The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

วิจัยแนวทางการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพร

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

วิจัยแนวทางการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพร

วิจัยแนวทางการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพร

184

มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถบูรณาการองค์ความรู้ และความร่วมมือของภาคีเครือข่าย
ที่เกี่ยวข้อง เพื่อการพัฒนานักเรียนให้มีคณุ ลักษณะเยาวชนรกั ษ์พงไพร ภายใต้กรอบเนื้อหา 3 รักษ์
(รักษ์ชาติ รักษ์ศาสน์ รกั ษก์ ษัตรยิ )์ เช่น การดำเนนิ ชวี ิตภายใต้ระเบียบ กฎกตกิ าสังคม มีความสามัคคี
การมีสติ ความเมตตา การให้อภัย รวมถึงการสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ปกป้อง และเชิดชูสถาบัน
พระมหากษตั รยิ ์

4.6 การขยายผลสู่ความยั่งยืน โดยครูวิทยากร และวิทยากรภาคีเครือข่ายเป็นผู้ประเมิน
นักเรียน ด้วยวิธีการสังเกตการนำความรู้ไปต่อยอดกิจกรรมที่โรงเรียนของนักเรียน ซึ่งสะท้อน
ความเป็นเยาวชนรักษ์พงไพร โดยรวมการขยายผลสู่ความยั่งยืนอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณา
เป็นรายข้อ พบว่า กิจกรรมการต่อยอดได้รับการส่งเสริมสนับสนุนจากภาคีเครือข่ายในพื้นที่และ
ชุมชน มผี ลการประเมนิ มากที่สดุ

อภปิ รายผลการวจิ ยั
การวิจัยแนวทางการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพรเพ่ือการอนุรักษ์ทรัพยากร

ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนระดบั ประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
ขน้ั พน้ื ฐาน มขี อ้ สงั เกตจากผลการวจิ ยั มาอภปิ ราย ดังน้ี

1. การศึกษาและวเิ คราะหข์ ้อมลู พืน้ ฐานเกี่ยวกับคุณลกั ษณะเยาวชนรักษพ์ งไพรเพื่อการ
อนรุ กั ษ์ทรพั ยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม และแนวทางการเสรมิ สร้างคุณลกั ษณะเยาวชนรักษ์พงไพร
เพอื่ การอนุรกั ษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอ้ มของโรงเรียนระดับประถมศกึ ษา สังกัดสำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขัน้ พ้นื ฐาน

1.1 คุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพรเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ประกอบด้วยคุณลักษณะใน 3 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านความรู้ (รู้รักษา) นักเรียนมีความใฝ่รู้ด้านการอนุรักษ์
ป้องกัน และแก้ปญั หาการอนรุ ักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และส่ิงแวดล้อมในชุมชน มกี ารสื่อสารความรู้
ในการใชช้ ีวติ เป็นมิตรต่อสิง่ แวดล้อม และน้อมนำความร้จู ากสถาบนั ชาติ ศาสน์ กษตั ริย์ สกู่ ารอนุรักษ์
ทรพั ยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (2) ดา้ นทกั ษะ (การพัฒนาต่อยอด) นักเรียนดำเนินชีวิตอยู่อย่าง
พอเพียง ทักษะในศตวรรษที่ 21 ไปใช้ในการดำรงชีวิต และใช้ชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และ
(3) ด้านเจตคติ (สืบทอดวิถี) นักเรียนมีวินัย เคารพกติกาของสังคมในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ
และสงิ่ แวดลอ้ ม มีความตระหนกั ถึงปญั หาส่งิ แวดล้อม มีจติ สาธารณะ และมสี ว่ นรว่ มดำเนินชีวิตที่เป็นมิตร
กับสง่ิ แวดล้อมและเปน็ ผู้นำในการสานตอ่ การอนรุ ักษ์และพฒั นาทรพั ยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม
ของบ้านเกิด ในการศกึ ษาและวเิ คราะหข์ อ้ มูลพ้ืนฐานเกี่ยวกับคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพร เพือ่ การอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยการศึกษาข้อมูลคุณลักษณะเยาวชนที่ดีในด้านการอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจากเอกสาร ตำรา สื่อตา่ ง ๆ จากแหลง่ ข้อมูลท่ีเหมาะสม เนื้อหา

185

ถูกต้อง และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องอย่างหลากหลาย จากการลงพื้นที่เยี่ยมค่ายเพื่อศึกษาข้อมูล
เชิงประจักษ์ตามสภาพจริง และจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิอย่างเป็นระบบ แล้วนำข้อมูล
มาสังเคราะหไ์ ดค้ ณุ ลกั ษณะเยาวชนรกั ษพ์ งไพรเพื่อการอนุรักษ์ทรพั ยากรและสงิ่ แวดลอ้ มที่สอดคล้อง
กับคุณลักษณะของพลเมืองเพื่อสิ่งแวดล้อมตามแนวทางเป้าหมายการพัฒนาทีย่ ั่งยืน (Sustainable
Development Goals: SDGs) และเสรมิ สร้างคุณภาพชีวิตทีเ่ ปน็ มิตรตอ่ สิง่ แวดลอ้ มตามหลักปรัชญา
ของเศรษฐกจิ พอเพียง (สำนักพัฒนานวัตกรรมการจดั การศกึ ษา. 2558) คุณลักษณะของเยาวชนท่ดี ี
และคุณลักษณะของเด็กไทยในประชาคมอาเซียน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ได้จัดประชุมและประชาพิจารณ์ที่เกี่ยวกบั การร่วมกำหนดคุณลักษณะเด็กไทยในประชาคมอาเซียน
3 ด้าน คือ ด้านความรู้ ทักษะ/กระบวนการ และเจตคติ สอดคล้องกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์
ของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ในการรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์
รักความเป็นไทย มีจิตสาธารณะ โดยการมีส่วนร่วมในการปลูกต้นไม้ในวันสำคัญของชาติ ศาสนา และ
พระมหากษัตริย์ ร่วมดูแลรักษาต้นไม้ การทำความสะอาดการจัดเก็บขยะที่จะส่งผลเสียต่อทรัพยากร
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การใช้ชีวิตประจำวันบนพื้นฐานของความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร การเปลี่ยนแปลง
ของสังคมและสิ่งแวดล้อม การใช้ชีวิตอยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน มีเหตุผล รอบคอบ
มีคุณธรรม มวี นิ ยั ปฏบิ ตั ิตามข้อตกลง กฎเกณฑ์ ระเบยี บข้อบังคบั ของครอบครัว โรงเรยี น และสังคม
รูจ้ กั ปรับตัวอยู่ในสังคม และใช้ทรพั ยากรของส่วนรวมอย่างประหยัดและคุ้มค่า (สิริมา หมอนไหม. 2561)

1.2 แนวทางเสรมิ สรา้ งคุณลกั ษณะเยาวชนรกั ษ์พงไพรในการดำเนนิ งานข้ันตอนศึกษา
และวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ทำให้ได้กรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีของการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชน
รกั ษ์พงไพรเพื่อการอนรุ กั ษธ์ รรมชาติและส่งิ แวดล้อมของโรงเรยี นระดับประถมศกึ ษา สงั กดั สำนกั งาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาแนวทางในทุกมิติ ทั้งหลักการและ
แนวทางโดยมีความสัมพันธ์ระหว่างความสำนึกรับผิดชอบในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อม การเรียนรู้แบบ Active Learning ในแหล่งศึกษาธรรมชาติ รวมการจัดการความรู้และ
แลกเปลย่ี นเรยี นรูอ้ ยา่ งเป็นระบบ ซ่ึงเป็นกรอบสำคัญในการพฒั นากระบวนการเสรมิ สร้างคณุ ลกั ษณะ
เยาวชนรักษ์พงไพร ประกอบด้วย การเสริมสร้างคุณลักษณะ ขั้นตอนการเสริมสร้างคุณลักษณะ
เงอื่ นไขการเสริมสร้างคุณลักษณะ และปัจจัยสู่ความสำเร็จในการเสรมิ สร้างคุณลักษณะให้สอดคล้อง
กับความต้องการและสภาพจริงตามบริบท รวมถึงเหมาะสมและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการ
วิจัยในการกำหนดกรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีของการเสริมสร้างคุณลกั ษณะเยาวชนรักษ์พงไพรเพือ่ การ
อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีความสำคัญ ซึ่งจะเป็นแนวทางเสริมสร้างคุณลักษณะ
เยาวชนรักษ์พงไพร โดยสังเคราะห์หลักการเสริมสร้างคุณลักษณะ องค์ประกอบของการเสริมสร้าง
คุณลักษณะ รูปแบบการประเมนิ ผลแนวทาง โดยสอดคล้องกับ Littledyke (2008) ท่ีมงุ่ เน้นการพัฒนา
นักเรียนผา่ นกจิ กรรมคา่ ยท่ีบูรณาการสหวิชาการ การรวบรวมขอ้ มลู และการปฏิบัติจริง เรยี นรอู้ ย่างมี

186

ความรู้โดยความร่วมมือของภาคีเครือข่ายเข้ามามีบทบาทหลักตั้งแต่ร่วมกำหนดทิศทางการพัฒนา
นักเรียนเพื่อความเข้มแข็งของนักเรียนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมขยายผล
สโู่ รงเรยี นและชมุ ชน ซึง่ เปน็ ไปในทิศทางเดยี วกบั Selfa & Endter-Wada (2008) โดยการจัดกิจกรรม
การเรียนร้มู ่งุ เนน้ ให้นักเรยี นเกิดประสบการณ์ตรงจากแหล่งเรยี นรทู้ างธรรมชาติจรงิ ตามบริบทของพ้ืนท่ี
โดยใช้ชุดเอกสารแนวทางที่กำหนดจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ เนื้อหา วิธีการ กิจกรรมและกระบวนการ
รวมถึงสื่อ และการประเมินผลสำเร็จ ๆ ได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งการวางแผนดำเนินงานภายหลัง
การจัดค่ายที่มุ่งเน้นให้ครูและนักเรียนนำความรู้ ทักษะ และเจตคติ ในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากร
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปต่อยอดในระดบั โรงเรียน และชุมชน ได้อย่างเป็นรูปธรรม สอดคล้องกับ
แนวคิดของสมยศ วิเชียรธนิตย์ และคณะ (2559) คือ ในการบริหารค่ายจะต้องมีหลักสูตรค่าย และ
การเตรยี มบคุ ลากรในการดำเนนิ งานเพื่อใหง้ านประสบความสำเร็จ และสอดคลอ้ งกบั ณพศิษฏ์ จกั รพิทัศน์
(2552) รวมถึง Baldwin & Williams (1998) ที่ให้แนวคดิ เกี่ยวกับการเรียนรูแ้ บบ Active Learning
เน้นบทบาทการมีส่วนร่วมของผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนกระตือรือร้นในการเรียนรู้ ส่งเสริมให้ผู้เรียน
ประยุกต์ใช้ทักษะและเชื่อมโยงองค์ความรู้นำไปปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาตลอดจนนำไปใช้ใน
ชีวิตประจำวัน ทั้งยังสอดคล้องกับ สยามมล เกษประดิษฐ์ (2559) ที่ให้แนวคิดเกี่ยวกบั ความร่วมมือ
การทำงานร่วมกัน การมีสว่ นร่วมทำให้เกดิ ความภาคภมู ิใจเป็นสว่ นหน่ึงของงานมีความรสู้ กึ เป็นเจ้าของ
และเปน็ พลังในการขบั เคลอ่ื นงานให้สำเรจ็

2. การออกแบบและพัฒนาร่างแนวทางคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพรเพื่อการอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดทำเอกสาร 3 เล่ม คือ (1) คุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพรเพื่อการอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขน้ั พ้นื ฐาน ประกอบด้วย หลกั การและวัตถุประสงค์ ขอบเขตการดำเนนิ งาน บทบาทหน้าท่ี
คุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพร วิธีการและขั้นตอนการดำเนินงาน กิจกรรมการดำเนินงาน การวัด
และประเมินผล เอกสารอ้างอิงและภาคผนวก (2) คู่มือครูวิทยากรเพื่อการเสริมสร้างคุณลักษณะ
เยาวชนรักษ์พงไพร ประกอบด้วย หลักการและวัตถุประสงค์ขอบเขตการดำเนินงาน บทบาทหน้าท่ี
คุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพร วิธีการและขั้นตอนการดำเนินงาน กิจกรรมการเรียนรู้และใบงาน
การวัดและประเมินผล เอกสารอ้างอิงและภาคผนวก (3) คู่มือเยาวชนรักษ์พงไพร ประกอบด้วย
หลักการและวัตถุประสงค์ กิจกรรมการเรียนรู้และใบงาน และกิจกรรมการเรียนรู้ และใบงาน
เพื่อความเหมาะสมกับเยาวชน เอกสารร่างแนวทางคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพรเพื่อการอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน มีส่วนประกอบและองค์ความรู้สำคัญ คือ 1) หลักการเสริมสร้างคุณลักษณะ
เยาวชนรักษพ์ งไพร ประกอบด้วยหลักสำคัญ 3 ประการ คือ RAK ได้แก่ (1) ความตระหนักรู้สำนกึ รกั ษ์

187

(Responsibility) (2) กิจกรรมบนฐานรู้แจ้งทำจริง (Active Learning) (3) การจัดการความรู้
สู่เยาวชนรักษ์พงไพร (Knowledge Management) 2) วัตถุประสงค์เพ่ือให้นักเรียนเกิดคุณลักษณะ
เยาวชนรักษ์พงไพร ประกอบด้วย (1) รู้รักษา (2) พัฒนาต่อยอด (3) สืบทอดวิถี 3) องค์ประกอบ
การเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพร ประกอบด้วย (1) เนื้อหากิจกรรมบูรณาการ 3 รักษ์
(รักษ์ชาติ รักษ์ศาสน์ รักษก์ ษัตรยิ ์) (2) กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning (3) การขับเคล่ือนงาน
ด้วยภาคีเครือข่ายและพื้นท่ีเป็นฐาน (4) คู่มือการดำเนนิ งานทีม่ ีคุณภาพ 4) ขั้นตอน การเสริมสรา้ ง
คุณลกั ษณะเยาวชนรักษพ์ งไพร (1) การสานสัมพนั ธ์เครอื ขา่ ย (Network Engagement) (2) การจัดการ
เครือข่ายผู้เชี่ยวชาญเชิงพื้นที่ (Expertise Management) (3) การจัดค่ายบูรณาการสหวิชาการ
(Multidisciplinary Youth Camp) (4) การขยายผลสู่ความยั่งยืน (Sustainable Generalization)
5) เงื่อนไขการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพร (1) การทำงานแบบร่วมมือร่วมใจ
(Collaborative Working Team) (2) การพัฒนาเชิงพื้นที่ (Area-based Approach) (3) การใช้
แหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติเป็นฐานการเรียนรู้ (Natural Learning Resources) 6) ปัจจัย
สู่ความสำเร็จ (1) การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน (Shared vision) (2) ทีมวิทยากรมืออาชีพ (Expertise
Team) (3) ความพร้อมของแหล่งเรยี นรูท้ างธรรมชาติ (Natural Learning Resources Readiness)
7) ผลที่คาดว่าจะได้รับ (1) ผลผลิต (2) ผลลัพธ์ จึงเห็นได้ว่าส่วนประกอบและองค์ความรู้ 7 ส่วนน้ี
เป็นแนวทางการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพรเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อมที่ผ่านการตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของการนำแนวท างไปใช้จริง
โดยการตรวจสอบเบือ้ งตน้ และปรับปรงุ แกไ้ ข โดยวิธกี ารจัดสนทนากลุม่ (Focus Group Discussion)
จากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 15 คน ได้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไขและตรวจสอบความถูกต้อง
ความเปน็ ไปได้ ความสอดคลอ้ ง และความเป็นประโยชน์ของเอกสารแนวทาง รวมทัง้ เอกสารประกอบ
แนวทางอย่างเป็นระบบ ก่อนนำแนวทางไปทดลองใช้ภาคสนาม ทำให้ได้ร่างคุณลักษณะเยาวชน
รกั ษ์พงไพรเพอื่ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดลอ้ มของโรงเรียนระดับประถมศึกษา สงั กัด
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และเอกสารประกอบแนวทาง ได้แก่ 2) คู่มือครู
วิทยากรเพื่อการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพร และ 3) คู่มือเยาวชนรักษ์พงไพรถือเปน็
การสร้างและแสวงหาความรู้ รวมถงึ แลกเปลี่ยนเรียนรรู้ ่วมกันของภาคีเครอื ข่ายเก่ียวกับการอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยร่วมกันจัดการความรู้ให้เป็นระบบ ประมวลและกลั่นกรอง
ความรเู้ พอ่ื ใหน้ กั เรยี นและผ้ทู ่ีเกย่ี วข้องเข้าถงึ ความรู้ ผา่ นกระบวนการ หรือ วิธีการนำความรู้เก่ียวกับ
การอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสู่การปฏิบัติให้เกิดความสำนึกในสถาบันชาติ ศาสนา และ
พระมหากษัตริย์ เกิดการแบ่งปันความรู้และนำไปต่อยอดกิจกรรมในโรงเรียนและชุมชน สามารถ
พึ่งพาอาศัยกันได้อย่างสมดุล พร้อมทั้งใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุดและยั่งยืน
สอดคล้องกับ Arnold (2009) และสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา (2552) คือ ในการพัฒนา

188

หลักสูตรค่ายต้องมีเป้าหมาย มีวัตถุประสงค์ กิจกรรมการดำเนินงาน ส่วนกิจกรรมในเอกสาร
ประกอบด้วย ความคิดสร้างสรรค์ กระบวนการทำงาน คุณภาพของชิ้นงานในกิจกรรม การใช้
ประโยชน์จากกิจกรรม การมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม การสร้างจิตสำนึก ทัศนคติ ความตระหนัก
การไดร้ บั ประสบการณโ์ ดยตรงและการสร้างแรงบันดาลใจ

3. ผลการใช้แนวทางเสริมสรา้ งคุณลกั ษณะเยาวชนรักษ์พงไพรเพอ่ื การอนรุ ักษ์ทรัพยากร
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
ข้ันพน้ื ฐาน คณุ ลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพรตามแนวทางนน้ั มีการออกแบบ วางแผน และเตรียมการ
อย่างเป็นระบบ และมีขั้นตอนที่ชัดเจน เพื่อสร้างความพร้อมในการพัฒนานักเรียนได้อย่างต่อเน่อื ง
โดยเริ่มจากการบูรณาการความร่วมมือของภาคีเครือข่ายในการทำงานร่วมกันอย่างเข้มแข็ง มีการ
บริหารจัดการและพัฒนาได้ตามความต้องการของบริบทเชิงพ้ืนท่ีในการจัดกิจกรรมค่ายโดยผู้เชี่ยวชาญ
ภายใต้กรอบหลักสูตรบูรณาการและการเรียนรู้โดยตรงจากแหล่งศึกษาธรรมชาติ การกำหนด
เป้าหมายการเรียนรู้และการพัฒนาให้สอดคล้องเหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ การจัดกิจกรรม
การเรียนรู้แบบ Active Learning ซึง่ เป็นกจิ กรรมการศกึ ษา สืบคน้ ร่วมกันอยา่ งกระตือรอื ร้น ในการ
เรียนรู้การอนุรกั ษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสง่ิ แวดล้อม รวมถงึ การนำความรู้ และประสบการณ์ไปต่อยอด
ในระดบั โรงเรียน และชมุ ชนอยา่ งเป็นรูปธรรม สง่ ผลใหน้ กั เรียนมพี ฤตกิ รรมแสดงออกในการดำเนินชีวิต
ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงภายใต้ระเบียบ กฎกติกาทางสังคม มีวินัย มีความสามัคคี
รักและหวงแหนทรัพยากรธรรมชาตแิ ละสิ่งแวดล้อม มีทักษะที่จำเปน็ ในศตวรรษที่ 21 และสามารถ
นำทักษะไปใชใ้ นการดำรงชีวติ ท่ีเปน็ มติ รต่อสง่ิ แวดล้อม รวมถงึ การเปน็ ผ้นู ำในดา้ นการอนรุ กั ษ์ทรัพยากร
ธรรมชาตแิ ละส่งิ แวดล้อมของชมุ ชนบ้านเกิด สามารถต่อยอดขยายผล กจิ กรรมการเรยี นร้ใู นโรงเรียน
และชมุ ชนได้อย่างเป็นรูปธรรม และมผี ลงานเชงิ ประจักษ์ตอ่ สาธารณชน ซงึ่ เป็นไปในทศิ ทางเดียวกับ
การศึกษาของ Ozgul (2004) รวมถงึ สอดคล้องกับสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (2560)
ที่ได้ศึกษาผลการดำเนินงานโครงการค่ายเยาวชนรักษ์พงไพรเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จ
พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ผลการศึกษาพบว่า เยาวชนที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้
ความเข้าใจ ทักษะและมีเจตคติที่ดีในการอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งเน้น
สร้างจิตสำนึก รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ปลูกฝังการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
แบบ Active Learning เรียนรู้จริงจากป่าสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นการสร้างนักอนุรักษ์น้อย พัฒนา
การคิด จิตสำนึก พัฒนาลักษณะนิสัย และทักษะชีวิตในการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นไปใน
ทศิ ทางเดียวกับการศกึ ษาของ Hsin-Ping & Larry (2005) และสอดคลอ้ งกบั ผลการวจิ ัยของวิลินธร ชูโต
และชิษณุพงศ์ ประทุม (2558) ที่วิจัยและพัฒนาการรับรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
ต่อปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและการจัดการ พบว่า หลังจากการให้ความรู้ ความเข้าใจด้านปัญหา
สิ่งแวดล้อมและการจดั การ ส่งผลให้การรับรู้ด้านปัญหาสิ่งแวดล้อมและการจัดการกับนักเรยี นในทกุ

189

ระดับชนั้ เพอื่ การสง่ เสริมใหม้ ีการรกั ษาสิ่งแวดลอ้ มอยา่ งต่อเน่อื งและย่งั ยนื ในอนาคตต่อไป สอดคล้อง
กับผลการวิจัยของสมยศ วิเชียรนิตย์ และคณะ (2559) ที่วิจัยและพัฒนารูปแบบกิจกรรมค่าย
สิ่งแวดล้อมศึกษาในการอนุรักษ์และป้องกันทรัพยากรป่าไม้สำหรับเยาวชนจังหวัดกาฬสินธุ์ พบว่า
การพัฒนากิจกรรมสิ่ง แวดล้อมศึกษาสำหรับเยาวชนมี ความสำคัญที่จะช่วยส่ง เสริมการเรียน รู้
เกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา สนุก และน่าตื่นเต้น และสร้างความตระหนักต่อการ
อนรุ กั ษท์ รพั ยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอ้ ม กิจกรรมตา่ ง ๆ จะช่วยให้การศึกษาเยาวชนและส่งเสริม
ให้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และป้องกันทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซ่ึงสอดคล้องกับ
ผลการวจิ ยั ของอรนุช ลิมตศริ ิ (2560) ทว่ี จิ ัยทีเ่ กย่ี วกับเจตคติและพฤติกรรมในการอนรุ ักษ์สิง่ แวดล้อม
ของนกั ศึกษาวิชาเอกการประถมศกึ ษาท่ีเรียนดว้ ยวิธสี อนแบบนอกห้องเรียน พบวา่ นกั ศึกษามีเจตคติ
และพฤติกรรมในด้านการใช้ทรัพยากร ด้านการมีส่วนร่วมในการดูแลรักษา และฟื้นฟูทรัพยากร
ธรรมชาตแิ ละดา้ นการป้องกันทรัพยากรไม่ให้ถูกทำลาย และสอดคลอ้ งกบั ผลการวิจัยของ American
Camp Association (2016) ทไี่ ดท้ ำการวิจยั ถึงประโยชน์ที่นกั เรยี นได้เข้าค่ายว่ามีพัฒนาการทางด้าน
การแสดงตวั ตนในทางบวก ทักษะด้านสงั คม ทักษะดา้ นร่างกาย และความคิดคุณค่าและจิตวิญญาณ
ในทางบวกอย่างไร ผลการวิจัยพบว่า เด็กที่ได้ไปเข้าค่ายได้รับการพัฒนาด้านต่าง ๆ 4 ด้าน คือ
(1) ด้านความมั่นใจมากข้ึน และให้คุณค่าในตัวเองสูงขึ้นด้วย (2) ด้านทักษะเข้าสังคมทำให้สามารถ
หาเพื่อนใหม่ได้ (3) ด้านลดการพึ่งพาและเพิม่ ความเป็นผู้นำมากขึ้น และ (4) ด้านความเจริญเติบโต
ของจิตวิญญาณที่สูงขึ้น ที่สำคัญผลการวิจัยแสดงถึงการพัฒนาในทุกด้าน และยังคงรักษาระดับถึง
6 เดือนหลังจากออกจากค่าย ซึ่งภายหลังได้ข้อค้นพบคุณลักษณะที่ติดตัว คือ การมีภาวะผู้นำ
การทำงานเป็นทีม การแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ การพัฒนาด้านทักษะชวี ิต เกดิ การปฏิสัมพันธ์ภายใน
เครือข่ายที่เกิดขึ้นภายในค่ายทำให้เข้าใจตนเอง รู้จักตนเองมากขึ้น และสามารถเปลี่ยนพฤติกรรม
ตนเองเปน็ ผู้มีจิตสาธารณะและชว่ ยรับผิดชอบสังคม เพิม่ ทักษะความร้คู วามสามารถในการอยู่ร่วมกับ
สังคมได้

4. การขยายผลสู่ความยั่งยืน โดยครูวิทยากร และวิทยากรภาคีเครือข่าย เป็นผู้ประเมนิ
นักเรียนภายหลังการออกค่าย ด้วยวิธีการสังเกตการนำความรู้ไปต่อยอดกิจกรรมที่โรงเรียน
ของนักเรียน ซึ่งสะท้อนความเป็นเยาวชนรักษ์พงไพร ผลการประเมินพบว่า โดยรวมการขยายผล
สู่ความยั่งยืนอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า กิจกรรมการต่อยอดได้รับการ
ส่งเสรมิ สนับสนุนจากภาคเี ครอื ขา่ ยในพนื้ ท่ีและชุมชน มผี ลการประเมนิ มากท่ีสุด และมากกว่าข้ออื่น
ทั้งนี้ เพราะว่า ปัจจัยสำคัญของการดำเนินงานสู่ความสำเร็จที่สำคัญ คือ การรวมพลังความร่วมมือ
ของภาคีเครือข่ายที่เข้มแข็งในการจัดค่ายแบบ Active Learning ที่เน้นความสอดคล้องกับบริบท
พ้นื ท่ี เรยี นรู้จากแหล่งศกึ ษาธรรมชาติจริงได้อย่างครบวงจร ตัง้ แตเ่ ร่มิ วางแผน ออกแบบ เตรียมการ
จัดกิจกรรม ประเมินผลทั้งภายในค่าย และติดตามผลการนำไปต่อยอดขยายผลที่โรงเรียน ส่งผลให้

190

การเสริมสรา้ งคุณลกั ษณะเยาวชนรักษพ์ งไพรเพื่ออนุรักษท์ รัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม บรรลุ
ตามวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับกับการศึกษา
ของ Pe’er, et al (2007) รวมถึงสอดคล้องกับผลการวิจัยของ American Camp Association
(2016) ท่ที ำการวจิ ัยและตดิ ตามผลเก่ียวกับประโยชน์ทน่ี กั เรียนได้เข้าค่าย ผลการวิจยั พบว่า นกั เรยี น
ที่เข้าค่ายได้รับการพัฒนาด้านต่าง ๆ 4 ด้าน คือ (1) ด้านความมั่นใจมากขึ้นและให้คุณค่าในตัวเอง
สูงขึ้นด้วย (2) ด้านทักษะเข้าสังคมทำให้สามารถเข้ากับเพื่อนใหม่ได้ (3) ด้านลดการพึ่งพาและ
เพิ่มความเป็นผู้นำมากขึ้น และ (4) ด้านความเจริญเติบโตของจิตวิญญาณที่สูงขึ้น และผลการวิจัย
แสดงถึงการพัฒนาในทุกดา้ นและยงั คงรกั ษาระดบั ถึง 6 เดอื นหลงั ออกจากค่ายแลว้

ขอ้ เสนอแนะ
การวิจัยแนวทางการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพรเพ่ือการอนุรักษ์ทรัพยากร

ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน ผู้วิจัยได้นำเสนอข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย และข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป
ดังนี้

1. ข้อเสนอแนะจากผลการวจิ ัย
1.1 จากผลการวิจัยที่พบว่า แนวทางการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพร

เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงาน
คณะกรรมการการศกึ ษาขั้นพื้นฐาน มีผลการพัฒนาคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพรท่ีมีประสิทธภิ าพ
จึงควรมกี ารเผยแพร่ผลงานวจิ ยั เพื่อใหเ้ ปน็ องค์ความรู้ และแนวทางในการพัฒนานกั เรียนและเยาวชน
ใหก้ ับโรงเรียนและหนว่ ยงานทเ่ี กยี่ วขอ้ ง

1.2 นำผลการวจิ ยั ไปวางแผนพัฒนาทางการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพร
เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้เหมาะสมสำหรับนักเรียนทุกกลุ่ม ทุกช่วงวยั
และช่วงชั้นในโรงเรียน และทำให้ทุกโรงเรียนมีโอกาสเข้าร่วมโครงการ และได้รับการเสริมสร้าง
คุณลักษณะด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างเป็นรูปธรรม เพราะจะเป็นพื้นฐานการเรยี นรู้
ที่สำคัญของการดำรงชีวิตในโลกศตวรรษท่ี 21

1.3 ควรเพิ่มจำนวนแหล่งเรียนรู้และแหล่งศึกษาธรรมชาติที่มีคุณภาพอย่างหลากหลาย
และเหมาะสมต่อการเรียนรู้ของนักเรียนที่ครอบคลุมเนื้อหา 3 รักษ์ คือ รักชาติ รักษ์ศาสน์ และ
รักษก์ ษัตริย์ ในพนื้ ท่ีตา่ ง ๆ ใกลเ้ คยี งโรงเรยี น เพ่อื สร้างโอกาสให้เขา้ ถงึ การเรยี นร้ไู ดม้ ากยิ่งข้ึน

1.4 ควรเพ่มิ พลงั ความร่วมมอื จากภาคีเครอื ข่ายท่เี ช่ียวชาญใหเ้ ข้มแข็งในเร่ืองท่ีเก่ียวกับ
การอนุรักษ์ทรพั ยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อมให้ครบถว้ นสมบูรณ์มากยิ่งขน้ี อันจะส่งให้การเรียนรู้
ของนักเรยี นมคี ณุ ภาพสูงขึ้น และยง่ั ยนื ในระยะยาว

191

1.5 ควรมีการขยายผลในระดับโรงเรียนโดยส่งเสริมให้เยาวชนรักษ์พงไพรเป็นแกนนำ
ในการต่อยอดขยายผลกิจกรรมและองค์ความรู้ไปสู่นักเรียนของโรงเรียนอื่นในพื้นที่ใกล้เคียง หรือ
สรา้ งโรงเรยี น เครอื ขา่ ยขยายผล โดยมคี รวู ทิ ยากรเป็นพี่เล้ียงนักเรียนในการขยายผล

1.6 ควรมีการพัฒนาครดู ้านความรู้ ความเขา้ ใจ และทกั ษะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ถูกหลักวิชาการ แม่นยำ และสอดคล้องกับ
บริบทพื้นที่ได้อย่างแท้จริง และส่งเสริมสนับสนุนครูให้สามารถสร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย
ในพืน้ ทไี่ ด้อยา่ งเป็นระบบ กวา้ งขวาง และเขม้ แข็งสูค่ วามยัง่ ยนื

1.7 ควรเสนอเรื่องแนวทางการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพรเพื่อการ
อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นนโยบายและยุทธศาสตร์ในระดับประเทศที่ชัดเจน
เป็นเอกภาพ และถ่ายทอดสู่การปฏิบัติในทุกระดับ รวมถึงบูรณาการให้อยู่ในทุกมิติของการจัดการ
เรียนรแู้ ละดำรงชวี ติ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเปน็ มิตรกบั สงิ่ แวดล้อม

2. ข้อเสนอแนะเพื่อการวจิ ยั คร้ังตอ่ ไป
2.1 ควรมีการวิจัยและพัฒนาต่อยอดแนวทางการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชน

รกั ษ์พงไพรเพื่อการอนรุ กั ษท์ รัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอ้ มของโรงเรยี นระดับประถมศกึ ษา สงั กัด
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีความหลากหลายตามบริบทของโรงเรียน ชุมชน
และแหล่งเรยี นร้ใู กล้พ้ืนทใ่ี หค้ รบทกุ ภมู ภิ าค

2.2 ควรมีการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม การเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์
ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนที่มีความเหมาะสม สอดคล้องกับการนำไปใช้ในการพัฒนา
ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีท่ีทันสมัย เพ่ือการเรยี นรทู้ ี่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา
และการใชป้ ระโยชนใ์ นชวี ิตประจำวัน

3. ขอ้ เสนอแนะเชิงนโยบาย
3.1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ควรกำหนดนโยบายที่เชื่อมโยง

สู่การปฏิบัติในทุกระดับ มีการกำหนดวิสัยทัศน์และกลยุทธ์จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
สหู่ ลกั สูตรสถานศึกษาของโรงเรยี น เพ่อื ใหค้ รสู ามารถเขียนแผนงานและแผนการสอนรองรับวิสัยทัศน์
และกลยุทธ์ได้ พร้อมทั้งส่งเสริมให้ศนู ย์การเรียนรูข้ องโครงการ จำนวน 31 ศูนย์ และสำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาของโครงการ จำนวน 33 เขต เป็นตน้ แบบในการศึกษาเรียนรู้ เพอ่ื ขบั เคล่ือน
การขยายผลในพื้นทต่ี ่าง ๆ ของประเทศ

3.2 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ควรส่งเสริมสนับสนุนการหาพันธมิตร
ในการรว่ มพันธกิจการเสริมสรา้ งคณุ ลักษณะเยาวชนรกั ษ์พงไพรเพือ่ การอนรุ กั ษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

192

และสงิ่ แวดลอ้ ม โดยสรรหาเครือข่ายการทำงานรว่ มกับหน่วยงานภาครัฐท่ีเก่ยี วข้อง พร้อมท้งั เปิดโอกาส
ให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมเพิ่มมากขึ้น เพื่อสนับสนุนด้านงบประมาณ บุคลากร และเป็นการ
ถ่ายทอดองคค์ วามรู้จากผู้เชยี่ วชาญไปสู่ท้องถ่ิน

3.3 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ควรมีแนวทางจัดทำงบประมาณ
ในลักษณะบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์ของหน่วยงานหลักและหน่วยงานส่วนกลางที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้
การบูรณาการงานตามแนวทางการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพรเพื่อการอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดลอ้ ม สามารถบรรลุผลสำเรจ็ ได้อยา่ งยั่งยืนตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
โดยใหส้ ำนักเลขาธกิ ารนายกรัฐมนตรีเปน็ เจ้าภาพหลกั ในการจัดทำงบบรู ณาการ พร้อมทั้งตรวจสอบ
โครงการ กิจกรรม และการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ให้มีความซ้ำซ้อน เป็นไปตาม
หลักการจัดทำงบประมาณในลักษณะบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์ที่ได้ให้ความสำคัญกบั หลักประหยัด
ความคุ้มค่า และมปี ระสทิ ธภิ าพ

บรรณานกุ รม

194

บรรณานุกรม

กรมสง่ เสรมิ คุณภาพสงิ่ แวดลอ้ ม. (2557). คมู่ อื การพฒั นาหลกั สตู รการอนุรักษแ์ ละฟื้นฟูลุ่มน้ำปิง
สำหรบั เยาวชน. กรุงเทพฯ: กระทรวงทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละสิง่ แวดล้อม.

_______. (2559). คูม่ ือแนวทางการดำเนนิ งานโรงเรียนอีโคสคูล.กรงุ เทพฯ:
กระทรวงทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละส่ิงแวดลอ้ ม.

กฤษยิ ากร เตชะปยิ ะพร. (2552). การวจิ ยั และพฒั นา. กรุงเทพฯ: โอเดยี นสโตร์.
กานดา จินดามงคล. (2558). การจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลตำบลเหมืองง่า อำเภอเมือง

ลำพนู จังหวดั ลำพูน ดว้ ยกระบวนการการมสี ่วนรว่ มของประชาชน.
วทิ ยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบณั ฑิต (รฐั ศาสตร์). มหาวิทยาลยั เนชั่น.
เกษม จันทรแ์ กว้ . (2540). โครงการสหวิทยาการบัณฑติ ศึกษา สาขาวทิ ยาศาสตร์สิ่งแวดลอ้ ม.
(พิมพค์ รงั้ ท่ี 3). กรุงเทพฯ: มหาวทิ ยาลยั เกษตรศาสตร์.
คณะกรรมการกฤษฎีกา. (2535). พระราชบญั ญตั ิสง่ เสรมิ และรกั ษาคุณภาพสิง่ แวดล้อมแห่งชาติ
พ.ศ. 2535. กรงุ เทพฯ: สำนกั งานคณะกรรมการกฤษฎกี า.
คณะกรรมการร่างรฐั ธรรมนูญ. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. กรุงเทพฯ:
สำนกั งานเลขาธกิ ารสภาผู้แทนราษฎร.
คณะอนุกรรมการสถิติสาขาทรพั ยากรธรรมชาติและส่งิ แวดล้อม. (2557). แผนพฒั นาสถิติ
สาขาทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละส่ิงแวดลอ้ ม ฉบบั ที่ 1 พ.ศ. 2557 – 2558.
กรงุ เทพฯ: กระทรวงทรัพยากรธรรมชาตแิ ละส่ิงแวดลอ้ ม.
จักรพนั ธุ์ ปัญจะสวุ รรณ. (2546). การจัดการทรพั ยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม. กรุงเทพฯ:
โอ.เอส.พริน้ ติ้ง.
จิราภรณ์ พรหมทอง. (2559). การพัฒนาตนเองใหเปนบุคคลแหงการเรียนรูเพื่อเขาสูศตวรรษที่ 21.
วารสารวิชาการมหาวิทยาลยั ฟารอีสเทอรน. 10(2): 63-72.
ใจทพิ ย์ ณ สงขลา. (2550). E-Instructional Design วิธีวิทยาการออกแบบการเรยี นการสอน
อิเล็กทรอนิกส์. กรงุ เทพฯ: ศูนยต์ ำราและเอกสารทางวชิ าการ คณะครศุ าสตร์
จุฬาลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั .
ณพศิษฏ์ จักรพิทักษ์. (2552). ทฤษฎีการจัดการความรู้. เชียงใหม่: วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และ
เทคโนโลยี มหาวิทยาลยั เชียงใหม่.

195

ณัชณชิ า โพธิใ์ จ, และคณะ. (2560). การพฒั นาหลกั สตู รเสรมิ สร้างคณุ ลกั ษณะ
ดา้ นความรบั ผิดชอบตามแนวคิดคุณลกั ษณะศกึ ษาของลคิ โคนา สำหรบั นักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎบี ัณฑิต (หลักสูตรและการสอน).
มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ณัฐวรรธน์ สุนทรวริทธโิ ชติ, และกาญจณา สุขาบรู ณ.์ (2556). การศึกษาสภาพปญั หาสง่ิ แวดล้อม
ในเขตตำบลสามบณั ฑิต: ปจั จยั ทีม่ ผี ลตอ่ การพฒั นาทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละ
สง่ิ แวดล้อมของประชาชนในตำบลสามบัณฑติ . พระนครศรอี ยธุ ยา:
คณะมนษุ ยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวทิ ยาลัยราชภฏั พระนครศรีอยุธยา.

ดวงนภา มกรานุรกั ษ์. (2554). อนาคตภาพการอาชวี ศกึ ษาไทยในทศวรรษหนา้
(พ.ศ. 2554-2564). วทิ ยานิพนธ์ปรัชญาดษุ ฎบี ณั ฑติ (การบรหิ ารการศกึ ษา)
มหาวิทยาลยั ขอนแก่น.

ทกั ษณิ า เครอื หงส.์ (2550). คมู่ อื การจัดการเรียนการสอนทเี่ น้นผเู้ รยี นเปน็ สําคญั . ลำปาง:
คณะเทคโนโลยอี ุตสาหกรรม มหาวทิ ยาลัยราชภัฏลำปาง.

นาฏสดุ า ภูมิจำนง, และอุทยั เจรญิ วงศ์. (2560). รายงานวจิ ยั ฉบับสมบรู ณ์: โครงการ “สำรวจ
สถานะของเปา้ หมายการพัฒนาทย่ี ัง่ ยืนในบรบิ ทประเทศไทยและทางเลอื ก
มาตรการทางเศรษฐศาสตร์ สงั คม และกฎหมาย” เป้าหมายท่ี 15. กรุงเทพฯ:
คณะสิง่ แวดล้อมและทรัพยากรศาสตร,์ มหาวทิ ยาลยั มหิดล.

นวิ ตั ิ เรอื งพานชิ . (2542). การอนุรักษท์ รัพยากรธรรมชาตแิ ละส่ิงแวดลอ้ ม. (พมิ พค์ รัง้ ที่ 3).
กรงุ เทพฯ: มหาวทิ ยาลยั เกษตรศาสตร์.

บญุ ชม ศรสี ะอาด. (2560). การวจิ ัยเบอ้ื งตน้ . (พมิ พ์ครง้ั ท่ี 10). กรงุ เทพฯ: สุวีรยิ าสาส์น.
ประวิทย์ สทุ ธบิ ญุ , และคณะ. (2558). การพฒั นารปู แบบการเรยี นรู้สงิ่ แวดล้อมศึกษา โดย

กระบวนการทัศนศึกษาเพ่อื ส่งเสรมิ การอนรุ ักษท์ รัพยากรธรรมชาตแิ ละสิ่งแวดล้อม
สำหรับนักเรยี นชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวทิ ยาลัย
มหาสารคาม. 9(3): 197-208.
ผอ่ งพรรณ ตรยั มงคลกลู , และสภุ าพ ฉตั ราภรณ์. (2543). การออกแบบการวจิ ัย. (พมิ พค์ รั้งที่ 3).
กรงุ เทพฯ: มหาวทิ ยาลยั เกษตรศาสตร์.
พสิ ฐิ เทพไกรวัล. (2554). การพัฒนารปู แบบเครือขา่ ยความร่วมมือเพอื่ คณุ ภาพการจัด
การศกึ ษาในโรงเรยี นประถมศึกษาขนาดเล็ก. วทิ ยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎบี ัณฑติ
(การบรหิ ารการศึกษา). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

196

รพีภทั ร รกั สลาม. (2552). การวจิ ัยกรณศี ึกษากิจกรรมค่ายคณิตศาสตรส์ ญั จรของนสิ ิต
คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั . วทิ ยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑติ
(วิจัยการศกึ ษา). จฬุ าลงกรณม์ หาวิทยาลัย.

ราชกิจจานเุ บกษา. (2561). ประกาศ เรือ่ ง ยทุ ธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580).
เลม่ 135 ตอนท่ี 82 ก. ประกาศ ณ วนั ท่ี 8 ตุลาคม พทุ ธศักราช 2561.

ละเอยี ด แจ่มจันทร์, และสายสมร เฉลยกิตต.ิ (2557). พลเมอื งอาเซียน : แนวคดิ ในการจดั
การศกึ ษาพยาบาลศาสตร์. วารสารพยาบาลทหารบก. 15(3): 155-161.

วฒั นาพร ระงบั ทุกข.์ (2542). การจัดการเรียนการสอนที่เนน้ ผเู้ รียนเปน็ ศนู ยก์ ลาง. กรุงเทพฯ:
เลิฟแอนด์เลฟิ เพรส.

วนั วสิ าข์ โชรัมย์. (2554). Constructivist สเู่ ทคโนโลยีการศกึ ษา. เทคโนสาร. 4(4): 6-11.
มหาวิทยาลยั ราชภฏั นครราชสีมา.

วาโร เพ็งสวสั ด.ิ์ (2551). วธิ ีวิทยาการวิจัย. กรุงเทพฯ: สุวริ ยิ าสาส์น.
วจิ ารณ์ พานิช. (2548). การจัดการความรู้ฉบับนักปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ.
_______. (2555). วิถีสรา้ งการเรียนรู้เพอ่ื ศษิ ย์ในศตวรรษท่ี 21. กรงุ เทพฯ: มลู นธิ ิสดศรี-สฤษดว์ิ งศ.์
วพิ งษช์ ยั รอ้ งขนั แกว้ , และรัชราวไล สวา่ งอรณุ . (2555). การวิจยั เชงิ ประเมินผลโครงการการ

อยู่คา่ ยพักแรมเพอื่ อนรุ ักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. วารสารคณะพลศึกษา
มหาวทิ ยาลยั ศรนี ครินทรวโิ รฒ. 15(ฉบับพิเศษ): 547-552.
วิโรจน์ สารรตั นะ. (2554). การวจิ ัยการบริหารทางการศึกษา: แนวคดิ และกรณีศึกษา.
(พิมพค์ รงั้ ที่ 2). กรุงเทพฯ: อักษราพพิ ฒั น์.
วิลินธร ชโู ต, และชิษณพุ งศ์ ประทุม. (2558). การรบั รู้ของนักเรียนชั้นมธั ยมศกึ ษาตอนปลายต่อปญั หา
ดา้ นสิ่งแวดลอ้ มและการจดั การ. วารสารวิจยั สหวิทยาการไทย. 10(3): 52-59.
ศิรพิ รต ผลสนิ ธุ์. (2549). ชีวิตกบั ส่ิงแวดล้อม. กรงุ เทพฯ: วิทยาลัยครูบ้านสมเดจ็ เจา้ พระยา
สหวทิ ยาลยั รตั นโกสนิ ทร์.
ศริ อิ ร นพกจิ . (2561). การจดั กจิ กรรมพฒั นาทกั ษะชีวิตผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. วารสารวจิ ยั
และพฒั นาหลักสตู ร บณั ฑิตวิทยาลยั มหาวทิ ยาลยั ศรีนครินทรวโิ รฒ. 8(1): 53-66.
สมใจ ปราบพล. (2544). การจัดกระบวนการเรียนรทู้ ่เี น้นผเู้ รยี นเปน็ สำคัญ “การสอนแบบทักษะ
ชวี ิตแบบมีสว่ นร่วม”. กรุงเทพฯ: สำนกั งานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
สำนกั นายกรฐั มนตรี.
สมพงษ์ จิตระดับ, และคณะ. (2556). คู่มอื สรา้ งเสริมท่ีปรึกษาทเี่ ดก็ ไว้วางใจ. กรงุ เทพฯ:
สำนกั งานส่งเสริมสวัสดภิ าพและพทิ กั ษเ์ ด็ก เยาวชน ผ้ดู ้อยโอกาส คนพิการและ
ผูส้ ูงอายุ กระทรวงการพฒั นาสังคมและความมนั่ คงของมนษุ ย์.

197

สมยศ วเิ ชยี รนติ ย์, และคณะ. (2559). การพัฒนารูปแบบกจิ กรรมค่ายส่งิ แวดลอ้ มสงิ่ แวดล้อม
ศึกษาในการอนุรักษ์และป้องกนั ทรพั ยากรปา่ ไมส้ ำหรับเยาวชนจงั หวดั กาฬสนิ ธุ์.
วารสารศกึ ษาศาสตร์ มหาวทิ ยาลัยมหาสารคาม. 10(2): 171-187.

สยามมล เกษประดษิ ฐ.์ (2559). การศึกษาการมีสว่ นรว่ มของภาคีเครอื ขา่ ยในการบริหาร
ศนู ยก์ ารศกึ ษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอภาชี จงั หวดั พระนครศรี
อยธุ ยา. วทิ ยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศกึ ษา).
มหาวิทยาลัยราชภฏั พระนครศรีอยธุ ยา.

สรายทุ ธ คาน, และคณะ. (2560). รูปแบบการอนุรกั ษส์ งิ่ แวดล้อมของชุมชนกรณีศึกษา:
ชุดโครงการวจิ ัยและพัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตรท์ อ้ งถน่ิ เครอื ขา่ ย
มหาวทิ ยาลยั ราชภฏั . วารสารสารสนเทศ. 16(2): 169-181.

สลักจติ พุกจรูญ. (2551). ความตระหนกั ทางจริยศาสตรส์ ิง่ แวดล้อมของนักศกึ ษามหาวิทยาลัย
เทคโนโลยรี าชมงคลพระนครต่อปัญหาการทิง้ ขยะ. กรุงเทพฯ:
มหาวทิ ยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

สำนกั งานนโยบายและแผนส่ิงแวดลอ้ ม. (2559). รายงานประจำปี 2559. กรงุ เทพฯ:
ลายเสน้ ครีเอช่นั .

สำนักงานเลขาธกิ ารสภาการศกึ ษา. (2560). แผนการศกึ ษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579.
กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟคิ .

สำนกั งานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2561). ยทุ ธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580).
กรงุ เทพฯ: สำนกั งานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสงั คมแห่งชาติ.

สำนกั งานสภาพัฒนาการเศรษฐกจิ และสังคมแหง่ ชาต.ิ (2560). แผนพฒั นาเศรษฐกิจและสงั คม
แหง่ ชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564). กรุงเทพฯ: สำนกั นายกรฐั มนตร.ี

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา. (2558). รายงานผลการดำเนินงานด้านส่ิงแวดล้อม
ศกึ ษาเพอื่ การพัฒนาที่ย่ังยนื . กรุงเทพฯ: สำนกั งานคณะกรรมการการศกึ ษาขั้นพื้นฐาน.

_______. (2560). รายงานผลการดำเนินงานโครงการค่าย “เยาวชน...รักษ์พงไพร
เฉลมิ พระเกียรติ 60 พรรษา สมเดจ็ พระเทพรตั นราชสดุ าฯ สยามบรมราชกุมาร”ี
ประจำปี 2560. กรุงเทพฯ: สำนกั งานคณะกรรมการการศกึ ษาขน้ั พ้ืนฐาน.

สำนกั ยุทธศาสตร์ด้านนโยบายสาธารณะ. (2561). รายงานการประชมุ คณะกรรมการยทุ ธศาสตร์ชาติ
คร้ังที่ 1/2561. กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาพฒั นาการเศรษฐกจิ และสังคมแหง่ ชาติ.

สำนักราชเลขาธิการ. (2535). ประมวลพระราชดำรสั และพระราโชวาทท่ีพระราชทานในโอกาส
ตา่ ง ๆ ตัง้ แตเ่ ดอื นพฤษภาคม 2520 - เดือนสิงหาคม 2535. กรุงเทพฯ:
อมรนิ ทรพ์ ร้นิ ตงิ้ กรฟุ๊ .

198

สำนกั วิชาการและมาตรฐานการศกึ ษา. (2551). หลกั สตู รแกนกลางการศึกษาข้นั พ้นื ฐาน
พทุ ธศกั ราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนมุ สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

_______. (2552). รายงานการวจิ ยั พฒั นาการจดั คา่ ยอย่างสรา้ งสรรค์. กรงุ เทพฯ:
ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแหง่ ประเทศไทย.

_______. (2555). แนวทางการบริหารจดั การเรียนรู้ส่ปู ระชาคมอาเซียน. กรุงเทพฯ:
ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแหง่ ประเทศไทย.

สริ ิมา หมอนไหม. (2561). รูปแบบการพฒั นาผนู้ ำนักเรียนอาเซียน ระดบั มธั ยมศกึ ษาตอนต้น.
กรุงเทพฯ: สำนกั งานคณะกรรมการการศกึ ษาขั้นพ้นื ฐาน.

สุทธิพงศ์ นิพัทธนานนท์. (2556). แนวทางในการพัฒนาโรงเรยี นสิ่งแวดล้อมศกึ ษาเพ่ือการ
พัฒนาอย่างยง่ั ยนื ตามกรอบของการสง่ เสริมคณุ ภาพสิ่งแวดลอ้ ม. วิทยานพิ นธ์
ปรัชญาดุษฎีบณั ฑิต (ผนู้ ำทางการศกึ ษาและการพัฒนาทรพั ยากรมนษุ ย์).
บณั ฑติ วิทยาลยั มหาวทิ ยาลยั ราชภฏั เชยี งใหม่.

สุภางค์ จนั ทวานิช. (2554). การวิเคราะห์ขอ้ มลู ในการวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครัง้ ที่ 10).
กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณม์ หาวิทยาลยั .

เสรี วงษ์มณฑา. (2542). การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค. กรงุ เทพฯ: ธีระฟิล์มและไซเทก็ ซ.์
อดลุ ย์ วงั ศรคี ณู . (2557). การศกึ ษาไทยในศตวรรษท่ี 21: ผลผลติ และแนวทางการพฒั นา.

วารสารมนุษยศาสตร์และสงั คมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลยั มหาวทิ ยาลยั ราชภัฏ
พิบูลสงคราม. 8(1): 11-17.
อภิชาต ออ่ นเอม. (2559). แนวทางการพัฒนาคุณลกั ษณะอนั พงึ ประสงคข์ องนักเรียน
ในสถานศึกษาสังกัดสำนกั งานเขตพนื้ ทก่ี ารศกึ ษาประถมศกึ ษาพจิ ติ ร เขต 2.
วทิ ยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑติ (การบรหิ ารการศกึ ษา).
มหาวทิ ยาลยั ราชภฏั นครสวรรค.์
อรนุช ลิมตศิริ. (2560). การศกึ ษานอกหอ้ งเรยี นเพื่อเสรมิ สรา้ งทกั ษะการเรยี นรู้ในศตวรรษที่ 21.
Veridian E-Journal: ฉบบั ภาษาไทย มนษุ ยศาสตร์ สงั คมศาสตร์ และศลิ ปะ.
10(3): 1643-1658.
อรพิน กาบสลบั . (2549). การมสี วนรวมของเกษตรกรผเู ล้ียงกุงในการอนุรักษทรพั ยากร
ธรรมชาตแิ ละสง่ิ แวดลอมปาชายเลนในชมุ ชนลุมแมนำ้ เวฬุ.
ปญั หาพเิ ศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบณั ฑติ (นโยบายสาธารณะ). มหาวิทยาลยั บรู พา.
อัษฎาพร ไกรพานนท์. (2556). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการพฒั นาท่ียง่ั ยนื . กรงุ เทพฯ:
อมรินทรพ์ ริ้นติ้งแอนดพ์ บั ลิชชิ่ง.

199

Ambrose, Susan A., et al. (2010). How Learning Works: Seven Research-Based
Principles for Smart Teaching. San Francisco: Jossey-Bass, A Wiley Imprint.

American Camp Association. (2016). American Camp Association National
Research Forum. American Camping Association, Inc.

Anderson, L.W., & Krathwohl, D.R. (2001). A Taxonomy for Learning, Teaching
and Assessing: A Revision of Bloom’s Taxonomy of Educational
Objectives. New York: Longman.

Arnold, Heather E., et al. (2009). Youth and Environmental Action: Perspectives of
Young Environmental Leaders on Their Formative Influences. Journal of
Environmental Education. 40(3): 27-36.

Baldwin, J., & Williams, H. (1998). Active Learning: A Trainer’s Guide. England:
Blackwell Education.

Bloom, B.S. (1959). Taxonomy of Educational Objectives Handbook 1:
The Cognitive Domain. New York: David Mckay.

Dale, Edgar. (1969). Audio-visual methods in teaching. (3rd ed). Winston:
Holt Rinehart.

Delors, Jacques. (1996). Learning: The Treasure Within. International Commission
on Education for the Twenty-first Century, UNESCO.

Fleiss, J.L. (1971). Measuring nominal scale agreement among many raters.
Phychological Bulletin. 76: 378-382.

Gagne, R.M. (1985). The Conditions of Learning and Theory of Instruction.
(4th ed). Wadsworth Pub Co.

Gardner, Haward. (1993). Frame of Mind: The Theory Multiple Intelligence.
New York: Basic Books.

_______. (2009). Five Minds for the Future. United States: Harvard Business Review Press.
Hsin - Ping, Huang, & Larry, D. Yore. (2005). “A Comparative Study of Canadian and

Taiwanese Grade 5 Children’s Environmental Behaviors, Attitudes,
Concerns, Emotional Dispositions, and Knowledge” International Journal
of Science and Mathematics Education. 1(4): 419-448.

200

Jensen, Lois. (2017). The Sustainable Development Goals Report 2017.
New York: Department of Economic and Social Affairs (DESA). United Nations.

Landis, J.R., & Koch, G.G. (1977). The Measurement of Observer Agreement for
Categorical Data. Biometrics. 33(1): 159-174.

Lee, Shu-Shing. (2012). Is There an Instructional Framework for 21st Century Learning?.
Creative Education. 3(4): 461-470.

Littledyke, Michael. (2008). Science education for environmental awareness:
Approaches to integrating cognitive and affective domains.
Environmental Education Research. 14(1): 1-17.

Macmillan, T.T. (1971). The Delphi Technique. paper Presented at the annual
meeting of the California Junior Colleges Associations Committee
on Research and Development, Monterey, California. 3-5.

Maykut, P., & Morehouse, R.B. (1994). Qualitative Research: A Philosophic and
Practical Guide. London: The Falmer Press.

Morgan, D.L. (1998). The Focus Group Guidebook: Focus Group Kit.
ThousandOaks, CA: Sage.

Ozgul, Yilmaz, et al. (2004). Views of Elementary andMiddle School Turkish Students
Toward Environmental Issues. International Journal of Science
Education. 26(41): 1527-1546.

Pe’er, Sara, et al. (2007). Environmental literacy in teacher training: Attitudes,
knowledge, environmental behavior of beginning students. The Journal
of Environmental Education. 39(1): 45-59.

Rovinelli, R.J., & Hambleton, R.K. (1977). On the use of content specialists in the
assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of
Educational Research. 2: 49-60.

Scott, J. (1990). A Matter of Record, Documentary Sources in Social Research.
Cambridge: Polity Press.

Selfa, T., & Endter-Wada, J. (2008). The Politics of Community-Based Conservation in
Natural Resource Management: A Focus for International Comparative
Analysis. Environment and Planning A. 40(4): 948-965.

201

Strauss, A., & Corbin, J. (1990). Basics of Qualitative Research: Grounded Theory
Procedures and Techniques. Thousand Oaks, CA: SAGE.

Taylor, Neil, et al. (2009). Environmental Education in Context: An International
Perspective on the Development Environmental Education. BRILL.

UNDESA, & UNDP. (2012). Synthesis of National Reports for Rio +20. United Nations
Department of Economic and Social Affairs and the United Nations
Development Programme.

UNESCO. (1976). Records of the General Conference. Nineteenth Session. Nairobi,
26 October –30 November. Retrieved September 5, 2018, from
http://www.unesco.org/education/ pdf/NAIROB_E.pdf.

UNESCO. (1978). Environmental education and the Third World.
Prospects: quarterly review of education. 8(4): 456-465.

ภาคผนวก

203

ภาคผนวก ก.
แนวทางเสริมสรา้ งคุณลกั ษณะเยาวชนรักษพ์ งไพรเพ่อื การอนุรักษ์
ทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละสง่ิ แวดล้อมของโรงเรยี นระดับประถมศึกษา

สังกัดสำนกั งานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน

204

แนวทางเสริมสร้างคุณลกั ษณะเยาวชนรักษพ์ งไพรเพอ่ื การอนุรักษ์ทรพั ยากรธรรมชาติ
และสง่ิ แวดลอ้ มของโรงเรยี นระดบั ประถมศึกษา
สังกัดสำนกั งานคณะกรรมการการศึกษาขัน้ พ้ืนฐาน

1. หลักการเสริมสรา้ งคณุ ลักษณะเยาวชนรกั ษพ์ งไพร
หลักการเสรมิ สรา้ งคุณลกั ษณะเยาวชนรักษ์พงไพรเพ่ือการอนุรักษ์ทรพั ยากรธรรมชาติ

และสิง่ แวดล้อมของโรงเรยี นระดบั ประถมศึกษา สังกัดสำนกั งานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน
มุ่งเน้นการพัฒนานักเรียนผ่านกิจกรรมค่ายที่บูรณาการสหวิชาการที่เกี่ยวข้องด้วยรูปแบบ Active
Learning ในทุกกระบวนการ ผนวกเขา้ กบั การเรยี นรผู้ า่ นประสบการณ์ตรงจากแหลง่ ศกึ ษาธรรมชาติ
จริงในพื้นที่ ส่งเสริมให้โรงเรียนใช้แหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติที่กระจายอยู่ทั่วประเทศในการพัฒนา
นักเรียนได้อย่างเกดิ ประโยชนส์ ูงสุด พร้อมทั้งส่งเสริมการต่อยอดขยายผลและจัดการความรู้ด้านการ
อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสงิ่ แวดล้อมดว้ ยเครอื ข่ายเชิงพนื้ ที่อย่างเปน็ ระบบ ประกอบด้วยหลัก
สำคญั 3 ประการ คอื RAK ได้แก่ ความตระหนักรู้สำนึกรกั ษ์ (Responsibility) กิจกรรมบนฐานรู้แจ้ง
ทำจรงิ (Active Learning) และการจดั การความรู้สู่เยาวชนรักษ์พงไพร (Knowledge Management)
รายละเอียดดงั นี้

1) ความตระหนักรู้สำนึกรักษ์ (Responsibility) คือ ความสำนึกรับผิดชอบ
ในการอนรุ ักษ์ทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละสง่ิ แวดล้อม สามารถพึง่ พาอาศัยกนั ได้อย่างสมดุล พร้อมทั้งใช้
ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุดและยั่งยืน ตลอดทั้งคำนึงถึงผลกระทบที่อาจก่อให้เกิด
ผลเสียต่อธรรมชาติสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด รวมถึงความสำนึกต่อสถาบันชาติ ศาสนา และ
พระมหากษัตริย์ ประกอบด้วย ทัศนคติและค่านิยมที่ดีในการอนุรักษ์แหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติและ
สงิ่ แวดล้อม และความสำนกึ ในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษตั รยิ ์

2) กิจกรรมบนฐานรู้แจ้งทำจริง (Active Learning) คือ กิจกรรมการเรียนรู้
ที่บูรณาการสหวิชาการที่เกี่ยวข้องจากภาคีเครือข่ายที่มีความเชี่ยวชาญ ผนวกเข้ากับการเรียนรู้
ผ่านประสบการณต์ รงจากแหล่งศกึ ษาธรรมชาตจิ ริง ประกอบด้วย กิจกรรมการศึกษา สบื ค้น เกี่ยวกับ
การอนุรักษ์แหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กิจกรรมฝึกปฏิบัติการบูรณาการอนุรักษ์
แหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชีวิตประจำวัน และกิจกรรมการประยุกต์การอนุรักษ์
แหลง่ เรยี นรทู้ างธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสำหรับใชใ้ นชีวิตประจำวัน

3) การจดั การความร้สู ่เู ยาวชนรักษ์พงไพร (Knowledge Management) คือ
การสร้างและแสวงหาความรู้ รวมถงึ แลกเปลยี่ นเรียนรู้รว่ มกนั ของภาคีเครือข่าย เก่ยี วกับการอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยร่วมกันจัดการความรู้ให้เป็นระบบ ประมวลและกลั่นกรอง
ความรู้ ให้นักเรียนและผู้เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงความรู้ เกิดการแบง่ ปนั ความรู้ และสามารถนำไปต่อยอด

205

กิจกรรมได้ในโรงเรียน และชุมชน ประกอบด้วย กระบวนการหรือวิธีการนำความรู้เกี่ยวกับการ
อนุรักษ์แหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระบวนการหรือวิธีการที่ทำให้เยาวชน
เกิดความสำนึกเคารพรกั ในสถาบนั ชาติ ศาสนา และพระมหากษตั รยิ ์

2. วตั ถปุ ระสงค์
เพือ่ ให้นักเรยี นเกดิ คุณลักษณะเยาวชนรักษพ์ งไพร กลา่ วคอื มีความเคารพรกั ในสถาบัน

ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ พร้อมทั้งเห็นถึงคุณค่าทรัพยากรธรรมชาติ เกิดความรักความหวงแหน
มีจติ สำนกึ ความรับผดิ ชอบ และร่วมกันอนุรักษ์ทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละส่งิ แวดลอ้ ม สำนึกในพระมหา
กรุณาธิคุณด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและน้อมนำมาปรับใช้ รวมถึงนำไป
ต่อยอดพัฒนาตามความต้องการและอัตลักษณ์ของพื้นที่ สอดคล้องกับบริบทท้องถิ่น โดยมี
คุณลกั ษณะเยาวชนรกั ษพ์ งไพร ประกอบด้วย

1) รู้รักษา คือ คุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพรด้านความรู้ กล่าวคือ นักเรียน
มีความใฝ่รู้ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สามารถสื่อสารความรู้ในการใช้ชีวิต
ท่เี ปน็ มิตรต่อส่งิ แวดล้อม มคี วามเคารพรกั หวงแหน และนำความรเู้ กี่ยวกับสถาบันชาติ ศาสนา และ
พระมหากษัตริย์ รวมถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม ไปปรับใช้ได้ตามบริบท

2) พัฒนาต่อยอด คือ คุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพรด้านทักษะ กล่าวคือ
นักเรียนใช้ชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และใช้ชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีทักษะ
ที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 และสามารถนำทักษะไปใช้เพื่อการดำรงชีวิตตามวิถีบริบทของท้องถิ่น
ได้อยา่ งสอดคลอ้ งเหมาะสม

3) สืบทอดวิถี คอื คณุ ลกั ษณะเยาวชนรักษพ์ งไพรด้านเจตคติ กลา่ วคือ นักเรียน
มีวินัย เคารพกฎกติกาของชุมชนและสังคม ในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
มคี วามตระหนกั ถงึ ปญั หาสิ่งแวดล้อม มีจติ สาธารณะ เปน็ ผูน้ ำในการอนุรกั ษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ
ส่งิ แวดล้อมของบา้ นเกิด

3. องค์ประกอบการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรกั ษพ์ งไพร
1) เน้ือหากิจกรรมบูรณาการ 3 รกั ษ์ (รกั ษ์ชาติ รักษ์ศาสน์ รกั ษ์กษตั ริย)์ คอื เน้ือหา

หลกั ของการจัดกจิ กรรมการเรียนรู้ในคา่ ย “เยาวชน...รักษพ์ งไพร เฉลมิ พระเกยี รติ 60 พรรษา สมเด็จ
พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” ที่บูรณาการองค์ความรู้ของภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง
เพื่อการพัฒนานักเรียนให้มีคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพร เข้าใจประโยชนข์ องทรัพยากรธรรมชาติ
และสิง่ แวดลอ้ ม มีคุณธรรม และสำนึกในพระมหากรุณาธคิ ณุ ประกอบด้วย

206

- รักษช์ าติ คอื การดำเนินชวี ติ ภายใตร้ ะเบยี บ กฎกติกาของสงั คม เห็นคุณค่า
ของความรกั ความสามัคคี รกั และหวงแหนทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละสิง่ แวดล้อม รวมถงึ ถ่ินกำเนิดและ
ถิน่ ทอี่ ย่อู าศัย ธำรงไวซ้ ง่ึ ขนบธรรมเนยี ม ประเพณี วฒั นธรรม และภมู ปิ ญั ญาทอ้ งถิน่

- รักษศ์ าสน์ คือ การประพฤติ ปฏิบตั ิ ภายใตก้ รอบศาสนาของตนเอง นับถือ
ไม่ลบหลู่ดูหมิ่นศาสนาอื่น บนพื้นฐานของความเชื่อของแต่ละศาสนาที่สอนให้ทุกคนเป็นคนดี ใช้สติ
ในการสังเกต การสื่อสารด้วยกลั ยาณมิตร แสดงออกซึ่งความรัก ความเมตตา การให้อภัย ให้โอกาส
และให้ความชว่ ยเหลอื ผ้อู ื่นตามความเหมาะสม

- รักษ์กษัตริย์ คือ ความเข้าใจในหลักคิด หลักการทรงงาน และโครงการใน
พระราชดำริเพื่อน้อมนำไปเป็นแนวปฏิบัติในชีวิตประจำวัน รวมถึงสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ
ปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์ รวมถึงเข้าใจในพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจของ
พระมหากษัตริย์แตล่ ะพระองคท์ ี่ทรงอนุรักษ์และหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติและส่งิ แวดลอ้ ม

2) กระบวนการจัดการเรียนรแู้ บบ Active Learning คือ การจดั กจิ กรรมการเรียนรู้
ในค่าย “เยาวชน...รักษพ์ งไพร เฉลมิ พระเกยี รติ 60 พรรษา สมเดจ็ พระเทพรัตนราชสดุ าฯ สยามบรมราช
กุมาร”ี ที่ให้นกั เรยี นมีความสำคญั ท่สี ุดในกระบวนการเรียนรู้ ดว้ ยการฝกึ ทักษะการใช้กระบวนการคิด
การวิเคราะห์ การสังเกต การรวบรวมข้อมูลและการปฏิบัติจริง เรียนรู้อย่างมีความสุข แสดงออก
อยา่ งอิสระ บรรยากาศการเรียนท่ีเปน็ กัลยาณมิตร โดยใหเ้ รียนรูใ้ นส่งิ ที่มีความหมายต่อชีวิต ส่ิงที่อยู่
ใกล้ตัว ด้วยการใช้แหล่งศึกษาธรรมชาติในท้องถิ่นเป็นสื่อให้นักเรียนได้มีโอกาสฝึกฝน ได้เรียนรู้
ตามความต้องการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยตนเองในการอนุรักษ์
ทรพั ยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอ้ ม พร้อมทั้งปลกู ฝงั สอดแทรกคุณธรรม จรยิ ธรรม และค่านิยมท่ีดีงาม
รวมถงึ คณุ ลักษณะอนั พึงประสงค์

3) การขับเคล่อื นงานดว้ ยภาคเี ครอื ขา่ ยและพนื้ ท่ีเป็นฐาน คือ ความร่วมมอื ดา้ นการศึกษา
ระหวา่ งภาคีเครอื ขา่ ยภาครัฐและเอกชนในการเสรมิ สรา้ งคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพรเพอ่ื การอนุรักษ์
ทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละสิง่ แวดลอ้ ม โดยให้ภาคเี ครอื ขา่ ยให้เขา้ มามบี ทบาทหลักต้ังแต่การรว่ มกำหนด
ทิศทางการพัฒนานักเรียน เน้นผลลัพธ์ที่ตัวนักเรียน พร้อมทั้งขยายผลความร่วมมือเพื่อระดม
ทรพั ยากรและเทคโนโลยใี นการยกระดับกิจกรรมการเรียนร้สู ู่ความเป็นเลิศอย่างตอ่ เนอ่ื ง โดยคำนึงถึง
มิติการมีส่วนร่วมและบูรณาการทรัพยากรในท้องถิ่น ใช้แหล่งศึกษาธรรมชาติและบริบทชุมชน
เป็นฐานให้เกิดความเข้มแข็งจากฐานราก ด้วยความร่วมมือของหน่วยงานในพื้นที่ ทั้งการร่วมคิด
รว่ มวางแผน ร่วมตดั สนิ ใจ รว่ มดำเนนิ การ รว่ มรบั ผิดชอบ รว่ มติดตามประเมินผล รว่ มแก้ปัญหา และ
ร่วมเสริมพลงั

207

4) ค่มู ือการดำเนนิ งานท่มี ีคณุ ภาพ คือ ชดุ เอกสารท่ีกำหนดจดุ ม่งุ หมายของการเรียนรู้
เนือ้ หาวธิ ีการ กิจกรรมและกระบวนการ รวมถงึ สือ่ และการวัดผลสำเร็จของการเสรมิ สรา้ งคุณลักษณะ
เยาวชนรักษ์พงไพรเพื่อการอนรุ กั ษท์ รัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอ้ ม โดยคำนึงถึงความเหมาะสม
ของเน้ือหาและการนำเสนอกิจกรรมแต่ละข้นั ตอนให้มีความชดั เจน สะดวกตอ่ การนำไปใช้ปฏิบัติจริง
ประกอบด้วยคู่มือ 2 เล่ม ได้แก่ คู่มือครูวิทยากรเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษพ์ งไพร และ
คมู่ ือเยาวชนรักษพ์ งไพร

4. ขน้ั ตอนการเสริมสรา้ งคุณลกั ษณะเยาวชนรักษ์พงไพร
1) การสานสัมพันธ์เครือข่าย (Network Engagement) คือ การบูรณาการความ

ร่วมมือในการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพรเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อม ตั้งแต่การร่วมกำหนดวิสัยทัศน์ ร่วมพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ ร่วมแลกเปลี่ยนแบ่งปัน
องค์ความรู้และทรัพยากรเพื่อประโยชน์สูงสุดของนักเรียน ภายใต้การทำงานแบบร่วมมือร่วมใจ
ของภาคีเครอื ข่าย ดังน้ี

- ประสานหน่วยงานจากภาครัฐและเอกชน เพื่อระดมทรัพยากรสำหรับ
สรา้ งภาคเี ครือขา่ ยในการเสรมิ สรา้ งคุณลกั ษณะเยาวชนรักษพ์ งไพร

- สรา้ งชมุ ชนแหง่ การเรยี นรู้ทางวิชาชพี (PLC) บนฐานกลั ยาณมิตร เพือ่ ร่วมกัน
สนทนาและระดมความคดิ ในการกำหนดทศิ ทางในการเสรมิ สร้างคณุ ลักษณะเยาวชนรักษพ์ งไพร

- กำหนดกจิ กรรม วิธกี าร ขน้ั ตอน และบทบาทในการทำงานอย่างบูรณาการ
ร่วมกันของภาคีเครอื ขา่ ยทุกภาคสว่ น

- การร่วมกันจัดกิจกรรมการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพร
ตามขนั้ ตอนที่กำหนด

- ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสะท้อนข้อมูล รวมถึงการร่วมกันถอดบทเรียน
ในการดำเนินงานร่วมกนั ของภาคเี ครือขา่ ย

2) การจดั การเครอื ข่ายผ้เู ชย่ี วชาญเชิงพ้ืนท่ี (Expertise Management) คอื การ
บริหารจัดการบริบทเชิงพื้นที่ เน้นการพัฒนาโดยผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ จากภาคีเครือข่าย เข้ามา
มีส่วนร่วมในการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรกั ษพ์ งไพร โดยมุ่งเน้นความเป็นเอกลกั ษณ์เชิงพ้นื ที่
ของแต่ละแห่ง ภายใตเ้ ครอื ขา่ ยเชิงพื้นท่ี (Rakpongprai Network: RN) เพอื่ การพฒั นาโครงการค่าย
“เยาวชน...รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษาสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราช
กุมาร”ี สู่ความยง่ั ยืน ดังนี้

- รว่ มกนั จัดทำหลกั สตู รกจิ กรรมการเรยี นรเู้ พอื่ เสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชน
รกั ษ์พงไพรภายใตบ้ ริบทเชิงพนื้ ที่โดยผู้เช่ยี วชาญ

208

- ร่วมกันกำหนดแผนการดำเนินงานเชิงพื้นที่ในการเสริมสร้างคุณลักษณะ
เยาวชนรกั ษพ์ งไพร และขอ้ มลู สารสนเทศโครงการ

- พัฒนาทีมวิทยากรร่วมกันระหว่างหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในการ
พัฒนาองคค์ วามรู้ ทกั ษะ วิธกี ารต่าง ๆ ให้แกท่ ีมวิทยากรโดยเครือข่ายผู้เชย่ี วชาญ

- ร่วมกันกำหนดแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติตามบริบทเชิงพื้นที่ร่วมกัน และ
ดำเนนิ งานร่วมกับภาคีเครือขา่ ยในระดบั พนื้ ที่

3) การจัดค่ายบูรณาการสหวชิ าการ (Multidisciplinary Youth Camp) คือ การ
จัดกจิ กรรมค่ายโดยมรี ูปแบบการจัดกจิ กรรมการเรยี นรู้จากผ้เู ชย่ี วชาญในแตล่ ะด้านของภาคีเครือข่าย
ดำเนินการออกแบบกิจกรรมภายใต้กรอบหลักสูตรโดยบูรณาการองค์ความรู้ ทักษะ และเจตคติ
ทเี่ กยี่ วข้อง เพือ่ ปลกู ฝังจิตสำนึกรว่ มกันให้นักเรียนได้ตระหนักในคุณคา่ ขององค์ความรู้ท่ีได้รับ ซ่ึงจัดใน
31 ศูนย์การเรียนรู้ที่เป็นแหล่งศึกษาธรรมชาติทั่วประเทศ ภายใต้ชื่อ ค่าย “เยาวชน...รักษ์พงไพร
เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสดุ าฯ สยามบรมราชกุมารี” ดงั น้ี

- ศกึ ษาหลักสูตร กิจกรรม และขั้นตอนการจดั กจิ กรรมเสรมิ สร้างคุณลักษณะ
เยาวชนรกั ษพ์ งไพร

- ออกแบบกจิ กรรมบูรณาการเพือ่ เสริมสร้างให้นกั เรยี นเกิดความรู้ ทักษะ เจตคติ
ทด่ี ี และจิตสำนึกในการอนรุ ักษ์ทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละสง่ิ แวดล้อม

- จดั กิจกรรมค่าย “เยาวชน...รกั ษพ์ งไพร เฉลมิ พระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จ
พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกมุ าร”ี ตามกรอบกิจกรรมบูรณาการทอ่ี อกแบบไว้

- ประเมินองคค์ วามรู้ ทักษะ และเจตคตขิ องเยาวชนรักษ์พงไพร
- วิเคราะห์ผลการประเมินเพื่อนำผลไปพัฒนาในการดำเนินการเสริมสร้าง
คณุ ลกั ษณะเยาวชนรกั ษ์พงไพรในครง้ั ตอ่ ไป
4) การขยายผลสู่ความยั่งยืน (Sustainable Generalization) คือ การดำเนินงาน
ภายหลงั จากการจดั ค่ายฯ ทมี่ งุ่ เนน้ ใหค้ รูและนกั เรยี นนำองค์ความรู้ ทักษะ และเจตคติท่ีดีในด้านการ
อนุรกั ษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอ้ ม ไปตอ่ ยอดในระดบั โรงเรยี นและชมุ ชนอย่างเป็นรูปธรรม
ภายใต้การส่งเสริมสนับสนุนของภาคีเครือข่ายในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดคุณลักษณะเยาวชน
รักษพ์ งไพร 3 ดา้ น คอื รู้รักษา พฒั นาต่อยอด สืบทอดวถิ ี จนเกิดเป็นลักษณะนิสยั ดังน้ี
- จัดกจิ กรรมสรุปองค์ความรู้ ทักษะ และคณุ ลกั ษณะท่ไี ด้รับจากการเข้าร่วม
กจิ กรรมคา่ ยเยาวชน...รักษ์พงไพร
- ครูวิทยากรรักษ์พงไพรและเยาวชนแกนนำรักษ์พงไพรวางแผนกำหนด
กิจกรรม แนวทางในการขยายผลลงสู่สถานศกึ ษา

209

- เครือข่ายเชิงพื้นที่เยี่ยมเสริมพลังโดยการให้กำลังใจในการดำเนินงานกับ
ครวู ทิ ยากรรกั ษ์พงไพรและเยาวชนรกั ษพ์ งไพร พรอ้ มทงั้ มกี ารแลกเปลย่ี นเรยี นร้รู ่วมกัน

5. เง่ือนไขการเสรมิ สรา้ งคุณลักษณะเยาวชนรกั ษ์พงไพร
1) การทำงานแบบร่วมมือร่วมใจ (Collaborative Working Team) คือ การร่วม

ทำงานของภาคีเครือข่ายแบบร่วมแรงร่วมใจในการเสริมสร้างเยาวชนรักษ์พงไพรเพื่อการอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประสานการทำงานให้สอดคล้องกัน มีแผนงานร่วมกัน เพื่อให้
เปา้ หมายการพัฒนานักเรยี นประสบผลสำเร็จ ด้วยพน้ื ฐานการมสี มั พนั ธภาพที่ดีของบุคลากรระหว่าง
ภาคีเครือข่าย เข้าใจบทบาทและความสำคัญของแต่ละภาคีเครือข่าย เอื้ออำนวยแบ่งปันความรูแ้ ละ
ทรพั ยากรซ่ึงกันและกัน รวมถงึ ใหค้ วามช่วยเหลือสนบั สนนุ อยา่ งต่อเนอื่ งจนบรรลเุ ป้าประสงค์รว่ มกนั

2) การพัฒนาเชิงพื้นท่ี (Area-based Approach) คอื การม่งุ เนน้ เป้าหมายการเรียนรู้
และการพัฒนา รวมถึงอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้สอดคล้องเหมาะสมกับบริบท
พื้นที่ บนฐานการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรกั ษ์พงไพรเพื่อความเข้มแข็งของนกั เรยี น โรงเรียน
และชมุ ชน ให้สามารถพึ่งตนเองได้ สามารถปรบั ตัวให้ทนั ต่อการเปลย่ี นแปลง ใช้ความรู้ในการจัดการ
หรือแก้ไขปัญหาตามความต้องการและสอดคล้องกับพื้นที่ได้อย่างยั่งยืน โดยอาศัยองค์ประกอบ
ของพ้ืนท่ีท้งั แหลง่ เรยี นรู้ สงั คมวฒั นธรรม ภูมิปัญญา ทรัพยากร และความสมั พนั ธ์ระหวา่ งภาคเี ครือข่าย
ในทุกระดบั รวมถึงการมสี ว่ นรว่ มของชุมชน

3) การใช้แหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติเป็นฐานการเรียนรู้ (Natural Learning
Resources) คือ การจัดกจิ กรรมการเรยี นรทู้ ่มี ุ่งเนน้ ใหน้ ักเรียนเกิดประสบการณ์ตรงจากแหลง่ เรียนรู้
ทางธรรมชาติจริง ในศูนย์การเรียนรู้ของกรมป่าไม้ และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
จำนวน 31 ศูนย์ ทั่วประเทศ ซึ่งจะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซ่ึงกันและกันระหว่างกลุ่มเพื่อน
นักเรียน ครูวิทยากรกับนักเรียน วิทยากรประจำแหล่งเรียนรู้กับครูวิทยากรและนักเรียน รวมถึง
เอื้อให้นักเรียนสามารถสืบค้นแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้โดยง่ายจากสภาพจริง นำไปสู่การสร้าง
องคค์ วามรู้ ความเข้าใจ ความรักและหวงแหนในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอ้ มไดด้ ้วยตนเอง

6. ปัจจัยสู่ความสำเร็จ
1) การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน (Shared vision) คือ การสร้างเป้าประสงค์ร่วมกันและ

ภาพความสำเร็จร่วมกันของภาคีเครือข่ายในการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพรเพื่อการ
อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงหลักการและวิธีปฏิบัติที่จะนำไปสู่การบรรลุ
เป้าหมายในอนาคต โดยเช่ือมโยงกบั วิสยั ทัศนข์ องแต่ละภาคีเครือข่าย บนฐานทศั นะความร่วมมือกัน
อยา่ งยดึ ม่นั ของบุคลากรในภาคีเครือขา่ ย ด้วยความตระหนักและความเข้าใจ รวมถึงยินยอมพร้อมใจ

210

และให้ข้อผูกพันต่อจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานภายใต้จุดหมายเดียวกัน พร้อมทั้งมีการสื่อสาร
ใหร้ ับรูใ้ นทุกระดับเพื่อใหบ้ รรลุเปา้ หมายของการดำเนนิ งาน

2) ทีมวิทยากรมืออาชีพ (Expertise Team) คือ บุคลากรของภาคีเครือข่ายที่มี
ความรู้ความสามารถ มีความพึงพอใจและทัศนคติที่ดีในการมาทำงานและเป็นวิทยากรร่วมกัน
อยา่ งเปน็ นำ้ หน่ึงใจเดียว เป็นบุคลากรทม่ี ีความเหมาะสมกับกิจกรรมการเรียนร้แู ละสอดคล้องต่อการ
บรรลเุ ป้าประสงค์ในการเสรมิ สร้างคณุ ลักษณะเยาวชนรกั ษพ์ งไพรเพ่อื การอนุรักษ์ทรพั ยากรธรรมชาติ
และสง่ิ แวดลอ้ ม โดยทำงานรว่ มกนั เป็นทีม มีปฏสิ ัมพันธ์ท่ีดีต่อกันระหว่างสมาชิกในทมี ช่วยเหลือกัน
ทำงานเพือ่ ให้บรรลเุ ป้าหมายเดยี วกันอย่างมีประสิทธิภาพ

3) ความพร้อมของแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติ (Natural Learning Resources
Readiness) คือ คุณภาพของแหล่งเรียนทางธรรมชาตใิ นพ้ืนที่ สำหรับจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีอัตลักษณ์
ที่โดดเดน่ และมีคุณค่าตอ่ บริบทพืน้ ที่และชุมชน มีความสมบรู ณ์ของทรพั ยากรธรรมชาติ ส่ิงแวดล้อม
และระบบนิเวศ มีความปลอดภัย ที่เอื้อต่อการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพรเพื่อการ
อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสงิ่ แวดลอ้ มไดอ้ ย่างเหมาะสม

7. ผลทีค่ าดว่าจะไดร้ บั
แนวทางเสรมิ สร้างคุณลกั ษณะเยาวชนรักษ์พงไพรเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

และสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพื้นฐาน
มุ่งเนน้ ใหเ้ กดิ ผลผลิตและผลลพั ธ์ ดงั นี้

ผลผลิต
1) นักเรยี น ครู และผู้เกย่ี วข้อง มคี วามรู้ความเขา้ ใจเก่ียวกับการอนรุ กั ษ์ทรัพยากร
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทีส่ อดคล้องกับความต้องการและบริบทของท้องถิ่น รวมถึงทักษะที่จำเป็น
และสามารถนำไปประยกุ ต์ใช้ในชีวติ ประจำวันได้อย่างเหมาะสม
2) นักเรียน ครู และผเู้ กย่ี วขอ้ ง มีความตระหนกั มจี ิตสำนึกทด่ี เี หน็ ถงึ คุณค่า และ
เกิดความรักความหวงแหน รวมถึงร่วมกันอนรุ ักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม สนองพระราโชบาย
ของสมเดจ็ พระนางเจ้าสิรกิ ิติ์ พระบรมราชนิ นี าถ พระบรมราชชนนพี ันปหี ลวง
3) นักเรียน ครู และผู้เกี่ยวข้อง มีความเคารพรักในสถาบันชาติ ศาสนา และ
พระมหากษัตรยิ ์ มีคุณธรรมจรยิ ธรรมท่ีดี มจี ติ อาสา มที ักษะการคดิ วิเคราะห์และทกั ษะชวี ิต สามารถ
ตอ่ ยอดขยายผลกิจกรรมด้านการอนุรกั ษ์ทรพั ยากรธรรมชาติในโรงเรียน ชมุ ชน และท้องถน่ิ ได้อย่าง
เป็นรปู ธรรมสอดคลอ้ งกบั ความตอ้ งการและบรบิ ทท้องถ่ิน

211

4) ครูและผู้เกี่ยวข้องมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนการสอนด้านการ
อนรุ กั ษท์ รัพยากรธรรมชาตแิ ละส่ิงแวดลอ้ มในท้องถ่นิ มรี ปู แบบการจดั กิจกรรมการเรียนรทู้ สี่ อดคล้อง
กบั หลกั สูตรแกนกลางการศึกษาขนั้ พ้ืนฐาน พุทธศักราช 2551 และการเรยี นรู้ในศตวรรษที่ 21

5) เครือข่ายความร่วมมือที่สามารถบูรณาการการทำงานรว่ มกันดา้ นการอนุรกั ษ์
ทรัพยากรธรรมชาติและสง่ิ แวดลอ้ มในทอ้ งถน่ิ ท่ีเขม้ แข็งและยงั่ ยนื

ผลลพั ธ์
1) โรงเรยี นและชุมชน มีศักยภาพเป็นแหลง่ เรยี นรู้ที่เหมาะสมในด้านการอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น สนองพระราโชบายของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชนิ นี าถ พระบรมราชชนนพี นั ปหี ลวง
2) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและหน่วยงานภาคีเครือข่าย
มีความร่วมมือและบูรณาการแบบมีสว่ นร่วมในการดำเนนิ งานท่ีเข้มแข็งเพิ่มมากขึ้น รวมถึงสามารถ
ขยายความร่วมมอื ไดใ้ นวงกว้าง
3) สำนักงานคณะกรรมการการศกึ ษาขั้นพ้ืนฐาน มีแนวทางการปลกู ฝงั และพฒั นา
เยาวชนและทุนมนุษย์ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ท่ีมุ่งเน้น
ความเขม้ แขง็ ตามบรบิ ทของท้องถ่นิ สอดคลอ้ งและเป็นรากฐานสำคญั กับทศิ ทางการพัฒนาประเทศ
โดยสรุปแล้ว แนวทางการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพรเพื่อการอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ
การศกึ ษาขัน้ พน้ื ฐาน มงุ่ เนน้ การพัฒนานกั เรียน ผ่านกิจกรรมค่ายที่บรู ณาการสหวิชาการที่เกี่ยวข้อง
ด้วยรูปแบบ Active Learning ในทุกกระบวนการ ผนวกเข้ากับการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรง
จากแหล่งศึกษาธรรมชาติจริงในพื้นที่ ส่งเสริมให้โรงเรียนใช้แหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติที่กระจายอยู่
ทั่วประเทศในการพัฒนานักเรียนได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด สามารถแสดงกรอบแนวคิดเชิงระบบ
ของแนวทางดังกล่าว ได้ดังนี้

212

ภาพแสดงกรอบแนวคิดเชิงระบบของแนวทางการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษพ์ งไพรเพ่ือการ
อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาข้นั พน้ื ฐาน

รายละเอยี ดขั้นตอนการเสริมสรา้ งคณุ ลักษณะเยาวชนรกั ษ์พงไพร
ขั้นตอนการเสรมิ สรา้ งคุณลกั ษณะเยาวชนรักษ์พงไพร 4 ข้นั ตอน ดังน้ี
ขั้นตอนที่ 1 การสานสัมพันธ์เครือข่าย (Network Engagement) เป็นการบูรณาการ
ความรว่ มมอื ในการเสริมสร้างคุณลกั ษณะเยาวชนรกั ษพ์ งไพรเพอ่ื การอนรุ ักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อม ตั้งแต่การร่วมกำหนดวิสัยทัศน์ ร่วมพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ ร่วมแลกเปลี่ยนแบ่งปัน
องค์ความรู้และทรัพยากรเพ่ือประโยชน์สูงสุดของนักเรียน ภายใต้การทำงานแบบร่วมมือร่วมใจของ
ภาคีเครอื ข่าย จำนวน 13 หน่วยงาน ประกอบดว้ ย

1) สำนกั งานคณะกรรมการการศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน
2) มูลนธิ ิสวนสมเดจ็ พระนางเจ้าสริ กิ ิตฯ์ิ
3) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธพุ์ ชื
4) กรมป่าไม้
5) กรมตรวจบญั ชสี หกรณ์
6) กรมพัฒนาทด่ี นิ
7) กรมส่งเสริมการเกษตร
8) กรมส่งเสริมสหกรณ์
9) กรมหมอ่ นไหม
10) องคก์ ารสวนสัตว์ ในพระบรมราชปู ถัมภ์
11) สำนักการศกึ ษา กรุงเทพมหานคร
12) ทรู คอรป์ อเรช่ัน
13) เครอื เจรญิ โภคภณั ฑ์

213

การบูรณาการความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย รวม 13 หน่วยงาน มุ่งเน้นการอนุรักษ์
แหล่งเรียนรู้ทางทรัพยากรธรรมชาติในชุมชนและท้องถิ่น เป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาประเทศ
ไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ตามยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี ซึ่งเป็นการปลูกฝังและพัฒนา
ในระยะยาว มุ่งเน้นความเขม้ แขง็ ตามบริบทของท้องถ่นิ และชุมชน ซงึ่ มกี ลไกท่ีสำคญั คอื การพัฒนา
คุณภาพนักเรียน ครู และผู้เกี่ยวข้อง ด้วยการสนับสนุนการจัดการศึกษาด้านการอนุรักษ์ทรัพยากร
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ถูกต้องตามหลักวิชา เพื่อให้นักเรียน ครู และผู้เกี่ยวข้อง เกิดความ
ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการอนุรักษ์ เกิดความรักความหวงแหน และให้ความ
รว่ มมอื อย่างจริงจงั ในการเขา้ มามสี ่วนรว่ มอนรุ ักษท์ รพั ยากรธรรมชาติและสง่ิ แวดล้อม

ข้ันตอนท่ี 2 การจดั การเครือขา่ ยผู้เชย่ี วชาญเชิงพ้ืนที่ (Expertise Management)
เป็นการบริหารจัดการบริบทเชิงพื้นที่ เน้นการพัฒนาโดยผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ จากภาคีเครือข่าย
ในระดับพื้นที่ของแต่ละภูมิภาค เข้ามามีส่วนร่วมในการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพร
โดยมุ่งเน้นความเป็นเอกลักษณ์เชิงพื้นที่ของแต่ละแห่ง ภายใต้เครือข่ายเชิงพื้นที่ (Rakpongprai
Network: RN) เพอื่ การพฒั นาโครงการค่าย “เยาวชน...รักษ์พงไพร เฉลมิ พระเกียรติ 60 พรรษาสมเด็จ
พระเทพรตั นราชสดุ าฯ สยามบรมราชกมุ ารี” สูค่ วามยงั่ ยืน ประกอบด้วย 7 เครือขา่ ย ดงั นี้

ตารางแสดงเครือข่ายเชิงพ้ืนท่ี (Rakpongprai Network: RN) เพื่อการพัฒนา โครงการค่าย “เยาวชน...
รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” สูค่ วาม
ยงั่ ยนื

เครือขา่ ย ผู้รับผดิ ชอบ ศนู ยใ์ นเครือขา่ ย ผรู้ ับผิดชอบศูนย์
เชิงพ้ืนทฯี่ เครือขา่ ย
1. ภาคเหนอื สพป.เชยี งใหม่ ศรร.เชยี งใหม่ สพป.เชียงใหม่ เขต 1
เขต 1 ศธส.เชิงดอยสเุ ทพ สพป.เชยี งใหม่ เขต 1
2. ภาค ศธส.น่าน สพป.น่าน เขต 1
ตะวนั ออก สพป.ชยั ภมู ิ ศรร.น่าน สพป.นา่ น เขต 2
เฉยี งเหนือ เขต 2 ศรร.แมฮ่ ่องสอน สพป.แม่ฮ่องสอน เขต 1
ศธส.ถำ้ นำ้ ลอด สพป.แม่ฮอ่ งสอน เขต 1
ศรร.ตาก สพป.ตาก เขต 2
ศรร.ยโสธร สพป.ยโสธร เขต 1
ศธส.หว้ ยกุม่ สพป.ชยั ภูมิ เขต 2
ศธส.ลำปาว สพป.กาฬสินธุ์ เขต 1

214

เครือข่าย ผ้รู ับผิดชอบ ศูนยใ์ นเครอื ขา่ ย ผรู้ บั ผิดชอบศนู ย์
เชิงพื้นท่ฯี เครอื ขา่ ย
ศธส.อบุ ลราชธานี สพป.อบุ ลราชธานี เขต 1
3. ภาคกลาง สพป.อุทยั ธานี สพป.อบุ ลราชธานี เขต 5
กลุ่มท่ี 1 เขต 2 ศธส.หว้ ยขาแขง้ สพป.อทุ ัยธานี เขต 1
สพป.อทุ ัยธานี เขต 2
4. ภาคกลาง สพป. สระบุรี ศธส.พษิ ณุโลก สพป.พิษณุโลก เขต 2
กลมุ่ ที่ 2 เขต 2 ศธส.บึงบอระเพด็ สพป.นครสวรรค์ เขต 1
ศธส.เขานำ้ พุ สพป.กาญจนบุรี เขต 1
5. ภาคกลาง สพป. ศธส.นครนายก สพป.นครนายก
กลมุ่ ท่ี 3 สมุทรปราการ ศธส.ราชบุรี สพป.ราชบรุ ี เขต 1
เขต 1 สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิรกิ ติ ฯิ์ สพป.กรงุ เทพมหานคร
6. ภาคใต้ ศธส.สระบุรี สพป. สระบุรี เขต 2
กลุ่มท่ี 1 สพป.สงขลา ศธส.เขาสอยดาว สพป.จันทบรุ ี เขต 1
เขต 2 สพป.จนั ทบุรี เขต 2
7. ภาคใต้ ศธส.เขาเขียว สพป.ชลบรุ ี เขต 1
กล่มุ ที่ 2 สพป.ภเู ก็ต สพป.ชลบรุ ี เขต 3
ศรร.ประจวบครี ขี นั ธ์ สพป.ประจวบครี ขี นั ธ์ เขต 1
ศรร.สวนศรีนครเข่อื นขันธ์ สพป.สมุทรปราการ เขต 1
ศรร.หาดใหญ่ สพป.สงขลา เขต 2
ศธส.หาดใหญ่ สพป.สงขลา เขต 2
ศธส.ทะเลสาบสงขลา สพป.สงขลา เขต 1
ศธส.ทะเลนอ้ ย สพป.พทั ลุง เขต 2
ศธส.นครศรธี รรมราช สพป.นครศรธี รรมราช เขต 1
สพป.นครศรีธรรมราช เขต 4
ศธส.เขาท่าเพชร สพป.สรุ าษฎรธ์ านี เขต 1
ศธส.เขาช่อง สพป.ตรงั เขต 1
ศธส.เขาพระแทว สพป.ภูเกต็

215

เครือข่ายเชิงพื้นท่ีฯ (Rakpongprai Network: RN) มีวัตถุประสงค์การดำเนินงาน คือ
(1) ขับเคล่ือนดำเนินงานในระดับพ้ืนทใ่ี หเ้ กิดความยงั่ ยนื (2) พฒั นาครูวทิ ยากรของโครงการในระดับ
พื้นที่อยา่ งเป็นระบบ และ (3) ส่งเสริมการต่อยอดขยายผลการดำเนนิ งานให้สอดคลอ้ งเหมาะสมกับ
บรบิ ทในระดบั พน้ื ท่ี โดยมภี ารกิจ คือ

1) ประสานงาน วางแผนและเตรียมการจัดค่าย รวมถึงขยายผลการดำเนินงาน
ร่วมกบั ภาคเี ครือข่าย 13 หนว่ ยงานในระดบั พนื้ ที่ ภายใต้การบูรณาการความร่วมมอื

2) ดำเนินการจัดการอบรมพฒั นาครวู ิทยากร ตามกรอบเนอ้ื หาแกนกลาง โดยแต่ละ
เครือขา่ ยสามารถประยกุ ตใ์ ห้สอดคลอ้ งกบั บริบทได้ตามความเหมาะสม รายละเอียดดงั นี้

ตารางแสดงกรอบเนอื้ หาแกนกลางการอบรมพฒั นาครวู ิทยากรของเครอื ข่ายเชิงพนื้ ที่ฯ

กจิ กรรม ประเดน็ การพัฒนา
เพลงค่าย เพลงเยาวชน...รกั ษพ์ งไพร และต้นไมข้ องพอ่
สำนกึ ในพระมหากรณุ าธคิ ณุ เปน็ การเรียนรู้โครงการและกจิ กรรมของสถาบัน
ทกั ษะชวี ติ ทเ่ี ป็นมติ รตอ่ สง่ิ แวดล้อม พระมหากษตั ริย์
บูรณาการเนื้อหากิจกรรม ได้แก่ เรอื่ งการทำอาหาร
ดนิ ดี พืชดี วิถพี อเพียง การจดั การขยะ วฏั จกั รชวี ิตของผลติ ภัณฑ์
(Life Cycle Assessment: LCA)
ขาดเธอ แลว้ ฉนั จะรู้สกึ บรู ณาการเนอ้ื หากิจกรรม ไดแ้ ก่ พลังสหกรณ์ บญั ชี
กิจกรรมเทียน พชื ทอ้ งถ่ิน การแปรรปู การจำหน่ายสินคา้ หม่อนไหม
บทบาทครูวิทยากร และการนำไป ปยุ๋ หมกั และหญา้ แฝก
ประยกุ ต์ใชท้ โ่ี รงเรยี น บูรณาการเนอื้ หากิจกรรม ไดแ้ ก่ ทรพั ยากรป่าไมแ้ ละสตั ว์ป่า
แนวทางการขบั เคลอื่ น สวนสัตว์ โซอ่ าหาร สายใยอาหาร และ We Grow
เปน็ กิจกรรมท่สี ร้างพลัง ใหร้ สู้ กึ และสำนกึ รกั สถาบนั
พระมหากษตั รยิ ์ และรักษ์สงิ่ แวดล้อม
เนอื้ หากิจกรรม ได้แก่ ภารกจิ ของครูในการทำหน้าที่
วทิ ยากรค่าย การนำความรู้ไปใช้ในโรงเรยี น
การประเมินผล การบันทึกขอ้ มูลในระบบ Online
ออกแบบแนวทางการขับเคลือ่ นและพัฒนาโครงการ
การนเิ ทศติดตามระดับเขตพืน้ ท่ี

216

กจิ กรรม ประเด็นการพฒั นา
การต่อยอดขยายผล การพฒั นาและขยายผลในระดับเขตพ้นื ที่ เช่น ปัญหา
สงิ่ แวดลอ้ มตามบรบิ ท (เพม่ิ เติม) เนื้อหากจิ กรรม
เป็นรปู แบบ Project - based เพื่อการนำไปต่อยอดขยายผล
ในโรงเรียนและชมุ ชน

3) ดำเนนิ การศึกษาวิจัยการดำเนนิ งานที่เอ้ือต่อการยกระดับโครงการฯ ส่คู วามย่ังยืน
ตามความเหมาะสมและสอดคล้องกับบรบิ ทของแต่ละเครอื ข่ายเชิงพื้นที่

4) ดำเนินการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทั้งในระดับเครือข่าย ศูนย์การเรียนรู้ หรือ
โรงเรียนในโครงการฯ ตามแนวคิดและวิธีการของเครือข่ายเชิงพื้นท่ีฯ ภายใต้ความเหมาะสมและ
เอื้อตอ่ การตอ่ ยอดขยายผล โครงการฯ สคู่ วามยัง่ ยืน

5) ให้แนวทาง คำแนะนำ ส่งเสริมและสนับสนุนการลงทะเบียน การจัดทำข้อมลู
โรงเรียนการขยายผลของศูนย์ฯ และการรายงานผลของศูนย์ฯ ในเครือข่ายที่รับผิดชอบ ให้เป็นไป
อยา่ งมคี ณุ ภาพ ประสทิ ธภิ าพ และประสทิ ธผิ ล

ขั้นตอนท่ี 3 การจดั คา่ ยบรู ณาการสหวชิ าการ (Multidisciplinary Youth Camp)
เป็นการจดั กจิ กรรมค่ายโดยมีรปู แบบการจัดกจิ กรรมการเรียนรู้จากผ้เู ช่ียวชาญในแต่ละด้านของภาคี
เครือข่าย ดำเนินการออกแบบกิจกรรมภายใต้กรอบหลักสูตรโดยบูรณาการองค์ความรู้ ทักษะ และ
เจตคติที่เกี่ยวขอ้ ง บนฐานการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อปลูกฝังจิตสำนกึ ร่วมกันให้นักเรยี น
ได้ตระหนักในคุณค่าขององค์ความรู้ที่ได้รับ ซึ่งจัดกิจกรรมค่ายใน 31 ศูนย์การเรียนรู้ที่เป็นแหล่ง
ศึกษาธรรมชาติทัว่ ประเทศ ประกอบดว้ ย สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิรกิ ิติ์ฯ จำนวน 1 ศนู ย์ ศูนย์ศึกษา
ธรรมชาติและสัตว์ป่า (ศธส.) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จำนวน 22 ศูนย์ และศูนย์
เรียนรเู้ พ่อื การอนุรกั ษ์ทรัพยากรปา่ ไม้ตามแนวพระราชดำริ (ศรร.) กรมป่าไม้ จำนวน 8 ศูนย์ ภายใต้
ชื่อ ค่าย “เยาวชน...รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยาม
บรมราชกุมาร”ี โดยมกี ำหนดจัดกจิ กรรมคา่ ยละ 3 วัน ศูนย์ละ 4 รนุ่ รวม 124 ค่าย สำหรับเปา้ หมาย
การจดั ค่ายทว่ั ประเทศในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 กำหนดเปน็ นักเรียนชว่ งช้ันที่ 2 (ประถมศกึ ษาปีที่
4 และ 5) จำนวน 60 คน ต่อรนุ่ รวม 7,440 คน (รายช่ือศูนยต์ ามภาคผนวก)

สำหรับกิจกรรมในค่าย “เยาวชน...รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จ
พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ
สิง่ แวดลอ้ ม โดยบูรณาการสาระความรู้ต่าง ๆ เพื่อให้เห็นความเชือ่ มโยงของทรพั ยากรธรรมชาติและ
สิง่ แวดลอ้ มกับการดำเนินชีวิตของคนในทอ้ งถิน่ รวมทง้ั ปลูกฝงั คุณธรรม คา่ นยิ มที่ดีงาม คุณลักษณะ
ที่พงึ ประสงค์ในการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม เพอื่ ให้นักเรียนมีคุณภาพ

217

ตามท่หี ลักสตู รแกนกลางการศกึ ษาขน้ั พ้ืนฐาน พทุ ธศักราช 2551 ระบไุ ว้ในระดับประถมศึกษาปที ่ี 4 - 6
ซึง่ กำหนดคุณภาพนกั เรยี นดา้ นสง่ิ แวดลอ้ มไวด้ งั นี้

1) ด้านความรู้ (Cognitive domain) นักเรียนมีความเข้าใจโครงสร้างและ
การทำงานของระบบต่าง ๆ ของส่ิงมีชวี ิต และความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตทีห่ ลากหลายในสิ่งแวดล้อม
ที่แตกต่างกัน และรู้ผลจากการกระทำของมนุษย์ที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อม ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะ
การเลอื กซื้อผลติ ภัณฑท์ ่ีเปน็ มติ รกบั ส่งิ แวดล้อม และความร้เู รอ่ื งหม่อนไหม

2) ด้านทักษะการปฏิบัติ (Psychomotor domain) นักเรียนสามารถนำหลัก
ปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพยี งไปใชใ้ นการดำเนนิ ชวี ติ และใช้ทักษะต่าง ๆ ในการเลือกตดั สินใจในการ
คดั แยกขยะ เลอื กผลิตและบริโภคผลติ ภณั ฑ์ท่ีเป็นมติ รกบั ส่ิงแวดลอ้ มไดอ้ ย่างค้มุ คา่ และประหยัด

3) ด้านเจตคติ (Affective domain) นักเรียนเห็นประโยชน์ของการอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอ้ ม รวมถึงแสดงความซาบซ้งึ ห่วงใย แสดงพฤตกิ รรมเกี่ยวกับการใช้
การดแู ลรกั ษาทรัพยากรธรรมชาตแิ ละส่งิ แวดล้อมอย่างรู้คุณค่า เกดิ ความตระหนักในการทำกิจกรรม
ทจี่ ะสง่ ผลกระทบต่อสิง่ แวดล้อม

ในส่วนของกรอบเนื้อหาของค่าย “เยาวชน...รกั ษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” มุ่งเน้นกิจกรรมบูรณาการ 3 รักษ์ (รักษ์ชาติ
รกั ษ์ศาสน์ รักษก์ ษัตรยิ ์) คือ เนื้อหาหลกั ของการจัดกจิ กรรมการเรียนรู้ในค่าย “เยาวชน...รกั ษ์พงไพร
เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” ที่บูรณาการ
องค์ความร้ขู องภาคีเครือขา่ ยทเ่ี ก่ียวข้อง เพ่อื การพัฒนานักเรียนให้มีคณุ ลักษณะที่พึงประสงค์ เข้าใจ
ประโยชนข์ องธรรมชาตแิ ละส่งิ แวดลอ้ ม มีคณุ ธรรม และสำนกึ ในพระมหากรุณาธคิ ุณ ได้แก่

1) รักษ์ชาติ คือ การดำเนินชีวิตภายใต้ระเบียบ กฎกติกาของสังคม เห็นคุณค่า
ของความรกั ความสามัคคี รักและหวงแหนทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละส่งิ แวดลอ้ ม รวมถงึ ถน่ิ กำเนิดและ
ถิ่นทีอ่ ยู่อาศยั ธำรงไว้ซ่ึงขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม และภมู ปิ ญั ญาทอ้ งถนิ่

2) รักษ์ศาสน์ คือ การประพฤติ ปฏิบัติ ภายใต้กรอบศาสนาของตนเอง นับถือ
ไม่ลบหลู่ดูหมิ่นศาสนาอื่นบนพื้นฐานของความเชื่อของแต่ละศาสนาที่สอนให้ทุกคนเป็นคนดี ใช้สติ
ในการสังเกต การสื่อสารด้วยกัลยาณมิตร แสดงออกซ่ึงความรัก ความเมตตา การให้อภัย ให้โอกาส
และให้ความชว่ ยเหลือผอู้ น่ื ตามความเหมาะสม

3) รักษ์กษัตริย์ คือ ความเข้าใจในหลักคิด หลักการทรงงาน และโครงการ
ในพระราชดำริเพื่อน้อมนำไปเป็นแนวปฏิบัติในชีวิตประจำวัน รวมถึงสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ
ปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์รวมถึงเข้าใจในพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจของ
พระมหากษัตรยิ ์แตล่ ะพระองคท์ ีท่ รงอนรุ ักษ์และหวงแหนทรัพยากรธรรมชาตแิ ละส่ิงแวดล้อม

218

ภาพแสดงรปู แบบความสัมพันธ์ของเยาวชนรกั ษ์พงไพรและกจิ กรรมบรู ณาการ 3 รกั ษ์

กจิ กรรมของคา่ ย “เยาวชน...รกั ษ์พงไพร เฉลิมพระเกยี รติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพ
รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” เป็นกิจกรรมที่มีความหลากหลายที่เกิดจากการออกแบบ
กิจกรรมแบบบูรณาการการเรียนรู้และองค์ความรู้ จากภาคีเครือข่าย 13 หน่วยงาน ประกอบด้วย
4 หน่วยการเรียนรู้ รวม 35 ชั่วโมง ดังนี้

ตารางแสดงโครงสร้างหลักสูตรกิจกรรมค่าย “เยาวชน...รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา
สมเดจ็ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกมุ ารี”

หน่วยการเรยี นรู้ กิจกรรมเรยี นรู้แบบบรู ณาการ เวลา (ช่ัวโมง)
หน่วยที่ 1 สำนึกในพระมหากรณุ าธคิ ณุ 7
หนว่ ยที่ 2 ดนิ ดี พชื ดี วิถีพอเพียง 9
หนว่ ยที่ 3 ขาดเธอ...แลว้ ฉนั จะรสู้ ึก 10
หนว่ ยท่ี 4 ทักษะชวี ิตเปน็ มิตรกบั สง่ิ แวดลอ้ ม 9
35
รวม

219

การจัดกิจกรรมการเรยี นรูใ้ นค่าย “เยาวชน...รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” มุ่งเน้นให้นกั เรียนมคี วามสำคัญที่สุดในกระบวนการ
เรียนรู้ ด้วยการฝึกทักษะการใช้กระบวนการคิด การวิเคราะห์ การสังเกต การรวบรวมข้อมูลและ
การปฏิบัติจริง เรียนรู้อย่างมคี วามสุข แสดงออกอย่างอิสระ บรรยากาศการเรียนที่เป็นกัลยาณมิตร
โดยให้เรียนรู้ในสิ่งที่มีความหมายต่อชวี ิต สิ่งที่อยู่ใกลต้ ัว ด้วยการใช้แหล่งศึกษาธรรมชาติในท้องถน่ิ
เป็นสื่อให้นักเรียนได้มีโอกาสฝึกฝน ได้เรียนรู้ตามความต้องการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้รับ
ประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยตนเองในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมท้ัง
ปลูกฝังสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ดีงาม รวมถึงคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โดยมี
กรอบกิจกรรมการเรียนรู้ ดังนี้

ตารางแสดงกรอบกจิ กรรมคา่ ย “เยาวชน...รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพ
รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมาร”ี

ท่ี กจิ กรรม วตั ถปุ ระสงค์ ผ้รู บั ผิดชอบ

หน่วยที่ 1 สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ

1 สำนกึ ใน เพื่อให้นักเรยี นรู้สกึ ซาบซึง้ ใน ศธส./ศรร.

พระมหากรุณาธิคุณ พระมหากรณุ าธคิ ณุ ของสถาบัน

พระมหากษตั ริย์

2 กิจกรรมเทยี น ตระหนกั และความสำคญั ของตนเองในการ ศธส./ศรร.

อนรุ กั ษท์ รัพยากรธรรมชาติและสง่ิ แวดล้อม

รำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ

หน่วยท่ี 2 ดินดี พชื ดี วิถพี อเพียง

1 ดินดี พืชดี สรา้ งความรู้ ความเข้าใจ เหน็ คุณค่าของพืช กรมส่งเสรมิ การเกษตร
วิถพี อเพียง ในท้องถนิ่ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ กรมหม่อนไหม
แปรรปู เพม่ิ มลู ค่าและนำไปจดั จำหน่าย กรมสง่ เสรมิ สหกรณ์

กรมตรวจบัญชสี หกรณ์

กรมพัฒนาทด่ี ิน

2 หญา้ แฝก พืชเพอื่ การ มีจิตสำนึก ตระหนักถงึ ความสำคัญและ กรมพฒั นาทดี่ นิ
อนุรักษด์ นิ และน้ำ ประโยชนข์ องหญ้าแฝกกับการจัดการ
ทรัพยากรดินเพือ่ การอนรุ ักษด์ ินและนำ้

220

ที่ กิจกรรม วัตถปุ ระสงค์ ผ้รู ับผดิ ชอบ

3 พระมารดาแห่งไหมไทย สำนกึ ในพระมหากรุณาธิคุณ มคี วามรู้ กรมหม่อนไหม
และหม่อนไหม ความเข้าใจเกีย่ วกบั การนำหม่อน และไหม
สารพดั ประโยชน์ ไปใชป้ ระโยชน์

4 บัญชนี ำวิถีสู่ความ เห็นความสำคัญของการจัดทำบญั ชีตาม กรมตรวจบญั ชสี หกรณ์

พอเพยี ง ปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพียง สามารถ
จำแนกรายการรับ รายการจ่าย และจดั ทำ

บญั ชรี ับ – จ่ายของตนเองและครอบครัวได้

5 สตู รปุ๋ยพระราชทาน มีความรู้ ความเข้าใจในการใช้ประโยชน์ กรมพัฒนาที่ดนิ

และสามารถผลติ ปุ๋ยหมกั สูตรปุ๋ย

พระราชทาน นำ้ หมกั ชวี ภาพและผลิตสาร

บำบัดน้ำเสียและขจัดกลน่ิ เหม็นจากขยะได้

หน่วยที่ 3 ขาดเธอ...แลว้ ฉนั จะรสู้ ึก

1 ขาดเธอ...แล้วฉัน เหน็ ความสมั พนั ธ์เชอ่ื มโยงของระบบนิเวศ ศธส./ศรร.

จะรูส้ กึ ตระหนักและเหน็ คณุ ค่าของการอนรุ ักษ์ ทรู คอรเ์ ปอเรชั่น

ทรพั ยากรธรรมชาติ สตั ว์ปา่ และป่าไม้

มีทกั ษะในการสบื คน้ ขอ้ มูล
2 รบั อรุณยามเชา้ /ดนู ก ศกึ ษาธรรมชาตใิ นยามเชา้ และเตรยี มความ ศธส./ศรร.

พรอ้ มรา่ งกาย กายบริหาร ก่อนรบั การ ทรู คอรเ์ ปอเรชน่ั

เรียนร้ใู นแตล่ ะวัน

3 สวนพฤกษศาสตร์ มีความตระหนกั ความร้คู วามเข้าใจในการ ศธส./ศรร.

โรงเรยี น อนุรักษ์ทรพั ยากรเด่นในท้องถ่ิน สพฐ.

สรา้ งจติ สำนกึ ในการอนุรกั ษพ์ นั ธุกรรมพชื

4 คุณค่าทรพั ยากรปา่ เห็นประโยชน์ของต้นไม้และปา่ ไม้ มคี วามรู้ กรมปา่ ไม้

ไม้ เก่ียวกับป่าไมใ้ นประเทศไทย
ทรพั ยากรธรรมชาตเิ ด่นในทอ้ งถิ่น เขา้ ใจ

วิธกี ารปลกู ต้นไม้และการดแู ลรักษา

5 สร้างป่า สร้างรายได้ รจู้ ักศาสตร์พระราชาส่กู ารพฒั นา กรมอทุ ยานแหง่ ชาติฯ

อยา่ งย่ังยืน สรา้ งผลติ ภณั ฑ์จากพชื ในปา่

6 คุณค่าทรพั ยากร เห็นคณุ ค่าของทรัพยากรสัตว์ปา่ และสัตว์ กรมอทุ ยานแห่งชาติฯ

สัตว์ปา่ ปา่ สงวน เป็นเครอื ข่ายในการชว่ ยปกป้อง

221

ที่ กิจกรรม วตั ถุประสงค์ ผู้รับผดิ ชอบ
กรมอุทยานแหง่ ชาตฯิ
7 เรอ่ื งเล่าจากป่า ตระหนักและเกิดแนวคดิ ในการอนรุ กั ษ์
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอ้ ม ศธส./ศรร.

ในท้องถนิ่ สพฐ.
หน่วยท่ี 4 ทักษะชวี ิตเปน็ มิตรกับสิง่ แวดลอ้ ม สพฐ.
สพฐ.
1 พฒั นาความคนุ้ เคย สร้างความคุ้นเคยระหวา่ งเยาวชน และ
สพฐ.
ร่วมกันกำหนดกตกิ าพื้นฐานของค่าย
ศธส./ศรร.
รวมทั้งข้อตกลงการอยู่ร่วมกนั ในค่าย สพฐ.

2 ทักษะชีวติ เป็นมติ ร มีความรคู้ วามเข้าใจในเร่ืองการจัดการขยะ

กบั สิ่งแวดล้อม ดำเนินการทเ่ี ป็นมิตรกบั สิ่งแวดล้อม

3 เสน้ ทางชวี ิตของ มีความรู้ความเข้าใจในการเลือกใช้
ผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ในชีวติ ประจำวนั ทีเ่ ปน็ มิตร
กับส่งิ แวดล้อม
4 ขยะเปลย่ี นชีวิต
สร้างความตระหนกั เร่อื ง มลพิษทาง
5 เรยี นรู้ภาษาไทย สิ่งแวดลอ้ ม มคี วามรู้ความเข้าใจในเรอื่ ง
กนั เถอะ การจดั การขยะ ได้ฝกึ ทักษะกระบวนการ
คิดอยา่ งเปน็ ระบบ
6 ขวัญใจค่าย
มีทกั ษะการอา่ นบทรอ้ ยกรองภาษาไทย
รู้จักช่อื ของพรรณไม้ผ่านบทร้อยกรอง
ชว่ ยรกั ษาหลกั ฐานในทางพฤกษศาสตร์
ของชาติ

สร้างแรงจงู ใจ เสรมิ แรงและส่งเสรมิ วินัย
เชิงบวกใหแ้ ก่นักเรยี น

กรอบกิจกรรมการเรียนรู้ดังกล่าว เป็นการบูรณาการสหวิชาการที่เกี่ยวข้องจากภาคี
เครอื ขา่ ยทม่ี ีความเช่ียวชาญ ผนวกเข้ากับการเรียนรผู้ ่านประสบการณ์ตรงจากแหล่งศึกษาธรรมชาติจริง
ประกอบด้วย กิจกรรมการศึกษา สืบค้น เกี่ยวกับการอนุรักษ์แหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อม กิจกรรมฝึกปฏิบัติการบูรณาการอนุรักษ์แหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ในชีวิตประจำวัน และกิจกรรมการประยุกต์การอนุรักษ์แหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำหรบั ใชใ้ นชวี ิตประจำวนั ซง่ึ แต่ละพนื้ ท่ีสามารถปรบั สาระใหน้ ักเรยี นเกิดการเรียนรู้ท่ีสอดคล้องกับ
บริบทได้ตามความเหมาะสม

222

ขั้นตอนที่ 4 การขยายผลสู่ความยั่งยืน (Sustainable Generalization) เป็นการ
ดำเนินงานภายหลังจากการจดั คา่ ยฯ ท่มี ่งุ เนน้ ให้ครแู ละนักเรยี นนำองคค์ วามรู้ ทักษะ และเจตคติท่ีดี
ในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไปต่อยอดในระดับโรงเรียนและชุมชน
อย่างเป็นรูปธรรม ภายใต้การส่งเสริมสนับสนุนของภาคีเครือข่ายในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิด
คุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพร 3 ด้าน คือ รู้รักษา พัฒนาต่อยอด สืบทอดวิถี จนเกิดเป็นลักษณะ
นิสัย โดยกำหนดให้นักเรียนเริ่มดำเนินการต่อยอดภายใน 2 สัปดาห์ หลังจากผ่านกิจกรรมค่าย
รายละเอียดดังนี้

1) นกั เรียน (เดยี่ วหรือกลุม่ ) พจิ ารณาเลือกกจิ กรรมทไี่ ด้เรยี นรู้จากค่าย “เยาวชน
...รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี”
จำนวน 1 กิจกรรมขึ้นไป โดยพิจารณาความเหมาะสมในการต่อยอดให้สอดคล้องกับบริบท
ของโรงเรยี นและพื้นท่ี

2) นักเรียนสร้างสรรค์และนำเสนอกิจกรรมการเรียนรู้ แนวทางการดำเนินงาน
ผลที่คาดว่าจะได้รับ การติดตาม วัดและประเมินผลงาน รวมถึงการรายงานผลต่อครูวิทยากรและ
ภาคีเครือข่ายในที่รับผิดชอบในพื้นที่ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเติมเต็มการทำงานของนักเรียน
รวมถงึ กำหนดแผนการเยี่ยมเสรมิ พลงั ของภาคีเครือขา่ ย ณ โรงเรยี นในพ้นื ทที่ ร่ี บั ผิดชอบ

3) นักเรียนมีแผนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ประยุกต์กิจกรรมตามแผน
ให้สอดคลอ้ งกับอตั ลกั ษณ์ทอ้ งถิน่ และบรบิ ทโรงเรียน

4) นกั เรยี นดำเนินการตอ่ ยอดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างเปน็ รูปธรรม
5) ภาคีเครือข่ายในพื้นที่ร่วมเป็นพี่เลี้ยงให้แก่นักเรียนในการต่อยอดขยายผล
พร้อมส่งเสริมสนับสนุนองค์ความรู้และทรัพยากรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพี่อให้เกิดความยั่งยืนในการ
อนรุ ักษท์ รพั ยากรธรรมชาตแิ ละสงิ่ แวดล้อมในทอ้ งถิ่นตามเปา้ ประสงคโ์ ครงการ

223

ภาพแสดงรูปแบบความสัมพันธ์ของแนวทางการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพรเพื่อการ
อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงาน
คณะกรรมการการศกึ ษาข้ันพน้ื ฐาน: ตน้ รกั ษ์ (RAK)

การประเมินผลแนวทาง
การประเมินผลแนวทางการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษพ์ งไพรเพื่อการอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน ใช้แบบประเมินผล จำนวน 6 ชุด ได้แก่ ชุดที่ 1 แบบประเมินความพึงพอใจ
ต่อแนวทาง ชุดที่ 2 แบบประเมินความพึงพอใจต่อกิจกรรมค่ายของนักเรียน ชุดที่ 3 แบบประเมิน
ความสามารถจัดกิจกรรมตามแนวทางของครูวิทยากร ชุดที่ 4 แบบประเมินคุณลักษณะเยาวชน
รักษ์พงไพร ชุดที่ 5 แบบประเมินคุณภาพของแนวทางเชิงประจักษ์ และชุดที่ 6 แบบประเมิน
การขยายผลสู่ความยงั่ ยืน ซง่ึ เป็นการประเมินผลและคุณภาพตามเปา้ ประสงค์ของแนวทาง
โดยสรุป แนวทางการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพรเพื่อการอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน ถือเป็นการสร้างและแสวงหาความรู้ รวมถึงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันของภาคี
เครือข่าย เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรพั ยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยร่วมกันจัดการความรูใ้ ห้เป็น
ระบบ ประมวลและกลั่นกรองความรู้ เพื่อให้นักเรียนและผู้เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงความรู้ เกิดการ
แบ่งปันความรู้ และสามารถนำไปต่อยอดกิจกรรมได้ในโรงเรียนและชุมชน ผ่านกระบวนการหรือ
วธิ กี ารนำความรเู้ กย่ี วกบั การอนุรกั ษ์แหลง่ เรยี นรู้ทางธรรมชาตแิ ละส่ิงแวดลอ้ ม และกระบวนการหรือ

224

วิธีการที่ทำให้นักเรียนเกิดความสำนึกเคารพรักในสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ เพื่อให้
นักเรียนความสำนกึ รบั ผิดชอบในการอนรุ กั ษท์ รัพยากรธรรมชาตแิ ละสงิ่ แวดล้อม สามารถพง่ึ พาอาศัย
กันไดอ้ ย่างสมดลุ พร้อมท้ังใช้ทรพั ยากรธรรมชาตใิ ห้เกิดประโยชน์สูงสดุ และยง่ั ยนื

สำนกั พัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาข้นั พ้ืนฐาน

ภาคผนวก ข.
เครื่องมอื ท่ใี ชใ้ นการวจิ ยั

226

เครื่องมือ ฉบบั ท่ี 1
แบบสัมภาษณ์เชงิ ลึก

แนวคำถามที่ใช้สำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญในกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ
มรี ายละเอยี ดดังน้ี
1.1 ขอ้ มูลท่วั ไป

(1) ชอื่ -สกลุ
(2) ตำแหนง่
(3) ระดบั การศกึ ษา/วุฒิการศึกษา
(4) ประสบการณ์ในการทำงานเกยี่ วกบั การพัฒนาผู้เรยี นและการอนรุ ักษท์ รัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม
1.2 คุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพรเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของ
โรงเรียนระดบั ประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขนั้ พืน้ ฐาน ทม่ี ีความเหมาะสม
และสอดคลอ้ งกับความต้องการพัฒนาของบรบิ ทในปัจจบุ นั
(1) บริบทปัจจุบันของโลกและประเทศ
(2) ความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างคุณลักษณะ
(3) คุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพรท่ีเหมาะสมและสอดคล้อง
1.3 หลักการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพรเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อมของโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ทมี่ ีความครอบคลมุ และความเหมาะสม
(1) หลักการที่ควรนำมาพจิ ารณาในการเสริมสรา้ งคุณลกั ษณะเยาวชนรกั ษ์พงไพร
(2) องคป์ ระกอบของหลักการในมติ ทิ ี่ครอบคลุมการพฒั นา
(3) รายละเอยี ดของหลกั การและความสัมพันธใ์ นการเสริมสร้าง
1.4 องค์ประกอบของแนวทางการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพรเพื่อการอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ
การศกึ ษาข้นั พืน้ ฐาน ท่เี หมาะสม
(1) องค์ประกอบทส่ี อดคล้อง เหมาะสม ครบถ้วน ของแนวทาง
(2) รายละเอียดขององค์ประกอบ
(3) ความสมั พนั ธ์ขององคป์ ระกอบในการเสริมสรา้ ง

227

1.5 รปู แบบการประเมนิ ผลแนวทางการเสรมิ สร้างคณุ ลกั ษณะเยาวชนรักษ์พงไพรเพื่อการอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาตแิ ละสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ
การศกึ ษาข้นั พ้นื ฐาน ท่เี หมาะสม

(1) มิตใิ นการประผลแนวทางท่ีครอบคลมุ สะทอ้ นคณุ ภาพของแนวทาง
(2) เคร่อื งมอื ในการประเมินผลแนวทางทค่ี รอบคลมุ สอดคล้องกับการดำเนนิ งาน
(3) ผใู้ หข้ ้อมูลและชว่ งเวลาในการประเมินผลแนวทางทเ่ี หมาะสม

228

เคร่ืองมือ ฉบบั ท่ี 2
แบบประเมนิ ระยะที่ 1 การตรวจสอบเบอื้ งต้นและการปรบั ปรงุ แกไ้ ข

โดยวธิ ีการจัดสนทนากลมุ่ (Focus Group Discussion)

ประเดน็ ที่ใชใ้ นการจดั สนทนากล่มุ สำหรบั ผแู้ ทนภาคีเครือข่ายและผรู้ บั ผดิ ชอบโครงการ ดังน้ี

ประเด็น วัตถุประสงค์ ประเด็นคำถาม
ความถกู ต้อง
(Accuracy) เพ่ือตรวจสอบความ เนอื้ หาสาระและองค์ประกอบของแนวทาง มีความ

ความเป็นไปได้ ถกู ตอ้ งของเนอ้ื หา ชัดเจนและครอบคลมุ การเสริมสร้างคุณลักษณะ
(Feasibility)
สาระ เอกสาร เยาวชนรักษพ์ งไพร
ความสอดคลอ้ ง
(Congruency) ประกอบ และผลที่ เอกสาร/คมู่ อื ประกอบแนวทาง มีความชดั เจนและ

เกิดข้นึ ครอบคลมุ เนอ้ื หาเก่ียวกบั การเสริมสร้างคณุ ลักษณะ

เยาวชนรกั ษพ์ งไพร

ผลผลติ และผลลพั ธท์ ีเ่ กิดจากแนวทาง มีความ

สอดคลอ้ งกับวัตถปุ ระสงคข์ องแนวทาง

เพื่อตรวจสอบความ แนวทางสามารถนำไปประยุกต์ใช้ไดจ้ รงิ ในการพัฒนา

เปน็ ไปได้ในการ ผูเ้ รยี นเพือ่ การอนรุ กั ษท์ รัพยากรธรรมชาติและ

ประยุกต์ใชจ้ รงิ สิ่งแวดล้อม

ผเู้ รียนสามารถเกิดคณุ ลักษณะทพ่ี งึ ประสงคแ์ ละนำไป

ต่อยอดขยายผลได้อย่างสอดคล้องกับวัตถุประสงค์

แนวทางและบริบท

แนวทางมคี วามสอดคลอ้ งและมีความเหมาะสมกับ

ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 และผเู้ ก่ียวข้อง

เพือ่ ตรวจสอบความ แนวทางมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับการ

สอดคล้องของ เสรมิ สรา้ งคณุ ลักษณะเยาวชนรักษพ์ งไพร

แนวทาง กระบวนการ รูปแบบของกจิ กรรม และระยะเวลาของ

กระบวนการ และ กิจกรรม มีความสอดคลอ้ งกับการบรรลุวตั ถปุ ระสงค์

การประเมนิ ผล ของแนวทาง

การประเมินผลของแนวทางมคี วามสอดคลอ้ งกบั การ

บรรลวุ ตั ถุประสงค์ของแนวทาง

229

ประเด็น วัตถุประสงค์ ประเด็นคำถาม
ความเปน็ เพอ่ื ตรวจสอบ แนวทางช่วยให้ผ้เู รยี นมีศกั ยภาพในการเปน็ ผนู้ ำการ
ประโยชน์ ประโยชนข์ อง อนรุ กั ษท์ รพั ยากรธรรมชาติและสง่ิ แวดลอ้ ม
(Utility) แนวทางต่อการ แนวทางช่วยใหผ้ เู้ รียนใช้ศักยภาพการได้สอดคล้องกบั
พฒั นาผู้เรยี นและ ความตอ้ งการจำเป็นในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
การนำไปใชข้ อง และส่ิงแวดล้อมของท้องถนิ่
ผู้เก่ียวข้อง แนวทางช่วยใหผ้ ู้เรียนมีคณุ ลักษณะและผลงานที่
สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวนั ได้จรงิ
แนวทางช่วยใหค้ รูและผู้เกี่ยวขอ้ ง มีเครอ่ื งมอื ทีม่ ี
คณุ ภาพในการพฒั นาเยาวชนด้านการอนุรกั ษ์
ทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละสิ่งแวดลอ้ ม

ข้อเสนอแนะอน่ื ๆ
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................

230

เคร่อื งมอื ฉบบั ท่ี 3
แบบประเมนิ ระยะที่ 2 การตรวจสอบเพือ่ การยืนยันและการปรับปรงุ แกไ้ ข

.....................................................
แบบประเมินแนวทางการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพรเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากร
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาข้ันฐาน

แบบประเมินนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อใหผ้ ู้เชีย่ วชาญตรวจสอบเกี่ยวกับความสอดคล้องเหมาะสม
ในเชิงเนือ้ หาของแนวทางและเอกสารประกอบแนวทาง ในรายการประเมนิ ความถูกตอ้ ง (Accuracy)
ความเป็นไปได้ (Feasibility) ความสอดคล้อง (Congruency) และความเปน็ ประโยชน์ (Utility) เพ่ือ
การยนื ยันและการปรบั ปรงุ แก้ไขแนวทางใหม้ ีความสมบรู ณ์

ชอ่ื ผูป้ ระเมิน..........................................................................................................................................

คำช้ีแจง โปรดทำเคร่อื งหมาย √ ลงในช่องทตี่ รงกบั ความคิดเห็นของทา่ นมากทสี่ ดุ จำแนกเปน็ 5 ระดบั คอื
5 หมายถึง แนวทางมีผลด้านความถูกต้อง ความเป็นไปได้ ความสอดคล้อง และ

ความเปน็ ประโยชน์ ในระดบั มากทสี่ ุด
4 หมายถึง แนวทางมีผลด้านความถูกต้อง ความเป็นไปได้ ความสอดคล้อง และ

ความเปน็ ประโยชน์ ในระดบั มาก
3 หมายถึง แนวทางมีผลด้านความถูกต้อง ความเป็นไปได้ ความสอดคล้อง และ

ความเปน็ ประโยชน์ ในระดบั ปานกลาง
2 หมายถึง แนวทางมีผลด้านความถูกต้อง ความเป็นไปได้ ความสอดคล้อง และ

ความเป็นประโยชน์ ในระดบั น้อย
1 หมายถึง แนวทางมีผลด้านความถูกต้อง ความเป็นไปได้ ความสอดคล้อง และ

ความเปน็ ประโยชน์ ในระดบั นอ้ ยที่สดุ

231

รายการประเมนิ ความเหมาะสม ระดับการประเมิน 1
เหมาะสม ไม่เหมาะสม 5432
ด้านความถกู ตอ้ ง
1. เนอ้ื หาสาระและองค์ประกอบของ
แนวทาง มคี วามชดั เจนและครอบคลมุ
การเสรมิ สร้างคณุ ลกั ษณะเยาวชน
รกั ษ์พงไพร
2. เอกสาร/คู่มือประกอบแนวทาง มคี วาม
ชดั เจนและครอบคลมุ เนอ้ื หาเกี่ยวกบั การ
เสรมิ สรา้ งคณุ ลักษณะเยาวชนรกั ษพ์ งไพร
3. ผลผลติ และผลลพั ธท์ เี่ กิดจากแนวทาง
มีความสอดคลอ้ งกบั วตั ถปุ ระสงค์ของ
แนวทาง
ความเป็นไปได้
4. แนวทางสามารถนำไปประยกุ ตใ์ ช้ไดจ้ ริง
ในการพฒั นาผเู้ รียนเพื่อการอนรุ กั ษ์
ทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละสิ่งแวดลอ้ ม
5. ผ้เู รียนสามารถเกิดคุณลักษณะ
ทีพ่ ึงประสงค์และนำไปต่อยอดขยายผล
ไดอ้ ยา่ งสอดคลอ้ งกบั วัตถุประสงค์แนวทาง
และบริบท
6. แนวทางมีความสอดคลอ้ งและมีความ
เหมาะสมกับผู้เรยี นในศตวรรษที่ 21 และ
ผู้เกีย่ วขอ้ ง
ความสอดคล้อง
7. แนวทางมีความเหมาะสมและสอดคลอ้ ง
กับการเสรมิ สรา้ งคณุ ลกั ษณะเยาวชน
รกั ษพ์ งไพร
8. กระบวนการ รปู แบบของกจิ กรรม และ
ระยะเวลาของกจิ กรรม มคี วามสอดคลอ้ ง
กับการบรรลวุ ตั ถุประสงคข์ องแนวทาง

232

รายการประเมนิ ความเหมาะสม ระดับการประเมนิ

เหมาะสม ไม่เหมาะสม 5 4 3 2 1

9. การประเมินผลของแนวทางมคี วาม

สอดคลอ้ งกบั การบรรลุวตั ถุประสงค์

ของแนวทาง

ความเปน็ ประโยชน์

10. แนวทางช่วยใหผ้ ู้เรยี นมีศักยภาพในการ

เปน็ ผู้นำการอนรุ กั ษท์ รัพยากรธรรมชาติ

และสงิ่ แวดล้อม

11. แนวทางช่วยใหผ้ เู้ รียนใช้ศักยภาพได้

สอดคลอ้ งกับความต้องการจำเปน็ ในการ

อนรุ ักษท์ รพั ยากรธรรมชาตแิ ละสิง่ แวดล้อม

ของทอ้ งถน่ิ

12. แนวทางชว่ ยใหผ้ ู้เรียนมคี ุณลกั ษณะ

และผลงานทีส่ ามารถนำไปประยกุ ต์ใช้

ในชวี ิตประจำวนั ไดจ้ ริง

13. แนวทางช่วยใหค้ รแู ละผูเ้ ก่ยี วข้อง

มีเครือ่ งมอื ทมี่ ีคณุ ภาพในการพัฒนาเยาวชน

ดา้ นการอนุรักษท์ รพั ยากรธรรมชาตแิ ละ

ส่งิ แวดล้อม

ขอ้ เสนอแนะอื่น ๆ
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................

ขอแสดงความนับถือ
สำนักพัฒนานวตั กรรมการจัดการศึกษา
สำนกั งานคณะกรรมการการศกึ ษาข้ันพ้ืนฐาน

233

แบบประเมนิ ความพึงพอใจตอ่ การดำเนนิ งานตามแนวทางคณุ ลกั ษณะเยาวชนรักษ์พงไพร
เพือ่ การอนรุ กั ษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสงิ่ แวดลอ้ มของโรงเรยี นระดับประถมศกึ ษา
สังกดั สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขน้ั พ้นื ฐาน

ตอนที่ 1 ข้อมลู ของผ้กู รอกแบบสอบถาม
 ผูร้ บั ผดิ ชอบโครงการระดบั สำนกั งานเขตพื้นที่การศกึ ษา
 ครูวิทยากร
 วิทยากรภาคีเครือข่าย
 - วทิ ยากรประจำศูนย์การเรียนรู้
 - วิทยากรภาคีเครือข่ายในพื้นที่

ตอนที่ 2 คำชแ้ี จง
ขอให้ท่านแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความพึงพอใจต่อการดำเนินงานตามแนวทาง

คุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพรของผู้รับผิดชอบโครงการระดับสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษา
ครูวิทยากร และวิทยากรภาคีเครือข่าย (วิทยากรประจำศูนย์การเรียนรู้ และวิทยากรภาคีเครือข่าย
ในพ้นื ท)่ี

โดยทำเคร่ืองหมาย ตรงกบั ความเปน็ จริง
5 หมายถงึ มคี วามพงึ พอใจอยใู่ นระดบั มากทีส่ ุด
4 หมายถึง มีความพึงพอใจอยู่ในระดบั มาก
3 หมายถึง มีความพงึ พอใจอยู่ในระดับ ปานกลาง
2 หมายถงึ มคี วามพึงพอใจอย่ใู นระดับ นอ้ ย
1 หมายถึง มคี วามพึงพอใจอย่ใู นระดับ น้อยทีส่ ุด

ท่ี รายการ ระดับความพงึ พอใจ
54321
1. ดา้ นการบริหารจดั การและการเตรียมความพร้อม
1.1 เปา้ หมายและทศิ ทางปฏิบตั ิชัดเจน สามารถบรรลุได้งา่ ยขึ้น
1.2 แผนงานชดั เจน ภารกิจการพฒั นาสอดคลอ้ งเหมาะสม
1.3 บทบาทของภาคีเครอื ข่ายและผเู้ ก่ยี วข้องมีความเหมาะสม

และมสี ่วนรว่ มในทุกขัน้ ตอน
1.4 กำหนดการและระยะเวลาดำเนินงานมีความเหมาะสม


Click to View FlipBook Version