The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

วิจัยแนวทางการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพร

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

วิจัยแนวทางการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพร

วิจัยแนวทางการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพร

แนวทางการเสริมสรางคุณลกั ษณะเยาวชนรักษพ งไพร
เพอ่ื การอนุรกั ษทรัพยากรธรรมชาตแิ ละสิ่งแวดลอ ม

ของโรงเรียนระดบั ประถมศึกษา
สงั กดั สาํ นักงานคณะกรรมการการศึกษาขน้ั พ้นื ฐาน

สมพร สามทองกล่าํ

สาํ นกั งานคณะกรรมการการศกึ ษาข้นั พื้นฐาน

แนวทางการเสรมิ สร้างคุณลกั ษณะเยาวชนรกั ษ์พงไพรเพ่อื การอนุรักษ์
ทรพั ยากรธรรมชาติและสง่ิ แวดล้อมของโรงเรียนระดบั ประถมศกึ ษา

สงั กดั สำนกั งานคณะกรรมการการศกึ ษาขนั้ พ้นื ฐาน

สมพร สามทองกล่ำ

สำนกั งานคณะกรรมการการศึกษาขนั้ พื้นฐาน

ชอ่ื เรื่องวิจัย แนวทางการเสรมิ สรา้ งคุณลักษณะเยาวชนรกั ษ์พงไพรเพ่อื การอนุรักษ์
ทรพั ยากรธรรมชาติและสง่ิ แวดลอ้ มของโรงเรยี นระดบั ประถมศกึ ษา
สังกดั สำนกั งานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพืน้ ฐาน

ปีทว่ี ิจัย 2560 – 2562
ผู้วจิ ัย สมพร สามทองกล่ำ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพรเพื่อการอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ
การศกึ ษาข้ันพื้นฐาน 2) พัฒนาแนวทางการเสรมิ สร้างคณุ ลกั ษณะเยาวชนรกั ษ์พงไพรเพ่ือการอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 3) ศึกษาผลการใช้แนวทางการเสรมิ สร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษพ์ งไพร
เพื่อการอนรุ กั ษท์ รัพยากรธรรมชาติและสง่ิ แวดล้อมของโรงเรียนระดับประถมศกึ ษา สังกัดสำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยเป็นการวิจยั และพฒั นาแบบผสมผสาน แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน
ดังน้ี

1. การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน เพื่อให้ได้กรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีของ
แนวทางที่มีความเหมาะสม จากการศึกษาเอกสารและงานวจิ ัยที่เกี่ยวข้อง รวมถึงลงพืน้ ทีเ่ ยี่ยมค่าย
ถอดบทเรียนและศึกษาข้อมูลเชิงประจักษ์ตามสภาพจริง และสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มี
ความเชย่ี วชาญและประสบการณ์ทีเ่ กย่ี วขอ้ ง จำนวน 17 คน

2. การออกแบบและพัฒนา เพื่อยกร่างแนวทางการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชน
รักษ์พงไพรเพ่อื การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและส่งิ แวดล้อมของโรงเรียนระดบั ประถมศกึ ษา สงั กัด
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยตรวจสอบและปรับปรุงแนวทางด้วยวิธีการ
จัดสนทนากลุ่มจากผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 15 คน และตรวจสอบความสอดคล้องของแนวทางจาก
ผ้เู ชยี่ วชาญ จำนวน 5 คน

3. การทดลองภาคสนาม เพอ่ื ศกึ ษาผลการทดลองใช้แนวทาง เกีย่ วกับความพึงพอใจ
ต่อแนวทาง ความพึงพอใจต่อกิจกรรมค่ายของนักเรียน ความสามารถในการจัดกิจกรรมของครู
วิทยากรจากการใช้แนวทาง คุณลักษณะของนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมตามแนวทาง คุณภาพ
ของแนวทางเชิงประจักษ์ และการขยายผลสู่ความยั่งยืน โดยกำหนดกลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้เกี่ยวข้อง
ท่เี ข้าร่วมในเครอื ขา่ ยเชงิ พ้ืนท่ี (Rakpongprai Network: RN) ภาคตะวันออกเฉยี งเหนือ แบ่งเป็น

(2)

1) ผเู้ ก่ยี วขอ้ งที่ดำเนนิ การทดลองภาคสนาม ประกอบดว้ ย ผรู้ ับผดิ ชอบโครงการ
ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 5 คน ครูวิทยากร จำนวน 80 คน วิทยากรประจำ
ศนู ย์การเรียนรู้ จำนวน 20 คน และวิทยากรภาคีเครอื ขา่ ยในพ้นื ที่ จำนวน 30 คน รวมจำนวน 135 คน

2) นกั เรียนที่เข้าค่าย ณ ศนู ย์ศึกษาธรรมชาตแิ ละสัตว์ป่า (ศธส.) ห้วยก่มุ จงั หวัด
ชัยภมู ิ (4 ค่าย) จำนวน 240 คน และศูนยศ์ กึ ษาธรรมชาตแิ ละสัตวป์ ่า (ศธส.) ลำปาว จังหวดั กาฬสินธุ์
(2 คา่ ย) จำนวน 120 คน รวมจำนวน 360 คน

3) ผู้เกยี่ วข้องท่ีดำเนินการขยายผลสู่ความยั่งยืน โดยตอ่ ยอดหลังจากกิจกรรมค่าย
(6 ค่าย) สู่โรงเรียนในพื้นที่รับผิดชอบ ประกอบด้วย ครูวิทยากร จำนวน 30 คน วิทยากรประจำ
ศนู ย์การเรียนรู้ จำนวน 10 คน และวทิ ยากรภาคเี ครือข่ายในพ้นื ที่ จำนวน 20 คน รวมจำนวน 60 คน

4. การนำแนวทางไปใช้ เพื่อศึกษาผลการใช้แนวทาง เกี่ยวกับความพึงพอใจต่อแนวทาง
ความพงึ พอใจตอ่ กิจกรรมค่ายของนักเรยี น ความสามารถในการจัดกจิ กรรมของครูวิทยากรจากการใช้
แนวทาง คุณลักษณะของนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมตามแนวทาง คุณภาพของแนวทางเชิงประจักษ์
และการขยายผลสู่ความยั่งยืน โดยใช้กับกลุ่มเป้าหมายโครงการ ปงี บประมาณ พ.ศ. 2562 ประกอบด้วย
ผู้รับผิดชอบโครงการระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 28 คน ครูวิทยากร จำนวน 540 คน
วิทยากรประจำศูนย์การเรียนรู้ จำนวน 135 คน วิทยากรภาคีเครือข่ายในพื้นที่ จำนวน 180 คน
รวมจำนวน 883 คน และนักเรียน จำนวน 6,018 คน พรอ้ มทงั้ จัดทำขอ้ เสนอเชงิ นโยบาย

ผลการวจิ ัยพบว่า
1. คุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพร คือ การมีความเคารพรักในสถาบันชาติ ศาสนา

และพระมหากษัตริย์ พร้อมทั้งเห็นถึงคุณค่าทรัพยากรธรรมชาติ เกิดความรักความหวงแหน
มีจิตสำนึก ความรับผิดชอบ และร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนึกใน
พระมหากรุณาธิคณุ ด้านการอนุรกั ษท์ รัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อมและน้อมนำมาปรับใช้ รวมถึง
นำไปต่อยอดพัฒนาตามความต้องการและอัตลักษณ์ของพื้นที่ สอดคล้องกับบริบทท้องถ่ิน
ประกอบด้วย 3 ด้าน ได้แก่ รู้รักษา (ด้านความรู้) พัฒนาต่อยอด (ด้านทักษะ) และสืบทอดวิถี
(ดา้ นเจตคติ)

2. แนวทางการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษพ์ งไพรเพือ่ การอนุรักษ์ทรัพยากร
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
ข้ันพนื้ ฐาน ประกอบดว้ ย

1) หลักการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพรท่ีสำคัญ 3 ประการ คือ
RAK ได้แก่ ความตระหนักรู้สำนึกรักษ์ (Responsibility) กิจกรรมบนฐานรู้แจ้งทำจริง (Active
Learning) และการจัดการความรู้ส่เู ยาวชนรกั ษ์พงไพร (Knowledge Management)

(3)

2) องค์ประกอบการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพรมี 4 องค์ประกอบ
ไดแ้ ก่ เนือ้ หากจิ กรรมบูรณาการ 3 รกั ษ์ (รกั ษ์ชาติ รกั ษ์ศาสน์ รกั ษก์ ษตั รยิ ์) กระบวนการจดั การเรียนรู้
แบบ Active Learning การขับเคลื่อนงานด้วยภาคีเครือข่ายและพื้นที่เป็นฐาน และคู่มือการ
ดำเนินงานท่มี ีคณุ ภาพ

3) ขั้นตอนการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพร แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน
ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การสานสัมพันธ์เครือข่าย (Network Engagement) ขั้นตอนที่ 2 การจัดการ
เครอื ขา่ ยผู้เช่ียวชาญเชงิ พื้นที่ (Expertise Management) ข้นั ตอนท่ี 3 การจัดคา่ ยบูรณาการสหวชิ าการ
(Multidisciplinary Youth Camp) และขนั้ ตอนท่ี 4 การขยายผลสู่ความย่ังยืน (Sustainable Generalization)

4) เงื่อนไขการเสริมสร้างคณุ ลักษณะเยาวชนรกั ษ์พงไพร ได้แก่ การทำงานแบบ
ร่วมมือร่วมใจ (Collaborative Working Team) การพัฒนาเชิงพื้นที่ (Area-based Approach)
และการใช้แหลง่ เรยี นรทู้ างธรรมชาติเป็นฐานการเรยี นรู้ (Natural Learning Resources)

5) ปัจจัยสคู่ วามสำเร็จ ได้แก่ การมีวิสยั ทศั น์ร่วมกนั (Shared Vision) ทมี วิทยากร
มืออาชีพ (Expertise Team) และความพร้อมของแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติ (Natural Learning
Resources Readiness)

3. ผลการนำแนวทางไปใช้ พบว่า ผู้เกี่ยวข้องมีความพึงพอใจต่อแนวทางอยู่ในระดบั
มากที่สุด และนักเรียนที่ความพึงพอใจต่อกิจกรรมค่ายอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน ทั้งยังพบอีกว่า
ครูวิทยากรมีความสามารถจัดกิจกรรมตามแนวทางอยู่ในระดับมากที่สุด และนักเรียนมีคุณลักษณะ
เยาวชนรักษพ์ งไพรอยู่ในระดบั มากทีส่ ุด สำหรับการประเมินแนวทางเชิงประจักษ์ในด้านการบริหาร
จัดการและการเตรียมความพร้อม ด้านเนื้อหา ด้านกระบวนการ และด้านผลลัพธ์ พบว่า แนวทาง
มีคณุ ภาพ ซง่ึ มีการขยายผลส่คู วามยงั่ ยืนอยใู่ นระดบั มากท่ีสุด นอกจากนี้ ได้จัดทำขอ้ เสนอเชงิ นโยบาย
การเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพร ภายใต้หลักการ 3 ประการ คือ ความสอดคล้องกับ
บริบทพื้นที่และบริบททางสังคม การยึดถือประโยชน์ของนักเรียนเป็นสำคัญ และการขับเคลื่อน
ด้วยการจดั การศึกษาโดยบูรณาการความรว่ มมือระหว่างภาคีเครือขา่ ย ซึง่ ประกอบดว้ ย 5 ด้าน ได้แก่
ด้านนโยบาย ด้านโครงสร้าง ด้านการขบั เคล่ือน ด้านเครื่องมอื /กลไก และด้านหน่วยงานท่ีเกี่ยวขอ้ ง
โดยแบ่งออกเป็นข้อเสนอระยะเร่งด่วน ระยะกลาง และระยะยาว เพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์
ในวงกวา้ งตอ่ ไป

Tite: Guidelines Rakpongprai youth characteristics for conservation of natural
resources and environment of primary schools under the Office of the
Basic Education Commission

Authors: Somporn Samthongklam
Year of research: 2017 – 2019

Abstract

The research entitled that Guidelines Rakpongprai youth characteristics for
conservation of natural resources and environment of primary schools under the Office
of the Basic Education Commission aimed to 1) study Rakpongprai youth characteristics
for conservation of natural resources and environment of primary schools under the
Office of the Basic Education Commission 2) develop guidelines for enhancing the
Rakpongprai youth characteristics for the conservation of natural resources and the
environment of primary schools under the Office of the Basic Education Commission
3) study results of the use of the Rakpongprai youth characterization approach for
conservation of natural resources and environment of primary school under the Office
of the Basic Education Commission. This research are Research and Development that
mixed methodology divided into 4 steps as follows:

1. Study and analysis of fundamental data to get the theoretical framework
of the appropriate approach by related documents research, Into the field, lessons
learned, empirical studies based on actual conditions and In-depth interviews from 17
experts with expertise in their relevant fields.

2. Design and development to drawing the guidelines for enhancing the
features Rakpongprai youth characteristics for the conservation of natural resources
and the environment of primary schools under the Office of the Basic Education
Commission. Review and improve the guidelines through focus group discussion from
15 related person and check the consistency of the guidelines from 5 experts with
expertise in their relevant fields.

3. Field testing to study the results of the trial using the guidelines,
satisfaction with guidelines, satisfaction with student camp activities, assess the ability
of facilitator based on use of activities guidelines, characteristics of students

(5)

participating in activities according to the guidelines, quality of the empirical approach
and expanding results to sustainability. The target audience is the stakeholders
participating in the spatial network (Rakpongprai Network: RN) Northeast in Thailand
Including: 1) Those involved in the field trials are as follows: 5 persons responsible for
the project at the office of educational service area, 80 lecturer, 20 lecturers at the
learning center and 30 network partners’ lecturers in the area. Total of 135 people.
2) 240 students in the camp at Huay Kum Nature and Wildlife Education Center,
Chaiyaphum Province (4 camps) and 120 students in the camp at Lampao Nature and
Wildlife Education Center, Kalasin Province (2 camps). Total of 360 students. 3) Stakeholders
who work to expand sustainability after the camp activity (6 camps) to the schools in
the area of responsibility consisting of 30 lecturers, 10 lecturers at the learning center
and 20 network partners’ lecturers in the area. Total of 60 people.

4. Applying the guidelines to study the results of using the guideline on the
satisfaction of the guideline, satisfaction with student camp activities, assess the
abilities of lecturer for using the guidelines, student’s characteristics after participating
in camp activities, quality of the empirical of guidelines and expanding results to
sustainability. Target groups of the fiscal year 2019 projects consist of 28 person
responsible for the project at the office of educational service area, 540 lecturers, 135
lecturers at the learning center, 180 network partners’ lecturers in the area. Total of
883 people and 6,018 students. After that, summary of policy recommendations are
presented.

The research results are as follows:
1. The Rakpongprai youth characteristics are respect in the nation, religion
and monarchy, appreciating the natural resources, love and cherish, have a sense of
responsibility. And jointly conserve natural resources and the environment. Be aware
of the benevolence of the King to conservation of natural resources and the
environment and adopted and applied in life. Continue to develop to meet the needs
and identity of the area corresponding to the local context consists of 3 aspects which
are: 1) Knowledge 2) Skill and 3) Attitude.

(6)

2. Strengthening guidelines to Rakpongprai youth characteristics for conserve
resources Primary school nature and environment under the Office of the Basic
Education Commission include:

2.1 Principles for enhancing the characteristics of youth in Rakpongprai 3
important points are RAK: 1) Responsibility 2) Active Learning and 3) Knowledge
Management

2.2 There are 4 elements for enhancing the youth characteristics of
Rakpongprai: 1) Content of the integration of 3 conservation activities (Nation, Religion
and Monarchy) 2) Learning management process in Active Learning 3) Driving work of
the Area - Based and network partners and 4) Manual operation quality.

2.3 The process of enhancing the youth characteristics of Rakpongprai are
divided into 4 steps: 1) Network Engagement 2) Expertise Management 3) Multidisciplinary
Youth Camp and 4) Sustainable Generalization.

2.4 Conditions for enhancing the Rakpongprai youth characteristics are:
Collaborative Working Team, Area - based Approach and Natural Learning Resources.

2.5 Success factors include: Shared Vision, expertise team and natural
learning resources.

3. The results of applying the guideline were found that the stakeholders
were at the highest level of satisfaction with the guidelines, students with the highest
satisfaction with camp activities. In addition, the lecturer were capable of organizing
activities according to the guidelines at the highest level. And students had the highest
level of Rakpongprai youth characteristics. For evaluated the empirical guideline are
management and preparation of process content and the results showed that quality
guidelines which has been expanded to sustainability at the highest level. In addition
policy proposals for enhancing youth characteristics under the 3 principles: 1) Consistency
with context, space and social context 2) Maintaining the interests of students and
3) Driving education by integrating cooperation among network partners Which consists
of 5 aspects which are: a) Policy b) Structure c) Driving activity d) Instruments/Mechanisms
c) Related departments. The proposals are divided into 3 phases: Urgent, Medium term
and Long term for there are can applied to a wide range of benefits.

กติ ติกรรมประกาศ

การวิจัยแนวทางการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพรเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากร
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน ฉบับนี้สำเร็จลุล่วงลงได้ด้วยความอนุเคราะห์ยิ่งจากผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้เชี่ยวชาญทุกท่าน
ทใ่ี หค้ วามกรณุ าให้คำปรึกษาและขอ้ เสนอแนะในการวจิ ยั คร้งั น้ี

ผู้วิจัยขอขอบพระคุณ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้แทนภาคีเครือข่าย
ทัง้ 13 องคก์ ร รองเลขาธกิ ารคณะกรรมการการศึกษาข้ันพื้นฐาน ผอู้ ำนวยการสำนกั พัฒนานวัตกรรม
การจัดการศึกษา ผ้เู ชย่ี วชาญในการพัฒนากิจกรรมการเรยี นรู้และเสริมสรา้ งคุณลักษณะของนักเรียน
ทุกท่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้บริหารระดับนโยบายในการพัฒนาการจัดการศึกษาและการอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของทุกหน่วยงาน ที่ให้ความกรุณาให้คำปรึกษา ข้อเสนอแนะ
และอนุญาตให้อ้างอิงเอกสารในงานวิจัย ร่วมให้ข้อมูลในการ focus group พร้อมทั้งข้าราชการ
และเจา้ หนา้ ที่ของภาคเี ครอื ขา่ ยมูลนธิ ิสวนสมเดจ็ พระนางเจา้ สริ ิกติ ิ์ฯ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่า
ศูนย์เรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ตามแนวพระราชดำริ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษา ที่ร่วมให้ข้อมูลการวิจัย นักเรียนกลุ่มตัวอย่างการวิจัยทุกคนทุกค่ายในทุกภูมิภาค
ผรู้ ับผดิ ชอบโครงการค่าย “เยาวชน...รกั ษ์พงไพร เฉลมิ พระเกยี รติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสดุ าฯ
สยามบรมราชกุมารี” ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั้ง 33 เขต ที่ช่วยให้งานวิจัยฉบับนี้สำเร็จ
ตามวตั ถุประสงค์ท่ีกำหนดทุกประการ หวังเปน็ อย่างย่งิ ว่าการวจิ ัยแนวทางการเสริมสร้างคุณลักษณะ
เยาวชนรักษ์พงไพรเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ของโรงเรียนระดับ
ประถมศึกษา สงั กัดสำนกั งานคณะกรรมการการศึกษาขัน้ พน้ื ฐาน ฉบับน้ี จะเป็นประโยชน์แก่โรงเรียน
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นำไปใช้ในการพัฒนาเสริมสร้างคุณลักษณะของนักเรียนสู่การเป็นเยาวชน
รักษ์พงไพรที่เป็นนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตามภาระหน้าที่ของแต่ละบุคคล
แต่ละหนว่ ยงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และแพร่หลาย ใหเ้ กิดคณุ ค่าในการพฒั นาพลเมืองของประเทศ
อย่างมคี ณุ ภาพและเปน็ รูปธรรม

ท้ายสดุ น้ี ขอขอบคุณสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน โดยสำนกั พัฒนานวัตกรรม
การจัดการศึกษา กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน ที่ช่วยส่งเสริมสนับสนุน
จนสำเร็จลุล่วงเปน็ อย่างดีย่ิง

สารบญั

บทคัดยอ่ ภาษาไทย หน้า
กิตตกิ รรมประกาศ (1)
สารบญั (4)
สารบญั ตาราง (5)
สารบญั ภาพ (8)
บทท่ี 1 บทนำ (11)
1
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
คำถามวจิ ยั 1
วัตถปุ ระสงค์การวิจยั 7
ขอบเขตของการวจิ ยั 7
นิยามศัพท์เฉพาะ 7
ประโยชน์ทไ่ี ด้รบั 9
กรอบแนวคิดที่ใช้ในการวิจัย 11
บทท่ี 2 เอกสารและงานวิจัยทีเ่ ก่ยี วขอ้ ง 14
นโยบายทเี่ กีย่ วขอ้ งกับการอนุรกั ษ์ทรัพยากรธรรมชาตแิ ละส่งิ แวดลอ้ ม 15
แนวคดิ เก่ยี วกับการศกึ ษาเพ่ือพัฒนาคุณภาพผูเ้ รียนในศตวรรษท่ี 21 15
หลกั การเสริมสรา้ งคณุ ลักษณะเยาวชนรกั ษ์พงไพร 21
การวิจยั และพัฒนาแนวทางการเสรมิ สร้างคณุ ลักษณะเยาวชนรักษพ์ งไพร 30
งานวิจัยที่เกย่ี วข้อง 47
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวจิ ัย 50
ข้ันตอนท่ี 1 การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมลู พืน้ ฐาน เก่ียวกับคุณลักษณะเยาวชน 57
รักษ์พงไพรเพ่อื การอนรุ ักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และแนวทาง
การเสริมสรา้ งคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพรของโรงเรียนระดบั ประถมศึกษา 58
สงั กดั สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน

(6)

สารบัญ (ตอ่ )

ข้นั ตอนที่ 2 การพฒั นาแนวทางการเสรมิ สร้างคุณลกั ษณะเยาวชนรักษพ์ งไพร หนา้
เพื่อการอนรุ ักษ์ทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละสิง่ แวดล้อมของโรงเรียน
ระดับประถมศึกษา สงั กัดสำนกั งานคณะกรรมการการศึกษาขน้ั พ้นื ฐาน 63
ขน้ั ตอนที่ 3 การทดลองใช้แนวทางการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรกั ษ์พงไพร
เพื่อการอนุรักษ์ทรพั ยากรธรรมชาติและสง่ิ แวดลอ้ มของโรงเรยี น 73
ระดับประถมศึกษา สังกดั สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขัน้ พ้นื ฐาน
ขัน้ ตอนที่ 4 การนำแนวทางการเสริมสรา้ งคุณลักษณะเยาวชนรกั ษพ์ งไพร 79
เพ่ือการอนุรักษ์ทรพั ยากรธรรมชาติและสง่ิ แวดล้อมของโรงเรียน 82
ระดับประถมศึกษา สังกัดสำนกั งานคณะกรรมการการศึกษาขน้ั พนื้ ฐาน ไปใช้
บทที่ 4 การวิเคราะห์ขอ้ มูล 83
ตอนท่ี 1 ผลการศึกษาและวเิ คราะห์ข้อมลู พื้นฐาน เก่ียวกับคุณลักษณะเยาวชน
รักษ์พงไพรเพ่ือการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม และแนวทาง 99
การเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพรของโรงเรยี นระดบั ประถมศกึ ษา
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพืน้ ฐาน 125
ตอนท่ี 2 ผลการพฒั นาแนวทางการเสรมิ สรา้ งคณุ ลกั ษณะเยาวชนรกั ษ์พงไพร
เพ่อื การอนรุ ักษ์ทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละส่ิงแวดล้อมของโรงเรียน 152
ระดบั ประถมศึกษา สังกดั สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพืน้ ฐาน 175
ตอนท่ี 3 ผลการทดลองใช้แนวทางการเสริมสร้างคุณลกั ษณะเยาวชนรักษ์พงไพร 175
เพอื่ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและส่งิ แวดลอ้ มของโรงเรยี น 184
ระดบั ประถมศึกษา สังกัดสำนกั งานคณะกรรมการการศึกษาขน้ั พ้ืนฐาน 190
ตอนที่ 4 ผลการนำแนวทางการเสริมสร้างคุณลกั ษณะเยาวชนรักษ์พงไพร
เพอื่ การอนุรักษ์ทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละสง่ิ แวดล้อมของโรงเรยี น
ระดบั ประถมศึกษา สงั กดั สำนกั งานคณะกรรมการการศึกษาขัน้ พ้นื ฐาน ไปใช้
บทที่ 5 สรปุ อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
สรปุ ผลการวิจยั
อภปิ รายผลการวจิ ยั
ขอ้ เสนอแนะ

(7)

สารบัญ (ตอ่ )

บรรณานกุ รม หนา้
ภาคผนวก 193
202
ภาคผนวก ก. แนวทางเสรมิ สร้างคุณลกั ษณะเยาวชนรักษ์พงไพรเพ่ือการอนรุ ักษ์
ทรพั ยากรธรรมชาติและสงิ่ แวดล้อมของโรงเรยี นระดับประถมศึกษา 203
สงั กดั สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพนื้ ฐาน 225
ภาคผนวก ข. เครื่องมือท่ีใชใ้ นการวิจัย 245
ภาคผนวก ค. รายชือ่ ผู้เชี่ยวชาญในการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion)
ภาคผนวก ง. รายช่ือศูนย์การเรียนรู้และสำนักงานเขตพน้ื ที่การศกึ ษา 247
ประถมศกึ ษาที่รบั ผิดชอบ 250
ประวตั ผิ ู้วิจัย

(8)

สารบญั ตาราง

ตารางท่ี หนา้

3.1 แนวทางการออกแบบเครื่องมือประเมินผลการใช้แนวทางการเสรมิ สร้างคณุ ลักษณะ

เยาวชนรักษ์พงไพรเพ่ือการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียน

ระดับประถมศึกษา สงั กัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขน้ั พนื้ ฐาน 68

4.1 การสงั เคราะห์คุณลักษณะเยาวชนรักษพ์ งไพรเพ่ือการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาตแิ ละ

สง่ิ แวดลอ้ มของโรงเรียนระดับประถมศกึ ษา สังกดั สำนักงานคณะกรรมการการศกึ ษา

ขน้ั พนื้ ฐาน 84

4.2 การสังเคราะห์หลกั การเสริมสร้างคณุ ลักษณะเยาวชนรกั ษ์พงไพรเพ่ือการอนุรกั ษ์

ทรพั ยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อมของโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงาน

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 85

4.3 ร่างคณุ ลกั ษณะเยาวชนรกั ษ์พงไพร 92

4.4 รา่ งหลกั การเสรมิ สรา้ งคณุ ลกั ษณะเยาวชนรักษพ์ งไพร 93

4.5 องคป์ ระกอบของแนวทางการเสริมสรา้ งคณุ ลกั ษณะเยาวชนรักษ์พงไพร 94

4.6 รูปแบบการประเมนิ ผลแนวทางการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษพ์ งไพร 96

4.7 รายละเอียดผลการตรวจสอบเบือ้ งต้นและการปรบั ปรุงแก้ไขแนวทาง 102

4.8 เครือข่ายเชงิ พื้นที่ (Rakpongprai Network: RN) เพอ่ื การพฒั นา โครงการคา่ ย “เยาวชน

...รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกยี รติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรตั นราชสดุ าฯ สยามบรมราช

กมุ าร”ี สคู่ วามยั่งยืน 115

4.9 กรอบเนื้อหาแกนกลางการอบรมพัฒนาครูวิทยากรของเครือขา่ ยเชงิ พ้นื ที่ฯ 117

4.10 โครงสรา้ งหลกั สตู รกจิ กรรมค่าย “เยาวชน...รักษพ์ งไพร เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา

สมเดจ็ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” 120

4.11 กรอบกจิ กรรมค่าย “เยาวชน...รกั ษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเดจ็ พระเทพ

รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” 121

4.12 ข้อมลู จำนวนและร้อยละของผู้ตอบแบบประเมินความพึงพอใจต่อแนวทาง 131

4.13 คา่ เฉลีย่ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และระดบั ความพึงพอใจต่อแนวทางของผ้รู บั ผิดชอบ

โครงการระดบั สำนักงานเขตพนื้ ท่กี ารศกึ ษา ครูวิทยากร และวิทยากรภาคเี ครอื ข่าย

ในภาพรวม 132

(9)

สารบัญตาราง (ต่อ)

ตารางท่ี หนา้

4.14 ค่าเฉลยี่ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และระดบั ความพึงพอใจต่อแนวทางของผู้รบั ผดิ ชอบ

โครงการระดับสำนักงานเขตพ้นื ทีก่ ารศกึ ษา ครวู ทิ ยากร และวิทยากรภาคเี ครอื ข่าย

ในดา้ นการบรหิ ารจดั การและการเตรียมความพร้อม 133

4.15 คา่ เฉลี่ย สว่ นเบยี่ งเบนมาตรฐาน และระดบั ความพงึ พอใจต่อแนวทางของผรู้ ับผิดชอบ

โครงการระดับสำนักงานเขตพ้ืนท่ีการศกึ ษา ครูวิทยากร และวิทยากรภาคเี ครือขา่ ย

ในด้านเนอ้ื หา 134

4.16 คา่ เฉลย่ี สว่ นเบี่ยงเบนมาตรฐาน และระดับความพงึ พอใจต่อแนวทางของผู้รับผิดชอบ

โครงการระดับสำนักงานเขตพ้ืนที่การศึกษา ครวู ิทยากร และวทิ ยากรภาคีเครือข่าย

ในด้านกระบวนการ 135

4.17 ค่าเฉลย่ี ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และระดบั ความพงึ พอใจต่อแนวทางของผู้รบั ผดิ ชอบ

โครงการระดับสำนักงานเขตพ้ืนท่กี ารศกึ ษา ครวู ทิ ยากร และวิทยากรภาคเี ครอื ข่าย

ในดา้ นผลลพั ธ์ 136

4.18 ขอ้ มูลสถานภาพทัว่ ไปของนักเรยี นผู้ตอบแบบประเมิน 137

4.19 คา่ เฉลี่ย สว่ นเบี่ยงเบนมาตรฐาน และระดับความพงึ พอใจต่อกิจกรรมคา่ ยของนักเรียน 138

4.20 ข้อมลู สถานภาพท่วั ไปของครูวทิ ยากรผตู้ อบแบบประเมิน 139

4.21 คา่ เฉลย่ี ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และระดับความสามารถจัดกจิ กรรมตามแนวทาง

ของครวู ทิ ยากร ในภาพรวม 140

4.22 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และระดับความสามารถจัดกจิ กรรมตามแนวทาง

ของครวู ิทยากร ในดา้ นความรู้ความเข้าใจ 140

4.23 ค่าเฉลย่ี สว่ นเบี่ยงเบนมาตรฐาน และระดบั ความสามารถจัดกจิ กรรมตามแนวทาง

ของครวู ิทยากร ในดา้ นทกั ษะการจดั กิจกรรม 141

4.24 คา่ เฉลี่ย ส่วนเบย่ี งเบนมาตรฐาน และระดับความสามารถจัดกิจกรรมตามแนวทาง

ของครวู ิทยากร ในด้านการนำไปประยุกต์ใช้ในโรงเรยี น 142

4.25 ขอ้ มลู จำนวนและร้อยละของผู้ตอบแบบประเมนิ คุณลกั ษณะเยาวชนรกั ษ์พงไพร 143

4.26 ค่าเฉลยี่ ส่วนเบ่ียงเบนมาตรฐาน และระดับคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพร ในดา้ นความรู้

ทักษะ และเจตคติ 143

4.27 ข้อมูลจำนวนและร้อยละของผู้ตอบแบบประเมินการขยายผลสู่ความยั่งยนื 150

(10)

สารบัญตาราง (ต่อ)

ตารางที่ หนา้

4.28 คา่ เฉลีย่ ส่วนเบ่ยี งเบนมาตรฐาน และระดบั การขยายผลส่คู วามยง่ั ยนื 150

4.29 ขอ้ มูลจำนวนและรอ้ ยละของผู้ตอบแบบประเมินความพึงพอใจต่อแนวทาง 152

4.30 ค่าเฉลย่ี ส่วนเบ่ยี งเบนมาตรฐาน และระดบั ความพึงพอใจต่อแนวทางของผ้รู ับผดิ ชอบ

โครงการระดับสำนักงานเขตพ้ืนท่กี ารศึกษา ครวู ทิ ยากร และวทิ ยากรภาคีเครอื ขา่ ย

ในภาพรวม 153

4.31 ข้อมลู สถานภาพท่ัวไปของนักเรียนผตู้ อบแบบประเมนิ 154

4.32 คา่ เฉลี่ย สว่ นเบี่ยงเบนมาตรฐาน และระดบั ความพึงพอใจต่อกจิ กรรมค่ายของนักเรียน 154

4.33 ข้อมลู สถานภาพทว่ั ไปของครวู ิทยากรผ้ตู อบแบบประเมิน 156

4.34 ค่าเฉลย่ี ส่วนเบีย่ งเบนมาตรฐาน และระดับความสามารถจัดกิจกรรมตามแนวทาง

ของครูวทิ ยากร ในภาพรวม 157

4.35 ขอ้ มลู จำนวนและรอ้ ยละของผู้ตอบแบบประเมินคุณลักษณะเยาวชนรกั ษ์พงไพร 157

4.36 คา่ เฉลย่ี สว่ นเบย่ี งเบนมาตรฐาน และระดบั คณุ ลกั ษณะเยาวชนรักษ์พงไพร ในด้านความรู้

ทักษะ และเจตคติ 158

4.37 ขอ้ มูลจำนวนและร้อยละของผู้ตอบแบบประเมินการขยายผลสู่ความยัง่ ยืน 164

4.38 คา่ เฉลี่ย สว่ นเบย่ี งเบนมาตรฐาน และระดบั การขยายผลสคู่ วามยั่งยืน 165

(11)

สารบญั ภาพ

ภาพที่ หนา้

1.1 กรอบแนวคิดที่ใช้ในการวิจัย 14
2.1 ความสัมพนั ธข์ องการเรยี นรู้ 4 แบบ ตามส่ีเสาหลักของการศึกษา 22
2.2 ทกั ษะสำคัญจำเป็นในโลกศตวรรษท่ี 21 23
2.3 Dale’s Cone of Learning 36
2.4 Revised Bloom’s Taxonomy 39
3.1 ขัน้ ตอนการดำเนนิ การวิจัย 81
4.1 การลงพ้ืนท่ีเย่ียมค่ายเพ่ือศึกษาคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพร 87
4.2 การลงพ้ืนท่ีเยย่ี มคา่ ยเพื่อศึกษาหลักการเสรมิ สร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพร 88
4.3 การลงพืน้ ท่ีเยี่ยมค่ายเพื่อศึกษาองค์ประกอบของแนวทางการเสริมสรา้ งคุณลกั ษณะ
90
เยาวชนรกั ษพ์ งไพร
4.4 การลงพนื้ ท่ีเยี่ยมค่ายเพ่ือศึกษารปู แบบการประเมนิ ผลแนวทางการเสรมิ สร้างคณุ ลักษณะ 91

เยาวชนรกั ษ์พงไพร 98
4.5 กรอบแนวคิดเชงิ ทฤษฎขี องการเสริมสรา้ งคณุ ลักษณะเยาวชนรักษพ์ งไพรเพื่อการอนุรกั ษ์
100
ทรัพยากรธรรมชาติและสงิ่ แวดลอ้ มของโรงเรียนระดบั ประถมศึกษา สังกัดสำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขน้ั พื้นฐาน 113
4.6 กรอบแนวคิดเชงิ ระบบของแนวทางการเสรมิ สรา้ งคณุ ลกั ษณะเยาวชนรกั ษ์พงไพร 120
เพ่อื การอนรุ ักษ์ทรพั ยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อมของโรงเรียนระดับประถมศึกษา
สังกัดสำนกั งานคณะกรรมการการศกึ ษาขนั้ พื้นฐาน 125
4.7 กรอบแนวคิดเชิงระบบของแนวทางการเสริมสร้างคุณลกั ษณะเยาวชนรกั ษ์พงไพร 127
เพอื่ การอนรุ ักษ์ทรพั ยากรธรรมชาติและสง่ิ แวดล้อมของโรงเรียนระดบั ประถมศึกษา 128
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพ้นื ฐาน
4.8 รปู แบบความสมั พนั ธ์ของเยาวชนรกั ษพ์ งไพรและกจิ กรรมบรู ณาการ 3 รกั ษ์
4.9 ต้นรักษ์ (RAK) : รปู แบบความสัมพันธข์ องแนวทางการเสริมสร้างคณุ ลกั ษณะเยาวชน
รักษ์พงไพรเพื่อการอนรุ ักษท์ รัพยากรธรรมชาตแิ ละส่งิ แวดล้อมของโรงเรยี นระดับ
ประถมศกึ ษา สงั กัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาข้นั พ้ืนฐาน
4.10 การทดลองแนวทางในขั้นตอนการสานสัมพันธ์เครือข่าย
4.11 การทดลองแนวทางในข้ันตอนการจดั การเครือขา่ ยผูเ้ ช่ียวชาญเชิงพืน้ ท่ี

(12)

สารบัญภาพ (ตอ่ )

ภาพที่ หนา้

4.12 การทดลองแนวทางในขน้ั ตอนการจดั ค่ายบูรณาการสหวิชาการ 129
4.13 การทดลองแนวทางในข้ันตอนการขยายผลสูค่ วามย่ังยืน (Sustainable Generalization) 131
4.14 การลงพืน้ ท่ีประเมนิ คณุ ภาพของแนวทางเชิงประจักษ์ ด้านการบรหิ ารจดั การ
146
และการเตรยี มความพรอ้ ม 147
4.15 การลงพื้นท่ีประเมินคุณภาพของแนวทางเชงิ ประจกั ษ์ ดา้ นเน้ือหา 148
4.16 การลงพน้ื ที่ประเมินคณุ ภาพของแนวทางเชงิ ประจกั ษ์ ด้านกระบวนการ 149
4.17 การลงพ้นื ที่ประเมนิ คุณภาพของแนวทางเชงิ ประจักษ์ ด้านผลลัพธ์
4.18 การลงพื้นที่ประเมนิ คุณภาพของแนวทางเชิงประจักษ์ ดา้ นการบรหิ ารจัดการ 160
161
และการเตรียมความพร้อม 162
4.19 การลงพน้ื ที่ประเมินคุณภาพของแนวทางเชิงประจกั ษ์ ดา้ นเนอ้ื หา 164
4.20 การลงพืน้ ที่ประเมนิ คุณภาพของแนวทางเชิงประจักษ์ ด้านกระบวนการ
4.21 การลงพื้นท่ีประเมินคุณภาพของแนวทางเชงิ ประจกั ษ์ ด้านผลลพั ธ์ 167
4.22 เยาวชนรกั ษพ์ งไพรเฝ้าทูลละอองพระบาท สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า

กรมสมเด็จพระเทพรตั นราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมทัง้ ถวายรายงาน
ผลการดำเนินงานโครงการ

บทที่ 1

บทนำ

ความเป็นมาและความสำคญั ของปญั หา
“The Future We Want” คือชื่ออันทรงพลังของรายงานผลการประชุมสหประชาชาติ

เม่อื ปี พ.ศ. 2555 วา่ ด้วยการพฒั นาทีย่ ั่งยนื (United Nations Conference on Sustainable Development)
หรอื Rio+20 ท่ีสะทอ้ นให้เห็นวา่ โลกของเรา ณ ปัจจุบัน อาจไมส่ วยงามหรอื ไม่เปน็ โลกท่พี งึ ปรารถนา
อีกตอ่ ไป หากปล่อยใหโ้ ลกหมนุ ไปในรูปแบบเดมิ ๆ ดังนน้ั อะไรคือภาพในอนาคตท่เี ราท้งั โลกต้องการ
เราทง้ั มวลควรปฏิบัตติ นและเปล่ยี นแปลงให้ดีข้ึนได้อย่างไร จึงกลายเป็นคำถามสำคัญแห่งศตวรรษนี้
โดยเอกสารฉบับดังกล่าวยังได้แสดงถึงกรอบการดำเนินงานภายใต้ข้อเสนอเป้าหมายการพัฒนา
ที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) สำหรับวาระการพัฒนาหลังปี ค.ศ. 2015
ประกอบด้วย 17 เป้าหมาย ซึ่งมีเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอยู่ถงึ
9 เป้าหมาย โดยพยายามครอบคลุมการแก้ปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติของโลกท่ีร่อยหรอ
จากภาวะสังคมที่มีการแก่งแย่งทรัพยากรเพื่อตนเอง เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างขาดหลักการ ขาด
ความระมัดระวัง ส่งผลต่อทรัพยากรธรรมชาติ พืชพันธุ์ สัตว์และสิ่งมีชีวิต รวมถึงระบบนิเวศและ
สิ่งแวดล้อมท่ีมีแนวโน้มขาดแคลน เสียหาย และอาจสูญพันธ์ุได้ในอนาคต ซึ่งเป็นสาเหตุหลกั ของการ
เสียสมดุลทางธรรมชาติของโลก (คณะอนุกรรมการสถิติสาขาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
2557) โดยเมื่อพิจารณาจากรายงานความเสี่ยงโลกปี ค.ศ. 2017 (Global Risk Report 2017) ได้ช้ี
ประเด็นปัญหาสำคัญ คอื การเผชญิ กบั สภาวะอากาศแบบสุดขว้ั (Extreme Weather) ความลม้ เหลว
ในการจัดการสภาพภูมิอากาศ (Climate Action Failure) ภัยพิบัติทางธรรมชาติ (Natural Disasters)
การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity Loss) และภัยพิบัติทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดจาก
ฝีมือมนุษย์ (Human-Made Environmental Disasters) ซึ่งถือเป็นสภาวการณ์ปัจจุบันท่ีต้องเผชิญ
กับปัญหาทางสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง ทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อมวลมนุษยชาติ เช่น อุณหภูมิของ
โลกที่ร้อนขึ้น ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ภัยแล้ง มหาอุทกภัย มลพิษทางน้ำ ดิน และอากาศ รวมถึง
การขาดแคลนอาหาร เป็นต้น ซึ่งลว้ นแต่เป็นปญั หาทเ่ี กดิ จากมนุษย์ไดท้ ำลายทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อมทั้งสิ้น และจากการตระหนักรู้ถึงปัญหาดังกล่าวจึงส่งผลให้ทั่วโลกกลับมาใส่ใจด้าน
ทรัพยากรธรรมชาติและสง่ิ แวดล้อมมากขึน้ เพ่อื การดำรงชีวิตและการบริโภคทยี่ ัง่ ยนื (Jensen. 2017)

สอดคล้องกับการดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่องขององค์การสหประชาชาติ ที่ตระหนักถึง
ปญั หาและการแกไ้ ขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมดงั กลา่ ว จะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกประเทศทั่วโลก
จึงเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญในศตวรรษที่ 21 ที่จัดให้มีวาระการพิจารณากำหนดกรอบงานเกี่ยวกับการ

2

อนรุ ักษ์ทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละสิง่ แวดล้อม เพื่อกระตุน้ ให้รฐั บาลของประเทศต่าง ๆ หนั มาสนใจและ
ให้ความสำคัญ โดยเห็นพ้องต้องกันว่าการศึกษาเป็นเคร่ืองมือและกลไกหนึ่งที่ดีที่สุด ต่อการแก้ไข
ปัญหาและมีบทบาทในการขับเคลือ่ นสังคมไปสู่การพฒั นาท่ียั่งยืนได้ ซง่ึ ในการประชุมสหประชาชาติ
ทน่ี ครนวิ ยอรก์ เมื่อเดือนธนั วาคม พ.ศ. 2545 มีมติประกาศให้ปี พ.ศ. 2548 - 2557 เปน็ “ทศวรรษ
แหง่ การศกึ ษาเพ่อื การพฒั นาอยา่ งย่งั ยืน” (United Nations Decade of Education for Sustainable
Development – DESD) โดยมอี งคก์ ารเพ่ือการศกึ ษา วิทยาศาสตรแ์ ละวฒั นธรรมแหง่ สหประชาชาติ
(UNESCO) เป็นแกนนำในการพัฒนาและขับเคลอ่ื น (UNDESA and UNDP. 2012) ซง่ึ การศึกษาเพื่อ
การพัฒนาอย่างยั่งยืนดังกล่าว มีพื้นฐานมาจากความต้องการที่จะให้มวลมนุษยชาติมีโอกาสได้รับ
การศึกษาและไดเ้ รยี นรู้คา่ นิยม มพี ฤติกรรม และรูปแบบของชีวิตที่ตนพึงพอใจ เพือ่ อนาคตท่ีย่ังยืนและ
สร้างสังคมที่ดีงาม รวมถึงการจัดทำปฏิญญาอาห์เมดาบัด ณ กรุงอาห์เมดาบัด ประเทศอินเดีย
เมื่อปี พ.ศ. 2550 ซึ่งมีเนื้อหาสาระที่มุ่งเน้นการบูรณาการการพัฒนาที่ยั่งยืนสู่ระบบการศึกษา
ทุกระดับ เพื่อส่งเสริมการศึกษาในฐานะที่เป็นกลไกหลักของการเปลี่ยนแปลง บนพื้นฐานความเชื่อ
ทวี่ า่ การศกึ ษาเปน็ แบบแผนการดำรงชีวติ ของมนษุ ย์ที่สามารถเก้ือหนนุ ตอ่ การดำรงอยู่ของระบบนิเวศ
และการดำรงชีวิตที่ยั่งยืน พร้อมทั้งเน้นย้ำความสำคัญของแผนปฏิบัติการ 21 (Agenda 21) และ
ได้ประกาศแผนปฏิบัติการ Rio+10 โดยนับระยะเวลาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 – 2557 ให้เป็นทศวรรษ
แห่งการเรียนรู้สิ่งแวดล้อม (Decade of Environmental Learning) ทั้งการศึกษาในระบบและ
การศึกษานอกระบบ ตลอดจนการศึกษาตามอัธยาศัย ซึ่งถือเป็นรากฐานของการให้ความสำคัญกับ
การศกึ ษาต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม มาจนถึงปจั จุบนั (Taylor, et al. 2009)

สำหรับประเทศไทยในปัจจุบันต้องเผชิญกับสถานการณ์ทรัพยากรธรรมชาติและคุณภาพ
สิ่งแวดล้อมของประเทศกำลังเสื่อมโทรม กลายเป็นจุดอ่อนในการรักษาพ้ืนฐานของการผลิต บริการ
และการใช้ชีวิตอย่างยั่งยืน ซึ่งมีการใช้ตน้ ตอจากทรัพยากรธรรมชาติจำนวนมากเพือ่ การพัฒนา ส่งผลให้
เกิดการกร่อนสลายอย่างต่อเนือ่ ง ป่าได้หมดลง และความหลากหลายทางชีวภาพถูกคุกคาม รวมถึง
ความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำในอนาคต ซึ่งการจัดหาน้ำทีม่ ีอยู่ไม่สามารถตอบสนองความต้องการ
ของภาคส่วนต่าง ๆ ได้ อีกทั้งความขัดแย้งในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเกิดจากการจัดสรรของการ
เข้าถงึ และการใชป้ ระโยชนท์ ไ่ี ม่เปน็ ธรรม ยงิ่ ไปกวา่ นน้ั ปัญหาสิง่ แวดล้อมไดเ้ พม่ิ ขน้ึ พรอ้ มกบั การเติบโต
ทางเศรษฐกจิ และการทำใหก้ ลายเป็นเมือง โดยปัญหาท้ังหมดเหล่านสี้ ่งผลกระทบตอ่ คณุ ภาพชีวิตและ
เพิ่มความเสียหายทางเศรษฐกิจมากขึ้น ดังนั้น ภาครัฐจึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนา
ที่ยั่งยืนให้สอดรับกับอุบัติการณ์ที่เปลี่ยนแปลงของโลกและประเทศได้อย่างเหมาะสม โดยเมื่อ
พจิ ารณาจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบบั ท่ี 11 (พ.ศ. 2555 - 2559) ตอ่ เนื่องมาถึง
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560–2564) พบว่า ได้มีการกำหนด
ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อมอย่างยั่งยนื ท่ีมุ่งบริหารจัดการทรัพยากร

3

ธรรมชาติและสิง่ แวดล้อมให้เพียงพอตอ่ การรักษาสมดุลของระบบนิเวศบนพ้นื ฐานของการมีส่วนร่วม
ของชมุ ชนในการดูแล รกั ษาและใช้ประโยชน์ โดยใหค้ วามสำคัญกับการอนรุ ักษฟ์ ้นื ฟู และสร้างความ
มั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติ. 2560) ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580) ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพ
ชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีเป้าหมายการพัฒนาที่สำคัญเพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมาย
การพฒั นาทย่ี ่ังยืนในทุกมติ ิ ทง้ั มิตดิ ้านสังคม เศรษฐกจิ สิง่ แวดล้อม ธรรมาภิบาล และความเปน็ หุ้นส่วน
ความร่วมมือกันอย่างบูรณาการ ใชพ้ นื้ ทีเ่ ปน็ ตวั ตงั้ ในการกำหนดกลยทุ ธ์และแผนงาน รวมถงึ ให้ทุกฝ่าย
ที่เกี่ยวข้องได้เข้ามามีส่วนร่วมในแบบทางตรงให้มากที่สุด บนพื้นฐานการเติบโตร่วมกัน โดยให้
ความสำคญั กบั การสร้างสมดลุ ทง้ั 3 ด้าน ระหว่างเศรษฐกจิ ส่งิ แวดล้อม และคุณภาพชีวติ ซ่ึงจะนำไปสู่
ความยงั่ ยนื เพื่อคนร่นุ ต่อไปอย่างแท้จรงิ (ราชกจิ จานุเบกษา. 2561)

เมื่อพิจารณาการดำเนินงานของประเทศไทย ในมิติความสำคัญของการศึกษาต่อ
การอนรุ ักษท์ รพั ยากรธรรมชาตแิ ละสงิ่ แวดลอ้ ม ตามแนวทางของสหประชาชาตแิ ละเป้าหมายการพัฒนา
ที่ยั่งยืน จะเห็นได้ว่ามีพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
เป็นจุดเริ่มต้นสำคัญในการบริหารจดั การทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยได้ให้ความสำคัญ
กบั การจดั การศกึ ษาและกิจกรรมการเรยี นรู้เกย่ี วกับสง่ิ แวดลอ้ ม ซงึ่ ถือวา่ เป็นกระบวนการท่ีก่อให้เกิด
การพัฒนาด้านสติปัญญา เจตคติ ค่านิยม ทักษะ และพฤติกรรมในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อมได้เปน็ อย่างดี แต่จากสภาพจริงพบว่า ประชาชนเป็นจำนวนมากยังขาดความเข้าใจ
ในเรือ่ งความสัมพันธท์ ี่ใกล้ชิด ระหว่างกิจกรรมของมนษุ ยก์ บั ส่ิงแวดล้อม จึงมคี วามจำเปน็ ต้องเพิ่มพูน
ความรู้สึกและการเข้ามามีส่วนร่วม รวมถึงการพัฒนาการศึกษาที่จะช่วยให้ประชาชนเกิดความรู้
ความตระหนัก มีจริยธรรม มีค่านิยม ทัศนคติ ทักษะ และพฤติกรรมที่จะส่งเสริมการพัฒนา
อยา่ งย่งั ยืน (สำนักงานนโยบายและแผนส่งิ แวดล้อม. 2559) ดงั น้นั สำนักงานคณะกรรมการการศกึ ษา
ขั้นพื้นฐานจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการส่งเสริมคุณลักษณะดังกล่าว เนื่องจากเป็นภาคการศึกษา
ท่ีใหญ่ทส่ี ุดในระบบการศึกษาของประเทศ โดยคำนึงถงึ เด็กและเยาวชนในการพฒั นาทีย่ ัง่ ยนื (Children
and Youth in Sustainable Development) กล่าวคือ เยาวชนต้องแสดงความเห็นเพื่อกำหนด
อนาคตของตนเอง มีบทบาทที่เขม้ แข็งในการคุ้มครองสิง่ แวดล้อม และเข้ามามีสว่ นร่วมเพื่อตัดสินใจ
ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งการศึกษาต้องมุ่งเน้นกระบวนการให้เยาวชน
มีประสบการณ์ตรง มที กั ษะในการรว่ มคิด รว่ มทำ ร่วมกำหนดทางเลือกและตัดสินใจดำเนินการได้อย่าง
เหมาะสม มีส่วนรว่ มในการอนุรักษ์ ป้องกัน ติดตาม เฝ้าระวัง รวมถึงแกไ้ ขปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติ
และสิง่ แวดล้อม (สทุ ธพิ งศ์ นพิ ัทธนานนท์. 2556)

4

จะเห็นได้ว่าความสัมพันธ์ของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภายใต้
เป้าหมายการพฒั นาที่ยง่ั ยนื ให้ประสบผลสำเร็จ ปจั จัยสำคัญทส่ี ุด คอื คุณภาพของ “คน” หรอื ทุนมนษุ ย์
และขบั เคลื่อนการพฒั นาด้วยการจดั การศึกษาท่ีมีคุณภาพ ซึ่งสอดคลอ้ งกบั พระวสิ ัยทัศน์อนั กว้างไกล
ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงมี
พระราชกระแสในการหามาตรการหยุดยั้งการทำลายป่า ความว่า “...เจ้าหน้าที่ปา่ ไม้ควรจะปลูกตน้ ไม้
ลงในใจคนเสยี ก่อน แล้วคนเหลา่ น้นั ก็จะพากนั ปลกู ตน้ ไม้ลงบนแผ่นดนิ และรักษาต้นไมด้ ้วยตนเอง...”
รวมถึงพระราชดำรัส สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
ความว่า “...เราต้องเข้าใจให้ลึกซึ้งว่าทรัพยากรป่าไม้นั้นสำคัญต่อพวกเรามาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ป่าไมเ้ ปน็ แหล่งต้นน้ำลำธารท่ีให้ความชมุ่ ฉ่ำต่อแผน่ ดิน และปา่ ไม้ตอ้ งมสี ตั ว์เพอ่ื ช่วยในการขยายพันธุ์
และสร้างความสมดุลของธรรมชาติ ส่วนสตั ว์ปา่ นนั้ ก็ต้องมีแหล่งอาหารและท่ีอยอู่ าศัย จึงกล่าวได้ว่า
มนุษย์ ป่าไม้ และสตั ว์ปา่ มคี วามสัมพนั ธ์กันอย่างละเอียดลกึ ซง้ึ จนไมส่ ามารถจะขาดส่วนหนึ่งส่วนใดได้...”
(สำนักราชเลขาธกิ าร. 2535) สอดรับกบั แนวคิดด้ังเดิมของจุดม่งุ หมายสิ่งแวดลอ้ มศึกษาสำหรับบุคคล
และสังคม คือ 1) ความตระหนัก (Awareness) เกิดความตระหนักและไวต่อปัญหาสิ่งแวดล้อม
2) ความรู้ (Knowledge) มีประสบการณแ์ ละความเข้าใจพ้นื ฐานเกย่ี วกบั สภาพและปัญหาสิ่งแวดล้อม
3) เจตคติ (Attitude) มคี า่ นิยมและความรู้สึกในการจะรกั ษาคุณภาพส่งิ แวดล้อม และชักจูงให้เข้าไป
มีส่วนร่วมป้องกันและปรับปรุงสภาพแวดล้อม 4) ทักษะ (Skill) มีทักษะในการระบุปัญหาและ
ทางเลือกในการแก้ไขปัญหาส่งิ แวดล้อม และ 5) การให้ความร่วมมอื (Participation) เพือ่ ให้มีโอกาส
ร่วมกนั ในการแกไ้ ขปญั หาสิง่ แวดลอ้ ม (UNESCO. 1976)

สำนกั งานคณะกรรมการการศึกษาขน้ั พ้ืนฐาน โดยสำนักพฒั นานวัตกรรมการจัดการศึกษา
ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้วยการวิจัยและสร้างองค์ความรู้
เทคนิควิธีการและนวัตกรรมทางการศึกษาที่เกี่ยวข้อง ได้เล็งเห็นความสำคัญของการจัดการศึกษา
กับการอนุรกั ษ์ทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละสิ่งแวดลอ้ ม เพอื่ ตอบสนองทิศทางการพฒั นาประเทศได้อย่าง
มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล จึงได้มีการขับเคลื่อนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในมิติ
ด้านสิ่งแวดล้อมดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง โดยนำหลักการ แนวคิด ทฤษฎีในระดับสากลมาปรับใช้
ร ว มถึง ศึกษาพ ร ะ ร าชกร ณียกิจที่สำคัญ ด้าน การ อน ุร ักษ์ ทร ัพ ยากร ธ ร ร มชาติและ สิ่ง แว ด ล ้ อ ม
ของสถาบนั พระมหากษตั ริยท์ ุกพระองค์ พร้อมทงั้ นอ้ มนำมาเป็นแนวทางในการดำเนนิ งาน ซงึ่ หน่ึงใน
การขับเคลื่อนสำคัญ คือ การดำเนินงานโครงการค่ายเยาวชน...รักษ์พงไพร ที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ
พระราชทานชอ่ื โครงการว่า ค่าย “เยาวชน...รกั ษพ์ งไพร เฉลมิ พระเกยี รติ 60 พรรษา สมเดจ็ พระเทพ
รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” จากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพ
รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 ร่วมกับมูลนิธิสวนสมเดจ็
พระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ ซึ่งมี ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ (ประธานองคมนตรี) เป็นประธานฯ

5

พร้อมทั้งภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง มีกลุ่มเป้าหมายคือนักเรียนระดับ
ประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 (ช่วงชั้นที่ 2) โดยเรียนรู้ ณ แหล่งศึกษาธรรมชาติในภูมิภาคต่าง ๆ
(สำนักพฒั นานวตั กรรมการจดั การศกึ ษา. 2558)

ทงั้ นี้ ผลการดำเนนิ งานระหว่างปี พ.ศ. 2558 - 2560 พบว่า ความพึงพอใจของผู้เก่ียวข้อง
ต่อแนวทางการดำเนินงานร่วมกันอยู่ในระดับพอใช้ และผลการพัฒนานักเรียนในด้านการอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอ้ ม ก็ยังไมบ่ รรลุผลสำเรจ็ เทา่ ทค่ี วร กล่าวคอื นกั เรยี นไม่ได้แสดงออก
ถึงการเปน็ นักอนรุ กั ษ์ หรอื มีพฤติกรรมท่ีดีตอ่ การรกั ษาสง่ิ แวดลอ้ มอย่างชัดเจน รวมถึงไมม่ ีความยง่ั ยืน
ของการพัฒนา เพราะจะเน้นหนักเพียงการจัดค่าย ไม่มีแนวทางที่ชัดเจนเกี่ยวกับการนำไปขยายผล
เมื่อพิจารณาในด้านเนื้อหาของกิจกรรมค่าย พบว่า กิจกรรมการเรียนรู้ของภาคีเครือข่ายส่วนใหญ่
เป็นแบบท่องจำ ไม่ได้กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ เนื่องจากวิทยากรขาดความเข้าใจ
ในการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ทั้งเป็นการแยกสอนรายกิจกรรมและรายหน่วยงาน
ทำให้เวลาในการเรียนรู้ไม่เพียงพอ นักเรียนรู้สึกเร่งและไม่สามารถเรียนรู้ได้ครบถ้วน ส่งผลต่อความ
เหนื่อยล้าและความรู้สึกทไ่ี มด่ ีต่อการเรยี นรู้ด้านสิ่งแวดลอ้ ม นอกจากนี้ แนวทางการดำเนินงานรว่ มกับ
ภาคีเครือข่ายยังไม่มีความชัดเจน ส่งผลต่อคุณภาพงานในด้านต่าง ๆ เช่น สถานที่จัดกิจกรรมและ
พักนอนไม่มีความพร้อมเท่าที่ควร สื่อและอุปกรณ์ไม่ครบถ้วน วิทยากรมาไม่ตรงเวลา หรือไม่มา
ในกิจกรรมที่รับผิดชอบ ผู้เกี่ยวข้องไม่ทราบบทบาทและมีส่วนร่วมน้อย เป็นต้น และที่สำคัญคือ
คุณภาพในการพัฒนาของแต่ละพืน้ ท่ีไม่เท่ากัน เนื่องจากการประสานงานในระดับส่วนกลางสู่ระดับ
พื้นที่มีความคลาดเคลื่อน และการประสานระหว่างหน่วยงานในระดับพื้นท่ีไม่มีประสิทธิภาพ
ขาดเชื่อมโยงกับบริบทของท้องถิ่น ไม่มีความตอ่ เน่ืองในการพัฒนา และไมม่ กี ลไกขยายผลสู่โรงเรียน
และชุมชน จากผลการดำเนินงานดังกล่าวยังแสดงให้เห็นว่า ภาคีเครือข่ายและผู้เกี่ยวข้องต้องการ
ยกระดับแนวทางและข้ันตอนการดำเนนิ งานใหช้ ดั เจน เปน็ ระบบ ถูกต้องตามหลักวชิ าการและมีความ
ทันสมัย มคี ณุ ลักษณะนกั เรียนที่เหมาะสม ภายใต้การบรู ณาการความร่วมมอื และกลไกการขับเคล่ือน
ขยายผล ที่สอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาได้อย่างยั่งยืน
(สำนักพฒั นานวตั กรรมการจัดการศึกษา. 2560)

จากผลการดำเนนิ งานโครงการดงั กลา่ ว เมื่อนำมาพจิ ารณาถงึ การยกระดับแนวทางการจัด
การศึกษาเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดลอ้ ม ร่วมกบั แผนพัฒนาการศกึ ษาแห่งชาติ
พ.ศ. 2566 - 2575 ที่มุ่งเน้นการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความเป็น
พลเมือง (Civic Education) มีทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 และส่งเสริมการ
อยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม รวมถึงการธำรงรักษาสถาบันหลักของชาติ พร้อมทั้งการให้
ความสำคัญต่อการศึกษาว่าเป็นกลไกที่สำคัญในการปลูกฝังค่านิยมแนวคิดเรื่องการอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติ รวมทัง้ เป็นรากฐานสำคญั ในการสรา้ งเจตคติและจิตสำนึกตอ่ สงิ่ แวดลอ้ มแก่นักเรียน

6

ให้มคี วามพรอ้ มทีจ่ ะเปน็ ผนู้ ำในการขยายผลสู่โรงเรียนและชุมชน (สำนักงานเลขาธิการสภาการศกึ ษา.
2560) รวมถึงพิจารณาร่วมกับหลักการสำคัญในการจดั การศกึ ษาด้านสิ่งแวดล้อมของสหประชาชาติ
คือ 1) พจิ ารณาส่งิ แวดล้อมทง้ั มวล (Totality) 2) เป็นกระบวนการตอ่ เนื่องตลอดชวี ิต 3) เป็นสหวิทยาการ
(Interdisciplinary) 4) ให้มองเห็นสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ระดับท้องถิ่น ภูมิภาค จนถึงระดับประเทศ 5) เน้น
สถานการณ์สิ่งแวดล้อมท่ีเป็นอยู่ โดยคำนึงถึงสภาพในอดีต 6) ส่งเสริมให้เห็นคุณค่าและความจำเป็น
ในการร่วมมือ 7) พิจารณาเรื่องของสิ่งแวดล้อมในการวางแผนการพัฒนาทุกมิติ 8) ทำให้นักเรียน
มีบทบาทในการวางแผนเรียนรู้ ให้โอกาสตัดสินใจและยอมรับในผลที่เกิดขึ้น 9) สร้างความสัมพันธ์
ด้านความรู้สึกต่อสิ่งแวดล้อม และความรู้ทักษะในการแก้ปัญหา 10) ช่วยให้นักเรียนรู้จักค้นคว้า
เรื่องราวและสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาสิ่งแวดล้อม 11) เน้นความซับซ้อนของปัญหาสิ่งแวดล้อม
ที่จะต้องพฒั นาความคดิ ในเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking) และทักษะในการแกป้ ญั หา และ 12) จัดกจิ กรรม
การเรียนรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้นักเรียนมีประสบการณ์ตรง
(UNESCO. 1978) ซึ่งทำให้เห็นถึงกรอบแนวทางการยกระดับการพัฒนาและเสริมสร้างนักเรียนให้มี
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงแนวทาง
ดำเนินงานอย่างเป็นรปู ธรรมมากขึ้น

จากประเด็นปัญหา ความสำคัญ ความจำเป็นและแนวคิดการพัฒนาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
เป็นการสร้างความเข้าใจในการดำเนินงานดังที่กล่าวมาแล้ว ซึ่งสามารถใช้เป็นข้อมูลเพื่อเสรมิ สร้าง
คุณลกั ษณะของนักเรียน และสนับสนนุ ให้เกดิ กจิ กรรมการเรียนรู้ด้านสง่ิ แวดลอ้ มบนฐานความร่วมมือ
ที่มีคุณภาพเพิ่มขึ้น พร้อมด้วยเจตนารมณ์ที่มุ่งให้เยาวชนมีศักยภาพในการเป็นกำลังสำคัญ
ของประเทศอย่างแท้จริง ดังนั้น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสำนักพัฒนา
นวัตกรรมการจัดการศึกษา จึงศึกษาวิจัยแนวทางการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพร
เพ่อื การอนรุ ักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อมของโรงเรียนระดบั ประถมศึกษา สังกัดสำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้วยเป้าประสงค์ในการสร้างสรรค์มติ ิใหม่ของการจัดการศึกษา
ด้านสิ่งแวดล้อมที่เป็นระบบ มีคุณภาพ และเป็นรูปธรรมในการปลูกฝังและพัฒนาเยาวชนและ
ทุนมนุษย์ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มุ่งเน้นความเข้มแข็ง
ตามบริบทของท้องถิ่น ด้วยเครือข่ายความร่วมมือที่เข้มแข็งและสามารถประยุกต์ใช้ได้ในทุกระดับ
ทัง้ หน่วยงานระดับส่วนกลาง ระดบั เขตพน้ื ทีก่ ารศกึ ษา ระดบั โรงเรยี นและชมุ ชน รวมถงึ หนว่ ยงานภาครัฐ
และเอกชนตา่ ง ๆ ทเ่ี กย่ี วข้อง เกิดผลผลิตเปน็ รปู ธรรมทนี่ ักเรียนสามารถนำไปปรบั ใช้ในชีวิตประจำวัน
ครูสามารถนำไปประยกุ ต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน สอดคล้องและเหมาะสมต่อการเป็นรากฐาน
สำคัญตามทศิ ทางการพัฒนาประเทศสู่ความย่ังยืน

7

คำถามวิจัย
1. คุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพรเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ของโรงเรียนระดบั ประถมศึกษา สังกัดสำนกั งานคณะกรรมการการศกึ ษาขนั้ พน้ื ฐาน เป็นอยา่ งไร
2. แนวทางการเสริมสรา้ งคุณลักษณะเยาวชนรกั ษพ์ งไพรเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

และสง่ิ แวดล้อมของโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน
เปน็ อยา่ งไร และมอี งคป์ ระกอบอะไรบ้าง

3. การนำแนวทางการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพรเพื่อการอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพนื้ ฐาน ไปใช้ มีผลเปน็ อย่างไร

วัตถปุ ระสงคก์ ารวิจัย
1. เพื่อศึกษาคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพรเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ

สง่ิ แวดล้อมของโรงเรยี นระดับประถมศกึ ษา สงั กัดสำนกั งานคณะกรรมการการศึกษาขน้ั พ้นื ฐาน
2. เพื่อพัฒนาแนวทางการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพรเพื่อการอนุรักษ์

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ
การศกึ ษาข้นั พน้ื ฐาน

3. เพื่อศึกษาผลการใช้แนวทางการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพรเพื่อการ
อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงาน
คณะกรรมการการศกึ ษาขั้นพ้นื ฐาน

ขอบเขตของการวิจยั
การวิจัยเรื่อง แนวทางการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพรเพื่อการอนุรักษ์

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ
การศกึ ษาข้ันพื้นฐาน ผู้วิจยั ไดก้ ำหนดขอบเขตของการวิจัยไว้ดงั น้ี

1. ขอบเขตด้านผูใ้ ห้ข้อมลู ในการวจิ ัย
ผู้ให้ข้อมูลในการศึกษาแนวทางการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพรเพื่อการ
อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงาน
คณะกรรมการการศกึ ษาขนั้ พน้ื ฐาน แบ่งตามขั้นตอนการดำเนินการวจิ ยั ดงั นี้

กลุ่มที่ 1 ตามขั้นตอนการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่
ผู้เชี่ยวชาญทีม่ ีประสบการณ์ท่ีเกี่ยวข้องกบั ประเด็นที่ทำการศึกษาอยา่ งลึกซึง้ หรือเป็นผู้บริหารและ

8

นักวิชาการที่มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับในด้านที่เกี่ยวข้อง จำนวน 17 คน โดยผู้วิจัยทำการ
คัดเลอื กผู้เช่ียวชาญแบบเจาะจง (Purposive Selection)

กลมุ่ ท่ี 2 ตามขั้นตอนการออกแบบและพัฒนา แบง่ เป็น
ระยะท่ี 1 การตรวจสอบเบื้องต้นและการปรับปรงุ แก้ไข โดยวธิ กี ารจัดสนทนากลุ่ม

(Focus Group Discussion) ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้แทนภาคีเครือข่าย ผู้รับผิดชอบโครงการค่าย
“เยาวชน...รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราช
กมุ าร”ี และคณะทำงานโครงการ จำนวน 1 กลมุ่ รวมจำนวน 15 คน

ระยะที่ 2 การตรวจสอบเพื่อการยืนยันและการปรับปรุงแก้ไข โดยตรวจสอบ
ความสอดคล้อง (Consistency) ในเชิงเนื้อหาของแนวทางและเอกสารประกอบแนวทาง ผู้ให้ข้อมูล
ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยและพัฒนา ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอ้ ม และ
ด้านการพฒั นากิจกรรมการเรยี นรู้ รวมจำนวน 5 คน

กลุ่มที่ 3 ตามขั้นตอนการทดลองภาคสนาม ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้รับผิดชอบโครงการ
ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ครูวิทยากร วิทยากรภาคีเครือข่าย (วิทยากรประจำศูนย์การ
เรียนรู้และวิทยากรภาคีเครือข่ายในพื้นที่) และนักเรียน ที่เข้าร่วมในเครือข่ายเชิงพื้นท่ีฯ
(Rakpongprai Network: RN) ภาคตะวนั ออกเฉียงเหนอื แบง่ เป็น

1) ผู้รับผิดชอบโครงการระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 5 คน
ครูวิทยากร จำนวน 80 คน วทิ ยากรประจำศูนย์การเรียนรู้ จำนวน 20 คน และวทิ ยากรภาคีเครอื ขา่ ย
ในพน้ื ที่ จำนวน 30 คน รวมจำนวน 135 คน

2) นักเรียนท่เี ข้าค่าย ณ ศนู ย์ศึกษาธรรมชาติและสตั วป์ ่า (ศธส.) ห้วยกุ่ม จังหวัด
ชยั ภูมิ (4 ค่าย) จำนวน 240 คน และศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสตั ว์ปา่ (ศธส.) ลำปาว จงั หวัดกาฬสินธ์ุ
(2 ค่าย) จำนวน 120 คน รวมจำนวน 360 คน

3) ผ้เู กย่ี วข้องท่ดี ำเนนิ การขยายผลสู่ความยงั่ ยืน โดยตอ่ ยอดหลังจากกิจกรรมค่าย
(6 คา่ ย) สู่โรงเรียนในพนื้ ทรี่ ับผดิ ชอบ ประกอบด้วย ครวู ทิ ยากร จำนวน 30 คน วิทยากรประจำศูนย์
การเรียนรู้ จำนวน 10 คน และวิทยากรภาคเี ครอื ข่ายในพ้ืนที่ จำนวน 20 คน รวมจำนวน 60 คน

กลมุ่ ที่ 4 ตามขนั้ ตอนการนำแนวทางไปใช้ แบง่ เป็น
1) ผู้รับผิดชอบโครงการระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 28 คน

ครูวิทยากร จำนวน 540 คน วิทยากรประจำศูนย์การเรยี นรู้ จำนวน 135 คน และวิทยากรภาคีเครือข่าย
ในพนื้ ที่ จำนวน 180 คน รวมจำนวน 883 คน

2) นักเรียนที่เข้าค่าย ณ ศูนย์การเรียนรู้ของโครงการ ประกอบด้วย สวนสมเด็จ
พระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่า (ศธส.) และศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่า
(ศธส.) รวมจำนวน 6,018 คน

9

3) ผู้เกย่ี วขอ้ งทด่ี ำเนินการขยายผลสู่ความย่ังยนื โดยต่อยอดหลงั จากกิจกรรมค่าย
สโู่ รงเรียนในพนื้ ทรี่ บั ผิดชอบ ประกอบด้วย ครวู ิทยากร จำนวน 540 คน วิทยากรประจำศูนย์การเรียนรู้
จำนวน 135 คน และวิทยากรภาคเี ครอื ข่ายในพื้นที่ จำนวน 180 คน รวมจำนวน 855 คน

2. ขอบเขตด้านพ้นื ที่ในการวจิ ยั
การศึกษาวิจัยในครั้งนี้กำหนดใช้พื้นท่ีของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
จำนวน 33 เขต ทั่วประเทศ (รายชื่อตามภาคผนวก) เนื่องจากเป็นพื้นที่เป้าหมายการดำเนินงาน
ภายใต้โครงการค่าย “เยาวชน...รักษพ์ งไพร เฉลมิ พระเกยี รติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี” ซึ่งดำเนินงานโดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการการจัดการศึกษา สำนักงาน
คณะกรรมการการศกึ ษาข้นั พืน้ ฐาน กระทรวงศกึ ษาธิการ

3. ขอบเขตดา้ นเน้ือหา
การศกึ ษาแนวทางการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรกั ษ์พงไพรเพือ่ การอนรุ ักษ์ทรัพยากร
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
ขั้นพน้ื ฐาน ประกอบด้วยเนอ้ื หาในเร่ืองหลักการ แนวคิด และทฤษฎที ่ีเกยี่ วขอ้ ง ไดแ้ ก่

3.1 นโยบายทเี่ ก่ียวขอ้ งกบั การอนุรกั ษท์ รัพยากรธรรมชาตแิ ละสง่ิ แวดล้อม
3.2 แนวคิดเก่ียวกบั การศกึ ษาเพอื่ พฒั นาคณุ ภาพผเู้ รยี นในศตวรรษท่ี 21
3.3 หลกั การเสริมสร้างคณุ ลักษณะเยาวชนรกั ษ์พงไพร
3.4 การวิจยั และพัฒนาแนวทางการเสริมสรา้ งคุณลกั ษณะเยาวชนรักษพ์ งไพร
3.5 งานวจิ ยั ท่เี กย่ี วขอ้ ง

4. ขอบเขตด้านระยะเวลา
ระยะเวลาในการวจิ ัยครั้งน้ีตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 – ธันวาคม พ.ศ. 2562

นิยามศัพท์เฉพาะ
สำหรับการศึกษาแนวทางการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพรเพื่อการอนุรักษ์

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ
การศกึ ษาขั้นพื้นฐาน ผวู้ ิจยั จึงไดน้ ิยามศพั ทท์ ีใ่ ช้ในการวจิ ัยเพือ่ ใหเ้ กิดความเข้าใจตรงกนั ดงั นี้

1. แนวทางการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพร หมายถึง หลักการ
กระบวนการ ขัน้ ตอน วิธกี าร เง่ือนไขและองคป์ ระกอบตา่ ง ๆ ในการพัฒนานกั เรยี นในโรงเรียนระดับ

10

ประถมศกึ ษา สังกดั สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขน้ั พน้ื ฐาน ให้มคี วามรู้ความเข้าใจ ทักษะ และ
เจตคตทิ ี่เหมาะสมในด้านอนรุ กั ษท์ รพั ยากรธรรมชาตแิ ละสิ่งแวดลอ้ ม

2. คุณลักษณะเยาวชนรกั ษพ์ งไพร หมายถงึ คณุ ลักษณะของนักเรียนระดบั ประถมศึกษา
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ได้รับการพัฒนาและเสริมสร้างคุณลักษณะ
ตามแนวทาง ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้สำคัญของความเป็นเยาวชนรักษ์พงไพร ประกอบด้วย 1) รู้รักษา คือ
คุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพรด้านความรู้ 2) พัฒนาต่อยอด คือ คุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพร
ด้านทกั ษะ และ 3) สบื ทอดวถิ ี คือ คณุ ลกั ษณะเยาวชนรกั ษพ์ งไพรด้านเจตคติ

3. เยาวชนรักษ์พงไพร หมายถึง นักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6 สังกัดสำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ได้รับการพัฒนาและเสริมสร้างคุณลักษณะตามแนวทาง
การเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพร ให้เกิดความเคารพรักในสถาบันชาติ ศาสนา และ
พระมหากษัตริย์ พร้อมทั้งเห็นถึงคุณค่าทรัพยากรธรรมชาติ เกิดความรักความหวงแหน มีจิตสำนึก
ความรบั ผดิ ชอบ และร่วมกนั อนุรกั ษท์ รพั ยากรธรรมชาตแิ ละสิง่ แวดลอ้ ม สำนึกในพระมหากรณุ าธคิ ุณ
ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และน้อมนำมาปรับใช้ รวมถึงนำไปต่อยอด
พัฒนาตามความตอ้ งการและอตั ลักษณ์ของพ้นื ที่ สอดคล้องกับบรบิ ทท้องถ่นิ

4. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) หมายถึง หน่วยงานภาครัฐ
ในระดับส่วนกลาง สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่มีพันธกิจเกี่ยวกับการพัฒนาและส่งเสรมิ สนับสนนุ
การจัดการศึกษาให้ประชากรวัยเรียนทุกคนได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพ โดยการพัฒนาผู้เรียน
เป็นสำคัญเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต ให้เป็นบุคคลที่มีความรู้ คุณธรรม ความสามารถตามมาตรฐาน
การศึกษาขั้นพื้นฐาน และการพัฒนาสู่คุณภาพระดับสากล ซึ่งรับผิดชอบดูแลเขตพื้นที่การศึกษา
ทั่วประเทศ จำนวน 225 เขต แบ่งเป็น สำนักงานเขตพืน้ ทีก่ ารศึกษาประถมศกึ ษา จำนวน 183 เขต
และสำนักงานเขตพ้ืนที่การศึกษามธั ยมศกึ ษา จำนวน 42 เขต

5. กิจกรรมบูรณาการ 3 รกั ษ์ หมายถึง เนอ้ื หาหลักของการจัดกจิ กรรมการเรียนรู้ในค่าย
“เยาวชน...รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี”
ที่บูรณาการองค์ความรู้ของภาคเี ครือข่ายทีเ่ กีย่ วข้อง ประกอบด้วย รักษ์ชาติ รักษ์ศาสน์ และรักษ์กษตั ริย์
เพื่อการพัฒนานักเรยี นให้มีคณุ ลักษณะเยาวชนรักษพ์ งไพร เข้าใจประโยชนข์ องทรัพยากรธรรมชาติ
และสงิ่ แวดล้อม มคี ุณธรรม และสำนึกในพระมหากรณุ าธคิ ุณ

6. ศูนย์การเรียนรู้ หมายถึง แหล่งศึกษาธรรมชาติที่กำหนดให้เป็นแหล่งเรียนรู้ และ
จัดกจิ กรรมค่ายของโครงการคา่ ย “เยาวชน...รกั ษพ์ งไพร เฉลมิ พระเกียรติ 60 พรรษา สมเดจ็ พระเทพ
รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” รวมจำนวน 31 ศูนย์ ทั่วประเทศ ประกอบด้วย 1) สวนสมเด็จ
พระนางเจ้าสริ ิกิติ์ฯ จำนวน 1 ศูนย์ 2) ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ปา่ (ศธส.) กรมอุทยานแห่งชาติ

11

สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จำนวน 22 ศูนย์ และ 3) ศูนย์เรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ตามแนว
พระราชดำริ (ศรร.) กรมปา่ ไม้ จำนวน 8 ศนู ย์

7. เครือข่ายเชิงพื้นท่ี หมายถึง เครือข่ายเชิงพื้นที่ (Rakpongprai Network: RN)
เพื่อการพัฒนาโครงการค่าย “เยาวชน...รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษาสมเด็จพระเทพ
รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” สู่ความยั่งยืน ประกอบด้วย 7 เครือข่าย ครอบคลุมพื้นท่ี
รบั ผดิ ชอบของสำนักงานเขตพืน้ ท่กี ารศึกษาประถมศกึ ษา ท่ีเข้ารว่ มดำเนินงานโครงการ จำนวน 33 เขต
มีเป้าประสงค์ในการบรหิ ารจัดการบริบทเชิงพืน้ ที่ เน้นการพัฒนาโดยผูเ้ ชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ จากภาคี
เครือข่าย เข้ามามีส่วนร่วมในการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพร โดยมุ่งเน้นความเป็น
เอกลักษณเ์ ชิงพน้ื ทข่ี องแตล่ ะแหง่

ประโยชน์ท่ไี ดร้ ับ
ผลจากการศึกษาแนวทางการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพรเพื่อการอนุรักษ์

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ
การศกึ ษาขน้ั พน้ื ฐาน สง่ ผลใหเ้ กดิ ประโยชนท์ ้งั ในเชิงนโยบาย วชิ าการ และการนำไปใช้ ได้แก่

1. ประโยชนเ์ ชิงนโยบาย
ผู้บริหารทั้งระดับกระทรวงศึกษาธิการ สำนัก กลุ่มงาน และผู้บริหารระดับสูง มีแนวทาง
พัฒนานักเรียนในด้านการอนุรกั ษท์ รพั ยากรธรรมชาตแิ ละส่งิ แวดลอ้ ม ซึ่งถอื เปน็ มิตใิ หม่ในการพัฒนา
คุณภาพนักเรียนเชิงระบบ องค์รวมและร่วมพฒั นา นกั เรียนจะไดร้ บั การพัฒนาในทกุ มิติทีเ่ ก่ียวข้องกบั
การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงคุณธรรมจริยธรรม และสำนึกในพระมหา
กรณุ าธิคุณ เกดิ ผลผลิตที่เป็นรูปธรรมที่นักเรียนสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวนั ครูสามารถนำไป
ประยกุ ตใ์ ช้ในการจัดการเรยี นการสอน ดงั นี้

1) คุณลักษณะเยาวชนรักษพ์ งไพร สามารถนำไปพจิ ารณารว่ มกับมาตรฐานการศึกษา
ขัน้ พ้ืนฐาน คณุ ลกั ษณะอันพึงประสงค์ ทีเ่ ก่ยี วขอ้ งกบั การอนุรกั ษ์ทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม
รวมถึงพิจารณาร่วมกับการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางการพฒั นาของโลก
และแนวนโยบายการพัฒนาประเทศ

2) รูปแบบกิจกรรมการเรยี นรู้ ขน้ั ตอนการพฒั นา และองค์ประกอบในการเสริมสร้าง
ต่าง ๆ สามารถนำไปกำหนดนโยบายให้เปน็ หลกั สูตรหรอื แนวทางการจัดการเรียนรู้บนฐานสมรรถนะ
ที่เกี่ยวขอ้ งกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาตแิ ละส่ิงแวดล้อม ทั้งหน่วยงานทางการศึกษาท่ีสามารถ
กำหนดให้เป็นนโยบายในระดับส่วนกลาง หรือประยุกต์ใช้ในระดับเขตพื้นที่การศึกษาและระดับ
สถานศึกษา รวมถึงหน่วยงานภาครัฐและเอกชนต่าง ๆ ที่เป็นภาคีเครือข่ายหรือเกี่ยวข้องกับ
การพัฒนาทนุ มนษุ ย์ในด้านดงั กล่าว

12

3) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และหน่วยงานภาคีเครือข่าย
มีความร่วมมือและบูรณาการแบบมีส่วนร่วมในการดำเนินงานที่เข้มแข็งเพิ่มมากขึ้น รวมถึงสามารถ
ขยายความร่วมมือได้ในวงกว้าง

4) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีแนวทางการปลูกฝังและพัฒนา
เยาวชนและทุนมนุษย์ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ที่มุ่งเน้น
ความเข้มแข็งตามบรบิ ทของท้องถนิ่ สอดคล้องและเปน็ รากฐานสำคัญกบั ทิศทางการพัฒนาประเทศ

5) หน่วยงานภาคีเครือข่ายความร่วมมือ สามารถบูรณาการการทำงานร่วมกัน
ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในระดับนโยบายสู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่
ไดอ้ ยา่ งเขม้ แข็งและยั่งยนื

2. ประโยชนเ์ ชิงวชิ าการ
การศึกษาแนวทางการเสรมิ สร้างคุณลกั ษณะเยาวชนรักษ์พงไพรเพอ่ื การอนุรกั ษ์ทรัพยากร
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน ส่งผลให้เกิดผลสัมฤทธิท์ างการศึกษาที่มีคุณภาพ สามารถนำไปศกึ ษาเรียนรู้ ประยุกต์ใช้
รวมถงึ ตอ่ ยอดวิจยั และพฒั นานวัตกรรมการจัดการศึกษาในรูปแบบอนื่ ดังนี้

1) นักเรียน ครู และผู้เกี่ยวข้อง มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากร
ธรรมชาติและสิง่ แวดล้อมทีส่ อดคลอ้ งกับความต้องการและบริบทของท้องถิ่น รวมถึงทักษะทีจ่ ำเป็น
และสามารถนำไปประยกุ ต์ใช้ในชีวติ ประจำวันไดอ้ ย่างเหมาะสม

2) นกั เรยี น ครู และผู้เกีย่ วขอ้ ง มีความตระหนัก มจี ติ สำนกึ ทีด่ เี ห็นถงึ คณุ ค่า และเกิด
ความรกั ความหวงแหน รวมถึงร่วมกันอนรุ กั ษท์ รพั ยากรธรรมชาติและส่งิ แวดล้อม สนองพระราโชบาย
ของสมเด็จพระนางเจ้าสริ กิ ติ ์ิ พระบรมราชนิ นี าถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

3) นักเรียน ครู และผู้เกี่ยวข้อง มีความเคารพรักในสถาบันชาติ ศาสนา และ
พระมหากษตั รยิ ์ มีคุณธรรมจรยิ ธรรมท่ีดี มจี ิตอาสา มที ักษะการคดิ วิเคราะห์และทกั ษะชีวิต สามารถ
ตอ่ ยอดขยายผลกิจกรรมด้านการอนุรกั ษท์ รพั ยากรธรรมชาตใิ นโรงเรียน ชมุ ชน และท้องถิน่ ได้อย่าง
เปน็ รปู ธรรมสอดคลอ้ งกบั ความต้องการและบรบิ ทท้องถิ่น

4) ครู และผูเ้ กี่ยวขอ้ ง มเี อกสารวิชาการและคู่มือเสริมสร้างคุณลกั ษณะของนักเรียน
ในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ท่ีมีความชัดเจน มีประสิทธิภาพ และ
มีคุณภาพการดำเนนิ งานเป็นมาตรฐานเดยี วกนั เหมาะสมต่อการศึกษาเรียนรู้และนำไปปฏิบัติ ซึง่ ชว่ ย
เสริมสร้างความมั่นใจในการดำเนินงานและการจัดการเรียนการสอน เกิดความสมํ่าเสมอในการทํางาน
ทําใหก้ ารปฏบิ ตั ิงานเป็นแบบมืออาชพี เกดิ ผลสำเรจ็ เปน็ รปู ธรรม

13

5) การนำไปใชเ้ ป็นตน้ แบบหรอื ตัวอย่างเชงิ วิชาการในการศกึ ษาวิจัยรปู แบบการฝึกอบรม
รูปแบบการพัฒนาและเสริมสร้างนักเรียนด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ในระดับหรือบริบทต่าง ๆ เช่น ระดับประถมศึกษาช่วงชั้นที่ 1 (ป.1 – 3) ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
และตอนปลาย ระดับอาชีวศึกษา หรือระดับอุดมศึกษา เป็นต้น รวมถึงการเสริมสร้างคุณลักษณะ
นกั เรียนในด้านอื่น ๆ ทตี่ ้องการให้นกั เรียนเกดิ คุณลกั ษณะทัง้ ด้านความรู้ ทักษะ และเจตคติ

3. ประโยชน์เชงิ การนำไปใช้
แนวทางการเสริมสรา้ งคุณลกั ษณะเยาวชนรักษ์พงไพรเพื่อการอนรุ กั ษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
และส่ิงแวดล้อมของโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพื้นฐาน
ถือเป็นมิติใหม่ของที่เป็นระบบและเป็นรูปธรรมในการพัฒนานักเรียนที่ตอบสนองต่อ การสร ้าง
การเติบโตบนคุณภาพชีวิตทีเ่ ป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของประเทศ โดยสามารถนำไปศึกษาเรียนรู้และ
ประยกุ ตใ์ ช้ใหเ้ กดิ ประโยชน์ได้ ดงั นี้

1) ครูและผู้เกี่ยวข้อง สามารถนำไปศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียน
การสอน ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ปรับใช้รูปแบบการจัด
กิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และ
การเรียนรู้ในศตวรรษท่ี 21

2) โรงเรยี น และชมุ ชน นำไปใช้เป็นแนวทางการพัฒนาศกั ยภาพการเป็นแหล่งเรียนรู้
ที่เหมาะสม และมีคุณภาพในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถ่ินได้อย่าง
ย่งั ยนื สนองพระราโชบายของสมเดจ็ พระนางเจา้ สิริกติ ์ิ พระบรมราชินนี าถ พระบรมราชชนนีพนั ปีหลวง

3) การนำไปขยายผลการพัฒนานักเรียน ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อมในเขตพื้นที่การศึกษาอื่น ๆ ทั่วประเทศ ทั้งในส่วนของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษา และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา โดยปรับปรุงแนวทางให้เหมาะสมกับ
บรบิ ทความตอ้ งการ แหล่งเรยี นรู้ และอัตลกั ษณ์ของพ้นื ท่ี

4) การนำไปขยายผลในการพฒั นาและเสริมสร้างนกั เรยี น ด้านการอนรุ กั ษ์ทรัพยากร
ธรรมชาตแิ ละสิ่งแวดลอ้ มในระดับต่าง ๆ เชน่ ระดับปฐมวัย ระดบั ประถมศึกษาชว่ งชนั้ ที่ 1 (ป.1 - 3)
ระดับมัธยมศกึ ษาตอนต้นและตอนปลาย ระดบั อาชีวศึกษา หรอื ระดบั อุดมศึกษา เปน็ ต้น

5) การนำไปปรับประยุกตใ์ ชก้ บั หนว่ ยงานหรือกลุ่มเป้าหมายอ่ืนที่เกีย่ วขอ้ ง เพื่อเสรมิ สร้าง
ความเคารพรักในสถาบนั ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตรยิ ์ พรอ้ มทัง้ เห็นถงึ คุณคา่ ทรัพยากรธรรมชาติ
เกิดความรักความหวงแหน มีจิตสำนึก ความรับผิดชอบและร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อม สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและ

14

นอ้ มนำมาปรบั ใช้ รวมถงึ นำไปต่อยอดพัฒนาตามความตอ้ งการและอัตลักษณ์ของพ้ืนที่ สอดคล้องกับ
บรบิ ทท้องถ่นิ
กรอบแนวคิดทีใ่ ชใ้ นการวจิ ัย

การศึกษาแนวทางการเสริมสร้างคุณลกั ษณะเยาวชนรักษพ์ งไพรเพื่อการอนุรกั ษ์ทรัพยากร
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน มีวัตถุประสงค์เพ่ือศึกษาคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพร พัฒนาแนวทางการเสริมสร้าง
คุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพร และศึกษาผลการใช้แนวทางดังกล่าว โดยใช้วิธีดำเนินการวิจัย
ในลักษณะของการวิจัยและพัฒนา (Research and Development: R&D) โดยใช้ระเบียบวิธี
การวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) ด้วยการศึกษาวิธีการเชิงปริมาณ (Quantitative
Methods) และวิธีการเชิงคุณภาพ (Qualitative Methods) มุ่งศึกษาองค์ประกอบของแนวทาง
ที่สอดคล้องเหมาะสมต่อการเสริมสร้างนักเรียนในระดบั ประถมศึกษา ให้เกิดคุณลักษณะของความเปน็
เยาวชนรกั ษพ์ งไพร โดยผวู้ ิจัยได้พฒั นากรอบแนวคิดการวจิ ัยสำหรับการพฒั นาแนวทาง ดังน้ี

ภาพท่ี 1.1 กรอบแนวคิดที่ใช้ในการวิจัย

บทที่ 2

เอกสารและงานวิจยั ทเ่ี ก่ียวขอ้ ง

การวิจัยเรื่องแนวทางการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพรเพื่อการอนุร ัก ษ์
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ
การศกึ ษาข้ันพนื้ ฐาน ไดศ้ กึ ษาเอกสาร บทความทางวิชาการ และงานวจิ ยั ที่เก่ียวขอ้ ง ดงั นี้

1. นโยบายที่เก่ยี วขอ้ งกบั การอนรุ กั ษท์ รัพยากรธรรมชาตแิ ละสง่ิ แวดลอ้ ม
2. แนวคิดเก่ียวกับการศกึ ษาเพ่ือพัฒนาคุณภาพผูเ้ รยี นในศตวรรษท่ี 21
3. หลักการเสริมสรา้ งคณุ ลักษณะเยาวชนรกั ษพ์ งไพร
4. การวิจัยและพฒั นาแนวทางการเสรมิ สรา้ งคณุ ลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพร
5. งานวิจัยทีเ่ กย่ี วข้อง

นโยบายท่เี ก่ียวข้องกบั การอนุรกั ษท์ รัพยากรธรรมชาตแิ ละสง่ิ แวดลอ้ ม
องค์การสหประชาชาติ (United Nations) จัดให้มีวาระการพิจารณากำหนดกรอบงาน

เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีมติประกาศให้ปี พ.ศ. 2548 - 2557
เป็น “ทศวรรษแห่งการศกึ ษาเพ่อื การพฒั นาอยา่ งยง่ั ยนื ” (United Nations Decade of Education
for Sustainable Development – DESD) โดยมีองค์การเพ่อื การศกึ ษา วิทยาศาสตรแ์ ละวฒั นธรรม
แหง่ สหประชาชาติ (UNESCO) เป็นหนว่ ยงานหลกั ในการพฒั นาและขับเคลือ่ น (UNDESA & UNDP. 2012)
รวมถึงการจัดทำปฏิญญาอาห์เมดาบัด ณ กรุงอาห์เมดาบัด ประเทศอินเดีย เมื่อปี พ.ศ. 2550 ซ่ึงมี
เนื้อหาสาระที่มุ่งเน้นการบูรณาการการพัฒนาที่ยั่งยืนสู่ระบบการศึกษาทุกระดับ เพื่อส่งเสริม
การศึกษาในฐานะที่เป็นกลไกหลักของการเปลี่ยนแปลง บนพื้นฐานความเชื่อที่ว่าการศึกษาเป็นแบบแผน
การดำรงชีวิตของมนุษย์ที่สามารถเกื้อหนุนต่อการดำรงอยู่ของระบบนิเวศและการดำรงชีวิต
ที่ยั่งยืน พร้อมทั้งความสำคัญของแผนปฏิบัติการ 21 (Agenda 21) และแผนปฏิบัติการ Rio+10
โดยนับระยะเวลาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548-2557 ให้เป็นทศวรรษแห่งการเรียนรูส้ ิ่งแวดล้อม (Decade of
Environmental Learning) ทั้งการศึกษาในระบบและการศึกษานอกระบบ ตลอดจนการศึกษา
ตามอัธยาศัย ซึ่งถือเป็นรากฐานของการให้ความสำคัญกับการศึกษาต่อการอนุรักษ์ทรัพยากร
ธรรมชาตแิ ละสง่ิ แวดลอ้ ม (Taylor, et al. 2009)

นอกจากน้ี องคก์ ารสหประชาชาติ (United Nations) ได้เสนอเป้าหมายการพัฒนาท่ียั่งยืน
(Sustainable development) ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดของการพัฒนาที่จะทำให้เกิดความสมดุล
ระหว่างด้านเศรษฐกิจ ส่ิงแวดล้อม และ สังคม เพื่อที่จะทำให้มวลมนุษยชาติที่อาศัยบนโลกใบนี้

16

มีวถิ ีชวี ติ ท่ีดี คกู่ ับความยั่งยืนของโลก 17 ประการทสี่ ำคญั ทจ่ี ะทำให้มวลมนษุ ยชาติท้ังหมดสามารถ
ดำรงชีวิตอยู่ด้วยความสุข รวมถึงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสามารถที่จะเอื้อประโยชน์
ทั้งทางตรงและทางอ้อมให้กับมนุษย์ ซึ่งเป้าหมายทั้ง 17 เป้าหมายนี้ ทุกประเทศควรที่จะบรรลุ
เป้าหมายไปด้วยกัน โดยเฉพาะเป้าหมายที่ 15 : ชีวติ บนแผน่ ดิน (Life on Land) ซงึ่ ครอบคลมุ เรื่องของ
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบนแผ่นดิน เช่น พื้นที่ป่าไม้ ความหลากหลายทางชีวภาพ พื้นท่ี
ชุ่มน้ำ การต่อต้านการแปรสภาพเป็นทะเลทราย เป็นต้น เหล่านี้เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่จะต้อง
พัฒนาดัชนีชี้วัดความยั่งยืนของการพัฒนาประเทศ (อัษฎาพร ไกรพานนท์. 2556) โดยรายละเอียด
ของเป้าหมายที่ 15 คือ ปกป้อง (Protect) ฟื้นฟู (Restore) และการสนับสนุนการใช้ประโยชน์
จากระบบนิเวศบกอย่างยั่งยืน (Promote Sustainable Use of Terrestrial Ecosystems) การจัดการ
ป่าไม้อย่างยั่งยืน (Sustainably Manage Forests) การต่อต้านการแปรสภาพเป็นทะเลทราย
(Combat Desertification) รวมถึงยุติและฟื้นสภาพพื้นที่ที่เสื่อมโทรม (Reverse Land Degradation)
และหยุดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ (Halt Biodiversity Loss) ซึ่งในบริบทด้านการ
อนรุ กั ษท์ รัพยากรธรรมชาตแิ ละสงิ่ แวดลอ้ มของประเทศไทย ได้สำรวจสถานะที่เกย่ี วขอ้ งกับเป้าหมาย
การพัฒนาท่ียั่งยืน (Goal) วิเคราะห์ความสอดคล้องของเป้าประสงค์ (Targets) และประเมินสถานะ
ด้านมาตรการภาครัฐและหน่วยงานในภาคอื่น ๆ เพื่อจัดลำดับความสำคัญของเป้าประสงค์ภายใต้
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน พร้อมทั้งปรับและกำหนดเป้าประสงค์ใหม่ที่สอดคล้องกับบริบท
ของประเทศไทย (นาฏสดุ า ภูมิจำนง, และอทุ ัย เจริญวงศ์. 2560)

โดยการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย
ดังกล่าว เป็นไปภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 หมวด 4 หน้าที่ของปวงชน
ชาวไทย มาตรา 50 (1) และ (8) ได้กำหนดใหบ้ คุ คลมีหนา้ ที่พทิ ักษร์ กั ษาไว้ซ่ึงชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พร้อมทั้งร่วมมือและ
สนับสนุนการอนุรักษ์และคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ ความหลากหลายทางชีวภาพ
รวมทั้งมรดกทางวัฒนธรรม พร้อมนี้ในหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ มาตรา 57 (2) ได้กำหนดให้รัฐ
ต้องอนุรักษ์ คุ้มครอง บำรุงรักษา ฟื้นฟู บริหารจัดการ และใช้หรือจัดให้มีการใช้ประโยชน์
จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพ ให้เกิดประโยชนอ์ ย่างสมดลุ
และยั่งยืน โดยต้องให้ประชาชน และชุมชนในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมดำเนินการ และได้รับ
ประโยชน์จากการดำเนินการดังกล่าวด้วย ตามที่กฎหมายบัญญัติ ซึ่งสะท้อนถึงความสำคัญของการ
อนุรกั ษท์ รพั ยากรธรรมชาติและสงิ่ แวดลอ้ ม ท่ีไดถ้ ูกกำหนดให้เป็นหนงึ่ ในประเด็นระดับชาตทิ ี่ทุกภาคส่วน
ต้องใหค้ วามสำคญั และเขา้ มามีสว่ นรว่ มในการดำเนินงานตงั้ แตร่ ะดับนโยบายสู่ระดับปฏิบัติ ถือเป็น
รากฐานสำคัญในการพัฒนาประเทศไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
(คณะกรรมการรา่ งรัฐธรรมนญู . 2560)

17

เมื่อพิจารณายุทธศาสตรช์ าติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) ซึ่งเป็นยุทธศาสตรช์ าติฉบับแรก
ของประเทศไทย ตามรัฐธรรมนูญแหง่ ราชอาณาจักรไทย ที่จะต้องนำไปสู่การปฏิบตั ิเพ่ือให้ประเทศไทย
บรรลุวิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนา
ตามหลักปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง” กลา่ วคือ 1) การมีความม่นั คงปลอดภยั จากการเปล่ียนแปลง
ภายในและภายนอกประเทศในทกุ ระดับ ทั้งระดับประเทศ สังคม ชุมชน ครวั เรอื น และปัจเจกบุคคล
พร้อมทั้งมีความมั่นคงในทุกมิติ ทั้งมิติทางการทหาร เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และการเมือง
โดยสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ มีความเข้มแข็งเป็นศูนย์กลางและเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ
ของประชาชน 2) การสร้างฐานเศรษฐกิจและสังคมแห่งอนาคตเพื่อให้สอดรับกับบริบทการพัฒนา
ที่เปลี่ยนแปลงไป พร้อมทั้งมีความสมบูรณ์ในทุนที่จะสามารถสร้างการพัฒนาต่อเนื่องไปได้ ได้แก่
ทุนมนุษย์ ทุนทางปัญญา ทุนทางการเงิน ทุนที่เป็นเครื่องมือเครื่องจักร ทุนทางสังคม รวมถึง
ทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ 3) การพัฒนาที่สามารถสร้างความเจริญเติบโต
ของเศรษฐกิจที่อยู่บนหลักการใช้ การรักษา และการฟื้นฟูฐานทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
การผลิตและการบริโภคเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
ทรพั ยากร ธรรมชาตมิ คี วามอุดมสมบรู ณ์มากขึน้ และสง่ิ แวดล้อมมีคุณภาพดีข้นึ คนมคี วามรับผิดชอบ
ต่อสังคม มีความเสียสละเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม การมีส่วนร่วมของประชาชน และทุกภาคส่วน
ในสังคมยึดถือและปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อการพัฒนาอย่างสมดุล
มเี สถียรภาพ และย่ังยืน (สำนกั ยุทธศาสตร์ดา้ นนโยบายสาธารณะ. 2561) โดยเฉพาะยทุ ธศาสตร์ชาติ
ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีเป้าหมายการพัฒนาที่สำคัญ
เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกมิติ ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม ธรรมาภิบาล
และความเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือระหว่างกัน ทั้งภายในและภายนอกประเทศอย่างบูรณาการ
ใช้พื้นที่เป็นตัวตัง้ ในการกำหนดกลยุทธ์และแผนงาน และการให้ทุกฝ่ายที่เกีย่ วข้องได้เข้ามามีสว่ นร่วม
ในแบบทางตรงใหม้ ากท่ีสุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยการดำเนินการบนพ้นื ฐานการเติบโตร่วมกัน ท้งั ทางเศรษฐกิจ
สิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิต ซึ่งมีประเด็นที่สำคัญ เช่น การอนุรักษ์และฟื้นฟูความหลากหลาย
ทางชีวภาพในและนอกถิ่นกำเนิด การอนุรักษ์และฟื้นฟูแม่น้ำลำคลอง และแหล่งน้ำธรรมชาติ
ทั่วประเทศ การรักษาและเพ่ิมพื้นที่สีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมการบริโภคและ
การผลิตที่ยั่งยืน การสงวนรักษา อนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ มรดกทางสถาปัตยกรรม
และศิลปวัฒนธรรม อัตลักษณ์ และวิถีชีวิตพื้นถิ่นบนฐานธรรมชาติ และฐานวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน
การพัฒนาเครือข่ายองค์กรพัฒนาเมืองและชุมชน รวมทั้งกลุ่มอาสาสมัคร ด้วยกลไกการมีส่วนร่วม
ของทุกภาคส่วนในท้องถิ่น การส่งเสริมคุณลักษณะและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อมและ
คุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทย การจัดโครงสร้างเชิงสถาบันเพื่อจัดการประเด็นร่วมด้านการบริหาร
จดั การทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละสง่ิ แวดล้อม รวมถึงการพฒั นาและดำเนนิ โครงการท่ียกระดับกระบวนทัศน์

18

เพ่อื กำหนดอนาคตประเทศ ดา้ นทรัพยากรธรรมชาติ สิง่ แวดลอ้ ม และวัฒนธรรม บนหลกั ของการมสี ่วนรว่ ม
และธรรมาภิบาล เปน็ ต้น (สำนักงานเลขานกุ ารของคณะกรรมการยุทธศาสตรช์ าติ. 2561)

ทั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และหลักการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม เพื่อทำความเข้าใจแนวคิดและหลักการได้อย่างถูกต้อง สอดคล้องเหมาะสม
กับแนวนโยบายดงั ทก่ี ล่าวมาแลว้ โดยมรี ายละเอยี ดดังนี้

1. ความหมายของการอนุรกั ษ์ทรัพยากรธรรมชาตแิ ละส่งิ แวดล้อม
พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ได้ให้
ความหมายวา่ ส่งิ แวดล้อม หมายถึง สิง่ ตา่ ง ๆ ทีม่ ลี ักษณะทางกายภาพและชีวภาพทอ่ี ยู่รอบตัวมนุษย์
ซง่ึ เกิดข้นึ โดยธรรมชาติและสิง่ ท่มี นุษย์ได้ทำขนึ้ โดยทคี่ ุณภาพสิง่ แวดล้อม คอื ดลุ ยภาพของธรรมชาติ
อันไดแ้ ก่ สัตว์ พชื และทรัพยากรธรรมชาตติ ่าง ๆ และส่ิงท่ีมนษุ ยไ์ ด้ทำขน้ึ ทงั้ นี้ เพ่อื ประโยชน์ต่อการ
ดำรงชีพของประชาชนและความสมบูรณส์ บื ไปของมนษุ ยชาติ
จักรพันธุ์ ปัญจะสุวรรณ (2546) ได้ให้ความหมายว่า ทรัพยากรธรรมชาติ หมายถึง สิ่งที่
เกดิ ขน้ึ เองตามธรรมชาติ ซงึ่ มนษุ ยส์ ามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ ไมว่ ่าโดยตรงหรือโดยอ้อม หรือมนุษย์
นำมาสนองความต้องการในด้านปัจจัยส่ี ถ้าขาดทรัพยากรธรรมชาติเสียแล้ว มนุษย์จะไม่สามารถ
ดำรงชีวิตอยู่ได้ ตัวอย่างทรัพยากรธรรมชาติ เช่น น้ำ ดิน อากาศ ป่าไม้สัตวป์ ่า แร่ธาตุ และพลังงาน
รวมทัง้ ทรพั ยากรพลงั งานมนษุ ยด์ ้วย
อรพิน กาบสลับ (2549) ได้ให้ความหมายว่า ทรัพยากรธรรมชาติ หมายถึง สิ่งที่ปรากฏ
อยู่ตามธรรมชาติหรือเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ซึ่งมนุษย์นำมาใช้เพื่ออำนวยประโยชน์ ทรัพยากร
ธรรมชาติทกุ อยา่ งมีความสำคญั ตอ่ การดำรงชีวิตของมนษุ ย์ทง้ั สิน้
เกษม จันทรแ์ กว้ (2540) ไดใ้ หค้ วามหมายว่า การอนุรักษ์ หมายถึง การนำทรพั ยากรมาใช้
ให้เกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพสูงสุด และสามารถมีใช้ได้ยาวนานที่สุด หลักการอนุรักษ์
ยังประกอบด้วยการใชอ้ ย่างฉลาดและให้เกิดความยั่งยืน การฟื้นฟูสภาพที่เสื่อมโทรม และการสงวน
สิง่ ทีห่ ายาก วธิ กี ารอนรุ ักษห์ รอื การปฏิบตั กิ ารเพอื่ การอนุรักษท์ รัพยากรธรรมชาติและสง่ิ แวดล้อม
นิวัติ เรืองพานิช (2542) ได้ให้ความหมายว่า การอนุรักษ์ หมายถึง การรู้จักใช้ทรัพยากร
อย่างชาญฉลาด ให้เป็นประโยชน์ต่อมหาชนมากที่สุด และใช้ได้เป็นเวลายาวนานที่สุด ทั้งนี้ต้องให้
สูญเสียทรัพยากรโดยเปล่าประโยชน์น้อยที่สุด และต้องกระจายการใช้ประโยชน์จากทรัพยากร
โดยทั่วถึงกันด้วย ฉะนั้นการอนุรักษ์จึงไม่ได้หมายถึงการเก็บรักษาทรัพยากรไว้เฉย ๆ แต่ต้องนำ
ทรัพยากรมาใชป้ ระโยชนใ์ หถ้ กู ตอ้ งตามกาลเทศะอีกดว้ ย
ศิริพรต ผลสินธ์ุ (2549) ได้ให้ความหมายว่า การอนุรักษ์ หมายถึง การรู้จักใช้ทรัพยากร
ธรรมชาตอิ ย่างชาญฉลาด ให้มกี ารสิ้นเปลืองหรือสูญเสียน้อยท่ีสุด แต่ได้ประโยชน์และใช้ได้นานที่สุด

19

โดยมีจุดมุ่งหมายท่ีจะส่งเสริมให้เกิดสวัสดิภาพทางสังคม และคงไว้ซึ่งปริมาณและคุณภาพ
ของทรัพยากรธรรมชาติ

โดยสรุป การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมายถึง การดำรงรักษาและ
การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้คงสภาพที่ดีไว้ เป็นการนำทรัพยากร
ธรรมชาตมิ าใชอ้ ยา่ งชาญฉลาด โดยตอ้ งกอ่ ใหเ้ กิดประโยชนม์ ากสุด คำนงึ ถึงการเปลย่ี นแปลง การสูญเสยี
และการทำลายให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด โดยรวมไปถึงการปรับปรุงของเสียใหน้ ำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่
ทั้งนี้ รวมถึงการหาแนวทางแก้ไขปัญหาดา้ นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในปัจจุบนั
และการหาแนวทางป้องกันปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่จะเกดิ ขน้ึ ในอนาคต

2. แนวคิดในการอนรุ ักษ์ทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละสง่ิ แวดล้อม
เกษม จันทร์แก้ว (2540) ได้อธิบายแนวคิดในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ
ส่งิ แวดล้อมว่ามวี ิธีการที่หลากหลาย ซึ่งการเลอื กใช้แต่ละวธิ ีการเพื่อให้การดำเนินการอนุรักษ์ประสบ
ความสำเร็จนั้น ต้องให้เหมาะสมกับสถานภาพ เวลา สถานที่ และการควบคุม รวมถึงการนำ
เทคโนโลยีมาร่วมด้วย โดยในการดำเนินการเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพต้องสรา้ งความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง
กับหน่วยงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกันทุกฝ่าย มิฉะนั้นจะเกิดการผิดพลาดต่อทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดลอ้ ม โดยวธิ กี ารอนุรกั ษ์ท่สี ำคญั มี 8 วิธกี าร ได้แก่ การใชแ้ บบยง่ั ยืน (Sustainable Utilization)
การกักเก็บรักษา (Storage) การรักษาหรือซ่อมแซม (Repair) การฟื้นฟู (Rehabilitation) การพัฒนา
(Development) การป้องกัน (Protection) การสงวน (Preservation) และการแบ่งเขต (Zoning)
ซึ่งในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบางกรณี อาจใช้วิธีการอนุรักษ์หลายวิธี
ผสมผสานกนั โดยเฉพาะอยา่ งยง่ิ คอื การป้องกัน ซ่ึงอาจทำไดโ้ ดยการใชม้ าตรการตา่ ง ๆ ตั้งแตก่ ารใช้
กฎหมาย กฎระเบียบ หรือข้อบังคับ รวมถึงการสร้างบทเรียน การให้การศึกษา การจัดกิจกรรม
หรือการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้และความเข้าใจแก่ประชาชนในการใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสม
เพ่ือไม่ให้ถูกบุกรกุ ตอ่ ไปหรือถกู ทำลายและสามารถเอ้อื ประโยชน์ตอ่ มนุษย์ตลอดไป
สลกั จิต พุกจรูญ (2551) ไดเ้ สนอแนวคดิ ในการอนรุ กั ษ์ส่ิงแวดล้อมไว้ทั้งสิ้น 6 แนวทาง คือ
1) ต้องมีความรู้เกี่ยวกับประโยชน์และโทษของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และต้องให้
ความสำคัญกับการนำทรัพยากรธรรมชาติไปใช้แบบสูญเปล่า 2) ใช้ทรัพยากรธรรมชาติท่ีจำเป็นและ
หายากอย่างระวัง โดยให้พึงระวังไว้ว่าการใช้ทรัพยากรมากเกินไปจะทำให้สภาพแวดล้อมเสียสมดลุ
3) รักษาทรัพยากรที่ทดแทนได้ให้มีมากกว่า หรือเท่ากับที่ต้องการใช้เป็นอย่างน้อย 4) สามารถ
ประมาณอัตราการเปลี่ยนแปลงของประชากรได้ โดยพิจารณาจากความต้องการใช้ทรัพยากร
ธรรมชาติเป็นสำคัญ 5) พยายามค้นคว้าหาวิธีใหม่ ๆ ในการผลิตและใช้ทรัพยากรธรรมชาติจาก

20

แหล่งธรรมชาติให้พอเพียงต่อความต้องการใชข้ องประชากร และ 6) ให้ความรกู้ ับประชาชนเกี่ยวกับ
การรักษาสมดุลของธรรมชาติ เพ่อื ให้เขา้ ใจถงึ หลกั การอนุรกั ษ์สิง่ แวดล้อม

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม (2557) ได้กล่าวถึงหลักพื้นฐานในการอนุรักษ์ทรัพยากร
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ 1) การปลูกฝังให้ประชาชนมีจิตสำนึก มีความรู้สำหรับรับผิดชอบ
ต่อทรัพยากรธรรมชาติทุกชนิดที่ตนมีส่วนร่วมเกี่ยวข้อง 2) รัฐบาลมีบทบาทเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด
ในการออกนโยบายและมาตรการตา่ ง ๆ ในการคมุ้ ครอง ดูแล และจัดการการใช้ทรัพยากรสง่ิ แวดล้อม
3) ใช้ทรัพยากรธรรมชาติแต่ละชนิดให้เกิดประโยชน์อย่างยั่งยืน เนื่องจากทรัพยากร ธรรมชาติ
ชนิดต่าง ๆ จะมีประโยชน์หลายทาง รัฐหรือท้องถิ่นควรมีการจัดการ ดูแล ประสานการใช้ประโยชน์
ของทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์ในทางที่ควรจะเป็น 4) จัดระบบและวางแผนในการใช้
ทรัพยากร โดยจะต้องสำรวจและหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม
ในอนาคต ตามสดั สว่ นที่เพิ่มขึ้นของประชากร เพือ่ ทีจ่ ะไดจ้ ัดการใหม้ นุษย์มีใช้ตลอดไปโดยไม่ประสบ
ปัญหาสิ่งแวดล้อม และ 5) ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทุกประเภทมีความเกี่ยวข้องสัมพนั ธ์
พงึ่ พาอาศัยกัน การใช้ทรพั ยากรไมค่ วรใหก้ ระทบต่อทรพั ยากรอ่ืน เพราะส่ิงมีชีวติ ย่อมมคี วามสัมพันธ์
กบั สิง่ มชี ีวิตชนิดอน่ื ๆ

จะเห็นไดว้ า่ แนวคดิ ในการอนรุ กั ษ์ทรพั ยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นการให้การศึกษา
เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ การปรบั ปรงุ คุณภาพ การลดอตั ราการเส่ือมสูญ การนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่
การใช้สิ่งทดแทนทรัพยากรที่เริ่มร่อยหรอ การใช้สิ่งที่มีคุณภาพรองลงมา และการป้องกันรักษา
ซึ่งอาจจะมีการวางแผนโดยมีการนำเทคโนโลยีเข้าช่วย แต่การอนุรักษ์บางวิธีการอาจจะต้องใช้
ระยะเวลาในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เกิดผลยั่งยืนต่อไปในอนาคต
โดยสรุปแล้ว นโยบายที่เกีย่ วข้องกับการอนุรักษ์ทรพั ยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม มีความสัมพันธ์
ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมกันอยา่ งใกล้ชิดและมนุษย์ จึงควรตระหนักถึงพฤติกรรมในดา้ นต่าง ๆ
ที่ได้แสดงและกระทำตอ่ สิง่ แวดล้อมในการปรบั เปล่ียนพฤติกรรมด้วยความมุ่งม่ันที่จะปกปอ้ ง รักษา
คุณภาพสิ่งแวดล้อมใหค้ งสภาพทีด่ ี แก้ไขปัญหาส่ิงแวดลอ้ มที่เป็นอยู่ และป้องกันปญั หาใหม่ที่อาจเกิดข้นึ
ในอนาคต โดยต้องอาศยั การปลกู ฝังจิตสำนกึ และพัฒนาในระยะยาว มุ่งเน้นความเข้มแข็งตามบริบท
ของท้องถิ่นและชุมชน มีกลไกที่สำคัญ คือ การพัฒนาคุณภาพประชาชน โดยสนับสนุนการจัด
การศึกษาด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อให้เยาวชนและประชาชนเกิดความตระหนักถึง
ความสำคัญและความจำเป็นในการอนุรักษ์ เกิดความรักความหวงแหน และให้ความร่วมมือ
อย่างจริงจัง

21

แนวคิดเกี่ยวกบั การศึกษาเพ่ือพฒั นาคุณภาพผ้เู รยี นในศตวรรษที่ 21
องคก์ ารเพือ่ การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแหง่ สหประชาชาติ (UNESCO) ได้ศึกษา

และนำเสนอแนวทางการจัดการศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21 โดยมีหลักสำคัญ คือ “สี่เสาหลัก
ทางการศึกษา” ประกอบดว้ ยการเรยี นรู้ 4 แบบ ได้แก่ 1) การเรียนรู้เพอื่ รู้ (Learning to know) คือ
การเรยี นรทู้ ม่ี ุง่ พัฒนากระบวนการคิด การแสวงหาความรู้และวธิ กี ารเรยี นรูข้ องผู้เรียนเพื่อให้สามารถ
เรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ตลอดชีวิต กระบวนการเรียนรู้เน้นการฝึกสติ สมาธิ ความจำ ความคิด
ผสมผสานกบั สภาพจริงและประสบการณใ์ นการปฏบิ ตั ิ 2) การเรยี นรเู้ พ่ือปฏิบตั ิได้ (Learning to do)
คอื การเรยี นรู้ทีม่ งุ่ พัฒนาความสามารถและความชำนาญ รวมท้งั สมรรถนะทางด้านวิชาชีพ สามารถ
ปฏิบัติงานเป็นหมู่คณะสามารถประยุกต์องค์ความรู้ไปสู่การปฏิบัติงานและอาชีพได้อย่างเหมาะสม
กระบวนการเรียนร้จู ะเป็นการบรู ณาการระหว่างความร้ภู าคทฤษฎีและการฝึกปฏบิ ตั ิท่ีเป็นประสบการณ์
ต่าง ๆ ทางสังคม 3) การเรียนรู้ทีจ่ ะอยู่ร่วมกัน (Learning to live together) คือ การเรียนรู้ที่มุง่ ให้
ผู้เรียนสามารถดำรงชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมพหุวัฒนธรรมได้อย่างมีความสุข มีความตระหนัก
ในการพง่ึ พาอาศยั ซึง่ กันและกันการแกป้ ัญหาความขัดแย้งดว้ ยสนั ตวิ ิธี มีความเคารพสิทธิและศักด์ิศรี
ความเป็นมนุษย์และเขา้ ใจความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อของแต่ละบุคคล
ในสงั คม และ 4) การเรียนรู้เพอ่ื ชีวิต (Learning to be) คอื การเรยี นรู้ทม่ี ่งุ พัฒนาผู้เรียนท้ังดา้ นจิตใจ
ร่างกาย และสติปัญญาให้ความสำคัญกับจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ ภาษา และวัฒนธรรม
เพื่อพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ศีลธรรม สามารถ
ปรับตวั และปรบั ปรงุ บคุ ลกิ ภาพของตน เข้าใจตนเอง และผู้อื่น (Delors. 1996) ทงั้ น้ี จาก 4 เสาหลัก
ของดังกล่าวสามารถพิจารณาได้ว่า การเรียนรู้เพื่อรู้ เป็นการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาสติปัญญา
การเรยี นรเู้ พ่อื ปฏิบตั ไิ ด้ เป็นการเรียนรู้ที่เน้นการพฒั นาทกั ษะ การเรียนรูท้ ีจ่ ะอยู่ร่วมกนั เปน็ การเรียนรู้
ที่เน้นมนุษยสัมพันธ์ ส่วนการเรียนรู้เพื่อชีวิตเป็นการเรียนรู้ที่เป็นพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
โดยมีความเห็นว่าการเรียนรู้ 3 แบบแรกร่วมกัน ก่อให้เกิดการเรียนรูแ้ บบที่ 4 (การเรียนรู้เพ่ือชีวิต)
โดยมคี วามสัมพนั ธข์ องการเรียนรู้ทง้ั 4 แบบ ดงั ภาพที่ 2.1

22

ภาพท่ี 2.1 ความสมั พนั ธข์ องการเรียนรู้ 4 แบบ ตามสีเ่ สาหลักของการศึกษา
ทมี่ า : อดลุ ย์ วังศรคี ูณ (2557)

1. คุณลกั ษณะของผ้เู รียนในศตวรรษที่ 21
ภาคีเครือข่ายเพื่อทักษะศตวรรษที่ 21 (Partnership for 21st Century Skills) ได้พัฒนา
กรอบงานเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (Framework for 21st Century Learning) เพื่อเตรียม
ความพร้อมใหก้ บั นกั เรยี นเป็นบคุ คลทมี่ คี ณุ ลักษณะในศตวรรษที่ 21 (Lee. 2012) ดังน้ี

1) มคี วามรอบรู้ (Mastery) ในวชิ าแกนต่อไปน้ี (1) ภาษาอังกฤษ การอ่านหรือศิลปะ
ภาษา (English, Reading or Language Art) (2) ภาษาของโลก (World Language) (3) ศิลปะ
(Arts) (4) คณติ ศาสตร์ (Mathematics) (5) เศรษฐศาสตร์ (Economics) (6) วทิ ยาศาสตร์ (Science)
(7) ภูมิศาสตร์ (Geography) (8) ประวัติศาสตร์ (History) และ (9) การปกครองและความเป็น
พลเมอื ง (Government and Civics)

2) มีความร้ใู นขอบข่ายของศตวรรษท่ี 21 (Themes of 21st Century) ประกอบดว้ ย
(1) ความตระหนักเรื่องโลก (Global Awareness) (2) พ้นื ฐานความร้เู กยี่ วกับการเงนิ เศรษฐกิจ และ
การเปน็ ผู้ประกอบการ (Financial, Economic, Business and Entrepreneurial Literacy) (3) พื้นฐาน
ด้านการเป็นพลเมือง (Civic Literacy) (4) พื้นฐานด้านสขุ ภาพ (Health Literacy) และ (5) พื้นฐาน
ด้านส่ิงแวดล้อม (Environmental Literacy)

3) มีทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม (Learning and Innovation) ประกอบด้วย
(1) ทกั ษะการสรา้ งสรรคแ์ ละนวัตกรรม (Creativity and innovation) (2) ทกั ษะความคิดเชิงวพิ ากษ์
และการแก้ปัญหา (Critical thinking and problem solving) (3) การสื่อสารและความรวมกลุ่ม
(Communication and collection) และ (4) ความร่วมมอื (Collaboration)

23

4) มีทักษะสารสนเทศ ส่อื และเทคโนโลยี (Information Media and Technology
Skills) ตอ่ ไปน้ี (1) พื้นฐานเกยี่ วกับสารสนเทศ (Information Technology) (2) พ้ืนฐานเกี่ยวกับสื่อ
(Media Literacy) และ (3) พื้นฐานเกี่ยวกับ ICT (ICT Literacy)

5) มีทักษะชีวิตและอาชีพ (Life and Career Skill) ประกอบด้วย (1) ความยืดหยุน่
และการปรับตัว (Flexibility and Adaptability) (2) ริเริ่มและชี้นำตนเอง (Initiative and Self-
Direction) (3) ทักษะทางสังคมและข้ามวัฒนธรรม (Social and Cross-Cultural Skills) (4) ความสามารถ
ในการผลิตและพันธะรับผิดชอบ (Productivity and Accountability) และ (5) ภาวะผู้นำและ
ความรบั ผดิ ชอบ (Leadership and Responsibility)

นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาจากแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579 ได้กล่าวถึง
การจัดการศึกษาในปัจจุบันจึงต้องปรับเปลี่ยนให้ตอบสนองกับทิศทางการผลิตและการพัฒนา
กำลังคน โดยมุ่งเน้นการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะในศตวรรษที่ 21 เพื่อให้ได้
ท้งั ความรู้และทักษะทีจ่ ำเปน็ ต้องใชใ้ นการดำรงชวี ติ การประกอบอาชพี และการพัฒนาเศรษฐกจิ และ
สงั คมของประเทศท่ามกลางกระแสแหง่ การเปล่ียนแปลง ซง่ึ ทักษะสำคัญจำเป็นในโลกศตวรรษที่ 21
ประกอบด้วยทกั ษะทเี่ รยี กตามคำย่อว่า 3Rs + 8Cs (สำนักงานเลขาธกิ ารสภาการศกึ ษา. 2560) ไดแ้ ก่

ภาพท่ี 2.2 ทักษะสำคัญจำเปน็ ในโลกศตวรรษที่ 21
ทม่ี า : สำนกั งานเลขาธกิ ารสภาการศึกษา (2560)

24

ในส่วนของ 3R คือ ทักษะด้านความรู้ (Hard Skills) Reading : อ่านออก อ่านจับใจความได้
มีนิสัยรักการอ่าน (W)Riting : เขียนได้ สามารถสื่อสารให้คนอื่นเข้าใจ ย่อความเป็น สรุปใจความ
สำคญั ได้ รวู้ ธิ กี ารเขยี นหลาย ๆ แบบ (A)Rithemetics : คิดเลขเปน็ มีทกั ษะในการคิดแบบนามธรรม
โดยที่ 8C คือ ทักษะทางอารมณ์ (Soft Skills) Critical Thinking and Problem Solving : ทักษะ
ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา Creativity and Innovation : ทักษะ
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม Cross-cultural Understanding : ทักษะด้านความเข้าใจความ
ต่างวัฒนธรรม ตา่ งกระบวนทศั น์ Collaboration, Teamwork and Leadership : ทกั ษะดา้ นความ
ร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ Communications, Information, and Media Literacy :
ทักษะด้านการสื่อสารสารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ Computing and ICT Literacy : ทักษะด้าน
คอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสอื่ สาร Career and Learning Skills : ทกั ษะอาชีพ
และทักษะการเรยี นรู้ Compassion : มีความเมตตากรณุ า มคี ณุ ธรรม และระเบยี บวินยั

สอดคล้องกับ วิจารณ์ พานิช (2555) ทีไ่ ด้กล่าวถึง ทักษะเพ่อื การดำรงชวี ติ ในศตวรรษท่ี 21
ว่าสาระวชิ ามีความสำคญั แต่ไมเ่ พยี งพอสำหรบั การเรยี นรเู้ พ่ือการดำรงชวี ิตในศตวรรษท่ี 21 ปัจจุบัน
การเรียนรู้สาระวิชา (Content หรือ Subject Matter) ควรเป็นการเรียนจากการค้นคว้าเอง
ของผู้เรียน โดยครูช่วยแนะนำ และช่วยออกแบบกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนแต่ละคนสามารถประเมนิ
ความก้าวหน้าของการเรียนรูข้ องตนเองได้ โดยคุณลักษณะจำเป็น 8 ประการสำหรับผู้เรียนยุคใหม่
ประกอบดว้ ย

1) ความรับผดิ ชอบและพง่ึ พาตนเองในการเรียนรู้ (Autonomous Learning) หมายถึง
ความสามารถของผู้เรียนในการวางแผนการเรียนรู้ของตนเอง ตั้งเป้าหมายการเรียนรู้ของตน รู้จัก
วิธีการในการไปถึงเป้าหมายนั้น ๆ อย่างยืดหยุ่น ตลอดจนการมีวินัยในการเรียนรู้ของตนเอง โดยที่
ไม่ต้องให้มีผู้ใดมาบังคับ รวมทั้งการมีความเป็นผู้ใหญ่ภายในตนเอง ทักษะประการแรกนี้ ถือว่า
มีความสำคัญมากเป็นอันดับแรก และเป็นทักษะที่ต้องการการปลูกฝังไม่เพียงแต่จากครูผู้สอน
จากระบบการศึกษาหรือจากสังคมเท่านั้น หากยังต้องอาศัยสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
การปลกู ฝงั จากครอบครวั เป็นสำคญั

2) ทักษะด้านการคิด (Thinking Skills) หมายถึง การที่ผู้เรียนสามารถพัฒนาหรือ
ได้รับการฝึกฝนทักษะการคิดอย่างมีระบบ ส่งผลให้สามารถคิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ การฝึกฝน
ทักษะด้านการคิดนั้นประกอบไปด้วยการคิดในหลายลักษณะที่สำคัญได้แก่ การพัฒนาทักษะการคดิ
อย่างสรา้ งสรรค์ (Creative Learners) การคิดวเิ คราะห์ (Analytical Thinkers) การคดิ ไตรต่ รอง (Reflective
Thinking) รวมทงั้ ทักษะในการคิดแกป้ ญั หา (Problem Solvers)

3) ทกั ษะในการทำงานรว่ มกับผู้อืน่ อย่างมีประสิทธิภาพ (Effective Collaborators)
หมายถึง การที่ผู้เรียนมีความสามารถในการประสานงานกบั ผู้อืน่ ได้เป็นอย่างดี มีทักษะของการเป็น

25

ผู้นำรวมท้งั การเป็นผู้ตามทีด่ ี สามารถส่อื สารกบั ผู้อื่นในการดำเนนิ งานต่าง ๆ เช่น การมอบหมายงาน
การถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ เปา้ หมายรว่ มกนั ให้กบั ผรู้ ่วมงานอ่นื ๆ ได้ รวมทัง้ การเปน็ ผ้ฟู งั และ
ผ้รู ่วมปฏบิ ตั ิงานทีด่ ี โดยผเู้ รียนควรไดร้ บั การฝึกให้มีทักษะในการเรยี นรู้แบบมีส่วนร่วม (Collaborative
Learning) ซึ่งทักษะที่ต้องมุ่งเน้น ได้แก่ ทักษะพื้นฐานด้านการสื่อสาร (Communication Skill)
อยา่ งมปี ระสิทธภิ าพ

4) ทักษะในการสืบเสาะค้นหา (Enquirers) หมายถึง การที่ผู้เรียนมีคุณลักษณะ
ของการเป็นนักสำรวจที่ดีชอบที่จะศึกษาค้นคว้าสิ่งต่าง ๆ เพื่อพิสูจน์สมมติฐานของตน โดยสังเกต
เปรยี บเทียบความเหมอื นความแตกต่าง รวมทงั้ สืบคน้ เพอื่ การศึกษาค้นคว้า ความรู้ ข้อมูล สารสนเทศ
ที่มีอยู่อย่างมหาศาลทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ทักษะสำหรับการสืบเสาะค้นหานี้ ครอบคลุมการท่ี
ผู้เรียนจะต้องมีทักษะในการเลือกสรร/คัดกรองสารสนเทศที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถค้นหา
สารสนเทศที่ต้องการได้อย่างเทีย่ งตรง รวดเร็ว อย่างมีประสทิ ธภิ าพ

5) ความกระตือรือร้น (Active Learners) หมายถึง การที่ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้เรียน
ในลักษณะเชงิ รุก กลา่ วคอื ไม่เปน็ เพยี งผฟู้ งั (น่ิง ๆ) ทีด่ ีในชัน้ เรยี นหรอื ในการเรียนออนไลน์ ผู้เรยี นเชิงรุก
คือ การที่ผู้เรียนจะต้องเปน็ ผู้ร่วมมือที่ดีของผูเ้ ชี่ยวชาญในการเรียนรู้ด้วยตนเอง สำหรับในการเรียน
จากผู้เชี่ยวชาญนั้น ผู้เรียนควรให้ความใส่ใจในการเรียนรู้ (Attentive) ศึกษาเนื้อหา รู้จักถาม/ตอบ
คำถามในบริบทที่เอ้ืออำนวยต่อการเรียนรู้ที่มคี วามหมายให้ดียิง่ ขึ้น รวมทั้ง การฝึกฝนทักษะในด้าน
การแสดงออกหรอื แสดงความคดิ เห็นอย่างเหมาะสมและถูกกาลเทศะ

6) ทักษะพื้นฐานด้านไอซีที (ICT Skills) ในที่นี้ไม่ได้หมายเฉพาะถึงการที่ผู้เรียน
มีทักษะพื้นฐานในด้านการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ หรือโปรแกรมสำนักงานเท่านั้น
หากหมายรวมถึงการที่ผู้เรียนสามารถดแู ลรกั ษาเคร่ืองมือและ/หรือระบบตา่ ง ๆ ได้ในระดับพื้นฐาน
นอกจากนี้ยังหมายถึงความสามารถของผู้เรียนในการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสื่อสาร
โทรคมนาคมในการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ครอบคลุมทักษะต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ทักษะ
ในการสืบค้น (Search Skills) ทักษะในด้านการใชเ้ ครื่องมอื ตดิ ต่อสื่อสารผ่าน ICT และ/หรือ ทักษะ
ในการเลอื กใช้ซอฟตแ์ วรท์ ่เี หมาะสม เป็นต้น

7) ทักษะในด้านการใชภ้ าษาสากล (Second Language Skills) หมายถงึ การพัฒนา
ผู้เรยี นให้มีทกั ษะ ความรู้ และความสามารถในการใช้ภาษาท่ีสอง เปน็ ภาษาที่ไมใ่ ชภ่ าษาแม่หรอื ภาษาหลัก
ของสังคมที่ตนอาศัยอยู่ในระดับที่สามารถติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี ภาษาสากลสำหรับ
สังคมไทยที่ถือได้ว่าสำคัญมากที่สุดคือ ภาษาอังกฤษ เพราะถือเป็นภาษาสากลที่ได้รับการนำไปใช้
อย่างแพร่หลายมากที่สุดในโลกอินเทอร์เน็ต ดังนั้น ในการเตรียมความพร้อมของผู้เรียนสำหรับ
การเรยี นรูใ้ นยุคสมยั หนา้ นนั้ ควรมีการเตรยี มพรอ้ มผู้เรยี นในด้านภาษาองั กฤษ

26

8) ความสนใจในวัฒนธรรม (Engaged with Cultures) และความตระหนักถึง
ความเป็นไปในโลก (World Awareness) หมายถึง การปลูกฝังให้ผู้เรยี นเป็นผู้ที่ใส่ใจและเห็นคุณค่า
ในวัฒนธรรมของตนเอง อย่างน้อยในระดับที่เพียงพอที่จะทำให้รู้จักตนเอง รู้จัก “ราก” หรือ
ประวัติศาสตร์ของตนเองและสังคมที่อาศัยอยู่ (Self - Identity) เพื่อจะได้สามารถเปรียบเทียบความ
เหมือน หรือแตกต่างกับสังคม/โลกรอบตนเองได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคแห่งโลกาภิวัฒน์
(Globalization) ซ่ึงการเชื่อมต่อกันบนโลกสามารถเกิดข้นึ ได้ภายในพริบตา ความแตกต่างทางวัฒนธรรม
นับวันจะน้อยลงทุกที การที่พลเมืองในสังคมใดสามารถจะคงไว้ในวัฒนธรรมที่ดีของตนเองไว้ได้
ในขณะเดียวกันก็สามารถเปดิ รับวัฒนธรรมและความเป็นไปในทางที่ดขี องโลกภายนอกไดก้ ็จะทำให้
สงั คมนั้นมคี วามไดเ้ ปรยี บเหนอื สังคมท่ไี ม่รู้จกั เห็นคณุ ค่าในวฒั นธรรมของตนเอง และคอยท่ีจะรับเอา
วฒั นธรรมของคนอ่นื ๆ เข้ามาเพียงทางเดยี ว

เมอ่ื พจิ ารณาทกั ษะในศตวรรษที่ 21 ดังทไ่ี ด้กลา่ วมาแลว้ Gardner (2009) ไดเ้ สนอแนวคิด
ที่ลึกซึ้งกวา่ เรือ่ งของทักษะ ซึ่งเก่ียวกับส่ิงที่คนในอนาคตตอ้ งมีเรียกว่า จิตห้าลักษณะสำหรับอนาคต
(Five Minds for the Future) ประกอบด้วย 1) จิตเชี่ยวชาญ (Disciplined Mind) หมายถึง มีความรู้
และทักษะในวชิ าในระดบั ทีเ่ รียกวา่ เชีย่ วชาญสามารถพัฒนาตนเองในการเรยี นรอู้ ยูต่ ลอดเวลา 2) จติ รู้
สังเคราะห์ (Synthesizing Mind) หมายถึง ความรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง นำมากลั่นกรอง คัดเลือก
เอาเฉพาะศึกษาที่สำคัญ และจัดระบบนำเสนอใหม่อย่างมีความหมาย 3) จิตสร้างสรรค์ (Creative
Mind) หมายถึง การทำเกิดสิ่งใหม่ ๆ โดยอาศัยการจินตนาการแหวกแนวออกไปจากขอบเขตหรือ
วิธีการเดิม ๆ 4) จิตรู้เคารพ (Respectful Mind) หมายถึง การให้เกียรติและยอมรับในความเป็น
ตัวตนของผู้อื่น และ 5) จิตรู้จริยธรรม (Ethical Mind) หมายถึง การยึดแนวทางของจริยธรรม
เป็นแนวทางปฏบิ ัติ ทง้ั น้ี จิตเชยี่ วชาญ จิตรสู้ ังเคราะห์ และจติ สร้างสรรค์ เปน็ จิตทเ่ี ก่ียวข้องกับการรู้คิด
สว่ นจติ รู้เคารพ และจิตรูจ้ รยิ ธรรม เป็นจติ ท่ีเก่ียวข้องกบั ความเปน็ มนษุ ย์

สรุปไดว้ า่ การเรยี นสมยั ใหม่ต้องไม่ใช่แค่เพือ่ ใหไ้ ด้ความรู้ แต่ตอ้ งไดท้ กั ษะ สมรรถนะ และ
ความเป็นมนุษย์ หรือเพื่อให้เกดิ คุณลักษณะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่สำคญั
ตอ่ การเรียนรใู้ นสง่ิ แวดลอ้ มและความต้องการจำเป็นตามบริบทของศตวรรษที่ 21 อยา่ งมีประสิทธิภาพ
ซึ่งนอกจากตัวผู้เรียนเองแล้วนั้น ผู้สอนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาเรียนรู้ครอบครัว
และผู้เกี่ยวข้องทกุ ฝ่ายควรหันมาให้ความสำคญั กับคุณลักษณะดังกลา่ ว โดยต้องสร้างด้วยการฝึกฝน
อย่างต่อเนื่องผ่านการลงมือปฏบิ ัตจิ รงิ มีครูหรือผู้ปกครองทำหนา้ ทีค่ อยใหค้ ำแนะนำหรือแนะแนวทาง
เพ่ือร่วมกันเตรียมความพรอ้ มสำหรบั ผู้เรยี นตอ่ ไป

27

2. แนวทางการจัดการเรยี นรใู้ นศตวรรษที่ 21
การจัดทำแนวทางการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษท่ี 21 ที่เน้นทักษะ สมรรถนะ และความเป็น
มนุษย์ หรือเพื่อให้เกิดคุณลักษณะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ยึดกรอบของระบบสนับสนุน
การเรยี นรู้ในศตวรรษที่ 21 (วจิ ารณ์ พานชิ . 2555) ดังนี้

1) ระบบมาตรฐานการเรียนร้ใู นศตวรรษที่ 21 (21st Century Standards) ประกอบดว้ ย
(1) การใช้ขอ้ มูลความจริงจากกระบวนการสังเกต ตง้ั ประเดน็ คำถามจากแหล่งเรียนรู้ชุมชนเชอื่ มโยงไปสู่
สาระการเรียนรู้รายวิชา (2) การบูรณาการความรู้ และความซ้ำซ้อนของเนื้อหาสาระ (3) การสร้าง
ทักษะการสืบค้น รวบรวมความรู้ (4) การสร้างความรู้ ความเข้าใจเชิงลึกมากกวา่ แบบผิวเผิน (5) การสร้าง
ความเชี่ยวชาญตามความถนัดและสนใจให้เกิดกับผู้เรียน และ 6) การใช้หลักการวัดประเมินผลที่มี
คณุ ภาพระดบั สูง

2) ระบบการประเมินทักษะในศตวรรษที่ 21 (Assessment of 21st Century Skills)
ประกอบด้วย (1) สร้างความสมดุลในการประเมินผลเชิงคุณภาพ (ความรู้ ความถนัดสาขาอาชีพ
ทัศนคติต่อการทำงานและอาชีพ) (2) นำประโยชน์ของผลสะท้อนจากการปฏิบัติของผู้เรียน
มาปรบั ปรงุ การแก้ไขงาน (เคร่ืองมือวดั ผลตามสภาพจรงิ การปฏิบตั ิ ทศั นคติ และความรู้) (3) ใช้เทคโนโลยี
เพื่อยกระดับการทดสอบวัดและประเมินผลให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด (คลังข้อสอบระบุตัวชี้วัด
มาตรฐานรายวิชา ระบุระดับขั้นพฤติกรรม) และ (4) สร้างและพัฒนาระบบแฟ้มสะสมงาน
(Portfolios) และเส้นทางการศึกษาต่อสู่การประกอบอาชีพ (Career Path) ของผู้เรียนให้เป็นมาตรฐาน
และมคี ุณภาพ

3) ระบบหลักสูตรและการสอนในศตวรรษที่ 21 (21st Century Curriculum and
Instruction) ประกอบด้วย (1) สอนให้เกิดทักษะการเรียนในศตวรรษที่ 21 มุ่งเน้นเชิงสหวิทยาการ
(Interdisciplinary: ความรู้ที่ได้จากหลายสาขาวิชาประกอบกัน) ของวิชาแกนหลัก (2) สร้างโอกาส
ที่จะประยุกต์ทกั ษะเชิงบูรณาการข้ามสาระเน้ือหา และสรา้ งระบบการเรียนรู้ทีเ่ นน้ สมรรถนะเป็นฐาน
(Competency - based) (3) สรา้ งนวัตกรรมและวิธกี ารเรียนร้ใู นเชิงบรู ณาการทมี่ ีเทคโนโลยีเป็นตัว
เกื้อหนุน การเรียนรู้แบบสืบค้น และวิธีการเรยี นจากการใช้ปัญหาเปน็ ฐาน (Problem-based) และ
(4) บูรณาการแหล่งเรียนรู้ (Learning Resources) จากชุมชนเข้ามาใช้ในโรงเรียนตามกระบวนการ
เรียนรแู้ บบ Project Based Learning: PBL

4) ระบบการพัฒนาทางวิชาชพี ในศตวรรษที่ 21 (21st Century Professional Development)
ประกอบด้วย (1) ฝึกฝนทักษะความรู้ความสามารถในเชิงบูรณาการ (2) ใช้มิติของการสอน
ด้วยเทคนิควิธีการสอนที่หลากหลาย (3) ฝึกฝนทักษะความรู้ความสามารถในเชิงลึกเกี่ยวกับ
การแก้ปัญหา การคิดแบบวิจารณญาณ (4) สามารถวเิ คราะห์ผูเ้ รียนได้ท้ังรูปแบบการเรยี น สตปิ ญั ญา
จุดอ่อน จุดแข็ง ในตัวผู้เรียนและสามารถวิจัยเชิงคุณภาพที่มุ่งผลต่อคุณภาพของผู้เรยี น (5) พัฒนา

28

ความสามารถให้สูงขึ้น นำไปใช้สำหรับการกำหนดกลยุทธ์และจัดประสบการณ์ทางการเรียน
ได้เหมาะสมกับบริบททางการเรียนรู้ (6) ประเมินผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างทักษะและเกิดการ
พัฒนาการเรียนรู้ และ (7) แบ่งปันความรู้ระหว่างชุมชนทางการเรียนรู้ โดยใช้ช่องทางหลากหลาย
ในการสอื่ สารใหเ้ กดิ ขึน้

5) ระบบสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (21st Century Learning
Environment) ประกอบด้วย (1) สร้างสรรค์แนวปฏิบัติทางการเรียน การรับการสนับสนุน
จากบุคลากรและสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่เกื้อหนุน เพื่อช่วยให้การเรียนการสอนบรรลุผล
(2) สนับสนุนทางวิชาชีพแก่ชุมชนทั้งในด้านการให้การศึกษา การมีส่วนร่วม การแบ่งปันสิ่งปฏิบัติ
ที่เป็นเลิศระหว่างกัน รวมทั้งการบูรณาการหลอมรวมทักษะหลากหลายสู่การปฏิบัติในชั้นเรียน
(3) สร้างผู้เรียนเกดิ การเรียนรูจ้ ากสิ่งที่ปฏิบัติจริงตามบริบท โดยเฉพาะการเรียนแบบโครงงาน และ
(4) สรา้ งโอกาสในการเข้าถึงส่อื เทคโนโลยเี ครอ่ื งมือหรือแหลง่ การเรียนร้ทู ม่ี ีคุณภาพ

จะเห็นได้ว่าการเรียนรู้ภายใต้แนวทางการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เป็นผลของ
การลงมือทำและการคิดของผู้ที่จะเรียนเท่านั้น กล่าวคือผู้เรียนต้องเป็นผู้ลงมือทำและคิดไตร่ตรอง
โดยการเรียนรูเกดิ จากภายในตนของผู้เรียน (วิจารณ์ พานิช. 2555) โดยมีหลัก 7 ประการของการสอน
ที่ดี ได้แก่ ประการที่ 1 ต้องเข้าใจเรื่องความรู้เดิมของผู้เรียนว่าโลกสมัยนี้ผู้เรียนในแต่ละชั้นจะมี
ความรู้เดิมที่แตกต่างกันมาก เพราะว่าผู้เรียนสามารถหาความรู้เองได้โดยง่าย ขึ้นอยู่กับการไขว่คว้า
หาความรู้ของแต่ละคน แต่ที่สำคัญยิ่งกว่าน้ันในเรื่องความรูเ้ ดิมก็คอื ผู้เรียนจำนวนหน่ึงมีความรู้เดมิ
ทีผ่ ดิ ๆ ติดตัว ครตู อ้ งเข้าใจและหาวธิ ีตรวจสอบให้พบ รวมถงึ หาทางแก้ ไมอ่ ยา่ งน้นั ผู้เรียนจะผดิ ไปเรื่อย ๆ
และพอเรยี นชั้นต่อ ๆ ไป ก็จะเรียนไม่รู้เรื่องและเบือ่ หนา่ ยการเรียน ประการที่ 2 คือ การจัดระบบความรู้
(Knowledge Organization) ซึ่งมคี วามสำคัญต่อการเรียนรู้ คนที่เรียนหนังสอื เกง่ เรยี นหนังสือดี และ
ฉลาด คือคนท่ีสามารถจัดระเบียบความรู้ในสมองได้ดี คนไหนจดั ระบบดคี นน้ันก็จะสามารถนำความรู้
มาใช้ได้ทันท่วงทีและถูกกาลเทศะ คนไหนที่ไมร่ ู้จักวธิ ีจัดระบบความรู้คนนัน้ ก็จะใชค้ วามรู้ไดไ้ มด่ ี และ
เรียนหนังสือได้ไม่ดี ประการที่ 3 คือ แรงจูงใจ (Motivation) แต่ที่ลึกกว่าแรงจูงใจคือแรงบันดาลใจ
(Inspiration) ครูจะตอ้ งมีวธิ แี ละเอาใจใสที่จะสร้างแรงจูงใจหรือแรงบนั ดาลใจให้ผู้เรยี น ประการที่ 4
คือ การเรยี นที่ถูกต้อง ผ้เู รยี นต้องเรยี นจนรูจ้ รงิ เรยี กว่า Mastery Learning ซง่ึ จะชว่ ยสร้างความสุข
ในการเรียนรู้ของผู้เรียน ประการท่ี 5 คือ การสอนโดยการปฏิบัติและป้อนกลับ กล่าวคือครูที่ดี
ทั้งหลายจะรวมตัวรว่ มกนั ออกแบบการเรียน ดูวา่ ต้องการใหเ้ รยี นรู้อะไร ออกแบบอย่างไร ให้ผู้เรียน
ทำอะไร และเพ่ือใหไ้ ด้อะไร และวดั ได้อย่างไร เพ่ือจะใหผ้ ้เู รยี นได้ลงมอื ปฏิบัติ พรอ้ มทั้งต้องปอ้ นกลับ
(Feedback) ให้เรียนแล้วเกิดความสุข เกิดความมั่นใจในตัวเอง รู้ว่าตรงไหนตัวทำได้ดี รู้ว่าตรงไหน
ตัวจะต้องปรับปรุง ประการที่ 6 คือ พัฒนาการของผู้เรียนและบรรยากาศของการเรียน การเรียน
สมัยใหม่ต้องเรียนเป็นทีมเรียกว่า Team Learning นี่คือหลักการเรียนที่สำคัญที่สุดต้องเรียนรวมกัน

29

เปน็ กลมุ่ หลายคน โดยสว่ นทส่ี ำคญั ยง่ิ กว่าวิชา คอื พฒั นาการทางอารมณ์ (Emotional Development)
พฒั นาการทางสังคม (Social Development) พฒั นาการทางด้านจิตวญิ ญาณ (Spiritual Development)
และพัฒนาการทางด้านร่างกาย (Physical Development) อาจจะเติมพัฒนาการทางด้านสุนทรียะ
ของจิตใจ เห็นความงามของศิลปะของธรรมชาติ ซึ่งถือเป็นการเรียนท่ีเรียกว่าครบทุกด้านสำหรับ
พัฒนาการของผู้เรียน และประการที่ 7 คือ การเป็นผู้ที่สามารถกำกับการเรียนรู้ของตนเองได้ (Self -
directed Learner) ซึ่งครูต้องฝึกให้ผู้เรียนกล่าวคือครูจะต้องสามารถทำให้ผู้เรียนเกิดความสามารถ
หรือทักษะในการกำกับการเรียนรู้ให้กับตัวเอง ที่สำคัญคือให้ผู้เรียนรู้ว่าตัวเองมีวิธีการเรียนอย่างไร
และปรับปรงุ วธิ กี ารเรยี นของตัวเองได้ (Ambrose, et al. 2010)

ดังนั้น การออกแบบการเรียนรู้ ครูผู้ออกแบบจำเป็นต้องบูรณาการศาสตร์ด้านจิตวิทยา
การเรยี นรแู้ ละพฒั นาการของผู้เรียนด้วย โดยคำนึงถึงพลงั สมอง 5 ดา้ น ทค่ี นในอนาคตจะตอ้ งมีซึ่งพลัง
สมอง 3 ใน 5 ด้านนี้เป็นพลังเชิงทฤษฎีหรือที่เรียก Cognitive Mind ได้แก่ สมองด้านวิชาและวินัย
สมองด้านสังเคราะห์ (Synthesizing Mind) และสมองด้านสร้างสรรค์ (Creating Mind) อีก 2 ด้าน
เป็นพลังด้านมนุษย์สัมผัสมนุษย์ ได้แก่ สมองด้านเคารพให้เกียรติ (Respectful Mind) และสมอง
ด้านจริยธรรม (Ethical Mind) การเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมอง 5 ด้าน ต้องไม่ดำเนินการแบบแยกส่วน
แต่เรยี นรู้ทุกด้านไปพรอ้ ม ๆ กนั หรือทเ่ี รียกว่าเรียนรู้แบบบูรณาการ และไมใ่ ช่เรียนจากการสอนแต่ให้
ผู้เรยี นได้ลงมอื ทำเอง ซงึ่ ครจู งึ มีความสำคัญมากในการออกแบบการเรยี นรู้ (วจิ ารณ์ พานชิ . 2555)

จะเห็นได้วา่ แนวทางการจัดการเรยี นรู้ในศตวรรษที่ 21 วิชาแกนหลักจะนำมาสู่การกำหนด
เปน็ กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์สำคัญต่อการจัดการเรียนรู้ในเน้ือหาเชงิ สหวิทยาการ (Interdisciplinary)
โดยการส่งเสริมความเข้าใจในเนื้อหาวิชาแกนหลัก และสอดแทรกทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เข้าไป
ในทุกวิชาแกนหลัก ซึ่งโดยสรุปแล้ว การศึกษาเพ่ือพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 คือ ระบบ
การศึกษาที่มีคณุ ภาพ สามารถพฒั นาผูเ้ รยี นให้บรรลุขดี ความสามารถและเตม็ ตามศักยภาพ (Quality)
ประชาชนทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพและมาตรฐาน เพื่อพัฒนาคุณลักษณะ ทักษะ
ความรู้ความสามารถ และสมรรถนะของแต่ละบคุ คลใหไ้ ปได้ไกลทีส่ ดุ เทา่ ทีศ่ ักยภาพและความสามารถ
ของแต่ละบุคคลพึงมี ภายใต้ระบบเศรษฐกิจสังคมฐานความรู้สังคมแห่งปัญญา และการสร้าง
สภาพแวดล้อมที่เอือ้ ต่อการเรียนรู้ท่ีประชาชนสามารถเรียนรู้ได้อยา่ งตอ่ เนื่องตลอดชีวติ มีคุณธรรม
จริยธรรมและสามารถดำรงชีวิตไดอ้ ยา่ งเปน็ สขุ ตามหลกั ปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพยี ง กล่าวคอื ระบบ
การศึกษาที่มีคุณภาพและมาตรฐาน สนองตอบและก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ 21
สามารถพัฒนาทักษะ คุณลักษณะ และสมรรถนะในการทำงานของกำลังคนในประเทศให้สอดคล้อง
กบั ความตอ้ งการของตลาดงาน สังคม และประเทศ ภายใตย้ ทุ ธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ด้วยการศกึ ษา
ที่สร้างความมั่นคงในชีวิตของประชาชน สังคม และประเทศชาติ รวมถึงการสร้างเสริมการเติบโต
ท่ีเป็นมิตรกบั สิง่ แวดล้อม

30

หลักการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรกั ษพ์ งไพร
การศึกษายุคใหม่ผู้เรียนจำเป็นต้องเรียนรู้ที่ถูกต้องเพื่อพัฒนาคุณลักษณะ ทักษะ ความรู้

ความสามารถ และสมรรถนะของแตล่ ะบคุ คลให้เต็มศักยภาพ ด้วยการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อตอ่
การเรียนรู้ ซึ่งรูปแบบการจัดการเรียนรู้ต้องปรับปรุงพัฒนาให้เหมาะสม ครูต้องเปลี่ยนบทบาท
จาก Lecturer (ผู้สอน) เป็น Facilitator (ผู้อำนวย) ในขณะที่โรงเรียนต้องมีการปรับตัวและ
เปดิ โอกาสให้มีการสร้างหลกั สูตรใหม่ ๆ อย่างรวดเร็ว รวมทัง้ ผู้ปกครองตอ้ งมสี ่วนรว่ มและทำความเข้าใจ
กับการศึกษาที่ปรับเปลี่ยนไป โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาถึงมิติการสร้างเสริมการเติบโตที่เป็นมิตร
กับสง่ิ แวดล้อม ร่วมกบั การขับเคลือ่ นดา้ นการศึกษาขัน้ พนื้ ฐาน ซงึ่ นำหลกั การ แนวคดิ ทฤษฎใี นระดบั สากล
มาปรบั ใช้ รวมถึงศึกษาพระราชกรณียกจิ ท่สี ำคัญดา้ นการอนรุ กั ษ์ทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละสิ่งแวดล้อม
ของสถาบันพระมหากษตั รยิ ์ทกุ พระองค์ พร้อมท้งั นอ้ มนำมาเปน็ แนวทางในการดำเนินงาน ซง่ึ หนงึ่ ใน
การขับเคลือ่ นสำคญั คือ การดำเนินงานโครงการคา่ ยเยาวชน...รกั ษ์พงไพร ที่ได้รับพระมหากรุณาธิคณุ
พระราชทานชอ่ื โครงการวา่ ค่าย “เยาวชน...รักษ์พงไพร เฉลมิ พระเกยี รติ 60 พรรษา สมเดจ็ พระเทพ
รตั นราชสุดาฯ สยามบรมราชกมุ ารี” จากสมเดจ็ พระกนิษฐาธริ าชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรตั นราชสุดาฯ
สยามบรมราชกมุ ารี โดยเรม่ิ ดำเนินการต้งั แต่ปี 2558 ร่วมกับมูลนธิ ิสวนสมเดจ็ พระนางเจา้ สริ ิกิติ์ฯ ซ่ึงมี
ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ (ประธานองคมนตรี) เป็นประธานฯ พร้อมทั้งภาคีเครือข่าย
ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง มีกลุ่มเป้าหมายคือนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4 - 6
โดยเรียนรู้ ณ แหล่งศกึ ษาธรรมชาตใิ นภูมภิ าคต่าง ๆ (สำนกั พัฒนานวัตกรรมการจัดการศกึ ษา. 2558)
ซงึ่ เม่อื พจิ ารณาถึงกรอบแนวทางการยกระดบั การพัฒนาและเสริมสรา้ งนกั เรียนให้มคี ุณลักษณะอนั พงึ ประสงค์
ต่อการอนรุ ักษ์ทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละสิ่งแวดล้อม มีรายละเอียดดงั นี้

1. คุณลักษณะเยาวชนรักษพ์ งไพร
เป้าประสงค์หนึ่งในการสร้างความเข้มแข็งให้กับทุนมนุษย์ซึ่งเป็นพื้นฐานในการพัฒนา
ประเทศระยะยาว โดยเฉพาะในดา้ นการอนรุ กั ษ์ทรัพยากรธรรมชาตแิ ละสิง่ แวดล้อม คอื การส่งเสริม
ให้ผูเ้ รยี นมีคุณลักษณะเยาวชนรักษพ์ งไพร ซ่ึงจะเป็นเป้าหมายการยกระดับแนวทางการจัดการศึกษา
เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่มุ่งเน้นการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรม
การเรียนรู้เพื่อพัฒนาความเป็นพลเมือง (Civic Education) มีทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต
ในศตวรรษที่ 21 และส่งเสริมการอยู่ร่วมกนั ในสงั คมพหวุ ฒั นธรรม รวมถงึ การธำรงรักษาสถาบันหลัก
ของชาติ พร้อมทั้งการให้ความสำคัญต่อการศึกษาว่าเป็นกลไกที่สำคัญในการปลูกฝังค่านิยมแนวคดิ
เรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างเจตคติและจิตสำนึก
ต่อสิง่ แวดล้อมแก่ผูเ้ รียนไดอ้ ยา่ งมคี ณุ ภาพ โดยพจิ ารณารว่ มกับแนวคดิ ดังตอ่ ไปนี้

1) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ (Desired Characteristics) คือ ลักษณะที่ต้องการให้
เกิดขึ้นกับผู้เรียน อันเป็นคุณลักษณะที่สังคมต้องการในด้านคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม จิตสำนึก

31

สามารถอยู่ร่วมกับผูอ้ ื่น ในสังคมได้อย่างมีความสุข ทั้งในฐานะพลเมืองและพลโลก โดยคุณลักษณะ
อันพึงประสงค์ของผู้เรียน 8 ข้อ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
ทีผ่ ู้เรยี นควรทราบ ควรระลึก และต้องหมั่นปฏบิ ตั อิ ยู่เสมอ มีดังน้ี (1) รกั ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ มตี ัวช้ีวัด
คือ เป็นผลเมืองที่ดีของชาติ ธำรงไว้ซึ่งความเป็นไทย ศรัทธา ยึดมั่นและปฏิบัติตนตามหลักศาสนา
และเคารพเทดิ ทนู สถาบนั พระมหากษัตริย์ (2) ซ่ือสัตยส์ จุ รติ มีตวั ชีว้ ดั คอื ประพฤติตรงตามความเป็น
จริงต่อตนเองทัง้ กาย และวาจา ใจ และประพฤตติ รงตามเปน็ จริงต่อผู้อ่ืนทัง้ กาย วาจา ใจ (3) มีวินัย
มีตัวชี้วัดคือ ประพฤติตามข้อตกลง กฎเกณฑ์ ระเบียบข้อบังคับของครอบครัว โรงเรียน และสังคม
(4) ใฝ่เรียนรู้ มีตัวชี้วัดคือ ตั้งใจเพียรพยายามในการเรียน และเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ และ
แสวงหาความรู้รู้จากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียนด้วยการเลือกใช้ส่ือ
อย่างเหมาะสม สรุปเป็นองค์ความรู้ และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ (5) อยู่อย่างพอเพียง
มีตัวชี้วัดคือ ดำเนินชีวิตอย่างพอประมาณ มีเหตุผล รอบคอบ มีคุณธรรม และมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
ปรับตัวเพื่ออยูใ่ นสังคมได้อย่างมคี วามสขุ (6) มุ่งมั่นในการทำงาน มีตัวชี้วัดคือ ตั้งใจและรับผิดชอบ
ในหน้าที่การงาน และทำงานด้วยความเพียรพยายามและอดทนเพื่อให้สำเร็จตามเป้าหมาย
(7) รักความเป็นไทย มีตัวชี้วัดคือ ภาคภูมิใจในขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปะ วัฒนธรรมไทย และ
มีความกตัญญูกตเวที และเห็นคุณค่าและใช้ภาษาไทยในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และ
อนุรักษแ์ ละสืบทอดภูมปิ ัญญาไทย และ (8) มจี ติ สาธารณะ มีตวั ช้ีวัดคอื ชว่ ยเหลือผอู้ นื่ ด้วยความเต็มใจ
โดยไม่หวงั ผลตอบแทน และเขา้ รว่ มกิจกรรมทเี่ ปน็ ประโยชนต์ อ่ โรงเรยี น ชมุ ชน และสงั คม (สำนักวชิ าการ
และมาตรฐานการศึกษา. 2551)

2) คุณลักษณะพลเมืองอาเซียน (ASEAN Citizen) คือ ลักษณะความเป็นพลเมือง
ทีต่ ้องการร่วมกันของประเทศอาเซียนท้ัง 10 ประเทศ หรือเรยี กวา่ ความเปน็ พลเมอื งอาเซยี น (ASEAN
Citizenship) ซึ่งอยู่ภายใต้กฎกติกาของประชาคมอาเซียน ซึ่งมีสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบ
ตามกรอบกฎกติกาของประชาคมอาเซียนและกฎบัตรอาเซียน (ละเอียด แจ่มจันทร์, และสายสมร
เฉลยกิตติ. 2557) ซงึ่ คุณลักษณะพน้ื ฐานของพลเมอื งอาเซยี น ประกอบดว้ ย (1) มคี วามรู้ความเข้าใจ
เกี่ยวกับอาเซียนและความเป็นพลเมืองอาเซียนที่ดี (2) มีทักษะในการสื่อสาร รูปแบบการสื่อสาร
ที่สำคัญที่สุดก็คือการสื่อสารด้วยภาษาทั้งภาษาพูดและ ภาษาเขียน พลเมืองอาเซียนทุกคนต้องมี
ความสามารถในการส่อื สารด้วยภาษาองั กฤษได้รวมท้ังภาษาของประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนด้วยกนั เอง
ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ควรเรียนรู้ให้สามารถสื่อสารได้ โดยเฉพาะประเทศที่มีขอบเขตประเทศติดกัน
(3) มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างสร้างสรรค์ เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information
Technology: IT) ได้แก่ คอมพิวเตอร์ซอฟแวร์ คอมพิวเตอรฮ์ ารด์ แวร์ การติดต่อส่ือสาร การบริหาร
และการดำเนนิ งาน รวมทั้งเพ่ือการศกึ ษาและการเรยี นรู้ ดังน้นั เทคโนโลยีสารสนเทศจึงเปน็ เคร่ืองมือ
และปัจจัยที่สำคัญที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ สังคม ช่วยทำให้มนุษย์สามารถ

32

มองเห็นโลกที่อยู่รอบตัวได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลและทำให้มนุษย์เข้าใจในข้อมูล
เหล่านั้น ช่วยส่งผลใหม้ นุษยส์ ามารถสรา้ งสรรค์วิธใี นการแกป้ ัญหาตา่ ง ๆ ท่ีเกดิ ข้นึ ได้ และ (4) มีความ
ภาคภูมิใจในความเป็นพลเมืองอาเซียน ความภาคภูมิใจ (Dignity) ตระหนักว่าการเป็นพลเมือง
อาเซียนมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี เพราะมีความมุ่งมั่นที่จะรวมพลังกันสร้างความเข้มแข็งในภูมิภาค
อย่างยั่งยืน บนพื้นฐานความเอื้ออาทรระหว่างกัน ความรู้สึกเช่นนี้ ย่อมมีแนวโน้มไปสู่พฤติกรรม
ท่สี ร้างสรรคต์ อ่ องค์การหรือในฐานะเปน็ พลเมอื งอาเซยี น (สำนกั วชิ าการและมาตรฐานการศึกษา. 2555)

สำหรับคุณลักษณะของเด็กไทยและตัวชี้วัดความสำเร็จในการพัฒนาการเรียนรู้
ของเด็กไทยสู่ประชาคมอาเซียนให้ประสบผลสำเร็จ ได้กำหนดเป้าหมายไว้ชัดเจน ประกอบด้วย
(1) ความรู้ ทักษะ/กระบวนการ และเจตคติ รวมถึงมีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสันติวิธี
มีความสามารถในการทำงานและอยรู่ ่วมกบั ผอู้ ่ืน (2) ทกั ษะพลเมือง/ความรบั ผดิ ชอบทางสงั คม ไดแ้ ก่
เคารพและยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรม มีภาวะผู้นำ เห็นปัญหาสังคมและลงมือทำ
เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง (3) ทักษะการเรียนรู้และพัฒนาตน ได้แก่ เห็นคุณค่าความเป็นมนุษย์
เท่าเทียมกัน มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีความสามารถในการคิด
วิเคราะห์อย่างมีเหตุผล มีวิธีคิดอย่างถูกต้อง และมีความสามารถในการจัดการ/ควบคุมตนเอง
(สิรมิ า หมอนไหม. 2561)

3) คุณลักษณะของเยาวชนที่ดี คือ คุณลักษณะของเยาวชนในฐานะพลเมืองไทยที่ดี
โดยเชื่อมโยงกบั การให้คณุ ค่ากับการทำความดีเปน็ หลัก กลา่ วคือเป็นบุคคลหรือประชากรท่ีตระหนักถึง
ความเป็นพลเมืองของโลก กระทำสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์และสร้างสรรค์ โดยมีหน้าที่ปฏิบัติตาม
กฎระเบียบ กล้าแสดง ความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์ ลุกขึ้นมาต่อสู้กับความไม่ยุติธรรม เคารพสิทธิ
ซึ่งกันและกันให้ความสำคัญกับความเท่าเทียมกัน เป็นสมาชิกที่ดีของสังคมและประเทศชาติ มีพลัง
ช่วยกันเสริมสร้างกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศชาติในอนาคต ประกอบด้วย
(1) มีคุณธรรม จริยธรรม ศีลธรรมในการดำเนินชีวิต (2) เคารพสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น (3) มีความ
รบั ผิดชอบตอ่ หน้าที่ท่ไี ด้รับมอบหมาย (4) เปน็ ผ้ทู ีม่ เี หตุผล รบั ฟังความคิดเหน็ ของผู้อ่ืน (5) ปฏิบัติตาม
แบบอย่างวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงาม (6) ปฏิบัติตามกฎข้อบังคับของชุมชนอย่างเคร่งครัด และ
(7) มีความกระตือรือรน้ ทีจ่ ะเข้ามาแก้ปญั หาและพัฒนาชุมชน (สมพงษ์ จิตระดบั และคณะ. 2556)

4) พลเมืองเพื่อสิ่งแวดล้อม (Environmental Citizen) คือ ลักษณะของผู้เรียน
ที่เติบโตขึ้นเป็นพลเมืองที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและส่ิงแวดล้อม พร้อมทั้งน้อมนำหลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการดำเนินงานและดำเนินชีวิตเพื่อให้เกิดความยั่งยืนข้ึน
ประกอบดว้ ย 11 ประการ ได้แก่ (1) รจู้ ักและเขา้ ใจชุมชนอย่างถอ่ งแท้ (2) ติดตามขา่ วสาร สภาพและ
ปัญหาด้านสง่ิ แวดล้อม เศรษฐกิจและสังคม อย่างตอ่ เน่ืองสม่ำเสมอ (3) สามารถคาดการณถ์ ึงแนวโน้ม
สถานการณ์ปัญหาสิง่ แวดล้อมของชุมชนได้ (4) รู้ถึงแนวทางการป้องกนั และแก้ไขปัญหาที่เหมาะสม

33

กับสภาพสังคมและบริบทท้องถิ่น (5) มีจิตสำนึกรักประเทศชาติบา้ นเกิด (6) กล้าแสดงความคดิ เห็น
ในเรื่องต่าง ๆ ที่เป็นประโยชนต์ ่อสว่ นรวมบนพ้ืนฐานหลักการประชาธปิ ไตย (7) ไม่เพิกเฉยตอ่ ความ
อยุติธรรมในสังคม (8) มีวินัยและเคารพกฎกติกาของสังคม (9) มีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน
และสังคมเมื่อมีโอกาส (10) มีพฤติกรรมและใช้ชีวิตประจำวันอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
(11) มีความเป็นผู้นำในงานหรือกิจกรรมการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(กรมสง่ เสริมคณุ ภาพสิง่ แวดลอ้ ม. 2559)

เมื่อนำคุณลักษณะดังกล่าวมาพิจารณาร่วมกับเป้าหมายการดำเนินงานโครงการค่าย
“เยาวชน...รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี”
รวมถงึ ทักษะทจ่ี ำเปน็ ต่อการดำรงชวี ติ ในศตวรรษที่ 21 เพอ่ื ตอบสนองเปา้ ประสงคใ์ นด้านการอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สรุปได้ว่าคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพร ควรให้ความสำคัญ
เกี่ยวกับคุณลักษณะทีส่ ำคัญเพื่อนำไปเป็นประเด็นในการพัฒนา ประกอบด้วย ความใฝ่รู้ด้านการอนุรักษ์
ป้องกันและแกป้ ัญหาทรัพยากรธรรมชาตแิ ละสิ่งแวดล้อมในชุมชน การสื่อสารความรู้ด้านชีวิตที่เป็นมติ ร
ต่อสิ่งแวดล้อม การน้อมนำความรู้จากสถาบันชาติ ศาสน์ กษัตริย์ สู่การอนรุ ักษท์ รัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม ความมีวินัย เคารพกติกาของสังคมในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ความตระหนักถงึ
ปัญหาสงิ่ แวดล้อม จิตสาธารณะ และมีสว่ นร่วมในการดำเนนิ ชีวิตที่เปน็ มิตรตอ่ สง่ิ แวดล้อม ความเป็น
ผู้นำในการสานต่อและพัฒนาสิ่งแวดล้อมของบ้านเกิด การดำเนินชีวิตอย่อู ย่างพอเพียง การนำทกั ษะ
ในศตวรรษที่ 21 ไปใช้ดำรงชวี ติ และการใช้ชีวติ ทเี่ ปน็ มติ รตอ่ ส่งิ แวดล้อม

2. หลักการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรกั ษพ์ งไพร
การพัฒนาเยาวชนใหม้ ีคณุ ลกั ษณะท่ีพึงประสงค์ คอื มีความรู้ มที ักษะชวี ิตท่ีดี รวมถงึ มีเจตคติ
ที่เหมาะสมในการอยู่ร่วมกันในสังคมยุคศตวรรษที่ 21 นั้น ต้องผ่านกระบวนการพัฒนาที่เรียกว่า
การศึกษาเพื่อปลูกฝังคุณลักษณะแก่ผู้เรียน โดยกระบวนการศึกษา อบรม และพัฒนาการเรียนรู้
การขัดเกลาทางสังคม รวมถึงการถ่ายทอดทางวัฒนธรรม เพื่อให้ผู้เรียนที่จะเติบโตเป็นเยาวชนและ
ประชากรของประเทศ (Gardner. 1993) โดยหลักการเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนรักษ์พงไพร
เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พิจารณาร่วมกับนโยบายที่เกี่ยวข้องกับ
การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสง่ิ แวดล้อม รวมถึงแนวคิดเก่ยี วกับการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพ
ผู้เรยี นในศตวรรษที่ 21 และแนวคดิ ดงั ต่อไปน้ี

1) กระบวนการเรยี นรู้ (Learning Process)
Gagne (1985) ได้นำเสนอกระบวนการเรียนรู้ได้ 9 ประการ คือ (1) การเร่งเร้า
ความสนใจ (Gain Attention) ก่อนนำเข้าสู่บทเรียน ครูผู้สอนควรจูงใจและเร่งเร้าความสนใจ
ให้ผู้เรียนรู้สึกอยากที่จะเรียนรู้ โดยการจัดสภาพแวดล้อมหรือใช้สื่อการเรียนการสอนเพื่อดึงดูด


Click to View FlipBook Version