The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ราชสกุลวงศ์ ตั้งแต่รัชกาลที่ 1- รัชกาลที่ 10 พระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ ต่างๆ เรื่องเล่า น่าสนใจ ผลงาน การพระพุทธศาสนา

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

ราชสกุลวงศ์

ราชสกุลวงศ์ ตั้งแต่รัชกาลที่ 1- รัชกาลที่ 10 พระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ ต่างๆ เรื่องเล่า น่าสนใจ ผลงาน การพระพุทธศาสนา

ที่ ๑๔ พระองคเ์ จา้ ชายรพพี ฒั นศกั ด์ิ (พระเจา้ บรมวงศเ์ ธอ กรมหลวงราชบรุ ดี เิ รกฤทธ)ิ์ ที่ ๒ ในเจา้ จอม
มารดาตลับ ประสูติเม่ือวันพุธ เดือน ๑๑ ขึ้น ๑๑ ค่�ำ ปีจอ ฉศก จ.ศ. ๑๒๓๖ ตรงกับวันท่ี ๒๑ ตุลาคม
พ.ศ. ๒๔๑๗ ในรชั กาลท่ี ๕ เมื่อวันองั คาร เดือน ๘ แรม ๔ ค่ำ� ปรี ะกา สัปตศก จ.ศ. ๑๒๔๗ ตรงกบั วนั ท่ี ๓๐
มถิ นุ ายน พ.ศ. ๒๔๒๘ เสดจ็ ไปทรงศกึ ษาวิชากฎหมายทปี่ ระเทศอังกฤษ ทรงไดร้ ับปรญิ ญาอักษรศาสตรบณั ฑิต
(Bachelor of Arts - B.A.)๑ จากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอรด์ ต่อมาวันที่ ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๓๙ - ๒๖ มิถนุ ายน
พ.ศ. ๒๔๕๓ โปรดเกล้าฯ ให้เป็นเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม๒ ครั้นปีกุน เอกศก จ.ศ. ๑๒๖๑ พ.ศ. ๒๔๔๒
โปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นพระเจ้าลกู ยาเธอ กรมหม่นื ราชบรุ ดี ิเรกฤทธ์ิ
ในรัชกาลที่ ๖ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๓-๒๔๖๓ โปรดเกล้าฯ ให้เป็นองคมนตรี และ พ.ศ. ๒๔๕๔-๒๔๖๓
เปน็ เสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ ตอ่ มาปีชวด จตั วาศก จ.ศ. ๑๒๗๔ พ.ศ. ๒๔๕๕ เล่ือนเปน็ พระเจา้ พย่ี าเธอ
กรมหลวงฯ สิ้นพระชนม์ท่ีกรุงปารีส ประเทศฝร่ังเศส ในรชั กาลที่ ๖ เมื่อวนั เสาร์ เดอื น ๘ แรม ๘ คำ่� ปวี อก
โทศก จ.ศ. ๑๒๘๒ ตรงกบั วนั ท่ี ๗ สงิ หาคม พ.ศ. ๒๔๖๓ พระชนั ษา ๔๗ ปี พระราชทานเพลงิ พระศพทกี่ รงุ ปารสี
แลว้ อญั เชิญพระอัฐิกลบั ถงึ ประเทศไทย วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๓ เป็นต้นราชสกุล รพพี ฒั น์ ณ อยุธยา
ที่ ๑๕ พระองค์เจ้าชายประวิตรวัฒโนดม (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงปราจิณกิติบดี) ประสูติ
แต่เจ้าจอมมารดาแช่ม๓ เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๖ แรม ๘ ค่�ำ ปีกุน สัปตศก จ.ศ. ๑๒๓๗ ตรงกับวันที่ ๒๗
พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๑๘ ในรัชกาลท่ี ๕ เมื่อวันอังคาร เดือน ๘ แรม ๔ ค�่ำ ปีระกา สัปตศก จ.ศ. ๑๒๔๗
ตรงกบั วนั ท่ี ๓๐ มถิ นุ ายน พ.ศ. ๒๔๒๘ ไดเ้ สดจ็ ไปทรงศกึ ษาในประเทศองั กฤษและฝรงั่ เศส ครน้ั เสดจ็ กลบั มา
ทรงรับราชการในต�ำแหน่งผู้ช่วยราชการกระทรวงวัง เม่ือวันท่ี ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๓๙ - ๑๙ กันยายน
พ.ศ. ๒๔๔๑ และใน พ.ศ. ๒๔๔๐ ทรงเปน็ ราชเลขานุการในสมเดจ็ พระศรีพชั รินทรา บรมราชนิ ีนาถ ขณะทรง
ด�ำรงต�ำแหนง่ ผู้ส�ำเร็จราชการแผน่ ดนิ ครน้ั ปีขาล จัตวาศก จ.ศ. ๑๒๖๔ พ.ศ. ๒๔๔๕ โปรดเกลา้ ฯ ให้ทรงกรม
เป็นพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหม่ืนปราจณิ กติ ิบดี และไดเ้ ป็นราชเลขานุการฝา่ ยต่างประเทศ
ถงึ รชั กาลที่ ๖ โปรดเกลา้ ฯ ใหเ้ ปน็ สมหุ มนตรี และองคมนตรี ครน้ั ปกี นุ ตรศี ก จ.ศ. ๑๒๗๓ พ.ศ. ๒๔๕๔
เลอ่ื นเปน็ พระเจา้ พย่ี าเธอ กรมหลวงฯ เปน็ เสนาบดตี �ำแหนง่ ราชเลขาธกิ าร เมอ่ื วนั ท่ี ๒๔ มถิ นุ ายน พ.ศ. ๒๔๕๔ -
๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๒ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๖ เม่ือวันอังคาร เดือนอ้าย แรม ๒ ค�่ำ ปีมะแม เอกศก
จ.ศ. ๑๒๘๑ ตรงกับวนั ท่ี ๙ ธนั วาคม พ.ศ. ๒๔๖๒ พระชนั ษา ๔๕ ปี พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุ
วดั เทพศิรนิ ทราวาส เมอ่ื วันที่ ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๓ เป็นตน้ ราชสกุล ประวิตร ณ อยธุ ยา
ที่ ๑๖๔ พระองคเ์ จา้ หญงิ บณั ฑรวรรณวโรภาส (พระเจา้ บรมวงศเ์ ธอ พระองคเ์ จา้ บณั ฑรวรรณวโรภาส)

_____________________________
๑ สมัยน้นั มหาวิทยาลัยออกซฟ์ อรด์ และเคมบริดจ์ ประสาทปริญญาอกั ษรศาสตรบัณฑิต แก่ผเู้ รียนส�ำเรจ็ ปริญญาตรี
ทกุ สาขา
๒ ภายหลังส้นิ พระชนม์ ทรงได้รบั การเทดิ พระเกยี รติเปน็ “พระบิดาแห่งวชิ ากฎหมายไทย”
๓ เจ้าจอมมารดาแช่ม ธิดาพระยามหาอ�ำมาตย์ (ช่ืน กัลยาณมิตร) (ดู ราชินิกูลรัชกาลที่ ๕, หน้า ๑๒๓.) ถึงแก่
อสัญกรรมเมอ่ื วันท่ี ๒ ธนั วาคม พ.ศ. ๒๔๕๒ (ดู ราชกจิ จานเุ บกษา เลม่ ๒๖ ร.ศ. ๑๒๘, หนา้ ๒๓๑๕.)
๔ ราชกิจจานุเบกษา เลม่ ๘ ร.ศ. ๑๑๐, หน้า ๕๖ ว่า นบั เปน็ ล�ำดบั ที่ ๑๗ เน่ืองจาก กอ่ นหนา้ นน้ั มีพระเจ้าลกู เธอ
ตกพระโลหิตพระองคห์ น่งึ

84

ท่ี ๓ ในเจา้ คุณพระประยุรวงศ์ ประสตู ิเมือ่ วันพฤหสั บดี เดือน ๑๒ แรม ๑๓ คำ่� ปกี ุน สัปตศก จ.ศ. ๑๒๓๗
ตรงกบั วนั ที่ ๒๕ พฤศจกิ ายน พ.ศ. ๒๔๑๘ ส้ินพระชนม์ในรชั กาลท่ี ๕ เมือ่ วนั ศุกร์ เดือน ๖ ขึน้ ๘ คำ่� ปเี ถาะ
ตรีศก จ.ศ. ๑๒๕๓ ตรงกบั วนั ที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๓๔ เวลา ๔ โมงเชา้ ๒๓ นาท๑ี พระชนั ษา ๑๖ ปี
พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรวุ ัดเทพศริ ินทราวาส เม่ือเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๓๔
ที่ ๑๗ พระองค์เจ้าชายจิรประวัติวรเดช (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช) ท่ี ๑
ในเจ้าจอมมารดาทับทิม๒ พระสนมเอก ประสูติเมื่อวันอังคาร เดือน ๑๒ แรม ๖ ค่�ำ ปีชวด อัฐศก
จ.ศ. ๑๒๓๘ ตรงกับวันท่ี ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๑๙ ในรัชกาลที่ ๕ เม่ือวันอังคาร เดือน ๘ แรม ๔ ค่�ำ
ปีระกา สัปตศก จ.ศ. ๑๒๔๗ ตรงกับวันท่ี ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๒๘ เสด็จไปทรงศึกษาในประเทศอังกฤษ
แล้วศึกษาวิชาทหารบกในประเทศเดนมาร์ก และเม่ือยังประทับอยู่ในยุโรป โปรดเกล้าฯ ให้เป็นราชทูตพิเศษ
ต่างพระองค์ไปในราชการพิเศษหลายแห่ง คร้ันปีชวด โทศก จ.ศ. ๑๒๖๒ พ.ศ. ๒๔๔๓ โปรดเกล้าฯ ให้ทรง
กรมเปน็ พระเจา้ ลกู ยาเธอ กรมหมนื่ นครไชยศรสี รุ เดช เปน็ นายพลเอก ราชองครกั ษ์ ผบู้ ญั ชาการกรมยทุ ธนาธกิ าร
เป็นเสนาธิการทหารบก และเปน็ องคมนตรี
ถึงรัชกาลที่ ๖ เป็นเสนาบดีกระทรวงกลาโหม เม่ือปีจอ โทศก จ.ศ. ๑๒๗๒ วันท่ี ๑๑ ธันวาคม
พ.ศ. ๒๔๕๓ - ๔ กมุ ภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๕๖ ครัน้ ปีกนุ ตรีศก จ.ศ. ๑๒๗๓ วนั ที่ ๑๑ พฤศจกิ ายน พ.ศ. ๒๔๕๔
เลื่อนเป็นพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงฯ และเป็นจอมพลทหารบก สิ้นพระชนม์ในรัชกาลท่ี ๖ เม่ือวันพุธ
เดอื น ๓ ข้นึ ๑๐ คำ�่ ปฉี ลู เบญจศก จ.ศ. ๑๒๗๕ ตรงกบั วนั ที่ ๔ กุมภาพนั ธ์ พ.ศ. ๒๔๕๖ พระชนั ษา ๓๘ ปี
พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๕๙
เปน็ ต้นราชสกลุ จิรประวัติ ณ อยุธยา
ที่ ๑๘ พระองค์เจ้าหญิงบีเอตริศภัทรายุวดี๓ (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบีเอตริศภัทรายุวดี)
ที่ ๓ ในเจ้าจอมมารดาแสง ประสูติเมื่อวันอังคาร เดือนอ้าย แรม ๔ ค�่ำ ปีชวด อัฐศก จ.ศ. ๑๒๓๘ ตรงกับ
วันท่ี ๕ ธนั วาคม พ.ศ. ๒๔๑๙ ส้นิ พระชนมใ์ นรชั กาลท่ี ๖ เม่ือวนั พธุ เดือน ๑๐ ขนึ้ ๑๑ ค่ำ� ปีฉลู เบญจศก
จ.ศ. ๑๒๗๕ ตรงกับวันท่ี ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๕๖ พระชันษา ๓๘ ปี พระราชทานเพลิงพระศพ
ณ พระเมรุวดั ราชาธิวาส เม่ือวันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๗
ที่ ๑๙ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงสุทธาทิพยรัตน์ สุขุมขัตติยกัลยวดี (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้า
สุทธาทิพยรัตน์ กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร์) ที่ ๑ ในสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า สุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี๔
ประสตู เิ มื่อวันศกุ ร์ เดือน ๑๐ ขึ้น ๗ ค�ำ่ ปฉี ลู นพศก จ.ศ. ๑๒๓๙ ตรงกับวันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๒๐
ทรงสถาปนาเป็นสมเดจ็ พระเจา้ ลกู เธอ เจา้ ฟา้ สทุ ธาทพิ ยร์ ตั น์ กรมหลวงศรรี ตั นโกสินทร เมือ่ วันจันทร์ เดือน ๙

_____________________________
๑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘ ร.ศ. ๑๑๐, หน้า ๕๕.
๒ เจ้าจอมมารดาทับทิม พระสนมเอก ธิดาพระยาอัพภันตริกามาตย์ (ดิศ โรจนดิศ) กับขรัวยายอิ่ม เกิดเมื่อ
วนั พฤหัสบดีท่ี ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๐๐ ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันอังคารที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ อายุ ๘๒ ปี
(ดู เรอ่ื งตระกูลวงษ์พระยาอัพภนั ตริกามาตย์ (ดิศ), หน้า ๑๓.)
๓ พระนามเดิม พระเจา้ ลกู เธอ พระองค์เจา้ ภทั รายุวดี (ดู ราชกจิ จานุเบกษา เล่ม ๑๕ ร.ศ. ๑๑๗, หน้า ๗๖๘.)
๔ ดูท่ี พระองค์เจ้าหญิงสุขมุ าลมารศรี หนา้ ๖๙.

85

ข้ึน ๑๐ คำ่� ปีเถาะ เบญจศก จ.ศ. ๑๒๖๕ ตรงกบั วนั ที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๖ ส้ินพระชนมใ์ นรัชกาลท่ี ๖
เมื่อวันอังคาร เดือนยี่ แรมค่�ำ ๑ ปีจอ จัตวาศก จ.ศ. ๑๒๘๔ ตรงกับวันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๕
พระชันษา ๔๖ ปี พระราชทานเพลงิ พระศพ ณ พระเมรทุ ้องสนามหลวง เมอื่ วันท่ี ๔ ธนั วาคม พ.ศ. ๒๔๖๖
ท่ี ๒๐ สมเด็จเจ้าฟ้าชายมหาวชิรุณหิศ อดิศรมหาจุฬาลงกรณ์ บดินทรสมมติเทพยวรางกูร
บรมมกุฎนเรนทรสูริย์ขัตติยสันตติวงศ์ อุกฤษฐพงศ์วโรภโตสุชาต ธัญญลักษณวิลาสวิบุลยสวัสด์ิ
สิริวัฒนราชกุมาร (สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร๑) ท่ี ๑ ในสมเด็จ
พระศรีสวรนิ ทิรา บรมราชเทวฯี ๒ ประสูตเิ มอื่ วนั พฤหสั บดี เดือน ๗ แรม ๑๒ ค่�ำ ปขี าล สัมฤทธิศก จ.ศ. ๑๒๔๐
ตรงกับวันท่ี ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๒๑ ทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร
เมื่อปีจอ อัฐศก จ.ศ. ๑๒๔๘ พ.ศ. ๒๔๒๙ ได้ทรงก�ำกับกรมมหาดเล็ก สวรรคตในรัชกาลท่ี ๕ เมื่อวันศุกร์
เดือนย่ี ข้ึน ๙ ค�่ำ ปีมะเมีย ฉศก จ.ศ. ๑๒๕๖ ตรงกับวันท่ี ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๗ พระชันษา ๑๗ ปี
พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุทอ้ งสนามหลวง ดา้ นทศิ เหนือ เม่ือวันท่ี ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๓
ท่ี ๒๑ สมเด็จเจ้าฟ้าหญงิ กรรณาภรณ์เพช็ รรัตน์ โสภางคทัศนิยลกั ษณ์ อรรควรราชกุมารี (สมเด็จ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพ็ชรรัตน์ โสภางคทัศนิยลักษณ์ อรรควรราชกุมารี) ที่ ๑ ในสมเด็จ
พระนางเจ้าสุนนั ทากมุ ารีรัตน์ พระบรมราชเทว๓ี ประสูตเิ มือ่ วันจันทร์ เดอื น ๙ ขึ้น ๑๔ คำ�่ ปีขาล สมั ฤทธศิ ก
จ.ศ. ๑๒๔๐ ตรงกับวันท่ี ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๒๑ ส้ินพระชนม์ในรัชกาลท่ี ๕ เม่ือวันจันทร์ เดือน ๗
แรม ๘ ค�่ำ ปีมะโรง โทศก จ.ศ. ๑๒๔๒ ตรงกับวันท่ี ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๒๓ พระชันษา ๓ ปี
พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุท้องสนามหลวง เม่ือวันพุธ เดือน ๔ แรม ๒ ค�่ำ ปีมะโรง โทศก
จ.ศ. ๑๒๔๒ ตรงกับวันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๒๓๔
ที่ ๒๒ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงพาหุรัดมณีมัย ประไพพรรณพิจิตร นริศรราชกุมารี (สมเด็จพระเจ้า
บรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย ประไพพรรณพิจิตรนริศรราชกุมารี กรมพระเทพนารีรัตน์) ที่ ๑ ในสมเด็จ
พระศรพี ชั รนิ ทรา บรมราชนิ นี าถ๕ ประสตู เิ มอ่ื วนั พฤหสั บดี เดอื นอา้ ย แรม ๑๐ คำ�่ ปขี าล สมั ฤทธศิ ก จ.ศ. ๑๒๔๐
ตรงกบั วนั ที่ ๑๙ ธนั วาคม พ.ศ. ๒๔๒๑ สนิ้ พระชนมใ์ นรชั กาลท่ี ๕ เมอ่ื วนั เสาร์ เดอื น ๑๐ ขน้ึ ๙ คำ�่ ปีกนุ นพศก
จ.ศ. ๑๒๔๙ ตรงกับวันที่ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๓๐ พระชันษา ๑๐ ปี พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระ
เมรทุ อ้ งสนามหลวง เมอื่ วันจันทร์ เดอื น ๔ ขน้ึ ๙ คำ�่ ปีกนุ นพศก จ.ศ. ๑๒๔๙ ตรงกับวนั ท่ี ๒๐ กุมภาพนั ธ์
พ.ศ. ๒๔๓๐ ถึงรัชกาลท่ี ๖ ทรงสถาปนาพระนามพระอัฐิ เป็นสมเด็จพระเจ้าพ่ีนางเธอ เจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย
ประไพพรรณพจิ ติ ร นรศิ รราชกมุ ารี กรมพระเทพนารีรัตน์ เมื่อปเี ถาะ สปั ตศก จ.ศ. ๑๒๗๗ พ.ศ. ๒๔๕๘

_____________________________
๑ พระราชประวัติสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยิกาเจ้า และจดหมายเหตุรายวัน ของ
สมเด็จพระบรมราชปติ ลุ าธิบดี เจา้ ฟา้ มหาวชิรณุ หิศ (พระนคร : โรงพิมพพ์ ระจันทร์, ๒๔๙๙.) ใช้วา่ สมเด็จพระบรมราช
ปิตุลาธิบดี เจา้ ฟ้ามหาวชิรณุ หศิ
๒ ดูที่ พระองค์เจ้าหญิงสว่างวฒั นา หน้า ๗๒.
๓ ดทู ่ี พระองคเ์ จ้าหญิงสุนันทากุมารรี ัตน์ หน้า ๖๘.
๔ “จดหมายเหตุโหร ของจมื่นกง่ ศิลป์,” ใน ประชุมพงศาวดาร เล่ม ๘ ภาค ๘, หนา้ ๑๘๙.
๕ ดทู ่ี พระองคเ์ จา้ หญิงเสาวภาผอ่ งศรี หนา้ ๗๕.

86

ท่ี ๒๓ พระองค์เจ้าหญิงเจริญศรีชนมายุ (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเจริญศรีชนมายุ) ที่ ๔
ในเจ้าจอมมารดาแสง ประสูติเม่ือวันจันทร์ เดือน ๕ ข้ึน ๙ ค่�ำ ปีเถาะ เอกศก จ.ศ. ๑๒๔๑ ตรงกับ
วนั ที่ ๓๑ มนี าคม พ.ศ. ๒๔๒๑ สน้ิ พระชนม์ในรัชกาลท่ี ๖ เม่ือวันอาทิตย์ เดอื นย่ี ขึ้นค่ำ� ๑ ปีมะโรง อฐั ศก
จ.ศ. ๑๒๗๘ ตรงกบั วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๙ เวลายาม ๕ นาที ท่จี งั หวัดนครปฐมในระหวา่ งที่เสด็จ
ไปรกั ษาพระองค๑์ พระชนั ษา ๓๘ ปี พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรวุ ัดเทพศริ นิ ทราวาส เม่ือวันท่ี ๑๐
เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๓
ที่ ๒๔ พระองค์เจ้าหญิง (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้า) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาบัว๒ เมื่อ
วันศกุ ร์ เดือน ๗ แรม ๙ ค�ำ่ ปเี ถาะ เอกศก จ.ศ. ๑๒๔๑ ตรงกบั วนั ท่ี ๑๓ มิถนุ ายน พ.ศ. ๒๔๒๒ สิ้นพระชนม์
ในวนั ประสูติ
ท่ี ๒๕ สมเด็จเจ้าฟ้าชายอิศริยาลงกรณ์ บรมนริศรสมมติเทวราช จุฬาลงกรณ์นาถปรมางกูร
สมบูรณอุกฤษฐศักดิ อุภโตปักษ์วิสุทธิพงศ์ มหามกุฎราชรวิวงศ์วราวัตร ลักษณสมบัติขัตติยราชกุมาร
(สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอิศริยาลงกรณ์) ที่ ๒ ในสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวีฯ ประสูติ
เม่ือวนั พฤหัสบดี เดือน ๑๐ แรม ๔ คำ่� ปเี ถาะ เอกศก จ.ศ. ๑๒๔๑ ตรงกับวนั ที่ ๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๒๒
สิ้นพระชนม์วันพฤหัสบดี เดือน ๑๑ ข้ึน ๑๐ ค่�ำ ในปีเถาะน้ัน ตรงกับวันที่ ๒๕ กันยายน พ.ศ. ๒๔๒๒
พระชนั ษา ๒๑ วัน๓
ที่ ๒๖ พระองค์เจ้าหญิงประเวศวรสมยั (พระเจา้ บรมวงศเ์ ธอ พระองคเ์ จา้ ประเวศวรสมยั ) ที่ ๒ ใน
เจา้ จอมมารดาทบั ทิม พระสนมเอก ประสูตเิ ม่ือวนั อังคาร เดอื นอา้ ย แรม ๔ ค่ำ� ปีเถาะ เอกศก จ.ศ. ๑๒๔๑
ตรงกับวันที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๒๒ ส้ินพระชนม์ในรัชกาลที่ ๘ เม่ือปีวอก ฉศก จ.ศ. ๑๓๐๖ วันท่ี ๓๑
พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๗ พระชันษา ๖๕ ปี๔ พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุวัดเทพศิรินทราวาส
เมอ่ื วันท่ี ๒๕ ตลุ าคม พ.ศ. ๒๔๘๗
ท่ี ๒๗๕ สมเดจ็ เจา้ ฟา้ (สมเดจ็ พระเจา้ บรมวงศเ์ ธอ เจา้ ฟา้ ) ที่ ๒ ในสมเดจ็ พระนางเจา้ สนุ นั ทากมุ ารรี ตั น์
พระบรมราชเทวี สิ้นพระชนม์ในพระครรภ์ เมื่อวันจันทร์ เดือน ๗ แรม ๘ ค่�ำ ปีมะโรง โทศก จ.ศ. ๑๒๔๒
ตรงกับวนั ท่ี ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๒๓
ที่ ๒๘ พระองค์เจ้าชายอาภากรเกียรติวงศ์ (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักด์ิ)
ท่ี ๑ ในเจ้าจอมมารดาโหมด๖ ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ เดือนอ้าย แรม ๓ ค่�ำ ปีมะโรง โทศก จ.ศ. ๑๒๔๒

_____________________________
๑ ราชกิจจานเุ บกษา เลม่ ๓๓ พ.ศ. ๒๔๕๙, หนา้ ๒๖๗๐.
๒ เจา้ จอมมารดาบัว มีบรรพบุรุษ เป็นชาวบ้านบางเขน (ดู ราชนิ กิ ูลรัชกาลท่ี ๕, หน้า ๑๒๖.) ถงึ แก่กรรมวันที่ ๒๘
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๙ อายุ ๕๖ ปี
๓ รัชกาลท่ี ๕ โปรดให้สร้างพระเมรุหลวงท่ีวัดเทพศิรินทราวาส เรียกว่า พระเมรุพลับพลา “อิศริยาภรณ์” อุทิศ
พระราชทาน
๔ “พระประวัติ พระเจ้าบรมวงส์เทอ พระองค์เจ้าประเวสวรสมัย” ใน เรื่องเลิกทาสไนรัชกาลท่ี ๕, (พระนคร :
โรงพมิ พไ์ ทยขเสม, ๒๔๘๗), หน้า (ช).) วา่ พระชันษา ๖๖ ปี
๕ พระนามพระองค์เจา้ วังหลวงแลวงั นา่ ฯ วา่ เปน็ ล�ำดับท่ี ๓๐ เนอ่ื งจากนบั ทต่ี กพระโลหิตไปแล้ว ๓ พระองคด์ ้วย
๖ เจ้าจอมมารดาโหมด ธดิ าเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) และทา่ นผหู้ ญิงอม่ิ (ดู อธบิ ายราชินกิ ลุ บางชา้ ง,
หนา้ ๕๗) ถึงแก่อสัญกรรมวนั ที่ ๓๐ ตลุ าคม พ.ศ. ๒๔๗๕ อายุ ๗๑ ปี (ราชกจิ จานเุ บกษา เลม่ ๔๙ พ.ศ. ๒๔๗๕, หนา้ ๒๙๗๒.)

87

ตรงกับวันท่ี ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๒๓ ได้เสด็จไปทรงศึกษาวิชาทหารเรือในประเทศอังกฤษ ในรัชกาลท่ี ๕
เม่อื ปีมะโรง โทศก จ.ศ. ๑๒๔๒ พ.ศ. ๒๔๔๗ ทรงสถาปนาเป็นพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมืน่ ชมุ พรเขตรอุดมศกั ด์ิ
ได้เป็นนายพลเรอื ตรี ราชองครักษ์ ต�ำแหน่งรองผ้บู ัญชาการกรมทหารเรือ พ.ศ. ๒๔๔๙ เปน็ เจา้ กรมยทุ ธศึกษา
ทหารเรืออีกต�ำแหน่งหน่ึง ทรงจัดการโรงเรียนนายทหารเรือและนายช่างกล ท้ังได้ทรงท�ำแผนการทัพเรือ
และทรงจัดการศึกษาทางยุทธศาสตร์ยุทธวิธีกระบวนรบในกองทัพเรือ ถึงรัชกาลที่ ๖ เม่ือปี พ.ศ. ๒๔๖๐
เลื่อนเป็นนายพลเรือโท และนายพลเรือเอก ราชองครักษ์ ครั้นปีวอก โทศก จ.ศ. ๑๒๘๒ พ.ศ. ๒๔๖๓
ทรงด�ำรงต�ำแหน่งเสนาธิการทหารเรือ แล้วเล่ือนเป็นพระเจ้าพ่ียาเธอ กรมหลวงฯ ในปีเดียวกัน ต่อมาในปีจอ
จัตวาศก จ.ศ. ๑๒๘๔ พ.ศ. ๒๔๖๕ เป็นเสนาบดีกระทรวงทหารเรือ๑ และทรงให้การรักษาแพทย์แผนไทย
แก่ราษฎรท่ัวไป สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๖ เม่ือวันเสาร์ เดือน ๗ ขึ้น ๕ ค่�ำ ปีกุน เบญจศก จ.ศ. ๑๒๘๕
ตรงกับวันท่ี ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๖ พระชันษา ๔๔ ปี พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุ
ท้องสนามหลวง เมอื่ วันท่ี ๒๔ ธนั วาคม พ.ศ. ๒๔๖๖ เปน็ ตน้ ราชสกลุ อาภากร ณ อยธุ ยา
ท่ี ๒๙ สมเดจ็ เจา้ ฟา้ ชายมหาวชริ าวธุ เอกอรรคมหาบรุ ษุ ยบ์ รมนราธริ าช จฬุ าลงกรณนาถราชวโรรส
มหาสมมติขัตติยพิสุทธิ์ บรมมกุฎสุริยสันตติวงศ์ อดิศัยพงศ์วโรภโตสุชาต คุณสังกาศวิมลรัตน์ ทฤฆชนม
สวสั ดขิ ตั ตยิ ราชกมุ าร (พระบาทสมเดจ็ พระมงกฎุ เกลา้ เจา้ อยหู่ วั ) ท่ี ๒ ในสมเดจ็ พระศรพี ชั รนิ ทรา บรมราชนิ นี าถ
เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ เดือนยี่ ข้ึน ๒ ค่�ำ ปีมะโรง โทศก จ.ศ. ๑๒๔๒ ตรงกับวันที่ ๑ มกราคม
พ.ศ. ๒๔๒๓ เวลาเช้า ๒ โมง ๕๕ นาที๒ เมือ่ ปชี วด สัมฤทธศิ ก จ.ศ. ๑๒๕๐ พ.ศ. ๒๔๓๑ โปรดเกลา้ ฯ สถาปนา
เป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธฯ กรมขุนเทพทวาราวดี แล้วเสด็จไปทรงศึกษาในประเทศ
อังกฤษ เม่ือ พ.ศ. ๒๔๓๖ ต่อมาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร
เม่ือปีมะเมีย ฉศก จ.ศ. ๑๒๕๖ ตรงกับวันท่ี ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๗ ทรงศึกษาวิชาทหารบกในโรงเรียน
นายร้อยแซนด์เฮิสต์ แล้วทรงวิชาประวัติศาสตร์และกฎหมายท่ีไครสต์เชิช มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ประเทศ
อังกฤษ เสด็จกลับเม่ือวันที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๕ รับราชการได้เป็นนายพลเอก ราชองครักษ์ ต�ำแหน่ง
จเรทพั บก และทรงบญั ชาการกรมทหารมหาดเลก็ เสดจ็ เถลงิ ถวัลยราชสมบตั ิ เมอื่ วนั เสาร์ท่ี ๒๓ ตุลาคม ปีจอ
โทศก จ.ศ. ๑๒๗๒ พ.ศ. ๒๔๕๓ และบรมราชาภเิ ษกเมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๔ เสด็จด�ำรงราชสมบัติ
อยู่ ๑๖ ปี เสด็จสวรรคตเมื่อวันพฤหัสบดี เดือนอ้าย ขึ้น ๑๑ ค่�ำ ปีฉลู สัปตศก จ.ศ. ๑๒๘๗ ตรงกับวันที่
๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘ พระชนมพรรษา ๔๖ พรรษา๓ ถวายพระเพลิงพระบรมศพ ณ พระเมรุมาศ
ท้องสนามหลวง เม่อื วันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๙
ที่ ๓๐ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงวิจิตรจิรประภา อดุลยาดิเรกรัตน์ขัตติยราชกุมารี (สมเด็จพระเจ้า
บรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าวิจิตรจิรประภา) ที่ ๓ ในสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวีฯ ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดี
เดือน ๕ แรม ๘ ค่�ำ ปีมะเส็ง ตรีศก จ.ศ. ๑๒๔๓ ตรงกับวันท่ี ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๒๔ สิ้นพระชนม์

_____________________________
๑ ภายหลังสิ้นพระชนม์ทรงไดร้ ับการขนานพระนามเป็น “องค์บิดาแห่งทหารเรือไทย”
๒ ดวงพระชาตาแลดวงชาตาตา่ ง ๆ (ส�ำเนาตน้ ฉบบั ลายมือ.)
๓ ราชกิจจานเุ บกษา เลม่ ๔๒ พ.ศ. ๒๔๖๘, หน้า ๒๗๐๓. วา่ รัชกาลที่ ๖ เสดจ็ สวรรคต เมือ่ วนั ท่ี ๒๖ พฤศจกิ ายน
พ.ศ. ๒๔๖๘ เวลา ๑ นาฬกิ า ๔๕ นาที

88

ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อวันจันทร์ เดือน ๙ แรม ๕ ค่�ำ ปีมะเส็ง ตรีศก จ.ศ. ๑๒๔๓ ตรงกับวันท่ี ๑๕ สิงหาคม
พ.ศ. ๒๔๒๔ พระชนั ษา ๔ เดอื น
ท่ี ๓๑ พระองค์เจ้าหญิงศศิพงศ์ประไพ (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศศิพงศ์ประไพ) ประสูติ
แต่เจ้าจอมมารดาจันทร์๑ เมื่อวันอังคาร เดือน ๕ แรม ๑๓ ค�่ำ ปีมะเส็ง ตรีศก จ.ศ. ๑๒๔๓ ตรงกับวันที่
๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๒๔๒ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๗ เม่ือวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ปีจอ ฉศก จ.ศ. ๑๒๙๖
พ.ศ. ๒๔๗๗ พระชันษา ๕๓ ปี พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เม่ือ
วนั ที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘
ที่ ๓๒ พระองค์เจ้าหญิง (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้า) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาสาย๓ เมื่อ
วันศกุ ร์ เดอื น ๗ ข้ึน ๑๔ คำ่� ปมี ะเส็ง ตรศี ก จ.ศ. ๑๒๔๓ ตรงกับวันที่ ๑๐ มิถนุ ายน พ.ศ. ๒๔๒๔ อยู่ไดว้ นั ๑
สิน้ พระชนม์
ที่ ๓๓ สมเดจ็ เจา้ ฟา้ ชายบรพิ ตั รสขุ มุ พนั ธ์ุ ดลิ กจนั ทรนภิ าพงศ์ มหามกฎุ วงศน์ ราธริ าช จฬุ าลงกรณ
นาถราชวโรรส อดุลยยศอุภโตพงศ์พิสุทธ์ิ นรุตมรัตนขัตติยราชกุมาร (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้า
บริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต) ท่ี ๒ ในสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี
ประสตู เิ มอื่ วันพธุ เดือน ๘ ขึน้ ๓ ค่�ำ ปีมะเส็ง ตรีศก จ.ศ. ๑๒๔๓ ตรงกับวนั ที่ ๒๙ มถิ ุนายน พ.ศ. ๒๔๒๔
ทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ ดิลกจันทรนิภาพงศ์ มหามกุฎวงศ์นราธิราช
จุฬาลงกรณนาถราชวโรรส อดุลยยศฃอุภโตพงศ์พิสุทธิ์ นรุตมรัตนขัตติยราชกุมาร กรมขุนมไหสูริยสงขลา
เมื่อปเี ถาะ ตรีศก จ.ศ. ๑๒๕๓ พ.ศ. ๒๔๓๔ โสกันต์ เม่อื พ.ศ. ๒๔๓๗ ไดเ้ สดจ็ ไปทรงศกึ ษาในประเทศอังกฤษ
แล้วไปศึกษาวิชาทหารบกในประเทศเยอรมนี เสด็จกลับมารับราชการ โปรดเกล้าฯ เปลี่ยนพระนามกรมเป็น
สมเดจ็ พระเจา้ ลกู ยาเธอ เจา้ ฟา้ บรพิ ตั รสขุ ุมพนั ธ์ุ ดลิ กจันทรนภิ าพงศ์ มหามกุฎวงศ์นราธริ าช จุฬาลงกรณนาถ
ราชวโรรส อดุลยยศอุภโตพงศ์พิสุทธิ์ นรุตมรัตนขัตติยราชกุมาร กรมขุนนครสวรรค์วรพินิต เมื่อปีฉลู ตรีศก
จ.ศ. ๑๒๖๓ วันศุกร์ท่ี ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๔๔ ในรัชกาลท่ี ๕ ไดเ้ ปน็ นายพลตรี ราชองครักษ์ ต�ำแหนง่
เสนาธกิ ารทหารบก แลว้ เล่ือนเป็นนายพลเรอื โท ราชองครักษ์ ผบู้ ญั ชาการกรมทหารเรือ
ถงึ รัชกาลที่ ๖ โปรดเกลา้ ฯ ใหเ้ ป็นเสนาบดีกระทรวงทหารเรอื เลอ่ื นกรมเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ
เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ฯ กรมหลวงนครสวรรค์วรพินิต๕ เมื่อปีกุน ตรีศก จ.ศ. ๑๒๗๓ พ.ศ. ๒๔๕๔ เป็น
นายพลเรือเอก แล้วเป็นจอมพลเรือ ราชองครักษ์ เป็นจอมพลต�ำแหน่งเสนาธิการทหารบก เป็นอุปนายกแห่ง
สภากาชาดสยาม เมอื่ ปวี อก โทศก จ.ศ. ๑๒๘๒ พ.ศ. ๒๔๖๓

_____________________________
๑ เจา้ จอมมารดาจนั ทร์ ธิดาพระยาราชสัมภารากร (เทศ) ซึ่งสืบมาแตพ่ ระยาธรรมปโรหติ (แกว้ ) ในรัชกาลที่ ๑
กบั ขรวั ยายอำ�่ (ดู ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๓๒ พ.ศ. ๒๔๕๘, หนา้ ๑๖๐๕ และ ราชินิกูลรัชกาลท่ี ๕, หนา้ ๑๒๘.)
๒ หนงั สืองานพระราชทานเพลิงพระศพ พระเจา้ บรมวงศเธอ พระองคเ์ จ้าศศิพงศป์ ระไพ ว่า ประสตู เิ ม่อื วันท่ี ๒๖
สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๒๔
๓ เจา้ จอมมารดาสาย ธดิ าพระวิสูตรโกษา (นุ่ม) กับท่านกล่ิน (ดู ราชนิ กิ ูลรชั กาลท่ี ๕, หน้า ๑๒๘.)
๔ จดหมายเหตเุ รือ่ งทรงต้งั พระบรมวงษานวุ งษฯ์ , หนา้ ๔๐๖.
๕ จดหมายเหตุเรอ่ื งทรงตัง้ พระบรมวงศานุวงศ กรงุ รัตนโกสนิ ทร ฉบบั พิมพ์ พ.ศ. ๒๔๖๘, หน้า ๔๘๓.

89

ถึงรัชกาลที่ ๗ เป็นอภิรฐั มนตรี และทรงสถาปนาเป็นสมเดจ็ พระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟา้ บริพตั รสุขุมพันธ์ุฯ
กรมพระนครสวรรค์วรพินิตฯ๑ เมื่อปีฉลู สัปตศก จ.ศ. ๑๒๘๗ พ.ศ. ๒๔๖๘ เป็นเสนาบดีกระทรวงกลาโหม
เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ทรงเป็นผู้ส�ำเร็จราชการแผ่นดินขณะท่ีพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
เสด็จรักษาพระเนตร ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา ภายหลังการเปล่ียนแปลงการปกครองได้เสด็จไปประทับท่ี
เมืองบันดุง ประเทศอินโดนีเซีย จนส้ินพระชนม์ในรัชกาลที่ ๘ เมื่อปีวอก ฉศก จ.ศ. ๑๓๐๖ วันที่ ๑๘
มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๗ อัญเชิญพระศพกลับประเทศไทยเมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๙๑ พระราชทาน
เพลิงพระศพ ณ พระเมรุท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๓ พระชันษา ๖๓ ปี เป็น
ตน้ ราชสกลุ บริพัตร ณ อยธุ ยา
ที่ ๓๔ พระองค์เจ้าหญิงพิสมัยพิมลสัตย์ (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิศมัยพิมลสัตย์)
ประสตู แิ ต่เจ้าจอมมารดาเรือน๒ เมอื่ วนั อังคาร เดือนอา้ ย แรม ๑๔ ค่ำ� ปมี ะเสง็ ตรศี ก จ.ศ. ๑๒๔๓ ตรงกบั
วนั ที่ ๒๐ ธนั วาคม พ.ศ. ๒๔๒๔ สนิ้ พระชนมใ์ นรชั กาลที่ ๘ เมอื่ ปชี วด อฐั ศก จ.ศ. ๑๒๙๘ วนั ที่ ๒๖ กมุ ภาพนั ธ์
พ.ศ. ๒๔๗๙ พระชันษา ๕๕ ปี พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุวัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ ๒๓
กุมภาพนั ธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑
ท่ี ๓๕ พระองคเ์ จ้าชายบรุ ฉตั รไชยากร (พระเจ้าบรมวงศเ์ ธอ กรมพระก�ำแพงเพช็ รอัครโยธนิ ) ประสตู ิ
แต่เจ้าจอมมารดาวาด๓ เม่ือวันจันทร์ เดือน ๓ ขึ้น ๔ ค่�ำ ปีมะเส็ง ตรีศก จ.ศ. ๑๒๔๓ ตรงกับวันท่ี ๒๓
มกราคม พ.ศ. ๒๔๒๔ ได้เสด็จไปทรงศึกษาวิชาทหารชา่ งในประเทศองั กฤษ ในรัชกาลที่ ๕ เมอื่ ปมี ะเมีย อฐั ศก
จ.ศ. ๑๒๖๘ พ.ศ. ๒๔๔๙ ทรงสถาปนาเป็นพระเจา้ ลูกยาเธอ กรมหม่ืนก�ำแพงเพช็ รอัครโยธนิ ครั้น พ.ศ. ๒๔๕๑
ไดเ้ ป็นนายพลตรี ราชองครักษ์ ต�ำแหน่งผ้บู ญั ชาการกองพลท่ี ๑ รักษาพระองค์ และเปน็ จเรการช่างทหารบก
ถึงรัชกาลที่ ๖ ในพ.ศ. ๒๔๕๕ เล่ือนเป็นนายพลโท ราชองครักษ์ ต�ำแหน่งแม่ทัพ กองทัพน้อยที่ ๑
ตอ่ มาเมอื่ ปมี ะโรง อัฐศก จ.ศ. ๑๒๗๘ พ.ศ. ๒๔๕๙ เลื่อนเป็นพระเจา้ น้องยาเธอ กรมขนุ ก�ำแพงเพช็ รอคั รโยธนิ
พ.ศ. ๒๔๖๐ เปน็ ผบู้ ญั ชาการกรมรถไฟหลวง๔ ครนั้ พ.ศ. ๒๔๖๒ เลอ่ื นพระยศทางทหารเปน็ นายพลเอกทหารบก
ถึงปีจอ จัตวาศก จ.ศ. ๑๒๘๔ พ.ศ. ๒๔๖๕ เลื่อนเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงฯ ต่อมาในรัชกาลที่ ๗
เม่ือปีขาล อัฐศก จ.ศ. ๑๒๘๘ พ.ศ. ๒๔๖๙ เป็นเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม และนายกแห่ง
สภาเผยแผ่พาณิชย์ ทรงริ่เริ่มกิจการวิทยุโทรเลข๕ และเป็นอภิรัฐมนตรี ครั้นปีมะเส็ง เอกศก จ.ศ. ๑๒๙๑
พ.ศ. ๒๔๗๒ เลื่อนพระอิสริยยศเป็นพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระก�ำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ประชาธิบดินทร

_____________________________
๑ เฉลิมพระยศเจ้านาย เลม่ ๒, หนา้ ๒๓๔.
๒ เจ้าจอมมารดาเรือน ธิดาพระยาสุนทรบุรี (สว่าง สุนทรศารทูล) (ดู ราชินิกูลรัชกาลที่ ๕, หน้า ๑๒๙.) ถึงแก่
อสัญกรรมวนั ที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๕ (ดู ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๓๙ พ.ศ. ๒๔๖๕, หนา้ ๒๙๓๘.)
๓ เจ้าจอมมารดาวาด ธดิ านายเสถยี รรกั ษา (เทย่ี ง) เช้ือสายรามญั กบั พระนมปรกิ พระนมเอกในรัชกาลท่ี ๕ (ดู
ราชินกิ ูลรชั กาลท่ี ๕, หน้า ๑๒๙.) ถึงแกอ่ สัญกรรมวนั ท่ี ๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๑ อายุ ๕๙ ปี (ราชกิจจานเุ บกษา เลม่ ๓๕
พ.ศ. ๒๔๖๑, หนา้ ๑๒๑๔.)
๔ ทรงไดร้ ับการถวายพระสมัญญาวา่ พระบิดาแหง่ การรถไฟไทย
๕ ทรงได้รับการถวายพระสมัญญาวา่ พระบดิ าแหง่ กิจการวทิ ยกุ ระจายเสียงไทย

90

เจษฎภาดา ปิยมหาราชวงศ์วิศิษฎ์ อเนกยนตรวิจิตรกฤตยโกศล วิมลรัตนมหาโยธาธิบดี ราชธุรันธรีมโหฬาร
พาณิชยการคมนาคม อุดมรัตนตรัยสรณธาดา มัททวเมตตาชวาศรัย ฉัตรชัยดิลกบพิตร ส้ินพระชนม์ใน
รัชกาลท่ี ๘ เม่ือวันที่ ๑๔ กันยายน ปีชวด อัฐศก จ.ศ. ๑๒๙๘ พ.ศ. ๒๔๗๙ ที่สิงคโปร์ พระชันษา ๕๕ ปี
พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุวัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันท่ี ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๙ เป็น
ตน้ ราชสกุล ฉตั รชัย ณ อยุธยา
ท่ี ๓๖ สมเด็จเจ้าฟ้าชายตรีเพ็ชรุตม์ธ�ำรง นริศรวงศ์เทวราช วโรภโตชาติพิสุทธิ์ รัตนบุรุษย์
จุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพยวโรรส อดุลยยศวิสุทธิกระษัตรีย์ ขัตติยราชกุมาร (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
เจา้ ฟ้าตรีเพช็ รุตม์ธ�ำรง) ท่ี ๓ ในสมเดจ็ พระศรพี ัชรนิ ทรา บรมราชนิ ีนาถ ประสูตเิ มอื่ วนั พุธ เดอื น ๓ แรม ๕ คำ�่
ปมี ะเสง็ ตรีศก จ.ศ. ๑๒๔๓ ตรงกับวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๒๔ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลท่ี ๕ เมื่อวันองั คาร
เดือนอ้าย ข้ึน ๗ ค่�ำ ปีกุน นพศก จ.ศ. ๑๒๔๙ ตรงกับวันท่ี ๒๒ พฤศจกิ ายน พ.ศ. ๒๔๓๐ พระชนั ษา ๗ ป๑ี
พระราชทานเพลงิ พระศพ ณ พระเมรทุ อ้ งสนามหลวง เมอ่ื วนั ศกุ ร์ เดอื น ๔ ขนึ้ ๑๓ คำ�่ ปกี นุ นพศก จ.ศ. ๑๒๔๙
ตรงกับวันที่ ๒๔ กมุ ภาพนั ธ์ พ.ศ. ๒๔๓๐
ท่ี ๓๗๒ สมเด็จเจ้าฟ้าชายสมมติวงศ์วโรทัย ศตสมยั มงคลเขตร บรมนฤเบศร์จกั รีวงศ์ จฬุ าลงกรณ
นาถนรินทร์ สยามินทรราชวโรรส อุกฤษฐวรยศอุภัยปักษ์ วิสุทธิศักดิอรรควิมลรัตน์ ขัตติยราชกุมาร
(สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย กรมขุนศรีธรรมราชธ�ำรงฤทธิ์) ท่ี ๔ ในสมเด็จพระศรี
สวรินทิรา บรมราชเทวีฯ ประสูติเมื่อวันศุกร์ เดือน ๗ แรม ๘ ค่�ำ ปีมะเมีย จัตวาศก จ.ศ. ๑๒๔๔ ตรงกับ
วันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๒๕ ต่อมาเมอ่ื ปีเถาะ ตรีศก จ.ศ. ๑๒๕๓ พ.ศ. ๒๔๓๔ ไดร้ ับสถาปนาเปน็ สมเด็จ
พระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย ศตสมัยมงคลเขตร บรมนฤเบศร์จักรีวงศ์ จุฬาลงกรณนาถนรินทร์
สยามินทรราชวโรรส อุกฤษฐวรยศอุภัยปักษ์ วิสุทธิศักดิอรรควิมลรัตน์ ขัตติยราชกุมาร กรมขุนศรีธรรมราช
ธ�ำรงฤทธ์ิ ได้ทรงก�ำกับกรมมหาดเล็ก ส้ินพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เม่ือวันเสาร์ เดือน ๘ ขึ้น ๑๐ ค�่ำ ปีกุน
เอกศก จ.ศ. ๑๒๖๑ ตรงกับวันท่ี ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๔๒ พระชันษา ๑๘ ปี พระราชทานเพลิงพระศพ
ณ พระเมรุท้องสนามหลวง เม่ือวนั ที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๓
ที่ ๓๘ พระองค์เจ้าชายเพ็ญพัฒน์พงศ์ (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหม่ืนพิไชยมหินทโรดม) ที่ ๒ ใน
เจ้าจอมมารดามรกฎ ประสตู ิเม่ือวันพธุ เดอื น ๑๐ ขึ้นคำ�่ ๑ ปมี ะเมยี จัตวาศก จ.ศ. ๑๒๔๔ ตรงกับวนั ท่ี ๑๓
กันยายน พ.ศ. ๒๔๒๕ ได้เสด็จไปทรงศึกษาในประเทศอังกฤษ เม่ือ พ.ศ. ๒๔๓๙ ในรัชกาลท่ี ๕ เมื่อปีวอก
สัมฤทธิศก จ.ศ. ๑๒๗๐ พ.ศ. ๒๔๕๑ ทรงได้รับสถาปนาเป็นพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม
และได้เป็นต�ำแหน่งผู้ช่วยปลัดทูลฉลองกระทรวงเกษตราธิการในปีนนั้ เป็นอธบิ ดีกรมเพาะปลกู เป็นผู้ปกครอง
โรงเรียนเกษตราธิการ ส้ินพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๑๑ แรม ๑๓ ค่�ำ ปีระกา เอกศก
จ.ศ. ๑๒๗๑ ตรงกบั วนั ท่ี ๑๑ พฤศจกิ ายน พ.ศ. ๒๔๕๒ พระชนั ษา ๒๘ ปี เปน็ ตน้ ราชสกลุ เพญ็ พฒั น ณ อยธุ ยา

_____________________________
๑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๔ จ.ศ. ๑๒๔๙, หน้า ๒๖๗ วา่ พระชันษาตามจนั ทรคตไิ ด้ ๕ ปี ๑๐ เดือน ๒ วัน ตาม
สรุ ยิ คตไิ ด้ ๕ ปี ๙ เดือน ๑๔ วัน
๒ ราชกจิ จานุเบกษา เลม่ ๑๖ ร.ศ. ๑๑๘, หน้า ๑๖๒ วา่ เปน็ พระราชโอรสล�ำดบั ท่ี ๔๐ และว่า พระชนั ษาตาม
สุรยิ คตกิ าลได้ ๑๗ ปี ๘ วัน หรอื ๖๒๑๗ วนั

91

ที่ ๓๙ พระองค์เจ้าหญงิ อรองคอ์ รรคยุพา (พระเจา้ บรมวงศ์เธอ พระองค์เจา้ อรองค์อรรคยุพา) ที่ ๒
ในเจ้าจอมมารดาโหมด ประสูติเมื่อวันศุกร์ เดือน ๑๑ ข้ึน ๑๕ ค่�ำ ปีมะเมีย จัตวาศก จ.ศ. ๑๒๔๔ ตรงกับ
วันท่ี ๒๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๒๕ ส้ินพระชนม์ในรัชกาลท่ี ๕ เม่ือวันอังคาร เดือน ๓ ขึ้น ๑๓ ค่�ำ ปีมะเมีย
จตั วาศก จ.ศ. ๑๒๔๔ ตรงกับวันที่ ๒๐ กุมภาพนั ธ์ พ.ศ. ๒๔๒๕ พระชนั ษา ๕ เดือน
ท่ี ๔๐ สมเด็จเจ้าฟ้าชายจักรพงษภูวนาถ นริศรราชมหามกุฎวงศ์ จุฬาลงกรณนรินทร์ สยาม
พิชิตินทรวรางกูร สมบูรณพิสุทธิชาติ วิมโลภาสอุภัยปักษ์ อรรควรรัตน์ขัตติยราชกุมาร (สมเด็จพระเจ้า
บรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ) ที่ ๔ ในสมเด็จพระศรีพัชรินทรา
บรมราชินีนาถ ประสูติเมื่อวันเสาร์ เดือน ๓ แรม ๙ ค�่ำ ปีมะเมีย จัตวาศก จ.ศ. ๑๒๔๔ ตรงกับวันท่ี ๓
มีนาคม พ.ศ. ๒๔๒๕ ต่อมาเม่ือปีเถาะ ตรีศก จ.ศ. ๑๒๕๓ พ.ศ. ๒๔๓๕ ทรงได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จ
พระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษภูวนาถ นริศรราชมหามกุฎวงศ์ จุฬาลงกรณนรินทร์ สยามพิชิตินทรวรางกูร
สมบูรณพิสุทธิชาติ วิมโลภาสอุภัยปักษ์ อรรควรรัตน์ขัตติยราชกุมาร กรมขุนพิษณุโลกประชานาถ ต่อมา
พ.ศ. ๒๔๓๙ ได้เสด็จไปทรงศึกษาในประเทศอังกฤษ แล้วเสด็จไปประทับอยู่ในราชส�ำนักสมเด็จพระเจ้า
ซาร์นิโคลัสที่ ๒ แห่งประเทศรัสเซีย ทรงศึกษาในโรงเรียนมหาดเล็กหลวง ซึ่งเป็นโรงเรียนนายทหารบกด้วย
ที่ประเทศรัสเซีย สอบได้ช้ันสูงสุด เป็นราชทูตพิเศษเมื่อประทับอยู่ในยุโรป ได้เสด็จแทนพระองค์ไปใน
งานพระบรมศพสมเด็จพระเจ้าอุมแบร์โตท่ี ๑ แห่งอิตาลี งานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระเจ้ายอร์ชที่ ๕
และพระราชินีแมรี แห่งประเทศอังกฤษ ครั้นเสด็จกลับมา ทรงรับราชการในรัชกาลท่ี ๕ ได้เป็นนายพลตรี
ราชองครกั ษ์ และเป็นเสนาธกิ ารทหารบก
ถงึ รชั กาลท่ี ๖ โปรดให้ทรงบัญชาการกรมทหารมหาดเล็กแทนพระองค์ คร้ันปีกุน ตรศี ก จ.ศ. ๑๒๗๓
พ.ศ. ๒๔๕๔ โปรดเกลา้ ฯ ใหเ้ ลอ่ื นเปน็ สมเดจ็ พระเจา้ นอ้ งยาเธอ เจา้ ฟา้ จกั รพงษภวู นาถ นรศิ รราชมหามกฎุ วงศ์
จฬุ าลงกรณนรนิ ทร์ สยามพชิ ติ นิ ทรวรางกรู สมบรู ณพสิ ทุ ธชิ าติ วมิ โลภาสอภุ ยั ปกั ษ์ อรรควรรตั นข์ ตั ตยิ ราชกมุ าร
กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ เลื่อนเป็นนายพลโท นายพลเอก และเป็นจอมพลทหารบก ราชองครักษ์
คงต�ำแหน่งเสนาธิการทหารบก และองคมนตรี และทรงเป็นรัชทายาทจนเสด็จทิวงคตในรัชกาลที่ ๖ ท่ีเมือง
สิงคโปร์ ขณะเสดจ็ ราชการทหาร เมือ่ วันอาทติ ย์ เดือน ๗ แรม ๑๒ ค่ำ� ปีวอก โทศก ตรงกบั วนั ที่ ๑๓ มถิ ุนายน
พ.ศ. ๒๔๖๓ พระชนมายุ ๓๘ ปี พระราชทานเพลงิ พระศพ ณ พระเมรุท้องสนามหลวง เมอื่ วนั ท่ี ๒๔ กันยายน
พ.ศ. ๒๔๖๓ ทรงสถาปนาพระเกยี รตยิ ศเป็นสมเดจ็ พระอนุชาธิราชในปีนน้ั และพระราชทานเศวตฉตั ร ๕ ชั้น
เป็นต้นราชสกลุ จกั รพงศ์ ณ อยุธยา
ที่ ๔๑ พระองค์เจ้าชายยุคลทิฆัมพร บดินทรเทพยนิพัทธ ขัตติยราชกุมาร (สมเด็จพระเจ้าบรม
วงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์) ท่ี ๑ ในพระวิมาดาเธอฯ กรมพระสุทธาสินีนาฏ
ปยิ มหาราชปดิวรดั า๑ ประสูตเิ มื่อวนั เสาร์ เดอื น ๔ ขึน้ ๙ ค�่ำ ปีมะเมีย จตั วาศก จ.ศ. ๑๒๔๔ ตรงกับวันท่ี ๑๗
มนี าคม พ.ศ. ๒๔๒๕ ตอ่ มาเมอื่ ปชี วด สมั ฤทธศิ ก จ.ศ. ๑๒๕๐ พ.ศ. ๒๔๓๑ เฉลมิ พระยศเปน็ พระเจา้ ลกู ยาเธอ

_____________________________
๑ ดทู ี่ พระองคเ์ จา้ สายสวลภี ิรมย์ ในพระองคเ์ จา้ หลานเธอ รชั กาลที่ ๓ หน้า ๑๕๕.

92

เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร๑ คร้ันปีเถาะ ตรีศก จ.ศ. ๑๒๕๓ วันท่ี ๑๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๓๔ ทรงเพิ่มพระเกียรติยศ
เป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ๒ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร จุฬาลงกรณ์ราชรวิวงศ์ อุภัยพงศพิสุทธ์ิ วรุตโมภโตสุชาต
บรมนฤนาถราชกุมาร กรมหมื่นลพบุราดิศร ได้เสด็จไปทรงศึกษาในประเทศอังกฤษ ทรงได้รับปริญญา
อักษรศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เสด็จกลับมารับราชการ ครั้นปีมะเมีย อัฐศก จ.ศ. ๑๒๖๘
พ.ศ. ๒๔๔๙ เลื่อนเปน็ สมเด็จพระเจ้าลกู ยาเธอ เจา้ ฟา้ ยุคลทิฆมั พรฯ กรมขนุ ลพบรุ ีราเมศวร์ ครั้น พ.ศ. ๒๔๕๒
เปน็ เจา้ กรมพล�ำภัง ต่อมาเม่อื พ.ศ. ๒๔๕๓ - พ.ศ. ๒๔๖๘ ได้เป็นข้าหลวงเทศาภบิ าลมณฑลนครศรีธรรมราช
ถงึ รชั กาลที่ ๖ เล่ือนเป็นนายพลโท ราชองครักษ์พเิ ศษ นายทหารพเิ ศษ กรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็ก
รักษาพระองค์ จ.ป.ร. นายทหารพิเศษ กรมทหารรักษาวัง ว.ป.ร. และเป็นสมุหมนตรี ทรงด�ำรงต�ำแหน่ง
อุปราชมณฑลปักษ์ใต้ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๕๘ - พ.ศ. ๒๔๖๘ ในรัชกาลที่ ๗ เมื่อปีฉลู สัปตศก จ.ศ. ๑๒๘๗
พ.ศ. ๒๔๖๘ ทรงได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ เป็นเสนาบดี
กระทรวงมหาดไทย ทรงด�ำรงต�ำแหน่งองคมนตรี คร้ัน พ.ศ. ๒๔๗๓ เป็นอภิรัฐมนตรี สิ้นพระชนม์ใน
รัชกาลที่ ๗ เมอ่ื วันศกุ ร์ เดอื น ๕ ขึน้ ๓ คำ่� ปีวอก จัตวาศก จ.ศ. ๑๒๙๔ ตรงกบั วันที่ ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๕
พระชนั ษา ๕๐ ปี พระราชทานเพลงิ พระศพ ณ พระเมรวุ ดั เทพศริ นิ ทราวาส เมอื่ วนั ที่ ๑๒ มนี าคม พ.ศ. ๒๔๗๕
เปน็ ต้นราชสกลุ ยุคล ณ อยธุ ยา
ที่ ๔๒ พระองค์เจา้ ชายวุฒไิ ชยเฉลมิ ลาภ (พระเจ้าบรมวงศเ์ ธอ กรมหลวงสิงหวกิ รมเกรยี งไกร) ที่ ๓
ในเจ้าจอมมารดาทบั ทมิ พระสนมเอก ประสตู เิ มือ่ วนั พุธ เดอื นอา้ ย ขน้ึ ๖ คำ�่ ปมี ะแม เบญจศก จ.ศ. ๑๒๔๕
ตรงกบั วนั ท่ี ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๒๖ เม่อื พ.ศ. ๒๔๔๐ ไดเ้ สดจ็ ไปทรงศึกษาวิชาทหารเรอื ในประเทศอังกฤษ
เสดจ็ กลับเม่อื พ.ศ. ๒๔๔๘ แลว้ เขา้ รบั ราชการในกระทรวงทหารเรอื ส�ำรองราชการกรมบญั ชาการกลาง ต่อมา
พ.ศ. ๒๔๔๙ เป็นผู้บงั คับการเรือมกุฎราชกมุ าร ไดเ้ ปน็ นายพลเรอื ตรี ต�ำแหน่งผู้บัญชาการทหารเรอื ชายทะเล
ถึงรัชกาลท่ี ๖ เป็นราชองครักษ์ เมื่อปีชวด จัตวาศก จ.ศ. ๑๒๗๔ พ.ศ. ๒๔๕๕ ทรงสถาปนาเป็น
พระเจ้านอ้ งยาเธอ กรมหมนื่ สิงหวกิ รมเกรียงไกร รั้งต�ำแหนง่ เจา้ กรมยทุ ธศึกษา กระทรวงทหารเรอื เลือ่ นเปน็
นายพลเรือโท ราชองครักษ์ เมอ่ื พ.ศ. ๒๔๕๘ ทรงด�ำรงต�ำแหน่งเสนาธกิ ารทหารเรอื ครน้ั พ.ศ. ๒๔๖๐ เป็น
จเรทหารเรอื ตอ่ มาเมอ่ื ปวี อก โทศก จ.ศ. ๑๒๘๒ พ.ศ. ๒๔๖๓ เลอ่ื นเปน็ พระเจา้ นอ้ งยาเธอ กรมขนุ ฯ แลว้ เลอ่ื น
เป็นนายพลเรือเอก เมอื่ ปชี วด ฉศก จ.ศ. ๑๒๘๖ พ.ศ. ๒๔๖๗ ทรงด�ำรงต�ำแหนง่ เสนาบดกี ระทรวงทหารเรอื
ถึงรัชกาลท่ี ๗ เมือ่ พ.ศ. ๒๔๖๘ เป็นอภิรฐั มนตรี ตอ่ มาเม่อื ปีมะแม ตรีศก จ.ศ. ๑๒๙๓ วันที่ ๘ พฤศจกิ ายน
พ.ศ. ๒๔๗๔ เลื่อนเป็นพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงฯ และเป็นเสนาบดีกระทรวงกลาโหมในปีเดียวกัน
สนิ้ พระชนมใ์ นรชั กาลปจั จบุ นั เม่ือปีกุน นพศก จ.ศ. ๑๓๐๙ วนั ที่ ๑๘ ตลุ าคม พ.ศ. ๒๔๙๐ พระชนั ษา ๖๔ ปี
พระราชทานเพลงิ พระศพ ณ วดั เทพศิรนิ ทราวาส เมอื่ พ.ศ. ๒๔๙๑ เป็นต้นราชสกลุ วุฒิชยั ณ อยธุ ยา

_____________________________
๑ “ประกาศเลอ่ื นพระอรรคชายาเธอ แลสมเดจพระเจา้ ลกู เธอ พระเจา้ ลกู เธอ เจา้ ฟา้ ,” ใน ราชกจิ จานเุ บกษา เลม่ ๕
จ.ศ. ๑๒๕๐, หนา้ ๖๑.
๒ “ประกาศการสมโภชในงานรบั พระสุพรรณบตั ร,” ใน ราชกจิ จานเุ บกษา เล่ม ๘ ร.ศ. ๑๑๐, หน้า ๓๔๙.

93

ที่ ๔๓ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงวไลยอลงกรณ์ นรินทรเทพยกุมารี (สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลย
อลงกรณ์ กรมหลวงเพ็ชรบุรีราชสิรินธร) ท่ี ๕ ในสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวีฯ ประสูติเม่ือวันพุธ
เดอื น ๕ แรม ๖ คำ่� ปวี อก ฉศก จ.ศ. ๑๒๔๖ ตรงกบั วนั ท่ี ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๒๗ ทรงสง่ เสรมิ การศกึ ษาสตรี
เช่น ทรงสร้างโรงเรียนราชินีบนเพ่ือเทิดพระเกียรติสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ ทรงอุดหนุน
การศึกษาสตรีทั้งในพระนครและต่างจังหวัด ถึงรัชกาลที่ ๖ เม่ือปีกุน พ.ศ. ๒๔๕๔ ทรงสถาปนาเป็นสมเด็จ
พระเจา้ นอ้ งนางเธอ เจา้ ฟา้ วไลยอลงกรณ์ นรนิ ทรเทพยกมุ ารี กรมหลวงเพช็ รบรุ รี าชสริ นิ ธร ไดร้ บั พระราชทานยศ
เป็นนายพนั เอก ต�ำแหน่งผู้บงั คับการพเิ ศษ กรมทหารม้าท่ี ๒ ต่อมาเปล่ยี นเปน็ ผบู้ งั คับการพเิ ศษกองพันท่ี ๒
กรมทหารมา้ ท่ี ๑ ครัน้ ถึงรัชกาลที่ ๘ เมอื่ วนั ท่ี ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ทรงสถาปนาเป็นสมเดจ็ พระราช
ปติ จุ ฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ กรมหลวงเพช็ รบุรรี าชสิรินธร๑ สิ้นพระชนมใ์ นรชั กาลท่ี ๘ เมอื่ ปขี าล สมั ฤทธศิ ก
จ.ศ. ๑๓๐๐ วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ พระชันษา ๕๔ ปี พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุ
ท้องสนามหลวง เม่อื วันท่ี ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
ที่ ๔๔ พระองค์เจ้าชายดิลกนพรัฐ๒ (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหม่ืนสรรควิสัยนรบดี) ประสูติแต่
เจา้ จอมมารดาทิพเกสร๓ เมอื่ วันเสาร์ เดอื น ๖ ข้นึ ๙ คำ�่ ปีวอก ฉศก จ.ศ. ๑๒๔๖ ตรงกบั วนั ที่ ๓ พฤษภาคม
พ.ศ. ๒๔๒๗ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๐ ได้เสด็จไปทรงศึกษาในประเทศอังกฤษและเยอรมนี เป็นดอกเตอร์วิทสตาตส์
วิสเซนซัฟท์ (Doktor der Staatswissenschaften) ในมหาวิทยาลัยทึบบิงเงน (University of Tubingen)
ในรัชกาลท่ี ๕ เม่ือ พ.ศ. ๒๔๕๑ เป็นปลัดกรม (พิเศษ) แผนกอัยการต่างประเทศ กรมฝ่ายเหนือ กระทรวง
มหาดไทย ครั้น พ.ศ. ๒๔๕๒ เป็นปลัดส�ำรวจ กรมฝ่ายเหนือ กระทรวงมหาดไทย ต่อมา พ.ศ. ๒๔๕๓ เป็น
เจา้ กรม กรมเลขานุการ กระทรวงมหาดไทย และไดร้ ับต�ำแหนง่ เจ้ากรมพล�ำภัง
ถึงรัชกาลท่ี ๖ เม่ือปีชวด จัตวาศก จ.ศ. ๑๒๗๔ พ.ศ. ๒๔๕๕ ทรงสถาปนาเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ
กรมหม่ืนสรรควิสัยนรบดี และเลื่อนเป็นมหาอ�ำมาตย์ตรี คงต�ำแหน่งในกระทรวงมหาดไทย สิ้นพระชนม์
ในรัชกาลท่ี ๖ เม่ือวันอาทิตย์ เดือนย่ี ขึ้น ๖ ค�่ำ ปีชวด จัตวาศก จ.ศ. ๑๒๗๔ ตรงกับวันท่ี ๑๒ มกราคม
พ.ศ. ๒๔๕๕ พระชันษา ๒๙ ปี พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุวดั ราชาธวิ าส เม่ือวนั ที่ ๒๘ พฤษภาคม
พ.ศ. ๒๔๕๗

_____________________________
๑ “ประกาศเฉลิมพระเกยี รติยศ พระราชปิตจุ ฉา พระเชษฐภคินีและพระอนุชา,” ใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๒
แผนกสามญั ภาค ๑ วนั ที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘, หนา้ ๑๑๗๘.
๒ ราชนิ กิ ลู รัชกาลท่ี ๕, หนา้ ๑๓๑ ว่า “ดิลกนพรัตน”์
๓ เจา้ จอมมารดาทพิ เกสร ธดิ าเจา้ นอ้ ยมหาพรหมและเจา้ อบุ ลวรรณา ณ เชยี งใหม่ (ราชนิ กิ ลู รชั กาลที่ ๕, หนา้ ๑๓๑.)
แตอ่ ีกแห่งหนง่ึ ว่า เป็นธิดาเจา้ สุริยะ และเจ้าหญงิ สวุ ัณณา ถงึ แก่อสญั กรรมวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๕๐ (เจ้าหลวง
เชียงใหม่ (เชียงใหม่ : ส�ำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ๒๕๓๙), หน้า ๒๔๕ - ๒๔๗.) บางแห่งว่า
วนั ท่ี ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๔๖ (Prince Dilok Nabarat, Siam’s Rural Economy under King Chulalongkorn,
Walter E.J. Tips, translated (Bangkok : White Lotus Press, 2000), p. xi.)

94

ท่ี ๔๕๑ พระองค์เจ้าหญิงนภาจรจ�ำรัสศรี๒ (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านภาจรจ�ำรัสศรี๓) ที่ ๒
ในพระวิมาดาเธอฯ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา ประสูติเมื่อวันจันทร์ เดือน ๖ ข้ึน ๑๑ ค�่ำ
ปีวอก ฉศก จ.ศ. ๑๒๔๖ ตรงกับวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๒๗ คร้ันปีชวด สัมฤทธิศก จ.ศ. ๑๒๕๐
พ.ศ. ๒๔๓๑ เฉลิมพระยศเป็นพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้านภาจรจ�ำรัสศรี สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อวันเสาร์
เดือน ๑๐ ขึ้น ๖ ค�่ำ ปีฉลู เอกศก จ.ศ. ๑๒๕๑ ตรงกับวันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๓๒ พระชันษา ๖ ปี
พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุทอ้ งสนามหลวง เม่ือวนั ที่ ๖ กุมภาพนั ธ์ พ.ศ. ๒๔๓๒
ที่ ๔๖ พระองค์เจ้าชายสุริยงประยุรพันธุ์ (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหม่ืนไชยาศรีสุริโยภาส) ท่ี ๓
ในเจา้ จอมมารดาโหมด ประสูติเมือ่ วันอังคาร เดือน ๙ ขึน้ ๗ ค�ำ่ ปีวอก ฉศก จ.ศ. ๑๒๔๖ ตรงกบั วันท่ี ๒๙
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๒๗ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๑ ได้เสด็จไปทรงศึกษาในประเทศอังกฤษ ในรัชกาลที่ ๕ เม่ือ
พ.ศ. ๒๔๕๐ ทรงด�ำรงต�ำแหนง่ ผู้ชว่ ยปลัดทลู ฉลองกระทรวงพระคลังมหาสมบตั ิ และเปน็ อธบิ ดกี รมส�ำรวจ
ถึงรัชกาลที่ ๖ พ.ศ. ๒๔๕๔ ทรงด�ำรงต�ำแหน่งอธิบดีกรมกระสาปน์สิทธิการ คร้ันปีขาล ฉศก
จ.ศ. ๑๒๗๖ พ.ศ. ๒๔๕๗ ทรงสถาปนาเปน็ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นไชยาศรีสุรโิ ยภาส ต�ำแหนง่ ผู้ตรวจการ
กรมศิลปากร สิน้ พระชนมใ์ นรชั กาลที่ ๖ เมื่อวนั ศุกร์ เดอื น ๖ ขน้ึ ๓ คำ่� ปีมะแม เอกศก จ.ศ. ๑๒๘๑ ตรงกับ
วนั ท่ี ๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๒ พระชนั ษา ๓๖ ปี พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรวุ ดั เทพศิรนิ ทราวาส
เมือ่ วันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๓ เปน็ ตน้ ราชสกลุ สุรยิ ง ณ อยธุ ยา
ที่ ๔๗ พระองค์เจา้ หญงิ เยาวภาพงศ์สนิท (พระเจ้าบรมวงศเ์ ธอ พระองคเ์ จ้าเยาวภาพงศส์ นิท) ที่ ๑
ในเจ้าจอมมารดา หมอ่ มราชวงศเ์ นื่อง๔ ประสตู ิเมอ่ื วนั พฤหัสบดี เดอื น ๑๐ ขึน้ ๘ ค่�ำ ปวี อก ฉศก จ.ศ. ๑๒๔๖
ตรงกับวันที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๒๗ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๗ เม่ือปีจอ ฉศก จ.ศ. ๑๒๙๖ วันท่ี ๑๓
มถิ นุ ายน พ.ศ. ๒๔๗๗ พระชนั ษา ๕๐ ปี พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรวุ ัดเบญจมบพติ รดุสิตวนาราม
เมื่อวนั ที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘
ท่ี ๔๘ พระองค์เจา้ หญงิ อรประพนั ธ์ร�ำไพ (พระเจา้ บรมวงศเ์ ธอ พระองค์เจา้ อรประพันธร์ �ำไพ) ที่ ๑
ในเจา้ จอมมารดาออ่ น๕ ประสูติเมอ่ื วนั อังคาร เดือน ๘ ปฐมาษาฒ แรม ๑๑ คำ่� ปีระกา สปั ตศก จ.ศ. ๑๒๔๗
ตรงกับวันท่ี ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๒๘ ส้นิ พระชนม์ในรัชกาลที่ ๗ เมือ่ ปีระกา เบญจศก จ.ศ. ๑๒๙๕ วันที่ ๒๖
พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๖๖ พระชันษา ๔๘ ปี พระราชทานเพลิงพระศพ ณ วัดเทพศิรินทราวาส เม่ือวันที่ ๔
มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๖

_____________________________
๑ ราชกจิ จานเุ บกษา เลม่ ๖ ร.ศ. ๑๐๘, หน้า ๑๙๔ วา่ เป็นพระราชธิดาล�ำดับที่ ๔๙ พระชนั ษาตามสุรยิ คติ ๕ ปี
๓ เดอื น ๒๕ วัน หรอื ๑๙๔๔ วนั
๒ พระนามเดิม พระองค์เจา้ เขจรจ�ำรสั (ดู จดหมายเหตพุ ระราชกิจรายวัน ในพระบาทสมเด็จพระจลุ จอมเกล้า
เจ้าอยูห่ ัว ภาค ๑๗ (พระนคร : โรงพมิ พอ์ ักษรนติ ิ, ๒๔๘๑), หนา้ ๑๐๘.)
๓ พระนามพระองคเ์ จ้าวังหลวงแลวงั น่าฯ วา่ พระเจ้าลกู เธอ เจ้าฟ้าหญิงนภาจรจ�ำรสั ศรี ภทั ราวดีราชธิดา
๔ เจ้าจอมมารดา หม่อมราชวงศ์เน่ือง ธิดาพระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ (ราชสกุล สนิทวงศ์) กับหม่อมเขียน
(ดู ราชินิกูลรัชกาลที่ ๕, หน้า ๑๓๑-๑๓๒.) ถึงแก่อนิจกรรมวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๒๘ พระราชทานเพลิงศพ
ณ เมรุวดั เทพศิรินทราวาส วันที่ ๑๘ กุมภาพนั ธ์ พ.ศ. ๒๔๓๔ (ราชกิจจานุเบกษา เลม่ ๘ ร.ศ. ๑๑๐, หนา้ ๔๒๗.)
๕ เจา้ จอมมารดาออ่ น ธดิ าเจา้ พระยาสรุ พนั ธพ์ุ สิ ทุ ธ (เทศ บนุ นาค) และทา่ นผหู้ ญงิ อู่ (ดู อธบิ ายราชนิ กิ ลุ บางชา้ ง, หนา้ ๔๖.)
๖ ราชกจิ จานุเบกษา เล่ม ๕๐ พ.ศ. ๒๔๗๖, หนา้ ๖๕๙ ว่า สิน้ พระชนม์วันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๖

95

ท่ี ๔๙ พระองค์เจ้าหญิงมาลินีนภดารา (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามาลินีนภดารา
กรมขนุ ศรสี ัชนาลัยสรุ กญั ญา) ที่ ๓ ในพระวมิ าดาเธอฯ กรมพระสทุ ธาสินีนาฏ ปยิ มหาราชปดวิ รดั า ประสตู เิ ม่ือ
วันศกุ ร์ เดือน ๘ อตุ ราษาฒ แรม ๕ ค�่ำ ปรี ะกา สัปตศก จ.ศ. ๑๒๔๗ ตรงกับวนั ท่ี ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๒๘
เมื่อปีชวด สัมฤทธิศก จ.ศ. ๑๒๕๐ พ.ศ. ๒๔๓๑ เฉลิมพระยศเป็นพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ามาลินีนภดารา
ทรงเพิ่มพระยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ามาลินีนภดารา สิรินิภาพรรณวดี เมื่อวันอาทิตย์ เดือนยี่
แรม ๗ ค�่ำ ปีวอก อัฐศก จ.ศ. ๑๒๕๘ วันที่ ๒๔ มกราคม๑ พ.ศ. ๒๔๓๙ ส้ินพระชนม์ในรัชกาลท่ี ๖ เมื่อ
วันศุกร์ เดอื นยี่ ข้ึน ๒ คำ�่ ปีชวด ฉศก จ.ศ. ๑๒๘๖ ตรงกบั วนั ที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๗ พระชนั ษา ๔๑ ปี
โปรดเกล้าฯ ให้เล่ือนพระนามเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้ามาลินีนภดารา สิรินิภาพรรณวดี กรมขุน
ศรีสัชนาลัยสุรกัญญา เม่ือส้ินพระชนม์แล้วในปีนั้น พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุท้องสนามหลวง
เม่อื วนั ที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๘
ที่ ๕๐ พระองค์เจ้าหญิง (แฝด) ประภาพรรณพิไลย (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภา
พรรณพิไลย) ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดาพร้อม๒ ประสูติเม่ือวันพฤหัสบดี เดือน ๙ ข้ึน ๓ ค�่ำ ปีระกา สัปตศก
จ.ศ. ๑๒๔๗ ตรงกับวันที่ ๑๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๒๘ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลปัจจุบัน เมื่อปีชวด สัมฤทธิศก
จ.ศ. ๑๓๑๐ วันที่ ๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๙๑ พระชันษา ๖๓ ปี พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุ
ทอ้ งสนามหลวง เมื่อวนั ท่ี ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๓
ที่ ๕๑ พระองค์เจ้าหญิง (แฝด) ประไภยพรรณพิลาส (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประไภย
พรรณพิลาส) ท่ี ๒ ในเจ้าจอมมารดาพร้อม ประสูติเม่ือวันพฤหัสบดี เดือน ๙ ขึ้น ๓ ค�่ำ ปีระกา สัปตศก
จ.ศ. ๑๒๔๗ ตรงกับวันท่ี ๑๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๒๘ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เม่ือวันพุธ เดือน ๑๒
แรม ๗ ค�่ำ ปีจอ อฐั ศก จ.ศ. ๑๒๔๘ ตรงกบั วนั ท่ี ๑๗ พฤศจกิ ายน พ.ศ. ๒๔๒๙๓ พระชนั ษา ๒ ปี พระราชทาน
เพลิงพระศพ ณ พระเมรุบรรพตวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เมื่อวันพุธ เดือนยี่ ข้ึน ๕ ค่�ำ ปีจอ อัฐศก
จ.ศ. ๑๒๔๘ ตรงกบั วนั ที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๒๙
ที่ ๕๒ พระองค์เจ้าชายรังสิตประยุรศักดิ์ (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร)
ที่ ๒ ในเจ้าจอมมารดา หม่อมราชวงศ์เน่ือง ประสูติเม่ือวันพฤหัสบดี เดือน ๑๒ ขึ้น ๖ ค่�ำ ปีระกา สัปตศก
จ.ศ. ๑๒๔๗ ตรงกับวันท่ี ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๒๘ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๒ ได้เสด็จไปทรงศึกษาในประเทศ
อังกฤษและเยอรมนี ในมหาวิทยาลัยไฮเด็ลแบร์ก ในรัชกาลท่ี ๖ เม่ือปีขาล ฉศก จ.ศ. ๑๒๗๖ พ.ศ. ๒๔๕๗
ทรงสถาปนาเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหม่ืนไชยนาทนเรนทร๔ ทรงเป็นผู้บัญชาการโรงเรียนราชแพทยาลัย
เปน็ อธบิ ดกี รมมหาวทิ ยาลยั กระทรวงธรรมการ และทรงด�ำรงต�ำแหนง่ อธบิ ดกี รมสาธารณสขุ ในกระทรวงมหาดไทย
ครัน้ ปีจอ จตั วาศก จ.ศ. ๑๒๘๔ พ.ศ. ๒๔๖๕ เล่อื นเป็นพระเจา้ นอ้ งยาเธอ กรมขุนฯ

_____________________________
๑ จดหมายเหตเุ รอื่ งทรงตัง้ พระบรมวงษานวุ งษ์ฯ, หนา้ ๓๖๘.
๒ เจ้าจอมมารดาพรอ้ ม ธิดาพระยาพิษณโุ ลกาธิบดี (บัว) กับคณุ หญิงกลิน่ (ดู ราชินกิ ูลรัชกาลที่ ๕, หน้า ๑๓๕.)
ถงึ แก่อนิจกรรมวันที่ ๘ กมุ ภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๔๑ (ดู ราชกิจจานเุ บกษา เล่ม ๑๕ ร.ศ. ๑๑๗, หน้า ๔๙๓.)
๓ ราชกจิ จานเุ บกษา เลม่ ๓ จ.ศ. ๑๒๔๘, หน้า ๒๘๖ ว่า สิ้นพระชนม์วนั องั คาร เดอื น ๑๒ แรม ๖ ค�ำ่ ปจี อ อฐั ศก
จ.ศ. ๑๒๔๘ ตรงกบั วนั ที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๒๙ เวลา ๑๑ ทุ่ม พระชนั ษา ปี ๑ กบั ๓ เดือน
๔ จดหมายเหตเุ ร่ืองทรงต้งั พระบรมวงศานุวงศ กรุงรตั นโกสินทร ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๖๘, หน้า ๕๔๓.

96

ในรชั กาลท่ี ๗ โปรดเกลา้ ฯ ใหเ้ ปน็ องคมนตรี เมอ่ื พ.ศ. ๒๔๖๘ - ๒๔๗๕ และนายพนั โทพเิ ศษทหารบก
พ.ศ. ๒๔๗๖ - ๒๔๗๗ ทรงเปน็ ทป่ี รกึ ษาราชการของคณะผสู้ �ำเรจ็ ราชการแทนพระองค์
ในรัชกาลปัจจุบัน เม่อื ปีจอ อัฐศก จ.ศ. ๑๓๐๘ วนั ที่ ๑๖ มิถนุ ายน พ.ศ. ๒๔๘๙ - ๒๔๙๒ ทรงเปน็
ประธานคณะผู้ส�ำเร็จราชการแทนพระองค์ พ.ศ. ๒๔๙๒ - ๒๔๙๔ ทรงเป็นผู้ส�ำเร็จราชการแทนพระองค์
ครั้น พ.ศ. ๒๔๙๓ - ๒๔๙๔ ทรงเป็นประธานองคมนตรี เป็นพลเอก นายทหารพิเศษประจ�ำกองพันที่ ๑
กองทหารราบท่ี ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์ ครนั้ ปีขาล โทศก จ.ศ. ๑๓๑๒ วนั ที่ ๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๓
เล่ือนเป็นพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระชัยนาทนเรนทร จุฬาลงกรณราชวโรรส สยามสุขบทบุรัสการี เมตตา
สีตลหฤทัย อาชชวมัททวัธยาศัยสุจารี วิวิธเมธีวงศาธิราชสนิท นวมนริศรสมันนบิดุล ติรตนคุณสรณาภิรัษ
ประยรุ ศกั ดธิ รรมมกิ นาถบพติ ร สน้ิ พระชนมใ์ นรชั กาลปจั จบุ นั เมอื่ วนั ท่ี ๗ มนี าคม ปเี ถาะ ยงั เปน็ โทศก จ.ศ. ๑๓๑๒
พ.ศ. ๒๔๙๔ พระชันษา ๖๖ ปี ต่อมาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศเล่ือนกรมเป็น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมพระยาชัยนาทนเรนทร จุฬาลงกรณราชวโรรส สยามสุขบทบุรัสการี เมตตาสีตลหฤทัย อาชชวมัททวัธยา
ศัยสจุ ารี ววิ ธิ เมธีวงศาธริ าชสนิท นวมนรศิ รสมนั นบิดุล ตริ ตนคุณสรณาภริ กั ษ ประยุรศกั ดธิ รรมมกิ นาถบพติ ร
เม่ือปมี ะโรง จตั วาศก จ.ศ. ๑๓๑๔ วนั ที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๕ พระราชทานเพลงิ พระศพ ณ พระเมรวุ ดั
เบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เม่อื วนั ที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๕ เป็นตน้ ราชสกุล รังสิต ณ อยุธยา
ท่ี ๕๓ สมเด็จเจ้าฟ้าชายสิริราชกกุธภัณฑ์๑ สรรพวิสุทธ์ิมหุดิมงคลอเนกนภดลดารารัตน์ สมันต
บริพัตรวโรภาส อดิศรราชจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพยวโรรส วิสุทธิสมมตวโรภโตปักษ์ อุกฤษฐศักด์ิอรรค
วรราชกุมาร (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสิริราชกกุธภัณฑ์) ท่ี ๕ ในสมเด็จพระศรีพัชรินทรา
บรมราชินีนาถ ประสูติเมื่อวันศุกร์ เดือน ๑๒ แรม ๖ ค่�ำ ปีระกา สัปตศก จ.ศ. ๑๒๔๗ ตรงกับวันที่ ๒๗
พฤศจกิ ายน พ.ศ. ๒๔๒๘ สน้ิ พระชนมใ์ นรชั กาลที่ ๕ เมอ่ื วนั องั คาร เดอื น ๗ ขน้ึ ๑๐ คำ�่ ปกี นุ นพศก จ.ศ. ๑๒๔๙
ตรงกบั วนั ที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๓๐ พระชนั ษา ๒ ป๒ี พระราชทานเพลงิ พระศพ ณ พระเมรทุ อ้ งสนามหลวง
เมอ่ื วนั จนั ทร์ เดอื น ๔ ขน้ึ ๙ คำ�่ ปกี นุ นพศก จ.ศ. ๑๒๔๙ ตรงกบั วนั ที่ ๒๐ กมุ ภาพนั ธ์ พ.ศ. ๒๔๓๐
ท่ี ๕๔ พระองค์เจ้าหญิงนิภานภดล (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านิภานภดล กรมขุนอู่ทอง
เขตขัตติยนารี) ที่ ๔ ในพระวิมาดาเธอฯ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา ประสูติเมื่อวันเสาร์
เดอื นอา้ ย ขน้ึ ๙ ค่�ำ ปีจอ อฐั ศก จ.ศ. ๑๒๔๘ ตรงกับวนั ท่ี ๔ ธนั วาคม พ.ศ. ๒๔๒๙ เมื่อปีชวด สมั ฤทธิศก
จ.ศ. ๑๒๕๐ พ.ศ. ๒๔๓๑ เฉลิมพระยศเป็นพระเจา้ ลูกเธอ เจา้ ฟา้ นิภานภดล ครั้นปีจอ สัมฤทธิศก จ.ศ. ๑๒๖๐
พ.ศ. ๒๔๔๑ ทรงเพ่มิ พระเกยี รติยศเปน็ สมเดจ็ พระเจ้าลกู เธอ เจ้าฟา้ นภิ านภดล วมิ ลประภาวดี ในรชั กาลท่ี ๕
ทรงท�ำหน้าทรี่ าชเลขานุการฝ่ายใน
ถึงรัชกาลท่ี ๖ เม่ือปีฉลู สัปตกศก จ.ศ. ๑๒๘๗ พ.ศ. ๒๔๖๘ ทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระเจ้า
น้องนางเธอ เจ้าฟ้านิภานภดล วิมลประภาวดี กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี ทรงสร้างโรงเรียนนิภาในบริเวณ
ต�ำหนักวังสวนสุนันทา เพื่อชุบเล้ียงเด็กและข้าหลวงให้มีการศึกษาอย่างดี สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๘ ท่ีชวา

_____________________________
๑ ราชนิ กิ ลู รชั กาลท่ี ๕, หนา้ ๑๑๐ วา่ “ศริ ริ าชกกธุ ภณั ฑ”์ โรงพยาบาลศริ ริ าชไดช้ อื่ มาจากพระนามของเจา้ ฟา้ พระองคน์ ้ี
๒ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๔ จ.ศ. ๑๒๔๙ ว่า พระชันษาตามสุริยคติได้ ๑ ปี ๖ เดือน ๔ วัน ตามจันทรคติได้
๑ ปี ๖ เดือน ๑๙ วัน หรอื ๕๕๐ วนั

97

เม่ือปีกุน สัปตศก จ.ศ. ๑๒๙๗ วันท่ี ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ พระชันษา ๔๙ ปี พระราชทานเพลิงพระศพ
ณ พระเมรุท้องสนามหลวง เมือ่ วนั ท่ี ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๘
ที่ ๕๕ พระองค์เจ้าหญิงโกมลเสาวมาล (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโกมลเสาวมาล) ประสูติ
แตเ่ จา้ จอมมารดาวง๑ เม่ือวนั จนั ทร์ เดือน ๑๑ ข้ึน ๒ คำ�่ ปกี นุ นพศก จ.ศ. ๑๒๔๙ ตรงกับวันที่ ๑๙ กันยายน
พ.ศ. ๒๔๓๐ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลท่ี ๕ เมื่อวันเสาร์ เดือน ๖ ข้ึนค่�ำ ๑ ปีขาล โทศก จ.ศ. ๑๒๕๒ ตรงกับ
วนั ท่ี ๑๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๓ พระชนั ษา ๓ ปี พระราชทานเพลงิ พระศพ ณ พระเมรวุ ดั สเกษ เม่ือวันท่ี ๑๘
ตลุ าคม พ.ศ. ๒๔๓๓๒
ท่ี ๕๖ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิง (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้า) ท่ี ๖ ในสมเด็จพระศรีพัชรินทรา
บรมราชินีนาถฯ ประสูติเมื่อวันอังคาร เดือนอ้าย แรม ๑๓ ค่�ำ ปีกุน นพศก จ.ศ. ๑๒๔๙ ตรงกับวันที่ ๑๓
ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๓๐ ส้ินพระชนมใ์ นวันประสตู ิ
ที่ ๕๗๓ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงศิราภรณ์โสภณ พิมลรัตนวดี (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้า
ศริ าภรณ์โสภณ) ที่ ๖ ในสมเด็จพระศรสี วรนิ ทริ า บรมราชเทวีฯ ประสตู ิเม่อื วันพฤหัสบดี เดอื น ๘ อตุ ราษาฒ
ขน้ึ ๑๑ คำ่� ปชี วด สมั ฤทธศิ ก จ.ศ. ๑๒๕๐ ตรงกบั วนั ที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๓๑ สน้ิ พระชนมใ์ นรชั กาลท่ี ๕
เมื่อวันเสาร์ เดือน ๗ ขึ้น ๙ ค�่ำ ปีจอ สัมฤทธิศก จ.ศ. ๑๒๖๐ ตรงกับวันท่ี ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๑
พระชันษา ๑๑ ป๔ี พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุทอ้ งสนามหลวง เมอื่ วันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๓
ที่ ๕๘ พระองค์เจ้าชายเขจรจิรประดิษฐ (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเขจรจิรประดิษฐ) ท่ี ๑
ในเจา้ จอมมารดาแส๕ พระสนมเอก ประสตู เิ มือ่ วันจนั ทร์ เดอื น ๘ อตุ ราษาฒ ขึ้น ๑๕ ค่�ำ ปีชวด สมั ฤทธศิ ก
จ.ศ. ๑๒๕๐ ตรงกับวนั ท่ี ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๓๑ ส้นิ พระชนมใ์ นรัชกาลท่ี ๕ เมอื่ วันอาทิตย์ เดือน ๑๑
ข้ึน ๒ คำ�่ ปีชวด สมั ฤทธศิ ก จ.ศ. ๑๒๕๐ ตรงกบั วนั ท่ี ๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๑ พระชนั ษา ๓ เดือน๖
ที่ ๕๙ พระองค์เจ้าชายสมัยวุฒิวโรดม๗ (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสมัยวุฒิวโรดม) ที่ ๓
ในเจา้ จอมมารดาพรอ้ ม ประสูติเม่ือวนั พฤหสั บดี เดือน ๑๐ ข้ึน ๘ ค่�ำ ปีชวด สมั ฤทธศิ ก จ.ศ. ๑๒๕๐ ตรงกับ
วันที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ. ๒๔๓๑ ส้ินพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เม่ือวันจันทร์ เดือนอ้าย แรม ๒ ค�่ำ ปีฉลู
เอกศก จ.ศ. ๑๒๕๑ ตรงกับวันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๓๒ พระชันษาปี ๑๘ พระราชทานเพลิงพระศพ
ณ พระเมรุทอ้ งสนามหลวง เมอ่ื วนั ท่ี ๖ กมุ ภาพนั ธ์ พ.ศ. ๒๔๓๒

_____________________________
๑ เจ้าจอมมารดาวง หรอื วงศ์ ธิดาพระยาอรรคราชนารถภักดี (เนตร เนตรายน) กับขรัวยายอรนุ่ (ดู ราชินกิ ูล
รัชกาลที่ ๕, หนา้ ๑๓๕.)
๒ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๗ ร.ศ. ๑๐๙, หนา้ ๒๖๑.
๓ ราชกิจจานเุ บกษา เล่ม ๑๕ ร.ศ. ๑๑๗, หนา้ ๙๔ ว่า เป็นพระราชธดิ าที่ ๖๓
๔ เรอ่ื งเดียวกัน, หนา้ ๙๔, ๒๒๘ วา่ สนิ้ พระชนมเ์ วลาย�่ำร่งุ แล้ว ๓ นาที พระชนั ษา ๙ ปี ๑๐ เดือน ๘ วัน
๕ เจา้ จอมมารดาแส พระสนมเอก ธิดาพระยาอัพภนั ตริกามาตย์ (ดศิ โรจนดศิ ) กบั ขรัวยายบาง เกิดเม่ือวันท่ี ๒๔
ธนั วาคม พ.ศ. ๒๔๑๑ ถงึ แกอ่ สญั กรรมวนั ท่ี ๑๔ ตลุ าคม พ.ศ. ๒๔๖๘ อายุ ๕๗ ปี (ดู เรอื่ งตระกลู วงษพ์ ระยาอพั ภนั ตรกิ ามาตย์
(ดศิ ) หนา้ ๑๔)
๖ ราชกจิ จานุเบกษา เลม่ ๕ จ.ศ. ๑๒๕๐, หน้า ๒๔๓ ว่า พระชันษา ๒ เดือน ๑๖ วัน
๗ ราชกจิ จานเุ บกษา เลม่ ๖ ร.ศ. ๑๐๘, หนา้ ๓๑๙ และ พระนามพระองคเ์ จา้ วงั หลวงแลวงั นา่ ฯ วา่ สมยั วฎุ ฐวิ โรดม
๘ ราชกิจจานุเบกษา เลม่ ๖ ร.ศ. ๑๐๘, หนา้ ๓๒๐ ว่า ๑ ปี ๒ เดือน ๒๗ วัน หรอื ๔๕๒ วนั

98

ท่ี ๖๐ พระองคเ์ จา้ ชายอศิ รยิ าภรณ์ (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอิศริยาภรณ)์ ที่ ๑ ในเจา้ จอม
มารดา หม่อมราชวงศ์เกสร๑ ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๑๑ แรมค่�ำ ๑ ปีชวด สัมฤทธิศก จ.ศ. ๑๒๕๐
ตรงกบั วนั ที่ ๒๑ ตลุ าคม พ.ศ. ๒๔๓๑ สนิ้ พระชนมใ์ นรชั กาลที่ ๕ เมอ่ื วนั พฤหสั บดี เดอื น ๑๑ ขน้ึ คำ�่ ๑ ปมี ะโรง
จัตวาศก จ.ศ. ๑๒๕๔ ตรงกับวันท่ี ๒๒ กนั ยายน พ.ศ. ๒๔๓๕ พระชนั ษา ๕ ป๒ี พระราชทานเพลิงพระศพ
ณ พระเมรุวัดเทพศริ นิ ทราวาส เมื่อวันที่ ๑๔ มถิ นุ ายน พ.ศ. ๒๔๓๗
ที่ ๖๑ พระองค์เจ้าหญิงอาทรทิพยนิภา (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภา) ที่ ๑
ในเจ้าจอมมารดาช่มุ ๓ ประสูติเม่ือวนั อาทติ ย์ เดอื น ๕ แรม ๖ คำ�่ ปฉี ลู เอกศก จ.ศ. ๑๒๕๑ ตรงกบั วันท่ี ๒๑
เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๒ ส้ินพระชนม์ในรัชกาลปัจจุบัน เม่ือปีจอ สัมฤทธิศก จ.ศ. ๑๓๒๐ วันท่ี ๒๓ มีนาคม
พ.ศ. ๒๕๐๑ พระชันษา ๖๙ ปี พระราชทานเพลงิ พระศพ ณ พระเมรวุ ดั เทพศริ นิ ทราวาส เม่อื วันท่ี ๕ กรกฎาคม
พ.ศ. ๒๕๐๑
ท่ี ๖๒ สมเดจ็ เจา้ ฟา้ ชายอษั ฎางคเ์ ดชาวธุ วสิ ฏิ ฐวสิ ทุ ธลิ กั ษณโสภณ อบุ ตั ดิ ลกาลนยิ ม ปฐมปรวิ ตั ร
รัตนโกสินทรศก ศตสาธกอัษโฎดดร สถาพรมงคลสมัย นราธิปไตยบรมนาถ จุฬาลงกรณ์ราชวโรรส
อดุลยยศอุกฤษฐศักดิ อุภโตปักษ์วิสุทธิกระษัตริย์ขัตติยราชกุมาร (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้า
อัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา) ท่ี ๗ ในสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถฯ ประสูติเมื่อ
วนั อาทติ ย์ เดอื น ๖ ข้ึน ๑๓ ค่�ำ ปีฉลู เอกศก จ.ศ. ๑๒๕๑ ตรงกับวนั ที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๓๒ เม่ือปจี อ
สัมฤทธิศก จ.ศ. ๑๒๖๐ พ.ศ. ๒๔๔๑ ทรงรับสถาปนาเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ
วสิ ฏิ ฐวสิ ทุ ธิลกั ษณโสภณ อบุ ตั ดิ ลกาลนิยม ปฐมปริวัตรรัตนโกสินทรศก ศตสาธกอัษโฎดดร สถาพรมงคลสมัย
นราธิปไตยบรมนาถ จุฬาลงกรณ์ราชวโรรส อดุลยยศอุกฤษฐศักดิ อุภโตปักษ์วิสุทธิกระษัตริย์ขัตติยราชกุมาร
กรมขนุ นครราชสมี า ครน้ั พ.ศ. ๒๔๔๘ ไดเ้ สดจ็ ไปทรงศกึ ษาในประเทศองั กฤษ เสดจ็ กลบั มารบั ราชการทหารบก
ถงึ รชั กาลท่ี ๖ เลอื่ นเปน็ สมเดจ็ พระเจา้ นอ้ งยาเธอ เจา้ ฟา้ ฯ กรมหลวงฯ เมอื่ ปมี ะโรง อฐั ศก จ.ศ. ๑๒๗๘
พ.ศ. ๒๔๕๙ เป็นนายพลตรี ราชองครักษ์ ต�ำแหน่งผู้บัญชาการกองพล เลื่อนเป็นนายพลเรือเอก ผู้ส�ำเร็จ
ราชการกระทรวงทหารเรือ เม่ือปีกุน เบญจศก จ.ศ. ๑๒๘๕ พ.ศ. ๒๔๖๖ เสด็จทิวงคตเม่ือวันจันทร์
เดือน ๓ แรม ๒ ค่�ำ ปีชวด ฉศก จ.ศ. ๑๒๘๖ ตรงกับวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๗ พระชันษา ๓๖ ปี
พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุท้องสนามหลวง เม่ือวันท่ี ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๘ ทรงสถาปนา
พระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระอนชุ าธริ าชเมอ่ื ทวิ งคตแล้ว
ที่ ๖๓ พระองค์เจ้าหญิงวมิ ลนาคนพีสี๔ (พระเจ้าบรมวงศเ์ ธอ พระองคเ์ จ้าวิมลนาคนพสี ี) ประสตู ิแต่

_____________________________
๑ เจา้ จอมมารดา หมอ่ มราชวงศเ์ กสร ธดิ าหมอ่ มเจา้ สวาดิ์ สนทิ วงศ์ กบั หมอ่ มพลอย (ดู ล�ำดบั ราชตระกลู สนทิ วงศ,์
(พระนคร : โรงพิมพ์ฝาหมนิ , ๒๕๑๒), หนา้ ๔.) ถึงแกอ่ สญั กรรมวันที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๔๑
๒ ราชกจิ จานุเบกษา เลม่ ๙ ร.ศ. ๑๑๑, หน้า ๒๐๒. วา่ พระชันษา ๓ ปี ๑๑ เดือน ๒ วัน หรือ ๑,๔๓๓ วนั
๓ เจา้ จอมมารดาชมุ่ ธดิ าหลวงมงคลรตั น์ (ชว่ ง ไกรฤกษ)์ กบั ขรวั ยายไข่ ถงึ แกอ่ สญั กรรมวนั ที่ ๒๒ มถิ นุ ายน พ.ศ. ๒๔๕๔
(ดู ราชกจิ จานเุ บกษา เล่ม ๒๘ ร.ศ. ๑๓๐, หนา้ ๖๗๕.)
๔ ดู ธรรมเนียมราชตระกูลในกรงุ สยาม, ข้อ (๓๗).

99

เจา้ ดารารัศมี พระราชชายา๑ เม่อื วนั พุธ เดอื น ๑๑ ขึน้ ๘ ค่�ำ ปฉี ลู เอกศก จ.ศ. ๑๒๕๑ ตรงกบั วนั ท่ี ๒ ตุลาคม
พ.ศ. ๒๔๓๒ สนิ้ พระชนมใ์ นรชั กาลท่ี ๕ เมอ่ื วนั องั คาร เดอื น ๔ ขน้ึ ๖ คำ�่ ปมี ะโรง จตั วาศก จ.ศ. ๑๒๕๔ ตรงกบั
วันท่ี ๒๑ กมุ ภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๓๕ พระชันษา ๔ ป๒ี พระราชทานเพลงิ พระศพ ณ พระเมรวุ ดั เทพศริ นิ ทราวาส
เมอื่ วันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๕
ที่ ๖๔ พระองค์เจ้าหญิงอัพภันตรีปชา (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอัพภันตรีปชา) ท่ี ๒ ใน
เจ้าจอมมารดาแส พระสนมเอก ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๑๒ ขึ้น ๘ ค�่ำ ปีฉลู เอกศก จ.ศ. ๑๒๕๑
ตรงกับวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๒ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลท่ี ๗ เมื่อปีจอ ฉศก จ.ศ. ๑๒๙๖ วันท่ี ๑๘
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๗ พระชันษา ๔๕ ปี
ที่ ๖๕ พระองค์เจา้ หญิงอดศิ ยั สรุ ิยาภา๓ (พระเจ้าบรมวงศเ์ ธอ พระองค์เจา้ อดิศยั สุรยิ าภา) ท่ี ๒ ใน
เจ้าจอมมารดาอ่อน ประสูติเมื่อวันศุกร์ เดือน ๓ แรม ๑๐ ค่�ำ ปีฉลู เอกศก จ.ศ. ๑๒๕๑ ตรงกับวันที่ ๑๔
กุมภาพนั ธ์ พ.ศ. ๒๔๓๒ สิน้ พระชนมใ์ นรัชกาลปจั จุบัน เมือ่ ปเี ถาะ เบญจศก จ.ศ. ๑๓๒๕ วนั ที่ ๒๗ มกราคม
พ.ศ. ๒๕๐๖ พระชนั ษา ๗๔ ปี พระราชทานเพลงิ พระศพ ณ พระเมรุวดั เทพศริ ินทราวาส วนั ท่ี ๑๗ มีนาคม
พ.ศ. ๒๕๐๖
ที่ ๖๖ พระองค์เจ้าหญิงทิพยาลังการ (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทิพยาลังการ) ท่ี ๓ ใน
เจ้าจอมมารดาแส พระสนมเอก ประสูติเมื่อวันเสาร์ เดือนย่ี ขึ้น ๘ ค่�ำ ปีขาล โทศก จ.ศ. ๑๒๕๒ ตรงกับ
วนั ท่ี ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๓ ส้ินพระชนม์ในรัชกาลที่ ๗ เม่ือวันเสาร์ เดือน ๗ ข้นึ ค่�ำ ๑ ปีวอก จตั วาศก
จ.ศ. ๑๒๙๔ ตรงกับวันท่ี ๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ พระชนั ษา ๔๒ ปี พระราชทานเพลงิ พระศพ ณ พระเมรุ
วดั เทพศิรนิ ทราวาส เมื่อวนั ท่ี ๒๒ มนี าคม พ.ศ. ๒๔๗๕
ท่ี ๖๗ พระองค์เจ้าหญิงสุจิตราภรณี (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุจิตราภรณี) ท่ี ๒ ใน
เจ้าจอมมารดาชุ่ม ประสูติเม่ือวันศุกร์ เดือนยี่ แรม ๑๓ ค่�ำ ปีขาล โทศก จ.ศ. ๑๒๕๒ ตรงกับวันที่ ๖
กมุ ภาพนั ธ์ พ.ศ. ๒๔๓๓ สิน้ พระชนม์ในรัชกาลที่ ๖ เมอ่ื วนั เสาร์ เดอื น ๑๑ แรม ๖ คำ่� ปีมะเมีย สมั ฤทธิศก
จ.ศ. ๑๒๘๐ ตรงกับวันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๑ พระชันษา ๒๙ ปี พระราชทานเพลิงพระศพ
ณ พระเมรวุ ัดเทพศิรินทราวาส เมือ่ วันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๓
ที่ ๖๘ พระองค์เจ้าหญิงวาปีบุษบากร (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวาปีบุษบากร) ที่ ๔ ใน
เจ้าจอมมารดาพร้อม ประสูติเม่ือวันพฤหัสบดี เดือน ๗ แรม ๔ ค่�ำ ปีเถาะ ตรีศก จ.ศ. ๑๒๕๓ ตรงกับ
วันที่ ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๓๔ ส้ินพระชนม์ในรัชกาลปัจจุบัน เม่ือวันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๕
พ__ร_ะ_ช_นั__ษ_า__๙_๑__ป__ี พ__ร_ะ_ร_า_ช_ท__า_น_เพ__ล_งิ พระศพ ณ พระเมรวุ ดั เทพศริ นิ ทราวาส เมอื่ วนั ที่ ๒๖ มนี าคม พ.ศ. ๒๕๒๖

๑ เจา้ ดารารศั มี พระราชชายา พระธดิ าพระเจา้ อินทวชิ ยานนท์ พระเจ้าเชยี งใหม่องค์ท่ี ๗ กับแมเ่ จา้ ทิพเกสร (ดู
ราชินกิ ูลรัชกาลที่ ๕, หน้า ๑๑๕.) ประสูตเิ มือ่ วนั อังคารท่ี ๒๖ สงิ หาคม พ.ศ. ๒๔๑๖ ตอ่ มา พ.ศ. ๒๔๒๖ พระบาทสมเด็จ
พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ใหจ้ ดั พธิ โี สกนั ตเ์ จา้ ดารารศั มตี ามแบบอยา่ งราชประเพณขี องเจา้ นายในมหาจกั รบี รมราชวงศ์ พรอ้ มกบั
พระราชทานเครื่องโสกนั ตร์ ะดับเจ้าฟา้ ให้เปน็ เคร่อื งทรง ครัน้ พ.ศ. ๒๔๒๙ ได้ถวายตวั รบั ราชการฝ่ายในเปน็ เจา้ จอมมารดา
เจา้ ดารารศั มี ตอ่ มาทรงสถาปนาเปน็ เจา้ ดารารศั มี พระราชชายา เมอ่ื พ.ศ. ๒๔๕๑ สน้ิ พระชนม์ เมอ่ื วนั ท่ี ๙ ธนั วาคม พ.ศ. ๒๔๗๖
พระชันษา ๖๐ ปี
๒ ราชกจิ จานุเบกษา เลม่ ๙ ร.ศ. ๑๑๑, หนา้ ๔๒๕ ว่า พระชันษา ๓ ปี ๔ เดือน ๑๙ วนั หรอื ๑,๒๓๘ วนั
๓ พระเจา้ บรมวงศเ์ ธอ พระองค์เจา้ หญิงอดสิ ัยสรุ ิยาภา (พระนคร : คณะช่าง, ๒๕๐๖.) ว่า อดสิ ัยสรุ ิยาภา

100

ท่ี ๖๙ สมเด็จเจ้าฟ้าชายมหิดลอดุลเดช๑ นเรศวรมหาราชาธิบดินทร์ จุฬาลงกรณนรินทรางกูร
สมบูรณ์เบญจพรสิริสวัสดิ์ ขัตติยวโรภโตสุชาต คุณสังกาศเกียรติประกฤษฐ์ ลักษณวิจิตรพิสิษฐบุรุษย์
ชนุตมรัตนพฒั นศักดิ์ อรรควรราชกมุ าร (สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร์ อดลุ ยเดชวกิ รม พระบรมราชชนก) ท่ี ๗
ในสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวีฯ เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันศุกร์ เดือนยี่ ขึ้น ๓ ค�่ำ ปีเถาะ ตรีศก
จ.ศ. ๑๒๕๓ ตรงกบั วนั ที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๔ เมอื่ ปเี ถาะ เบญจศก จ.ศ. ๑๒๖๕ พ.ศ. ๒๔๔๖ ทรงสถาปนา
เป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช นเรศวรมหาราชาธิบดินทร์ จุฬาลงกรณนรินทรางกูร
สมบูรณ์เบญจพรสิริสวัสด์ิ ขัตติยวโรภโตสุชาต คุณสังกาศเกียรติประกฤษฐ์ ลักษณวิจิตรพิสิษฐบุรุษย์
ชนุตมรัตนพัฒนศักด์ิ อรรควรราชกุมาร กรมขุนสงขลานครินทร คร้ัน พ.ศ. ๒๔๔๘ ได้เสด็จไปทรงศึกษา
วิชาชั้นต้นในประเทศอังกฤษ พ.ศ. ๒๔๕๐ ทรงศึกษาที่โรงเรียนนายร้อยชั้นต้นปอตสดัม ในประเทศเยอรมนี
ระหว่างศึกษาได้รับพระราชทานยศเป็นนายร้อยตรี แล้วเสด็จเข้าโรงเรียนนายร้อยชั้นสูงท่ีโกรสลิชเตอร์เฟลเด้
จนจบ แล้วทรงศึกษาวิชาทหารเรือที่โรงเรียนนายเรือเฟลนส์บรู ก์ มรุ วกิ เม่ือ พ.ศ. ๒๔๕๖ - ๒๔๕๗
ครนั้ เสด็จกลับมา ทรงเขา้ รบั ราชการในกระทรวงการทหารเรอื กรมเสนาธกิ ารทหารเรอื ตงั้ แต่วันที่ ๒
เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๘ แลว้ ทรงยา้ ยไปรับต�ำแหนง่ ในกองอาจารย์นายเรอื กรมยทุ ธศกึ ษาทหารเรอื ตงั้ แตว่ ันท่ี
๙ สงิ หาคม พ.ศ. ๒๔๕๘ ได้รบั พระราชทานยศเป็นนายพันเอกทหารบก และนายนาวาเอกทหารเรอื และเป็น
ราชองครักษ์พิเศษ ต่อมาได้เสด็จไปทรงศึกษาวิชาสาธารณสุขที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาด ประเทศสหรัฐอเมริกา
ไดร้ ับประกาศนียบัตรวชิ าการสาธารณสุข ใน พ.ศ. ๒๔๖๔ ตอ่ มา พ.ศ. ๒๔๖๗ ทรงรบั ต�ำแหนง่ ขา้ หลวงส�ำรวจ
การศึกษาท่ัวไป กระทรวงศึกษาธิการ ครั้น พ.ศ. ๒๔๖๙ เสด็จไปทรงศึกษาจบวิชาแพทย์ ได้รับเกียรตินิยม
จากมหาวทิ ยาลยั ฮารว์ าด ใน พ.ศ. ๒๔๗๑ ทรงเป็นอธบิ ดีกรมมหาวทิ ยาลยั พ.ศ. ๒๔๖๖-๒๔๖๗ และทรงเปน็
อาจารย์สอนนิสิตเตรียมแพทย์ คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทรงปรับปรุง
วางรากฐานการแพทย์ของคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล และทรงสอนท่ีกรมสาธารณสุข เม่ือวันที่
๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๒ เสด็จไปทรงงานเป็นแพทย์ประจ�ำบ้านที่โรงพยาบาลแมคคอร์มิก จังหวัดเชียงใหม่
ตอ่ มาทรงพระประชวรและสนิ้ พระชนมท์ ก่ี รงุ เทพฯ ในรชั กาลท่ี ๗ เมอ่ื วนั องั คาร เดอื น ๑๐ แรม ๖ คำ่� ปมี ะเสง็
เอกศก จ.ศ. ๑๒๙๑ ตรงกับวันท่ี ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๒ เวลา ๑๖.๔๕ น. พระชนมายุ ๓๘ พรรษา
ทรงได้รับการเฉลิมพระราชอิสริยยศพระศพเป็นสมเด็จพระเจ้าพ่ียาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดชฯ กรมหลวง
สงขลานครินทร์ เมอ่ื วันท่ี ๑๓ พฤศจกิ ายน พ.ศ. ๒๔๗๒๒ ในรชั กาลท่ี ๘ ทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชบิดา
เจา้ ฟ้ามหดิ ลอดุลเดชฯ กรมหลวงสงขลานครินทร์ เมอื่ ปจี อ ฉศก จ.ศ. ๑๒๙๖ วันท่ี ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๗
ในรชั กาลปจั จบุ นั ทรงเฉลมิ พระนามพระอัฐเิ ปน็ สมเด็จพระมหติ ลาธเิ บศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก

_____________________________
๑ ราชกจิ จานุเบกษา เลม่ ๒๐ ร.ศ. ๑๒๒, หนา้ ๗๐๓ วา่ สมเด็จเจา้ ฟ้ามหดิ ลอดุลยเดช กรมขนุ สงขลานครินทร
และ เฉลิมพระยศเจา้ นาย เลม่ ๑, หน้า ๒๙๖.
๒ จดหมายเหตพุ ระราชกจิ รายวนั พระบาทสมเดจ็ พระปรมนิ ทรมหาประชาธปิ ก พระปกเกลา้ เจา้ อยหู่ วั รชั กาลท่ี ๗
ภาคปลาย วันท่ี ๑ มกราคม ๒๔๗๑ - วันท่ี ๒๑ ตุลาคม ๒๔๗๕ (กรุงเทพฯ : วัชรินทร์การพมิ พ์, ๒๕๓๗), หนา้ ๖๒๙.
(ดรู ายละเอียดในภาคผนวก)

101

เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๓๑ พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุท้องสนามหลวงเมอื่ วนั ที่ ๑๖ มนี าคม
พ.ศ. ๒๔๗๒ เป็นต้นราชสกุล มหิดล ณ อยุธยา
ที่ ๗๐ พระองค์เจ้าชายอนุสรสิริประสาธน์ (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรสิริประสาธน์)
ท่ี ๒ ในเจ้าจอมมารดา หม่อมราชวงศ์เกสร ประสูติเม่ือวันอาทิตย์ เดือน ๓ แรม ๙ ค่�ำ ปีเถาะ ตรีศก
จ.ศ. ๑๒๕๓ ตรงกับวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๓๔ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลท่ี ๕ เม่ือวันอาทิตย์ เดือน ๖
ข้ึน ๘ คำ่� ปชี วด โทศก จ.ศ. ๑๒๖๒ วนั ท่ี ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๓ พระชันษา ๑๐ ปี๒ พระราชทานเพลิง
พระศพ ณ พระเมรวุ ดั เทพศริ นิ ทราวาส เมือ่ วันท่ี ๑๐ มิถนุ ายน พ.ศ. ๒๔๔๓
ที่ ๗๑ พระองคเ์ จา้ หญงิ ลวาดวรองค์ (พระเจา้ บรมวงศเ์ ธอ พระองคเ์ จา้ ลวาดวรองค)์ ที่ ๑ ในเจา้ จอม
มารดาเลอ่ื น๓ ประสูติเมื่อวนั พุธ เดือน ๕ ขึน้ ๓ ค�่ำ ปมี ะโรง จัตวาศก จ.ศ. ๑๒๕๔ ตรงกับวันที่ ๓๐ มนี าคม
พ.ศ. ๒๔๓๔๔ ส้นิ พระชนม์ในรัชกาลท่ี ๕ เมือ่ วันองั คาร เดอื น ๑๒ แรม ๑๒ ค�่ำ ปมี ะเส็ง เบญจศก จ.ศ. ๑๒๕๕
ตรงกบั วนั ที่ ๕ ธนั วาคม พ.ศ. ๒๔๓๖ พระชนั ษา ๒ ปี พระราชทานเพลงิ พระศพ ณ พระเมรวุ ดั เทพศริ นิ ทราวาส
เม่อื วันที่ ๑๔ มถิ นุ ายน พ.ศ. ๒๔๓๗
ที่ ๗๒ สมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฑาธุชธราดิลก สยามาธิปกปรมินทร จุฬาลงกรณราชวโรรส อดิศัยยศ
อภุ ยั ชาตพิ สิ ุทธิ์ ไทวปายนุตมศักดิอ์ ดุลยลักษณวิลาส มหามกฎุ ราชพงศานุพทั ธ ววิ ัฒนผลพรพิสิษฐ มหศิ ร
ราชกุมาร (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย) ท่ี ๘ ในสมเด็จ
พระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ ประสูตเิ มื่อวนั อังคาร เดือน ๘ ข้นึ ๑๑ ค่ำ� ปมี ะโรง จตั วาศก จ.ศ. ๑๒๕๔
ตรงกับวันที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๓๕ ทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก
สยามาธิปกปรมินทร จุฬาลงกรณราชวโรรส อดิศัยยศอุภัยชาติพิสุทธิ์ ไทวปายนุตมศักดิ์อดุลยลักษณวิลาส
มหามกุฎราชพงศานุพัทธ วิวัฒนผลพรพิสิษฐ มหิศรราชกุมาร กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย๕ เมื่อวันพุธท่ี ๑๘
มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๘ ได้เสด็จไปทรงศึกษาในประเทศอังกฤษ ทรงได้รับปริญญาอักษรศาสตรบัณฑิตจาก
มหาวทิ ยาลัยเคมบรดิ จ์ เมอื่ พ.ศ. ๒๔๕๙ แลว้ เสดจ็ กลบั พ.ศ.๒๔๖๑
ในรัชกาลท่ี ๖ พ.ศ. ๒๔๖๒ ทรงด�ำรงต�ำแหน่งเป็นองคมนตรี เปน็ อาจารยใ์ นจุฬาลงกรณม์ หาวิทยาลัย
กระทรวงธรรมการ ต�ำแหนง่ ศาสตราจารย์ และเปน็ ทปี่ รกึ ษาโรงเรยี นเพาะชา่ ง พ.ศ. ๒๔๖๓ เปน็ กรรมการพเิ ศษ
โรงเรียนมหาดเล็กหลวง ปัจจุบันคือ วชิราวุธวิทยาลัย และด�ำรงต�ำแหน่งผู้อ�ำนวยการโรงเรียนเพาะช่าง
เมือ่ พ.ศ. ๒๔๖๕ ส้ินพระชนมใ์ นรัชกาลท่ี ๖ เมือ่ วนั อาทติ ย์ เดอื น ๘ บรู พาษาฒ แรม ๑๑ ค�ำ่ ปีกุน เบญจศก
จ.ศ. ๑๒๘๕ ตรงกบั วนั ที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๖ พระชนั ษา ๓๒ ปี พระราชทานเพลงิ พระศพ ณ พระเมรุ
ทอ้ งสนามหลวง เมื่อวันท่ี ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๖ เป็นต้นราชสกุล จุฑาธชุ ณ อยุธยา

_____________________________
๑ ราชกจิ จานุเบกษา เล่ม ๘๗ ตอนท่ี ๕๒ วนั ที่ ๑๒ มถิ นุ ายน ๒๕๑๓ ฉบบั พเิ ศษ, หน้า ๑ - ๗.
๒ ราชกจิ จานเุ บกษา เลม่ ๑๗ ร.ศ. ๑๑๙, หน้า ๕๖ ว่า พระชันษา ๘ ปี ๒ เดอื น ๑๕ วัน หรือ ๒,๙๙๖ วัน
๓ เจ้าจอมมารดาเลื่อน ธดิ าพระนรนิ ทราภรณ์ (ลอย นยิ ะวานนท์) กับปริก เกดิ เมอ่ื วนั ที่ ๘ กมุ ภาพนั ธ์ พ.ศ. ๒๔๑๘
ถึงแก่อสญั กรรมวันท่ี ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๐ (ดู ราชินกิ ลู รัชกาลท่ี ๕, หนา้ ๑๔๑.)
๔ ราชกิจจานเุ บกษา เลม่ ๘ ร.ศ. ๑๑๐, หนา้ ๕๙ ว่าประสตู ิวนั ที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๓๔
๕ จดหมายเหตเุ ร่ืองทรงตั้งพระบรมวงษานวุ งษ์ฯ, หนา้ ๔๒๙ วา่ กรมขนุ เพชรบูรณอ์ นิ ทราไชย

102

ที่ ๗๓ พระองคเ์ จา้ หญงิ (พระเจา้ บรมวงศเ์ ธอ พระองคเ์ จา้ ) ประสตู แิ ตเ่ จา้ จอมมารดา หมอ่ มราชวงศจ์ ว๋ิ ๑
เม่ือวนั อังคาร เดอื นอา้ ย แรม ๙ ค่�ำ ปีมะโรง จตั วาศก จ.ศ. ๑๒๕๔ ตรงกบั วันท่ี ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๓๕
สน้ิ พระชนมเ์ มอ่ื วนั พธุ เดอื น ๓ ขน้ึ ๘ คำ�่ ปมี ะโรง จตั วาศก จ.ศ. ๑๒๕๔ ตรงกบั วนั ท่ี ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๕
พระชนั ษาเดือนเศษ
ท่ี ๗๔ พระองค์เจ้าหญิงเหมวดี๒ (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเหมวดี) ประสูติแต่เจ้าจอม
มารดาเหม๓ เม่อื วันพฤหัสบดี เดือนยี่ แรม ๑๐ ค�่ำ ปีมะโรง จัตวาศก จ.ศ. ๑๒๕๔ ตรงกบั วนั ที่ ๑๒ มกราคม
พ.ศ. ๒๔๓๕ สิ้นพระชนมใ์ นรัชกาลปจั จบุ นั เมอ่ื ปีชวด จตั วาศก จ.ศ. ๑๓๓๔ วันที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๕
พระชันษา ๗๙ ปี พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุวัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์
พ.ศ. ๒๕๑๖
ที่ ๗๕ พระองค์เจา้ ชายอุรุพงศรัชสมโภช (พระเจา้ บรมวงศเ์ ธอ พระองคเ์ จา้ อุรุพงศ์รชั สมโภช) ท่ี ๒
ในเจา้ จอมมารดาเล่อื น ประสตู เิ ม่อื วนั อาทิตย์ เดอื น ๑๑ ขึ้น ๕ คำ�่ ปมี ะเสง็ เบญจศก จ.ศ. ๑๒๕๕ ตรงกบั
วนั ที่ ๑๕ ตลุ าคม พ.ศ. ๒๔๓๖ สิ้นพระชนมใ์ นรชั กาลที่ ๕ เม่อื วันจนั ทร์ เดือน ๑๐ ขึ้น ๖ ค�ำ่ ปีระกา เอกศก
จ.ศ. ๑๒๗๑ ตรงกับวันท่ี ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๕๒ พระชันษา ๑๗ ป๔ี พระราชทานเพลิงพระศพ ณ
พระเมรุผา้ ขาว สวนมิสกวัน เม่ือวนั ที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๒
ที่ ๗๖ สมเด็จเจ้าฟ้าชายประชาธิปกศักดิเดชน์ ชเนศรมหาราชาธิราช จุฬาลงกรณนาถวโรรส
อุดมยศอุกฤษฐศักดิ์ อุภัยปักษนาวิล อสัมภินชาติพิสุทธิ์ มหามกุฎราชพงศบริพัตร บรมขัตติยมหารัษฎา
ภิษิญจนพรรโษทัย มงคลสมัยสมากร สถาวรวรัจฉริยคุณ อดุลยราชกุมาร (พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า
เจ้าอยู่หัว) ที่ ๙ ในสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันพุธ เดือน ๑๑
แรม ๑๔ ค�่ำ ปีมะเส็ง เบญจศก จ.ศ. ๑๒๕๕ ตรงกบั วันท่ี ๘ พฤศจกิ ายน พ.ศ. ๒๔๓๖ เมือ่ ปมี ะเส็ง สปั ตศก
จ.ศ. ๑๒๖๗ พ.ศ. ๒๔๔๘ ทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ ชเนศร
มหาราชาธิราช จุฬาลงกรณนาถวโรรส อุดมยศอุกฤษฐศักดิ์ อุภัยปักษนาวิล อสัมภินชาติพิสุทธ์ิ มหามกุฎ
ราชพงศบรพิ ัตร บรมขัตติยมหารัษฎาภิษญิ จนพรรโษทยั มงคลสมยั สมากร สถาวรวรัจฉรยิ คณุ อดุลยราชกุมาร
กรมขุนสุโขทัยธรรมราชา ต่อมาเม่ือพ.ศ. ๒๔๔๙ ได้เสด็จไปทรงศึกษาช้ันต้นที่โรงเรียนอีตัน แล้วทรงศึกษา
วิชาทหารบกท่ีโรงเรียนนายร้อย เมืองวูลิช ในประเทศอังกฤษ ส�ำเร็จวิชาทหารปืนใหญ่ ทรงได้รับแต่งตั้ง
เป็นนายร้อยตรีกิตติมศักดิ์แห่งกองทัพบกอังกฤษ เสด็จกลับมารับราชการในรัชกาลท่ี ๖ เป็นนายร้อยเอก

_____________________________
๑ เจา้ จอมมารดา หมอ่ มราชวงศ์จวิ๋ ธดิ าหมอ่ มเจา้ วัฒนา กปติ ถา ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหม่ืนภบู าลบรริ กั ษ์
(ดู ราชนิ กิ ูลรัชกาลที่ ๕, หนา้ ๑๔๑.)
๒ ในคราวสมโภชเดอื น ไดร้ บั พระราชทานพระนามวา่ พระเจา้ ลกู เธอ พระองคเ์ จา้ มณั ฑนาภาวดี (ดู ราชกจิ จานเุ บกษา
เล่ม ๙ ร.ศ. ๑๑๑, หนา้ ๔๓๒.) เปลี่ยนพระนามเป็นพระเจา้ ลูกเธอ พระองคเ์ จ้าเหมวดี เมื่อวนั ที่ ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๑
(ราชกิจจานเุ บกษา เลม่ ๑๕ ร.ศ. ๑๑๗, หนา้ ๔๔๗.)
๓ นา่ จะเปน็ ล�ำดบั ที่ ๒ ในเจา้ จอมมารดาเหม เพราะตกพระโลหติ องค์ ๑ (ระหวา่ ง ล�ำดบั ท่ี ๖๙-๗๐) เจา้ จอมมารดาเหม
ธิดาพระยาธรรมสารนติ ิ (พลบั อมาตยกลุ ) กบั ท่านแสง (ดู ราชินกิ ลู รัชกาลที่ ๕, หนา้ ๑๔๐.)
๔ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๒๖ ร.ศ. ๑๒๘, หน้า ๑๔๐๘ ว่า พระชันษานับตามสุริยคติได้ ๑๕ ปี ๑๑ เดือน ๕ วัน
หรือนับเรยี งปีได้ ๑๗ ปี

103

ผบู้ งั คบั การทหารปนื ใหญ่ ตอ่ มาเลอื่ นเปน็ นายพนั โท ราชองครกั ษ์ ต�ำแหนง่ ผบู้ งั คบั การโรงเรยี นนายรอ้ ยชน้ั ปฐม
และทรงอภิเษกสมรสกับหม่อมเจ้าหญิงร�ำไพพรรณี แล้วเสด็จไปทรงศึกษาวิชาการทหารชั้นสูงสุดในโรงเรียน
เสนาธกิ ารทหารเอกอล เดอ แกร์ ทป่ี ระเทศฝรั่งเศส เสดจ็ กลับเม่ือ พ.ศ. ๒๔๖๗ ทรงด�ำรงต�ำแหน่งผ้บู ังคับการ
กองพลทหารบกท่ี ๒ และผู้บังคบั การพิเศษ กรมทหารปนื ใหญท่ ่ี ๒ ตอ่ มาเป็นนายพนั เอก ปลดั กรมเสนาธกิ าร
ทหารบก พ.ศ. ๒๔๖๘ เปน็ ผบู้ ญั ชาการกองพลทหารบกที่ ๒ และเปน็ ผบู้ งั คบั การพเิ ศษ กรมทหารปนื ใหญท่ ่ี ๒
เลื่อนกรมเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ ชเนศรมหาราชาธิราช จุฬาลงกรณ
นาถวโรรส อดุ มยศอกุ ฤษฐศักดิ์ อุภยั ปกั ษนาวลิ อสมั ภินชาติพสิ ทุ ธิ์ มหามกุฎราชพงศบริพัตร บรมขตั ตยิ มหา
รัษฎาภิษิญจนพรรโษทัย มงคลสมัยสมากร สถาวรวรัจฉริยคุณ อดุลยราชกุมาร กรมหลวงฯ เมื่อวันท่ี ๑๑
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘ และทรงด�ำรงพระสถานะเป็นองคพ์ ระรัชทายาท
เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเมื่อวันท่ี ๒๖ พฤศจิกายน ปีฉลู สัปตศก จ.ศ. ๑๒๘๗ พ.ศ. ๒๔๖๘
บรมราชาภิเษกเมื่อวันที่ ๒๕ กุมภาพนั ธ์ พ.ศ. ๒๔๖๘ แลว้ เสด็จประพาสสหรฐั มลายแู ละชวา เม่อื พ.ศ. ๒๔๗๒
เสดจ็ ประพาสอนิ โดจนี (เวยี ดนามและกมั พชู า) และเสดจ็ ประพาสสหรฐั อเมรกิ า เมอ่ื พ.ศ. ๒๔๗๓ พระราชทาน
รฐั ธรรมนญู เมอ่ื วนั ที่ ๑๐ ธนั วาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ เสดจ็ ประพาสภาคพนื้ ยโุ รปเมอ่ื พ.ศ. ๒๔๗๖ ทรงสละราชสมบตั ิ
เมื่อวันท่ี ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ ท่ีประเทศอังกฤษ เสด็จสวรรคตที่ประเทศอังกฤษในรัชกาลท่ี ๘ เม่ือวันท่ี
๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ พระชนมพรรษา ๔๘ พรรษา ถวายพระเพลิงพระบรมศพเม่อื วนั ท่ี ๓ มถิ ุนายน
พ.ศ. ๒๔๘๔ ทป่ี ระเทศองั กฤษ และอญั เชญิ พระบรมอฐั กิ ลบั ถงึ ประเทศไทย เมอื่ วนั ท่ี ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๒
ท่ี ๗๗ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิง (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้า) ท่ี ๘ ในสมเด็จพระศรีสวรินทิรา
บรมราชเทวีฯ ประสูติเม่ือวันพฤหัสบดี เดือน ๑๒ ข้ึนค�่ำ ๑ ปีมะเส็ง เบญจศก จ.ศ. ๑๒๕๕ ตรงกับวันท่ี ๙
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๖ สิ้นพระชนม์วันอาทิตย์ เดือน ๑๒ ขึ้น ๔ ค�่ำ ปีมะเส็ง เบญจศก จ.ศ. ๑๒๕๔
ตรงกบั วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๖ ปีมะเสง็ นั้น พระชนั ษา ๔ วนั ๑
รวมสมเด็จพระเจ้าลกู เธอและพระเจ้าลูกเธอ ในรชั กาลท่ี ๕
ประสูติกอ่ นบรมราชาภิเษก ๒ พระองค์
ประสตู เิ ม่ือบรมราชาภเิ ษกแล้ว ๗๕ พระองค์
รวมท้งั สน้ิ ๗๗ พระองค๒์
ราชสกลุ ทสี่ บื สายตรงจากพระราชโอรสมี ๑๕ มหาสาขา

_____________________________
๑ สมเดจ็ พระบรมโอรสาธิราชแห่งกรุงรัตนโกสนิ ทร์ (พระนคร : แพร่พิทยา, ๒๕๑๖), หน้า ๘๐ (หนา้ หลัง) วา่
ส้ินพระชนมว์ ันท่ี ๑๖ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๑๒ พระชนั ษา ๗ วัน และทรงว่า “ไม่มไี วท้ ุกข์ เพราะเปน็ เด็กยงั ไม่มีฟนั ต�ำราเคย
งดมาทกุ คร้ัง”
๒ ประสูติก่อนบรมราชาภเิ ษก ๒ พระองค์ เมื่อบรมราชาภิเษกแลว้ เปน็ สมเดจ็ เจ้าฟา้ ๒๒ พระองค์ พระองค์เจา้
๕๓ พระองค์ ตกพระโลหติ ๒๐ พระองค์ รวมทงั้ ส้ิน ๙๗ พระองค์

104

พระราชธิดา
ในพระบาทสมเดจ็ พระมงกฎุ เกลา้ เจา้ อยูห่ วั รชั กาลที่ ๖

ท่ี ๑ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี (สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้า
เพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี) ประสูติแต่พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทว๑ี เม่ือวันอังคารที่ ๒๔
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘๒ เม่ือแรกประสูติ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระนามว่า
สมเดจ็ พระเจา้ ลูกเธอ เจ้าฟ้าเพชรรตั นราชสดุ า๓ ต่อมา พ.ศ. ๒๔๗๐ เปลีย่ นค�ำน�ำพระนามเป็น สมเด็จพระเจา้
ภาตกิ าเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสดุ า๔ ครั้นถงึ รัชกาลท่ี ๘ เมอ่ื ปกี นุ สัปตศก จ.ศ. ๑๒๙๗ วนั ท่ี ๑๐ กรกฎาคม
พ.ศ. ๒๔๗๘ โปรดเกล้าฯ ให้เปล่ียนค�ำน�ำพระนามเป็น สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา๕
ในรัชกาลปัจจุบัน เมื่อวันท่ี ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๒ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชทาน
ยศทหาร ต�ำแหน่งพันโทหญิง ผู้บังคับการพิเศษ ในกองพันทหารราบที่ ๒ กรมผสมท่ี ๕ สิ้นพระชนม์ใน
รัชกาลปจั จุบัน เมื่อวนั ท่ี ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ พระชันษา ๘๕ ปี โปรดเกล้าฯ ใหจ้ ดั เศวตฉตั ร ๗ ชน้ั
ถวายเป็นเคร่ืองเพิ่มพระเกียรติยศเป็นพิเศษ พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุท้องสนามหลวง เม่ือ
วนั จนั ทรท์ ่ี ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๕

_____________________________
๑ พระนางเจา้ สุวัทนา พระวรราชเทวี พระนามเดิม เครือแก้ว เป็นธิดาพระยาอภัยภูเบศร์ (เล่อื ม อภยั วงศ)์ กับ
คณุ เลก็ บุนนาค ประสตู เิ ม่อื วนั เสารท์ ่ี ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๘ ในรัชกาลที่ ๖ โปรดเกลา้ ฯ สถาปนาเปน็ เจ้าจอมสวุ ทั นา
เมอ่ื วนั ท่ี ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๗ ได้รบั การสถาปนาขึ้นเปน็ พระนางเจ้าสวุ ทั นา พระวรราชเทวี เมอ่ื วันท่ี ๑๑ ตลุ าคม
พ.ศ. ๒๔๖๘ ส้ินพระชนมเ์ ม่ือวนั พฤหัสบดที ี่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุวัดเทพศิรนิ ทราวาส
เมอ่ื วันเสาร์ท่ี ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๙
๒ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๔๒ พ.ศ. ๒๔๖๘, หน้า ๒๖๒๑ บันทึกไว้ว่า “วันอังคารท่ี ๒๔ เวลา ๑๒.๕๕ ล.ท.
พระนางเจา้ สวุ ทั นา พระวรราชเทวี ไดป้ ระสตู พิ ระธดิ าโดยสวสั ดภิ าพ นายแพทยต์ รวจพระอาการ รายงานวา่ มพี ระอาการดอี ยู่
ท้งั พระวรราชเทวแี ละพระกมุ ารา”
๓ เรือ่ งเดียวกนั , หน้า ๓๐๙๔.
๔ ราชกจิ จานุเบกษา เล่ม ๔๔ พ.ศ. ๒๔๗๐, หนา้ ๕๑๓.
๕ ราชกิจจานเุ บกษา เล่ม ๕๒, หน้า ๑๑๗๙ - ๑๑๘๐.

105

รชั กาลท่ี ๗
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หวั



ไมม่ ีพระราชโอรสธดิ า๑

รชั กาลท่ี ๘
พระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั อานนั ทมหิดล พระอฐั มรามาธบิ ดนิ ทร



ไม่มีพระราชโอรสธดิ า

_____________________________
๑ ทรงรบั พระองคเ์ จา้ จริ ศกั ดส์ิ ปุ ระภาต (ดู พระองคเ์ จา้ หลานเธอในรชั กาลท่ี ๔ หนา้ ๑๖๒) เปน็ พระราชบตุ รบญุ ธรรม
ผ้สู บื สายสกลุ ใช้นามสกุลวา่ ศักดเิ ดชน์ ภาณุพนั ธุ์ (ดู พระอนวุ งศช์ นั้ หม่อมเจา้ ในพระราชวงศ์จกั ร,ี หนา้ ๒๗๘.)

106

พระราชโอรสและพระราชธิดา
ในพระบาทสมเด็จพระเจา้ อยหู่ ัวภูมิพลอดลุ ยเดช รชั กาลที่ ๙

และสมเด็จพระนางเจา้ สริ ิกิติ์ พระบรมราชินนี าถ๑



ท่ี ๑ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี (ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน
ราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี)๒ ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๔ แรม ๑๔ ค่�ำ ปีเถาะ ตรีศก จ.ศ. ๑๓๑๓
ตรงกับวันท่ี ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๔ ทรงศึกษาระดับปริญญาตรี ณ สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์
เมอื งเคมบรดิ จ์ มลรฐั แมสซาชเู ซตส์ ประเทศสหรฐั อเมรกิ า ในสาขาวชิ าคณติ ศาสตร์ และสาขาวชิ าวทิ ยาศาสตร์
ชีวเคมี เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๖ จากน้ันทรงศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัย
แคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา พระกรณียกิจส�ำคัญ ได้แก่ ทรงริเร่ิมก่อต้ังและเป็น
องค์ประธานโครงการเด็กพิเศษ โครงการต้านยาเสพติด ชมรมทูบีนัมเบอร์วัน ในสถานศึกษา ชุมชนต่าง ๆ
ทรงกอ่ ต้งั มลู นิธิคุณพมุ่ เพือ่ ช่วยเหลือเดก็ ท่เี ป็นโรคออทิสตกิ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๘
ท่ี ๒ สมเด็จเจ้าฟ้าชายวชิราลงกรณ๓ (สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณฯ
สยามมกุฎราชกุมาร) ประสูติเมื่อวันจันทร์ เดือน ๙ ข้ึน ๖ ค�่ำ ปีมะโรง จัตวาศก จ.ศ. ๑๓๑๔ ตรงกับ
วันท่ี ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๕ ได้รับการสถาปนาพระอิสริยศักดิ์ และเฉลิมพระนามาภิไธยเป็น สมเด็จ
พระบรมโอรสาธริ าช เจา้ ฟ้ามหาวชริ าลงกรณ บดนิ ทรเทพยวรางกรู สิริกติ ยิ สมบูรณสวางควฒั น์ วรขตั ตยิ ราช
สันตติวงศ์ มหิตลพงศอดุลยเดช จักรีนเรศยุพราชวิสุทธ สยามมกุฎราชกุมาร เม่ือวันพฤหัสบดี เดือนอ้าย
แรม ๘ ค�ำ่ ปีชวด จัตวาศก จ.ศ. ๑๓๓๔ ตรงกับวันที่ ๒๘ ธนั วาคม พ.ศ. ๒๕๑๕๔ ทรงส�ำเร็จการศึกษาระดับ
ปริญญาตรี สาขาอักษรศาสตร์ (ด้านการทหาร) จากมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย จากน้ัน
ทรงศกึ ษาทโี่ รงเรยี นเสนาธกิ ารทหารบก ทรงส�ำเรจ็ การศกึ ษาทคี่ ณะนติ ศิ าสตร์ มหาวทิ ยาลยั สโุ ขทยั ธรรมาธริ าช
เมือ่ พ.ศ. ๒๕๓๐ และหลักสตู รวิทยาลยั ป้องกันราชอาณาจกั ร ประเทศอังกฤษ เม่อื พ.ศ. ๒๕๓๓

_____________________________
๑ สมเดจ็ พระนางเจา้ สริ กิ ติ ิ์ พระบรมราชนิ นี าถ ดทู ี่ พระราชปนดั ดา รชั กาลท่ี ๕.
๒ ทรงลาออกจากฐานนั ดรศกั ดแ์ิ หง่ พระราชวงศเ์ มอ่ื วนั ที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ (ดู ราชกจิ จานเุ บกษา เลม่ ๘๙
พ.ศ. ๒๕๑๕, ตอนท่ี ๑๑๒ วนั ที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ ฉบับพิเศษ, หน้า ๑.)
๓ ราชกิจจานเุ บกษา เลม่ ๖๙ พ.ศ. ๒๔๙๕, ภาค ๒ เล่ม ๒ ตอนที่ ๕๔ วนั ท่ี ๙ กนั ยายน พ.ศ. ๒๔๙๕ หนา้ ๓๐๒๗ -
๓๐๒๘ และ สมเด็จพระสังฆราช กรมหลวงวชริ ญาณวงศ์, “หลกั ฐานการประทานพระนามสมเด็จเจา้ ฟา้ ชายวชิราลงกรณ,์ ”
ศิลปากร ๘, ๒ (กรกฎาคม ๒๔๙๗) : ๓-๖.
๔ “ประกาศสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกฏุ ราชกมุ าร,” ราชกิจจานเุ บกษา เล่ม ๘๙ พ.ศ. ๒๕๑๕,
ภาค ๒ เลม่ ๒ ตอนที่ ๒๐๐ วนั ที่ ๒๘ ธนั วาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ ฉบับพเิ ศษ หนา้ ๑ - ๓.

107

ทรงรบั ราชการเข้าประจ�ำการ ณ กองปฏิบัตกิ ารทางอากาศพเิ ศษ นครเพิรธ์ รฐั ออสเตรเลยี ตะวนั ตก
ประเทศออสเตรเลยี ตอ่ มาทรงเปน็ รอ้ ยตรี เหลา่ ทหารราบ เรอื ตรี พรรคนาวนิ เรอื อากาศตรี เหลา่ ทหาร นกั บนิ
และนายทหารพิเศษประจ�ำกรมทหารราบที่  ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์ นายทหารพิเศษประจ�ำกองทัพเรือ
และนายทหารพิเศษประจ�ำกองทัพอากาศ ครั้น พ.ศ. ๒๕๑๘ ทรงเป็นร้อยเอก เรือเอก และ เรืออากาศเอก
ทรงเข้ารับราชการเป็นนายทหารประจ�ำกรมข่าวทหารบก กระทรวงกลาโหม พ.ศ. ๒๕๒๑ ทรงด�ำรงต�ำแหน่ง
รองผู้บังคับกองพันทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ กรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์ พ.ศ. ๒๕๒๓
ทรงด�ำรงต�ำแหน่งผู้บังคับกองพันทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ กรมทหารราบท่ี ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์
พ.ศ. ๒๕๒๗ ทรงด�ำรงต�ำแหน่งผู้บังคับการ กรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ พ.ศ. ๒๕๓๑ ทรงเป็นพลโท
พลเรอื โท และพลอากาศโท และนายทหารพเิ ศษประจ�ำกรมทหารราบท่ี ๒ รกั ษาพระองค์ กรมทหารราบท่ี ๑๒
รักษาพระองค์ กรมทหาราบท่ี ๒๑ รกั ษาพระองค์ กรมทหารราบที่ ๓๑ รักษาพระองค์ กองพนั ทหารม้าที่ ๔
รักษาพระองค์ กรมทหารปืนใหญ่ที่ ๑ รักษาพระองค์ กองพันทหารช่างท่ี ๑ รักษาพระองค์ และทรงด�ำรง
ต�ำแหนง่ ผู้บญั ชาการหนว่ ยบัญชาการ ทหารมหาดเลก็ รักษาพระองค์ พ.ศ. ๒๕๓๕ ทรงเปน็ พลเอก พลเรือเอก
และพลอากาศเอก ด�ำรงต�ำแหนง่ ผบู้ ญั ชาการหนว่ ยบญั ชาการถวายความปลอดภยั รกั ษาพระองค์ ส�ำนกั ผบู้ ญั ชาการ
ทหารสงู สดุ และนายกองใหญ่ กองอาสารกั ษาดนิ แดน ส�ำนกั อ�ำนวยการกองอาสารกั ษาดนิ แดน พ.ศ. ๒๕๓๗
ทรงปฏบิ ตั หิ นา้ ทค่ี รกู ารบนิ เครอื่ งบนิ ขบั ไลแ่ บบเอฟ ๕ อ/ี เอฟ พ.ศ. ๒๕๔๗ ทรงด�ำรงต�ำแหน่งนายทหารพเิ ศษ
ประจ�ำกองพันทหารราบที่ ๓ กรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์ พ.ศ. ๒๕๔๘ ทรงด�ำรงต�ำแหนง่
นายทหารพเิ ศษประจ�ำกรมทหารชา่ งท่ี ๑ รกั ษาพระองค์ กองพนั ทหารชา่ งท่ี ๒ รกั ษาพระองค๑์
ท่ี ๓ สมเดจ็ เจา้ ฟา้ หญงิ สิรนิ ธรเทพรัตนสดุ า กติ ิวฒั นาดลุ โสภาคย๒์ (สมเด็จพระเทพรัตนราชสดุ าฯ
สยามบรมราชกุมารี) ประสูติเมื่อวันเสาร์ เดือน ๕ ข้ึน ๑๐ ค�่ำ ปีมะแม สัปตศก จ.ศ. ๑๓๑๗ ตรงกับ
วันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๘ ได้รับการสถาปนาพระอิสริยศักดิ์ และเฉลิมพระนามาภิไธยเป็น สมเด็จ
พระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี เม่ือวันจันทร์
เดอื น ๑๒ แรม ๑๐ คำ�่ ปมี ะเสง็ นพศก จ.ศ. ๑๓๓๙ ตรงกบั วนั ท่ี ๕ ธนั วาคม พ.ศ. ๒๕๒๐๓ ทรงส�ำเรจ็ การศกึ ษา
ระดบั ปรญิ ญาตรี สาขาประวัติศาสตร์ เกยี รตินิยมอันดับหนึ่ง เหรยี ญทอง และระดับปริญญาโทสาขาภาษาบาลี
และสันสกฤต คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และทรงศึกษาระดับปริญญาโท ด้านจารึกภาษา
ตะวันออก (ภาษาสันสกฤต และภาษาเขมร) คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร และทรงศึกษาระดับ
ปริญญาเอก สาขาพัฒนศกึ ษาศาสตร์ คณะศกึ ษาศาสตร์ มหาวทิ ยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

_____________________________
๑ ดู พระราชประวตั โิ ดยละเอียด ใน สมเดจ็ พระบรมโอรสาธริ าช สยามมกุฎราชกมุ าร (นครหลวงฯ : กรมศลิ ปากร,
๒๕๑๕) และประมวลพระบรมฉายาลักษณ์ พระราชประวัติ พระราชจริยาวัตร พระราชนิพนธ์ ภาพฝีพระหัตถ์ของ
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ตง้ั แตป่ ระสูตจิ นถงึ ปัจจบุ นั (กรุงเทพฯ : สัตยการพิมพ,์ ๒๕๒๐.)
๒ เรือ่ งเฉลมิ พระยศเจ้านาย เลม่ ๒ (ฉบบั แกไ้ ขเพมิ่ เตมิ ) (กรงุ เทพฯ : อมรนิ ทร์พรน้ิ ต้ิงแอนด์พับลชิ ชิง่ , ๒๕๓๘),
หนา้ ๓๘๗ สว่ นราชกิจจานเุ บกษา เล่ม ๗๒ พ.ศ. ๒๔๙๘, ภาค ๑ เล่ม ๒ ตอนที่ ๓๖ วนั ท่ี ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๘
หน้า ๑๑๑๓ ว่า “สมเด็จพระเจา้ ลูกเธอ เจา้ ฟา้ สริ ินทรเทพรตั นสุดาฯ”
๓ “ประกาศสถาปนา,” ราชกจิ จานเุ บกษา เล่ม ๙๔ พ.ศ. ๒๕๒๐, ภาค ๒ เล่ม ๒ ตอนที่ ๑๓๑ วนั ท่ี ๒๑ ธันวาคม
พ.ศ. ๒๕๒๐ ฉบับพิเศษ หน้า ๑ - ๓.

108

พ.ศ. ๒๕๑๘ ทรงกอ่ ตั้งและด�ำรงต�ำแหน่งองค์ประธานมูลนธิ ิสายใจไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ส�ำหรับ
ชว่ ยเหลือ ทหาร ต�ำรวจ และพลเรือน ทีบ่ าดเจ็บ พกิ าร ในการปฏบิ ัติหน้าทป่ี ้องกันประเทศชาติ พ.ศ. ๒๕๒๐
ทรงได้รับพระกรุณาธิคุณ โปรดเกล้าฯ ให้ด�ำรงต�ำแหน่งนายทหารพิเศษประจ�ำกรมทหารราบท่ี ๑ มหาดเล็ก
รักษาพระองค์ นายทหารพิเศษประจ�ำกองทัพเรือ และนายทหารพิเศษประจ�ำกองทัพอากาศ และทรงด�ำรง
ต�ำแหน่งอุปนายิกา ผู้อ�ำนวยการสภากาชาดไทย พ.ศ. ๒๕๒๓ ทรงด�ำรงต�ำแหน่งอาจารย์ ส่วนการศึกษา
โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า พ.ศ. ๒๕๒๔ ทรงจัดตั้งโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันอันเน่ืองมาจาก
พระราชด�ำริในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพ่ือช่วยเหลือเด็กในท้องถ่ินทุรกันดารให้มี
สขุ ภาพดี และมคี ณุ ภาพทางการศกึ ษา พ.ศ. ๒๕๒๕ ทรงเปน็ แมก่ องในการบรู ณปฏสิ งั ขรณว์ ดั พระศรรี ตั นศาสดาราม
และพระบรมมหาราชวงั พ.ศ. ๒๕๓๙ ทรงเปน็ พลเอกหญงิ พลเรอื เอกหญงิ และพลอากาศเอกหญงิ พ.ศ. ๒๕๔๓
ทรงเป็นศาสตราจารย์ และพ.ศ. ๒๕๔๕ ทรงด�ำรงต�ำแหน่งนายทหารพิเศษ ประจ�ำกองพลทหารม้าที่ ๒
รกั ษาพระองค์ และทรงเปน็ องค์ประธานกรรมการมูลนิธิชยั พัฒนา๑
ท่ี ๔ สมเดจ็ เจา้ ฟา้ หญงิ จฬุ าภรณวลยั ลกั ษณ์ อคั รราชกมุ าร๒ี (สมเดจ็ พระเจา้ ลกู เธอ เจา้ ฟา้ จฬุ าภรณ
วลยั ลักษณ์ อคั รราชกมุ าร)ี ๓ ประสตู ิเมอ่ื วันพฤหสั บดี เดอื น ๘ ขึน้ ๗ ค�ำ่ ปรี ะกา นพศก จ.ศ. ๑๓๑๙ ตรงกับ
วันท่ี ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๐ ทรงส�ำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาเคมี เกียรตินิยมอันดับ ๑
จากคณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และทรงศึกษาระดับปริญญาเอก
ทางวิทยาศาสตร์ สาขาอินทรีย์เคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ทรงได้รับปริญญาเอก สาขา
เพาะเล้ียงสัตว์น้�ำ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปริญญาเอก สาขาพิษวิทยา จากมหาวทิ ยาลยั
โตเกยี ว ประเทศญ่ปี ุ่น และระดับหลงั ปรญิ ญาเอก จากมหาวิทยาลยั อูล์ม ประเทศเยอรมนี
ทรงเข้ารับราชการ เม่ือ พ.ศ. ๒๕๒๔ เป็นร้อยเอกหญิง เรือเอกหญิง เรืออากาศเอกหญิง ต่อมา
พ.ศ. ๒๕๒๙ เป็นศาสตราจารย์ กองการศึกษา โรงเรียนนายเรืออากาศ กรมยุทธศึกษาทางอากาศ ทรงก่อตั้ง
สถาบนั วจิ ยั จฬุ าภรณเ์ มอ่ื วนั ที่ ๑ ธนั วาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ พ.ศ. ๒๕๓๕ ทรงเปน็ ศาสตราจารย์ สาขาวชิ าเคมอี นิ ทรยี ์
ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. ๒๕๓๙ ทรงเป็นอาจารย์พิเศษของโรงเรียนนายเรือ
โรงเรยี นนายเรอื อากาศ และโรงเรยี นเสนาธกิ ารทหารอากาศ พ.ศ. ๒๕๔๒ ทรงเปน็ พลเอกหญงิ พลเรอื เอกหญงิ
พลอากาศเอกหญิง และทรงด�ำรงต�ำแหน่งรองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์
กองทพั อากาศ
รวมพระราชโอรสธิดาเป็นสมเดจ็ เจ้าฟา้ ๔ พระองค์

_____________________________
๑ ดู พระราชประวัติโดยละเอียดใน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. ความรู้เร่ือง พระบรม
วงศานวุ งศฝ์ า่ ยในทไี่ ดร้ บั สถาปนาพระอสิ รยิ ยศ “สมเดจ็ พระ” ในสมยั รตั นโกสนิ ทร์ (กรงุ เทพฯ : กรมศลิ ปากร, ๒๕๒๐.)
๒ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๗๔ พ.ศ. ๒๕๐๐, ภาค ๒ เล่ม ๒ ตอนที่ ๗๓ วันท่ี ๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๐
หน้า ๒๑๘๔ - ๒๑๘๕.
๓ ตามประกาศเรื่อง “พระอิสริยยศฐานันดรศักดิ์ของพระโอรสพระธิดาในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ
วลัยลักษณ์อัครราชกุมารี ให้สถาปนาพระโอรสธิดา ในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี
ให้ทรงด�ำรงพระอสิ ริยยศฐานนั ดรศักดิแ์ ห่งพระราชวงศ์ เปน็ พระเจา้ หลานเธอ พระองคเ์ จา้ ทุกพระองค์” (ราชกิจจานุเบกษา
เลม่ ๙๙ พ.ศ. ๒๕๒๕, ตอนที่ ๑๓๕ ฉบบั พเิ ศษ หน้า ๑ - ๒.)

109

พระราชโอรสธดิ า
ในสมเด็จพระบวรราชเจา้ มหาสรุ สิงหนาท
(กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในรชั กาลท่ี ๑)



ประสตู กิ ่อนอปุ ราชาภเิ ษก๑

ท่ี ๑ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงพิกุลทอง๒ (สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าพิกุลทอง กรมขุนศรีสุนทร)
ประสูติแต่เจ้าศิริรดจา๓ เมื่อปีระกา พ.ศ. ๒๓๒๐ ในรัชกาลท่ี ๑ ทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ
เจ้าฟา้ พิกุลทอง กรมขนุ ศรีสุนทร๔ เม่ือวนั จนั ทร์ เดอื น ๑๐ ขึ้น ๙ ค�ำ่ ปีมะโรง สมั ฤทธิศก จ.ศ. ๑๑๗๐ ตรงกับ
วันที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๓๕๑ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๒ เม่ือปีมะเมีย โทศก จ.ศ. ๑๑๗๒ พ.ศ. ๒๓๕๓
พระชันษา ๓๔ ปี พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุผา้ ขาวทอ้ งสนามหลวง๕
ท่ี ๒ พระองค์เจ้าชายล�ำดวน (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ๖ พระองค์เจ้าล�ำดวน) ประสูติแต่เจ้าจอม
มารดาขะ เมื่อปีกุน พ.ศ. ๒๓๒๒ ส้ินพระชนม์ในรัชกาลท่ี ๑ เม่ือปีกุน เบญจศก จ.ศ. ๑๑๖๕ พ.ศ. ๒๓๔๖
พระชันษา ๒๕ ปี

_____________________________
๑ ประถมวงษแลพระราชพงษาวดารย่อฯ, หนา้ ๒๖-๒๗ ว่า “...คร้ันมาเมอื่ แผน่ ดนิ เจ้ากรงุ ธนบุรี ได้มีนารหี น่งึ มา
เปนพระชายา ประสตู พิ ระโอรสแลพระธดิ าพระองค์หนึง่ หฤๅสองพระองค์ ส้นิ พระชนมเสียแตย่ ังทรงพระเยาว แลว้ นารีน้นั
ก็เริศรา้ งรา้ วฉานไปไมไ่ ด้อยดู่ ว้ ย...”
๒ พระราชโอรสธดิ าในสมเดจ็ พระบวรราชเจา้ ทป่ี ระสตู แิ ตพ่ ระมารดาเปน็ เจา้ นน้ั จะมพี ระอสิ รยิ ยศเปน็ เจา้ ฟา้ ไดก้ ต็ อ่ เมอ่ื
พระเจา้ แผ่นดิน โปรดเกลา้ ฯ ใหเ้ ป็นเจา้ ฟา้ ได้เท่านน้ั หากไมไ่ ดโ้ ปรดเกลา้ ฯ แลว้ ก็คงมพี ระอิสรยิ ยศเพียงพระองคเ์ จา้ ดู “ประกาศ
ฉบบั ที่ ๒๗๓ เร่อื งประกาศพระราชพธิ ีโสกนั ต์ สมเดจ็ พระเจา้ ลูกยาเธอ เจ้าฟา้ จุฬาลงกรณ์,” ในประชมุ ประกาศรชั กาลที่ ๔,
หนา้ ๒๐๙ ; ธรรมเนยี มราชตระกูลในกรงุ สยาม, ข้อ (๓๙).
๓ เจา้ ศิรริ ดจา เชอื้ สายเจา้ เจ็ดตน นอ้ งพระเจา้ กาวลิ ะเมืองเชียงใหม่ บางแห่งเรียกวา่ เจ้าศริ ริ จนา เจ้ารจจา เจ้าสัจา
หรอื เจา้ ศรีอโนชา
๔ จดหมายเหตุเร่ืองทรงต้ังพระบรมวงษานุวงษ์ฯ, หนา้ ๔๑.
๕ พระนามพระองค์เจา้ วงั หลวงแลวงั น่าฯ
๖ ในรัชกาลที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระพทุ ธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรณุ าโปรดเกลา้ ฯ ใหใ้ ชค้ �ำน�ำพระนาม
พระราชโอรสธิดาในสมเดจ็ พระบวรราชเจ้ามหาสรุ สงิ หนาทว่า “สมเดจ็ พระเจ้าหลานเธอ” หรือ “พระเจ้าหลานเธอ”
ในสมยั รชั กาลท่ี ๔ พระบาทสมเดจ็ พระจอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ทรงบญั ญตั ใิ หใ้ ชค้ �ำน�ำหนา้ พระนามพระราชโอรสธดิ าวงั หนา้
ในรัชกาลที่ ๑ - ๔ ว่า พระเจา้ วรวงศ์เธอ พระเจ้าบวรวงศเ์ ธอ และพระวรวงศ์เธอ (ดู ประกาศรชั กาลที่ ๔ เลขท่ี ๗๑ และ ๓๑๐)
ตอ่ มาสมยั ตน้ รัชกาลท่ี ๕ พระราชโอรสธดิ าของวงั หนา้ ในรัชกาลที่ ๑ - ๓ และพระราชโอรสธดิ าพระบาทสมเดจ็
พระปิ่นเกลา้ เจ้าอยู่หัวท่ีมพี ระชนมายุแก่กว่ารัชกาลที่ ๕ ทรงบญั ญัตใิ ห้ใช้ว่า พระเจา้ วรวงศเ์ ธอ และพระราชโอรสธิดาพระบาท
สมเด็จพระป่ินเกลา้ เจ้าอยู่หัวทม่ี ีพระชนมายอุ ่อนกว่ารัชกาลท่ี ๕ และพระโอรสธดิ ากรมพระราชวังบวรวไิ ชยชาญ ทรงบัญญัติ
ใหใ้ ช้ว่า พระเจ้าบวรวงศเ์ ธอ
ครั้นถงึ พ.ศ. ๒๔๓๐ ทรงบญั ญตั ิใหใ้ ชว้ ่า พระเจา้ บวรวงศ์เธอ ส�ำหรับพระราชโอรสธดิ าวังหน้า รชั กาลที่ ๑ - ๔
และพระบวรวงศเ์ ธอ ส�ำหรบั พระโอรสธดิ าวงั หนา้ รชั กาลท่ี ๕ จนถงึ วนั ท่ี ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๔ พระบาทสมเดจ็ พระมงกฎุ เกลา้
เจ้าอยู่หัว โปรดให้เลิกใช้ค�ำว่า “พระเจ้าบวรวงศ์เธอ” และ “พระบวรวงศ์เธอ” ให้ใช้ค�ำน�ำหน้าพระนามใหม่ว่า “พระเจ้า
ราชวรวงศ์เธอ” และ “พระราชวรวงศ์เธอ” สบื ไป

110

ที่ ๓ พระองคเ์ จ้าหญงิ เกสร (พระเจา้ ราชวรวงศเ์ ธอ พระองค์เจา้ เกสร) ประสูตแิ ตเ่ จ้าจอมมารดาบวั ๑
เมื่อปีกนุ พ.ศ. ๒๓๒๒ สน้ิ พระชนม์ในรัชกาลที่ ๓๒
ท่ี ๔ พระองค์เจ้าชายอินทปัต (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอินทปัต) ประสูติแต่เจ้าจอม
มารดาตัน เม่ือปชี วด จ.ศ. ๑๑๔๓ พ.ศ. ๒๓๒๓ สน้ิ พระชนมใ์ นรัชกาลที่ ๑ เม่อื ปกี นุ เบญจศก จ.ศ. ๑๑๖๕
พ.ศ. ๒๓๔๖ พระชันษา ๒๔ ปี
ท่ี ๕ พระองค์เจ้าชายก้อนแก้ว (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าก้อนแก้ว) ท่ี ๑ ในเจ้าจอม
มารดาล่า ประสตู เิ มอ่ื ปีฉลู ตรีศก พ.ศ. ๒๓๒๔ ส้ินพระชนมใ์ นรชั กาลท่ี ๓๓
ที่ ๖ พระองค์เจ้าชายช้าง (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าช้าง) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาปุย
เม่ือปีฉลู ตรศี ก พ.ศ. ๒๓๒๔ ส้นิ พระชนมใ์ นรัชกาลท่ี ๓๔

ประสตู ิเม่ืออุปราชาภเิ ษกแลว้

ที่ ๗ พระองค์เจ้าหญิงดวงจันทร์ (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดวงจันทร์) ที่ ๑ ในเจ้าจอม
มารดาฉิม๕ ประสูติเมื่อวันพุธ เดือน ๙ แรมค่�ำ ๑ ปีเถาะ เบญจศก จ.ศ. ๑๑๔๕ ตรงกับวันท่ี ๑๓ สิงหาคม
พ.ศ. ๒๓๒๖ ในรัชกาลท่ี ๒ ได้ท�ำราชการอยู่ในพระบวรราชวัง ภายหลังกรมพระราชวังบวรสวรรคตแล้ว
ได้ย้ายมาท�ำราชการในพระบรมมหาราชวัง สิ้นพระชนม์ในรัชกาลท่ี ๕ เมื่อวันจันทร์ เดือน ๔ แรม ๔ ค�่ำ
ปีมะโรง สัมฤทธิศก จ.ศ. ๑๒๓๐ ตรงกับวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๑๑๖ พระชันษา ๘๘ ปี พระราชทาน
เพลิงพระศพ ณ พระเมรุวัดสระเกศ วันศุกร์ เดือน ๗ แรม ๑๐ ค�่ำ ปีมะเส็ง เอกศก จ.ศ. ๑๒๓๑ ตรงกับ
วันที่ ๔ มิถนุ ายน พ.ศ. ๒๔๑๒
ที่ ๘ พระองค์เจ้าชายอสุนี (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหม่ืนเสนีเทพ) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาข�ำ
เมื่อปเี ถาะ เบญจศก จ.ศ. ๑๑๔๕ พ.ศ. ๒๓๒๖ ในรัชกาลที่ ๑ ทรงสถาปนาเป็นพระเจ้าหลานเธอ กรมหม่นื
เสนเี ทพ เมอ่ื วนั พธุ เดอื น ๙ ขน้ึ ๕ คำ�่ ปมี ะโรง สมั ฤทธศิ ก จ.ศ. ๑๑๗๐ ตรงกบั วนั ท่ี ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๕๑
สนิ้ พระชนม์ในรัชกาลท่ี ๓ เม่ือ พ.ศ.๒๓๗๘๗ เป็นต้นราชสกลุ อสุนี ณ อยุธยา
ท่ี ๙ พระองค์เจ้าหญิงโกมล (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโกมล) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดา
แก้วศาลาลอย เมื่อปีเถาะ เบญจศก จ.ศ. ๑๑๔๕ พ.ศ. ๒๓๒๖ ส้ินพระชนม์ในรัชกาลท่ี ๓ เม่ือพ.ศ. ๒๓๘๖

____________________________
๑ พระนามพระองค์เจา้ วังหลวงแลวังนา่ ฯ วา่ ท่ี ๑ ในเจ้าจอมมารดาแกว้
๒ วันบรมมหาประสูตรแลวันประสูตร (ฉบบั คัดส�ำเนา) ว่า สนิ้ พระชนม์ในรชั กาลท่ี ๑
๓ เรอื่ งเดยี วกนั , ว่า สิ้นพระชนมใ์ นรชั กาลที่ ๒
๔ เรอ่ื งเดยี วกนั , ว่า ส้นิ พระชนม์ในรัชกาลท่ี ๒
๕ พระนามพระองคเ์ จา้ วงั หลวงแลวงั นา่ ฯ ว่า เจ้าจอมมารดาฉิมแขก
๖ จดหมายเหตพุ ระราชกจิ รายวัน พ.ศ. ๒๔๑๑ฯ, หนา้ ๒๘, ๓๕.
๗ พระอนุวงศ์ชนั้ หม่อมเจา้ ในพระราชวงศจ์ ักรี, หนา้ ๓๑.

111

พระราชทานเพลงิ พระศพ ณ พระเมรุปะร�ำวดั สระเกศ เมอื่ วันอาทติ ย์ เดือน ๕ แรม ๒ ค่ำ� ปเี ถาะ เบญจศก
จ.ศ. ๑๒๐๕ ตรงกบั วนั ท่ี ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๓๘๖๑
ท่ี ๑๐ พระองค์เจ้าหญิงบุนนาค (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุนนาค) ประสูติแต่เจ้าจอม
มารดามา เม่อื ปมี ะเส็ง พ.ศ. ๒๓๒๘ ส้ินพระชนม์ในรัชกาลท่ี ๓
ที่ ๑๑ พระองค์เจ้าหญิงดาราวดี๒ (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดาราวดี) ที่ ๑ ในเจ้าจอม
มารดาน้อย๓ ประสูติเม่ือวันจันทร์ เดือน ๔ แรม ๖ ค่�ำ ปีมะเส็ง สัปตศก จ.ศ. ๑๑๔๗ ตรงกับวันท่ี ๒๐
มีนาคม พ.ศ. ๒๓๒๘ ต่อมาเป็นพระชายาสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔
พระราชทานเพลงิ พระศพ วนั ท่ี ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๑๑๔
ที่ ๑๒ พระองค์เจ้าหญิง (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาสุวรรณา
เม่อื ปีมะเสง็ สัปตศก จ.ศ. ๑๑๔๗ พ.ศ. ๒๓๒๘ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔
ท่ี ๑๓ พระองคเ์ จา้ หญงิ โกสุม (พระเจา้ ราชวรวงศเ์ ธอ พระองค์เจา้ โกสุม) ประสตู ิแต่เจ้าจอมมารดา
พ่วง เม่อื ปีมะเสง็ สัปตศก จ.ศ. ๑๑๔๗ พ.ศ. ๒๓๒๘ สนิ้ พระชนมใ์ นรชั กาลที่ ๒
ท่ี ๑๔ พระองค์เจ้าหญิงก�ำพุชฉัตร๕ (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าก�ำพุชฉัตร) ที่ ๑ ใน
เจา้ จอมมารดานกั องค์อ๖ี ประสูติเมอ่ื ปมี ะเมยี อฐั ศก จ.ศ. ๑๑๔๘ พ.ศ. ๒๓๒๙ ส้ินพระชนมใ์ นรชั กาลที่ ๔
ท่ี ๑๕ พระองคเ์ จา้ หญิงปัทมราช (พระเจ้าราชวรวงศเ์ ธอ พระองค์เจา้ ปัทมราช) ประสูตแิ ต่เจ้าจอม
มารดานุย้ ๗ เม่อื ปีมะแม นพศก จ.ศ. ๑๑๔๙ พ.ศ. ๒๓๓๐ สิ้นพระชนมใ์ นรชั กาลที่ ๔ ราว พ.ศ. ๒๔๐๘๘
ท่ี ๑๖ พระองค์เจ้าชาย (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า) ท่ี ๒ ในเจ้าจอมมารดาฉิม ประสูติ
เมอื่ ปีมะแม นพศก จ.ศ. ๑๑๔๙ พ.ศ. ๒๓๓๐ ส้นิ พระชนม์ในรชั กาลที่ ๑
ท่ี ๑๗ พระองค์เจ้าชายมั่ง๙ (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามั่ง) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเกศ
เมื่อปีวอก๑๐ สมั ฤทธศิ ก จ.ศ. ๑๑๕๐ พ.ศ. ๒๓๓๑ สิ้นพระชนม์ในรชั กาลท่ี ๓

_____________________________
๑ “การพระศพพระองค์เจ้าหญงิ โกมล,” ใน ประชุมหมายรบั สัง่ ภาค ๔ ตอนที่ ๒ฯ, หน้า ๑๑๗.
๒ พระองค์เจา้ หญิงดาราวดี ภายหลังมพี ระนามว่า เจ้าข้างในบ้าง ทูลกระหมอ่ มข้างในบา้ ง (ดู ประชุมพงศาวดาร
ภาคท่ี ๘ ฉบบั พมิ พ์ พ.ศ. ๒๕๐๗ หน้า ๑๐๙.)
๓ พระนามพระองคเ์ จ้าวงั หลวงแลวังนา่ ฯ ว่า เจา้ จอมมารดาน้อยแขก
๔ “จดหมายเหตุของหมอบรดั เล,”ใน ประชมุ พงศาวดารภาคท่ี ๑๒, หน้า ๓๕๙.
๕ วนั บรมมหาประสตู รแลวันประสูตร (ฉบบั คดั ส�ำเนา) ว่า ก�ำภฉู ัตร พระราชวจิ ารณเ์ รอื่ งจดหมายควาทรงจ�ำของ
กรมหลวงนรนิ ทรเทวีเลขหวั ขอ้ เรอ่ื ง ๑๔๒ วา่ กมั โพชฉัตร
๖ พระนามพระองคเ์ จา้ วังหลวงแลวังนา่ ฯ ว่า เจ้าจอมมารดานกั องคอ์ ี เชือ้ สายเขมร ธดิ าสมเด็จพระอทุ ยั ราชา หรอื
สมเดจ็ พระนารายณร์ าชา พระเจา้ กรุงกมั พูชา (ดู พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลท่ี ๑, หน้า ๑๒.)
๗ เจา้ จอมมารดานยุ้ ธดิ าเจา้ พระยานครศรธี รรมราช (พฒั น)์ ใน พระนามพระองคเ์ จา้ วงั หลวงแลวงั นา่ ฯ วา่ เจา้ จอม
มารดาน้ยุ เมอื งละคร
๘ หอสมดุ แหง่ ชาต,ิ หมายรบั สั่งรชั กาลที่ ๔ จ.ศ. ๑๒๒๗, เลขท่ี ๑๕/๑๓
๙ บางคร้งั ออกพระนามว่า พระองค์เจา้ มัง่ ขน (ดู พระอนุวงศช์ ้นั หมอ่ มเจา้ ในพระราชวงศ์จกั ร,ี หน้า ๓๓.)
๑๐ วนั บรมมหาประสูตรแลวันประสตู ร (ฉบบั คัดส�ำเนา) ว่า ประสตู ิปมี ะแม นพศก จ.ศ.๑๑๔๙

112

ท่ี ๑๘ พระองค์เจ้าชายสิงหราช (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิงหราช) ท่ี ๒ ในเจ้าจอม
มารดาล่า ประสตู ิเม่อื ปวี อก สัมฤทธิศก จ.ศ. ๑๑๕๐ พ.ศ. ๒๓๓๑ สิน้ พระชนม์ในรชั กาลท่ี ๓๑
ที่ ๑๙ พระองค์เจ้าหญิงกลัด (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากลัด) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดา
มใี หญ่ เมือ่ ปีระกา เอกศก จ.ศ. ๑๑๕๑ พ.ศ. ๒๓๓๒ สนิ้ พระชนมใ์ นรัชกาลที่ ๓
ที่ ๒๐ พระองค์เจ้าหญิงฉิมพลี๒ (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าฉิมพลี) ประสูติแต่เจ้าจอม
มารดางิว้ เมือ่ ปีระกา เอกศก จ.ศ. ๑๑๕๑ พ.ศ. ๒๓๓๒ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลท่ี ๒
ที่ ๒๑ พระองคเ์ จ้าชายสงั กะทัต๓ (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมขุนนรานุชิต) ท่ี ๓ ในเจา้ จอมมารดา
ฉมิ ประสตู ิเมอื่ วันพุธ เดือน ๖ ขนึ้ ๖ คำ่� ปรี ะกา เอกศก จ.ศ. ๑๑๕๑ ตรงกับวนั ที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๓๓๒
ในรัชกาลท่ี ๓ ทรงสถาปนาเป็นกรมหม่ืนนรานุชิต ถึงรัชกาลท่ี ๔ เล่ือนเป็นพระเจ้าบวรวงศ์เธอ กรมขุน
นรานุชติ ส้นิ พระชนม์ในรชั กาลที่ ๔ เม่ือวนั อาทิตย์ เดอื น ๓ ข้นึ ๑๓ ค่�ำ ปีขาล อัฐศก จ.ศ. ๑๒๒๘ ตรงกับ
วันที่ ๑๗ กมุ ภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๐๙ พระชันษา ๗๗ ป๔ี พระราชทานเพลงิ พระศพ ณ พระเมรทุ ้องสนามหลวง
เมอื่ วนั ศุกรท์ ่ี ๒๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๐๙๕ เป็นต้นราชสกุล สังขทตั ณ อยุธยา
ที่ ๒๒ พระองคเ์ จา้ หญงิ แกว้ ๖ (พระเจา้ ราชวรวงศเ์ ธอ พระองคเ์ จา้ แกว้ ) ประสตู แิ ตเ่ จา้ จอมมารดาแจม่
เมื่อปรี ะกา เอกศก จ.ศ. ๑๑๕๑ พ.ศ. ๒๓๓๒ ส้นิ พระชนมใ์ นรัชกาลที่ ๑
ที่ ๒๓ พระองค์เจ้าหญิง (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า) ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดานักองค์เภา๗
ประสตู ิปกี นุ ตรีศก จ.ศ. ๑๑๕๓ พ.ศ. ๒๓๓๔ สิ้นพระชนม์ในรชั กาลท่ี ๑
ท่ี ๒๔ พระองคเ์ จา้ หญงิ ศรสี ดุ าอบั สร๘ (พระเจา้ ราชวรวงศเ์ ธอ พระองคเ์ จา้ ศรสี ดุ าอบั สร) ประสตู แิ ต่
เจ้าจอมมารดาเพ็ง เมื่อปีกุน ตรีศก จ.ศ. ๑๑๕๓ พ.ศ. ๒๓๓๔ ทรงรับราชการข้างใน ในสมเด็จพระบวรราช
เจ้ามหาเสนานุรักษ์ คร้ันสวรรคตแล้ว ได้ไปรับราชการข้างในในพระบรมมหาราชวังต่อมาจนส้ินพระชนม์๙
ในรชั กาลที่ ๓๑๐

_____________________________
๑ เร่อื งเดียวกนั , วา่ สน้ิ พระชนมใ์ นรัชกาลท่ี ๒
๒ ลัทธิธรรมเนยี มต่างๆ เลม่ ๒ (นครหลวง : บรรณาคาร, ๒๕๑๕), หนา้ ๒๘๖ วา่ พระองคเ์ จา้ ง้ิวฉมิ พลี
๓ เรอื่ งเดยี วกัน, วา่ พระองคเ์ จา้ สงั ขทัต
๔ พระอนุวงศช์ ้ันหมอ่ มเจา้ ในพระราชวงศจ์ กั ร,ี หน้า ๓๔.
๕ พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๔, หน้า ๓๐๖ และว่า ส้ินพระชนม์เมื่อวันพระราชทานเพลิง
พระศพพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจา้ อยู่หวั
๖ ดวงพระชาตาแลดวงชาตาต่าง ๆ (ส�ำเนาต้นฉบับลายมือ), หนา้ ๕๕ ออกพระนามวา่ พระองคธ์ รรมราช
๗ เจา้ จอมมารดานกั องคเ์ ภา ธดิ าสมเดจ็ พระอทุ ยั ราชา หรอื สมเดจ็ พระนารายณร์ าชา พระเจา้ กรงุ กมั พชู า (ดู พระราช
พงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑, หน้า ๑๒.) ส่วน พระนามพระองค์เจ้าวังหลวงแลวังน่าฯ ว่า เจ้าจอมมารดา
นักองค์เภา เชื้อสายเขมร
๘ พระองคเ์ จา้ หญิงศรสี ุดาอับสร ลางทีออกพระนามวา่ พระองค์เจา้ หญิงดุสิดาอับศร (ดู ชมุ นุมพระบรมราชาธบิ าย
ในพระบาทสมเดจ็ พระจอมเกลา้ เจ้าอยหู่ วั , หน้า ๒๗.)
๙ พระนามพระองค์เจ้าวังหลวงแลวงั น่าฯ
๑๐ วนั บรมมหาประสูตรแลวนั ประสูตร (ฉบบั คัดส�ำเนา) ว่า สิ้นพระชนมใ์ นรชั กาลท่ี ๒

113

ที่ ๒๕ พระองค์เจ้าหญิงลมุด (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลมุด) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดา
มีน้อย เม่ือปีกนุ ตรีศก จ.ศ. ๑๑๕๓ พ.ศ. ๒๓๓๔ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เม่อื วันจนั ทร์ เดือน ๙ ข้ึน ๕ ค่ำ�
ปีจอ ฉศก จ.ศ. ๑๒๓๖ ตรงกับวันที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๑๗ พระชนั ษา ๘๔ ป๑ี
ท่ี ๒๖ พระองค์เจ้าชายบัว๒ (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบัว) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาศรี
เมือ่ วันจนั ทร์ เดอื น ๘ แรม ๑๓ คำ่� ปชี วด จตั วาศก จ.ศ. ๑๑๕๔ ตรงกบั วันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๓๕
สนิ้ พระชนมใ์ นรชั กาลท่ี ๓ พ.ศ. ๒๓๘๓๓ เป็นต้นราชสกลุ ปทั มสิงห์ ณ อยุธยา
ท่ี ๒๗ พระองค์เจ้าหญิงปุก (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปุก) ท่ี ๒ ในเจ้าจอมมารดา
นกั องค์เภา ประสูตเิ มอ่ื ปีชวด จตั วาศก จ.ศ. ๑๑๕๔ พ.ศ. ๒๓๓๕ สนิ้ พระชนมใ์ นรัชกาลท่ี ๓๔
ท่ี ๒๘ พระองคเ์ จา้ หญงิ ดษุ ฎี (พระเจา้ ราชวรวงศเ์ ธอ พระองคเ์ จา้ ดษุ ฎ)ี ประสตู แิ ตเ่ จา้ จอมมารดาเสม
เมอ่ื ปชี วด จตั วาศก จ.ศ. ๑๑๕๔ พ.ศ. ๒๓๓๕ สนิ้ พระชนมใ์ นรชั กาลท่ี ๔ เมอ่ื วนั ศกุ ร์ เดอื น ๘ บรู พาษาฒ
แรม ๑๐ ค�่ำ ปีกุน เบญจศก จ.ศ. ๑๒๒๕ ตรงกับวนั ที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๐๖ พระชันษา ๗๑ ปี
ท่ี ๒๙ พระองค์เจ้าชายสุก๕ (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุก) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเอม
เมอ่ื ปีชวด จตั วาศก จ.ศ. ๑๑๕๔ พ.ศ. ๒๓๓๕ สน้ิ พระชนม์ในรัชกาลท่ี ๔
ที่ ๓๐ พระองค์เจ้าชายเพ็ชรหึง (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเพ็ชรหึง) ประสูติแต่เจ้าจอม
มารดาชู เม่อื ปฉี ลู เบญจศก จ.ศ. ๑๑๕๕ พ.ศ. ๒๓๓๖ สิน้ พระชนมใ์ นรชั กาลที่ ๒ พระราชทานเพลิงพระศพ ณ
พระเมรุวัดสระเกศ เม่ือวันอาทิตย์ เดือน ๓ แรม ๑๒ ค�่ำ ปีกุน สัปตศก จ.ศ. ๑๑๗๗ ตรงกับวันที่ ๒๕
กุมภาพนั ธ์ พ.ศ. ๒๓๕๘๖
ที่ ๓๑ พระองค์เจ้าหญงิ วงศม์ าลา๗ (พระเจา้ ราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวงศ์มาลา) ที่ ๒ ในเจา้ จอม
มารดานกั องค์อี ประสูตเิ มือ่ ปฉี ลู เบญจศก จ.ศ. ๑๑๕๕ พ.ศ. ๒๓๓๖ สน้ิ พระชนม์ในรัชกาลท่ี ๔
ที่ ๓๒ พระองค์เจ้าหญิงนิลวัตถา๘ (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านิลวัตถา) ท่ี ๒ ในเจ้าจอม
มารดาน้อย ประสูติเม่ือปีฉลู เบญจศก จ.ศ. ๑๑๕๕ พ.ศ. ๒๓๓๖ ส้ินพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔ เมื่อวันเสาร์
เดอื น ๑๒ ขึ้น ๗ ค่ำ� ปรี ะกา ตรีศก จ.ศ. ๑๒๒๓ ตรงกับวนั ที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๐๔ พระชันษา ๖๙ ปี
พระราชทานเพลงิ พระศพ ณ พระเมรผุ า้ ขาว วดั อรณุ ราชวราราม เม่ือเดอื น ๓ พ.ศ. ๒๔๐๔
ที่ ๓๓ พระองค์เจ้าหญิงก�ำพร้า (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าก�ำพร้า) ประสูติแต่เจ้าจอม
มารดาบบั ภา เมอ่ื ปขี าล ฉศก จ.ศ. ๑๑๕๖ พ.ศ. ๒๓๓๗ สิน้ พระชนมใ์ นรชั กาลที่ ๒

____________________________
๑ ราชกิจจานเุ บกษา เล่ม ๑ จ.ศ. ๑๒๓๖, หนา้ ๑๔๐ ว่า พระชันษา ๘๕ ปี
๒ บางแห่งออกพระนามวา่ พระองค์เจา้ ดอกบัว (ดู พระอนุวงศ์ชัน้ หมอ่ มเจา้ ในพระราชวงศจ์ ักรี, หน้า ๓๕.)
๓ เร่ืองเดียวกนั , หนา้ เดยี วกนั .
๔ Somdetch Phra Paramindr MahaMongkut, “Near and Distant Member of the Royal Family,”
Bangkok Calendar (1868), p. 103 ว่า ยังไม่ส้ินพระชนม์ ขณะนนั้ พระชันษา ๗๖ ปี
๕ พระนามพระองค์เจ้าวังหลวงแลวังนา่ ฯ ออกพระนามว่า พระองค์เจ้าสดุ
๖ ประชุมหมายรบั สัง่ ภาคท่ี ๓ฯ, หนา้ ๗๔.
๗ ชุมนุมพระบรมราชาธิบายฯ, หนา้ ๒๐ ออกพระนามวา่ พระองคเ์ จ้าหญิงวงศก์ ษตั ริย์
๘ พระราชพงศาวดารกรงุ รัตนโกสนิ ทร์ รชั กาลที่ ๔, หน้า ๒๒๐ ออกพระนามวา่ พระองคเ์ จ้านลิ วรรณ

114

ที่ ๓๔ พระองคเ์ จ้าหญงิ กลน่ิ (พระเจา้ ราชวรวงศเ์ ธอ พระองค์เจา้ กลิ่น) ประสูติแต่เจา้ จอมมารดาภู่
เม่ือปีขาล ฉศก จ.ศ. ๑๑๕๖ พ.ศ. ๒๓๓๗ สิน้ พระชนม์ในรัชกาลที่ ๔๑
ท่ี ๓๕ พระองค์เจ้าหญิงรุ่ง (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารุ่ง) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดา
พลบั จนี เม่อื ปีขาล ฉศก จ.ศ. ๑๑๕๖ พ.ศ. ๒๓๓๗ สนิ้ พระชนมใ์ นรัชกาลที่ ๔
ท่ี ๓๖ พระองค์เจ้าหญิง (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาล้อม
เม่ือปีขาล ฉศก จ.ศ. ๑๑๕๖ พ.ศ. ๒๓๓๗ สิน้ พระชนมใ์ นรชั กาลท่ี ๒
ที่ ๓๗ พระองค์เจ้าชายนพเก้า (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านพเก้า) ประสูติแต่เจ้าจอม
มารดาสวน เม่อื ปีเถาะ สัปตศก จ.ศ. ๑๑๕๗ พ.ศ. ๒๓๓๘ ส้นิ พระชนมใ์ นรชั กาลที่ ๔
ที่ ๓๘ พระองคเ์ จา้ หญงิ (พระเจา้ ราชวรวงศเ์ ธอ พระองคเ์ จา้ ) ประสตู แิ ตเ่ จา้ จอมมารดาตุ เมอื่ ปเี ถาะ
สัปตศก จ.ศ. ๑๑๕๗ พ.ศ. ๒๓๓๘ สน้ิ พระชนมใ์ นรชั กาลท่ี ๓
ที่ ๓๙ พระองค์เจ้าชาย (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาทรัพย์
เมือ่ ปมี ะโรง อัฐศก จ.ศ. ๑๑๕๘ พ.ศ. ๒๓๓๙ สิน้ พระชนม์ในรชั กาลที่ ๑
ท่ี ๔๐ พระองค์เจ้าชายสุด (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุด) ท่ี ๓ ในเจ้าจอมมารดาน้อย
ประสตู ิเมอื่ ปีมะเสง็ นพศก จ.ศ. ๑๑๕๙ พ.ศ. ๒๓๔๐ ส้นิ พระชนมใ์ นรชั กาลท่ี ๑
ท่ี ๔๑ พระองคเ์ จ้าชายเณร๒ (พระเจา้ ราชวรวงศเ์ ธอ พระองค์เจา้ เณร) ประสตู ิแตเ่ จา้ จอมมารดาไผ่
เมอื่ ปีวอก โทศก จ.ศ. ๑๑๖๒ พ.ศ. ๒๓๔๓ สิ้นพระชนมใ์ นรชั กาลที่ ๔๓ เปน็ ต้นราชสกุล นรี สิงห์ ณ อยธุ ยา
ที่ ๔๒ พระองค์เจา้ ชายหอย (พระเจา้ ราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจา้ หอย) ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดาตานี
ประสตู เิ มื่อปวี อก โทศก จ.ศ. ๑๑๖๒ พ.ศ. ๒๓๔๓ สนิ้ พระชนม์ในรชั กาลที่ ๑
ท่ี ๔๓ พระองค์เจ้าชายแตน๔ (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าแตน) ท่ี ๒ ในเจา้ จอมมารดาตานี
ประสูตเิ มื่อปรี ะกา ตรีศก จ.ศ. ๑๑๖๓ พ.ศ. ๒๓๔๔ ส้นิ พระชนม์ในรัชกาลท่ี ๑
ประสูติมาแตใ่ นแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ๖ พระองค์
ประสูตใิ นรชั กาลที่ ๑ กรุงรัตนโกสินทร์ ๓๗ พระองค์
รวม ๔๓ พระองค์
ราชสกุลทีส่ ืบสายตรงจากพระราชโอรสมี ๔ มหาสาขา

_____________________________
๑ นา่ จะสนิ้ พระชนม์ในรัชกาลท่ี ๒ เพราะมีหมายรับสั่งในรัชกาลที่ ๒ ให้พระราชทานเพลงิ พระศพ ณ พระเมรปุ ะร�ำ
วดั สมอแครง เม่ือเดือน ๔ แรม ๑๒ ค�่ำ ปีขาล สัมฤทธิศก จ.ศ. ๑๑๘๐ (ดู “พระราชทานเพลิงพระศพ พระเจ้าหลานเธอ
พระองค์เจา้ กลน่ิ จ.ศ. ๑๑๘๐ ปีขาล สมั ฤทธศิ ก (พ.ศ. ๒๓๖๑),”ใน ประชมุ หมายรับสั่ง ภาคที่ ๓ฯ, หน้า ๑๑๕ และลทั ธิ
ธรรมเนยี มต่าง ๆ เลม่ ๒ หน้า ๓๔๐.)
๒ พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี, หน้า ๓๖ ว่า พระองค์เจ้าเณร นี้ บางคร้ังใช้ค�ำน�ำพระนามว่า
พระเจา้ บวรวงศเ์ ธอ ซงึ่ อาจท�ำใหเ้ ขา้ ใจผดิ ชน้ั วา่ เปน็ พระราชโอรสในพระบาทสมเดจ็ พระปน่ิ เกลา้ เจา้ อยหู่ วั ทมี่ พี ระชนั ษานอ้ ยกวา่
พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ทง้ั นเี้ พราะไมม่ พี ระราชโอรสพระนามนใี้ นพระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั พระองคน์ น้ั
๓ พระนามพระองค์เจ้าวงั หลวงแลวงั น่าฯ ว่า สิ้นพระชนมใ์ นรัชกาลที่ ๕
๔ จดหมายเหตรุ ชั กาลท่ี ๒ เลม่ ๓ จ.ศ. ๑๑๗๑-๑๑๗๔, หนา้ ๑๒๓. ปรากฏพระนาม พระเจา้ นอ้ งยาเธอ พระองคเ์ จา้ แทน
อีกพระองค์หนึ่ง ซง่ึ อาจจะตา่ งพระองคก์ ัน ท้งั น้เี พราะยงั มีพระชนมอ์ ยใู่ นรชั กาลที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๕๕

115

พระราชโอรสธิดา
ในสมเดจ็ พระบวรราชเจา้ มหาเสนานุรักษ์
(กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในรชั กาลที่ ๒)



ประสูติก่อนอปุ ราชาภเิ ษก

ที่ ๑ พระองค์เจ้าชาย (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า) ท่ี ๑ ในเจ้าจอมมารดาส�ำลี๑ ประสูติ
เม่อื ปีกุน ตรีศก จ.ศ. ๑๑๕๓ พ.ศ. ๒๓๓๔ ส้ินพระชนม์ในรชั กาลท่ี ๑ ตั้งแตย่ งั ทรงพระเยาว์
ท่ี ๒ พระองค์เจ้าชายประยงค์ (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมขุนธิเบศร์บวร) ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดา
นว่ ม ประสูติเมื่อวันจันทร์ เดอื นย่ี แรม ๘ ค�่ำ ปกี นุ ตรีศก จ.ศ. ๑๑๕๓ ตรงกับวันท่ี ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๓๓๔
ในรัชกาลที่ ๒ ทรงสถาปนาเป็นกรมหม่ืนธิเบศร์บวร ในรัชกาลที่ ๔ เล่ือนเป็นพระเจ้าบวรวงศ์เธอ กรมขุน
ธิเบศร์บวร สิ้นพระชนม์ในรชั กาลที่ ๔ เม่ือวันพฤหัสบดี เดือน ๓ แรม ๑๓ คำ�่ ปีมะเส็ง นพศก จ.ศ. ๑๒๑๙
ตรงกบั วนั ที่ ๑๑ กมุ ภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๐๐ พระชนั ษา ๖๖ ปี เป็นตน้ ราชสกุล บรรยงกะเสนา ณ อยุธยา
ที่ ๓ พระองค์เจ้าหญงิ ประชุมวงศ์ (พระเจา้ ราชวรวงศ์เธอ พระองคเ์ จา้ ประชมุ วงศ)์ ท่ี ๒ ในเจา้ จอม
มารดาส�ำลี ประสูติเม่อื ปขี าล ฉศก จ.ศ. ๑๑๕๖ พ.ศ. ๒๓๓๗ สนิ้ พระชนมใ์ นรัชกาลท่ี ๓ พระราชทานเพลงิ
พระศพ พ.ศ. ๒๓๙๒
ท่ี ๔ พระองค์เจ้าชายปาน (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหม่ืนอมรมนตร)ี ท่ี ๒ ในเจา้ จอมมารดาน่วม
ประสูติปีขาล ฉศก จ.ศ. ๑๑๕๖ พ.ศ. ๒๓๓๗ ในรชั กาลท่ี ๓ ทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นอมรมนตรี ส้นิ พระชนม์
ในรัชกาลท่ี ๕ เมอ่ื วนั พฤหัสบดี เดอื น ๗ แรม ๙ ค�ำ่ ปมี ะเสง็ เอกศก จ.ศ. ๑๒๓๑ ตรงกบั วันที่ ๓ มิถนุ ายน
พ.ศ. ๒๔๑๒๒ พระชนั ษา ๗๖ ปี พระราชทานเพลงิ พระศพ วนั ที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๑๒๓
ที่ ๕ พระองคเ์ จ้าหญงิ นดั ดา (พระเจา้ ราชวรวงศ์เธอ พระองคเ์ จา้ นดั ดา) ที่ ๓ ในเจา้ จอมมารดาส�ำลี
ประสตู เิ มอ่ื ปมี ะโรง อฐั ศก จ.ศ. ๑๑๕๘ พ.ศ. ๒๓๓๙ สน้ิ พระชนมใ์ นรชั กาลท่ี ๔ เมอ่ื ปมี ะเสง็ นพศก จ.ศ. ๑๒๑๙
พ.ศ. ๒๔๐๐ พระชันษา ๖๑ ปี

_____________________________
๑ เจ้าจอมมารดาส�ำลี พระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ใน ล�ำดับสกุลเก่าบางสกุล ภาคที่ ๔
สกลุ เชอ้ื สายพระราชวงศ์กรุงธนบรุ ,ี หนา้ ๖ วา่ พระองคเ์ จ้าหญิงส�ำลวี รรณ
๒ จดหมายเหตุพระราชกิจรายวันในรัชกาลที่ ๕ ปีมะโรง พ.ศ. ๒๔๑๑ - ปีระกา พ.ศ. ๒๔๑๖ (กรุงเทพฯ :
คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ ส�ำนักนายกรัฐมนตรี, ๒๕๑๖), หน้า ๓๕. และจดหมายเหตุบัญชีน้�ำฝน
เล่ม ๓, หน้า ๒๓.
๓ “จดหมายเหตุของหมอบรดั เล,”ใน ประชมุ พงศาวดารภาคท่ี ๑๒, หนา้ ๓๗๒.

116

ท่ี ๖ พระองค์เจา้ หญิงขนษิ ฐา (พระเจา้ ราชวรวงศ์เธอ พระองคเ์ จ้าขนิษฐา) ท่ี ๔ ในเจา้ จอมมารดา
ส�ำลี๑ ประสูติเม่อื ปีมะเมยี สัมฤทธิศก จ.ศ. ๑๑๖๐ พ.ศ. ๒๓๔๑๒ สนิ้ พระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมอื่ วนั พฤหสั บดี
เดือนย่ี แรม ๕ ค่�ำ ปีชวด อัฐศก จ.ศ. ๑๒๓๘ ตรงกับวันที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๑๙ พระชันษา ๗๙ ปี
พระราชทานเพลงิ พระศพ ณ พระเมรวุ ดั สุวรรณาราม เมือ่ วันที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๒๐๓
ท่ี ๗ พระองค์เจ้าหญิง (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า) ท่ี ๓ ในเจ้าจอมมารดาน่วม ประสูติ
เมอื่ ปมี ะแม เอกศก จ.ศ. ๑๑๖๑ พ.ศ. ๒๓๔๓ สนิ้ พระชนม์ในรชั กาลที่ ๒๔
ท่ี ๘ พระองค์เจ้าชายพงศ์อิศเรศ๕ (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นกษัตริย์ศรีศักดิเดช) ท่ี ๕ ใน
เจ้าจอมมารดาส�ำลี ประสูติเมื่อวันจันทร์ เดือน ๑๒ แรม ๒ ค�่ำ ปีวอก โทศก จ.ศ. ๑๑๖๒ ตรงกับวันท่ี ๓
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓๔๓ ในรัชกาลที่ ๔ ทรงสถาปนาเป็นพระเจ้าบวรวงศ์เธอ กรมหมื่นกษัตริย์ศรีศักดิเดช๖
เม่อื วนั จันทร์ เดือน ๖ แรม ๑๓ ค่�ำ ปีจอ จตั วาศก จ.ศ. ๑๒๒๔ ตรงกบั วนั ท่ี ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๐๕
สนิ้ พระชนมใ์ นรัชกาลที่ ๕ เมอ่ื วันพฤหสั บดี เดอื น ๘ อตุ ราษาฒ ข้นึ ๑๐ คำ่� ปจี อ ฉศก จ.ศ. ๑๒๓๖ ตรงกบั
วันท่ี ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๑๗ พระชนั ษา ๗๕ ปี พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรผุ ้าขาว วัดสระเกศ
เมือ่ วันอาทติ ยท์ ี่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๑๘๗ เปน็ ตน้ ราชสกลุ อศิ รเสนา ณ อยธุ ยา
ท่ี ๙ พระองคเ์ จ้าหญิงสวุ รรณ๘ (พระเจา้ ราชวรวงศเ์ ธอ พระองค์เจา้ สุวรรณ) ที่ ๑ ในเจา้ จอมมารดา
กอ้ นทอง ประสตู ิเมอ่ื ปรี ะกา ตรีศก จ.ศ. ๑๑๖๓ พ.ศ. ๒๓๔๔ สิ้นพระชนมใ์ นรชั กาลท่ี ๓

_____________________________
๑ พระราชพงศาวดารกรงุ รัตนโกสนิ ทร์ รัชกาลที่ ๒, หน้า ๕๖๕ และประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๑๓ (พระนคร :
โรงพิมพพ์ ระจนั ทร์, ๒๕๑๕), หนา้ ๑๔๗ วา่ ที่ ๓ ใน เจา้ จอมมารดานว่ ม แต่ ล�ำดบั สกลุ เก่าบางสกลุ ภาคที่ ๔ สกลุ เช้อื สาย
พระราชวงศ์กรุงธนบรุ ,ี หนา้ ๖ วา่ พระองค์เจ้าหญิงขนษิ ฐา เปน็ พระธิดาของพระองค์เจา้ ส�ำลีวรรณ
๒ Somdetch Phra Paramindr MahaMongkut, “Near and Distant Member of the Royal Family,”
Bangkok Calendar (1868), p. 104 วา่ ประสตู ิ ค.ศ. ๑๗๙๙ (พ.ศ. ๒๓๔๒)
๓ จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลา้ เจา้ อยู่หัว จุลศกั ราช ๑๒๓๙ พุทธศักราช
๒๔๒๐ (กรงุ เทพฯ : โรงพมิ พ์ สกสค. ลาดพรา้ ว, ๒๕๕๓), หน้า ๔๒.
๔ พระราชหตั ถเลขาพระบาทสมเดจ็ พระจอมเกลา้ เจ้าอยหู่ วั , หน้า ๔๑๑ วา่ ในรชั กาลที่ ๔ พ.ศ. ๒๔๐๐ ยังมี
พระชนม์อยู่
๕ Somdetch Phra Paramindr MahaMongkut, “Near and Distant Member of the Royal Family,”
Bangkok Calendar (1868), p. 107 วา่ พระนามเดมิ วา่ Prince Reng Bongsissuarisr
๖ ตามจดหมายเหตุเร่ืองทรงต้ังพระบรมวงษานุวงษ์ฯ, หน้า ๑๑๘ เมื่อทรงตั้งพระเจ้าบวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า
พงษ์อิศเรศร์ เป็นกรมหม่ืนกระษัตริย์ศรีศักดิเดช พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชด�ำริว่า “ควรต�ำแหน่ง
เจา้ ฟ้าในพระบวรราชวัง”
๗ ราชกจิ จานุเบกษา เลม่ ๒ จ.ศ. ๑๒๓๗, หน้า ๖๐.
๘ บางแห่งออกพระนามว่า พระองคเ์ จา้ น้อย (ดู พระอนวุ งศ์ชั้นหมอ่ มเจา้ ในพระราชวงศ์จกั ร,ี หนา้ ๑๑.)

117

ที่ ๑๐ พระองค์เจ้าชายไม้เทศ (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไม้เทศ) ประสูติแต่เจ้าจอม
มารดาเหมใหญ่ เมื่อปีจอ จัตวาศก จ.ศ. ๑๑๖๔ พ.ศ.๒๓๔๕ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลท่ี ๓ เม่ือวันพฤหัสบดี
เดือนย่ี แรม ๖ ค่�ำ ปีจอ อัฐศก จ.ศ. ๑๑๘๘ ตรงกับวันท่ี ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๓๖๙ พระชันษา ๒๓ ปี
๙ เดือน ๒๒ วัน๑
ที่ ๑๑ พระองค์เจา้ ชายภมุ ริน๒ (พระเจา้ ราชวรวงศเ์ ธอ พระองคเ์ จ้าภุมรนิ ) ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดา
ทรัพย์ ประสูติเม่ือปีจอ จัตวาศก จ.ศ. ๑๑๖๔ พ.ศ. ๒๓๔๕ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลท่ี ๓ เป็นต้นราชสกุล
ภมุ รินทร ณ อยุธยา
ท่ี ๑๒ พระองคเ์ จ้าหญิงอ�ำพัน๓ (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอ�ำพัน) ท่ี ๑ ในเจ้าจอมมารดา
ปิ่น ประสูติเมื่อปีกุน เบญจศก จ.ศ. ๑๑๖๕ พ.ศ. ๒๓๔๖ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลท่ี ๕ เมื่อวันพุธ เดือน ๓
แรม ๑๒ ค�่ำ ปีมะเส็ง ตรีศก จ.ศ. ๑๒๔๓ ตรงกับวันท่ี ๑๕ กมุ ภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๒๔ พระชันษา ๗๙ ป๔ี
ที่ ๑๓ พระองคเ์ จ้าชายภุมเรศ (พระเจา้ ราชวรวงศ์เธอ กรมหมน่ื อมเรศรัศมี) ท่ี ๒ ในเจ้าจอมมารดา
ทรัพย์ ประสูติเม่ือวันอาทิตย์ เดือน ๓ ข้ึน ๑๐ ค�่ำ ปีกุน เบญจศก จ.ศ. ๑๑๖๕ ตรงกับวันที่ ๒๒ มกราคม
พ.ศ. ๒๓๔๖๕ ในรัชกาลที่ ๔ ทรงสถาปนาเป็นพระเจ้าบวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอมเรศรัศมี๖ สิ้นพระชนม์ใน
รัชกาลท่ี ๕ พระราชทานเพลงิ พระศพ ณ พระเมรวุ ดั สระเกศ เมอื่ วันพธุ เดอื น ๓ ขนึ้ ๑๑ ค่ำ� ปมี ะโรง โทศก
จ.ศ. ๑๒๔๒ ตรงกับวนั ท่ี ๙ กมุ ภาพนั ธ์ พ.ศ. ๒๔๒๓๗
ที่ ๑๔ พระองคเ์ จา้ หญงิ นฤมล๘ (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองคเ์ จ้านฤมล) ที่ ๖ ในเจ้าจอมมารดา
ส�ำลี ประสูติเมอื่ ปีชวด ฉศก จ.ศ. ๑๑๖๖ พ.ศ. ๒๓๔๗ สนิ้ พระชนมใ์ นรชั กาลท่ี ๒๙

____________________________
๑ “พระองคเ์ จา้ ไมเ้ ทศส้นิ พระชนม์,” ในประชมุ หมายรับส่ังภาค ๔ ตอนที่ ๑ฯ, หนา้ ๑๕ และดวงพระชาตาแล
ดวงชาตาต่างๆ (ส�ำเนาต้นฉบับลายมอื ), หน้า ๕๗.
๒ ราชกจิ จานุเบกษา เล่ม ๑๒ ร.ศ. ๑๑๔, หนา้ ๙๓ ว่า พระองคเ์ จ้าภมุ รนิ ทร์
๓ พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสนิ ทร์ รชั กาลที่ ๒, หนา้ ๕๖๖ ว่า “พระองคเ์ จา้ หญงิ พัน”
๔ “ราชกจิ จานุเบกษา กรุงเทพมหานคร ฉบบั พิเศษ เลม่ ๑ แผน่ ที่ ๒๒ วันศกุ ร เดอื น ๓ แรม ๑๔ ค่�ำ จ.ศ. ๑๒๔๓,”
ใน มาตานุสรณ์, (พระนคร : โรงพิมพ์มิตรนราการพิมพ์, ๒๕๑๓), หน้า ๒๑๐ ว่า พระองค์เจ้าพัน ประชวรพระโรคชรา
ส้ินพระชนม์ พระชันษา ๘๐ ปี
๕ Somdetch Phra Paramindr MahaMongkut, “Near and Distant Member of the Royal Family,”
Bangkok Calendar (1868), p. 103, 107 วา่ ประสตู ิเดือนกมุ ภาพันธ์ ค.ศ. ๑๘๐๔ (พ.ศ. ๒๓๔๗) พระชนั ษามากกว่า
พระองค์ ๘ เดอื น
๖ ใน พ.ศ. ๒๔๐๐ ยงั คงเปน็ พระองค์เจา้ ภุมเรศ
๗ จดหมายเหตพุ ระราชกจิ รายวนั พระราชนพิ นธใ์ นพระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ภาค ๑๑ (พระนคร :
โรงพิมพโ์ สภณพพิ รรฒธนากร, ๒๔๗๘), หน้า ๗๐.
๘ “ฉบับท่ี ๙ พระราชหตั ถเลขาถึงกรมหมื่นบวรวิไชชาญ ปกี ุญ พ.ศ. ๒๔๐๖” ใน พระราชหัตถเลขาพระบาทสมเดจ็
พระจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั , หน้า ๑๘๒ ว่า พระองค์เจ้านอ้ ย ; “เรอื่ งโสกันต์,” ใน ประชุมประกาศรชั กาลที่ ๔ วา่ น้อย นฤมล
๙ ราชสกุลวงศ์ ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๖๓ และฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๖๙ ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๑ ฉบับพิมพ์
พ.ศ. ๒๕๐๙ และพระราชพงศาวดารกรงุ รตั นโกสินทร์ รชั กาลที่ ๒, ว่า สิ้นพระชนมใ์ นรชั กาลท่ี ๓

118

ประสูติเมื่อเปน็ พระบณั ฑูรนอ้ ย๑

ที่ ๑๕๒ พระองค์เจ้าหญิงงาม (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้างาม) ที่ ๒ ในเจ้าจอมมารดา
ก้อนทอง ประสตู ิเม่ือปขี าล อัฐศก จ.ศ. ๑๑๖๘ พ.ศ. ๒๓๔๙ สิ้นพระชนม์ในรชั กาลท่ี ๓
ท่ี ๑๖ พระองค์เจ้าชายเสือ (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเสือ) ที่ ๔ ในเจ้าจอมมารดาน่วม
ประสตู เิ มอ่ื ปขี าล อฐั ศก จ.ศ. ๑๑๖๘ พ.ศ. ๒๓๔๙ สน้ิ พระชนมใ์ นรชั กาลท่ี ๔ เปน็ ตน้ ราชสกลุ พยคั ฆเสนา ณ อยธุ ยา
ท่ี ๑๗ พระองค์เจา้ ชายใย (พระเจ้าราชวรวงศเ์ ธอ พระองค์เจ้าใย) ท่ี ๑ ในเจา้ จอมมารดาศลิ า ประสตู ิ
เมอ่ื ปีเถาะ นพศก จ.ศ. ๑๑๖๙ พ.ศ. ๒๓๕๐ ส้นิ พระชนมใ์ นรัชกาลท่ี ๔ เปน็ ตน้ ราชสกุล รังสิเสนา ณ อยุธยา
ท่ี ๑๘ พระองค์เจ้าชายกระต่าย (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากระต่าย) ที่ ๕ ในเจ้าจอม
มารดาน่วม ประสูตปิ เี ถาะ นพศก จ.ศ. ๑๑๖๙ พ.ศ. ๒๓๕๐ สิน้ พระชนม์ในรัชกาลที่ ๓
ท่ี ๑๙ พระองคเ์ จา้ ชายทบั ทิม (พระเจา้ ราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจา้ ทบั ทิม) ประสตู ิแตเ่ จ้าจอมมารดา
นอ้ ยใหญ่ เม่อื ปมี ะโรง สมั ฤทธศิ ก จ.ศ. ๑๑๗๐ พ.ศ. ๒๓๕๑ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลท่ี ๓
ที่ ๒๐ พระองค์เจ้าหญิงมณฑา (พระเจา้ ราชวรวงศเ์ ธอ พระองค์เจา้ มณฑา) ท่ี ๖ ในเจา้ จอมมารดา
นว่ ม ประสูติเมอ่ื ปมี ะเสง็ เอกศก จ.ศ. ๑๑๗๑ พ.ศ. ๒๓๕๒ สิน้ พระชนม์ในรชั กาลท่ี ๔
ที่ ๒๑ พระองค์เจ้าชายฤกษ์ (สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์) ท่ี ๑ ใน
เจา้ จอมมารดาน้อยเลก็ ประสตู ิเม่อื วนั พฤหสั บดี เดอื น ๑๐ ขึ้น ๖ ค่�ำ ปมี ะเส็ง เอกศก จ.ศ. ๑๑๗๑ ตรงกบั
วันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๓๕๒๓ ทรงผนวชเป็นสามเณรมาแตใ่ นรัชกาลที่ ๒ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๖ ท่วี ดั มหาธาตุ
ในรัชกาลที่ ๓ ได้เป็นพระราชาคณะ สถิต ณ วัดบวรนิเวศวิหาร คร้ันรัชกาลท่ี ๔ ทรงสถาปนาเป็นพระเจ้า
วรวงศ์เธอ กรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธุ์ ปิยพรหมจรรย์ธรรมวรยุติ ปฏิบัติสุทธคณะนายก พุทธสาสนดิลก
ปวรัยบรรพชิต สรรพธรรมิกกิจโกศล สุวิมลปรีชา ปัญญาอรรคมหาสมณุดม บรมบพิตร เป็นเจ้าอาวาสวัด
บวรนิเวศวิหาร ครั้นรัชกาลท่ี ๕ ได้เลื่อนพระยศเป็นพระเจ้าบรมวงศ์เธอ๔ กรมพระปวเรศวริยาลงกรณ์
บวรรังษีสุริยพันธุ์ ปิยพรหมจรรย์ธรรมวรยุติ ปฏิบัติสุทธคณะนายก พุทธสาสนดิลกปวรัยบรรพชิต สรรพ
ธรรมิกกิจโกศล สุวิมลปรีชา ปัญญาอรรคอนาคาริยรัตโนดม พุทธวราคมโหรกลากุสโลภาส ปรมินทรมหาราช
หิโตปัธยาจาย์ มโหฬารเมตยาภิธยาศรัย พุทธาทิศรีรัตนตรัยคุณารักษ์ อุกฤษฐศักดิสกลสังฆปาโมกษ
ปธานาธิบดินทร์ มหาสมณะคณนิ ทรวโรดม บรมบพิตร เมื่อปรี ะกา เบญจศก จ.ศ. ๑๒๓๕ พ.ศ. ๒๔๑๖ ต่อมา

_____________________________
๑ เป็นพระบณั ฑูรน้อย เมอื่ พ.ศ. ๒๓๕๐
๒ พระอนุวงศช์ ้ันหม่อมเจ้าในพระราชวงศจ์ ักร,ี หน้า ๑๒ ว่า ที่ ๑๕-๑๖ ประสตู กิ อ่ นเปน็ พระบณั ฑูรนอ้ ย
๓ Somdetch Phra Paramindr MahaMongkut, “Near and Distant Member of the Royal Family,”
Bangkok Calendar (1868), p. 107 วา่ ประสูตเิ มอ่ื วนั ท่ี ๒๑ กันยายน ค.ศ. ๑๘๐๙ (พ.ศ. ๒๓๕๒) และมพี ระนามฉายา
เมอ่ื เป็นพระภิกษวุ ่า ปัญญาอคั คะ (Pannia Aggo)
๔ เปน็ ค�ำน�ำพระนามทีไ่ ดร้ บั พระราชทานเป็นพเิ ศษเฉพาะพระองค์ เน่อื งจากทรงเปน็ พระอุปชั ฌยาจารย์ของพระราช
โอรสในรชั กาลที่ ๔ และรชั กาลที่ ๕ (ดู พระบาทสมเดจ็ พระจอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั , ธรรมเนยี มราชตระกลู ในกรงุ สยาม (พระนคร :
โรงพิมพ์มหามกุฏราชวทิ ยาลัย, ๒๕๐๑), หน้า ๓๕.

119

ได้ทรงรับมหาสมณุตมาภิเษกเป็นพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมสมเด็จพระปวเรศวริยาลงกรณ์ บวรรังษีสุริยพันธุ์
ปยิ พรหมจรรยธ์ รรมวรยตุ ปฏบิ ตั สิ ทุ ธคณะนายก ธรรมนติ สิ าธกปวรยั บรรพชติ สรรพธรรมกิ กจิ โกศล วมิ ลปรชี า
ปัญญาอรรคมหาสมณุดม บรมพงศาธิบดี จักรีบรมนาถ มหาเสนานุรักษ์อนุราชวางกูร ปรมินทรบดินทร์สูรย์
หิโตปัธยาจารย์ มโหฬารเมตยาภิธยาศรัย ไตรปิฎกโหรกลาโกศล เบ็ญจปดลเศวตฉัตร สิริรัตโนปลักษณ
มหาสมณุตมาภิเษกาภิษิต ปรมุกกฤษฐสมณศักดิธ�ำรง มหาสงฆปรินายก พุทธสาสนดิลกโลกุตมมหาบัณฑิต
สุนทรวิจิตรปฏิภาณ ไวยัติญาณมหากระวี พุทธาทิศรีรัตนตรัยคุณารักษ์ เอกอรรคมหาอนาคาริยรัตน
สยามาธิโลกยปฏิพัทธ์ พุทธบริสัษยเนตร สมณคณินทราธิเบศร์ สกลพุทธจักโรปการกิจ สฤษฎิศุภการ
มหาปาโมกษประธานวโรดม บรมนาถบพติ ร เมอ่ื ปีเถาะ ตรีศก จ.ศ. ๑๒๕๓ พ.ศ. ๒๔๓๔ ด�ำรงพระเกยี รตยิ ศ
เป็นสมเด็จพระมหาสังฆปรินายกท่ัวท้ังพระราชอาณาเขต ส้ินพระชนม์ในรัชกาลท่ี ๕ เม่ือวันพุธ เดือน ๑๑
ขึ้น ๘ ค�่ำ๑ ปีมะโรง จัตวาศก จ.ศ. ๑๒๕๔ ตรงกับวันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๓๕ พระชันษา ๘๔ ปี
พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุท้องสนามหลวง เม่ือวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๓๒ ทรงสถาปนา
เป็นสมเด็จพระมหาสมณเจา้ ในรชั กาลท่ี ๖ เมอ่ื ปรี ะกา ตรศี ก จ.ศ. ๑๒๘๓ พ.ศ. ๒๔๖๔

ประสตู เิ ม่อื อปุ ราชาภิเษกแลว้

ท่ี ๒๒ พระองค์เจ้าชายแฝด (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า) ที่ ๓ ในเจ้าจอมมารดาทรัพย์
ประสูตเิ มอื่ ปีมะเมยี โทศก จ.ศ. ๑๑๗๒ พ.ศ. ๒๓๕๓ สิน้ พระชนมใ์ นวันประสูติ
ท่ี ๒๓ พระองค์เจ้าหญิงแฝด (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า) ที่ ๔ ในเจ้าจอมมารดาทรัพย์
ประสูตเิ มื่อปีมะเมีย โทศก จ.ศ. ๑๑๗๒ พ.ศ. ๒๓๕๓ ส้นิ พระชนมใ์ นวนั ประสตู ิ
ท่ี ๒๔ พระองค์เจ้าชาย (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า) ท่ี ๒ ในเจ้าจอมมารดาศิลา ประสูติ
เมอื่ ปมี ะเมีย โทศก จ.ศ. ๑๑๗๒ พ.ศ. ๒๓๕๓ สนิ้ พระชนมใ์ นรชั กาลท่ี ๒
ที่ ๒๕ พระองค์เจ้าหญิงปทุเมศ๓ (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปทุเมศ) ที่ ๑ ในเจ้าจอม
มารดาเอ่ียม ประสูติเมื่อปีมะเมีย โทศก จ.ศ. ๑๑๗๒ พ.ศ. ๒๓๕๓ ส้ินพระชนม์ในรัชกาลท่ี ๕ เม่ือวันจันทร์
เดือนยี่ ข้ึน ๑๒ ค�่ำ ปีกุน นพศก จ.ศ. ๑๒๔๙ ตรงกับวันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๓๐ พระชันษา ๗๘ ปี
พระราชทานเพลงิ พระศพ ณ พระเมรุผ้าขาววดั สระเกศ วนั ที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๓๒๔
ที่ ๒๖ พระองคเ์ จ้าหญิงเกสร (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเกสร) ที่ ๒ ในเจา้ จอมมารดาปิ่น
ประสตู ิเมอื่ ปมี ะเมยี โทศก จ.ศ. ๑๑๗๒ พ.ศ. ๒๓๕๓ ส้ินพระชนมใ์ นรัชกาลท่ี ๒

_____________________________
๑ เมอ่ื เทยี บกบั ปฏทิ นิ กรมวชิ ชาธกิ ารฯ แลว้ วนั พธุ จะตรงกบั วนั ขนึ้ ๗ คำ�่ และตรงกบั วนั ท่ี ๒๘ กนั ยายน พ.ศ. ๒๔๓๕
๒ ราชกิจจานเุ บกษา เลม่ ๑๗ ร.ศ. ๑๑๙, หนา้ ๖๒๖.
๓ พระนามพระองคเ์ จา้ วังหลวงแลวงั น่าฯ วา่ ประทุมเมศ
๔ ราชกจิ จานุเบกษา เล่ม ๖ ร.ศ. ๑๐๘, หนา้ ๓๒๑.

120

ที่ ๒๗ พระองคเ์ จา้ ชายชมุ แสง (พระเจา้ ราชวรวงศเ์ ธอ พระองคเ์ จา้ ชมุ แสง) ประสตู แิ ตเ่ จา้ จอมมารดา
เลก็ เม่ือปีมะเมยี โทศก จ.ศ. ๑๑๗๒ พ.ศ. ๒๓๕๓ สน้ิ พระชนม์ในรชั กาลที่ ๔ เปน็ ตน้ ราชสกลุ สหาวุธ ณ อยธุ ยา
ท่ี ๒๘ พระองค์เจ้าชายสาททิพากร (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสาททิพากร) ท่ี ๒ ใน
เจา้ จอมมารดานอ้ ยเล็ก ประสตู ิเม่ือปีมะเมยี โทศก จ.ศ. ๑๑๗๒ พ.ศ. ๒๓๕๓ สนิ้ พระชนม์ในรชั กาลท่ี ๓
ที่ ๒๙ พระองค์เจ้าหญงิ (พระเจา้ ราชวรวงศเ์ ธอ พระองค์เจ้า) ที่ ๑ ในเจา้ จอมมารดาม่วง๑ ประสูติ
เม่อื ปีมะแม ตรีศก จ.ศ. ๑๑๗๓ พ.ศ. ๒๓๕๔ ส้นิ พระชนม์ในรชั กาลท่ี ๓
ที่ ๓๐ พระองค์เจ้าหญิงนุ่ม (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านุ่ม) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดานิ่ม
เมื่อปีมะแม ตรีศก จ.ศ. ๑๑๗๓ พ.ศ. ๒๓๕๔ ส้ินพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เม่ือวันพฤหัสบดี เดือน ๗
แรม ๑๓ คำ่� ๒ ปขี าล สัมฤทธศิ ก จ.ศ. ๑๒๔๐ ตรงกบั วนั ท่ี ๒๗ มถิ นุ ายน พ.ศ. ๒๔๒๑ พระชนั ษา ๖๘ ปี
ท่ี ๓๑ พระองคเ์ จา้ ชาย (พระเจา้ ราชวรวงศเ์ ธอ พระองคเ์ จา้ ) ประสตู แิ ตเ่ จา้ จอมมารดานก (ภายหลงั
เป็นทา้ วสมศกั ดิ์) เมื่อปวี อก จตั วาศก จ.ศ. ๑๑๗๔ พ.ศ. ๒๓๕๕ ส้นิ พระชนมใ์ นรัชกาลที่ ๒
ท่ี ๓๒ พระองค์เจ้าชายยุคันธร (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนันตการฤทธิ์) ท่ี ๓ ในเจ้าจอม
มารดาน้อยเลก็ ประสูตเิ ม่อื วนั อาทติ ย์ เดือน ๑๒ แรม ๑๑ ค�ำ่ ปีวอก จัตวาศก จ.ศ. ๑๑๗๔ ตรงกับวนั ท่ี ๒๙
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓๕๕ ในรัชกาลท่ี ๔ ทรงสถาปนาเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนันตการฤทธิ์
เมือ่ วนั จันทร์ เดอื นอ้าย ข้ึน ๑๓ คำ�่ ปีเถาะ นพศก จ.ศ. ๑๒๒๙ ตรงกับวันท่ี ๙ ธนั วาคม พ.ศ. ๒๔๑๐ ได้วา่
กรมช่างทหารในญวน สิ้นพระชนมใ์ นรชั กาลที่ ๕ เมอื่ วันเสาร์ เดือน ๘ อตุ ราษาฒ แรม ๑๐ ค�ำ่ ปมี ะโรง โทศก
จ.ศ. ๑๒๔๒ ตรงกบั วันท่ี ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๒๓ พระชันษา ๖๙ ปี เป็นตน้ ราชสกลุ ยคุ นั ธร ณ อยุธยา
ที่ ๓๓ พระองคเ์ จา้ ชายสสี งั ข๓์ (พระเจา้ ราชวรวงศเ์ ธอ พระองคเ์ จา้ สสี งั ข)์ ที่ ๒ ในเจา้ จอมมารดาเอยี่ ม
ประสตู เิ มอื่ ปรี ะกา เบญจศก จ.ศ. ๑๑๗๕ พ.ศ. ๒๓๕๖ สน้ิ พระชนมใ์ นรชั กาลท่ี ๓ เปน็ ตน้ ราชสกลุ สสี งั ข์ ณ อยธุ ยา
ท่ี ๓๔ พระองค์เจ้าหญิงดวงจันทร์ (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดวงจันทร์) ประสูติแต่
เจ้าจอมมารดาศร๔ี เมือ่ ปีระกา เบญจศก จ.ศ. ๑๑๗๕ พ.ศ. ๒๓๕๖ สนิ้ พระชนม์ในรัชกาลท่ี ๕
ที่ ๓๕ พระองค์เจ้าชายรัชนิกร (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนิกร) ประสูติแต่เจ้าจอม
มารดาพลบั ๕ เมอ่ื ปจี อ ฉศก จ.ศ. ๑๑๗๖ พ.ศ. ๒๓๕๗ สน้ิ พระชนมใ์ นรชั กาลที่ ๔ เปน็ ตน้ ราชสกลุ รชั นกิ ร ณ อยธุ ยา
ท่ี ๓๖ พระองคเ์ จา้ หญิง (พระเจา้ ราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า) ที่ ๒ ในเจ้าจอมมารดามว่ ง ประสูติ
เมอ่ื ปีจอ ฉศก จ.ศ. ๑๑๗๖ พ.ศ. ๒๓๕๗ ส้ินพระชนม์ในรชั กาลที่ ๓
ท่ี ๓๗ พระองค์เจ้าชายทัดทรง (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทัดทรง) ประสูติแต่เจ้าจอม
มารดาแจ่ม เมื่อปีชวด อัฐศก จ.ศ. ๑๑๗๘ พ.ศ. ๒๓๕๙ ส้ินพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อวันจันทร์ เดือน ๘

____________________________
๑ พระนามพระองค์เจ้าวังหลวงแลวังนา่ ฯ วา่ เจา้ จอมมารดามว่ งแจ้
๒ พระบวรราชประวตั ิแลพระบวรราชนพิ นธ์ (พระนคร : ราชบณั ฑิตยสภา, ๒๔๗๐), หน้า ๒๘ ประชุมพงศาวดาร
ภาค ๑๓, หน้า ๑๗๔ และราชสกุลวงศ์ ฉบับพมิ พ์ พ.ศ. ๒๔๖๙, หน้า ๑๑๔ ว่า “แรม ๑๒ คำ�่ ” ซ่งึ เมอื่ เทยี บกบั ปฏทิ ิน
กรมวชิ ชาธกิ ารฯ แลว้ วนั พฤหัสบดจี ะตรงกับวันแรม ๑๒ ค่ำ� และตรงกับวันที่ ๒๗ มถิ ุนายน พ.ศ. ๒๔๖๑
๓ พระนามพระองค์เจา้ วงั หลวงแลวงั น่าฯ วา่ พระองค์เจา้ ศรสี งั ข์
๔ เร่ืองเดียวกัน วา่ เจา้ จอมมารดาศรีเกต ธดิ าเจา้ เวียงจันทน์
๕ บางแหง่ เรียก เจา้ จอมมารดาพลบั จินตหรา

121

บูรพาษาฒ ขน้ึ ๔ ค�่ำ ปรี ะกา สัปตศก จ.ศ. ๑๒๔๗๑ ตรงกับวันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๒๘ พระชนั ษา ๗๐ ปี
พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุวัดอรุณราชวราราม เม่ือวันอาทิตย์ เดือน ๘ บูรพาษาฒ แรม ๒ ค่�ำ
ปรี ะกายงั เปน็ ฉศก จ.ศ. ๑๒๔๖ ตรงกับวันท่ี ๒๘ มิถนุ ายน พ.ศ. ๒๔๒๘๒
ท่ี ๓๘ พระองคเ์ จ้าชายรองทรง (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นสิทธิสขุ ุมการ) ประสตู แิ ตเ่ จา้ จอม
มารดาภู่๓ เม่ือปีชวด อัฐศก จ.ศ. ๑๑๗๘ พ.ศ. ๒๓๕๙๔ ในรัชกาลท่ี ๔ ทรงสถาปนาเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ
กรมหม่ืนสิทธิสุขุมการ เมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๖ แรม ๘ ค่�ำ ปีเถาะ นพศก จ.ศ. ๑๒๒๙ ตรงกับวันท่ี ๒๖
พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๑๐ ได้ทรงบังคับการ๕โรงทอง ส้ินพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๖
ข้ึน ๑๒ ค่�ำ ปีชวด อัฐศก จ.ศ. ๑๒๓๘ ตรงกับวันที่ ๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๑๙ พระชันษา ๖๑ ปี
พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุผ้าขาววัดสระเกศ วันท่ี ๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๑๙๖ เป็นต้นราชสกุล
รองทรง ณ อยุธยา
ที่ ๓๙ พระองค์เจ้าชายสุดวอน (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุดวอน) ประสูติแต่เจ้าจอม
มารดาม๗ี เม่ือปฉี ลู นพศก จ.ศ. ๑๑๗๙ พ.ศ. ๒๓๖๐ สิ้นพระชนมใ์ นรัชกาลที่ ๓
ท่ี ๔๐ พระองค์เจ้าหญิงสุด (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุด) เรียกกันว่า พระองค์สุดศาลา
ท่ี ๓ ในเจ้าจอมมารดาม่วง ประสูติเม่ือปีฉลู นพศก จ.ศ. ๑๑๗๙ พ.ศ. ๒๓๖๐ ส้ินพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕
เมอื่ วนั จนั ทร์ เดอื น ๑๒ ขึ้น ๘ คำ่� ปมี ะเมีย โทศก จ.ศ. ๑๒๓๒ ตรงกับวนั ท่ี ๓๑ ตลุ าคม พ.ศ. ๒๔๑๓๘
ประสูติเมื่อเสดจ็ ด�ำรงพระยศเป็นสมเด็จพระเจา้ ลูกยาเธอ กรมขุนเสนานรุ ักษ์ ๑๔ พระองค์
ประสตู เิ ม่อื เสดจ็ ด�ำรงพระยศเปน็ สมเดจ็ พระบณั ฑรู นอ้ ย ๗ พระองค์
ประสตู เิ มอื่ เสดจ็ ด�ำรงพระยศเปน็ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ๑๙ พระองค์
รวม ๔๐ พระองค์๙
ราชสกลุ ท่ีสบื สายตรงจากพระราชโอรสมี ๑๐ มหาสาขา

_____________________________
๑ ราชกจิ จานุเบกษา เล่ม ๑ จ.ศ. ๑๒๔๖, หน้า ๒๓๕.
๒ จดหมายเหตพุ ระราชกิจรายวัน ในพระบาทสมเดจ็ พระจุลจอมเกล้าเจา้ อย่หู วั ภาค ๑๙ (พระนคร : โรงพิมพ์
พระจันทร,์ ๒๔๘๔), หน้า ๑๐๙, ๑๒๓.
๓ บางแหง่ เรียก เจา้ จอมมารดาภูอ่ เิ หนา
๔ Somdetch Phra Paramindr MahaMongkut, “Near and Distant Member of the Royal Family,”
Bangkok Calendar (1868), p. 107 ว่า ประสูตเิ ม่อื วันที่ ๑๓ มนี าคม ค.ศ. ๑๘๑๗ (พ.ศ. ๒๓๖๐) และจะเปน็ กรมหมืน่
วันที่ ๒๐ ธนั วาคม ค.ศ. ๑๘๖๗ (พ.ศ. ๒๔๑๐)
๕ แกต้ ามพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสนิ ทร์ รชั กาลท่ี ๒, หน้า ๕๗๓.
๖ ราชกิจจานุเบกษา เลม่ ๓ จ.ศ. ๑๒๓๘, หนา้ ๕๙, ๓๘๑.
๗ บางแห่งเรยี ก เจา้ จอมมารดามีบุษบา
๘ จดหมายเหตบุ ญั ชีน้ำ� ฝน เลม่ ๓, หน้า ๓๔.
๙ Somdetch Phra Paramindr MahaMongkut, “Near and Distant Member of the Royal Family,”
Bangkok Calendar (1868), p. 104 ว่า ทรงมีพระราชธิดาอีกพระองค์หน่ึงพระนามว่า H.R.H. Princess Bandhu
ประสูตเิ มื่อ ค.ศ. ๑๘๐๒ (พ.ศ. ๒๓๔๕)

122

พระราชโอรสธิดา
ในสมเด็จพระบวรราชเจา้ มหาศกั ดพิ ลเสพ
(กรมพระราชวงั บวรสถานมงคล ในรัชกาลที่ ๓)



ประสูตกิ อ่ นอปุ ราชาภิเษก

ท่ี ๑ พระองค์เจ้าหญงิ อรณุ ๑ (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจา้ อรณุ ) ท่ี ๑ ในเจ้าจอมมารดาน้อย๒
ประสตู เิ ม่อื วันอาทิตย์ เดอื น ๑๑ แรม ๕ คำ่� ปฉี ลู สปั ตศก จ.ศ. ๑๑๖๗ ตรงกบั วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๓๔๘
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลท่ี ๕ เม่ือวันพฤหัสบดี เดือน ๗ แรม ๑๔ ค่�ำ ปีระกา สัปตศก จ.ศ. ๑๒๔๗ ตรงกับ
วันท่ี ๑๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๒๘๓ พระชันษา ๘๑ ปี พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุท้องสนามหลวง
วันจันทรท์ ี่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๒๙
ท่ี ๒ พระองคเ์ จ้าหญงิ ส�ำอาง (พระเจา้ ราชวรวงศเ์ ธอ พระองคเ์ จา้ ส�ำอาง) ประสตู ิแตเ่ จา้ จอมมารดา
คมุ้ ใหญ่ เมอื่ วนั เสาร์ เดอื น ๖ ขน้ึ ๑๐ คำ�่ ปเี ถาะ นพศก จ.ศ. ๑๑๖๙ ตรงกบั วนั ท่ี ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๕๐
ส้ินพระชนมใ์ นรัชกาลที่ ๕ เมื่อวนั องั คาร เดอื น ๖ ขึ้น ๑๐ คำ�่ ปีมะเสง็ เอกศก จ.ศ. ๑๒๓๑ ตรงกบั วนั ท่ี ๒๐
เมษายน พ.ศ. ๒๔๑๒๔ พระชันษา ๖๓ ปี พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุผ้าขาววัดสระเกศ วันศุกร์
เดือน ๗ แรม ๑๐ ค่�ำ จ.ศ. ๑๒๓๑๕ ตรงกบั วนั ที่ ๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๑๒
ที่ ๓ พระองค์เจ้าชายสว่าง (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสว่าง) ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดาง้ิว
ประสูติ เมือ่ วนั จนั ทร์ เดอื น ๑๐ ขน้ึ คำ�่ ๑ ปกี ุน สัปตศก จ.ศ. ๑๑๗๗ ตรงกับวนั ที่ ๔ กนั ยายน พ.ศ. ๒๓๕๘
ส้ินพระชนม์ในรัชกาลท่ี ๔ เมื่อวันอังคาร เดือน ๓ แรม ๑๑ ค�่ำ ปีระกา ตรีศก จ.ศ. ๑๒๒๓ ตรงกับ
วันที่ ๒๕ กุมภาพนั ธ์ พ.ศ. ๒๔๐๔ พระชนั ษา ๔๕ ปี พระราชทานเพลงิ พระศพ ณ พระเมรวุ ดั อรุณราชวราราม
เม่อื วันอาทิตย์ที่ ๔ มนี าคม พ.ศ. ๒๔๐๔๖

_____________________________
๑ เรยี กกนั วา่ พระองคใ์ หญอ่ รุณ (ดู พระธรรมเทศนาบวรราชประวัติ (พระนคร : หอพระสมดุ วชิรญาณ, ๒๔๖๙.)
และ ราชกิจจานเุ บกษา เล่ม ๑ จ.ศ. ๑๒๔๖, หน้า ๒๓๕.)
๒ เจา้ จอมมารดานอ้ ย ธดิ าพระยาพนิ าศอคั คี (ดู “ฉบบั ที่ ๑ และฉบบั ที่ ๔ พระราชหตั ถเลขาถงึ พระองคเ์ จา้ ปทั มราช”
ใน พระราชหตั ถเลขาพระบาทสมเดจ็ พระจอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั , หนา้ ๒๕๐ - ๒๗๒.)
๓ จดหมายเหตุพระราชกจิ รายวนั ในพระบาทสมเดจ็ พระจุลจอมเกลา้ เจ้าอย่หู ัว ภาค ๑๙, หน้า ๑๐๒ - ๑๐๓.
แต่ ประชมุ พงศาวดาร ภาคท่ี ๑๓, หนา้ ๑๕๖ วา่ สนิ้ พระชนม์ “วนั จนั ทร์ เดอื น ๘ ขน้ึ ๘ คำ่� ปรี ะกา สปั ตศก จลุ ศกั ราช ๑๒๔๗
เม่อื เทียบกับปฏทิ ินกรมวชิ ชาธกิ ารฯ แลว้ ตรงกับวนั ที่ ๑๕ มถิ ุนายน พ.ศ. ๒๔๒๘
๔ จดหมายเหตพุ ระราชกิจรายวนั ในรชั กาลท่ี ๕ ปมี ะโรง พ.ศ. ๒๔๑๑ - ปรี ะกา พ.ศ. ๒๔๑๖, หน้า ๓๐ วา่
สนิ้ พระชนม์ เมอ่ื วนั พุธ เดอื น ๖ ขึ้น ๔ ค่�ำ ปมี ะเสง็ เอกศก จ.ศ. ๑๒๓๑ ตรงกับวันท่ี ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๑๒
๕ เรือ่ งเดียวกัน, หนา้ ๓๕.
๖ พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รชั กาลท่ี ๔, หน้า ๒๒๖.

123

ที่ ๔ พระองค์เจ้าหญงิ อัมพร๑ (พระเจ้าราชวรวงศเ์ ธอ พระองคเ์ จา้ อมั พร) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดา
แสง เม่อื วนั อาทิตย์ เดอื นอา้ ย ข้ึน ๒ ค�่ำ ปกี นุ สัปตศก จ.ศ. ๑๑๗๗ ตรงกบั วนั ที่ ๓ ธนั วาคม พ.ศ. ๒๓๕๘
สน้ิ พระชนมใ์ นรชั กาลท่ี ๒ เมื่อปฉี ลู นพศก จ.ศ. ๑๑๗๙ พ.ศ. ๒๓๖๐ พระชันษา ๓ ปี
ที่ ๕ พระองค์เจ้าหญิงสังวาล (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสังวาล) ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดา
เฟอื ง ประสตู เิ มอ่ื วนั จนั ทร์ เดอื น ๘ ขน้ึ ๗ คำ่� ปชี วด อฐั ศก จ.ศ. ๑๑๗๘ ตรงกบั วนั ท่ี ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๕๙
ส้ินพระชนม์ในรัชกาลท่ี ๕ เม่ือวันจันทร์ เดือน ๖ ขึ้น ๑๐ ค�่ำ๒ ปีมะโรง โทศก จ.ศ. ๑๒๔๒ พ.ศ. ๒๔๒๓
พระชันษา ๖๕ ปี
ท่ี ๖ พระองค์เจ้าชายก�ำภู๓ (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าก�ำภู) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาค�ำ
เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๖ ขึ้น ๙ ค�่ำ ปีฉลู นพศก จ.ศ. ๑๑๗๙ ตรงกับวันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๓๖๐
ส้ินพระชนม์ในรัชกาลท่ี ๕ เม่ือปีชวด นพศก จ.ศ. ๑๑๗๙ พ.ศ. ๒๔๑๙ พระชันษา ๖๐ ปี เป็นต้นราชสกุล
ก�ำภู ณ อยุธยา
ที่ ๗ พระองค์เจ้าชายกัมพล (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจา้ กมั พล) ที่ ๑ ในเจา้ จอมมารดาตานี
ประสูติเมื่อวันศุกร์ เดือน ๗ ขึ้นค�่ำ ๑ ปีฉลู นพศก จ.ศ. ๑๑๗๙ ตรงกับวันท่ี ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๖๐
สน้ิ พระชนมใ์ นรชั กาลท่ี ๒ เม่ือปีมะแม เบญจศก จ.ศ. ๑๑๘๕ พ.ศ. ๒๓๖๖ พระชันษา ๗ ปี
ท่ี ๘ พระองค์เจ้าชายอุทัย (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุทัย) ที่ ๒ ในเจ้าจอมมารดาง้ิว
ประสูตเิ มอื่ วนั อังคาร๔ เดอื น ๙ แรม ๗ ค่ำ� ปีฉลู นพศก จ.ศ. ๑๑๗๙ ตรงกับวนั ที่ ๓ กันยายน พ.ศ. ๒๓๖๐
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลท่ี ๓ เม่ือวันศุกร์ เดือน ๘ แรมค่�ำ ๑ ปีระกา เอกศก จ.ศ. ๑๒๑๑ ตรงกับวันที่ ๖
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๙๒ พระชันษา ๓๓ ปี
ท่ี ๙ พระองค์เจ้าชายเกสรา (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหม่ืนอานุภาพพิศาลศักดิ์) ประสูติแต่
เจา้ จอมมารดาคมุ้ เลก็ เมอื่ วนั อาทติ ย์ เดอื น ๑๑ แรม ๘ คำ�่ ปฉี ลู นพศก จ.ศ. ๑๑๗๙ ตรงกบั วนั ที่ ๒ พฤศจกิ ายน
พ.ศ. ๒๓๖๐๕ ในรชั กาลที่ ๔ ทรงสถาปนาเปน็ พระเจา้ วรวงศเ์ ธอ กรมหมนื่ อานภุ าพพศิ าลศกั ดิ์ เมอื่ วนั พฤหสั บดี
เดือน ๔ แรม ๗ ค่�ำ ปีฉลู สัปตศก จ.ศ. ๑๒๒๗ ตรงกับวันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๐๘ ทรงก�ำกับดูแลงาน
พระราชพธิ ีฝา่ ยวังหน้า สิ้นพระชนมใ์ นรชั กาลท่ี ๕ เมอื่ วนั พฤหสั บดี เดอื น ๑๐ แรม ๑๒ ค่�ำ ปรี ะกา เบญจศก
จ.ศ. ๑๒๓๕ ตรงกับวันที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๑๖ พระชนั ษา ๕๗ ปี เปน็ ตน้ ราชสกุล เกสรา ณ อยธุ ยา

_____________________________
๑ พระบวรราชประวัติ แลพระบวรราชนิพนธ์, หนา้ ๓๖ ว่า “อ�ำพร”
๒ เมอ่ื เทียบกับปฏทิ ินกรมวิชชาธกิ ารฯ แล้ว ถ้าเปน็ วนั จนั ทร์ เดอื น ๖ จะตรงกบั วันข้นึ ๑๑ ค่ำ� ซ่งึ ตรงกบั วันที่ ๑๙
เมษายน พ.ศ. ๒๔๒๓
๓ ราชกจิ จานเุ บกษา เล่ม ๗ ร.ศ. ๑๐๙, หนา้ ๒๐๒ ว่า พระองคเ์ จา้ ก�ำพฉู ตั ร
๔ เม่อื เทียบกับปฏิทนิ กรมวิชชาธกิ ารฯ แล้ว ถ้าเปน็ วันองั คาร เดือน ๙ จะตรงกับวนั แรม ๖ ค่ำ� ซึ่งตรงกบั วนั ที่ ๒
กันยายน พ.ศ. ๒๓๖๐
๕ Somdetch Phra Paramindr MahaMongkut, “Near and Distant Member of the Royal Family,”
Bangkok Calendar (1868), p. 107 วา่ ประสตู เิ มอื่ เดอื นมิถนุ ายน ค.ศ. ๑๘๑๗ (พ.ศ. ๒๓๖๐)

124

ที่ ๑๐ พระองค์เจ้าชายเนตร (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเนตร) ท่ี ๒ ในเจ้าจอมมารดา
เฟอื ง ประสูตเิ มือ่ วนั พฤหสั บดี เดือน ๑๒ ขึ้นค�ำ่ ๑ ปีขาล สมั ฤทธศิ ก จ.ศ. ๑๑๘๐ ตรงกับวนั ท่ี ๒๙ ตุลาคม
พ.ศ. ๒๓๖๑ สิ้นพระชนมใ์ นรชั กาลที่ ๓ เมอื่ ปมี ะเมีย ฉศก จ.ศ. ๑๑๙๖ พ.ศ. ๒๓๗๗ พระชันษา ๑๗ ปี
ท่ี ๑๑ พระองค์เจ้าชายขจร (พระเจา้ ราชวรวงศเ์ ธอ พระองค์เจา้ ขจร) ประสูตแิ ตเ่ จ้าจอมมารดาน่มิ
เมื่อวันอาทติ ย์ เดอื น ๕ ขึน้ ๕ ค�่ำ ปมี ะโรง ยังเปน็ เอกศก จ.ศ. ๑๑๘๑ ตรงกับวนั ท่ี ๑๙ มนี าคม พ.ศ. ๒๓๖๒
ส้นิ พระชนม์ในรัชกาลท่ี ๓ เมอ่ื วนั พธุ เดือน ๓ ขนึ้ ๗ ค่�ำ ปมี ะเมีย ฉศก จ.ศ. ๑๑๙๖ ตรงกับวนั ที่ ๔ กมุ ภาพันธ์
พ.ศ. ๒๓๗๗ พระชนั ษา ๑๕ ปี
ที่ ๑๒ พระองคเ์ จา้ ชายอศิ ราพงศ์ (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ เจา้ ฟา้ อศิ ราพงศ)์ ประสตู ิแต่พระองคเ์ จา้
ดาราวด๑ี เมอื่ วันพฤหัสบดี เดอื น ๑๒ แรม ๓ ค่�ำ ปมี ะโรง โทศก จ.ศ. ๑๑๘๒ ตรงกบั วันท่ี ๒๓ พฤศจกิ ายน
พ.ศ. ๒๓๖๓ ในรัชกาลท่ี ๔ ทรงสถาปนาเปน็ พระวรวงศเ์ ธอ เจา้ ฟ้า๒อิศราพงษ์ เกวลวงษวสิ ทุ ธิ์ สรุ สหี ตุ มศกั ดิ์
อภลิ กั ษณป์ วโรภยชาติ บรสิ ษั ยนารถนราธบิ ด๓ี เมอ่ื วนั พฤหสั บด๔ี เดอื น ๑๒ ขนึ้ ๙ คำ�่ ปกี นุ ตรศี ก จ.ศ. ๑๒๑๓
พ.ศ. ๒๓๙๔ สนิ้ พระชนม์ในรชั กาลที่ ๔ เม่ือวันอังคาร เดือน ๑๑ แรม ๑๐ ค่�ำ ปรี ะกา ตรีศก จ.ศ. ๑๒๒๓
ตรงกับวันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๐๔ พระชันษา ๔๒ ปี พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุผ้าขาว
วัดอรุณราชวราราม วันที่ ๑๐ กุมภาพนั ธ์ พ.ศ. ๒๔๐๔๕ เปน็ ต้นราชสกุล อิศรศกั ดิ์ ณ อยุธยา
ที่ ๑๓ พระองค์เจ้าหญิงอัมพา (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอัมพา) ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดา
ฉมิ ๖ ประสูติเมือ่ วันพฤหสั บดี เดอื น ๘ แรม ๕ ค่�ำ ปีมะเสง็ ตรีศก จ.ศ. ๑๑๘๓ ตรงกับวนั ท่ี ๑๙ กรกฎาคม
พ.ศ. ๒๓๖๔ ส้นิ พระชนม์ในรชั กาลที่ ๒๗ เม่ือปีมะแม เบญจศก จ.ศ. ๑๑๘๕ พ.ศ. ๒๓๖๖ พระชันษา ๓ ปี
ท่ี ๑๔ พระองค์เจ้าชายนุช (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านุช) ที่ ๓ ในเจ้าจอมมารดาเฟือง
ประสูติเม่ือวันอาทิตย์ เดือน ๑๑ แรม ๑๐ ค�่ำ ปีมะเส็ง ตรีศก จ.ศ. ๑๑๘๓ ตรงกับวันท่ี ๒๑ ตุลาคม
พ.ศ. ๒๓๖๔ ส้ินพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อวันพุธ เดือน ๑๑ ข้ึน ๔ ค�่ำ ปีจอ ฉศก จ.ศ. ๑๒๓๖ ตรงกับ
วันท่ี ๑๔ ตลุ าคม พ.ศ. ๒๔๑๗ พระชันษา ๕๔ ปี เป็นต้นราชสกลุ อนชุ ะศักดิ์ ณ อยธุ ยา
ที่ ๑๕ พระองค์เจ้าชายแฉ่ง (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าแฉ่ง) ท่ี ๓ ในเจ้าจอมมารดางิ้ว
ประสูติเมอื่ วันศุกร์ เดอื น ๖ ขึ้น ๖ ค่�ำ ปีมะเมยี จัตวาศก จ.ศ. ๑๑๘๔ ตรงกบั วันท่ี ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๓๖๕
สิน้ พระชนมใ์ นรชั กาลท่ี ๓ เมอ่ื ปมี ะโรง ฉศก จ.ศ. ๑๒๐๖ พ.ศ. ๒๓๘๗ พระชนั ษา ๒๓ ปี

_____________________________
๑ ดู พระราชโอรสธดิ าในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท หน้า ๑๑๒.
๒ ตามประกาศในรัชกาลท่ี ๔ ว่า “ควรจะเป็นเจ้าฟ้าได้” เนื่องจากพระมารดาเป็นพระองค์เจ้าในสมเด็จพระบวร
ราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท (ดู จดหมายเหตเุ รอื่ งทรงตง้ั พระบรมวงษานวุ งษฯ์ , หนา้ ๑๒๓.)
๓ ตวั สะกดตาม จดหมายเหตุเรือ่ งทรงตง้ั พระบรมวงษานุวงษฯ์ , หน้า ๑๒๓.
๔ เมอ่ื เทยี บกับปฏิทินกรมวชิ ชาธิการฯ แลว้ ถา้ เป็นวนั พฤหสั บดี เดือน ๑๒ จะตรงกบั วันขึ้น ๖ คำ�่ ซง่ึ ตรงกบั
วนั ท่ี ๓๐ ตลุ าคม พ.ศ. ๒๓๙๔ หรอื วันข้นึ ๑๓ ค่�ำ ซง่ึ ตรงกับวันท่ี ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓๙๔
๕ พระราชพงศาวดารกรุงรตั นโกสินทร์ รชั กาลท่ี ๔, หน้า ๒๒๐.
๖ บางแหง่ เรียก เจา้ จอมมารดาฉิม สิงหฬ
๗ สันนิษฐานวา่ ส้นิ พระชนมใ์ นรชั กาลท่ี ๓ หลัง พ.ศ. ๒๓๗๐ เพราะในปีนีย้ ังปรากฏพระนาม พระองคเ์ จา้ หญิงเลก็
หรอื พระองคเ์ จา้ อมั พา (ดู “บญั ชจี า่ ยเงนิ พระคลงั นอกสง่ ในพระราชวงั จ.ศ. ๑๑๘๙,” จดหมายเหตรุ ชั กาลท่ี ๓ เลม่ ๔, หนา้ ๓๙.)

125

ประสูตเิ มื่ออปุ ราชาภเิ ษกแลว้

ท่ี ๑๖ พระองค์เจ้าชาย (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาลูกจันทน์
เมอ่ื วนั พุธ เดือนอา้ ย ข้ึน ๑๑ ค่�ำ ปีวอก ฉศก จ.ศ. ๑๑๘๖ ตรงกบั วันที่ ๑ ธนั วาคม พ.ศ. ๒๓๖๗ ส้นิ พระชนม์
ในรชั กาลท่ี ๓ เมือ่ ปีกนุ นพศก จ.ศ. ๑๑๘๙ พ.ศ. ๒๓๗๐ พระชนั ษา ๔ ปี
ท่ี ๑๗ พระองคเ์ จา้ ชาย (พระเจา้ ราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า) ท่ี ๒ ในเจา้ จอมมารดาฉมิ ประสูติเมอื่
วนั ศกุ ร์ เดือน ๘ อุตราษาฒ ขึ้นคำ�่ ๑ ปรี ะกา สปั ตศก จ.ศ. ๑๑๘๗ ตรงกับวนั ท่ี ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๖๘
สนิ้ พระชนมใ์ นวนั ประสตู ิ
ที่ ๑๘ พระองค์เจ้าชายเริงคนอง๑ (พระเจา้ ราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเริงคนอง) ประสูติแต่เจ้าจอม
มารดาเอม เม่อื วันจนั ทร์ เดือน ๕ ขนึ้ ๓ ค่�ำ ปฉี ลู เอกศก จ.ศ. ๑๑๙๑ ตรงกบั วันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๓๗๒
ส้ินพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมอื่ วันเสาร์ เดอื น ๗ ข้ึน ๓ คำ่� ปมี ะเมีย จตั วาศก จ.ศ. ๑๒๔๔ ตรงกับวันท่ี ๒๐
พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๒๕ พระชันษา ๕๔ ปี เป็นตน้ ราชสกลุ นนั ทิศกั ด์ิ ณ อยุธยา
ที่ ๑๙ พระองค์เจ้าหญิงบรรเทิง๒ (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบรรเทิง) ประสูติแต่เจ้าจอม
มารดาภู เมื่อวันจันทร์ เดือน ๕ ขึน้ ๑๐ ค�่ำ ปฉี ลู เอกศก จ.ศ. ๑๑๙๑ ตรงกบั วันที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๓๗๒๓
ได้เปน็ พระชายาสมเด็จเจ้าฟา้ กรมพระยาบ�ำราบปรปกั ษ์ สน้ิ พระชนมใ์ นรัชกาลท่ี ๕ เมอ่ื วนั พฤหสั บดี เดือน ๕
แรม ๑๔ ค่�ำ ปีวอก ฉศก จ.ศ. ๑๒๔๖ ตรงกบั วนั ที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๒๗ พระชันษา ๕๖ ปี พระราชทาน
เพลิงพระศพ ณ พระเมรผุ า้ ขาววัดสระเกศ วนั ที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๓๒๔
ที่ ๒๐ พระองค์เจ้าชายอินทวงศ์ (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอินทวงศ์) ประสูติแต่เจ้าจอม
มารดาพนั เมอื่ วนั อาทติ ย์ เดอื น ๓ แรม ๑๔ คำ่� ปฉี ลู เอกศก จ.ศ. ๑๑๙๑ ตรงกบั วนั ที่ ๒๑ กมุ ภาพนั ธ์ พ.ศ. ๒๓๗๒
ส้ินพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔ เม่ือวันศุกร์ เดือน ๗ แรม ๘ ค่�ำ๕ ปีเถาะ สัปตศก จ.ศ. ๑๒๑๗ พ.ศ. ๒๓๙๘
พระชันษา ๒๗ ปี
ประสตู กิ อ่ นอุปราชาภเิ ษก ๑๕ พระองค์
ประสูติเม่ืออุปราชาภเิ ษกแล้ว ๕ พระองค์
รวม ๒๐ พระองค์๖
ราชสกลุ ทส่ี บื สายตรงจากพระราชโอรสมี ๕ มหาสาขา

_____________________________
๑ บางแหง่ เรียกว่า พระองคช์ ายปอ๊ ก หรอื พระองค์เจ้าชาย ดู อกั ขรานกุ รมนามสกลุ พระราชทานในพระบาทสมเด็จ
พระรามาธบิ ดี ศรีสนิ ทรมหาวชิราวธุ พระมงกุฎเกลา้ เจา้ อยหู่ ัว, พมิ พค์ รง้ั ที่ ๓ (กรุงเทพฯ : พี.เพรส, ๒๕๔๔), หน้า ๑๙๕.
๒ บางแหง่ เรยี กวา่ พระองคก์ �ำพรา้ และจดหมายเหตพุ ระราชกจิ รายวนั ในพระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั
ภาค ๑๗, หนา้ ๓๗ เรยี กว่า ก�ำพร้าบันเทงิ
๓ Somdetch Phra Paramindr MahaMongkut, “Near and Distant Member of the Royal Family,”
Bangkok Calendar (1868), p. 105 ว่า ประสตู ิ เม่อื ค.ศ. ๑๘๒๘ (พ.ศ. ๒๓๗๑)
๔ ราชกิจจานเุ บกษา เลม่ ๖ ร.ศ. ๑๐๘, หน้า ๓๓๔ - ๓๓๕.
๕ เมอ่ื เทยี บกบั ปฏทิ นิ กรมวชิ ชาธกิ ารฯ แลว้ ถา้ เปน็ วนั ศกุ ร์ จะตรงกบั เดอื น ๗ แรม ๙ คำ่� ตรงกบั วนั ท่ี ๘ มถิ นุ ายน พ.ศ. ๒๓๙๘
๖ Somdetch Phra Paramindr MahaMongkut, “Near and Distant Member of the Royal Family,” op.cit,
p. 105 วา่ ทรงมพี ระราชโอรสอกี พระองคห์ นง่ึ พระนามวา่ H.R.H. Prince Chhai Soot ประสตู ิ เมอื่ ค.ศ. ๑๘๒๘ (พ.ศ. ๒๓๗๑)

126

พระราชโอรสธดิ า
ในพระบาทสมเดจ็ พระป่นิ เกล้าเจ้าอยู่หัว

(ในรชั กาลท่ี ๔)



ประสตู ิเม่อื ก่อนบวรราชาภเิ ษก

ที่ ๑ พระองคเ์ จา้ หญงิ (พระเจา้ ราชวรวงศเ์ ธอ พระองคเ์ จา้ ) ที่ ๑ ในเจา้ จอมมารดาเอม๑ พระสนมเอก
ทรงสถาปนาเป็นเจ้าคุณจอมมารดาเอม ในรัชกาลที่ ๕ ประสูติเมื่อปีมะแม สัปตศก จ.ศ. ๑๑๙๗ วันที่ ๒๘
ธนั วาคม พ.ศ. ๒๓๗๘ สิ้นพระชนม์ในรชั กาลที่ ๓ วนั ที่ ๓๑ ธนั วาคม พ.ศ. ๒๓๗๘๒ พระชันษา ๔ วนั
ท่ี ๒ พระองค์เจา้ หญงิ (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจา้ ) ที่ ๑ ในเจา้ จอมมารดามาลัย๓ ประสตู ิ
เม่ือวันพฤหัสบดี เดือน ๑๐ ข้ึนค่�ำ ๑ ปีระกา นพศก จ.ศ. ๑๑๙๙ ตรงกับวันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๓๘๐
สิ้นพระชนมใ์ นรชั กาลที่ ๓
ที่ ๓ พระองค์เจ้าชายยอดย่ิงยศ บวรราโชรสรัตนราชกุมาร๔ (กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ) ท่ี ๒
ในเจ้าคุณจอมมารดาเอม ประสูติเม่ือวันพฤหัสบดี เดือน ๑๐ แรม ๒ ค่�ำ ปีจอ สัมฤทธิศก จ.ศ. ๑๒๐๐
ตรงกับวันท่ี ๖ กันยายน พ.ศ. ๒๓๘๑๕ ในรัชกาลที่ ๓ ทรงเป็นหม่อมเจ้ายอด ในรัชกาลที่ ๔ ทรงสถาปนา
เปน็ พระเจา้ วรวงศเ์ ธอ กรมหม่ืนบวรวไิ ชยชาญ เมื่อวนั ศุกร์ เดอื น ๔ ข้ึน ๑๔ คำ�่ ปรี ะกา ตรีศก จ.ศ. ๑๒๒๓
ตรงกับวันท่ี ๑๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๐๔ ทรงบังคับบัญชากรมทหารเรือฝ่ายพระบวรราชวัง ทรงซ่อมแซมป้อม
ผีเส้ือสมุทร สร้างพระท่ีนั่งสาโรชรัตนประพาสในพระบวรราชวัง ทรงซ่อมพระอารามท่ีช�ำรุดหลายแห่ง เช่น
วัดราชผาติการาม วัดดาวดึงสาราม วัดชนะสงคราม และวัดหงส์รัตนาราม ถึงรัชกาลที่ ๕ ได้พระราชทาน
อปุ ราชาภเิ ษก เปน็ กรมพระราชวงั บวรสถานมงคล เมอื่ วนั ที่ ๒๕ พฤศจกิ ายน พ.ศ. ๒๔๑๑ ทวิ งคตในรชั กาลท่ี ๕
เมื่อวันศุกร์ เดือน ๙ แรม ๓ ค่�ำ ปีระกา สัปตศก จ.ศ. ๑๒๔๗ ตรงกับวันที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๒๘
พระชนั ษา ๔๘ ปี พระราชทานเพลงิ พระศพ ณ พระเมรทุ อ้ งสนามหลวง วนั จนั ทรท์ ่ี ๑๔ มถิ นุ ายน พ.ศ. ๒๔๒๙๖

_____________________________
๑ เจ้าจอมมารดาเอม พระสนมเอก ธิดาเจา้ สวั บุญมี (ดู ราชินิกลุ รัชกาลท่ี ๓, หน้า ๑๔๕.)
๒ “จดหมายเหตุของหมอบรัดเล,” ใน ประชุมพงศาวดารภาคท่ี ๑๒.
๓ เจา้ จอมมารดามาลยั ธดิ าคณุ หญงิ สดุ (ดู ล�ำดบั สกลุ เกา่ บางสกลุ ภาคท่ี ๔ สกลุ เชอ้ื สายพระราชวงศก์ รงุ ธนบรุ ,ี หนา้ ๑๙.)
๔ เมอื่ ยงั เปน็ หมอ่ มเจา้ ในรัชกาลท่ี ๓ พระบาทสมเดจ็ พระป่นิ เกลา้ เจา้ อยูห่ วั พระราชทานพระนามว่า ยอชวอชิงตนั
ตามนามประธานาธบิ ดอี เมรกิ นั คนแรก คนทง้ั หลายเรยี กพระนามวา่ ยอด ถงึ รชั กาลที่ ๔ พระบาทสมเดจ็ พระจอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั
จึงพระราชทานพระนามใหมว่ า่ “พระองค์เจา้ ยอดยง่ิ ประยุรยศ บวรราโชรสรตั นราชกมุ าร”
๕ Somdetch Phra Paramindr MahaMongkut, “Near and Distant Member of the Royal Family,”
Bangkok Calendar (1868), p. 107 และ “The Family of the late Second King of Siam,” Bangkok Calendar (1870),
p. 52 วา่ ประสูตเิ มอ่ื วนั ที่ ๓๐ สิงหาคม ค.ศ. ๑๘๓๘ (พ.ศ. ๒๓๘๑) และว่าทรงบังคบั กองทหารปืนใหญ่ฝา่ ยพระบวรราชวงั
๖ จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ภาคที่ ๒๑
(พระนคร : โรงพมิ พพ์ ระจนั ทร,์ ๒๔๘๙), หน้า ๘๐-๘๑.

127

ท่ี ๔ พระองค์เจา้ ชาย (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า) ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดากหุ ลาบ ประสตู ิ
เม่อื วนั อาทติ ย์ เดอื น ๑๐ แรม ๑๒ ค่�ำ ปจี อ สัมฤทธศิ ก จ.ศ. ๑๒๐๐ ตรงกับวนั ที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๓๘๑
ท่ี ๕ พระองค์เจ้าหญิงดวงประภา (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดวงประภา) ท่ี ๒ ใน
เจ้าจอมมารดามาลัย ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๓ ขึ้น ๒ ค่�ำ ปีจอ สัมฤทธิศก จ.ศ. ๑๒๐๐ ตรงกับ
วันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๓๘๑๑ ทรงเป็นประธานในการแจกเบี้ยหวัดฝ่ายในฝ่ายพระราชวังบวร และ
บังคับบัญชาการสิทธิ์ขาดมาจนตลอดรัชกาลท่ี ๔ ต่อมาในรัชกาลท่ี ๕ เป็นผู้ดูแลรักษาและบังคับบัญชา
ราชการฝ่ายในในพระราชวังบวร สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เม่ือวันอังคาร เดือน ๕ ข้ึน ๘ ค่�ำ ปีมะแม
สัปตศก จ.ศ. ๑๒๕๗ วันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๘ พระชันษา ๕๗ ปี๒ พระราชทานเพลิงพระศพ ณ
พระเมรุวัดสระเกศ วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๓๘๓
ที่ ๖ พระองค์เจ้าหญงิ (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจา้ ) ท่ี ๑ ในเจา้ จอมมารดาตาด ประสูตเิ ม่ือ
วันศกุ ร์ เดอื น ๔ ข้นึ ๒ ค�ำ่ ปจี อ สัมฤทธศิ ก จ.ศ. ๑๒๐๐ ตรงกบั วนั ท่ี ๑๕ กุมภาพนั ธ์ พ.ศ. ๒๓๘๑
ที่ ๗ พระองค์เจ้าหญิง (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาใย เม่ือปีกุน
เอกศก จ.ศ. ๑๒๐๑ พ.ศ. ๒๓๘๒
ท่ี ๘ พระองค์เจ้าหญิงบุบผา (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุบผา) ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดา
กลีบ ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๘ ปีกุน เอกศก จ.ศ. ๑๒๐๑ พ.ศ. ๒๓๘๒ ส้ินพระชนม์ในรัชกาลท่ี ๓๔
เมอื่ พ.ศ. ๒๓๙๐ พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรวุ ัดหงสร์ ตั นาราม
ที่ ๙ พระองค์เจา้ หญิง (พระเจ้าราชวรวงศเ์ ธอ พระองคเ์ จ้า) ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดาบาง ประสตู ิเมือ่
ปีกุน เอกศก จ.ศ. ๑๒๐๑ พ.ศ. ๒๓๘๒
ท่ี ๑๐ พระองค์เจา้ ชายสธุ ารส๕ (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุธารส) ท่ี ๒ ในเจา้ จอมมารดา
กหุ ลาบ ประสตู เิ มอ่ื วนั จนั ทร์ เดอื น ๙ ขนึ้ ๕ คำ�่ ปชี วด โทศก จ.ศ. ๑๒๐๒ ตรงกบั วนั ที่ ๓ สงิ หาคม พ.ศ. ๒๓๘๓
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อวันจันทร์ เดือน ๘ บูรพาษาฒ ขึ้น ๖ ค�่ำ ปีมะเส็ง เบญจศก จ.ศ. ๑๒๕๕
ตรงกบั วันท่ี ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๓๖ พระชันษา ๕๔ ปี พระราชทานเพลงิ พระศพ ณ พระเมรวุ ัดสระเกศ
วนั ที่ ๑๐ กมุ ภาพนั ธ์ พ.ศ. ๒๔๓๘๖ เป็นตน้ ราชสกลุ สุธารส ณ อยุธยา

_____________________________
๑ Somdetch Phra Paramindr MahaMongkut, “The Family of the late Second King of Siam,”
Bangkok Calendar (1870), p. 52 ว่า พระนาม Princess Tui Duang prabha ประสูติเดือนกมุ ภาพันธ์ ค.ศ. ๑๘๓๙
(พ.ศ. ๒๓๘๒)
๒ ราชกจิ จานเุ บกษา เลม่ ๑๒ ร.ศ. ๑๑๔, หน้า ๓๑ ว่า พระชันษา ๕๖ ปี ๒ เดือน ๖ วัน
๓ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๔๔๗ ว่า พระราชทานเพลิงพระศพพร้อมกับพระองค์เจ้าสุธารส ในเวลาน้ันนับวันขึ้นปีใหม่
วนั ท่ี ๑ เมษายน
๔ หอสมุดแห่งชาต,ิ หมายรบั สงั่ ร.๓ จ.ศ. ๑๒๐๙ เลขที่ ๕/๒ (สมดุ ไทย).
๕ เรียกกันว่า พระองค์วนั
๖ พระราชทานเพลงิ พระศพพรอ้ มกบั พระองคเ์ จา้ หญงิ ดวงประภา (ดู ราชกจิ จานเุ บกษา เลม่ ๑๒ ร.ศ. ๑๑๔, หนา้ ๔๔๗.)

128

ที่ ๑๑ พระองค์เจ้าหญิงสุดาสวรรค์๑ (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุดาสวรรค์) ท่ี ๓ ใน
เจา้ จอมมารดามาลัย ประสูติเมื่อวนั พุธ เดือน ๙ ขึน้ ๗ คำ่� ปีชวด โทศก จ.ศ. ๑๒๐๒ ตรงกับวันที่ ๕ สงิ หาคม
พ.ศ. ๒๓๘๓ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๖ เมื่อปีชวด จัตวาศก จ.ศ. ๑๒๗๔ วันที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๕
พระชนั ษา ๗๓ ป๒ี พระราชทานเพลงิ พระศพ ณ พระเมรุทอ้ งสนามหลวง เม่ือวันท่ี ๑๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๕
ที่ ๑๒ พระองคเ์ จา้ ชายวรรตั น์๓ (พระเจ้าราชวรวงศเ์ ธอ กรมหมน่ื พิศาลบวรศักดิ)์ ประสตู แิ ต่เจ้าจอม
มารดาเกศ๔ เมื่อวันเสาร์ เดือน ๖ แรม ๑๐ ค่�ำ ปีฉลู ตรีศก จ.ศ. ๑๒๐๓ ตรงกับวันที่ ๑๕ พฤษภาคม
พ.ศ. ๒๓๘๔ ถึงรัชกาลท่ี ๕ ทรงสถาปนาเป็นพระเจ้าบวรวงศ์เธอ กรมหม่ืนพิศาลบวรศักดิ์ เม่ือวันอาทิตย์
เดอื น ๑๒ แรม ๗ คำ่� ปมี ะเส็ง ตรีศก จ.ศ. ๑๒๔๓ ตรงกบั วนั ที่ ๑๓ พฤศจกิ ายน พ.ศ. ๒๔๒๔ สิน้ พระชนม์
ในรัชกาลท่ี ๕ เม่ือวันท่ี ๒๐ มถิ นุ ายน พ.ศ. ๒๔๔๙ พระชันษา ๖๖ ปี พระราชทานเพลงิ พระศพ ณ พระเมรุ
วัดเทพศริ ินทราวาส วันท่ี ๑๔ กมุ ภาพนั ธ์ พ.ศ. ๒๔๕๐๕ เปน็ ตน้ ราชสกุล วรรัตน์ ณ อยุธยา
ท่ี ๑๓ พระองค์เจา้ หญิง (พระเจา้ ราชวรวงศเ์ ธอ พระองค์เจ้า) ประสตู ิแต่เจ้าจอมมารดาบวั เมื่อปีฉลู
ตรศี ก จ.ศ. ๑๒๐๓ พ.ศ. ๒๓๘๔
ท่ี ๑๔ พระองค์เจ้าหญงิ ตลับ (พระเจ้าราชวรวงศเ์ ธอ พระองคเ์ จา้ ตลบั ) ท่ี ๒ ในเจ้าจอมมารดากลบี
ประสูติเมอื่ ปฉี ลู ตรศี ก จ.ศ. ๑๒๐๓ พ.ศ. ๒๓๘๔
ท่ี ๑๕ พระองค์เจ้าชายปรีดา (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปรีดา) ที่ ๓ ในเจ้าคุณจอม
มารดาเอม ประสตู ิเมอื่ วันอาทติ ย์ เดอื น ๘ ปีขาล จตั วาศก จ.ศ. ๑๒๐๔ พ.ศ. ๒๓๘๕
ที่ ๑๖ พระองค์เจ้าหญงิ (พระเจ้าราชวรวงศเ์ ธอ พระองค์เจ้า) ที่ ๒ ในเจ้าจอมมารดาบาง ประสตู ิ
เมอื่ วนั เสาร์ เดอื น ๕ ขน้ึ ๕ คำ่� ปีมะโรง ฉศก จ.ศ. ๑๒๐๖ ตรงกับวนั ที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๘๖
ที่ ๑๗ พระองคเ์ จ้าชาย (พระเจา้ ราชวรวงศเ์ ธอ พระองค์เจ้า) ท่ี ๑ ในเจ้าจอมมารดาเพ่อื น๖ ประสตู ิ
เม่ือปมี ะโรง ฉศก จ.ศ. ๑๒๐๖ พ.ศ. ๒๓๘๗

_____________________________
๑ เรียกกันว่า พระองคป์ ุก
๒ สารตั สมจุ จัย อรรถกถา ภาณวาร แกก้ รณียเกมตตสูตร เป็นบทท่ี ๙ (พระนคร : โรงพิมพ์บ�ำรงุ นกุ ูลกิจ, ๒๔๕๕)
วา่ พระชันษา ๗๒ ปี ๒ เดือน ๑ วนั
๓ เรียกกันวา่ พระองคโ์ ตใหญ่ และ Somdetch Phra Paramindr MahaMongkut, “The Family of the late
Second King,” Bangkok Calendar (1870), p. 52 วา่ พระนาม Prince Poe Worratne
๔ เจา้ จอมมารดาเกศ ถงึ แกอ่ นจิ กรรม วนั ท่ี ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๕ (ดู ราชกจิ จานเุ บกษา เลม่ ๑๙ ร.ศ. ๑๒๑,
หนา้ ๙๖.)
๕ ราชกจิ จานุเบกษา เลม่ ๒๔ ร.ศ. ๑๒๖, หนา้ ๑๒๗๖.
๖ เจา้ จอมมารดาเพอื่ น พระราชทานเพลงิ ศพ ณ เมรวุ ดั สระเกศ วนั ที่ ๑๐ ธนั วาคม พ.ศ. ๒๔๓๗ (ดู ราชกจิ จานเุ บกษา
เล่ม ๑๑ ร.ศ. ๑๑๓, หนา้ ๓๐๒.)

129

ท่ี ๑๘ พระองค์เจ้าชายภาณุมาศ (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุมาศ) ท่ี ๑ ในเจ้าจอม
มารดาเอ่ียม๑ ประสูติเมื่อวันเสาร์ เดือน ๑๒ ข้ึน ๑๐ ค�่ำ ปีมะเส็ง สัปตศก จ.ศ. ๑๒๐๗ ตรงกับวันที่ ๘
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓๘๘๒ ส้ินพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เม่ือวันเสาร์ เดือน ๙ แรม ๓ ค่�ำ ปีชวด สัมฤทธิศก
จ.ศ. ๑๒๕๐ ตรงกบั วนั ท่ี ๒๕ สงิ หาคม พ.ศ. ๒๔๓๑ พระชันษา ๔๔ ปี พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุ
วดั สระเกศ วันท่ี ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๓๒๓ เป็นตน้ ราชสกลุ ภาณมุ าศ ณ อยธุ ยา
ท่ี ๑๙ พระองค์เจ้าชายหัสดินทร์ (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นบริรักษ์นรินทรฤทธ์ิ) ท่ี ๑
ในเจ้าจอมมารดาหนู๔ ประสูติเมื่อวันอังคาร เดือน ๑๒ ข้ึน ๑๓ ค�่ำ ปีมะเส็ง สัปตศก จ.ศ. ๑๒๐๗ ตรงกับ
วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓๘๘๕ ถึงรัชกาลท่ี ๕ ทรงสถาปนาเป็นพระเจ้าบวรวงศ์เธอ กรมหมื่นบริรักษ์
นรินทรฤทธ์ิ เม่ือวันพฤหัสบดี เดือนยี่ ข้ึน ๙ ค�่ำ ปีมะเส็ง ตรีศก จ.ศ. ๑๒๔๓ ตรงกับวันที่ ๒๙ ธันวาคม
พ.ศ. ๒๔๒๔ ส้ินพระชนมใ์ นรัชกาลที่ ๕ เมื่อวันเสาร์ เดือน ๙ แรม ๗ คำ่� ปจี อ อฐั ศก จ.ศ. ๑๒๔๘ ตรงกับ
วันที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๒๙ พระชันษา ๔๒ ปี พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุท้องสนามหลวง
วันท่ี ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๓๐๖ เปน็ ต้นราชสกลุ หัสดินทร์ ณ อยุธยา
ท่ี ๒๐ พระองค์เจ้าชายเนาวรัตน์ (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหม่ืนสถิตย์ธ�ำรงสวัสดิ์) ที่ ๔ ใน
เจ้าคุณจอมมารดาเอม ประสูติเม่ือวันอังคาร เดือน ๔ ข้ึน ๗ ค่�ำ ปีมะเส็ง สัปตศก จ.ศ. ๑๒๐๗ ตรงกับ
วนั ท่ี ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๘๘ ในรชั กาลที่ ๔ เมื่อพระบาทสมเดจ็ พระปิน่ เกลา้ เจา้ อยู่หัวสวรรคตแลว้ ได้เขา้ รับ
ราชการในพระบรมมหาราชวัง โปรดเกล้าฯ ให้ว่าการบ�ำเพ็ญพระราชกุศลฝ่ายพระราชวังบวร ถึงรัชกาลที่ ๕
ทรงสถาปนาเป็นพระเจา้ บวรวงศเ์ ธอ กรมหม่นื สถิตยธ์ �ำรงสวสั ด์ิ เม่อื วนั ศุกร์ เดอื น ๑๒ ข้ึน ๑๓ ค�ำ่ ปมี ะเสง็
ตรีศก จ.ศ. ๑๒๔๓ ตรงกับวันท่ี ๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๒๔ ทรงว่าการกรมมหรสพ เป็นกรรมสัมปาทิก
หอพระสมดุ วชริ ญาณ สนิ้ พระชนมใ์ นรชั กาลที่ ๕ เมอื่ วนั อาทติ ย์ เดอื นอา้ ย ขน้ึ ๓​ คำ่� ปขี าล โทศก จ.ศ. ๑๒๕๒
ตรงกับวันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๓๓ พระชันษา ๔๖ ปี พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุวดั สระเกศ
วันท่ี ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๕๗ เปน็ ตน้ ราชสกลุ นวรตั น์ ณ อยุธยา

_____________________________
๑ เจา้ จอมมารดาเอยี่ ม ธดิ าหลวงมหาวสิ ตู รโกษา (เกษม) (ดู ล�ำดบั สกลุ เกา่ บางสกลุ ภาคที่ ๔ สกลุ เชอื้ สายพระราชวงศ์
กรุงธนบุรี, หนา้ ๓๖.) พระราชทานเพลงิ ศพ ณ พระเมรวุ ดั สระเกศ วนั ที่ ๗ กุมภาพนั ธ์ พ.ศ. ๒๔๖๘ (ดู ราชกิจจานุเบกษา
เลม่ ๔๒ พ.ศ. ๒๔๖๘, หน้า ๓๔๒๐.)
๒ Somdetch Phra Paramindr MahaMongkut, “The Family of the late Second King of Siam,”
Bangkok Calendar (1870), p. 52 วา่ ประสตู เิ ดอื นตลุ าคม ค.ศ. ๑๘๔๕ (พ.ศ. ๒๓๘๘)
๓ ราชกิจจานเุ บกษา เล่ม ๖ ร.ศ. ๑๐๘, หนา้ ๓๔๒.
๔ พระนามพระองคเ์ จา้ วังหลวงแลวงั น่าฯ ว่า เจา้ จอมมารดาหนมู อญ
๕ Somdetch Phra Paramindr MahaMongkut, “The Family of the late Second King of Siam,” op.cit,
p. 52 ว่า ประสูตเิ ดือนตุลาคม ค.ศ. ๑๘๔๕ (พ.ศ. ๒๓๘๘)
๖ ราชกจิ จานุเบกษา เลม่ ๔ จ.ศ. ๑๒๔๙, หนา้ ๕๕.
๗ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙ ร.ศ. ๑๑๑, หน้า ๔๐๒ ว่า พระราชทานเพลิงพระศพ พร้อมพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ
พระองค์เจา้ นนั ทวัน

130

ที่ ๒๑ พระองค์เจา้ ชายเบญจางค์ (พระเจ้าราชวรวงศเ์ ธอ พระองคเ์ จา้ เบญจางค์) ท่ี ๒ ในเจา้ จอม
มารดาเพื่อน ประสตู ิเมือ่ วันศกุ ร์ เดอื น ๔ แรม ๙ คำ่� ปมี ะเส็ง สัปตศก จ.ศ. ๑๒๐๗ ตรงกับวันท่ี ๒๐ มีนาคม
พ.ศ. ๒๓๘๘ สน้ิ พระชนม์ในรชั กาลท่ี ๕ เมอ่ื วันจนั ทร์ เดอื นย่ี ขึน้ ๑๐ ค�ำ่ ปชี วด อัฐศก จ.ศ. ๑๒๓๘ ตรงกับ
วันท่ี ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๑๙ พระชันษา ๓๒ ปี พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุวัดสุวรรณาราม๑
วันที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๒๐
ท่ี ๒๒ พระองคเ์ จา้ ชาย (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองคเ์ จา้ ) ท่ี ๑ ในเจ้าจอมมารดาดา๊ ประสูตเิ มอื่
ปีมะแม นพศก จ.ศ. ๑๒๐๙ พ.ศ. ๒๓๙๐
ท่ี ๒๓ พระองค์เจ้าชายยุคุนธร (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ายุคุนธร) ประสูติแต่เจ้าจอม
มารดาแย้ม เมือ่ วนั จนั ทร์ เดอื น ๘ ขึ้น ๑๐ ค่�ำ ปีวอก สมั ฤทธิศก จ.ศ. ๑๒๑๐ ตรงกบั วนั ที่ ๑๐ กรกฎาคม
พ.ศ. ๒๓๙๑๒ ส้นิ พระชนมใ์ นรัชกาลที่ ๕ เมือ่ วันพฤหัสบดี เดอื น ๘ แรม ๗ คำ�่ ปมี ะแม เบญจศก จ.ศ. ๑๒๔๕
ตรงกับวันที่ ๒๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๒๖๓ พระชันษา ๓๕ ปี พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุ
วัดสุวรรณาราม วันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๒๗๔ เปน็ ตน้ ราชสกุล ยุคนั ธรานนท์ ณ อยุธยา
ที่ ๒๔ พระองค์เจา้ หญิง (พระเจา้ ราชวรวงศเ์ ธอ พระองคเ์ จา้ ) ท่ี ๓ ในเจา้ จอมมารดากลบี ประสูติ
เมอื่ ปีวอก สมั ฤทธิศก จ.ศ. ๑๒๑๐ พ.ศ. ๒๓๙๑
ที่ ๒๕ พระองคเ์ จา้ หญงิ ราษี (พระเจา้ ราชวรวงศเ์ ธอ พระองคเ์ จา้ ราษ)ี ประสตู แิ ตเ่ จา้ จอมมารดาเยยี ง
เมอื่ วันเสาร์ เดอื น ๑๒ แรมค�่ำ ๑ ปวี อก สัมฤทธศิ ก จ.ศ. ๑๒๑๐ ตรงกับวันท่ี ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓๙๑๕
ส้ินพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เม่ือวันพฤหัสบดี เดือน ๘ บูรพาษาฒ ข้ึนค�่ำ ๑ ปีกุน เอกศก จ.ศ. ๑๒๖๑
ตรงกับวันท่ี ๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๔๒ พระชันษา ๕๒ ปี พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุวัดสระเกศ
วันท่ี ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๓๖
ที่ ๒๖ พระองค์เจ้าชาย (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า) ท่ี ๒ ในเจ้าจอมมารดาเอ่ยี ม ประสตู ิเม่ือ
ปรี ะกา เอกศก จ.ศ. ๑๒๑๑ พ.ศ. ๒๓๙๒
ท่ี ๒๗ พระองค์เจ้าชาย (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า) ท่ี ๒ ในเจ้าจอมมารดาด๊า ประสูติ
เมือ่ ปีระกา เอกศก จ.ศ. ๑๒๑๑ พ.ศ. ๒๓๙๒
ที่ ๒๘ พระองค์เจ้าชาย (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า) ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดาเท้ย ประสูติ
เมื่อปีระกา เอกศก จ.ศ. ๑๒๑๑ พ.ศ. ๒๓๙๒

_____________________________
๑ พระราชทานเพลงิ พระศพ พร้อมกบั พระเจา้ ราชวรวงศเ์ ธอ พระองค์เจ้าขนิษฐา
๒ Somdetch Phra Paramindr MahaMongkut, “The Family of the late Second King of Siam,”
Bangkok Calendar (1870), p. 52 ว่า ประสูติเดอื นตลุ าคม ค.ศ. ๑๘๔๘ (พ.ศ. ๒๓๙๑)
๓ จดหมายเหตพุ ระราชกจิ รายวนั พระราชนพิ นธใ์ นพระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ภาค ๑๔ (พระนคร :
โรงพิมพ์มหามกุฏราชวทิ ยาลยั , ๒๔๘๑), หน้า ๙๖.
๔ จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ในพระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกล้าเจ้าอย่หู ัว ภาค ๑๗, หน้า ๔๔.
๕ Somdetch Phra Paramindr MahaMongkut, “The Family of the late Second King of Siam,” op.cit,
p. 52 ว่า ประสูติเดอื นกรกฎาคม ค.ศ. ๑๘๔๘ (พ.ศ. ๒๓๙๑) ซ่งึ ประสตู กิ อ่ นพระองค์เจา้ ยุคนุ ธร
๖ ราชกจิ จานุเบกษา เล่ม ๑๗ ร.ศ. ๑๑๙, หนา้ ๑๘.

131

ที่ ๒๙ พระองค์เจ้าชายกระจ่าง (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากระจ่าง) ที่ ๓ ในเจ้าจอม
มารดาเพอ่ื น ประสูติเมอ่ื วนั พุธ เดือน ๑๐ ขนึ้ ๑๑ คำ่� ปีระกา เอกศก จ.ศ. ๑๒๑๑ ตรงกับวันที่ ๒๙ สิงหาคม
พ.ศ. ๒๓๙๒๑ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมอื่ วันพธุ เดอื น ๕ ขึน้ ๑๒ ค่�ำ ปีชวด อัฐศก จ.ศ. ๑๒๓๘ ตรงกบั
วนั ที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๑๙ พระชนั ษา ๒๘ ป๒ี พระราชทานเพลงิ พระศพ ณ พระเมรผุ า้ ขาว วดั สวุ รรณาราม
วันท่ี ๑๓ กันยายน พ.ศ. ๒๔๑๙๓
ที่ ๓๐ พระองค์เจ้าหญิงวงจันทร์ (พระเจา้ ราชวรวงศเ์ ธอ พระองคเ์ จา้ วงจนั ทร์) ที่ ๕ ในเจ้าคุณจอม
มารดาเอม ประสูตเิ มือ่ วนั องั คาร เดอื น ๘ บูรพาษาฒ ขึ้น ๙ ค�่ำ ปจี อ โทศก จ.ศ. ๑๒๑๒ ตรงกบั วันท่ี ๑๘
มิถุนายน พ.ศ. ๒๓๙๓๔ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๖ เม่ือวันเสาร์ เดือน ๕ แรม ๑๒ ค�่ำ ปีมะโรง อัฐศก
จ.ศ. ๑๒๗๘ ตรงกับวันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๙ พระชนั ษา ๖๗ ป๕ี พระราชทานเพลงิ พระศพ ณ พระเมรุ
วดั เทพศิรินทราวาส วนั ท่ี ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๓๖
ที่ ๓๑ พระองค์เจ้าชายวัชรินทร์ (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัชรินทร์) ท่ี ๒ ในเจ้าจอม
มารดาตาด ประสูติเม่อื ปจี อ โทศก จ.ศ. ๑๒๑๒ พ.ศ. ๒๓๙๓
ท่ี ๓๒ พระองค์เจา้ หญงิ จ�ำเรญิ ๗ (พระเจ้าราชวรวงศเ์ ธอ พระองคเ์ จา้ จ�ำเรญิ ) ที่ ๔ ในเจา้ จอมมารดา
กลีบ ประสตู เิ ม่ือวนั องั คาร เดือน ๘ อตุ ราษาฒ แรม ๑๓ คำ่� ปจี อ โทศก จ.ศ. ๑๒๑๒ ตรงกับวันท่ี ๖ สงิ หาคม
พ.ศ. ๒๓๙๓๘ สน้ิ พระชนมใ์ นรชั กาลที่ ๕ เมอื่ วันศุกร์ เดอื น ๑๐ ขนึ้ ๗ ค่ำ� ปมี ะแม นพศก จ.ศ. ๑๒๖๙ ตรงกับ
วนั ที่ ๑๓ กนั ยายน พ.ศ. ๒๔๕๐ พระชนั ษา ๕๘ ปี พระราชทานเพลงิ พระศพ ณ พระเมรวุ ัดสระเกศ วนั ท่ี ๒๒
กุมภาพนั ธ์ พ.ศ. ๒๔๕๑๙
ท่ี ๓๓ พระองค์เจ้าหญิงถนอม๑๐ (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าถนอม) ประสูติแต่เจ้าจอม
มารดาพนั ๑๑ เม่อื วนั พธุ เดือน ๘ อุตราษาฒ แรม ๑๔ ค�่ำ ปจี อ โทศก จ.ศ. ๑๒๑๒ ตรงกบั วนั ที่ ๗ สิงหาคม
พ.ศ. ๒๓๙๓๑๒ ส้นิ พระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อวนั องั คาร เดือน ๑๒ ขน้ึ ๑๑ ค่ำ� ปรี ะกา สัปตศก จ.ศ. ๑๒๔๗
ตรงกบั วนั ที่ ๑๗ พฤศจกิ ายน พ.ศ. ๒๔๒๘ พระชนั ษา ๓๕ ปี

_____________________________
๑ Somdetch Phra Paramindr MahaMongkut, “The Family of the late Second King of Siam,”
Bangkok Calendar (1870), p. 52 วา่ ประสูติเดอื นกนั ยายน ค.ศ. ๑๘๔๙ (พ.ศ. ๒๓๙๒)
๒ ราชกจิ จานเุ บกษา เลม่ ๓ จ.ศ. ๑๒๓๘, หนา้ ๔๕ วา่ พระชันษา ๒๗ ปี
๓ เรื่องเดียวกัน, หนา้ ๒๑๖.
๔ Somdetch Phra Paramindr MahaMongkut, “The Family of the late Second King of Siam,” op.cit,
p. 52 ว่า ประสูติเดอื นกรกฎาคม ค.ศ. ๑๘๕๐ (พ.ศ. ๒๓๙๓)
๕ ราชกจิ จานเุ บกษา เล่ม ๓๓ พ.ศ. ๒๔๕๙, หน้า ๓๐๙ ว่า พระชนั ษา ๖๖ ปี
๖ ราชกจิ จานุเบกษา เลม่ ๓๗ พ.ศ. ๒๔๖๓, หนา้ ๕๔๗.
๗ ราชกจิ จานุเบกษา เลม่ ๒๔ ร.ศ. ๑๒๖, หน้า ๖๑๘ เรยี กวา่ พระองค์เจา้ เจริญ หรอื พระองค์เปยี
๘ Somdetch Phra Paramindr MahaMongkut, “The Family of the late Second King of Siam,” op.cit,
p. 52 วา่ ประสตู เิ ดือนกรกฎาคม ค.ศ. ๑๘๕๐ (พ.ศ. ๒๓๙๓)
๙ ราชกจิ จานเุ บกษา เล่ม ๒๕ ร.ศ. ๑๒๗, หนา้ ๑๔๐๒.
๑๐ ราชินิกลู รชั กาลที่ ๕, หน้า ๕๘ วา่ พระองคเ์ จา้ ถนอมรศั มี
๑๑ เจ้าจอมมารดาพนั ธดิ าทา้ วศรสี ัตยานรุ กั ษ์ (นอ้ ย) (ดู ราชนิ ิกลู รัชกาลที่ ๕, หน้า ๕๘.)
๑๒ Somdetch Phra Paramindr MahaMongkut, “The Family of the late Second King of Siam,” op.cit,
p. 52 ว่า พระนาม Princess Thanom..asmi ประสูติเดือนกรกฎาคม ค.ศ. ๑๘๕๐ (พ.ศ. ๒๓๙๓)

132

ประสตู ิเมื่อบวรราชาภเิ ษกแล้ว

ท่ี ๓๔ พระองค์เจ้าชายโตสิน๑ี (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโตสินี) ที่ ๕ ในเจ้าจอมมารดา
กลีบ ประสูติเม่ือวันเสาร์ เดือน ๑๒ แรม ๗ ค่�ำ ปีกุน ตรีศก จ.ศ. ๑๒๑๓ ตรงกับวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน
พ.ศ. ๒๓๙๔๒ ส้ินพระชนม์ในรัชกาลที่ ๖ เมื่อวันศุกร์ เดือน ๘ บูรพาษาฒ ข้ึน ๑๔ ค�่ำ ปีเถาะ สัปตศก
จ.ศ. ๑๒๗๗ ตรงกับวันที่ ๒๕ มิถนุ ายน พ.ศ. ๒๔๕๘ พระชนั ษา ๖๕ ปี พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุ
วดั เทพศิรนิ ทราวาส วนั ที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๓๓ เป็นตน้ ราชสกุล โตษะณีย์ ณ อยธุ ยา
ที่ ๓๕ พระองค์เจ้าชายเฉลิมลักษณวงศ์๔ (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นวรวัฒน์สุภากร) ท่ี ๑
ในเจ้าจอมมารดาขลิบ ประสูตเิ มือ่ วนั จนั ทร์ เดือน ๙ ข้ึน ๔ คำ่� ปีฉลู เบญจศก จ.ศ. ๑๒๑๕ ตรงกบั วันท่ี ๘
สิงหาคม พ.ศ. ๒๓๙๖ ทรงปรีชาช�ำนาญในการจิตรกรรม แม่นย�ำในแบบอย่างหลักฐานของการช่างเขียน
แบบโบราณ รว่ มเป็นนายดา้ นปฏิสงั ขรณว์ ดั พระศรีรัตนศาสดาราม เพ่อื เตรยี มการฉลองพระนครครบ ๑๐๐ ปี
ถงึ รชั กาลท่ี ๕ ทรงสถาปนาเป็นพระเจ้าบวรวงศ์เธอ กรมหม่ืนวรวัฒน์สุภากร๕ เมอ่ื วนั จันทร์ที่ ๒ พฤศจิกายน
พ.ศ. ๒๔๔๖ สิน้ พระชนมใ์ นรัชกาลท่ี ๖ เมอื่ วันพฤหสั บดี เดือน ๑๒ แรม ค่ำ� ๑ ปฉี ลู เบญจศก จ.ศ. ๑๒๗๕
ตรงกบั วนั ที่ ๑๓ พฤศจกิ ายน พ.ศ. ๒๔๕๖ พระชนั ษา ๖๑ ปี พระราชทานเพลงิ พระศพ ณ พระเมรวุ ดั ราชาธวิ าส
วันท่ี ๓ มิถนุ ายน พ.ศ. ๒๔๕๗๖
ที่ ๓๖ พระองค์เจ้าชายนันทวัน (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านันทวัน) ท่ี ๒ ในเจ้าจอม
มารดาหนู ประสตู เิ ม่อื วนั อังคาร เดอื น ๑๑ แรม ๘ คำ�่ ปฉี ลู เบญจศก จ.ศ. ๑๒๑๕ ตรงกบั วันที่ ๒๕ ตลุ าคม
พ.ศ. ๒๓๙๖ ทรงรับราชการในกรมทหารรักษาพระองค์ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อปีเถาะ ตรีศก
จ.ศ. ๑๒๕๓ วันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๔ พระชันษา ๓๙ ปี๗ พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุ
วัดสระเกศ วนั ท่ี ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๕๘ เป็นตน้ ราชสกลุ นนั ทวัน ณ อยุธยา
ที่ ๓๗ พระองค์เจา้ ชาย (พระเจา้ ราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า) ประสูตแิ ต่เจา้ จอมมารดาจนั เมื่อปฉี ลู
เบญจศก จ.ศ. ๑๒๑๕ พ.ศ. ๒๓๙๖

_____________________________
๑ บางแหง่ เรียก พระองคโ์ ต หรือพระองคโ์ ตเลก็
๒ Somdetch Phra Paramindr MahaMongkut, “The Family of the late Second King of Siam,”
Bangkok Calendar (1870), p. 52 ว่า พระนาม Prince Toe ประสูตเิ ดอื นตุลาคม ค.ศ. ๑๘๕๑ (พ.ศ. ๒๓๙๔)
๓ ราชกจิ จานุเบกษา เลม่ ๓๗ พ.ศ. ๒๔๖๓, หนา้ ๕๔๗.
๔ จดหมายเหตเุ รอ่ื งทรงตง้ั พระบรมวงษานวุ งษฯ์ , หนา้ ๔๑๕ วา่ พระเจา้ บวรวงษเ์ ธอ พระองคเ์ จา้ เฉลมิ ลกั ขณาวงษ์
๕ เร่อื งเดียวกนั วา่ พระเจ้าบวรวงษเ์ ธอ กรมหมนื่ วรวัฒนศุภากร
๖ ราชกิจจานเุ บกษา เล่ม ๓๑ พ.ศ. ๒๔๕๗, หนา้ ๖๗๐.
๗ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘ ร.ศ. ๑๑๐, หน้า ๖ ว่า พระชันษา ๓๗ ปี ๕ เดอื น ๔ วนั
๘ ราชกิจจานเุ บกษา เลม่ ๙ ร.ศ. ๑๑๑, หนา้ ๔๐๒ ว่า พระราชทานเพลิงพระศพพร้อมกบั พระเจ้าราชวรวงศเ์ ธอ
กรมหมนื่ สถิตย์ธ�ำรงสวัสด์ิ

133


Click to View FlipBook Version