The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ประทีปวิทรรศน์ รวมเรื่องโบราณคดีอยุธยา

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

ประทีปวิทรรศน์ รวมเรื่องโบราณคดีอยุธยา

ประทีปวิทรรศน์ รวมเรื่องโบราณคดีอยุธยา

พ แบบพระพกั ตร์
ระพุทธรปู หนิ ทราย
สมยั อยุธยา

ปัจจุบันความรู้เรื่องพระพุทธรูปหินทรายสมัยอยุธยายังไม่
แน่ชัด ยังคงเปน็ ปัญหาถกเถยี งกนั ในหมู่นกั วิชาการวา่ พระพทุ ธรูป
หนิ ทรายควรจะเปน็ งานทท่ี ำ� มากอ่ นสถาปนากรงุ ศรอี ยธุ ยา หรอื งาน
สมยั อยธุ ยาตอนต้น หรอื งานสมัยอยธุ ยาตอนปลาย

ท่ีตั้งของกรุงศรีอยุธยาก่อนเป็นราชธานีเป็นบริเวณท่ี
ศลิ ปกรรมแบบลพบรุ เี คยเจรญิ รงุ่ เรอื งมากอ่ น๑ ในขณะทศี่ ลิ ปะอทู่ อง
ก็ก�ำลังแพร่หลายอยู่ในขณะนั้น ดังน้ันงานประติมากรรมแห่ง
กรุงศรีอยุธยาระยะแรกจึงได้สืบต่อหรือรับอิทธิพลทางด้านรูปแบบ
จากศลิ ปะลพบรุ ี และศลิ ปะอทู่ อง๒ ตอ่ มาศลิ ปะสโุ ขทยั ซง่ึ กำ� ลงั เจรญิ
รุ่งเรืองอยู่ทางฝ่ายเหนือก็น่าจะมีอิทธิพลต่อประติมากรรมอยุธยา
ระยะแรกด้วย

๑ ยอร์ช เซเดส์ และบวสเซอลีเย่, (ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล (ทรงแปล) ประวัติศิลปะ
ในประเทศไทย (พระนคร : โรงพิมพม์ หาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์, ๒๕๐๘), หนา้ ๒๑.
๒ พิริยะ ไกรฤกษ,์ “ประติมากรรมในประเทศไทย” เมืองโบราณ ๙ (๓) (สิงหาคม –
พฤศจกิ ายน ๒๕๒๖), ๒๕๒๖) : ๒๑ ณ ท่ีนี้ ดร.พริ ิยะ ไกรฤกษ์ เรียกศลิ ปะอูท่ อง
ในความหมายทก่ี วา้ งกว่าวา่ ศลิ ปะสยามก่อนสถาปนาเมอื งอยุธยา

149

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่า
พระพทุ ธรูปสมยั อยธุ ยาระยะแรก ๆ เป็นพระพุทธรูปก่ออิฐถือปนู และพระพทุ ธรปู ส�ำริด
มากอ่ น พระพุทธรูปหินทรายนยิ มท�ำกนั ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง เน่อื งจาก
พระองคท์ รงปราบปรามเขมรใหก้ ลบั มาขนึ้ ตอ่ กรงุ ศรอี ยธุ ยาดงั เดมิ จงึ เอาอยา่ งพระพทุ ธรปู
ทน่ี ครวัด นครธมเมืองเขมรมาสร้าง๓

หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ และ เอ. บี. กริสโวลด์ มีความเห็นสอดคล้องกับสมเด็จ
พระเจา้ บรมวงศเ์ ธอกรมพระยาดำ� รงราชานภุ าพ๔แต่อาร.์ เลอเมย์มคี วามเหน็ วา่ พระพทุ ธรปู
หนิ ทรายนยิ มท�ำกนั ในศิลปะไทยสมัยลพบุรี และกลับมานยิ มท�ำกนั อกี คร้ังหน่งึ ในรัชกาล
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชในสมยั อยธุ ยา๕

ส�ำหรับ น. ณ ปากน้�ำ มีความเห็นว่าพระพุทธรูปหินทรายท้ังหมดเป็นงาน
ก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา หากจะท�ำกันอยู่บ้างในสมัยอยุธยาตอนต้นก็เป็น
ส่วนน้อย ทั้งน้ีท่านเช่ือในทฤษฎีศิลปะร่วมสมัย โดยกล่าวว่าในสมัยบายนตอนปลาย
ราวพทุ ธศตวรรษที่ ๑๘ เขมรหนั มาสรา้ งพระพทุ ธรูปจากส�ำริดมากข้นึ ทำ� ให้พระพทุ ธรปู
หินทรายหมดความนิยมลงไป ดังน้ันพระพุทธรูปหินทรายพบที่กรุงศรีอยุธยาทั้งหมด
ควรเปน็ ของมมี ากอ่ นสถาปนากรงุ ศรอี ยธุ ยา โดยเรยี กวา่ ศลิ ปะอโยธยา ซง่ึ มอี ายรุ ว่ มสมยั
ศลิ ปะอทู่ อง๖

สว่ นศาสตราจารย์ หม่อมเจา้ สภุ ทั รดศิ ดศิ กุล ทรงเหน็ วา่ พระพทุ ธรปู หนิ ทราย
คงจะท�ำกันมาต้ังแต่สมัยอยุธยาตอนต้น เนื่องจากได้พบพระพุทธรูปหินทรายขนาดเล็ก
องค์หน่ึงภายในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ และทรงเชื่อว่าพระพุทธรูปหินทรายนิยมท�ำ
อีกคร้ังหนึ่งในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททองและสมเด็จพระนารายณ์มหาราช๗

๓ สมเด็จพระเจา้ บรมวงศเ์ ธอ กรมพระยาด�ำรงราชานภุ าพ, ต�ำนานพระพทุ ธเจดยี ,์ พิมพค์ รงั้ ที่ ๓ (กรงุ เทพฯ :
องค์การค้าของคุรุสภา, ๒๕๑๘), หน้า ๑๖๐ - ๑๖๘ และ ยอร์ช เซเดส์ และบวสเซอลีเย่, ประวัติศิลปะ
ในประเทศไทย, หนา้ ๑๖๖ – ๑๖๗.
๔ Luang Boribal Buribhand and A.B. Griswold, “Sculpture of Peninsular Siam in the Ayuthya
Period of JSS. Vol.XXXVIII, P.T.2 (January 1951) : 5 - 14, หลวงบรบิ าลบรุ ีภณั ฑ์ “เรอ่ื งพระพุทธรูป
สมัยอยธุ ยาช้นั หลัง” ศิลปากร ๒ (๒) (กรกฎาคม ๒๕๐๑) : ๔๘ - ๔๙.
๕ Reginald Le May, A Concise History of Buddhist Art in Siam, 2nd edition (Japan 1963), p.142.
๖ น. ณ ปากนำ�้ , พทุ ธประตมิ ากรรมในประเทศไทย (กรงุ เทพฯ : สำ� นกั พมิ พเ์ มอื งโบราณ, ๒๕๓๓), หนา้ ๕๐ - ๕๕,
๖๑ – ๗๒ และโปรดดู น. ณ ปากนำ้� “พระพุทธรูปสมยั ก่อนกรงุ ศรีอยุธยา” เมืองโบราณ ๙ (๓) (สิงหาคม -
พฤศจิกายน ๒๕๒๖) : ๕๑ – ๕๘.
๗ กรมศลิ ปากร, พระพทุ ธรปู และพระพมิ พใ์ นกรพุ ระปรางคว์ ดั ราชบรู ณะ จงั หวดั พระนครศรอี ยธุ ยา (พระนคร :
หา้ งหนุ้ สว่ นจำ� กดั ศวิ พร, ๒๕๐๒) หนา้ ๑๗ และ ศาสตราจารย์ หมอ่ มเจา้ สภุ ทั รดศิ ดศิ กลุ , ศลิ ปะในประเทศไทย,
พิมพค์ ร้ังที่ ๘ (กรงุ เทพฯ : อมรินทร์การพิมพ์, ๒๕๒๘), หน้า ๓๔.
150

แนวความคิดนี้เหมือนกับนายยอร์ช เซเดส์ และศาสตราจารย์บวสเซอลีเย่ ซึ่งเสนอว่า
ในสมยั ท่ี ๑ (สมยั สมเดจ็ พระรามาธบิ ดที ี่ ๑ ถงึ สมเดจ็ พระบรมไตรโลกนาถ) มกั ใชห้ นิ ทราย
สำ� หรบั พระพุทธรูปขนาดใหญ่ และสมัยที่ ๓ (สมยั สมเด็จพระเจา้ ปราสาททอง ถึงสมเดจ็
พระเจา้ ทา้ ยสระ) จงึ เริ่มทำ� พระพุทธรปู ด้วยหินทรายอกี ๘

จากการศกึ ษาของนกั วชิ าการหลายทา่ นดงั กลา่ วมาแลว้ สามารถสรปุ แนวความคดิ
เก่ยี วกบั การท�ำพระพทุ ธรปู หนิ ทรายได้ ๓ ทฤษฎคี อื

๑. พระพุทธรูปหินทรายนิยมท�ำก่อนสถาปนากรุงศรีอยุธยา คือในศิลปะลพบุรี
อู่ทอง และอโยธยา

๒. พระพทุ ธรปู หนิ ทรายทำ� กนั มาแลว้ ตัง้ แตส่ มยั อยธุ ยาตอนตน้
๓. พระพุทธรูปหินทรายนิยมท�ำกันในสมัยอยุธยาตอนปลาย ราวสมัยสมเด็จ
พระเจ้าปราสาททอง หรอื สมเดจ็ พระนารายณ์มหาราช
หลักฐานทางโบราณคดีได้แสดงให้เห็นว่า พระพุทธรูปหินทรายได้แพร่กระจาย
อยตู่ ามศาสนสถานหลายแหง่ ทเ่ี มอื งพระนครศรีอยธุ ยาและเมืองบรวิ าร
ทเ่ี มอื งพระนครศรอี ยธุ ยานน้ั พระพทุ ธรปู หนิ ทรายพบอยอู่ ยา่ งมากมาย โดยเฉพาะ
อยา่ งย่ิงวัดท่ีพระราชพงศาวดาร และเอกสารทางประวัตศิ าสตรอ์ ื่น ๆ ระบวุ า่ สร้างขนึ้ ใน
สมยั อยุธยาตอนตน้ เชน่ วดั พุทไธสวรรย์ วดั มหาธาตุ วดั ใหญช่ ยั มงคล วัดพระราม และ
วดั ราชบูรณะ เปน็ ต้น
วัดที่สร้างสมัยอยุธยาตอนกลาง เช่น วัดพระศรีสรรเพชญ์ ก็พบว่าพระพุทธรูป
หนิ ทราย สรา้ งเป็นพระพุทธรูปประธานประจำ� วหิ ารรายทกุ หลงั รวมท้งั วดั ทส่ี ร้างในสมยั
อยธุ ยาตอนปลาย เช่น วัดไชยวฒั นาราม พระพทุ ธรูปประธานในพระอโุ บสถก็สรา้ งด้วย
หินทราย แม้ว่าในระยะหลังจะเห็นแนวโน้มการสร้างพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูนและส�ำริด
มากกวา่ ก็ตาม
จากหลักฐานที่พบอาจจะตั้งสมมตฐิ านไดว้ ่า นา่ จะมกี ารท�ำพระพุทธรปู หินทราย
ตลอดสมยั อยธุ ยา โดยทำ� กนั มากในสมยั อยธุ ยาตอนตน้ ปรมิ าณนอ้ ยลงสมยั อยธุ ยาตอนกลาง
และนอ้ ยลงอกี ในสมยั อยธุ ยาตอนปลาย แตย่ งั มปี ญั หาอยทู่ วี่ า่ วดั เหลา่ นนั้ โดยเฉพาะอยา่ งยงิ่
วดั ทส่ี รา้ งสมยั อยธุ ยาตอนตน้ ทำ� พระพทุ ธรปู หนิ ทรายกนั มากในสมยั แรกสรา้ ง หรอื ในระยะ
บูรณปฏสิ ังขรณ์

๘ ยอร์ช เซเดส์ และบวสเซอลีเย่, ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล (ทรงแปล และท�ำเชิงอรรถประกอบ), ประวัติศิลปะ
ในประเทศไทย, หนา้ ๒๔.

151

152

มกั ไมพ่ บพระพทุ ธรปู หนิ ทรายในสภาพสมบรู ณ์ เพราะการสรา้ งพระพทุ ธรปู หนิ ทราย
สมัยอยุธยาสลักจากหินหลายก้อนประกอบกัน ปัจจุบันชิ้นส่วนขององค์พระยังคงอยู่ที่
โบราณสถาน สว่ นสำ� คญั ทส่ี ดุ คอื เศยี ร มกั สญู หายไปกอ่ นเนอ่ื งจากถกู โจรกรรม แตม่ เี ศยี ร
จ�ำนวนไม่นอ้ ยท่ีทางราชการได้เกบ็ รวบรวมมาไวใ้ นพพิ ธิ ภัณฑสถานแห่งชาติ เพ่ือป้องกัน
การสญู หาย การรวบรวมดงั กลา่ วไดท้ ำ� กนั มาตง้ั แตร่ ชั กาลพระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้
เจา้ อยหู่ วั โดยพระยาโบราณราชธานนิ ทร์ ผสู้ ำ� เรจ็ ราชการมณฑลกรงุ เกา่ ในขณะนนั้ นบั เปน็
คณุ ประโยชนม์ หาศาลตอ่ วงการศกึ ษาประวตั ศิ าสตรศ์ ลิ ปะเปน็ อยา่ งยง่ิ แตก่ ารเกบ็ รวบรวม
เศยี รพระพทุ ธรูปในครั้งนน้ั ไมม่ ีการบันทกึ แหลง่ ทีม่ าซง่ึ เป็นข้อจำ� กัดในการศกึ ษา

อย่างไรก็ตาม การศึกษารูปแบบทางศิลปะของพระพักตร์พระพุทธรูปหินทราย
สมยั อยธุ ยา โดยศกึ ษาลกั ษณะทสี่ บื ทอดมาจากศลิ ปะทมี่ อี ยกู่ อ่ น การคลค่ี ลายเปลยี่ นแปลง
และการรับอิทธิพลจากศิลปะแบบอ่ืนที่ปรากฏอยู่ ย่อมเพ่ิมพูนความรู้ท่ียังมีข้อสงสัยกัน
ในหมู่นักวชิ าการปจั จบุ นั ให้มีความชัดเจนยิง่ ข้ึน

เศยี รพระพทุ ธรปู หนิ ทรายทเ่ี กบ็ รวบรวมไวใ้ นพพิ ธิ ภณั ฑสถานแหง่ ชาติ จนั ทรเกษม
มจี ำ� นวนมาก๙ สว่ นหนง่ึ เกบ็ ไวใ้ นคลงั ใตถ้ นุ พระทน่ี ง่ั พมิ านรถั ยา อกี สว่ นหนง่ึ เกบ็ ไวใ้ นคลงั
กึง่ จัดแสดง คอื ในคลังระเบยี งรอบกำ� แพงพระราชวงั จันทรเกษม ทงั้ หมดทะเบียนระบวุ ่า
พระยาโบราณราชธานนิ ทรเ์ ก็บรวบรวม

ส�ำหรับเศียรพระพุทธรูปที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา มีปริมาณ
นอ้ ยกวา่ มที ง้ั จดั แสดงไวใ้ นอาคาร จดั แสดงกลางแจง้ และเกบ็ รวบรวมไวใ้ นคลงั นอกจาก
นีย้ ังศึกษาจากเศยี รพระพทุ ธรปู ทย่ี งั คงอยู่ท่ีโบราณสถานอีกจำ� นวนหน่ึง

ในการศึกษาด้านรูปแบบของพระพักตร์พระพุทธรูปหินทรายสมัยอยุธยาคร้ังนี้
ผู้เขียนได้จัดกลุ่มพระพักตร์พระพุทธรูปโดยให้ความส�ำคัญของลักษณะวงพระพักตร์เป็น
อันดับแรก เพราะว่าลักษณะวงพระพักตร์เป็นภาพรวมที่สะท้อนให้เห็นว่าช่างต้องการ
สะท้อนสุนทรียภาพอย่างใด หรือได้รับแรงบันดาลใจจากแหล่งศิลปกรรมใดเป็นหลัก
หลงั จากนน้ั จงึ แบง่ แยกแบบพระพกั ตรแ์ ตล่ ะกลมุ่ ออกเปน็ แบบยอ่ ย ตามลกั ษณะปลกี ยอ่ ย
ทป่ี รากฏบนวงพระพกั ตร์ ซงึ่ ไดร้ บั แรงบนั ดาลใจจากแหลง่ ศลิ ปกรรมตา่ ง ๆ เขา้ มาปะปนอยู่
มากบา้ งนอ้ ยบา้ ง

จากการศึกษาสามารถแบ่งแบบพระพักตร์พระพุทธรูปหินทรายสมัยอยุธยา
ออกไดเ้ ปน็ ๗ กลุ่ม ดงั น้ี

๙ บัญชีโบราณวัตถขุ องพิพธิ ภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม จงั หวดั พระนครศรีอยธุ ยา

153

แบบพระพักตร์

พระพทุ ธรูปกลมุ่ ก

แบบพระพกั ตรพ์ ระพทุ ธรปู กลมุ่ ก มจี ำ� นวนมาก และสามารถแบง่ ไดเ้ ปน็ ๓ แบบ ดงั นี้

พระพักตร์กลุ่ม ก แบบที่ ๑
ลั ก ษ ณ ะ ส� ำ คั ญ
ของกลุ่มนี้คือ พระพักตร์
ค่อนขา้ งกลม สีพระพักตร์
ย้ิม พระโอษฐ์กว้าง ริมฝี
พระโอษฐบ์ นเปน็ มมุ แหลม
ที่กึ่งกลาง พระมัสสุเป็น
เส้นมีอยู่เสมอ พระนาสิก
ค่อนข้างสั้น พระเนตร
เหลือบลง พระขนงเป็น
เสน้ นนู โคง้ พระหนกุ ลมมน
บากเป็นขีดเน้นให้ดูนูน รปู ท่ี ๑ รูปท่ี ๒
ยงิ่ ขนึ้ เมด็ พระศกเปน็ ตมุ่ เลก็ เศียรพระพุทธรูปหนิ ทราย เศยี รพระพทุ ธรปู หนิ ทราย
มไี รพระศกเหนอื พระนลาฏ ในคลงั พพิ ธิ ภณั ฑสถานแหง่ ชาติ ในคลงั พพิ ิธภณั ฑสถานแหง่ ชาติ
เป็นแนวตรงหรือโค้งลง จันทรเกษม ไม่มีเลขทะเบียน จันทรเกษม
พระพกั ตรก์ ลุ่ม ก แบบท่ี ๑ ทะเบยี น ๒๒๓ วจ./๒๕๑๙/๓๑๒
พระพักตรก์ ลมุ่ ก แบบท่ี ๑

เล็กน้อย แนวไรพระศก
ที่พาดผ่านมาท่ีขมับเป็น
มมุ แหลมหรอื แนวโคง้ และ ศลิ ปะลพบรุ ตี อนปลาย๑๐อยา่ งไรกต็ ามลกั ษณะของไรพระศก
อาจจะเปน็ เสน้ นนู เสน้ เดยี ว และอุษณษี ะของพระพุทธรูปกลมุ่ ก แบบท่ี ๑ เปน็ แบบที่
หรือมีขีดแบ่งตรงกลาง พัฒนามาจากต้นแบบในศิลปะลพบุรีแล้ว ดังน้ันจึงควร
(รปู ท่ี๑, ๒)ลกั ษณะดงั กลา่ ว จะมอี ายรุ าวปลายพทุ ธศตวรรษที่ ๑๙ ถงึ ตน้ พทุ ธศตวรรษ
สืบทอดหรือได้รับอิทธิพล ท่ี ๒๐

๑๐โปรดดเู ปรยี บเทยี บกบั รปู ท่ี ๕๑ และคำ� อธบิ ายภาพหนา้ ๔๘ ใน ศ. ม.จ.สภุ ทั รดศิ ดศิ กลุ , ศลิ ปะในประเทศไทย.

154

พระพักตร์กลุ่ม ก แบบท่ี ๒
แบบพระพกั ตรพ์ ระพทุ ธรปู กลมุ่ ก ระยะตอ่ มามอี ทิ ธพิ ลศลิ ปะสโุ ขทยั เขา้ มาปะปน

มากบ้างน้อยบ้าง เปน็ ต้นวา่ พระขนงทีโ่ ก่งมากข้นึ (รูปท่ี ๓) แนวไรพระศกทโ่ี คง้ เปน็ แนว
ลอ้ กบั พระขนงมาบรรจบกนั เปน็ มมุ แหลมทกี่ ลางพระนลาฏ (รปู ที่ ๔) รวมทง้ั พระรศั มเี ปน็
เปลว (รปู ที่ ๕) ลักษณะส�ำคญั อยา่ งหน่ึงคอื วงแหวนเป็นแถบแบนยกขอบเปน็ มุมแหลม
รดั อยทู่ โ่ี คนพระรศั มี วงแหวนแบบนเ้ี ปน็ แบบพเิ ศษไมเ่ คยปรากฏในศลิ ปะแบบอน่ื มากอ่ น

รูปที่ ๓ พระพุทธรปู นาคปรกในคลังพิพิธภณั ฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม พระพักตรก์ ลุ่ม ก แบบที่ ๒
รูปที่ ๔ เศยี รพระพุทธรูปหนิ ทรายในคลงั พิพธิ ภณั ฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม
ทะเบยี น ๒๒๓ วจ.๒๕๑๙/๒๘๐ พระพกั ตรก์ ลมุ่ ก แบบท่ี ๒
รูปที่ ๕ เศียรพระพทุ ธรปู หนิ ทรายในคลังพพิ ธิ ภัณฑสถานแหง่ ชาติ จันทรเกษม
ทะเบียน ๒๒๓ วจ.๒๕๑๙/๒๘๑ พระพักตร์กลมุ่ ก แบบท่ี ๒

พระพุทธรูปในกลมุ่ ก แบบที่ ๒ มีจำ� นวนไม่นอ้ ยที่ไมท่ �ำไรพระศก (รูปที่ ๖, ๗)
เป็นแบบท่ีน�ำลักษณะของศิลปะสุโขทัยเข้ามาผสมผสานมากขึ้น อย่างไรก็ตาม
วงพระพกั ตร์ พระโอษฐ์ และพระมสั สุ กย็ งั แสดงภาพลกั ษณข์ องอทิ ธพิ ลศลิ ปะลพบรุ ที ชี่ ดั เจน
มากกวา่ ซง่ึ ลกั ษณะพระพกั ตรด์ งั กลา่ วนสี้ ามารถเทยี บไดก้ บั พระพกั ตรพ์ ระพทุ ธรปู ปนู ปน้ั
ภายในจระนำ� ทศิ เหนอื ของปรางคป์ ระธานวดั พระราม (รปู ที่ ๘) ซง่ึ นา่ จะเปน็ งานระยะแรก
สถาปนาวดั พระรามเมื่อ พ.ศ. ๑๙๑๒๑๑

๑๑ “พระราชพงศาวดารกรงุ เกา่ ฉบบั หลวงประเสรฐิ อกั ษรนติ ,ิ์ ” ประชมุ พงศาวดารเลม่ ๑ (พระนคร : องคก์ ารคา้ ของ
คุรสุ ภา, ๒๕๐๖), หนา้ ๑๓๑.

155

รูปท่ี ๖ เศียรพระพุทธรปู หนิ ทรายในคลังพิพิธภัณฑสถานแหง่ ชาติ จันทรเกษม
ทะเบยี น ๒๒๓ วจ.๒๕๑๙/๑๘๙ พระพกั ตร์กลุม่ ก แบบที่ ๒
รูปที่ ๗ เศียรพระพุทธรปู หนิ ทรายในคลงั พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม
ทะเบียน ๒๒๓ วจ.๒๕๑๙/๒๘๘ พระพักตรก์ ลุ่ม ก แบบที่ ๒
รูปที่ ๘ พระพทุ ธรูปปูนป้ันในจระนำ� ทิศเหนือของปรางคป์ ระธานวัดพระราม
พระพกั ตร์แบบเดยี วกบั กลุ่ม ก แบบท่ี ๒ (ภาพจาก น. ณ ปากน้�ำ, พทุ ธประติมากรรมในประเทศไทย, รปู ที่ ๑๑๕ หนา้ ๘๘)

ดังน้นั พระพกั ตรก์ ลมุ่ ก แบบที่ ๒ ซง่ึ เปน็ แบบท่ีพัฒนามาจากพระพักตร์กลมุ่ ก
แบบท่ี ๑ จงึ นา่ จะมอี ายุราวต้นพุทธศตวรรษท่ี ๒๐

พระพกั ตร์กลมุ่ ก แบบที่ ๓
ลักษณะวงพระพักตร์ยังคงแสดงอิทธิพลศิลปะ

ลพบุรี และศิลปะสุโขทัย ตามแบบพระพักตร์กลุ่ม ก
แบบที่ ๒ มีข้อแตกต่างที่พระโอษฐ์ซ่ึงมีขนาดเล็ก
มมุ พระโอษฐช์ ขี้ นึ้ มากกวา่ (รปู ที่ ๙) ลกั ษณะดงั กลา่ วชวนให้
คิดถึงลักษณะท่ีปรากฏที่พระพุทธรูปในศิลปะพม่าแบบ
พุกาม ซ่ึงน่าจะเป็นแรงบันดาลใจอีกแหล่งหนึ่งท่ีเข้ามา
ผสมอยู่ในแบบพระพักตร์ของพระพุทธรูปหินทรายสมัย
อยธุ ยาระยะแรกน้ีดว้ ย

รปู ที่ ๙
เศยี รพระพทุ ธรปู หนิ ทรายในคลงั พิพธิ ภัณฑสถานแหง่ ชาติ จนั ทรเกษม

ทะเบียน ๒๒๓ วจ./๒๕๑๙/๙๙ พระพักตร์กลุม่ ก แบบท่ี ๓

156

แบบพระพักตร์

พระพทุ ธรปู กลมุ่ ข

แบบพระพกั ตรข์ องพระพทุ ธรปู กลมุ่ ข มอี ยใู่ นศลิ ปะอยธุ ยาควบคกู่ บั แบบพระพกั ตร์
กล่มุ ก แตเ่ กิดจากแหลง่ บันดาลใจตา่ งกนั และมีปรมิ าณนอ้ ยกวา่ มาก สามารถแบง่ ออก
ได้เป็น ๒ แบบ ดังนี้
พระพักตร์กลุ่ม ข แบบที่ ๑

แบบพระพักตร์พระพุทธรูปกลุ่ม ข แบบท่ี ๑ เกี่ยวข้องกับอิทธิพลศิลปะลพบุรี
ทส่ี ง่ ผา่ นมาทางศลิ ปะอทู่ อง ดไู ดจ้ ากลกั ษณะวงพระพกั ตรท์ เ่ี ปน็ รปู สเ่ี หลยี่ มและมไี รพระศก
ซ่งึ แตกต่างจากวงพระพักตรท์ ี่คอ่ นข้างกลมของพระพุทธรปู กล่มุ ก ส่วนรายละเอยี ดของ
พระพกั ตร์เหมือนกบั แบบพระพักตร์พระพทุ ธรปู กลมุ่ ก ซึง่ มอี ิทธพิ ลศลิ ปะลพบุรีปรากฏ
ท่ีพระโอษฐ์ และพระมัสสุ ผสมผสานกับอิทธิพลศิลปะสุโขทัยปรากฏอยู่ที่พระเนตร
และพระขนงซ่ึงค่อนข้างโค้ง (รูปที่ ๑๐) ลักษณะของวงพระพักตร์พระพุทธรูปกลุ่มน้ีจึง
เทยี บไดก้ บั วงพระพกั ตรข์ องพระพทุ ธรปู สำ� รดิ พบทว่ี ดั ธรรมกิ ราช (รปู ที่ ๑๑) ซง่ึ จดั ไวเ้ ปน็
ศิลปะแบบอู่ทอง รุ่นท่ี ๒ ก�ำหนดอายุในราวพทุ ธศตวรรษท่ี ๑๘ - ๑๙๑๒

รูปที่ ๑๐ เศียรพระพุทธรปู
จดั แสดงในพิพธิ ภณั ฑสถานแหง่ ชาติ เจ้าสามพระยา
พระพักตร์กลุม่ ข แบบท่ี ๑
รปู ท่ี ๑๑ เศยี รพระพทุ ธรปู สำ� รดิ จากวดั ธรรมกิ ราช
ศลิ ปะแบบอ่ทู อง รุน่ ที่ ๒ อายรุ าวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ - ๑๙

๑๒ ม.จ.สภุ ัทรดศิ ดศิ กลุ , ศลิ ปะในประเทศไทย, หนา้ ๓๑.

157

รปู ๑๒ พระพทุ ธรปู ทองคำ�
พบในกรพุ ระปรางคว์ ดั มหาธาตุ อยธุ ยา
ศลิ ปะแบบอ่ทู อง ร่นุ ท่ี ๒ อายุราวพทุ ธศตวรรษท่ี ๑๘ - ๑๙

อยา่ งไรก็ตาม นา่ สังเกตวา่ พระพุทธรปู ศิลปะอูท่ องทเ่ี รารูจ้ ักกันเกือบท้งั หมดเป็น
พระพทุ ธรปู หลอ่ ดว้ ยส�ำริด และมักจะไม่ท�ำพระมัสสุ มเี พยี งบางองค์ท่ที �ำพระมัสสุไว้ด้วย
เชน่ พระพทุ ธรูปทองคำ� พบในกรพุ ระปรางคว์ ดั มหาธาตุ (รูปที่ ๑๒) ทั้งน้สี ามารถอธิบาย
ได้ว่าพระมัสสุเป็นลักษณะท่ีพบอยู่ในศิลปะลพบุรีซึ่งรับอิทธิพลมาจากศิลปะเขมรอีกต่อ
หนง่ึ แต่ในศิลปะอู่ทองนน้ั แมว้ ่าแรงบนั ดาลใจสำ� คญั มาจากศลิ ปะลพบรุ ี แต่กไ็ ม่นยิ มสลกั
พระมัสสุ

ดังนัน้ สามารถอธบิ ายได้ต่อไปว่าแม้ช่างทสี่ ลกั พระพุทธรปู หนิ ทรายกลมุ่ ข จะได้
น�ำแรงบันดาลใจในการสลักมาจากพระพักตร์แบบอู่ทอง แต่ช่างสลักคงจะคุ้นเคยอยู่กับ
งานสลักหนิ แบบศลิ ปะลพบุรมี ากกว่า จงึ มักสลกั พระมสั สุไวด้ ้วยเสมอ

การได้พบพระพุทธรปู แบบอ่ทู อง รนุ่ ที่ ๒ ในกรพุ ระปรางค์วัดราชบูรณะซงึ่ สรา้ ง
เมอื่ พ.ศ. ๑๙๖๗ กค็ งจะกลา่ วไดว้ า่ พระพทุ ธรปู แบบนย้ี งั ทำ� กนั ตอ่ มาในพทุ ธศตวรรษที่ ๒๐
อยา่ งน้อยในปีสถาปนาวดั ราชบรู ณะ ดงั นน้ั ก็น่าจะกำ� หนดอายพุ ระพุทธรปู กลุ่ม ข แบบที่
๑ ราวปลายพทุ ธศตวรรษที่ ๑๙ – ๒๐

๑๓ “พระราชพงศาวดารกรงุ เกา่ ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนติ ,ิ์ ” ประชมุ พงศาวดารเล่ม ๑, หน้า ๑๓๔.

158

พระพักตร์กลมุ่ ข แบบท่ี ๒ รูปท่ี ๑๓
ลักษณะพระพักตร์พระพุทธรูป เศียรพระพุทธรปู หินทราย
ในคลังพิพธิ ภณั ฑสถานแหง่ ชาติ จันทรเกษม
กลุ่ม ข แบบที่ ๒ พฒั นามาจากพระพกั ตร์ ทะเบียน ๒๒๓ วจ.๒๕๑๙/๗๑
กลุ่ม ข แบบท่ี ๑ กล่าวคือ วงพระพักตร์ พระพักตรก์ ลุม่ ข แบบท่ี ๒
ยังเป็นรูปท่ีเหลี่ยม (รูปที่ ๑๓) ลักษณะ
ทเี่ ปลยี่ นแปลงคอื ไมท่ ำ� ไรพระศก ซง่ึ นา่ จะ
เป็นแรงบันดาลใจจากแบบพระพักตร์
ในศลิ ปะสโุ ขทยั นอกจากนก้ี ารทำ� พระขนง
เป็นเส้นนูนต่อกันเป็นรูปปีกกาก็เคย
ปรากฏอยใู่ นพระพทุ ธรปู ในศลิ ปะทวารวดี
ซ่ึงให้อิทธิพลต่อศิลปะลพบุรีและอู่ทอง
มาโดยล�ำดบั แต่ก็ปรากฏให้เห็นนอ้ ย

ลักษณะส�ำคัญอีกประการหน่ึง
ของพระพทุ ธรปู กลุ่ม ข แบบท่ี ๒ คือรศั มี
ทรงดอกบัวตูม มีวงแหวนเป็นแถบแบน
ยกขอบเปน็ มุมแหลมรัดอยู่ทีโ่ คน ลักษณะ
วงแหวนแบบน้มี ีอยใู่ นพระพุทธรูปกลุ่ม ก
ด้วย ดงั ได้กลา่ วมาแลว้

ดงั นนั้ พระพทุ ธรปู กลมุ่ ข แบบท่ี ๒
อาจจะกำ� หนดอายหุ ลงั จากกลมุ่ ข แบบที่ ๑
เลก็ น้อย คอื ราวพุทธศตวรรษท่ี ๒๐

159

แบบพระพกั ตร์

พระพุทธรูปกลุ่ม ค

แบบพระพักตรข์ องพระพทุ ธรปู กลุ่ม ค เปน็ อีกกลุ่มหนงึ่ ที่มีปรมิ าณมาก ลกั ษณะ
พระพกั ตรม์ อี ทิ ธพิ ลของศิลปะสุโขทัยผสมกบั ศิลปะลพบุรี - อทู่ อง ในปรมิ าณเทา่ ๆ กนั

ลกั ษณะที่ได้รับอิทธพิ ลจากศิลปะสุโขทัย คือลักษณะของวงพระพักตร์เป็นรปู ไข่
ค่อนข้างยาว พระนาสิกโด่ง พระเนตรหร่ีเหลือบลง เปลือกพระเนตรมีขีดแบ่งระหว่าง
เปลือกพระเนตรกับพระขนงซงึ่ โกง่ พระขนงสลักเป็นแถบแบนหนา ซึ่งลกั ษณะพระขนง
แบบนมี้ อี ยเู่ ฉพาะพระพทุ ธรปู แบบสโุ ขทยั หมวดกำ� แพงเพชร๑๔ ลกั ษณะทไี่ ดร้ บั อทิ ธพิ ลจาก
ศิลปะลพบุรี คือ พระโอษฐ์ยมิ้ ซ่งึ ริมฝีพระโอษฐ์บนทำ� เป็นมมุ แหลมตรงกลาง มพี ระมัสสุ
เป็นเสน้ เหนอื พระโอษฐ์ มีไรพระศก เมด็ พระศกเป็นตุ่มขนาดเล็ก มกั ท�ำวงแหวนเปน็ เส้น
หรอื แถวกลีบบวั เล็ก ๆ รดั อยู่ท่ใี ตอ้ ุษณษี ะและโคนพระรศั มซี ึ่งเปน็ แบบเปลวไฟ

ไรพระศกทอี่ ยเู่ หนอื พระนลาฏเกยี่ วขอ้ งกบั ศลิ ปะลพบรุ ี - อทู่ อง แตแ่ นวไรพระศก
เป็นแนวล้อกับพระขนงเป็นมุมแหลมที่กลางพระนลาฏตามสุนทรียภาพของพระพุทธรูป
ในศิลปะสุโขทัย (รูปท่ี ๑๔, ๑๕) ลักษณะพระพุทธรูปกลุ่ม ค จึงมีลักษณะพระพักตร์
เทยี บไดก้ ับพระพุทธรปู แบบอ่ทู อง รุ่นท่ี ๓

อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อแตกต่างอย่างส�ำคัญอยู่ท่ีพระมัสสุซ่ึงมีอยู่ประจ�ำใน
พระพุทธรูปทีส่ ลักจากหนิ ทราย แตม่ ักไมพ่ บในพระพทุ ธรูปแบบอทู่ องซึ่งทำ� มาจากสำ� ริด

๑๔ ศักดิ์ชัย สายสิงห์, “พระพุทธรูปหินทรายสกุลช่างพะเยา,” (วิทยานิพนธ์สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ
ภาควชิ าประวตั ิศาสตร์ศิลปะ บัณฑิตวิทยาลยั มหาวทิ ยาลัยศิลปากร, ๒๕๓๒), หน้า ๗๘.
160

รูปที่ ๑๔ เศียรพระพทุ ธรปู หินทรายในคลงั พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม ทะเบยี น ๒๒๓ วจ./๒๕๑๙/๒๘๔ พระพักตรก์ ลุ่ม ค
รูปท่ี ๑๕ เศยี รพระพทุ ธรปู หนิ ทรายในคลงั พพิ ธิ ภัณฑสถานแหง่ ชาติ จันทรเกษม พระพกั ตรก์ ล่มุ ค

พระพทุ ธรปู กลมุ่ ค สามารถกำ� หนดอายเุ ปรยี บเทยี บไดก้ บั พระพทุ ธรปู แบบอทู่ อง
รนุ่ ที่ ๓ คือราวพทุ ธศตวรรษท่ี ๑๙ - ๒๐๑๕ โดยมหี ลักฐานทำ� ให้นา่ เช่อื ว่า พระพุทธรูป
กลมุ่ นน้ี า่ จะแพรห่ ลายอยใู่ นพทุ ธศตวรรษท่ี ๒๐ มากกวา่ เนอ่ื งจากไดค้ น้ พบพระพทุ ธรปู
แบบอทู่ อง รนุ่ ท่ี ๓ อยใู่ นกรพุ ระปรางคว์ ดั ราชบรู ณะเปน็ จำ� นวนมากกวา่ แบบอน่ื ๑๖ ซงึ่ คลา้ ยกบั
พระพักตร์ของพระพทุ ธรปู ปูนปนั้ ซง่ึ เคยประดษิ ฐานอยใู่ นจระนำ� ทิศของปรางคอ์ งค์น๑ี้ ๗

๑๕ ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกลุ , ศลิ ปะในประเทศไทย, หน้า ๓๒.
๑๖ โปรดดู ม.จ.สภุ ทั รดิศ ดศิ กุล, พระพทุ ธรูปและพระพิมพ์..., หนา้ ๑๕ – ๑๗.
๑๗ พระพุทธรูปในจระน�ำวัดราชบูรณะถูกขโมยตัดเศียรไปแล้ว เศียรท่ีเห็นปัจจุบัน กรมศิลปากรบูรณะใหม่
ภาพเก่าดูได้จาก น. ณ ปากนำ้� , ลายปูนปนั้ มัณฑนศิลป์อันเลิศแห่งสยาม (กรุงเทพฯ : ส�ำนกั พมิ พเ์ มืองโบราณ,
๒๕๓๒), หน้า ๔๙ รปู ท่ี ๕๖.

161

แบบพระพักตร์

พระพุทธรปู กลุ่ม ง

ลกั ษณะโดยทว่ั ไปเหมอื นกบั พระพกั ตรก์ ลมุ่ ค และพบเปน็ จำ� นวนมากเชน่ เดยี วกนั
แตล่ กั ษณะส�ำคญั ทีแ่ ตกตา่ งคอื พระพุทธรปู กลุ่ม ง ไมท่ �ำไรพระศก (รปู ท่ี ๑๖, ๑๗)

รปู ท่ี ๑๖
เศียรพระพุทธรูปหินทรายในคลงั พพิ ิธภณั ฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม
ทะเบียน ๒๒๓ วจ./๒๕๑๙/๒๙๐ พระพกั ตรก์ ล่มุ ง
รปู ที่ ๑๗
เศียรพระพทุ ธรปู หนิ ทรายในคลงั พพิ ธิ ภณั ฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม
ทะเบยี น ๒๒๓ วจ./๒๕๑๙/๑๖๒ พระพกั ตร์กลมุ่ ง

162

พระพุทธรูปกลุ่ม ง คงจะนิยม
แพร่หลายอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐
ร่วมกับพระพุทธรูปกลุ่ม ค เนื่องจาก
ได้พบพระพุทธรูปแบบนี้อยู่แล้วท่ีวัด
มหาธาตุ อยธุ ยา สรา้ งเมอ่ื พ.ศ. ๑๙๑๗๑๘
คือพระพุทธรูปหินทรายซึ่งพบชิ้นส่วน
ประกอบกันได้เป็นองค์ประดิษฐานอยู่ใน
ระเบียงคดด้านทิศตะวันตก (รูปท่ี ๑๘)
ต่อมาในปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ก็ยัง
พบพระพุทธรูปซึ่งมีพระพักตร์ลักษณะ
เดียวกันคือ พระพุทธรูปส�ำริดปางลีลา
พบในกรพุ ระปรางคว์ ดั ราชบูรณะ๑๙

รูปที่ ๑๘
พระพุทธรูปหินทราย
ในระเบียงคดวัดมหาธาตุ อยุธยา
พระพักตรก์ ลมุ่ ง

๑๘ “พระราชพงศาวดารกรงุ เก่าฉบบั หลวงประเสรฐิ อักษรนติ ,์ิ ” ประชมุ พงศาวดารเลม่ ๑, หนา้ ๑๓๑.
๑๙ โปรดดู พิริยะ ไกรฤกษ์, ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับแบบศิลปะในประเทศไทย (กรุงเทพฯ : อมรินทร์การพิมพ์,
๒๕๒๐), หน้า ๑๖๕ รูปที่ ๕๗.

163

แบบพระพกั ตร์

พระพุทธรูปกลุ่ม จ

พระพทุ ธรปู กลมุ่ นไี้ ดแ้ สดงใหเ้ หน็ วา่ ชา่ งอยธุ ยาพยายามสรา้ งพระพทุ ธรปู หนิ ทราย
ตามสุนทรียภาพแบบสุโขทัย โดยวงพระพักตร์ท�ำเป็นรูปไข่ รวมทั้งพระโอษฐ์ซึ่งท�ำ
ริมฝีพระโอษฐ์บนเป็นมุมมนต่างจากริมฝีพระโอษฐ์บนซ่ึงเป็นมุมแหลมตามแบบลพบุรี
(รปู ท่ี ๑๙, ๒๐)

รปู ท่ี ๑๙ เศยี รพระพุทธรูปหนิ ทราย
ในคลงั พพิ ธิ ภณั ฑสถานแหง่ ชาติ จนั ทรเกษม
ทะเบียน ๒๒๓ วจ./๒๕๑๙/๔๔
พระพกั ตร์กลุ่ม จ
รปู ท่ี ๒๐ เศยี รพระพุทธรูปหินทราย
ในคลงั พพิ ธิ ภณั ฑสถานแหง่ ชาติ จนั ทรเกษม
ทะเบียน ๒๒๓ วจ./๒๕๑๙/๑๕๔
พระพกั ตร์กลุ่ม จ
รูปที่ ๒๑ พระพทุ ธรปู หนิ ทราย
ปางลลี าสลักนนู สูง
ในคลังพพิ ิธภณั ฑสถานแหง่ ชาติ
จนั ทรเกษม พระพกั ตร์กลมุ่ จ

อย่างไรก็ตาม พระพุทธรูปบางองค์ก็ยังคงท�ำไรพระศกตามแบบพระพุทธรูป
ในศิลปะลพบุรี - อู่ทอง ดังเช่นพระพุทธรูปลีลาสลักนูนสูงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
จันทรเกษม (รูปที่ ๒๑)

ลกั ษณะพระพกั ตรข์ องพระพทุ ธรูปกลมุ่ จ สามารถเปรียบเทยี บได้กับพระพกั ตร์
ของพระพุทธรูปส�ำริดพบในเจดีย์ใหญ่ด้านตะวันออกของวัดพระศรีสรรเพชญ๒์ ๐ ซึ่งสร้าง
เม่ือ พ.ศ. ๒๐๓๔๒๑ และยังเทียบได้กับพระพักตร์ของพระมงคลบพิตร สร้างเมื่อ พ.ศ.
๒๐๘๑๒๒ ดังน้ัน อาจกลา่ วได้ว่าพระพทุ ธรูปกลุ่ม จ น่าจะนยิ มทำ� กันในราวพุทธศตวรรษ
ที่ ๒๑

๒๐ ม.จ.สภุ ัทรดิศ ดศิ กลุ , ศิลปะในประเทศไทย, รปู ที่ ๙๔ และคำ� อธิบายภาพ หนา้ ๔๙.
๒๑ “พระราชพงศาวดารกรงุ เกา่ ฉบบั หลวงประเสรฐิ อักษรนติ ์ิ,” ประชุมพงศาวดารเล่ม ๑, หนา้ ๑๓๕.
๒๒ พระมงคลบพติ ร สันนิษฐานวา่ เปน็ พระพทุ ธรปู องคเ์ ดียวกบั ที่สถาปนาไวท้ ี่วดั ชีเชียง เมือ่ พ.ศ. ๒๐๘๑ โปรดดู
เลม่ เดมิ หนา้ ๑๓๗ ตอ่ มารชั กาลสมเดจ็ พระเจา้ ทรงธรรม ทรงโปรดฯ ใหช้ ะลอมาไว้ ณ ทต่ี งั้ ปจั จบุ นั เพอื่ ปรบั ปรงุ
บริเวณวัดชีเชียงเดิมไว้เป็นที่ส�ำหรับท�ำการพระบรมศพ โปรดดู พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา
เล่ม ๒, พมิ พ์ครงั้ ท่ี ๗ (กรุงเทพฯ : สำ� นักพิมพค์ ลงั วทิ ยา, ๒๕๑๖), หน้า ๒.

164

แบบพระพกั ตร์
พระพทุ ธรปู กล่มุ ฉ

รปู ที่ ๒๒ เศยี รพระพุทธรูปหินทราย พระพทุ ธรปู ในกลมุ่ นม้ี จี ำ� นวนนอ้ ย
ในคลังพิพธิ ภัณฑสถานแหง่ ชาติ จนั ทรเกษม (รปู ที่ ๒๒, ๒๓) ลักษณะวงพระพกั ตร์เปน็
รูปไข่ตามแบบศิลปะสุโขทัย แต่พระโอษฐ์
ทะเบยี น ๒๒๓ วจ./๒๕๑๙/๒๓๕ พระพักตรก์ ล่มุ ฉ มีลักษณะแตกต่างจากที่เคยพบเห็นใน
รูปที่ ๒๓ เศียรพระพุทธรปู หินทราย พระพุทธรูปท่ีท�ำตามแบบศิลปะลพบุรีและ
ในคลังพิพธิ ภณั ฑสถานแห่งชาติ จนั ทรเกษม สุโขทัย กล่าวคือมีขนาดเล็ก ฝีพระโอษฐ์
บางและยนื่ เนือ่ งจากระหว่างพระโอษฐ์กบั
ทะเบยี น ๑๑๐ วจ./๒๕๑๙ พระพักตรก์ ลุ่ม ฉ พระนาสกิ สลักนนู มาก และไมม่ ไี รพระมัสสุ
ทำ� ใหน้ กึ ถงึ ลกั ษณะทป่ี รากฏอยทู่ พี่ ระพทุ ธรปู
ในศิลปะลาว ซึ่งคงเป็นแหล่งบันดาลใจ
อยา่ งหนงึ่ ท่มี ีต่อพระพุทธรูปกลมุ่ น้ี

หลกั ฐานความสมั พนั ธท์ างดา้ นศลิ ปะระหวา่ งลาวกบั อยธุ ยามอี ยนู่ อ้ ย อยา่ งไรกต็ าม
หลกั ฐานทางประวตั ศิ าสตรแ์ สดงใหเ้ หน็ วา่ กรงุ ศรอี ยธุ ยามคี วามสมั พนั ธก์ บั ลาวอยา่ งใกลช้ ดิ
ในรชั กาลสมเดจ็ พระมหาจกั รพรรดิ ดงั จารกึ วดั พระธาตศุ รสี องรกั เมอ่ื พ.ศ. ๒๑๐๓ ทก่ี ลา่ วถงึ
ความสัมพันธ์อันดีระหว่างเมืองท้ังสอง๒๓ และเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ท่ีลาวเข้ามา
เก่ียวข้องในสงครามระหวา่ งอยุธยากับพมา่ ๒๔

เปน็ ไปไดว้ า่ ความเกย่ี วขอ้ งสมั พนั ธก์ นั ทางศลิ ปะมอี ยใู่ นระยะนดี้ ว้ ย ทำ� ใหล้ กั ษณะ
บางอย่างของพระพทุ ธรปู ในศิลปะลาว (ล้านช้าง) เขา้ มาปรากฏในพระพทุ ธรปู หนิ ทราย
อยุธยา ดงั น้นั กำ� หนดอายุของพระพทุ ธรปู กลมุ่ ฉ ควรจะมีอายุราวพุทธศตวรรษท่ี ๒๒

๒๓ กรมศลิ ปากร, จารึกในประเทศไทย เล่ม ๕ (กรุงเทพฯ : โรงพมิ พภ์ าพพิมพ์, ๒๕๒๙), หนา้ ๒๘๙ – ๒๙๔.
๒๔ “พระราชพงศาวดารฉบบั พระราชหัตถเลขา เล่ม ๑” พิมพค์ รัง้ ที่ ๗ (กรงุ เทพฯ : ส�ำนกั พมิ พ์คลงั วทิ ยา,
๒๕๑๖), หน้า ๑๗๗ – ๑๘๕.

165

แบบพระพกั ตร์

พระพทุ ธรูปกลมุ่ ช

พระพุทธรูปกลุ่มน้ีค้นพบน้อย ลักษณะส�ำคัญคือ
วงพระพักตร์เป็นรูปสี่เหลี่ยมค่อนข้างยาว ส่วนบน
(พระนลาฏ) กว้างกว่าส่วนล่าง พระโอษฐ์แม้ว่าจะอมยิ้ม
เลก็ นอ้ ย แตว่ งพระพกั ตรก์ ด็ แู ขง็ กระดา้ ง ตวั อยา่ งทสี่ มบรู ณ์
ทส่ี ดุ ของพระพกั ตรพ์ ระพทุ ธรปู กลมุ่ นอ้ี ยใู่ นพพิ ธิ ภณั ฑสถาน
แหง่ ชาติ เจา้ สามพระยา (รปู ท่ี ๒๔) ลกั ษณะพระโอษฐก์ วา้ ง
อมยมิ้ เลก็ นอ้ ย รมิ ฝพี ระโอษฐบ์ นทำ� เปน็ มมุ แหลมทกี่ ง่ึ กลาง
มีพระมัสสุ และไรพระศกตามแบบศิลปะลพบุรี ซึ่งเป็น รปู ท่ี ๒๔ เศียรพระพทุ ธรปู หนิ ทราย
จดั แสดงในพิพธิ ภณั ฑสถานแห่งชาติ

การยอ้ นกลบั ไปทำ� ตามแบบเดมิ อกี ครงั้ หนงึ่ สว่ นพระเนตร เจา้ สามพระยา พระพักตร์กล่มุ ช
และพระขนงท�ำตามแบบศิลปะสุโขทัยสืบทอดจาก
พระพทุ ธรปู กลุ่มทกี่ ล่าวมาแลว้
ตัวอย่างส�ำคัญอีกชิ้นหน่ึงคือ เศียรพระพุทธรูปพบจากการขุดแต่งในพระอุโบสถ
ท่วี ดั ไชยวฒั นาราม แต่สภาพช�ำรุด (รปู ท่ี ๒๕)
พระพทุ ธรปู หนิ ทรายกลมุ่ นม้ี พี ระพทุ ธรปู ทรงเครอ่ื งรวมอยดู่ ว้ ย คอื เศยี รพระพทุ ธรปู
พบท่ีวัดใหม่บางกะจะ (รูปที่ ๒๖) แม้ว่าจะช�ำรุดมากแต่ยังเห็นเค้าวงพระพักตร์ท่ีสามารถ
เทยี บได้กับวงพระพกั ตร์แบบสี่เหลี่ยมของพระพุทธรปู ทรงเคร่อื งปูนปั้นทีว่ ัดไชยวัฒนาราม

รูปท่ี ๒๕ เศียรพระพทุ ธรูปหนิ ทราย รูปท่ี ๒๖ เศยี รพระพทุ ธรูปทรงเครอ่ื ง
พบจากการขุดแตง่ วดั ไชยวฒั นาราม พบทีว่ ัดใหมบ่ างกะจะ พระพกั ตร์กลุ่ม ช
พระพกั ตร์กลมุ่ ช

166

วัดไชยวัฒนารามสร้างในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง เม่ือ พ.ศ. ๒๑๗๓
ดังนน้ั พระพุทธรูปกลุม่ ฉ กน็ า่ จะมีอายุอยู่ในราวพทุ ธศตวรรษที่ ๒๒
สรุป

จากการศึกษารูปแบบพระพักตร์พระพุทธรูปหินทรายสมัยอยุธยา สามารถแบ่ง
ออกไดเ้ ป็น ๗ กลมุ่ ตามลกั ษณะอิทธิพล และแหล่งบันดาลใจจากศลิ ปกรรมหลายแบบ
มาผสมผสานกันจนเกิดลักษณะเฉพาะตามความนิยมแตล่ ะยคุ สมัย สามารถสรปุ ได้ดังนี้

๑. เนื่องจากบริเวณเมืองพระนครศรีอยุธยาก่อนเป็นราชธานีเป็นบริเวณที่
ศลิ ปกรรมแบบลพบรุ เี คยเจรญิ รงุ่ เรอื งมากอ่ น ดงั นนั้ จงึ พบวา่ พระพทุ ธรปู หนิ ทรายในระยะ
ก่อนและแรกสถาปนากรุงศรีอยุธยาได้รับอิทธิพล และแหล่งบันดาลใจจากศิลปะลพบุรี
ตอนปลาย คอื วงพระพกั ตรค์ อ่ นขา้ งกลม สพี ระพกั ตร์ยม้ิ พระโอษฐ์กว้าง รมิ ฝีพระโอษฐ์
บนเป็นมุมแหลมท่กี ึ่งกลาง พระมสั สเุ ปน็ เสน้ มีอย่เู สมอ พระนาสิกค่อนข้างส้ัน พระเนตร
เหลือบลง พระขนงเป็นเสน้ นูนโคง้ เมด็ พระศกเปน็ ตมุ่ เล็ก มไี รพระศกอยู่เหนอื พระนลาฏ
ไดแ้ ก่ แบบพระพกั ตรพ์ ระพทุ ธรปู หนิ ทรายทจี่ ดั ไวเ้ ปน็ กลมุ่ ก แบบที่ ๑ ซงึ่ กำ� หนดอายรุ าว
ปลายพทุ ธศตวรรษที่ ๑๙ ถงึ ต้นพทุ ธศตวรรษที่ ๒๐

การพัฒนาของแบบพระพักตร์พระพุทธรูปกลุ่ม ก เกิดจากการท�ำรายละเอียด
ภายในวงพระพักตร์ท่ีได้รับแหล่งบันดาลใจจากศิลปะสุโขทัยเข้ามาผสมผสานมากบ้าง
นอ้ ยบา้ ง ดงั ปรากฏอยใู่ นแบบพระพกั ตรก์ ลมุ่ ก แบบที่ ๒ ซง่ึ กำ� หนดอายรุ าวพทุ ธศตวรรษ
ท่ี ๒๐

ในระยะเดยี วกนั นอี้ ทิ ธพิ ลศลิ ปะพมา่ แบบพกุ ามไดม้ สี ว่ นเปน็ แรงบนั ดาลใจอยดู่ ว้ ย
คอื พระพทุ ธรูปกลุม่ ก แบบที่ ๓

๒. ในระยะคาบเกีย่ วกับการท�ำพระพุทธรปู ซึ่งมีแบบพระพักตรก์ ลุ่ม ก กม็ กี ารทำ�
พระพุทธรูปซึ่งมีพระพักตร์รูปส่ีเหล่ียม คือ พระพุทธรูปกลุ่ม ข ซ่ึงเก่ียวข้องกับอิทธิพล
ศิลปะแบบอู่ทอง รุ่นท่ี ๒ แม้ว่ารายละเอียดบนพระพักตร์ของพระพุทธรูปกลุ่มน้ีจะไม่
สามารถแยกออกจากพระพักตร์กลุ่ม ก อย่างชัดเจน แต่วงพระพักตร์ซ่ึงเป็นส่ีเหล่ียม
ก็เก่ียวข้องกับศิลปะอู่ทองยิ่งกว่าศิลปะลพบุรี โดยแบบพระพักตร์กลุ่ม ข ก�ำหนดอายุ
อยู่ในราวปลายพทุ ธศตวรรษที่ ๑๙ ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐ เช่นกนั

๓. ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ช่างชาวอยุธยาได้พัฒนาพระพุทธรูปท่ีมีการ
ผสมผสานระหว่างลักษณะส�ำคัญในศิลปะลพบุรีกับศิลปะสุโขทัย ในปริมาณเท่า ๆ กัน

167

คือ พระพุทธรูปซึ่งจัดไวเ้ ป็นกลุม่ ค ซึง่ สามารถเทยี บไดก้ ับพระพทุ ธรปู แบบอทู่ อง รุ่นท่ี ๓
ลักษณะส�ำคัญคือ พระโอษฐ์ พระมัสสุ และไรพระศก ท�ำตามแหล่งบันดาลใจในศิลปะ
ลพบุรี ขณะทว่ี งพระพกั ตร์รปู ไขค่ ่อนข้างยาว พระนาสิก พระขนง และพระรศั มีท�ำตาม
แหลง่ บันดาลใจในศิลปะสุโขทยั

๔. ในพุทธศตวรรษเดียวกันมีการท�ำพระพุทธรูปอีกกลุ่มหนึ่งที่มีอิทธิพลของ
ศิลปะสุโขทัยมากกวา่ ศิลปะลพบรุ เี ล็กนอ้ ย คือ พระพทุ ธรปู กลุ่ม ง ลักษณะวงพระพกั ตร์
และรายละเอียดโดยรวมในพระพักตร์ท�ำตามแบบพระพุทธรูปกลุ่ม ค มีข้อแตกต่าง
แต่เพียงพระพักตร์ กลุ่ม ง ไม่ท�ำไรพระศก คือพยายามท�ำตามสุนทรียภาพแบบสุโขทัย
มากกวา่ ต่อจากนีก้ ารสลกั พระพทุ ธรปู หนิ ทรายมีแนวโน้มลดลง

๕. ในระยะต่อมาช่างชาวอยุธยาพยายามสลักพระพุทธรูปหินทรายตาม
สนุ ทรยี ภาพแบบพระพทุ ธรปู สโุ ขทยั มากยงิ่ กวา่ แตก่ อ่ น โดยทำ� วงพระพกั ตรร์ ปู ไข่ เทยี บได้
ใกลเ้ คียงกับพระพุทธรูปแบบสโุ ขทยั หมวดใหญ่ รวมทั้งลักษณะอยา่ งอน่ื ไดแ้ ก่ พระโอษฐ์
พระนาสกิ พระขนง พระรศั มี ทง้ั นย้ี กเว้นพระมัสสแุ ละไรพระศกซึง่ ยังคงปรากฏอยบู่ ้าง
พระพทุ ธรูปกลุ่มนี้คือ พระพทุ ธรปู ทีจ่ ดั ไว้เปน็ กลมุ่ จ กำ� หนดอายรุ าวพุทธศตวรรษท่ี ๒๑
และน่าจะทำ� ตอ่ เนอื่ งมาในพทุ ธศตวรรษท่ี ๒๒ ด้วย

๖. พระพทุ ธรปู ซง่ึ ทำ� แบบพระพกั ตรร์ ปู ไขค่ งจะทำ� สบื ตอ่ มาในพทุ ธศตวรรษท่ี ๒๒
ด้วย อย่างไรก็ตาม ในระยะนี้ได้พบพระพุทธรูปบางองค์ซ่ึงท�ำพระโอษฐ์ขนาดเล็ก
และยืน่ ริมฝีพระโอษฐ์บางและย้มิ ซึง่ นา่ จะได้รับอทิ ธพิ ลศลิ ปะลาวเขา้ มาผสมอยดู่ ว้ ย

๗. พระพทุ ธรปู หนิ ทรายสมยั อยธุ ยากลมุ่ สดุ ทา้ ย คงทำ� กนั ในราวปลายพทุ ธศตวรรษ
ที่ ๒๒ พระพุทธรูปกลุ่มน้ีมีวงพระพักตร์รูปส่ีเหล่ียมค่อนข้างยาว ส่วนบน (พระนลาฏ)
กวา้ งกวา่ สว่ นลา่ ง พระโอษฐแ์ มว้ า่ จะอมยม้ิ เลก็ นอ้ ย แตว่ งพระพกั ตรก์ ด็ แู ขง็ กระดา้ ง บางครงั้
ก็หันกลับไปท�ำไรพระศกอีกครั้งหน่ึง ในสมัยน้ีได้พบพระพุทธรูปหินทรายทรงเครื่อง
รวมอยูด่ ้วย

168

บรรณานกุ รม
ค�ำให้การชาวกรุงเก่า ค�ำให้การขุนหลวงหาวัด และพระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับ
หลวงประเสรฐิ อกั ษรนติ .ิ์ พมิ พค์ รงั้ ที่ ๒. พระนคร : สำ� นกั พมิ พค์ ลงั วทิ ยา, ๒๕๑๕.
ดำ� รงราชานภุ าพ, สมเดจ็ พระเจา้ บรมวงศเ์ ธอ กรมพระยา. ตำ� นานพระพทุ ธเจดยี .์ พมิ พค์ รงั้ ที่ ๓
กรงุ เทพฯ : องค์การค้าของครุ ุสภา, ๒๕๑๘.
-------------------.“เรอื่ งวดั ปา่ แกว้ ”พระราชพงศาวดารฉบบั พระราชหตั ถเลขา เลม่ ๑.พมิ พค์ รง้ั ท่ี๗.
กรงุ เทพฯ : ส�ำนักพมิ พ์คลังวิทยา, ๒๕๑๖.
น. ณ ปากน�้ำ. ลายปูนปั้นมัณฑนศิลป์อันเลิศแห่งสยาม. กรุงเทพฯ : ส�ำนักพิมพ์
เมอื งโบราณ, ๒๕๓๒.
------------------.พทุ ธประตมิ ากรรมในประเทศไทย. กรงุ เทพฯ : สำ� นกั พมิ พเ์ มอื งโบราณ, ๒๕๓๓.
-------------------.ศลิ ปกรรมแหง่ อาณาจกั รศรอี ยธุ ยา. กรงุ เทพฯ : หา้ งหนุ้ สว่ นจำ� กดั โอเดยี นสโตร์
๒๕๑๖.
-------------------.“พระพทุ ธรปู สมยั กอ่ นกรงุ ศรอี ยธุ ยา” เมอื งโบราณ ๙ (๓ ) (สงิ หาคม - พฤศจกิ ายน
๒๕๒๖) : ๕๑ - ๕๘.
บริบาลบรุ ีภัณฑ์, หลวง. “พระพุทธรูปสมัยอู่ทอง” ศิลปากร ๑ (๒) (กรกฎาคม ๒๕๐๐) :
๔๖ - ๕๑.
บัญชีโบราณวัตถุของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ประชุมพงศาวดารเล่ม ๑. พระนคร : องค์การค้าของครุ สุ ภา, ๒๕๐๖.
พระราชพงศาวดารฉบบั พระราชหตั ถเลขา เลม่ ๑ - ๒ พมิ พค์ รง้ั ท่ี ๗. กรงุ เทพฯ : อมรนิ ทร์
การพมิ พ์, ๒๕๑๖.
พริ ยิ ะไกรฤกษ.์ ขอ้ คดิ เหน็ เกย่ี วกบั แบบศลิ ปะในประเทศไทย.กรงุ เทพฯ:อมรนิ ทรก์ ารพมิ พ,์
๒๕๒๐.
-----------------.“ประตมิ ากรรมในประเทศไทย” เมืองโบราณ ๙ (๓) (สิงหาคม - พฤศจิกายน
๒๕๓๖) : ๑๒ - ๒๕.
-----------------.“การปรับเปลี่ยนเวลาของสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยา” สยามอารยะ ๒ (๑๒)
(ธนั วาคม ๒๕๓๖) : ๒๑ - ๓๒, ๖๙ - ๗๒.
ยอร์ช เซเดส์, และบวสเซอลีเย่. ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล (ทรงแปล). ประวัติศิลปะ
ในประเทศไทย. พระนคร : โรงพิมพม์ หาวิทยาลยั ธรรมศาสตร,์ ๒๕๐๘.
ศิลปากร, กรม. พระพุทธรูปและพระพิมพ์ในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัด
พระนครศรีอยุธยา. พระนคร : ห้างหนุ้ ส่วนจ�ำกัดศิวพร. ๒๕๐๒.

169

ศิลปากร, กรม. ศลิ ปกรรมสมยั อยธุ ยา. กรุงเทพฯ : โรงพมิ พ์การศาสนา, ๒๕๑๔.
------------------.จารกึ ในประเทศไทย เล่ม ๕. กรุงเทพฯ : โรงพิมพภ์ าพพิมพ,์ ๒๕๒๙.
--------------.“แบบพระพักตร์ของพระพุทธรูปในจิตรกรรมผนังคูหาปรางค์วัดมหาธาตุ
ราชบรุ ี” เมืองโบราณ ปที ี่ ๑๑ ฉบบั ท่ี ๔ (ตลุ าคม - ธันวาคม ๒๕๒๘) : ๕๘ - ๖๖.
ศกั ดชิ์ ยั สายสงิ ห.์ พระพทุ ธรปู หนิ ทรายสกลุ ชา่ งพะเยา. วทิ ยานพิ นธส์ าขาวชิ าประวตั ศิ าสตร์
ศิลปะ บณั ฑติ วิทยาลยั มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๓๒.
สันติ เล็กสุขุม, เจดีย์เพ่ิมมุม เจดีย์ย่อมุมสมัยอยุธยา. กรุงเทพฯ : อมรินทร์การพิมพ์,
๒๕๒๙.
สภุ ทั รดศิ ดศิ กลุ ,หมอ่ มเจา้ .ศลิ ปะในประเทศไทย.พมิ พค์ รง้ั ที่๘.กรงุ เทพฯ:อมรนิ ทรก์ ารพมิ พ,์
๒๕๒๘.
------------------.ศลิ ปะสมยั ลพบุร.ี พระนคร : ห้างหุน้ ส่วนจ�ำกดั ศวิ พร, ๒๕๑๐.
Boribhand, Boribla Luang and Griswold A.B. “Sculpture of Peninsular Siam in
theAyuthayaPeriod”TheJournaloftheSiamsociety(JSS)Vol.XXXVIII,
P.T.2 (January 1995) : 1 - 60
Diskul,SubhadradisM.C.andGriswoldA.B.(ThedoreBowie,editor). TheSculpture
of Thailand. New York : The Asia Society, 1972.
Le May, Reginaid. A Concise History of Buddhist Art in Siam. 2nd edition. Japan :
Charle E. Tuttle Co.Ltd., 1963.
Rajani, Chand Chirayu, M.C. Thai imageries os Suwandbhumi. White Lotus
Co.Ltd., 1987.
The Art Council of the Great Britain. The Art of Thailand. 1964.

170

กระเบ้ืองเชิงชาย
สมัยอยธุ ยา

กระเบ้ืองเชิงชาย :
ลักษณะ ความหมาย และอาคารทีใ่ ชก้ ระเบอ้ื งเชงิ ชาย

ความหมาย ของคำ� ว่า “กระเบื้อง” และ “กระเบอ้ื งเชงิ ชาย” สมเด็จฯ เจ้าฟา้
กรมพระยานรศิ รานวุ ดั ตวิ งศท์ รงอธบิ ายวา่ “กระเบอื้ ง” เปน็ คำ� ไทยหมายความวา่ ดนิ เผา๑
ดังน้ันค�ำว่า “กระเบ้ือง” จึงบอกชนิดของวัสดุ ไม่ได้บอกหน้าท่ีว่าจะต้องมุงหลังคาหรือ
ปูพื้นเท่านั้น เพราะยังมีภาชนะอย่างอ่ืนท่ีท�ำมาจากดินเผาก็เรียก “กระเบ้ือง” เช่น
เรียกเครื่องถ้วยสุโขทัยว่า “เคร่ืองกระเบ้ืองเคลือบ”๒ และเรียกเครื่องถ้วยจีนชนิด
เคลอื บใสว่า “กระเบ้ืองกงั ไส”๓ เปน็ ต้น

ส่วนพจนานุกรมศัพท์ศิลปกรรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของ
“กระเบ้ือง” ว่าหมายถึงเครื่องใช้ เคร่ืองตกแต่ง และทัพสัมภาระ คือ อุปกรณ์ในการ
ก่อสร้างชนิดหน่ึงท�ำข้ึนด้วยดินชนิดต่าง ๆ เผาให้สุกท�ำให้เน้ือแกร่ง ชนิดเคลือบผิว

๑ เป็นลายพระหัตถส์ มเด็จฯ เจา้ ฟ้ากรมพระยานรศิ รานุวัดตวิ งศ์ ทรงบันทกึ เรอื่ งความรู้ต่าง ๆ ประทานพระยา
อนมุ านราชธน. สมเดจ็ ฯ เจา้ ฟา้ กรมพระยานรศิ รานวุ ดั ตวิ งศ์ และพระยาอนมุ านราชธน, บนั ทกึ เรอื่ งความรตู้ า่ ง ๆ
เลม่ ๒, พิมพค์ รัง้ ที่ ๒ (กรงุ เทพฯ : บรษิ ทั สำ� นักพิมพ์ไทยวฒั นาพานิช จ�ำกัด, ๒๕๒๑), หนา้ ๙๘.
๒ สมเดจ็ ฯ เจา้ ฟา้ กรมพระยานรศิ รานวุ ดั ตวิ งศ,์ จดหมายเหตรุ ะยะทางไปพษิ ณุโลก (ม.ป.ท., ๒๕๐๖. พิมพเ์ ปน็
อนุสรณใ์ นการฉลองวนั ประสูติครบ ๑๐๐ ปี วันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๖), หน้า ๕๘ - ๕๙.
๓ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, ประมวลพระราชนิพนธ์เบ็ดเตล็ด (ม.ป.ท., ๒๕๐๘. พิมพ์แจก
เปน็ อนสุ รณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ม.ล. ประจวบ กล้วยไม้ ณ เมรวุ ัดสังเวชวศิ ยาราม วนั ที่ ๔ กนั ยายน
๒๕๐๘), หน้า ๑๕๑.

171

ด้วยน้�ำยา ท�ำให้มีสีหรือความมันวาวก็มี๔ แต่พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
พ.ศ. ๒๕๒๕ ให้ความหมายของ “กระเบื้อง” ว่าเครื่องมุงหลังคาหรือปูพื้น เป็นต้น
ท�ำดว้ ยดนิ หรอื วัสดุอยา่ งอ่ืน โดยปรกตเิ ป็นแผ่น หรอื เคร่ืองถ้วยชามที่ป้นั ด้วยดนิ ประสม
อย่างดี เนื้อมีลักษณะแข็งและขาวเคลือบผิวเป็นมัน มีพื้นหรือลวดลายเป็นสีต่าง ๆ
เรยี กรวมว่าเครอ่ื งกระเบ้อื ง๕

จะเหน็ วา่ ความหมายของคำ� “กระเบอื้ ง” ในปจั จบุ นั เปลยี่ นแปลงไปจากความหมาย
ดง้ั เดมิ มากพอสมควร เพราะคำ� “กระเบอ้ื ง” ในบางความหมายดเู หมอื นวา่ จะบง่ บอกหนา้ ที่
ใช้งาน คือ หมายถึงสิ่งของที่ท�ำหน้าท่ีมุงหลังคาและปูพ้ืน จะท�ำมาจากวัสดุใด ๆ ก็ได้
ไมเ่ ฉพาะเจาะจงว่าต้องเปน็ “ดนิ เผา”

ดังนั้นปัจจุบันเม่ือกล่าวถึง “กระเบื้อง” จึงต้องมีค�ำต่อท้ายที่บอกชนิดของวัสดุ
กำ� กบั ไวด้ ้วยเสมอ เชน่ กระเบอื้ งดีบุก กระเบือ้ งยาง กระเบื้องซีเมนต์ กระเบือ้ งกระดาษ
เปน็ ต้น จึงมีท่ใี ช้ค�ำวา่ “กระเบอ้ื งดินเผา” เรยี กวัสดุท่ีใชม้ งุ หลงั คาหรอื ปูพื้นซึ่งท�ำมาจาก
“กระเบื้อง” และใชค้ �ำว่า “กระเบ้ืองดนิ เผาเคลือบ” เรยี กวัสดุทใ่ี ช้มุงหลงั คาหรอื ปพู ้ืนซ่ึง
ทำ� มาจาก “กระเบอ้ื งเคลอื บ” ซงึ่ ทง้ั “กระเบอ้ื ง” และ “ดนิ เผา” ลว้ นเปน็ คำ� ทม่ี คี วามหมาย
เดยี วกัน

กระเบอ้ื งเชิงชาย หรอื ท่ีเรียกว่ากระเบอ้ื งหนา้ อดุ ค�ำวา่ “เชงิ ชาย” เปน็ ศัพท์ชา่ ง
หมายถึง แผ่นไมป้ ดิ ชายคา คอื ปลายจันทัน และส�ำหรับรบั ชายคาที่ไม่มกี ลอน๖ ตามนยั
ความหมายนี้มิได้มีความหมายเก่ียวข้องกับกระเบื้องมุงหลังคาท่ีอยู่ริมล่างสุดของผืน
หลังคาแต่ละตับ ซึ่งมีชื่อเรียกเป็นการเฉพาะว่า “กระเบ้ืองเชิงชายคา”๗ แต่ดูเหมือนว่า
ค�ำน้ีจะไม่พบที่ใช้กันมากนักท้ังภาษาพูดและภาษาเขียน จะพบแต่เพียงว่า “กระเบ้ือง
เชงิ ชาย” เสมอ

๔พจนานกุ รมศพั ทศ์ ลิ ปกรรมอกั ษรกฉบบั ราชบณั ฑติ ยสถาน,พมิ พค์ รง้ั ท่ี๒(กรงุ เทพฯ:บรษิ ทั บพธิ การพมิ พ์จำ� กดั ,
๒๕๓๒), หน้า ๓๒.
๕ พจนานกุ รมฉบบั ราชบณั ฑติ ยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕, พมิ พค์ รง้ั ที่ ๔ (กรงุ เทพฯ : สำ� นกั พมิ พอ์ กั ษรเจรญิ ทศั น,์ ๒๕๓๑),
หนา้ ๓๘.
๖ ประยูร อลุ ุชาฎะ (น. ณ ปากน�้ำ), พจนานกุ รมศลิ ป,์ พิมพ์ครั้งที่ ๓ (กรงุ เทพฯ : ศูนย์การพมิ พพ์ ลชยั , ๒๕๓๐),
หน้า ๗๘.
๗ เรื่องเดียวกนั , หนา้ ๖ และ ๗๘.
172

กระเบื้องเชิงชาย คือ กระเบ้ืองมุงหลังคาตัวที่มุงไว้ริมล่างสุดของผืนหลังคา
แตล่ ะตับ แตเ่ รียกเฉพาะกระเบอ้ื งที่ท�ำทรงสามเหลี่ยมหรอื ทรงอน่ื และมีลวดลายประดบั
ไว้ด้วยเท่าน้ัน ส่วนกระเบ้ืองมุงหลังคาปรกติแม้ว่าจะมุงไว้ที่ริมสุดของหลังคาแต่ละตับ
ก็จะไม่เรยี กว่ากระเบื้องเชิงชาย

กระเบอื้ งเชิงชายมีอยใู่ นศลิ ปะเขมร - ลพบุรี เทา่ ท่ีพบเปน็ กระเบอ้ื งเชิงชายของ
กระเบ้อื งลอน ทำ� เป็นรูปกลีบบัว รปู เศียรนาค รูปหนา้ บคุ คล รปู เทพพนม และรูปครฑุ
ยุดนาค เป็นต้น

นกั วชิ าการบางทา่ นอธบิ ายวา่ ในสมยั อยธุ ยา หลงั คาอโุ บสถ วหิ าร ศาลาการเปรยี ญ
มกั มงุ ดว้ ยกระเบอื้ งลอน เมอื่ มงุ มาสน้ิ สดุ ตรงเชงิ ชายจะมองเหน็ เปน็ รโู หวเ่ ปน็ แนวไปตลอด
ถ้าไม่ปิดเสีย จะเป็นช่องทางให้นกและหนูลอดเข้าไปท�ำรังข้างในจะเดือดร้อน จึงต้องมี
กระเบ้ืองเชิงชายปิดเชิงกระเบ้ืองลอนน้ัน๘ ค�ำอธิบายดังกล่าวย่อมบ่งบอกถึงหน้าท่ีของ
กระเบ้ืองเชิงชายว่า มหี น้าที่อุดชอ่ งวา่ งทีช่ ายคา ดังน้นั ในบางคร้งั จงึ มคี �ำเรยี กกระเบ้ือง
เชิงชายเปน็ อกี อยา่ งหน่งึ วา่ “กระเบ้ืองหนา้ อดุ ”

แตก่ รณงี านประดบั หลงั คาปราสาทหนิ งานสลกั เลยี นแบบกระเบอื้ งเชงิ ชายกม็ ไิ ด้
ทำ� หนา้ ทอ่ี ดุ ชอ่ งวา่ งแตอ่ ยา่ งใด อกี ทง้ั กระเบอื้ งมงุ หลงั คาในระยะตอ่ มา เชน่ ในสมยั อยธุ ยา
ก็พบทั้งกระเบ้ืองลอน และกระเบ้ืองแผ่น ล้วนท�ำกระเบื้องเชิงชายทั้งสิ้น จึงท�ำให้คิด
ตอ่ ไปไดว้ า่ กระเบอ้ื งเชงิ ชายนา่ จะมหี นา้ ทอ่ี ยา่ งอนื่ อยดู่ ว้ ย นอกจากการอดุ ชอ่ งวา่ งทปี่ ลาย
กระเบอ้ื งมงุ หลงั คาเพยี งอยา่ งเดยี ว เพราะวา่ หนา้ ทนี่ สี้ ามารถใชอ้ ธบิ ายไดเ้ ฉพาะกระเบอื้ ง
ลอนเทา่ น้นั

ลกั ษณะของกระเบอ้ื งและการมุงกระเบือ้ ง
กระเบื้องมุงหลังคาสมัยอยุธยามี ๒ แบบ ในที่นี้จะเรียกว่ากระเบ้ืองลอนและ

กระเบื้องแผ่น มีใช้ควบคู่กันมาต้ังแต่สมัยอยุธยาตอนต้น มีหลักฐานปรากฏในภาพ
จิตรกรรมฝาผนัง เช่น ภาพอาคารในเรื่องชาดกตอนหนึ่งในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ
ซึ่งเขยี นข้นึ ในราว พ.ศ. ๑๙๖๗๙

๘ เรอ่ื งเดียวกนั , หนา้ ๗๘.
๙ “พระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอกั ษรนติ ์ิ,” ค�ำใหก้ ารชาวกรงุ เกา่ คำ� ให้การขนุ หลวงหาวัด
และพระราชพงศาวดารกรงุ เกา่ ฉบบั หลวงประเสรฐิ อกั ษรนติ ์ิ, พมิ พค์ รงั้ ท่ี ๒ (พระนคร : สำ� นกั พมิ พค์ ลงั วทิ ยา,
๒๕๑๕), หนา้ ๔๔๖.

173

กระเบ้ืองเชิงชายพบทั้งที่ใช้กับกระเบ้ืองลอนและกระเบื้องแผ่น โดยกระเบื้อง
เชิงชายของกระเบ้ืองลอนติดอยู่กับกระเบื้องตัวผู้ แต่กระเบื้องเชิงชายของกระเบ้ืองแผ่น
ตดิ อยู่กับกระเบื้องตัวเมยี

กระเบือ้ งลอน
กระเบอื้ งลอนมที เี่ รยี กเปน็ อยา่ งอนื่ วา่ “กระเบอื้ งกาบกลว้ ย” และ “กระเบอ้ื งลกู ฟกู ”๑๐
ซงึ่ หมายถงึ กระเบอื้ ง “กาบ”ู หรอื “กระบ”ู ๑๑ ซงึ่ มบี างแหง่ เขยี นวา่ “กบ”ู หรอื “ลบ”ู หรอื
“ลาบู” มาจากลกั ษณะการมุงหลงั คาบ้านดว้ ยไมไ้ ผผ่ ่าสอง เอาคว่ำ� อนั หงายอัน๑๒ ทพ่ี บใน
โบราณสถานสมยั อยธุ ยา หลงั คากระเบอื้ งลอนประกอบดว้ ยกระเบอื้ ง ๒ ชนดิ คอื กระเบอื้ ง
ตวั เมียและกระเบ้ืองตัวผู้ ต่างกม็ ขี อสำ� หรับเก่ยี วกับระแนงไม้ ส�ำหรบั หลังคามุงกระเบ้ือง
ลอนนัน้ กระเบ้ืองเชงิ ชายจะตดิ อยู่กบั กระเบื้องตัวผู้
กระเบอื้ งตวั เมยี มลี กั ษณะแบน กวา้ ง ยกขอบสองขา้ ง ทำ� ขอสำ� หรบั เกย่ี วระแนงไวใ้ ต้
แผ่นกระเบ้ืองตอนบนซ่ึงปรกติมีลักษณะเป็นปุ่มสี่เหล่ียมเล็ก ๆ ส่วนกระเบ้ืองตัวผู้คือ
ตัวที่เหมือนกระบอกไม้ไผ่ผ่าสองหรือกาบกล้วย มีขอส�ำหรับเก่ียวกับระแนงไม้ซ่ึงปรกติ
ท�ำเป็นทรงกรวยยาวคล้ายงวงช้าง
เม่ือมุงหลังคา กระเบื้องตัวเมียจะวางหงาย ปลายกระเบ้ืองตัวเมียตอนล่างของ
แถวบนต้องทับบนปลายตอนบนของแถวถัดไป ดังน้ัน ตอนบนของกระเบ้ืองตัวเมีย
แต่ละแผ่นจึงท�ำให้กว้างกว่าตอนล่าง เพื่อที่ว่าปลายตอนล่างของแถวบน สามารถวาง
ซ้อนทบั ทปี่ ลายตอนบนของแถวตอ่ ๆ ไปไดพ้ อดี ส่วนระยะหา่ งระหวา่ งกระเบ้อื งตัวเมีย
แตล่ ะแผน่ ในแถวเดยี วกนั จะกำ� หนดใหพ้ อดกี บั ความกวา้ งของกระเบอ้ื งตวั ผทู้ จ่ี ะมาครอบ
กระเบื้องตัวผู้จะครอบลงท่ีขอบของกระเบื้องตัวเมีย และปลายตอนล่างของ
กระเบื้องแถวบนต้องครอบทับบนปลายตอนบนของกระเบื้องแถวล่าง ท�ำนองเดียวกับ
การวางกระเบอ้ื งตวั เมยี ตา่ งกนั ทก่ี ระเบอื้ งตวั ผวู้ างควำ่� จงึ ทำ� ใหค้ วามกวา้ งทปี่ ลายตอนบน
ของกระเบ้อื งแคบกว่าปลายตอนล่าง

๑๐ “ค�ำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม,” แถลงงานประวัติศาสตร์ เอกสาร โบราณคดี ๓ (๑), (มกราคม
๒๕๑๒) : ๕๖.
๑๑ ประยูร อลุ ุชาฎะ (น. ณ ปากน้ำ� ), พจนานุกรมศลิ ป,์ หนา้ ๑๕.
๑๒ สมเดจ็ ฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวดั ติวงศ์, สาส์นสมเดจ็ เล่ม ๒๕, หนา้ ๑๗.

174

ภาพลายเส้นแสดงลกั ษณะของกระเบ้ืองลอน
ตัวผู้ ตัวเมยี และลกั ษณะการมงุ และประดบั กระเบือ้ งเชงิ ชาย

กระเบ้อื งแผน่
กระเบอ้ื งแผน่ มชี อื่ เรยี กอกี อยา่ งหนง่ึ วา่ “กระเบอื้ งหนา้ งวั ” เคยเขา้ ใจกนั มากอ่ นวา่
“งัว” ค�ำนี้คือสัตว์ที่เรียกว่า “วัว” แต่สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
ทรงอธบิ ายวา่ “หนา้ ” หมายความวา่ แบนราบ สว่ น “งวั ” แปลวา่ กระเบอ้ื ง เปน็ คำ� ญวน๑๓
ดังนั้น “กระเบ้ืองหน้างัว” จึงเป็นค�ำเรียกกระเบื้องแผ่นแบนราบ กระเบื้องแผ่นยังมี
ค�ำต่อท้ายเพ่ือบ่งบอกลักษณะของกระเบ้ืองแผ่นที่แตกต่างกัน เช่น กระเบ้ืองเกล็ดเต่า
และกระเบือ้ งดินขอ เปน็ ตน้
กระเบ้ืองเกลด็ เตา่ คอื กระเบื้องแผ่นแบนราบปลายโค้งแหลม มที มี่ าจากใบไม๑้ ๔
มปี มุ่ เล็ก ๆ ไวเ้ กย่ี วกบั ระแนง ประกอบด้วย กระเบ้อื งตัวผู้ และตัวเมยี กระเบอื้ งตวั เมยี
จะยาวกวา่ ตวั ผู้ และมีรอยบากท่บี า่ ทง้ั สองข้าง เป็นช่องส�ำหรบั ให้เดือยของกระเบือ้ งตวั ผู้

๑๓ สมเดจ็ ฯ เจ้าฟา้ กรมพระยานริศรานุวดั ติวงศ์ และพระยาอนมุ านราชธน, บันทึกเร่ืองความรู้ตา่ ง ๆ เล่ม ๒,
หน้า ๙๘.
๑๔ พจนานุกรมศพั ท์ศิลปกรรม อักษร ก ฉบบั ราชบัณฑิตยสถาน, หน้า ๙๑.

175

ภาพลายเส้นแสดงลักษณะของกระเบอ้ื งแผน่ ผ่านลงไปเกี่ยวกับระแนง ส�ำหรับหลังคา
และลักษณะการมงุ หลงั คาและประดบั กระเบอื้ งเชิงชาย มุงกระเบ้ืองเกล็ดเต่า กระเบื้องเชิงชาย
จะติดอยกู่ บั กระเบ้ืองตวั เมยี

เมอ่ื มงุ หลงั คาวางกระเบอ้ื งตวั เมยี
ไว้ช้ันล่างเรียงให้ขอบชิดกันโดยตลอด
กระเบ้ืองตัวผู้วางทับชั้นบน วางเรียงให้
ขอบชดิ กนั เชน่ เดยี วกนั กระเบอื้ งตวั ผจู้ งึ ปดิ
ทับตรงรอยตอ่ ของกระเบ้ืองตวั เมียพอดี

กระเบอ้ื งดินขอ คือ กระเบอื้ งแผน่ แบนราบปลายตดั ตรง บอกลกั ษณะส่วนท่ีใช้
เกยี่ วกบั ระแนง วา่ เหมอื น ขอ ซงึ่ ปรกตทิ ำ� ปลายดา้ นหนง่ึ หกั งอไดฉ้ ากเอาไวเ้ กยี่ วกบั ระแนง
ไม้

เม่ือมุงหลังคา กระเบื้องตัวเมียวางชั้นล่าง เรียงให้ขอบชิดกัน กระเบ้ืองตัวผู้
วางทับบนรอยต่อของกระเบื้องตัวเมีย โดยขอของกระเบื้องตัวผู้จะเกี่ยวอยู่บนขอของ
กระเบ้ืองตัวเมีย หลังคากระเบ้ืองขอเม่ือมุงเสร็จแล้วปลายล่างของกระเบื้องตัวผู้และ
ตัวเมียจะเสมอเป็นแนวเดียวกัน ดังน้ัน ความยาวของกระเบื้องตัวผู้ต้องยาวกว่า
กระเบือ้ งตัวเมยี เลก็ นอ้ ย ขณะที่ความกวา้ งของทุกแผ่นตอ้ งเท่ากัน

เทคนิคการท�ำ กระเบอ้ื งเชิงชาย
กระเบื้องเชิงชายโดยทั่วไปท�ำเป็นทรงสามเหลี่ยมหน้าจั่วหรือด้านเท่า ขนาด

สัดส่วนของกระเบื้องเชิงชายท่ีจะใช้มุงหลังคาอาคารเดียวกันจ�ำเป็นต้องมีขนาดเท่ากัน
อยา่ งนอ้ ยเทา่ กบั ความกวา้ งทฐ่ี านของกระเบอ้ื งเชงิ ชาย เพราะวา่ จะตอ้ งตอ่ กบั กระเบอื้ งมงุ
ทมี่ ขี นาดกว้างยาวเทา่ กัน โดยท้ังหมดจะตอ้ งสมั พนั ธ์กับความถีข่ องไม้ระแนง ที่กระเบ้ือง
มงุ ตอ้ งไปเกีย่ ว

การทจี่ ะทำ� กระเบอื้ งเชงิ ชายใหม้ ขี นาดเทา่ กนั นน้ั ชา่ งโบราณเลอื กเทคนคิ การพมิ พ์
จากแบบ แต่ยังไม่เคยพบแม่พิมพ์เพราะว่ายังไม่เคยขุดค้นในแหล่งผลิตกระเบื้อง และ
แมพ่ ิมพก์ อ็ าจจะท�ำดว้ ยไมก้ ไ็ ด้

176

อย่างไรก็ตาม สามารถพิจารณาได้จากร่องรอยตะเข็บหรือรอยต่อของพิมพ์ ซ่ึง
ยังปรากฏอย่บู นกระเบ้อื งเชงิ ชายทีพ่ บ ดังน้ัน จึงเห็นว่าลวดลายบนกระเบื้องเชิงชายล้วน
เป็นลายนูนต�่ำ ตวั ลายมีความกลมมน ละเว้นรายละเอยี ดท่มี ากเกินไป เพราะสะดวกต่อ
การถอดพิมพ์ นอกจากน้ี การท�ำลวดลายบนกระเบ้ืองเชิงชายที่จะประดับบนหลังคา
เดยี วกนั ใหเ้ หมอื นและเทา่ กนั นน้ั ยาก ดว้ ยวธิ ขี น้ึ แบบอสิ ระ แตก่ ารตกแตง่ ลวดลายหลงั การ
ถอดพิมพ์ก็มีอยู่ โดยการบีบ กดด้วยมือ ทั้งในส่วนของลายและทรงของกระเบื้องซึ่ง
เสยี ทรงในขน้ั ตอนถอดพมิ พ์ รวมทงั้ การตดั กรดี บาก กด หรอื ขดี ดว้ ยเครอ่ื งมอื เพอ่ื เตมิ ลาย
แตง่ ลาย และทรงของกระเบอื้ ง

กระเบอ้ื งเชงิ ชายกบั กระเบอื้ งมงุ แผน่ สดุ ทา้ ยจะถอดจากพมิ พค์ นละชน้ิ แลว้ นำ� มา
ต่อเชื่อมกันในขณะที่ดินหมาด ๆ แล้วปั้นให้ประสานเป็นเน้ือเดียวกัน ซ่ึงส่วนมากได้ขีด
และบากที่ด้านหลังของกระเบ้ืองเชิงชาย และท่ีปลายของกระเบ้ืองมุงด้านท่ีจะมาต่อกับ
กระเบอื้ งเชงิ ชาย เพื่อใหก้ ารเกาะยดึ ของกระเบ้อื งทัง้ สองชนิ้ เหนยี วแน่นยิ่งขนึ้

สงิ่ กอ่ สรา้ งสมยั อยธุ ยาท่ีใชก้ ระเบอ้ื งเชงิ ชาย
สถาปตั ยกรรมประเภทอาคาร๑๕ ทมี่ ฐี านานศุ กั ดแ์ิ ละมหี ลงั คาคลมุ มงุ ดว้ ยกระเบอื้ ง

มกั จะมกี ระเบอื้ งเชงิ ชายประดบั อยทู่ ชี่ ายคาเสมอ ทงั้ นี้ รวมถงึ สงิ่ กอ่ สรา้ งอยา่ งอน่ื ทมี่ ที ม่ี า
จากอาคารด้วย สิ่งก่อสร้างที่ใช้กระเบื้องเชิงชายสามารถแบ่งออกได้ตามลักษณะการใช้
ประโยชนไ์ ด้ ๒ ประเภท คอื ประเภทศาสนสถาน และประเภทที่อยอู่ าศัย

ศาสนสถาน
ประชาชนชาวอยุธยาส่วนมากนับถือศาสนาพุทธ จึงมีหลักฐานสถาปัตยกรรม
ในพุทธศาสนาอยู่มากกว่าศาสนาอ่ืน ศาสนสถานเหล่าน้ันสร้างด้วยอิฐ ศิลาแลง และไม้
อยู่ภายในบรเิ วณที่เรยี กกันว่า “วดั ” ซ่งึ ประกอบด้วยส่วนสำ� คัญ ๒ สว่ น คอื พุทธาวาส
และสงั ฆาวาส พทุ ธาวาสของวดั สมยั อยธุ ยานยิ มสรา้ งดว้ ยอฐิ จงึ เหลอื หลกั ฐานอยมู่ ากกวา่
สิง่ สำ� คัญสรา้ งเป็นประธานในพทุ ธาวาส คือ เจดยี ซ์ ึง่ เป็นทีบ่ รรจุพระบรมสารีริกธาตุ และ
สิง่ กอ่ สรา้ งอ่นื ๆ สร้างเปน็ บริวาร เชน่ วิหาร อุโบสถ และเจดยี ์ราย ทั้งหมดสรา้ งอยใู่ น
ต�ำแหนง่ ท่มี ีระเบียบแบบแผน

๑๕ อาคาร หมายถึง เรือน, โรง, ส่ิงท่ีก่อสร้างข้ึนที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น, โปรดดู พจนานุกรมฉบับ
ราชบัณฑติ ยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕, หนา้ ๙๑๔.

177

สังฆาวาสคือท่ีอยู่ของพระสงฆ์ ประกอบด้วย หมู่กุฏิ หอฉัน และหอสวดมนต์
เปน็ ส�ำคญั แตส่ ่งิ ก่อสร้างเหลา่ นี้ส่วนมากสรา้ งดว้ ยไม้จึงเหลอื หลักฐานอย่นู อ้ ย

สงิ่ ก่อสรา้ งในศาสนสถานสมยั อยธุ ยาท่ีใช้กระเบือ้ งเชิงชาย ประกอบดว้ ย อุโบสถ
วิหาร กฏุ ิ และประตซู มุ้

อุโบสถและวหิ าร
อุโบสถและวิหารเป็นสิ่งก่อสร้างทางพุทธศาสนา ท่ีใช้พ้ืนที่ภายในเป็นท่ีชุมนุม
เพื่อประกอบกจิ ทางศาสนา อาคารทัง้ สองอย่างล้วนมีพระพุทธรูปสร้างเปน็ ประธาน
อุโบสถเป็นสถานที่ท�ำสังฆกรรม ซ่ึงเป็นกิจเฉพาะของสงฆ์ ดังนั้น จึงมีขอบเขต
ท่ชี ดั เจนเรียกวา่ “สมี า” ซึง่ แสดงขอบเขตด้วย “ใบเสมา” ท่ีปักไว้โดยรอบ เช่น อโุ บสถ
วดั หนา้ พระเมรุ เปน็ ต้น
ส่วนวิหารใช้เป็นสถานที่ชุมนุมประกอบศาสนพิธีอย่างอื่น ท่ีนอกเหนือจาก
สงั ฆกรรม เช่น การทำ� บุญ การฟงั เทศน์ ฟงั ธรรม เช่น วหิ ารวดั ราชบรู ณะ เป็นต้น
แม้ว่าอุโบสถ และวิหาร จะมีหน้าท่ีต่างกัน แต่อาคารท้ัง ๒ ประเภท ต่างก็มี
ผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า ส่วนมากก่อผนังด้วยอิฐ เครื่องบนท�ำด้วยไม้มุงกระเบ้ือง และมักจะ
ประดับด้วยกระเบือ้ งเชิงชาย
แมว้ ่าอาคารทงั้ ๒ จะสร้างด้วยวัสดทุ คี่ งทน แตล่ ักษณะโครงสรา้ งของอาคารทใ่ี ช้
ผนังรับนำ�้ หนกั ซึ่งหากท�ำฐานรากไม่แข็งแรงมัน่ คง ย่อมเปน็ เหตุส�ำคญั ทำ� ใหอ้ าคารชำ� รดุ
หกั พังลงง่ายยงิ่ กวา่ สงิ่ ก่อสรา้ งประเภทเจดีย์ แตอ่ าคารทงั้ ๒ ประเภท เป็นส่วนประกอบ
สำ� คญั ของวดั จงึ ตอ้ งบูรณปฏิสังขรณ์ และท�ำนุบำ� รุงอาคารท้งั ๒ ประเภท อยตู่ ลอดเวลา
การชำ� รดุ ของอโุ บสถและวหิ าร หากเกดิ จากปญั หาโครงสรา้ งหลกั เชน่ ฐานรากทรดุ
หรือเสาและผนังหักพังลง การบูรณปฏิสังขรณ์คงจะต้องรื้ออาคารหลังเดิมแล้วสร้างใหม่
แต่หากการช�ำรุดของโบสถ์และวิหารเกิดจากความทรุดโทรมของเครื่องบนและหลังคา
การบูรณะก็เพียงแต่รื้อเคร่ืองบนลงแล้วท�ำใหม่เท่านั้น ซึ่งการบูรณปฏิสังขรณ์ข้างต้น
ต้องเปลยี่ นกระเบ้ืองมงุ หลังคาและกระเบอื้ งเชิงชายด้วย

กุฏิ
เป็นส่ิงก่อสร้างส�ำคัญในเขตสังฆาวาส ใช้เป็นท่ีอยู่อาศัยของพระสงฆ์ นิยมสร้าง
ดว้ ยไมจ้ งึ เหลอื หลกั ฐานใหศ้ กึ ษานอ้ ย จนถงึ สมยั อยธุ ยาตอนปลายจงึ พบหลกั ฐานวา่ มกี าร
สร้างกฏุ ิเปน็ เครอ่ื งก่อ คงจะได้รับอิทธพิ ลจากประเทศตะวันตก

178

กุฏิเครื่องก่อสมัยอยุธยาโดยทั่วไปสร้างเป็นอาคาร ๒ ชั้น มีผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า
ชั้นล่างเต้ียกว่าคงจะใช้เป็นห้องเก็บของ โดยพื้นอาคารช้ันบนปูด้วยไม้ใช้เป็นที่พักอาศัย
เครอื่ งบนทำ� ดว้ ยไมม้ งุ กระเบอ้ื งและประดบั กระเบอื้ งเชงิ ชายพบทเี่ มอื งพระนครศรอี ยธุ ยา
เช่น ต�ำหนักวัดเตว็จ ต�ำหนักวัดมเหยงคณ์ ต�ำหนักก�ำมะเรียนท่ีวัดกุฎีดาว และต�ำหนัก
พระพุทธโฆษาจารย์ เป็นต้น

อาคารตึกระยะแรก ๆ นา่ จะสร้างเป็นท่ีประทบั ของพระมหากษตั รยิ ก์ ่อน ตอ่ มา
จึงสรา้ งเป็นทอ่ี ย่ขู องพระสงฆท์ ม่ี ีสมณศกั ดิ์

ประตูซมุ้
ประตซู มุ้ ทเ่ี ปน็ เครอ่ื งกอ่ สรา้ งเปน็ ประตขู องศาสนสถานสมยั อยธุ ยาทพี่ บหลกั ฐาน
ว่าประดับกระเบื้องเชิงชาย เชน่ ประตซู มุ้ ทวี่ ดั ไชยวัฒนาราม สร้างเปน็ ประตูผ่าไม่มยี อด
แต่สองข้างของประตูก่อผนังตัน และประดับส่วนบนคล้ายหลังคาช้ันลด บนหลังคา
ปั้นปูนเลียนแบบกระเบ้ืองลอน ท่ีชายหลังคาประดับกระเบ้ืองเชิงชายทรงกระจัง๑๖
อันเป็นเค้าเง่ือนท่ีแสดงให้เห็นว่า ประตูแบบน้ีอาจจะมีท่ีมาจากอาคาร โดยท�ำเป็นรูป
ยอ่ ใหเ้ หมาะสมกบั หน้าท่กี ารใช้งานทเ่ี ปล่ยี นไป

ท่ีอยู่อาศยั
อาคารประเภทท่ีอยู่อาศัย ท่ีพบหลักฐานจากการขุดแต่งทางโบราณคดีว่าใช้
กระเบ้ืองเชงิ ชายประดบั ล้วนแต่เปน็ ส่งิ กอ่ สร้างทเี่ กี่ยวกับสถาบนั พระมหากษัตรยิ ์ ไดแ้ ก่
พระมหาปราสาท พระทน่ี ง่ั และตำ� หนกั ตา่ ง ๆ มที งั้ ทส่ี รา้ งเปน็ เครอ่ื งกอ่ และทส่ี รา้ งดว้ ยไม้
เช่ือกันว่าพระมหาปราสาท พระท่ีน่ัง และต�ำหนักที่สร้างในสมัยอยุธยาตอนต้น น่าจะ
ทำ� ด้วยเครอ่ื งไม้ ซง่ึ ย่อมชำ� รุดหักพงั ลงง่ายยง่ิ กว่าเครอ่ื งกอ่
การยา้ ยพระราชวงั หลวงเมอื งอยธุ ยาในรชั กาลสมเดจ็ พระบรมไตรโลกนาถ เมอื่ ราว
พ.ศ. ๑๙๙๑๑๗ กย็ งั ไมแ่ นช่ ดั วา่ ไดส้ รา้ งอาคารเปน็ เครอื่ งกอ่ โดยทนั ทหี รอื ไม่ เพราะหลกั ฐาน
เทา่ ทเี่ หลืออยูช่ วนใหค้ ดิ ได้ว่าบรรดาฐานรากพระที่น่งั และตำ� หนกั ต่าง ๆ ที่เป็นเครื่องกอ่

๑๖ ประทปี เพ็งตะโก, “สถาปัตยกรรม,” และ “โบราณวตั ถุ,” วดั ไชยวฒั นาราม (กรงุ เทพฯ : ห้างหุ้นสว่ นจำ� กดั
ไอเดียสแควร,์ ๒๕๓๗), หน้า ๕๓ และ ๑๓๒.
๑๗ สมเดจ็ พระบรมไตรโลกนาถเสดจ็ ขึ้นครองราชสมบัติ พ.ศ. ๑๙๙๑ น่าจะทรงพระกรณุ าโปรดเกลา้ ฯ ใหส้ รา้ ง
พระราชวังแหง่ ใหมใ่ นครั้งนี้ โปรดดู “พระราชพงศาวดารฉบบั หลวงประเสริฐอกั ษรนิต์,ิ ” คำ� ให้การชาวกรงุ เกา่
คำ� ใหก้ ารขุนหลวงหาวัด และพระราชพงศาวดารกรงุ เกา่ ฉบบั หลวงประเสริฐอกั ษรนติ ,์ิ หน้า ๔๔๘.

179

ในพระราชวังหลวงน่าจะเป็นงานบูรณปฏิสังขรณ์ในสมัยอยุธยาตอนปลายเป็นส่วนมาก
อาคารทอ่ี ยอู่ าศยั สมยั อยธุ ยาทสี่ รา้ งเปน็ เครอื่ งกอ่ รนุ่ แรก ๆ ทม่ี หี ลกั ฐานนา่ เชอื่ ถอื ได้ นา่ จะ
มขี น้ึ ราวรชั กาลสมเดจ็ พระเจา้ ทรงธรรม ไดแ้ ก่ วหิ ารพระเจา้ ทรงธรรม ทว่ี ดั ใหมป่ ระชมุ พล
อำ� เภอนครหลวง จงั หวดั พระนครศรอี ยธุ ยา๑๘ พระทนี่ งั่ และตำ� หนกั ตา่ ง ๆ ในพระราชวงั หลวง
อยธุ ยามีการปฏสิ งั ขรณ์อย่างมากในรัชกาลสมเดจ็ พระเจ้าปราสาททอง ในคร้งั นี้สว่ นมาก
สร้างเป็นเครอ่ื งกอ่ ได้แก่ พระที่นง่ั วิหารสมเด็จ พระท่นี ั่งจักรวรรดิไ์ พชยนต์ และพระที่นั่ง
สุรยิ าสน์อมรนิ ทร๑์ ๙ เปน็ ตน้

ตอ่ มาในรชั กาลสมเดจ็ พระนารายณม์ หาราช ทรงสรา้ งพระทน่ี ง่ั บรรยงกร์ ตั นาสน์
เป็นที่ประทับ๒๐ สร้างต�ำหนักคูหาสวรรค์หรือต�ำหนักตึก เป็นที่ประทับของพระมเหสี
ในพระราชวงั หลวงเมอื งอยธุ ยา ทรงสรา้ งพระทน่ี ง่ั ดสุ ติ สวรรยธ์ ญั ญมหาปราสาท พระทนี่ ง่ั
สทุ ธาสวรรย์ และพระทน่ี ่ังเย็นทเ่ี มืองลพบรุ ๒ี ๑ ล้วนสร้างเป็นเครอื่ งกอ่ หลงั คามุงกระเบอื้ ง

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัด
มเหยงคณ์ และสมเด็จกรมพระราชวังบวรสถานมงคลทรงปฏิสังขรณ์วัดกุฎีดาว ทั้งสอง
พระองคเ์ สดจ็ ไปทรงบัญชาการกอ่ สรา้ งด้วยพระองคเ์ อง บางครัง้ เป็นเวลา ๒ - ๓ เดอื น๒๒

๑๘ วิหารพระเจ้าทรงธรรมหลังน้ีตั้งอยู่ริมแม่น้�ำป่าสัก นอกเขตพุทธาวาส สันนิษฐานว่าเคยเป็นต�ำหนักท่ี
สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างข้ึนเพื่อเป็นที่ประทับพักร้อนตามระยะทางเสด็จ
พระราชด�ำเนินไปนมัสการพระพุทธบาทเมืองสระบุรี ต่อมาในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงสร้าง
พระต�ำหนกั ที่ประทับหลังใหมท่ บ่ี ริเวณปราสาทนครหลวงในปจั จุบนั นี้ พระองค์ทรงยกพระต�ำหนักของพระเจา้
ทรงธรรมให้เป็นพุทธาวาส แล้วโปรดให้สร้างพระพุทธรูป "พระเจ้าทรงธรรม" ประดิษฐานไว้ในต�ำหนักหลังนี้
โปรดดู อรพินธุ์ การุณจติ ต์ และประทปี เพง็ ตะโก, ปราสาทนครหลวง (กรุงเทพฯ : สำ� นกั พิมพ์สมาพนั ธ์ จำ� กัด,
๒๕๓๘), หน้า ๑๕.
๑๙ พระราชพงศาวดารฉบบั พระราชหตั ถเลขา เลม่ ๒, พมิ พค์ รงั้ ท่ี ๗ (กรงุ เทพฯ : สำ� นกั พมิ พค์ ลงั วทิ ยา, ๒๕๑๖),
หน้า ๑๒ - ๒๔.
๒๐ พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหตั ถเลขา กลา่ วว่า สมเดจ็ พระเพทราชาทรงพระกรณุ าโปรดเกลา้ ฯ ให้สรา้ ง
พระท่นี ั่งบรรยงก์รตั นาสน์ขึน้ เมื่อ พ.ศ. ๒๒๓๐. โปรดดู พระราชพงศาวดารฉบบั พระราชหตั ถเลขา เล่ม ๒,
หน้า ๑๔๙ - ๑๕๐. แต่ศักราชที่อ้างถึงน้ันยังอยู่ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และยังได้เค้า
ในจดหมายเหตุของชาวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามากับคณะราชทูตชาวฝร่ังเศส ว่าวันหนึ่งได้เข้าเฝ้าสมเด็จ
พระนารายณ์มหาราชในท่ีรโหฐานที่พระราชวังเมืองอยุธยา เน้ือความท่ีบรรยายถึงสถานท่ีและสภาพแวดล้อม
ตา่ ง ๆ ชวนให้เช่ือวา่ หมายถงึ พระที่นั่งบรรยงก์รัตนาสน์. โปรดดู เดอ ชัวซยี ,์ จดหมายเหตุรายวันการเดนิ ทาง
ไปสู่ประเทศสยาม, สนั ต์ ท. โกมลบตุ ร (ผ้แู ปล) (กรุงเทพฯ : สำ� นกั พมิ พ์ก้าวหน้า, ๒๕๑๖), หนา้ ๓๙๖ - ๓๙๗.
และ นิโกลาส์ แชรแ์ วส, ประวตั ศิ าสตรธ์ รรมชาติและการเมืองแหง่ ราชอาณาจักรสยาม สันต์ ท. โกมลบุตร
(ผูแ้ ปล) (พระนคร : สำ� นกั พมิ พก์ า้ วหนา้ , ๒๕๐๖), หนา้ ๓๙.
๒๑ พระราชพงศาวดารฉบบั พระราชหตั ถเลขา เล่ม ๒, หน้า ๑๐๔.
๒๒ เร่ืองเดยี วกัน, หนา้ ๒๐๑.
180

สันนิษฐานว่าพระองค์ทรงสร้างต�ำหนักที่ประทับ กล่าวคือ อาคารเคร่ืองก่อ ๒ ช้ัน
ที่ด้านทิศใต้ของวัดมเหยงคณ์หลังหน่ึง และที่ด้านทิศเหนือของวัดกุฎีดาวอีกหลังหน่ึง
เพอื่ เปน็ ทปี่ ระทบั ทรงบญั ชาการปฏสิ งั ขรณว์ ดั ครน้ั เสรจ็ การแลว้ นา่ จะทรงยกใหเ้ ปน็ ทสี่ ถติ
ของพระอธกิ ารเจ้าวดั นัน้ ๆ

ต่อมาในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทรงสร้างพระต�ำหนักค�ำหยาด
ที่บ้านโพธิ์ทอง เมืองอ่างทอง เป็นเครื่องก่อสองช้ัน ต�ำหนักหลังนี้ต่อมาเมื่อสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวอุทุมพรทรงสละราชสมบัติออกผนวช ก็ทรงใช้เป็นท่ีประทับและน่าจะ
ทรงสร้างพุทธาวาสขึ้นในบริเวณน้ี ยังปรากฏซากวิหาร และซากเจดีย์อยู่ทางด้าน
ทศิ ตะวนั ออกของพระตำ� หนกั ในปัจจบุ นั

ความหมายของอาคาร
และความหมายของรปู ภาพหรอื ลวดลายประดับ
ทปี่ รากฏบนกระเบ้อื งเชงิ ชายสมยั อยธุ ยา

รูปภาพและลวดลายประเภทตา่ ง ๆ ทป่ี รากฏในงานศลิ ปกรรมย่อมมคี วามหมาย
โดยเฉพาะอย่างย่ิงส่ิงท่ีท�ำข้ึนเนื่องในศาสนาและลัทธิความเชื่อต่าง ๆ ซึ่งลัทธิความเชื่อ
ทางศาสนาที่มีอิทธิพลต่อชุมชนในเอเชียอาคเนย์มากที่สุด คือ ศาสนาฮินดู และศาสนา
พุทธ ซึ่งมีถ่ินก�ำเนิดมาจากแหล่งเดียวกัน คือ ประเทศอินเดีย ศาสนาทั้งสองได้เผยแผ่
เข้ามาและมีพัฒนาการบนผืนแผ่นดินไทยกว่าพันปีมาแล้ว จนในท่ีสุดศาสนาพุทธ
ไดล้ งหลักปักฐานมั่นคงยง่ิ กว่าศาสนาฮนิ ดู

ในสมัยอยุธยานับถือศาสนาพุทธเป็นหลัก ดังน้ันรูปภาพและลวดลายต่าง ๆ
ท่ีปรากฏอยู่ในงานศิลปกรรมที่พบในศาสนสถานของพุทธ ย่อมท�ำข้ึนตามความเชื่อใน
พุทธศาสนาเป็นส�ำคญั

กระเบอ้ื งเชงิ ชายสมยั อยธุ ยาทพี่ บและใชใ้ นการศกึ ษาครง้ั นเี้ ปน็ หลกั ฐานทไี่ ดจ้ าก
การขุดค้นขุดแต่งทางโบราณคดี และการส�ำรวจพบในแหลง่ โบราณสถานประเภทวังและ
วดั ดังน้นั กระเบ้อื งเชิงชายจึงใช้กบั อาคารฐานานุศักด์เิ ทา่ นนั้

อาคารท่ีประดับกระเบื้องเชิงชายที่อยู่ในวัง เช่น พระมหาปราสาท พระที่นั่ง
และต�ำหนัก ส่วนในวัดมีโบสถ์ วิหาร และกุฏิ เป็นต้น อาคารดังกล่าวสร้างขึ้นเพื่อใช้
ประโยชนพ์ นื้ ทภี่ ายในเปน็ ทอี่ ยอู่ าศยั และทช่ี มุ นมุ โดยเปน็ เรอื นฐานานศุ กั ดแ์ิ สดงฐานะของผใู้ ช้

181

อาคารนน้ั ๆ ตามคตคิ วามเชอื่ คอื องคพ์ ระมหากษตั รยิ ซ์ ง่ึ เปรยี บเสมอื นสมมตเิ ทพตามคติ
ความเชอ่ื ของศาสนาฮินดู หรือจกั รพรรดิราชตามคติความเชอื่ ในศาสนาพทุ ธ ส่วนอาคาร
ในพทุ ธศาสนานน้ั สงิ่ สำ� คญั คอื เปน็ ทปี่ ระดษิ ฐานพระพทุ ธรปู ซง่ึ หมายถงึ องคพ์ ระพทุ ธเจา้

อาคารเหลา่ นนี้ า่ จะมคี วามหมายเปน็ ปราสาทดว้ ย เพราะวา่ คำ� วา่ “ปราสาท” ตาม
ภาษาบาลี สันสกฤต หมายถึง เรอื นซอ้ นกนั หลายชน้ั ไม่ใชห่ มายถงึ เรือนยอด เรือนยอด
ก็มีเหมอื นกันแต่เรียกไปอย่างหนงึ่ วา่ “กฎู าคาร” ปราสาทของเรากป็ รากฏการปรุงตัวไม้
เปน็ เรอื นชนั้ เหมอื นกบั พมา่ อยา่ งเดยี วกบั ถะขา้ งจนี แตเ่ ราไมอ่ ยากใหส้ งู มากไปจงึ ทำ� กดลง
มาจนหลังคาติดกันไม่แลเห็นเสาช้ัน๒๓ ดังนั้น ปราสาทอาจสร้างในรูปแบบของเรือนที่มี
หลายชั้นซ้อนกัน หรือมีหลังคาลาดหลายช้ันซ้อนลดหล่ันกันก็ได้ โดยไม่จ�ำเป็นต้องมี
ยอดแหลม จึงน่าสังเกตว่าเมื่อการท�ำหลังคาซ้อนเป็นความหมายของเรือนฐานานุศักดิ์
ประเภทปราสาทอย่างหน่ึงแล้ว บรรดาอุโบสถ วิหาร ที่มีการใช้งานเฉพาะ ก็เป็น
เรอื นฐานานศุ ักดิ์สูงดว้ ย๒๔

ปราสาทในสถาปัตยกรรมไทย จึงมีการสร้างกันหลายรูปแบบและมีการเรียกช่ือ
ต่าง ๆ กัน ตามหน้าที่และประโยชน์ใช้สอยของอาคารนั้น ๆ แต่เนื่องจากปราสาทท่ีท�ำ
ในระยะหลังส่วนมากต้องการพื้นท่ีใช้สอยเพียงชั้นเดียว จึงท�ำย่นชั้นลงมาท�ำให้ฝาและ
หนา้ ต่างหายไปเหลอื เพยี งสว่ นประกอบทเี่ ปน็ สัญลกั ษณ์ เช่น ในมณฑปและบษุ บก ยังทำ�
ทรงจ่วั เลก็ ๆ ประดบั ไวท้ ่ชี น้ั หลังคา หมายถึง ซ้มุ ของบญั ชรหรือบรรพแถลง และค�ำว่า
“บรรพ” นน้ั มคี วามหมายวา่ หนา้ จวั่ ๒๕ และบรรพแถลงนน้ั ยอ่ มเปน็ ตวั แทนของชอ่ งหนา้ ตา่ ง
หรอื ชอ่ งบญั ชรนัน่ เอง

ด้วยแนวคิดดังกล่าว การประดับแถวกระเบ้ืองเชิงชายบนชั้นหลังคาของอาคาร
ฐานานศุ กั ดท์ิ งั้ ในวงั และวดั กค็ วรจะหมายถงึ ซมุ้ บญั ชรไดด้ ว้ ย เพราะกระเบอื้ งเชงิ ชายเหลา่ นนั้
ส่วนมากทำ� ทรงสามเหลีย่ ม หยกั ท่ขี อบ คือภาพยน่ ยอ่ ของหน้าต่างจรงิ ของอาคารน้นั

๒๓ สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ และ สมเด็จฯ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพ, สาส์นสมเด็จ
เล่ม ๘ (พระนคร : องค์การคา้ ของครุ สุ ภา, ๒๕๐๔), หน้า ๒๑๓.
๒๔ สนั ติ เลก็ สขุ มุ , เจดยี ์ : ความเปน็ มาและคำ� ศพั ทเ์ รยี กองคป์ ระกอบเจดยี ใ์ นประเทศไทย, พมิ พค์ รงั้ ท่ี ๒ (กรงุ เทพฯ :
ส�ำนกั พมิ พม์ ติชน, ๒๕๓๘), หน้า ๑๕. แต่อาจารย์ พเิ ศษ เจียจนั ทรพ์ งษ์ มคี วามเหน็ ทแ่ี ตกตา่ งวา่ อุโบสถ และ
วิหารน่าจะมาจาก "คันธกฎุ "ี ซ่ึงการสรา้ งเปน็ เกียรตแิ ละอุทิศให้ของสูง (ความเหน็ เสนอในการสอบวิทยานิพนธ์
ของผวู้ จิ ยั เมอ่ื วนั ที่ ๙ กมุ ภาพนั ธ์ ๒๕๔๑ ณ ภาควชิ าประวตั ศิ าสตรศ์ ลิ ปะ คณะโบราณคดี มหาวทิ ยาลยั ศลิ ปากร).
๒๕ เปน็ ลายพระหตั ถ์สมเดจ็ ฯ เจา้ ฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงบนั ทึกเรื่องความรตู้ ่าง ๆ ประทานพระยา
อนุมานราชธน. สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ และพระยาอนุมานราชธน, บันทึกเร่ืองความรู้
ตา่ ง ๆ เล่ม ๓, พมิ พค์ รัง้ ที่ ๒ (กรุงเทพฯ : บริษัท ส�ำนักพิมพ์ไทยวฒั นาพานชิ จำ� กัด, ๒๕๒๑), หน้า ๙๖ - ๙๗.
182

เมื่อกระเบื้องเชิงชายได้ท�ำหน้าที่แทนซุ้มบัญชรหรือช่องวิมานอันมีอยู่มากมาย
โดยไดป้ ระดบั รปู ภาพอนั มคี วามหมายในทางประตมิ านวทิ ยา อนั ไดแ้ ก่ ดอกบวั มคี วามหมาย
ถงึ การกำ� เนดิ อนั บรสิ ทุ ธิ์ เทพพนมอนั หมายถงึ เทวดาทม่ี อี ยมู่ ากมายในจกั รวาล ครฑุ อนั เปน็
ตวั แทนของพระนารายณ์ หรอื หนา้ กาลผทู้ �ำหนา้ ที่ปกป้องรักษา ลว้ นส่งเสริมความหมาย
ของความเปน็ ปราสาท ซงึ่ มที มี่ าจากเขาพระสเุ มรตุ ามคตพิ ทุ ธหรอื เขาไกรลาสตามคตฮิ นิ ดู
ได้เป็นอย่างดี โดยกระเบื้องเชิงชายเหล่าน้ันก็คือรูปจ�ำลองของวิมานบนสวรรค์ ซ่ึงเป็น
ทีอ่ ยขู่ องเหล่าเทวดาจ�ำนวนมากมายนั่นเอง

ส�ำหรับรูปภาพหรือลวดลายประดับท่ีปรากฏบนกระเบื้องเชิงชายสมัยอยุธยา
ทส่ี ามารถแปลความหมายในทางพทุ ธประตมิ านวิทยาประกอบดว้ ยภาพ ดงั ตอ่ ไปนี้

ดอกบัว
พระไตรปิฎกกล่าวว่า ดอกบัวเป็นสัญลักษณ์ของแผ่นดินที่แห้งก่อนบริเวณอ่ืน
ของโลก และแผ่นดินน้ีเองเป็นที่เกิดของ “ปทุม” (ในภาษาบาลี แปลว่า ต้นไม้ต้นแรก)
ซึ่งดอกบัวดังกล่าวใช้เป็นที่สังเกตของพวกพรหมทั้งหลายในยุคแรกต้ังกัปป์ โดยพรหม
เมอื่ ได้เหน็ ดอกบวั ปรากฏกจ็ ะได้รวู้ า่ ในแตล่ ะกัปป์จะมีพระพทุ ธเจา้ เสดจ็ มาอบุ ัตกิ อ่ี งค๒์ ๖
ซ่ึงในที่นี้จะเห็นได้ว่า ดอกบัวได้ใช้เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงการอุบัติขององค์พระศาสดา
ในศาสนาพุทธตง้ั แตค่ รง้ั กำ� เนิดโลกแลว้
ในพุทธประวัตขิ องพระพทุ ธเจา้ ศากยมนุ ี ทรงเกี่ยวข้องกบั ดอกบัวอย่างมากมาย
นบั ตงั้ แตพ่ ระองคท์ รงประสตู ไิ ดป้ ระทบั บนดอกบวั ทรี่ องรบั พระบาท๒๗ ตอ่ มาพระพทุ ธเจา้
ก็ได้ยกเอาดอกบัว ๔ จ�ำพวก มาเป็นอุทาหรณ์เปรียบเทียบกับบุคคลที่สามารถเข้าใจ
ค�ำสง่ั สอน และธรรมะต่างกัน๒๘
ในคมั ภรี ล์ ลติ วสิ ตระ ซง่ึ เปน็ คมั ภรี ฝ์ า่ ยมหายานไดก้ ลา่ วถงึ ดอกบวั ทผี่ ดุ ออกมาจาก
ผนื นำ�้ ใตแ้ ผน่ ดนิ และชดู อกขน้ึ สงู ถงึ สวรรคช์ นั้ พรหมในคนื ทพ่ี ระโพธสิ ตั วไ์ ดเ้ สดจ็ ลงมาจตุ ิ
ในพระครรภข์ องพระนางมายา และไดก้ ลา่ วถงึ คนื ทพี่ ระสทิ ธตั ถะเสดจ็ ออกมหาภเิ นษกรมณ์
ว่า พระองค์ได้ทรงพระสุบินนิมิต ๕ เร่ือง เร่ืองหนึ่งในพระสุบินนั้นได้ทรงมีดอกบัวงอก
ออกจากพระนาภขี องพระองค์ และขนึ้ สงู ไปถงึ สวรรคช์ น้ั อกนฏิ ฐพรหมดว้ ย๒๙ ซง่ึ เรอื่ งราว

๒๖ คงเดช ประพฒั นท์ อง, โบราณคดีประวตั ิศาสตร์ (กรงุ เทพฯ : ร่งุ ศิลปก์ ารพมิ พ์ , ๒๕๒๙), หนา้ ๒๔๗.
๒๗ สมเดจ็ กรมพระปรมานชุ ติ ชโิ นรส, พระปฐมสมโพธกิ ถา (กรงุ เทพฯ : อำ� นวยสาสน์ การพมิ พ,์ ๒๕๓๐), หนา้ ๔๗.
๒๘ เร่ืองเดยี วกนั , หน้า ๑๗๗ - ๑๗๙.
๒๙ กรมศลิ ปากร, ลวดลายตวั ภาพในงานศลิ ปะ (กรงุ เทพฯ : บรษิ ทั อมรนิ ทรพ์ รน้ิ ตง้ิ กรปุ๊ จำ� กดั , ๒๕๓๑), หนา้ ๙.

183

ในลักษณะนคี้ ล้ายคลึงกับเรื่องในศาสนาพราหมณ์ ท้งั นี้ คงเนื่องมาจากการหยิบยืมเร่ือง
ดงั กลา่ วมาใชร้ ว่ มกนั ดว้ ยเหตผุ ลทวี่ า่ สญั ลกั ษณด์ อกบวั ในทง้ั ๒ ศาสนา ลว้ นมคี วามหมายถงึ
กำ� เนดิ อนั ศกั ดสิ์ ทิ ธิ์ แสดงถงึ ความคงอยอู่ นั ถาวร และเปน็ สง่ิ ทข่ี าดไมไ่ ดแ้ หง่ ชวี ติ ในจกั รวาล

ด้วยความเช่ือเร่ืองดอกบัวอันส่ือถึงการก�ำเนิดอันศักด์ิสิทธ์ิของพระพุทธองค์
ตลอดถึงความหมายเก่ียวกับอุบัติของพระพุทธเจ้าท้ังหลาย ดังความในพระไตรปิฎกว่า
“...สีเส ปฐวิ โปกขเร อภเิ ลเก สพพพุทธาน.ํ ...” ซึ่งหมายความว่าแผน่ ดนิ คอื ดอกบัว เป็นที่
อุบัติตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าท้ังหลายน้ัน ดังนั้น จึงพบว่าบรรดางานศิลปกรรมท่ีสร้างขึ้น
เป็นรูปปรากฏของพระพุทธองค์ จึงมักมีดอกบวั รองรบั อยเู่ สมอ ไม่วา่ จะอยใู่ นอริ ยิ าบถใด
ซึ่งนอกจากแสดงถึงหลักฐานตามคัมภีร์แล้ว ยังแสดงให้เห็นถึงปรัชญาแห่งคติธรรมทาง
ศาสนา อกี ประการหนงึ่ คอื ลกั ษณะดอกบวั อาจจะไดแ้ กห่ วั ใจทมี่ รี ปู รา่ งคลา้ ยดอกบวั ตมู
บุคคลที่นับถือพระพุทธศาสนา มีพระรัตนตรัยเป็นสรณะ ก็ควรน้อมจิตใจของตนเป็นที่
รองรับพระรตั นตรัยทป่ี ระเสรฐิ สดุ ๓๐

ในพุทธศาสนาแบบมหายานมีพระโพธิสัตว์ชาย – หญิงบางองค์เกี่ยวข้องกับ
ดอกบัว เช่น พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร (ปัทมปานี คือ ผู้ถือดอกบัว) โพธิสัตว์ปรัชญา
ปารมิตา เปน็ ตน้

ดงั น้ัน ดอกบวั ในศาสนาพุทธจึงมีทง้ั ที่ทำ� เปน็ ภาพประกอบกับรูปเคารพขององค์
ศาสดา เช่น ฐานท่ีประทับของพระพุทธรูป เป็นส่วนประกอบของทิพยบุคคล และเป็น
ลวดลายประดับ โดยมีความหมายถึงการก�ำเนิดอันบริสุทธิ์ (โลกแห่งธรรม) การละจาก
โลกีย์ ความอุดมสมบูรณ์ ความบริสุทธิ์ ตลอดจนเป็นสัญลักษณ์ของแสงสว่างด้วย
อกี ประการหนงึ่ เชน่ เดยี วกนั ดอกบวั ทปี่ รากฏบนกระเบอื้ งเชงิ ชายสมยั อยธุ ยายอ่ มนา่ จะมี
ความหมายตามนัยดงั กล่าวดว้ ย

เทพพนม
“เทพพนม” ทพ่ี บเปน็ ลวดลายประดบั บนกระเบอ้ื งเชงิ ชายมกั ทำ� เปน็ เทพครง่ึ องค์
อยบู่ นดอกบวั ทำ� นองผดุ ออกมาจากบวั เทพเหลา่ นลี้ ว้ นอยใู่ นทา่ ประนมหตั ถเ์ สมอพระอรุ ะ
ด้วยอิริยาบถอันนอบน้อมแสดงถึงการเคารพบูชา นอกจากน้ีบางองค์ก็ถือดอกบัวอยู่ใน
พระหัตถ์ ซง่ึ ก็คงหมายถงึ การน�ำดอกไมม้ าสกั การบูชาต่อสง่ิ ศักดส์ิ ิทธ์ินน่ั เอง

๓๐ คงเดช ประพฒั นท์ อง, โบราณคดีประวัตศิ าสตร,์ หน้า ๒๔๖ - ๒๔๗.

184

เป็นการยากท่ีจะตัดสินว่า “เทพพนม” เหล่าน้ี ความหมายถึงเทพองค์ใดบ้าง
เนื่องจากไม่ปรากฏลักษณะเฉพาะของเทพองค์ใดองค์หนึ่ง ทั้งนี้ ช่างฝีมือผู้ท�ำกระเบื้อง
เชงิ ชายอาจจะมิไดจ้ งใจใหห้ มายถงึ เทพองคใ์ ดองคห์ นึ่งโดยเฉพาะกเ็ ปน็ ได้

เราอาจตัง้ ขอ้ สนั นิษฐานถึงคตขิ องเทพพนมเหล่าน้ไี ด้ว่า
๑. เมื่อกระเบ้ืองเชิงชายท่ีมีลายเทพพนมประดับอยู่กับอาคารทางพุทธศาสนา
เช่น โบสถ์ วิหาร อันเป็นท่ีประดิษฐานรูปพระพุทธเจ้า ก็น่าจะหมายความได้ว่าบรรดา
เทพเหล่านั้นได้แสดงสักการะต่อพระพุทธองค์ การใช้สัญลักษณ์ของดอกบัวเป็นส่วนล่าง
ของเทพพนมก็น่าจะหมายถึงก�ำเนิดของเทพท่ีมีการก�ำเนิดอันบริสุทธิ์ ตามคติเก่ียวกับ
ดอกบวั ท่กี ลา่ วมาแลว้
๒. เป็นการแสดงถึงเทพท่ีประทับอยู่ในวิมาน โดยช่างได้สมมติให้แผ่นกระเบื้อง
เชิงชายเป็นเสมือนซุ้มวิมานขององค์เทพ ซ่ึงวิมานขององค์เทพเหล่านี้ได้ตั้งอยู่ในมณฑล
ของจักรวาล โดยช่างได้พยายามจ�ำลองอาคารวิหาร อุโบสถ พระท่ีน่ังและต�ำหนัก
ให้เปรียบเสมือนกับภูมิจักรวาลตามคัมภีร์ทางศาสนาพุทธ ส่วนการท�ำช่อฟ้าหางหงส์
ในลักษณะของ “นาค” ก็เปรียบเสมือนสัญลักษณ์ของห้วงนทีสีทันดรท่ีรายล้อม และ
เป็นขอบเขตของสรวงสวรรค์ การน�ำเอากระเบ้ืองเชิงชายมาประดับไว้ท่ีชายของหลังคา
จึงอยู่ในต�ำแหน่งของวิมานเทพไปโดยนัยแห่งการสมมติดังกล่าวน้ีได้เป็นอย่างดี
ซ่ึงแต่เดิมในงานสถาปัตยกรรมไทย บนสันกลางของหลังคานั้นช่างได้ตกแต่งเป็น
รปู ของเขาพระสเุ มรุ และสตั บรภิ ณั ฑท์ รี่ ายลอ้ มอยู่ ซง่ึ รอ่ งรอยดงั กลา่ วอาจดตู วั อยา่ งไดจ้ าก
“ช่อฟา้ ” ของอาคารสถาปัตยกรรมของลาว หรือ “ปราสาทเฟือ้ ง” ของทางล้านนาไทย
๓. อาจเปน็ ความหมายทางบคุ ลาธษิ ฐาน เชน่ ในการเปรยี บเทยี บของพระพทุ ธองค์
ในเรื่องของมนษุ ยก์ ับบวั ๔ เหลา่ โดยผู้ทต่ี อ้ งการท่ีจะพบจากการหลุดพ้นหว้ งสังสารวัฏ
ก็ต้องกระท�ำความเพียร เพ่ือให้ตนเองบรรลุถึงพระนิพพาน ภาพเทพพนมบนดอกบัว
จงึ อาจแทนภาพของผทู้ ่บี รรลโุ พธิญาณข้นั ตน้ ท่ีหลดุ พน้ จากโคลนตมใต้พ้นื นำ�้ แลว้
หนา้ กาล
หน้ากาล คือ หน้าสัตว์ประหลาดชนิดหน่ึง ท่ีมีลักษณะผสมคล้ายหน้ายักษ์
ปนหน้าสิงห์ แต่ไม่มีริมฝีปากล่างหรือขากรรไกรล่าง มีตากลมโปนซึ่งบางคร้ังจาก
ดวงตานจี้ ะมเี ขาเล็ก ๆ งอกตอ่ ข้ึนไป มักจะคายสงิ่ หนงึ่ สงิ่ ใดออกมาจากปากเสมอ

185

เรอื่ งราวของหนา้ กาลอาจจะไมป่ รากฏชดั ในคตทิ างพทุ ธศาสนา แตเ่ นอ่ื งจากศาสนา
ฮินดูและศาสนาพุทธมีพัฒนาการร่วมกันอยู่ในประเทศอินเดีย และเผยแผ่ออกมาสู่
ภายนอกเคียงคู่กันตลอดเวลา ทำ� ให้ได้มีการหยิบยืมคติความเช่ือและเรื่องราวบางอย่าง
มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับปรัชญาของแต่ละศาสนา ซ่ึงรวมไปถึงรูปภาพและลวดลาย
ดงั ปรากฏอยใู่ นงานศิลปกรรม

หน้ากาลปรากฏเร่ืองราวชัดเจนอยู่ในศาสนาฮินดู แต่ในงานศิลปกรรมประกอบ
ศาสนสถานของพุทธก็มีการท�ำลวดลายประเภทหน้ากาลรวมอยู่ด้วย เช่น ที่เหนือประตู
ทางเข้าศาสนสถานบโุ รพุทโธ ประเทศอนิ โดนเี ซยี ในประเทศไทย เช่น หนา้ กาลจากเจดีย์
วดั ปา่ สกั เมอื งเชยี งแสน จงั หวดั เชยี งราย๓๑ และทป่ี รางคว์ ดั สม้ จงั หวดั พระนครศรอี ยธุ ยา
เป็นต้น

ลายหน้ากาลดังกล่าวนั้นสลักอยู่เหนือประตู เหนือซุ้ม (คือวิมาน) และโคนเสา
ประดับประตู เช่น ที่วัดป่าสัก เมืองเชียงแสน จึงยังพอเห็นเค้าที่สืบต�ำแหน่งท่ีอยู่ของ
หน้ากาลตามคติฮินดูอยู่บ้าง จึงน่าจะมีจุดประสงค์เพื่อป้องกันส่ิงช่ัวร้ายมิให้เข้าไปสู่
ศาสนสถานเปน็ สำ� คญั

ลายหน้ากาลดังกล่าวนี้ นอกจากจะมีความหมายในลักษณะของผู้ปกป้องและ
ดูแลรักษามิให้ส่ิงช่ัวร้ายเข้าสู่ตัวอาคารศาสนสถานแล้ว ยังอาจจะมีความหมายสมมติถึง
ดนิ แดนของสตั วห์ มิ พานตซ์ งึ่ อยทู่ เ่ี ชงิ เขาพระสเุ มรดุ ว้ ย ซงึ่ กน็ า่ จะสอดคลอ้ งกบั การจำ� ลอง
คตขิ องภมู ิจักรวาลทถี่ ่ายทอดมาสศู่ าสนสถานไดใ้ นอกี ความหมายหนง่ึ ด้วย

ดังนั้น การใช้ลายหน้ากาลประดับกระเบื้องเชิงชายสมัยอยุธยา ก็น่าจะให้มี
ความหมายในลกั ษณะผพู้ ทิ กั ษพ์ ระพทุ ธศาสนา ขณะเดยี วกนั กน็ า่ จะมคี วามหมายถงึ แหลง่
ท่ีอยูข่ องสัตวห์ มิ พานตท์ ่เี ชงิ เขาพระสุเมรุ อนั เปน็ ความหมายที่จะส่งเสรมิ ความหมายของ
อาคารทป่ี ระดับอยู่ดว้ ยกไ็ ด้

ครุฑยดุ นาค
“ครุฑ” เป็นสัตว์ประเภทหนึ่งท่ีเกิดจากจินตนาการของมนุษย์ในสมัยโบราณ
โดยมตี น้ กำ� เนดิ จากการสมมตใิ หม้ สี ว่ นผสมกนั ระหวา่ งสตั วป์ กี กบั เทพเจา้ หรอื สงิ่ ศกั ดสิ์ ทิ ธ์ิ
ท่ีมคี วามพิเศษเหนอื มนุษย์ จนเกิดเป็นสตั วก์ งึ่ เทพข้ึนมาในท่สี ดุ ในศาสนาพราหมณ์และ
พุทธปรากฏเรื่องราวของครฑุ อยู่มากมาย

๓๑ กรมศลิ ปากร, เมอื งเชยี งแสน (กรงุ เทพฯ : บรษิ ทั กราฟคิ ฟอรแ์ มท (ไทยแลนด)์ จำ� กดั , ๒๕๓๙), หนา้ ๔๓, ๕๖.

186

“ครุฑ” ตามแนวคิดปรัชญาทางพุทธศาสนา มักมีปรากฏเรื่องแทรกอยู่ใน
พระไตรปฎิ กและชาดกตา่ ง ๆ โดยครุฑ คือนกท่ียิ่งใหญ่กว่าหมู่นกทัง้ ปวงเชน่ เดยี วกบั คติ
ทางพราหมณ์ แต่มีอยู่เป็นจ�ำนวนมากมายไม่เหมือนในศาสนาพราหมณ์ที่มีเพียงตัวเดียว
กำ� เนดิ ของครฑุ นน้ั ทางพทุ ธศาสนากลา่ ววา่ เกดิ ขน้ึ ดว้ ยอานสิ งสแ์ หง่ กศุ ลกรรมในอดตี ชาติ
บคุ คลทป่ี ระสงคจ์ ะเกิดเป็นครุฑกต็ อ้ งตงั้ ความปรารถนาของตนไว้ และบำ� เพญ็ ทานบารมี
ไปจนสนิ้ อายขุ ยั ก็จะไดเ้ กดิ เป็นครุฑดงั ทีต่ ัง้ ใจไว๓้ ๒

ครุฑมีถิ่นที่อยู่ที่เชิงเขาสิเนรุราช โดยอยู่บนต้นสิมพลี (งิ้ว) ริมมหาสมุทร โดยมี
นาคเปน็ อาหารหลัก แต่ครุฑบางตัวท่บี ำ� เพ็ญศลี ไม่กินนาคก็มีเหมอื นกัน ในความสัมพนั ธ์
กบั พระพทุ ธองคน์ น้ั พระพทุ ธเจา้ ทรงนำ� เรอื่ งของครฑุ มาใชใ้ นการเปรยี บเทยี บสง่ั สอนเพอ่ื
เปน็ อุทาหรณ์อยู่เสมอ และในอดตี ชาติของพระองค์ก็เคยเสวยพระชาตเิ ปน็ ครุฑด้วย เชน่
ในสสุ นั ชชี าดก และบณั ฑรกชาดก เปน็ ตน้ นอกจากนคี้ รฑุ ยงั มคี วามสมั พนั ธก์ บั พระอนิ ทร์
โดยเปน็ ผชู้ ่วยเหลือและดแู ลด่านส�ำคัญในสวรรค์ชัน้ ดาวดึงส๓์ ๓

ในแนวคิดทางมหายานที่ใช้ภาษาสันสกฤต ครุฑได้กลายเป็นพาหนะของ
พระธยานิพุทธอโมฆสิทธิ (Dyani - Buddhas Amoghasiddhi) โดยเป็นเครื่องหมาย
เฉพาะของธยานิโพธสิ ัตวว์ ัชรปาณี (Dyani – Bodhisattava Vajrapani) ซ่ึงพระโพธสิ ตั ว์
วัชรปาณีน้ันอยู่ในฐานะเป็นผู้พิทักษ์พระพุทธเจ้า และได้รับมอบหมายให้คอยคุ้มครอง
หมู่นาคที่มาเฝ้าเพื่อฟังค�ำส่ังสอนจากพระพุทธเจ้าให้พ้นจากการท�ำร้ายของครุฑ
พระวชั รปาณจี ึงได้ช่อื วา่ เปน็ ผคู้ ุ้มครองนาคจากครุฑ๓๔

ดงั นน้ั “ครฑุ ” ในพทุ ธศาสนาจงึ ยดึ ถอื พระพทุ ธเจา้ และพระโพธสิ ตั วใ์ นคตมิ หายาน
เปน็ สรณะของตน และมุ่งปฏบิ ตั ิแสวงหาธรรมเพือ่ ความหลุดพน้ จงึ เป็นมิตรปรองดองกบั
พวกนาคมากกวา่ เปน็ ศัตรู

แม้กระนั้นก็ดี ยังพบว่างานศิลปกรรมในพุทธศาสนาหลายแห่ง ยังท�ำรูปครุฑ
ยดุ นาคกนั อยู่ เชน่ หนา้ บนั สลกั ไม้ ทอ่ี โุ บสถวดั หนา้ พระเมรุ เปน็ ตน้ กอ็ าจจะเปน็ หลกั ฐาน
หนึ่งที่แสดงว่าศาสนาพุทธน่าจะได้หยิบยืมคติความเช่ือในศาสนาฮินดูมาใช้ หรือเป็นคติ
ท่ีเข้ามาปะปนจนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับความเช่ือในศาสนาพุทธแล้วจนแยกไม่ออกก็ได้
เพราะว่าแม้แต่พระราชประเพณีเกี่ยวกับความเป็นพระมหากษัตริย์ในสมัยอยุธยา ก็ยัง

๓๒ ธดิ า มติ รกลู , “คตเิ รอื่ งครฑุ จากศลิ ปกรรมแบบเขมรในประเทศไทย,” (วทิ ยานพิ นธป์ รญิ ญาศลิ ปศาสตรมหาบณั ฑติ
สาขาโบราณคดีสมัยประวตั ิศาสตร์ บัณฑติ วทิ ยาลัย มหาวทิ ยาลยั ศลิ ปากร, ๒๕๒๗), หนา้ ๓๗.
๓๓ เร่ืองเดยี วกัน, หนา้ ๓๗ - ๔๒.
๓๔ เรอื่ งเดียวกนั , หน้า ๓๕.

187

ใชพ้ ธิ ีพราหมณ์เป็นสำ� คญั เชน่ พิธบี รมราชาภเิ ษก พิธีอินทราภิเษก และพิธโี สกันต์เจา้ ฟ้า
เป็นต้น

เชน่ เดยี วกบั ครฑุ ทปี่ รากฏเปน็ ลายประดบั บนกระเบอ้ื งเชงิ ชายสมยั อยธุ ยา พบวา่
ไดจ้ บั นาคไวใ้ นมอื ทงั้ ๒ ขา้ ง จงึ นา่ จะเกย่ี วขอ้ งกบั ครฑุ ในคตฮิ นิ ดอู ยไู่ มน่ อ้ ย ทงั้ นี้ กระเบอ้ื ง
เชงิ ชายดงั กลา่ วมไิ ดเ้ กย่ี วขอ้ งกบั ศาสนสถานโดยตรง แตไ่ ดพ้ บจากการขดุ แตง่ แนวฉนวนนำ้�
ประจำ� ท่าวาสกุ รี บรเิ วณตอนท้ายพระทีน่ งั่ วหิ ารสมเดจ็ และพระทนี่ ง่ั สรรเพชญ์ปราสาท
สันนิษฐานว่าน่าจะใช้ประดับหลังคาของฉนวนซึ่งเป็นทางเสด็จพระราชด�ำเนินของ
พระมหากษัตริย์ ในท่ีน้ีครุฑยุดนาคดังกล่าว จึงน่าจะเป็นส่วนส่งเสริมฐานะของผู้ใช้
ทางฉนวนดังกล่าว เพราะว่าได้มีการเปรียบเทียบพระมหากษัตริย์อยุธยาเสมอด้วย
พระนารายณ์ เทพเจา้ แหง่ ศาสนาฮนิ ดู ดงั ปรากฏวา่ พระมหากษตั รยิ อ์ ยธุ ยาหลายพระองค์
ทรงใชพ้ ระนามวา่ “รามาธบิ ด”ี อนั หมายถงึ “พระราม” อวตารหนง่ึ ของพระนารายณ์ เชน่
สมเด็จพระเจ้าอู่ทอง ทรงมีพระนามว่า “สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสุนทรบรมบพิตร...”๓๕
เป็นต้น และครุฑเป็นพาหนะของพระนารายณ์ ดังนั้น รูปครุฑจึงเป็นสัญลักษณ์ของ
พระมหากษตั รยิ ไ์ ด้ด้วย

การศกึ ษารปู แบบกระเบอ้ื งเชงิ ชายสมยั อยธุ ยา
การศึกษาวิจัยคร้ังนี้ มีจุดมุ่งหมายเพ่ือศึกษาด้านรูปแบบ วิวัฒนาการ และ

การก�ำหนดอายุของลวดลายประดับบนกระเบ้ืองเชิงชายสมัยอยุธยาเป็นส�ำคัญ ข้อมูล
ท่ีใช้ในการศึกษาวิจัย ได้แก่ กระเบื้องเชิงชายท่ีพบจากการส�ำรวจ ขุดแต่งโบราณสถาน
และท่ีเก็บรวบรวมไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ โดยเน้นโบราณสถานในจังหวัด
พระนครศรีอยุธยา

กระเบ้ืองเชิงชายที่พบสามารถจ�ำแนกตามลักษณะของลวดลายได้ ๗ ประเภท
คือ กระเบื้องเชิงชายประเภทลายเทพพนม ประเภทลายดอกบัว ประเภทลายหน้ากาล
ประเภทลายพนั ธพ์ุ ฤกษา ประเภทลายครฑุ ยคุ นาค ประเภทลายวงโคง้ ประกอบกนั เปน็ รปู
สามเหล่ียม และประเภททรงกระจัง

กระเบ้ืองเชิงชายประเภทลายเทพพนมได้รับความนิยมมากท่ีสุด รองลงมาคือ
ประเภทลายดอกบวั แตล่ ายดอกบวั นน้ั กเ็ ปน็ สว่ นประกอบหลกั ของประเภทลายเทพพนม
ดว้ ย สว่ นลวดลายประเภทอน่ื พบปรมิ าณน้อยกว่า

จากการศกึ ษาลวดลายประดับ สามารถสรปุ แนวววิ ฒั นาการได้ ๓ ระยะคือ

๓๕ “พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม),” ประชุมพงศาวดาร เล่ม ๓๘ (พระนคร :
องค์การคา้ ของคุรุสภา, ๒๕๑๒), หนา้ ๒.
188

สมัยอยธุ ยาตอนต้น

กระเบอ้ื งเชิงชายสมยั อยุธยาตอนตน้ (พุทธศตวรรษที่ ๒๐) พบลวดลายประดับ
ประเภทลายดอกบวั ประเภทลายเทพพนม ประเภทลายหนา้ กาล และประเภทลายเสน้ โคง้
ประกอบกันเปน็ รูปสามเหลย่ี ม

ดอกบัวมลี กั ษณะใกล้ธรรมชาติท�ำทั้งดอกตมู และดอกบาน โดยดอกบวั ตูมพบทั้ง
แบบท่ีมีก้านและไม่มีก้านมารองรับดอกบัว แต่ได้รับความนิยมอยู่ในระยะเวลาส้ัน ๆ
สว่ นดอกบวั บานแบบไมม่ กี า้ นมารองรบั เปน็ แบบทน่ี ยิ มมากกวา่ และมวี วิ ฒั นาการสบื ตอ่ มา
จนสมยั อยุธยาตอนปลาย

กระหนกสมยั อยธุ ยาตอนตน้ ลกั ษณะคอ่ นขา้ งนนู หนาเนน้ ความโคง้ ของกระหนก
ตัวเหงาอย่างมาก พบว่าท�ำเป็นลายประกอบอยู่ในประเภทลายดอกบัวและประเภท
ลายหนา้ กาล

สมัยอยุธยาตอนกลาง

สมยั อยธุ ยาตอนกลาง (ราวพทุ ธศตวรรษที่ ๒๑ ถงึ ตน้ พทุ ธศตวรรษที่ ๒๒) กระเบอื้ ง
เชงิ ชายมขี นาดเลก็ ลง พบวา่ ทำ� ลวดลายประดบั ประเภทลายดอกบวั ประเภทลายเทพพนม
ประเภทลายหนา้ กาล และประเภทลายเส้นโค้งประกอบกนั เป็นรปู สามเหลีย่ ม

ลักษณะดอกบัวเริ่มแปรเปลี่ยนเพราะว่าได้รับอิทธิพลมาจากลายประเภท
พันธ์ุพฤกษา ตัง้ แต่ราวพทุ ธศตวรรษท่ี ๒๑ จนทสี่ ดุ เมอ่ื ถงึ ตน้ พุทธศตวรรษที่ ๒๒ ลวดลาย
ประเภทพันธุ์พฤกษา ได้แก่ ลายก้านขด ดอกไม้ และใบไม้ ได้เข้ามาเป็นลายประกอบ
แต่กม็ ีอทิ ธพิ ลโดดเดน่ กวา่ กลบี บวั ซง่ึ มขี นาดเล็กลง

189

สมัยอยธุ ยาตอนปลาย

สมัยอยุธยาตอนปลาย (ราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๒ ถึงพุทธศตวรรษที่ ๒๓)
สว่ นมากกระเบอ้ื งเชงิ ชายย้อนกลบั ไปทำ� ขนาดใหญ่ตามแบบอยุธยาตอนตน้ พบลวดลาย
ประดับประเภทลายดอกบัว ประเภทลายเทพพนม ประเภทลายหน้ากาล ประเภทลาย
พนั ธพ์ุ ฤกษา ประเภทลายครฑุ ยดุ นาค ประเภทลายเสน้ โคง้ ประกอบกนั เปน็ รปู สามเหลย่ี ม
และประเภททรงกระจงั

ตง้ั แตร่ าวปลายพทุ ธศตวรรษที่ ๒๒ ลายประเภทกระหนกไดก้ ลบั มาไดร้ บั ความนยิ ม
แทนลายประเภทพันธุ์พฤกษาอีกคร้ังหนึ่ง และได้เป็นส่วนส�ำคัญในกระเบื้องเชิงชาย
ประเภททเ่ี กดิ ขึ้นใหม่ ได้แก่ ประเภททรงกระจัง แต่โดยทั่วไปกระหนกมักจะทำ� ขนาดเลก็
และต่ออยู่ท่ีปลายของก้านยาว ๆ อันเป็นลักษณะของก้านขดที่นิยมอยู่ในระยะก่อน
ต่อมาในพุทธศตวรรษที่ ๒๓ กระหนกได้พัฒนาจนมีลักษณะพล้ิวไหว และบางคร้ัง
ได้ท�ำเปน็ กระหนก ๓ ตวั อย่างชดั เจน

ในปลายพุทธศตวรรษท่ี ๒๓ ลายใบไม้ และลายใบไม้สามแฉก ไดเ้ ขา้ มามีบทบาท
แทนทกี่ ลีบบัวจนแทบมองไมเ่ ห็นเค้าด้ังเดมิ

นอกจากนี้ในสมัยอยุธยาตอนปลายยังปรากฏกระเบื้องเชิงชายแบบพิเศษ คือ
ประเภทลายครุฑยุดนาค และประเภทลายพันธุ์พฤกษาล้วน ซึ่งมีก�ำหนดอายุราวปลาย
พุทธศตวรรษท่ี ๒๒ และต้นพทุ ธศตวรรษท่ี ๒๓ ตามล�ำดับ
สรุปผลการศึกษา

การศกึ ษาเร่อื ง “กระเบือ้ งเชิงชายสมยั อยธุ ยา” มสี มมุติฐานวา่ กระเบื้องเชิงชาย
นา่ จะทำ� กนั อยใู่ นศลิ ปะอยธุ ยาตงั้ แตร่ ะยะแรก โดยสบื ทอดมาจากงานศลิ ปกรรมทมี่ มี ากอ่ น
และววิ ฒั นาการอย่างตอ่ เนอื่ งมาตลอดสมยั ทกี่ รงุ ศรอี ยธุ ยาเป็นราชธานี

“กระเบอ้ื งเชงิ ชาย” มที เ่ี รยี กกนั อกี อยา่ งหนง่ึ วา่ “กระเบอ้ื งหนา้ อดุ ” ดงั นนั้ ในดา้ น
รปู ธรรม กระเบอ้ื งเชงิ ชายนา่ จะทำ� หนา้ ทปี่ ดิ ชอ่ งโหวท่ ชี่ ายคา เพอื่ ปอ้ งกนั สตั วไ์ มใ่ หเ้ ขา้ ไป
ท�ำลายโครงสรา้ งภายในอาคารได้

190

กระเบ้ืองเชิงชายสมัยอยุธยา โดยทั่วไปมีทรงสามเหลี่ยมมีต�ำแหน่งปะติดอยู่กับ
กระเบ้ืองมงุ หลงั คาแถวริมสดุ ของผนื หลังคาทกุ ซ้อนทุกตับ โดยใชอ้ ยูก่ ับ “ปราสาท” หรือ
“เรอื นฐานานศุ กั ด”์ิ ซง่ึ ลกั ษณะของอาคารถกู สรา้ งเปน็ เชงิ สญั ลกั ษณข์ องเรอื นชนั้ โดยชา่ ง
ได้ท�ำย่นชั้นซ้อนลงมา ท�ำให้ฝาและช่องหน้าต่างหายไป เหลือเพียงส่วนประกอบที่เป็น
สญั ลกั ษณท์ �ำเป็นจ่วั เลก็ ๆ ไว้ท่ีชั้นหลังคาแต่ละชน้ั เรยี กว่า “บรรพแถลง” ซึง่ เปน็ ตัวแทน
ของชอ่ งหนา้ ตา่ ง หรอื ชอ่ งบญั ชร ทำ� ใหก้ ระเบอื้ งเชงิ ชายซงึ่ มลี กั ษณะทรงสามเหลย่ี ม และ
มีท่ีประดับอยู่ท่ีชั้นของหลังคาก็สามารถท�ำหน้าที่แทนวิมานอันเป็นที่อยู่ของเหล่าเทวดา
โดยสมมุตติ ามแนวความคดิ ดงั กลา่ วได้ด้วย

แนวคิดดังกล่าวย่ิงชัดเจนย่ิงข้ึนเมื่อในกระเบื้องเชิงชายเหล่าน้ันประดับด้วย
รูปภาพที่มีความหมาย เป็นต้นว่าดอกบัว และเทพพนม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหล่าเทวดา
เหล่านี้อยู่ในท่าพนมหัตถ์แสดงความเคารพต่อประธานผู้เป็นใหญ่ในอาคารน้ัน ๆ ซึ่ง
ได้แก่ พระพุทธเจ้า ท่ีสถิตอยู่ในศาสนสถาน หรือพระมหากษัตริย์ท่ีประทับอยู่ใน
พระมหาปราสาท เป็นตน้

จากการศึกษาพบว่ากระเบ้ืองเชิงชายสมัยอยุธยา ท�ำประดับท้ังอาคารท่ีมุง
กระเบื้องลอนและกระเบื้องแผ่น โดยประเภทลายเทพพนมได้รับความนิยมมากที่สุด
รองลงมา คอื ประเภทลายดอกบวั แตอ่ ยา่ งไรกต็ ามดอกบวั กเ็ ปน็ สว่ นประกอบทส่ี ำ� คญั ของ
ประเภทลายเทพพนม ดังน้ัน ดอกบัวจึงถือว่าเป็นลวดลายท่ีนิยมใช้ประดับบนกระเบื้อง
เชงิ ชายสมยั อยธุ ยา มากกวา่ ลวดลายประเภทอนื่ และดอกบวั มแี นวววิ ฒั นาการสอดคลอ้ ง
กัน ไมว่ า่ จะใช้ประกอบอยกู่ บั กระเบือ้ งประเภทใดกต็ าม

กระเบอื้ งเชงิ ชายสมยั อยธุ ยาสามารถจำ� แนกตามลกั ษณะของลวดลายหรอื รปู ภาพ
ทป่ี ระดบั ออกไดเ้ ป็น ๗ ประเภท โดยมลี �ำดับทางวิวฒั นาการของแต่ละประเภท ดังนี้

๑. ประเภทลายดอกบวั
ลวดลายประดับรปู ดอกบัวปรากฏในกระเบื้องเชงิ ชาย ตั้งแต่สมยั อยธุ ยาตอนตน้
นิยมสืบต่อมาในสมัยอยธุ ยาตอนกลาง และตอนปลาย ตามลำ� ดับ
ลกั ษณะส�ำคญั ของลายดอกบวั สมัยอยธุ ยาตอนตน้ (ราวพทุ ธศตวรรษท่ี ๒๐) คอื
ดอกบัวตูมหรือเร่ิมผลิบานมีก้านมารองรับ ลักษณะเหมือนธรรมชาติ แต่แบบนี้ได้รับ
ความนิยมอยู่ในช่วงเวลาสั้น ๆ เพราะในระยะเดียวกันนั้นได้เกิดความนิยมดอกบัว
อกี ลกั ษณะหนึ่งมากกวา่ คือ ดอกบวั บานและไมม่ ีก้านมารองรบั

191

ซ่ึงดอกบัวลักษณะนี้ได้รับความนิยมต่อมายาวนาน วิวัฒนาการของกลีบดอก
ลกั ษณะเรยี วยาวใกลธ้ รรมชาติ คลคี่ ลายมาเปน็ กลบี ดอกมหี ยกั ทขี่ อบซง่ึ ไดร้ บั อทิ ธพิ ลจาก
ลายประเภทพนั ธพ์ุ ฤกษาในสมยั อยธุ ยาตอนกลาง (ราวพทุ ธศตวรรษที่ ๒๑-๒๒) จนกระทงั่
ราวปลายพุทธศตวรรษท่ี ๒๒ กลีบบัวได้พัฒนาปรับเปล่ียนมาเป็นกระหนก ท้ายที่สุด
ลายประเภทใบไม้ ๓ แฉก ได้เข้ามาแทนท่ีกระหนกจนแทบนึกไม่ถึงเค้าโครงดั้งเดิมของ
ดอกบวั

๒. ประเภทลายเทพพนม
ลวดลายประดับรปู เทพพนมเร่ิมทำ� กนั ตงั้ แตส่ มัยอยธุ ยาตอนตน้ นยิ มสืบเน่อื งมา
โดยตลอดจนถึงสมัยอยุธยาตอนปลาย โดยลักษณะส�ำคัญคือเทพพนมอยู่เหนือดอกบัว
ลักษณะโผลข่ นึ้ มา แสดงการถอื ก�ำเนิดมาจากดอกบวั อนั บรสิ ุทธิ์
ในสมัยอยุธยาตอนต้น ประเภทลายเทพพนมน่าจะท�ำก้านบัวมารองดอกบัว
อนั เปน็ ที่กำ� เนิดของเทพพนม ท�ำนองเดยี วกบั ประเภทลายดอกบวั แตค่ งไดร้ บั ความนยิ ม
อยู่ในระยะเวลาส้ัน ๆ คือในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ซ่ึงลายเทพพนมแบบดังกล่าวนี้
ไดถ้ กู นำ� ยอ้ นกลบั มาทำ� อกี ครงั้ หนง่ึ ในรชั กาลสมเดจ็ พระนารายณม์ หาราช ตน้ พทุ ธศตวรรษ
ท่ี ๒๓
ประเภทลายเทพพนมท่ีแพร่หลายเป็นชนิดท่ีไม่มีก้านมารองรับดอกบัว
วิวัฒนาการเริ่มจากดอกบัวลักษณะตูมหรือเร่ิมผลิบานเป็นธรรมชาติ แต่พบน้อยช้ิน
น่าจะมีอายุร่วมสมัยกับแบบดอกบัวบานลักษณะใกล้ธรรมชาติ ส่วนมงกุฎท�ำแบบ
เรยี บงา่ ย ลกั ษณะเดน่ อยทู่ ป่ี มุ่ แหลมขนาดเลก็ ๒-๓ ปมุ่ เหนอื กรอบกระบงั หนา้ เทยี บไดก้ บั
มงกุฎลักษณะเดียวกันในงานสลักไม้และปูนปั้นสมัยอยุธยาตอนกลาง อย่างไรก็ตามลาย
แบบนีน้ า่ จะท�ำกันอยู่แลว้ ในราวปลายพทุ ธศตวรรษท่ี ๒๐ หรือตน้ พทุ ธศตวรรษที่ ๒๑
กลบี บวั คลคี่ ลายมาเปน็ ลายประเภทพนั ธพ์ุ ฤกษาในสมยั อยธุ ยาตอนกลาง เรม่ิ จาก
การท�ำกลีบดอกสะบัดพล้ิว และมีหยักท่ีขอบของกลีบในราวพุทธศตวรรษท่ี ๒๑ ลาย
ประเภทก้านขด ดอกไม้ ใบไม้ อนั เกี่ยวขอ้ งอยกู่ ับลายประเภทพนั ธพุ์ ฤกษาปรากฏอย่าง
ชัดเจนต้ังแต่ต้นพุทธศตวรรษท่ี ๒๒ และพบมากในโบราณสถานที่สร้างในกลาง
พุทธศตวรรษที่ ๒๒
เม่ือถึงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๒ ประเภทลายพันธุ์พฤกษาลดความส�ำคัญลง
ลายประเภทกระหนกไดเ้ ข้ามามีบทบาทแทนที่ ขณะท่มี งกฎุ เริ่มมเี คร่อื งประดบั เพมิ่ ขนึ้

192

ในปลายพุทธศตวรรษท่ี ๒๓ กระหนกใต้เทพพนมได้พัฒนาเป็นกระหนก ๓ ตัว
ลักษณะสะบัดพลิ้วแบบกระหนกเปลว แต่ส่วนมากได้น�ำลายอื่นเช่นใบไม้ ๓ แฉก และ
ทรงคลา้ ยดอกมะลติ มู ไดเ้ ขา้ มาแทนกลบี บวั จนแทบมองไมเ่ หน็ เคา้ ของของดอกบวั ในทสี่ ดุ
สว่ นมงกฎุ นัน้ เป็นแบบทรงเครอ่ื งใหญ่

๓. ประเภทลายหน้ากาล
ในสมยั อยธุ ยาระยะแรกเรม่ิ หนา้ กาลสบื ทอดลกั ษณะทม่ี อี ยใู่ นศลิ ปะเขมร - ลพบรุ ี
เช่น ลักษณะใบหน้า และการท�ำขีดเล็ก ๆ ท่ีขอบแทนกระหนกครีบสิงห์ กระหนกเน้น
เส้นขมวดโค้งหนาของกระหนกตัวเหงาตามลักษณะกระหนกสมัยอยุธยาตอนต้น และ
น่าจะท�ำสืบเนอื่ งมาในสมัยอยุธยาตอนกลาง
ตอ่ มาลายพนั ธพ์ุ ฤกษาประเภทกา้ นขด ใบไม้ และดอกไม้ ไดเ้ ขา้ มามบี ทบาทแทนที่
กระหนก ซึ่งที่พบหลักฐานน้ันพันธุ์พฤกษาเป็นลายประกอบหน้ากาล ซ่ึงเป็นงานราว
ต้นพทุ ธศตวรรษท่ี ๒๓ ซึง่ ในระยะเดยี วกันนีม้ ีลายหน้ากาลอีกลกั ษณะหน่ึง ซ่งึ มีกระหนก
เข้ามาปะปนอยู่อีก แต่ครั้งนี้กระหนกมีขนาดเล็ก บอบบาง และมีลักษณะสะบัดพลิ้ว
แบบกระหนกเปลว

๔. ประเภทลายพนั ธพ์ุ ฤกษา
ลายประเภทพันธุ์พฤกษานิยมประดับในกระเบ้ืองเชิงชายร่วมกับลายอย่างอื่น
ไดแ้ ก่ ประเภทลายเทพพนม และประเภทลายหนา้ กาล ทเี่ ปน็ ประเภทลายลายพนั ธพ์ุ ฤกษา
ลว้ น พบตัวอยา่ งเพียงแบบเดียว และเป็นงานราวตน้ พทุ ธศตวรรษท่ี ๒๓

๕. ประเภทลายรปู ครุฑยุดนาค
ประเภทลายรปู ครฑุ ยดุ นาคพบตวั อยา่ งเพยี งแบบเดยี ว และนา่ จะมอี ายรุ าวรชั กาล
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ หรอื รัชกาลสมเด็จพระเจา้ ปราสาททอง

๖. ประเภทลายเสน้ โคง้ ประกอบกันเปน็ รูปสามเหลย่ี ม
ประเภทลายเส้นโค้งประกอบกันเป็นรูปสามเหล่ียม เป็นลายประดับที่ยากต่อ
การสืบค้นความหมาย แต่พบว่าใช้เป็นลายประดับในกระเบื้องเชิงชายมากพอสมควร
สามารถแยกไดเ้ ปน็ ๒ แบบ และนา่ จะท�ำอยู่ในสมัยอยุธยาตอนกลาง

193

๗. ประเภททรงกระจงั
ประเภททรงกระจังน่าจะคล่ีคลายมาจากลายกระทงในศิลปะล้านนา ใช้ประดับ
ตามแนวขอบของฐานหรอื ชนั้ ตา่ ง ๆ ในงานสถาปตั ยกรรมมากอ่ น ทรงกระจงั เรม่ิ ใชป้ ระดบั
อาคารในต�ำแหน่งของกระเบื้องเชิงชายตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง และ
ท�ำสืบต่อมาในรัชกาลหลงั ๆ
เนื่องจากส่วนประกอบส�ำคัญของทรงกระจัง คือ กระหนกที่ประกอบอยู่ท่ีขอบ
ท้ังสอง ซ่ึงมีแนววิวัฒนาการจากกระหนกตัวเดียวในปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๒ มาเป็น
กระหนกสามตวั ในศตวรรษตอ่ มา

แบบและปริมาณของกระเบ้อื งเชงิ ชายประเภทต่าง ๆ
ท่ีพบจากโบราณสถาน และใชใ้ นการวจิ ัยคร้งั นี้

กระเบอื้ งเชงิ ชายทใี่ ชใ้ นการศกึ ษาเรอื่ ง “กระเบอ้ื งเชงิ ชายสมยั อยธุ ยา” ไดม้ าจาก
การขดุ แตง่ ทางโบราณคดี การสำ� รวจโบราณสถาน และทเ่ี กบ็ รวบรวมอยใู่ นพพิ ธิ ภณั ฑสถาน
แหง่ ชาติ

ตัวอย่างหลักฐานท่ีได้จากการขุดแต่งโบราณสถานท้ังหมด เป็นตัวอย่างได้จาก
ชั้นดินพังทลายทับถม ไม่มีกระเบ้ืองเชิงชายชิ้นใดที่ได้จากหลุมขุดค้นทางโบราณดี
ในด้านปริมาณของกระเบ้ืองเชิงชายได้จากตัวอย่างที่เก็บรวบรวมอยู่ในห้องปฏิบัติการ
ทางโบราณคดีของส�ำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ ๓ ดังนั้น
โบราณสถานทขี่ ดุ แตง่ ผา่ นมานานแลว้ กระเบอื้ งเชงิ ชายทค่ี ดั เกบ็ ไวเ้ ปน็ ตวั อยา่ งเฉพาะชนิ้
ทคี่ อ่ นขา้ งสมบรู ณ์ สว่ นชน้ิ สว่ นทแี่ ตกหกั ไดถ้ กู นำ� กลบั ไปฝงั คนื ยงั แหลง่ ทพี่ บ หรอื แหลง่ อน่ื
แล้วแต่กรณี ปริมาณท่ีปรากฏในรายการจึงน้อย แต่โบราณสถานท่ีก�ำลังอยู่ระหว่าง
ขั้นตอนการขดุ แตง่ จะสามารถตรวจนับในเชงิ ปริมาณได้อย่างครบถ้วน

ส่วนหลักฐานท่ีได้จากการส�ำรวจย่อมมีอยู่น้อยเพราะว่าส่วนหนึ่งยังฝังจมอยู่
ใตด้ นิ และกระเบอื้ งเชงิ ชายทเี่ กบ็ รกั ษาอยใู่ นพพิ ธิ ภณั ฑสถานแหง่ ชาติ จะคดั เพยี งตวั อยา่ ง
เฉพาะชน้ิ เพอื่ นำ� แบบทไี่ มพ่ บเหน็ จากขอ้ มลู ดา้ นการขดุ แตง่ และสำ� รวจ มาใชใ้ นการศกึ ษา
ครง้ั นเี้ ปน็ ส�ำคัญ จึงไมไ่ ด้แสดงปรมิ าณไว้ ณ ท่นี ้ี

อย่างไรก็ตาม การเสนอข้อมูลส่วนนี้เพื่อเป็นข้อมูลเพิ่มเติมแก่ผู้ที่ต้องการขยาย
ผลการศกึ ษาต่อไป และเพอื่ เป็นข้อมลู ส�ำหรับการตรวจสอบงานวิจยั ชน้ิ น้ี

194

๑. วัดมเหยงคณ์
อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ด�ำเนินการขุดแต่งวัดมเหยงคณ์ เพ่ือ
ออกแบบและบูรณะโบราณสถานเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๑ - ๒๕๓๒ รายงานการขุดแต่งยังไม่
ได้ตีพิมพ์
กระเบ้ืองเชงิ ชายประเภทลายดอกบัว แบบที่ ๑ พบบริเวณนอกกำ� แพงแกว้ ของ
อโุ บสถด้านทศิ เหนือ สว่ นกระเบอื้ งเชิงชายอกี กล่มุ หนง่ึ คือประเภทลายดอกบัว แบบท่ี ๕
พบในบริเวณพระอโุ บสถ ดังนี้

ประเภทลายดอกบัว แบบท่ี ๑ ประเภทลายดอกบวั แบบที่ ๕ ประเภทลายดอกบวั แบบท่ี ๕
(ก. ลอน) พบบริเวณนอกก�ำแพงแกว้ (ก. ลอน) พบบริเวณพระอุโบสถ (ก. ลอน) พบบริเวณพระอโุ บสถ

ด้านทิศเหนือของพระอุโบสถ จำ� นวน ๑๖ ชน้ิ จำ� นวน ๕ ชนิ้
จำ� นวน ๑๕ ช้นิ

ประเภทลายดอกบวั แบบท่ี ๕ ประเภทลายดอกบัว แบบท่ี ๕ ประเภทลายหนา้ กาล แบบท่ี ๕
(ก. ลอน) พบบริเวณพระอุโบสถ (ก. ลอน) พบบรเิ วณพระอโุ บสถ (ก. ลอน) พบบรเิ วณพระอุโบสถ

จ�ำนวน ๑๙ ช้ิน จ�ำนวน ๑ ชิน้ จำ� นวน ๑ ชนิ้

195

๒. พระราชวงั หลวง
กระเบ้ืองเชิงชายท่ีแสดงต่อไปน้ี รวมถึงกระเบื้องเชิงชายที่พบบริเวณพระท่ีนั่ง
บรรยงกร์ ตั นาสน์ ตำ� หนกั สวนกระตา่ ย ฉนวนนำ้� ทา่ วาสกุ รี และฉนวนวดั พระศรสี รรเพชญ์
ด้วย
กระเบอ้ื งเชิงชายทีพ่ บในบรเิ วณพระราชวังหลวงมตี ัวอย่างดังตอ่ ไปน๓้ี ๖

ประเภทลายดอกบวั แบบท่ี ๒ ประเภทลายดอกบวั แบบท่ี ๒ ประเภทลายดอกบวั แบบที่ ๒
(ก. ลอน) (ก. ลอน) (ก. ลอน)

จำ� นวน ๒ ช้นิ จ�ำนวน ๓ ชิ้น จำ� นวน ๒ ชน้ิ

ประเภทลายดอกบัว แบบท่ี ๒ ประเภทลายดอกบัว แบบที่ ๓ ประเภทลายดอกบัว แบบที่ ๓
(ก. ลอน) (ก. ลอน) (ก. ลอน)

จ�ำนวน ๓ ชนิ้ จำ� นวน ๖ ช้นิ จ�ำนวน ๑ ชิ้น

๓๖ สําหรับรายละเอียดเพิ่มเติมเก่ียวกับการขุดแต่ง และหลักฐานกระเบื้องเชิงชายที่พบดูได้จากรายงาน
การขดุ แต่งโบราณสถานของกรมศิลปากร, โปรดดู ประทีป เพง็ ตะโก และสุดา งามเหลือ, การขดุ แตง่ ตาํ หนกั
สวนกระต่าย (โครงการอุทยานประวตั ิศาสตรพ์ ระนครศรีอยธุ ยา, ๒๕๓๒), หนา้ ๒๕ - ๓๖ (อดั สาํ เนา). 

196

ประเภทลายดอกบวั แบบท่ี ๓ ประเภทลายดอกบัว แบบที่ ๓ ประเภทลายดอกบัว แบบที่ ๓
(ก. ลอน) (ก. ลอน) (ก. ลอน)

จำ� นวน ๓ ช้นิ จำ� นวน ๒ ช้นิ จ�ำนวน ๑ ช้ิน

ประเภทลายดอกบวั แบบท่ี ๓ ประเภทลายดอกบัว แบบที่ ๔ ประเภทลายดอกบัว แบบท่ี ๔
(ก. แผน่ ) (ก. ลอน) (ก. แผน่ )

จ�ำนวน ๒ ชนิ้ จ�ำนวน ๒ ชิ้น จำ� นวน ๑ ชิ้น

ประเภทลายดอกบวั แบบที่ ๕ ประเภทลายดอกบวั แบบท่ี ๕ ประเภทลายดอกบวั แบบที่ ๕
(ก. ลอน) (ก. ลอน) (ก. ลอน)

จ�ำนวน ๓๙ ชิ้น จ�ำนวน ๒ ชน้ิ จำ� นวน ๓ ชิ้น

197

ประเภทลายดอกบวั แบบท่ี ๕ ประเภทลายดอกบัว แบบท่ี ๗ ประเภทลายดอกบวั แบบท่ี ๗
(ก. ลอน) (ก. แผ่น) (ก. ลอน)

จ�ำนวน ๒ ช้ิน จ�ำนวน ๒ ช้นิ จ�ำนวน ๑ ชิน้

ประเภทลายเทพพนม แบบท่ี ๒ ประเภทลายเทพพนม แบบท่ี ๔ ประเภทลายเทพพนม แบบที่ ๔
(ก. แผ่น) (ก. ลอน) (ก. ลอน)

จ�ำนวน ๑ ชนิ้ จ�ำนวน ๓ ชิน้ จำ� นวน ๑ ชน้ิ

ประเภทลายเทพพนม แบบท่ี ๕ ประเภทลายเทพพนม แบบที่ ๕ ประเภทลายเทพพนม แบบท่ี ๕
(ก. ลอน) (ก. ลอน) (ก. ลอน)

จ�ำนวน ๑ ชน้ิ จำ� นวน ๑๑ ช้นิ จำ� นวน ๕ ชนิ้

198


Click to View FlipBook Version