The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ประทีปวิทรรศน์ รวมเรื่องโบราณคดีอยุธยา

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

ประทีปวิทรรศน์ รวมเรื่องโบราณคดีอยุธยา

ประทีปวิทรรศน์ รวมเรื่องโบราณคดีอยุธยา

พระเจ้าปราสาททองคงจะทรงประทับอยู่ทีพ่ ระทนี่ งั่ สรุ ยิ าสน์อัมรนิ ทรท์ ่ีทรงโปรดใหส้ รา้ ง
ข้ึนใหม่เป็นประจำ� เมื่อทรงประชวรจึงเสด็จกลับมาประทบั ท่ีพระท่ีน่งั เบญจรัตน์ตามเดมิ
จนเสดจ็ สวรรคต เนอ่ื งจากพระทน่ี ง่ั สรุ ยิ าสนอ์ มั รนิ ทรเ์ ปน็ พระทนี่ ง่ั ๒ ชน้ั ไมส่ ะดวกในการ
เสด็จข้ึนลง ดังน้ันในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททองจึงมีพระท่ีนั่งซ่ึงใช้เป็นที่ประทับ
๒ องค์ คือ พระที่น่ังเบญจรัตน์ซ่ึงสร้างมาแล้วตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
และพระที่น่ังสุรยิ าสน์อัมรินทร์ ทพ่ี ระองคท์ รงโปรดใหส้ รา้ งขึน้

สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสด็จข้ึนเสวยราชสมบัติเมื่อ พ.ศ. ๒๑๙๙
โดยท�ำสงครามชิงราชบัลลังก์มาจากพระศรีสุธรรมราชาซึ่งเป็นพระปิตุลา ผลของ
สงครามกลางเมืองครั้งนี้ท�ำให้พระราชวังหลวงช�ำรุดเสียหายอย่างมาก ดังน้ันในช่วงต้น
รัชกาลพระองค์ทรงประทับที่วังหน้า ทรงโปรดให้บูรณปฏิสังขรณ์พระราชวังหลวง และ
ใหข้ ดุ สระทงั้ ทศิ เหนอื ทศิ ใตพ้ ระราชวงั ๑๘ คือ การเปลี่ยนแปลงพืน้ ท่เี ขตพระราชฐานชนั้ ใน
สอดคล้องกับเอกสารของชาวต่างชาติท่ีกล่าวถึงพระที่น่ังซ่ึงเป็นท่ีประทับของสมเด็จ
พระนารายณม์ หาราชองคห์ นง่ึ อยทู่ ล่ี านชนั้ ในสดุ สรา้ งขน้ึ ใหม่ มแี ผนผงั รปู กากบาท หลงั คา
พระทน่ี ัง่ ประดับฉตั รหลายช้นั บริเวณนนั้ มคี ูน�ำ้ ตำ� หนักของพระมเหสีกบั พระธิดาก็ตัง้ อยู่
บริเวณใกลเ้ คยี งกัน๑๙ พระทน่ี ั่งองค์เดยี วกันนี้ บาทหลวงในคณะทูตของเชอวาลเิ อร์ เดอ
โชมองต์ มโี อกาสไดเ้ ขา้ ไปพบเหน็ เมอ่ื สมเดจ็ พระนารายณม์ หาราชทรงโปรดใหค้ ณะราชทตู
ฝรง่ั เศสเขา้ เฝา้ เปน็ กรณพี เิ ศษ ณ ทปี่ ระทบั ภายหลงั จากถวายพระราชสาสน์ เปน็ ทางการแลว้
บาทหลวง เดอ ชวั ซีย์ บันทกึ วา่ ไดเ้ ข้าเฝ้าในท่รี โหฐานแห่งหนง่ึ ภายในพระบรมมหาราชวงั
ซึ่งไม่เคยมีชาวต่างประเทศคนใดได้เข้ามาก่อนเลย เป็นอุทยานท่ีน่ารื่นรมย์ตัดคั่นด้วย
ลำ� คแู ละทางเดนิ อนั งดงาม๒๐ บาทหลวงตาชารด์ ซง่ึ รว่ มอยใู่ นคณะราชทตู ชดุ เดยี วกนั บนั ทกึ
สภาพของบริเวณดังกล่าวไว้คล้ายกัน๒๑ พระท่ีนั่งองค์นี้เป็นที่แน่ชัดว่าอยู่ในพระราชวัง
หลวงกรงุ ศรอี ยุธยา และจะต้องหมายถึงพระท่นี ั่งบรรยงก์รตั นาสน์เทา่ นน้ั ทมี่ ีบรรยากาศ
แบบนี้

๑๘ ค�ำใหก้ ารชาวกรุงเกา่ ฯ, หน้า ๑๐๖.
๑๙นโิ กลาส์ แชรแ์ วส, สนั ต์ ท. โกมลบตุ ร แปล, ประวตั ศิ าสตรธ์ รรมชาตแิ ละการเมอื งแหง่ ราชอาณาจกั รสยาม.
(พระนคร : โรงพิมพอ์ ักษรสัมพันธ,์ ๒๕๐๖), หน้า ๓๙
๒๐ เดอ ชวั ซยี ,์ สนั ต์ ท. โกมลบตุ ร แปล, จดหมายเหตรุ ายวนั การเดนิ ทางไปสปู่ ระเทศสยาม (พระนคร : สำ� นกั พมิ พ์
กา้ วหนา้ , ๒๕๐๖), หนา้ ๓๙๖ - ๓๙๗.
๒๑ ตาชารด์ , สันต์ ท. โกมลบตุ ร แปล, จดหมายเหตุรายวนั การเดินทางสู่ประเทศสยาม (กรุงเทพฯ : โรงพมิ พ์
เจรญิ ธรรม, ๒๕๑๙), หนา้ ๕๘.

49

แต่หลักฐานในพระราชพงศาวดารฝ่ายไทยกล่าวว่า พระท่ีนั่งองค์น้ีสร้างข้ึน
ในรชั กาลสมเดจ็ พระเพทราชาคอื รชั กาลตอ่ มา๒๒ เปน็ ไปไดว้ า่ สมเดจ็ พระเพทราชาเพยี งแต่
ทรงโปรดประทับพระที่น่ังองค์นี้ตลอดรัชกาล กลับให้สร้างพระท่ีน่ังทรงเป็นที่เสด็จออก
ว่าราชการท่ีท้ายวัง แต่พระราชพงศาวดารท่ีเขียนข้ึนภายหลังบันทึกคลาดเคล่ือนไปก็
เปน็ ได้

แผนผังของพระราชวังหลวงในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ปรากฏใน
แผนทเ่ี มอื งพระนครศรอี ยธุ ยา ซงึ่ จดั ทำ� โดยบาทหลวงโทมสั วลั เนอริ า เมอื่ ราว พ.ศ. ๒๒๓๐
ในส่วนของพระราชวังแสดงไว้เฉพาะแนวก�ำแพงชั้นนอกและป้อม ในระยะเวลานี้
พระราชวังหลวงขยายเขตออกมาเชื่อมต่อกับวัดพระศรีสรรเพชญ์แล้วตั้งแต่รัชกาล
สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง แผนผังดังกล่าวยืนยันว่าสระแก้วและสวนองุ่นถูกกันให้อยู่
นอกเขตพระราชวงั มีแนวคลองชักน้�ำจากคลองท่อเข้ามาใช้ในสระแก้วสายหนงึ่

การเปลี่ยนแปลงด้านกายภาพในพระราชวังหลวงในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์
มหาราช มกี ารปรบั ปรงุ เปลยี่ นแปลงเขตพระราชฐานชนั้ ในอยา่ งมาก คอื การสรา้ งพระทนี่ ง่ั
บรรยงก์รัตนาสน์เป็นท่ีประทับที่ท้ายพระราชวัง การสร้างพระต�ำหนักตึกเป็นที่ประทับ
ของพระมเหสี ต�ำหนักหลังนี้เป็นที่ประทับของกรมหลวงโยธาทิพ กรมหลวงโยธาเทพ
พระมเหสใี นสมเดจ็ พระเพทราชาดว้ ย สว่ นทอ่ี ยขู่ องฝา่ ยในถกู กำ� หนดใหอ้ ยทู่ า้ ยพระราชวงั
ใกล้กำ� แพงเมืองดา้ นเหนอื

เรอื่ งการประปาเปน็ ความเจรญิ ทางดา้ นเทคโนโลยที กี่ รงุ ศรอี ยธุ ยารบั มาจากยโุ รป
เมอื่ ตอนปลายรชั กาลสมเดจ็ พระนารายณม์ หาราช สรา้ งขนึ้ ในเขตพระราชฐานชน้ั ใน และ
บริเวณพระทน่ี ่งั บรรยงกร์ ัตนาสน์ในรชั กาลน้ี

สมเด็จพระเพทราชาทรงโปรดประทับที่พระที่นั่งบรรยงก์รัตนาสน์ ทรงโปรดให้
สร้างพระที่น่ังทรงปืนที่ท้ายพระราชวังเป็นที่เสด็จออกว่าราชการ ในรัชกาลนี้เอาท้าย
พระราชวงั เปน็ ขา้ งหนา้ ซงึ่ ปรากฏหลกั ฐานวา่ ทรงโปรดใหส้ รา้ งศาลาลกู ขนุ ขน้ึ ในบรเิ วณน้ี
เชน่ เดียวกัน

๒๒ พระราชพงศาวดารฉบบั พระราชหตั ถเลขา เล่ม ๒, หนา้ ๑๕๐.
50

รัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ สร้างต�ำหนักสวนกระต่ายตรงท้ายวัด
พระศรีสรรเพชญ์ มีก�ำแพงล้อมรอบเพื่อใช้เป็นท่ีประทับของกรมขุนพรพินิต ต�ำแหน่ง
กรมพระราชวังบวรสถานมงคล สร้างต�ำหนักสระแก้วให้เป็นที่ประทับของกรมหมื่น
สนุ ทรเทพ กรมหมน่ื เสพภกั ดี สรา้ งตำ� หนกั ศาลาลวดเปน็ ทปี่ ระทบั ของกรมหมน่ื จติ รสนุ ทร
ท้ัง ๓ พระองค์ เปน็ พระเจ้าลกู ยาเธอในสมเด็จพระเจา้ อยหู่ ัวบรมโกศ ต�ำหนักท้งั ๒ แหง่
อยใู่ นบรเิ วณสวนอง่นุ นอกเขตพระราชวังใกล้สระแก้ว

ในรชั กาลนบ้ี รรดาพระทน่ี งั่ ชำ� รดุ ทรดุ โทรมลง ทรงโปรดใหบ้ รู ณปฏสิ งั ขรณท์ กุ แหง่
ได้แก่ พระทน่ี ง่ั วิหารสมเดจ็ สรรเพชญป์ ราสาท สุริยาสน์อัมรินทร์ และบรรยงกร์ ตั นาสน์
อาคารสถานทตี่ า่ ง ๆ คงจะไดร้ บั การปฏสิ งั ขรณไ์ ปพรอ้ ม ๆ กนั ดงั นนั้ ลกั ษณะทางกายภาพ
ของพระราชวังหลวงในรชั กาลนคี้ งมีการเปล่ียนแปลงไปจากเดมิ บา้ งพอสมควร ภาพของ
พระราชวังหลวงในรัชกาลน้ี ปรากฏในเอกสารแผนที่พระนครศรีอยุธยาคงเป็นภาพ
ความงามของพระราชวงั หลวงคร้ังสุดท้ายกอ่ นท่ีจะถกู ท�ำลายลงเมอ่ื พ.ศ. ๒๓๑๐

หลงั รชั กาลสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั บรมโกศมพี ระเจา้ แผน่ ดนิ ปกครองกรงุ ศรอี ยธุ ยา
ต่อมาอีก ๒ พระองค์ เป็นระยะเวลาสั้น ๆ ประกอบกับเป็นช่วงเวลาท่ีมีสงครามติดพัน
กบั พม่า จงึ ไม่มหี ลักฐานการเปลยี่ นแปลงทางกายภาพในพระราชวงั หลวงอีกเลย

ก�ำ แพง ปอ้ ม และประตพู ระราชวงั หลวง
ช้นั นอก
กำ� แพงพระราชวงั สงู ถงึ ทตี่ งั้ เสมา ๔ เมตร ใบเสมาสงู ๑ เมตร รวมกำ� แพงสงู ๕ เมตร

หนา ๔ เมตร มีเชิงเทินส�ำหรับทหารยืนรักษาการโดยรอบตามแนวก�ำแพงพระราชวัง
ปรากฏช่ือป้อมและประตศู กึ ษาได้จากเอกสารแผนทพ่ี ระนครศรอี ยธุ ยา ดังนี้

ก�ำแพงพระราชวังหลวงด้านตะวนั ออก นับจากทิศเหนือไปทิศใต้ ประกอบด้วย
ปอ้ มประตู ดงั นี้

๑. ปอ้ มปนื ในกฎมณเฑยี รบาลเรยี กวา่ ปอ้ มทา่ คนั่ เปน็ ปอ้ มมมุ กำ� แพงพระราชวงั
ด้านตะวันออกเฉยี งเหนือ เป็นป้อมบนก�ำแพงเมอื งดว้ ย

๒. ประตจู กั รมหมิ า พระยาโบราณราชธานนิ ทรข์ ดุ พบรากประตู ประตนู ตี้ รงออก
ถนนปา่ ตะก่ัว มถี นนตรงเข้าประตชู ้ันในหน้าพระท่ีนั่งสรรเพชญ์ปราสาท

51

๓. ประตูศรีไชยศักด์ิ พระยาโบราณราชธานินทร์ขุดพบรากฐานริมถนนหน้าวัง
ประตนู ี้ออกตรงทา้ ยวิหารหลวงวดั ธรรมกิ ราช

๔. ประตสู วรรคพ์ จิ ติ ร ประตนู อ้ี ยรู่ ะหวา่ งประตศู รไี ชยศกั ดกิ์ บั ประตสู มณพศิ าลด์ิ
ยังขดุ ไมพ่ บ

๕. ประตูสมณพิศาลด์ิ น่าจะอยู่ใกล้กับป้อมปืนตรงถนนตลาดเจ้าพรหม ยังขุด
ไมพ่ บ

๖. ปอ้ มปนื เปน็ ปอ้ มปืนประจำ� ด้านตะวนั ออก ป้องกนั ศัตรเู ขา้ โจมตีพระราชวงั
อยตู่ รงหวั ถนนตลาดเจา้ พรหม หรอื ถนนหนา้ พรหม การเรยี กชอื่ ถนนดงั กลา่ วสนั นษิ ฐานวา่
ตง้ั อยตู่ รงหนา้ พระพรหม ซงึ่ หนา้ พรหมดงั กลา่ วนา่ จะอยทู่ สี่ ว่ นยอดของพระทน่ี ง่ั จกั รวรรดิ
ไพชยนต์ ซ่ึงมีสถานทต่ี ง้ั ถัดเข้าไปในพระราชวัง ดงั นน้ั ปอ้ มปนื นี้อาจเรียกวา่ ปอ้ มตรงหน้า
พรหม ป้อมปืนน้จี ึงอยู่ตรงหน้าพระท่ีน่งั จกั รวรรดไิ์ พชยนต์ หน้าปอ้ มปืนกต็ ง้ั ตรงหวั ถนน
หน้าพรหม

๗. ประตูศลิ าภิรมย์ นา่ จะต้งั ขนานปอ้ มหนา้ พรหมทางด้านใต้
๘. ประตูอาคเนยาตรา อยู่ใกล้ป้อมปืนมุมก�ำแพงพระราชวังด้านตะวันออก
เฉียงใต้ ชอื่ ประตกู ็บง่ บอกว่าเปน็ ทางเข้า - ออก ด้านอาคเนย์
๙. ป้อมปืน ในกฎมณเฑียรบาลเรียกป้อมศาลาสารบัญชี เป็นป้อมมุมก�ำแพง
พระราชวังด้านตะวันออกเฉียงใต้ ชื่อป้อมน้ีน่าจะมีท่ีมาจากสถานที่ราชการแห่งหนึ่ง
ทต่ี ้ังอยูภ่ ายในพระราชวงั คอื ศาลาสารบัญชี ซ่งึ ท�ำหน้าทเี่ ปน็ หอทะเบียนราษฎร์
ก�ำแพงพระราชวังด้านใต้ นับจากทิศตะวันออกไปตะวันตก ประกอบด้วยป้อม
และประตดู ังนี้
๑. ประตวู จิ ิตรพมิ ล น่าจะอย่ใู กล้ป้อมศาลาสารบญั ชี
๒. ประตมู งคลภิศาสนดิ์
๓. ประตูฤทธิไพศาลด์ เป็นประตูหูช้างตรงออกถนนป่าตอง ตรงเข้าถนนหน้า
จักรวรรด์ิ ประตูน้ีอยู่ติดกับก�ำแพงวัดพระศรีสรรเพชญ์ด้านหน้า คณะราชทูตจาก
ต่างประเทศเม่ือจะเข้ามาถวายพระราชสาส์นพระเจ้าแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา จะขึ้นเรือ
ทท่ี า่ ประตไู ชย ทกี่ ำ� แพงเมอื งดา้ นใตจ้ ดั กระบวนแหต่ ามถนนปา่ ตองเขา้ สพู่ ระราชวงั ทปี่ ระตู
ฤทธไิ พศาลดิ์ เชน่ คณะราชทตู ของฝรงั่ เศส ประตนู คี้ งจะเปน็ ประตเู ดยี วกบั ทจี่ ดหมายเหตุ
เรอื่ งงานพระบรมศพเรยี กวา่ ประตนู ครไชย สำ� หรบั กระบวนพระบรมศพจากขา้ งในออกไป
ถวายพระเพลิง ท่ีทุ่งพระเมรุกลางเมือง ด้วยเหตุน้ีจึงท�ำประตูน้ีเป็นประตูหูช้างไม่มียอด
เพ่ือให้พระยานผ่านได้ ประตูนี้ส�ำหรับขุนนางเข้าเมื่อมีพระราชพิธีถือน้�ำพิพัฒน์สัตยา
วดั พระศรีสรรเพชญ์

52

๔. ปอ้ มปนื ตรงวดั ชเี ชยี ง เปน็ ปอ้ มปนื ประจำ� ดา้ นใต้ ตงั้ อยตู่ รงทงุ่ พระเมรกุ ลางเมอื ง
บริเวณซ่ึงเคยเป็นท่ีต้ังของวัดชีเชียง (สร้างรัชกาลสมเด็จพระไชยราชาธิราช เพิกถอน
สภาพในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม เพื่อใช้สถานที่เป็นทุ่งพระเมรุกลางเมือง
ย้ายพระพุทธรูปส�ำคัญประจ�ำวัด คือ พระมงคลบพิตรไปต้ังในท่ีแห่งใหม่ทางด้านทิศ
ตะวนั ตก) ป้อมนี้ในกฎมณเฑียรบาลเรยี กวา่ ป้อมศาลาพระมงคลบพิตร

๕. ประตบู วรนมิ ติ ร เปน็ ประตเู ขา้ ออกตรงกลางดา้ นของกำ� แพงวดั พระศรสี รรเพชญ์
ด้านใต้ คงจะเคยเป็นประตูพระราชวังหลวงระยะที่ ๑ ลักษณะเป็นประตูยอด ส�ำหรับ
พระมเหสแี ละฝา่ ยในออกถวายเพลิงที่ท่งุ พระเมรุ

๖. ป้อมมุมวัดพระศรีสรรเพชญ์ ป้อมนี้ในกฎมณเฑียรบาลเรียกว่าป้อมมุม
วัดรามาวาส แต่พระยาโบราณราชธานินทร์เคยวิเคราะห์แล้วว่าป้อมนี้จะช่ือป้อมมุม
วัดรามาวาส คือวัดพระรามไม่ได้ ด้วยวัดพระรามอยู่ทางมุมพระราชวังด้านตะวันออก
ซ่ึงถูกทิศกับป้อมศาลาสารบัญชีแล้ว คงเป็นด้วยผู้คัดลอกกฎมณเฑียรบาลต่อ ๆ มาใน
ช้ันหลังเขียนผิด แต่อย่างไรก็ตามช่ือวัดรามาวาสเป็นวัดท่ีมีอยู่จริงและเป็นคนละแห่งกับ
วดั พระราม ดงั ปรากฏในคำ� ใหก้ ารชาวกรงุ เกา่ ๒๓ ตรงกบั คำ� ใหก้ ารขนุ หลวงวดั ประดทู่ รงธรรม๒๔
จงึ เปน็ ไปไดว้ า่ ทา้ ยวดั พระมงคลบพติ รซง่ึ ปจั จบุ นั เหน็ เปน็ ทวี่ า่ งเคยเปน็ ทต่ี ง้ั ของวดั รามาวาส
และช่ือป้อมนก้ี ็อาจเรยี กอีกชอ่ื หน่งึ ว่าปอ้ มมุมวัดรามาวาสได้

กำ� แพงพระราชวงั หลวงดา้ นตะวนั ตก เรม่ิ จากปอ้ มมมุ วดั พระศรสี รรเพชญไ์ ปทาง
ทิศใต้สุดก�ำแพงท้ายวัดพระศรีสรรเพชญ์ แนวก�ำแพงหักไปทางทิศตะวันออกถึงป้อมปืน
มุมสระแก้ว มีแนวก�ำแพงต่อจากป้อมนี้ไปทางทิศเหนือชนแนวก�ำแพงพระราชวังหลวง
ระยะที่ ๒ ดา้ นใตก้ ำ� แพงหกั ไปทางทศิ ตะวนั ตกถงึ ปอ้ มสวนองนุ่ แลว้ หกั ขนึ้ ไปทางทศิ เหนอื
ชนก�ำแพงเมืองที่ป้อมท้ายสนม ตามแนวก�ำแพงด้านตะวันตกนี้ ประกอบด้วยป้อมและ
ประตูดังน้ี

๑. ประตูชอ่ งกุด อยู่ตรงกลางกำ� แพงวัดพระศรสี รรเพชญ์ด้านตะวนั ตก ประตูนี้
คงจะเคยเป็นประตูท้ายพระราชวังเดิม (พระราชวังหลวงระยะที่ ๑) ลักษณะเป็นประตู
เจาะทะลกุ ำ� แพง ไมม่ เี ครื่องยอดส�ำหรบั เปน็ ทางเขา้ - ออก ของฝา่ ยในและภรรยาขุนนาง
เขา้ ไปรว่ มพระราชพิธใี นวัดพระศรีสรรเพชญ์

๒๓ คำ� ให้การชาวกรงุ เกา่ ฯ, หนา้ ๒๑๔.
๒๔ คณะกรรมการช�ำระประวัติศาสตร์ไทย, “ค�ำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม,” แถลงงานประวัติศาสตร์
เอกสาร โบราณคดี ๔ (๒) (พฤษภาคม ๒๕๑๔) : ๗๑.

53

๒. ป้อมปืนมุมสระแก้ว อยู่ตรงกลางแนวก�ำแพงวัดพระศรีสรรเพชญ์ด้านเหนือ
ตดิ กบั ประตฉู นวนวดั พระศรสี รรเพชญ์ ปอ้ มนยี้ งั มสี ภาพคอ่ นขา้ งสมบรู ณ์ มชี อ่ งคหู าภายใน
ปอ้ มสำ� หรบั ตงั้ ปนื ใหญ่ ในชอ่ งคหู านอ้ี าจจะเปน็ ทพี่ กั โขลนทวารทที่ ำ� หนา้ ทเี่ ฝา้ ประตฉู นวน
วดั พระศรีสรรเพชญ์ดว้ ยก็ได้

๓. ประตูบวรเจษฎานารี ประตูน้ีเดิมพระยาโบราณราชธานินทร์สันนิษฐานว่า
คือประตซู มุ้ หลังคาทรงคฤห ท่ยี งั คงเหลือสภาพสมบรู ณ์อยู่ใกลก้ บั มมุ กำ� แพงทิศตะวันตก
เฉยี งเหนอื ของวดั พระศรสี รรเพชญ์ แตป่ ระตดู งั กลา่ วเปน็ ประตอู ยบู่ นแนวกำ� แพงขนาดเลก็
และเปน็ คนละแนวกำ� แพงพระราชวงั ดงั นน้ั ประตนู จ้ี งึ เปน็ ประตขู องตำ� หนกั สวนกระต่าย

ประตูเจษฎานารี มีความหมายที่บ่งบอกว่า ใช้ส�ำหรับผู้หญิงเป็นปรกติ และ
ควรจะเปน็ ประตเู ขา้ - ออกทเ่ี ขตพระราชฐานชน้ั ใน ประตนู จ้ี ะอยรู่ ะหวา่ งปอ้ มปนื มมุ สระแกว้
กบั ปอ้ มสวนองนุ่ ในระยะดงั กลา่ วนพี้ บหลกั ฐานวา่ มปี ระตแู หง่ หนง่ึ ใกลก้ บั ตำ� หนกั ตกึ และ
มมี าแลว้ พรอ้ มกบั พระราชวงั หลวงระยะท่ี ๒ เปน็ ทางเขา้ - ออกของฝา่ ยใน แตอ่ ยา่ งไรกต็ าม
เอกสารแผนท่ีพระนครศรีอยุธยากล่าวว่า ประตูน้ีส�ำหรับภรรยาขุนนางเข้าถือน�้ำพิพัฒน์
สัตยาวัดพระศรีสรรเพชญ์ จึงยังไม่ทราบเหตุใดบรรดาภรรยาขุนนางจึงออกมาจากเขต
พระราชฐานชั้นใน ควรจะเปน็ ทางออกของเจ้านายฝา่ ยในมากกวา่

๔. ป้อมสวนองุ่น เป็นป้อมสร้างขึ้นใหม่ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง
ตรงตำ� แหนง่ เดมิ ของมมุ ทศิ ตะวนั ตกเฉยี งใตข้ องพระราชวงั หลงั ระยะท่ี ๒ ปอ้ มนไ้ี ดช้ อ่ื ตาม
สวนองุ่น พื้นท่รี ะหวา่ งเขตพระราชฐานกับตำ� หนกั สวนกระต่าย

๕.ประตชู ลชาตทิ วารสาคร เปน็ ประตไู ขนำ้� ออกจากสระพระทนี่ งั่ บรรยงกร์ ตั นาสน์
มมี าแลว้ พรอ้ มกบั พระราชวงั หลวงระยะท่ี ๒ มบี านประตไู ม้ ๒ ชนั้ หลกั ฐานจากการขดุ แตง่
ทางโบราณคดีพบว่าเมื่อมีการขยายขนาดก�ำแพงพระราชวังในรัชกาลสมเด็จพระเจ้า
ปราสาททองแลว้ ประตูน้�ำแห่งน้ีกม็ ไิ ดเ้ ปล่ียนแปลง

๖. ประตูมหาโภคราช เป็นประตูเขา้ - ออกตรงทา้ ยพระทน่ี ั่งบรรยงก์รตั นาสน์
สำ� หรับขุนนางเขา้ เฝ้าทพ่ี ระทนี่ ั่งทรงปนื คงเปน็ ประตยู อดมณฑปมีบานประตู ๒ ชั้น

๗. ประตอู ดุ มคงคา เปน็ ประตไู ขนำ�้ เขา้ สระพระทนี่ งั่ บรรยงกร์ ตั นาสน์ ลกั ษณะ
เชน่ เดยี วกบั ประตชู ลชาตทิ วารสาคร

๘. ประตจู นั ทวารมรณาภริ มย์ สำ� หรบั ยกศพขา้ งในออก ประตนู ข้ี ดุ พบในบรเิ วณ
ท้ายสนมใกล้ป้อมปากท่า (ป้อมท้ายสนม) น่าจะเป็นประตูทรงมณฑปและใกล้ ๆ กับ
ประตูนี้ ยงั มปี ระตชู ่องกุดอีก ๑ ประตู

54

๙. ป้อมปากท่า เป็นป้อมมุมทิศตะวันตกเฉียงเหนือของพระราชวังตั้งอยู่บน
ก�ำแพงเมืองตรงปากคลองท่อ ในกฎมณเฑียรบาลเรียกว่าป้อมท้ายสนม ป้อมนี้ขุดพบ
รากฐานยงั คงอยู่บางส่วน

ก�ำแพงพระราชวังด้านเหนือ เป็นแนวเดียวกับก�ำแพงเมือง นับจากทิศตะวันตก
ไปทศิ ตะวนั ออก ประกอบด้วยป้อมและประตูดังน้ี

๑. ประตบู วรนารีมหาภพชนย์ หรือ ประตูดิน เปน็ ประตเู ข้า - ออก ของฝา่ ยใน
อยใู่ กลร้ ะหัดน้ำ�

๒. ประตมู หาไตรภพชลทวารอทุ ก หรอื ประตฉู นวนประจำ� ทา่ วาสกุ รี เปน็ ประตู
เสด็จออกประทับเรือพระที่นั่ง ประตูนี้พระยาโบราณราชธานินทร์ขุดพบรากก�ำแพง
ไมก่ ่อเป็นกระเปาะหยักมุม สันนิษฐานว่าเป็นประตยู อดมณฑป

๓. ประตูเสาธงไชย อยู่ตรงหน้าพระท่ีนั่งสุริยาสน์อมรินทร์ ส�ำหรับแห่พระเจ้า
ลูกยาเธอลงสรงประตูน้ีเอกสารแผนท่ีพระนครศรีอยุธยาว่าเป็นประตูหูช้าง แต่พระยา
โบราณราชธานนิ ทรส์ นั นษิ ฐานวา่ นา่ จะเปน็ ประตยู อดมณฑปเพราะเปน็ ประตกู ำ� แพงใหญ่

๔. ประตูเจ้าปราบ หรือประตูท่าเจ้าปราบ เป็นประตูยอดมณฑปเช่นเดียวกัน
พบหลกั ฐานในเรอ่ื งสมเดจ็ พระบรมศพกรมหลวงโยธาเทพ วา่ สมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั บรมโกศ
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระบรมศพจากวัดพุทไธสวรรย์มาทางชลมารค
ขน้ึ บกเขา้ สพู่ ระราชวงั หลวงทป่ี ระตเู จา้ ปราบ เมอ่ื กระบวนเขา้ ประตนู แ้ี ลว้ จะตอ้ งเลยี้ วซา้ ย
ไปตามถนนอิฐซึ่งไปบรรจบกับถนนหน้าจักรวรรดิ แล้วแห่พระบรมศพมาตามถนนหน้า
จักรวรรดิ ข้ึนตั้งเหนือพระเบญจาบนพระที่น่ังจักรวรรดิไพชยนต์ เม่ือคร้ังงานสมเด็จ
พระบรมศพ พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระก็อัญเชิญพระอังคารออกทางประตูเจ้าปราบ ลงเรือ
พระที่นง่ั สพุ รรณหงสไ์ ปลอย ณ วดั พทุ ไธสวรรย์เชน่ กัน

๕. ประตูช้างเผือก ส�ำหรับช้างเผือกช้างเนียมลงน�้ำ ประตูน้ีอยู่หัวถนนหน้า
จกั รวรรดิ

๖. ประตูท่าคอย เป็นประตเู ข้า - ออกของขา้ ราชการ คงอยูใ่ กลก้ บั ปอ้ มทา่ คั่น
ยังขุดไมพ่ บ

รวมปอ้ มรอบพระราชวงั หลวง ๘ ปอ้ ม ประตูน�ำ้ ๒ ประตู ประตูบก ๒๐ ประตู
ในจำ� นวนนเ้ี ป็นประตชู อ่ งกุด ๑ ประตู

55

การแบง่ เขตภายในพระราชฐาน
การแบ่งเขตภายในพระราชวังหลวงระยะที่ ๓ มีเอกสารกล่าวไว้มากพอสมควร

ศึกษาได้จากเอกสารฝ่ายไทยและเอกสารต่างประเทศ เอกสารฝ่ายไทย ได้แก่ แผนที่
พระนครศรอี ยธุ ยา และค�ำให้การชาวกรุงเกา่ เปน็ หลกั ส่วนเอกสารตา่ งประเทศนนั้ ได้แก่
จดหมายของบรรดาราชทูตและบาทหลวง เม่ือตรวจสอบกับหลักฐานทางโบราณคดี
และสถาปตั ยกรรมทย่ี งั คงอยสู่ ามารถกำ� หนดการแบง่ เขตพระราชฐานออกเปน็ ๗ เขตดงั นี้

๑. เขตพระราชฐานชั้นนอก หรอื ท้องสนามจกั รวรรดิ
คือพน้ื ท่ีส่วนหน้าของพระราชวงั เป็นท้องสนามใหญ่ทตี่ ง้ั ของส่วนราชการมถี นน
หน้าจักรวรรดิขนาดกว้าง ๑๒ เมตร จากประตูช้างเผือกท่ีก�ำแพงพระราชวังด้านเหนือ
เมื่อพ้นพระท่ีน่ังจักรวรรดิไพชยนต์ ถนนคงจะหักไปทางทิศตะวนั ตกเลก็ นอ้ ยแลว้ หกั ลงมา
ทางทศิ ใตข้ นานกบั กำ� แพงหนา้ วดั พระศรสี รรเพชญต์ รงออกประตฤู ทธไ์ิ พศาลดิ์ (ประตนู ครไชย)
มถี นนทวี่ างตวั ในแนวตะวนั ออก-ตะวนั ตกอกี ๒เสน้ ตดั ผา่ นทอ้ งสนามถนนสายแรก
ตอ่ จากประตจู กั รมหมิ าตรงเขา้ ประตสู ำ� ราญไพชน ตรงเขา้ ประตพู ไิ ชยสนุ ทรหนา้ พระทน่ี ง่ั
สรรเพชญ์ปราสาท ถนนอีกสายหน่ึงต่อจากประตูศรีไชยศักด์ิตรงเข้าประตูสุรินทวาร
ตรงเข้าประตพู ิศาลศลิ าหนา้ พระทน่ี ่ังวหิ ารสมเด็จ
เขตพระราชฐานชน้ั นอกดา้ นใต้ ใกลป้ อ้ มศาลาสารบญั ชเี ปน็ ทตี่ งั้ ของศาลาสารบญั ชี
หรอื หอทะเบยี นราษฎร์ คำ� ใหก้ ารชาวกรงุ เกา่ กลา่ ววา่ หอแปลพระราชสาสน์ กต็ งั้ อยบู่ รเิ วณน้ี
เช่นเดียวกัน ซ่ึงพระยาโบราณราชธานินทร์เคยขุดพบรากฐาน แต่ปัจจุบันบริเวณน้ีถูก
ปรบั เปลี่ยนเปน็ ทีก่ ่อสร้างพระราชานุสาวรียข์ องสมเด็จพระเจ้าอูท่ องไปแลว้
เขตพระราชฐานชั้นนอกด้านเหนือ ใกล้ก�ำแพงพระราชวังตรงท้ายวิหารหลวง
วัดธรรมิกราช ขุดพบรากฐานของอาคารหลังหนึ่งสันนิษฐานว่าเปน็ ศาลาลูกขุน บรเิ วณน้ี
พระยาโบราณราชธานนิ ทรเ์ คยขดุ พบดนิ หยกิ เลบ็ ประจำ� ผกู สำ� นวน ศาลาลกู ขนุ นม้ี กี ำ� แพง
ลอ้ มรอบโดยมแี นวกำ� แพง ๒ สายเชอื่ มระหวา่ งกำ� แพงกน้ั เขตพระราชฐานชน้ั กลางไปชนกบั
ก�ำแพงพระราชวังชั้นนอก สันนิษฐานว่าบริเวณน้ีคงมีอาคารท่ีใช้เป็นสถานที่ราชการ
อกี หลายแหง่ แตย่ งั ขดุ ไมพ่ บ บรเิ วณนใ้ี นแผนผงั พระราชวงั หลวงประกอบจดหมายเหตขุ อง
แกมเฟอรล์ งตำ� แหนง่ อาคารไว้หลายหลัง
แผนที่พระนครศรีอยุธยายังกล่าวถึงโรงปืนใหญ่ ๔ โรง ประจ�ำต�ำแหน่งของ
พระมหาเทพ พระมหามนตรี พระราชรนิ และพระอนิ ทเดชะ วา่ ตง้ั อยใู่ นเขตนเี้ ชน่ เดยี วกนั
แตย่ งั ขุดไมพ่ บ

56

๒. เขตพระราชฐานช้ันกลาง
พื้นทเี่ ขตน้เี ป็นที่ตงั้ ของพระมหาปราสาทส�ำคญั ๓ หลัง คอื พระทีน่ ั่งวหิ ารสมเดจ็
พระที่นั่งสรรเพชญ์ปราสาท และพระท่ีนั่งสุริยาสน์อัมรินทร์ และเป็นที่ตั้งของพระคลัง
มหาสมบตั ิ โรงชา้ ง โรงม้า เป็นต้น
ดา้ นตะวนั ออก มกี ำ� แพงกน้ั เขตแยกออกจากเขตพระราชฐานชนั้ นอก มปี ระตซู มุ้
ยอดปรางคพ์ รหมพกั ตรเ์ ปน็ ทางเขา้ ออก ๒ ประตู คอื ประตสู ำ� ราญไพชนตรงหนา้ พระทนี่ งั่
สรรเพชญ์ปราสาท และประตูสุรินทวารตรงหน้าพระที่นั่งวิหารสมเด็จ ประตูนี้ขุดพบ
ยอดปรางคพ์ รหมพักตร์ ปัจจบุ ันจดั แสดงอยใู่ นพิพิธภัณฑสถานแหง่ ชาติ เจ้าสามพระยา
ดา้ นเหนอื กำ� แพงเปน็ แนวเดยี วกบั กำ� แพงเมอื งมปี ระตอู อกทกี่ ำ� แพงเมอื ง ๓ ประตู
คือ ประตเู จา้ ปราบ ประตูเสาธงไชย และประตูมหาไตรภพชลทวารอทุ ก ดงั กล่าวมาแล้ว
ดา้ นตะวนั ตก แบ่งเขตพระราชฐานชั้นกลาง กบั ชนั้ ในด้วยฉนวน ซึง่ เช่อื มตอ่ จาก
ประตมู หาไตรภพชลทวารอทุ กมาทางใตผ้ า่ นทา้ ยพระทน่ี ง่ั สรุ ยิ าสนอ์ มั รนิ ทร์ ในระยะนที้ าง
ฉนวนตดั ผา่ นกำ� แพงคน่ั พระทน่ี งั่ สรุ ยิ าสนอ์ มั รนิ ทรก์ บั พระทนี่ ง่ั สรรเพชญป์ ราสาท มปี ระตู
เขา้ ชอ่ื ประตคู หู าภพชล ประตนู ย้ี ายจำ� แวน่ รกั ษา ทางฉนวนตรงนมี้ ปี ระตทู ะลผุ นงั ทางฉนวน
ออกไปฝ่ายใน ๑ ประตู จากนี้แนวทางฉนวนผ่านท้ายพระที่น่ังสรรเพชญ์ปราสาท และ
พระท่ีนั่งวิหารสมเด็จ ระหว่างนี้มีประตูเข้า - ออกติดต่อช้ันกลางกับชั้นในอีก ๑ ประตู
สุดท้ายฉนวนมีประตูออกไปฉนวนวัดพระศรีสรรเพชญ์ชื่อ ประตูสวรรค์โคหา ประตูนี้
ยายยมรักษา
ด้านใต้มีแนวก�ำแพงเชื่อมต่อจากฉนวนวัดพระศรีสรรเพชญ์ไปชนแนวก�ำแพง
ดา้ นตะวนั ออก กันสระหนองหวายไว้ข้างนอก
พระทนี่ งั่ วหิ ารสมเดจ็ และสรรเพชญป์ ราสาท มกี ำ� แพงลอ้ มอกี ชน้ั หนง่ึ พนื้ ภายใน
ก�ำแพงนยี้ กระดบั สงู กวา่ ภายนอก แนวก�ำแพงด้านตะวนั ออกมีประตู ๒ ประตู คือ ประตู
พศิ าลศลิ าตรงหนา้ พระทนี่ ง่ั วหิ ารสมเดจ็ และประตพู ไิ ชยสนุ ทรตรงหนา้ พระทน่ี งั่ สรรเพชญ์
ปราสาท ในแผนทพ่ี ระนครศรอี ยธุ ยาวา่ เปน็ กำ� แพงมเี ชงิ เทนิ ประตมู ซี มุ้ แตจ่ ากการขดุ แตง่
พบแนวก�ำแพงหลงั เจียดขนาดเล็ก คงมีเชิงเทินไมไ่ ด้ สว่ นประตูนั้นอาจจะเปน็ ได้เพียงซมุ้
ทรงคฤห พนื้ ที่นอกกำ� แพงนี้เป็นสนามกวา้ ง เปน็ ที่ต้ังของโรงช้าง ๘ โรง มซี มุ้ ยอด และ
ตึกจ�ำสงดั ๒ หลัง ๆ ละสามหอ้ ง
พระท่ีน่งั วิหารสมเด็จ เปน็ ปราสาทมุขหน้าหลังยาว มขุ ขา้ งส้นั มีก�ำแพงแกว้ ล้อม
รอบ ๓ ด้าน ด้านหลังชนทางฉนวน มีทิมดาบอยซู่ ้าย - ขวาหน้าพระท่นี งั่ มกี �ำแพงเช่ือม
ระหวา่ งกำ� แพงแกว้ ลอ้ มพระทนี่ งั่ วหิ ารสมเดจ็ และพระทนี่ งั่ สรรเพชญป์ ราสาท ตรงมขุ สน้ั

57

ของพระท่ีนั่งท้ัง ๒ องค์ มีประตูพิมานมงคลออกตรงกลางแนวก�ำแพงนั้น แนวก�ำแพง
สายนแ้ี บง่ พนื้ ที่ระหว่างพระท่นี ั่งทัง้ ๒ องค์ ออกเปน็ ๒ ส่วน คือ สว่ นหน้าเปน็ ทีต่ ้งั ของ
โรงช้าง โรงม้า ส่วนในเปน็ ท่ตี ้งั ของพระคลังมหาสมบตั ิ

พระคลังมหาสมบัติ ที่ต้ังอยู่บริเวณนี้คงมีมาต้ังแต่รัชกาลสมเด็จพระบรม
ไตรโลกนาถ ขุดค้นพบซากอาคารแล้ว ๒ หลัง เป็นอาคารก่อด้วยอิฐมีผนังหนา ภายใน
แบง่ เป็นหอ้ งเลก็ ๆ อกี หลายห้อง แผนที่พระนครศรอี ยุธยายงั กล่าวอีกว่า มโี รงช่างทำ� รูป
อยใู่ นบริเวณน้ีอกี ๑ โรง

บริเวณท้องสนามหน้าพระมหาปราสาทวิหารสมเด็จและสรรเพชญ์ปราสาท
หนา้ พระคลงั มหาสมบัติ มโี รงชา้ งเผอื ก ๔ โรง โรงม้าตน้ ๑ โรง ๔ หอ้ ง ใส่มา้ หอ้ งละ ๒ ตวั
และมคี ลงั ใสเ่ ครอ่ื งชา้ งเครอ่ื งมา้ อยใู่ นบรเิ วณนดี้ ว้ ย ปจั จบุ นั พบรากฐานของอาคารมแี ผนผงั
ส่เี หลย่ี มจัตุรัส ๒ โรง ยังไมแ่ นช่ ัดวา่ จะเปน็ โรงช้างเผอื ก หรือคลังใส่เครอื่ งชา้ งเครอ่ื งมา้

แนวก�ำแพงค่ันระหว่างพระท่ีน่ังสรรเพชญ์ปราสาทกับสุริยาสน์อัมรินทร์ทางด้าน
ทิศเหนือมปี ระตูสำ� หรบั แหพ่ ระเจ้าลูกเธอลงสรงช่ือ ประตไู ชยมงคลไตรภพชล เปน็ ประตู
ยอดปรางค์ ขดุ พบรากประตูและสว่ นยอด ในลานน้ีมอี าคารกอ่ อิฐ ๑ หลงั สันนิษฐานว่า
เปน็ ศาลหลวง

พระทน่ี ง่ั สรุ ยิ าสนอ์ มั รนิ ทร์ ตงั้ อยทู่ างดา้ นเหนอื สดุ ของเขตพระราชฐานชน้ั กลาง
เปน็ ปราสาท ๒ ชน้ั มมี ขุ หนา้ หลงั ยาวกอ่ ดว้ ยศลิ าแลงสลบั อฐิ มกี ำ� แพงแกว้ ลอ้ มรอบทมิ ดาบ
ชาววังอยู่ด้านขวา ทิมดาบต�ำรวจในอยู่ด้านซ้าย มีก�ำแพงกั้นด้านหน้าพระที่น่ังสายหน่ึง
มปี ระตอู อกชือ่ ประตูไพชนย์ทวาร นอกก�ำแพงน้มี โี รงโอสถ โรงพระราชยาน โรงพรมเสอ่ื
โรงช่างสนะ (ช่างเยบ็ ผ้า) ๒ โรง โรงนางพญาช้างเผอื ก ๑ โรง ดา้ นใต้พระมหาปราสาทนนั้
มีพระต�ำหนกั ใสพ่ ระรปู สมเดจ็ พระนเรศวรกบั เคร่ืองพระแสงต้นหลังหนึง่ ยังขุดไม่พบ

๓. เขตพระราชฐานชั้นใน
เขตพระราชฐานชนั้ ในเปน็ ทปี่ ระทบั ของพระมหากษตั รยิ ์ เจา้ นายฝา่ ยใน และสนม
คอื พื้นทท่ี างดา้ นทศิ ตะวันตกของฉนวนหรือเขื่อนเพชร แบง่ ออกเปน็ ๕ เขตยอ่ ยดงั น้ี
๓.๑ เขตพระราชมณเฑยี รเดมิ คอื พนื้ ทต่ี ดิ กบั ฉนวนด้านตะวนั ตกมกี ำ� แพงลอ้ ม
รอบ คอื ดา้ นตะวนั ออกตดิ ฉนวน ดา้ นเหนอื ชนกำ� แพงชนั้ ใน (กำ� แพงชน้ั นอกของพระราชวงั
หลวงระยะท่ี ๒) ด้านตะวันตกก�ำแพงหักออกจากก�ำแพงด้านเหนือไปทางทิศใต้ขนาน
สระพระที่น่ังบรรยงก์รัตนาสน์ แล้วก�ำแพงหักไปทางทิศตะวันออกชนกับฉนวนตรงท้าย
พระทีน่ ง่ั วิหารสมเดจ็

58

ผนังทางฉนวนมีประตอู อกจากเขตพระราชฐานช้นั กลางมาเขตพระราชมณเฑียร
มีถนนอิฐตรงออกก�ำแพงด้านตะวันตก มีสะพานข้ามสระไปพระท่ีน่ังบรรยงก์รัตนาสน์
ถนนสายนี้น่าจะตรงกับแผนที่พระนครศรีอยุธยาเรียกชื่อว่า ถนนต้นดอกเหล็ก มีผู้หญิง
ชาวบ้าน ท่าทราย ท่าแขก เข้ามาน่ังร้านขายผ้า แต่ยังน่าสงสัยอยู่ว่าเหตุใดชาวบ้าน
จึงเขา้ มาตัง้ ร้านขายของในเขตพระราชฐาน

ก�ำแพงด้านเหนือ มีประตูต้นส้มโอออกไปเขตท้ายสนมตรงต�ำหนักประถมเพลิง
ริมก�ำแพงสายน้ีมีถนนปูอิฐออกมาจากประตูหูช้างท่ีผนังทางฉนวนตรงไปทางทิศ
ตะวนั ตกท้ายพระราชวัง

ก�ำแพงดา้ นตะวันตก มีประตูออกตรงที่ต้งั ถงั น�้ำประปา ๑ ประตู ไม่ปรากฏช่อื
และมปี ระตอู อกตรงสะพานขา้ ม ไปพระทนี่ งั่ บรรยงกร์ ตั นาสนอ์ กี ๑ ประตู ชอื่ ประตฉู นวน

ก�ำแพงดา้ นใต้ นับจากดา้ นทศิ ตะวันตกมปี ระตชู อื่ ประตสู ะพานแพะ และประตู
สเุ มรุ เปน็ ประตสู ะพานแพะ มถี นนอฐิ เปน็ แนวตรงขนานไปกบั กำ� แพงดา้ นตะวนั ตกผา่ นทา้ ย
โรงเครือ่ งตน้ เชือ่ มต่อกับถนนอฐิ สายทกี่ ลา่ วมาแลว้ ถนนสายนนี้ ่าจะตรงกบั ถนนทแ่ี ผนท่ี
พระนครศรอี ยธุ ยากล่าวว่า ผูห้ ญิงชาวบา้ นในไก่เข้ามานงั่ รา้ นขายเครอ่ื งส�ำเภาจนี

ในเขตพระราชมณเฑยี รเดมิ เปน็ ทตี่ งั้ ของพระทน่ี ง่ั เบญจรตั นมหาปราสาท ทส่ี รา้ ง
มาแลว้ ตง้ั แตร่ ชั กาลสมเดจ็ พระบรมไตรโลกนาถ ใชเ้ ปน็ ทป่ี ระทบั ตำ� แหนง่ ทต่ี งั้ ของพระทน่ี งั่
องค์นี้น่าจะตรงกับบริเวณที่พระยาโบราณราชธานินทร์กล่าวว่า ขุดพบรากพระที่นั่ง
หม่หู นึง่ ก่อฐานอฐิ พน้ื ปอู ฐิ หน้าวัวลดหลน่ั หลายชัน้ มเี สาไมแ้ กน่ รายเรียงเป็นระยะกันไป
เข้าใจว่าจะเป็นพระราชมณเฑียรสถาน๒๕ พระท่ีนั่งนี้ก�ำแพงแก้วล้อมรอบยังคงปรากฏ
รอ่ งรอยอยบู่ รเิ วณนี้ พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ทรงพระกรณุ าโปรดเกลา้ ฯ
ให้สรา้ งพลบั พลาตรมี ขุ เพอ่ื เปน็ ที่ประกอบพระราชพิธที ี่กรุงเกา่

ทางด้านเหนอื ของพระทีน่ ั่งเบญจรัตนมหาปราสาทมีโรงเคร่อื งต้น ๒ หลงั ตงั้ อยู่
ใกล้ประตูต้นส้มโอ มีก�ำแพงแก้วเต้ีย ๆ ล้อมรอบ นอกจากน้ีในพ้ืนท่ีว่างทางด้านใต้ของ
พลับพลาตรีมุขยังขุดพบฐานรากของอาคารขนาดเล็กก่อด้วยอิฐ ใช้เสาไม้อีกอย่างน้อย
๒ หลัง คงจะเปน็ พระทน่ี งั่ โถงส�ำหรบั ประทับพักผอ่ นพระราชอริ ิยาบถ คล้ายกบั พระทนี่ งั่
สนามจันทรใ์ นพระบรมมหาราชวงั กรุงเทพมหานคร

๒๕ กรมศิลปากร, “เรื่องกรงุ เกา่ ,” ประชุมพงศาวดาร เล่ม ๓๗, หน้า ๕๔.

59

๓.๒ เขตพระท่ีน่ังบรรยงก์รัตนาสน์ บริเวณน้ีเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงในรัชกาล
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เม่ือพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่น่ัง
บรรยงกร์ ตั นาสนข์ น้ึ เพอ่ื เปน็ ทปี่ ระทบั โดยการขดุ ลอกสระนำ�้ เดมิ นำ� ดนิ อฐิ หกั และทราย
มาถมที่กลางสระให้เป็นเกาะลกั ษณะมีคูนำ้� ลอ้ มรอบ แล้วสร้างพระทนี่ ่งั บรรยงก์รัตนาสน์
ข้ึนบนเกาะนั้น

เม่ือถึงรัชกาลสมเด็จพระเพทราชาทรงโปรดประทับที่พระท่ีน่ังองค์น้ี
เชน่ เดยี วกนั ในรชั กาลนใ้ี หเ้ อาทา้ ยพระราชวงั เปน็ ขา้ งหนา้ สรา้ งศาลาลกู ขนุ สรา้ งพระทน่ี งั่
ทรงเป็นที่เสด็จออกว่าราชการ ต�ำแหน่งของพระท่ีน่ังทรงปืนน้ี เดิมพระยาโบราณราช
ธานนิ ทรส์ นั นษิ ฐานวา่ เปน็ บรเิ วณเนนิ ดนิ ใกลก้ บั ประตอู ดุ มคงคา แตจ่ ากการขดุ แตง่ พบวา่
เนนิ ดนิ ดงั กลา่ วเปน็ แนวกำ� แพงพระราชวงั อยา่ งไรกต็ าม พระทน่ี ง่ั ทรงปนื นา่ จะตงั้ ถดั เขา้ มา
คือพ้ืนที่ว่างด้านเหนือ นอกสระพระท่ีนั่งบรรยงก์รัตนาสน์ เน่ืองจากมีหลักฐานใน
พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาว่า เม่ือ พ.ศ. ๒๒๙๘ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
บรมโกศทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์เข้าเฝ้าเพ่ือไต่สวนกรณีเป็นชู้
กบั เจา้ ฟา้ สงั วาลย์ เจา้ ฟา้ ธรรมาธเิ บศรเ์ สดจ็ ขน้ึ สะพานใตร้ ะหดั นำ้� ทรงเสลยี่ งมาทางทา้ ยวงั
ตรงศรสี ำ� ราญ คงจะเขา้ ทางประตจู นั ทวารมรณาภริ มย์ ทอดพระเนตรเหน็ คนนงั่ ประชมุ อยรู่ มิ
ศาลาลูกขุนนอกพระท่ีนั่งทรงปืน๒๖ เอกสารแผนที่พระนครศรีอยุธยายังกล่าวถึงอาคาร
หลายหลงั ทต่ี ง้ั อยใู่ นบรเิ วณพระทน่ี ง่ั ทรงปนื ไดแ้ ก่ ตำ� หนกั สองหอ้ งสำ� หรบั พระราชาคณะ
และพระอปุ ราชพกั รอเขา้ เฝา้ ทมิ สงฆ์ ทมิ ดาบมหาดเลก็ โรงนาฬกิ า โรงโอสถ โรงเครอื่ งมา้ ตน้
โรงพระแสงเครอื่ งตน้ และโรงชา่ งทำ� มกุ อยหู่ นา้ พระทน่ี งั่ ทรงปนื ๒๗ อาคารทงั้ หมดในบรเิ วณนี้
ยังขดุ ไม่พบ

๓.๓ เขตพระต�ำหนักคูหาสวรรค์หรือต�ำหนักตึก คือพื้นท่ีด้านใต้นอกสระ
พระทนี่ งั่ บรรยงกร์ ตั นาสน์ พระตำ� หนกั หลงั นสี้ รา้ งขน้ึ ในรชั กาลสมเดจ็ พระนารายณม์ หาราช
เพอ่ื เปน็ ทป่ี ระทบั ของสมเดจ็ พระอคั รมเหสขี องพระองค์ ตอ่ มาเปน็ ทปี่ ระทบั ของกรมหลวง
โยธาทพิ กรมหลวงโยธาเทพในรัชกาลสมเด็จพระเพทราชา มกี �ำแพงล้อมรอบโดยด้านใต้
และดา้ นตะวันตกติดแนวก�ำแพงพระราชวัง มีประตูออกไปวดั พระศรีสรรเพชญท์ ี่ก�ำแพง
ดา้ นใตช้ อ่ื ประตสู วนองนุ่ หรอื ประตบู วรเจษฎานารี ประตนู มี้ ถี นนออกไปทอ้ งสนามจนั ทร์
ถนนนเ้ี ลี้ยวซ้ายเข้าเขตพระราชมณเฑยี รเดมิ

๒๖ พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เลม่ ๒, หนา้ ๒๓๘.
๒๗ อธบิ ายแผนทีพ่ ระนครศรีอยธุ ยากับคำ� วินิจฉยั ของพระยาโบราณราชธานนิ ทร,์ หนา้ ๓๐.
60

๓.๔ เขตทอ้ งสนามจนั ทร์ คอื พนื้ ทวี่ า่ งดา้ นตะวนั ออกนอกกำ� แพงลอ้ มพระตำ� หนกั
ตกึ ในบรเิ วณน้ีน่าจะเป็นทตี่ ั้งของพระทน่ี ัง่ สนามจันทร์ พระทน่ี ่งั สนามชยั และพระทนี่ งั่
พมิ านรัตยาตามที่ปรากฏชอื่ ในกฎมณเทียรบาล แต่ยงั ขดุ ไมพ่ บรากฐาน

๓.๕ เขตท้ายสนม คือพ้ืนที่ต่อจากฉนวนตรงท้ายพระที่น่ังสุริยาสน์อัมรินทร์
มาทางทิศตะวันตก บริเวณนี้มีก�ำแพงล้อมรอบคือ ด้านตะวันออกจรดฉนวนน�้ำประจ�ำ
ท่าวาสุกรี ด้านเหนือจรดแนวก�ำแพงเมืองมีประตูออกชื่อ ประตูดิน (ประตูบวรนารี
มหาภพชนย)์ ใกลร้ ะหดั นำ้� ดา้ นตะวนั ตกจรดแนวกำ� แพงพระราชวงั ดา้ นตะวนั ตก มปี ระตอู อก
ชอื่ ประตจู นั ทวารมรณาภริ มย์ ดา้ นใตจ้ รดแนวกำ� แพงชน้ั ใน แนวกำ� แพงเสน้ นเ้ี ปน็ แนวเดยี ว
กับกำ� แพงค่นั พระทีน่ ่งั สุรยิ าสน์อัมรินทร์กับพระทีน่ ง่ั สรรเพชญป์ ราสาท มีประตูต้นส้มโอ
เป็นทางเข้า - ออกติดต่อกับเขตพระราชมณเฑียร เดิมแนวก�ำแพงเส้นนี้น่าจะมีประตู
เขา้ - ออกตดิ ตอ่ กบั เขตพระทน่ี งั่ บรรยงกร์ ตั นาสนอ์ กี ๑ ประตู ชอ่ื ประตอู ดุ มนารี ซงึ่ แผนที่
พระนครศรีอยุธยากลา่ ววา่ ประตนู ี้ตรงออกประตูดิน

เขตท้ายสนมเป็นเขตหวงห้ามที่อยู่ของเจ้านายฝ่ายใน บริเวณน้ีเกิดขึ้นในรัชกาล
สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง บริเวณนี้คงประกอบด้วยต�ำหนักจ�ำนวนมาก เป็นท่ีอยู่ของ
เจ้านายแต่ละพระองค์ซึ่งคงจะสร้างด้วยเคร่ืองไม้ บริเวณใกล้ฉนวนท้ายพระที่นั่ง
สุรยิ าสน์อมั รินทร์เปน็ ท่ตี ้งั ของพระต�ำหนักประถมเพลิง ๒ หลัง เปน็ อาคารห้าห้องผ่าไม้
ส่วนฐานรากน่าจะสร้างด้วยอฐิ บริเวณท้ายสนมนี้ยังมไิ ดด้ �ำเนนิ การขดุ ค้นทางโบราณคดี

๔. เขตสวนไพชยนตเ์ บญจรัตน์
สวนไพชยนตเ์ บญจรตั นค์ อื พนื้ ทที่ างดา้ นใตข้ องพระทน่ี ง่ั วหิ ารสมเดจ็ และอยทู่ าง
ดา้ นทศิ ตะวนั ตกของพระทน่ี ง่ั จกั รวรรดไิ พชยนต์ คลมุ พนื้ ทบ่ี รเิ วณสระหนองหวายทเี่ คยมี
อยู่แล้วในเขตพระราชวังระยะท่ี ๒ เขตน้ีด้านตะวันออกชนเขตท้องสนามหน้าจักรวรรดิ
ดา้ นตะวนั ตกชนทางฉนวนวดั พระศรสี รรเพชญ์ พน้ื ทส่ี ว่ นนเ้ี ปน็ บรเิ วณพระคลงั มหาสมบตั ิ
ทข่ี ยายออกมาสรา้ งใหมใ่ นรชั กาลสมเดจ็ พระเจา้ ปราสาททอง สามารถแบง่ ออกเปน็ ๓ สว่ น
คือ สว่ นเหนอื สว่ นกลาง และสว่ นใต้ เปน็ ที่ต้ังของสถานทตี่ า่ ง ๆ ดงั นี้
๔.๑ พน้ื ทส่ี ว่ นเหนอื ของสวนไพชยนตเ์ บญจรตั น์ เปน็ บรเิ วณทมี่ มี าแลว้ พรอ้ มกบั
การสรา้ งพระราชวงั หลวงระยะท่ี ๒ ในรชั กาลสมเดจ็ พระบรมไตรโลกนาถ มปี ระตทู างเขา้
ทผ่ี นังฉนวนวดั พระศรสี รรเพชญ์ ชอื่ ประตสู วรรคภ์ ิรมย์ บรเิ วณน้มี หี อพระมณเฑียรธรรม
ตัง้ อย่กู ลางสระ โรงช่างท�ำเงนิ ตง้ั อยูร่ อบสระ สระนี้คงจะตรงกบั สระหนองหวายทก่ี ล่าวไว้
ในพงศาวดาร

61

๔.๒ พ้ืนที่ส่วนกลางของสวนไพชยนต์เบญจรัตน์ มีแนวก�ำแพงพื้นที่ออกเป็น
สเ่ี หลย่ี มขนาดเลก็ หลายแหง่ คงจะเปน็ ทตี่ งั้ ของพระคลงั ตา่ ง ๆ เชน่ คลงั ศภุ รตั น์ คลงั พมิ าน
อากาศ ดา้ นตะวนั ออกขดุ พบรากฐานอาคารขนาดใหญ่ สนั นษิ ฐานวา่ เปน็ โรงราชรถ ดา้ นใต้
ของพน้ื ทสี่ ว่ นนค้ี งจะเปน็ ทต่ี ง้ั ของหอพระเทพบดิ รมกี ำ� แพงลอ้ มรอบ ดา้ นเหนอื มปี ระตเู ขา้
ชื่อ ประตูสวรรค์ไพชยนต์รัตน์ ด้านตะวันออกมีประตูออกไปท้องสนามหน้าจักรวรรดิ
ชอ่ื ประตูภิรมย์เจษฎา ด้านใต้มปี ระตอู อกไปคลงั วเิ สทชื่อ ประตูสนุ ทรภูสติ ในบรเิ วณนี้
มีโรงปนื ช่อื ปะขาวกวาดวดั อกี ๑ โรง

๔.๓ พ้ืนที่ส่วนใตข้ องสวนไพชยนตเ์ บญจรัตน์ อยูท่ างดา้ นตะวันตกของบรเิ วณ
พระท่ีนั่งจักรวรรดิไพชยนต์ มีประตูเข้าพระต�ำหนักท้ายพระที่น่ังจักรวรรดิช่ือ ประตู
ภิรมย์ธารา ก�ำแพงล้อมคลังวิเสทด้านตะวันตกมีประตูอุดมพัตราออกไปฉนวนวัด
พระศรีสรรเพชญ์ พื้นที่ด้านใต้ของคลังวิเสทคงจะเป็นที่ตั้งของคลังแสง ระบุไว้ในแผนที่
พระนครศรอี ยธุ ยา

๕. เขตสระแกว้ และสวนอง่นุ
เขตน้ีอยู่นอกเขตก�ำแพงล้อมพระราชวัง คือ พ้ืนท่ีด้านตะวันตกของฉนวนวัด
พระศรีสรรเพชญ์ไปถึงคลองท่อ ด้านเหนือจรดก�ำแพงพระราชวัง ด้านใต้จรดก�ำแพง
วัดพระศรีสรรเพชญ์ และก�ำแพงด้านหน้าสวนกระต่าย บริเวณน้ีเป็นท่ีลุ่มมีคลองชักน้�ำ
จากคลองทอ่ มาลงสระแกว้ พน้ื ทบ่ี รเิ วณนแี้ บง่ ออกไดเ้ ปน็ ๒ สว่ น คอื พน้ื ทส่ี ว่ นตะวนั ออก
เรยี กวา่ บรเิ วณสระแก้ว พนื้ ที่ส่วนตะวันตกเรียกวา่ สวนองุน่
๕.๑ บริเวณสระแก้ว มีสระนำ�้ ๒ สระ คือ สระแก้วและสระโอ ทางดา้ นเหนอื
ของสระแก้วเป็นท่ีตั้งของต�ำหนักสระแก้ว ขุดพบฐานรากก่อด้วยอิฐเป็นอาคารยาว
สันนิษฐานว่ามี ๒ ช้ัน คล้ายกับพระต�ำหนักค�ำหยาด หรือต�ำหนักพระพุทธโฆษาจารย์
พระราชพงศาวดารกลา่ ววา่ ตำ� หนกั สระแกว้ เปน็ ทป่ี ระทบั ของพระเจา้ ลกู ยาเธอในสมเดจ็
พระเจ้าอย่หู ัวบรมโกศ คือ กรมหมื่นสุนทรเทพ และกรมหม่ืนเสพภกั ดี ต�ำหนกั ศาลาลวด
ซง่ึ เป็นทปี่ ระทบั ของกรมหมนื่ จติ รสุนทร กค็ งจะตง้ั อยู่ในบรเิ วณนเ้ี ช่นเดยี วกนั
๕.๒ บรเิ วณสวนองนุ่ เขตนค้ี งจะมถี นนอฐิ ทางเสดจ็ ของเจา้ นายฝา่ ยในจากประตู
บวรเจษฎานารหี รอื ประตสู วนองนุ่ ทก่ี ำ� แพงพระราชวงั ตรงออกไปเขา้ ทา้ ยวดั พระศรสี รรเพชญ์
เป็นแนวแบ่งแยกออกจากบรเิ วณสระแกว้
ด้านเหนือของสวนองุ่น มีถนนสายหนึ่งปูพ้ืนด้วยอิฐขนาดใหญ่ เร่ิมจากประตู
บวรเจษฎานารขี นานกำ� แพงพระราชวงั ไปทางทศิ ตะวนั ตกชนถนนเลยี บคลองทอ่ ตรงปอ้ ม
สวนอง่นุ ตรงนมี้ ีสะพานไม้ขา้ มคลองทอ่ ไปวัดระฆงั

62

บริเวณสวนองุ่นคงเป็นสวนหลวงประจ�ำพระราชวัง แต่มิได้มีก�ำแพงล้อม แต่มี
กฎมณเฑียรบาลมาตราท่ี ๒๐ บัญญัติห้ามผู้ใดขี่เรือคฤห เรือปทุน เรือกูบ และเรือมี
ศาสตราวธุ และใสห่ มวกคลมุ หวั นอนมา ชายหญงิ นงั่ มาดว้ ยกนั เขา้ มาในทอ่ นำ้� ในสระแกว้ ๒๘
สนั นษิ ฐานว่าตามปรกตเิ รือราชการสามารถเข้ามาในเขตนีไ้ ด้ แตร่ าษฎรสามญั คงไม่มีใคร
กล้าเขา้ มาใกลเ้ ขตพระราชฐาน

๖. เขตวดั พระศรสี รรเพชญ์
วัดพระศรีสรรเพชญ์เป็นพระอารามหลวงประจ�ำพระราชวัง ตั้งอยู่ทางใต้ของ
เขตพระราชฐาน มีก�ำแพงล้อมรอบเป็นสถานท่ีบรรจุพระบรมอัฐิของพระมหากษัตริย์
และพระบรมวงศานุวงศ์ และเป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธีของพระมหากษัตริย์
วดั พระศรสี รรเพชญเ์ รม่ิ กอ่ สรา้ งมาตงั้ แตร่ ชั กาลสมเดจ็ พระรามาธบิ ดที ี่ ๒ โดยขอบเขตของ
วดั พระศรสี รรเพชญถ์ กู ผนวกเขา้ กบั พระราชวงั หลวงในรชั กาลสมเดจ็ พระเจา้ ปราสาททอง

พระมหาปราสาท

พระท่ีน่งั

สรรเพชญม์ หาปราสาท

พระทนี่ งั่ สรรเพชญม์ หาปราสาทตง้ั อยใู่ นเขตพระราชฐานชน้ั กลาง สมเดจ็ พระบรม
ไตรโลกนาถทรงพระกรณุ าโปรดเกลา้ ฯ ใหส้ รา้ งขนึ้ ในพระราชวงั แหง่ ใหมเ่ มอื่ พ.ศ. ๑๙๙๑
ส�ำหรับใช้ประกอบพระราชพิธีตามพระราชประสงค์ของพระมหากษัตริย์ และใช้ในการ
ต้อนรบั คณะราชทตู ตา่ งประเทศ

พระราชพงศาวดารกล่าวว่าพระท่ีนั่งสรรเพชญ์มหาปราสาทใช้ในพระราชพิธี
บรมราชาภิเษก และปราบดาภเิ ษกในรชั กาลสมเด็จพระเพทราชา พ.ศ. ๒๒๓๑ รชั กาล

๒๘ ประมวลกฎหมายรัชกาลท่ี ๑ เลม่ ๑, หนา้ ๖๕.

63

สมเดจ็ พระเจา้ เสอื พ.ศ. ๒๒๔๖ รชั กาลสมเดจ็ พระเจา้ ทา้ ยสระ พ.ศ. ๒๒๕๑ รชั กาลสมเดจ็
พระเจา้ อทุ ุมพร พ.ศ. ๒๓๐๑ และรัชกาลสมเดจ็ พระเจ้าเอกทัศ พ.ศ. ๒๓๐๑ นอกจากน้ี
ยังใช้ประกอบพิธีโสกันต์เจ้าพระขวัญ พระเจ้าลูกยาเธอในสมเด็จพระเพทราชา และ
พระราชพธิ อี ุปราชาภเิ ษกเจา้ ฟา้ กรมขนุ พรพินติ

พระท่ีนั่งสรรเพชญ์มหาปราสาทใช้เป็นสถานท่ีเสด็จออกรับคณะราชทูต
ต่างประเทศ ท่ีเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับกรุงศรีอยุธยา คงใช้มาต้ังแต่สมัยสมเด็จ
พระรามาธบิ ดที ่ี ๒ เมอ่ื ชาวโปรตเุ กสเดนิ ทางเขา้ มา คณะราชทตู ชดุ สำ� คญั ทพ่ี ระเจา้ แผน่ ดนิ
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เข้าเฝ้าท่ีพระท่ีน่ังองค์นี้ ได้แก่ คณะราชทูตของฝรั่งเศส
ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช คณะราชทูตลังกาในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
บรมโกศ เป็นต้น ค�ำให้การชาวกรุงเก่ากล่าวว่า ถ้าหากเป็นคณะราชทูตเมืองใหญ่จะได้
เข้าเฝ้าถวายพระราชสาส์นในท้องพระโรง หากเป็นคณะราชทูตเมืองเล็กเสด็จออกรับ
พระราชสาส์นที่มุขเด็จ พระท่ีน่ังสรรเพชญ์มหาปราสาทเป็นปราสาทมีซุ้มยอดมณฑป
๙ ยอด มุขโถงทตี่ อ่ ออกมาจากปราสาทองค์ประธานนนั้ ไม่มยี อด มแี ต่หลังคาซอ้ น ๓ ชน้ั
หนา้ บนั มขุ ประเจดิ ดา้ นหนา้ มมี ขุ เดจ็ ตงั้ พระทน่ี ง่ั บษุ บกทองคำ� สำ� หรบั เสดจ็ ออกรบั แขกเมอื ง
กลางพระมหาปราสาท มีพระท่ีนั่งบันยงก์กาญจนเนาวรัตน์ เป็นที่เสด็จประทับน่ังออก

64

รบั แขกเมือง และออกขนุ นางในพระราชพิธรี าชาภเิ ษก๒๙ มบี ันไดทางขน้ึ ที่ ๒ ข้างมุขเดจ็
มีบันไดทางขึ้นตรงมุขส้ันทั้ง ๒ ข้าง และบันไดทางข้ึน ๒ ข้างของท้องพระโรงหลัง
ท้ายพระที่นั่งชนผนังฉนวนมีเกยราชยาน ท้องพระโรงหลังน้ันน่าจะสร้างเป็น ๒ ช้ัน
มเี สาอฐิ รองรบั พนื้ ไมข้ องชน้ั ทส่ี อง ตรงกลางพระมหาปราสาทมเี สากอ่ อฐิ ขนาดใหญ่ ๔ ตน้
คงรองรบั เคร่ืองยอดของปราสาท

คณะราชทูตลังกาซ่ึงเดินทางเข้ามาขอพระสงฆ์กรุงสยามในรัชกาลสมเด็จ
พระเจา้ อยหู่ วั บรมโกศ ไดเ้ ขา้ เฝา้ ถวายพระราชสาสน์ ทม่ี ขุ เดจ็ พระทนี่ งั่ สรรเพชญป์ ราสาท
โดยบรรยายสภาพของพระที่น่ังองค์น้ีว่าฝาพระท่ีนั่งปิดทอง ราชบัลลังก์ท่ีมุขเด็จสูงจาก
พ้ืนประมาณ ๑๐ คืบ ตั้งบุษบกท่ีประทับ ราชบัลลังก์นั้นผูกม่านปักทองที่ฐานพระที่นั่ง
๒ ขา้ งมขุ เดจ็ ตง้ั รปู หมี ราชสหี ์ รากษส โทวารกิ นาค และพริ าวะยกั ษอ์ ยา่ งละคลู่ ว้ นปดิ ทอง
รอบมุขเด็จต้ังเคร่ืองสูง๓๐ บาทหลวงตาชาร์ดบรรยายสภาพท้องพระโรงว่าปูด้วยพรม

๒๙ “คำ� ใหก้ ารขุนหลวงวดั ประดู่ทรงธรรม,” แถลงงานประวัติศาสตร์ เอกสาร โบราณคดี ๔ (๒) (พฤษภาคม
๒๕๑๔) : ๒๘.
๓๐ สมเดจ็ พระเจา้ บรมวงศเ์ ธอ กรมพระยาดำ� รงราชานุภาพ, เร่ืองประดิษฐานสยามวงศ์ในลังกาทวีป. (หนงั สือ
อนสุ รณ์งานพระเมรพุ ระศพ สมเด็จพระสังฆราชเจา้ กรมหลวงวชริ ญาณวงศ)์ . พระนคร : โรงพิมพก์ ารศาสนา,
๒๕๐๓. หน้า ๗๔.

65

เปอร์เซีย พระราชบัลลังก์ตั้งอยู่หลังช่องพระบัญชรขนาดใหญ่กลางผนัง สูงจากพื้นราว
๗ หรือ ๘ ฟตุ มฉี ตั รตง้ั ซา้ ยขวาขา้ งละองค์ ทำ� ดว้ ยผ้าสที อง ซ้อนกนั อยู่ ๗ หรือ ๘ ช้ัน
คนั ฉตั รนนั้ เปน็ ทองคำ� ทบึ สงู เกอื บจรดเพดาน๓๑ ลาลแู บรไ์ ดอ้ ธบิ ายสภาพของทอ้ งพระโรง
ไวท้ ำ� นองเดยี วกนั และเพม่ิ เตมิ อกี วา่ มบี นั ไดทางขนึ้ สหู่ อ้ งทตี่ ง้ั พระราชบลั ลงั กท์ งั้ ๒ ขา้ งของ
ช่องพระบัญชร ฉัตร ๓ องค์ มีบันได ๓ ข้ันตรงหน้าพระบัญชรเพ่ือให้ราชทูตขึ้นไปยื่น
พระราชสาส์น๓๒ ซึ่งตรงกับภาพเขียนของชาวฝรั่งเศส ซ่ึงเขียนประกอบในจดหมายเหตุ
ของบาทหลวง เดอ ซวั ซยี ์ นอกจากนแ้ี ผนทพ่ี ระราชวงั หลวงทป่ี ระกอบในจดหมายเหตขุ อง
แกมเฟอรก์ ลา่ ววา่ มหี อ้ งเสวยทมี่ ขุ ทา้ ยพระทน่ี ง่ั ดว้ ย๓๓ สนั นษิ ฐานวา่ ทอ้ งพระโรงทา้ ยคงเปน็
สถานทีส่ �ำหรับเสวย และอาจจะใช้เปน็ ทเ่ี สดจ็ ออกว่าราชการฝ่ายในด้วย

การขุดตรวจทางถนนบริเวณท้ายพระที่น่ังสรรเพชญ์ปราสาทพบว่าทางฉนวน
สร้างทับซ้อนบนก�ำแพงแก้วล้อมพระท่ีนั่ง ดังน้ัน ทางฉนวนเป็นงานก่อสร้างหลังจาก

๓๑ ตาชารด์ , จดหมายเหตุการเดินทางสู่ประเทศสยาม, หนา้ ๔๕.
๓๒ มร. ลา ลูแบร์, สนั ต์ ท. โกมลบุตร แปล. ราชอาณาจกั รสยาม เล่ม ๑. พระนคร : โรงพิมพ์รงุ่ เรอื งรตั น์,
๒๕๑๐, หน้า ๔๔๑ และ ๔๘๘.
๓๓ ไทยในจดหมายเหตุแกมเฟอร,์ หน้า ๔๘.
66

พระทน่ี งั่ สรรเพชญป์ ราสาท การสรา้ งทางฉนวนเกดิ ขน้ึ พรอ้ มกบั การถมปรบั ระดบั พน้ื รอบ
พระทนี่ ง่ั ใหส้ งู ขนึ้ แล้วสร้างกำ� แพงแกว้ ล้อมพระทน่ี ั่งใหม่

เอกสารทางประวัติศาสตร์กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของพระราชวัง
หลวงอยา่ งมากในรชั กาลสมเด็จพระเจา้ ปราสาททอง พระท่นี ง่ั หลายองค์ถกู สร้างขนึ้ ใหม่
พระท่ีนั่งท่ีมีอยู่เดิมก็ได้รับการปฏิสังขรณ์เช่นเดียวกัน สันนิษฐานว่าพระที่นั่งสรรเพชญ์
ปราสาทไดร้ บั การปฏสิ ังขรณใ์ นรชั กาลน้ีครงั้ หนง่ึ พร้อมกบั การสร้างฉนวน

ในแผน่ ดนิ สมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั บรมโกศ ทรงพระกรณุ าดำ� รสั สง่ั เจา้ พระยาราชนายก
ว่าที่กลาโหมให้เป็นแม่กองท�ำการปฏิสังขรณ์พระที่น่ังสรรเพชญ์ปราสาท ซ่ึงช�ำรุด
คร่ำ� คร่าอยนู่ ัน้ ใหร้ ื้อเครอ่ื งบนลงปรงุ ใหม่ ๑๐ เดือนจึงส�ำเรจ็ และองค์เกา่ นัน้ หุ้มแต่ดีบุก
หาปดิ ทองไม่ การทำ� ใหมค่ รง้ั นท้ี รงพระกรณุ าใหป้ ดิ ทองยอดและชอ่ ฟา้ ใบระกา นาคสะดงุ้
บราลี เชิงกลอน ดอกจอกทง้ั ส้นิ

เบญจรตั นมหาพปรราะทสนี่าทั่ง

พระท่ีน่ังเบญจรัตนมหาปราสาท สร้างในรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
พร้อมกับการสร้างพระท่ีนั่งสรรเพชญ์ปราสาทในพระราชวังใหม่ มีหลักฐานในกฎหมาย
ตราสามดวงว่าพระที่นั่งองค์น้ีเป็นท่ีประทับของพระมหากษัตริย์มาตั้งแต่รัชกาลสมเด็จ
พระบรมไตรโลกนาถ๓๔ พระมหากษตั รยิ ท์ ค่ี รองราชสมบตั สิ บื ตอ่ มาทกุ รชั กาลคงจะประทบั
ทพ่ี ระทน่ี งั่ องคน์ ตี้ ลอดมา เพราะไมพ่ บหลกั ฐานวา่ มกี ารสรา้ งพระทน่ี งั่ เพอ่ื เปน็ ทปี่ ระทบั อกี
จนถงึ รชั กาลสมเดจ็ พระเจา้ ปราสาททองสรา้ งพระทน่ี งั่ สรุ ยิ าสนอ์ มั รนิ ทรข์ น้ึ เปน็ ทป่ี ระทบั
อีกองค์หนึ่ง๓๕ จึงเกิดมีพระที่นั่งซ่ึงเป็นท่ีประทับ ๒ องค์ ในรัชกาลนี้จนถึงปลายรัชกาล
สมเดจ็ พระเจา้ ปราสาททองทรงประชวรหนกั ทรงเสดจ็ กลบั ไปประทบั พระทน่ี งั่ เบญจรตั น์

๓๔ กฎหมายตราสามดวง, หนา้ ๑๐๘.
๓๕ ค�ำให้การชาวกรงุ เกา่ ฯ, หนา้ ๑๐๔. และ บทวเิ คราะห์ในเรื่องพระราชวังหลวงระยะท่ี ๓ ตอนตน้ ของเรือ่ งนี้

67

ดังเดมิ จนเสด็จสวรรคต๓๖ หลงั จากน้กี ็ไม่ปรากฏหลกั ฐานวา่ มพี ระมหากษตั รยิ พ์ ระองคใ์ ด
ประทับท่พี ระท่นี ัง่ องคน์ อี้ กี

พระท่ีนั่งองค์นี้คงจะต้ังอยู่ในเขตพระราชฐานชั้นใน ท้ายพระท่ีน่ังสรรเพชญ์
ปราสาท บริเวณที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้สร้างพระท่ีนั่ง
ตรีมุข บริเวณนี้พระยาโบราณราชธานินทร์เคยขุดพบรากฐานพระที่น่ัง ฐานก่อด้วยอิฐ
พน้ื ปดู ว้ ยอฐิ หนา้ ววั ลดหลนั่ หลายชนั้ มเี สาไมแ้ กน่ เรยี งรายเปน็ ระยะกนั ไป โดยสนั นษิ ฐานวา่
เป็นพระราชมณเฑียรสถาน๓๗

ค�ำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรมกล่าวว่าพระท่ีน่ังเบญจรัตน์เป็นปราสาท
จตั รุ มขุ ยอดมณฑป ๕ ยอด มมี ุขซอ้ น ๔ ชนั้ เท่ากนั ท้ัง ๔ ดา้ น มมี ุขยาวออกมาจากมขุ ใหญ่
ทั้ง ๔ ด้าน หน้ามุขท้ัง ๔ ด้านนั้นเป็นจัตุรมุขมียอดมณฑปทุกมุขเป็น ๔ ยอด พ้ืนมุข
ทั้ง ๔ ด้าน ท�ำเป็นท้องพระโรงส�ำหรับเสด็จออกว่าราชการตามฤดูท้ัง ๓ มุข แต่มุข
ดา้ นหลงั สำ� หรบั เสดจ็ ออกวา่ ราชการฝา่ ยใน ตวั ปราสาทใหญอ่ งคก์ ลางนนั้ ผนงั กอ่ อฐิ ถอื ปนู
ทารักประดับกระจกปิดทองเป็นลายพุ่มข้าวบิณฑ์ ใต้พระบัญชรเป็นรูปสิงห์ทุกช่อง
ซมุ้ จระนำ� พระบญั ชรเปน็ รปู พรหมพกั ตรท์ กุ ชอ่ ง ฐานพระทนี่ ง่ั มรี ปู ปน้ั ชนั้ แรกรปู กมุ ภณั ฑ์
ช้ันสองรูปครุฑจับนาค ช้ันสามรูปเทพพนม จนถึงรูปสิงห์รับพระบัญชร บานพระบัญชร
จำ� หลกั รปู เทพบตุ รเทพธดิ าคกู่ นั ทกุ ชอ่ ง บานพระทวารเปน็ รปู นารายณส์ บิ ปางบานละปาง
มีทิมคดล้อมรอบพระมหาปราสาทมีประตูด้านหน่ึง พระมหาปราสาทองค์นี้เป็นที่ทรง
พิพากษาคดแี ละกิจการส�ำคัญส�ำหรบั พระนคร เปน็ ท่ปี ระชมุ ใหญฝ่ า่ ยมหาอำ� มาตย๓์ ๘

๓๖ พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหตั ถเลขา เลม่ ๒, หน้า ๒๔.
๓๗ ประชุมพงศาวดาร เล่มท่ี ๓๗, หนา้ ๕๔.
๓๘ “คำ� ใหก้ ารขนุ หลวงวดั ประดทู่ รงธรรม,” แถลงงานประวตั ศิ าสตร์ เอกสาร โบราณคดี ๓ (๒), หนา้ ๓๑-๓๒.
68

วหิ าพรสรมะทเดีน่ จ็ั่ง

พระท่ีนั่งวิหารสมเด็จ เดิมชื่อพระที่น่ังมังคลาภิเษก ไม่ปรากฏว่าสร้างข้ึนเมื่อใด
แต่มีหลักฐานในพระราชพงศาวดารว่าในแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระเจ้า
เชียงใหม่ขอสวามิภักดิ์ แต่งพระราชสาส์นและเคร่ืองราชบรรณาการมาถวายอีกคร้ัง
พระยาละแวกแต่งเคร่ืองราชบรรณาการมาถวายอีกคร้ังหน่ึง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ใหเ้ ขา้ ถวายพระราชสาสน์ ณ พระท่นี ่ังมงั คลาภิเษก๓๙ พระท่ีนง่ั องค์น้ีใชส้ �ำหรบั พระราช
พิธีบรมราชาภิเษกในแผ่นดินสมเด็จพระเอกาทศรถ และปราบดาภิเษกในแผ่นดิน
สมเด็จพระเจา้ ปราสาททอง

๓๙ พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม ๑, หน้า ๒๘๓ และ ๓๑๘.

69

ศักราช ๑๐๐๕ (พ.ศ. ๒๑๘๖) รัชกาลสมเดจ็ พระเจา้ ปราสาททอง เกดิ อสนุ บี าต
ตอ้ งพระทนี่ งั่ มงั คลาภเิ ษกพงั ลง ทรงพระกรณุ าโปรดเกลา้ ฯ ใหก้ อ่ พระมหาปราสาทขนึ้ ใหม่
ปีหน่ึงแล้วเสร็จให้ชื่อว่าพระที่น่ังวิหารสมเด็จ๔๐ ต่อมาในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
บรมโกศ พระที่น่ังวิหารสมเด็จช�ำรุดคร่�ำคร่าทรงพระกรุณาด�ำรัสสั่งกรมพระราชวัง
บวรสถานมงคลใหร้ อ้ื เครือ่ งบนลงท�ำใหม่ สิบเดือนจึงส�ำเรจ็ ๔๑

พระที่นั่งวหิ ารสมเดจ็ เปน็ ปราสาทจตั ุรมุข มมี ุขหน้าหลงั ยาว มขุ ข้างสน้ั มมี ขุ เดจ็
ท่ดี ้านหนา้ เช่นเดยี วกับพระทน่ี ง่ั สรรเพชญป์ ราสาท ปจั จุบันเหลอื เฉพาะส่วนฐานแอน่ โค้ง
มีบันไดทางข้ึนท้องพระโรงหน้าจ�ำนวน ๒ บันไดต้ังขนาบมุขเด็จ แต่ท้องพระโรงหลังมี
บันไดทางขน้ึ ที่ดา้ นขา้ ง

๔๐ พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม ๒, หน้า ๒๔.
๔๑ เลม่ เดยี วกนั , หน้า ๒๒๓.
70

ปราสาทหลังกลางซ่ึงเป็นประธานมียอดเป็นทรงปรางค์ จ�ำนวน ๕ ยอด คือ
ยอดหน่ึงเป็นยอดประธานและยอดบริวารอยู่ท่ีหลังคามุขท้ังส่ีด้าน นอกจากน้ีค�ำให้การ
ขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรมยังกล่าวต่อไปว่าท่ีหลังคาของมุขโถงหน้าน้ันยังท�ำเป็นยอด
ทรงมณฑป๔๒ แต่จากร่องรอยของส่วนฐานที่เหลืออยู่นั้นไม่ปรากฏส่วนของเสาหรือ
การออกมุมท่สี ่อเคา้ ว่าจะขึน้ ไปรับโครงสรา้ งส่วนบนที่เปน็ ยอดแหลมแต่อย่างใด

หน้าพระที่นั่งหลังนี้ยังมีทิมดาบซ้ายขวา มีก�ำแพงแก้วล้อมรอบ ชาลาพระมหา
ปราสาทปดู ว้ ยหนิ อ่อน มเี สาโคมไฟทำ� ด้วยหินตง้ั อยทู่ ั้ง ๘ ทศิ มีสิงหท์ ำ� มาจากหิน และ
รูปภาพทหารจีนตง้ั เรียงรายอยตู่ ามชาลาพระมหาปราสาท

๔๒ “คำ� ให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม,” แถลงงานประวัติศาสตร์ เอกสาร โบราณคดี ๓ (๒), หนา้ ๖๘.
71

พสรุริยะทาีน่สง่ันอ์ มั รนิ ทร์

พระท่ีนง่ั องคน์ ต้ี ้งั อยู่ทางดา้ นเหนอื สดุ เขตพระราชฐานช้นั กลาง รมิ ก�ำแพงเมือง
ใกลแ้ มน่ ำ้� ลพบรุ บี รเิ วณทต่ี งั้ ของพระทน่ี งั่ องคน์ อ้ี ยใู่ นพน้ื ที่ สว่ นขยายของพระราชวงั หลวง
ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง พระราชพงศาวดารกล่าวว่า ศักราช ๙๙๘
(พ.ศ. ๒๑๗๙) สมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั ใหร้ อ้ื เทวสถานพระอศิ วรและพระนารายณข์ น้ึ มาตงั้ ยงั
ชีกุน ในปีนั้นให้ยกก�ำแพงพระราชวังออกไป ให้สร้างพระมหาปราสาทวิหารสมเด็จ๔๓
การยกกำ� แพงพระราชวงั ออกไปคอื การขยายพนื้ ทพี่ ระราชวงั หลวงออกไปทง้ั ทางดา้ นเหนอื
ดา้ นใต้ และตะวนั ออก ดงั นน้ั การทพี่ ระราชพงศาวดารกลา่ วถงึ ชอื่ พระทนี่ ง่ั ทที่ รงพระกรณุ า
โปรดเกลา้ ฯ ใหส้ ร้างขึ้นใหม่ พรอ้ มกบั การบรรยายเขตพระราชวัง ควรจะตงั้ ในพนื้ ท่ีขยาย
ซง่ึ พระยาโบราณราชธานนิ ทรเ์ คยวนิ จิ ฉยั เรอื่ งนไ้ี วว้ า่ คำ� ทว่ี า่ สรา้ งพระทน่ี งั่ วหิ ารสมเดจ็ นน้ั
เปน็ คำ� เรยี กกอ่ นมชี อื่ พระวหิ ารสมเดจ็ องคท์ ยี่ งั เหน็ ฐานอยทู่ กุ วนั น้ี เพราะพระวหิ ารสมเดจ็
นี้ในพระราชพงศาวดารกล่าวความชัดเจนว่า เม่ือศักราช ๑๐๐๕ อสุนีบาตตกลงเป็น

๔๓ พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหตั ถเลขา เล่ม ๒, หนา้ ๑๖.

72

เพลงิ ไหมพ้ ระทน่ี ง่ั มงั คลาภเิ ษก ทชี่ อื่ ปราสาททองทรงโปรดใหช้ า่ งจดั การใหม่ ปหี นงึ่ สำ� เรจ็
ใหช้ อ่ื พระวหิ ารสมเดจ็ และพระทนี่ งั่ วหิ ารสมเดจ็ กต็ งั้ อยใู่ นกำ� แพงชนั้ ใน เปน็ แตท่ ำ� ใหใ้ หม่
หาตอ้ งถงึ ขยายก�ำแพงวังไม่ ดงั นัน้ พระที่นั่งองค์ทส่ี ร้างขน้ึ ในคราวนนี้ า่ จะได้แกพ่ ระท่ีนัง่
สุริยาสน์อัมรินทร์๔๔ จึงสอดคล้องกับค�ำให้การชาวกรุงเก่าที่กล่าวว่า สมเด็จพระเจ้า
ปราสาททองให้สรา้ งพระทน่ี ัง่ ขนึ้ ใหมอ่ ีก ๓ องค์ คือ พระทีน่ ัง่ สุริยาสนอ์ มั รนิ ทร์ พระท่ีนัง่
จักรวรรดิไพชยนต์ และพระท่ีน่ังไอสวรรย์ทิพยอาสน์ที่บางปะอิน๔๕ ตอนปลายรัชกาล
ศักราช ๑๐๑๗ (พ.ศ. ๒๑๙๘) สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประชวรหนกั แปลงสถานลงไปอยู่
พระที่น่ังเบญจรัตน์๔๖ สันนิษฐานว่าเมื่อพระที่นั่งสุริยาสน์อัมรินทร์สร้างเสร็จแล้ว
สมเดจ็ พระเจา้ ปราสาททองทรงใชเ้ ปน็ ทปี่ ระทบั ตลอดมา เมอื่ ทรงประชวรจงึ เสดจ็ กลบั มา
ประทับพระท่ีนั่งเบญจรัตน์องค์เดิม เน่ืองจากพระที่นั่งสุริยาสน์อัมรินทร์เป็นพระที่นั่ง
๒ ชนั้ ลำ� บากตอ่ การขน้ึ ลง

รัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชไม่ทรงโปรดประทับพระท่ีนั่งองค์น้ี ทรง
โปรดเกลา้ ฯ ให้สรา้ งพระทนี่ ั่งบรรยงก์รตั นาสนเ์ ปน็ ท่ปี ระทับทีฝ่ ่ายใน เมอื่ พระองค์เสด็จ
สวรรคตทเี่ มอื งลพบรุ ี สมเดจ็ พระเพทราชาโปรดใหอ้ ญั เชญิ พระบรมศพของพระองคล์ งมา
จากเมอื งลพบรุ ี ใหป้ ระดษิ ฐานบำ� เพญ็ พระราชกศุ ลทพี่ ระทนี่ งั่ สรุ ยิ าสนอ์ มั รนิ ทร์ พระทนี่ ง่ั
องคน์ อี้ าจใชเ้ ปน็ ทปี่ ระทบั ทอดพระเนตรซอ้ มกระบวนพยหุ ยาตราทางชลมารคอกี ประการ
หน่ึง

พระทน่ี ง่ั สรุ ยิ าสนอ์ มั รนิ ทรป์ รากฏหลกั ฐานวา่ ใชเ้ ปน็ ทป่ี ระทบั ของพระมหากษตั รยิ ์
ต่อมาอีก ๒ พระองค์ คือ สมเดจ็ พระเจา้ เสอื และสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ ตอ่ มาในแผ่นดิน
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระที่น่ังองค์นี้ช�ำรุดคร�่ำคร่าด�ำรัสให้รื้อลงปรุงเคร่ืองบน
ท�ำใหม่ ๘ เดือนแล้วเสร็จ๔๗ พระที่น่ังสุริยาสน์อัมรินทร์ เป็นพระท่ีนั่งจัตุรมุข มีมุข
หน้าหลังยาวกวา่ มขุ ข้าง เปน็ พระที่น่งั ๒ ชนั้ ยอดมณฑป ๕ ยอด มีมขุ โถงเปน็ พระที่นั่ง
เย็นออกไปข้างทิศเหนือมีบุษบกแว่นฟ้าตั้งในมุขโถงน้ัน๔๘ แต่ค�ำให้การชาวกรุงเก่ากล่าว
ว่าเป็นพระที่น่ังจัตุรมุข ไม่มีมุขเด็จมุขกระสัน ต้ังพระราชบัลลังก์ข้างในตรงกลาง๔๙
พระที่น่ังองค์นี้คงมกี ำ� แพงแกว้ ล้อมรอบอกี ชั้นหน่งึ

๔๔ ประชมุ พงศาวดาร ภาคที่ ๖๓, หนา้ ๔๘.
๔๕ คำ� ให้การชาวกรุงเก่าฯ, หน้า ๑๐๔.
๔๖ พระราชพงศาวดารฉบบั พระราชหตั ถเลขา เล่ม ๒, หน้า ๒๔.
๔๗ เล่มเดียวกัน, หน้า ๒๒๑.
๔๘ “ค�ำใหก้ ารขุนหลวงวดั ประดู่ทรงธรรม”, หนา้ ๒๗.
๔๙ คำ� ให้การชาวกรงุ เก่าฯ, หน้า ๒๑๙.

73

พจรกั ะรทวนี่ ร่ังรดิไพชยนต์

พระท่ีน่ังจักรวรรดิไพชยนต์สร้างขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง เมื่อ
พ.ศ. ๒๑๗๕ เมื่อแรกสร้างขึ้นนั้นพระท่ีน่ังองค์นี้ตั้งอยู่นอกเขตพระราชวัง บนพ้ืนที่ว่าง
ระหว่างพระราชวังกับวัดพระศรีสรรเพชญ์ จนถึง พ.ศ. ๒๑๗๙ จึงขยายเขตพระราชวัง
ล้อมพระที่นั่งจักรวรรดิไพชยนต์ไว้ข้างในพระท่ีน่ังองค์นี้ โดยปรกติใช้เป็นที่ประทับ
ทอดพระเนตรการฝึกทหาร การมหรสพ และการซอ้ มกระบวนพยหุ ยาตราทางสถลมารค
ที่ท้องสนามหน้าจักรวรรดิ พระท่ีน่ังองค์น้ีสมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงใช้ประกอบ
พระราชพิธีลบศักราช เม่ือศักราช ๑๐๐๐ (พ.ศ. ๒๑๘๑) โดยทรงเห็นว่าจุลศักราช
๑๐๐๐ ปขี าล สมั ฤทธศิ ก เปน็ กลยี คุ ใหเ้ ปลย่ี นเปน็ ปกี นุ สมั ฤทธศิ ก ในพระราชพธิ ดี งั กลา่ ว
ทรงเสด็จออกรบั ราชทูตพมา่ ทีพ่ ระทน่ี ั่งจักรวรรดิไพชยนต์เชน่ เดยี วกนั

ในรัชกาลสมเด็จพระศรีสุธรรมราชา เกิดสงครามชิงราชบัลลังก์กับสมเด็จ
พระนารายณ์มหาราช พระราชนัดดาของพระองค์ ซ่ึงด�ำรงต�ำแหน่งกรมพระราชวัง
บวรสถานมงคล ด้วยเหตุพระศรีสุธรรมราชาจะเอาพระขนิษฐาของพระองค์เป็นมเหสี
คร้ังน้ีสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงยกทัพเข้ามาถึงเขตพระราชฐานชั้นนอกตั้ง
กองบญั ชาการทพ่ี ระทน่ี ง่ั จกั รวรรดไิ พชยนต์ ตอ่ มาในรชั กาลสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั บรมโกศ
ทรงโปรดใหต้ ั้งพระบรมศพกรมหลวงโยธาเทพท่พี ระท่นี ง่ั องคน์ ้ี เพอ่ื บำ� เพญ็ พระราชกุศล
ก่อนถวายพระเพลิงพระศพ

พระที่นั่งจักรวรรดิไพชยนต์เป็นปราสาทโถงจัตุรมุข มุขท้ายสั้นกว่าอีก ๓ มุข
หลงั คามุขซอ้ นทงั้ ๔ ดา้ น โดยด้านตะวนั ออกตะวนั ตกนั้นมขุ ซ้อน ๒ ช้ัน แต่ด้านเหนอื
ด้านใตม้ ขุ ซ้อน ๔ ชนั้ ยอดเป็นทรงมณฑปยอดเดยี ว พ้นื ทพี่ ระทนี่ ัง่ เป็น ๓ ระดับ ส�ำหรับ
ข้าทูลละอองธุลีพระบาทเข้าเฝ้าตามล�ำดับช้ันยศ กลางปราสาทต้ังพระแท่นทรงประทับ
ทอดพระเนตรกระบวนแห่การมหรสพ และกระบวนพยุหยาตรา๕๐ ที่มุขข้างทั้ง ๒ ด้าน
และมุขท้ายพระที่นงั่ มเี กยพระราชยาน ส่วนมขุ หน้าคงจะเปน็ อัฒจันทร์ทางขน้ึ

๕๐ “คำ� ให้การขุนหลวงวดั ประดูท่ รงธรรม”, หนา้ ๓๒.
74

บรรยงกร์ พตั รนะทาสี่นน่งั ์

พระราชพงศาวดารกรงุ ศรอี ยธุ ยาหลายฉบบั ใหเ้ นอื้ ความตรงกนั วา่ พระทนี่ ง่ั บรรยงก์
รัตนาสน์สร้างข้ึนในรัชกาลสมเด็จพระเพทราชา ดังความในพระราชพงศาวดารฉบับ
พระราชหตั ถเลขาวา่ “ลศุ กั ราช ๑๐๔๙ ปเี ถาะ นพศก สมเดจ็ บรมบพติ รพระพทุ ธเจา้ อยหู่ วั
มีพระราชดำ� รสั ใหช้ า่ งพนกั งานจดั การสร้างพระมหาปราสาทพระองคห์ นงึ่ ในพระราชวัง
ขา้ งใน ครน้ั เสร็จแลว้ พระราชทานนามบัญญตั ิมหาปราสาทชือ่ พระทีน่ ง่ั บรรยงกร์ ัตนาสน์
เป็นส่ีปราสาทด้วยกันทั้งเก่าสาม คือ พระท่ีน่ังพระวิหารสมเด็จองค์หนึ่ง พระท่ีนั่ง
สรรเพชญ์ปราสาทองค์หนึ่ง พระที่นั่งสุริยาสน์อัมรินทร์องค์หน่ึง แล้วขุดสระเป็นคู่อยู่
ซ้ายขวาของพระท่ีน่ังบรรยงก์รัตนาสน์แล้วให้ก่อสร้างอ่างแก้วและภูเขามีท่ออุทกธารา
ไหลลงในอา่ งแกว้ นน้ั และใหท้ ำ� ระหดั นำ�้ ณ อา่ งแกว้ รมิ นำ�้ ฝงั ทอ่ ใหน้ ำ�้ ไปผดุ ขนึ้ ณ อา่ งแกว้

75

รมิ สระนนั้ และใหท้ �ำพระทนี่ งั่ ทรงปนื ณ ทา้ ยสระเปน็ ทเี่ สดจ็ ออก กลบั เอาทท่ี า้ ยสนมเปน็
ขา้ งหนา้ และใหท้ ำ� ศาลาลกู ขนุ ในซา้ ยขวา และโปรดใหข้ นุ นางเขา้ เฝา้ ทลู ละอองธลุ พี ระบาท
ณ พระทน่ี ่งั ทรงปืน และเข้าทางประตูมหาโภคราช”๕๑

แตม่ จี ดหมายเหตขุ องชาวตา่ งชาตอิ ย่างน้อย ๓ ฉบับ เขยี นถงึ พระท่นี ั่งซง่ึ เปน็ ที่
ประทบั ของสมเดจ็ พระนารายณม์ หาราช ซง่ึ ตง้ั อยใู่ นเขตพระราชฐานชนั้ ในของพระราชวงั
หลวง ซง่ึ ชวนใหค้ ดิ วา่ หมายถงึ พระทน่ี งั่ บรรยงกร์ ตั นาสน์ ซงึ่ มอี ยแู่ ลว้ ตงั้ แตร่ ชั กาลสมเดจ็
พระนารายณ์มหาราช

นโิ กลาส์ แชรแ์ วส ชาวฝรง่ั เศส กลา่ ววา่ “พระทน่ี งั่ องคท์ ป่ี ระทบั ของพระเจา้ แผน่ ดนิ
อยู่ในลานชั้นในสุด เพิ่งสร้างข้ึนใหม่ทองค�ำท่ีประดิษฐ์ประดับไว้ให้รุ่งระยับในท่ีต้ังพัน
แหง่ น้ัน เป็นท่นี า่ สงั เกตได้โดยงา่ ยจากพระท่ีน่งั องค์อืน่ ๆ สร้างเปน็ รปู กากบาท หลังคา
พระทนี่ งั่ ประดบั ฉตั รหลายชน้ั อนั เปน็ เครอื่ งหมายหรอื ตราแผน่ ดนิ กระเบอื้ งใชม้ งุ นนั้ เปน็

๕๑ พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม ๒, หน้า ๑๕๐.
76

ดีบุก งานสถาปัตยกรรมที่ปรากฏอยู่ทุกด้านทุกมุมน้ันงดงามมาก พระท่ีนั่งประทับของ
สมเดจ็ พระราชนิ ี พระธดิ า และพระสนม ซง่ึ ตง้ั อยใู่ กลพ้ ระทนี่ ง่ั ทปี่ ระทบั ของพระเจา้ เแผน่ ดนิ
ดูจากด้านนอกแล้วก็เห็นว่างดงามดี หันหน้าเข้าสู่อุทยานท�ำนองเดียวกัน ทางเดินน้ันมี
ลำ� คตู ดั ผา่ นเปน็ ตาหมากรกุ เสยี งนำ้� ไหลรนิ เชอ้ื เชญิ บคุ คลทน่ี อนอยบู่ นสนามหญา้ เขยี วขจี
ที่ของคันคูนั้นให้เคล้ิมหลับเป็นท่ียิ่งนัก”๕๒ จดหมายเหตุบาทหลวงเดอ ชัวซีย์ อุปทูต
ในคณะราชทตู ของ เดอ โชมองต์ บรรยายเหตกุ ารณว์ นั ทส่ี มเดจ็ พระนารายณม์ หาราชทรงมี
พระบรมราชานญุ าตใหค้ ณะราชทตู ฝรงั่ เศสเขา้ เฝา้ เปน็ กรณพี เิ ศษ ณ พระราชวงั กรงุ ศรอี ยธุ ยา
ภายหลงั จากทไ่ี ดเ้ ขา้ ถวายพระราชสาส์นแล้วประมาณ ๘ วนั ว่า

“เขาได้น�ำเราเข้าไปในที่รโหฐานแห่งหนึ่งในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งไม่เคยมี
ชาวตา่ งประเทศคนใดไดเ้ ขา้ ไปมาแตก่ อ่ นเลย เปน็ อทุ ยานทน่ี า่ รนื่ รมย์ ตดั คน่ั ดว้ ยลำ� คแู ละ
ทางเดินอันงดงาม พวกขุนนางมีตระกูลอยู่กันในร่มหลังคา ส่วนพวกเราพากันข้ึนไปบน
ลานเฉลียง ท่านราชทูตน่ังลงบนเก้าอี้ ท่านมุขนายกมิสซังกับข้าพเจ้านั่งลงบนพรม

๕๒ นโิ กลาส์ แชรแ์ วส, ประวัติศาสตรธ์ รรมชาตแิ ละการเมืองแห่งราชอาณาจักรสยาม, หนา้ ๓๙.
77

เบอ้ื งขวาและซา้ ยของทา่ น ม.กอ็ งสตองซน์ นั้ ลงหมอบอยทู่ ำ� หนา้ ทเี่ ปน็ ลา่ ม เมอ่ื เราเขา้ ไปนนั้
ได้ถวายค�ำนับเช่นการเข้าเฝ้าในคร้ังแรก และสมเด็จพระเจ้ากรุงสยามประทับอยู่บน
พระเกา้ อที้ เี่ กยเลก็ ๆ แหง่ หนง่ึ ...หลงั จากอาหารมอ้ื กลางวนั แลว้ เราพากนั ไปดปู ลาในลำ� คู
หัวของปลาน้ันมีรูปร่างเหมือนของหญิงท่ีหน้าตาอัปลักษณ์..”๕๓ นอกจากนี้บาทหลวง
ตาชาร์ด ยังบันทึกเหตุการณ์เข้าเฝ้าในวันเดียวกัน มีเนื้อความสอดคล้องกับบาทหลวง
เดอ ชวั ซยี ์ว่า “ฉะนนั้ อกี แปดหรือสิบวนั ตอ่ มาจากการเขา้ เฝ้าครั้งแรก ทา่ นราชทตู จงึ ได้
เขา้ เฝา้ อกี ครงั้ หนง่ึ ครง้ั นน้ั เปน็ การเฝา้ ในทรี่ โหฐาน พวกขนุ นางผมู้ ตี ระกลู ไดร้ ว่ มเขา้ เฝา้ ดว้ ย
ท่านราชทตู นำ� แต่ท่านมขุ นายกมิสซงั เดอ เมเทลโลโปลสิ เจ้าอธกิ ารโบสถ์ เดอ ลอิ อนน์
เทา่ นนั้ เขา้ ไปส่วนคนอ่นื ๆ นั้นคอยอย่ทู ่พี ระราชฐานชัน้ นอกภายใต้ร่มไมร้ มิ คลอง”๕๔

ข้อมูลจากเอกสารทัง้ ๓ ฉบบั แสดงภาพใหเ้ ห็นชัดเจนวา่ เขตพระราชฐานชั้นใน
เวลานั้นมีพระท่ีนั่งเป็นท่ีประทับของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ลักษณะเป็นพระท่ีนั่ง
จตั รุ มขุ หลงั คาเปน็ เครอื่ งยอดซอ้ นกนั หลายชนั้ มงุ กระเบอื้ งดบี กุ ตกแตง่ อยา่ งวจิ ติ รงดงาม
บรรยากาศรอบ ๆ พระท่นี งั่ อทุ ยานทร่ี ม่ รืน่ มคี คู ลองตดั ผ่านบริเวณนัน้ เป็นทเี่ ลย้ี งปลา ซึ่ง
ภาพดงั กลา่ วภายในพระราชวงั หลวงมเี พยี งพระทน่ี ง่ั บรรยงกร์ ตั นาสนเ์ ทา่ นนั้ ทม่ี บี รรยากาศ
นา่ ร่ืนรมยอ์ ยา่ งน้ี

๕๓ เดอ ชัวซีย์, จดหมายเหตรุ ายวันการเดินทางไปส่ปู ระเทศสยาม, หนา้ ๓๙๖ - ๓๙๗
๕๔ ตาชาร์ด, จดหมายเหตกุ ารเดนิ ทางสูป่ ระเทศสยามของบาทหลวงตาชารด์ , หนา้ ๕๘.
78

อีกประการหน่ึง ต�ำหนักของสมเด็จพระราชินีและพระธิดาที่กล่าวถึงในเอกสาร
ของแชร์แวสนั้นที่ทราบแน่นอนว่า คือต�ำหนักคูหาสวรรค์หรือต�ำหนักตึก ซึ่งตั้งอยู่ทาง
ตอนใตน้ อกครู อบพระทนี่ ง่ั บรรยงกร์ ตั นาสนน์ นั่ เอง นอกจากนห้ี ลกั ฐานการกอ่ สรา้ งระบบ
การประปา ภเู ขาจำ� ลอง และนำ�้ พบุ นพระทน่ี ง่ั บรรยงกร์ ตั นาสนน์ นั้ เปน็ วทิ ยาการสมยั ใหม่
ทเ่ี กดิ ขน้ึ ในพระนครศรอี ยธุ ยาครง้ั แรกในรชั กาลสมเดจ็ พระนารายณม์ หาราช โดยพระองค์
ทรงช่ืนชอบสิง่ เหลา่ นมี้ าก ดังจะพบว่าทรงโปรดให้มกี ารก่อสร้างระบบการประปา ภเู ขา
จ�ำลอง และนำ้� พุลักษณะเดยี วกับท่พี ระราชวงั เมอื งลพบรุ อี ีกแห่งหนึง่ ด้วย

ดังน้ัน พระท่ีน่ังบรรยงก์รัตนาสน์ในพระราชวังหลวงจึงก่อสร้างมาแล้วต้ังแต่
รชั กาลสมเดจ็ พระนารายณม์ หาราชตอนปลายเพอ่ื เปน็ ทป่ี ระทบั ตอ่ มาสมเดจ็ พระเพทราชา
ขนึ้ ครองราชสมบตั กิ ท็ รงโปรดพระทนี่ ง่ั องคเ์ ดยี วกนั คงจะโปรดใหก้ อ่ สรา้ งอยา่ งใดอยา่ งหนง่ึ
จนต่อมาพระราชพงศาวดารซ่ึงเขียนข้ึนในคร้ังหลังจ�ำเหตุการณ์ครั้งน้ันผิดพลาดไป จึง
เขยี นลงในพระราชพงศาวดารวา่ สมเดจ็ พระเพทราชาทรงสรา้ งพระทน่ี งั่ องคน์ เี้ ลยทเี ดยี ว

ในรัชกาลต่อมาเมื่อสมเด็จพระเจ้าเสือขึ้นครองราชสมบัติทรงประทับท่ีพระที่น่ัง
บรรยงก์รัตนาสน์เป็นท่ีประดิษฐานของพระบรมศพสมเด็จพระเพทราชาก่อนพระราชพิธี
ถวายพระเพลิง จนถึงรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระจึงกลับมาประทับท่ีพระท่ีนั่งองค์นี้
อกี คร้งั หนงึ่

เมอ่ื สมเดจ็ พระเจา้ บรมโกศขนึ้ ครองราชสมบตั ปิ รากฏวา่ ในระยะแรกทรงประทบั
ที่พระราชวังบวรสถานมงคลด้วย คงจะยังไม่วางใจเสี้ยนหนามข้างพระราชวังหลวงคราว
สงครามกลางเมืองชิงราชสมบัติกับเจ้าฟ้าอภัย และสภาพของพระราชวังหลวงเวลานั้น
ช�ำรุดทรุดโทรมลงอย่างมากด้วย ปรากฏหลังจากนั้นว่าโปรดให้ซ่อมแซมพระที่น่ังต่าง ๆ
แทบทุกองค์ ส่วนพระที่นง่ั บรรยงก์รตั นาสน์น้ันทรงเห็นว่าคร�่ำครา่ ช�ำรดุ มากนกั จึงโปรด
ให้ร้ือลงปรุงเคร่ืองบนท�ำใหม่ท้ังหมด หกเดือนจึงส�ำเร็จ แต่ยังไม่ทรงเสด็จมาประทับใน
พระราชวงั หลวงในระยะนั้น จนถงึ พ.ศ. ๒๒๘๗ เกดิ เพลงิ ไหมพ้ ระราชวงั บวรสถานมงคล
จงึ เสด็จพระราชดำ� เนินเข้ามาอยู่ ณ พระราชวงั หลวงเสดจ็ ข้นึ สถติ ณ พระที่นั่งบรรยงก์
รัตนาสนท์ ้ายสระ๕๕ จนเสดจ็ สวรรคต เมอ่ื พ.ศ. ๒๓๐๑ หลังจากนัน้ พระมหากษตั รยิ ์อีก
๒ พระองค์ ทค่ี รองราชสมบัตสิ ืบต่อมากไ็ มป่ รากฏหลกั ฐานวา่ เสดจ็ มาประทบั ท่ีพระทน่ี ่ัง
บรรยงก์รัตนาสนอ์ กี เลย

๕๕ พระราชพงศาวดารฉบบั พระราชหัตถเลขา เลม่ ๒, หน้า ๒๒๑.

79

พระท่ีนั่งบรรยงก์รัตนาสน์ ต้ังอยู่ในเขตพระราชฐานชั้นในติดก�ำแพงพระราชวัง
ด้านตะวันตก ตัวพระท่ีนั่งสร้างข้ึนบนเกาะกลางสระ หรือลักษณะมีคูน้�ำล้อมรอบ น้�ำใช้
ในท้องสระชักเข้ามาจากคลองท่อทางประตูอุดมคงคา น้�ำที่ใช้แล้วจะไหลคืนกลับไปยัง
คลองทอ่ อกี ครง้ั หนงึ่ ทางประตชู ลชาตทิ วารสาคร ดงั นน้ั นำ้� ในทอ้ งสระรอบพระทนี่ งั่ มรี ะบบ
ไหลหมุนเวียนที่ดี ทำ� ใหใ้ สสะอาดอยู่ตลอดเวลา

พระทน่ี งั่ ตงั้ อยบู่ รเิ วณกง่ึ กลางเกาะลกั ษณะเปน็ พระมหาปราสาทจตั รุ มขุ กอ่ ดว้ ยอฐิ
สลบั ศลิ าแลง ตงั้ หนั หนา้ ไปทางทศิ ตะวนั ออก มบี นั ไดทางขน้ึ ลงทม่ี ขุ หนา้ ๓ บนั ได มบี นั ได
ทางขึ้นลงมุขหลัง ๒ บันได พื้นบนพระที่นั่งเป็นพื้นอิฐปูทับด้วยไม้ เน่ืองจากพบแนวอิฐ
ก่อเป็นเอน็ และเปน็ บ่าสำ� หรบั รองรับพนื้

สภาพปัจจุบันของพระที่น่ังเหลือเฉพาะส่วนฐานและผนัง ส่วนเคร่ืองยอดพังลง
ทงั้ หมด แตพ่ บหลกั ฐานในคำ� ใหก้ ารขนุ หลวงวดั ประดทู่ รงธรรมวา่ เครอื่ งบนเปน็ ยอดมณฑป
ยอดเดยี ว มมี ขุ โถงยาวออกมาจากมขุ ใหญท่ งั้ ๔ ดา้ น๕๖ และคำ� ใหก้ ารชาวกรงุ เกา่ ใหข้ อ้ มลู
ตา่ งออกไปวา่ มีขนาดข่อื เพยี ง ๓ วา สงู ๒๐ วา เครือ่ งยอด ๙ ช้ัน มพี รหมพักตร์ มีฉัตร
และหลังคามุงด้วยกระเบื้องดีบุก แต่ไม่มีราชบัลลังก์ในปราสาทองค์นี้๕๗ เหตุที่ไม่มี
พระราชบลั ลังกบ์ นพระทีน่ ั่งองค์นี้ เนอื่ งจากเป็นท่ปี ระทบั นัน่ เอง

นอกจากน้ี ยังมีก�ำแพงแก้วเตี้ย ๆ ล้อมรอบพระที่น่ังอีกชั้นหนึ่ง พื้นที่ระหว่าง
ก�ำแพงแก้วกับตัวพระท่ีนั่งเป็นพื้นอิฐปูทับด้วยแผ่นหินชนวนหรือกระเบื้องดินเผา
ในกำ� แพงแกว้ ดา้ นตะวนั ตกเฉยี งใต้ มีห้องนำ้� ๑ ห้อง และถงั น้ำ� ๑ ถัง

ห้องน้�ำตั้งอยู่ตรงกับบันไดทางข้ึนลงพระท่ีน่ังที่มุขหลังข้างใต้ ลักษณะเป็นห้อง
ส่เี หลีย่ มผนื ผ้า ขนาด ๔ x ๕ เมตร ผนงั ก่ออฐิ หนา ๐.๘๐ เมตร ส่วนลา่ งของผนงั บดุ ว้ ย
แผ่นหินแกรนิต โดยรอบพื้นห้องปูด้วยแผ่นหินชนวนมีแนวท่อระบายน�้ำออกจากห้องน้�ำ
๒ แนว สู่บ่อซมึ ก่อทงิ้ ลงสระดา้ นใต้ สว่ นของผนงั หอ้ งนำ้� จะเว้นช่องหน้าต่าง หรอื ชอ่ งลง
อยา่ งไรไมท่ ราบ ดว้ ยผนงั พงั ลงทง้ั หมด แตค่ งจะมปี ระตทู างเขา้ ทผ่ี นงั ดา้ นเหนอื ตรงกบั บนั ได
พระทน่ี ง่ั สว่ นบนของหลงั คานนั้ คงจะเปน็ เครอื่ งไมม้ งุ กระเบอื้ งดนิ เผา หอ้ งนำ�้ หลงั นค้ี งเปน็
หอ้ งสรงของพระมหากษตั ริย์ ซ่งึ มมี าแล้วพร้อมกบั การกอ่ สร้างพระท่ีน่งั ในรัชกาลสมเด็จ
พระนารายณม์ หาราช ห้องน้�ำลกั ษณะเดยี วกับทีก่ ล่าวมาแล้ว พบอกี ๑ หอ้ ง ทางด้านใต้
พระท่นี ัง่ นอกกำ� แพงแกว้ แต่มีขนาดเลก็ กว่า

๕๖ “ค�ำให้การขุนหลวงวัดประด่ทู รงธรรม”, หน้า ๓๐.
๕๗ ค�ำใหก้ ารชาวกรุงเก่าฯ, หนา้ ๒๒๐.
80

ถังน้�ำตั้งติดอยู่กับห้องน�้ำทางตะวันตก เป็นรูปส่ีเหลี่ยมขนาด ๓ x ๓ เมตร
ผนงั กอ่ อฐิ หนา ๐.๗๐ เมตร พนื้ ปดู ว้ ยหนิ ชนวนเชน่ เดยี วกบั หอ้ งนำ�้ ทพี่ นื้ มแี นวทอ่ นำ�้ ดนิ เผา
จากถังน้�ำประปามาผุดที่ตรงกลาง ส่วนบนของถังเป็นอย่างไร สูงเท่าไร ไม่มีหลักฐาน
ท่ีพ้ืนนอกถังน้�ำด้านใต้มีแนวท่อระบายน�้ำ ๑ แนว ซ่ึงจะรับน้�ำเสียไปสู่บ่อซึมขนาดใหญ่
บ่อหน่ึงท่ีขอบสระข้างใต้ ก่อนระบายน�้ำลงท้องสระ ถังน�้ำแห่งน้ีคงจะเป็นท่ีขังน้�ำไว้ใช้
และคงจะมีส่วนเกย่ี วข้องกับห้องน้ำ� ดงั กล่าวมาแลว้

นอกกำ� แพงแกว้ ด้านตะวนั ตกทา้ ยพระทน่ี ง่ั เป็นทตี่ ้ังของถงั ประปาและอ่างแก้ว
ถงั นำ�้ ประปามีจ�ำนวน ๓ ถงั แตล่ ะถงั ไมไ่ ดส้ ร้างขึ้นในครั้งเดยี วกนั ถงั น�้ำประปา
ถงั แรก ต้งั อย่บู นกำ� แพงลอ้ มพระท่ีนั่ง ขนาด ๓ x ๘ เมตร กอ่ ฐานลา่ งเปน็ บวั คว�่ำ ความสงู
ของถังประปาเทา่ ท่เี หลอื ๒.๕๐ เมตร ซ่ึงเป็นเพียงสว่ นหนง่ึ ของฐานเท่าน้นั ส่วนบนทีเ่ ปน็
อ่างเก็บน้�ำพังลงทั้งหมด ท่ีผนังมีแนวท่อน�้ำดินเผาฝังอยู่ ๒ แนว แนวหน่ึงเป็นท่อน้�ำข้ึน
เก็บไว้ข้างบน แนวท่อดังกล่าววางจากถังน้�ำประปาสู่ขอบสระด้านตะวันตกเฉียงเหนือ
ของพระท่ีนั่งตรงประตูอุดมคงคาซึ่งเป็นที่ต้ังของระหัดน้�ำ แนวท่ออีกแนวหนึ่งเป็นท่อ
สง่ นำ�้ ไปใชว้ างจากถงั นำ�้ ประปาไปผดุ ทถี่ งั นำ�้ ใกลห้ อ้ งนำ้� ในเขตกำ� แพงแกว้ ดงั ทก่ี ลา่ วมาแลว้
ถงั นำ้� ประปาถงั ที่ ๒ และ ๓ ถกู สรา้ งตอ่ มาภายหลงั เมอ่ื ความตอ้ งการใชน้ ำ�้ มากขน้ึ
โดยถังนำ้� ประปาถงั ท่ี ๒ ขนาด ๓ x ๑๓ เมตร ตง้ั อยูบ่ นก�ำแพงต่อจากถังน้�ำประปาถังแรก
มาทางดา้ นเหนอื ส่วนถงั น้ำ� ประปาถังท่ี ๓ ขนาด ๖ x ๑๒ เมตร มีขนาดใหญ่ทสี่ ดุ ต้ังอยู่
ดา้ นตะวนั ออกของถงั นำ�้ ประปาที่ ๒ หลกั ฐานจากการขดุ ตรวจการวางทอ่ นำ้� ดนิ เผา ทำ� ให้
ทราบวา่ ถงั น้�ำประปาถังแรกและถงั ท่ี ๓ เท่านัน้ ที่ใช้ประโยชน์ในคร้งั หลงั สุด
อา่ งแกว้ ตง้ั อยดู่ า้ นหนา้ ของถงั นำ�้ ประปาถงั แรกลกั ษณะแผนผงั รปู สเี่ หลยี่ มมมุ บน
ขนาด ๙ x ๑๓ เมตร ก่อสรา้ งดว้ ยอฐิ หุม้ ทับด้วยหนิ ปะการังทำ� นองจะทำ� ใหเ้ หมือนภเู ขา
จ�ำลอง ภายในอ่างแก้วก่ออิฐเป็นเกาะเล็กเกาะน้อยจ�ำนวนมาก หุ้มทับด้วยหินปะการัง
เชน่ กัน เปน็ ท่ีเล้ยี งปลา มบี ันไดทางขึ้นไปเดินได้รอบบนขอบอา่ งแกว้ เพ่ือดูปลาในอา่ งนั้น
ในอา่ งแกว้ คงจะมนี �้ำพดุ งั ทก่ี ล่าวไว้ในพงศาวดาร
ดา้ นใตข้ องอา่ งแกว้ มรี อ่ งรอยของอาคารไมห้ ลงั หนง่ึ พน้ื ปกู ระเบอื้ ง คงจะเปน็ อาคารโถง
ทปี่ ระทบั พกั ผอ่ นพระราชอริ ยิ าบถ แตค่ งไมใ่ ชพ่ ระทน่ี ง่ั โปรยขา้ วตอก เพราะปรากฏหลกั ฐาน
ตอ่ มาวา่ พระทนี่ ง่ั โปรยขา้ วตอกเปน็ พระทนี่ ง่ั ปลกู ลงกลางสระ
ด้านหน้าพระที่น่ังนอกก�ำแพงแก้วมีพ้ืนท่ีกว้าง คงเป็นที่ตั้งของอาคารหลายหลัง
พบแนวอฐิ กอ่ จ�ำนวนหนึ่ง แตไ่ ม่สามารถวเิ คราะห์ลกั ษณะทางสถาปัตยกรรมได้

81

ที่ริมขอบสระท้ัง ๔ ด้าน มีก�ำแพงล้อมรอบพระที่น่ังอีกช้ันหนึ่ง บนสันก�ำแพง
มีโคมไฟดินเผาต้ังประดับ ถัดจากแนวก�ำแพงเข้ามามีถนนปูอิฐเดินได้รอบแนวก�ำแพง
ดา้ นตะวนั ออก และดา้ นเหนอื มรี อ่ งรอยของอาคารวางตวั ยาวแนบกบั แนวกำ� แพงนน้ั คงจะ
เป็นทิมดาบส�ำหรับต�ำรวจและมหาดเล็กอยู่รักษาพระท่ีน่ังตามแนวก�ำแพงรอบพระที่น่ัง
มปี ระตทู ง้ั ๔ ดา้ น ประตดู า้ นตะวนั ตก ออกตรงประตมู หาโภคราชทา้ ยวงั มสี ะพานขา้ มสระ
เสด็จออกว่าราชการแผน่ ดนิ ณ พระที่นั่งทรงปืน ประตทู ัง้ สองน้ีมีถนนอฐิ เช่ือมตอ่ ถงึ กนั
กบั มปี ระตอู อกทก่ี ลางดา้ นของกำ� แพงดา้ นตะวนั ออกอกี ๑ ประตู เปน็ ประตอู อกพระทน่ี ง่ั
กลางสระเชน่ กนั

พระที่น่ังที่ปลูกลงกลางสระนั้นมีหลักฐานปรากฏในค�ำให้การขุนหลวงวัดประดู่
ทรงธรรมว่า ที่กลางสระด้านเหนือเป็นพระที่นั่งส�ำหรับมีเทศน์มหาชาติ เป็นพระที่นั่ง
ห้าห้อง ระเบียงชานเฉลียงมีลูกกรงลูกมะหวด มีสะพานทอดข้ามจากพระมหาปราสาท
ถงึ พระทน่ี งั่ องคน์ ี้ ทก่ี ลางสระดา้ นใตม้ พี ระทน่ี งั่ โปรยขา้ วตอก เปน็ ทปี่ ระทบั ทอดพระเนตร
และพระราชทานอาหารปลาหนา้ คนปลากระโห้ปลาตะเพยี นทองและปลาตา่ งๆในทอ้ งสระ
พระท่ีน่ังโปรยข้าวตอกเป็นพระที่นั่งโถงไม่มีฝา มีแต่ลูกกรงลูกมะหวดรอบพระเฉลียง
เสาพระท่ีน่ังลงรักปิดทองลายพุ่มข้าวบิณฑ์ มีสะพานทอดข้ามจากพระมหาปราสาทถึง
พระทนี่ งั่ องคน์ ้ี ทกี่ ลางสระดา้ นตะวนั ออกมพี ระทนี่ ง่ั สำ� หรบั ทอดพระเนตรดาว สรุ ยิ ปุ ราคา
และจันทรปุ ราคา มีสะพานข้ามเช่นเดียวกนั ๕๘

๕๘ “ค�ำให้การขนุ หลวงวดั ประดู่ทรงธรรม”, หน้า ๓๐ - ๓๑.
82

บรรณานกุ รม
ชำ� ระประวัติศาสตร์ไทย, คณะกรรมการ. “ค�ำให้การขนุ หลวงวดั ประดทู่ รงธรรม.” แถลง
งานประวัติศาสตร์ เอกสาร โบราณคดี. พระนคร : โรงพิมพ์ส�ำนักท�ำเนียบ
นายกรฐั มนตรี, ๒๕๑๒.
ดำ� รงราชานภุ าพ, สมเดจ็ ฯ กรมพระยา. เรอื่ งประดษิ ฐานสยามวงศใ์ นลงั กาทวปี . (หนงั สอื
อนสุ รณใ์ นงานพระเมรพุ ระศพ สมเดจ็ พระสงั ฆราชเจา้ กรมหลวงวชริ ญาณวงศ)์ .
พระนคร : โรงพมิ พ์การศาสนา, ๒๕๐๓.
เดอ ชวั ซยี .์ สนั ต์ ท. โกมลบตุ ร แปล. จดหมายเหตรุ ายวนั การเดนิ ทางไปสปู่ ระเทศสยาม.
กรงุ เทพฯ : โรงพมิ พ์เจริญธรรม, ๒๕๑๖.
ตาชาร์ด. สันต์ ท. โกมลบุตร แปล. จดหมายเหตุการเดินทางสู่ประเทศสยามของ
บาทหลวงตาชารด์ . กรุงเทพฯ : โรงพมิ พ์เจรญิ ธรรม, ๒๕๑๙.
นิโกลาส์ แชร์แวส. สันต์ ท. โกมลบุตร แปล. ประวัติศาสตร์ธรรมชาติและการเมือง
แห่งราชอาณาจักรสยาม. พระนคร : ส�ำนกั พิมพ์กา้ วหนา้ , ๒๕๐๖.
ประมวลกฎหมายรชั กาลที่๑จลุ ศกั ราช๑๑๖๖พมิ พต์ ามฉะบบั หลวงตรา๓ ดวง.กรงุ เทพฯ:
มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร,์ ๒๕๒๙.
ศลิ ปากร, กรม. คำ� ใหก้ ารชาวกรงุ เกา่ คำ� ใหก้ ารขนุ หลวงหาวดั และพระราชพงศาวดาร
กรงุ เกา่ ฉบบั หลวงประเสรฐิ อกั ษรนติ .ิ์ พระนคร : สำ� นกั พมิ พค์ ลงั วทิ ยา, ๒๕๐๗.
ประชุมพงศาวดาร เล่ม ๓๗. พระนคร : ครุ สุ ภา, ๒๕๑๒.
พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เลม่ ๑. พระนคร : โรงพิมพอ์ กั ษรสมั พนั ธ,์
๒๕๐๕.
พระราชพงศาวดารฉบบั พระราชหตั ถเลขา เล่ม ๒. พระนคร : โรงพิมพอ์ กั ษรสัมพันธ์,
๒๕๐๕.

83

84

วิหารพระมงคลบพติ ร
วั และ

ดชเี ชียง

เม่ือสร้างกรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นราชธานีของสยามประเทศ
ใน พ.ศ. ๑๘๙๓ พื้นที่ภายในขอบเขตที่มีก�ำแพงเมืองล้อมรอบ
ถูกก�ำหนดให้ใช้ประโยชน์ตามความเหมาะสมแตกต่างกันไปตาม
พระราชประสงค์และพระราชานุญาตของพระมหากษัตริย์ที่
ครองราชย์สืบต่อมาทุกพระองค์ โดยค�ำแนะน�ำของมหาราชครูผู้มี
ความรู้ด้านการผังเมืองเป็นอย่างดี ลักษณะทางกายภาพของเมือง
พระนครศรีอยุธยาซ่ึงเป็นที่รู้จักในวงการศึกษาประวัติศาสตร์และ
โบราณคดี ในปัจจุบันคงจะไม่ใช่เป็นส่ิงก่อสร้างที่กระท�ำแล้วเสร็จ
ในเวลาอนั รวดเรว็ หรอื แมแ้ ตใ่ นรชั กาลของสมเดจ็ พระเจา้ อทู่ องเพยี ง
รัชกาลเดียว เน่ืองด้วยเป็นเวลาที่มีพระราชภารกิจหลักในการรวม
พระราชอาณาจักรให้เป็นปึกแผ่น ดังนั้นพระมหากษัตริย์ท่ีครอง
ราชสมบัติสืบต่อมาทุกพระองค์คงจะมีส่วนร่วมกันก่อสร้าง
เปล่ียนแปลงกายภาพของตัวพระนครสืบต่อมาตามปัจจัยและ
ความจ�ำเป็นเฉพาะหน้า ซึ่งเกี่ยวข้องกับสภาวะทางการเมืองและ
เศรษฐกิจของบา้ นเมอื งแต่ละยคุ

85

พระราชพงศาวดารระบุถึงการขุดคูข่ือหน้าเป็นพระนครด้านทิศตะวันออก
ในการสร้างเมืองพระนครศรีอยุธยาในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง ท�ำให้สภาพพื้นท่ีเดิม
ซงึ่ ธรรมชาตสิ รา้ งไว้เป็นเกาะขนาดใหญม่ ีขนาดเลก็ ลง เกาะเลก็ ดังกลา่ วคือพ้ืนท่ีท่สี มเดจ็
พระเจ้าอู่ทองทรงเลือกเป็นที่ต้ังของตัวพระนคร โปรดให้สร้างก�ำแพงเมืองล้อมรอบ
ในขณะเดยี วกันแนวคลองตา่ ง ๆ ที่ปรากฏว่าขดุ ผา่ นตัวเกาะเมืองเปน็ แนวตรงจากเหนือ
ไปใต้ และตะวนั ออกไปตะวนั ตกหลายสายคงจะเรม่ิ ในรชั กาลของพระองค์ เพอื่ นำ� นำ�้ จาก
แมน่ ำ�้ ซง่ึ เปน็ คเู มอื งโดยรอบเขา้ มาใชภ้ ายในพระนคร เปน็ เสน้ ทางสญั จรและทางระบายนำ�้
ใหพ้ น้ จากตวั เมอื งอยา่ งรวดเรว็ ในฤดนู ำ�้ หลาก นอกจากน้ี ดนิ ทไ่ี ดจ้ ากการขดุ คลองทกุ สาย
ถกู นำ� มาถมสองฝง่ั คลอง ทำ� เปน็ ถนนดนิ และถนนอฐิ เปน็ เสน้ ทางสญั จรทางบกควบคไู่ ปกบั
ล�ำคลองทุกสาย แนวคลองและแนวถนนท่ีพาดผ่านเกาะเมืองแบ่งพื้นท่ีภายในออกเป็น
พ้ืนท่ีสี่เหลี่ยมจ�ำนวนมาก ซ่ึงพื้นที่เหล่าน้ีถูกก�ำหนดการใช้ประโยชน์เป็นเขตวัง เขตวัด
เขตราชการ และที่อยู่อาศัยสืบตอ่ มา

ถนนสำ� คญั สายหลักของเมือง ๒ สาย คอื ถนนปา่ ตองหรอื ถนนมหารถั ยาทวี่ างตวั
ขนานกับคลองฉะไกรน้อยท่ีขดุ ผา่ กลางเกาะเมอื งในแนวเหนือ - ใต้ ตัดผา่ นถนนป่าโทนที่
วางตวั ในแนวตะวนั ออก - ตะวนั ตกตรงบริเวณที่เรียกวา่ ตะแลงแกง ณ จุดน้ถี ือวา่ เปน็
จุดก่งึ กลางใจเมอื งเปน็ ทตี่ ง้ั ของสถานท่ีศักดิ์สิทธิ์ประจำ� เมอื ง คือ หอกลอง ศาลพระกาฬ
และศาลหลักเมืองแต่โบราณก็คงจะต้ังอยู่บริเวณนี้ ดังท่ีปรากฏในกฎมณเฑียรบาล
นอกจากนี้ ในกฎมณเฑยี รบาลยังถอื เอาตะแลงแกงเป็นจุดกงึ่ กลางแบ่งพนื้ ทกี่ ารปกครอง
ภายในพระนครออกเปน็ ๔ แขวง คอื พนื้ ทดี่ า้ นตะวนั ตกเฉยี งเหนอื เรยี กวา่ แขวงขนุ ธรณบี าล
พน้ื ทดี่ า้ นตะวนั ออกเฉยี งเหนอื เรยี กวา่ แขวงขนุ โลกบาล พน้ื ทด่ี า้ นตะวนั ออกเฉยี งใตเ้ รยี กวา่
แขวงขุนทราบาล ซึ่งน่าจะมีการจัดแบ่งแขวงการปกครองตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระ
บรมไตรโลกนาถ เปน็ ตน้ มา

พนื้ ทสี่ ว่ นหนงึ่ ในแขวงขนุ ธรณบี าล คอื พน้ื ทจ่ี ากถนนปา่ โทนไปทางดา้ นเหนอื จรด
กำ� แพงเมอื ง และจากถนนมหารถั ยาไปทางตะวนั ตกจรดคลองทอ่ เปน็ พน้ื ทที่ ม่ี คี วามสำ� คญั
สงู สดุ แหง่ หนง่ึ นบั ตงั้ แตเ่ รมิ่ สถาปนากรงุ ศรอี ยธุ ยาเมอ่ื พ.ศ. ๑๘๙๓ โดยพระราชพงศาวดาร
กล่าวถึงการก่อสร้างพระราชวังท่ีประทับของพระเจ้าแผ่นดินในบริเวณซึ่งเป็นวัด
พระศรีสรรเพชญ์ในปัจจุบัน ต่อมาแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงยกพื้นที่
พระราชวังเดิมให้เป็นเขตพุทธาวาส ย้ายพระราชวังไปสร้างใหม่ทางด้านเหนือของ
พระราชวังเดิม ซ่ึงต่อมาเม่ือมีการขยายขอบเขตพระราชวังออกไปให้กว้างขวางย่ิงขึ้น
โดยเฉพาะอย่างย่ิงในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ท�ำให้เขตของพระราชวังและ

86

วัดพระศรีสรรเพชญ์ซึ่งเป็นวัดในพระราชวังหลวงครอบคลุมพ้ืนกว้างขวางจนถึงก�ำแพง
พระนครด้านเหนอื ส่วนพืน้ ทรี่ ิมฝง่ั ถนนป่าโทนดา้ นเหนอื ใกลต้ ะแลงแกงมีสภาพเปน็ ท่ีล่มุ
มกี ารขดุ ลอกคนู ำ้� ถมเปน็ เกาะขนาดเลก็ หลายเกาะเปน็ พนื้ ทขี่ องคกุ นครบาล สรา้ งวดั เกษขน้ึ
เกาะหน่ึงตรงหอกลองใกล้ตะแลงแกง เป็นวัดประจ�ำคุกนครบาลโดยมีคลองนครบาล
ขดุ เชอ่ื มกบั คลองทอ่ สายหนึ่ง

ในสมัยอยุธยาตอนต้น พื้นท่ีระหว่างคุกนครบาลกับพระราชวังหลวงเป็นที่ว่าง
เรยี กวา่ “ทอ้ งสนามหลวง” สถานทป่ี ระกอบพระราชพธิ พี ระบรมศพของพระมหากษตั รยิ ์
และพระบรมวงศานวุ งศ์ นับตั้งแตพ่ ระบรมศพของสมเดจ็ พระเจา้ อทู่ องเป็นปฐม บริเวณ
ท่ีท�ำการพระบรมศพของสมเด็จพระเจ้าอู่ทองคือ บริเวณที่เป็นที่ต้ังของวัดพระราม
ในปจั จบุ นั พระราชพงศาวดารฉบบั พนั จนั ทนมุ าศ(เจมิ )ใหเ้ นอ้ื ความตรงกบั พระราชพงศาวดาร
ฉบบั พระราชหตั ถเลขา สรปุ ไดว้ า่ เมอ่ื สมเดจ็ พระบรมไตรโลกนาถเสดจ็ ขนึ้ เสวยราชสมบตั ิ
พระนครศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ. ๑๙๙๑๑ ทรงโปรดให้สถาปนามหาธาตุ และพระวิหาร
เป็นอารามให้นามช่ือวัดพระรามตรงบริเวณท่ีถวายพระเพลิงสมเด็จพระรามาธิบดีท่ี ๑
ที่พระองค์สร้างกรุงน้ัน๒ แต่พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์กล่าวว่า
ศกั ราช ๗๓๑ ระกาศก (พ.ศ. ๑๙๑๒) แรกสรา้ งวดั พระราม ครง้ั นนั้ สมเดจ็ พระรามาธบิ ดเี จา้
เสด็จนฤพานจึงพระราชกุมารท่านสมเด็จพระราเมศวรเจ้าเสวยราชสมบัติ คร้ันถึง
ศักราช ๗๓๒ (พ.ศ. ๑๙๑๓) สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้าเสด็จมาแต่เมืองสุพรรณบุรี
ข้ึนเสวยราชสมบัติพระนครศรีอยุธยา๓ แม้ว่าข้อความในพระราชพงศาวดารท่ีกล่าวถึง
การก่อสร้างวัดพระรามดังที่กล่าวมาจะให้ข้อมูลที่แตกต่างกัน แต่อาจสันนิษฐานได้ว่า
เม่ือสมเด็จพระเจ้าอู่ทองเสด็จสวรรคต สมเด็จพระราเมศวร พระราชโอรสได้เสด็จข้ึน
ครองราชสมบัติทรงโปรดใหท้ �ำการพระบรมศพพระราชบิดาบริเวณท้องสนามหลวง แล้ว
ทรงโปรดใหส้ รา้ งวดั พระรามเพอ่ื อทุ ศิ พระราชกศุ ลถวายพระราชบดิ าตรงทถ่ี วายพระเพลงิ
พระบรมศพนั้น แต่ในเวลาดังกล่าว สมเด็จพระราเมศวรทรงครองราชสมบัติอยู่เพียง
ปีเดียว การก่อสร้างวัดพระรามยังคงไม่แล้วเสร็จ ซึ่งสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒

๑ ศักราชการขนึ้ ครองราชย์ของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถตามพระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐ
อกั ษรนิติ์
๒ กรมศลิ ปากร, พระราชพงศาวดารฉบบั พระราชหตั ถเลขา เลม่ ๑ (กรงุ เทพฯ : สำ� นกั พมิ พค์ ลงั วทิ ยา, ๒๕๑๖),
หน้า ๑๒๑.
๓ กรมศลิ ปากร, คำ� ใหก้ ารชาวกรงุ เกา่ คำ� ใหก้ ารขนุ หลวงหาวดั พระราชพงศาวดารกรงุ เกา่ ฉบบั หลวงประเสรฐิ
อกั ษรนิติ์ (พระนคร : โรงพมิ พร์ ุ่งเรืองธรรม, ๒๕๐๗), หนา้ ๔๔๓ – ๔๔๔.

87

คงจะรับเป็นพระราชธุระหรือมีพระราชานุญาตให้ก่อสร้างต่อจนแล้วเสร็จ ซึ่งหาก
การก่อสร้างวัดพระรามยังคั่งค้างต่อมาจนส้ินรัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒
เมื่อสมเด็จพระราเมศวรเสด็จข้ึนครองราชสมบัติพระนครศรีอยุธยาเป็นคร้ังที่ ๒
อกี ๑๙ ปตี อ่ มา ก็คงจะทรงโปรดบัญชาการให้กอ่ สรา้ งจนสำ� เร็จ ต่อมาในแผ่นดินสมเดจ็
พระบรมไตรโลกนาถทรงโปรดให้ท�ำการปฏิสังขรณ์วัดพระรามเป็นคร้ังใหญ่ท�ำให้
พระราชพงศาวดารทเ่ี ขยี นขนึ้ ในครง้ั หลงั จดบนั ทกึ วา่ เรม่ิ สรา้ งขน้ึ ครง้ั แรกในรชั กาลนท้ี เี ดยี ว

เหตุที่กล่าวถึงการก่อสร้างวัดพระรามโดยละเอียดก็เพื่อจะแสดงให้เห็นถึง
ความส�ำคัญของพ้ืนที่ระหว่างคุกนครบาลกับพระราชวังหลวงว่าคือท้องสนามหลวง
ซ่ึงใช้ในพระราชพิธีพระบรมศพของพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์เป็นหลัก
นับต้ังแต่พระบรมศพของสมเด็จพระเจ้าอู่ทองเป็นพระองค์แรก ซึ่งเมื่อสร้างวัดพระราม
ลงตรงท่เี คยใชถ้ วายพระเพลงิ พระบรมศพสมเด็จพระเจ้าอ่ทู องแลว้ พระบรมศพต่อ ๆ มา
คงจะใช้สนามใหญ่ส่วนท่ีเหลือทางด้านทิศตะวันตกของวัดพระราม แต่หลักฐานจาก
พระราชพงศาวดารไม่ได้ให้รายละเอียดเก่ียวกับการพระบรมศพต้ังแต่รัชกาลสมเด็จ
พระบรมราชาธริ าชที่ ๒ ถงึ รชั กาลสมเดจ็ พระนารายณม์ หาราชมากนกั จนถงึ รชั กาลสมเดจ็
พระเพทราชาในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาอธิบายชัดเจนว่า อัญเชิญพระบรมศพ
ลงจากพระท่ีน่ังสุริยาสน์อัมรินทร์ออกท้องสนามหน้าจักรวรรดิ ผ่านหน้าพระที่น่ัง
จักรวรรดิไพชยนต์ออกนอกเขตพระราชวังไปยังบริเวณท่ีตั้งพระเมรุมาศ คือบริเวณ
ท้องสนามหลวงอย่างชัดเจน ถึงแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศปรากฏมี
จดหมายเหตุงานพระบรมศพกรมหลวงโยธาเทพไว้อย่างละเอียด ตั้งแต่วันสิ้นพระชนม์
ได้มีการงานอย่างไรบ้าง จัดตั้งพระศพอย่างไร จัดพระเมรุมาศอย่างไร แห่พระศพ
อย่างไร บ�ำเพ็ญพระราชกุศลพระศพอย่างไร พระราชทานเพลิงและแห่พระอัฐิกลับ
อย่างไร ซึ่งแบบแผนงานพระบรมศพของกรมหลวงโยธาเทพคงเป็นแบบอย่างของงาน
พระบรมศพของพระมหากษัตริย์และสมเด็จพระราชินีท่ียึดถือเนื่องมาต้ังแต่แผ่นดิน
สมเด็จพระเจ้าอู่ทอง จะแตกต่างกันก็เพียงต�ำแหน่งที่ต้ังพระบรมศพเท่าน้ันว่าจะใช้
พระที่น่ังองค์ใด ส�ำหรับพระบรมศพกรมหลวงโยธาเทพตั้งบ�ำเพ็ญพระราชกุศลบน
พระทน่ี งั่ จกั รวรรดไิ พชยนต์ เมอื่ ถงึ กำ� หนดวนั พระราชทานเพลงิ จงึ จดั กระบวนแหพ่ ระบรมศพ
จากพระที่นั่งจักรวรรดิไพชยนต์ไปทางใต้ออกประตูนครไชย ซึ่งเป็นประตูพระราชวัง
ช้ันนอกตรงหน้าวัดพระศรีสรรเพชญ์ถึงท่ีต้ังพระเมรุมาศคือ บริเวณท้องสนามหลวงดังที่
กลา่ วมาแล้ว

88

อย่างไรก็ตาม บริเวณท้องสนามหลวงก็มิได้มีสภาพเป็นท้องสนามโล่งเพ่ือ
การพระบรมศพแต่เพียงอย่างเดียว พื้นที่บางส่วนใช้การก่อสร้างพุทธสถานนับต้ังแต่
การก่อสรา้ งวัดพระรามเปน็ แห่งแรกในรชั กาลสมเด็จพระราเมศวร

พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิต์ิกล่าวว่า ศักราช ๙๐๐ จอศก
(พ.ศ. ๒๐๘๑) แรกให้พูนดนิ ณ วดั ชเี ชยี งในเดือน ๖ นั้นแรกสถาปนาพระพทุ ธเจ้าและ
พระเจดยี ๔์ ตำ� แหนง่ ของวดั ชเี ชยี งทแ่ี รกสถาปนาขนึ้ ในรชั กาลสมเดจ็ พระไชยราชาธริ าชนนั้
สามารถตรวจสอบได้จากค�ำอธิบายแผนที่พระนครศรีอยุธยา ซ่ึงเรียกชื่อป้อมปืนประจ�ำ
พระราชวังดา้ นใต้ ทีก่ ำ� แพงวดั พระศรสี รรเพชญ์วา่ “ป้อมปนื กลางตรงวดั ชีเชียง”๕ ดงั นนั้
วัดที่อยู่ตรงกับป้อมน้ีคือ วัดชีเชียง ซึ่งบริเวณดังกล่าวปรากฏซากโบราณสถานอยู่เพียง
แห่งเดียวที่เรียกว่า “วิหารแกลบ” ซึ่งน่าจะเป็นวิหารหลังหน่ึงของวัดชีเชียงท่ีสร้างเม่ือ
พ.ศ. ๒๐๘๑ ในบรเิ วณท้องสนามหลวงท่ีท�ำการพระบรมศพประจ�ำเมือง

โดยปรกติแบบแผนของการก่อสร้างพุทธสถานที่เป็นประเพณีไทยสืบเน่ืองมาแต่
โบราณ จนถงึ สมยั อยธุ ยาจำ� แนกลกั ษณะการกอ่ สรา้ งอยา่ งกวา้ ง ๆ ไดเ้ ปน็ ๒ แบบ แบบแรก
นยิ มสร้างสถูปในรูปของพระปรางค์หรอื พระเจดียเ์ ป็นหลักของวัด มีพระวิหารหลวงสรา้ ง
ตอ่ ออกมาทางด้านหน้า มีเจดยี ์ ปรางค์ และวิหารรายเปน็ สว่ นประกอบ เชน่ วัดมหาธาตุ
วัดราชบูรณะ วัดมเหยงคณ์ เป็นต้น อีกแบบหนึ่งนิยมสร้างพระพุทธรูปเป็นหลักของวัด
มพี ระวิหารหลวงสร้างตอ่ ออกมาทางด้านหนา้ เชน่ วัดศรชี ุม จงั หวดั สุโขทยั วดั พนญั เชงิ
จงั หวดั พระนครศรอี ยธุ ยา เปน็ ตน้ การกอ่ สรา้ งวดั ชเี ชยี งในรชั กาลสมเดจ็ พระไชยราชาธริ าช
คงได้รับแบบแผนการก่อสร้างมาจากวัดพนัญเชิง ซ่ึงมีมาแล้วก่อนการสถาปนา
พระนครศรีอยุธยาถึง ๒๖ ปี โดยการสร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่เป็นหลักของวัดและ
หมายจะให้เป็นพระพุทธรูปส�ำคัญประจ�ำเมืองอีกองค์หน่ึง ซ่ึงคงจะสร้างไว้กลางแจ้ง
นอกจากน้ี ในบริเวณวัดคงสถาปนาพระเจดีย์และวิหารไว้ด้วยอีกจำ� นวนหนึ่ง

ต่อมาในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมปรากฏในพระราชพงศาวดารว่า ในปี
ที่สองที่เสด็จข้ึนเสวยราชสมบัติ ทรงโปรดให้ชักพระมงคลบพิตรอยู่ฝ่ายตะวันออกมาไว้

๔ กรมศิลปากร, ค�ำให้การชาวกรุงเก่า ค�ำให้การขุนหลวงหาวัด และพระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับ
หลวงประเสรฐิ อกั ษรนิติ์ (พระนคร : โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม, ๒๕๐๗), หนา้ ๔๕๔.
๕ กรมศลิ ปากร, อธบิ ายแผนทพี่ ระนครศรอี ยธุ ยา กบั คำ� วนิ จิ ฉยั ของพระยาโบราณราชธานนิ ทร์ เรอ่ื งศลิ ปและ
ภูมสิ ถานอยุธยา กรงุ ศรอี ยธุ ยา (พระนคร : โรงพิมพส์ ามมิตร, ๒๕๑๔. พิมพ์เปน็ อนสุ รณ์ในงานฌาปนกจิ ศพ
นางแดง แขวฒั นะ ณ เมรวุ ดั มกุฏกษัตริยาราม วันท่ี ๒๐ กนั ยายน พุทธศักราช ๒๕๑๔), หนา้ ๑๙.

89

ฝ่ังตะวนั ตก แล้วให้ก่อมณฑปใส่ไวเ้ มื่อ พ.ศ. ๒๑๕๕๖ อีก ๓ ปีต่อมาคือ พ.ศ. ๒๑๕๘ ทรง
พระกรุณาให้พูนดินหน้าพระวิหารแกลบไว้เป็นที่ส�ำหรับถวายพระเพลิง เหตุการณ์
ในพระราชพงศาวดารตอนน้ีให้รายละเอียดที่ค่อนข้างชัดเจน ท�ำให้สันนิษฐานว่า
พระมงคลบพิตรองค์ทท่ี รงโปรดให้ชะลอมาจากดา้ นตะวนั ออกมาทางตะวนั ตกนน้ั คงเป็น
พระพทุ ธรปู องคเ์ ดยี วกบั องคท์ ส่ี มเดจ็ พระไชยราชาธริ าชโปรดใหส้ ถาปนาขน้ึ ในคราวสรา้ ง
วัดชีเชียง เมอ่ื พ.ศ. ๒๐๘๑ และเปน็ พระพุทธรปู ตงั้ อยกู่ ลางแจง้ ไม่มหี ลงั คาคลมุ ซงึ่ เม่อื
ชะลอมาประดิษฐานในท่ีแห่งใหม่แล้ว จึงทรงโปรดพระราชทานชื่อพระมงคลบพิตรและ
ให้สร้างมณฑปครอบไว้ ดังนั้น สภาพความเป็นพุทธสถานของวัดชีเชียงจึงถูกถอนสภาพ
ลงในเวลานี้ ด้วยเหตุว่าไปตั้งกีดขวางบริเวณที่ท�ำการพระบรมศพพระเจดีย์อีกองค์หนึ่ง
ซงึ่ ปรากฏวา่ ใหส้ รา้ งขนึ้ ในคราวสรา้ งวดั ชเี ชยี งคงถกู รอ้ื สว่ นพระวหิ ารเลก็ หลงั หนง่ึ เรยี กวา่
“วหิ ารแกลบ” อาจจะเป็นของเดิมทดี่ ัดแปลงไวใ้ ชใ้ นพระราชพธิ พี ระบรมศพ หรืออาจจะ
เป็นวหิ ารท่สี ร้างขน้ึ ใหม่ส�ำหรับการพระบรมศพโดยเฉพาะ ซึ่งพระราชพงศาวดารกก็ ล่าว
ความชดั เจนว่าให้พนู ดนิ หนา้ พระวหิ ารแกลบไวส้ ำ� หรับเปน็ ทถี่ วายพระเพลงิ

ในแผน่ ดนิ สมเดจ็ พระเจา้ เสอื อสนุ บี าตตกลงตอ้ งยอดมณฑปพระอารามวดั สมุ งคล
บพติ ร ตดิ เปน็ เพลงิ โพลงขนึ้ ไหมเ้ ครอ่ื งบนโทรมลงมา ตอ้ งพระเศยี รพระพทุ ธรปู หกั สะบน้ั
ลงมาจนพระศอและพระเศยี รนน้ั ตกลงอยู่ ณ พนื้ พระมณฑปจงึ ทรงพระกรณุ าโปรดเกลา้ ฯ
ให้ช่างพนักงานจัดการรื้อพระมณฑปก่อสร้างข้ึนใหม่ แปลงเป็นพระมหาวิหารสูงใหญ่
โดยยาวเส้นเศษ ส�ำเร็จในปีมะเมียจัตวาศก และทรงพระกรุณาให้มีการฉลองและ
การมหรสพสามวัน แล้วทรงถวายไทยทานแก่พระสงฆ์เป็นอันมากเหมือนอย่างทุกคร้ัง๗
และพระราชพงศาวดารฉบบั เดยี วกนั กลา่ วถงึ พระมงคลบพติ รอกี ครง้ั หนง่ึ ในแผน่ ดนิ สมเดจ็
พระเจา้ บรมโกศวา่ ศกั ราช ๑๑๐๔ ปจี อจตั วาศก (พ.ศ. ๒๒๘๕) พระเศยี รพระพทุ ธปฏมิ ากร
พระองค์ใหญ่ในพระมณฑปวัดสุมงคลบพิตรซ่ึงหักตกอยู่นั้นให้ยกขึ้นต่อกับพระองค์ให้
บริบรู ณ์ดดี ังเกา่ และพระมณฑปนนั้ ให้รื้อก่อใหมแ่ ปลงเปน็ พระมหาวิหาร๘ เหตุการณใ์ น
พระราชพงศาวดารท้ังสองรัชกาลดังกล่าวมาให้เนื้อความท่ีซ้�ำซ้อนกันอยู่มาก ซึ่งคงเป็น

๖ ศักราชรัชกาลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมตรวจสอบใหม่ โปรดดู ขจร สุขพานิช, “เรื่องสอบศักราชปีรัชกาล
สมเดจ็ พระเอกาทศรถ,” อยุธยาคด,ี หนา้ ๕๘.
๗ กรมศลิ ปากร, พระราชพงศาวดารฉบบั พระราชหตั ถเลขา เลม่ ๒ (กรงุ เทพฯ : สำ� นกั พมิ พค์ ลงั วทิ ยา, ๒๕๑๖),
หนา้ ๑๗๓.
๘ เลม่ เดยี วกนั , หน้า ๒๒๓.
90

ความผิดพลาดของผแู้ ตง่ พงศาวดารได้รับขอ้ มลู เมือ่ ห่างเวลาเกดิ เหตมุ ากนัก เปน็ ไปไดว้ า่
พระมงคลบพิตรซ่ึงถูกอสุนีบาตช�ำรุดเสียหายท้ังองค์พระพุทธรูปและมณฑปในแผ่นดิน
สมเดจ็ พระเจา้ เสอื นน้ั คงไดร้ บั การปฏสิ งั ขรณ์ โดยเฉพาะพระพทุ ธรปู คงจะมไิ ดป้ ลอ่ ยทงิ้ ไว้
ในสภาพทนี่ า่ สงั เวชจนถงึ แผน่ ดนิ สมเดจ็ พระเจา้ บรมโกศ สว่ นพระมณฑปทหี่ กั พงั ลงคงจะ
ทรงโปรดให้ซ่อมไว้ตามแบบเดิม จนต่อมาในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าบรมโกศทรงเห็นว่า
มณฑปที่ก่อครอบพระมงคลบพิตรน้ันคับแคบนัก ให้ร้ือลงแล้วแปลงเป็นพระมหาวิหาร
ทกี่ วา้ งใหญข่ นึ้ สว่ นองคพ์ ระมงคลบพติ รนน้ั กไ็ ดร้ บั การปฏสิ งั ขรณเ์ ปลยี่ นแปลงลกั ษณะทาง
พทุ ธศลิ ปะตามความนยิ มในเวลานน้ั ในคราวเดยี วกนั เมอ่ื เสยี กรงุ ศรอี ยธุ ยาใน พ.ศ. ๒๓๑๐
พระมงคลบพิตรคงถูกไฟไหม้ท�ำลายลง เช่นเดียวกับพระมหาปราสาทราชมณเฑียร
ในพระราชวัง วัดวาอารามและบ้านเรือนท่ัวเมือง จนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จ
พระจลุ จอมเกล้าเจา้ อยู่หัวรัชกาลท่ี ๕ แหง่ กรุงรตั นโกสนิ ทรท์ รงตระหนกั ถึงความส�ำคญั
ของโบราณสถาน มีพระราชประสงค์จะฟื้นฟูกรุงศรีอยุธยาขึ้นและเพื่อเป็นการร�ำลึกถึง
พระมหากรณุ าธคิ ณุ ของบรู พกษตั รยิ แ์ หง่ พระนครศรอี ยธุ ยา จงึ ทรงพระกรณุ าโปรดเกลา้ ฯ
ใหพ้ ระยาโบราณราชธานนิ ทร์ สมหุ เทศาภบิ าล ผสู้ ำ� เรจ็ ราชการมณฑลกรงุ เกา่ ดำ� เนนิ การ
สำ� รวจขดุ แตง่ ปรบั ปรงุ พนื้ ทภ่ี ายในพระราชวงั โบราณเพอื่ ประกอบพระราชพธิ รี ชั มงั คลาภเิ ษก
บวงสรวงดวงพระวญิ ญาณพระมหากษตั รยิ แ์ หง่ กรงุ ศรอี ยธุ ยา ในวาระทพ่ี ระองคค์ รองราช
สมบตั คิ รบ ๔๐ พรรษา ใน พ.ศ. ๒๔๕๑ นบั ตง้ั แตน่ น้ั มา โบราณสถานเมอื งพระนครศรอี ยธุ ยา
ที่ช�ำรุดทรุดโทรมมาเป็นเวลากว่าศตวรรษก็ได้รับการดูแลรักษา โบราณสถานส�ำคัญ
หลายแห่งเริ่มได้รับการปฏิสังขรณ์ องค์พระมงคลบพิตรซ่ึงปรากฏว่าอยู่ในสภาพช�ำรุด
อย่างมาก โดยเฉพาะท่ีพระกรขวาและพระเมาฬีได้รับการปฏิสังขรณ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๓
ต่อมาเม่ือ พ.ศ. ๒๔๗๔ คุณหญิงอมเรศร์สมบัติมีศรัทธาปฏิสังขรณ์พระมงคลบพิตร
อีกครั้งหนึง่

ใน พ.ศ. ๒๔๙๘ ฯพณฯ อนู ุ นายกรฐั มนตรีแห่งประเทศสหภาพพม่าเดินทางมา
ประเทศไทย เมอ่ื ไปเยยี่ มจงั หวดั พระนครศรอี ยธุ ยา ไดบ้ รจิ าคเงนิ จำ� นวน ๒๐๐,๐๐๐ บาท
เพื่อท�ำการปฏิสังขรณ์พระมงคลบพิตรให้ดีดังเดิม รัฐบาลไทยออกเงินสมทบอีก
๒๕๐,๐๐๐ บาท รวมเป็นเงิน ๔๕๐,๐๐๐ บาท มอบให้กรมศิลปากรออกแบบ
ซึง่ กรมศิลปากรไดอ้ อกแบบหลงั คาวิหารใหม่ โดยทำ� รปู ร่างและรูปทรงให้เหมอื นของเดิม
มากทส่ี ุด แลว้ มอบให้กรมโยธาเทศบาลดำ� เนนิ การกอ่ สร้าง เรมิ่ ต้ังแต่ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ
สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐ ตามรูปแบบที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน ในการปฏิสังขรณ์คร้ังน้ี
ค้นพบพระพุทธรูปฝังอยู่ภายในพระพาหาเบ้ืองซ้ายขององค์พระมงคลบพิตรจ�ำนวนมาก

91

ประกอบดว้ ย พระพทุ ธรปู แบบอทู่ อง พระพทุ ธรปู แบบสกลุ ชา่ งนครศรธี รรมราช พระพทุ ธรปู
สมัยสุโขทัย และพระพุทธรูปสมัยอยุธยา เป็นต้น ปัจจุบันเก็บรวบรวมและจัดแสดงไว้ท่ี
พิพิธภณั ฑสถานแห่งชาติ เจา้ สามพระยา

พระมงคลบพิตรเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยท่ีมีขนาดใหญ่ที่สุดองค์หนึ่ง
ของประเทศไทย สร้างดว้ ยอิฐบทุ องสำ� รดิ ขนาดหน้าตักกว้าง ๙.๕๕ เมตร ความสงู เฉพาะ
องค์พระพุทธรูป ๑๒.๔๕ เมตร ประดิษฐานบนฐานชุกชีสูง ๔.๕๐ เมตร รวมความสูง
จากฐานถึงปลายพระรัศมี ๑๖.๙๕ เมตร ลักษณะพระพุทธรูปมีวงพระพักตร์มนรูปไข่
อิทธิพลสุโขทัยซ่ึงเป็นลักษณะพระพุทธรูปสมัยอยุธยาท่ีนิยมสร้างต้ังแต่รัชกาลสมเด็จ
พระบรมไตรโลกนาถเปน็ ต้นมา

จากภาพถ่ายเก่าสมัยรัชกาลที่ ๕ พระมงคลบพิตรประดิษฐานอยู่ท่ามกลาง
วหิ ารซง่ึ หกั พงั ลง ปรากฏวา่ สว่ นองคพ์ ระพทุ ธรปู ชำ� รดุ โดยพระกรขา้ งขวาและพระรศั มหี กั
การปฏสิ งั ขรณ์โดยพระยาโบราณราชธานนิ ทรเ์ มื่อ พ.ศ. ๒๔๖๓ คงจะบูรณะเฉพาะองค์
พระพทุ ธรปู รวมทงั้ ฐานชกุ ชตี ามแบบเดมิ ภาพถา่ ยหลงั จากการปฏสิ งั ขรณโ์ ดยศรทั ธาของ
คณุ หญงิ อมเรศรส์ มบตั เิ มอ่ื พ.ศ. ๒๔๗๔ แสดงใหเ้ หน็ วา่ สว่ นของฐานชกุ ชคี งจะไดท้ ำ� การปน้ั

92

93

ลวดลายเปล่ียนแปลงจากของเดิมไปบ้าง แต่ยังคงแสดงให้เห็นระเบียบเดิมของฐานชุกชี
ประกอบด้วย ฐานสิงห์ ๑ ชนั้ รองรับชั้นเชิงบาตร ทบี่ วั หงายของฐานสงิ หน์ ัน้ กลีบบัวแบบ
กลบี ยาว ๆ มกี ลีบบัวขนาดเล็กปิดทบั ทส่ี ่วนโคนกลบี สว่ นบวั หงายทช่ี นั้ เชิงบาตรน้นั เปน็
กลีบบัวใหญ่ ๆ ซอ้ นกันทีเ่ รยี กว่าบวั กล่มุ ดา้ นหน้ามีผ้าทิพยพ์ าดลงมาจากฐานทบั เกษตร
ถึงหลังสิงห์ การปฏสิ งั ขรณ์คร้งั ใหญ่ใน พ.ศ. ๒๕๐๐ ดงั ภาพทปี่ รากฏอยใู่ นปัจจุบนั พบวา่
มกี ารเปลยี่ นแปลงทฐี่ านชกุ ชอี ยา่ งมาก ทงั้ ระเบยี บของฐานและลวดลาย กลา่ วคอื ฐานสงิ ห์
ถกู แกใ้ หม้ ขี นาดเตยี้ ลงมกี ารปน้ั กลบี บวั ทชี่ นั้ บวั หงายและบวั หลงั สงิ หเ์ ปน็ กลบี บวั ขนาดใหญ่
แบบบวั ฟนั ยกั ษ์ ในขณะทชี่ น้ั เชงิ บาตรมขี นาดสงู ขนึ้ และเปลยี่ นแปลงลวดลายทบี่ วั จากเดมิ
ทเี่ ปน็ บวั กลมุ่ ใหเ้ ปน็ บวั ทมี่ ลี กั ษณะกลบี ยาว ๆ ทผี่ า้ ทพิ ยน์ น้ั ปน้ั ลวดลายใหมท่ งั้ หมด แมว้ า่
จะดูงดงามอ่อนช้อยกว่าเดิม แต่โครงร่างของลวดลายมีขนาดใหญ่เทอะทะกว่าของเดิม
มากนกั สว่ นองคพ์ ระพทุ ธรปู นน้ั ทรวดทรงโดยรวมคงจะบรู ณะตามแบบเดมิ แตท่ พ่ี ระหตั ถ์
ท้งั สองขา้ งแก้ไขนวิ้ พระหัตถใ์ หด้ ูอ่อนไหวขน้ึ

94

พ.ศ. ๒๕๓๓ จงั หวัดพระนครศรีอยธุ ยาโดยมูลนิธิ
พระมงคลบพติ รมคี วามประสงคจ์ ะปดิ ทองพระมงคลบพติ ร
ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากกรมศิลปากรให้ด�ำเนินการได้
ดังนั้น ในมงคลสมัยที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ิ พระบรม
ราชนิ นี าถพระบรมราชชนนพี นั ปหี ลวงทรงเจรญิ พระชนมายุ
ครบ ๖๐ พรรษา ในพุทธศักราช ๒๕๓๕ จังหวัด
พระนครศรีอยุธยาจึงจัดโครงการปิดทององค์พระ
มงคลบพิตรไว้เป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติดว้ ย

เม่ือวันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๔ สมเด็จ
พระนางเจ้าสิริกิต์ิ พระบรมราชนิ นี าถ พระบรมราชชนนี
พนั ปหี ลวง เสดจ็ พระราชดำ� เนนิ พรอ้ มดว้ ยพระบาทสมเดจ็
พระเจ้าอยู่หัว ขณะทรงด�ำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จ
บรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทอดพระเนตร
โบราณสถาน จงั หวดั พระนครศรอี ยธุ ยา ในครง้ั นไี้ ดเ้ สดจ็ ฯ
มานมัสการพระมงคลบพิตรด้วย และได้ทรงพระกรุณา
พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ๕๐,๐๐๐ บาท
เพื่อทรงอุปถัมภ์บ�ำรุงพระมงคลบพิตร พร้อมทั้งได้มี
พระราชดำ� รเิ หน็ พอ้ งกบั การลงรกั ปดิ ทองพระมงคลบพติ ร
บรรณานุกรม
ขจร สขุ พานชิ . อยธุ ยาคด.ี กรงุ เทพฯ : โรงพมิ พค์ รุ สุ ภาลาดพรา้ ว, ๒๕๔๕.
ศลิ ปากร,กรม. คำ� ใหก้ ารชาวกรงุ เกา่ คำ� ใหก้ ารขนุ หลวงหาวดั และพระราชพงศาวดารกรงุ เกา่
ฉบบั หลวงประเสรฐิ อกั ษรนติ .์ิ พระนคร : โรงพมิ พร์ งุ่ เรอื งธรรม, ๒๕๐๗.
-----------. พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : ส�ำนักพิมพ์
คลงั วิทยา, ๒๕๑๖.
-----------. พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม ๒. กรุงเทพฯ : ส�ำนักพิมพ์
คลังวิทยา, ๒๕๑๖.
-----------. อธบิ ายแผนทพ่ี ระนครศรอี ยธุ ยา กบั คำ� วนิ จิ ฉยั ของพระยาโบราณราชธานนิ ทร.์
เรอ่ื งศลิ ปและภมู สิ ถานอยธุ ยา กรงุ ศรอี ยธุ ยา.พระนคร:โรงพมิ พส์ ามมติ ร,๒๕๑๕.
(พมิ พเ์ ปน็ อนสุ รณใ์ นงานฌาปนกจิ นางแดง แขวฒั นะ ณ เมรวุ ดั มกฏุ กษตั รยิ าราม).

95

96

วัด

โลกยสธุ า

วัดโลกยสุธา เป็นวัดขนาดใหญ่อีกวัดหนึ่ง ต้ังอยู่ทางด้าน
ตะวันตกของพระราชวังโบราณ บริเวณเดียวกับวัดวรเชษฐาราม
และวัดระฆัง (วัดวรโพธ์ิ) โดยตั้งอยู่ทางด้านใต้ของคลองฝาง
ฝ่ังตรงข้ามวดั วรเชษฐาราม ปัจจุบันอยใู่ นเขตต�ำบลประตูชยั อ�ำเภอ
พระนครศรอี ยธุ ยา จังหวดั พระนครศรอี ยุธยา

มีหลักฐานด้านเอกสารกล่าวถึงวัดโลกยสุธาอย่างจ�ำกัด
และเอกสารดังกล่าวดูเหมือนจะบ่งบอกเพียงว่ามีวัดโลกยสุธา
อยู่ในท�ำเนียบโบราณสถานเมืองพระนครศรีอยุธยาเท่าน้ัน
ท้ังท่ีในสภาพความเป็นจริงแล้ว วัดโลกยสุธาเป็นวัดที่มีขนาดใหญ่
ตั้งอยู่กลางเมือง ประกอบด้วยสิ่งก่อสร้างหลากหลายรูปแบบท่ี
ก่อสร้างอย่างประณีตงดงามด้วยฝีมือเชิงช่างช้ันครูทีเดียว ดังน้ัน
วดั โลกยสธุ าจงึ นา่ จะเปน็ พระอารามหลวงทพี่ ระมหากษตั รยิ พ์ ระองค์
หนึ่งแหง่ กรงุ ศรอี ยุธยา ทรงโปรดให้สร้างขึ้น ค�ำให้การชาวกรุงเกา่
บันทึกช่ือ “วัดโลกยสุธา” ไว้ในท�ำเนียบวัดส�ำคัญในกรุงศรีอยุธยา
ดว้ ย๑

๑ กรมศลิ ปากร, คำ� ใหก้ ารชาวกรงุ เกา่ คำ� ใหก้ ารขนุ หลวงหาวดั และพระราชพงศาวดาร
กรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิต์ิ (พระนคร : โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม, ๒๕๑๐),
หน้า ๒๑๕.

97

พงศาวดารเหนือกล่าวว่า “...พระพุทธศักราชล่วงได้ ๙๕๕ พรรษา นักกษัตร
กกุ กฏุ ะสงั วจั ฉรศรธี นญไชยสรา้ งวดั โลกสธุ าพระใจรา้ ย...”๒ แตพ่ งศาวดารเหนอื เปน็ เอกสาร
ทรี่ วบรวมขนึ้ มาจากตำ� นานในชนั้ หลงั ดงั นนั้ การเรยี งเรอ่ื งราวและศกั ราชจงึ มคี วามสบั สน
ด้วยพยายามที่จะน�ำเอาต�ำนานประจ�ำเมืองต่าง ๆ หลากหลายสถานที่มาปะติดปะต่อ
เปน็ พงศาวดาร ดังนัน้ เอกสารชิ้นน้จี งึ ยังไมเ่ ป็นทีเ่ ชื่อถอื ในหมู่นักวชิ าการ เป็นไปไดว้ ่าวัด
“โลกสุธา” ในพงศาวดารเหนือเป็นวัดเดียวกับ “วัดโลกยสุธา” ที่ปรากฏในแผนท่ีของ
พระยาโบราณราชธานินทร์ก็น่าจะเป็นวัดเดียวกันด้วย เน่ืองจากไม่ปรากฏวัดโลกสุธา
ในท่ีแห่งใดในกรุงศรีอยุธยาอีกเลย และหากพิจารณาความหมายของชื่อวัดทั้ง ๒ ช่ือ
ก็มคี วามหมายทำ� นองเดียวกนั คือ๓

โลก (น.) หมายถงึ แผน่ ดนิ หรอื สว่ นหนงึ่ ของสกลจกั รวาล เชน่ มนษุ ยโลก เทวโลก
พรหมโลก โลกพระอังคาร

โลกยะ, โลกย์ (ว.) หมายถึง ของโลก
สธุ า (น.) หมายถงึ ๑. นำ้� อมฤต อาหารทิพย์ ๒. ปูนขาว, เครื่องโบกและทา
ดงั นั้น โลกสธุ า น่าจะหมายความว่า แผ่นดินหรือสกลจักรวาลทีม่ ีนำ�้ อมฤต
โลกยสุธา นา่ จะหมายความวา่ นำ�้ อมฤตของโลก
อย่างไรก็ตาม ยังมีชื่อ “วัดสุทธาวาส” เป็นวัดท่ีต้ังอยู่ในเขตก�ำแพงเมือง
กรุงศรีอยุธยา ตามที่ปรากฏเร่ืองราวในพระราชพงศาวดารเก่ียวข้องกับวัดนี้หลายตอน
แต่ยังไม่ทราบท่ีต้ังของวัดนี้แน่ชัด แม้ในแผนท่ีของพระยาโบราณราชธานินทร์ซึ่งเข้ามา
ศกึ ษาโบราณสถานกรุงศรอี ยธุ ยาในช่วงแรก ๆ ก็ไมป่ รากฏชอ่ื วัดน้ีในแผนทแ่ี ต่อยา่ งใด
วดั สทุ ธาวาสปรากฏในพระราชพงศาวดารครงั้ แรกในรชั กาลสมเดจ็ พระเชษฐาธริ าช
ตอนที่เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ทำ� การรฐั ประหารปลดสมเดจ็ พระเชษฐาธริ าชออกจาก
ราชสมบัติ โดยเจ้าพระยากลาโหมยกพลจากวัดกุฎ (บริเวณวัดไชยวัฒนาราม) ทางเรือ
มาข้ึนบกท่ีท่าประตูชัย ประตูเมืองด้านทิศใต้ เดินทางตามถนนป่าตองแวะสักการะศาล
พระกาฬ แลว้ ไปประชมุ ทวี่ ดั สทุ ธาวาส ครนั้ เพลา ๘ ทมุ่ นง่ั คอยฤกษพ์ รอ้ มกนั เหน็ พระบรม
สารีริกธาตุเสด็จมาเป็นนิมิตมงคล จึงยกพลเข้าโจมตีพระราชวังทางประตูมงคลสุนทร
ยกพระอาทติ ยวงศ์ขึน้ ครองราชสมบัต๔ิ

๒ กรมศิลปากร, ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม ๑ (กรงุ เทพฯ : กองวรรณกรรมและประวตั ิศาสตร์
กรมศลิ ปากร, ๒๕๔๒), หนา้ ๑๑๙.
๓ ความหมายตาม พจนานกุ รมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕.
๔ กรมศิลปากร, พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เลม่ ๒, พมิ พ์ครั้งท่ี ๙ (กรงุ เทพฯ : ไอเดียสแควร์,
๒๕๔๒), หนา้ ๔. เนอ้ื ความเดียวกบั พระราชพงศาวดารกรุงศรอี ยธุ ยาฉบับพนั จนั ทนุมาศ (เจิม)
98


Click to View FlipBook Version