สตั วห์ ิมพานต์ จากหนังสอื สวดสมัยอยธุ ยา
เรอื่ งราวท่บี นั ทกึ เป็นภาพในสมุดภาพจติ รกรรมไทยทีป่ รากฏในลักษณะ “ภาพอธิบายเรือ่ ง” นอกจากตำ� ราเฉพาะด้านแลว้ มักเป็น
ภาพท่ีน�ำมาจากเร่ืองราวหรือวรรณคดีพระพุทธศาสนาแบบเดียวกับจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถหรือพระวิหารต้ังแต่สมัยอยุธยาสืบเน่ือง
มาถงึ สมยั รตั นโกสนิ ทรต์ อนตน้ ไดแ้ ก่ ภาพตามคตไิ ตรภมู ิ ภาพจากชาดกและพทุ ธประวตั ิ ซง่ึ เรอื่ งราวเหลา่ นพ้ี ทุ ธศาสนกิ ชนไทยมคี วามศรทั ธา
เลื่อมใสมาแตโ่ บราณ คติความเชื่อดังกลา่ วมีอทิ ธพิ ลตอ่ วิถชี ีวติ และวัฒนธรรมไทยสบื เนอ่ื งมาจนถงึ ปัจจุบัน
49
ช้างแม่ลกู จากหนงั สอื สวดสมยั รัตนโกสินทร์
50
สตั ว์หิมพานต์ จากหนงั สือสวดสมัยอยธุ ยา
51
เขาพระสเุ มรุ จากสมดุ ภาพไตรภมู ิ
52
สมดุ ภาพไตรภมู ิ
ไตรภมู หิ มายถงึ ภมู ทิ งั้ ๓ ทสี่ ตั วโ์ ลกทง้ั หลายจะตอ้ งเวยี นวา่ ยตายเกดิ ตามหลกั ไตรลกั ษณข์ องพระพทุ ธศาสนาคอื อนจิ จงั ทกุ ขงั อนตั ตา
ตราบใดท่ยี ังไมบ่ รรลนุ ิพพาน สมดุ ภาพไตรภมู จิ ึงมกั เร่มิ ตน้ ด้วยภมู ิแหง่ โลกุตตรธรรมของพระอริยบคุ คล ซ่ึงลำ� ดับข้นั สงู สุดของโลกตุ ตรธรรม
อันเป็นธรรมท่ีเหนือโลกคือนิพพาน จากนั้นจึงอธิบายถึง “ไตรภูมิ” อันเป็นภูมิของสัตว์โลกท่ียังไม่บรรลุนิพพานเรียงตามล�ำดับจากสูงสุด
ไปหาต�่ำสุดคือ อรปู ภูมิ รูปภมู ิ และกามภูมิ ผ้ทู ี่จะไปเกิดในแตล่ ะภมู ิเป็นไปตามผลของกรรมดีและกรรมชั่วทตี่ นได้กระท�ำไว้ การอธบิ ายทตี่ ัง้
ตลอดจนความเปน็ อยใู่ นภมู ติ า่ งๆ เปน็ ความเชอ่ื ทางพระพทุ ธศาสนาทเ่ี กยี่ วกบั จกั รวาลวทิ ยา ซงึ่ ความเชอื่ ดงั กลา่ วเขา้ มาสสู่ งั คมไทยพรอ้ มกบั
พระพุทธศาสนา
53
มหานครนพิ พาน จากสมดุ ภาพไตรภมู ิ
54
ทศุ ะเจดยี ป์ ระดษิ ฐานบนพรหมโลก จากสมุดภาพไตรภมู ิ
55
พระอรยิ บุคคลท้งั ๘ เหลา่ จากสมดุ ภาพไตรภมู ิ
คัมภรี พ์ ระพทุ ธศาสนาท่มี เี นอื้ หาเก่ยี วกบั จักรวาลวิทยามอี ยหู่ ลายเรอ่ื ง เช่น โลกสณั ฐาน โลกปุ ปตั ติ โลกทปี กสาร และจกั รวาฬทปี นี
เป็นต้น คัมภีร์ดังกล่าวแต่งเป็นภาษาบาลี ส่วนคัมภีร์ไตรภูมิท่ีเรียบเรียงเป็นภาษาไทยเล่มแรกคือ เตภูมิกถาหรือไตรภูมิพระร่วง
ซึ่งสมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไท กษัตริย์นักปราชญ์แห่งราชวงศ์พระร่วง ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีของ
ราชอาณาจกั รสยาม
56
อมรโคยานทวีปและชมพทู วีป จากสมดุ ภาพไตรภมู ิ
57
นาคพภิ พ มที า้ วธตรฐ และทา้ ววิรปู กั ขเ์ ปน็ ประธาน
58
ก�ำเนิดสายนำ้� จากปากสัตว์ท้ัง ๔ คอื ราชสหี ์ โค ม้า และชา้ ง จากสมดุ ภาพไตรภมู ิ
59
พระอาทติ ยพ์ ระจันทร์ จากสมดุ ภาพไตรภูมิ
เตภูมิกถาหรือไตรภูมิพระร่วงน้ีน่าจะเป็นองค์ความรู้ด้านจักรวาลวิทยาของพุทธศาสนิกชนไทยสืบมาจนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา
แต่อย่างไรก็ตามยังพบว่าสมัยกรุงศรีอยุธยาก็มีคัมภีร์ไตรภูมิเกิดขึ้นด้วย ดังปรากฏหลักฐานสมุดไทยเร่ืองไตรภูมิ พระมาไลย ซ่ึงเม่ือ
พิจารณาจากรปู แบบตวั อกั ษรและอักขรวธิ ีแล้ว สันนิษฐานวา่ สมดุ ไทยดังกล่าวเขียนขึน้ ในรัชกาลสมเดจ็ พระนารายณ์มหาราช (พุทธศกั ราช
๒๑๙๙ - ๒๒๓๑) ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ท่ีหอสมุดแห่งชาติกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เนื้อหาในไตรภูมิสมัยอยุธยาฉบับน้ี มีรายละเอียดที่
แตกต่างจากไตรภูมิพระร่วงหลายประเด็น เช่น ก�ำเนิดโลก มีการน�ำความเช่ือทางคติพราหมณ์มาปะปนไว้ด้วย ท�ำให้เนื้อหาของไตรภูมิ
ทางพระพทุ ธศาสนามีความลักล่นั คลาดเคล่ือน
ครน้ั ถงึ สมยั กรุงรตั นโกสินทร์ พระบาทสมเดจ็ พระพุทธยอดฟ้าจฬุ าโลกมหาราชจึงทรงพระกรุณาโปรดเกลา้ ฯ ให้พระยาธรรมปรีชา
(แก้ว) เป็นแม่กองตรวจสอบช�ำระคัมภีร์ไตรภูมิ ส�ำเร็จเป็นไตรภูมิที่มีเน้ือหาละเอียดลออพิสดารที่สุดคือ ไตรโลกยวินิจฉยกถา
หรอื ทเ่ี รยี กอกี อยา่ งหนง่ึ วา่ ไตรภมู โิ ลกวนิ จิ ฉยั ซงึ่ เนอื้ หาในไตรภมู ฉิ บบั นใ้ี กลเ้ คยี งกบั เตภมู กิ ถาของสมเดจ็ พระมหาธรรมราชาลไิ ท ทง้ั ประกอบ
ด้วยการอ้างอิงท่มี าจากคมั ภีร์ตา่ งๆ โดยละเอยี ด
60
ความหมายของไตรภูมิ
เตภูมิกถา แปลว่า เร่ืองราวของภูมิท้ัง ๓ อันเป็นที่เกิดของสัตว์โลก ซึ่งได้แก่ อรูปภูมิ ๔ รูปภูมิ ๑๖ และกามภูมิ ๑๑ รวมเป็น
๓๑ ภูมยิ ่อย ดังนี้
อรูปภูมิ ๔ คือภูมขิ องพรหมทีไ่ มม่ รี ปู ไมม่ ตี วั ตน ดำ� รงอยู่เฉพาะสภาวจติ ในสมุดภาพจิตรกรรมมกั เขียนเปน็ รปู เปลวไฟประดษิ ฐาน
อยทู่ ่ามกลางวิมาน ได้แก่
๑. อากาสานัญจายตนพรหม
๒. วญิ ญานญั จายตนพรหม
๓. อากิญจญั ญายตนพรหม
๔. เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม
เทวดาและดวงดาวนพเคราะห์ จากสมุดภาพไตรภมู ิ
61
สทุ ธาวาสพรหม จากสมดุ ภาพไตรภมู ิ
62
โสฬสพรหม จากสมดุ ภาพไตรภมู ิ
63
โสฬสพรหม จากสมดุ ภาพไตรภมู ิ
64
รูปภมู ิ ๑๖ เปน็ ภมู ิของพรหมทมี่ ีรูปหรอื มีตวั ตน มีสภาวจติ ด�ำรงอยู่ในฌานขัน้ ต่างๆ ไม่ขอ้ งแวะกบั เบญจกามคุณ ปราศจากรกั โลภ
โกรธ หลง เรียกว่าโสฬสพรหม ไดแ้ ก่
๑. ปารสิ ชั ชาพรหม หรอื พรหมปารสิ ชั ผอู้ บุ ตั ใิ นพรหมชนั้ นคี้ อื บคุ คลทบ่ี รรลปุ ฐมฌานขน้ั สามญั เปน็ บรวิ ารของทา้ วมหาพรหม
ปฐมฌานภูมิ ๒. ปโรหิตาพรหม ผู้อบุ ัติบรรลุปฐมฌานขนั้ กลาง เป็นปโรหติ ของทา้ วมหาพรหม
๓. มหาพรหม ผอู้ ุบัตบิ รรลปุ ฐมฌานขั้นประณีต เปน็ ประธานของพรหมชนั้ ปฐมฌานภูมิ
๔. ปริตตาภาพรหม ผอู้ บุ ตั ิคือบุคคลท่ีบรรลทุ ุตยิ ฌานข้นั สามญั มรี ศั มีสว่างโดยรอบ
ทตุ ิยฌานภูม ิ ๕. อัปปมาณาภาพรหม ผู้อุบัติบรรลทุ ุตยิ ฌานข้นั กลาง มีรศั มีรุ่งเรืองประมาณมิได้
๖. อาภัสสราพรหม ผอู้ ุบตั บิ รรลทุ ตุ ยิ ฌานขั้นประณตี เปน็ ประธานของพรหมชนั้ ทุติยฌานภมู ิ
๗. ปรติ ตสภุ าพรหม ผอู้ ุบตั ิบรรลตุ ติยฌานขนั้ สามญั
ตตยิ ฌานภมู ิ ๘. อัปปมาณสุภาพรหม ผอู้ บุ ตั ิบรรลุตติยฌานข้นั กลาง
๙. สภุ กณิ หกาพรหม ผู้อุบตั ิบรรลุตติยฌานขั้นประณีต เปน็ ประธานของพรหมชัน้ ตตยิ ฌานภูมิ
จตุตถฌา นภ มู ิ ๑๐. เวหปั ผลาพรหม ผู้อบุ ัตบิ รรลจุ ตตุ ถฌานขนั้ ตน้ และขน้ั กลาง
๑๑. อสญั ญสี ตั ตาพรหม ผอู้ บุ ัติบรรลจุ ตตุ ถฌานข้ันสูงสดุ มสี ภาวะนงิ่ อยู่ในอิรยิ าบถเดยี ว เรยี กว่า พรหมลูกฟัก
๑๒. อวหิ าสุทธาวาสพรหม ภูมิของพระอรยิ บุคคลท่ีเป็นพระอนาคามี เจรญิ ในศรัทธา (สัทธนิ ทรีย์)
๑๓. อตปั ปาสุทธาวาสพรหม ภมู ขิ องพระอรยิ บคุ คลที่เปน็ พระอนาคามี เจรญิ ในวริ ยิ ะ (วิริยินทรยี )์
สทุ ธาวาสภมู ิ ๑๔. สุทัสสาสุทธาวาสพรหม ภมู ิของพระอรยิ บคุ คลทีเ่ ปน็ พระอนาคามี เจริญในสติ (สตนิ ทรยี ์)
๑๕. สุทสั สสี ุทธาวาสพรหม ภมู ขิ องพระอริยบคุ คลที่เป็นพระอนาคามี เจรญิ ในสมาธิ (สมาธนิ ทรยี )์
๑๖. อกนิฏฐสทุ ธาวาสพรหม ภมู ิของพระอริยบคุ คลผูเ้ ปน็ พระอนาคามี เจรญิ ในปัญญา (ปัญญินทรยี )์
65
กามภูมิ ๑๑ เป็นภูมิของสัตว์โลกที่ยังข้องแวะอยู่ในเบญจกามคุณ ๕ ประการ คือ รูป รส กล่ิน เสียง และสัมผัส
ใน ๑๑ ภูมิยอ่ ยนี้แบง่ ออกเปน็ ๒ ฝ่าย คอื “สคุ ตภิ ูมิ ๗” (ภมู ิทีไ่ ปด)ี และ “ทุคตภิ มู ิ” หรอื “อบายภูมิ ๔” (ภมู ิท่ไี ปเลว) ดงั นี้
สวรรคช์ น้ั ปรนิมมติ วสวตั ดี มอี ายุ ๙๒๑๖๐๐๐๐๐๐ ปี
66
สวรรคช์ ั้นนมิ มานรดี มีอายุ ๒๓๐๔๐๐๐๐๐๐ ปี
67
สวรรค์ช้นั ดสุ ติ มอี ายุ ๕๗๖๐๐๐๐๐๐ ปี
68
สวรรค์ชน้ั ยามา มีอายุ ๑๕๔๐๐๐๐๐๐ ปี
69
พระอินทรป์ ระทบั เวชยันตวมิ าน บนสวรรคช์ ้นั ดาวดงึ ส์ ประกอบด้วยสธุ รรมเทวสภา พระเจดียจ์ ฬุ ามณี ชา้ งเอราวณั และตน้ ปารชิ าติ
70
พระอนิ ทรแ์ ละชายาประทับในสวน
71
สคุ ติภมู ิ ๗ (ภมู มิ นุษย์และสวรรค์ ๖ ช้นั )
๑. มนุสสภูม ิ ภมู ิของมนุษย์
๒. จาตมุ หาราชิกา เทวภูมิชน้ั ที่ ๑
๓. ดาวดงึ ส ์ เทวภูมิชนั้ ท่ี ๒
๔. ยามา เทวภมู ชิ ั้นที่ ๓
๕. ดสุ ติ เทวภูมชิ ้นั ท่ี ๔
๖. นิมมานรด ี เทวภมู ิชั้นที่ ๕
๗. ปรนมิ มติ วสวัตดี เทวภมู ชิ ั้นท่ี ๖
เทวภูมทิ ้งั ๖ ชั้นเรียกว่า กามาวจรภมู ิ หรือ ฉกามาพจร
ทุคตภิ มู ิ หรือ อบายภูมิ ๔ ภูมขิ องสัตว์นรก ประกอบดว้ ยนรกใหญ่ ๘ ขมุ และนรกบ่าว ๑๖ ขมุ
๘. นรกภูมิ ภมู ิของเปรต
๙. เปตภมู ิ ภมู ิของอสรุ กาย ยกั ษ์ และปีศาจ
๑๐. อสรุ กายภมู ิ ภมู ขิ องสัตว์ชนดิ ตา่ งๆ
๑๑. ตริ ัจฉานภมู ิ
72 พญายมราชประทับวมิ านในยมโลก
73
พญายมราชพพิ ากษาโทษผ้กู ระทำ� บาป
74
นรกขุมตา่ งๆ ในยมโลก
75
โลกันตนรก
76
ภาพแสดงท่ีตง้ั นรกภูมิและเปรตภมู ิ
77
อสุรกายภมู ิ
78
วิมานพญาครฑุ เหนือสมิ พลพี ฤกษ์ หรือไมง้ ว้ิ
79
เปรตภูมิ บาปไมใ่ หท้ านและนักบวชทศุ ลี
80
คติความเช่ือเก่ียวกับไตรภูมิสอดแทรก
อยใู่ นศลิ ปกรรมไทยหลายสาขา ทง้ั สถาปตั ยกรรม
ประตมิ ากรรม จติ รกรรม ดนตร-ี นาฏศิลป์ และ
วรรณคดี แต่เน่ืองจากเร่ืองราวและภูมิสถาน
ตามคติไตรภูมิประกอบด้วยรายละเอียดต่างๆ
จำ� นวนมาก ในทนี่ จี้ ะอธบิ ายเฉพาะสว่ นทพี่ บเหน็
มากในสมุดภาพจติ รกรรมไทย เช่น
แผนภูมแิ สดงเขาสัตตบริภัณฑ์และทวปี ท้ัง ๔
81
เขาพระสุเมรุ หรือ พระสิเนรุราช เป็นศูนย์ประธานของจักรวาล และเป็นที่ตั้งสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีนครของพระอินทร์คือ
สุทัสสนเทพนครเป็นศูนย์กลาง รอบเขาพระสุเมรุมีเขาสัตตบริภัณฑ์ล้อมรอบ ๗ ชั้น มีช่ือตามล�ำดับ ได้แก่ ยุคนธร อิสินธร กรวิก สุทัส
สนะ เนมินธร วนิ ตกะ และอัสสกณั ณ์ ระหวา่ งเขาแต่ละช้นั ค่นั ด้วยห้วงน้�ำกวา้ งใหญเ่ รียกว่า ทะเลสีทนั ดร หรอื มหานทสี ที นั ดรสมทุ ร ซ่งึ มีนำ�้
ละเอียดอ่อนไมม่ ีส่ิงใดสามารถลอยอยไู่ ด้ ทง้ั เป็นท่ีอยขู่ องสตั ว์น�ำ้ ดุร้ายนานาชนดิ
พระจันทร์พระอาทิตย์ซึ่งเป็นเทพยดาในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา โคจรอยู่ระหว่างเขายุคนธร แสงสว่างท่ีอยู่เหนือข้ึนไปเกิดจาก
อ�ำนาจของเทพยดาในสวรรค์แต่ละช้ัน ยอดเขายุคนธรเป็นท่ีต้ังของสวรรค์ช้ันจาตุมหาราชิกา มีท้าวจตุโลกบาลเป็นใหญ่ในทิศท้ัง ๔ คือ
ทิศตะวันออกท้าวธตรฐเป็นใหญ่เหนือคนธรรพ์ ทิศใต้ท้าววิรุฬหกเป็นใหญ่เหนือกุมภัณฑ์ ทิศตะวันตกท้าววิรูปักข์เป็นใหญ่เหนือหมู่นาค
ท้ังปวง และทิศเหนือท้าวเวสสุวัณเป็นใหญ่เหนือภูติและปีศาจท้ังปวง เทพยดาในช้ันจาตุมหาราชิกาท้ังภุมเทวดาและรุกขเทวดาแต่ละทิศ
กอ็ ยใู่ นปกครองของท้าวจตุโลกบาลด้วย
ป่าหิมพานต์ หิมพานต์หรือหิมวันต์ ตามรูปศัพท์แปลว่า “มีหิมะ” ตั้งอยู่บริเวณเขาหิมพานต์ ซึ่งเป็นส่วนหน่ึงของเขายุคนธร ซึ่ง
ประกอบดว้ ยยอดเขาส�ำคัญ เช่น กาฬกูฏ จติ รกูฏ คนั ธมาทนกฏู และเกลาสกูฏ บริเวณคันธมาทนกูฏหรอื เขาคันธมาทนม์ ไี มห้ อม ๑๐ จ�ำพวก
เปน็ ทอ่ี ยขู่ องพระปจั เจกพทุ ธเจา้ ซงึ่ ตรสั รธู้ รรมเฉพาะพระองค์ มไิ ดส้ อนผอู้ น่ื ปา่ หมิ พานตเ์ ปน็ ทอี่ ยขู่ องสตั วห์ มิ พานตช์ นดิ ตา่ งๆ เชน่ กนิ ร กนิ รี
ช้าง ๑๐ ตระกูล โคอสุ ภุ ราช มา้ วลาหก และราชสีห์ ๔ เหล่า คอื กาฬสีห์ กายสีด�ำกนิ หญ้าเปน็ อาหาร บณั ฑสุ ีห์กายสีเหลืองกินเนอื้ เปน็ อาหาร
ไกรสรสหี ์มขี นสรอ้ ยท่ีคอกินเนอ้ื เปน็ อาหาร และตณิ สีห์กนิ หญ้าเปน็ อาหาร
82
กินรี จากสมดุ ภาพตำ� ราร�ำ สมยั รชั กาลท่ี ๑
83
พญาครฑุ กบั นางกากบี นวมิ านสมิ พลี
84
กนิ นร กินรี จากสมดุ ภาพไตรภมู ิ
85
วทิ ยาธรเกบ็ มกั กะลผี ลในป่าหมิ พานต์
86
ภาพแสดงช้าง ๑๐ ตระกลู และสระทง้ั ๗ ในปา่ หิมพานต์
สระใหญท่ ัง้ ๗ เป็นสระส่เี หลยี่ มในป่าหมิ พานตม์ ขี นาดกว้างยาวด้านละ ๕๐ โยชน์ ไดแ้ ก่
๑. สระกัณณมุณฑะ ประดับดว้ ยบัวเบญจพธิ พรรณ
๒. สระรถการะ เป็นทอ่ี ยู่ของเหล่านักสทิ ธวิ์ ิทยาธร
๓. สระอโนดาต มีลักษณะพิเศษต่างจากสระอื่นๆ คือ น�้ำเต็มเปี่ยมอยู่เสมอ ขอบสระทั้ง ๔ ด้านมีช่องน้�ำไหลออกจากสระ
ด้านหนึ่งมีสัณฐานดังปากราชสีห์ ด้านหน่ึงมีสัณฐานดังปากม้า ด้านหนึ่งมีสัณฐานดังปากช้าง และด้านหนึ่งมีสัณฐานดังปากโค แต่ละด้าน
ของสระเป็นท่อี ยู่ของสัตว์ ๔ จำ� พวกตามลกั ษณะของชอ่ งท่นี �้ำไหลออกจากสระ คอื ราชสีห์ ม้า ช้าง และโค
๔. สระฉัททนั ต์ รอบสระเปน็ ทอี่ ยขู่ องพญาช้างฉัททนั ตแ์ ละบรวิ าร
๕. สระกุณาละ รอบสระเป็นท่อี ย่ขู องวทิ ยาธร ฤษี พระปจั เจกพุทธเจา้ และช้าง ๑๐ ตระกูล
๖. สระมณั ฑากนิ ี
๗. สระสหี ปปาตะ
สระทค่ี นไทยรูจ้ กั มากที่สดุ คือ สระอโนดาต มกี ารน�ำไปเขียนทงั้ ภาพจติ รกรรมในสมุดไทยและลายรดนำ้�
87
พระอศิ วรกบั นางอมุ าภควดี ชา้ งศภุ ลกั ษณ์ โคอสุ ุภราช และม้าวลาหก
88
หมเู่ ทวดา นางฟ้า และเหล่าวทิ ยาธร ฟอ้ นรำ� ในปา่ หมิ พานต์
89
สตั วห์ ิมพานต์ ราชสหี แ์ ละโคอสุ ภุ ราช
90
ทวปี ท้งั ๔ อยูน่ อกเขตป่าหมิ พานต์ เป็นภมู ิของมนษุ ย์ แต่ละทวีปลอ้ มรอบด้วยทะเล
น�้ำเค็มหรือโลณสาคร มีทวีปใหญ่ทิศละทวีป แต่ละทวีปมีทวีปน้อยเป็นบริวาร ๕๐๐ ทวีป
ได้แก่
“อุตตรกุรุทวีป” สัณฐานเป็นส่ีเหลี่ยม อยู่ทางทิศเหนือของเขาพระสุเมรุ มีต้น
กัลปพฤกษเ์ ป็นไม้ประจ�ำทวีป
“ชมพทู วีป” สณั ฐานดังเรอื นเกวยี น อยู่ทางทิศใตข้ องเขาพระสเุ มรุ มตี น้ ชมพพู ฤกษ์
หรอื ไมห้ วา้ เปน็ ไมป้ ระจำ� ทวปี
“บพุ พวเิ ทหทวีป” มสี ัณฐานกลมดงั พระจันทรเ์ ตม็ ดวง อยู่ทางทิศตะวันออกของเขา
พระสเุ มรุ มีต้นซกึ เปน็ ไม้ประจำ� ทวีป
“อมรโคยานทวปี ” สณั ฐานดง่ั พระจนั ทรข์ นึ้ ๘ คำ่� อยทู่ างทศิ ตะวนั ตกของเขาพระสเุ มรุ
มตี น้ กระทุม่ เป็นไมป้ ระจ�ำทวปี
91
บพุ พวเิ ทหทวีปและชมพทู วปี
92
อมรโคยานทวีป อุตตรกุรุทวปี และราหูในอสูรพิภพ
93
การน�ำเรื่องไตรภูมิมาวาดเส้นระบายสีลงในสมุดไทยเป็นสมุดภาพไตรภูมิปรากฏหลักฐานมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา สมุดภาพ
ไตรภูมิท่ีเกดิ ขึ้นในสมัยต่อมาไดแ้ กส่ มุดภาพไตรภูมฉิ บบั หลวงคร้ังกรุงธนบรุ ีและสมุดภาพไตรภูมิภาษาเขมรครั้งกรงุ รัตนโกสนิ ทร์ ลว้ นด�ำเนนิ
เร่ืองและจัดวางองคป์ ระกอบของภาพในลักษณะเดียวกัน
สมุดภาพไตรภูมิท่ีน�ำมาเป็นตัวอย่างในหนังสือนี้เป็นสมุดภาพไตรภูมิฉบับหลวงซ่ึงสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดฯ ให้เขียน
เม่อื พทุ ธศักราช ๒๓๑๙ อันเปน็ ปีท่ี ๙ ในรชั กาล ปรากฏข้อความในหนา้ ต้นของหนังสือสมดุ ภาพไตรภมู คิ รั้งนัน้ ว่า
“พระพุทธศักราชลว่ งแล้วได้ ๒๓๑๙ พระวษาเษดสังขยา ๔ เดือนกบั ๒๖ วัน ปะจบุ นั นะวนั ๓๑+๒๑๑ ค่�ำ
จุลศักะราช ๑๑๓๘ ปีวอกอัถศก สมเด็จบรมกระษัตราธิราชเสด็จออกพระธินั่งต�ำหนักแพ กรุงธนบุรีศรีมหาสมุ
ทมีราชเสวกเฝ้าอยู่เปนอันมาก ทรงพิจารณาเรื่องราวในพระสมุดไตรภูมิบูราณแจ้งในพระราชหฤไทยแล้ว มี
พระราชประสงจะใคร่ให้สามัญชน แลจัตุเภทบรรพสัตวเข้าใจในภูมิทั้ง ๓ แลคติท้ัง ๕ อันเป็นที่เกิดแห่งเทวดา
มนุษย นรก หมู่อสุรเปรตวิไสยแลสัตวเดียรฉาน จ่ึงตรัสส่ังเจ้าพญาศรีธรรมาธิราชผู้เปนอรรคมหาเสนาธิบดี ให้จัด
พระสมดุ เนอ้ื ดแี ลว้ ใหส้ ง่ ไปแกช่ า่ งเขยี นใหเ้ ขยี นไตรภมู ใหไ้ ปเขยี นในสำ� นกั สมเดจ็ พระสงั ฆราช ใหส้ มเดจ็ พระสงั ฆราช
บอกกล่าวบังคบั ให้เขียนตามเรอื่ งราวมีในพระบาฬี แลว้ ให้คดั บาฬีประกับลงไว้ ใหแ้ จงใสจ่ งทกุ ประการจะได้เปนคติ
สืบไป ๚ะ๛”
นอกจากสมดุ ภาพไตรภมู ฉิ บบั หลวงครงั้ กรงุ ธนบรุ แี ลว้ ยงั ไดน้ ำ� ภาพสตั วห์ มิ พานตท์ ปี่ รากฏในสมดุ ไทยหนงั สอื สวดอนื่ ๆ มารวมไวด้ ว้ ย
เช่น สมดุ ภาพหนังสือสวดวดั หวั กระบอื เขตบางขุนเทียน กรงุ เทพมหานคร เป็นตน้
94
สมุดมาลยั
หนังสือสวดเร่ืองพระมาลัยหรือสมุดมาลัยท่ีมีภาพจิตรกรรมประกอบพบตามวัดโบราณท่ีมีอายุเก่าถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาและสมัย
กรุงรัตนโกสินทร์เกือบทุกวัดท้ังในกรุงเทพฯ และหัวเมืองในภาคกลาง เน่ืองจากเป็นหนังสือที่นิยมใช้เป็นบทสวดส�ำหรับท้ังพระสงฆ์และ
คฤหสั ถ์สวดในงานศพ คติความเชอื่ เกยี่ วกับนรกสวรรค์จากเรอ่ื งพระมาลยั มอี ิทธิพลต่อพุทธศาสนิกชนไทยมาช้านาน โดยเฉพาะเรือ่ งศาสนา
พระศรีอาริยเมตไตรยหรือยุคพระศรีอาริย์ อันเป็นสังคมในอุดมคติมีแต่ความสมบูรณ์พูนสุขซ่ึงเป็นสาระส�ำคัญท่ีกล่าวไว้ในสมุดมาลัย
ซงึ่ เรอ่ื งดังกล่าวมีเน้อื หาโดยสังเขปดงั น้ี
95
ในลังกาทวีปมีพระเถระองค์หนึ่งนามว่าพระมาลัย เป็น
ชาวบ้านโรหนะชนบทแคว้นกัมโพช เมื่อส�ำเร็จเป็นพระอรหันต์
แลว้ ทรงอภญิ ญาสมาบตั ิ มอี ิทธิฤทธเ์ิ ปรยี บไดก้ บั พระโมคคลั ลานะ
อัครสาวกเบ้ืองซ้ายของพระพุทธเจ้า ครั้งหน่ึงพระมาลัยไปโปรด
เหล่าสัตว์ในนรกภูมิได้เห็นเหล่าสัตว์นรกขุมต่างๆ ต้องรับผลของ
วิบากกรรมท่ีตนเองเคยกระท�ำเม่ือเป็นมนุษย์ สัตว์นรกท้ังหลาย
พากนั สงั่ ความพระมาลยั ถงึ ญาตขิ องตนใหท้ ำ� บญุ อทุ ศิ สว่ นกศุ ลไปให้
พระมาลัยอนุเคราะห์ตามที่สัตว์เหล่านั้นขอ และยังน�ำเอาสภาพ
ความทกุ ขเวทนาของสตั วน์ รกมาสงั่ สอนชาวบา้ นใหล้ ะเวน้ จากการ
ท�ำอกศุ ลกรรม
96
พระมาลยั โปรดนรก
97
พระมาลยั น�ำเร่อื งราวของสัตวน์ รกมาเทศนาสั่งสอนชาวบา้ น
98