The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ภาวะผู้นำการเปลี่ยนผ่านทางการศึกษาตามพุทธวิถีใหม่
รศ.ดร.สิน งามประโคน

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by 24-Chinaporn Nakorn, 2023-06-16 11:55:44

ภาวะผู้นำการเปลี่ยนผ่านทางการศึกษาตามพุทธวิถีใหม่

ภาวะผู้นำการเปลี่ยนผ่านทางการศึกษาตามพุทธวิถีใหม่
รศ.ดร.สิน งามประโคน

ภาวะผู้นำการเปลี่ยนผ่าน ทางการศึกษาตามพุทธวิถีใหม่ รศ.ดร.สิิน งามประโคน สิน งามประโคน


ภาวะผู้นำการเปลี่ยนผ่านทางการศึกษาตามพุทธวิถีใหม่ รศ.ดร.สิน งามประโคน พิมพ์ครั้งที่ : 1 พ.ศ. 2566 จำนวน 100 เล่ม สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 79 หมู่ 1 ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13170 โทร 035-248-000 ต่อ 8773, 8770 ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ รศ.ดร.สิน งามประโคน ภาวะผู้นำการเปลี่ยนผ่านทางการศึกษาตามพุทธวิถีใหม่ จำนวน 253 หน้า ราคา 280 บาท พระนครศรีอยุธยา: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2566 ISBN 978-616-598-312-9 r ISBN 978-616-603-359-5 พิิมพ์์ครั้้�งแรก มิิถุุนายน 2566 จำนวน 500 เล่่ม สงวนลิิขสิิทธิ์์�ตามกฎหมาย จััดพิิมพ์์โดย รศ.ดร.สิิน งามประโคน คณะครุุศาสตร์์มหาวิิทยาลััยมหาจุุฬาลงกรณราชวิิทยาลััย เลขที่ ่� 79 หมู่่ที่่� 1 ตำบลลำไทร อำเภอวัังน้้อย จัังหวััดพระนครศรีีอยุุธยา 13170 E-mail : [email protected] โทร. 081-8606922 สิิน งามประโคน. ภาวะผู้้นำการเปลี่่�ยนผ่่านทางการศึึกษาตามพุุทธวิิถีีใหม่่.-- นนทบุุรีี : เชน ปริ้้�นติ้้�ง, 2566. 280 หน้้า. 1. ภาวะผู้้นำทางการศึึกษา. 2. ผู้้นำทางการศึึกษา. 3. การบริิหารการศึึกษา. I. ชื่่�อเรื่่�อง. 371.201 ISBN 978-616-603-359-5 ข้้อมููลทางบรรณานุุกรมของหอสมุุดแห่่งชาติิ พิิมพ์์ที่่� ห้้างหุ้้นส่่วนจำกััด เชน ปริ้้�นติ้้�ง 7/414 ม.5 ต.บางใหญ่่อ.บางใหญ่่จ.นนทบุุรีี 11140 โทร. 081-489-4161 E-mail: [email protected]


ก คำนำ หนังสือ “ภาวะผู้นำการเปลี่ยนผ่านทางการศึกษาตามพุทธวิถีใหม่”เล่มนี้เรียบเรียง ขึ้นจากการวิเคราะห์ สังเคราะห์แนวคิด ทฤษฎีและหลักพุทธธรรม จากหนังสือ ตำรา และ แนวคิดของนักวิชาการทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งสอดแทรกความคิดริเริ่ม ประสบการณ์ และผลการวิจัยของผู้เขียน เพื่อเสนอเสนอความรู้ ความคิดเกี่ยวกับภาวะผู้นำ การเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาสู่การปฏิบัติ ซึ่งเนื้อหาสาระประกอบด้วยบริบทการศึกษาที่ มีผลสะท้อนจากนักวิชาการ คุณลักษณะภาวะผู้นำทางการศึกษาที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 บริบทประเทศไทย 1.0-4.0 และแผนการศึกษาแห่งชาติ 20 ปี(พ.ศ. 2561-2580) ภาวะผู้นำการคิดสร้างสรรค์ การพัฒนาทักษะตน คนและงานของภาวะผู้นำการ เปลี่ยนแปลง รวมทั้งการยกระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาตาม พุทธวิถีใหม่ และการบูรณาการภาวะผู้นำและการนำเสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำ การเปลี่ยนผ่านทางการศึกษาตามพุทธวิถีใหม่ หนังสือภาวะผู้นำการเปลี่ยนผ่านทางการศึกษา มุ่งเน้นพัฒนาผู้นำทางการศึกษา เพื่อเรียนรู้ในการพัฒนาตนเอง คน และงานให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการบริหารการศึกษา และตอบโจทย์การพัฒนาประเทศด้วยการผลิตบัณฑิตให้มีสมรรถนะเพิ่มทักษะความรู้การ อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขด้วยการบูรณาการกับหลักพุทธวิถีใหม่ซึ่งเป็น Soft Power ที่มี คุณค่าทางจิตใจสร้างศรัทธาในการพัฒนาตนเองในหนังสือพระไตรปิฎก ผู้เรียบเรียงหวัง เป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้นำทางการศึกษา นิสิตนักศึกษานำไป ประยุกต์ใช้ทั้งการค้นคว้า การวิจัยต่อยอดและขอขอบคุณผู้บริหารคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยที่ส่งเสริมการผลิตงานวิชาการและขอขอบคุณ ผู้ทรงคุณที่เมตตา กรุณาตรวจสอบคุณภาพหนังสือและให้ข้อเสนอแนะการปรับปรุงอย่ามี คุณค่ายิ่ง รองศาสตราจารย์ดร.สิน งามประโคน มกราคม 2565


ข สารบััญ เรื่่�อง หน้้า คำนิิยม ก สารบััญ ข สารบััญตาราง จ สารบััญภาพ ฉ คำอธิิบายสััญลัักษณ์์และคำย่่อ ซ บทที่่� 1 บทนำ 1 1.1 การศึึกษาในยุุคประเทศไทย 1.0-4.0 1 1.2 การศึึกษาในยุุคพลิิกผััน (Disruption) 4 1.3 การปรัับตััวของภาวะผู้้นำการเปลี่่�ยนแปลงทางการศึึกษา ตอบโจทย์์การศึึกษาไทย 8 1.4 แนวทางการพลิิกโฉมระบบการศึึกษาไทยใหม่่ 16 1.5 ภาวะผู้้นำต้้องปรัับเปลี่่�ยนการบริิหารการศึึกษายุุคนี้้� 18 เอกสารอ้้างอิิง 23 บทที่่� 2 คุุณลัักษณะภาวะผู้้นำการเปลี่่�ยนแปลงที่ ่� จำเป็็นในยุุคประเทศไทย 4.0 25 2.1 คุุณลัักษณะภาวะผู้้นำการเปลี่่�ยนแปลงที่่�จำเป็็นในยุุคประเทศไทย 4.0 25 2.2 คุุณลัักษณะภาวะผู้้นำการเปลี่่�ยนแปลงทางการศึึกษา 38 2.3 คุุณลัักษณะภาวะผู้้นำการเปลี่่�ยนแปลงที่่�แท้้จริิง 43 2.4 คุุณลัักษณะภาวะผู้้นำของผู้้บริิหารสถานศึึกษาในยุุคดิิจิิทััล 47 2.5 คุุณลัักษณะภาวะผู้้นำการเปลี่่�ยนแปลงทางการศึึกษาตามพุุทธวิิถีีใหม่่ 51 เอกสารอ้้างอิิง 62 บทที่่� 3 ภาวะผู้้นำการคิิดสร้้างสรรค์์ทางการศึึกษาตามพุุทธวิิถีีใหม่่ 65 3.1 แนวคิิดและหลัักการของภาวะผู้้นำการคิิดสร้้างสรรค์์ 65 3.2 คุุณลัักษณะการคิิดสร้้างสรรค์์ของภาวะผู้้นำการเปลี่่�ยนแปลง 75 3.3 ประเภทของภาวะผู้้นำการเปลี่่�ยนแปลงทางการศึึกษาต่่อการ คิิดสร้้างสรรค์์ 79


ค 3.4 ภาวะผู้้นำทางการศึึกษาคิิดเชิิงสร้้างสรรค์์และผลิิตภาพ ยุุคการศึึกษาไทย 4.0 81 3.5 ภาวะผู้้นำแบบสร้้างสรรค์์กัับแผนอุุดมศึึกษาระยะยาว 20 ปีี (พ.ศ. 2561 – 2580) 84 3.6 การพััฒนาทัักษะการเรีียนรู้้ต่่อการคิิดสร้้างสรรค์์ของภาวะผู้้นำ ทางการศึึกษาในศตวรรษที่ ่� 21 (3Rs 8Cs) 87 3.7 ภาวะผู้้นำการคิิดสร้้างสรรค์์ที่ ่� พึึงประสงค์์ตามหลัักพุุทธวิิถีีใหม่่ 92 3.8 ภาวะผู้้นำทางการศึึกษาสำหรัับคิิดสร้้างสรรค์์ตามหลัักพระพุุทธวิิถีีใหม่่ 96 3.9 บููรณาการภาวะผู้้นำกัับการสร้้างเครืือข่่ายของพระสงฆ์์ในการเผยแพร่่ พระพุุทธศาสนาของพระสงฆ์์ไทยด้้วยการคิิดสร้้างสรรค์์ 101 เอกสารอ้้างอิิง 105 บทที่่� 4 การพััฒนาภาวะผู้้นำการเปลี่่�ยนแปลง 108 4.1 การพััฒนาตนของภาวะผู้้นำการเปลี่่�ยนแปลง 108 4.2 การบููรณาการหลัักพุุทธวิิถีีใหม่่สู่่การพััฒนาตนของภาวะผู้้นำ การเปลี่่�ยนแปลง 121 4.3 การพััฒนาคนของภาวะผู้้นำการเปลี่่�ยนแปลงทางการศึึกษา 132 4.4 การบููรณาการหลัักพุุทธวิิถีีใหม่่สู่่การพััฒนาคนของภาวะผู้้นำ การเปลี่่�ยนแปลง 149 4.5 การพััฒนางานของภาวะผู้้นำการเปลี่่�ยนแปลง 157 4.6 การบููรณาการหลัักพุุทธวิิถีีใหม่่สู่่การพััฒนางานของภาวะผู้้นำ การเปลี่่�ยนแปลง 163 เอกสารอ้้างอิิง 171 บทที่่� 5 การยกระดัับภาวะผู้้นำการเปลี่่�ยนแปลงทางการศึึกษา 173 5.1 การยกระดัับภาวะผู้้นำการเปลี่่�ยนแปลงทางการศึึกษา ยุุคประเทศไทย 4.0 174 5.2 แนวทางการพััฒนาทรััพยากรมนุุษย์์เพื่่�อยกระดัับภาวะผู้้นำ ตามนโยบายไทยแลนด์์4.0 184 5.3 วิิธีีการยกระดัับภาวะผู้้นำทางการศึึกษาตามหลัักพุุทธวิิถีีใหม่่ 191


ง 5.4 การยกระดัับคุุณลัักษณะที่ ่�ดีีของภาวะผู้้นำทางการศึึกษาตามหลััก พุุทธวิิถีีใหม่่ 192 5.5 การประเมิินภาวะผู้้นำการเปลี่่�ยนแปลงทางการศึึกษา 193 5.6 ตััวอย่่างการใช้้แบบประเมิินเพื่่�อยกระดัับภาวะผู้้นำทางการศึึกษา ในแต่่ละด้้าน 197 5.7 การยกระดัับภาวะผู้้นำเพื่่�อบููรณาการพุุทธวิิธีีการสื่่�อสารสำหรัับ การเผยแพร่่พระพุุทธศาสนาสำหรัับการเรีียนรู้้ 212 5.8 บููรณาการพุุทธวิิธีีการสื่่�อสารสำหรัับการเผยแพร่่พระพุุทธศาสนา เพื่่�อการเรีียนรู้้ในสถานศึึกษา 213 5.9 บููรณาการพุุทธวิิธีีการสื่่�อสารสำหรัับการเผยแพร่่พระพุุทธศาสนา ทางสถานีีวิิทยุุและโทรทััศน์์ 214 5.10 บููรณาการพุุทธวิิธีีการสื่่�อสารสำหรัับการเผยแพร่่พระพุุทธศาสนา ทางประเพณีีวััฒนธรรมของสัังคมไทย 216 เอกสารอ้้างอิิง 218 บทที่่� 6 การบููรณาการภาวะผู้้นำและการนำเสนอ 220 6.1 แนวคิิดเกี่่�ยวกัับการบููรณาการของภาวะผู้้นำทางการศึึกษา 221 6.2 การบููรณาการพุุทธวิิถีีใหม่่กัับการบริิหารของภาวะผู้้นำ การเปลี่่�ยนแปลงทางการศึึกษา 233 6.3 การบููรณาการบริิหารสถานศึึกษาของภาวะผู้้นำทางการศึึกษา จากทฤษฎีีสู่่การปฏิิบััติิ 240 6.4 การบููรณาการภาวะผู้้นำการเปลี่่�ยนแปลงทางการศึึกษาที่่�จำเป็็น ในยุุคประเทศไทย 4.0 246 6.5 การบููรณาการภาวะผู้้นำทางการศึึกษาด้้วยการคิิดสร้้างสรรค์์ กัับพุุทธวิิถีีใหม่่ 251 เอกสารอ้้างอิิง 259 บรรณานุุกรม 261 ดััชนีีคำหลััก 269


จ สารบััญตาราง ตารางที่ ่� หน้้า 1.1 กลุ่่มผู้้เรีียนในอนาคตจะมีีความหลากหลาย GEN 9 4.1 การวััดระดัับความสุุข 5 ระดัับ ได้้ด้้วยตนเองตามหลัักภาวนา 4 128 4.2 รููปแบบงานเดิิมและใหม่่องค์์ประกอบการเปลี่่�ยนผ่่านในการพััฒนาคน รองรัับ 135 4.3 ความสุุขด้้วยหลัักพุุทธธรรม 5 ขั้้�นและความสุุขสร้้างสรรค์์ด้้วย ปััญญา 5 ขั้้�น 156 4.4 การวััดระดัับความสุุข 5 ระดัับ ได้้ด้้วยตนเองตามหลัักภาวนา 4 156 6.1 การวิิเคราะห์์ความหมายของการบููรณาการ 223 6.2 การวิิเคราะห์์องค์์ประกอบของการบููรณาการ 226 6.3 องค์์ประกอบของการบููรณาการ 232


ฉ สารบััญภาพ ภาพที่ ่� หน้้า 2.1 คุุณลัักษณะภาวะผู้้นำการเปลี่่�ยนแปลงทางการศึึกษาในศตวรรษที่ ่� 21 (3ป.) 30 2.2 หลัักปฏิิบััติิศีีล 5 คู่่กัับเบญจธรรม 5 57 2.3 หลัักอิิทธิิบาท 4 58 2.4 คุุณลัักษณะภาวะผู้้นำในการปฏิิบััติิงานอย่่างมีีคุุณภาพ 59 2.5 สุุจริิต 3 60 2.6 คุุณลัักษณะภาวะผู้้นำของพระสงฆ์์ในการเผยแพร่่พระพุุทธศาสนา ในยุุคพุุทธวิิถีีใหม่่ 61 3.1 องค์์ประกอบที่ ่�มีีผลต่่อความคิิดสร้้างสรรค์์ 69 3.2 กระบวนการคิิดสร้้างสรรค์์ของ James Webb Young 75 3.3 แนวคิิดสร้้างสรรค์์จากในกรอบ สู่่ นอกกรอบ 82 3.4 การพััฒนาสมรรถนะของบััณฑิิตในศตวรรษที่ ่� 21 91 3.5 ภาวะผู้้นำการคิิดสร้้างสรรค์์ตามหลัักพุุทธธรรม 95 4.1 แนวคิิดภาวะผู้้นำการพััฒนาตน 112 4.2 คิิดแบบผู้้นำในการพััฒนาตนเอง 113 4.3 การพััฒนาตนเองสู่่เป้้าหมาย (Drive) 114 4.4 ความสำคััญของบุุคลิิกภาพที่ ่� ส่่งภาวะผู้้นำทางการศึึกษา 115 4.5 การพััฒนาบุุคลิิกภาพของผู้้นำทางการศึึกษา 116 4.6 การพััฒนาตนของภาวะผู้้นำการเปลี่่�ยนทางการศึึกษา 117 4.7 ภาวะผู้้นำในการพััฒนาตนเอง 121 4.8 ชุุดการพััฒนาตนของผู้้นำทางการศึึกษาด้้านศีีล 125 4.9 ชุุดการพััฒนาตนให้้เป็็นคนมีีความสุุขด้้านจิิตของผู้้นำทางการศึึกษา 127 4.10 ชุุดการพััฒนาตนของผู้้นำทางการศึึกษาด้้านปััญญา 130 4.11 หลัักพุุทธธรรมกัับการพััฒนาภาวะผู้้นำสำหรัับตนเอง 131 4.12 ลัักษณะคนที่่�ตลาดแรงงานต้้องการในศตวรรษที่ ่� 21 136 4.13 เป้้าหมายการพััฒนาที่ ่�ยั่่�งยืืนขององค์์การสหประชาชาติิ(The Global Goals) 137 4.14 กลุ่่มประเทศสมาชิิกอาเซีียน 10 ประเทศ 139 4.15 ประชาคมอาเซีียนประกอบด้้วย 3 เสาหลััก 139


ช 4.16 ปรััชญาเศรษฐกิิจพอเพีียง 142 4.17 กระบวนการพััฒนาคนในองค์์การ 145 4.18 คุุณลัักษณะภาวะผู้้นำที่่�เป็็นกััลยาณมิิตร 149 4.19 การพััฒนาตนของภาวะผู้้นำที่่�ทางการศึึกษา 151 4.20 คุุณธรรมสำหรัับการพััฒนาตนของภาวะผู้้นำที่่�ทางการศึึกษา 151 4.21 แนวทางปฏิิบััติิควบคุุมอารมณ์์และพฤติิกรรม 152 4.22 องค์์ประกอบคุุณสมบััติิของคนดีี 153 4.23 กระบวนการพััฒนาคนให้้สามารถทำงานได้้อย่่างมีีคุุณภาพ 154 4.24 แนวทางการพััฒนาคน 154 4.25 การพััฒนางานด้้วยระบบ PDGA กัับหลัักอิิทธิิบาท 4 164 4.26 การสื่่�อสารเพื่่�อให้้การบริิหารงานอย่่างมีีประสิิทธิิภาพ 166 4.27 องค์์ประกอบของการปฏิิบััติิงานที่ ่� ส่่งเสริิมให้้องค์์กรมีีความเจริิญ 166 4.28 เกี่่�ยวกัับภาระหน้้าที่่�การบริิหารงานของสถานศึึกษา/โรงเรีียน 167 4.29 สรุุปการพััฒนาตน คน และงาน บููรณาการกัับหลัักพุุทธวิิถีีใหม่่ 168 5.1 กระบวนการยกระดัับภาวะผู้้นำตนเองด้้านหลัักการศึึกษา 176 5.2 กระบวนการยกระดัับภาวะผู้้นำตนเองสำหรัับผู้้นำ 177 5.3 กระบวนการยกระดัับภาวะผู้้นำการนำตนเองด้้านตน คน และงานตามพุุทธวิิถีีใหม่่ 178 5.4 กระบวนการยกระดัับภาวะผู้้นำที่่�สร้้างศรััทธากัับทีีมงาน 179 5.5 กระบวนการยกระดัับภาวะผู้้นำตนเองด้้านสร้้างมิิตรที่่�หวัังดีีตามพุุทธวิิถีีใหม่่ 180 5.6 กระบวนการยกระดัับภาวะผู้้นำองค์์กรด้้วยหลัักสงเคราะห์์ซึ่่�งกัันและกััน ตามพุุทธวิิถีี 180 5.7 กระบวนการยกระดัับภาวะผู้้นำด้้วยหลัักการทำงานตามพุุทธวิิถีีใหม่่ 181 5.8 กระบวนการยกระดัับภาวะผู้้นำองค์์กรด้้วยหลัักความจริิงตามพุุทธวิิถีีใหม่่ 182 5.9 กระบวนการยกระดัับภาวะผู้้นำองค์์กรสำหรัับผู้้ปกครองตามพุุทธวิิถีีใหม่่ 183 5.10 ขั้้�นตอนการประเมิินผลการปฏิิบััติิงาน 196 6.1 องค์์ประกอบของการบููรณาการ 227 6.2 ขั้้�นตอนของการบููรณาการ 233 6.3 การบููรณาพุุทธวิิถีีการบริิหารของผู้้นำทางการศึึกษา 240 6.4 การบููรณาการบริิหารสถานศึึกษาของภาวะผู้้นำจากทฤษฎีีสู่่การปฏิิบััติิ 246


ซ ซ คําอธิบายสัญลักษณ์และคําย่อ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนผ่านทางการศึกษาตามพุทธวิถีใหม่ ฉบับนี้อ้างอิงจากคัมภีร์ พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. 2539 โดยระบุ เล่ม/ข้อ/ หน้า เช่น องฺ.ติก.(ไทย) 20/459/146 หมายถึง สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาตร (ภาษาไทย) ฉบับภาษาไทย พระไตรปิฎกเล่มที่ 20 ข้อที่ 459 หน้า 146 ก. คำย่อชื่อคัมภีร์พระไตรปิฎก พระวินัยปฎก วิ.ม. (ไทย) = วินยปิฎก มหาวรรค (ภาษาไทย) วิ.จู. (ไทย) = วินยปิฎก จูฬวรรค (ภาษาไทย) พระสุตตันตปฎก องฺ.ติก. (ไทย) = สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาตร (ภาษาไทย) ขุ.ชา. (ไทย) = สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก (ภาษาไทย) ส.ม. (ไทย) = สุตตันตปิฎก สํยุตฺตนิกาย มหาวารวรรค (ภาษาไทย) ขุ.ป. (ไทย) = สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค (ภาษาไทย) องฺ.จตุกฺก. (ไทย) = สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต (ภาษาไทย) ที.ปา. (ไทย) = สุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค (ภาษาไทย) ที.ม. (ไทย) = สุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค (ภาษาไทย) ที.สี. (ไทย) = สุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลักขันธวรรค (ภาษาไทย) ม.มู. (ไทย) = สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ (ภาษาไทย) ขุ.ชา. (ไทย) = สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก (ภาษาไทย) องฺ.ติก. (ไทย) = สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต (ภาษาไทย) ขุ.ธ. (ไทย) = สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธัมมบท (ภาษาไทย) พระอภิธรรมปิฎก อภิ.วิ. (ไทย) = อภิธัมมปิฎก วิภังค์ (ภาษาไทย)


บทที่ 1 บทนำ ภาวะผู้นำในยุคการเปลี่ยนผ่านทางการศึกษา เป็นผลของความเจริญของโลกยุค เทคโนโลยีที่มีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตโดยเฉพาะผู้นำจะต้องพัฒนาตน คนในองค์การเพื่อ ขับเคลื่อนงานให้บรรลุเป้าหมายของการบริหารการศึกษาที่จะปรับกระบวนทัศน์ใหม่บน พื้นฐานความเชื่อที่ว่า การจัดการศึกษายุคใหม่ต้องปรับเปลี่ยนวิสัยทัศน์ใหม่ให้สอดคล้อง กับหลักคิดการบริหารการศึกษาในยุคดิจิทัล บริบทของโลกและประเทศชาติเพราะบริบท ของประเทศแต่ละแห่งย่อมแตกต่างกันบนพื้นฐานความเชื่อ ศาสนา วัฒนธรรม สังคมและ การเมือง ภาวะผู้นำทางการศึกษาในยุคประเทศไทย 1.0-4.0 ต้องปรับตัวอย่างไรในยุคพลิก ผันเพื่อตอบโจทย์การศึกษาไทยในอนาคต ในบทนี้มีเนื้อหาดังนี้ 1.1 การศึกษาในยุคประเทศไทย 1.0-4.0 1.2 การศึกษาในยุคพลิกผัน (Disruption) 1.3 การปรับตัวของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาตอบโจทย์การศึกษา ไทย 1.4 แนวทางการพลิกโฉมระบบการศึกษาไทยใหม่ 1.5 ภาวะผู้นำต้องปรับเปลี่ยนการบริหารการศึกษายุคนี้ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ 1.1 การศึกษาในยุคประเทศไทย 1.0- 4.0 รัฐบาลได้ประกาศนโยบายการพัฒนาประเทศแบบ Thailand 4.0 ขึ้นมา ทำให้ เกิดกระแสการเปลี่ยนแปลงขึ้นในทุกภาคส่วน ไม่เว้นแม้แต่ในระบบการศึกษาของไทย ซึ่ง รูปแบบของการพัฒนาประเทศแบบ Thailand 4.0 นี้ เป็นวิสัยทัศน์เชิงนโยบาย ที่อธิบายถึง ลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ จากยุคที่มีลักษณะของเศรษฐกิจที่เน้นภาค เกษตรกรรมยุค 1.0 มาเป็นยุคแห่งการพัฒนาเศรษฐกิจในภาคอุตสาหกรรมแรงงานขนาด เบายุค 2.0 จนมาสู่ยุคการพัฒนาเศรษฐกิจในภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่มีความซับซ้อน ด้วยเทคโนโลยี ยุค 3.0 และสุดท้าย คือการก้าวสู่ยุคแห่งการพัฒนาเศรษฐกิจเน้นการ ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม เฉกเช่นปัจจุบัน ที่เราเรียกกันประเทศไทย 4.0 เป็นยุคเศรษฐกิจ สร้างสรรค์และนวัตกรรมโดยใช้เทคโนโลยีในการบริการและเพิ่มมูลค้าทางเศรษฐกิจ


2 2 กล่าวได้ว่าประเทศไทย 1.0-4.0 เป็นการเริ่มต้นการพัฒนาเศรษฐกิจของชาติ จากประเทศไทย 1.0 เป็นยุคเกษตรพื้นบ้าน ประเทศไทย 2.0 เป็นยุคพัฒนาอุตสาหกรรม เบา ประเทศไทย 3.0 เป็นยุคอุตสาหกรรมหนักที่เกิดการเรียนรู้ข้อมูลข่าวสารนำมาพัฒนา ดีขึ้นและประเทศไทย 4.0 เป็นยุคปัจจุบันที่พัฒนาด้วยนวัตกรรมโดยใช้เทคโนโลยีมา ช่วยขับเคลื่อนเพิ่มมูลค้าในการบริการได้อย่างรวดเร็ว เมื่อนำวิสัยทัศน์เชิงนโยบายดังกล่าว มาอธิบายในภาพรวมของการจัดการศึกษาไทย ก็จะเห็นสภาพการศึกษาไทยในยุคประเทศไทย 1.0-4.0 แต่ละยุคได้ดังนี้ 1. การศึกษาในยุค Thailand 1.0 ด้วยความที่เป็นยุคที่เพิ่งเริ่มต้นวางระบบ การศึกษา ทำให้ประชาชนที่มีความรู้มีจำนวนจำกัด ครูที่สอนตามโรงเรียนต่าง ๆ นับว่า เป็นบุคคลหนึ่งที่มีความรู้สูงในชุมชน การเรียนรู้ในโรงเรียนส่วนใหญ่จึงเน้นการบอกเล่าโดย ยึดครูผู้สอนเป็นหลักที่เรียกว่า สอนด้วยการบอกเล่า 2. การศึกษาในยุคThailand 2.0 เป็นยุคที่มีการนำนวัตกรรมแบบธรรมชาติเข้ามา ช่วยเหลือครูผู้สอนในการจัดการเรียนการสอน มีการจัดทำสื่อการสอนส่งเสริมการเรียนรู้ ต่าง ๆ ซึ่งทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจในเนื้อหาวิชามากขึ้น แต่ครูผู้สอนก็ยังเป็นการเน้น หลักในการถ่ายทอดความรู้แบบบอกเล่าอยู่หรือบางคนเรียก การสั่งสอน 3. การศึกษาใน ยุค Thailand 3.0 จากการที่มีการพัฒนาเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ทำให้ทุกคนสามารถสืบค้นข้อมูลความรู้ต่าง ๆ ผ่านคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์พกพาได้ มากมาย ทำให้ยุคนี้ เป็นการแสวงหาความรู้ด้วยการสืบค้น การทำงานเป็นกลุ่ม ผู้เรียนมี การปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน ครูเปลี่ยนบทบาทมาเป็น ผู้แนะนำ มีการใช้สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) เข้ามาเป็นเครื่องมือช่วยในการพัฒนาการเรียนการสอนมากยิ่งขึ้น แต่มี การกลั่นกรองค่อนข้างน้อยเรียนรู้ได้น้อย ซึ่งเรียกว่า สอนด้วยการแนะนำ 4. การศึกษาในยุค Thailand 4.0 เป็นยุคที่ต่อเนื่องจากยุคที่แล้ว เนื่องจากการ ที่ผู้เรียนมีความสามารถในการใช้สื่อเทคโนโลยีที่สูงขึ้น และเข้าถึงได้ง่ายขึ้น ส่งผลให้เกิด การนำเทคโนโลยีเหล่านั้นมาประยุกต์ใช้และส่งเสริมการเรียนรู้ มีการใช้สื่อและสังคม ออนไลน์ที่มีวิจารณญาณมากขึ้น สร้างมูลค่า สร้างนวัตกรรมที่ตอบสนองต่อความต้องการ ของตัวเอง ซึ่งบทบาทของครูในยุคนี้จะต้องเป็นโค้ช (Coach) อำนวยความสะดวก ที่ช่วย ส่งเสริมองค์ความรู้ที่ผู้เรียนเกิดการจากเรียนรู้ด้วยตัวเอง ซึ่งเรียกว่า ทำหน้าที่เป็นโค้ช (Coach) ให้คำปรึกษา และอำนวยการความสะดวก1 1 ไพฑูรย์ สินลารัตน์และคณะ, การศึกษา4.0เป็นยิ่งกว่าการศึกษา, (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561), หน้า 6.


3 3 การศึกษาในยุคThailand 4.0 ถ้าตามความเห็นของ นายแพทย์ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ (2559) ในสมัยท่านเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้แสดง ทัศนะไว้ว่า การศึกษาในยุค Thailand 4.0 นั้น เป็นยุคที่การศึกษาเป็นเรื่องที่มากกว่าการ เตรียมความพร้อมของคนหรือให้ความรู้กับคนเท่านั้น แต่เป็นการเตรียมมนุษย์ให้เป็น มนุษย์นอกจากให้ความรู้แล้ว จะต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนรักที่จะเรียน มีคุณธรรม สามารถ อยู่ร่วมในสังคมได้อย่างเหมาะสม ซึ่งในการก้าวสู่การศึกษาในยุค Thailand 4.0 นั้น กระทรวงศึกษาธิการได้วางแนวทางปฏิรูปการศึกษา เพื่อตอบสนองการพัฒนาไว้ดังนี้ 1. พัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ เพื่อช่วยในการเพิ่มศักยภาพในการติดต่อสื่อสาร กับต่างประเทศ 2. ส่งเสริมการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ 3. พัฒนาทักษะและกระบวนการคิดวิเคราะห์ให้ผู้เรียน 4. การปรับหลักสูตรการเรียนการสอน ให้ทันสมัยสอดคล้องกับโลกยุคใหม่ 5. พัฒนาปรับปรุงตำราเรียนให้มีมาตรฐาน 5 ดาว 6. บริหารจัดการคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็กอย่างเหมาะสม 7. พัฒนาบทบาทของครูจากผู้สอนมาเป็นโค้ช (Coach) 8. การบริหารจัดการคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็ก ภายใต้โครงการโรงเรียนดี ใกล้บ้าน จากทั้งหมดนี้ เมื่อนำมาวิเคราะห์แนวทางปฏิรูปของกระทรวงศึกษาธิการแล้ว สามารถสร้างสรรค์การศึกษาในยุคไทยแลนด์ 4.0 ได้โดยใช้แนวคิดด้วยต่อไปนี้ 1. ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สองภาษา ทุกวันนี้ ภาษาอังกฤษเข้ามามีบทบาทอย่างมาก การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ ที่มีความสอดคล้องกันทั้งสองภาษา จะทำให้ผู้เรียนใช้ภาษาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และ เคยชินกับการใช้ภาษามาขึ้น มีความกล้าที่จะใช้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาของ ผู้เรียนเพราะภาษา โดยเฉพาะภาษาต่างประเทศจะช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้มากขึ้น ทำให้มี โลกทัศน์กว้างขึ้น 2. ใช้ STEM เข้ามามีบทบาทในการส่งเสริมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี การเรียนรู้แบบ STEM คือการนำเอาศาสตร์ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ วิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี (Technology) วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) และ คณิตศาสตร์ (Mathematics) มาบูรณาการรวมกันเพื่อแก้ไขปัญหาหรือสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ขึ้นมาตาม โจทย์ที่ผู้เรียนสนใจ ซึ่งวิธีการนี้จะช่วยให้ผู้เรียนรู้จักคิดวิเคราะห์ และใช้ศาสตร์ความรู้ทั้ง


4 4 4 ด้าน มาประยุกต์ใช้ให้ได้องค์ความรู้หรือนวัตกรรมใหม่ ซึ่งนับว่าเป็นหัวใจหลักของ การศึกษาในยุค Thailand 4.0 3. ส่งเสริมทักษะ EF (Executive Functions) เป็นกระบวนการทางความคิด ในสมองส่วนหน้าที่เกี่ยวข้องกับการคิด ความรู้สึกและการกระทำ เช่น การยั้งใจคิดไตร่ตรอง การควบคุมอารมณ์ การยืดหยุ่นทางความคิด และการตั้งเป้าหมาย รวมถึงการจัดลำดับ ความสำคัญของเรื่องต่าง ๆ ซึ่งนับว่าเป็นทักษะที่จำเป็นอย่างมากในโลกยุคปัจจุบัน 4. การเรียนรู้แบบโครงการส่งเสริมกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ การเรียนรู้แบบโครงการ จะช่วยให้ผู้เรียนกำหนดปัญหา สมมติฐาน ได้ร่วมมือกัน วางแผนและใช้ความคิดอย่างเป็นระบบตามหลักวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดองค์ ความรู้จากข้อสรุปต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น และนำไปสู่การนำเสนอโครงการที่สร้างสรรค์ 5. ใช้เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการจัดการเรียนการสอน เน้นให้ผู้เรียนใช้เทคโนโลยีอย่างมีวิจารณญาณและเกิดประโยชน์ ส่งเสริมการเรียน การสอนและมุ่งหมายให้ผู้เรียนเกิดองค์ความรู้ได้ด้วยตัวเอง 6. เน้นการก้าวสู่ขั้นของกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning กระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning คือ กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นให้ ผู้เรียน เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติ โดยมีครูคอยเป็นโค้ช และโรงเรียนต่าง ๆ ได้นำแนวคิดนี้ไปใช้ สอนให้นักเรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองจะเกิดกิจกรรมหลากหลายมิติที่นักเรียนสามารถคิด อย่างอิสระซึ่งองค์ความรู้ที่ผู้เรียนได้คิดเองจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการคิดสร้างสรรค์นวัตกรรม ได้มาก โดยใช้เทคโนโลยีผสมผสานในการเรียนรู้และถ้าสถานศึกษาใดปรับตัวไม่ทันการ เปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีดังกล่าวจะเกิดลักษณะของ Disruptive Education 7. แนวทางการปรับปรุงพุทธวิถีใหม่ทางพระพุทธศาสนา คือ เป็นการเน้นศาสน สิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ตั้งแต่เข้าสู่กระบวนการเป็นพระภิกษุ สามเณรใน พระพุทธศาสนาหรือเป็นสาวกในพระพุทธศาสนานั่นเอง 1.2 การศึกษาในยุคพลิกผัน (Disruption) ในยุคนี้คงจะเคยได้ยินคำว่า Digital Disruption หรือ Disruptive Technology ส่วนคำว่า Disrupt แปลตรงตัวคือ "การหยุดชะงัก" ซึ่งมักถูกใช้ในบริบทของการ "ปฏิรูป" หรือทำอะไรก็ตามเพื่อให้เกิดการพัฒนาสิ่งใหม่ ๆ โดยมักจะถูกโยงเข้าสู่เรื่องของเทคโนโลยี อยู่เสมอ ลักษณะของ Disruption จะเป็นการ “แทนที่” สิ่งที่มีอยู่เดิมด้วยสิ่งใหม่ ก่อให้เกิด เป็นความต้องการใหม่ขึ้นมาและความต้องการใหม่นี้ได้แทนที่สิ่งเดิมที่มีอยู่โดย "ทันที"


5 5 ซึ่งแตกต่างจากการเปลี่ยนแปลง (Transformation) ที่จะเน้นการพัฒนาจากความต้องการ เดิมหรือการต่อยอดจากสิ่งเดิมที่มีอยู่อย่างค่อยเป็นค่อยไป ตัวอย่างของสิ่งที่ถูก Disrupt เช่น โรงพิมพ์ ร้านขายหนังสือ และนิตยสาร บริการ ล้างฟิล์มและอัดรูป ร้านขายและเช่าภาพยนตร์ แผงเทปและซีดี และที่กำลังจะตามมา ในคลื่นลูกถัดไป ก็คือ คนส่งจดหมายและไปรษณีย์ พนักงานขับรถ นายหน้า มัคคุเทศก์ นักข่าว โดยเฉพาะ ครูอาจารย์ เริ่มต้นจากระดับอุดมศึกษาหลักสูตร ผู้เรียนในอนาคตคนจะนิยมเรียนหลักสูตร ระยะสั้นๆเน้นการพัฒนาทักษะเฉพาะทาง มากกว่าการเรียนในหลักสูตรระยะยาวเรียกว่า เรียนสายอาชีพมากขึ้นเพราะเรียนได้ตรงตามความต้องการของผู้เรียน เพราะเน้นการสอน เพื่อพัฒนา “ทักษะ” และคนในอนาคตจำเป็นต้องมีความรู้เฉพาะงานหรือทำงานที่ตน ถนัดมากขึ้น ดังนั้นสถานศึกษาจำเป็นต้องจัดการศึกษาเฉพาะทางมากขึ้นและต้องสร้างชุดทักษะ การศึกษาและจะได้รับความนิยมของผู้เรียนมากขึ้นในยุคการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และสิ่งที่มีผลกระทบต่อการจัดการศึกษา เช่น Mobile Learning และการเรียนรู้แบบ On demand, MOOC, ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ Deep learning, Internet of Things (IOT), Cloud technology, Mixed reality, Big Data, 3 D printing และ Maker movement เป็นสิ่งที่นักการศึกษาทุกคนจะต้องทำความรู้จักและหัดนำมาใช้ให้เป็น ประโยชน์ต่อการจัดการเรียนรู้ ครูอาจารย์จะต้องปรับตัวอย่างไร ในโลกที่เปลี่ยนแปลงและมีวิธีการจัดการเรียน การสอนที่แตกต่างจากอดีตที่เราเคยถูกสอนมาเมื่อตอนเป็นนักเรียน ครูซึ่งมีโอกาสที่ จะถูก Disrupt มีลักษณะได้แก่ 1. สอนแบบเดิม ๆ ซ้ำ ๆ ขาดความสร้างสรรค์ 2. ไม่เป็นนักเรียนรู้ อยู่กับที่ ไม่เรียนรู้สิ่งใหม่ 3. ไม่กล้าเผชิญต่อการเปลี่ยนแปลง 4. ขาดทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่น 5. เน้นเนื้อหาและการบรรยาย 6. ไม่มีสายตาที่มองเห็น “การเรียนรู้” ของผู้เรียน2 2 ธิติ ธีระเธียร, Digital Disruption กับครูไทยในศตวรรษที่ 21, เตรียมพร้อมและ เปลี่ยนแปลงก่อนถูกแทนที่ อ่านหนังสือ เรื่อง "การจัดการเรียนรู้ในยุค Disruptive Innovation" เขียน โดย รองศาสตราจารย์ ดร.วิชัย วงษ์ใหญ่ และ รองศาสตราจารย์ ดร.มารุต พัฒผล, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www. starfishlabz.com/ [9 สิงหาคม 2564].


6 6 แนวคิดดังกล่าวสะท้อนให้เห็นบทบาทสำคัญยิ่งของผู้บริหารการศึกษาจะมีภาวะ ผู้นำเพื่อพัฒนาตนเองในการจัดการศึกษาให้ตอบโจทย์การพัฒนาและขับเคลื่อนสถานศึกษา ไปสู่สากลสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกในยุคการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา ดังนั้นภาวะผู้นำทางการศึกษาจะต้องเรียนรู้อย่างหลากหลายมิติเพื่อจะหาทาง ปรับตัวอย่างไรให้พัฒนาการศึกษาเพื่อผลิตลักษณะบัณฑิตยุคใหม่ที่ผู้ประกอบการทั้งภาครัฐ และเอกชนต้องการ ขอนำแนวคิดของนักวิชาการทางการศึกษาได้สะท้อนผลที่เกิดขึ้นใน ปัจจุบันและอนาคต เพื่อหาทางปรับตัวและเป็นแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ทางการศึกษาด้วยเหตุนี้จึงขอใช้คำว่ายุคพลิกผัน (Disruption)ต้องปรับเปลี่ยนการศึกษา ให้ดีกว่าเดิมในทุกรูปแบบการจัดการศึกษา เช่นการบริหาร การเรียนการสอน และจัดการ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาการศึกษาในมิติสมัยใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์การพัฒนาเด็ก และเยาวชนของประเทศต่อไป 1.2.1 การปรับตัวของมหาวิทยาลัยเพื่อตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงในยุคพลิก ผัน (Disruption) นายแพทย์ชัชวาล โอสถานนท์ ได้เสนอการปรับตัวของมหาวิทยาลัยเพื่อตอบโจทย์ การเปลี่ยนแปลงในยุคพลิกผัน (Disruption) สรุปประเด็นแนวคิดเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา ต่อยอดได้ดังนี้3 1) การเรียนรู้สิ่งที่รู้แล้วด้วยมุมมองใหม่โดยไม่ติดยึดเพื่อจะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ (Relearn and Unlearn) 2) อุดมศึกษาจะต้องเปลี่ยนตัวเอง จะต้องปรับวิธีคิด ปรับวิธีการทำงาน เพื่อ ตอบโจทย์ Demand ของการปฏิวัติอุตสาหกรรมใน 4.0 3) ปรับทัศนคติแบบยืดหยุ่น (flexible minds) ในการทำงานเป็นทีมร่วมกันคิด และรับผิดชอบ 4) สร้างคนที่มีทักษะในการทำงาน สร้างสรรค์สิ่งใหม่ มีกรอบความคิดที่ใหญ่ มีความสามารถในการสื่อสารเรื่องที่ซับซ้อนให้คนอื่นเข้าใจง่าย 5) มีทักษะการสื่อสารกับคนในองค์กรเป็นทีมต้องช่วยคุณทำงานให้สำเร็จ 6) มหาวิทยาลัยจะเผชิญความท้าทายอย่างมากในการที่จะสร้างระบบนิเวศน์ ที่จะตอบสนองต่อผู้ประกอบการ สร้างคนที่มี Growth Mindset ผู้เรียนจะต้องทำงานเป็น กลุ่มหรือสามารถแก้ปัญหาท้าทายแบบเปิดได้ 3 ชัชวาล โอสถานนท์, การปรับตัวของมหาวิทยาลัยเพื่อตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงในยุค Disruption, (กรุงเทพมหานคร: กองบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล, 2563), หน้า 51-57.


7 7 7) การเรียนรู้แบบแก้ไขปัญหาและการเรียนรู้เชิงประสบการณ์จริง (Problembased Learning and Experiential Learning) 8) สร้างเครือข่ายเชิงกว้าง (Network) และ เชิงลึกในระดับนานาชาติทั้งในระดับ ประเทศไทย เพราะองค์กรต้องการคนที่เก่งกว่ามาร่วมมือเพื่อยกระดับการปฏิบัติงานให้เร็ว ที่สุด 9) มหาวิทยาลัยจะต้องสร้างทักษะเชิงลึกที่เรียกว่า Deep skill และใช้ให้เกิด ประโยชน์การพัฒนาทักษะเชิงลึก (Deep skill) คือ ศักยภาพในการวิเคราะห์ ประเมิน แก้ปัญหาที่ซับซ้อน เป็นหัวใจสำคัญ และต้องทำงานกับคนอื่นได้ด้วยเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ 10) Backbone คือผู้นำจะต้องสร้างศักยภาพทางดิจิทัลให้แข็งแกร่ง ตลอดจนสร้าง ความร่วมมือ กับมหาวิทยาลัยระดับโลกเพื่อเน้นทักษะแห่งอนาคต 11) มหาวิทยาลัยที่จะต้องลดขนาดลง (down sizing) และเน้นสิ่งที่คุณถนัด สิ่งที่ เป็นจุดแข็ง (strength) ของสถานศึกษา เพื่อทุ่มงบประมาณให้เต็มที่คุณจะแข่งขันกับอื่นได้ ซึ่งมหาวิทยาลัยทั่วโลกต้องปรับวิสัยทัศน์มองไปข้างหน้า ตั้งเป็นมหาวิทยาลัยเฉพาะทาง หมดเลย มันถึงตอบโจทย์ความต้องการของคนเฉพาะกลุ่มได้เป็นอย่างดีในอนาคต 12) ทรัพยากรบุคคลของมหาวิทยาลัยจะต้อง recruit คนที่ เป็น The Best and The Brightest People เข้ามาในองค์กร เพื่อที่จะสร้างและพัฒนานวัตกรรม (Innovation) ให้เกิดประโยชน์มากที่สุดในการจัดการศึกษา 13) ต้องเปลี่ยนแปลงภาวะผู้นำทางการศึกษาเรื่องการบริหารจัดการ ทัศนคติ อาจารย์ การจัดการเรียนการสอน กระบวนการสอนแบบใหม่ให้ตอบโจทย์การศึกษาของ ชาติและผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของตลาดแรงานในศตวรรษที่ 21 และ ประเทศไทย 4.0 ซึ่งภาวะผู้นำทางการศึกษาไทยควรเลือกพื้นที่นวัตกรรมทางการศึกษา เพื่อปรับกระบวนทัศน์ทางการศึกษาสู่การผลิตคนรุ่นใหม่ให้สอดคล้องแนวคิดในการศึกษา ประเทศไทย 4.04 สรุปภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษามีปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการจัด การศึกษาหลากหลายประเด็นดังนี้ 1) การผลิตบัณฑิตไม่ตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน 2) ผู้บริหารมหาวิทยาลัยต้องปรับวิสัยทัศน์ในการจัดการศึกษา 3) อาจารย์และพนักงานต้องพัฒนาทักษะใหม่ ๆ ด้านการใช้เทคโนโลยีให้ใช้ ประโยชน์ได้สูงสุด 4 วิจารณ์ พานิชและ. ปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร, การศึกษาคุณภาพสูงระดับโลก, (กรุงเทพมหานคร: เอส.อาร์.พริ้นติ้งแมสโปรดักส์, 2563), หน้า 189.


8 8 4) ต้องสร้างเครือข่ายทางการศึกษาทั้งในและต่างประเทศเพื่อการแลกเปลี่ยน เรียนรู้อย่างกว้างขวางทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกในสถานการณ์ใหม่ ๆ กับการพัฒนา นักศึกษาเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงาน 5) ก้าวสู่ Smart University หรือ สภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัย ต้องมีความ ทันสมัย มีเทคโนโลยี มีระบบบริการต่าง ๆ ที่เอื้ออำนวยให้ทุกคนได้เกิดการเรียนรู้ตลอด ชีวิต 6) มหาวิทยาลัยควรเน้นสิ่งที่ถนัด สิ่งที่เป็นจุดแข็ง (strength) ของสถานศึกษา เพื่อทุ่มงบประมาณให้เต็มที่คุณจะแข่งขันกับอื่นได้โดยการปรับวิสัยทัศน์มองไปข้างหน้า ตั้งเป็นมหาวิทยาลัยเฉพาะทางทั้งหมดเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของคนเฉพาะกลุ่มได้ เป็นอย่างดีในอนาคต ยกตัวมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่ง คือ มหามกุฎราชวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ที่ผู้เขียนปฏิบัติงานอยู่เป็นมหาวิทยาลัย เฉพาะทางที่มีจุดแข็งมากด้านแหล่งความรู้ทางพระพุทธศาสตร์บูรณาการกับศาสตร์ สมัยใหม่เพื่อพัฒนาจิตใจและสังคม อย่างกรณีการสอนวิปัสสนากรรมฐานบูรณาการ สำหรับการพัฒนาตน คน สังคมและงานได้อย่างทันสมัย ทุกยุคเป็นอย่างดียิ่ง ตามปณิธาน ของสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ฯ รัชกาลที่ 5 ผู้สถาปนามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลง กรณราชวิทยาลัยว่า ให้มหาวิทยาลัยสงฆ์เป็นสถานศึกษาพระไตรปิฎกและวิชาชั้นสูง สำหรับพระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์ 1.3 การปรับตัวของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาตอบโจทย์ การศึกษาไทย สืบเนื่องมาจากแนวคิดการจัดการศึกษาในยุคพลิกผัน (Disruption) สถาบัน อุดมศึกษาต้องปรับตัวเพื่อก้าวข้ามให้ล้ำหน้าการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาตอบโจทย์ การศึกษาแห่งชาติต่อไป 1.3.1. มหาวิทยาลัยยุคใหม่กับการปรับตัวภายใต้ยุคของฐานชีวิตวิถีใหม่ สถาบันอุดมศึกษาพบว่า จำนวนเด็กที่ลดลงอย่างต่อเนื่องและค่านิยมของคนรุ่นใหม่ ที่ใบปริญญาอาจจะไม่สำคัญอีกต่อไป รวมถึงการเปลี่ยนผ่านของเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาท ต่อชีวิตผู้คน และการเกิดโรคระบาดอย่างโควิด-19 ล้วนเป็นสถานการณ์ที่กระตุ้นให้ สถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งต้องเร่งปรับโฉมการพัฒนาหลักสูตร รูปแบบการเรียนการสอน เพื่อตอบสนองความต้องการของคนรุ่นใหม่ ตลาดแรงงานทั้งในและต่างประเทศ รศ.ดร.


9 9 ปรัชญา ชุ่มนาเสียว อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง5 กล่าวว่า ดังตารางที่ 1.1 ดังนี้ ตารางที่ 1.1 กลุ่มผู้เรียนในอนาคตจะมีความหลากหลาย GEN ที่ กลุ่มหลากหลาย GEN ความต้องการ 1 Gen X และ Gen Y ต้องการเสริมสมรรถนะให้ตนเอง 2 ส่วน Gen Y ชอบความท้าทาย 3 Gen Z ต้องการเรียนรู้อะไรใหม่ ๆ ฉะนั้น การเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยต้องปรับเปลี่ยนไปจากเดิม สรุปได้ดังนี้ 1. คนที่จะอยู่รอดในยุคปัจจุบันนี้ต้องมีทักษะมากกว่า 1 อย่าง 2. มหาวิทยาลัยต้องปรับตัว คือ ต้องมีการปรับหลักสูตรให้ตอบโจทย์วัยแรงงาน และขยายตลาดผู้เรียนไปยังกลุ่มผู้สูงอายุ มีการ Reskill / Upskill 3. การพัฒนาหลักสูตรให้มีความน่าสนใจและสร้างองค์ความรู้ใหม่อย่างต่อเนื่อง 4. การพัฒนาทักษะ คุณภาพของนักศึกษาให้เป็นบัณฑิตสายพันธุ์ใหม่ โดยมีการ จัดทำหลักสูตรอิงสมรรถนะและทักษะ แบบเรียนเป็นชุดวิชา (Modules) แทนการเรียนทั้ง สาขาวิชา 5. กลุ่มคนที่ยังอยู่ใน Gen X, Y ที่ต้อง Reskill / Upskill หรือ หาทักษะใหม่ ให้กับตนเองเพื่อเปลี่ยนสายงาน/สายอาชีพ 6. มหาวิทยาลัยจึงต้องปรับตัวให้สอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติ โดยบูรณาการสิ่งที่มี อยู่เดิมและพัฒนาหลักสูตรใหม่ ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดในยุคปัจจุบัน 7. สำหรับการเรียนรู้ในมหาวิทยาลัยต้องเน้นเสริมสมรรถนะ ทักษะที่ปัญญา ประดิษฐ์ (AI) 8. อาจารย์ต้องการปรับตัวด้วยการพัฒนาตนเองตลอดเวลา และเพิ่มการเรียน แบบ Learning Skill และการเรียนแบบเพิ่มพูนทักษะด้วยการปฏิบัติจริงหรือ Active Learning การส่งเสริมการเรียนรู้จากของจริง (Learning experience) 9. การผลิตหลักสูตรใหม่ๆ ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดในยุคปัจจุบันมี ความจำเป็นอย่างมาก โดยหลักสูตรแห่งอนาคตจะต้องมี 3 รูปแบบ ดังนี้ 1. Formal 5 ปรัชญา ชุ่มนาเขียว, รูปแบบหลักสูตรตอบคนทุกGEN หนทางรอดมหาวิทยาลัยยุคใหม่, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.newsplus.co.th/around-town/32407/ [6 สิงหาคม 2565].


1010 Education เน้นหลักสูตร 4 ปี 5ปี (วิชาชีพ) หรือหลักสูตรต่อเนื่อง โดยออกแบบหลักสูตร ตามจุดแข็งดั้งเดิมของมหาวิทยาลัย และสร้างหลักสูตรสอดคล้องกับตลาดแรงงาน โดยพยายามนำสาขาวิชาในแต่ละคณะมาบูรณาการร่วมกันเพื่อสร้างหลักสูตรใหม่ อาทิ สาขาแพทย์แผนไทยร่วมกับสาขา คหกรรมศาสตร์ กับสาขาเทคโนโลยีด้านอาหาร สร้าง ผลิตภัณฑ์อาหาร และยาจากพืชสมุนไพรไทย เป็นต้น 10. การเรียนการสอนตอบโจทย์กลุ่มผู้เรียนตาม Gen Z เพื่อรองรับแนวโน้มของ งานในอนาคต ต้องเป็นการเรียนรู้อะไรใหม่ ๆ ที่มากกว่าตำรา หรือทฤษฎี 11. Non formal Education หลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้น ทั้งระบบ Online และระบบ Offline เพื่อตอบโจทย์ New Normal และ การเรียนที่สามารถนำไปใช้ประกอบ อาชีพได้จริง ด้วยแนวคิดการเรียนรู้อย่างสนุกและสร้างงาน เช่น การสร้างยูทูปเบอร์, การขายของออนไลน์, Life Coach, Reviewer, นักการตลาดออนไลน์, เจ้าของธุรกิจ Start up เป็นต้น 12. Informal Education หรือการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อตอบโจทย์การเรียนรู้ ของคนทุกวัย ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต เน้นรูปแบบ Online หรือ MOOC (Massive Open Online Course) เพื่อต่อยอดเพิ่มพูนความรู้ ทักษะในอาชีพตามความถนัดและสนใจ ของกลุ่มเป้าหมาย 13. บทบาทหน้าที่ของมหาวิทยาลัยในการสร้างทุนมนุษย์ต้องมีส่วนร่วมกับชุมชน หรือพัฒนาชุมชนในการแก้ปัญหาท้องถิ่น สร้างงาน สร้างอาชีพแก่ชุมชน เป็นการฝึกให้ นักศึกษามีความรับผิดชอบ พัฒนาทักษะการสื่อสาร มนุษย์สัมพันธ์ การทำงานเป็นทีมและ การมีทักษะศตวรรษที่ 21 กล่าวโดยสรุป มหาวิทยาลัยเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ พลังสมอง การทำวิจัย และ พัฒนานวัตกรรมเพื่อช่วยชีนำการแก้ปัญหาให้บริการคนในชุมชน สังคม เช่น การให้บริการ ความรู้ด้านแพทย์แผนไทย และสมุนไพร โดยมีการจัดตั้งศูนย์การแพทย์แผนไทยและภูมิ ปัญญาท้องถิ่น หรือจัดตั้งสถาบันวิทยาศาสตร์สุขภาพที่รวบรวมองค์ความรู้ อาทิเช่น แพทย์แผนไทย ทัศนมาตรศาสตร์ รังสีเทคนิควิทยา เพื่อตอบโจทย์สังคมผู้สูงอายุและการ ส่งเสริมสุขภาพกับประชาชนทั่วไป เพื่อพัฒนาชุมชนอย่างเป็นระบบและมีเป้าหมายที่การ พัฒนาไปพร้อมกับชุมชน และมีความยั่งยืน ตามความต้องการ (Need Assessment) ความจำเป็นที่ต้องการการที่เรียนรู้ตามสาขาวิชาชีพ ความถนัด ทักษะที่ต้องการ ทั้งหมดนี้ ต้องเป็นบทบาทของมหาวิทยาลัยยุคใหม่ที่ตอบโจทย์ประเทศอย่างท้าทายในอนาคต


1111 1.3.2 กรณีการปรับตัวมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ตอบโจทย์ ยุคศตวรรษที่ 21 แนวทางในการปรับตัวของมหาวิทยาลัยเพื่อรู้เท่าทันต่อการเปลี่ยนในยุค ปัจจุบันและอนาคต6 สรุปได้ดังนี้ 1. รวมกันพัฒนา/ปรับปรุงหลักสูตรในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏในกรุงเทพมหานคร เพื่อรองรับ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายตามนโยบายรัฐบาล 2. พัฒนา/ปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัยและสอดรับกับศักยภาพที่โดดเด่นของแต่ละ มหาวิทยาลัย 3. พัฒนาหลักสูตรอบรมระยะสั้นร่วมกับสถานประกอบการและองค์กรที่เกี่ยวข้อง เพื่อเพิ่มทักษะการทำงานในกลุ่มอาชีพต่าง ๆ 4. พัฒนาหลักสูตรในรูปแบบการสะสมหน่วยกิต เพื่อเปิดโอกาสให้แก่ผู้เรียนทุก ช่วงวัย 5. พัฒนาหลักสูตรและคุณภาพผู้เรียนโดยร่วมมือกับสถาบันชั้นนำทั้งในและ ต่างประเทศ ทั้งภาครัฐและเอกชน 6. ปฏิรูปกระบวนการจัดการเรียนการสอนเป็น Active Learning สื่อการเรียน การสอนที่ทันสมัย เน้นการเรียนรู้ในเชิงบูรณาการกับการทำงาน สร้างทักษะในยุคศตวรรษ ที่ 21 และทักษะการเป็นผู้ประกอบการยุคใหม่ และ 7. พัฒนาองค์ความรู้และทักษะการสอนของคณาจารย์ให้ทันกับการศึกษาในยุค ศตวรรษที่ 21 หลักการคือมหาวิทยาลัยพัฒนาให้เป็น Smart University โดยให้นักศึกษาต้องเป็น Smart student Learner เพื่อผลิตบัณฑิตแห่งศตวรรษที่ 21 ให้มีทักษะการคิดวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ ทำงานเป็นทีม ร่วมแก้ปัญหาชุมชน สื่อสารได้ทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และ รู้จักปรับตัวให้เท่าทันการเปลี่ยนต่าง ๆ พร้อมเรียนรู้ตลอดชีวิต ในขณะที่บุคลากร คณาจารย์ต้องเป็น Smart Teacher Instructor เป็นผู้ให้คำแนะนำ เป็นที่ปรึกษา ชี้แนะ ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ รู้จักใช้องค์ความรู้ไปสร้างสรรค์นวัตกรรม และประโยชน์ทั้งแก่ ตนเองและผู้อื่น เพราะในปัจจุบันและอนาคตเยาวชนสามารถเข้าถึงข้อมูลใหม่ได้ง่ายขึ้น การก้าวสู่ Smart University ต้องจัดสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัย ให้มี ความทันสมัย มีเทคโนโลยี มีระบบบริการต่าง ๆ ที่เอื้ออำนวยให้นิสิตนักศึกษาได้เกิดการ เรียนรู้ตลอดชีวิต พร้อมทั้งสามารถใช้บริการต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยได้อย่างทันสมัย 6 ชุลีพร อร่ามเนตร, แนวทางปรับตัว มบส. ตอบโจทย์ยุคศตวรรษที่21, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.komchadluek.net/kom-lifestyle/418892 [6 สิงหาคม 2565].


1212 มีระบบเทคโนโลยี อินเทอร์เน็ต รวมถึงร่วมมือกับสถาบันต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน ในการ วางระบบบริการต่าง ๆ ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นการชำระค่าเล่าเรียน การลงทะเบียนเรียน การดูตารางเรียน หรือการใช้บริการห้องสมุด และบริการต่าง ๆ ที่จะเอื้อความสะดวกสบาย และเป็นแหล่งสถาบันการศึกษาที่สามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต การปรับตัวของมหาวิทยาลัยสะท้อนให้เห็นคุณสมบัติของภาวะผู้นำการ เปลี่ยนแปลงทางการศึกษาในด้านความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดิจิทัลและตอบโจทย์ ประเทศในการผลิตบัณฑิตให้ตรงตามความต้องการตลาดแรงงานเพิ่มทักษะของสมรรถนะ ของบัณฑิตให้สูงขึ้นและตอบโจทย์ตลาดแรงงานในสถานการณ์ปัจจุบัน 1.3.3 มหาวิทยาลัยที่ปรับเปลี่ยนตัวช้าจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคต ธเนศน์ นุ่นมัน ได้สรุปแนวคิดของ ศ.นพ.อุดม คชินทร รมช.ศึกษาธิการ(ศธ.) กล่าวได้อย่างน่าสนใจสำหรับการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยในอนาคตดังนี้7 1. สถาบันอุดมศึกษาต้องตระหนักว่าจะดำรงอยู่แบบเดิมเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ไม่ได้อีกต่อไปด้วยเหตุผลที่ว่า 1.1 ทุกวันนี้จำนวนผู้เรียนที่จะลดลงไปเรื่อย ๆ ตามสัดส่วนของประชากรที่เข้า สู่ช่วงถดถอยแล้ว 1.2 มหาวิทยาลัยต้องปรับตัวเพื่อรับมือกับโลกยุคใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไปเร็วมาก แต่หลายแห่งก็ยังติดกับดักปัญหาเดิม ๆ 1.3 การผลิตบัณฑิตไม่ตอบโจทย์กับตลาดยุคใหม่ 1.4 ต้องยอมรับว่าองค์ความรู้จากมหาวิทยาลัยที่ถูกนำไปต่อยอดใน ภาคอุตสาหกรรมมีน้อย ทั้งๆ ที่มีมหาวิทยาลัยคิดค้นวิจัยสิ่งดีๆ ที่เป็นต้นแบบที่แรกของโลก ออกมามากมาย แต่สิ่งที่คิดออกมานำไปใช้ในโลกความจริง หรือไม่สามารถตอบโจทย์ความ ต้องการของภาคอุตสาหกรรมหรือของเอกชน และผลิตงานด้วยตนเองไม่ได้ 1.5 สถาบันการศึกษามีอาจารย์ที่เก่ง มีงานวิจัยดีๆ แต่ส่วนใหญ่ก็เป็นแค่ต้นน้ำ ที่ถูกส่งต่อไปสู่ภาคการผลิตไม่ได้ จากแนวคิดดังกล่าวชี้ชัดว่า มหาวิทยาลัยอาจต้องทบทวนการบทบาทการผลิต บัณฑิตให้ตอบโจทย์ความต้องการผู้ใช้บัณฑิตและเพิ่มทักษะการสร้างงานด้วยตนเอง มิเช่นนั้นจะเกิดอะไรขึ้นในวันข้างหน้าและถ้าไม่ปรับตัว ไม่มีผู้เรียน ก็จะอยู่อย่างลำบาก 2. แนวทางปฏิบัติ มหาวิทยาลัยต้องปรับตัวรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น ให้สอดรับ กับพฤติกรรมผู้เรียนที่เปลี่ยนแปลงไป จะสอนด้านศาสตร์ต่าง ๆ แบบตรง ๆ เหมือนในอดีต 7 ธเนศน์ นุ่นมัน [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.bu.ac.th/th/bu-magazine/view/ 257. [9 สิงหาคม 2564].


1313 ไม่ได้ แต่ต้องเป็นการเรียนการสอนแบบหลายศาสตร์ที่ยืดหยุ่นสำหรับนำไปใช้ประกอบ อาชีพได้จริงในสังคมยุคใหม่หรือปรับรูปแบบการจัดการเรียนการสอนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ ของคนในทุกช่วงวัย รวมทั้งเปลี่ยนเป้าหมายของผู้เข้าเรียนใหม่ ให้มีทั้งนักเรียน นักศึกษา คนทำงาน และคนสูงอายุ ด้วยการปรับรูปแบบหลักสูตรระยะสั้นและระยะยาว ต้องคำนึงถึง ทิศทางในการพัฒนาประเทศ สร้างจุดเด่นและจุดขายที่โดดเด่นให้แตกต่างของแต่ละ สถานศึกษาจึงจะอยู่รอดได้ สรุปจากคำกล่าวตอนท้ายว่า สาเหตุที่มหาวิทยาลัยดังกล่าวต้องทำแบบนั้น เพราะ ต่างคาดการณ์ว่าหากไม่เปลี่ยนแปลงในอนาคตอันใกล้ก็จะอยู่ไม่ได้ และปรับพัฒนาตัวเอง จนมีผลงานดีขึ้นในทุกด้าน ต้องกล้าที่จะเปลี่ยนแปลงโดยไม่รอให้เกิดความเสียหายจาก กรณีที่ไม่มีผู้เรียนและหลักสูตรที่ล้าหลัง ซึ่งต้องยอมรับว่ามหาวิทยาลัยหลายแห่งยังอยู่ใน คอมฟอร์ตโซน (Comfort zone) เมื่อมหาวิทยาลัยทั่วโลกกำลังปรับตัวเพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา ในยุคดิจิทัลที่มาเร็วและแรงมาก ผู้บริหารสถานศึกษาต้องแสดงศักยภาพของความเป็นผู้นำ และภาวะผู้นำที่ท้าทายความรู้ ความสามารถขององค์กรมหาวิทยาลัยในอนาคตในทุก รูปแบบเพื่อแสดงศักยภาพของภาวะผู้นำทางการศึกษาให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงและ เรียนรู้ที่จะปรับตัวและพัฒนาการศึกษาตามบริบทของประเทศในสถานการณ์ปัจจุบันและ อนาคต 1.3.4 อนาคตมหาวิทยาลัยในโลกพลิกผัน (Disruption) เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนแปลงการปรับตัวกับโลกยุคใหม่ของมหาวิทยาลัยในรูปแบบ มหาวิทยาลัยในยุคประเทศไทย 4.0 นี้จะต้องตอบโจทย์อนาคตที่สำคัญ 5 ประการ หรือ 5Fs คือ8 1) ตอบโจทย์ทักษะและงานในอนาคตของนักศึกษา รวมถึงการยกระดับทักษะ และปรับเปลี่ยนทักษะสำหรับช่วงวัยทำงานเพื่อรองรับการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Future of Work) 2) ตอบโจทย์ประสบการณ์การเรียนรู้ของนักศึกษาที่เป็นยุคดิจิทัลผ่านความ ยืดหยุ่นของหลักสูตรและช่องทางการเรียนรู้ผสมผสานแพลตฟอร์มกายภาพและออนไลน์ (Future of Course) 3) ตอบโจทย์การสร้างงานวิจัย พัฒนาและนวัตกรรมแห่งอนาคต (Future of RDI) 8 ธราธร รัตนนฤมิตศร ประกาย ธีระวัฒนากุล, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www. bangkokbiznews.com/blog/detail/647760 [10 สิงหาคม 2564].


1414 4) ตอบโจทย์อนาคตความท้าทายของสังคมและชุมชนท้องถิ่น (Future of Society) และ 5) ตอบโจทย์ด้านโมเดลรายได้และความมั่นคงทางการเงินของมหาวิทยาลัยใน ระยะยาวนอกเหนือจากการได้รับจากงบประมาณแผ่นดิน (Future of Revenue Model) สรุปการใช้แนวคิดตอบโจทย์อนาคตที่สำคัญ 5 ประการ หรือ 5Fs ของมหาวิทยาลัย ต้องการเรียนรู้หลักคิด ปรัชญา และเทคนิคเฉพาะจากวิชาต่าง ๆ แล้ว ทักษะที่สำคัญที่ มหาวิทยาลัยจะต้องพัฒนาให้นักศึกษาเพิ่มทักษะการทำงาน (Employability skill) เช่น การสื่อสาร การแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน การทำงานเป็นทีมเนื่องจากเป็นทักษะที่สำคัญต่อ การทำงานและสามารถโอนย้ายระหว่างงานได้จากแนวคิดดังกล่าวมหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง จึงต้องทบทวนและประเมินจุดแข็งของตนเองอย่างจริงจังเพื่อวางตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ที่ ชัดเจน โดยการตอบโจทย์ทั้ง 5Fs อาจมีระดับความเข้มข้นในแต่ละข้อที่แตกต่างกัน 1.3.5 แนวทางในการปรับตัวของมหาวิทยาลัยต่อการเปลี่ยนในยุคปัจจุบันและ อนาคต ศาสตราจารย์สัมพันธ์ ฤทธิเดช เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา บรรยาย ในหัวข้อ “แนวนโยบายและกลไกในการเสริมพลังเครือข่ายผู้บริหารมหาวิทยาลัย” เลขาธิการ กกอ. กล่าวในตอนหนึ่งว่า “นโยบายในด้านหนึ่งของหลักสูตร คือ เรา ต้องคิดให้ทันว่าสิ่งที่ทำอยู่มันล้าสมัยหรือไม่ หลักสูตรที่เราทำจะไปตอบโจทย์ปลายทางของ ผู้ใช้ได้หรือไม่ ต้องเป็นหลักสูตรที่สร้างทักษะ 4C9 ได้แก่ 1. Creative thinking การคิดสร้างสรรค์ 2. Critical Thinking การคิดวิเคราะห์ 3 .Communication การรู้จักการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ 4. Collaboration การช่วยกันและร่วมมือกันในการทำงาน จากแนวคิดนี้ชี้ว่าสถานศึกษาต้องสร้างเครือข่ายในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกัน และกันเพื่อเป้าหมายเดี่ยวกันคือผลิตนิบัณฑิตให้มีคุณภาพตอบโจทย์ตลาดแรงงานทั้ง ภาครัฐและเอกชนถือเป็นความท้าทายของการปรับตัวของสถาบันอุดมศึกษาไทยภายใต้ยุค ฐานวิถีชีวิตใหม่ 9 ปราณี ชื่นอารมณ์, สถาบันอุดมศึกษาไทย : กับการปรับตัวภายใต้ยุคของชีวิตวิถีใหม่, กลุ่มงานประชาสัมพันธ์, สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.ops.go.th/th/main/index.php/news-service/newsexecutive/2756-2020-10-20-13-19-33 [3 พฤศจิกายน 2565].


1515 1.3.6 มหาวิทยาลัยยุคใหม่ต้องปรับตัวในการผลิตบัณฑิตอย่างไรในโลกยุคนี้ การสะท้อนแนวคิดของผู้ใช้บัณฑิตในภาคอุตสาหกรรม ด้วยคำถามมากมายว่า คำถามสำคัญที่องค์กรภาคธุรกิจตั้งคำถามต่อมหาวิทยาลัย ธีรศักดิ์ สงวนมานะศักดิ์ ผู้จัดการแผนกสรรหาและว่าจ้าง บริษัท เวสเทิร์นดิจิทัล (ประเทศไทย) จำกัด ให้ความเห็นในมุมของผู้ที่มีหน้าที่คัดสรรบุคลากรใหม่ให้กับภาคธุรกิจ และอุตสาหกรรมว่า ทักษะด้าน soft skill สำคัญมากสำหรับบัณฑิตใหม่ เช่น การสื่อสาร ภาษาอังกฤษ การเรียนรู้และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ การแก้ปัญหา ทำงานเป็นทีม เหล่านี้ เป็นทักษะที่นักศึกษาฝึกฝนตนเองได้ตลอด 4 ปีในมหาวิทยาลัยจากกระบวนการเรียนการ สอนแนวใหม่ และอาจจะเป็นทักษะที่ตลาดต้องการมากกว่า hard skill ในสายงานอาชีพ นั้น ๆ ด้วยซ้ำ โดยเฉพาะทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ อันธิกา ลิมปิอนันต์ชัย ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด เปิดประเด็นสะท้อนความจริงให้ความเห็นว่าสิ่งที่มหาวิทยาลัยต้อง ปรับตัว คือ ต้องรู้ความต้องการของตลาดงาน ทิศทางการเติบโตและวิวัฒนาการของอาชีพ ต่าง ๆ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก และการส่งเสริมกิจกรรมนอกหลักสูตรให้นักศึกษา ให้มากเพื่อฝึกฝนทักษะจำเป็นต่อการทำงาน เช่น จัดแข่งขันด้านการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ ใหม่ หรืองานนวัตกรรม ยุคนี้การสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกอื่นๆ ต้องเกิดขึ้น อย่างเข้มแข็ง หรือที่เรียกว่าต้องมี “Ecosystem” เป็นการสร้างโอกาสการเรียนรู้ของ นักศึกษากับภาคอุตสาหกรรมอย่างเป็นระบบ และมหาวิทยาลัยจะต้องเป็นเบ้าหลอมผลิต คนเก่ง คนที่มีคุณภาพ จากความคิดของผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมต่อการผลิตบัณฑิตของ มหาวิทยาลัยทั้งภาครัฐและเอกชนสะท้อนให้เห็นว่าผู้บริหารการศึกษาต้องพัฒนาภาวะผู้นำ การเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาเพื่อช่วยตอบโจทย์การสร้างและการพัฒนานักศึกษาตามนะ โยบายกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมตามอัตลักษณ์เฉพาะของ มหาวิทยาลัย จะเห็นว่าเมื่อวันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน 2564 นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) ได้ลงนามใน ประกาศกระทรวง การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เรื่อง การกำหนดให้สถาบันอุดมศึกษา สังกัด กลุ่มสถาบันอุดมศึกษาประจำปีงบประมาณ 2565 เมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2564 กระทรวงได้จัด กลุ่มไว้5 กลุ่มสถาบันอุดมศึกษาคือ10 10ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์, การปฏิรูปอุดมศึกษาและมหาวิทยาลัย พระพุทธศาสนา, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.mcu.ac.th/news/ detail/39626 [16 สิงหาคม 2565].


1616 กลุ่มที่ 1 กลุ่มพัฒนาการวิจัยระดับแนวหน้าของโลก จำนวน 16 แห่ง กลุ่มที่ 2 กลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม จำนวน 18 แห่ง กลุ่มที่ 3 กลุ่มพัฒนาชุมชนท้องถิ่นหรือชุมชนอื่น จำนวน 41 แห่ง กลุ่มที่ 4 กลุ่มพัฒนาปัญญาและคุณธรรมด้วยหลักศาสนา เดิมกลุ่มนี้ไม่มี ต่อมามี รายงานว่าให้มหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้ง 2 แห่งอยู่ในกลุ่มกลุ่มพัฒนาปัญญาและคุณธรรมตาม หลักศาสนา ในปีงบประมาณ 2566 กลุ่มที่ 5 กลุ่มผลิตและพัฒนาบุคลากรวิชาชีพและสาขาจำเพาะ จำนวน 7 แห่ง ซึ่งสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มได้ทาง website ใน Internet เพื่อพัฒนาภาวะผู้นำทาง การศึกษาให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงการศึกษาในโลกยุคปัจจุบันที่เน้นการจัดการศึกษา เฉพาะกลุ่มดังกล่าวแล้วในบริบทการพัฒนาประเทศ 1.4 แนวทางการพลิกโฉมระบบการศึกษาไทยใหม่ ผลสะท้อนจากสภาพการศึกษาไทยในสถานการณ์ดังกล่าวแล้วขอนำเสนอแนว ทางการพลิกโฉมการจัดการศึกษาไทยของศาสตราจารย์ดร.พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์สรุปเป็น ประเด็นที่น่าสนใจสำหรับภาวะผู้นำทางการศึกษาดังนี้11 มุมมองการบริหารแนวใหม่ 1. ด้านการคัดเลือกผู้บริหารเปลี่ยนการสรรหาคัดเลือกผู้บริหารโรงเรียนจาก ข้อเขียนมาเป็นการคัดเลือกจากผลงานดีเด่นเช่น นวัตกรรมการสอน การพัฒนานักเรียน แนวใหม่ เป็นต้น 2. ด้านวิสัยทัศน์การศึกษาควรเปลี่ยนวิสัยทัศน์ระบบการศึกษาอัจฉริยะที่เสริม ระบบธรรมชาติ โดยเน้นการสร้างนวัตกรรมธรรมชาติให้เป็นระบบธรรมชาติอัจฉริยะ 3. ด้านปรัชญาการศึกษาควรเปลี่ยนปรัชญาของระบบการศึกษาและการพัฒนา ประเทศใหม่ต้องเป็นชีวิตและโลกเป็นศูนย์กลางซึ่งเป็นการพัฒนาคนให้มีชีวิตที่มีคุณค่าต่อ เพื่อนมนุษย์และโลกสอดคล้องกับธรรมชาติแห่งชีวิตจริง 4. ด้านเป้าหมายการศึกษาต้องเปลี่ยนเป้าหมายของระบบการศึกษาจากการพัฒนา คนให้รู้หนังสือ (การศึกษา 1.0) มีความรู้ (การศึกษา 2.0) และสามารถสร้างความรู้ได้ (การศึกษา 3.0) เป็นการพัฒนาคนให้เป็นนวัตกร สามารถสร้างนวัตกรรม (การศึกษา 4.0) และใช้ชีวิตในสังคมหลังนวัตกรรมได้อย่างมีความสุขและมีคุณค่า (การศึกษา 5.0) 11พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์, การพลิกโฉมระบบการศึกษาเพื่อตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ, (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564), หน้า 22.


1717 5. เปลี่ยนแนวทางในการจัดระบบการศึกษาซึ่งเดิมมี การศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย ให้เป็น การศึกษาในระบบที่มีการยืดหยุ่นมากขึ้นเหมือนการศึกษานอก ระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้การศึกษาตลอดชีวิตมีพลวัตและมีความยืดหยุ่น มากขึ้น 6. เปลี่ยนระบบการบริหารโรงเรียน จากการบริหารราชการแบบเดิมมาเป็นพลวัต และฉับไวให้ครูอิสระมีความผิดชอบตามนโยบายที่ตกลงร่วมกันซึ่งได้เสนอมุมมองการ บริหารการศึกษาในอนาคตดังนี้ มุมมองการบริหารงานวิชาการ 1. เปลี่ยนแนวทางการในการจัดหลักสูตรโดยเน้นการศึกษาเพื่ออาชีพ เน้นการเรียน โดยการลงมือทำเพื่อให้ผู้เรียนสามารถปรับเรียนวิธีเรียนและวิธีใช้ชีวิตจริงตามความฝันและ ความต้องการของตนเองคาดหวัง 2. เปลี่ยนแนวทางการจัดการเรียนรู้ให้ได้ 4 แนวทางคือ การเรียนรู้ตลอดชีวิต การเรียนรู้อย่างลึกซึ้ง การเรียนรู้ในโลกกว้างและการเรียนรู้อย่างชาญฉลาด 3. เปลี่ยนสถานศึกษาหรือพลิกโฉมสถานศึกษาจากการเป็นแหล่งเรียนรู้ให้เป็น แหล่งสร้างสรรค์นวัตกร เพื่อให้ผู้เรียนไปสร้างนวัตกรรมตามเป้าหมายความถนัดของตนเอง และประเทศต้องการต่อไป 4. เปลี่ยนบทบาทของนักเรียนจากเป็นผู้เรียนตามแผนการสอนของครูมาเป็นผู้วาง แผนการเรียนร่วมกันกับครู 5. เปลี่ยนการประเมินผลการประเมินการเรียนของนักเรียนจากการประเมินความรู้ มาเป็นการประเมินสมรรถนะในการนำความรู้ไปใช้ในการดำเนินชีวิตจริงและการสร้างสรรค์ มุมมองการบริหารงานบุคคล 1. เปลี่ยนแนวทางการพัฒนาบุคลากรจากการเพิ่มเติมความรู้และทักษะเป็นการ พัฒนาสมรรถนะในการพลิกโฉมการจัดการเรียนการสอนยกระดับคุณภาพนักเรียน 2. เปลี่ยนบทบาทของครู จากเป็นผู้สอนมาเป็นนำการเปลี่ยนแปลงชีวิตนักเรียนให้ เป็นผู้นำรุ่นใหม่ 3. เปลี่ยนการประเมินผลงานครูจากการใช้ปริมาณและคุณภาพภาพงานครูมาเป็น การสร้างความก้าวหน้าด้านผลลัพธ์การเรียนรู้และผลการสร้างนวัตกรรมพัฒนานักเรียน และสังคม มุมมองด้านงบประมาณ เปลี่ยนการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายด้านการศึกษาจากแบบ Project Based โดยการรวมเงินไว้ที่ส่วนกลางหรือเขตพื้นการศึกษา มาเป็นแบบ School Based โดยจัด เงินลงที่โรงเรียนโดยตรง


1818 ดังนั้น ภาวะผู้นำของผู้บริหารการศึกษาในสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทาง การศึกษาควรต้องตระหนักถึงแนวคิดการพลิกโฉมการจัดการศึกษาเพื่อตอบโจทย์การพัฒนา ประเทศตามนโยบายการดำเนินงานกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งมีแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579 (20 ปี) ที่ได้วางกรอบเป้าหมายและทิศทางการจัดการศึกษาของประเทศ โดยมุ่งจัดการศึกษาให้คน ไทยทุกคนสามารถเข้าถึงโอกาสและความเสมอภาคในการศึกษาที่มีคุณภาพ พัฒนาระบบ การบริหารจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ พัฒนากำลังคนให้มีสมรรถนะในการทำงานให้ สอดคล้องกับความต้องการของตลาดงานและการพัฒนาประเทศ โดยเน้นการเพิ่มพัฒนา ทักษะความสามารถให้สูงขึ้น 1.5 ภาวะผู้นำต้องปรับเปลี่ยนการบริหารการศึกษายุคนี้ การปรับตัวของภาวะผู้นำทางการศึกษาต้องตอบคำถามว่า มองหาจุดแข้งของ ตนเองพบแล้วหรือยัง เพื่อเตรียมความพร้อมในการนำองค์การสถานศึกษาไปสู่จุด การเปลี่ยนแปลงหลากหลายมิติในโลกปัจจุบันและอนาคตโดยเฉพาระการศึกษาในยุค ประเทศไทย 4.0 และโลกยุคดิจิทัลที่มีการสื่อสารที่รวดเร็วและสะดวกมากขึ้นดังนี้ 1) การพัฒนาตนเองให้มีความพร้อมตามกรอบใหม่ในศตวรรษที่ 21 เพื่อเพิ่ม ทักษะการบริหารการศึกษาในด้าน การบริหารคน และการบริหารงานไปสู่คุณภาพการ เปลี่ยนแปลงทางการศึกษาของกระแสโลกในปัจจุบันและอนาคต 2) การปรับวิสัยทัศน์การบริหารการศึกษาให้สามารถก้าวล้ำการเปลี่ยนแปลงทาง การศึกษาอย่างมีคุณภาพ 3) สร้างวัฒนธรรมใหม่ที่เชื่อมโยงการขับเคลื่อนวิสัยทัศน์ไปสู่เป้าหมายการบริหาร การศึกษาในยุคศตวรรษที่ 21 และการศึกษา 4.0 (สร้างนวัตกรรม) ไปให้ถึงการศึกษา 5.0 (ความสุข) 4) การสร้างเครือข่ายในองค์การบริหารการศึกษาทั้งในระดับชาติและนานาชาติ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน 5) ความสามารถของผู้บริหารและองค์การในการใช้เทคโนโลยีสำหรับการบริหาร การศึกษาโดยการสื่อสารผ่านระบบดิจิทัล 6) การอนุรักษ์วัฒนธรรมและประเพณีขององค์การในการปฏิบัติงานร่วมกันอย่าง สังคมกัลยาณมิตร 7) หลักการบริหารที่ทรงพลังสูงคือการบริหารการศึกษาแบบใช้หลัก “บวร” คือ การร่วมมือกับทางบ้าน ชุมชน ผู้ปกครอง (บ) วัดเป็นแหล่งความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และ


1919 หลักพระพุทธศาสนา (ว) และโรงเรียนเครือข่าย ในการแบ่งปัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกัน และกัน (ร) เรียกว่า การบริหารการศึกษาแบบมีส่วนร่วมโดยใช้ทุนทางสังคม นอกจากนั้น เอ็ดการ์และปีเตอร์ (Edar H.Schein and Peter A.Schein) เรียบเรียงโดย กิตติกานต์ อิศระ ได้เสนอแนวคิดในหนังสือ “อ่อนน้อมถ่อมตน พลังของ ผู้นำยุคใหม่” ในเรื่องการเป็นผู้นำที่อ่อนน้อมถ่อมตนและอนาคตที่มีแนวโน้ม สร้าง ผลกระทบต่อชีวิตในการทำงานในอนาคต 6 วิธี12 คือ 1. บริบทความเชียวชาญของผู้นำอาจลดลงบางส่วนเนื่องจากผลกระทบที่เพิ่มขึ้น ของเอไอ (AI) 2. ผู้นำจะสร้างสัมพันธ์กับกลุ่มความหลากหลายทางวัฒนธรรม 3. การกระจายอำนาจในการบริหารงานจะมีความท้าทายมากขึ้น 4. การปรับตัวให้เหมาะสมเพื่อการทำงานร่วมกันได้มากขึ้น กับพนักงาน ผู้มีส่วน ได้เสีย และลูกค้า 5. การออกแบบองค์กรแบบพลวัตจำเป็นมากเพราะในอนาคตจะต้องมุ่งเป้าหมาย ไปที่การเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอมากขึ้นที่องค์กรต้องเรียนรู้ที่จะรับมือกับเรื่องนี้อย่างแน่นอน 6. ผู้นำต้องมีสถานะทั้งตัวตนจริง ๆ กับตัวเสมือนจริงในปัจจุบันเมื่อองค์กร ขยายตัวไปทั่วโลกมากขึ้น ดังนั้นการปรากฏตัวของผู้นำแต่ละครั้งมีผลต่อการตัดสินใจสูง มากในการบริหารงาน สรุปได้ว่าภาวะผู้นำต้องปรับเปลี่ยนการบริหารการศึกษายุคนี้บนพื้นฐานความคิด และความต้องการพัฒนาการศึกษาในยุคศตวรรษที่ 21 และประเทศไทย 4.0 เพื่อผลิต บัณฑิตให้เป็นนวัตกรไปช่วยสร้างนวัตกรรมตามความถนัดในแต่ละมหาวิทยาลัยต่อไป 1.5.1 กรณีการพลิกโฉมมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยสู่การพัฒนา ปัญญาและคุณธรรมด้วยหลักศาสนา เนื่องในครบรอบ 135 ปี ใน วันที่13 กันยายน 2565 ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลง กรณราชวิทยาลัย ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้กล่าวถึงการปฏิรูปอุดมศึกษาและ มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาดังนี้ 1. มหาวิทยาลัยที่อยู่ "นอกมหาวิทยาลัย เช่น ที่วัด ที่ชุมชน ที่โรงงาน ที่ภาคธุรกิจ มีความสำคัญมากเพราะจะได้เรียนรู้จากการปฏิบัติซึ่งเป็นความรู้ที่แท้จริงมหาวิทยาลัยต้อง ร่วมมือกับความรู้นอกมหาวิทยาลัย 12Edar H.Schein and Peter A.Schein, (เขียน) กิตติกานต์ อิศระ(เรียบเรียง), อ่อนน้อม ถ่อมตน พลังของผู้นำยุคใหม่, (กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด, 2562), หน้า127


2020 2. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยควรจะสร้างหลักสูตรจากจุดแข็งของ เราที่เป็นเมืองพุทธ เช่น การสร้างหลักสูตรสังคมศาสตร์แบบพุทธ บริหารธุรกิจแบบพุทธ, รัฐศาสตร์แบบพุทธเพื่อสร้างคนเก่ง ที่เป็นคนดีด้วย 3. การปฏิรูป "อุดมศึกษาและมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนา" ด้วยหลักสูตร Sandbox จะเป็นจุดเปลี่ยนของประเทศจะทำให้อุดมศึกษา และ มหาวิทยาลัย พระพุทธศาสนาสามารถสร้างคนให้มีคุณภาพได้จำนวนมากอย่างรวดเร็ว 4. เราต้องสอนธรรมะ แบบพลิกแพลงให้สอดคล้องกับโลกยุคใหม่จำเป็นต้องเป็น ศาสตราจารย์ ดอกเตอร์ มาสอน แต่ควรร่วมกับพระป่า พระบ้าน ภิกษุณี ที่สอนเก่ง ๆ ไม่ว่า จะเถรวาท มหายานสามารถมาเป็นอาจารย์ได้ และขอตำแหน่งทางวิชาการได้ไม่จำเป็นต้อง ทำเอกสารวิชาการSandbox ทำเรื่องนี้ได้ 5. มหาวิทยาลัยแนวพุทธต้องส่งออก (Export) ความรู้วิธีพุทธให้โลกได้รับรู้ เป็นความรู้ที่โลกกำลังต้องการ 6. หลักสูตร Sandbox โดยใช้สมรรถนะ หรือความสามารถของผู้เรียนแทนเวลา เรียนได้ เพื่อย่นระยะเวลาการเรียนสามารถข้ามวิชาพื้นฐาน และไปเรียนความรู้ขั้นสูงเพื่อ ผลิตคนที่มีคุณภาพได้ทันตามเวลาตามความต้องการของประเท 7. โลกเปลี่ยนไปมาก อุดมศึกษาต้องปฏิรูป มหาวิทยาลัยจึงจะตามทัน ไม่ตกงาน คนยังอยากจะหาความรู้ปัจจุบันมีทางเลือกและโอกาสที่อยู่ภายนอกมหาวิทยาลัย ให้ได้ เรียนมากมายกระทรวงอว.จึงต้องปฏิรูปอุดมศึกษาของไทยให้ทันกับความต้องการของโลก 8. อยากเสนอให้มีหลักสูตร "Soft Power" เพราะเป็นจุดขายของประเทศไทยมี ความน่าเชื่อถือ ได้รับการยอมรับในเรื่อง มรดกวัฒนธรรมประเทศไทย เป็นประเทศยอด เยี่ยมอันดับที่ 5 ของโลกที่มีอิทธิพลด้านมรดกวัฒนธรรม เป็นรองแค่ อิตาลี กรีซ สเปน และ อินเดีย ซึ่งสอดคล้องกับรองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา กล่าวตอนท้ายว่า ในแผนพัฒนาอุดมศึกษามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2565-2569) มหาวิทยาลัยจึงกำหนดวิสัยทัศน์ไว้ว่า “มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนา ที่สร้าง พุทธนวัตกรรม เพื่อพัฒนาจิตใจและสังคม” (Buddhist university with Buddhist innovation for Mental and social Development) ดังที่พระพรหมบัณฑิต อุปนายก สภามหาวิทยาลัยได้สรุปนวลักษณ์ 9 ประการให้ง่ายต่อการพัฒนานิสิต ดังนี้ มีสมรรถภาพ (เก่ง) คือ ปัญญา มีคุณภาพ (ดี) คือคุณธรรม และมีสุขภาพ (มีสุข) คือ เก่ง ดี มีสุข ด้วยหลักปัญญาในทางพระพุทธศาสนา


2121 ศ.นพ. สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม ได้กล่าวในการบรรยายเรื่อง "พลิกโฉมมหาจุฬาสู่การตอบโจทย์ปัญญาและ คุณธรรม" เสนอประเด็นสำคัญดังนี้13 1. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยได้ขับเคลื่อนตามบทบาทในกลุ่มของ มหาวิทยาลัยสำหรับการพัฒนาประเทศด้วยการสร้างกำลังคน มิติของจิตใจรวมถึงนวัตกรรม ต่าง ๆ มหาจุฬาฯ ถือว่าเป็นสถาบันที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง 2. การศึกษาสู่การพัฒนาประเทศภายใต้สร้างคนสร้างความรู้สู่การพัฒนาประเทศ และหลักคิดการพัฒนาประเทศผ่านศาสตร์ต่าง ๆ มีความหลากหลายโดยมองวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีด้วยการนำมีศาสตร์อื่น ๆ มากำกับด้วย เช่น สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ รวมถึงคุณธรรมจริยธรรม 3. การพัฒนาประเทศ จึงต้องความหลากหลายของคนในสังคม โดยสถาบัน อุดมศึกษาจะต้องสร้างความโดดเด่นของตนเองภายใต้กลุ่มมหาวิทยาลัย พร้อมขับเคลื่อน กลุ่มอย่างเป็นรูปธรรม ภายใต้มาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา ให้มีการจัด กลุ่มสถาบัน เพื่อความโดดเด่นและความเลิศ โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อยู่ในกลุ่มการพัฒนาปัญญาและคุณธรรมด้วยหลักศาสนา 4. การพัฒนาประเทศ โดยให้ความสำคัญกับการวิจัยและสร้างนวัตกรรมโดยยึด หลักคุณธรรม ซึ่งปัจจุบันมีผลงานด้านศาสนาในการขอตำแหน่งทางวิชาการ โดยมีพระครู ปลัดปัญญาวรวัฒน์ ศ.ดร (พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส). เป็นพระสงฆ์ในมหาจุฬาฯมาช่วย อว. ขับเคลื่อนอย่างเป็นระบบ โดยทุกมหาวิทยาลัยจะต้องใช้จุดแข็งของตนเองในการ ขับเคลื่อนสู่สังคม โดยเฉพาะมหาจุฬาฯจะต้องเป็นฐานการพัฒนาประเทศให้มีคุณธรรม เพราะศาสนาเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไป “ปลัด อว." ยก "ม.สงฆ์ มจร" เป็นฐาน พัฒนาประเทศให้มีคุณธรรม ควบคู่ ศาสตร์สมัยใหม่” สรุปได้ว่าจากข้อมูลข้างต้นสะท้อนให้เห็นสภาพการจัดการศึกษาจะต้องปรับตัวของ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนผ่านทางการศึกษาโดยมุ่งสร้างคุณลักษณะภาวะผู้นำที่พึงประสงค์ แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อยกระดับภาวะผู้นำในการพัฒนาตน คน งานและสามารถบูรณาการความรู้ความสามารถกับพุทธธรรมให้ปฏิบัติงานได้อย่างมี ความสุข 13ศ.นพ. สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล, พลิกโฉมมหาจุฬาสู่การตอบโจทย์ปัญญาและคุณธรรม, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.banmuang.co.th/news/education/268756 [4 พฤศจิกายน 2565].


2222 สำหรับหนังสือเล่มนี้ ผู้เรียบเรียงจึงได้เสนอแนวคิดและแนวทางการพัฒนาภาวะ ผู้นำการเปลี่ยนผ่านทางการศึกษาตามพุทธวิถีใหม่ด้วยการวิเคราะห์และสังเคราะห์แนวคิด ทฤษฎี บริบทประเทศไทย 4.0 การศึกษาในยุคศตวรรษที่ 21 แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 และหลักพุทธธรรมเพื่อสร้างและพัฒนานวัตกรรมเพิ่มคุณภาพภาวะผู้นำการ เปลี่ยนแปลงทางการศึกษาตามพุทธวิถีใหม่ซึ่งมีเนื้อหาแต่ละบทดังนี้ บทที่ 1 บทนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับการศึกษาในยุคประเทศไทย 1.0-4.0 การศึกษา ในยุคการพลิกผัน (Disruption) บทที่ 2 คุณลักษณะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นในยุคนี้ บทที่ 3 ภาวะผู้นำการคิดสร้างสรรค์ตามพุทธวิถีใหม่ บทที่ 4 การพัฒนาทักษะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง บทที่ 5 การยกระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา บทที่ 6 การบูรณาการภาวะผู้นำและการนำเสนอ สรุป ภาวะผู้นำการเปลี่ยนผ่านทางการศึกษาในยุคนี้ต้องเรียนรู้ ต้องปรับวิสัยทัศน์ ให้ก้าวทันสถานการณ์การศึกษายุคพลิกผัน (Disruption) ภาวะผู้นำที่เก่งต้องมีคุณลักษณะ ที่พึงประสงค์ในยุคนี้ในการพัฒนาตน องค์กรและการบริหารงานไปสู่ความสำเร็จเพื่อ ปรับตัวให้ทันการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาในอนาคต และแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำ เปลี่ยนผ่านทางการศึกษาในปัจจุบันนี้ต้องพึ่งพาฐานความรู้ในบริบทความต้องการพัฒนา ประเทศและโลกในยุคศตวรรษที่ 21 และผู้นำทางการศึกษาที่มีความรู้ ทักษะความสามารถ เฉพาะทางสูงขึ้น


2323 เอกสารอ้างอ้าง ชัชวาล โอสถานนท์. การปรับตัวของมหาวิทยาลัยเพื่อตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงในยุค Disruption. กรุงเทพมหานคร: กองบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล, 2563. พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์. การพลิกโฉมระบบการศึกษาเพื่อตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564. ไพฑูรย์ สินลารัตน์และคณะ, การศึกษา4.0เป็นยิ่งกว่าการศึกษา, กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561 วิจารณ์ พานิชและ. ปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร,การศึกษาคุณภาพสูงระดับโลก.กรุงเทพมหานคร: เอส.อาร์.พริ้นติ้งแมสโปรดักส์, 2563. (2) เว็บไซต์ : ชุลีพร อร่ามเนตร. แนวทางปรับตัว มบส. ตอบโจทย์ยุคศตวรรษที่21. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.komchadluek.net/kom-lifestyle/418892 [6 สิงหาคม 2565]. ธเนศน์ นุ่นมัน [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.bu.ac.th/th/bu-magazine/view/ 257. [9 สิงหาคม 2564]. ธราธร รัตนนฤมิตศร ประกาย ธีระวัฒนากุล. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www. bangkokbiznews.com/blog/detail/647760 [10 สิงหาคม 2564]. ปรัชญา ชุ่มนาเขียว. รูปแบบหลักสูตรตอบคนทุกGEN หนทางรอดมหาวิทยาลัยยุคใหม่. [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.newsplus.co.th/around-town/ 32407/ [6 สิงหาคม 2565]. ปราณี ชื่นอารมณ์, สถาบันอุดมศึกษาไทย : กับการปรับตัวภายใต้ยุคของชีวิตวิถีใหม่, กลุ่มงานประชาสัมพันธ์, สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.ops.go.th/th/main /index.php/news-service/news-executive/2756-2020-10-20-13-19-33 [3 พฤศจิกายน 2565]. ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์, การปฏิรูปอุดมศึกษาและมหาวิทยาลัย พระพุทธศาสนา, [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.mcu.ac.th/news/ detail/39626 [16 สิงหาคม 2565].


2424 ศ.นพ. สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล. พลิกโฉมมหาจุฬาสู่การตอบโจทย์ปัญญาและคุณธรรม. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.banmuang.co.th/news/education/ 268756 [4 พฤศจิกายน 2565]. ธิติ ธีระเธียร, Digital Disruption กับครูไทยในศตวรรษที่ 21, เตรียมพร้อมและ เปลี่ยนแปลงก่อนถูกแทนที่ อ่านหนังสือ เรื่อง "การจัดการเรียนรู้ในยุค Disruptive Innovation" เขียนโดย รองศาสตราจารย์ ดร.วิชัย วงษ์ใหญ่ และ รองศาสตราจารย์ ดร.มารุต พัฒผล, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.starfishlabz.com/ [9 สิงหาคม 2564] 2. ภาษาอังกฤษ Daft R.L. Essentials of Organization Theory and Design. Cincinnati. Ohio : South–Western College Publishing. 1998 p. 355. อ้างใน สัมมนา รธนิธย์. รศ.ดร. ภาวะผู้นำของผู้บริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ข้าวฟ่าง, 2556. Edar H.Schein and Peter A.Schein. (เขียน) กิตติกานต์ อิศระ(เรียบเรียง). อ่อนน้อม ถ่อมตน พลังของผู้นำยุคใหม่. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด, 2562. Linda A. Hill & Nina A. Bowman ผู้เขียน. ณัฐยา สินตระการผล (แปล) วีรวุธ มาฆะศิรา นนท์ผู้เรียบเรียง.พิมพ์กรีน ไลฟ์ พริ้นติ้ง เฮาส์, 2563.. Nanus. B Visionary Leadership:Creating a Compelling Sense of Directing for Your Organization. San Francisco. CA : Jossey-Bass.1992. p.96. อ้างใน สัมมนา รธนิธย์. รศ.ดร. ภาวะผู้นำของผู้บริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ข้าวฟ่าง, 2556.


บทที่ 2 คุณลักษณะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นในยุคประเทศไทย 4.0 คุณลักษณะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นในยุคประเทศไทย 4.0 นี้ต้องเป็น คุณลักษณะผู้นำที่มีความคิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ และสร้างแนวคิดใหม่ ๆ ซึ่งความคิด สร้างสรรค์อาจเกิดจากความคิดที่มีอยู่แล้ว และนำไปต่อยอดหรือสร้างสิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีเลย จากสิ่งที่มีอยู่แล้ว ซึ่งเสนอเนื้อหาดังนี้ 2.1 คุณลักษณะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นในยุคประเทศไทย 4.0 2.2 คุณลักษณะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา 2.3 คุณลักษณะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริง 2.4 คุณลักษณะภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล 2.5 คุณลักษณะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาตามพุทธวิถีใหม่ 2.1 คุณลักษณะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นในยุคประเทศไทย 4.0 สุวิทย์ เมษินทรีย์ กล่าวว่า Thailand 4.0 คือ โมเดลในการขับเคลื่อนประเทศไปสู่ เป้าหมาย "มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน" ตามแนวคิดของคสช. ให้เกิดผลออกมาเป็นรูปธรรม เนื่องจากขณะนี้โลกเปลี่ยนไปแล้ว ประเทศไทยจึงต้องเปลี่ยนตาม สุวิทย์ เมษินทรีย์1 กล่าวว่า “Thailand 4.0” เป็นการผลักดันการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ การปฏิรูป การสร้างองค์ความรู้ผ่านระบบการวิจัยและการพัฒนา และการปฏิรูปคนและการศึกษา ไปพร้อม ๆ กัน “ไทยแลนด์ 4.0” เมื่อนำแนวคิดมาถอดรหัสออกมาเป็น 2 ยุทธศาสตร์หลัก จะดำเนินการได้โดยผ่าน 3 กลไกสำคัญ คือ 1. การขับเคลื่อนประเทศด้วยนวัตกรรม ปัญญา เทคโนโลยี และความคิด สร้างสรรค์ เพื่อแข่งขันได้ในเวทีโลก (Competitive Growth Engine) เปลี่ยนจากการทำมากได้น้อย เป็นทำน้อยได้มาก โดยการเติมเต็มปัญญา เทคโนโลยีและความคิดสร้างสรรค์ เพื่อไปสู่ เศรษฐกิจ ที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม (Innovation Driven Economy) 1 สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, “Start up Thailand 4.0,” วารสาร ไทยคู่ฟ้า. (24 กันยายน 2559): 7. บทที่ 2 คุณลักษณะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นในยุคประเทศไทย 4.0 คุณลักษณะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นในยุคประเทศไทย 4.0 นี้ต้องเป็น คุณลักษณะผู้นำที่มีความคิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ และสร้างแนวคิดใหม่ ๆ ซึ่งความคิด สร้างสรรค์อาจเกิดจากความคิดที่มีอยู่แล้ว และนำไปต่อยอดหรือสร้างสิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีเลย จากสิ่งที่มีอยู่แล้ว ซึ่งเสนอเนื้อหาดังนี้ 2.1 คุณลักษณะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นในยุคประเทศไทย 4.0 2.2 คุณลักษณะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา 2.3 คุณลักษณะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริง 2.4 คุณลักษณะภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล 2.5 คุณลักษณะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาตามพุทธวิถีใหม่ 2.1 คุณลักษณะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นในยุคประเทศไทย 4.0 สุวิทย์ เมษินทรีย์ กล่าวว่า Thailand 4.0 คือ โมเดลในการขับเคลื่อนประเทศไปสู่ เป้าหมาย "มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน" ตามแนวคิดของคสช. ให้เกิดผลออกมาเป็นรูปธรรม เนื่องจากขณะนี้โลกเปลี่ยนไปแล้ว ประเทศไทยจึงต้องเปลี่ยนตาม สุวิทย์ เมษินทรีย์1 กล่าวว่า “Thailand 4.0” เป็นการผลักดันการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ การปฏิรูป การสร้างองค์ความรู้ผ่านระบบการวิจัยและการพัฒนา และการปฏิรูปคนและการศึกษา ไปพร้อม ๆ กัน “ไทยแลนด์ 4.0” เมื่อนำแนวคิดมาถอดรหัสออกมาเป็น 2 ยุทธศาสตร์หลัก จะดำเนินการได้โดยผ่าน 3 กลไกสำคัญ คือ 1. การขับเคลื่อนประเทศด้วยนวัตกรรม ปัญญา เทคโนโลยี และความคิด สร้างสรรค์ เพื่อแข่งขันได้ในเวทีโลก (Competitive Growth Engine) เปลี่ยนจากการทำมากได้น้อย เป็นทำน้อยได้มาก โดยการเติมเต็มปัญญา เทคโนโลยีและความคิดสร้างสรรค์ เพื่อไปสู่ เศรษฐกิจ ที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม (Innovation Driven Economy) 1 สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, “Start up Thailand 4.0,” วารสาร ไทยคู่ฟ้า. (24 กันยายน 2559): 7.


26 26 2. การกระจายรายได้ โอกาส และ ความมั่งคั่งอย่างเท่าเทียม (Inclusive Growth Engine) เปลี่ยนจากการรวยกระจุก ต้องทำให้ความมั่งคั่งที่เพิ่มขึ้นเกิดการกระจายตัว เพื่อ ไปสู่ “สังคมที่ไม่ทอดทิ้งกัน” (Inclusive Society) 3. การพัฒนาและใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Growth Engine) เปลี่ยนจาก การพัฒนาที่ไม่สมดุล เป็นการพัฒนาที่สมดุล เพื่อตอบโจทย์การพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งนายกฯกำลังผลักดันเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน หรือ Sustainable Development Goals (SDG) ผ่านแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 122 เมื่อนำแนวคิดการศึกษาไทยเริ่มการศึกษา 1.0-4.0 มาศึกษาจะเห็นภาพรวมของ การศึกษาไทยตามลำดับเริ่มตั้งแต่การศึกษาไทย 1.0 เน้นการศึกษาแบบพึ่งตนเองการศึกษา ก็อยู่กับเกษตรกรรมหนัก การศึกษาไทย 2.0 คือ การศึกษาไทยที่อยู่บนพื้นฐานของ อุตสาหกรรมเบาเป็นการศึกษาเพื่อระบบอุตสาหกรรมเริ่มขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 หลักสำคัญ คือการศึกษาเพื่อชุมชนของคน โดยการแบ่งงานกันทำเป็นส่วน ๆ ต่างคนต่างทำของตนเอง ให้ดีที่สุดเราจะเห็นทักษะนี้ในปัจจุบันก็ยังมีมากอยู่ การศึกษาไทย 3.0 คือ การศึกษาไทย ในยุคเทคโนโลยี ยุคโลกาภิวัตน์ แต่ยุคโลกาภิวัตน์ในขณะนี้ เป็น Post globalization เน้นทักษะการติดต่อสื่อสารทางเทคโนโลยีเป็นหลัก คนจะเปลี่ยนไปในลักษณะของการ ช่วยตัวเองมากขึ้น แต่การศึกษาไทย 4.0 คือ การศึกษายุคผลิตภาพ ยุคที่ต้องการผลผลิต (Products) ให้ได้มากที่สุดเพื่อ ประโยชน์ของชุมชนตนเองและชุมชนอื่น ๆ ด้วย ทักษะของ การศึกษาจึงจะต้อง เน้นการทำได้ เมื่อลงมือทำแล้วก็จะได้ออกมาเป็นผลผลิต3 จากแนวคิดการศึกษาประเทศไทย 1.0-4.0 ชี้ชัดว่าคุณลักษณะภาวะผู้นำการ เปลี่ยนแปลงทางการศึกษาให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นต้องมีคุณสมบัติที่เป็นองค์ประกอบของภาวะ ผู้นำทางการศึกษาดังนี้ 1. ปรับวิสัยทัศน์การจัดการศึกษา 2. พัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา 3. เรียนรู้การใช้เทคโนโลยีในการสื่อสาร 4. การสร้างนวัตกรรมสำหรับการบริหารจัดการศึกษา 5. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เป็นเครื่องมือกระตุ้นการคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรมและการวิจัย 2 สุวิทย์ เมษินทรีย์, โลกเปลี่ยน ไทยปรับ, (กรุงเทพมหานคร: กรุงเทพธุรกิจ, 2559), หน้า3. 3 ไพฑูรย์ สินลารัตน์, การศึกษา 4.0 เป็นยิ่งกว่าการศึกษา, พิมพ์ครั้งที่ 5, (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561), หน้า 57-58.


27 27 6. ฝึกทักษะการคิดเชิงผลิตภาพด้วยการลงมือปฏิบัติให้สะท้อนการนำความรู้ไป การปฏิบัติในขณะที่ ไพฑูรย์ สินลารัตน์4 ได้กล่าวถึงคุณลักษณะของคนที่มีความคิดเชิงผลิต ภาพในยุคการศึกษา 4.0 ดังนี้ 1. เป็นคนช่างสังเกตในการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี 2. คิดต่อเนื่องในการนำไปเชื่อมโยมความรู้กับการปฏิบัติ 3. มองเห็นแนวทางปฏิบัตินำไปสู่การพัฒนา ต่อยอดและปรับปรุงได้เสมอ 4. มองเชื่อมโยงกับผลผลิต 5. คิดและทำด้วยพร้อมกันไป 6. มุ่งทำให้เสร็จ คิดให้ตลอด 7. พร้อมรับการทดสอบ/การประเมินและการตำหนิ จากแนวคิดดังกล่าวสามารถนำไปพัฒนาคุณลักษณะภาวะผู้นำทางการศึกษาได้ ดังนี้ 1. มีทักษะในการเรียนรู้ได้รวดเร็ว 2. สามารถนำความรู้เดิมมาเชื่อมโยงกับความใหม่ 3. สามารถนำความรู้ไปสร้างและพัฒนาตามความถนัดของตน 4. ยอมรับการประเมินและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งคุณลักษณะภาวะผู้นำ 2.1.1 ชุดความรู้เกี่ยวกับคุณลักษณะภาวะผู้นำการเปลี่ยนทางการศึกษาใน ศตวรรษที่21 การเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาได้มีนักวิชาการได้เสนอแนวคิดบนพื้นฐานความคิด ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งจัดอยู่บริบทการพัฒนาคุณลักษณะภาวะผู้นำทางการศึกษายุคประเทศ ไทย 4.0 เมื่อจัดกลุ่มแต่ละชุดได้นี้ ชุดคุณลักษณะภาวะผู้นำทางการศึกษาในศตวรรษที่ 21 การพัฒนาทักษะคุณลักษณะภาวะผู้นำทางการศึกษาในศตวรรษที่ 21 โดยมี หลักการพัฒนาทักษะคุณลักษณะภาวะผู้นำ 8Cs ซึ่งประกอบด้วย 1. ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) 2. ทักษะในการแก้ปัญหา (Problem Solving) 3. ทักษะด้านการสร้างสรรค์และนวัตกรรม (Creativity and Innovation) 4. ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์ (Cross – Cultural Understanding) 4 เรื่องเดียวกัน, หน้า 29.


28 28 5. ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ (Collaboration, Teamwork and Leadership) 6. ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และการรู้เท่าทันสื่อ (Communications, Information and Media Literacy) 7. ทักษะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Computing and ICT Literacy) 8. ทักษะอาชีพและทักษะการเรียนรู้(Career and Learning Skills) และความมี เมตตา กรุณา มีวินัย คุณธรรม จริยธรรม (Compassion) 5 จากแนวคิดการพัฒนาทักษะภาวะผู้นำทางการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ทุกข้อมี ความสำคัญโดยเฉพาะในโลกใหม่ทักษะที่มองเห็นชัด คือ 1. ทักษะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Computing and ICT Literacy) 2. ทักษะด้านการสร้างสรรค์และนวัตกรรม (Creativity and Innovation) 3. ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และ ทักษะในการแก้ปัญหา (Critical Thinking and Problem Solving) 4. ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ (Collaboration, Teamwork and Leadership) สำหรับผู้เขียนเห็นข้อ 4 เป็นทักษะที่จำเป็นมากเพราะ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนทางการศึกษาจะบรรลุเป้าหมายการบริหารการศึกษาได้ต้องได้รับ ความร่วมมือจากองค์กรทุกฝ่ายเป็นอย่างดี ชุดคุณลักษณะภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21 คุณลักษณะภาวะผู้บริหารในศตวรรษที่ 21 ที่ต้องทำงานเพื่อให้มีความมั่นใจได้ว่า ตนเองทำหน้าที่เป็นผู้นำ โดยภาวะผู้นำสถานศึกษาต้องมีความเข้าใจในเนื้อหาเชิงวิชาการ การประเมินผล และเทคนิค การสอน เสริมสร้างทักษะร่วมกับครู วิเคราะห์และใช้ข้อมูล เพื่อประกอบการตัดสินใจ ผู้บริหารจะถูกคาดหวังให้ทำงานร่วมกับทุกฝ่ายอย่างมั่นใจว่า ผู้บริหารต้องสร้างแรงบันดาลใจยอมรับการเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ ในปัจจุบันสถานการณ์โลกเกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ภาวะผู้นำต้องมี การปรับเปลี่ยนพัฒนา กระบวนทัศน์ มุมมองและทัศนคติให้ทัน6 ดังนี้ 5 สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, แผนอุดมศึกษาระยะยาว 20 ปี (พ.ศ. 2561- 2580), สํานักสํานักนโยบายและแผนการอุดมศึกษา, 2561, หน้า 114-115. 6 วิโรจน์ สารรัตนะ, นวัตกรรมกับกระบวนทัศน์การศึกษาศตวรรษที่ 21, (ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2559), หน้า 8.


29 29 1) ทันสมัย มองอนาคตอย่างมีวิสัยทัศน์ 2) มีสัมพันธภาพ สร้างมิตรภาพที่เข้มแข็งและยั่งยืน 3) การปรับตัวตอบสนองความไม่แน่นอนได้รวดเร็ว 4) มุ่งมั่นและ จัดการความขัดแย้งอย่างเป็นระบบ 5) สร้างแรงบันดาลใจใช้การจูงใจ 6) ทะเยอทะยาน มุ่งสร้าง ความสำเร็จ 7) โปร่งใสสร้างความไว้วางใจ 8) เป็นพี่เลี้ยงมากกว่าการสอน 9) ซื่อสัตย์ 10) มีความรับผิดชอบ ในขณะที่ เจริญ ภูวิจิตร์7 ได้กล่าวว่าคุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษาในประชาคม อาเซียนแห่งศตวรรษที่ 21 ดังต่อไปนี้ 1. มีบุคลิกลักษณะที่เป็นตัวของตัวเอง แสดงออกชัดเจนเปิดเผย และมีความเป็น อิสระ ในการบริหาร และมีประสิทธิภาพการจัดการสถานศึกษา 2. มีความเป็นผู้นำ กล้าหาญในเชิงคุณธรรมจริยธรรมเพื่อการเปลี่ยนแปลง 3. มีความซื่อสัตย์และคุณธรรมสูง รักและเอาใจใส่ต่อนักเรียนอย่างแท้จริง 4. มีความสามารถในการสื่อสาร คล่องแคล่วในทักษะการเขียนและการพูดภาษา อังกฤษ 5. สามารถบังคับใช้กฎหมาย ระเบียบ สร้างความรับผิดชอบในการทำงานด้วย ความยุติธรรม 6. มีความรู้ความสามารถทางการบริหารจัดการและด้านสังคม 7. มีความรู้ความเข้าใจในหลักปรัชญาทางการศึกษา 8. มีความสามารถในการกำหนดระบบการบริหารจัดการโดยใช้สถานศึกษาเป็น ฐานอย่าง สร้างสรรค์ 9. สามารถเข้าถึงความต้องการของครูผู้สอนเพื่อช่วยให้นักเรียนประสบความสำเร็จ ในการเรียน 10. มีความเป็นผู้นำมุ่งมั่นสร้างโอกาสในการมีส่วนร่วมของครูบุคลากร นักเรียน ชุมชน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและพันธมิตรของสถานศึกษา ได้อย่างกลมเกลียวเป็นหนึ่งเดียว เพื่อนำไปสู่ การตัดสินใจในการดำเนินงานของสถานศึกษา 7 เจริญ ภูวิจิตร์, คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาในอาเซียน, (กรุงเทพมหานคร: ม.ป.ท., 2558), หน้า 16.


30 30 11. มีความเป็นผู้นำในการให้ความรู้ต้องรู้ว่าอะไรดีและส่งผลต่อประสิทธิภาพการ สอน และสร้างกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการนิเทศในสถานศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ 12. มีศักยภาพในการจัดตั้งเครือข่ายและการวางแผนพัฒนาครูอย่างเป็นระบบ ภายใต้โครงข่าย เทคโนโลยีสารสนเทศ และ วิจารย์ พานิช8 กล่าวว่า คุณลักษณะของ ผู้อำนวยการโรงเรียนต้องเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง และบริหารให้เกิดการเปลี่ยนแปลง 3 ประการคือ 1. เปลี่ยนแปลงการเรียนรู้ 2. เปลี่ยนแปลงหลักสูตรและ 3. เปลี่ยนแปลงการจัดการ คุณลักษณะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่เด่นชัด 3 ประการหลัก ดังภาพต่อไปนี้ ภาพที่ 2.1 คุณลักษณะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาในศตวรรษที่ 21(3ป.) ที่มา : วิจารย์ พาณิช, แนวโน้มการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 8 วิจารย์ พานิช, แนวโน้มการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21, (สงขลา: สำนักงาน เลขานุการคณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์, 2558), หน้า 13. เปลี่ยนแปลง ความรู้ เปลี่ยนแปลง วิสัยทัศน์ เปลี่ยนแปลงการ บริหารจัดการ คุณลักษณะภาวะผู้นําการ เปลี่ยนแปลงทาง การศึกษาในศตวรรษที่21


31 31 ชุดคุณลักษณะภาวะผู้นำทางการศึกษาในแบบของ CCPR Model ในศตวรรษ ที่21 การพัฒนาคุณลักษณะภาวะนำทางการศึกษาไพฑูรย์ สินลารัตน์9 ได้เสนอแนวคิดว่า ผู้นำในแนวทางของการศึกษาเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพหรือ CCPR ซึ่งได้พัฒนามาจาก ข้อจำกัดของผู้นำเชิงเปลี่ยนแปลง Transformation Leadership (TL) ผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ Imaginary Leadership (IL) หรือ Visionary Leadership (VL) และผู้นำเชิงวิเคราะห์ วิจารณ์ Critical Leadership (CL) ซึ่งอาจแบ่งผู้นำแบบ CCPR ได้เป็น 3 องค์ประกอบ คือ คุณลักษณะ กระบวนการ และเป้าหมายหรือผลผลิด ดังนี้ 1. ด้านคุณลักษณะภาวะผู้นำทางการศึกษามีองค์ประกอบ 4 ประการหลัก (4ค.) 1.1 คิดวิเคราะห์ (Critical Mind) 1.2 คิดสร้างสรรค์ (Creative Mind) 1.3 คิดผลิตภาพ (Productive Mind) และ 1.4 คิดรับผิดชอบ (Responsible Mind) 2. ด้านกระบวนการได้กำหนดเป้าหมายดังนี้(4ก.) 2.1 การวิเคราะห์ (Critical Aiming ) 2.2 การกำหนดทิศทางขององค์กรอย่างสร้างสรรค์(Setting Creativity) 2.3 การเน้นให้มีผลงานเกิดขึ้น (Product emphasizing) และ 2.4 การรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม (IMaintaining Responsibility) 3. ด้านผลผลิตประกอบด้วย 3.1 วิเคราะห์สภาพแวดล้อมได้อย่างแจ่มชัด( Situational analysis) 3.2 นำเสนอแนวคิดและวิธีการใหม่ ๆ (Innovative ideas) 3.3 แสดงผลงานสะท้อนความคิดสร้างสรรค์ (New product/works) 3.4 ผลงานสะท้อนความรับผิดชอบที่มีต่อสังคม (Social responsibility) จากแนวคิดดังกล่าวข้างต้น การพัฒนาภาวะผู้นำทางการศึกษาให้สอดคล้องกับ แนวคิดในศตวรรษที่ 21 มี 3 ขั้นตอน (IPO) คือ ขั้นตอนที่ 1 ปัจจัยนำเข้ามา (Input) นำความรู้ ด้านแนวคิด ทฤษฎี องค์ความรู้ จากรูปแบบหรือพื้นที่ที่ดี มาวิเคราะห์และสังเคราะห์สร้างกรอบแนวคิดตามเนื้อเรื่องที่ ต้องการให้ชัดเจน 9 ไพฑูรย์ สินลารัตน์, การศึกษา 4.0 เป็นยิ่งกว่าการศึกษา, หน้า 71.


32 32 ขั้นตอนที่ 2 สร้างกระบวนการ (Process) เพื่อนำไปสร้างและพัฒนาตามตัวแบบที่ ต้องการจะพัฒนาด้วยทดลอง การประเมินติดตามในมิติการประชุม การสัมมนา การ สอบถามและประเมินผลออกมาพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ขั้นตอนที่ 3 สรุปผลการพัฒนาคุณลักษณะภาวะผู้นำทางการศึกษาในศตวรรษที่ 21 (Output) ตามที่สถานศึกษาต้องการในบริบทของการจัดการศึกษาของประเทศใน ศตวรรษที่ 21 ชุดคุณลักษณะภาวะผู้นำทางการศึกษาในยุคThailand 4.0 คุณลักษณะภาวะผู้นำทางการศึกษาซึ่งก็เป็นคนไทยที่จะต้องขับเคลื่อนการผลิต นักศึกษาให้เป็นคนที่คุณลักษณะที่พึ่งประสงค์ของประเทศตามแนวคิดของ สุวิทย์ เมษินทรีย์10กล่าวว่าหัวใจสำคัญของการขับเคลื่อนไทยแลนด์ 4.0 คือ คนไทย 4.0 เพื่อให้ สอดรับกับโลกในศตวรรษที่ 21 คนไทยจะต้องปรับเปลี่ยนตนเองให้มีคุณลักษณะใน 4 มิติ คือ 1. เป็นคนไทยที่มีความรู้ ทักษะ และความสามารถที่สอดรับกับโลกในศตวรรษที่ 21 2. เป็นคนไทยที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม 3. เป็นคนไทยมีอัตลักษณ์ความเป็นไทยที่สามารถยืนอย่างมีศักดิ์ศรีในเวทีสากล 4. เป็นดิจิตอลไทยเพื่อสอดรับกับการเข้าสู่ยุคดิจิตอล นอกจากนี้ คนไทย 4.0 จะเกิดขึ้นได้จะต้องมีการเรียนรู้ใน 4 เรื่องสำคัญคือ 1. การเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมแรงบันดาลใจให้มีชีวิตอยู่อย่างมีความหมาย 2. การเรียนรู้เพื่อบ่มเพาะความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการรังสรรค์ สิ่งใหม่ ๆ 3. การเรียนรู้เพื่อปลูกฝังจิตสาธารณะ ยึดประโยชน์ส่วนรวม เป็นที่ตั้ง และ 4. การเรียนรู้เพื่อมุ่งการทำงานให้เกิดผลสัมฤทธิได้คุณสมบัติภาวะผู้นำทาง การศึกษา (4ร.) ชุดคุณลักษณะภาวะผู้นำทางการศึกษาของผู้บริหารที่มุงพัฒนาบุคลิภาพในยุค ประเทศไทย 4.0 สาริศา เจนเขว้าและเสวียน เจนเขว้า11 เสนอคุณลักษณะภาวะผู้นำของนักการ บริหารมีอาชีพในยุคประเทศไทย 4.0 ดังนี้ 10สุวิทย์เมษินทรีย์, โลกเปลี่ยน ไทยปรับ, หน้า5. 11สาริศา เจนเขว้าและเสวียน เจนเขว้า, “การเป็นนักการบริหารมีอาชีพในยุคไทยแลนด์4.0”, วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม 11, 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2560).


33 33 1. ด้านบุคลิกภาพ นักบริหารต้องมีน้ำเสียง การพูดที่น่าฟัง มีอารมณ์และจิตใจ มั่นคง มีกิริยามารยาทดี เป็นที่ยอมรับในสังคม การแต่งกายเหมาะสมกับกาลเทศะ อาจ กล่าวได้ว่าบุคลิกภาพดีจะช่วยสร้างความเชื่อถือศรัทธาแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาและสาธารณชน 2. ด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล นักบริหารต้อง มีความมั่นใจในตนเอง มีความ รับผิดชอบสูง กระตือรือร้น กล้าคิด กล้าพูด กล้าตัดสินใจ กล้าเผชิญ ปัญหาและความ รับผิดชอบ รักษาคำพูด กล้า ทำด้วยความมุ่งมั่นเด็ดขาด มีคุณธรรม เสียสละเพื่อ ส่วนรวม มีความถ่อมตนและตรงต่อเวลา 3. ด้านความรู้และทักษะการคิด นักบริหารต้องมีความรู้ทั้งด้านวิชาการและ วิชาชีพ มีความ ฉลาดเฉลียว มีไหวพริบปฏิภาณเฉียบแหลม สุขุม มีความรู้รอบตัวสูง คิดนอกกรอบ และมีความคิด ริเริ่มสร้างสรรค์ มีพื้นฐานทางการค้นคว้าและวิจัย 4. ด้านการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น นักบริหารต้องมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี เปิดเผย โปร่งใส ยุติธรรม มีความสามารถในการใช้ภาษา สามารถสื่อสารได้ทุกทิศทาง สร้างและ ประสานเครือข่ายเพื่อ ความร่วมมือได้ รวมถึงความสามารถ ในการบริหารความขัดแย้ง 5. ด้านความสามารถทางการบริหาร นักบริหารมีวิสัยทัศน์ในเป้าหมาย ความสำเร็จ มีการบริหารงานเชิงรุก มีความสามารถในการแก้ไขปัญหาได้อย่างชาญฉลาด ฉับพลัน มีวิธีการถ่ายทอด และสอนงานให้กับผู้ใต้บังคับบัญชา บริหารงานด้วยเหตุผลและ ความชอบธรรม และมีผลงานที่เกิด จากการบริหารจัดการ 6. ด้านความสามารถในการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม นักบริหารสามารถนำ นวัตกรรมและ เทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการวางแผน การตัดสินใจ การประสานงาน การติดต่อสื่อสาร การสร้างเครือข่าย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงาน ตลอดทั้ง สามารถนำไปใช้ในการจัดการศึกษาเพื่อ พัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ชุดคุณลักษณะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาที่มุ่งงาน การเป็นผู้นำทางการศึกษาต้องทำงานหนักเพื่อบริหารการศึกษาให้ก้าวหน้าไป อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพในยุคการเปลี่ยนแปลงที่เจริญอย่างรวดเร็จด้วยนวัตกรรม ต่าง ๆ ที่ผู้นำต้องเรียนรู้อย่างมากหมายหลากหลายศาสตร์โดยเฉพาะศาสตร์ที่จะต้องเพิ่ม คุณลักษณะสามารถในการปฏิบัติงาน ความดี และความสุขใจในการทำงานหนักเพื่อ ประโยชน์สุขของผู้ใต้บังคัญบัญชา นิสิต นักเรียน โดยสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์12 อดีตอธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้กล่าวว่า ต้องมีคุณลักษณะการ ทำงานหนัก 5 ประการ คือ 12สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์, คิดต่างสร้างความเปลี่ยนแปลง, (กรุงเทพมหานคร: ธุรกิจโรงพิมพ์, 2563), หน้า 87.


34 34 1. ต้องมีทัศนคติบวกกับการทำงาน เพราะค่าของคนอยู่ที่ผลของงาน คือ การ ทำงานอย่างรับผิดชอบ 2. ความอดทนและความพยายาม เพราะคนทำงานต้องเจอปัญหาหลากหลายมิติมี ทั้งคนติและชมโดยเฉพาะยุคเทคโนโลยี มีนักเลงคีย์บอร์ดมีนินทา ทั้งต่อหน้าและลับหลัง เรียกว่า มือไม่พ่ายแล้วยังเอาเท้าราน้ำ ด้วยเหตุนี้คุณธรรม คำว่าอดทน เรียกว่าเป็นคาถา ท่องจำสำหรับผู้นำได้เป็นอย่างดียิ่ง ช่วยให้ทำงานต่อไปได้อย่างมีความสุข 3. ต้องมีความขยัน ต้องคู่กับความใส่ใจในการทำงานด้วยความมุ่งมั่นให้งานนั้น บรรลุผลตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ เรียกว่าเก่งอย่างเดียวไม่พอต้องบวกเพิ่มความขยันและอดทน 4. คุณลักษณะภาวะผู้นำ คือ การแสวงหาความรู้ตลอดเวลา ยิ่งทำงานยากยิ่งต้อง แสวงหาความรู้เพิ่ม หาคนเก่งมาช่วยให้คำปรึกษาเพื่อเปลี่ยนเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย 5. คุณลักษณะภาวะผู้นำที่สำคัญอีกข้อหนึ่ง คือ การรู้จักหาความสุขกับเรื่องง่าย ๆ ให้กับตนเอง ด้วยเทคนิคเฉพาะตัวของแต่ละบุคคลว่า ใครชอบอะไรก็ใช้วิธีการนั้น ๆ เช่น ชอบธรรมชาติไปเปลี่ยนจิตด้วยมองต้นไม้ นั่งเล่นกับธรรมชาติ หรือ เล่นกีฬาที่ชอบ บางก็ ชอบอ่านหนังสือ หรือ บางคนชอบสวดมนต์ นั่งสมาธิ กล่าวได้ว่าหาความสุขแบบง่าย ๆ ที่ ทุกคนทำได้ 6. อีกข้อหนึ่งที่อยู่ในเล่มเดียวกัน คือ คุณลักษณะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง คือ อยากชนะคนเก่ง ต้องคบคนที่เก่งกว่า จากคำกล่าวนี้เป็นการท้าทายดีมากสำหรับผู้นำทาง การศึกษา ถ้าอยากให้สถานศึกษาของเรามีคุณภาพสูงขึ้นก็ต้องศึกษาแนวคิดการจัดการศึกษา จากประเทศที่ได้จัดการศึกษาคุณภาพสูงกว่า เช่น ประเทศสิงคโปร์ แคนนาดา ฟินแลนด์ ออสเตรเลีย เป็นต้น มาพัฒนาสถานศึกษาในบริบทที่สามารถทำได้โดยเฉพาะการจัดการ เรียนการสอน ด้วยการพัฒนาครู อาจารย์ให้มีคุณภาพ เมื่อนำความเนื้อหาแนวคิด ทฤษฎี เกี่ยวกับคุณลักษณะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาในศตวรรษที่ 21 และยุค ประเทศไทย 4.0 ดังกล่าวข้างต้นเพื่อเพิ่มศักยภาพ สมรรถนะ และทักษะของภาวะผู้นำทาง การศึกษาต้องสามารถสื่อสารได้ดีในยุคดิจิทัลที่ง่ายและสะดวก รวดเร็วต่อไป ชุดคุณลักษณะของภาวะผู้นำทางการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล คุณลักษณะภาวะผู้นำทางการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัลได้ดังนี้13 1. เรียนรู้ในการกำหนดวิสัยทัศน์ด้านไอซีที 2. การบริหารจัดการด้านไอซีทีใช้ในการสถานศึกษาเพื่อการทำงาน 3. การสร้างวัฒนธรรมการทำงานในการใช้ไอซีทีสำหรับบริหารองค์การ 13จิณณวัตร ปะโคทัง, ภาวะผู้นำยุคดิจิทัล, (อุบลราชธานี: พิมพ์ที่ศิริธรรมออฟเซ็ท, 2561), หน้า 219.


35 35 4. การฝึกอบรมพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ด้านการใช้ไอซีที 5. ผู้บริหารสถานศึกษาต้องทำตนเป็นตัวอย่างในการใช้ไอซีที 6. ส่งเสริมสนับสนุนสร้างแรงจูงใจสำหรับบุคลากรในการใช้ไอซีที 7. จัดให้มีระบบการกำกับติดตามการให้คำปรึกษาในการใช้ไอซีที ในขณะที่ซูซูกิ โยชิยุกิ14 เสนอคุณสมบัติของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงทาง การศึกษาในยุคนี้ ดังนี้ 1. คุณสมบัติที่อยากให้ผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีเป็นอันดับแรก ซึ่งประกอบด้วย 1.1 ผู้นำต้องสร้างวิสัยทัศน์ 1.2 ผู้นำต้องกล้าตัดสินใจ 1.3 ผู้นำต้องมีพลังเหลือเฟือ เรียนรู้วิธีเพิ่มพลังทางกายและใจ 1.4 ผู้นำต้องทำจนสำร็จ สร้างตัวชี้วัดความสำเร็จโดยภาพรวม 1.5 ผู้มีความรวดเร็วตามระยะเวลาที่กำหนด 1.6 ผู้นำต้องยุติบางสิ่งได้โดยสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆจากการยุติเรื่องนั้นได้ 1.7 ผู้นำต้องเป็นผู้ฟังที่ดี เรียนรู้วิธีการฟังที่ดีมุ่งไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดี 1.8 ผู้นำต้องกล้าพูดต่อหน้าต่อหน้าผู้คนและสามารถโน้มน้าวใจ 1.9 ผู้นำต้องไม่กลัวและต้องมองตัวเองอย่างเป็นกลางด้วยการเพิ่มทักษะวิธีคิด 2. คุณสมบัติเสริมสร้างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงให้ลูกน้อง15 2.1 ผู้นำต้องรักษาสัญญาเพื่อใช้คำสัญญาเพิ่มคุณภาพเรื่องงานให้เกิดประโยชน์ 2.2 ผู้นำต้องจุดประกายภาวะผู้นำในตัวลูกน้องเพราะภาวะผู้นำที่แท้จริงคือ การทำให้ผู้ตามทำงานอย่างขยันขันแข็ง 2.3 ผู้นำต้องมองทุกคนในองค์กรเป็นผู้นำ โดยคิดพัฒนาทุกคนให้เป็นผู้นำ ไม่ใช่ตั้งตาคอยผู้นำคนเก่งแค่คนเดียว 2.4 ผู้นำชั้นเยี่ยมต้องสร้างผู้นำรุ่นต่อไป นอกจากนั้น จอหน์ ซี แมก็กซ์เวลล์16 กล่าวโดย คุณสมบัติภาวะผู้นำการ เปลี่ยนแปลง 5 ระดับ ดังนี้ 14ซูซูกิโยชิยุกิ (เขียน), ทินภาส พาหะนิชย์(แปล), ผู้นำต้องมีโค้ช, (กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2561), หน้า 14. 15เรื่องเดียวกัน, หน้า 112. 16John C. Maxwell, (เขียน) ศิริลักษณ์ มานะวงศ์เจริญ (แปล), ยกระดับภาวะผู้นำ, (กรุงเทพมหานคร: แอคทีฟ พริ้นท์, 2562), หน้า 8-11.


36 36 1. ตำแหน่งหน้าที่ (Position) เป็นระดับเริ่มต้น พลังโน้มน้าวที่มาจากตำแหน่ง หน้าที่ ผู้คนทำตามเขาเพราะว่าจำเป็นต้องทำ 2. การยอมรับ (Permission) ซึ่งมีความสัมพันธ์กับคนอื่น ผู้คนจะยอมทำตาม เพราะพวกเขาอยากจะทำ เมื่อคุณชอบใครแล้วปฏิบัติต่อเขาในฐานะเป็นบุคคลที่มีหัวจิต หัวใจและมีคุณค่า 3. การสร้างผลงาน (Production) ซึ่งมีพื้นฐานสำคัญอยู่ที่ผลงานต่าง ๆ ที่ได้สร้าง ขึ้น ในระดับของการสร้างผลงานนี้ 4 การพัฒนาคน (People Development) ระดับนี้จะช่วยเปลี่ยนแปลงชีวิตของ ทีมงาน ส่งผลให้พวกเขาทำตามผู้นำเพราะผู้นำได้ทำสิ่งต่างๆ ให้เขามากมาย 5. จุดสูงสุด (Pinnacle) เป็นระดับที่สูงที่สุดและยากที่สุดของภาวะผู้นำ นอกจาก จะต้องใช้ความพยายาม ทักษะ และความตั้งใจจริงแล้ว ยังต้องใช้ความสามารถอย่างสูงอีก ด้วย ผู้นำที่มีพรสวรรค์เท่านั้นที่จะไปถึงระดับในระดับที่ 5 ได้อย่างเต็มภาคภูมิใจ ธีระ รุญเจริญ17 กล่าวถึงลักษณะผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ ในยุคดิจิทัล ดังต่อไปนี้ 1) มีความถนัด ในการเป็นผู้นำ และลักษณะนิสัยในการทำงานร่วมกับผู้อื่น 2) มีความรู้ความเข้าใจในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ 3) มีบุคลิกภาพที่น่าเชื่อถือ 4) มีคุณธรรม จริยธรรม เป็นที่ยอมรับของสังคม และมีจรรยาบรรณ 5) มีทักษะความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ในศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง 6) บริหารโดย เน้นสภาพปัญหาและความต้องการเป็นที่ตั้ง 7) บริหารงานเชิงรุก 8) พัฒนาโรงเรียนให้เป็นองค์กร แห่งการเรียนรู้ 9) มุ่งผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นที่ตั้ง Goleman18 กล่าวว่า คุณลักษณะและความสามารถของผู้นำมีความสำคัญ ในการ สร้างความดีเด่นเป็นเลิศในชีวิตจริง ส่งผลให้ผู้นำประสบความสำเร็จในการบริหารงาน ประกอบด้วย 1. รู้จักตนเองในทุก ๆ ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านอารมณ์ 17ธีระ รุญเจริญ, ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา, (กรุงเทพมหานคร: แอล.ที.เพรส, 2550), หน้า 28-29. 18Daniel Geloman, Emotional Intelligence : the Groundbreaking book that Redefines What it Means to be Smart, (New York, 1995), p.125.


37 37 2. ความสามารถควบคุมอารมณ์และความรู้สึกเฉพาะหน้า รวมทั้งแรงกระตุ้น อารมณ์จากปัจจัยภายในและภายนอก 3. ความขยัน มุ่งมั่น ไม่ท้อถอย 4. ความกระตือรือร้น 5. ความสามารถมองจากมุมมองของคนอื่น 6. ความคล่องแคล่วชำนาญทางสังคม Kotter19 กล่าวถึงคุณลักษณะภาวะผู้นำที่มีประสิทธิภาพในฐานะที่เป็นผู้บริหารว่า ควรมีคุณลักษณะที่สำคัญคือ 1. มีความรู้ความชำนาญเกี่ยวกับงานในองค์กรเป็นอย่างดีประวัติความเป็นมา ขององค์กร การวัฒนธรรมขององค์กร บุคคลสำคัญในองค์กร 2. สามารถสร้างความสัมพันธ์กับองค์กรธุรกิจอื่นที่เกี่ยวข้องกันได้ดี 3. ต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ 4. ต้องเป็นผู้มีทักษะและความสามารถหลายด้าน และมีทักษะในการสื่อสารและ เข้าใจธรรมชาติของความเป็นมนุษย์ 5. มีความตระหนักในคุณค่าของบุคคลและต้องมีความซื่อสัตย์ 6. มีความสามารถในการจูงใจและมีความกระตือรือร้นอยู่ตลอดเวลา ชุดคุณลักษณะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับการเรียนรู้อย่างมีวินัย การขับเคลื่อนองค์การแห่งการเปลี่ยนแปลงนั้นต้องเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ อย่างมีวินัย โดย Peter M. Senge20 ได้เสนอแนวทางว่า องค์การแห่งการเรียนรู้นั้นต้องมี วินัยอยู่ 5 ประการ คือ 1. วิสัยทัศน์ 2. การทำงานเป็นทีม 3. ความเชี่ยวชาญ รอบรู้ของแต่ละบุคคล 4. กรอบแนวความคิด 5. การคิดอย่างเป็นระบบ 19John P. Kotter, การเปลี่ยนแปลงที่ไม่มีวันล้มเหลว (Leading Change), วิญญู กิ่งหิรัญ วัฒนา, (ผู้แปล), (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วีเลิร์น, 2564), หน้า 34. 20Peter M. Senge, The Fifth Discipline: the Art and Practice of the Learning Organization, Doubleday, New York, 1990.


38 38 กระบวนพัฒนาคุณลักษณะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงให้ประสบความสำเร็จ เสนอแนวทางมี 8 ขั้นตอนคือ21 1. สร้างความรู้สึกจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องเปลี่ยนแปลงโดยการกระตุ้นให้เกิดการ ตื่นตัวของผู้นำ 2. สร้างทีมผู้นำที่เข้มแข็งเป็นต้นแบบในการเปลี่ยนแปลง 3. กำหนดวิสัยทัศน์ที่ช่วยนำทางการเปลี่ยนแปลง 4. การสื่อสารวิสัยทัศน์แห่งการเปลี่ยนแปลง 5. การดำเนินการหรือปฏิบัติการให้เกิดการเปลี่ยนแปลง 6. การปรับปรุงผลการปฏิบัติงานด้วยการสร้างขวัญและกำลังใจ 7. ประมวลผล และสร้างความการเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น 8. ปลูกฝังการเปลี่ยนแปลงให้เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์การ สรุปคุณลักษณะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาในยุคดิจิทัลที่เด่นชัดใน ประเด็นต่อไปนี้ 1. การพัฒนาตนเองให้มีคุณลักษณะภาวะผู้นำทางการศึกษาด้วยการเรียนรู้ด้าน การใช้เทคโนโลยีสารสทเทศในการบริหารจัดการศึกษา 2. การมีวิสัยทัศน์ในการพัฒนาคนในองค์กรให้ให้สามารถรับการเปลี่ยนแปลงทาง การศึกษาตามกรอบแนวคิดในศตวรรษที่ 21 3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการบริหารจัดการศึกษาสำหรับการเปลี่ยนแปลง ทางการศึกษาตามกรอบแนวคิดในศตวรรษที่ 21 4. การสร้างเครืองข่ายทั้งในและต่างประเทศเพื่อแลกเปลี่ยนการเรียนรู้การบริหาร จัดการศึกษาสำหรับการพัฒนาตนเอง คนในองค์กร และการจัดการเรียนการสอนในยุค ศตวรรษที่ 21 2.2 คุณลักษณะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา แนวคิดเกี่ยวกับคุณลักษณะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงได้มีนักวิชาการหลากหลาย คนได้เสนอไว้ที่สามารถวิเคราะห์สังเคราะห์ไปสู่การปฏิบัติ อาทิ แบสส์และอโวลิโอ, ยูค (Yukl), Peter F Drucker (เขียน), วีรวุธ มาฆะศิรานนท์(แปล) 21John P. Kotter, การเปลี่ยนแปลงที่ไม่มีวันล้มเหลว (Leading Change), วิญญู กิ่งหิรัญ วัฒนา, (ผู้แปล), (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วีเลิร์น, 2564), หน้า 42.


39 39 แบสส์และอโวลิโอ พบว่าปัจจัยพื้นฐานของรูปแบบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง มี 4 ปัจจัย22 คือ 1) การสร้างบารมี (Charisma) 2) การคำนึงถึงความแตกต่างแต่ละบุคคล (Individualized consideration) 3) การกระตุ้นการใช้ปัญญา (Intellectual stimulation) 4) การสร้างแรงบันดาลใจ ( Inspirational motivation) ยูค (Yukl) ได้กล่าวถึงผลของภาวะผู้นำ แบบการเปลี่ยนแปลง จะทำให้ผู้ตามมี การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ23 คือ 1) ทำให้ผู้ตามตระหนักถึงความสำคัญของคุณค่าของผลการทำงานที่สำเร็จ และ เทคนิคที่จะช่วยทำให้ทำงานให้สำเร็จ 2) พยายามยั่วยุให้ผู้ตามลดความสนใจในตนเองลง หรือลดการมุ่งประโยชน์ส่วนตน ของตนเอง และเพิ่มการทำงานของประโยชน์หมู่คณะขององค์การและเพื่อส่วนรวม คือเห็น คุณค่าของตนเองที่จะก่อประโยชน์ต่อตนเองและทีมงาน 3) พัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา ให้มีความต้องการที่สูงขึ้น เช่น มุ่งผลสัมฤทธิ์ มีอิสระทั้ง ในส่วนที่เกี่ยวกับงานและไม่เกี่ยวกับงาน หรือมีแรงจูงใจเป็นที่ยอมรับของคนอื่นและเป็น ผู้นำ Peter F Drucker24 ได้เสนอหลักคิดสำหรับการพัฒนาคุณลักษณะภาวะผู้นำทาง การศึกษาดัดแปลงมาจากการบริหารทางธุรกิจว่าการบริหารจัดการเป็นหลักการที่มี ความสำคัญเหนือกว่าปัจจัยอื่น ๆ ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้ 1. การบริหารจัดการเป็นเรื่องเกี่ยวกับความเป็นมนุษย์เนื่องจากมันเป็นงานของ การนำความสามารถของผู้คนมาใช้งานร่วมกัน เพื่อเสริมสร้างความมีประสิทธิผลให้แก่ จุดแข็ง 2. การบริหารจัดการเป็นเรื่องเกี่ยวกับการรวมผู้คนเพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกัน เรียกว่า วัฒนธรรม (culture) ต้องเข้าใจอย่างลึกซึ้ง 22Bass, B. M., & Avolio, B. J. (1990). Developing transformational: 1992 and beyond, Journal of European Industrial Training, 5(10), 21-27. 23Yukl, G.A. Leadership in Organization, (2 nd ed), Englewood Cliffs, NJ : Prentice Hall, 1989. 24Peter F Drucker (เขียน), วีรวุธ มาฆะศิรานนท์(แปล), สุดยอดปรมาจารย์ด้านบริหาร จัดการ, (กรุงเทพมหานคร: เอ็กซเปอร์เน็ท จำกัด. 2563), หน้า 375-379.


Click to View FlipBook Version