี ๖ แห่งกรุง
รัตนโกสินทรมหนิ ทรายุธยาบรมราชธานี ไดล้ งมือก่อฤกษ ์ ณ วัน ๔ ค่�ำ
เดือนอา้ ย ปีชวด จตั วาศก เวลาเชา้ ๑ โมง ในเดอื น ๔ เพ็ญปีนัน้
ไดท้ ำ� การสมโภช ๓ วัน ๓ คนื รวมการกอ่ สรา้ ง ๑๐ เดอื นจงึ ส�ำเร็จ
ถงึ เดอื น ๔ เพ็ญปีหลังไดท้ �ำการมงี านใหญ่สมโภชอกี แตท่ รวดทรง
เป็นการสังเกตยากที่สุด เพราะที่สูงในการก่อสร้าง อาศัยสมัยอัน

231

ธรรมดาหากจะให้เปน็ ไป มผี บู้ รจิ าคทรัพย์ชว่ ยเปน็ อนั มากแต่คา่ จา้ ง
ส้ินเงิน ๑๓,๐๐๐ บาท ค่าปูนซิเมนต์และส่ิงของต่างๆ สิ้นเงิน
๓๔,๐๐๐ บาทเศษ ได้โดยชอบธรรม พระราชกวี (สริ ิจนโฺ ท จนั ทร)์
พระครูปลดั (ภทฺราวุโธ อ่�ำ) สองพน่ี ้องเป็นหวั หน้า ผู้ชกั ชวนบรรดา
ผู้ซ่ึงมีศรัทธาสถาปนาพระพุทธรูปองค์นี้ส�ำเร็จบริบูรณ์ ขออ�ำนาจ
พระรัตนตฺยานุภาพและมเหศักขเทวราชซึ่งศักดิ์สิทธ์ิ จงบันดาลให้
พระพทุ ธปฏิภาคเจา้ พระองค์นี ้ ทรงมหทิ ธิฤทธิเดชานุภาพเป็นสรณะ
แกส่ ัตวโลกสิ้นกลั ปาวสาน ขอความสขุ ส�ำราญซ่งึ ผู้หวงั ได้ขอแลว้ พึง
เปน็ ผลสำ� เรจ็ ทุกประการ

คำ�จารกึ แผน่ ศลิ าทแ่ี ทน่ พระใหญ่ ครง้ั ท่ี ๒

อยํ มหาพทุ ธฺ รูโป มหาเตโช มหานุภาโว
พทุ ฺโธ วยิ สพฺพสตตฺ านํ อตถฺ าย หิตาย สุขาย ยาว สาสนา ตฏิ ฺ ตุ
พระพุทธรูปใหญ่องค์น้ีทรงพระนามว่า “พระพุทธปฏิภาค
มัธยมพทุ ธกาล” สรา้ งเมื่อปชี วด พ.ศ. ๒๔๕๕ นับแตต่ ้นพทุ ธกาล
เป็นปี ๒,๕๐๐ เปน็ ปกี ง่ึ ๕,๐๐๐ ของพทุ ธศาสนา เปน็ ปีที่ ๒ แหง่
ฉฏฐฺ มมหาราชาสยามนิ ทรพระมงกุฎเจ้าสยาม สามปีจึงสำ� เรจ็ ส้นิ เงนิ
๔๗,๐๐๐ บาทเศษ, ครัน้ อยู่มาได้ ๑๕ ปี, ปขี าล พ.ศ. ๒๔๖๙ นบั

232 ประวัติพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)

แต่ต้นพุทธกาลเป็นปี ๒๕๑๕ เป็นปีท่ี ๒ แห่งสตฺตมมหาราชา
พระปกเกล้าเจา้ สยาม สว่ นอายขุ องอตตฺ โนผ้พู าสร้างย่างเขา้ ๗๑ ป ี
ได้พร้อมด้วยสานุศิษย์และทายกทายิกา ช่วยกันออกแรงและปัจจัย
ท�ำการปฏสิ ังขรณ์เสริมใหอ้ ว้ นให้แน่นหนา ใหส้ วยงามดีย่งิ ขนึ้ กวา่ เก่า
เทคอนกรีตโอบขึน้ ไปใหม ่ สิ้นปูนซีเมนต์ ๔๐๐ ถงั ส้นิ เหลก็ ๒๕๐
หาบ ท�ำอยู่ ๗ เดอื น จึงส�ำเรจ็ คราวนรี้ วมทง้ั ค่าจ้างและค่าส่ิงของ
สนิ้ เงนิ ๑๖,๐๐๐ บาทเศษ แลว้ ทนั ไดส้ มโภชในเดอื น ๔ ส่วนพระ
สงั กจั จายน์สรา้ งเมื่อปฉี ลู พ.ศ. ๒๔๖๘ ส้นิ เงนิ ๑,๕๐๐ บาทเศษ
สว่ นวิหารพระสังกจั จายน ์ สร้างปขี าล พ.ศ. ๒๔๖๙ ปีเดียวกนั กับ
การปฏสิ ังขรณพ์ ระใหญส่ ิน้ เงิน ๓,๕๐๐ บาท
ส่วนพระใหญเ่ พิ่มสว่ นสงู ส่วนใหญ่ข้นึ อกี หน้าตกั กว้าง ๑๑ วา
๑ ศอก ส่วนสงู วดั แตห่ น้าตักขึน้ ไปถึงยอดพระเกศได้ ๑๘ วา พระโอษฐ์
กว้าง ๕ ศอกคบื พระนาสิกยาว ๑ วา พระเนตรข้างละ ๑ วา
พระกณั หย์ าว ๓ วา ๒ ศอก พระอังสาขา้ งละ ๓ วา พระอบุ าลี-
คณุ ูปมาจารย์ (สริ ิจนโฺ ท จนั ทร์) เจา้ อาวาสวดั บรมนิวาส เป็นประมุข
พระครูศีลวรคุณ (ภทรฺ าวุโธ อำ่� ) พระอมราภริ กั ขติ (ชติ มาโร ชัย)
เป็นผูช้ ่วย พระวนิ ัยธรปลืม้ พระปลดั ล ี เป็นนายช่าง ไดต้ ้งั ใจท�ำ
มุง่ จะใหส้ วยงาม จนถงึ เชญิ เทวนิกายผมู้ ีอิทธฤิ ทธมิ าชว่ ย ไดเ้ ห็นนิมติ
ตามปรารถนา ขอใหม้ เี ดชานภุ าพอนั ไพศาล ผปู้ รารถนาโดยชอบธรรม
มาวิงวอน ขอจงใหส้ ำ� เร็จตามประสงค์ทุกประการเทอญ

233

ถำ้� ภทั ราวโุ ธ

ถ�้ำภัทราวุโธ อยู่ท่ีไหล่เขาพระงาม ถัดจากองค์พระพุทธ
ปฏภิ าคมธั ยมพทุ ธกาลลงมา เดมิ เรยี กกนั วา่ “ถำ้� พญามงั กร” ตอ่ เมอื่
พระยาสมบตั ยาภบิ าล (ทรพั ย์) ได้บริจาคเงิน ๑,๓๐๐ บาท ปฏสิ งั ขรณ์
ถ�ำ้ และพระพุทธไสยาสนใ์ นถ้ำ� นี้ เม่อื พ.ศ. ๒๔๕๕ นนั้ แลว้ จึงตง้ั
ชอ่ื ตามนามฉายาของทา่ นเจา้ คณุ พระเทพวรคณุ วา่ “ถ้ำ� ภทั ราวโุ ธ”
แต่น้ันมา ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ ได้กล่าวถึงถ้�ำน้ีไว้ว่า “..เป็น
สถานท่ชี อบใจเห็นเปน็ มงคลสถาน ปากถำ้� น้นั เป็นเง้อื มเปน็ ปากมงั กร
ผินหน้าสทู่ ิศตะวนั ออก เวลาบ่ายไดร้ บั เงาภเู ขาเยน็ สบายดี เชื่อวา่ ใน
บริเวณตรงหนา้ มังกรน ี้ คงจะมคี วามเจริญสบื ไปในเบ้อื งหนา้ ...”
ภายในถ�้ำน ี้ เปน็ ทรี่ วบรวมพระพุทธรปู ปางตา่ งๆ หลายยคุ
หลายสมยั และรวบรวมไว้ซ่ึงศิลปวัตถอุ ีกหลายอย่าง ท้ังทพี่ บใน
บริเวณเขาพระงามและบริเวณใกล้เคียง ตลอดถึงท่ีมีผู้บริจาคให้
เท่ากับเป็นพิพธิ ภณั ฑข์ องวัด ซึง่ มผี ู้เข้าชมอย่เู สมอ
ท่ีถำ�้ น ี้ เปน็ สถานทที่ ศี่ ักดิ์สทิ ธ์แิ หง่ หนึง่ ของวดั เม่อื แรกเร่ิม
สร้างวัดน้ี ปรากฏว่าภายในถ้�ำน้ีมีสัตว์ร้ายชุกชุมมาก แต่สัตว์ร้าย
เหล่านี้จะประทุษร้ายก็เฉพาะผู้ทุศีลเท่านั้น เคยมีพระภิกษุไปขอ
อาศัยบ�ำเพ็ญสมณธรรม ในภิกษุเหล่าน้ัน พวกทุศีลจึงถูกสัตว์ร้าย
ประทษุ ร้ายรบกวนและใหม้ อี นั เปน็ ตา่ งๆ เช่น ละเมอเพ้อฝันเหน็ แต่
ภูตผีปีศาจมาเบียดเบียนหลอกหลอน จนไม่สามารถท่ีจะอยู่บ�ำเพ็ญ

234 ประวัติพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)

สมณธรรมในถำ้� น้นั ตอ่ ไปได ้ ส่วนภกิ ษทุ ีม่ ีศีลบริสทุ ธิส์ ำ� รวมดแี ลว้ จัก
อย่บู ำ� เพญ็ สมณธรรมในถ้�ำน้นั ด้วยความผาสกุ สตั ว์ร้ายตา่ งๆ ก็ไม่
ประทุษร้าย ภตู ผปี ีศาจก็ไม่รบกวนหลอกหลอน เหตกุ ารณเ์ ช่นนี้ใช่
จะเกดิ เฉพาะแกภ่ ิกษุเท่านัน้ กห็ าไม่ แมอ้ ุบาสก หรือศิษยว์ ัดท่ไี ปพัก
อาศยั เพียงคนื สองคืนก็เปน็ เชน่ เดยี วกัน ผู้ทศุ ีลก็ทนอยู่ไมไ่ ด ้ สว่ นผตู้ ัง้
อยู่ในศลี กอ็ ย่ไู ดอ้ ยา่ งผาสกุ

ถำ�้ ราชกวี

ถ�ำ้ ราชกว ี อยู่ถัดจากถ�ำ้ ภัทราวโุ ธขึ้นไป เถ้าแกเ่ อ้งและเถ้าแก่
เฮงมศี รทั ธาไดป้ ฏิสังขรณ์ถำ้� มีประตหู นา้ ตา่ ง ลาดพนื้ ด้วยซีเมนต์
และมีถังน�ำ้ ซเี มนต์ดว้ ย สิ้นเงินในการก่อสรา้ ง ๕๐๐ บาทเศษ และ
ได้จารึกนามไวต้ รงประตขู ึ้นไปวา่ ถำ้� ราชกวี ร.ศ. ๑๓๑ (ตั้งช่อื ถำ้� ตาม
สมณศกั ดข์ิ องทา่ นเจ้าคณุ อุบาลฯี เมอ่ื คร้ังไปสรา้ งวดั )
ส่วนภายในถ�้ำเป็นรูปปั้นพระพุทธเจ้าปางน่ังสมาธิ บ�ำเพ็ญ
ทกุ กรกริ ยิ า (ทรมานตน) มรี า่ งกายซบู ผอม มคี ตใิ หผ้ กู้ ราบไหวไ้ ด้
ระลกึ ว่า การท�ำการใดๆ ถ้าตึงนัก ทรมานนักย่อมไม่ประสบความ
สำ� เรจ็ ดงั่ พณิ ๓ สาย ถา้ ตงึ นกั สายพณิ กจ็ ะขาด หยอ่ นนกั ดงั ไมไ่ พเราะ
ต้องพอดีๆ ซง่ึ เรียกว่า มัชฌมิ าปฏิปทา ทางสายกลาง จงึ จะประสบ
ความสำ� เรจ็


Click to View FlipBook Version