การใชส้ นั ตวิ ธิ กี บั การแกไ้ ขปญั หาความขดั แยง้
Non-Violence and Conflict Resolution
ผเู้ ขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นฤทธ์ิ ดวงสวุ รรณ์
บรรณาธิการ อสุ มาน หวังสนิ
ISBN 978-616-593-203-5
จดั พมิ พ์โดย ผู้ชว่ ยศาสตราจารย์ ดร.นฤทธ์ิ ดวงสุวรรณ์
เลขที่ 92/1 หม่ทู ี่ 3 ถนนลพบรุ รี าเมศวร์
ต�ำ บลคลองแห อำ�เภอหาดใหญ่ จังหวดั สงขลา 90110
โทรศัพท์ 08 1766 1356 อเี มล์ narit.d@psu.ac.th
สนับสนนุ โดย สถาบนั สนั ติศึกษา มหาวทิ ยาลัยสงขลานครนิ ทร์
ปก/รปู เล่ม อุสมาน หวงั สนิ
พมิ พ์ท ่ี โฟ-บาร์ด 280/2 หมู่ที่ 6 ถนนปณุ ณกัณฑ์
ต�ำ บลทุง่ ใหญ่ อำ�เภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110
โทรศพั ท์ 08 9659 5338 E-mail: fonpat1971@gmail.com
พมิ พค์ รัง้ แรก มถิ ุนายน 2565
จ�ำ นวนพิมพ์ 200 เลม่
คำนำ
หนังสือเล่มนี้เกิดจากประสบการณ์ของผู้เขียน ตั้งแต่เริ่มทางานงานภาคสนาม และการ
บริหารโครงการด้านการพัฒนาสังคม ซึ่งเกี่ยวข้องกับรูปธรรมของปัญหาและความขัดแย้งในระดับ
พื้นท่แี ละระดบั นโยบายดา้ นตา่ งๆเช่น การจดั สรรและใชป้ ระโยชน์ทรพั ยากร การพฒั นาดว้ ยโครงการ
ขนาดใหญ่ การมีสว่ นทางการเมืองและประชาธิปไตยทางตรง เปน็ ต้น ตอ่ มาผู้เขยี นได้มีโอกาสร่วมงาน
วิจัยกับท่านศาสตราจารย์เสน่ห์ จามริก ในประเด็น “สิทธิชุมชน” เป็นทีมวิจัยร่วมกับ ท่านอาจารย์
ดร.เลศิ ชาย ศิรชิ ยั ในประเด็น ความขดั แยง้ และแนวทางการแก้ปัญหากรณีทะเลสาบสงขลา และการ
ประมงปลากะตัก และทมี วจิ ัยติดตามและสังเคราะห์งานวิจยั ท้องถิน่ กบั รองศาสตราจารย์บาเพญ็ เขยี วหวาน
กรณีการจัดการความขัดแย้งและการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการทรัพยากรอ่าวบ้านดอน
จังหวัดสรุ าษฎร์ธานี ซ่งึ ประสบการณด์ ังกล่าวทาให้ผูเ้ ขียนได้รับประสบการณท์ ่ีสาคัญอันเป็นจุดเร่ิมต้น
ของการยกระดับศักยภาพองค์ความรู้ตัวเองโดยการศึกษาต่อจนสาเร็จและการเป็นนักวิชาการด้าน
การพฒั นาสงั คม และดา้ นความขดั แยง้ และการจดั การด้วยสันติวธิ ี
ในปี พ.ศ. 2557 ผู้เขียนได้มาทางาน ณ สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึง
ได้มาเป็นผู้ประสานงานรายวิชาและผู้บรรยายหลักรายวชิ าความขัดแยง้ และสันติวิธีในสังคม วิชาการ
พัฒนากับความขัดแย้ง และได้รับทุนวิจัยในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัยเรื่อง “สถานการณ์และ
รูปแบบการจัดการความขัดแย้งด้านทรัพยากรประมงในทะเลสาบสงขลา” และงานวิจัยอ่ืน ๆ ท่ี
เกี่ยวข้องกับการจัดการความขัดแย้งอีก 3 โครงการ ท้ังการบรรยายรายวิชา ประสบการณ์ทางาน
บริการวิชาการและการทาวิจัยมาเป็นระยะเวลาหน่ึง ทาให้ผู้เขียนสนใจที่จะรวบรวมเนื้อของ การใช้
สันติวิธีกับการแก้ปัญหาความขัดแย้ง เพื่อเป็นตาราประกอบ การเรียนการสอนรายวิชาความขัดแย้ง
และสันติวิธีในสังคมของสถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และเพื่อการเผยแพร่ข้อมูล
องค์ความรู้แก่สาธารณชนในวงกว้างเพ่ือให้ได้มีความรู้ ความเข้าใจพ้ืนฐาน ท้ังด้านแนวคิด ทฤษฎี
และสถานการณ์ท่ีเกี่ยวข้องกับสันติวิธีและความขัดแย้งในสังคมทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ
โดยตาราการใช้สันติวิธีกับการแก้ปัญหาความขัดแย้ง เล่มน้ีผู้เขียนได้แบ่งเน้ือหา ไว้ท้ังหมด 5 บท
ดว้ ยกัน ดงั ตอ่ ไปนี้
บทที่ 1 บทนา ว่าด้วยเรื่องความหมายของ สันติวิธี สันติภาพ สันติภาพเชิงลบสันติภาพเชิง
บวก รายละเอยี ดของ วัฒนธรรมสนั ติและสันติวัฒนธรรม และอธบิ ายถึงความหมายของความขัดแย้ง
ทแ่ี ตกตา่ งหลากหลายของนกั วชิ าการทา่ นตา่ ง ๆ
iIiI
บทที่ 2 แนวคดิ และทฤษฎีเก่ียวกับสันติวิธีและความขดั แย้ง เปน็ การอธบิ ายความเป็นมาของ
แนวคดิ ทฤษฎี ของนกั วชิ าการดา้ นสันติวธิ ีและความขดั แย้ง ทโี่ ดดเดน่ และได้รบั การยอมรับ ท้ังทเี่ ป็น
ของชาวต่างประเทศและชาวไทย โดยไดอ้ ธิบาย มมุ มอง แนวคิด และวิธกี ารปฏบิ ตั ิสนั ติวิธี เช่น ทฤษฎี
ความขัดแย้งของ คาร์ล มารกซ์ แนวคิด “อหิงสา”ของ มหาตมะ คานธี ทฤษฎีความขัดแย้งของ
โยฮัน เกาล์ตุง หลักคิดการปฏิบัติการไร้ความรุนแรงของ ยีน ชาร์ป รวมถึงแนวคิดสันติวิธีและความ
ขัดแย้งของนักวิชาการไทย ได้แก่ ศาสตราจารย์ ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ ศาสตราจารย์ นพ.วันชัย
วัฒนศัพท์ พระไพศาล วิสาโล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ เศรษฐมาลินี และผู้ช่วยศาสตราจารย์
ดร. ศรสี มภพ จติ ร์ภิรมยศ์ รี เป็นตน้
บทที่ 3 ความขัดแย้งและสันติภาพในประเทศไทย ในบทนี้จะอธิบายสถานการณ์ความขัดแยง้
ในภาพรวมของสังคมไทย และจะกล่าวรายละเอียดของความขัดแยง้ ท้ังสาเหตุและแนวทางการแก้ปัญหา
ในประเด็นสาคัญๆที่เกิดข้ึนในประเทศไทย ได้แก่ ความขัดแย้งทางการเมืองระดับชาติและระดับ
ท้องถิ่น ความขัดแย้งด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ความขัดแย้งจากโครงการขนาดใหญ่
และความขดั แย้งในพื้นท่สี ามจังหวัดชายแดนภาคใต้ พรอ้ มกับนาเสนอกรณีตัวอย่างที่เกิดขนึ้ ในระดับ
พน้ื ท่ีในบางประเดน็ ดว้ ย
บทที่ 4 ความขัดแย้งและสันติภาพในต่างประเทศ ผู้เขียนได้นาเสนอตัวอย่างสถานการณ์
ความขัดแย้งที่เกิดข้ึนในต่างประเทศ 9 ประเทศด้วยกันได้แก่ ไอร์แลนด์เหนือ รวันดา อิสราเอล
แคชเมียร์ (อินเดีย) ศรีลังกา เนปาล เมียนมาร์ มินดาเนา (ฟิลิปปินส์) และอาเจะห์ (อินโดนีเซีย) โดย
อธิบายสถานการณ์ ปัญหา สาเหตุของปัญหา ผลกระทบท่ีเกิดขึ้นและการจัดความขัดแยง้ โดยสนั ตวิ ธิ ี
หรือกระบวนการสนั ติภาพของประเทศดังกล่าว
บทที่ 5 บทสรุป เปน็ บทท่ผี ู้เขยี นได้อธิบายเชิงสรุปของเนอ้ื หาที่สาคัญของหนงั สือเล่มนี้ตั้งแต่
ความหมาย แนวคิด ทฤษฎีสันติวิธีและความขัดแย้ง ประมวลความขัดแย้งในประเด็นต่าง ๆ ของ
ประเทศไทยให้เห็นคู่ขัดแย้งหลัก สถานการณ์ที่เกิดขึ้นและข้อเสนอแนวทางการจัดการความขัดแย้ง
โดยสันตวิ ิธี สาหรับเนื้อหากรณขี องต่างประเทศกจ็ ะสรุปใหผ้ ู้อ่านเห็นประเด็นที่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง
และบทเรียนสาคัญที่จะสามารถนามาใช้ในประเทศไทยได้ต้ังแต่การป้องกัน การจัดการ และการ
เยียวยา เพื่อนาไปสู่สนั ตภิ าพอย่างยั่งยืนได้
ภำคผนวก จะเป็นกรณีศึกษาความขัดแย้งและการจัดการ การประมงทะเลสาบสงขลาและ
เหมอื งหินเขาคูหา เป็นการนาเสนองานวิจัยทผ่ี ้เู ขียนนาไปปรบั ปรงุ และสรปุ ใหเ้ ข้าใจง่ายขน้ึ ตลอดจน
การวิเคราะห์ และข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาด้วยสันติวิธี ซึ่งก็จะเป็นประโยชน์กับบุคคลและ
หนว่ ยงานทเ่ี กยี่ วข้องรวมถงึ การเพิม่ การเรียนรู้ของนักศึกษาทุกคน
III iii
สุดท้ายนี้ ผู้เขียนขอขอบคุณกลั ยาณมติ รทกุ ท่านที่มสี ่วนในการจัดทาหนังสือเล่มน้ีให้สาเร็จลง
ได้โดยเฉพาะ รองศาสตราจารย์ ดร.บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ ผู้อานวยการสถาบันสันติศึกษา และ
ผู้ทรงคุณวุฒิที่ให้คาแนะนาในการปรับปรุงแก้ไขเน้ือหาใหไ้ ด้เป็นอย่างดี ดร.นิวดี ส่าหีม ท่ีช่วยจัดการ
ด้านต่าง ๆ รวมถึง คุณอุสมาน หวังสนิ ท่ีช่วยสนับสนุนต้นฉบับให้เรียบร้อย และต้องขอขอบคุณ
สถาบนั สนั ติศกึ ษาทใ่ี หก้ ารสนบั สนนุ การพมิ พห์ นงั สอื เล่มน้ี
ผชู้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.นฤทธ์ิ ดวงสุวรรณ์
iv IV
สำรบญั
หน้ำหน้า
คำนำ I I
สำรบัญ III III
สำรบญั ภำพ VI VI
สำรบัญตำรำง VIII VIII
11
บทที่ 1 บทนำ 22
1.1 สนั ตวิ ิธี
1.2 สันตภิ าพและกระบวนการสันตภิ าพ 33
1.3 สันติภาพเชิงลบและสันติภาพเชิงบวก (positive peace, and negative peace) 5 5
1.4 วฒั นธรรมสนั ตแิ ละสันตวิ ฒั นธรรม 55
1.5 ความขดั แย้ง 77
1.6 บทสรุปทา้ ยบท 10 10
1.7 คาถามทา้ ยบท 11 11
1.8 เอกสารอ้างอิง 12 12
บทที่ 2 แนวควำมคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับสันติวธิ ีและควำมขดั แย้ง 14 14
2.1 ยคุ สมยั ของแนวคิด ทฤษฎี ของสนั ติวิธีและความขัดแย้ง 14 14
15 15
2.2 ความขัดแย้งทางชนช้ัน 19 19
2.3 อหิงสา การแก้ไขความขัดแยง้ โดยสนั ติวิธี 21 21
25 25
2.4 การปฏิบตั ิการไรค้ วามรุนแรงทางการเมือง 27 27
29 29
2.5 การอธิบายความขดั แย้งและสนั ติภาพอย่างง่าย สาหรับคนรนุ่ ใหม่ 31 31
2.6 ชนิดและสาเหตุของความขดั แย้ง 32 32
2.7 พฒั นาการหรือการยกระดบั “ความขัดแย้ง” และแนวทางการแกป้ ัญหา
2.8 การสรา้ งความรว่ มมือจาก “คนใน” ในการสร้างสนั ตภิ าพ
2.9 การสร้างสนั ติภาพ
v
V
สำรบญั หน้ำา
2.10 แนวคดิ สันตวิ ธิ ีและความขัดแยง้ ของนักวิชาการไทย 3636
2.11 การสรา้ งสันติภาพ และการจดั การความขัดแยง้ ในวถิ ีอิสลาม 3939
2.12 การส่งเสริมสันตวิ ธิ ี 4141
2.13 แนวทางการแก้ปัญหาความขัดแยง้ และข้อพิพาท 4242
2.14 กรอบความคิดในการจดั การกับการก่อความไม่สงบและความรนุ แรง 4444
2.15 สรุปทา้ ยบท 4747
2.16 คาถามท้ายบท 5050
2.17 เอกสารอา้ งอิง 5151
บทท่ี 3 ควำมขดั แย้งและสนั ตภิ ำพในประเทศไทย 5353
3.1 ความขดั แย้งทางการเมืองและการแก้ไขโดยสันติวธิ ี 5454
3.2 ความขัดแย้งด้านทรัพยากรธรรมชาตแิ ละสงิ่ แวดล้อม 6565
3.3 ความขัดแย้งจากโครงการขนาดใหญแ่ ละการแก้ไขโดยสันติวธิ ี 8282
3.4 ความขัดแย้งในพน้ื ที่สามจงั หวดั ชายแดนภาคใต้และการแกไ้ ขโดยสันตวิ ธิ ี 10022
3.5 สรุปท้ายบท 12255
3.6 คาถามทา้ ยบท 13300
3.7 เอกสารอา้ งอิง 13311
บทที่ 4 ควำมขัดแยง้ และสันตภิ ำพในตำ่ งประเทศ 13366
4.1 ความขดั แย้งและสันติภาพในไอรแ์ ลนดเ์ หนือ 13366
4.2 ความขดั แย้งและสันตภิ าพในประเทศรวันดา 14411
4.3 ความขดั แย้งและสนั ตภิ าพประเทศอิสราเอล 14477
4.4 ความขดั แย้งและสนั ตภิ าพในแคชเมยี ร์ 15533
4.5 ความขัดแย้งและสันตภิ าพในประเทศเนปาล 15577
4.6 ความขดั แย้งและสันตภิ าพในประเทศศรลี ังกา 16600
สำรบัญ vi
4.7 ความขดั แย้งและสนั ติภาพในประเทศเมยี นมาร์ VI
4.8 ความขัดแย้งและสนั ตภิ าพในมนิ ดาเนา สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
4.9 ความขัดแย้งและสันตภิ าพในอาเจะห์ สาธารณรัฐอนิ โดนเี ซีย หนหา้นำ้
4.10 สรุปท้ายบท
4.11 คาถามทา้ ยบท 161565
4.12 เอกสารอ้างองิ 171070
171575
บทที่ 5 บทสรปุ 181080
5.1 ความหมายของสันติวิธแี ละความขัดแย้ง 181787
5.2 นกั ทฤษฎคี วามขดั แย้งและสันติวธิ ีคนสาคัญ 18188
5.3 ความขดั แยง้ และสันตภิ าพทเี่ กิดขนึ้ ในสงั คมประเทศไทย
5.4 บทเรียนจากความขัดแย้งและกระบวนการสนั ตภิ าพในต่างประเทศ 191292
5.5 คาถามท้ายบท 191393
191393
บรรณำนุกรม 191797
ภำคผนวก 202101
ดัชนี 202304
ประวตั ิผเู้ ขียน
202406
212517
232941
24246
VII VII
สำรบญั ภำพ
ภำพท่ี หน้ำ หน้า
ภาพท่ี 2-1 โครงสรา้ งสังคมของ คารล์ มาร์กซ์ 16 16
ภาพท่ี 2-2 ววิ ัฒนาการของความขัดแย้งของคารล์ มารก์ ซ์ 18 18
ภาพท่ี 2-3 สามเหลีย่ มความขัดแย้งของ Johan Galtung 26 26
ภาพที่ 2-4 วงกลมของความขดั แยง้ ของ Moore 27 27
ภาพท่ี 2-5 9 ขนั้ ตอนของการยกระดบั ความขดั แยง้ 29 29
ภาพท่ี 2-6 กระบวนการสรา้ งสันตภิ าพระยะยาว 33 33
ภาพท่ี 2-7 แนวทางการสรา้ งสันติภาพของ John Paul Lederach 35 35
ภาพที่ 2-8 กรอบคิดของการสรา้ งวิหารแหง่ สนั ตภิ าพและความมน่ั คง 45 45
เพือ่ การจัดการความขัดแยง้
ภาพท่ี 3-1 การทารัฐประหารในประเทศไทยจนถึงปจั จบุ ัน 55 55
ภาพท่ี 3-2 ดัชนภี าพรวมความไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศไทย 57 57
ตง้ั แตป่ ี ค.ศ. 2006-2014
ภาพท่ี 3-3 แผนทแี่ สดงลมุ่ น้าคลองอตู่ ะเภา 78 78
ภาพท่ี 3-4 Mega Projects เช่ือมโยงกรุงเทพฯและเขตเศรษฐกิจพิเศษ 83 83
ภาคตะวนั ออกของประเทศไทย
ภาพที่ 3-5 แสดงที่ต้ังของแหลง่ พ้ืนท่ีพัฒนารว่ มไทย-มาเลเซีย (B) 89 89
ภาพท่ี 3-6 พื้นท่โี ครงการก่อสรา้ งทา่ เทียบเรือนา้ ลึกปากบารา จงั หวัดสตูล 96 96
ภาพท่ี 3-7 ทีต่ ัง้ สามจงั หวัดชายแดนภาคใต้ 104 104
ภาพท่ี 3-8 เหตกุ ารณ์ความขัดแยง้ จังหวัดชายแดนใต้ มกราคม พ.ศ. 2547- 2564 107 107
ภาพท่ี 3-9 เปรียบเทยี บจานวนเหตกุ ารณ์ความขดั แย้งจงั หวัดชายแดนใต้ 108 108
มกราคม พ.ศ.2547- 2564
ภาพท่ี 3-10 เปรียบจานวนเสียชวี ติ และบาดเจบ็ จากความขัดแยง้ จังหวดั ชายแดนใต้ 108 108
มกราคม พ.ศ.2547- 2564
ภาพท่ี 3-11 สถติ ิเหตุการณ์ความขดั แย้งจังหวดั ชายแดนใตร้ ายเดอื น 109 109
มกราคม พ.ศ. 2560 – ธันวาคม พ.ศ. 2564
VIVIIIII
สำรบญั ภำพ
ภำพท่ี หน้ำ หน้า
ภาพที่ 3-12 สถิติเหตุการณ์ความขดั แย้งจังหวัดชายแดนใต้รายเดือน 109 109
มกราคม พ.ศ. 2563 - ธันวาคม พ.ศ. 2564
110 110
ภาพที่ 3-13 สถติ ิเหตุการณ์ความขัดแย้งจงั หวดั ชายแดนใต้รายเดอื น
เปรียบเทียบปี พ.ศ. 2563 - 2564 111 111
ภาพที่ 3-14 การสารวจความคดิ เห็นของประชาชนต่อสถานการณ์พืน้ ที่ 112 112
ชายแดนภาคใต้ เมษายน-พฤษภาคม2564
114 114
ภาพที่ 3-15 สัดสว่ นผู้บาดเจ็บลม้ ตายในเหตกุ ารณ์ความขัดแย้งจงั หวัดชายแดนใต้
รายเดือน ปี พ.ศ. 2563 และ 2564 114 114
ภาพที่ 3-16 งบประมาณรายจ่ายการแก้ปัญหาจังหวดั ชายแดนภาคใต้ 115 115
พ.ศ. 2560-2565 รวมทุกแผนงาน (บาท)
137 137
ภาพที่ 3-17 เปรยี บเทยี บงบประมาณรายจา่ ยการแก้ปญั หาจังหวดั ชายแดนภาคใต้ 143 143
พ.ศ. 2560-2565 งบแผนบรู ณาการและแผนงานอ่ืน 148 148
154 154
ภาพท่ี 3-18 งบประมาณรายจา่ ยการแกป้ ัญหาจงั หวัดชายแดนภาคใต้ 157 157
ในรอบ 19 ปี ระหว่าง พ.ศ. 2547 - 2565 161 161
166 166
ภาพที่ 4-1 แผนทปี่ ระเทศไอร์แลนด์เหนือ 172 172
ภาพท่ี 4-2 แผนทป่ี ระเทศรวันดา
ภาพที่ 4-3 แผนที่ประเทศอิสราเอล 176 176
ภาพที่ 4-4 แผนท่ีแคว้นแคชเมยี ร์
ภาพที่ 4-5 แผนทีป่ ระเทศเนปาล
ภาพที่ 4-6 แผนท่ปี ระเทศศรีลังกา
ภาพท่ี 4-7 แผนทป่ี ระเทศเมียนมาร์
ภาพท่ี 4-8 แผนที่แสดงเขตปกครองตนเองบังซาโมโร เกาะมินดาเนา
ประเทศของฟิลปิ ปินส์
ภาพที่ 4-9 แผนท่แี สดงเขตปกครองตนเองอาเจะห์ (Aceh) เกาะสุมาตรา
IX IX
สำรบญั ภำพ
ภำพท่ี หน้ำ หนา้
ภาพที่ 9-1 ทะเลสาบสงขลาสว่ นตา่ ง ๆ และพนื้ ที่ศกึ ษา 218 216
ภาพท่ี 9-2 เขตอนรุ ักษ์ชมุ ชนช่องฟืน 219 217
ภาพที่ 9-3 เขตอนรุ กั ษาพันธุ์พชื สัตว์นา้ ทะเลนอ้ ย 224 222
ภาพที่ 9-4 การใชเ้ ครื่องมือประมงทั้งไซนั่งและโพงพางอย่างหนาแนน่ 227 225
ในเขตทะเลสาบตอนล่าง
ภาพท่ี 9-5 ทหาร ตารวจ ฝา่ ยปกครอง กรมประมง กรมเจ้าทา่ สนธกิ าลงั 228 226
เขา้ ทาการร้ือถอนโพงพางท่ีกีดขวางร่องน้าการเดนิ เรือในทะเลสาบสงขลา
บริเวณชมุ ชนหวั เขา 31 มีนาคม 2559
ภาพท่ี 9-6 สภาพเขาคหู าท่ีถูกสมั ปทานของผปู้ ระกอบการระเบดิ หนิ 235 231
ภาพที่ 9-7 เวทพี ดู คยุ แผนพัฒนาตาบลคูหาใต้ระหว่างนักวจิ ัยกบั ผูท้ อ้ งถ่ิน ทอ้ งที่ 233
และตัวแทนกล่มุ ชุมชน
ภาพท่ี 9-8 นกั ศึกษาลงพ้นื ท่ีเรยี นร้ชู มุ ชนเขาคหู า 235 233
Xx
สำรบญั ตำรำง
ตำรำงที่ หน้ำ หน้า
ตารางที่ 2-1 รูปแบบแนวทางเพ่อื ขจดั ความขดั แย้งของ Glasl 30 30
ตารางท่ี 2-2 ความแตกตา่ งระหว่างความรนุ แรงกับสนั ติวธิ ี
ตารางท่ี 3-1 สถานการณ์ โครงการพัฒนาท่ีทาใหเ้ กิดผลกระทบและความขดั แยง้ 36 36
ตารางที่ 3-2 สถานการณ์ความเคลื่อนไหวทางสังคมคัดคา้ นโครงการขนาดใหญ่ 84 84
ตารางที่ 5-1 ความขัดแย้งทางการเมืองของไทย 85 85
ตารางที่ 5-2 ความขดั แย้งด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 197 197
ตารางที่ 5-3 ความขดั แยง้ ที่เกี่ยวขอ้ งกับโครงการขนาดใหญ่ 198 198
ตารางที่ 5-4 ความขัดแยง้ ในพื้นท่ีสามจงั หวัดชายแดนภาคใต้ 199 199
200 200
14
1
บทที่ 1
บทนำ
ในยคุ ปัจจบุ นั สถานการณป์ ัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ ทีเ่ กิดข้นึ มักจะมองวา่ เป็นเรอ่ื งปกติของ
มนุษย์ ทุกที่ท่ีมีมนุษย์ที่นั่นย่อมมีความขัดแย้ง ต้ังแต่ภายในตัวเอง ครอบครัว ชุมชน ระดับประเทศ
รวมไปถึงระดับนานาชาติ มีตัวอย่างรูปธรรมท่ีเกิดข้ึนในประเทศของเรา ได้แก่ ความขัดแย้งในพ้ืนที่
สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือความขัดแย้งในต่างประเทศระหว่างรัสเซียกับยูเครน เป็นต้น
ผลกระทบของปัญหาดังกล่าวไม่ได้อยู่ในเฉพาะขอบเขตของพ้ืนที่ที่เกิดความขัดแย้งขึ้นเท่าน้ัน แต่จะ
ส่งผลกระทบต่อสังคมในภาพรวมของประเทศหรือของนานาชาติ โดยเฉพาะความแตกแยกทาง
ความคิดและการแบ่งฝ่ายของสังคม ความผันผวนทางด้านเศรษฐกิจที่ทุกคนในโลกปัจจุบันนี้ถูก
เชือ่ มโยงกนั อยา่ งใกลช้ ดิ ท่ามกลางความขดั แย้งทเ่ี กิดขนึ้ กจ็ ะมคี วามพยายามที่จะคล่คี ลายปัญหาเพ่ือ
ยตุ ิ ขจดั หรือลดความรนุ แรง หาทางเลอื กในการแก้ปญั หา เพื่อให้สงั คมในระดับต่าง ๆ เกดิ ความสงบ
สุข วิธีการหน่ึงที่เป็นกุญแจสาคัญในการจัดการปัญหาความขัดแย้งในสังคมได้ คือการใช้ “สันติวิธี”
ซ่ึงต้องใช้ความร่วมมือ การปรับเปล่ียนทัศนคติ ปรับความสัมพันธ์ของคู่ขัดแย้ง หรือการปรับปรุง
เงื่อนไขด้านต่าง ๆ ท้ังด้านนโยบาย กฎหมาย และการพัฒนา เพื่อสนับสนุนการใช้สันติวิธีดังกล่าว
การเรียนรู้เพ่ือเข้าใจความขัดแย้งท้ังเชิงแนวคิด การวิเคราะห์ การประยุกต์ใช้ รวมถึงประสบการณ์
จากกรณีศึกษา เพ่ือให้สามารถใช้แนวทางการแก้ปัญหาโดย สันติวิธี ได้อย่างสอดคล้องกับบริบทที่
เก่ียวข้องไม่ว่าจะเป็นความเป็นมาของปัญหา สถานการณ์และผลกระทบท่ีเป็นอยู่ ผู้ที่เก่ียวข้องและ
ความต้องการ ตลอดจนถึงทางเลือกที่เหมาะสม นาไปสู่สังคมท่ีอยู่ร่วมกันด้วยทัศนคติที่ดี ยอมรับ
ความแตกต่างหลากหลาย เคารพและยอมรับสิทธิมนุษยชน ใช้สิทธิและทาหน้าท่ีได้อย่างสมดุลไม่ทา
ใหต้ ัวเองและสงั คมเดือดรอ้ น จะเปน็ แนวทางที่ก่อให้เกิด “สันตวิ ัฒนธรรม” ในสังคมได้ สาหรบั เนือ้ หา
สาระต่าง ๆ ทจี่ ะนาเสนอในบทต่าง ๆ ของตาราเล่มนี้ ประกอบไปด้วยความรู้พื้นฐานเกย่ี วกับ สนั ติวธิ ี
ความขัดแย้ง วิธีการใช้สันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง และกรณีศึกษาความขัดแย้งและการ
แกป้ ญั หาในประเทศไทยและต่างประเทศ
22
1.1 สนั ตวิ ิธี
ควำมหมำยของสนั ติวิธี
สันติวิธี เป็นกระบวนการตอบโต้กับสถานการณ์ความขัดแย้งในรูปแบบท่ีไม่ใช้กาลังทาง
กายภาพ เพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ดังนั้นสันติวิธีจึงไม่ได้หมายความถึง ความเฉื่อยชา (Passive)
และการไม่กระทา (Inaction) หากแต่เป็นการกระทา หรือการแสดงออกในรูปแบบหน่ึงท่ีไม่ใช้ความ
รุนแรง เช่น การเดินขบวนประท้วง การติดป้ายสัญลักษณ์ การฉีกบัตรเลือกตั้ง เพื่อแสดงเจตนารมณ์
ทางการเมือง การอดหาร การคว่าบาตรทางเศรษฐกิจ หรือไม่ให้ความร่วมมือในกิจกรรมต่าง ๆ รวม
ไปจนถึงการเจรจาและ การไกลเ่ กล่ียกบั คูข่ ัดแย้ง เปน็ ตน้ ดงั จะเห็นว่า ผ้ทู ่ีใช้สันตวิ ิธใี นการแกไ้ ขความ
ขัดแย้ง จะไม่ต้องการใช้ความรุนแรงและไม่ต้องการทาให้การต่อสู้นั้นมีผู้คนบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ซึ่ง
แน่นอนวา่ ผูใ้ ชส้ นั ติวิธีจะต้องเปน็ ผูต้ อ้ งใชค้ วามกล้าหาญในการชนะใจตนเอง ใช้ความอดทน สามารถ
ควบคุมตนเองได้ และมีความเข้าใจ ความรักต่อเพ่ือนมนุษย์ด้วยกัน (บุษบง ชัยเจริญวัฒนะและ
เหมือนขวญั เรณมุ าศ, 2560)
สันติวิธี ในมุมมองของพุทธศาสนาเถรวาท เดโชพล เหมนาไลย (2556) ได้อธิบายว่า เป็นทั้ง
แนวคิดและวิธีการทางสายกลางที่ปฏิเสธทางสุดโตง (extreme) 2 ด้าน ด้านหนึ่งคือความรุนแรงใน
ทุกระดับและ มีรูปแบบ ได้แก ความรุนแรงทางตรง ความรุนแรงเชิงโครงสร้าง และความรุนแรงเชิง
วฒั นธรรม อกี ดา้ นหนึ่งคือการยอมจานน ทัง้ นแ้ี นวคิดและวิธีการดังกลา่ ว องิ อาศยั ความบรรสานสอด
คลองกันระหว่างธรรมและวินัย โดยมีหลักการสาคัญคือยึดมั่นใน ความจริง เป็นพลังทางบวก และ
เปน็ วถิ ชี วี ติ ทผ่ี ู้ปฏบิ ตั สิ ันตวิ ิธีใชขดั เกลาตนเองไปพรอมกนั
สนั ตวิ ิธี สามารถอธบิ ายแบบแยกหลกั การของพระมหาหรรษา ธมมฺ หาโส (2553) วา่ หลักการ
ท่ีสาคัญของสันติวิธีมี 3 ประการด้วยกัน คือ 1) สันติวิธีในฐานะเป็นเคร่ืองมือที่ใช้ในการดาเนินชีวิต
ของมนุษย์ 2) สันติวิธี ในฐานะเป็นเครื่องมือในการเรียกร้องความต้องการ และ 3) สันติวิธีในฐานะ
เป็นเคร่ืองมือในการจัดการความขัดแย้ง ซึ่งในความหมายสุดท้ายนี้จะเป็นประเด็นที่สาคัญในการ
กล่าวถึงในรายละเอียดต่อไป
สันติวิธี เป็นการไม่ใช้ความรุนแรง ซ่ึงชัยวัฒน์ สถาอานันท์ (2557) จะใช้คาว่า “การไม่ใช้
ความรุนแรง” ซ่ึงเป็นคาท่ีเป็นกลางแทน สันติวิธี โดยอธิบายว่า เป็นการปฏิเสธการใช้กาลังทาง
กายภาพเป็นสรณะในการแก้ปัญหาข้อขัดแย้งต่าง ๆ ทั้ง ทางเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม โดยใช้
หลักธรรมทางศาสนาเป็นรากฐานของตน ได้แก่สันตินิยมแบบต่าง ๆ และอหิงสาของคานธี กับทฤษฎี
แหง่ อานาจของ ยีน ชาร์ป เป็นรากฐาน
3
3
สันติวิธี เป็นวิธีการ หรือชุดวิธีในการจดั การความขัดแย้ง ซึ่งสมิทธิรักษ์ จันทรักษ์ (2557) ได้
อธิบายว่าการจัดการดังกล่าวต้องไร้ความรุนแรง และไม่ใช่ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ
รวมถึงเป็นวิธีการท่ีชอบธรรม โปร่งใส ให้เกียรติและเคารพซึ่งกันและกัน และต้องทาให้เกิดความ
ยุตธิ รรมกบั ทกุ ๆ ฝ่ายท่ีเกยี่ วขอ้ ง
สนั ติวธิ ี เปน็ วิธกี ารจดั การกับความขัดแยง้ วธิ ีหนึ่ง โดยโคทม อารยี า (2546) ได้อธบิ ายเหตุผล
ที่สาคัญว่า เป็นวิธีการที่น่าจะมีการสูญเสียน้อยท่ีสุด ทั้งระยะสั้นระยะยาวท้ังรูปธรรมและนามธรรม
ผดิ กับการใชค้ วามรนุ แรง ซงึ่ ทกุ ฝ่ายอา้ งวา่ เป็นวธิ กี ารสดุ ท้าย ซง่ึ บางกรณสี ามารถบรรลผุ ลในระยะสั้น
เป็นรูปธรรมชัดเจนแต่หากความขัดแย้งดารงอยู่เพียงแต่ถูกกดไว้โอกาสท่ีจะเกิดความรุนแรงในระยะ
ยาวย่อมมีอยู่ ส่วนในทางนามธรรม เชน่ ความเขา้ ใจอันดี ความสามคั คปี รองดองนั้นย่อมเกิดขึ้นได้ยาก
ด้วยวิถีความรุนแรง บางคนมองสันติวิธีในลักษณะปฏิสัมพันธ์เชิงอานาจ เช่น การใช้ปฏิบัติการไร้
ความรุนแรงเพอื่ ให้รัฐหรือผู้มีอานาจเปล่ยี นแปลงนโยบายหรือพฤติกรรมบางคนใช้สันตวิ ธิ เี พราะความ
เช่ือว่าจะให้ผลท่ียั่งยืนและเป็นไปตามหลักจริยธรรมหรือศาสนธรรมบางคนใช้สันติวิธีตามหลักการ
บริหารเพอ่ื ลดความขัดแย้งไปใส่รปู แบบอืน่ ท่จี ะจดั การได้ดีกวา่ โดยไม่ใชค้ วามรนุ แรง
โดยสรุปแล้วสันติวธิ ีเป็นเคร่ืองมือ กระบวนการ หรือวิธีการจัดการความขัดแย้งวิธีหน่ึงที่เปน็
การกระทา หรือการแสดงออกในรูปแบบที่ไม่ใช้กาลังทางกายภาพ เช่น การประท้วงเชิงสัญลักษณ์
การอดอาหาร การไม่ใหค้ วามร่วมมือในกจิ กรรมต่าง ๆ การเจรจาไกล่เกล่ียีกบั คู่ขดั แย้ง โดยผทู้ ่ใี ชส้ ันติ
วิธีต้องเป็นผ้ทู ่ียดึ ม่ันในสัจจะ คุณธรรม มีความรักและเมตตาต่อเพ่ือนมนุษย์ การใช้สันติวธิ ใี นรูปแบบ
ต่าง ๆ ดังกลา่ วมีเป้าหมายที่สาคัญไดแ้ ก่การสรา้ งสนั ตภิ าพให้เกิดขึ้นในสงั คม
1.2 สันติภำพและกระบวนกำรสนั ตภิ ำพ
ควำมหมำยของสันติภำพ
สันติภาพ เป็นสภาวะแห่งความสงบสุขในแต่ละบริบทของสังคม วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(2564) ได้ประมวลและอธบิ ายสภาวะของสนั ติภาพว่า เป็นสภาวะที่มีความสนั ติ ไม่มกี ารโตเ้ ถยี งอย่าง
รุนแรง การยตุ ิความขัดแย้งที่ไม่ใชค้ วามรุนแรง สถานะแห่งความเงยี บหรือความสุข ความสัมพันธ์ของ
ผู้คนที่มีความเคารพ ความยุติธรรมและความหวังดี มีการปลดปล่อย สภาวะความเงียบ หรือผู้หน่ึง
ผู้ใดไม่ขัดแย้งกับจิตใจของตนเองแต่อย่างใด โดยท่ี "สันติภาพ" จะมีความหมายและความเข้าใจ แปร
ผันไปตามแตภ่ มู ิภาค วฒั นธรรม ศาสนา และสาขาวิชาทเ่ี รียนด้วย
44
สันติภาพ เป็นสภาวะที่ไม่มีการทาลายธรรมชาติและไม่มีการประทุษร้ายทางจิตใจและ
รา่ งกายของมนษุ ยด์ ว้ ยกัน พทุ ธทาสภกิ ขุ (2529) ได้ขยายความหมายดังกลา่ ววา่ หมายถึงธรรมชาติไม่
ถูกทาลาย ยังคงเป็นธรรมชาติที่ครบถ้วน เรียบร้อย งดงาม ปกติ ธรรมชาติทางวัตถุไม่ถูกทาลาย
ธรรมชาติทางจิตใจเป็นธรรมชาติท่ีเป็นความสงบ ไม่ปรุงแต่ง ความเป็นมิตรภาพช้ันสูงสุดคือ เป็น
เพื่อนเกิด เพ่ือนแก่ เพ่ือนเจ็บ เพ่ือนตาย กันจริง ๆ มิตรภาพขยายไปถึงคน สัตว์ และลงไปถึงต้นไม้
ด้วย รวมถึงไม่มีความประทุษร้ายพื้นฐาน 5 ประการคือ ไม่ ประทุษร้ายชีวิตและร่างกาย, ไม่
ประทุษร้ายทรัพย์สมบัติ, ไม่ประทุษร้ายของรักของ ใครพอใจ, ไม่ประทุษร้าย ความเป็นธรรมหรือ
ความยตุ ิธรรมของผู้อ่ืนด้วยวาจา แล้วกไ็ มป่ ระทษุ ร้ายสติปัญญาด้วย
สันติภาพ หมายถึง สภาพการณ์ท่ีปราศจากหรือการลดต่าลงของความรุนแรงในทุกรูปแบบ
การแปรเปลี่ยนความขดั แย้งโดยสรา้ งสรรค์ และไม่ใช้ความรุนแรง (Johan Galtung อ้างใน เอกพันธ์ุ
ปิณฑวณชิ , 2551)
สนั ติภาพ เปน็ สภาวะที่ปราศจากสงคราม สภาวะทปี่ ราศจากความรุนแรง สภาวะทปี่ ราศจาก
ความขดั แย้ง หรอื สภาวะทปี่ ราศจากความรนุ แรงแต่ขดั แยง้ กันได้ แสดงให้เห็นวา่ สันติภาพเปน็ สภาวะ
ท่ีไม่มีความรุนแรงแต่อาจมีความขัดแย้ง สืบเน่ืองจากความหมายดังกล่าว พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส
(2554) ไดอ้ ธิบายขยายความสภาวะสนั ติภาพว่า มี 2 สภาวะ ได้แก่ 1) สันตภิ าพภายใน เป็นสภาวะท่ี
จิตหลุดพ้นจากพันธการของกิเลส หรือจากการครอบงาของสิ่งต่าง ๆ อันเป็นสภาพจิตที่ไร้ความ
ขัดแย้ง ไร้ความรุนแรงทุกชนิด ซึ่งพระพุทธศาสนาเรียกสภาวะน้ีว่า นิพพาน 2) สันติภาพภายนอก
เป็นสภาวะท่ีบุคคลในสังคมหรือโลกไม่มีการเบียดเบียนซ่ึงกันและกัน มีความรักและความสามัคคี
ระหว่างมนุษย์ดว้ ยกัน มีเสรีภาพและ เคารพในสิทธิมนษุ ยชน ซึ่งทางพระพุทธศาสนาพยายามส่ือสาร
ว่า สันติภาพภายในและ สันติภาพภายนอกมีความสาคัญเท่ากัน ในขณะท่ี นักวิชาการพยายามแบ่ง
สันติภาพออกเป็น 2 มิติ ได้แก่ 1) สันติภาพเชิงบวก (Positive Peace) เป็นสภาวะที่เต็มไปด้วยสันติ
สุขของบุคคล สังคม โลก การอยู่ด้วยกัน โดยไม่เบียดเบยี นกัน มีความยุติธรรม มีเสรีภาพ เคารพสิทธิ
ซ่ึงกันและกัน และ 2) ด้านสันติภาพเชิงลบ (Negative Peace) เป็นสภาวะท่ีเต็มไปด้วยความขัดแยง้
และความรุนแรง เชน่ การทาร้ายรา่ งกาย การทาสงคราม
โดยสรุปแล้วสันติภาพหมายถึง สภาวะของความสงบ ร่มเย็น มีความรัก ความสัมพันธ์ท่ีดี มี
ความเป็นธรรม มีความเท่าเทียม เคารพสิทธิซ่ึงกันและกัน ไม่เบียดเบียนประทุษร้ายของคนด้วยกัน
และของคนกับธรรมชาติ ปราศจากความความขัดแย้งและความรุนแรงในรูปแบบต่าง ๆ หรือการลด
ความขัดแย้งโดยสร้างสรรค์และไม่ใชค้ วามรุนแรง ซ่ึงอาจจะมีมุมมองสันติภาพใน 2 มิติด้วยกัน ได้แก่
สันตภิ าพเชิงบวกและสนั ตภิ าพเชิงลบ
55
1.3 สันติภำพเชงิ ลบและสนั ตภิ ำพเชงิ บวก (positive peace, and negative peace)
สภาวะทผี่ คู้ นอยู่ได้โดยไม่มสี งคราม ไมม่ กี ารปองร้ายกัน พอจะทามาหากินได้ พอจะดารงชีวิต
ได้แต่อาจจะขาดความเท่าเทียม ขาดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในความแตกต่างหลากหลาย หมู่ผู้คนใน
สังคม ยังมีการเอารัดเอาเปรียบ ยังมีการดูถูกดูแคลนกัน สภาวะเหล่านี้เอกพันธุ์ ปิณฑวณิช (2551)
อธบิ ายวา่ ยังเปน็ สภาวะปกตสิ ุขอยู่ และให้ความหมายของสันตภิ าพในสองมติ ิด้วยกัน ไดแ้ ก่ สันตภิ าพ
เชิงลบและสันติภาพเชิงบวก โดยระบุว่า สันติภาพเชิงลบ (negative peace) คือสภาวะที่ปราศจาก
ความรุนแรงทางตรง ไม่มีการทาร้ายกันสังคมมีความสงบ ซึ่งเราสามารถเรียกได้ว่าสังคมมีความเป็น
ปกติสุข และ สันติภาพเชิงบวก (positive peace) คือสภาวะที่สังคมมีความสงบสุข ปราศจากความ
รุนแรง ผู้คนมีสิทธิและเสรีภาพที่เท่าเทียม มีความเคารพศักด์ิศรีของความเป็นมนุษย์ ปราศจากการ
เอารัดเอาเปรียบ มคี วามยุตธิ รรม มคี วามสมดลุ ทางธรรมชาติซ่ึงเราเรียกสภาวะเชน่ นีว้ า่ สันติสขุ
1.4 วัฒนธรรมสันตแิ ละสันติวฒั นธรรม
เอกพันธุ์ ปิณฑวณิช (2551) ได้อธิบายความหมายและปัจจัยของสังคมสันติสุขตามแนวคิด
ของวิเซนต์มาติเนส กูสมัน (Vicent Martinez Guzman) ว่า สังคมโลกน้ันมีวิวัฒนาการมาจาก
วัฒนธรรมท่ีต้ังอยู่บนพื้นความร้ขู องสงครามและความรุนแรงมาเป็นระยะเวลานานมากแลว้ น่าจะถึง
เวลาท่ีมนุษยชาติร่วมกันสร้างวัฒนธรรมท่ีจะนาไปสู่สังคมที่มีความสันติสุข และสังคมสันติสุขก็จะ
สามารถสร้างสันติวัฒนธรรมต่อเน่ืองกันไปได้ และปัจจัยที่จะนาไปสู่ วัฒนธรรมสันติและสันติ
วัฒนธรรมใหเ้ กิดข้นึ ไดด้ งั ต่อไปน้ี
1) การมที ัศนคติและมาตรฐานร่วมกนั ของสงั คมในเรื่องของความยุติธรรม ซ่ึงประกอบไปด้วย
ปัจจัยพื้นฐานที่มีมาในอดีตทั้งที่เป็นวัตถุและไม่ใช่วัตถุ เช่น เอกลักษณ์ อัตลักษณ์ อิสรภาพ และ
เสรีภาพ เป็นตน้
2) ปัจจัยพื้นฐานดังกล่าว เป็นส่ิงที่สังคมได้ร่วมกันกาหนด และเข้าใจตรงกัน สามารถนา
แนวคิดไปสร้างสรรค์ใช้ร่วมกันได้
3) การให้ความสาคัญกับความยุติธรรม ท่ีหมายถึงการปรับเปล่ียนของการปฏิสัมพันธ์ทาง
สังคมท่ีต้ังอยู่บนพื้นฐานของความพึงพอใจต่อปัจจัยพ้ืนฐานนั้น ๆ ซึ่งความยุติธรรมก็จะมีความก้าวหน้า
และเคลื่อนไหวเสมอ แต่ไม่ใช่ความยุตธิ รรมในรูปแบบท่ีต้องการหาข้ออ้างของการไม่ยอมรับซึ่งกันและกัน
การจากดั ขอบเขต หรอื การหาประโยชนจ์ ากผู้อนื่ ซง่ึ ความยตุ ิธรรมประเภทน้ีกจ็ ะเปน็ เครอ่ื งมือในการ
ฉวยโอกาสได้
66
4) กรอบความคิดแนวใหม่อาจจะอยู่นอกกรอบเดิมหรือการเติมเติมกรอบเดิม อาจะต้องคิด
นอกกรอบ
นอกจากนั้น เอกพันธ์ุ ปิณฑวณิช (2555) ได้อธิบายแนวคิดท่ีเก่ียวข้องกับปรัชญาสันติภาพ
และสันติวัฒนธรรมวา่ ควรจะให้ความสาคัญกบั “สิทธิในการเปน็ ประชากรโลก” ซง่ึ มรี ายละเอียดดงั นี้
1) การคานึงถึงความม่ันคงของสังคมมนุษย์โดยรวมในโลกท่ีอยู่เหนือความสาคัญของความ
เป็นชาติ ซ่ึงการดารงอยู่ในลักษณะเช่นน้ี เอมมานูเอล คานท์ (Immanuel Kant) ได้อธิบายไว้ว่า
มนุษย์แต่ละคนมีความสามารถในการเปิดใจให้รับรู้ และเข้าใจในความแตกต่างหลากหลายของกัน
และกันได้ แต่สังคมมนุษยไ์ ม่ควรยอมรบั การถกู บงั คบั ใหย้ อมรบั
2) สิทธใิ นการเป็นประชากรโลก ซ่งึ จะทาใหผ้ ู้ที่มสี ิทธิน้ีจะได้รับการคุ้มครองในฐานะผู้ท่ีได้รับ
การตอ้ นรับมากกว่าการถกู รอนสิทธใิ นฐานะทีเ่ ปน็ “ผูอ้ นื่ ”
3) สิทธิในการเป็นประชากรโลก มีการกระทาต่อกันในสถานะที่เป็นมนุษย์ดุจเดียวกัน ซึ่ง
เอมมานูเอล คานท์ ได้ให้ความหมายว่า มนุษย์มีศักยภาพในการสร้างความรุนแรงเช่นเดียวกับ
ความสามารถในการสรา้ งสนั ตภิ าพ แต่เขาเชื่อวา่ ถา้ เราปรารถนาจะใหผ้ ูอ้ ่นื ทาดีกับเรา เรากย็ อ่ มจะทา
ดกี บั ผู้อนื่ ดุจเดยี วกนั
4) สิทธิในการเปน็ ประชากรโลก ซ่ึงจะนามาซึ่งความชอบธรรมทจ่ี ะเป็นในสิ่งท่ีแตกต่าง หรือ
อยู่ในวฒั นธรรมทต่ี า่ งไป
5) สิทธใิ นการเป็นประชากรโลก มีอานาจเหนือกว่าความสัมพนั ธ์ของโลกาภวิ ัตน์ การครอบครอง
ทรพั ย์สินและการแลกเปล่ียน เพราะกจิ กรรมท่ีเป็นความสัมพันธ์ ภายใต้ยุคโลกาภวิ ัตนน์ ั้นไม่ได้แปลกแยก
สิทธขิ องมนุษย์แตล่ ะคนบนพื้นโลก เพราะมนุษย์แต่ละคนก็ยังมสี ทิ ธติ ่อผวิ โลกในความเทา่ เทยี มกนั
6) สิทธิในการเป็นประชากรโลก ก็คือสิทธทิ ่จี ะไดร้ ับการต้อนรบั อยา่ งเทา่ เทียมกันไมว่ ่าจะอยู่
ทใี่ ดก็ตาม เน่ืองด้วยความเชื่อท่วี ่ามนษุ ยแ์ ต่ละคนนั้น มีสิทธิท่ีจะอยู่บนโลกใบนี้เท่า ๆ กนั เพราะฉะนั้น
ไมว่ า่ มนษุ ยผ์ ูน้ ั้นจะอยู่ทีใ่ ดก็ตามยอ่ มจะดารงไวซ้ ่งึ สิทธนิ ้นั โดยสมบรู ณ์
7) สทิ ธิในการเป็นประชากรโลกควรทีจ่ ะปกปกั รักษามนุษยจ์ ากความรุนแรง
8) สิทธิในการเป็นประชากรโลก ย่อมจะทาให้มนุษย์ยอมรับในสิทธิของผู้อ่ืน และพร้อมที่จะ
เข้าใจสังคมและวิถีการปกครองของผู้คนในสังคมที่แตกต่างจากท่ีตนอยู่ด้วยเหตุที่มนุษย์ไม่สมบูรณ์
แบบเราจึงไม่สามารถบอกไดว้ ่า เราดีกว่าคนอนื่ หรือสังคมเราดกี วา่ สังคมอืน่
9) สิทธิในการเป็นประชากรโลก ย่อมรักษาไว้ด้วยสิทธิที่จะได้รับและเข้าถึงการพัฒนา และ
การปกครองโดยประชาชนในรปู แบบของประชาธปิ ไตยท่ีมีความสมบูรณ์มากทีส่ ุด การทีม่ นษุ ยส์ ามารถ
77
พัฒนาศักยภาพของตนได้อย่างต่อเน่ืองจะเป็นเครื่องมือท่ีจะให้สังคมมนุษย์ได้เร่ิมที่จะก้าวเข้าสู่ การ
ปกครองทเี่ ป็นประชาธิปไตยที่แทจ้ รงิ ได้
ในสังคมทัว่ ไปของมนษุ ยเ์ ปา้ หมายสาคัญคือต้องการอยรู่ ว่ มกันในสภาวะ “สนั ตภิ าพเชิงบวก”
สามารถร่วมกันสร้างวัฒนธรรมที่จะนาไปสู่สังคมท่ีมีความสันติสุขที่เรียกว่า สันติวัฒนธรรม หรือ
วัฒนธรรมสันติ ซึ่งต้องช่วยขับเคล่ือน “สิทธิในการเป็นประชากรโลก” ให้เป็นจริง แต่จากข้อเสนอ
ดังกล่าวยังคงเป็นหลักปรัชญาที่ต้องไปตีความและประยุคใช้ให้สอดคล้องกับโลกแห่งความเป็นจริง
และท่ีสาคัญคือเกิดความขัดแย้งข้ึนในสังคมของเราไปท่ัวทุกระดับอย่างต่อเนื่อง ยากที่จะเกิด
“สนั ติภาพเชิงบวก”ได้
1.5 ควำมขัดแย้ง
ควำมหมำยของควำมขัดแย้ง
เม่ือเกิดความเหน็ ตา่ งกัน มคี วามตอ้ งการและผลประโยชนต์ ่างกัน การมงุ่ สเู่ ป้าหมายท่ีต่างกัน
ของตัวบุคคลหรือกลุ่มบุคคล ก็จะทาให้เกิดความขัดแย้ง โดยจะเกิดข้ึนในหลายระดับ ตั้งแต่ระดับ
บุคคล ระหว่างบุคคล ครอบครัว ชุมชน สังคม ระดับชาติ หรือ นานาชาติ ซ่ึงก็จะมีเง่ือนไข มุมมอง
เหตปุ จั จยั ทแี่ ตกตา่ งกันตามบริบทของสถานการณท์ เี่ กิดข้ึน โดยมกี ารให้ความหมาย “ความขัดแย้ง”ท่ี
หลากหลายซ่งึ ประมวลได้ดังตอ่ ไปนี้
Berghof Foundation (2559) ได้อธิบายว่า ความขัดแย้งคือการปะทะกันระหว่างความคิด
หรอื ผลประโยชน์ทีต่ รงขา้ มกนั ความขดั แยง้ อาจเกิดขึน้ ในตวั คนคนเดยี ว หรือระหวา่ งคนสองคนข้ึนไป
ระหวา่ งกลมุ่ หรอื ระหว่างรัฐ ซง่ึ ตา่ งมเี ป้าหมายทีไ่ ม่ลงรอยกัน
บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ (2563) ได้สรุปว่า ความขัดแย้งมักมีคุณลักษณะบางประการร่วมกัน
หรือใกล้เคียงกัน คือ ความขัดแย้งเป็นสถานการณ์ที่เกิดความขัดกัน ไปด้วยกันไม่ได้ในเร่ืองของ
เป้าหมาย ค่านิยม การแสดงความเชื่อ การแย่งชิงผลประโยชน์ การไม่ลงรอยกันด้านความต้องการ
ความสนใจ การรับรู้ การตีความ และการแสดงความรู้สึกในด้านลบ นอกจากน้ัน ความขัดแย้งยัง
หมายถึง สถานการณ์ที่คนสองคน หรือมากกว่านั้นมี การปฏิบัติท่ีส่อถึงการบ่ันทอน การเกลียดชัง
และการใช้พฤตกิ รรมทีข่ ่มขูแ่ ละไม่เป็นมิตรตอ่ อีกฝ่าย จงึ เกดิ ความขัดแย้งข้ึน
ขจรจิต บุนนาค (2554) อธิบายว่าความขัดแย้ง ว่าเป็นการกระทาที่ไม่ลงรอย ขัดขืน หรือ
ต่อต้านกัน เป็นการต่อสู้ด้ินรนระหว่างผู้ที่ไม่ลงรอยกัน (ท้ังบุคคล หรือกลุ่ม) ในด้านความต้องการ
ความปรารถนา ความคิด และผลประโยชน์ ความขัดแย้งเกิดข้ึนเมื่อบุคคลหรือกลุ่มท่ีเผชิญหน้าไม่
สามารถหาข้อยุติท่ีเป็นท่ีพอใจของทั้งสองฝ่ายได้ เป็นกระบวนการหน่ึงท่ีเริ่มต้นเมื่อกลุ่มหนึ่งรับรู้ว่า
ตนถกู ทาลายจากกล่มุ อืน่ หรือสอ่ เค้าว่ากลุ่มอ่นื ต้งั ท่าจะทาลายตน
88
วันชัย วัฒนศัพท์ (2555) ได้อธิบายว่า ความขัดแย้ง เป็นเร่ืองความเห็นหรือความเชื่อที่ต่างกัน
แต่คู่กรณียังสามารถทางานร่วมกันได้ คู่สมรสก็อยู่ด้วยกันได้ปกติสุข แต่เมื่อขยายกลายเป็นข้อพิพาท
จะกลายเป็นเรื่องที่ผู้เกี่ยวข้องมุ่งหมายท่ีจะเอาชนะให้ได้เพ่ือเป้าหมายสูงสุดของตัวเอง ซ่ึงจะเกิด
ความขัดแย้งระหว่างบุคคลในครอบครัว ในชุมชน ในองค์กรระดับประเทศหรือระหว่างประเทศ หาก
ไม่สามารถหาทางออกได้ก็จะนาไปสู่ความรุนแรง ทั้งการใช้คาพูด ภาษาท่าทาง ตลอดจนลงไม้ลงมือ
จนเกิดความสูญเสียทั้งทรัพย์สิน เสียเวลา เสียความรู้สึก และหลายคร้ังต้องเสียอานาจอธิปไตยใน
ระดบั ประเทศชาติ
Mayer, Bernard S. And Mayer, Bernard (2000) ได้อธิบายว่า ความขัดแย้งเกิดขึ้นได้ใน
3 มิติไปด้วยกัน ได้แก่การรับรู้ อารมณ์ความรู้สึก และพฤติกรรมการกระทา โดยท่ีความขัดแย้งด้าน
การรับรู้เป็นความเช่ือหรือความเข้าใจว่าความต้องการผลประโยชน์หรือค่านิยมของตัวเองน้ันเข้ากับ
คนอื่นไม่ได้ มีองค์ประกอบทั้งที่เป็นข้อคิดเห็นและข้อเท็จจริง ส่วนความรู้สึกที่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยา
ทางอารมณ์ต่อบุคคลหรือสถานการณ์ความขัดแย้ง อาจจะเป็นความกลัว ความเศร้า ความขมขื่น
ความโกรธหรือสิน้ หวังหรืออารมณ์ท่ีผสมผสานกันของส่ิงเหล่านี้ และความขัดแย้งด้านพฤติกรรมเป็น
การกระทาเพื่อแสดงออกถึงความรู้สึก การรับรู้และเพื่อตอบสนองความต้องการ ในลักษณะท่ีไป
แทรกแซงความสามารถของคนอื่น พฤติกรรมนี้อาจจะกระทาโดยตรงหรือโดยอ้อม อาจจะรุนแรงถึง
ข้ันทาลายล้าง ในทางกลับกันพฤติกรรมนอี้ าจประนีประนอมสร้างสรรค์และเป็นมิตร โดยจุดประสงค์
ของพฤตกิ รรมความขัดแย้งคือเพื่อแสดงความขัดแย้งหรอื เพ่อื ตอบสนองความต้องการของคน ๆ หนง่ึ
ป.อ. ปยุตโต (2546) อธิบายว่า ความขัดแย้งเป็นธรรมชาติของสิ่งท้ังหลายท่ีแต่ละอย่างมี
ความเป็นไปของมัน เม่ือต่างฝ่ายต่างส่วนเป็นไปคนละทางก็ย่อมขัดแย้งกัน แม้เม่ือดารงอยู่ตามปกติ
ส่ิงท้ังหลายก็ย่อมแตกต่างกันเป็นธรรมดาอยู่แล้ว ความแตกต่างน้ันขัดกันบ้างเข้ากันบ้าง แล้วทาให้
เกิดความหลากหลายและความสมบูรณ์
ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ (2563) อธิบายว่า ความขัดแย้ง เป็นเครื่องจักรกลสาคัญของการ
ผลกั ดันสงั คมใหไ้ ปสทู่ ี่ตา่ ง ๆ ดงั น้นั มนั เลยเปน็ ของทจ่ี ะต้องเฝา้ ระแวดระวงั คอยปกป้องไมใ่ ห้กลายเป็น
ความรุนแรง เพราะความรุนแรงในทางกลับกันมันก็ทาลายความขัดแย้งเพราะสังคมมันต้องเปลี่ยน
แตจ่ ะเปลย่ี นไม่ได้ถ้าไม่มีความขัดแยง้ ในสังคม มนั เปลี่ยนไม่ได้ถา้ ไม่มีการทา้ ทายสง่ิ ในอดีต มนั เปลย่ี น
ไม่ได้ถ้าทุกคนเห็นพ้องต้องกันทั้งหมด ในโลกไม่มีความรู้ไม่มีพัฒนาการซึ่งเป็นไปไม่ได้ เราจะอยู่กัน
อย่างไรในโลกซึ่งมีความแตกต่างหลากหลาย ดังนั้นก็ต้องประคับประคองความขัดแย้งให้ดีซ่ึงเป็น
กุญแจสาคัญถึงจะไปตอ่ ขา้ งหนา้ ได้
99
พระไพศาล วิสาโล (2550) อธิบายว่า ความขัดแย้งเป็นธรรมชาติของสรรพส่ิง เช่นเดียวกับ
ทุกขใ์ นชีวติ ของบุคคล และในความเป็นไปของสังคม เราไม่สามารถหลกี เล่ียงความขดั แยง้ ได้ ไม่ว่าจะ
เป็นความขัดแย้งภายในของตนเอง หรือความขัดแย้งกับผู้อื่น ซึ่งความขัดแย้งสามารถเกิดขึ้นได้
ตลอดเวลา แต่ที่กล่าวว่าความขัดแย้งเป็นเรื่องธรรมดา มิได้หมายความว่าเราไม่สามารถทาอะไรหรือ
จดั การกับความขัดแยง้ ได้ ความขดั แยง้ อาจเป็นความขดั แย้งของบุคคลตง้ั แต่สองฝา่ ยขน้ึ ไปทีเ่ กดิ ขึ้นใน
ลักษณะท่ีเป็นสถานการณ์ ความสัมพันธ์หรือพฤติกรรมก็ได้ ความขัดแย้งมีลักษณะ 1) เป้าหมายหรือ
ทศั นคตไิ ปด้วยกันไมไ่ ด้ และ 2) ขัดขวางหรอื เป็นอุปสรรคไมใ่ ห้บรรลุความตอ้ งการ
สรุปว่า ความขัดแย้ง หมายถึงความแตกต่างกันหรือการไม่ลงรอยกันทั้ง ความเชื่อ ทัศนคติ
ความเห็น ค่านิยม ความต้องการ เป้าหมาย และผลประโยชน์ซ่ึงสามารถเกิดขึ้นภายในตัวเองหรือ
ระหว่างบุคคลในองค์กร ในสังคมระดับต่าง ๆ อาจจะส่งผลต่อพฤติกรรม การขัดขวาง แทรกแซง ทา
ให้เกิดความรุนแรงเพื่อตอบสนองความต้องการของแต่ละฝ่าย ท้ังโดยตรงและโดยอ้อมหรือก่อให้เกิด
การแปรเปลีย่ นสูค่ วามหลากหลายสรา้ งสรรค์เปลยี่ นแปลงส่ิงต่าง ๆ ให้ดขี ้ึน
10 10
1.6 บทสรปุ ทำ้ ยบท
สันติวิธีเป็นวิธีการ ในการจัดการความขัดแย้งท่ีสาคัญวิธีการหน่ึงท่ีสามารถนาไปสู่การอยู่
ร่วมกันสงบสขุ และสนั ติภาพ ซ่งึ เป็นกระบวนทอ่ี ยกู่ ันแบบคู่ขนานกับสถานการณค์ วามขดั แยง้ ท่ีเกิดข้ึน
ในสังคมทุกยุคทุกสมัยท่ีไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เมื่อเกิดความขัดแย้งตั้งแต่เร่ือง ความเช่ือ ทัศนคติ
ความเห็น ค่านิยม ความต้องการ เป้าหมาย และผลประโยชน์ท่ีไม่ลงรอยกัน ซึ่งอาจจะส่งผลต่อสังคม
ให้ขับเคลื่อนไปสู่ความหลากหลายสร้างสรรค์เปล่ียนแปลงส่ิงต่าง ๆ ให้ดีขึ้นได้ถ้าสามารถช่วยกัน
ควบคุมไม่ให้เกิดความรุนแรง ในทางกลับถ้าทาให้สถานการณ์ความขัดแย้งนาไปสู่ความรุนแรงเพ่ือ
ตอบสนองความต้องการของแตล่ ะฝา่ ยท้ังโดยตรงและโดยอ้อมแลว้ สังคมกจ็ ะเกดิ ความว่นุ วาย มอี คติ
ไม่ไว้เน้ือเช่ือใจกัน ทั้งทาร้ายจิตใจและทาลายล้างทรัพย์สินและชีวิตซึ่งกันและกัน นาไปสู่สังคม
แตกแยกและลม่ สลายในท่สี ุด
สันติภาพมีสองมิติด้วยกัน ได้แก่ สันติภาพเชิงลบคือสภาวะท่ีปราศจากความรุนแรงทางตรง
ไม่มีการทาร้ายกันสังคมมีความสงบ ซึ่งเราสามารถเรียกได้ว่าสังคมมีความเป็นปกติสุข และสันติภาพ
เชงิ บวก คือสภาวะที่สังคมมคี วามสงบสุข ปราศจากความรุนแรง ผูค้ นมสี ิทธแิ ละเสรีภาพท่เี ทา่ เทียม มี
ความเคารพศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ปราศจากการเอารัดเอาเปรียบ มีความยุติธรรม มีความ
สมดุลทางธรรมชาติซ่ึงเราเรียกสภาวะเชน่ นี้ว่า สันติสุข และเก่ียวข้องกับอีกเรื่องหน่ึงทกี่ ล่าวถึงในบท
นี้คือ วัฒนธรรมสันติและสันติวัฒนธรรม หมายถึง วัฒนธรรมท่ีมนุษยชาติได้ร่วมกันสร้างเพ่ือจะ
นาไปสู่สังคมท่ีมีความสันติสุขและสังคมสันติสุข ซึ่งมีปัจจัยท่ีจะทาให้เกิดได้ ได้แก่ การใช้หลักความ
ยตุ ธิ รรมทุกมิตอิ ยา่ งสมดุล และหลกั การการเป็นประชากรโลกในการอยรู่ ว่ มกันในสงั คม
1111
1.7 คำถำมทำ้ ยบท
1. สันติวธิ ีมีความหมายวา่ อย่างไร มีส่วนสาคญั อย่างไรกบั การแก้ปัญหาความขัดแย้งใน
สังคม
2. ความขดั แย้งมคี วามหมายวา่ อยา่ งไร เกิดจากสาเหตุอะไร เราจะมีวิธกี ารอย่างไรในการ
แกป้ ัญหาความขัดแย้ง
3. สันติภาพมคี วามหมายอย่างไร จงอธิบายความแตกต่างระหวา่ งสันตภิ าพเชงิ บวกกับ
สันตภิ าพเชิงลบ
4. เราจะร่วมกันสรา้ งสันตวิ ฒั นธรรมในสังคมน้ีได้อย่างไร จงอธิบาย
5. ยกตัวอยา่ งแนวความคิดทีก่ ่อให้เกิดความขดั แย้งในสังคม จงอธิบาย
12 12
1.8 เอกสำรอ้ำงอิง
ขจรจติ บุนนาค. (2554). ความขัดแย้ง VS ความรนุ แรง. วารสารนกั บริหาร (31)3, 136-144.
โคทม อารียา. (2546). เอกสาร 30 ปี14 ตุลา. จดหมายขา่ วประชาชน ฉบับ 1 ตลุ าคม 2546.
กรงุ เทพฯ : มลู นธิ ิ 14 ตุลาคม 2546.
ชยั วฒั น์ สถาอานันท.์ (2557). ทา้ ทายทางเลือก: ความรนุ แรงและการไมใ่ ช้ความรุนแรง. กรุงเทพฯ:
สานักพมิ พ์ของเรา 360 หน้า.
ชยั วฒั น์ สถาอานันท์. (2563). เปิดตารา วชิ าสันติวธิ ี. สืบค้นจาก
https://theactive.net/read/peaceful-lecture/.
เดโชพล เหมนาไลย. (2556). สนั ตวิ ธิ ใี นมมุ มองพทุ ธศาสนาเถรวาท. เอกสารประกอบงานสัมมนา
วชิ าการ “สันติวิธีสายธารตะวันออก” วนั ที่ 14 มีนาคม 2556 ศนู ย์สทิ ธิมนษุ ยชนและสันติ
ศึกษา มหาวทิ ยาลัยมหิดล.
บุษบง ชยั เจริญวัฒนะ. (2563). การจดั การความขัดแยง้ ความร้เู บื้องตน้ และกรณศี ึกษา. สงขลา:
พี.ซี. พรน้ิ ติ้ง.
บุษบง ชยั เจรญิ วัฒนะและเหมือนขวัญ เรณุมาศ. (2560). “สันติวธิ :ี การจัดการความขดั แยง้ ตาม
แนวทางสันติวธิ ี” วารสารสนั ตศิ ึกษาปริทรรศน์ มจร, 5(2):1-16.
ป.อ. ปยตุ โต. (2546). สลายความขดั แยง้ นติ ิศาสตร์-รฐั ศาสตร์-เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ. กรงุ เทพฯ:
ธรรมิก.
พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส. (2553). สนั ตวิ ิธี บนเส้นทางสามแพร่งในสังคมไทยปัจจบุ ัน. สืบคน้ จาก
https://www.gotoknow.org/posts/352023
___________________. (2554). พทุ ธสนั ติวธิ :ี การบูรณากรหลกั การและเคร่ืองมือจดั การความ
ขดั แย้ง. กรุงเทพฯ: 21 เซ็นจูรี่.
พุทธทาสภิกขุ. (2529). สันตภิ าพของโลก. หนังสือธรรมโฆษณ์ หมวดสอง ชุด ปกรณ์พิเศษ อนั ดับท่ี
18 ซ. บนพน้ื แถบสีแดง เล่มท่ี 55.
พระไพศาล วสิ าโล และคณะ. (2550). สุขภาพสงั คม: ความขัดแย้ง ความรนุ แรงกบั ระบบบริการ
สขุ ภาพ. นนทบุรี: สานักวจิ ยั สังคมและสุขภาพ.
วนั ชัย วัฒนศพั ท์. (2555). ความขัดแย้ง:หลักการเคร่ืองมือแก้ปญั หา. พิมพค์ รงั้ ท่ี 4 ขอนแก่น: คลงั
นานาวทิ ยา.
1133
วิกพิ เี ดีย สารานุกรมเสร.ี (2564). ความหมายของสนั ติภาพ. สืบคน้ จาก
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%
95%E0%B8%B4%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E.
สมทิ ธริ กั ษ์ จันทรกั ษ์. (2557). การพัฒนารปู แบบการสอนสันตศิ กึ ษาในสถาบนั อุดมศึกษาไทย.
วทิ ยานพิ นธ์นีเ้ ป็นสว่ นหนง่ึ ของการศึกษาตามหลักสตู รปรญิ ญาปรชั ญาดุษฎบี ณั ฑิต สาขาวชิ า
พฒั นศึกษา ภาควชิ าพืน้ ฐานทางการศกึ ษา บณั ฑิตวิทยาลยั มหาวิทยาลยั ศิลปากร สบื ค้น
จากhttps://mgronline.com/daily/detail/9630000095672.
เอกพันธุ์ ปณิ ฑวณชิ . (2551). สนั ตวิ ิธี เอกสารประกอบการอบรมวทิ ยากรสันตวิ ธิ ี 21 – 24 มกราคม
2551 สบื ค้นจาก
https://deepsouthwatch.org/sites/default/files/archives/docs/ths.santiphaaph1
_aacchaaryek.pdf.
Berghof Foundation. (2012). อภิธานศัพทว์ ่าดว้ ยการแปรเปลีย่ นความขดั แย้ง: 20 แนวคดิ เชงิ
ทฤษฎี และปฏิบตั ิ. ภคั วดี วรี ะภาสพงษ์ แปล กรงุ เทพฯ: สานักพิมพ์ของเรา.
Mayer, Bernard S.,Mayer, Bernard. (2000). The Dynamics of Conflict Resolution: A
Practitioner's Guide. San Francisco CA: Jossey-Bass 263p.
14
บทท่ี 2
แนวคดิ และทฤษฎเี กีย่ วกบั สนั ติวิธแี ละความขัดแยง้
2.1 ยคุ สมยั ของแนวคดิ ทฤษฎี ของสันติวิธแี ละความขัดแยง้
ทฤษฎเี กี่ยวกับสันติวิธแี ละความขดั แย้งน้นั มีพฒั นาการจากทฤษฎดี งั้ เดมิ ก่อนท่จี ะมีการพัฒนา
และขยายให้กว้างขวางข้ึนตามสถานการณท์ ่ีเกิดข้ึนมนี ักวิชาการคนสาคัญได้อธิบายแนวคิดในยุคต่าง ๆ
รฐั พล เยน็ ใจมาและ สุรพล สยุ ะพรหม (2561) ไดป้ ระมวลสรุปแนวคดิ ของนกั วชิ าการท่สี าคญั ๆ บาง
ท่าน ใหเ้ ห็นดงั ต่อไปนี้
ตั้งแต่สมัย 470-399 ปีก่อนคริสตศักราช โสเครเตส Socrates นักปราชญ์ชาวกรีกโบราณ ได้
อธบิ ายแนวคดิ ความขัดแย้งที่ใช้การถามตอบหรือวาทศิลป์เพื่อแสวงหาความรู้ทถี่ ูกต้องและสมเหตุสมผล
มากกว่าเดิม ถือเป็นความขัดแย้งในทางความรู้ของบุคคลสองฝ่าย คือ ผู้ถามและผู้ตอบ เรียกว่า "ความ
ขัดแย้งแบบสมเหตุสมผลมากกว่าเดิม” (Logical Consistency) ต่อมา Immanuel Kant (ค.ศ. 1724 –
1804) นักทฤษฎีความขัดแย้งชาวเยอรมันได้เสนอทฤษฎีความขัดแย้งท่ีมีสาระสาคัญ คือ ความขัดแย้ง
(Dialectic) ท่ีเริ่มจาก "ข้อเสนอเบื้องต้น" (Thesis) แล้วมีข้อขัดแย้ง (Antithesis) จึงทาให้เกิดความ
ขดั แย้งกันขน้ึ โดยมนุษยแ์ ต่ละคนมธี รรมชาติของความขัดแย้งอยูใ่ นตัวอยู่แลว้ การเห็นแกต่ ัว ละเมดิ และ
เอารัดเอาเปรียบกันจึงเป็นสาเหตุท่ีสาคัญของความขัดแย้ง ส่วน Fredrich Hegel (ค.ศ. 1770 – 1831)
เป็นชาวเยอรมันมองว่าความขัดแย้งจะเกิดข้ึนก็ต่อเม่ือผู้ปกครองรัฐบางรัฐพยายามที่จะครอบครองและ
ควบคุมรัฐอ่ืน ๆ ไว้ จึงเป็นเหตุให้เกิดสงครามระหว่างรัฐข้ึน ถือเป็นความขัดแย้งทางประวัติศาสตร์
(Historical Conflict) และแนวคดิ ของ Ludwig Feuerbach (ค.ศ. 1804 – 1872) ชาวเยอรมันคล้ายกับ
Immanuel Kant โดยมองว่ามนุษย์แต่ละคนต่างมีความเห็นแก่ตัวและมีความพยายามที่จะครอบครอง
วัตถตุ า่ ง ๆ ไว้ให้ไดม้ ากทสี่ ดุ และเมือ่ มนุษย์ไม่สามารถท่ีจะครองครองวัตถุได้มากดังท่ีตั้งใจ ความขัดแย้ง
จากการแก่งแยง่ แขง่ ขันจึงเกิดขึน้ ปรากฏการณ์นีจ้ ึงเรียกว่า "ความขัดแยง้ ทางวัตถุ" (Material Dialectic)
Max Weber (ค.ศ.1864–1920) เป็นชาวเยอรมัน มองว่า ต้องยอมรับว่าความขัดแย้งใน
ผลประโยชน์ระหว่างบุคคลพบได้ทุกหนทุกแห่งในสังคม ความขัดแย้งเกิดจากการกระทาของบุคคลท่ี
ต้องการท่ีจะบรรลุความปรารถนาของตนเกิดปะทะกับการต่อต้านของอีกฝ่ายหนึ่ง หรือ หลาย ๆ กลุ่ม
Max Weber ยังถือว่า "การแข่งขัน" (Competition) เป็นรูปแบบหนึ่งของความขัดแย้ง เพราะในการ
แข่งขันนั้นถึงจะมีกฎหรือกติกาท่ีทุกฝ่ายยอมรับ แต่การแพ้ - ชนะ ก็จะเป็นชนวนสาคัญที่นามาซึ่งความ
ขัดแย้งด้วย นักสังคมวิทยาชาวเยอรมันอีกคนหน่ึงคือ Georg Simmel (ค.ศ. 1858 – 1918) ช้ีให้เห็นวา่
"ความขดั แยง้ " เป็นปฏิสัมพันธ์รูปแบบหน่ึง (Sociation) ที่เกิดขึ้นในกลุ่มท่ีสมาชิกมีความสัมพันธ์ใกล้ชิด
1155
กัน Georg Simmel ยังเชื่อว่า ความขัดแย้งระหว่างสองฝ่ายแสดงให้เห็นถึงลักษณะความสัมพันธ์และ
ความสามัคคีกลมเกลียวภายในกลุ่ม ขณะเดียวกันความกลมเกลียวภายในกลุ่มก็เป็นอีกสาเหตุทำให้เกิด
ความขดั แย้งได้เชน่ เดียวกัน ทางด้าน Gaetano Mosca (ค.ศ.1858 - 1941) นกั สังคมวิทยาชาวอิตาลี มี
มุมมองมองคล้ายกบั Max Weber ท่เี ชอ่ื วา่ ความขัดแย้งในสังคมไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งระหว่างบุคคล
กับบุคคล หรือระหว่างกลุ่มกับกลุ่ม เป็นเรื่องปกติท่ีเกิดโดยธรรมชาติและไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ในการ
ดำรงชวี ิต และยงั เปน็ สาเหตุในการสร้างความก้าวหน้า ความเป็นระเบยี บของสังคม และเสรภี าพทางการ
เมือง ส่วน Lewis A. Coser (ค.ศ.1813-2003) นักสังคมวิทยาชาวอเมริกันที่พยายามชี้ให้เห็นว่าความ
ขัดแยง้ เป็นทั้งส่ิงท่ีเป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ และความขัดแย้งอาจนำไปสู่ความกลมเกลียวหรือ
ความแตกแยกได้ เช่น ความขัดแย้งกับกลุ่มภายนอกจะนำไปสู่ความกลมเกลียวภายในที่แน่นแคว้นของ
คนในกลุม่
นักทฤษฎีดังกล่าวได้วิเคราะห์สอดคล้องกันว่าเป็นปกติของสังคมที่จะเกิดความขัดแย้งโดยเริ่ม
จากการเห็นแก่ตัว เอาความต้องการเป็นตัวตั้งของมนุษย์ เกิดการแก่งแย่งแข่งขัน เอาเปรยี บ เบียดเบียน
ซึ่งกันและกัน จนไปถึงการแก่งแย่งกันข้ามกลุ่ม หรือการพยายามยึดครองกันระหว่างรัฐต่อรัฐ และ
มองว่าสถานการณ์ความขัดแย้งยังก่อใหค้ วามสมั พันธ์ภายในกลมุ่ ให้ดีขนึ้ หรือแย่ลงก็ได้ ดังนั้นรูปแบบ
ความสัมพันธ์ของคนในสังคมจึงมีส่วนสำคัญที่จะทำให้เกิดความขัดแย้ง เช่น การเข้าถึงผลประโยชน์
ทางเศรษฐกจิ ทีต่ ่างกนั ปฏสิ มั พนั ธ์ระหวา่ งชนช้นั ในสงั คมทตี่ ่างกัน เป็นต้น
2.2 ความขดั แย้งทางชนช้นั
สุรพงษ์ ลือทองจักร (2552) ได้ระบุว่า คาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx) (ค.ศ. 1818 – 1883) เป็น
นักทฤษฎีความขดั แยง้ ชาวเยอรมนั คนสำคัญ และได้อธบิ ายสาระสำคัญทฤษฎีความขดั แยง้ ของมาร์กซ์
ว่า ความขดั แย้งเกิดข้ึนเน่ืองจากความเป็นวตั ถนุ ิยม โดยเศรษฐกจิ เป็นสิง่ สำคัญท่สี ุดในการเปล่ียนแปลง
หรือกำหนดโครงสร้างของสังคม (Economic Determinism) การจัดระเบียบทางเศรษฐกิจจะกำหนด
การจดั ระเบยี บทางสังคม โครงสร้างชนชน้ั การจดั ระเบียบของสถาบนั ต่าง ๆ คา่ นิยม ความเชื่อ ศาสนา
และระบบความคิดต่าง ๆ เป็นพลังที่ก่อให้เกิดการปฏิวัติ หรือความขัดแย้งทางชนชั้นในสังคมข้ึน
โครงสร้างของสงั คมแบ่งออกเป็น 2 สว่ น คือ
1. โครงสร้างส่วนบน (Superstructure) ไดแ้ ก่ สถาบนั ทางสงั คมต่าง ๆ เช่น กฎหมาย ศาสนา
ปรัชญา ความเชื่อ อุดมการณ์ ค่านิยม และศิลปะ เป็นต้น โดยมีหน้าที่ 2 ประการได้แก่ 1) สร้าง
ความชอบธรรมในกฎหมาย จริยธรรม ซึ่งพวกชนชั้นผู้ปกครองได้บัญญัติไว้เพื่อผลประโยชน์ในกลุ่ม
ของตน 2) เปน็ เครื่องมอื ของชนชัน้ ผู้ปกครองเพ่อื รักษาสถานภาพและบทบาททเี่ หนือกว่าเอาไว้
2. โครงสร้างส่วนล่าง (Substructure) เป็นรากฐานทางเศรษฐกิจ ได้แก่ พลัง การผลิต
ทรัพยากรและเทคโนโลยี เป็นต้น โครงสร้างส่วนล่างนี้จะเป็นตัวกำหนดโครงสร้างส่วนบนอีกทีหน่ึง
16 16
และถือว่าเป็นรูปแบบของการผลิต (Mode of Production) ซึ่งมี 2 ส่วนได้แก่ 1) พลังการผลิต
(Productive Forces) ได้แก่ ทรัพยากร วัตถุดิบ เทคโนโลยี ที่นำมาใช้ในการผลิต และ 2) ความสัมพันธ์
ของการผลิต (Productive Relation) คือ การที่บุคคลหรือกลุ่มคนมีความสัมพันธ์กันในเรื่องพลังการ
ผลิตซึ่งจะทำให้เกดิ ชนชัน้ ในสังคมขึ้น 2 ชนชั้น คือเจ้าของปัจจัยการผลิต ซึ่งมีเพียงจำนวนน้อยแตไ่ ด้
ประโยชน์มาก และผู้ไม่ได้เป็นเจ้าของปัจจัยในการผลิต ซึ่งมีเป็นจำนวนมากแต่ได้รับประโยชน์จาก
การผลิตนอ้ ย
ภาวะทางเศรษฐกิจท่ีกล่าวมานี้ทำให้เกดิ ความขดั แย้งทางสงั คมและนำไปสู่การต่อสู้ ระหว่าง
ชนชั้นขึ้น คาร์ล มาร์กซ์ เชื่อว่าความขัดแย้งของมนุษย์เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการ ครอบครองการใช้
ประโยชน์และการแบ่งปันทรัพย์สิน เป็นต้น วิธีการศึกษาแบบนี้เรียกว่า “วัตถุนิยมวิภาษณ์วิธี”
(Dialectic Materialism) โครงสร้างสงั คมของคาร์ล มาร์กซ์ สามารถแสดงดังภาพท่ี 1-2
รฐั บาล และวัฒนธรรม
(กฎหมาย ศาสนาศลิ ปะ ค่านยิ ม ฯลฯ)
ความสมั พนั ธ์ของการผลิต
(ชนช้ัน)
พลังการผลิต
(ทรัพยากร เทคโนโลย)ี
ภาพท่ี 2-1 โครงสร้างสังคมของ คาร์ล มาร์กซ์
ทมี่ า: ประยุกตจ์ าก สุรพงษ์ ลอื ทองจักร (2552)
1177
คารล์ มารก์ ซ์ แบ่งสังคมตามวิวัฒนาการของความขัดแย้งแบง่ ออกเปน็ 5 ยคุ คอื
1. สังคมบุพกาลหรือสังคมคอมมิวนิสต์ดั้งเดิม (Primitive Communist) เป็น สังคมในยุค
แรกเริ่มของมนุษย์ยังไม่มีการถือครองกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินและสิ่งต่าง ๆ มีการ แบ่งปันผลผลิตของ
สงั คมอยา่ งดไี มม่ ีการแบง่ ชนชั้นในสงั คม ความขดั แยง้ จงึ ยังไม่เกดิ ขนึ้
2. สงั คมทาส (Slavery) เป็นสังคมต้อจากสังคมบุพกาล ในยคุ นม้ี นษุ ยเ์ ริ่มเกิดความเหน็ แก่ตัว
มกี ารถอื ครองในทรัพย์สนิ ต่าง ๆ ทำให้เกดิ ชนช้ันทาสกับนายทาสขึ้นและนำไปสู่ความขดั แย้ง ในท่ีสุด
ระบบทาสก็ถกู ทำลายไปสสู่ ังคมยุคที่ 3
3. สังคมศักดินา (Feudalist) เป็นสังคมที่เป็นข้อเสนอประสานระหว่างทาสกับ นายทาส ใน
สังคมยุคน้ีมชี นชัน้ 2 ชนชั้น คือ ชาวไร่ชาวนากบั เจ้าผู้ครองนคร โดยเจ้าผู้ครองนครเป็นผู้ครอบครอง
ปัจจัยในการผลิต และชาวไร่ชาวนาไมไ่ ด้เปน็ เจา้ ของปัจจยั ในการผลิต ต้องทำงานในไร่นาต่าง ๆ เพ่ือ
แลกกับการดำรงชีวิต ในทส่ี ุดกเ็ กดิ ความขัดแย้งกนั ข้ึน ระบบศกั ดนิ าถกู ทำลายไปสสู่ งั คมยุคท่ี 4
4. สังคมทุนนิยม (Capitalist) เป็นสังคมที่ เกิดขึ้นต่อจากสังคมศักดินา ในยุคนี้สังคมจะแบ่ง
ออกเปน็ 2 ชนช้นั คอื ชนช้ันนายทุน ซ่งึ เปน็ ผคู้ รอบครองปจั จัยในการผลติ กบั ชนชัน้ กรรมาชีพท่ีไม่ได้
ครอบครองปัจจัยในการผลติ ทำให้เกดิ ความขดั แยง้ ระหว่างชนชน้ั ท้งั สองข้ึน และชนช้ันกรรมาชพี เป็น
ฝา่ ยชนะในทีส่ ดุ ทำให้เกดิ สังคมยุคท่ี 5 ขน้ึ
5. สังคมคอมมิวนิสต์ (Communist) เป็นสังคมทีเ่ กิดข้ึนจากผลของความขัดแย้งในสงั คมทนุ
นิยม เป็นสังคมที่ไม่มีการถือครองกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน มีการแบ่งปันผลผลิตอย่างเท่าเทียมกันและ
ไมม่ ีชนชั้นอกี ต่อไป ทำให้ความขดั แยง้ ในสังคมหมดไปด้วย สังคมคอมมิวนสิ ต์ทำให้มนษุ ย์ลดความเห็น
แก่ตัวลง เสียสละความสุขส่วนตัวเพื่อส่วนรวม มีความเสมอภาคกันในทางสังคม เศรษฐกิจและ
การเมือง เป็นมนุษย์ของชุมชนอย่างแท้จริง ทฤษฎีความขัดแย้งของ คาร์ล มาร์กซ์ เป็นที่ยอมรับของ
นักทฤษฎีและนักปฏิวัติสังคมในหลายประเทศ และเป็นที่มาของประเทศที่ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบ
สังคมนยิ มในอดตี และปัจจุบัน
18 18
ยุคสังคมคอมมวิ นิสต์ (Communist)
ยคุ สงั คมทุนนิยม (Capitalist)
ยคุ สงั คมศกั ดินา (Feudalist)
ยคุ สังคมทาส (Slavery)
ยุคสงั คมบุพกาล (Primitive Communist)
ภาพท่ี 2-2 วิวฒั นาการของความขัดแย้งของคาร์ล มาร์กซ์
ทีม่ า: ประยกุ ตจ์ าก สุรพงษ์ ลือทองจกั ร (2552)
คาร์ล มาร์กซ์ เป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญที่มีอิทธิพลต่อแนวคิดของ ซี ไรท์ มิลลส์ C. Wright
Mills มิลลส์ Etzioni-Halevy (1993) (อ้างอิงใน รุ้งนภา ยรรยงเกษมสุข, 2550) ได้อธิบายทฤษฎีชน
ชั้นนำของมิลลส์ โดยที่จำกัดการนำไปใช้เฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกาว่า ชนชั้นนำปกครอง (elite
ruler) เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ชนชั้นปกครองอยู่บนฐานของการหาผลประโยชน์จากคนส่วนใหญ่
เพราะแท้จริงแล้วผลประโยชน์ของชนช้ันนำและคนสว่ นใหญ่แตกต่างกนั และสงิ่ น้ีเองได้สร้างศักยภาพ
ที่เป็นความขัดแย้งระหว่าง 2 กลุ่ม มิลลส์ได้อธิบายว่าชนชั้นนำปกครองในเชิงสถาบันมากกว่าจะเป็น
เชิงจิตวิทยา โดยโครงสร้างเชิงสถาบันเปน็ แค่ที่ท่ีคนกลุ่มหน่ึงอยู่ทีย่ อดสุดของลำดับข้ันที่ทำการผูกขาด
อำนาจ โดยแบ่งสถาบันออกเป็น 3 สถาบันหลักคือ บริษัทขนาดใหญ่ (major corporations) การทหาร
(military) และรัฐบาลสหพันธรัฐ (federal government) ในทางปฏิบัติ ผลประโยชน์และกิจกรรม
ของชนช้ันนำจากสถาบันเหล่าน้ี มคี วามเหมือนกนั และเกี่ยวพันกัน ทำให้เกิดการสร้างชนชั้นนำอำนาจ
(power elite) ชนชั้นนำอำนาจมีความเกี่ยวข้องกับความสอดคล้องกันของอำนาจทางการเมือง
การทหาร และทางเศรษฐกิจ หากพิจารณาทุนนิยมของประเทศอเมริกา พบว่าเป็นทุนนิยมทาง
การทหาร คือไม่ว่าจะเป็น ปืน จรวด ล้วนมาจากโรงงาน ฉะนั้น “ธุรกิจและการปกครอง” จึงไม่
สามารถแยกออกจากกันได้อีก มิลลส์เรียกผู้นำทางการเมืองว่า “นายทหารของชนชั้นนำทาง
เศรษฐกิจ” (lieutenants of the Economic Elite) โดยการตัดสินใจ ต่าง ๆ สนองต่อผลประโยชน์
และความต้องการของบรรษทั ขนาดใหญข่ องประเทศ
1199
เมื่อความสอดคล้องต้องกันของอำนาจทางเศรษฐกิจ การเมือง และการทหารเกิดขึ้น ทำให้
เกิดชนชั้นนำอำนาจ (power elite) ทำการครอบงำ (dominate) สังคมประเทศสหรัฐอเมริกา และ
ตดั สินใจในทุก ๆ เรอ่ื งทส่ี ำคัญในระดับประเทศและระหว่างประเทศ ประชาชนในประเทศในฐานะคน
ส่วนใหญ่เป็นเพียงผู้ถูกกระทำและมีแต่ความเฉื่อยชา หมายความว่าสังคมสมัยใหม่ถูกครอบงำจาก
บุคคลในทางการเมือง การทหาร และองค์กรทางเศรษฐกิจชั้นสูง ผู้ซึ่งเป็นเจ้าของอำนาจที่มาจาก
ตำแหน่งสำคัญ ๆ ในโครงสร้างสถาบนั ทไี่ ดร้ ับการยอมรับทงั้ 3 กลุม่ และเม่ือบคุ คลจากทั้ง 3 กล่มุ นี้ได้
รวมตวั กนั เกิดเปน็ ชนช้ันนำอำนาจ ทำการควบคุนคนสว่ นใหญใ่ ห้ยอมรับกบั กฎการปกครอง โดยที่คน
ส่วนใหญ่ในประเทศตา่ งสญู เสยี เจตนารมณ์ของพวกเขาในการตดั สินใจและกระทำการตา่ ง ๆ อยา่ งคิด
พจิ ารณาและมเี หตุมีผล
ความขัดแย้งที่เกิดจากการต่อสู้ระหว่างผู้ที่ถูกเอาเปรียบหรือถูกกดขี่จากความไม่เป็นธรรม
เกิดขึ้นทุกยุคทุกสมัย ตั้งแต่ยุคสังคมทาสจนถึงยุคสังคมคอมมิวนิสต์ แม้กระทั่งคนส่วนใหญ่ในสังคม
อเมริกาที่ถูกชนชั้นนำอำนาจ (power elite) ที่มีการสมคบคิดกันของกลุ่มทางการเมือง การทหาร
และองค์กรทางธุรกิจ เอาเปรียบคนที่เป็นเกษตรกร ชนชั้นแรงงาน หรือชาวอเมริกา ในยุคสมัยที่ชน
ช้นั นำครอบงำ จะตอ่ ส้เู พ่ือหยุดการถูกเอาเปรยี บได้อย่างไร ดว้ ยวิธกี ารอะไร
2.3 อหิงสา การแก้ไขความขัดแยง้ โดยสันติวธิ ี
ปาเรคห์ ภิกขุ (2557) ได้อธิบายวิธีการต่อสู้ของ มหาตะมะ คานธี Mahatma Gandhi (ค.ศ.
1849-1948) เพื่อเรียกร้องเอกราชของอินเดียจากอังกฤษ ซึ่งประสบความสำเร็จใน ค.ศ.1947 โดย
วิธกี ารสนั ติวิธี หรอื “อหิงสา” ซง่ึ มหี ลักการคอื การไม่เบียดเบียน ไมท่ ำร้ายผูอ้ ่นื ไม่ปฏิบัติผิดต่อผู้อ่ืน
ไม่ว่าด้วยกาย วาจา หรือใจ มีความรักผู้อื่น รักมนุษยชาติ และ สัตว์ทั้งหลาย โดยการตั้งปณิธานที่ดี
แล้วคิด พูดและปฏิบัติตามปณิธานนั้นอย่างแน่วแน่ เรียกว่าการถือความสัตย์ หรือคานธีเรียกว่า
“สัตยาเคราะห์” โดยคานธีนำไปใช้ในการต่อต้านความ อยุติธรรมตา่ ง ๆ ทางสังคมและการเมอื งด้วย
ซง่ึ คานธีเชอื่ ว่า มนษุ ย์เปน็ ผ้พู ิทักษส์ รรพสง่ิ ที่พ่ึงพากนั ใน 5 หลักการ ไดแ้ ก่ 1) สงั คมทดี่ ีควรบ่งบอกถึง
จติ วิณญาณแห่งศรัทธาจักรวาล เนอ่ื งจากมนุษย์ไม่ใช่ผู้เป็นนายหรือเป็นเจ้าของ แตเ่ ปน็ ผู้พิทักษ์สรรพส่ิง
จึงควรจดั ระเบยี บชีวิตส่วนรวมให้เคารพในบูรณภาพ ความหลากหลาย จังหวะ และสมดุลภายในของ
สรรพสิ่งนั้น และไม่เรียกร้องอะไรจากมันมากไปกว่าที่ชวี ิตตอ้ งการตามความสะดวกสบายพอประมาณ
2) เนื่องจากมนุษย์พึ่งพาอาศัยกัน สังคมที่ดีควรขัดขวางการเอารัดเอาเปรียบขูดรีด การครอบงำ
ความอยตุ ิธรรม และความไม่เท่าเทยี มทกุ รปู แบบ ควรหาทางหล่อเลีย้ งจติ วิญญาณแหง่ ความรกั ความ
จริงใจ การรับใช้สังคม ความร่วมมือกัน และความสมานฉันท์ 3) เนื่องจากมนุษย์มีลักษณะเชิงจิต
วิญญาณโดยธรรมชาติ สังคมที่ดีควรให้มนุษย์พัฒนาอำนาจทางศีลธรรมและทางจิตวิญญาณ และ
สร้างเงื่อนไขสำหรับการปกครองตนเองหรืออัตตาณัติ 4) สังคมที่ดีควรเชิดชูพหุนิยมเชิงญาณวิทยา
20 20
มันควรชื่นชมว่า เหตุผล สหัชญาณ ศรัทธา ประเพณี ภูมิปัญญาร่วมที่สัง่ สมมารุ่นต่อรนุ และอารมณ์
ล้วนเป็นบ่อเกิดของความรู้อันทรงคุณค่า มีคุณูปการอันโดดเด่นในตัวเองและถอดแบบความซับซ้อน
ของชีวิตมนุษย์ สังคมที่ดีควรกระตุ้นใหเ้ กิดการสนทนา การปฏิสัมพันธ์กันอย่างสร้างสรรค์ ไม่ยอมให้
ใครคนใดคนหนึ่งรบั บทบาทครองอำนาจหรือกลายเป็นคนชี้ขาดคนอืน่ และ 5) เนอ่ื งจากปัจเจกแต่ละ
คนมี การประกอบสร้างทางศีลธรรมและทางจติ วิทยาแตกตา่ งกัน และจัดการกับเง่ือนไขชีวิตด้วยวิธีที่
เฉพาะของตนเอง สังคมที่ดีควรให้พื้นที่มากที่สุดแก่อัตตาณัติส่วนบุคคล สังคมที่ดีควรเคารพ “ความ
จริง” หรือบูรณภาพของแต่ละบุคคล และอนุญาตให้พวกเขามีอิสรภาพที่จะวางแผนชีวิตของตนเอง
พวกเขาอาจทำผิดพลาดไปบ้าง แต่ควรมีอิสระที่จะเรียนรู้จากความผิดพลาดเหล่านั้น เนื่องจากชีวิต
มนุษย์เหลื่อมซ้อนกันและมนุษย์แต่ละคนเป็นผู้ดูแลเพื่อมนุษย์ด้วยกัน พวกเขาจึงมีหน้าที่ชี้ให้เห็น
ข้อจำกัดของกันและกันด้วยจิตวิณญาณแห่งความเอื้ออาทรและความรัก และให้ความช่วยเหลือ
ตามแต่ที่มีคนต้องการ อย่างไรก็ดีนี่ไม่ควรรวมถึงการใช้อำนาจบังคับในรูปแบบใดก็ตาม อย่างน้อย
ที่สุดในทางกฎหมาย ยกเว้นเมื่อพฤติกรรมของพวกเขาทำความเสียหายแก่ผลประโยชน์ส่วนรวมที่
กำหนดไวอ้ ย่างชดั เจน
ชลัท ประเทอื งรตั นา (2550) ได้สรปุ หลักการอหิงสา การไมใ่ ช้ความรุนแรงของคานธี ใน 3 ประเด็น
ได้แก่ 1) การรักและมีเมตตาแก่ผู้ที่เราเกลียด โดยท่ีอหิงสานั้นต้องเริ่มที่ใจ ใจของเราต้องไม่เต็มไป
ด้วยความอาฆาตมาดร้าย 2) การใช้อหิงสาจำเป็นต้องเรียนรู้และฝึกฝน เพื่อให้ตนเองเป็นผู้เสียสละ
อย่างสูงสุดเพื่อไม่ให้เกิดความกลัว ไม่กลัวว่าต้องสูญเสียไม่ว่าจะเป็นอวัยวะ ทรัพย์สมบัติ หรือแม้แต่
ชีวิต ผู้ที่ปฏิบัติตามหลักของอหิงสาจะเป็นคนกลัวหรือมีความขลาดไม่ได้ ความไม่กลัวเป็นพื้นฐานท่ี
สำคัญ 3) การต่อสู้แบบ “สัตยาเคราะห์” หรือที่เรียกกันวา่ ต่อสู้ “ดื้อแพ่ง” ผู้ต่อสู้ต้องไม่ใช้กำลังกับ
ฝ่ายปรปักษ์ ไม่ทำร้าย ทำลายชีวิตของคู่ต่อสู้ ผู้ต่อสู้ต้องมีความอดทนหมายถึงการยอมรับทุกข์ด้วย
ตัวเอง ไมท่ ำให้ผู้อ่ืนได้รับทุกข์ เช่น การยอมรับโทษจากการไม่ปฏิบตั ิตามกฎหมาย ผู้ที่ยึดถือแนวทาง
อหงิ สา จะพรอ้ มยอมตายเพ่ืออุดมการณ์ เชน่ คานธีจะทำใหอ้ นิ เดยี ได้รับเอกราช โดยคานธียอมพลีชีพ
ของตนเองเพ่อื ให้บรรลุในส่ิงท่ปี ระสงค์
การใชห้ ลักอหงิ สาในการต่อสู้ของมหาตะมะ คานธี เปน็ ทย่ี อมรับและเปน็ แรงบนั ดาลใจให้กับ
นักปฏิบัติการด้านสันติภาพไปทั่วโลก อย่างไรก็ตาม เงื่อนไขหรือคุณสมบัติที่จะใช้หลักอหิงสาแบบ
คานธีได้ ตอ้ งผา่ นการเรียนร้ฝู กึ ฝนเป็นอย่างดีจนเกดิ ทักษะ จนมคี วามกล้าหาญท่ีจะทำและยอมรับผล
ที่เกิดขึ้น แต่สำหรับสถานการณ์ใหม่ๆที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เช่น ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ปัญหาความ
ขัดแย้งด้านเศรษฐกิจ ปัญหาทางการเมือง เป็นต้น สำหรับคนรุ่นใหม่จำเป็นต้องมีองค์ความรู้ วิธีการ
ปฏบิ ัตกิ ารทีห่ ลากหลายมากขึน้
2211
2.4 การปฏิบตั กิ ารไรค้ วามรุนแรงทางการเมอื ง
ในที่น้ีจะกล่าวถึงนักวิชาการด้านปฏิบัติการสันติวิธีรุ่นใหม่ ท่ีมีอิทธิพลต่อนักเคลื่อนไหวทาง
สงั คมร่นุ ปจั จบุ นั คนสาคัญ ได้แก่ ยีน ชาร์ป Gene Sharp (1982) โดยใหค้ วามหมายของปฏบิ ัติการไร้
ความรุนแรงทางการเมืองว่า ประชาชนไม่ให้ความร่วมมือ ปฏิเสธการช่วยเหลือ และยืนยันที่จะด้ือ
แพ่งและท้าทาย ปฏิเสธที่จะให้ความช่วยเหลือร่วมมือแก่ฝ่ายตรงข้ามที่เป็นรัฐบาลหรือทุกระบบ
อานาจ หากประชาชนมีจานวนมากพอ กระทาการดังกล่าวเป็นเวลานานพอเพียง รัฐบาลหรือระบบ
อานาจนน้ั จะไมม่ ีอานาจอกี ต่อไป
ลักษณะของปฏิบัติการไร้ความรุนแรง ได้แก่ การประท้วง การไม่ให้ความรว่ มมือ การแทรกแซง
ซ่ึงเป็นการปฏิบัติการที่ผู้กระทาได้ก่อให้เกิดภาวะขัดแย้งโดยการกระทาหรือปฏิเสธท่ีจะกระทาส่ิงใด
ส่ิงหนึ่ง โดยไม่ใช้กาลังทางกายภาพ ปฏิบัติการไร้ความรุนแรงไม่ใช่ความเฉ่ือยชา ไม่ใช่การไม่กระทา
แต่เปน็ การกระทา ทไ่ี ร้ความรนุ แรง ไม่วา่ ขอบเขตของความขดั แย้งจะอยู่ระดับใด ปฏบิ ัติการไร้ความ
รุนแรงเป็นวิธีการที่บุคคลผู้ปฏิเสธการยอมจานนหมอบราบคาบแก้ว ต่อสู้กับความขัดแย้งโดยไม่ใช้
ความรุนแรง ซ่ึงไม่ใช่พยายามที่จะหลีกเลี่ยง หรือละเลยความขัดแย้ง แต่เป็นวิธีการตอบสนองต่อ
ปัญหา การจะใช้วิธีการใดและมากน้อยเท่าใดก็จะข้ึนอยู่กับองค์ประกอบต่าง ๆ ได้แก่ 1) วัฒนธรรม
และประเพณีของประชาชนท่ีเกี่ยวข้อง 2) ขอบเขตและความลึกซึ้งของความรู้และประสบการณ์
เก่ียวกับวิธีการของปฏิบัติการไร้ความรุนแรงของประชาชนท่ัว ๆ ไปของผู้มีส่วนร่วมในการต่อสู้และ
ของผุ้นาบุคคลเหลา่ น้ี 3) สถานการณ์ทางสงั คมและการเมอื งโดยท่ัวไป 4) ระดับความรุนแรงของการ
ปราบปรามที่ประชาชนชนทั่วไป นักปฏิบัติการ และผู้นาพร้อมท่ีจะเผชิญปัญหา 5) ธรรมชาติของ
วัตถุประสงคข์ องฝา่ ยตรงกนั ขา้ ม 6) ทรัพยากรท่มี ีอยู่ในอานาจการจัดการของฝ่ายตรงกนั ข้าม (รวมถงึ
ระบบการบริหาร กลไกในการปราบปราม และอ่ืน ๆ) 7) ระดับของความรุนแรงท่ีฝ่ายตรงกันข้าม
พร้อมท่ีจะใช้ 8) ระดับความพ่ึงพิงท่ีฝ่ายตรงข้ามมีต่อสมาชิกของฝ่ายต่อต้านโดยไร้ความรุนแรง
9) จานวนสมาชิกของนักปฏิบัติการท่ีเข้าร่วม และระดับการสนับสนุนท่ีพวกเขาได้รับจากประชาชน
10) คณุ ภาพของนกั ปฏิบตั กิ ารและของผ้นู า 11) ธรรมชาติของขอ้ เรียกร้อง และ 12) รายละเอียดทาง
กายภาพของสถานการณ์เฉพาะท่ีเกี่ยวข้องกับปฏบิ ตั ิการไร้ความรุนแรง
22 22
ยีน ชาร์ป ได้เสนอวิธีการปฏิบัติการไร้ความรุนแรง ทั้งการประท้วงไร้ความรุนแรงและการ
โน้มน้าว การไม่ให้ความร่วมมือทางสังคมและทางการเมือง และการไม่ให้ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
ดังต่อไปน้ี
1) การประท้วงไรค้ วามรนุ แรงและการโน้มน้าว
มีรูปแบบการปฏิบัติการท่ีหลากหลาย ซึ่งเน้นไปที่ไร้ความรุนแรง ได้แก่ คาประกาศ
อย่างเป็นทางการ ได้แก่ การพูดในท่ีสาธารณะ จดหมายคัดค้านหรือสนับสนุน แถลงการณ์ของ
องค์กรหรือสถาบัน คาแถลงลงนามโดยสาธารณชน แถลงการณ์ฟ้องร้องหรือแสดงเจตจานง การ
ร้องเรียนของกลุ่มบุคคลหรือมวลชน การส่ือสารกับคนในวงกว้างข้ึน ได้แก่ การจัดทาคาขวัญ ภาพ
ลอ้ เลยี นและสัญลกั ษณ์ แผน่ ผา้ แผน่ ปา้ ย และป้ายประกาศ หนงั สือพมิ พ์และวารสาร เทปบันทกึ เสียง
วิทยุและโทรทัศน์ การเขียนข้อความบนท้องฟ้าและเขียนข้อความบนพ้ืนดิน ตัวแทนกลุ่ม ได้แก่
จัดตั้งคณะผู้แทน การมอบรางวัลล้อเลียน การว่ิงเต้นในสภา การชุมนุมชี้ชวน การเลือกต้ังเหน็บแนม
ปฏบิ ัตกิ ารเชงิ สัญลกั ษณ์ ไดแ้ ก่ การติดธงและสีสญั ลกั ษณ์ การสวมใส่สัญลักษณ์ การสวดภาวนาและ
ทาพิธีบูชา การส่งมอบของที่เป็นสัญลักษณ์ การประท้วงโดยการปลดเปล้ืองเสื้อผ้า การทาลาย
ทรัพย์สินของตัวเอง ไฟสัญลักษณ์ การแสดงภาพ การวาดภาพประท้วง เครื่องหมายใหม่และชื่อใหม่
เสียงสัญลักษณ์ การเรียกคืนส่ิงของทรัพย์สิน ท่าทางที่หยาบคาย แรงกดดันต่อปัจเจกบุคคล ได้แก่
“การติดตาม” เจ้าหน้าที่ การเยาะเย้ยเจ้าหน้าท่ี การแสดงความเป็นมิตร การชุมนุมข้ามคืน ละคร
และดนตรี ได้แก่การเสียดสีและล้อเลียนในเชิงตลกขบขัน การแสดงละครและดนตรี การร้องเพลง
ขบวนแห่ทางศาสนา ขบวนแถว ได้แก่ การเดินขบวน การเดินขบวนแห่ การเดินจาริก ขบวนพาหนะ
การให้เกียรติผู้ตาย ได้แก่ การไว้อาลัยทางการเมือง พิธีฝังศพเหน็บแนม การชุมนุมประท้วงในพิธีงาน
ศพ การแสดงความเคารพ ฯ ท่ีฝังศพ การชุมนุมในที่สาธารณะ ได้แก่ การชุมนุมประท้วงหรือสนับสนนุ
การชุมนุมประท้วง การประชุมประท้วงแบบอาพราง การประชุมและอภิปรายคัดค้าน และการเพิก
ถอนและการสละสิทธ์ิ ไดแ้ ก่ การตบเทา้ ออก การนิง่ เงียบ การสละเกยี รติยศ และการหันหลังให้
2) การไมใ่ หค้ วามร่วมมอื ทางสังคม
มีวิธีการปฏิบัติการ 3 วิธี ได้แก่ การอัปเปหิบุคคล ได้แก่ การคว่าบาตรทางสังคม การ
คว่าบาตรทางสงั คมเฉพาะบางอย่าง การไม่มีความสัมพันธท์ างเพศ การขับออกจากศาสนา การระงับ
กิจกรรมทางศาสนา การไม่ให้ความร่วมมือกับกิจกรรม ประเพณีและสถาบันทางสังคม ได้แก่ การ
งดเว้นกิจกรรมทางสังคมและการกีฬา การคว่าบาตรงานสังคม การหยุดการเรียนของนักศึกษา การ
ดื้อแพ่งทางสังคม การถอนตัวจากสถาบันทางสังคม และการถอนตัวจากระบบสังคม ได้แก่ การอยู่
แต่ในบ้าน การไม่ให้ความร่วมมือของนักโทษท้ังหมด “การผละ” ของคนงาน การลี้ภัย การหายตัว
เป็นกลุ่ม
2233
3) การไมใ่ ห้ความรว่ มมือทางเศรษฐกจิ
วิธีการปฏิบัติการนี้จะเนน้ ไปที่การทาให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจเพ่ือสร้างแรงกดดนั ใหม้ ี
การแก้ปญั หาท่ีตอ้ งการโดยมวี ิธกี าร ปฏบิ ตั กิ ารโดยผ้บู ริโภค ได้แก่ การคว่าบาตรของผ้บู ริโภค การไม่
บรโิ ภคสินค้าท่ถี ูควา่ บาตร นโยบายเรยี บง่ายเว้นสงิ่ ฟุ่มเฟือย การปฏเิ สธจา่ ยค่าเชา่ ยืม การปฏเิ สธให้เช่า
การคว่าบาตรของผู้บริโภคระดับชาติ การคว่าบาตรของผูบริโภคระดับนานาชาติ ปฏิบัติการของ
คนงานและผู้ผลิต ได้แก่ การคว่าบาตรของคนงาน การคว่าบาตรของผู้ผลิต ปฏิบัติการของเจ้าของ
และผ้จู ัดการ ได้แก่ การควา่ บาตรของพ่อคา้ การปฏิเสธใหเ้ ช่าหรือขายทรัพยส์ ิน การปิดโรงงาน การ
ปฏิเสธการช่วยเหลือทางอุตสาหกรรม การนัดหยุดงานท่ัวไปของพ่อค้า ปฏิบัติการของผู้กุม
ทรัพยากรทางการเงิน ได้แก่ การถอนเงินจากธนาคาร การปฏิบัติการชาระหนี้หรือดอกเบี้ย การตัด
ทุนและสินเชื่อ การทาให้รัฐขาดรายได้ การปฏิเสธเงินของรัฐ ปฏิบัติการโดยรัฐบาล ได้แก่ การห้าม
ค้าขายในประเทศ การขึ้นบัญชีดาพ่อค้า การห้ามขายสินค้าระหว่างประเทศ การห้ามค้าขายระหว่าง
ประเทศ การนัดหยุดงานเชิงสัญลักษณ์ ได้แก่ การนัดหยุดงานประท้วง การหยุดงานโดยฉับพลัน
การนัดหยุดงานทางการเกษตร ได้แก่การนัดหยุดงานของชาวนา การนัดหยุดงานของคนงานในไร่
การนัดหยุดงานของกลุ่มเฉพาะบางกกลุ่ม ได้แก่ การปฏิเสธของบรรดาแรงงานเกณฑ์ การนัดหยุด
งานของนักโทษ การนัดหยุดงานทางหัตถกรรม การนัดหยุดงานของกลุ่มอาชีพ การนัดหยุดงานทาง
อุตสาหกรรม ได้แก่ การนัดหยุดงานในโรงงาน การนัดหยุดงานท้ังอุสาหกรรม การนัดหยุดงานเพ่ือ
แสดงความเห็นใจ การนัดหยดุ งานจากดั เขต ได้แก่ การนัดหยดุ งานรายย่อย การนดั หยดุ งานแบบลด
ความเสียหาย การนัดหยุดงานแบบเฉ่ือยชา การนัดหยุดงานโดยปฏิบัตติ ามกฎ การแจ้ง “ป่วย” ท้ังท่ี
ไม่ป่วยจริง การลาออก การนัดหยุดงานบางส่วน การนัดหยุดงานเฉพาะอย่าง การนัดหยุดงานใน
อุตสาหกรรมหลายประเภท ได้แก่ การหยุดงานอย่างกว้างขวาง การนัดหยุดงานท่ัวไป และการ
ผสมผสานระหว่างการนัดหยุดงานกับการหยุดย้ังทางเศรษฐกิจ ได้แก่ การปิดร้าน อัมพาตทาง
เศรษฐกิจ
4) การไมใ่ ห้ความรว่ มมอื ทางการเมือง
เป็นวิธีการปฏิบัติการเพ่ือสร้างแรงกดดันในมิติทางการเมือง ได้แก่ การปฏิเสธอานาจ
หน้าที่ โดยวิธี การระงับหรือการเพิกถอนความภักดี การปฏิเสธการสนับสนุนอย่างเปิดเผย ข้อเขียน
และคาพูดที่สง่ เสริมการต่อตา้ น การไมใ่ ห้ความรว่ มมอื กบั รัฐบาล ไดแ้ ก่ การควา่ บาตรองค์กรทางนิติ
บัญญัติ การคว่าบาตรการเลือกต้ัง การคว่าบาตรตาแหน่งและการว่าจ้างของรัฐบาล การคว่าบาตร
กระทรวง ทบวง กรม ตัวแทนและองค์กรของรัฐ การลาออกจากสถาบันการศึกษาของรัฐ การคว่าบาตร
องค์กรท่ีรัฐสนับสนุน การปฏิเสธที่จะช่วยเหลือกองกาลังของรัฐ การปฏิเสธเจ้าหน้าที่ของรัฐท่ีได้รับ
การแต่งตั้ง การปฏิเสธที่จะยุบสถาบันที่ดารงอยู่ตามรัฐต้องการ ทางเลือกของประชาชนท่ีด้ือแพ่ง
24 24
ได้แก่ การยอมตามอย่างไม่สมัครใจและเชื่องช้า การดื้อแพ่งเมื่อไม่มีการควบคุมดูแลโดยตรง การด้ือ
แพ่งของประชาชน การดื้อแพ่งแบบอำพราง การปฏิเสธที่จะสลายการชุมนุมหรือการประชุม การน่ัง
นิ่ง การไม่ให้ความร่วมมือในการการเกณฑ์ทหารและการเนรเทศ การหลบซ่อน หลีกหนี และปลอม
ตัว การดื้อแพ่งกฎหมายที่ไม่ชอบธรรม ปฏิบัติการโดยบุคลากรของรัฐบาล ได้แก่ การเลือกปฏิเสธ
ความช่วยเหลือโดยกลไกของรัฐ การสกัดกั้นสายการบังคับบัญชาและการสื่อสารข้อมูล การหน่วง
เหน่ียวและขัดขวาง การไมใ่ ห้ความร่วมมือในการบริหารทว่ั ไป การไมใ่ ห้ความรว่ มมือทางศาล การทำ
ให้ไร้ประสิทธิภาพและการไม่ร่วมมือเฉพาะอย่างของกองกำลัง การกบฏ ปฏิบัติการภายในประเทศ
ของรัฐบาล ได้แก่ การหลีกเลี่ยงและหน่วงเหนีย่ วในแง่กฎหมาย การไม่ให้ความร่วมมือโดยกลไกของ
รัฐบาล และปฏิบัติการระหว่างประเทศของรัฐบาล ได้แก่ การเปลี่ยนตัวทูตและตัวแทนอื่น ๆ การ
หน่วงเหนี่ยวและการยกเลิกกิจการทางการทูต การเพิกถอนและรับรองทางการทูต การถอนตัวจาก
องค์กรระหว่างประเทศ การปฏิเสธสมาชิกภาพในองค์กรระหว่างประเทศ การขับออกจากองค์กร
ระหว่างประเทศ
5) การแทรกแซงโดยไร้ความรนุ แรง
เป็นปฏบิ ัตกิ ารท่ีเขา้ ไป สอดแทรก รบกวน ขดั ขวาง ดว้ ยวธิ ีกรต่างๆได้แก่ การแทรกแซง
ทางจติ วิทยา ได้แก่ การสมั ผัสความยากลำบากด้วยตวั เอง การอดอาหาร การสอบสวนกลับ การก่อกวน
โดยไร้ความรุนแรง การแทรกแซงทางกายภาพ ได้แก่ การนั่งประท้วง การยืนประท้วง การนั่ง
ประท้วงบนรถ การลุยฝ่าเข้าไป การเดินวนเวียน การสวดภาวนา การจู่โจมโดยไร้ความรุนแรง
การจู่โจมทางอากาศโดยไร้ความรุนแรง การบุกรุกโดยไรค้ วามรนุ แรง การกีดขวางโดยไร้ความรุนแรง
การครอบครองพน้ื ทโ่ี ดยไร้ความรุนแรง การแทรกแซงทางสังคม ได้แก่ การสร้างแบบแผนทางสังคม
ขึ้นใหม่ การใช้บริการเกินขีด การหน่วงเหนี่ยว การพูดสอดแทรก ละครจรยุทธ การตั้งสถาบันทาง
สงั คมชนดิ ใหม่ การตงั้ ระบบการส่อื สารชนดิ ใหม่
6) การแทรกแซงทางเศรษฐกจิ
การแทรกแซงทางเศรษฐกิจ ได้แก่ การหยุดงานด้านกลับ การนัดหยุดงานโดยอยู่ใน
โรงงาน การเข้ายึดพื้นท่ีโดยไร้ความรุนแรง การดื้อแพ่งต่อการปิดล้อม การปลอมแปลงเพื่อเป้าหมาย
ทางการเมือง การซื้อตัดหน้า การยึดครองทรัพย์สิน การทุ่มสินค้าตีตลาด การเลือกสนับสนุน การ
สร้างตลาดใหม่ การสร้างระบบขนสง่ ใหม่ การสรา้ งสถาบนั ทางเศรษฐกจิ ชนิดใหม่
2255
7) การแทรกแซงทางการเมอื ง
การแทรกแซงทางการเมือง ได้แก่การสร้างภาระหนักแก่ระบบการบริหาร การเปิดเผย
ตัวสายลับ การหาทางเข้าคกุ การดือ้ แพง่ กฎหมายที่ “เป็นกลาง” และไม่ชอบธรรม การทางานตอ่ โดย
ไมใ่ ห้ความรว่ มมอื อธิปไตยคแู่ ละรฐั บาลซอ้ น
ชาร์ป ไดส้ รุปวา่ วธิ กี ารทัง้ หมดนี้ ไดเ้ กิดขนึ้ มาแลว้ อย่างเปน็ ไปเองตามธรรมชาตแิ ละด้วยการ
จงใจทาขึ้นมา เพ่ือท่ีจะสนองความต้องการในสถานการณ์ความขัดแย้งขณะนั้น วิธีการเหล่าน้ีได้แพร่
ขยายออกไปโดยการลอกเลยี นแบบ หรอื บางครัง้ ก็แก้ไขปรับปรงุ ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมใหม่
การปฏิบัติการโดยไม่ใช้ความรุนแรงโดยรูปแบบต่างๆท่ีนาเสนอโดย ยีน ชาร์ป นั้นมีความ
หลากหลายดังน้ันผู้ที่ใช้ต้องวิเคราะห์เง่ือนไขต่างๆเพ่ือนาไปประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องเหมาะสมกับ
สภาพแวดล้อม สถานการณ์ปัญหาท่ีเกิดขึ้น คู่กรณีหรือคู่ขัดแย้ง ตลอดจนผลกระทบด้านต่างๆท่ี
เกิดขึ้น ดังนั้นองค์ความรู้ในการวิเคราะห์ความขัดแย้งและแนวคิดเร่ืองสันติภาพ จะทาให้นัก
ปฏบิ ัติการไม่ใชค้ วามรุนแรงมีความม่ันใจ และประเมนิ สถานการณไ์ ด้รอบดา้ นมากย่งิ ข้นึ
2.5 การอธิบายความขดั แย้งและสนั ติภาพอย่างง่าย สาหรับคนรุน่ ใหม่
Lonut Stalenoi (2014) ได้ระบุว่า ในปี ค.ศ. 1969 โยฮัน วินเซนต์ กัลป์ตุง ได้ช่ือว่าเป็น
“บิดาแห่งสันติศึกษายุคใหม่” ได้นาเสนอการวิเคราะห์ความขัดแย้งอย่างง่ายเป็นรูปสามเหล่ียม โดย
อธิบายว่า A- Attitudes (ทัศนคติ), B- behavior (พฤติกรรม) และ C- contradictions (ความไม่ลง
รอยกัน) โดยท่ี C เปน็ ปลายของรปู สามเหลีย่ ม
26 26
B (behavior) พฤตกิ รรม
A (attitudes) ทศั นคติ C (contradictions)
ความไมล่ งรอยกัน
ภาพที่ 2-3 สามเหล่ียมความขดั แยง้ ของ Johan Galtung
ทมี่ า : lonut Stalenoi (2014)
ตามทฤษฎีของ Galtung ความขัดแย้ง = ทัศนคติ + พฤติกรรม + ความไม่ลงรอยกัน ซ่ึง
ความไมล่ งรอยกนั (C-Contradiction) เป็นรากเหง้าของความขดั แยง้ และทัศนคติ (A-Atitude) และ
พฤตกิ รรม (B-Behaviour) เป็นความขัดแย้งตามมาหลังจากความไมล่ งรอยกัน (C) CAB เปน็ ตวั อย่าง
ของลาดับความขัดแย้งท่ีเร่ิมต้นจากทัศนคติของชีวิตที่อยู่ภายในและจะแสดงออกมาภายนอกมีความ
รุนแรงหรอื ไมร่ ุนแรง จะด้วยวาจาหรือพฤติกรรมทางกายภาพหรือทง้ั สองอย่าง CAB เป็นทฤษฎีความ
ขัดแย้งท่มี ีแนวทางทีเ่ ปน็ ข้ันตอนแบบไดนามิกของความขดั แย้งหรือเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาความ
ขัดแย้งด้วย ทัศนคติ (A): เป็นการรับรู้และไม่รับรู้ของฝ่ายตา่ งๆเกี่ยวข้องซ่ึงกันและกัน เป็นได้ทั้งบวก
หรอื ลบ, กรณที ีเ่ ป็นเชิงลบอยา่ งมากโดยเฉพาะอยา่ งยิ่งในความขัดแย้งทร่ี ุนแรงเมื่อท้ังสองฝา่ ยถึงข้ันที่
นาไปสู่การเหยียดหยามอย่างไม่ไวห้ น้าซึ่งกันละกัน ทศั นคติประกอบด้วยอารมณแ์ ละผลกระทบทาให้
เกิดอารมณ์ต่างๆ (เช่นฉันชอบหรือฉันไม่ชอบ X) และประกอบด้วยความรู้ความเข้าใจ (เช่น ความ
พอใจและไม่พอใจข้อมูลเก่ียวกับ X) และ พฤติกรรม (B): เก่ียวข้องกับการแสดงออกถึงความร่วมมือ
หรือการบีบบังคับ ทั้งการประนีประนอมหรือความเป็นศัตรู การแสดงออกของพฤติกรรมในกรณีท่ีมี
ความขัดแยง้ อย่างรนุ แรงซึ่งจะถึงข้นั การเปน็ ภัยคุกคามการบีบบังคับหรือการโจมตแี บบทาลายลา้ ง
การวิเคราะห์โดยใช้กรอบสามเหล่ียมกัลป์ตุงในการวิเคราะห์ความขัดแย้งอย่างง่าย จะทาให้
เหน็ รากเหง้าของความขัดแย้ง (C-Contradiction) ซง่ึ นาไปสู่ เร่อื งของทัศนคติมุมมอง และชักนาไปสู่
การแสดงออกทางพฤติกรรมซ่ึงอาจจะไปในทิศทางท่ีก่อความรุนแรง หรือการแสดงออกท่ีกลับมาสู่
ความร่วมมือในการแก้ปัญหาของคู่กรณี รากเหง้าหรือชนิดของปัญหาความขัดแย้งก็จะเป็นเง่ือนไข
หนง่ึ ทสี่ าคญั ของความยากงา่ ยที่จะนาไปสู่ความรว่ มมอื ดงั กล่าวได้
2277
ขอ้ มูลข่าวสาร ความสมั พนั ธ์
(Data) (Relationshi
ผลประโยชน์ โครงสรา้ ง
(Interest) (Structure)
ค่านิยม
(Value)
ภาพที่ 2-4 วงกลมของความขดั แย้งของ Moore
ท่ีมา : วนั ชยั วฒั นศพั ท์ (2555)
2.6 ชนดิ และสาเหตุของความขัดแย้ง
Moore (1986) (อ้างอิงใน วันชัย วัฒนศัพท์, 2555) ได้แบ่งชนิดของความขัดแย้ง เรียกว่า
“วงกลมของความขัดแยง้ ” และอธบิ ายพรอ้ มกับยกตวั อย่างผลกระทบทเ่ี กดิ ขึน้ อย่างเป็นรูปธรรม โดย
แบง่ ชนิดของความขัดแย้งเป็น 5 ชนิดดงั ภาพที่ 2-4
วงกลมแห่งความขัดแย้งดังกลา่ ว ตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนการไกล่เกลี่ย เป็นเครื่องมือในการใช้ใน
การแก้ปัญหาความขัดแย้ง แสดงให้เห็นถึงแหล่งที่มาของความขัดแย้งท่ี ซึ่งสามารถเชื่อมโยงการการ
เจรจา ทาความเข้าใจวินิจฉัยเพ่ือหาทางออกของปัญหาอย่างสมดุล ดังน้ี
1. ความขดั แย้งด้านข้อมูล (Data Conflict)
เป็นปัญหาความขัดแย้งจากข้อมูลน้อยไป การแปลผลผิดพลาด การวิเคราะห์ออกมาด้วย
ความเห็นต่างกัน หรือข้อมูลมากไป ปัญหาของความแตกต่างในการรับรู้ข้อมูล เช่น การส่งต่อข้อมูล
อันเป็นเท็จของบุคคลหรือองค์กรผ่าน social online จนก่อให้เกิดความความเสียหายและความ
ขดั แย้งขึน้ มา หรอื การนาผลการศกึ ษาวจิ ยั ท่ไี มค่ รบถว้ นมาแอบอา้ งเพือ่ โฆษณาหรือขายสนิ ค้า เป็นต้น
28 28
2. ความขดั แย้งจากผลประโยชน์ หรือจุดสนใจทแี่ ตกตา่ งกัน (Interest Conflict)
เป็นปัญหาความขัดแย้งในส่วนท่ีมีหรือมีไม่เพียงพอ ในด้านกระบวนการท่ีไม่ถูกข้ันตอน ด้าน
จิตวิทยาของอารมณ์ ความรู้สึก ด้านทรัพย์สิน เงินทอง เช่น พนักงานหรือเจ้าหน้าที่รับทรัพย์สินหรอื
ผลประโยชน์ต่างๆที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ขององค์กรที่ตัวเองสังกัด พนักงานในองค์กรเดียวกันมี
ผลงานเหมือนกนั แต่ไดร้ ับการขน้ึ เงนิ ไม่เทา่ กัน เรอื ประมงพาณิชย์ใช้เครื่องมือประมงท่ีทันสมัยจับสัตว์
นา้ ชายฝ่งั ไดป้ ริมาณมาก ทาใหช้ าวประมงพนื้ บา้ นเดอื ดร้อนเน่อื งจากจบั สตั ว์นา้ ไดน้ ้อย เป็นตน้
3. ความขดั แย้งด้านโครงสร้าง (Structure Conflict)
เป็นปัญหาความขัดแย้งในเรื่อง อานาจ แย่งชิงอานาจ การใช้อานาจ การกระจายอานาจ
กฎระเบียบ บทบาทภูมิศาสตร์ ระยะเวลาและระบบ เช่น คนที่อยู่ในเมืองจะเข้าถึงและได้การบริการ
สุขภาพได้ดีกว่าคนในชนบทหรือชุมชนชายขอบทาให้สขุ ภาพแย่กวา่ คนในเมือง ท้ัง ๆ ที่ท้ังหมดอยู่ใน
ระบบบริการสขุ ภาพเดียวกัน
4. ความขัดแย้งด้านความสัมพนั ธ(์ Relationship Conflict)
เป็นปัญหาในด้านบุคลิกภาพ พฤติกรรม อารมณ์ที่รุนแรง ความเข้าใจผิด การสื่อสารท่ี
บกพร่อง เช่น การไมพ่ อใจจากข้อมูลท่ีได้รับ ท่าทาง ทา่ ที นสิ ยั ของบคุ คลหรอื กลุ่มบุคคล จนทาให้ไม่
ชอบหน้าหรอื ไม่ยอมรับ เกิดการแยกกลมุ่ แยกพวก ซ่ึงอาจจะถงึ ขัน้ ก่อความรุนแรงกนั ระหวา่ งสถาบัน
(การศึกษา)
5. ความขัดแย้งด้านค่านยิ ม (Value Conflict)
เป็นปัญหาความแตกต่างกันของ ระบบความเชื่อ ศาสนา วัฒนธรรม ค่านิยม ขนบประเพณี
ประวัติศาสตร์ การเล้ียงดูท่ีหล่อหลอมขึ้นมา เช่นการนาเอาความแตกต่างด้านศาสนาและวัฒนธรรม
ในชุมชนหรือในประเทศ มาเป็นเงื่อนไขในการไม่ยอมรับซึ่งกันและกัน นาไปสู่การใช้ความรนุ แรงเพื่อ
เอาชนะซ่ึงกนั และกัน
อย่างไรก็ตาม ไม่ได้หมายความว่าความขัดแย้งต่าง ๆ จะมีเฉพาะชนิดใดชนิดหน่ึง แต่ก็จะ
ผสมผสานกับเกือบทุกชนิดในเรื่องเดียวกัน แต่แตกต่างกันในความรุนแรงของแต่ละประเภท เชื่อว่า
โดยพ้ืนฐานแล้วทุกคนไม่ปรารถนาที่จะให้เกิดความขัดแย้งท่ีนาไปสูค่ วามรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบ
ไหนก็ตาม แต่เมื่อเกิดข้ึนแล้ว การเรียนรู้ปรากฎการณ์ของความขัดแย้งในข้ันตอนต่างๆก็จะช่วยให้
การคล่คี ลายปญั หาไดส้ อดคลอ้ งกบั สถานการณ์อย่างทันท่วงทีก่อนท่ีปญั หาจะขยายวงบานปลายได้
2299
ภาพท่ี 2-5 9 ข้ันตอนของการยกระดบั ความขัดแย้ง
ท่ีมา: https://en.wikipedia.org/wiki/Friedrich Glasl
2.7 พัฒนาการหรือการยกระดับ “ความขดั แยง้ ”และแนวทางการแกป้ ัญหา
กลาสเซล (1997) ได้แบ่งเป็น 9 ข้ันตอนของการยกระดับความขัดแย้งออกเป็น 3 ระดับ โดย
ระบุวา่ ใน 3 ระดบั แรกยังคงเปน็ ไปไดส้ าหรับทง้ั สองฝ่ายที่จะหาทางออกโดยไม่มีความเสยี หายหรือการได้
ประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่าย (ชนะ - ชนะ) ในระดับท่ี 2 ของท้ังสองฝ่ายอาจจะต้องเป็นผู้แพ้หรือชนะ (ชนะ - แพ้)
และในระดับที่ 3 ท้งั 2 ฝา่ ยมีแตเ่ พยี งการสูญเสียจากการทาลายล้างซ่ึงกันและกัน (แพ้ - แพ)้ เท่านนั้
ขัน้ ตอนของการยกระดบั ความขดั แย้ง มี 9 ขัน้ ตอนดงั น้ี
1. การก่อรปู
เป็นข้ันที่ทัศนะของแต่ละฝ่ายมีความตายตัวมากข้ึน และปะทะกัน อย่างไรก็ตามยังมีความเชือ่ ว่า
ความขัดแย้งสามารถคลค่ี ลายได้ด้วยการพูดคุย แลกเปล่ียนความคิดเห็น ยังไม่มีฟากฝ่ายหรือจุดยนื ที่
แข็งกรา้ วเกดิ ขึน้
2 วิวาทะ
เป็นข้ันที่มีการแบ่งขั้วในการคิด อารมณ์และความปรารถนา โดยการคิดแบบขาวจัดดาจัด มีมุมมอง
จากจดุ ยนื ของความเหนือกว่าและดอ้ ยกว่าตามความรู้สกึ ของตน
3 การลงมอื กระทา
เป็นขัน้ ที่ “พูดไปกไ็ ร้ประโยชน์” มยี ุทธศาสตร์ของการเผชญิ หน้ากันด้วย “เรอื่ งทยี่ ตุ ิไปแลว้ ” เปน็
สถานการณ์ท่ีเกิดการสญู สนิ้ ความเห็นอกเหน็ ใจกนั และอนั ตรายของการตีความผดิ ๆ
4 ภาพพจน์ การสร้างพันธมิตร
30 30
เปน็ ขัน้ ทตี่ ่างฝา่ ยต่างผลักดนั อีกฝ่ายให้แสดงบทบาทเชงิ ลบและปะทะกันในสงครามอย่างเปิดเผย
ตา่ งฝา่ ยต่างระดมกลุม่ ผู้สนบั สนนุ ตน
5 การเสยี หนา้
เปน็ ขัน้ ทมี่ ีการโจมตซี ่งึ หน้าในที่สาธารณะ โดยมเี ป้าหมายให้ฝา่ ยปรปักษเ์ สยี หน้า
6 ยทุ ธศาสตร์ของการขม่ ขู่
เปน็ ข้ันท่มี ีการข่มขแู่ ละการข่มขกู่ ลับ การยกระดับความขัดแยง้ ด้วยการย่ืนคาขาด
7 การกระทาเพอ่ื ทาลายในขอบเขตจากดั
เป็นท่ีต่างฝ่ายต่างไม่มองว่าฝ่ายตรงข้ามเป็นมนุษย์อีกต่อไป การกระทาเพื่อทาลายในขอบเขต
จากัดเป็นคาตอบท่ี “เหมาะสม” คุณค่าท่ีกลับตาลปัตร โดยท่ีชัยชนะส่วนบุคคลเล็ก ๆ น้อยๆ ก็จะ
ได้รับการประเมินวา่ เปน็ ชัยชนะแลว้
8 การแยกสลาย
เปน็ ข้ันตอนทมี่ ีการทาลายและการสลายระบบของศตั รูอยา่ งเบ็ดเสร็จกลายเปน็ เป้าหมาย
9 ลงเหวไปด้วยกนั
เปน็ ขน้ั สุดท้ายทท่ี าใหเ้ กิดการเผชิญหน้ากนั ขนั้ เด็ดขาดโดยไม่มีเง่ือนไขท่เี ป็นทางออก ตอ้ งทาลาย
คปู่ รปกั ษใ์ หไ้ ด้ไม่วา่ ต้องสญู เสยี แค่ไหน แมแ้ ต่ทาลายตัวเองไปดว้ ยก็ยอม
ความขัดแย้งของระดับ 1-3 ยังคงต้องได้รับการแก้ไขอย่างสันติระหว่างกันอาจมีคนเข้ามาไกล่
เกลี่ย Glasl เสนอรูปแบบแนวทางเพื่อขจัดความขดั แยง้ ดงั ตาราง 2-1 ต่อไปน้ี
ตารางที่ 2-1 รูปแบบแนวทางเพ่อื ขจัดความขัดแย้งของ Glasl
ลาดบั ขน้ั ตอน รูปแบบแนวทางเพื่อขจัดความขัดแยง้
ความขดั แย้ง
ขั้นตอนที่ 1-3 ความช่วยเหลอื ดว้ ยตนเองยงั คงเปน็ ไปได้
ขน้ั ตอนท่ี 2-3 ช่วยผา่ นเพอ่ื น ๆ ครอบครวั หรือมืออาชพี กลั่นกรอง
ข้ันตอนท่ี 3-5 ความช่วยเหลอื ผา่ นการสนบั สนุนกระบวนการระดบั มืออาชพี ภายนอก
ขั้นตอนท่ี 4-6 ความชว่ ยเหลอื ผ่านการสนับสนนุ กระบวนการทางสงั คมและการรกั ษา
ภายนอก
ขน้ั ตอนท่ี 5-7 ความชว่ ยเหลือผา่ นการไกล่เกลีย่ มืออาชีพภายนอก
ขั้นตอนท่ี 6-8 ความช่วยเหลอื ผา่ นอนญุ าโตตุลาการโดยสมัครใจหรือบงั คับ
ข้ันตอนที่ 7-9 ความชว่ ยเหลอื เป็นไปได้ผา่ นการแทรกแซงพลงั งานจากด้านบนเท่าน้ัน
ท่ีมา: กลาสเซล ((1997
3311
แตล่ ะช่วงของเหตกุ ารณ์ของความขดั แย้งตง้ั แต่การก่อรูปจนถึงขน้ั แตกหกั ลงเหวไปด้วยกันท้ัง
2 ฝ่าย Glasl ได้เสนอแนวทางเพ่ือแก้ปัญหา ท้ังการจัดการตนเองในช่วงลาดับแรก ๆ และการช่วยเหลือ
ของสังคมภายนอกในช่วงสถานการณ์หลังจากนั้น ซ่ึงจะเป็นการไกล่เกลี่ยของคนกลางหรือการใช้
อนุญาโตตลุ าการ อยา่ งไรก็ตามคู่กรณหี รือคนในพ้ืนที่ทส่ี ัมผัสกับผลกระทบจากความขัดแย้งน่าจะเป็น
กลุ่มท่ีสาคัญอีกกลุ่มท่ีควรจะมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา อย่างน้อยก็มีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ความ
ขัดแยง้ ร่วมกัน
2.8 การสรา้ งความร่วมมือจาก “คนใน”ในการสร้างสันตภิ าพ
จากประสบการณ์การทางานด้านสันตภิ าพในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลกมากว่า 40 ปใี นประเด็น
ความร่วมมือเพื่อสร้างสันติภาพของ คนนอก และคนใน นอร์เบิร์ต โรเปอร์ส (Norbert Ropers)
(2558) ได้สรุปว่า “ผมเชื่อม่ันว่าคนท่ีจะแก้ความขัดแย้งได้จริง ๆ คือ คนที่อยู่กับความขัดแย้ง คนที่
สัมผัสกับผลกระทบโดยตรงกับความขัดแย้ง ซึ่งก็คือ “คนใน” ท้ังหมดที่น่ังอยู่ตรงนี้” และมีวิธีการ
หน่ึงท่ีจะร่วมกันนาไปสู่เส้นทางสันติภาพได้คือการวิเคราะห์ความขัดแย้งร่วมกัน เป็นเสมือนพ้ืนที่
ทางการเมืองที่ปลอดภัยที่ทุกฝ่ายสามารถนาเสนอความต้องการได้ เป็นเง่ือนไขสาคัญท่ีจะไปถึง
กระบวนการสนั ติภาพทีท่ ุกคนอยากเหน็
องค์ประกอบในการวเิ คราะห์ความขดั แย้งมอี ยู่ 8 ประการ ดงั ต่อไปน้ี
1) ประวัติศาสตร์ของความขัดแย้ง (conflict history) ทุกความขัดแย้งไม่มีประวัติศาสตร์
เดยี ว ทกุ ๆ กลมุ่ ยงั มเี รอ่ื งเล่าของตวั เอง
2) บริบทของความขัดแย้ง (conflict context) สภาพแวดล้อมท่ีความขัดแย้งนั้น ๆ ดารง
อยู่เช่นไร ได้แก่ ภูมิศาสตร์ของพ้ืนที่ การเมืองภายในประเทศ การเมืองระหว่างประเทศ การ
เปลยี่ นแปลงในทางเศรษฐกิจและสังคมเป็นต้น
3) ฝ่ายต่าง ๆ ในความขัดแย้งและความสัมพันธ์ระหว่างกัน (conflict parties and
relationships) ใครเกี่ยวข้องกับใคร คู่ขัดแย้งเป็นใคร อย่างไร มีใครเป็นคู่ขัดแย้งหลัก ใครเป็นคู่
ขดั แย้งรอง
4) ประเด็นท่ีผู้คนขัดแย้งกัน ซึ่งรวมถึงระดับและทัศนคติในความขัดแย้ง (conflict issues,
levels, attitude) ความแตกต่างและความสอดคล้องต้องกันระหว่างจุดยืน (positions) จุดสนใจ
(interests) ความตอ้ งการพ้นื ฐาน (need) และความกลวั (fears)
5) ตัวขับเคล่ือนความขัดแย้งและพลวัตของความขัดแย้ง (Conflict driver and dynamics)
ปัจจัยใดบ้างที่ทาให้ความขัดแย้งดารงอยู่ บุคคล การกระทาหรือนโยบายใดบ้างที่ทาให้ความขัดแย้งยัง
ดารงอยู่
32 32
6) พฤติกรรมและผลสะเทือนถึงความขัดแย้ง (conflict behavior and impact) เป็นระดับ
ของความขดั แย้ง ตัวเลขของผูบ้ าดเจบ็ ล้มตาย และความเสยี หายตอ่ ทรัพยส์ ินระหวา่ งความขดั แย้ง
7) ข้อเสนอต่าง ๆ ในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง (deferent Proposals for conflict
resolution) ในมุมมองต่าง ๆ ซ่งึ อาจจะแตกต่างกนั ไป ขึน้ อยู่กับวา่ เปน็ ขอ้ เสนอของใคร
8) ศักยภาพในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง (potential for conflict resolution) การ
มองเห็นศกั ยภาพหรือโอกาสวา่ เราสามารถแปรเปล่ียนความขดั แย้งจากการใช้ความรนุ แรงไปสู่วิธีการ
อนั สันตไิ ดม้ ากน้อยเพียงใด
การสร้างการมีส่วนร่วมของ “คนใน” ในการร่วมกันแก้ปัญหาความขัดแย้ง โดยใช้เครื่องมือ
“การวิเคราะห์ความขัดแย้ง” ของนอร์เบิร์ต โรเปอร์ส นับว่าเป็นเร่ืองสาคัญในการเสริมศักยภาพคน
ในพ้ืนที่ความขัดแย้ง สร้างความตระหนัก ต่ืนตัว พร้อมกับการเสริมสร้างการเรียนรู้รูปแบบและ
ทางเลือกในการแกป้ ญั หา ซ่ึงจาเปน็ จะตอ้ งใชเ้ วลาในระยะยาว นอกจากกระบวนการในพน้ื ท่แี ล้ว การ
สร้างสันติภาพเป็นกระบวนการที่ซับซ้อน มีเง่ือนไขหลายประการจาเป็นต้องมีการปรับเปล่ียนและ
พัฒนาด้านตา่ ง ๆ
2.9 การสรา้ งสันติภาพ
Berghof Foundation (2012) ได้อธิบายการสร้างสันติภาพเพ่ือการแปรเปล่ียนว่า จาเป็นต้อง
มุ่งแกไ้ ขประเดน็ ความยุตธิ รรมทางสังคมและควรเคารพหลักการของความเป็นหุ้นส่วน การเปดิ โอกาส
ให้ทุกฝ่ายอย่างเท่าเทียมและการเปิดกว้าง การสร้างสันติภาพต้ังอยู่บนความเชื่อว่าความขัดแย้งท่ีมี
การใช้ความรุนแรงไม่จาเป็นต้องยุติโดยอัตโนมัติด้วยการลงนามในข้อตกลงสันติภ าพหรือการใช้กอง
กาลังรักษาสันติภาพ มันไม่ใช่เครื่องมือตอบสนองต่อปัญหาอย่างรวดเร็วก็จริง แต่เป็นกระบวนการ
ระยะยาวท่ีมีการทางานตอ่ เนือ่ งในสามมิตดิ ังน้:ี
1. การเปล่ียนแปลงความขัดแย้งเชิงโครงสร้าง เป็นมิติที่ได้รับการยอมรับ อย่างกว้างขวางว่า
สาคญั อยา่ งยิง่ ต่อสันตภิ าพท่ียั่งยืน มีองค์ประกอบสาคัญไดแ้ ก่ การสร้างรฐั และมาตรการตามแนวทาง
ประชาธิปไตย การปฏิรูปโครงสร้างท่ีผลิตซ้าความขัดแย้ง (เช่น ระบบการศึกษา) การพัฒนาเศรษฐกิจ
อย่างย่ังยืน ความยุติธรรมทางสังคมและสิทธิมนุษยชน การเพ่ิมอานาจให้ภาคประชาสังคมและ
สอ่ื มวลชนทท่ี างานอย่างสร้างสรรค์
2. การปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายขัดแย้ง เป็นส่วนหน่ึงที่ขาด ไม่ได้ในการสร้าง
สันติภาพเพ่ือลดผลกระทบของความเป็นปฏิปักษ์กัน ที่เก่ียวเน่ืองกับสงครามและการส่ือสารท่ีขาด
3333
สะบั้นระหว่างฝ่ายขัดแย้ง โครงการประนีประนอม สร้างความไว้วางใจและรับมือกับอดีต มีเป้าหมาย
เพ่ือแปรเปล่ียนความสัมพันธ์ที่ถูกทาลายลง (ความยุติธรรมระยะเปลี่ยนผ่าน) มิตินี้จัดการกับ
ผลกระทบทไี่ มใ่ ช่วตั ถุท่ีเกิดจากความขัดแย้งท่มี ีการใชค้ วามรุนแรง
3. การเปลยี่ นแปลงทัศนคติและพฤติกรรมของปจั เจกบคุ คล คอื มติ ิ ท่ีสามของการสร้างสันติภาพ
หมายถึงการสร้างความเข้มแข็ง ให้แก่สมรรถภาพด้านสันติภาพของปัจเจกบุคคล ทลายทัศนคติตายตัว
เพ่ิมอานาจให้กลุ่มที่เคยเสียเปรียบ เยียวยาบาดแผลและความบอบช้า ทางจิตวิทยาท่ีเกิดจากสงคราม
เรามักใช้มาตรการเพิ่มสมรรถภาพ ด้านสันติภาพของปัจเจกบุคคลด้วยการฝึกอบรมประชาชนเก่ียวกับ
ปฏิบัติการท่ีไม่ใช้ความรุนแรงและการคลี่คลายความขัดแย้ง มาตรการ ของการสร้างสันติภาพหลาย
ประการพยายามสร้างผลสะเทือนใน วงกว้างมากขึ้นด้วยการผสมผสานยุทธศาสตร์ต่าง ๆ ให้ครอบคลุม
ทั้งสามมิติ เช่น นาฝ่ายท่ีเคยขัดแย้งกันมาทางานร่วมกันเพ่ือปรับปรุง สภาพทางเศรษฐกิจและเปลี่ยน
ทัศนคติ
การเปลยี่ นแปลง การปรับปรุง
ความขดั แย้งเชิง ความสมั พนั ธ์
โครงสร้าง การสรา้ ง ระหว่างฝ่ายขดั แย้ง
สันตภิ าพ
การเปล่ยี นแปลง
ทัศนคตแิ ละพฤตกิ รรม
ของปจั เจกบุคคล
ภาพที่ 2-6 กระบวนการสรา้ งสนั ตภิ าพระยะยาว
ทม่ี า : Berghof Foundation (2012)
34 34
Berghof Foundation (2012) ได้อธิบายถึงขั้นตอนของการสร้างสันติภาพ และระบุว่า
สันติภาพเป็นกระบวนการท่ีซับซ้อน กินเวลาและหลายช้ัน เป็นไปได้ที่จะช้ีให้เห็นขั้นตอนท่ีนาไปสู่
สันติภาพโดยวัดการลดลงของความรุนแรงและการเพ่ิมข้ึนของความยุติธรรม ส่วนที่ว่าหลายช้ันน้ัน
หมายถึงสันติภาพมิใช่เพียงแค่เรื่องของนักการทูต แต่เป็นภารกิจที่ต่อเนื่องสาหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ทุกคนในทุกระดับช้ันของสังคม การทางานเพ่ือสันติภาพจาเป็นต้องมีข้ันตอนพ้ืนฐานอย่างน้อย 3
ขน้ั ตอนกล่าวคอื
ขั้นตอนท่ีหนึ่ง ต้องมีการนิยามวิสัยทัศน์เก่ียวกับสันติภาพ สันติภาพในระดับปัจเจกบุคคล
แตกต่างจากสันติภาพระหว่างประเทศอย่างเห็นได้ชัด นักวิจัย นักการเมืองและศิลปินต่างใช้คาว่า
“สันติภาพ”ในลักษณะท่ีแตกต่างกันและการตีความก็แปรผันตามวัฒนธรรม ในบางสังคมคาว่า
“สันติภาพ”อาจสร้างความขุ่นเคืองด้วยซ้า ทั้งนี้สืบเน่ืองจากประสบการณ์ของการกดข่ีท่ีกระทาใน
นามของสันติภาพ ดังนั้นการนิยามสันติภาพจึงมีบริบทเฉพาะเจาะจง การพัฒนาวิสัยทัศน์เกี่ยวกับ
สนั ติภาพให้มีรว่ มกันจงึ เปน็ แงม่ มุ สาคญั แงม่ มุ หนึ่งของการทางานด้านสันติภาพ
ขั้นตอนทีส่ อง การระบุเง่ือนไขทจ่ี ะนาไปสสู่ นั ตภิ าพภายในหรือระหวา่ งสงั คม พรอ้ มกบั ความ
ต้ังใจท่ีจะวางรากฐานให้เงื่อนไขเหล่าน้ี นี่เป็นสิ่งท่ีสาคัญอย่างย่ิงในการวิเคราะห์เกี่ยวกับประวัติศาสตร์
การเกิดสันติภาพภายในสังคมตะวันตก ดีเทอร์ เซงฮาส (Dieter Senghaas) ชี้ให้เหน็ เงอื่ นไขท่เี ปน็ หัวใจ
สาคัญหกประการคือ การผูกขาดอานาจ หลักนิติธรรม การพ่ึงพาอาศัยกันและการควบคุมผลกระทบ
การมีส่วนร่วมในระบอบประชาธิปไตย ความยุติธรรมทางสังคม และวัฒนธรรมการจัดการความ
ขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ ต้องมีการประเมินอย่างระมัดระวังว่าเง่ือนไขเหล่านี้มีประโยชน์ต่อกระบวนการ
แปรเปลี่ยนในสังคมที่ไม่ใช่ตะวันตกหรือไม่ หรือมากน้อยแค่ไหน นอกจากนั้นสันติภาพมักเปราะบาง
แม้กระท่ังในสังคมตะวันตกก็ไม่มีหลักประกันว่าจะไม่มีการย้อนกลับไปทาสงครามกันอีก ดังนั้น
สนั ติภาพจงึ เป็นสิ่งทต่ี ้องไดร้ ับการใส่ใจและสนับสนนุ อย่างตอ่ เน่ือง
ข้ันตอนที่สาม การเปรียบเทียบความเป็นจริงปัจจุบันในสังคมหนึ่ง ๆ กับวิสัยทัศน์เกี่ยวกับ
สนั ตภิ าพเป็นกุญแจสาคัญท่จี ะค้นหาว่าอะไรขาดหายไป มีการใชย้ ุทธศาสตรแ์ ละยุทธวธิ ีทหี่ ลากหลาย
กว้างขวางในการทาให้เกิดรักษาหรือสร้างสันติภาพข้ึนในหมู่ตัวแสดงระดับต่าง ๆ ตามแนวคิดของ
จอหน์ พอล ลเี ดอรัค (John Paul Lederach) เราสามารถแบ่งตัวแสดงเหล่าน้ีออกเป็นสามลู่ (Track)
Track 1 ประกอบด้วยกลุ่มผู้นาระดับบนสุด กองทัพ ผู้นาทางการเมืองและทางศาสนาท่ีมีชื่อเสียง
Track 2 ประกอบด้วยผู้นาระดับกลาง เช่น นักวิชาการ ปัญญาชนหรือผู้มีช่ือเสียงในวงการศาสนา
การที่คนกลุ่มนี้มีสายสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเจ้าหน้าที่รัฐบาลทาให้พวกเขามีอิทธิพลต่อการตัดสินใจทาง
3355
การเมือง และด้วยความที่คนกลุ่มนี้มีช่ือเสียงพวกเขาจึงได้รับการนับหน้าถือตาในกลุ่มคนระดับราก
หญา้ ด้วย Track 3 ประกอบดว้ ยผนู้ าชุมชนท้องถน่ิ หรือผู้นาชนพน้ื เมือง ซง่ึ มีความคุ้นเคยมากที่สุดกับ
ผลกระทบที่ความขัดแย้งรุนแรงมีต่อประชากรส่วนใหญ่ ส่วนประชาชนท่ัวไปน้ัน บางคร้ังจัดเป็นตัว
แสดงระดับส่ี ความพยายามกอ่ ใหเ้ กิดสันติภาพถือเปน็ ภารกิจของตวั แสดงในทุกระดับและข้ามหลายลู่
ไดด้ ้วย ดงั ภาพท่ี 2-7
ภาพที่ 2-7 แนวทางการสร้างสันตภิ าพของ John Paul Lederach
ท่ีมา: https://www.researchgate.net/figure/Derived-from-John-Paul-Lederach-Building-Peace-
Sustainable-Reconciliation-in-Divided_fig1_347462539
36 36
2.10 แนวคดิ สันตวิ ธิ แี ละความขดั แย้งของนักวิชาการไทย
จากตวั อย่างทนี่ กั วิชาการในต่างประเทศได้อธิบาย มมุ มอง แนวคิด ทฤษฎที ่ีเกีย่ วขอ้ งกับสันติ
วิธีและความขัดแย้งในแต่ละยุคแต่ละสมัย โดยอธิบายไปท่ีจุดเร่ิมต้น รูปแบบ และผลกระทบของ
ความขัดแย้ง รวมถึงแนวทางการแก้ปัญหาในเชิงหลักการต่าง ๆ เพ่ือนาไปสู่สันติภาพ ในแง่มุม
ดังกล่าวนักวิชาการของไทยจะมีมุมมอง แนวคิด ในประเด็นดังกล่าวอย่างไร ซ่ึงจะขอยกตัวอย่างพอ
สงั เขปดงั ต่อไปนี้
ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ (2557) ได้อธิบายในเร่ือง สันติวิธีหรือการไม่ใช้ความรุนแรง (Non -
violence) วา่ เปน็ วิธีการแก้ไขความขัดแย้งทีโ่ ลกหนั มาให้ความสาคญั กนั อยา่ งมากในขณะน้ี ทั้งท่สี นั ติ
วธิ ีไมใ่ ช่เร่ืองใหม่แต่อย่างใด ซ่งึ ความรุนแรงกบั สนั ตวิ ธิ มี คี วามแตกต่างกันตามตารางที่ 2-2 ดังต่อไปน้ี
ตารางที่ 2-2 ความแตกต่างระหว่างความรนุ แรงกับสันตวิ ิธี
ดา้ น ความรนุ แรง สนั ตวิ ธิ ี
เป้าหมาย ทาใหค้ กู่ รณสี ยบหรอื ยอมแพ้ ตอ้ งดูถูกเหยียด มุ่งแก้ปญั หา ทางานร่วมกบั คกู่ รณี หรือเปลยี่ น
หยาม ทารา้ ย ตอ้ นเข้ามุม และหรอื ทาลาย ทรรศนะของเขาใหม้ ีความเขา้ ใจ เพื่อหาขอ้ ยุตทิ ่ี
ทศั นคติ ค่กู รณี ทงั้ สองฝา่ ยพอใจ
หลกั การ จาตอ้ งอาศยั ความเกลียดชังและหวาดกลวั ต้องการความกลา้ และการควบคมุ ตวั เองบางครั้ง
และวิธีการ คกู่ รณเี พ่อื ปลุกใหเ้ กิดความโกรธซงึ่ เป็น ตอ้ งเตม็ ใจทีจ่ ะยอมรับความเจ็บปวดจากการ
สง่ิ จาเป็นต่อการเขา้ ทารา้ ย กระทาของคู่กรณี โดยไม่ตอบโต้กลบั ไป
1.โจมตีอยา่ งรนุ แรงเพื่อวา่ คูก่ รณจี ะไมม่ ี 1. ก.ทาใหผ้ รู้ กุ รานตกอยู่ในสถานการณล์ าบาก
ทางเลือกนอกจากยอมแพ้ ชนิดทห่ี ากเขายงั ใช้ความรุนแรงตอ่ ไป จะเป็น
2.ทาทุกอย่างเพื่อไมใ่ หต้ นเองไมเ่ จบ็ ปวด แต่ ฝ่ายเสยี เปรียบ
จะทาทกุ วถิ ีทางเพ่อื ใหค้ นอ่นื เจ็บปวด ข. เสนอทางเลือกหลายๆทางเพ่ือใหท้ ้งั สองฝา่ ย
3.ใชท้ ุกอย่างเท่าที่มีเพ่ือให้ได้ชัยชนะเรว็ ทส่ี ดุ ไมเ่ สียขณะเดยี วกันกม็ ขี อ้ ยตุ ิ
4.ใช้การประชาสัมพนั ธ์ เพ่อื บดิ เบอื นสัจจะ 2. ก. ปฏิเสธความรนุ แรงอย่างสิน้ เชิง
หากว่าเป็นประโยชน์แก่ตนหรือเพอื่ ปิดการ ข.เตม็ ใจท่ีจะรบั ความเจบ็ ปวดแตจ่ ะไม่ทาความ
กระทาท่ผี ดิ พลาด เจบ็ ปวดแกผ่ ้อู น่ื
5.ทาใหเ้ กดิ ความเกลยี ดและความกลวั คู่กรณี 3. พยายามยืนหยดั และอดทนเพอ่ื ให้บรรลถุ ึงขอ้
6.อาศัยเครอื่ งมือและอปุ กรณท์ ี่เหนอื กวา่ ยตุ ิทชี่ อบธรรมและเปน็ ทยี่ อมรับของทุกฝ่าย
4. สอื่ สารโดยรกั ษาสัจจะและใหเ้ กดิ ความ
กระจ่างชดั เท่าที่ทาได้ เพ่ือสรา้ งความเห็นใจและ
ความเขา้ ใจทถ่ี ูกตอ้ งในหมูป่ ระชาชนและคูก่ รณี