186 178 ภาพที่ 5.4 ประยุกต์พุทธนวัตกรรมการสอนโดยเน้นการมีส่วนร่วมในการโต้ตอบคำถาม ของลัทธิความเชื่อของพวกเดียรถีย์พบทางพ้นทุกข์ ที่มา: สรุปมาจากพระไตรปิฎก (ม.ม. (แปล) 12/164/166) ประยุกต์ไปสู่การสอนใน ศตวรรษที่ 21 โดยสังเคราะห์ของผู้เขียน (2564) 2. เรื่องธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส พระสูตรนี้การเรียนรู้ด้วยตนเอง พระผู้มีพระ ภาคทรงแสดงแก่ท่านมหาจุนทะ ที่ทูลถามเรื่องทิฏฐิและการสลัดทิ้งทิฏฐิ ขณะประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี พระมหาจุนทะถามว่า “มีทิฏฐิทั้งหลายในโลกนี้ที่เกี่ยวกับอัตตวาทะ (ลัทธิที่ถือว่า มีอัตตา เช่น พิจารณาเห็นขันธ์ 5 ว่า เป็นอัตตา) บ้าง ที่เกี่ยวกับโลกวาทะ (ลัทธิที่ถือว่า อัตตาและโลกเที่ยง) บ้าง เมื่อภิกษุมนสิการเพียงเบื้องต้นก็ละทิ้งทิฏฐิเหล่านั้นได้อย่างนั้น หรือ”22 พระผู้มีพระภาคตอบว่า เมื่อภิกษุพิจารณาเห็นอารมณ์ที่เกิดขึ้น เป็นที่หมักหมม (หรือนอนเนื่องอยู่ในจิต) และเป็นที่ท่องเที่ยว (คือปรากฏตัวออกมาทางวาจาและการ กระทำ) ตามความจริงด้วยปัญญาอันชอบว่า “นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ อัตตาของเรา” ก็สามารถสลัดทิ้งทิฏฐิเหล่านั้นได้23 พระพุทธองค์ชี้ให้เห็นปัญหา และข้อปฏิบัติธรรมเพื่อเป็นเครื่องขัดเกลากิเลส นอกจากนั้นทรงชี้นำถึงอุบายเพื่อความดับสนิทของกิเลส ทรงเปรียบเทียบให้เห็นแนวทาง ปฏิบัติธรรมอย่างชัดเจน สุดท้ายพระพุทธองค์ทรงสรุปว่า “จุนทะ นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง 22ดูรายละเอียดใน ม.ม. (แปล) 12/81/70. 23ดูรายละเอียดใน ม.ม.(แปล) 12/82/90. • พระพุทธเจ้าสอนให้ละกาม รูป เวทนา • แตกต่างระหว่างพุทธกับความเชื่อพวก เขาอย่างไร ค าถามความเชื่อ กลุ่มเดียรถีย์ • ทรงแนะน าการโต้ตอบค าถาม • ได้พบทางพ้นทุกข์ของพวกเดียรถีย์ พระพุทธองค์ทรง แนะการตอบกับภิกษุ ยอมรับคำสอนพุทธ ศาสนาได้พบทาง พ้นทุกข์เกิดปัญญา เข้าใจความจริง
187 179 เธอทั้งหมดจงพึงพินิจเถิด อย่าประมาท อย่าให้เดือดร้อนในภายหลังเลย นี้เป็นคำสอนของ เราสำหรับเธอทั้งหลาย”24 สรุปพุทธนวัตกรรมการสอนของพระพุทธเจ้าทรงตอบคำถามพระมหาจุนทะว่า “มีทิฏฐิทั้งหลายในโลกนี้ที่เกี่ยวกับอัตตวาทะ (ลัทธิที่ถือว่ามีอัตตา เช่น พิจารณาเห็นขันธ์ 5 ว่า เป็นอัตตา) บ้าง ที่เกี่ยวกับโลกวาทะ (ลัทธิที่ถือว่า อัตตาและโลกเที่ยง) บ้าง เมื่อภิกษุ มนสิการเพียงเบื้องต้นก็ละทิ้งทิฏฐิเหล่านั้นได้อย่างนั้นหรือ” พระผู้มีพระภาคตอบว่า เมื่อ ภิกษุพิจารณาเห็นอารมณ์ที่เกิดขึ้น เป็นที่หมักหมม (หรือนอนเนื่องอยู่ในจิต) และเป็นที่ ท่องเที่ยว (คือปรากฏตัวออกมาทางวาจาและการกระทำ) ตามความจริงด้วยปัญญาอัน ชอบว่า “นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา” ก็สามารถสลัดทิ้งทิฏฐิ เหล่านั้นได้ นอกจากนี้ยังทรงแสดงทางหลีกเลี่ยงความชั่ว และอุบายเพื่อความดับสนิทแห่ง กิเลสอีกอย่างละ 44 ประการ ตรัสจบแล้ว รับสั่งให้ท่านพระมหาจุนทะไปนั่งในที่สงัด พิจารณาหลักธรรมที่ตรัสไว้ทั้งหมด ทรงเน้นว่า “นี้เป็นคำพร่ำสอนของเราสำหรับเธอ ทั้งหลาย” นี้คือทางพ้นทุกข์ จากกรณีตัวอย่างข้างต้นสามารถนำไปประยุกต์การสอนในสถานการณ์การ เปลี่ยนแปลงดังภาพต่อไปนี้ ภาพที่ 5.5 ประยุกต์พุทธนวัตกรรมการสอนโดยเน้นการร่วมมือกันปฏิบัติขัดเกล้ากิเลสให้ ให้สามารถปัญหาได้ ที่มา: สรุปมาจากพระไตรปิฎก (ม.ม. (แปล) 12/81/70) ประยุกต์ไปสู่การสอนในศตวรรษ ที่ 21 โดยสังเคราะห์ของผู้เขียน (2564) 24ดูรายละเอียดใน ม.ม. (แปล) 12/88/81. ปัญหาผู้เรียน ความคิดที่ไม่ถูก ปัญหา ท าอย่างไรให้แก้ ปัญหาได้ ผู้สอนแนะน า ชี้แนะทางปฏิบัติ ได้แนวทางปฏิบัติ พบทางปฏิบัติที่ถูกต้อง
188 180 3. เรื่องทายาทแห่งธรรมโดยการเรียนรู้ด้วยความอดทน พระผู้มีพระภาคทรงแสดง แก่ภิกษุทั้งหลาย ขณะประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสา วัตถี โดยทรงปรารภลาภสักการะเป็นอันมากที่เกิดขึ้นแด่พระองค์และภิกษุสงฆ์ในขณะนั้น ว่า จะเป็นเหตุให้ภิกษุบางพวกยึดติดในลาภสักการะเหล่านั้น ทรงยกกรณีพระภิกษุสององค์ เฝ้าพระพุทธเจ้าเลยเวลาฉันแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงสอนให้ภิกษุทั้งหลายเป็นธรรมทายาทของพระองค์ ไม่ให้เป็น อามิสทายาทของพระองค์ ทรงให้เหตุผลว่า ถ้าภิกษุทั้งหลายเป็นอามิสทายาท จะถูกวิญญู ชนติเตียนได้ แต่ถ้าภิกษุทั้งหลายเป็นธรรมทายาท วิญญูชนจะยกย่องสรรเสริญ ทรงอุปมา ให้ฟังว่า ถ้าพระองค์เสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว แต่พระกระยาหารของพระองค์ยัง เหลืออยู่ พอดีมีภิกษุ 2 รูปมาเฝ้า และกำลังหิวจัด พระองค์อนุญาตให้ภิกษุทั้งสอง ฉันพระ กระยาหารนั้นได้ตามต้องการ แต่ถ้าไม่ต้องการ พระองค์จะทรงทิ้ง ภิกษุรูปหนึ่งไม่ยอมฉัน เพราะคิดถึงพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายลงเป็นธรรม ทายาทของเรา อย่าเป็นอามิสทายาทของเรา” จึงยอมหิวไปตลอดคืน แต่อีกรูปหนึ่งฉัน เพราะต้องการบรรเทาความหิว ทรงสรุปว่า พระองค์ทรงสรรเสริญภิกษุผู้ไม่ยอมฉัน ทั้ง ๆ ที่หิวจัด เพราะการกระทำเช่นนั้นจะเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย สันโดษ ขัดเกลา เลี้ยง ง่าย เป็นผู้มีความเพียร25 พระสูตรนี้พระพุทธองค์มีพระประสงค์ เพื่อจะทรงชมเชยบุคคล ผู้เป็นธรรมทายาท ทรงดำเนินอามิสทายาท เป็นคำสอนที่ทรงให้เหตุผลในการคิดด้วยตนเองพระพุทธองค์ทรง ใช้เหตุการณ์จริงสอนภิกษุ เพื่อพิสูจน์จิตของภิกษุที่กำลังหิวว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราเป็นผู้ฉัน แล้ว ห้ามภัตเรียบร้อยแล้ว สิ้นสุดภัตกิจ มีความสุขตามความต้องการแล้ว แต่บิณฑบาตนี้ที่ เหลือของเราจะต้องทิ้ง หากเธอทั้งหลายประสงค์ก็จงฉันเถิด หากเราทั้งหลายจะไม่ฉันบัดนี้ เราจะทิ้งลงบนพื้นที่ปราศจากของมดเขียวหรือเทลงในน้ำที่ปราศจากสัตว์”26 สรุปการสอนในพระสูตรนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางการร่วมกันปฏิบัติให้ เป็นธรรมทายาทไม่ให้เป็นอามิสธรรมกรณีพระภิกษุสององค์เฝ้าพระพุทธเจ้าเลยเวลาฉัน แล้ว พระพุทธองค์ทรงลองใจว่า ถ้าเธอต้องการฉันอาหารมีให้คิดเองว่าจะปฏิบัติตนอย่างไร พบว่า องค์หนึ่งฉันและอีกองค์ไม่ยอมฉันเพราะเวลาล่วงเลยแล้วเพื่อรักษาพระวินัยให้ เคร่งครัด ดังภาพที่ปรากฏต่อไปนี้ 25ดูรายละเอียดใน ม.ม. (แปล) 12/30/27. 26ดูรายละเอียดใน ม.ม. (แปล) 12/30/27.
189 181 ภาพที่ 5.6 ประยุกต์พุทธนวัตกรรมการสอนโดยเน้นการปฏิบัติด้วยตนเอง คิดได้ด้วยตนเอง บนพื้นฐานพระวินัย ที่มา: สรุปมาจากพระไตรปิฎก(ม.ม. (แปล) 12/30/27)ประยุกต์ไปสู่การสอนในศตวรรษ ที่ 21โดยสังเคราะห์ของผู้เขียน (2564) 4. เรื่องคนเลี้ยงโคสูตรใหม่ โดยการเรียนรู้ด้วยการหลักกตัญญูพระผู้มีพระภาค ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ขณะประทับอยู่ ณ พระ เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก เศรษฐี โดยทรงปรารภความเจริญงอกงามไพบูลย์ในพระศาสนาของภิกษุทั้งหลาย พระผู้มี พระภาคทรงเปรียบเทียบให้พระภิกษุทั้งหลายฟังดังนี้ 1) คนเลี้ยงโคผู้ไม่ฉลาด เพราะขาดองค์คุณ 11 ประการ จะไม่สามารถเลี้ยงโค ให้เจริญ ให้มีจำนวนเพิ่มขึ้นได้ ฉันใด ภิกษุผู้ไม่ฉลาด เพราะขาดองค์คุณ 11 ประการ จะไม่ เจริญงอกงามไพบูลย์ในพระศาสนานี้ ฉันนั้น27 2) คนเลี้ยงโคผู้ฉลาด เพราะมีองค์คุณ 11 ประการ จะสามารถเลี้ยงโคให้เจริญ ให้มีจำนวนเพิ่มขึ้นได้ ฉันใด ภิกษุผู้ฉลาด เพราะมีองค์คุณ 11 ประการ จะเจริญงอกงาม ไพบูลย์ในศาสนานี้ ฉันนั้น28 องค์คุณ 11 ประการของคนเลี้ยงโคคือ 1. รู้จักรูปโค คือ รู้ว่า โคของคนมีจำนวนเท่าไหร่มีสีอะไร 2. ฉลาดในลักษณะโค คือรู้ลักษณะดี-ชั้ว ของโค ชนิด หรือประเภทของโค 3. กำจัดไข่ขาง คือ รู้วิธีรักษาแผลของโคมิให้มีไข่ขางของแมลงวันอยู่ในแผล 4. ปกปิดแผล คือ รู้จักวิธีรักษาและป้องกันแผล 27ดูรายละเอียดใน ม.ม. (แปล) 12/346/376. 28ดูรายละเอียดใน ม.ม. (แปล) 12/348/380. พระเลยเวลาฉันเพล พระองค์ลองใจว่าอาหาร มีถ้าต้องการ องค์หนึ่งฉัน อีกองค์ไม่ ฉัน สถานการณ์ พระสารีบุตร อธิบาย ต้องเป็นธรรม ทายาท อย่าเป็นมิสธรรม เห็นแก่ปากท้อง พระพุทธองค์
190 182 5. สุมไฟ คือ คอยสุมไฟให้มีควันไล่ยุงขณะโคอยู่ในคอก 6. รู้จักท่าน้ำ คือ รู้จักลักษณะของท่าน้ำที่โคจะลงไปดื่มน้ำว่าท่าไหนเรียบ สม่ำเสมอ ท่าไหนขรุขระ 7. รู้ว่าโคดื่มน้ำแล้ว คือ รู้ว่าโคดื่มน้ำแล้วหรือไม่ เพื่อกำหนดเวลานำโคไป ท่าน้ำได้ถูกที่ถูกเวลา 8. รู้จักทาง คือ รู้ว่าทางไหนเรียบเสมอหรือขรุขระ ทางไหนมีอันตราย ไม่มี อันตราย 9. ฉลาดในที่หากิน คือ รู้จักสถานที่เลี้ยงโคที่มีหญ้า โดยกำหนดไว้ล้วงหน้าว่า วันไหนไปที่ไหน โดยมิให้ซ้ำกัน โดยเว้นระยะให้หญ้าแตกใบใหญ่ 10. รีดนมให้เหลือ คือ ไม่รีดนมจนหมด ในแต่ละครั้งจะต้องเหลือไว้ให้ลูกโค บ้างโดยกำหนดว่า โคตัวไหนมีลูกขนาดไหน และกะประมาณให้ถูกว่า ลูกโคขนาดนั้นจะดื่ม นมวันละเท่าไร เพื่อจะรีดนมให้เหลือไว้พอดี 11. บูชาโคที่เป็นพ่อโค เป็นจ่าฝูงโดยการบูชายิ่ง คือ เลี้ยงดูโคจ่าฝูงอย่างดี เป็นพิเศษเพื่อให้เป็นผู้นำฝูงที่ดีต่อไป เมื่อหลักการดังกล่าวมาเปรียบเทียบกับหลักปฏิบัติองค์คุณ 11 ประการของภิกษุ คือ 1. รู้จักรูป คือ รู้จักมหาภูตรูป 4 อุปาทายรูป 24 2. ฉลาดในลักษณะ คือ รู้จักลักษณะคนพาลและบัณฑิต 3. กำจัดไข่ขาง คือ ละ บรรเทา ทำให้อกุศลวิตกหมดสิ้นไป 4. ปกปิดแผล คือ สำรวมอินทรีย์ 6 มิให้เกิดขึ้น 5. สุมไฟ คือ แสดงธรรมที่เล่าเรียนมาดีแล้วให้ผู้อื่นฟังโดยพิสดาร 6. รู้จักท่าน้ำ คือ รู้จักเข้าไปหาภิกษุผู้เชี่ยวชาญในธรรมและวินัย เพื่อศึกษา หาความรู้ต่อไป 7. รู้จักธรรมที่ดื่มแล้ว คือ รู้อรรถรู้ธรรม (รู้เหตุรู้ผล) เมื่อฟังธรรมจากผู้อื่น 8. รู้จักทาง คือ รู้จักอริยมรรคมีองค์ 8 9. ฉลาดในโคจร คือ รู้จักสติปัฏฐาน4 10. รีดนมให้เหลือ คือ รู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร 11. บูชาภิกษุผู้เป็นเถระ ทรงสรุปว่า ภิกษุที่ประกอบด้วยองค์คุณ 11 ประการ นี้แล เป็นผู้สามารถถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในพระศาสนานี้29 29ดูรายละเอียดใน ม.ม. (แปล) 12/349/381
191 183 สรุปพุทธนวัตกรรมการสอนในพระสูตรนี้พระพุทธเจ้าทรงสอนภิกษุทั้งหลายนำไป ปฏิบัติโดยยกกรณี คนเลี้ยงโคที่ฉลาดกับไม่ฉลาด 11 ประการเป็นอุปมาอุปไมยเปรียบเทียบ กับการปฏิบัติของภิกษุเป็นข้อปฏิบัติให้เจริญงอกงามในพระพุทธศาสนา เจริญอริยมรรคมี องค์8 นี้เป็นทางแห่งความพ้นทุกข์ ดังภาพต่อไปนี้ ภาพที่ 5.7 ประยุกต์พุทธนวัตกรรมการสอนโดยเน้นการร่วมมือการปฏิบัติตามพระธรรม วินัยของภิกษุทั้งหลายมีจำนวน 11 ข้อ ที่มา: สรุปมาจากพระไตรปิฎก (ม.ม. (แปล) 12/348/380) ประยุกต์ไปสู่การสอนใน ศตวรรษที่ 21 โดยสังเคราะห์ของผู้เขียน (2564) 5. เรื่องฝุ่นติดปลายเล็บ ด้วยการเรียนรู้ด้วยการถามปัญหา สมัยหนึ่งพระผู้มีพระ ภาคประทับอยู่ ณ พระเชตะวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้ใช้ปลายพระนขาช้อนฝุ่นขึ้นมาเล็กน้อย แล้วรับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมา ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ ฝุ่นเพียงเล็กน้อยที่ เราใช้ปลายเล็บช้อนขึ้นมานี้ก็ดี แผ่ดินใหญ่นี้ก็ดี อย่างไรจะมากกว่ากัน” “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แผ่นดินใหญ่นี้แหละมีมากกว่า ส่วนฝุ่นที่พระองค์ทรงใช้ ปลายพระนขาช้อนขึ้นมามีเพียงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับแผ่นดินใหญ่แล้ว ฝุ่นที่พระองค์ใช้ ปลายพระนขาช้อนขึ้นมีเพียงเล็กน้อยไม่ถึงเศษหนึ่งส่วน 100 ไม่ถึงเศษหนึ่งส่วน 1,000 ไม่ถึงเศษหนึ่งส่วน 100,000” “พระภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น ความทุกข์ที่หมดสิ้นไปของ บุคคลผู้เป็นอริยสาวกผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ผู้รู้แจ้ง นี้และมีมากกว่า ส่วนความทุกข์ที่เหลือมี ประมาณน้อย เมื่อเทียบกับกองทุกข์ที่หมดสิ้นไปซึ่งมีในก่อน ความทุกข์ที่ได้รับมากมายใน 7 อัตภาพ มีประมาณน้อยไม่ถึงเศษหนึ่งส่วน 100 ไม่ถึงเศษหนึ่งส่วน 1,000 ไม่ถึงเศษหนึ่ง • คนเลี้ยงโคที่ไม่ฉลาด กรณีตัวอย่างคนเลี้ยงโค • คนเลี้ยงโคที่ฉลาด รู้หลัก 11 ข้อ • รู้หลักปฏิบัติตามหลัก 11 ข้อ • ได้แนวทางปฏิบัติด้วยตนเองตามมรรคมี องค์ 8 การปฏิบัติของภิกษุ แนวทางการปฏิบัติ ร่วมมือลงมือทำเพื่อ ความเจริญงอกงามของ ตน 183 สรุปพุทธนวัตกรรมการสอนในพระสูตรนี้พระพุทธเจ้าทรงสอนภิกษุทั้งหลายนำไป ปฏิบัติโดยยกกรณี คนเลี้ยงโคที่ฉลาดกับไม่ฉลาด 11 ประการเป็นอุปมาอุปไมยเปรียบเทียบ กับการปฏิบัติของภิกษุเป็นข้อปฏิบัติให้เจริญงอกงามในพระพุทธศาสนา เจริญอริยมรรคมี องค์8 นี้เป็นทางแห่งความพ้นทุกข์ ดังภาพต่อไปนี้ ภาพที่ 5.7 ประยุกต์พุทธนวัตกรรมการสอนโดยเน้นการร่วมมือการปฏิบัติตามพระธรรม วินัยของภิกษุทั้งหลายมีจำนวน 11 ข้อ ที่มา: สรุปมาจากพระไตรปิฎก (ม.ม. (แปล) 12/348/380) ประยุกต์ไปสู่การสอนใน ศตวรรษที่ 21 โดยสังเคราะห์ของผู้เขียน (2564) 5. เรื่องฝุ่นติดปลายเล็บ ด้วยการเรียนรู้ด้วยการถามปัญหา สมัยหนึ่งพระผู้มีพระ ภาคประทับอยู่ ณ พระเชตะวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้ใช้ปลายพระนขาช้อนฝุ่นขึ้นมาเล็กน้อย แล้วรับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมา ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ ฝุ่นเพียงเล็กน้อยที่ เราใช้ปลายเล็บช้อนขึ้นมานี้ก็ดี แผ่ดินใหญ่นี้ก็ดี อย่างไรจะมากกว่ากัน” “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แผ่นดินใหญ่นี้แหละมีมากกว่า ส่วนฝุ่นที่พระองค์ทรงใช้ ปลายพระนขาช้อนขึ้นมามีเพียงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับแผ่นดินใหญ่แล้ว ฝุ่นที่พระองค์ใช้ ปลายพระนขาช้อนขึ้นมีเพียงเล็กน้อยไม่ถึงเศษหนึ่งส่วน 100 ไม่ถึงเศษหนึ่งส่วน 1,000 ไม่ถึงเศษหนึ่งส่วน 100,000” “พระภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น ความทุกข์ที่หมดสิ้นไปของ บุคคลผู้เป็นอริยสาวกผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ผู้รู้แจ้ง นี้และมีมากกว่า ส่วนความทุกข์ที่เหลือมี ประมาณน้อย เมื่อเทียบกับกองทุกข์ที่หมดสิ้นไปซึ่งมีในก่อน ความทุกข์ที่ได้รับมากมายใน 7 อัตภาพ มีประมาณน้อยไม่ถึงเศษหนึ่งส่วน 100 ไม่ถึงเศษหนึ่งส่วน 1,000 ไม่ถึงเศษหนึ่ง • คนเลี้ยงโคที่ไม่ฉลาด กรณีตัวอย่างคนเลี้ยงโค • คนเลี้ยงโคที่ฉลาด รู้หลัก 11 ข้อ • รู้หลักปฏิบัติตามหลัก 11 ข้อ • ได้แนวทางปฏิบัติด้วยตนเองตามมรรคมี องค์ 8 การปฏิบัติของภิกษุ แนวทางการปฏิบัติ ร่วมมือลงมือทำเพื่อ ความเจริญงอกงามของ ตน
192 184 ส่วน 100,000 การตรัสรู้ธรรมมีประโยชน์ยิ่งใหญ่อย่างนี้ การได้ธรรมจักษุมีประโยชน์ ยิ่งใหญ่อย่างนี้”30 สรุปพุทธนวัตกรรมการสอนในพระสูตรนี้พระพุทธเจ้าทรงสอนเปรียบเทียบฝุ่น ปลายเล็บกับแผ่นดินอุปมาอุปมัยให้เห็นความทุกข์ของพระอริยสงฆ์นั้นมีน้อยให้ภิกษุมี ส่วนร่วมในการเรียนรู้ด้วยการสนทนา พระพุทธองค์ทรงอธิบายชี้แนวทางปฏิบัติที่ถูกต้อง ดังภาพต่อไปนี้ ภาพที่ 5.8 ประยุกต์พุทธนวัตกรรมการสอนโดยเน้นการปฏิบัติด้วยตนเองดังกรณีพระอริย สาวกด้วยการตั้งคำถามดูแบบอย่างนำไปสู่การปฏิบัติ ที่มา: สรุปมาจากพระไตรปิฎก (ส .นิ. (แปล) 16/74/161) ประยุกต์ไปสู่การสอนในศตวรรษ ที่ 21 โดยสังเคราะห์ของผู้เขียน (2564) 6. เรื่องกองทุกข์ สุขเล็ก โดยการเรียนรู้ด้วยถามปัญหา พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงแก่เจ้ามหานามะ ขณะประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตกรุงกบิลพัสดุ์ โดยทรงตอบ ข้อสงสัยในธรรมของเจ้ามหานามะ เหตุเกิดของพระสูตรนี้จัดอยู่ในประเภท ปุจฉาวสิกะ เจ้ามหานามะกราบทูลว่า พระองค์ทรงรู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง ไว้ว่า โลภะ โทสะ และโมหะ เป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต แต่ก็ทรงรู้สึกว่าบางคราวยังถูก โลภะบ้าง โทสะบ้าง และโมหะบ้าง ครอบงำพระทัยของพระองค์จึงทูลถามพระผู้มีพระภาค 30ดูรายละเอียดใน ส .นิ. (แปล) 16/74/161. ตั้งค าถาม ใช้ฝุ่นปลายเล็บ ทุกข์ของพระ อริยสาวก รู้อริยสัจ พระอริยสาวก ทุกข์น้อย หมดทุกข์แล้ว ภิกษุทั้งหลาย ไม่ประมาท ภิกษุทั้งหลายจงปฏิบัติ ด้วยตนเอง รู้ชัดในหลัก อริสัจ4
193 185 ว่าธรรมอะไรเล่าที่พระองค์ยังละไม่ได้ภายใน ซึ่งเป็นเหตุให้โลภะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ครอบงำพระทัยของพระองค์เป็นบางครั้งบางคราว31 พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า ธรรมที่เจ้ามหานามะยังทรงละไม่ได้ คือ ธรรม ภายใน ถ้าทรงละได้ จะไม่ทรงครองเรือน ไม่ทรงบริโภคกาม แต่เพราะยังทรงละไม่ได้ เจ้ามหานามะจึงยังทรงครองเรื่องยังคงบริโภคกามอยู่32 พระผู้มีพระภาคทรงอธิบายว่า ถึงอริยสาวกเห็นตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอัน ชอบว่า “กามทั้งหลายมีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่”33 แม้เป็นผู้ปราศจากกามทั้งหลายและปราศจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว แต่ถ้ายังไม่บรรลุถึง ปีติและสุขหรึออกุศลธรรมอื่นที่สงบกว่าฌานทั้งสองนั้น ก็ยังต้องเวียนกลับมาหากาม ทั้งหลายอย่างแน่นอน จากนั้นทรงเล่าเรื่องการปฏิบัติของพระองค์เองตั้งแต่ยังทรงเป็นพระโพธิสัตว์ก่อน ตรัสรู้ให้เจ้ามหานามะทรงสดับ กล่าวโดยสรุป ทรงแสดงถึงคุณแห่งกามและโทษแห่งกาม ทั้งหลาย เหมือนที่ตรัสไว้ในทุกขักขันธสูตร ส่วนการสดับออกจากกามทั้งหลาย ทรงเล่า เรื่องการสนทนาเรื่องความเชื่อและการปฏิบัติวัตรตามลัทธินิครนถ์ ซึ่งพระองค์ทรงพิสูจน์ ให้คู่สนทนาคือนักบวชพวกหนึ่งในลัทธินิครนถ์เข้าใจว่า พวกนิครนถ์ไม่รู้ทุกข์ ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ และทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอย่างแท้จริง การปฏิบัติวัตรเช่นนั้นจึงไม่ได้ผลอะไร เมื่อพวกเขาทูลถามว่าพระองค์กับพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ ใครมีความสุขยิ่งกว่า ก็ทรงพิสูจน์ให้พวกเขาเข้าใจและยอมรับว่าพระองค์ทรงมีความสุขยิ่งกว่า โดยทรงอ้าง ความสุขในผลสมาบัติว่าพระองค์ทรงสามารถประทับนั่งนิ่งเสวยปีติและสุขได้นานถึง 7 วัน 7 คืน โดยมิได้เปลี่ยนอิริยาบถ แต่พระเจ้าพิมพิสารทรงทำไม่ได้34 สรุปการสอนในพระสูตรนี้เพื่อแนะนำการปฏิบัติเจ้ามหานามะในการละอกุศลธรรม คือ ละโลภละโกรธและละความหลง ด้วยการยกตัวอย่างพระองค์เองสมัยเป็นโพธิสัตว์ยัง มิได้ตรัสรู้ก็มีความคิดอย่างนั้น มาเป็นตัวอย่างประกอบ การอธิบายให้มหานามะเข้าใจง่าย ขึ้น และเกิดกำลังใจในการปฏิบัติธรรม หายข้อสงสัยในคำสอนพร้อมปฏิบัติธรรมดังภาพ ต่อไปนี้ 31ดูรายละเอียดใน ม.ม. (แปล) 12/175/177 32ดูรายละเอียดใน ม.ม. (แปล) 12/176/177. 33ดูรายละเอียดใน ม.ม. (แปล) 12/177/177. 34ดูรายละเอียดใน ม.ม. (แปล) 12/178-179/178-185.
194 186 ภาพที่ 5.9 ประยุกต์พุทธนวัตกรรมการสอนโดยการตั้งข้อปฏิบัติสำหรับฆราวาส ยกกรณี เจ้ามหานามะ มุ่งพัฒนาจิตใจ จากระดับปุถุชนให้พัฒนาขึ้นถึงระดับอริยบุคคลเหมาะสำหรับ ผู้ปฏิบัติธรรมทั่วไป ที่มา: สรุปมาจากพระไตรปิฎก (ม.ม. (แปล) 12/178-179/178-185) ประยุกต์ไปสู่การสอน ในศตวรรษที่21โดยสังเคราะห์ของผู้เขียน (2564) 7. เรื่อง ความขลาดกลัว โดยการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติ/การคิดด้วยตนเอง ซึ่งพระ สูตรนี้ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแก่ชาณุสโสณิพราหมณ์ ขณะประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี เหตุเกิดของพระสูตรนี้ จัดอยู่ในประเภท ปุจฉาวสิกะ คือทรงแสดงเพื่อตอบปัญหาของผู้ถาม ชาณุสโสณิพราหมณ์ทูลถามว่า “กุลบุตรทั้งหลายออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เจาะจงท่านโคดม ท่านพระโคดมเป็นหัวหน้าของกุลบุตรเหล่านั้น ทรงมีอุปการะ แนะนำให้ ทำตาม และชุมชนนั้นก็ถือปฏิบัติตามแบบอย่างท่านพระโคดมหรือ” พระผู้มีพระภาคทรง รับว่า เป็นเช่นนั้น ชาณุสโสณิกราบทูลว่า เสนาสนะป่าอยู่ลำบาก ทำให้สงบได้ยาก ในการอยู่โดดเดี่ยว ก็หาความรื่นรมได้ยาก ป่าทั้งหลายมักจะชักนำจิตของภิกษุผู้ไม่ได้สมาธิให้เกิดความ หวาดหวั่นได้35 พระผู้ทีพระภาคทรงรับว่า ในสมัยที่พระองค์ยังไม่ได้ตรัสรู้ ก็ทรงเห็นอย่างนั้น แล้ว ทรงอธิบายเหตุสะดุ้งกลัวการอยู่ในเสนาสนะป่า 10 ประการ ของสมณพราหมณ์พวกอื่น เปรียบเทียบกับเหตุไม่สะดุ้งกลัวการอยู่ในเสนาสนะป่าของพระองค์ และพระอริยทั้งหลาย มีใจความดังนี้ 35ดูรายละเอียดใน ม.ม. (แปล) 12/34/33. • ชี้แนะแนวทาง ปฏิบัติธรรม • หายข้อสงสัยพบหลักการ ปฏิบัติขด้วยตนเอง • สมัยเป็นพระ โพธิสัตว์ • กรณีเจ้ามหา นามะ ข้อสงสัย การปฏิบัติ ธรรม ยกกรณี พระองค์ ทรงอธิบาย หลักการปฏิบัติ ละโลภ โกรธ หลง พบทาง ปฏิบัติแบบ ฆราวาส
195 187 สมณพราหมณ์พวกอื่นสะดุ้งกลัวเพราะ (1) มีกายกรรมไม่บริสุทธิ์ (2) มีวจีกรรมไม่ บริสุทธิ์ (3) มีมโนกรรมไม่บริสุทธิ์ (4) มีอาชีพไม่บริสุทธิ์ (5) มีปกติเพ่งเล้งอยากได้ของของ ผู้อื่น (6) มีจิตวิบัติ คิดชั่วร้าย (7) มีจิตถูกถีนมิทธะ (ความหดหู่และความเซื่องซึม) กลุ้มรม (8) เป็นผู้ฟุ้งว่าน จิตไม่สงบ (9) เป็นผู้เคลือบแคลงสงสัย (10) เป็นผู้ยกตนข่มผู้อื่น (11) เป็นผู้มักขลาดมักกลัว (12) ปรารถนาลาภสักการะ (13) เป็นผู้เกียจคร้าน ไม่มีความ เพียร (14) เป็นผู้ขาดสติสัมปชัญญะ (หลงลืม) (15) มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตตกวัดแกว่ง (16) เป็น คนโง่เขลาเบาปัญญา ส่วนพระองค์และพระอริยทั้งหลายไม่สะดุ้งกลัวการอยู่ในเสนาสนะป่า เพราะเหตุ 16 ประการมีนัยตรงกันข้าม36 ทรงอธิบายต่อไปว่า ขณะที่พระองค์ไม่ได้ตรัสรู้ ทรงเลือกการอยู่ในเสนาสนะป่า และเมื่อความกลัวความขลาดเกิดขึ้นในขณะที่ทรงอยู่ในอิริยาบถใดก็ทรงพิจารณากำจัด ความกลัวความขลาดให้หมดไปในอิริยาบถนั้น เช่น เกิดขึ้นในขณะจงกรม ก็ทรงกำจัดให้ หมดไปขณะจงกรมนั้นเอง ไม่ทรงเปลี่ยนอิริยาบถจนกว่าจะทรงกำจัดได้ แล้วทรงบำเพ็ญ เพียรต่อไปจนได้ฌาน 4 และวิชชา 3 ตามลำดับ แม้หลังจากได้ตรัสรู้แล้ว พระองค์ก็ยังทรง อยู่ในเสนาสนะป่าเป็นประจำ ทรงให้เหตุผลว่า ไม่ใช่เพื่อกำจัดความกลัวความขลาด แต่เพราะทรงเห็นอำนาจประโยชน์ 2 ประการ คือ (1) เพื่อการอยู่เป็นสุขในปัจจุบันของ พระองค์ (2) เพื่อการอนุเคราะห์ชนรุ่นหลัง (ให้ถือปฏิบัติตาม)37 พระพุทธองค์ทรงสอนว่า“สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งขาดสติสัมปชัญญะ (ความระลึกได้และความรู้สึกตัว) เข้าอาศัยเสนาสนะ อันเงียบสงัดคือป่าโปร่งและป่าทึบ สมณะหรือพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ยอมประสบความกล้าและความขลาดอันเป็นอกุศล ธรรม เพราะเหตุแห่งโทษของตนคือความเป็นผู้ขลาดสติสัมปชัญญะ ส่วนเรามิใช่เป็นผู้ขลาด สติสัมปชัญญะ เข้าอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัดคือ ป่าโปร่งและป่าทึบ เราเป็นผู้มีสติมั่นคง พระอริยเหล่าใดเป็นผู้มีสติมั่นคง เข้าอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัดคือ ป่าโปร่งและป่าทึบ เราเป็นผู้หนึ่งในพระอริยะเหล่านั้น”38 สรุปพุทธนวัตกรรมการสอนในพระสูตรนี้พระพุทธองค์ทรงสอนเพื่อชี้แนะแนว ทางการปฏิบัติกับชาณุสโสณิพราหมณ์ว่าเสนาสนะป่าอยู่ลำบาก ทำให้สงบได้ยาก ในการ อยู่โดดเดี่ยว ก็หาความรื่นรมได้ยาก ป่าทั้งหลายมักจะชักนำจิตของภิกษุผู้ไม่ได้สมาธิให้เกิด ความหวาดหวั่นได้ทรงอธิบายต่อไปว่า ขณะที่พระองค์ยังไม่ได้ตรัสรู้ ทรงเลือกการอยู่ใน เสนาสนะป่า และเมื่อความกลัวความขลาดเกิดขึ้นในขณะที่ทรงอยู่ในอิริยาบถใดก็ทรง 36ดูรายละเอียดใน ม.ม. (แปล) 12/35/34. 37ดูรายละเอียดใน ม.ม. (แปล) 12/55/43. 38ดูรายละเอียดใน ม.ม. (แปล) 12/46/39.
196 188 พิจารณากำจัดความกลัวความขลาดให้หมดไปในอิริยาบถนั้น เช่น เกิดขึ้นในขณะจงกรม ก็ทรงกำจัดให้หมดไปขณะจงกรมนั้นเอง ไม่ทรงเปลี่ยนอิริยาบถจนกว่าจะทรงกำจัดได้และ เหตุให้สะดุ้งกลัวการอยู่ในเสนาสนะป่า 10 ประการและเหตุความกลัวอยู่ป่าเพราะความไม่ บริสุทธิ์ 16 ประการ และสนทนาถาม ตอบจนได้แนวทางปฏิบัติ ดังภาพต่อไปนี้ ภาพที่ 5.10 ประยุกต์พุทธนวัตกรรมการสอนโดยเน้นข้อปฏิบัติตนในการอยู่ป่าเมื่อเกิดการ กลัวต้องรักษากาย วาจา ให้บริสุทธิ์สำหรับฝึกสมาธิ โดยพระพุทธองค์ทรงยกตัวอย่าง พระองค์เองสมัยยังไม่ได้ตรัสรู้ให้เป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับการกำจัดความกลัวเมื่ออยู่ป่า ที่มา: สรุปมาจากพระไตรปิฎก (ม.ม. (แปล) 12/35/34) ประยุกต์ไปสู่การสอนในศตวรรษ ที่ 21 โดยสังเคราะห์ของผู้เขียน (2564) 8. เรื่อง ปริพาชกชื่อ อุคคาหมานะ สมณมุณฑิกบุตร ซึ่งพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงแก่ช่างไม้ชื่อกังคะ ขณะประทับอยู่ ณ พระเชตวัน เขตกรุงสาวัตถี โดยทรงปรารภ ข้อบัญญัติเรื่องคุณสมบัติของผู้เป็นสมณของอุคคาหมานปริพาชก ซึ่งช่างไม้ชื่อปัญจกังคะ นำเข้าไปกราบทูลให้ทรงทราบ เหตุเกิดของพระสูตรนี้จัดอยู่ในประเภท ปุจฉาวสิกะ ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะเข้าไปหาอุคาหมานปริพาชกถึงที่อยู่ อุคคาหมานปริพาชก กล่าวถึงข้อบัญญัติของตนว่า “บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประการ เป็นผู้มีกุศลเพียบพร้อม มีกุศลยอดเยี่ยม เป็นสมณผู้บรรลุธรรมขั้นสูงที่ควรบรรลุ ไม่มีใครสู้วาทะได้” ธรรม 4 ประการคือ 1. ไม่ทำความชั่วทางกาย 2. ไม่กล่าววาจาชั่ว 3. ไม่ดำริความดำริชั่ว 4. ไม่ประกอบอาชีพชั่ว • บอกวิธีปฏิติก าจัด ความกลัว อยู่ป่ า • การก าจัดความกลัวอยู่ป่ า กาย จิต วาจาบรสิทุธิ์ พระองค์ทรงอธิบายทาง ปฏิบัติด้วยตนเอง • เหตุกลัวอยู่ป่า 16 ประการ • กรณีชาณุสโสณิพราหมณ์ สงสัย เหตุเกิด ความอยู่ป่า ทรง ยกตัวอย่าง สมัยยัง ไม่ได้ตรัสรู้ ทรงอธิบาย เปรียบเทียบ ได้แนวทาง ปฏิบัติด้วยการ ท าจิตให้ บริสทุธิ์
197 189 ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะได้นำความนั้นไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค พระองค์ตรัสว่าถ้า เป็นเช่นนั้นจริง เด็กอ่อนที่ไม่รู้จักกาย วาจา ความดำริ และการเลี้ยงชีพ ไม่เคยทำชั่ว ก็จัก เป็นผู้มีกุศลเพียบพร้อม มีกุศลยอดเยี่ยม เป็นสมณะผู้บรรลุธรรมชั้นสูงที่ควรบรรลุ ไม่มีใคร สู้วาทะได้39 พระองค์ไม่ทรงยอมรับการบัญญัติเช่นนั้น แล้วทรงแสดงเสขธรรม (ธรรมสำหรับผู้ เป็นพระเสขะ) และอเสขธรรม (ธรรมของพระอเสขะ) เสขธรรม คือ ควรรู้เรื่องศีล และการดำริ ทั้งฝ่ายกุศลและอกุศลพร้อมทั้งสมุฏฐาน (ที่เกิด) ความดับ และข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งศีลและความดำริ40 อเสขธรรม คือ อเสขธรรม 10 ประการ (เรียกชื่ออีกอย่างว่า สัมมัตตธรรม 10)41 1. สัมมาทิฏฐิ2. สัมมาสังกัปปะ 3. สัมมาวาจา 4. สัมมา กัมมันตะ 5. สัมมาอาชีวะ 6. สัมมาวายามะ 7. สัมมาสติ8. สัมมาสมาธิ9. สัมมาญาณะ 10. สัมมาวิมุตติ สรุปพุทธนวัตกรรมการสอนในพระสูตรนี้พระพุทธเจ้าทรงสอน ช่างไม้ชื่อปัญจกัง คะเข้าไปหาอุคาหมานปริพาชกถึงที่อยู่ อุคคาหมานปริพาชกกล่าวถึงข้อบัญญัติของตนว่า “บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประการ เป็นผู้มีกุศลเพียบพร้อม มีกุศลยอดเยี่ยม เป็นสมณ ผู้บรรลุธรรมขั้นสูงที่ควรบรรลุ ไม่มีใครสู้วาทะได้” พระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธ แล้วทรงแสดง เสขธรรม (ธรรมสำหรับผู้เป็นพระเสขะ) และอเสขธรรม (ธรรมของพระอเสขะ) เสขธรรม คือ ควรรู้เรื่องศีล และการดำริ ทั้งฝ่ายกุศลและอกุศลพร้อมทั้งสมุฏฐาน (ที่เกิด) ความดับ และข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งศีลและความดำริอเสขธรรม คือ อเสขธรรม 10 ประการ (เรียกชื่ออีกอย่างว่า สัมมัตตธรรม10ข้อ ได้แก่1. สัมมาทิฏฐิ2. สัมมาสังกัปปะ 3. สัมมาวาจา 4. สัมมากัมมันตะ 5. สัมมาอาชีวะ 6. สัมมาวายามะ 7. สัมมาสติ8. สัมมาสมาธิ9. สัมมา ญาณะ 10. สัมมาวิมุตติและในที่สุด ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะมีใจยินดีชื่นชมพระภาษิตของ พระผู้มีพระภาค ได้แนวทางในการปฏิบัติธรรมที่ถูกต้อง ดังภาพต่อไปนี้ 39ดูรายละเอียดใน ม.ม. (แปล) 13/261/308. 40ดูรายละเอียดใน ม.ม. (แปล) 13/264/311. 41ดูรายละเอียดใน ม.ม. (แปล) 13/268/316.
198 190 ภาพที่ 5.11 พุทธนวัตกรรมการสอนโดยเน้นข้อปฏิบัติด้วยตนเองตามหลักปฏิบัติที่ถูกต้อง ตามหลักพระพุทธศาสนายกกรณีปัญจกังคะและได้ข้อปฏิบัติที่ถูกต้อง ที่มา: สรุปมาจากพระไตรปิฎก (ม.ม. (แปล) 13/261/308) ประยุกต์ไปสู่การสอนใน ศตวรรษที่21 โดยสังเคราะห์ของผู้เขียน (2564) 9. เรื่องพระราชกุมารพระนามว่า อภัย การเรียนรู้ด้วยการถามปัญหา พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแก่อภัยราชกุมาร ซึ่งรับอาสานิครนถ์นาฏบุตรมาโต้วาทะกับ พระองค์ ขณะประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ เหตุเกิด ของพระสูตรนี้จัดอยู่ในประเภท ปุจฉาวสิกะ นิครนถ์ นาฏบุตรได้ทูลเชิญให้อภัยราชกุมารเข้าไปโต้วาทะกับผู้มีพระภาค โดยเสนอปัญหา 2 เงื่อน คือ ปัญหาว่า “มีบ้างไหม ที่พระตถาคตตรัสวาจาอันไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น” แล้วสอนวิธีต้อนให้จน ดังนี้ - ถ้าพระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “มีบ้าง” ให้ทูลถามว่า “เมื่อเป็นเช่นนั้น การกระทำของพระองค์ก็ไม่ต่างอะไรกับการกระทำของปุถุชน” - ถ้าพระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “มีบ้าง” ให้ทูลถามว่า “เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร พระองค์จึงทรงพยากรพระเทวทัตว่า “เทวทัตจักเกิดในอบาย จักเกิดในนรก จึงอยู่สิ้น 1 กัป เป็นผู้ที่ใคร ๆ เยียวยาไม่ได้” เพราะพระวาจาของพระองค์นั้น ทำให้ พระเทวทัตโกรธ เสียใจ”42 อภัยราชกุมารได้นำปัญหานั้นเข้าไปทูลถามพระผู้มีพระภาค พระองค์ตรัสตอบว่า ปัญหาเช่นนี้ จะวิสัชนาโดยส่วนเดียวไม่ได้ (คือ ใช้เอกังสพยากรณ์ = ตอบแบบยืนยันอย่าง 42ดูรายละเอียดใน ม.ม. (แปล) 13/85/86-87. • เสขธรรม 10ข้อ • อเสขธรรม 10 ข้อ • ข้อปฏิบัติที่ถูกตาม หลักพระพุทธศาสนา • พระพุทธองค์ไม่ เห็นด้วย • อวดว่ามีข้อปฏิบัติ4 ข้อสามารถบรรลุ ธรรมได้ กรณีปัญจกัง คะสงสัย ตั้งค าถาม พระพุทธ องค์ ทรงอธิบาย เปรียบเทียบ ได้ข้อปฏิบัติ ที่ถูกต้อง
199 191 เดียวไม่ได้ ในกรณีนี้ทรงใช้วิภัชชพยากรณ์ = ตอบแบบแยกแยะประเด็น มีทั้งยืนยันและ ปฏิเสธ) แล้วทรงแสดงหลักเกณฑ์การตัดวาจา ของพระองค์ 6 ข้อ คือ 1. วาจาที่ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็น ที่ชอบใจของผู้อื่น ตถาคตไม่กล่าววาจานั้น 2. วาจาที่จริง ที่แท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็น ที่ชอบใจของผู้อื่น ตถาคตไม่กล่าววาจานั้น 3. วาจาที่จริง ที่แท้ และประกอบด้วยประโยชน์ แต่วาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ ชอบใจของผู้อื่น ในข้อนั้น ตถาคตรู้กาลที่จะกล่าววาจานั้น 4. วาจาที่ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่ชอบ ใจของผู้อื่น ตถาคตไม่กล่าววาจานั้น 5. วาจาที่จริง ที่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ ของผู้อื่น ตถาคตไม่กล่าววาจานั้น 6. วาจาที่จริง ที่แท้ ที่ประกอบด้วยประโยชน์ และวาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ ของผู้อื่น ในข้อนั้น43 สรุปพุทธนวัตกรรมการสอนโดยเน้นข้อสงสัยของอภัยราชกุมารในข้อปฏิบัติของ ตนเอง พระพุทธองค์ทรงอธิบายตอบคำถามแบบวิภัชชพยากรณ์ คือ การตอบแบบ แยกแยะประเด็นในที่สุดอภัยราชกุมารได้ข้อปฏิบัติด้วยตนเองยอมรับคำสอนของพระองค์ แสดงตนเป็นอุบาสกตลอดชีวิต ซึ่งดังภาพที่ปรากฏดังนี้ 43ดูรายละเอียดใน ม.ม.(แปล) 13/86/87-88.
200 192 ภาพที่ 5.12 ประยุกต์พุทธนวัตกรรมการสอนโดยการตอบข้อสงสัยของอภัยราชกุมาร ยกกรณีการตอบคำถามแบบสนทนาด้วยหลักวิภัชชวาทคือการแยกแยะประเด็นให้เห็นชัด และถูกต้องจนที่สุดอภัยราชกุมารพอใจชื่นชมแสดงตนเป็นอุบาสกตลอดชีวิต ได้ข้อปฏิบัติ ด้วยตนเอง ที่มา: สรุปมาจากพระไตรปิฎก (ม.ม. (แปล) 13/85/86-87) ประยุกต์ไปสู่การสอนใน ศตวรรษที่21 โดยสังเคราะห์ของผู้เขียน (2564) การสังเคราะห์พุทธนวัตกรรมการสอนโดยให้ผู้เรียนมีส่วนในการเรียนรู้ด้วย ตนเองจากพระสูตรสู่การประยุกต์ใช้ในยุคศตวรรษที่ 21 พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแก่อภัยราชกุมาร ซึ่งรับอาสานิครนถ์นาฏ บุตรมาโต้วาทะกับพระองค์ ขณะประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สามารถสรุปเนื้อหาสาระที่จะ นำไปสู่การประยุกต์สอนในสถานการณ์ปัจจุบันได้เป็นอย่างดีดังนี้ 1. พุทธนวัตกรรมการสอนโดยเน้นข้อสงสัยของอภัยราชกุมาร 2. พระพุทธองค์ทรงอธิบายตอบคำถามแบบวิภัชชพยากรณ์ คือ การตอบแบบ แยกแยะประเด็นให้อภัยราชกุมารได้เข้าใจชัดและถูกต้อง 3. ชี้แนวทางการนำไปปฏิบัติด้วยตนเอง 4. การสื่อสารด้วยวาจาที่เป็นประโยชน์ควรทำอย่างไร 5. การเรียนรู้อย่างมีความสุขในการสนทนาโต้ตอบคำถามระหว่างอภัยราชกุมาร กับพระพุทธเจ้า 6. ประเมินผลการเรียนรู้ด้วยตนเองเกิดความพอใจของผู้เรียน • การกล่าว วาจา ที่เหมาะสม • 6ข้อ ในการตอบค าถามข้อสงสัย .... •ได้แนวทางปฏิบัติที่ ถูกต้องแบบฆราวาส •ตอบข้อสงสัยแบบวิภัช ชวาทแยกแยะประเด็น •อภัยราชกุมารตั้งถาม พระพุทธเจ้า กรณีตอบข้อ สงสัย ทรงอธิบาย แบบสนทนา ทรงยกข้อ ปฏิบัติ 6ข้อ อภัยราชการ ชื่นชม พอใจ
201 193 5.5 สรุปแนวทางการพัฒนาพุทธนวัตกรรมการสอนโดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม ในการเรียนรู้ด้วยตนเอง การพัฒนาพุทธนวัตกรรมการสอนในยุคดิจิทัลต้องอาศัยกรอบนโยบายและ ยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2563 – 257044 โดย อาศัยแพลตฟอร์มซึ่งสามารถสรุปประเด็นการพัฒนากระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมจะมีบทบาทสำคัญเพื่อสนับสนุนให้โจทย์ท้าทายสำคัญของประเทศให้ บรรลุเป้าหมายได้ ดังนี้ 1) การสร้างคน มุ่งเน้นการพัฒนาบุคลากรให้มีคุณภาพ สามารถเรียนรู้ได้ด้วย ตนเองตลอดชีวิต และมีทักษะที่จำเป็นต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ 2) การสร้างองค์ความรู้มุ่งเน้นการวิจัยเพื่อสะสมความรู้เพื่อเป็นการวางรากฐาน สำหรับอนาคต และการพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ไปสู่ขีดความสามารถและความเข้มแข็ง ของประเทศในด้านต่าง ๆ 3) การสร้างนวัตกรรม มุ่งเน้นการบ่มเพาะและพัฒนาขีดความสามารถ ผู้ประกอบ การนวัตกรรม การพัฒนาระบบนิเวศทางนวัตกรรมในด้านต่าง ๆ ให้เอื้อต่อการสร้างและ แปลงนวัตกรรมสู่มูลค่าทางเศรษฐกิจและคุณค่าทางสังคม 4) การปรับบทบาทมหาวิทยาลัย มุ่งเน้นการส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยเป็นฟันเฟือง สำคัญสำหรับการสร้างคน สร้างองค์ความรู้และการสร้างนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ท้าทาย ของประเทศผ่านการปรับเปลี่ยนบทบาทภารกิจกลุ่มมหาวิทยาลัย เปลี่ยนหลักสูตรและ กระบวนการเรียนรู้รวมทั้งจัดระบบและการบริหารจัดการ ดังนั้นผู้บริหารควรส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาพุทธนวัตกรรมตามแพลตฟอร์มของกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยอาศัยการพัฒนาพุทธนวัตกรรมการสอนเพื่อให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมใน การเรียนรู้ด้วยตนเองดังภาพต่อไปนี้ 44สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ, กรอบนโยบายและ ยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2563 – 2570, (กลุ่มสื่อสารองค์กร: กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม, 2565,) หน้า 9.
202 194 ภาพที่ 5.13 แนวทางการพัฒนาพุทธนวัตกรรมการสอนโดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการ เรียนรู้ด้วยตนเอง ที่มา : สังเคราะห์โดยผู้เขียนจากพุทธนวัตกรรมการสอนโดยให้ผู้เรียนมีส่วนในการเรียนรู้ ด้วยตนเองจากพระสูตรสู่การประยุกต์ใช้ในยุคศตวรรษที่ 21 โดยสังเคราะห์ของผู้เขียน (2564) จากภาพที่ 5.13 อธิบายเพื่อการประยุกต์ใช้ในการพัฒนาาพุทธนวัตกรรมการสอน โดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ด้วยตนเองในศตวรรษที่21โดยศาตราจารย์ นพ. วิจารณ์ พาณิช (2562:92) ได้กล่าวถึงการประยุกต์ใช้ทักษะด้วยตนเอง 1.นักศึกษาเรียนรู้ทฤษฎีหรือหลักการที่เป็นจริงในทุกบริบทการประยุกต์ใช้ทำได้ไม่ ยากอาจต้องหาผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาสนับสนุนให้เห็นผลชัดเจนขึ้นหรืออาจยกตัวอย่าง ในพระพุธทศาสนาเกี่ยวกับพุธทสาวกมาประกอบการอธิบายให้ภาพชัดเจนในบริบทที่ เกี่ยวข้อง 2.การเปรียบเทียบอย่างเป็นระบบที่มาจากผลการวิจัยหรืออาจศึกษากรณีในพระ พุธทศาสนา2กรณีมาเปรียบเทียบกันโดยใช้เกณฑ์ที่ครูกำหนดผลการเรียนรู้ที่ลึกและ เชื่อมโยงให้มากกว่าเพื่อให้ชัดความชัดขึ้น 3.ให้จำแนกความเหมือนหรือความต่างของเรื่องนั้นๆ ให้ชัดเจน 4.คำชี้แนะช่วยให้นักศึกษาเชื่อมโยงเรื่องราวต่างเรื่องต่างบริบทแต่ใช้หลักการ เดียวกัน ตั้งค าถาม น าสู่ความรู้ แยกแยะตอบ สร้างศรัทธา ชี้แนวทางปฏิบัติ ปฏิบัติด้วยตนเอง ประเมินผลการ เรียนรู้ น าความรู้สร้าง นวัตกรรม สร้างคุณค่าแก่ ตนเองและสังคม การเรียนรู้ ตลอดชีวิต 194 ภาพที่ 5.13 แนวทางการพัฒนาพุทธนวัตกรรมการสอนโดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการ เรียนรู้ด้วยตนเอง ที่มา : สังเคราะห์โดยผู้เขียนจากพุทธนวัตกรรมการสอนโดยให้ผู้เรียนมีส่วนในการเรียนรู้ ด้วยตนเองจากพระสูตรสู่การประยุกต์ใช้ในยุคศตวรรษที่ 21 โดยสังเคราะห์ของผู้เขียน (2564) จากภาพที่ 5.13 อธิบายเพื่อการประยุกต์ใช้ในการพัฒนาาพุทธนวัตกรรมการสอน โดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ด้วยตนเองในศตวรรษที่21โดยศาตราจารย์ นพ. วิจารณ์ พาณิช (2562:92) ได้กล่าวถึงการประยุกต์ใช้ทักษะด้วยตนเอง 1.นักศึกษาเรียนรู้ทฤษฎีหรือหลักการที่เป็นจริงในทุกบริบทการประยุกต์ใช้ทำได้ไม่ ยากอาจต้องหาผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาสนับสนุนให้เห็นผลชัดเจนขึ้นหรืออาจยกตัวอย่าง ในพระพุธทศาสนาเกี่ยวกับพุธทสาวกมาประกอบการอธิบายให้ภาพชัดเจนในบริบทที่ เกี่ยวข้อง 2.การเปรียบเทียบอย่างเป็นระบบที่มาจากผลการวิจัยหรืออาจศึกษากรณีในพระ พุธทศาสนา2กรณีมาเปรียบเทียบกันโดยใช้เกณฑ์ที่ครูกำหนดผลการเรียนรู้ที่ลึกและ เชื่อมโยงให้มากกว่าเพื่อให้ชัดความชัดขึ้น 3.ให้จำแนกความเหมือนหรือความต่างของเรื่องนั้นๆ ให้ชัดเจน 4.คำชี้แนะช่วยให้นักศึกษาเชื่อมโยงเรื่องราวต่างเรื่องต่างบริบทแต่ใช้หลักการ เดียวกัน ตั้งค าถาม น าสู่ความรู้ แยกแยะตอบ สร้างศรัทธา ชี้แนวทางปฏิบัติ ปฏิบัติด้วยตนเอง ประเมินผลการ เรียนรู้ น าความรู้สร้าง นวัตกรรม สร้างคุณค่าแก่ ตนเองและสังคม การเรียนรู้ ตลอดชีวิต
203 194 ภาพที่ 5.13 แนวทางการพัฒนาพุทธนวัตกรรมการสอนโดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการ เรียนรู้ด้วยตนเอง ที่มา : สังเคราะห์โดยผู้เขียนจากพุทธนวัตกรรมการสอนโดยให้ผู้เรียนมีส่วนในการเรียนรู้ ด้วยตนเองจากพระสูตรสู่การประยุกต์ใช้ในยุคศตวรรษที่ 21 โดยสังเคราะห์ของผู้เขียน (2564) จากภาพที่ 5.13 อธิบายเพื่อการประยุกต์ใช้ในการพัฒนาาพุทธนวัตกรรมการสอน โดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ด้วยตนเองในศตวรรษที่21โดยศาตราจารย์ นพ. วิจารณ์ พาณิช (2562:92) ได้กล่าวถึงการประยุกต์ใช้ทักษะด้วยตนเอง 1.นักศึกษาเรียนรู้ทฤษฎีหรือหลักการที่เป็นจริงในทุกบริบทการประยุกต์ใช้ทำได้ไม่ ยากอาจต้องหาผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาสนับสนุนให้เห็นผลชัดเจนขึ้นหรืออาจยกตัวอย่าง ในพระพุธทศาสนาเกี่ยวกับพุธทสาวกมาประกอบการอธิบายให้ภาพชัดเจนในบริบทที่ เกี่ยวข้อง 2.การเปรียบเทียบอย่างเป็นระบบที่มาจากผลการวิจัยหรืออาจศึกษากรณีในพระ พุธทศาสนา2กรณีมาเปรียบเทียบกันโดยใช้เกณฑ์ที่ครูกำหนดผลการเรียนรู้ที่ลึกและ เชื่อมโยงให้มากกว่าเพื่อให้ชัดความชัดขึ้น 3.ให้จำแนกความเหมือนหรือความต่างของเรื่องนั้นๆ ให้ชัดเจน 4.คำชี้แนะช่วยให้นักศึกษาเชื่อมโยงเรื่องราวต่างเรื่องต่างบริบทแต่ใช้หลักการ เดียวกัน ตั้งค าถาม น าสู่ความรู้ แยกแยะตอบ สร้างศรัทธา ชี้แนวทางปฏิบัติ ปฏิบัติด้วยตนเอง ประเมินผลการ เรียนรู้ น าความรู้สร้าง นวัตกรรม สร้างคุณค่าแก่ ตนเองและสังคม การเรียนรู้ ตลอดชีวิต 195 5.สรุปผลการเรียนรู้เพื่อสืบต่อให้ลึกและบูรณาการสู่การปฏิบัติได้จริงในสถานณ์ การปัจจุบัน
204 196 เอกสารอ้างอิง ครูประถมคอทคอท. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.krupatom.com/education _1605ทฤษฎีการเรียนกลุ่ม-เกสต/ [4 สิงหาคม 2565]. ชาติชาย ม่วงปฐม. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://portal5.udru.ac.th/ebook/pdf/ upload/ 17c59V53360FeV129B1K.pdf [4 สิงหาคม 2565]. เติมศักดิ์ คทวณิช. จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพมหานคร: บริษัทส.เอเซียเพรส, 2546. ทิศนา แขมมณี. ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ ครั้งที่ 21. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560. สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ, กรอบนโยบายและ ยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2563 – 2570, กลุ่มสื่อสารองค์กร: กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม, 2565. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539. พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ ครั้งที่ 17. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรราชวิทยาลัย, 2551. พิมพ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2557. วิจารณ์ พานิช, ศ.นพ.. การสร้างการเรียนรู้สู้ศตวรรษที่21. นครปฐม: ส เจริญการพิมพ์, 2557. Eggen, P. & Kauchak, D. Strategies and Models for Teachers: Teaching Content and Thinking Skills. (6th ed.). Boston: Pearson, 2012. Gredler. Learning and Instruction: Theory Into Practice. 3rd Edition. University of South Carolina: Pearson, 1997. Johnson, D.W. & Johansson, R.T. Instructional goal structure: Cooperative, competitive, or individualistic. Review of Educational Research, 1974.
บทที่ 6 การบูรณาการและการนำเสนอ การสอนเป็นศาสตร์และศิลป์ที่จะช่วยชี้นำ แนะนำ บอกเรื่องที่ยังไม่รู้ให้รู้ และบาง เรื่องที่รู้แล้วแต่ยังไม่เข้าใจชัดให้ชัดขึ้นเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ทักษะเพิ่มมากขึ้นจน สามารถนำความรู้ไปบูรณาการคิดสร้างสรรค์ผลิตนวัตกรรมแก้ปัญหาการดำเนินชีวิตได้ เหมาะสมกับยุคการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลกในปัจจุบันและอนาคต ก่อนอื่นต้องทำ ความเข้าใจกับคำว่า “บูรณาการ” เป็นศัพท์บัญญัติทางการศึกษา เดิมใช้คำว่า “บูรณาการ รวมหน่วย” เป็นคำบัญญัติให้ตรงกับคำว่า “Integration” ในภาษาอังกฤษ หมายความว่า การรวมหน่วยที่แยก ๆ กันเข้าเป็นหน่วยเดียวกัน เช่น หลักสูตรแบบบูรณาการรวมหน่วย1 ปัจจุบันใช้เพียงคำว่า “บูรณาการ” หมายความว่า การประสานเนื้อหา หลักการ กิจกรรม การฝึก ฯลฯ เข้าเป็นหน่วยเดียวกัน เช่น การสอนภาษาแบบบูรณาการ ทำให้นักเรียนได้รับ ความรู้ด้านทักษะต่าง ๆ ทั้งฟัง พูด อ่าน เขียน ผสมผสานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในวิชา เดียวกันเพื่อให้เชื่อมโยงเนื้อหาทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติไปด้วยกัน ในขณะที่พระธรรมโกศาจารย์2 ให้คำนิยามคำว่า “บูรณาการ” (Integration) ค่อนข้างจะสอดรับกับราชบัณฑิตยสถานว่า “หมายถึง การนำสิ่งที่แยกกันมารวมเข้าเป็น อันเดียวกันจนเกิดองค์รวม (The whole) โดยท่านได้ยกประเด็นพระพุทธศาสนา กับวิทยาศาสตร์มาอธิบายเพิ่มเติมว่า “ถ้าศรัทธาในพระพุทธศาสนากับปัญญาในทาง วิทยาศาสตร์เป็นไปในทางเดียวกันคือส่งเสริมสนับสนุนซึ่งกันและกันก็จะก่อให้เกิดองค์รวม ที่สมบูรณ์ องค์รวมนี่แหละคือบูรณาการ และเนื่องจากวิทยาศาสตร์ครอบคลุมไปถึงศาสตร์ สมัยใหม่ ที่อาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์สร้างระบบความรู้ขึ้นมา เช่น ครุศาสตร์ มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ เราจึงสามารถบูรณาการพระพุทธศาสนาเข้ากับศาสตร์ สมัยใหม่ด้วย ประเด็นที่น่าสนใจคือ “พระพุทธศาสนายังเป็นศาสนาแห่งการบูรณาการที่มีคำสอน ครอบคลุมทั้งกฎธรรมชาติฝ่ายรูปธรรม และนามธรรม กฎทุกกฎรวมกันอยู่ภายใต้กฎธรรม 1 ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542, (กรุงเทพมหานคร: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์, 2546), หน้า 634. 2 พระธรรมโกศาจารย์(ประยูร ธมฺมจิตฺโต), วิธีบูรณาการพระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่. (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2553), หน้า 49. บทที่ 6 การบูรณาการและการนำเสนอ การสอนเป็นศาสตร์และศิลป์ที่จะช่วยชี้นำ แนะนำ บอกเรื่องที่ยังไม่รู้ให้รู้ และบาง เรื่องที่รู้แล้วแต่ยังไม่เข้าใจชัดให้ชัดขึ้นเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ทักษะเพิ่มมากขึ้นจน สามารถนำความรู้ไปบูรณาการคิดสร้างสรรค์ผลิตนวัตกรรมแก้ปัญหาการดำเนินชีวิตได้ เหมาะสมกับยุคการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลกในปัจจุบันและอนาคต ก่อนอื่นต้องทำ ความเข้าใจกับคำว่า “บูรณาการ” เป็นศัพท์บัญญัติทางการศึกษา เดิมใช้คำว่า “บูรณาการ รวมหน่วย” เป็นคำบัญญัติให้ตรงกับคำว่า “Integration” ในภาษาอังกฤษ หมายความว่า การรวมหน่วยที่แยก ๆ กันเข้าเป็นหน่วยเดียวกัน เช่น หลักสูตรแบบบูรณาการรวมหน่วย1 ปัจจุบันใช้เพียงคำว่า “บูรณาการ” หมายความว่า การประสานเนื้อหา หลักการ กิจกรรม การฝึก ฯลฯ เข้าเป็นหน่วยเดียวกัน เช่น การสอนภาษาแบบบูรณาการ ทำให้นักเรียนได้รับ ความรู้ด้านทักษะต่าง ๆ ทั้งฟัง พูด อ่าน เขียน ผสมผสานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในวิชา เดียวกันเพื่อให้เชื่อมโยงเนื้อหาทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติไปด้วยกัน ในขณะที่พระธรรมโกศาจารย์2 ให้คำนิยามคำว่า “บูรณาการ” (Integration) ค่อนข้างจะสอดรับกับราชบัณฑิตยสถานว่า “หมายถึง การนำสิ่งที่แยกกันมารวมเข้าเป็น อันเดียวกันจนเกิดองค์รวม (The whole) โดยท่านได้ยกประเด็นพระพุทธศาสนา กับวิทยาศาสตร์มาอธิบายเพิ่มเติมว่า “ถ้าศรัทธาในพระพุทธศาสนากับปัญญาในทาง วิทยาศาสตร์เป็นไปในทางเดียวกันคือส่งเสริมสนับสนุนซึ่งกันและกันก็จะก่อให้เกิดองค์รวม ที่สมบูรณ์ องค์รวมนี่แหละคือบูรณาการ และเนื่องจากวิทยาศาสตร์ครอบคลุมไปถึงศาสตร์ สมัยใหม่ ที่อาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์สร้างระบบความรู้ขึ้นมา เช่น ครุศาสตร์ มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ เราจึงสามารถบูรณาการพระพุทธศาสนาเข้ากับศาสตร์ สมัยใหม่ด้วย ประเด็นที่น่าสนใจคือ “พระพุทธศาสนายังเป็นศาสนาแห่งการบูรณาการที่มีคำสอน ครอบคลุมทั้งกฎธรรมชาติฝ่ายรูปธรรม และนามธรรม กฎทุกกฎรวมกันอยู่ภายใต้กฎธรรม 1 ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542, (กรุงเทพมหานคร: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์, 2546), หน้า 634. 2 พระธรรมโกศาจารย์(ประยูร ธมฺมจิตฺโต), วิธีบูรณาการพระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่. (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2553), หน้า 49.
206 197 นิยาม” และจากตัวแปรดังกล่าวนี้ จึงทำให้ปรัชญาการศึกษาในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลง กรณราชวิทยาลัยมุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนศึกษาพระพุทธศาสนาแบบบูรณาการกับศาสตร์ สมัยใหม่ การบูรณาการพระพุทธศาสนากับศาสตรสมัยใหม่ จากแนวทางดังกล่าววิธีการศึกษาแบบบูรณาการระหว่างพระพุทธศาสนากับ ศาสตร์สมัยใหม่จึงทำได้ 2 วิธี คือ 1. วิธีพุทธวิทยา (Buddhology) หมายถึง การปรับศาสตร์เข้าหาพระพุทธศาสนา คือ ใช้พระพุทธศาสนาเป็นตัวตั้ง และนำศาสตร์สมัยใหม่มาอธิบายเสริมพระพุทธศาสนา วิธีนี้ใช้องค์ความรู้ในศาสตร์สมัยใหม่มาอธิบายสนับสนุนพระพุทธศาสนาให้ดูทันสมัย และมี เหตุผลเป็นที่ยอมรับได้ง่ายขึ้น 2. วิธีธรรมวิทยา (Dhammology) หมายถึง การปรับพระพุทธศาสนาเข้าหาศาสตร์ คือ ใช้ศาสตร์สมัยใหม่เป็นตัวตั้ง และนำหลักศีลธรรมในพระพุทธศาสนาเพิ่มเติมเข้าไปใน เนื้อหาของศาสตร์สมัยใหม่ ทั้งนี้ เพราะศาสตร์สมัยใหม่มุ่งแสวงหาความจริงโดยไม่สนใจ เรื่องศีลธรรม การนำหลักศีลธรรมในพระพุทธศาสนาเติมเต็มให้กับศาสตร์เหล่านั้น ย่อมจะ ช่วยให้เกิดองค์รวมที่สมบูรณ์ นอกจากนั้นวิธีการบูรณาการภายใน และข้ามสาขาผู้เรียนรู้ (Within and across learners) มี 2 รูปแบบ ดังนี้1. รูปแบบการซุบตัวเอง (Immersed model) เป็นการทำให้ เกิดขึ้นในตัวของ ผู้เรียนรู้เองเป็นการสร้างสิ่งที่สัมพันธ์กับชีวิตจริง และ 2. รูปแบบการ ทำงานที่มีความเป็นเครือข่าย (Network model) เป็นการสร้าง ความสัมพันธ์หลายมิติ โดยผู้เรียนรู้เป็นผู้กระทำโดยตรง3 ดังนั้น บริบทการสอนมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ 1. ครู 2. ผู้เรียน 3. เนื้อหา 4. วิธีการ สื่อ กิจกรรมการเรียนการสอน 5. การวัดและประเมินผล ซึ่งจะพบว่า การสอน เป็นเรื่องปกติ แต่แท้ที่จริงเมื่อวิเคราะห์ให้ละเอียดถึงกระบวนการการเรียนการสอน จะเห็นชัดว่ามันเป็นศาสตร์และศิลป์ที่ละเอียดอ่อนมาก สำหรับครู อาจารย์ทุกคนจะต้อง เรียนรู้องค์ประกอบการสอนให้เข้าใจอย่างแท้จริง จึงจะสามารถการจัดการเรียนการสอน ในยุคเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลต่อผู้เรียน โดยเฉพาะการ ใช้แนวคิดของทฤษฎีศาสตร์การสอนทางตะวันตกบูรณาการกับพุทธนวัตกรรมการสอนใน 3 Fogarty, Robin, Ten Ways to Integrate Curriculum, (Educational: Leadership, 1991), p. 61-65.
207 198 รูปแบบที่หลากหลายวิธีที่เป็นองค์ความรู้จากผลการวิจัยของ สิน งามประโคน4 เรื่อง พุทธ นวัตกรรมการสอนที่ปรากฏในพระไตรปิฎก ซึ่งในบทนี้มีเนื้อหาในการนำเสนอ ดังนี้ 6.1 รูปแบบการสอนด้วยการสนทนาถาม-ตอบ โดยมีหลักการสอนและเหตุผลใน การสอน 6.2 รูปแบบการสอนด้วยการบรรยาย 6.3 รูปแบบการสอนด้วยการตอบปัญหา 6.4 รูปแบบการสอนด้วยการวางกฎระเบียบข้อปฏิบัติ 6.5 หลักการสอนโดยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง 6.6 หลักเหตุผลในรูปแบบพุทธวิธีการสอนต่าง ๆ 6.7 การประยุกต์หลักการ รูปแบบ เนื้อหา เทคนิคการสอน วิธีการสอน 6.8 พุทธนวัตกรรมการเรียนการสอน 6.9 การประเมินผลการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ 6.10 หลักการการประเมินผลการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ 6.11 หลักการประเมินผลการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ตามหลักพุทธศาสนา ซึ่งรายละเอียดดังต่อไป 6.1 รูปแบบการสอนด้วยการสนทนาถาม-ตอบ โดยมีหลักการสอนและเหตุผล ในการสอน การสอนของพระพุทธเจ้าผู้ซึ่งเป็นบรมครูของโลก พระองค์ทรงสอนโดยใช้ศาสตร์ สมัยนั้นยังคงเป็นต้นแบบการสอนถึงปัจจุบันที่ครูสอนต้องเรียนรู้และพัฒนาต่อยอดให้ สอดคล้องกับสื่อสมัยใหม่ที่สามารถนำองค์ความรู้นี้ไปพัฒนากับเทคโนโลยีการสอนได้เป็น อย่างดียิ่ง จึงข้อนำเสนอองค์ความรู้ หลัก วิธีการสอนของพระพุทธเจ้าเริ่มต้นอย่างไรและ กระบวนการสอนให้ได้ประสิทธิผลสูงสุดได้อย่างไรดังนี้ 1 .ทรงพิจารณาถึงอัธยาศัยของผู้เรียนก่อนโดยพระญาณของพระองค์ 2. ทรงพิจารณาถึงปัญหาและความต้องการอยากเรียนรู้ของผู้เรียนตามแต่จริตของ บุคคล หรือกลุ่มบุคคลที่แตกต่างกันดังนี้ 1) กลุ่มภิกษุ พบว่าปัญหาส่วนมากเกี่ยวกับหลักปฏิบัติ และหลักธรรมที่ต้องการ รู้พวกเขาจะเข้าไปสนทนาทูลถามปัญหากับพระพุทธองค์บ้างหรือพระพุทธองค์ทรงเข้าไป 4 สิน งามประโคน, การวิเคราะห์พุทธวิธีการสื่อสารเพื่อการเผยแพร่พระพุทธศาสนา, สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2559, หน้า 221-234.
208 199 สนทนากับพระภิกษุบ้าง เช่น 1) จูฬราหุโลวาทสูตร โดย ทรงปรารภ ว่าท่านยังเยาว์อยู่ อาจจะกล่าวสัมปชามุสาวาท คือ การพูดเท็จทั้ง ๆ ที่รู้ก็เป็นได้ และพระราหุลบรรเทา ความพอใจและความกำหนัดเกี่ยวเรือนคือขันธ์ 5 2) จุฬมาลุงกยสูตร พระพุทธเจ้าทรงตอบ ปัญหาพระมาลุงกยบุตรเรื่องอัพยากตปัญหา 10 ประการ คือ โลกเที่ยง...หลังตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกหรื่อไม่เกิดอีก ทรงสอนให้เข้าใจ นำไปปฏิบัติให้ถูกต้อง 3) ภัททาลิสูตร ว่าด้วยพระภัททาลิ คุณแห่งการฉันอาหารเนื้อเดียว 4) นฬกปานสูตร ว่าด้วยเหตุการณ์ใน หมู่บ้าน ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลายมี พระอนุรุทระ พระภัททิยะ พระเรวตระพระอานนท์ ทรงปรารภกุลบุตรผู้มีชื่อเสียงจำนวนมากที่บวชด้วยศรัทธาและเพื่อให้ภิกษุผู้บวชใหม่เข้าใจ จุดประสงค์ของการบวชรวมทั้งข้อปฏิบัติที่ผู้บวชใหม่จะต้องประพฤติปฏิบัติ 5) กีฏาคิริสูตร ว่าด้วยเหตุการณ์ในกีฏาคีรินิคม คุณของการฉันหารน้อย 6) มหาโคสิงคสูตรว่าด้วย เหตุการณ์ในโคสิงคสาลวัน สูตรใหญ่ ป่างามด้วยภิกษุมีคุณสมบัติเช่นไร ทรงแสดงแก่พระ สารีบุตร พระมหาโมคคัลลานะ พระมหากัสสปะ พระอนุรุทธะพระเรวตะ พระอานนท์ ฯลฯ ซึ่งรายละเอียดได้นำเสนอในบทที่ 3 แล้ว 2) กลุ่มอุบาสก พบว่า ปัญหาส่วนมากเป็นลักษณะความต้องการลองภูมิความรู้ บ้าง โต้วาทะบ้าง ข้อคำแนะนำบ้าง ถามปัญหาข้อสงสัยบ้าง เช่น 1) จูฬสัจจกสูตร และ มหาสัจจกสูตร ว่าด้วย สัจจกะนิครนถบุตร เรื่องการอบรมกายและการอบรมจิต 2) จูฬสกุ ลุทายิสูตร ว่าด้วยเรื่องปริพาชก ชื่อ สกุลุทายี สนทนาเรื่องสุขและทุกข์ 3) กุกกุรวติกสูตร ว่าด้วยเรื่อง การประพฤติวัตรเลียนแบบสุนัข 4) เอสุการีสูตร ว่าด้วยเรื่อง พราหมณ์ชื่อ เอสุการี ทูลถามถึงข้อบัญญัติเกี่ยวกับทรัพย์ 4 ประการ ของพราหมณ์ ฯลฯ ซึ่งรายละเอียด ได้นำเสนอในบทที่ 3 แล้ว 3. ทรงเลือกหลักธรรมที่เกี่ยวกับปัญหาและความต้องการเรียนรู้ของบุคคลและ กลุ่มบุคคล ให้เหมาะสมกับระดับภูมิปัญญาดังนี้ 1) กลุ่มภิกษุ พบว่า เนื้อหาหลักธรรมข้อปฏิบัติที่ผู้บวชใหม่จะต้องประพฤติ ปฏิบัติ และอย่ามองคนเพียงภายนอกรูปร่างหน้าตาอย่าง พระลกุณฏภัททิยะผู้มีผิวพรรณ ไม่งาม ไม่น่าดู เตี้ย แต่ได้รับยกย่องจากพระศาสดาว่าเป็นผู้มีเสียงไพเราะ สนทนากับ พระราหุลเรื่องธรรมเป็นที่ช่วยให้สิ้นกิเลส สนทนาเรื่องฝุ่นติดปลายเล็บสอนความไม่ ประมาท ฯลฯ ชี้ให้เห็นเนื้อหาธรรมที่พระพุทธองค์กลุ่มพระภิกษุและภิกษุณีเน้นในการ ปฏิบัติตนให้หลุดพ้นจากกิเลส มีเป้าหมายสูงสุดคือบรรลุธรรมขั้นสูงสุดคือเป็นพระอรหันต์ ซึ่งรายละเอียดได้นำเสนอในบทที่ 3 แล้ว 2) กลุ่มอุบาสก พบว่า เนื้อหาธรรมที่เวขณสปริพาชกเรื่องวรรณะสูงสุดที่เชื่อถือ ทรงตรัสสอนเรื่องกามคุณ 5 ทรงสนทนากับทีฆนขปริพาชกเรื่องสิ่งทั้งปวงไม่เป็นที่พอใจ จังกีพราหมณ์กับศิษย์ชื่อกาปทิกมาณพ ผู้ยังไม่เลื่อมใสได้สนทนาและต้องการลองภูมิปัญญา
209 200 ความรู้กับพระพุทธองค์ในที่สุดเกิดเลื่อมใสศรัทธา ในขณะเดียวกันอัสสลายนมาณพรับอาสา พวกพราหมณ์ 500 คนมาสนทนาเชิงโต้วาทะเรื่องวรรณะและ เสลพราหมณ์ได้เห็นลักษณะ มหาบุรุษ 32 ประการเกิดเลื่อมใสใคร่อยากพบเห็นจึงได้เข้าไปสนทนาธรรมด้วย ฯลฯ ชี้ให้เห็นว่าเนื้อหาธรรมที่ทรงสนทนากับกลุ่มอุบาสกอุบาสิกา มีเป้าหมายให้เกิดความ เลื่อมใสศรัทธา ละชั่วทำดี ฯลฯซึ่งรายละเอียดได้นำเสนอในบทที่ 3 แล้ว 4. ทรงพิจารณาถึงระดับภูมิปัญญาหรือความรู้ของผู้ฟังเพื่อที่จะเลือกวิธีการสอน ให้เหมาะสมกับระดับความรู้ความสามารถของแต่ละคนหรือกลุ่มบุคคลคือ 1) กลุ่มภิกษุ พบว่า พระพุทธองค์ทรงสนทนากับพระเถระทั้งหลายมีพระสารี บุตร พระมหาโมคคัลานะ พระมหากัสสปะ พระอนุรุทธะ พระเรวตะ และพระอานนท์ เรื่องความงามของป่าด้วยคุณสมบัติของพระภิกษุอย่างไร ทรงสนทนาเรื่องน้ำนม เรื่อง น้ำตาและเรื่องน้ำขึ้นน้ำลง เพื่อให้ภิกษุทั้งหลายคิดเองด้วยสติปัญญาเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความหลุดพ้นจากสังขารทั้งปวง แล้วพระองค์ทรงรับรองคำตอบของภิกษุเหล่านั้น ชี้ให้เห็นว่าพระพุทธเจ้าทรงพิจารณาถึงระดับภูมิปัญญาของภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นจึงได้ตรัส เลือกปัญหาที่เหมาะสมกับความรู้ความสามารถของผู้สนทนา ฯลฯ ซึ่งรายละเอียดได้ นำเสนอในบทที่ 3 แล้ว 2) กลุ่มอุบาสก พบว่า พระพุทธองค์ทรงสนทนากับชาณุสโสณิ พราหมณ์ทูล ถามว่า เสนาสนะป่าอยู่ลำบาก ทำให้จิตสงบได้ยาก ในการอยู่โดดเดี่ยว พระพุทธองค์ทรง ตรัสตอบให้ใช้สติสัมปชัญญะ ทรงสนทนากับช่างไม้ชื่อปัญจกังคะเรื่องบุคคลผู้ประกอบด้วย ธรรม 4 ประการเป็นผู้มีกุศลเพียบพร้อม 1) ไม่ทำชั่วด้วยกาย 2) ไม่กล่าววาจาชั่ว 3) ไม่คิด ชั่ว 4) ไม่ประกอบอาชีพชั่ว สนทนาเรื่องเด็กจับปลา ทรงสอนง่าย ๆ เหมาะสมกับเด็กเรื่อง ความสุขและความทุกข์ เรื่องผู้ใหญ่บ้านชื่อจัณฑะ สนทนาเรื่องคนดุร้ายและคนสงบเสงี่ยม ฯลฯ ซึ่งรายละเอียดได้นำเสนอในบทที่ 3 แล้ว 5. ทรงใช้เทคนิคการสอนให้สอดคล้องกับระดับภูมิปัญญาและภูมิหลังของผู้ฟังซึ่ง เทคนิคพุทธวิธีการสอนประกอบด้วย 1) การเปรียบเทียบด้วยข้ออุปมาอุปไมย 2) การ เล่าเรื่อง 3) การยกอุทาหรณ์ 4) การใช้สื่ออุปกรณ์ธรรมชาติ 5) การใช้เหตุการณ์ในปัจจุบัน หรืออดีต 6) กรณีตัวอย่าง 7) การปฏิบัติเป็นแบบอย่าง ฯลฯ 1) กลุ่มภิกษุ พบว่าการใช้เทคนิคการสอนของพระพุทธองค์ในการสนทนาให้ บรรลุวัตถุประสงค์ มีหลายเรื่อง เช่น สนทนากับพระราหุล 2) กลุ่มอุบาสก พบว่า การใช้เทคนิคในสอนของพระพุทธองค์ ในการสนทนา ตามวัยเช่น สนทนากับเด็กจับปลา เรื่องความสุขและความทุกข์ตามเหตุการณ์เฉพาะหน้า แบบง่าย ๆ ตามภูมิปัญญาและภูมิหลังของเด็ก ฯลฯ
210 201 6 .ทรงใช้ศิลปะการสอนที่ช่วยทำให้ผู้ฟังแต่ละบุคคลหรือกลุ่มบุคคลมีความสุขใน การสนทนาธรรมและได้รับประโยชน์จากการสนทนากับพระองค์มากที่สุดตามระดับภูมิ ปัญญาความรู้และภูมิหลังของผู้ฟัง ซึ่งศิลปะพุทธวิธีการสอนประกอบด้วย 1) สอนให้ร่าเริง เบิกบาน 2) พาไปดูตัวอย่าง 3) เร้าใจให้เกิดกำลังใจ 4) อธิบายให้แจ่มแจ้งเหมือนจูงมือไปดู ด้วยตา 5) สร้างแรงจูงใจชวนให้ปฏิบัติตาม 1) กลุ่มภิกษุ พบว่า พระพุทธองค์ทรงใช้ศิลปะในการสอนภิกษุและภิกษุณีได้ อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับอัธยาศัยของผู้ฟัง เช่น สนทนากับพระนันทะ สร้างแรงจูงใจ ให้กับพระนันทะในการใช้ความเพียรปฏิบัติธรรมได้สำเร็จ ฯลฯ 2) กลุ่มอุบาสก พบว่า พระพุทธองค์ทรงใช้ศิลปะในการสอนพวกเขาจากที่ยัง ไม่เลื่อมใส ให้ความศรัทธาเลื่อมใสต่อพระรัตนตรัย ที่ยังไม่เข้าใจก็เข้าใจหลักธรรมก็เกิด ความเข้าใจมากขึ้น เช่น สนทนาธรรมกับนายปุณณะ เกี่ยวกับผู้ประพฤติตนแบบกุกกุรวัตร เลียนแบบสุนัขอย่างชีเปลือยชื่อเสนิยะตายแล้วตกนรก ทำให้ทั้งสองคนกลับใจมานับถือ พระพุทธศาสนา ด้วยความเลื่อมใส ฯลฯ สรุปรูปแบบการสอนด้วยการสนทนาถาม-ตอบ โดยมีหลักการสอนและเหตุผล ในการสอน ดังภาพต่อไปนี้ ภาพที่ 6.1 รูปแบบการสอนด้วยการสนทนาถาม-ตอบโดยมีหลักการสอนและเหตุผลใน การสอน ที่มา : มาจาก พุทธนวัตกรรมการสอนในพระไตรปิฎก โดยสังเคราะห์ของผู้เขียน (2564) 1.เปิดโอกาสให้ถามปัญหาด้วยกัลยาณมิตร 2. สิ่งที่ผู้เรียนต้องการค าตาม 3. เนื้อหาตามระดับชั้นของผู้เรียน 4. พิจารณาตามภูมิผู้ถาม 5. เลือกเทคนิคการสอนที่เหมาะสม 6. ใช้เทคนิควิธีการสอนให้คิดด้วยตนเอง
211 202 6.2 รูปแบบการสอนด้วยการบรรยาย รูปแบบการสอนด้วยการบรรยาย โดยมีหลักการสอนและเหตุผลในการสอนดังนี้ 2.1 ทรงพิจารณาถึงอัธยาศัยของผู้ฟังก่อนโดยพระญาณของพระองค์ 2.2 ทรงพิจารณาถึงปัญหาและความต้องการอยากเรียนรู้ของผู้ฟังตามแต่ละ ลักษณะบุคคล หรือกลุ่มบุคคลที่แตกต่างกันดังนี้ 1) กลุ่มภิกษุ พบว่าพระพุทธเจ้าทรงใช้วิธีการบรรยายโวหารแบบถาม –ตอบ ถามเอง-ตอบเอง เล่าเรื่อง บรรยายสาธกนิทาน ยกกรณีตัวอย่าง การบรรยายโวหารและมี อุปมาอุปไมยและบรรยายโวหารแบบพูดคนเดียวจบ ไม่มีคำถาม ขึ้นอยู่กับกลุ่มผู้ฟังและ พบว่า ส่วนมากพระพุทธองค์ทรงใช้วิธีการสอนแบบบรรยายในกลุ่มผู้ฟังมีจำนวนมาก ๆ เช่น สอนภิกษุทั้งหลายในเทวทูลสูตร ให้ทราบผลแห่งกรรมชั่วและกรรมดี และสอนแก่ พระปุณณะ เรื่องการออกไปอยู่เดียวโดยให้รู้จักข่มใจและความสงบใจ ฯลฯ 2) กลุ่มอุบาสก พบว่า พระพุทธเจ้าทรงใช้วิธีการบรรยายโวหารแบบถาม – ตอบ ถามเอง-ตอบเอง เล่าเรื่อง บรรยายสาธกนิทาน ยกกรณีตัวอย่าง การบรรยายโวหาร และมีอุปมาอุปไมยและบรรยายโวหารแบบพูดคนเดียวจบ ไม่มีคำถาม ขึ้นอยู่กับกลุ่มผู้ฟัง และพบว่าส่วนมากพระพุทธองค์ทรงใช้วิธีการสอนแบบบรรยายในกลุ่มผู้ฟังมีจำนวนมาก ๆ เช่น สอนแก่สุภมาณพ เรื่องเหตุที่ทำให้สัตว์อายุสั้น มีอายุยืนมีโรคมากโรคน้อยและเหตุที่ ทำให้คนเลวและคนดีต่างกัน ฯลฯ 2.3 ทรงเลือกหลักธรรมที่เกี่ยวกับปัญหาและความต้องการของบุคคลและกลุ่ม บุคคล ให้เหมาะสมกับระดับภูมิปัญญาดังนี้ 1) กลุ่มภิกษุ พบว่า พระพุทธองค์ทรงเน้นหลักธรรมในการปฏิบัติพัฒนาตน อบรมกายและอบรมจิต ให้หลุดพ้นจากกิเลสทั้งหลาย เช่น การบรรยายเรื่องมหาสติปัฏ ฐานสูตร ทรงสอนให้ 1) พิจารณาเห็นกายในกาย 2) พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา 3) พิจารณาเห็นจิตในจิต และ 4) พิจารณาเห็นธรรมในธรรม ฯลฯ 2) กลุ่มอุบาสก พบว่า พระพุทธองค์ทรงเน้นหลักธรรมในชีวิตครองเรือนแบบ ฆราวาสให้มีความสุข เช่น สอนชาวบ้านสาลาที่ทูลถามว่า อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์ บางพวกในโลกนี้ไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก และอะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บาง พวกในโลกนี้ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ฯลฯ 2.4 ทรงพิจารณาถึงระดับภูมิปัญญาหรือความรู้ของผู้ฟังเพื่อที่จะเลือกวิธีการสอน ให้เหมาะสมกับระดับความรู้ความสามารถของแต่ละคนหรือกลุ่มบุคคลคือ 1) กลุ่มภิกษุ พบว่าพระพุทธองค์ทรงบรรยายเริ่มจากเรื่องใกล้ๆ ตัวก่อน จากเรื่องง่าย ๆ ไปหาเรื่องยากตามลำดับ เช่น ทรงบรรยายเรื่องสัปปุริสสูตรว่าด้วยธรรมของ
212 203 สัตบุรุษและอสัตบุรุษมีอุปมาอุปไมย ให้ภิกษุทั้งหลายฟัง และทรงบรรยายเรื่องอิสิคิลิสูตร ว่าด้วยภูเขาอิสิคิลิ เพื่อให้ภิกษุทั้งหลายรู้ความหมาย ประวัติ และความสำคัญของ ภูเขาทั้งหลายในบริเวณนั้น นี้เป็นการสอนให้รู้ภูมิประเทศในการปฏิบัติธรรม ฯลฯ 2) กลุ่มอุบาสก พบว่า พระพุทธองค์ทรงบรรยายตอบคำถาม ข้อสงสัย เริ่ม จากเรื่องใกล้ๆ ตัวก่อน และจากเรื่องง่าย ๆ ไปหาเรื่องยากตามลำดับ เช่น ทรงบรรยาย โวหารแก่เจ้ามหานามะ เรื่องโลภะ โทสะ และโมหะ ฯลฯ 2.5 ทรงใช้เทคนิคการสอนให้สอดคล้องกับระดับภูมิปัญญาและภูมิหลังของผู้ฟัง ซึ่งเทคนิคพุทธวิธีการสอนประกอบด้วย 1) การเปรียบเทียบด้วยข้ออุปมาอุปไมย 2) การเล่า เรื่อง 3) การยกอุทาหรณ์ 4) การใช้สื่ออุปกรณ์ธรรมชาติ 5) การใช้เหตุการณ์ในปัจจุบัน หรืออดีต 6) กรณีตัวอย่าง 7) การปฏิบัติเป็นแบบอย่าง ฯลฯ พบว่าการใช้เทคนิคการสอน ในแต่ละบุคคลหรือกลุ่มคนแตกต่างกันขึ้นอยู่กับภูมิปัญญาของผู้ฟัง ซึ่งรายละเอียดได้ นำเสนอในบทที่ 3 แล้ว 1) กลุ่มภิกษุ พบว่าพระพุทธเจ้าทรง เลือกใช้เทคนิคการสอนที่แตกต่างกัน เช่น เรื่องกกจูปมสูตร ว่าด้วยภิกษุอยู่กับภิกษุณีเกิดเวลาและทรงยกกรณีตัวอย่าง พระโมลิยผัคคุนะเป็นเหตุตรัสสอนภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ 2) กลุ่มอุบาสก พบว่าทรงเลือกใช้เทคนิคการสอนเหมาะสมกับปัญหาและ ผู้ฟังธรรม เช่น วาเสฏฐมาณพกับภารทวาชมาณพ ที่ทูลถามปัญหาว่าบุคคลจะชื่อว่า พราหมณ์เพราะชาติกำเนิดหรือเพราะกรรมและทรงสอนผู้ใหญ่บ้านชื่ออสิพันธราบุตร ที่ทูล ถามปัญหาว่าพระพุทธองค์ทรงสามารถทำให้สัตว์โลกทั้งหมดหลังจากตายแล้วให้ไปเกิดใน สุคติโลกสวรรค์ได้หรือไม่พระพุทธองค์ทรงบรรยายโวหารแบบถาม-ตอบและมีอุปมาอุปไมย ฯลฯ 2.6 ทรงใช้ศิลปะการสอนที่ช่วยทำให้ผู้ฟังแต่ละบุคคลหรือกลุ่มบุคคลมีความสุขใน การสนทนาธรรมและได้รับประโยชน์จากการสนทนากับพระองค์มากที่สุดตามระดับภูมิ ปัญญาความรู้และภูมิหลังของผู้ฟัง ซึ่งศิลปะพุทธวิธีการสอนประกอบด้วย 1) สอนให้ร่าเริง เบิกบาน 2) พาไปดูตัวอย่าง 3) เร้าใจให้เกิดกำลังใจ 4) อธิบายให้แจ่มแจ้งเหมือนจูงมือไปดู ด้วยตา 5) สร้างแรงจูงใจชวนให้ปฏิบัติตาม 1) กลุ่มภิกษุ พบว่า พระพุทธเจ้าทรงใช้ศิลปะการบรรยายโวหารได้ยอดเยี่ยม ทำให้ภิกษุทั้งหลายมีความยินดีปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ เช่น เรื่องสระโบกขรณี แม่น้ำไหลมาบรรจบกัน เรื่องมหาสมุทร และเรื่องแผ่นดิน เปรียบเทียบให้เห็นและเข้าใจ และการได้ธรรมจักษุมีประโยชน์ยิ่งใหญ่อย่างนี้ฯลฯ 2) กลุ่มอุบาสก พบว่าพระพุทธเจ้าทรงใช้ศิลปะการสอนเพื่อช่วยทำให้ผู้ฟัง เข้าใจได้ง่ายขึ้น เช่น เกวัฏฏสูตร ว่าด้วยเรื่องบุตรคหบดีชื่อ เกวัฏฏะ กราบทูลว่าอยากให้
213 204 ภิกษุแสดงปาฏิหาริย์เพื่อเรียกศรัทธาให้ชาวชื่นชม พระพุทธองค์ทรงชี้ให้เห็นข้อดีและ ข้อไม่ดี ฯลฯ สรุปรูปแบบการสอนด้วยการบรรยาย ดังภาพต่อไปนี้ ภาพที่ 6.2 รูปแบบการสอนด้วยการบรรยาย ที่มา : มาจาก พุทธนวัตกรรมการสอนในพระไตรปิฎก โดยสังเคราะห์ของผู้เขียน (2564) 6.3 รูปแบบการสอนด้วยการตอบปัญหา รูปแบบการสอนด้วยการตอบปัญหา โดยมีหลักการสอนและเหตุผลในการสอน ดังนี้ 3.1 ทรงพิจารณาถึงอัธยาศัยของผู้ฟังก่อนโดยพระญาณของพระองค์ 3.2 ทรงพิจารณาถึงปัญหาและความต้องการอยากเรียนรู้ของผู้ฟังในแต่ละลักษณะ บุคคล หรือกลุ่มบุคคลที่แตกต่างกันดังนี้ 1) กลุ่มภิกษุ พบว่า พระพุทธองค์ทรงพิจารณาปัญหาว่าคำถามแต่ละคำถาม มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์อะไร ก่อนทรงตอบ และต้องเป็นปัญหา เพื่อเป็นแนวทางแห่ง การปฏิบัติธรรมเพื่อความหลุดพ้นจากกิเลสเท่านั้น อย่างเรื่องลฏุกิโกโมสูตร ว่าด้วยเรื่อง อุปมาด้วยนางนกมูลไถ ท่านพระอุทายีเข้าไปเฝ้าผู้มีพระภาคและกราบทูลว่า เมื่อก่อนท่าน ฉันทั้งในเวลาเย็น เวลาเช้า เวลาหลังเที่ยง ต่อมาพระผู้มีพระภาครับสั่งให้เลิกฉันในเวลาเย็น และเวลาหลังเที่ยง ท่านน้อยใจ เสียใจ แต่ก็ยังปฏิบัติตามภาระ ความรัก ความเคารพ ความละอายและความยำเกรงในพระผู้มีพระภาค ต่อมาได้เห็นโทษในการฉันในเวลาเย็น และหลังเที่ยงด้วยตนเองจึงได้รู้ว่า พระผู้มีพระภาคทรงกำจัดธรรมอันเป็นเหตุแห่งทุกข์ 1.อัธยาศัยของเรียน 2. รู้จริตผู้เรียน 3. เนื้อหาตรงตามความต้องการ 4. วิธีการสนทนา 5. เทคนิคการตอบค าถาม 6. พึงพอใจ
214 205 ทรงนำธรรมอันเป็นเหตุแห่งสุขเป็นอันมากมาให้ พระผู้มีพระภาคทรงกำจัดอกุศลธรรม ทรงนำกุศลธรรมมาให้ฯลฯซึ่งรายละเอียดได้นำเสนอในบทที่ 3 แล้ว 2) กลุ่มอุบาสก พบว่าพระพุทธเจ้าจะทรงตอบเฉพาะปัญหาที่เป็นไปเพื่อเพิ่ม กุศลและละอกุศลเท่านั้น ปัญหาใดที่ไม่เป็นไปเพื่อละอกุศลแล้วไม่ทรงตอบและปัญหา บางอย่างตอบยืนยันอย่างเดียวไม่ได้(เอกังสพยากรณ์) ปัญหาบางทรงต้องแยกแยะประเด็น ในการตอบคำถาม อย่างปัญหาของอภัยราชกุมารสูตรว่าด้วยพระราชกุมารชื่อว่าอภัยถาม ปัญหาว่า มีบ้างไหมที่พระตถาคตตรัสวาจาอันไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น พระพุทธ องค์ทรงแยกแยะประเด็นในการตอบ ฯลฯ 3.3 ทรงเลือกหลักธรรมที่เกี่ยวกับปัญหาและความต้องการของบุคคลและกลุ่ม บุคคล ให้เหมาะสมกับระดับภูมิปัญญาดังนี้ 1) กลุ่มภิกษุ พบว่าพระพุทธเจ้าทรงตอบปัญหาตามเนื้อหาที่ทูลถามที่เป็นไป เพื่อการปฏิบัติถูกต้องตามพระธรรมวินัย เช่น มหาธัมมสมาทานธรรม ทรงตอบคำถามว่า ทำอย่างไรหนอ ธรรมที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ จะพึงเสื่อมไป ธรรมที่น่า ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ จะพึงเจริญยิ่งขึ้น พระพุทธองค์ทรงอธิบาย และใช้อุปมาเชิง เปรียบเทียบให้เข้าใจ ฯลฯ 2) กลุ่มอุบาสก พบว่าปัญหาส่วนมากเป็นเนื้อหาธรรมขั้นพื้นฐานในครองชีวิต ให้มีความสุขและปัญหาที่สงสัย เช่น ปัญหามหาวัจฉโคตรสูตร อุบาสกทูลว่า หลักธรรม อกุศลมูล 3 กุศลมูล 3 อกุศลกรรมบถ 10 และอกุศลกรรมบถ 10 นอกจากนั้นทูลถามว่า สาวกของพระผู้มีพระภาค คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกาผู้ได้เป็นพระอรหันต ขีณาสพ พระอนาคามี พระสกทาคามี และพระโสดาบัน มีอยู่หรือไม่ พระพุทธองค์ทรง ตอบว่า มิใช่เพียง 100, 200, 300, 400, 500 ที่แท้มีอยู่มากที่เดี่ยว ฯลฯ 3.4 ทรงพิจารณาถึงระดับภูมิปัญญาหรือความรู้ของผู้ฟังเพื่อที่จะเลือกวิธีการสอน ให้เหมาะสมกับระดับความรู้ความสามารถของแต่ละคนหรือกลุ่มบุคคลคือ 1) กลุ่มภิกษุ พบว่าพระพุทธเจ้าทรงตอบปัญหาพระเสขะและอเสขะ พระองค์ทรงใช้เทคนิคการสอนและศิลปะการสอนให้เหมาะสมกับภูมิปัญญา ฯลฯ 2) กลุ่มอุบาสก พบว่าพระพุทธเจ้าทรงพิจารณาภูมิปัญญาด้วยพระญาณของ พระองค์ก่อน เช่น มาคัณฑิยสูตร ว่าด้วยเรื่องมาคัณฑิยปริพาชกกล่าวหาว่าพระพุทธองค์ เป็นผู้ทำลายเพราะสอนให้สำรวจอินทรีย์ 6 ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ พระองค์ทรงอธิบาย พร้อมยกอุปมาขึ้นมาเปรียบถึง 3 ข้อ ง่ายต่อการเข้าใจ ฯลฯ 3.5 ทรงใช้เทคนิคการสอนให้สอดคล้องกับระดับภูมิปัญญาและภูมิหลังของผู้ฟัง ซึ่งเทคนิคพุทธวิธีการสอนประกอบด้วย 1) การเปรียบเทียบด้วยข้ออุปมาอุปไมย 2) การเล่า เรื่อง 3) การยกอุทาหรณ์ 4) การใช้สื่ออุปกรณ์ธรรมชาติ 5) การใช้เหตุการณ์ในปัจจุบัน
215 206 หรืออดีต 6) กรณีตัวอย่าง 7) การปฏิบัติเป็นแบบอย่าง ฯลฯ พบว่าการใช้เทคนิคการสอน ในแต่ละบุคคลหรือกลุ่มคนแตกต่างกันขึ้นอยู่กับภูมิปัญญาของผู้ฟัง 1) กลุ่มภิกษุ พบว่า พระพุทธเจ้าทรง เลือกใช้เทคนิคการสอนให้สอดคล้องกับ หลักธรรมของปัญหา เช่น สอนพระนันทะ ฯลฯ 2) กลุ่มอุบาสก พบว่าทรงเลือกใช้เทคนิคการสอนเหมาะสมกับปัญหาและ ผู้ฟังธรรม เช่น เอสุการีสูตร ว่าด้วยเอการีพราหมณ์ ทูลถามปัญหาข้อบัญญัติเกี่ยวกับการ บำเรอวรรณะ 4 ประการของพราหมณ์ พระองค์ทรงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ ฯลฯ 3.6 ทรงใช้ศิลปะการสอนที่ช่วยทำให้ผู้ฟังแต่ละบุคคลหรือกลุ่มบุคคลมีความสุขใน การสนทนาธรรมและได้รับประโยชน์จากการสนทนากับพระองค์มากที่สุดตามระดับภูมิ ปัญญาความรู้และภูมิหลังของผู้ฟัง ซึ่งศิลปะพุทธวิธีการสอนประกอบด้วย 1) สอนให้ร่าเริง เบิกบาน 2) พาไปดูตัวอย่าง 3) เร้าใจให้เกิดกำลังใจ 4) อธิบายให้แจ่มแจ้งเหมือนจูงมือไปดู ด้วยตา 5) สร้างแรงจูงใจชวนให้ปฏิบัติตาม 1) กลุ่มภิกษุ พบว่า พระพุทธเจ้าทรงใช้ศิลปะการตอบปัญหาและอธิบายเช่น องคุลิมาลวิ่งตามพระองค์ไม่ทันจึงเรียกให้หยุดก่อน พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เราหยุดแล้วอง คุลิมาล ท่านต่างหากจงหยุด องคุลิมาลกราบทูลว่า หมายความว่าอย่างไร พระผู้มีพระภาค ทรงตรัสว่าว่า องคุลิมาล เราวางอาชญาในสรรพสัตว์ได้แล้ว จึงชื่อว่า หยุดแล้วตลอดกาล ส่วนท่านไม่สำรวมในสัตว์ทั้งหลาย เพราะฉะนั้นเราจึงชื่อว่าหยุดแล้ว ส่วนท่านสิชื่อว่ายังไม่ หยุด พระผู้มีพระภาคได้ทรงสอนให้องคุลิมาลแปลกใจ เพื่อกระตุ้นความคิดในเหตุการณ์ที่ ไม่เคยปรากฏในตัวเขา ลำดับต่อมาจะเห็นได้ว่า องคุลิมาลเริ่มสนในในคำตรัสของพระผู้มี พระภาคและกราบทูลให้ทรงอธิบายความหมายให้เข้าใจ กล่าวว่าทรงสร้างแรงจูงใจให้ องคุลิมาล อยากฟังคำอธิบายจึงยอมทิ้งดาบและอาวุธ ขอบรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา และได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ในที่สุด ฯลฯซึ่งรายละเอียดได้นำเสนอในบทที่ 3 แล้ว 2) กลุ่มอุบาสก พบว่าพระพุทธเจ้าทรงใช้ศิลปะการสอนเพื่อช่วยทำให้ผู้ฟัง เข้าใจได้ง่ายขึ้นเช่นสุปปพุทธกุฏฐิสูตร ว่าด้วยชายโรคเรื้อนชื่อสุปปพุทธะ วิธีการสอนและ เหตุผลที่ทรงสอนในพระสูตรนี้พบว่า ทรงพิจารณาเห็นจิตผู้ควรได้บรรลุธรรม หลังจากฟัง ธรรมได้ดวงตาเห็นแล้ว วัวขวิดตาย ภิกษุทั้งหลายทูลถามวิบากกรรมของอุบาสกนี้ พระพุทธ องค์ทรงตรัสว่า เหตุในอดีตชาติ ชายโรคเรื้อนคนนี้เป็นบุตรเศรษฐี แต่วิบากผลที่กล่าวว่า ดูถูกพระปัจเจกพุทธะพระนามว่าโตครสิขี กำลังเดินบิณฑบาตว่า ใครนี้ เป็นโรคเรื้อนห่มผ้า สกปรกเที่ยวไปแล้วถ่มน้ำลายเดินแซงไปทางด้านซ้ายผ่านไปเพราะ ผลกรรมนี้จึงตกนรก และเกิดมาเป็นคนโรคเรื้อน ยากจน แต่ผลที่เขาได้ฟังธรรมของพระพุทธองค์ครั้งนี้ ไปเกิด เป็นเทวดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ทรงสอนให้มีความกล้า อาจหาญอยากปฏิบัติตามพระ ธรรมของพระองค์ ฯลฯ
216 207 สรุปรูปแบบการสอนด้วยการตอบปัญหา ดังภาพต่อไปนี้ ภาพที่ 6.3 รูปแบบการสอนด้วยการตอบปัญหา ที่มา : มาจาก พุทธนวัตกรรมการสอนในพระไตรปิฎก โดยสังเคราะห์ของผู้เขียน (2564) 6.4 รูปแบบการสอนด้วยการวางกฎระเบียบข้อปฏิบัติ รูปแบบการสอนด้วยการวางกฎระเบียบข้อปฏิบัติ โดยมีหลักการสอนและเหตุผล ในการสอนดังนี้ 4.1 ทรงพิจารณาถึงอัธยาศัยของผู้ฟังก่อนโดยพระญาณของพระองค์ 4.2 ทรงพิจารณาถึงปัญหาของพุทธบริษัทกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่ทำผิดพระธรรมวินัย แต่ละบุคคลหรือกลุ่มบุคคลดังนี้ 1) กลุ่มภิกษุและภิกษุณี พบว่า พระพุทธเจ้าทรงวางกฎข้อปฏิบัติหรือวาง ระเบียบที่ถูกต้องตามหลักพระพุทธศาสนา วิธีการสอนเรื่องนี้เมื่อภิกษุหรือ ภิกษุณี ทำผิด อย่างใดอย่างหนึ่ง และมีผู้กราบทูลพระองค์ หลังจากนั้นพระองค์ทรงเรียกประชุมสงฆ์ สอบถามข้อเท็จจริง ทรงตำหนิการกระทำที่ไม่ดี และทรงสอนหลักปฏิบัติที่ถูกโดยตั้งเป็น สิกขาบทในการปฏิบัติให้ถูกนอกจากนั้นมีบทลงโทษตั้งแต่สถานเบาจนถึงหนักสุดคือขาด จากความเป็นภิกษุและภิกษุณี เช่น เหตุการณ์ในหมู่บ้านจาตุมา พระพุทธองค์ทรงขับไล่ ภิกษุจำนวน 500 รูป ที่ส่งเสียงดังอื้ออึง ไม่เหมาะกับสมณะ นี้เป็นการสอนให้รู้มารยาทที่ดี และเรื่องลาภสักการะและความสรรเสริญที่พระพุทธองค์ทรงสอนว่าเป็นสิ่งทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคายและเป็นอันตรายต่อการบรรลุธรรม เรื่องภิกษุณีไปดูการขับร้องฟ้อนรำ เรื่อง 1.สร้างไมตรีระหว่างผู้เรียน 2. เป้าหมายของการสนทนา 3. ระดับปัญหา 4. เข้าใจความต้องการของผู้ฟัง 5. ใช้พุทธนวัตกรรม 6. ใช้สื่อและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
217 208 ภิกษุไปสอนภิกษุณีถึงที่สำนัก ชาวบ้านตำหนิการกระทำและพระพุทธองค์บัญญัติไม่ให้ กระทำ ดังกล่าว ฯลฯ 2) กลุ่มอุบาสกและอุบาสิกาพบว่า พระพุทธเจ้าทรงวางกฎข้อปฏิบัติหรือวาง ระเบียบที่ถูกต้องตามหลักพระพุทธศาสนา วิธีการสอนเรื่องนี้ทรงปรับทัศคติจากความ เดิม ๆ มาเป็นความคิดใหม่เปลี่ยนทัศนคติใหม่ในการปฏิบัติตนให้ความสุขที่ถูกต้องตาม หลักพระพุทธศาสนา เช่นในสัตถูปมสูตร พระพุทธองค์ทรงสอนภิกษุเรื่องเมือจิตเศร้าหมอง หวังได้ว่าจะต้องไปสู่ทุคติ ในขณะที่สุนทริกภารทวาชปริพาชกนั่งอยู่ไม่ห่างจากพระพุทธองค์ ไปทูลถามการอาบน้ำลอยบาป พระพุทธองค์ ทรงสอนวิธีการอาบน้ำลอยบาปแบบหลัก พระพุทธศาสนา ชี้ให้เห็นวิธีการสอนด้วยการปรับความคิดใหม่ให้ถูกต้องตามหลักพระพุทธ สาสนา ฯลฯ 4.3 ทรงเลือกหลักธรรมที่เกี่ยวกับปัญหาและความต้องการของบุคคลและกลุ่ม บุคคล ให้เหมาะสมกับระดับภูมิปัญญาดังนี้ 1) กลุ่มภิกษุและภิกษุณี พบว่า พระพุทธเจ้าทรงวางกฎระเบียบข้อปฏิบัติให้ ถูกต้อง ตามพระธรรมวินัย เพื่อพัฒนาจิตให้หลุดพ้นจากกิเลสบรรลุธรรมขั้นสูงสุด ฯลฯ 2) กลุ่มอุบาสกและอุบาสิกา พบว่า ส่วนมากเป็นเนื้อหาธรรมขั้นพื้นฐานใน ครองชีวิตให้มีความสุขและปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักพระพุทธศาสนา เช่น การอาบน้ำใน พระพุทธศาสนา ด้วยการไม่พูดเท็จ ไม่เบียดเบียนสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ มีศรัทธา และไม่ตระหนี่ ฯลฯ 4.4 ทรงพิจารณาถึงระดับภูมิปัญญาหรือความรู้ของผู้ฟังเพื่อที่จะเลือกวิธีการสอน ให้เหมาะสมกับระดับความรู้ความสามารถของแต่ละคนหรือกลุ่มบุคคลคือ 1) กลุ่มภิกษุ พบว่าพระพุทธเจ้าทรงวางกฎระเบียบข้อปฏิบัติตามเหตุการณ์ ที่เป็นจริงและยอมรับของคณะสงฆ์หลังจากการประชุมซักถามข้อเท็จจริง และปรับเปลี่ยน หลักการปฏิบัติให้ถูกต้อง พร้อมทั้งวางโทษของการปฏิบัติผิดหลักพระธรรมวินัย เช่น ภิกษุ โกสัมพีทะเลาะวิวาทแตกสามัคคี ฯลฯ 2) กลุ่มอุบาสก พบว่าพระพุทธเจ้าทรงพิจารณาภูมิปัญญาด้วยพระญาณของ พระองค์ก่อน เช่น สุนทริกภารทวาชปริพาชก มีความรู้พื้นฐานเดิมเชื่อว่าความบริสุทธิ์มีได้ เพราะการอาบน้ำลอยบาป พระพุทธองค์ทรงปรับหลักธรรมให้สอดคล้องกับความเชื่อเดิม แต่ให้เปลี่ยนความหมายใหม่ ความคิดใหม่ตามหลักพระพุทธศาสนา ฯลฯ 4.5 ทรงใช้เทคนิคการสอนให้สอดคล้องกับระดับภูมิปัญญาและภูมิหลังของผู้ฟัง ซึ่งเทคนิคพุทธวิธีการสอนประกอบด้วย 1) การเปรียบเทียบด้วยข้ออุปมาอุปไมย 2) การ เล่าเรื่อง 3) การยกอุทาหรณ์ 4) การใช้สื่ออุปกรณ์ธรรมชาติ 5) การใช้เหตุการณ์ในปัจจุบัน
218 209 หรืออดีต 6) กรณีตัวอย่าง 7) การปฏิบัติเป็นแบบอย่าง ฯลฯ พบว่าการใช้เทคนิคการสอน ในแต่ละบุคคลหรือกลุ่มคนแตกต่างกันขึ้นอยู่กับภูมิปัญญาของผู้ฟัง คือ 1) กลุ่มภิกษุและภิกษุณี พบว่าพระพุทธองค์ทรงปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างให้ ภิกษุและภิกษุณีปฏิบัติตามโดยยึดหลักพระธรรมวินัย ฯลฯ 2) กลุ่มอุบาสกและอุบาสิกา พบว่าส่วนมากทรงวางหลักปฏิบัติในการครอง ชีวิตแบบฆราวาสให้มีความสุข เช่น การไหว้ทิศทั้ง 4 ให้ถูกต้อง การรักษาศีล บริจาคทาน และการอาบน้ำลอยบาป ฯลฯ 4.6 ทรงใช้ศิลปะการสอนที่ช่วยทำให้ผู้ฟังแต่ละบุคคลหรือกลุ่มบุคคลมีความสุขใน การสนทนาธรรมและได้รับประโยชน์จากการสนทนากับพระองค์มากที่สุดตามระดับภูมิ ปัญญาความรู้และภูมิหลังของผู้ฟัง ซึ่งศิลปะพุทธวิธีการสอนประกอบด้วย 1) สอนให้ร่าเริง เบิกบาน 2) พาไปดูตัวอย่าง 3) เร้าใจให้เกิดกำลังใจ 4) อธิบายให้แจ่มแจ้งเหมือนจูงมือไปดู ด้วยตา 5) สร้างแรงจูงใจชวนให้ปฏิบัติตาม 1) กลุ่มภิกษุ พบว่า พระพุทธเจ้าทรงใช้ศิลปะการวางกฎระเบียบข้อปฏิบัติ ด้วยการประชุมสงฆ์ ซักถามเรื่องราวที่เกิดขึ้น กับภิกษุและภิกษุณี เพื่อให้ทุกคนเห็นชอบใน มติที่ประชุมก่อนที่จะวางเป็นข้อปฏิบัติโดยไม่มีใครขัดค้านและต่อต้านการปฏิบัติตาม หลักธรรมวินัย ฯลฯ 2) กลุ่มอุบาสก พบว่าพระพุทธเจ้าทรงใช้ศิลปะการสอนเพื่อช่วยทำให้ผู้ฟัง เข้าใจได้ง่ายขึ้น เช่น การสอนแนะการปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักพระธรรมของจัณฑสูตรว่า ด้วยผู้ใหญ่บ้านชื่อจัณฑะที่ทูลถามว่าอะไรเป็นเหตุให้คนในโลกนี้ถึงกับเป็นคนดุร้ายและ อะไรเป็นเหตุให้คนในโลกนี้ถึงกับเป็นคนสงบเสงี่ยม และอธิบายข้อปฏิบัติให้ผู้ใหญ่บ้านชื่อ อสิพันธราบุตรในเรื่องชาวบ้านมีคณโทน้ำติดตัว ประดับพวงมาลัย สาหร่าย อาบน้ำติดตัว ประดับพวงมาลัย สาหร่าย อาบน้ำทุกเช้าเย็น บำเรอไฟ พราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าทำสัตว์ที่ ตายแล้วให้ฟื้นและให้รู้ชอบให้ขึ้นสวรรค์ ว่าพระพุทธองค์ทำได้หรือไม่ พระองค์ทรงอธิบาย หลักปฏิบัติตามกุศลกรรมบถ 10 จนพราหมณ์เลื่อมใสศรัทธาในพระรัตนตรัย ฯลฯ ชี้ให้เห็น ว่าพระพุทธเจ้าทรงใช้ศิลปะการสอนชวนให้อยากปฏิบัติตามดังคำที่ว่า
219 210 สรุปรูปแบบการสอนด้วยการวางกฎระเบียบข้อปฏิบัติ ดังภาพต่อไปนี้ ภาพที่ 6.4 รูปแบบการสอนด้วยการวางกฎระเบียบข้อปฏิบัติ ที่มา : มาจาก พุทธนวัตกรรมการสอนในพระไตรปิฎก โดยสังเคราะห์ของผู้เขียน (2564) 6.5 หลักการสอนโดยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง เมื่อพิจารณารูปแบบพุทธนวัตกรรมการสอนในภาพรวมแต่ละเรื่องที่ทรงสอนนั้น พบว่า พระพุทธเจ้าทรงมีหลักการสอนและเหตุผลที่ทรงสอนดังนี้ 1. ทรงพิจารณาดูอัธยาศัยของบุคคลแต่ละคนก่อนสอน 2. ทรงพิจารณาถึงปัญหาและความต้องการของผู้ฟังธรรม 3. ทรงเลือกหลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับปัญหาและความต้องการของผู้ฟังต้องการ 4. ทรงพิจารณาถึงระดับภูมิปัญญาของผู้ฟัง 5. ทรงพิจารณาถึงภูมิหลังของผู้ฟัง 6. ทรงเลือกรูปแบบวิธีการสอนตามอัธยาศัยของแต่ละบุคคลหรือกลุ่มคน 7. ทรงใช้เทคนิคการสอนให้สอดคล้องกับระดับภูมิความรู้และภูมิหลังของผู้ฟัง 8. ทรงใช้ศิลปะการสอนที่ช่วยทำให้ผู้ฟังมีความสุขและได้รับประโยชน์จากการฟัง ธรรมตามระดับสติปัญญา 1. รู้พื้นฐานของผู้ฟัง 2. เข้าใจค าถามของผู้สนทนา 3. เลือกเนื้อหาที่สอดคล้องกับค าถาม 4. ตรงตามความต้องการ 5. ตอบค าถามได้ตรงตามเนื้อหา 6. ผู้ฟังได้รับค าตอบตามที่ต้องการสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
220 211 สรุปหลักการสอนโดยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง ดังภาพต่อไปนี้ ภาพที่ 6.5 หลักการสอนโดยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง ที่มา : มาจาก พุทธนวัตกรรมการสอนในพระไตรปิฎก โดยสังเคราะห์ของผู้เขียน (2564) 6.6 หลักเหตุผลในรูปแบบพุทธวิธีการสอนต่าง ๆ หลักเหตุผลในรูปแบบพุทธวิธีการสอนต่าง ๆ เกี่ยวกับผู้เรียนหรือฟังธรรม พบว่า พระพุทธองค์ทรงพิจารณาดูอัธยาศัยของบุคคลแต่ละคนก่อนสอนด้วยพระญาณของ พระองค์ดังนี้ 1. สอนโดยพิจารณาถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล 2. สอนให้เหมาะสมกับภูมิหลังและภูมิปัญญาของผู้เรียน 3. สอนโดยคำนึงถึงความพร้อมของบุคคล 4. สอนให้ผู้เรียนลงมือทำด้วยตนเอง 5. สอนให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น 6. สอนเอาใจใส่เป็นรายบุคคล 7. สอนช่วยเหลือผู้มีปัญหาพิเศษ 8. สอนเรื่องง่ายไปหายาก 9. สอนเนื้อหาเหมาะสมกับผู้เรียน 1. ถามปัญหาและพิจารณาพื้นฐานความรู้เดิม 2. เนื้อหาและเหมาะสมตามระดับชั้นเรียน 3. เลือกรูปแบบการสอนที่เหมาะสม 4. ใช้สื่อและเทคนิคทันสมัย 5. ประเมินการเรียนเน้นความสุข
221 212 สรุปหลักเหตุผลในรูปแบบพุทธวิธีการสอนต่าง ๆ ดังภาพต่อไปนี้ ภาพที่ 6.6 หลักเหตุผลในรูปแบบพุทธวิธีการสอนต่าง ๆ ที่มา : มาจาก พุทธนวัตกรรมการสอนในพระไตรปิฎก โดยสังเคราะห์ของผู้เขียน (2564) 6.7 การประยุกต์หลักการ รูปแบบ เนื้อหา เทคนิคการสอน วิธีการสอน การประยุกต์หลักการ รูปแบบ เนื้อหา เทคนิคการสอน วิธีการสอน ใช้ในการเรียน การสอนในโรงเรียนและสถานศึกษา ตลอดถึงการเผยแพร่พระพุทธศาสนา ดังนี้ จากการศึกษาพุทธวิธีการสอนในพระไตรปิฎกสามารถสังเคราะห์นำไปประยุกต์ใช้ ในการเรียนการสอนและการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในสังคมปัจจุบันได้เป็น 5 ประเด็น ดังนี้ 1. กำหนดเนื้อหาหรือเรื่องที่สอนให้สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของ ผู้เรียนแต่ละบุคคลและกลุ่มบุคคล ซึ่งแยกเป็น กลุ่มพระภิกษุ และกลุ่มฆราวาส โดยมี หลักการดังนี้ 1) จัดเนื้อหาให้เหมาะสมกับผู้เรียน 2) สอนเรื่องง่ายไปหายาก 3) สอนเนื้อหาสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวไปหาสิ่งที่อยู่ไกลตัวและสามารถสัมผัสได้ด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย ด้วยประสบการณ์โดยตรง 4) สอนมีเหตุผลและสอนสิ่งที่มีความหมายสามารถเรียนรู้และเข้าใจได้ด้วย ตนเอง 1. พิจารณาความแตกต่างและภูมิหลังของผู้เรียน 2. ค านึงถึงความพร้อมและลงมือปฏิบัติ 3. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ 4. เนื้อหาพิจารณาจากง่ายไปหายาก 5. เอาใจใส่เป็นรายบุคคล 6. ประเมินผลการสอนและความสุขของผู้เรียน
222 213 5) สอนเท่าที่จำเป็นพอดีเหมาะสมกับวัยของผู้เรียนที่สามารถรับรู้และเข้าใจได้ ตามระดับสติปัญญา ไม่ใช่สอนแสดงภูมิว่าผู้สอนมีความรู้มาก 2. ต้องคำนึงถึงอัธยาศัยของผู้เรียนแต่ละบุคคลและกลุ่มบุคคลซึ่งมีลักษณะดังนี้ 1) สอนโดยพิจารณาถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล 2) สอนให้เหมาะสมกับภูมิหลังและภูมิปัญญาของผู้เรียน 3) สอนโดยคำนึงถึงความพร้อมของบุคคล 4) สอนให้ผู้เรียนลงมือทำด้วยตนเอง 5) สอนให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น 6) สอนเอาใจใส่เป็นรายบุคคล 7) สอนช่วยเหลือผู้มีปัญหาพิเศษ 3. การกำหนดรูปแบบการสอนให้สอดคล้องเนื้อหา ปัญหา ความต้องการ และ อัธยาศัยของผู้เรียน ซึ่งประกอบด้วย 1) การสอนแบบสนทนา ถาม-ตอบ 2) การบรรยาย 3) การตอบปัญหาและการวางกฎระเบียบข้อปฏิบัติให้สอดคล้องกับปัญหาและ ความต้องการของอัธยาศัยของผู้เรียน 4. การเลือกใช้เทคนิคและศิลปะการสอนให้สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการ ของผู้เรียน เพื่อให้การเรียนการสอนมีบรรยากาศที่ดีและบรรลุวัตถุประสงค์ได้ง่ายซึ่งมี องค์ประกอบแต่ละด้าน คือ ด้านเทคนิคการสอนสามารถเลือกใช้ได้ดังนี้ 1) การเปรียบเทียบด้วยข้ออุปมาอุปไมย 2) การเล่าเรื่อง 3) การยกอุทาหรณ์ 4) การสื่ออุปกรณ์ธรรมชาติ 5) การใช้เหตุการณ์ปัจจุบันหรืออดีต 6) กรณีตัวอย่าง 7) การปฏิบัติเป็นแบบอย่างและการเลือกใช้ศิลปะการสอนให้เหมาะสมกับ ความต้องการของผู้เรียนดังนี้ (1) สอนให้ร่าเริงเบิกบาน (2) พาไปดูตัวอย่าง (3) เร้าใจให้เกิดกำลังใจ (4) อธิบายให้แจ่มแจ้งเหมือนจูงมือไปดูด้วยตา (5) สร้างแรงจูงใจชวนให้ปฏิบัติตามได้รับประโยชน์สูงสุด
223 214 5. ประเมินผลการเรียนโดยผู้เรียนประเมินตนเองและประเมินผลโดยผู้สอน สรุปการประยุกต์หลักการ รูปแบบ เนื้อหา เทคนิคการสอน วิธีการสอน ดังภาพ ต่อไปนี้ ภาพที่ 6.7 การประยุกต์หลักการ รูปแบบ เนื้อหา เทคนิคการสอน วิธีการสอน ที่มา : มาจาก พุทธนวัตกรรมการสอนในพระไตรปิฎก โดยสังเคราะห์ของผู้เขียน (2564) 6.8 พุทธนวัตกรรมการเรียนการสอน 1) สถาบันการศึกษา ได้แก่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และมหา มกุฎราชวิทยาลัย นำข้อมูลเกี่ยวกับหลักการสอนพุทธวิธีการสอนในพระไตรปิฎกไปพัฒนา พระนิสิตในการฝึกอบรมการสอน การเผยแผ่พระพุทธศาสนา และการจัดการเรียนการสอน ศีลธรรมในโรงเรียนและได้ แนวทางในการนำหลักพุทธธรรมไปเผยแพร่พระพุทธศาสนา และการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนการสอนอย่างมี ประสิทธิภาพ 2) สำนักเรียนและเจ้าอาวาสวัด สามารถนำผลการวิจัยไปปรับปรุงการเรียนการ สอนในโรงเรียนและการเผยแพร่พระพุทธศาสนาของพระภิกษุสามเณร แก่พุทธบริษัททั้ง 4 คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกา อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับยุคโลกาภิวัตน์ ในปัจจุบัน 3) พระภิกษุสามเณรผู้มีหน้าที่ในเทศน์สอนและ ครูอาจารย์ ในสถานศึกษาควรนำ ผลการศึกษาวิจัยพุทธวิธีการสอนจากพระไตรปิฎกนี้ไปประยุกต์ใช้ในการสอนกับศาสตร์ อื่น ๆ ได้อย่างเหมาะสมในสังคมปัจจุบันโยดยัดหลักพุทธวิธีการสอนในแต่ละด้านดังนี้ 1. ก าหนดเป้าหมาย 2. ก าหนดเนื้อหาให้เหมาะสม 3. จัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับเนื้อหา 4. ใช้สื่อใกล้ตัวและทันสมัย 5. เปิดโอกาสให้ซักถาม 6. ประเมินความสุขในการเรียน
224 215 3.1 ด้านผู้เรียนหรือผู้ฟังธรรมควรนำไปประยุกต์ในการสอนหรือการเผยแผ่ พระพุทธศาสนาดังนี้ 3.1.1 สอนโดยพิจารณาถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล 3.1.2 สอนให้เหมาะสมกับภูมิหลังและภูมิปัญญาของผู้เรียน 3.1.3 สอนโดยคำนึงถึงความพร้อมของบุคคล 3.1.4 สอนให้ผู้เรียนลงมือทำด้วยตนเอง 3.1.5 สอนให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น 3.1.6 สอนเอาใจใส่เป็นรายบุคคล 3.1.7 สอนช่วยเหลือผู้มีปัญหาพิเศษ 3.1.8 สอนเรื่องง่ายไปหายาก 3.1.9 สอนเนื้อหาเหมาะสมกับผู้เรียน 3.2 ใช้เหตุผลในการประยุกต์สอนตามหลักพุทธวิธีการสอนให้เหมาะสมกับ ผู้เรียนหรือผู้ฟังธรรมในแต่ละด้านดังนี้ 3.2.1 ทรงพิจารณาดูอัธยาศัยของบุคคลแต่ละคนก่อนสอน 3.2.2 ทรงพิจารณาถึงปัญหาและความต้องการของผู้ฟังธรรม 3.2.3 ทรงเลือกหลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับปัญหาและความต้องการของผู้ฟัง ต้องการ 3.2.4 ทรงพิจารณาถึงระดับภูมิปัญญาของผู้ฟัง 3.2.5 ทรงพิจารณาถึงภูมิหลังของผู้ฟัง 3.2.6 ทรงเลือกรูปแบบวิธีการสอนตามอัธยาศัยของแต่ละบุคคลหรือ กลุ่มคน 3.2.7 ทรงใช้เทคนิคการสอนให้สอดคล้องกับระดับภูมิความรู้และภูมิหลัง ของผู้ฟัง 3.2.8 ทรงใช้ศิลปะการสอนที่ช่วยทำให้ผู้ฟังมีความสุขและได้รับประโยชน์ มากที่สุด
225 216 สรุปพุทธนวัตกรรมการเรียนการสอน ดังภาพต่อไปนี้ ภาพที่ 6.8 พุทธนวัตกรรมการเรียนการสอน ที่มา : มาจาก พุทธนวัตกรรมการสอนในพระไตรปิฎก โดยสังเคราะห์ของผู้เขียน (2564) 6.9 การประเมินผลการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ แนวโน้มการประเมินผลการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 วิธีการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ที่มีประสิทธิผลจะช่วยให้ ผู้เรียนทราบข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนของตนเองอย่างทันท่วงที และเชื่อมโยงไปยังเกณฑ์ที่ จำเป็นเพื่อปรับปรุงพัฒนาตนเองให้ดียิ่งขึ้น ดังนั้นผลการเรียนของนักเรียนจึงควรให้ นักเรียนสามารถดูเกรดการเรียนของตนเองได้ทันทีในเว็บไซด์ โดยมี การอัพเดตให้มีข้อมูล ที่ใหม่เสมอ โดยดูได้ทั้งรายจุดประสงค์ รายบุคคลและรายวิชา รวมทั้งผู้ปกครองสามารถดู ผลการเรียนของนักเรียนของตนเองได้จากทุกที่ทุกเวลา 1. หลักการประเมินผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 การประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียนใน ศตวรรษที่ 21 ผู้ประเมินหรือครูต้องคำนึงถึงหลักการต่อไปนี้ 1) การประเมินที่แปรเปลี่ยนไม่ใช่ประเมินตามเงื่อนไขมาตรฐานเดียวกัน เนื่องจากผู้เรียนบางคนหรือบางกลุ่มต้องใช้เวลาในการทำงานที่มากขึ้นเพื่อความสำเร็จของ งานที่ไม่เหมือนกับเพื่อน หรือเป็นงานที่ท้าทายหรือมีความยากง่ายต่างจากเพื่อน ๆ กลุ่ม อื่น ๆ ครูผู้ประเมินต้องมีมาตรฐาน การให้คะแนนที่แตกต่างกันในแต่ละกลุ่ม ทั้งเรื่อง ความคิดสร้างสรรค์ การคิดเชิงวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการแก้ปัญหาในการทำงาน และ 1. สถานศึกษามีความพร้อม 2. มีครูสอนที่เก่ง 3. ผู้เรียนมีความพร้อม 4. สภาพแวดล้อมเอื้อต่อการเรียน
226 217 ต้องมีความเข้าใจในเรื่องของการประเมินที่ผันแปรไปตามเวลา บริบท และกระบวนการ ประเมินผลงาน 2) การประเมินทั้งระดับบุคคลและทีมงาน เนื่องจากโลกในศตวรรษที่ 21 การวัดผลงานความสำเร็จของคนไม่ได้วัดจากผลงานของคนเพียงคนเดียว แต่มักเป็นผลงาน ที่ได้ร่วมคิดและพัฒนาขึ้นจากทีมงาน ซึ่งอาจมีการให้ผลตอบแทนจากการพัฒนาชิ้นงาน เป็นทีมและความร่วมมือเป็นสำคัญ ดังนั้นการประเมินความสำเร็จจากผลงานของทีมผู้ ประเมินจึงต้องให้ความสำคัญอย่างมากและมากกว่าการประเมินรายบุคคล 3) การประเมินที่เปิดเผย การประเมินผลการเรียนของผู้เรียนจะไม่เป็น ความลับสำหรับเขาอีกต่อไป การประเมินในศตวรรษที่ 21 ต่างไปจากการประเมินใน ศตวรรษที่ 20 ที่มุ่งเน้นการทดสอบต้องเป็นความลับ แต่คุณค่าของการประเมินในศตวรรษ ที่ 21 อยู่ที่การเปิดเผยการประเมินโดยผู้เรียนจะได้มีส่วนร่วมในการสร้างแบบประเมินหรือ แบบทดสอบด้วย และให้ผู้เรียนได้นำสิ่งที่จะสอบไปศึกษา พิจารณาและตอบมาอย่าง รอบคอบ ดังนั้นการรู้คำถามก่อนการสอบจึงไม่ใช่การโกงข้อสอบอีกต่อไป แต่เป็นการแสดง ความรับผิดชอบและความรอบคอบของผู้สอบ และเป็นการทำให้ผู้เรียนทุกคนมีโอกาส ประสบความสำเร็จทางการเรียนอย่างเป็นธรรม 2. การเข้าใจ การประเมินทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 มีแนวโน้นไม่เพียงแต่รู้ งานก่อนการประเมิน แต่เขาน่าจะมีส่วนในการออกแบบเกณฑ์ท้าทายและร่วมสร้างแบบ ประเมินด้วย เพื่อให้เขาเข้าใจตนเองได้ด้วยในการทำงาน ดังนั้นประเมินต้องมีความยืดหยุ่น ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนได้ทั้งทักษะและความเข้าใจ ซึ่งความเข้าใจขอผู้นำนั้นนำจะมาจาก ความสามารถในการอธิบายสิ่งที่เขาได้เรียนรู้แก่ผู้อื่น หลักฐานของความเข้าใจของแต่ละคน จึงเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการประเมิน 3. การสำรวจ การท่องจำไม่ใช่การเรียนรู้ แต่นักเรียน จะเรียนรู้ได้เมื่อเขาได้ สำรวจสิ่งที่เรียนรู้ ครูจึงมีหน้าที่จะเป็นผู้ช่วยเปิดประตูไปสู่ดินแดนแห่งการสำรวจที่ตาม เงื่อนไขแบบมาตรฐานเดียว ให้แก่ผู้เรียน โดยครูใช้คำถามที่ท้าทาย โดยการสำรวจที่ดีนั้น ต้องอาความร่วมมือจากหลายฝ่าย ต้องอาศัยการช่วยเหลือกัน การร่วมแสดงความคิดเห็น และการให้แรบันดาลใจแก่กันระหว่างผู้สำรวจด้วยกัน และเมื่อสำรวจแล้วผู้เรียนต้องนำมา เปิดเผยแก่ผู้อื่น ไม่ใช่เข ไว้เป็นความลับ 4. การสร้างสรรค์ ในเรื่องของการประเมินจะเป็นไปอย่างเปิดเผย ไม่มีความลับ ผู้เรียนจึงมีส่วนร่วมในการออกและสร้างการประเมิน ไม่ใช่เป็นเพียงผู้รับการประเมิน ดังนั้น บริบทของการประเมิน การทดสอบความคิดสร้างสรรค์ด้วยการทดสอบแบบมาตรฐานเดียว จึงเป็นส่วนที่ไม่ถูกต้อง แต่ครูจะต้องท้าทายให้ผู้เรียนพิจารณาขอบเขตของสิ่งที่พวกเขา กำลังทำอยู่ เพื่อทำแนวการประเมินตนเอง และที่สำคัญผู้สอนต้องคำนึงถึงว่าการประเมิน
227 218 นั้นจะต้องสนับสนุนข้อผิดพลาด มากกว่าการนำไปลงโทษผู้เรียน เพราะข้อผิดพลาดในการ ทำงานนั้นถือว่าเป็นหลักฐานสำคัญว่าผู้เรียนกล้าเสี่ยงใช้เนื้อหาหรือการทำงานที่ยากใน ลักษณะสร้างสรรค์ ครูต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนทำงานร่วมกัน เพราะการทำงานร่วมกันจะช่วยกระตุ้นให้ ผู้เรียมมองใหม่ต่าง ๆ และความคิดเห็นทางเลือกและการวิพากษ์วิจารณ์จะเป็นกร ผู้เรียน เกิดความคิดสร้างสรรค์ 5. การแบ่งปัน ผู้สอนต้องเปลี่ยนแปลงความคิดผู้เรียนจากการไม่เคยแบ่งปันงาน ของตนเองกับผู้อื่นมาเป็น "วันนี้คุณได้แบ่งปันงานของคุณกับใครบ้างแล้วหรือยัง" โดยครู ต้องไม่คิดแค่ว่าผู้เรียนเป็นเพียงผู้บริโภคการศึกษา แต่ยังแบ่งปันความเข้าใจกระบวนการ และความคิดกับนักเรียนและครูในห้องเรียนและทั่วโลก ดังนั้นปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน และผู้สอนเปลี่ยนจากการแลกเปลี่ยนสองทางไปเป็นการสนับสนุนเครือข่ายการเรียนรู้โดย นักเรียน เป้าหมายไม่ใช่แคให้ผู้เรียนพิสูจน์คุณค่าให้ครูรู้ แต่เพื่อให้ผู้เรียนมีส่วนช่วยเหลือ ชุมชนการเรียนรู้ 6. การให้ข้อมูลย้อนกลับจากการประเมิน เมื่อมีการสอบแล้ว สิ่งสำคัญต่อไปคือ การแจ้งผลการเรียนแก่ผู้เรียน ซึ่งผลการประเมินผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ผู้เรียนจะต้อง สามารถดูเกรดการเรียนของตนเองได้ทุกวัน และตรวจเกณฑ์ การให้คะแนนได้ทางออนไลน์ ตลอดเวลา ดังนั้นการทำให้เกณฑ์การประเมินโปร่งใสและเข้าใจได้ง่ายจะช่วยให้ผู้เรียน สามารถตัดสินใจเลือกเป้าหมายหรือระดับของงานที่พวกเขาต้องการบรรลุผล5 5 ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. พิมพ์ครั้งที่ 8. (นนทบุรี: บาลานซ์แอนปริ้นติ้ง, 2561), หน้า 9-11.
228 219 สรุปการประเมินผลการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ดังภาพต่อไปนี้ ภาพที่ 6.9 การประเมินผลการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ ที่มา : มาจาก พุทธนวัตกรรมการสอนในพระไตรปิฎก โดยสังเคราะห์ของผู้เขียน (2564) 6.10 หลักการการประเมินผลการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ วิชัย วงษ์ใหญ่ และ มารุต พัฒผล6 เสนอการประเมินผลการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ มีเป้าหมายเพื่อการประเมินกระบวนการเรียนรู้ การประเมินความก้าวหน้าทางการเรียนรู้ และการประเมินผลผลิตทางการเรียนรู้ ที่ผู้สอนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับ สถานการณ์ 1. การประเมินกระบวนการเรียนรู้ (Process assessment) การประเมิน กระบวนการเรียนรู้หมายถึง การตรวจสอบว่าผู้เรียน มีวิธีการ ขั้นตอน ในการสร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับตนเอง จากการปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ ซึ่งสอดคล้องกับหลักการ ประเมินการเรียนรู้ของพุทธศาสตร์การสอนในบทที่ 2-7 จะพบว่า พุทธเจ้าพระองค์ทรงใช้ กระบวนการประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียนซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้ 1) สังเกตการเรียนรู้ด้วยตนเองของภิกษุ 2) การถามปัญหาการปฏิบัติของตนเอง 3) การสนทนา ถามและตอบข้อสงสัย 6 วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล, การประเมินการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ (Creative Learning Assessment), (พิมพ์ที่บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพมหานคร, 2564), หน้า 1-7. 1. ประเมินพัฒนาเป็นรายบุคคล 2. ประเมินศักยภาพในศตวรรษที่ 21 3. ประเมินตรงตามความต้องการของผู้เรียน 4. ประเมินไม่เน้นการแข่งขัน 5. น าผลการประเมินพัฒนาผู้เรียน 6. น าผลการประเมินไปปรับปรุงการเรียนการสอน
229 220 4) การใช้วิธีการเปรียบเทียบผลการปฏิบัติ 5) ทรงยกอุปมาอุปไมยในการชี้แนะข้อปฏิบัติ 6) ทรงใช้ข้อบัญญัติเป็นแนวทางการประเมินตนเอง 2. การประเมินความก้าวหน้าทางการเรียนรู้ (Progress assessment) เป็น การประเมินความก้าวหน้าทางการเรียนรู้ หมายถึง การตรวจสอบว่าผู้เรียนมีพัฒนาการ หรือความก้าวหน้าทางการเรียนรู้ซึ่งอาจจะเป็นด้านความรู้ ทักษะ สมรรถนะ และ คุณลักษณะอันพึงประสงค์การและประเมินความก้าวหน้าทางการเรียนรู้สามารถใช้วิธีการ ประเมินได้อย่างหลากหลาย เช่น การสังเกตพฤติกรรม การตรวจสอบผลงาน การประเมิน ภาคปฏิบัติ เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสิ่งที่ผู้สอนต้องการประเมิน ซึ่งสอดคล้องกับหลักการ ประเมินความก้าวหน้าทางการเรียนรู้ของพระพุทธเจ้าสอนในบทที่ 2-7 จะพบว่า พุทธเจ้า พระองค์ทรงใช้การประเมินความก้าวหน้าทางการเรียนรู้ของผู้เรียนหลังจากทรงสอนพระ พุทธองค์ทรงว่า นี้คือหนทางแห่งความพ้นทุกข์ จงปฏิบัติด้วยความไม่ประมาท 3. การประเมินผลผลิตทางการเรียนรู้ (Product assessment) ผลผลิต ทางการเรียนรู้ หมายถึง ความรู้ ทักษะ สมรรถนะ เจตคติ คุณธรรมจริยธรรมและค่านิยม อันพึงประสงค์ของผู้เรียนที่เกิดจากการปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ เป็นสิ่งที่ตกผลึกอยู่ในตัว ผู้เรียนภายหลังเสร็จสิ้นการจัดการเรียนรู้ ซึ่งสอดคล้องกับหลักการประเมินผลผลิตทางการ เรียนรู้ของพระพุทธเจ้าสอนในบทที่ 2 – 7 จะพบว่า พุทธเจ้าพระองค์ทรงใช้การประเมินผล ผลิตด้วยพระองค์เองทุกครั้งหลังจากการสอนและแนะนำให้นำไปปฏิบัติพัฒนาตนเองให้มี ความสุข 4. บูรณาการการประเมินเข้ากับการจัดการเรียนรู้เป็นการประเมินผลการเรียนรู้ กับการจัดการเรียนรู้เป็นสิ่งที่ ต้องดำเนินการควบคู่กัน ซึ่งผู้สอนควรใช้แนวทางการประเมิน ที่เสริมพลังตามสภาพจริง ในลักษณะจัดการเรียนรู้ไปด้วยประเมินไปด้วยกัน ประเมิน ผู้เรียนแบบบูรณาการไปกับการจัดการเรียนรู้ จะทำให้เพิ่มคุณภาพการจัดการเรียนรู้ได้เป็น อย่างดีซึ่งสอดคล้องหลักการประเมินของพระพุทธเจ้า ทรงชี้แนะแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้อง หลังการสอนแล้วเพื่อให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติด้วยตนเอง สรุปได้ว่าการประเมินการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ คือการประเมินที่เน้นการพัฒนา มากกว่าการตัดสินผลการเรียน และในโลกของศตวรรษที่ 21 เป็นโลกแห่งการเรียนรู้ที่ต้อง รอบรู้ เพราะเป็นโลกแห่งข้อมูลข่าวสารจำนวนมหาศาลที่เรียกว่า Big Data เป็นองค์ความรู้ ที่ผู้สอนเป็นเพียงโค้ชชี้แนะการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยไม่เน้นการนำผลการเรียนรู้มาเป็นผล การเรียนที่คิดเป็นคะแนนตัดสินการเรียนรู้ในอนาคต
230 221 สรุปหลักการการประเมินผลการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ดังภาพต่อไปนี้ ภาพที่ 6.10 การหลักการการประเมินผลการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ ที่มา : มาจาก วิชัย วงษ์ใหญ่ และ มารุต พัฒผล (2564 : 1-7) 6.11 หลักการประเมินผลการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ตามหลักพุทธศาสนา พระพุทธศาสนานี้เรียกได้ว่าเป็นศาสนาแห่งการพัฒนาตน หรือจะเรียกว่าเป็น ศาสนาแห่งการฝึกตน หรือศาสนาแห่งการศึกษาก็ได้แต่ถ้าจะให้ตรงกับที่เป็นหัวข้อในที่นี้ ก็เรียกว่าเป็นศาสนาแห่งการพัฒนาตน ที่เรียกอย่างนี้ก็มีเหตุผลรองรับอย่างดี ประการที่ 1 หลักธรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาตนนั้นเป็นเรื่องใหญ่ เป็นแกนกลาง เป็นทั้งหมดของการปฏิบัติธรรมในทางพระพุทธศาสนา ประการที่ 2 บุคคลที่สูงสุดในทางพระพุทธศาสนา หรือผู้ได้บรรลุเป้าหมายในทาง พระพุทธศาสนา ท่านเรียกว่า บุคคลที่พัฒนาตนแล้ว หรือมีตนอันพัฒนาแล้ว หรือมีตนอัน ฝึกแล้ว หลักในพระพุทธศาสนา เทิดทูนการพัฒนาตนมาก ผู้พัฒนาตนแล้วเป็นสุดยอดของ บุคคลที่ได้รับการสรรเสริญในพระพุทธศาสนา การพัฒนาตนเป็นแกนของการปฏิบัติทั้งหมด ในพระพุทธศาสนา7 7 พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ, ปยุตฺโต), การเสริมสร้างคุณลักษณะเด็กไทย, (กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สื่อและสิ่งพิมพ์แก้วเจ้าจอม, 2554), หน้า 15-18. 1. การประเมินกระบวนการเรียนรู้ 2. การประเมินความก้าวหน้าทางการเรียนรู้ 3. การประเมินผลผลิตทางการเรียนรู้ 4. บูรณาการการประเมินเข้ากับการจัดการเรียนรู้
231 222 11.1 หลักพุทธธรรมในการสร้างจิตสำนึกในการพัฒนาตน การสร้างทมะก็คือการสร้างจิตสำนึกในการฝึกฝนพัฒนาตน ซึ่งเรียกว่าได้ว่าเป็น การสร้างนิสัยของนักศึกษา เป็นที่น่าสังเกตว่า ในเมื่อเราถือการศึกษาเป็นสำคัญ และให้คน เป็นนักศึกษานั้น เราทำให้คนหรือเยาวชนมีลักษณะจิตใจหรือมีนิสัยของนักศึกษาด้วยหรือไม่ และเราจะเอาอะไรเป็นนิสัยนักศึกษา นิสัยนักศึกษามีลักษณะอย่างไร ในทัศนะที่มองจากทางธรรม นิสัยนักศึกษาก็คือหลักธรรมข้อทมะนี้กล่าวคือ การมีจิตสำนึกในการที่จะฝึกฝนพัฒนาตนเองอยู่เสมอ จิตใจที่มุ่งฝึกฝนพัฒนาตนมีลักษณะ อย่างไร ลักษณะที่เด่นอย่างหนึ่งก็คือ การมองอะไร ๆ เป็นการเรียนรู้หมด หมายความว่า เมื่อเขาได้พบเห็นมีประสบการณ์อะไรเขาจะมองในแง่ที่จะเลือกเอามาใช้เอามาทำให้เป็น ประโยชน์คือ จะคอยถามตัวเองว่า ประสบการณ์นั้น ๆ จะนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการ แก้ไขปรับปรุงตัวของเขาเองอย่างไรหรือว่าจะนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์แก่สังคม ในการ ช่วยเหลือกัน ในการแก้ไขปัญหาได้อย่างไรประสบการณ์นี้เป็นเรื่องที่คนต้องพบอยู่เสมอ เป็นธรรมดา8 11.2 การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อการประเมินการพัฒนาตนเอง ความหมายของศัพท์ว่า บูรณาการ หรือ Integration คือ การทำให้สมบูรณ์ ถ้าจะ พูดให้สมบูรณ์ก็คงจะต้องให้ความหมายที่ละเอียดให้เกิดภาพที่ชัดยิ่งขึ้นว่า “การนำหน่วย ย่อยอันหนึ่งเข้ารวมกับหน่วยย่อยอื่น ๆ ภายในองค์รวมเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์” หรือ “การประมวลหน่วยย่อยที่แยก ๆ กันให้รวมเข้าเป็นองค์รวมที่ครบถ้วนสมบูรณ์” หรือ “การทำให้หน่วยย่อย ๆ ทั้งหลาย ที่สัมพันธ์อิงอาศัยซึ่งกันและกัน เข้ามาร่วมทำหน้าที่ ประสานกลมกลืนเป็นองค์รวมหนึ่งเดียวที่มีความครบถ้วนสมบูรณ์ในตัว” เป็นอันว่า ความเข้าในเกี่ยวกับเรื่องบูรณาการ หรือความหมายของมันนี้ ก็ไป สัมพันธ์กับทรรศนะที่มองสิ่งทั้งหลายเป็นองค์รวมที่เรียกว่า Holistic View หรือ Holism ในการพัฒนาเศรษฐกิจ ถ้าพัฒนาโดยมุ่งให้มนุษย์เป็นอยู่ดีท่ามกลางสภาพแวดล้อมทั้งทาง สังคมและนิเวศวิทยาที่เกื้อกูล ก็เรียกว่าใช้วิธีบูรณาการ หรือถ้าเป็นการศึกษา เอาเฉพาะ การสอน การสอนโดยทำให้คนพัฒนาขึ้นมาเต็มตัวทั้งคน ก็เป็นการใช้วิธีการบูรณาการใน หลักสูตรและการสอนก็มีตัวอย่าง เช่น เราจัดการสอนการเรียนให้เชื่อมโยงวิชาทั้งหลายทุก 8 พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต), จริยธรรมสำหรับคนรุ่นใหม่. (กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิพุทธ ธรรม, 2543), หน้า 37-38.
232 223 วิชาเข้ามาหากัน อาจจะตั้งเรื่องอะไรขึ้นมาเป็นหลักสักเรื่องหนึ่ง หรือเป็นแกนให้มีการ เรียนรู้ แล้วก็โยงทุกวิชาความรู้ที่เกี่ยวข้องเข้ามา9 11.3 องค์ประกอบของบูรณาการ ในการบูรณาการนั้น เราจะเอาหน่วยย่อยหน่วยหนึ่งมารวมเข้าในองค์รวมที่มี หน่วยย่อยอื่นอยู่แล้วก็ได้ หรือจะเอาหน่วยย่อยทั้งหลายที่ต่างแยก ๆ กันอยู่ มารวมเข้า ด้วยกันเป็นองค์รวมก็ได้ อันนี้เรียกว่าบูรณาการทั้งสิ้น แต่ข้อสำคัญจะต้องมีตัวยืนที่เป็น หลักอยู่ 3 อย่างในการบูรณาการ คือ 1. มีหน่วยย่อย องค์ประกอบ ชิ้นส่วน อวัยวะ หรือ ขั้น ระดับ แง่ ด้าน ที่จะเอามา ประมวลเข้าด้วยกัน อันนี้เป็นสิ่งที่จะเอามาประมวลเข้าด้วยกัน คือ สิ่งย่อย ส่วนย่อย 2. หน่วยย่อยเป็นต้นนั้นมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงอิงอาศัยซึ่งกันและกัน อันนี้ อาจจะเลยไปถึงลักษณะที่ว่ายืดหยุ่นปรับตัวได้มีความเคลื่อนไหวตลอดเวลาด้วย 3. เมื่อรวมเข้าด้วยกันแล้วก็จะเกิดความครบถ้วนเต็มบริบูรณ์ โดยมีความประสาน กลมกลืน เกิดภาวะได้ที่ พอดี หรือสมดุล พอได้ที่ หรือสมดุลแล้ว องค์รวมนั้นก็มีชีวิตชีวา ดำรงอยู่และดำเนินไปด้วยดี อันนี้เป็นภาวะของบูรณาการ ถ้าครบ 3 อย่างนี้ก็เป็นบูรณาการ สามอย่างนี้เป็นตัวยืนที่จำเป็นตามสภาวะ ส่วน ในทางปฏิบัติจะมีหลักและกระบวนวิธีอย่างไรก็พิจารณาว่ากันอีกส่วนหนึ่ง แต่สิ่งที่จะต้อง เน้นก็คือว่า ความพอดีหรือได้ที่หรือสมดุล ซึ่งต้องเป็นภาวะที่ต้องการของบูรณาการนั้น10 11.4 การบูรณาการพระพุทธศาสนา การศึกษาพระพุทธศาสนานั้น อาจจัดแยกออกได้เป็น 2 หมวดใหญ่ คือ 1. การศึกษาภาคเนื้อหา ได้แก่ ข้อมูลความรู้ หรือสิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ซึ่งคนไทยและพุทธศาสนิกชนควรจะต้องรู้ตามสมควรแก่ฐานะของตน และเพื่อความเป็น ชาวพุทธที่ดี เช่น พุทธประวัติ ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา ความรู้เกี่ยวกับสถาบัน พระพุทธศาสนา วัฒนธรรมประเพณีไทยที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนา และหลักคำสอน ในพระพุทธศาสนา 2. การศึกษาภาคปฏิบัติการ ได้แก่ การพัฒนาผู้เรียนให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพ ซึ่งพร้อมที่จะอยู่ร่วมด้วยดีและมีส่วนในการพัฒนาสังคม โดยเฉพาะรู้จักนำหลักคำสอนของ 9 พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต), เพื่ออนาคตของการศึกษาไทย, กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา 2536, หน้า 30-32. 10เรื่องเดียวกัน, หน้า 33-34.
233 224 พระพุทธศาสนามาใช้ปฏิบัติ เพื่อตอบสนองความต้องการและแก้ปัญหาของท้องถิ่น และ ยุคสมัยนั้น ๆ ได้ การศึกษาภาคเนื้อหา เป็นสิ่งสำคัญ และมีความจำเป็นในขั้นพื้นฐาน แต่ถ้าหยุดอยู่ เพียงนั้น ก็จะไม่เป็นการศึกษาที่แท้จริง เพราะจะไม่เกิดการฝึกฝนพัฒนาแก่ชีวิตของบุคคล และไม่สำเร็จประโยชน์แก่สังคม เมื่อศึกษาภาคเนื้อหาข้อมูลพอสมควรแล้ว จะต้องเน้น ภาคปฏิบัติการในการฝึกฝนพัฒนาให้รู้จักปฏิบัติต่อประสบการณ์ หรือสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างถูกต้อง สามารถนำข้อมูลที่ได้เรียนรู้ไว้ไปใช้ประโยชน์ โดยให้รู้จักจักคิดเป็น พูดเป็น หรือสื่อสารเป็น ทำเป็นผลิตเป็น และแก้ปัญหาเป็นด้วย การศึกษาภาคปฏิบัติการนั้น มีลักษณะสำคัญ11 คือ 1. พัฒนาความสามารถที่จะนำความรู้ที่ได้เรียนในภาคเนื้อหามาใช้ให้เกิดผลจริง 2. เป็นการเรียนโดยยกเอาวัตถุประสงค์หรือปัญหาเป็นตัวตั้ง เช่น ตั้งหัวข้อว่า “เรียนอย่างไรจึงจะได้ผลดี?” “ทำอย่างไรครอบครัวของเราจึงจะมีความสุข?” “ชุมชนของ เราจะพัฒนาได้อย่างไร?” “สังคมอุตสาหกรรมที่ดีควรเป็นอย่างไร?” “รับฟังข่าวสาร อย่างไรจึงจะได้ประโยชน์?” “ท้องถิ่นนี้ชอบเล่นการพนัน จะแก้ปัญหาอย่างไร?” ฯลฯ 3. กระบวนการเรียนการสอนเน้นวิธีบูรณาการ แต่แทนที่จะบูรณาการ พระพุทธศาสนา หรือจริยธรรมเข้าในวิชาต่าง ๆ กลับเอาวิชาอื่น ๆ ทุกวิชามาบูรณาการเข้า โดยมีวิชาพระพุทธศาสนาหรือจริยศึกษาเป็นสนาม และเอาธรรมเป็นแกนของการบูรณาการ 11.5 บูรณาการวิชาพุทธศาสนาเข้ากับชีวิตจริง การที่จะบูรณาการวิชาพระพุทธศาสนาเข้าไปในวิชาต่าง ๆ คือ ถ้าว่าในแง่ของ บูรณาการ คิดว่าน่าจะเน้นในแง่ที่เป็นการบูรณาการเข้าไปในวิถีชีวิตมากกว่า หมายความว่า บูรณาการเข้าไปในชีวิตที่เป็นอยู่จริงของเด็ก แทนที่จะบูรณาการเข้าไปในวิชาโน้นวิชานี้ เพราะวิชาเหล่านั้นเองก็แปลกแยกจากชีวิตจริงอยู่แล้ว แล้วจะบูรณาการวิชากับวิชาไป ทำไม วิชาการเหล่านั้นเองนั่นแหละ จะต้องมาบูรณาการเข้ากับชีวิตที่เป็นจริง และถ้า ปฏิบัติถูกต้อง วิชาการเหล่านั้นจะอาศัยวิชาพุทธศาสนานี่เองเป็นสื่อหรือเป็นทางที่จะ บูรณาการเข้าไปในชีวิตคน จุดเน้นอยู่ที่จะบูรณาการเข้าไปในชีวิต และในสังคมที่เป็นอยู่ ปัญหาขณะนี้ก็คือ วิชาการต่าง ๆ แปลกแยกออกไปจากชีวิต แต่เป้าหมายของการศึกษา นั้นรวมอยู่ที่เดียว คือ บูรณาการวิชาการเหล่านั้นเข้าไปในชีวิตและในสังคมที่มีอยู่เป็นอยู่ แล้ว ทีนี้ วิชาพุทธศาสนานั้น ถ้าเราเข้าใจจริงคือเข้าถึงเนื้อแท้จะเป็นวิชาที่บูรณาการเข้าสู่ ชีวิตซึ่งเป็นของจริงโดยตรง เพราะเป็นเรื่องของความจริงด้วยกัน คือความจริงกับความจริง 11พระธรรมปิฎก(ป.อ. ปยุตฺโต), ทางสายอิสรภาพของการศึกษา, พิมพ์ครั้งที่ 2, (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สหธรรมิก, 2541), หน้า 104-106.
234 225 และธรรมะก็คือ เรื่องความจริงของชีวิตของเราเอง และการที่ชีวิตนั้นจะอยู่อย่างดี ท่ามกลางธรรมชาติในความเป็นจริงของโลกได้อย่างไร ซึ่งจะโยงมาถึงวินัย ที่เป็นเรื่องวิถี ชีวิต ของมนุษย์ที่อยู่ร่วมกันในชุมชนหรือในสังคม12 11.6 บูรณาการตัวแท้ของวิชาพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าสอนธรรม ซึ่งก็คือหลักความจริงที่มีอยู่ตามธรรมดา รวมทั้งการที่จะ ปฏิบัติหรือดำเนินชีวิตของเราให้ได้ผลดีที่สุดบนฐานแห่งความจริงนั้น ธรรมนั้นจะเรียกว่า เป็นวิชาหรือไม่ก็ได้ที่จริง การที่มาจัดเรียกเป็นวิชานั้น เป็นการทำให้ซับซ้อนมากขึ้น แต่ตัว แท้ของวิชาพุทธศาสนาคือธรรม เป็นเรื่องที่บูรณาการได้ง่ายที่สุด เพราะเป็นเรื่องของชีวิต เองอย่างที่ว่าแล้ว ก็คือการจัดปรับชีวิตให้เข้ากับความจริงในแง่มุมหรือในวิถีทางที่ชีวิตจะ เป็นอยู่ได้อย่างดีที่สุด เจริญงอกงามที่สุด นี่แหละจึงเป็นการบูรณาการที่ตรงจุด คือ เป็น เรื่องของการเข้าไปจัดปรับชีวิตจริงนั้นเลยทีเดียว ในเมื่อตัวแท้ของวิชาพุทธศาสนาคือธรรม เป็นอย่างนี้ถ้าเราจะบูรณาการวิชาการ อื่น เราก็ใช้ธรรมนั่นแหละมาบูรณาการวิชาการเหล่านั้นเข้ากับชีวิตของคน ไม่ต้องไปคิดว่า จะบูรณาการวิชาพุทธศาสนาเข้ากับวิชาเหล่านั้น ไม่ต้องไปทำอย่างนั้น น่าจะย้ายเป้าหมาย กันเลย เพราะว่าการบูรณาการเข้ากับชีวิตจริง เป็นเรื่องตรงไปตรงมา และถ้าเข้าถึงตัววิชา นั้นจริง ก็ง่าย13 11.7 บูรณาการธรรมะเข้าในชีวิตเด็ก ในขั้นพื้นฐาน ถ้าจะให้ได้ผลดีจริง ไม่ต้องบูรณาการวิชาพุทธศาสนาเข้ากับวิชา อะไรหรอก แต่ควรจะมุ่งบูรณาการธรรมเข้าไปในชีวิตที่เป็นอยู่นี้ อย่างไรก็ตาม ก็ต้องมองในแง่โอกาสด้วย สังคมที่เป็นอยู่นี้ไม่ค่อยเปิดทางให้มี การบูรณาการธรรมเข้าไปในวิถีชีวิต ก็จึงต้องอาศัยระบบการศึกษาที่จัดตั้งไว้นี้มาหาช่องที่ จะเอาธรรมเข้าไปสู่ชีวิต เมื่อช่องทางโดยตรงไม่มีก็ไปหาช่องแทรกตัวในวิชาการต่าง ๆ ใน กรณีอย่างนี้ถ้าจะทำให้ถูกต้อง ก็คงไม่ใช่เป็นการบูรณาการวิชาพุทธศาสนาเข้ากับวิชา อื่น ๆ แต่เป็นการอาศัยวิชาการเหล่านั้น เป็นช่องทางที่จะบูรณาการธรรมะเข้าไปในชีวิต ของเด็ก14 12พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), ข้อคิดเพื่อการศึกษา, (กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สื่อและ สิ่งพิมพ์แก้วเจ้าจอม, 2551), หน้า 14-15. 13เรื่องเดียวกัน หน้า 15. 14เรื่องเดียวกัน หน้า 18.
235 226 11.8 วัดผลด้วยหลักภาวนา 4 ในตอนที่พัฒนาคน เพราะว่ามันเป็นองค์รวม ทั้งสามอย่างนี้ต้องไปด้วยกันในแต่ละ เรื่อง คือต้องใช้ทั้ง 3 เพราะฉะนั้น ท่านจึงถือหลัก 3 ไม่ว่าในเรื่องใด ทุกเรื่องเรามีทั้งสาม คือ ศีล สมาธิปัญญา ต้องสืบเนื่องกันมา คือในขณะที่เรามีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม เราก็มีเจตจำนงต่อสิ่งนั้น มีท่าทีความตั้งใจต่อมันอย่างใดอย่างหนึ่ง พร้อมกันนั้นเราก็ทำได้ ในขอบเขตของความรู้และเราต้องเรียนรู้มันไปตลอดเวลาแล้วในการที่เราเรียนรู้เพิ่มขึ้น เราก็จะพัฒนาได้สภาพจิตของเราก็เปลี่ยนไป การมีพฤติกรรมสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมก็จะ เปลี่ยนจะพัฒนาไปด้วย ก็ไปด้วยกันทั้งหมด ฉะนั้นจึงมี3 อย่าง แต่พอวัดผล ท่านแยกเป็น 4 คือ แยกเป็น ภาวนา 4 เพราะตอนแยกนี่ ไม่ใช่ตอนทำงานแล้ว แต่ต้องการความชัดเจน ว่าด้านไหนไปได้แค่ไหน15 1) ภาวนา 4 ใช้ในการวัดผลพิจารณาความก้าวหน้าการปฏิบัติของตนเอง16 ดังนี้ (1) ดูความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางวัตถุ เช่น การกิน การอยู่ การบริโภค การใช้สอย การดูการฟัง ว่าเป็นอย่างไร (กายภาวนา) (2) ดูความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมด้านสังคม การอยู่ร่วมกับผู้อื่น ว่าเบียดเบียน เขาไหม ก่อความเดือดร้อนแก่คนอื่นไหม ทำร้ายเขาไหม ละเมิดเขาไหม หรืออยู่ร่วมกับเขา ได้ดีมีความสัมพันธ์ที่ดีงาม เกื้อกูล (สีลภาวนา) (3) ดูด้านจิตใจว่าเป็นอย่างไร ทั้งความรู้สึก/อารมณ์คือสภาพจิตใจความสุข ความทุกข์ความเข้มแข็ง คุณธรรมต่าง ๆ (จิตตภาวนา) (4) ดูด้านปัญญา ความรู้ความเข้าใจ การรู้จักคิด ความมีเหตุผลการรู้จัก แสวงหาความรู้และแสดงความคิดเห็น ฯลฯ (ปัญญาภาวนา) 11.9 การประเมินผลการพัฒนาคนให้ครบ 4 ด้าน การประเมินผลการสอนให้พัฒนาให้ครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน เรียกว่า ภาวนา 4 (การ ฝึกอบรม เจริญหรือพัฒนา)17 คือ 1. ภายภาวนา แปลว่า พัฒนากาย ข้อนี้มิใช่เฉพาะการพัฒนาร่างกายให้แข็งแรง ไร้โรค มีสุขภาพดีเท่านั้น แต่ท่านเน้นการพัฒนากายในความหมายว่าเป็นการพัฒนา ความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ เริ่มแต่ปัจจัย 4 เป็นต้นไปอย่างถูกต้องดีงาม ในทางที่เป็นคุณประโยชน์ เช่น สัมพันธ์กับอาหาร โดยกินเพื่อช่วยให้ร่างกายมีกำลังสุขภาพ 15เรื่องเดียวกัน, หน้า 138-139. 16เรื่องเดียวกัน, หน้า 18. 17พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต), สารัตถธรรม, (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สหธรรมิก, 2544), หน้า 87-88.