The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

สมุดไทยบันทึกภูมิปัญญาและวัฒนธรรมสยาม

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

สมุดไทยบันทึกภูมิปัญญาและวัฒนธรรมสยาม

สมุดไทยบันทึกภูมิปัญญาและวัฒนธรรมสยาม

Keywords: สมุดไทย,สมุดไทยบันทึกภูมิปัญญาและวัฒนธรรมสยาม,ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมสยาม

สมดุ ไทย
บนั ทกึ ภูมิปญญาและวฒั นธรรมสยาม



สมุดไทย

บนั ทึกภูมปิ ญั ญาและวัฒนธรรมสยาม

1

2

ค�ำนำ�

องค์ความรู้มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมแต่โบราณหลากหลายสาขาได้รับการจดบันทึกลงใน “สมุดไทย” หรือ “สมุดข่อย”
ถือเป็นสรรพต�ำราวิทยาการของชนชาติไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาสืบมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ นับเป็นวิธีหนึ่งท่ีสามารถถ่ายทอดสู่
คนรนุ่ หลงั ได้ สรรพตำ� ราโบราณจำ� นวนมาก มภี าพประกอบใหเ้ หน็ ในลกั ษณะของจติ รกรรมไทยประเพณที ง่ี ดงาม องคค์ วามรทู้ อ่ี ยใู่ นสมดุ ไทย
หรอื สมดุ ขอ่ ยมคี ณุ คา่ สำ� คญั ยงิ่ ตอ่ วถิ วี ฒั นธรรมชาวไทยและเปน็ ฐานความรดู้ า้ นมรดกภมู ปิ ญั ญาทางวฒั นธรรมของชาติ แตป่ จั จบุ นั องคค์ วามรู้
ดังกล่าวอยู่ในลักษณะของเอกสารโบราณที่มีการเก็บรักษาไว้ตามพระอารามและส่วนหนึ่งเก็บไว้ที่หอสมุดแห่งชาติ โดยส่วนมากบันทึกด้วย
อกั ษรและอักขรวธิ ีโบราณ ท�ำใหเ้ ข้าถงึ และเข้าใจได้ยาก จงึ ขาดการเผยแพรไ่ ปสู่สาธารณชนอย่างกว้างขวาง
ด้วยเหตุดังกลา่ ว กรมสง่ เสรมิ วัฒนธรรม ในฐานะหนว่ ยงานภาครฐั ที่มอี ำ� นาจหนา้ ท่ใี นการเผยแพร่ ประชาสมั พันธ์ และถ่ายทอด
ความรู้เกี่ยวกับมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม เล็งเห็นถึงความส�ำคัญของการรวบรวมองค์ความรู้ “สมุดไทย” ซ่ึงถือเป็นมรดกอันล�้ำค่าที่มี
การสืบทอดกันมาอยา่ งยาวนานจนถึงปจั จุบนั จงึ ดำ� เนนิ การจัดพมิ พห์ นังสือ “สมุดไทย : บันทกึ ภมู ปิ ญั ญาและวัฒนธรรมสยาม” เล่มน้ขี ึ้น
โดยภายในเล่มจะมีการรวบรวมข้อมูลเน้ือหา ทั้งในส่วนของความเป็นมา ชนิดและขนาดของสมุดไทย การบันทึกสมุดไทย การท�ำสมุดไทย
สมุดภาพจิตรกรรมไทย บนั ทกึ วฒั นธรรมภูมิปญั ญาไทย สมุดภาพไตรภูมิ สมุดมาลัย ชาดกและพุทธประวัติ ตำ� ราองคค์ วามรู้ภูมปิ ัญญาไทย
ตลอดจนภาพแสดงวฒั นธรรมดา้ นอน่ื ๆ และวถิ ธี รรมชาติ ทง้ั น้ี เพอ่ื เผยแพรอ่ งคค์ วามรดู้ งั กลา่ วออกไปในวงกวา้ ง ซงึ่ จะชว่ ยใหส้ งั คมไดต้ ระหนกั
ถึงองค์ความรทู้ ีอ่ ยใู่ นสมุดไทยหรอื สมุดขอ่ ย อันเป็นคณุ คา่ แห่งมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมท่ีสำ� คัญของชาตไิ ทยสบื ไป

กรมส่งเสรมิ วัฒนธรรม

3

สมดุ ภาพตำ� รากระบวนพยุหยาตรา

ค�ำน�ำ สารบญั
สารบัญ

๑ สมุดไทย ๕

• ความเป็นมา ๙
• ชนดิ และขนาดของสมุดไทย
• การบนั ทกึ สมุดไทย ๙
๑๖
๒ การท�ำสมดุ ไทย ๒๕

• การทำ� กระดาษ ๓๑
• การหลอ่ กระดาษ
• การลบสมุด ๓๒
• การท�ำเลม่ ๓๒
๓๕
๓ สมดุ ภาพจติ รกรรมไทย ๓๕
• เรอื่ งราวในสมุดภาพจติ รกรรมไทย
๓๙
• สมุดภาพไตรภูมิ
• สมดุ มาลยั ๔๓
• ชาดกและพทุ ธประวัต ิ ๕๓
๙๕
๔ ตำ� ราองค์ความรูภ้ ูมปิ ญั ญาไทย ๑๑๙

• ตำ� ราชา้ งหรอื ต�ำราคชลกั ษณ ์ ๑๙๓
• ต�ำราม้าหรือต�ำราอศั วลักษณ ์
• ต�ำราแมว ๑๙๕
• ต�ำราเทวรูป ๒๐๕
• ต�ำราเลขยนั ต์ ๒๑๑
• ตำ� ราพรหมชาตแิ ละตำ� ราแม่ซอื้ ๒๑๕
• ตำ� ราร�ำและตำ� ราภาพจบั ๒๒๓
• ภาพแสดงวฒั นธรรมดา้ นอ่ืนๆ และวถิ ธี รรมชาติ ๒๒๙
บรรณานุกรม ๒๓๓
๒๓๙
๒๕๑

6 หนังสอื ไทยโบราณ สมดุ ไทยและสมดุ ฝร่งั

สมุดไทย

บนั ทึกภูมปิ ญั ญาและวัฒนธรรมสยาม



๑ สมดุ ไทย
ความเปน็ มา
“สมุดไทย” คือหนังสือท่ีมีรูปเล่มแบบไทย ลักษณะเป็นกระดาษพับกลับไปกลับ
มา รูปทรงเป็นส่ีเหล่ียมผืนผ้าวางตามแนวระนาบ เวลาเปิดต้องเปิดจากด้านล่างขึ้นไปหา
ด้านบน ต่างกับ “สมุดฝร่ัง” ซ่ึงมีรูปแบบและรูปเล่มอย่างหนังสือที่เห็นอยู่ท่ัวไปในปัจจุบัน
เปิดจากด้านขวามือไปหาด้านซ้ายมือ สมุดไทยที่ผลิตข้ึนใช้ในภาคกลางของราชอาณาจักร
สยามท�ำข้ึนจากเนื้อเยื่อส่วนเปลือกของต้นข่อย จึงเรียกกันอีกอย่างหน่ึงว่า “สมุดข่อย”
ซึ่งพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๔๙๓ (๒๕๑๙ : ๘๗๓) ให้ค�ำจ�ำกัดความ
ของสมดุ ไทยไว้ว่า “สมุดที่ท�ำด้วยกระดาษข่อยพับเปน็ ชั้นๆ” รปู ลกั ษณ์ของหนงั สือแบบไทย
นอกจากสมดุ ขอ่ ยในวฒั นธรรมภาคกลางของประเทศไทยแลว้ ยงั มี “พบั สา” ของวฒั นธรรม
ลา้ นนา ซง่ึ ผลิตจากเน้ือเย่ือสว่ นเปลอื กของต้นสา

9

ชาวไทยในวัฒนธรรมภาคกลางน่าจะมีการผลิตสมุดไทยจากกระดาษข่อยเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนเพื่อจ�ำหน่ายมาต้ังแต่สมัย
กรุงศรอี ยธุ ยาแล้ว ดงั ปรากฏในคำ� ใหก้ ารขุนหลวงหาวดั กลา่ วถงึ สถานท่ีค้าขายในพระนครศรีอยุธยา ความตอนหน่ึงวา่

“...บา้ นรมิ วดั โรงฆอ้ งแถวถนนหนา้ บา้ นเจา้ พระยาจกั รนี นั้ พวกหมนู่ น้ั เปนแมค่ า้ ซอื้ กลว้ ยดบิ มาบม่ และตม้
ขาย ๑ บา้ นเจด็ ตำ� บลนอี้ ยใู่ นเกาะทงุ่ แกว้ บา้ นนางเลง้ิ บา้ นหอแปลพระราชสาสนนนั้ ทำ� กระดาดขอ่ ยและสมดุ ดำ�
ขาวขาย...”

(ค�ำให้การขุนหลวงหาวดั , ๒๕๔๙ : ๑๗๖)
“...ถนนย่านป่าสมุดแต่วัดพระรามมาจนถึงศาลเจ้าหลักเมือง มาถึงหน้าวัดหลาว วัดป่าฝ้ายมีร้านช�ำ
ขายสมุดกระดาดขาวดำ� ชอื่ ตลาดบ้านสมดุ ...”

(ค�ำใหก้ ารขุนหลวงหาวดั , ๒๕๔๙ : ๑๙๕)
เมอื่ มองซเิ ออร์เดอลาลแู บร์อคั รราชทตู ของพระเจา้ หลยุ สท์ ี่๑๔แหง่ ฝรง่ั เศสเดนิ ทางเขา้ มาย‌ งั กรงุ ศรอี ยธุ ยาในรชั กาลสมเดจ็ พระนารายณ์
มหาราช พทุ ธศกั ราช ๒๒๓๐ ไดบ้ นั ทกึ เรอื่ งราวเกยี่ วกบั ราชอาณาจกั รสยาม อธบิ ายการทำ� กระดาษจากเปลอื กตน้ ขอ่ ยและลกั ษณะหนงั สอื ของ
ชาวกรุงศรอี ยุธยาวา่

“ชาวสยามทำ� กระดาษจากผา้ ฝา้ ยเกา่ ๆ และยงั ทำ� จากเปลอื กตน้ ไมช้ นดิ หนง่ึ ชอื่ ตน้ ขอ่ ย (Ton côë) อกี ดว้ ย
ซ่ึงต้องน�ำมาบดย่อยให้ละเอียดเช่นอย่างย่อยผ้าขี้ร้ิวเหมือนกัน แต่กระดาษเหล่านี้มีความหนาบางไม่สม�่ำเสมอ
ทัง้ เน้อื กระดาษและความขาวผ่องก็หย่อนกว่าของเรา ฉะน้นั ชาวสยามจงึ ไมใ่ ชห้ มกึ จีน (สดี ำ� ) เขียนบนกระดาษ
ของพวกเขา ส่วนมากมักชุบหมึกให้ด�ำซ่ึงท�ำให้เนื้อกระดาษแน่นข้ึน แล้วใช้เขียนด้วยดินสอ (สอแปลว่าขาว)
ชนิดหนึ่งซึ่งเป็นดินเหนียวปั้นตากแดด หนังสือของพวกเขาไม่มีการเข้าเล่มเย็บสัน หากท�ำเป็นแผ่นยาวเหยียด
ไม่ใช้วิธีม้วนเก็บเช่นบรรพบุรุษของเรา หากพับทบไปมาอย่างพับพัดด้ามจ้ิว และทางท่ีตีเส้นบรรทัดเขียนตัว
อกั ษรนน้ั เปน็ ไปตามทางยาวของรอยพับหาได้เขียนทางดา้ นขวางไม่...”

(สนั ต์ ท. โกมลบุตร, แปล, ๒๕๕๗ : ๕๒ - ๕๓)

10

สมุดไทยขาวและสมดุ ไทยด�ำ

11

สมดุ ภาพตำ� ราและหนังสอื สวด

12

เอกสารสมุดไทยใช้บันทึกความรู้สรรพต�ำราต่างๆ ในสมัยท่ียังไม่มีการพิมพ์ คร้ันถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
เจ้าอยู่หัวการพิมพ์หนังสือตามวิธีของชาติตะวันตกเป็นท่ีแพร่หลายข้ึน สมุดไทยหรือสมุดข่อยแบบโบราณจึงค่อยเส่ือมคลายความ
นิยมลงโดยล�ำดับ แต่สรรพวิทยาการนานาสาขาที่บันทึกไว้เป็นหลักฐานในลักษณะของ “เอกสารโบราณ” ยังคงมีความส�ำคัญยิ่งต่อการ
ศึกษาคน้ คว้าขอ้ มลู เกีย่ วกับวิถีชวี ติ สังคม ศลิ ปะ และวฒั นธรรมไทย จิตร ภูมิศกั ด์ิ นักวรรณคดแี ละอักษรศาสตร์คนส�ำคญั ของชาติกล่าวถงึ
ความสำ� คญั ของสมุดไทยไว้ในหนงั สอื พิมพไ์ ทยใหม่ เมื่อวันพุธท่ี ๒๘ กรกฎาคม ๒๔๙๗ (อา้ งถงึ ใน จิตร ภมู ศิ ักดิ์, ๒๕๒๒) ว่า

“...จริงอยู่สมัยโบราณเมื่อเราใช้กระดาษข่อยเราเรียกว่า สมุดไทย หรือถ้าเป็นสีด�ำเราก็เรียก
สมุดด�ำ สีขาวกเ็ รยี กว่า สมดุ ขาว ครน้ั เม่ือกระดาษฝรงั่ ตกเข้ามาพิมพ์หนังสือเป็นเลม่ ๆ ขาย เรากค็ ิดค�ำเรียกว่า
สมุดฝรงั่ บ้าง สมดุ พิมพ์ บา้ ง แตม่ าภายหลัง สมดุ ไม่ได้หมายถงึ หนงั สอื ท่พี ิมพเ์ ปน็ เลม่ อกี แล้ว แต่แยกไปหมาย
ถงึ เล่มกระดาษเปลา่ ๆ สำ� หรบั เขียน สว่ นท่พี ิมพ์ตวั หนังสือเป็นเล่มเราเรยี กว่า หนงั สอื อยา่ งทเ่ี ราใชอ้ ยเู่ ด๋ียวนี”้

13

สมุดไทยด�ำเสน้ หรดาล

14

สมดุ ไทยขาวเสน้ หมึก

15

ชนดิ และขนาดของสมดุ ไทย

สมดุ ไทยทที่ ำ� ขน้ึ จากกระดาษขอ่ ย จำ� แนกตามสขี องกระดาษเปน็ ๒ อยา่ งคอื สมดุ ไทยขาวและสมดุ ไทยดำ� กระดาษขอ่ ยทย่ี งั เปน็ แผน่
ยงั ไมไ่ ดพ้ บั เขา้ เลม่ เปน็ สมดุ ไทยเรยี กวา่ “กระดาษเพลา” เมอื่ พบั เขา้ เลม่ เปน็ สมดุ ไทยแลว้ หนา้ กระดาษสมดุ ไมม่ เี สน้ บรรทดั เมอ่ื จะเขยี นหนงั สอื
ตอ้ งใชแ้ ทง่ ตะกวั่ นมเหลาใหแ้ หลม ขดี เสน้ บรรทดั ตามความยาวของหนา้ กระดาษ และเขยี นอกั ษรใตเ้ สน้ จำ� นวนบรรทดั จงึ ไมแ่ นน่ อน แลว้ แต่
ความประสงคข์ องผเู้ ขียน แตท่ พ่ี บเห็นโดยท่ัวไปมกั เขียนอักษรหน้าละ ๔ บรรทัด พระยากสกิ ารบญั ชา (เลก็ บุราวาศ) อธิบายถึงชนิดและ
ขนาดของสมดุ ไทยไว้ในปาฐกถาเรือ่ งการทำ� กระดาษข่อย (พระยากสิการบัญชา, ๒๔๗๗ : ๒๒ - ๒๓) ไวด้ งั น้ี

สมุดภาพต�ำราชา้ ง แสดงภาพช้างทุรลักษณ์

16

สมุดไทยดำ� เสน้ หรดาล

“การท่ีจะท�ำเป็นเล่มสมดุ นัน้ เรียกหลายชะนดิ ทเ่ี รยี กกันว่าสมุด ๕๐ มาลัยตดั สมุด ๔๐ และสมดุ ๔๐ ไขหนา้ เสน้ ตอก และสมดุ
๓๐ สมดุ โหร สมุดคืบ การเขา้ เลม่ สมุดนี้ ผทู้ �ำมีแบบทกุ ชะนิด ที่เรียกสมดุ ๕๐, ๔๐, ๓๐ เหล่าน้ี คอื สมุด ๕๐ กลบี ๔๐ กลีบ ๓๐ กลบี หรือ
กจะวา้เรงยีรกาวอกี ๑อ๓ย า่๑๒ ง ว ่าเซส็นมตดุ์ ย๑าว๐ร๐าวหๆน๖า้ ๕๘เ๐ซน็ หตน์ ้าสม๖ดุ ๐๔ห๐นา้ไขสหมนดุ ้าโหเสรน้คตืออสกมดุ กทวโี่้าหงร๑จด๒ป ๒๑ ฏ ทิ เินซ็นแตล์ ะยสามวุด๓ค๕บื คเซอื ็นสตม์.ดุ..”๑๑ กลีบ แบบสมุดพระมาลยั

สมดุ ไทยดำ� เสน้ ดินสอ

17

สมดุ ไทยขาวเส้นหมกึ นทิ านคำ� กลอน เร่อื งกระตา่ ยขาเปล้ยี กบั แพะตาบอด

18

การจำ� แนกขนาดของสมดุ ไทยตามทีพ่ ระยากสกิ ารบัญชา (เล็ก บุราวาศ) อธบิ ายไว้
เป็นแบบมาตรฐานของชุมชนท่ีผลิตสมุดไทยในอดีต หากจ�ำแนกประเภทตามลักษณะ
ประโยชน์ใช้สอย อาจจ�ำแนกได้ดงั น้ี
๑. สมุดสวดหรือหนังสือสวด ได้แก่ สมุดพระอภิธรรมและสมุดมาลัย เป็น
สมุดไทยขาวขนาดใหญ่ ๕๐ กลบี หรือ ๑๐๐ หน้า ใชก้ ระดาษข่อย ๘ แผ่นทำ� เปน็ หน่ึงเลม่
สมดุ สมดุ ชนดิ นใ้ี ชบ้ ันทกึ บทสวดพระอภิธรรม ๗ คัมภีรโ์ ดยยอ่ สำ� หรับใช้สวดพระอภธิ รรม
มกั เขียนดว้ ยตัวอักษรขอม ภาษาบาลี มีภาพจิตรกรรมประกอบอยา่ งงดงาม สว่ นสมุดมาลัย
น้ันบันทึกเรื่องพระมาลัยด้วยตัวอักษรขอม ภาษาไทย ซึ่งเรียกกันโดยทั่วไปว่า ขอมไทย
สมัยโบราณใช้ส�ำหรับให้พระภิกษุหรือคฤหัสถ์สวดในงานมงคล ต่อมาภายหลังจึงใช้สวด
ในงานศพ สมุดไทยขนาดใหญ่นอกจากสมุดพระอภิธรรมและสมุดมาลัยแล้ว สมัยโบราณ
ยงั นยิ มใชบ้ นั ทกึ ตำ� ราตา่ งๆ ทม่ี ภี าพประกอบ เชน่ สมดุ ภาพต�ำราชา้ งในรชั กาลท่ี ๒ สมดุ ภาพ
ไตรภมู ิสมยั กรุงศรอี ยธุ ยา และสมุดภาพไตรภูมิสมัยกรงุ ธนบรุ ี เปน็ ต้น
๒. สมุด ๔๐ ไขหน้า เส้นตอก คือสมุดไทยขนาดปกติท่ัวไป มีทั้งสมุดไทยด�ำ
และสมุดไทยขาว ต�ำรับต�ำราต่างๆ เช่น ต�ำราแมว ต�ำราพิไชยสงคราม จดหมายเหตุ และ
วรรณคดีต่างๆ มกั บนั ทกึ ลงในสมุดไทยประเภทน้ี มีหน้าสำ� หรบั บันทกึ จ�ำนวน ๘๐ หนา้ ใช้
กระดาษขอ่ ย ๗ แผน่ ท�ำเปน็ หนึง่ เล่มสมุด
๓. สมดุ ๔๐ ไมไ่ ขหนา้ เปน็ สมดุ ไทยขนาดพิเศษ ใชก้ ระดาษขอ่ ย ๕ แผน่ ท�ำเปน็
หนึง่ เลม่ สมุด แตพ่ ับ ๔๐ กลบี ขนาดความกว้างยาวเทา่ กับสมุด ๔๐ ไขหนา้ เสน้ ตอก
๔. สมุด ๓๐ หรือสมุดโหร เป็นสมุดส�ำหรับโหรบันทึกปฏิทินแต่ละวันในหนึ่งเดือน
จึงท�ำเป็น ๓๐ กลบี ขนาดความกวา้ งความยาวเท่ากบั สมุด ๔๐
๕. สมุดคืบหรือสมุดพก เป็นสมุดไทยขนาดเล็กความยาวประมาณ ๑ คืบ กว้าง
ประมาณ ๘ เซนตเิ มตร บางเลม่ เป็นสี่เหลย่ี มจตั รุ ัส

19

จิตรกรรมในหนงั สือสวด สมดุ ไทยขาว

จติ รกรรมภาพมนษุ ยบ์ ชู าพระรตั นตรัย ในหนงั สอื สวด

20

จิตรกรรมภาพพระพรหม พระอนิ ทร์ บูชาพระรตั นตรัย ในหนังสือสวด

เทพธดิ าฟอ้ นร�ำขบั ร้องถวายพระเจดยี จ์ ฬุ ามณี จากสมดุ มาลัย

21

มหานครนพิ พาน จากสมุดภาพไตรภมู ิสมยั อยธุ ยา

22

สมุดตำ� ราพิไชยสงคราม อักษรไทยและอักษรพมา่

ตำ� ราพิไชยสงคราม ฉบบั รชั กาลที่ ๑

23

พระพทุ ธเจา้ เสดจ็ โปรดพุทธมารดาบนสวรรคช์ นั้ ดาวดงึ ส์ หนังสือสวด สมดุ ไทยดำ� เส้นทอง

24

การบนั ทึกสมุดไทย

เนื่องจากสมุดไทยแบ่งออกเป็น ๒ ชนิดคือ สมุดไทยขาวและสมุดไทยด�ำ การบันทึกตัวอักษรหรือภาพลงบนสมุดไทยแต่ละชนิด
จงึ ตอ้ งใช้วัสดุต่างกนั คือ
- สมุดไทยขาวเส้นหมึกด�ำ เขียนด้วยหมึกจีนหรือเขม่าไฟผสมกับกาวยางไม้ลงบนกระดาษขาวซึ่งส่วนมากเป็นสมุด ๔๐ ไขหน้า
สมุดไทยขาวเสน้ หมกึ ปรากฏหลักฐานแพรก่ ระจายอยูต่ ามวัดวาอารามตา่ งๆ ท้งั ในพระนครและหวั เมอื ง ส่วนมากเนอ้ื กระดาษข่อยคุณภาพ
ไมด่ ี มที ง้ั หนงั สอื ประเภทตำ� รายา เวทมนตรค์ าถา วรรณกรรม และแบบเรยี น เชน่ ประถม ก กา ประถมมาลา เปน็ ตน้ หนงั สอื สวดสมดุ ไทยขาว
เสน้ หมึกยงั พบวา่ มเี ส้นสีแดง เส้นสีเหลอื ง สอดแทรกเพม่ิ เติมอยูใ่ นเส้นหมึกบางตอนด้วย
- สมดุ ไทยขาวเสน้ ดนิ สอดำ� เขยี นดว้ ยดนิ สอดำ� ซงึ่ ในสมยั โบราณทำ� มาจากผงขเ้ี ถา้ แกลบบดอดั เปน็ แทง่ เนอ่ื งจากวสั ดทุ ใี่ ชไ้ มค่ งทน
ท�ำใหส้ มดุ ไทยขาวที่บนั ทกึ ดว้ ยดินสอด�ำช�ำรุดลบเลอื นในเวลาอันรวดเร็ว จงึ ได้รบั ความนยิ มนอ้ ย
- สมุดไทยด�ำเสน้ ทอง เปน็ การบันทึกตวั อักษรลงในสมดุ ไทยดำ� ท่ปี ระณตี งดงามดว้ ยการใช้กาวท่ีไดจ้ ากยางไม้เขียนตัวอกั ษรลงบน
สมุดแล้วปิดทับดว้ ยทองค�ำเปลว ท�ำให้เส้นสายลวดลายเป็นสีทองอร่าม เช่น ตน้ ฉบับสมุดไทยบทละครเรือ่ งรามเกยี รติ์ พระราชนพิ นธ์สมเด็จ
พระเจ้ากรุงธนบุรี ซงึ่ อาลกั ษณ์ในแผน่ ดินกรุงธนบรุ เี ป็นผูช้ บุ เมื่อพทุ ธศักราช ๒๓๒๓
- สมดุ ไทยดำ� เส้นมุก เป็นการใชผ้ งเปลอื กหอยมุกบดละเอียด ผสมกับรงเขยี นตวั อักษรเป็นเสน้ มกุ แวววาว แล้วปดิ ทองคำ� เปลวทบั
เช่น บางส่วนของตน้ ฉบับสมุดไทยหนังสือจินดามณี
- สมดุ ไทยดำ� เสน้ หรดาล หรดาลเป็นวตั ถุธาตุชนิดหนงึ่ มีสีเหลอื งสด บางชนิดอมแดง ตอ้ งน�ำมาบดใหล้ ะเอียดตามกรรมวธิ ี แลว้
ผสมกบั กาวยางมะขวิด น�ำไปเขียนตวั อกั ษรลงในสมดุ ไทยด�ำ เอกสารสมุดไทยของราชสำ� นักกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบรุ ี และกรงุ รัตนโกสินทร์
ที่อาลักษณเ์ ป็นผชู้ บุ ส่วนมากเปน็ สมดุ ไทยดำ� เสน้ หรดาล
- สมดุ ไทยดำ� เสน้ รง รงเปน็ ยางไมช้ นดิ หน่ึง มีสีเหลอื งอมเขียว น�ำมาบดละเอียดผสมกาวยางมะขวิด
- สมดุ ไทยดำ� เสน้ ดนิ สอ ดนิ สอ หมายถงึ ดนิ ขาว วสั ดทุ น่ี ำ� มาทำ� เปน็ ดนิ สอสำ� หรบั เขยี นลงในสมดุ ไทยดำ� มหี ลายชนดิ เชน่ ดนิ สอพอง
ดนิ สอแก้ว และดินสอศิลาซึง่ เป็นศลิ าเน้ือออ่ นชนดิ หนึ่ง ตัวอักษรมลี กั ษณะคลา้ ยฝนุ่ สีขาวหรือขาวอมเหลอื ง

25

กฎหมายตรา ๓ ดวง ครั้งรชั กาลท่ี ๑ ประทับตราพระราชสีห์ ตราพระคชสีหแ์ ละตราบวั แกว้ สมุดไทยขาวเส้นหมกึ

26

ต�ำราเลขยันต์
สมุดไทยขาวเสน้ หมึก

ตำ� ราเทวรปู แสดงภาพนารายณบ์ รรทม
สนิ ธ์ุ สมดุ ไทยขาวเส้นหมกึ

27

ตำ� ราแมว สมดุ ไทยขาวเสน้ หมกึ

28

นกพิราบจากตำ� รานกเขา สมุดไทยขาวเสน้ หมึก

29

สมดุ ภาพแสดงสระท้งั ๗ ในป่าหมิ พานต์

30

๒ การทำ� สมุดไทย
กระดาษท่ีใช้ท�ำสมุดไทยคือกระดาษข่อยซึ่งได้มาจากเปลือกของต้นข่อย การ
ท�ำกระดาษข่อยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นเป็นผลิตผลจากอุตสาหกรรมในครัวเรือน ท�ำ
กันตลอดย่านคลองบางซ่อน “...ผู้ท�ำกระดาษข่อยมั่งมีกันมาก มีบ่าวไพร่ข้าทาษชายหญิง
เพื่อช่วยท�ำกระดาษ ในตอนเช้ามืดเสียงทุบข่อยหูแทบดับ เพราะการท�ำกระดาษข่อยเขา
ตอ้ งทบุ ข่อยตอนเช้ามืดก่อนสว่าง...” (พระยากสกิ ารบัญชา, ๒๔๗๗ : ๗ - ๘)
ต้นข่อยท่ีน�ำมาท�ำกระดาษน้ันมาจากอ�ำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
และจังหวดั สงิ ห์บรุ ี ชาวบ้านตัดตน้ ขอ่ ยแล้วนำ� มาลนไฟจนเปลือกสกุ ดแี ล้ว ลอกเปลอื กออก
น�ำไปตากแดดจนแห้ง จงึ มดั รวมกนั แล้วส่งมาขายให้ผทู้ �ำกระดาษที่บางซอ่ น

31

การท�ำกระดาษ

ข้นั ตอนแรกของการทำ� กระดาษคอื น�ำมัดเปลือกข่อยแชล่ งในคลองทน่ี ำ้� ไหลถ่ายเทได้ ท้งิ ไวป้ ระมาณ ๓ - ๔ คืน ล้างผิวเปลอื กให้
สะอาดจึงเกบ็ ขึ้นเพ่ือ “เสียดข่อย” คอื ฉีกใหเ้ ป็นเสน้ ฝอยเล็กๆ แยกออกเปน็ ๒ ส่วนคอื ส่วนที่เยอ่ื ขาวสะอาดเพื่อท�ำสมดุ ขาว และส่วนผิว
เปลือกนอกกับเย่ือที่ไม่ขาวสะอาดส�ำหรับท�ำสมุดด�ำ ใช้ปูนขาวผสมน้�ำคลุกเคล้าข่อยที่เสียดแล้วจนท่ัว ปกคลุมมิดชิดไม่ให้ต้องแดดต้องลม
หมกั ไว้ ๒ คืน เรยี กวา่ “หมกั ข่อย” จงึ นำ� ไปนง่ึ ในรอ สานดว้ ยไมไ้ ผ่ อดั จนแนน่ เหนือกระทะใบบัวประมาณ ๒๔ ช่วั โมง เมอ่ื สุกสมำ�่ เสมอดแี ล้ว
น�ำไปอดั แช่ในโอง่ ด้วยนำ้� ปนู ขาวซง่ึ มีคุณสมบตั เิ ป็นดา่ ง เพ่อื ย่อยสลายให้เปลอื กขอ่ ยนัน้ อ่อนย่ยุ จงึ ลา้ งออกจนหมดปนู ขาว แล้วน�ำข่อยเข้าที่
“ทับข่อย” ซึ่งอุปกรณ์เป็นไม้กระดาน ๒ แผ่น แผ่นล่างเจาะรู ใส่เปลือกข่อยไว้ตรงกลาง วางแผ่นกระดานด้านบนแล้วให้คนขึ้นไปนั่งทับ
บีบให้สะเด็ดน�้ำ จากน้ันจึง “ทุบข่อย” คือทุบให้แหลกด้วยค้อนไม้บนเขียงหรือกระดานทุบข่อย ผู้ท�ำถือค้อนคนละ ๒ ค้อน ทุบข่อย
จนละเอยี ดจนครบ ๓ ตลบ เติมน�้ำสะอาดลงบนขอ่ ยใหเ้ ปยี ก แล้วทบุ ด้วยคอ้ นมือเดียวไปอีก ๖ - ๗ ตลบ เรียกว่า “สบขอ่ ย” จึงป้นั เปน็ ก้อน
เทา่ ๆ กนั ใสไ่ วใ้ นตุ่มดินหรือตมุ่ สามโคก

การหล่อกระดาษ

เตรยี มขอ่ ยทีป่ ั้นเป็นก้อนน้นั ใส่ลงในพะแนงแม่พิมพ์ตอ่ ไป พะแนงเปน็ กรอบไม้สเี่ หล่ยี ม ขนาดกวา้ งยาวตามแผน่ กระดาษท่ตี ้องการ
มีหลายชนิด เช่น พะแนงพระมาลัย พะแนงสมุดธรรมดา ฯลฯ ด้านหลังของพะแนงบุด้วยผ้าขาวบาง เรียกว่า ผ้ามุ้งพะแนง ย้อมให้แข็ง
ด้วยยางมะพลับ พะแนงเป็นตัวก�ำหนดความกว้างยาวของกระดาษแต่ละแผ่น พะแนงพระมาลัยยาว ๒.๓๐ เมตร กว้าง ๑ เมตร
พะแนงสมุดธรรมดายาว ๒.๓๐ เมตร กว้าง ๕๗ เซนติเมตร พะแนงกระดาษเพลายาว ๑.๗๗ เมตร กว้าง ๕๗ เซนติเมตร น�ำพะแนง
วางลงในบ่อหรือคลองท่ีน้�ำน่ิง สะอาด น�ำก้อนข่อยที่สบดีแล้วใส่ลงในครุไม้ไผ่ คลุกเคล้าให้เหลวเสมอกันแล้วเทลงในพะแนงหรือแบบพิมพ์
ส่ายบนน้ำ� ให้ขอ่ ยกระจายทัว่ ยกข้ึนพน้ น้�ำวางตะแคง คลึงรดี ด้วยไม้ซางจนน้ำ� แห้ง น�ำไปตากแดดใหแ้ ห้ง และคอยกลบั ดา้ นล่างขนึ้ ด้านบน
ครน้ั แหง้ สนิทแลว้ จึงลอกกระดาษออกจากพะแนง

32

สมดุ ภาพแสดงปชู นยี สถานส�ำคญั

33

ภาพแสดงปชู นยี สถานส�ำคญั จากสมดุ ภาพไตรภมู ิ

34

การลบสมดุ

การลบสมุดขาว กระดาษข่อยท่ีน�ำออกจากพะแนงยังไม่สามารถน�ำมาท�ำเป็นเล่มสมุดไทยได้เพราะเน้ือกระดาษยังไม่แน่น
หากน�ำไปเขียนหรือบันทึกตัวอักษร กระดาษจะซึมแตกพร่า ต้องน�ำมา “ลบ” ประคบด้วยแป้งเปียก ซ่ึงท�ำจากแป้งข้าวเจ้ากวนให้สุกแล้ว
ผสมนำ้� ปนู ขาวเลก็ นอ้ ย วางกระดาษลงบนกระดานสำ� หรบั ลบ เอาแปง้ ลบทำ� เปน็ ลกู ประคบลบจนทว่ั ทง้ั ๒ ดา้ น แลว้ ขดั ดว้ ยหนิ แกว้ กอ้ นกลม
รูปไข่ถูไปมาใหเ้ น้อื กระดาษแน่นทัว่ แผ่น
การลบสมุดด�ำ คือการประคบด้วยแป้งข้าวเจ้าเช่นเดียวกับการลบสมุดขาว แต่เปล่ียนจากน�้ำปูนขาวเป็นถ่านไม้โสน ถ่าน
กาบหมากหรือกาบมะพร้าวบดละเอียดกวนผสมกับแป้งให้เป็นสีด�ำ แล้วน�ำไปประคบกระดาษด้านละ ๒ คร้ัง ขัดด้วยหินแก้ว แล้วใช้แป้ง
ประคบทาใหส้ ม่ำ� เสมออกี ครัง้

การท�ำเล่ม

การท�ำเล่มสมุดไทยแบบต่างๆ ทั้งสมุดมาลัย สมุดแบบธรรมดา และสมุดคืบ ฯลฯ ต้องหักแผ่นกระดาษพับไปพับมา การพับ
ตอ้ งใชอ้ ุปกรณ์ท่เี รยี กว่า “มดี หักสมดุ ” กรีดใหเ้ ป็นรอยนำ� ตามขนาด แลว้ หกั กระดาษพับเปน็ กลีบๆ เมื่อสดุ กระดาษแตล่ ะแผ่นก็ตอ่ เชื่อมกัน
ด้วยแป้งเปียก ปกสมุดทั้งด้านหน้าและด้านหลังท�ำคิ้วเป็นกรอบส่ีเหลี่ยมโดยรอบ ปกสมุดอย่างดีทั้งสมุดไทยขาวและสมุดไทยด�ำมักลงรัก
น้ำ� เกล้ียงเพื่อความแขง็ แรงและสวยงาม
เรอ่ื งราวทบ่ี นั ทกึ ลงในสมดุ ขอ่ ยเปน็ วถิ วี ฒั นธรรมของชนชาตไิ ทยทต่ี ง้ั ถนิ่ ฐานเปน็ ปกึ แผน่ มน่ั คงอยใู่ นลมุ่ แมน่ ำ้� เจา้ พระยาและภมู ภิ าค
ตอนกลางของประเทศ ต�ำราและสรรพวิทยาการต่างๆ ท้ังพระราชพงศาวดาร จดหมายเหตุ ต�ำนาน กฎหมาย โหราศาสตร์ ต�ำรายา
พระพุทธศาสนา และวรรณคดี ฯลฯ ส่งิ เหลา่ นี้คือเอกลกั ษณ์ของชาติทแ่ี สดงถงึ ความเป็นเอกราชทางวัฒนธรรม

35

36

สมดุ ภาพตำ� รากระบวนพยหุ ยาตราเพชรพวง คดั ลอกจากจิตรกรรมฝาผนงั วัดยม พระนครศรีอยธุ ยา

37

บริวารพระศรีอารยิ เทพบตุ รไปบูชาพระเจดียจ์ ฬุ ามณี จากสมุดมาลยั

38

๓ สมดุ ภาพจติ รกรรมไทย
วัฒนธรรมการจดบันทึกของคนไทยในอดีตก่อนท่ีจะมีการพิมพ์หนังสือท่ีปรากฏ
หลักฐานจ�ำนวนมากคือการจารลงบนใบลานและการเขียนหรือชุบลงบนสมุดไทย ซึ่งมีทั้ง
เร่ืองราวทางศาสนาและต�ำรับต�ำราต่างๆ เร่ืองราวที่บันทึกลงในใบลานมักเป็นเร่ืองเกี่ยวกับ
พระพทุ ธศาสนา สว่ นตำ� รบั ตำ� ราตา่ งๆ นยิ มบนั ทกึ ลงในรปู ของสมดุ ไทยมากกวา่ คมั ภรี ใ์ บลาน
เน่ืองจากต�ำรบั ตำ� ราตา่ งๆ มักตอ้ งมตี วั อยา่ งประกอบใหช้ ดั เจนดว้ ยการวาดเสน้ ระบายสี ตอ้ ง
ใชพ้ น้ื ที่ จงึ ตอ้ งบนั ทกึ ลงในสมดุ ไทย เชน่ ตำ� ราพรหมชาติ ตำ� ราแมว ตำ� รามา้ ตำ� ราชา้ ง ตำ� ราพ‌ ิ
ไชยสงคราม เปน็ ตน้
สมดุ ไทยท่บี นั ทึกต�ำราดงั กล่าว หากเป็นสมดุ ไทยดำ� ซง่ึ ท�ำขึ้นจากกระดาษข่อยสีดำ�
ภาพประกอบจะเปน็ เพยี งการวาดเสน้ ไมม่ กี ารระบายสี เชน่ ตำ� ราเทวรปู ฉบบั หอสมดุ แหง่ ชาติ
ลายเส้นต้นแบบกลบทต่างๆ ในหนังสอื แบบเรยี นไทยจินดามณี สมดุ ภาพรา่ งจติ รกรรมเรื่อง
รามเกียรติ์ ฉบับหอสมุดแห่งชาติ เป็นต้น ส่วนสมุดไทยขาว ซ่ึงท�ำจากกระดาษข่อยสีขาว
เหมาะสำ� หรบั ต�ำรับต�ำราที่มภี าพประกอบท้ังการวาดเสน้ และระบายสี เช่น สมดุ ภาพไตรภมู ิ
สมัยกรุงศรีอยุธยาและสมัยกรุงธนบุรี สมุดภาพต�ำราร�ำและสมุดภาพต�ำราภาพจับ คร้ัง
รัชกาลที่ ๑ เป็นต้น สมดุ ภาพเหลา่ นีม้ กั มีค�ำอธบิ ายประกอบเขียนด้วยเสน้ หมึกดำ� เปน็ ระยะๆ
อนึ่ง หนังสือสวดซึ่งเป็นสมุดไทยขาว เช่น สมุดพระอภิธรรม สมุดสวดสรรเสริญ
พระพุทธคณุ มกั มีภาพจติ รกรรมค่นั เป็นช่วงๆ เช่น ภาพเทพชมุ นมุ ภาพสัตว์หิมพานต์ ภาพ
ดอกไม้ ภาพจากเร่ืองทศชาติ และภาพจากวรรณคดี ฯลฯ หากเป็นสมุดมาลัยก็จะปรากฏ
จิตรกรรมจากเร่ืองพระมาลัยประกอบเป็นช่วงๆ เช่นกัน ซึ่งจิตรกรรมในหนังสือสวดมักวาง
ภาพไว้ด้านขวาและด้านซ้ายหน้าสมุด เขียนข้อความหรือตัวบทด้วยอักษรขอมไว้ตรงกลาง
ระหวา่ งภาพดา้ นขวาและด้านซ้าย
สีท่ีใช้ในจิตรกรรมไทยโบราณได้จากวัสดุธรรมชาติ กล่าวคือ สีแดงได้จากชาด
หรือดินแดง สีเหลืองได้จากหรดาลหรือดินเหลือง สีด�ำได้จากเขม่าไฟหรือผงถ่าน ต่อมา
มีการนำ� เข้าสีจากจีนและประเทศตะวนั ตกทำ� ใหม้ สี ีใชม้ ากขึ้น

39

การวาดเส้นระบายสีจิตรกรรมในสมุดภาพหนังสือสวดแต่ละเล่มจะน�ำมาจากเรื่องราวที่มีอยู่ในต�ำราและคัมภีร์ต่างๆ ซ่ึงจิตรกร
จะคัดเลือกตอนท่ีแสดงลักษณะเด่นของเร่ือง เพ่ือให้สามารถส่ือสารได้ว่า ภาพดังกล่าวมาจากเรื่องใด ตอนใด ภาพในหนังสือสวดเหล่าน้ี
มกั ไมม่ คี ำ� อธบิ ายภาพประกอบ ผทู้ จี่ ะอา่ นภาพไดเ้ ขา้ ใจจงึ ตอ้ งมคี วามรพู้ นื้ ฐานเกยี่ วกบั เนอื้ หาสำ� คญั ของเรอ่ื งนนั้ ๆ จติ รกรรมไทยในสมดุ ภาพ
ดงั กลา่ วเป็นเสมอื นบนั ทกึ วฒั นธรรมของชาตใิ นแตล่ ะยคุ สมัย ท้ังการแตง่ กาย ทรงผม และสง่ิ ของเครือ่ งใชต้ า่ งๆ ทัง้ นี้สมดุ ภาพบางเลม่ อาจ
บอกผสู้ รา้ งและศกั ราช เดอื นปที สี่ รา้ งไวด้ ว้ ย เชน่ สมดุ ภาพวดั หวั กระบอื เขตบางขนุ เทยี น กรงุ เทพมหานคร มขี อ้ ความระบศุ กั ราชทสี่ รา้ งไวว้ า่

“ขา้ พเจ้านายบุญคง ใดส้ ร้างพระพทุ ธคณุ คัมภี ๑ พระวใิ นคมั ภี ๑ พระสตู รคมั ภี ๑ จบพระไตรปดิ ก
แลพระษธรรมน้ี ขอจงเปนเหตุเปนปัดใจแก่นิภาร แก่บิดามารดาข้าพเจ้าเทิด ถ้าพระสงฆผู้ใดๆ อ่านสวด
พระสธรรมทั้งมวรในน้ีขอเดชผลอานิสงอุปถ�ำคั้มชูบิดามารดาข้าพเจ้าให้พ้นจากทุกได้เสวยสุกในมนุดสมบัด
สวรรคสมบัดตราบเท้านิริยภารเปนที่สุดในสาศนาพระษรีอาริยเมตไตรย พระพุทธศักราชได้ ๒๒๘๖
พระวสา เสดสงั ขยาได้ ๑๐ เดอื น วนั พระฤๅหัด เดอื นสี่ เพงสิบหา้ ค่�ำ จลุ ศักราช ๑๑๐๕ ปีกุน เบญสก”

(คดั ลอกจากอักษรไทยยอ่ สมุดภาพวัดหัวกระบอื )
ข้อความในหน้าต้นของสมุดภาพวัดหัวกระบือระบุว่า นายบุญคง เป็นผู้สร้างคัมภีร์สมุดภาพดังกล่าว เม่ือวันพฤหัสบดี เดือน ๔
ขน้ึ ๑๕ ค�่ำ พุทธศกั ราช ๒๒๘๖ ตรงกบั รชั กาลสมเด็จพระเจา้ อยู่หวั บรมโกศ แหง่ กรงุ ศรีอยุธยา การวาดเสน้ และการใช้สขี องจิตรกรแต่ละ
สกุลช่างมีลักษณะแตกต่างกัน ดังนั้นการระบุวันเดือนปีท่ีปรากฏในสมุดภาพแต่ละเล่มจึงมีประโยชน์อย่างย่ิงต่อการศึกษาเปรียบเทียบและ
สันนิษฐานอายุของสมุดภาพเล่มอ่ืนๆ ที่มิได้ระบุอายุวันเดือนปี แต่มีลักษณะเฉพาะของยุคสมัยร่วมกันทั้งเทคนิคการวาดเส้นระบายสี
และการเขยี นตวั อักษร
อน่ึง การเขียนตัวอักษรท้ังอักษรไทยและอักษรขอมในแต่ละสมัยมีลักษณะเด่นที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน เช่น รูปแบบของอักษร
“ไทยยอ่ ” และ “ขอมย่อ” นยิ มใชใ้ นสมยั อยุธยาตอนปลาย แตไ่ ม่เปน็ ทีน่ ยิ มในสมยั รัตนโกสนิ ทร์ ดังนนั้ เม่อื พบเอกสารสมุดไทยทีบ่ ันทกึ ดว้ ย
อกั ษร “ไทยย่อ” จงึ อาจสนั นิษฐานในเบอ้ื งต้นได้ว่า สมุดไทยเล่มนนั้ มอี ายเุ กา่ ถงึ สมยั อยธุ ยา
สมุดไทยและสมุดภาพท่ีเป็นฉบับหลวงหรือสมุดไทยของราชส�ำนัก ผู้เขียนหรือผู้ชุบเป็นข้าราชการในสังกัดกรมพระอาลักษณ์ซ่ึง
คัดเลือกจากผู้มีความรดู้ า้ นอักษรศาสตรแ์ ละมีลายมอื งดงามตามพระราชนิยมของพระมหากษตั ริย์แต่ละรัชกาล ดังนน้ั ลายมอื ของอาลกั ษณ์
ผ้บู นั ทกึ หนงั สือหลวงในแตล่ ะแผน่ ดินจึงมลี ักษณะเดน่ ทำ� ให้สันนิษฐานไดว้ า่ เรื่องนนั้ เขียนขนึ้ ในรัชกาลใด

40

พระอินทร์ พระพรหม บูชาพระรตั นตรยั จากหนงั สอื สวดสมยั อยุธยา

พระศรีอาริยเทพบุตรไหวพ้ ระเจดียจ์ ฬุ ามณี จากสมดุ มาลัย

41

ตำ� ราแมซ่ ้อื สมัยรตั นโกสนิ ทรต์ อนตน้

42

เรอ่ื งราวในสมุดภาพจิตรกรรมไทย

ภาพจิตรกรรมที่เขียนในสมุดไทยเป็นจิตรกรรมแบบไทยประเพณี คือสร้างสรรค์ขึ้นตามขนบของศิลปกรรมไทย ประกอบด้วย
ภาพลวดลาย เช่น ลายกนก ลายกา้ นต่อดอก ลายแกว้ ชิงดวง มนษุ ย์ เช่น ชาย หญิง ในอริ ิยาบถตา่ งๆ เปน็ ตน้ วา่ เหาะ นั่งเมอื ง ดีใจ เสียใจ
อมนษุ ย์ เชน่ ยกั ษ์ พญาวานร กินนร กินรี สัตวห์ มิ พานต์ เป็นตน้ สตั ว์ หมายถึงสตั ว์ที่มตี วั ตนอยู่จริง เชน่ ช้าง มา้ โค เปน็ ต้น
การวาดภาพศลิ ปะไทยประเพณท‌ี งั้ ๔ หมวดนี้ ในตำ� ราชา่ งเขยี นโบราณเรยี กวา่ “กระหนก นารี กระบี่ คช” ซงึ่ ทกุ หมวดมขี อ้ กำ� หนด
หรือระเบียบแบบแผน เช่น การเขียนภาพมนุษย์ในอิริยาบถต่างๆ ต้องสอดคล้องกับ “นาฏลักษณ์” หรือท่วงท่าการแสดงอารมณ์ของ
นาฏศิลป์ เช่น ท่าแผลงศรของตัวละครที่ปรากฏในจิตรกรรมไทย ซึ่งจิตรกรมักจัดวางให้อยู่ในกิริยาอาการเดียวกัน ดังน้ันภาพพระราม
แผลงศรในเรื่องรามเกยี รติ์ กับพระเจา้ ปิลยกั ข์แผลงศรในสวุ รรณสามชาดกจึงมที ว่ งท่าเหมอื นกนั ทา่ นง่ั เมอื งของทศกณั ฐ์ในเรอ่ื งรามเกียรติ์
เหมือนกับท่านั่งเมืองของพระเจ้าเนมิราชในมหาเนมิราชชาดก ภาพช้างปัจจัยนาคในมหาเวสสันดรชาดกมีท่วงท่าเหมือนกับช้างนาฬาคิรี
ในคมั ภรี ์ปฐมสมโพธิ ปราสาทราชวงั ในเร่อื งไตรภูมมิ ีลักษณะเหมอื นปราสาทราชวงั ในเรื่องรามเกียรติ์ เป็นต้น

43

เรื่องราวทีน่ �ำมาเขียนในสมดุ ภาพอาจแบ่งออกได้เปน็ ๒ ลักษณะ ดังนี้
๑. ภาพอธิบายเรื่อง เป็นภาพทเ่ี ขยี นขน้ึ เพอ่ื อธิบายหรอื ขยายความเนื้อหาหรือตำ� ราเฉพาะดา้ น เช่น ตำ� ราช้าง ตำ� ราม้า ตำ� ราแมว
ต�ำราแม่ซื้อ สมดุ ภาพไตรภมู ิ ต�ำราพรหมชาติ ภาพในต�ำราดังกลา่ วเขยี นขึ้นเพ่ืออธิบายความ เชน่
ต�ำราช้าง จะวาดเสน้ ระบายสเี ปน็ รูปช้างทมี่ รี ปู ทรงใกล้เคียงกนั ตา่ งกันแต่สีกายและลักษณะพเิ ศษเฉพาะทีม่ ใี นช้างแตล่ ะชนิด
ตำ� ราแม่ซือ้ วาดเส้นเปน็ รปู แมซ่ อื้ ซึง่ มหี น้าเปน็ สัตว์และสกี ายตา่ งกันตามวนั
สมดุ ภาพไตรภูมิ ระบายสีวาดเส้นเป็นรปู ภูมทิ งั้ ๓ คือ กามภมู ิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ ประกอบค�ำอธิบายสั้นๆ
สมดุ ภาพจติ รกรรมไทยทป่ี รากฏแพรห่ ลายมากทสี่ ดุ คอื สมดุ มาลยั ซงึ่ เปน็ หนงั สอื สำ� หรบั สวดพระมาลยั เปน็ สมดุ ไทยขาวขนาดใหญ่
เขียนบทประพนั ธ์ “กลอนสวด” เรอ่ื งพระมาลัยดว้ ยตัวอกั ษรขอมภาษาไทย มภี าพเร่ืองราวของพระมาลยั สอดคลอ้ งกบั เนือ้ หาในกลอนสวด
คน่ั เปน็ ระยะๆ เชน่ ภาพชายเข็ญใจถวายดอกบวั ๘ ดอกแก่พระมาลยั ภาพพระมาลยั นมัสการพระจุฬามณีเจดีย์ ภาพพระมาลัยสนทนากบั
พระอนิ ทร์และพระศรีอารยิ เ์ ทพบุตร เปน็ ตน้

44

สมดุ ภาพตำ� ราช้าง แสดงภาพช้างศภุ ลักษณ์

45

สมดุ ภาพตำ� ราช้าง แสดงภาพมาตงั คกรีเทพ หรอื เทวดา ๒๖ องค์ท่รี กั ษาช้างสำ� คญั

46

๒. ภาพคั่นท่ีไม่เกี่ยวกับเนื้อหา เน้ือหาของสมุดไทยลักษณะน้ีมักเป็นหนังสือสวด เช่น สมุดพระอภิธรรมย่อ สมุดปาฏิโมกข์
ภาพประกอบมกั นำ� มาจากวรรณคดพี ระพทุ ธศาสนา เชน่ ภาพเทพชมุ นมุ มกั เขยี นเป็นภาพเทวดา นางฟา้ หรือบุคคล ในอริ ยิ าบถพนมมือ
ฟังธรรม ภาพลักษณะน้ีมีที่มาจากคัมภีร์ปฐมสมโพธิ เป็นเรื่องพุทธประวัติตอนพระพุทธเจ้าเสด็จโปรดพุทธมารดาบนสวรรค์ช้ันดาวดึงส์
ภาพเรอ่ื งทศชาติหรอื พระเจา้ สิบชาติ เปน็ การนำ� ตอนส�ำคญั จากมหานิบาตชาดกท้งั ๑๐ ชาติ คอื เตมียชาดก มหาชนกชาดก สวุ รรณสาม
ชาดก เนมริ าชชาดก มโหสถชาดก ภูริทตั ชาดก จนั ทกุมารชาดก นารทชาดก วิธุรชาดก และเวสสนั ดรชาดก โดยนำ� มาเขียนเป็นจิตรกรรม
เรอื่ งละ ๑ - ๒ ภาพ ภาพเรื่องมหาชาติหรือมหาเวสสนั ดรชาดก เป็นการน�ำตอนสำ� คญั จากมหาเวสสนั ดรชาดกทั้ง ๑๓ กณั ฑ์ คือ ทศพร
หิมพานต์ ทานกัณฑ์ วนประเวศ ชูชก จุลพน มหาพน กุมาร มัทรี สกั กบรรพ มหาราช ฉกษตั รยิ ์ และนครกัณฑ์ ภาพภิกษปุ ลงอสภุ กัมมัฏฐาน
เป็นภาพภิกษุพิจารณาอสุภหรือซากศพ ๑๐ ประเภท เช่น สมดุ ไทยหนงั สือสวดพระอภิธรรมยอ่ วัดปากคลอง จงั หวดั เพชรบรุ ี

เทพยดาประชมุ ไหว้พระเจดียจ์ ุฬามณี จากสมดุ มาลัย

47

ภาพค่ันท่ีไม่เก่ียวกับเนื้อหาของสมุดไทยประเภทหนังสือสวด นอกจากน�ำเรื่องราวจากวรรณคดีพระพุทธศาสนามาเขียนแล้ว
ยงั พบวา่ มกี ารนำ� นทิ านพน้ื บา้ นมาเขยี นเปน็ จติ รกรรมอกี ดว้ ย เชน่ หนงั สอื สวดสมยั อยธุ ยาของวดั สวุ รรณภมู ิ จงั หวดั สพุ รรณบรุ ี นำ� เรอื่ ง “โสวตั ”
ซง่ึ เป็นนทิ านพ้ืนบ้านมาเขยี นเป็นภาพคั่นดว้ ย นอกจากน้ียังมภี าพคน่ั รปู ต้นไม้ ดอกไม้ ธรรมชาติ ชวี ิตสัตว์ ตามจนิ ตนาการของจติ รกร เชน่
สมุดไทยหนังสอื สวดพระอภิธรรมย่อ ฉบับวดั ลาด จังหวดั เพชรบรุ ี

เน่ืองจากสมุดไทยมีขนาดจ�ำกัดท�ำให้พื้นท่ีเขียนภาพจิตรกรรมจ�ำกัดตามขนาดของหน้าสมุด จิตรกรหรือศิลปินจึงต้องใช้ความ
สามารถในการจัดองค์ประกอบให้เหมาะสมกับหน้ากระดาษ เรื่องราวและส่ิงท่ีสอดแทรกอยู่ในสมุดภาพจิตรกรรมไทยล้วนเป็นภาพสะท้อน
วิถชี ีวติ และวัฒนธรรมในอดตี ทอ่ี นชุ นไทยควรต้องรูแ้ ละศึกษา เพ่อื ความเขา้ ใจในวิถีแหง่ บรรพชน

48


Click to View FlipBook Version