The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

การเข้าใจดิจิทัลกับพลเมืองไทย ในศตวรรษที

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by puttachart, 2022-03-23 04:54:31

การเข้าใจดิจิทัลกับพลเมืองไทย ในศตวรรษที

การเข้าใจดิจิทัลกับพลเมืองไทย ในศตวรรษที

81

(Follow) บุคคลหรือบัญชีผู้ใช้ใด เพื่อต้องการทราบข่าวสาร ความเคลื่อนไหวที่บุคคลน้ันต้องการ
สื่อสารผ่านการทวตี จากรูปภาพที่ 39 และรูปภาพท่ี 40

รูปภาพท่ี 39 การทวตี (Tweet)

รปู ภาพที่ 40 การแสดงความคิดเห็น การถูกใจ การรีทวีต
การส่ือสารด้วย Instagram หรือ เรียกสั้นๆ ว่า IG เป็นช่องทางการแสดงความคิดเห็นที่มี
จุดเด่น คือการโพสต์รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว หรือเรื่องราว โดยผู้ใช้สามารถกาหนดผู้รับสารเฉพาะ
กลุ่มผู้ติดตาม หรือกาหนดเป็นสาธารณะได้ (Public) ซึ่งผู้รับสารสามารถโต้ตอบกลับด้วยการถูกใจ
และแสดงความคดิ เห็นภายใต้ภาพหรอื เรือ่ งราวนน้ั ได้ ดังรปู ภาพที่ 41

82

รปู ภาพท่ี 41 ตวั อยา่ งการส่ือสารด้วย Instagram

83

4.2.2 วธิ กี ารรปู แบบใหมข่ องการสอ่ื สารดจิ ิทัลที่นา่ สนใจ
• Mentions (เรียกวา่ การ tag บุคคลอ่นื ๆ) ทาได้โดยพมิ พ์ @ และตามด้วยช่ือบญั ชีของบุคคล

นัน้ เพื่อใหบ้ คุ คลนัน้ สามารถเห็นขอ้ ความนั้นได้
• Hashtag (เรียกว่าการติดแฮชแทก็ ) คือ การกาหนดคาสาคัญ โดยพิมพ์ตามหลังสัญลักษณ์ #

ซึ่งจะทาใหส้ ะดวกต่อการคน้ หาเรื่องราวท่เี ป็นประเดน็ สนใจรว่ มกนั ซึง่ ในปจั จบุ นั ถอื เป็นศูนย์
ข่าวหรอื เรือ่ งราวตามกระแสท่ีสามารถค้นหาได้อย่างรวดเรว็ ดังรูปภาพที่ 42

รปู ภาพท่ี 42 ตัวอย่างกระแส # ผา่ นทวตี เตอร์
• การใช้ Emoticon หรือ Sticker คอื การสอ่ื สารด้วยสญั ลักษณ์ ซง่ึ แต่เดิมมกี ารเริ่มตน้ มาจาก

การงานโปรแกรมสนทนา โดยมีการพิมพ์ตัวอักษรเพื่อที่จะแสดงความรู้สึก เช่น :) หมายถึง
ยิ้ม และ :- ( หมายถึง ไม่พอใจ เป็นต้น และได้มีการพัฒนารูปแบบขึ้นเป็นรูป (มักเรียกว่า
Emoticon มาจาก Emotion + Icon) เช่น แทนหน้ายิ้ม หรือ แทนหน้าเศร้า
และในการส่ือสารยุคปัจจุบัน สัญลักษณ์เหล่านี้ได้มีการปรับปรุงและพัฒนาให้มีความ
น่าสนใจและสามารถสื่อแทนอารมณ์ได้มากขึ้น นั่นคือ Sticker ซ่ึงได้รับความนิยมในการ
สื่อสารดิจิทลั เป็นอยา่ งมาก โดยเฉพาะแอปพลิเคชนั Line ดงั รปู ภาพท่ี 43

รูปภาพที่ 43 ตวั อยา่ งสติก๊ เกอร์จากแอปพลิเคชนั LINE

84

4.3 แนวทางการสอ่ื สารยุคดจิ ทิ ัลเพ่ือส่ือสารใหไ้ ด้ความหมายและสร้างคุณคา่

การสอ่ื สารด้วยรปู แบบใดก็ตามผสู้ ง่ สารหรือผ้สู อื่ สารตอ้ งคานกึ หลักการสาคัญ 3 ข้อ ไดแ้ ก่

• มีความรับผิดชอบ คือ คานึกถึงผลกระทบท่ีจะตามมาหลังจากสอ่ื สารนั้นเกิดขนึ้ ไป
แล้ว หรือสารถกู เผยแพร่ ซงึ่ อาจจะก่อให้เกิดผลดา้ นบวกและด้านลบต่อบุคคลและ
สังคม ดังนั้นก่อนที่จะสื่อสารหรือเผยแพร่ส่ิงใดออกไปให้ผู้ส่ือสารต้องศึกษา
ค้นคว้า และคิดไตร่ตรองก่อนเสมอ ผู้ประกอบการสื่อควรต้องมีจรรยาบรรณ โดย
ให้คานึงถึงความถูกต้อง ความเป็นเหตุเป็นผล ถูกกฎหมาย ถูกศีลธรรม ถูกธรรม
เนียบประเพณี คิดถึงจิตใจของผู้รับสาร เคารพในสิทธิและเกียรติ และเหมาะสม
กับสถานะการณ์

• มีความประณีต คือ การเลือกระดับของภาษา การเลือกสรรถ้อยคา การใช้สานวน
ทางภาษา การจัดองค์ประกอบ การจัดรูปแบบ ลาดับเน้ือหา และแสดงเน้ือหา
สาระ ความหมาย โดยสารท่ีถูกส่งออกไปต้องมีความกระชับ ความไพเราะ สุภาพ
เพื่อให้บรรลุตามจุดประสงค์ของการสื่อสาร รวมถึงเลือกใช้ช่องทางและอุปกรณ์
ทเี่ หมาะสม

• ถูกกาลเทศะ คือ การคานึงถึงผู้รับสาร จุดประสงค์การส่ือสาร กฎระเบียบ
ขอ้ บังคบั ระยะเวลา เคร่ืองมือ เทคโนโลยี และสถานการณแ์ วดลอ้ ม ตวั แปรเหลา่ นี้
จะเปน็ ตัวกาหนดความเหมาะสมของสารและองค์ประกอบการสอื่ สาร

4.4 การสอ่ื สารยคุ ดจิ ทิ ัลให้ปลอดภัย

จากองค์ประกอบและรูปแบบการสื่อสารดิจิทัลที่ได้กล่าวมาข้างต้น ซ่ึงมีจุดประสงค์หลัก คือ
เพ่ือให้เกิดการส่ือสารที่มีคุณภาพ ท่ีไม่เพียงแต่การบรรลุวัตถุประสงค์ แต่ยังต้องมีความสร้างสรรค์
และปลอดภัยต่อผู้รับสาร โดยมีการพิจารณาว่าผู้ส่งสารจะส่งสารอะไรมายังผู้รับสาร และผู้รับสารจะ
รับสารเหล่านั้นหรือไม่ การท่ีผู้รับสารจะรับสารเหล่าน้ัน ก็ย่อมข้ึนอยู่กับดุลพินิจของผู้รับสารว่าส่ือท่ี
จะรับมีความเหมาะสมในระดับใด ทั้งน้ี เพ่ือเป็นการเสริมสร้างความปลอดภัยในการใช้การส่ือสาร
ดิจิทัล ผใู้ ช้ควรคานึงถงึ หลัก 2P และ 2F ซึง่ ประกอบดว้ ยรายละเอยี ด ดังน้ี

• Prevention (ป้องกัน) ผู้ใช้งานควรเรียนรู้เครื่องมือหรือช่องทางท่ีจะใช้สื่อสาร
(มุ่งเน้นท่ีสื่อสังคมออนไลน์) ว่ามีคุณสมบัติอย่างไร รวมถึงตรวจสอบแหล่งที่มาของ
สารและข้อมูล ปฏิเสธไม่รับสารหรือสื่อที่ไม่เหมาะสม การตั้งค่าป้องกัน ทั้งใน
รปู แบบของเว็บไซต์ หรอื ไฟล์

• Protection (ปกปอ้ ง) ให้ปอ้ งกนั ความปลอดภัยของการใช้งานส่ือดจิ ิทลั ผา่ นการต้ัง
ค่าในแต่ละแพลตฟอร์ม รวมทั้งความตระหนักในการใช้งานเพ่ือปกป้องข้อมูลส่วน
บุคคลของตนเอง และไม่ละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่น (รายละเอียดใน บทที่ 6
ดา้ นความปลอดภยั ยุคดิจทิ ัล)

• Final Decision (ไตร่ตรอง) ให้ป้องกันความเป็นส่วนตัวของการใช้งานสื่อดิจิทัล
และการวิเคราะห์ ไตร่ตรองอย่างรอบคอบถึงผลกระทบในด้านต่างๆ ก่อนที่จะ
สื่อสารขอ้ มลู ขา่ วสารใด ๆ บนเครอื ขา่ ยสงั คมออนไลน์ เพราะ เมอื่ มีการส่งสารน้นั ไป

85

แล้ว ด้วยธรรมชาติของส่ือดิจิทัลจะสามารถเผยแพร่ไปได้อย่างรวดเร็วและแก้ไข
ปัญหาไดย้ าก

• Friend Acceptation Filtering (คัดสรร) การสร้างสังคมบนเครือข่ายออนไลน์
ต้องคัดกรองบุคคลท่จี ะเข้ามาเปน็ เพ่ือนในสังคมออนไลน์ หรอื คัดเลอื กผทู้ ต่ี ิดตอ่ ผ่าน
สอื่ ดิจทิ ัล ไม่ควรเปิดให้คนทีไ่ ม่รู้จกั เขา้ มาได้ เน่ืองจากบนส่อื สังคมออนไลน์ ถึงแม้จะ
เสมือนพนื้ ทีส่ ว่ นบุคคล แต่ถือเปน็ จดุ เส่ยี งทท่ี าให้บุคคลทไ่ี มป่ ระสงค์ดเี ขา้ มาแสวงหา
ผลประโยชนใ์ นทางมชิ อบได้

4.5 การจดั การปัญหาการสื่อสารยคุ ดิจิทัล

การใช้ระบบการสื่อสารดิจิทัล น้ันเปรียบเสมือนการอยู่ร่วมกันในสังคม ซ่ึงจะต้องคานึงถึง
บุคคลอื่นท่ีใช้งานการส่ือสารดิจิทัลด้วยเช่นกัน ด้วยเหตุน้ีจึงมีประเด็นด้านจรรยาบรรณ
และข้อกฎหมายท่ีเก่ียวกับการใช้งานการส่ือสารดิจิทัล เพื่อเป็นควบคุมและเป็นข้อกาหนดสาหรับ
ผู้ใช้งานให้สามารถอยู่ร่วมกันกับผู้อ่ืนได้อย่างสงบสุข ซ่ึงต้องไม่ขัดต่อหลักกฎหมายที่บังคับใช้
ในประเทศ ท้ังน้ีกฎหมายและข้อบังคับเป็นการป้องกันปัญหาท่ีเกิดจากการส่ือสารบนโลกออนไลน์
ที่ต้นเหตุ และสรา้ งความเกรงกลวั ต่อบทลงโทษเพือ่ ลดโอกาสการกระทาผดิ ต่างๆ

จรรยาบรรณของการส่ือสารดิจิทัลน้ัน มีประเด็นหลากหลายท่ีจะเป็นแนวทางในการปฏิบัติ
ให้ถูกต้องและเหมาะสม แต่ประเด็นสาคัญหนึ่งท่ีผู้ใช้ควรคานึงถึงในการใช้งานการส่ือสารดิจิทัลน่ันก็
คอื ข้อเทจ็ จรงิ และข้อคดิ เหน็ ซึง่ ผใู้ ช้งานควรจะแยกแยะได้วา่ ขอ้ มูลใดคอื ข้อเทจ็ จรงิ และขอ้ มูลใดคือ
ข้อคิดเห็น เพ่ือนามาวิเคราะห์จุดประสงค์ของการสื่อสารและมีผลต่อปฏิกิริยาสะท้อนกลับของการ
สือ่ สาร ซึ่งมขี ้อเปรียบเทยี บดังตารางท่ี 3

ตารางที่ 3 การเปรียบเทียบลักษณะข้อเทจ็ จรงิ (Fact) และข้อคิดเห็น (Opinion)

ข้อเท็จจริง (Fact) ข้อคดิ เห็น (Opinion)
1. มคี วามเปน็ ไปได้ 1. เปน็ ข้อความทแี่ สดงความรู้สกึ
2. มคี วามสมจรงิ 2. เปน็ ขอ้ ความทแี่ สดงความคาดคะเน
3. มหี ลกั ฐานเช่อื ถือได้ 3. เป็นข้อความท่ีแสดงการเปรยี บเทียบ อปุ มาอุปไมย
4. มีความสมเหตสุ มผล 4. เปน็ ข้อความทเี่ ป็นข้อเสนอแนะหรอื ความคดิ เหน็ ของผู้พูดเอง

ตารางท่ี 4 ตวั อยา่ งข้อความที่เป็นขอ้ เท็จจรงิ และขอ้ คิดเห็น

ลักษณะของข้อความทีเ่ ปน็ ข้อเท็จจริง ลกั ษณะของข้อความที่เปน็ ข้อคดิ เหน็
1. หาดใหญเ่ ป็นสว่ นหนง่ึ ของจังหวดั สงขลา 1. หาดใหญ่เป็นเมืองทนี่ า่ อยู่
2. การใชง้ านคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานจะทา 2. การกนิ ผักบ้งุ ทาใหต้ าหวาน
ใหต้ าแห้งได้
3. ตลาดสดขายสนิ ค้าสด 3. ตลาดสดใกลบ้ ้านนา่ จะมีหัวหอมขาย
4. สมคิดนัง่ ทางานอย่ทู ่ีบ้าน 4. สมคดิ หล่อ

86

จากตารางท่ี 4 กล่าวได้ว่าข้อเท็จจริงมีความแตกต่างจากข้อคิดเห็นอย่างชัดเจน นั่นคือ
ข้อคิดเห็นมักรวมเอาความรสู้ ึกส่วนบคุ คลของผู้สง่ สาร มีสารที่บ่งบอกความไม่แน่นอน หรือแสดงการ
คาคคะเน ดังนั้น ผู้ใช้จึงควรที่จะสามารถแยกแยะได้ว่าสิ่งไหนท่ีเป็นข้อเท็จจริง สิ่งไหนคือข้อคิดเห็น
และนาสิ่งท่ีแยกแยะได้มาพิจารณาว่าสมควรท่ีจะส่งต่อ แบ่งปันหรือบอกต่อทางช่องทางการส่ือสาร
ดจิ ิทัลหรือไม่

นอกเหนือจากการวิเคราะห์ถึงส่ือที่ผู้ส่งส่ือต้องการจะสื่อสารแล้ว อีกส่ิงหน่ึงท่ีผู้ใช้ควรท่ีจะ
คานึงถึง คือ แนวทางการสื่อสารดจิ ิทลั อยา่ งสร้างสรรค์ ตามหลกั 7C ซึง่ ประกอบด้วย3

• C1 – Complete – สิ่งท่ีจะสอื่ สารออกมาควรมคี วามสมบูรณ์ครบถว้ น ซ่งึ สามารถ
ทาได้ด้วยการอ่านเน้ือความที่จะส่ือสารให้ครบถ้วนเสียก่อน เพื่อให้ผู้ใช้ได้มีโอกาส
ในการทบทวนเนอื้ หาทีจ่ ะสือ่ สารออกไปใหเ้ ข้าใจในวตั ถปุ ระสงค์เดียวกัน

• C2 – Conciseness – สิ่งท่ีจะสื่อสารออกมาควรมีความกระชับ คือ ให้ส่ือสาร
ออกมาเฉพาะใจความสาคัญที่ตอ้ งการส่อื สารใหส้ น้ั และกระชบั ไม่จาเป็นต้องเขียน
หรอื พูดยาวๆ โดยไมจ่ าเป็น

• C3 - Consideration – ควรพินิจพิเคราะห์ส่ิงที่จะส่ือสารอกมา โดยผู้ส่งสารควร
คานึงถึงผู้รับสารว่าจะรู้สึกอย่างไรกับสิ่งท่ีผู้ส่งสารต้องการจะสื่อออกมา ควรเป็น
ข้อความในเชิงบวก

• C4 – Clarity – ส่ิงที่จะส่ือสารออกมาควรมีความชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นการพูด
การเขียน ต้องมีความชดั เจน เรียบง่าย และเข้าใจได้ทนั ทที ีร่ บั สาร

• C5 – Concrete – สิ่งที่จะส่ือสารออกมาสารควรเป็นรูปธรรม มีความชัดเจน
เนื้อหาประกอบด้วยข้อเท็จจริงและหลักฐานท่ีสามารถยืนยันข้อเท็จจริงได้
เพ่อื ป้องกนั ไม่ให้ตคี วามผดิ ไป

• C6 – Courtesy – ส่ิงที่จะสื่อสารออกมาควรมีความสุภาพ เพื่อแสดงถึงความมี
มารยาทของผสู้ ่งสาร รวมไปถงึ เปน็ การสะท้อนความรู้สึกทดี่ ีของผสู้ ่งสารที่จะส่งถึง
ผู้รับสาร

• C7 – Correct – สง่ิ ท่ีจะสือ่ สารออกมาควรมคี วามถูกต้อง อันเกดิ จากการพิจารณา
และตรวจสอบส่งิ ทจ่ี ะส่งสารจากทางผสู้ ่งสาร ซ่ึงถ้าหากสิ่งทจ่ี ะส่ือสารออกไปน้ันไม่
มคี วามถูกต้อง ควรแกไ้ ขทนั ที

4.6 ผลการวเิ คราะห์การประยกุ ต์การสื่อสารยคุ ดจิ ิทัลในชีวิตประจาวนั

รูปแบบของการส่ือสารในปัจจุบันมีรูปแบบการสื่อสารที่หลากหลายและรวดเร็วกว่าในอดีต
มาก การเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลและการใช้งานที่ง่ายข้ึน ทาให้เป็นท่ีนิยมสื่อสารกันผ่านทางออนไลน์
เพราะมปี ระสทิ ธิภาพและตัวเลือกที่มากกวา่ เช่น การโทรศพั ทแ์ บบเห็นหนา้ (Facetime) การประชุม
ร่วมกันแบบเรียลไทม์ผ่านแอปพลิเคชัน (Real-Time Meeting Conferrence) การส่งข้อความ
อัตโนมตั ทิ มี่ ีผรู้ บั หลายคน (Online Broadcast) เป็นตน้

3Toppr. (2018). Principles of Business Communication. Retrieved December 15, 2018, from Toppr: https://www.toppr.com/guides/business-
communication-and-ethics/intro-to-business-communication/principles-business-communication/

87

ดังน้ัน จะต้องเข้าใจจุดประสงค์ของเร่ืองท่ีต้องการจะส่ือสารว่าควรใช้ช่องทางใดจึงจะ
เหมาะสมที่สุด โดยต้องคานึงถึงหลักการส่ือสารพ้ืนฐาน ไม่ต่างจากการส่ือสารในรูปแบบดั้งเดิม
เช่น การส่งเอกสารท่ีสาคัญและเป็นพิธีการไม่ควรส่งทางไลน์ (Line) แต่ควรส่งทางอีเมลให้เป็น
กิจลักษณะ การนาเสนอผลงาน (Presentation) ควรมีรูปภาพท่ีส่ือความหมาย หรือคลิปวิดีโอ
มากกว่าการมีแต่ตัวหนังสือ ซึ่งสามารถดึงความสนใจและสร้างความรับรู้ให้กับผู้รับสื่อได้มากกว่า
นอกจากนี้ ต้องเขา้ ใจถงึ ข้อดีและข้อเสียของการส่ือสารในยุคดจิ ิทลั แตล่ ะประเภท เพ่ือท่ีจะสามารถใช้
ประโยชน์ไดอ้ ย่างสงู สดุ รวมทง้ั หลกี เล่ียงปญั หาทีอ่ าจจะตามมาในภายหลงั ได้

88

4.7 สรุป

การส่ือสารประกอบด้วยปัจจัยหลัก 4 ประการ คือ ผู้ส่งสาร เนื้อสาร สื่อกลางในการส่งสาร
และผู้รับสาร ซ่ึงในแต่ละองค์ประกอบน้ันมีบทบาทและหน้าท่ีในกระบวนการส่ือสารท่ีไม่เหมือนกัน
และการท่ผี ูส้ ง่ สารและผูร้ บั สารจะสือ่ สารทเี่ ขา้ ใจตรงกันน้ัน จะตอ้ งนึกถงึ หลกั ในการสือ่ สารทีด่ ี รวมไป
ถึงต้องคิดอยู่เสมอว่า สิ่งท่ีส่ือสารออกมาน้ันจะไม่ใช่มีเพียงแค่ผู้ส่งสารและผู้รับสารเท่าน้ันที่จะทราบ
ว่าเกดิ อะไรข้นึ ฉะน้นั การสื่อสารท่ีดไี ด้ ผู้ส่งสารจะตอ้ งมสี ติระหวา่ งการส่งหรอื รบั สารอยูเ่ สมอ

ถึงแม้องค์ประกอบหลักของการส่ือสาร 4 ประการ คือ ผู้ส่งสาร สาร ช่องทาง และผู้รับสาร
จะยังคงเดิม แต่รูปแบบของช่องทางที่มีความเจริญก้าวหน้าตามเทคโนโลยีดิจิทัลน้ี เป็นปัจจัย
ขับเคลื่อนการเปล่ียนแปลงท่ีสาคัญยิ่ง ทาให้ผู้ส่งสารและผู้รับสาร จาเป็นต้องมีความสามารถ
ความรู้เท่าทันดิจิทัล มีทักษะการใช้งานดิจิทัล เพื่อผู้รับสารสามารถวิเคราะห์ แยกแยะ และเลือกรับ
สารได้อย่างเหมาะสม ซง่ึ โดยเบ้อื งตน้ ประชาชนควรมคี วามสามารถในการเลือกช่องการดจิ ิทลั เพื่อการ
ติดต่อสื่อสารท่เี หมาะสมกบั จดุ ประสงค์ของการส่ือสารนนั้

ถึงแม้ว่าการส่ือสารยุคดิจิทัล จะมีประโยชน์อย่างมหาศาลแล้ว ผู้ใช้งานดิจิทัลจะต้องเรียนรู้
ในบทที่ 6 ความปลอดภัยยุคดิจิทัล เพื่อที่จะให้เกิดความม่ันคงและความเป็นส่วนตัวในการใช้งาน
ดิจิทัล ซึ่งเป็นสิ่งที่สาคัญมาก เนื่องจากเครื่องมือดิจิทัลมักมีข้อมูลจานวนมากอาจเกิดอันตรายหากมี
การรักษาและปอ้ งกันข้อมลู ท่ีหละหลวม ในบทถดั ไป จะทามคี วามเขา้ ใจกระบวนการและวธิ กี ารทาให้
เกดิ ความปลอดภัยยคุ ดจิ ิทัลมากขึ้น

89

4.8 เอกสารอ้างอิง

Toppr. (2018). Principles of Business Communication. Retrieved December 15, 2018,
from Toppr: https://www.toppr.com/guides/business-communication-and-
ethics/intro-to-business-communication/principles-business-communication/

UNESCO. ( 2013) . Global Media and Information Literacy Assessment Framework:
country readiness and competencies. Paris: UNESCO

Wilson C. , Grizzle A. , Tuazon R. , Akyempong K. , & Cheung C. ( 2011) . Media and
Information Literacy Curriculum for Teachers. Paris: UNESCO

ชุติสันต์ เกิดวิบูลย์เวช. (2560). สื่อดิจิทัลใหม่...ส่ือแห่งอนาคต (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: สถาบัน
บัณฑิตพฒั นบรหิ ารศาสตร์

ลักษณะศิริ จุไรรัตน์, อินทรพร วีรวัฒน์. (2558). ภาษาไทยเพ่ือการสื่อสาร. นครปฐม: คณะอักษร
ศาสตร์, มหาวทิ ยาลยั ศิลปากร

วิฏราธร จิรประวัติ และคณะ. (2558). หลักการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ (Principles of
Advertising and Public Relations) ปรับปรุงคร้ังท่ี 2 (หน่วยท่ี 1-8). นนทบุรี: สาขาวิชา
นเิ ทศศาสตร์, มหาวิทยาลยั สุโขทัยธรรมมาธิราช

โสภิดา วีรกุลเทวัญ. (2561). เท่าทันสื่อ : อํานาจในมือพลเมืองดิจิทัล. กรุงเทพฯ: มูลนิธิส่งเสริมส่ือ
เดก็ และเยาวชน, สถาบนั ส่ือเด็กและเยาวชน

สานักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน). (2561). รายงานผลการสํารวจ
พฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2561. กรุงเทพฯ : กระทรวงดิจิทัลเพื่อ
เศรษฐกิจและสังคม

อัจฉราพร หมุดระเด่น และคณะ. (2561). วัยใส วัยเก๋า ฉลาดรู้เน็ต. กรุงเทพฯ: สานักงานพัฒนา
ธุรกรรมทางอเิ ลก็ ทรอนิกส์

อนุตรโสตถิ์ พ, สัมพันธ์วิวัฒน์ จ. (2560). สังคมไทย#ชัวร์ก่อนแชร์. กรุงเทพฯ: ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์,
สานกั ขา่ วไทย อสมท



91

บทที่ 5

ความปลอดภัยยคุ ดิจิทัล

92

บทท่ี 5

ค ำมปลอดภยั ยคุ ดจิ ิทลั

ความปลอดภัยยุคดิจิทัล คือ การเข้าใจความรู้พื้นฐานทั่วไปของความ

ปลอดภัยบนโลกอินเทอร์เน็ต โดยจะมีอันตรายท่ีมาจากผู้ไม่ประสงค์ดีในโลก
อินเทอร์เน็ต เครือข่ายสังคมออนไลน์ ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย เพื่อการ
หลกี เลีย่ งภยั คกุ คาม และรบั มอื กบั ภยั อนั ตรายในโลกดิจทิ ลั

5.1 ความมัน่ คง (Security) กบั ความเป็นสว่ นตวั (Privacy)

ความม่ันคงปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวทางดิจิทัล (Digital Security and Privacy)
เป็นศาสตร์ท่ีว่าด้วยการสงวนรักษาไว้ซ่ึงความลับ ความครบถ้วนถูกต้อง ความพร้อมใช้ของข้อมูล
ทมี่ คี วามสาคัญ และการปกป้องข้อมูลส่วนตัวในโลกออนไลน์ โดยอาศยั วธิ ีการตรวจสอบและประเมิน
ความเส่ียงของข้อมูลและระบบที่สาคัญ และข้อมูลส่วนบุคคลที่เก่ียวกับการใช้งาน ดิจิทัล
และหาแนวทางในการตรวจสอบ ปกป้อง และแก้ไขช่องโหว่ รวมถึงภัยคุกคามที่ทาให้เกิดความเส่ียง
ต่อชีวิต ทรัพย์สิน ข้อมูลท่ีสาคัญ ข้อมูลส่วนบุคคล ระบบและอุปกรณ์ดิจิทัลของผู้ใช้งาน
จากการกระทาโดยผู้ไม่ประสงคด์ ี การกระทาทีผ่ ดิ พลาดของผู้ใช้งาน หรือภยั ธรรมชาติ

การพัฒนาของเทคโนโลยีดิจิทลั และระบบออนไลน์ ทาใหผ้ ู้ใช้งานมีความสะดวกสบายมากข้ึน
และมีแนวโน้มที่จะสร้าง ประมวลผล และจัดเก็บข้อมูลที่มีความสาคัญและข้อมูลส่วนบุคคล
อาทิ เอกสารในการทางาน ข้อมูลส่วนตัวลงโปรแกรมประยุกต์ บริการคลาวด์ ผ่านอุปกรณ์ดิจิทัลเพม่ิ
มากขน้ึ ซง่ึ อุปกรณเ์ หลา่ นนี้ ับวันจะเช่อื มต่อถึงกันมากย่ิงข้นึ ผ่านระบบอนิ เทอรเ์ น็ต สือ่ สงั คมออนไลน์
และแอปพลิเคชันต่าง ๆ ท่ีใช้ในชีวิตประจาวัน แม้จะทาให้เกิดการเชื่อมโยงของข้อมูลได้ดียิ่งข้ึน
แต่อกี ดา้ นหน่ึง ก็เปน็ การเพ่มิ ความเส่ียงทข่ี ้อมูลเหล่าน้ี จะถูกเข้าถึงและนาไปใช้โดยผู้ไม่ได้รับอนุญาต
หรือความเส่ียงจากการถูกทาลายให้เสียหายมากยิ่งขึ้น ท้ังจากตัวผู้ใช้งานเองที่ไม่ได้ตระหนักในเร่ือง
การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล จากการไม่ได้ระมัดระวังในการใช้จัดเก็บและเปิดเผยข้อมูล
ในระบบและโปรแกรมต่างๆ และจากผู้ไม่ประสงค์ดีที่พยายามหลอกลวงผู้ใช้งาน หรือเจาะช่องโหว่
ของระบบและโปรแกรมเพ่ือเขา้ ถงึ หรือทาลายข้อมลู ที่ตนต้องการ หรอื แม้แต่ภยั ธรรมชาติท่ีมีแนวโน้ม
จะทวีความรุนแรงมากข้ึน ซึง่ อาจทาให้ขอ้ มูลท่จี ดั เก็บไดร้ ับความเสยี หายได้ อาทิ ภัยธรรมชาติท่ที าให้
ระบบไฟฟ้าดับอย่างกระทันหัน สร้างความเสียหายให้ข้อมูลท่ีจัดเก็บเอาไว้ เป็นต้น ความรู้และทักษะ
ในเรื่องความเสี่ยงของการใช้งานดิจิทัล แนวทางและวิธีการในการรักษาความมั่นคงความปลอดภัย
ดิจิทัล สิทธิของตนท่ีมีต่อข้อมูลส่วนตัว และการป้องกันข้อมูลส่วนบุคคล จึงเป็นสิ่งที่สาคัญอย่างยิ่ง
เพื่อให้ผู้ใช้งานหลีกเล่ียงการกระทาท่ีอาจก่อให้เกิดความเส่ียง เช่น ไม่เก็บข้อมูลที่สาคัญหรือกรอก
ข้อมูลส่วนตัวไว้ในระบบหรืออุปกรณ์ท่ีไม่น่าเชื่อถือ เป็นต้น สามารถตรวจสอบเบ้ืองต้นได้ว่าตนเอง
กาลังถูกคุกคามด้วยภัยบนโลกไซเบอร์อยู่หรือไม่ เช่น การถูกแฮกบัญชี ติดไวรัส ถูกขโมยรหัสผ่าน
และสามารถป้องกันตนจากภัยคุกคามเหล่านี้ เช่น ต้ังค่าระบบให้มีความมั่นคงปลอดภัย

93

ติดต้ังโปรแกรมกาจัดไวรัสคอมพิวเตอร์ ใช้รหัสผ่านแบบหลายปัจจัย (Multi-Factor) เป็นต้น
รวมถึงสามารถจัดการได้อย่างถกู วธิ ีเมือ่ ถกู ละเมดิ ความปลอดภัย

5.2 ความเป็นส่วนตวั

ความเป็นส่วนตัวทางดิจิทัล (Digital Privacy) คือสิทธิการปกป้องข้อมูลความส่วนตัวในโลก
ออนไลน์ของผู้ใช้งานที่บุคคลหรือหน่วยงานอื่นจะนาไปจัดเก็บ นาไปใช้ประโยชน์ หรือนาข้อมูลน้ัน
ไปเผยแพร่ ในปัจจุบันประเด็นด้านความเป็นส่วนตัวถือเป็นส่ิงหน่ึงที่ประชาชนเริ่มให้ความสาคัญ
เนื่องจากข้อมูลที่สามารถระบุถึงตัวตนและความเป็นสว่ นตัว โดยข้อมูลส่วนบุคคลสามารถถูกนาไปใช้
ได้ในหลายมิติ ตัวอย่างที่หนึง่ ท่ีเห็นได้ชดั เจนคือ บริษัทบัตรเครดิตจะใช้ข้อมูลสว่ นบคุ คลในการยนื ยนั
ความเป็นตัวเราในการทาธุรกรรมผ่านทางโทรศัพท์ เป็นต้น นอกเหนือจากนี้ บริษัทที่ผลิตสินค้า
และเจ้าของบริการยังสามารถนาข้อมูลส่วนบุคคล ไปใช้ในการวิเคราะห์เพ่ือทาการตล าด
ในการนาเสนอสินค้าและบริการให้กับประชาชนได้ ซ่ึงทาให้เกิดความเส่ียงท่ีข้อมูลส่วนบุคคล
จะถกู ขโมยหรือนาไปใชโ้ ดยไมไ่ ด้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมลู

ในปี พ.ศ. 2562 มีการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคลออกจากบริษัทชั้นนามากมาย
เช่น Starwood-Marriot, Facebook, Google, British Airways หรือแม้แต่บริษัทในประเทศไทย
อย่าง iTrueMart ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารกรุงไทย เป็นต้น ข้อมูลส่วนตัวของบุคคลมากกว่า
2000 ล้านเรคคอร์ดได้รับผลกระทบ อีกกรณีหนึ่งที่เกิดข้ึนกับ Cambridge Analytica บริษัทด้าน
การตลาดทางการเมือง มีการนาขอ้ มลู สว่ นตัวบน Facebook ไปใชง้ านในการวางแผนรณรงคห์ าเสียง
เ ลื อ ก ต้ั ง ป ร ะ ธ า น า ธิ บ ดี ข อ ง ส ห รั ฐ อ เ ม ริ ก า โ ด ย ไ ม่ ไ ด้ รั บ ก า ร ยิ น ย อ ม จ า ก เ จ้ า ข อ ง ข้ อ มู ล ก่ อ น
ในปีพ.ศ. 2562 ยังถึงเป็นปีท่ีสาคัญที่มีการประกาศใช้กฎหมายใหม่ของสหภาพยุโรปที่เน้นไปท่ี
การปกป้องคว ามเป็ นส่ว นตัว ข อง ข้ อมูล ( GDPR: General Data Protection Regulation)
ท่ีมีโทษปรับสูงสุดในการละเมิดกฏหมายถึงกว่า 20 ล้านยูโร หรือ 4% ของรายได้ท้ังปีของปีก่อน
หน้าที่จะถูกตัดสินว่ากระทาผิด แม้ว่าจะเป็นกฎหมายท่ีใช้คุ้มครองข้อมูลส่วนตัวของพลเมืองยุโรป
แต่ก็ส่งผลกระทบในวงกว้างไปทั่วโลก เนื่องจากชาวยุโรปก็มีการติดตอ่ ส่ือสาร ท่องเท่ียว ทาธุรกิจกับ
ประเทศอื่นๆ ทาให้ประเทศเหล่านั้น ซ่ึงรวมถึงประเทศไทย ท้ังในภาครัฐและเอกชนท่ีไปเก่ียวข้อง
กับการจัดเก็บ นาไปใช้ หรือเผยแพร่ข้อมูลของพลเมืองชาวยุโรป จาเป็นต้องมีมาตรการที่เหมาะสม
ในการปกป้องข้อมูลส่วนตัวเหล่าน้ันให้สอดคล้องกับกฏหมายฉบับน้ี และล่าสุดประเทศไทย โดยสภา
นิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ก็เพ่ิงลงมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ไปเมื่อวันที่
28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 มีผลให้ร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้พร้อมถูกบังคับใช้เม่ือประกาศลงใน
ราชกจิ จานุเบกษา โดยร่าง พ.ร.บ. ฉบบั นม้ี คี วามสอดคล้องในหลายด้านกับกฏหมาย GDPR ของยโุ รป
อีกด้วย ดังน้ันการที่ผู้ใช้งานดิจิทัลได้ศึกษาด้านความเป็นส่วนตัวจะช่วยให้ผู้ใช้มีภูมิคุ้มกันด้านความ
เปน็ ส่วนตัว และรบั รถู้ ึงสิทธแิ ละแนวทางการปอ้ งกนั ดา้ นความเป็นสว่ นตัวของผู้ใช้ได้

5.2.1 รอยเท้าดจิ ิทัล (Digital Footprint)

เคยสังเกตหรือไม่ว่าเม่ือเปิดเว็บไซต์หน่ึงแล้วออกมา จะพบกับโฆษณาท่ีเกี่ยวข้องกับ
เว็บไซต์น้ันอยู่ในเว็บไซต์อื่น ๆ ที่ผู้ใช้เข้าไป หรือแม้แต่การท่ีผู้ใช้นาช่ือของผู้ใช้ไปค้นหา แล้วพบถึง
เนื้อหาต่าง ๆ ที่อยู่ในผลการค้นหา สิ่งเหล่าน้ีล้วนเกิดจากการนาร่องรอยข้อมูลท่ีผู้ใช้ได้เคยกรอก
ข้อมูลที่เก่ียวข้องกับตนเองลงไปในเว็บไซต์หรือบริการต่างๆ ในโลกออนไลน์ทั้งโดยสมัครใจและด้วย

94

ความบังเอิญ หรือเกิดจากเจ้าของเว็บไซต์และบริการที่ผู้ใช้เคยเข้าถึงทาการเก็บข้อมูลการเข้าถึงของ
ผู้ใช้ไว้ หรือเกิดจากการเก็บข้อมูลการใชง้ านของผู้ใชโ้ ดยผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ซึ่งข้อมูลดังกล่าวถูก
จัดเก็บไว้ให้เหลือเป็นร่องรอยของผู้ใช้อยู่บนอินเทอร์เน็ต โดยมีการเรียกข้อมูลเหล่าน้ีว่า
“รอยเท้าดิจิทัล” หรือ “Digital Footprint”

รอยเท้าดิจิทัลนั้น สามารถเป็นได้ท้ังประโยชน์และโทษต่อผู้ใช้เองและผอู้ ่ืน ในส่วนประโยชน์
ผู้ให้บริการเว็บไซต์สามารถใช้รอยเท้าดิจิทัลในการวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้ เพื่อการนาเสนอ
ผลิตภัณฑ์และบริการท่ีตรงกับความต้องการ หรือเพ่ือแสดงผลการสืบค้นที่ใกล้เคียงกับความต้องการ
ของผู้ใช้มากข้ึน บริษัทอย่าง Facebook หรือ Google น้ันอาศัยข้อมูลรอยเท้าดิจิทัลของผู้ใช้ในการ
สร้างรายได้ให้กับบริษัทของตน โดยการขายบริการการโฆษณาถึงผู้ใช้ท่ีตรงกับกลุ่มเป้าหมายให้กับ
บรษิ ทั หรือผทู้ ่ตี ้องการโฆษณาขายสินค้าหรือบริการ โดยข้อมลู กลมุ่ เปา้ หมายเหล่านีก้ ็ไดม้ าจากผลการ
วิเคราะห์พฤติกรรมผูใ้ ช้งานจาก รอยเท้าดิจิทลั นน้ั เอง ซึ่ง Facebook สามารถสร้างรายได้จากบริการ
น้ีในปี พ.ศ. 2562 ได้มากถึง 16.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ รอยเท้าดิจิทัลยังถูกใช้ในหลายหน่วยงาน
ด้วยวัตถุประสงค์ต่างๆ กัน อาทิ การตรวจสอบคุณสมบัติของบุคคลเพ่ือใช้เป็นส่วนหนึ่งของการ
พิจารณารับสมัครงานหรือใหก้ ู้เงิน หรือที่เรียกว่า Cyber-Vetting หน่วยงานท่ีบังคับใช้กฏหมายยังใช้
รอยเท้าดิจิทัลวิเคราะห์หรือสืบหา ผู้ต้องหาในคดีได้อีกด้วย ประเทศจีนได้สร้างระบบการตรวจสอบ
ความน่าเช่ือถือประชาชน และบริษัทต่างๆ (Social Credit System) จากรอยเท้าดิจิทัลเพ่ือใช้เป็น
เครดิตอ้างอิงสาหรับ งานประเภทต่างๆ อาทิ การอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้เดินทาง การรับเข้าศึกษา
ต่อ การกูย้ ืมเงิน การทาสัญญาทางธุรกจิ เป็นต้น รอยเทา้ ดิจิทลั สามารถแบง่ ได้เปน็ 2 ประเภท คือ

• ร อ ย เ ท้ า ดิ จิ ทั ล ที่ จั ด เ ก็ บ ด้ ว ย วิ ธี ท า ง อ้ อ ม ( Passive Digital Footprint)
ซ่ึงผู้ให้บริการจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานอินเทอร์เน็ตในบางรายการ
อยา่ งเช่น ขอ้ มูลการทอ่ งเวบ็ พฤตกิ รรมการใช้งาน โดยท่ีขอ้ มูลเหล่าน้นั จะถูกจัดเก็บ
โดยผู้ใชไ้ มร่ ตู้ วั และจะนาข้อมูลเหล่านั้นเพ่ือใช้ในการวเิ คราะห์พฤติกรรมการบริโภค
ของผู้ใช้ เพ่ือการโฆษณานาเสนอผลิตภัณฑ์และบริการท่ีตรงกับความต้องการของ
ผู้ใช้ หรือเพื่อแสดงผลการสืบค้นที่ใกล้เคียงกับความต้องการของผู้ใช้มากขึ้น
หรือระบบอจั ฉรยิ ะท่ผี ู้ใหบ้ รกิ ารนาไปใชเ้ พอ่ื วเิ คราะห์ความตอ้ งการของผใู้ ช้

• รอยเทา้ ดจิ ทิ ลั ทจี่ ัดเก็บด้วยวธิ ีทางตรง (Active Digital Footprint) ซง่ึ ผู้ใช้ไดแ้ บง่ ปนั
ให้กับผู้ให้บริการด้วยตนเอง เช่น การเขียนบทความ การแบ่งปันสถานะของผู้ใช้ใน
โ ซ เ ชี ย ล มี เ ดี ย ห รื อ ก า ร ไ ป แ ส ด ง ค ว า ม คิ ด เ ห็ น ข อ ง บุ ค ค ล อื่ น ๆ
ซึ่งรอยเท้าดิจิทัลดังกล่าวสามารถสืบหาร่องรอยได้ง่ายกว่ารอยเท้าดิจิทัลที่จัดเก็บ
ด้วยวิธีทางอ้อม รวมถึงส่งผลกระทบต่อการทางานมากกว่า เน่ืองจากรอยเท้าดิจิทลั
ประเภทนีส้ ามารถสะทอ้ นนสิ ัยของผทู้ ีแ่ บง่ ปันได้

จะเห็นได้ว่ารอยเท้าดิจิทัลของผู้ใช้น้ันมีทั้งที่ถูกใช้เพ่ือเป็นประโยชน์สาหรับผู้ใช้ และท่ีเสี่ยง

ตอ่ เป็นโทษต่อผใู้ ช้ดว้ ยเช่นกัน จงึ มีความจาเป็นท่ีผู้ใช้งานดิจิทลั ควรควบคุมปริมาณรอยเท้าดิจิทัลของ

ตนเอง เพ่ือให้เกิดประโยชน์และลดหรือหลีกเล่ียงความเสี่ยงที่จะทาให้เกิดโทษ กับตนเพราะหากเกิด

รอยเท้าดจิ ทิ ัลขนึ้ ในโลกออนไลน์แลว้ เปน็ การยากในทางปฏิบตั ทิ จี่ ะลบรอยเทา้ เหลา่ นน้ั ออกได้จนหมด

95

5.2.2 แนวทางการปอ้ งกนั และลดรอยเท้าดิจทิ ัล
ผูใ้ ชส้ ามารถปอ้ งกันตนจากการสรา้ งรอยเท้าดิจิทลั ไดใ้ นหลายวิธี ดงั น้ี
• ใช้งานโปรแกรมกาจัดไวรัสคอมพิวเตอร์หรือ Add-on ของเบราเซอร์ท่ีมีฟังก์ชันในการ

ตรวจคัดกรองเว็บไซต์หรือบริการ Cloud ท่ไี ม่นา่ เชื่อ อาทิ Add-on ชอ่ื Web Of Trust
(WOT) เป็นตน้ ดังรูปภาพที่ 44

รูปภาพที่ 44 แสดงถงึ Add-on WOT ท่ีใช้ในการตรวจคดั กรองเวบ็ ไซต์ที่ไมน่ า่ เชอื่ ถอื 1
• ปรับแต่งด้านความเป็นส่วนตัวได้จากการต้ังค่าของเบราว์เซอร์ด้วยการไปที่ การตั้งค่า

ของแต่ละเบราว์เซอร์ แล้วค้นหาคาว่า “ห้ามติดตาม” หรือ “Do Not Track” และเปิด
คณุ สมบัตดิ ังกล่าวเพอื่ จากดั การตดิ ตามผู้ใช้
• ใช้งาน Add-on ของเบราเซอร์ที่มีฟังก์ชันในการป้องกันการติดตามรอยเท้าดิจิทัล
จากเวบ็ ไซต์ที่ใช้งาน อาทิ Add-on ช่อื Privacy Badger เปน็ ตน้ ดังรูปภาพท่ี 45

1 WOT Services. Web of Trust, MyWOT/WOT: Website Reputation Rating. Retrieved from https://addons.mozilla.org/th/firefox/addon/wot-

safe-browsing-tool/

96

รปู ภาพที่ 45 แสดงถึง Add-on Privacy Badger ที่ใชใ้ นการป้องกันการตดิ ตามรอยเทา้ ดิจิทัล
จากเว็บไซต์ทีใ่ ช้งาน2

• พจิ ารณาความเส่ียงของการเกิดรอยเท้าดิจิทัลก่อนการโพสรูปหรือข้อความลงในเว็บไซต์
หรือส่อื ออนไลน์ตา่ งๆ

• ต้ังค่าเพ่ือควบคุมการติดตามรอบเท้าดิจิทัลในเว็บไซต์และสื่อออนไลน์ต่างๆ ผ่านทาง
ระบบการจัดการความเป็นส่วนตัวของในแต่ละบริการ ซึ่งในระบบดังกล่าว ผู้ใช้สามารถ
ควบคมุ ในกิจกรรมที่ผู้ให้บรกิ ารไดจ้ ดั เกบ็ ไว้ในการเข้าใช้งานอนิ เทอรเ์ น็ตแตล่ ะครั้ง

• หากตรวจสอบพบว่ามีการละเมิดข้อมูลส่วนตัวให้เก็บหลักฐานที่พบพร้อมรายละเอียด
ต่างๆ ท่ีเก่ียวข้องแจ้งความท่ีสานกั งานตารวจท้องที่หรือท่ีกองบังคับการปราบปรามการ
กระทาผดิ เก่ียวกบั อาชญากรรมทางเศรษฐกิจ

5.3 ความปลอดภยั

ความมั่นคง (Security) เป็นศาสตร์ท่ีว่าด้วยแนวทางการปกป้องระบบและอุปกรณ์ดิจิทัล
จากการบกุ รุกโดยผูใ้ ช้ภายนอกหรอื จากความผิดพลาดของระบบทีเ่ กิดจากผู้ใชบ้ รกิ าร

ความมั่นคงถือเป็นหนึ่งประเด็นที่ได้รับความสนใจทั้งภาคหน่วยงานและภาคประชาชน
โดยในภาคหน่วยงานน้ัน ต้องรับประกันว่าข้อมูลที่จัดเก็บภายในหน่วยงานมีความปลอดภัยเพียง
พอทีจ่ ะสามารถรักษาความลับทางหน่วยงาน รวมไปถึงข้อมูลลกู ค้าของหนว่ ยงานได้

ในส่วนภาคประชาชนน้ัน ควรที่จะคานึงถึงความปลอดภัยเนื่องจากวิถีชีวิตในปัจจุบันน้ันเก่ียวโยง
กับเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นอย่างมาก ประกอบกับข้อมูลส่วนบุคคลท่ีอยู่บนโลกออนไลน์มีปริมาณมากขึ้น
ทาใหภ้ าคประชาชนควรต้องรเู้ รื่องเกยี่ วกับความปลอดภยั เพอ่ื เปน็ การป้องกันตวั เองจากผู้ไม่ประสงค์ดี

5.3.1 การพสิ จู นต์ ัวบุคคล

การพิสูจน์ตัวตน (Authentication) เป็นกระบวนการที่ใช้ในการยืนยันว่าผู้ใช้ดังกล่าว
เป็นเจ้าของข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องการเข้าถึง โดยปัจจุบัน แนวทางการพิสูจน์ตัวตนมีหลากหลายวิธี
โดยในกรณนี ี้จะยกตวั อย่าง 2 วธิ ีทเี่ ปน็ ที่นยิ มในการเข้าถงึ ข้อมลู

วิธีแรก เป็นวิธีการพิสูจน์ตัวบุคคลด้วยช่ือผู้ใช้และรหัสผ่าน (Username and Password)
ซึ่งเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมอย่างสูงมากในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล โดยท่ีผู้ใช้จะต้องกรอกชื่อผู้ใช้งาน
ซึ่งอาจจะเปน็ ได้ทง้ั ช่ือที่ผู้ใช้ตง้ั ข้ึนมาเองหรือเป็นอีเมลของผ้ใู ช้ ร่วมกบั รหสั ผ่านทผี่ ใู้ ช้ตงั้ ข้นึ มาเอง

การพิสูจนต์ ัวตนดังกล่าวนั้น จะสามารถระบุถึงข้อมูลผู้ใช้ รวมไปถึงสทิ ธิในการใชง้ านของ
ระบบว่าผู้ใช้แต่ละรายอยู่ในระดับไหนของระบบ ซ่ึงการพิสูจน์ตัวตนด้วยช่ือผู้ใช้และรหัสผา่ น เป็นวิธี
ทีไ่ ด้รบั ความนิยมสงู ที่สดุ ในการพิสูจนต์ ัวตนบนโลกออนไลน์

หน่ึงในปัจจัยสาคัญของระบบการพิสูจน์ตัวตนน้ีคือ รหัสผ่าน โดยรหัสผ่านนั้นจะมีการ
เข้ารหัสและจัดเก็บในระบบฐานข้อมูลของบริการที่ผู้ใช้ตอ้ งการเข้าถึง อย่างไรก็ดี แนวทางการพิสจู น์
ตัวบุคคลด้วยวิธีน้ีมีข้อเสียสาคัญคือ ถ้าหากรหัสผ่านมีการร่ัวไหลจากระบบฐานข้อมูลของผู้ให้บริการ
ผู้ใช้ควรท่ีจะต้องตั้งรหัสผ่านใหม่เพื่อเป็นการป้องกันการแอบอ้างหรือสวมสิทธ์ิผู้ใช้ และในปัจจุบัน
ไดม้ ีวธิ กี ารป้องกันเหตุการณด์ ังกลา่ วดว้ ยวิธกี ารพิสูจน์ตวั ตนที่จะกล่าวถึงในส่วนถดั ไป

2 EFF Technologists. Privacy Badger. Retrieved from https://addons.mozilla.org/th/firefox/addon/privacy-badger17/

97

วิธีที่สอง การพิสูจน์ตัวตนด้วยระบบสองปัจจัย (2-Step Authentication) เป็นแนวทาง
ในการพิสูจน์ตัวตนท่ีเสริมความแข็งแรงจากการพิสูจน์ตัวตนด้วยชอ่ื ผู้ใช้และรหัสผ่าน โดยวิธีดังกล่าว
มีแนวทางในการพิสูจน์ตัวตนได้หลากหลายวิธี ประกอบด้วย วิธีการยืนยันตัวตนผ่านรหัสช่ัวคราว
วิธีการยืนยันตัวตนผา่ นรหัสชวั่ คราวที่ได้จากแอปพลิเคชนั พิสูจนต์ ัวบุคคล และระบบการยืนยันตวั ตน
ดว้ ยอปุ กรณ์ทใ่ี ช้เพื่อการยนื ยนั ตัวตน

แนวทางการยืนยันตัวตนผ่านรหัสชั่วคราว (One-time Password หรือ OTP) เป็นวิธีการ
ยืนยันตัวตนที่อาศัยหมายเลขโทรศัพท์มือถือหรืออีเมลในการส่งข้อความพิเศษท่ีใช้สาหรับการยืนยัน
ตัวตนเท่าน้ัน ซ่ึงในข้อความดังกล่าวจะมีหมายเลขหรือรหัสพิเศษท่ีใช้ในการเข้าถึงข้อมูลผู้ใช้ อย่างไร
ก็ดี วิธีการน้ีมีข้อเสียตรงท่ีว่า ถ้าหากบุคคลไม่ประสงค์ดีสามารถเข้าถึงหมายเลขโทรศัพท์หรืออีเมล
ทผ่ี ใู้ ชใ้ ชง้ านได้ ระบบการยนื ยนั ตวั ตนดงั กล่าวก็ถือว่าไม่ปลอดภัยอยู่ดี

แ น ว ท า ง ก า ร ยื น ยั น ตั ว ต น ผ่ า น ร หั ส ชั่ ว ค ร า ว ท่ี ไ ด้ จ า ก แ อ ป พ ลิ เ ค ชั น พิ สู จ น์ ตั ว บุ ค ค ล
(Authenticator Application) เป็นอีกหนึ่งวิธีที่สามารถใช้ในการยืนยันตัวตนได้ โดยหลักการคล้าย
กับแนวทางการยืนยันตัวตนผ่านรหัสชั่วคราวท่ีใช้หมายเลขโทรศัพท์มือถือหรืออีเมล แต่แนวทางการ
ยืนยันตัวตนด้วยวิธีน้ีจะมีความปลอดภัยมากกว่า เนื่องจากรหัสช่ัวคราวจะมีการเปลี่ยนในทุกๆ 30
วินาที รวมถึงมีวิธีการยืนยันความถูกต้องของรหัสชั่วคราวนั้นให้ตรงกันได้ โดยตัวอย่างแอปพลิเคชัน
กลุม่ นคี้ อื Google Authenticator, Microsoft Authenticator และ Authy ดงั รูปภาพที่ 46

รูปภาพที่ 46 แสดงถงึ แอปพลิเคชันพสิ ูจน์ตวั บุคคล Microsoft Authenticator (ซ้าย)
และ Authy (ขวา)

นอกจากน้ี ยังมีผู้ให้บริการบางรายท่ีใช้แนวทางในการยืนยันตัวตนผ่านแอปพลิเคชันของตัว
ผ้ใู หบ้ รกิ ารเอง สว่ นมากจะเป็นผู้ใหบ้ ริการเกม เช่น Steam หรอื Battle.net ดงั รปู ภาพท่ี 47

98

รูปภาพท่ี 47 แอปพลิเคชันยนื ยนั ตัวตนของ Steam (ซา้ ย) และ Battle.net (ขวา)
แนวทางการยนื ยนั ตัวตนด้วยอปุ กรณ์ทใี่ ช้เพื่อการยืนยันตวั ตน (Token Devices) เป็นวธิ ีการ
พิสูจน์ตัวตนท่ีใช้อุปกรณ์ในการยืนยันตัวตน เช่น กุญแจยืนยันตัวตน หรือการใช้อุปกรณ์ท่ีใช้พิสูจน์
บุคคล เช่น การใช้ลายน้วิ มือ อุปกรณ์ตรวจจับใบหน้าแบบ 3 มิติ โดยที่อุปกรณ์เหล่านน้ั จะส่งรหสั ลบั
ไปยืนยันที่ระบบของผู้ให้บริการเพ่ือเป็นการยืนยันตัวบุคคล โดยระดับความปลอดภัยอยู่ในระดับ
เดียวกนั กับการใช้แอปพลเิ คชัน แต่อานวยความสะดวกใหก้ ับผู้ใช้ไดม้ ากกว่า ดงั รูปภาพที่ 48

รูปภาพที่ 48 ตัวอย่างกญุ แจยืนยันตวั ตนของ YubiKey3 (อ้างอิงจากเอกสารหมายเลข 3)
5.3.2 การเข้ารหสั ขอ้ มูล

การเข้ารหัสข้อมูล (Encryption) เป็นวิธีการท่ีทาให้ผู้ที่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยไม่ได้
รับอนุญาต เช่น การเข้าไปในระบบผ่านช่องโหว่ของระบบ (หรือการแฮก) จะไม่สามารถอ่านข้อมูล

3 Yubico. (2015). Yubico’s U2F Security Key Supported by Google Drive for Work Management Enhancements. Retrieved from
https://www.yubico.com/press-releases/yubicos-u2f-security-key-supported-by-google-drive-for-work-management-enhancements/

99

ในรูปแบบปกติได้ เนื่องจากข้อมูลเหล่านั้นถูกแปลงโดยใช้ชุดแปลงข้อมูลท่ีสามารถอ่านได้เฉพาะคน
ที่มีชุดแปลงขอ้ มลู นเ้ี ท่าน้นั

การเข้ารหัสข้อมูลเริ่มได้รับความนิยมมากข้ึนเพ่ือเป็นการรับประกันให้กับผู้ใช้ว่าข้อมูล
ที่บันทึกเข้ามาในบริการหลายรายการจะไม่สามารถให้ผู้อ่ืนใช้งานข้อมูลเหล่านั้นได้ ซึ่งการเข้ารหัส
ข้อมูลน้ัน มักจะใช้ในกรณีของข้อมูลท่ีมีความอ่อนไหวสูง เช่น ข้อมูลรหัสผ่าน หรือบทสนทนา
ที่ต้องการความลับสูง รวมไปถึงการเข้าสู่เว็บไซต์ท่ีเน้นเรื่องธุรกรรมทางการเงิน โดยสามารถแบ่งการ
เข้ารหัสออกเปน็ 2 แบบคือ การเขา้ รหัสข้อความ และการเขา้ รหัสชอ่ งทางการเช่ือมต่อ

การเข้ารหัสข้อความ (Cypher Encryption) เป็นวิธีที่ใช้ในการแปลงข้อความท่ีผู้ใช้
สามารถอ่านได้ปกติ เป็นข้อความท่ีคนท่ัวไปอ่านแล้วเข้าใจได้ยากหรือไม่เข้าใจเลย โดยกระบวนการ
ดังกล่าว จะนาข้อความมาเข้าสู่กระบวนการเข้ารหัส โดยใช้ชุดแปลงข้อมูลในการเข้ารหัส และเม่ือ
ตอ้ งการจะใชง้ านขอ้ มลู นน้ั จะใชต้ วั แกะขอ้ มลู ของชดุ แปลงขอ้ มลู ในการถอดรหัส

ซึ่งแนวทางการเข้ารหัสข้อความนั้น เปรียบเสมือนการส่งสมบัติท่ีมีค่าให้กับปลายทาง
โดยให้ข้อความเสมือนเป็นสมบัติ ชุดแปลงข้อมูลเหมือนแม่กุญแจ เม่ือผู้ใช้ต้องการที่จะส่งสมบัติ
ดังกล่าว ผู้ใช้จะต้องหาวิธีท่ีเสริมความปลอดภัยให้กับสมบัติน้ัน หนึ่งในวิธีนั้นคือการคล้องแม่กุญแจ
เข้ากับหีบสมบัติ เพื่อเป็นการป้องกันการโจรกรรมสมบัติในนั้น และเม่ือเกิดโจรกรรมหีบสมบัติ
ผู้รา้ ยจะไมส่ ามารถเปิดหบี ไดเ้ นอ่ื งจากต้องการลูกกุญแจในการไข

การเข้ารหัสข้อความนั้น มักจะใช้ในด้านการเก็บรหัสผ่าน หรือข้อมูลการสนทนาท่ีเป็น
ความลับหรอื ต้องการความสว่ นตวั ในการสนทนา

ขณะที่การเข้ารหัสช่องทางการเช่ือมต่อ (Protocol Encryption) เป็นวิธีการเสริมความ
ปลอดภัยใหก้ ับเวบ็ ไซต์ที่มีอยู่แล้ว โดยการเชอ่ื มต่อข้อมูลดังกลา่ วจะถูกเขา้ รหสั ไมว่ ่าจะเป็นเนื้อหาท่ีมี
ข้อความที่ผู้ใช้สามารถอ่านได้ เพื่อเป็นการป้องกันการโจมตีระหว่างทาง (Man-in-the-Middle)
ผ่านการออกใบรับรองให้กับเวบ็ ไซต์ทท่ี าเรื่องร้องขอดา้ นการเขา้ รหัส

ในปัจจุบันได้มีการรณรงค์ให้เว็บไซต์ต่างๆ เข้ารหัสช่องทางการเชื่อมต่อ เพื่อสนับสนุนให้
เกิดการเข้ารหัสเนื้อหาเว็บไซต์ เพื่อเสริมความปลอดภัยให้กับประชาชนผู้เย่ียมชมเว็บไซต์ โดยผู้ใช้
สามารถสังเกตเว็บไซต์ท่ีเข้ารหัสและมีใบรับรองที่ถูกต้องได้จากสัญลักษณ์แม่กุญแจสีเขียวใน
เบราว์เซอร์ ขณะที่เว็บไซต์ท่ีใบรับรองไม่ถูกต้องหรือหมดอายุ จะมีสัญลักษณ์แม่กุญแจสีแดงใน
เบราว์เซอร์ ซ่ึงผู้ใช้ไม่ควรจะเข้า ขณะที่เว็บไซต์ที่ไม่มีการเข้ารหัส จะเป็นรูปโลกสีเทา หรือไม่มี
สัญลักษณ์แม่กุญแจเลย อีกหนึ่งวิธีสังเกตคือ ทุกเว็บไซต์ท่ีมีการเข้ารหัส จะมีคาว่า https://
อย่ขู า้ งหน้าเว็บไซตเ์ สมอ แตก่ ต็ ้องสงั เกตสัญลกั ษณ์แมก่ ุญแจประกอบดว้ ยเช่นกัน

5.3.3 มัลแวร์ (Malware) และการโจมตี

Malicious Software (หรือเรียกส้ันๆ ว่า Malware) เป็นชื่อเรียกโดยรวมของซอฟต์แวร์
ที่ออกแบบมาเพื่อมุ่งร้ายต่ออุปกรณดิจิทัล ข้อมูลส่วนตัวบนโลกออนไลน์ และเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ส่วนมาก มัลแวร์มักจะใช้ในการโจมตีทางช่องทางดิจิทัล โดยประเภทของมัลแวร์และการโจมตีมี
รายละเอียดดงั ตอ่ ไปนี้

• ไวรัส (Virus) เป็นมัลแวร์ประเภทฝังตัว โดยอาศัยการส่งต่อจากเคร่ืองหนึ่งมาอีก
เครื่องหนึ่ง โดยการแพร่กระจายน้ันจะอาศัยไฟล์หรือโปรแกรม และจะทางานเมื่อ
มกี ารเปิดใชง้ านโปรแกรมหรอื ไฟลเ์ ทา่ น้นั

100

• ม้าโทรจัน (Trojan Horses) เป็นมัลแวร์ท่ีหลอกล่อให้ผู้ใช้หลงเช่ือว่าซอฟต์แวร์
ดังกล่าวปลอดภัย แต่สามารถสร้างความเสียหายเม่ือผู้ใช้หลงเชื่อไปติดต้ัง
การทางานจะคลา้ ยกับไวรัสแต่ผู้ใช้จะไม่ทราบวา่ มีโปรแกรมที่ใชม้ โี ปรแกรมอ่นื แฝง
เข้ามาด้วย

• ประตูหลัก (Backdoors) เป็นมัลแวร์ที่ใช้ช่องโหว่ของอุปกรณ์ในการเข้ามาใช้งาน
อุปกรณ์โดยผใู้ ช้ไมร่ ู้ตัว

• สปายแวร์ (Spyware) เป็นมัลแวร์ท่ีสามารถดูพฤติกรรมการใช้งาน เช่น บัญชีผู้ใช้
รหัสผ่าน หรือข้อมูลทางการเงิน และส่งพฤติกรรมดังกล่าวไปยังผู้ไม่ประสงค์ดีเพือ่
ไปใช้ในทางไมถ่ กู ต้อง

• คีย์ล็อกเกอร์ (Keystroke logging) เป็นมัลแวร์ท่ีคอยดักจับส่ิงท่ีผู้ใช้พิมพ์เข้าไป
ระหว่างใช้งานคอมพวิ เตอร์ โดยสามารถอาศัยกับมลั แวร์ประเภทอ่ืนหรือแฝงตัวมา
จากอปุ กรณเ์ สรมิ ทใ่ี ชร้ ว่ มกนั กบั อุปกรณ์ดิจทิ ลั ได้

• เวิร์ม (Worm) เป็นมัลแวร์ท่ีสามารถกระจายตัวเองไปยังอุปกรณ์ดิจิทัลผ่านทาง
เครือข่ายอินเทอรเ์ นต็ เช่น อีเมล ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

• บอตเน็ต (Botnet) เป็นการท่ีผู้ไม่ประสงค์ดีนาอุปกรณ์ที่ติดมัลแวร์มาควบคุมเพ่ือ
สั่งการบางอย่าง ส่วนมากมักจะเป็นการนาอุปกรณ์ที่ติดมัลแวร์มาโจมตีกับ
เปา้ หมายเดียวกนั หรอื ใชเ้ พือ่ ทาการหาประโยชนบ์ างอยา่ งจากอปุ กรณเ์ หลา่ น้นั

• ซอฟต์แวร์เพื่อใช้ในการโฆษณา (Advertising Supported Software หรือ
Adware) เป็นซอฟต์แวร์เพ่ือเป็นการโฆษณาผลิตภัณฑ์อ่ืนๆ โดยซอฟต์แวร์
ดงั กลา่ วมกั จะมาพร้อมกับซอฟต์แวร์ติดต้ังอื่นๆ หรอื โปรแกรมติดต้งั ซอฟตแ์ วร์บาง
รายท่ีได้รับโฆษณาจากซอฟต์แวร์บางเจ้า ส่วนมากซอฟต์แวร์เหล่านั้นมักจะสร้าง
ความลาคาญให้กับผู้ใช้ อย่างไรก็ดี มีซอฟต์แวร์บางรายท่ีแฝงมัลแวร์อื่นๆ เข้ามา
ดว้ ย

• รูทคิท (Rootkit) เป็นมัลแวร์ที่ฝังเข้าไปในอุปกรณ์ดิจิทัลในระดับระบบปฏิบัติการ
โดยมัลแวร์ประเภทนี้มีลักษณะคล้ายกับคีย์ล็อคเกอร์และบ็อตเน็ต กล่าวคือ
มัลแวร์ตัวน้ีจะเฝ้าสังเกตการณ์ กรองข้อมูล รวมถึงขโมยข้อมูล หรือใช้ทรัพยากร
ของเครื่องเพ่ือวัตถุประสงค์บางอย่าง เช่น การหารายได้จากการขุดสกุลเงินดิจทิ ลั
(Cryptocurrency) ให้กับผู้ไม่ประสงค์ดีจากทรัพยากรของอุปกรณ์ดิจิทัลที่
ตดิ มลั แวร์

• DoS - Denial of Service เป็นการโจมตีผู้ให้บริการผ่านการใช้ทรัพยากรของผู้
ให้บริการจนเกินพิกัดที่ผู้ใหบ้ ริการจะรองรับได้ เพ่ือขัดขวางไม่ให้ผู้ใช้รายอื่นเขา้ ใช้
งานบรกิ ารเหลา่ น้ันได้ ส่วนมากจะเป็นการโจมตีจากอปุ กรณ์ทตี่ ิดมลั แวร์บอตเนต็

• การหลอกลวงออนไลน์ (Fraud) เปน็ ชอ่ งทางในการล่อลวงผู้ใชใ้ หห้ ลงเช่ือกับสิ่งที่ผู้
ไม่ประสงค์ดีต้ังใจที่จะหลอกผู้ใช้ จนเกิดการเสียทรัพย์ หรือข้อมูลส่วนตัวเสียหาย
เช่น การขายสินค้าที่ไม่มีอยู่จริงและเชิดเงินหนี หลอกล่อให้ผู้ใช้กรอกข้อมูลส่วน
บุคคล การปลอ่ ยสัญญาณ Wi-Fi ปลอม เป็นตน้

101

• ฟิชชิง (Phishing) คือการหลอกลวงประเภทหน่ึงท่ีอาศัยการสร้างเว็บไซต์ปลอม
หรืออีเมลปลอม เพื่อหลอกล่อให้ผู้ใช้เข้าไปกรอกข้อมูลบัญชีผู้ใช้ หรือข้อมูลส่วน
บุคคลของผู้ใช้ เช่น บัตรเครดิต โดยมีวัตถุประสงค์ท่ีจะสร้างความเสียหายท้ังด้าน
ขอ้ มลู สว่ นตวั และทรัพย์สนิ ดงั รปู ภาพที่ 49

• การโจมตีแบบวิศวกรรมสังคม (Social engineering) เป็นแนวทางการเสาะ
แสวงหาข้อมูลของผู้ใช้จากการใช้รอยเท้าดิจิทัล เพ่ือใช้เป็นแนวทางหลอกล่อให้
ผใู้ ช้ตกเปน็ เหยื่อในการโจมตีด้วยวิธอี ืน่ ๆ

• การหลอกลวง (Scam) เป็นแนวทางการหลอกล่อให้ผู้ใช้หลงเชื่อเล่ห์อุบายท่ีผู้ไม่
ประสงค์ดีได้หลอกล่อไว้ การหลอกลวงสามารถส่งผลกระทบถึงการทางานของ
อุปกรณ์ดิจิทัลจากการฝังมัลแวร์เข้าไปในอุปกรณ์ หรือส่งผลต่อบัญชีของบริการ
ดิจทิ ัลเพอ่ื นาไปใช้หลอกล่อผใู้ ชร้ ายอ่ืนต่อไป

รปู ภาพท่ี 49 ตวั อย่างอเี มลหลอกลวงท่ีหลอกใหเ้ ชือ่ ว่าผปู้ ระสงค์รา้ ยได้เขา้ ไปเจาะข้อมูลของผู้รับแล้ว

ที่มา : บันทกึ ภาพหนา้ จอบนเวบ็ ไซต์ https://outlook.live.com/mail

5.3.4 แนวทางการปอ้ งกันดา้ นความปลอดภยั
ในปัจจุบัน การโจมตีผ่านช่องทางดจิ ิทัลเกิดข้ึนได้บ่อยขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก การท่ีผู้ใช้ทราบถึง
แนวทางการป้องกันด้านความปลอดภัย เปรียบเสมือนกับการเสริมสร้างเกราะเพ่ือพร้อมท่ีจะ
เผชิญหน้ากับผ้ไู มป่ ระสงค์ดที จี่ ะอาศยั ช่องโหวใ่ นการโจมตีได้ทกุ เม่ือ
ส่ิงแรกที่ผู้ใช้ควรติดตัวไว้ก็คือ สติ เมื่อไรก็ตามท่ีผู้ใช้เจอปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย
เชน่ บรกิ ารดจิ ทิ ัลทีใ่ ช้อยู่โดนโจมตใี หผ้ ู้ใช้เปลยี่ นรหสั ผา่ นในการเข้าใช้บริการเหล่านัน้ ทนั ที การใชง้ าน
อินเทอร์เน็ตผ่านโครงข่ายท่ีไม่น่าไว้ใจ การเข้าชมเว็บไซต์ที่มีการเข้ารหัสแบบ HTTPS หรือการที่ผู้ใช้
คิดก่อนท่ีจะเข้าไปในเว็บไซต์บริการหรือไฟล์เอกสารที่มีโอกาสสูงที่จะทาให้ผู้ใช้ถูกโจมตี โดยใน
ปัจจุบัน มีบริการที่ช่วยตรวจสอบเว็บไซต์หรือไฟล์ เช่น VirusTotal ซึ่งผู้ใช้สามารถนาเว็บไซต์ หรือ
ไฟล์ทผี่ ูใ้ ช้ไมแ่ นใ่ จในด้านความปลอดภัย ไปใหบ้ รกิ ารเหล่าน้ตี รวจสอบได้

102

อีกแนวทางในการปอ้ งกันความปลอดภยั สาหรบั อุปกรณต์ ่างๆ นนั่ คือการหาซอฟตแ์ วรท์ ่ีใช้ใน
การป้องกันภัย เช่น ระบบป้องกันมัลแวร์ (Anti-Malware Software) โดยที่ระบบปฏิบัติการบาง
ประเภทมีระบบป้องกันมัลแวร์ติดตั้งไว้ในระบบปฏิบัติการอยู่แล้ว เช่นบน Windows 10 ที่มี
Windows Defender อยู่ในเครื่องแล้ว ผใู้ ช้ไมจ่ าเป็นตอ้ งลงซอฟตแ์ วรเ์ พม่ิ เตมิ แตถ่ า้ หากตอ้ งการการ
ป้องกนั ทีส่ ูงขึ้น ผใู้ ชส้ ามารถติดตง้ั ซอฟตแ์ วรเ์ หล่านั้นได้ตามความต้องการของผูใ้ ช้ ดงั รูปภาพที่ 50

รูปภาพท่ี 50 หน้าตาของ Windows Defender

ท่ีมา : บนั ทกึ ภาพหน้าจอจากคอมพวิ เตอรส์ ว่ นตวั

นอกจากนี้การตั้งรหัสผ่านที่ปลอดภัยก็เป็นอีกหน่ึงแนวทางท่ีสาคัญเช่นกัน โดยการท่ีจะตั้ง
รหัสผา่ นทีด่ ไี ด้นัน้ ควรจะมีปจั จยั ท่ตี อ้ งคานงึ ถงึ ดงั ต่อไปนี้

• ความยาวรหัสผ่านขั้นต่าและข้ันสูงของผู้ให้บริการแต่ละราย ส่วนมากจะอยู่ท่ี 8-16
ตัวอักษร อย่างไรก็ดี มีผู้ให้บริการบางรายที่สามารถใช้งานรหัสผ่านที่มีความยาว
สูงสุด 64 ตัวอักษร

• รหัสผา่ นไมค่ วรจะเกี่ยวข้องกับข้อมลู ส่วนตัว เชน่ เบอรโ์ ทรศัพท์ วันเกดิ หรือชื่อจริง
และนามสกุล ท่ีสามารถทาการโจมตีแบบวิศวกรรมสังคม (Social Engineering)
หรือตัง้ รหสั ผ่านจากคาศัพทท์ ่งี ่ายตอ่ การอ่าน เช่น Cat, Dog, Love, Smith

• รหัสผ่านควรท่ีจะมีองค์ประกอบทั้ง ตัวเลข ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ ตัวอักษรพิมพ์เล็ก
และอักขระพิเศษ ทั้งน้ี ขึ้นอยู่กับเง่ือนไขแต่ละเว็บไซต์ว่าจะต้องใช้รหัสผ่านใน
รปู แบบไหน เช่น บางรายจะไมใ่ ห้ใช้อกั ขระพเิ ศษ

• รหัสผ่านควรมีความซบั ซ้อนมากพอ แตผ่ ใู้ ชค้ วรจะจดจารหสั ผ่านได้ดว้ ยตนเอง
• หา้ มแบ่งปนั รหสั ผ่านใหก้ ับคนอนื่ หรอื จดรหัสผ่านไว้ทไ่ี หนสกั แหง่
• เม่ือตั้งรหัสผ่านเสร็จ ควรจะเพิ่มกลไกการพิสูจน์ตัวบุคคล โดยแนะนาให้ใช้ใน

รูปแบบแอปพลิเคชัน หรืออปุ กรณ์ท่ีใชส้ าหรับการพสิ จู นต์ ัวบคุ คล
• ควรที่จะลงช่ือออกทุกครั้งเมอื่ ใช้บริการผา่ นอุปกรณ์สาธารณะ

103

5.4 ผลการวิเคราะหก์ ารประยกุ ต์ความปลอดภยั ยุคดจิ ทิ ัลใชก้ ับชีวติ ประจาวัน

ความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวยุคดิจิทัลถือเป็นเร่ืองหน่ึงที่ผู้อ่านควรให้ความสนใจ
เน่อื งจากปัจจุบนั ปญั หาด้านความปลอดภัยและความเปน็ ส่วนตวั อยใู่ กลต้ ัวมากยงิ่ ขน้ึ

หนึ่งในปัญหาที่เกิดขึ้นและทาให้ประชาชนทั่วโลกสนใจเรื่องความเป็นส่วนตัวน่ันก็คือ กรณี
ของเฟซบุ๊กกับบริษัทด้านการทาแผนการตลาดเชิงการเมือง Cambridge Analytica ได้มีการนา
ข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้บนเฟซบุ๊กไปใช้ในการวิเคราะห์เพื่อวางแนวทางการหาเสียงให้กับ Donald
Trump ซึ่งต่อมาไดข้ ึน้ มาเปน็ ประธานาธบิ ดขี องสหรัฐอเมริกา โดยเรือ่ งนถ้ี ูกเปิดโปงครง้ั แรกโดยสานัก
ข่าว The Guardian ของสหราชอาณาจักร4

สาเหตุสาคัญของปัญหานี้คือ เฟซบุ๊กเปิดให้นักพัฒนาเข้ามาพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อใช้ร่วมกับ
เฟซบุ๊กเอง ซ่ึงในช่วงน้ัน ระบบการเช่ือมต่อของเฟซบุ๊กสามารถดึงข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ได้ และทาง
Cambridge Analytica ได้ใช้ช่องทางน้ีในการดึงข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ผ่านการทาแบบสอบถามด้าน
บุคลิกของแต่ละคน โดยข้อมูลที่ได้ไปนั้นมีตั้งแต่ ชื่อ สถานท่ี วันเกิด เพศ รวมถึงการกด “ถูกใจ”
เน้ือหาที่แบ่งปันบนเฟซบุ๊ก ที่สามารถนาไปวิเคราะห์ข้อมูลของแต่ละบุคคลได้ และนาข้อมูลเหล่านั้น
ไปใช้ในการวางแผนการหาเสยี งเพ่ือดงึ ดูดให้ประชาชนเลือก Donald Trump เป็นประธานาธิบดี

จากเหตุการณ์ดังกล่าว ทาให้สังคมต้ังคาถามกับเฟซบุ๊กว่า เฟซบุ๊กมีวิธีการจัดการและ
รับประกันความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้อย่างไร รวมไปถึงบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ของโลกได้ออกมา
ประนามเฟซบุ๊กเก่ียวกับปัญหานี้ จนเกิดกระแสต่อต้านเฟซบุ๊กในระดับประชาชนด้วยการพิมพ์คาว่า
#DeleteFacebook ในโพสต์บนสังคมออนไลน์อื่น อย่าง ทวิตเตอร์ เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนร่วมกัน
ปิดบัญชีเฟซบุ๊ก5 ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า ประชาชนเริ่มตระหนักถึงปัญหาด้านรอยเท้าดิจิทัล รวมถึง
ปัญหาดา้ นความเป็นสว่ นตัวทีเ่ ร่ิมลดน้อยลงเรอ่ื ยๆ

และด้วยเหตุน้ันเอง ทาให้หลากหลายบริษัทที่ให้บริการด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเร่ิมมีแนว
ทางการปกป้องความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้มากขึ้น เช่น กูเกิลได้ปรับเปลี่ยนหน้าการตั้งค่าบัญชีเพ่ือให้
สามารถควบคุมกิจกรรมได้ง่ายข้ึน6 แอปเปิลที่ชูเร่ืองความเป็นส่วนตัวให้กับผู้ใช้ในทุกผลิตภัณฑ์ท่ี
เปิดตัว7 หรือแม้แต่เฟซบุ๊กเองที่ประกาศคุณสมบัติล้างข้อมูลส่วนตัว8 เพื่อป้องกันไม่ให้นักการตลาด
สามารถนาข้อมลู ไปใชใ้ นการกระตุ้นยอดขาย

ขณะเดียวกัน ปัญหาด้านความปลอดภัยก็เป็นประเด็นสาคัญ จากเหตุการณ์การโจรกรรม
ขอ้ มูลทม่ี มี ากข้ึน อนั สง่ ผลให้เกดิ ความเสยี หายท้งั ดา้ นข้อมูล ความเป็นส่วนตัว และทรพั ย์สนิ โดยหน่งึ

4 Davies, H. (2015). Ted Cruz campaign using firm that harvested data on millions of unwitting Facebook users. Retrieved from
https://www.theguardian.com/us-news/2015/dec/11/senator-ted-cruz-president-campaign-facebook-user-data
5 Mack, E. (2018). #DeleteFacebook trends as compromised social users fume. Retrieved from
https://www.cnet.com/news/deletefacebook-hashtag-trends-twitter-facebook-users/
6 Tung, L. (2016). Google's new My Activity page now displays your whole online life | ZDNet. Retrieved from
https://www.zdnet.com/article/googles-new-my-activity-page-now-displays-your-whole-online-life/
7 Frier, S. (2018). Is Apple Really Your Privacy Hero?. Retrieved from https://www.bloomberg.com/news/articles/2018-08-08/is-apple-
really-your-privacy-hero
8 Steinmetz, K. (2018). Facebook's New 'Clear History' Button Is Really About the Company's Future. Retrieved from
http://time.com/5261651/facebook-clear-history-f8-2018-zuckerberg-keynote/

104

ในการโจรกรรมครั้งใหญ่คือมัลแวร์ WannaCrypt หรือ WannaCry9 ท่ีใช้ช่องโหว่ท่ีช่ือว่า
EthernalBlue10 บนซอฟตแ์ วรร์ ะบบปฏบิ ตั ิการ Windows ท่หี น่วยงานความมั่นคงของสหรัฐอเมริกา
(National Security Agency หรือ NSA) ได้ใช้ในการสอดแนมผู้คนต่างๆ ในการจู่โจมและเข้ารหัส
ข้อมูลในเคร่ืองที่ถูกโจมตีเพ่ือใช้ในการเรียกค่าไถ่ผ่านสกุลเงินดิจิทัล Bitcoin อันส่งผลให้ค่าเงิน
ดงั กล่าวพุ่งสงู ข้ึนเป็นประวัตกิ ารณ์11

นอกจากน้ี ยังมีเหตุการณ์ข้อมูลร่ัวไหลออกสู่สาธารณะ ซ่ึงมีเหตุการณ์หน่ึงได้ส่งผลกระทบ
เป็นวงกว้างในสหรัฐอเมริกา นั่นก็คือการรั่วไหลข้อมูลของบริษัทด้านข้อมูลเครดิตรายใหญ่ของ
สหรัฐอเมริกาอย่าง Equifax ท่ีผู้โจมตีอาศัยช่องโหว่ขนาดใหญ่12ของระบบคอมพิวเตอร์ในบริษัทใน
การโจมตแี ละลักลอบนาข้อมลู ส่วนบุคคล ซึง่ รวมไปถงึ เลขทปี่ ระกันสังคม13 ออกไปมากกวา่ 140 ล้าน
ราย14 สง่ ผลตอ่ ภาพลกั ษณข์ องบริษทั เพียงชั่วขา้ มคืน

ท้ังหมดน้ีสะท้อนให้เห็นถึงความสาคัญด้านความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว ซึ่งเร่ืองราว
ท้ังหมดนี้ อยู่ใกล้ตัวผู้อ่านมากกว่าที่คิด ฉะนั้น การสร้างความรู้ด้านความปลอดภัยและความเป็น
สว่ นตัวจึงเป็นสงิ่ สาคญั อยา่ งมากในการปอ้ งกันตนเองไม่ใหเ้ กดิ เหตุการณท์ ้ังหมดที่กลา่ วมาไดน้ ่ันเอง

9 Misner, P. (2017). Customer Guidance for WannaCrypt attacks. Retrieved from
https://blogs.technet.microsoft.com/msrc/2017/05/12/customer-guidance-for-wannacrypt-attacks/
10 Lee, T. (2017). The WannaCry ransomware attack was temporarily halted. But it’s not over yet. Retrieved from
https://www.vox.com/new-money/2017/5/15/15641196/wannacry-ransomware-windows-xp
11 Morris, D. (2017). Bitcoin Hits a New Record High, But Stops Short of $20,000. Retrieved from http://fortune.com/2017/12/17/bitcoin-
record-high-short-of-20000/
12 Riley, M., Sharpe, A., & Robertson, J. (2017). Equifax Suffered a Hack Almost Five Months Earlier Than the Date It Disclosed. Retrieved
from https://www.bloomberg.com/news/articles/2017-09-18/equifax-is-said-to-suffer-a-hack-earlier-than-the-date-disclosed
13 เทียบเท่ากบั เลขบัตรประชาชนของประเทศไทย
14 Haselton, T. (2017). Credit reporting firm Equifax says data breach could potentially affect 143 million US consumers. Retrieved from
https://www.cnbc.com/2017/09/07/credit-reporting-firm-equifax-says-cybersecurity-incident-could-potentially-affect-143-million-us-
consumers.html

105

5.5 สรุป

ความปลอดภัยยุคดิจิทัลน้ัน สามารถแยกองค์ประกอบออกเป็น 2 ส่วน คือ ความเป็นส่วนตัว
และความปลอดภัย

สาหรบั ความเป็นสว่ นตวั นัน้ ผู้อา่ นควรจะระลกึ เสมอว่า ทุกส่งิ ทกุ อย่างท่ีท่านได้แบ่งปันออกไปใน
โลกออนไลน์ล้วนแล้วแต่เป็นรอยเท้าดิจิทัลท่ีผู้อื่นสามารถสืบย้อนไปติดตามสิ่งที่เคยเกิดข้ึนได้ อันจะ
ส่งผลร้ายต่อท่านในระยะยาว ฉะนั้น การท่ีรักษาความเป็นส่วนตัวจึงเป็นเร่ืองท่ีจาเป็น และด้วย
เทคโนโลยีดิจิทัลสมัยใหม่ที่พัฒนาขึ้นเรื่อยๆ ผู้อ่านสามารถป้องกันการติดตามรอยเท้าดิจิทัลได้
หลากหลายวิธี เช่น การเปิดคุณสมบัติการป้องกันการติดตาม (Do Not Track) บนเบราว์เซอร์ หรือ
การปดิ การติดตามจากผู้ใหบ้ รกิ ารต่างๆ

นอกจากนี้ ผู้อ่านควรจะเข้าใจถึงความปลอดภัยยุคดิจิทัล รวมถึงรู้จักกับการโจมตีในประเภท
ต่างๆ อย่าง การโจมตีด้วยมัลแวร์ หรือแม้แต่ การโจมตีด้วยการเข้าใช้งานโดยไม่ได้รับอนุญาต
(การแฮ็ก) ซึ่งท่านสามารถป้องกันสิ่งที่จะเกิดขึ้นเหล่าน้ันได้ผ่านการเพ่ิมช่องทางในการพิสูจน์ตัวตน
การเขา้ รหัสขอ้ มูล รวมไปถึงควรจะมสี ตกิ อ่ นทจ่ี ะเปดิ อะไรก็ตามที่ทา่ นเห็นในโลกออนไลน์ เพ่ือให้ท่าน
ปลอดภัยจากการโจมตีในรปู แบบต่างๆ น่ันเอง

เม่ือผู้ใช้งานดิจิทลั มีการใช้งานเครื่องมือดิจิทัลได้อยา่ งปลอดภัย ดว้ ยความเข้าใจหลักการพน้ื ฐาน
และแนวทางการสร้างความปลอดภัยของเคร่ืองมือแล้ว ในบทที่ 7 การรู้เท่าทันส่ือและสารสนเทศ
ซึ่งมีความสาคัญเป็นอย่างมากในยุคปัจจุบัน ที่คนในสังคม เป็นได้ท้ังผู้ส่งสารและผู้รับสาร และอาจ
มผี ู้ไม่ประสงค์ดสี ร้างข้อมูลเท็จ เพ่ือใหเ้ กิดความเข้าใจผดิ ได้ ในบทถดั ไป จึงเป็นการสรา้ งการรู้เท่าทัน
ส่อื ให้เข้าใจประเภทส่ือ สามารถแยกแยะส่อื ท่ีเปน็ ประโยชน์ได้

106

5.6 เอกสารอา้ งอิง

Davies, H. (2 0 1 5 ) . Ted Cruz campaign using firm that harvested data on millions of
unwitting Facebook users. Retrieved from https://www.theguardian.com/us-
news/2015/dec/11/senator-ted-cruz-president-campaign-facebook-user-data

Frier, S. (2 0 1 8 ) . Is Apple Really Your Privacy Hero?. Retrieved from https://
www.bloomberg.com/news/articles/2018-08-08/is-apple-really-your-privacy-hero

Haselton, T. (2017). Credit reporting firm Equifax says data breach could potentially
affect 1 4 3 million US consumers. Retrieved from https://www.cnbc.com/
2 0 1 7 / 0 9 / 0 7 / credit-reporting-firm-equifax-says-cybersecurity-incident-could-
potentially-affect-143-million-us-consumers.html

InformED. (2013). CYBER SAFETY: An Interactive Guide to Staying Safe on the Internet.
Retrieved from OpenColleges: https: / / www. opencolleges. edu. au/ informed/
cyber-safety/

Jemmifer R. Henrichsen, M. B. (2015). Building digital safety for journalism: a survey of
selected issues. Paris: UNESCO

Kyla Boyse, R. (2011). Internet Safety. Retrieved from The Michigan Medicine: http://
www.med.umich.edu/yourchild/topics/internet.htm

Lee, T. (2017). The WannaCry ransomware attack was temporarily halted. But it’s not
over yet. Retrieved from https://www.vox.com/new-money/2 0 1 7 / 5 / 1 5 /
15641196/wannacry-ransomware-windows-xp

Mack, E. (2018). #DeleteFacebook trends as compromised social users fume. Retrieved from
https://www.cnet.com/news/deletefacebook-hashtag-trends-twitter-facebook-users/

Misner, P. (2 0 1 7 ) . Customer Guidance for Wanna Crypt attacks. Retrieved from
https://blogs.technet.microsoft.com/msrc/2017/05/12/customer-guidance-for-
wannacrypt-attacks/

Morris, D. (2017). Bitcoin Hits a New Record High, But Stops Short of $20,000. Retrieved
from http://fortune.com/2017/12/17/bitcoin-record-high-short-of-20000/

Riley M, Sharpe A, Robertson J. (2017). Equifax Suffered a Hack Almost Five Months
Earlier Than the Date It Disclosed. Retrieved from https://www.bloomberg.com

Steinmetz, K. (2 0 1 8 ) . Facebook's New 'Clear History' Button Is Really About the
Company's Future. Retrieved from http://time.com/5261651/facebook-clear-
history-f8-2018-zuckerberg-keynote/

Tung, L. (2016). Google's new My Activity page now displays your whole online life |
ZDNet. Retrieved from https://www.zdnet.com/article/googles-new-my-
activity-page-now-displays-your-whole-online-life/

วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง. (2561). คู่มือพลเมืองดิจิทัล. กรุงเทพฯ: สานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล
กระทรวงดิจิทัลเพ่ือเศรษฐกิจและสังคม. สืบค้นจาก https://thaidigizen.com/wp-
content/uploads/2018/06/DigitalCitizenship-Book-ok.pdf

107

สานักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2561). ใช้เน็ตอย่างไร ให้ปลอดภัยและสร้างสรรค์.
สืบค้นจาก https://www.etda.or.th/publishing-detail/handbook-of-internet-for-
better-life.html

อินทนนท์, ส. (2561). การรักษาความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ (Cybersecurity). กรุงเทพฯ: มูลนิธิ
ส่งเสริมส่อื เด็กและเยาวชน (สสย.)



109

บทที่ 6

การรู้เทา่ ทันส่อื และสารสนเทศ

110

บทที่ 6

กำรรเู้ ท่ำทนั ส่อและสำรสนเทศ

การรู้เท่าทันส่ือและสารสนเทศ จาเป็นต้องเรียนรู้หลักการพ้ืนฐานของสื่อ

และผู้ให้บริการสื่อ แนวคิดการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ การวิเคราะห์
วิพากษ์ ตีความหมาย ประเมินผล สรปุ ผล แยกข้อเท็จจริง ข้อคิดเหน็ ประเมิน
คุณค่าของส่ือและสารสนเทศ การรู้เท่าทันข่าวปลอม (Fake News) และรู้เท่า
ทันโฆษณาชวนเช่ือ (Propaganda) รวมถึงการจัดการส่ือและสารสนเทศ
เบื้องตน้ ไดแ้ ก่ เอกสาร เสียงบันทึก ภาพนง่ิ และภาพเคลอ่ื นไหวได้

6.1 หลักการพื้นฐานของส่ือและผ้ใู หเ้ ผยแพรส่ ่ือ

เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ทาใหเ้ กดิ ลักษณะของการสรา้ งเน้ือหาบนสื่อออนไลน์ ซึ่งตอ้ งเลอื กการใช้
สื่อท่ีแตกต่างให้เหมาะสมกับเน้ือหาที่จะนาเสนอและมีความเป็นมัลติมีเดีย (multimedia)
โดยคานึงถึงช่องทางเครื่องมือท่ีจะทาให้มีการโต้ตอบกับผู้รับสารและมีเครื่องมือให้ผู้รับสารสามารถ
เลือกรับข่าวสารในรูปแบบที่ต้องการได้ (interactivity) และรวมถึงการเช่ือมโยงข้อมูลข่าวไป
สู่ประเด็นหรือฐานข้อมูลอ่ืนๆ ผ่าน Hyperlink (hypertextuality ซ่ึงลักษณะของส่ือสังคมน้ันจะเป็น
เร่ืองของการแบ่งบัน การรับฟังและตอบโต้กับผู้อื่น การแบ่งปันข้อมูลนี้ทาให้มีการแลกเปล่ียน
ประสบการณ์ ความรู้ และการรับฟังความเห็นของผู้อ่ืน การสร้างความสัมพันธ์ และการรวบรวม
ความรู้มาจากแหล่งท่ีหลากหลาย รวมถึงมาจากประสบการณ์โดยตรง เกิดเป็นพลังของการสื่อสาร
แบบเครือขา่ ยทท่ี าใหส้ ามารถแสดงความเหน็ และส่งข้อมลู ได้อย่างอสิ ระ กา้ วข้ามข้อจากัดของส่ือแบบ
ด้ังเดิม สามารถสร้างบนสนทนา เช่น ให้แสดงความเห็น (comment) หรือ เสนอเร่ืองของตัวเองให้
คนอื่นรบั รู้ได้ กท็ าใหม้ ีการส่ือสารกันอย่างกว้างขวาง บางครงั้ บางเรอ่ื ง ยงั นาไปสู่การสนทนาได้ทั้งใน
ระดบั ตวั ตอ่ ตน เป็นกลมุ่ เล็ก หรือ ขยายวงไปสกู่ ารสร้างชมุ ชนออนไลนข์ นาดใหญ่ เปน็ ต้น

นอกจากนี้การส่ือสารบนอินเทอร์เน็ตทาให้บุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ได้ใกล้เคียง
กับส่ือมวลชน และสามารถสร้างสื่อได้ด้วยตัวเอง ดังนั้น การเข้าถึงข้อมูล อานาจในการผลิตส่ือ
ของส่ือมวลชนเป็นข้อได้เปรียบที่น้อยลง คนท่ัวไปมีบทบาทมากข้ึน และ อาจมีข้อมูลหรือสร้างสื่อทด่ี ี
ได้มากกว่าสื่อมวลชนในบางประเด็น ดังนั้น การปรับตัวของส่อื คือ ต้องเช่ือมโยงความร่วมมือระหว่าง
“ส่ือมวลชน” กับ “ชุมชนออนไลน์”ร่วมกัน เชน่ การเขยี น blog รว่ มใน forum, web board อพั เดท
ข้อมูลผ่าน twitter สร้างเครือข่ายผ่าน Social Network ต่าง ๆ ซ่ึงจะช่วยทาให้มิติในการเข้าถึง
ข้อมลู และ การมองหาประเดน็ ท่เี ป็นประโยชน์ตอ่ งานสื่อสารมวลชนทาได้กว้าง และ หลากหลายมาก
ขึน้

ในขณะที่ส่ือสังคมออนไลน์ ( Social Media) มีลักษณะสาคัญคือ การมีส่วนร่วม
(Participation) เป็นช่องทางสนับสนุนให้เกิดการให้ข้อมูล แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน ผู้สื่อสารบน
สื่อสังคมออนไลน์เป็นทั้งผู้ส่งสารและรับสารในกระบวนการส่ือสารสองทาง การเปิดกว้าง
(Openness) ใหม้ ีพืน้ ท่กี ารแสดงตวั ตน ความเห็น ความรูส้ ึกอยา่ งเปิดเผยต่อสาธารณะ และเปิดพื้นท่ี
ให้มีการตอบโต้ ปฏิสัมพันธ์กันได้อย่างกว้างขวาง การสร้างบทสนทนา (Conversation) แลกเปลี่ยน
เรอ่ื งต่าง ๆ ระหวา่ งคนท่อี ยใู่ นเครอื ข่ายการสื่อสารเดยี วกนั มีการแลกเปล่ยี นอยา่ งตอ่ เนือ่ ง แบ่งปนั ให้

111

ผู้อ่ืนท้ังในและนอกเครือข่ายได้รับรู้ ทาให้เกิดการรวมตัวเป็นชุมชนออนไลน์ (Community) ขึ้น
มีการบอกต่อและการกระขายข่าว สามารถใช้เพ่ือเป็นเครื่องมือในการขับเคล่ือน เช่น การเมือง การ
ปกครอง การเคลอ่ื นไหวทางสงั คมในมิตติ ่าง ๆ เป็นตน้

การเข้าใจส่ือและสารสนเทศเป็นกระบวนการที่ประกอบด้วยหลักการของการเข้าใจสื่อ
(Media Literacy) และการเข้าใจสารสนเทศ (Information Literacy) จากส่ือเดิม เช่น ส่ือส่ิงพิมพ์
วิทยุกระจายเสียง โทรทัศน์ ภาพยนตร์ และส่ือใหม่ เช่น สื่อดิจิทัล อินเทอร์เน็ต โทรศัพท์มือถือ
และสื่อ Social Network ตา่ งๆ เป็นกระบวนการเรียนรู้ การเลือกเปิดรับและการใชป้ ระโยชนจ์ ากส่ือ
และสารสนเทศให้เกิดประโยชน์ต่อการดารงชีวิตมากที่สุด การที่เราจะสามารถรู้เท่าทันส่ือ
และสารสนเทศได้น้ันเราต้องรู้จัก และมีทักษะเก่ียวกับการวเิ คราะห์ส่ือและสารสนเทศ เพอื่ เลอื กท่ีจะ
เชื่อหรือไม่เชื่อ และเลือกที่จะนาสารสนเทศจากสอื่ น้ัน ๆ ไปใช้ประโยชน์ได้มากที่สุดท้ังต่อตัวเราและ
คนขา้ งเคยี ง

6.2 ประเภทของสื่อ

สือ่ สามารถแบง่ ไดเ้ ปน็ สองประเภทหลัก ไดแ้ ก่ สื่อด้ังเดมิ และสอ่ื ใหม่ ซึ่งมีการจาแนกดงั ตอ่ ไปนี้

6.2.1 สื่อดั้งเดมิ (Traditional Media)

สื่อด้ังเดิม เป็นสื่อท่ีเกิดข้ึนก่อนยุคปัจจุบัน ได้แก่ ส่ือสิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียงโทรทัศน์
ภาพยนตร์ ซึ่งเป็นสื่อท่ีเข้าถึงผู้รับสารได้จานวนมากในเวลาท่ีรวดเร็ว แต่มักเป็นการสื่อสารแบบ
ทางเดียว โดยผู้รับสารไม่สามารถตอบโต้หรือแสดงความคิดเห็นลงไปในสื่อได้ในขณะเปิดรับ
โดยสื่อแต่ละชนิดมีลกั ษณะและคณุ สมบัตเิ ดน่ ทีแ่ ตกตา่ งกนั ดงั น้ี

• สื่อส่ิงพิมพ์ เป็นส่ือที่จัดพิมพ์แบบเอกสาร และเผยแพร่สู่มวลชนสม่าเสมอ
ด้วยเน้ือหาหลากหลาย ที่ดาเนินการต่อเน่ืองในรูปองค์กร เปิดโอกาสให้ผู้บริโภคได้
เลือกอย่างกว้างขวาง ตอบสนองต่อผู้บริโภคกลุ่มย่อยได้ดี จึงเป็นส่ือท่ีมีความ
น่าเช่ือถือสูงมีความคงทนในการถ่ายทอดสารและการเก็บรักษาพกพาสะดวก
เชน่ หนังสือพิมพ์ นติ ยสาร วารสาร เป็นตน้

• สื่อวิทยุกระจายเสียง เป็นสื่อท่ีนาเสนอสารผ่านคาพูด เสียงเพลง และเสียง
ประกอบด้วยเนื้อหาหลายประเภท มีกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ คุณสมบัติเด่นของสื่อ
วิทยุกระจายเสียงคือ ความฉับไวเป็นส่ือแห่งจินตนาการ สามารถเข้าถึงผู้ฟังได้ดี
สะดวกในการพกพา ให้ความเป็นส่วนตัวและอานาจในการเลือกฟัง มีลักษณะการ
ฟงั เป็นส่ือเสริมกิจกรรมอื่น

• สื่อโทรทัศน์ เป็นส่ือที่อาศัยแสง สี มุมกล้อง ขนาดภาพ ถ่ายทอดเนื้อหา อารมณ์
สู่ผู้ชมนาเสนอหลากหลายเนื้อหาและรูปแบบ มีคุณสมบัติให้ทั้งภาพและเสียง
เป็นสื่อท่ีมีอิทธิพล เป็นส่ือท่ีมีความซับซ้อนในกระบวนการผลิต เป็นสื่อราคาแพง
ทง้ั ในการผลติ การเผยแพร่ และเป็นสอื่ ที่มกี ารแข่งขันสงู

• สื่อภาพยนตร์ เป็นสื่อท่ีส่งสารผ่านภาพและเสียง ท่ีบันทึกเป็นภาพเคลื่อนไหวและ
เสียงลงบนแผ่นฟิล์ม นาเสนอเนื้อหาหลายประเภท มีกลุ่มเป้าหมายค่อนข้างเฉพาะ
มีคุณสมบัติในการถ่ายทอดเหตุการณ์จริง สามารถใช้เทคนิคในการผลิตเพ่ือให้ได้

112

ภาพและเสียงตามต้องการ มีความคมชัดในการนาเสนอสูง และมีอิสระในการ
นาเสนอตา่ งจากสื่อโทรทศั น์

6.2.2 ส่อื ใหม่ (New Media)

สื่อใหม่ (New Media) เป็นการส่ือสารในรูปแบบใหม่ ท่ีมีการนาเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้า
มาประกอบการส่ือสาร ทาให้การส่ือสารนั้นทันสมัยและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น TV on
Mobile, Webcam เปน็ ตน้ ทาให้ผู้รบั สาร ทีอ่ ยู่ทว่ั ทกุ มุมโลกสามารถรับร้ขู ่าวสารไดอ้ ย่างรวดเร็วและ
ชัดเจน เป็นการกระจายข่าวสารไปได้ทุกสารทิศ เช่น การส่งอีเมล ทวิตเตอร์ การแชท โดยท่ีผู้รับสาร
สามารถตอบโต้กับส่ือมวลชนได้ ในขณะที่สื่อดั้งเดิมไม่สามารถทาได้ เช่น การส่ง SMS
ไปในรายการต่าง ๆที่เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นในโทรทัศน์ หรือการโทรศัพท์เข้าไปในรายการ
วิทยุหรือโทรทัศน์เพ่ือแสดงความคิดเห็น ซึ่งในปัจจุบันส่ือใหม่ได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากทุกวงการ
ไมเ่ ฉพาะวงการสื่อสารมวลชน แต่ยังมีอีกมากมาย เช่น ดา้ นการศกึ ษา คมนาคม อุตสาหกรรม เป็นต้น

การรวมตัวของสื่อใหม่และสื่อเดิมทาให้เกิดการมาบรรจบกันของเทคโนโลยีสื่อ
(Convergence) เป็นการพัฒนาสือ่ เข้ามาใกลก้ ันของเทคโนโลยี 3 ประเภท คือ

1) เทคโนโลยกี ารแพรภ่ าพและเสียง เช่น วิทยุ โทรทัศน์
2) เทคโนโลยกี ารพิมพ์ เช่น หนังสือ นิตยสาร หนงั สอื พมิ พ์
3) เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ โดยมีเทคโนโลยีส่ือสารโทรคมนาคมเป็นปัจจัยสนับสนุน

ไดแ้ ก่ หนังสอื พิมพอ์ อนไลน์ นติ ยสารออนไลน์
สื่อใหม่จึงอยู่ในรูปของความรู้ทางดิจิทัล (Digital knowledge) ซึ่งหมายถึงความรู้
ที่จาเป็นต้องมีเพื่อให้สามารถประยุกต์ใช้งานคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตในการพัฒนาคุณภาพชีวิต
ของตน ซึ่งอาจรวมถึงความรู้ที่สามารถผลิตส่ือด้วยตนเองเพ่ือเผยแพร่ความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ
ออกส่สู งั คม รฐั บาลของแตล่ ะประเทศมีโครงการพฒั นา e-Government และโครงการรักษาพยาบาล
ระยะไกล เช่น Telemedicine เป็นต้น อานาจของอินเทอร์เน็ตและส่ือดิจิทัลอยู่ท่ีการปฏิสัมพันธ์
ระหวา่ งผใู้ ช้ โดยผใู้ ช้สามารถเป็นผู้ผลติ ส่ือไปพรอ้ มกนั ทาให้ผ้ใู ชร้ ว่ มแลกเปลี่ยนทัศนคติในเร่อื งต่าง ๆ
ได้ และจัดทาเว็บไซต์ เว็บบลอ็ กในการเผยแพรข่ อ้ มูลทางอนิ เทอร์เน็ตด้วยค่าใชจ้ ่ายทต่ี ่า รวมถงึ การใช้
เครือข่ายสังคม เช่น เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์และอื่น ๆ ปัจจุบันการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
ล้วนใช้สอื่ ใหมเ่ ป็นเคร่ืองมอื สาคัญในการสอื่ สารใหเ้ ขา้ ถึงประชาชน การใช้สือ่ ใหม่จงึ เปน็ ทงั้ โอกาสและ
ภัยคุกคามของผู้ใช้หรือผู้บริโภค อยู่ที่ความสามารถในการเลอื กใช้และเลือกที่จะเข้าใจในเน้ือหาสาระ
อยา่ งชาญฉลาด

6.3 ภาษาของส่อื

การสื่อสารจะประสบผลสาเร็จได้จะต้องมีภาษาเป็นองค์ประกอบที่สาคัญ เน้ือหาของสาร
จะไมส่ ามารถถ่ายทอดได้ถ้าไม่มีภาษา จงึ อาจกลา่ วได้ว่าภาษาคือตัวนาสาร ภาษาที่ผูส้ ง่ สาร และผู้รับ
สารใช้จะดีหรือไม่ดีข้ึน อยู่กับทักษะในการส่ือสาร ถ้าผู้ส่งสารเลือกใช้ภาษาในการเสนอ
สารที่เหมาะสมกับผู้รับสารในด้านความรู้และทักษะการใช้ภาษา จะทาให้เกิดการรับรู้และ เข้าใจ
ตรงกัน ภาษาในฐานะเป็นเครื่องมือสอ่ื สาร จะมี 2 ลักษณะ คอื

1) วัจนภาษา (verbal language) คือ ภาษาถ้อยคา ได้แก่ คาพูดหรือตัวอักษร
ท่ีกาหนดใช้ร่วมกันในสังคม ซึ่งหมายรวมทั้งเสียงและลายลักษณ์อักษร ภาษา

113

ถ้อยคาเป็นภาษาท่ีมนุษย์สร้างขึ้นอย่างมีระบบ มีหลักเกณฑ์ทางภาษาหรือ
ไวยากรณ์ซ่ึงคนในสังคม ต้องเรียนรู้และใช้ภาษาในการฟัง พูด อ่านเขียนและคิด
การใช้วัจนภาษาในการส่ือสาร ต้องคานึงถึงความชัดเจนถูกต้องตามหลกั ภาษาและ
ความเหมาะสมกับลกั ษณะการส่อื สาร ลักษณะงาน สอื่ และผรู้ บั สารเปา้ หมาย
2) อวัจนภาษา (non - verbal language) คือ ภาษาที่ไม่ใช้ถ้อยคา เป็นภาษา
ซ่ึงแฝงอยู่ในถ้อยคา กิริยาอาการต่าง ๆ ตลอดจนส่ิงอ่ืนๆ ท่ีเก่ียวข้องกับการ แปล
ความหมาย เช่น น้าเสียง การตรงต่อเวลา การยิ้มแย้ม การสบตา การเลือกใช้
เส้ือผ้า ช่องว่างของสถานท่ี กาลเวลา การสัมผัส ลักษณะตัวอักษร เคร่ืองหมาย
วรรคตอน เปน็ ตน้ สิง่ เหล่าน้ีแม้จะไม่ใช้ถ้อยคา แต่กส็ ามารถสื่อความหมายใหเ้ ข้าใจ
ได้ ในการส่ือสารมกั มีอวัจนภาษาเขา้ ไปแทรกอยเู่ สมอ อาจตั้งใจหรือไมต่ ้งั ใจก็ได้
6.4 ความเปน็ มาของการรเู้ ท่าทันสื่อและสารสนเทศ (MIL – Media and Information Literacy)
การรู้เท่าทันส่ือและสารสนเทศ (MIL – Media and Information Literacy)1 เป็นการรวมกัน
ของการรู้เท่าทันสารสนเทศ (IL - Information Literacy) การเข้าใจส่ือ (ML– Media Literacy)
เทคโนโลยีสารสนเทศ และทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT Skills) โดยการเข้าใจสื่อและ
สารสนเทศ จะช่วยพัฒนาการคิดเชิงวิพากษ์และการแก้ปัญหา ในขณะท่ีเพ่ิมความร่วมมือและการมี
ส่วนร่วมเขา้ ไปด้วย ดังนนั้ ทกุ ประเทศจึงควรทจี่ ะลงทุนในการสร้างสภาพแวดล้อมท่ีเอ้ือต่อการเข้าใจ
สื่อและสารสนเทศ และจัดหาเคร่ืองมือและทรัพยากรต่าง ๆ ที่จะช่วยให้ประชาชนในประเทศ
สามารถบรรลุถึงเป้าหมายทั้งในชีวิตส่วนตัว การทางานและสังคม โดยการใช้สมรรถนะที่เกี่ยวกับการ
เขา้ ใจสอ่ื และสารสนเทศ ดังรูปภาพท่ี 51

รูปภาพท่ี 51 การรู้เทา่ ทนั ส่ือและสารสนเทศ (MIL) เปน็ แนวคดิ แบบผสม
(วาดโดยสุภาภรณ์ เกยี รติสนิ )

การรู้เท่าทันส่ือและสารสนเทศเป็นกระบวนการท่ีประกอบด้วยหลักการของการเข้าใจส่ือ
และการเข้าใจสารสนเทศจากส่ือเดิม เช่น ส่ือสิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสยี ง โทรทัศน์ ภาพยนตร์ และสื่อ
ใหม่ เช่น ส่ือดิจิทัล อินเทอร์เน็ต โทรศัพท์มือถือ และส่ือ Social Network ต่าง ๆ เป็นกระบวนการ
เรียนรู้ การเลือกเปิดรับและการใช้ประโยชน์จากสื่อและสารสนเทศให้เกิดประโยชน์ต่อการดารงชีวิต
มากท่สี ดุ การทจี่ ะสามารถรู้เทา่ ทันสื่อและสารสนเทศได้นั้น ตอ้ งมที ักษะเก่ียวกับการวิเคราะหส์ ื่อและ
สารสนเทศ เพื่อเลอื กทจ่ี ะเช่ือหรือไมเ่ ชื่อ และเลือกที่จะนาสารสนเทศจากส่ือนนั้ ๆ ไปใชป้ ระโยชน์ได้
มากท่ีสดุ ทัง้ ต่อตวั เราและคนข้างเคยี ง

1 UNESCO. (2013). Global Media and Information Literacy Assessment Framework: country readiness and competencies. Paris: UNESCO

114

ยูเนสโก (2011, น.142) ได้นิยามความหมายของการรู้เท่าทันสื่อสื่อและสารสนเทศ (Media
and Information Literacy : MIL) ไว้ว่า “การเข้าใจส่ือและสารสนเทศ คือ กลุ่มของสมรรถนะ
ท่เี พ่ิมอานาจให้กบั ประชาชนในเรื่อง

• การเขา้ ถงึ (Access)
• การคน้ คืน (Retrieve)
• การเขา้ ใจ (Understand)
• การประเมนิ (Evaluate)
• การใช้ (Use)
• การสร้าง (Share)
• การแบง่ ปัน (Share)
การรู้เท่าทันส่ือ คือ ความสามารถในการเข้าถึง วิเคราะห์ ประเมิน และผลิตสื่อได้ใน
หลากหลายรปู แบบ (Center for Media Literacy, 2008)
การรู้เท่าทันส่ือและสารสนเทศ หมายถึง ผู้รับสารต้องมีความสามารถในการเลือกสรร
คัดกรอง และเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้อง และสามารถเลือกนาข้อมูลสาระมาสกู่ ารสร้างประโยชน์ใหเ้ กิดแก่
ตนเอง มคี วามจาเปน็ ตอ้ งบูรณาการทง้ั สื่อและสารสนเทศเขา้ ด้วยกนั (ลกั ษมี คงลาภ, 2561)
อย่างไรก็ดี คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม
แห่งชาติ (กสทช, 2018) ขยายความหมายของ “การรู้เท่าทันสื่อ” ว่าเป็นความสามารถตีความ
วิเคราะห์ แยกแยะเนื้อหาสาระของส่ือ สามารถโต้ตอบกับสอื่ ได้อย่างมีสติและรู้ตัว สามารถตั้งคาถาม
ได้ว่าส่ือถูกสร้างขึ้นได้อย่างไร เช่น ใครเป็นเจ้าของสื่อ ใครผลิตและผลิตภายใต้ข้อจากัดใด ควรเชื่อ
หรอื ไม่ หรือมีค่านยิ มความเช่ืออะไรทีแ่ ฝงมากับสื่อน้ัน พวกที่ผลิตสอื่ หวงั ผลอะไรจากเรา
หลักการวิเคราะห์เพ่ือการเข้าใจส่ือและสารสนเทศ (Media and Information Literacy)
จะต้องใช้องค์ประกอบหลักของทั้งการวิเคราะห์สื่อและการรู้สารสนเทศ นาเข้าสู่หลักการ แนวคิด
และกระบวนการหลกั ๆ ดังตอ่ ไปนี้ คือ
หลักการกระบวนการวิเคราะห์เพ่ือการรู้เท่าทันส่ือและสารสนเทศ ประกอบด้วย 5 ข้ันตอน
หลัก คอื
1) การเปิดรับ และการเข้าถึงทั้งสื่อและสารสนเทศนั้นๆ (Access) Assael (1985)
ได้ให้ความหมายการเปิดรับว่าเป็นการท่ีประสาทสัมผัสของผู้บริโภคซ่ึงถูกกระตุ้นโดยสิ่งเร้า
ซ่ึงผู้บริโภคจะเป็นผู้เลือกเองว่าส่ิงเร้าใดตรงกับความต้องการของผู้บริโภคและผู้บริโภคจะหลีกเลี่ยง
การเปิดรับส่ิงท่ีเร้าตนไม่ต้องการไม่สนใจ และเห็นว่าไม่สาคัญ และหากผู้บริโภคเลือก ก็จะเกิด
กระบวนการเปิดรับ ท้ังนี้กระบวนการเปิดรับจะมีความสัมพันธ์กับความต้ังใจในการรับสารด้วย
โดยที่ความสนใจ (Interest) และความเก่ียวข้อง (Involvement) ของผู้บริโภคกับส่ิงเร้าน้ัน
จะสะท้อนออกมาในระดับของความตั้งใจ (Attention) ที่ผู้บริโภคให้กับส่ิงเร้าน้ัน นอกจากนีย้ังมี
เกณฑ์ในการเปดิ รับสือ่ ของผ้รู ับสาร ดงั น้ี

• เลือกรบั สอ่ื ท่มี ีอยู่ (Vailability) โดยผ้รู ับสารจะรับส่ือท่ไี มต่ ้องมีความพยายาม
มากซ่ึง หมายถงึ สอ่ื ที่สามารถจัดหามาไดง้ ่ายกวา่ ส่อื อื่น ๆ

2 UNESCO. (2011). Towards Media and Information Literacy Indicator.

115

• เลือกรับส่ือท่ีสะดวกและนิยม (Convenience and Preferences) ผู้รับสาร
จะเปิดรับส่ือท่ีสะดวกกับตัวเองเป็นหลัก เช่น ผู้รับสารบางคนจะต้องใช้เวลา
ในการเดินทางอยู่บนรถยนต์ ดังนั้น สื่อที่สะดวกในการเปิดรับก็คือ การเปิด
ฟงั วิทยใุ นรถยนตเ์ ป็นตน้

• เลือกรับตามความเคยชิน (Accustomed) ผู้รับสารบางคนจะติดอยู่กับการ
เปิดรับส่ือเดิม ๆ ที่เคยชินที่ตนเคยเปิดรับอยู่เป็นประจา ซึ่งมักพบในบุคคลที่
มีอายุมาก ถ้าเคยรับสอื่ ใดก็มกั จะรบั สอื่ นั้น ๆ และไมส่ นใจสือ่ ใหม่ ๆ

• เลือกเปิดรับส่ือตามลักษณะเฉพาะของส่ือ (Characteristic of Media)
คุณลักษณะของส่ือมีผลต่อการเลือกเปิดรับส่ือของผู้รับสาร เช่น ลักษณะเด่น
ของหนังสือพิมพ์มีลักษณะพิเศษ คือเป็นส่ือท่ีมีราคาถูก สามารถอ่านข่าวสาร
ได้รายละเอียดมาก และสามารถพกพานาติดตัวไปได้ ซึ่งผู้รับสารจะเลือก
เพราะติดกบั ลักษณะเฉพาะของสือ่

• เลือกเปิดรับส่ือท่ีสอดคล้องกับตนเอง (Consistency) ผู้รับสารจะเลือก
เปิดรับส่ือท่ีมีความสอดคล้องกับความรู้ ค่านิยม ความเชื่อ และทัศนคติของ
ตนเอง

2) การวิเคราะห์ท้ังสื่อและสารสนเทศนั้นๆ (Analyze) การวิเคราะห์องค์ประกอบ
ของแนวคดิ หลักในการเข้าใจสื่อและสารสนเทศเป็นการศกึ ษารายละเอียดในองคป์ ระกอบของสื่อและ
สารสนเทศทีส่ าคญั ตามหลกั ML และ IL

3) การเข้าใจสื่อและสารสนเทศนั้นๆ (Interpret) ความสามารถในการเข้าใจส่ือ
และสารสนเทศ คือการท่ีผู้รับสารเข้าใจธรรมชาติของส่ือแต่ละประเภท รู้ว่าผู้ประกอบการสื่อคือใคร
ใช้สื่อประเภทใด เทคโนโลยีที่ใช้คืออะไร รูปแบบการนาเสนอของสอ่ื เป็นแบบใด และภาษาท่ีใช้ในส่อื
นอกจากน้ียังต้องมีความเข้าใจในสารสนเทศน้ัน ๆ ตามเกณฑ์มาตรฐานของสมาคมการศึกษา
บรรณารักษว์ ิสคอนซนิ ไดแ้ ก่

• สามารถแยกแยะและอธิบายความต้องการเกย่ี วกับสารสนเทศท่ีจาเปน็ ในการ
แก้ปญั หา

• สามารถวินจิ ฉยั แยกแยะและเลือกใช้แหล่งสารสนเทศไดอ้ ย่างเหมาะสม

• สามารถวางแผนการสบื คน้ สารสนเทศไดอ้ ยา่ งมีประสทิ ธิภาพ

• สามารถอธิบาย วิเคราะห์ผลการสืบค้น และเลือกแหล่งสารสนเทศที่ตรงกับ
ความตอ้ งการ

• สามารถระบุแหล่งและค้นคืนสารสนเทศในเร่ืองที่ต้องการจากแหล่ง
สารสนเทศตา่ ง ๆ ได้

• สามารถประเมินคุณค่าและเลอื กใช้สารสนเทศได้

• สามารถจดั ระบบ สงั เคราะห์ รวบรวมและประยุกตส์ ารสนเทศไปใชป้ ระโยชน์ได้

• สามารถกาหนดแนวทางแสวงหาสารสนเทศดว้ ยตนเองได้

• มีความเขา้ ใจเกี่ยวกบั แหล่งและทรัพยากรสารสนเทศ ทัง้ ในดา้ นองค์ประกอบ
กระบวนการผลิต สถาบันบริการและการเผยแพร่สารสนเทศ

• มจี รยิ ธรรมในการใช้และเผยแพรส่ ารสนเทศ

116

4) การประเมินค่าสื่อและสารสนเทศน้ันๆ (Evaluate) หลังจากการที่ผู้รับสารผ่าน
การวิเคราะห์และทาความเข้าใจส่ือและสารสนเทศแล้ว ผู้รับสารควรที่จะทาการประเมินค่าส่ิง
ท่ีนาเสนอว่ามีคุณภาพและคุณค่ามากน้อยเพียงใด ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาที่ส่ือนาเสนอหรือวิธีการ
นาเสนอในรูปแบบใดก็ตาม ส่ือได้ใช้เทคนิคอะไร ก่อให้เกิดความสนใจ ความพอใจข้ึน หรือทาให้
หลงเช่ือไปโดยขาดการวิเคราะห์อยา่ งถ่องแท้

5) การใช้สื่อและสารสนเทศน้ันให้เกิดประโยชน์และเหมาะสม (Utilization)
หลังจากการท่ีผู้รับสารผ่านการวิเคราะหแ์ ละประเมินค่าสื่อและสารสนเทศแล้ว ผู้รับสารจะต้องมีการ
ใช้สารสนเทศอยา่ งมปี ระสิทธิภาพสอดคลอ้ งกับคณุ ธรรมจรยิ ธรรมของสงั คมนนั้ ๆ

6.5 แนวคิดการรเู้ ท่าทนั ส่ือ

การท่ีบุคคลสามารถเข้าใจ ประเมินค่า ตีความ และสรุปตามความเข้าใจของตนเองได้นั้น
จะต้องมีองค์ประกอบอยู่ด้วยกัน 4 อย่าง คือ โครงสร้างความรคู้ วามเข้าใจ (Knowledge structure)
แรงจูงใจในการตัดสินใจ (Decisions Motivated) เคร่ืองมือของการประมวลข่าวสาร (Information
Processing Tools) และ หน้าที่การประมวลผลสารสนเทศ (Information Processing Task) ตาม
ทฤษฎีการรเู้ ท่าทันส่ือ (Cognitive theory of media literacy) (Potter, 2004) ดงั นี้

โครงสร้างความรู้ความเข้าใจ (Knowledge structure) ประกอบด้วยองค์ความรู้ 5 ด้าน คือ
ผลกระทบของส่ือ (media effects) เนื้อหาของสื่อ (media content) อุตสาหกรรม (media
industries) โลกแหง่ ความจรงิ (real world) และตัวตนของผรู้ ับสาร (the self)

• ผลกระทบของสื่อ (media effects) หมายถึง การตระหนักเกี่ยวกับผลกระทบที่
เกิดข้ึนจากการส่ือสารผ่านส่ือต่าง ๆ เช่น การแสดงความคิดเห็นบนสื่อสังคม
ออนไลน์ทีส่ รา้ งให้เกดิ ความเกลียดชงั การพาดหวั ข่าวท่ีม่งุ ให้เกิดความตืน่ ตระหนก
ในสงั คม

• เนื้อหาของส่ือ (media content) หมายถึง การเข้าใจถึงรูปแบบการนาเสนอและ
ความแตกตา่ งของส่ือประเภทตา่ ง ๆ เช่น เนือ้ หาสื่อเพ่ือการโฆษณา เน้ือหาสอ่ื เพื่อ
ความบนั เทิง เนือ้ หาสือ่ เพือ่ การเรยี นรู้ เปน็ ต้น

• อุตสาหกรรมส่ือ (media industries) หมายถึง การเข้าใจถึงการอยู่รอดของธุรกิจ
ส่ือ ท่ีจะต้องสร้างรายได้จากการเผยแพร่ข่าวเพ่ือต้องการสนับสนุนจากองค์กร
ธุรกิจ การขายเวลาโฆษณา การจัดสรรพื้นที่เพ่ือผลประโยชน์ทางธุรกิจ ฯลฯ
ซึ่งหากเข้าใจจุดประสงค์ของอุตสาหกรรมสื่อก็จะเข้าใจถึงบทบาทของผู้บริโภค
เพอ่ื ร้เู ทา่ ทันถงึ เนอ้ื หาและความต้องการของสื่อที่สือ่ สารออกมา

• โลกแหง่ ความจริง (real world) หมายถึง การรเู้ ท่าทันวตั ถุประสงค์ของสารสนเทศ
ว่ า ป ร ะ ก อ บ ด้ ว ย ค ว า ม จ ริ ง เ ที ย ม (virtual reality) แ ล ะ ค ว า ม รู้ แ ฝ ง
(tacit knowledge) ยกตัวอย่างเช่น โฆษณาเก่ียวกับการลดความอ้วนด้วยการ
ออกกาลังกาย แตม่ ีความนัยแฝงทีต่ ้องการโฆษณาเครอ่ื งออกกาลังกายเปน็ ต้น

• ตัวตนของผู้รับสาร (the self) หมายถึง ทัศนคติและมุมมองของผู้รับสาร
ที่ปราศจากความอคติและความคิดเห็นส่วนบุคคล ซึ่งเกิดการพัฒนาทางความคิด
(cognitive) อารมณ์ (emotional) และจริยธรรม (moral)

117

6.5.1 การตคี วามจากสือ่ หรอื การอ่านภาษาของสอ่ื

เนือ้ หา หมายถงึ สิ่งทเ่ี ขียนออกมา หรอื พิมพอ์ อกมาเป็นสัญลักษณ์อักษร แต่ในการเข้าใจ
ส่ือเน้ือหา หมายถึง ผลผลิตของส่ือ เช่น รายการโทรทัศน์ ภาพถ่าย วิดีโอ พาดหัวข่าว โฆษณาวิดีโอ
เกม เว็บไซต์ เป็นต้น เน้ือหาก็คือ สิ่งท่ีส่ือนาเสนอ ดังน้ัน เน้ือหาสาระของส่ือจึงเป็นเป้าหมายหลัก
ในการทาความเข้าใจว่า ภาษาของสื่อ การที่จะเข้าใจถึงความหมายของส่ือที่ส่ือนาเสนอออกมาได้
เราต้องอาศัยการถอดรหัส (Code) เข้าช่วยในการเข้าใจส่ือเป็นเคร่ืองมือที่มีประโยชน์มาก
ในการจาแนกโครงสร้างของเนื้อหา รวมถงึ ช่วยใหเ้ ข้าใจความหมายทีซ่ ่อนอยใู่ นเนื้อหา และต้องเข้าใจ
ด้วยว่า เนื้อหาน้ัน ๆ ไม่มีความหมายตายตัว การตีความหมายขึ้น อยู่กับพื้นฐานทางสังคม
และวัฒนธรรมของผรู้ ับส่ือท่ีจะทาใหเ้ กดิ ความหมายข้นึ

รหัสของภาษา (Code) คือ ระบบไวยากรณ์ ตัวอักษรรวมกันเป็นคา หลายๆ คารวมกัน
ประโยคหลายๆ ประโยคก็เปน็ เรื่องราว เราเข้าใจข้อความต่างๆ ทีเ่ ราอ่านได้ก็เพราะเราเข้าใจรหัสของ
ภาษาน้ันเองแต่เน้ือหามีหลายหลายรูปแบบและหลากหลายสไตล์ รหัสที่ใช้สร้างความหมายจึงหลาย
หลายตามไปด้วยเน้ือหาใช้รหัสหลายอย่าง เช่น ภาพ เสียง ข้อความ การแต่งกาย รหัสสี รหัสที่
เป็นอวัจนภาษา (สีหน้าท่าทาง รอยย้ิม เป็นต้น) และรหัสทางเทคนิคที่ส่ือนามาประกอบกันให้ลงตัว
เหมาะสมเพอ่ื ให้ได้ความหมายทชี่ ัดเจน

รหัสการแต่งกาย สัมพันธ์กับการแต่งกายตามกาลเทศะหรือตามสถานการณ์ เช่น ผู้คนท่ี
ใส่ชดุ สาหรบั งานกลางคนื เรามักจะคดิ ว่าเขาเหลา่ นั้น คงจะร่ารวยหรูหราและดูเปน็ ผู้ใหญ่

รหัสสี แตกต่างกันไปตามวัฒนธรรม ยกตัวอย่างเช่น ในประเทศไทย สีดาเป็นสีที่ใช้
สาหรบั ไว้ทุกข์ แต่ใประเทศจนี จะไว้ทุกข์ด้วยสีขาว ส่วนสีแดงกม็ ีความหมายหลายอยา่ งขึ้น อยูก่ ับการ
นาไปใช้ และองค์ประกอบแวดล้อมอื่นๆ สีแดงของสัญญาณไฟจราจร หมายถึง หยุด สีแดงยังอาจใช้
เพ่ือหมายถึงความต่ืนเต้น ความมีพลัง ในแฟช่ันผู้หญิง สีแดงหมายถึง ความมั่นใจและมีเสน่ห์ดึงดูด
ผู้หญิงจึงมักแต่งกายด้วยสีแดง ทาลิปสติกสีแดง หรือท่าเล็บสีแดง เพ่ือแสดงออกถึงบุคลิกภาพ
บางอยา่ ง

รหัสท่ีเป็นอวัจนภาษา มักเป็นภาษากาย ซึ่งแตกต่างกันไปตามวัฒนธรรม บางประเทศ
ใช้การจับมือแสดงการทักทาย บางสังคมทักทายด้วยการจูบ การเอาแก้มชนกันในประเทศไทยใชก้ าร
ไหว้ เพือ่ แสดงการทักทายและแสดงความเคารพ สาหรับเน้อื หา อวจั นภาษายงั รวมถึงการแสดงสีหน้า
ท่าทางน้าเสียง ระยะห่างอีกดว้ ย

รหัสทางเทคนิคสัมพันธ์กับวิธีการผลิตและการใช้สื่อ เช่น การถ่ายภาพจากมุมสูงให้
อารมณ์เหมือนกับเป็นการมองจากเบื้องบน การถ่ายภาพตึกโดยการแหงนกล้องขึ้น ให้ความรู้สึก
ยงิ่ ใหญแ่ ข็งแรง เปน็ ตน้

6.5.2 การรอ้ื สรา้ ง

แนวคิดการ “รื้อสรา้ ง” ตามแบบจาลองการรเู้ ท่าทันสอ่ื ของ Eddie Dick โดยสรปุ ใจความ
สาคญั ดงั น้ี

การสื่อสารทุกรูปแบบ ล้วนเป็นวาทกรรมท่ีใช้เพื่อประกอบสร้างความเป็นจริง ส่ือ สร้าง
ภาพตัวแทนข้ึน เพื่อกาหนดการรับรู้ของผู้รับสาร เช่น การสร้างภาพว่าผู้หญิงท่ีสวยจะต้องขาว ผอม
เพรียวหุ่นบาง และรักเด็ก การสร้างเรื่องเล่าต่าง ๆ ของสื่อ ในรายการสนทนาข่าว และวิเคราะห์ข่าว

118

ท้ังทางวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ และอินเทอร์เน็ต รายการปกิณกะบันเทงิ แม้กระท่ังรายการละคร
คือความพยายามที่จะอธิบาย หรือนิยามความเป็นจริง ซ่ึงก็คือ "การประกอบสร้าง" การเข้าใจว่าส่ือ
เป็นผู้ประกอบสร้างความเป็นจริงน้ี เป็นจุดเริ่มต้นไปสู่วิธีการต้ังคาถามท่ีจะช่วยผู้รับสารให้สามารถ
"รื้อสร้าง" (deconstruction) ส่ือได้ใน 3 ส่วน คือ ตัวบท (text) ผู้รับสาร (audience) และ ข้ันตอน
การผลิต (production)

1) ตัวบท (text) คือ ผลิตผลของส่ือทุกชนิดที่ผู้รับสารสามารถนามาตรวจสอบได้
ไมว่ า่ จะเปน็ รายการโทรทัศน์ หนังสอื โปสเตอร์ เพลงยอดนิยม แฟช่นั ลา่ สุด ฯลฯ

2) ผู้รับสาร (audience) ผู้ท่ีได้รับสารจากส่ือ ไม่ว่าผู้หญิง ผู้ชาย เด็กหรือผู้สูงอายุ
อาจเป็นคนที่กาลังนั่งอ่านหนังสืออยู่เพียงลาพังคนเดียว หรืออยู่ภายในโรง
ภาพยนตร์ที่มีผู้ชมอยู่มากมาย ล้วนแล้วแต่เป็น "ผู้รับสาร" (audience) ด้วยกัน
ท้ังสิ้น ส่ิงสาคัญที่จะต้องเข้าใจร่วมกันในเบื้องต้นคือ ส่ือทุกรูปแบบล้วนผ่านการ
วางแผน พิจารณา คัดเลือก กลั่นกรอง และถูกออกแบบมาแล้วเป็นอย่างดี เพื่อให้
สามารถโน้มนา้ วผู้บรโิ ภคตามวตั ถปุ ระสงค์ได้

3) ข้ันตอนการผลิต (production) หมายความครอบคลุมถึงทุกสิ่งในระหว่างการ
ผลิตตัวบทของสื่อในประเภทต่าง ๆ ครอบคลุมต้ังแต่เทคโนโลยี อานาจการ
ตัดสินใจจากความเป็นเจ้าของสื่อและระบบเศรษฐกิจ เช่น บริษัทผลิตสินค้าและ
บริการต่าง ๆ ที่เป็นผู้โฆษณา สนับสนุนรายการ หรือท่ี เรียกว่า "สปอนเซอร์"
สถาบันต่าง ๆ ที่เก่ียวข้อง ประเด็นทางด้านกฎหมาย ธรรมเนียมปฏิบัติ และ
บทบาทต่าง ๆ ของคนทางานสื่อในกระบวนการผลิต เช่น นักข่าว บรรณาธิการ
ช่างภาพ เจา้ หน้าทต่ี ดั ต่อ ผกู้ ากบั ฯลฯ

6.5.3 การตงั้ คาถามกบั สื่อท่ไี ดร้ บั

ปัจจุบันการใช้ส่ือออนไลน์ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ขยายวงกว้างออกไปมากข้ึน
โดยได้กา้ วล่วงเข้าไปในทุกสาขาอาชีพ ไมไ่ ดจ้ ากัดอยู่เฉพาะด้านการศึกษาหรือการวจิ ัยเหมือนเมื่อเริ่ม
มีการใช้อินเทอร์เน็ต ด้วยคุณสมบัติการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้จานวนมากในเวลาอันรวดเร็ว และใช้
ต้นทุนในการลงทุนตา่

ส่ือแต่ละชนิดมีเอกลักษณ์ ข้อจากัด และมีธรรมชาติท่ีแตกต่างกัน เพราะในทางศาสตร์
และศิลป์ของส่ือทุกประเภท แม้จะจาแนกเป็น สาร = media content กับ สื่อ = media form
เท่านน้ั

หากแต่รายละเอียด ข้ันตอน เทคนิคและเครื่องมือ มีความแตกต่างอย่างมาก
ซึ่งในกระบวนการผลิตน้ีทาให้ "สาร" บางอย่างถูกตัดตอน ปรับแต่ง ลดปริมาณและคุณภาพ
รวมถึงอาจกลายเปน็ การสรา้ งความจริง เทียมขน้ึ

แนวทางการวิเคราะห์สื่อได้แก่ 5 คาถามหลัก สาหรับผู้รับสารให้ใช้เป็นแนวทางในการ
วิเคราะห์ ตงั้ คาถามกับส่ือท่ตี นเปดิ รบั เพ่อื พัฒนาความสามารถในการร้เู ท่าทนั สือ่ ดงั น้ี

1) เนอื้ หาสอ่ื ลว้ นถูกประกอบสร้างข้นึ ใครสร้างเนอื้ หาสื่อน้ีขนึ้ มา
2) มีวิธกี ารสรา้ งเนื้อหาสือ่ ใชว้ ธิ ีการใดบ้างการสรา้ งส่อื นี้
3) แต่ละคนรบั รเู้ นื้อหาของส่ือต่างกนั แต่ละคนรบั รู้เนือ้ หาสอื่ ต่างกันเพราะอะไร

119

4) เนื้อหาส่ือซ่อนและปลูกฝังความคิดค่านิยมบางอย่างไว้เสมอ วิถีชีวิต ค่านิยมหรือ
ทศั นะใดทถี่ กู นาเสนอหรอื ละเว้นไม่นาเสนอ

5) เน้ือหาส่ือหวังประโยชน์บางอย่าง สื่อผลิตเน้ือหาน้ีส่งมาให้เราเพื่ออะไร นอกจาก
แนวคดิ หลักในการรเู้ ท่าทันส่ือดังกล่าว นิษฐา หรนุ่ เกษม (2546)

6.5.2 การคิดวเิ คราะห์

มนุษยส์ รา้ งสรรคส์ ื่อข้ึนมาเพ่ือใช้ในการสื่อสาร โดยผา่ นกระบวนการท่ีสร้างขึน้ ซึ่งเรียกว่า
“ความรู้แฝง” (tacit knowledge) และ “ความจริงผสม” (virtual reality) ส่งผลลัพธ์ให้ผู้รับสาร
มีประสบการณ์ร่วมเปรียบเสมือนว่าอยู่ร่วมในเหตุการณ์น้ันด้วย ทั้งน้ี สิ่งที่ตามมาคือทัศนคติของการ
รับรู้สื่อในแต่ละบุคคลมีความแตกต่างกัน ภาพข่าวหนึ่งภาพ หรือคลิปวิดีโอบางคลิป สิ่งที่บุคคลรับ
รู้สึกได้นั้นแตกต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น คลิปเด็กวิดีโอแกล้งกัน บางคนเห็นก็รู้สึกว่าเป็นเรื่องขบขัน
แต่บางคนกร็ ู้สกึ วา่ เป็นเร่อื งของความไมเ่ หมาะสม เป็นตน้

ดังน้ัน ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม “สื่อ” นั้นคือสิ่งท่ีมนุษย์สร้างขึ้น มีเป้าหมายที่นอกจากส่ือ
ความหมายตามท่ีสัมผัสทั้งห้าของมนุษย์รับรู้ได้แล้วนั้น ยังสามารถสร้างค่านิยมและอุดมคติ
เปน็ ลกั ษณะของความเช่ือของบุคคลส่วนใหญ่ที่เป็นทีย่ อมรับ มีผลตอ่ การผลติ ส่ือซ้าเพื่อตอบสนองต่อ
ความต้องการและเปน็ ทีน่ ิยมของผู้คนหมู่มาก เช่น ละครโทรทศั น์ทีน่ ามาฉายซา้ เพราะไดร้ ับความนิยม
ฯลฯ ซง่ึ หากเปน็ ละครท่ีมเี นือ้ หาท่มี ีเน้อื หารนุ แรงก็จะกลายเปน็ การสรา้ งคา่ นยิ มความรนุ แรงในสงั คม

ลักษณะของการคิดวิเคราะห์ ลักขณา สริวัฒน์ (2549) กล่าวถึงการคิดวิเคราะห์ไว้ว่ามี
ลักษณะดงั ตอ่ ไปนี้

1) การคดิ วเิ คราะห์เป็นการกาหนดขอบเขตของส่ิงท่จี ะวิเคราะห์ การกาหนดขอบเขต
ของสิ่งท่ีจะวิเคราะห์คือการที่ผู้วิเคราะห์จะต้องสามารถระบุได้ว่าจะวิเคราะห์
เกี่ยวกับอะไร เร่ืองใด ท่ีชัดเจน เช่น การวิเคราะห์เก่ียวกับข่าวเหตุการณ์สาคัญ
เรื่องหน่ึงที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์การวิเคราะห์เกี่ยวกับข่าวลือที่ส่งต่อกันใน
เครือข่ายสังคมออนไลน์ เปน็ ต้น ทงั้ น้ีเพ่อื จากดั การคดิ วิเคราะห์ ให้อยูใ่ นขอบเขตท่ี
สามารถหาข้อสรุปได้

2) การคิดวิเคราะหต์ ้องมีการกาหนดจุดมุ่งหมายวา่ เพื่ออะไร การคิดวิเคราะห์น้ันต้อง
มีการกาหนดจุดมุ่งหมายหรือความต้องการของผู้วิเคราะห์ได้ว่าเป็นไปเพื่ออะไร
ท้ังนี้เพ่ือให้การคิดวิเคราะห์เพื่อค้นหาความจริง หรือความเชื่อมโยงต่าง ๆ เกิด
ความชัดเจนเช่น การวิเคราะห์เนื้อหาของบทความหนึ่งในหนังสือพิมพ์เพ่ือดูว่ามี
ข้อมูลด้านวชิ าการสนับสนุนเพียงพอที่จะเชอ่ื ถอื ไดห้ รือไม่

3) การคิดวเิ คราะห์ต้องใช้แนวคิดหรือทฤษฎีทเ่ี หมาะสมเป็นกรอบในการคิดวเิ คราะห์
การคิดวิเคราะห์เพื่อจาแนกแยกแยะ และค้นหาความสัมพันธ์ของส่ิงต่าง ๆ น้ัน
จะต้องตั้งอยู่บนฐานของหลักการหรือเหตุผล ซึ่งต้องอาศัยแนวคิดหรือทฤษฎีมา
เป็นกรอบของการคดิ วเิ คราะห์ เพือ่ ความนา่ เช่อื ถือของการวเิ คราะห์

4) การคิดวิเคราะห์ต้องนาไปสู่ผลสรปุ ที่ชดั เจน การคิดวิเคราะห์เป็นกระบวนการทาง
ความคิดเพ่ือค้นหาความจริง หรือแก่นของเร่ืองราวอย่างบนฐานของหลักการหรือ
หลกั เหตุผล ดังน้ัน การคิดวิเคราะหจ์ ึงต้องได้ผลสรุปทม่ี ีความถูกต้องชดั เจน

120

แนวคิดข้างต้นมุ่งชี้ให้เห็นถึงลักษณะของการคิดวิเคราะห์ว่าเป็นการคิดที่มีองค์ประกอบ
หลายอย่างท่ีเก่ียวข้องกัน ซึ่งนักคิดวิเคราะห์จะต้องใช้ความคิดเพ่ือนาไปสู่ผลสรุปอันเป็น จุดหมาย
ปลายทาง โดยต้องกาหนดขอบเขตว่าสิ่งที่ต้องการวิเคราะห์คืออะไร เป็นการวิเคราะห์โดยมี
จุดมุ่งหมายเพ่ืออะไรและการวิเคราะห์น้ันจะต้ังอยู่บนหลักการ เหตุผล แนวคิดหรือทฤษฎีใด อันจะ
สง่ ผลใหบ้ ทสรุปของการคดิ วเิ คราะห์น้นั มีความถูกต้องนา่ เชื่อถอื ส่วนเสงย่ี ม โตรัตน์ (2546) ไดร้ ะบถุ ึง
ลักษณะของการคดิ วเิ คราะห์ไว้ 3 ประการ ได้แก่

1) การคดิ วิเคราะหเ์ ป็นการแสวงหาขอ้ มลู และการนาขอ้ มลู ไปใช้
2) การคดิ วเิ คราะหเ์ กย่ี วข้องกบั การใช้ทักษะอย่างต่อเนื่อง
3) การคิดวเิ คราะหจ์ ะต้องมที ักษะท่ีคานงึ ถงึ ผลท่ยี อมรับได้

121

องค์ประกอบของการคดิ วิเคราะห์ ประกอบดว้ ย

1) ความสามารถในการตีความการที่คนเราจะคิดวิเคราะห์สิ่งต่าง ๆ ได้เร่ิมต้นจากการทา
ความเข้าใจข้อมูลท่ีปรากฏด้วยการตีความ ซึ่งการตีความ ( interpretation)
คือ การพยายามทาความเข้าใจและให้เหตุผล กับส่ิงท่ีต้องการวิเคราะห์เพ่ือ
แปลความหมายท่ีไม่ปรากฏโดยตรงของส่ิงน้ัน การจะตคี วามจะแตกตา่ ง กนั ไปซึง่ ขึ้นอยู่
กบั ความรู้และประสบการณ์

2) การคิดวิเคราะห์ได้ดีนั้น จาเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานในเร่ืองดังกล่าว
เพราะความรู้จะช่วยกาหนดขอบเขตของการวิเคราะห์ แจกแจงและจาแนกได้ว่าเรื่อง
น้ันเกี่ยวข้องกับอะไร มีองค์ประกอบอะไรบ้าง จัดลาดับความสาคัญอย่างไร และรู้ว่า
อะไรเปน็ สาเหตุ การวิเคราะห์จะไม่สมเหตุสมผลหากไมม่ ีความรู้ความเข้าใจในเร่ืองนัน้

3) นักคิดวิเคราะห์ต้องเป็นคนท่ีช่างสังเกต สามารถค้นพบความผิดปกติ ความไม่ตรงกับ
ความเป็นจริง ความเบี่ยงเบน และต้องพิจารณาไตร่ตรอง ชอบตั้งคาถามเก่ียวกับสิ่งที่
เกิดขึ้นเพื่อนาไปสู่การคิดต่อยอดกับส่ิงนนั้ การตง้ั คาถามจะนาไปสู่การค้นหาข้อเท็จจริง
และทาใหเ้ กดิ การวิเคราะห์

4) การหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผล สามารถหาสาเหตุและคาตอบได้ว่าสิ่งนั้นเกิดข้ึน
เพราะอะไรเป็นต้นเหตุ และผลของส่ิงนั้นคืออะไร มีความเช่ือมโยงกันอย่างไร
และเพราะอะไรถึงเกิดพฤติกรรมเชน่ นนั้ รวมทั้ง สามารถหาทางแก้ปัญหาไดส้ ัมพันธ์กับ
เหตกุ ารณอ์ ยา่ งมีเหตุและผล

6.5.3 การคิดสงั เคราะห์

สุวิทย์ มูลคา (2547) ให้ความหมายว่าเป็นความสามารถในการคิดท่ีดึงองค์ประกอบต่าง ๆ
มาหลอมรวมกันภายใต้โครงสร้างใหม่อย่างเหมาะสม ตรงตามวัตถุประสงค์ เป็นการค้นคว้ารวบรวม
ข้อมูลเพ่ือสรุปความสัมพันธ์ของข้อมูลให้เป็นหลักการหรือแนวคิดใหม่ที่มีคุณค่าและคุณภาพสูง
กว่าเดิม การคิดสังเคราะห์ น้ันเป็นการคิดเพ่ือให้เกิดส่ิงใหม่ โดยการนาข้อมูล หรือส่วนประกอบของ
สิ่งต่าง ๆ ท่ีเป็นอยู่หรือมีอยู่เข้าสู่กระบวนการหลอมรวมผสมผสานทางความคิดเพ่ือสร้างส่ิงใหม่ท่ีมี
ความแตกตา่ งจากเดมิ โดยอาจ มีลกั ษณะและคุณสมบัติเฉพาะท่แี ตกต่างไป

ดังนนั้ การคิดสงั เคราะห์ หมายถึง ความสามารถในการนาเอาองค์ประกอบ ต่าง ๆ ทีอ่ าจเป็น
ข้อมลู ความรู้ หรือ ความคดิ ต่าง ๆ มาประมวลหลอมรวมเขา้ ด้วยกันเพอ่ื สร้างข้อมลู ความรู้ ความคิด
หรืออื่นใด ข้นึ ใหม่ ที่จัดวา่ เปน็ ส่งิ ใหม่ทมี่ ีคุณลกั ษณะแตกตา่ งและตรงตามวัตถุประสงค์

122

//

รปู ภาพที่ 52 กระบวนการคดิ สังเคราะห์3
(วาดโดยสภุ าภรณ์ เกียรตสิ นิ )

การคิดสังเคราะห์ มลี กั ษณะทส่ี าคญั 3 ประการ
1. การคิดสังเคราะห์เป็นกระบวนการคิดที่หลอมรวมองค์ประกอบต่าง ๆ เพ่ือให้เกิดสิ่งใหม่
การคิดสังเคราะห์เป็นกระบวนการทางความคิดที่หลอมรวมองค์ประกอบทางความคิดท่ีเป็นข้อมูล
ความรู้และอ่ืน ๆ ซ่ึงแนวคิดใหม่หรือส่ิงใหม่อันเป็นผลมาจากการคิดสังเคราะห์ นั้นสามารถนาไป
สรา้ งสรรค์เปน็ นวัตกรรม สง่ิ ประดิษฐ์ หรอื สงิ่ ของท่เี ป็นประโยชน์ตอ่ สงั คม
2. การคิดสังเคราะห์ต้องอาศัยการค้นควา้ รวบรวมข้อมูล ความรู้ หรือส่วนประกอบของเร่อื ง
ต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์ท่ีกาหนด เพื่อนามาหลอมรวมผสมผสานกันผ่านกระบวนการคิด ซึ่งทาให้มี
ลกั ษณะของการคิดตอ่ ยอดจากข้อมลู ความร้ตู า่ ง ๆ
3. การคิดสังเคราะห์ต้องนาไปสู่การเกิดส่ิงใหม่ หรือ แนวคิดใหม่ที่แตกต่างจากเดิม และเป็น
ประโยชน์
ในกระบวนการคิดสังเคราะห์น้ัน จุดหมายปลายทางที่แสดงถึงความสามารถ ด้านการคิด
สังเคราะห์น้นั คือ สร้างสิง่ ใหม่ข้ึนจากการคิดนั้น โดยท่สี ิ่งใหมห่ รือแนวคิดใหม่ควรเป็นส่ิงท่มี ีประโยชน์
มีคุณค่าสามารถนาไปใช้ประยุกต์ใช้หรือต่อยอดได้ต่อไป เป็นกระบวนก ารคิดในการนาเอา
องค์ประกอบตา่ ง ๆ เช่น ข้อมลู ความรู้ ความคิดทม่ี อี ยู่แลว้ มาผสมผสาน หลอมรวมเพื่อสร้างสง่ิ ใหม่
ดงั น้นั การคิดสงั เคราะหจ์ ะสามารถ สรา้ งสรรคส์ ง่ิ ใหม่ได้ดีมีคุณค่ามากน้อยเพียงใด ส่วนหน่ึง
เกดิ จากความสามารถของผสู้ ังเคราะห์ในการรวบรวมองค์ประกอบตา่ ง ๆ ที่เหมาะสมด้วยเพื่อให้ได้ส่ิง
ใหมห่ รอื แนวคดิ ใหม่ที่ตรงตามจดุ มุ่งหมาย

3 สานักการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์. (2558). การรู้เท่าทันส่ือและสารสนเทศ (MIL) ในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ: สานักงาน
คณะกรรมการกจิ การกระจายเสียงกจิ การโทรทศั น์และกิจการโทรคมนาคมแหง่ ชาติ

123

6.6 ผลการวเิ คราะหก์ ารประยกุ ต์การรเู้ ทา่ ทนั ส่ือและสารสนเทศใชก้ ับชีวิตประจาวัน

การรู้เท่าทันส่ือและสารสนเทศ เป็นสิ่งที่เกิดข้ึนในชีวิตประจาวันของทุกคน ผ่านช่องทางที่
หลากหลาย เช่น ข่าวจากทีวี ข้อความที่ส่งทางไลน์ต่อ ๆ กันมา โพสต์บนเฟซบุ๊กหรือ การทวีต
ข้อความบนทวิตเตอร์ (Tweeter) จะเห็นได้ว่า ในแต่ละวัน แต่ละคนได้รับข้อมูลมากมายมหาศาล
บางเรอ่ื งเปน็ เร่อื งจริง บางเรอ่ื งไม่ใช่เรื่องจริง และในบางครง้ั ก็อาจตกเปน็ เหยือ่ จากการไดร้ ับข่าวสาร
ท่ีไม่ได้กลั่นกรอง ส่งผลลัพธ์ในระดับที่ต่างกัน เช่น บางข่าวอาจส่งผลลัพธ์ที่อาจก่อให้เกิดความเข้าใจ
ผิด แตไ่ มส่ ง่ ผลกระทบร้ายแรงตอ่ ชวี ิตหรอื ทรัพยส์ นิ แตบ่ างขา่ วกอ็ าจสง่ ผลกระทบต่อชวี ติ ได้ ซ่งึ มกั จะ
เห็นได้เป็นประจาในลกั ษณะของการโฆษณาชวนเช่อื เช่น เหตุการณ์ที่มีวัยรุ่นหญิงหลงเช่อื ผลิตภณั ฑ์
เสริมอาหารเพ่ือลดความอ้วน และมีผลทาให้เสียชีวิตเนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ท่ีไม่ได้มาตรฐา
มสี ารปนเป้ือนหลายชนดิ เป็นตน้

ดังนั้น ส่ิงท่ีต้องพึงกระทาอันดับแรก คือ การสังเกตและสงสัยในข้อมูลหรือข่าวท่ีได้รับก่อน
เริ่มจากคาถามพ้ืนฐาน ใคร (Who) อะไร (What) ท่ีไหน (Where) เมื่อไหร่ (When) ทาไม (Why)
และ อยา่ งไร (HOW) หรือ “ทฤษฎี 5W1H” การทีร่ ้จู ักตง้ั คาถาม นาไปส่กู ารหาความจริง (Fact) ของ
เร่ืองนั้น และเข้าสู่กระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลหรือข่าวน้ันอย่างรอบคอบ เพ่ือประกอบการตัดสินใจ
วา่ ควรจะเชื่อถือข่าวน้นั หรอื ไม่ รวมท้ังสงั เคราะห์วา่ ขา่ วน้นั เหมาะสมที่จะเผยแพร่ต่อไปหรอื ไม่

ท้ังหมดน้ีคือส่ิงสาคัญในการรับรู้ข่าวสารออนไลน์และการใช้สื่อสังคมดิจิทัลท่ีมีการส่งผ่าน
ข้อมูลต่อกันมา โดยไม่ทราบว่าใครคือผู้ส่ง (Original Post) หากไม่สามารถทราบได้ว่าผู้ส่งสารมี
จุดประสงค์แฝงอย่างไรหรือไม่ ในโลกออนไลน์ท่ีทุกคนสามารถเปน็ ใครก็ได้น้ัน เปน็ ความเสีย่ งอีกด้าน
หน่ึงบนโลกอินเทอร์เน็ตท่ีต้องยอมรับและต้องรู้จักวิธีการใช้ท่ีชาญฉลาด เพ่ือไม่ให้ตกเป็นเหย่ือของ
ข้อมูลลวง หรือโฆษณาชวนเช่ือเกินจริง รวมทั้ง ไม่กลายเป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ข่าวนั้นสู่สังคม
สาธารณะดว้ ย

124

6.7 สรปุ

สื่อในปัจจุบัน มีหลากหลายรูปแบบท่ีมากข้ึน โดยสามารถแบ่งประเภทส่ือออกเป็น 2
ประเภทคือ สื่อดั้งเดิม และสื่อใหม่ ซึ่งผู้อ่านควรจะเข้าใจในด้านของบทบาทสื่อที่ทาหน้าที่เสมือน
กระบอกเสียงให้กับประชาชน แต่การท่ีประชาชนจะรับสื่อน้ัน ควรที่จะรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ
ด้วย เนื่องจากปัจจุบัน เร่ิมมีการใช้ช่องทางส่ือเพ่ือเผยแพร่ข่าวสารท่ีผิดไปจากความเป็นจริง อันจะ
สรา้ งความเข้าใจผดิ ได้

การรู้เท่าทันส่ือและสารสนเทศนั้น ประกอบไปด้วยทฤษฎีการรู้เท่าทันสื่อที่กล่าวถึง
โครงสร้างความรู้ แรงจูงใจในการตดั สินใจ เครื่องมือของการประมวลข้อมลู ข่าวสาร และกระบวนการ
ประมวลข้อมูลข่าวสาร กรอบแนวทางเพ่ือวิเคราะห์สอื่ ซึ่งควรเข้าใจวา่ สอ่ื เป็นสง่ิ ที่มนุษย์สรา้ งขึ้นเพื่อ
เป้าประสงค์บางประการ ควรพิจารณาสื่อตามแนวทางการรู้เท่าทันสื่อใหม่ ท่ีต้องคานึงถึงพ้ืนที่ เวลา
ตวั ตน ความเปน็ จรงิ และสงั คมประกอบการรับรสู้ ่ือและสารสนเทศไปอกี ทางหนงึ่

นอกจากนี้ ควรที่จะพิจารณาความน่าเชื่อถือของสื่อผ่านกระบวนการคิดวิเคราะห์ส่ือ
ทั้งรวบรวม จาแนก แยกแยะ ตีความ อธิบาย และหาผลลัพธ์ของแต่ละส่ือ รวมถึงนาผลลัพธ์ท่ีได้ มา
คิดสังเคราะห์ และคิดวิพากษ์ต่อไป สุดท้าย ควรประเมินคุณค่าและประโยชน์ที่ได้จากสื่อและ
สารสนเทศ เพื่อให้ผู้อ่านสามารถระบุได้ว่า สื่อและสารสนเทศดังกล่าวนั้นควรท่ีจะรับรู้ต่อหรือไม่
เมอ่ื ผอู้ ่านได้เขา้ ใจถึงกระบวนการต่าง ๆ เกี่ยวกับการรู้เทา่ ทันสื่อและสารสนเทศแล้ว ท่านจะสามารถ
นาความรู้เหลา่ นมี้ าเปน็ ภูมคิ ุ้มกนั ตัวท่านเองในการรับรูส้ ือ่ ตอ่ ไปในอนาคต

เมื่อได้เข้าใจถึงการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ และสามารถแยกแยะสื่อท่ีได้รับมาแล้วนั้น
ผู้ใช้งานดิจทิ ลั ทุกคน จาเป็นต้องเข้าใจแนวปฏิบัติในสังคมดจิ ิทลั เพื่อการใช้งานอย่างมีมารยาท หรอื ที่
เรียกว่ามารยาทเน็ต มารยาทการใช้โทรศัพท์ การเอาใจใส่ผู้อ่ืน การกลั่นแกล้ง จะเป็นสร้างเข้าใจ
มาตรฐานของการปฏบิ ตั ิตัวท่ีดขี องผ้ใู ช้งานเครอ่ื งมือต่างๆ ในสงั คมดิจทิ ัล

125

6.8 เอกสารอ้างองิ

Adam Mosseri, VP, News Feed. (2017). Working to Stop Misinformation and False News.
Retrieved from https://web.facebook.com/facebookmedia/blog/working-to-
stop-misinformation-and-false-news?_rdc=1&_rdr

Assael, H. (1985). Marketing Management: Strategy and Action. Kent Publishing Company.

Burke, S. (2016). Zuckerberg: Facebook will develop tools to fight fake news. Retrieved
from https://money.cnn.com/2016/11/19/technology/mark-zuckerberg-
facebook-fake-news-election/

Center for Media Literacy. (2008). Literacy for the 21st century: An Overview &
Orientation guide to media literacy education (2nd ed.). Malibu, CA:Center for
Media Literacy.

Elizabeth Thoman, Tessa Jolls. (2005). Literacy for the 21st Century: An Overview &
Orientation Guide To Media Literacy Education. Center for Media Literacy

Facebook Help Center. (2018). How do I mark a post as false news?. Retrieved from
https://www.facebook.com/help/572838089565953

Information Literacy Standards for Science and Engineering/ Technology. ( 2 0 0 6 )
Retrieved from American Library Association: http: / / www. ala. org/ acrl/
standards/infolitscitech

Lyons, T. (2018). Hard Questions: What’s Facebook’s Strategy for Stopping False
News?. Retrieved from https://newsroom.fb.com/news/2018/05/hard-questions
-false-news/

Poynter Institute. (2018). International Fact-Checking Network. Retrieved from
https://www.poynter.org/ifcn/

Potter, W. Jame. (2004). Theory of media literacy: A Cognitive approach. California,
USA: Sage Publications

Propero®. (2014). Critical Thinking: A self-paced, online course from Propero. Retrieved
from Pearson: https: / / www. pearson. com/ us/ higher- education/ products-
services- teaching/ distance- learning- solutions/ propero/ courses/ general-
education/critical-thinking.html

Shuster, S., & Ifraimova, S. (2018). A Former Russian Troll Explains How to Spread Fake
News. Retrieved from http://time.com/5168202/russia-troll-internet-research-
agency/

Shahani, A. (2016). From Hate Speech To Fake News: The Content Crisis Facing Mark
Zuckerberg. Retrieved from https://www.npr.org/sections/alltechconsidered/
2016/11/17/495827410/from-hate-speech-to-fake-news-the-content-crisis-
facing-mark-zuckerberg

Susan Moeller, Ammu Joseph, Jesús Lau, Toni Carbo. (2011). Towards Media and
Information Literacy Indicators. Paris: UNESCO

126

UNESCO. ( 2 0 1 3 ) . Global Media and Information Literacy Assessment Framework:
country readiness and competencies. Paris: UNESCO

Wilson, C. , Grizzle, A. , Tuazon, R. , Akyempong, K. , & Cheung, C. ( 2 0 1 1 ) . Media and
Information Literacy Curriculum for Teachers. Paris: the United Nations
Educational, Scientific and Cultural Organization.

กฤศณัฎฐ์ เมธวินชยุตม์. (2556). การจัดการความรู้ (Knowledge management). สืบค้นจาก
http://kmsurmuti.blogspot.com/2013/06/blog-post_6785.html

คณะกรรมการกจิ การกระจายเสียง กิจการโทรทศั น์ และกจิ การโทรคมนาคมแหง่ ชาต.ิ (2559). สบื ค้น
เ มื่ อ 1 8 ก ร ก ฎ า ค ม 2 5 6 1 , จ า ก https://www.nbtc.go.th/getattachment
/AnnualReport-2559.pdf.aspx

นิษฐา หรุ่นเกษม. (2546). รู้เท่า รู้ทันสื่อ. เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน. สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน
2561, จาก https://www.gotoknow.org/posts/387107

บุรินทร์ รุจจนพันธ์ุ. (2552). ดีเอฟดี ( DFD). สืบค้นจาก http: // www. thaiall. com/
dfd/indexo.html

ลกั ขณา สรวิ ัฒน์. (2549). การคิด. กรุงเทพฯ: โอ เอส พรน้ิ ตงิ้ เฮา้ ส์
ลักษมี คงลาภ. (2561). MIDL for Kids การรู้เท่าทันส่ือ สารสนเทศ และดิจิทัล สําหรับเด็กปฐมวัย.

กรุงเทพฯ: มลู นิธิสง่ เสรมิ ส่ือเดก็ และเยาวชน
สานักการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์. (2558). การรู้เท่าทันสื่อและ

สารสนเทศ (MIL) ในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ: สานักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง
กจิ การโทรทศั น์และกจิ การโทรคมนาคมแห่งชาติ
สุวทิ ย์ มลู คา. (2547). กลยุทธก์ ารสอนคิดวเิ คราะห.์ กรุงเทพฯ: ภาพพมิ พ์
เสงี่ยม โตรัตน์. (2546). การสอนเพื่อสร้างเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์. วารสารศึกษาศาสตร์
มหาวทิ ยาลัยศิลปากร, ฉบับที่ 1 (1), 16–37
อัปสร เสถียรทิพย์, ลักษมี คงลาภ. (2558). เทคนิคการนําเสนองานอย่างมีประสิทธิภาพ. สืบค้นจาก
https://www.tistr.or.th/tistrblog/?p=2357

127

บทท่ี 7

แนวปฏบิ ตั ใิ นสังคมดิจิทลั

128

บทที่ 7
แน ป บิ ัตใิ นสังคมดิจทิ ัล

แนวปฏิบัติในสังคมดิจิทัล ในบทน้ี จาเป็นต้องทราบและเข้าใจมารยาท

ของการอยูร่ ่วมกันในสงั คมอนิ เทอร์เน็ต (Nettiquette) สามารถประพฤตติ นได้
อย่างถูกต้องเหมาะสม ไม่สร้างความเดือดร้อน ความราคาญ ให้กับผู้อ่ืน
ตระหนักถงึ การใช้งานเครื่องมือและอปุ กรณอ์ ิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างเหมาะสมท้ัง
ในพื้นท่ีส่วนตัวและพื้นท่ีสาธารณะ รู้จักเห็นอกเห็นใจผ้อู ื่น สามารถดาเนนิ ชวี ติ
ทง้ั ในโลกออนไลน์และโลกแห่งความจริงได้อย่างเป็นปกตสิ ขุ

7.1 แนวปฏิบัติ

7.1.1 มารยาทเน็ต (Netiquette)

จากการพัฒนาของอินเทอร์เน็ตและแอปพลิเคชันท่ีส่งผลให้การสื่อสารบนโลกแห่งความจริง
ถูกหล่อหลอมอยู่ในโลกอินเทอร์เน็ตทดแทนการสื่อสารแบบดั้งเดิม ซ่ึงวัฒนธรรมการส่ือสาร
ที่เปลี่ยนแปลงไปตามบริบทของสังคมดิจิทัล จึงมีความจาเป็นท่ีจะ ต้องเรียนรู้วัฒนธรรม
ทางอินเทอร์เน็ต เช่นเดียวกับวัฒนธรรมทางสังคม ด้วยเพราะการส่ือสาร ไม่ว่าจะทางใดก็ตาม
จุดประสงค์คือ การติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลหน่ึง ไปยังอีกบุคคลหน่ึง ด้วยเหตุนี้ การรู้จักวัฒนธรรม
ของสังคมดิจิทัล จึงเป็นทักษะหน่ึงที่จาเป็นต้องทราบและเข้าใจเพ่ือการปฏิบัตตนได้อย่างถูกต้องและ
เหมาะสม

วัฒนธรรมทางอินเทอร์เน็ต คือ แนวทางการปฏิบัติในสังคมดิจิทัล ซ่ึงมีจรรยามารยาท
(code of conduct) เป็นตัวกาหนดบทบาท หากกล่าวถึงมารยาททางสังคมในภาษาอังกฤษใช้คาว่า
Etiquette1 (เอท-ทิเคทต์) หมายถึง จรรยามารยาทของการอยู่ร่วมกันในสังคมท่ีพึงปฏิบัติ ทั้งนี้
สาหรับสังคมดิจิทลั ก็มีการบัญญัติคาศัพท์ขน้ึ มาใหม่ คือคาว่า Netiquette2 (เนท-ทิเคทต์) อ้างองิ จาก
พจนานุกรม Oxford Dictionary หมายถึง การใช้อินเทอร์เน็ตอย่างถูกต้องและเป็นที่ยอมรับ ท้ังน้ี
สานักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) ได้ให้ความหมายไว้ว่า Nettiquette หรือ
มารยาทเนต็ คอื กิรยิ าทีพ่ งึ ปฏบิ ตั ใิ นการอยู่ร่วมกนั อย่างสันตใิ นสังคมออนไลน์ กล่าวอีกนยั หนงึ่ คอื ชุด
วิธีประพฤติตนที่เหมาะสม เมื่อคุณใช้อินเทอร์เน็ต (สพธอ., 2555) สรุปได้ว่าความหมายของมารยาท
เน็ต มาจากการรวบคาว่ามารยาท (Etiquette) กับ อินเทอร์เน็ต (Internet) เป็นคาว่า มารยาทเน็ต
(Nettiquette) มีใจความสาคัญกล่าวถึง วิถีความประพฤติและจรรยามารยาทที่พึงควรปฏิบัติในการ
ใช้งานอินเทอร์เน็ตในสังคมดิจิทัล กฎกติกาในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน และการดาเนินกิจกรรมบน
ชมุ ชนออนไลนท์ ี่มคี วามถูกต้อง เหมาะสม ไมส่ รา้ งความเดอื ดร้อนหรือราคาญใหก้ บั ผ้อู ่ืน

1 Etiquette means: the customary code of polite behaviour in society or among members of a particular profession or group. อ้างอิงจาก
https://en.oxforddictionaries.com/definition/etiquette
2 Definition of Netiquette (N.) mean the correct or acceptable way of using the Internet อ้างอิงจาก https://en.oxforddictionaries. com/
definition/netiquette

129

อย่างไรก็ดี หากอ้างอิงจากหนังสือ “กฎหลักของมารยาทเน็ต (Netiquette)”3 ของ
เวอร์จิเนีย เซีย ท่ีมีด้วยกันทั้งหมด 10 ข้อ มีสาระสาคัญเก่ียวกับการส่ือสารและการปฏบิ ัติตนบนโลก
สงั คมดจิ ทิ ัล โดยกฎทัง้ 10 ข้อมีดงั น้ี

1. กฎข้อท่ี 1 อย่าลืมว่าคุณกาลังติดต่อกับคนที่มีตัวตนจริง ๆ (Rule 1: Remember
the Human)

2. กฎข้อที่ 2 ยึดมาตรฐานเดียวกับการสื่อสารในชีวิตจริง (Rule 2: Adhere to the
same standards of behavior online that you follow in real life)

3. กฎข้อท่ี 3 รู้ว่าคุณอยู่ท่ีไหนในไซเบอร์สเปซ (Rule 3: Know where you are in
cyberspace)

4. กฎข้อท่ี 4 เคารพเวลาและการใช้แบนด์วิดธ์ (Rule 4: Respect other people's
time and bandwidth)

5. กฎข้อที่ 5 ทาให้ตัวเองดูดีเสมอเมื่ออยู่ในโลกออนไลน์ (Rule 5: Make yourself
look good online)

6. กฎข้อที่ 6 แบง่ ปนั ความรู้ที่ตนเองเช่ยี วชาญ (Rule 6: Share expert knowledge)
7. กฎข้อท่ี 7 ช่วยกันควบคุมสงครามการใส่อารมณ์ (Rule 7: Help keep flame

wars under control)
8. กฎข้อที่ 8 เคารพสิทธิส่วนบุคคลของผู้อ่ืน (Rule 8: Respect other people's

privacy)
9. กฎข้อท่ี 9 อย่าใชอ้ านาจในทางทีผ่ ดิ (Rule 9: Don't abuse your power)
10. กฎข้อท่ี 10 รู้จักให้อภัยในความผิดพลาดของผู้อื่น (Rule 10: Be forgiving of

other people's mistakes)
จากกฎหลกั มารยาทเน็ตของเวอร์จิเนีย เซีย เปน็ แนวทางในการปฏิบตั ิ (manner guideline)
สาหรับพลเมืองชาวเน็ตในระดับสากลและถูกถ่ายทอดโดยผ่านบริบทและส่ิงแวดล้อมท่ีเหมาะสมกับ
วัฒนธรรมประเทศนั้น โดยมีจุดประสงค์เพ่ือลดความผิดพลาดที่อาจเกิดข้ึนจากการสื่อสารผ่านทาง
อินเทอร์เน็ตและส่ือสังคมดจิ ิทลั

7.1.2 มารยาทเนต็ ในบริบทสังคมไทย

บริบทของประเทศไทยจะมีความสัมพันธ์เช่ือมโยงกับหลักพ้ืนฐานทางวัฒนธรรมไทยเป็น
ส่วนร่วมกับมารยาทสากลท่ีเกี่ยวข้องกันในสังคมไซเบอร์ โดยหลักการขั้นพ้ืนฐานการใช้อินเทอร์เน็ต
ท่ีควรปฏิบัติทั้งในส่วนของผู้ใช้ ในรูปแบบของผู้ส่งสาร ผู้รับสาร และผู้ท่ีมีอานาจหรือหน้าที่ในการ
ดูแลความเหมาะสมกับแนวปฏิบัติเก่ียวกับมารยาทเน็ตของสังคมไทย ประกอบไปด้วยประเด็น
ดังต่อไปนี้

ประเด็นเก่ียวกับการปฏิบัติตนต่อผู้อื่นในโลกออนไลน์ ทักษะการใช้ภาษาไทยของคนไทย
ในปัจจุบันพบว่า มีความเข้มงวดลดน้อยลงจากในอดีตเป็นอย่างมาก การพิมพ์ข้อความที่เกิดจากการ
พิมพ์ผิด แต่กลับมีการใช้กันอย่างแพร่หลาย เน่ืองจากกลายเป็นกระแสสังคมท่ีผิดเพ้ียนไปจากเดิมว่า
การสะกดคาแปลก ๆ คือ สัญลักษณ์ของคนสมัยใหม่ ก้าวนาโลก เนื่องด้วยเพราะเวลาบุคคลที่หน่ึง

3 Virginia Shea. (2011). Netiquette. Retrieved from http://www.albion.com/netiquette/index.html

130

ติดต่อสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ตซึ่งไม่สามารถเห็นอากัปกิริยาทางใบหน้าหรืออารมณ์ความรู้สึก
ของบุคคลที่ติดต่อส่ือสารด้วยได้ ซึ่งมีความเส่ียงท่ีจะทาให้การส่ือสารผิดวัตถุประสงค์ ด้วยเพราะ
ความไมช่ ัดเจน หรือการสอ่ื ความหมายของขอ้ ความทที่ าใหผ้ ู้รับเกิดความเขา้ ใจผิดได้ การใช้ภาษาใหม่
หรือคาแสลง ภาษาท่ใี ช้ในหอ้ งสนทนาต่าง ๆ ภาษาที่ใช้แสดงความคิดเห็นบนสื่อสังคมต่าง ๆ ซ่ึงมีการ
ดัดแปลงคา เล่นคา ใช้คาที่มีความหมายกากวน การสะกดคาท่ีไม่ถูกต้องตามหลักของภาษา
ยกตัวอย่างเชน่ บ่องตง (บอกตรง ๆ) นา่ มคาน (นา่ ราคาญ) ชมิ ิ (ใชไ่ หม) เตง (ตวั เอง) เป็นต้น

ดังน้ัน ส่ิงที่พึงกระทาในการสื่อสารบนโลกอินเทอร์เน็ต คือ ไม่ควรใช้คาหยาบ คาย่อ คาท่ีมี
ความหมายคลุมเครือไม่ชัดเจน และควรพึงระลึกถึงความเหมาะสมของบุคคลท่ีสนทนาด้วยอยู่เสมอ
และควรใช้การสื่อสารท่ีเหมาะสม ไม่ส่งข้อความหรือสต๊ิกเกอร์ (Sticker) ท่ีเป็นกันเอง หรือไม่สมควร
กับผู้ที่อาวุโสกว่า ควรหลีกเลี่ยงการซ้าตัวสะกดเพื่อแสดงอารมณ์หรือความรู้สึกมากเกินไป เช่น สุด
ยอดดดดดดด เก่งจังงงงงงง เป็นต้น รวมท้ังหลีกเลี่ยงการใช้อักษรหรือสัญลักษณ์ในการส่ือสาร
กับบุคคลอื่นท่ีไม่ได้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิด ควรตรวจสอบการสะกดคา ความถูกต้องของคาศัพท์
รวมไปถึงการส่ือความหมายให้ถูกต้องทุกครั้งก่อนส่งข้อความไปยังผู้อ่ืน เพื่อหลีกเล่ียงการเข้าใจผิด
และปอ้ งกันไมใ่ หเ้ กิดปญั หากระทบกบั ความรู้สกึ ของผูร้ ับข้อความ

นอกจากการใช้คาศัพท์และตัวสะกดที่ถูกต้องแล้ว การใช้เคร่ืองหมายสัญลักษณ์ทางภาษาก็
เป็นส่ิงที่มีความสาคัญ ในสังคมดิจิทัลปัจจุบันพบว่าการสื่อสารเป็นการส่ือสารไร้ถ้อยคา
(Wordlessness) คือใชต้ ัวอกั ษรและภาพเป็นสื่อกลางในการส่อื สาร ซึง่ มีความหมายเป็นนัยยะ

• เครอื่ งหมายทางไวยากรณ์ คอื การนาเครอ่ื งหมายทางภาษามาใช้เพือ่ แสดงอารมณ์
และความรู้สึกร่วมด้วยในการพิมพ์ข้อความ เช่น เครื่องหมายไข่ปลา หรือ จุดไข่
ปลา (…) แสดงถึง ความเงียบ หรือ ละไว้ในฐานที่เข้าใจ เครื่องหมายปรัศนี (?)
แสดงถึง ความไม่แน่ใจ สงสัย คาถาม เครื่องหมายอัศเจรีย์ (!) แสดงถึง ความรู้สึก
ตกใจ ประหลาดใจ หรอื เน้นยา้ ความสาคัญ เปน็ ตน้

• สัญลักษณ์อิโมติคอน (Emoticon) คือ การใช้สัญลักษณ์ที่อยู่บนแป้นพิมพ์
คอมพิวเตอร์เพ่ือส่ืออารมณ์แทนการพิมพ์ตัวอักษร ซ่ึงเร่ิมคร้ังแรกเม่ือ Scott
Fahlman (iT24Hrs, 2015) โพสต์สัญลักษณ์ : - ) และ : - ( บนกระดานข่าวสาร
ของมหาวิทยาลัย และได้ถูกนามาใช้บนเครือข่าย ARPANET และ Usenet อย่าง
แพรห่ ลาย ดังรูปภาพท่ี 53

รูปภาพที่ 53 ตวั อย่างสัญลกั ษณอ์ ิโมติคอน (วาดโดยสุภาภรณ์ เกียรตสิ ิน)


Click to View FlipBook Version