The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ประวัติพระอุบาลีคุณูปมาจารย์

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ืทีมงานกรุธรรม, 2022-05-06 22:44:56

ประวัติพระอุบาลีคุณูปมาจารย์

ประวัติพระอุบาลีคุณูปมาจารย์

Keywords: ประวัติพระอุบาลีคุณูปมาจารย์

135

น่ีแหละหนอ..ท่ีเขาว่าทุกข์ของสมภารเจ้าวัด มันทุกข์หนัก
อย่างนี้เองล่ะหนอ..หนักใจแท้ๆ เร่ืองๆ น้ีคนใกล้ตัวเราก็ช่วยไม่ได ้
แถมคนท่ีพอจะช่วยได้ ก็เป็นคนไกลตัวท่ีอยู่กันคนละหมู่อีกต่างหาก
ตัดสนิ ใจยากแท้ๆ จะท�ำอย่างไรดนี ะ ? จะท�ำอย่างไรดี ? อยากให้พระ
ศรวี ิชยั มาช่วยจรงิ ๆ จะท�ำอยา่ งไรดี จะทำ� อย่างไร ท�ำอยา่ งไร แต่
เอาเถอะ เพ่ือเห็นแก่งานพระศาสนา จ�ำเราจักต้องบากหน้าไปหา
พระศรีวิชัย ขออาราธนานิมนต์ท่านมาช่วยงานบูรณะพระวิหารวัด
เจดียห์ ลวงสกั ครั้ง คงไม่เป็นไรหรอกนะ คงไม่เปน็ ไรหรอกนะ คงไม่
เป็นไรหรอก คงไมเ่ ปน็ ไร
ท่านเจ้าคุณอบุ าลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนโฺ ท) ไดแ้ ตน่ ัง่ คิด
นอนคดิ รำ� พงึ อยู่เชน่ นเี้ ป็นหลายเวลา จนกระทงั่ ม่อยหลับจำ� วัดไปใน
ตอนดกึ ของวันๆ หนงึ่ แตค่ รัน้ พอรุง่ เช้าของวันต่อมาภายหลัง แสง
พระอาทติ ย์เริม่ ฉายฉานจบั ทอ้ งฟ้าไดไ้ มน่ านเทา่ ไร เรอื่ งทคี่ าดคดิ แต่
ไม่นึกวา่ จะเปน็ ไปได้ก็พลันบังเกดิ ขน้ึ ในทันใด
“พระเดชพระคุณหลวงพ่อขอรับๆ พระศรีวิชัยมาขอเข้า
นมสั การขอรับ” เสียงพระอุปฏั ฐากองค์หนง่ึ เขา้ มากราบเรียนปลกุ
ท่านเจ้าคณุ อบุ าลีฯ ถงึ ในหอ้ งจ�ำวัด เม่ือไดฟ้ ัง ทา่ นเจ้าคณุ จนั ทร์ฯ
แทบตกตะลึงอง้ึ อ้ันไปครู่หนึง่ ถงึ กับต้องถามซำ�้ เหมือนไม่อยากทีจ่ ะ
เชื่อสิ่งที่หูขององค์ท่านได้ยินเม่ือสักครู่น้ีเลยทีเดียวว่า “เจ้าว่ากระไร
เจา้ ว่าใครมาขอเขา้ พบเรานะ” “พระศรวี ชิ ยั ไงขอรับ” “พระศรีวชิ ัย
ไหน ?” “กพ็ ระครบู าศรีวิชัย สิรวิ ชิ โย หรอื ครบู าศลี ธรรม ที่ชาวบ้าน
นบั ถือกันวา่ “ตนบญุ ” จากวัดพระสิงหห์ ลวงองคน์ น้ั นัน่ แหละขอรับ

136 ประวัติพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)

พระเดชพระคุณ” เม่อื ได้ฟัง ทา่ นเจ้าคณุ อบุ าลีคุณปู มาจารย์ (จนั ทร์
สิริจนฺโท) ถึงกับนั่งอึ้งไปครู่หนึ่งอย่างคาดคิดไม่ถึง ก่อนท่ีจะรีบส่ัง
พระอุปฏั ฐากในทันทีนนั้ เองว่า
“เออ...เรารู้แล้ว ท่านจงรีบออกไปบอกพระศรีวิชัยท่าน
เสียก่อนเลยนะว่าเด๋ียวสักครู่ เราจะออกไป แล้วท่านอย่าลืมหาน�้ำ
หาทา่ ถวายพระศรีวชิ ยั อยา่ ให้ขาดเลยทเี ดียวล่ะ...” “ขอรับ พระเดช
พระคุณ” ระหว่างท่ีท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ ก�ำลังล้างหน้าล้างตาและ
ครองจีวรอยู่นัน้ ทา่ นกอ็ ดทจี่ ะคดิ ไปเสียมิได้วา่ พระศรีวิชยั ทเี่ ราเพง่ิ
นกึ ถึงอยู่เม่ือวนั วาน มาหาเราดว้ ยกจิ อนั ใดนะ? นึกไม่ออกจรงิ ๆ
และข้อข้องใจของท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ ก็มลายหายสูญไป
จนสิน้ เมือ่ ทา่ นออกมายงั ห้องข้างนอก แลเหน็ พระภกิ ษชุ าวเหนอื วยั
กลางคน ท่าทางเปย่ี มด้วยบุญราศเี จดิ จา้ นงั่ สงบเสงย่ี มอยูก่ ับพน้ื มขี ัน
ข้าวตอกดอกไม้ เครอ่ื งนมัสการแบบประเพณีลา้ นนาตัง้ อยูเ่ คยี งขา้ ง
พร้อมสรรพ ในจิตส�ำนึกของท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ นึกรู้ได้ทันทีว่า
“นี่เอง...พระศรีวิชัย สิริวิชโย ตนบุญแห่งล้านนาไทย” กริยาท่าทาง
ดูสงบเสงย่ี มเรยี บรอ้ ย แต่ช่างดสู ง่างามมีราศอี ยใู่ นที นา่ อศั จรรยแ์ ท้
และทา่ นเจา้ คุณอุบาลีฯ (จันทร์ สริ จิ นโฺ ท) ก็แทบจะต้องตกตะลงึ
อีกครง้ั เม่ือทา่ นพระครบู าเจ้าศรีวิชยั ไดถ้ วายเครื่องสักการะนมสั การ
เรียบร้อยแล้ว ท่านพระครูบาศลี ธรรมเจ้าก็ไดก้ ราบเรยี นทา่ นเจ้าคณุ
อุบาลฯี เลยทีเดียววา่ “ทา่ นเจ้าคณุ ฯ เปน็ พระผ้ใู หญ่ แตข่ ้าเจา้ ผู้เป็น
พระผ้นู อ้ ย หาเป็นการสมควรไม่ทท่ี า่ นเจา้ คุณฯ จะต้องล�ำบากมาหา
ข้าเจา้ แมส้ กั นอ้ ย ขา้ เจ้าจงึ ได้รบี มากราบไหว้สาท่านเจา้ คุณฯ ในวนั น้ี
เสยี กอ่ นเลยทเี ดยี ว”

137

เมื่อได้ฟังค�ำของครูบาเจ้าศีลธรรม ท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ ก็อด
ให้สะทา้ นใจด้วยความทึ่งแกมต่ืนตะลงึ มไิ ด้ เอะ๊ ! พระศรวี ิชยั รู้ความคิด
เราได้อยา่ งไร ? คดิ อยอู่ งค์เดียวเมอ่ื วันก่อนเองแท้ๆ ยงั ไมไ่ ด้บอกใคร
หรอื ใชใ้ ครให้ไปนมิ นตพ์ ระศรวี ชิ ัยมาเลยแมส้ กั ค�ำ หรอื ว่าพระศรีวิชยั
จะมญี าณอา่ นใจเราได ้ เหมอื นอย่างทท่ี า่ นมนั่ ภูริทัตโต สหายเราเคย
แสดงให้ประจักษ์มาหลายคร้ังหลายรอบแล้ว ? น่าอัศจรรย์ใจจริงๆ
ไม่ใช่พระธรรมดาแนแ่ ลว้ พระศรีวชิ ยั องค์น้ี
เมอ่ื ท่านเจา้ คุณอุบาลีฯ หายจากอาการตะลึง ท่านก็รบี ถาม
กลบั ไปเลยทีเดียวว่า “แลว้ ท่านรู้ไดอ้ ย่างไร วา่ เราต้องการจะไปหา
ท่านละ่ ครับ ?” แทนที่จะตอบ ครูบาเจา้ ศรีวิชยั ก็ได้แตย่ ม้ิ แต่กราบ
เรยี นออกนอกค�ำถามไปในคนละเร่ืองเดียวกนั มิให้ยืดเยือ้ อีกต่างหาก
ด้วยว่า “แล้วตอนน้ีการบูรณะพระวิหารหลวงเป็นอย่างใดล่ะขอรับ
ท่านเจา้ คุณ ?”
เม่ือได้ฟังค�ำของตนบุญแห่งล้านนาไทย ท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ
ก็แทบอ้ึงไปอีกรอบด้วยความประหลาดใจเป็นที่สุด รู้อีกแล้วๆ..
พระศรีวิชัย รู้ความคิดความประสงค์เราจนหมดส้ินแล้วจริงๆ และ
พระศรีวิชัยยงั เป็นผู้มปี ัญญาฉลาดพดู เลียบเคียงหาทางชว่ ยเรา โดยท่ี
มิตอ้ งใหเ้ ราซึ่งเปน็ พระผใู้ หญ ่ ซึ่งสงู กว่าทั้งอายุพรรษาและสมณศกั ด์ิ
ถึงข้ันพระราชาคณะช้ันรองสมเด็จฯ ต้องลดตัวลงไปขอร้องพระ
ออ่ นพรรษากวา่ และไมม่ สี มณศกั ดใิ์ ดๆ แมแ้ ตเ่ พยี งขน้ั ตำ่� สดุ แถมยงั เปน็
คนละนิกายตา่ งหากใหม้ าชว่ ยเหลืองานซ่อมพระวหิ าร วัดเจดยี ์หลวง
เราน้ีแล้วจริงๆ ดูเหมือนว่าเราไม่จ�ำต้องกล่าวค�ำใดให้มากความและ

138 ประวัติพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)

ลำ� บากใจอนั ใดอกี แลว้
เม่ือเป็นที่ประจักษ์ใจเย่ียงนี้แล้ว ท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ ก็เลย
ปรับทุกข์กับพระครูบาเจ้าศรีวิชัยเรื่องการบูรณะผนังพระวิหาร
วัดเจดียห์ ลวง ซ่งึ ชา่ งของท่านได้ก่อแล้วพงั ทลายลงมาทกุ คร้ัง เพราะ
ไม่ร้หู ลกั วชิ าในการนวกรรมสง่ิ กอ่ สรา้ งขนาดใหญ่เช่นนี้มาก่อน จะแก้
อย่างไรก็มิรู้แล้วเสียที ซึ่งท่านครูบาเจ้าศรีวิชัยเม่ือได้ฟัง ก็ได้แต่
ถวายค�ำแนะน�ำถึงเทคนิคและวิธีการพิเศษ เพ่ือแก้ปัญหาดังกล่าว
แดท่ ่านเจ้าคุณอบุ าลีฯ พร้อมกับได้ให้เรยี ก สลา่ (ช่างก่อสรา้ ง) ของ
วัดเจดียห์ ลวง มารบั ฟงั วิธีการแกไ้ ขดังกล่าวซ�้ำอกี คร้ังหนึง่ จนเป็นที่
เข้าใจเป็นอันดี ท่านพระครูบาเจ้าฯ จึงได้กราบนมัสการลาท่าน
เจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ กลับคืนสู่วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร
ตามเดิมในทีส่ ุด ท้งั ยังไดก้ ราบเรยี นฝากไวอ้ ีกประโยคด้วยวา่ “การ
บรู ณะวิหารนี้ หากยังมขี อ้ ขัดข้องอันหนงึ่ อันใดแลว้ ท่านเจา้ คุณฯ
ไม่ต้องล�ำบากไปหาข้าเจ้าดอก เพียงให้คนไปตาม ข้าเจ้าจักมาดู
มาแก้ไขให้จนเสร็จการจงได้ทีเดียว ท่านเจ้าคุณฯ อย่าได้วิตกกังวล
สิ่งใดไป” “ขอบใจท่านมากนะ พระศรีวิชัย...ขอบใจท่านมากจริงๆ”
เจา้ คุณอุบาลีฯ ได้แตต่ อบรับอย่างซาบซึ้งและประทับใจในน�ำ้ ใจไมตรี
ท่ีพระศรีวิชัยได้มอบถวายให้ ในยามที่ท่านก�ำลังเคว้งคว้างอยู่ในอก
เพยี งล�ำพังองค์เดยี ว
ด้วยไม่รู้จะหันหน้าไปปรึกษาใครอย่างคาดคิดไม่ถึงมาก่อนเลย
อยา่ งแทจ้ รงิ และด้วยคำ� แนะน�ำอนั ถกู ตอ้ ง และการกระท�ำอันหวังให้
เกิดประโยชน์เกอื้ กลู แกก่ ันอย่างบริสุทธใิ์ จแทจ้ ริง ในไมช่ า้ การบรู ณะ

139

พระวหิ ารขนาดมหึมาของวดั เจดีย์หลวง กไ็ ดส้ ำ� เรจ็ เสรจ็ สิน้ ลุล่วงลงไป
ด้วยดี สมดังเจตนารมย์ของท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์และ
เจา้ แกว้ นวรฐั ทกุ ประการ และในงานฉลองพระวหิ าร วัดเจดยี ์หลวง
อนั ยิ่งใหญ่ และท่ามเสียงแซ่ซ้องสาธกุ ารจากท้งั เบอ้ื งบนและเบือ้ งลา่ ง
นน้ั จะมีกีค่ นทจี่ ะลว่ งรู้เข้าไปถงึ กลางใจของท่านเจา้ คณุ อบุ าลฯี ไดว้ า่
ทา่ นก�ำลงั คดิ อะไรของท่านอยู่ในบัดน้ัน แตห่ ากจะให้คาดเดา เราท่าน
ก็อาจที่จะได้ยินถ้อยความประโยคหน่ึงอยู่ซ้�ำแล้วซ้�ำอีกก็เป็นไปได้ว่า
ขอบใจนะ ขอบใจเธอมาก ขอบใจเธอจริงๆ พระศรวี ิชัย และนเ่ี อง
“มิตรภาพสองโลก ทีส่ ะทา้ นได้แม้ท้งั ดนิ และฟา้ ระหว่างพระสอง
นกิ าย (ธรรมยุต - มหานกิ าย) ก็ได้อบุ ตั บิ งั เกิดขึ้นอยา่ งสวยงามและ
ลงตวั ท่ีสุด ณ โอกาสบดั เดีย๋ วนแ้ี ลว้

ทา่ นเจา้ คณุ อบุ าลฯี รบั อาราธนานมิ นตเ์ ปน็
ประธานถวายศาลาโรงธรรมทบี่ า้ นสามผง

เม่ือคร้ังท่ีญาติโยมจะท�ำพิธีถวายศาลาโรงธรรมที่บ้านสามผง
ในงานครัง้ นี้ไดน้ มิ นตค์ รูบาอาจารย์มารว่ มงานเป็นจ�ำนวนมาก และที่
สำ� คญั คือ ทา่ นเจ้าคณุ อุบาลฯี (จนั ทร์ สริ จิ นฺโท) ท่านกไ็ ดร้ ับกจิ นมิ นต์
ไปเป็นประธานด้วย หลวงปู่ม่นั จงึ ได้พาครูบาอาจารยเ์ ฒ่า (หลวงปู่
ทองรัตน์ กนตฺ สโี ล) พรอ้ มพระเณร ๔ - ๕ รปู เพื่อไปรับทา่ นเจา้ คณุ
อุบาลฯี ที่ทา่ รถ เพราะสมยั นั้นรถหายาก และเข้าไมถ่ ึง

140 ประวัติพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)

ในระหว่างคณะได้เดินทางกลับ พระเณรที่ไปด้วยกันทุกรูป
ต่างตกใจ ยืนท�ำอะไรไม่ถูก เพราะข้างหน้ามีควายป่าตัวเข่ือง
ยืนจังก้าขวางทางอยู่ ทันใดน้ัน ครูบาอาจารย์เฒ่าได้ขอโอกาส
เดินน�ำขบวนตรงร่ีไปที่ควายตัวนั้น พร้อมยกขาอันแข็งแกร่งและ
ว่องไวถีบเขา้ ท่ีชายโครงควายตัวนน้ั อย่างแรง เสียงดงั ตึบ ควายป่า
ตัวน้ันตกใจว่ิงน�ำหน้าควายป่าตัวอื่นที่ก�ำลังกินโป่งอยู่แตกกระเจิงไป
คนละทิศละทาง
แต่ก่อนสถานท่ีแห่งนี้เป็นดินโป่งท่ีสัตว์ป่าชอบลงมากินเป็น
ประจำ� และมบี ึงอยหู่ ลายบงึ ด้วยกนั บางชว่ งเป็นป่ารกทบึ ครบู า-
อาจารย์มาพักวเิ วกแถวนเ้ี ปน็ จำ� นวนมาก
ตามค�ำบอกเล่าว่า ที่เรียกว่า สามผง เพราะวันหน่ึงมี
นายพรานออกล่าสัตว์ทีโ่ ป่งนี้ ได้ยิงกวางตัวหนึง่ จนบาดเจบ็ ว่ิงไป
ไม่ไกลกล็ ้มลง ทุกคนทวี่ ง่ิ ตามกวาง คิดวา่ กวางตัวนัน้ คงหมดแรงและ
มัน่ ใจแลว้ เลยชะลา่ ใจ พอเดนิ เข้าไปใกล้ กวางตวั นัน้ ได้ลุกขนึ้ แลว้
กระโดดสามครงั้ ทำ� ใหฝ้ ่นุ ฟ้งุ กระจายไปท่ัว ทุกคนออกหาอย่างไรก็
ไม่พบ คิดวา่ กวางตัวน้ันคงมอี ิทธฤิ ทธ์ิ ต่อมาไดม้ กี ารสรา้ งกระต๊อบ
ข้ึน ๒ - ๓ หลังใกล้โป่งน้ันเพื่อพักแรมในคราวไปล่าสัตว์ ต่อมา
ไดข้ ยายใหญ่จนเป็นบ้านเป็นเมือง จึงเอานิมิตหมายครั้งน้ันมาเป็น
ช่ือบ้าน เรียกว่า “บา้ นสามผง”

141

หลวงปเู่ ทสกก์ ลา่ วชนื่ ชมคณุ ธรรม
ทา่ นเจา้ คณุ อบุ าลฯี

หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง ได้กล่าวชื่นชม
คณุ ธรรมของทา่ นเจา้ คณุ อุบาลฯี ไว้วา่ “ครั้งหน่งึ ท่านเปน็ ฝ ี หมอมา
ผ่าฝีให้โดยไม่ได้ฉีดยาชา ขณะท่ีผ่า พระภิกษุที่อยู่ในท่ีนั้นพากัน
นำ้� ตาไหล เพราะคดิ ว่าทา่ นคงเจ็บมาก แตท่ า่ นกลบั นอนใหห้ มอผา่
เฉย ไมแ่ สดงอาการเจบ็ ใดๆ ทา่ นยงั ว่าคนโดนผ่ายงั ไมร่ ู้สึกอะไรเลย
นี่แสดงถึงว่าท่านสามารถแยกกายกับจิตออกจากกันได้ ใช้ขันติข่ม
เวทนาได้อย่างดเี ยย่ี ม” อกี คร้ังหนง่ึ ขณะข้ึนธรรมาสน์เทศน ์ เขา่ ท่าน
ชนธรรมาสนเ์ กิดขาหัก แตท่ ่านกย็ งั ขึ้นธรรมาสน์เทศนไ์ ดจ้ นจบ เมอ่ื
ญาตโิ ยมนมิ นตท์ ่านลงจากธรรมาสน์ ท่านก็วา่ “จะลงไดย้ ังไง ขามนั
หักแลว้ ” ท่านเจา้ คุณอบุ าลีฯ เป็นบดิ าของพระธรรมยุตกิ นิกายในเขต
ภาคเหนือ ท้ังฝา่ ยปรยิ ัตแิ ละปฏบิ ตั ิ

142 ประวัติพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)

หลวงปแู่ หวนพบกบั ทา่ นเจา้ คณุ อบุ าลฯี (พ.ศ. ๒๔๖๔)

(จากหนังสือประวัตหิ ลวงปูแ่ หวน สุจณิ โฺ ณ)

กิตติศัพท์ในทางด้านการเทศน์และการปฏิบัติธรรมของท่าน
เจา้ คุณอบุ าลคี ุณูปมาจารย์ ไดข้ จรกระจายไปทว่ั ในสังฆมณฑลภาค
อีสานในสมัยนัน้ ทัง้ พระภิกษุ สามเณร และคฤหสั ถ์ผใู้ ครต่ ่อธรรม
ปฏิบัติ ตา่ งกก็ ระหายทจี่ ะไดฟ้ ังธรรมอบรมจากท่าน ดว้ ยเหตุนน้ั ในปี
พ.ศ. ๒๔๖๔ หลวงปแู่ หวนจงึ ตดั สินใจเดนิ ทางมากรงุ เทพฯ เพอื่ กราบ
นมัสการทา่ นเจ้าคุณอุบาลีคุณปู มาจารยท์ ีว่ ดั บรมนวิ าส
การเดนิ ทางเข้ากรุงเทพฯ ในคร้งั น้นั นบั เปน็ คร้ังแรกในชีวติ
ท่านเดินทางจากจังหวัดอุดรธานี มายังจังหวัดนครราชสีมาด้วยเท้า
ผ่านหมู่บ้านน้อยใหญ่มาโดยล�ำดับ ในสมัยน้ันประชาชนส่วนมาก
ยังสับสนระหวา่ งการนบั ถอื ผแี ละการนับถือพระไตรสรณาคมน์ ทุก
หมู่บ้านท่ีผ่านไปจะมีศาลเทพารักษ์ ซึ่งเรียกตามภาษาท้องถิ่นว่า
“ศาลปู่ตา” ประจ�ำอยู่เป็นส่วนมาก ในปีหน่ึงๆ จะมีการเซ่นไหว้
ประจำ� ปีกนั ครัง้ หนงึ่ ซ่ึงจะท�ำเป็นงานใหญ่ นอกจากจะมีการเซน่ ไหว้
ประจ�ำปแี ลว้ ยังมีการเซน่ ไหว้เฉพาะรายอีก เชน่ ถา้ มีการเจบ็ ปว่ ย
หรอื พวกสตั ว์ เชน่ วัว ควาย ล้มเจ็บลง เจา้ ของก็จะไปบวงสรวง
เซน่ ไหวก้ นั ศาลปู่ตาน้มี ักต้ังอย่ชู ายปา่ ใกลห้ มบู่ า้ น ป่าเชน่ นีช้ าวบา้ น
กลัวกันมากไม่มีใครกลา้ เขา้ ไปตัดไม้ในปา่ พวกเขากลา่ ววา่ ถา้ ใครขืน
เขา้ ไปตัดไม้ในปา่ จะโดนผีปู่ตาเล่นงานเอา

143

ในระหว่างท่ีหลวงปู่แหวนเดินทางไปนั้น เข้าไปพักอาศัยอยู่
ตามดงปตู่ านัน่ เอง หลวงปู่เล่าวา่ เปน็ การดีอย่างหน่งึ เวลาเขา้ ไปพัก
อยูใ่ นดงเชน่ น้ันผู้คนก็ไมม่ ารบกวน จึงสบายในอิริยาบถ เวลาภาวนา
ก็สงบด ี ขอ้ ดอี ีกอย่างหน่ึงก็คอื เม่อื พวกชาวบา้ นเห็นว่า พระเข้าไป
อยูใ่ นดงปู่ตาไม่มีอนั ตรายใดๆ พวกเขากอ็ ัศจรรยจ์ ึงเปน็ โอกาสของเรา
ท่ีจะแนะนำ� ให้เขาร้จู กั ไตรสรณาคมน์และศีลต่อไป
แต่บางแห่งเมือ่ เขา้ ไปพักอยใู่ นดงป่ตู า พวกชาวบา้ นไมพ่ อใจ
ทจี่ ะให้พกั ก็มี พวกเขากลัวว่าเม่ือมีพระเขา้ ไปพกั พวกผีจะออกมา
ท�ำอันตรายแก่ชาวบ้านได้ ในท่ีเช่นนั้นต้องช้ีแจงให้เขาเข้าใจเหตุผล
หมู่บ้านต่างๆ ที่ผ่านมาส่วนมากจะมีวัดตั้งอยู่ แต่เห็นจะเป็นเพราะ
พระไม่ช้ีแจงอบรมสั่งสอนชาวบ้านก็เป็นได้ พวกชาวบ้านจึงนับถือผี
เอาจรงิ เอาจงั เชน่ นน้ั
เมื่อเดินทางเข้าเขตจังหวัดนครราชสีมาก็ประสบกับปัญหาการ
บณิ ฑบาต กลา่ วคือบางแห่งเวลาไปบิณฑบาตได้เพยี งข้าวเปลา่ ก็ม ี ได้
ขา้ วกบั พรกิ กม็ ี ได้ขา้ วกับมะเขอื ก็มี เมอื่ ได้มาอย่างไรกฉ็ นั ไปอยา่ งน้นั
ฉันไปตามมีตามได้ เพราะการเลี้ยงชีวิตของเราเน่ืองด้วยผู้อื่น
ต้องท�ำตัวให้เป็นผู้เลี้ยงง่าย ไม่ควรท�ำตัวให้มัวเมามักมากในอาหาร
จนเกินเลย จะท�ำให้เกิดความล�ำบากแก่ตนเอง ส่วนมากชาวบ้าน
เขามี เขาบริโภคกนั อย่างไร เขาก็จะใส่บาตรมาอยา่ งน้นั พระผูเ้ ป็น
ทักขิไณยบุคคลจึงไม่ควรลืมปฏิสังขาโยในเวลาบริโภคอาหาร หรือ
ปัจจัยส่ีท่ีทายกเขาถวายมาด้วยศรัทธา ไม่เช่นนั้นอาจจะท�ำศรัทธา
ไทยให้เสือ่ ม ตนเองก็จะประสบกับความยงุ่ ยากเดอื ดร้อน เพราะ

144 ประวัติพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)

ปจั จัยสที่ ่หี าไม่ไดต้ ามต้องการหรอื ถกู อธั ยาศยั ซง่ึ เปน็ เร่ืองทไ่ี มถ่ กู ต้อง
ตามความประสงค์ของนกั บวชเรา ผดู้ ำ� รงชีวิตด้วยความเปน็ อยู่อยา่ ง
งา่ ย ทพ่ี ระสัมมาสัมพทุ ธเจา้ กด็ ี พระอรยิ สาวกทงั้ หลายกด็ ี ทา่ นได้
ด�ำเนินมาเป็นตัวอยา่ งแล้วในอดตี กาล
เมื่อเดินทางเข้าไปถึงตัวจังหวัดแล้ว จึงโดยสารรถไฟเข้า
กรุงเทพฯ ท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ ได้ทราบว่าเป็นศิษย์ของหลวงปู่ม่ัน
ภูริทตฺโต ท่านก็ดีใจ ถามถงึ หลวงปมู่ น่ั วา่ ปจั จบุ นั นอ้ี ยทู่ ไี่ หน เป็น
อย่างไร จึงกราบเรยี นให้ท่านทราบทกุ อย่าง เม่ือทา่ นกลา่ วปฏิสันถาร
พอสมควรแลว้ ท่านสง่ั ใหพ้ ักอยูก่ ุฏิหลงั หนงึ่ วนั ต่อมาไดเ้ ข้าไปกราบ
สนทนากับท่านทุกวัน เวลาท่านว่างจากแขกหรือเวลาท่ีท่านว่างจาก
งานของท่านแล้ว ท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ เล่าความเก่ียวข้องระหว่าง
ตัวท่านกับหลวงปู่มั่นให้ฟัง พร้อมกับสรรเสริญความเด็ดเดี่ยวใน
ธรรมปฏิบตั ขิ องหลวงปู่ม่ัน
พกั อยูก่ บั ทา่ นหลายวันจึงมีโอกาสไดฟ้ งั ธรรมจากท่านบา้ ง มี
โอกาสไดก้ ราบเรียนถามปญั หาทีส่ งสยั ในด้านธรรมปฏิบตั บิ ้าง ในทาง
ด้านพระวินัยบ้าง ปรากฏว่าท่านตอบได้อย่างคล่องแคล่วไม่ติดขัด
สมกับค�ำเล่าลอื สรรเสรญิ ท่านจรงิ ๆ บางวันโอกาสดี ทา่ นกจ็ ะเล่าถึง
สภาพของพระพทุ ธศาสนาในประเทศอินเดยี บา้ ง ในประเทศพม่าบา้ ง
ในเชียงตุงบ้างให้ฟัง จึงเป็นโอกาสให้ได้กราบเรียนถามท่านถึงทางที่
จะไปประเทศพม่าและเชียงตุง ซึ่งท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ ก็เล่าให้ฟัง
โดยละเอยี ด คงจะเป็นดว้ ยเหตนุ ีเ้ องท่ีดลใจหลวงปู่แหวนใหจ้ าริกไป
ประเทศอนิ เดยี พมา่ เชยี งตงุ ในปี พ.ศ. ๒๔๖๔ น้นั และในปตี ่อๆ มา

145

อาจกลา่ วไดว้ า่ การลงมากรงุ เทพฯ เพ่ือกราบนมสั การท่าน
เจ้าคุณในคร้ังนี้ จึงบรรลุความประสงค์ทุกประการ นับแต่ครั้งน้ัน
เป็นต้นมา ความสัมพันธ์ระหว่างท่านเจ้าคุณกับท่านได้ด�ำเนินมา
ดว้ ยดีจนตลอดอายขุ ัยของท่าน

หลวงปแู่ หวนใหค้ วามเคารพทา่ นเจา้ คณุ พระอบุ าลฯี

(จากหนังสือประวตั หิ ลวงปูแ่ หวน สจุ ณิ โฺ ณ)

หลวงปูแ่ หวน สุจณิ ฺโณ ใหค้ วามเคารพและมีความคุ้นเคยกบั
ท่านเจา้ คณุ พระอุบาลคี ณุ ูปมาจารย์ (จนั ทร์ สิริจนฺโท) แห่งวัดบรม-
นิวาสวรวิหาร มานาน ตงั้ แต่ พ.ศ. ๒๔๖๔ เม่อื หลวงปมู่ โี อกาสไป
กราบรับฟงั การอบรมธรรมคร้ังแรก
และนับแตน่ ้ันมา เวลาท่ีท่านเจา้ คณุ พระอบุ าลีฯ ขนึ้ ไปทาง
ภาคอีสาน หลวงปู่แหวนจะหาโอกาสไปกราบและฟังธรรมจากท่าน
เสมอ เพราะท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ เป็นพระมหาเถระท่ีมีความ
สามารถทั้งทางปริยัตแิ ละทางปฏบิ ตั ิ
ถ้ามีความขดั ขอ้ งทางธรรมวนิ ยั เม่ือไปกราบเรียนถาม ทา่ น
จะชแ้ี จงให้ฟงั จนหายสงสยั โดยท่านจะตอบขอ้ ซักถามนั้นๆ ตามท่ี
พระวินยั บญั ญตั ไิ ว้อยา่ งชดั เจน

146 ประวัติพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)

ตวั อย่าง ครั้งหนง่ึ ทางส�ำนกั พระราชวัง ไดน้ ิมนตพ์ ระมหา-
เถระ ไปฉนั ในพระราชวัง โดยมีสมเดจ็ พระมหาสมณเจ้า กรมพระยา
วชิรญาณวโรรส เปน็ ประธานสงฆ์ เมือ่ พระสงฆ์รับพระราชทานฉัน
เสรจ็ แล้ว พระบาทสมเด็จพระเจา้ อยหู่ ัว ซง่ึ ทรงประทบั สนทนาธรรม
กบั พระมหาเถระอยูไ่ ด้ทรงปรารภในเชงิ ถามตอนหนึง่ ว่า
“ภิกษุฉันของเค้ียวของฉนั ท่เี ปน็ อาหารในเวลาวิกาล คือต้ังแต่
ตะวนั เท่ียงไปแล้ว จนถงึ อรุณวนั ใหม ่ ถอื เปน็ อาบตั ิปาจิตตีย์ตาม
สิกขาบทท่ี ๗ แห่งโภชนวรรคน้ัน ถ้าเป็นภิกษุผู้ไปอยู่ในต่างประเทศ
จะพึงกำ� หนดเอาเวลาเทยี่ งน้ันอย่างไร ?”
พระเจ้าอยู่หัวทรงตรัสถามพระมหาเถระไปทีละองค์ ยกเว้น
สมเดจ็ พระมหาสมณเจ้าฯ
พระมหาเถระถวายพระพรไปคนละอย่าง หรือไม่ก็อ้อมค้อม
ชนดิ ไมก่ ลา้ ตดั สินชี้ชดั ลงไป
เม่ือถึงท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ พระเจ้าอยู่หัวตรัสถามว่า
“ท่านเจา้ คณุ ว่าอย่างไร ?”
ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ ถวายพระพรว่า “ให้ถือเอาเวลา
ท้องถนิ่ ทต่ี นเขา้ ไปอาศยั อย่”ู
พระเจา้ อยหู่ ัว ทรงผนิ พระพกั ตร์ไปทางสมเดจ็ พระมหาสมณ-
เจ้าฯ แล้วตรัสว่า “เปน็ อย่างไร”
สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ถวายพระพรส้ันๆ ว่า “ชอบแก่
เหตุ”

147

พระเจ้าอยู่หัวก็ไม่ได้ตรัสถามประเด็นนี้อีกต่อไป จึงยุติลง
เพยี งน้ัน

ทา่ นเจา้ คณุ อบุ าลฯี บอกใหห้ ลวงปแู่ หวนทอ่ งปาฏโิ มกข์

(จากหนังสือประวัติหลวงป่แู หวน สุจิณฺโณ)

หลวงปแู่ หวนเคยเล่าใหล้ กู ศษิ ย์ฟงั วา่ ท่านเจ้าคณุ พระอบุ าล-ี
คณุ ปู มาจารย์ (ภายหลังไดเ้ ปน็ พระอุปัชฌาย์ของหลวงปู่แหวน กบั
หลวงปูต่ อ้ื เมอ่ื ญตั ติเปน็ ธรรมยุต) เคยบอกใหห้ ลวงปทู่ ่องปาฏโิ มกข์
โดยถามว่า “ทา่ นแหวนท่องปาฏโิ มกข์ไดห้ รือยัง ?”
กราบเรียนทา่ นวา่ ยงั ท่องไมไ่ ด ้ ทา่ นเจ้าคุณฯ บอกวา่ “ต้อง
ทอ่ งปาฏิโมกข์ให้ได้นะ”
กราบเรยี นทา่ นตอ่ ไปวา่ “กระผมอายุปานนี้แล้ว ความจำ�
อะไรไมค่ อ่ ยด ี กระผมจะรักษาปาฏิโมกข์ทง้ั ห้าก็พอ”
ทา่ นเจ้าคณุ ถามว่า “ปาฏโิ มกขท์ ้ังห้าคืออะไร”
กราบเรียนท่านวา่ “ตา กเ็ ปน็ ปาฏิโมกขอ์ ันหน่งึ หู กเ็ ปน็
ปาฏโิ มกข์อันหนึ่ง จมกู กเ็ ป็นปาฏโิ มกขอ์ นั หนึ่ง ล้นิ ก็เปน็ ปาฏโิ มกข์
อันหน่งึ และกาย ก็เป็นปาฏโิ มกข์อนั หน่ึง ตา หู จมูก ล้นิ กาย ทง้ั หา้
น่แี หละเปน็ ปาฏิโมกข์”

148 ประวัติพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)

ทา่ นเจา้ คณุ อุบาลฯี พดู ว่า “เออ ถกู ละ่ นักบวชเราถา้ ปฏบิ ัติ
อินทรยี ์ทง้ั ห้าให้เป็นปาฏิโมกขไ์ ด้ ผู้น้นั ก็จะเจริญในพระธรรมวินัยของ
พระพุทธเจา้ ถ้ารักษาปาฏิโมกขท์ ้ังหา้ ไดแ้ ลว้ ไม่ตอ้ งทอ่ งปาฏิโมกข์
กไ็ ด”้
ดงั น้ัน หลวงปูแ่ หวน สุจณิ ฺโณ ไม่ได้ท่องปาฏิโมกข์ ก็เพราะ
เหตนุ ้ ี แตห่ ลวงปู่เคยเรยี นรมู้ ลู กัจจายน์มาก่อน เมอ่ื ยกวนิ ยั ข้อใดมา
ท่านจึงว่าได้อย่างแม่นยำ� ทั้งภาษาบาลีและภาษาไทย

หลวงปแู่ หวนเลา่ เรอ่ื งไมส้ ฟี นั พระ

(จากหนงั สอื ประวตั หิ ลวงปู่แหวน สุจณิ ฺโณ)

หลวงปู่แหวน เลา่ เร่ืองไมส้ ีฟนั พระ ให้ลกู ศิษย์ฟงั ดงั นี้
ในสมยั ท่สี มเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
กำ� ลงั นพิ นธ์ (เขยี นหนังสือ) วินัยมขุ อยู่ พระองค์อธบิ ายถึงสิกขาบท
ทีว่ ่าด้วยไม้สีฟัน จงึ เกิดสงสยั ว่า จะเปน็ ไม้ชนิดใด มลี ักษณะเป็น
อยา่ งไร
ทรงรบั สัง่ ถามพระเณรทั้งหลาย ตา่ งกก็ ราบทูลไปคนละอยา่ ง
ไม่ตรงกนั จะเอาเปน็ ขอ้ ยตุ ไิ ม่ได ้ ยงั ไม่ได้ค�ำอธิบายเปน็ ที่พอพระทยั
จึงใหไ้ ปนมิ นต์ทา่ นเจา้ คุณพระอบุ าลีคณุ ูปมาจารย์ จากวัดบรมนิวาส
มาเฝา้ แลว้ ตรัสถามว่า

149

“ทนฺตโปนา ไม้สีฟันนัน้ ทา่ นเจา้ คณุ ฯ เคยไดย้ ินไหมเป็น
อย่างไร ?”
ท่านเจ้าคุณพระอุบาลฯี กราบทลู ว่า “เคยเห็นเคยใชอ้ ยู่ทาง
ภาคอีสาน พระเถระในสายพระอาจารยม์ นั่ ใชก้ ันอยู่ทั่วไป ท�ำจากไม้
สองอยา่ ง คอื ทำ� จากไมโ้ กทา หรอื กนทา กบั ชนดิ ดที ำ� จากไมจ้ นั ทนห์ อม
ด้านหนึ่งทุบให้เป็นฝอยละเอียดใช้สีฟัน อีกด้านหนึ่งเหลาให้แหลม
ใช้จมิ้ ฟนั ถา้ ต้องการขดู ลิน้ กฉ็ ีกออกเปน็ ชิ้นบางๆ ใช้ขดู ลิน้ ได้ ถา้
เป็นไม้โกทา เวลาเค้ียวจะมีรสขมนิดหน่อย ป้องกันกล่ินปากได้ดี
ขับเสมหะไดด้ ว้ ย”
สมเดจ็ ฯ รับส่งั ใหท้ ่านเจ้าคุณอบุ าลีฯ หามาใหท้ อดพระเนตร
ท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ จึงส่ังข้ึนไปทางจังหวัดอุบลราชธานี ให้ท�ำไม้
สีฟันจากไม้จันทน์หอมและไม้โกทา ส่งลงไปให้ท่านท่ีวัดบรมนิวาส
กรุงเทพฯ แล้วทา่ นก็น�ำไปทูลถวายสมเด็จฯ ตอ่ ไป
เมื่อสมเด็จฯ ได้ทอดพระเนตรและทรงทดลองใช้ดูแล้ว จึง
ตรสั ชมกบั ท่านเจา้ คุณอุบาลฯี วา่ “พระทางอีสานช่างเข้าใจพระวินยั
ดแี ท้”

150 ประวัติพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)

การอบรมอนิ ทรยี ์ ๕

(จากหนังสือประวตั ิหลวงปู่แหวน สุจณิ โฺ ณ)

ผู้ภาวนาจะต้องรอบคอบเอาใจใส่ในข้อวัตรปฏิบัติของตน
ส�ำรวมระวังในสิกขาบทน้อยใหญ่ ไม่ล่วงละเมิดแม้เป็นโทษเพียง
เลก็ น้อย สมาทานศึกษาในธดุ งควตั ร
กิจสามอย่างคือ
การงานอนั ใดอนั หนึ่งที่ย่อหย่อนหนึ่ง
ขอ้ วตั รปฏิบตั อิ ันใดที่เจือไปด้วยโทษหนงึ่
พรหมจรรย์คือความดอี ันใดทท่ี �ำไปดว้ ยความไมเ่ ต็มใจหนงึ่
กิจทั้งสามนั้นจะหวังผลส�ำเร็จได้ยากมีแต่ความผิดหวังล้มเหลว
น่นั แหละเป็นผลตอบแทนต่อผปู้ ระกอบกิจนั้น
ท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย ์ ท่านจงึ รบั ว่า อินทรยี ์ ๕ คอื
ตา หู จมกู ล้ิน กาย แต่ละอยา่ งเป็นปาฏิโมกข์ คือ ต้องระวังรกั ษา
ถ้าสามารถรักษาอินทรียท์ ้ัง ๕ ได้ ผนู้ น้ั ก็จะรกั ษาพรหมจรรยไ์ ด้
ถึงความเจรญิ งอกงามไพบูลยใ์ นพระธรรมวนิ ยั ของพระพุทธเจ้า
อนิ ทรีย์ท้งั ๕ นแี้ ล เปน็ หนทางเดินทัพของขา้ ศกึ คอื กเิ ลส
อายตนะทง้ั ๖ เป็นท่ปี ฏิบตั ิการจติ วิทยาของขา้ ศกึ จิตนเี้ ปน็ ฐานทพั
ใหญอ่ ันแข็งแกรง่ ของขา้ ศกึ กเิ ลสทง้ั สาม คือ ราคะ โทสะ โมหะ เปน็
แมท่ พั ใหญ่ของขา้ ศกึ อวิชชา คอื จอมจักรพรรดขิ องข้าศึก ผูป้ ฏิบตั ิ

151

เหมือนผู้ท่ที �ำสงครามกับข้าศกึ ผู้เชย่ี วชาญในเชงิ รุกและเชงิ รบั
ตามปกติจิตของคนเรานน้ั ถ้าอย่ใู นสถานท่ีมรี ูป เสียง กล่นิ
รส โผฏฐพั พะ และธรรมารมณท์ ง้ั หลายอันเปน็ สว่ นอฏิ ฐารมณ์ ย่อม
เปน็ ทีถ่ กู ใจชอบใจเป็นท่ปี รารถนากันทกุ คนอยแู่ ล้ว แต่ถ้าเมอ่ื ใดเรา
หลกี เรน้ ไปอยูใ่ นท่ไี กลจากอารมณ์เหลา่ นน้ั ในเวลาเช่นนั้นจิตของเรา
จึงจะแสดงพฤตกิ รรมออกมา
จิตเราตามปกตมิ ันกจ็ ะปรุงแตง่ ไปเป็นอดีตบา้ ง อนาคตบา้ ง
ตามปกตินสิ ัยที่ท่านกล่าวไว้ว่า “จติ นี้เทย่ี วจารกิ ไปในท่ไี กล เทย่ี วไป
ดวงเดยี ว ไมม่ ีสรีระ ไม่มีคูหาเป็นที่อาศัย” อารมณ์ใดที่เคยได้รบั ในอดีต
จิตก็จะว่ิงหาอารมณ์นั้น อารมณ์ใดท่ียังไม่เคยได้รับสัมผัสถูกต้อง
จิตก็จะสร้างมโนภาพเป็นอนาคตข้ึน อันน้ีแหละคือข้อต่อรองหรือ
เงื่อนไขของมัน มันวิ่งไปอารมณ์เหล่านี้จนกลายเป็นอันตรายต่อเรา
กลายเปน็ กิเลสมาทิม่ แทงเรา เพราะฉะน้ัน ขา้ ศกึ ผชู้ าญฉลาดทค่ี อย
รังควานเราอย ู่ ก็คอื จติ ซ่งึ เป็นมจิ ฉาทฐิ ิน่นั เอง

152 ประวัติพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)

ทา่ นเจา้ คณุ อบุ าลฯี บนั ดาลใหฝ้ นตกทว่ั เชยี งใหม่

วันหนึ่งในตอนบ่าย ท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ ได้ออกจากกุฏิมา
เรียกพระอาจารย์แหวน สุจิณโฺ ณ วา่ “แหวนๆ มานห่ี น่อย”
เม่ือพระอาจารย์แหวนเข้าไปหาแล้วกราบลงเป็นที่เรียบร้อย
ท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ ก็สั่งความว่า “วันน้ีท�ำทางจงกรมให้หน่อยนะ
ฝนแล้งเหลอื เกนิ จะเสก อิตปิ โิ ส สกั เจด็ วัน เอาให้ฝนตกท่วมเมอื ง
เชยี งใหมเ่ ลย”
ครั้นพระอาจารย์แหวนกราบลาออกมาแล้วก็ไปเรียกสามเณร
มาให้ช่วยดายหญ้าปรับพ้นื ทีใ่ หน้ นู สูง เปน็ ทางเดนิ ยาวประมาณ ๓๐
กา้ วเดนิ เกลย่ี และปรบั หน้าดนิ ข้างบนให้เรยี บเนียน เสร็จแล้วก็ไป
กราบเรยี นใหท้ า่ นทราบ
และในเยน็ วันน้ัน เมอื่ ทา่ นเจ้าคณุ อุบาลฯี สรงนำ�้ เรยี บร้อย
แล้วกเ็ ป็นหวั หน้าน�ำหมคู่ ณะไหว้พระสวดมนต์เจรญิ ภาวนา ครนั้ เสรจ็
ธรุ ะจากหมู่ ทา่ นก็เดนิ ตรงไปยงั ทางจงกรมทพ่ี ระอาจารยแ์ หวนรับ
บญั ชาไปท�ำไว้
จากนั้นท่านก็ขึ้นทางจงกรมพนมมือภาวนาร�ำลึกถึงคุณ
พระรัตนตรัย เม่ือออกก้าวเดินท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ ก็หาได้ก�ำหนด
ลมหายใจเข้าออกพร้อมบริกรรมพุทโธแต่อย่างใดไม่ หากท่านสวด
สรรเสริญคณุ พระรตั นตรยั คอื อิตปิ โิ ส ฯลฯ จนจบ แล้วต่อดว้ ย
สวากขาโต ฯลฯ แลว้ ตอ่ ด้วย สปุ ฏปิ นั โน ฯลฯ

153

อันเป็นบทสวดมนตธ์ รรมดาท่เี ราสวดกนั อยู่ทกุ เม่ือเช่อื วนั
แตเ่ มอ่ื จบบทพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แลว้ ทา่ นไดส้ วด
ตอ่ ว่า...“อากาสัฏฐา จะ ภุมมฏั ฐา เทวา นาคา มหิทธกิ า ปญุ ญงั โน
อนโุ มทนั ตุ รักขนั ตุ โน สะทา” แล้วทา่ นกต็ งั้ สัจจาธิษฐานดว้ ยเสยี ง
อันดังวา่
“ขอให้มหาเมฆอนั ใหญ่ จงต้ังข้นึ ในทศิ ปัจจิม ขา้ มศีรษะของ
ข้าพเจา้ ไปยงั ทศิ อุดร แลว้ ยงั ฝนให้ตกลงมายังพืน้ ปฐพอี นั แห้งแล้งน ้ี
เพ่อื บรรดาสัตว์นอ้ ยใหญท่ ้งั หลายผู้อาศัยอยู่ในปฐพ ี จะได้ดม่ื กิน เพอื่
ยงั พชื พันธ์ธุ ญั ญาหาร และมลู ผลาหารทั้งหลายให้สมบูรณ์บริบูรณใ์ น
พน้ื ปฐพ ี เพอ่ื อนเุ คราะหส์ ตั วท์ ัง้ หลายผอู้ าศัยอยู่ในน�ำ้ มนี ้�ำแห้งก�ำลงั
จะตายใหร้ อดพ้นจากความตาย”
จากนั้นท่านก็สวดสรรเสริญคุณพระรัตนตรัยขึ้นใหม่อีกรอบ
หนึ่งแล้วสวด “อากาสัฏฐา” จนจบต่อด้วยการตั้งสัจจาธิษฐานด้วย
บุญญาบารมขี องท่าน เป็นแตเ่ ปลี่ยนทิศเรือ่ ยไปจนครบทศิ ทั้งส่ี
ท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ เดินจงกรมและบริกรรมอย่างนี้ไปล่วง
ไดแ้ ลว้ ๕ วัน พอยา่ งเขา้ ส่วู ันท่ี ๖ ขณะทอ่ี งค์ท่านกำ� ลงั เดินจงกรม
ภาวนาอย ู่ ตอนนั้นเป็นเวลาประมาณ ๑๘.๐๐ น. เศษ ไดบ้ งั เกิด
อศั จรรย์มีเสยี งดังสะทา้ นสะเทือนเล่ือนล่ันมาจากทกุ ทศิ ทกุ ทาง มลี ม
พัดกรรโชกมาอย่างรุนแรงหอบเอาใบไม้แห้งและฝุ่นคลีปลิวคลุ้งท่ัวไป
ในอากาศ บนทอ้ งฟา้ ปรากฏหมเู่ มฆพยับปกคลมุ ให้อากาศมดื ครมึ้ ลง
อยา่ งรวดเรว็ เมฆดำ� ทะมนึ กระจายตัวล้อมไปทั่วบรเิ วณ เสยี งฟ้าผ่า
ฟา้ รอ้ งดงั สนนั่ หวน่ั ไหวไปทั่ว กระทัง่ แผน่ ดินสะเทอื น แสงฟ้าแลบ

154 ประวัติพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)

แปลบปลาบปรากฏอยู่ไม่ขาดระยะจนสวา่ งไปท่ัวนครเชยี งใหม่
แล้วฝนก็เริ่มสาดเม็ดโปรยปรายลงสู่แผ่นดินอย่างรุนแรงชนิด
ท่ีเรียกว่า ใบไม้โงหัวไม่ข้ึน เสียงของสายฝนท่ีตกกระหน�่ำในวันน้ัน
หลวงปู่แหวนเล่าว่าดังราวกับรถไฟโบกี้ยาวท่ีวิ่งไปตามรางด้วยความ
รวดเร็ว
ฝนได้ตกหนักอย่างน้ีอยู่ตลอดเวลามิได้หยุดเลยนับตั้งแต่เวลา
หกโมงเยน็ เศษของวันวาน จวบจนรุ่งเชา้ จึงค่อยๆ ซาลงและขาดเมด็
ปรากฏว่าน�้ำฝนจากภูสูงท่ีอยู่ล้อมเป็นปราการท่ัวเมือง
เชียงใหม่ได้ไหลหล่ังลงมาจากทุกทิศทุกทางท่วมตัวเมืองเชียงใหม่จน
หมด เฉพาะภายในวดั เจดยี ห์ ลวงเองนำ�้ ทะลักทว่ มสูงเกอื บถึงโคนขา
ทำ� ให้พระภกิ ษุสามเณรออกบิณฑบาตไมไ่ ด้ ศรัทธาญาตโิ ยมต้องลุยน�้ำ
หาบเทนิ นำ� ภตั ตาหารเข้ามาสง่ ถึงภายในวัด
และในวันเดียวกนั น้ี ทา่ นพระอาจารยใ์ หญม่ นั่ ภรู ิทตั โต ผซู้ ่ึง
‘เฝ้าด’ู อาจารย์ของท่านกระทำ� อรยิ วิธเี พอื่ สงเคราะหส์ ัตวโ์ ลกอยูต่ งั้ แต่
หกวันกอ่ นแล้ว กไ็ ดพ้ ดู กับทา่ นเจา้ คณุ อุบาลีฯ ผูเ้ ปน็ อาจารย์ว่า
“เมื่อคืนน้ีกระผมนั่งภาวนาอยู่ภายในกุฏิ กระผมก�ำหนดดู
ไปทางบริเวณดอยสเุ ทพก็ด ี บริเวณดอยบวกหา้ กด็ ี เหน็ มีพญานาค
จำ� นวนล้านจำ� นวนโกฏ ิ มิใช่จ�ำนวนแสน จำ� นวนหมน่ื พากันพ่นนำ�้
อยูเ่ ต็มดอยท้ังสองจนหาที่ว่างไมไ่ ด้อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน”
น่ีคอื ความอศั จรรย์ !!

155

อัศจรรย์ใจจากพระมหาเถระนาม พระอุบาลีคุณูปมาจารย์
(จนั ทร์ สิริจนฺโท) ผทู้ รงอรรถทรงธรรมและทรงคณุ วเิ ศษอย่างยากจะ
หาผู้ใดเทียบได้ ท่านแตกฉานทั้งปริยัติและปฏิบัติมิได้หนักเอาเพียง
ข้างใดข้างหนึ่งจนเอียง ทรงไว้ซ่ึงภูมิรู้โดยที่ไม่ต้องอวดแต่สามารถน�ำ
ออกเมอ่ื ถงึ คราวอนั ควร
อัศจรรย์ใจกับบุญบารมีขององค์ท่านท่ีไม่ต้องใช้เวทย์มนต์
คาถาใดๆ เสกเป่า ไมต่ อ้ งต้งั ขันครหู ัวหมูบายศรี หรอื ประกอบพธิ ี
แหน่ างแมว หากทา่ นสวดสรรเสริญคุณพระรตั นตรยั แล้วอ้างเอาบุญ
บารมขี ององคท์ ่านเองเปน็ ทตี่ ัง้ ดังความว่า...
“อากาสัฏฐา จะ ภมุ มัฏฐา เทวา นาคา มหิทธิกา ปญุ ญงั โน
อนุโมทันตุ รักขนั ตุ โน สะทา”
หมายความว่า ข้าแต่ภุมมเทวดาแลอากาศเทวดาทั้งหลาย
เทพแลหมู่นาค ผูท้ รงมหาอทิ ธิฤทธ ิ์ ขอจงได้พากันอนุโมนาซงึ่ บญุ ที่
ข้าพเจ้าท้ังหลายได้กระท�ำแล้ว จงช่วยกันพิทักษ์รักษาพวกข้าพเจ้า
ดว้ ย...
ดงั น้นั หมเู่ ทพและนาคที่แห่แหนกันมาดลบนั ดาลเมฆ ลม และ
ฝน ใหต้ กอย่างหนกั นัน้ จึงมิไดม้ าดว้ ยถกู บงั คบั จากเวทยม์ นต์คาถา
มิได้มาเพราะต้องการเครื่องเซ่นสรวงบูชา หากมาเพราะประสงค์จะ
‘อนุโมทนา’ ซึ่งบญุ ของพระอริยเจา้ เหลา่ นัน้ และเพอื่ ‘บชู า’ ซึ่ง
พระอริยเจ้าเช่นท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ ก็เม่ือ ‘พระอรหันต์’ ร้องขอ
มีหรอื ทวยเทพจะไมย่ ินดยี งิ่ ต่อการทำ� ถวายเพราะหวงั บุญอันไพบลู ย์

156 ประวัติพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)

นี่คือเหตุการณ์หนึ่งที่อาจพิสูจน์ได้ด้วยตาและด้วยใจของคน
ผรู้ ว่ มเหตกุ ารณ์ หรอื มีความศรทั ธาเป็นฐานอยแู่ ล้วให้หนกั แน่นเขา้
ว่า ‘นาค’ สามารถควบคุมน้�ำได้ตามใจปรารถนา หากเพียงน้�ำและ
ฝนส่วนใหญ่น้ันหมู่นาคก็ปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติเอง แต่เม่ือ
ต้องการจะควบคุม ก็ไม่ใชเ่ รือ่ งยากจนเกินทำ�
หลวงปคู่ ำ� พนั ธ์ โฆสปญั โญ วดั ธาตุมหาชัย เคยบอกว่า “นาคมี
สามธาตุ โดยมธี าตนุ ้�ำเปน็ หลัก” น�้ำจงึ เป็นส่งิ จำ� เป็นของนาค เป็น
เครื่องหลอ่ เลีย้ ง เป็นท่ีอยอู่ าศยั หลวงปู่ชอบ ฐานสโม ถงึ ปรารภว่า
“ทใี่ ดมีแหลง่ นำ้� ธรรมชาติ ที่นน่ั ก็มีนาค”

หลวงปแู่ หวน สจุ ณิ โฺ ณ เทศนย์ กคำ� สอนทา่ นเจา้ คณุ อบุ าลฯี

กก เก้า เหง้า งนู ของกิเลส
สมมตอิ นั ใด ทุกข์กอ็ นั น้นั มรรคสจั อนั ใด วมิ ุตติธรรมวโิ มกข-
ธรรมกอ็ ันนั้นหละ มรรคสัจอันไหน นิโรธธรรมเป็นธรรมอนั ดับทุกข์
ก็อันน้ันหละ ค้นอยู่ในนี้แหละ คร้ันไปค้นท่ีอ่ืนเด๋ียวก็ไปติดแผนที่
จ�ำแผนท่ีได้อันนั้นเป็นอย่างน้ันๆ สติปัฏฐาน ๔ ไปรู้แต่แผนที่
ตวั ธรรมแท้ๆ ไม่รู้ กายานปุ ัสสนาสติปฏั ฐานไปรู้แตแ่ ผนที่ เวทนา-
นุปัสสนาสติปัฏฐาน จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ธัมมานุปัสสนา
สติปัฏฐานก็รู้แต่แผนท่ี แล้วก็ไปติดแผนที่น่ันหละ มันใช้ไม่ได้หละ

157

มันต้องวางแผนท่ี
เผาลงทเ่ี ดยี วนัน้ ให้มนั แจง้ ในทเ่ี ดียวน้ัน แลว้ มนั จึงเป็นสุข
ไปคุบ (จับ) แต่แผนที่นั้นแล่ว มันก็ไม่ทันการณ์ แผนท่ีอันหน่ึง
ภูมปิ ระเทศอนั หน่งึ อย่างเจ้าคุณอุบาลฯี ทา่ นว่า แตก่ ่อนแปลได้
เตม็ ทห่ี นา แผนทน่ี ี่ใชว้ ภิ ัตตปิ จั จัยได้ดี ครน้ั ไปปฏบิ ตั ิไดร้ ้แู จง้ เห็นจริง
ขึ้นมาแล้ว โอ๊ย ! มันห่างไกลกันต้ังหลายโยชน์ อันนั้นมันแผนท่ี
ต่างหาก แผนที่ปริยัติธรรม... ให้น้อมเข้ามาท่ีธรรมเมาน่ีหละ
ก้อนพระธรรมแต่เมานี่ ตัวนี้หละค้นเข้าๆ จนแจ้ง ครั้งแจ้งแล้วก็
รู้หมดหละหมนู่ ั้น

กมั มฏั ฐาน ๕ เป็นท่ีต้ังของกาม
ขนั ธ์ทงั้ ๕ ธาตทุ ้งั ๔ มันเป็นกองทกุ ข์ พิจารณาอนั น้ี ให้
ช�ำนิช�ำนาญเขา้ ไป ทา่ นเจ้าคุณอบุ าลีฯ ทา่ นว่า กามนี้อยา่ ไปอศั จรรย์
สัตว์ทั้งหลายเขาเสพกามกันอยู่เต็มโลก ไม่เห็นวิเศษไปไหน มีแต่
เพ่มิ ความทกุ ข์ มแี ต่ ศีล สมาธิ ปัญญา เทา่ นั้นทนี่ ่าอศั จรรย์ เวลา
ท�ำสมาธิท�ำใจให้สงบมนั ก็ละได้

อดตี อนาคต เปน็ ธรรมเมา ปจั จบุ นั เปน็ ธรรมโม
ความคิดท้ังท่ีเป็นอดีต อนาคต เม่ือเราคิดข้ึนพร้อมกันมันก็
ดับ ทา่ นเจ้าคณุ อุบาลีฯ ทา่ นกลา่ วว่า อดตี อนาคต มันก็อนั เดียวกนั
นั่นแหละ ความตัวเดียวน้ีแหละ แต่ปัจจุบันนี้เป็นธรรมโม อดีต

158 ประวัติพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)

อนาคต เปน็ ธรรมเมา เรือ่ งของสงั ขารทง้ั หลาย มนั ปรงุ มนั แตง่ มนั เกิด
มันดับอยนู่ ้ี มันแสดง อนจิ จฺ ํ ทุกขฺ ํ อนตตฺ า อย่นู แ้ี หละ สมควรจ�ำ
ต้นมันไว้ ต้นเหตุอดีต อนาคต เป็นธรรมเมา ปัจจุบันเป็นธรรมโม
จ�ำไวใ้ ห้แมน่

กาม
ขนั ธท์ ง้ั ๕ ธาตุทง้ั ๔ ดนิ นำ้� ไฟ ลม พจิ ารณาก�ำหนดช�ำนาญ
เข้าไปแล้วก็เห็นกามเป็นของไม่อัศจรรย์หรอก เหมือนเจ้าคุณเฒ่า
อบุ าลีฯ ทา่ นวา่ อยา่ ไปหลง อย่าไปสูเ้ ขา ถ้าไปสู้เขา เขาเอาตายหนา
เราตอ้ งหลบหลกี หนา หมู หมา เป็ด ไก่ มนั ก็เสพกามกนั ทัว่ ท้งั
แผ่นดิน นบั ไมถ่ ว้ น กามน้ีไม่เกดิ ความอัศจรรย์หรอก มแี ต่ศลี สมาธิ
ปัญญา ผใู้ ดรักษาศลี ภาวนาเข้าจนเกิดสมาธแิ ล้วก็จิตดงิ่ เขา้ ไปแลว้ ก็
ละได้... เกดิ กเ็ พราะกาม ตายก็เพราะกาม รักก็เพราะกาม ชังก็เพราะ
กาม พิจารณาให้ร้แู จ้งเห็นจรงิ ถา้ พิจารณาไดอ้ ยา่ งนี้ มนั ก็ถอนไปๆ
ทอนัน้ ละกา้ ต้องระวังอนิ ทรีย์ ตาหนง่ึ หสู อง สามดงั ส่ปี าก ห้ากาย
ท่านเจ้าคณุ เฒา่ อบุ าลฯี ท่านว่า อยา่ ไดไ้ ปอศั จรรยม์ นั กาม
พวกหมู หมา เป็ด ไก่ มันกเ็ สพกามกันทว่ั แผน่ ดิน กามเขาเป็น
เจา้ โลกอยู่ ถ้ากำ� หนดรู้แล้ว เรากเ็ ป็นธรรมเท่าน้นั ไม่ตอ้ งเกี่ยว
รักษาตา รกั ษาหู รักษาดงั รกั ษาปาก รกั ษากาย ให้ดีเปน็ รักษา
ศลี ความพอใจ กเ็ กดิ ขึ้นในปจั จบุ นั ความรัก มนั กเ็ กดิ ข้ึนในปัจจบุ นั
ความหลง ความชัง มนั ก็เกดิ ขึน้ ในปจั จบุ นั เป็นหญิงเปน็ ชายก็ตาม
นำ� ออกใหห้ มด

159

พิจารณากรรมฐาน ๕ เพ่อื ละวาง
ท่านเจา้ คุณอุบาลีฯ และท่านอาจารย์มนั่ ทา่ นวา่ ถา้ เบ่ือ
หนา่ ยสงั ขารนามรปู แล้ว มันวางเองไม่ต้องบังคบั พิจารณากายใหม้ นั
รู้แจ้ง พิจารณาใจให้มนั รู้แจ้ง มันก็เทา่ นน้ั พอแลว้ พิจารณากายให้รู้
กาย พิจารณากาย พจิ ารณาใจ สาวไปหาเหตุว่ามันเกดิ มาจากอะไร
พิจารณาไปมนั ก็เกดิ มาจากกายน้ีแหละ กายอ่ืนก็ตาม กายน้กี ็ตาม
พจิ ารณานอ้ มเขา้ มาสู่กายน้ี
ท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ ท่านว่า กายเรานี้เต็มไปด้วยของไม่
สะอาดเปน็ เหตุ พิจารณาเขา้ ๆ อันใดๆ กเ็ ปน็ เหตุ ตาก็เป็นเหตุ หกู ็
เป็นเหตุ จมกู ลิ้น กาย แตล่ ะอยา่ งก็เปน็ เหตทุ งั้ หมด ตอ้ งพจิ ารณาให้รู้
เหตุ ทำ� ลายเหตุ ถ้าไม่รูเ้ หตทุ ำ� ลายเหตแุ ลว้ มนั ไมห่ ยดุ สาวไปๆ เขา้ ไป
หาเหตุ เหตมุ นั มาจากไหนละ่ ตาเห็นรูป หฟู งั เสยี ง จมกู ได้กลิ่น ลิน้ รู้
รส กายรสู้ ัมผสั เย็นรอ้ นออ่ นแข็ง พอใจไม่พอใจ มนั เปน็ ปจั จุบนั หมด
ถ้าไม่เปน็ ปัจจุบนั เราน่ันแหละมนั เล่นเรา ตอ้ งพิจารณาให้ดีๆ เอาที่น่ี
แหละ อย่าไปหาเอาท่ีอน่ื เอาตรง ตา หู จมกู ล้ิน กาย นแ่ี หละ

หลวงปตู่ อ้ื กลา่ วถงึ ทา่ นเจา้ คณุ อบุ าลฯี

หลวงปู่ตื้อ อจลธมโฺ ม สหธรรมิกของหลวงปแู่ หวน สจุ ณิ โฺ ณ
ท่านให้เคารพเทิดทนู ท่านเจ้าคณุ อบุ าลีฯ พระอุปชั ฌายข์ องท่านย่งิ นกั
เม่ือทา่ นกล่าวถึงทา่ นเจ้าคณุ อุบาลีฯ ท่านจะยกมือพนมไหว้ทุกคร้ังไป

160 ประวัติพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)

พระทที่ า่ นใหค้ วามเคารพเทดิ ทนู อยา่ งสงู สดุ อยใู่ นใจทา่ นวา่ เปน็ พระแท้
พระจรงิ มี ๒ องค์ คือ ท่านเจ้าคุณอบุ าลีฯ และ พอ่ แมค่ รอู าจารย์มน่ั
หลวงปตู่ อื้ ท่านกล่าวถงึ คณุ ธรรมของท่านเจ้าคุณอุบาลฯี ดว้ ย
ความชืน่ ชมว่า “ท่านเจ้าคุณฯ เปน็ คนมรี ศั มีความเย็น เยือกเยน็
ไดอ้ รรถได้ธรรม แจง้ ในธรรม กลา้ หาญไม่มใี ครทัดเทยี ม”

หลวงปตู่ อื้ เลา่ เรอ่ื งทา่ นเจา้ คณุ อบุ าลฯี และ ครบู าศรวี ชิ ยั

ทา่ นอาจารยต์ ้อื อจลธมโฺ ม เล่าให้ฟังว่า “ครบู าศรีวิชัยทา่ น
เทศน์นอ้ ย แตร่ ู้จกั ความนึกคดิ ของผคู้ น รูไ้ ดใ้ กล้ไกล เจรญิ แต่คาถา
อติ ปิ โิ สฯ อยเู่ ป็นนิจ ทีแรกครอู าจารย์มนั่ ภูริทตโฺ ต จะสอนวิปัสสนา
กรรมฐานบอกอุบายธรรมให้ แตเ่ มื่อทา่ นเจา้ คุณพระอปุ ชั ฌายท์ า่ นให้
พจิ ารณาจึงรู้ได้วา่ ยังไมอ่ าจที่จะบรรลมุ รรคผลได้ แตจ่ กั ได้ดว้ ยตน
ของครบู าเจา้ เอง เป็นอิตปิ ิโสฯ ได้เอง”
พวกยางปะเกอ่ พวกมเู ซอ คนภเู ขา แห่กันมาทำ� บญุ กบั ครูบา
ศรีวชิ ยั เอาเงนิ เหรยี ญใส่กระบอกไมไ้ ผไ่ มเ้ ฮย้ี ะ เต็มกระบอกอัดปาก
กระบอก แล้วเอามาถวายครบู าศรวี ิชัย
“พวกสูแบกอะไรมา”
“กระบอกเงนิ ”
“เอามาดูดู๊”

161

พวกเขาเปดิ ปากกระบอกออกแลว้ ก็เทเปน็ กองๆ “เอามาถวาย
บูชาครบู าเจ้าตนบญุ ของหมู่ตขู ้า สดุ แทแ้ ตจ่ ะท�ำอันใด”
ครบู าศรวี ชิ ยั เปน็ พระโพธสิ ตั ว์ บำ� เพญ็ มาอยา่ งรวยอตุ มลาภ
ชาตชิ วี ิตนี้ไปไหนมาไหนกม็ ีผูค้ นแห่แหนเอาเงินเอาปัจจยั ทง้ั ๔ มา
ท�ำบุญให้ทาน เพิ่นก็เอาไปสร้างวัดได้หลายร้อยวัด ทั้งบูรณะ
ปฏิสังขรณ์และทำ� ขนึ้ มาใหมก่ ่อสรา้ งร่างแปลน แตเ่ ชา้ จนค�่ำคนื นง่ั
ปนั พรให้แกผ่ เู้ อาเงินมาใหถ้ วายทาน เทศน์ธรรมก็บอกแตว่ า่ “ให้สวด
ทอ่ งอติ ปิ โิ ส” สอนผู้คนชาวบ้านใหถ้ ือศาสนา รักษาศีล ๕ ศลี ๘
สอนคนกส็ อนจลี้ งไปทใ่ี จ เพนิ่ ภาวนาเกง่ รใู้ จผคู้ นหลายอยา่ ง ตายแลว้
ยังลุกขึ้นมาสร้างสะพานข้ามปิงได้แล้วเสร็จ พระภาคเหนือรังเกียจ
เพน่ิ มาก แต่พอเพ่นิ จากไปตุ๊คนใด๋ก็อา้ งว่า
“ขา้ ลกู ศษิ ย์ครบู ๋าเจ้า” “ข้าก็ลกู ศษิ ยค์ รูบา๋ เจ้า”
“ท่านเจ้าคณุ พระอุบาลฯี ขึน้ อยู่เชยี งใหม่รอบหลงั น้ี เป็น
เพราะเจา้ แม่ดารารศั มี อยากจะท�ำบุญใหท้ านและจะสร้างวดั ถวายแก่
พระศาสนา เจ้าแมไ่ ด้บญั ชาให้เจ้าแกว้ นวรฐั เจา้ ตนเชียงใหมส่ ดุ ทา้ ย
ลงไปอาราธนาท่านเจ้าคุณข้ึนมาครองวัดเจดีย์หลวง เป็นปีท่ีท่าน
อาจารยต์ ื้อ อจลธมฺโม ทา่ นอาจารยแ์ หวน สุจณิ ฺโณ ท่านอาจารย์กงมา
จิรปญุ ฺโ ท่านอาจารย์ลี ธมมฺ ธโร พากันญตั ตเิ ป็นธรรมยตุ
เอาท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ เพิ่นครูอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต
และท่านอาจารย์ลี มาต้ังหลักฟื้นฟูศรัทธาคนธรรมยุตให้มั่นคงใน
ภาคเหนอื แต่ ปี พ.ศ. ๒๔๗๑ – ๒๔๗๔ ทา่ นเจา้ คุณอุบาลีฯ บริหาร
บูรณะฟ้ืนฟปู ฏิสังขรณ์ สร้างวดั เจดยี ์หลวง เชียงใหม่ วดั ดาราภริ มย์

162 ประวัติพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)

อยู่แมร่ มิ วดั บ้านปง แม่แตง เป็นที่วเิ วกรุกขมูล ทา่ นเจา้ คณุ อุบาลีฯ
ได้ขอต�ำแหน่งพระครูให้เพ่ินครูอาจารย์ม่ันจากสมเด็จพระสังฆราช
กรมหลวงชินวรฯ ได้เปน็ พระครวู ินยั ธร ตำ� แหนง่ พระอุปัชฌายแ์ ละ
เจ้าอาวาส เพ่ินครูอาจารย์มั่นได้บวชให้หลวงตาปลัดเกตุ วณฺณโก
คนเดียวก่อนเข้าพรรษา ออกพรรษาแล้วก็หนีขึ้นเมืองพร้าวท้ิงให้
ตำ� แหนง่ พระครูครองวัดเจดยี ์หลวง
เจา้ แมด่ ารารัศมี ไดท้ ำ� บุญบ�ำรุงคำ้� ชทู า่ นเจ้าคณุ อบุ าลฯี และ
บ�ำรุงครูบาเจ้าศรีวิชัยตนบุญเมืองเหนือ เหตุเพราะพระเถระทั้ง ๒
องค์นี้มีคุณวิเศษคุณธรรมอยู่ในตนมาก แต่มากไปคนละทาง ท่าน
เจ้าคุณอุบาลีฯ บรรลุธรรมานุศาสตร์ ท่านครูบาเจ้าบ�ำเพ็ญพุทธภูมิ
โพธสิ ตั ว”์
ท่านอาจารย์แหวนไปเฝ้าไข้ท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ ท่านข้ึน
ธรรมมาสน์หัวเข่ากระแทกกับหัวบันไดธรรมาสน์ กระดูกหัวเข่าแตก
กระดกู ขาหกั ท่านอาจารย์แหวนเลา่ วา่ “ทา่ นเจ้าคณุ อาจารยเ์ ปน็ ผู้
มีขันติอดทนอย่างย่ิง เทศน์จนจบกัณฑ์มานอนป่วยอยู่วัดก็ไม่แสดง
อาการว่าเจ็บปวดอย่างใด แม้แต่เวลาเปลี่ยนอิริยาบถ ญาติโยมก็
แห่แหนกนั มา แตแ่ จ้งเปน็ วนั ใหม่จนถงึ ๓ ทุ่ม เป็นอยา่ งนั้นทกุ วัน
กลมุ่ น้ันไปกล่มุ นัน้ มา คุณท้าว คุณนาย ท่านขุน คณุ หลวง คณุ พระ
พระยา เจา้ พระยา เจ้านายผใู้ หญ่ในวงั หลวง ข้าราชการ คหบดี ผู้คน
ชาวศรทั ธา ชาวบา้ นทางอีสาน ทางเมอื งเหนือทางลพบุรี พ่อค้าวานิช
ภิกษุสามเณรกแ็ ห่กนั มา ทยอยกนั มาเย่ียมอาพาธมากนั ทุกวันทกุ คืน
บางคนมารอบเชา้ รอบบา่ ย เปน็ หว่ งเปน็ ใย เสาะหาหมอหายา หมอไทย

163

หมอจีน หมอโรงบาล ทา่ นเจ้าคณุ ฯ อาจารย์ไม่เดอื ดร้อนไม่ร�ำคาญ
แตร่ ูส้ ึกว่าทา่ นพอใจมาก เพราะจะได้เทศน์ให้โอวาทอบรมแสดงธรรม
ชแ้ี จง พวกแรกไปพวกใหมม่ า มาใหม่กเ็ ทศนใ์ หม่”
ทา่ นเจา้ คณุ ฯ อาจารยย์ งั วา่ “เราปว่ ยคราวนด้ี มี ากหลายเพราะ
ได้ฝากธรรมแก่ผู้คนโดยมากและทั่วถึง นับว่าเราประสบพยาธิทุกข์
ทีใ่ ห้สุขแก่ท่านผ้อู นื่ ” ทา่ นอาจารยแ์ หวนว่า “ผคู้ นตา่ งช้นั ต่างวรรณะ
ก็อ่ิมเอบิ ช่ืนชมยนิ ดี ได้รับความสุขสบายใจไปเสมอทั่วกนั ” สุดทา้ ย
ท่านเจ้าคุณฯ อาจารย์บอกว่า “ชื่อว่าสังขารไม่ย่ังยืนอะไรเลยนะ
คุณแหวนนะ มีแตเ่ รื่องของทกุ ข”์
ทา่ นอาจารยต์ ื้อ อจลธมโฺ ม ว่า ท่านเจา้ คณุ ฯ นงั่ สมาธนิ พิ พาน
อยู่วัดบรมนวิ าส กรุงเทพฯ อายุ ๗๗ ปี ท่านเปน็ พระอปุ ชั ฌายข์ อง
ทา่ นอาจารยแ์ หวน สจุ ณิ โฺ ณ ท่านอาจารย์ตือ้ อจลธมฺโม ศึกษาเถ๊อะ
ใครจะศกึ ษาชีวิตและธรรมะค�ำสอนของท่าน จะได้คุณไดป้ ระโยชนย์ ิง่
ทเี ดยี ว เพ่นิ ครอู าจารยม์ น่ั ภูริทตโฺ ต รับรองอยู่ว่า เป็นการศึกษา
มิสูญเปล่าประโยชน์ดอก ใครมีปัญญาเดินตามไปได้ ใครบารมี
ยังออ่ นกไ็ ด้ความรู้ความเขา้ ใจ

164 ประวัติพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)

หลวงปบู่ ดุ ดา กบั ทา่ นเจา้ คณุ อบุ าลฯี

หลวงปู่บุดดา ถาวโร เป็นพระภิกษุสงฆ์ผู้ปฏิบัติธรรมท่ีมี
อธั ยาศัย ทา่ นเคยได้พบปะสนทนาธรรมกับครบู าอาจารย์ทเี่ ป็นศิษย์
สายหลวงปมู่ ั่น ภรู ิทัตโต อยเู่ สมอๆ อยา่ งเชน่ หลวงปู่สิม พุทธฺ าจาโร
หลวงปู่บุดดาเคยออกปากชมหลวงปู่สิมต่อหน้าคณะศิษยานุศิษย์
ทง้ั หลายว่า เรื่องธุดงคเ์ ขา้ ป่าลึกและนานกันแลว้ ทา่ นสอู้ าจารย์สมิ
องค์นไ้ี มไ่ ด้
นี้เปน็ ข้อคิดแกเ่ ราบรรดาศษิ ย์ทงั้ หลายวา่ อนั ครบู าอาจารย์
ไม่ว่าสายใดๆ ก็ตาม ถ้าเปน็ พระฝ่ายปฏบิ ตั ิดี ปฏิบัตชิ อบ เจรญิ ดว้ ย
ศลี สมาธิ ปัญญา อันบรบิ รู ณ์ตามหลกั พระธรรมวนิ ัย ที่องคส์ มเดจ็
พระสมั มาสมั พุทธเจา้ ทรงตรัสบญั ญตั ไิ ด้ดคี รบถว้ นแลว้ ไมว่ ่าจะเป็น
พระฝ่ายมหานิกาย หรือฝ่ายธรรมยุตก็ตาม ย่อมถือได้ว่าเป็นบุตร
พระตถาคตเจา้ องคเ์ ดียวกันทัง้ สิน้
สมัยทหี่ ลวงปูบ่ ุดดา ถาวโร ออกบ�ำเพญ็ เพียรในป่า เม่ือใกล้
เขา้ พรรษาทา่ นจะเขา้ กรุงพักอย่ทู ว่ี ัดบรมนวิ าสบา้ ง วัดเทพศิรินทร์บ้าง
ในต่างจงั หวดั บ้าง ทุกวัดทุกสำ� นกั ไม่เคยรงั เกียจในองคท์ ่านเลย ยก
ตวั อย่างเช่น ทา่ นพระเดชพระคณุ ทา่ นเจ้าคณุ อบุ าลีคณุ ูปมาจารย์
(จนั ทร์ สิรจิ นฺโท) ท่านธมฺมวติ กฺโก (พระยานรรัตนราชมานติ ) ท่าน
เปน็ พระผู้ปฏิบตั ิแบบเงยี บๆ นอกจากจะมีความศรทั ธาเลอื่ มใสแล้ว
ท่านยงั สนับสนนุ โดยไมเ่ ลือกนิกายอีกดว้ ย การปฏิบตั ิธรรมของทา่ น

165

สมยั นัน้ นบั ว่าเปน็ การปฏบิ ตั ิอย่างชนดิ เอาเปน็ เอาตายกบั กเิ ลสมาร
เลยทีเดียว
การศึกษาและปฏิบัต ิ ท่านได้รบั อบุ ายธรรมจากท่านเจา้ คุณ
อุบาลีคุณูปมาจารย์ (จนั ทร์ สิริจนฺโท) วัดบรมนวิ าส กรุงเทพฯ และ
มโี อกาสได้สนทนาธรรมกับพระอาจารย์องคส์ �ำคญั ๆ เช่น หลวงปมู่ ่นั
ภูริทตฺโต ครบู าศรีวิชยั ท่านเจา้ คุณนรรตั นราชมานติ หลวงพอ่ ปาน
วัดบางนมโคฯลฯ และถึงที่สุดแห่งธรรมที่ถ�้ำภูคา ด้วยอุบายธรรม
เกีย่ วเร่อื งวนิ ัยฯ
หลวงตามหาบัวท่านก็ช่ืนชมหลวงปู่บุดดาเป็นเพชรน�้ำหน่ึง
ดงั นี้
“เพชรนำ้� หนงึ่ ในเมอื งไทยเรามนี อ้ ยเมื่อไร ไม่นอ้ ย แตส่ ว่ น
มากหาตามตลาดลาดเลไม่มี หาอยใู่ นปา่ ในเขา ท่านเหลา่ นีเ้ ปน็ อยู่
ในป่าในเขา ท่ีปรากฏช่อื ลอื นามออกมาจากปา่ จากเขาทัง้ นนั้ ล่ะ องค์
ไหนบา้ งนะ เราอยากฟังให้สนทิ หสู กั หนอ่ ย (ลกู ศิษยอ์ ่านซำ้� รายนาม
ครูบาอาจารยเ์ พชรนำ้� หนึง่ ) หลวงป่พู รหมก็บ้านดงเย็น ท่านผางก็
บา้ นดงเย็น อัฐิกลายเป็นพระธาตทุ ัง้ สององค ์ (หลวงปบู่ ดุ ดา) เออ ใช่
สิงหบ์ รุ ี คุน้ กนั กบั หลวงป่บู ดุ ดา สิงหบ์ ุรี วดั กลางชูศร ี (หลวงปู่บดุ ดา
ถาวโร วัดกลางชูศรีเจรญิ สุข อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี) น่ีองค์หน่ึงคนุ้ กนั
กับหลวงปบู่ ุดดานะ”

166 ประวัติพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)

ทา่ นเจา้ คณุ อบุ าลฯี
เทศนเ์ ฉพาะพระพกั ตรร์ ชั กาลที่ ๕

ความท่ีท่านเจา้ คณุ อุบาลฯี เป็นพระปฏิบตั ดิ ี ปฏิบตั ิชอบ และ
ทา่ นไดร้ ับการยกยอ่ งเปน็ ธรรมกถึกเอก เป็นนกั เทศนท์ ี่มชี อื่ เสียงโด่งดัง
เป็นนกั เทศน์ทก่ี ลา้ หาญ ปฏิภาณแหลมคม เทศน์ตรงไปตรงมา เมอ่ื
ครั้งครองสมณศักดิ์เป็นพระญาณรักขิต ต�ำแหน่งพระราชาคณะชั้น
สามญั พรรษาท่านกเ็ พยี ง ๒๐ กว่าพรรษา เปน็ พระในวยั กลางคน
นอกจากท่านได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยจาก พระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลท่ี ๕ ในด้านส่งเสริมการศึกษา
จนได้เขา้ เฝ้าส่วนพระองค์แล้ว ท่านยังไดร้ ับพระมหากรุณาธคิ ุณเทศน์
ถวายเฉพาะหน้าพระพักตร์
ครั้งหน่ึงท่านได้รับอาราธนานิมนต์เทศน์สองธรรมาสน์ถวาย
เฉพาะหนา้ พระพักตร์ คกู่ ับพระธรรมไตรโลกาจารย์ (เฮง เขมจารี)
กาลต่อมาเป็นสมเด็จพระวันรัต ธรรมเนียมการเทศน์สองธรรมาสน ์
พระผู้เทศนจ์ ะตอ้ งตั้งคำ� ถามโต้ตอบกนั เป็นปจุ ฉา - วสิ ัชนาธรรม เทศน์
กัณฑน์ พ้ี ระบาทสมเดจ็ พระจุลจอมเกล้าฯ ทรงพอพระราชหฤทยั ยงิ่ นัก
ทรงพระด�ำเนินออกจากที่ประทับไปถวายนมัสการท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ
ขณะอยู่บนธรรมาสน์ พร้อมพระราชทานเงินหนึ่งชั่งแด่ท่านเจ้าคุณ
อุบาลีฯ เป็นค่ากัณฑ์เทศน์ ซ่ึงเงินหนึ่งชั่งในสมัยน้ันมีมูลค่าสูงมาก
มาตราเงนิ ไทยโบราณ ๑ ช่งั เทา่ กับ ๒๐ ตำ� ลงึ หรือ ๘๐ บาท

167

ทา่ นเจา้ คณุ อบุ าลฯี เผชญิ โลกธรรม ๘

พระอบุ าลีคณุ ูปมาจารย์ (จนั ทร์ สริ จิ นโฺ ท) เป็นพระสงฆอ์ งค์
ส�ำคญั ทา่ นมีชีวติ อยู่ถึง ๔ แผน่ ดนิ คือตงั้ แตร่ ชั กาลท่ี ๔ - ๗ เป็นเจา้
อาวาสรปู ท่ี ๕ ของวดั บรมนิวาสราชวรวหิ าร ท่านได้กอปรคณุ ปู การ
ต่อวงการพระพุทธศาสนาอย่างมหาศาล ทั้งในด้านการปฏิสังขรณ์
พระอารามต่างๆ และการส่งเสริมการศึกษาของพระสงฆ์ ท้ังทาง
คนั ถธุระและวิปสั สนาธรุ ะ
ท่านยังเคยกล่าวยกย่องท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ในที่
ประชุมว่า “ท่านมั่นเป็นกัลยาณมิตร ควรสมาคม” ในยุคสมัยน้ัน
พระป่าท่ีไม่ได้ศึกษาทางปริยัติ ยังไม่เป็นที่ยอมรับจากพระสงฆ์ชั้น
ผู้ใหญ่ที่ล้วนมีการศึกษาสูง แต่ด้วยการสนับสนุนของท่านเจ้าคุณฯ
ท�ำให้ท่านพระอาจารย์ม่ันเป็นที่รู้จักของพระสงฆ์ระดับผู้ใหญ่ใน
ธรรมยุตกิ นิกาย
แม้ว่าท่านเจ้าคุณฯ จะเป็นพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติชอบเพียงใด ก็
ไม่อาจจะพ้นไปจากโลกธรรม ๘ อันเปน็ สงิ่ ธรรมดาของโลกได ้ ดัง
ตัวอย่างของการ “ได้ยศ - เส่อื มยศ” ซงึ่ ทา่ นไดเ้ ล่าไวว้ า่ ...
“...ส่วนบรรดาศกั ด์ิถึงปขี าล วนั ท่ี ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ.
๒๔๕๗ ไดร้ ับพระราชทานสัญญาบตั รเลือ่ นต�ำแหน่งเป็นพระเทพโมล ี
ครนั้ ถึงปี ๒๔๕๘ พรรษาท่ี ๓๙ ปลายปีถกู ถอดลดยศออกจากตำ� แหน่ง
พระเทพโมลี...”

168 ประวัติพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)

หลงั จากการถกู ถอดสมณศักด ์ิ ทา่ นได้แสดงพระธรรมเทศนา
อันแสดงถึงความเข้าใจในโลกธรรม อันเป็นสิ่งที่เป็นปกติของโลก
“เวลาน้ีเราเป็นหลวงตาจันทร์แล้ว ขณะนี้หลวงตาจันทร์ก�ำลังจะ
เทศน์ โลกธรรมน้ันเป็นส่ิงธรรมดาโลก ถ้าใครไปยึดถือมันเข้าก็
จะต้องหลง เกิดความเดือดร้อนกระวนกระวาย อย่าไปถือเลย
หลวงตาจันทร์กบั เจ้าคณุ มนั ก็คนคนเดียวกนั นั้นเอง แต่เป็นเรอ่ื งท่ี
เขาสวมหวั โขนให้กนั เทา่ นนั้ ”

การสรา้ งอนสุ าวรยี พ์ ระอบุ าลคี ณุ ปู มาจารย์
(สริ จิ นโฺ ท จนั ทร)์

อนุสาวรยี ์พระอบุ าลีคุณปู มาจารย์ (สิรจิ นโฺ ท จันทร)์ ต้งั อยทู่ ี่ทงุ่
ศรเี มอื งอบุ ลราชธานี ตำ� บลในเมือง อ�ำเภอเมือง จังหวดั อุบลราชธานี
ประชาชนชาวจงั หวดั อุบลราชธานี ร่วมใจกนั สรา้ งอนสุ าวรีย์นีข้ ึ้นเมอื่
ปี พ.ศ. ๒๕๓๒ มีวตั ถุประสงค์เพ่อื เป็นที่สักการะ และเป็นอนสุ าวรีย์
แหง่ เกียรตคิ ุณของพระอบุ าลคี ุณูปมาจารย์ (สริ ิจนโฺ ท จนั ทร)์ ท่เี ปน็ ผู้
ส่งเสรมิ และพัฒนาระบบการศกึ ษาในภาคอสี านอยา่ งกวา้ งขวาง อีกท้งั
ยังไดร้ ับยกยอ่ งวา่ เป็นจอมปราชญ์ผู้ทรงคุณวุฒิด้านคนั ถธุระ (งานดา้ น
การศกึ ษาพระธรรมค�ำสอนของพระพุทธเจา้ ) และวิปัสสนาธุระ (งานท่ี
มุ่งอบรมใหเ้ กิดปัญญาโดยการปลอ่ ยวางภาระท้งั ปวง)

169

เมื่อครั้งท่ีชาวอุบลราชธานีต้ังใจที่จะก่อสร้างอนุสาวรีย์สมเด็จ
พระมหาวีรวงศน์ นั้ ท่านเจ้าคณุ พระพรหมมุณี เจ้าอาวาสวดั นรนาถ-
สนุ ทรกิ าราม กรุงเทพมหานคร (ตอ่ มาเล่อื นสมณศกั ดเิ์ ปน็ “สมเดจ็
พระมหามุนีวงศ์”) ได้ท้วงติงว่า หากจะสร้างอนุสาวรีย์สมเด็จพระ
มหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) ก็จะตอ้ งสร้างอนุสาวรีย์ของเจ้าคณุ พระ
อบุ าลีคณุ ปู มาจารย์ (สิริจนฺโท จนั ทร)์ เสียกอ่ น พร้อมนำ� ไปอ่านค�ำ
จารกึ ของสมเดจ็ มหาวีรวงศ์ที่ “หอเขยี ว” วดั บรมนิวาส ราชวรวหิ าร
กรุงเทพมหานคร ดงั นี้ “หากผู้ใดจะเชิดชูขา้ พเจา้ ไมว่ า่ กรณีใดๆ
ขอให้เชดิ ชทู ่านเจา้ คณุ พระอบุ าลีคณุ ปู มาจารย์ (สิรจิ นฺโท จันทร์)
ซ่ึงเป็นพระอาจารย์ท่ีเคารพของข้าพเจ้าก่อน เพราะว่าถ้าไม่มี
พระอาจารย์ท่านนี้ ความดีท่ีจะเชิดชูข้าพเจ้าก็คงไม่มีบังเกิดข้ึน
อย่างแน่นอน ถ้าหากไม่ปฏิบัติตามนี้ ข้าพเจ้าจะไม่ยอมรับการ
เชิดชูน้ันๆ เป็นอันขาด” ด้วยเหตุนี้จึงมีการแก้ไขเพ่ิมเติมโครงการ
ใหม่ เพื่อใหเ้ ปน็ ไปตามความตัง้ ใจของสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ทตี่ อ้ งการ
แสดงความกตญั ญูตอ่ พระอาจารยข์ องท่าน

170 ประวัติพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)

สมเดจ็ พระมหามนุ วี งศด์ ำ� เนนิ ตามปฏปิ ทา
ทา่ นเจา้ คณุ อบุ าลฯี และหลวงปมู่ นั่

(จากหนงั สอื ประวตั ิ สมเดจ็ พระมหามนุ ีวงศ์ สน่ัน จนฺทปชโฺ ชโต)

ในปี พ.ศ. ๒๔๖๘ ทา่ นเจ้าคุณพระศาสนดิลก (เสน ชิตเสโน)
ไดฝ้ ากฝงั หลวงปู่ (สมเด็จพระมหามุนวี งศ์) ไวใ้ หอ้ ยู่ในปกครองของ
ทา่ นเจ้าคุณอบุ าลีคุณปู มาจารย์ (จันทร์ สริ จิ นฺโท) ที่วดั บรมนิวาสฯ
กรงุ เทพฯ ณ ทน่ี หี้ ลวงปไู่ ด้เรม่ิ ตน้ ศึกษาพระปรยิ ัตธิ รรมอยา่ งจรงิ จัง
และได้อุปสมบททวี่ ัดบรมนวิ าสฯ นเี้ อง ในปี พ.ศ. ๒๔๗๑ โดยมี
พระครูศลี วรคณุ (อ่ำ� ภทรฺ าวโุ ธ) เปน็ พระอปุ ชั ฌาย์ พระอมราภิรักขติ
(ชยั ชติ มาโร) เปน็ พระกรรมวาจาจารย ์ โดยไดร้ บั ฉายาวา่ จนทฺ ปชโฺ ชโต
หลวงป่ไู ดศ้ กึ ษาพระปริยตั ิธรรมมาอยา่ งต่อเน่ือง ดว้ ยความขยันและ
อดทน และส�ำเร็จการศึกษาพระปรยิ ตั ธิ รรม เปรียญ ๙ ได้ในปี พ.ศ.
๒๔๘๖
ขณะท่ีหลวงปมู่ ีอายุได้ ๒๓ ปี ในช่วงอายนุ ีท้ า่ นได้เป็นครสู อน
พระปรยิ ตั ธิ รรม และช่วยงานการปกครองคณะสงฆ์ของจงั หวดั ทา่ น
เจ้าคณุ อบุ าลีคณุ ูปมาจารย์ (จันทร์ สริ ิจนโฺ ท) ได้อนุญาตให้หลวงปู่ไป
ชว่ ยงานไดต้ ามทขี่ อมา ซ่งึ หลวงปู่ก็ไดไ้ ปอยู่ชว่ ยงานทจ่ี ังหวัดจนั ทบรุ ี
อยู่ ๓ ปี ต้ังแต่ปี พ.ศ. ๒๔๗๒ - ๒๔๗๔ หลวงปู่ได้ท�ำหน้าทเี่ ป็น
ครูสอนพระปรยิ ตั ิธรรมตามสำ� นกั เรยี นต่างๆ

171

ในวยั ๓๖ ปี (พ.ศ. ๒๔๘๖) หลวงปู่ได้รับแต่งต้งั เป็นสมาชกิ
สงั ฆสภา จากนนั้ ทา่ นกไ็ ดด้ ำ� รงตำ� แหนง่ และหนา้ ทต่ี า่ งๆ เพอื่ ประโยชน์
ทางพระพทุ ธศาสนา ท้ังดา้ นการศึกษา การปกครอง การเผยแผ่
และสาธารณปู การตา่ งๆ อยา่ งเต็มความสามารถ ในปี พ.ศ. ๒๔๘๙
หลวงปมู่ สี มณศักดใ์ิ นขณะนั้นที่ พระอมรเวที ท่านไดร้ ับหนา้ ทจี่ าก
สมเดจ็ พระสังฆราชเจา้ กรมหลวงวชริ ญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชืน่ นพวงศ์
สจุ ิตฺโต) วดั บวรนิเวศวหิ าร ให้ไปอยู่ชว่ ยงานทกี่ องตำ� รามหามกุฏฯ ท่ี
วดั นรนาถสุนทริการาม หลวงปจู่ ึงยา้ ยไปจ�ำพรรษาทว่ี ัดนรนาถฯ ต้งั แต่
นนั้ เป็นต้นมา หลวงป่ไู ดร้ ับพระราชทานสมณศกั ด์ิตา่ งๆ จนกระท่งั
ในปี พ.ศ. ๒๕๓๒ ทา่ นไดร้ ับพระราชทานสถาปนาสมณศกั ดขิ์ นึ้ เป็น
สมเด็จพระราชาคณะท่ี “สมเด็จพระมหามนุ ีวงศ”์
หลวงปทู่ ่านไดใ้ ชช้ ีวติ อย่างเรยี บงา่ ย ไมว่ า่ จะอยใู่ นฐานะหรอื
สมณศกั ดใ์ิ ด ทา่ นมคี วามมกั นอ้ ย สนั โดษ ไม่โอ้อวด ไมถ่ อื ยศตลอด
อายขุ องทา่ น บรรดาพระป่ากัมมฏั ฐานตา่ งๆ เช่น หลวงตามหาบัว
าณสมฺปณโฺ ณ ได้กลา่ วถึงหลวงป่วู ่า “เป็นพระแท้ กราบไหว้ได้ด้วย
ความสนทิ ใจ” โดยทกุ ๆ เชา้ หลวงปู่จะตนื่ ตี ๔ ลกุ ขนึ้ มาไหวพ้ ระ
สวดมนต์ นงั่ สมาธไิ ปจนกระทัง่ ๖ โมงเชา้ จากน้นั จงึ ลงไปเดนิ จงกรม
รอบๆ โบสถ์ ปฏบิ ัตเิ ชน่ น้ีมาตลอด ไม่เคยขาดแมก้ ระทั่งเจบ็ ปว่ ย
ท่านเคยไดอ้ อกธดุ งคแ์ ละบ�ำเพญ็ เพียรในป่า ตามแบบอยา่ งของครบู า
อาจารย์ของท่าน มที า่ นเจ้าคณุ อบุ าลคี ุณปู มาจารย์ (จนั ทร์ สิรจิ นโฺ ท)
และ หลวงปมู่ ่ัน ภรู ทิ ตฺโต เป็นต้น

172 ประวัติพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)

หลวงปสู่ มิ กราบนมสั การฟงั ธรรมทา่ นเจา้ คณุ อบุ าลฯี

พระญาณสิทธาจารย์ หรอื หลวงปู่สมิ พุทธาจาโร พระปา่
กรรมฐานสายท่านพระอาจารย์มัน่ ก็เป็นพระมหาเถระอีกรปู หนงึ่ ทใี่ ห้
ความเคารพเทดิ ทูนท่านเจ้าคณุ อุบาลีฯ ตามประวัติเล่าวา่ ในขณะท่ี
หลวงปสู่ มิ เพง่ิ อุปสมบทได้ ๒ พรรษา ราวปี พ.ศ. ๒๔๗๔ ท่านทราบ
กติ ติศัพท์ท่านเจ้าคุณอบุ าลีฯ (จันทร์ สริ จิ นโฺ ท) วัดบรมนวิ าส ทา่ น
จงึ ตง้ั ใจจะไปกราบนมสั การฟงั ธรรมจากทา่ นเจา้ คณุ อบุ าลีฯ
เมื่อออกพรรษาแล้ว ท่านก็ได้เดินธุดงค์จากขอนแก่นเข้า
กรุงเทพฯ โดยมหี ลวงพีอ่ งคห์ น่งึ ติดตามไปดว้ ย วันหนึ่งขณะท่ีก�ำลงั
เดินมุ่งหน้าไปทางพระพุทธบาท สระบุรี โดยหลวงปู่เดินน�ำหน้า
หลวงพี่องค์น้ันเดินตามหลัง ทั้งสององค์ต่างก็ได้ยินเสียงเสือค�ำราม
โฮก ! ขึน้ แต่ยงั ไม่ทนั เหน็ ตวั หลวงพท่ี ี่เดนิ อย่ขู า้ งหลังคงตกใจสุดขีด
ออกวง่ิ แซงหนา้ หลวงปทู่ งั้ ทท่ี างกแ็ คบนดิ เดยี ว หลวงปเู่ ลา่ วา่ “นแ้ี หละ
คือว่าไม่ภาวนา...ว่ิงไปได้ประมาณสองเส้นจึงได้หยุด ยังไม่เห็นตัว
มันเลย ไดย้ นิ แต่เสยี งกว็ ง่ิ แล้ว ถ้าวิ่งไปข้างหนา้ แลว้ ไปเจออีกตัวหนึ่ง
จะท�ำยงั ไงกไ็ มร่ ”ู้
ภายหลังทที่ ่านเจา้ คณุ อุบาลฯี มรณภาพแล้ว ราวปี พ.ศ.
๒๔๗๙ หลวงปูส่ มิ ทา่ นได้ติดตามสมเด็จพระมหาวรี วงศ์ (อ้วน ตสิ ฺโส)
มาจ�ำพรรษาท่วี ัดบรมนวิ าส ไดศ้ กึ ษาพระธรรมวินัยในสำ� นกั สมเดจ็ ฯ
ตั้งแต่บัดนนั้ ท�ำให้ท่านได้รับความรู้แตกฉานในพระธรรมวินัยมากขน้ึ
ทา่ นอยู่รบั ใช้สมเด็จฯ ด้วยจรยิ าดีเยย่ี ม พรอ้ มกันนน้ั ท่านก็ได้ทำ� หนา้ ท่ี

173

อบรมส่ังสอนการปฏิบัติธรรมตามแนวทางของพระธุดงค์กรรมฐาน
โดยสมเด็จฯ โปรดให้ปลูกกุฏิกรรมฐานรอบก�ำแพงโบสถ์ เพ่ือเป็น
ทพ่ี กั ของพระเณรจำ� นวนมากทมี่ ารบั การฝกึ ฝนอบรมจากหลวงปู่
องคท์ ่านสมเด็จฯ เอง ก็โปรดทีจ่ ะมาน่ังภาวนาใต้ต้นไมใ้ หญ่
ขา้ งโบสถ์ซง่ึ เป็นทร่ี ่มรืน่ เสมอ
โอกาสเช่นน้ีที่หลวงปู่สิมได้ถวายค�ำแนะน�ำในการปฏิบัติสมาธิ
ภาวนาแกอ่ งค์สมเดจ็ พระมหาวีรวงศ์ อยูเ่ ปน็ ประจำ�

หลวงตามหาบวั เทศนาธรรมถงึ ทา่ นเจา้ คณุ อบุ าลฯี

ทา่ นเจา้ คณุ อบุ าลฯี ฉลองวดั เขาพระงาม
๑๓ สงิ หาคม ๒๕๔๓

ท่านเจา้ คุณอุบาลีฯ ฉลองพระงาม ลพบุร ี ทา่ นกบ็ อกทางภาค
อสี านมา ใครมวี ิชาความรู้อะไรใหเ้ อามาแขง่ กนั สนุกสนานในงานนี้
ความหมาย พวกบ้ังฟืนบัง้ ไฟ พลอุ ะไรก็แล้วแต ่ ใครมวี ิชาทางไหน
ให้เอามาเต็มเมด็ เตม็ หน่วยมาเล่นในงานน้ ี เขาจดุ บง้ั ไฟขน้ึ ทีนี้เวลา
เขาแหบ่ งั้ ไฟซิ แหก่ ่อนทจ่ี ะจดุ เขากแ็ ห่รอบบรเิ วณนนั้ ทา่ นเจา้ คุณ
อุบาลีฯ กับทางกรุงเทพฯ ก็มาอย่นู ัน้ ทา่ นนั่งอยนู่ ้นั แล้วพวกทาง
กรงุ เทพฯ กเ็ ต็มมากราบทา่ น พวกนนั้ เขากเ็ ฉย เขาแหก่ นั ไปเรอื่ ยๆ

174 ประวัติพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)

แห่บง้ั ไฟ
อันน้กี แ็ บบเดยี วกันแหละ พูดกพ็ ดู เป็นเสียงเดยี วกันอกี ขึ้น
เป็นจังหวะๆ เพราะเขาฝกึ ซอ้ มมาแล้ว ฝึกซอ้ มการเล่นการสนุกสนาน
ของเขา พอแหม่ ารอบๆ ข้นึ กจ็ ะซี ้ บข่ ึน้ กจ็ ะซ้ ี (เอ๊ มันเรอื่ งอะไรนี)่
เขาเฉยนะ เขารอ้ งสนุกของเขาเฉยๆ เขาไม่ไดส้ นใจว่าอะไรหยาบ
ไมห่ ยาบ เป็นเพลงเล่นสนุกเขา ทางน้กี น็ ัง่ ฟังอยนู่ ้ี (มันอะไรเขาพดู
เร่อื งอะไร ขน้ึ ก็จะซี้ บ่ขึ้นก็จะซี้) โอ๊ย ! อนั น้ีเปน็ เรอ่ื งสนกุ สนานเขา
เล่นของเขาไปอย่างนั้น อยา่ ไปสนใจกบั เขาเลย (มนั หมายความว่า
ยงั ไง) โอย๊ ! ไมอ่ ยากแปลใหฟ้ งั แหละ บอกอยา่ ใหแ้ ปลให้ฟงั เลย
แปลอะไรเป็นเรอื่ งของเขา เรอื่ งของเราเป็นเร่ืองของเรา พวกเรามี
สมบตั ิผดู้ ี เรากอ็ ยสู่ มบัติผู้ดี พวกบ้านเี่ ขาเปน็ บ้าของเขาไป
(มนั อยากทราบความหมายน่นี ะ มนั หมายความวา่ ยังไง) ท่าน
บอกเท่าไรไม่ฟงั กวนเอาจนไดน้ ะ กวนใหท้ า่ นแปลความหมายใหฟ้ ัง
(มนั แปลว่ายงั ไงๆ) กบ็ อกแล้วไม่อยากแปล เอาอยู่นั่นละ่ กวนให้
แปล เอา้ ถา้ ยังงั้นต้ังตวั ใหด้ ีนะจะแปลใหฟ้ งั ทา่ นก็บอกว่า ขึ้นคือ
บง้ั ไฟจดุ แล้วจะขึน้ หรือไมข่ ้นึ กต็ าม ข้ึนกจ็ ะเยด็ ไม่ขึ้นกจ็ ะเย็ด (ว้าย
ท�ำไมเป็นอย่างน้ีล่ะ ขึ้นก็จะเอา ไม่ขึ้นก็จะเอา ไม่ยอมขาดทุน
ยงั ไงนี่) ก็บอกแลว้ เขาพดู เรื่องของเขาเอง ท่านหัวเราะ คือเขาพดู
สนุกเขาเข้าใจไหม เขาขนึ้ เปน็ เพลงสนุกเขา ภาษาภาคอสี านเขาว่า
ขน้ึ ก็จะซ ี้ บ่ขึ้นก็จะซี้ คอื บงั้ ไฟขน้ึ กจ็ ะซี ้ บข่ นึ้ ก็จะซ้ี
ทางน้ีไม่รู้เร่ืองก็ถาม ท่านบอกเท่าไรก็ยังเอาอยู่น่ันไม่หยุด
ไมถ่ อย ทา่ นกเ็ ลยบอกให้ต้ังตัวใหด้ นี ะ สมบตั ิผดู้ ีจะลม้ อย่าวา่ ไมบ่ อก

175

พอว่า ข้ึนก็จะเย็ด (อ๊ายย….) แนะ่ บอกแล้ว ก็บอกแล้วน่ีนะ่ (มนั
ไม่ยอมขาดทุนพวกน้นี ่ะ ขึ้นมนั ก็จะเอา ไม่ข้นึ มนั กจ็ ะเอา) ก็บอก
แล้ววา่ เร่ืองของเขา (ไมม่ ยี อมขาดทนุ เลย) จบแล้ว
ท่านเจา้ คุณอบุ าลฯี ทา่ นฉลอง เขาเรียกพระงาม ๆ ทลี่ พบุร ี
เขาเรียกวัดพระงามด้วย ท่านเป็นครูเป็นอาจารย์ของพ่ีน้องชาว
กรุงเทพฯ ท่านเจ้าคณุ มชี ือ่ เสียงโดง่ ดังมาก สมัยนน้ั กย็ กท่านเจ้าคณุ
อุบาลีฯ นเี้ ป็นอันดบั หนึง่ นกั เทศน ์ ท่านเจ้าคณุ อุบาลฯี เปน็ นักเทศน์
ในสมยั น้นั แตเ่ สียดายทไ่ี ม่มเี ครอ่ื งอะไรอยา่ งทุกวนั นี ้ เขาจดชวเลข
หรอื อะไรไว ้ ไมค่ อ่ ยเต็มเมด็ เต็มหน่วย ไม่ไดอ้ อกจากเนือ้ แท้ของทา่ น
ถา้ อัดเทปนีอ้ อกคำ� ไหนก็ติดเทปใช่ไหม เตม็ เมด็ เต็มหนว่ ย นา่ เสยี ดาย
ทา่ นเทศนด์ ี เราเกดิ ไม่ทันท่าน ทา่ นมรณภาพปี ๗๕ นะ เราบวช
ปี ๗๗ ไมท่ ันทา่ น เทา่ ที่ทราบมาท่านเปน็ ธรรมกถึกเอก เรียกว่าทั่ว
ประเทศไทยไมม่ ีใครเกินทา่ น เทศนเ์ กง่ มาก

176 ประวัติพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)

ทา่ นเจา้ คณุ อบุ าลฯี หนกั ทงั้ ปรยิ ตั แิ ละปฏบิ ตั ิ
๑๓ สงิ หาคม ๒๕๔๓

ท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ เป็นชาวอุบลฯ ดูว่าอยู่บ้านก่อหรือ
หนองไหลอะไร (บ้านหนองไหล) บา้ นกอ่ -หนองไหลมันอยตู่ ิดกนั เขา
เรียกบา้ นกอ่ -หนองไหล เราไปวดั อาจารยช์ ากผ็ า่ น เขาเรยี กบ้านก่อ
เอ๊ ! ไมใ่ ช่กอ่ ทา่ นเจา้ คุณอบุ าลฯี เหรอ แตเ่ รากไ็ มไ่ ดซ้ อกแซกถาม แถว
ที่จะเข้าวัดหนองป่าพงเป็นบ้านก่อ บ้านก่อมันมีต้นก่อ ต้นก่อ
ชุมๆ เขาก็ใหน้ ามว่าบา้ นกอ่ หนองไหล พวกไหลน่ีเป็นพวกเหมอื นผอื
เกิดอยู่ในน้�ำ เขาเอามาทอเส่ือ เขาเรียกไหล ทางน้ีเรียกว่ากก
กกกับไหลกช็ ่ืออันเดยี วกัน เพราะไปดเู ส้นแล้วกกกบั ไหลก็อนั เดียวกัน
เหมือนเรื่องกินกับสะแตกก็อันเดียวกัน ถ้ากินมากเขาเรียก
วา่ สะแตก กนิ ธรรมดาเขาเรยี กว่ากนิ ต่างกันเทา่ น้ันล่ะ ถ้ากนิ แบบ
ฉิบหายอย่างคนไทยเรากินนี้ เขาเรียกสะแตกกันทั้งเมืองไทย ถ้า
กนิ ดบิ กนิ ดกี ินธรรมดา มีการประหยดั มัธยัสถ์ รู้จกั ประมาณในการ
กินเขาก็เรียกว่ากิน ถ้ากินแบบผาดโผนโจนทะยาน กินจนกระท่ัง
หมดเน้ือหมดตัว อย่างนี้เขาเรียกสะแตก เข้าใจไหม พวกนี้มันอ่อน
ภาษาตอ้ งอธิบายใหฟ้ ังเร่อื ยๆ น่ันละ่ ทว่ี า่ บ้านก่อ-หนองไหล ทา่ นอยู่
อุบลฯ
ท่านอาจารย์เสาร์บ้านอะไรน้า ลืมแล้ว แต่ก่อนก็พอจ�ำได้
แต่มันกล็ ืมเสยี ท้ังหลวงปู่ม่นั ทงั้ หลวงป่เู สาร์ ทง้ั ทา่ นเจา้ คุณอบุ าลีฯ
ท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ น้ีจ�ำได้มันพาดพิงไปทั้งสองบ้านเลย บ้านก่อ-

177

หนองไหล แต่ไมท่ ราบวา่ ทา่ นอยบู่ ้านก่อหรอื บา้ นหนองไหลกไ็ ม่ทราบ
แตเ่ วลาทราบจรงิ ๆ ว่าทา่ นอยบู่ า้ นก่อ ต้นก่อมีชุมๆ เขาเอาน้นั เปน็
นามของบา้ นเลยว่าบ้านก่อ สว่ นหนองไหลก็มกี กเยอะ เขาไปต้ังบา้ น
เขาเรยี กบา้ นหนองไหล หนองกกน่นั แหละ เท่าทีท่ ราบทา่ นพกั อยู่ที่
วดั บรมนิวาส พวกประชาชนที่เขามคี วามเคารพเล่อื มใสทา่ น เขามา
ฟังเทศน์ทา่ น เขาวา่ มีสามล้ออยู่ในกรงุ เทพฯ เป็นสามลอ้ ประเภทใด
ไม่รู้นะ เขาวา่ เสยี ถงึ ๗๐ สตางค์เขากย็ อมมา คา่ สามล้อมาจากบา้ น
เงิน ๗๐ สตางค์แต่ก่อนมันเท่ากบั ๗๐๐ กระมังถงึ พันก็ไม่รู้นะ มัน
ตา่ งกนั คุณค่าของเงนิ มาฟังเทศนท์ ่านทวี่ ดั บรมนิวาส ท่านเทศน์เก่ง
ว่างนั้ แต่เราไมท่ นั ทา่ น ทา่ นมรณภาพปี ๗๕ เรากบ็ วชปี ๗๗ ไม่ทนั
หลวงปู่ม่ันเคารพท่านมากนะ เคารพท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ
พูดค�ำไหนๆ แยบ็ ออกรทู้ ันที ทา่ นพดู ด้วยความเคารพเล่อื มใส ดว้ ย
ความเทดิ ทนู จริงๆ คอื ท่านเจา้ คุณอบุ าลีฯ ท่านหนกั ทั้งปฏบิ ตั ดิ ้วย
ท้ังปริยตั ิดว้ ย ท่านเป็นแบบฉบับได ้ เฉพาะอยา่ งยง่ิ ทางด้านปรยิ ตั ิ
นำ� กรรมฐานคอื หลวงปูม่ ั่น หลวงปู่เสาร์ แต่กอ่ นนะ ทางด้านปริยตั ิ
ทีนี้กรรมฐานท่านก็ออกเท่ียว พอพูดเร่ืองน้ีแล้วก็ไปสัมผัสกับเร่ือง
มหาทองดำ� ที่เปน็ เจ้าอาวาสวัดบรมนวิ าส เป็นคนจังหวัดระยอง มาอยู่
วดั บรมนิวาสนั้นจนกระทั่งอายุพรรษาแกส่ มควรเป็นหัวหนา้ วัด กเ็ ลย
ต้งั เป็นเจ้าอาวาส แต่ก่อนชอื่ มหาทองดำ� ท่านเลา่ ให้ฟงั ขบขันดีนะ
เราไปกบั อาจารยเ์ จีย๊ ะ มาจากจันท์แล้วกม็ าพกั วดั บรมนวิ าส
เพราะเป็นวัดที่เราเคยพักเคยอย ู่ มาพักทน่ี ่นั ละ่ ขนึ้ ไปหาทา่ น ท่าน
กพ็ ดู ถึงเรือ่ งกรรมฐานด้วยความยิ้มแย้มนะ เหอ มาเหรอท่านมหา วา่
อยา่ งน้นั ละ่ ขึ้นไปกับอาจารย์เจีย๊ ะ เออ กรรมฐานดนี ะ ข้ึนเลยนะ

178 ประวัติพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)

ผมเป็นลูกศิษย์ท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ ท่านว่าตอนน้ันท่านเป็นเณรไป
เทยี่ วทางลพบรุ ี ไปเที่ยวกรรมฐานกับท่าน เวลาไปเท่ียวกรรมฐาน
ไปภาวนาน ้ี โฮ้ จติ มันลง ว่างน้ั นะ ทา่ นเจ้าคุณองคน์ ล้ี ่ะ ธรรมดิลก
หรือไง แต่ชอ่ื เดมิ ชื่อมหาทองด�ำ ๗ ประโยค ทา่ นเลยพูดเสยี เป็นตุ
เปน็ ตะ เรากฟ็ งั กับอาจารย์เจ๊ียะ ดูเหมอื นปี พ.ศ. ๙๕ เรามาจากจันท์
มาท่ีนั่น ลงเรือมา ท่านพูดถงึ เร่อื งกรรมฐาน โฮ้ ! ผมไปภาวนาอย ู่
ไปกับทา่ นเจา้ คณุ อุบาลฯี ตอนนน้ั ดวู ่าท่านเปน็ เณรนะ ไปภาวนานจ้ี ิต
มนั ลงมนั สงบแนว่ มองดอู ะไรนมี้ นั จดื มนั ชดื ไปหมด ทา่ นวา่ อยา่ งนนี้ ะ

นทิ านหลวงตาบวชทแี รก
๑๑ ตลุ าคม ๒๕๔๔

จะเล่านิทานหลวงตาบวั บวชทีแรกใหฟ้ งั นะมนั น่าเล่า ขบขนั ด ี
บา้ นหนองแวงน่ ี แตก่ อ่ นไม่มีบ้าน เขาอยทู่ างบ้านหนองใส มาทำ� นา
ที่น่ี เขามานิมนต์ไปท�ำบุญลานข้าวเขา เขาจะขนข้าวข้ึนยุ้งขึ้นฉาง
เขานยิ มทำ� บุญก่อนท่จี ะขนข้าวข้ึนจากลานข้าวเขา พอดรี ะยะนั้นเราก็
บวชใหม่ด้วยไดพ้ รรษาเดียว ฟังซบิ วชไดพ้ รรษาเดียว
ปนี นั้ บวชทีแรกเรยี นสวดมนตจ์ บ เรียนปาฏิโมกข์จบ ยังไม่ได้
เรียนคาถาบาลีค�ำเทศนาว่าการ อยู่ๆ เขาก็มานิมนต์ไปท�ำบุญบ้าน
เขาเรียกบา้ นหนองแวง แตก่ ่อนมนั จะมีสักสองสามหลังคาเรอื นเทา่ น้ัน
ม้ัง เด๋ียวน้ีเป็นบ้านใหญ่แล้ว ทีนี้เขาก็นิมนต์ไป วัดน้ันก็อย่างน้ัน

179

ล่ะซี เพราะฉะนน้ั วัดน้จี ึงไม่รบั นมิ นต์ที่ไหน ไมร่ ับนะ ถ้าหากวา่ รับ
ตอนเช้าจะเหลอื งอรา่ มอยู่ในทอ้ งตลาด พระในวดั จะไม่มี มีแต่เร่ือง
หากนิ เรื่องอรรถเรอ่ื งธรรมจะไม่ม ี นี่เราตดั ออกหมด วัดนีจ้ ึงไมร่ บั
นิมนตใ์ ครท้งั นน้ั ไปฉนั ท่ีนนั่ ท่ีน ี่ หากมีความจำ� เป็นเป็นกรณีพเิ ศษเรา
จะเป็นผู้จดั ให้เอง ถา้ ธรรมดาเราไม่รับ
ทีนเ้ี ขาก็นิมนต ์ พระวัดโยธาฯ จนจะไม่มพี ระติดวดั นมิ นต์
ไปงานนัน้ ไปงานน ี้ ตอนเขาจะขนขา้ วขน้ึ บ้านขึน้ เรอื นเขา เรากถ็ ูก
นิมนต ์ ท่านพระครใู หเ้ ราเปน็ หัวหน้า ก็ไมม่ ีพระน ี่ พรรษาเดยี วเปน็
หวั หนา้ พวกนัน้ กพ็ วกเดยี วกนั พรรษาเท่ากนั แต่ออ่ นกว่าเรา บวช
วันอ่อนกวา่ เรา พ่ึงบวชกม็ ี ไปเราก็มหี นังสอื พก หนงั สือนเ้ี ป็นวชิ า
หากิน คือมีเทศนก์ ัณฑ์หนงึ่ อยใู่ นนนั้ ไปท่ีไหนจ�ำเปน็ กเ็ อาน้ีมาเทศน์
กินข้าวตม้ ขนมเขาแลว้ มา พอดีวันนั้นไปฉันเสร็จแล้วก็เทศน์ ก็เอา
หนังสือน้อี อกเทศน์จบลงไปแลว้
อย่ๆู เขากย็ กขบวนกนั มาอีก นท่ี ่านเทศนจ์ บแลว้ เหรอ ไอ้
คนนั้นเราอยากตามฆ่ามัน มันตายแล้วยังก็ไม่รู้ ยังอยากตามฆ่าอยู่นะ
มนั โมโห นีท่ ่านเทศนจ์ บแลว้ ยัง โอย๊ ! จบแล้วกไ็ มย่ ากแหละ ให้
ท่านฉนั เพลเสียก่อน ตอนน้นั ฉันเพลอยูน่ ะ ให้ท่านฉันเพลเสียก่อน
เทศน์เม่อื ไรยากอะไร เราอยากฆา่ อีตาน่ีเหลอื เกินนะ คนหนึง่ อกจะ
แตกแล้วไม่มีอะไรจะเทศน ์ กเ็ ทศนห์ นงั สือนี้หมดไปแล้วจะเอาอะไรไป
เทศน ์ กบ็ วชไดพ้ รรษาเดยี ว นที่ ีม่ นั โมโหมาจนกระทั่งทกุ วนั นี้ เห็น
เป็ดเหน็ ไก่แถวนน้ั สูอย่ามาผ่านกูนะ กูโมโหตง้ั แตป่ นี ้ันยังไม่ลืมนะ
เห็นไก่เห็นเปด็ แถวนน้ั พดู หยอกเขา กูโมโห เดก็ เลก็ เดก็ นอ้ ยอย่ามา
ผา่ นนะ กูโมโหยงั ไม่ทนั หาย กูโมโหตั้งแตป่ ีนั้นล่ะ

180 ประวัติพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)

บ้านนี้ล่ะ พอฉันจังหนั เสร็จเรียบร้อย เขากม็ าสายๆ อีตาคนนนั้
ก็พูดอย่างนน้ั จะไปยากอะไร ใหท้ ่านฉนั เพลแลว้ ค่อยเทศนเ์ มื่อไร
ก็ได ้ ก็แกไม่ได้เทศน์นี่ ผูเ้ ทศนเ์ ปน็ เราน่ีนะมันโมโห อยากฆ่าอีตาน ี่
ทีนี้เวลาฉนั เพล ไมล่ ืมนะ ขนมนางเลด็ แผ่นเดยี วฉันครึ่งหนึง่ กไ็ ม่หมด
มันแค้นมันคับหัวอก คิดหาแตค่ �ำเทศน์ ก็เราไม่มีอะไรจะเทศน์ บวช
ได้พรรษาเดียวเอง ตั้งแตบ่ วชมาในชีวิตของพระมีครง้ั น้นั นีก่ ถ็ ึงใจ
เหมอื นกัน เราอะไรถ้าถงึ ใจถึงจริงๆ อันนี้ก็ยงั ไมล่ มื เพราะฉะนั้น
เห็นสัตวอ์ ะไรวิ่งผ่านหน้า สูอยา่ มาผ่านนะ กูยงั โมโหไม่ถอย บ้าน
หนองแวง พวกเป็ด พวกไก่ พวกหมู พวกหมา ผคู้ น เดก็ เล็กเดก็ น้อย
บอก สูอย่าผา่ นหน้ากู ตากกู ำ� ลงั แดงอยู่เดีย๋ วนีน้ ่ะ กูโมโห เลยถือ
เอาเปน็ ความตลกมาเรือ่ ย
เวลาจะตายจริงๆ มนั ก็เทศน์ไดน้ ะแปลกอย ู่ คับหวั อกหมด
ฉนั ขนมนางเล็ดแผน่ เดยี วคร่ึงแผน่ กไ็ ม่หมด กลนื ไม่ลง วนั นน้ั ฉันได้
เท่านัน้ ฉนั เพลอะไรไม่ได้เลย คิดหาแตค่ ำ� เทศน์จะเอาอะไรเทศน ์
กไ็ ด้ภาษิตอันหนง่ึ มนั ติดอยใู่ นใจ จติ เฺ ต สงกฺ ิลฏิ เฺ  ทคุ คฺ ติ ปาฏิกงฺขา น่ี
ก็ไมล่ มื นะ เพราะมนั ฝังลึก แปลวา่ ถา้ จติ เศร้าหมองแลว้ ทคุ ติเป็นที่
หวังได ้ แลว้ อกี บาลหี นึง่ ก็ทับกนั ไป จติ ฺเต อสงกฺ ลิ ิฏเฺ  สคุ ติ ปาฏิกงฺขา
ถ้าจติ ผ่องใสแลว้ สุคติเป็นท่หี วังได ้ จติ เปน็ ของส�ำคญั มาก วา่ ง้นั นะ
เทา่ นั้นละ่ เราก็ได้ภาษติ นี้ขึ้นไปเทศน ์ เทศนม์ ันจะตายจรงิ ๆ นั้นเปน็
เดอื นพฤศจิกาฯ ก�ำลงั หนาวนะ นเี้ หงือ่ แตกหมดเลย ขนาดน้นั มันจะ
ลืมได้ยังไง หนาวๆ ท�ำไมเหงอ่ื แตก คือคนมนั จะตาย มนั ไม่ใชเ่ หงื่อ
มนั ยางตาย เทศน์พอผา่ นไปได้ โห ! เกือบตายนะเทศน์

181

เทศน์แล้วพวกเพื่อนไปด้วยกันอายุก็เท่ากัน พวกเพื่อนกัน
สมมุตวิ ่าเราเปน็ หัวหนา้ คอื เราบวชก่อนเพื่อนเฉยๆ ครั้นออกมาแล้ว
โอ๊ะ ! เทศน์เข้าท่าดีอยู่นะ เทศน์ดีนะ อยากตายเหรอเราก็ว่าง้ัน
อย่ามาผ่านนะเวลาน้ีมันก�ำลังโมโห เอ้า เทศน์ดีจริงๆ ยังอยากตาย
อยู่เหรอ รีบไปหาโลงผมี านะ เข้าทา่ นะ เทศน์ดนี ะ เราก็เลยเดนิ
เฉยไปเลย
พอกลับมาถึงวัดนี ้ ไปค้นเอาหนงั สือทา่ นเจ้าคุณอบุ าลฯี มา
ไปหาค้นเล่มไหนๆ ท่านเทศน์กัณฑ์ไหนดีๆ ชอบ เอากัณฑ์นั้นมา
ท่องเลย ท่องคล่องย่งิ กว่าปาฏโิ มกข์ ทนี ีไ้ ปไหนกไู ม่ตายแหละ กูจะ
ยกคัมภีร์นี้ขึ้นเทศน์ พอเรียนกัณฑ์เทศน์จบเรียบร้อยแล้ว ท่อง
เหมือนปาฏิโมกข์ ไปไหนไม่อดตายแหละที่น่ี เลยไม่ได้เทศน์อีก
เทศน์กัณฑ์นั้นจนกระทั่งป่านน้ีนะ หายเงียบไปเลย เทศน์กัณฑ์นั้น
ท่องได้เหมือนปาฏิโมกข์ น่ีล่ะท่ีว่าเราไม่ลืมนะ ฝังลึกมากจนคับ
หัวอกเลย จะเอาอะไรเทศนใ์ ห้เขาฟัง กบ็ วชพรรษาเดียว น่ีเราไม่ลืม

182 ประวัติพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)

เชยี งใหมจ่ งั หวดั มหามงคลมจี อมปราชญอ์ บุ ตั ขิ น้ึ
๒๖ พฤศจกิ ายน ๒๕๔๗

จังหวัดเชียงใหม่ของเราเป็นจังหวัดที่เด่นมากในประเทศไทย
เราพดู ตรงๆ นะ เฉพาะอยา่ งยงิ่ เข้ามาย่นในจงั หวดั เชียงใหม่กเ็ ข้ามา
วัดเจดีย์หลวงของเรา น้ีครูบาอาจารย์องค์ส�ำคัญๆ ได้เข้ามาอยู่ท่ีน่ี
ทั้งน้ันล่ะนะ ตั้งแต่ท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ ท่านอาจารย์ม่ันมาเรื่อย
องค์สำ� คญั ๆ เพชรน้ำ� หนง่ึ ท่ีมาเกิดอบุ ัตขิ ้นึ ในจังหวัดเชยี งใหม่ของเรา
มีน้อยเมื่อไร ฟัง ท่านอาจารย์มั่น แล้วก็ท่านอาจารย์ขาว ท่าน
อาจารย์แหวน ท่านอาจารย์ตื้อ ท่านอาจารย์พรหม น่ีเรียกว่า
‘เพชรน้ำ� หนง่ึ ’ ท้งั นั้นนะ ทีท่ ่านมรณภาพแลว้ อฐั ิของทา่ นกลายเปน็
พระธาตทุ ัง้ หมดที่วา่ นี้นะ ห้าองค์
ไม่มีจังหวัดใดสู้ได้เลย สู้จังหวัดเชียงใหม่เรานะ จังหวัด
เชยี งใหมเ่ ราเปน็ จงั หวดั ทเ่ี ปน็ มหามงคลในประเทศไทย มจี อมปราชญ์
ได้มาอุบัติข้ึนที่นี่ เท่าที่เราจ�ำได้ถึงห้าองค์ ท่านอาจารย์ม่ัน ท่าน
อาจารย์ขาว ทา่ นอาจารยพ์ รหม ท่านอาจารย์แหวน ทา่ นอาจารย์
ตอื้ ท่เี ราจ�ำไดน้ ะ นอกนั้นเราจำ� ไมไ่ ดน้ ะ ทีแ่ น่นอนห้าองค ์ นีอ้ ัฐิของ
ท่านกลายเปน็ พระธาตุทงั้ หมดเลยห้าองค์
(ท่านเจ้าคณุ จำ� ได้อีกองค์หน่งึ ) องคไ์ หน (ท่านบอกว่าหลวงตา
บัว) อย่ามาหาเร่ือง (สาธุ) ไปหาไม้มาตีปากทา่ นเจา้ คณุ หนอ่ ยโว้ย

183

ทา่ นเจา้ คณุ อบุ าลฯี ธรรมกถกึ เอก
๑๔ กนั ยายน ๒๕๕๐

สมัยท่านเจา้ คณุ อุบาลฯี มีชีวติ อยู ่ นน่ั ก็ธรรมกถกึ เอก ท่าน
เจ้าคุณอุบาลีฯ วัดบรมนิวาส เราไม่ทันท่าน ท่านมรณภาพไป
ปี ๒๔๗๕ เรายังไม่ได้บวช ทา่ นลว่ งไปปี ๒๔๗๕ เราบวช ๒๔๗๗
ท่านผ่านไปแลว้ สองป ี เราถึงไดม้ าบวช นกี่ ธ็ รรมกถกึ เอกแหละทา่ น
เจา้ คุณอุบาลีฯ เทศน์ภาคทั่วๆ ไป ถ้าให้เปน็ เอกแบบทงั้ ภายนอกทง้ั
ภายในตลอดทว่ั ถึง ออกหมดเลยนีเ้ รยี กวา่ เอกจริงๆ คอื ท่านผ้ปู ฏบิ ตั ิ
รจู้ ริงเหน็ จริง ภาคปรยิ ัติกผ็ า่ นมาพอสมควร คอื การศกึ ษาเลา่ เรียน
ก็ผ่านมาพอสมควร จากนั้นเข้าภาคปฏิบัติค้นคว้าดูเข็มทิศทางเดิน
ไดแ้ ก่ ปริยตั ทิ ่านช้ีเข้ามา ชีเ้ ข้ามาตรงไหนๆ คือ ภาคปฏบิ ตั ิตามรอย
เขา้ มาๆ กม็ าเจอตวั จรงิ ๆ
ภาคนน้ั ละ่ จะเตม็ เม็ดเต็มหน่วย ผู้รูท้ ง้ั ปรยิ ัต ิ รูท้ ั้งผลของการ
ปฏิบัติ คือ ปฏเิ วธ ความร้แู จง้ แทงทะล ุ ทา่ นสอนไว้ว่า ปรยิ ตั ิ ปฏิบัติ
ปฏเิ วธ ปริยตั ิ ได้แก่ การศกึ ษาเล่าเรียน เมื่อเล่าเรียนมาแลว้ กม็ า
ปฏิบัติ เรยี กวา่ ปฏิบัติ ปฏเิ วธ คือ ผลของงาน คอื เราศกึ ษาเล่าเรยี น
มาขัน้ ไหนมาปฏบิ ตั ไิ ด้ผลเพยี งไรๆ กเ็ ป็นปฏิเวธขึ้นมา เป็นปฏิเวธคือ
ความรู้แจง้ ในผลงานของตน
สมยั ท่านเจ้าคณุ อบุ าลฯี ทา่ นยงั มีชีวติ อยู่ดูวา่ ไมม่ ีเทปไม่มีอะไร
นะ เทศน์สอนธรรมดา เรานจ้ี งึ คอ่ ยมเี ทปอัดกันไว้ๆ แตก่ ่อนไม่มี
เสียดายนะ เราทราบที่ท่านเทศน์ แต่ท่านเทศน์ท่านเทศน์เป็นวง

184 ประวัติพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)

กว้างไปหมด เทศน์เปน็ แกงหม้อใหญ ่ เทศนส์ าธารณชนไปหมด ใน
ส�ำนวนเทศน์ท่านไม่ได้ย่นเข้ามา ส�ำนวนเทศน์ถ้าให้กว้างขวางจริงๆ
รูน้ อกรใู้ นตลอดท่วั ถึง แลว้ ข้างนอกกจ็ ะเบิกกว้างออกไป ขา้ งในก็จะ
เบิกกว้างเข้าไปภายในละเอียดท่ัวถึง เรียกว่า รอบหมด การเทศน์
รอบหมด จิตใจกป็ ล่อยวางได้หมด
คือการเทศน์ก็ข้ึนอยู่กับผู้เทศน์เหมือนกัน ผู้เทศน์มีภูมิอรรถ
ภูมิธรรมท่ีเทศน์ ควรเทศน์ธรรมประเภทใดจะออกมาตามสถานที่
บุคคล สถานทีบ่ ุคคลที่ควรจะเทศน์เป็นกลางๆ เปน็ แกงหม้อใหญ่ก็
ไปเสีย แลว้ กย็ น่ เขา้ มาหาผปู้ ฏิบตั ิ ธรรมะก็ค่อยเดด็ เผด็ ร้อนเข้ามาๆ
ยิง่ เขา้ หาผปู้ ฏิบัติเพอ่ื มรรคผลนิพพานลว้ นๆ แลว้ ธรรมะน้ีจะพุง่ ๆ มี
แต่ธรรมะแกงหมอ้ เลก็ หม้อจวิ๋ ทั้งนนั้ เปน็ ขนั้ ๆ นะแกง การเทศน์เปน็
ขน้ั ๆ อยา่ งนน้ั

แสดงดว้ ยความรคู้ วามเหน็ ของธรรมแทๆ้
๑๙ กมุ ภาพนั ธ์ ๒๕๕๑

สมัยกอ่ นไม่มเี สียงเทปอยา่ งน้ี เวลาเทศนาว่าการไม่ได้ยินนะ
พ่ึงมามีขน้ึ เรว็ ๆ นี ้ อยา่ งพอ่ แมค่ รจู ารยม์ ่นั ยังมชี วี ติ อยกู่ ไ็ มม่ ี เสียดาย
ครูบาอาจารยท์ ่ที า่ นเทศนเ์ ป็นอรรถเป็นธรรมฟงั แลว้ ซึ้งๆ มาก มันไมม่ ี
อะไรอดั มันพึง่ มามีเมื่อเร็วๆ น ้ี สมัยกอ่ นหนา้ น้ีทา่ นเจา้ คณุ อบุ าลฯี
วัดบรมนิวาส ฟังวา่ เทศน์เปน็ ประโยชน์มากมาย วัดบรมนวิ าส ท่าน


Click to View FlipBook Version