นวัตกรรมการสอน ตามพุทธวิถีใหม่ในพุทธศตวรรษที่ 26 รศ.ดร.สิิน งามประโคน สิน งามประโคน
นวัตกรรมการสอนตามพุทธวิถีใหม่ในพุทธศตวรรษที่ 26 รศ.ดร.สิน งามประโคน พิมพ์ครั้งที่ : 1 พ.ศ. 2566 จำนวน 100 เล่ม สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 79 หมู่ 1 ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13170 โทร 035-248-000 ต่อ 8773,8770 ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ รศ.ดร.สิน งามประโคน นวัตกรรมการสอนตามพุทธวิถีใหม่ในพุทธศตวรรษที่ 26 จำนวน 242 หน้า ราคา 250 บาท พระนครศรีอยุธยา: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2566 ISBN 978-616-598-306-8 r พิิมพ์์ที่่� ห้้างหุ้้นส่่วนจำกััด เชน ปริ้้�นติ้้�ง 7/414 ม.5 ต.บางใหญ่่อ.บางใหญ่่จ.นนทบุุรีี 11140 โทร. 081-489-4161 E-mail: [email protected] ISBN 978-616-603-358-8 พิิมพ์์ครั้้�งแรก มิิถุุนายน 2566 จำนวน 500 เล่่ม สงวนลิิขสิิทธิ์์�ตามกฎหมาย จััดพิิมพ์์โดย รศ.ดร.สิิน งามประโคน คณะครุุศาสตร์์มหาวิิทยาลััยมหาจุุฬาลงกรณราชวิิทยาลััย เลขที่่� 79 หมู่่ที่่� 1 ตำบลลำไทร อำเภอวัังน้้อย จัังหวััดพระนครศรีีอยุุธยา 13170 E-mail : [email protected] โทร. 081-8606922 สิิน งามประโคน. นวััตกรรมการสอนตามพุุทธวิิถีีใหม่่ในพุุทธศตวรรษที่่� 26.-- นนทบุุรีี : เชน ปริ้้�นติ้้�ง, 2566. 274 หน้้า. 1. นวััตกรรมทางการศึึกษา. 2. การสอน. I. ชื่่�อเรื่่�อง. 371.33 ISBN 978-616-603-358-8 ข้้อมููลทางบรรณานุุกรมของหอสมุุดแห่่งชาติิ
คำนำ หนังสือ “นวัตกรรมการสอนตามพุทธวิถีใหม่ในพุทธศตวรรษที่ 26”เล่มนี้เรียบเรียง ขึ้นจากการวิเคราะห์ สังเคราะห์แนวคิด ทฤษฎีและหนังสือพระไตรปิฎก โดยการนำแนวคิด ของนักวิชาการทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งสอดแทรกความคิดริเริ่ม ประสบการณ์และ ผลการวิจัยของผู้เขียน เพื่อเสนอเป็นองค์ความรู้ ความคิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทาง การศึกษาในสถานการณ์แบบ VUCA World และการระบาดของโรคโควิด-19 การพลิก โฉมการสอนแบบแนวใหม่ พุทธนวัตกรรมการสอน หลักการพัฒนาและกลยุทธ์การจัดการ เรียนการสอนสู่นวัตกรรม รวมทั้งการเรียนรู้โดยการพึ่งตนเอง การบูรณาการและการ นำเสนอแนวทางพัฒนาพุทธนวัตกรรมการสอนเพื่อการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล จุดมุ่งหมายของหนังสือเล่มนี้มุ่งพัฒนาการเรียนการสอนด้วยการพัฒนานวัตกรรม ที่เป็นพุทธวิถีใหม่ซึ่งเป็น Soft Power ที่มีคุณค่าที่เป็นต้นแบบการสอนคนจากคนธรรมดา จนได้เป็นพระอรหันต์ของโลกอย่างเป็นขั้นเป็นตอน โดยเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง เริ่มจากเข้าใจตั้งคำถามต่อการแสวงหาความรู้ ซึ่งสอดคล้องกับทักษะการคิดวิเคราะห์ ซึ่ง ผู้สอนต้องเข้าใจพื้นฐานผู้เรียนที่แตกต่างกันในหลายมิติตามหลักการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 คือการเรียนรู้ตลอดชีวิตได้ทุกที่ตลอดเวลา (Anywhere and Anytime) ผู้เรียบเรียงหวัง เป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับครู อาจารย์นิสิตนักศึกษาและท่านที่ สนใจนำไปประยุกต์ใช้สำหรับการค้นคว้าเพิ่มเติม การวิจัยต่อยอดและขอขอบคุณผู้บริหาร คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ที่ส่งเสริมการผลิตงานวิชาการ และขอขอบคุณผู้ทรงคุณที่กรุณาตรวจสอบคุณภาพหนังสือและให้ข้อเสนอแนะการปรับปรุง อย่างมีคุณค่ายิ่ง รองศาสตราจารย์ดร.สิน งามประโคน มกราคม 2566 ก
ข สารบััญ เรื่่�อง หน้้า คำนำ ก สารบััญ ข สารบััญตาราง จ สารบััญภาพ ฉ คำอธิิบายสััญลัักษณ์์และคำย่่อ ญ บทที่่� 1 บทนำ 1 1.1 บริิบทสถานการณ์์ของการศึึกษาไทย 2 1.2 การเปลี่่�ยนแปลงทางการศึึกษาในสถานการณ์์แบบ VUCA World 3 1.3 ปฏิิรููประบบการศึึกษาให้้มีีประสิิทธิิภาพ 7 1.4 การยกระดัับคุุณภาพการจััดการศึึกษาในยุุคประเทศไทย 4.0 13 1.5 การศึึกษาในยุุคประเทศไทย 4.0 เป็็นการจััดการเรีียนสอนอย่่างไร ให้้ตอบโจทย์์การพััฒนาประเทศ 15 1.6 นวััตกรรมการเรีียนการสอนในยุุคไทยแลนด์์4.0 18 1.7 นวััตกรรมการสอนตามพุุทธวิิถีีในยุุคพุุทธศตวรรษที่่� 26 21 เอกสารอ้้างอิิง 28 บทที่่� 2 การพลิิกโฉมการสอนแบบแนวใหม่่ 30 2.1 การสอนในยุุคฐานวิิถีีชีีวิิตใหม่่ (New Normal) 30 2.2 การจััดเรีียนการสอนเพื่่�อตอบโจทย์์แผนการศึึกษาแห่่งชาติิ พ.ศ. 2560-2579 41 2.3 แนวโน้้มการเปลี่่�ยนแปลงระดัับโลกในอนาคตที่่�ส่่งผลกระทบ ต่่อการจััดการศึึกษา 46 2.4 การพลิิกโฉมการพััฒนานวััตกรรมการสอน 50 2.5 การเรีียนการสอนในยุุคดิิจิิทััล 69 เอกสารอ้้างอิิง 79
ค บทที่่� 3 พุุทธนวััตกรรมการสอนในยุุคศตวรรษที่่� 26 81 3.1 พุุทธนวััตกรรมการสอนโดยครููต้้องคำนึึงถึึงความแตกต่่างระหว่่างบุุคคล 82 3.2 พุุทธนวััตกรรมการสอนโดยเข้้าใจธรรมชาติิผู้้เรีียน 93 3.3 พุุทธนวััตกรรมการสอนแบบการสาธิิต 100 3.4 พุุทธนวััตกรรมการสอนแบบการแนะนำ 105 3.5 พุุทธนวััตกรรมการสอนแบบการถาม-ตอบ 113 3.6 พุุทธนวััตกรรมการสอนแบบการสนทนา 119 เอกสารอ้้างอิิง 126 บทที่่� 4 การพััฒนาและกลยุุทธ์์การจััดการเรีียนการสอนสู่่นวััตกรรม 128 4.1 การพััฒนาพุุทธนวััตกรรมการจััดการเรีียนการสอน 128 4.2 พุุทธนวััตกรรมการสอนให้้ผู้้เรีียนคิิดและลงมืือปฏิิบััติิด้้วยตนเอง 135 4.3 พุุทธนวััตกรรมการสอนโดยปรัับวิิธีีสอนให้้เหมาะกัับผู้้เรีียน 144 4.4 พุุทธนวััตกรรมการสอนโดยเอาใจใส่่ผู้้เรีียนเป็็นรายบุุคคล 154 4.5 สรุุปการพััฒนาพุุทธนวััตกรรมการสอนสู่่การปฏิิบััติิ 160 เอกสารอ้้างอิิง 167 บทที่่� 5 พุุทธนวััตกรรมการสอนให้้ผู้้เรีียนมีีส่่วนร่่วมการเรีียนรู้้ด้้วยการพึ่่�งตนเอง 170 5.1 หลัักการจััดการเรีียนรู้้ด้้วยตนเอง 170 5.2 แนวคิิดเกี่่�ยวกัับการเรีียนรู้้ด้้วยตนเอง 173 5.3 การประยุุกต์์ใช้้แนวคิิดและทฤษฎีีสู่่การสอนโดยให้้ผู้้เรีียน มีีส่่วนร่่วมในการเรีียนรู้้ด้้วยตนเอง 177 5.4 พุุทธนวััตกรรมการสอนโดยการเรีียนรู้้ด้้วยตนเอง 180 5.5 สรุุปแนวทางการพััฒนาพุุทธนวััตกรรมการสอนโดยให้้ผู้้เรีียน มีีส่่วนร่่วมในการเรีียนรู้้ด้้วยตนเอง 201 เอกสารอ้้างอิิง 204
ง บทที่่� 6 การบููรณาการและการนำเสนอ 205 6.1 รููปแบบการสอนด้้วยการสนทนาถาม-ตอบ โดยมีีหลัักการสอน และเหตุุผลในการสอน 207 6.2 รููปแบบการสอนด้้วยการบรรยาย 211 6.3 รููปแบบการสอนด้้วยการตอบปััญหา 213 6.4 รููปแบบการสอนด้้วยการวางกฎระเบีียบข้้อปฏิิบััติิ 216 6.5 หลัักการสอนโดยให้้ผู้้เรีียนได้้เรีียนรู้้ด้้วยตนเอง 219 6.6 หลัักเหตุุผลในรููปแบบพุุทธวิิธีีการสอนต่่าง ๆ 220 6.7 การประยุุกต์์หลัักการ รููปแบบ เนื้้�อหา เทคนิิคการสอน วิิธีีการสอน 221 6.8 พุุทธนวััตกรรมการเรีียนการสอน 223 6.9 การประเมิินผลการเรีียนรู้้อย่่างสร้้างสรรค์์ 225 6.10 หลัักการการประเมิินผลการเรีียนรู้้อย่่างสร้้างสรรค์์ 228 6.11 หลัักการประเมิินผลการเรีียนรู้้อย่่างสร้้างสรรค์์ตามหลัักพุุทธศาสนา 230 เอกสารอ้้างอิิง 249 บรรณานุุกรม 251 ดััชนีีคำหลััก 257
จ สารบััญตาราง ตารางที่ ่� หน้้า 3.1 ประยุุกต์์พุุทธนวััตกรรมการสอนจากพระไตรปิิฎกสู่่การสอนจริิง ในพุุทธศตวรรษที่่� 26 124
ฉ สารบััญภาพ ภาพที่ ่� หน้้า 1.1 การเปลี่่�ยนแปลงในศตวรรษที่่� 21.ในบริิบทการศึึกษาไทย 27 2.1 นวััตกรรมการสอน 37 2.2 สรุุปแนวความคิิดเกี่่�ยวกัับเนื้้�อหาหรืือเรื่่�องที่่�สอน 56 2.3 สรุุปประเด็็นแนวความคิิดเกี่่�ยวกัับตััวผู้้เรีียนหรืือผู้้ฟัังธรรม 57 2.4 สรุุปประเด็็นแนวความคิิดเกี่่�ยวกัับตััวผู้้สอน 58 2.5 ประมวลหลัักพุุทธวิิธีีการสอนได้้ทั้้�ง 3 ประการ 59 2.6 สรุุปศิิลปะพุุทธวิิธีีการสอน 60 2.7 สรุุปได้้หลัักการใช้้เทคนิิคพุุทธวิิธีีการสอน 62 2.8 สรุุปพุุทธวิิธีีการสอน 4 แบบ 63 2.9 TPACK Model 71 2.10 SAMR Model 72 2.11 Bloom’s Digital Taxonomy 74 3.1 การออกแบบการสอนสู่่การพััฒนาปััญญาและมีีความสุุข 91 3.2 ประยุุกต์์จากพุุทธวิิถีีการสอนโดยเข้้าใจธรรมชาติิของพระอััญญาโกณฑััญญะ 94 3.3 ประยุุกต์์พุุทธวิิถีีการสอนใช้้สำหรัับการสอนในยุุคศตวรรษที่่� 21 95 3.4 ประยุุกต์์จากพุุทธนวััตกรรมการสอนแก่่พระอุุรุุเวลกััสสปะ 96 3.5 ประยุุกต์์จากพุุทธนวััตกรรมการสอนแก่่พระสารีีบุุตรเถระ 98 3.6 ประยุุกต์์จากพุุทธนวััตกรรมการสอนแบบสาธิิตแก่่พระจููฬปัันถกเถระ 101 3.7 ประยุุกต์์จากพุุทธนวััตกรรมการสอนแบบสาธิิตพระราหุุลเถระ 103 3.8 ประยุุกต์์จากพุุทธนวััตกรรมการสอนแบบการสาธิิตสู่่การปฏิิบััติิ 104 3.9 ประยุุกต์์จากพุุทธนวััตกรรมการสอนแบบแนะนำพระมหาโมคคััลลานะ 107 3.10 พุุทธนวััตกรรมการสอนแบบแนะนำพระอนุุรุุทธะเถระ 109 3.11 ประยุุกต์์จากพุุทธนวััตกรรมการสื่่�อสารแบบแนะนำพระมหากััสสปะเถระ 112 3.12 ประยุุกต์์จากพุุทธนวััตกรรมการสอนแบบถาม-ตอบพระวัังคีีสเถระ 115 3.13 การเรีียนรู้้ที่่�ดีีต้้องเรีียน 3 ชั้้�น 116 3.14 ประยุุกต์์จากพุุทธนวััตกรรมการสอนแบบถาม-ตอบพระปุุณณมัันตานีีเถระ 117
ช 3.15 ประยุุกต์์พุุทธนวััตกรรมการสอนแบบสนทนาธรรมของพระอุุปเสนเถระ 120 3.16 ประยุุกต์์จากพุุทธนวััตกรรมการสอนแบบสนทนาธรรมพระปิิณโฑล ภารทวาชเถระ 123 3.17 พุุทธนวััตกรรมการสอน 125 4.1 องค์์ประกอบการสอน 131 4.2 เนื้้�อหาการสอน ความรู้้ พััฒนาจิิต ปััญญา และปฏิิบััติิได้้ด้้วยตนเอง 132 4.3 เทคนิิคการสอนที่่�สามารถนำไปประยุุกต์์สอนได้้ในยุุคดิิจิิทััล 133 4.4 การประเมิินผลการสอนในยุุคดิิจิิทััล 134 4.5 ประยุุกต์์พุุทธนวััตกรรมการสอนพระราหุุลโดยใช้้กระบวนการเรีียนรู้้ด้้วย จิิตพร้้อมสำหรัับการสอนผู้้เรีียนในสถานการณ์์ปััจจุุบััน 141 4.6 ประยุุกต์์พุุทธนวััตกรรมการสอนโดยใช้้กระบวนการเรีียนรู้้ด้้วยความพร้้อม ขอผู้้เรีียนเน้้นการเรีียนรู้้สร้้างบรรยากาศสภาพแวดล้้อมที่่�สมเหมาะ 142 4.7 ประยุุกต์์พุุทธนวััตกรรมการสอนด้้วยปรัับทััศนคติิความเชื่่�อเดิิมมาเป็็น แบบใหม่่ชี้้�แนะแนวทางปฏิิบััติิใหม่่จนพ้้นทุุกข์์ที่่�แท้้จริิง 144 4.8 ประยุุกต์์พุุทธนวััตกรรมการสอนกััมมััฏฐานที่่�เหมาะสมกัับผู้้เรีียน 145 4.9 ประยุุกต์์พุุทธนวััตกรรมการสอนปรัับการสอนให้้เหมาะสมกัับผู้้เรีียน 147 4.10 ประยุุกต์์พุุทธนวััตกรรมการสอนของพระพุุทธเจ้้าทรงสอนภิิกษุุปรัับให้้เหมาะสม กัับผู้้เรีียน และทรงยกตััวอย่่างแนวทางปฏิิบััติิโดยการคบกััลยาณมิิตร 149 4.11 ประยุุกต์์พุุทธนวััตกรรมการสอนของพระพุุทธเจ้้าทรงชี้้�แนะแนวทางปฏิิบััติิ เกิิดความพึ่่�งพอใจสำหรัับแนวทางปฏิิบััติิที่่�ถููกต้้อง 150 4.12 ประยุุกต์์พุุทธนวััตกรรมการสอนของพระพุุทธเจ้้าทรงสอนชี้้�แนะผู้้เรีียน ด้้วยการจููงใจด้้วยการยกกรณีีพระภิิกษุุตััวเตี้้�ยด้้วยการเปรีียบเทีียบจนผู้้เรีียน ได้้แนวทางปฏิิบััติิที่่�ถููกต้้อง 151 4.13 ประยุุกต์์พุุทธนวััตกรรมการสอนแบบบรรยายของพระพุุทธเจ้้าทรงสอนภิิกษุุ ที่่�ทููลถามด้้วยการยกตััวอย่่างประกอบการสอนถึึงคุุณสมบััติิความงาม ด้้วยใจซื้้�อตรงจะเกิิดรููปงามและปััญญางาม 152 4.14 การประยุุกต์์พุุทธนวััตกรรมการสอนของพระพุุทธเจ้้าทรงสอนทีีฆนขะ หลานพระสารีีบุุตรซึ่่�งในขณะนั้้�นพระสารีีบุุตรเฝ้้าพระพุุทธเจ้้าอยู่่ที่่�นั้้�น ได้้บรรลุุธรรมเป็็นพระอรหัันต์์พร้้อมกัับหลานก็็ได้้ดวงตาเห็็นธรรม 153
ซ 4.15 ประยุุกต์์พุุทธนวััตกรรมการสอนวิิธีีการแก้้ไขปััญหาพระโมลิิยผััคคุุนะหััวดื้้�อ พฤติิผิิดพระวิินััยเป็็นประจำ ชอบโกรธ จึึงสอนวิิธีีระงัับความโกรธ ยกตััวอย่่างประกอบการอธิิบายจนได้้แนวทางปฏิิบััติิที่่�ถููกต้้อง สอนจากง่่ายไปหายากและลงมืือปฏิิบััติิด้้วยตนเอง 155 4.16 ประยุุกต์์พุุทธนวััตกรรมการสอนแก่่พระอานนท์์ทููลถามสู่่การปฏิิบััติิได้้ทุุกระดัับ ตั้้�งแต่่ปุุถุุชนจนถึึงพระสงฆ์์ 157 4.17 ประยุุกต์์พุุทธนวััตกรรมการสอนในพระสููตรนี้้�พระพุุทธเจ้้าทรงสอนแบบ การตอบคำถามสู่่การสอนด้้วยกััลยาณมิิตรตามสถานการณ์์ปััจจุุบััน 159 4.18 การจำลองภาพพุุทธนวััตกรรมการสอนสำหรัับการเรีียนรู้้แบบสนทนา หััวข้้อธรรมเรื่่�องป่่างามด้้วยภิิกษุุมีีคุุณสมบััติิอย่่างไร โดยการประยุุกต์์หลััก การสอนด้้วยการเปลี่่�ยนทััศนคติิที่่�ดีีต่่อการเรีียนรู้้ 161 4.19 การประยุุกต์์พุุทธนวััตกรรมการสอนด้้วยจิิตบริิสุุทธิ์์�ด้้วยการลอยบาป แบบพระพุุทธศาสนาสอนคนหนึ่่�งได้้อีีกคนในเรื่่�องเดีียวกััน 163 4.20 ประยุุกต์์พุุทธนวััตกรรมการสอนและแนวทางการปฏิิบััติิธรรมของพระภิิกษุุ และนัักปฏิิบััติิด้้วยการเรีียนรู้้ตามหลัักความจริิงในโลกนี้้� ตั้้�งแต่่อดีีต ปััจจุุบััน และอนาคต การคบคนมีีลัักษณะอย่่างนี้้� 164 4.21 การพััฒนาพุุทธนวััตกรรมการสอนสู่่การปฏิิบััติิด้้วยตนเองโดยภาพรวม 165 5.1 หลัักการเรีียนรู้้ด้้วยตนเอง 173 5.2 กระทััศน์์ใหม่่ของการเรีียนการสอนในศตวรรษที่่� 21 180 5.3 ชุุดความรู้้โดยการเรีียนรู้้ด้้วยตนเองเพื่่�อพััฒนาปััญญา 182 5.4 ประยุุกต์์พุุทธนวััตกรรมการสอนโดยเน้้นการมีีส่่วนร่่วมในการโต้้ตอบคำถาม ของลััทธิิความเชื่่�อของพวกเดีียรถีีย์์พบทางพ้้นทุุกข์์ 186 5.5 ประยุุกต์์พุุทธนวััตกรรมการสอนโดยเน้้นการร่่วมมืือกัันปฏิิบััติิขััดเกล้้ากิิเลส ให้้ให้้สามารถปััญหาได้้ 187 5.6 ประยุุกต์์พุุทธนวััตกรรมการสอนโดยเน้้นการปฏิิบััติิด้้วยตนเอง คิิดได้้ด้้วยตนเอง บนพื้้�นฐานพระวิินััย 189 5.7 ประยุุกต์์พุุทธนวััตกรรมการสอนโดยเน้้นการร่่วมมืือการปฏิิบััติิตาม พระธรรมวิินััยของภิิกษุุทั้้�งหลายมีีจำนวน 11 ข้้อ 191 5.8 ประยุุกต์์พุุทธนวััตกรรมการสอนโดยเน้้นการปฏิิบััติิด้้วยตนเองดัังกรณีี พระอริิยสาวกด้้วยการตั้้�งคำถามดููแบบอย่่างนำไปสู่่การปฏิิบััติิ 192
ฌ 5.9 ประยุุกต์์พุุทธนวััตกรรมการสอนโดยการตั้้�งข้้อปฏิิบััติิสำหรัับฆราวาส ยกกรณีีเจ้้ามหานามะ มุ่่งพััฒนาจิิตใจ จากระดัับปุุถุุชนให้้พััฒนาขึ้้�นถึึงระดัับ อริิยบุุคคลเหมาะสำหรัับผู้้ปฏิิบััติิธรรมทั่่�วไป 194 5.10 ประยุุกต์์พุุทธนวััตกรรมการสอนโดยเน้้นข้้อปฏิิบััติิตนในการอยู่่ป่่าเมื่่�อเกิิด การกลััวต้้องรัักษากาย วาจา ให้้บริิสุุทธิ์์�สำหรัับฝึึกสมาธิิโดยพระพุุทธองค์์ ทรงยกตััวอย่่างพระองค์์เองสมััยยัังไม่่ได้้ตรััสรู้้ให้้เป็็นแนวทางปฏิิบััติิสำหรัับ การกำจััดความกลััวเมื่่�ออยู่่ป่่า 196 5.11 พุุทธนวััตกรรมการสอนโดยเน้้นข้้อปฏิิบััติิด้้วยตนเองตามหลัักปฏิิบััติิที่่�ถููกต้้อง ตามหลัักพระพุุทธศาสนายกกรณีีปััญจกัังคะและได้้ข้้อปฏิิบััติิที่่�ถููกต้้อง 198 5.12 ประยุุกต์์พุุทธนวััตกรรมการสอนโดยการตอบข้้อสงสััยของอภััยราชกุุมาร ยกกรณีีการตอบคำถามแบบสนทนาด้้วยหลัักวิิภััชชวาทคืือการแยกแยะประเด็็น ให้้เห็็นชััดและถููกต้้องจนที่่�สุุดอภััยราชกุุมารพอใจชื่่�นชมแสดงตนเป็็นอุุบาสก ตลอดชีีวิิต ได้้ข้้อปฏิิบััติิด้้วยตนเอง 200 5.13 แนวทางการพััฒนาพุุทธนวััตกรรมการสอนโดยให้้ผู้้เรีียนมีีส่่วนร่่วมในการ เรีียนรู้้ด้้วยตนเอง 202 6.1 รููปแบบการสอนด้้วยการสนทนาถาม-ตอบโดยมีีหลัักการสอนและเหตุุผล ในการสอน 210 6.2 รููปแบบการสอนด้้วยการบรรยาย 213 6.3 รููปแบบการสอนด้้วยการตอบปััญหา 216 6.4 รููปแบบการสอนด้้วยการวางกฎระเบีียบข้้อปฏิิบััติิ 219 6.5 หลัักการสอนโดยให้้ผู้้เรีียนได้้เรีียนรู้้ด้้วยตนเอง 220 6.6 หลัักเหตุุผลในรููปแบบพุุทธวิิธีีการสอนต่่าง ๆ 221 6.7 การประยุุกต์์หลัักการ รููปแบบ เนื้้�อหา เทคนิิคการสอน วิิธีีการสอน 223 6.8 พุุทธนวััตกรรมการเรีียนการสอน 225 6.9 การประเมิินผลการเรีียนรู้้อย่่างสร้้างสรรค์์ 228 6.10 การหลัักการการประเมิินผลการเรีียนรู้้อย่่างสร้้างสรรค์์ 230 6.11 หลัักการเสริิมสร้้างคุุณลัักษณะเด็็กไทย 237 6.12 การพััฒนาพุุทธนวััตกรรมการสอน 240
ญ ญ คำอธิบายสัญลักษณ์และคำย่อ คำย่อชื่อคัมภีร์พระไตรปิฎก ในหนังสือเล่มนี้ ได้อ้างอิงข้อมูลจากคัมภีร์พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬา เตปิฏกํ 2500 และภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พุทธศักราช 2539 โดย ใช้ อักษรย่อแทนชื่อเต็มคัมภีร์ตามระบบอ้างอิง เช่น เล่ม/ข้อ/หน้า ตัวอย่าง ที.สี. (บาลี) 9/19/29. หมายถึง ทีฆนิกาย สีลขนฺธวคฺคปาลิ พระไตรปิฎกเล่มที่ 9 ข้อ 19 หน้า 29 เป็นต้น ที.สี. (ไทย) 9/19/50. หมายถึง ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ 9 ข้อ 19 หน้า 50 เป็นต้น อรรถกถา การอ้างอิงอรรถกถาภาษาบาลีฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย รูปแบบการอ้างอิงจะขึ้นต้นด้วยอักษรย่อชื่อคัมภีร์แล้วตามด้วย เช่น เล่ม/ข้อ/หน้า ตัวอย่าง ที.สี.อ. (บาลี) 1/20/20. หมายถึง ทีฆนิกาย สุมงฺคลวิลาสินี สีลขนฺธวคฺคอฏฺฐกถา เล่มที่ 1 ข้อ 13 หน้า 20 กรณีที่อรรถกถาเล่มใดไม่มีเลขข้อ รูปแบบการอ้างอิงจะขึ้นต้นด้วยอักษร ย่อชื่อคัมภีร์ แล้วตามด้วยเล่ม/หน้า ตัวอย่าง อภิ.สงฺ.อ. (บาลี) 1/172 หมายถึง อภิธมฺมปิฏก ธมฺมสงฺคณี อฏฺฐ สาลินีอฏฺฐกถา เล่มที่ 1 หน้า 172 บางคัมภีร์มีจำนวนเล่มเดียว ใช้วิธีการ อ้างข้อ/หน้า ตัวอย่าง ขุ.ม.อ. (บาลี) 2/4. หมายถึง ขุทฺทกนิกาย สทฺธมฺมปฺปชฺโชติกา มหานิทฺเทสอฏฺฐกถา ข้อ 2 หน้า 4 เป็นต้น ฎีกา การอ้างอิงฎีกาภาษาบาลีฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย รูปแบบการ อ้างอิงจะ ขึ้นต้นด้วยอักษรย่อชื่อคัมภีร์แล้วตามด้วย เช่น เล่ม/ข้อ/หน้า ตัวอย่าง ที.ม.ฏีกา (บาลี) 1/3/5 หมายถึง ทีฆนิกาย นีลตฺถปฺปกาสินี มหาวคฺคฏีกา เล่มที่ 1 ข้อ 3 หน้า 5 บาง คัมภีร์มีจำนวนเล่มเดียว ใช้ วิธีการอ้างข้อ/หน้า ตัวอย่าง วชิร.ฏีกา (บาลี) 5/23. หมายถึง วชิรพุทฺธิฏีกา ข้อ 5 หน้า 23 เป็น ต้น บางกรณีใช้ ที.สี.ฏีกา (บาลี) 404 หมายถึง ทีฆนิกาย สีลขนฺธวคฺคฏีกา หน้า 404 ปกรณ์วิเสส การอ้างอิงปกรณวิเสสภาษาบาลีฉบับฉบับมหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลัย รูปแบบการอ้างอิงจะขึ้นต้นด้วยอักษรย่อชื่อคัมภีร์แล้วตามด้วยเล่ม/หน้า ตัวอย่าง วิสุทธิ. (บาลี) 1/ 10 หมายถึง วิสุทธิมคฺคปกรณ เล่มที่ 1 หน้า 10 ฎีกาปกรณวิเสส การอ้างอิงฎีกาปกรณวิเสสภาษาบาลีฉบับฉบับมหาจุฬาลง กรณราชวิทยาลัย รูปแบบการอ้างอิงจะขึ้นต้นด้วยอักษรย่อชื่อคัมภีร์แล้วตามด้วยข้อ/หน้า ตัวอย่าง วิภา วินี.ฏีกา (บาลี) 20/20 หมายถึง อภิธมฺมตฺถวิภาวินีฏีกา ข้อ 20 หน้า 20
ฏ ฎ พระวินัยปิฎก วิ.มหา. (บาลี) = วินยปิฏก มหาวิภงฺคปาลิ (ภาษาบาลี) วิ.มหา. (ไทย = วินัยปิฎก มหาวิภังค์ (ภาษาไทย) วิ.ม. (ไทย) = วินัยปิฎก มหาวรรค (ภาษาไทย) วิ.จู. (ไทย) = วินัยปิฎก จูฬวรรค (ภาษาไทย) พระสุตตันตปิฎก ที.สี. (บาลี) = สุตฺตนฺตปิฏก ทีฆนิกาย สีลขนฺธวคฺคปาลิ (ภาษาบาลี) ที.สี. (ไทย) = สุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค (ภาษาไทย) ที.ม. (ไทย) = สุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค (ภาษาไทย) ที.ปา. (ไทย) = สุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค (ภาษาไทย) ม.มู. (ไทย) = สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ (ภาษาไทย) ม.ม. (ไทย) = สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์(ภาษาไทย) สํ.ส. (ไทย) = สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค (ภาษาไทย) สํ.นิ. (บาลี) = สุตฺตนฺตปิฏก สงฺยุตฺตนิกาย นิทานวคฺคปาลิ (ภาษาบาลี) สํ.นิ. (ไทย) = สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค (ภาษาไทย) สํ.ข. (ไทย) = สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค (ภาษาไทย) สํ.สฬา. (ไทย) = สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค (ภาษาไทย) องฺ.เอกก.(บาลี) = สุตฺตนฺตปิฏก องฺคุตฺตรนิกาย เอกกนิปาตปาลิ(ภาษาบาลี) องฺ.เอกก. (ไทย) = สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิปาต (ภาษาไทย) องฺ.ติก. (บาลี) = สุตฺตนฺตปิฏก องฺคุตฺตรนิกาย ติกนิปาตปาลิ (ภาษาบาลี) องฺ.ติก. (ไทย) = สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต (ภาษาไทย) องฺ.จตุกฺก.(ไทย) = สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิปาต (ภาษาไทย) องฺ.สตฺตก.(ไทย) = สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต (ภาษาไทย) องฺ.ทสก. (ไทย) = สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิปาต (ภาษาไทย) ขุ.ธ. (ไทย) = สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท (ภาษาไทย) ขุ.อุ. (ไทย) = สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน (ภาษาไทย) ขุ.อิติ. (ไทย) = สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก (ภาษาไทย) ขุ.สุ. (ไทย) = สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบา (ภาษาไทย) ขุ.เถร. (ไทย) = สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา (ภาษาไทย) ขุ.ชา. (ไทย) = สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก (ภาษาไทย)
ฏ ฏ ขุ.ม. (ไทย) = สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส (ภาษาไทย) ขุ.ป. (ไทย) = สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค (ภาษาไทย) พระอภิธรรมปิฎก อภิ.ปุ. (บาลี) = อภิธมฺมปิฏก ปุคคลปญฺญตฺติปาลิ (ภาษาบาลี) อภิ.ปุ. (ไทย) = อภิธัมมปิฎก ปุคคลปัญญัตติ (ภาษาไทย) อภิ.ก. (บาลี) = อภิธมฺมปิฏก กถาวตฺถุปาลิ (ภาษาบาลี) อภิ.ก. (ไทย) = อภิธัมมปิฎก กถาวัตถุ (ภาษาไทย) อภิ.ย. (บาลี) = อภิธมฺมปิฏก ยมกปาลิ (ภาษาบาลี) อภิ.ย. (ไทย) = อภิธัมมปิฏก ยกม (ภาษาไทย) อรรถกถาวินัยปิฎก วิ.อ.(บาลี) = วินยปิฏก สมนฺตปาสาทิกา ปาราชิกกณฺฑ-สํฆาทิเสสาทิ- มหาวคฺคาทิอฏฺฐกถา (บาลี) อรรถกถาพระสุตตันตปิฎก ที.สี.อ. (บาลี) = ทีฆนิกาย สุมงฺคลวิลาสินี สีลกฺขนฺธวคฺคอฏฺฐกถา (ภาษาบาลี) ม.มู.อ.(บาลี) = มชฺฌิมนิกาย ปปญฺจสูทนี มูลปณฺณาสกอฏฺฐกถา (บาลี) องฺ.ติก.อ.(บาลี) = องฺคุตฺตรนิกาย มโนรถปูรณี ติกนิปาตอฏฺกถา (ภาษาบาลี) ขุ.ธ.อ. (บาลี) = ขุทฺทกนิกาย ธมฺมปทอฏฺฐกถา (ภาษาบาลี) ขุ.ชา.อ. (บาลี) = ขุทฺทกนิกาย ชาตกอฏฺฐกถา (บาลี) อรรถกถำพระอภิธรรมปิฎก ฎีกาพระสุตตันตปิฎก ที.สี.ฏีกา (บาลี) = ทีฆนิกาย สีลขนฺธวคฺคฏีกา (บาลี)
บทที่1 บทนำ การปฏิรูปการศึกษา มุ่งเน้นการยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษา ลดความ เหลื่อมล้ำทางการศึกษาและปฏิรูประบบการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ สามารถรองรับความ หลากหลายของการจัดการศึกษาและตอบโจทย์การพัฒนาของประเทศและโลกอนาคต โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้เรียนทุกกลุ่มวัยได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน มีทักษะที่ จำเป็นในอาชีพการงาน สามารถแก้ปัญหา ปรับตัว สื่อสาร และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่าง มีความสุข มีวินัย มีนิสัยใฝ่เรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต และเป็นพลเมืองที่รู้สิทธิและ หน้าที่มีความรับผิดชอบ มีจิตสาธารณะ มีความรักและความภาคภูมิใจในความเป็นไทย ซึ่งยุคปัจจุบันสภาพการศึกษาต้องเน้นเทคโนโลยีที่รวดเร็วและพลิกโฉมเพื่อให้ผู้เรียน สามารถเรียนได้ความรวดเร็ว ทันที ทุกที่ ทุกเวลา (Anything, Anytime and Anywhere) และการรับรู้ข้อมูลทั้งกว้างและลึก สำหรับการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ดังนั้นการปฏิรูป การศึกษาของไทยต้องการยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษา ลดความเหลื่อมล้ำทางการ ศึกษาและปฏิรูประบบการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ ดังนั้นเนื้อหาในบทนำประกอบด้วย 1.1 บริบทสถานการณ์ของการศึกษาไทย 1.2 การเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาในสถานการณ์แบบ VUCA World 1.3 การปฏิรูประบบการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ 1.4 การยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาในยุคประเทศไทย 4.0 1.5 การศึกษาในยุคประเทศไทย 4.0 เป็นการจัดการเรียนสอนอย่างไรให้ตอบโจทย์ การพัฒนาประเทศ 1.6 นวัตกรรมการเรียนการสอนในยุคไทยแลนด์ 4.0 1.7 นวัตกรรมการสอนตามพุทธวิถีในยุคพุทธศตวรรษที่ 26 ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
2 2 1.1 บริบทสถานการณ์ของการศึกษาไทย การศึกษาไทยในสถานการณ์ปัจจุบันต้องเรียกว่ายุคพลิกโฉมการศึกษาเพื่อตอบ โจทย์แผนการศึกษาแห่งชาติ 20 ปี(พ.ศ. 2560-2579) จึงเกิดกระแสการปฏิรูปการศึกษา ไทย ก่อนที่ไปถึงการปฏิรูปการศึกษาไทยต้องทำความเข้าใจถึงบริบทของสถานการณ์ ปัญหาที่เกิดขึ้นโดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช1 ได้วิเคราะห์ไว้ดังนี้ 1. ระบบการศึกษาไทยกำลังผลิตคนที่ขาดทักษะอนาคตและมีคุณภาพต่ำกว่า ความคาดหวังของนายจ้าง เนื่องด้วยรูปแบบการศึกษาของไทยเน้นการท่องจำตามตำรา ส่งผลให้ผู้ที่จบมาแล้วขาดทักษะที่สำคัญในการทำงานและทักษะในการทำงานร่วมกับคน อื่นความสามารถในการตัดสินใจ และคิดค้นในการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ รวมทั้งคุณลักษณะ ที่ภาคธุรกิจหรืออุตสาหกรรมต้องการ เช่น ความตรงต่อเวลา ความอดทนการคิดเป็นระบบ และความซื่อสัตย์ต่อตนเองและความรับผิดชอบต่อหน้าและสังคมน้อย 2. ทักษะของครูรุ่นใหม่เป้าหมายของการจัดการศึกษา คือ พัฒนาผู้เรียนให้มี ศักยภาพเพื่อทำงานและดำเนินชีวิตในศตวรรษที่ 21 ดังนั้นการพัฒนาครู หรือศักยภาพ ของครูต้องแตกต่างจากเดิม ด้วยการพัฒนารุ่นครูใหม่ต้องให้ความสำคัญกับการยกระดับ ศักยภาพสมรรถนะของผู้เรียน ครูรุ่นใหม่จึงต้องเป็นโค้ชในการพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียน ให้สูงขึ้นโดยใช้วิธีการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง 3. คุณภาพของโรงเรียนมีความเหลื่อมล้ำเป็นที่ทราบกันดีว่าคุณภาพของโรงเรียน ของรัฐมีคุณภาพแตกต่างกันมาก ทำให้ผู้ปกครองต้องย้ายลูกหลานไปอยู่ในพื้นที่ที่โรงเรียน มีคุณภาพสูงกว่า ตามความเชื่อและค่านิยมใหม่ว่า เมื่อจบการศึกษาต้องสอบศึกษาต่อที่ ผู้ปกครองคาดหวัง และประกอบอาชีพตามที่ต้องการ 4. พ่อแม่ผู้ปกครองยังมีบทบาทในการพัฒนาการเรียนรู้ของลูกหลานน้อย เรื่องนี้ อาจเนื่องมาจากพ่อแม่ ผู้ปกครองไทยมองว่าตัวเองไม่มีความรู้เรื่องวิชาการมากพอ จึงเชื่อ ว่าการพัฒนาเด็กและเยาวชนเป็นหน้าที่ของโรงเรียน จึงมอบความไว้วางใจให้กับครูและ โรงเรียน ซึ่งการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ทั่วโลกต่างเข้าใจแล้วว่าการเรียนรู้ช่วงที่สำคัญที่สุด ของมนุษย์เกิดขึ้นในช่วงปฐมวัย ผู้ปกครองจึงทุ่มเท่ห์การทำงานเพื่อส่งลูกหลานเรียนใน โรงเรียนที่สามารถพัฒนาลูกหลานตนเองได้ตามที่คาดหวัง ซึ่งการศึกษาจำเป็นต้องอาศัย ทุกฝ่ายช่วยกัน จึงจะถูกต้อง 1 ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช และปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร, การศึกษาคุณภาพสูงระดับโลก, (กรุงเทพมหานคร: เอส อาร์ พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์ จำกัด, 2563), หน้า194-196.
3 3 จากแนวคิดดังกล่าวการศึกษาและการเรียนการสอนต้องปรับกระบวนทัพทาง การศึกษาเพื่อผลิตคนรุ่นใหม่สู่การเป็นพลเมืองโลก จะพบว่าหลายๆประเทศมีเป้าหมาย การปฏิรูปการจัดการศึกษาของตนให้สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21 เพื่อให้เป็นพลเมืองโลก เก่งหลายภาษา รู้จักเทคโนโลยี และสามารถใช้เทคโนโลยีให้เป็น เกิดประโยชน์กับการ พัฒนาตนเอง มีจิตสำนึกความเป็นประชาชนของประเทศและเป็นประชากรของโลกที่มี ความรับผิดชอบต่อส่วนรวมร่วมกันทั่วทั้งโลก ประเทศไทยที่อยู่ในกระแสการเปลี่ยนแปลงนี้เช่นเดียวกัน เรื่องเร่งด่วนในการ ปฏิรูปการศึกษาไทย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช และปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร2 จึงมีข้อสรุป ดังนี้ 1. การสร้างทักษะของคนไทยในศตวรรษที่ 21 และการจัดการศึกษาที่ช่วยสร้าง ทักษะสำหรับอนาคตเด็กไทย ผลิตคนที่มีคุณภาพตอบรับกับความต้องการของตลาดแรงงาน เพื่อสร้างทรัพยากรมนุษย์มาช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม 2. ปรับระบบการผลิตครูรุ่นใหม่ให้มีทักษะการเป็นโค้ชที่ส่งเสริมการเรียนรู้และดึง สมรรถนะของผู้เรียน 3. พัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนในขั้นพื้นฐานให้ทัดเทียม กัน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาทั้งในเมืองและชนบท 4. ทุกภาคส่วนในสังคมต้องตระหนักว่าการพัฒนาระบบการศึกษานั้นอยู่ในมือของ ทุกคน และเข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิรูป สรุปได้ว่าการจัดการศึกษาไทยในยุคนี้ต้องสร้างเครือข่ายในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อพัฒนาครู อาจารย์ให้เพิ่มทักษะใหม่ๆ ในการสอนและสามารถพัฒนาผู้เรียนด้วยการ เพิ่มศักยภาพทั้งเก่ง ดี และมีความสามารถการทำงานร่วมกับคนอื่นได้อย่างมีความสุขตาม สถานการณ์เปลี่ยนแปลงทางการศึกษาแบบ VUCA World 1.2 การเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาในสถานการณ์แบบ VUCA World ขอทำความเข้าใจกับคำว่า VUCA คือ คำที่กองทัพสหรัฐอเมริกาใช้เรียก สถานการณ์ในสงคราม ที่หมายถึงความสับสนและผันผวน จนกระทั่งถูกนำมาเปรียบเทียบ ในภาคธุรกิจอุตสาหกรรม ด้านเศรษฐกิจโลกว่าVolatility เปลี่ยนไว Uncertainly ความไม่ แน่นอน Complexity ความซับซ้อน Ambiguity ความคลุมเครือ จากวิกฤต VUCA World คือ ความไม่แน่นอนของโลกสำหรับการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาก็เป็นไปตามกระแสโลก 2 เรื่องเดียวกัน, หน้า 198.
4 4 ในศตวรรษที่ 21 และการปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4 ที่ได้เปลี่ยนไป และนักวิชาการ หลายคนให้ความเห็นสอดคล้องกันว่า ยุคพลิกผันการเปลี่ยนแปลง (Disruptive Change) และบางคนก็บอกเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบ VUCA ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของโลกมีลักษณะ แปลกใหม่และท้าทาย คือ มีลักษณะ VUCA, Disruptive และ Discontinuous ดังนี้ V -Volatility คือ มีการผันแปร ผันผวน หรือเปลี่ยนแปลงเร็ว U-Uncertainty คือ มีความไม่แน่นอน C-Complexity คือ มีความซับซ้อน A-Ambiguity คือ มีความไม่ชัดเจน Disruptive คือ มีผลกระทบมาก มีการพลิกผันจากหน้ามือเป็นหลังมือ และอีก คำหนึ่งว่า Discontinuous คือ มีความผกผัน ไม่ต่อเนื่องในทิศทางเดิม ที่สำคัญคือ การ เปลี่ยนแปลงเหล่านี้เป็นสิ่งที่ไม่มีใครรู้แน่นอนว่าจะเกิดอะไรขึ้น แต่มันเปลี่ยนแน่ หลายคน ก็บอกว่าสิ่งที่แน่นอนที่สุดคือมีความไม่แน่นอน3 ในยุคนี้มักจะได้ยินอยู่เสมอว่า Digital Disruption หากไม่มีการปรับตัว สภาพการศึกษาจะ “หยุดชะงัก” หรือ หลักสูตรนั้นต้อง ถูกปิดตัวเอง เพราะไม่มีนิสิต นักศึกษาเรียน จะเห็นได้จากผลการพัฒนาของเทคโนโลยีที่ ก้าวกระโดด และโลกมีเปลี่ยนแปลงอย่างเร็วและแรง สลับซับซ้อน จะเห็นได้จากเหตุการณ์ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับสังคม และองค์กร ห้างร้าน ธุรกิจต่าง ๆ แม้แต่การศึกษาก็ไม่ เว้น เมื่อถูก Disruptions ดังที่ มติชนมติครูเกี่ยวกับผู้นำการศึกษายุค VUCA World ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2564 (คอลัมน์ "มติชนมติครู) “เมื่อโลกมีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ยุค VUCA World ผู้นำ หรือผู้บริหารการศึกษา ต้องพัฒนาการศึกษาย่างมีเป้าหมาย เพื่อสร้าง โอกาสทางการศึกษา ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา” สร้างโอกาสการเติบโตทาง การศึกษา ดังนี้ 1. โอกาสทางการศึกษา ให้ทุกคนมีโอกาสได้รับ ได้เรียน เข้าถึงทางการศึกษา เป็นอันดับแรก ทุกเพศ ทุกวัย ทุกกลุ่มทุกอาชีพ ทุกระดับการศึกษา ยกตัวอย่างง่าย ๆ ในสถานการณ์ COVID-19 ผู้เรียนต้องมีโอกาสเข้าถึงการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นคนจน คนรวย ในเมืองชนบท และต้องมองโอกาสในการจัดการศึกษา ในอนาคต 3 พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์, การพลิกโฉมระบบการศึกษาเพื่อตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ, (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565), หน้า 7.
5 5 ทุกคนต้องมีโอกาสเข้าถึงการศึกษาในช่องทางหลาย ๆ รูปแบบ ทั้งในระบบการศึกษา และ นอกระบบการศึกษา ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาคน พัฒนาสังคม และประเทศชาติ 2. ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา การจัดการศึกษาในทุกระดับ ปัจจุบันนี้มีความ แตกต่างกันมาก ทั้งในด้านกายภาพ จิตภาพ สังคมภาพ และผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา ด้วย สภาพที่สังคมแตกต่างกัน ทั้งสังคมเมือง สังคมชนบท เช่น ในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน เห็นได้ชัดในเรื่องของความเหลื่อมล้ำเรื่องผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา ทั้งโรงเรียนขนาดใหญ่ กลาง และเล็ก โรงเรียนรัฐ โรงเรียนเอกชน และโรงเรียนสาธิต 3. การสร้างโอกาสการเติบโตทางการศึกษา เมื่อทุกคนมีโอกาสได้เข้าถึงการศึกษา ทำให้ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา จะทำให้การเจริญเติบโตทางการศึกษาตามมา เศรษฐกิจ สังคมก้าวหน้า ประเทศชาติก้าวสู่ความยั่งยืน ไม่ว่าสถานการณ์จะวิกฤต หรือไม่ วิกฤต ยิ่งในสถานการณ์วิกฤต เป็นโอกาสในการพัฒนาการศึกษาอย่างยั่งยืน4 แนวทางการส่งเสริมผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 เพื่อตอบโจทย์ในการพัฒนาการ เรียนรู้ท่ามกลางกระแสของ โลกยุค VUCA ดังนี้ V (Volatility) คือ ความผันผวน การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว การจัดการศึกษา ต้องตระหนักถึงผลกระทบนี้ด้วยการรู้จักติดตามข่าวสาร การรู้เท่าทันสื่อ และการรู้จัก ปรับตัว โดยหลักการต้องให้ผู้เรียนมีความรู้รอบในศาสตร์ที่หลากหลายเมื่อเชื่อมโยง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา คือ หลักความจริงของธรรมชาติที่ประเสริฐ ที่พระพุทธเจ้า ตรัสรู้ ได้แก่ หลักอริสัจ 4 คือ ทุกข์ (ความผันผวน เปลี่ยนแปลง) สอดคล้องหลักความจริง คืออนิจจัง (หลักไตรลักษณ์) การเปลี่ยนจากผลกระทบเรื่องนี้ ผู้สอนต้องให้ผู้เรียนตระหนัก รู้ความจริงด้วยการมีสติ คิดวิเคราะห์ อย่างมีวิจารณญาณ (โยนิโสมนสิการ) U (Uncertainly) คือ ความไม่แน่นอน การเรียนการสอนต้องยอมรับความจริง ของข้อมูลข่าวสารขนาดใหญ่ (Big Data) ด้วยการใช้ความคิดอย่างมีวิจารณญาณเชื่อมโยง หลักคิดจากความผันผวน (Volatility) C (Complexity) คือ ความซับซ้อนที่มากขึ้นเรื่อย ๆ ในเชิงระบบ สามารถอุด รอยโหว่จาก ผลกระทบนี้ด้วยการใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมและเทคโนโลยีช่วยในการทำ เกิดการทำงานที่ง่ายขึ้น 4 สุพจน์ อิงอาจ, มติครูเกี่ยวกับผู้นำการศึกษายุค VUCA World, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.matichon.co.th/education/news_2578997 [21 ก.พ. 2565].
6 6 A (Ambiguity) คือ ความคลุมเครือไม่ชัดเจน ไม่สามารถคาดเดาผลได้ชัดเจน จากผลกระทบนี้ด้วยการรู้จักสื่อสาร ฉลาดสื่อสาร และรู้จักที่จะทำงานแบบร่วมมือ5 เมื่อบูรณาการกับหลักพุทธวิธีการสอนจะเห็นได้ชัดว่า หลักอริสัจ 4 คือ ความ ทุกข์ คือ ความเปลี่ยนแปลงให้ตระหนักรู้ความจริงของสาเหตุความทุกข์หรือปัญหาที่ แท้จริง (สมุทัย) เพื่อที่จะหาวิธีการเข้าถึงความจริงด้วยสติ (นิโรธ) และในที่สุดรู้จัดสิ่ง ทั้งหลายทั้งระบบ(มรรค) ตามหลักไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ทุกสิ่งเปลี่ยน ตลอดเวลา ไม่มีอะไรแน่นอน พระพุทธเจ้าสอนให้ไม่ประมาท จงเข้าใจและเรียนรู้อย่าง มีสติ เพื่อพัฒนานิสิตนักศึกษาให้เรียนรู้ให้มากยิ่งขึ้น ทันการเปลี่ยนแปลงของศาสตร์ สมัยใหม่อย่างมีความสุข เมื่อพิจารณาการช่วงเวลาการศึกษาตามในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (2560-2564)6 และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงระดับโลก (Global Megatrends)7 และนโยบายของ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม พ.ศ. 2562 เชื่อมโยงบริบทการ เปลี่ยนของประเทศชาติและบริบทโลกเพื่อที่จะขับเคลื่อนการศึกษาให้ตอบโจทย์การพัฒนา ประเทศไทยด้านกำลังคนที่มีสมรรถนะความต้องการตลาดแรงทุกภาคส่วนที่พึ่งประสงค์ใน อนาคต การศึกษาจึงถือเป็นแหล่งความรู้ที่จะผลิตบัณฑิตให้ได้คนทีมีคุณภาพสอดคล้องกับ ยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 เป็นการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาผสมกับโลกการผลิต เชื่อมโยงเครื่องข่ายในรูปแบบอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things – IoT) และ แนวคิดในศตวรรษที่ 21 เน้นการคิดวิเคราะห์และการคิดสร้างสรรค์ และบริบทประเทศใน แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560–2579 ฉบับนี้ขึ้น เพื่อวางกรอบเป้าหมายและทิศทาง การจัดการศึกษาของประเทศ โดยมุ่งจัดการศึกษาให้คนไทยทุกคนสามารถเข้าถึงโอกาส และความเสมอภาคในการศึกษาที่มีคุณภาพ พัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษาที่มี ประสิทธิภาพ พัฒนากำลังคนให้มีสมรรถนะในการทำงานที่สอดคล้องกับความต้องการของ 5 วัฒนาพร ระงับทุกข์, คุรุสภาวิทยาจารย์ JOURNAL OF TEACHER PROFESSIONAL DEVELOPMENT, ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (มกราคม – เมษายน 2563): 10. 6 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560 – 2564, สำนักงาน คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติสำนักนายกรัฐมนตรี 7 (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13, “พลิกโฉมประเทศไทยสู่สังคม ก้าวหน้า เศรษฐกิจสร้างมูลค่าอย่างยั่งยืน”, (พ.ศ. 2566– 2570).
7 7 ตลาดงานและการพัฒนาประเทศโดยเฉพาะการศึกษาในยุค Thailand 4.0” เป็นการ เตรียมคนให้เป็นผู้ผลิตนวัตกรรม 1.3 การปฏิรูประบบการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ เมื่อเข้าใจบริบทการศึกษาไทยชัดแล้วอีกเรื่องที่จะต้องดำเนินต่อไปของผู้บริหาร การศึกษา คือการปฏิรูประบบการศึกษา ดังที่คณะกรรมการอิสระปฏิรูปการศึกษา8 ได้สรุปเป้าหมายการปฏิรูปการศึกษาให้สอดคล้องกับแผนการศึกษาแห่งชาติ(พ.ศ. 2560- 2579) ไว้ 7 เรื่อง 1. การปฏิรูประบบการศึกษาและการเรียนรู้โดยรวมของประเทศ โดยพระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่และกฎหมาย 2. การปฏิรูปการพัฒนาเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 3. การปฏิรูปเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา 4. การปฏิรูปกลไกและระบบการผลิต คัดกรอง และพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพครู และอาจารย์ 5. การปฏิรูปการจัดการเรียนการสอนเพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษ ที่ 21 6. การปรับโครงสร้างของหน่วยงานในระบบการศึกษา เพื่อบรรลุเป้าหมายในการ ปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน และ 7.การปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้โดยการพลิกโฉมด้วยระบบดิจิทัล ในขณะที่สมศักดิ์ ดลประสิทธิ์9 ได้กล่าวถึงการจัดการศึกษาในยุคนี้ต้องมองไป ระบบใหญ่ของการศึกษาว่าจะทำอย่างไรให้การศึกษาไทยมีคุณภาพมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ใน ปัจจุบัน ดังนี้ 1. การปฏิรูประบบการศึกษา เน้นการศึกษาเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นได้ ตลอดเวลาและทุกสถานที่ ด้วยรูปแบบที่หลากหลาย มีการจัดรูปแบบ ระดับ และประเภท 8 คณะกรรมการอิสระปฏิรูปการศึกษา, แผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา,เอกสาร สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา(กอปส.), 2561, หน้า 30. 9 สมศักดิ์ ดลประสิทธิ์, ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาไทย (Thailand Education Reform Model : TERM), (22 กันยายน 2557), เอกสารอัดสำเนา, หน้า 8-9.
8 8 ของการศึกษาไม่ต่างไปจากเดิม กล่าวคือ จัดรูปแบบการจัดการศึกษา 3 รูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย แต่จะเน้นการเทียบโอนและเชื่อมโยงกัน ทั้ง 3 ระบบ การศึกษานอกระบบ เน้นความยืดหยุ่น เหมาะสม และสอดคล้องกับสภาพ ความต้องการของชุมชนและบุคคล มีทั้งประเภทที่แบ่งระดับการศึกษา ตามลักษณะของ การศึกษาในระบบและประเภทที่ไม่แบ่งเป็นระดับและการศึกษาตามอัธยาศัย เน้นการจัด บรรยากาศและแหล่งเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถแสวงหาและเรียนรู้ด้วยตนเอง และให้สามารถ เทียบโอนการศึกษาในระบบได้เป็นรายวิชา 2. การปฏิรูปการเรียนรู้ เป็นการปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนรู้ที่ยึดหลักการ เรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มศักยภาพของ ผู้เรียนมีการปรับปรุงหลักสูตรแกนกลาง และให้สถานศึกษาสามารถจัดทำหลักสูตรสถานที่ สอดคล้องความต้องการของท้องถิ่น มีความต่อเนื่องและเชื่อมโยงระหว่างระดับการศึกษา มีความยืดหยุ่น หลากหลาย เพื่อตอบสนองความสนใจ ความถนัด และความต้องการของ ผู้เรียน 3. การปฏิรูประบบการบริหารและการจัดการศึกษา เป็นการเปลี่ยนแปลง รูปแบบโครงสร้างองค์กร การแบ่งส่วนงาน วิธีการ และกระบวนการบริหารจัดการอย่างมี ประสิทธิภาพ หน่วยงานมีอิสระ คล่องตัว ตอบสนองต่อปัญหา และความต้องการทางการ ศึกษาระดับต่าง ๆ ได้อย่างแท้จริง เปิดโอกาสให้ทุกส่วนของสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการ จัดการศึกษา โดยยึดหลักการกระจายอำนาจไปยังหน่วยงานปฏิบัติหน่วยงานระดับ นโยบาย มีหน้าที่กำหนดนโยบาย แผนมาตรฐาน การสนับสนุนทรัพยากร และติดตาม ประเมินผลการจัดการศึกษาในส่วนที่เกี่ยวข้องเท่านั้น เน้นการให้สถานศึกษาเป็นนิติบุคคล 4. การปฏิรูประบบทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา เป็นการระดม ทรัพยากร ทั้งนี้ เป็นตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงินมาใช้ในการจัดการศึกษา มีการจัดสรรทรัพยากร และการบริหารและการใช้ทรัพยากรให้เกิดความเสมอภาค เป็นธรรม และมีประสิทธิภาพ การระดมทรัพยากร เน้นการสร้างมาตรการจูงใจให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมรับภาระและจัด การศึกษา ให้องค์กรและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา การจัดสรรทรัพยากร เน้นการจัดสรรให้ผู้เรียนอย่างเป็นธรรม เสมอภาค และเท่าเทียมกันสำหรับผู้เรียนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มผู้ด้อยโอกาส 5. การปฏิรูประบบครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา เป็นปัจจัยหลักสู่ ความสำเร็จของการปฏิรูปการศึกษา เน้นการปรับระบบการผลิต การพัฒนา การส่งเสริม ยกย่อง และยกระดับคุณภาพครูให้มีมาตรฐานวิชาชีพเหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง
9 9 สร้างระบบจูงใจให้คนเก่งมาประกอบวิชาชีพครู พัฒนาระบบการบริหารงานบุคคล เน้น ระบบคุณธรรมและการส่งเสริมความก้าวหน้าในวิชาชีพที่สัมพันธ์กับคุณภาพของผู้เรียน ปรับเปลี่ยนบทบาทและภารกิจของสถาบันผลิตครูให้เหมาะสม มีแผนการผลิตและพัฒนาที่ สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง สรุปได้ว่าการปฏิรูปการศึกษาต้องเริ่มจากการปฏิรูประบบการศึกษา การ ปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนรู้ที่ยึดหลักการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การปฏิรูประบบ การบริหารและการจัดการศึกษาให้สะดวกต่อการจัดการศึกษาไปในทิศทางเดียวกัน โดย การระดมทรัพยากร ทุกมิติเพื่อการจัดสรรทรัพยากรและการบริหารและการใช้ทรัพยากร ให้เกิดความเสมอภาค เป็นธรรม สุดท้าย เน้นการปฏิรูประบบครู คณาจารย์ และบุคลากร ทางการศึกษา เพื่อการผลิต การพัฒนา การส่งเสริมยกย่อง และยกระดับคุณภาพครูให้มี มาตรฐานวิชาชีพเหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูงและการเรียนรู้โดยการพลิกโฉม ด้วยระบบดิจิทัล นอกนั้นการปฏิรูประบบการศึกษาไทยได้มีนักวิชาการทางการศึกษาเสนอแนว ทางการจัดระบบการศึกษาให้ทันการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกในปัจจุบันและอนาคต โดยเฉพาะนักวิชาการแนวหน้าของประเทศขอยกผลการวิจัยของ ธีระ รุญเจริญ การ ประเมินผลความก้าวหน้าในการใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้ ดังนี้10 1. การปฏิรูปหลักสูตร กระบวนการเรียนการสอน และการประเมินผล 1) จัดทำหลักสูตรและสาระการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่น โดยส่วนกลางจัดทำแกนกลาง และสถานศึกษาจัดทำสาระเกี่ยวกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคม 2) จัดกระบวนการ เรียนรู้ที่มีเนื้อหาและกิจกรรมหลากหลาย 3) ปฏิรูปกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียน เป็นสำคัญ และใช้กระบวนการวิจัยในการเรียนรู้ 4) ใช้แหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกรูปแบบ 5) ประเมินผลการพัฒนาการความประพฤติ การสังเกต การร่วมกิจกรรม และการทดสอบ 6) ใช้วิธีที่หลากหลายในการให้โอกาสศึกษาต่อ 2. การปฏิรูประบบครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ปฏิรูปการผลิตครูและบุคลากรทางการศึกษาให้เป็นครูดี ครูเก่ง ให้เพียงพอและ ตรงกับความต้องการ 1) พัฒนาระบบและกระบวนการพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากร 10ธีระ รุญเจริญ, ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษา ยุคปฏิรูปการศึกษา, พิมพ์ครั้งที่ 7, (กรุงเทพมหานคร: นวสาส์นการพิมพ์, 2555), หน้า 19-22.
10 10 ประจำการให้สามารถปฏิบัติวิชาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ 2) ยกระดับมาตรฐานวิชาชีพ และควบคุมการประกอบวิชาชีพ 3) ปฏิรูปการบริหารงานบุคคล โดยใช้ระบบคุณภาพและ ระบบคุณธรรม 3. มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา จัดระบบประกันคุณภาพภายในและภายนอก 1) จัดการประกันคุณภาพภายในให้ เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหาร 2) ให้ สมศ. ดำเนินการประเมินภายนอกในสถานศึกษา ภายใน 6 ปี 3) ผลการประเมินภายนอกเป็นอย่างไร ให้เสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 4. สื่อและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ จัดสรรคลื่นความถี่ สื่อตัวนำ และโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อวิทยุ โทรทัศน์ และ สื่ออื่นเพื่อการศึกษา 1) ส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตและพัฒนาแบบเรียน ตำรา หนังสือ วิชาการ สิ่งพิมพ์ วัสดุ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ 2) พัฒนาผู้ผลิต และผู้ใช้ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา 3) จัดตั้งหน่วยงานกลางเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา 5. การปฏิรูประบบการศึกษา 1) ทุกคนเข้าถึงการศึกษาอย่างทั่วถึงและเสมอภาค 2) สถานศึกษาจัดการศึกษาทั้ง ในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย 3) การศึกษาทุกรูปแบบมีความเชื่อมโยงต่อเนื่อง และเทียบโอนผลการเรียนได้ 4) ทุกฝ่ายในสังคมมีส่วนร่วมจัด และสนับสนุนการศึกษา โดย ได้รับสิทธิประโยชน์จากรัฐ 6. การปฏิรูประบบบริหารและการจัดการศึกษา 1) กระทรวงศึกษาธิการ มีหน้าที่หลักในการกำกับและส่งเสริมดูแลการศึกษาทุก ระดับ ทุกประเภท ในรูปสภาและคณะกรรมการ โดยการกระจายอำนาจไปยัง สำนักงานเขต พื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาต่ำกว่าปริญญาทั้ง 4 ด้าน 2) องค์กรส่วนท้องถิ่นสามารถ จัดการศึกษาได้ตามความพร้อมและความต้องการ โดยสอดคล้องกับนโยบาย และมาตรฐาน ที่กระทรวงศึกษากำหนด 3) สถานศึกษาเอกชนที่เป็นนิติบุคคล และมีคณะกรรมการบริหาร อย่างอิสระ คือ รัฐกำกับ ติดตาม ประเมินคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษา 7. การปฏิรูประบบทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา ในขณะที่ พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์11 ได้เสนอว่า แนวทางใหม่ในการพลิกโฉมระบบ การศึกษาไทย ดังนี้ 1. เปลี่ยนวิสัยทัศน์ระบบการศึกษาเป็นระบบการศึกษาอัจฉริยะ 11พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์, การพลิกโฉมระบบการศึกษาเพื่อตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ, หน้า 22-29.
11 11 2. เปลี่ยนปรัชญาของระบบการศึกษาและการพัฒนาประเทศไม่ คือ การระบบ มนุษย์กับระบบธรรมชาติต้องสมดุลกัน 3. เปลี่ยนเป้าหมายของระบบการศึกษา คือ ให้คนรู้หนังสือ (1.0) คนมีความรู้ (2.0) สามารถสร้างรู้ได้(3.0) พัฒนาคนให้เป็นนวัตกร เพื่อสร้างนวัตกรรม (4.0) ใช้ชีวิต อย่างมีความสุขและมีคุณค่า (5.0) 4. เปลี่ยนทางในการจัดระบบการศึกษา โดยบูรณาการศึกษาทั้ง 3 รูปแบบเข้า ด้วยกัน (Integrated Formal, Non-Formal and Informal System) เพื่อให้การศึกษา ตลอดชีวิตมีพลวัตรและความยืดหยุ่นมากขึ้น 5. เปลี่ยนแนวทางการจัดหลักสูตร 6. เปลี่ยนแนวทางการจัดการเรียนรู้ 7. เปลี่ยนสถานศึกษาหรือพลิกโฉมสถานศึกษาจากการเป็นแหล่งเรียนรู้(Learning Space) ให้เป็นแหล่งสร้างสรรค์นวัตกร (Maker Space) 8. เปลี่ยนบทบาทของครู จากผู้สอนมาเป็นผู้เปลี่ยนแปลงชีวิตนักเรียนเพื่อสร้าง นวัตกร โดยเป็นผู้ชี้แนะ (Coach) 9. เปลี่ยนบทบาทของนักเรียน 10. เปลี่ยนการประเมินผลงานครู 11. เปลี่ยนการประเมินผลการเรียนของนักเรียน 12. เปลี่ยนการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายด้านการศึกษา จาก Project based เป็น School based 13. เปลี่ยนการสรรหาคัดเลือกผู้บริหารโรงเรียน จากสอบข้อเขียนเป็นการเลือกครู ที่ผลงานดีเด่นและมีความเป็นผู้นำรุ่นใหม่ 14. เปลี่ยนแนวทางการพัฒนาบุคลากร และ 15. เปลี่ยนระบบการบริหารโรงเรียน โดยใช้การบริหารเชิงพลวัตและฉับไว : Dynamic Governance and Agile Management โรงเรียนและครูมีอิสระในการ รับผิดชอบ ต่อมาการศึกษาในยุคนี้ต้องปรับกระบวนทัศน์ใหม่ให้ทันกระแสการเปลี่ยนแปลง ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม เป็นการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา การที่ สังคมให้ความสนใจที่จะผลักดันให้มีการปฏิรูปการศึกษาในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ
12 12 สังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) ส่งผลต่อการปฏิรูปการศึกษา เหตุผลหลัก ๆ ของการปฏิรูปการศึกษามีดังนี้12 1. เกิดกระแสสังคมโลกและสังคมไทยยุคใหม่เน้นสังคมคุณภาพ ต้องมีการพัฒนา คุณภาพการศึกษา และให้การศึกษาพัฒนาประเทศ 2. การพัฒนาเศรษฐกิจบนฐานความรู้บนกระแสสังคมแห่งการเรียนรู้ และเน้นการ จัดการเรียนรู้ 3. ทิศทางการจัดการศึกษาสังคมโลกเน้นการศึกษาเพื่อให้เกิดความรู้ใหม่ ๆ ให้มี ชีวิตอยู่อย่างมีความสุข นำความรู้มาใช้ในชีวิตประจำวันได้ และสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่าง สันติสุข 4. บทเรียนความสำเร็จของการปฏิรูปการศึกษาในอารยประเทศที่สามารถใช้ การศึกษาพัฒนาประเทศ 5. กระแสเรียกร้องการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ 6. การจัดการศึกษาไม่ทั่วถึงและไม่เป็นธรรม 7. คุณภาพการศึกษาตกต่ำไม่เป็นที่พอใจของสังคม 8. การบริหารจัดการศึกษาขาดประสิทธิภาพ ประชาชนไม่มีส่วนร่วม 9. ระบบการผลิตและการพัฒนาครูไม่สอดคล้องกับการพัฒนาการศึกษา 10. หลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ไม่เหมาะสม กล่าวได้ว่าการจัดการศึกษาไทยต้องปฏิรูปเพื่อก้าวสู่อนาคตที่ดีของเด็กและเยาวชน ของชาติผู้บริหารระดับสูงต้องระดมความร่วมมือทุกฝ่ายเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนให้ บรรลุเป้าหมายการจัดการศึกษาของชาติดังนี้ 1. ทอดรหัสแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 เป็นแผนระยะยาว 20 ปี เพื่อให้มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) มาระดม ความคิดร่วมครู อาจารย์เพื่อขับเคลื่อนการศึกษาให้บรรลุผลถึงผู้เรียนอย่างจริงจัง 2. ปรับเปลี่ยนวิสัยทัศน์ผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนาครู อาจารย์ 3. พัฒนาครู อาจารย์ทุกมิติในการพัฒนาการเรียนการสอนในบริบทใหม่ของ กระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกและบริบทของชาติ 12สมศักดิ์ ดลประสิทธิ์, ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาไทย (Thailand Education Reform Model : TERM), (22 กันยายน 2557), เอกสารอัดสำเนา, หน้า 1.
13 13 4. กำหนดทิศทางการจัดการศึกษาในแต่ละพื้นที่เน้นการศึกษาเพื่อให้เกิดความรู้ ใหม่ ๆ ให้มีชีวิตอยู่อย่างมีความสุข นำความรู้มาใช้ในชีวิตประจำวันได้ และสามารถอยู่ ร่วมกันได้อย่างสันติสุข 5. พัฒนาผู้เรียนทุกระดับให้สามารถเรียนรู้ใหม่ๆด้วยตนเองผ่านระบบเทคโนโลยี และประสบการณ์อาชีพที่ผู้เรียนถนัดและสนใจ 1.4 การยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาในยุคประเทศไทย 4.0 การศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาเด็กและเยาวชนของชาติให้เจริญเติบโตตาม วัยและเป็นผู้ใหญ่ที่ดี มีความรู้ ทักษะความสามารถที่ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของกระแส โลกในอนาคต ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับบริบทของแผนการศึกษาแห่งชาติ 20 ปี (พ.ศ.2560- 2579) ในประเด็นนี้ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิชและปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร13 ได้กล่าวถึงการศึกษา ไทยต้องมุ่งพัฒนาเด็กให้มีชีวิตที่ดีในอนาคตด้วยการปรับระบบการศึกษาให้มีคุณภาพสูง มี 8 ประการ คือ 1. วิสัยทัศน์และภาวะผู้นำ 2. กำหนดมาตรฐานสูงหรือท้าทาย 3. มุ่งสร้างความเท่าเทียม 4. ครูและผู้นำการศึกษาคุณภาพสูง 5. มีเป้าหมายไปในทิศทางเดียวกันและสัมพันธ์เชื่อมโยงกันทั้งในระดับนโยบายถึง การปฏิบัติ 6. แนวทางการจัดการศึกษาและระบบรับผิดชอบที่สะท้อนผลลัพธ์ที่ผู้เรียน 7. สร้างแรงจูงใจของนักเรียน 8. มุ่งเรียนเป็นพลโลกและเพื่ออนาคต จากแนวคิดดังกล่าวการศึกษาต้องจะดำเนินต่อไปได้ต้องอาศัยผู้บริหารที่มี วิสัยทัศน์ที่ก้าวไกล ครูที่มีคุณภาพลงมือปฏิบัติให้ถึงเป้าหมายคือผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ได้ ด้วยตนเองบนพื้นฐานการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี สังคม เศรษฐกิจ นอกจากนั้นการยกระดับคุณภาพของการจัดการศึกษา (enhance quality of education) ครอบคลุมข้อต่อไปนี้ 13ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช และปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร, การศึกษาคุณภาพสูงระดับโลก, หน้า172.
14 14 1. ผลลัพธ์ทางการศึกษาและการเรียนรู้ (learning outcomes) ทั้งด้านความรู้ ทักษะ เจตคติที่ถูกต้อง และรู้จักดูแลสุขภาพ เพื่อการจัดการในเรื่องการดำรงชีวิตของตนเอง และการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญมาตรา 54 วรรค 4 2. ครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ที่ต้องเป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญ ครูมีจิตวิญญาณของความเป็นครู 3. หลักสูตรและกระบวนการจัดการศึกษาและการเรียนรู้ (educational core processes) ที่ยืดหยุ่น หลากหลาย ถูกต้อง ทันสมัย ทันเวลา และมุ่งเน้นการสร้างเสริม คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมทางสังคมที่ถูกต้อง 4. สถานศึกษาและระบบสนับสนุน (educational institutions and support systems) ที่ตอบสนองต่อความต้องการของการจัดการศึกษา ตลอดจนทรัพยากรด้าน การศึกษาที่มีคุณภาพ ได้แก่ งบประมาณและเทคโนโลยี14 เพื่อเปิดโอกาสให้ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงและยุติธรรม ซึ่งสอดคล้องกับแผนการ ปฏิรูปการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความเสมอภาคทาง การศึกษา (equity in education) ให้คนในชาติได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาคโดยเปิด โอกาสให้ทุกคนได้รับการศึกษาดังนี้ 1. โอกาสในการเข้าถึงการศึกษาและเทคโนโลยีที่สนับสนุนการเรียนรู้ (equity in access) 2. โอกาสในการได้รับทางเลือกในการศึกษาและการเรียนรู้พัฒนาที่เหมาะสมกับ ศักยภาพของผู้เรียน (equity in choosing Appropriate process in education) 3. โอกาสในการได้รับประโยชน์จากการเรียนรู้และการพัฒนาทักษะในการ ประกอบอาชีพที่เหมาะสมกับศักยภาพตามความถนัดของผู้เรียน (equity in benefiting from aptitude-based quality of education) ทั้งในและนอกระบบการศึกษา รวมถึง การเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ15 เพื่อมุ่งการสร้างสมรรถนะและคุณลักษณะของ ผู้เรียนที่มีศักยภาพสูง มีความเป็นผู้นำ ริเริ่มสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ ผลิตนักวิจัย และนักเทคโนโลยีชั้นแนวหน้าให้สามารถต่อยอดงานวิจัยที่สามารถตอบโจทย์การพัฒนา ประเทศ การสร้างความร่วมมือและเชื่อมต่อกับสถาบันวิจัยอื่น ๆ ทั่วโลก สอดคล้องกับทิศ ทางการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของประเทศ อีกทั้งสถาบันการศึกษา 14แผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา พ.ศ. 2561, หน้า 30. 15เรื่องเดียวกัน, หน้า 31.
15 15 ของไทยและระบบการศึกษาไทยต้องได้รับการยอมรับว่าเทียบเคียงได้กับประเทศชั้นนำ อื่น ๆ ประเด็นสำคัญที่จะต้องทำต่อ คือการปฏิรูประบบการศึกษา 1.5 การศึกษาในยุคประเทศไทย 4.0 เป็นการจัดการเรียนสอนอย่างไรให้ตอบ โจทย์การพัฒนาประเทศ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ ได้กล่าวเกี่ยวกับ ประเทศไทย 4.0 ในการประชุมกับคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2559 ในประเด็นที่เน้นย้ำว่า "มหาวิทยาลัย : ด่านหน้าของการเปลี่ยนผ่านสู่ประเทศไทย 4.0" โดยเน้นร่วมกันหารือว่า "เราจะช่วยกันปรับเปลี่ยนประเทศไทย ไปสู่ Thailand 4.0 ได้อย่างไร ซึ่งหลายประเทศกำลังค้นหาและพัฒนา New Economic Model เพื่อสร้าง ความมั่งคั่งในศตวรรษที่ 21 อาทิ สหรัฐอเมริกา : A Nation of Makers สหราชอาณาจักร : Design of Innovation จีน : Made in China 2025 อินเดีย : Make in India และ เกาหลีใต้ : Creative Economy16 จะเห็นได้ชัดว่าจะสอนอย่างไรในยุคการศึกษา 4.0 เพื่อผลิตบัณฑิตให้คิดสร้าง ผลผลิตเพิ่มมูลค่าใหม่ ๆ ขึ้นมาให้เป็นนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ประเทศต่อไป เมื่อย้อนดูหลักการคิดในการจัดการศึกษาไทยทั้ง 4 ยุคได้ดังนี้ การศึกษาไทยแลนด์1.0 เป็นการจัดการศึกษาเป็นแบบบอกความรู้จากผู้สอน สอนให้เชื่อ เน้นการบรรยาย การศึกษาไทยแลนด์ 2.0 เป็นการจัดการศึกษาที่เปิดกว้างขึ้น เริ่มมีระบบโรงเรียน แต่ยังเป็นการเรียนแบบบอกความรู้จากผู้สอนอยู่เช่นเดิม ไม่คิดสร้างสรรค์อะไรมากนัก เพราะในโรงงานอุตสาหกรรมเขาจัดให้ดีแล้วแต่ในขณะที่ การศึกษาไทยแลนด์ 3.0 ประเทศไทยก้าวเข้าสู่การเป็นประเทศกำลังพัฒนา ที่พึ่งพาอุตสาหกรรมเบาในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ เป็นเหตุให้การศึกษายุคนี้ เป็นการจัดการศึกษาเพื่อผลิตกำลังคนป้อนเข้าสู่โรงงานอุตสาหกรรม โดยรูปแบบการ 16ไพฑูรย์ สินลารัตน์และคณะ, การศึกษา4.0เป็นยิ่งกว่าการศึกษา, (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561), หน้า 6.
16 16 จัดการเรียนรู้นั้น เป็นแบบทางการเหมือนสายพานการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม มีเทคโนโลยีหรือยุคโลกาภิวัตน์ การสอนครูและนักเรียนช่วยกันคิด การศึกษาไทยแลนด์4.0 เป็นการศึกษาในปัจจุบันเพื่อการสร้างนวัตกรรม และการจัดการศึกษาต้องบูรณาการทั้งศาสตร์ ศิลป์ ชีวิต และเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน อย่างกลมกลืน เพื่อสร้างคนที่สังคมต้องการได้ในทุกมิติ และมีรูปแบบการจัดการศึกษา ที่หลากหลาย สอดคล้องและตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียน17 นายแพทย์วิจารณ์ พานิช (ออนไลน์2565) ชี้ให้เห็นว่า เด็กต้องมีทักษะอย่างไร เพื่อปรับตัวสู่ศตวรรษที่ 21 มีวิธีการสอนแบบร่วมมือ ดังนี้ 1. การเปลี่ยนแปลงการศึกษาทั้งผู้สอนและผู้เรียนต้องปรับตัวและเพิ่มทักษะ การเรียนรู้ 2. ครูเป็นผู้มีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงวิธีการเรียนรู้จากภาคทฤษฎีสู่การปฏิบัติ 3. วิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้และระบบความสัมพันธ์ระหว่างครูกับศิษย์ ในฐานะ Coach 4. เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ ทั้งครูและศิษย์ 5. ปัจจุบันการเรียนรู้ต้องมีทักษะมากกว่า 3 Rs ได้แก่ - Media Literacy แปลว่า รู้เท่าทันสื่อ รู้ว่าข้อความในสื่อเชื่อได้แค่ไหน รู้ว่า ข้อความในสื่อซ่อนอะไรไว้เบื้องหลัง - Communication Literacy หมายถึงมีทักษะในการสื่อสารหลากหลายแบบ ได้แก่ การพูด การฟัง การเขียน การอ่านและการสื่อสารผ่านทางเทคโนโลยีสารสนเทศ เกิดความสัมพันธ์ที่ดี - Team Literacy หมายถึงมีทักษะในการทำงานเป็นทีม - Social Literacy หมายถึง มีทักษะทางสังคม เข้ากับผู้อื่นที่มีปฏิสัมพันธ์กับ ตนได้และการแสดงความยอมรับนับถือ สัมมาคารวะ อ่อนน้อมถ่อมตน - Networking Literacy หมายถึงทักษะในการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงร่วมมือ ในลักษณะของความสัมพันธ์แนวราบ - Environment / Earth Literacy หมายถึงความเข้าใจและทักษะในการ ปฏิบัติต่อสิ่งแวดล้อมและต่อโลก เพื่อรักษาสมดุลของสภาพแวดล้อม 17เรื่องเดียวกัน, หน้า 24-25.
17 17 - STEM Literacy หมายถึง ทักษะด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีวิศวกรรม ศาสตร์และคณิตศาสตร์โดยที่การศึกษาสมัยใหม่ จัดให้เรียน 4 วิชานี้ควบไปด้วยกันเป็นชุด - Aesthetic Literacy หมายถึง ทักษะในการชื่นชมความงามหรือศิลปะ ทั้งที่มีอยู่ในธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น - Civic Literacy หมายถึงทักษะในการเป็นพลเมือง รักถิ่น รักชุมชน รักและ จงรักภักดีต่อประเทศ ทักษะเหล่านี้เด็กต้องได้รับการปลูกฝังเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน 6. การเรียนแบบ PBL (Problem–based Learning) หรือโดยทำโครงงานมี 4 องค์ประกอบ คือ ทำแล้วได้ชิ้นงาน เขียน Diary ทำ Presentation และ Reflection เด็กจึงจะเรียนรู้ได้ลึก ในกระบวนการทั้งหมด 7. การตั้งคำถามเพื่อให้นักเรียนช่วยกันตอบ และสร้างบรรยากาศที่จะให้นักเรียน ตอบไม่ค่อยเหมือนกัน นักเรียนมั่นใจที่จะตอบจากความคิดความรู้สึกของตนและจะค่อย ๆ เห็นเองว่าความคิดมีต่าง ๆ นานา และได้เรียนรู้ว่าความรู้ที่เชื่อมโยงกับชีวิตจริงเป็นอย่างไร คือ ได้เห็นว่ามันไม่ชัดเจน ชีวิตจริงมันไม่ชัดเจน ได้เข้าใจจากการลงมือทำ นี่คือการเรียน โดยลงมือทำ ทำโครงงาน ปฏิบัติจริงเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ได้ทั้งทักษะและได้ความรู้ทฤษฎี ความรู้ทฤษฎีไม่ใช่ไม่สำคัญ สำคัญอย่างยิ่ง แต่เราต้องนำไปความรู้สู่การปฏิบัติสรุปว่าเรียน ให้ได้ทักษะต้องปฏิบัติปฏิบัติเป็นตัวนำและเรียนเป็นทีม และ 8. ครูไม่สอนแต่ทำหน้าที่เป็น coach และให้feedback เป็นการทำหน้าที่ครูฝึก สรุปว่าการเรียนในศตวรรษที่ 21 นักเรียนเรียนจากการลงมือปฏิบัติเช่นเดียวกับครูครูก็ ต้องเรียนจริง ๆ ครูคือเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติเหมือนกัน ครูทำหน้าที่เป็นครูฝึก หรือ Facilitator หรือ Coach ของการเรียนรู้ของเด็กนั้น ต้องปรึกษาหารือกันตั้งแต่เริ่มต้น วางแผน18 สรุปการศึกษาในยุคไทยแลนด์ 4.0 คือ การเรียนการสอนที่สอนให้นักศึกษา สามารถนำองค์ความรู้ที่มีอยู่ทุกหนทุกแห่งบนโลกนี้มาบูรณาการเชิงสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนา นวัตกรรมต่าง ๆ มาตอบสนองความต้องการของสังคม การนำประเทศไทยก้าวสู่ ประเทศไทยยุค 4.0 มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเตรียมคนให้พร้อม ซึ่งแน่นอนว่าต้อง ย้อนกลับไปถึงจุดเริ่มต้นของการสร้างคนนั่นคือ การศึกษาที่จะต้องมีการปรับเปลี่ยนให้เป็น การศึกษาประเทศไทย 4.0 ด้วยการปฏิรูปการศึกษาและการจัดการเรียนรู้จึงเป็นโจทย์ 18วิจารณ์ พานิช, การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https:// www.gotoknow.org/posts/550601 [23 กุมภาพันธ์2565].
18 18 สำคัญสำหรับทุกภาคส่วนจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการดำเนินการ และจะสำเร็จได้ก็ต้อง ผ่านกระบวนการที่มีประสิทธิภาพ พร้อมรับกับความท้าทายความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ซึ่งทักษะสำคัญสำหรับคนยุคศตวรรษที่ 21 และการเป็นไทยแลนด์ 4.0 ดังกล่าวจำเป็นต้อง อาศัยการบริหารจัดการ (Management) การมีทุนมนุษย์ (Human Capital) ที่มี ประสิทธิภาพทีเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการศึกษา 1.6 นวัตกรรมการเรียนการสอนในยุคไทยแลนด์ 4.0 การเรียนการสอนในยุคนี้ต้องปรับเปลี่ยนวิธีสอนการอย่างไรเพื่อให้สามารถสอนได้ อย่างมีประสิทธิผล ต้องเริ่มครูผู้สอนคิด ค้น ศึกษานวัตกรรมการสอนใหม่ ๆ ให้พบว่าจะใช้ วิธีการสอน สื่อการสอนอะไรที่จะช่วยให้นักเรียน สนใจ อยากเรียน และเข้าใจเนื้อหานั้นได้ ยุคนี้ไม่ยากเลย ถ้าครูสอนมีความรู้ความสามารถพอในการใช้นวัตกรรมใหม่ในการสอน ผู้เรียบเรียงเชื่อมั่นว่า ครูรุ่นใหม่จะมีความรู้เรื่องการใช้เทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพียงแต่ต้องเพิ่มทักษะใหม่ๆ ใช้กลยุทธ์ใหม่ เข้าใจจริตนักเรียนรุ่นใหม่ให้มาก แม้แต่ครูรุ่น เก่าก็สามารถเรียนรู้ได้เรียกว่า การเรียนการสอนแบบร่วมกันระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน เกิดเทคนิคใหม่ขึ้นมาว่าบูรณาเทคนิคการสอนได้อย่างหลากหลายวิธี นี้ก็เป็นนวัตกรรมร่วม สมัยในการสอน ผู้สอนต้องเปลี่ยน Mindset ว่าการศึกษาไม่ใช่การเรียนเพื่อให้เด็กสอบได้ คะแนนสูง เพราะเป็นกรอบความคิดที่ทำให้เด็กอยู่ในที่จำกัด ต้องเปิดโอกาสให้เด็กมี เสรีภาพในการแสดงออกตามความถนัดของตัวเอง แล้วครูต้องส่งเสริมศักยภาพนั้น ๆ อัน นำไปสู่การสร้างผลผลิต ให้ผู้เรียนรู้คิดวิเคราะห์ สร้างสรรค์และมีความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อจิตวิญญาณของการสร้างสรรค์ ไม่ใช่กินใช้แต่ของเดิมหรือซื้อเหมาแต่คนอื่นเท่านั้น19 1.6.1 นวัตกรรมการเรียนการสอนยุคสถานการณ์การเปลี่ยนแปลง การจัดการเรียนการสอนในยุคสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของบริบทกระแสโลก นโยบายรัฐบาล แผนการศึกษาแห่งชาติ 20 ปี พ.ศ. 2561-2680 และประเทศไทย 4.0 และสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ตลอดถึงนโยบายของโรงเรียนและสถานศึกษาต้อง ปรับตัวสำหรับการเรียนการสอน จึงทำให้เกิดกระบวนการเรียนการสอนด้วยนวัตกรรม 19ไพฑูรย์ สินลารัตน์และคณะ, การศึกษา4.0เป็นยิ่งกว่าการศึกษา, หน้า 1-3.
19 19 ที่หลากหลายเพื่อช่วยพัฒนาผู้เรียน ด้วยเหตุผลดังกล่าว ลักษณะนวัตกรรมที่ได้รับความ สนใจและยอมรับในคุยนี้20 1. เป็นนวัตกรรมที่ไม่ซับซ้อนและยากจนเกินไป เหมาะสมกับการประยุกต์ใช้ใน สถานการณ์ปัจจุบัน 2. เป็นนวัตกรรมที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแพงจนเกินไป ประหยัดและคุ้มค่า 3. เป็นนวัตกรรมที่สำเร็จรูป นวัตกรรมที่อำนวยความสะดวกในการใช้ 4. เป็นนวัตกรรมที่ไม่กระทบกระเทือนต่อบริบทเดิมมากนัก 5. เป็นนวัตกรรมที่สามารถนำไปใช้ได้แบบง่ายๆบนพื้นฐานความเป็นจริงเรียนรู้ได้ ด้วยตนเอง 6. เป็นนวัตกรรมที่ให้ผลชัดเจนเป็นรูปธรรมเห็นได้ชัดเจน 1.6.2 ระดับการยอมรับนวัตกรรม เนื่องจากนวัตกรรมมีคุณสมบัติและลักษณะหลากหลายแตกต่างกันไปจึงทำให้เกิด การยอมรับนวัตกรรมนั้นมากน้อยในระดับที่แตกต่างกันไปการยอมรับนวัตกรรมนั้นมี อยู่ 5 ระดับคือ21 1) ระดับการรับรู้ เป็นการยอมรับในระดับต้น 2) ระดับการสนใจ เป็นการยอมรับในระดับที่มากขึ้นกว่าระดับแรก 3) ระดับการชั่งใจ เป็นการยอมรับในระดับที่สูงขึ้นกว่าการให้ความสนใจจน สามารถนำนวัตกรรมนั้นไปใช้ 4) ระดับการทคลองใช้ 5) ระดับการใช้นวัตกรรม เป็นการยอมรับในระดับสูงสุด จากแนวคิดดังกล่าวพบว่า นวัตกรรมทางการศึกษาซึ่งรวมถึงนวัตกรรมด้านการ เรียนการสอนที่มีมาในอดีตหลายนวัตกรรม บางนวัตกรรมได้รับการยอมรับในระดับสูงสุด คือการนำไปใช้จริงอย่างต่อเนื่อง เช่น นวัตกรรมการจัดกลุ่มตามความสามารถ (ability grouping) นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนแบบศูนย์การเรียน (learning center) 20ทิศนา แขมมณี, ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มี ประสิทธิภาพ, พิมพ์ครั้งที่ 21, (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560), หน้า 419. 21เรื่องเดียวกัน, หน้า 420-421.
20 20 การจัดการเรียนการสอนโดยใช้บทบาทสมมติ (role playing) และการจัดการเรียนการ สอนโดยใช้กรณีตัวอย่าง (case method) เป็นต้น 1.6.3 การพัฒนานวัตกรรมด้านการเรียนการสอน การพัฒนานวัตกรรมด้านการเรียนการสอนโดยทั่วไปนั้น มีกระบวนการหลัก ๆ ที่ คล้ายคลึงกัน22 ดังนี้ 1) การระบุปัญหา (problem) 2) การกำหนดจุดมุ่งหมาย (objective) 3) การศึกษาข้อจำกัดต่าง ๆ (constraints) ก่อนที่จะมีการประดิษฐ์คิดค้น นวัตกรรมต่าง ๆ 4) การประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรม (innovation) ได้แก่ การแสวงหาทางเลือก ในการแก้ปัญหา ซึ่งต้องอาศัยความรู้ ประสบการณ์ ข้อมูล และความคิดสร้างสรรค์ของ ผู้ประดิษฐ์คิดค้น 5) การทดลองใช้ (experimentation) 6) การเผยแพร่ (dissemination) เมื่อแน่ใจแล้วว่านวัตกรรมที่สร้างขึ้นมีคุณภาพ และประสิทธิภาพตามที่ต้องการ รูปแบบการเผยแพร่ที่ได้รับความนิยมกันมาก โดยทั่วไป มีอยู่ 4 รูปแบบ (1) การเผยแพร่ที่อิงการใช้อำนาจสนับสนุนจากเบื้องสูง (Authority Innovation-Decision Model) (2) การเผยแพร่แบบใช้มนุษยสัมพันธ์ (Human Interaction Model) (3) การเผยแพร่ใช้นวัตกรรม (User Participation Model) (4) การเผยแพร่แบบผสม (Eclectic Process of Change Model) 7) การยอมรับหรือต่อต้านนวัตกรรมนั้น เมื่อนวัตกรรมได้รับการเผยแพร่ผ่านไปใน ระยะเวลาพอสมควร นวัตกรรมนั้นอาจถูกปรับปรุงและพัฒนาให้เหมาะสมยุคสมัย ไพฑูรย์ สินลารัตน์และคณะ กล่าวถึงการศึกษาโดยเฉพาะการศึกษา 4.0 หมายถึง การศึกษาที่จะสร้างผลผลิตขึ้นมาให้ได้ พูดภาษาอังกฤษคล่อง มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย จึงอาจแบ่งองค์ประกอบหลักของการศึกษา 4.0 ได้เป็น 4 อย่างหรือ 4 ระบบ ได้แก่ กลุ่ม Invention ถือได้ว่าเป็นกลุ่มหัวใจหลักของการศึกษา 4.0 เพราะเป็น จุดเริ่มต้นของนวัตกรรม 22เรื่องเดียวกัน, หน้า 421-423.
21 21 กลุ่ม Innovation อาศัยพื้นฐานทางการจัดการคิดสร้างนวัตกรรม กลุ่ม Production เป็นการผลิต สอนกระบวนการสร้างผลผลิตขึ้นมา กลุ่ม Imagination เป็นการเตรียมพร้อมสร้างพลังจินตนาการเป็นวัฒนธรรม เชิงสร้าง (Producing Culture) คือ ผู้เรียน ผู้สอนจะต้องมีหน้าที่ที่สร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ตลอดเวลา23 ดังนั้น การสอนยุคนี้ต้องปรับตัวให้ทันการเปลี่ยนแปลง โดยการคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรมใหม่ ๆ และผู้สอนต้องสามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตผู้เรียนให้เป็นนวัตกรรุ่นใหม่ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปสร้างนวัตกรรมสิ่งใหม่ในการพัฒนาชีวิตและสร้าง มูลค่าในสังคมต่อไป 1.7 นวัตกรรมการสอนตามพุทธวิถีในยุคพุทธศตวรรษที่26 พุทธศตวรรษเป็นการนับจากปีที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว 1 ปีเช่น พุทธ ศตวรรษที่ 1 ช่วงเวลาตั้งแต่ พ.ศ. 1 ถึง พ.ศ. 100 สำหรับพุทธศตวรรษที่ 26 เป็นช่วงเวลา ตั้งแต่ พ.ศ. 2501 ถึง พ.ศ. 2600 ซึ่งปัจจุบันอยู่ช่วงปีพ.ศ. 2565-2600 (35 ปี) อยู่ใน บริบทประเทศไทย 4.0 ศตวรรษที่ 21 และแผนการศึกษาแห่งชาติ 20 ปี (2560-2579) ปัจจุบันการสอนเป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่จะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาและ เกิดผลลัพธ์ที่ดีสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้เรียนที่ดีขึ้น ซึ่งหลักการสอน จุดหมายการ สอน เทคนิค กิจกรรม การสื่อและวัดและประเมินผลตามลำดับ และผู้สอนต้องเข้าใจมุ่ง หมายการการศึกษาให้ชัดตามแนวคิดการจัดการศึกษา (Conceptual Design) ตาม แผนการศึกษาแห่งชาติยึดหลักสำคัญในการจัดการศึกษาประกอบด้วย หลักการจัดการ ศึกษาเพื่อปวงชน (Education for All) หลักการจัดการศึกษาเพื่อความเท่าเทียมและทั่วถึง (Inclusive Education) หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) และหลักการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนของสังคม (All for Education) อีกทั้งยึดตาม เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs 2030) ประเด็น ภายในประเทศ (Local Issues) อาทิคุณภาพของคนทุกช่วงวัย การเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ประชากรของประเทศ ความเหลื่อมล้ำของแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579 23ไพฑูรย์ สินลารัตน์และคณะ, การศึกษา4.0เป็นยิ่งกว่าการศึกษา, หน้า 88 – 92
22 22 การกระจายรายได้และวิกฤตด้านสิ่งแวดล้อม โดยนำยุทธศาสตร์ชาติ (National Strategy) มาเป็นกรอบความคิดสำคัญในการจัดทำแผนการศึกษาแห่งชาติ24 การจัดการศึกษามีวัตถุประสงค์4 ประการ คือ 1) เพื่อพัฒนาระบบและ กระบวนการ จัดการศึกษาที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ 2) เพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็น พลเมืองดี มีคุณลักษณะ ทักษะและสมรรถนะที่สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติและยุทธศาสตร์ชาติ3) เพื่อ พัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคม แห่งการเรียนรู้ และคุณธรรม จริยธรรม รู้รักสามัคคี และ ร่วมมือผนึกกำลังมุ่งสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ 4) เพื่อนำประเทศไทยก้าวข้ามกับดัก ประเทศที่มีรายได้ปานกลาง และความเหลื่อม ล้ำภายในประเทศลดลง เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์และจุดมุ่งหมายในการจัดการศึกษาดังกล่าว ข้างต้น แผนการศึกษาแห่งชาติได้วางเป้าหมายไว้คือ เป้าหมายด้านผู้เรียน (Learner Aspirations) โดยมุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคนให้มีคุณลักษณะและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (3Rs 8Cs)25 และผลิตเยาวชนตามความต้องการของประเทศในยุค 4.0 3Rs ได้แก่ การอ่านออก (Reading) การเขียนได้(Writing) และการคิดเลขเป็น (Arithmetics) การสอนให้นักเรียนพัฒนาฝึกทักษะการอ่าน การเขียนได้ให้สามารถใช้ได้ ตลอดชีวิตโดยเฉพาะทักษะการคิดเลขเป็นในการดำเนินประจำวัน 8Cs ได้แก่ ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา (Critical Thinking and Problem Solving) ทักษะด้านการสร้างสรรค์และนวัตกรรม (Creativity and Innovation) ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์ (Cross – cultural Understanding) ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และ ภาวะผู้นำ (Collaboration, Teamwork and Leadership) ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และการรู้เท่าทันสื่อ 80 แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579 (Communications, Information and Media Literacy) ทักษะด้านคอมพิวเตอร์และ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Computing and ICT Literacy) ทักษะอาชีพ และ ทักษะ การเรียนรู้(Career and Learning Skills) และความมีเมตตา กรุณา มีวินัย คุณธรรม จริยธรรม (Compassion) 24สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ, แผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2560 – 2579, (กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค, 2561), หน้า 76-78. 25เรื่องเดียวกัน, หน้า 79-80.
23 23 เมื่อวิเคราะห์การสอนในพระพุทธศาสนาสอดคล้องเป้าหมายการศึกษาใน ศตวรรษที่ 21 การสอนให้รู้จักคิดสร้างสรรค์ การแก้ปัญหาเป็น การทำงานเป็นทีม การรู้จัก สื่อสารที่ดี ประกอบอาชีพสุจริต โดยสามารถประยุกต์หลักพุทธธรรมมาดำเนินชีวิตให้ มีความสุข และการพัฒนาการศึกษาของชาติจึงเป็นภารกิจหลักในการพัฒนาคน อัน เป็นรากฐาน ของการพัฒนาประเทศในทุกระบบ โดยมีกรอบทิศทางการพัฒนาประเทศ ตามยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) เป็นกรอบในการดำเนินการ เพื่อให้การ พัฒนาประเทศในทุกระบบมีความสอดคล้องกัน และนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายของการ พัฒนาประเทศให้ “มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน”26 ชัดเจนว่าการพัฒนาประเทศต้องเริ่มจากการพัฒนาคนเป็นศูนย์กลางสำคัญ สอดคล้องกับการพัฒนาการศึกษาโดยมุ่งพัฒนาคนของชาติให้มีคุณภาพ สมรรถนะภาพ และมีสุขภาพ (เป็นคนดี เก่ง และมีความสุข) การพลิกโฉมการพัฒนานวัตกรรมการสอน การสอนแนวใหม่ต้องพิจารณาถึง องค์ประกอบที่เป็นนวัตกรรมให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การศึกษาแห่งชาติและยุคประเทศ ไทย 4.0 โดยเน้นให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสามารถศึกษาด้วยตนเอง ซึ่งจะมี ในบทต่อไป 1.7.1 การจัดการปฏิรูปการจัดการเรียนการสอนเพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลง ในศตวรรษที่21 การศึกษาจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับการ เปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่21 เพิ่มสมรรถนะการเรียนรู้ 1. การจัดการศึกษาทุกระดับใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะและแนวทางการเรียนรู้เชิง รุกและการวัดประเมินผลเพื่อพัฒนาผู้เรียน 2. เรียนได้รับการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรม เพื่อเป็นคนดีของสังคม มีวินัยและ ภาคภูมิใจในชาติ 3. มีระบบทดสอบทางการศึกษาระดับชาติที่ได้รับการปรับปรุงให้สามารถประเมิน คุณภาพการศึกษาเพื่อใช้ประโยชน์ในการยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาอย่างมีสัมฤทธิ์ ผล และมีแนวทางโน้มการคัดเลือกผู้เรียนเข้าศึกษาต่อด้วยวิธีการที่หลากหลาย เพื่อลด ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา 26เรื่องเดียวกัน, หน้า 16.
24 24 4. สถานศึกษาสามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ ประสิทธิภาพ มีธรรมาภิบาล โดยการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องและได้รับการสนับสนุนที่เหมาะสม กับบริบทเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาทุกระดับตามปรัชญาและเป้าหมายของ สถานศึกษาและมีระบบความรับผิดชอบทางการศึกษา (Educational Accountability) บนพื้นฐานสมรรถนะหลักของผู้เรียน 5. สถานศึกษาระดับต่าง ๆ มีระบบคุ้มครองด้านความปลอดภัย สุขภาพ และ สวัสดิภาพอย่างเหมาะสม 6. เพิ่มจำนวนผู้เรียนอาชีวศึกษาในสาขาที่สอดคล้องกับความต้องการของ ภาคเอกชนและ ประเทศ และผู้จบอาชีวศึกษามีงานทำ 7. ผู้เรียนอาชีวศึกษามีความรู้ ทักษะ เก่งปฏิบัติ มีสมรรถะเป็นที่ยอมรับ หรือผ่าน การศึกษาอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี และการฝึกงานในสถานประกอบการ 8. ผู้เรียนที่จบการศึกษาอาชีวศึกษามีความสามารถที่จะเป็นผู้ประกอบการได้เอง 9. บัณฑิตในระดับอุดมศึกษามีสมรรถนะสอดคล้องกับความต้องการของตลาด แรงงาน เพิ่มการผลิตในสาขาที่ประเทศต้องการ และลดการผลิตบัณฑิตในสาขาที่ไม่ตรงกับ ความต้องการของตลาด 10. สถาบันอุดมศึกษาของไทยสามารถตอบสนองความต้องการของประเทศไปใน อนาคตทั้งในด้านการพัฒนาคน การวิจัย และสร้างสรรค์นวัตกรรม ตลอดจนทำให้สถาบัน อุดมศึกษาไทยสามารถปรับตัวและแข่งขันได้ในโลก หรือเป็นสถาบันที่สามารถสนับสนุน การพัฒนาชุมชนและสังคมได้อย่างมีประสิทธิผล 11. ลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในระดับอุดมศึกษา โดยเปิดโอกาสให้ผู้ ที่มีศักยภาพในการเรียนในระดับอุดมศึกษา สามารถเข้าเรียนในสาขาที่ตนถนัด ได้อย่าง เต็มศักยภาพ 12. เพิ่มประสิทธิภาพของการใช้งบประมาณของรัฐในการสนับสนุนการจัดการศึกษา ในระดับอุดมศึกษาของประเทศ รวมถึงปรับปรุงธรรมาภิบาลในการจัดการระบบอุดมศึกษา และธรรมาภิบาลภายในสถาบันอุดมศึกษา ให้การจัดการมีความรับผิดชอบ ความโปร่งใส ตรวจสอบได้และส่งเสริมการมีส่วนร่วมอย่างเหมาะสม 13. มีสถาบันหลักสูตรและการเรียนรู้แห่งชาติเป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่เป็นส่วน ราชการหรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณหรือกฎหมายอื่น เป็น หน่วยงานที่ไม่แสวงหาผลกำไรทำหน้าที่เป็นองค์กรกลางในการพัฒนาหลักสูตร วิธีการ
25 25 จัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมทั้งการจัดทำ ส่งเสริม สนับสนุนการนำหลักสูตรไปใช้ ตลอดจนติดตามผล27 สำหรับหนังสือเล่มนี้ ผู้เรียบเรียงจึงได้เสนอแนวคิดการปฏิรูปการศึกษาเพื่อ พัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในบริบทประเทศไทย 4.0 การศึกษาในยุคศตวรรษที่21 แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 และพัฒนา นวัตกรรมการเรียนการสอนด้วยการพัฒนาหลักสูตร ครู อาจารย์และนวัตกรรมการสอน โดยบูรณาการพุทธวิธีการสอนในพุทธศตวรรษที่ 26 ซึ่งมีเนื้อหาแต่ละบทดังนี้ บทที่ 1 บทนำ ประกอบด้วยบริบทสถานการณ์ของการศึกษาไทย การปฏิรูประบบ การศึกษาให้มีประสิทธิภาพ การศึกษาในยุคประเทศไทย 4.0 เป็นการจัดการเรียนสอน อย่างไรให้ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ และพัฒนานวัตกรรมการสอนตามพุทธวิถีในยุค พุทธศตวรรษที่ 26 บทที่ 2 การพลิกโฉมการสอนแบบแนวใหม่ ประกอบด้วยนวัตกรรมการสอนแบบ ใหม่ ๆ ที่ผ่านการเรียนรู้ด้วยตนเอง การจัดเรียนการสอนเพื่อตอบโจทย์แผนการศึกษา แห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 นวัตกรรมการเรียนการสอนในสถานการณ์การระบาดของโรค โควิด-19 และการพลิกโฉมการพัฒนานวัตกรรมการสอน บทที่ 3 พุทธนวัตกรรมการสอนในยุคศตวรรษที่ 26 ประกอบด้วยพุทธนวัตกรรม การสอนโดยครูต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล พุทธวิถีการสอนโดยเข้าใจ ธรรมชาติของผู้เรียน พุทธนวัตกรรมการสอนแบบการสาธิตพุทธนวัตกรรมการสอนแบบ การแนะนำ พุทธนวัตกรรมการสอนแบบการถาม-ตอบและพุทธนวัตกรรมการสอนแบบ การสนทนา บทที่ 4 การพัฒนาและกลยุทธ์พุทธนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนประกอบด้วย การพัฒนาพุทธนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน พุทธนวัตกรรมการสอนให้ผู้เรียนคิด และลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง พุทธนวัตกรรมการสอนโดยคำนึงถึงความพร้อมของผู้เรียนและ ผู้ฟังธรรม พุทธนวัตกรรมการสอนโดยปรับวิธีสอนให้เหมาะกับผู้เรียน และพุทธนวัตกรรม การสอนโดยเอาใจใส่ผู้เรียนเป็นรายบุคคล สรุปการพัฒนาพุทธนวัตกรรมการสอนสู่การ ปฏิบัติ 27คณะกรรมการอิสระปฏิรูปการศึกษา, แผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา, เอกสาร สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา(กอปส.), 2561, หน้า 36-39.
26 26 บทที่ 5 พุทธนวัตกรรมการสอนให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมการเรียนรู้ด้วยการพึ่งตนเอง ประกอบด้วย หลักการเรียนรู้ด้วยตนเอง ทฤษฎีการเรียนรู้ด้วยตนเอง การประยุกต์ใช้ ทฤษฎีสู่การสอนโดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ด้วยตนเองพุทธนวัตกรรมการสอน โดยการเรียนรู้ด้วยตนเอง บทที่ 6 การบูรณาการและการนำเสนอ ประกอบด้วยรูปแบบการสอนด้วยการ สนทนาถาม-ตอบ โดยมีหลักการสอนและเหตุผลในการสอนรูปแบบการสอนด้วยการ บรรยาย รูปแบบการสอนด้วยการตอบปัญหารูปแบบการสอนด้วยการวางกฎระเบียบข้อ ปฏิบัติหลักการสอนโดยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองหลักเหตุผลในรูปแบบพุทธวิธีการสอน ต่าง ๆ การประยุกต์หลักการ รูปแบบ เนื้อหา เทคนิคการสอน วิธีการสอนพุทธนวัตกรรม การเรียนการสอนและหลักการประเมินผลการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ตามหลักพุทธศาสนา ซึ่งมีรายละเอียดการนำเสนอแต่ละบทต่อไป สรุปการจัดการปฏิรูปการจัดการเรียนการสอนเพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงใน ศตวรรษที่ 21 ในบริบทการศึกษาไทยดังนี้ 1. การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะให้ชัดเจนในแต่ละระดับการศึกษาของผู้เรียน 2. พัฒนาครูอาจารย์ที่มีสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก แนวทางการจัดการ เรียนรู้เชิงรุก และการวัดประเมินผลเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มุ่งเน้นสมรรถนะ รวมถึงแนวทาง การพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีวินัยและภูมิใจในชาติ 3. สถานศึกษาต้องคัดเลือกผู้เรียนเข้าศึกษาต่อที่หลากหลาย มีความเป็นธรรมและ สามารถลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา 4. สถานศึกษาที่มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง สร้างความเชื่อมั่น ให้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และสาธารณชนว่าสามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ และ บรรลุเป้าประสงค์ในการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพ 5. สถานศึกษาที่มีระบบคุ้มครองผู้เรียน ทั้งด้านความปลอดภัย สุขภาพ และ สวัสดิภาพ 6. ตลาดแรงงานทั้งภาครัฐและเอกชนมีความพึงพอใจต่อสมรรถนะของผู้สำเร็จ การศึกษาและสะท้อนการจัดการศึกษาได้เป็นอย่างดี 7. การบูรณาการหลักพุทธธรรมในการเรียนการสอนได้อย่างมีความสุขในการ เรียนรู้และสามารถนำความรู้ไปพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างรู้จักพอเพียงในสถานการณ์ ปัจจุบัน
27 27 8. พัฒนาทักษะผู้เรียนที่จบการศึกษาอาชีวศึกษาให้ความสามารถประกอบอาชีพ เองได้สรุปได้ดังภาพที่ 1.1 ดังนี้ ภาพที่1.1 การเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ในบริบทการศึกษาไทย ที่มา : มาจาก การจัดการปฏิรูปการจัดการเรียนการสอนเพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงใน ศตวรรษที่ 21 การสังเคราะห์โดยผู้เขียน (2546) การปรับปรุง หลักสูตร การพัฒนาครู อาจารย์ การพัฒนา สถานศึกษา เทคนิคการสอน การจัดการปฏิรูปการจัดการเรียน การสอนเพื่อตอบสนองการ เปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่21
28 28 เอกสารอ้างอิง 1. ภาษาไทย (1) หนังสือ : คณะกรรมการอิสระปฏิรูปการศึกษา, แผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา, เอกสาร สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา (กอปส.), 2561. ทิศนา แขมมณี. ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มี ประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 21. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, 2560. ธีระ รุญเจริญ. ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษา ยุคปฏิรูปการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: นวสาส์นการพิมพ์, 2555. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560 – 2564. สำนักงาน คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติสำนักนายกรัฐมนตรี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13. “พลิกโฉมประเทศไทยสู่สังคมก้าวหน้า เศรษฐกิจสร้างมูลค่าอย่างยั่งยืน”. (พ.ศ. 2566– 2570). พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์. การพลิกโฉมระบบการศึกษาเพื่อตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565. ไพฑูรย์ สินลารัตน์และคณะ. การศึกษา4.0เป็นยิ่งกว่าการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561. วิจารณ์ พานิช, ศ.นพ. และปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร. การศึกษาคุณภาพสูงระดับโลก. (กรุงเทพมหานคร: เอส อาร์ พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์ จำกัด, 2563 วัฒนาพร ระงับทุกข์. คุรุสภาวิทยาจารย์ JOURNAL OF TEACHER PROFESSIONAL DEVELOPMENT. ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (มกราคม – เมษายน 2563): 10. สมศักดิ์ ดลประสิทธิ์. ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาไทย (Thailand Education Reform Model : TERM). (22 กันยายน 2557). เอกสารอัดสำเนา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. แผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค, 2561.
29 29 (2) สื่อออนไลน์ : สุพจน์ อิงอาจ. มติครูเกี่ยวกับผู้นำการศึกษายุค VUCA World. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.matichon.co.th/education/news_2578997 [21 ก.พ. 2565]. วิจารณ์ พานิช. การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https:// www.gotoknow.org/posts/550601 [23 กุมภาพันธ์ 2565].
บทที่2 การพลิกโฉมการสอนแบบแนวใหม่ การเรียนการสอนแนวใหม่เป็นการนำแนวคิด วิธีการ กระบวนการหรือสิ่งประดิษฐ์ ใหม่ๆ มาใช้ในการจัดการเรียนรู้ ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ตรงตามเป้าหมายของหลักสูตร ซึ่งจะช่วยให้การศึกษาและการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ ดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจ ในการเรียนด้วยนวัตกรรมเหล่านั้น และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย การถ่ายทอดความรู้สำหรับผู้เรียนยุคใหม่ ครูสามารถเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้โดยการลง มือปฏิบัติเช่นเดียวกับการเชิญชวนให้นักเรียนร่วมลงมือกับครูด้วย การเรียนการสอนในยุค ใหม่ไม่เพียงแต่สอนนักเรียน แต่ยังต้องดูแลและสร้างความสัมพันธ์กับ พวกเขาด้วย กระบวนการของการเรียนรู้ผ่านการแก้ปัญหาเป็นขั้นตอนสำคัญ ครูจะกระตุ้นให้ผู้เรียนตั้ง คำถามและแสวงหาคำตอบด้วยกระบวนการแบบใหม่จากแหล่งเรียนรู้ด้วยตนเองได้อย่างมี ประสิทธิภาพซึ่งบทนี้จะเสนอดังนี้ 2.1 การสอนในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) 2.2 การจัดเรียนการสอนเพื่อตอบโจทย์แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 2.3 แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงระดับโลกในอนาคตที่ส่งผลกระทบต่อการจัด การศึกษา 2.4 การพลิกโฉมการพัฒนานวัตกรรมการสอน 2.5 การเรียนการสอนในยุคดิจิทัล ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ 2.1 การสอนในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) คำว่า New Normal หมายถึง คำที่ถูกนำมาใช้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ โรคโควิด-19 กำลังเป็นคำพาดหัวยอดนิยมบนโลกออนไลน์ การแพร่ระบาดของไวรัส โควิด-19 ได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตในหลากหลายมิติของคนทั่วโลก ตั้งแต่การทำงาน การรักษาสุขภาพ แม้แต่การศึกษาเองก็จะต้องเผชิญกับภาวะของการปรับตัวครั้งใหญ่ เช่นเดียวกัน และการเรียนรู้แบบออนไลน์กำลังจะกลายเป็นความปกติใหม่ของสังคมไทย มากขึ้น และการเรียนรู้แบบออนไลน์ก็ไม่ใช่แค่การสอนผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์มเท่านั้น แต่การเรียนรู้วิถีใหม่นี้ยังมีอีกหลายมิติให้เราต้องทำความเข้าใจจากสถานการณ์นี้เมื่อ
31 31 14 พฤษภาคม 2563 ราชบัณฑิตยสภาได้ บัญญัติศัพท์ คำว่า "New normal" หมายถึง ความปกติใหม่ หรือฐานวิถีชีวิตใหม่ โดยเขียนทับศัพท์ว่า "นิวนอร์มัล" และมีแนวทางปฏิบัติ1 ดังนี้ 1. พื้นที่การเรียนจากโรงเรียนสู่โทรศัพท์มือถือ การเปลี่ยนแปลงพื้นที่การเรียนรู้เป็นเรื่องที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด ด้วยเทคโนโลยีใน ปัจจุบันและนวัตกรรมที่สร้างสรรค์คอนเทนต์อำนวยความสะดวกการสอนได้แค่ปลาย นิ้ว ทำให้เราสามารถเรียนรู้ทุกเนื้อหาได้จากทุกคน ทุกที่ ทุกเวลา แต่นั่นไม่ได้ หมายความว่าการปฏิสัมพันธ์ของคุณครูและนักเรียนจะลดน้อยลง ชุมชนแห่งการเรียนรู้ยัง มีอยู่ เพียงแต่เปลี่ยนพื้นที่จากโรงเรียนสู่โทรศัพท์มือถือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นการ เรียนการสอนที่ทันสมัยเหมาะสมกับสถานการณ์ยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ (New normal) 2. วิธีการสอนที่ออกแบบให้ตรงตามจริตการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคน เราอาจคุ้นชินกับภาพห้องเรียนที่มีผู้เรียนจำนวนมากรวมตัวกัน ใช้หนังสือ เหมือนกัน สื่อประกอบการสอนเหมือนกัน และมีวิธีการประเมินผลเหมือนกัน เพื่อไปสู่ เป้าหมายเดียวกัน ในการเรียนรู้วิถีใหม่นั้น เป้าหมายของการศึกษาอาจยังคงเดิม แต่ผู้เรียน สามารถใช้วิธีที่แตกต่างในการไปให้ถึงจุดหมายได้ เด็กบางคนอาจเรียนรู้ได้เร็วกว่าหากได้ดู ภาพหรือคลิปวิดีโอ แต่เด็กบางคนอาจชอบการฟังคุณครูบรรยาย เพราะรูปแบบการเรียนรู้ ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน 3. บทบาทที่เปลี่ยนไปของการประเมินผล การให้เกรดบนสมุดพก และการประเมินผลจากการสอบ เป็นสิ่งที่ถูกตั้งคำถามมา ยาวนานว่าช่วยให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ของการศึกษาจริงหรือไม่ ในการศึกษาแบบวิถี ใหม่นี้ การประเมินจะถูกเปลี่ยนจาก “การประเมินผลการเรียน” ไปสู่ “การประเมินผลเพื่อ การเรียนรู้” นั่นคือการวัดผลลัพธ์ให้คุณครูเข้าใจว่าผู้เรียนเหมาะกับการเรียนรู้รูปแบบไหน และอะไรที่จะสามารถเติมทักษะที่คุณครูคาดหวังได้ การประเมินผลในวิถีการศึกษาใหม่จึง เป็นการทำความเข้าใจ เพื่อพัฒนาผู้เรียนแต่ละบุคคล กล่าวได้ว่าการเรียนการสอนในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผล กระทบให้การเรียนการสอนต้องปรับตัวทั้งครูสอน นักเรียน ผู้ปกครองเองต้องให้ความ ร่วมมือกับทางโรงเรียนเพื่อการการจัดการเรียนการสอนดำเนินต่อไป จนในที่สุดการ แก้ปัญหาการจัดการศึกษาได้รับความร่วมมือทุกฝ่ายสะท้อนให้เห็นการศึกษาไทยต้องปรับ 1 Aksorn, การเรียนรู้ใหม่ ในวิถี New Normal, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www. aksorn.com/new-normal-1, [17 ตุลาคม 2563]
32 32 ใหม่โดยให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมการจัดการศึกษาอย่างกระตือรือร้นและจริงจังการขับเคลื่อนก็ ดำเนินต่อไปได้อย่างมีคุณภาพ 2.1.1 นวัตกรรมการเรียนการสอนในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 สถานศึกษาทุกแห่งต้องปรับตัวเพื่อให้เรียนการสอนดำเนินการต่อไปแบบอาศัย การลองผิดลองถูกตามบริบทแต่ละพื้นที่การศึกษาทุกระดับจนในที่สุดทั้งกระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ออกนโยบาย หาแนวทาง ปฏิบัติร่วมกับกระทรวงสาธารณะสุขให้แนวทางปฏิบัติในการจัดการเรียนการสอนแบบใหม่ ตามหลักการเดิมสำหรับการจัดการเรียนการสอนแต่ให้ใช้วิธีการใหม่โดยให้เลือกใช้ตาม ความเหมาะสม ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลให้รูปแบบการเรียน การสอนในแต่ละภูมิภาคของประเทศต้องมีความแตกต่างกันไปตามความเหมาะสมกับ สถานศึกษาในแต่ละพื้นที่ไว้โดยกำหนดให้เลือกเรียนไว้ 5 รูปแบบ คือ การเรียนแบบ On- site คือ การเดินทางมาเรียนที่โรงเรียนซึ่งเหมาะสำหรับโรงเรียนที่มีปริมาณนักเรียน น้อยสามารถจัดพื้นที่แบบเว้นระยะห่างและเข้มงวดการสวมหน้ากากอนามัยตามมาตรการ ด้านสาธารณสุข การเรียนแบบ On-Air ผ่านระบบมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม หรือ DLTV การเรียนแบบ On-Line ครูผู้สอนทำการสอนผ่านระบบอิเลคทรอนิคส์การเรียน แบบ On-demand ผ่านระบบแอปพลิเคชันและการเรียนแบบ On – hand ครูผู้สอน เดินทางไปแจกเอกสารใบงานให้กับนักเรียนที่บ้าน ดังนั้น จึงมีความเชื่อมโยงตามกรอบ แนวทางปฏิบัติในการจัดเรียนการสอนมีดังนี้2 1) ความปลอดภัยจากการลดการแพร่เชื้อโรคมีแนวปฏิบัติ ดังนี้ 1. มีมาตรการคัดกรองวัดไข้และ อาการเสี่ยง ก่อนเข้าสถานศึกษา พร้อม สังเกตอาการไข้ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ หายใจลำบาก เหนื่อยหอบ ไม่ได้กลิ่น ไม่รู้รส สำหรับ นักเรียน บุคลากรของ สถานศึกษา และ ผู้มาติดต่อ ทุกคน 2. ให้นักเรียน บุคลากร และผู้เข้ามาในสถานศึกษา ทุกคนต้องสวมหน้ากาก ผ้าหรือหน้ากากอนามัย ตลอดเวลาเมื่ออยู่ในสถานศึกษา 3. ให้มีจุดบริการล้างมือด้วยสบู่และน้ำ หรือเจลแอลกอฮอล์อย่างเพียงพอ ในบริเวณต่าง ๆ เช่น ทางเข้าอาคารห้องเรียน โรงอาหาร 4. ให้จัดเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล อย่างน้อย 1 - 2 เมตร เช่น ระหว่างโต๊ะ เรียน ที่นั่งเรียนที่นั่งในโรงอาหาร ที่นั่งพัก ทางเดินจุดรอคอย ห้องนอนเด็กเล็ก กรณี ห้องเรียนไม่เพียงพอในการจัดเว้นระยะห่างระหว่างบุคคลควรจัดให้มีการสลับวันเรียนแต่ 2 กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, คู่มือการปฏิบัติสำหรับสถานศึกษาในการป้องกันการ แพร่ระบาดของโรคโควิด -19, (กรุงเทพมหานคร: บริษัท คิว แอดเวอร์ไทซิ่ง จำกัด, 2563), หน้า 7-14.
33 33 ละชั้นเรียน การแบ่งจำนวนนักเรียน หรือการใช้พื้นที่ใช้สอยบริเวณสถานศึกษา ตามความ เหมาะสม ทั้งนี้อาจพิจารณาวิธีปฏิบัติอื่นตามบริบทความเหมาะสมโดยยึดหลัก Social distancing 5. เปิดประตู หน้าต่างให้อากาศถ่ายเท ทำความสะอาดห้องเรียน และบริเวณ ต่าง ๆ โดยเช็ด ทำความสะอาดพื้นผิวสัมผัสของโต๊ะ เก้าอี้ และวัสดุอุปกรณ์ก่อนเข้าเรียน พักเที่ยง และหลังเลิกเรียนทุกวัน รวมถึงจัดให้มีถังขยะมูลฝอยแบบมีฝาปิดและรวบรวม ขยะออกจากห้องเรียนเพื่อนำไปกำจัดทุกวัน 6. ให้พิจารณาควบคุมจำนวนนักเรียนที่มาร่วมกิจกรรม ลดแออัด หรือลด เวลาทำกิจกรรมให้สั้นลงเท่าที่จำเป็น หรือเหลื่อมเวลาทำกิจกรรม โดยถือหลักหลีกเลี่ยง การติดต่อสัมผัสระหว่างกัน 7. ทำความสะอาดพื้นที่ที่นักเรียนใช้ร่วมกัน ก่อนและหลังใช้งานทุกครั้ง เช่น ห้องคอมพิวเตอร์ห้องดนตรี ลิฟต์ อุปกรณ์กีฬา 8. จัดให้มีพื้นที่ในการเข้าแถว ทำกิจกรรม หรือเล่นกลุ่มย่อย เว้นระยะห่าง ระหว่างบุคคลอย่างน้อย 1 - 2 เมตร 9. ให้นักเรียนใช้ของใช้ส่วนตัวไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น เช่น แก้วน้ำ ช้อน ส้อม แปรงสีฟัน ยาสีฟัน ผ้าเช็ดหน้า 10. จัดให้มีห้องพยาบาลสำหรับแยกผู้มีอาการป่วยระบบทางเดินหายใจออก จากผู้มีอาการป่วยระบบอื่น ๆ หรือพิจารณาส่งไปสถานพยาบาล 11. จัดให้มีการสื่อสารความรู้การป้องกันโรคโควิด 19 แก่นักเรียน บุคลากร เพื่อให้สามารถล้างมือ สวมและถอดหน้ากากอย่างถูกวิธี การเก็บรักษาหน้ากาก ช่วงพัก เที่ยงและการทำความสะอาดสถานที่และอุปกรณ์ของใช้ที่ถูกสุขลักษณะตลอดจนจัดให้มี นักเรียนแกนนำด้านสุขภาพนักเรียนที่มีจิตอาสาเป็นอาสาสมัครในการช่วยดูแลสุขภาพ เพื่อนนักเรียนด้วยกันหรือดูแลรุ่นน้องด้วย 12. กรณี มีรถรับ – ส่งนักเรียนเน้นให้ผู้โดยสารทุกคน สวมหน้ากากผ้าหรือ หน้ากากอนามัยทำความสะอาดยานพาหนะและบริเวณจุดสัมผัสร่วมกัน เช่น ราวจับ เบาะ นั่ง ที่วางแขน ก่อนรับ และหลังจากส่ง นักเรียนแล้วทุกครั้งลดการพูดคุยหรือเล่นกันบนรถ ตลอดจนการจัดเว้นระยะห่างระหว่างที่นั่ง 2) การเรียนรู้มีแนวทางปฏิบัติ ดังนี้ 1. จัดหาสื่อความรู้ในการป้องกันควบคุมโรคโควิด 19 สำหรับใช้ในการเรียน การสอน การเรียนรู้นอกห้องเรียน หรือกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ในรูปแบบของสื่อออนไลน์ : VTR, Animation, Infographic และสื่อสิ่งพิมพ์ : โปสเตอร์ แผ่นพับภาพพลิก คู่มือ แนว ปฏิบัติ
34 34 2. เตรียมความพร้อมด้านการเรียนรู้ของเด็กตามวัยและสอดคล้องกับพัฒนา การด้านสังคม อารมณ์ และสติปัญญา 3. สร้างความเข้มแข็งของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยบูรณาการ กิจกรรมส่งเสริมพัฒนานักเรียนด้านทักษะชีวิต และความเข้มแข็งทางใจ เข้าในการเรียน การสอนปกติเพื่อช่วยให้นักเรียนจัดการความเครียดและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้อย่าง เหมาะสม 3) การครอบคลุมถึงเด็กด้อยโอกาสมีแนวทางปฏิบัติดังนี้ 1. จัดหาวัสดุสิ่งของเครื่องใช้และอุปกรณ์ล้างมือ เช่น สบู่ เจลแอลกอฮอล์ หน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยอย่างเพียงพอสำหรับนักเรียนและบุคลากรในสถานศึกษา ควรมีสำรอง โดยเฉพาะเด็กเล็กที่เป็นง่ายเพราะถ้าชื้นแฉะจะไม่สามารถป้องกันเชื้อได้ 2. มีการปรับรูปแบบการเรียนการสอนให้ สอดคล้องกับบริบทการเข้าถึงการ เรียนรู้ในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 3. มีมาตรการส่งเสริมให้นักเรียนได้รับบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึง 4. มีมาตรการการทำความสะอาด และจัดสภาพแวดล้อมของที่พักและเรือน นอนให้ถูกสุขลักษณะ 5. มีมาตรการการทำความสะอาดและจัดสภาพแวดล้อมให้สอดคล้องกับ ข้อบัญญัติการปฏิบัติด้านศาสนกิจ 6. มีมาตรการดูแลนักเรียนที่มีความบกพร่อง ด้านพัฒนาการการเรียนรู้ หรือ ด้านพฤติกรรมอารมณ์ ที่สามารถเรียนร่วมกับเด็กปกติ ได้แก่นักเรียนที่มีภาวะบกพร่องทาง สติปัญญา บกพร่องทางการเรียนรู้ บกพร่องด้านพฤติกรรมอารมณ์ รวมถึงภาวะสมาธิสั้น และเด็กออทิสติก 4) สวัสดิภาพและการคุ้มครองมีแนวทางปฏิบัติดังนี้ 1. จัดเตรียมแผนรองรับด้านการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนป่วยกักตัวหรือ กรณีปิดสถานศึกษาชั่วคราว 2. จัดเตรียมแนวปฏิบัติการสื่อสารเพื่อลดการรังเกียจและการตีตราทางสังคม (Social stigma) 3. จัดเตรียมแนวปฏิบัติด้านการจัดการความเครียดของครูและบุคลากร 4. ตรวจสอบประวัติเสี่ยงของบุคลากรและนักเรียน ตรวจสอบเรื่องการกักตัว ให้ครบ 14 วันก่อนมาทำการเรียนการสอนตามปกติและทุกวันเปิดเรียน 5. กำหนดแนวทางปฏิบัติตามระเบียบสำหรับบุคลากรและนักเรียนที่สงสัย ติดเชื้อหรือป่วยด้วยโรคโควิด 19 โดยไม่ถือเป็นวันลาหรือวันหยุดเรียน
35 35 5) นโยบายมีแนวทางปฏิบัติดังนี้ 1. สื่อสารประชาสัมพันธ์แก่ครูและบุคลากรในสถานศึกษาให้มีความรู้ความ เข้าใจเบื้องต้น เกี่ยวกับโรคโควิด 19 ทักษะการล้างมือการสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากาก อนามัย สุขลักษณะส่วนบุคคลที่ดีรวมทั้งการทำความสะอาดอย่างถูกวิธี 2. ประชุมชี้แจงคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานแบบออนไลน์หรือกลุ่ม ย่อยตามความจำเป็น 3. มีแผนงาน โครงการ และกิจกรรมรองรับนโยบายและแนวทางการป้องกัน โรคโควิด 19 ของสถานศึกษา 4. แต่งตั้งคณะทำงานรับผิดชอบเกี่ยวกับโรคโควิด 19 ในสถานศึกษา ประกอบด้วย ครู บุคลากร สถานศึกษานักเรียน ผู้ปกครอง เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และ ผู้เกี่ยวข้อง 5. กำหนดบทบาทหน้าที่ โดยมอบหมายครู ครูอนามัยหรือบุคลากรของ สถานศึกษาทำหน้าที่คัดกรอง วัดไข้นักเรียน สังเกตสอบถามอาการเสี่ยง และประสานงาน เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ให้บริการในห้องพยาบาลดูแลทำความสะอาดในบริเวณ สถานศึกษาและบริเวณจุดเสี่ยง 6) การบริหารการเงินมีแนวทางปฏิบัติดังนี้ 1. พิจารณาการใช้งบประมาณของสถานศึกษาสำหรับกิจกรรมการป้องกัน การระบาดของโรคโควิด 19 ตามความจำเป็นและเหมาะสม 2. จัดหาวัสดุอุปกรณ์ป้องกันโรคโควิด 19 สำหรับนักเรียนและบุคลากรใน สถานศึกษา เช่น หน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย เจลแอลกอฮอล์ สบู่ เป็นต้น 3. ประสานงานและแสวงหาแหล่งทุนและการสนับสนุนจากหน่วยงาน องค์กรหรือภาคเอกชน เช่น ท้องถิ่น บริษัท ห้างร้าน NGO เป็นต้น เพื่อสนับสนุนกิจกรรม การป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในสถานศึกษา 4. พิจารณาสรรหาบุคลากรเพิ่มเติมในการดูแลนักเรียนและการจัดการ สิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา จากแนวทางปฏิบัติดังกล่าวสถานศึกษาทุกแห่งทุกพื้นที่ได้นำหลักการไปกำหนด เป็นนวัตกรรมสถานศึกษาเป็นข้อปฏิบัติบางพื้นที่เรียกว่า Learning Box, Smart School, Smart Teacher, Smile Student, New Normal learning, พื้นที่การเรียนรู้Learning Space, Learning Commons พื้นที่เรียนรู้ไร้กำแพง พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา (Education Sandbox) เป็นต้น โดยมีเป้าหมายเหมือนกันคือแหล่งการพัฒนาผู้เรียนในสถานการณ์ ปัจจุบัน