The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

วิจัยแนวทางการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพร

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

วิจัยแนวทางการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพร

วิจัยแนวทางการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพร

34

ความสนใจของผู้เรียน (2) บอกวัตถุประสงค์ (Specify Objective) ครูผู้สอนจำเป็นต้องแจ้ง
วัตถุประสงค์ในการเรียนรู้ให้กบั ผูเ้ รยี น เพื่อให้ผู้เรียนทราบถึงความคาดหวังและสิ่งที่ผู้เรียนควรตอ้ ง
ปฏิบตั ิได้เมอ่ื จบบทเรยี นนี้ ซงึ่ การท่ีผเู้ รียนได้ทราบถงึ จุดประสงค์ของบทเรียนล่วงหน้า จะทำให้ผู้เรียนนั้น
สามารถมุ่งประเด็นความสนใจไปที่เนื้อหาบทเรียนในส่วนของสาระสำคัญที่เกี่ยวข้องห รือที่จำเป็น
ได้ดกี ว่า (3) ทบทวนความรเู้ ดมิ (Activate Prior Knowledge) การทบทวนความรู้เดิมช่วยกระตุ้นให้
ผู้เรียนสามารถเรียนรู้เนื้อหาใหม่ได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น ครูผู้สอนจึงจำเป็นต้องทบทวนและทดสอบ
ความรเู้ ดิมของผู้เรียนกอ่ นท่ีจะเริ่มนำเสนอเนื้อหาที่เปน็ ความรู้ใหม่ ๆ ซ่ึงรูปแบบการทบทวนความรู้เดิม
ของผู้เรยี นนั้น ครผู ู้สอนอาจทำได้หลากหลายวธิ ี ไม่ว่าจะเป็นการถามตอบ การให้นักเรียนทำข้อสอบ
Pre - test หรือการให้นักเรียนจับกลุ่มแล้วออกมาอภิปรายถึงเนื้อหาที่ได้เรียนมาแล้ว เป็นต้น
(4) นำเสนอเนื้อหาใหม่ (Present New Information) ครูผู้สอนควรนำเสนอเนื้อหาบทเรียนที่เป็น
ความรู้ใหม่ผ่านการใช้สื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายและเหมาะสมกับตัวผู้เรียน และคำนึงถึงผู้เรี ยน
เป็นสำคัญ เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนสนใจที่จะเรียนรู้ (5) ชี้แนะแนวทางการเรียนรู้ (Guide Learning)
ครูผู้สอนจะต้องชี้แนะแนวทางให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ใหม่ไปผสมผสานกับความรู้เดิมที่ผู้เรียน
ได้เคยเรียนรู้มาแล้ว เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว และมีความแม่นยำมากยิ่งข้ึน
(6) กระตุน้ การตอบสนองบทเรียน (Elicit Response) ครูผูส้ อนควรจัดการเรยี นการสอน โดยกระตุ้นให้
ผู้เรียนได้มีโอกาสร่วมคิดและทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในเนื้อหานั้น ๆ ซึ่งจะช่วยให้
ผู้เรียนจดจำเนื้อหาได้ดีย่ิงขึน้ (7) ให้ข้อมูลย้อนกลับ (Provide Feedback) ครูผู้สอนจำเป็นอยา่ งย่ิง
ที่จะต้องแจ้งให้ผู้เรียนทราบเป็นระยะว่า ผู้เรียนกำลังเรียนอยู่ในช่วงใดของบทเรียน และห่างจาก
เป้าหมายที่ตั้งไว้เท่าไหร่ ซึ่งจะเป็นการกระตุ้นความสนใจจากผู้เรียนได้มากขึ้น ถ้าพวกเขาทราบถึง
จุดที่เขาอยู่และเป้าหมายชัดเจนที่เขาต้องไปถึง (8) ทดสอบความรู้ใหม่ (Assess Performance)
เมื่อจบบทเรียน ครูผู้สอนจะต้องมีการทดสอบความรู้ของผู้เรียน (Post-test) เพื่อการเปิดโอกาสให้
ผู้เรียนได้ทดสอบความรู้ของตนเอง และในขณะเดียวกันครูผู้สอนจะได้ทราบถึงระดับความรู้
ของผู้เรยี นในการเรยี นรู้บทเรียนนั้น ๆ ซึ่งจะทำให้ครูผสู้ อนสามารถส่งเสริมและพฒั นาผู้เรียนเพ่ิมเติม
ได้อย่างเหมาะสม และ (9) สรุปและนำไปใช้ (Review and Transfer) การสรุปและนำไปใช้ จัดว่า
เป็นส่วนสำคัญในขั้นตอนสุดท้าย โดยครูผู้สอนจะต้องสรุปบทเรียนเฉพาะประเด็นสำคัญๆ รวมท้ัง
ข้อเสนอแนะต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียนได้ทบทวนความรู้ของตนเองหลังจากจบบทเรียน และ
ในขณะเดียวกันต้องชี้แนะเนื้อหาที่เกี่ยวข้องหรือให้ข้อมูลอ้างอิงเพิ่มเติม เพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษาต่อ
ในบทเรยี นถัดไปหรือนำไปประยุกต์ใชก้ บั งานอืน่ ได้

โดยกระบวนการเรียนรู้ดังกล่าวมุ่งเน้นการสรา้ งความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism)
หมายถึง การสร้างความรู้ด้วยตัวผู้เรียนเอง เกิดจากสภาพแวดล้อมทางสังคมของการเรยี นรู้ ผู้เรียน
แต่ละคนจะมคี วามสนใจหรือแนวคิด และทฤษฎีต่าง ๆ ที่แตกตา่ งกนั โดยมีการเรียนรูแ้ บบมีส่วนร่วม

35

ทีม่ ีหลายช่องทางในการรับรู้ ขึน้ อยู่กับกฎระเบียบทางสังคมและกระบวนการทางวฒั นธรรม การสร้าง
ความรู้มาจากการลงมือปฏิบัตจิ รงิ มากกว่าการถ่ายทอดความรจู้ ากผู้สอน ผเู้ รยี นและผสู้ อนจะเกิดการ
เรียนรจู้ ากการมีปฏิสัมพันธซ์ ่ึงกันและกนั รวมท้งั มกี ารปฏิสัมพันธ์กบั บุคคลอนื่ และสงิ่ แวดล้อมต่าง ๆ
เพื่อสร้างความรู้ของตนเอง โดยมีหลักการสร้างความรู้ด้วยตนเอง 4 ประการ คือ (1) ความรู้ใด ๆ
ไม่สามารถเห็นได้คงที่อย่างที่เป็นอยู่ ความรู้ของบุคคลเกี่ยวกบั สิง่ ใดสิ่งหนึ่งไดร้ บั อทิ ธิพลจากความรู้
ที่มีมาอยู่ก่อน ซึ่งทำให้ความรู้ใหม่นั้นถูกเข้าใจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล (2) การสร้างความรู้
เป็นกระบวนการคงความสมดุลของปญั ญา ระหว่างความรู้เก่ากับประสบการณ์ใหม่จากสิ่งแวดล้อม
(3) กระบวนการสร้างความรู้มี 2 แนวคิด คือ กระบวนการสร้างความรู้จากตัวตนของบุคคลนั้นเอง
และกระบวนการสร้างความรู้โดยสังคม (4) ผู้สอนจะต้องเปลี่ยนแปลงความคิดจากการถ่ายทอด
ความรู้ให้กับผู้เรียนด้วยตำราหรือการจัดหลักสูตรใด ๆ ด้วยการเชื่อมโยงหลักสูตรให้ผู้เรียน
ตามความรู้และความสนใจของผู้เรียน (วันวิสาข์ โชรัมย์. 2554) ซึ่งการออกแบบการเรียนการสอน
เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองมี 8 ประการ คือ (1) ใช้กิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นภาระงาน หรือ
ปัญหา (2) สนับสนุนให้ผูเ้ รยี นพัฒนาการแก้ปัญหานั้น ๆ ตามแนวทางของตน (3) กำหนดให้งานนั้น
เป็นงานที่มีความหมายใช้ในชีวิตจริง (4) ออกแบบงานและสิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้ให้สะท้อนกับ
ความซับซ้อนเหมาะสมที่ผู้เรียนจะสามารถทำได้ในระหว่างการเรียนรู้ (5) ให้ผู้เรียนใช้กระบวนการ
ของตนเองทคี่ ิดขนึ้ มาเองเพื่อแกป้ ัญหานนั้ ๆ (6) ออกแบบสิง่ แวดล้อมการเรียนให้สนับสนุน แต่ท้าทาย
ความคดิ ของผเู้ รียน (7) สนบั สนุนการทดสอบการแก้ไขนั้น ๆ ด้วยมุมมองหรอื วธิ ีการอยา่ งหลากหลาย
ในบรบิ ทต่าง ๆ กัน และ (8) ให้โอกาสและสนับสนนุ การสะท้อนผลลพั ธ์ จากทัง้ เนอื้ หาที่เรยี นและจากตัว
ของกระบวนการเอง (ใจทพิ ย์ ณ สงขลา. 2550)

สรุปได้ว่ากระบวนการเรียนรู้จะต้องให้ผู้เรียนสร้างความรู้จากประสบการณ์ของ
พวกเขาเอง ในการจัดกิจกรรมการเรยี นการสอนของครูต้องคอยกระตนุ้ ให้นกั เรียนได้เรยี นรู้ ด้วยการ
เตรียมความพร้อมผู้เรียน จูงใจ เร้าความสนใจของผู้เรียน แจ้งจุดประสงค์ และสร้างความสำคัญ
ให้ผ้เู รียน รวมถงึ ใหผ้ ูเ้ รยี นทกุ คนมสี ่วนรว่ มในกจิ กรรมการเรียนการสอน พรอ้ มทง้ั เปิดโอกาสให้ผู้เรียน
สร้างความรู้ความคิดด้วยตนเอง จัดโอกาสและเปิดโอกาสให้ปฏิบัติโดยตรง การคิดไตร่ตรองและ
สะท้อนความคิดเกี่ยวกับบทเรียน ให้การฝึกเพิ่มเติมหรือให้ทำโดยอิสระ ซึ่งทำให้ผู้เรียนมีทัศนคติ
ทางการเรียนในเชิงบวก ตระหนักถึงความร่วมมือของสังคม ได้พัฒนาบนความต้องการของตนเอง
สรา้ งความรู้ด้วยตนเอง มปี ฏสิ ัมพนั ธ์ทางสังคม และแลกเปลยี่ นความคิดเหน็ กัน

2) การเรียนรแู้ บบ Active Learning
Dale (1969) ได้เสนอแนวคิดในการเรียนรทู้ ี่เน้นบทบาทและการมีส่วนรว่ มของผู้เรียน
(Active Learning) เป็นกระบวนการเรยี นการสอนท่เี รียนรู้ผา่ นการปฏบิ ัตหิ รือการลงมอื ทำ ซ่ึงความรู้
ที่เกิดขึ้นก็เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ จากกระบวนการในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ผู้เรียน

36

มีโอกาสลงมือกระทำมากกว่าการฟังเพียงอย่างเดียว ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยการอ่าน การเขียน
การโต้ตอบ และการวิเคราะห์ปัญหา อีกทั้งใหผ้ ู้เรียนได้ใช้กระบวนการคิดขั้นสูง ได้แก่ การวิเคราะห์
การสังเคราะห์ และการประเมินค่า ทำให้ผู้เรียนสามารถรักษาผลการเรียนรู้ให้อยู่คงทนได้มากและ
นานกว่ากระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นฝ่ายรับความรู้ (Passive Learning) เพราะกระบวนการ
เรยี นรู้แบบ Active Learning สอดคลอ้ งกับการทำงานของสมองที่เก่ยี วข้องกับความจำ โดยสามารถ
เก็บและจำสิ่งที่ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมสี ่วนร่วม มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน ผู้สอน และสิ่งแวดล้อม ซึ่งการ
เรียนรู้ที่ได้ผ่านการปฏิบัติจริงจะสามารถเก็บความจำในระบบความจำระยะยาว (Long Term
Memory) ทำให้ผลการเรียนรู้ยังคงอย่ไู ด้ในปริมาณทีม่ ากกว่า และมีระยะเวลาที่ยาวกวา่ รายละเอียด
ดงั ภาพที่ 2.3

ภาพท่ี 2.3 Dale’s Cone of Learning
ที่มา : Edgar Dale (1969)
จาก Dale’s Cone of Learning จะเห็นไดว้ ่าแบง่ เปน็ 2 กระบวนการ ได้แก่ (1) กระบวนการ
เรียนรู้แบบ Passive Learning คือ การเรียนรู้โดยการอ่าน ท่องจำ ผู้เรียนจะจำได้ในสิ่งที่เรียน
เพียงร้อยละ 20 การเรียนรู้โดยการฟังบรรยายเพียงอย่างเดียวโดยที่ผู้เรียนไม่มีโอกาสได้มีส่วนร่วม
ในการเรียนรูด้ ้วยกจิ กรรมอืน่ ในขณะท่ีครสู อน เม่ือเวลาผ่านไปผู้เรยี นจะจำไดเ้ พียงรอ้ ยละ 20 หากใน
การเรียนการสอนผู้เรียนมีโอกาสได้เห็นภาพประกอบด้วยก็จะทำให้ผลการเรียนรู้คงอยู่ได้เพิ่มขึ้น
เป็นร้อยละ 30 การเรียนรู้ที่ผู้สอนจัดประสบการณ์ให้กับผู้เรียนเพิ่มขึ้น เช่น การให้ดูภาพยนตร์
การสาธิต จัดนิทรรศการให้ผู้เรียนได้ดู รวมทั้งการนำผูเ้ รียนไปทัศนศึกษาหรอื ดูงาน ก็ทำให้ผลการเรียนรู้

37

เพิ่มข้ึนเปน็ รอ้ ยละ 50 และ 2) กระบวนการเรยี นรู้แบบ Active Learning คือ ผเู้ รียนมบี ทบาทในการ
แสวงหาความรู้และเรียนรู้อย่างมีปฏิสัมพันธ์จนเกิดความรู้ ความเข้าใจ นำไปประยุกต์ใช้ สามารถ
วิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมนิ ค่า หรอื สร้างสรรคส์ ่งิ ต่าง ๆ และพฒั นาตนเองเต็มความสามารถ รวมถงึ
การจดั ประสบการณก์ ารเรียนรู้ใหไ้ ดร้ ่วมอภปิ ราย ใหฝ้ ึกทกั ษะการส่ือสาร ทำให้ผลการเรียนรู้เพิ่มขึ้น
เป็นร้อยละ 70 การนำเสนอผลงานทางการเรยี นรู้ในสถานการณจ์ ำลอง ทั้งมีการฝึกปฏิบตั ิในสภาพจรงิ
มกี ารเช่ือมโยงกับสถานการณต์ า่ ง ๆ จะทำให้ผลการเรียนรู้เกดิ ขึ้นถงึ รอ้ ยละ 90

การเรยี นรทู้ ีเ่ น้นบทบาทและการมสี ว่ นรว่ มของผูเ้ รียนดงั กลา่ ว เป็นการจดั การเรียนการสอน
ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คือ การเรียนรู้ที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนมากที่สุด ให้เสรีภาพแก่ผู้เรียน
ในการบรรลเุ ป็นผูม้ ีปญั ญาด้วยการเรียนรู้ดว้ ยตนเองโดยผ่านประสบการณ์ตรง การเรยี นการสอนต้องมี
การพัฒนาและกระตนุ้ สติปญั ญาใหม้ ีความสามารถในการใช้เหตุผล รู้จกั คดิ วิเคราะห์และใช้ศักยภาพ
ของตนได้อย่างเตม็ ท่ี สามารถปรบั ตนให้ประสานกับสภาพแวดลอ้ ม โดยจะตอ้ งคำนึงถงึ ธรรมชาติของ
ผู้เรียนแต่ละคนว่ามีความแตกต่างกันในด้านต่าง ๆ ได้แก่ เชาวน์ปัญญา บุคลิกภาพ ความคิด
สร้างสรรค์และพฤติกรรมอื่น ๆ การจัดการเรียนการสอนจึงมุ่งให้เกิดการเรียนรูท้ ั้งด้านความเข้าใจ
ทักษะ และเจตคติไปพร้อม ๆ กัน ซึ่งในระบบการเรียนผู้เรียนควรเป็นผู้แสดงออกมากกว่าผู้สอน
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนควรให้ ผู้เรียนมีโอกาสได้แสดงออกมากที่สุด ให้ความสำคัญ
กับความรู้สกึ นกึ คดิ และคา่ นิยมของผู้เรยี น การจดั บรรยากาศในการเรยี นควรเปน็ แบบรว่ มมือมากกว่า
การแขง่ ขัน ครูทำหน้าที่ช่วยเหลือให้กำลงั ใจและอำนวยความสะดวกในกระบวนการเรยี นของผู้เรียน
โดยมีรูปแบบวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ท่ีแบบ Active Learning หลากหลายวิธี เช่น การเรียนรู้
โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน (Activity Based Learning) การเรียนรู้เชิงประสบการณ์ (Experiential
Learning) การเรยี นรโู้ ดยใช้ปญั หาเป็นฐาน (Problem-Based Learning) การเรยี นรูโ้ ดยใช้โครงงาน
เป็นฐาน (Project Based Learning) การเรียนรู้ที่เน้นทักษะกระบวนการคิด (Thinking Based
Learning) การเรียนรู้การบริการ (Service Learning) การเรียนรู้จากการสืบค้น (Inquiry Based
Learning) และการเรียนรู้ด้วยการค้นพบ (Discovery Learning) เป็นต้น (วัฒนาพร ระงับทุกข์.
2542) อยา่ งไรก็ตาม รปู แบบวธิ ีการจดั กิจกรรมการเรยี นรเู้ หล่านม้ี ีพน้ื ฐานมาจากแนวคิดเดียวกัน คือ
ให้ผู้เรียนเป็นผู้มีบทบาทหลักในการเรียนรู้ของตนเอง การออกแบบการเรียนรู้ตามสภาพจริง
ให้สอดคล้องกับมาตรฐานหลักสูตร และเชื่อมโยงบูรณาการระหว่างสาระวิชา โดยใช้ผลการเรียนรู้
ทกี่ ำหนดเปน็ หลัก และใชก้ ระบวนการวิจัยเปน็ ส่วนหนง่ึ ของการจดั การเรียนรู้เพอ่ื มุ่งพฒั นาการเรยี นรู้
ของผู้เรียน รวมถึงมีการออกแบบการวัดและประเมินผลตามสภาพจริง โดยใช้เครื่องมือวัด
ที่หลากหลาย เพื่อสะท้อนภาพได้ชัดเจนว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้านต่าง ๆ อย่างไร ทำให้ได้ข้อมูล
ของผู้เรียนรอบด้านที่สอดคล้องกับความเป็นจริง เพื่อประกอบการตัดสินผู้เรยี นไดอ้ ยา่ งถูกต้องและ
มปี ระสทิ ธภิ าพ (ทกั ษณิ า เครือหงส์. 2550)

38

สรุปได้ว่าการเรียนรู้แบบ Active Learning เป็นการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
เป็นการเรียนรู้ที่พัฒนาทักษะความคิดระดับสูงอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งช่วยให้ผู้เรียนวิเคราะห์
สังเคราะห์ และประเมินข้อมูลในสถานการณ์ใหม่ได้ดี รวมถึงช่วยให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจจนสามารถ
ชี้นำชีวิตในฐานะผู้ฝักใฝ่การเรียนรู้ โดยธรรมชาติของการเรียนรู้แบบ Active Learning จะเป็น
การเรียนรู้ที่มุ่งลดการถ่ายทอดความรู้จากผู้สอนสู่ผู้เรียนให้น้อยลง แต่จะมุ่งการพัฒนาทักษะให้เกิดข้ึน
กับผเู้ รียน ผเู้ รยี นมสี ่วนร่วมในการเรยี นรู้โดยลงมอื กระทำมากกวา่ น่ังฟังเพยี งอย่างเดียว ผเู้ รียนมีส่วน
ในกจิ กรรมและเน้นการสำรวจเจตคตแิ ละคุณค่าทีม่ ีอยู่ในผู้เรียน ท้งั น้ี ผเู้ รยี นและผ้สู อนจะได้รับข้อมูล
ปอ้ นกลับจากการสะทอ้ นความคดิ ได้อยา่ งรวดเร็ว ถอื ไดว้ ่าเปน็ การเรยี นรูท้ ี่ต้องการกจิ กรรมการเรียน
การสอนที่หลากหลายที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองผ่านการจัดการตนเอง ซึ่งจะก่อให้เกิดการ
สร้างสรรค์พัฒนาความรู้ความเข้าใจและทักษะที่หลากหลาย เป็นกระบวนการทีป่ ระณตี รัดกุม และ
ผู้เรียนได้รับประโยชน์มากกวา่ การเรียนรทู้ ีผ่ ูเ้ รยี นเปน็ ฝา่ ยรับความรู้

3. เปา้ หมายการเรียนรู้
การเรียนรู้ที่เน้นผ้เู รยี นเป็นสำคัญสง่ ผลต่อเป้าหมายการเรยี นรูใ้ นการพฒั นาทักษะความคิด
ระดับสูงอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นไปตามแนวคิด Bloom’s Taxonomy ที่กล่าวถึงการจำแนก
การเรียนรูแ้ บง่ เปน็ 3 ด้าน คอื ด้านพทุ ธพิ สิ ยั ด้านจิตพสิ ัย และด้านทักษะพสิ ยั โดยในแต่ละด้านจะมี
การจำแนกระดบั ความสามารถจากต่ำสดุ ไปถึงสูงสุด ได้แก่ (1) ด้านพุทธพิ ิสัย (Cognitive Domain)
เป็นการเรียนรทู้ ่เี กิดจากพฤติกรรมด้านสมอง เป็นพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับสตปิ ญั ญา ความรู้ ความคิด
ความเฉลยี วฉลาด ความสามารถในการคิดเรื่องราวต่าง ๆ อยา่ งมีประสิทธิภาพ ซึง่ เป็นความสามารถ
ทางสติปัญญาเริ่มจากความรู้ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การประเมิน
นอกจากนี้ยังนำเสนอระดับความสามารถที่มีการปรับปรุงใหม่ตามแนวคิดของ Anderson &
Krathwohl (2001) แบ่งออกเป็น การจำ (Remembering) การเข้าใจ (Understanding) การประยุกต์ใช้
(Applying) การวเิ คราะห์ (Analyzing) การประเมินผล (Evaluating) และการสร้างสรรค์ (Creating)
(2) ด้านจิตพิสัย (Affective Domain) เป็นพฤติกรรมทางด้านจิตใจ เช่น ค่านิยม ความรู้สึก
ความซาบซึ้ง ทัศนคติความเชื่อ ความสนใจและคุณธรรม ประกอบด้วย การรับรู้ การตอบสนอง
การสร้างค่านิยม การจัดระบบ และการสร้างคุณลักษณะจากค่านิยม และ (3) ด้านทักษะพิสัย
(Psychomotor Domain) เป็นพฤติกรรมด้านกล้ามเนื้อประสาทที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถ
ในการปฏบิ ตั ิไดอ้ ย่างคล่องแคลว่ และชำนาญ ประกอบด้วย ทักษะการเคลอ่ื นไหวของร่างกาย ทักษะ
การเคลื่อนไหวอวัยวะสองส่วนหรือมากกว่าพร้อม ๆ กัน ทักษะการสื่อสารโดยใช้ท่าทาง และทักษะ
การแสดงพฤติกรรมทางการพูด แสดงลำดับขั้นของการเรียนรู้ตามแนวคิด Bloom’s Taxonomy
ดังภาพที่ 2.4

39

ภาพที่ 2.4 Revised Bloom’s Taxonomy
ทมี่ า : Anderson & Krathwohl (2001)

เมื่อพิจารณาปัจจัยการเรียนรู้พบว่าประกอบด้วย 3 ด้าน คือ (1) ความรู้ (Knowledge)
เป็นการเรียนรูท้ ีเ่ กิดจากการทีไ่ ด้รับความรู้จากบุคคลอืน่ มีคนอื่นมาบอกหรือสอน เช่น ผู้เรียนได้รับ
การเรียนรู้จากครู (2) ประสบการณ์ตรง (Direct Experience) เกิดจากสิ่งที่เราได้สัมผัส ได้พบเห็น
มาโดยตรงด้วยตนเอง และ (3) การเชื่อมโยง (Association) เป็นการโยงความคิดกับประสบการณ์
ที่เคยได้พบเห็นมาก่อน หรือสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้นกับผู้อื่นหรือการบอกจากผู้อื่น ซึ่งจะเกิดได้จากการ
เรียนรู้แบบมีส่วนร่วมโดยที่ผู้เรียนแต่ละคนมสี ่วนร่วมโดยการเอาจิตใจเข้าร่วม ทำให้เกิดการเรียนรู้
ทง้ั ทางตรงและทางอ้อม อาศัยหลกั การเรียนรเู้ ชงิ ประสบการณ์ และการเรยี นรทู้ ี่มีประสิทธิภาพ ไดร้ บั
ประสบการณ์ทสี่ มั พนั ธ์กับชีวติ จรงิ ได้รบั การฝกึ ฝนทักษะการแสวงหาความรู้ ทักษะการบันทึกความรู้
ทักษะการคิด ทักษะการจัดการความรู้ ทักษะการแสดงออก ทักษะการสร้างความรู้ใหม่ และทักษะ
การทำงานกลุ่ม (สมใจ ปราบพล. 2544) ซึ่งเมื่อเกิดการเรียนรู้จะเป็นกระบวนการท่ีเปลี่ยนแปลง
พฤติกรรมจากเดิมไปสูพ่ ฤตกิ รรมใหมท่ ี่ค่อนข้างถาวร และพฤติกรรมใหม่นี้เป็นผลมาจากประสบการณ์
หรือการฝึกฝน มิใช่เป็นผลจากการตอบสนองตามธรรมชาติหรือสัญชาตญาณ หรือวุฒิภาวะ หรือ
เกดิ ขน้ึ จากความบังเอิญต่าง ๆ โดยพฤติกรรมท่เี ปลยี่ นแปลงไปนนั้ จะต้องเปลี่ยนไปอย่างคอ่ นข้างถาวร
จึงจะถือว่าเกิดการเรียนรู้ขึ้น หากการเปลี่ยนปลงเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวจะยังไม่ถือว่าเป็นการเรียนรู้
(เสรี วงษ์มณฑา. 2542)

โดยเมื่อผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จะเกิดการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ (1) การเปลี่ยนแปลงทางด้าน
ความรู้ ความเข้าใจ และความคิด (Cognitive Domain) คอื การเรียนรู้เก่ยี วกับเนือ้ หาสาระใหม่ ก็จะ

40

ทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ได้มากขึ้น เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดข้ึน
ในสมอง (2) การเปล่ยี นแปลงทางด้านอารมณ์ ความรู้สึก ทศั นคติ และคา่ นยิ ม (Affective Domain)
คือ เม่ือผู้เรียนได้เรียนรู้ส่ิงใหม่ ก็ทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้สกึ ทางด้านจิตใจ ความเชื่อ และความสนใจ
และ (3) ความเปล่ียนแปลงทางด้านความชำนาญ (Psychomotor Domain) คอื การท่ีผ้เู รียนได้เกิด
การเรยี นรทู้ ั้งในด้านความคิด ความเข้าใจ เกดิ ความรสู้ กึ นึกคดิ และคา่ นยิ ม แล้วไดม้ กี ารนำเอาส่ิงที่ได้
เรียนรู้ไปปฏิบัติ จนเกิดความชำนาญมากขึ้น (Bloom. 1959) โดยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและ
พฒั นาอยา่ งตอ่ เนอ่ื งตลอดเวลา จะสง่ ผลให้ผเู้ รียนกลายเปน็ ผ้มู คี วามตระหนกั รหู้ รือเป็นบุคคลแห่งการ
เรียนรู้ กล่าวคือ เป็นผู้ทม่ี ีคณุ ลกั ษณะใฝร่ ใู้ ฝ่เรียน มพี ฤตกิ รรมท่แี สดงออกถงึ ความกระตอื รือรน้ สนใจ
เสาะแสวงหาความรู้อยู่เสมอ มุ่งมั่นท่ีจะเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรูและสามารถนำความรู้ไปใช้
ประโยชนได้อย่างเหมาะสม รวมถึงปรับตัวเองไดดีในสภาวะที่โลกมีการเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา
ซึ่งการพัฒนาตนเองของผู้เรียนให้เป็นผู้ที่มีความตระหนักรู้หรือบุคคลแห่งการเรียนรู้นั้น จะต้องมี
ทักษะพื้นฐานทต่ี อ้ งได้รับการพัฒนา ได้แก่ ทกั ษะการฟัง การพดู การอา่ น การเขียน การคดิ ตลอดจน
การฝึกและปฏบิ ัตอิ ย่างต่อเน่ืองสมำ่ เสมอ เพอ่ื ไปสู่กระบวนการเรียนรู้ท่ยี ง่ั ยนื (จิราภรณ์ พรหมทอง.
2559)

สรุปได้ว่า เป้าหมายการเรียนรู้ มุ่งเน้นการเรียนรู้ท่ีเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อให้ได้รบั การ
พฒั นาทกั ษะความคิดระดบั สงู อย่างมีประสิทธิภาพ สง่ ผลให้ผู้เรียนกลายเปน็ ผมู้ ีความตระหนักรู้หรือ
เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ กล่าวคือ เป็นมนุษยท์ ี่สมบูรณ์ท้ังร่างกายและจิตใจ สติปัญญา ความรู้และ
คุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตอย่างสมดุล มีทักษะจำเป็นและสามารถ
อยรู่ ่วมกบั ผูอ้ ่นื อย่างมีความสขุ พง่ึ พาตนเองได้ มีภาวะผ้นู ำการเรียนรู้ดว้ ยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอด
ชีวิต โดยเน้นการเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมแรงบันดาลใจให้มีชีวิตอยู่อย่างมีความหมาย การเรียนรู้
เพื่อบ่มเพาะความคิดสร้างสรรค์ การเรียนรู้เพื่อปลูกฝังจิตสาธารณะและการเรียนรู้เพื่อการนำไป
ปฏิบัติ เป็นพลเมืองทีม่ ีคุณภาพ และดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข ด้วยการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้
และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนือ่ ง เน้นการเรียนรู้ที่เกิดจากความต้องการของผู้เรียนอยา่ งแท้จริง และ
ลงมือปฏิบัติเพื่อให้เกิดประสบการณ์ตรงและต่อยอดความรู้นั้นได้ด้วยตนเอง ผู้สอนต้องสามารถ
สร้างและออกแบบสภาพแวดลอ้ มในการเรียนรู้ท่ีมีบรรยากาศเก้ือหนุนและเอื้อตอ่ การเรียนรูอ้ ยา่ งมี
เป้าหมาย การเชื่อมโยงความรู้หรือแลกเปลี่ยนความรู้กับชุมชนและสังคมโดยรวม จัดการเรียนรู้
ผ่านแหล่งเรียนรู้และบริบทความเป็นจริง ใช้ปัญหาเป็นฐานการเรยี นรูท้ ี่สำคัญ และการสร้างโอกาส
ให้ผเู้ รยี นไดเ้ ข้าถึงสอื่ เทคโนโลยี เครื่องมอื และแหล่งเรียนร้ทู ีม่ คี ุณภาพ

41

4. การเรยี นรูผ้ า่ นกิจกรรมค่าย
กระบวนการเรียนรูด้ ้วยกิจกรรมค่ายเป็นหนึ่งในวิธกี ารจดั กิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active
Learning ที่มีประสิทธิผลต่อเป้าหมายการเรียนรู้ของผู้เรียน เนื่องจากเป็นการบูรณาการรูปแบบ
การเรียนรู้ที่สำคัญ เช่น การเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน (Activity Based Learning) การเรียนรู้
เชิงประสบการณ์ (Experiential Learning) การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based
Learning) การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project Based Learning) การเรียนรู้ที่เน้นทักษะ
กระบวนการคดิ (Thinking Based Learning) การเรียนรกู้ ารบริการ (Service Learning) การเรียนรู้
จากการสืบค้น (Inquiry Based Learning) และการเรียนรู้ด้วยการค้นพบ (Discovery Learning)
เป็นตน้ (วัฒนาพร ระงับทกุ ข์. 2542) สอดคล้องกบั การใหค้ วามหมายของทางวชิ าการดงั นี้

รพีภัทร รักสลาม (2552) ได้ให้ความหมายว่า การเรียนรู้ผ่านกิจกรรมค่าย หมายถึง
กระบวนการทางการศึกษาที่มีสื่อสร้างประสบการณ์ โดยใช้สภาพแวดล้อมธรรมชาติที่มีอยู่ในการ
เสริมสร้างความคิด เจตคติของสมาชิกค่ายให้บรรลุตามเป้าหมายของการอยู่ค่าย ซึ่งจะมีลักษณะ
(1) เป็นการใช้ชีวติ อยู่รว่ มกันเป็นหมคู่ ณะนอกสถานที่ปกติ (2) เปน็ การนำเอาทรพั ยากรธรรมชาติและ
สงิ่ แวดล้อมรอบตวั เรามาใช้จดั ประสบการณก์ ารเรียนรู้ (3) เป็นการจัดโดยมีผทู้ ีม่ ีความรู้ ประสบการณ์
และไดร้ บั การฝึกอบรมเพ่อื การจัดกิจกรรมคา่ ยมาแลว้

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา (2552) ได้ให้ความหมายว่า การเรียนรู้
ผ่านกจิ กรรมค่าย หมายถงึ รปู แบบของกิจกรรมการเรียนรู้ท่ีจดั ขน้ึ ในรูปแบบของกิจกรรมการเรียนรู้
นอกหอ้ งเรียน เพือ่ พฒั นา ส่งเสริม สนบั สนนุ รวมถึงปอ้ งกันและแก้ปัญหาของนักเรยี น โดยการเรยี นรู้
ด้วยรูปแบบคา่ ยเอื้อต่อการออกแบบและการจัดกระบวนการเรียนรู้ทีแ่ ตกต่างจากการเรียนการสอน
ในห้องเรียน นำไปสู่การลงมือทำ เจอสถานการณ์จริง ประสบการณ์จริง และนำไปสู่การปฏิบัติจริง
เพื่อให้เกิดกระบวนการคิดและการเชื่อมโยง รวมถึงสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างเพื่อนร่วมค่าย
เพื่อที่ให้เกิดความรู้สึกสบาย มีความสุข และสนุกกับการเรียนรู้อยู่ภายใต้หลักประชาธิปไตย
แต่จำเป็นต้องมีกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนโดยเฉพาะเรื่องความปลอดภัยและสุขภาพอนามัย ซึ่งค่ายที่ดี
ม ี ป ร ะ ส ิ ท ธ ิ ภ า พ น ั ้ น จ ะ ต ้ อ ง พ ั ฒ น า ผ ู ้ เ ร ี ย น ท ุ ก ค น โ ดย แต ่ ล ะ ค น น ั ้ น จ ะ ไ ด ้ ร ั บ ก าร เร ี ย น ร ู ้ เ ต ิ มเต็ ม
ความสามารถและศกั ยภาพของตนเอง

ศิริอร นพกิจ (2561) ได้ให้ความหมายว่า การเรียนรู้ผ่านกิจกรรมค่าย หมายถึง
กิจกรรมการเรยี นรู้นอกห้องเรียน มีการออกแบบและจดั การเรียนรู้ที่แตกต่างจากการเรียนการสอน
ในห้องเรียน มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา สนับสนุน ป้องกันแก้ไขปัญหา มีลักษณะเฉพาะคือ มีการ
กำหนดเป้าหมายชัดเจน มีผ้นู ำ วทิ ยากร หรือพเี่ ลี้ยงท่ีทำใหเ้ กิดการเปล่ียนแปลง ใชร้ ะบบกลุ่มในการ
พัฒนา เปลี่ยนการเรียนรู้จากตำราเรียนในห้องเรียนไปสู่เรียนจากสถานการณ์จริง ได้ลงมือปฏิบัติ
กิจกรรมตา่ ง ๆ ดว้ ยตนเองในสภาพแวดลอ้ มเหมาะสมปลอดภัย

42

กล่าวโดยสรุปคือ การเรียนรู้ผ่านกิจกรรมค่ายเป็นรูปแบบของกิจกรรมการเรียนรู้
นอกหอ้ งเรียนเพ่อื พฒั นาคุณลักษณะของผู้เรียนไดเ้ ป็นอย่างดี ซ่งึ เป็นรูปแบบที่เอ้อื ต่อการเรียนรู้แบบ
Active Learning เพื่อให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิดขั้นสูง สามารถบูรณาการหรือเชื่อมโยงความรู้
และแกป้ ญั หาทกี่ ำหนดในสถานการณ์ต่าง ๆ ซงึ่ ควรกำหนดกจิ กรรมเพอ่ื สง่ เสริมใหน้ ักเรียนมีปฏิกิริยา
โต้ตอบระหว่างกันและกัน เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ รวมถึงสร้างความสัมพันธ์อันดี
ระหว่างเพอื่ นรว่ มค่าย มีความสขุ และสนุกกับการเรียนรู้ได้เต็มความสามารถและศกั ยภาพของตนเอง
โดยเมื่อพจิ ารณาประโยชน์ทีไ่ ด้รับจากการเรียนรู้ผ่านกจิ กรรมค่าย พบว่ามีประโยชน์ที่สอดคล้องกับ
เป้าหมายการเรียนรู้และแนวคิดเกี่ยวกับการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 คือ
(1) ได้เรียนรู้ ฝึกทักษะการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี (2) ได้ฝึกทักษะกระบวนการคิด ให้คิดได้ คิดเป็น
และคิดถูก 3) ได้ฝึกทักษะการทำงานเป็นทีมและการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
(4) ได้พัฒนาด้านคณุ ธรรม รู้จักคิดสิ่งที่ผิดหรือถูก สิ่งที่ควรทำไม่ควรทำ มีความรับผิดชอบตัดสินใจ
อย่างมีวิจารณญาณ และควบคุมอารมณ์ (5) ได้ฝึกทักษะการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อืน่ ได้เพื่อน
พี่ น้อง และครูที่ดี (6) ได้รู้จักและเข้าใจตนเอง พัฒนาตนเอง และตัดสินใจอนาคตการเรียน
การทำงานของตน บนพื้นฐานประสบการณ์ที่เหมาะสม (7) ได้พัฒนาคุณลักษณะด้านจิตสาธารณะ
ในระดับจิตสำนึก ความคิด ความเช่ือ และทัศนคติ (8) ได้ปฏิบัติงานที่เป็นประโยชน์กับผู้อื่น และ
พัฒนาการทำงานที่รับผิดชอบสังคม (9) ได้เรียนรู้และฝกึ ทักษะผ่านกระบวนการที่แตกต่างกับการเรียน
ในชั้นเรียน นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างประสบการณ์ใหม่ และประสบการณ์เชิงบวกในการเรียนรู้
ทำให้ผู้เรียนเกดิ ความประทับใจและแรงบันดาลใจ ได้ค้นพบความสามารถของตัวเองและเสริมความใฝฝ่ นั
ในสิ่งที่ตนเองต้องการให้ดยี ่ิงขึน้ (ศริ ิอร นพกจิ . 2561)

สำหรับการเรยี นรู้ผ่านกิจกรรมค่ายนัน้ วพิ งษช์ ัย ร้องขันแกว้ และรชั ราวไล สว่างอรุณ
(2555) ได้วิเคราะห์ประเภทของการจัดค่ายตามรูปแบบและวิธีการจัดหรือพิจารณาที่วัตถุประสงค์
ของการจดั เปน็ สำคญั ดังนี้ (1) ค่ายพกั แรมแบบเดนิ ทาง (Trip Camp) หรอื แบบธรรมชาติ (Natural
Camp) (2) ค่ายแบบถาวร (Residential Camp) เป็นค่ายที่มีการตั้งแบบถาวรและดำเนินงาน
อยู่ประจำอยู่แล้ว แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ค่ายพักแรมระยะสั้น (Short-term Residential
Camp) ใช้เวลาประมาณ 1-2 สปั ดาห์ และค่ายพกั แรมระยะยาว (Long - term Residential Camp)
ใช้เวลาประมาณ 1 เดือนขึ้นไป (3) ค่ายพักแรมแบบสหศึกษา (Co-Education Camp) เป็นค่าย
ที่ส่งเสริมให้เยาวชนชายและหญิงได้มีโอกาสทำกิจกรรมร่วมกัน (4) ค่ายพักแรมแบบครอบครัว
(Family Camp) เปน็ คา่ ยพักแรมท่ีสมาชิกครอบครัวไดม้ ีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมดว้ ยกัน (5) คา่ ยพักแรม
แบบอนุรกั ษ์ธรรมชาติ (Conservation Camp) เป็นค่ายท่ีให้ผู้เข้าร่วมมนี สิ ัยรักธรรมชาติ (6) ค่ายพักแรม
สุขภาพ (Health Camp) เป็นค่ายที่ส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมรักสุขภาพ (7) ค่ายพักแรมสุดสัปดาห์
(Weekend Camp) เป็นค่ายพักแรมที่จัดขึ้นวันเสารอ์ าทิตย์ นิยมใช้เพือ่ เตรียมเจ้าหน้าที่ประจำคา่ ย

43

(8) ค่ายกลางวัน (Day Camp) เป็นค่ายที่จะใช้เวลาร่วมกันตอนกลางวัน และเวลากลางคนื ผูเ้ ขา้ ร่วม
จะกลับไปนอนที่บ้าน (9) ค่ายพักแรมอาสาสมัคร (Voluntary Work Camp) เป็นค่ายพักแรมที่มี
จุดประสงค์ต่างจากค่ายอื่น อาจเป็นเพื่อพัฒนาท้องถิ่น และสร้างสาธารณะประโยชน์ และ
(10) ค่ายพักแรมสำหรับคนพิการ (Handicapped Camp) เป็นค่ายพักแรมที่จัดขึ้นเพื่อสมาชิกค่าย
ทมี่ ีความพกิ าร ใหเ้ ยาวชนไดร้ ับความสนุกสนานจากกิจกรรมทีจ่ ัดขึ้น

จะเห็นได้วา่ การเรยี นรผู้ า่ นกิจกรรมค่ายให้เกดิ ประโยชน์สงู สดุ ตอ้ งพจิ ารณาในหลายมิติ
เช่น จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้ กลุ่มเป้าหมายในการเรียนรู้ เป้าประสงค์หรือผลลัพธ์ที่ต้องการ
เป็นต้น ซึ่งต้องดำเนินการภายใต้การบริหารจัดการและการวางแผนที่ดี เพื่อให้ผู้จัดค่ายดำเนินการ
อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยสามารถแบ่งการบริหารจัดการค่ายออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ ด้านที่ 1
การพัฒนาหลักสูตรค่าย จะต้องมีการกำหนด (1) เป้าหมายของการจัดค่าย (2) การกำหนดผลการ
เรียนรู้ (3) การกำหนดระยะเวลาการจัดค่าย และ (4) การสร้างบรรยากาศภายในค่าย ด้านที่ 2
กิจกรรมในระหว่างค่ายโดยจะต้องมีการกำหนดงานใน 4 ส่วน ดังนี้ (1) ประเภทกิจกรรม
(2) วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรม ประกอบด้วย กิจกรรมเพื่อกลุ่มสัมพันธ์ กิจกรรมสร้างความ
ตืน่ ตัวใหพ้ รอ้ มเรยี นรู้นนั ทนาการและกจิ กรรมอุ่นเครอ่ื ง กจิ กรรมเพ่ือการเรยี นรเู้ น้ือหาหลัก กิจกรรม
เสริมคุณลักษณะสร้างสรรค์ กิจกรรมสรุปสะท้อนการเรียนรู้ และประเมินผล (3) การออกแบบ
กิจกรรมเพื่อนำไปสูก่ ารบรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงคข์ องค่าย เข้าถึงสมาชิกคา่ ยอย่างทั่วถึง และ
ขอ้ พงึ ระวัง (4) สื่อ/อุปกรณท์ ใี่ ช้ในการทำกิจกรรม ซ่ึงจะต้องมกี ารคำนึงถงึ ความเหมาะสมกบั กิจกรรม
ความพรอ้ ม และความปลอดภัย และด้านท่ี 3 การเตรียมการด้านบุคลากร ซ่งึ เปน็ สิ่งที่มีความสำคัญ
อยา่ งยิ่ง จึงจำเปน็ จะตอ้ งเตรียมความพร้อม ดังนี้ (1) บุคลากรทีเ่ กีย่ วข้อง ไดแ้ ก่ ผ้จู ดั การค่ายมีหน้าที่
ดแู ลรบั ผดิ ชอบการดำเนนิ งานคา่ ยตงั้ แต่ตน้ จนจบ บรหิ ารทีมงาน ประสานงานกบั ผู้เก่ียวข้อง พี่เลี้ยง
มีหน้าที่ดูแลสมาชิกค่ายหรือสนับสนุนกิจกรรมค่าย วิทยากรมีหน้าที่ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ให้แก่สมาชิกค่าย (2) การเตรียมบุคลากรจำต้องมีการดำเนินงาน ประกอบด้วย การคัดเลือก
กลั่นกรองบุคลากร การคัดเลือกทีมงานจดั ค่ายควรดำเนินการล่วงหน้าเพื่อให้มเี วลาในการจัดอบรม
ประชุมทีมงานเพื่อสร้างความเข้าใจแนวคิดของค่าย การอบรมและพัฒนาพี่เลี้ยงค่ายซึ่งควรจัดให้
ครอบคลุมทั้งเรื่องความรู้ ความเข้าใจ เป้าหมายและวัตถุประสงค์ค่าย รวมถึงการบริหารจัดการ
ในค่าย เช่น การประชุมทีมงานประจำวัน ควรมีการประชุมทีมงาน 1 - 2 วันต่อครั้ง เพื่อให้ทีมงาน
รายงานและสรุปเหตุการณ์สำคัญประจำวัน และการประชุมทีมงานระหว่างวัน จะต้องจัดประชุม
ระหว่างวันเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่จะส่งผลต่อกิจกรรมของวัน และต้องการการตัดสินใจด่วนจากทีมงาน
(3) การทำงานร่วมกับผู้ปกครอง ซึ่งมีความสำคัญต่อการจัดกิจกรรมค่ายในการส่งเสริมสนับสนุน
พิจารณา ตัดสินใจ ให้คำแนะนำที่มีประโยชน์ต่อการดำเนินงาน (สำนักวิชาการและมาตรฐาน
การศกึ ษา. 2552)

44

สรุปได้ว่า การเรียนรู้ผ่านกิจกรรมค่าย เป็นรูปแบบหรือวิธีการจัดกิจกรรมการเรยี นรู้
แบบ Active Learning ทมี่ ปี ระสทิ ธผิ ลต่อการสรา้ งความรู้ ทักษะ เจตคติ และคณุ ลักษณะทีด่ ี ถอื เปน็
กระบวนการทางการศึกษาที่มีสื่อสร้างประสบการณ์โดยใช้สภาพแวดล้อมธรรมชาติที่มีอยู่ ทำให้
ผู้เรยี นมีความสุขและสนุกกับการเรียนรู้อยา่ งเต็มความสามารถและศกั ยภาพของตนเอง สอดคลอ้ งกับ
เปา้ หมายการเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพผูเ้ รียนในศตวรรษท่ี 21 ซง่ึ เปน็ การเรียนร้ทู ี่เน้นการลงมือ
ปฏิบัติให้ผู้เรียนได้เรียนรู้สภาพการณ์ที่เกดิ ข้ึนและแหล่งเรียนรู้จริง เกิดการเรยี นรู้ทัง้ แบบรายบุคคล
แบบกลุ่มและแบบทีม สนับสนุนและส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านทรัพยากรและองค์ความรู้
ที่หลากหลาย สร้างประสบการณ์ใหม่ และประสบการณ์เชิงบวกในการเรียนรู้ บนฐานของรูปแบบ
และวิธีการจัดค่ายที่สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการเรียนรู้ รวมถึงการบริหารจัดการที่เหมาะสม
สามารถบรรลุเปา้ ประสงค์หรือผลลัพธ์ท่ีต้องการได้อยา่ งมปี ระสทิ ธภิ าพ

5. การจัดการความรู้ (Knowledge Management)
แนวทางการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษท่ี 21 ใหป้ ระสบผลสำเร็จจะต้องมกี ารแบ่งปันความรู้
ระหว่างชุมชนผู้ปฏิบัติทางการเรียนรู้หรือผู้สอนโดยใช้ช่องทางหลากหลาย บริหารจัดการ
สภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ให้เกิดการสนับสนุนจากบุคลากรและสภาพแวดล้อมทางกายภาพ
ทเี่ กอื้ หนุน เพือ่ ช่วยให้การเรยี นการสอนบรรลุผล สนับสนุนทางวิชาชีพและความเช่ียวชาญแก่ชุมชน
ผู้ปฏิบัติทั้งในด้านการใหก้ ารศึกษา การมีส่วนรว่ ม การแบ่งปันแลกเปลีย่ นเรียนรู้สิ่งปฏิบัติที่เป็นเลศิ
ระหว่างกัน รวมทั้งการบูรณาการหลอมรวมทักษะหลากหลายสู่การปฏิบัติ (วิจารณ์ พานิช. 2555)
กล่าวได้ว่า การพฒั นาผู้เรยี นให้มคี ุณลกั ษณะที่พึงประสงค์ มีความรู้ ทักษะ และเจตคติที่ดี หรือเป็น
บุคคลแห่งการเรียนรู้ได้ตามเป้าประสงค์นั้น ต้องมีการจัดการความรู้ที่เชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ
ทั้งในมิติของผูส้ อนหรือผู้ให้ความรู้ เป้าหมายและบริบทในการเรียนรู้ของผู้เรียน รูปแบบการเรียนรู้
องค์ความรู้ สื่อและแหล่งเรียนรู้ รวมถึงสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ โดยการจัดการความรู้นั้นเป็น
การรวบรวม จดั เรียง หรือสร้างองคค์ วามรู้ทมี่ อี ยู่ในตัวบคุ คลและเอกสาร เพือ่ ให้ผเู้ รียนและผู้เก่ยี วข้อง
สามารถที่จะเข้าถึงความรู้หรือข้อมูลต่าง ๆ แล้วนำมาพัฒนาตัวเอง รวมถึงนำไปใช้เพื่อพัฒนา
ตามเป้าประสงค์ของโครงการอย่างเกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งลักษณะของความรู้นั้นแบ่งออกได้เป็น
2 ประเภท คอื (1) ความรูท้ ่ีฝังลกึ อยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) คือ ความรทู้ ี่มอี ยู่ในตัวของบุคคล
เช่น ประสบการณ์ พรสวรรค์ สัญชาตญาณหรือไหวพริบของแต่ละคนในการที่จะทำความเข้าใจ
กับงานหรือข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งความรู้พวกนี้ไม่สามารถที่จะถ่ายทอดผ่านตัวอักษรออกมาได้ง่าย ๆ
จึงสามารถเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ความรู้แบบนามธรรม และ (2) ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit
Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้มาจากทฤษฏี คำนิยาม หรือคู่มือต่าง ๆ ท่ีบุคคลสามารถจะเข้าถึง

45

ความรู้หรือเรียนรู้ได้ ซึ่งสามารถที่จะถ่ายทอดผ่านวิธีการต่าง ๆ ได้ จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ความรู้
แบบรปู ธรรม (ณพศิษฏ์ จักรพทิ ักษ์. 2552)

การจัดการความรู้จงึ เปน็ กิจกรรมทซี่ บั ซ้อนและมลี กั ษณะสำคัญ ดงั น้ี (1) การจัดการความรู้
เป็นการรวบรวม การจัดระบบ การจัดเก็บ และการเขา้ ถึงข้อมูลเพื่อสรา้ งเป็นความรู้ โดยสามารถใช้
เทคโนโลยดี ้านข้อมูลและคอมพวิ เตอร์เป็นเคร่ืองมอื ชว่ ยเพมิ่ พลังในการจดั การความรู้ได้ (2) การจัดการ
ความร้เู ก่ยี วข้องกบั การแบ่งปนั ความรู้ พฤตกิ รรมภายในกลมุ่ หรือหนว่ ยงานเกย่ี วกับวฒั นธรรม พลวัต
และวิธีปฏิบัติ ล้วนมีผลต่อการแบง่ ปันความรู้ รวมถงึ ประเด็นดา้ นวัฒนธรรมและสังคม มีความสำคัญ
ต่อการจัดการความรู้ และ (3) การจัดการความรู้ต้องการผู้มีความสามารถในการตีความประยุกต์ใช้
ความรู้ และการสร้างสรรค์ รวมถึงต้องเป็นผูน้ ำทางความรู้หรอื เป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาใดสาขาหนง่ึ
เพื่อช่วยแนะนำวิธปี ระยุกต์ใช้ในการจัดการความรู้ โดยองค์ประกอบของการจัดการความรู้ ประกอบด้วย
(1) คนหรือบุคลากรถือเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญที่สุดในการดำเนินการจัดการความรู้ เพราะคน
เป็นแหล่งความรู้ที่สำคัญที่สุด และคนคือผู้ที่จะนำความรู้ไปใช้ในการพัฒนาในด้านต่าง ๆ
(2) เทคโนโลยี เป็นตัวช่วยการค้นหา แลกเปลี่ยน และที่สำคัญคือสามารถจัดเก็บข้อมูล ทำให้คน
สามารถที่จะนำความรู้ต่าง ๆ ไปใช้ในการพัฒนาได้อย่างง่ายและรวดเร็วข้ึน และ (3) กระบวนการ
ความรู้ คือ การบริหารจัดการในทุก ๆ ขั้นตอนของการจัดการองค์ความรู้ โดยในทุกส่วนจะต้องมี
ความเกย่ี วเนื่องเชือ่ มโยงกันอยา่ งสมดุล รวมไปถึงเปน็ ไปอยา่ งมปี ระสทิ ธิภาพ (วิจารณ์ พานชิ . 2548)

จากลักษณะสำคัญของการจัดการความรู้ดังกล่าว สามารถพิจารณากระบวนการในการ
จัดการความรู้ได้ทงั้ หมด 7 ขัน้ ตอน ไดแ้ ก่ (1) การบ่งช้คี วามรู้ (Knowledge Identification) เปน็ การ
พิจารณาว่าหน่วยงานมีวิสัยทศั น์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ และเป้าหมายอย่างไร เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
ต้องใช้อะไร ปจั จบุ นั มคี วามรอู้ ะไรบา้ ง อย่ใู นรปู แบบใด และอยูท่ ี่ใคร (2) การสร้างและแสวงหาความรู้
(Knowledge Creation and Acquisition) เป็นการสร้าง แสวงหา รวบรวมความรู้ทั้งภายใน
ภายนอก รักษาความรู้เดิม แยกความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้วออกไป (3) การจัดความรู้ให้เป็นระบบ
(Knowledge Organization) เป็นการกำหนดโครงสร้างความรู้ แบ่งชนิด ประเภท เพื่อให้สืบค้น
เรียกคืน และใช้งานได้ง่าย (4) การประมวลและกลั่นกรองความรู้ (Knowledge Codification and
Refinement) เป็นการปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน ใช้ภาษาเดียวกัน ปรับปรุงเนื้อหา
ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ (5) การเข้าถึงความรู้ (Knowledge Access) เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้เข้าถึง
ความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก (6) การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge Sharing)
เป็นการแบ่งปัน สามารถทำได้หลายวิธีการ โดยกรณีที่เป็นความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge)
อาจจัดทำเป็นเอกสาร ฐานความรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือกรณีที่เป็นความรู้ฝังลึก (Tacit
Knowledge) จัดทำเป็นระบบทมี เครือข่ายความร่วมมือ ชมุ ชนแหง่ การเรียนรู้ ระบบพีเ่ ลี้ยง และเวที
แลกเปลี่ยนความรู้ เป็นต้น และ (7) การเรียนรู้ (Learning) เป็นการนำความรู้มาใชป้ ระโยชน์ในการ

46

ตัดสินใจ แก้ปัญหา และทำให้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เช่น เกิดระบบการเรียนรู้จากสร้างองค์ความรู้
การนำความรู้ในไปใช้เกิดการเรียนรู้ และประสบการณ์ใหม่ และหมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง
(ณพศษิ ฏ์ จกั รพทิ กั ษ์. 2552)

จะเห็นได้ว่า การจัดการความรู้เกีย่ วข้องกับการทำงานเป็นระบบทีม เครือข่ายผูเ้ ชีย่ วชาญ
และนักปฏิบัติ ชุมชนแห่งการเรียนรู้ ด้วยการแบ่งปันและการแลกเปลี่ยนความรู้ ซึ่งมีพื้นฐาน
จากเครือข่ายความร่วมมือที่มีความเข้มแข็งและมีเป้าประสงค์ร่วมกันในลักษณะต่าง ๆ โดยลักษณะ
ของเครือข่ายจะขน้ึ อยกู่ ับระดบั ของความร่วมมอื แบ่งเปน็ 4 ระดับ ได้แก่ ระดบั ที่หนึง่ คอื การประสานงาน
(Coordination) หมายถึง วิธีซึ่งคนจำนวนมากมาร่วมกันทำงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ได้
ตกลงกันไว้ โดยกำหนดกิจกรรมต่าง ๆ ออกเป็นหมวดหมู่ เพื่อมอบหมายให้ผู้รับผิดชอบปฏิบัติ
ด้วยความสามัคคี สมานฉนั ท์ และมปี ระสิทธภิ าพทส่ี ุด มีการร่วมมอื ปฏบิ ตั ิงานเปน็ น้ำหน่ึงใจเดียวกัน
เพอ่ื ให้งานหรือกิจกรรมดำเนินไปอยา่ งราบรื่นสอดคล้องกับวตั ถุประสงค์ และนโยบายอย่างสมานฉันท์
และระดับที่สอง คือ ความร่วมมือ (Cooperation) หมายถึง ความเต็มใจของแต่ละคนในการ
ชว่ ยเหลอื ซึ่งกนั และกนั เพ่ือไปส่เู ป้าหมายใดเป้าหมายหนึง่ ตามเป้าหมายของหนว่ ยงานความร่วมมือ
จะเป็นการที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นเจ้าของหรือเจ้าภาพงานหรือกิจกรรมนั้น ๆ แล้วขอให้ฝ่ายอื่น
เข้ามาร่วม มีลักษณะเกิดขึ้นเป็นครั้ง ๆ ไป ไม่มุ่งความต่อเนื่องและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่าง
ผู้เข้าร่วมกิจกรรม แต่มุ่งจะให้กิจกรรมนั้น ๆ แล้วเสร็จตามความต้องการของฝ่ายเจ้าของงาน
ความร่วมมือเปน็ การช่วยเหลอื ด้วยความสมคั รใจแม้จะไมม่ หี นา้ ที่โดยตรง (พสิ ฐิ เทพไกรวลั . 2554)

ความรว่ มมือในระดบั ท่สี าม คือ การทำงานร่วมกนั (Collaboration) หมายถึง การท่บี ุคคล
ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป หรือหน่วยงานตั้งแต่ 2 หน่วยงานขึ้นไป มาทำงานร่วมกัน มีการช่วยเหลือซึ่งกัน
และกัน และรบั ร้วู ่าตนเป็นสว่ นหนึง่ ของกลมุ่ ตามโครงสร้าง รวมทง้ั เข้าใจวตั ถุประสงค์ของการทำงาน
ร่วมกัน เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายเดียวกันอย่างมีประสิทธิภาพ และผู้ปฏิบัติงานตา่ งก็เกิดความพอใจ
ในการทำงานนั้น และระดับที่สี่ คือ การมีส่วนร่วม (Participation) หมายถึง การที่สมาชิกทุกคน
ของหน่วยงานหรือองค์กร ร่วมกันดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยมีลักษณะของกระบวนการ
(Process) มีขั้นตอนที่มุ่งหมายจะให้เกิดการเรียนรู้ (Learning) อย่างต่อเนื่องมีพลวัต (Dynamic)
กล่าวคือ มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ มีการแก้ปัญหา การร่วมกันกำหนด
แผนงานใหม่ ๆ เพื่อสร้างความยั่งยืนในความสัมพันธ์ของทกุ ฝ่ายที่เข้าร่วมดำเนนิ การ การมีส่วนร่วม
ก่อให้เกิดผลดีตอ่ การขบั เคลอ่ื นหนว่ ยงานหรือเครือข่าย ผู้ทีเ่ ข้ามามสี ว่ นร่วมย่อมเกิดความภาคภมู ใิ จท่ีได้
เป็นส่วนหน่ึงของการบรหิ ารจัดการทง้ั ในมิติของความรู้และการดำเนินงาน และท่สี ำคัญผู้ท่ีมีส่วนร่วม
จะมีความรู้สึกเป็นเจ้าของเครือข่ายและการดำเนินงานนั้น ๆ ซึ่งความรู้สึกเป็นเจ้าของจะเป็นพลัง
ในการขบั เคล่อื นเครอื ข่ายทด่ี ที ่สี ุดในการบรรลุเปา้ ประสงคข์ องงาน (สยามมล เกษประดิษฐ์. 2559)

47

สรุปได้ว่าการจัดการความรู้จะเกิดขึ้นได้ด้วยรูปแบบการทำงานเป็นทีม สร้างเครือข่าย
ผู้เชย่ี วชาญและนักปฏิบตั ิ ให้เกิดเปน็ ชุมชนแหง่ การเรียนรู้ ด้วยการแบง่ ปนั และการแลกเปลย่ี นความรู้
อย่างเป็นระบบ ซึ่งมีพืน้ ฐานจากเครือข่ายความร่วมมือท่ีมีความเข้มแข็ง มีความเป็นมอื อาชีพในการ
ทำงาน และมีเป้าประสงค์ร่วมกันในลักษณะต่าง ๆ โดยสรุปแล้ว หลักการเสริมสร้างคุณลักษณะ
เยาวชนรกั ษ์พงไพร มงุ่ เนน้ การพัฒนานกั เรียนให้เปน็ บุคคลแห่งการเรียนรู้ กล่าวคือ มีความรู้ ทักษะ
เจตคตทิ ่ดี ดี ้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสงิ่ แวดล้อม รวมถึงเคารพรักในสถาบันชาติ ศาสนา
และพระมหากษตั ริย์ มคี ณุ สมบัติท่ีเหมาะสมกับการเติบโตและดำรงชวี ิตในศตวรรษท่ี 21 โดยพัฒนา
ด้วยการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมค่ายที่บูรณาการสหวิชาการที่เกี่ยวข้อง ด้วยรูปแบบ Active Learning
บนฐานประสบการณ์ตรงจากแหลง่ ศึกษาธรรมชาติจริงในพื้นท่ี พร้อมทง้ั ส่งเสรมิ การต่อยอดขยายผล
และจัดการความรู้ดา้ นการอนรุ ักษ์ทรัพยากรธรรมชาตแิ ละส่ิงแวดลอ้ มด้วยเครือข่ายเชิงพน้ื ท่ีอย่างเป็น
ระบบ ซึ่งการเสริมสร้างคุณลักษณะดงั กล่าวตอ้ งพิจารณาหลกั การ 3 ด้าน คือ (1) ด้านความตระหนักรู้
ได้แก่ การสร้างตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การสร้างสำนึก
รับผิดชอบในการใช้ชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การสร้างความเข้าใจต่อสถาบันชาติ ศาสนา และ
พระมหากษตั ริย์ ที่มีความสำคัญต่อการอนุรกั ษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (2) ด้านกระบวนการ
ได้แก่ การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสาระวิชา การบูรณาการองค์ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ
หลากหลายสาขาที่เกยี่ วขอ้ งกับการอนุรักษท์ รพั ยากรธรรมชาติและส่งิ แวดลอ้ มการเรียนรู้ด้วยการฝึก
ปฏิบัติและการเข้าค่าย การเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ตรงจากแหล่งศึกษาธรรมชาติ การจัดกิจกรรม
การเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับบริบทและวิถีชีวิตของนักเรียน และ (3) ด้านการจัดการ ได้แก่ การสร้าง
เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างเป็นระบบ
เพือ่ พฒั นาความสามารถของผสู้ อน การสามารถเข้าถึงองค์ความรู้จากผเู้ ชี่ยวชาญได้อย่างสะดวก และ
การสร้างกระบวนการที่เอื้อต่อการนำความรู้ไปใช้อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ในท้องถิน่ ได้อยา่ งตอ่ เนื่อง

การวิจยั และพัฒนาแนวทางการเสริมสร้างคุณลกั ษณะเยาวชนรักษพ์ งไพร
การวิจัยและพัฒนา (Research and Development: R&D) มีองค์ประกอบของการ

ประสานกันระหว่าง “การวิจยั ” และ “การพัฒนา” โดยการวจิ ัยเป็นกระบวนการตรวจสอบ (ยืนยัน
ความถูกต้องและน่าเชือ่ ถอื ) แสวงหา (สืบคน้ องคค์ วามรูท้ ม่ี อี ยูแ่ ตย่ งั ไม่มกี ารคน้ พบมากอ่ น) หรอื สร้าง
ประดิษฐกรรม (นวัตกรรมหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน) โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์
ส่วนการพฒั นา เป็นกระบวนการปรับปรงุ แกไ้ ขให้ดีขน้ึ และเหมาะสมกว่าเดิมหรือเปล่ียนแปลงวิธีการ
หรอื ผลผลิต จนมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพอนั เปน็ ประโยชนต์ ่อบุคคล หนว่ ยงาน องค์กร สถาบัน
หรือสังคมโดยรวม ซึ่งมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนางาน พัฒนาวิชาชีพ หรือการพัฒนาวิถีชีวิต

48

ของมนุษย์ ซึ่งในปัจจุบันหน่วยงานจำนวนมากได้พยายามส่งเสริมให้บุคลากรในสังกัดมีความรู้
ความสามารถดา้ นการวจิ ยั และพัฒนา โดยเชือ่ วา่ การวิจัยและพัฒนาจะชว่ ยให้ได้ทางเลือกหรือวธิ กี ารใหม่ ๆ
ที่จะช่วยให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ (กฤษิยากร เตชะปิยะพร. 2552)
โดยมลี ักษณะเป็นการนำความรู้หรือความเข้าใจท่สี ร้างขนึ้ มาพฒั นาเป็นตวั แบบใชง้ าน เป็นการทำวิจัย
เพื่อแสวงหาหรือสร้างสรรค์ภูมิปัญญาใหม่ แล้วทำการพัฒนาด้วยการคิดค้น ต่อยอดความรู้ความ
เข้าใจดังกล่าวให้อยู่ในรูปต้นแบบการพัฒนาที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในวงกว้างได้ รวมถึงเป็น
การศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบ และต่อเน่ือง เพราะว่าจุดแข็งของการวจิ ัยและพัฒนามี 3 กระบวนการหลัก
ได้แก่ การวิจัย การพฒั นา และการเผยแพร่ ดงั น้นั การศกึ ษาคน้ ควา้ เพ่ือให้ไดค้ วามรู้หรือความเข้าใจ
ในแง่มุมใหม่ สำหรับนำไปพัฒนาผลผลิตและถ่ายทอดไปสู่ผู้ใช้ในวงกว้าง จึงต้องกระทำอย่างเป็น
ระบบ กลา่ วคือเป็นการดำเนนิ งานท่ีเป็นไปตามข้นั ตอนและตอ่ เนือ่ งของกระบวนการวิจัยและพัฒนา
ส่วนความตอ่ เน่ือง คอื เป็นกระบวนการดำเนินงานที่จะต้องกระทำติดตอ่ กัน โดยใช้ระยะเวลาในการ
ทำกิจกรรมการวิจัยและพฒั นา และเผยแพร่ผลผลิตไปสู่ผู้ใช้อย่างกวา้ งขวางและเป็นรปู ธรรมต้องใช้
ระยะเวลา นอกจากน้ตี ้องมีการดำเนนิ งานอย่างเป็นวฏั จกั รด้วยวิธกี ารทีเ่ ช่ือถอื ได้ การวจิ ัยและพัฒนา
ทุกขั้นตอนจะต้องทำอย่างพิถีพิถันภายใต้การกำกับติดตาม แล้วตรวจสอบซ้ำหลายครั้งเพื่อให้เกิด
ความมั่นใจว่าผลผลิตขั้นสุดท้าย (End of Product) ของกระบวนการวิจยั และพัฒนาที่อยู่ในรูปของ
ผลผลิตมีความถูกต้องและเชื่อถือได้ ตรงตามระดับมาตรฐานก่อนการเผยแพร่ไปสู่ผู้ใช้หรือสังคม
(วาโร เพ็งสวัสดิ์. 2551)

สำหรับการวิจัยและพัฒนาโดยทั่วไปนักวิจัยจะใช้การผสมผสานวิธีการเชิงปริมาณ และ
วธิ กี ารเชงิ คณุ ภาพตามฐานคติทอ่ี ยู่ภายใต้กระบวนทัศน์ แบบปฏิบตั นิ ิยม และประโยชน์นิยมเป็นหลัก
เช่น ผสมผสานวิธีการเชิงปรมิ าณ ได้แก่ การวจิ ยั เชิงสำรวจในข้ันตอนการการรวบรวมข้อมูลที่จำเป็น
ต่อการออกแบบผลผลิต การวิจัยเชิงทดลองในขั้นตอนทดสอบคุณภาพของผลผลิต และวิธีการวิจัย
เชิงคุณภาพ ได้แก่ การศึกษาเฉพาะกรณีในขั้นตอนการเผยแพร่ผลผลิตสู่กลุ่มผู้ใช้หรือชุมชนใด
ชุมชนหนึ่ง เป็นต้น อีกประการที่สำคัญ คือ การมุ่งเน้นตอบสนองต่อผู้ต้องการใช้ผลการวิจัยและ
พัฒนา จดุ เน้นสำคัญของการวิจัยและพัฒนาเป็นการดำเนนิ การวิจยั ทจ่ี ะตอ้ งตอบสนองความต้องการ
ของบุคคล หรือกลุ่มบุคคลผู้ประสงค์จะนำผลผลิตที่เป็นวิทยาการสมัยใหม่ไปใช้งาน และหรือ
ประกอบการตดั สนิ ใจแกป้ ัญหาท่มี อี ย่ใู นหนว่ ยงาน องค์การหรือชุมชน ดังนนั้ ในการออกแบบการวจิ ยั
และพัฒนา นักวิจัยกำหนดให้ผู้ที่คาดว่าจะนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์มีส่วนร่วมในการกำหนด
เป้าหมายของการวจิ ยั และพฒั นา ตงั้ คำถามหรอื โจทยก์ ารวิจัย รวมท้งั การสนับสนุนงบประมาณ ท้ังนี้
นอกจากจะเป็นการสร้างความรู้สึกเป็นหุ้นส่วนในการทำวิจัยและพัฒนาร่วมกับนักวิจัยแล้ว ยังจะ
ส่งผลดีต่อการยอมรับและการนำผลผลิตไปใช้อีกด้วย (ผ่องพรรณ ตรัยมงคลกูล, และสุภาพ
ฉตั ราภรณ์. 2543)

49

โดยขั้นตอนของกระบวนการวิจัยและพัฒนาที่สำคัญ คือ (1) การสำรวจสังเคราะห์สภาพ
ปัญหาและความต้องการหรือการสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยท่ีเกี่ยวข้อง เพื่อหาคำตอบเกีย่ วกบั
สภาพปญั หาความต้องการเกี่ยวกับผลผลิต รวมทั้งลกั ษณะท่ีเหมาะสมของผลผลิตทต่ี อ้ งการให้พัฒนา
ผลการดำเนินการ (2) การออกแบบพัฒนา เป็นการดำเนินการโดยการนำความรู้และผลการวิจัยท่ีได้
จากขั้นตอนที่ 1 มาพัฒนาผลผลิต กำหนดวิธีท่ีจะพฒั นาและทรัพยากรที่ต้องการเพือ่ การพัฒนา ทั้งใน
ด้านกำลงั คน งบประมาณ วสั ดุ ครภุ ัณฑ์ และระยะเวลา หลังจากนน้ั จึงตอ้ งดำเนนิ การพัฒนาผลผลิต
ให้มีลักษณะหรือรูปแบบตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย โดยจะต้องใช้บุคลากรที่มีความ
เชี่ยวชาญเฉพาะทางในการสร้างผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด (3) การทดลองใช้ เมื่อสร้างผลผลิตเสร็จแล้ว
จะต้องไปตรวจสอบความเหมาะสมและประสิทธิภาพ ถ้าหากผลการตรวจสอบความเหมาะสมและ
ประสิทธิภาพยังไม่เป็นที่พึงพอใจหรือมีบางส่วนที่ไม่สมบูรณ์ จะต้องดำเนินการปรับปรุงแก้ไข
จนกระทัง่ มีความเหมาะสมและมีประสิทธภิ าพตามเกณฑ์ท่ีกำหนด และ (4) การเผยแพร่ เปน็ การนำ
ผลการวิจัยและพัฒนาไปเผยแพร่ เช่น การนำเสนอในที่ประชุมสัมมนาทางวิชาการหรือวิชาชีพ
การตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารทางวิชาการ หรือการนำผลผลิตไปใช้ในเชิงนโยบายหรือวงกว้างต่อไป
(วาโร เพง็ สวัสดิ์. 2551)

จากแนวคิดเกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนาดังกล่าว ผู้วิจัยจึงพิจารณากำหนดวิธีการวิจัย
ให้เหมาะสมกับเป้าหมายทางการวิจัยและผลผลิตที่ต้องการ ดังนั้น การวิจัยเรื่องแนวทางการ
เสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพรเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของ
โรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน จึงใช้วิธดี ำเนินการ
วิจัยในลักษณะของการวิจัยและพัฒนา โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed
Methods Research) ด้วยการศึกษาวิธีการเชิงปริมาณ (Quantitative Methods) และวิธีการ
เชิงคุณภาพ (Qualitative Methods) ซึ่งพิจารณาความเหมาะสมของการได้มาซึ่งข้อมูลในแต่ละ
ขั้นตอน เพื่อตอบคำถามการวิจัยให้ครอบคลุมวัตถุประสงค์ของการวิจัย โดยมีรายละเอียดขั้นตอน
การวิจัย 4 ข้นั ตอน ตามลำดับ ได้แก่ ขนั้ ตอนท่ี 1 การวจิ ัยศกึ ษาและวเิ คราะห์ขอ้ มูลพน้ื ฐาน เกี่ยวกับ
คุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพรเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และแนวทาง
การเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพรของโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ขั้นตอนที่ 2 การออกแบบและพัฒนาแนวทาง ขั้นตอนที่ 3
การทดลองแนวทาง และขั้นตอนที่ 4 การนำแนวทางการไปใช้ จากนั้นกำหนดให้มีเผยแพร่แนวทาง
และเอกสารประกอบแนวทาง ซึ่งมีความเหมาะสมในเชิงนโยบายการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ
สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในระดับปฏิบัติ ได้อย่างสอดคล้องเหมาะสมกับความต้องการตามบริบท
พื้นท่ี ในรูปแบบ E-book ด้วยช่องทาง Website และระบบสารสนเทศออนไลน์ของสำนักพัฒนา

50

นวัตกรรมการจัดการศึกษา เพื่อให้บุคลากรทางการศึกษาและผู้สนใจสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
ในวงกว้างตอ่ ไป

งานวจิ ยั ทเี่ ก่ียวขอ้ ง
1. งานวิจัยในประเทศ
ณัชณิชา โพธิ์ใจ และคณะ (2560) ได้ศึกษาการพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างคุณลักษณะ

ด้านความรับผิดชอบ ตามแนวคิดคุณลักษณะศึกษาของลิคโคนา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ตอนต้น พบวา่ ประการแรก คุณลักษณะด้านความรบั ผิดชอบ สำหรับนักเรยี นชนั้ มัธยมศกึ ษาตอนต้น
มีมาตรฐานทางจริยธรรม ด้านความรับผิดชอบ ดังนี้ (1) ปฏิบัติหน้าที่อย่างตั้งใจเพื่อให้งานบรรลุ
เป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ (2) ยอมรับผลการกระทำของตนเอง และปรับปรุงการปฏิบัติหน้าที่
ให้ดีอยู่เสมอ (3) ตรงต่อเวลา (4) มีความอดทน และเพียรพยายามในการปฏิบัติงานให้สำเร็จ
(5) เคารพกฎเกณฑ์ของสังคม และมีระเบียบวินัย และ (6) มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ แนวทาง
ในการเสรมิ สรา้ งคุณลกั ษณะด้านความรับผิดชอบ ควรจดั ทำหลักสูตรโดยเน้นการเรียนรู้แบบร่วมมือ
กระตนุ้ ให้นกั เรยี นได้ คิดและตระหนกั ถงึ ความสำคญั ของการมคี วามรบั ผิดชอบ ให้นักเรยี นมสี ว่ นร่วมคิด
และดำเนินการ อภิปราย สะท้อน คิด ฝึกปฏิบัติกิจกรรมที่ส่งเสริมความรับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง
สม่ำเสมอ ประการที่สอง หลักสูตรเสริมสร้างคุณลักษณะด้านความรับผิดชอบ ตามแนวคิด
คุณลักษณะศึกษาของลิคโคนา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีองค์ประกอบ คือ
(1) ความเป็นมาของหลักสูตร (2) หลักการ (3) จุดหมาย (4) เนื้อหาสาระ (5) กระบวนการเรียนรู้
เพื่อพัฒนาคุณลักษณะดา้ นความรบั ผิดชอบ 5 ขั้น คือ การสร้างประสบการณ์ การรับรู้เชงิ จริยธรรม
การเก็บจำตัวแบบ การแก้ปัญหาเชิงจริยธรรม สะท้อนคิดเชิงเหตุผล และการสร้างคุณลักษณะ
ด้านความรับผิดชอบ (6) สื่อและแหล่งเรียนรู้ และ (7) การวัดผลประเมินผล หลักสูตรมีความ
เหมาะสมระดบั มาก และ ผลการทดลองนำรอ่ ง พบวา่ มคี วามเป็นไปได้ในการนำไปใช้

สรายุทธ คาน และคณะ (2560) ได้ศึกษารูปแบบการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของชุมชน
กรณีศกึ ษา: ชุดโครงการวจิ ยั และพฒั นาการเรียนการสอนวิทยาศาสตรท์ ้องถิ่น เครอื ข่ายมหาวิทยาลัย
ราชภัฏ พบว่า รูปแบบดังกล่าวประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก คือ (1) หลักการและแนวคิด
การอนุรกั ษ์สิง่ แวดล้อม (2) วัตถปุ ระสงค์ของรูปแบบการอนุรกั ษ์สิ่งแวดล้อม และ (3) ขั้นตอนในการ
ดำเนินการอนรุ ักษ์สง่ิ แวดลอ้ ม โดยองค์ประกอบ คือ (1) หลกั การและแนวคิดการอนรุ กั ษ์ส่ิงแวดล้อม
ของชุมชน อย่บู นพน้ื ฐานของแนวคิดและทฤษฎีด้านกระบวนการเรียนรแู้ บบมีส่วนรว่ มและวิทยาการ
ด้านสิ่งแวดล้อมที่ผสมผสานเชื่อมโยงกับวิถีชีวิต ภูมิปัญญาและสภาพแวดล้อมของชุมชน โดยมี
เป้าหมายเพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน การฟื้นฟู
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรม และการสงวนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

51

ท่ีหายาก (2) วตั ถุประสงค์ เพื่อใหเ้ ปน็ กระบวนการในการดำเนินงานให้เกิดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดลอ้ มท่ีเหมาะสมกับบรบิ ทของชมุ ชน และ (3) ขน้ั ตอนในการอนุรกั ษส์ ่ิงแวดล้อมของชุมชน
ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนย่อย ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การสร้างความรู้ความเข้าใจและความตระหนัก
ร่วมกันในการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชนอย่างยั่งยืน (ระยะก่อเกิด)
ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนากิจกรรมการอนุรักษ์ ด้วยทักษะกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงปฏิบัติ
เพื่อปรับปรุง/แก้ไขทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมท่ีเสื่อมโทรม/เปลี่ยนแปลงไป (ระยะพฒั นา)
และขั้นตอนที่ 3 การควบคุมและการเผยแพร่กิจกรรมเพื่อเพิ่มสมรรถนะด้านการอนุรักษ์ทรัพยากร
ธรรมชาติและสงิ่ แวดล้อมของชุมชนให้ยัง่ ยืน (ระยะขยายผล)

อรนุช ลิมตศิริ (2560) ได้ศึกษาการศึกษานอกห้องเรียนเพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้
ในศตวรรษที่ 21 มวี ัตถุประสงคเ์ พ่อื ศกึ ษาความสำคัญของการศกึ ษาที่เน้นประสบการณ์นอกห้องเรียน
และนำเสนอรูปแบบการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้นอกหอ้ งเรียน การจัดการ ศึกษานอกห้องเรียน
นับเป็น การขยายประสบการณ์เรียนรู้ในห้องเรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ เกิดทักษะ
มีเจตคติและเกิดความตระหนักต่อสิ่งแวดล้อม การศึกษานอกห้องเรียนมีลักษณะเป็นสหวิทยาการ
ท่ีบูรณาการศาสตรต์ า่ ง ๆ เข้าด้วยกนั ทเ่ี พ่มิ พนู ประสบการณ์ในการเรยี นรู้ และพฒั นาทกั ษะที่สำคญั ๆ
รวมถึง ทักษะการสังเกต การตั้งคำถาม การคิดเชิงวิจารณญาณ การแก้ปัญหา ทักษะการสื่อสาร
การทำงานร่วมกัน และพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ นอกจากนี้การศึกษานอกห้องเรียนยังส่งเสริม
ประสบการณใ์ นการเรยี นรแู้ ละการคิดในระดับสูงซง่ึ เปน็ แนวคิดหลกั ของการเรียนรแู้ ละการดำรงชีวิต
ในศตวรรษที่ 21 การศึกษานอกห้องเรียนเป็นการสร้างแรงจูงใจในการเรียนและปลูกฝังคุณลักษณะ
ของการเป็นผใู้ ฝเ่ รยี นรตู้ ลอดชวี ติ อกี ด้วย

สมยศ วิเชียรนิตย์ และคณะ (2559) ได้ศึกษาการพัฒนารปู แบบกิจกรรมค่ายสิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อมศึกษาในการอนรุ ักษ์และป้องกันทรัพยากรป่าไม้สำหรับเยาวชนจังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งเป็น
การพัฒนากิจกรรมสิ่งแวดล้อมศึกษาสำหรับเยาวชน โดยมีความสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้
เก่ยี วกับธรรมชาติและสิง่ แวดล้อมรอบตวั เราด้วยความสนุกและน่าตนื่ เตน้ รวมถงึ สร้างความตระหนัก
ต่อการอนรุ ักษท์ รัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม กิจกรรมต่าง ๆ จะช่วยให้การศึกษาเยาวชนและ
ส่งเสริมให้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และป้องกันทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การวิจัยน้ี
มีวัตถุประสงคเ์ พื่อสร้างรูปแบบกิจกรรมค่ายสิ่งแวดลอ้ มศึกษาเพื่อการอนรุ กั ษ์และป้องกันทรัพยากร
ป่าไม้ ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบกิจกรรมค่ายสิ่งแวดล้อมศึกษาที่ออกแบบมีประสิทธิภาพ เท่ากับ
87.54/85.22 และความรเู้ กยี่ วกับสงิ่ แวดลอ้ ม ความตระหนักตอ่ สิง่ แวดลอ้ มและการมีส่วนร่วมในการ
อนรุ ักษ์และปอ้ งกนั ทรพั ยากรป่าไม้ของเยาวชนเพิ่มขน้ึ หลังการเขา้ รว่ มกิจกรรมค่ายส่ิงแวดล้อมศึกษา
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเยาวชนที่มีอายุต่างกันมีความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
ความตระหนกั ตอ่ สิง่ แวดลอ้ มและการมสี ่วนรว่ มในการอนรุ ักษแ์ ละปอ้ งกันทรพั ยากรปา่ ไม้ตา่ งกัน

52

อภิชาติ อ่อนเอม (2559) ได้ศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของ
นกั เรยี นในสถานศึกษาสงั กัดสำนักงานเขตพืน้ ที่การศกึ ษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 พบวา่ คุณลักษณะ
อันพึงประสงค์ของนักเรียนในสถานศึกษา ประกอบด้วย ด้านความซื่อสัตย์สุจริต ด้านใฝ่เรียนรู้
ด้านอยู่อย่างพอเพยี ง ด้านมุ่งมั่นในการทำงาน ด้านมจี ิตสาธารณะ และด้านมีทกั ษะเพ่อื การดำรงชีวิต
ในศตวรรษที่ 21 โดยควรมีแนวทางการพัฒนาโดยการวิเคราะห์หาสาเหตุการอภิปรายถึงผลเสีย
การเยี่ยมบ้านนักเรียน การสื่อสารกันระหว่างครูกับผู้ปกครอง ครูดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด อบรม
นักเรียนโดยสอดแทรก ในกิจกรรมการเรียนการสอน และการเสริมแรงทางบวกแก่นักเรียน รวมถึง
การสร้างแรงจูงใจเปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็น มีกิจกรรมโครงงาน จัดบรรยากาศ
ในชั้นเรียนให้เอื้อต่อการสรุปเป็นองค์ความรู้จากสิ่งที่เรียนรู้ ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม สร้างความ
ตระหนักและการยกย่องชมเชย จัดกิจกรรมเพิ่มทักษะชีวิต สร้างสถานการณ์จำลอง แสดงบทบาท
สมมติ รวมถึงการวิเคราะห์สถานการณ์สร้างความรับผิดชอบให้กับนักเรียน ให้สามารถแก้ไขปัญหา
และอุปสรรคในการทำงานได้ พร้อมทั้งการจัดกิจกรรมฝึกปฏิบัติจริง การมีจิตอาสาในการทำงาน
กจิ กรรมจติ อาสาพัฒนาสังคม รว่ มกจิ กรรมของชุมชน

กานดา จินดามงคล (2558) ได้ศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีต่อการจัดการ
สิ่งแวดล้อมและแนวทางในการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมของเทศบาลตำบลเหมอื งง่า อำเภอเมือง
ลำพูน จังหวัดลำพูน ทั้งหมด 10 หมู่บ้าน พบว่ามีค่าเฉลี่ยโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้
ด้านการควบคุมกิจกรรม การจัดการ ด้านการใช้อย่างยั่งยืน และด้านการขจัดของเสีย/มลพิษ
ตามลำดับ ผลระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีต่อการจัดการสิ่งแวดล้อมโดยรวมอยู่ในระดับ
ปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน จะพบค่าเฉลี่ยโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ คือ
ด้านการมีส่วนร่วมในการตดิ ตามและประเมนิ ผลโครงการและแผนงานการพัฒนาด้านการมีสว่ นร่วม
ในการรับผลประโยชน์จากการพัฒนาด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินการของแผนและโครงการ
พัฒนา และด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ผลการวิเคราะห์ ข้อเสนอแนะควรมีการส่งเสริมให้
ประชาชนทุกภาคส่วน ได้มีส่วนร่วมในการคิดร่วมทำร่วมตรวจสอบและติดตามประเมินผล
การดำเนินงาน เพื่อให้การบริหารและการพฒั นา มปี ระสทิ ธภิ าพ โปรง่ ใส ตรวจสอบได้ รวมท้ังมีการ
สนับสนุนและส่งเสริมให้ประชาชนหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้มีโอกาสแสดงทัศนะและเข้าร่วม
ในกจิ กรรมต่าง ๆ ท่มี ีผลตอ่ คุณภาพชีวิตความเปน็ อยู่ของประชาชน

ประวิทย์ สุทธิบุญ และคณะ (2558) ศึกษาการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษา
โดยกระบวนการทัศนศึกษาเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำหรับ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย พบว่า องค์ประกอบสำคัญของวิธีสอนด้วยการไปทัศนศึกษา
ประกอบด้วย (1) มีการวางแผนร่วมกันระหว่างผู้สอนและผู้เรียนในเรื่องวัตถุประสงค์ สถานที่
การเดนิ ทาง เรอ่ื งทจ่ี ะศึกษา วธิ กี ารศึกษา ค่าใช้จา่ ย กำหนดการเดนิ ทาง และหน้าท่ีความรับผิดชอบ

53

(2) มีการเดินทางออกไปยังสถานที่เป้าหมายซึ่งอยู่นอกโรงเรียนหรือนอกสถานที่ที่เรียนกันอยู่เป็นปกติ
(3) มีกระบวนการในการศึกษาสิ่งที่ต้องการเรียนรู้จากในสถานที่นั้น (4) มีการสรุปผลการเรียนรู้
ท่ีผเู้ รียนไดร้ ับจากการไปทศั นศกึ ษา

วิลินธร ชูโต และชิษณุพงศ์ ประทุม (2558) ได้ศึกษาการรับรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ตอนปลายต่อปัญหาด้านสง่ิ แวดล้อมและการจัดการ โดยใช้เครื่องมือในการวิจัยหลกั 3 ประเภท ได้แก่
(1) การอบรมบรรยายเชิงวิชาการ ซึ่งมีทัง้ ในหอ้ งเรยี นและภาคสนาม (2) การทศั นศึกษานอกสถานที่
และ (3) การประมวลผลความรู้ก่อน - หลัง กลุ่มตัวอย่างวิจัยประกอบด้วยนักเรียนระดับช้ัน
มัธยมศกึ ษาตอนปลายปีที่ 4 และ 5 จำนวน 238 คน ผลการวเิ คราะหข์ ้อมูลแสดงให้เหน็ ว่า หลังจาก
การให้ความรู้ความเข้าใจด้านปัญหาสิ่งแวดล้อมและการจัดการ กลุ่มตัวอย่างวิจัยทั้งหมดมีค่าเฉลี่ย
การรับรู้ด้านปัญหาสิ่งแวดล้อมและการจัดการสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติมากกว่าก่อนการให้
ความร้คู วามเขา้ ใจ ดา้ นปญั หาสิ่งแวดลอ้ มและการจัดการ (p < 0.05) โดยงานวจิ ัยยังพบวา่ นกั เรยี นชาย
มีความสามารถในการรับรู้ด้านปัญหาสงิ่ แวดล้อมและการจดั การสงู กวา่ นักเรยี นหญงิ อยา่ งมีนัยสำคัญ
ทางสถิติ ทัง้ นขี้ ้อเสนอแนะท่ีเกดิ ขน้ึ จากการวจิ ัยคร้งั นีค้ ือ ควรมีการให้ความรูค้ วามเข้าใจ ด้านปัญหา
สง่ิ แวดล้อมและการจัดการกับนกั เรียนในทกุ ระดับช้นั เพ่อื เปน็ การส่งเสริมให้มีการรักษาส่ิงแวดล้อม
อย่างตอ่ เนือ่ งและย่ังยนื ในอนาคตต่อไป

ณัฐวรรธน์ สุนทรวริทธิโชติ และกาญจณา สุขาบูรณ์ (2556) ได้ศึกษาสภาพปัญหา
สิ่งแวดล้อมในเขต ตำบลสามบัณฑิต: ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาตแิ ละสิ่งแวดล้อม
ของประชาชนในตำบลสามบัณฑิต พบว่า การมีส่วนร่วม การบำรุงรักษา มีอิทธิพลต่อการพัฒนา
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เมื่อวัดจากการมีส่วนร่วมในกิจกรรมด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ
การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาแม่น้ำ ลำคลอง
การชักชวนให้สมาชิกในครอบครัวเข้ารว่ มกิจกรรมพฒั นาแหล่งน้ำเนื่องในวันสำคญั และการเขา้ ร่วม
ประชุมกับคณะกรรมการหมู่บ้าน หรือกลุ่มองคก์ รต่าง ๆ ในชุมชน เพื่อเสนอข้อคดิ เหน็ ข้อเสนอแนะ
และวิธีการในการพัฒนาแหล่งน้ำ และเมื่อวัดการบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ในกิจกรรมด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การปลูกพืช
แบบขั้นบันได การใช้ปุ๋ยหมักที่ผสมเอง การกำจัดวัชพืช โดยวิธีธรรมชาติ การกำจัดวัชพืชโดยใช้
สารเคมี การปลูกพืช คลุมดิน การปลูกหญ้าแฝก การปลูกพืชตระกูลถั่ว พบว่า การบำรุงรักษา
มีอทิ ธพิ ลตอ่ การพัฒนา ทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละสิ่งแวดลอ้ มเชน่ กัน

54

2. งานวจิ ยั ตา่ งประเทศ
American Camp Association (2016) ระบุในงานวิจัยถึงประโยชน์ที่นักเรียนได้เข้าค่าย
ว่ามีพัฒนาการทางด้านการแสดงตัวตนในทางบวก ทักษะทางด้านสังคม ทักษะทางร่างกายและ
ความคิด คุณค่าและจิตวิญญาณในทางบวก ซึ่งในผลลัพธ์ในการศกึ ษาครั้งนี้พบว่าเด็กทีไ่ ดไ้ ปเขา้ คา่ ย
ได้รับการพัฒนาด้านต่าง ๆ ดังนี้ (1) ด้านความมั่นใจมากขึ้นและให้คุณค่าในตัวเองสูงขึ้นด้วย
(2) ด้านทักษะเข้าสังคม ทำให้สามารถหาเพื่อนใหม่ได้ 3) ด้านลดการพึ่งพาและเพิ่มความเป็นผู้นำ
มากขึ้น (4) ด้านความเจริญเติบโตของจิตวิญญาณที่สูงขึ้น ทั้งน้ีผลการวิจัยแสดงถึงการพัฒนาในทุกด้าน
และยังคงรกั ษาระดับถึงหกเดือนใหห้ ลังจากได้ไปออกค่าย สามารถสรุปประโยชน์ท่เี กิดขน้ึ ผู้เข้าร่วมได้
คอื ผู้เขา้ ร่วมไดร้ ับพัฒนาการท่ีดีขน้ึ อย่างมาก ทงั้ ในด้านภาวะผนู้ ำ การทำงานเป็นทีม การแก้ปัญหา
เชิงสร้างสรรค์ การพัฒนาทางด้านทักษะชีวิต ซึ่งเกิดการปฏิสัมพันธ์ภายในเครือข่ายเพื่อนที่เกดิ ขนึ้
ภายในค่าย ทำให้เข้าใจตนเอง รู้จักตนเองมากขึ้น และทำให้ผู้ที่เข้าร่วมนั้นเปลีย่ นพฤติกรรมตนเอง
ไปเปน็ ผูท้ ่ีมจี ติ อาสา
Arnold (2009) ได้ศึกษาเกีย่ วกบั เยาวชนและการดำเนินการสิ่งแวดล้อม: มุมมองของผ้นู ำ
เยาวชนสิ่งแวดล้อมต่อการดำเนินงาน พบว่า ทัศนคติ ความคิดริเริ่ม และการมีส่วนร่วมในกิจกรรม
ดา้ นส่ิงแวดลอ้ ม มาจากผู้ปกครอง ประสบการณ์การทำกิจกรรมกลางแจง้ ในวัยเดก็ เพือ่ น แบบอย่าง
จากครู การประชมุ และการทำกิจกรรม ทำให้เข้าใจในธรรมชาตแิ ละมีอิทธพิ ลต่อเยาวชน
Littledyke (2008) ได้ศึกษาเกี่ยวกับการศึกษาวิทยาศาสตร์เพื่อการตระหนักถึงสิ่งแวดล้อม:
แนวทางการบูรณาการด้านพุทธิปัญญาและจิตปัญญา พบว่าโดเมนด้านความคิดและอารมณ์จะต้อง
บูรณาการอย่างชัดเจนในการศึกษาวิทยาศาสตร์ ในรปู แบบของส่ิงแวดลอ้ มการศึกษา เป็นความรู้สึก
ของความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม การสนับสนุนการพัฒนานักเรียนให้มีทัศนคติในเชิงบวก
ด้านสิ่งแวดล้อมจะช่วยให้พวกเขาทราบถึงวิกฤตทางเลือกด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับ
การดูแลสิ่งแวดล้อม และผู้นำด้านความรับผิดชอบในอนาคตขา้ งหน้า โดยการเรียนรู้ที่ผ่านการเรยี น
การสอนแบบสร้างสรรค์ความรู้ด้านสภาพสังคมและปัญหาสิ่งแวดล้อม ประสบการณ์ที่เหมาะสม
ของสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและสิ่งมีชีวิตและหลักสูตรวิทยาศาสตร์ ที่บูรณาการแนวคิด
เน้นแสดงให้เห็นถงึ ผลกระทบส่ิงแวดล้อมที่ซับซ้อน รวมทั้งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากพฤตกิ รรม
ของมนุษย์ เนื้อหาหลักสูตรแนวคิดของวิทยาศาสตร์สามารถเชื่อมโยงกับการตอบสนองทางอารมณ์
ในบริบทชีวิตจริง เพื่อสนับสนุนการพัฒนาทัศนคติในเชิงบวกของนักเรียน และจะช่วยให้มีความคิด
เชิงวิพากษต์ ่อประเด็นดา้ นสิ่งแวดล้อม
Selfa and Endter-Wada (2008) ได้ศึกษาการเมืองกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
ในชุมชน มีการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
โดยหนว่ ยงานระหว่างประเทศและของรัฐ ตงั้ อยู่บนสมมติฐานท่วี ่าชมุ ชนทอ้ งถน่ิ มีการเชอ่ื มโยงความรู้

55

และความสนใจในทรัพยากรธรรมชาติ และควรมีส่วนรว่ มในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติเหล่านน้ั
โดยใช้แนวทางนิเวศวิทยาทางการเมือง มีการแบ่งเขตระบบนิเวศเกษตร โครงการป่าไม้ และ
กระบวนการในการปรับปรุงแก้ไขป่าไม้ เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการส่งเสริมการมี
ส่วนรว่ มของชมุ ชน

Pe’er et al (2007) ได้ศกึ ษาเกย่ี วกับการรู้ส่งิ แวดล้อมในการฝึกอบรมครู: ความรู้ทัศนคติ
และพฤติกรรมดา้ นส่ิงแวดล้อมเบื้องต้นของนักศกึ ษา พบวา่ มคี วามสมั พนั ธเ์ ชงิ บวกระหว่างความรู้กับ
ทัศนคติด้านสิ่งแวดล้อม และมีความสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนสาขาสิ่งแวดล้อมและระดับการศึกษา
ของมารดาของพวกเขา นักศึกษาวิชาเอกในสาขาที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมมีความรู้มากข้ึน
และมีทัศนคติเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นในการเปรียบเทียบกับนักศึกษาคนอื่น ๆ จึงเป็นการ
ท้าทายสำหรับนักศึกษาฝึกหัดครูที่จะแสดงความตระหนัก ความคิดวิธีการพฤติกรรมของมนุษย์
ที่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม เพื่อให้เข้าใจว่าทรัพยากรมีอยู่อย่างจำกัด โดยยินดีที่จะเสียสละ
ส่วนตัวที่จำเป็นในการประหยัด ทรัพยากร อย่างไรก็ตามการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วทางเศรษฐกจิ
และจำนวนประชากร จงึ จำเป็นที่จะต้องพฒั นาหลักสูตรส่ิงแวดล้อมศึกษา รวมเนื้อหาดา้ นส่ิงแวดลอ้ ม
เข้าไว้ในหลักสูตรการศึกษาอย่างเป็นทางการ และควรมีการจัดการศึกษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่
การพัฒนาท่ยี งั่ ยนื

Hsin - Ping and Larry (2005) ได้ศึกษาการเปรียบเทียบ พฤติกรรม ทัศนคติ ความตระหนัก
อารมณ์ และความรู้ที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อม ระหว่างนักเรียนชั้นปีที่ 5 ประเทศแคนาดากับประเทศ
ไต้หวัน ซึ่งทั้งสองประเทศนี้มีประเพณีและวัฒนธรรมที่แตกต่างกันการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ
พรรณนา คา่ สถติ ิ t และการวิเคราะหค์ วามถดถอยเชงิ พหุ ผลการศกึ ษาต่อส่ิงแวดล้อมด้านตา่ ง ๆ ของ
นักเรียนทั้งสองกลุ่มพบว่า ไม่ต่างกันไม่ว่าจะเป็นการและการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ
ผลการศึกษาที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อมด้านต่าง ๆ ของนักเรียนทั้งสองกลุ่มพบว่า ไม่ต่างกันไม่ว่าจะเป็น
การเปรียบเทียบภายในกลุ่มหรือระหว่างกลุ่มก็ตาม นอกจากนี้การศึกษาพบว่า โทรทัศน์เป็นแหล่ง
ท่ีให้ข่าวสารด้านสิ่งแวดลอ้ มท่ีมีอิทธพิ ลมากท่ีสุดสำหรับนักเรียนทงั้ สองกลุ่ม และตัวแปรด้านอารมณ์
ด้านการเรียนการสอนแบบได้ปฏิบัติจริงเพื่อให้รู้ถึงคุณค่าของการรักษาสิ่งแวดล้อม ให้ผลสัมฤทธ์ิ
สูงกวา่ ตัวแปรดา้ นการเรยี นการสอนแบบการให้องค์ความรเู้ พียงอยา่ งเดียว

Ozgul (2004) ได้ศึกษาได้ศึกษาทัศนคติด้านสิ่งแวดล้อมของนักเรียนตุรกีชั้นปีที่ 4 - 8
จำนวน 458 คน โดยวิเคราะห์ความแตกต่างด้านทัศนคติระหว่างเพศ ระดับการศึกษา คะแนนวิชา
วิทยาศาสตร์ สถานภาพทางเศรษฐกิจของนกั เรียนและสถานทตี่ ง้ั ของโรงเรียน พบว่า เพศ และระดับ
การศึกษาของนักเรียนมีทัศนคติเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมไม่แตกต่างกันนักเรียนที่มีคะแนนวิชา
วิทยาศาสตรส์ งู มที ศั นคติเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อม และนกั เรียนท่ีมีรายไดส้ ูงกับนักเรียนที่อาศัยอยู่ในเมือง
มที ศั นคตเิ ชงิ บวกต่อส่งิ แวดลอ้ มสูงกว่านักเรียนทค่ี รอบครวั มรี ายได้ต่ำและอาศัยอย่แู ถบชานเมอื ง

56

จากงานวิจัยที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้เห็นความสำคัญของการวิจัยและพัฒนาเพื่อเสนอ
แนวทางการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพร เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ
สงิ่ แวดล้อมของโรงเรียนระดบั ประถมศึกษา สังกดั สำนกั งานคณะกรรมการการศึกษาขน้ั พ้ืนฐาน ทั้งน้ี
จากการวิเคราะห์และสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ ได้ข้อค้นพบว่า
การจัดกิจกรรมตามแนวทางจะส่งผลให้ผู้เรียนที่เข้าร่วมเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ กล่าวคือ
มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ความรู้ความเข้าใจ ทักษะ และเจตคติที่ดีในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
และสง่ิ แวดล้อม มพี ัฒนาการท่ีดขี นึ้ ทัง้ ในดา้ นภาวะผ้นู ำ การทำงานเป็นทมี การมีปฏิสมั พันธ์กับเพ่ือน
ที่เกิดขึ้นภายในค่าย การแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ การพัฒนาทักษะชีวิต ทำให้เข้าใจตนเองมากขึ้น
มีจิตอาสาและมีความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น นอกจากนี้ความสำเร็จเกิดจากความร่วมมือ
ของเครือข่าย ประชาชนหรือหนว่ ยงานที่เก่ียวขอ้ งในการรว่ มวางแผน ร่วมดำเนนิ งาน รว่ มแลกเปลยี่ น
เรียนรู้และสรุปผลการเรียนรู้ร่วมกัน ผู้วิจัยจงึ ได้นำผลของการวเิ คราะห์และสังเคราะห์งานวิจัยมาใช้
ในการออกแบบและดำเนินการวิจัยตอ่ ไป

บทท่ี 3

วธิ ีดำเนนิ การวจิ ยั

การวิจัยเรื่อง แนวทางการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพรเพื่อการอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน วัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพรเพื่อการอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขัน้ พนื้ ฐาน 2) พฒั นาแนวทางการเสริมสรา้ งคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพรเพ่อื การอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพืน้ ฐาน และ 3) ศึกษาผลการใช้แนวทางการเสรมิ สร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษพ์ งไพร
เพ่อื การอนุรักษท์ รพั ยากรธรรมชาติและส่งิ แวดล้อมของโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งผู้วิจัยใช้วิธีดำเนินการวิจัยในลักษณะของการวิจัยและพัฒนา
(Research and Development: R & D) โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed Methods
Research) ด้วยการศึกษาวิธีการเชิงปริมาณ (Quantitative Methods) และวิธีการเชิงคุณภาพ
(Qualitative Methods) โดยมรี ายละเอียดขนั้ ตอนการวิจัย 4 ขั้นตอน ตามลำดบั ไดแ้ ก่

ขน้ั ตอนที่ 1 การศึกษาและวิเคราะห์ขอ้ มูลพ้ืนฐาน เกี่ยวกับคณุ ลกั ษณะเยาวชนรักษ์พงไพร
เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และแนวทางการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชน
รักษพ์ งไพรของโรงเรียนระดับประถมศกึ ษา สงั กัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาข้นั พนื้ ฐาน

ขัน้ ตอนท่ี 2 การพฒั นาแนวทางการเสริมสร้างคุณลกั ษณะเยาวชนรกั ษ์พงไพรเพ่ือการ
อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงาน
คณะกรรมการการศกึ ษาขั้นพื้นฐาน

ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้แนวทางการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพร
เพอ่ื การอนรุ ักษท์ รัพยากรธรรมชาติและส่งิ แวดล้อมของโรงเรยี นระดับประถมศกึ ษา สังกัดสำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาข้นั พนื้ ฐาน

ขั้นตอนที่ 4 การนำแนวทางการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพรเพื่อการ
อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงาน
คณะกรรมการการศกึ ษาขน้ั พื้นฐาน ไปใช้

สำหรบั ข้นั ตอนวธิ ดี ำเนินการวิจัย มีรายละเอยี ดดงั ต่อไปนี้

58

ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน เกี่ยวกับคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพร
เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และแนวทางการเสริมสร้างคุณลักษณะ
เยาวชนรักษ์พงไพรของโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
ขน้ั พ้นื ฐาน

การดำเนนิ การในข้ันตอนนี้ คือ การศึกษาและวเิ คราะห์ขอ้ มูลพื้นฐานเกีย่ วกับคณุ ลักษณะ
เยาวชนรักษพ์ งไพรเพ่อื การอนุรักษ์ทรพั ยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงแนวทางการเสริมสร้าง
คุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพรของโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย การศึกษาเอกสารและงานวจิ ัยที่เกี่ยวข้อง การลงพื้นที่เย่ียมคา่ ย
เพื่อศึกษาข้อมูลเชิงประจกั ษ์ตามสภาพจรงิ และการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ มีวัตถุประสงค์เพื่อใหไ้ ด้
กรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีของแนวทางที่มีความเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการในการพัฒนา
แนวทางคณุ ลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพรเพอื่ การอนุรักษท์ รัพยากรธรรมชาตแิ ละสง่ิ แวดลอ้ มตามสภาพ
ทเ่ี ปน็ จริง ดังน้ี

1. วิธกี ารวจิ ัย
1.1 ศึกษาค้นคว้าข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับคุณลักษณะของการเป็นเยาวชนรักษ์พงไพร

การอนรุ ักษท์ รัพยากรธรรมชาตแิ ละสิ่งแวดลอ้ ม รวมถงึ การเสรมิ สร้างคณุ ลักษณะของนักเรียน ทง้ั จาก
เอกสารรายงานโครงการ หนงั สอื รายงานวจิ ัย ปริญญานพิ นธ์ บทความ วารสารวชิ าการ และเอกสาร
ทเี่ กีย่ วข้องจากท้ังในประเทศและต่างประเทศ โดยผวู้ ิจยั คำนึงถึงเกณฑ์เพ่ือใช้ในการคัดเลือกเอกสาร
ตามแนวทางของ Scott (1990) ซง่ึ เกย่ี วข้องกับข้อมูลจำนวนมาก มีความซับซ้อน และมรี ายละเอียดมาก
ประกอบด้วย (1) ความจริง (Authenticity) (2) ความถูกต้องน่าเชื่อถือ (Credibility) (3) การเป็น
ตวั แทน (Representativeness) และ (4) ความหมาย (Meaning)

1.2 สังเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ผู้วิจัยพิจารณาถึงสภาพในปัจจุบัน ความคาดหวัง และ
ความจำเปน็ ในการเสริมสร้างคุณลกั ษณะเยาวชนรักษ์พงไพรเพอ่ื การอนรุ กั ษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อม โดยใช้การพรรณนาเชิงวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis Description) เพื่อให้ได้
ข้อสรุปของคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพรเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
รวมถึงแนวทางเสริมสร้างคุณลักษณะดังกล่าว ซึ่งผู้วิจัยได้นำข้อมูลดังกล่าวไปใช้เป็นพื้นฐานในการ
คัดสรรคณุ ลกั ษณะเยาวชนรกั ษพ์ งไพรอยา่ งเหมาะสมตอ่ ไป

1.3 ลงพื้นที่เยี่ยมค่าย “เยาวชน...รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จ
พระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี” เพือ่ ถอดบทเรียนและศกึ ษาข้อมลู เชงิ ประจกั ษ์ตามสภาพจริง
ที่เกิดขึ้นในแต่ละบริบทพื้นที่ ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – มิถุนายน พ.ศ. 2561 แล้วนำมาพิจารณา
ร่วมกบั การสงั เคราะห์ข้อมลู

59

1.4 จัดทำประเด็นร่างคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพร ร่างวิธีการและขั้นตอนในการ
เสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพร ร่างองค์ประกอบของแนวทาง และร่างรูปแบบ
การประเมนิ ผลของแนวทาง

1.5 ศึกษาหลักการและกรอบแนวคิดเชิงทฤษฎี ด้วยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ
เกี่ยวกับประเด็นร่างคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพร ร่างหลักการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชน
รักษ์พงไพร ร่างองค์ประกอบของแนวทาง และร่างรูปแบบการประเมินผลของแนวทาง โดยผู้วิจัย
ใช้การสัมภาษณ์ข้อมูลเชิงลึก (In-depth Interview) กำหนดแบบแผนการเลือกตัวอย่างเป็นแบบ
เจาะจง (Purposive Sampling) มผี ้ใู หข้ ้อมูลหลกั รวมจำนวน 17 คน

1.6 จัดทำกรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีของแนวทางการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชน
รกั ษ์พงไพรเพอื่ การอนุรักษท์ รัพยากรธรรมชาตแิ ละสิง่ แวดล้อมของโรงเรยี นระดบั ประถมศกึ ษา สงั กัด
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขน้ั พ้ืนฐาน

2. ผใู้ หข้ ้อมูลหลัก
การวิจัยน้ี ผวู้ ิจัยพิจารณาความสำคญั กับผู้ให้ขอ้ มูลหลัก โดยกำหนดให้เป็นผู้เช่ียวชาญที่มี
ประสบการณ์ที่เก่ียวข้องกับประเด็นที่ทำการศึกษาอย่างลึกซึง้ หรือเป็นผู้บริหารและนกั วิชาการที่มี
ชื่อเสียงและได้รับการยอมรับในด้านที่เกี่ยวข้อง โดยผู้วิจัยทำการคัดเลือกผู้เชี่ยวชาญแบบเจาะจง
(Purposive Selection) จำนวน 17 คน ซ่ึงเป็นจำนวนทีเ่ หมาะสมและน่าเชอ่ื ถอื (ดวงนภา มกรานรุ ักษ์.
2554) สอดคล้องกับแนวคิดของ Thomas T. Macmillan (1971) ที่เสนอการกำหนดจำนวน
ผู้เชี่ยวชาญตั้งแต่ 17 คนเป็นต้นไป เป็นระดับที่ให้ผลของอัตราการลดลงของค่าคลาดเคลื่อน (Error)
นอ้ ยทีส่ ุด และคงทที่ ร่ี ะดบั 0.02 ท้ังน้ี ผวู้ ิจัยไดพ้ จิ ารณาคดั เลอื กกลุม่ ผู้เชี่ยวชาญและกำหนดคุณสมบัติ
ของผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้และประสบการณ์เฉพาะทางที่สอดคล้องกับการเสริมสร้างคุณลักษณะ
เยาวชนรักษ์พงไพรเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนระดับ
ประถมศึกษา สงั กดั สำนกั งานคณะกรรมการการศกึ ษาข้นั พื้นฐาน ดังนี้

กลุ่มท่ี 1 ผู้บริหารระดับนโยบายในการพัฒนาการจัดการศึกษาและการอนุรักษ์
ทรพั ยากรธรรมชาติและส่งิ แวดลอ้ ม จำนวน 3 คน ได้แก่

1) ดร.ธรี ภัทร ประยูรสทิ ธิ์
รองประธานคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาตแิ ละส่ิงแวดลอ้ ม

2) ดร.บุญรกั ษ์ ยอดเพชร
เลขาธิการคณะกรรมการการศกึ ษาข้นั พน้ื ฐาน

3) นายสุรศักดิ์ อนิ ศรไี กร
ที่ปรึกษาดา้ นนโยบายและแผน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขัน้ พ้นื ฐาน

60

กลุม่ ที่ 2 ผแู้ ทนภาคีเครือข่ายทีร่ ่วมจดั ค่าย “เยาวชน...รกั ษพ์ งไพร เฉลมิ พระเกยี รติ 60
พรรษา สมเดจ็ พระเทพรัตนราชสดุ าฯ สยามบรมราชกุมารี” จำนวน 11 คน ไดแ้ ก่

1) คุณหญิงปราณี เอ้ือชูเกยี รติ
กรรมการมูลนธิ สิ วนสมเดจ็ พระนางเจ้าสริ ิกติ ฯิ์

2) นายอนชุ ิต แตงอ่อน
ผู้อำนวยการส่วนสง่ เสริมการอนรุ ักษส์ ตั ว์ป่า
กรมอทุ ยานแหง่ ชาติ สัตว์ปา่ และพนั ธพุ์ ืช

3) นายพฒั นพ์ งษ์ สมิตติพัฒน์
ผ้อู ำนวยการสำนักโครงการพระราชดำรแิ ละกจิ การพเิ ศษ กรมปา่ ไม้

4) นางกาญจนา จิตเพิ่มสุข
ผู้อำนวยการกองประสานงานโครงการในพระราชดำริ กรมตรวจบญั ชีสหกรณ์

5) ดร.ฉวีวรรณ เหลืองวฒุ วิ ิโรจน์
ผู้อำนวยการกองเทคโนโลยชี ีวภาพ กรมพัฒนาทด่ี นิ

6) นายวุฒิชัย ชินวงศ์
ผอู้ ำนวยการกองส่งเสริมโครงการพระราชดำริการจัดการพ้ืนที่และวิศวกรรมเกษตร
กรมสง่ เสริมการเกษตร

7) นางครสวรรค์ โภคา
ผอู้ ำนวยการกองประสานงานโครงการพระราชดำริ กรมส่งเสรมิ สหกรณ์

8) นายวจิ ิตร ชวู า
ผู้อำนวยการสำนกั พฒั นาและถา่ ยทอดเทคโนโลยหี ม่อนไหม กรมหม่อนไหม

9) นายอานุภาพ แย้มดี
หัวหน้าศนู ย์การเรียนรู้ตลอดชีวิต สถาบันการจดั การสวนสัตว์
องคก์ ารสวนสตั ว์ ในพระบรมราชปู ถัมภ์

10) นางสาวรมมุก เพยี จนั ทร์
ผู้เชี่ยวชาญฝ่ายกจิ กรรมองคก์ รเพอื่ สงั คม บรษิ ทั ทรู คอรป์ อเรช่ัน จำกัด (มหาชน)

11) นายจอมกิตติ ศิริกลุ
ผู้บริหารด้านพัฒนาความย่ังยืนภาครฐั
สำนกั บริหารความย่ังยนื ธรรมาภิบาล และสื่อสารองคก์ รเครือเจรญิ โภคภัณฑ์

61

กลุ่มที่ 3 ผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้และเสริมสร้างคุณลักษณะ
ของนกั เรยี น จำนวน 3 คน ไดแ้ ก่

1) นายสุรัตน์ สรวงสงิ ห์
ผู้เช่ยี วชาญดา้ นการพฒั นากระบวนการเรยี นรู้แบบ Active Learning
และการบรู ณาการกิจกรรม

2) ดร.สิริมา หมอนไหม
รองผ้อู ำนวยการสำนักพฒั นานวัตกรรมการจดั การศกึ ษา

3) ดร.อัญชลี เกษสรุ ิยงค์
ศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพน้ื ทกี่ ารศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1

3. เคร่อื งมือท่ใี ช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่สำคัญในการวิจัยขั้นตอนนี้ คือ ตัวผู้วิจัย และเพื่อให้การวิจัยนั้นได้ข้อมูลที่มี
ความละเอียดถูกต้อง ครบถ้วน และแม่นยำตามกระบวนการ ตัวผู้วิจัยจึงต้องมีความไวต่อทฤษฎี
(Theoretical Sensitivity) ที่ทำการศึกษาวิจัย โดยผู้วิจัยได้เตรียมตัวในส่วนของความรู้ด้านการศึกษา
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพรเพื่อการอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน และประสบการณ์ตรงจากการลงพื้นที่เยี่ยมค่าย “เยาวชน...รักษ์พงไพร
เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” ที่จัดขึ้นในพื้นท่ี
ของภูมิภาคต่าง ๆ ระหวา่ งเดือนกุมภาพนั ธ์ - มิถนุ ายน พ.ศ. 2561 พรอ้ มทัง้ เตรยี มแนวคำถามในการ
วิจัยจากการทบทวนวรรณกรรมที่เกีย่ วข้อง ใช้คำถามปลายเปิดในการสัมภาษณ์เชิงลึก (In - depth
interview) โดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง (Semi - Structured Interview) ซึ่งเป็นแบบสัมภาษณ์
ปลายเปดิ โดยคำถามมี 4 ประเดน็ หลัก ดังนี้

ประเด็นที่ 1 คุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพรเพื่อการอนุรกั ษท์ รัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อมของโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขัน้ พ้ืนฐาน ที่มี
ความเหมาะสมและสอดคลอ้ งกบั ความต้องการพฒั นาของบริบทในปจั จบุ นั

ประเด็นที่ 2 หลักการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพรเพื่อการอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาข้นั พนื้ ฐาน ท่มี ีความครอบคลุมและความเหมาะสม

ประเด็นที่ 3 องค์ประกอบของแนวทางการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษพ์ งไพร
เพอ่ื การอนรุ ักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อมของโรงเรียนระดับประถมศกึ ษา สังกัดสำนักงาน
คณะกรรมการการศกึ ษาขนั้ พ้นื ฐาน ทเ่ี หมาะสม

62

ประเด็นที่ 4 รูปแบบการประเมินผลแนวทางการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษ์
พงไพรเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัด
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขนั้ พ้นื ฐาน ที่เหมาะสม

ผู้วิจัยเป็นผู้ดำเนินการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญทุกท่านด้วยตนเอง โดยเตรียมอุปกรณ์เพื่อใช้
ในการสัมภาษณ์ ได้แก่ เครื่องบันทึกเสียง เครื่องบันทึกภาพ สมุดจด ปากกา สำหรับการทำวิจัย
ภาคสนาม ซึ่งผู้วิจัยได้รับอนุญาตจากผู้ให้ข้อมูลหลักในการบันทึกเสียงและบันทึกภาพ เพื่อนำมา
ประกอบการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ และในขณะดำเนินการสัมภาษณ์ผู้วิจัยใช้เทคนิคการตะล่อม
กล่อมเกลา (Probe) ของ สุภางค์ จันทวานิช (2554) ในการตั้งคำถามให้ผู้เชี่ยวชาญเล่าอย่างอิสระ
ไม่มีการชี้นำ เมื่อผ่านไปช่วงเวลาหนึ่งจึงค่อยตะล่อมเข้าประเด็นของการวิจัย และสรุปประเด็น
เป็นระยะ ๆ เพื่อเปน็ การทบทวนและใหผ้ เู้ ช่ยี วชาญตดั แตง่ ส่ิงท่ไี ด้ใหส้ ัมภาษณ์

4. การเก็บรวบรวมขอ้ มูล
ผ้วู จิ ยั ไดน้ ดั หมายสมั ภาษณผ์ ูใ้ หข้ ้อมลู หลกั ในการประชุมเชิงปฏิบตั ิการสงั เคราะห์การเรียนรู้
และเตรียมการนิทรรศการโครงการค่าย “เยาวชน...รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกยี รติ 60 พรรษา สมเด็จ
พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” ปี พ.ศ. 2561 ระหว่างวันที่ 19 - 21 กรกฎาคม
พ.ศ. 2561 ณ โรงแรมฮิพ กรงุ เทพมหานคร กรณีผใู้ หข้ อ้ มลู หลักบางท่านไม่สะดวกในช่วงวันดังกล่าว
ผู้วจิ ยั ได้นดั วันและเวลาเพื่อทำการสมั ภาษณ์ระหว่างเดือนพฤษภาคม - กรกฎาคม พ.ศ. 2561 สำหรับ
ประเด็นคำถามที่สำคัญในการสัมภาษณ์ คือ ผู้ให้ข้อมูลหลักมีทัศนะและข้อคิดเห็นอย่างไร เกี่ยวกับ
แนวทางการ เสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพรเพื่อการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ และ
สิ่งแวดล้อมของโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มี
ความเป็นไปได้มากที่สุด ผู้วิจัยได้อธิบายขอบเขตการศึกษาและเป้าประสงค์ให้ผู้เชี่ยวชาญเข้าใจ
ก่อนการสัมภาษณ์ จากนั้นได้ดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview)
และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม โดยเป็นผู้ดำเนินการสนทนา สังเกตและจดบันทึก พร้อมทั้งพยายาม
ตัดความคิดและความรู้สึกที่ติดตัวมาออกไป เพื่อวางท่าทางให้เป็นส่วนหนึ่งของการสัมภาษณ์
การสนทนา และการรว่ มกันคน้ หาขอ้ มูลตามสภาพจริง (Maykut & Morehouse. 1994) ทั้งนี้ ผู้วิจัย
ได้เตรียมแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างไว้ พร้อมทั้งบันทึกเสียงการสนทนาและบันทึกภาพ เพ่ือบันทกึ
ทัศนะและความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ และทำการสรุปประเด็นในแต่ละด้านให้ได้รายละเอียดที่มี
ความสมบูรณแ์ ละบรรลตุ ามวัตถุประสงคข์ องการวิจัย

63

5. การวเิ คราะห์ขอ้ มลู
ผู้วิจัยจัดกระทำกับข้อมูล โดยเริ่มต้นด้วยการถอดการบันทึกเสียงการสัมภาษณ์
จากผู้เชย่ี วชาญ จากเครือ่ งบนั ทกึ เสียงออกมาในรูปขอ้ ความ โดยทำการบันทกึ ลงในไฟล์คอมพิวเตอร์
แบบคำต่อคำ (Verbatim) ผูว้ ิจัยอ่านข้อมูลท้ังหมด ศกึ ษาข้อมลู และวเิ คราะหข์ ้อมูลตามวัตถุประสงค์
ที่กำหนดไว้ เพื่อความสะดวกในการจัดการข้อมูล ผู้วิจัยดำเนินการจัดการข้อมูล 3 ขั้นตอน คือ
(1) การเปดิ รหสั (Open Coding) เป็นการนำขอ้ มูลมาแยกเป็นหมวดหลกั และหมวดยอ่ ย (2) การหาแกน่
ของรหัส (Axial Coding) เป็นการกำหนดประเด็นสำคัญหลักจากหมวดใดหมวดหนึ่ง พร้อมกับการ
พิจารณาความสัมพันธ์ (3) การเลือกรหัส (Selective Coding) เป็นการจัดหมวดหมู่ต่าง ๆ และนำ
หมวดหมู่ทไ่ี ดม้ าสรา้ งการอธิบายตามสภาพจรงิ ตามแนวทางของ Strauss & Corbin (1990) สำหรับ
การวิเคราะห์ข้อมูลได้แสดงข้อค้นพบในรูปแบบแผนภาพความสัมพันธ์ และมีข้อความบรรยาย
ประกอบเพื่อความชัดเจนมากขึ้น ซึ่งเป็นไปตามลักษณะสำคัญของวิธีดำเนินการวิจัยแบบอุปนัย
(Inductive Approach) กล่าวคือ จากข้อมูลนำไปวิเคราะห์หาข้อสรุปเชิงทฤษฎี ซึ่งอธิบาย
การเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพรเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ของโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้อย่าง
เหมาะสม
ผลการดำเนินการในขั้นตอนศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ทำให้ได้กรอบแนวคิด
เชิงทฤษฎีของการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพรเพ่ือการอนุรักษ์ทรพั ยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อมของโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาแนวทางในทุกมิติ สอดคล้องกับความต้องการและสภาพจริงตามบริบท
รวมถึงเหมาะสมและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวจิ ัย จากนั้นจึงนำไปจัดทำรายละเอียดให้มี
ความสมบูรณ์สำหรบั การนำไปใช้ในข้นั ตอนการสร้างและพัฒนาแนวทางต่อไป

ข้นั ตอนท่ี 2 การพฒั นาแนวทางการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษพ์ งไพรเพ่ือการอนุรักษ์ทรัพยากร
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
ข้นั พ้ืนฐาน

การดำเนินงานในขั้นตอนนี้ คือ การนำผลการศึกษาจากขั้นตอนที่ 1 มายกร่างและจัดทำ
รายละเอียดของแนวทาง และจัดทำเอกสารประกอบการใช้แนวทาง พร้อมทั้งตรวจสอบ
ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของการนำแนวทางไปใช้จริง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกร่าง
แนวทางการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพรเพื่อการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อมของโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สำหรบั นำไปทดลองใช้ มวี ิธกี ารวิจัย ดังน้ี

64

1. จดั ทำรายละเอยี ดแนวทางการเสริมสร้างคณุ ลกั ษณะเยาวชนรกั ษ์พงไพรเพื่อการอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขน้ั พ้นื ฐาน ในการประชมุ เชงิ ปฏิบัติการพฒั นากระบวนการสรา้ งการเรียนรูด้ ้านการอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อการต่อยอดขยายผล โครงการค่าย “เยาวชน...รักษ์พงไพร
เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” ปี พ.ศ. 2561
ระหว่างวันที่ 5 - 7 กันยายน พ.ศ. 2561 ณ โรงแรมเอเชีย ชะอำ จังหวัดเพชรบุรี โดยผู้วิจัยได้นำ
กรอบแนวคดิ เชงิ ทฤษฎีในข้นั ตอนที่ 1 มาเปน็ ใชใ้ นการสร้างรายละเอยี ดแนวทาง ได้แก่

1.1 การจัดทำรายละเอียดแนวทาง ซึ่งผู้วิจัยได้นำเอาหลักการ แนวคิด และทฤษฎี
ทีเ่ กยี่ วข้องต่าง ๆ มาประยกุ ตใ์ ช้ในการจัดทำรายละเอยี ดแนวทาง โดยเฉพาะกรอบแนวคิดเชิงระบบ
ของการเสริมสรา้ งคณุ ลักษณะเยาวชนรักษพ์ งไพรเพ่อื การอนุรักษท์ รัพยากรธรรมชาตแิ ละสิง่ แวดล้อม
ของโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกดั สำนักงานคณะกรรมการการศกึ ษาขัน้ พ้ืนฐาน รวมถึงหลักการ
เสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษพ์ งไพร (RAK) ซึ่งมีความสัมพันธร์ ะหว่าง ความตระหนกั รู้สำนึกรกั ษ์
(Responsibility) กิจกรรมบนฐานรู้แจ้งทำจริง (Active Learning) และการจัดการความรู้สู่เยาวชน
รักษ์พงไพร (Knowledge Management) ท่ีมุ่งเน้นพัฒนานักเรียนผ่านกิจกรรมค่ายที่บูรณาการ
สหวิชาการที่เก่ียวข้อง ด้วยรูปแบบ Active Learning ผนวกเข้ากบั การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรง
จากแหล่งศึกษาธรรมชาติจริงในพื้นที่ ส่งเสริมให้โรงเรียนใช้ประโยชน์จากแหล่งเรยี นรู้ทางธรรมชาติ
ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ พร้อมทั้งส่งเสริมการต่อยอดขยายผลและจัดการความรู้ด้านการอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดว้ ยเครอื ข่ายเชงิ พน้ื ท่ีอยา่ งเป็นระบบ

1.2 การจัดทำรายละเอียดเอกสารประกอบแนวทางการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชน
รักษ์พงไพรเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนระดับประถมศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 3 เล่ม ประกอบด้วย เล่มที่ 1 แนวทาง
การเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพรเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ของโรงเรียนระดับประถมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เล่มที่ 2 คู่มือครู
วทิ ยากรเพื่อการเสรมิ สร้างคุณลักษณะเยาวชนรกั ษพ์ งไพร และเลม่ ที่ 3 คู่มอื เยาวชนรักษพ์ งไพร

1.3 ตรวจสอบและปรับปรุงแนวทางการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพร
เพือ่ การอนรุ กั ษ์ทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อมของโรงเรยี นระดับประถมศกึ ษา สังกัดสำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีจุดมุ่งหมายให้มีการตรวจสอบความถูกต้อง (Accuracy)
ความเป็นไปได้ (Feasibility) ความสอดคล้อง (Congruency) และความเป็นประโยชน์ (Utility)
โดยผู้วิจัยได้ประยุกต์ใช้แนวคิดของวิโรจน์ สารรัตนะ (2554) เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้แนวคิด
เพื่อความเป็นไปได้ภายใต้ข้อจำกัดเรื่องเวลาและทรัพยากรที่ใช้ในการวิจัย เพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะ
ในการปรบั ปรุงแก้ไขแนวทางให้สมบูรณ์ขน้ึ แบง่ เป็น 2 ระยะ ได้แก่

65

1.3.1 ระยะที่ 1 การตรวจสอบเบื้องต้นและการปรับปรุงแก้ไข โดยวิธีการจัด
สนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) ในการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนานวัตกรรมการจัด
การเรียนรู้แบบ Active learning และกระบวนการมีส่วนร่วม โครงการค่าย “เยาวชน...รักษ์พงไพร
เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” ปี พ.ศ. 2561
ระหว่างวนั ท่ี 25 - 28 กันยายน พ.ศ. 2561 ณ โรงแรมระยอง ชาเลต์ จังหวัดระยอง มีเกณฑ์ในการ
เลือกผู้เข้าร่วม คือ มีภูมิหลังคล้ายคลึงกัน อยู่ในบริบทเดียวกัน และมีความคุ้นเคยกันเพื่อให้เข้าใจ
ประเด็นที่ต้องการตรวจสอบร่วมกัน รวมถึงมีความสะดวกใจที่จะแสดงความคิดเห็นของตนเองได้
อย่างตรงไปตรงมา (Morgan. 1998) โดยผู้วิจัยเลือกผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่มเป็นผู้แทนภาคีเครือข่าย
ผู้รับผิดชอบโครงการค่าย “เยาวชน...รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพ
รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” และคณะทำงานโครงการ จำนวน 1 กลุ่ม กำหนดขนาดของ
กลุ่มสมาชิกไว้ จำนวน 15 คน (รายชอ่ื ตามภาคผนวก)

(1) เคร่ืองมอื ท่ีใช้ในการเกบ็ ข้อมลู
เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลในการตรวจสอบแนวทาง และเอกสารประกอบ
แนวทางเบื้องต้น ได้แก่ 1) แนวทางการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพรเพื่อการอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาข้ันพืน้ ฐาน 2) เอกสารประกอบแนวทาง 3) แบบบันทึกผลการสนทนากลุ่ม และ 4) เครื่อง
บนั ทึกเสยี งและเครือ่ งบันทกึ ภาพ
(2) การวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้วิจัยนำข้อมูลที่ได้จากการจัดสนทนากลุ่มมาวิเคราะห์ ด้วยการถอดเ ทป
บันทึกเสียง จัดพิมพ์ข้อมูล พร้อมทั้งวิเคราะห์ข้อมูลท่ีมีความหมายเกี่ยวข้องกับการเสริมสร้าง
คณุ ลกั ษณะเยาวชนรกั ษพ์ งไพรเพ่อื การอนรุ กั ษท์ รพั ยากรธรรมชาตแิ ละสงิ่ แวดล้อมของโรงเรยี นระดับ
ประถมศึกษา สังกดั สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขนั้ พน้ื ฐาน รวมถงึ ขอ้ มูลทเี่ กย่ี วขอ้ งกับเอกสาร
ประกอบแนวทาง มาพิจารณารว่ มกบั ข้อมลู จากแบบบนั ทึกผลการสนทนากลุ่ม โดยการจัดหมวดหมู่
แลว้ สรุปเป็นประเด็นสำคัญในการปรับปรงุ แกไ้ ขแนวทางและเอกสารประกอบแนวทาง จากน้ันจึงนำ
ข้อมูลและประเด็นสรุปที่ได้ไปปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดแนวทางและเอกสารประกอบแนวทาง
ในเบ้ืองตน้ ก่อนนำไปตรวจสอบเพ่ือการยืนยันและการปรบั ปรุงแกไ้ ขในระยะต่อไป
1.3.2 ระยะท่ี 2 การตรวจสอบเพอื่ การยืนยนั และการปรับปรุงแกไ้ ข โดยตรวจสอบ
ความสอดคล้อง (Consistency) ในเชิงเนื้อหาของแนวทางการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชน
รกั ษ์พงไพรเพอื่ การอนรุ ักษท์ รพั ยากรธรรมชาตแิ ละสิง่ แวดลอ้ มของโรงเรยี นระดบั ประถมศกึ ษา สงั กัด
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และเอกสารประกอบแนวทาง ได้แก่ 1) แนวทาง
การเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพรเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

66

ของโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) คู่มือครูวิทยากร
เพื่อการเสริมสรา้ งคุณลกั ษณะเยาวชนรักษพ์ งไพร และ 3) คู่มือเยาวชนรักษพ์ งไพร ก่อนนำแนวทาง
ไปทดลองใช้ภาคสนาม โดยประยุกต์ใช้เทคนิคการหาค่าสัมประสิทธิ์แคปปาของโคเฮน (Cohen’s
Kappa Coefficient) ซึ่งเป็นการใช้วัดความเห็นพ้องต้องกันสำหรับข้อมูลที่ได้จากการวัดเชิงจำแนก
ประเภท จากผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยและพัฒนา การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และการพฒั นากจิ กรรมการเรียนรู้ รวมจำนวน 5 คน ได้แก่

(1) ดร.ฉลาด เสริมปญั ญา
ผอู้ ำนวยการศูนย์การเรยี นร้กู ารอนุรกั ษส์ ่ิงแวดล้อม
สำนักงานคณะกรรมการการศกึ ษาขน้ั พ้นื ฐาน

(2) ดร.อรนุช มง่ั มสี ุขศิริ
ผเู้ ชยี่ วชาญด้านพฒั นานวตั กรรมการเรียนรู้
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

(3) ดร.พงษศ์ กั ดิ์ พลเสนา
หัวหนา้ สำนกั งานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแหง่ ชาติ สตั วป์ า่ และพันธ์พุ ืช

(4) นายกรณั ยพ์ ล แสงทอง
ผอู้ ำนวยการส่วนส่งเสริมและพฒั นาตามแนวพระราชดำริ กรมป่าไม้

(5) นางพิมพพ์ นั ธ์ เฮง่ ประดิษฐ์
ศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพ้นื ทกี่ ารศึกษาประถมศกึ ษาสงขลา เขต 2

สำหรับการใช้สถิติแคปปาสำหรับกรณีมีผู้ประเมิน 3 คนขึ้นไป ผู้วิจัยใช้แนวทาง
ของ Fleiss (1971) ซึ่งพัฒนาสถิติแคปปาสำหรับการประเมินท่ีมีผู้ประเมิน ตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป
ที่เรียกว่า สถิติฟลิสส์แคปปา (Fleiss’s Kappa Statistic) โดยค่าสูงสุดที่เป็นไปได้ คือ 1.0 หมายถึง
มีความเหน็ พอ้ งต้องกนั ทุกฝ่าย เป็นเกณฑ์ตามแนวทางของ Landis and Koch (1977) ท้ังนี้ ผลการ
ตรวจสอบพบวา่ ระดับความสอดคลอ้ งของสถติ ิแคปปาที่ผา่ นมาตรฐานและเปน็ ท่ยี อมรับได้นนั้ ต้องอยู่ใน
ระดับมากกว่า 0.61 ซึ่งในการดำเนินการของผู้วิจัยนั้น ผลที่ได้รับอยู่ในระดับ 0.85 แสดงว่า
รายละเอียดของแนวทางการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพรเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากร
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
ข้ันพนื้ ฐาน และเอกสารประกอบแนวทาง มคี วามสอดคล้องดีมาก

67

2. สรา้ งเครื่องมอื ประเมินผลการใช้แนวทางการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรกั ษพ์ งไพร
เพ่อื การอนุรกั ษ์ทรพั ยากรธรรมชาติและสง่ิ แวดล้อมของโรงเรยี นระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยผลจากการตรวจสอบและปรับปรุงแก้ไขแนวทางในข้อ 1.2
ทำให้ได้แนวทางและเอกสารประกอบแนวทาง ที่มีความเหมาะสมและเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ซึ่งใน
ข้ันตอนท่ี 3 การทดลองแนวทางภาคสนามกับกลุม่ เป้าหมายนั้น ตอ้ งมเี ครือ่ งมือท่มี ีคุณภาพเพ่ือใช้ใน
การประเมินผลแนวทางดังกล่าว ทั้งนี้ จากประเด็นการศึกษารูปแบบการประเมินผลแนวทาง
การเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพรเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ของโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่เหมาะสม
ได้กำหนดการสร้างเครื่องมือประเมินผลแนวทางสำหรับการทดลองภาคสนาม จำนวน 6 ชุด
ประกอบด้วย ชุดที่ 1 แบบประเมินความพึงพอใจต่อแนวทาง ชุดที่ 2 แบบประเมินความพึงพอใจ
ต่อกิจกรรมค่ายของนักเรียน ชุดที่ 3 แบบประเมินความสามารถจัดกิจกรรมตามแนวทางของ
ครูวิทยากร ชุดที่ 4 แบบประเมินคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพร ชุดที่ 5 แบบประเมินคุณภาพ
ของแนวทางเชงิ ประจกั ษ์ และชดุ ท่ี 6 แบบประเมินการขยายผลสู่ความยงั่ ยนื จากนั้นนำไปหาคุณภาพ
แบบประเมนิ ผลการใช้แนวทาง เพ่ือตรวจสอบและปรบั ปรุงให้สมบรู ณ์ก่อนนำไปทดลองใช้ในขั้นตอน
ต่อไป โดยมีรายละเอียด ดงั นี้

2.1 การออกแบบเครื่องมอื ประเมินผลการใช้แนวทาง
ผ้วู จิ ยั ไดก้ ำหนดประเด็นทจี่ ะตอ้ งนำมาพิจารณาในการสร้างเครอื่ งมอื ประเมินผลการใช้
แนวทาง ประกอบด้วยประเด็นสำคัญ 5 ประเด็น ดังนี้ คือ 1) ตัวบ่งชี้ที่จะวัดคืออะไร 2) ข้อคำถาม
ในการวัดมีลกั ษณะอย่างไร 3) เครื่องมือเก็บข้อมลู คืออะไร 4) แหล่งข้อมลู คือใคร และ 5) เก็บรวบรวม
ข้อมูลเม่ือใด สามารถแสดงรายละเอยี ดได้ดังตารางท่ี 3.1

68

ตารางที่ 3.1 แนวทางการออกแบบเครื่องมือประเมินผลการใช้แนวทางการเสริมสร้างคุณลักษณะ
เยาวชนรักษ์พงไพรเพ่ือการอนรุ ักษ์ทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละสง่ิ แวดลอ้ มของโรงเรียนระดับประถมศึกษา
สังกดั สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขนั้ พน้ื ฐาน

ชดุ ตัวบง่ ช้ี ลักษณะข้อคำถาม เคร่ืองมอื ทใ่ี ช้ แหลง่ หว้ งเวลาเกบ็
การประเมนิ ทต่ี ้องการวดั ข้อมลู ขอ้ มลู
ชุดที่ 1 ความคิดเห็น เกบ็ ข้อมูล 1) ผรู้ ับผดิ ชอบ
แบบประเมิน และความพึง โครงการระดับ หลงั ขั้นตอน
ความพึงพอใจ พอใจของ 1) ผู้เข้ารว่ มการ แบบสอบถาม สำนกั งานเขต การขยายผล
ต่อแนวทาง ผเู้ ขา้ รว่ มการ พ้นื ทก่ี ารศกึ ษา สคู่ วามย่งั ยืน
ดำเนนิ งานตามแนวทาง 2) ครูวิทยากร
ดำเนนิ งานตาม 3) วทิ ยากร หลงั ขน้ั ตอน
แนวทาง มีความพงึ พอใจต่อ ภาคเี ครือขา่ ย การจัดคา่ ย
บรู ณาการ
ชุดที่ 2 ความคดิ เหน็ แนวทางหรอื ไม่ นกั เรียน สหวิชาการ
แบบประเมิน และความ
ความพึงพอใจ พงึ พอใจของ 2) การบรหิ ารจดั การตาม
ตอ่ กจิ กรรม นักเรียน
ค่ายของ ที่เขา้ ค่าย แนวทางมีความเหมาะสม
นักเรียน
หรอื ไม่

3) เนื้อหาและรปู แบบ

ของการพฒั นาตาม

แนวทางมีความเหมาะสม

หรอื ไม่

4) สือ่ และเอกสาร

ประกอบแนวทางมีความ

เหมาะสมหรือไม่

5) แนวทางมปี ระโยชน์

หรอื ไม่

1) นักเรียนมคี วาม แบบสอบถาม

พึงพอใจต่อกิจกรรมค่าย

หรอื ไม่

2) สิ่งอำนวยความสะดวก

มีความเหมาะสมหรอื ไม่

3) เนื้อหาและรูปแบบ

ของกจิ กรรมค่ายมีความ

เหมาะสมหรือไม่

4) สอ่ื และเอกสาร

ประกอบกิจกรรมค่าย

มคี วามเหมาะสมหรือไม่

69

ตารางที่ 3.1 (ต่อ)

ชดุ ตัวบ่งชี้ ลกั ษณะข้อคำถาม เครือ่ งมือทีใ่ ช้ แหล่ง หว้ งเวลาเกบ็
การประเมิน ที่ตอ้ งการวัด เก็บขอ้ มลู ขอ้ มลู ขอ้ มลู
ชดุ ที่ 3 ความรู้ ทกั ษะ 1) ครวู ิทยากร แบบสอบถาม ครวู ิทยากร
แบบประเมนิ ทศั นคติ และ มีความสามารถในการจดั (ประเมิน หลังข้ันตอน
ความสามารถ การนำไป กจิ กรรมตามแนวทาง แบบสงั เกต ตนเอง) การจดั การ
จัดกจิ กรรม ประยกุ ต์ใช้ หรือไม่ เครอื ข่าย
ตามแนวทาง 2) ครูวิทยากร แบบบนั ทึก 1) ครวู ทิ ยากร ผเู้ ช่ียวชาญ
ของครู ความรู้ ทักษะ มีความสามารถในการจดั ข้อมูล 2) วทิ ยากร เชิงพนื้ ท่ี
วทิ ยากร ทศั นคติ และ กิจกรรมตามแนวทาง ปลายเปิด ภาคเี ครอื ข่าย
พฤตกิ รรม เพียงใด หลังข้ันตอน
ชุดที่ 4 ท่ีสะทอ้ น 1) นกั เรียนท่เี ขา้ รว่ ม คณะลงพน้ื ที่ การจัดคา่ ย
แบบประเมิน ความเปน็ มีความรู้ ทักษะ ทัศนคติ ติดตาม บรู ณาการ
คุณลกั ษณะ เยาวชน และพฤตกิ รรมท่สี ะทอ้ น สหวิชาการ
เยาวชน รักษพ์ งไพร ความเป็นเยาวชน
รักษ์พงไพร รักษพ์ งไพรหรือไม่ ระหวา่ ง
ความพร้อมใน 2) นกั เรียนท่ีเข้าร่วม ขนั้ ตอน
ชดุ ที่ 5 การดำเนนิ งาน มีความรู้ ทกั ษะ ทศั นคติ การจดั คา่ ย
แบบประเมิน ตามแนวทางและ และพฤตกิ รรมที่สะท้อน บูรณาการ
คณุ ภาพของ ผลท่ีเกดิ ข้นึ กบั ความเป็นเยาวชน สหวิชาการ
แนวทาง ครวู ทิ ยากร และ รกั ษ์พงไพรเพียงใด
เชงิ ประจกั ษ์ นักเรยี น 1) ความพร้อมในการ
(การบริหาร ดำเนนิ งาน ได้แก่ สถานที่
จัดการและการ บุคลากร เครือขา่ ยและ
เตรยี มความพรอ้ ม การบรหิ ารจัดการ
เนอื้ หา 2) การแสดงออกถึง
กระบวนการ ความสามารถในการจดั
และผลลัพธ)์ กจิ กรรมตามแนวทาง
ของครูวิทยากร
3) การแสดงออก
ถงึ คุณลักษณะเยาวชน
รกั ษพ์ งไพรของนกั เรียน

70

ตารางที่ 3.1 (ตอ่ )

ชดุ ตวั บ่งช้ี ลักษณะขอ้ คำถาม เคร่อื งมือที่ใช้ แหล่ง หว้ งเวลาเกบ็
การประเมนิ ทต่ี อ้ งการวัด เกบ็ ข้อมลู ข้อมูล ขอ้ มูล
ชุดท่ี 6 การนำความรู้ นกั เรยี นสามารถ แบบสังเกต 1) ครวู ิทยากร
แบบประเมนิ ไปตอ่ ยอด นำความรู้มาตอ่ ยอด 2) วทิ ยากร หลงั ขัน้ ตอน
การขยายผล กจิ กรรม ทโี่ รงเรยี นได้หรือไม่ ภาคเี ครือข่าย การขยายผล
สู่ความยั่งยืน ที่โรงเรยี น สูค่ วามยง่ั ยืน

2.2 การสรา้ งและหาคณุ ภาพแบบประเมนิ ผลการใช้แนวทาง
การสร้างและการหาคณุ ภาพแบบประเมินผลการใช้แนวทางการเสรมิ สร้างคุณลักษณะ
เยาวชนรักษ์พงไพรเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนระดับ
ประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในแต่ละชุดการประเมิน ผู้วิจัย
ได้นำแนวทางในตารางที่ 3.1 มาพิจารณาร่วมกับการตรวจสอบข้อคำถามรายข้อ (Item Analysis)
และการตรวจสอบทั้งฉบับ (Test Analysis) รวมถึงการตรวจสอบความเป็นปรนัย (Objective)
กอ่ นการตรวจสอบดว้ ยวิธีการทางสถติ ิ ซึง่ มขี น้ั ตอนการสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือ ดงั น้ี

ชุดท่ี 1 แบบประเมนิ ความพงึ พอใจต่อแนวทาง มขี ัน้ ตอน ดังน้ี
1) ศึกษาหลักการ แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการสร้างแบบประเมิน

ความพึงพอใจต่อแนวทางการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพรเพื่อการอนุรักษ์ ทรัพยากร
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโรงเรยี นระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
ขนั้ พื้นฐาน

2) กำหนดโครงสร้างของแบบประเมินเป็นแบบสอบถาม โดยมีแนวทาง
การประเมินเกี่ยวกับความคิดเห็นและความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมการดำเนินงานที่มีต่อการบริหาร
จัดการ เนื้อหาและรูปแบบของการพัฒนา สื่อและเอกสารประกอบแนวทาง และความมีประโยชน์
เปน็ ต้น

3) เขียนข้อคำถามเพื่อสร้างเป็นแบบประเมินความพึงพอใจต่อแนวทางท่ีมี
ลักษณะเป็นแบบสอบถาม เป็นแบบมาตรวัดประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ตามโครงสร้าง
ที่กำหนดขนึ้

4) ตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงพินิจ (Face Validity) ของแบบประเมิน
เพอ่ื พิจารณาคณุ ภาพการวดั ตามวัตถุประสงคท์ ่นี ิยามไว้ของแบบประเมินในแต่ละข้อคำถาม โดยเสนอ
ตอ่ ผเู้ ชีย่ วชาญดา้ นวิจัยทางการศกึ ษา และปรบั ปรงุ แกไ้ ขตามข้อแนะนำ

71

5) ตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) ของแบบประเมิน
เพื่อพิจารณาตรวจสอบความครอบคลุมของเนื้อหา และความถูกต้องของการใช้ภาษา โดยการนำ
แบบประเมินที่ปรับปรุงแก้ไขตามข้อแนะนำของผู้เชี่ยวชาญด้านวิจัยทางการศึกษามาแล้ว เสนอต่อ
ผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ (Index of Item -
Objective Congruence Index: IOC) แล้วได้คัดเลือกข้อคำถามที่มีค่า IOC ตามแนวทางของ
Rovinelli & Hambleton (1977) ซงึ่ มคี า่ ระหวา่ ง 0.60–1.00

6) ทดลองใช้ (Try Out) แบบประเมินที่ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรง
เชิงเนือ้ หา โดยจัดพิมพเ์ ป็นฉบับแล้วนำไปทดลองใชก้ ับผู้รับผิดชอบโครงการระดับสำนักงานเขตพื้นที่
การศกึ ษา ครวู ทิ ยากรและวิทยากรภาคเี ครือข่าย จำนวน 30 คน จากน้ันจึงรวบรวมข้อมูลไปวเิ คราะห์
หาค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (Item Discrimination) ซึ่งอยู่ระหว่าง 0.23-0.49 และค่าความเชื่อมั่น
(Reliability) ของแบบประเมินทั้งฉบับ ด้วยค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s
Alpha Coefficient) เทา่ กบั 0.97

7) จัดพิมพ์แบบประเมินความพึงพอใจต่อแนวทางฉบับสมบูรณ์ เพื่อนำไป
เกบ็ รวบรวมข้อมูลในการทดลองภาคสนามตอ่ ไป

ชุดที่ 2 แบบประเมินความพึงพอใจต่อกิจกรรมค่ายของนักเรียน มีขั้นตอน
การสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือ ตามแนวทางของเคร่ืองมอื ชดุ ท่ี 1 กำหนดโครงสรา้ งและแนวทาง
ของแบบประเมินความพึงพอใจตอ่ กิจกรรมค่ายของนักเรียนเป็นแบบสอบถาม เกี่ยวกับความคิดเหน็
ต่อกิจกรรมคา่ ย สิ่งอำนวยความสะดวก เน้ือหารูปแบบ สอื่ และเอกสารประกอบกิจกรรม โดยทดลองใช้
(Try Out) แบบประเมินที่ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหากับนักเรียน จำนวน 30 คน
จากนั้นจึงรวบรวมข้อมูลไปวิเคราะห์หาค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (Item Discrimination) ซึ่งอยู่
ระหว่าง 0.23 - 0.49 และคา่ ความเชอ่ื ม่ัน (Reliability) ของแบบประเมินท้งั ฉบบั ด้วยคา่ สัมประสิทธิ์
แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) เท่ากบั 0.89

ชุดที่ 3 แบบประเมินความสามารถจัดกิจกรรมตามแนวทางของครูวิทยากร
มีขั้นตอนการสร้างและหาคุณภาพเครื่องมอื ตามแนวทางของเครอ่ื งมอื ชดุ ที่ 1 กำหนดโครงสร้างและ
แนวทางของแบบประเมินความสามารถในการจัดกิจกรรมตามแนวทางของครูวิทยากรเป็นแบบ
ประเมินตนเอง เกี่ยวกับความรู้ ทกั ษะ ทัศนคติ และการนำแนวไปประยุกต์ใช้ โดยทดลองใช้ (Try Out)
แบบประเมินที่ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหากับครูวิทยากร จำนวน 30 คน จากนั้น
จึงรวบรวมขอ้ มูลไปวิเคราะหห์ าคา่ อำนาจจำแนกรายขอ้ (Item Discrimination) ซึ่งอยู่ระหว่าง 0.23 - 0.49
และค่าความเชอื่ มั่น (Reliability) ของแบบประเมนิ ทง้ั ฉบับ ด้วยค่าสัมประสทิ ธ์ิแอลฟาของครอนบาค
(Cronbach’s Alpha Coefficient) เทา่ กับ 0.81

72

ชุดที่ 4 แบบประเมินคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพร มีขั้นตอนการสร้างและ
หาคุณภาพเครื่องมือ ตามแนวทางของเครื่องมือชุดที่ 1 กำหนดโครงสร้างและแนวทางของแบบประเมิน
คุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพรเป็นแบบสังเกต ซึ่งกำหนดให้ครวู ิทยากร และวิทยากรภาคีเครอื ขา่ ย
เป็นผู้ประเมินนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม ด้วยวิธีการสังเกตจากการแสดงออกของนักเรียนเกี่ยวกบั
ความรู้ ทักษะ ทัศนคติ และพฤติกรรมทีส่ ะท้อนความเป็นเยาวชนรักษ์พงไพร โดยทดลองใช้ (Try Out)
แบบประเมินที่ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหากับครวู ิทยากรและวิทยากรภาคเี ครือขา่ ย
จำนวน 30 คน จากนนั้ จึงรวบรวมข้อมูลไปวิเคราะห์หาค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (Item Discrimination)
ซง่ึ อยูร่ ะหวา่ ง 0.23 - 0.49 และคา่ ความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบประเมนิ ทั้งฉบับ ด้วยค่าสัมประสิทธ์ิ
แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) เท่ากบั 0.96

ชุดที่ 5 แบบประเมินคุณภาพของแนวทางเชิงประจักษ์ กำหนดโครงสร้างเป็น
แบบบันทึกข้อมูลปลายเปิด เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงคุณภาพที่สอดคล้องกับสภาพจรงิ ตามบริบท บันทึก
ขอ้ มูลด้วยการสงั เกต มีหวั ขอ้ เร่อื งทีต่ อ้ งการสังเกต และมที ีว่ ่างให้ผบู้ ันทึกข้อมลู ซ่ึงมีประเดน็ เก่ียวกับ
ความพร้อมในการดำเนินงานตามแนวทาง และผลที่เกิดขึ้นกับครูวิทยากรและนักเรียน เก็บข้อมูล
โดยคณะลงพน้ื ที่ติดตามซ่ึงมีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ที่เกยี่ วขอ้ ง ท้ังนี้ มีการตรวจสอบ
ความสอดคล้อง ชัดเจน และครบถ้วนของแบบประเมินตามวัตถุประสงค์ โดยนำร่างแบบประเมิน
เสนอต่อผู้เชี่ยวชาญด้านวิจัยทางการศึกษา และปรับปรุงแก้ไขตามข้อแนะนำ จากนั้นจึงจัดพิมพ์
แบบประเมินคุณภาพของแนวทางเชงิ ประจักษ์ เพื่อนำไปเก็บรวบรวมข้อมูลในการทดลองภาคสนาม
ต่อไป

ชดุ ที่ 6 แบบประเมินการขยายผลสู่ความยง่ั ยืน มขี ้นั ตอนการสรา้ งและหาคุณภาพ
เครื่องมือ ตามแนวทางของเครื่องมือชุดที่ 1 กำหนดโครงสร้างและแนวทางของแบบประเมิน
การขยายผลสู่ความยั่งยืนเป็นแบบสังเกต ซึ่งกำหนดให้ครูวิทยากรและวิทยากรภาคีเครือข่าย
เป็นผู้ประเมินนักเรียน ด้วยวิธีการสังเกตการนำความรู้ไปต่อยอดกิจกรรมที่โรงเรียนของนักเรียน
ซึ่งสะท้อนความเป็นเยาวชนรักษ์พงไพร โดยทดลองใช้ (Try Out) แบบประเมินที่ผ่านการตรวจสอบ
ความเที่ยงตรงเชิงเนือ้ หากับครูวิทยากรและวิทยากรภาคเี ครือข่าย จำนวน 30 คน จากน้ันจึงรวบรวม
ข้อมูลไปวเิ คราะห์หาค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (Item Discrimination) ซึง่ อยู่ระหว่าง 0.23 - 0.49 และ
ค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบประเมินทั้งฉบับ ด้วยค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค
(Cronbach’s Alpha Coefficient) เท่ากบั 0.87

ผลการดำเนินการในขั้นตอนออกแบบและพัฒนา ทำให้ได้ร่างแนวทางการเสริมสร้าง
คณุ ลกั ษณะเยาวชนรกั ษพ์ งไพรเพ่ือการอนรุ กั ษ์ทรัพยากรธรรมชาติและส่งิ แวดล้อมของโรงเรียนระดับ
ประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และเอกสารประกอบแนวทาง
ไดแ้ ก่ ค่มู อื ครวู ิทยากรเพอื่ การเสริมสรา้ งคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพร และคู่มือเยาวชนรกั ษ์พงไพร

73

ท่ีมีความถูกต้องและสอดคล้องเหมาะสมของเน้ือหาสาระ มีความเป็นไปได้ในการนำไปใชเ้ สริมสร้าง
คุณลักษณะของนักเรียน มีความสอดคล้องของนโยบายการพัฒนาการศึกษา และเป็นประโยชน์
ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย รวมถึงเครื่องมือประเมินผลการใช้แนวทางมีคุณภาพ เหมาะสม
และพรอ้ มสำหรบั นำไปทดลองใช้ภาคสนามในขั้นตอนตอ่ ไป

ข้ันตอนที่ 3 การทดลองใชแ้ นวทางการเสริมสร้างคณุ ลกั ษณะเยาวชนรักษพ์ งไพรเพื่อการอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดลอ้ มของโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ
การศกึ ษาขน้ั พน้ื ฐาน

การดำเนินงานในขัน้ ตอนน้ี คอื ทดลองใช้แนวทางการเสรมิ สร้างคุณลกั ษณะเยาวชนรักษ์พงไพร
เพือ่ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและส่งิ แวดล้อมของโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคสนามกับกลุ่มเป้าหมาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผล
การทดลองใช้แนวทาง เกี่ยวกับความพึงพอใจต่อแนวทาง ความพงึ พอใจต่อกิจกรรมค่ายของนักเรียน
ความสามารถในการจดั กจิ กรรมของครวู ิทยากรจากการใช้แนวทาง คณุ ลกั ษณะของนกั เรียนท่เี ข้าร่วม
กจิ กรรมตามแนวทาง คณุ ภาพของแนวทางเชงิ ประจักษ์ และการขยายผลสู่ความยั่งยนื ดงั นี้

1. วิธกี ารวิจยั
1.1 ประชุมเตรียมความพร้อม สร้างความรู้ความเข้าใจและชี้แจงการทดลองใช้

แนวทางการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพรเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อมของโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ร่วมกับวิทยากรภาคีเครือข่าย ครูวิทยากร ผู้รับผิดชอบโครงการระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
และคณะทำงานโครงการ ในการประชุมเชิงปฏบิ ัติการเพื่อพัฒนาหลักสูตรโครงการค่าย “เยาวชน...
รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรตั นราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมาร”ี ปีที่ 5
พ.ศ. 2562 ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ระหว่างวันที่ 17 - 20 มกราคม พ.ศ. 2562
ณ อทุ ยานแหง่ ชาตเิ อราวณั จงั หวดั กาญจนบุรี โดยกำหนดแผนการทดลองตามขน้ั ตอนการเสริมสร้าง
คณุ ลกั ษณะเยาวชนรกั ษพ์ งไพร ซงึ่ มขี น้ั ตอน ดงั น้ี

1.1.1 การสานสัมพันธ์เครือข่าย (Network Engagement) คือ การบูรณาการ
ความรว่ มมือในการเสริมสรา้ งคุณลกั ษณะเยาวชนรักษพ์ งไพรเพอ่ื การอนุรักษท์ รัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อม ตั้งแต่การร่วมกำหนดวิสัยทัศน์ ร่วมพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ ร่วมแลกเปลี่ยนแบ่งปัน
องค์ความรู้และทรัพยากรเพื่อประโยชน์สูงสุดของนักเรียน ภายใต้การทำงานแบบร่วมมือร่วมใจ
ของภาคเี ครอื ข่าย

74

1.1.2 การจดั การเครือข่ายผ้เู ชี่ยวชาญเชงิ พน้ื ท่ี (Expertise Management) คือ
การบรหิ ารจดั การบรบิ ทเชงิ พืน้ ที่ เน้นการพฒั นาโดยผู้เช่ียวชาญด้านต่างๆ จากภาคีเครือข่าย เข้ามา
มีส่วนร่วมในการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพร โดยมุ่งเน้นความเป็นเอกลักษณ์เชิงพ้นื ที่
ของแตล่ ะแห่ง ภายใตเ้ ครือข่ายเชิงพื้นท่ีเพ่อื การพัฒนา (Rakpongprai Network: RN) โครงการค่าย
“เยาวชน...รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี”
สู่ความยง่ั ยนื

1.1.3 การจดั ค่ายบูรณาการสหวิชาการ (Multidisciplinary Youth Camp) คือ
การจัดกิจกรรมค่ายโดยมีรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้านของภาคี
เครือข่าย ดำเนินการออกแบบกิจกรรมภายใต้กรอบหลักสูตรโดยบูรณาการองค์ความรู้ ทักษะ และ
เจตคติที่เกย่ี วข้อง เพือ่ ปลกู ฝังจติ สำนึกร่วมกันให้นักเรียนได้ตระหนกั ในคุณค่าขององค์ความรู้ที่ได้รับ
ซึ่งจดั ใน 31 ศูนย์การเรยี นรทู้ ี่เปน็ แหล่งศึกษาธรรมชาติทั่วประเทศ ภายใต้ชอื่ ค่าย “เยาวชน...รักษ์พงไพร
เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสดุ าฯ สยามบรมราชกุมารี”

1.1.4 การขยายผลสู่ความยั่งยนื (Sustainable Generalization) คือ การดำเนนิ งาน
ภายหลงั จากการจัดค่ายฯ ท่มี ุง่ เนน้ ใหค้ รแู ละนกั เรียนนำองค์ความรู้ ทกั ษะ และเจตคตทิ ี่ดีในด้านการ
อนุรกั ษท์ รพั ยากรธรรมชาติและสง่ิ แวดล้อม ไปตอ่ ยอดในระดับโรงเรียนและชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม
ภายใต้การส่งเสริมสนับสนุนของภาคีเครือข่ายในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการ
อนุรักษ์ทรพั ยากรธรรมชาติและสงิ่ แวดลอ้ มท่ีเหมาะสมกับบริบทและความตอ้ งการของพ้นื ท่ี

1.2 ดำเนินการตามแนวทางในขนั้ ตอนการสานสัมพันธเ์ ครอื ข่าย (Network Engagement)
จำนวน 2 ครง้ั ได้แก่ ครง้ั ท่ี 1 ในการประชมุ เชงิ ปฏบิ ตั กิ ารเพือ่ พัฒนาหลกั สูตรโครงการค่าย “เยาวชน
...รกั ษพ์ งไพร เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเดจ็ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกมุ าร”ี ปที ่ี 5
พ.ศ. 2562 ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ระหว่างวันที่ 17 - 20 มกราคม พ.ศ. 2562
ณ อุทยานแห่งชาติเอราวัณ จังหวัดกาญจนบุรี และครั้งที่ 2 ในการประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อน
โครงการค่าย “เยาวชน...รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกมุ ารี” ประจำปี พ.ศ. 2562 ระหว่างวันที่ 20 - 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 ณ โรงแรม
กานตม์ ณี พาเลซ กรงุ เทพมหานคร

1.3 ดำเนินการตามแนวทางในขั้นตอนการจัดการเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญเชิงพื้นท่ี
(Expertise Management) โดยเครือข่ายเชิงพื้นที่เพื่อการพัฒนาโครงการค่าย “เยาวชน...รักษ์พงไพร
เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” สู่ความยั่งยืน
(Rakpongprai Network: RN) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหวา่ งวันที่ 10 - 14 มีนาคม พ.ศ. 2562
ณ ศูนยศ์ ึกษาธรรมชาตแิ ละสัตว์ป่า (ศธส.) ห้วยกมุ่ จังหวดั ชัยภมู ิ

75

1.4 ดำเนินการตามแนวทางในข้นั ตอนการจัดค่ายบรู ณาการสหวิชาการ (Multidisciplinary
Youth Camp) ในการจัดค่าย “เยาวชน...รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพ
รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” โดยพิจารณาจากข้อจำกัดของห้วงเวลาและความพร้อม
ของแหลง่ เรยี นรู้ จงึ กำหนดให้มกี ารทดลองในข้ันตอนน้ี จำนวน 6 คา่ ย ทจ่ี ัดขนึ้ ระหว่างเดือนมีนาคม
ถึงเมษายน พ.ศ. 2562 จาก 16 ค่ายในพื้นที่รับผิดชอบของเครือข่ายเชิงพื้นท่ีฯ (Rakpongprai
Network: RN) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่า (ศธส.) กรมอุทยาน
แห่งชาติ สัตวป์ า่ และพนั ธุ์พชื ประกอบดว้ ย

ศนู ยศ์ ึกษาธรรมชาตแิ ละสัตวป์ ่า (ศธส.) ห้วยกุ่ม จงั หวดั ชยั ภมู ิ จำนวน 4 ค่าย
ค่ายรนุ่ ที่ 1 วนั ที่ 25 - 27 มนี าคม พ.ศ. 2562
ค่ายรุ่นท่ี 2 วนั ท่ี 29 - 31 มีนาคม พ.ศ. 2562
ค่ายรุ่นที่ 3 วนั ที่ 3 - 5 เมษายน พ.ศ. 2562
ค่ายรุ่นที่ 4 วนั ที่ 7 - 9 เมษายน พ.ศ. 2562

ศูนยศ์ ึกษาธรรมชาติและสตั ว์ปา่ (ศธส.) ลำปาว จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 2 ค่าย
ค่ายรนุ่ ท่ี 1 วันที่ 27 - 29 มีนาคม พ.ศ. 2562
ค่ายรุน่ ท่ี 2 วันที่ 2 - 4 เมษายน พ.ศ. 2562

1.5 ดำเนินการตามแนวทางในขั้นตอนการขยายผลสู่ความย่งั ยืน (Sustainable Generalization)
โดยเครือข่ายเชิงพื้นที่ฯ (Rakpongprai Network: RN) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้วยการติดตามผล
การนำความรู้ของนักเรียนหลังจากผ่านกิจกรรมค่าย จำนวน 6 ค่าย ไปต่อยอดกิจกรรมที่โรงเรียน
ในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2 และสำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1 พร้อมทั้งนำผลจากการต่อยอดดังกล่าวไปแลกเปลี่ยน
เรียนรู้ร่วมกันระหวา่ งผู้เก่ียวขอ้ งในเครอื ข่าย

1.6 สรุปผลการทดลองใช้แนวทางการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพร
เพ่ือการอนุรักษ์ทรพั ยากรธรรมชาติและส่งิ แวดล้อมของโรงเรยี นระดับประถมศกึ ษา สังกัดสำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพืน้ ฐาน และปรับปรุงแนวทางให้มีความสมบูรณ์เพื่อนำไปใช้ในขั้นตอน
ตอ่ ไป ในการประชมุ ถอดบทเรยี นเครือข่ายเชงิ พืน้ ที่เพอื่ การพัฒนาโครงการค่าย “เยาวชน...รักษ์พงไพร
เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” สู่ความยั่งยืน
(Rakpongprai Network: RN) ระหว่างวันที่ 6 - 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ณ ศูนย์ฝึกอบรมที่ 3
ชะอำ จังหวดั เพชรบรุ ี

76

2. กล่มุ เปา้ หมาย
สำหรับการทดลองใชแ้ นวทางการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษพ์ งไพรเพอ่ื การอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้วิจัยกำหนดกลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้รับผิดชอบโครงการระดับสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษา ครูวิทยากร วิทยากรภาคีเครือข่าย (วิทยากรประจำศูนย์การเรียนรู้และวิทยากรภาคี
เครือข่ายในพื้นท่ี) และนักเรียน ที่เข้าร่วมในเครือข่ายเชิงพื้นที่ฯ (Rakpongprai Network: RN)
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แบง่ เป็น

2.1 ผเู้ ก่ยี วข้องท่ดี ำเนินการทดลองภาคสนาม ประกอบด้วย ผ้รู ับผดิ ชอบโครงการระดับ
สำนกั งานเขตพื้นที่การศกึ ษา จำนวน 5 คน ครวู ิทยากร จำนวน 80 คน วิทยากรประจำศูนยก์ ารเรยี นรู้
จำนวน 20 คน และวิทยากรภาคเี ครือข่ายในพ้นื ที่ จำนวน 30 คน รวมจำนวน 135 คน

2.2 นักเรียนที่เข้าค่าย ณ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่า (ศธส.) ห้วยกุ่ม จังหวัด
ชยั ภูมิ (4 ค่าย) จำนวน 240 คน และศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสตั ว์ปา่ (ศธส.) ลำปาว จงั หวดั กาฬสนิ ธุ์
(2 ค่าย) จำนวน 120 คน รวมจำนวน 360 คน

2.3 ผู้เกี่ยวข้องท่ีดำเนินการขยายผลสู่ความยั่งยืน โดยต่อยอดหลังจากกิจกรรมค่าย
(6 ค่าย) สู่โรงเรียนในพื้นที่รับผิดชอบ ประกอบด้วย ครูวิทยากร จำนวน 30 คน วิทยากรประจำศูนย์
การเรียนรู้ จำนวน 10 คน และวิทยากรภาคีเครือข่ายในพนื้ ที่ จำนวน 20 คน รวมจำนวน 60 คน

3. เคร่ืองมอื ทใี่ ชใ้ นการวิจยั
การทดลองใช้แน ว ทาง การ เสร ิมสร ้าง คุณลักษณะเยาวชนร ักษ์พงไพ รเพื่อ การอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ
การศกึ ษาขน้ั พนื้ ฐาน ในภาคสนาม มีเครือ่ งมอื ดงั น้ี

3.1 แนวทางการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษพ์ งไพรเพือ่ การอนุรักษ์ทรัพยากร
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโรงเรยี นระดบั ประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
ขั้นพ้นื ฐาน (ฉบับทดลองภาคสนาม)

3.2 เอกสารประกอบแนวทาง จำนวน 3 เล่ม ได้แก่ แนวทางการเสรมิ สร้างคุณลักษณะ
เยาวชนรักษ์พงไพรเพ่อื การอนุรกั ษ์ทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละส่ิงแวดล้อมของโรงเรียนระดับประถมศึกษา
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน คู่มือครูวิทยากรเพื่อการเสริมสร้างคุณลักษณะ
เยาวชนรักษพ์ งไพร และคูม่ ือเยาวชนรกั ษพ์ งไพร

3.3 แบบประเมนิ ผลการใช้แนวทาง จำนวน 6 ชดุ ได้แก่
ชดุ ท่ี 1 แบบประเมนิ ความพึงพอใจต่อแนวทาง
ชดุ ท่ี 2 แบบประเมนิ ความพงึ พอใจตอ่ กิจกรรมคา่ ยของนักเรียน

77

ชุดที่ 3 แบบประเมินความสามารถจัดกิจกรรมตามแนวทางของครูวทิ ยากร
ชุดท่ี 4 แบบประเมนิ คุณลักษณะเยาวชนรักษพ์ งไพร
ชดุ ท่ี 5 แบบประเมินคณุ ภาพของแนวทางเชิงประจกั ษ์
ชดุ ท่ี 6 แบบประเมนิ การขยายผลสู่ความย่ังยนื

4. การเกบ็ รวบรวมข้อมูล
ผวู้ ิจยั เก็บรวบรวมขอ้ มูลการทดลองใช้แนวทางการเสรมิ สร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพร
เพอ่ื การอนรุ ักษท์ รพั ยากรธรรมชาติและสงิ่ แวดล้อมของโรงเรียนระดับประถมศกึ ษา สังกัดสำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคสนาม จากผู้รับผิดชอบโครงการระดับสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษา ครูวิทยากร วิทยากรภาคีเครือข่าย และนักเรียน ที่เข้าร่วมในเครือข่ายเชิงพื้นท่ีฯ
(Rakpongprai Network: RN) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แบ่งเป็น 4 ช่วง ตามขั้นตอนการเสริมสร้าง
คุณลกั ษณะเยาวชนรกั ษ์พงไพร ได้แก่

ช่วงที่ 1 หลังขั้นตอนการจัดการเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญเชิงพื้นท่ี โดยใช้เครื่องมือ
ประเมินผล ชุดที่ 3 แบบประเมนิ ความสามารถจัดกิจกรรมตามแนวทางของครูวิทยากร ในเครือขา่ ย
เชิงพื้นที่ฯ ภาคตะวันออกเฉยี งเหนือ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 10 - 14 มีนาคม พ.ศ. 2562 ณ ศูนย์ศึกษา
ธรรมชาติและสัตว์ป่า (ศธส.) ห้วยกุ่ม จังหวัดชัยภูมิ โดยเก็บข้อมูลหลังจากเสร็จสิ้นการฝึกอบรม
เชิงปฏิบัติการและแลกเปลี่ยนเรยี นรู้ของเครือข่ายเชิงพ้นื ที่ฯ ดงั กล่าว

ช่วงที่ 2 ระหวา่ งข้ันตอนการจัดค่ายบูรณาการสหวิชาการ โดยใช้เครอื่ งมือประเมินผล
ชุดที่ 5 แบบประเมนิ คณุ ภาพของแนวทางเชงิ ประจักษ์ ดงั นี้

1) เก็บข้อมูล ณ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่า (ศธส.) ห้วยกุ่ม จังหวัดชัยภูมิ
จำนวน 4 คา่ ย ไดแ้ ก่ ค่ายรนุ่ ท่ี 1 วันที่ 25-27 มีนาคม พ.ศ. 2562 คา่ ยรุ่นท่ี 2 วนั ที่ 29 - 31 มนี าคม
พ.ศ. 2562 ค่ายรนุ่ ท่ี 3 วันที่ 3 - 5 เมษายน พ.ศ. 2562 และคา่ ยรุน่ ท่ี 4 วนั ที่ 7 - 9 เมษายน พ.ศ. 2562

2) เกบ็ ขอ้ มูล ณ ศนู ย์ศึกษาธรรมชาตแิ ละสัตว์ปา่ (ศธส.) ลำปาว จังหวัดกาฬสินธ์ุ
จำนวน 2 ค่าย ได้แก่ ค่ายรุ่นที่ 1 วันที่ 27 - 29 มีนาคม พ.ศ. 2562 และค่ายรุ่นที่ 2 วันที่ 2 - 4
เมษายน พ.ศ. 2562

ช่วงที่ 3 หลังขั้นตอนการจัดค่ายบูรณาการสหวิชาการ โดยใช้เครื่องมือประเมินผล
ชดุ ที่ 2 แบบประเมินความพึงพอใจต่อกิจกรรมคา่ ยของนักเรยี น และชดุ ท่ี 4 แบบประเมนิ คณุ ลักษณะ
เยาวชนรักษ์พงไพร โดยเก็บข้อมูลภายหลงั จากเสร็จสิ้นการจัดกจิ กรรมของแต่ละค่าย รายละเอยี ดคา่ ย
ตามการเกบ็ ขอ้ มลู ช่วงท่ี 1

ช่วงที่ 4 หลังขั้นตอนการขยายผลสู่ความยั่งยืน โดยใช้เครื่องมือประเมินผล ชุดที่ 1
แบบประเมินความพึงพอใจต่อแนวทาง และชุดที่ 6 แบบประเมินการขยายผลสู่ความยั่งยืน ซึ่งเก็บ

78

ข้อมูลในช่วงของการติดตามผลและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้เกี่ยวข้องในเครอื ข่าย ในการ
นำความร้ไู ปต่อยอดกิจกรรมทีโ่ รงเรียนของนักเรยี นท่ีผ่านกิจกรรมค่าย จากศนู ย์ศึกษาธรรมชาติและ
สตั ว์ปา่ (ศธส.) ห้วยกุม่ จงั หวดั ชยั ภมู ิ (สพป.ชยั ภมู ิ เขต 2 เป็นผู้รับผดิ ชอบ) จำนวน 4 ค่าย และศูนย์
ศกึ ษาธรรมชาตแิ ละสตั ว์ป่า (ศธส.) ลำปาว จงั หวดั กาฬสินธุ์ (สพป.กาฬสนิ ธ์ุ เขต 1 เป็นผู้รับผิดชอบ)
จำนวน 2 ค่าย

5. การวเิ คราะหข์ ้อมูล
ผู้วิจยั นำแบบประเมนิ ทงั้ หมดมาตรวจสอบความสมบรู ณ์ และคดั เลอื กเฉพาะแบบประเมิน
ทม่ี ีความสมบูรณ์เพียงพอ แลว้ จึงวเิ คราะห์ข้อมูลผลการทดลองใช้แนวทางการเสรมิ สร้างคุณลักษณะ
เยาวชนรักษ์พงไพรเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนระดับ
ประถมศึกษา สงั กดั สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพน้ื ฐาน ในภาคสนาม ดงั นี้

5.1 การวิเคราะห์ข้อมูลจากการประเมินความพึงพอใจต่อแนวทาง โดยใช้สถิติ
เชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าร้อยละ (Percentage) และ
สว่ นเบ่ยี งเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ท่ีไดจ้ ากการวิเคราะหข์ ้อมลู โดยใช้โปรแกรมสำเรจ็ รูป
กำหนดการแปลความหมายค่าเฉลย่ี ตามเกณฑ์ (บญุ ชม ศรีสะอาด. 2560) รายละเอยี ดดงั น้ี

คา่ เฉลย่ี 4.51 - 5.00 หมายถงึ อยใู่ นระดับ มากท่สี ดุ
ค่าเฉลยี่ 3.51 - 4.50 หมายถงึ อยู่ในระดบั มาก
คา่ เฉลีย่ 2.51 - 3.50 หมายถึง อยู่ในระดบั ปานกลาง
ค่าเฉลย่ี 1.51 - 2.50 หมายถงึ อยู่ในระดบั นอ้ ย
ค่าเฉล่ีย 1.00 - 1.50 หมายถงึ อยู่ในระดบั นอ้ ยท่ีสดุ
5.2 การวิเคราะห์ข้อมูลจากการประเมินความพึงพอใจต่อกิจกรรมค่ายของนักเรียน
ความสามารถจัดกิจกรรมตามแนวทางของครวู ิทยากร คณุ ลกั ษณะเยาวชนรกั ษพ์ งไพร และการขยายผล
สคู่ วามย่ังยืน ใชแ้ นวทางการวิเคราะหต์ ามขอ้ ที่ 5.1
5.3 การวิเคราะห์ข้อมูลประเมินคุณภาพของแนวทางเชิงประจักษ์ ผู้วิจัยใช้เทคนิค
การทบทวนระหวางการปฏิบตั ิ (After Action Review: AAR) ประยุกต์ร่วมกบั การตรวจสอบความน่าเชื่อถอื
ของการวเิ คราะห์ข้อมลู ด้วยวธิ กี ารตรวจสอบสามเส้าด้านขอ้ มลู (Data Triangulation) เพ่ือยนื ยันว่า
ข้อมูลที่ได้มานั้นถูกต้อง ซึ่งพิจารณาจากช่วงเวลา สถานที่ และบุคคลที่แตกต่างกัน และใช้การ
ตรวจสอบสามเส้าด้านผู้วิจัย (Investigator Triangulation) นอกจากนี้ ผู้ยังให้ความสำคัญกับ
การตรวจสอบสามเส้าด้านทฤษฎี (Theoretical Triangulation) โดยการตรวจสอบข้อมูลประเด็น
เดียวกันจากแหล่งข้อมูลหลายแหล่ง ซึ่งได้ช่วยลดความผิดพลาดในการวิเคราะห์โดยใช้มุมมอง
ทห่ี ลากหลาย ในการยืนยนั ผลการประเมินทชี่ ดั เจนและถกู ตอ้ ง

79

ผลการดำเนนิ การในขน้ั ตอนทดลองใช้ภาคสนาม ทำให้ได้แนวทางการเสริมสรา้ งคุณลกั ษณะ
เยาวชนรักษ์พงไพรเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนระดับ
ประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และเอกสารประกอบแนวทางที่มี
ความสมบูรณ์ ถูกตอ้ ง เหมาะสม และเปน็ ประโยชนต์ ่อการนำไปใชเ้ สริมสรา้ งคณุ ลกั ษณะของนักเรียน
ส่กู ารเปน็ เยาวชนรกั ษ์พงไพรในข้นั ตอนต่อไปได้อยา่ งมคี ณุ ภาพ

ขั้นตอนที่ 4 การนำแนวทางการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพรเพื่อการอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาตแิ ละสิง่ แวดล้อมของโรงเรยี นระดบั ประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ
การศกึ ษาขัน้ พืน้ ฐาน ไปใช้

การดำเนินงานในขั้นตอนนี้ คือ การนำแนวทางการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชน
รักษพ์ งไพรเพือ่ การอนุรกั ษท์ รพั ยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโรงเรยี นระดบั ประถมศึกษา สังกัด
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไปใช้กับกลุ่มเป้าหมายโครงการ ปีงบประมาณ
พ.ศ. 2562 ในพื้นที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จำนวน 33 เขต มีวัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาผลการใช้แนวทาง เกี่ยวกับความพึงพอใจต่อแนวทาง ความพึงพอใจต่อกิจกรรมค่าย
ของนักเรียน ความสามารถในการจัดกิจกรรมของครูวิทยากรจากการใช้แนวทาง คุณลักษณะ
ของนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมตามแนวทางคุณภาพของแนวทางเชิงประจักษ์ และการขยายผล
สคู่ วามย่งั ยืน มีวิธกี ารวจิ ยั ดงั นี้

1. นำแนวทางการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพรเพื่อการอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน และเอกสารประกอบแนวทาง ไปใช้กับกลุ่มเป้าหมายโครงการ ปีงบประมาณ
พ.ศ. 2562 ระหว่างเดือนพฤษภาคม - กันยายน พ.ศ. 2562 โดยมีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษา จำนวน 33 เขต เปน็ ผ้รู ับผดิ ชอบการนำแนวทางไปใช้

2. ศึกษาผลการใช้แนวทางการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพรเพื่อการ
อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพ้นื ฐาน โดยประเมินผลและนำเสนอผลเช่นเดียวกนั กับขั้นตอนที่ 3

3. นำผลการใช้แนวทาง มาจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขน้ั พนื้ ฐาน ด้วยการระดมสมอง (Brainstorming) ร่วมกับผู้ทรงคณุ วฒุ ิ ผแู้ ทนภาคเี ครือข่าย
คณะทำงานโครงการ และผู้เกี่ยวข้อง ในการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาและขยายผลเครือข่าย
เชิงพื้นที่เพื่อการพัฒนาโครงการค่าย “เยาวชน...รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จ
พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” สู่ความยั่งยืน (Rakpongprai Network: RN) ระหว่าง
วันที่ 24 - 26 ธนั วาคม พ.ศ. 2562 ณ โรงแรมริเวอรไ์ ซด์ กรงุ เทพมหานคร

80

4. เผยแพร่แนวทางการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพรเพื่อการอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน และเอกสารประกอบแนวทาง ในรูปแบบ E - book ด้วยช่องทาง Website
และระบบสารสนเทศออนไลน์ของสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เพื่อให้บุคลการทาง
การศกึ ษาและผู้สนใจสามารถนำไปใช้ประโยชน์ไดใ้ นวงกวา้ ง

ผลการดำเนินการในขั้นตอนนำไปใช้และประเมินผล แนวทางการเสริมสร้างคุณลักษณะ
เยาวชนรักษ์พงไพรเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนระดับประถมศึกษา
สงั กัดสำนกั งานคณะกรรมการการศกึ ษาขัน้ พ้นื ฐาน และเอกสารประกอบแนวทาง ทมี่ ีความเหมาะสม
ในเชิงนโยบายการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในระดับปฏิบัติ ได้อย่าง
สอดคลอ้ งเหมาะสมกบั ความต้องการตามบริบทพ้ืนที่ โดยสรปุ ข้นั ตอนการดำเนนิ การวจิ ัย ดังภาพที่ 3.1

81
ภาพที่ 3.1 ข้ันตอนการดำเนินการวจิ ัย

บทท่ี 4

ผลการวิเคราะหข์ ้อมูล

การวิจัยเรื่อง แนวทางการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพรเพื่อการอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน วัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพรเพื่อการอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาข้นั พ้ืนฐาน 2) พฒั นาแนวทางการเสริมสร้างคุณลกั ษณะเยาวชนรักษ์พงไพรเพื่อการอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขัน้ พื้นฐาน และ 3) ศึกษาผลการใช้แนวทางการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพร
เพื่อการอนรุ ักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสง่ิ แวดลอ้ มของโรงเรียนระดบั ประถมศกึ ษา สังกัดสำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขนั้ พนื้ ฐาน แบ่งผลการศึกษาและวเิ คราะห์ข้อมลู ออกเป็น 4 ตอน ได้แก่

ตอนที่ 1 ผลการศกึ ษาและวิเคราะห์ขอ้ มูลพ้นื ฐาน เกยี่ วกบั คุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพร
เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และแนวทางการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชน
รกั ษพ์ งไพรของโรงเรียนระดบั ประถมศกึ ษา สังกัดสำนกั งานคณะกรรมการการศกึ ษาขน้ั พ้นื ฐาน

ตอนที่ 2 ผลการพฒั นาแนวทางการเสริมสร้างคุณลกั ษณะเยาวชนรกั ษ์พงไพรเพ่ือการ
อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาข้นั พื้นฐาน

ตอนที่ 3 ผลการทดลองใช้แนวทางการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพร
เพอ่ื การอนุรกั ษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อมของโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพืน้ ฐาน

ตอนที่ 4 ผลการนำแนวทางการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพรเพื่อการ
อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงาน
คณะกรรมการการศกึ ษาข้นั พน้ื ฐาน ไปใช้

โดยมรี ายละเอียดผลการวิจัยและพฒั นาแนวทางการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพร
เพ่อื การอนุรักษท์ รพั ยากรธรรมชาติและสงิ่ แวดล้อมของโรงเรียนระดับประถมศกึ ษา สังกัดสำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาข้นั พ้นื ฐาน ท้งั 4 ตอน ดังนี้

83

ตอนที่ 1 ผลการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน เกี่ยวกับคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพร
เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และแนวทางการเสริมสร้างคุณลักษณะ
เยาวชนรักษพ์ งไพรของโรงเรยี นระดับประถมศึกษา สังกดั สำนกั งานคณะกรรมการการศึกษาข้นั พน้ื ฐาน

ผลการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพรเพื่อการ
อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงแนวทางการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชน
รักษ์พงไพรของโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
โดยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การลงพื้นที่เยี่ยมค่ายเพื่อศึกษาข้อมูลเชิงประจักษ์
ตามสภาพจรงิ และการสัมภาษณ์ผทู้ รงคุณวุฒิ รายละเอยี ด ดังน้ี

1. ผลการสังเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร หนังสือ ตำรา และสื่อชนิดต่าง ๆ รวมถึง
การวิจัยเอกสาร (Documentary Research) โดยพิจารณาถึงสภาพในปัจจุบัน ความคาดหวัง และ
ความจำเป็นในการเสรมิ สร้างคุณลักษณะเยาวชนรกั ษพ์ งไพรเพื่อการอนรุ กั ษ์ทรพั ยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อม ซึ่งผู้วิจัยตระหนักถึงคุณสมบัติของแหล่งข้อมูลท่ีเหมาะสมกับการนำมาศึกษาค้นคว้า
ทั้งด้านเนื้อหาที่ถูกต้อง พิสูจน์ทางวิชาการได้ มีความครบถ้วนสมบูรณ์ของเนื้อหา เข้าใจง่าย และ
ทนั ต่อเหตกุ ารณ์

สำหรับการวิเคราะห์และสังเคราะห์เอกสาร พบว่า คุณลักษณะสำคัญของการเป็น
เยาวชนรักษ์พงไพรที่มีน้ำหนักมากที่สุด 4 คุณลักษณะ ได้แก่ การสื่อสารความรู้ด้านชีวิตที่เป็นมิตร
ต่อสิ่งแวดล้อม ความมีวินัย เคารพกติกาของสังคมในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ความตระหนักถึง
ปัญหาสง่ิ แวดล้อม จติ สาธารณะ และมีสว่ นรว่ มในการดำเนินชวี ิตท่ีเป็นมิตรต่อสิง่ แวดล้อม และความเป็น
ผู้นำในการสานต่อและพัฒนาสิ่งแวดล้อมของบ้านเกิด รองลงมา 5 คุณลักษณะ ได้แก่ ความใฝ่รู้
ด้านการอนุรักษ์ ป้องกันและแก้ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน การน้อมนำ
ความรจู้ ากสถาบันชาติ ศาสน์ กษัตรยิ ์ สู่การอนรุ ักษท์ รพั ยากรธรรมชาติและสงิ่ แวดลอ้ ม การดำเนินชีวิต
อยอู่ ย่างพอเพียง การนำทักษะในศตวรรษที่ 21 ไปใช้ดำรงชวี ติ และการใช้ชวี ิตทเี่ ปน็ มิตรต่อส่ิงแวดล้อม
ดงั ตารางที่ 4.1


Click to View FlipBook Version