The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ราชสกุลวงศ์ ตั้งแต่รัชกาลที่ 1- รัชกาลที่ 10 พระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ ต่างๆ เรื่องเล่า น่าสนใจ ผลงาน การพระพุทธศาสนา

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

ราชสกุลวงศ์

ราชสกุลวงศ์ ตั้งแต่รัชกาลที่ 1- รัชกาลที่ 10 พระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ ต่างๆ เรื่องเล่า น่าสนใจ ผลงาน การพระพุทธศาสนา

ราชสกุลวงศ์

คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ
ในคณะกรรมการอำ�นวยการจัดงานเฉลมิ พระเกียรตพิ ระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอยู่หวั
เนื่องในโอกาสพระราชพิธมี หามงคลเฉลมิ พระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธนั วาคม ๒๕๕๔
จัดพิมพ์ จำ�นวน ๑๐,๐๐๐ เล่ม

ข้อมูลทางบรรณานกุ รมของสำ�นกั หอสมดุ แห่งชาติ
กรมศิลปากร. สำ�นกั วรรณกรรมและประวตั ศิ าสตร.์
ราชสกุลวงศ.์ --พมิ พค์ รัง้ ท่ี 14.--กรงุ เทพฯ : สำ�นกั วรรณกรรมและประวตั ศิ าสตร์
กรมศลิ ปากร, 2554.
296 หน้า.

1. ราชสกลุ --ไทย--กรุงรัตนโกสนิ ทร์. 2. ราชสกุล. 1. ชอื่ เรือ่ ง

เลขหม่หู นังสือ 929.709593
ISBN. 978-974-417-594-6

ทปี่ รึกษา พลตรี หม่อมราชวงศศ์ ภุ วัฒย์ เกษมศรี
นางโสมสุดา ลียะวณิช
(อธิบดีกรมศิลปากร) นางสาววณี า โรจนราธา
นายการุณ สุทธภิ ูล (นกั อกั ษรศาสตร์เชีย่ วชาญ)
(รองอธิบดกี รมศลิ ปากร) นางสาวบุษกร ลิมจิตติ
นางเบญจมาส แพทอง (มณั ฑนากรเชย่ี วชาญ)
(ผอู้ ำ�นวยการส�ำ นกั วรรณกรรมและประวัตศิ าสตร)์

คณะบรรณาธกิ าร นางสาวสทุ ธพิ ันธ์ ขุทรานนท์
นางสาววณี า โรจนราธา นางสาวรชั นี ทรพั ยว์ ิจิตร
นายธีระ แกว้ ประจนั ทร ์ นางสาวอาทพิ ร ผาจันดา
นางสาวเปรมา สตั ยาวฒุ พิ งศ ์

พิมพท์ ี่ โรงพมิ พ์ สกสค. ลาดพรา้ ว นายสมมาตร์ มีศิลป์ ผพู้ มิ พแ์ ละผู้โฆษณา

เนื่องในมหามงคลสมัยท่ีพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี
จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๗ รอบ วันท่ี ๕ ธันวาคม
พุทธศักราช ๒๕๕๔ รัฐบาลและปวงชนชาวไทยมีความปลื้มปีติช่ืนชมโสมนัสเป็นล้นพ้น จึงพร้อมใจกันจัดงาน
เฉลิมพระเกียรติด้วยความจงรักภักดีและความส�ำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเมื่อพุทธศักราช ๒๔๘๙ และได้ทรงประกาศ
พระปฐมบรมราชโองการ เน่ืองในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อพุทธศักราช ๒๔๙๓ ว่า “เราจะครอง
แผน่ ดนิ โดยธรรม เพอื่ ประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” นับแตบ่ ัดน้ัน ตราบจนปจั จบุ ัน พระองค์ทรงยึดมน่ั
ในทศพิธราชธรรมและทรงพระวิริยอุตสาหะบ�ำเพ็ญพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่นานัปการ เพื่อบ�ำบัดทุกข์
บ�ำรุงสุขแก่ปวงชนชาวไทยตลอดมา ด้วยพระราชปณิธานอันแน่วแน่และพระอัจฉริยภาพอันล�้ำเลิศ พระองค์
ได้พระราชทานแนวพระราชด�ำริในการลดภาวะวิกฤตด้านส่ิงแวดล้อม ตลอดจนพระราชทานโครงการ
อันเนอื่ งมาจากพระราชด�ำรกิ วา่ ๔,๐๐๐ โครงการ เพอ่ื การพฒั นาประเทศในทกุ ดา้ น รวมทง้ั พระราชทานปรชั ญา
เศรษฐกิจพอเพียง เพ่ือเป็นแนวทางให้พสกนิกรด�ำรงชีวิตร่มเย็นเป็นสุขอย่างยั่งยืน พระราชกรณียกิจ
นานัปการอันเกิดจากพระอัจฉริยภาพและพระปรีชาญาณอันสุขุมคัมภีรภาพ ตลอดจนพระราชจริยวัตร
อนั งดงามของพระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั ลว้ นเปน็ คณุ ปู การยง่ิ ใหญแ่ กป่ ระเทศและประชาชน สง่ ผลใหป้ ระเทศ
มคี วามมนั่ คงอดุ มสมบรู ณแ์ ละเจรญิ รงุ่ เรอื งพฒั นากา้ วหนา้ พระเกยี รตคิ ณุ ของพระองคจ์ งึ เปน็ ทแี่ ซซ่ อ้ งสรรเสรญิ
ทั้งในประเทศและนานาประเทศ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงเป็นพระมิ่งขวัญร่มเกล้าของชาวไทยท้ังปวง
ซ่ึงล้วนเทิดทูนพระมหากรุณาธิคุณไว้เหนือเศียรเกล้ามาโดยตลอด

รัฐบาลและปวงชนชาวไทยพร้อมใจจัดงานเฉลิมพระเกียรติในมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา
๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ โดยมอบหมายให้คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ
ในคณะกรรมการอ�ำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติฯ พิจารณาเห็นชอบให้หน่วยราชการ องค์กร และเอกชน
จัดพิมพ์หนังสืออันมีคุณค่า เพ่ือเทิดพระเกียรติคุณและพระปรีชาสามารถในด้านต่าง ๆ ให้ปรากฏยั่งยืนสืบไป
ตราบกาลนาน
ในนามของรัฐบาลและประธานกรรมการอ�ำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัว เน่ืองในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ขออนุโมทนาในความวิริยอุตสาหะของหน่วยราชการ องค์กร เอกชน และคณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสาร
และจดหมายเหตุ ตลอดจนคณะท�ำงานทุกคณะที่ได้สร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการสาขาต่าง ๆ ที่ทรงคุณค่า
อันจะอ�ำนวยประโยชน์อย่างย่ิงแก่ประชาชน น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายเป็นราชสักการะแด่พระบาท
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้สถิตในหทัยของปวงประชาราษฎรตลอดกาล
ขอจงทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน เทอญ

(นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร)
นายกรัฐมนตรี
ประธานกรรมการอ�ำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ
๕ ธันวาคม ๒๕๕๔

มหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงเจริญพระชนมพรรษา ๗ รอบ
๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ นี้ รัฐบาลที่แล้ว รัฐบาลปัจจุบัน และประชาชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า พร้อมใจกัน
จัดงานเฉลิมพระเกียรติ เพื่อแสดงความจงรักภักดีและส�ำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ รัฐบาล
ในนามคณะกรรมการอ�ำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาส
พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ จึงได้มอบหมายให้คณะกรรมการ
ฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุพิจารณาด�ำเนินงานจัดท�ำหนังสือวิชาการสาขาต่าง ๆ พร้อมท้ังจัดท�ำ
หนังสือจดหมายเหตุงานเฉลิมพระเกียรติ เน่ืองในมหามงคลโอกาสน้ีด้วย
คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุพิจารณาเห็นชอบให้หน่วยงานภาครัฐและ
เอกชน เลือกสรรและจัดพิมพ์หนังสือหลายสาขาในนามของรัฐบาล เพ่ือเฉลิมพระเกียรติและเผยแพร่หนังสือ
อันทรงคุณค่าเหล่าน้ันให้แก่สาธารณชนอย่างกว้างขวาง เพื่อเป็นผลงานทรัพย์สินทางปัญญาของแผ่นดิน
โดยเฉพาะพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและหนังสืออื่น ๆ อีกเป็น
จ�ำนวนมาก แบ่งเป็นหนังสือที่พิมพ์ในนามของคณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ หนังสือ
จดหมายเหตกุ ารพระราชพธิ แี ละกจิ กรรมเฉลมิ พระเกยี รตพิ ระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั และหนงั สอื ทห่ี นว่ ยงาน
ภาครัฐและเอกชนแสดงเจตนารมณ์ ขอพิมพ์ร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วย
คณะกรรมการฯ จะแจกจ่ายหนังสือเหล่าน้ีไปยังแหล่งความรู้ต่าง ๆ ท่ัวทุกภูมิภาคของประเทศ และ
ในต่างประเทศท่ัวโลก เพื่อยังประโยชน์แก่การศึกษาค้นคว้าของประชาชนทุกระดับ ทั้งนี้ โดยตระหนักว่า
การสนองพระมหากรุณาธิคุณด้วยความร่วมมือร่วมใจกันสร้างสรรค์ผลงานอันทรงคุณค่าอ�ำนวยประโยชน์
เกื้อกูลแก่สาธารณชนเช่นนี้ นอกจากจะเป็นการแสดงกตัญญูกตเวทิตาธรรมแล้ว ยังเป็นการสร้างส่ิงอนุสรณ์
ท่ีเป็นทรัพย์สินทางปัญญาของชาติไว้ในแผ่นดินสืบไป

ด้วยเดชะพระบารมีปกเกล้าปกกระหม่อม ปวงชนชาวไทยจักได้รับประโยชน์อย่างกว้างขวางจาก
หนังสือดีมีคุณค่าสะท้อนวัฒนธรรมอันรุ่งเรืองม่ันคงของชาติ และจะได้ร่วมกันธ�ำรงรักษาชาติ ศาสนา และ
สถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงยั่งยืน เพื่อสนองพระราชด�ำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงพระวิริย-
อุตสาหะพัฒนาและปรับปรุงบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้า เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยามโดยท่ัวกัน
(นางสุกุมล คุณปลื้ม)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
ประธานกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ

ด้วยคณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอ�ำนวยการจัดงานเฉลิม
พระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ
๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ ได้มอบหมายให้ส�ำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
จดั พมิ พห์ นังสือเร่ือง ราชสกลุ วงศ์ เพอื่ เฉลมิ พระเกยี รติพระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั
ส�ำนกั วรรณกรรมและประวตั ศิ าสตรจ์ งึ แตง่ ตงั้ คณะบรรณาธกิ ารจดั ท�ำหนงั สอื ราชสกลุ วงศ์ ซง่ึ นอกจาก
นักอักษรศาสตร์ท่ีเป็นผู้เช่ียวชาญด้านประวัติศาสตร์และจารีตประเพณีเป็นประธานคณะบรรณาธิการ หวั หนา้
กลุ่มประวัติศาสตร์เป็นรองประธาน นักอักษรศาสตร์ด้านประวัติศาสตร์เป็นคณะบรรณาธิการ เลขานุการและ
ผู้ช่วยเลขานุการแล้ว ส�ำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ยังได้เชิญ พลตรี หม่อมราชวงศ์ศุภวัฒย์ เกษมศรี
ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเช่ียวชาญด้านประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นผู้น�ำจัดท�ำหนังสือเกี่ยวกับราชสกุล
มาหลายเล่ม มาเป็นทป่ี รกึ ษา และเชญิ นางสาวรชั นี ทรัพย์วจิ ติ ร บรรณารักษ์ช�ำนาญการ ผ้ใู ฝ่ศกึ ษา รวบรวม
เอกสารหลกั ฐาน หมนั่ ปรบั ปรงุ แกไ้ ขเนอื้ หาหนงั สอื ราชสกลุ วงศม์ าอยา่ งตอ่ เนอื่ ง และเคยจดั ท�ำหนงั สอื เกย่ี วกบั
ราชสกุล มาร่วมเป็นคณะบรรณาธิการ ด้วยพิจารณาเห็นว่า หนังสือราชสกุลวงศ์ ซึ่งเป็นหนังสือท่ีว่าด้วย
พระนาม และพระราชประวัติหรือพระประวัติย่อของเจ้าฟ้า พระองค์เจ้า และหม่อมเจ้าที่ทรงได้รับการ
สถาปนาเป็นพระองค์เจ้า ในพระบรมราชจักรีวงศ์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีการตรวจสอบช�ำระและจัดพิมพ์
มาแลว้ ถงึ ๑๓ ครงั้ ตง้ั แตพ่ ุทธศกั ราช ๒๔๖๓ - ๒๕๔๐ สมควรจะต้องตรวจสอบช�ำระใหม่ เพราะมขี ้อผดิ พลาด
ท่ีเกิดจากหลักฐานประวัติศาสตร์ท่ีเปลี่ยนแปลง และจากการจัดพิมพ์หลายคร้ัง ท้ังยังสมควรปรับปรุงเพิ่มเติม
ข้อมูลใหเ้ ป็นปจั จบุ นั อีกด้วย

ประวัติการจัดพมิ พห์ นงั สอื ราชสกุลวงศ์ มดี งั ตอ่ ไปน้ี
พุทธศักราช ๒๔๖๓ กรรมการหอพระสมุดส�ำหรับพระนครรวบรวม พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า
เจ้าอยู่หัว ครั้งทรงด�ำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมขุนสุโขทัยธรรมราชา
ทรงพิมพ์เป็นทักษิณานุประทานอุทิศส่วนพระราชกุศลถวายสนองพระเดชพระคุณในงานถวายพระเพลิง
พระบรมศพสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง จากนั้นได้มีการจัดพิมพ์
ต่อมาจนถึงปัจจบุ นั รวม ๑๓ ครั้ง ในพทุ ธศักราช ๒๔๖๙, ๒๔๗๐, ๒๔๗๕, ๒๔๗๘, ๒๔๘๐, ๒๕๐๗, ๒๕๑๒,
๒๕๒๕, ๒๕๓๒, ๒๕๓๖ และ ๒๕๔๐ (พิมพ์ ๒ คร้ัง) มีการช�ำระแก้ไขปรับปรุงเพิ่มเติมต้นฉบับในการพิมพ์
คร้ังที่ ๒, ๓, ๗, ๘, ๙ และ ๑๑ ตามล�ำดบั ดังปรากฏรายละเอยี ดในค�ำน�ำการพิมพ์คร้ังท่ี ๑๓ ดังนี้
พิมพ์คร้ังท่ี ๒ สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี โปรดให้ช�ำระจัดพิมพ์ในงาน
พระราชทานเพลิงพระศพ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชายปรียชาติสุขุมพันธ์ ซ่ึงกรรมการหอพระสมุด
ส�ำหรับพระนครได้มอบหมายให้พระยาโหราธิบดีและคนอื่นร่วมกันช�ำระและเพิ่มเติมพระนามราชสกุลช้ัน
พระราชนดั ดาและพระองคเ์ จา้ ชน้ั อน่ื  ๆ รวมทง้ั ภาคผนวกพระนามท่ีเปล่ียนแปลงใหม่
พมิ พค์ ร้งั ที่ ๓ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพ ทรงขอร้อง นายพลโท
หม่อมเจ้าวงศ์นิรชร เทวกุล ซึ่งทรงเช่ียวชาญวิชาโหราศาสตร์ให้ทรงตรวจสอบช�ำระใหม่ เนื่องจากการพิมพ์
ครั้งท่ี ๑ และ ๒ มีขอ้ ผดิ พลาดมาก แล้วทรงพิมพแ์ จกเป็นของชำ� รว่ ยในงานรดน้�ำปใี หม่ พทุ ธศักราช ๒๔๗๐
พมิ พค์ ร้งั ที่ ๗ ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายเนย อิศรางกูร ณ อยุธยา พุทธศักราช ๒๕๐๗
กรมศิลปากรมอบหมายให้นายยิ้ม ปัณฑยางกูร อดีตหัวหน้ากองจดหมายเหตุแห่งชาติ ขณะด�ำรงต�ำแหน่ง
ผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจเอกสารเก่า ตรวจสอบช�ำระเพม่ิ เติม โดยตรวจสอบพระนามกับหลักฐานเอกสาร เชน่
ราชกจิ จานเุ บกษา และตดิ ตอ่ สอบถามจากบรรดาพระบรมวงศานวุ งศ์ ผรู้ ู้ รวมทง้ั ไดก้ รณุ าสอบสวนจดั ทำ� เชงิ อรรถ
และดัชนีค้นพระนามและนามต่าง ๆ เพื่อให้ความสะดวกแก่ผู้สนใจและเป็นแนวทางในการศึกษาค้นคว้าต่อไป
นอกจากน้ันยังได้จัดหาเอกสารส�ำคัญท่ีเก่ียวข้อง เช่น ประกาศบางฉบับจากราชกิจจานุเบกษา พระนาม
พระราชโอรส พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั มาตีพมิ พ์ต่อทา้ ยราชสกลุ วงศ์ด้วย
พมิ พ์ครั้งที่ ๘ ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายสนั่น บุญยศิริพันธุ์ พุทธศักราช ๒๕๑๒ นายยิ้ม
ปณั ฑยางกูร ไดศ้ กึ ษาค้นควา้ หาหลักฐานและทำ� เชงิ อรรถเพิม่ เตมิ ข้อความบางแหง่ ให้สมบรู ณ์ย่ิงขึ้น
พิมพค์ รง้ั ที่ ๙ ในงานพระราชทานเพลงิ ศพ หมอ่ มราชวงศบ์ ญุ รบั พนิ จิ ชนคดี ท.จ. พทุ ธศกั ราช ๒๕๒๕
ซึ่งใช้ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๘ เป็นต้นฉบับ หากแก้ไขปรับปรุงเพ่ิมเติมให้สมบูรณ์ย่ิงข้ึน เช่น เพ่ิมค�ำน�ำพระนาม
พระบรมวงศานุวงศ์ ตรวจสอบแก้ไขตัวสะกดพระนามจากหลักฐานที่ถูกต้อง สอบเทียบวัน เดือน ปี จาก
วันจันทรคติเป็นวันสุริยคติจากปฏิทินกรมวิชชาการ เพ่ิมเติมเน้ือหาบางแห่งพร้อมเชิงอรรถเพื่อให้ทันสมัยกับ
เหตุการณ์

พมิ พค์ รง้ั ท่ี ๑๐ ในงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมหลวงสมภพ มนตรีกุล พุทธศักราช ๒๕๓๒
เป็นการพิมพ์โดยถ่ายจากต้นฉบับของการพิมพ์คร้ังที่ ๒ พุทธศักราช ๒๔๖๙ ทั้งปก ค�ำน�ำ และเน้ือหา
เพ่ือเป็นการรกั ษาต้นฉบบั เดิม
พมิ พ์คร้งั ท่ี ๑๑ กรมศิลปากรพิมพ์เผยแพร่พุทธศักราช ๒๕๓๖ เป็นการพิมพ์โดยถ่ายจากต้นฉบับ
ของการพมิ พค์ รงั้ ที่ ๙ พร้อมทง้ั เพิ่มเตมิ พระนามพระองคเ์ จ้าหลานเธอ พระนามพระหลานเธอในรชั กาลท่ี ๙
ในการพิมพ์คร้ังน้ีนับเป็นคร้ังท่ี ๑๔ คณะบรรณาธิการจัดท�ำหนังสือราชสกุลวงศ์ได้พิจารณาเลือก
ต้นฉบับพิมพ์พุทธศักราช ๒๔๗๐ ซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพ ทรงควบคุมใน
การตรวจสอบช�ำระใหม่ รวมกบั ข้อมลู ทีพ่ ลตรี หม่อมราชวงศศ์ ุภวัฒย์ เกษมศรี และนางสาวรัชนี ทรพั ย์วิจิตร
ได้ปรับปรุงแก้ไขเพ่ิมเติมไว้ และจัดท�ำเป็นต้นฉบับส�ำหรับพิจารณา โดยมิได้ละท้ิงท่ีจะพิจารณาในส่วนท่ี
ตรวจสอบช�ำระเพ่มิ เติมในระยะต่อ ๆ มา จงึ เลอื กใช้ฉบบั พิมพพ์ ทุ ธศักราช ๒๕๓๖ ประกอบการพจิ ารณาด้วย
นอกจากน้ี ในการประชุมพิจารณาตรวจสอบช�ำระ คณะบรรณาธิการยังได้ศึกษา สอบค้น ตรวจสอบ
กับหนังสือและเอกสารท่ีเก่ียวข้องท้ังเร่ืองเก่ียวกับราชสกุลฉบับอื่น ๆ สายสกุลท่ีเก่ียวข้อง เร่ืองเฉลิมพระยศ
การต้งั พระบรมวงศานวุ งศ์ การแต่งตงั้ ด�ำรงต�ำแหน่งหน้าท่รี าชการ หนงั สอื ชวี ประวตั ิ ราชกจิ จานุเบกษา ฯลฯ
เมือ่ ตรวจสอบช�ำระ คณะบรรณาธิการไดพ้ จิ ารณาปรับปรงุ แก้ไขเพิม่ เติมจากโครงสรา้ งเน้ือหาเดิมดงั น้ี
๑. ข้อมูลเดิมมีเพียงสวรรคต ทิวงคต และสิ้นพระชนม์เม่ือใด ได้เพ่ิมข้อมูล พระราชทานเพลิงหรือ
ถวายพระเพลิงเมอ่ื ใด ณ ทีใ่ ด (ถ้ามหี ลักฐาน)
๒. เร่ืองสายราชสกุล ได้เพิ่มเติมต่อท้ายราชสกุลว่า ณ อยุธยา ตามแนวทางที่พระบาทสมเด็จ
พระมงกฎุ เกล้าเจา้ อย่หู วั พระราชทานไว้
๓. เพ่ิมชั้นพระราชปนัดดาอีก ๓ พระองค์ คือ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
ในสายรัชกาลท่ี ๔ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ กับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี
พระวรราชาทินดั ดามาตุ ในสายรัชกาลท่ี ๕
๔. ในหัวข้อสุดท้าย เจ้านายท่ีมิได้เป็นเชื้อสายในปฐมวงศ์เดิม มี ๓ พระองค์ ได้เปลี่ยนหัวข้อเป็น
เจา้ นายทไ่ี ดร้ บั พระมหากรณุ าธคิ ณุ โปรดเกลา้ ฯ ใหด้ �ำรงราชสกลุ ยศชนั้ พระองคเ์ จา้ และไดเ้ พมิ่ พระเจา้ วรวงศเ์ ธอ
พระองคเ์ จ้าศรีรศั มิ์ พระวรชายา ในสมเดจ็ พระบรมโอรสาธริ าช เจ้าฟา้ มหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกมุ าร
อีกพระองคห์ นงึ่
รายละเอียดอื่น ๆ ในเนื้อหา และเชิงอรรถเดิม หากมีส่วนใดท่ีแก้ไขเปลี่ยนแปลง หรือพบข้อมูลใหม่
ไม่ตรงกัน คณะบรรณาธกิ ารได้จดั ท�ำเชิงอรรถช้ีแจงก�ำกับไว้ พรอ้ มอา้ งอิงแหล่งท่มี าเพ่อื ประโยชน์ในการสบื ค้น
ขยายความในเชงิ ลกึ ส�ำหรบั ผสู้ นใจใฝ่ศึกษาเพิม่ เตมิ

เช่นเดียวกับการจัดรวบรวมภาคผนวก คณะบรรณาธิการได้เพ่ิมเติมประกาศและบทความเกี่ยวกับ
การแต่งตงั้ การใช้ค�ำน�ำพระนาม ต้งั แตร่ ัชกาลท่ี ๔ จนถึงรัชกาลปจั จุบนั เพือ่ ให้ผสู้ นใจไดศ้ ึกษาพฒั นาการของ
การใชค้ �ำน�ำพระนามพระบรมวงศ์ และปรบั ปรงุ เพม่ิ เตมิ สว่ นรายนาม ราชสกลุ วงศ์ และดรรชนพี ระนาม - นาม ดว้ ย
กรมศลิ ปากรจงึ หวงั วา่ หนงั สอื ราชสกลุ วงศ์ ฉบบั ตรวจสอบช�ำระใหมน่ จี้ ะอ�ำนวยประโยชนต์ อ่ นกั การศกึ ษา
นักวชิ าการ และประชาชนผสู้ นใจใหไ้ ด้รบั ความรู้ ความเขา้ ใจ สามารถน�ำไปใช้ประโยชนท์ งั้ ในการปฏิบตั ิและใน
ทางวชิ าการไดอ้ ยา่ งถกู ตอ้ ง เปน็ การจรรโลงตามวตั ถปุ ระสงคข์ องการจดั พมิ พเ์ พอื่ เฉลมิ พระเกยี รตพิ ระบาทสมเดจ็
พระเจ้าอยหู่ วั ในมหามงคลสมยั เฉลมิ พระชนมพรรษา ๘๔ พรรษา อย่างแทจ้ ริง

(นางโสมสดุ า ลยี ะวณชิ )
อธบิ ดกี รมศลิ ปากร
ส�ำนกั วรรณกรรมและประวัตศิ าสตร์
พฤศจกิ ายน ๒๕๕๔



หน้า
คำ�ปรารภ
คำ�น�ำ ๑
คำ�ชีแ้ จง ๙
ลำ�ดบั ปฐมวงศ ์ ๙
พระราชโอรสและพระราชธิดา ๑๒
ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจฬุ าโลกมหาราช รัชกาลท่ี ๑ ๒๐
ประสตู กิ อ่ นปราบดาภิเษก ๒๐
ประสตู เิ ม่อื ปราบดาภิเษกแลว้ ๓๐
พระราชโอรสและพระราชธดิ า ๓๒
ในพระบาทสมเด็จพระพทุ ธเลศิ หลา้ นภาลยั รัชกาลท่ี ๒ ๓๗
ประสตู เิ มอ่ื ทรงด�ำ รงพระอสิ ริยยศเป็นสมเดจ็ พระเจ้าลกู เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอศิ รสุนทร ๓๗
ประสตู เิ ม่อื ทรงด�ำ รงพระอิสรยิ ยศเป็นกรมพระราชวงั บวรสถานมงคล ๔๖
ประสตู ิเม่อื บรมราชาภเิ ษกแล้ว ๕๐
พระราชโอรสและพระราชธดิ า ๕๐
ในพระบาทสมเด็จพระนงั่ เกลา้ เจ้าอยหู่ วั รัชกาลที่ ๓ ๕๑
ประสตู กิ อ่ นบรมราชาภิเษก ๘๐
ประสตู เิ มื่อบรมราชาภเิ ษกแล้ว ๘๐
พระราชโอรสและพระราชธดิ า ๘๐
ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั รัชกาลที่ ๔
ประสูติกอ่ นบรมราชาภเิ ษก
ประสูติเมือ่ บรมราชาภเิ ษกแล้ว
พระราชโอรสและพระราชธดิ า
ในพระบาทสมเด็จพระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั รัชกาลท่ี ๕
ประสตู กิ อ่ นบรมราชาภเิ ษก
ประสตู ิเมอื่ บรมราชาภิเษกแล้ว

หน้า
พระราชธดิ าในพระบาทสมเด็จพระมงกฎุ เกล้าเจ้าอย่หู ัว รชั กาลที่ ๖ ๑๐๕
ประสูติกอ่ นสวรรคตวนั หนึง่ ๑๐๖
รัชกาลท่ี ๗ - ๘
ไมม่ ีพระราชโอรสและพระราชธดิ า ๑๐๗
พระราชโอรสและพระราชธดิ า
ในพระบาทสมเด็จพระเจา้ อยูห่ ัวภมู พิ ลอดลุ ยเดช รัชกาลท่ี ๙ ๑๑๐
และสมเดจ็ พระนางเจา้ สริ กิ ติ ์ิ พระบรมราชินนี าถ ๑๑๐
พระราชโอรสธิดา ๑๑๑
ในสมเด็จพระบวรราชเจา้ มหาสรุ สงิ หนาท
(กรมพระราชวงั บวรสถานมงคล ในรชั กาลที่ ๑) ๑๑๖
ประสตู กิ ่อนอปุ ราชาภิเษก ๑๑๖
ประสูติเมือ่ อปุ ราชาภิเษกแล้ว ๑๑๙
พระราชโอรสธิดา ๑๒๐
ในสมเด็จพระบวรราชเจา้ มหาเสนานรุ กั ษ์
(กรมพระราชวงั บวรสถานมงคล ในรชั กาลที่ ๒) ๑๒๓
ประสตู ิก่อนอุปราชาภิเษก ๑๒๓
ประสูติเมื่อเปน็ พระบณั ฑูรนอ้ ย ๑๒๖
ประสูตเิ มอื่ อุปราชาภเิ ษกแลว้ ๑๒๗
พระราชโอรสธิดา ๑๒๗
ในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ ๑๓๓
(กรมพระราชวงั บวรสถานมงคล ในรชั กาลที่ ๓) ๑๓๘
ประสูติกอ่ นอุปราชาภเิ ษก ๑๓๘
ประสูติเมื่ออุปราชาภเิ ษกแลว้ ๑๓๘
พระราชโอรสธดิ า
ในพระบาทสมเดจ็ พระปน่ิ เกลา้ เจ้าอยูห่ ัว (ในรชั กาลที่ ๔)
ประสตู ิกอ่ นบวรราชาภเิ ษก
ประสูตเิ ม่ือบวรราชาภเิ ษกแล้ว
พระโอรสธดิ า
ในกรมพระราชวังบวรวชิ ยั ชาญ (ในรัชกาลที่ ๕)
ประสูตกิ อ่ นอุปราชาภเิ ษก
ประสูตเิ ม่อื อุปราชาภิเษกแล้ว

หนา้
พระองค์เจา้ โอรสธดิ าในกรมพระราชวังบวรสถานพิมขุ ๑๔๕
พระองคเ์ จ้าหลานเธอ รัชกาลท่ี ๑ ๑๔๗
พระองค์เจ้าหลานเธอ รชั กาลที่ ๒ ๑๔๘
พระองคเ์ จา้ หลานเธอ รัชกาลที่ ๓ ๑๕๒
พระองค์เจ้าหลานเธอ รัชกาลท่ี ๔ ๑๕๗
พระองคเ์ จา้ หลานเธอ รชั กาลท่ี ๕ ๑๖๙
พระองค์เจา้ หลานเธอ รชั กาลที่ ๙ ๑๗๗
พระองคเ์ จา้ หลานเธอ ในสมเด็จพระเจา้ พ่นี างเธอ รชั กาลที่ ๑ ๑๗๙
พระองค์เจ้าหลานเธอ ในสมเดจ็ พระบวรราชเจ้า ๑๗๙
มหาสรุ สิงหนาท รัชกาลที่ ๑ ๑๘๐
พระองค์เจา้ หลานเธอ ในสมเดจ็ พระบวรราชเจา้ ๑๘๐
มหาเสนานุรกั ษ์ รชั กาลท่ี ๒ ๑๘๑
พระองค์เจ้าหลานเธอ ในกรมพระราชวังบวรวิชยั ชาญ รชั กาลที่ ๕ ๑๘๒
พระราชปนัดดา รัชกาลที่ ๔ ๑๘๓
พระราชปนัดดา รัชกาลท่ี ๕ ๑๘๕
พระบรมวงศานุวงศท์ ี่ได้รบั สถาปนาพระอิสริยยศข้ึนเป็นเจา้ ๑๘๖
ภาคผนวก ๑๘๘
ประกาศใชค้ ำ�น�ำ พระนามพระบรมวงศานวุ งศ์ (รัชกาลท่ี ๔) ๑๙๐
หนงั สอื หลวง ประกาศเลา่ ด้วยธรรมเนยี มลงสรงโสกนั ต์ ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๔๐๘) ๑๙๒
หนังสือหลวง ประกาศเลา่ ด้วยธรรมเนียมลงสรงโสกันต์ ฉบบั ท่ี ๒ (พ.ศ. ๒๔๐๘) ๑๙๔
ประกาศวา่ ดว้ ยเรยี กนามข้าราชการฝ่ายใน (พ.ศ. ๒๔๒๙) ๑๙๖
ค�ำ ประกาศเฉลมิ พระปรมาพไิ ธย (พ.ศ. ๒๔๒๙) ๑๙๘
ประกาศเล่อื นพระนามพระอรรคชายาเธอ แลสมเด็จพระเจา้ ลูกเธอ ๒๐๑
พระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้า (พ.ศ. ๒๔๓๑) ๒๐๑
ประกาศการสมโภชในงานรับพระสพุ รรณบัตร (พ.ศ. ๒๔๓๔) ๒๐๒
เลือ่ นพระเกียรตยิ ศหม่อมเจา้ ขึน้ เปน็ พระองคเ์ จา้ (พ.ศ. ๒๔๓๖)
ประกาศในการสถาปนาพระเกยี รตยิ ศพระเจ้าบรมมหยั ยกิ าเธอ
กรมสมเด็จพระสดุ ารัตน์ราชประยรู (พ.ศ. ๒๔๓๙)
ประกาศใชพ้ ระนามเจ้าฟา้ มีกรม (พ.ศ. ๒๔๔๑)

หนา้
ประกาศเพิม่ เตมิ เรอ่ื งใช้พระนามเจ้าฟา้ มกี รม (พ.ศ. ๒๔๔๒) ๒๐๒
ประกาศคำ�นำ�พระนามพระเจา้ วรวงษเธอ (พ.ศ. ๒๔๔๓) ๒๐๒
ประกาศค�ำ น�ำ พระนามพระบรมวงษานวุ งษ์ (พ.ศ. ๒๔๕๓) ๒๐๓
ประกาศยกพระวรวงศเ์ ธอ เป็นพระเจา้ วรวงศ์เธอ (พ.ศ. ๒๔๕๓) ๒๐๔
ประกาศค�ำ น�ำ พระนามพระบรมวงษานวุ งษ์ (พ.ศ. ๒๔๕๔) ๒๐๔
ประกาศตัง้ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจา้ (พ.ศ. ๒๔๗๐) ๒๐๕
ประกาศใหห้ ม่อมเจ้าใชน้ ามสกลุ (พ.ศ. ๒๔๗๒) ๒๐๕
ประกาศค�ำ น�ำ พระนามพระบรมวงศานุวงศ์ (พ.ศ. ๒๔๗๘) ๒๐๖
วนิ ิจฉัยพระยศเจา้ นายทเี่ รียกว่า “กรมสมเด็จ” หรือ “สมเด็จกรม” ๒๐๗
เจ้าฟา้ ๒๑๖
ค�ำ น�ำ หน้าพระนามพระบรมวงศานุวงศ์ “พระเจา้ วรวงศเ์ ธอ, พระวรวงศเ์ ธอ” ๒๒๘
โคลงพระนามพระราชโอรสและพระราชธดิ าในรชั กาลท่ี ๔ พระราชนพิ นธใ์ นรชั กาลท่ี ๕ ๒๓๑
รายนามราชสกุลวงศ์ ๒๓๘
ดรรชนีคน้ ค�ำ ๒๔๔

ล�ำ ดับปฐมวงศ์



สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก๑ พระองค์ผู้เป็นต้นพระบรมราชจักรีวงศ์ พระนามเดิมว่า ทองดี
พระอัครชายา พระนามเดิมว่า หยก หรือดาวเรือง ถวายพระเพลิงพระอัฐิ เม่ือปีมะโรงอัฐศก จ.ศ. ๑๑๕๘
ตรงกบั พ.ศ. ๒๓๓๙ ณ พระเมรมุ าศท้องสนามหลวง รัชกาลท่ี ๔ โปรดใหเ้ ฉลมิ พระนามพระอฐั พิ ระบรมไปยกา
วา่ สมเด็จพระบรมมหาไปยกาธบิ ดี มพี ระโอรสธิดา ๗ พระองค์ นบั เป็นชั้นท่ี ๑ ในปฐมวงศ์ คอื
ท่ี ๑ สมเดจ็ เจา้ ฟา้ หญงิ กรมพระเทพสดุ าวดี (สมเดจ็ พระเจา้ พนี่ างเธอ เจา้ ฟา้ กรมพระยาเทพสดุ าวด)ี ๒
พระนามเดิมว่า สา บางแห่งเรียก พระต�ำหนักเขียว๓ ในรัชกาลท่ี ๑ ได้ว่าการราชการเป็นใหญ่ท่ัวไป และ
วา่ การวเิ ศษในพระคลงั เงนิ พระคลงั ทอง และสง่ิ ของตา่ ง ๆ ในพระราชวงั ชน้ั ใน ทรงสถาปนาเปน็ สมเดจ็ พระเจา้
พีน่ างเธอ เจา้ ฟ้า กรมพระเทพสดุ าวดี เม่อื พ.ศ. ๒๓๒๕๔ สน้ิ พระชนม์ ในรชั กาลท่ี ๑ เมอื่ วันศกุ ร์ เดอื น ๑๒
แรม ๑๐ ค�ำ่ ปีมะแม เอกศก จ.ศ. ๑๑๖๑ ตรงกับวนั ที่ ๒๒ พฤศจกิ ายน พ.ศ. ๒๓๔๒ พระชนั ษา ๗๐ ปเี ศษ๕
ถวายพระเพลิงพระศพ ณ พระเมรุทอ้ งสนามหลวง วนั ขา้ งข้ึน เดือน ๖ พ.ศ. ๒๓๔๓๖ เปน็ ต้นเชื้อพระวงศ์แห่ง
เจา้ นายวงั หลัง

_____________________________
๑ ตามพระราชนพิ นธใ์ นรัชกาลที่ ๔ เรื่องปฐมวงศ์ ทรงสืบเชอื้ สายมาจากเจา้ พระยาโกษาธิบดี (ปาน) ราชทูตสมัย
สมเด็จพระนารายณม์ หาราช และเป็นเจ้าพระยาพระคลงั สมยั สมเดจ็ พระเพทราชา
๒ เมื่อแรกสถาปนาโปรดเกล้าฯ เปน็ สมเดจ็ เจา้ ฟ้าหญิง กรมพระ เน่ืองจากอิสรยิ ยศสูงสุดในขณะนน้ั เพียง กรมพระ
แตเ่ จา้ กรมมียศเป็นพระยา ตอ่ มาปรากฏใน จดหมายความทรงจ�ำของกรมหลวงนรนิ ทรเทวี ข้อที่ ๑๘๔ ซ่งึ ทรงพระนพิ นธ์
ไม่เกินสมัยรัชกาลที่ ๓ ทรงขานพระนามอย่างล�ำลองว่า สมเด็จตรัสสาเจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี ซึ่งพระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกลา้ เจ้าอยูห่ วั มีพระราชวจิ ารณว์ า่ “ถูกต้องตามแบบอยา่ งความมุ่งหมายเดิมแลว้ ” ส่วนพระอสิ รยิ ศักด์ิ สมเดจ็
พระเจา้ พน่ี างเธอ นนั้ วา่ ดว้ ย ตงั้ กรม แลตง้ั เจา้ ฟา้ ในยคุ แรก คดั จากฉบบั ของพระเจา้ บรมวงศเ์ ธอ กรมหลวงบดนิ ทรไพศาลโสภณ
ปรากฏว่าใชส้ มเดจ็ พระเจา้ พน่ี างเธอหลายแหง่ ซงึ่ ตรงกนั กับพระราชพงศาวดารกรงุ รตั นโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ ฉบบั เจา้ พระยา
ทพิ ากรวงศ์
๓ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ข�ำ บุนนาค), พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลท่ี ๑ ฉบับโรงเรียนหลวง
สวนกหุ ลาบ (กรุงเทพฯ : แสงไทยการพมิ พ์, ๒๕๓๘), หนา้ ๔ ; ประถมวงษแลพระราชพงษาวดารย่อ (ฉบบั สมเดจ็ พระเจา้
บรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสทุ ธาทิพยรตั น์ฯ กรมหลวงศรรี ัตนโกสนิ ทร์) (กรงุ เทพฯ : แสงเทียนการพิมพ์, ๒๕๕๓), หน้า ๑๘๙
เรยี กว่า พระต�ำหนกั ใหญ่
๔ พระราชพงศาวดารกรงุ รตั นโกสินทร์ รชั กาลท่ี ๑ ฉบับโรงเรยี นหลวงสวนกหุ ลาบ, หน้า ๔.
๕ พลตรี หม่อมราชวงศศ์ ุภวัฒย์ เกษมศรี และรชั นี ทรพั ย์วจิ ิตร, พระอนวุ งศช์ น้ั หมอ่ มเจา้ ในพระราชวงศจ์ ักรี
(กรุงเทพฯ : บรรณกิจ ๑๙๙๑, ๒๕๔๙), หนา้ ๓๘ ว่า พระชันษา ๘๐ ปี
๖ พระราชพงศาวดารกรงุ รตั นโกสนิ ทร์ รชั กาลที่ ๑ ฉบบั โรงเรยี นหลวงสวนกหุ ลาบ, หนา้ ๑๓๕ และ จดหมาย
ความทรงจ�ำของพระเจ้าไปยกิ าเธอ กรมหลวงนรนิ ทรเทวี (เจ้าครอกวดั โพ) ตง้ั แต่ จ.ศ. ๑๑๒๙ - ๑๑๘๒ เปน็ เวลา ๕๓ ปี
และจดหมายเหตคุ วามทรงจ�ำ ฉบับ พ.ศ. ๒๔๕๙ (กรงุ เทพฯ : ตน้ ฉบับ, ๒๕๔๙), ข้อ ๑๘๖ หน้า ๒๙๐ ว่า เดือน ๕ ปวี อก
โทศก

1

ที่ ๒ สมเด็จพระเจ้าขุนรามณรงค์๑ บางแห่งเรียกว่า พระเจ้าขุนเณรรามณรงค์๒ พระนามเดิม
หาปรากฏไม่ ปรากฏแต่วา่ เปน็ ทขี่ ุนรามณรงค์ สนิ้ พระชนมเ์ สยี แตใ่ นครงั้ กรงุ เกา่
ท่ี ๓ สมเดจ็ เจา้ ฟา้ หญงิ กรมพระศรสี ดุ ารกั ษ์ (สมเดจ็ พระเจา้ พนี่ างเธอ เจา้ ฟา้ กรมพระศรสี ดุ ารกั ษ)์
พระนามเดมิ วา่ แกว้ บางแหง่ เรยี ก พระต�ำหนกั แดง๓ ไดท้ รงก�ำกบั เคร่อื งใหญใ่ นโรงวิเสทต้น การสดงึ และอน่ื ๆ
เป็นหลายอย่าง เม่ือ พ.ศ. ๒๓๒๕ ทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระเจ้าพ่ีนางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์
ส้ินพระชนม์ ในรัชกาลท่ี ๑ เม่ือวันอาทิตย์ เดือน ๘ แรม ๑๑ ค่�ำ ปีมะแม เอกศก จ.ศ. ๑๑๖๑ ตรงกับ
วนั ที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๔๒ พระชันษา ๖๐ ปเี ศษ ถวายพระเพลงิ พระศพ ณ พระเมรทุ ้องสนามหลวง
วนั ขา้ งขน้ึ เดอื น ๖ พ.ศ. ๒๓๔๓๔ เปน็ ตน้ เชอ้ื พระวงศแ์ หง่ เจา้ นายซงึ่ เรยี กตามค�ำสามญั วา่ เจา้ กรมหลวงกรมขนุ ๕
ที่ ๔ พระบาทสมเดจ็ พระพทุ ธยอดฟา้ จุฬาโลกมหาราช พระนามเดิมว่า ดว้ ง เสดจ็ พระราชสมภพ
ในรชั กาลสมเดจ็ พระเจา้ อย่หู วั บรมโกศ เมอ่ื วันพุธ เดอื น ๔ แรม ๕ ค�ำ่ ปีมะโรง อัฐศก จ.ศ. ๑๐๙๘ ตรงกับ
วนั ท่ี ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๒๗๙ เวลา ๓ ยาม
สมัยอยุธยา ทรงรับราชการเป็นหลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรี ต่อมาสมัยธนบุรี เป็นพระราชวรินทร์
เจ้ากรมพระต�ำรวจนอกขวา แล้วเล่ือนเป็นพระยาอนุชิตชาญไชย เป็นเจ้าพระยายมราช เสนาบดีในกรมพระนคร
บาล และเปน็ เจา้ พระยาจกั รศี รอี งครกั ษส์ มหุ นายกเอกอุ ภายหลงั เปน็ สมเดจ็ เจา้ พระยามหากษตั รยิ ศ์ กึ
เม่ือพระชนมพรรษา ๔๖ พรรษา เสด็จผ่านพิภพปราบดาภิเษก ในวันจันทร์ เดือน ๘ บูรพาษาฒ
ขึ้นค�่ำ ๑ ปีขาล จัตวาศก จ.ศ. ๑๑๔๔ ตรงกับวันท่ี ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๓๒๕ บรมราชาภิเษก เม่ือ
พ.ศ. ๒๓๒๘ ด�ำรงสริ ิราชสมบัติอยู่ ๒๘ พรรษา
สวรรคต เม่ือวันพฤหัสบดี เดือน ๙ แรม ๑๓ ค�่ำ ปีมะเส็ง เอกศก จ.ศ. ๑๑๗๑ เวลายามหนึ่ง๖
ตรงกับวันที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๓๕๒ พระชนมพรรษา ๗๓ พรรษา ถวายพระเพลิงพระบรมศพ
ณ พระเมรุมาศท้องสนามหลวง วันอาทติ ย์ที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๕๔ ๗

____________________________
๑ ประชมุ พงศาวดารภาคที่ ๓๓ บรุ พภาคพระธรรมเทศนาเฉลมิ พระเกยี รดพิ ระบาทสมเดจ็ ฯ พระนงั่ เกลา้ เจา้ อยหู่ วั
(พระนคร : หอพระสมุดวชริ ญาณ, ๒๔๖๙), หน้า ๑๐ และ ประถมวงษแลพระราชพงษาวดารย่อฯ, หนา้ ๑๔ ว่า สมเดจ็
พระเจา้ ขุนรามณรงค์
๒ พระราชพงศาวดารกรุงรตั นโกสินทร์ รชั กาลที่ ๑ ฉบบั โรงเรียนหลวงสวนกุหลาบ, หนา้ ๑๑๐.
๓ เร่ืองเดมิ , หนา้ ๔.
๔ พระอนุวงศช์ ัน้ หมอ่ มเจา้ ในพระราชวงศจ์ กั ร,ี หน้า ๔๙.
๕ ประชมุ พงศาวดารภาคที่ ๓๓ บรุ พภาคพระธรรมเทศนาเฉลมิ พระเกยี รดิฯ, หนา้ ๑๑.
๖ ดวงพระชาตาแลดวงชาตาตา่ ง ๆ (ส�ำเนาต้นฉบับลายมือ)
๗ พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รชั กาลที่ ๒ (พระนคร : โรงพิมพก์ ารศาสนา กรมการศาสนา, ๒๔๙๘),
หนา้ ๑๓๒, ๑๓๗ และ จดหมายเหตุรัชกาลท่ี ๒ จ.ศ. ๑๑๗๑-๑๑๗๓ (พระนคร : มูลนธิ พิ ระบรมราชานุสรณพ์ ระบาทสมเดจ็
พระพุทธเลศิ หลา้ นภาลยั ในพระบรมราชูปถมั ภ์, ๒๕๑๓), หนา้ ๔๐, ๗๗ ว่า เดิมก�ำหนดจะถวายพระเพลิงในเดอื น ๔ แลว้
เลอื่ นไปเปน็ เดือน ๕ จ.ศ. ๑๑๗๒ (ปมี ะเมยี โทศก ตรงกบั พ.ศ. ๒๓๕๓)

2

ท่ี ๕ สมเด็จพระอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล (สมเด็จพระบวรราชเจ้า๑มหา-
สรุ สงิ หนาท) พระนามเดมิ วา่ บญุ มา ประสตู ใิ นรชั กาลสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั บรมโกศ เมอ่ื วนั พฤหสั บดี เดอื น ๑๑
ขึ้นคำ�่ ๑ ปีกุน เบญจศก จ.ศ. ๑๑๐๕ ตรงกับวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๒๘๖
สมัยอยุธยา ทรงรับราชการเป็นนายสุดจินดา มหาดเล็กหุ้มแพร ต่อมาสมัยธนบุรีเป็นพระมหามนตรี
พระยาอนชุ ิตราชา พระยายมราช และเจ้าพระยาสุรสีห์พศิ ณวาธิราช๒
เมื่อพระชนมายุ ๔๐ พรรษา๓ ไดอ้ ปุ ราชาภิเษกเปน็ พระมหาอุปราช เมอื่ ปขี าล จตั วาศก จ.ศ. ๑๑๔๔
ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๒๕
สวรรคตในรัชกาลท่ี ๑ เมอ่ื วันพฤหัสบดี เดือน ๑๒ แรม ๔ คำ�่ ปกี นุ เบญจศก จ.ศ. ๑๑๖๕ ตรงกับ
วันท่ี ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓๔๖ สวรรคตเวลา ๒ ยาม ๕ บาท๔ พระชนมายุ ๖๐ พรรษา พระราชทาน
เพลงิ พระศพ ณ พระเมรุมาศท้องสนามหลวง เมอ่ื เดือน ๗ เป็นต้นเช้อื พระวงศ์ของเจ้านายซ่งึ เรียกกนั โดยสามญั
วา่ เจ้านายวังหนา้ พระพุทธยอดฟ้าฯ๕
ทง้ั ๕ พระองคซ์ ึง่ ออกพระนามมานี้ พระอัครชายาเดิมเปน็ พระชนนีร่วมกัน
ที่ ๖ พระองคเ์ จา้ หญงิ กุ (พระเจา้ นอ้ งนางเธอ กรมหลวงนรนิ ทรเทว๖ี ) คนทงั้ หลายเรยี กวา่ เจา้ ครอก๗
วดั โพธ์ิ เพราะเสดจ็ อยวู่ งั รมิ วดั พระเชตพุ นฯ สนิ้ พระชนมใ์ นรชั กาลท่ี ๓ เมอื่ ปกี นุ นพศก จ.ศ. ๑๑๘๙ พ.ศ. ๒๓๗๐
ถึงรัชกาลท่ี ๔ ทรงสถาปนาพระนามพระอัฐิเป็น กรมหลวงนรินทรเทวี พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุ

_____________________________
๑ พระบาทสมเดจ็ พระจอมเกล้าเจ้าอย่หู ัว ทรงบญั ญัตใิ หเ้ ฉลมิ พระนามกรมพระราชวังบวรสถานมงคล รชั กาลท่ี ๑
รัชกาลท่ี ๒ รัชกาลท่ี ๓ วา่ กรมพระราชวงั บวรมหาสรุ สิงหนาท กรมพระราชวงั บวรมหาเสนานุรกั ษ์ และกรมพระราชวังบวร
มหาศักดิพลเสพ ต่อมาในรัชกาลท่ี ๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้เปล่ียนค�ำ “กรมพระราชวังบวร”
ท่ีน�ำพระนามเป็น “สมเดจ็ พระบวรราชเจา้ ” (ดู ประชมุ พระนพิ นธ์เบด็ เตลด็ สมเด็จพระเจา้ บรมวงศเ์ ธอ กรมพระยาด�ำรง
ราชานภุ าพ ฉบับพมิ พ์ พ.ศ. ๒๕๐๔, หนา้ ๑๙.)
๒ “พระไอยการต�ำแหน่งนาทหารหัวเมือง” ใน กฎหมายตราสามดวง ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (กรุงเทพฯ :
ราชบณั ฑติ ยสถาน, ๒๕๕๐), หน้า ๑๑๔๕ ว่า เจา้ พญาสุรศรพี ิศมาธิราชชาตพิ ทั ยาธิเบศวราธิบดีอภยั พิรยี บรากรมภาหุ
๓ พระธรรมเทศนาบวรราชประวัติ (พระนคร : หอพระสมุดวชิรญาณ, ๒๔๖๙), หน้า ๑๓๖ ว่า พระชนมายุ
๓๘ พรรษา ; วันบรมมหาประสูตรแลวันประสูตร (ฉบับคัดส�ำเนา) (เอกสารจากกระทรวงการต่างประเทศ วันท่ี ๑๔
พฤศจกิ ายน ร.ศ. ๑๑๑) ว่า พระชนมพรรษา ๓๘ พรรษา ๗ เดือน ทรงอปุ ราชาภเิ ษก เสด็จด�ำรงพระราชอิศรยิ ยศ ๒๑ ปี
เดือนหนึง่
๔ ดวงพระชาตาแลดวงชาตาตา่ ง ๆ (ส�ำเนาตน้ ฉบบั ลายมือ)
๕ ประชมุ พงศาวดารภาคท่ี ๓๓ บรุ พภาคพระธรรมเทศนาเฉลิมพระเกยี รดิฯ, หน้า ๑๐.
๖ ประถมวงษแลพระราชพงษาวดารยอ่ ฯ, หนา้ ๕๙ ว่า สมเด็จพระเจา้ นอ้ งนางเธอ เจา้ ฟ้ากรมหลวงนรนิ ทรเทวี
๗ เจา้ ครอก หมายความวา่ เปน็ เจ้าโดยก�ำเนิด ใชเ้ รียกเจา้ นายชัน้ ผใู้ หญท่ ้ังฝ่ายหนา้ ฝา่ ยใน ส่วน ค�ำว่า “เจ้าคณุ ”
จะไมใ่ ชก้ ับพระบรมวงศานวุ งศ์ ใชก้ บั พระญาตขิ ้างสมเด็จพระอมรนิ ทรา บรมราชนิ ี ดงั เชน่ ที่เรียก “เจา้ คุณราชินิกลุ ” ทเ่ี ป็น
ผู้หญิง เปน็ ส่วนใหญ่ เช่น เจา้ คณุ นวล พระนอ้ งนางของสมเด็จพระอมรนิ ทรา บรมราชนิ ี

3

ท้องสนามหลวง เมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๖ แรม ๑๔ ค�่ำ ปีชวด สัมฤทธิศก จ.ศ. ๑๑๙๐๑ เป็นต้นตระกูลเช้ือ
พระวงศเ์ รียกกันโดยสามญั วา่ พวกเจา้ ครอกวดั โพธิ์ เปน็ ตน้ ราชสกลุ นรินทรกุล ณ อยธุ ยา
พระชนนีเปน็ พระน้องนางของพระอคั รชายาเดิม
ที่ ๗ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎา๒ (สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎา)
ประสูติเมื่อปีมะโรง พ.ศ. ๒๓๐๓ พระนามเดิมว่า ลา เป็นพระโอรสพระองค์น้อย เมื่อกรุงเก่าเสียได้ติดตาม
สมเดจ็ พระปฐมบรมมหาชนกไปกบั เจ้าจอมมารดามา ข้ึนไปอย่เู มืองพิษณโุ ลก ครั้นเสด็จสวรรคตไดป้ ลงพระศพ
แล้วเชิญพระอัฐิมาถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จึงทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระเจ้า
น้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎา เม่ือ พ.ศ. ๒๓๒๘ ทรงรับราชการเป็นยกกระบัตรทัพไปในราชการ
สงครามเกา้ ทัพ และสงครามตเี มอื งเชียงใหมอ่ ีกคร้ังหน่ึง ร่วมกบั สมเดจ็ พระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลท่ี ๑ เมื่อเดือน ๗ ปีเถาะ นพศก จ.ศ. ๑๑๖๙ ตรงกับวันที่ ๔ กุมภาพันธ์
พ.ศ. ๒๓๕๐ พระชันษา ๔๘ ปี พระราชทานเพลิงพระศพ ณ วัดบพิตรพิมุข๓ เป็นต้นตระกูลเชื้อพระวงศ์
เรียกกนั โดยสามญั วา่ พวกเจา้ กรมหลวงจักรเจษฎา เป็นต้นราชสกุล เจษฎางกรู ณ อยธุ ยา
พระราชโอรสธดิ าในสมเดจ็ พระเจา้ อยูห่ ัว และพระภราดาช้นั ที่ ๑ ในปฐมวงศ์ทั้ง ๗ พระองคท์ ก่ี ล่าวมา
เป็นชัน้ ที่ ๒ มีล�ำดบั ดังนี้ คอื
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี พระภัสดานามว่า หม่อมเสม เป็นที่
พระอินทรรักษา เจ้ากรมพระต�ำรวจฝ่ายพระราชวังบวรฯ ถึงแก่พิราลัยเสียแต่คร้ังกรุงเก่า มีพระโอรสธิดา
ดว้ ยกัน ๔ พระองค์ คือ
๑. สมเดจ็ เจา้ ฟา้ ชายทองอนิ (กรมพระราชวงั บวรสถานพมิ ขุ ) ประสตู ใิ นรชั กาลสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั
บรมโกศ เม่ือวนั จันทร์ เดือน ๕ ขนึ้ ๗ ค�่ำ ปีขาล อฐั ศก จ.ศ. ๑๑๐๘ ตรงกับวันท่ี ๒๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๒๘๙
ในสมัยธนบุรีเปน็ ท่ีพระยาสุริยอภัย ในรชั กาลท่ี ๑ ทรงสถาปนาเปน็ สมเด็จพระเจา้ หลานเธอ เจ้าฟา้ กรมหลวง
อนรุ กั ษเ์ ทเวศร๔์ แลว้ เล่ือนเป็นกรมพระราชวงั บวรสถานพมิ ุขฝ่ายหลงั ๕ เมอ่ื พ.ศ. ๒๓๒๙ ทวิ งคตในรัชกาลที่ ๑

_____________________________
๑ พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสนิ ทร์ รัชกาลที่ ๓ (กรุงเทพฯ : โรงพิมพค์ รุ ุสภาลาดพรา้ ว, ๒๕๔๗), หน้า ๓๑
เม่ือเทยี บกับ ปฏทิ นิ กรมวชิ ชาธิการ กระทรวงธรรมการ ส�ำหรบั คน้ วนั เดือนจนั ทรคติกบั สรุ ยิ คติฯ (พระนคร : โรงพมิ พ์
อกั ษรนิต,ิ ๒๔๗๔.) แลว้ เดอื น ๖ แรม ๑๔ ค�ำ่ จะตรงกบั วันจันทรท์ ่ี ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๗๑
๒ เฉลิมพระยศเจ้านาย เล่ม ๑ (พระนคร : ราชบัณฑติ ยสภา, ๒๔๗๒), หน้า ๓๐ วา่ “จกั ร์เจษฎา”
๓ จดหมายความทรงจ�ำของพระเจ้าไปยิกาเธอ กรมหลวงนรนิ ทรเทวฯี ข้อ ๒๑๑, หน้า ๔๕๐. วา่ สิ้นพระชนม์
เดอื น ๓ ขึน้ ๑๐ ค�ำ่
๔ จดหมายเหตุเร่ืองทรงตั้งพระบรมวงษานุวงษ์ กรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ จนตลอดรัชกาลท่ี ๕
(พระนคร : หอพระสมุดวชิรญาณ, ๒๔๕๗), หน้า ๑๔๔.
๕ พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ ฉบบั โรงเรยี นหลวงสวนกหุ ลาบ, หนา้ ๕.

4

เม่ือวันเสาร์ เดือนอ้าย ขึ้น ๑๐ ค�่ำ ปีขาล อัฐศก จ.ศ. ๑๑๖๘ ตรงกับวันท่ี ๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๔๙
พระชนั ษา ๖๑ พรรษา๑ พระราชทานเพลงิ พระศพ ณ พระเมรทุ อ้ งสนามหลวง เมอื่ วนั จนั ทร์ เดอื น ๖ ขนึ้ ๑๒ คำ่� ๒
ปีเถาะ นพศก จ.ศ. ๑๑๖๙ ตรงกบั วนั ที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๕๐
๒. สมเดจ็ เจา้ ฟา้ ชายบญุ เมอื ง (สมเดจ็ พระสมั พนั ธวงศเ์ ธอ๓ เจา้ ฟา้ กรมหลวงธเิ บศรบดนิ ทร์๔) ประสตู ิ
ปีระกา พ.ศ. ๒๒๙๖ ในรัชกาลท่ี ๑ ทรงสถาปนาเปน็ สมเด็จพระเจา้ หลานเธอ เจา้ ฟา้ กรมหลวงธเิ บศรบดนิ ทร
สนิ้ พระชนมใ์ นรชั กาลที่ ๑ เมอื่ วนั จนั ทร์ เดอื น ๘ อตุ ราษาฒ ขนึ้ ๑๒ คำ�่ ปมี ะเสง็ สปั ตศก จ.ศ. ๑๑๔๗ ตรงกบั
วนั ที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๒๘ พระชันษา ๓๒ พรรษา๕ พระราชทานเพลงิ พระศพ ณ วัดอรณุ ราชวราราม
เมอ่ื ปมี ะโรง ฉศก๖
๓. สมเดจ็ เจา้ ฟา้ ชายทองจนี (สมเดจ็ พระสมั พนั ธวงศเ์ ธอ เจา้ ฟา้ กรมหลวงนรนิ ทรร์ ณเรศ) ประสตู ปิ ฉี ลู
นพศก จ.ศ. ๑๑๑๙ พ.ศ. ๒๓๐๐๗ ในรชั กาลท่ี ๑ ทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจา้ ฟา้ กรมหลวง
นรินทรรณเรศ สิน้ พระชนม์ในรัชกาลที่ ๑ เมื่อปีมะเสง็ นพศก จ.ศ. ๑๑๕๙ ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๔๐ พระชันษา
๔๑ ปี พระราชทานเพลงิ พระศพ ณ พระเมรทุ อ้ งสนามหลวง๘ ปีมะเส็ง นพศก จ.ศ. ๑๑๕๙ เป็นต้นราชสกุล
นรินทรางกูร ณ อยุธยา
๔. สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงทองค�ำ (สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้าทองค�ำ) ประสูติปีมะเส็ง ตรีศก
จ .ศ. ๑๑๒๓ พ.ศ. ๒๓๐๔ สิน้ พระชนม์ในรชั กาลท่ี ๑

_____________________________
๑ จดหมายความทรงจ�ำของพระเจา้ ไปยกิ าเธอ กรมหลวงนรนิ ทรเทวฯี , ขอ้ ๒๐๔ หนา้ ๔๒๓ วา่ “กรมพระราชวงั หลงั
ทวิ งคต วนั พธุ เดือนอา้ ย ขนึ้ ๗ ค่ำ� เวลาบา่ ย ๒ โมงเศษ”
๒ เรอื่ งเดยี วกนั , หนา้ ๓๒๓ และ พระราชพงศาวดารกรงุ รตั นโกสนิ ทร์ รชั กาลที่ ๑ ฉบบั โรงเรยี นหลวงสวนกหุ ลาบ,
หน้า ๑๖๔.
๓ พระบาทสมเดจ็ พระจอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั โปรดเกลา้ ฯ ใหใ้ ชค้ �ำน�ำพระนามพระราชโอรสธดิ าในสมเดจ็ พระเจา้ พน่ี างเธอ
รชั กาลท่ี ๑ ทง้ั สองพระองค์ และพระองค์เจา้ ในกรมพระราชวงั บวรสถานพิมขุ ว่า พระสัมพันธวงศ์เธอ (ดู พระบาทสมเดจ็
พระจุลจอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ธรรมเนียมราชตระกูลในกรงุ สยาม (พระนคร : โรงพมิ พม์ หามกฏุ ราชวทิ ยาลยั , ๒๕๐๑) ขอ้ (๖๕),
(๙๔) และ จดหมายเหตเุ รื่องทรงต้ังพระบรมวงษานุวงษฯ์ , หน้า ๑๒๘-๑๓๑ ว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกลา้ เจา้ อย่หู ัว
โปรดให้ใช้ค�ำน�ำพระนามพระราชโอรสธดิ าในสมเด็จพระพนี่ างเธอ ๒ พระองคใ์ นรชั กาลที่ ๑ ว่า สมเด็จพระสัมพันธวงศเ์ ธอ
๔ เฉลิมพระยศเจา้ นาย เลม่ ๑, หนา้ ๓๐ วา่ “กรมหลวงธเิ บศร์บดนิ ทร์”
๕ วนั บรมมหาประสูตรแลวนั ประสูตร (ฉบับคัดส�ำเนา)
๖ จดหมายความทรงจ�ำของพระเจ้าไปยิกาเธอ กรมหลวงนรินทรเทวฯี , ข้อ ๑๔๐ หน้า ๓๐๘.
๗ สมยั ธนบรุ ี พ.ศ. ๒๓๒๔ ครั้งเปน็ ที่หลวงนายฤทธิ นายเวรมหาดเลก็ ไดเ้ ป็นอุปทูตออกไปกรุงปกั ก่ิง คนท้งั หลาย
จึงเรียก เจา้ ปักก่ิง (ดู จดหมายความทรงจ�ำของพระเจา้ ไปยิกาเธอ กรมหลวงนรนิ ทรเทวีฯ, ข้อ ๘๘ หน้า ๒๓๒ และ
พระราชพงศาวดารกรงุ รัตนโกสนิ ทร์ รชั กาลท่ี ๑ ฉบบั โรงเรยี นหลวงสวนกหุ ลาบ, หนา้ ๕.)
๘ จดหมายความทรงจ�ำของพระเจ้าไปยิกาเธอ กรมหลวงนรินทรเทวีฯ, ขอ้ ๑๘๑ หน้า ๓๖๙ .

5

สมเด็จพระเจ้าขนุ รามณรงค์ มพี ระธิดาพระองค์ ๑ คือ
พระองคเ์ จ้าช๑ี คนทั้งหลายเรียกวา่ เจา้ ครอกชี สนิ้ พระชนม์ในรชั กาลที่ ๑๒ ต่อมาในรชั กาลที่ ๔ ทรง
สถาปนาพระนามพระอฐั เิ ปน็ กรมขนุ รามินทรสดุ า๓
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ พระภัสดานาม เจ้าขรัวเงิน เป็นสกุลเศรษฐี๔
ถึงแกพ่ ริ าลัยในสมัยธนบรุ ี มพี ระโอรสธิดาด้วยกนั ๖ พระองค์ คอื
๑. สมเด็จเจ้าฟ้าชายตัน (สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์) ประสูติปีเถาะ
พ.ศ. ๒๓๐๒ ในรชั กาลท่ี ๑ ทรงสถาปนาเปน็ สมเดจ็ พระเจา้ หลานเธอ เจา้ ฟา้ กรมหลวงเทพหรริ กั ษ์ สน้ิ พระชนม์
ในรัชกาลท่ี ๑ เม่ือวันจันทร์ เดือน ๔ ข้ึน ๑๔ ค่�ำ ปีฉลู สัปตศก๕ จ.ศ. ๑๑๖๗ ตรงกับวันท่ี ๓ มีนาคม
พ.ศ. ๒๓๔๘ พระชนั ษา ๔๗ ปี เป็นต้นราชสกลุ เทพหสั ดนิ ณ อยุธยา
๒. สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงฉิม (สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอนัคฆนารี) ประสูติปีมะเมีย
จัตวาศก จ.ศ. ๑๑๒๔ พ.ศ. ๒๓๐๕ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลท่ี ๓ เม่ือปีกุน สัปตศก จ.ศ. ๑๑๗๗๖ ตรงกับ
พ.ศ. ๒๓๕๘ ทรงสถาปนาพระนามพระอฐั เิ ปน็ เจา้ ฟ้ากรมขุนอนคั ฆนารี เมือ่ ในรัชกาลท่ี ๔
๓. สมเด็จเจ้าฟ้าชายขุนเณร๗ (สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้าขุนเณร) สิ้นพระชนม์แต่ยังทรง
พระเยาว์
๔. สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงบุญรอด (สมเด็จพระศรสี ุริเยนทรา บรมราชิน)ี ประสตู วิ นั อาทติ ย์ เดือน ๑๐
แรม ๑๒ ค�่ำ ปกี ุน นพศก จ.ศ. ๑๑๒๙ ตรงกับวันที่ ๒๑ กนั ยายน พ.ศ. ๒๓๑๐๘ เพลาเชา้ เปน็ พระอัครมเหสี

_____________________________
๑ พระราชพงศาวดารกรงุ รัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (กรุงเทพฯ : โรงพิมพก์ ารศาสนา
กรมการศาสนา, ๒๕๓๑), หนา้ ๖๕.
๒ จดหมายเหตรุ ัชกาลท่ี ๒ ว่า ใน พ.ศ. ๒๓๖๑ ยงั มีพระชนม์อยู่ ; วันบรมมหาประสูตรแลวนั ประสตู ร (ฉบับ
คัดส�ำเนา) ว่า สิ้นพระชนม์ในรชั กาลท่ี ๒
๓ จดหมายเหตเุ รอ่ื งทรงตง้ั พระบรมวงษานวุ งษ์ฯ หน้า ๑๔๐ และ ๑๔๒.
๔ ดู ประถมวงษแลพระราชพงษาวดารยอ่ ฯ, หน้า ๓๙.
๕ “จดหมายเหตุรัชกาลท่ี ๑ เลขท่ี ๑๒ เรื่องตงั้ กรมแต่รชั กาลที่ ๑ - รัชกาลท่ี ๔,” ใน พระราชนพิ นธ์ในพระบาท
สมเดจ็ พระจอมเกลา้ เจ้าอยหู่ วั เรื่อง พระนพิ พาน วิปสั สนาวธิ ี เจรญิ เมตตา เจรญิ อสุภภาวนา และเจรญิ มรณสติ และตงั้
กรมเจา้ นาย รัชกาลที่ ๑ - รัชกาลท่ี ๔ (กรุงเทพฯ : สามลดา, ๒๕๕๒), หน้า ๔๐ วา่ สิน้ พระชนม์ พ.ศ. ๒๓๔๔ ; จดหมาย
ความทรงจ�ำของพระเจา้ ไปยกิ าเธอ กรมหลวงนรนิ ทรเทวฯี , ข้อ ๑๙๕ หนา้ ๔๐๕ ว่า “สิ้นพระชนมป์ จี อ จัตวาศก ปลายปี
ถวายเพลงิ ท่ีวดั ราชบุรณ” ซ่ึงปีจอ จัตวาศก ตรงกบั จ.ศ. ๑๑๖๔ (พ.ศ. ๒๓๔๕) ; พระราชพงศาวดารกรุงรตั นโกสินทร์
รัชกาลท่ี ๑ ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ,์ หนา้ ๙๖ วา่ สนิ้ พระชนม์ เดอื น ๔ พ.ศ. ๒๓๔๖
๖ “จดหมายเหตรุ ชั กาลที่ ๑ เลขท่ี ๑๒ เรอื่ งตงั้ กรมแตร่ ชั กาลท่ี ๑ - รชั กาลท่ี ๔,” ใน พระราชนพิ นธใ์ นพระบาท
สมเดจ็ พระจอมเกลา้ เจ้าอยู่หวั ฯ, หน้า ๓๗.
๗ เร่อื งเดยี วกัน, หน้า ๔๒. ว่า สน้ิ พระชนม์เมอื่ พระชันษาได้ ๗ ปี
๘ ปฐมวงศ์ (พระบรมราชมหาจักรีกษัตรยิ ส์ ยาม) (พระนคร : โรงพมิ พ์หนงั สือพิมพไ์ ทย, ๒๔๗๐), หน้า ๑๒ ว่า
ประสตู ิวนั ที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๓๑๐

6

ในรัชกาลที่ ๒ คนท้ังหลายเรียกว่า สมเด็จพระพันวสา สวรรคตในรัชกาลท่ี ๓ เมื่อวันอังคาร เดือน ๑๑
ขึน้ ๘ คำ�่ ปีวอก อฐั ศก จ.ศ. ๑๑๙๘ ตรงกบั วันที่ ๑๘ ตลุ าคม พ.ศ. ๒๓๗๙ เวลาโมง ๙ บาท๑ พระชนมายุ
๗๐ พรรษา ถวายพระเพลิงพระบรมศพ ณ พระเมรุมาศท้องสนามหลวง วันอาทิตย์ เดือน ๕ ข้ึน ๑๑ ค่�ำ๒
ปรี ะกา นพศก จ.ศ. ๑๑๙๙ ตรงกับวนั ที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๓๘๐ ตอ่ มาในรชั กาลท่ี ๔ ทรงสถาปนาพระบรม
อัฐิเป็นกรมสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์๓ ครั้นถึงรัชกาลท่ี ๖ ทรงเฉลิมพระนามาภิไธยใหม่เป็น สมเด็จ
พระศรสี ุรเิ ยนทรา บรมราชิน๔ี
๕. สมเด็จเจ้าฟา้ ชายจุ้ย (สมเดจ็ พระสัมพนั ธวงศเ์ ธอ เจา้ ฟา้ กรมหลวงพิทักษมนตร)ี ประสตู ิวนั เสาร์
เดือน ๑๐ ขึ้น ๑๒ ค่ำ� ปขี าล โทศก จ.ศ. ๑๑๓๒ ตรงกับวนั ที่ ๒ กนั ยายน พ.ศ. ๒๓๑๓ ในรัชกาลท่ี ๑ ทรง
สถาปนาเป็นสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษมนตรี ในรัชกาลท่ี ๒ ได้รับสถาปนาเป็นทาง
ราชการในที่สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ๕ ทรงก�ำกับกรมวัง และกรมมหาดไทย ส้ินพระชนม์ในรัชกาลที่ ๒ เมื่อ
วันจันทร์ เดือน ๗ ข้ึน ๗ ค�่ำ ปีมะเมีย จัตวาศก จ.ศ. ๑๑๘๔ ตรงกับวันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๖๕๖
พระชันษา ๕๒ ปี พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุทอ้ งสนามหลวง เมอื่ เดอื น ๓ ขึ้น ๑๑ คำ�่ ๗ ตรงกบั
วันพธุ ท่ี ๒๒ มกราคม พ.ศ. ๒๓๖๕ เปน็ ต้นราชสกุล มนตรีกุล ณ อยุธยา
๖. สมเดจ็ เจา้ ฟา้ ชายเกศ๘ (สมเดจ็ พระสมั พนั ธวงศเ์ ธอ เจา้ ฟา้ กรมขนุ อศิ รานรุ กั ษ)์ ประสตู คิ รง้ั กรงุ ธนบรุ ี
เม่ือวันพุธ เดือน ๔ แรม ๑๒ ค�่ำ ปีมะเส็ง เบญจศก จ.ศ. ๑๑๓๕ ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๑๖ ในรัชกาลที่ ๑
ทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ ในรัชกาลที่ ๒ ทรงก�ำกับกรมมหาดไทย
ต่อจากสมเดจ็ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษมนตรี ส้นิ พระชนมใ์ นรัชกาลที่ ๓ เมอื่ วนั ศุกร์ เดือน ๔ ขึ้น ๗ ค�่ำ ปขี าล
โทศก จ.ศ. ๑๑๙๒ ตรงกับวันท่ี ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๓๗๓ พระชันษา ๕๗ ปี พระราชทานเพลิงพระศพ
ณ พระเมรุทอ้ งสนามหลวง เมอื่ วนั เดือน ๗ ข้นึ ๑๑ คำ�่ ๙ ปีเถาะ ตรศี ก จ.ศ. ๑๑๙๓ ตรงกบั วันอาทิตยท์ ี่ ๒๒
พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๗๔ เป็นตน้ ราชสกุล อศิ รางกูร ณ อยธุ ยา

_____________________________
๑ ดวงพระชาตาแลดวงชาตาต่าง ๆ (ส�ำเนาตน้ ฉบบั ลายมอื ).
๒ พระราชพงศาวดารกรุงรตั นโกสนิ ทร์ รัชกาลที่ ๓, หน้า ๗๑.
๓ จดหมายเหตุเร่อื งทรงตง้ั พระบรมวงษานุวงษฯ์ , หน้า ๗๑.
๔ ดูท่ีภาคผนวก เร่ือง “วินิจฉัยพระยศเจ้านายท่ีเรียกว่า “กรมสมเด็จ” หรอื “สมเด็จกรม”
๕ พระอนุวงศช์ ้ันหม่อมเจา้ ในพระราชวงศจ์ ักร,ี หน้า ๕๑.
๖ จดหมายความทรงจ�ำของพระเจ้าไปยิกาเธอ กรมหลวงนรินทรเทวีฯ, หนา้ ๘๐๖ ว่า ส้ินพระชนม์ วันจันทร์
เดอื น ๘ ขนึ้ ๗ ค่�ำ ปีมะเมีย จตั วาศก พระชนั ษา ๕๒ ปี
๗ พระราชพงศาวดารกรงุ รตั นโกสนิ ทร์ รชั กาลท่ี ๒ (กรุงเทพฯ : ไอเดีย สแควร์, ๒๕๔๖), หนา้ ๑๙๗.
๘ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, ชุมนุมพระบรมราชาธิบายในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว.
(กรงุ เทพฯ : โบราณคดสี โมสร, ๒๔๕๗), หน้า ๑๐ ว่า “เกด” และ ต�ำนานเทศนม์ หาชาติ (พระนคร : โรงพมิ พพ์ ระจันทร,์
๒๕๐๑), หน้า ๕๐ วา่ “สมเดจ็ พระเจ้าหลานเธอเจ้าฟ้าเกต”
๙ พระราชพงศาวดารกรงุ รตั นโกสินทร์ รชั กาลท่ี ๓, หนา้ ๔๖.

7

พระราชโอรสธิดาในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รวม ๔๒ พระองค์ พระนาม
และพระองค์ใดเปน็ ตน้ ราชสกุลใด แจง้ อยู่ในบญั ชีต่อไปข้างหนา้
พระราชโอรสธิดาในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ๔๓ พระองค์ พระนามและพระองค์ใด
เป็นต้นราชสกุลใด แจง้ อยใู่ นบัญชตี ่อไปขา้ งหนา้
พระเจ้าน้องนางเธอ กรมหลวงนรินทรเทวี ต้นราชสกุล นรินทรกุล ณ อยุธยา พระภัสดาคือ
กรมหมน่ื นรนิ ทรพิทกั ษ๑์ มีพระโอรสด้วยกัน ๒ พระองค์
๑. พระองค์เจา้ ชายฉิม (กรมหม่นื นรินทรเทพ๒) ประสูติปีชวด โทศก จ.ศ. ๑๑๔๒ พ.ศ. ๒๓๒๓ ใน
รชั กาลที่ ๒ ทรงสถาปนาเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมืน่ นรนิ ทรเทพ สนิ้ พระชนม์ในรชั กาลท่ี ๒ พระราชทาน
เพลิงพระศพ ณ วัดระฆังโฆสติ าราม๓ เมอื่ วันจันทรท์ ี่ ๓๑ ธนั วาคม พ.ศ. ๒๓๖๔
๒. พระองค์เจ้าชายเจ่ง (กรมหม่ืนนเรนทรบริรักษ๔์ ) ประสูติวันพุธ เดือน ๙ ขึ้น ๑๕ ค�่ำ ปีมะเมีย
อฐั ศก จ.ศ. ๑๑๔๘ ตรงกบั วนั ท่ี ๙ สงิ หาคม พ.ศ. ๒๓๒๙ ในรัชกาลท่ี ๑ ทรงสถาปนาเป็นพระเจ้าหลานเธอ
กรมหมื่นนเรนทรบริรักษ์ ส้ินพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓ เม่ือวันพฤหัสบดี เดือน ๕ ข้ึน ๔ ค�่ำ ปีเถาะ๕ ตรีศก
จ.ศ. ๑๑๙๓ ตรงกบั วนั ที่ ๑๗ มนี าคม พ.ศ.๒๓๗๔ พระชันษา ๔๖ ปี พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุ
ทอ้ งสนามหลวง วันอาทิตย์ที่ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๗๔๖
สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎา ต้นราชสกุล เจษฎางกูร ณ อยุธยา มีหม่อมเจ้าในกรมหลาย
พระองค์ หาทราบพระนามหมดไม๗่
เจา้ นายในรัชกาลหลัง ๆ ตัง้ แตร่ ชั กาลท่ี ๒ มา ท้งั ฝ่ายวงั หลวงและวงั หนา้ ลว้ นสบื ล�ำดบั ปฐมวงศล์ งมา
แตพ่ ระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจฬุ าโลกมหาราช ทกุ พระองค์
แสดงล�ำดับปฐมวงศ์ไว้ในเบอ้ื งตน้ เพอ่ื จะใหป้ รากฏสกลุ อนั เนอ่ื งในพระราชวงศใ์ หบ้ รบิ รู ณ์ สนิ้ เนอื้ ความ
เพยี งนี้ ฯ

_____________________________
๑ ดู กรมหมืน่ นรินทรพิทกั ษ์ หนา้ ๑๘๓.
๒ ประชุมประกาศรชั กาลท่ี ๔ ภาคปกริ ณกะ ส่วนท่ี ๑ (พระนคร : หอพระสมดุ วชริ ญาณ, ๒๔๖๗), หน้า ๘๔ - ๘๗
วา่ พระเจ้าน้องยาเธอ ดรู ายละเอียดในภาคผนวก “ประกาศใช้ค�ำน�ำพระนามพระบรมวงศานวุ งศ์”
๓ จดหมายความทรงจ�ำของพระเจา้ ไปยิกาเธอ กรมหลวงนรนิ ทรเทวฯี , ขอ้ ๒๕๕ หนา้ ๕๓๗ และ “การพระศพ
กรมหมนื่ อนิ ทรพพิ ธิ และกรมหมนื่ นรนิ ทรเทพ จ.ศ. ๑๑๘๒ ปมี ะโรง โทศก,” ประชมุ หมายรบั สงั่ ภาคที่ ๓ สมยั กรงุ รตั นโกสนิ ทร์
รชั กาลพระบาทสมเดจ็ พระพทุ ธเลศิ หล้านภาลัย (กรงุ เทพฯ : โรงพมิ พส์ �ำนักเลขาธิการคณะรฐั มนตรี, ๒๕๒๘), หน้า ๑๔๔.
๔ ในรชั กาลที่ ๕ ปรากฏหลกั ฐานการเรียกค�ำน�ำพระนามใน ราชกจิ จานเุ บกษา เลม่ ๒๒ ร.ศ. ๑๒๔, หน้า ๑๗๗ วา่
พระวงษเ์ ธอ กรมหมนื่ นเรนทรบรริ กั ษ์
๕ เมอ่ื เทยี บกับ ปฏิทนิ กรมวิชชาธิการฯ แลว้ เป็นปขี าล (โทศก จ.ศ. ๑๑๙๒) ตรงกับวนั ท่ี ๑๗ มนี าคม พ.ศ. ๒๓๗๓
(ดู ปฏิทนิ กรมวิชชาการฯ หนา้ ๔๙.) ; จดหมายเหตคุ วามทรงจ�ำของพระเจ้าไปยกิ าเธอ กรมหลวงนรินทรเทวฯี , หนา้ ๘๑๔
ว่า ส้นิ พระชนม์ ปีขาล โทศก พ.ศ. ๒๓๗๓
๖ พระราชพงศาวดารกรงุ รัตนโกสินทร์ รชั กาลท่ี ๓, หน้า ๔๖.
๗ พระโอรสธดิ า ดู พระอนุวงศ์ชน้ั หมอ่ มเจ้าในพระราชวงศจ์ ักร.ี

8

พระราชโอรสพระราชธดิ า
ในพระบาทสมเดจ็ พระพุทธยอดฟา้ จฬุ าโลกมหาราช รชั กาลที่ ๑



ประสูติเม่อื ก่อนเสดจ็ ปราบดาภเิ ษก๑

ท่ี ๑ สมเดจ็ เจ้าฟ้าหญิง (สมเดจ็ พระเจา้ บรมวงศเ์ ธอ เจา้ ฟา้ )๒ ไมป่ รากฏพระนาม ส้ินพระชนมเ์ สยี
แต่ครั้งกรงุ เก่ายงั ไมเ่ สีย
ที่ ๒ สมเดจ็ เจ้าฟ้าชาย (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจา้ ฟ้า) ไมป่ รากฏพระนาม สิน้ พระชนมเ์ สยี แต่
คร้ังกรุงเกา่ ยงั ไมเ่ สยี
ที่ ๓ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงฉิมใหญ่๓ (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฉิมใหญ่) คือสมเด็จพระเจ้า
บรมวงศเ์ ธอชน้ั ๑ ซ่ึงเปน็ พระราชชายาสมเด็จพระเจา้ ตากสินมหาราช๔ และเป็นพระมารดาของสมเดจ็ พระเจา้
หลานเธอ เจา้ ฟา้ สพุ นั ธวุ งศ์ ซงึ่ เปน็ กรมขนุ กระษตั รานชุ ติ ๕ ในรชั กาลที่ ๑ สนิ้ พระชนมเ์ สยี แตค่ รงั้ แผน่ ดนิ สมเดจ็
พระเจา้ ตากสนิ มหาราช เมอ่ื ปกี นุ เอกศก จ.ศ. ๑๑๔๑ พ.ศ. ๒๓๒๒๖ ภายหลงั สมเดจ็ เจา้ ฟา้ ฯ กรมขนุ กระษตั รานชุ ติ
ประสูติ ๑๒ วัน พระราชทานเพลงิ พระศพ ณ วดั บางย่เี รอื นอก วนั เดือน ๗ ปีชวด โทศก จ.ศ. ๑๑๔๒๗
ที่ ๔ สมเด็จเจ้าฟ้าชายฉิม (พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย) เสด็จพระราชสมภพ เมื่อ
วันพธุ เดือน ๔ ข้นึ ๗ คำ่� ปกี ุน นพศก จ.ศ. ๑๑๒๙ ตรงกบั วันท่ี ๒๔ กมุ ภาพันธ์ พ.ศ. ๒๓๑๐ เวลาเที่ยง๘

_____________________________
๑ พระบาทสมเดจ็ พระพทุ ธยอดฟา้ จฬุ าโลกมหาราช ยงั มพี ระราชโอรสธดิ าพระองคอ์ นื่ ประสตู แิ ตห่ มอ่ มบาทบรจิ ารกิ า
ขา้ หลวงเดิม คร้ังยังไมไ่ ด้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบตั ิอกี ๒ พระองค์ ดู ประถมวงษแลพระราชพงษาวดารย่อฯ และ “เรื่อง
โสกันต์” ใน ชุมนมุ พระบรมราชาธิบายในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, หน้า ๑๑.
๒ ในรชั กาลที่ ๔ โปรดเกลา้ ฯ ใหเ้ รยี กวา่ พระอฐั ใิ นพระปฐมบรมวงศ์ (ดู จดหมายเหตเุ รอ่ื งทรงตงั้ พระบรมวงษานวุ งษฯ์ ,
หนา้ ๑๔๑.)
๓ กล่าวกันอีกนัยหนึ่งวา่ พระนามเดมิ วา่ หวาน แต่จารึกทพ่ี ระโกศพระอฐั ิว่า “เจ้าครอกฉิมใหญ”่
๔ ตน้ ฉบบั เดิมใช้ พระเจ้ากรงุ ธนบุรี คณะรฐั มนตรีได้มีมติเม่อื วันท่ี ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๔ ให้ถวายพระนามว่า
“สมเดจ็ พระเจา้ ตากสนิ มหาราช”
๕ สมเดจ็ พระเจา้ หลานเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมขุนกระษตั รานชุ ติ ประสูติวนั ศุกร์ เดือน ๑๐ แรม ๑๓ ค�่ำ พ.ศ. ๒๓๒๒
คร้ังสมยั ธนบุรีมพี ระนามว่า สมเดจ็ พระเจา้ ลกู เธอ เจ้าฟ้าสพุ นั ธวุ งศ์ (หรือเจา้ ฟ้าเหม็น) ในรัชกาลท่ี ๑ เปลย่ี นพระนามใหม่
เปน็ สมเดจ็ พระเจ้าหลานเธอ เจา้ ฟ้าอภยั ธเิ บศร์ ตอ่ มาเม่ือ พ.ศ. ๒๓๔๙ โปรดเกล้าฯ ใหเ้ ปล่ียนเป็นสมเดจ็ พระเจา้ หลานเธอ
เจ้าฟา้ ธรรมาธิเบศร์ กรมขุนกระษตั รานุชติ สิน้ พระชนมเ์ มอื่ วันที่ ๑๓ กนั ยายน พ.ศ. ๒๓๕๒ พระชนั ษา ๓๑ ปี โอรสธดิ า
ถูกลดพระยศลงเรียกวา่ คุณ หรอื หมอ่ ม ตอ่ มาในรชั กาลท่ี ๖ ทายาทไดร้ บั พระราชทานนามสกลุ วา่ อภยั กุล (ดู จดหมาย
ความทรงจ�ำของพระเจา้ ไปยิกาเธอ กรมหลวงนรินทรเทวีฯ, ขอ้ ๒๑๙ หน้า ๓๙๒.)
๖ พระนามพระองค์เจ้าวังหลวงแลวังน่าทั้ง ๕ รัชกาล (ส�ำเนาต้นฉบับพิมพ์ดีด เป็นเอกสารเก็บอยู่ที่หอสมุด
ด�ำรงราชานุภาพ), หน้า ๑ ว่า สน้ิ พระชนม์วันองั คาร เดอื น ๑๐ แรม ๓ ค่ำ� ปีกนุ จ.ศ. ๑๑๔๑
๗ จดหมายความทรงจ�ำของพระเจ้าไปยกิ าเธอ กรมหลวงนรนิ ทรเทวีฯ, ขอ้ ๗๒ หน้า ๑๑๐ - ๑๑๑.
๘ ดวงพระชาตาและดวงชาตาตา่ ง ๆ (ส�ำเนาต้นฉบบั ลายมอื ).

9

เม่ือพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จปราบดาภิเษก ทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระเจ้า
ลูกยาเธอ เจ้าฟ้า กรมหลวงอศิ รสนุ ทร ตอ่ มาถงึ ปขี าล อฐั ศก จ.ศ. ๑๑๖๘ ตรงกบั พ.ศ. ๒๓๔๙ พระราชทาน
อุปราชาภิเษกเป็นสมเด็จพระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล เรียกเป็นสามัญว่า พระบัณฑูรใหญ่
(เทียบที่วงั หนา้ พระองค์ท่ี ๑)
วันศุกร์ เดอื น ๙ แรม ๑๔ ค่�ำ ปีมะเส็ง เอกศก จ.ศ. ๑๑๗๑๑ ตรงกับวนั ท่ี ๘ กนั ยายน พ.ศ. ๒๓๕๒
เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นรัชกาลท่ี ๒ บรมราชาภิเษกเมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๑๐ ข้ึน ๙ ค�่ำ ตรงกับ
วันที่ ๑๗ กนั ยายน พ.ศ. ๒๓๕๒ ด�ำรงสิรริ าชสมบัติอยู่ ๑๖ ปี เสด็จสวรรคตเมื่อวนั พธุ เดือน ๘ แรม ๑๑ ค่ำ�
ปีวอก ฉศก จ.ศ. ๑๑๘๖ ตรงกับวันท่ี ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๖๗ พระชนมพรรษา ๕๘ พรรษา ถวาย
พระเพลงิ พระบรมศพ ณ พระเมรุมาศท้องสนามหลวง เม่ือวันจันทร์ เดอื น ๖ ข้ึน ๑๓ ค�่ำ๒ ปีระกา สัปตศก
จ.ศ. ๑๑๘๗
ท่ี ๕ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงแจ่ม๓ (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงศรีสุนทรเทพ) ประสูติ
เมื่อปีขาล โทศก จ.ศ. ๑๑๓๒ ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๑๓ ในรัชกาลที่ ๑ ทรงสถาปนาเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ
เจ้าฟ้ากรมหลวงศรีสุนทรเทพ ส้ินพระชนม์ในรัชกาลที่ ๑ เมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๙ แรมค�่ำ ๑ ปีมะโรง
สัมฤทธิศก จ.ศ. ๑๑๗๐ ตรงกบั วนั ท่ี ๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๓๕๑ พระชนั ษา ๓๘ ปี พระราชทานเพลงิ พระศพ
ณ พระเมรทุ อ้ งสนามหลวง วนั อาทติ ย์ เดอื น ๓ ขน้ึ ๗ คำ่� จ.ศ. ๑๑๗๐๔ ตรงกบั วนั ที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ. ๒๓๕๑
ท่ี ๖ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิง (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้า) พระนามไม่ปรากฏ ส้ินพระชนม์เสีย
แตย่ งั ทรงพระเยาว์ ในรัชกาลสมเดจ็ พระเจ้าตากสนิ มหาราช
ที่ ๗ สมเด็จเจ้าฟ้าชายจุ้ย (สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์) ประสูติวันจันทร์ เดือน ๕
ขึ้น ๗ ค่ำ� ปีมะเส็ง เบญจศก จ.ศ. ๑๑๓๕ ตรงกบั วนั ท่ี ๒๙ มนี าคม พ.ศ. ๒๓๑๕ เวลาย�่ำรุง่ ในรัชกาลที่ ๑
ทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนเสนานุรักษ์ ต่อมาเมื่อปีเถาะ นพศก จ.ศ. ๑๑๖๙
ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๕๐ โปรดให้เล่ือนเป็นกรมหลวงฯ รับพระบัณฑูร เรียกว่า พระบัณฑูรน้อย (เทียบท่ีวังหน้า
พระองคท์ ่ี ๒) ถงึ รัชกาลที่ ๒ พระราชทานอุปราชาภเิ ษกเปน็ พระมหาอปุ ราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล๕

_____________________________
๑ พระราชพงษาวดาร ฉบบั พมิ พ์ ร.ศ. ๑๒๐ เลม่ ๓ กรมศกึ ษาธกิ าร กระทรวงธรรมการ (กรงุ เทพฯ : มตชิ น, ๒๕๕๐),
หน้า ๓๑๓ และ เทศนาฉลองพระนคร ๑๐๐ ปี
๒ พระราชพงศาวดารกรงุ รตั นโกสนิ ทร์ รชั กาลที่ ๓, หนา้ ๙ ซง่ึ เมอื่ เทยี บกบั ปฏทิ นิ ของกรมวชิ ชาธกิ ารฯ แลว้ วนั เดอื น ๖
ข้ึน ๑๓ ค�่ำ จะตรงกับวันศกุ ร์ท่ี ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๓๖๘ ; จดหมายเหตคุ วามทรงจ�ำฯ, หน้า ๓๘ วา่ วนั เดือน ๖ แรม ๑๓ ค�่ำ
๓ สมเดจ็ เจา้ ฟ้าหญงิ แจม่ น้ี ลางแหง่ ออกพระนามวา่ เจา้ ฟ้าแจ่มกระจ่างฟ้า (ดู ชุมนุมพระบรมราชาธิบายในพระบาท
สมเด็จพระจอมเกล้าเจา้ อยู่หัว, หนา้ ๑๐.)
๔ พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑, หน้า ๑๖๗ ว่า เปน็ วนั จนั ทร์ ขึน้ ๗ ค�่ำ เดือน ๓ ซึง่ หากเป็น
วนั จันทรจ์ ะตรงกับวันข้นึ ๘ ค่�ำ เดือน ๓ ตรงกับวันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๓๕๑ ; วนั บรมมหาประสตู รแลวันประสูตร
(ฉบบั คัดส�ำเนา) วา่ ประสูติปีระกา จ.ศ. ๑๑๓๓ (จ.ศ. ๑๑๓๓ เปน็ ปีเถาะ พ.ศ. ๒๓๑๔) สนิ้ พระชนม์ปมี ะโรง สมั ฤทธศิ ก
จ.ศ.๑๑๗๐ พระชันษา ๓๗ ปี
๕ เรยี กกนั วา่ กรมพระราชวังชา้ งเผือก (ดู ดวงพระชาตาแลดวงชาตาตา่ งๆ (ส�ำเนาต้นฉบับลายมอื ), หนา้ ๑๗.)

10

เม่อื วนั ศกุ ร์ เดอื น ๑๐ ขึ้น ๑๔ คำ�่ ปีมะเส็ง เอกศก จ.ศ. ๑๑๗๑ ตรงกับวันที่ ๒๒ กนั ยายน พ.ศ. ๒๓๕๒๑
เสดจ็ ด�ำรงพระยศเป็นพระมหาอุปราชอยู่ ๘ ปี สวรรคตเม่อื วนั พธุ เดือน ๘ อุตราษาฒ ขึ้น ๓ ค�่ำ ปฉี ลู นพศก
จ.ศ. ๑๑๗๙ ตรงกับวันท่ี ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๖๐ เวลา ๕ โมงเช้า ๗ บาท๒ พระชันษา ๔๕ พรรษา
พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุท้องสนามหลวง วัน ๕ เดือน ๕ แรม ๒ ค�่ำ ปีขาล สัมฤทธิศก
จ.ศ. ๑๑๘๐ ตรงกบั วนั พธุ ที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๓๖๑๓
ที่ ๘ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิง (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้า) พระนามไม่ปรากฏ สิ้นพระชนม์
แตย่ งั ทรงพระเยาว์ ในรัชกาลสมเดจ็ พระเจ้าตากสนิ มหาราช
ท่ี ๙ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงเอ้ียง (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าประไพวดี กรมหลวงเทพยวดี)
ประสตู วิ นั อังคาร เดือน ๗ ข้นึ ๗ ค�่ำ ปรี ะกา นพศก จ.ศ. ๑๑๓๙ พ.ศ. ๒๓๒๐๔ ในรชั กาลท่ี ๑ พระราชทาน
นามว่า สมเด็จพระเจา้ ลกู เธอ เจา้ ฟา้ ประไพวดี๕ ครั้นถงึ ปีมะโรง สัมฤทธศิ ก จ.ศ. ๑๑๗๐ ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๕๑
ทรงสถาปนาเป็นกรมหลวงเทพยวดี ส้ินพระชนม์ในรัชกาลท่ี ๒ เม่ือวันเสาร์ เดือน ๙ แรม ๒ ค่�ำ ปีมะแม
เบญจศก จ.ศ. ๑๑๘๕ ตรงกบั วันท่ี ๒๓ สงิ หาคม พ.ศ. ๒๓๖๖ เวลาบา่ ยโมง กับ ๔ บาท๖ พระชนั ษา ๔๗ ปี
พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุท้องสนามหลวง วันจนั ทร์ เดือน ๖ ข้ึน ๑๓ คำ�่ ปีวอก ฉศก จ.ศ. ๑๑๘๖
ตรงกับวันท่ี ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๖๗๗
สมเดจ็ เจา้ ฟ้า ๙ พระองคน์ ๘ี้ สมเดจ็ พระอมรนิ ทรา บรมราชิน๙ี เป็นพระมารดาทั้งนน้ั

_____________________________
๑ วนั บรมมหาประสูตรแลวันประสตู ร (ฉบับคัดส�ำเนา) วา่ พระชนมพรรษา ๓๖ ปี ๖ เดอื น ทรงอุปราชาภเิ ษก
๒ ดวงพระชาตาและดวงชาตาตา่ ง ๆ (ส�ำเนาตน้ ฉบบั ลายมือ)
๓ พระราชพงศาวดารกรงุ รตั นโกสนิ ทร์ รชั กาลท่ี ๒, หนา้ ๑๙.
๔ วันบรมมหาประสตู รแลวันประสตู ร (ฉบับคดั ส�ำเนา) ว่า ประสตู ปิ กี ุน เอกศก จ.ศ.๑๑๔๑ พ.ศ. ๒๓๒๒
๕ เจ้าฟ้าประไพวดี ลางท่ีออกพระนามว่า “ประภาวดี” (ดู ชุมนุมพระบรมราชาธิบายในพระบาทสมเด็จพระ
จอมเกลา้ เจา้ อยู่หวั , หนา้ ๑๐.)
๖ จดหมายเหตุโหร ฉบับพระยาประมูลธนรกั ษ์ (พระนคร : หอพระสมดุ วชิรญาณ, ๒๔๖๔), หน้า ๓๗.
๗ พระราชพงศาวดารกรงุ รตั นโกสนิ ทร์ รัชกาลท่ี ๒, หน้า ๑๘๙.
๘ พระบาทสมเดจ็ พระจอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ทรงพระราชนพิ นธไ์ วว้ า่ สมเดจ็ เจา้ ฟา้ ซงึ่ เปน็ ท่ี ๖ และท่ี ๘ ในบญั ชี จะล�ำดบั
อย่างใด และในระหวา่ งพระองค์ใดไมแ่ น่ ดว้ ยสนิ้ พระชนม์เสียแตย่ งั ทรงพระเยาว์ทัง้ ๒ พระองค์ (ดู ประถมวงษและพระราช
พงษาวดารย่อฯ หนา้ ๑๗.)
๙ สมเดจ็ พระอมรนิ ทรา บรมราชนิ ี พระนามเดมิ วา่ นาก พระชนกชอื่ ทอง และสมเดจ็ พระรปู ศริ โิ สภาคย์ มหานาคนารี
เดิมชอ่ื ส้นั หรือมาก เป็นพระชนนี (ดู ราชินิกลู รชั กาลที่ ๕ (พระนคร : ราชบัณฑิตยสภา, ๒๔๗๖), หน้า ๑๐, ๑๒. และ
อธบิ ายราชนิ ิกุลบางช้าง (พระนคร : ราชบัณฑิตยสภา, ๒๔๗๑), หนา้ ๑) ประสูตวิ ันอาทิตย์ เดือน ๔ แรม ๕ คำ่� ปมี ะเส็ง
ตรงกบั วันที่ ๙ มนี าคม พ.ศ. ๒๒๘๐ รัชกาลท่ี ๒ ทรงสถาปนาเปน็ กรมพระอมรินทรามาตย์ (ดู จดหมายเหตเุ รื่องทรงตง้ั
พระบรมวงษานุวงษ์ฯ, หนา้ ๔๔.) สวรรคตวันพฤหัสบดี เดอื น ๖ แรม ๕ คำ่� ตรงกับวันท่ี ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๖๙
พระชนมายุ ๘๙ พรรษา ถวายพระเพลิงพระบรมศพ ณ พระเมรุท้องสนามหลวง วนั ศกุ ร์ เดือน ๖ แรม ๔ คำ่� ปีชวด
สมั ฤทธิศก จ.ศ. ๑๑๙๐ ตรงกับวันท่ี ๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๗๑ (ดู พระราชพงศาวดารกรงุ รัตนโกสนิ ทร์ รัชกาลที่ ๓,
หน้า ๓๐.) ตอ่ มาในรชั กาลที่ ๔ ทรงเฉลิมพระนามาภไิ ธยว่า กรมสมเด็จพระอมรนิ ทรามาตย์ คร้ันถงึ รชั กาลที่ ๖ ทรงเฉลิม
พระนามาภิไธยใหม่ เปน็ สมเดจ็ พระอมรนิ ทรา บรมราชินี

11

ท่ี ๑๐ พระองคเ์ จา้ ชายกลา้ ย (พระเจา้ บรมวงศเ์ ธอ พระองคเ์ จา้ กลา้ ย) ท่ี ๑ ในเจา้ จอมมารดาภมิ สวน๑
ประสตู ใิ นรชั กาลสมเดจ็ พระเจา้ ตากสนิ มหาราช เมอื่ ปจี อ พ.ศ. ๒๓๒๑ สนิ้ พระชนมใ์ นรชั กาลที่ ๑๒ พระราชทาน
เพลิงพระศพ ณ วดั สระเกศ (ประมาณ จ.ศ. ๑๑๗๗)๓

ประสตู ิเมอ่ื ปราบดาภิเษกแลว้

ท่ี ๑๑ พระองค์เจ้าหญิงนุ่ม๔ (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านุ่ม) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาปุย๕
เมื่อปีเถาะ เบญจศก จ.ศ. ๑๑๔๕ ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๒๖ ได้ท�ำราชการข้างในในรัชกาลที่ ๒ สิ้นพระชนม์ใน
รัชกาลที่ ๓ พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุทอ้ งสนามหลวง เม่อื วนั เดือน ๔ ปีกนุ เอกศก พ.ศ. ๒๓๘๒๖
ท่ี ๑๒ พระองค์เจ้าชายทับทิม (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหม่ืนอินทรพิพิธ) ประสูติแต่เจ้าจอม
มารดาจันทา เมื่อปีเถาะ เบญจศก จ.ศ. ๑๑๔๕ ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๒๖ ในรัชกาลท่ี ๒ ทรงสถาปนาเป็น
พระเจ้านอ้ งยาเธอ กรมหมนื่ อนิ ทรพพิ ธิ เมอื่ ปรี ะกา เบญจศก จ.ศ. ๑๑๗๕ พ.ศ. ๒๓๕๖ ไดว้ า่ กรมพระคชบาล
ภายหลังได้ว่ากรมแสงใหญ่ ส้ินพระชนม์ในรัชกาลท่ี ๒ เมื่อวันศุกร์ เดือน ๗ แรม ๖ ค�่ำ ปีมะโรง โทศก
จ.ศ. ๑๑๘๒ ตรงกับวันท่ี ๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๓๖๓ พระชันษา ๓๘ ปี พระราชทานเพลิงพระศพ เมื่อ
วันพฤหสั บดี เดอื นย่ี ขน้ึ ๘ คำ�่ จ.ศ. ๑๑๘๒ ตรงกับวันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๓๖๓ ณ วดั ระฆังโฆสิตาราม๗
เปน็ ตน้ ราชสกลุ อนิ ทรางกรู ณ อยธุ ยา
ท่ี ๑๓ พระองค์เจ้าหญิง (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้า) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาดวง เมื่อ
ปีมะโรง ฉศก จ.ศ. ๑๑๔๖ ตรงกบั พ.ศ. ๒๓๒๗ สิน้ พระชนม์ในรัชกาลท่ี ๑ เมอื่ ยงั ทรงพระเยาว์
ท่ี ๑๔ พระองคเ์ จา้ หญงิ ผะอบ (พระเจา้ บรมวงศเ์ ธอ พระองคเ์ จา้ ผะอบ) ที่ ๒ ในเจา้ จอมมารดาภมิ สวน
ประสตู ปิ ีมะโรง ฉศก จ.ศ. ๑๑๔๖ ตรงกบั พ.ศ. ๒๓๒๗ ส้นิ พระชนม์ในรัชกาลที่ ๑๘

_____________________________
๑ พระนามพระองค์เจา้ วงั หลวงแลวงั น่าฯ, หน้า ๔ วา่ เจ้าจอมมารดาภิมสอน
๒ “งานศพเจ้าศรีฟา้ ในสมเดจ็ เจา้ ฟา้ กรมขนุ อศิ รานรุ กั ษ์ จ.ศ. ๑๑๗๗,” ใน ประชมุ หมายรบั สง่ั ภาคท่ี ๓ฯ, หนา้ ๖๘.
สนั นษิ ฐานวา่ จะสน้ิ พระชนม์ในรชั กาลท่ี ๒ เพราะหมอ่ มเจ้าศรฟี ้าใชเ้ มรุเดยี วกันกับของพระองค์เจ้ากล้าย
๓ “ก�ำหนดงานเมรศุ พเจา้ ศรีฟ้า ในสมเด็จเจ้าฟา้ กรมขุนอิศรานรุ กั ษ์ จ.ศ. ๑๑๗๗ ปีกนุ สปั ตศก,” ใน เรอื่ งเดยี วกัน,
หน้า ๖๙.
๔ เปน็ พระองคแ์ รกที่ประสูติในพระบรมมหาราชวงั
๕ เปน็ เจ้าจอมขา้ หลวงเดมิ และเปน็ ญาตกิ บั พระยานครราชสมี า (ทองอนิ ) (ปฐมวงศ (พระบรมราชมหาจักรีกษตั ริย์
สยาม), หนา้ ๑๙) ; พระนามพระองคเ์ จา้ วงั หลวงแลวงั น่าฯ หนา้ ๔ วา่ เจ้าจอมมารดาปยุ่
๖ “พระศพพระองค์เจา้ นุ่มและพระองค์เจา้ ทบั ทมิ ,” ใน ประชุมหมายรบั สงั่ ภาค ๔ ตอนท่ี ๑ สมยั กรุงรัตนโกสินทร์
รัชกาลพระบาทสมเด็จพระน่งั เกล้าเจา้ อยูห่ วั (กรุงเทพฯ : รงุ่ ศิลปก์ ารพมิ พ์ (๑๙๗๗), ๒๕๓๖), หน้า ๒๓๙, ๒๔๖, ๒๖๑.
๗ จดหมายความทรงจ�ำของพระเจ้าไปยิกาเธอ กรมหลวงนรนิ ทรเทวฯี , ข้อ ๒๕๕ หน้า ๕๓๗.
๘ จดหมายเหตุรัชกาลท่ี ๑, หน้า ๑๒๔ และ จดหมายเหตุรัชกาลท่ี ๒ จ.ศ. ๑๑๗๑-๑๑๗๓, หน้า ๑๒๔ ว่า
พระองค์เจา้ ผอบทอง ส้นิ พระชนมใ์ นรชั กาลท่ี ๒ เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒ ธนั วาคม พ.ศ. ๒๓๕๓

12

ท่ี ๑๕ พระองคเ์ จา้ หญิงพลบั (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองคเ์ จ้าพลบั ) ประสตู ิแตเ่ จ้าจอมมารดาคุ้ม๑
เมอ่ื ปมี ะเสง็ สปั ตศก จ.ศ. ๑๑๔๗ ตรงกบั พ.ศ. ๒๓๒๘ สนิ้ พระชนมใ์ นรชั กาลท่ี ๔ เมอ่ื ปขี าล อฐั ศก จ.ศ. ๑๒๒๘
ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๐๙๒ พระชันษา ๘๒ ปี พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุท้องสนามหลวง วันอังคาร
เดือน ๓ แรม ๑๔ คำ่� ๓ ปขี าล อัฐศก จ.ศ. ๑๒๒๘ ตรงกบั วนั ท่ี ๕ มนี าคม พ.ศ. ๒๔๐๙
ท่ี ๑๖ พระองค์เจ้าชายอภัยทัต๔ (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงเทพพลภักด์ิ) ที่ ๑ ในเจ้าจอม
มารดานอ้ ยแกว้ พระสนมเอก๕ ประสตู เิ มอ่ื วนั องั คาร เดอื น ๙ แรม ๓ คำ�่ ปมี ะเสง็ สปั ตศก จ.ศ. ๑๑๔๗ ตรงกบั วนั ท่ี
๒๓ สงิ หาคม พ.ศ. ๒๓๒๘ ทรงสถาปนาเปน็ พระเจา้ ลกู เธอ กรมหมนื่ เทพพลภกั ดิ์ เมอ่ื ปเี ถาะ นพศก จ.ศ. ๑๑๖๙
ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๕๐ ในรัชกาลที่ ๒ ได้ว่ากรมพระคชบาล ถึงรัชกาลท่ี ๓ เล่ือนเป็นกรมหลวงเทพพลภักดิ์
เม่ือปีมะโรง จัตวาศก จ.ศ. ๑๑๙๔ ตรงกบั พ.ศ. ๒๓๗๕ สน้ิ พระชนม์ในรชั กาลท่ี ๓ เม่ือวันองั คาร เดือน ๓
แรม ๑๑ ค่�ำ ปีระกา นพศก จ.ศ. ๑๑๙๙ ตรงกับวันท่ี ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๓๘๐ พระชันษา ๕๒ ปี
พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุท้องสนามหลวง วันจันทร์ เดือน ๖ แรม ๑๓ ค่�ำ๖ ปีจอ สัมฤทธิศก
จ.ศ. ๑๒๐๐ ตรงกับวนั ที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๘๑
ท่ี ๑๗ พระองคเ์ จา้ ชายอรโุ ณทยั ๗ (สมเดจ็ พระบวรราชเจา้ มหาศกั ดพิ ลเสพ) ประสตู แิ ตเ่ จา้ จอมมารดา
นยุ้ ใหญ่ พระสนมเอก๘ เมื่อวันศุกร์ เดือน ๑๑ แรม ๓ ค่�ำ ปีมะเส็ง สัปตศก จ.ศ. ๑๑๔๗ ตรงกับวันท่ี ๒๑
ตลุ าคม๙ พ.ศ. ๒๓๒๘ ในรัชกาลที่ ๑ ทรงสถาปนาเป็นพระเจ้าลูกเธอ กรมหมืน่ ศักดิพลเสพ เม่อื ปเี ถาะ นพศก
จ.ศ. ๑๑๖๙ ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๕๐ ในรัชกาลที่ ๒ โปรดใหก้ �ำกบั ราชการกรมพระกลาโหมและหัวเมืองปักษใ์ ต้
ท้งั ปวง ในรชั กาลท่ี ๓ เมื่อวันท่ี ๑๓ กนั ยายน พ.ศ. ๒๓๖๗ พระราชทานอปุ ราชาภิเษกเป็นกรมพระราชวงั บวร
สถานมงคล ขณะพระชนม์ ๓๘ พรรษา ๑๐ เดอื น เสดจ็ อยใู่ นต�ำแหนง่ พระมหาอปุ ราช ๘ ปี สวรรคตเมอ่ื วนั องั คาร

_____________________________
๑ ถงึ แกก่ รรม เมอื่ พ.ศ. ๒๓๓๓ ดู พระราชพงศาวดารกรงุ รตั นโกสนิ ทร์ รชั กาลที่ ๑ ฉบบั โรงเรยี นหลวงสวนกหุ ลาบ,
หน้า ๑๐๒.
๒ Bangkok Recorder, 1866 วา่ พระองคเ์ จา้ พลับยังมีพระชนม์อยู่ เมอ่ื พระองคเ์ จ้าฉิมพลีส้นิ พระชนม์
๓ พระราชพงศาวดารกรงุ รัตนโกสนิ ทร์ รชั กาลท่ี ๔ ฉบบั เจ้าพระยาทพิ ากรวงศ์ฯ (ข�ำ บนุ นาค) (กรงุ เทพฯ :
ตน้ ฉบับ, ๒๕๔๗), หน้า ๓๐๖.
๔ เมอ่ื ทรงพระเยาวเ์ รยี กกนั วา่ พระองคเ์ สอื
๕ เจ้าจอมมารดาน้อยแก้ว พระสนมเอก ธิดาพระยาจักรีเมืองนครศรีธรรมราช (ดู ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๘
(พระนคร : องคก์ ารค้าของครุ ุสภา, ๒๕๐๗), หนา้ ๑๐๔ และ ปฐมวงศ (พระบรมราชมหาจกั รีกษตั รยิ ์สยาม), หน้า ๑๕.)
๖ พระราชพงศาวดารกรุงรตั นโกสินทร์ รัชกาลท่ี ๓, หน้า ๗๖.
๗ เม่อื ทรงพระเยาวเ์ รียกกันวา่ พระองคเ์ จ้ากทั ทลวี นั หรอื พระองค์เจา้ ชา้ ง
๘ เจ้าจอมมารดานุ้ยใหญ่ พระสนมเอก ธิดาเจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (พัฒน์) ต้นสกุล ณ นคร (ดู ปฐมวงศ
(พระบรมราชมหาจักรีกษัตรยิ ส์ ยาม), หน้า ๑๖.)
๙ พระนามพระองคเ์ จา้ วงั หลวงแลวงั นา่ ฯ วา่ ประสตู วิ นั ที่ ๑๕ กมุ ภาพนั ธ์ พ.ศ. ๒๓๒๘ ในรชั กาลท่ี ๓ กอ่ นอปุ ราชาภเิ ษก
ออกพระนามวา่ สมเด็จพระเจ้านอ้ งยาเธอ กรมหมน่ื ศกั ดิพลเสพ ท้งั น้ีเพราะยังคงใชค้ �ำน�ำพระนามมาแต่ครง้ั รัชกาลท่ี ๒

13

เดอื น ๖ ข้ึน ๒ ค่ำ� ปมี ะโรง จัตวาศก จ.ศ. ๑๑๙๔ ตรงกบั วนั ท่ี ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๗๕ พระชนั ษา ๔๘ ป๑ี
พระราชทานเพลงิ พระบรมศพ ณ พระเมรทุ อ้ งสนามหลวง วัน เดอื น ๕ แรม ๔ คำ่� จ.ศ. ๑๑๙๕๒
ที่ ๑๘ พระองคเ์ จ้าชายทบั (พระเจา้ บรมวงศเ์ ธอ กรมหม่ืนจติ รภักด)ี ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดานอ้ ย
ประสูติวันศกุ ร์ เดือน ๓ แรม ๑๔ คำ�่ ปีมะเมยี อัฐศก จ.ศ. ๑๑๔๘ ตรงกับวันท่ี ๑๖ กมุ ภาพันธ์ พ.ศ. ๒๓๒๙
ในรัชกาลท่ี ๒ ทรงสถาปนาเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นจิตรภักดี เม่ือปีระกา เบญจศก จ.ศ. ๑๑๗๕
ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๕๖ ไดก้ �ำกับกรมช่างสบิ หมู่ กรมชา่ งหล่อ สิน้ พระชนม์ในรัชกาลท่ี ๓ เมื่อวนั องั คาร เดือน ๕
แรม ๑๐ คำ�่ ปีระกา สปั ตศก จ.ศ. ๑๑๘๗ ตรงกับวนั ที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๓๖๘ พระชันษา ๓๙ ปี เป็นต้น
ราชสกลุ ทัพกุล ณ อยุธยา
ที่ ๑๙ พระองค์เจ้าหญิงธิดา (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธิดา) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเอม
เม่ือปีมะแม นพศก จ.ศ. ๑๑๔๙ ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๓๐ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓ เม่ือปีจอ สัมฤทธิศก
จ.ศ. ๑๒๐๐ ตรงกบั พ.ศ. ๒๓๘๑ พระชันษา ๕๒ ปี พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรทุ อ้ งสนามหลวง
วันเดอื น ๕ แรม ๖ ค่ำ� ๓ ปีกุน เอกศก จ.ศ. ๑๒๐๑ ตรงกับวันศกุ รท์ ี่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๓๘๒
ที่ ๒๐ พระองคเ์ จา้ ชายคนั ธรส (พระเจา้ บรมวงศเ์ ธอ กรมหมนื่ ศรสี เุ รนทร)์ ประสตู แิ ตเ่ จา้ จอมมารดา
พ่มุ ๔ เมอื่ วนั พฤหสั บดี เดอื น ๓ ขน้ึ ๘ คำ�่ ปมี ะแม นพศก จ.ศ. ๑๑๔๙ ตรงกบั วนั ท่ี ๑๔ กมุ ภาพนั ธ์ พ.ศ. ๒๓๓๐
เวลา ๓ ยาม๕ ในรัชกาลท่ี ๒ ทรงสถาปนาเปน็ พระเจ้านอ้ งยาเธอ กรมหมน่ื ศรีสุเรนทร์๖ เมอื่ ปรี ะกา เบญจศก
จ.ศ. ๑๑๗๕ ตรงกบั พ.ศ. ๒๓๕๖ สิน้ พระชนม์ในรชั กาลที่ ๒ เมอื่ วนั อังคาร เดอื นย่ี ข้ึน ๑๓ คำ�่ ปชี วด อฐั ศก
จ.ศ. ๑๑๗๘ ตรงกบั วันที่ ๓๑ ธนั วาคม พ.ศ. ๒๓๕๙๗ พระชนั ษา ๓๐ ปี
ที่ ๒๑ พระองค์เจา้ หญิงจงกล (พระเจ้าบรมวงศเ์ ธอ พระองคเ์ จ้าจงกล) ท่ี ๑ ในเจา้ จอมมารดาตาน๘ี

_____________________________
๑ ดวงพระชาตาแลดวงชาตาตา่ ง ๆ (ส�ำเนาต้นฉบับลายมือ) ว่า พระชนั ษา ๔๖ และส้นิ พระชนม์ วันพธุ ข้ึน ๒ คำ่�
เดอื น ๖ ปมี ะโรง จตั วาศก จ.ศ. ๑๑๙๔ เมอื่ เทยี บกบั ปฏิทนิ กรมวชิ ชาธิการฯ แลว้ วันพุธ จะเป็นวันข้นึ ๓ ค่ำ� ตรงกบั
วนั ที่ ๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๗๕
๒ พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลท่ี ๓, หน้า ๕๑ ว่า วันเดือน ๕ แรม ๒ ค่�ำ ปีมะเส็ง เบญจศก
จ.ศ. ๑๑๙๕ ตรงกับวันเสารท์ ่ี ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๓๗๖
๓ เร่ืองเดียวกัน หนา้ ๘๐-๘๑.
๔ เจ้าจอมมารดาพุ่ม ธิดาพระยาวิเศษสุนทร (นาค นกเล็ก) และคุณหญิงสั้น ดู ล�ำดับสกุล แผ่น ๒ ใน ประชุม
พงศาวดารภาคที่ ๑๕ ฉบบั พิมพ์ พ.ศ. ๒๔๘๑
๕ ดวงพระชาตาแลดวงชาตาต่าง ๆ (ส�ำเนาตน้ ฉบบั ลายมือ)
๖ เฉลิมพระยศเจ้านาย เลม่ ๑, หน้า ๓๔ ว่า “ศรีสเุ รนทร”
๗ มีความผิดตอ้ งรับพระราชอาญาจ�ำ สน้ิ พระชนมใ์ นระหว่างโทษ
๘ เจา้ จอมมารดาตานี เรยี กกนั วา่ เจา้ คณุ วงั เปน็ ธดิ าเจา้ พระยามหาเสนา (บนุ นาค) กบั ทา่ นลม้ิ ไมป่ รากฏปที ถ่ี งึ แกก่ รรม
แต่พระราชทานเพลงิ ศพ ณ เมรุท้องสนามหลวง วันท่ี ๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๓๙๔ (ประชมุ หมายรับสงั่ ภาค ๕ ตอนที่ ๑
สมัยกรงุ รตั นโกสนิ ทร์ รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจา้ อยู่หัว จ.ศ. ๑๒๑๓) (กรุงเทพฯ : รุ่งศิลปก์ ารพมิ พ์, ๒๕๔๗
หน้า ๕๖.); สว่ น พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสนิ ทร์ รชั กาลท่ี ๔ ฉบบั เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ข�ำ บนุ นาค) หนา้ ๔๒ ว่า
พระราชทานเพลงิ ศพ วนั ที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๙๔ ตอ่ พระเมรุกรมหมื่นสนิทนเรนทร์ และพระองค์เจา้ กัณฐา

14

ประสตู เิ มอื่ ปวี อก๑ สมั ฤทธศิ ก จ.ศ. ๑๑๕๐ ตรงกบั พ.ศ. ๒๓๓๑ ไดท้ �ำราชการในการปกั สะดงึ และการรอ้ ยกรอง
ดอกไมส้ ด๒ สนิ้ พระชนม์ในรัชกาลท่ี ๒
ที่ ๒๒ พระองค์เจ้าชายสุริยา (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระรามอิศเรศร๓์ ) ท่ี ๑ ในเจ้าจอมมารดา
เพ็งใหญ่ ประสตู ิเม่อื วันองั คาร เดอื น ๑๒ แรมคำ�่ ๑ ปีระกา เอกศก จ.ศ. ๑๑๕๑ ตรงกบั วันท่ี ๓ พฤศจกิ ายน
พ.ศ. ๒๓๓๒ ในรัชกาลที่ ๒ ทรงสถาปนาเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นรามอิศเรศร์ เม่ือปีชวด อัฐศก
จ.ศ. ๑๑๗๘ พ.ศ. ๒๓๕๙ ได้ว่าความรับส่ังแลความฎีกาบ้าง ถึงรัชกาลท่ี ๓ เล่ือนเป็น กรมขุนรามอิศเรศร์
เม่ือปีมะโรง จัตวาศก จ.ศ. ๑๑๙๔ พ.ศ. ๒๓๗๕ ได้ว่ากรมข้าราชการวังหน้า เม่ือกรมพระราชวังบวรสถาน
มงคลสวรรคตแลว้ ตอ่ มาในรัชกาลที่ ๔ เลื่อนเปน็ กรมพระรามอิศเรศร์ สรรพเชษฐบรมวงศ์ ปฐมพงศ์ภูวนาถ
วรราชศักดสิ มมุติ วสิ ทุ ธเิ กยี รตคิ ุณ วบิ ุลยเดชบดินทร์ นรนิ ทรบพิตร เมือ่ ปกี ุน ตรีศก จ.ศ. ๑๒๑๓ พ.ศ. ๒๓๙๔
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔ เม่ือวันอาทิตย์ เดือนอ้าย ขึ้น ๗ ค�่ำ ปีขาล ฉศก จ.ศ. ๑๒๑๖ ตรงกับวันที่ ๒๖
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓๙๗๔ พระชันษา ๖๖ ปี พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุผ้าขาว วัดสุวรรณาราม
วันเสารท์ ี่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๙๘๕ เป็นต้นราชสกลุ สุริยกลุ ณ อยธุ ยา
ที่ ๒๓ พระองคเ์ จา้ หญงิ เกสร (พระเจา้ บรมวงศเ์ ธอ พระองคเ์ จา้ เกสร) ประสตู แิ ตเ่ จา้ จอมมารดาประทมุ า๖
เมอื่ ปรี ะกา เอกศก จ.ศ. ๑๑๕๑ พ.ศ. ๒๓๓๒ ท�ำราชการขา้ งในในรัชกาลที่ ๒ สน้ิ พระชนมใ์ นรัชกาลที่ ๒
ที่ ๒๔ พระองคเ์ จา้ หญงิ มณฑา๗ (พระเจา้ บรมวงศเ์ ธอ พระองคเ์ จา้ มณฑา) ประสตู แิ ตเ่ จา้ จอมมารดานมิ่
เมื่อปีจอ โทศก จ.ศ. ๑๑๕๒ พ.ศ. ๒๓๓๓ ทรงรอบรหู้ นังสือทั้งไทยและขอม ได้เปน็ พระอาจารย์พระเจ้าลูกเธอ
ในรชั กาลท่ี ๒ ท่ี ๓ และที่ ๔ หลายพระองค๘์ ส้นิ พระชนม์ในรชั กาลท่ี ๔ เมื่อวันพฤหสั บดี เดือน ๘ อตุ ราษาฒ
ขึ้น ๑๑ ค�่ำ ปีระกา ตรีศก จ.ศ. ๑๒๒๓ ตรงกับวันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๐๔ พระชันษา ๗๒ ปี
ถวายพระเพลิงพระศพ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร วันอาทิตย์ เดือน ๙ แรม ๔ ค่�ำ ปีระกา ตรีศก จ.ศ. ๑๒๒๓
ตรงกับวนั ท่ี ๒๕ สงิ หาคม พ.ศ. ๒๔๐๔

_____________________________
๑ มดี วงชะตาในสมดุ ของพระยาทพิ โกษา (สอน โลหนนั ทน)์ วา่ ประสตู เิ มอ่ื วนั จนั ทร์ เดอื น ๑๑ แรมคำ่� ๑ จ.ศ. ๑๑๕๑
(ปรี ะกา เอกศก พ.ศ. ๒๓๓๒)
๒ พระนามพระองค์เจา้ วงั หลวงแลวงั น่าฯ, หน้า ๘.
๓ จดหมายเหตเุ รอ่ื งทรงตัง้ พระบรมวงษานวุ งษ์ฯ, หนา้ ๔๓ วา่ “รามอิศเรศร” สว่ นหนา้ ๗๗ ว่า “รามอศิ เรศร์”
๔ พระราชพงศาวดารกรงุ รตั นโกสนิ ทร์ รชั กาลท่ี ๔, หนา้ ๑๐๓ วา่ ประชวรพระโรคลม สน้ิ พระชนมว์ นั เสาร์ เดอื นอา้ ย
ขนึ้ ๑๒ คำ�่ ตรงกบั วนั ศกุ รท์ ี่ ๑ ธนั วาคม พ.ศ. ๒๓๙๗ พระชนม์ ๖๕ พรรษา ๑ เดอื น ๑๐ วนั ; พระนามพระองคเ์ จา้ วงั หลวง
แลวงั น่าฯ, หนา้ ๘ วา่ เป็นกรมหมื่นรามอศิ เรศเมอ่ื จ.ศ. ๑๑๗๑ (พ.ศ. ๒๓๕๒) ส้นิ พระชนมว์ ันเสาร์ เดือนอา้ ย ขน้ึ ๑๐ ค่ำ�
ปขี าล ฉศก จ.ศ. ๑๒๑๖ เม่ือเทียบกบั ปฏทิ ินกรมวิชชาธกิ ารฯ แลว้ จะตรงกบั วนั พุธที่ ๒๙ พฤศจกิ ายน พ.ศ. ๒๓๙๗
๕ พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลท่ี ๔, หน้า ๑๑๐.
๖ พระนามพระองค์เจา้ วงั หลวงแลวงั นา่ ฯ, หนา้ ๙ วา่ เจา้ จอมมารดาปทุมา
๗ สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยาปวเรศวรยิ าลงกรณ,์ จดหมายเหตบุ ญั ชนี ำ�้ ฝน เลม่ ๒, (พระนคร : ราชบณั ฑติ ยสภา,
๒๔๗๑), หน้า ๑๕ เรยี กว่า มณฑาใหญ่
๘ พระนามพระองคเ์ จ้าวงั หลวงแลวังนา่ ฯ, หน้า ๙.

15

ท่ี ๒๕ พระองค์เจ้าหญิงมณี (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามณี) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาอู๑่
เมือ่ ปจี อ โทศก จ.ศ. ๑๑๕๒ พ.ศ. ๒๓๓๓ สิน้ พระชนมใ์ นรัชกาลท่ี ๔ เมื่อวันศุกร์ เดอื นอ้าย ขึ้น ๖ ค่ำ� ปฉี ลู
สัปตศก จ.ศ. ๑๒๒๗ ตรงกบั วนั ที่ ๒๔ พฤศจกิ ายน พ.ศ. ๒๔๐๘ เวลาทมุ่ เศษ พระชนั ษา ๗๕ ปี๒
ท่ี ๒๖ พระองค์เจ้าหญิงดวงสุดา (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดวงสุดา) ที่ ๒ ในเจ้าจอม
มารดานอ้ ย ประสตู ิเม่ือปีจอ โทศก จ.ศ. ๑๑๕๒ พ.ศ. ๒๓๓๓ ส้นิ พระชนม์ในรัชกาลท่ี ๔
ท่ี ๒๗ พระองค์เจ้าหญิงจักรจั่น (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรจั่น) ประสูติแต่เจ้าจอม
มารดาอม่ิ ๓ (ตอ่ มาเปน็ ท้าววรจันทร์) เมือ่ ปจี อ โทศก จ.ศ. ๑๑๕๒ พ.ศ. ๒๓๓๓ สน้ิ พระชนมใ์ นรชั กาลท่ี ๒๔
ท่ี ๒๘ พระองค์เจ้าชายวาสุกรี (สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส) ประสูติแต่
เจ้าจอมมารดาจุ้ย๕ (ต่อมาเป็นท้าวทรงกันดาล) เมื่อวันเสาร์ เดือนอ้าย ขึ้น ๕ ค่�ำ ปีจอ โทศก จ.ศ. ๑๑๕๒
ตรงกับวันท่ี ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๓๓ ทรงผนวชสามเณร เป็นท้ายนาคพร้อมกับกรมหม่ืนสุรินทรรักษ์
คราวกรมพระราชวงั หลงั ทรงผนวชเปน็ พระภกิ ษุ เมอ่ื ปจี อ พ.ศ. ๒๓๔๕ ประทบั อยวู่ ดั พระเชตพุ นวมิ ลมงั คลาราม
จนทรงผนวชพระในรัชกาลที่ ๒ เม่ือปีมะเมีย พ.ศ. ๒๓๕๓ ในรัชกาลที่ ๒ ทรงสถาปนาเป็นพระราชาคณะ
และเป็นกรมหมื่นนุชิตชิโนรส ศรีสุคตขัตติยวงศ์ เม่ือพ.ศ. ๒๓๕๓ สถิต ณ วัดพระเชตุพนฯ ถึงรัชกาลที่ ๓
โปรดใหเ้ ปน็ เจา้ คณะกลาง ครน้ั ถงึ รชั กาลที่ ๔ เมอ่ื ปกี นุ พ.ศ. ๒๓๙๔ ทรงรบั มหาสมณตุ มาภเิ ษกเปน็ กรมสมเดจ็
พระปรมานชุ ติ ชโิ นรส ศรสี คุ ตขตั ตยิ วงศ์ บรมพงศาธบิ ดี จกั รบี รมนาถ ปฐมพนั ธมุ หาราชวรงั กรู ปรเมนทรนเรนทร์
สูรสัมมานา ภิสักกาโรดมสถาน อริยสมศีลาจารพิเศษมหาวิมล มงคลธรรมเจดีย์ยุตมุตวาทีสุวิรมนุญ
อดุลยคุณคณาธาร มโหฬารเมตยาภิธยาศรัย ไตรปิฎกกลาโกศล เบญจปดลเศวตฉัตร สิริรัตโนปลักษณมหา
สมณุตมาภิเษกาภิษิต ปรมุกฤษสมณศักดิ์ธ�ำรงมหาสงฆปรินายก พุทธสาสนดิลกโลกุตมมหาบัณฑิต สุนทร-
วจิ ติ รปฏภิ าณ ไวยตั ญิ าณมหากระวี พทุ ธาทศิ รรี ตั นตรยั คณุ ารกั ษ์ เอกอรรคมหาอนาคารยิ รตั น สยามาทโิ ลกยปดิ
พทั ธพทุ ธบรสิ ษั ยเนตร สมณคณนิ ทราธเิ บศรส์ กลพุทธจักโรปการกิจสฤษฎศิ ภุ การมหาปาโมกษ ประธานวโรดม
บรมนาถบพิตร สถิต ณ วัดพระเชตุพนฯ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลท่ี ๔ เมื่อวันศุกร์ เดือนอ้าย ข้ึน ๙ ค�่ำ ปีฉลู
เบญจศก จ.ศ. ๑๒๑๕ ตรงกบั วนั ท่ี ๙ ธนั วาคม พ.ศ. ๒๓๙๖๖ ถวายพระเพลงิ พระศพ ณ พระเมรทุ อ้ งสนามหลวง
วันเสาร์ที่ ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๓๙๗๗ พระชนั ษา ๖๔ พรรษา ในรชั กาลท่ี ๖ เมอ่ื ปีระกา ตรศี ก จ.ศ. ๑๒๘๓
พ.ศ. ๒๔๖๔ ทรงสถาปนาเปน็ สมเด็จพระมหาสมณเจา้ กรมพระปรมานชุ ติ ชโิ นรส

_____________________________
๑ เจา้ จอมมารดาอู่ ธิดาพระยาเพช็ รบุรี (บุญรอด) ดู อธบิ ายราชนิ ิกุลบางช้าง, หนา้ ๑๔๕.
๒ Bangkok Recorder vol.1, p.181 (หน้า ๒๔๙)
๓ เจ้าจอมมารดาอม่ิ ธดิ าเจา้ พระยารตั นาธเิ บศร์ (กุน) ต้นสกลุ รัตนกุล (ดู เรื่องต้ังเจา้ พระยากรงุ รตั นโกสินทร์
(พระนคร : โรงพมิ พส์ �ำนักท�ำเนียบนายกรัฐมนตร,ี ๒๕๑๒)) หนา้ ๑๕.
๔ วันบรมมหาประสตู รแลวันประสูตร (ฉบับคัดส�ำเนา) ว่า สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๑
๕ เป็นพระสนมโท บตุ รพระราชาเศรษฐี “ปฐมวงศ์” ใน พระราชประวตั แิ ละพระราชนิพนธบ์ างเรอ่ื งในพระบาท
สมเดจ็ พระจอมเกล้าเจา้ อยหู่ ัว (พระนคร : กรมศลิ ปากร, ๒๕๐๕), หน้า ๓๖.
๖ พระนามพระองคเ์ จา้ วงั หลวงแลวงั นา่ ฯ, หนา้ ๑๐-๑๑ วา่ สน้ิ พระชนม์ วนั ศกุ ร์ เดอื น ๓ ขนึ้ ๙ คำ�่ ปฉี ลู จ.ศ. ๑๒๑๕
๗ พระราชพงศาวดารกรงุ รตั นโกสนิ ทร์ รชั กาลที่ ๔, หนา้ ๙๙.

16

ท่ี ๒๙ พระองคเ์ จา้ ชายฉตั ร (พระเจา้ บรมวงศเ์ ธอ กรมหมน่ื สรุ นิ ทรรกั ษ)์ ที่ ๒ ในเจา้ จอมมารดาตานี
ประสตู ิเมอื่ วนั อังคาร เดอื น ๓ ขึน้ ๕ ค่ำ� ปีจอ โทศก จ.ศ. ๑๑๕๒ ตรงกบั วนั ที่ ๘ กุมภาพนั ธ์ พ.ศ. ๒๓๓๓
ในรัชกาลท่ี ๒ ทรงสถาปนาเป็นพระเจา้ นอ้ งยาเธอ กรมหมื่นสุรินทรรกั ษ์ เมอ่ื วนั อาทติ ย์ เดือน ๑๐ ข้ึน ๓ ค�ำ่
ปชี วด อัฐศก จ.ศ. ๑๑๗๘ ตรงกับวันท่ี ๒๕ สงิ หาคม พ.ศ. ๒๓๕๙ และโปรดให้ทรงก�ำกบั กรมพระนครบาล
คร้ันรัชกาลที่ ๓ ได้ทรงก�ำกับกรมท่าและกรมมหาดไทย ส้ินพระชนม์ในรัชกาลท่ี ๓ เม่ือวันอังคาร เดือน ๖
ขึ้น ๖ ค�่ำ ปีขาล โทศก จ.ศ. ๑๑๙๒ ตรงกับวันท่ี ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๓๗๓๑ พระราชทานเพลิงพระศพ
ณ พระเมรทุ อ้ งสนามหลวง วนั พธุ ท่ี ๒ มนี าคม พ.ศ. ๒๓๗๓๒ พระชนั ษา ๔๐ ปี เปน็ ตน้ ราชสกลุ ฉตั รกลุ ณ อยธุ ยา
ท่ี ๓๐ พระองค์เจ้าชายสุริยวงศ์ (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิเศษศรีสวัสดิ สุขวัฒนวิไชย)
ประสตู แิ ตเ่ จา้ จอมมารดานวล๓ เมอ่ื วนั พฤหสั บดี เดอื น ๖ ขน้ึ ๓ คำ�่ ปกี นุ ตรงกบั วนั ท่ี ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๓๔
ในรชั กาลที่ ๓ ทรงสมคั รไปรบั ราชการอยใู่ นพระราชวงั บวรสถานมงคล ไดว้ า่ การแทนทกุ ต�ำแหนง่ ๔ ทรงสถาปนา
เป็นกรมหมน่ื สวสั ดิวิไชย เม่อื ปฉี ลู เอกศก จ.ศ. ๑๑๙๑ พ.ศ. ๒๓๗๒ ถงึ รชั กาลที่ ๔ เล่อื นเป็นกรมหลวงพเิ ศษ
ศรีสวัสดิ สุขวัฒนวิไชย๕ เมื่อปีกุน ตรีศก จ.ศ. ๑๒๑๓ พ.ศ. ๒๓๙๔ ส้ินพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔ เมื่อวันเสาร์
เดอื นอ้าย แรม ๒ คำ่� ปีฉลู เบญจศก จ.ศ. ๑๒๑๕ ตรงกับวนั ที่ ๑๗ ธนั วาคม พ.ศ. ๒๓๙๖ พระราชทานเพลิง
พระศพ ณ พระเมรุท้องสนามหลวง วนั เสารท์ ่ี ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๓๙๗๖ พระชนั ษา ๖๓ ปี
ที่ ๓๑ พระองคเ์ จ้าหญงิ อุบล (พระเจา้ บรมวงศเ์ ธอ พระองค์เจ้าอบุ ล) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาทอง
เม่ือวันศุกร์ เดือน ๖ ข้ึน ๑๑ ค�่ำ ปีกุน ตรีศก จ.ศ. ๑๑๕๓ ตรงกับวันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๓๔
สิน้ พระชนมใ์ นรชั กาลท่ี ๓
ที่ ๓๒ พระองค์เจ้าหญงิ ฉมิ พลี (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจา้ ฉิมพลี) ประสตู ิแต่เจ้าจอมมารดา
งิว้ เมื่อปีกนุ ตรศี ก จ.ศ. ๑๑๕๓ พ.ศ. ๒๓๓๔ ส้นิ พระชนม์ในรัชกาลที่ ๔ เมอื่ วันเสาร์ เดอื นอา้ ย ข้นึ ๑๒ ค�ำ่
ปีมะเสง็ นพศก จ.ศ. ๑๒๑๙ ตรงกบั วันท่ี ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๐๐ พระชันษา ๖๗ ปี

ที่ ๓๓ พระองค์เจ้าชายไกรสร (พระเจา้ บรมวงศ์เธอ กรมหลวงรักษรณเรศ) ท่ี ๒ ในเจา้ จอมมารดา
น้อยแก้ว พระสนมเอก ประสูติวนั จนั ทร์ เดือนย่ี ขน้ึ ๒ ค่�ำ ปีกนุ ตรศี ก จ.ศ. ๑๑๕๓ ตรงกบั วันที่ ๒๖ ธนั วาคม
พ.ศ. ๒๓๓๔ ในรัชกาลท่ี ๒ ทรงสถาปนาเปน็ พระเจ้านอ้ งยาเธอ กรมหมื่นรักษรณเรศ และโปรดให้ทรงก�ำกบั
กรมสังฆการี คร้ันรชั กาลที่ ๓ ไดท้ รงก�ำกับกรมวัง และเลอ่ื นเป็น กรมหลวงรักษรณเรศ เมอ่ื ปมี ะโรง จัตวาศก

_____________________________
๑ จดหมายเหตโุ หร ฉบบั พระยาประมลู ธนรักษ,์ หน้า ๔๔ วา่ นิพพาน วนั ศกุ ร์ เดือน ๖ ขนึ้ ๙ ค�่ำ ปขี าล โทศก
จ.ศ. ๑๑๙๒ ตรงกบั วนั ที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๓๗๓
๒ พระราชพงศาวดารกรุงรตั นโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓, หน้า ๔๔.
๓ พระนามพระองคเ์ จา้ วงั หลวงแลวังนา่ ฯ, หน้า ๑๒ ว่า ท่ี ๑ ในเจ้าจอมมารดานวน
๔ เรอื่ งเดยี วกัน, หนา้ ๑๑-๑๒.
๕ ประถมวงษแลพระราชพงษาวดารยอ่ ฯ, หนา้ ๒๓.
๖ พระราชพงศาวดารกรงุ รัตนโกสนิ ทร์ รัชกาลที่ ๔, หน้า ๙๙.

17

จ.ศ. ๑๑๙๔ พ.ศ. ๒๓๗๕ มีความผิด ถูกถอดเป็นหม่อมไกรสร๑ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลท่ี ๓ เมื่อวันพุธ
เดือนอ้าย แรม ๓ ค�่ำ ปวี อก สัมฤทธศิ ก จ.ศ. ๑๒๑๐ ตรงกบั วนั ที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๙๑ พระชนั ษา ๕๘ ปี
เป็นตน้ ราชสกลุ พึง่ บุญ ณ อยธุ ยา
ท่ี ๓๔ พระองค์เจ้าชายดารากร (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหม่ืนศรีสุเทพ) ที่ ๒ ในเจ้าจอมมารดา
เพง็ ใหญ่ ประสตู วิ นั เสาร์ เดอื น ๘ ขน้ึ ๑๒ คำ�่ ปชี วด จตั วาศก จ.ศ. ๑๑๕๔ ตรงกบั วนั ท่ี ๓๐ มถิ นุ ายน พ.ศ. ๒๓๓๕
ในรชั กาลท่ี ๓ ทรงสถาปนาเป็นกรมหมนื่ ศรีสเุ ทพ โปรดใหท้ รงก�ำกบั กรมชา่ งสิบหมู่ สิน้ พระชนม์ในรัชกาลที่ ๓
เม่อื ปีวอก สมั ฤทธิศก จ.ศ. ๑๒๑๐ พ.ศ. ๒๓๙๑ พระชนั ษา ๕๗ ปี เปน็ ตน้ ราชสกลุ ดารากร ณ อยุธยา
ท่ี ๓๕ พระองค์เจ้าชายดวงจักร (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นณรงคหริรักษ์) ประสูติแต่เจ้าจอม
มารดาปาน เม่ือวันจันทร์ เดือน ๘ แรม ๖ ค่�ำ ปีชวด จัตวาศก จ.ศ. ๑๑๕๔ ตรงกับวันที่ ๙ กรกฎาคม
พ.ศ. ๒๓๓๕ ในรชั กาลที่ ๓ ทรงสถาปนาเปน็ กรมหมน่ื ณรงคหรริ กั ษ์ โปรดใหท้ รงก�ำกบั กรมชา่ งหลอ่ สน้ิ พระชนม์
ในรัชกาลที่ ๓ เม่ือวนั อาทิตย์ เดือน ๑๐ แรม ๘ คำ�่ ปมี ะเมยี อัฐศก จ.ศ. ๑๒๐๘ ตรงกบั วนั ท่ี ๑๓ กนั ยายน
พ.ศ. ๒๓๘๙ พระชนั ษา ๕๕ ปี เป็นตน้ ราชสกุล ดวงจักร ณ อยธุ ยา
ที่ ๓๖ พระองค์เจ้าหญิงศศิธร (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศศิธร) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดา
ฉิมแมว เม่ือปีขาล ฉศก จ.ศ. ๑๑๕๖ พ.ศ. ๒๓๓๗ ทรงรอบรู้หนังสือท้ังไทยและขอม เป็นพระอาจารย์
พระองค์เจ้าฝ่ายใน สอนให้ขัดต�ำนานสวดมนต์และสอนหนังสือพระเจ้าลูกเธอในรัชกาลที่ ๒๒ สิ้นพระชนม์ใน
รชั กาลท่ี ๒
ที่ ๓๗ พระองค์เจา้ หญงิ เรไร (พระเจา้ บรมวงศเ์ ธอ พระองคเ์ จ้าเรไร) ประสตู แิ ตเ่ จ้าจอมมารดาปอ้ ม
เมอ่ื ปเี ถาะ สัปตศก จ.ศ. ๑๑๕๗ พ.ศ. ๒๓๓๘ สน้ิ พระชนมใ์ นรชั กาลที่ ๑
ที่ ๓๘ พระองค์เจ้าหญิงกระษัตรี (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากระษัตรี) ประสูติแต่เจ้าจอม
มารดานวม๓ เมื่อปีมะโรง อัฐศก จ.ศ. ๑๑๕๘ พ.ศ. ๒๓๓๘ ได้ท�ำราชการในรัชกาลท่ี ๒ สิ้นพระชนม์ใน
รชั กาลที่ ๒ เมอ่ื ปีชวด อัฐศก จ.ศ. ๑๑๗๘๔ พ.ศ. ๒๓๕๙ พระชนั ษา ๒๒ ปี
ท่ี ๓๙ พระองค์เจ้าหญิงจันทบุรี (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี) ประสูติแต่
เจา้ จอมมารดาทองสกุ ๕ เม่อื ปีมะเมีย สัมฤทธิศก จ.ศ. ๑๑๖๐ พ.ศ. ๒๓๔๑๖ ในรชั กาลท่ี ๑ ทรงรบั สถาปนา

_____________________________
๑ ตอ้ งลดอสิ รยิ ศกั ดเิ์ ปน็ หมอ่ มไกรสร พระโอรสธดิ าจงึ ตอ้ งลดศกั ดไิ์ ปดว้ ยเรยี กวา่ หมอ่ ม (ดู พระอนวุ งศช์ นั้ หมอ่ มเจา้
ในพระราชวงศจ์ ักร,ี หนา้ ๒๕.)
๒ พระนามพระองค์เจ้าวังหลวงแลวังน่าฯ, หน้า ๑๔.
๓ เรือ่ งเดยี วกนั , หนา้ ๑๕ วา่ ท่ี ๒ ในเจ้าจอมมารดานวน
๔ จดหมายความทรงจ�ำของพระเจา้ ไปยิกาเธอ กรมหลวงนรนิ ทรเทวฯี , หน้า ๔๑๔ วา่ สนิ้ พระชนม์ จ.ศ. ๑๑๗๙
๕ เจา้ จอมมารดาทองสุก (เจา้ นางทองสกุ ) พระสนมเอก เป็นราชธิดาพระเจ้าอินทวงศ คอื พระไชยเชษฐาธริ าชท่ี ๔
เจา้ นครเวยี งจนั ทน์ อกี นยั หนงึ่ วา่ เปน็ ธดิ าเจา้ นนั ทเสน (ดู จดหมายความทรงจ�ำของพระเจา้ ไปยกิ าเธอ กรมหลวงนรนิ ทรเทวฯี ,
ขอ้ ๑๔๔, หน้า ๒๐๙-๒๑๐.)
๖ พระนามพระองคเ์ จ้าวังหลวงแลวงั น่าฯ, หนา้ ๑๕ ว่า ประสตู ิปีมะเส็ง นพศก จ.ศ. ๑๑๕๙ พ.ศ. ๒๓๔๐ และ
สนิ้ พระชนมเ์ ม่อื ปีระกา จ.ศ. ๑๑๙๙ พ.ศ. ๒๓๘๐

18

เป็นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี๑ เพราะพระมารดาเป็นธิดาของเจ้านครเวียงจันทน์ ต่อมาใน
รัชกาลที่ ๒ ได้เป็นพระราชชายานารี มีเจา้ ฟา้ ๔ พระองค์ ส้ินพระชนมใ์ นรชั กาลที่ ๓ เม่ือวันเสาร์ เดือน ๔
ขึน้ ๓ ค่�ำ ปจี อ สมั ฤทธิศก จ.ศ. ๑๒๐๐ ตรงกบั วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๓๘๑ พระราชทานเพลงิ พระศพ
ณ พระเมรทุ อ้ งสนามหลวง วนั เดือน ๕ แรม ๖ คำ�่ ๒ ปีกุน เอกศก จ.ศ. ๑๒๐๑ ตรงกบั วนั ศกุ รท์ ่ี ๕ เมษายน
พ.ศ. ๒๓๘๒ พระชนั ษา ๔๒ ปี
ที่ ๔๐ พระองค์เจ้าชายสุทัศน์๓ (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นไกรสรวิชิต) ประสูติแต่เจ้าจอม
มารดากล่ิน๔ เม่ือวันพุธ เดือน ๘ บูรพาษาฒ ข้ึนค่�ำ ๑ ปีมะเมีย สัมฤทธิศก จ.ศ. ๑๑๖๐ ตรงกับวันท่ี ๑๓
มิถุนายน พ.ศ. ๒๓๔๑ ในรัชกาลที่ ๓ ทรงสถาปนาเป็น กรมหมื่นไกรสรวิชิต เมื่อปีฉลู เอกศก จ.ศ. ๑๑๙๑
พ.ศ. ๒๓๗๒ โปรดให้ทรงก�ำกับกรมสังฆการี กรมธรรมการ และได้ว่ากรมอาลักษณ์และคลังเส้ือหมวก และ
คลังศุภรัต๕ ส้ินพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓ เม่ือวันอาทิตย์ เดือนย่ี แรม ๑๐ ค�่ำ ปีมะแม นพศก จ.ศ. ๑๒๐๙
ตรงกบั วันท่ี ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๓๙๐ พระชนั ษา ๔๙ ปี เปน็ ตน้ ราชสกุล สทุ ศั น์ ณ อยุธยา
ที่ ๔๑ พระองคเ์ จา้ หญงิ สภุ าธร๖ (พระเจา้ บรมวงศเ์ ธอ พระองคเ์ จา้ สภุ าธร) ประสตู แิ ตเ่ จา้ จอมมารดา
เพง็ เลก็ เม่ือปีมะเมีย สมั ฤทธศิ ก จ.ศ. ๑๑๖๐ พ.ศ. ๒๓๔๑ สิ้นพระชนมใ์ นรัชกาลที่ ๒
ที่ ๔๒ พระองคเ์ จา้ หญงิ สดุ (พระเจา้ บรมวงศเ์ ธอ พระองค์เจ้าสุด) ประสูติแตเ่ จา้ จอมมารดาฉมิ ยักษ์
เมือ่ ปมี ะแม เอกศก จ.ศ. ๑๑๖๑ พ.ศ. ๒๓๔๒ ส้นิ พระชนมใ์ นรชั กาลที่ ๔ เม่อื วนั ที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๑๐๗
รวมสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ และพระเจ้าลูกเธอ ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
มหาราช ประสูติก่อนเสด็จปราบดาภิเษก ๑๐ พระองค์ ประสูติเมื่อเสด็จปราบดาภิเษกแล้ว ๓๒ พระองค์
รวม ๔๒ พระองค์ มีกลอนผกู ไว้ดงั นี้
๏ อรุโณทัยอภัยทัตฉตั รไกรสร สุริยวงศ์สรุ ิยาดารากร ศศิธรคันธรสวาสกุ รี สทุ ัศน์อบุ ลมณฑา ดวงสุดา
ดวงจกั รมณศี รี ธดิ ากณุ ฑลฉิมพลี กระษัตรจี งกลสุภาธร๘ ฯ
ราชสกลุ พระราชทานที่สบื สายตรงจากพระราชโอรสมี ๘ มหาสาขา

_____________________________
๑ “ประกาศฉบบั ท่ี ๒๗๓ เรื่องประกาศพระราชพธิ ีโสกนั ต์ สมเดจ็ พระเจา้ ลกู ยาเธอ เจา้ ฟ้าจุฬาลงกรณ์,” ใน ประชุม
ประกาศรชั กาลที่ ๔, หนา้ ๒๐๘ - ๒๒๔ ; ธรรมเนยี มราชตระกลู ในกรงุ สยาม, ข้อ (๓๗) วา่ พระราชโอรสทป่ี ระสูติดว้ ย
พระมารดาเป็นพระธิดาเจา้ ประเทศราช จะมพี ระอสิ ริยยศเปน็ เจ้าฟ้าได้ ตอ่ เม่อื พระเจ้าแผ่นดินโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เปน็
เจา้ ฟา้ ไดเ้ ทา่ นนั้
๒ พระราชพงศาวดารกรุงรตั นโกสินทร์ รชั กาลที่ ๓, หนา้ ๘๐.
๓ เมื่อทรงพระเยาวเ์ รยี กกนั วา่ พระองค์โต
๔ เจ้าจอมมารดากลิน่ ธิดาพระยาพทั ลงุ (ขุน) (ดู ต�ำนานพระอารามแลท�ำเนียบสมณศักดิ (กรุงเทพ : โรงพิมพไ์ ทย,
๒๔๕๗, หน้า (๒))
๕ ปฐมวงศ (พระบรมราชมหาจกั รกี ษัตรยิ ส์ ยาม), หนา้ ๑๙.
๖ วนั บรมมหาประสตู รแลวันประสูตร (ฉบบั คัดส�ำ เนา) วา่ พระองค์เจ้าหญิงสภุ าภรณ์
๗ เรือ่ งเดยี วกัน และ Somdetch Phra Paramendr MahaMongkut, “Near and Distant Member of
the Royal Family,” Bangkok Calendar (1868), p, 103 ว่า เปน็ พระธดิ าพระองค์ท่ี ๑๔
๘ สมเดจ็ พระวนั รตั วดั พระเชตพุ นฯ เปน็ ผตู้ ง้ั พระนามถวาย (ดู พระนามพระองคเ์ จา้ วงั หลวงแลวงั นา่ ฯ. หนา้ ๑๗.)

19

พระราชโอรสพระราชธิดา
ในพระบาทสมเดจ็ พระพทุ ธเลิศหล้านภาลัย รชั กาลท่ี ๒



ประสตู ิเมอื่ ทรงด�ำรงพระอสิ รยิ ยศเป็นสมเด็จพระเจา้ ลกู เธอ เจา้ ฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร

ที่ ๑ พระองค์เจ้าหญิงจักรจ่ัน (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรจ่ัน) ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดา
สี ซ่ึงเรียกกันว่า เจ้าคุณพ๑ี ประสูติเม่ือเดือนย่ี ปีมะเส็ง สัปตศก จ.ศ. ๑๑๔๗ พ.ศ. ๒๓๒๘ สิ้นพระชนม์ใน
รัชกาลที่ ๑
ที่ ๒ พระองค์เจ้าชาย (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้า) ท่ี ๑ ในเจ้าจอมมารดาสวน๒ ประสูติ
เดือนยี่ ปีมะแม พ.ศ. ๒๓๓๐ สน้ิ พระชนมใ์ นรัชกาลที่ ๑
ท่ี ๓ พระองค์เจ้าชายทับ (พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดาเรียม
พระสนมเอก ในรชั กาลท่ี ๓ ทรงเฉลมิ พระนามเปน็ สมเดจ็ พระศรสี ลุ าลยั ๓ เสดจ็ พระราชสมภพวนั จนั ทร์ เดอื น ๔
แรม ๑๐ คำ�่ ปมี ะแม นพศก จ.ศ. ๑๑๔๙ ตรงกับวนั ท่ี ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๓๐ ในรัชกาลที่ ๒ ทรงสถาปนา
เปน็ พระเจา้ ลกู เธอ กรมหมน่ื เจษฎาบดนิ ทร์ เมอื่ วนั อาทติ ย์ เดอื น ๑๐ แรม ๓ คำ่� ปรี ะกา เบญจศก จ.ศ. ๑๑๗๕
พ.ศ. ๒๓๕๖ ไดท้ รงก�ำกบั ราชการกรมทา่ กรมพระคลงั มหาสมบตั ิ กรมพระต�ำรวจวา่ ความฎกี า และรบั ราชการ
ต่างพระเนตรพระกรรณ ระหว่างทรงส�ำเร็จราชการแผ่นดินยังมิได้บรมราชาภิเษกน้ัน ออกพระนามว่า สมเด็จ
พระบรมโอรสาธิราชเจา้ พระองคใ์ หญ ่ ๔
เสดจ็ ผ่านพิภพเมอ่ื วันพุธ เดอื น ๘ แรม ๑๑ ค�ำ่ ปีวอก ฉศก จ.ศ. ๑๑๘๖ ตรงกบั วันท่ี ๒๑ กรกฎาคม
พ.ศ. ๒๓๖๗ บรมราชาภิเษก วันอาทิตย์ เดือน ๙ ข้ึน ๗ ค่ำ� ตรงกับวนั ท่ี ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๓๖๗๕ สวรรคต

_____________________________
๑ เจา้ จอมมารดาสี หรอื ศรี หรอื ศรีสดี า ธดิ าเจ้าพระยาศรีธรรมาธริ าช (บญุ รอด) ต้นสกลุ บณุ ยรตั พนั ธ์ุ (ดู เรื่อง
ต้ังเจ้าพระยากรุงรตั นโกสินทร์,) หน้า ๗.
๒ ส�ำนักหอสมุดแห่งชาติ, หมายรับส่ังรัชกาลที่ ๓ จ.ศ. ๑๒๐๕ ว่า พระราชทานเพลิงศพ ณ วัดอรุณราชวราราม
วันเดือน ๕ ข้นึ ๖ คำ่� ปีมะโรง ยังเปน็ เบญจศก จ.ศ. ๑๒๐๕ ตรงกับวันอาทิตย์ที่ ๒๔ มนี าคม พ.ศ. ๒๓๘๖
๓ สมเดจ็ พระศรสี ลุ าลยั ธดิ าของพระยานนทบรุ ศี รมี หาอทุ ยาน (บญุ จนั ) กบั พระชนนเี พง็ ประสตู เิ มอ่ื วนั จนั ทร์ เดอื น ๓
ขน้ึ ๑๓ คำ่� ปขี าล โทศก จ.ศ. ๑๑๓๒ เวลาบา่ ย ตรงกบั วนั ที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๓๑๓ ในรชั กาลท่ี ๒ เมอ่ื เสดจ็ เขา้ มาประทบั
ในพระบรมมหาราชวงั ไดท้ รงบงั คบั การหอ้ งเครอ่ื ง คนทว่ั ไปออกพระนามวา่ เจา้ คณุ (ประชมุ พงศาวดารภาคท่ี ๓๓ บรุ พภาค
พระธรรมเทศนาเฉลิมพระเกยี รด,ิ หนา้ ๑๕) ในรชั กาลท่ี ๓ ทรงเฉลมิ พระนามเปน็ สมเด็จพระศรีสุลาลยั ตอ่ มาในรัชกาลท่ี ๔
ทรงเฉลิมพระนามเป็น กรมสมเด็จพระศรีสุลาลัย ครั้นถึงรัชกาลที่ ๖ ทรงเฉลิมพระนามใหม่เป็น สมเด็จพระศรีสุลาลัย
สวรรคตวนั องั คาร เดอื น ๑๑ แรม ๓ คำ่� ปรี ะกา นพศก จ.ศ. ๑๑๙๙ เวลา ๙ ทมุ่ ๕ บาท ตรงกบั วนั ท่ี ๑๗ ตลุ าคม พ.ศ. ๒๓๘๐
พระชนมายุ ๖๖ พรรษา ถวายพระเพลิงพระบรมศพ ณ พระเมรุมาศท้องสนามหลวง วันอาทิตย์ที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๘๑
๔ จดหมายเหตรุ ชั กาลท่ี ๓ เลม่ ๑ (กรงุ เทพฯ : สหประชาพาณชิ ย,์ ๒๕๓๐), หนา้ ๑๔.
๕ พระราชพงศาวดารกรุงรตั นโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓, หนา้ ๑.

20

วันพุธ เดือน ๕ ข้ึนค่�ำ ๑ ปีกุน ยังเป็นโทศก จ.ศ. ๑๒๑๒ เวลา ๘ ทุ่ม ๕ บาท๑ ตรงกับวันที่ ๒ เมษายน
พ.ศ. ๒๓๙๓ พระชนมพรรษา ๖๔ พรรษา ถวายพระเพลงิ พระบรมศพ ณ พระเมรมุ าศทอ้ งสนามหลวง วนั พุธที่
๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๙๕๒
ที่ ๔ พระองคเ์ จ้าหญิงล�ำภู (พระเจา้ บรมวงศเ์ ธอ กรมขุนกัลยาสนุ ทร๓) ท่ี ๒ ในเจ้าจอมมารดาสวน
ประสูติวันพุธ เดือน ๔ ปีระกา เอกศก จ.ศ. ๑๑๕๑ พ.ศ. ๒๓๓๒ ในรัชกาลที่ ๓ ทรงสถาปนาเป็นพระเจ้า
น้องนางเธอ กรมขนุ กลั ยาสนุ ทร เม่อื วนั อาทติ ย์ เดือน ๖ ขึ้น ๑๔ คำ�่ ปมี ะโรง จตั วาศก จ.ศ. ๑๑๙๔ ตรงกบั
วันท่ี ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๗๕ ได้ว่าราชการฝ่ายในหลายอย่าง และได้ทรงรักษากุญแจพระราชวังช้ันใน
ส้ินพระชนม์ในรชั กาลที่ ๓ เมอื่ วนั องั คาร เดอื น ๘ ข้ึน ๑๔ ค่ำ� ๔ ปมี ะเมีย อัฐศก จ.ศ. ๑๒๐๘ ตรงกับวนั ท่ี ๗
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๘๙ พระชนั ษา ๕๘ ปี พระราชทานเพลงิ พระศพ ณ พระเมรุท้องสนามหลวง วนั เดอื น ๔
แรม ๖ ค�ำ่ ๕ ปมี ะเมยี อฐั ศก จ.ศ. ๑๒๐๘ ตรงกบั วันอาทิตยท์ ี่ ๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๘๙
ท่ี ๕ พระองค์เจ้าหญิงทับทิม (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทับทิม) ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดา
แจ่มใหญ่ ประสูติเม่ือวันพฤหัสบดี เดือน ๕ ข้ึน ๓ ค�่ำ ปีจอ ยังเป็นเอกศก จ.ศ. ๑๑๕๑ ตรงกับวันท่ี ๑๘
มีนาคม พ.ศ. ๒๓๓๒ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลท่ี ๓ พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุท้องสนามหลวง
วันองั คารที่ ๑๐ มนี าคม พ.ศ. ๒๓๘๒
ที่ ๖ พระองคเ์ จ้าหญงิ ยส่ี ุน่ (พระเจ้าบรมวงศเ์ ธอ พระองค์เจ้ายส่ี ุ่น) ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดาเหมใหญ่
ประสูตวิ นั จนั ทร์ เดือน ๕ ขน้ึ ๗ คำ่� ปีจอ ยงั เปน็ เอกศก จ.ศ. ๑๑๕๑ ตรงกับวนั ที่ ๒๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๓๒
ได้ว่าพนักงานพระภูษา๖ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เม่ือวันอังคาร เดือน ๑๐ ขึ้น ๙ ค่�ำ ปีมะเส็ง เอกศก
จ.ศ. ๑๒๓๑ ตรงกับวันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๑๒ พระชันษา ๘๑ ปี พระราชทานเพลิงพระศพ
ณ วดั อรณุ ราชวราราม วันท่ี ๑๗ กุมภาพนั ธ์ พ.ศ. ๒๔๑๓๗
ที่ ๗ พระองคเ์ จ้าหญงิ ป้อม (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองคเ์ จ้าปอ้ ม) ท่ี ๒ ในสมเดจ็ พระศรีสลุ าลัย
ประสูติวันจันทร์ เดือน ๓ ข้ึน ๗ ค่�ำ๘ ปีจอ โทศก จ.ศ. ๑๑๕๒ พ.ศ. ๒๓๓๓ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลท่ี ๑
เมอื่ ปฉี ลู เบญจศก จ.ศ. ๑๑๕๕ พ.ศ. ๒๓๓๖ พระชนั ษา ๔ ปี

_____________________________
๑ ประชมุ พงศาวดารภาคที่ ๓๓ บรุ พภาคพระธรรมเทศนาเฉลิมพระเกียรดิฯ, หน้า ๑๒๖.
๒ พระราชพงศาวดารกรุงรตั นโกสนิ ทร์ รชั กาลท่ี ๔, หน้า ๗๐.
๓ จดหมายเหตุเร่อื งทรงต้ังพระบรมวงษานุวงษ์ฯ, หน้า ๕๖ ว่า กรมขุนกัลยาณสี นุ ทร
๔ พระราชพงศาวดารกรงุ รัตนโกสินทร์ รชั กาลที่ ๓, หน้า ๑๒๒ ว่า เดือน ๘ ขนึ้ ๘ ค่�ำ ตรงกับวันพุธท่ี ๑ กรกฎาคม
พ.ศ. ๒๓๘๙
๕ เรื่องเดียวกนั , หนา้ ๑๒๖.
๖ พระนามพระองคเ์ จา้ วงั หลวงแลวังน่าฯ.
๗ Siam Repository B.E. 2413, p. 256.
๘ นา่ จะเป็นเดอื น ๓ ขนึ้ ๔ คำ่� ตรงกบั วนั ท่ี ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๓๓๓ เพราะถา้ ขึน้ ๗ ค�่ำ จะตรงกบั วนั พฤหสั บดที ่ี
๑๐ กมุ ภาพนั ธ์ พ.ศ. ๒๓๓๓

21

ที่ ๘ พระองค์เจ้าชายกล้วยไม้ (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นสุนทรธิบดี) ที่ ๓ ในเจ้าจอมมารดา
สวน ประสูติวันเสาร์ เดือน ๖ แรม ๑๑ ค่�ำ ปีกุน ตรีศก จ.ศ. ๑๑๕๓ ตรงกับวันที่ ๒๘ พฤษภาคม
พ.ศ. ๒๓๓๔ ในรัชกาลที่ ๒ ทรงสถาปนาเป็นพระเจ้าลูกเธอ กรมหมื่นสุนทรธิบดี สิ้นพระชนม์ในรัชกาลท่ี ๓
เมอื่ วันพฤหัสบดี เดอื น ๕ ข้นึ ๑๑ ค่�ำ ปเี ถาะ ยงั เป็นโทศก จ.ศ. ๑๑๙๒ ตรงกับวนั ที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๗๓
พระชนั ษา ๔๑ ปี๑ พระราชทานเพลงิ พระศพ ณ วัดสระเกศ เดอื นพฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๗๔๒ เป็นตน้ ราชสกุล
กล้วยไม้ ณ อยุธยา
ท่ี ๙ พระองค์เจ้าหญิงบุบผา (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุบผา๓) ท่ี ๒ ในเจ้าจอมมารดาสี
(เจา้ คณุ พ)ี ประสูตเิ ม่ือวนั จันทร์ เดอื น ๗ ปีกุน ตรีศก จ.ศ. ๑๑๕๓ พ.ศ. ๒๓๓๔ ส้นิ พระชนมใ์ นรชั กาลที่ ๒
เมอ่ื ปมี ะเสง็ ตรศี ก จ.ศ. ๑๑๘๓ พ.ศ. ๒๓๖๔ พระชนั ษา ๓๑ ปี พระราชทานเพลงิ พระศพ ณ วดั ระฆงั โฆสติ าราม
วนั พธุ ท่ี ๒๖ ธนั วาคม พ.ศ. ๒๓๖๔๔
ท่ี ๑๐ พระองค์เจ้าหญิงวงศ์ (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวงศ์) ท่ี ๑ ในเจ้าจอมมารดาศิลา๕
ประสูติเมอ่ื วนั อังคาร เดอื น ๘ ปกี นุ ตรีศก จ.ศ. ๑๑๕๓ พ.ศ. ๒๓๓๔ ไดว้ า่ พนักงานพระสคุ นธ๖์ ส้นิ พระชนม์
ในรัชกาลที่ ๔๗
ที่ ๑๑ พระองค์เจ้าหญิงปุก (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปุก) ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดาส้ัน
ประสูติเมอ่ื วันพธุ เดือน ๑๒ แรม ๒ ค่ำ� ปชี วด จัตวาศก จ.ศ. ๑๑๕๔ ตรงกับวนั ท่ี ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๓๓๕
ส้นิ พระชนม์ในรัชกาลท่ี ๕ เม่อื วันจนั ทร์ เดอื น ๙ แรม ๓ คำ�่ ปรี ะกา เบญจศก จ.ศ. ๑๒๓๕ ตรงกับวันที่ ๑๑
สงิ หาคม พ.ศ. ๒๔๑๖๘ พระชนั ษา ๘๑ ปี พระราชทานเพลงิ พระศพ ณ พระเมรุวดั บวรนเิ วศวหิ าร๙
ที่ ๑๒ พระองค์เจ้าชายด�ำ๑๐ (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าด�ำ) ท่ี ๓ ในสมเด็จพระศรีสุลาลัย
ประสูติเดือน ๔ ปีชวด จัตวาศก จ.ศ. ๑๑๕๔ พ.ศ. ๒๓๓๕ ส้ินพระชนม์ในรัชกาลท่ี ๑ เม่ือปีฉลู เบญจศก
จ.ศ. ๑๑๕๕ พ.ศ. ๒๓๓๖ พระชนั ษา ๑ ปี

_____________________________
๑ หอสมดุ แหง่ ชาติ, ต�ำราโหราศาสตร์ เลขที่ ๒๑๐ (สมดุ ไทยด�ำ) วา่ พระชนั ษา ๓๙ ปี
๒ พระราชวจิ ารณจ์ ดหมายความทรงจ�ำฯ, จดหมายความทรงจ�ำของพระเจา้ ไปยกิ าเธอ กรมหลวงนรนิ ทรเทวฯี , หนา้ ๓๖.
๓ จดหมายเหตรุ ชั กาลท่ี ๒ เลม่ ๓ จลุ ศกั ราช ๑๑๗๑ - ๑๑๗๔ (กรงุ เทพฯ : อมรนิ ทรก์ ารพมิ พ,์ ๒๕๒๘), หนา้ ๑๒๕
ว่า พระองค์เจา้ บพุ ภาวดี
๔ พระราชวจิ ารณจ์ ดหมายความทรงจ�ำฯ, หนา้ ๔๓๖. และ “การพระศพเจา้ ครอกบปุ ผา และการศพโยมพระมหาถกึ
เปรียญเอก จ.ศ. ๑๑๘๒ ปีมะโรง โทศก,” ใน ประชมุ หมายรับส่งั ภาคท่ี ๓ฯ, หนา้ ๑๔๒.
๕ เจ้าจอมมารดาศลิ า ธดิ าขรวั ยายฟกั ทอง (ดู อธิบายราชินิกลุ บางชา้ ง, หน้า ๑๓๑.)
๖ พระนามพระองค์เจ้าวังหลวงแลวงั นา่ ฯ.
๗ ประชุมหมายรบั ส่งั ภาค ๔ ตอนที่ ๒ฯ, หน้า ๑๖๔, ๒๒๓. ว่า สนิ้ พระชนมใ์ นรัชกาลที่ ๓ พ.ศ. ๒๓๘๖
๘ สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยาปวเรศวรยิ าลงกรณ,์ จดหมายเหตบุ ญั ชนี ำ้� ฝน เลม่ ๓ (พระนคร : ราชบณั ฑติ ยสภา,
๒๔๗๓), หน้า ๕๕.
๙ ต�ำนานวัดบวรนิเวศวหิ าร (พระนคร : หอพระสมุดวชริ ญาณ, ๒๔๖๕), หน้า ๗๒.
๑๐ ราชสกุลวงศ์ ฉบบั พิมพ์ พ.ศ. ๒๔๖๓, หน้า ๓๙ ฉบบั พิมพ์ พ.ศ. ๒๔๗๐, หน้า ๒๐ และฉบับพมิ พ์ พ.ศ. ๒๕๐๗,
หน้า ๑๙ ว่า “ด�ำ” ; สมเดจ็ เจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพนั ธวุ งศ์วรเดช, ราชินิกูลรัชชกาลท่ี ๓ (พระนคร : ราชบัณฑติ ยสภา,
๒๔๗๑), หน้า ๑๒ วา่ “หนดู �ำ”; ราชนิ ิกลู รชั กาลที่ ๕, หนา้ ๑๖ วา่ “หนคู �ำ”

22

ท่ี ๑๓ พระองค์เจ้าชายกุสุมา (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหม่ืนเสพสุนทร๑) ประสูติแต่เจ้าจอม
มารดากรุด เม่ือวันศุกร์ เดือน ๕ ขน้ึ ๔ ค่�ำ ปีฉลู จัตวาศก จ.ศ. ๑๑๕๔ ตรงกับวนั ที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๓๕๒
ในรชั กาลท่ี ๓ ทรงสถาปนาเป็นกรมหม่ืนเสพสนุ ทร๓ สิน้ พระชนม์ในรชั กาลที่ ๓ เม่ือปวี อก อัฐศก จ.ศ. ๑๑๙๘
พ.ศ. ๒๓๗๙ พระราชทานเพลงิ พระศพ ณ วดั อมรนิ ทราราม เมอ่ื พ.ศ. ๒๓๗๙๔ เปน็ ตน้ ราชสกลุ กสุ มุ า ณ อยธุ ยา
ท่ี ๑๔ พระองค์เจ้าหญิง๕ (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้า) ท่ี ๑ ในเจ้าจอมมารดาม่วงใหญ่
ประสตู เิ มอ่ื เดอื น ๖ ปีฉลู เบญจศก จ.ศ. ๑๑๕๕ พ.ศ. ๒๓๓๖ สิ้นพระชนมใ์ นรัชกาลที่ ๑
ที่ ๑๕ พระองคเ์ จา้ ชายมง่ั (สมเดจ็ พระเจา้ บรมวงศเ์ ธอ กรมพระยาเดชาดศิ ร) ท่ี ๒ ในเจา้ จอมมารดานม่ิ ๖
ประสูตวิ นั เสาร์ เดือน ๗ ขึน้ ๒ คำ�่ ปีฉลู เบญจศก จ.ศ. ๑๑๕๕ ตรงกับวนั ท่ี ๑๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๓๖
เวลา ๕ ทุ่มเศษ๗ ในรัชกาลที่ ๒ ทรงสถาปนาเป็นพระเจ้าลูกเธอ กรมหม่ืนเดชอดิศร ในรัชกาลท่ี ๓ เม่ือ
เดือน ๖ แรม ๑๑ ค�่ำ ปีมะโรง จัตวาศก จ.ศ. ๑๑๙๔ ตรงกับวันศุกร์ที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๗๕
เลือ่ นเป็นพระเจ้าพ่ยี าเธอ กรมขุนเดชอดศิ ร ในรชั กาลที่ ๔ เม่อื วนั จนั ทร์ เดอื น ๙ แรม ๑๓ คำ�่ ปกี ุน ตรศี ก
จ.ศ. ๑๒๑๓ ตรงกบั วนั ที่ ๒๕ สงิ หาคม พ.ศ. ๒๓๙๔๘ เลอื่ นเปน็ กรมสมเดจ็ พระ๙เดชาดศิ ร เทพยนกิ รปยิ านรุ กั ษ์
บวรศกั ดิพิเศษ บรมเชษฐวราธิวงศ์ พงศานุพงศป์ ดษิ ฐา สนุ ทรปรีชานภุ าพ ศภุ กาพยปฏิภาณ สุตไพศาลอรรถ
ธรรมสาตร ธรรมิกนาถบพิตร เจ้ากรมเป็นพระยา ได้ทรงก�ำกับกรมพระอาลักษณ์ตั้งแต่ในรัชกาลท่ี ๒ จน
ตลอดพระชนมายุ ได้ก�ำกับกรมนาในรัชกาลที่ ๔ ทรงเป็นรัตนกวีส�ำคัญพระองค์หนึ่งแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ส้นิ พระชนมใ์ นรชั กาลท่ี ๔ เมอ่ื วนั อาทิตย์๑๐ เดอื น ๑๐ ขึน้ ๘ คำ่� ปมี ะแม เอกศก จ.ศ. ๑๒๒๑ ตรงกบั วนั ท่ี ๔
กันยายน พ.ศ. ๒๔๐๒ พระชันษา ๖๗ ปี พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุท้องสนามหลวง วันจันทร์
เดือน ๕ แรม ๔ ค่�ำ ปีวอก โทศก จ.ศ. ๑๒๒๒ ตรงกับวันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๐๓ เป็นต้นราชสกุล
เดชาตวิ งศ์ ณ อยธุ ยา

_____________________________
๑ จดหมายเหตเุ รือ่ งทรงตั้งพระบรมวงษานวุ งษ์ฯ, หน้า ๔๙ ว่า กรมหมืน่ เสพยส์ ุนทร
๒ เม่อื เทยี บกบั ปฏิทนิ กรมวชิ ชาธกิ ารฯ แลว้ วนั ท่ี ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๓๕ ยงั เป็นปีชวด จัตวาศก (ข้ึนปีฉลู
เบญจศก จ.ศ. ๑๑๔๕ เมือ่ วันจันทร์ เดอื น ๕ แรม ๖ ค�ำ่ ตรงกับ วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๓๓๖)
๓ สนั นษิ ฐานจาก จดหมายเหตเุ รอื่ งทรงตง้ั พระบรมวงษานวุ งษฯ์ , หนา้ ๔๙, ๕๑ วา่ ตง้ั กรมระหวา่ ง จ.ศ. ๑๑๘๖ - ๑๑๙๐
๔ จดหมายความทรงจ�ำฯ, หนา้ ๖๑.
๕ ประชมุ หมายรับสัง่ ภาคท่ี ๒ สมยั กรุงรัตนโกสินทร์ (กรงุ เทพฯ : โรงพิมพ์ส�ำนักเลขาธกิ ารคณะรัฐมนตรี, ๒๕๒๕),
หน้า ๗๕ มีพระนามว่า พระองค์เจ้าผะอบ และสิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓ (จดหมายเหตุรัชกาลที่ ๓ ไม่ปรากฏศักราช
เลขท่ี ๔๐ ก สมุดไทยด�ำ).
๖ เจา้ จอมมารดานมิ่ ธิดาเจา้ พระยาพระคลงั (หน) เปน็ ครูมโหรลี ะคร ดู “บัญชรี ายช่อื ฝ่ายในถวายตัวในรชั กาลที่ ๑
รชั กาลท่ี ๒ และรชั กาลที่ ๓,” หอสมุดแหง่ ชาต,ิ จดหมายเหตรุ ัชกาลท่ี ๑ เลขที่ ๔. และ เรอื่ งต้ังเจา้ พระยากรงุ รตั นโกสนิ ทร์
๗ ดวงพระชาตาแลดวงชาตาต่าง ๆ (ส�ำเนาตน้ ฉบับลายมือ), หน้า ๒๖.
๘ เฉลิมพระยศเจ้านาย เลม่ ๑, หนา้ ๕๒.
๙ รชั กาลท่ี ๖ โปรดเกลา้ ฯ ใหเ้ ปลยี่ นค�ำน�ำพระนามเปน็ สมเดจ็ พระเจา้ บรมวงศเ์ ธอ กรมพระยา ดเู พมิ่ เตมิ ทภี่ าคผนวก
เรอื่ ง “วินิจฉัยพระยศเจา้ นายทีเ่ รยี กวา่ “กรมสมเด็จ” หรือ “สมเดจ็ กรม”.
๑๐ เดิมเป็นวันจันทร์ แต่ “จดหมายเหตุโหร,”ใน ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม ๑ (กรุงเทพฯ :
โรงพมิ พ์ครุ ุสภาลาดพร้าว, ๒๕๔๒), หน้า ๓๘ ว่า ตรงกับวันอาทิตย์ ซงึ่ ตรงกนั กบั ปฏทิ นิ กรมวิชชาธกิ ารฯ.

23

ที่ ๑๖ พระองคเ์ จา้ หญงิ สม้ จนี (พระเจา้ บรมวงศเ์ ธอ พระองคเ์ จา้ สม้ จนี ) ประสตู แิ ตเ่ จา้ จอมมารดาเกด
เมอื่ วันศุกร์ เดือน ๘ อตุ ราษาฒ ขน้ึ ๕ ค�่ำ ปฉี ลู เบญจศก จ.ศ. ๑๑๕๕ ตรงกับวันท่ี ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๓๖
สิน้ พระชนม์ในรชั กาลที่ ๔ เมือ่ วันอาทิตยท์ ี่ ๑๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๐๘๑
ท่ี ๑๗ พระองค์เจ้าชายพนมวัน (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์) ที่ ๒ ใน
เจ้าจอมมารดาศิลา ประสูติวันพุธ เดือน ๑๑ ขึ้น ๑๔ ค่�ำ ปีขาล ฉศก จ.ศ. ๑๑๕๖ ตรงกับวันที่ ๘ ตุลาคม
พ.ศ. ๒๓๓๗ ในรัชกาลท่ี ๒ ทรงสถาปนาเป็นพระเจ้าลูกเธอ กรมหม่ืนพิพิธภูเบนทร์ ในรัชกาลที่ ๓ เล่ือนเป็น
พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนพิพิธภูเบนทร์ เม่ือวันศุกร์ เดือน ๖ แรม ๑๑ ค่�ำ ปีมะโรง จัตวาศก จ.ศ. ๑๑๙๔
ตรงกบั วันท่ี ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๗๕ ในรชั กาลท่ี ๔ เลอ่ื นเป็นพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระพพิ ิธโภคภเู บนทร์
นเรนทรสุริยวงศ์ อิศวรพงศ์พรพิพัฒน์ศักดิรัตนธ�ำรง คุณาลงกฎเกียรติวิบุลย อดุลยเดชบพิตร เจ้ากรมเป็น
พระยา๒ เมื่อปีกุน ตรีศก จ.ศ. ๑๒๑๓ พ.ศ. ๒๓๙๔๓ ได้ทรงก�ำกับกรมพระนครบาลมาแต่ในรัชกาลที่ ๒
ในรัชกาลที่ ๓ ได้ว่ากรมพระคชบาล ส้ินพระชนมใ์ นรชั กาลท่ี ๔ เมอ่ื วันจนั ทร์ เดอื น ๕ แรม ๘ ค�่ำ ปมี ะโรง
อัฐศก จ.ศ. ๑๒๑๘๔ เวลา ๐๒.๐๐ น.๕ พระชันษา ๖๒ ปี พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุผ้าขาว
วัดอรุณราชวราราม วันอาทิตย์ท่ี ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๙๙๖ เป็นต้นราชสกุล พนมวัน ณ อยธุ ยา
ท่ี ๑๘ พระองค์เจ้าหญิงหรุ่น (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหรุ่น) ท่ี ๔ ในเจ้าจอมมารดาสวน
ประสตู ิวนั อังคาร เดือน ๙ ขึน้ ๕ คำ่� ปเี ถาะ สัปตศก จ.ศ. ๑๑๕๗ ตรงกับวนั ที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๓๘
สน้ิ พระชนมใ์ นรชั กาลท่ี ๓
ท่ี ๑๙ พระองค์เจ้าหญิงใย (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าใย) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาอิน
เม่อื วนั อาทติ ย์ เดือน ๙ ขึน้ ๑๐ คำ�่ ปเี ถาะ สัปตศก จ.ศ. ๑๑๕๗ ตรงกบั วนั ท่ี ๒๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๓๘
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลท่ี ๔ เมื่อวันศุกร์ เดือน ๗ ขึ้น ๕ ค�่ำ๗ ปีกุน เบญจศก จ.ศ. ๑๒๒๕ ตรงกับ
วันที่ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๐๖ พระชนั ษา ๖๘ ปี พระราชทานเพลงิ พระศพ ณ พระเมรุทอ้ งสนามหลวง
วนั พุธท่ี ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๐๖๘

_____________________________
๑ จดหมายเหตบุ ัญชีนำ�้ ฝน เล่ม ๒, หน้า ๓๑.
๒ เจา้ กรมเปน็ พระยา เฉพาะเจา้ กรมแกว้ เพราะเปน็ ราชนิ กิ ลุ สายบางชา้ ง (ดู ประชมุ พระนพิ นธเ์ บด็ เตลด็ , หนา้ ๑๓.)
๓ จดหมายเหตุเรอ่ื งทรงตงั้ พระบรมวงษานวุ งษ์ฯ, หนา้ ๗๙.
๔ เม่ือเทยี บกับ ปฏิทินกรมวิชชาธิการฯ แล้ว จะตรงกบั วันอาทิตย์ที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๓๙๙
๕ The Writings of King Mongkut to Sir John Bowring (A.D. 1855 - 1868) (Bangkok : Historical
Commission of the Prime Minister’s Secretariat, 1994), p. 29.
๖ พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๔, หนา้ ๑๔๗.
๗ จดหมายเหตบุ ญั ชนี ำ�้ ฝน เล่ม ๒, หนา้ ๒๒.
๘ พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุเดียวกันตามล�ำดับ คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร
วันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๐๖ พระเจา้ บรมวงศเ์ ธอ กรมพระพิทักษเทเวศร์ และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองคเ์ จา้ ใย
วนั ท่ี ๒๔ มถิ ุนายน พ.ศ. ๒๔๐๖ (ดู พระราชพงศาวดารกรุงรตั นโกสินทร์ รชั กาลที่ ๔, หนา้ ๒๔๖, ๒๔๘.)

24

ท่ี ๒๐ พระองคเ์ จา้ ชาย (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองคเ์ จ้า) ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดาเหมเลก็ ประสตู ิ
เดอื นอ้าย ปเี ถาะ สปั ตศก จ.ศ. ๑๑๕๗ พ.ศ. ๒๓๓๘ ส้นิ พระชนม์ในรัชกาลที่ ๒
ที่ ๒๑ พระองค์เจ้าหญิงพลับ (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพลับ) ท่ี ๕ ในเจ้าจอมมารดาสวน
ประสูติวันอาทิตย์ เดือน ๕ ปีมะเส็ง นพศก จ.ศ. ๑๑๕๙ พ.ศ. ๒๓๔๐ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓
เมอื่ พ.ศ. ๒๓๘๘๑ พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุวัดอมรินทราราม ปเี ดียวกนั ๒
ท่ี ๒๒ พระองค์เจ้าชายกุญชร (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระพิทักษเทเวศร์) ท่ี ๓ ในเจ้าจอม
มารดาศิลา ประสูติวันพุธ เดือน ๖ ข้ึน ๔ ค่�ำ ปีมะเมีย สัมฤทธิศก จ.ศ. ๑๑๖๐ ตรงกับ
วันท่ี ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๓๔๑ ในรัชกาลท่ี ๓ ทรงสถาปนาเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิทักษเทเวศร์
ถึงรัชกาลที่ ๔ เล่ือนเป็นพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระพิทักษเทเวศร์ นเรศรราชรวิวงษ์ อิศวรพงษ์พิพัฒนศักด์ิ
อุดมอรรควรยศวงษประนตนารถนเรนทร์ พาหเนนทรบพิตร เม่ือปีกุน ตรีศก จ.ศ. ๑๒๑๓ พ.ศ. ๒๓๙๔๓
ในรัชกาลท่ี ๓ ได้ว่ากรมม้า และกรมมหรสพ๔ ถึงรัชกาลท่ี ๔ ได้ว่ากรมพระคชบาลกรม ๑ สิ้นพระชนม์
ในรัชกาลท่ี ๔ เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๕ แรม ๑๓ ค�่ำ ปีกุน เบญจศก จ.ศ. ๑๒๒๕ ตรงกับ
วันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๐๖ พระชันษา ๖๕ ปี พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุท้องสนามหลวง
วนั พุธที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๐๖๕ เปน็ ต้นราชสกุล กุญชร ณ อยธุ ยา
ท่ี ๒๓ พระองค์เจ้าหญิงสังวาล (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสังวาล) ท่ี ๑ ในเจ้าจอมมารดา
ทรัพย์ ประสูติเมื่อเดือน ๘ ปีมะเมีย สัมฤทธิศก จ.ศ. ๑๑๖๐ พ.ศ. ๒๓๔๑ ส้ินพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓
พ.ศ. ๒๓๘๖ พระชันษา ๔๕ ปี
ท่ี ๒๔ พระองค์เจ้าชายเนตร (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเนตร) บางฉบับว่านก หรือ นุช๖
ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาปราง (ต่อมาเป็นท้าววรจันทร์) เมื่อเดือน ๙ ปีมะเมีย สัมฤทธิศก จ.ศ. ๑๑๖๐
พ.ศ. ๒๓๔๑ สิ้นพระชนม์ในรชั กาลที่ ๑๗
ที่ ๒๕ พระองค์เจ้าชายโคมเพ็ชร (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโคมเพ็ชร) ท่ี ๒ ในเจ้าจอม
มารดาเหมเลก็ ประสูตเิ ดอื น ๖ ปีมะแม เอกศก จ.ศ. ๑๑๖๑ พ.ศ. ๒๓๔๒ สนิ้ พระชนมใ์ นรัชกาลที่ ๑
ที่ ๒๖ พระองค์เจ้าชายเรณู (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเรณู) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดา
บุนนาค ประสูติเดือน ๘ ปีมะแม เอกศก จ.ศ. ๑๑๖๑ พ.ศ. ๒๓๔๒ ส้ินพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓ เป็น
ต้นราชสกุล เรณุนนั ท์ ณ อยธุ ยา

_____________________________
๑ สำ�นกั หอสมุดแห่งชาติ, หมายรบั สั่งรชั กาลท่ี ๓ จ.ศ. ๑๒๐๗ เลขที่ ๑/ค (สมดุ ไทยด�ำ .)
๒ เรื่องเดยี วกัน.
๓ จดหมายเหตุเร่ืองทรงต้งั พระบรมวงษานุวงษฯ์ , หนา้ ๘๐.
๔ พระนามพระองคเ์ จา้ วังหลวงแลวงั นา่ ฯ
๕ พระราชพงศาวดารกรงุ รัตนโกสนิ ทร์ รัชกาลท่ี ๔, หนา้ ๒๔๘.
๖ ประชุมหมายรับส่ัง ภาค ๔ ตอนที่ ๑ฯ, หน้า ๒๕.
๗ เรอื่ งเดยี วกนั วา่ ใน พ.ศ. ๒๓๗๐ ยังมีพระชนมอ์ ยู่

25

ที่ ๒๗ พระองค์เจ้าชายอ�ำไพ๑ (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอ�ำไพ) ประสูติแต่เจ้าจอม
มารดาทองอยู่ เม่ือเดือน ๙ ปีมะแม เอกศก จ.ศ. ๑๑๖๑ พ.ศ. ๒๓๔๒ ทรงผนวชอยู่วัดอรุณราชวราราม
จนจะไดเ้ ปน็ พระราชาคณะจงึ ลาผนวช สน้ิ พระชนมใ์ นรชั กาลท่ี ๓ พระราชทานเพลงิ พระศพ ณ วดั กลั ยาณมติ ร
วันอาทติ ยท์ ี่ ๑๔ กุมภาพนั ธ์ พ.ศ. ๒๓๘๔๒
ท่ี ๒๘ พระองค์เจ้าชายอัมพร (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอัมพร) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดา
มว่ งซอ๓ เมอ่ื เดอื น ๙ ปีมะแม เอกศก จ.ศ. ๑๑๖๑ พ.ศ. ๒๓๔๒ ส้ินพระชนม์ในรชั กาลท่ี ๒
ที่ ๒๙ พระองค์เจ้าหญิงสุกรม๔ (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุกรม) ท่ี ๒ ในเจ้าจอมมารดา
ส้ัน ประสูติวันศุกร์ เดือน ๑๐ แรม ๑๓ ค�่ำ ปีมะแม เอกศก จ.ศ. ๑๑๖๑ ตรงกับวันที่ ๒๗ กันยายน
พ.ศ. ๒๓๔๒ ส้นิ พระชนมใ์ นรชั กาลที่ ๒
ท่ี ๓๐ พระองค์เจ้าชายเนียม (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเนียม) ที่ ๒ ในเจ้าจอมมารดา
เหมใหญ่ ประสูติวันเสาร์ เดือน ๕ แรม ๓ ค่�ำ ปีวอกยังเป็นเอกศก จ.ศ. ๑๑๖๑ ตรงกับวันที่ ๑๒ เมษายน
พ.ศ. ๒๓๔๓ สนิ้ พระชนมใ์ นรชั กาลที่ ๒ เมอ่ื เดอื น ๖ ปวี อก ฉศก จ.ศ. ๑๑๘๖ พ.ศ. ๒๓๖๗ พระชันษา ๒๖ ปี
เปน็ ตน้ ราชสกลุ นยิ มศิ ร ณ อยธุ ยา
ท่ี ๓๑ พระองค์เจ้าชาย (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้า) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาอ้น เม่ือ
เดือน ๖ ปีวอก โทศก จ.ศ. ๑๑๖๒ พ.ศ. ๒๓๔๓ สน้ิ พระชนม์ในรัชกาลที่ ๑
ท่ี ๓๒ พระองค์เจ้าหญิงน้อย (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าน้อย) ที่ ๖ ในเจ้าจอมมารดาสวน
ประสตู เิ ดอื น ๑๒ ปวี อก โทศก จ.ศ. ๑๑๖๒ พ.ศ. ๒๓๔๓ ทรงมคี วามรทู้ างวชิ าโหร๕ สน้ิ พระชนมใ์ นรชั กาลท่ี ๑๖
ท่ี ๓๓ พระองค์เจ้าหญิงประภา (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภา) ประสูติแต่เจ้าจอม
มารดาบุญมา (ต่อมาเป็นทา้ วทรงกันดาล) เมื่อเดอื นอ้าย ปวี อก โทศก จ.ศ. ๑๑๖๒ พ.ศ. ๒๓๔๓ ส้นิ พระชนม์
ในรัชกาลที่ ๓
ที่ ๓๔ พระองคเ์ จ้าชายขัตติยวงศ์๗ (พระเจา้ บรมวงศเ์ ธอ พระองค์เจ้าขตั ตยิ วงศ)์ ประสตู ิแตเ่ จ้าจอม
มารดานอ้ ย เม่อื ปวี อก โทศก จ.ศ. ๑๑๖๒ พ.ศ. ๒๓๔๓ ส้นิ พระชนมใ์ นรชั กาลท่ี ๒๘
ที่ ๓๕ พระองค์เจ้าชายทินกร (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์) ที่ ๔ ใน
เจ้าจอมมารดาศิลา ประสูติวันอาทิตย์ เดือน ๗ ขึ้น ๑๒ ค�่ำ ปีระกา ตรีศก จ.ศ. ๑๑๖๓ ตรงกับวันที่ ๒๔

_____________________________
๑ พระอนุวงศ์ชนั้ หม่อมเจ้าในพระราชวงศจ์ ักรี, หนา้ ๖ ว่า พระองค์เจา้ อไภย
๒ ประชมุ หมายรับสั่งภาค ๔ ตอนที่ ๒ฯ, หนา้ ๒๙.
๓ พระอนุวงศช์ ั้นหม่อมเจา้ ในพระราชวงศจ์ ักรี, หน้า ๖ วา่ ประสูตใิ นเจ้าจอมมารดาพวงชอ่
๔ พระนามพระองค์เจา้ วงั หลวงแลวังน่าฯ ว่า ศกุ กรม
๕ เรอ่ื งเดียวกัน.
๖ เร่อื งเดียวกนั , วา่ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลท่ี ๓
๗ เรือ่ งเดียวกัน, วา่ พระองคเ์ จ้าชายหนูขัตยิ วงศ์
๘ พระอนวุ งศ์ช้นั หมอ่ มเจ้าในพระราชวงศจ์ ักร,ี หน้า ๗ วา่ ในรชั กาลที่ ๓ ยังมพี ระชนมอ์ ยู่

26

พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๔๔ ในรัชกาลท่ี ๔ ทรงสถาปนาเป็นพระเจ้าพ่ียาเธอ กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธ์ิ
เม่ือปีกุน ตรีศก จ.ศ. ๑๒๑๓ พ.ศ. ๒๓๙๔ ได้ว่ากรมพระนครบาลอยู่ระยะหนึ่ง สิ้นพระชนม์ในรัชกาลท่ี ๔
เม่ือวันศุกร์ เดือนอ้าย ขึ้นค�่ำ ๑ ปีมะโรง อัฐศก จ.ศ. ๑๒๑๘ ตรงกับวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓๙๙
พระชันษา ๕๖ ปี พระราชทานเพลงิ พระศพ ณ พระเมรผุ า้ ขาว วัดอรณุ ราชวราราม วนั อาทิตยท์ ี่ ๘ มนี าคม
พ.ศ. ๒๓๙๙๑ เปน็ ตน้ ราชสกุล ทินกร ณ อยุธยา
ท่ี ๓๖ พระองคเ์ จ้าหญงิ รสคนธ์ (พระเจา้ บรมวงศเ์ ธอ พระองคเ์ จ้ารสคนธ)์ ที่ ๒ ในเจา้ จอมมารดา
ทรพั ย์ ประสตู วิ นั อาทิตย์ เดือนอา้ ย๒ (ปรี ะกา ตรีศก จ.ศ. ๑๑๖๓ พ.ศ. ๒๓๔๔ สนิ้ พระชนม์ในรัชกาลท่ี ๓
ที่ ๓๗ สมเด็จเจ้าฟ้าชาย๓ (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้า) เป็นสมเด็จเจ้าฟ้าที่ ๑ ในสมเด็จ
พระศรีสุริเยนทรา บรมราชินี๔ ประสูติเม่ือวันอาทิตย์ เดือนยี่๕ ปีระกา ตรีศก จ.ศ. ๑๑๖๓ พ.ศ. ๒๓๔๔
สิ้นพระชนมใ์ นวันประสูติ ในรชั กาลท่ี ๑
ที่ ๓๘ พระองค์เจ้าชายไพฑรู ย์ (พระเจ้าบรมวงศเ์ ธอ กรมหม่ืนสนิทนเรนทร)์ ท่ี ๑ ในเจา้ จอมมารดา
ทิม๖ ประสูติเมอื่ ปจี อ จัตวาศก จ.ศ. ๑๑๖๔ พ.ศ. ๒๓๔๕ ในรชั กาลที่ ๓ ทรงสถาปนาเป็นพระเจา้ น้องยาเธอ
กรมหมน่ื สนิทนเรนทร์๗ เมอ่ื วนั ศกุ ร์ เดือน ๘ แรม ๑๐ ค�ำ่ ปวี อก อัฐศก จ.ศ. ๑๑๙๘ พ.ศ. ๒๓๗๙ สน้ิ พระชนม์
ในรัชกาลท่ี ๓ ปีวอก สัมฤทธิศก จ.ศ. ๑๒๑๐ พ.ศ. ๒๓๙๑ พระชันษา ๔๗ ปี พระราชทานเพลิงพระศพ
ณ พระเมรุท้องสนามหลวง วันพฤหัสบดี เดือน ๘ แรม ๔ ค่�ำ ปีกุน ตรีศก จ.ศ. ๑๒๑๓ ตรงกับวันท่ี ๑๗
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๙๔๘ เปน็ ตน้ ราชสกลุ ไพฑูรย์ ณ อยธุ ยา
ท่ี ๓๙ พระองคเ์ จา้ ชาย (พระเจา้ บรมวงศเ์ ธอ พระองคเ์ จา้ ) ท่ี ๓ ในเจา้ จอมมารดาเหมเลก็ ประสตู ปิ จี อ
จตั วาศก จ.ศ. ๑๑๖๔ พ.ศ. ๒๓๔๕ สนิ้ พระชนมใ์ นรชั กาลที่ ๑ เมอื่ ปกี นุ เบญจศก จ.ศ. ๑๑๖๕ พ.ศ. ๒๓๔๖
พระชนั ษา ๒ ปี
ที่ ๔๐ พระองค์เจ้าหญิง (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้า) ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดาน้อยระนาด
ประสูตปิ จี อ จตั วาศก จ.ศ. ๑๑๖๔ พ.ศ. ๒๓๔๕ ส้ินพระชนมใ์ นรชั กาลท่ี ๑

_____________________________
๑ พระราชพงศาวดารกรงุ รตั นโกสินทร์ รชั กาลที่ ๔, หน้า ๑๔๗.
๒ อีกบญั ชีหนง่ึ ว่า ประสตู ิเมือ่ เดือน ๓ ตอ่ ๓๗ (สนั นิษฐานวา่ คอื วัน ๓ ฯ๗ ๓ วนั องั คาร เดือน ๓ ขึ้น ๗ ค่�ำ ปีระกา
ตรีศก จ.ศ. ๑๑๖๓ ตรงกับวันท่ี ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๓๔๔
๓ พระนามพระองคเ์ จ้าวงั หลวงแลวงั น่า วา่ สมเดจ็ พระเจา้ ลกู เธอ เจ้าฟา้ ราชกมุ าร
๔ ครงั้ เปน็ สมเดจ็ พระเจา้ หลานเธอ เจา้ ฟา้ บญุ รอด สมเดจ็ พระศรสี รุ เิ ยนทรา บรมราชนิ ี มพี ระราชโอรสธดิ า ๕ พระองค์
(ตามจ�ำนวนที่ต้ังพระครรภ์) คือ ๑. สมเด็จเจ้าฟ้าชาย ๒. สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎ ๓. - ๔. ไม่เป็นพระองค์ (ตกพระโลหิต)
๕. สมเด็จเจ้าฟ้าจุธามณี (“พระราชประวัติย่อพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว,” ใน ชุมนุมพระบรมราชาธิบายใน
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจา้ อยูห่ ัว, หน้า ๑๓๒.)
๕ พระนามพระองค์เจ้าวังหลวงแลวงั น่าฯ ว่า ประสูตเิ ดอื นอา้ ย
๖ เจ้าจอมมารดาทิม ธดิ าคณุ ตาเอม (ดู อธบิ ายราชินกิ ุลบางชา้ ง, หนา้ ๑๓๐.)
๗ เรื่องเดียวกนั , หนา้ เดยี วกัน ; เฉลมิ พระยศเจ้านาย เลม่ ๑, หน้า ๓๘ วา่ “สนิทนเรนทร”
๘ พระราชพงศาวดารกรงุ รัตนโกสินทร์ รชั กาลที่ ๔, หนา้ ๔๒.

27

ท่ี ๔๑ พระองค์เจ้าชายโต (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงมหิศวรินทรามเรศ๑) ท่ี ๑ ในเจ้าจอม
มารดาเลีย้ ง ประสตู ิวันอังคาร เดอื น ๑๑ ข้ึน ๑๑ ค�่ำ ปกี ุน เบญจศก จ.ศ. ๑๑๖๕ ตรงกับวันที่ ๒๗ กันยายน
พ.ศ. ๒๓๔๖ ในรชั กาลท่ี ๓ ทรงสถาปนาเป็นพระเจา้ นอ้ งยาเธอ กรมหมนื่ อนิ ทรอมเรศ ถึงรชั กาลท่ี ๔ เลอื่ น
เปน็ พระเจ้าพย่ี าเธอ กรมหลวงมหศิ วรนิ ทรามเรศ เม่ือปีกนุ ตรศี ก จ.ศ. ๑๒๑๓ พ.ศ. ๒๓๙๔ ไดว้ ่ากรมแสงปนื
ตน้ มาแต่ในรัชกาลที่ ๓ ส้นิ พระชนมใ์ นรัชกาลที่ ๔ เม่อื วันพุธ เดือน ๘ อตุ ราษาฒ ขน้ึ ๓ ค่�ำ ปีระกา ตรีศก
จ.ศ. ๑๒๒๓ ตรงกับวันที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๐๔ พระชันษา ๕๙ ปี พระราชทานเพลิงพระศพ ณ
พระเมรผุ ้าขาว วดั อรณุ ราชวราราม วันจนั ทร์ เดอื น ๓ ข้ึน ๑๑ ค่�ำ ปีระกา ตรศี ก จ.ศ. ๑๒๒๓ ตรงกบั วันที่ ๑๐
กมุ ภาพนั ธ์ พ.ศ. ๒๔๐๔๒ เป็นต้นราชสกุล มหากลุ ณ อยุธยา
ท่ี ๔๒ พระองคเ์ จ้าหญิงอนิ ทนิล๓ (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองคเ์ จ้าอินทนิล) ที่ ๕ ในเจา้ จอมมารดา
ศิลา ประสูติวันพุธ เดือน ๑๑ ขึ้น ๖ ค�่ำ ปีชวด ฉศก จ.ศ. ๑๑๖๖ ตรงกับวันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๓๔๗
เวลา ๑๑ ทุ่ม๔ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ วนั พฤหสั บดี ปวี อก จตั วาศก จ.ศ. ๑๒๓๔ ตรงกบั วันท่ี ๖ มนี าคม
พ.ศ. ๒๔๑๕๕ พระชันษา ๖๙ ปี
ที่ ๔๓ สมเด็จเจ้าฟ้าชายมงกุฎ๖ สมมุติเทวาวงศ์ พงศาอิศวรกระษัตริย์ ขัตติยราชกุมาร
(พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) ท่ี ๒ ในสมเด็จพระศรีสุริเยนทรา บรมราชินี เสด็จพระราชสมภพ
วันพฤหัสบดี เดือน ๑๑ ข้ึน ๑๔ ค่�ำ ปีชวด ฉศก จ.ศ. ๑๑๖๖ ตรงกับวันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๓๔๗
ในรัชกาลที่ ๒ เมื่อปีระกา เบญจศก จ.ศ. ๑๑๗๕ พ.ศ. ๒๓๕๖ โปรดให้ตั้งการพระราชพิธีลงสรง
และพระราชทานพระสุพรรณบัฏจารึกพระนามว่า “สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎ สมมติเทวาวงศ์
พงศาอิศวรกระษัตริย์ ขัตติยราชกุมาร”๗ และเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๓๕๙ โปรดให้ตั้งการพระราชพิธีโสกันต์
ได้เป็นอธิบดีกรมมหาดเล็ก ทรงผนวชอยู่ ๒๗ พรรษา ทรงมีสมณนามว่า สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ
เจ้าฟ้ามกุฎสมมติวงศ์ พระวชิรญาณมหาเถร เป็นเจ้านายพระองค์แรกที่ปรากฏในพงศาวดารว่าได้เป็นเปรียญ

_____________________________
๑ จดหมายเหตุเร่ืองทรงต้ังพระบรมวงษานุวงษ์ฯ, หน้า ๔๙ ว่า กรมหมื่นอินทร์อมเรศ และหน้า ๘๑ ว่า
กรมหลวงมหศิ วรินทรามเรศร์
๒ พระราชพงศาวดารกรงุ รัตนโกสนิ ทร์ รัชกาลที่ ๔, หน้า ๒๑๙.
๓ พระราชหัตถเลขารัชกาลที่ ๔ ใน จดหมายเหตุรัชกาลที่ ๔ จ.ศ. ๑๒๑๙ เรียกว่า เจ้าพหี่ นู
๔ ดวงพระชาตาแลดวงชาตาตา่ งๆ (ส�ำเนาตน้ ฉบับลายมือ).
๕ จดหมายเหตบุ ญั ชีนำ�้ ฝน เล่ม ๓, หนา้ ๔๘.
๖ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงด�ำรงพระยศเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าแต่เสด็จพระราชสมภพ เพราะเป็น
พระราชโอรสในพระบาทสมเดจ็ พระพทุ ธเลศิ หล้านภาลัย (เมือ่ ครง้ั ยงั ด�ำรงพระยศเป็นสมเด็จเจา้ ฟ้า กรมหลวงอิศรสุนทร) และ
สมเด็จพระศรีสุริเยนทรา บรมราชินี (เมื่อครั้งยังด�ำรงพระยศเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงบุญรอด) ดังน้ัน เม่ือได้เสด็จเถลิงถวัลย
ราชสมบตั ิ เปน็ พระมหากษตั รยิ ์ รชั กาลท่ี ๔ ในพระปรมาภไิ ธย จงึ มคี �ำวา่ “อภุ โต สชุ าต”ิ ซงึ่ หมายความวา่ ทรงมพี ระราชสมภพ
อันประเสรฐิ ทง้ั สองฝา่ ย (คอื เมอ่ื เสดจ็ พระราชสมภพนนั้ ทงั้ สมเดจ็ พระบรมชนกนาถและสมเดจ็ พระบรมราชชนนที รงด�ำรง
พระยศเปน็ เจา้ ฟา้ )
๗ ก่อนเสวยราชสมบัติ ในพระสพุ รรณบัฏเฉลิมพระนามวา่ “สมเด็จพระเจา้ ลูกเธอ เจา้ ฟ้ามงกุฎ สมมตวิ งศ์ พงศอิศวร
กระษัตริย์ ขตั ิยราชกมุ าร”

28

๕ ประโยค ในรัชกาลที่ ๓ เป็นพระราชาคณะ สมณศักดิ์เสมอเจ้าคณะรอง เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ
เป็นรัชกาลที่ ๔ เม่ือวันพุธ เดือน ๕ ขึ้นค่�ำ ๑ ปีกุน ยังเป็นโทศก จ.ศ. ๑๒๑๒ ตรงกับวันท่ี ๒ เมษายน
พ.ศ. ๒๓๙๓ พระชนมพรรษา ๔๖ พรรษา บรมราชาภเิ ษก วนั พฤหัสบดี เดอื น ๖ ขนึ้ ๑๕ ค่�ำ ปีกนุ ตรศี ก
จ.ศ. ๑๒๑๓ ตรงกับวนั ที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๙๔ เสดจ็ อยใู่ นราชสมบตั ิ ๑๗ ปี ๖ เดือน๑ เสดจ็ สวรรคต
เมอื่ วนั พฤหัสบดี เดอื น ๑๑ ขึน้ ๑๕ ค่�ำ ปมี ะโรง สัมฤทธิศก จ.ศ. ๑๒๓๐ ตรงกบั วนั ท่ี ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๑๑
เวลายามเศษ๒ พระชนมพรรษา ๖๕ พรรษา ถวายพระเพลิงพระบรมศพ ณ พระเมรุมาศท้องสนามหลวง
วนั ที่ ๑๘ มนี าคม พ.ศ. ๒๔๑๒๓
ที่ ๔๔ พระองค์เจ้าชายกลาง (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระเทเวศร์วัชรินทร์) ที่ ๒ ในเจ้าจอม
มารดาน้อยระนาด ประสูติวันเสาร์ เดือน ๓ แรม ๑๒ ค�่ำ ปีฉลู สัปตศก จ.ศ. ๑๑๖๗ ตรงกับวันที่ ๑๕
กมุ ภาพนั ธ์ พ.ศ. ๒๓๔๘ ในรชั กาลท่ี ๓ ทรงก�ำกบั กรมชา่ งทอง ในรชั กาลท่ี ๔ เม่ือปีกนุ ตรีศก จ.ศ. ๑๒๑๓
พ.ศ. ๒๓๙๔ ทรงสถาปนาเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทเวศร์วัชรินทร์๔ ได้ว่ากรมช่างหล่อ กรมช่าง
สิบหมู่ และว่าความศาลราชตระกูลตลอดมาจนสิ้นพระชนม์ ในรัชกาลที่ ๕ เลื่อนเป็นพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมพระเทเวศร์วัชรินทร์ สุรบดินทรเทวราชวิลาสธ�ำรง บรมวงศ์สรรพเชษฐวิเศษศักดิ์ อเนกธัญญลักษณ-
บญุ วรฤทธิ มหิศวรพงศ์พิพฒั นส์ ุพรรณรัตนจิตราลังการโกศล สวุ ิมลปรีชาคณาลงกรณ์ วรเกยี รตคิ ุณวบิ ุลยศกั ดา
อดุลยเดชานุภาพบพิตร เม่ือปีจอ ฉศก จ.ศ. ๑๒๓๖ พ.ศ. ๒๔๑๗ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลท่ี ๕ เมื่อ
วันอังคาร เดือน ๔ ขึ้น ๘ ค่�ำ ปีชวด อัฐศก จ.ศ. ๑๒๓๘ ตรงกับวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๑๙
พระชันษา ๗๓ ปี เป็นต้นราชสกุล วัชรีวงศ์ ณ อยธุ ยา
ที่ ๔๕ พระองค์เจ้าชายชุมแสง (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพศิลป์ปรีชา) ท่ี ๒ ในเจ้าจอม
มารดาทิม ประสตู วิ ันเสาร์ เดอื น ๕ ขน้ึ ๓ คำ�่ ปขี าล ยงั เปน็ สปั ตศก จ.ศ. ๑๑๖๗ ตรงกับวันที่ ๒๒ มนี าคม
พ.ศ. ๒๓๔๘ ในรัชกาลท่ี ๔ ทรงสถาปนาเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนสรรพศิลป์ปรีชา๕ เมื่อวันพฤหัสบดี
เดอื น ๑๑ ข้ึน ๗ คำ่� ปกี นุ ตรศี ก จ.ศ. ๑๒๑๓ ตรงกับวันที่ ๒ ตลุ าคม พ.ศ. ๒๓๙๔ แล้วเลอ่ื นเปน็ กรมหลวง
สรรพศิลป์ปรีชาในปีน้ัน ได้ทรงก�ำกับกรมหมอนวด สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔ เม่ือวันจันทร์ เดือน ๘
บูรพาษาฒ ขน้ึ ๑๐ คำ�่ ปรี ะกา ตรศี ก จ.ศ. ๑๒๒๓ ตรงกบั วนั ที่ ๑๗ มถิ นุ ายน พ.ศ. ๒๔๐๔ พระชนั ษา ๕๖ ปี
พระราชทานเพลงิ พระศพ ณ วดั บวรนเิ วศวิหาร วันศกุ ร์ เดอื น ๘ ขน้ึ ๕ ค่ำ� จ.ศ. ๑๒๒๓ ตรงกบั วนั ศุกร์ที่ ๑๒
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๐๔๖ เปน็ ต้นราชสกุล ชมุ แสง ณ อยุธยา

_____________________________
๑ วันบรมมหาประสตู รแลวนั ประสูตร (ฉบับคดั ส�ำเนา)
๒ ดวงพระชาตาแลดวงชาตาตา่ ง ๆ (ส�ำเนาต้นฉบับลายมือ)
๓ Siam Repository, p.286.
๔ จดหมายเหตเุ ร่ืองทรงตง้ั พระบรมวงษานุวงษฯ์ , หนา้ ๑๗๘. ว่า กรมพระเทเวศรวชั รนิ ทร์ เฉลิมพระยศเจ้านาย
เลม่ ๑, หน้า ๕๕. วา่ “เทเวศวัชรินทร”
๕ เฉลมิ พระยศเจ้านาย เล่ม ๑, หน้า ๕๕. วา่ “สรรพศลิ ปปรชี า”
๖ “จดหมายเหตโุ หร ของจมนื่ กง่ ศลิ ป,์ ” ใน ประชมุ พงศาวดาร เลม่ ๘ ภาค ๘ (พระนคร : องคก์ ารคา้ ของครุ สุ ภา,
๒๕๐๗), หน้า ๑๕๑. ; “ฉบับที่ ๙ พระราชหัตถเลขาถึงคณะทตู านุทตู รวมกนั ” ใน พระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จ
พระจอมเกลา้ เจา้ อยูห่ ัว (กรงุ เทพฯ : โรงพมิ พม์ หามกฏุ ราชวทิ ยาลยั , ๒๕๒๑), หนา้ ๖๒๔.

29

ที่ ๔๖ พระองค์เจ้าหญิง (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้า) ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดาปรางใหญ๑่
พระสนมเอก ประสูติปีขาล อัฐศก จ.ศ. ๑๑๖๘ พ.ศ. ๒๓๔๙ ประสูติได้ ๓ วัน ส้นิ พระชนม์ในรัชกาลที่ ๑
ท่ี ๔๗ พระองค์เจา้ หญงิ (พระเจา้ บรมวงศเ์ ธอ พระองคเ์ จา้ ) ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดาพะวา๒ ประสตู ิ
ปีขาล อัฐศก จ.ศ. ๑๑๖๘ พ.ศ. ๒๓๔๙ ส้นิ พระชนมใ์ นวนั ประสตู ิ

ประสูตเิ มอ่ื ทรงด�ำรงพระอิสรยิ ยศเป็นกรมพระราชวงั บวรสถานมงคล

ท่ี ๔๘ พระองค์เจ้าหญิงสายสมร (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสมร) ที่ ๒ ในเจ้าจอม
มารดาเลี้ยง ประสูติวันเสาร์ เดือน ๘ แรม ๒ ค�่ำ ปีมะโรง สัมฤทธิศก จ.ศ. ๑๑๗๐ ตรงกับวันท่ี ๙
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๕๑ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เม่ือวันจันทร์ ปีมะแม ตรีศก จ.ศ. ๑๒๓๓ ตรงกับ
วันท่ี ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๑๔๓ พระชันษา ๖๔ ปี พระราชทานเพลิงพระศพ ณ วัดอรุณราชวราราม
วันศุกร์ท่ี ๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๑๕
ที่ ๔๙ พระองคเ์ จ้าชายนวม (พระเจา้ บรมวงศเ์ ธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท) ท่ี ๒ ในเจ้าจอมมารดา
ปรางใหญ่ พระสนมเอก ประสตู ิวันเสาร์ เดือน ๘ แรม ๒ ค�่ำ ปีมะโรง สมั ฤทธิศก จ.ศ. ๑๑๗๐ ตรงกับวันที่
๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๕๑ ในรชั กาลที่ ๓ ทรงสถาปนาเปน็ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวงศาสนทิ เม่อื ปีขาล
จัตวาศก จ.ศ. ๑๒๐๔ พ.ศ. ๒๓๘๕ ได้ทรงก�ำกับกรมหมอ และกรมพระอาลักษณ๔์ ในรัชกาลท่ี ๔ เล่ือน
เป็นพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท เมื่อปีกุน ตรีศก จ.ศ. ๑๒๑๓ พ.ศ. ๒๓๙๔ ได้ทรง
ก�ำกับราชการกรมมหาดไทย ว่าพระคลังสินค้า เป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน และเป็นผู้แทนพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวในการท�ำสนธิสัญญากับต่างประเทศ สิ้นพระชนมใ์ นรัชกาลที่ ๕ เมื่อวันพุธ เดือน ๑๐ ขึ้น ๖ ค่�ำ
ปีมะเมีย โทศก จ.ศ. ๑๒๓๒ ตรงกับวันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๑๓๕ พระชันษา ๖๓ ปี เป็นต้นราชสกุล
สนทิ วงศ์ ณ อยุธยา

_____________________________
๑ เจ้าจอมมารดาปรางใหญ่ พระสนมเอก ธิดาทา่ นขรัวยายทองอิน และคุณตาบญุ เกดิ (ดู ล�ำดบั ราชนิ กิ ุลบางชา้ ง,
หนา้ ๗๐, ๗๒.) ; Bangkok Calendar (1860), p.49 วา่ เจา้ จอมมารดาปรางใหญ่ ถงึ แกก่ รรมวนั ท่ี ๑๔ กมุ ภาพนั ธ์ พ.ศ. ๒๓๙๙
๒ ล�ำดับราชินกิ ลุ บางช้าง, หนา้ ๗๗ ว่า เจา้ จอมมารดาพวา ธิดาทา่ นขรัวยายลมิ้ และพระสาครบรุ ี
๓ จดหมายเหตบุ ญั ชนี �ำ้ ฝน เล่ม ๓, หน้า ๔๑.
๔ พระนามพระองคเ์ จ้าวงั หลวงแลวังน่าฯ.
๕ จดหมายเหตบุ ญั ชนี �้ำฝน เลม่ ๓, หน้า ๓๙ ว่า สิน้ พระชนม์ วนั เดอื น ๑๐ ข้ึนค�ำ่ ๑ ตรงกับวันพธุ ที่ ๑๖ สิงหาคม
พ.ศ. ๒๔๑๔

30

ท่ี ๕๐ สมเด็จเจ้าฟ้าชายอิศเรศจุธามณี๑ (พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว) ที่ ๓ ในสมเด็จ
พระศรีสุริเยนทรา บรมราชินี เสด็จพระราชสมภพวันอาทิตย์ เดือน ๑๐ ข้ึน ๑๕ ค่�ำ ปีมะโรง สัมฤทธิศก
จ.ศ. ๑๑๗๐ ตรงกับวันที่ ๔ กันยายน พ.ศ. ๒๓๕๑ ในรัชกาลที่ ๓ ทรงสถาปนาให้ทรงกรมเป็นสมเด็จ
พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ โดยยังไม่มีพระนามเจ้าฟ้า ออกพระนามเพียงว่าเจ้าฟ้า
พระองคน์ อ้ ย๒ เม่อื วนั อาทิตย์ เดือน ๖ ขน้ึ ๑๔ ค�ำ่ ปมี ะโรง จตั วาศก จ.ศ. ๑๑๙๔ ตรงกับวันที่ ๑๓ พฤษภาคม
พ.ศ. ๒๓๗๕ และได้ว่ากรมทหารปืนใหญ่ ในรัชกาลท่ี ๔ เฉลิมพระนามเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ
เจ้าฟ้าอิศเรศจุฑามณี แล้วพระราชทานบวรราชาภิเษกเป็นพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว๓ รับ
พระบวรราชโองการ เมื่อพระชนมพรรษา ๔๓ พรรษา ๑๐ เดือน๔ สวรรคตในรัชกาลท่ี ๔ เมื่อวันอาทิตย์
เดือนย่ี แรม ๖ ค่�ำ ปีฉลู สัปตศก จ.ศ. ๑๑๒๗ ตรงกับวันท่ี ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๐๘ พระชนมพรรษา
๕๘ พรรษา ถวายพระเพลิงพระบรมศพ ณ พระเมรุมาศท้องสนามหลวง วันอาทิตย์ท่ี ๑๗ กุมภาพันธ์
พ.ศ. ๒๔๐๙๕
ที่ ๕๑ พระองค์เจ้าชายมรกฎ๖ (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนสถิตย์สถาพร) ประสูติแต่เจ้าจอม
มารดาทองดี๗ เมอ่ื วันพธุ เดือนยี่ ปีมะโรง สมั ฤทธิศก จ.ศ. ๑๑๗๐ พ.ศ. ๒๓๕๑ ในรชั กาลที่ ๔ ทรงสถาปนา
เป็นพระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนสถิตย์สถาพร เมื่อปีกุน ตรีศก จ.ศ. ๑๒๑๓ พ.ศ. ๒๓๙๔ ในรัชกาลท่ี ๔ ได้
ว่ากรมช่างทหารในญวน สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔ จ.ศ. ๑๒๑๘ พ.ศ. ๒๓๙๙๘ พระชันษา ๔๘ ปี เป็น
ต้นราชสกุล มรกฎ ณ อยุธยา

_____________________________
๑ เฉลิมพระยศเจา้ นาย เล่ม ๑, หน้า ๓๘ ว่า สมเด็จพระเจา้ นอ้ งยาเธอ เจ้าฟา้ จฑุ ามณี ; ชุมนุมพระบรมราชาธิบาย
ในพระบาทสมเดจ็ พระจอมเกล้าเจา้ อยู่หัว, หนา้ ๑๓๒ ว่า สมเด็จพระเจา้ น้องยาเธอ เจา้ ฟ้าอิศเรศรจธุ ามณี ตรพี ิธเพชร
รัตนาลงกต เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยยังไม่ทันเฉลิมพระนามก็สวรรคตเสียก่อน พระบาทสมเด็จ
พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงพระราชทานพระนาม “เจ้าฟ้า” ย้อนหลัง ดู “ประกาศการสมโภชในงานรับพระสุพรรณบฏั ,”
ราชกจิ จานเุ บกษา เล่ม ๘ ร.ศ. ๑๑๐, หนา้ ๓๔๙.
๒ จดหมายเหตเุ รื่องทรงตั้งพระบรมวงษานวุ งษฯ์ , หนา้ ๕๖.
๓ ใน พ.ศ. ๒๓๙๓ ออกพระนามว่า สมเดจ็ พระบวรมหาอนุชาธริ าช เจา้ ฟ้าฯ กรมขุนอศิ เรศรงั สรรค์ (ดู พระอนวุ งศ์
ชัน้ หม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักร,ี หนา้ ๙๔.)
๔ วนั บรมมหาประสตู รแลวนั ประสูตร (ฉบบั คดั ส�ำเนา).
๕ พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสนิ ทร์ รัชกาลที่ ๔, หน้า ๓๐๕.
๖ เฉลมิ พระยศเจ้านาย เล่ม ๑, หน้า ๔๑ วา่ พระองคเ์ จ้ามรกต
๗ เจา้ จอมมารดาทองดี ธดิ าเจา้ พระยาธรรมา (สด บรรพบรุ ษุ สกลุ สนุ ทรศารทลู ) (ดู เรอื่ งตงั้ เจา้ พระยากรงุ รตั นโกสนิ ทร,์
หนา้ ๘.)
๘ หอสมุดแห่งชาต,ิ หมายรับสั่งรชั กาลท่ี ๔ จ.ศ. ๑๒๑๘ เลขที่ ๓๘. สมดุ ไทยด�ำ

31

ประสูตเิ ม่อื บรมราชาภเิ ษกแลว้

ท่ี ๕๒ พระองคเ์ จ้าชายขัตติยา (พระเจ้าบรมวงศเ์ ธอ กรมหมืน่ ถาวรวรยศ) ที่ ๒ ในเจา้ จอมมารดา
พะวา ประสูติเมื่อวันเสาร์ เดือน ๑๐ แรม ๑๔ ค่�ำ ปีมะเส็ง เอกศก จ.ศ. ๑๑๗๑ ตรงกับวันท่ี ๗ ตุลาคม
พ.ศ. ๒๓๕๒๑ ในรัชกาลท่ี ๔ ทรงสถาปนาเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นถาวรวรยศ เมื่อปีกุน ตรีศก
จ.ศ. ๑๒๑๓ พ.ศ. ๒๓๙๔ ได้ว่ากรมฝีพาย กรมเกณฑ์ขาดกวาดสนาม๒ และ ช่างเหลารางปืน สิ้นพระชนม์
ในรชั กาลที่ ๕ เมื่อวนั จันทร์ เดือน ๘ ขน้ึ ๑๓ ค�่ำ ปีระกา เบญจศก จ.ศ. ๑๒๓๕ ตรงกับวันท่ี ๗ กรกฎาคม
พ.ศ. ๒๔๑๖๓ พระชันษา ๖๕ ปี พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรผุ า้ ขาว วดั สระเกศ วนั พฤหัสบดีที่ ๘
กุมภาพนั ธ์ พ.ศ. ๒๔๑๙๔
ที่ ๕๓ พระองค์เจ้าหญิงดวงจันทร์ (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดวงจันทร์) ประสูติแต่เจ้าจอม
มารดากล�่ำ เมอ่ื ปมี ะเสง็ เอกศก จ.ศ. ๑๑๗๑ พ.ศ. ๒๓๕๒ สน้ิ พระชนมใ์ นรัชกาลท่ี ๒
ท่ี ๕๔ พระองค์เจ้าหญิงน่ิมนวล (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านิ่มนวล) ประสูติแต่เจ้าจอม
มารดาลกู จันทนใ์ หญ๕่ เมอื่ ปีมะแม ตรีศก จ.ศ. ๑๑๗๓ พ.ศ. ๒๓๕๔ สน้ิ พระชนม์ในรัชกาลท่ี ๓
ที่ ๕๕ พระองค์เจ้าหญิงแฝด (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้า) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาหนูจีน
เมื่อปมี ะแม ตรศี ก จ.ศ. ๑๑๗๓ พ.ศ. ๒๓๕๔ ประสูติได้ ๖ วัน ส้นิ พระชนม์ในรชั กาลท่ี ๒
ที่ ๕๖ พระองค์เจ้าหญิงแฝด (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้า) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาหนูจีน
เมือ่ ปีมะแม ตรศี ก จ.ศ. ๑๑๗๓ พ.ศ. ๒๓๕๔ ประสตู ิได้ ๗ วนั สน้ิ พระชนมใ์ นรชั กาลท่ี ๒
ที่ ๕๗ พระองค์เจ้าชายนิลรัตน (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหม่ืนอลงกฎกิจปรีชา) ประสูติแต่
เจ้าจอมมารดาพิม เมอ่ื วันจันทร์ เดือน ๙ แรม ๘ ค�่ำ ปีมะแม ตรศี ก จ.ศ. ๑๑๗๓ ตรงกับวนั ท่ี ๑๒ สงิ หาคม
พ.ศ. ๒๓๕๔ ในรัชกาลท่ี ๔ ทรงสถาปนาเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นอลงกฎกิจปรีชา เม่ือวันพุธ
เดือน ๑๒ แรม ๔ ค�ำ่ ปีกนุ ตรศี ก จ.ศ. ๑๒๑๓ ตรงกบั วนั ที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓๙๔ ในรัชกาลที่ ๔ ได้วา่
กรมแสงปนื ตน้ กรมแสงหอกดาบ และได้ก�ำกับชา่ งเงนิ โรงกระษาปณท์ �ำเงนิ เหรียญ สน้ิ พระชนม์ในรชั กาลที่ ๔
เมื่อวนั พธุ เดือน ๑๑ ข้นึ ๑๑ ค่ำ� ปเี ถาะ นพศก จ.ศ. ๑๒๒๙ ตรงกบั วันท่ี ๙ ตลุ าคม พ.ศ. ๒๔๑๐ พระชันษา
๕๗ ปี พระราชทานเพลิงพระศพ วันท่ี ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๑๐๖ เปน็ ต้นราชสกลุ นลิ รัตน ณ อยุธยา

_____________________________
๑ Somdetch Phra Paramendr MahaMongkut, “Near and Distant Member of the Royal Family,”
Bangkok Calendar (1868), p. 106 ว่า ประสูตเิ มื่อวนั ที่ ๘ ตลุ าคม ค.ศ. ๑๘๐๙ (พ.ศ. ๒๓๕๒)
๒ ดู ประชมุ ประกาศรชั กาลท่ี ๔ ฉบบั ท่ี ๑๖๐, หนา้ ๓๐๓.
๓ จดหมายเหตบุ ัญชีน�ำ้ ฝน เล่ม ๓, หนา้ ๕๔.
๔ ราชกจิ จานเุ บกษา เล่ม ๓ จ.ศ. ๑๒๓๘, หนา้ ๓๘๑.
๕ พระนามพระองค์เจา้ วังหลวงแลวังน่าฯ วา่ เจา้ จอมมารดาลูกจันแขก
๖ “จดหมายเหตขุ องหมอบรดั เล,” ใน ประชมุ พงศาวดารภาคท่ี ๑๒ (พระนคร : ราชบณั ฑติ ยสภา, ๒๔๗๔), หนา้ ๖๖.

32

ท่ี ๕๘ พระองค์เจ้าชายอรุณวงศ์ (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวรศักดาพิศาลสุพัฒนาการสวัสดิ)
ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเอม๑ เมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๗ แรม ๖ ค่�ำ ปีวอก จัตวาศก จ.ศ. ๑๑๗๔ ตรงกับ
วันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๕๕ ในรชั กาลท่ี ๔ ทรงสถาปนาเป็นพระเจา้ น้องยาเธอ กรมหม่นื วรศกั ดาพิศาล
เม่ือวันพุธ เดือน ๑๒ แรม ๔ ค่�ำ ปีกุน ตรีศก จ.ศ. ๑๒๑๓ ตรงกับวันท่ี ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓๙๔
ในรัชกาลที่ ๕ เลื่อนเป็นพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวรศักดาพิศาล สุพัฒนาการสวัสดิ เม่ือปีจอ ฉศก
จ.ศ. ๑๒๓๖ พ.ศ. ๒๔๑๗ ในรัชกาลท่ี ๔ ได้ว่ากรมทหารปืนใหญ่ กรมกองแก้วจินดา และกรมช่างหล่อ
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อวันศุกร์ เดือน ๘ อุตราษาฒ แรม ๔ ค่�ำ ปีชวด สัมฤทธิศก จ.ศ. ๑๒๕๐
ตรงกบั วันท่ี ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๓๑ พระชันษา ๗๖ ปี เป็นตน้ ราชสกุล อรณุ วงศ์ ณ อยุธยา
ท่ี ๕๙ พระองค์เจ้าชายกปิตถา๒ (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหม่ืนภูบาลบริรักษ์) ที่ ๑ ในเจ้าจอม
มารดาอัมพา๓ ประสูติวันอังคาร เดือน ๕ แรมค�่ำ ๑ ปีจอ ยังเป็นเบญจศก จ.ศ. ๑๑๗๕ ตรงกับวันที่ ๕
เมษายน พ.ศ. ๒๓๕๗๔ ในรัชกาลที่ ๔ ทรงสถาปนาเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นภูบาลบริรักษ์ เม่ือ
วันพุธ เดือน ๑๒ แรม ๔ ค่�ำ ปีกุน ตรีศก จ.ศ. ๑๒๑๓ ตรงกับวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓๙๔ ได้ว่า
กรมพระอาลักษณ์ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เม่ือวันอาทิตย์ เดือนอ้าย แรม ๗ ค่�ำ ปีวอก จัตวาศก
จ.ศ. ๑๒๓๔ ตรงกับวันที่ ๒๒ ธนั วาคม๕ พ.ศ. ๒๔๑๕ พระชันษา ๖๐ ปี เปน็ ต้นราชสกลุ กปติ ถา ณ อยุธยา
ที่ ๖๐ สมเด็จ๖เจ้าฟ้าชายอาภรณ์๗ (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอาภรณ์) ท่ี ๑ ในสมเด็จ
พระเจา้ บรมวงศเ์ ธอ เจ้าฟ้ากุณฑลทพิ ยวดี ประสตู เิ มื่อวันศุกร์ เดอื น ๕ แรม ๗ คำ�่ ปชี วด อัฐศก จ.ศ. ๑๑๗๘
ตรงกับวันท่ี ๑๙ เมษายน พ.ศ. ๒๓๕๙ ในรัชกาลที่ ๓ ได้ทรงช่วยก�ำกับกรมพระคชบาล ส้ินพระชนม์ใน
รชั กาลที่ ๓ เมอ่ื ปวี อก พ.ศ. ๒๓๙๑ พระชนั ษา ๓๓ ปี เป็นตน้ ราชสกุล อาภรณกลุ ณ อยุธยา
ท่ี ๖๑ พระองค์เจ้าชายปราโมช๘ (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนวรจักรธรานุภาพ) ท่ี ๒ ใน
เจ้าจอมมารดาอัมพา ประสูติเม่ือวันอังคาร เดือน ๔ แรม ๙ ค่�ำ ปีชวด อัฐศก จ.ศ. ๑๑๗๘ ตรงกับ
วนั ที่ ๑๑ มนี าคม พ.ศ. ๒๓๕๙ ในรชั กาลท่ี ๔ ทรงสถาปนาเป็นพระเจ้านอ้ งยาเธอ กรมหมื่นวรจักรธรานุภาพ
เมื่อวันพุธ เดือน ๑๒ แรม ๔ ค�่ำ ปีกุน ตรีศก จ.ศ. ๑๒๑๓ ตรงกับวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓๙๔

_____________________________
๑ เจ้าจอมมารดาเอม ธิดาพระยารัตนจกั ร (หงส์ทอง) (ดู ราชนิ ิกลู รัชกาลที่ ๕, หนา้ ๒๓.)
๒ จดหมายเหตุเรอ่ื งทรงตงั้ พระบรมวงษานุวงษ์ฯ, หน้า ๘๙ ว่า พระองค์เจา้ กปฐิ า
๓ เจา้ จอมมารดาอัมพา ธิดาพระอนิ ทรอ์ ากร (เจส๊ วั เตากะทะ) (ดู ราชนิ ิกูลรัชกาลท่ี ๕, หนา้ ๑๔๒.)
๔ Somdetch Phra Paramendr MahaMongkut, “Near and Distant Member of the Royal Family,”
Bangkok Calendar (1868), p. 106 วา่ ประสตู ิเม่อื ค.ศ. ๑๘๑๓ (พ.ศ. ๒๓๕๖)
๕ “จดหมายเหตขุ องหมอบรดั เล,”ใน ประชมุ พงศาวดารภาคท่ี ๑๒, หนา้ ๘๓. และ จดหมายเหตบุ ญั ชนี ำ้� ฝน เลม่ ๓,
หน้า ๔๗ วา่ ส้นิ พระชนมว์ ันท่ี ๒๓ ธนั วาคม
๖ แกต้ าม “ประกาศฉบับที่ ๒๗๓ เรอื่ งประกาศพระราชพธิ ีโสกันต์ สมเด็จพระเจา้ ลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ,์ ”
ใน ประชมุ ประกาศรชั กาลท่ี ๔, หนา้ ๒๐๘ - ๒๒๔.
๗ หลักฐานบางแห่งว่า เจ้าฟ้าอ�ำพร หรืออ�ำภรณ์ ; พระนามพระองค์เจ้าวังหลวงแลวังน่าฯ ว่า สมเด็จพระเจ้า-
ลูกเธอ เจ้าฟ้าอาภรณ
๘ จดหมายเหตเุ รอ่ื งทรงตง้ั พระบรมวงษานวุ งษฯ์ , หนา้ ๙๐ วา่ พระองคเ์ จา้ ปราโมทย์ และวา่ กรมหมนื่ วรจกั รธ์ รานภุ าพ

33


Click to View FlipBook Version