The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

แผนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ ป.6

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by PP, 2022-12-13 12:20:35

แผนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ ป.6

แผนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ ป.6

โรงเรียนบา้ นเปูา

แผนการจดั การเรียนรปู้ ฐมนิเทศ

รายวิชาวิทยาศาสตร์ (ว16101) ชั้นประถมศึกษาปที ี่ 6 เวลา 1 ชวั่ โมง

**********************************************************************************

1. สาระสาคัญ
การปฐมนิเทศเป็นการสรา้ งความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างครูกับนักเรียน เป็นการตกลงกันในเบ้ืองต้น

ก่อนท่ีจะเร่ิมการเรยี นการสอน ครไู ดร้ จู้ กั นักเรียนดียิ่งขึ้น รับทราบความต้องการความรู้สึก และเจตคติต่อวิชา
ท่เี รยี น ในขณะเดียวกันนกั เรยี นได้ทราบความต้องการของครู แนวทางในการจัดการเรียนการสอน และการวัด
และประเมินผล สงิ่ ต่างๆ ดงั กลา่ วจะนาํ ไปสกู่ ารเรยี นการสอนทม่ี ีประสทิ ธิภาพ ครสู ามารถจัดกิจกรรมการเรียน
การสอนได้อยา่ งเหมาะสม ชว่ ยใหน้ กั เรียนคลายความวติ กกงั วล สามารถเรียนได้อย่างมีความสขุ อันจะส่งผลให้
นักเรียนประสบความสําเร็จบรรลุตามเปูาหมายท่ีไดก้ ําหนดไว้

2. ตวั ชี้วดั ชน้ั ปี

-

3. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. มคี วามรคู้ วามเข้าใจแนวทางการจดั การเรยี นรวู้ ทิ ยาศาสตร์ เจตคตติ อ่ วชิ าวทิ ยาศาสตร์ และการวดั

และประเมนิ ผลวิชาวทิ ยาศาสตร์ (K)
2. ช้แี จงเจตคติที่มตี ่อวทิ ยาศาสตร์ได้ (A)
3. สื่อสารและนําความรู้ความเขา้ ใจเจตคติต่อวิชาวทิ ยาศาสตร์ไปใชใ้ นชวี ิตประจําวันได้ (P)

4. การวดั และการประเมนิ ผลการเรียนรู้

ดา้ นความรู้ (K) ด้านคณุ ธรรม จริยธรรมและ ดา้ นทกั ษะ/กระบวนการ (P)
จิตวทิ ยาศาสตร์ (A) -

ซักถามความรู้เร่ือง แนวทางการ 1.ประเมนิ เจตคติทางวิทยาศาสตร์

จดั การเรียนรูว้ ิทยาศาสตร์ เจตคติตอ่ เป็นรายบคุ คล

วิชาวิทยาศาสตร์ และการวัดและ 2.ประเมินเจตคติตอ่ วิทยาศาสตร์

ประเมินผลวชิ าวิทยาศาสตร์ เป็นรายบคุ คล

5. สาระการเรียนรู้
การปฐมนิเทศ

- แนวทางการจดั การเรียนรวู้ ิทยาศาสตร์
- เจตคติตอ่ วชิ าวทิ ยาศาสตร์
- การวดั และประเมนิ ผลวชิ าวทิ ยาศาสตร์


โรงเรยี นบา้ นเปาู

6. แนวทางการบูรณาการ
ภาษาไทย แสดงความคิดเหน็ และสรปุ ความเข้าใจเกีย่ วกบั แนวทางการจดั การเรียนรู้
วิทยาศาสตร์ เจตคตติ ่อวชิ าวทิ ยาศาสตร์ และการวดั และประเมินผลวิชา
วิทยาศาสตร์

7. กระบวนการจดั การเรียนรู้
ขั้นนาเขา้ สูบ่ ทเรยี น

1) ครูแนะนาํ ตนเองแลว้ ใหน้ กั เรยี นในห้องเรียนแนะนาํ ตนเองทุกคน
2) ครูอาจให้นักเรียนแนะนําทีละกลุ่มตัวอักษร หรือตามลําดับหมายเลขประจําตัว หรือตามแถวท่ีนั่ง
ตามความเหมาะสม

ข้ันจัดกจิ กรรมการเรียนรู้
1) ครูอธบิ ายข้อตกลงในการเรยี นรายวชิ าพ้นื ฐาน รวมถึงคําอธิบายรายวิชาพื้นฐาน โครงสร้างรายวิชา

พืน้ ฐาน และเนื้อหาที่ต้องเรียนรู้ในรายวิชาพื้นฐาน วทิ ยาศาสตร์ช้ันประถมศึกษาปที ี่ 6 ว่ามีอะไรบ้าง
2) ครูถามความคิดเห็นของนักเรียนเก่ียวกับสิ่งประดิษฐ์ของนักวิทยาศาสตร์ว่า สิ่งประดิษฐ์ที่นักเรียน

ใชอ้ ยใู่ นปัจจบุ ันมอี ะไรบา้ ง แลว้ ให้นักเรยี นอภิปรายรว่ มกันว่า สิ่งประดิษฐ์ดังกล่าวเกดิ ขึน้ ไดอ้ ยา่ งไร
3) ให้นักเรียนอภิปรายร่วมกันว่า การเรียนด้วยวิธีการ ให้นักเรียนค้นคว้าด้วยตนเอง จากการทดลอง

และปฏิบัติจริงเหมือนนักวทิ ยาศาสตร์ นกั เรียนคดิ วา่ มปี ระโยชนห์ รอื ไม่
4) ครเู ปดิ โอกาสให้นกั เรียนซักถามปัญหาเพื่อทาํ ความเข้าใจร่วมกนั
5) ครูแนะนําวธิ กี ารเรียนร้วู ทิ ยาศาสตรว์ า่ นกั เรียนมีวธิ กี ารเรียนรู้หลายแบบ เช่น
- ลงมือปฏิบัตกิ ิจกรรมท่ีบา้ นและท่โี รงเรยี น
- ค้นขอ้ มลู จากแหลง่ การเรียนรู้ตา่ งๆ
- อภิปรายกลุ่มย่อย
- แสวงหาความรดู้ ้วยตนเอง
6) ครูถามความคิดเห็นของนักเรียนเก่ียวกับการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ว่า การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ให้

ประสบความสาํ เรจ็ ตอ้ งมลี กั ษณะนสิ ัยอย่างไร
7) ครูให้นักเรียนร่วมกันตอบคําถามและแสดงความคิดเห็น (แนวคําตอบ 1) ช่างสังเกต เพราะการ

สังเกตทําให้ค้นพบสิ่งใหม่ๆ ซึ่งนําไปสู่การค้นพบความรู้ใหม่ 2) อยากรู้อยากเห็น เพราะการเป็นคนอยากรู้
อยากเหน็ ชา่ งคิดช่างสงสัย มกั คิดตั้งคาํ ถามเพ่ือคน้ หาคําตอบ ลักษณะนิสัยแบบน้ีนําไปสู่การค้นพบความรู้ใหม่
เสมอ 3) มเี หตุผล เพราะความร้ทู างวทิ ยาศาสตรต์ อ้ งอธิบายดว้ ยเหตุและผล เมอ่ื ได้ความรู้ใหม่ต้องอธิบายได้ว่า
ผลท่ีไดเ้ กิดจากสาเหตใุ ด เมอ่ื ทราบสาเหตุแลว้ กอ็ ธบิ ายได้วา่ ผลเปน็ อย่างไรโดยเชื่อในหลักฐานท่ีสนับสนุน 4) มี
ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เพราะผู้ท่ีมีความคิดริเร่ิมสร้างสรรค์เป็นผู้ท่ีอยากคิดอยากทําในส่ิงใหม่ๆ อยเู่ สมอ ซึ่ง


โรงเรียนบ้านเปาู

นําไปสู่การค้นพบความรู้ใหม่ได้ 5) มีความพยายามและอดทน เพราะผลของคําตอบไม่ใช่ได้มาโดยการค้นคว้า

และทดลองเพยี งครัง้ เดียว แต่ต้องใช้ความพยายามและความอดทนในการผา่ นอปุ สรรคต่างๆ เพือ่ ใหไ้ ดค้ าํ ตอบ)

8) ครูแนะนําวิธีการวดั และประเมนิ ผลการเรยี นรู้ของนักเรยี น ซ่ึงมีอัตราส่วนคะแนน ดงั น้ี

(1) การวัดและประเมินผลดา้ นความรู้ (K) 50 คะแนน

สอบกลางภาค 20 คะแนน

สอบปลายปี 30 คะแนน

(2) การวัดและประเมนิ ผลดา้ นทักษะ/กระบวนการ (P) 40 คะแนน

- การประเมนิ การสงั เกต

- การประเมินการสาํ รวจ

- การประเมนิ การทดลอง

- การประเมนิ การสืบคน้ ข้อมูล

- การประเมนิ โครงงานวิทยาศาสตร์

- การประเมินแฟูมสะสมผลงาน

- การประเมินดา้ นทกั ษะ/กระบวนการ

- การประเมนิ ดา้ นสมรรถนะสําคัญของนกั เรียน

(3) การวัดและประเมนิ ผลดา้ นคุณธรรม จริยธรรมและจิตวิทยาศาสตร์ (A) 10 คะแนน

- การประเมินด้านเจตคติทางวทิ ยาศาสตร์ 10 คะแนน

คะแนนรวม 100 คะแนน

ขั้นสรปุ

1) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เจตคติต่อ

วชิ าวิทยาศาสตร์ และการวัดและประเมนิ ผลวิชาวทิ ยาศาสตร์

2) ครูมอบหมายให้นกั เรยี นไปศึกษาคน้ ควา้ เนอื้ หาของบทเรียนชวั่ โมงหน้า เพ่ือจัดการเรียนรู้คร้ังต่อไป

โดยให้นกั เรยี นศกึ ษาคน้ คว้าล่วงหน้าในหวั ข้ออวัยวะต่างๆ ในร่างกาย

3) ครูให้นักเรยี นเตรยี มประเดน็ คาํ ถามทสี่ งสยั มาอยา่ งน้อยคนละ 1 คําถาม เพื่อนํามาอภิปรายร่วมกัน

ในช้ันเรยี นครั้งตอ่ ไป

8. กจิ กรรมเสนอแนะ
นกั เรียนฝึกเขา้ รว่ มกจิ กรรมการเรยี นรู้และรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายร่วมกับผู้อืน่

9. สอ่ื /แหล่งการเรียนรู้
1. คูม่ ือการสอน วิทยาศาสตร์ ชนั้ ประถมศึกษาปีท่ี 6
2. ส่อื การเรียนรู้ PowerPoint รายวิชาพ้ืนฐาน วิทยาศาสตร์ ชนั้ ประถมศึกษาปีที่ 6
3. แบบฝกึ ทักษะ รายวชิ าพืน้ ฐาน วทิ ยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปที ่ี 6
4. หนังสอื เรียน รายวชิ าพ้ืนฐาน วทิ ยาศาสตร์ ช้ันประถมศึกษาปีที่ 6


โรงเรียนบา้ นเปูา

10. บันทึกหลงั การจดั การเรยี นรู้
ความคดิ เหน็ /ข้อเสนอแนะ
............................................................................................................................. .................................................
..............................................................................................................................................................................
............................................................................................................................. .................................................

(ลงช่อื )..............................................
(นายธนิตย์ พระสุนิน)

ผอู้ ํานวยการโรงเรียนเค็งใหญ่หนองงเู หลอื ม
รกั ษาการในตาํ แหนง่ ผ้อู าํ นวยการโรงเรียนบ้านเปูา

บนั ทกึ หลังการสอน
............................................................................................................................. .................................................
..............................................................................................................................................................................
............................................................................................................................. .................................................

ปญั หา/อุปสรรค
............................................................................................................................. .................................................
............................................................................................................................. .................................................
............................................................................................................................. .................................................

ข้อเสนอแนะ
..............................................................................................................................................................................
............................................................................................................................. .................................................
............................................................................................................................. .................................................

(ลงช่ือ)..............................................
(นางสาววิมลรัตน์ ประทีปะเสน)
ครผู ู้ช่วย


โรงเรยี นบ้านเปูา

แผนการจดั การเรียนรู้ท่ี 1

รายวชิ าวิทยาศาสตร์ (ว16101) ชน้ั ประถมศกึ ษาปที ่ี 6

หนว่ ยการเรียนรู้ท่ี 1 ร่างกายของเรา เวลาเรยี น 12 ช่วั โมง

เร่อื ง อวยั วะตา่ งๆในร่างกาย เวลาจํานวน 1 ชวั่ โมง

**********************************************************************************

1. สาระสาคญั

ร่างกายของมนุษย์ประกอบด้วยอวัยวะต่างๆ เช่น ปอด หัวใจ กระเพาะอาหาร ลําไส้ และไต ซ่ึงทํา

หนา้ ท่ีแตกต่างกนั ไป

2. ตัวช้ีวดั ช้นั ปี
อธิบายการทํางานที่สมั พนั ธ์กันของระบบย่อยอาหาร ระบบหายใจ และระบบหมุนเวียนเลอื ดของ

มนษุ ย์ (ว 1.1 ป. 6/2)

3. จดุ ประสงค์การเรยี นรู้
1. อธบิ ายลกั ษณะและหน้าท่ีของอวยั วะต่างๆ ภายในร่างกายมนุษยไ์ ด้ (K)
2. มีความสนใจใฝรุ ้หู รอื อยากรูอ้ ยากเห็น (A)
3. พอใจในประสบการณก์ ารเรยี นรู้ทเ่ี กี่ยวกับวิทยาศาสตร์ (A)
4. ทาํ งานร่วมกบั ผ้อู นื่ อย่างสร้างสรรค์ (A)
5. สอ่ื สารและนาํ ความรู้เร่ืองอวัยวะตา่ ง ๆ ในรา่ งกายไปใช้ในชวี ติ ประจาํ วันได้ (P)

4. การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้

ดา้ นความรู้ (K) ด้านคุณธรรม จริยธรรม และ ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)
จิตวทิ ยาศาสตร์ (A)

1.ซกั ถามความรู้เรื่องอวัยวะต่างๆ 1. ประเมนิ เจตคตทิ าง วิทยาศาสตร์ 1. ประเมินทักษะ/กระบวนการ

ในร่างกาย เปน็ รายบุคคล ทางวทิ ยาศาสตร์

2.ประเมินกิจกรรมฝึกทกั ษะ 2. ประเมนิ เจตคตติ ่อ 2. ประเมินทักษะการคดิ

ระหว่างเรยี น วิทยาศาสตรเ์ ป็นรายบุคคล 3. ประเมนิ ทักษะการแกป้ ัญหา

3.ทดสอบก่อนเรยี น 4. ประเมนิ พฤติกรรมในการปฏบิ ัติ

กจิ กรรมเปน็ รายบุคคลหรือราย

กลุ่ม


โรงเรยี นบ้านเปูา

5. สาระการเรยี นรู้
อวยั วะต่างๆ ในรา่ งกาย

6. แนวทางการบรู ณาการ สนทนา พูดคยุ หรือเล่าประสบการณ์เกี่ยวกบั อวัยวะต่างๆ ในรา่ งกาย
ภาษาไทย จาํ แนก จดั ประเภทหน้าทีก่ ับอวัยวะต่างๆ ในร่างกายทสี่ มั พันธ์กนั
คณิตศาสตร์ ฟัง พดู อา่ น และเขียนคาํ ศพั ทภ์ าษาตา่ งประเทศเก่ยี วกบั อวัยวะตา่ งๆ ใน
ภาษาตา่ งประเทศ รา่ งกายทเี่ รยี นรู้หรือทีน่ ักเรียนสนใจ

7. กระบวนการจดั การเรยี นรู้
ครูดําเนินการทดสอบก่อนเรียน โดยให้นักเรียนทําแบบทดสอบก่อนเรียน เพื่อตรวจสอบความพร้อม

และพืน้ ฐานของนกั เรยี น
ขัน้ นาเขา้ สบู่ ทเรยี น

1) ครถู ามคาํ ถามนักเรยี นเพ่ือกระตุ้นความสนใจ เช่น
- อวัยวะภายนอกของเรามีอะไรบา้ ง
- อวัยวะภายในของเรามอี ะไรบ้าง
- หัวใจของเราอยู่ที่บรเิ วณใด มองเหน็ ได้หรือไม่

2) นักเรียนร่วมกันตอบคําถามตามความคิดเห็นของแต่ละคน แล้วครูและนักเรียนร่วมกันอภิปราย
คาํ ตอบ เพอ่ื เชื่อมโยงไปส่กู ารเรียนรูเ้ รอ่ื ง อวัยวะตา่ งๆ ในร่างกาย

ขัน้ จัดกิจกรรมการเรยี นรู้
จัดกิจกรรมการเรยี นรู้โดยใช้กระบวนการสบื เสาะหาความรู้ร่วมกับแบบกลับด้านช้ันเรียน ซ่ึงมีข้ันตอน

ดงั น้ี
1) ขั้นสรา้ งความสนใจ

(1) ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนแล้วเปิดโอกาสให้นักเรียนในกลุ่มนําเสนอข้อมูลเก่ียวกับอวัยวะต่างๆ ใน
ร่างกาย ท่ีครูมอบหมายให้ไปเรียนรู้ล่วงหน้าให้เพื่อน ๆ ในกลุ่มฟัง จากนั้นให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนมานําเสนอ
ขอ้ มูลหนา้ หอ้ งเรียน

(2) ครูตรวจสอบว่านักเรียนทําภาระงานท่ีได้รับมอบหมายไปหรือไม่ โดยตรวจสอบจากการจดบันทึก
ของนักเรียน และถามคําถามเกี่ยวกับภาระงาน ดงั น้ี

- อวยั วะภายในรา่ งกายมอี ะไรบ้าง (แนวคาํ ตอบ ปอด หวั ใจ กระเพาะอาหาร ลาํ ไส้ และไต)
- อวัยวะใดของร่างกายท่ีทาํ งานสัมพันธ์กันบ้าง (แนวคําตอบ หัวใจและปอด กระเพาะอาหาร
และลําไส)้


โรงเรียนบา้ นเปูา

(3) ครเู ปดิ โอกาสให้นักเรียนตั้งประเด็นคําถามที่นักเรียนสงสัยจากการทําภาระงานอย่างน้อยคนละ 1
คําถาม ซึง่ ครูใหน้ กั เรยี นเตรยี มมาล่วงหนา้ และให้นักเรียนช่วยกันตอบและแสดงความคดิ เห็น

(4) ครแู ละนักเรยี นรว่ มกนั สรปุ เกีย่ วกบั ภาระงาน โดยครชู ว่ ยอธบิ ายให้นักเรยี นเขา้ ใจว่า รา่ งกาย
ประกอบด้วยอวยั วะภายในต่าง ๆ ที่ทาํ หน้าท่ีแตกต่างกนั
2) ขั้นสารวจและค้นหา

(1) ให้นักเรียนศกึ ษาอวยั วะต่าง ๆ ในรา่ งกายจากใบความรู้หรอื ในหนังสือเรยี น โดยครูต้งั คาํ ถาม
กระตุ้นให้นักเรยี นตอบดังน้ี

- หัวใจทําหนา้ ท่ีอะไร
- กระเพาะอาหารทาํ งานสมั พันธ์กับลาํ ไสห้ รือไม่ ลกั ษณะใด
(2) นักเรียนรว่ มกันตอบคาํ ถามตามความคดิ เหน็ ของแต่ละคน
(3) นกั เรยี นแบง่ กล่มุ และปฏิบัติกจิ กรรม สืบค้นข้อมลู อวัยวะท่นี ักเรียนสนใจ ตามขั้นตอนทาง
วิทยาศาสตรโ์ ดยใชท้ ักษะ/กระบวนการสังเกตดงั น้ี
- นักเรยี นแตล่ ะกลุ่มเลือกสืบคน้ ขอ้ มูลอวัยวะภายในร่างกาย 1 อวัยวะ
- ชว่ ยกนั หาขอ้ มลู อวัยวะทเี่ ลือกจากแหล่งข้อมลู ต่าง ๆ ให้มากที่สุด
(4) นกั เรยี นและครูรว่ มกันตรวจสอบความถกู ต้องของข้อมูลท่ไี ดจ้ ากใบงาน
(5) ครูคอยแนะนาํ ช่วยเหลือนกั เรยี นขณะปฏิบตั ิกจิ กรรม โดยครูเดินดูรอบ ๆ ห้องเรียนและเปิดโอกาส
ใหน้ ักเรียนทุกคนซักถามเมอ่ื มีปญั หา
3) ข้ันอธบิ ายและลงข้อสรุป
(1) นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตวั แทนกลมุ่ นําเสนอข้อมลู จากการปฏิบตั ิกจิ กรรมหนา้ ชั้นเรียน
(2) นักเรียนและครูร่วมกนั อภิปรายและหาข้อสรุปจากการปฏบิ ัตกิ จิ กรรม โดยใช้แนวคาํ ถามต่อไปน้ี
- กลมุ่ ของนักเรียนเลอื กศึกษาอวัยวะใดในรา่ งกาย เพราะเหตุใดจึงเลือกศึกษาอวยั วะนี้ (แนว
คาํ ตอบ ปอด เพราะเป็นอวัยวะสาํ คัญในระบบหายใจ)
- อวัยวะที่นักเรยี นเลอื กศึกษามีความสมั พันธก์ ับอวยั วะอื่นในรา่ งกายหรอื ไม่ ลักษณะใด (แนว
คาํ ตอบ มีความสัมพนั ธก์ ัน เพราะปอดเป็นอวยั วะที่เกีย่ วข้องกับระบบหายใจ ชว่ ยแลกเปลีย่ นแก๊สใหก้ บั อวัยวะ
ตา่ งๆ ในร่างกาย)
(3) นกั เรียนและครูร่วมกนั สรปุ ผลจากการปฏบิ ัตกิ ิจกรรม โดยใหไ้ ดข้ ้อสรุปวา่ ภายในร่างกายของเรา
ประกอบด้วยอวัยวะตา่ ง ๆ ที่ทําหน้าทเี่ ฉพาะอย่างและทํางานรว่ มกันอย่างเปน็ ระบบ
4) ขัน้ ขยายความรู้
(1) นกั เรียนคน้ คว้ารายละเอยี ดเพิ่มเติมเก่ยี วกับอวัยวะต่างๆ ในร่างกายจากแหลง่ ความรู้ ตา่ ง ๆ เช่น
หนงั สือ วารสารวิทยาศาสตร์ และอินเทอร์เนต็ แล้วสรุปเปน็ รายงานสง่ ครู
(2) นักเรยี นค้นคว้ารายละเอียดและคาํ ศัพทภ์ าษาตา่ งประเทศเกีย่ วกับอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายจาก
หนงั สือเรยี นภาษาต่างประเทศหรืออินเทอรเ์ น็ต


โรงเรยี นบ้านเปาู

5) ข้ันประเมิน
(1) ครูใหน้ ักเรียนแตล่ ะคนพิจารณาว่าจากหวั ข้อทเี่ รียนมาและการปฏิบัตกิ จิ กรรม มีจดุ ใดบา้ งทย่ี ังไม่

เข้าใจหรือยงั มีข้อสงสัย ถา้ มีครูช่วยอธิบายเพมิ่ เตมิ ให้นักเรยี นเขา้ ใจ
(2) นักเรียนรว่ มกนั ประเมินการปฏบิ ตั ิกิจกรรมกลุ่มวา่ มีปัญหาหรอื อุปสรรคใด และได้มีการแก้ไข

อยา่ งไรบ้าง
(3) ครแู ละนักเรยี นร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ทไ่ี ดร้ บั จากการปฏบิ ตั กิ ิจกรรมและการ

นาํ ความร้ทู ไี่ ด้ไปใช้ประโยชน์
(4) ครทู ดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการใหต้ อบคําถาม เชน่
- อวยั วะทเ่ี กี่ยวข้องกับการย่อยอาหารมีอะไรบ้าง
- อวยั วะท่ีขับของเสยี ออกนอกรา่ งกายคอื อะไร

ขั้นสรุป
(1) ครแู ละนักเรียนรว่ มกันสรุปเก่ียวกบั อวยั วะต่างๆ ในรา่ งกาย โดยร่วมกันเขยี นเปน็ แผนที่ความคดิ

หรือผังมโนทศั น์
(2) ครูมอบหมายใหน้ ักเรียนไปศกึ ษาคน้ คว้าเน้ือหาของบทเรียนชว่ั โมงหนา้ เพอ่ื จดั การเรยี นรูค้ ร้ัง

ตอ่ ไป โดยใหน้ ักเรยี นศกึ ษาค้นคว้าล่วงหน้าในหวั ข้อระบบหายใจ
(3) ครใู ห้นักเรยี นเตรียมประเดน็ คําถามที่สงสัยมาอยา่ งน้อยคนละ 1 คําถาม เพือ่ นาํ มาอภปิ ราย

ร่วมกนั ในช้นั เรียนคร้ังต่อไป

8. กจิ กรรมเสนอแนะ
ให้นักเรียนทบทวนเกี่ยวกับอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย โดยให้นักเรียนจับส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย

แล้วลองคาดคะเนวา่ มือของนกั เรียนนา่ จะอยู่ตรงกับอวัยวะใดของร่างกาย อวัยวะนั้นมีชื่อภาษาต่างประเทศว่า
อะไร มรี ูปร่างลกั ษณะแบบใด และมีหน้าทีอ่ ะไร

9. สอ่ื /แหลง่ การเรยี นรู้
1. แบบทดสอบกอ่ นเรยี น
2. ใบกิจกรรมท่ี 1 สบื ค้นข้อมูลอวยั วะที่นักเรียนสนใจ
3. คมู่ อื การสอน วิทยาศาสตร์ ชน้ั ประถมศึกษาปีที่ 6
4. ส่ือการเรยี นรู้ PowerPoint รายวชิ าพ้นื ฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
5. แบบฝกึ ทักษะ รายวิชาพ้นื ฐาน วิทยาศาสตร์ ชนั้ ประถมศึกษาปีที่ 6
6. หนังสอื เรียน รายวชิ าพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ช้ันประถมศึกษาปที ่ี 6


โรงเรยี นบ้านเปาู

10. บันทึกหลังการจัดการเรยี นรู้
ความคิดเหน็ /ข้อเสนอแนะ
............................................................................................................................. .................................................
..............................................................................................................................................................................
............................................................................................................................. .................................................

(ลงชอ่ื )..............................................
(นายธนติ ย์ พระสนุ นิ )

ผ้อู าํ นวยการโรงเรียนเค็งใหญห่ นองงูเหลอื ม
รักษาการในตําแหน่ง ผู้อํานวยการโรงเรยี นบ้านเปูา

บนั ทกึ หลงั การสอน
............................................................................................................................. .................................................
............................................................................................................................. .................................................
................................................................................................................................................................... ...........

ปัญหา/อุปสรรค
....................................................................................................... .......................................................................
............................................................................................................................. .................................................
.................................................................................................................................... ..........................................

ข้อเสนอแนะ
............................................................................................................................. .................................................
............................................................................................................................. .................................................
..............................................................................................................................................................................

(ลงชอ่ื )..............................................
(นางสาววมิ ลรตั น์ ประทีปะเสน)
ครผู ู้ช่วย


โรงเรียนบา้ นเปาู

แผนการจดั การเรยี นรทู้ ่ี 2

รายวิชาวิทยาศาสตร์ (ว16101) ช้ันประถมศกึ ษาปีที่ 6

หน่วยการเรยี นรู้ที่ 1 รา่ งกายของเรา เวลาเรียน 12 ชว่ั โมง

เร่อื ง การทาํ งานของระบบหายใจ เวลาจํานวน 1 ชั่วโมง

**********************************************************************************

1. สาระสาคัญ

ระบบหายใจประกอบด้วยอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการหายใจ ได้แก่ จมูก ปอด ถุงลม กะบังลม และ

กระดูกซี่โครง การหายใจเข้า - ออกแต่ละครั้งเป็นกระบวนการท่ีประกอบด้วยการสูดอากาศเข้าปอด การ

แลกเปล่ยี นแก๊สระหว่างปอดกบั เลอื ด และการสลายอนภุ าคของอาหารเปน็ พลงั งาน

2. ตัวชี้วดั ช้ันปี
อธิบายการทํางานท่ีสัมพันธ์กันของระบบย่อยอาหาร ระบบหายใจ และระบบหมุนเวียนเลือดของ

มนุษย์ (ว 1.1 ป. 6/2)

3. จดุ ประสงค์การเรยี นรู้
1. อธิบายการทํางานทสี่ มั พนั ธก์ นั ของระบบหายใจได้ (K)
2. มีความสนใจใฝุร้หู รอื อยากรอู้ ยากเห็น (A)
3. พอใจในประสบการณ์การเรียนรู้ทีเ่ กย่ี วกบั วิทยาศาสตร์ (A)
4. ทาํ งานร่วมกบั ผอู้ ่นื อย่างสร้างสรรค์ (A)
5. สอ่ื สารและนาํ ความรู้เรื่องการทาํ งานของระบบหายใจไปใช้ในชีวิตประจําวนั ได้ (P)

4. การวดั และการประเมนิ ผลการเรยี นรู้

ดา้ นความรู้ (K) ดา้ นคณุ ธรรม จรยิ ธรรม และ ดา้ นทกั ษะ/กระบวนการ (P)
จติ วิทยาศาสตร์ (A)

1. ซกั ถามความรเู้ ร่ืองการทาํ งาน 1. ประเมินเจตคติทาง 1. ประเมนิ ทักษะ/กระบวนการ

ของระบบหายใจ วทิ ยาศาสตร์เปน็ รายบคุ คล ทางวิทยาศาสตร์

2. ประเมินกจิ กรรมฝกึ ทักษะ 2. ประเมินเจตคติต่อวทิ ยาศาสตร์ 2. ประเมินทักษะการคิด

ระหว่างเรยี น เปน็ รายบุคคล 3. ประเมนิ ทักษะการแกป้ ัญหา

4. ประเมินพฤติกรรมในการ

ปฏบิ ัติกิจกรรมเปน็ รายบุคคล

หรือรายกล่มุ


โรงเรยี นบา้ นเปูา

5. สาระการเรยี นรู้
ระบบหายใจ

6. แนวทางการบรู ณาการ

ภาษาไทย สนทนา พูดคุย หรอื เล่าประสบการณเ์ ก่ียวกบั การทาํ งานของระบบหายใจ

สงั คมศึกษา ศาสนาและวฒั นธรรม

สนทนา พูดคุยเกีย่ วกบั การสบู บหุ รขี่ องประชากรแต่ละประเทศใดในกลุม่

สมาชกิ อาเซยี น

ภาษาตา่ งประเทศ ฟัง พดู อ่าน และ เขียนคําศัพทภ์ าษาตา่ งประเทศเก่ียวกบั การทาํ งานของ

ระบบหายใจท่ีเรยี นร้หู รือท่นี ักเรียนสนใจ

7. กระบวนการจัดการเรียนรู้
ขน้ั นาเข้าสู่บทเรยี น

1) ครถู ามคําถามนักเรยี นเพ่ือกระตุ้นความสนใจ เช่น
- หลังวงิ่ แข่ง นกั เรียนหายใจถี่กวา่ เดิมหรอื ไม่
- การหายใจของมนษุ ยจ์ ะเกย่ี วขอ้ งกบั อวัยวะใดบ้าง

2) นกั เรยี นช่วยกันอภิปรายและแสดงความคิดเห็นของคําตอบจากคําถามข้างต้นเพ่ือเชื่อมโยงไปสู่การ
เรียนรู้เรอ่ื ง ระบบหายใจ
ขน้ั จัดกจิ กรรมการเรียนรู้

จดั กิจกรรมการเรียนร้โู ดยใช้กระบวนการสบื เสาะหาความรู้รว่ มกับแบบกลบั ด้านชัน้ เรยี น ซ่ึงมีข้ันตอน
ดงั น้ี
1) ขัน้ สรา้ งความสนใจ

(1) ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนแล้วเปิดโอกาสให้นักเรียนในกลุ่มนําเสนอข้อมูลเก่ียวกับระบบหายใจ ที่ครู
มอบหมายให้ไปเรียนรู้ล่วงหน้าให้เพ่ือน ๆ ในกลุ่มฟัง จากน้ันให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนมานําเสนอข้อมูลหน้า
หอ้ งเรียน

(2) ครูตรวจสอบว่านักเรียนทําภาระงานท่ีได้รับมอบหมายไปหรือไม่ โดยตรวจสอบจากการจดบันทึก
ของนักเรียน และถามคําถามเก่ียวกับภาระงาน ดงั นี้

- อวัยวะท่ีทํางานเก่ียวกับระบบหายใจมีอะไรบ้าง (แนวคําตอบ จมูก หลอดลม ปอด และถุง
ลม)

- ระบบหายใจทําหน้าที่อะไร (แนวคําตอบ กําจัดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออกนอกร่างกาย
และรบั แกส๊ ออกซิเจนเข้าสูร่ า่ งกาย)

(3) ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนตั้งประเด็นคําถามที่นักเรียนสงสัยจากการทําภาระงานอย่างน้อยคนละ 1
คาํ ถาม ซึ่งครูให้นกั เรียนเตรยี มมาล่วงหน้า และให้นักเรยี นชว่ ยกันตอบและแสดงความคดิ เหน็


โรงเรยี นบา้ นเปาู

(4) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับภาระงาน โดยครูช่วยอธิบายให้นักเรียนเข้าใจว่า ระบบหายใจ
ประกอบด้วยสว่ นตา่ งๆ ท่ที าํ หนา้ ทแ่ี ลกเปลีย่ นแก๊ส
2) ขนั้ สารวจและค้นหา

(1) ให้นักเรียนศึกษาการทํางานของระบบหายใจจากใบความรู้หรือในหนังสือเรียน โดยครูตั้งคําถาม
กระตุ้นให้นักเรียนตอบดงั นี้

- การเคลื่อนไหวของกะบังลมและกระดูกซี่โครงขณะหายใจเข้ากับหายใจออก แตกต่างกัน
หรือไม่ เพราะอะไร

- การแลกเปลี่ยนแกส๊ ระหว่างปอดกบั เลอื ดเกิดข้นึ ได้อย่างไร
(2) นักเรยี นร่วมกันตอบคําถามตามความคิดเหน็ ของแต่ละคน
(3) นกั เรียนแบ่งกลุ่มและปฏิบตั ิกจิ กรรม สงั เกตการสูดลมหายใจ ตามขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้
ทักษะ/กระบวนการสังเกตดังน้ี

- นกั เรยี นใชม้ อื สัมผัสบริเวณทรวงอกและหนา้ ท้องของตนเอง
- หายใจเข้าลึกๆ แล้วกลั้นหายใจไว้อึดใจหน่ึงก่อนที่จะหายใจออก จากนั้นสังเกตการ
เคลอ่ื นไหวของกระดูกซี่โครงและหนา้ ท้อง ขณะท่หี ายใจเข้าและหายใจออก
(4) นกั เรียนและครรู ว่ มกันตรวจสอบความถกู ตอ้ งของข้อมูลทไี่ ดจ้ ากใบกจิ กรรม
(5 ) ครคู อยแนะนาํ ชว่ ยเหลอื นักเรียนขณะปฏิบัติกิจกรรม โดยครเู ดนิ ดูรอบๆ ห้องเรียนและเปิดโอกาส
ใหน้ ักเรยี นทุกคนซกั ถามเม่อื มปี ญั หา
3) ข้ันอธบิ ายและลงข้อสรปุ
(1) นกั เรยี นแตล่ ะกล่มุ ส่งตวั แทนกลมุ่ นําเสนอข้อมลู จากการปฏบิ ตั ิกิจกรรมหน้าชัน้ เรยี น
(2) นกั เรียนและครรู ่วมกันอภปิ รายและหาขอ้ สรปุ จากการปฏบิ ัตกิ ิจกรรม โดยใช้แนวคําถามตอ่ ไปน้ี
- การหายใจเขา้ -ออกสัมพนั ธ์กับการเคลอ่ื นไหวของกระดูกซีโ่ ครงหรอื ไม่ ลกั ษณะใด
(แนวคาํ ตอบ การหายใจเขา้ -ออกสัมพนั ธ์กับการเคลือ่ นไหวของกระดูกซี่โครง โดยเมื่อหายใจเข้า กระดูกซี่โครง
จะยกตัวสงู ขนึ้ แต่เม่อื หายใจออกกระดกู ซีโ่ ครงจะลดตํา่ ลง)
- การหายใจเข้า-ออกแต่ละคร้ังเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของอวัยวะใดบ้าง (แนวคําตอบ
อวัยวะที่เก่ียวข้องกับการหายใจ ได้แก่ จมูก โพรงจมูก ท่อลม ปอด หลอดลม ถุงลม กะบังลม และกระดูก
ซ่ีโครง)
(3) นักเรยี นและครูร่วมกันสรุปผลจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยให้ได้ข้อสรุปว่า การหายใจเข้าและการ
หายใจออกมีผลตอ่ การเคลือ่ นไหวของกระดูกซโี่ ครง กะบังลม และหนา้ ท้อง
(4) ครูทําหน้าท่ีสรุปความรู้ให้นักเรียนเข้าใจว่า อวัยวะท่ีเกี่ยวข้องกับการหายใจ ได้แก่ จมูก ปอด ถุง
ลม กะบังลม และกระดูกซ่โี ครง ซงึ่ ทําหน้าท่ีสัมพันธ์กนั อย่างเปน็ ระบบ


โรงเรียนบ้านเปูา

4) ขนั้ ขยายความรู้
(1) นักเรียนค้นคว้ารายละเอียดเพ่ิมเติมเก่ียวกับการทํางานของระบบหายใจจากแหล่งความรู้ ต่างๆ

เช่น หนงั สอื วารสารวทิ ยาศาสตร์ และอนิ เทอรเ์ น็ต แล้วสรปุ เปน็ รายงานส่งครู
(2) ครเู ช่อื มโยงความรู้สู่อาเซียน โดยครูถามนักเรียนว่า บุหรี่เป็นสารเสพติดท่ีทําลายปอด รู้หรือไม่ว่า

ประเทศใดในกลุ่มสมาชิกอาเซียนท่ีมีสถิติประชากรอายุมากกว่า 15 ปีขึ้นไปสูบบุหร่ีมากท่ีสุด จากน้ันครูให้
ความรเู้ กย่ี วกบั การสูบบหุ รขี่ องประชากรแตล่ ะประเทศใดในกล่มุ สมาชกิ อาเซยี นวา่

อันดับที่ 1 คือ ลาว มจี ํานวนร้อยละ 40 ของประชากรทั้งประเทศ
อันดับท่ี 2 คือ อนิ โดนเี ซยี มจี ํานวนร้อยละ 35 ของประชากรท้ังประเทศ
อนั ดับท่ี 3 คือ ฟิลิปปนิ ส์ มจี ํานวนรอ้ ยละ 28 ของประชากรทัง้ ประเทศ
อนั ดับที่ 4 คือ ไทย มจี ํานวนร้อยละ 24 ของประชากรทั้งประเทศ
อันดับที่ 5 คือ เวยี ดนาม มจี ํานวนร้อยละ 24 ของประชากรทัง้ ประเทศ
อนั ดบั ที่ 6 คือ มาเลเซยี มจี าํ นวนรอ้ ยละ 23 ของประชากรทง้ั ประเทศ
อนั ดบั ท่ี 7 คือ เมยี นมา มีจํานวนร้อยละ 22 ของประชากรท้ังประเทศ
อนั ดับท่ี 8 คือ กัมพชู า มีจาํ นวนร้อยละ 19.5 ของประชากรทง้ั ประเทศ
อันดบั ที่ 9 คือ บรูไนดารุสซาลาม มจี าํ นวนรอ้ ยละ 17.5 ของประชากรทง้ั ประเทศ
อนั ดบั ท่ี 10 คือ สงิ คโปร์ มจี าํ นวนร้อยละ 14 ของประชากรท้ังประเทศ
(3) นกั เรียนคน้ คว้ารายละเอียดและคําศัพท์ภาษาต่างประเทศเก่ียวกบั การทํางานของระบบหายใจจาก
หนงั สอื เรยี นภาษาตา่ งประเทศหรืออนิ เทอร์เนต็
5) ขั้นประเมิน
(1) ครูใหน้ ักเรียนแตล่ ะคนพจิ ารณาว่าจากหัวข้อท่ีเรียนมาและการปฏิบัติกิจกรรม มีจุดใดบ้าง ท่ียังไม่
เขา้ ใจหรือยังมขี อ้ สงสัย ถา้ มคี รชู ่วยอธบิ ายเพิ่มเตมิ ให้นกั เรยี นเข้าใจ
(2) นักเรียนร่วมกันประเมินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มว่ามีปัญหาหรืออุปสรรคใด และได้มีการแก้ไข
อย่างไรบา้ ง
(3) ครูและนักเรียนรว่ มกนั แสดงความคิดเหน็ เก่ียวกับประโยชน์ทไ่ี ด้รับจากการปฏิบัติกิจกรรมและการ
นาํ ความรู้ทไี่ ด้ไปใช้ประโยชน์
(4) ครทู ดสอบความเขา้ ใจของนกั เรยี นโดยการให้ตอบคําถาม เชน่
- เม่อื เราสดู อากาศเขา้ ปอด อวยั วะท่ีเกย่ี วข้องจะทาํ งานสัมพันธ์กันอย่างไร
- การแลกเปลยี่ นแกส๊ เกดิ ข้ึนทสี่ ว่ นใดของปอด
- ถา้ ปอดถูกทาํ ลายจะส่งผลต่อรา่ งกายลักษณะใด
ข้ันสรปุ
(1) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับระบบหายใจ โดยร่วมกันเขียนเป็นแผนที่ความคิดหรือผังมโน
ทศั น์


โรงเรียนบา้ นเปูา

(2) ครูมอบหมายให้นักเรียนไปศึกษาค้นคว้าเน้ือหาของบทเรียนชั่วโมงหน้า เพื่อจัดการเรียนรู้คร้ัง
ตอ่ ไป โดยใหน้ กั เรยี นศกึ ษาค้นคว้าล่วงหนา้ ในหัวข้อระบบย่อยอาหาร

(3) ครูให้นักเรียนเตรียมประเด็นคําถามที่สงสัยมาอย่างน้อยคนละ 1 คําถาม เพ่ือนํามาอภิปราย
ร่วมกันในช้นั เรยี นคร้ังต่อไป
8. กจิ กรรมเสนอแนะ

นักเรียนฝึกสังเกตลมหายใจของตนเองขณะเดิน วิ่ง นั่ง และนอน พร้อมท้ังจินตนาการว่ามีการ
เคลื่อนไหวของกะบังลมและกระดูกซี่โครงลักษณะใดบ้าง และถ้าอวัยวะใดอวัยวะหนึ่งของระบบหายใจไม่
สามารถทาํ หน้าท่ีไดต้ ามปกตจิ ะเกดิ ผลอะไรบ้าง

9. สอ่ื /แหลง่ การเรียนรู้
1. ใบกิจกรรมที่ 2 สงั เกตการสดู ลมหายใจ
2. คูม่ ือการสอน วิทยาศาสตร์ ช้นั ประถมศึกษาปีที่ 6
3. สือ่ การเรียนรู้ PowerPoint รายวิชาพ้นื ฐาน วิทยาศาสตร์ ชน้ั ประถมศึกษาปีที่ 6
4. แบบฝกึ ทกั ษะ รายวชิ าพ้นื ฐาน วทิ ยาศาสตร์ ชนั้ ประถมศึกษาปีท่ี 6
5. หนงั สอื เรยี น รายวชิ าพื้นฐาน วทิ ยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีท่ี 6


โรงเรยี นบ้านเปูา

10. บันทึกหลังการจดั การเรียนรู้
ความคิดเหน็ /ข้อเสนอแนะ
............................................................................................................................. .................................................
..............................................................................................................................................................................
............................................................................................................................. .................................................

(ลงชือ่ )..............................................
(นายธนิตย์ พระสุนนิ )

ผ้อู ํานวยการโรงเรียนเค็งใหญห่ นองงเู หลือม
รักษาการในตําแหนง่ ผอู้ ํานวยการโรงเรียนบ้านเปาู

บนั ทกึ หลงั การสอน
............................................................................................................................. .................................................
............................................................................................................................. .................................................
.................................................................................................................................................................... ..........

ปัญหา/อุปสรรค
........................................................................................................ ......................................................................
............................................................................................................................. .................................................
..................................................................................................................................... .........................................

ข้อเสนอแนะ
..............................................................................................................................................................................
............................................................................................................................. .................................................
............................................................................................................................. .................................................

(ลงชอ่ื )..............................................
(นางสาววมิ ลรตั น์ ประทีปะเสน)
ครูผู้ชว่ ย


โรงเรียนบา้ นเปาู

แผนการจัดการเรียนร้ทู ่ี 3

รายวิชาวทิ ยาศาสตร์ (ว16101) ชั้นประถมศกึ ษาปีท่ี 6

หน่วยการเรียนรูท้ ี่ 1 ร่างกายของเรา เวลาเรยี น 12 ช่ัวโมง

เร่ือง การทาํ งานของระบบย่อยอาหาร เวลาจํานวน 1 ชวั่ โมง

**********************************************************************************

1. สาระสาคญั

ระบบย่อยอาหารประกอบด้วยอวัยวะหลายอย่างท่ีทําหน้าที่เฉพาะและสัมพันธ์กับอวัยวะอื่นได้แก่

ปาก หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ตับ ตับอ่อน ลําไส้เล็กและลําไส้ใหญ่ โดยอวัยวะบางอย่างจะไม่มีการย่อย

อาหารแตเ่ ปน็ ส่วนหน่งึ ของระบบทางเดนิ อาหารเท่านน้ั

2. ตัวชี้วดั ชนั้ ปี
อธิบายการทํางานท่ีสัมพันธ์กันของระบบย่อยอาหาร ระบบหายใจ และระบบหมุนเวียนเลือดของ

มนุษย์ (ว 1.1 ป. 6/2)

3. จดุ ประสงค์การเรยี นรู้
1. อธบิ ายการทํางานทสี่ ัมพนั ธ์กนั ของระบบย่อยอาหารได้ (K)
2. มคี วามสนใจใฝุรหู้ รืออยากรอู้ ยากเหน็ (A)
3. พอใจในประสบการณ์การเรียนรทู้ ่ีเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ (A)
4. ทํางานร่วมกับผอู้ ่นื อย่างสร้างสรรค์ (A)
5. สอ่ื สารและนาํ ความรูเ้ ร่ืองการทาํ งานของระบบย่อยอาหารไปใชใ้ นชวี ิตประจาํ วันได้ (P)

4. การวัดและการประเมินผลการเรยี นรู้

ดา้ นความรู้ (K) ด้านคุณธรรม จริยธรรม และ ดา้ นทกั ษะ/กระบวนการ (P)
จติ วิทยาศาสตร์ (A)
1. ประเมินทักษะ/กระบวนการ
1. ซกั ถามความรเู้ รื่อง การทํางาน 1. ประเมินเจตคตทิ าง ทางวิทยาศาสตร์

ของระบบอาหาร วทิ ยาศาสตร์เป็นรายบุคคล 2. ประเมินทักษะการคดิ
3. ประเมินทักษะการแก้ปญั หา
2. ประเมินกจิ กรรมฝกึ ทกั ษะ 2. ประเมนิ เจตคติตอ่ 4. ประเมนิ พฤติกรรมในการปฏิบตั ิ

ระหว่างเรียน วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล กจิ กรรมเปน็ รายบุคคลหรือราย
กลุม่


โรงเรียนบ้านเปูา

5. สาระการเรียนรู้
ระบบย่อยอาหาร

6. แนวทางการบูรณาการ สนทนา พดู คยุ หรอื เลา่ ประสบการณ์เกี่ยวกับการทาํ งานของระบบ
ภาษาไทย ย่อยอาหาร และเขยี นรายงานการศกึ ษาคน้ ควา้ เกย่ี วกับกระบวนการ
ย่อยอาหาร
ภาษาตา่ งประเทศ ฟัง พูด อ่าน และเขยี นคําศัพท์ภาษาต่างประเทศเกยี่ วกับการทาํ งาน
ของระบบย่อยอาหารทเ่ี รยี นรู้หรือทีน่ กั เรียนสนใจ

7. กระบวนการจดั การเรยี นรู้
ขัน้ นาเข้าสูบ่ ทเรยี น

1) ครสู นทนากบั นกั เรียนเกี่ยวกับอาหารที่รับประทานเข้าไปในร่างกาย แล้วอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย
จะช่วยกันทําให้อาหารมขี นาดเล็กลงจนสามารถนาํ ไปเลย้ี งส่วนต่างๆ ของร่างกายได้โดยตงั้ คําถามดังน้ี

- อาหารท่ีนักเรียนรับประทานเข้าไปในร่างกาย ซึ่งมีท้ังขนาดเล็ก - ใหญ่ไม่เท่ากัน หรือมี
ความแข็ง - ออ่ นนุม่ ไม่เทา่ กัน ร่างกายตอ้ งทาํ อยา่ งไรจึงจะนาํ อาหารต่างๆ ไปใชไ้ ด้

- นกั เรยี นคดิ ว่าอวยั วะใดบา้ งทีท่ าํ ใหอ้ าหารท่เี รารับประทานมีขนาดเลก็ ลงจนร่างกายสามารถ
นําไปใช้ได้

- กระบวนการที่อวัยวะต่างๆ ช่วยกันทาํ ใหอ้ าหารมขี นาดเลก็ ลงจนร่างกายสามารถนําไปใช้ได้
เรียกวา่ อะไร

2) นักเรียนร่วมกันตอบคําถามตามความคิดเห็นของแต่ละคน แล้วครูและนักเรียนร่วมกันอภิปราย
คําตอบ เพ่อื เชอ่ื มโยงไปสู่การเรยี นร้เู รือ่ ง ระบบยอ่ ยอาหาร
ขัน้ จัดกจิ กรรมการเรียนรู้

จดั กิจกรรมการเรียนร้โู ดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแบบกลับด้านชั้นเรียน ซึ่งมีขั้นตอน
ดงั นี้
1) ขั้นสรา้ งความสนใจ

(1) ครูแบง่ กล่มุ นกั เรยี นแล้วเปิดโอกาสให้นักเรยี นในกลมุ่ นําเสนอขอ้ มูลเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร ที่ครู
มอบหมายให้ไปเรียนรู้ล่วงหน้าให้เพ่ือนๆ ในกลุ่มฟัง จากน้ันให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนมานําเสนอข้อมูลหน้า
ห้องเรียน

(2) ครูตรวจสอบว่านักเรียนทําภาระงานที่ได้รับมอบหมายไปหรือไม่ โดยตรวจสอบจากการจดบันทึก
ของนกั เรียน และถามคําถามเกย่ี วกบั ภาระงาน ดงั น้ี

- อวัยวะที่ทํางานเก่ียวกับระบบย่อยอาหารมีอะไรบ้าง (แนวคําตอบ ปาก หลอดอาหาร
กระเพาะอาหาร และลําไส้)


โรงเรียนบา้ นเปูา

- ระบบย่อยอาหารทําหน้าที่อะไร (แนวคําตอบ ย่อยอาหารที่รับประทานเป็นสารอาหาร
เพอื่ ให้ร่างกายนําไปใช้สรา้ งพลงั งาน)

(3) ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนต้ังประเด็นคําถามท่ีนักเรียนสงสัยจากการทําภาระงานอย่างน้อยคนละ 1
คําถาม ซ่งึ ครูใหน้ ักเรียนเตรยี มมาล่วงหน้า และใหน้ กั เรียนช่วยกันตอบและแสดงความคดิ เหน็

(4) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับภาระงาน โดยครูช่วยอธิบายให้นักเรียนเข้าใจว่า ระบบย่อย
อาหารประกอบดว้ ยส่วนต่างๆ ที่ทาํ หน้าทีย่ ่อยอาหารใหเ้ ลก็ ลงจนเป็นสารอาหาร
2) ข้นั สารวจและคน้ หา

(1) ให้นักเรียนศึกษาการทํางานของระบบย่อยอาหารจากใบความรู้หรือในหนังสือเรียนโดยครูช่วย
เช่ือมโยงความรู้ใหม่จากบทเรียนกับความรู้เดิมที่เรียนรู้มาแล้ว ด้วยการใช้คําถามกระตุ้นให้นักเรียนตอบจาก
ความรแู้ ละประสบการณ์ของนกั เรยี น

(2) แบ่งนักเรยี นเปน็ กลุ่มสบื คน้ ขอ้ มูลเกยี่ วกบั กระบวนการย่อยอาหาร โดยดําเนินการตามขั้นตอนดังนี้
- แต่ละกลุ่มวางแผนการสืบค้นข้อมูลความสัมพันธ์ของอวัยวะกับการย่อยอาหารโดยแบ่ง

หัวข้อยอ่ ยให้เพอ่ื นสมาชกิ ช่วยกันสบื ค้นตามท่ีสมาชิกกลุ่มช่วยกันกําหนดหัวข้อย่อย เช่น อวัยวะที่เก่ียวข้องกับ
ระบบยอ่ ยอาหาร ไดแ้ ก่ ปาก หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลาํ ไส้เลก็ และลาํ ไส้ใหญ่

- สมาชิกกลุ่มแต่ละคนหรือกลุ่มย่อยช่วยกันสืบค้นข้อมูลตามหัวข้อย่อยท่ีตนเองรับผิดชอบ
โดยการสบื คน้ จากใบความรู้ท่ีครูเตรยี มมาให้ หรอื หนงั สอื วารสารวิทยาศาสตร์ สารานกุ รม และอนิ เทอร์เน็ต

- สมาชิกกลุ่มนําข้อมูลท่ีสืบค้นได้มารายงานให้เพ่ือนๆ สมาชิกในกลุ่มฟัง รวมทั้งร่วมกัน
อภิปรายซกั ถามจนคาดวา่ สมาชกิ ทกุ คนมีความรู้ความเขา้ ใจตรงกัน

- สมาชิกกลุ่มช่วยกันสรุปความรู้ท่ีได้ทั้งหมดเป็นผลงานของกลุ่ม และช่วยกันจัดทํารายงาน
การศึกษาค้นคว้าเก่ยี วกบั กระบวนการย่อยอาหาร

(3) ครูคอยแนะนําช่วยเหลือนักเรยี นขณะปฏิบัติกิจกรรม โดยครูเดินดูรอบๆ ห้องเรียนและเปิดโอกาส
ให้นักเรยี นทกุ คนซกั ถามเม่ือมปี ญั หา
3) ข้นั อธบิ ายและลงข้อสรุป

(1) นกั เรยี นแต่ละกลุม่ สง่ ตวั แทนกลุ่มนําเสนอข้อมูลจากการปฏิบัติกจิ กรรมหนา้ ชนั้ เรียน
(2) นกั เรียนและครูร่วมกนั อภิปรายและหาข้อสรปุ จากการปฏบิ ตั กิ ิจกรรม โดยใชแ้ นวคําถามต่อไปน้ี

- กระเพาะอาหารทาํ หนา้ ท่อี ะไร (แนวคาํ ตอบ ยอ่ ยอาหารประเภทโปรตีน)
- ลําไส้เลก็ ทํางานรว่ มกับอวยั วะใด (แนวคําตอบ ตับและตับอ่อน)
(3) นกั เรียนและครรู ว่ มกันสรุปผลจากการปฏบิ ตั ิกิจกรรม โดยให้ได้ข้อสรุปว่า เม่ืออาหารเข้าสู่ร่างกาย
อาหารจะเคลื่อนทไี่ ปตามระบบยอ่ ยอาหารโดยเรมิ่ จากปาก หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลําไส้เล็ก และลําไส้
ใหญ่


โรงเรียนบ้านเปูา

4) ข้นั ขยายความรู้
(1) นกั เรียนฝึกจําแนกประเภทของอาหารท่ีนักเรียนรับประทาน และคาดคะเนว่าอาหารนั้นๆ จะมีการ

ย่อยในอวัยวะใดของระบบย่อยอาหารในรา่ งกาย
(2) นักเรียนค้นคว้าคําศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับการทํางานของระบบย่อยอาหาร จากหนังสือ

เรียนภาษาตา่ งประเทศหรอื อนิ เทอร์เน็ต
5) ขั้นประเมิน

(1) ครูให้นักเรียนแต่ละคนพิจารณาว่าจากหัวข้อท่ีเรียนมาและการปฏิบัติกิจกรรม มีจุดใดบ้างที่ยังไม่
เขา้ ใจหรอื ยงั มขี อ้ สงสยั ถา้ มีครูช่วยอธบิ ายเพม่ิ เติมให้นักเรียนเข้าใจ

(2) นักเรียนร่วมกันประเมินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มว่ามีปัญหาหรืออุปสรรคใด และได้มีการแก้ไข
อยา่ งไรบ้าง

(3) ครแู ละนกั เรยี นรว่ มกันแสดงความคดิ เห็นเกี่ยวกับประโยชนท์ ไี่ ดร้ ับจากการปฏิบัติกิจกรรมและการ
นําความรู้ท่ีได้ไปใช้ประโยชน์

(4) ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการใหต้ อบคําถาม เช่น
- การเค้ยี วอาหารให้ละเอยี ดมผี ลดีต่อรา่ งกายหรอื ไม่ เพราะอะไร
- ลาํ ไส้เลก็ กบั ลาํ ไส้ใหญ่ทําหน้าทแ่ี ตกต่างกนั หรือไม่ ลกั ษณะใด
- ถ้าอาหารไมย่ อ่ ยหรือย่อยยากจะสง่ ผลกระทบต่อระบบอืน่ ๆ ของรา่ งกายในลักษณะใด

ขัน้ สรปุ
1) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร โดยร่วมกันเขียนเป็นแผนที่ความคิดหรือผัง

มโนทัศน์
2) ครมู อบหมายใหน้ ักเรยี นไปศกึ ษาค้นคว้าเนอ้ื หาของบทเรยี นชั่วโมงหน้า เพ่ือจัดการเรียนรู้คร้ังต่อไป

โดยใหน้ ักเรยี นศึกษาค้นคว้าลว่ งหนา้ ระบบหมนุ เวียนเลือด
3) ครใู หน้ กั เรยี นเตรยี มประเดน็ คาํ ถามทีส่ งสัยมาอย่างน้อยคนละ 1 คําถาม เพื่อนํามาอภิปรายร่วมกัน

ในช้ันเรยี นคร้งั ต่อไป

8. กิจกรรมเสนอแนะ
แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มช่วยกันสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการดูดซึมอาหารท่ีได้จากการย่อยไป

เล้ียงส่วนต่างๆ ของร่างกาย และวิธีการขับกากอาหารที่เหลือจากการย่อยออกนอกร่างกายจัดทําเป็นรายงาน
สง่ ครู

9. สอ่ื /แหลง่ การเรยี นรู้
1. คมู่ ือการสอน วทิ ยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีท่ี 6
2. แบบฝึกทกั ษะ รายวชิ าพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชนั้ ประถมศกึ ษาปีท่ี 6
3. หนังสอื เรียน รายวิชาพื้นฐาน วทิ ยาศาสตร์ ช้ันประถมศึกษาปีที่ 6


โรงเรยี นบ้านเปาู

10. บนั ทึกหลงั การจัดการเรียนรู้
ความคิดเหน็ /ข้อเสนอแนะ
............................................................................................................................. .................................................
..............................................................................................................................................................................
............................................................................................................................. .................................................

(ลงช่ือ)..............................................
(นายธนิตย์ พระสุนิน)

ผู้อาํ นวยการโรงเรยี นเค็งใหญห่ นองงเู หลือม
รักษาการในตาํ แหน่ง ผ้อู าํ นวยการโรงเรียนบ้านเปาู

บันทึกหลังการสอน
............................................................................................................................. .................................................
............................................................................................................................. .................................................
.................................................................................................................................................................... ..........

ปัญหา/อุปสรรค
............................................................................................................................. .................................................
..............................................................................................................................................................................
............................................................................................................................. .................................................

ข้อเสนอแนะ
............................................................................................................................. .................................................
..............................................................................................................................................................................
............................................................................................................................. .................................................

(ลงชอ่ื )..............................................
(นางสาววิมลรตั น์ ประทปี ะเสน)
ครูผู้ชว่ ย


โรงเรียนบา้ นเปาู

แผนการจดั การเรยี นรทู้ ่ี 4

รายวิชาวทิ ยาศาสตร์ (ว16101) ช้นั ประถมศกึ ษาปีท่ี 6

หน่วยการเรียนร้ทู ่ี 1 ร่างกายของเรา เวลาเรยี น 12 ชัว่ โมง

เรอ่ื ง การทํางานของระบบหมุนเวียนเลือด เวลาจาํ นวน 2 ชวั่ โมง

**********************************************************************************

1. สาระสาคัญ

ระบบหมุนเวียนเลือดทําหน้าท่ีลําเลียงสารอาหารไปสู่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยจะมีอวัยวะท่ี

เกี่ยวขอ้ ง คือ หัวใจ และเส้นเลือด ซึ่งการหดและขยายตัวของหลอดเลือดตามจังหวะการเต้นของหัวใจเรียกว่า

ชพี จร

2. ตวั ชี้วัดช้ันปี
อธิบายการทํางานท่ีสัมพันธ์กันของระบบย่อยอาหาร ระบบหายใจ และระบบหมุนเวียนเลือดของ

มนษุ ย์ (ว 1.1 ป. 6/2)

3. จุดประสงคก์ ารเรยี นรู้
1. อธบิ ายการทํางานทีส่ ัมพันธก์ นั ของระบบหมุนเวยี นเลือดได้ (K)
2. มีความสนใจใฝรุ ู้หรืออยากรอู้ ยากเหน็ (A)
3. พอใจในประสบการณก์ ารเรียนรู้ทเี่ ก่ยี วกับวทิ ยาศาสตร์ (A)
4. ทาํ งานรว่ มกบั ผอู้ ื่นอยา่ งสร้างสรรค์ (A)
5. ส่ือสารและนําความรู้เร่ืองการทํางานของระบบหมุนเวียนเลือดไปใชใ้ นชีวิตประจําวันได้ (P)

4. การวัดและการประเมินผลการเรยี นรู้

ดา้ นความรู้ (K) ดา้ นคณุ ธรรม จรยิ ธรรมและ ดา้ นทักษะ/กระบวนการ (P)
จติ วทิ ยาศาสตร์ (A)
1. ประเมินทักษะ/กระบวนการ
1. ซกั ถามความรูเ้ รื่องการทํางาน 1. ประเมินเจตคติทาง ทางวทิ ยาศาสตร์

ของระบบหมุนเวยี นเลอื ด วทิ ยาศาสตรเ์ ป็นรายบคุ คล 2. ประเมนิ ทักษะการคดิ
3. ประเมนิ ทักษะการแกป้ ญั หา
2. ประเมินกจิ กรรมฝกึ ทักษะ 2. ประเมินเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ 4. ประเมนิ พฤติกรรมในการ

ระหว่างเรยี น เป็นรายบคุ คล ปฏิบตั ิกิจกรรมเป็นรายบุคคล
หรอื รายกล่มุ


โรงเรียนบา้ นเปาู

5. สาระการเรยี นรู้
ระบบหมนุ เวยี นเลือด

6. แนวทางการบูรณาการ สนทนา พูดคยุ หรือเลา่ ประสบการณเ์ กี่ยวกับการทํางานของ
ภาษาไทย ระบบหมุนเวยี นเลอื ด
นบั อัตราการเต้นของชพี จรก่อนและหลงั การออกกาํ ลงั กาย
คณิตศาสตร์ ประดิษฐ์แผนภาพวงจรการทํางานของระบบหมุนเวยี นเลอื ดและ
ศลิ ปะ อวยั วะทีเ่ ก่ยี วข้อง
ฟงั พูด อา่ น และเขียนคําศัพทภ์ าษาตา่ งประเทศเกี่ยวกบั การทํางานของ
ภาษาตา่ งประเทศ ระบบหมนุ เวียนเลือดทีเ่ รียนรู้หรอื ที่นกั เรยี นสนใจ

7. กระบวนการจัดการเรยี นรู้
ขัน้ นาเข้าสู่บทเรียน

1) ครูถามคาํ ถามนักเรยี น เพ่ือทบทวนความรู้เดิมของนักเรียน เชน่
- แก๊สออกซเิ จนเดนิ ทางจากปอดไปยังสว่ นต่างๆ ของรา่ งกายทางใด

(แนวคําตอบ หลอดเลือด)
- สารอาหารเดนิ ทางจากลําไส้เล็กไปยังส่วนตา่ งๆ ของรา่ งกายทางใด

(แนวคาํ ตอบ หลอดเลือด)
2) นกั เรียนชว่ ยกนั อภิปรายและแสดงความคิดเหน็ ของคาํ ตอบจากคําถามข้างตน้

ข้นั จดั กิจกรรมการเรียนรู้
จดั กจิ กรรมการเรียนรโู้ ดยใชก้ ระบวนการสบื เสาะหาความรู้ร่วมกับแบบกลับด้านช้ันเรียน ซึ่งมีข้ันตอน

ดังนี้
1) ขนั้ สรา้ งความสนใจ
(1) ครแู บ่งกลุ่มนักเรียนแล้วเปิดโอกาสให้นักเรียนในกลุ่มนําเสนอข้อมูลเก่ียวกับระบบหมุนเวียนเลือด

ทคี่ รูมอบหมายให้ไปเรียนรู้ล่วงหน้าให้เพ่ือนๆ ในกลุ่มฟัง จากน้ันให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนมานําเสนอข้อมูลหน้า
หอ้ งเรยี น

(2) ครูตรวจสอบว่านักเรียนทําภาระงานท่ีได้รับมอบหมายไปหรือไม่ โดยตรวจสอบจากการจดบันทึก
ของนกั เรยี น และถามคาํ ถามเกี่ยวกับภาระงาน ดังนี้

- อวัยวะสาํ คญั ของระบบหมนุ เวียนเลอื ดคืออะไร (แนวคําตอบ หัวใจ)
- ระบบหมนุ เวยี นเลอื ดทาํ หนา้ ทอ่ี ะไร (แนวคาํ ตอบ ลาํ เลยี งสารและแก๊สไปยังสว่ นตา่ งๆ ของรา่ งกาย
(3) ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนตั้งประเด็นคําถามท่ีนักเรียนสงสัยจากการทําภาระงานอย่างน้อยคนละ
1 คาํ ถาม ซ่งึ ครูให้นักเรียนเตรียมมาลว่ งหนา้ และให้นักเรียนชว่ ยกนั ตอบและแสดงความคิดเหน็


โรงเรียนบ้านเปาู

(4) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับภาระงาน โดยครูช่วยอธิบายให้นักเรียนเข้าใจว่า ระบบ
หมนุ เวยี นเลือดประกอบดว้ ยส่วนตา่ งๆ ทที่ ําหน้าที่ลําเลยี งสารและแกส๊ ไปยงั ส่วนต่างๆ ของรา่ งกาย
2) ขั้นสารวจและคน้ หา

(1) ให้นักเรียนศึกษาการทํางานของระบบหมุนเวียนเลือดจากใบความรู้หรือในหนังสือเรียนโดยครูต้ัง
คําถามกระตนุ้ ให้นกั เรียนตอบดังน้ี

- นกั เรียนสามารถรู้อัตราการเตน้ ของหัวใจได้ดว้ ยวิธีการใด
- ชีพจรคอื อะไร
(2) นกั เรยี นร่วมกนั ตอบคําถามตามความคดิ เห็นของแต่ละคน
(3) นักเรียนแบ่งกลุ่มและปฏิบัติกิจกรรม สังเกตอัตราการเต้นของหัวใจ ตามข้ันตอนทางวิทยาศาสตร์
โดยใชท้ กั ษะ/กระบวนการสังเกตดงั นี้
- แบ่งนักเรียนกลุ่มละ 5 คน ให้นักเรียนในกลุ่มนั่งอยู่กับท่ีแล้วสังเกตอัตราการเต้นของหัวใจ
โดยผลดั กนั จบั ชีพจรบรเิ วณขอ้ มือ นับจํานวนคร้ังภายในเวลา 1 นาที บนั ทึกผลทีส่ งั เกตได้
- ใหน้ กั เรียนแต่ละกลุ่มวิ่งรอบห้องเรียน 1 รอบ แล้วผลัดกันจับชีพจร นับจํานวนคร้ังท่ีชีพจร
เต้นภายในเวลา 1 นาที บนั ทึกผลแลว้ สรุปผลการสังเกต
(4) นักเรยี นและครรู ว่ มกันตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลทีไ่ ด้จากใบกิจกรรม
(5) ครคู อยแนะนําชว่ ยเหลอื นักเรียนขณะปฏิบัติกิจกรรม โดยครูเดินดูรอบๆ ห้องเรียนและเปิดโอกาส
ใหน้ ักเรียนทกุ คนซักถามเม่ือมีปญั หา
3) ข้ันอธบิ ายและลงข้อสรปุ
(1) นักเรยี นแต่ละกลุม่ ส่งตวั แทนกลุม่ นาํ เสนอข้อมูลจากการปฏบิ ัตกิ ิจกรรมหน้าชัน้ เรยี น
(2) นกั เรยี นและครรู ว่ มกันอภปิ รายและหาข้อสรุปจากการปฏิบัตกิ จิ กรรม โดยใชแ้ นวคาํ ถามต่อไปนี้
- เพราะเหตุใดจึงวัดอัตราการเต้นของหัวใจได้จากการสัมผัสหลอดเลือดบริเวณข้อมือ
(แนวคําตอบ เพราะหลอดเลอื ดจะหดและขยายตัวตามจังหวะการเตน้ ของหัวใจ)
- หลังออกกําลังกายเสร็จใหม่ๆ อัตราการเต้นของชีพจรจะเป็นอย่างไร (แนวคําตอบ อัตรา
การเตน้ ของชพี จรจะเร็วและแรงขึ้น)
(3) นักเรียนและครูร่วมกันสรุปผลจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยให้ได้ข้อสรุปว่า การออกกําลังกาย มีผลต่อ
อตั ราการเตน้ ของหวั ใจ ทําให้อตั ราการเตน้ ของหวั ใจสงู ขึน้ กว่าปกติ
4) ข้นั ขยายความรู้
(1) นักเรยี นคน้ คว้ารายละเอยี ดเพม่ิ เติมเกี่ยวกับการทํางานของระบบหมุนเวียนเลือดจากแหล่งความรู้
ต่างๆ เชน่ หนงั สือ วารสารวทิ ยาศาสตร์ และอินเทอร์เนต็ แล้วสรุปเปน็ รายงานส่งครู
(2) แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มจัดทําแผนภาพวงจรการทํางานของระบบหมุนเวียนเลือดและ
อวัยวะที่เก่ียวข้อง แล้วส่งตัวแทนกลุ่มนําเสนอแผนภาพหน้าชั้นเรียนให้เพื่อนๆ ร่วมกันอภิปรายตรวจสอบ
ความถกู ต้อง


โรงเรียนบ้านเปูา

(3) นกั เรยี นคน้ คว้ารายละเอยี ดและคําศัพท์ภาษาต่างประเทศเก่ียวกับการทํางานของระบบหมุนเวียน
เลือดจากหนงั สอื เรยี นภาษาตา่ งประเทศและอนิ เทอรเ์ นต็
5) ข้นั ประเมนิ

(1) ครูให้นักเรียนแต่ละคนพิจารณาว่าจากหัวข้อที่เรียนมาและการปฏิบัติกิจกรรม มีจุดใดบ้างที่ยังไม่
เข้าใจหรอื ยงั มีข้อสงสยั ถ้ามีครชู ว่ ยอธิบายเพม่ิ เตมิ ใหน้ ักเรียนเข้าใจ

(2) นักเรียนร่วมกันประเมินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มว่ามีปัญหาหรืออุปสรรคใด และได้มีการแก้ไข
อยา่ งไรบ้าง

(3) ครแู ละนกั เรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกย่ี วกบั ประโยชนท์ ไ่ี ด้รบั จากการปฏิบัติกิจกรรมและการ
นําความรทู้ ีไ่ ดไ้ ปใชป้ ระโยชน์

(4) ครทู ดสอบความเขา้ ใจของนักเรยี นโดยการใหต้ อบคาํ ถาม เชน่
- ระบบหมุนเวียนเลอื ดประกอบด้วยอวยั วะใด
- ระบบหมุนเวียนเลอื ดเกี่ยวข้องกับระบบหายใจและระบบย่อยอาหารลักษณะใด

ขน้ั สรุป
(1) ครแู ละนกั เรียนรว่ มกนั สรุปเกยี่ วกบั ระบบหมนุ เวยี นเลือด โดยร่วมกันเขียนเป็นแผนท่ีความคิดหรือ

ผังมโนทัศน์
(2) ครูมอบหมายให้นักเรียนไปศึกษาค้นคว้าเน้ือหาของบทเรียนช่ัวโมงหน้า เพื่อจัดการเรียนรู้คร้ัง

ต่อไป โดยใหน้ ักเรียนศึกษาคน้ คว้าล่วงหนา้ ในหวั ขอ้ ระบบขับถา่ ย
(3) ครูให้นักเรียนเตรียมประเด็นคําถามท่ีสงสัยมาอย่างน้อยคนละ 1 คําถาม เพื่อนํามาอภิปราย

รว่ มกนั ในชน้ั เรียนคร้ังตอ่ ไป

8. กจิ กรรมเสนอแนะ
ให้นักเรียนสังเกตอัตราการเต้นของหัวใจในขณะทํากิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจําวัน โดยสังเกตว่า

กิจกรรมที่ทําให้อัตราการเต้นของหัวใจเพ่ิมขึ้นมีอะไรบ้าง นําข้อมูลที่ได้มาเปรียบเทียบกับเพื่อนและอภิปราย
รว่ มกนั ถงึ สาเหตุที่ทาํ ใหอ้ ตั ราการเตน้ ของหัวใจเพิ่มขนึ้

9. สอ่ื /แหล่งการเรยี นรู้
1. ใบกจิ กรรมที่ 3 สังเกตอตั ราการเตน้ ของหวั ใจ
2. ค่มู อื การสอน วทิ ยาศาสตร์ ชน้ั ประถมศึกษาปีท่ี 6
3. สอ่ื การเรียนรู้ PowerPoint รายวชิ าพน้ื ฐาน วทิ ยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
4. แบบฝกึ ทักษะ รายวิชาพื้นฐาน วทิ ยาศาสตร์ ชนั้ ประถมศึกษาปีท่ี 6
5. หนงั สอื เรียน รายวชิ าพืน้ ฐาน วทิ ยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6


โรงเรียนบ้านเปูา

10. บนั ทกึ หลังการจดั การเรยี นรู้
ความคดิ เหน็ /ข้อเสนอแนะ
............................................................................................................................. .................................................
............................................................................................................................. .................................................
..............................................................................................................................................................................

(ลงช่ือ)..............................................
(นายธนิตย์ พระสุนิน)

ผอู้ าํ นวยการโรงเรียนเค็งใหญ่หนองงเู หลือม
รักษาการในตาํ แหนง่ ผอู้ ํานวยการโรงเรียนบา้ นเปาู

บันทึกหลงั การสอน
............................................................................................................................. .................................................
............................................................................................................................. .................................................
............................................................................................................................. .................................................

ปัญหา/อปุ สรรค
..............................................................................................................................................................................
............................................................................................................................. .................................................
............................................................................................................................. .................................................

ขอ้ เสนอแนะ
.................................................................................................................................................................. ............
..................................................................................................................... .........................................................
............................................................................................................................. .................................................

(ลงชอ่ื )..............................................
(นางสาววมิ ลรัตน์ ประทปี ะเสน)
ครูผู้ชว่ ย


โรงเรียนบา้ นเปูา

แผนการจัดการเรยี นรูท้ ่ี 5

รายวิชาวทิ ยาศาสตร์ (ว16101) ชั้นประถมศึกษาปีท่ี 6

หน่วยการเรียนรู้ท่ี 1 รา่ งกายของเรา เวลาเรียน 12 ชั่วโมง

เร่ือง การทาํ งานของระบบขับถา่ ย เวลาจํานวน 1 ช่ัวโมง

**********************************************************************************

1. สาระสาคัญ

ระบบขับถ่ายประกอบด้วยอวัยวะต่างๆ ที่ทําหน้าท่ีขับของเสียออกจากร่างกายมนุษย์จะขับถ่ายของ

เสียออกนอกร่างกายได้ 4 ลักษณะคือ กําจัดของเสียทางไต (ปัสสาวะ) กําจัดของเสียทางลําไส้ใหญ่ (อุจจาระ)

กําจดั ของเสยี ทางผวิ หนัง (เหงื่อ) และกําจัดของเสยี ทางปอด (ลมหายใจออก)

2. ตัวชี้วัดช้ันปี
อธิบายการทํางานท่ีสัมพันธ์กันของระบบย่อยอาหาร ระบบหายใจ และระบบหมุนเวียนเลือดของ

มนษุ ย์ (ว 1.1 ป. 6/2)

3. จดุ ประสงคก์ ารเรยี นรู้
1. อธบิ ายการทาํ งานที่สมั พันธ์กันของระบบขับถา่ ยได้ (K)
2. มคี วามสนใจใฝรุ ู้หรืออยากรอู้ ยากเห็น (A)
3. พอใจในประสบการณก์ ารเรยี นรทู้ เ่ี กย่ี วกับวทิ ยาศาสตร์ (A)
4. ทํางานร่วมกบั ผอู้ ื่นอย่างสร้างสรรค์ (A)
5. สอ่ื สารและนาํ ความร้เู รื่องการทํางานของระบบขับถ่ายไปใชใ้ นชีวิตประจําวนั ได้ (P)

4. การวัดและการประเมนิ ผลการเรียนรู้

ดา้ นความรู้ (K) ดา้ นคณุ ธรรม จรยิ ธรรม และ ดา้ นทกั ษะ/กระบวนการ (P)
จติ วิทยาศาสตร์ (A)
1. ประเมินทักษะ/กระบวนการ
1. ซกั ถามความรู้เร่ืองการทํางาน 1. ประเมินเจตคติทาง ทางวทิ ยาศาสตร์

ของระบบขับถ่าย วทิ ยาศาสตร์เป็นรายบุคคล 2. ประเมินทักษะการคดิ
3. ประเมินทักษะการแกป้ ัญหา
2. ประเมนิ กิจกรรมฝึกทักษะ 2. ประเมนิ เจตคติตอ่ วทิ ยาศาสตร์ 4. ประเมนิ พฤติกรรมในการ

ระหวา่ งเรยี น เป็นรายบุคคล ปฏบิ ัตกิ ิจกรรมเป็นรายบุคคล
หรือรายกลุม่


โรงเรยี นบา้ นเปาู

5. สาระการเรียนรู้
ระบบขับถา่ ย

6. แนวทางการบูรณาการ สนทนา พูดคยุ หรือเล่าประสบการณ์เกีย่ วกบั การทาํ งานของระบบขบั ถ่าย
ภาษาไทย พดู คยุ ถึงการดูแลระบบขบั ถา่ ยให้อย่ใู นเกณฑ์ปกติสมํา่ เสมอ
สขุ ศกึ ษาและพลศึกษา ฟัง พดู อ่าน และเขยี นคาํ ศัพทภ์ าษาต่างประเทศเก่ียวกับการทาํ งานของ
ภาษาต่างประเทศ ระบบขบั ถา่ ยทเ่ี รียนรหู้ รือทนี่ ักเรยี นสนใจ

7. กระบวนการจดั การเรยี นรู้
ขน้ั นาเข้าส่บู ทเรียน

1) ครถู ามคําถามนักเรียน เพื่อทบทวนความรเู้ ดมิ ของนักเรียน เชน่
- การเผาผลาญอาหารทาํ ให้เกดิ ของเสยี ใด (แนวคําตอบ แกส๊ คารบ์ อนไดออกไซด)์
- ของเสยี ท่เี กิดข้นึ ถกู กําจัดออกจากร่างกายทางใด (แนวคําตอบ ปอด)

2) นกั เรียนชว่ ยกันอภิปรายและแสดงความคดิ เหน็ ของคาํ ตอบจากคาํ ถามข้างตน้
ขั้นจดั กจิ กรรมการเรียนรู้

จดั กิจกรรมการเรยี นรูโ้ ดยใช้กระบวนการสบื เสาะหาความรู้รว่ มกับแบบกลบั ด้านช้ันเรียน ซึ่งมีขน้ั ตอน
ดงั นี้
1) ข้นั สร้างความสนใจ

(1) ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนแล้วเปิดโอกาสให้นักเรียนในกลุ่มนําเสนอข้อมูลเกี่ยวกับระบบขับถ่าย ที่ครู
มอบหมายให้ไปเรียนรู้ล่วงหน้าให้เพื่อนๆ ในกลุ่มฟัง จากนั้นให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนมานําเสนอข้อมูลหน้า
หอ้ งเรยี น

(2) ครูตรวจสอบว่านักเรียนทําภาระงานที่ได้รับมอบหมายไปหรือไม่ โดยตรวจสอบจากการจดบันทึก
ของนกั เรยี น และถามคาํ ถามเกย่ี วกับภาระงาน ดงั น้ี

- ร่างกายขับของเสียออกทางใดบ้าง (แนวคําตอบ ปัสสาวะ อุจจาระ เหง่ือ และลมหายใจ
ออก)

- ระบบขบั ถา่ ยทําหนา้ ที่อะไร (แนวคาํ ตอบ กําจดั ของเสียออกจากร่างกาย)
(3) ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนตั้งประเด็นคําถามท่ีนักเรียนสงสัยจากการทําภาระงานอย่างน้อยคนละ
1 คาํ ถาม ซ่ึงครูใหน้ ักเรยี นเตรยี มมาลว่ งหนา้ และใหน้ กั เรียนช่วยกนั ตอบและแสดงความคิดเห็น
(4) ครแู ละนกั เรยี นรว่ มกนั สรปุ เกย่ี วกับภาระงาน โดยครชู ว่ ยอธิบายให้นักเรียนเข้าใจว่า ระบบขับถ่าย
ทําหน้าท่ีกําจัดของเสยี ออกจากร่างกาย
2) ขั้นสารวจและคน้ หา


โรงเรยี นบ้านเปาู

(1) ให้นักเรียนศึกษาการทํางานของระบบขับถ่ายจากใบความรู้หรือในหนังสือเรียน โดยครูตั้งคําถาม
กระตุ้นให้นกั เรียนตอบดงั นี้

- ของเสียท่ีถูกกําจัดออกนอกร่างกายทางไตคืออะไร
- ปอดกําจดั แก๊สชนดิ ใดออกนอกรา่ งกายพรอ้ มกบั ลมหายใจออกของเรา
- แก๊สทีถ่ กู ปอดกาํ จดั ออกนอกร่างกายพรอ้ มกับลมหายใจออกของเราคืออะไร
- ถา้ ระบบขบั ถ่ายเกิดความผิดปกตจิ ะสง่ ผลกระทบต่อรา่ งกายในเรอื่ งใด
(2) นกั เรยี นรว่ มกันตอบคาํ ถามตามความคดิ เหน็ ของแตล่ ะคน
(3) นักเรียนแบ่งกลุ่มและปฏิบัตกิ ิจกรรม สังเกตสิง่ ท่ีอยู่ในลมหายใจ ตามขัน้ ตอนทาง
วิทยาศาสตร์ โดยใชท้ ักษะ/กระบวนการสังเกตดงั น้ี
- ใส่นํา้ ปูนใสลงในบีกเกอร์ แล้วสงั เกตลักษณะของนาํ้ ปนู ใสท่อี ยู่ในบกี เกอร์ก่อนเปุาลม บันทึก
สิ่งทสี่ งั เกตได้
- เปาุ ลมจากปากผ่านหลอดกาแฟลงไปในนํา้ ปูนใส สงั เกตลักษณะของน้ําปูนใส บันทึกผลแล้ว
สรุปผลการสงั เกต
(4) นกั เรยี นและครรู ว่ มกนั ตรวจสอบความถูกตอ้ งของข้อมูลท่ไี ดจ้ ากใบกิจกรรม
(5) ครูคอยแนะนําชว่ ยเหลือนักเรียนขณะปฏิบัติกิจกรรม โดยครูเดินดูรอบๆ ห้องเรียนและเปิดโอกาส
ให้นักเรียนทกุ คนซักถามเม่ือมีปัญหา
3) ข้ันอธบิ ายและลงข้อสรปุ
(1) นกั เรียนแต่ละกล่มุ ส่งตัวแทนกลุ่มนําเสนอข้อมูลการปฏบิ ัตกิ จิ กรรมหน้าชั้นเรยี น
(2) นักเรยี นและครรู ่วมกนั อภปิ รายและหาข้อสรปุ จากการปฏิบัติกิจกรรม โดยใชแ้ นวคาํ ถามต่อไปน้ี
- เม่ือเปุาลมหายใจลงนํ้าปูนใสจะเกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะใด เพราะอะไร (แนวคําตอบ
นํ้าปนู ใสจะขุ่น เพราะในลมหายใจออกมีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์)
- นักเรียนคิดว่านอกจากแก๊สคารบ์ อนไดออกไซด์แล้วในลมหายใจออกยังมีอะไรอีกบ้าง (แนว
คาํ ตอบ ไอนํ้า)
(3) นักเรียนและครูร่วมกันสรุปผลจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยให้ได้ข้อสรุปว่า เมื่อเปุาลมลงในนํ้าปูน
ใส นาํ้ ปนู ใสจะขุ่น แสดงวา่ ลมหายใจออกของเรามีแก๊สคารบ์ อนไดออกไซดอ์ ยู่ดว้ ย
4) ขน้ั ขยายความรู้
(1) ครูช้ีแนะและอธิบายให้นักเรียนเข้าใจว่า การดื่มน้ําในปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการของ
ร่างกายและการรับประทานผักผลไม้เป็นประจําเพ่ือทําให้ระบบขับถ่ายทํางานได้อย่างปกติเป็นเร่ืองท่ีสําคัญ
เพราะจะทาํ ใหเ้ ราไม่เป็นโรคเกี่ยวกบั ระบบขับถ่าย เชน่ ทอ้ งผูก หรือกระเพาะปัสสาวะอกั เสบ
(2) นักเรียนค้นคว้ารายละเอียดเพ่ิมเติมเกี่ยวกับการทํางานของระบบขับถ่ายจากแหล่งความรู้ต่างๆ
เช่น หนังสอื วารสารวิทยาศาสตร์ และอนิ เทอรเ์ นต็ แล้วสรปุ เป็นรายงานส่งครู


โรงเรยี นบ้านเปูา

(3) นักเรียนค้นคว้ารายละเอียดและคําศัพท์ภาษาต่างประเทศเก่ียวกับการทํางานของระบบขับถ่าย
จากหนังสอื เรียนภาษาตา่ งประเทศและอนิ เทอร์เน็ต

5) ขนั้ ประเมนิ
(1) ครูให้นักเรียนแต่ละคนพิจารณาว่าจากหัวข้อท่ีเรียนมาและการปฏิบัติกิจกรรม มีจุดใดบ้างที่ยังไม่

เขา้ ใจหรอื ยังมขี ้อสงสยั ถ้ามคี รชู ่วยอธิบายเพ่มิ เติมให้นักเรียนเข้าใจ
(2) นักเรียนร่วมกันประเมินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มว่ามีปัญหาหรืออุปสรรคใด และได้มีการแก้ไข

อย่างไรบ้าง
(3) ครูและนักเรยี นร่วมกันแสดงความคดิ เห็นเกยี่ วกับประโยชน์ท่ไี ดร้ ับจากการปฏิบัติกิจกรรมและการ

นําความรูท้ ีไ่ ด้ไปใชป้ ระโยชน์
(4) ครูทดสอบความเขา้ ใจของนกั เรยี นโดยการใหต้ อบคาํ ถาม เชน่
- ขณะออกกาํ ลงั กาย ระบบหายใจ ระบบหมนุ เวยี นเลือด และระบบขับถ่ายจะทํางานสัมพันธ์

กนั หรือไม่ ในลักษณะใด
- อธบิ ายการกําจดั ของเสียออกนอกร่างกายของอวัยวะขับถ่ายแต่ละส่วน ได้แก่ ไต ลําไสใ้ หญ่

ผวิ หนงั และปอด
ข้ันสรุป

(1) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับระบบขับถ่าย โดยร่วมกันเขียนเป็นแผนที่ความคิดหรือผังมโน
ทัศน์

(2) ครูมอบหมายให้นักเรียนไปศึกษาค้นคว้าเน้ือหาของบทเรียนชั่วโมงหน้า เพ่ือจัดการเรียนรู้คร้ัง
ตอ่ ไป โดยใหน้ ักเรยี นศึกษาค้นควา้ ล่วงหน้าในหัวข้อกราฟการเจริญเติบโต โดยใช้ใบงาน สังเกตก่อนเรียน 1 ท่ี
ครูจัดเตรียมไว้ให้ประกอบการศึกษาค้นคว้า (3) ครูอธิบายขั้นตอนการปฏิบัติกิจกรรมและมอบหมายให้
นักเรียนไปปฏิบัติกิจกรรมท่ีบ้าน พร้อมท้ังให้นักเรียนเตรียมประเด็นคําถามท่ีสงสัยมาอย่างน้อยคนละ
1 คาํ ถาม เพื่อนํามาอภิปรายรว่ มกันในช้นั เรียนครัง้ ตอ่ ไป

8. กจิ กรรมเสนอแนะ
นักเรียนฝึกสังเกตการกําจัดของเสียออกจากร่างกายของตนเองว่าเป็นปกติหรือไม่ เช่น ใน 1 วัน

นกั เรยี นปสั สาวะบอ่ ยหรอื ไม่ หรือมอี าการท้องผกู หรือไม่ นําขอ้ มลู ท่ีสังเกตได้มาอภิปรายร่วมกันในช้ันเรียนเพื่อ
หาสาเหตขุ องปัญหาและวิธกี ารแก้ปญั หาร่วมกัน

9. สอ่ื /แหลง่ การเรยี นรู้
1. ใบกิจกรรมที่ 4 สงั เกตส่งิ ที่อย่ใู นลมหายใจ
2. ใบงานสังเกตก่อนเรียน 1


โรงเรียนบ้านเปูา

3. ค่มู อื การสอน วทิ ยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
4. ส่ือการเรียนรู้ PowerPoint รายวิชาพ้ืนฐาน วิทยาศาสตร์ ชนั้ ประถมศึกษาปีท่ี 6
5. แบบฝกึ ทักษะ รายวิชาพืน้ ฐาน วทิ ยาศาสตร์ ช้นั ประถมศกึ ษาปีที่ 6
6. หนงั สอื เรยี น รายวชิ าพื้นฐาน วทิ ยาศาสตร์ ชัน้ ประถมศึกษาปีท่ี 6

10. บันทึกหลงั การจัดการเรียนรู้
ความคดิ เห็น/ข้อเสนอแนะ
............................................................................................................................. .................................................
..............................................................................................................................................................................
............................................................................................................................. .................................................

(ลงชอ่ื )..............................................
(นายธนิตย์ พระสนุ ิน)

ผอู้ ํานวยการโรงเรยี นเค็งใหญ่หนองงเู หลือม
รกั ษาการในตาํ แหนง่ ผอู้ ํานวยการโรงเรียนบา้ นเปูา

บนั ทึกหลงั การสอน
............................................................................................................................. .................................................
............................................................................................................................. .................................................
.................................................................................................................................................................... ..........

ปัญหา/อปุ สรรค
........................................................................................................ ......................................................................
............................................................................................................................. .................................................

ข้อเสนอแนะ
............................................................................................................................. .................................................
..............................................................................................................................................................................

(ลงชือ่ )..............................................
(นางสาววมิ ลรัตน์ ประทีปะเสน)
ครูผู้ชว่ ย


โรงเรียนบา้ นเปูา

แผนการจดั การเรียนรทู้ ่ี 6

รายวิชาวิทยาศาสตร์ (ว16101) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

หนว่ ยการเรยี นรทู้ ี่ 1 รา่ งกายของเรา เวลาเรยี น 12 ชั่วโมง

เร่อื ง การเจรญิ เติบโตและพัฒนาการ เวลาจํานวน 2 ช่ัวโมง

**********************************************************************************

1. สาระสาคญั

การเจริญเติบโตของมนุษย์เป็นการเปล่ียนแปลงสภาพของร่างกาย การเจริญเติบโตหลังคลอดจาก

ครรภ์มารดาที่เห็นได้ชัดเจนคือการเพ่ิมความสูงและมวลของร่างกาย ซ่ึงการเจริญเติบโตของเพศชายและเพศ

หญิงวัยต่าง ๆ จะมีความแตกต่างกัน พัฒนาการของมนุษย์จะเร่ิมต้ังแต่ปฏิสนธิ วัยทารก วัยเด็ก วัยรุ่น วัย

ผ้ใู หญ่ และวัยสูงอายุ การรับประทานอาหารทีถ่ กู หลักโภชนาการ ออกกาํ ลงั กายอยู่เสมอ และ ไม่เสพส่ิงเสพติด

จะทําใหร้ ่างกายแข็งแรงและเจรญิ เติบโตไดส้ ัดสว่ น มีพฒั นาการที่เหมาะสมกบั เพศ และวัย

2. ตัวชี้วัดชั้นปี
อธบิ ายการเจรญิ เตบิ โตของมนุษยจ์ ากวยั แรกเกิดจนถึงวัยผใู้ หญ่ (ว 1.1 ป. 6/1)

3. จดุ ประสงค์การเรียนรู้
1. อธบิ ายการเจรญิ เติบโตในแต่ละชว่ งวยั ได้ (K)
2. วดั และนาํ ข้อมลู จากการวดั มาเขียนเปน็ กราฟการเจรญิ เติบโตได้ (K)
3. มีความสนใจใฝุรหู้ รอื อยากรูอ้ ยากเหน็ (A)
4. พอใจในประสบการณก์ ารเรยี นรทู้ เ่ี กีย่ วกับวิทยาศาสตร์ (A)
5. ทํางานร่วมกบั ผ้อู ่นื อยา่ งสร้างสรรค์ (A)
6. ส่ือสารและนาํ ความรูเ้ ร่ืองการเจริญเติบโตและพัฒนาการไปใช้ในชีวิตประจําวนั ได้ (P)

4. การวัดและการประเมินผลการเรยี นรู้

ด้านความรู้ (K) ดา้ นคุณธรรม จริยธรรม และ ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)
จติ วิทยาศาสตร์ (A)
1. ประเมินทักษะ/กระบวนการทาง
1. ซักถามความรเู้ รื่องการ 1. ประเมนิ เจตคตทิ าง วิทยาศาสตร์

เจริญเตบิ โตและพัฒนาการ วิทยาศาสตรเ์ ป็นรายบุคคล 2. ประเมนิ ทักษะการคดิ
3. ประเมนิ ทักษะการแก้ปญั หา
2. ประเมินกจิ กรรมฝึกทกั ษะ 2. ประเมนิ เจตคติต่อ 4. ประเมินพฤติกรรมในการปฏิบตั ิ

ระหวา่ งเรยี น วทิ ยาศาสตรเ์ ปน็ รายบุคคล กจิ กรรมเป็นรายบุคคลหรอื รายกลุ่ม


โรงเรียนบา้ นเปูา

5. สาระการเรยี นรู้
1. การเจริญเติบโตและพัฒนาการ
2. กราฟการเจริญเติบโต

6. แนวทางการบูรณาการ สนทนา พูดคยุ หรือเลา่ ประสบการณ์เกยี่ วกบั การเจริญเตบิ โตและ
ภาษาไทย พัฒนาการ
วดั สว่ นสงู และช่ังนา้ํ หนกั โดยใชเ้ ครื่องมือวดั ทีเ่ หมาะสมและนาํ ข้อมูลท่ีได้มา
คณติ ศาสตร์ เขียนกราฟการเจริญเตบิ โตได้
ฟงั พูด อา่ น และเขยี นคําศัพท์ภาษาต่างประเทศเกีย่ วกับการเจริญเตบิ โต
ภาษาต่างประเทศ และพัฒนาการท่เี รียนรหู้ รือที่นกั เรยี นสนใจ

7. กระบวนการจัดการเรยี นรู้
ขั้นนาเข้าสูบ่ ทเรยี น

1) ครูนําภาพเด็กวัยแรกเกิด เด็กก่อนวัยเรียน เด็กวัยเรียน วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ และวัยสูงอายุมาให้
นกั เรียนดู แลว้ ตั้งคาํ ถามกระตนุ้ ให้นักเรยี นตอบดังนี้

- ถ้านักเรยี นนาํ รปู ถา่ ยสมยั กอ่ นของนกั เรียนมาสงั เกตดจู ะเหน็ การเปลย่ี นแปลงใดบา้ ง
- ปจั จัย/เกณฑ์ที่ใชพ้ จิ ารณาการเปล่ียนแปลงสภาพทางรา่ งกายมีอะไรบ้าง
2) นักเรียนร่วมกันตอบคําถามตามความคิดเห็นของแต่ละคน แล้วครูและนักเรียนร่วมกันอภิปราย
คําตอบ เพือ่ เชอื่ มโยงไปสู่การเรยี นรเู้ รอ่ื ง กราฟการเจรญิ เติบโต
ข้นั จดั กิจกรรมการเรียนรู้
จัดกิจกรรมการเรยี นร้โู ดยใชก้ ระบวนการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแบบกลับด้านชั้นเรียน ซ่ึงมีข้ันตอน
ดังน้ี
1) ขน้ั สรา้ งความสนใจ
(1) ครูให้นักเรียนนําใบงาน สังเกตก่อนเรียน 1 ที่ครูมอบหมายให้ไปเรียนรู้ล่วงหน้าท่ีบ้านมาอภิปราย
รว่ มกันในชน้ั เรียน
(2) ครูตรวจสอบว่านักเรียนทํากิจกรรมท่ีได้รับมอบหมายไปหรือไม่ โดยตรวจสอบจากการจดบันทึก
ของนักเรยี น และถามคําถามเกยี่ วกับกิจกรรม ดงั น้ี
- กราฟการเจรญิ เติบโตของนักเรียนมีลักษณะใด (แนวคําตอบ ลกั ษณะคลา้ ยตวั เอส)
- กราฟแสดงความสูงและน้ําหนักของนักเรียนมีลักษณะคล้ายกันหรือไม่ ลักษณะใด (แนว
คําตอบ คล้ายกนั คือ บางช่วงเพิม่ ข้ึนอยา่ งรวดเรว็ และบางช่วงเพิ่มขึน้ เลก็ นอ้ ย)
(3) ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนต้ังประเด็นคําถามท่ีนักเรียนสงสัยจากการทํากิจกรรมอย่างน้อยคนละ
1 คําถาม ซ่ึงครูใหน้ ักเรียนเตรียมมาล่วงหน้า และให้นักเรยี นชว่ ยกันตอบและแสดงความคดิ เหน็


โรงเรยี นบา้ นเปาู

(4) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเก่ียวกับกิจกรรม สังเกตก่อนเรียน 1 โดยครูช่วยอธิบายให้นักเรียน
เขา้ ใจวา่ ความสงู และน้ําหนกั นาํ มาแสดงการเจรญิ เตบิ โตของร่างกายได้
2) ขัน้ สารวจและค้นหา

(1) ให้นักเรียนศึกษาเร่ืองการเจริญเติบโตและพัฒนาการจากใบความรู้หรือในหนังสือเรียนโดยครูตั้ง
คาํ ถามกระตุน้ ใหน้ กั เรยี นตอบดังนี้

- ข้อมลู ท่ใี ช้เขียนกราฟการเจรญิ เติบโตมีอะไรบ้าง
- กราฟการเจริญเติบโตแสดงความสัมพันธข์ องส่งิ ใด
- การศกึ ษากราฟการเจรญิ เติบโตจะทําให้เราร้เู ร่ืองใด
- การเจริญเตบิ โตและพัฒนาการของทารกในครรภ์มีลักษณะใด
(2) นกั เรียนรว่ มกันตอบคาํ ถามตามความคิดเห็นของแตล่ ะคน
(3) นักเรียนแบ่งกลุ่มและปฏิบัติกิจกรรม สังเกตการเจริญเติบโตของตนเอง ตามขั้นตอนทาง
วทิ ยาศาสตร์ โดยใชท้ กั ษะ/กระบวนการสังเกตดังนี้
- แบ่งนักเรียนกลมุ่ ละ 6 คน ใหเ้ ปน็ นกั เรียนชาย 3 คน นักเรยี นหญิง 3 คน
- สงั เกตการเจริญเตบิ โตโดยการวดั ความสงู ช่ังมวล และวัดความยาวของช่วงแขนและขาของ
เพือ่ นในกล่มุ
- บนั ทกึ ความสงู มวล ความยาวของช่วงแขนและขาของเพ่อื นที่สงั เกตได้ แลว้ สรปุ ผล
(4) นกั เรยี นและครรู ว่ มกันตรวจสอบความถูกต้องของขอ้ มลู ท่ไี ด้จากใบกจิ กรรม
(5) ครูคอยแนะนาํ ช่วยเหลือนกั เรียนขณะปฏิบัติกิจกรรม โดยครูเดินดูรอบๆ ห้องเรียนและเปิดโอกาส
ใหน้ ักเรียนทุกคนซักถามเม่อื มีปญั หา
3) ขัน้ อธบิ ายและลงขอ้ สรปุ
(1) นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตวั แทนกล่มุ นาํ เสนอขอ้ มูลจากการปฏบิ ัติกจิ กรรมหน้าช้ันเรยี น
(2) นักเรยี นและครรู ่วมกันอภิปรายและหาข้อสรุปจากการปฏิบัตกิ จิ กรรม โดยใช้แนวคาํ ถามต่อไปน้ี
- ขนาดร่างกายของนักเรียนที่วัดได้มีค่าเท่าใดบ้าง (แนวคําตอบ ความสูง 150 เซนติเมตร
นาํ้ หนัก 40 กิโลกรัม แขนยาว 60 เซนตเิ มตร และขายาว 85 เซนตเิ มตร)
- ขนาดรา่ งกายของนกั เรียนเมอ่ื เปรยี บเทียบกับเพอื่ น ๆ เหมอื นหรือแตกตา่ งกันอย่างไร (แนว
คําตอบ แตกต่างกนั ท้งั ความสูง มวล และความยาวแขนและขา)
(3) นักเรียนและครูร่วมกันสรุปผลจากการปฏิบัติกิจกรรมโดยให้ได้ข้อสรุปว่า การวัดการเจริญเติบโต
ของเพ่ือนแต่ละคนสามารถทําได้โดยการนําขอ้ มูลความสงู หรือน้ําหนกั ในแต่ละปที ่ีผา่ นมาเขียนเป็นกราฟ กราฟ
ที่ไดจ้ ะเรยี กวา่ กราฟการเจรญิ เติบโต
4) ขน้ั ขยายความรู้
(1) นกั เรียนคน้ ควา้ รายละเอียดเพิม่ เตมิ เกีย่ วกับการเจริญเติบโตและพัฒนาการจากแหล่งความรู้ต่างๆ
เช่น หนงั สอื วารสารวิทยาศาสตร์ และอินเทอรเ์ นต็ แลว้ สรปุ เปน็ รายงานส่งครู


โรงเรยี นบ้านเปูา

(2) นักเรียนนําข้อมูลส่วนสูงและน้ําหนักของตนเองขณะปัจจุบันและย้อนหลัง 1 - 2 ปี มาเขียนเป็น
กราฟการเจริญเติบโตของตนเอง นําเสนอข้อมูลหน้าชั้นเรียน ให้ครูและเพื่อนๆ ร่วมกันอภิปรายและ
เปรยี บเทยี บกับกราฟการเจรญิ เตบิ โตของเพอื่ นรว่ มกนั

(3) ครเู ชอื่ มโยงความรู้สู่อาเซียน โดยครูถามนักเรียนว่า รู้หรือไม่ว่า ในประชาคมอาเซียนประเทศใดท่ี
มีสัดส่วนของประชากรในวัยเด็กมากท่ีสุด และประเทศใดที่มีสัดส่วนของประชากรในวัยผู้สูงอายุมากท่ีสุ ด
(ประเทศที่มีสัดส่วนของประชากรวัยเด็กมากที่สุด คือ ลาว ส่วนประเทศที่มีสัดส่วนของประชากรในวัยสูงอายุ
มากทส่ี ุด คือ ไทย) จากนน้ั ครูให้ความรู้เพม่ิ เตมิ ดงั น้ี

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ทําการเปรียบเทียบจํานวนประชากรใน
ประชาคมอาเซียนในช่วงปี พ.ศ. 2555 พบว่า ลาว มีสัดส่วนของประชากรในวัยเด็กสูงสุดในอาเซียนคิดเป็น
ร้อยละ 38 ของประชากรท้ังหมด ส่วนไทยมีสัดส่วนประชากรวัยสูงอายุมากท่ีสุดในอาเซียนคิดเป็นร้อยละ 12
ของประชากรท้งั หมด เน่อื งจากประชากรเกิดใหม่ลดลง และกาํ ลังกา้ วเขา้ สกู่ ารเป็นประเทศผู้สูงอายุ

ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเพิ่มเติมว่า การท่ีประเทศลาวมีประชากรในวัยเด็กมาก และการที่
ประเทศไทยมีประชากรวยั สงู อายุมากจะส่งผลต่อการพฒั นาประเทศอย่างไรในอนาคต

(4) นักเรียนคน้ ควา้ รายละเอยี ดและคําศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับการเจริญเติบโตและพัฒนาการ
จากหนงั สือเรยี นภาษาตา่ งประเทศหรืออนิ เทอรเ์ น็ต
5) ขน้ั ประเมนิ

(1) ครูให้นักเรียนแต่ละคนพิจารณาว่าจากหัวข้อท่ีเรียนมาและการปฏิบัติกิจกรรม มีจุดใดบ้างที่ยังไม่
เข้าใจหรือยงั มขี อ้ สงสัย ถ้ามีครูชว่ ยอธิบายเพิ่มเตมิ ให้นกั เรยี นเขา้ ใจ

(2) นักเรียนร่วมกันประเมินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มว่ามีปัญหาหรืออุปสรรคใด และได้มีการแก้ไข
อย่างไรบ้าง

(3) ครูและนกั เรียนร่วมกนั แสดงความคดิ เหน็ เกี่ยวกับประโยชน์ท่ไี ด้รับจากการปฏิบัติกิจกรรมและการ
นําความรู้ทีไ่ ด้ไปใชป้ ระโยชน์

(4) ครูทดสอบความเขา้ ใจของนักเรียนโดยการใหต้ อบคาํ ถาม เช่น
- การเจรญิ เติบโตของร่างกายใชค้ า่ ใดเปน็ มาตรฐาน
- วัยใดมกี ารเปล่ยี นแปลงลักษณะภายนอกมาก
- กราฟการเจริญเติบโตอธบิ ายขอ้ มูลและแนวโนม้ การเปล่ยี นแปลงขนาดของร่างกายมนุษยไ์ ด้

หรอื ไม่ เพราะอะไร
ขน้ั สรุป

1) ครูและนกั เรียนรว่ มกันสรุปเกยี่ วกับกราฟการเจริญเติบโต โดยร่วมกันเขียนเป็นแผนท่ีความคิดหรือ
ผังมโนทัศน์


โรงเรยี นบา้ นเปูา

2) ครมู อบหมายให้นกั เรียนไปศึกษาคน้ คว้าเน้ือหาของบทเรียนชัว่ โมงหน้า เพื่อจัดการเรียนรู้คร้ังต่อไป
โดยให้นกั เรยี นศึกษาค้นคว้าล่วงหน้าในหัวข้อสารอาหารในอาหารหลัก โดยใช้ใบงาน สํารวจก่อนเรียน 2 ท่ีครู
จัดเตรยี มไว้ให้ประกอบการศึกษาคน้ คว้า (ในส่ือการเรียนรู้ PowerPoint วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6)

3) ครอู ธิบายขั้นตอนการปฏิบตั กิ ิจกรรมและมอบหมายให้นักเรยี นไปปฏบิ ตั ิกิจกรรมที่บ้าน พร้อมท้ังให้
นักเรียนเตรียมประเด็นคําถามท่ีสงสัยมาอย่างน้อยคนละ 1 คําถาม เพ่ือนํามาอภิปรายร่วมกันในชั้นเรียนคร้ัง
ตอ่ ไป

8. กิจกรรมเสนอแนะ
(1) นักเรียนสืบค้นข้อมูลเร่ืองพัฒนาการของมนุษย์ในแต่ละวัยจากหนังสือ วารสารวิทยาศาสตร์และ

อนิ เทอร์เน็ต จัดทําเปน็ รายงานส่งครู
(2) นักเรียนฝึกสังเกตการเจริญเติบโตของตนเองและคนในครอบครัวของตนเองว่ามีการเจริญเติบโต

และพัฒนาการเหมาะสมกับวัยหรือไม่ ถ้ามีการเจริญเติบโตและพัฒนาการไม่เหมาะสมกับวัยให้นักเรียนหา
สาเหตุของปญั หาดังกลา่ ว

9. สอ่ื /แหลง่ การเรียนรู้
1. ภาพเด็กวยั แรกเกิด เด็กกอ่ นวยั เรยี น เด็กวยั เรียน วยั รุ่น วัยผใู้ หญ่ และวยั สงู อายุ
2. ใบงานสงั เกตก่อนเรยี น 1
3. ใบกจิ กรรมที่ 5 สังเกตการเจรญิ เติบโตของตนเอง
4. ใบงานสํารวจกอ่ นเรยี น 2
5. คู่มอื การสอน วิทยาศาสตร์ ช้นั ประถมศึกษาปีที่ 6
6. สอ่ื การเรยี นรู้ PowerPoint รายวิชาพืน้ ฐาน วทิ ยาศาสตร์ ชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 6
7. แบบฝกึ ทักษะ รายวชิ าพ้นื ฐาน วิทยาศาสตร์ ช้นั ประถมศึกษาปีท่ี 6
8. หนงั สอื เรยี น รายวิชาพืน้ ฐาน วทิ ยาศาสตร์ ช้นั ประถมศึกษาปีที่ 6


โรงเรียนบ้านเปาู

10. บันทึกหลงั การจดั การเรียนรู้
ความคิดเหน็ /ข้อเสนอแนะ
............................................................................................................................. .................................................
..............................................................................................................................................................................
............................................................................................................................. .................................................

(ลงชอื่ )..............................................
(นายธนติ ย์ พระสนุ นิ )

ผู้อาํ นวยการโรงเรยี นเค็งใหญ่หนองงูเหลือม
รักษาการในตาํ แหน่ง ผ้อู าํ นวยการโรงเรียนบา้ นเปาู

บนั ทึกหลังการสอน
............................................................................................................................. .................................................
............................................................................................................................. .................................................
............................................................................................................................. .................................................

ปญั หา/อุปสรรค
..............................................................................................................................................................................
............................................................................................................................. .................................................
............................................................................................................................. .................................................

ข้อเสนอแนะ
.................................................................................................................................................................. ............
..................................................................................................................... .........................................................
............................................................................................................................. .................................................

(ลงช่อื )..............................................
(นางสาววิมลรตั น์ ประทีปะเสน)
ครูผู้ชว่ ย


โรงเรยี นบ้านเปาู

แผนการจดั การเรยี นร้ทู ี่ 7

รายวิชาวทิ ยาศาสตร์ (ว16101) ช้นั ประถมศกึ ษาปีที่ 6

หนว่ ยการเรยี นร้ทู ่ี 1 ร่างกายของเรา เวลาเรียน 12 ช่วั โมง

เรื่อง อาหารหลัก 5 หมู่ และสารอาหารในอาหารหลัก 5 หมู่ เวลาจํานวน 2 ชว่ั โมง

**********************************************************************************

1. สาระสาคัญ

อาหารเป็นปจั จยั สําคัญสําหรับการดาํ รงชวี ิตของมนษุ ย์ อาหารแบง่ เป็น 5 หมู่ ได้แก่ เนื้อสัตว์ แปูง ผัก

ผลไม้ และไขมัน อาหารหลกั ทงั้ 5 หมู่มีสารอาหารท่ีเป็นองค์ประกอบของอาหาร ได้แก่ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต

ไขมัน เกลือแร่ และวิตามิน โดยสารอาหารท่ีให้พลังงาน ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน ส่วน

สารอาหารทีไ่ มใ่ ห้พลังงานแก่รา่ งกาย ได้แก่ เกลือแร่และวิตามิน เราควรเลือกรับประทานให้ได้สารอาหารครบ

ทกุ หมู่

2. ตัวชี้วัดชั้นปี
วเิ คราะหส์ ารอาหารและอภิปรายความจําเป็นทร่ี ่างกายต้องได้รับสารอาหารในสัดส่วนท่เี หมาะสมกับ

เพศและวัย (ว 1.1 ป. 6/3)

3. จดุ ประสงคก์ ารเรียนรู้
1. ระบุช่ือและประเภทของอาหารหลกั 5 หมทู่ รี่ บั ประทานในชีวิตประจาํ วนั ได้ (K)
2. มีความสนใจใฝุรหู้ รอื อยากรอู้ ยากเหน็ (A)
3. พอใจในประสบการณก์ ารเรยี นรทู้ เี่ ก่ียวกบั วทิ ยาศาสตร์ (A)
4. ทาํ งานร่วมกบั ผอู้ ืน่ อยา่ งสร้างสรรค์ (A)
5. สื่อสารและนําความรู้เร่ืองอาหารหลัก 5 หมู่ และสารอาหารในอาหารหลัก 5 หมู่ไปใช้ใน

ชวี ติ ประจําวัน (P)

4. การวดั และการประเมินผลการเรยี นรู้

ด้านความรู้ (K) ดา้ นคณุ ธรรม จริยธรรม และ ดา้ นทักษะ/กระบวนการ (P)
จิตวิทยาศาสตร์ (A)
1. ประเมนิ ทักษะ/กระบวนการทาง
1. ซกั ถามความรเู้ ร่ืองอาหารหลัก 1. ประเมนิ เจตคติทาง วทิ ยาศาสตร์

5 หมู่ และสารอาหารในอาหาร วทิ ยาศาสตรเ์ ปน็ รายบคุ คล 2. ประเมนิ ทกั ษะการคดิ
3. ประเมินทกั ษะการแกป้ ญั หา
หลกั 5 หมู่ 2. ประเมนิ เจตคตติ อ่
4. ประเมนิ พฤตกิ รรมในการปฏบิ ตั กิ จิ กรรม
2. ประเมินกิจกรรมฝึกทักษะ วิทยาศาสตรเ์ ป็นรายบคุ คล
เปน็ รายบุคคล
ระหว่างเรยี น


โรงเรยี นบา้ นเปาู

5. สาระการเรยี นรู้
สารอาหารในอาหารหลัก

6. แนวทางการบรู ณาการ สนทนา พดู คยุ หรือเล่าประสบการณเ์ กย่ี วกบั อาหารหลัก 5 หมูแ่ ละ
ภาษาไทย สารอาหารในอาหารหลกั 5 หมู่
ปฏิบัติตนตามสุขบญั ญัตเิ กยี่ วกับการรบั ประทานอาหาร
สขุ ศึกษาและพลศึกษา ฟัง พูด อา่ น และเขยี นคาํ ศพั ท์ภาษาตา่ งประเทศเกีย่ วกบั อาหารหลัก 5 หมู่
ภาษาต่างประเทศ และสารอาหารในอาหารหลัก 5 หมู่ท่ีเรียนรู้หรือทีน่ ักเรยี นสนใจ

7. กระบวนการจดั การเรียนรู้
ขัน้ นาเข้าสู่บทเรียน

1) ครูนาํ ภาพอาหารตา่ งๆ ใหน้ กั เรยี นดู และร่วมกนั อภิปรายเกี่ยวกบั คุณค่าของอาหารตามความรู้และ
ประสบการณ์ของนกั เรยี นเอง โดยครูตัง้ คาํ ถามกระตนุ้ ดงั น้ี

- อาหารในรปู ประกอบด้วยอาหารหลกั หม่ใู ดบา้ ง
- เพราะเหตุใดเราจึงตอ้ งรับประทานอาหาร
2) นักเรียนร่วมกันตอบคําถามตามความคิดเห็นของแต่ละคน แล้วครูและนักเรียนร่วมกันอภิปราย
คําตอบ เพอ่ื เชื่อมโยงไปสกู่ ารเรยี นรเู้ รื่อง สารอาหารในอาหารหลัก
ขัน้ จดั กิจกรรมการเรยี นรู้
จัดกจิ กรรมการเรยี นรู้โดยใชก้ ระบวนการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแบบกลับด้านชั้นเรียน ซึ่งมีข้ันตอน
ดังนี้
1) ขั้นสรา้ งความสนใจ
(1) ครใู ห้นักเรียนนําใบงาน สํารวจก่อนเรียน 2 ท่ีครูมอบหมายให้ไปเรียนรู้ล่วงหน้าท่ีบ้านมาอภิปราย
รว่ มกนั ในชนั้ เรยี น
(2) ครูตรวจสอบว่านักเรียนทํากิจกรรมที่ได้รับมอบหมายไปหรือไม่ โดยตรวจสอบจากการจดบันทึก
ของนักเรียน และถามคําถามเกี่ยวกับกิจกรรม ดังน้ี
- นกั เรยี นได้รับสารอาหารใดบ้าง (แนวคาํ ตอบ คาร์โบไฮเดรต โปรตนี ไขมัน และวิตามิน)
- นักเรียนได้รบั สารอาหารใดมากทสี่ ุด (แนวคําตอบ คาร์โบไฮเดรต)
(3) ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนต้ังประเด็นคําถามที่นักเรียนสงสัยจากการทํากิจกรรมอย่างน้อยคนละ 1
คาํ ถาม ซ่ึงครใู หน้ ักเรยี นเตรยี มมาลว่ งหน้า และใหน้ กั เรียนช่วยกนั ตอบและแสดงความคดิ เหน็
(4) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเก่ียวกับกิจกรรม สํารวจก่อนเรียน 2 โดยครูช่วยอธิบายให้นักเรียน
เขา้ ใจว่า อาหารแต่ละชนดิ ประกอบด้วยสารอาหารทแี่ ตกตา่ งกัน
2) ขนั้ สารวจและค้นหา


โรงเรียนบา้ นเปาู

(1) นักเรียนและครรู ่วมกนั อภิปรายประเดน็ ทจ่ี ะศึกษา โดยอาจเลอื กใช้วิธดี งั นี้
- สังเกตตัวอยา่ งอาหารเก่ียวกับลกั ษณะ เคร่ืองปรงุ รสชาติ กลนิ่ และอน่ื ๆ
- ให้นักเรียนศึกษาอาหารหลัก 5 หมู่และสารอาหารในอาหารหลัก 5 หมู่ จากใบความรู้หรือ

ในหนังสือเรียน
(2) นักเรียนแบ่งกลุ่มและปฏิบัติ กิจกรรม สํารวจสารอาหารท่ีได้ในแต่ละวัน ตามข้ันตอนทาง

วทิ ยาศาสตร์ โดยใช้ทกั ษะ/กระบวนการสังเกตดงั น้ี
- นกั เรยี นสงั เกตอาหารเชา้ ทนี่ ักเรียนรับประทาน บันทกึ รายการอาหารและบันทึกว่าอาหารที่

รบั ประทานมสี ารอาหารใดบ้าง
- นักเรียนถามเพ่ือนอีก 4 คนในห้องว่า อาหารเช้าที่รับประทานคืออะไร และมีสารอาหาร

ใดบ้าง บนั ทึกผลทสี่ งั เกตได้ลงตาราง
- เปรียบเทยี บสารอาหารท่นี กั เรยี นและเพือ่ นไดร้ ับ

(3) นกั เรียนและครูรว่ มกนั ตรวจสอบความถูกตอ้ งของขอ้ มูลที่ได้จากใบกจิ กรรม
(4) ครูคอยแนะนาํ ชว่ ยเหลือนักเรยี นขณะปฏิบตั ิกิจกรรม โดยครูเดนิ ดรู อบ ๆ ห้องเรียนและเปิดโอกาส
ใหน้ ักเรียนทกุ คนซกั ถามเมือ่ มีปัญหา
3) ข้ันอธิบายและลงข้อสรุป
(1) นักเรยี นสง่ ตวั แทนกลุม่ นาํ เสนอข้อมูลการปฏิบัตกิ ิจกรรมหน้าชน้ั เรียน
(2) นักเรียนและครูรว่ มกันอภปิ รายและหาขอ้ สรปุ จากการปฏบิ ัติกจิ กรรม โดยใชแ้ นวคําถามต่อไปน้ี

- นักเรียนไดร้ ับสารอาหารครบถว้ นหรือไม่ (แนวคาํ ตอบ ไม่ครบถว้ น)
- นักเรียนจะแนะนําให้เพ่ือนรับประทานอาหารอะไรในม้ือเย็นเพื่อให้เพื่อนได้สารอาหาร
ครบถว้ น (แนวคําตอบ สลัดไก่อบ เพ่ือให้เพื่อนคนที่ 2 และ 4 ได้วิตามินและเกลือแร่จากผักและผลไม้ และให้
เพือ่ นคนที่ 3 ไดโ้ ปรตนี จากไกอ่ บ)
(3) นกั เรียนและครรู ว่ มกนั สรุปผลจากการปฏบิ ัติกิจกรรม โดยให้ได้ข้อสรุปว่า อาหารที่เพ่ือนแต่ละคน
รบั ประทานมีสารอาหารไมเ่ หมือนกัน
4) ข้นั ขยายความรู้
(1) นักเรียนและครูร่วมกันกําหนดแนวทางการนําความรู้ท่ีได้จากการปฏิบัติกิจกรรมไปใช้ประโยชน์
โดยรว่ มกันอภปิ รายแสดงความคิดเห็นตามประเดน็ ตอ่ ไปน้ี
- อาหารจานโปรดของนกั เรียนมีสารอาหารครบหรอื ไม่
- เราจะสํารวจสารอาหารแตล่ ะชนดิ จากแหลง่ อาหารต่างๆ ได้อย่างไร
(2) นกั เรยี นคน้ ควา้ รายละเอยี ดเพิม่ เติมเกยี่ วกบั อาหารหลัก 5 หมู่และสารอาหารในอาหารหลัก 5 หมู่
จากแหล่งความรูต้ ่าง ๆ เชน่ หนงั สอื วารสารวิทยาศาสตร์ และอนิ เทอร์เน็ต แล้วสรุปเป็นรายงานส่งครู
(3) นกั เรียนค้นคว้ารายละเอียดและคําศัพท์ภาษาต่างประเทศเก่ยี วกับอาหารหลัก 5 หมู่ และ
สารอาหารในอาหารหลัก 5 หมู่ จากหนังสือเรียนภาษาตา่ งประเทศหรอื อินเทอรเ์ น็ต


โรงเรียนบา้ นเปาู

5) ข้นั ประเมนิ
(1) ครูให้นักเรียนแต่ละคนพิจารณาว่าจากหัวข้อที่เรียนมาและการปฏิบัติกิจกรรม มีจุดใดบ้างท่ียังไม่

เขา้ ใจหรือยังมีข้อสงสยั ถา้ มคี รูชว่ ยอธิบายเพม่ิ เติมใหน้ ักเรียนเข้าใจ
(2) นักเรียนร่วมกันประเมินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มว่ามีปัญหาหรืออุปสรรคใด และได้มีการแก้ไข

อยา่ งไรบา้ ง
(3) ครูและนกั เรยี นร่วมกนั แสดงความคดิ เหน็ เก่ียวกับประโยชน์ทไ่ี ด้รบั จากการปฏิบัติกิจกรรมและการ

นาํ ความรู้ทีไ่ ด้ไปใชป้ ระโยชน์
(4) ครทู ดสอบความเข้าใจของนกั เรยี นโดยการใหต้ อบคําถาม เชน่
- เพราะเหตใุ ดเราจงึ ต้องรับประทานอาหาร
- สารอาหารคืออะไร แบง่ เป็นกพ่ี วก อะไรบ้าง
- สารอาหารชนิดใดท่ีใหพ้ ลงั งานแก่รา่ งกาย และสารอาหารชนิดใดทไ่ี มใ่ ห้พลงั งานแกร่ ่างกาย

ข้นั สรปุ
(1) ครูและนกั เรียนร่วมกันสรุปเก่ียวกับสารอาหารในอาหารหลัก โดยร่วมกันเขียนเป็นแผนที่ความคิด

หรอื ผงั มโนทัศน์
(2) ครูมอบหมายให้นักเรียนไปศึกษาค้นคว้าเนื้อหาของบทเรียนชั่วโมงหน้า เพื่อจัดการเรียนรู้ครั้ง

ตอ่ ไป โดยให้นักเรียนศึกษาคน้ ควา้ ล่วงหนา้ ในหวั ข้อพลังงานจากสารอาหาร
(3) ครูให้นักเรียนเตรียมประเด็นคําถามที่สงสัยมาอย่างน้อยคนละ 1 คําถาม เพ่ือนํามาอภิปราย

ร่วมกนั ในชั้นเรียนครั้งต่อไป

8. กิจกรรมเสนอแนะ
นักเรียนฝึกวิเคราะห์และจําแนกหมู่อาหารที่เป็นองค์ประกอบอยู่ในอาหารท่ีเรารับประทานในแต่ละ

ม้อื

9. สอ่ื /แหล่งการเรยี นรู้
1. ภาพอาหารตา่ งๆ
2. ใบงานสํารวจกอ่ นเรียน 2
3. ใบกจิ กรรมท่ี 6 สาํ รวจสารอาหารท่ีได้ในแต่ละวัน
4. คู่มอื การสอน วทิ ยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีท่ี 6
5. สอื่ การเรียนรู้ PowerPoint รายวิชาพื้นฐาน วทิ ยาศาสตร์ ชน้ั ประถมศึกษาปีที่ 6
6. แบบฝึกทกั ษะ รายวิชาพื้นฐาน วทิ ยาศาสตร์ ชั้นประถมศกึ ษาปีที่ 6
7. หนังสอื เรียน รายวชิ าพืน้ ฐาน วิทยาศาสตร์ ชนั้ ประถมศกึ ษาปีท่ี 6 บรษิ ทั


โรงเรยี นบา้ นเปูา

10. บนั ทกึ หลังการจัดการเรียนรู้
ความคิดเหน็ /ข้อเสนอแนะ
............................................................................................................................. .................................................
..............................................................................................................................................................................
............................................................................................................................. .................................................

(ลงชอ่ื )..............................................
(นายธนิตย์ พระสนุ ิน)

ผ้อู าํ นวยการโรงเรียนเค็งใหญ่หนองงเู หลือม
รกั ษาการในตําแหนง่ ผู้อาํ นวยการโรงเรียนบา้ นเปูา

บันทึกหลังการสอน
............................................................................................................................. .................................................
............................................................................................................................. .................................................
............................................................................................................................. .................................................

ปัญหา/อุปสรรค
..............................................................................................................................................................................
............................................................................................................................. .................................................
............................................................................................................................. .................................................

ขอ้ เสนอแนะ
.................................................................................................................................................................. ............
..................................................................................................................... .........................................................
............................................................................................................................. .................................................

(ลงช่อื )..............................................
(นางสาววมิ ลรัตน์ ประทปี ะเสน)
ครูผู้ชว่ ย


โรงเรยี นบ้านเปาู

แผนการจัดการเรียนร้ทู ่ี 8

รายวชิ าวิทยาศาสตร์ (ว16101) ชัน้ ประถมศึกษาปที ี่ 6

หน่วยการเรยี นรทู้ ี่ 1 ร่างกายของเรา เวลาเรยี น 12 ชว่ั โมง

เร่อื ง พลงั งานจากสารอาหาร เวลาจํานวน 2 ชวั่ โมง

**********************************************************************************

1. สาระสาคญั

พลังงานเป็นส่ิงที่ทําให้ร่างกายสามารถทํางานหรือทํากิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจําวันได้พลังงานได้

จากสารอาหารทม่ี อี ย่ใู นอาหารหลัก 5 หมู่ อาหารแตล่ ะหมู่ให้พลังงานแตกต่างกัน บุคคล แต่ละเพศแต่ละวัย

ต้องการพลังงานแตกต่างกัน ดังนั้นเราจึงควรรับประทานอาหารให้พอเหมาะตามความต้องการพลังงานในแต่

ละวนั

2. ตวั ช้ีวดั ช้ันปี
วเิ คราะห์สารอาหารและอภิปรายความจําเป็นท่ีร่างกายต้องได้รับสารอาหารในสัดส่วนท่ีเหมาะสมกับ

เพศและวัย (ว 1.1 ป. 6/3)

3. จดุ ประสงคก์ ารเรยี นรู้
1. สํารวจและคาํ นวณพลงั งานท่ีรา่ งกายต้องการในแต่ละวัน (K)
2. มคี วามสนใจใฝุรูห้ รืออยากรูอ้ ยากเหน็ (A)
3. พอใจในประสบการณ์การเรยี นรู้ที่เกย่ี วกับวทิ ยาศาสตร์ (A)
4. ทํางานร่วมกับผูอ้ น่ื อย่างสร้างสรรค์ (A)
5. ส่อื สารและนาํ ความรู้เร่ืองพลงั งานจากสารอาหารไปใชใ้ นชวี ิตประจาํ วัน (P)

4. การวัดและการประเมนิ ผลการเรยี นรู้

ดา้ นความรู้ (K) ดา้ นคุณธรรม จริยธรรม และ ดา้ นทกั ษะ/กระบวนการ (P)
จติ วิทยาศาสตร์ (A)

1. ซกั ถามความรเู้ รื่องพลังงาน 1. ประเมนิ เจตคติทาง 1. ประเมินทักษะ/กระบวนการ

จากสารอาหาร วทิ ยาศาสตร์เปน็ รายบุคคล ทางวทิ ยาศาสตร์

2. ประเมนิ กิจกรรมฝึกทกั ษะ 2. ประเมินเจตคตติ ่อวทิ ยาศาสตร์ 2. ประเมินทักษะการคดิ

ระหว่างเรียน เปน็ รายบคุ คล 3. ประเมนิ ทักษะการแกป้ ญั หา

3. ทดสอบหลังเรยี น 4. ประเมนิ พฤติกรรมในการปฏบิ ัติ

กิจกรรมเปน็ รายบุคคลหรอื ราย

กล่มุ


โรงเรยี นบา้ นเปาู

5. สาระการเรียนรู้
1. พลงั งานจากสารอาหาร
2. การกนิ อาหารให้พอเหมาะกับเพศและวยั

6. แนวทางการบูรณาการ

ภาษาไทย สนทนา พูดคยุ หรือเลา่ ประสบการณ์ เกยี่ วกับพลังงานจากสารอาหารและ

การกนิ อาหารให้พอเหมาะกบั เพศและวยั

สขุ ศึกษาและพลศึกษา ปฏบิ ตั ิตนตามสขุ บัญญัตเิ ก่ียวกบั การรบั ประทานอาหาร

คณิตศาสตร์ คดิ คาํ นวณเปรยี บเทียบพลงั งานที่ร่างกายต้องการและพลงั งานท่ไี ดจ้ าก

สารอาหาร

สงั คมศึกษา ศาสนาและวฒั นธรรม

สนทนา พูดคยุ เกยี่ วกับหลกั เศรษฐกจิ พอเพยี งในการเลอื กรบั ประทาน

อาหารใหเ้ หมาะสมกบั เพศและวัยและการดําเนินชีวิต

ภาษาต่างประเทศ ฟัง พูด อา่ น และเขยี นคําศัพทภ์ าษาตา่ งประเทศเกยี่ วกบั พลงั งานจาก

สารอาหารที่เรียนรู้หรือท่นี ักเรียนสนใจ

7. กระบวนการจัดการเรียนรู้
ขนั้ นาเขา้ สู่บทเรียน

1) ครูนําภาพกิจกรรมต่างๆ ที่เราปฏิบัติในแต่ละวัน เช่น นั่งเขียนหนังสือ ถูพ้ืน ขุดดิน ว่ิงเล่นฟุตบอล
และว่ายน้ํา ให้นักเรียนดูแล้วร่วมกันอภิปรายเก่ียวกับการใช้พลังงานเพ่ือการปฏิบัติกิจกรรมเหล่านั้นตาม
ความรู้และประสบการณ์ของนักเรียนเอง โดยครูใช้คําถามกระตุน้ ให้นักเรียนตอบดังน้ี

- นักเรยี นทาํ กจิ กรรมอะไรบ้างในแต่ละวนั
- นกั เรยี นคดิ วา่ กจิ กรรมแตล่ ะอยา่ งท่ที ําใชพ้ ลงั งานเท่ากันหรือไม่
2) นักเรียนร่วมกันตอบคําถามตามความคิดเห็นของแต่ละคน แล้วครูและนักเรียนร่วมกันอภิปราย
คาํ ตอบ เพอื่ เช่อื มโยงไปสกู่ ารเรยี นรูเ้ รอื่ ง พลงั งานจากสารอาหาร
ข้นั จดั กจิ กรรมการเรียนรู้
จัดกจิ กรรมการเรยี นร้โู ดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแบบกลับด้านช้ันเรียน ซ่ึงมีข้ันตอน
ดงั นี้
1) ข้ันสร้างความสนใจ
(1) ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนแล้วเปิดโอกาสให้นักเรียนในกลุ่มนําเสนอข้อมูลเกี่ยวกับพลังงานจาก
สารอาหาร ท่ีครมู อบหมายให้ไปเรยี นร้ลู ว่ งหน้าใหเ้ พ่ือนๆ ในกลุม่ ฟงั จากนนั้ ให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนมานําเสนอ
ข้อมลู หน้าห้องเรียน


โรงเรียนบา้ นเปูา

(2) ครูตรวจสอบว่านักเรียนทําภาระงานที่ได้รับมอบหมายไปหรือไม่ โดยตรวจสอบจากการจดบันทึก
ของนักเรียน และถามคาํ ถามเกีย่ วกับภาระงาน ดังนี้

- โดยเฉล่ยี แล้ววยั ใดทีต่ ้องการพลงั งานจากสารอาหารมากทสี่ ดุ (แนวคําตอบ วยั ผใู้ หญ)่
- ปจั จยั ทม่ี ีผลต่อความต้องการพลังงานจากสารอาหารในแต่ละวันคืออะไร (แนวคําตอบ เพศ
วัย และกจิ กรรมท่ีทํา)
(3) ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนต้ังประเด็นคําถามที่นักเรียนสงสัยจากการทําภาระงานอย่างน้อยคนละ 1
คาํ ถาม ซ่งึ ครูใหน้ ักเรียนเตรยี มมาล่วงหน้า และให้นักเรียนช่วยกนั ตอบและแสดงความคดิ เหน็
(4) ครแู ละนักเรียนร่วมกันสรุปเก่ียวกับภาระงาน โดยครูช่วยอธิบายให้นักเรียนเข้าใจว่า เพศ วัย และ
กจิ กรรมท่ีแตกตา่ งกนั ทําใหแ้ ต่ละคนต้องการพลงั งานจากสารอาหารที่แตกตา่ งกนั
2) ขน้ั สารวจและค้นหา
(1) ให้นักเรียนศึกษาพลังงานจากสารอาหารจากใบความรู้หรือในหนังสือเรียน โดยครูต้ังคําถาม
กระตุน้ ใหน้ ักเรยี นตอบดังน้ี
- เดก็ และผู้ใหญ่ต้องการพลังงานแตกต่างกันหรือไม่ เพราะอะไร
- โภชนบญั ญตั ิ 9 ประการคอื อะไร
- รายการอาหารทีเ่ หมาะสมกับเพศและวยั ของนกั เรียนคอื อะไรบ้าง
(2) นักเรียนร่วมกันตอบคาํ ถามตามความคิดเห็นของแตล่ ะคน
(3) นักเรียนแบ่งกลุ่มและปฏิบัติกิจกรรม สังเกตพลังงานท่ีเหมาะสมซ่ึงได้รับจากสารอาหาร ตาม
ขน้ั ตอนทางวทิ ยาศาสตรโ์ ดยใช้ทักษะ/กระบวนการสงั เกตดงั นี้
- ใหน้ ักเรียนคดิ เมนอู าหารจานเดียว 3 อยา่ งทีต่ ้องรับประทานเป็นอาหารเช้า อาหารกลางวัน
และอาหารเยน็ แล้วสงั เกตพลังงานทน่ี กั เรียนจะได้รับจากการรับประทานอาหารดังกล่าวใน 1 วัน โดยคํานวณ
พลังงานที่ได้จากการเทียบพลังงานในตารางแสดงค่าพลังงานของอาหารจานเดียวที่อยู่ในภาคผนวกในหนังสือ
เรียน รายวิชาพน้ื ฐาน วิทยาศาสตร์ ป. 6
- บันทกึ ผลการสังเกตพลังงานท่นี กั เรียนได้รับ
- เปรยี บเทยี บและวเิ คราะห์พลงั งานท่นี กั เรยี นได้รบั จากการรบั ประทานอาหารท้ัง 3 อย่างกับ
เพื่อน
(4) นักเรียนและครูรว่ มกันตรวจสอบความถกู ต้องของขอ้ มูลทีไ่ ดจ้ ากใบกจิ กรรม
(5) ครคู อยแนะนาํ ชว่ ยเหลือนกั เรียนขณะปฏิบัติกิจกรรม โดยครูเดินดูรอบๆ ห้องเรียนและเปิดโอกาส
ใหน้ กั เรยี นทุกคนซกั ถามเมือ่ มปี ัญหา
3) ขนั้ อธบิ ายและลงข้อสรุป
(1) นกั เรียนนาํ เสนอผลการปฏบิ ัตกิ จิ กรรมหน้าช้นั เรยี น
(2) นักเรยี นและครรู ่วมกนั อภปิ รายและหาขอ้ สรปุ จากการปฏบิ ตั ิกิจกรรม โดยใชแ้ นวคําถามต่อไปนี้
- นกั เรียนได้รับพลังงานรวมเทา่ ไร (แนวคาํ ตอบ 1,728 กิโลแคลอรี)


โรงเรียนบา้ นเปาู

- พลังงานที่นักเรียนได้รับมากหรือน้อยกว่าพลังงานจากตารางความต้องการพลังงานที่ควร
ได้รบั ใน 1 วนั และมีคา่ ต่างกนั เท่าไร (แนวคําตอบ น้อยกว่า ถ้าเป็นเด็กผู้ชายอายุ 10-12 ปี ควรได้รับพลังงาน
ใน 1 วนั เท่ากบั 1,850 กิโลแคลอรี ทาํ ให้ไดร้ บั พลงั งานต่างกัน 122 กิโลแคลอร)ี

- นักเรียนจะปรับเปล่ียนรายการอาหารจานเดียวอย่างไร เพื่อให้ได้รับพลังงานที่พอเหมาะต่อ
ร่างกาย (แนวคาํ ตอบ เปลย่ี นข้าวหมแู ดงเปน็ ก๋วยเต๋ียวเสน้ ใหญผ่ ดั ซอี ว๊ิ หมใู ส่ไข่)

(3) นกั เรยี นและครูร่วมกันสรุปผลจากการปฏิบัติกิจกรรมโดยให้ได้ข้อสรุปว่า ความต้องการพลังงานท่ี
ควรได้รบั ใน 1 วนั ของคนไทยนั้น เปน็ พลังงานเฉล่ียของการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจําวันแต่ถ้านักเรียนต้อง
ออกกําลังกายหรือเล่นกีฬาซ่ึงต้องใช้พลังงานเพ่ิมขึ้นนักเรียนก็ควรปรับเปลี่ยนรายการอาหารเพ่ือให้ได้รับ
พลังงานเพยี งพอตอ่ ความตอ้ งการด้วย
4) ขนั้ ขยายความรู้

(1) แบ่งกลุ่มนกั เรยี นคดิ ค่าพลังงานจากการปฏิบตั ิกิจกรรม โดยครูอธบิ ายการคิดคา่ พลงั งานดงั นี้
- สืบคน้ ความรู้การใชพ้ ลงั งานในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ
- นําค่านํ้าหนักตัว (กิโลกรัม) × เวลาท่ีทํากิจกรรม (นาที) × พลังงาน (กิโลแคลอรี) จะได้ค่า

พลังงานที่ตอ้ งการ
- คิดพลังงานทั้งหมดท่ีต้องการใน 1 วัน = พลังงานท่ีต้องการ (กิโลแคลอรี) + พลังงานจาก

การปฏิบัติกิจกรรม (กโิ ลแคลอรี)
- ให้นักเรียนฝึกคิดคํานวณค่าพลังงานที่ต้องการในวันท่ีนักเรียนต้องออกกําลังกาย

เปรียบเทียบกับพลังงานทน่ี กั เรยี นได้รับวา่ เพยี งพอต่อความตอ้ งการหรือไม่
- นกั เรยี นร่วมกนั สรุปผลและนําเสนอผลการศึกษาคน้ คว้า
- ครูยกตัวอย่างอาหารและค่าพลังงานท่ีได้จากอาหารให้นักเรียนทราบประมาณ 4 -5

รายการ
(2) นักเรียนค้นคว้ารายละเอียดเพ่ิมเติมเก่ียวกับพลังงานจากสารอาหารจากแหล่งความรู้ต่างๆ เช่น

หนงั สือ วารสารวิทยาศาสตร์ และอนิ เทอรเ์ น็ต แลว้ สรุปเป็นรายงานสง่ ครู
(3) นักเรียนค้นคว้ารายละเอียดและคําศัพท์ภาษาต่างประเทศเก่ียวกับพลังงานจากสารอาหารจาก

หนังสือเรยี นภาษาตา่ งประเทศหรืออินเทอรเ์ นต็
5) ขัน้ ประเมิน

(1) ครูให้นักเรียนแต่ละคนพิจารณาว่าจากหัวข้อท่ีเรียนมาและการปฏิบัติกิจกรรม มีจุดใดบ้างท่ียังไม่
เข้าใจหรือยงั มขี ้อสงสัย ถา้ มีครูช่วยอธิบายเพิม่ เตมิ ให้นักเรยี นเขา้ ใจ

(2) นักเรียนร่วมกันประเมินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มว่ามีปัญหาหรืออุปสรรคใด และได้มีการแก้ไข
อย่างไรบา้ ง

(3) ครูและนกั เรยี นร่วมกันแสดงความคิดเหน็ เกี่ยวกบั ประโยชน์ทไ่ี ด้รับจากการปฏิบัติกิจกรรมและการ
นาํ ความร้ทู ไ่ี ด้ไปใช้ประโยชน์


โรงเรยี นบ้านเปูา

(4) ครูทดสอบความเขา้ ใจของนักเรียนโดยการให้ตอบคําถาม เช่น
- เพราะเหตุใดเราจึงต้องจัดรายการอาหารใหเ้ หมาะสมกับเพศและวัย
- ปริมาณความต้องการสารอาหารของแต่ละคนขึน้ อยกู่ ับส่ิงใด

ขั้นสรปุ
(1) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเก่ียวกับพลังงานจากสารอาหาร โดยร่วมกันเขียนเป็นแผนท่ีความคิด

หรอื ผงั มโนทัศน์
(2) ครูดําเนินการทดสอบหลังเรียน โดยให้นักเรียนทําแบบทดสอบหลังเรียนเพ่ือวัดความก้าวหน้า/

ผลสมั ฤทธ์ทิ างการเรยี น หน่วยการเรยี นรทู้ ่ี 1 ของนักเรยี น
(3) ครูเช่ือมโยงเนื้อหาจากบทเรียนนี้กับบทเรียนช่ัวโมงหน้า เพ่ือให้นักเรียนเตรียมความพร้อมในการ

เรียนชวั่ โมงต่อไป โดยการใช้คําถามกระต้นุ ดังนี้
- คนกินพืชและสัตว์เป็นอาหารเพ่ือให้ได้พลังงาน แล้วสัตว์ในธรรมชาติกินอะไรเพื่อให้ได้

พลงั งาน (แนวคาํ ตอบ กินพชื และสตั ว์ท่เี ปน็ เหยอ่ื )
(4) ครูมอบหมายให้นักเรียนไปศึกษาค้นคว้าเน้ือหาของบทเรียนช่ัวโมงหน้า เพ่ือจัดการเรียนรู้คร้ัง

ตอ่ ไป โดยให้นักเรียนศกึ ษาค้นควา้ ลว่ งหนา้ ในหัวข้อส่งิ แวดล้อม
(5) ครูให้นักเรียนเตรียมประเด็นคําถามท่ีสงสัยมาอย่างน้อยคนละ 1 คําถาม เพื่อนํามาอภิปราย

รว่ มกันในช้นั เรยี นครัง้ ต่อไป

8. กิจกรรมเสนอแนะ
1. นักเรียนสืบค้นข้อมูลเก่ียวกับค่าพลังงานจากสารอาหารของอาหารท่ีรับประทานในชีวิตประจําวัน

จากเอกสารของกองโภชนาการ กรมอนามยั กระทรวงสาธารณสุข รวมทงั้ ฝึกคํานวณค่าพลงั งานจากสารอาหาร
ทอ่ี ยใู่ นอาหารชนิดตา่ งๆ ด้วย

2. ครูเชื่อมโยงความรู้กับหลักเศรษฐกิจพอเพียง โดยแนะนํานักเรียนว่า นอกจากนักเรียนจะรู้จักการ
เลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสมกับเพศและวัยเพื่อให้ร่างกายเจริญเติบโตแล้ว นักเรียนต้องมีหลักในการ
ดําเนินชวี ติ ดว้ ย ครูให้ความรู้เพ่มิ เติมเกี่ยวกับการนาํ หลักสหกรณ์มาใช้ในการดาํ เนินชีวิต ดังน้ี

สหกรณ์ คือ กลุ่มบุคคล มีวัตถุประสงค์เพ่ือต้องการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจของสมาชิกด้วยวิธีการ
รวมกลุ่ม ช่วยเหลือตนเอง และช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการดํารงธุรกิจภายใต้อุดมการณ์สหกรณ์ ซ่ึงเป็น
เปูาหมายท่จี ะให้บคุ คลและสังคมอยู่ดีกินดีและมสี ันตสิ ุข

ปกติในชีวิตประจําวันคนเราจะต้องพบกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจพ้ืนฐานซึ่งมีลักษณะเป็นวงจร 5
ประการ ได้แก่ การผลิต การขาย การบริโภค การซื้อ และการเก็บออม การนําอุดมการณ์สหกรณ์มาใช้ใน
ชีวิตประจําวันของตนเอง สามารถนํามาใช้ในลักษณะที่มุ่งเน้นเพ่ือให้ช่วยตัวเองได้เป็นสําคัญ ซ่ึงลักษณะ
ดงั กล่าว ไดแ้ ก่


โรงเรียนบา้ นเปาู

1. ความขยัน เด็กในวัยเรียนต้องขยันศึกษาเล่าเรียน และทํางานที่ได้รับมอบหมายทั้งจากพ่อแม่
ผู้ปกครอง และจากครูท่ีโรงเรียนโดยไม่เกียจคร้าน และต้องรู้จักขวนขวายหาความรู้ที่เหมาะสมใส่ตัวอยู่เสมอ
ไมป่ ล่อยเวลาใหเ้ ปลา่ ประโยชน์

2. ประหยัดอดออม ปัจจุบันค่าครองชีพและค่าใช้จ่ายต่างๆ นับวันจะสูงขึ้นเรื่อยๆ เราต้องรู้จักใช้จ่าย
สิ่งของท่ีจําเป็นต่อการดํารงชีวิตจริงๆ ไม่ควรใช้จ่ายฟุมเฟือย สุรุ่ยสุร่าย ต้องรู้จักประหยัด ทั้งค่าใช้จ่าย และ
ประหยดั ทรัพยากรธรรมชาติ

3. การพัฒนาตนเอง โลกยุคใหม่มีความก้าวหน้ารวดเร็วมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศ ดังน้ัน
เด็กและเยาวชนจะต้องรู้จักใฝุหาความรู้อย่างต่อเนื่อง และรอบรู้ทันเหตุการณ์ ตลอดจนต้องรู้จักพัฒนาตนเอง
ใหเ้ ป็นคนทันสมัยภายใต้ความเปน็ ไทยอยเู่ สมอ

4. การหลีกเลี่ยงอบายมุข อบายมุขเป็นส่ิงไม่ดี เป็นเคร่ืองจํากัดความดีงาม เด็กและเยาวชนต้องมี
จิตใจมั่นคง เข้มแข็ง ไม่เข้าไปข้องแวะกับอบายมุขทั้งปวง เช่น ไม่เสพยาเสพติด ไม่เล่นการพนัน ไม่เที่ยว
กลางคืน ไม่คบคนช่ัวเป็นมิตร และไม่เกยี จครา้ นทํางาน

9. สอ่ื /แหลง่ การเรยี นรู้
1. ภาพกจิ กรรมตา่ ง ๆ เชน่ น่งั เขยี น หนังสือ ถู พ้ืน ขดุ ดนิ วิง่ ฯลฯ
2. ใบกิจกรรมท่ี 7 สังเกตพลังงานทีเ่ หมาะสมซึง่ ไดร้ บั จากสารอาหาร
3. แบบทดสอบหลงั เรียน
4. คมู่ อื การสอน วทิ ยาศาสตร์ ชนั้ ประถมศึกษาปีที่ 6
5. ส่อื การเรียนรู้ PowerPoint รายวิชาพืน้ ฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีท่ี 6
6. แบบฝึกทักษะ รายวิชาพืน้ ฐาน วทิ ยาศาสตร์ ชน้ั ประถมศกึ ษาปีที่ 6
7. หนงั สอื เรยี น รายวิชาพน้ื ฐาน วทิ ยาศาสตร์ ชน้ั ประถมศึกษาปีท่ี 6


โรงเรยี นบา้ นเปูา

10. บันทกึ หลังการจดั การเรยี นรู้
ความคิดเหน็ /ข้อเสนอแนะ
............................................................................................................................. .................................................
............................................................................................................................. .................................................
..............................................................................................................................................................................

(ลงช่ือ)..............................................
(นายธนิตย์ พระสนุ ิน)

ผูอ้ ํานวยการโรงเรยี นเค็งใหญห่ นองงเู หลอื ม
รักษาการในตําแหนง่ ผอู้ าํ นวยการโรงเรียนบา้ นเปูา

บนั ทกึ หลงั การสอน
............................................................................................................................. .................................................
............................................................................................................................. .................................................
............................................................................................................................. .................................................

ปญั หา/อปุ สรรค
..............................................................................................................................................................................
............................................................................................................................. .................................................
............................................................................................................................. .................................................

ขอ้ เสนอแนะ
.................................................................................................................................................................. ............
..................................................................................................................... .........................................................
............................................................................................................................. .................................................

(ลงช่อื )..............................................
(นางสาววิมลรตั น์ ประทีปะเสน)
ครูผู้ชว่ ย


โรงเรียนบ้านเปาู

แผนการจัดการเรยี นรทู้ ่ี 9

รายวชิ าวทิ ยาศาสตร์ (ว16101) ชัน้ ประถมศึกษาปที ี่ 6

หนว่ ยการเรียนรทู้ ่ี 2 ส่ิงมีชีวติ กับส่งิ แวดลอ้ ม เวลาเรยี น 12 ช่ัวโมง

เร่อื ง ส่งิ แวดลอ้ มและระบบนิเวศ เวลาจํานวน 1 ชั่วโมง

**********************************************************************************

1. สาระสาคญั

สง่ิ มีชวี ิตหลายๆ ชนิดทั้งพืชและสัตว์ที่อาศัยอยู่ร่วมกันในแหล่งที่อยู่หน่ึงๆ เรียกว่า ชุมนุมส่ิงมีชีวิต ซึ่ง

ชุมนุมส่ิงมีชีวิตในแหล่งที่อยู่หนึ่งจะมีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม เช่น เป็นท่ีอยู่อาศัยเป็นแหล่งอาหาร เมื่อ

ชุมนุมสิ่งมีชีวิตเหล่าน้ีอยู่ร่วมกับสิ่งไม่มีชีวิตและมีความสัมพันธ์กันทั้งทางตรงและทางอ้อมในพ้ืนที่หรือบริเวณ

ใดบริเวณหนง่ึ เรยี กว่า ระบบนิเวศ

2. ตัวช้ีวดั ชั้นปี
สํารวจและอภิปรายความสัมพนั ธข์ องกล่มุ สงิ่ มีชวี ิตในแหล่งทีอ่ ยู่ตา่ งๆ (ว 2.1 ป. 6/1)

3. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. ระบุและบง่ ชสี้ ่ิงมชี ีวิตในแต่ละแหลง่ ที่อยู่ได้ (K)
2. อธิบายความหมายของประชากร ชมุ นมุ สงิ่ มีชวี ิต แหลง่ ทีอ่ ยู่ และระบบนิเวศได้ (K)
3. มคี วามสนใจใฝรุ ูห้ รืออยากรอู้ ยากเห็น (A)
4. พอใจในประสบการณก์ ารเรียนรูท้ เี่ ก่ยี วกบั วทิ ยาศาสตร์ (A)
5. ทาํ งานร่วมกับผอู้ ื่นอยา่ งสร้างสรรค์ (A)
6. ส่อื สารและนําความรู้เรื่องส่ิงแวดล้อมและระบบนเิ วศไปใช้ในชวี ิตประจําวนั ได้ (P)

4. การวดั และการประเมินผลการเรยี นรู้

ดา้ นความรู้ (K) ด้านคณุ ธรรม จรยิ ธรรม และ ดา้ นทกั ษะ/กระบวนการ (P)
จติ วทิ ยาศาสตร์ (A)

1. ซักถามความรูเ้ รื่องสงิ่ แวดล้อม 1. ประเมนิ เจตคติทาง 1. ประเมนิ ทักษะ/กระบวนการ

และระบบนิเวศ วิทยาศาสตรเ์ ปน็ รายบุคคล ทางวทิ ยาศาสตร์

2. ประเมินกจิ กรรมฝกึ ทกั ษะ 2. ประเมินเจตคตติ อ่ วทิ ยาศาสตร์ 2. ประเมินทักษะการคดิ

ระหวา่ งเรยี น เปน็ รายบคุ คล 3. ประเมินทักษะการแก้ปัญหา

3. ทดสอบก่อนเรยี น 4. ประเมินพฤติกรรมในการ

ปฏบิ ัติกจิ กรรมเปน็ รายบุคคล

หรือรายกลุม่


โรงเรียนบา้ นเปาู

5. สาระการเรยี นรู้
1. ส่งิ แวดล้อม
2. ระบบนเิ วศ

6. แนวทางการบูรณาการ

ภาษาไทย สนทนา พูดคยุ หรือเล่าประสบการณเ์ กี่ยวกบั สิ่งแวดลอ้ ม

และระบบนิเวศตามประสบการณข์ องนักเรียน

ศิลปะ ตกแต่งและระบายสีภาพสิ่งมีชวี ิตทอ่ี าศยั อยู่ในแต่ละแหลง่ ทีอ่ ยตู่ าม

จนิ ตนาการของนักเรยี นให้สวยงาม

สังคมศึกษา ศาสนาและวฒั นธรรม

สนทนา พดู คุยเกี่ยวกับสภาพแวดลอ้ มแบบทะเลทรายในประเทศเวยี ดนาม

ภาษาตา่ งประเทศ ฟัง พดู อ่าน และเขยี นคาํ ศพั ท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกบั สิ่งแวดล้อมและ

ระบบนิเวศท่ีได้เรยี นรูห้ รือท่นี ักเรียนสนใจ

7. กระบวนการจดั การเรียนรู้
ครูดําเนินการทดสอบก่อนเรียน โดยให้นักเรียนทําแบบทดสอบก่อนเรียนเพื่อตรวจสอบความพร้อม

และพนื้ ฐานของนักเรียน
ข้ันนาํ เขา้ สู่บทเรียน

1) ครูนําภาพสิ่งแวดล้อมท่ีมีพืชและสัตว์หลายๆ ชนิดอาศัยอยู่ร่วมกันมาให้นักเรียนดู และร่วมกัน
อภิปรายเก่ียวกับส่ิงแวดล้อมและระบบนิเวศตามความรู้และประสบการณ์ของนักเรียนเอง โดยครูใช้คําถาม
กระตนุ้ ดังน้ี

- ในภาพน้ีนกั เรยี นเห็นสิง่ มชี ีวติ และสงิ่ ไม่มีชีวติ อะไรบ้าง
- สถานท่ที สี่ งิ่ เหลา่ นอ้ี ยู่เรยี กวา่ อะไร
- นักเรียนคิดวา่ เมื่อสิง่ เหลา่ นีอ้ ยู่ด้วยกันจะมีความสมั พันธก์ ันในลักษณะใด
2) นักเรียนร่วมกันตอบคําถามและแสดงความคิดเห็นเก่ียวกับคําตอบของคําถาม เพ่ือเช่ือมโยงไปสู่
การเรยี นร้เู ร่ือง สิง่ แวดล้อมและระบบนเิ วศ
ข้ันจัดกิจกรรมการเรยี นรู้
จดั กจิ กรรมการเรียนรโู้ ดยใช้กระบวนการสบื เสาะหาความรู้ร่วมกับแบบกลับด้านชั้นเรียน ซึ่งมีขั้นตอน
ดงั น้ี
1) ข้นั สรา้ งความสนใจ
(1) ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนแล้วเปิดโอกาสให้นักเรียนในกลุ่มนําเสนอข้อมูลเก่ียวกับส่ิงแวดล้อม ที่ครู
มอบหมายให้ไปเรียนรู้ล่วงหน้าให้เพื่อนๆ ในกลุ่มฟัง จากน้ันให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนมานําเสนอข้อมูลหน้า
หอ้ งเรยี น


Click to View FlipBook Version