36 36 นอกจากนั้นมีการเตรียมความพร้อมก่อนเปิดภาคเรียน แนวทางของการจัด การเรียนการสอนดังนี้ 1. การเรียนผ่านหนังสือ การเรียนการสอนแบบนี้เป็นการสอนขั้นพื้นฐานที่เหมือนกับการเรียนในช่วง สถานการณ์ปกติ โดยคุณครูมีการจัดเตรียมเอกสาร หรือหนังสือมาให้นักเรียนได้อ่านและ ทำความเข้าใจ เพียงแต่ในภาคการเรียนที่จะถึงนี้อาจต้องมีการแบ่งกลุ่มนักเรียนให้จำนวน คนในแต่ละกลุ่มมีน้อยลง เพื่อที่จะสามารถรักษาระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ได้ หรืออีกวิธีหนึ่งคือการสื่อสารผ่านทางแอปพลิเคชันไลน์ ซึ่งคุณครูอาจจะมีการเข้าไป ตรวจสอบและเยี่ยมนักเรียนที่บ้านบ้างตามความเหมาะสม 2. การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ช่องทางโทรทัศน์ถือเป็นช่องทางที่สามารถเข้าถึงนักเรียนได้เกือบทั้งหมด ทั้งนี้ การเรียนการสอนแบบนี้ยังเป็นสากลที่หลาย ๆ พื้นที่ใช้กัน จะมีการทำลิงค์เชื่อมโยงไปบน แพลตฟอร์มโซเชียลเน็ตเวิร์กอย่าง ยูทูป (Youtube) และ เฟซบุ๊ก (Facebook) เพื่อให้ ครอบคลุมและเข้าถึงนักเรียนได้มากขึ้นกว่าเดิม 3. การสอนผ่านออนไลน์ ด้วยเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้า จึงทำให้มีโปรแกรมฟรีที่สามารถใช้เป็นสื่อ การสอนได้อย่าง Zoom, Google meet และ Microsoft Team มาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ ในช่วงสถานการณ์โควิด 19 แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นสถานศึกษาก็พยายามที่จะผลักดันการสอน ออนไลน์มากขึ้น เพื่อให้การเรียนการสอนมีการพัฒนาให้เท่าทันเทคโนโลยี ถึงแม้ว่าใน อนาคตสถานการณ์ของโรคระบาดจะคลี่คลายแล้วก็ตาม การเรียนการสอนต้องพัฒนาด้วย ทำวิจัย ทดลอง ปรับปรุงเพื่อเพิ่มช่องทางการเรียนรู้ของผู้เรียนให้เกิดคุณภาพสูงสุด 4. การสอนสด (Live) การเรียนการสอนแบบนี้จะมีประโยชน์กับในวิชาที่คุณครูกำลังขาดแคลนอย่างเช่น สาขาช่างอากาศยาน โดยที่ผ่านมาสาขาวิชาดังกล่าวจำเป็นต้องจ้างบุคลากรภายนอกเข้ามา สอน แต่หากทางอาชีวะสามารถปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนมาเป็นลักษณะการสอนสด (Live) ได้ จะทำให้นักเรียนในวิทยาลัยทุกแห่งสามารถเรียนเนื้อหาวิชาดังกล่าวได้แบบ พร้อม ๆ กัน 2.1.2 นวัตกรรมที่ส่งเสริมเรียนการสอนยุคฐานชีวิตวิถีใหม่ ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจคำว่า นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation) หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม และประหยัดเวลาใน การเรียนได้ทุกสถานที่และทุกเวลา (Anywhere and Anytime) ในปัจจุบันมีการใช้
37 37 นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่าง ซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ได้พัฒนาแล้ว กำลังพัฒนาและ จะพัฒนาในอนาคต อีกหลากหลายประเภท เช่น การเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วย สอน (Computer Aids Instruction) การใช้แผ่นวิดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ Hypermedia) และอินเทอร์เน็ต เหล่านี้ เป็นต้น3 ดังนั้น นวัตกรรมการสอน จึงหมายถึงการนำเอาหลักการสอนแบบเดิมมาคิดค้นสิ่ง ใหม่ (research)แล้วนำมาพัฒนา (development) แล้วนำไปปฏิบัติจริง (implement) ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่นำมาใช้ในการ เรียนการสอน เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้การจัดการศึกษามีประสิทธิภาพ ยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วขึ้น เกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ เพิ่มความสะดวกต่อการเรียนรู้ สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่และทุกเวลา (Anywhere and Anytime) ดังภาพที่ 2.1 นวัตกรรมการสอน ดังนี้ ภาพที่ 2.1 นวัตกรรมการสอน ที่มา: สรุปแนวคิดจากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, คู่มือการปฏิบัติสำหรับสถานศึกษา ในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 1. ประเภทของนวัตกรรมทางการศึกษา ประเภทของนวัตกรรมที่ควรทำความเข้าใจให้ชัด มี 2 ประเภท ได้แก่ 1) นวัตกรรมที่เป็นสิ่งใหม่หมดก็คือ นวัตกรรมที่ถูกคิดค้นขึ้นมาใหม่หมดทั้งระบบ และไม่เคยปรากฏขึ้นในที่ใดมาก่อน 2) นวัตกรรมที่เป็นสิ่งใหม่บางส่วน ซึ่งก็คือนวัตกรรมที่กำลังพัฒนา หรือพัฒนา แล้ว ได้ถูกนำมาปรับปรุง แก้ไข ให้นวัตกรรมนั้นมีประสิทธิภาพการใช้งานทที่ดีขึ้นและตรง กับความต้องการของสภาพการศึกษาในปัจจุบัน และตรงตามที่ผู้ใช้ต้องการด้วย 3 สมจิตร ยิ้มสุด, นวัตกรรมการศึกษาและเทคโนโลยีทางการศึกษา, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.gotoknow.org/posts/401951 [6 กุมภาพันธ์2565]. การคิดค้น การพัฒนา น าไปปฏิบัติ นวัตกรรมการสอน
38 38 เมื่อนำแนวคิดดังกล่าวทั้งประเภทที่เป็นนวัตกรรมแบบใหม่หมดและนวัตกรรมที่ เป็นแบบใหม่บางส่วนที่กำลังพัฒนาและปรับปรุงโดยแบ่งเป็น 5 ประเภท ได้แก่ 1. นวัตกรรมด้านสื่อสารการสอน 2. นวัตกรรมด้านวิธีการจัดการเรียนการสอน 3. นวัตกรรมด้านหลักสูตร 4. นวัตกรรมด้านการวัดและการประเมินผล 5. นวัตกรรมด้านการบริหารจัดการ ตัวอย่างของประเภทนวัตกรรม คือ 1. นวัตกรรมด้านสื่อสารการสอน เช่น บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หนังสืออิเล็กทรอนิคส์ บทเรียนCD/VCD คู่มือการทำงานกลุ่ม 2. นวัตกรรมด้านวิธีการจัดการเรียนการสอน เช่น การสอนแบบร่วมมือ การสอนแบบอภิปราย วิธีสอนแบบบทบาทสมมุติ การสอนด้วยรูปแบบการเรียนเป็นรายบุคคล 3. นวัตกรรมด้านหลักสูตร เช่น หลักสูตรสาระเพิ่มเติม หลักสูตรท้องถิ่น หลักสูตรการฝึกอบรม หลักสูตรกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 4. นวัตกรรมด้านการวัดและการประเมินผล เช่น การสร้างแบบวัดที่ลากหลายมิติ การสร้างเครื่องมือ การประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ แนวทางในการสร้างแบบวัดผลและประเมินผล เช่น การพัฒนาคลังข้อสอบ การวัดผลเพื่อพัฒนาผู้เรียนที่แตกต่างกัน 5. นวัตกรรมด้านการบริหารจัดการ เช่น การบริหารเชิงระบบ
39 39 การบริหารเชิงกลยุทธ์ การบริหารเชิงบูรณาการ4 นอกจากนั้นประเภทของการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา ได้แก่ 1) นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร นวัตกรรมทางด้านหลักสูตรในประเทศไทย ได้แก่ 1. หลักสูตรบูรณาการ เป็นการบูรณาการส่วนประกอบของหลักสูตรเข้า ด้วยกันทางด้านวิทยาการในสาขาต่าง ๆ การศึกษาทางด้านจริยธรรมและสังคม โดยมุ่งให้ ผู้เรียนเป็นคนดีสามารถใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้ในสาขาต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับสภาพ สังคมอย่างมีจริยธรรม 2. หลักสูตรรายบุคคล เป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรเพื่อการศึกษาตาม อัตภาพ เพื่อตอบสนองแนวความคิดในการจัดการศึกษารายบุคคล ซึ่งจะต้องออกแบบ ระบบเพื่อรองรับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีด้านต่างๆ 3. หลักสูตรกิจกรรมและประสบการณ์ เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้น กระบวนการ ในการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ให้กับผู้เรียนเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ เช่น กิจกรรมที่ ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในบทเรียน ประสบการณ์การเรียนรู้จากการสืบค้นด้วยตนเอง เป็นต้น 4. หลักสูตรท้องถิ่น เป็นการพัฒนาหลักสูตรที่ต้องการกระจายการบริหาร จัดการออกสู่ท้องถิ่น เพื่อให้สอดคล้องกับศิลปวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่ของ ประชาชนที่มีอยู่ในแต่ละท้องถิ่น แทนที่หลักสูตรในแบบเดิมที่ใช้วิธีการรวมศูนย์การพัฒนา อยู่ในส่วนกลาง 2) นวัตกรรมการเรียนการสอน นวัตกรรมการเรียนการสอนเป็นการใช้วิธีระบบในการปรับปรุงและคิดค้นพัฒนา วิธีสอนแบบใหม่ ๆ ที่สามารถตอบสนองการเรียนรายบุคคล การสอนแบบผู้เรียนเป็น ศูนย์กลาง การเรียนแบบมีส่วนร่วม การเรียนรู้แบบแก้ปัญหา การพัฒนาวิธีสอนจำเป็นต้อง อาศัยวิธีการและเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาจัดการและสนับสนุนการเรียนการสอน ตัวอย่าง นวัตกรรมที่ใช้ในการเรียนการสอน ได้แก่ การสอนแบบศูนย์การเรียน การใช้กระบวนการ กลุ่มสัมพันธ์ การสอนแบบเรียนรู้ร่วมกัน และการเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์และ อินเทอร์เน็ต การวิจัยในชั้นเรียน ฯลฯ 4 พัชรี เทพสุริบูรณ์, นวัตกรรมทางการศึกษา, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www. gotoknoworg/posts/553766 [27 05 2565].
40 40 3) นวัตกรรมสื่อการสอน เนื่องจากมีความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เครือข่ายและ เทคโนโลยี โทรคมนาคม ทำให้นักการศึกษาพยายามนำศักยภาพของเทคโนโลยีเหล่านี้มา ใช้ในการผลิตสื่อการเรียนการสอนใหม่ๆ จำนวนมากมาย ทั้งการเรียนด้วยตนเองการเรียน เป็นกลุ่มและการเรียนแบบมวลชน ตลอดจนสื่อที่ใช้เพื่อสนับสนุนการฝึกอบรมผ่านเครือข่าย คอมพิวเตอร์ตัวอย่าง นวัตกรรมสื่อการสอน ได้แก่ - คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) - มัลติมีเดีย (Multimedia) - การประชุมทางไกล (Teleconference) - ชุดการสอน (Instructional Module) - วีดิทัศน์แบบมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive Video) 4) นวัตกรรมทางด้านการประเมินผล เป็นนวัตกรรมที่ใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการวัดผลและประเมินผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำได้อย่างรวดเร็ว รวมไปถึงการวิจัยทางการศึกษา การวิจัยสถาบัน ด้วยการประยุกต์ใช้ โปรแกรมคอมพิวเตอร์มาสนับสนุนการวัดผล ประเมินผลของสถานศึกษา ครู อาจารย์ ตัวอย่าง นวัตกรรมทางด้านการประเมินผล ได้แก่ - การลงทะเบียนผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ต - การใช้บัตรสมาร์ทการ์ด เพื่อการใช้บริการของสถาบันศึกษา - การใช้คอมพิวเตอร์ในการตัดเกรด ฯลฯ 5) นวัตกรรมการบริหารจัดการ การใช้นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารสนเทศมาช่วยในการบริหารจัดการ เพื่อการตัดสินใจของผู้บริหารการศึกษาให้มีความรวดเร็วทันเหตุการณ์ ทันต่อการ เปลี่ยนแปลงของโลก นวัตกรรมการศึกษาที่นำมาใช้ทางด้านการบริหารจะเกี่ยวข้องกับระบบการ จัดการฐานข้อมูลในหน่วยงานสถานศึกษา เช่น ฐานข้อมูล นักเรียน นักศึกษา ฐานข้อมูล คณะอาจารย์และบุคลากร ในสถานศึกษา ด้านการเงิน บัญชี พัสดุ และครุภัณฑ์ ฐานข้อมูล เหล่านี้ต้องการออกระบบที่สมบูรณ์มีความปลอดภัยของข้อมูลสูง5 5 นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www. gotoknow.org/posts/283084 [13 มีนาคม 2565].
41 41 ประโยชน์ของนวัตกรรมทางการศึกษา6 1. ช่วยพัฒนาศักยภาพ และความสามารถสูงสุดของบุคคล 2. ช่วย ขยายขอบเขตความรู้ และโลกทัศน์ทางวิชาการได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. ช่วยลดปัญหาเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล 4. ช่วยเปิดโอกาสทางการเรียนให้กับผู้เรียนอย่างทั่วถึง 5. ช่วยให้คนสามารถปรับตัวในสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้ 6. ช่วยให้ผู้เรียนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม 2.2 การจัดเรียนการสอนเพื่อตอบโจทย์แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560- 2579 แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-25797 เป็นแผนที่วางกรอบเป้าหมายและทิศ ทางการจัดการศึกษาของประเทศ โดยมุ่งจัดการศึกษาให้คนไทยทุกคนสามารถเข้าถึง โอกาสและความเสมอภาค ในการศึกษาที่มีคุณภาพ พัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษาที่ มีประสิทธิภาพ พัฒนาคนให้มีสมรรถนะ ในการทำงานที่สอดคล้องกับความต้องการของ ตลาดแรงงานและการพัฒนาประเทศ แนวคิดการจัดการศึกษาตามแผนการศึกษาแห่งชาติ ยึดหลักสำคัญในการจัดการศึกษาประกอบด้วย หลักการจัดการศึกษาเพื่อปวงชน (Education for All) หลักการจัดการศึกษาเพื่อความเท่าเทียม และทั่วถึง (Inclusive Education) หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) และหลักการ มีส่วนร่วมของสังคม (All For Education) อีกทั้งยึดตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs 2030) ประเด็นภายในประเทศ (Local Issues) อาทิ คุณภาพของคนช่วงวัย การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรของประเทศ ความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้ และวิกฤติด้านสิ่งแวดล้อม โดยนำยุทธศาสตร์ชาติ มาเป็นกรอบความคิดสำคัญในการจัดทำแผนการศึกษาแห่งชาติ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้ 6 กิดานันท์ มลิทอง, เทคโนโลยีการศึกษานวัตกรรม, พิมพ์ครั้งที่ 2, (กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543), หน้า 28. 7 สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ, แผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2560 – 2579, (กรุงเทพมหานคร: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด, 2560), หน้า 40.
42 42 วิสัยทัศน์ : คนไทยทุกคนได้รับการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ดำรงชีวิตอย่างเป็นสุข สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเปลี่ยนแปลง ของโลกศตวรรษที่ 21 วัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาระบบและกระบวนการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ 2. เพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นพลเมืองดี มีคุณลักษณะ ทักษะและสมรรถนะที่ สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติ และยุทธศาสตร์ชาติ 3. เพื่อพัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ และคุณธรรม จริยธรรม รู้รัก สามัคคี และร่วมมือผนึกกำลังมุ่งสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง 4. เพื่อนำประเทศไทยก้าวข้ามกับดักประเทศที่มีรายได้ปานกลาง และความ เหลื่อมล้ำภายในประเทศลดลง การจัดการเรียนการสอนเพื่อตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ชาติซึ่งผู้สอนต้องศึกษาและ ออกแบบการสอนให้เหมาะสมกับระดับชั้นเรียน จึงขอนำยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์และแนวทางพัฒนามาทบทวนให้เข้าใจชัดอีกครั้งดังนี้ ยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับภารกิจของสำนักงาน ปลัด กระทรวงศึกษาธิการทั้ง 6 ยุทธศาสตร์ ดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงของสังคมและประเทศชาติ เป้าหมาย 1. คนทุกช่วงวัยมีความรักในสถาบันหลักของชาติ และยึดมั่นการปกครอง ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 2. คนทุกช่วงวัยในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้และ พื้นที่พิเศษได้รับการศึกษาและเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ 3. คนทุกช่วงวัยได้รับการศึกษา การดูแลและป้องกันจากภัยคุกคามใน ชีวิตรูปแบบใหม่ แนวทางการพัฒนา 1. พัฒนาการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
43 43 2. ยกระดับคุณภาพและส่งเสริมโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาในเขตพัฒนา พิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ 3. ยกระดับคุณภาพและส่งเสริมโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาในพื้นที่พิเศษ (พื้นที่สูงพื้นที่ตามแนวตะเข็บชายแดน และพื้นที่เกาะแก่ง ชายฝั่งทะเล ทั้งกลุ่มชนต่างเชื้อ ชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม กลุ่มชน-ชายขอบ และแรงงานต่างด้าว) 4. พัฒนาการจัดการศึกษาเพื่อการจัดระบบการดูแลและป้องกันภัยคุกคาม ในรูปแบบใหม่ อาทิ อาชญากรรมและความรุนแรงในรูปแบบต่าง ๆ ยาเสพติด ภัยพิบัติ จากธรรมชาติภัยจากโรคอุบัติใหม่ ภัยจากไซเบอร์ เป็นต้น ยุทธศาสตร์ที่ 2 การผลิตและพัฒนากำลังคน การวิจัย และนวัตกรรมเพื่อ สร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เป้าหมาย 1. กำลังคนมีทักษะที่สำคัญจำเป็นและมีสมรรถนะตรงตามความต้องการของ ตลาดงานและการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ 2. สถาบันการศึกษาและหน่วยงานที่จัดการศึกษาผลิตบัณฑิตที่มีความ เชี่ยวชาญและเป็นเลิศเฉพาะด้าน 3. การวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมที่สร้างผลผลิตและ มูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ แนวทางการพัฒนา 1. ผลิตและพัฒนากำลังคนให้มีสมรรถนะในสาขาที่ตรงตามความ ต้องการของตลาดงานและการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ 2. ส่งเสริมการผลิตและพัฒนากำลังคนที่มีความเชี่ยวชาญและเป็นเลิศเฉพาะ ด้าน 3. ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมที่สร้าง ผลผลิตและมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัย และการสร้างสังคมแห่ง การเรียนรู้ เป้าหมาย 1. ผู้เรียนมีทักษะและคุณลักษณะพื้นฐานของพลเมืองไทยและทักษะและ คุณลักษณะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21
44 44 2. คนทุกช่วงวัยมีทักษะความรู้ความสามารถและสมรรถนะตามมาตรฐาน การศึกษาและมาตรฐานวิชาชีพ และพัฒนาคุณภาพชีวิตได้ตามศักยภาพ 3. สถานศึกษาทุกระดับการศึกษาสามารถจัดกิจกรรม/กระบวนการเรียนรู้ ตามหลักสูตรได้อย่างมีคุณภาพและมาตรฐาน 4. แหล่งเรียนรู้ สื่อตำราเรียน นวัตกรรมและสื่อการเรียนรู้มีคุณภาพและ มาตรฐาน และประชาชนสามารถเข้าถึงได้โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่ 5. ระบบและกลไกการวัด การติดตามและประเมินผลมีประสิทธิภาพ 6. ระบบการผลิตครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาได้มาตรฐานระดับ สากล 7. ครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนาสมรรถนะตาม มาตรฐาน แนวทางการพัฒนา 1. ส่งเสริม สนับสนุนให้คนทุกช่วงวัยมีทักษะ ความรู้ความสามารถ และการ พัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างเหมาะสม เต็มตามศักยภาพในแต่ละช่วงวัย 2. ส่งเสริมและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ สื่อตำราเรียน และสื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ ให้ มีคุณภาพมาตรฐาน และประชาชนสามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ได้โดยไม่จำกัดเวลาและ สถานที่ 3. สร้างเสริมและปรับเปลี่ยนค่านิยมของคนไทยให้มีวินัย จิตสาธารณะ และ พฤติกรรมที่พึงประสงค์ 4. พัฒนาระบบและกลไกการติดตาม การวัดและประเมินผลผู้เรียนให้มี ประสิทธิภาพ 5. พัฒนาคลังข้อมูล สื่อ และนวัตกรรมการเรียนรู้ ที่มีคุณภาพและมาตรฐาน 6. พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการผลิตครู อาจารย์ และบุคลากรทางการ ศึกษา 7. พัฒนาคุณภาพครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างโอกาส ความเสมอภาคและความเท่าเทียมทาง การศึกษา เป้าหมาย 1. ผู้เรียนทุกคนได้รับโอกาสและความเสมอภาคในการเข้าถึงการศึกษาที่มี คุณภาพ
45 45 2. การเพิ่มโอกาสทางการศึกษาผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษาสำหรับ คนทุกช่วงวัย 3. ระบบข้อมูลรายบุคคลและสารสนเทศทางการศึกษาที่ครอบคลุม ถูกต้อง เป็นปัจจุบัน เพื่อการวางแผนการบริหารจัดการศึกษา การติดตามประเมินและรายงานผล แนวทางการพัฒนา 1. เพิ่มโอกาสและความเสมอภาคในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ 2. พัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษาสำหรับคนทุกช่วงวัย 3. พัฒนาฐานข้อมูลด้านการศึกษาที่มีมาตรฐาน เชื่อมโยงและเข้าถึงได้ ยุทธศาสตร์ที่ 5 การจัดการศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม เป้าหมาย 1. คนทุกช่วงวัย มีจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม มีคุณธรรม จริยธรรม และนำ แนวคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ 2. หลักสูตร แหล่งเรียนรู้ และสื่อการเรียนรู้ที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อม คุณธรรม จริยธรรม และการนำแนวคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงสู่การปฏิบัติ 3. การวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมด้านการสร้างเสริมคุณภาพ ชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แนวทางการพัฒนา 1. ส่งเสริม สนับสนุนการสร้างจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม มีคุณธรรม จริยธรรม และนำแนวคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติในการดำเนินชีวิต 2. ส่งเสริมและพัฒนาหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้ แหล่งเรียนรู้ และ สื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 3. พัฒนาองค์ความรู้ งานวิจัย และนวัตกรรม ด้านการสร้างเสริมคุณภาพ ชีวิต ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการศึกษา เป้าหมาย 1. โครงสร้าง บทบาทและระบบการบริหารจัดการการศึกษามีความคล่องตัว ชัดเจนและสามารถตรวจสอบได้
46 46 2. ระบบการบริหารจัดการศึกษามีประสิทธิภาพและประสิทธิผลส่งผลต่อ คุณภาพและมาตรฐานการศึกษา 3. ทุกภาคส่วนของสังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาที่ตอบสนองความ ต้องการของประชาชนและพื้นที่ 4. กฎหมายและรูปแบบการบริหารจัดการทรัพยากรทางการศึกษารองรับ ลักษณะที่แตกต่างกันของผู้เรียน สถานศึกษา และความต้องการกำลังแรงงานของประเทศ 5. ระบบบริหารงานบุคคลของครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษามี ความเป็นธรรม สร้างขวัญกำลังใจ และส่งเสริมให้ปฏิบัติงานได้อย่างเต็มตามศักยภาพ แนวทางการพัฒนา 1. ปรับปรุงโครงสร้างการบริหารจัดการศึกษา 2. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการสถานศึกษา 3. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการจัดการศึกษา 4. ปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับระบบการเงินเพื่อการศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพ และประสิทธิภาพการจัดการศึกษา 5. พัฒนาระบบบริหารงานบุคคลของครู อาจารย์ และบุคลากรทางการ ศึกษา จากแนวคิดดังกล่าวการเรียนการสอนต้องตอบโจทย์การศึกษาไทยในอนาคตได้ อย่างไร ซึ่งเป็นคำถามที่ต้องค้นหาคำตอบให้ชัดเจนเพื่อสร้างนวัตกรรมการเรียนการสอน โดยผ่านกระบวนวิจัยและนำองค์ความรู้จากผลการวิจัยสู่การปฏิบัติจริง 2.3 แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงระดับโลกในอนาคตที่ส่งผลกระทบต่อการจัด การศึกษา แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงระดับโลก ที่ครอบคลุมขอบเขตของการเปลี่ยนแปลง สำคัญที่กำลังเกิดขึ้นในวงกว้างและคาดว่าจะส่งผลต่อไปในอนาคต โดยบริบทการ เปลี่ยนแปลงระดับโลกที่จะส่งผลหรือมีอิทธิพลทำให้สถานะของประเทศที่เป็นอยู่เกิดการ เปลี่ยนไป และนำไปสู่การปรับทิศทางการพัฒนาประเทศ ในระยะยาวของแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 138 ที่ ประเทศไทยควรมุ่งเน้นให้ความสำคัญ ดังนี้ 8 (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13, “พลิกโฉมประเทศไทยสู่สังคม ก้าวหน้า เศรษฐกิจสร้างมูลค่าอย่างยั่งยืน”, (พ.ศ. 2566– 2570), หน้า 21-27.
47 47 1. ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีปัจจุบันโลกอยู่ในยุคของการปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4 เป็น ยุคแห่งการประยุกต์ใช้ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดดในการ พัฒนานวัตกรรม เน้นการต่อยอด และผสมผสานเทคโนโลยีต่างสาขาเข้าด้วยกัน 2. การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร โครงสร้างประชากรของโลกมีสัดส่วน ผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่อง โดยองค์การสหประชาชาติคาดการณ์ว่าภายในปี 2593 ประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป จะเพิ่มสูงขึ้นเฉลี่ยกว่าร้อยละ 120 จนมีจำนวนรวมถึง 1.5 พันล้านคน ส่งผลให้สัดส่วนประชากรวัยแรงงาน มีแนวโน้มลดลงในเกือบทุกประเทศ 3. การดูแลรักษาสุขภาพและการรักษาพยาบาล แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงระดับ โลกที่เกี่ยวข้อง กับสุขภาพในระยะ 10 ปีข้างหน้า 4. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและ รุนแรงขึ้น โดยคาดว่าอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกอาจเพิ่มสูงขึ้นจากระดับอุณหภูมิก่อนยุค อุตสาหกรรมถึง 1.5 องศาเซลเซียส ภายใน พ.ศ. 2573 - 2595 ส่งผลให้หลายภูมิภาคต้อง เผชิญกับความผันผวนของภูมิอากาศในระดับความรุนแรง ที่มากขึ้นและบ่อยครั้งขึ้น อาทิ คลื่นความร้อน ภาวะฝนทิ้งช่วง ภัยแล้ง และพาย 5. ความพยายามระดับโลกในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตาม ความตกลง ปารีสที่ประเทศภาคีสมาชิกอนุสัญญากรอบการท างานแห่งสหประชาชาติ (United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) จำนวน 197 ประเทศ 6. พลังงานหมุนเวียนและยานยนต์ไฟฟ้า กระแสความตระหนักในการอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีแบตเตอรี่ ได้สร้างแรงกดดันให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมที่ ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและใช้ทรัพยากร ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในสาขาการ ผลิตที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงสุด 2 อันดับแรก ได้แก่ สาขา พลังงาน และสาขาการ คมนาคมขนส่ง 7. เศรษฐกิจการเมืองระหว่างประเทศ การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างก้าว กระโดดของ ประเทศในทวีปเอเชีย โดยเฉพาะประเทศจีนที่คาดว่าจะมีขนาดเศรษฐกิจที่ ใหญ่ที่สุดของโลกภายในระยะเวลา 10 ปี 8. อนาคตของงาน โลกแห่งการทำงานในอนาคตมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงไป อย่างมีนัยสำคัญ อันเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของประชากรโลก
48 48 การเปลี่ยนแปลงในแนวราบนี้กำลังดำเนินไปตามสถานการณ์จริงโดยเฉพาะใน ประเทศไทย การจัดการเรียนการสอนต้องตระหนักเรื่องนี้เพื่อให้รับผลการเปลี่ยนแปลงที่ กำลังเกิดขึ้นและกำลังเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570) มีจุดมุ่งหมายสูงสุดเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศให้ สามารถบรรลุผล ตามเป้าหมายการพัฒนาระยะยาวที่กำหนดไว้ในยุทธศาสตร์ชาติ โดยมี เป้าหมายของการพัฒนาบนพื้นฐานของหลักการและแนวคิดที่สำคัญ 4 ประการ ได้แก่ 1. หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยการสืบสาน รักษา ต่อยอดการพัฒนา ตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของความพอประมาณ ความมี เหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีควบคู่กับการใช้เงื่อนไข 2 ประการได้แก่ เงื่อนไขความรู้โดย การใช้องค์ความรู้ทางวิชาการที่รอบด้าน และเงื่อนไขคุณธรรม โดยยึดถือผลประโยชน์ของ ประชาชนและความเป็นธรรมในทุกมิติของสังคม 2. แนวคิด Resilience ซึ่งเป็นแนวคิดที่มุ่งเน้นการลดความเปราะบางต่อความ เปลี่ยนแปลง อันประกอบด้วยการพัฒนาความสามารถใน 3 ระดับ ได้แก่ (1) การพร้อมรับ (Cope) หมายถึง ความสามารถในการบริหารจัดการภายใต้สภาวะวิกฤติ ให้สามารถยืนหยัด และต้านทานความยากลำบาก รวมถึงฟื้นคืนกลับสู่สภาวะปกติได้อย่างรวดเร็ว (2) การ ปรับตัว (Adapt) หมายถึง การปรับทิศทาง รูปแบบ และแนวทางการ พัฒนาให้สอดรับกับ ความเปลี่ยนแปลง พร้อมกระจายความเสี่ยงและปรับตัวอย่างเท่าทันเพื่อแสวงหาประโยชน์ จากสิ่งที่เกิดขึ้น และ (3) การเปลี่ยนแปลงเพื่อพร้อมเติบโตอย่างยั่งยืน (Transform) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างและปัจจัยพื้นฐานให้สอดรับกับความเปลี่ยนแปลง 3. เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติซึ่งอยู่บนพื้นฐานของแนวคิด “ไม่ทิ้งใคร ไว้ข้างหลัง” โดยมุ่งเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชนทุกกลุ่ม ทั้งในมิติ ของการมีปัจจัยที่จำเป็น สำหรับการดำรงชีวิตขั้นพื้นฐานที่เพียงพอ การมีสภาพแวดล้อมที่ ดี การมีปัจจัยสนับสนุนให้มีสุขภาพที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ การมีโอกาสที่จะ ใช้ศักยภาพของตนในการสร้างความเป็นอยู่ที่ดี รวมถึงการมุ่งส่งต่อทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมที่ดีไปยังคนรุ่นต่อไป 4. โมเดลเศรษฐกิจ BCG ซึ่งเป็นแนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจใน 3 รูปแบบ ควบคู่กัน ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ (B : Bio Economy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (C: Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (G :Green Economy) โดยอาศัยฐานศักยภาพและ ความเข้มแข็งของประเทศอันประกอบด้วยความหลากหลายทางชีวภาพและความ หลากหลายทางวัฒนธรรม พร้อมกับการใช้ประโยชน์จากองค์ความรูทางด้านวิทยาศาสตร์
49 49 เทคโนโลยี และนวัตกรรมในการสร้างมูลค่าเพิ่ม เพื่อผลักดันให้ประเทศมีการเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน และสามารถกระจายรายได้ โอกาส และความมั่งคั่งได้อย่าง ทั่วถึง9 จากแนวคิดดังกล่าวการจัดการศึกษาต้องปรับทิศทางการสอนให้ตอบโจทย์การ ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ทางการศึกษาด้วยการผลิตผู้เรียนให้เป็นนวัตกรให้มีสมรรถนะสูงเพื่อ ไปสร้างและพัฒนานวัตกรรมเพื่อมูลค้าทางเศรษฐกิจและสังคมแห่งการเรียนรู้พึงพาอาศัย กันที่เรียกว่า สังคมทรีอินวัน (social 3 in 1) คือ รู้จักช่วยเหลือ แบ่งปัน มีน้ำใจต่อกัน สรุปได้ว่าการเปลี่ยนแปลงการศึกษาระดับโลกที่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนผ่าน ทางการศึกษาที่กิดขึ้นแล้วจากสถานการณ์ที่นักวิชาการทั้งภาคการศึกษาโดยตตรงและผู้ ประกอยกอบการที่ใช้บัณฑิตในมิติของศตวรรษที่21 และแผนการศึกษาแห่งชาติ 20 ปี (2560-2579) ประเทศไทศ4.0 การศึกษาไทยต้องปรับตัวให้ทันต้อการจัดการศึกษาให้ได้ ดังนี้ 1.มองที่ครู อาจารย์ -ครู อาจารย์ทุกคนต้องมีทักษะการสอนที่จะช่วยเหลือนักเรียนหรือนิสิต ที่เรียนไม่ ทันเพื่อนโดยโดยหาโอกาศช่วยสอนเสริมกรณีใดกรณีหนึ่ง -กรณีครูบางประเทศมีครูพิเศษที่ค่อยช่วยเหลีอนักเรียนที่มีมีปัญหาในการเรียน เพื่อให้นักเรียนมีความสุขในการเรียนให้ทันเพื่อน ถ้าทำได้อย่างนี้ถือว่าโรงเรียนแห่งนี้มี ศักยภาพดีมากต่อการจัดการเรียนการสอน 2. มองที่โรงเรียน ผู้บริหารควรให้ควรความสำคัญต่อการจัดทีมครู อาจารย์ ช่วยเหลือผู้เรียนประจำทุกแห่งเตรียมพร้อมในการจัดการเรียนการสอน 3.มองความสุขของผู้เรียนและทัศนคติผู้บริหารต้องให้การส่งเสริมให้ครู อาจารย์มี ความคิดสร้างสรรค์ในการจัดการเรียนการสอนโดยมีเป้าหมายเดียวกันกับคำว่า No child left behind ซึ่งสอดคล้องกับกับนโยบายการศึกษาของชาติต่อไป 4. การจัดการศึกษาต้องต้องเพิ่มทักษะในสมรรถนะศตวรรษที่21 3R 8C 5.การจัดการศึกษา กรเรียนการสอนผู้บริหาร ครู อาจารย์ เป็นกัลยาณมิตร และ ผู้เรียนมีความสุขโดยการบูรณาการด้วยหลักพุทธธรรมอันประกอบด้วยหลักไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ และปัญญา 9 เรื่องเดียวกัน, หน้า 34.
50 50 2.4 การพลิกโฉมการพัฒนานวัตกรรมการสอน ปัจจุบันการสอนเป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่จะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาและ เกิดผลลัพธ์ที่ดีสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้เรียนที่ดีขึ้น ซึ่งหลักการสอน จุดหมาย การสอน เทคนิค กิจกรรม การสื่อและวัดและประเมินผลตามลำดับ และผู้สอนต้องเข้าใจ มุ่งหมายการการศึกษาให้ชัดตามแนวคิดการจัดการศึกษา (Conceptual Design) ตาม แผนการศึกษาแห่งชาติโดยยึดหลัก สำคัญในการจัดการศึกษา ประกอบด้วย หลักการ จัดการศึกษาเพื่อปวงชน (Education for All) หลักการจัดการศึกษาเพื่อความเท่าเทียม และทั่วถึง (Inclusive Education) หลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) และหลักการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนของ สังคม (All for Education) อีกทั้งยึดตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs 2030) ประเด็นภายในประเทศ (Local Issues) อาทิคุณภาพ ของคนทุกช่วงวัย การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรของประเทศ ความเหลื่อมล้ำของแผนการศึกษา แห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579 การกระจายรายได้และวิกฤตด้านสิ่งแวดล้อม โดยนำ ยุทธศาสตร์ชาติ (National Strategy) มาเป็นกรอบความคิดสำคัญในการจัดทำแผนการ ศึกษาแห่งชาติ10 การจัดการศึกษามีวัตถุประสงค์ 4 ประการ คือ 1) เพื่อพัฒนาระบบและ กระบวนการ จัดการศึกษาที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ 2) เพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็น พลเมืองดี มีคุณลักษณะ ทักษะและสมรรถนะที่สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติและยุทธศาสตร์ชาติ3) เพื่อ พัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคม แห่งการเรียนรู้ และคุณธรรม จริยธรรม รู้รักสามัคคี และ ร่วมมือผนึกกำลังมุ่งสู่การพัฒนาประเทศ อย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ 4) เพื่อนำประเทศไทยก้าวข้ามกับดัก ประเทศที่มีรายได้ปานกลาง และความเหลื่อม ล้ำภายในประเทศลดลง เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์และจุดมุ่งหมายในการจัดการศึกษาดังกล่าว ข้างต้น แผนการศึกษาแห่งชาติได้วางเป้าหมายไว้ คือ เป้าหมายด้านผู้เรียน (Learner Aspirations) โดยมุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคนให้มีคุณลักษณะและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษ ที่ 21 (3Rs 8Cs) 11 และผลิตเยาวชนตามความต้องการของประเทศในยุค 4.0 10สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ, แผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2560 – 2579, หน้า 76-78. 11เรื่องเดียวกัน, หน้า 79-80.
51 51 3Rs ได้แก่ การอ่านออก (Reading) การเขียนได้(Writing) และการคิดเลขเป็น (Arithmetics) 8Cs ได้แก่ ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา (Critical Thinking and Problem Solving) ทักษะด้านการสร้างสรรค์และนวัตกรรม (Creativity and Innovation) ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์ (Cross – cultural Understanding) ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และ ภาวะผู้นำ (Collaboration, Teamwork and Leadership) ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และการรู้เท่าทันสื่อ 80 แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579 (Communications, Information and Media Literacy) ทักษะด้านคอมพิวเตอร์และ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Computing and ICT Literacy) ทักษะอาชีพ และ ทักษะ การเรียนรู้ (Career and Learning Skills) และความมีเมตตา กรุณา มีวินัย คุณธรรม จริยธรรม (Compassion) เมื่อวิเคราะห์การสอนในพระพุทธศาสนาสอดคล้องเป้าหมายการศึกษาใน ศตวรรษที่ 21 การสอนให้รู้จักคิดสร้างสรรค์ การแก้ปัญหาเป็น การทำงานเป็นทีม การรู้จัก สื่อสารที่ดี ประกอบอาชีพสุจริต โดยสามารถประยุกต์หลักพุทธธรรมมาดำเนินชีวิตให้ มีความสุข และการพัฒนาการศึกษาของชาติจึงเป็นภารกิจหลักในการพัฒนาคน อัน เป็นรากฐาน ของการพัฒนาประเทศในทุกระบบ โดยมีกรอบทิศทางการพัฒนาประเทศ ตามยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) เป็นกรอบในการดำเนินการ เพื่อให้การ พัฒนาประเทศในทุกระบบ มีความสอดคล้องกัน และนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายของการ พัฒนาประเทศให้ “มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน”12 ชัดเจนว่าการพัฒนาประเทศต้องเริ่ม จากการพัฒนาคนเป็นศูนย์กลางสำคัญสอดคล้องกับการพัฒนาการศึกษาโดยมุ่งพัฒนาคน ของชาติให้มีคุณภาพ สมรรถนะภาพ และมีสุขภาพ (เป็นคนดี เก่ง และมีความสุข) ซึ่งใน มุมมองการศึกษาที่แท้จริงในทางพระพุทธศาสนา ดังนี้ 1. การจัดการเรียนการสอนต้องตอบคำว่า การศึกษากับชีวิตสัมพันธ์กันอย่างไร ต้องศึกษาให้ลึกพอที่จะตอบคำถามว่า การศึกษาคืออะไร และชีวิต คือ อะไร ใน มุมของพระพุทธศาสนาตอบว่า การศึกษาเป็นเรื่องของชีวิต และจุดหมายก็เพื่อพัฒนาชีวิต กระบวนการศึกษา เป็นไปเพื่อแก้ปัญหาชีวิตที่ถูก ดังนั้นการเรียนการสอนต้องให้ผู้เรียนเข้า ใจความจริง โดยการทำลายอวิชชาหมายถึง ความไม่รู้จริงและทำลายตัณหามูลเหตุให้เกิด 12เรื่องเดียวกัน, หน้า 16.
52 52 ปัญหาในชีวิตและมุ่งเสริมสร้างและพัฒนาปัญญาคู่กับ ฉันทะ เมตตา และกรุณา13 เพื่อให้ เข้าใจคุณค่าแท้ และคุณค่าเสริม หรือคุณค่าเทียม ก็จะเข้าใจคุณค่าทางการศึกษาที่แท้จริง ได้เมื่อมีเป้าหมายชัดเจนอย่างนี้การเรียนการสอนก็จะมีกระบวนการ ขั้นตอน เทคนิค กลยุทธ์ สื่อเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาผู้เรียน 1.1 พุทธนวัตกรรมการสอน เมื่อย้อนไปศึกษาหลักการสอนของพระพุทธเจ้าที่พระองค์ทรงสอนพุทธสาวก ได้ผลดีมาแล้วและสามารถนำมาประยุกต์สอนในสถานการณ์ปัจจุบันได้เป็นอย่างดี ขอยก การสอนในพระพุทธศาสนามีหลักฐานที่พระพุทธเจ้าตรัสกับภิกษุทั้งหลายเมื่อครั้งแรกที่ ส่งไปประกาศพระศาสนาว่า จรถ ภิกฺขเว จาริกํ พหุชนหิตาย พหุชนสุขาย โลกานุกมฺปาย อตฺถาย หิตาย สุขาย เทวมนุสุสานํ มา เอเกน เทว อคมิตถ... แปลความว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจง จาริกไป เพื่อประโยชน์สุขแก่ชนจำนวนมาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล และความสุขแก่ทวยเทพและมนุษย์ อยู่ไปโดยทางเดียวกันสองรูป จงแสดงธรรมมีความงาม ในเบื้องตัน มีความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์ พร้อม ทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน สัตว์ทั้งหลายที่มีธุลีในตาน้อย มีอยู่ย่อม เสื่อมเพราะไม่ได้ฟังธรรม จักมีผู้รู้ธรรม ภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็จักไปยังตำบลอุรุเวลา เสนานิคมเพื่อแสดงธรรม14 ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเที่ยวจาริก เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ชนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่ทวยเทพและมนุษย์ พวกเธออย่าได้ไปรวมทางเดียวกันสองรูป จากหลักการสอนนี้ว่าผู้สอนต้องสอนอย่างไร และผู้สอนต้องมีคุณลักษณะอย่างไร ต้องพร้อมในการสอนเรื่องนั้น ๆ ให้สามารถนำไป พัฒนาชีวิตให้เกิดปัญญาอย่างแท้จริง เมื่อถอดรหัสพุทธวิถีการสอนของพระพุทธเจ้าที่มอบนโยบายการสอนให้สาวกใน การเผยแพร่พระพุทธศาสนาครั้งแรก จำนวน 60 องค์พบว่า 1. ด้านคุณสมบัติผู้สอนครั้งนั้นล้วนเป็นพระอรหันต์ 2. ผู้สอนเป็นผู้ปฏิบัติดี เพราะเป็นพระอรหันต์ 13พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต), ปรัชญาการศึกษาของไทย ภาคพุทธธรรม : แก่นนำ การศึกษา, (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์), 2556 หน้า 7-37. 14ดูรายละเอียดใน วิ.ม. (ไทย) 4/32/40.
53 53 3. เข้าใจหลักการสอนให้มีความงามในเบื้องตัน มีความงามในท่ามกลาง และมี ความงามในที่สุด 4. มีเป้าหมายเพื่อประโยชน์สุขแก่ชนจำนวนมาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อ ประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่ทวยเทพและมนุษย์ 5. ไปช่วยแก้ปัญหาชีวิตประชาชนให้มีความสุข 6. เนื้อหาการสอนตามสภาพจริงของชีวิตที่แตกต่างกัน นอกจากนั้น ได้มีนักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะสมเด็จพระพุทธ โฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) สมณศักดิ์ปัจจุบันได้เสนอหลักการสอนของพระพุทธเจ้าไว้ชัดเจน ดังนี้ 1. การสอนเพื่อพัฒนากาย สังคม จิตใจและปัญญา 1.1) อิสรภาพทางกาย หรือ อิสรภาพพื้นฐานของชีวิต ได้แก่ อิสรภาพของกาย ที่ปลอดพ้นจากการบีบคั้นเบียดเบียนในทางธรรมชาติ หรือสภาพแวดล้อมทางกาย เช่น โรคภัยไข้เจ็บ การมีปัจจัย 4 เพียงพอที่จะหลุดพ้นจากความยากแร้นแค้นขาดแคลน ตลอดจนการรู้จักใช้เทคโนโลยีอย่างถูกต้องเป็นคุณประโยชน์ 1.2) อิสรภาพทางสังคม หรือ เกี่ยวกับศีล คือความปลอดพ้นจากการบีบคั้น เบียดเบียนกันระหว่างมนุษย์ พ้นจากความอยุติธรรม การเอารัดเอาเปรียบ การข่มเหงแย่ง ชิง มีอาชีวะคืออาชีพที่ประกอบได้โดยสุจริต ดำรงชีวิตอย่างโปร่งโล่ง ไม่ว่างงาน พึ่งตนได้ 1.3) อิสรภาพทางจิตใจ คือ มีจิตใจที่เป็นอิสระ ไม่ถูกบีบคั้นกดดันด้วยความ ทุกข์ และไม่ตกเป็นทาสอยู่ใต้อำนาจครอบงำของกิเลส เช่น ตัณหา มานะ ทิฏฐิ หรือ โลภะ โทสะโมหะ มีจิตใจที่เอิบอิ่มด้วยคุณธรรม มีความเข้มแข็งมั่นคง ไม่หวั่นไหวด้วยโลกธรรม ไม่มีความโศก ปราศจากความขุ่นมัว เศร้าหมอง มีความผ่องใส เบิกบาน เป็นสุข 1.4) อิสรภาพทางปัญญา คือ ภาวะที่มีการรับรู้อย่างถูกต้องตามเป็นจริง ไม่ เอนเอียงด้วยอคติ รู้จักคิด คิดเองเป็น รู้จักคิดแก้ปัญหา รู้วิธีที่จะจัดทำการต่าง ๆ ให้สำเร็จ ผล มีความคิดวินิจฉัยที่บริสุทธิ์ไม่เป็นทาสของกิเลส ใช้ปัญญาคิดการต่าง ๆ โดยบริสุทธิ์ใจ ไม่มีเงื่อนงำหรือกิเลสเคลือบแฝง ตลอดจนรู้แจ้งสัจธรรมถึงขั้นหลุดพ้นจากความทุกข์ อันส่งผลให้เกิดอิสรภาพทางจิตใจอย่างสมบูรณ์15 จากมุ่งหมายของการสอนของพระพุทธเจ้าที่ทรงมอบแก่พระสาวกเป็นไปเผยแพร่ พระพุทธศาสนาเพื่อความสุข แก้ปัญหาความทุกข์แก่ประชาชนชัดเจน 15พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต), การศึกษาเครื่องมือพัฒนาที่ยังต้องพัฒนา, พิมพ์ครั้งที่ 2, (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์บริษัทสหธรรมิก, 2541), หน้า 151-153.
54 54 2. การสอนให้เข้าใจธรรมชาติพื้นฐานของมนุษย์ การสอนของพระพุทธเจ้าทรงแนะนำให้ผู้สอนเรียนรู้ ให้เข้าใจธรรมชาติพื้นฐาน ของมนุษย์มีธรรมชาติแตกต่างกัน หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาจึงแบ่งประเภทบุคคล ตามธรรมชาติ ดังนี้ 2.1) ธรรมชาติด้านสติปัญญา แบ่งย่อย 4 จำพวก16 คือ (1) อุคฆฏิตัญญู ผู้รู้เข้าใจได้ฉับพลัน (2) วิปจิตัญญู ผู้รู้เข้าใจได้เมื่อเห็นตัวอย่างเพิ่มขึ้น (3) เนยยะ ผู้พอแนะนำได้เมื่ออธิบายตามตัวอย่างและสาธิตให้เห็น (4) ปทปรมะ ผู้อับปัญญา เรียนรู้ยากมาก 2.2) ธรรมชาติด้านอุปนิสัย เป็นพื้นเพของจิต หรือพฤติกรรม ซึ่งหนักไปทางใด ทางหนึ่งเป็นปกติประจำ เรียกว่า จริตหรือจริยามี 6 อย่าง17 คือ (1) ราคจริต ผู้มีราคะเป็นความประพฤติปกติ (2) โทสจริต ผู้มีโทสะเป็นความประพฤติปกติ (3) โมหจริต ผู้มีโมหะเป็นความประพฤติปกติ (4) สัทธาจริต ผู้มีศรัทธาเป็นความประพฤติปกติ (5 พุทธิจริต ผู้มีความรู้เป็นความประพฤติปกติ (6) วิตกจริต ผู้มีวิตกเป็นความประพฤติปกติ ต่อมามุ่งสอนเพื่อพัฒนาคนตามหลักพระพุทธศาสนา คือ ไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา โดยมี จุดมุ่งหมายการพัฒนามนุษย์ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ (1) ภาวิตกาย (พัฒนากาย) หมายถึง ฝึกอบรมกายให้รู้จักติดต่อเกี่ยวข้องกับสิ่ง ทั้งหลายภายนอกทางอินทรีย์ทั้ง 5 ด้วยดี และปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านี้ในทางที่เป็นคุณ มิให้เกิด โทษให้ความดีงอกงามให้ความชั่วเสื่อม โดยพัฒนาความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทาง กายภาพ (2) ภาวิตศีล (พัฒนาศีล, พฤติกรรม) หมายถึง พัฒนาความประพฤติ การฝึก อบรมจิตให้ตั้งอยู่ในระเบียบวินัย ไม่เบียดเบียนหรือก่อความเดือดร้อนเสียหาย อยู่ร่วมกับ ผู้อื่นได้ดี เกื้อกูลแก่กัน 16ดูรายละเอียดใน อง.จตุกก. (ไทย) 21/137/102, อภิ.ปุ, (ไทย) 36/148-151/186-187. 17ดูรายละเอียดใน ขุม(ไทย) 29/154/430.
55 55 (3) ภาวิตจิต (พัฒนาจิต) หมายถึง การฝึกอบรมจิตใจให้เข็มแข็งมั่นคง เจริญ งอกงามด้วยคุณธรรมทั้งหลาย เช่น มีเมตตากรุณา มีฉันทะขยันหมั่นเพียร อดทน มีสมาธิ และสดชื่น เบิกบานเป็นสุข ผ่องใส เป็นตัน (4) ภาวิตปัญญา (พัฒนาปัญญา) หมายถึง การฝึกอบรมปัญญาให้รู้เข้าใจสิ่ง ทั้งหลายตามความเป็นจริง รู้เท่าทัน เห็นแจ้งโลกและชีวิตตามสภาวะ สามารถทำจิตใจให้ เป็นอิสระ ทำตนให้บริสุทธิ์จากกิเลสและปลอดพันจากความทุกข์ แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ ด้วยปัญญา 2. หลักการสอนของพระพุทธเจ้ามีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการ คือ18 2.1 เกี่ยวกับเนื้อหาหรือเรื่องที่สอน ซึ่งมีประเด็นที่ต้องเข้าใจดังนี้ 1) สอนในเรื่องที่เข้าใจง่ายไปหาเรื่องที่เข้าใจยาก หรือยังไม่เข้าใจ ตัวอย่างที่เห็นชัดคือ สอนเรื่องอริยสัจ 4 ซึ่งเริ่มต้นจาก ทุกข์ ที่เป็นปัญหาความเดือดร้อนที่ ทุกคนประสบอยู่โดยธรรมดา เป็นต้น 2) สอนเนื้อหาที่ค่อย ๆ ลุ่มลึกลงไปตามลำดับชั้น และต่อเนื่องกันเป็น สายลงไป ตัวอย่าง การสอนเรื่อง อนุบุพพิกถา ไตรสิขา พุทธโอวาท เป็นต้น 3) สอนให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ที่เกิดจากประสบการณ์ของผู้เรียน ด้วยการให้ดู ให้เห็นได้ฟังด้วยตนเอง ตัวอย่าง พระนันทะ เป็นต้น 4) สอนตรงเนื้อหา ตรงเรื่อง ไม่วกวน ไม่ไขว้เขว ไม่ออกนอกเรื่อง 5) สอนมีเหตุผล 6) สอนเท่าที่จำเป็นพอดีสำหรับให้เกิดความเข้าใจของผู้เรียน ไม่ใช่สอน เท่าที่ตนรู้ หรือสอนแสดงภูมิว่าผู้สอนมีความรู้มาก ตัวอย่างเหมือนอย่างที่พระพุทธเจ้า เมื่อ ประทับอยู่ในป่าประดู่ลาย ใกล้เมืองโกสัมพี ได้ทรงหยิบไม้ประดู่สายในพระหัตถ์ และตรัส ถามภิกษุทั้งหลายว่า ใบประดู่ลายในพระหัตถ์กับใบประดู่ลายในป่า อันไหนจะมากกว่ากัน ภิกษุทั้งหายกราบทูลว่า ในป่ามากกว่า จึงตรัสว่า สิ่งที่พระองค์ตรัสรู้แต่มิได้ทรงสอน เหมือนใบประดู่ลายในป่า ส่วนที่ทรงสั่งสอนน้อยเหมือนไปประดู่สายในพระหัตถ์เป็นต้น 7) สอนสิ่งที่มีความหมาย ควรที่จะเรียนรู้และเข้าใจ เป็นประโยชน์แก่ตัว เขาเองอย่างพุทธพจน์ที่ว่า พระองค์ทรงมีทางเมตตา หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งหลาย เป็นต้น 18พระธรรมปิฎก(ป.อ.ปยุตฺโต), พุทธวิธีในการสอน, (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์บริษัทสหธรรมิก จำกัด, 2547), หน้า 33.
56 56 จากแนวความคิดเกี่ยวกับเนื้อหาหรือเรื่องที่สอนพอสรุปได้ดังภาพที่ 2.2 ต่อไปนี้ ภาพที่ 2.2 สรุปแนวความคิดเกี่ยวกับเนื้อหาหรือเรื่องที่สอน ที่มา : พระธรรมปิฎก(ป.อ.ปยุตฺโต), พุทธวิธีในการสอน, 2547 : 33. 2.2 เกี่ยวกับตัวผู้เรียน ผู้สอนต้องรู้ว่าจะต้องสอนบุคคลใด มีภูมิปัญญาอย่างไร ซึ่งขอแยกประเด็น เกี่ยวกับตัวผู้เรียนได้ดังนี้ 1) สอนให้เหมาะสมตามความแตกต่างระหว่างบุคคล เช่น คำนึงถึงหลักจริต 6 ได้แก่ ราคจริต โทสจริต โมหจริต ศรัทธาจริต พุทธจริต และวิตกจริต และลักษณะบุคคล 4 ประเภทที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ คือ19 (1) อุคฆฎิตัญญู หมายถึง บุคคลผู้รู้เข้าใจได้ฉับพลัน แต่พอยกหัวข้อ แสดงขึ้นเท่านั้นก็รู้และเข้าใจได้ เทียบได้กับบัวพ้นน้ำ พอบัวสัมผัสแสงพระอาทิตย์ก็พร้อมที่ จะบาน ณ วันนั้น (2) วิปจิตัญญู หมายถึง บุคคลผู้สามารถรู้เข้าใจได้ เมื่อท่านอธิบาย ความพิสดารออกไป เทียบกับบัวปริ่มน้ำ จักบานต่อวันรุ่งขึ้น (3) ไนยยะ หมายถึง บุคคลผู้พอจะหาทางค่อยชี้แจง แนะนำ ให้เข้าใจ ได้ต่อไป เทียบกับบัวงามใต้พื้นน้ำจักบานในวันต่อ ๆ ไป (4) ปทปรมะ หมายถึง บุคคลผู้อับปัญญา มีปัญญาน้อย มีดวงตามืดมิด ยังไม่อาจให้บรรลุคุณวิเศษได้ในชาตินี้ เทียบกับบัวจมใต้น้ำ อาจจะเป็นอาหารปลาและเต่า 2) ปรับวิธีสอนให้เหมาะกับบุคคล แม้จะสอนเรื่องเดียวกันแต่ต่างบุคคล อาจ ใช้ต่างวิธีสอน 19ดูรายละเอียดใน สํ.ม. (ไทย) 19/1101/613. เกี่ยวกับเนื้อหา 1. สอนเรื่อง ง่ายไปหา ยาก 2. สอน เนื้อหาค่อยๆ ลุ่มลึก ตามลําดับ 3. สอนให้ เรียนรู้ด้วย ตนเอง 4. สอนตรง ตามเนื้อหา 5. สอนมี เหตุผล 6. สอนเท่าที่ จําเป็นต้องรู้ 7. มี ความหมาย และเป็น ประโยชน์
57 57 3) สอนให้คำนึงถึงความพร้อม ความสุกงอมของผู้เรียนแต่ละบุคคลเป็นรายๆ ไปด้วย โดยพิจารณาว่าในแต่ละคราวหรือเมื่อถึงเวลานั้น ๆ เขาควรจะได้เรียนอะไรและ เรียนได้แค่ไหน หรือว่าสิ่งที่ต้องการให้เขารู้นั้น ควรให้เขาเรียนได้หรือยัง เป็นต้น 4) สอนให้ผู้เรียนลงมือทำด้วยตนเอง ซึ่งจะช่วยให้เกิดความรู้ความเข้าใจ ชัดเจน แม่นยำและได้ผลจริง เช่น สอนจูฬปันถกผู้โง่เขลาด้วยการให้นำผ้าขาวไปลูบคลำ เป็นต้น 5) สอนให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมกัน ในการแสดงความคิดเห็นได้อย่างเสรี โดย หลักการนี้ พระพุทธองค์ทรงใช้เป็นประจำในรูปแบบการสนทนาถาม-ตอบ ซึ่งแยกลักษณะ การสอนแบบนี้ได้ ดังนี้ (1) กระตุ้นให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็น ส่งเสริมให้เขาคิด และให้ผู้เรียน เป็นผู้วินิจฉัยความรู้นั้นเอง ผู้สอนเป็นเพียงผู้นำชี้ช่องทางสู่ความรู้ (2) มีการแสดงความคิดเห็นโต้ตอบอย่างเสรี แต่มุ่งหาความรู้ ไม่ใช่มุ่ง แสดงภูมิหรือข่มผู้อื่น 6) สอนเอาใจใส่บุคคลที่ควรได้รับความสนใจพิเศษเป็นราย ๆ ไป ตามควร แก่กาละเทศะและเหตุการณ์ 7) สอนช่วยเหลือเอาใจใส่คนที่ด้อยละมีปัญหา เช่น เรื่องพระจูฬปันถก เป็นต้น จากแนวความคิดเกี่ยวกับตัวผู้เรียนหรือผู้ฟังธรรมพอสรุปประเด็นได้ดังภาพที่ 2.3 ต่อไปนี้ ภาพที่ 2.3 สรุปประเด็นแนวความคิดเกี่ยวกับตัวผู้เรียนหรือผู้ฟังธรรม ที่มา : พระธรรมปิฎก(ป.อ.ปยุตฺโต), พุทธวิธีในการสอน, 2547 : 33. 2.3 เกี่ยวกับตัวการสอน 1) สร้างความสนใจในการนำเข้าสู่เนื้อหา โดยปกติพระองค์จะเริ่มสนทนา กับผู้ทรงพบหรือผู้มาเฝ้า ด้วยเรื่องที่เขารู้เข้าใจดี หรือสนใจอยู่แล้ว เช่น สนทนากับคราญ เกี่ยวกับผู้เรียน 1.พิจารณา ความแตกต่าง ระหว่างผู้เรียน 2.ปรับวิธีสอน ให้เหมาะกับ บุคคล 3.ให้ค านึงถึง ความพร้อม ของแต่ละคน 4.ให้ผู้เรียนลง มือท าด้วย ตนเอง 5.ให้ผู้เรียนมี ส่วนร่วม 6.เอาใจใส่ เป็นรายบุคคล 7.ช่วยเหลือ เอาใจใส่คนที่ มีปัญหาพิเศษ
58 58 ช้างก็ทรงเริ่มสนทนาด้วยเรื่องวิธีฝึกช้าง พบชาวนาก็สนทนาเรื่องการทำนา พบพราหมณ์ก็ สนทนาเรื่องไตรเพทหรือธรรมของพราหมณ์ 2) สร้างบรรยากาศในการสอนให้ปลอดโปร่งเพลิดเพลิน ไม่ให้ตึงเครียด ไม่ให้เกิดความอึดอัดใจและให้เกียรติแก่ผู้เรียน ให้เขาภูมิใจในตนเอง เช่น เรื่องพราหมณ์ โสณฑะ กับคณะไปเข้าเฝ้า เป็นต้น 3) สอนมุ่งเนื้อหา มุ่งให้เกิดความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่สอนเป็นสำคัญ ไม่กระทบตนและผู้อื่น ไม่มุ่งยกตน และไม่มุ่งเสียดสิ่งใด ๆ 4) สอนโดยเคารพและตั้งใจสอน ด้วยความรู้สึกว่า เป็นเรื่องจริงจัง มี คุณค่า มองเห็นความสำคัญของผู้เรียน ไม่คิดว่าผู้เรียนโง่เขลาหรือเห็นเป็นชั้นต่ำ ๆ 5) ใช้ภาษาสุภาพ นุ่มนวล ไม่หยาบคาย ชวนให้สบายฟัง ภาษาสละสลวย เข้าใจง่าย จากแนวความคิดเกี่ยวกับตัวการสอนและสรุปได้ดังภาพที่ 2.4 ต่อไปนี้ ภาพที่ 2.4 สรุปประเด็นแนวความคิดเกี่ยวกับตัวผู้สอน ที่มา:จากการศึกษาพุทธวิธีการสอนจากพระไตรปิฎกของ พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต)20 สรุปประมวลหลักพุทธวิธีการสอนได้ทั้ง 3 ประการ ดังภาพประกอบต่อไปนี้ 1. หลักเกี่ยวกับเนื้อหาในการ สอน 2. หลักเกี่ยวกับตัวผู้เรียน 3. หลักเกี่ยวกับตัวการสอน 20พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต), พุทธวิธีในการสอน, (2547), หน้า 33. แนวคิดทั้งหมดนี้มี รายละเอียดที่ต้องศึกษาในแต่ละบทต่อไปจากพระไตรปิฎก เกี่ยวกับการสอน 1. สร้างความ สนใจแก่ผู้เรียน หรือผู้ฟัง 2. สร้าง บรรยากาศใน การสอน 3. สอนมุ่ง เนื้อหา 4. สอนโดย เคารพและ ตั้งใจ 5. ใช้ภาษา สุภาพ
59 59 1.1 สอนสิ่งที่เข้าใจง่ายไป หาสิ่งที่เข้าใจยาก 2.1 สอนโดยพิจารณา ความแตกต่างระหว่างบุคคล ของผู้เรียน 3.1 สร้างความสนใจ แก่ผู้เรียนหรือผู้ฟัง 1.2 สอนเนื้อหาที่ค่อย ๆ ลุ่มลึกลงไปตามลำดับชั้น 2.2 สอนโดยปรับวิธี สอนให้เหมาะกับบุคคล 3.2 สร้างบรรยากาศใน การสอนให้ปลอดโปร่ง เพลิดเพลิน 1.3 สอนให้เกิดการเรียนรู้ ด้วยตนเอง 2.3สอนให้คำนึงถึงความ พร้อมของบุคคลแต่ละคน 3.3 สอนมุ่งเนื้อหา 1.4 สอนตรงตามเนื้อหา 2.4 สอนให้ผู้เรียนลงมือ ทำด้วยตนเอง 3.4 สอนโดยเคารพและ ตั้งใจสอน 1.5 สอนมีเหตุผล 2.5 สอนให้ผู้เรียนมีส่วน ร่วม 3.5 ใช้ภาษาสุภาพ 1.6 สอนเท่าที่จำเป็น จะต้องรู้ 2.6 สอนเอาใจใส่เป็น รายบุคคลให้ถูกกาลเทศะ 1.7 สอนสิ่งที่มี ความหมายและเป็นประโยชน์ แก่ผู้เรียน 2.7 สอนช่วยเหลือเอาใจ ใส่คนที่มีปัญหาพิเศษ ภาพที่ 2.5 ประมวลหลักพุทธวิธีการสอนได้ทั้ง 3 ประการ ที่มา : สรุปจากแนวคิดของพระธรรมปิฎก(ป.อ.ปยุตฺโต), พุทธวิธีในการสอน, 2547 2.4 ศิลปะพุทธวิธีการสอน พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) (2547 : 45) ว่าการสอนของพระพุทธเจ้าแต่ละ ครั้งจะดำเนินไปจนถึงผลสำเร็จ โดยมีคุณลักษณะการสอนหรือบางที่เรียกว่า ลีลาในการสอน 4 อย่าง21 ดังนี้ 1) สันทัสสนา คือ อธิบายให้เห็นชัดเจนแจ่มแจ้งเหมือนจูงมือไปดูเห็นกับตา 2) สัมทาปนา คือ จูงใจให้เห็นจริงด้วย ชวนให้คล้อยตาม จนต้องยอมรับและ นำไปปฏิบัติ 21เรื่องเดียวกัน, หน้า 45.
60 60 3) สมุตเตชนา คือ เร้าใจให้แกล้วกล้าบังเกิดกำลังใจ ปลุกให้มีอุตสาหะแข็ง ขัน มั่นใจว่าจะทำให้สำเร็จได้ไม่หวั่นระย่อต่อความเหนื่อยยาก 4) สัมปหังสนา คือ ชโลมใจให้แช่มชื่น ร่าเริง เบิกบาน ฟังไม่เบื่อและเปี่ยม ด้วยความหวังเพราะมองเห็นคุณประโยชน์ที่จะได้รับจากการปฏิบัติ สรุป ศิลปะพุทธวิธีการสอนดังภาพที่ 2.6 ต่อไปนี้ ภาพที่ 2.6 สรุปศิลปะพุทธวิธีการสอน ที่มา : สรุปจากแนวคิดของพระธรรมปิฎก(ป.อ.ปยุตฺโต), พุทธวิธีในการสอน, 2547 2.5 เทคนิควิธีการสอนหรือกลวิธีการสอน สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นแบบอย่างของผู้ที่มีเทคนิควิธีสอน หลากหลายซึ่งสรุปได้จากแนวคิดของ พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต)22 ได้ดังนี้ 1) ทำนามธรรมให้เป็นรูปธรรม ซึ่งพระพุทธองค์ทรงใช้เทคนิควีการสอนทำ เรื่องยากให้เป็นเรื่องง่ายต่อการเข้าใจหลักธรรมที่มีเนื้อหาลึกซึ้ง ยากที่จะเข้าใจให้เข้าใจ ง่ายยิ่งขึ้นด้วยเทคนิควิธีสอนดังต่อไปนี้ (1) การเปรียบเทียบด้วยการใช้อุปมาอุปไมย เป็นวิธีการสอนที่ใช้มาก ที่สุดวิธีหนึ่ง เพราะทำให้ผู้ฟังมองเห็นภาพและเข้าใจธรรมะง่ายขึ้น (2) การเล่านิทานและยกอุทาหรณ์ประกอบคำอธิบายธรรมะเพื่อช่วย ให้เข้าใจได้ง่ายและชัดเจน และเกิดความเพลิดเพลินในการเรียนการสอนมากขึ้น (3) การใช้อุปกรณ์หรือสื่อการสอนในสมัยพุทธกาล ย่อมไม่มีอุปกรณ์หรือ สื่อการสอนชนิดต่าง ๆ ที่จักทำขึ้นไว้เพื่อการสอนโดยเฉพาะเหมือนสมัยปัจจุบัน แต่ พระพุทธเจ้าทรงเป็นตัวอย่างในการใช้สื่อการสอน พระองค์ทรงใช้ทุกอย่างที่ใกล้ตัวที่มีอยู่ ในธรรมชาติมาเป็นสื่อการสอนให้หมด หลักการนี้คือ เทคนิควิธีสอนที่ยิ่งใหญ่ของ พระพุทธเจ้า 22เรื่องเดียวกัน, หน้า 51. ศิลปะพุทธวิธีการสอน 1.ชัดเจนแจ่ม แจ้ง 2.จูงใจยอมรับนําไป ปฏิบัติ 3.เร้าใจกล้าหาญมั่นใจ ทําได้ 4.ร่างเริง เบิกบาน
61 61 2) การทำตนเป็นตัวอย่าง เป็นวิธีสอนที่ดีที่สุด ซึ่งเป็นการสอนแบบไม่ต้อง กล่าวสอนเข้าหลักการที่ว่า การทำตนเป็นตัวอย่างให้ศิษย์ดูหรือสาธิตให้ดู 3) ใช้ถ้อยคำเหมาะสมด้วยการเล่นภาษา เล่นคำ และใช้คำเดิมในความหมาย ใหม่ กล่าวได้ว่า การยอมรับคำศัพท์เดิม แค่นำมาใส่ความหมายใหม่ที่ดีกว่า ทำให้ผู้ฟัง คล้อยตามและตัดสินใจได้ว่า ความหมายไหนดีกว่ากัน 4) การเลือกสอนเป็นรายบุคคล ซึ่งเป็นอุบายสำคัญในการเผยแพร่ พระพุทธศาสนา ในการประกาศธรรมของพระพุทธเจ้า เริ่มแต่ระยะแรกประดิษฐาน พระพุทธศาสนา จะเห็นได้ว่าพระพุทธเจ้าทรงดำเนินพุทธกิจด้วยพุทโธบายอย่างที่เรียกว่า การวางแผนที่ได้ผลยิ่ง ทรงพิจารณาว่าเมื่อจะเข้าไปประกาศพระศาสนาในถิ่นใด ถิ่นหนึ่ง ควรไปโปรดใครก่อน ในการทรงสั่งสอนคนแต่ละถิ่น หรือแต่ละหมู่คณะ ก็มักจะเริ่มต้นจาก คนที่เป็นประมุข เช่น พระมหากษัตริย์หรือหัวหน้าของชนหมู่นั้น ๆ ทำให้การประกาศ พระศาสนาให้ผลดีและรวดเร็ว และเป็นการยืนยันพระปรีชาสามารถของพระองค์ ชี้ให้เห็น ว่าพระพุทธองค์ทรงสอนใคร พระองค์ทรงรู้ภูมิหลังผู้ฟัง ความสนใจ ระดับสติปัญญาของ ผู้ฟัง เพราะฉะนั้นการเลือกสอนเป็นรายบุคคลจะช่วยให้การสอนประสบความสำเร็จเป็น อย่างดี 5) การรู้จักจังหวะและโอกาส กล่าวได้ว่าผู้สอนต้องรู้จักใช้จังหวะและโอกาส ที่เหมาะสม เรียกได้ว่า ให้ดูความพร้อมของผู้เรียน ถ้าผู้เรียนไม่พร้อมก็ยังไม่สอน ต้อง ใช้ความอดทน รอจังหวะและโอกาสที่เหมาะสมต่อไป 6) ยืดหยุ่นในการใช้เทคนิควิธีการสอน คือ ผู้สอนสอนอย่างไม่มีอัตตา ตัด ตัณหา มานะ ทิฎฐิ ออกไป มุ่งสอนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้เป็นประการสำคัญ โดยไม่กลัวว่า จะเสียเกียรติ ไม่กลัวจะถูกรู้สึกว่าแพ้ บางคราวเมื่อสมควรก็ต้องยอมให้ผู้เรียนรู้สึกตัวว่าเก่ง บางคราวสมควรข่มก็ข่ม บางคราวสมควรโอนอ่อนผ่อนตามก็ยอมตาม สมควรขัดก็ขัด สมควรคล้อยก็คล้อย สมควรปลอบก็ปลอบ ดังพุทธพจน์ที่ว่า “เรายอมฝึกคนด้วยวิธี ละมุนละไมบ้าง ด้วยวิธีรุนแรงบ้าง ด้วยวิธีทั้งอ่อนละมุนละไมและทั้งรุนแรงปนกันไปบ้าง” 7) การเสริมแรง คือพระพุทธเจ้าทรงชมคนที่ควรชมและตำหนิคนที่ควร ตำหนิ เรียกว่าทรงสอนด้วยการลงโทษและให้รางวัล จากหลักการใช้เทคนิคพุทธวิธีการสอนดังกล่าวสามารถสรุปได้ดังภาพที่ 2.7 ต่อไปนี้
62 62 ภาพที่ 2.7 สรุปได้หลักการใช้เทคนิคพุทธวิธีการสอน ที่มา : สรุปจากแนวคิดของพระธรรมปิฎก(ป.อ.ปยุตฺโต), พุทธวิธีในการสอน, 2547 2.6 รูปแบบวิธีสอนแบบของพระพุทธเจ้า รูปแบบวิธีสอนของพระพุทธเจ้ามีหลายแบบหลายอย่าง ซึ่งพอจะสรุป จากแนวคิดของพระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต)23 ได้ดังนี้ 1) การสอนแบบสนทนา (สากัจฉาหรือธรรมสากัจฉา) วิธีนี้พระพุทธองค์ทรง ใช้บ่อยที่สุด โดยพระพุทธเจ้าจะทรงเป็นฝ่ายถามนำผู้สนทนาเข้าสู่ความเข้าใจธรรมและเกิด ความเลื่อมใสศรัทธาในที่สุด 2) การสอนแบบบรรยาย เป็นวิธีการสอนที่ทรงใช้เสมอในการแสดงธรรม ประจำวันในโอกาสที่พระสงฆ์หรือประชาชนมารวมกันเป็นจำนวนมาก และพระสงฆ์หรือ ประชาชนเหล่านั้นส่วนมากเป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจกับมีความเลื่อมใสศรัทธาอยู่แล้ว นับได้ว่าเป็นคนประเภทมีภูมิปัญญาและภูมิธรรมะระดับใกล้เคียงกันลักษณะพิเศษของ พุทธวิธีสอนแบบรรยายที่พบในคัมภีร์บอกว่าทุกคนที่ฟังพระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมอยู่ใน ที่ประชุมนั้น แต่ละคนรู้สึกว่าพระพุทธเจ้าตรัสสอนอยู่กับตัวเองโดยเฉพาะ นี้แหละคือ ความสามารถอัศจรรย์ของพระพุทธเจ้า 3) การสอนแบบตอบปัญหา ผู้ที่มาถามปัญหานั้นมีบุคคลหลายประเภท คน บางคนมาถามเพื่อต้องการรู้คำสอนทางฝ่ายพระพุทธศาสนาหรือเทียบเคียงกับคำสอน ในลัทธิของตน บางคนก็มาถามเพื่อต้องการลองภูมิ บางคนก็เตรียมมาถามเพื่อข่มปราบให้ จนหรือให้ได้รับความอับอาย พระพุทธองค์ทรงสอนให้พิจารณาดูลักษณะของปัญหา ซึ่ง ทรงแยกประเภทปัญหาไว้ 4 ลักษณะ วิธีตอบคือ 23เรื่องเดียวกัน, หน้า 46. เทคนิควิธีการสอน 1.สอนนามธรรม เป็นรูปธรรม -อุปมาอุปไมย -การเล่านิทาน -การสื่อ ปุกรณ์ 2.ทําตนให้เป็น ตัวอย่าง 3.ใช้ถ้อยคํา เหมาะสม 4.การเลือก สอนเป็น รายบุคคล 5.รู้จักจังหวะ และโอกาส 6.ยืดหยุ่นใน การใช้เทนนิค วิธีการสอน 7.การ เสริมแรง
63 63 (1) ปัญหาบางอย่างต้องตอบตรงไปตรงมาตายตัวไม่มีเงื่อนไข (เอกังสพ ยากรณียปัญหา) (2) ปัญหาบางอย่างต้องย้อนถามก่อนจึงตอบ (ปฏิปุจฉาพยากรณียปัญหา) (3) ปัญหาบางอย่างต้องแยกแยะความตอบ (วิภัชชพยากรณียปัญหา) (4) ปัญหาบางอย่างต้องตัดบทไปเลยไม่ตอบ (ฐปนียปัญหา) 4) การสอนแบบวางกฎข้อบังคับ เมื่อเกิดเรื่อง มีภิกษุณีกระทำความผิดอย่าง ใดอย่างหนึ่งเป็นครั้งแรก พระสงฆ์หรือประชาชนพากันติเตียนและมีผู้นำความกราบทูล พระพุทธเจ้า พระองค์ก็จะทรงเรียกประชุมสงฆ์ สอบถามพระภิกษุผู้กระทำความผิด จากนั้นพระพุทะองค์ก็จะทรงบัญญัติสิกขาบท สรุปแนวคิดพุทธวิธีสอน 4 แบบ ได้ดังนี้ ภาพที่ 2.8 สรุปพุทธวิธีการสอน 4 แบบ ที่มา : สรุปจากแนวคิดของพระธรรมปิฎก(ป.อ.ปยุตฺโต), พุทธวิธีในการสอน, 2547 3. การสอนสร้างสรรค์ การสร้างสรรค์และพัฒนาเด็กและเยาวชนนี้ 3.1 มองที่ตัวเด็กเองโดยสัมพันธ์กับตัวของเขาเอง ควรเป็นคนที่มีบุคลิกภาพ อย่างไร ใช้ชีวิตอย่างไร มีความสุขได้อย่างไร 3.2 มองเด็กนั้นโดยสัมพันธ์กับสังคมไทยเริ่มตั้งแต่ชุมชนท้องถิ่นขึ้นมาจนถึง สังคมไทยทั้งประเทศว่า เราจะให้เด็กและเยาวชนเป็นคนอย่างไร จึงจะพร้อมที่จะไปเป็น ประโยชน์ในการพัฒนาสังคมไทยให้เจริญรุ่งเรือง เด็กและเยาวชนที่จะมาพัฒนาสังคมไทย ต่อไปนี้ ควรจะมีคุณสมบัติหรือคุณภาพอย่างไร นี้ก็เป็นหน้าที่ของศาสนาและจริยธรรม ที่จะต้องพิจารณา วิธีการสอน 1. การสอนแบบ สนทนา 2. การสอนแบบ บรรยาย 3. การสอนแบบตอบปัญหา -ปัญหาบางอย่างตอบตรงไปตรงมา -ปัญหาบางอย่างต้องย้อนถาม -ปัญหาบางอย่างต้องแยกแยะตอบ -ปัญหาบางอย่างตัดบทไม่ตอบ 4. การสอนแบบ วางกฏหรือบท บัญัญัติ
64 64 3.3 มองในฐานะที่เยาวชนนั้นจะเติบโตเป็นพลโลกว่า เขาจะมีส่วนร่วมในการ พัฒนาโลก พัฒนาอารยธรรมมนุษย์อย่างไร ซึ่งอาจจะมองในแง่ที่ว่าเป็นคนไทยที่จะไปมี ส่วนร่วมในการสร้างสรรค์อารยธรรมของโลก การมองทั้งหมดที่พูดนี้ เป็นการมองในแง่ เทศะ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่จะเอาเป็นจุดตั้งได้ ในการพิจารณาว่าเราจะพัฒนาเด็กและ เยาวชนอย่างไร แต่ยังมีแง่ที่สองที่จะต้องพิจารณาอีกคือ ในแง่กาละ ซึ่งจะต้องพิจารณา ควบคู่เคียงกันไปกับการมองทางด้านเทศะ ในแง่กาละนั้น แยกได้ 2 ด้าน คือ 1) กาละที่เป็นเรื่องสามัญตลอดเวลา หมายความว่า เป็นเรื่องตลอดกาล นั่นเอง คือเราจะให้เด็กเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์อย่างไร เป็นมนุษย์ที่มีคุณภาพอย่างนี้ๆ ซึ่งอยู่ ได้ในทุกกาลสมัย ตามหลักการยืนตัวที่ว่า ในฐานะที่เป็นมนุษย์ ไม่ว่าจะอยู่ในยุคใด กาลใด สมัยใด ก็จะต้องเป็นคนที่มีคุณภาพอย่างนี้ อันนี้เรียกว่า พิจารณาในแง่กาละที่เป็นกลาง ๆ เป็นเรื่องของกาลเวลาใดก็ได้ ไม่ขึ้นต่อยุคสมัย เป็นพื้นฐานยืนตัวในด้านกาลเวลา 2) กาละที่เป็นของจำเพาะยุคสมัย เฉพาะกาลหรือเฉพาะสถานการณ์ หมายความว่า สังคมไทยเวลานี้ มนุษย์โลกในเวลานี้มีสภาพอย่างไร มีสถานการณ์ที่เป็น ปัญหาอย่างไร ต้องการคุณสมบัติอะไรเป็นพิเศษ ขาดแคลนคุณธรรมและจริยธรรมอะไร มีความบกพร่องเกี่ยวกับศาสนาทางด้านไหนเป็นพิเศษ ซึ่งจะต้องเสริมสร้างเพิ่มเติมในด้าน นั้น ๆ จุดเน้นอยู่ที่ไหน ในเฉพาะกาลสมัยนั้น แง่นี้ก็เป็นเรื่องสำคัญมากเช่นกัน24 4. ลักษณะของนวัตกรรมการเรียนการสอน การจัดการเรียนการสอนในยุคสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของบริบทกระแสโลก นโยบายรัฐบาล แผนการศึกษาแห่งชาติ 20 ปี พ.ศ. 2561-2680 และประเทศไทย 4.0 และสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ตลอดถึงนโยบายของโรงเรียนและสถานศึกษาต้อง ปรับตัวสำหรับการเรียนการสอน จึงทำให้เกิดกระบวนการเรียนการสอนด้วยนวัตกรรมที่ หลากหลายเพื่อช่วยพัฒนาผู้เรียน ด้วยเหตุผลดังกล่าว ลักษณะนวัตกรรมที่ได้รับความ สนใจและยอมรับนำใช้มีลักษณะดังนี้25 24พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต), ศาสนาและเยาวชน, พิมพ์ครั้งที่ 3, (กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก, 2539), หน้า 19-21. 25ทิศนา แขมมณี, ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มี ประสิทธิภาพ, พิมพ์ครั้งที่ 21, (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560), หน้า 419.
65 65 1) เป็นนวัตกรรมที่ไม่ซับซ้อนและยากจนเกินไป ความยากง่ายของนวัตกรรมมี อิทธิพลอย่างมากต่อการยอมรับนำไปใช้ ก็มักเกิดขึ้นได้ง่าย ไม่ต้องใช้เวลาในการเผยแพร่ มากนัก 2) เป็นนวัตกรรมที่ไม่เสียค่าใช้จ่ายแพงจนเกินไป นวัตกรรมที่จำเป็นต้องใช้วัสดุ อุปกรณ์และการบำรุงรักษาที่มีค่าใช้จ่ายสูงย่อมได้การยอมรับและนำไปใช้น้อยมาก 3) เป็นนวัตกรรมที่สำเร็จรูป นวัตกรรมที่อำนวยความสะดวกในการใช้ มักได้รับ เวลาจัดเตรียมเพิ่มขึ้น 4) เป็นนวัตกรรมที่ไม่กระทบกระเทือนต่อบริบทเดิมมากนัก นวัตกรรมใดที่มี ผลกระทบต่อบริบทเดิมมาก จำเป็นต้องปรับหรือเปลี่ยนแปลงบริบทเดิมมาก ยากที่จะมีคน นำไปใช้ 5) เป็นนวัตกรรมที่มีคนเกี่ยวข้องไม่มากนัก นวัตกรรมใดที่ต้องอาศัยคนหลาย กลุ่มเข้ามาช่วยเหลือเกี่ยวข้องด้วย ทำให้ผู้ใช้ต้องประสานงานหลายฝ้าย การใช้ที่ขึ้นกับคน หลายฝ้ายย่อมทำให้เกิดความไม่สะดวกในการใช้ จึงทำให้การยอมรับหรือการใช้นวัตกรรม นั้นยากขึ้น 6) เป็นนวัตกรรมที่ให้ผลชัดเจน นวัตกรรมที่ส่งผลเป็นรูปธรรมเห็นได้ชัดเจน มักได้รับการยอมรับสูงกว่านวัตกรรมที่ให้ผลไม่ชัดเจน 4.1 ระดับการยอมรับนวัตกรรม เนื่องจากนวัตกรรมมีคุณสมบัติและลักษณะหลากหลายแตกต่างกันไปจึงทำให้เกิด การยอมรับนวัตกรรมนั้นมากน้อยในระดับที่แตกต่างกันไปด้วย โดยทั่วไปการยอมรับ นวัตกรรมนั้นมีอยู่ 5 ระดับคือ 1) ระดับการรับรู้ เป็นการยอมรับในระดับตัน คือ ยอมรับรู้อย่างคร่าว ๆ หรือ อย่างผิวเผินในนวัตกรรมนั้น 2) ระดับการสนใจ เป็นการยอมรับในระดับที่มากขึ้นกว่าระดับแรก คือ รับรู้และ ความสนใจในนวัตกรรมนั้นซึ่งอาจจะเนื่องมาจากนวัตกรรมนั้นสอดคล้องปัญหากับความ ต้องการของตน หรือได้เห็นคุณค่าของนวัตกรรมนั้น ผู้ที่มีการยอมรับในระดับนี้จะแสดง ความสนใจ ซักถามถึงรายละเอียดต่าง ๆ ของนวัตกรรมนั้น 3) ระดับการชั่งใจ เป็นการยอมรับในระดับที่สูงขึ้นกว่าการให้ความสนใจ ผู้ที่มี ยอมรับในระดับนี้จะมีการคิดไตร่ตรองถึงผลดี ผลเสีย และความเป็นไปได้ในการนำนวัตกรรม นั้นไปใช้ 4) ระดับการทคลองใช้ เป็นการตัดสินใจที่จะนำนวัตกรรมนั้นไปใช้โดยการใช้ใน ขอบเขตจำกัด เพื่อที่จะดูว่าจะสามารถใช้ได้จริงและได้ผลจริงมากน้อยเพียง
66 66 5) ระดับการใช้นวัตกรรม เป็นการยอมรับในระดับสูงสุด กล่าวคือหลังจากการ ทดลองใช้แล้ว พบว่านวัตกรรมนั้นเกิดประโยชน์เป็นที่น่าพอใจและเห็นว่านวัตกรรมนั้นมี คุณค่ามากพอที่จะนำไปใช้ต่อไปอย่างต่อเนื่อง26 จากแนวคิดดังกล่าวพบว่า นวัตกรรมทางการศึกษาซึ่งรวมถึงนวัตกรรมด้านการ เรียนการสอนที่มีมาในอดีตหลายนวัตกรรม บางนวัตกรรมได้รับการยอมรับในระดับสูงสุด คือการนำไปใช้จริงอย่างต่อเนื่อง เช่น นวัตกรรมการจัดกลุ่มตามความสามารถ (ability grouping) นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนแบบศูนย์การเรียน (learning center) การจัดการเรียนการสอนโดยใช้บทบาทสมมติ (role playing) และการจัดการเรียนการสอน โดยใช้กรณีตัวอย่าง (case method) เป็นต้น 4.2 การพัฒนานวัตกรรมด้านการเรียนการสอน27 การพัฒนานวัตกรรมด้านการเรียนการสอนโดยทั่วไปนั้น มีกระบวนการหลัก ๆ ที่ คล้ายคลึงกัน ดังนี้ 1) การระบุปัญหา (problem) ความคิดในการพัฒนานวัตกรรมส่วนใหญ่จะ เริ่มต้นที่การมองเห็นปัญหาในเรื่องนั้น และมีความต้องการจะแก้ไขปัญหานั้นเพื่อให้เกิด สภาพการณ์หรือผลที่ดีขึ้น 2) การกำหนดจุดมุ่งหมาย (objective) เมื่อระบุปัญหาได้ชัดเจนแล้ว ขั้นต่อการ กำหนดจุดมุ่งหมายในการพัฒนานวัตกรรมว่า นวัตกรรมที่จะพัฒนาควรมีคุณสมบัติหรือ ประสิทธิภาพเพียงใด 3) การศึกษาข้อจำกัดต่าง ๆ (constraints) ก่อนที่จะมีการประดิษฐ์คิดค้น นวัตกรรมต่าง ๆ ขึ้นมา ผู้พัฒนาจำเป็นต้องศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะของปัญหาและ ข้อจำกัดต่าง ๆ ในบริบทที่จะใช้นวัตกรรมนั้น เพื่อประโยชน์ในการพัฒนานวัตกรรมให้ สามารถใช้ได้จริง โดยสะดวกในบริบทนั้น 4) การประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรม (innovation) ได้แก่ การแสวงหาทางเลือกใน การแก้ปัญหา ซึ่งต้องอาศัยความรู้ ประสบการณ์ ข้อมูล และความคิดสร้างสรรค์ของผู้ ประดิษฐ์คิดค้น นวัตกรรมที่สร้างขึ้นอาจเป็นการนำของเก่ามาดัดแปลงหรือปรับปรุง เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาและทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น หรืออาจเป็นการคิดขึ้นใหม่ ทั้งหมดก็ได้นวัตกรรมอาจอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ กัน แล้วแต่ลักษณะของปัญหาและ 26เรื่องเดียวกัน, หน้า 420. 27เรื่องเดียวกัน, หน้า 421-423.
67 67 วัตถุประสงค์ของนวัตกรรมนั้น เช่น อาจมีลักษณะเป็นแนวความคิด หลักการ แนวทาง ระบบ รูปแบบ วิธีการ กระบวนการเทคนิค หรือสิ่งประดิษฐ์ และเทคโนโลยี เป็นต้น 5) การทดลองใช้ (experimentation) เมื่อคิดคันหรือประดิษฐ์นวัตกรรมได้แล้ว ขั้นตอนที่สำคัญและจำเป็นมากก็คือ การทดลองใช้นวัตกรรมนั้นซึ่งประกอบด้วยการทดลอง ใช้การประเมินผล และการปรับปรุงแก้ไข การทดลองใช้เป็นการศึกษาเพื่อดูว่านวัตกรรม นั้นสามารถนำไปใช้ได้จริง และได้ผลเพียงใด 6) การเผยแพร่ (dissemination) เมื่อแน่ใจแล้วว่านวัตกรรมที่สร้างขึ้นมีคุณภาพ และประสิทธิภาพตามที่ต้องการ นวัตกรรมนั้นก็พร้อมที่จะได้รับการเผยแพร่ให้เป็นที่รู้จัก และยอมรับนำไปใช้กันอย่างแพร่หลาย รูปแบบการเผยแพร่ที่ได้รับความนิยมกันมาก โดยทั่วไปมีอยู่ 4 รูปแบบ (1) การเผยแพร่ที่อิงการใช้อำนาจสนับสนุนจากเบื้องสูง (Authority Innovation-Decision Model) เป็นการเผยแพร่โดยการชักจูงให้ผู้มีอำนาจในระดับสูงเห็น ความสำคัญของการใช้นวัตกรรมนั้น และตัดสินใจสั่งการไปยังผู้ใช้ ซึ่งอยู่ในระดับถ่างให้ใช้ นวัตกรรมนั้น (2) การเผยแพร่แบบใช้มนุษยสัมพันธ์ (Human Interaction Model) เป็นการเผยแพร่โดยการชักจูงบุคคลที่จะใช้หรือเกี่ยวข้องกับการใช้นวัตกรรมนั้น โดยการ ให้ความรู้ ความเข้าใจ และให้ความช่วยเหลือในการทดลองใช้ ซึ่งต่อไปบุคคลนั้นจะสามารถ ตัดสินใจได้ว่า สมควรรับนวัตกรรมนั้นไว้ใช้ต่อไป หรือหยุดใช้นวัตกรรมนั้น (3) การเผยแพร่ใช้นวัตกรรม (User Participation Model) รูปแบบนี้เป็น การเผยแพร่ถึงตัวผู้ใช้นวัตกรรมโดยตรง เช่น นวัตกรรมด้านการเรียนการสอน ผู้ยอมรับ (adopter) อาจเป็นศึกษานิเทศก์ หรือครูใหม่ ซึ่งเป็นผู้เกี่ยวข้อง ไม่ใช่ผู้ใช้โดยตรง ผู้ใช้ นวัตกรรมด้านการเรียนการสอนโดยตรงคือครู รูปแบบการเผยแพร่ถึงผู้ใช้โดยตรงนี้ จะให้ ผู้ใช้เป็นผู้ตัดสินใจในการที่จะยอมรับหรือไม่ยอมรับนวัตกรรมนั้น (4) การเผยแพร่แบบผสม (Eclectic Process of Change Model) การ เผยแพร่แบบนี้เป็นการเผยแพร่นวัตกรรมผ่านตัวกลาง ซึ่งก็คือผู้ทำหน้าที่เชื่อมระหว่างกลุ่ม ผู้ที่ต้องการเผยแพร่นวัตกรรมกับกลุ่มผู้ต้องการใช้นวัตกรรม ซึ่งตัวกลางเผยแพร่นวัตกรรม นั้น อาจจำเป็นต้องใช้วิธีการเผยแพร่ทั้ง 3 วิธีที่กล่าวข้างต้นผสมผสานกันไป 7) การยอมรับหรือต่อต้านนวัตกรรมนั้น เมื่อนวัตกรรมได้รับการเผยแพร่ผ่านไป ในระยะเวลาพอสมควร นวัตกรรมนั้นอาจถูกปรับปรุงและพัฒนาให้เหมาะสมยุคสมัย หรือ อาจยกเลิกใช้ อีกอย่างการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ารวดเร็วมาก นวัตกรรม การเรียนการสอนจะถูกพัฒนาเปลี่ยนวิธีการ แนวคิดได้ตลอดเวลา
6868 4.3 บทบาทผู้บริหาร ครู อาจารย์ในยุคดิจิทัล บทบาทครู อาจารย์ในยุคดิจิทัลทุกระดับต้องปรับตัวอย่างมากในสอน โดยเฉพาะ การสอนของครู อาจารย์บางคนต้องเปิดใจที่จะเรียนรู้จากเพื่อนครู เจ้าหน้าที่ ลูกศิษย์ หรือ ลูกหลาน ที่เป็นชาวดิจิทัลโดยกำเนิด (Digital Natives) นี้เป็นการเรียนรู้ยุคใหม่ สำหรับครู อาจารย์ผู้สอนถือว่า หัวใจสำคัญของการถ่ายทอดองค์ความรู้ ทักษะ ตลอดจนเป็นแบบอย่าง ที่ดีให้กับนักเรียน นักศึกษานั้นจะต้องปรับบทบาทให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงดังที่กล่าวไป แล้วข้างต้น และพร้อมที่จะพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลาซึ่ง การเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับ นักเรียนนั้น หมายรวมถึง การเรียนรู้ดิจิทัลจากนักเรียนด้วย ให้นักเรียนได้เห็นว่าผู้ไม่รู้แต่ พร้อมที่จะเรียนรู้และพัฒนานั้น น่ายกย่องเป็นแบบอย่างกว่าผู้ไม่รู้แต่แสดงว่ารู้ ครูควร จะต้องเข้าใจและพัฒนาให้มีทักษะการเรียนรู้ โดยเริ่มต้นจากการตระหนักถึงลิขสิทธิ์ทาง ปัญญาฝึกฝนการใช้ประโยชน์จากคลังบทเรียนออนไลน์แบบเปิด MOOC (Massive Open Online Courseware) คือหลักสูตร (Course) ที่เรียนออนไลน์ (Online) จากระบบที่เปิด ให้ใช้งานฟรี (Open) และรองรับผู้เรียนจำนวนมาก (Massive) ผู้เรียนสามารถเชื่อมต่อเข้า ไปดูวิดีโอการบรรยาย เข้าไปฝึกปฏิบัติ ทำแบบทดสอบแบบฝึกหัด โดยสามารถเข้าไปร่วม สนทนาระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้เรียนได้ซึ่งต่างประเทศได้ใช้มานานแล้ว สำหรับประเทศไทยในภาคการศึกษา 1/2564 ได้ใช้การเรียนการสอนผ่านระบบ ออนไลน์เต็มรูปแบบอันสืบเนื่องมาจากสถานการณ์แผ่ระบาดโรคโควิด-19 ดังนั้นผู้บริหาร ถือว่าเป็นปัจจัยของความสำเร็จในการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาครูและสถานศึกษาได้อย่าง ต่อเนื่องและมีคุณภาพ ผู้บริหารจะต้องพัฒนาตนเองตลอดเวลา และกำหนดกลไกที่ชัดเจน ในการส่งเสริมให้ครู อาจารย์นำสมรรถนะที่ได้รับการอบรมไปใช้พัฒนาคุณภาพการศึกษา และการเรียนรู้ของนักเรียน สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา28 ได้จัดทำวิจัยเสนอแนวปฏิบัติของการสร้าง และส่งเสริมการรู้ดิจิทัลสำหรับครู โดยจัดลำดับจากกระแสความปั่นป่วนจากเทคโนโลยี ดิจิทัล เพื่อแสดงให้เห็นภาพการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบอันเกิดจากความก้าวหน้าของ เทคโนโลยีดิจิทัล นำไปสู่การจัดการเรียนการสอนและบทบาทของครูจะต้องปรับเปลี่ยน วิธีการสอนใหม่ให้สามารถใช้ประโยชน์แก่ผู้เรียนจากเทคโนโลยีดิจิทัลในการส่งเสริมการ เรียนรู้ตามหลักพุทธนวัตกรรมการสอนซึ่งขอนำเสนอโดยสรุปดังนี้ 1. กระแสความปั่นป่วนจากเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Disruption) กำหนดการ เรียนการสอนในรูปแบบใหม่ดังนี้ คำว่า Digital Disruption ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน มีการใช้ 28สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, แนวปฏิบัติของการสร้างและส่งเสริมการรู้ดิจิทัล สำหรับครู, (กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค, 2562), บทสรุปผู้บริหารหน้า ค และ จากหน้า 5-7.
69 69 ครั้งแรกตั้งแต่ปี ค.ศ. 1995 โดยศาสตราจารย์เคลย์ตัน คริสเตนเซน อาจารย์ประจำ โรงเรียนธุรกิจมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Professor Clayton Christensen, Harvard Business School) ซึ่งในขณะนั้นศาสตราจารย์คริสเตนเซนได้ใช้คำว่า “Disruptive Technologies”29 การเตรียมความพร้อมของคนให้มีสมรรถนะที่จำเป็นต่อโลกที่มีการ เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การรู้แนวโน้มการพัฒนาของเทคโนโลยีดิจิทัล จึงมีความสำคัญ อย่างยิ่งต่อการวางแผนกับการเตรียมคนไปสู่การสร้างนวัตกรรมและเป็นผู้ใช้นวัตกรรมที่มี คุณภาพและเต็มศักยภาพได้อย่างรู้เท่าทันและปลอดภัย ซึ่งสอดคล้องหลักพระพุทธศาสนา ว่าไม่ประมาทมีสติในการดำเนินกิจกรรมโดยเฉพาะความทุกข์ของมนุษย์ 2. แนวโน้มของเทคโนโลยีดิจิทัลนำไปสู่ 3 เรื่องหลัก ได้แก่ 1) ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาและใช้ประโยชน์ในหลากภาคธุรกิจ เช่น Deep Learning, Commercial UAVs (Drones), Smart Robots และ Smart Workspace เป็นต้น 2) ประสบการณ์แบบหลอมรวม (Transparently Immersive Experiences) ที่ ความสัมพันธ์ระหว่างคน ธุรกิจ และสิ่งของ เช่น 4D Printing, Augmented Reality (AR), Connected Home, Virtual Reality (VR) และ Nanotube Electronics เป็นต้น และ 3) Digital Platforms ที่ช่วยสร้างหรือรวบรวมข้อมูลและสามารถประมวลผลระดับสูงได้ เช่น IoT Platform, Blockchain, Quantum Computing และ Software - Defined Security เป็นต้น ซึ่ง 3.ดิจิทัลเปลี่ยนโลกการศึกษา (Education Disruption) สำหรับการศึกษา ความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีดิจิทัลอาจไม่ถือว่า เป็นความปั่นป่วนไปทั้งหมด แต่อาจกลายเป็นตัวแปรสำคัญของการเปลี่ยนโลกการศึกษาได้ ดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้นว่า เทคโนโลยีดิจิทัลกำลังเขย่าโลกและท้าทายให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน ทั้งโดยเต็มใจและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงนั้น หรือโดนบังคับให้ต้องเปลี่ยนแปลงก็ตาม แต่ความปั่นป่วนจากเทคโนโลยีดิจิทัลนั้นไม่ได้น่าหวาดกลัวและส่งผลลบไปทั้งหมด ผลเชิง บวกของ digital disruption ต่อการศึกษาที่เด่นชัด คือ เทคโนโลยี 2.5 การเรียนการสอนในยุคดิจิทัล ดิจิทัลสามารถเป็นเครื่องมือสำคัญของการขยายโอกาสและสร้างความเท่าเทียม ทางการศึกษาให้เกิดขึ้นได้ผ่านแนวคิด Open Education เช่น ระบบคลังบทเรียนออนไลน์ แบบเปิด หรือ Massive Open Online 29HBR., Disruptive Technologies: Catching the Wave, Retrieved https://hbr. org/1995/01/disruptive-technologiescatching-the-wave Accessed [15 ตุลาคม 2564].
70 70 Courses (MOOC) ที่เราสามารถเรียนรู้ออนไลน์ผ่านบทเรียนต่าง ๆ ทั่วโลกได้ ทุกที่ทุกเวลา ซึ่งในปัจจุบันสถาบันการศึกษาและผู้ให้บริการด้านการศึกษาทั่วโลกทั้งในและ ต่างประเทศต่างจัดคอร์สเรียนที่น่าสนใจ ให้สามารถเรียนรู้โดยไม่ต้องเดินทาง อีกทั้งสามารถ ได้รับการรับรองประกาศนียบัตรในการจบหลักสูตรได้ และระบบคลังทรัพยากรการศึกษา แบบเปิด หรือ Open Educational Resource (OER) ที่เป็นคลังสื่อ ทั้งภาพวิดีโอ องค์ ความรู้สำหรับการดำรงชีวิตต่าง ๆ ที่เจ้าของ ผู้สร้างสรรค์ผลงานอนุญาตให้ใช้ได้ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ (Creative Commons) ในขณะที่เทคโนโลยีดิจิทัลอาจนำประโยชน์มหาศาลมาสู่การศึกษาในทางการ บริหารจัดการ และการให้บริการทางการศึกษา และสามารถนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายของ การขยายโอกาสและยกระดับความเท่าเทียมทางการศึกษา ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพและ คุณภาพของการจัดการเรียนการสอนได้ แต่สิ่งสำคัญของการศึกษาที่กำลังโดนปั่นป่วน อย่างหนัก คือ การที่ผู้ที่สำเร็จการศึกษาไม่มีทักษะและสมรรถนะที่เพียงพอต่อการทำงาน จริง โดยเฉพาะในสาขาดิจิทัล จากการศึกษาของ TDRI30 1. การเรียนรู้ผสมผสานเทคโนโลยี (Tech Integration Learning) จากที่กล่าวไปแล้วข้างต้น เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทต่อการเรียนรู้เป็นเวลา หลายทศวรรษและมีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด นักการศึกษาได้ทำการศึกษาและคิดค้น รูปแบบวิธีการสอนที่ผสมผสานกับเทคโนโลยีไว้อย่างหลากหลาย ซึ่งในส่วนนี้จะกล่าวถึง รูปแบบการเรียนรู้ที่ผสมผสานเทคโนโลยีที่ได้รับการยอมรับและใช้กันอย่างแพร่หลาย เช่น TPACK Model and SAMR Model ดังนี้ 1) TPACK Model31 หรือ Technological Pedagogical Content Knowledge ถูกนำเสนอเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 2006 โดย Punya Mishra And Matthew Koehler ซึ่งเป็นการพัฒนาต่อมาจากแนวคิดเรื่อง PCK หรือ Pedagogical Content Knowledge โดย Lee Shulman TPACK เป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ผสมผสาน ระหว่าง เนื้อหาสาระวิชา วิธีการสอน และเทคโนโลยี เพื่อให้ครูสามารถถ่ายทอดองค์ ความรู้ผ่านวิธีการสอนและเทคโนโลยีที่เหมาะสม เพิ่มประสิทธิภาพของการจัดการเรียน การสอนและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของนักเรียนได้ ซึ่งประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก คือ 30TDRI, การประชุมสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง แนวทางการสร้างกำลังคนด้านดิจิทัลของไทย: จากปริมาณสู่คุณภาพ, วันที่ 15 พฤษภาคม 2561 ณ ห้องคริสตัล บอลรูม โรมแรมฮอลิเดย์ อินน์ สีลม. 31TPACK Model. http://matt-koehler.com/tpack2/tpack-explained/ [15 ตุลาคม 2564].
71 71 ภาพที่2.9 TPACK Model ที่มา :มาจาก https://matt-koehler.com/tpack2/tpack-explained/ (15 ต.ค.2564) จากภาพที่ 2.9 อธิบายTPACK Model ได้ดังนี้ 1. Content Knowledge (CK) คือ องค์ความรู้ เนื้อหาสาระวิชาที่ครูมีความ เชี่ยวชาญ และต้องการถ่ายทอดให้กับนักเรียน (What Teachers Know) 2. Pedagogical Knowledge (PK) คือ วิธีการสอน (How They Teach) 3. Technological Knowledge (TK) คือ เทคโนโลยีถูกเลือกและใช้ประโยชน์ อย่างไร (How Technology Is Used) ซึ่งหัวใจสำคัญไม่ได้ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ แต่คือ คุณภาพของเนื้อหาที่นักเรียนสามารถเข้าถึงได้ 4. Context คือ บริบท เช่น นักเรียน ชุมชน เป็นต้น ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดว่าจะ เลือกใช้ TPACK อย่างไรให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูงสุดกับบริบทเฉพาะ Content Knowledge (CK) Pedagogical Knowledge (PK) . Technological Knowledge (TK) 71 ภาพที่2.9 TPACK Model ที่มา :มาจาก https://matt-koehler.com/tpack2/tpack-explained/ (15 ต.ค.2564) จากภาพที่ 2.9 อธิบายTPACK Model ได้ดังนี้ 1. Content Knowledge (CK) คือ องค์ความรู้ เนื้อหาสาระวิชาที่ครูมีความ เชี่ยวชาญ และต้องการถ่ายทอดให้กับนักเรียน (What Teachers Know) 2. Pedagogical Knowledge (PK) คือ วิธีการสอน (How They Teach) 3. Technological Knowledge (TK) คือ เทคโนโลยีถูกเลือกและใช้ประโยชน์ อย่างไร (How Technology Is Used) ซึ่งหัวใจสำคัญไม่ได้ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ แต่คือ คุณภาพของเนื้อหาที่นักเรียนสามารถเข้าถึงได้ 4. Context คือ บริบท เช่น นักเรียน ชุมชน เป็นต้น ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดว่าจะ เลือกใช้ TPACK อย่างไรให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูงสุดกับบริบทเฉพาะ Content Knowledge (CK) Pedagogical Knowledge (PK) . Technological Knowledge (TK)
72 72 ภาพที่ 2.10 SAMR Model ที่ ม า :ม าจ า ก http://hippasus.com/rrpweblog/archives/2015/10/SAMR_ABriefIntro. pdf 1 5 ตุลาคม 2564 จากภาพที่ 2.10 SAMR Model อธิบายได้ดังนี้ SAMR Model32 นำเสนอโดย Ruben R. Puentedura เป็นรูปแบบการ จัดการสอนที่ครูสามารถประเมินระดับการบูรณาการเทคโนโลยีกับการสอน ประกอบด้วย 4 ระดับ คือ (1) Substitution หมายถึง การใช้เทคโนโลยีเข้ามาแทนที่เครื่องมือเดิมที่ใช้ อยู่ โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงวิธีการใด ๆ 32Puentedura, R., SAMR: A Brief Introduction, http://hippasus.com/blog/ archives/227 [15 ตุลาคม 2564] อ้างใน สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, แนวปฏิบัติของการ สร้างและส่งเสริมการรู้ดิจิทัลสำหรับครู, (กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค, 2562), หน้า 14-15. Redefinition Modification Augmentation Substitution ที่่�มา: มาจากhttp://hippasus.com/rrpweblog/archives/2015/10/SAMR_ABriefIntro. pdf 15 ตุุลาคม 2564
73 73 (2) Augmentation หมายถึง การใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ การทำงานแบบเดิมให้ดียิ่งขึ้น (3) Modification หมายถึง การใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง หรือออกแบบการเรียนการสอนใหม่ให้เหมาะกับเทคโนโลยี (4) Redefinition หมายถึง การใช้เทคโนโลยีเพื่อก่อให้เกิดโอกาสทางการ เรียนรู้แบบใหม่และวิธีการสอนแบบใหม่ซึ่งแตกต่างจากเดิมโดยสิ้นเชิง ดังภาพต่อไปนี้ 3) Bloom’s Digital Taxonomy33 หรือทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูมในยุคดิจิทัล เป็นการทบทวนทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูมและปรับปรุงให้สอดคล้องกับบริบทปัจจุบันที่ เทคโนโลยีเข้ามามีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ของมนุษย์ โดยเชื่อมโยงกับเทคโนโลยี รูปแบบต่าง ๆ ให้เหมาะสมและเป็นเครื่องมือสำหรับเป้าหมายของการเรียนรู้ในแต่ละระดับ โดยระดับของการเรียนรู้นั้นจะเรียงลำดับจากการใช้ทักษะกระบวนการคิดตั้งแต่ จดจำ เข้าใจ นำไปใช้ วิเคราะห์ ประเมินผล และสร้างใหม่ 33เรื่องเดียวกัน, หน้า 16
74 74 ภาพที่ 2.11 Bloom’s Digital Taxonomy ที่มา: มาจาก https://www.harapnuik.org/wp-content/uploads/2015/01/ Blooms-Inverted.png 4) ทักษะความฉลาดทางดิจิทัล Digital Intelligence (DQ) คือชุดของเทคนิค ความรู้ ความเข้าใจ อภิปัญญา และอารมณ์ทางสังคมความสามารถที่มีพื้นฐานมาจาก ค่านิยมทางศีลธรรมสากลที่ช่วยให้บุคคลสามารถเผชิญกับความท้าทายของชีวิตดิจิทัลได้ และปรับให้เข้ากับความต้องการ34 ดังนั้นบุคคลที่มี DQ จะฉลาด มีความสามารถ และ พร้อมสำหรับอนาคตพลเมืองดิจิทัลที่ประสบความสำเร็จในการใช้ควบคุม และสร้างสรรค์ เทคโนโลยีเพื่อยกระดับมนุษยชาติDQ Institute ได้กำหนด 8 ทักษะที่เด็กในยุคดิจิทัล 34DQ Institute. What is DQ?.https://www.dqinstitute.org/what-is-dq/ดูรายละเอียด ใน DQ Global Standards Report 2019 Common Framework for Digital Literacy, Skills and Readiness [online] 15 ตุลาคม 2564 From https://www.dqinstitute.org/wp-content/ uploads/2019/03/DQ Global Standards Report 2019.pdf CREATING EVALUATING ANALYZING APPLYING UNDERSTANDING REMEMBERING
75 75 ทุกคนต้องเรียน เพื่อให้สามารถเรียนรู้และใช้ชีวิตอยู่ในโลกยุคดิจิทัลได้อย่างเท่าทันและ ปลอดภัยดังนี้ (1) Digital Citizen Identity การเป็นพลเมืองดิจิทัลที่มีคุณภาพ นั่นคือการ สอนเด็กให้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการมีตัวตนบนโลกดิจิทัล และสามารถบริหาร จัดการตัวตนทั้งบนโลกออนไลน์และโลกแห่งความเป็นจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ (2) Screen Time Management การรู้จักควบคุมตัวเอง และสามารถแบ่ง เวลาในการใช้งานอุปกรณ์เทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการเล่นเกมออนไลน์ และโซเชียลมีเดียอย่างรับผิดชอบ (3) Cyberbullying Management การรับมือกับปัญหาการกลั่นแกล้งบน โลกไซเบอร์ได้อย่างชาญฉลาด (4) Cybersecurity Management มีความรู้ความเข้าใจและสามารถดูแล ด้านความปลอดภัยของข้อมูลบนโลกไซเบอร์ได้ เช่น การสร้างพาสเวิร์ดที่เจาะได้ยาก หรือ การรับมือกับภัยคุกคามบนโลกดิจิทัล (5) Privacy Management มีความเข้าใจในเรื่องความเป็นส่วนตัว (Privacy) ทั้งของตนเองและของผู้อื่น ซึ่งรวมถึงการบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคล เช่น การแชร์ ข้อมูลต่าง ๆ ด้วยเครื่องมือดิจิทัล (6) Critical Thinking การฝึกให้เด็ก ๆ มีความสามารถในการคิด วิเคราะห์ แยกแยะข้อมูลบนโลกดิจิทัลว่าเป็นข้อมูลจริงหรือปลอม มาจากแหล่งที่มีความน่าเชื่อถือ ไหม เป็นประโยชน์หรือเป็นอันตราย (7) Digital Footprints การสอนให้เด็ก ๆ เข้าใจถึงสิ่งที่ตนเองทิ้งเอาไว้บน โลกดิจิทัลซึ่งบางครั้งอาจถูกผู้อื่นสะกดรอยตามจากสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ เหล่านั้นจนอาจมี ผลกระทบต่อชีวิตในโลกแห่งความเป็นจริงได้ เพื่อให้เด็ก ๆ รู้จักบริหารจัดการชีวิตบนโลก ดิจิทัลอย่างรับผิดชอบ (8) Digital Empathy มีความสามารถในการแสดงน้ำใจบนโลกออนไลน์ได้ อย่างเหมาะสม35 จากแนวคิดดังกล่าวสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนในประเด็น ต่อไปนี้ 1) เนื้อหา ความรู้ และประสบการณ์ต่าง ๆ ในแหล่งการเรียนรู้ ได้รับการคัดเลือก พัฒนากลั่นกรองโดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านการศึกษา เพื่อให้เนื้อหาเหมาะสมกับผู้เรียนอย่าง 35สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, แนวปฏิบัติของการสร้างและส่งเสริมการรู้ดิจิทัล สำหรับครู, หน้า 17-18.
76 76 แท้จริง เนื้อหาในแหล่งการเรียนรู้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำกิจกรรมเสริมที่เน้น พัฒนาทั้งด้านจิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญาบนฐานของการเรียนรู้ที่หลากหลายวิธี และเสริมสร้างพัฒนาการพื้นฐานด้านการพัฒนากาย จิต สมาธิและปัญญา ซึ่งต้องสอดคล้อง ตามความสามารถและความสนใจรายบุคคลของผู้เรียนและพัฒนาการตามระดับการศึกษา โดยครูจำเป็นต้องเลือกความเหมาะสมตามความแตกต่างรายบุคคล และตามสภาพสังคม และวัฒนธรรม 2) วิธีการ เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างนักเรียนและพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูหรือผู้ดูแลนักเรียน นำเสนอ ด้านวิธีการรูปแบบการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลที่ เหมาะสมกับผู้เรียน ด้านเนื้อหาเสียงบรรยาย ภาพประกอบให้ตรงกับเนื้อหา เพื่อให้ผู้เรียน รับรู้ได้ตามความสามารถเอื้อต่อการเรียนรู้รายบุคคลและการเรียนรู้ร่วมกัน โดยคำนึงถึง รูปแบบการเรียนรู้ที่มีความแตกต่างของนักเรียนแต่ละคนด้วย กล่าวคือ เด็กบางคนอาจ เรียนรู้ได้ดีโดยการเรียนรู้ผ่านสังคม(Social Learning) ขณะที่นักเรียนบางคนมีรูปแบบการ เรียนรู้โดยลำพัง (Solitary Learning) ชอบเรียนรู้หรือ ทำงานคนเดียว ซึ่งจะทำให้เกิด สมาธิและเกิด ความเข้าใจได้ดี การออกแบบวิธีการส่งผ่านข้อมูล ความรู้ ประสบการณ์ จากแหล่งเรียนรู้สู่นักเรียนได้อย่างเหมาะสม 3) กิจกรรมการสอนโดยตอบสนองความแตกต่างของผู้เรียน คำนึงถึงความเท่า เทียมกันด้านสังคมในการเข้าถึงและใช้งานโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย มีการนำเสนอเนื้อหาที่มีการ ใช้ภาพและเนื้อหาที่เข้าใจได้ง่าย มีอุปกรณ์ช่วยในการเข้าถึงข้อมูลได้ทุกคน โดยใช้ทักษะ เนื้อหาที่ง่ายๆใกล้ตัวไปหาความรู้ที่กว้างและความรู้ลึกตามลำดับ เช่น - การจัดกิจกรรมทัศนศึกษาหรือเยี่ยมชุมชน โดยเน้นให้นักเรียนได้เรียนรู้ และสร้างประสบการณ์โดยตรงกับผู้เรียนเป็นรายบุคคลและร่วมมือกับเพื่อน ๆ และมี ปฏิสัมพันธ์ในกิจกรรมกับชุมชน ผู้ปกครอง ครูอาจารย์ - การพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ชุมชน และวัดให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่มี ประสิทธิภาพมากขึ้นควรบูรณาการการใช้แหล่งการเรียนรู้เข้ากับกิจกรรมการเรียนรู้หรือ จัดแหล่งการเรียนรู้ในห้องเรียนในสถานศึกษาหรือในชุมชน เพื่อลดอุปสรรคในด้านการ เดินทางและค่าใช้จ่าย - การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาเป็นเครื่องมือเสริมในการนำเสนอข้อมูล สารสนเทศ เพื่อสร้างความน่าสนใจและช่วยให้นักเรียนเข้าใจเนื้อหาต่าง ๆ ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น - การสร้างประสบการณ์เสมือนจริงให้กับนักเรียนโดยใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ลักษณะการใช้งานเหมาะสมกับระดับชั้นผู้เรียน ใช้งานและเข้าถึงได้ง่าย ไม่ซับซ้อน นำเสนอข้อมูลหรือเนื้อหาที่จัดทำโดยบุคคลที่มีระดับชั้นเดียวกันหรือใกล้เคียงกับผู้ใช้งาน หรือบุคคลที่เป็น ครู อาจารย์ พ่อแม่ ผู้ปกครองได้อย่างสมเหมาะ
77 77 4) การวัดและประเมินผลการเรียนรู้โดยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลที่ทันสมัย สำหรับการประเมินผลนั้นยึดหลักการประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ในระหว่างการประเมิน ที่เสริมพลังตามสภาพจริง หรือเรียกว่า Empowerment Evaluation เป็นการประเมินที่ ให้ความสำคัญกับการนำผลการประเมินมาพัฒนาผู้เรียนและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ให้มี ประสิทธิภาพสูงขึ้น36 การประเมินการเรียนรู้ในการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐาน มีแนวทาง การประเมินเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียน ดังนี้ 1) การประเมินในขณะการจัดการเรียนรู้(Assessment for learning) 2) การประเมินตนเองของผู้เรียนในขณะปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้(Assessment as learning) 3) เป็นการประเมินผลการเรียนรู้ภายหลังสิ้นการจัดการเรียนรู้(Assessment of learning) สำหรับบทบาทผู้สอนในการกระตุ้นให้ผู้เรียนประเมินตนเองในการจัดการเรียนรู้ โดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐานนั้นประกอบด้วย 1) สร้างบรรยากาศความไว้เนื้อเชื่อใจและศรัทธา (Trust and Faith) 2) กระตุ้นผู้เรียนให้เห็นคุณค่าของการประเมินตนเอง และตระหนักรู้ด้วยตนเอง 3) อำนวยความสะดวกด้านเครื่องมือประเมินเพื่อให้ผู้เรียนมีแนวทางในการ ประเมินตนเองตามที่กำหนดร่วมกัน 4) ตรวจสอบผลการประเมินตนเองของผู้เรียนแล้วให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อพัฒนา ผู้เรียนรู้ด้วยการเพิ่มศักยภาพสูงขึ้น ดีขึ้น 5) เปิดโอกาสให้ผู้เรียนแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสะท้อนคิดและถอดมาเรียนในการ พัฒนาผู้เรียนเพิ่มศักยภาพ สำหรับการเลือกใช้วิธีการประเมินที่มีประสิทธิภาพสูงนั้น ผู้สอนควรเลือกใช้วิธีการประเมินที่สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่ต้องการพัฒนาให้เกิดกับ ผู้เรียน37 36สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, แนวทางการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลที่ เหมาะสมกับผู้เรียนปฐมวัย, (กรุงเทพมหานคร: บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด, 2563), หน้า 6-8. 37การวัดและประเมินผลในการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐาน, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.trueplookpanya.com/education/content/87884/-teamet- [15 ตุลาคม 2564].
78 78 สรุปการวัดและประเมินผล โดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐานแบบง่าย ๆ สำหรับการ พัฒนาศักยภาพผู้เรียนในการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐาน คือ การให้ผู้เรียนถอด บทเรียนของตนเอง โดยตอบคำถามหลังการปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ 4 ประการตามลำดับ ได้แก่ 1) ความรู้ที่เกิดขึ้นระหว่างการปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ได้เรียนรู้อะไรบ้าง 2) สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้เป็นอย่างไร 3) ผู้เรียนสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนและผู้อื่น ได้อย่างไร 4) ผู้เรียนมีความสุขในการเรียนรู้ด้วยตนเองระดับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม จิต และปัญญาอย่างไร สรุปพลิกโฉมการสอนแบบแนวใหม่ หลักพุทธนวัตกรรมการสอน พระพุทธองค์ ทรงสอนให้เข้าใจพื้นฐานธรรมชาติของมนุษย์เกี่ยวจริตของผู้เรียนและสอนมุ่งพัฒนากาย สังคม จิตใจ และปัญญา โดยตั้งใจสอนให้มีความงามในเบื้องตัน มีความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุดเพื่อความสุขของผู้เรียน เมื่อนำแนวคิด หลักการ และทฤษฎีการ เรียนการสอนระหว่างตะวันออกและตะวันตกมาเชื่อมสัมพันธ์กันโดยอาศัยเทคนิคการ สอนและสื่อที่ทันสมัยเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน ดังที่กล่าวมาแล้วสำหรับการสอนแบบแนวใหม่จำเป็นต้องพัฒนาครู อาจารย์ให้มี วิธีการสอนที่หลากหลายบนพื้นฐานความเชื้อตามแนวคิดของทฤษฎีการเรียนการสอนและ ความเชียวชาญเฉพาะตนสอดคล้องกับบริบทกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579 โดยมีเป้าหมายที่สอดคล้องกัน คือ การพัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะที่พึ่งประสงค์ใน ศตวรรษที่ 21 ด้วยการสอนให้รู้จักคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และคิดสร้างสรรค์ การแก้ปัญหา เป็นการทำงานเป็นทีม การรู้จักสื่อสารที่ดี ประกอบอาชีพสุจริต เรียกให้ชัดคือการผลิต บัณฑิตให้เป็นนวัตกรของชาติไปช่วยกันคิดสร้างพัฒนานวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับ เศรษฐกิจชุมชน สังคม และประเทศชาติโดยสามารถประยุกต์หลักพุทธธรรมมาดำเนินชีวิต ให้มีความสุข
79 79 เอกสารอ้างอิง 1. ภาษาไทย ก. เอกสารชั้นปฐมภูมิ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539. ข. เอกสารทุติยภูมิ (1) หนังสือ : กิดานันท์ มลิทอง. เทคโนโลยีการศึกษานวัตกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการปฏิบัติสำหรับสถานศึกษาในการป้องกันการ แพร่ระบาดของโรคโควิด -19. กรุงเทพมหานคร: บริษัท คิว แอดเวอร์ไทซิ่ง จำกัด, 2563. ทิศนา แขมมณี. ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มี ประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 21. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, 2560. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13. “พลิกโฉมประเทศไทยสู่สังคมก้าวหน้า เศรษฐกิจสร้างมูลค่าอย่างยั่งยืน”, (พ.ศ. 2566– 2570). พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). ศาสนาและเยาวชน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์บริษัทสหธรรมิก, 2539. . พุทธวิธีในการสอน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์บริษัทสหธรรมิก จำกัด, 2547. . การศึกษาเครื่องมือพัฒนาที่ยังต้องพัฒนา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์บริษัทสหธรรมิก, 2541. พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). ปรัชญาการศึกษาของไทย ภาคพุทธธรรม : แก่นนำ การศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์, 2556. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. แผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค, 2561. . แนวปฏิบัติของการสร้างและส่งเสริมการรู้ดิจิทัลสำหรับครู. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค, 2562.
80 80 . แนวทางการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลที่เหมาะสมกับผู้เรียนปฐมวัย. กรุงเทพมหานคร: บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด, 2563. TDRI การประชุมสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง แนวทางการสร้างกำลังคนด้านดิจิทัลของ ไทย: จากปริมาณสู่คุณภาพ วันที่ 15 พฤษภาคม 2561 ณ ห้องคริสตัล บอลรูม โรมแรมฮอลิเดย์ อินน์ สีลม (2) สื่อออนไลน์ : Aksorn. การเรียนรู้ใหม่ ในวิถี New Normal. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www. aksorn.com/new-normal-1 [17 ตุลาคม 2563]. DQ Institute. What is DQ?. https://www.dqinstitute.org/what-is-dq/ดูรายละเอียด ใน DQ Global Standards Report 2019 Common Framework for Digital Literacy, Skills and Readiness. https://www.dqinstitute.org/wp-content /uploads/2019/03/DQGlobalStandardsReport2019.pdf [15 ตุลาคม 2564]. HBR.. Disruptive Technologies: Catching the Wave. Retrieved https://hbr. org/1995/01/disruptive-technologiescatching-the-waveAccessed [15 ตุลาคม 2564]. Puentedura, R. SAMR: A Brief Introduction. http://hippasus.com/blog/ archives/227 [15 ตุลาคม 2564 อ้างใน สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. แนวปฏิบัติของการสร้างและส่งเสริมการรู้ดิจิทัลสำหรับครู. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค, 2562. TPACK Model. http://matt-koehler.com/tpack2/tpack-explained/ [15 ตุลาคม 2564]. การวัดและประเมินผลในการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐาน. [ออนไลน์]. แห ล่งที่ม า: https://www.trueplookpanya.com/education/content /87884/-teamet- [15 ตุลาคม 2564]. นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www. gotoknow.org/posts/283084 [13 มีนาคม 2565]. พัชรี เทพสุริบูรณ์. นวัตกรรมทางการศึกษา. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www. gotoknow.org/posts/553766 [27 05 2565]. สมจิตร ยิ้มสุด. นวัตกรรมการศึกษาและเทคโนโลยีทางการศึกษา. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.gotoknow.org/posts/401951 [6 กุมภาพันธ์2565].
79 บทที่ 3 พุทธนวัตกรรมการสอนในยุคศตวรรษที่26 พุทธนวัตกรรมการสอนเพื่อความสุขของประชาชนของพระพุทธเจ้าในสมัย พุทธกาลและยังถูกนำมาใช้และพัฒนาอย่างต่อเนื่องและทันยุคสมัยเสมอ ขอให้ไปศึกษา หลักฐานจากพระไตรปิฎกและเอกสารในชั้นทุติยภูมิและพุทธนวัตกรรมการสอนของพระองค์ ได้ถูกนำมาพัฒนาเป็นนวัตกรรมการสอนหลากหลายรูปแบบโดยผ่านกระบวนการพัฒนาการ วิจัย การสังเคราะห์เป็นหนังสือ ตำราและบางกระบวนการก็ทำเป็น AI การสอน สำหรับยุค ประเทศไทย 4.0 มหาวิทยาลัยสงฆ์ พระสงฆ์ยุคใหม่ใช้เทคโนโลยีในการสอนและเผยแพร่ พระพุทธศาสนาโดยเฉพาะพระนักเผยแพร่ ครูสอนศีลธรรมในโรงเรียนทั่วประเทศ ครูใน โรงเรียนวิถีพุทธ และอาจารย์มหาวิทยาลัย ได้นำหลักการสอนของพระพุทธเจ้าไปพัฒนา เป็นพุทธนวัตกรรมการสอนกับศาสตร์สมัยใหม่ได้อย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนั้นอาจารย์มหาวิทยาลัยสงฆ์สาขาต่างประเทศได้นำหลักพุทธนวัตกรรม การสอนไปพัฒนากับเทคโนโลยีสารสนเทศช่วยสอนอีกจำนวนมาก เช่น พระสงฆ์ในประเทศ ญี่ปุ่นและพระสงฆ์จีน เป็นต้น หลักการสอนของพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงเน้นการสอน ผ่านประสาทสัมผัสทั้งอายตนะภายใน ได้แก่ จักขุ (ตา) โสตะ(หู) ฆานะ (จมูก) ชิวหา (ลิ้น) กาย (กาย) มโน (ใจ) และอายตนะภายนอก ได้แก่ รูป(รูป) สัททะ (เสียง) คันธะ (กลิ่น) รส (รส) โผฏฐัพพะ (สิ่งต้องกาย) ธรรมารมณ์ (อารมณ์ที่เกิดกับใจหรือสิ่งที่ใจรู้) ดังนั้น คำสอนในพระไตรปิฎกเป็นสิ่งประดิษฐ์(invention) ซึ่งเป็นการค้นพบของ พระพุทธเจ้า เมื่อครู อาจารย์จะนำมาใช้สอน ต้องนำองค์ความรู้เดิมในพระไตรปิฎกมา ผสมผสานกับองค์ความรู้ใหม่ให้เป็นพุทธนวัตกรรมใหม่โดยนำมาการประยุกต์ ปรับใช้ ประโยชน์ เพื่อสร้างและพัฒนาตามยุคสมัย สำหรับการสอนให้ทันสมัยโดยบูรณาการกับ เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการพัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะภาพ (เก่ง) คุณภาพ (ดี) และ สุขภาพ (มีความสุข) เมื่อจะกล่าวถึงการสอน จะมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ ผู้สอน คือครู อาจารย์ สอนใคร คือผู้เรียน สอนอะไร คือเนื้อหาการสอน สอนอย่างไร คือ วิธีการสอนหรือรูปแบบ การสอน ใช้สื่ออะไรช่วยสอน และผลการสอนเป็นอย่างไร คือการวัดและประเมินผล สุดท้ายผู้เรียนได้รับรู้และนำความรู้ไปสร้างประโยชน์อะไรให้กับตนเองและคนอื่นอย่างไร
82 80 ดังนั้นการสอนให้ผู้เรียนเป็นคนเก่ง มีคุณภาพ และสุขภาพในทางพระพุทธศาสนา มีเป้าหมายที่ลึกลงไปสุดปลายทาง คือ สอนให้ผู้เรียนหลุดพ้นจากความทุกข์ได้เข้าใจความ จริงด้วยปัญญา ถ้าครูสามารถสอนได้อย่างนี้กล่าวว่าสุดยอดพุทธนวัตกรรมการสอนที่ดี ซึ่งขอเสนอเนื้อหาดังนี้ 3.1 พุทธนวัตกรรมการสอนโดยครูต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล 3.2 พุทธนวัตกรรมการสอนโดยเข้าใจธรรมชาติผู้เรียน 3.3 พุทธนวัตกรรมการสอนแบบการสาธิต 3.4 พุทธนวัตกรรมการสอนแบบการแนะนำ 3.5 พุทธนวัตกรรมการสอนแบบการถาม-ตอบ 3.6 พุทธนวัตกรรมการสอนบูรณาการกับยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ 3.1 พุทธนวัตกรรมการสอนโดยครูต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล การสอนเป็นคำโบราณที่มีพลังอำนาจในตัวเอง เพราะการผลิตคนให้เป็นคนมี สมรรถนะ คุณภาพ และเป็นนวัตกร (Inventors) เพื่อสร้างและประดิษฐ์นวัตกรรม (Innovation) คนเก่งเหล่านั้นในเบื้องต้นต้องผ่านกระบวนการสอนของครู อาจารย์แล้วนำ ความรู้ไปคิดต่อยอดสร้างโลกให้สวยงามและการดำรงชีวิตให้มีความสุข ซึ่งผู้สอนต้องเรียนรู้ และเข้าใจผู้เรียนที่มีคุณลักษณะแตกต่างกันขอเสนอพุทธนวัตกรรมการสอนโดยสรุปจาก ผลการวิจัยของ สิน งามประโคน1 ดังนี้ 1. หลักการสอนผู้เรียนที่มีพื้นฐานแตกต่างกัน 1) ผู้สอนต้องสังเกตดูอัธยาศัยของผู้เรียนแต่ละคนก่อนสอน 2) สำรวจปัญหาและความต้องการของผู้เรียน 3) ปรับเนื้อหาให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียน 4) รู้ระดับภูมิปัญญาและภูมิหลังของผู้เรียน 5) เลือกรูปแบบวิธีการสอนตามอัธยาศัยของแต่ละบุคคลหรือกลุ่มคน 6) ใช้เทคนิคการสอนให้สอดคล้องกับระดับภูมิความรู้และภูมิหลังของผู้เรียน 7) ใช้ศิลปะการสอนที่ช่วยทำให้ผู้เรียนมีความสุขและได้รับประโยชน์จากการ เรียนตามระดับสติปัญญา 1 สิน งามประโคน, พุทธวิธีการสอนที่ปรากฎในพระไตรปิฏก, รายงานการวิจัย,คณะครุ ศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. 2550, หน้า 83. (ได้รับทุนอุดหนุนจาก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย)
83 81 2. วิธีการสอนผู้เรียนที่มีพื้นฐานแตกต่างกัน 1) ครูปรับวิธีสอนให้เหมาะกับผู้เรียน 2).ครูคำนึงถึงความพร้อมของผู้เรียน 3) ครูให้ผู้เรียนลงมือทำด้วยตนเอง 4) ครูให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนด้วยตนเอง 5) ครูเอาใจใส่ผู้เรียนที่ควรได้รับความสนใจเป็นรายบุคคล 6) ครูเอาใจใส่ผู้เรียนที่ด้อยและมีปัญหาพิเศษ 3. เทคนิคการสอนผู้เรียนที่มีพื้นฐานแตกต่างกัน 1) สอนให้ร่าเริงเบิกบาน 2) พาไปดูตัวอย่าง 3) เร้าใจให้เกิดกำลังใจ 4) อธิบายให้แจ่มแจ้งเหมือนจูงมือไปดูด้วยตา 5) สร้างแรงจูงใจชวนให้ปฏิบัติตาม 4. การใช้สื่อการสอนผู้เรียนที่มีพื้นฐานแตกต่างกัน 1) การเปรียบเทียบด้วยข้ออุปมาอุปไมย 2) การเล่าเรื่อง 3) การยกอุทาหรณ์ และกรณีตัวอย่าง 4) การสื่ออุปกรณ์ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน 5) การใช้เหตุการณ์ปัจจุบันหรืออดีต 6) การปฏิบัติเป็นแบบอย่าง 5. รูปแบบการสอน 1) การสนทนาถาม-ตอบ 2) การบรรยายโวหาร 3) การตอบปัญหา 4) การวางกฎระเบียบข้อปฏิบัติ 3.1.1 แนวคิดการสอนผู้เรียนที่มีลักษณะแตกต่างกัน การสอนโดยคำนึงถึงความแตกต่างกันระหว่างบุคคล (Individual Differences) สามารถจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียนแต่ละบุคคล ให้เกิดการเรียนรู้หรือ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ทั้งด้านการศึกษาความแตกต่างระหว่างบุคคล ความรู้ ด้านเจตคติ และด้านทักษะ ก็จะเพื่อให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับความแตกต่าง สามารถตอบสนองต่อการ เรียนรู้ของผู้เรียนของบุคคลทางเชาวน์ปัญญา ความคิด และพัฒนาศักยภาพผู้เรียนได้อย่าง
84 82 เต็มที่สร้างสรรค์ ลีลาการรู้คิด รวมทั้งความแตกต่างทางบุคลิกภาพและความแตกต่างทาง วัตถุประสงค์ในการเรียนรู้ ความแตกต่าง เพศ สำหรับเรื่องความแตกต่างระหว่าง ระหว่าง บุคคล (Individual Differences) บุคคลนี้จัดเป็นประเด็นพื้นฐานที่ผู้สอนควร ให้ความ ตระหนักและทำความเข้าใจ 1) เพื่อให้ทราบถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อความแตกต่างระหว่างบุคคลในห้องเรียน ประกอบไปด้วยผู้เรียน 2) เพื่อให้มีแนวทางในการจัดการเรียนในความแตกต่างกันอย่างหลากหลายชั้น เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างและแตกต่างเหล่านั้นเป็นตัวแปรสำคัญที่มีระหว่างบุคคล อิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอน ผู้สอนควรตระหนักถึงความแตกต่าง ระหว่างผู้เรียน ซึ่งมีปัจจัยที่สำคัญหลายด้าน เนื่องจากผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ทางด้านร่างกาย อารมณ์สังคม และสติปัญญา2 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวด 4 แนวการจัดการจัด การศึกษา มาตรา 22 กล่าวว่า การศึกษาต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถ เรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ ถือว่า ผู้เรียนสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริม ให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ และมาตรา 24 ซึ่งเกี่ยวข้อง กับการจัดกระบวนการเรียนรู้กล่าวไว้ในข้อ 1 ว่า จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้อง กับความสนใจ และความถนัดของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล3 เชื่อมโยงกับแนวคิดแผนการศึกษาแห่งชาติ 20 ปี พ.ศ. 2561-2580 ที่ว่าผู้เรียนทุกคนควร ได้รับโอกาสและความเสมอภาคในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ ลดความเหลื่อล้ำทาง สังคมด้านการศึกษา ดังนั้น ครู อาจารย์ต้องยึดหลักการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้ บรรลุขีดความสามารถเต็มตามศักยภาพ (Quality) ในแต่ละคนตามความถนัดและความ สนใจของผู้เรียนโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างผู้เรียน ซึ่งผู้สอนต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับ สถานภาพส่วนบุคคล เพื่อปรับวิธีการสอนให้ตรงกับความต้องการที่แตกต่างกันของผู้เรียน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยนำแนวคิดและทฤษฎีการสอนมาประยุกต์ใช้ได้ดังนี้ 2 นวรัตน์ หัสดี, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://anyflip.com/zdubr/zdubr/tull/basic [28 สิงหาคม 2564]. 3 ธรรมชาติผู้เรียนและความแตกต่างระหว่างบุคคล, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: http://www. eledu.ssru.ac.th/malai_pr/pluginfile.php/ 101/course/summary/.pdf [28 สิงหาคม 2564].
85 83 โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ (Howard Gardner) แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด เป็นผู้เสนอ “ทฤษฎีพหุปัญญา” (The Theory of Multiple Intelligences) ศาสตราจารย์ได้ให้ ทฤษฎีพหุปัญญาว่าด้วยความฉลาดของมนุษย์ แบ่งได้ 8 ด้าน4ดังนี้ 1) ปัญญาด้านภาษา (Linguistic Intelligence) คือ ความสามารถในการใช้ ภาษารูปแบบต่าง ๆ ตั้งแต่ภาษาพื้นเมือง จนถึงภาษาอื่น ๆ ด้วย สามารถรับรู้ เข้าใจภาษา และสามารถสื่อภาษาให้ผู้อื่นเข้าใจได้ตามที่ต้องการ 2) ปัญญาด้านตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Logical-Mathematical Intelligence) คือ ความสามารถในการคิดแบบมีเหตุและผล 3) ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ (Visual-Spatial Intelligence) คือ ความสามารถใน การรับรู้ทางสายตาได้ดี สามารถมองเห็นพื้นที่ รูปทรง ระยะทาง และตำแหน่ง อย่างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน แล้วถ่ายทอดแสดงออกอย่างกลมกลืน มีความไวต่อการรับรู้ในเรื่องทิศทาง 4) ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว (Bodily Kinesthetic Intelligence) คือ ความสามารถในการควบคุมและแสดงออกซึ่งความคิด ความรู้สึก และมีความถนัดที่ แตกต่างกัน 5) ปัญญาด้านดนตรี (Musical Intelligence) คือ ความสามารถในการซึมซับ และเข้าถึงสุนทรียะทางดนตรี ทั้งการได้ยิน การรับรู้ การจดจำ และการแต่งเพลง สามารถ จดจำจังหวะ ทำนอง และโครงสร้างทางดนตรีได้ดี 6) ปัญญาด้านมนุษยสัมพันธ์ (Interpersonal Intelligence) คือ ความสามารถใน การเข้าใจผู้อื่น ทั้งด้านความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ และเจตนาที่ซ่อนเร้นอยู่ภายใน มีความไว ในการสังเกต สีหน้า ท่าทาง น้ำเสียง สามารถตอบสนองได้อย่างเหมาะสม สร้างมิตรภาพ ได้ง่าย 7) ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง (Intelligence) คือ ความสามารถในการรู้จัก ตระหนักรู้ในตนเอง สามารถเท่าทันตนเอง ควบคุมการแสดงออกอย่างเหมาะสมตาม กาลเทศะ และสถานการณ์ 8) ปัญญาด้านธรรมชาติ (Naturalist Intelligence) คือ ความสามารถในการรู้จัก และเข้าใจธรรมชาติอย่างลึกซึ้ง เข้าใจกฎเกณฑ์ ปรากฏการณ์ และการรังสรรค์ต่าง ๆ ของ ธรรมชาติ5 4 เยาวพา เดชะคุปต์, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://yimwhanfamily.com/2018/02/22/ พหุปัญญาอัจฉริยะ-9-ด้าน [27 สิงหาคม 2564]. 5 ทิศนา แขมมณี, ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ, พิมพ์ครั้งที่ 21, (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560), หน้า 85-90.