140 134 ที่มา : มาจากแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579 เมื่อนำแนวคิดและเป้าหมายของประชาคมอาเซียนมาศึกษาจะพบวิสัยทัศน์ ชัดเจนต่อการพัฒนาคน สามารถขยายความได้ดังนี้ 1. ประชาคมการเมืองความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community หรือ APSC) ดังนี้ 1.1 สร้างประชาคมให้มีค่านิยมร่วมกันในเรื่องของการเคารพ และส่งเสริมให้ ประชาชนเป็นศูนย์กลางของนโยบายและกิจกรรมภายใต้เสาการเมืองและความมั่นคง 1.2 ให้อาเซียนสามารถเผชิญกับภัยคุกคามความมั่นคงในรูปแบบเดิมและ รูปแบบใหม่และส่งเสริมความมั่นคงของมนุษย์ 1.3 ให้อาเซียนมีปฎิสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นและสร้างสรรค์กับประชาคมโลก โดย อาเซียนมีบทบาทเป็นผู้นำในภูมิภาค และจะช่วยส่งเสริมความมั่นคงของภูมิภาค ประเทศ สมาชิกอาเซียนจะมีกลไกและเครื่องมือที่ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาที่ เกี่ยวกับความมั่นคงต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาความขัดแย้งด้านการเมืองระหว่างรัฐสมาชิก กับรัฐสมาชิกด้วยกันเอง โดยมีความคิดว่าประเทศใดประเทศหนึ่งไม่สามารถแก้ไขได้โดย ลำพัง เช่น การก่อการร้าย การลักลอบค้ายาเสพติด ปัญหาโจรสลัด และอาชญากรรม ข้ามชาติ เป็นต้น 2. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community หรือ AEC) บริบททางเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุนระหว่างประเทศที่มีการแข่งขันสูง อันส่งผลให้ประเทศต่าง ๆ ต้องปรับตัวเองเพื่อให้ได้รับประโยชน์จากระบบเศรษฐกิจโลก รวมถึงการ รวมกลุ่มการค้ากันของประเทศต่าง ๆ อาทิ สหภาพยุโรป และเขตการค้าเสรี อเมริกาเหนือ ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนได้เห็นชอบ ให้จัดตั้ง “ประชาคมเศรษฐกิจของ อาเซียน” ภายในปี 2558 มีประสงค์ที่จะให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความมั่นคง มั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆ ได้ดังนี้ 2.1 มุ่งที่จะจัดตั้งให้อาเซียนเป็นตลาดเดียวและเป็นฐานการผลิตร่วมกัน 2.2 มุ่งให้เกิดการเคลื่อนย้ายเงินทุน สินค้า การบริการ การลงทุน แรงงาน ฝีมือระหว่างประเทศสมาชิกโดยเสรี 2.3 ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียน (กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม หรือ CLMV) เพื่อลดช่องว่างของระดับการพัฒนาของประเทศสมาชิกอาเซียน และช่วยให้ประเทศสมาชิกเหล่านี้ เข้าร่วมในกระบวนการรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน 135 ส่งเสริมให้อาเซียนสามารถรวมตัวเข้ากับประชาคมโลก และส่งเสริมขีดความสามารถใน การแข่งขันของอาเซียน 2.4 ส่งเสริมความร่วมมือในนโยบายการเงินและเศรษฐกิจมหภาค การพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานและการคมนาคม กรอบความร่วมมือด้านกฎหมาย การพัฒนาความ ร่วมมือด้านการเกษตร พลังงาน การท่องเที่ยว การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยการ ยกระดับการศึกษาและการพัฒนาฝีมือ ประชาคมเศรษฐกิจของอาเซียน จะเป็นเครื่องมือ สำคัญที่จะช่วยขยายปริมาณการค้าและการลงทุนภายในภูมิภาค เพิ่มสวัสดิการและ ยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนของประเทศสมาชิกอาเซียน 3. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community หรือ ASCC) มีเป้าหมายให้อาเซียนเป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง สังคมที่เอื้ออาทร และแบ่งปัน ประชากรอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมีการพัฒนาในทุกด้านเพื่อ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน รวมทั้ง ส่งเสริมอัตลักษณ์ของอาเซียน โดยมีแผนปฏิบัติการด้านสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน สร้างความร่วมมือใน 6 ด้าน26 ซึงมีประเด็นดังนี้ 3.1 การพัฒนามนุษย์ (Human Development) 3.2 การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม (Social Welfare and Protection) 3.3 สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม (Social Justice and Rights) 3.4 ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Sustainability) 3.5 การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน (Building and ASEAN Identity) 3.6 การลดช่องว่างทางการพัฒนา (Narrowing the Development Gap) การพัฒนาคนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หลักคิดของปรัชญาเศรษฐกิจเพียงพอศาสตร์พระราชาจากปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน สามารถสรุปสาระสำคัญได้27 ดังนี้ 1. ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นหลักการนำทางที่ประกอบด้วยสามห่วง ได้แก่ ความมีเหตุผล ความพอประมาณ การมีภูมิคุ้มกัน และสองเงื่อนไขที่เป็นฐานของสามห่วง คือ ความรู้และคุณธรรม 26http://ndsi.rtarf.mi.th/asian/3main-asean.html. 27สมบัติ นพรัก, ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาศาสตร์การบริหาร, (กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิซซิ่ง, 2561) หน้า 29.
141 135 ส่งเสริมให้อาเซียนสามารถรวมตัวเข้ากับประชาคมโลก และส่งเสริมขีดความสามารถใน การแข่งขันของอาเซียน 2.4 ส่งเสริมความร่วมมือในนโยบายการเงินและเศรษฐกิจมหภาค การพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานและการคมนาคม กรอบความร่วมมือด้านกฎหมาย การพัฒนาความ ร่วมมือด้านการเกษตร พลังงาน การท่องเที่ยว การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยการ ยกระดับการศึกษาและการพัฒนาฝีมือ ประชาคมเศรษฐกิจของอาเซียน จะเป็นเครื่องมือ สำคัญที่จะช่วยขยายปริมาณการค้าและการลงทุนภายในภูมิภาค เพิ่มสวัสดิการและ ยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนของประเทศสมาชิกอาเซียน 3. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community หรือ ASCC) มีเป้าหมายให้อาเซียนเป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง สังคมที่เอื้ออาทร และแบ่งปัน ประชากรอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมีการพัฒนาในทุกด้านเพื่อ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน รวมทั้ง ส่งเสริมอัตลักษณ์ของอาเซียน โดยมีแผนปฏิบัติการด้านสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน สร้างความร่วมมือใน 6 ด้าน26 ซึงมีประเด็นดังนี้ 3.1 การพัฒนามนุษย์ (Human Development) 3.2 การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม (Social Welfare and Protection) 3.3 สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม (Social Justice and Rights) 3.4 ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Sustainability) 3.5 การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน (Building and ASEAN Identity) 3.6 การลดช่องว่างทางการพัฒนา (Narrowing the Development Gap) การพัฒนาคนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หลักคิดของปรัชญาเศรษฐกิจเพียงพอศาสตร์พระราชาจากปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน สามารถสรุปสาระสำคัญได้27 ดังนี้ 1. ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นหลักการนำทางที่ประกอบด้วยสามห่วง ได้แก่ ความมีเหตุผล ความพอประมาณ การมีภูมิคุ้มกัน และสองเงื่อนไขที่เป็นฐานของสามห่วง คือ ความรู้และคุณธรรม 26http://ndsi.rtarf.mi.th/asian/3main-asean.html. 27สมบัติ นพรัก, ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาศาสตร์การบริหาร, (กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิซซิ่ง, 2561) หน้า 29. 135 ส่งเสริมให้อาเซียนสามารถรวมตัวเข้ากับประชาคมโลก และส่งเสริมขีดความสามารถใน การแข่งขันของอาเซียน 2.4 ส่งเสริมความร่วมมือในนโยบายการเงินและเศรษฐกิจมหภาค การพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานและการคมนาคม กรอบความร่วมมือด้านกฎหมาย การพัฒนาความ ร่วมมือด้านการเกษตร พลังงาน การท่องเที่ยว การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยการ ยกระดับการศึกษาและการพัฒนาฝีมือ ประชาคมเศรษฐกิจของอาเซียน จะเป็นเครื่องมือ สำคัญที่จะช่วยขยายปริมาณการค้าและการลงทุนภายในภูมิภาค เพิ่มสวัสดิการและ ยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนของประเทศสมาชิกอาเซียน 3. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community หรือ ASCC) มีเป้าหมายให้อาเซียนเป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง สังคมที่เอื้ออาทร และแบ่งปัน ประชากรอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมีการพัฒนาในทุกด้านเพื่อ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน รวมทั้ง ส่งเสริมอัตลักษณ์ของอาเซียน โดยมีแผนปฏิบัติการด้านสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน สร้างความร่วมมือใน 6 ด้าน26 ซึงมีประเด็นดังนี้ 3.1 การพัฒนามนุษย์ (Human Development) 3.2 การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม (Social Welfare and Protection) 3.3 สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม (Social Justice and Rights) 3.4 ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Sustainability) 3.5 การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน (Building and ASEAN Identity) 3.6 การลดช่องว่างทางการพัฒนา (Narrowing the Development Gap) การพัฒนาคนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หลักคิดของปรัชญาเศรษฐกิจเพียงพอศาสตร์พระราชาจากปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน สามารถสรุปสาระสำคัญได้27 ดังนี้ 1. ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นหลักการนำทางที่ประกอบด้วยสามห่วง ได้แก่ ความมีเหตุผล ความพอประมาณ การมีภูมิคุ้มกัน และสองเงื่อนไขที่เป็นฐานของสามห่วง คือ ความรู้และคุณธรรม 26http://ndsi.rtarf.mi.th/asian/3main-asean.html. 27สมบัติ นพรัก, ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาศาสตร์การบริหาร, (กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิซซิ่ง, 2561) หน้า 29.
142 136 2. วิธีการของศาสตร์พระราชา เป็นการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้(Professional Learning Community: PLC) โดยการเข้าใจ คือ ต้องเรียนรู้(learning) การเข้าถึง คือ การจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM) และพัฒนา คือการสร้างองค์การ แห่งการเรียนรู้ (Learning Organization: LO) โดยต้องตระหนักในปัจจัยที่เกี่ยวข้อง เช่น คน วัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยี และความหลากหลายของวัฒนธรรม เป็นต้น 3. การประยุกต์ใช้ศาสตร์พระราชา ต้องทำด้วยความเข้าใจ (Understand) ใน แนวทางของปรัชญาด้วยความรัก (Love) ความปรารถนา (Desire) และด้วยใจศรัทธา (Faith) อย่างแท้จริง ต้องประยุกต์(Apply) ใช้อย่างยั่งยืน (Sustainable) 4. ผลลัพธ์ของการใช้ศาสตร์พระราซา คือ "ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" ทำให้ ประชาชนพออยู่พอกิน และรู้รักสามัคคี ส่งผลให้ประชาชนมีความสุขในชีวิต รักการเรียนรู้ ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) ดังภาพที่ 4.16 ภาพที่ 4.16 ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่มา : จาก https://www.google.com/search?q= &tbm แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง สืบค้น 3 ส.ค.2564 การพัฒนาคนตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) การพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 จะมุ่งบรรลุเป้าหมายในระยะ 5 ปีซึ่งปี 2564 เป็นปีสุดท้าย เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาระยะยาวตามยุทธศาสตร์ ชาติ 20 ปี(2560-2579) โดยมีหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ดังนี้
143 137 หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้เกิดบูรณาการการพัฒนาในทุกมิติอย่าง สมเหตุสมผล มีความพอประมาณ และมีระบบภูมิคุ้มกันและการบริหารจัดการความเสี่ยงที่ ดี โดยมุ่งเน้นการพัฒนาคนให้มีความเป็นคนที่สมบูรณ์ สังคมไทยเป็นสังคมคุณภาพ สร้าง โอกาสและมีที่ยืนให้กับทุกคนในสังคมได้ดำเนินชีวิตที่ดีมีความสุขและอยู่ร่วมกันอย่าง สมานฉันท์ ในขณะที่ระบบเศรษฐกิจของประเทศก็เจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องมีคุณภาพ และ มีเสถียรภาพ การกระจายความมั่งคั่งอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม เป็นการเติบโตที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม รักษาความหลากหลายทางชีวภาพ ชุมชนวีถีชีวิต ค่านิยม ประเพณี และ วัฒนธรรมและยึดคนเป็นศูนย์กลางการพัฒนาประเทศ ดังนั้น การยึดคนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา มุ่งสร้างคุณภาพชีวิตและสุขภาวะที่ดี สำหรับคนไทยโดยมุ่งพัฒนาคนให้มีความเป็นคนที่สมบูรณ์ซึ่งประกอบด้วย28 1) มีวินัย 2) ใฝ่รู้ 3) มีความรู้ 4) มีทักษะ 5) มีความคิดสร้างสรรค์ 6) มีทัศนคติที่ดี 7) รับผิดชอบต่อสังคม 8) มีจริยธรรมและคุณธรรม และสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้กล่าวถึง ยุทธศาสตร์เสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ซึ่งมีประเด็นการพัฒนาดังนี้ - การพัฒนาศักยภาพคนทุกกลุ่มวัยให้มีความรู้ความสามารถ โดย กลุ่มวัยเรียน ปรับระบบการจัดการเรียนการสอนที่เน้นการศึกษาในลักษณะของสะเต็มศึกษา การเรียนรู้ เพื่อสร้างสรรค์ทางปัญญา การจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับพัฒนาการสมองแต่ละช่วงวัย กลุ่มวัยแรงงาน มุ่งพัฒนาขีดความสามารถ/สมรรถนะของกลุ่มแรงงานที่มีฝีมือ (ทักษะด้าน IT ความรู้ด้านเทคโนโลยีการผลิต ทักษะด้านภาษาอังกฤษ ทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูล) การบ่มเพาะการเป็นผู้ประกอบการในแรงงานกลุ่ม Generation Y การขยายฐานการผลิต กำลังคนด้านอาชีวศึกษา/อุดมศึกษาในรูปแบบทวิภาคีและสหกิจศึกษาให้สอดคล้องกับ อุตสาหกรรมเป้าหมาย การส่งเสริมการทำงานที่มีคุณค่า กลุ่มผู้สูงอายุ พัฒนาทักษะการ 28สำนักนายกรัฐมนตรี,แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560–2564, (กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ, 2559), หน้า 4.
144 138 ทำงานในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีศักยภาพ (activeageing) และขยายโอกาสการสร้างงานที่ เหมาะสม - การส่งเสริมให้คนมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม โดยควบคุม/ป้องกันปัจจัยเสี่ยง ทางสังคมที่กำหนดสุขภาพ (Social determinant of health) สร้างความตระหนักและ รอบรู้เรื่องสุขภาพ (Health literac พัฒนารูปแบบการกีฬาและโภชนาการที่เหมาะสมกับ แต่ละช่วงวัย - การสร้างสภาพแวดล้อม/นวัตกรรมที่เหมาะสมกับสังคมสูงวัย โดยการวิจัยและ พัฒนานวัตกรรมที่เหมาะสมกับการดูแลผู้สูงอายุปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อสังคมสูงวัย และพัฒนาเมืองที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ - การเสริมสร้างสถาบันครอบครัวและสถาบันศาสนาให้เป็นฐานในการบ่มเพาะคน ให้มีคุณภาพ โดยสร้างความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวไทย ส่งเสริมบรรทัดฐานในการเป็น พลเมืองที่ดีของสังคม ฟื้นฟูบทบาทสถาบันศาสนาในการส่งเสริมศีลธรรม/คุณธรรม/ จริยธรรม กรณีการพัฒนาภาวะผู้นำของมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของโลก คือ มหาวิทยาลัย MIT ย่อมาจาก Massachusetts Institute of Technology หรือ สถาบันเทคโนโลยี แมสซาชูเซตส์ อันดับ 1 ของโลก เป็นมหาวิทยาลัยเอกชน ตั้งอยู่ในเมืองเคมบริดจ์ รัฐ แมสซาชูเซตส์ ประเทศ สหรัฐอเมริกา29 มีมุมมองการผลิตบัณฑิตว่า จุดมุ่งหมายในอดีตของมหาวิทยาลัยคือการสร้างคนเพื่อทำงาน แต่โลกที่ เปลี่ยนแปลงไปกำลังทำให้เทคโนโลยีเข้ามาทำงานแทนที่คน ปัจจุบันจุดมุ่งหมายของ MIT คือการสร้างคนเพื่อไปเป็นนักสร้าง เรียนรู้ว่าเทคโนโลยีทำงานอย่างไร แล้ว สร้างสรรค์สิ่งใหม่ให้มีคุณค่าเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้น ทุนแมนให้ข้อคิดว่า หันกลับมามองที่การศึกษาในระดับอุดมศึกษาของประเทศไทย เรากำลังผลิตคนออกมาให้เป็นอย่างไร ถ้าบุคคลเหล่านั้นจบออกมา แล้วสามารถเป็นนัก สร้างสรรค์ได้ ก็เชื่อได้ว่าอนาคตใหม่ของประเทศไทย จะก้าวไปได้ไกลกว่าวันนี้จากข้อมูล ข้างต้นชี้ชัดว่า ภาวะผู้นำการศึกษาต้องเปลี่ยนแปลง วิสัยทัศน์ในการบริหารจัดการศึกษา โดยเรียนรู้ผลการดำเนินการของมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกเพื่อปรับเข้ากับสภาพแวดล้อม และวัฒนธรรมของสถานศึกษานั้นๆ เป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่ง การพัฒนาคนต้องมีความ สร้างสรรค์ดังภาพที่ 4.17 ต่อไปนี้ 29ลงทุนแมน .ลงทุนแมน 11.0, 2562 : 132-136.
145 139 ภาพที่ 4.17 กระบวนการพัฒนาคนในองค์การ ที่มา : มาจากแนวคิดของลงทุนแมน 11.0, 2562 : 132-136) จากภาพที่ 4.17 การพัฒนาคนของผู้บริหารการศึกษา พบว่าการสร้างคนมี เป้าหมายไปทำงาน แต่โลกที่เปลี่ยนแปลงไปกำลังทำให้เทคโนโลยีเข้ามาทำงานแทนที่คน ปัจจุบันมีเป้าหมายผลิตบัณฑิตเพื่อไปเป็นนักสร้างนวัตกรรมและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ให้มี มูลค้าเพิ่มเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้นและตอบโจทย์เศรษฐกิจโลก แต่บางคนมีคุณลักษณะ ของสมรรถนะภาวะผู้นำที่ดี คือ เก่งมากมีความรู้ความสามารถดี แต่ไม่มีความสุข ทำงาน ร่วมกับคนอื่นไม่ได้ ดังนั้น สังคมและโลกไม่ต้องการ แนวทางการพัฒนากำลังคนให้มีสมรรถนะตามแผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2560 – 2579 ได้เขียนไว้ดังนี้ ก. ผลิตและพัฒนากำลังคนให้มีสมรรถนะในสาขาที่ตรงตามความต้องการของ ตลาดงานและการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ 1) จัดทำฐานข้อมูลการผลิตและความต้องการกำลังคน (DemandSupply) 2) ส่งเสริมภาพลักษณ์การอาชีวศึกษา เร่งปรับค่านิยม และวางรากฐาน ทักษะอาชีพให้แก่ผู้เรียนตั้งแต่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) จัดทำแผนและเร่งรัดการผลิตและพัฒนากำลังคนในสาขาและกลุ่ม อุตสาหกรรมเป้าหมายให้มีความรู้และสมรรถนะที่ได้มาตรฐาน ตรงตามความต้องการของ ผู้ใช้และแผนการผลิตที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดงานและการพัฒนาประเทศ ตามยุทธศาสตร์ชาติ20 ปีและยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 การพัฒนาคน กระบวนการ ผลการพัฒนาคน • สร้างนวัตกร • สร้างนวัตกรรม • ปรับวิสัยทัศน์ • สร้างครู/อาจารย์เก่ง • คนดี • เก่ง • มีความสุข คนที่โลก ต้องการ
146 140 4) เพิ่มปริมาณผู้เรียนในสัดส่วนที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด งานและการพัฒนาประเทศด้วยวิธีการที่หลากหลาย เช่น การใช้กลไกทางการเงินเพื่อ ควบคุมการผลิตกำลังคน การใช้ระบบการแนะแนว เป็นต้น 5) ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้เชิงบูรณาการองค์ความรู้แบบสหวิทยาการ (อาทิสะเต็มศึกษา ทวิศึกษา ทวิภาคีทวิวุฒิสหกิจศึกษา) เพื่อพัฒนากระบวนการคิด และ การสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม 6) ส่งเสริมพัฒนาระบบการแนะแนวในสถานศึกษา เพื่อสร้างทางเลือกใน การตัดสินใจศึกษาด้านอาชีพ และประกอบอาชีพในสาขาที่ตนถนัดและสนใจ 7) เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อยกระดับทักษะ การใช้ภาษาอังกฤษของผู้เรียน 8) เสริมสร้างทักษะและสมรรถนะผู้เรียนและกำลังแรงงาน โดยเน้นการ ลงมือปฏิบัติจริงอย่างครบวงจร การทำงานร่วมกัน และการฝึกปฏิบัติในสถานการณ์จริง 9) พัฒนาทักษะ ความรู้ความสามารถ และสมรรถนะในการปฏิบัติงานใน แต่ละระดับการศึกษาตามระดับคุณวุฒิการศึกษา ผ่านระบบการศึกษาและการเรียนรู้ที่มี ความหลากหลายยืดหยุ่น ตอบสนองความต้องการของผู้เรียน ทั้งการศึกษาในระบบ นอก ระบบ และตามอัธยาศัยแผนการศึกษาแหง่ ชาติพ.ศ. 2560 - 2579 10) พัฒนาระบบการทดสอบ วัดและประเมินผลการเรียนรู้(learning outcomes) ตามมาตรฐานหลักสูตรวิชาชีพ ระบบการเทียบโอน จากการสะสมหน่วยการ เรียนและประสบการณ์การทำงานเพื่อยกระดับคุณวุฒิการศึกษาตามหลักการของกรอบ คุณวุฒิแห่งชาติ30 ข. ส่งเสริมการผลิตและพัฒนากำลังคนที่มีความเชี่ยวชาญและเป็นเลิศ เฉพาะด้าน 1) ส่งเสริมและพัฒนาสถาบันอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาให้ผลิตและ พัฒนากำลังคนตามความเชี่ยวชาญและความเป็นเลิศเฉพาะด้าน ที่มีคุณภาพมาตรฐาน เทียบระดับสากล 2) จัดตั้งและพัฒนามาตรฐานสถานศึกษาที่เน้นการเรียนการสอนด้าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 3) ส่งเสริมสนับสนุนการขับเคลื่อนระบบคุณวุฒิมาตรฐานอาชีพสู่การ ปฏิบัติเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ 30สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, แผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2560 – 2579, หน้า 105-106.
147 141 4) ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษอย่างต่อเนื่องทุก ระดับให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศ 5) เสริมสร้างความเข้มแข็งของกระบวนการผลิตและพัฒนากำลังคน โดยสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างประชาชน ภาครัฐ ผู้ประกอบการ (ประชารัฐ) ทั้งระหว่างองค์กรภายในและต่างประเทศ 6) ปรับระบบการศึกษาให้มีความเชื่อมโยงและยืดหยุ่น เพื่อให้ผู้เรียนทั้ง สายสามัญและสายอาชีพสามารถเรียนข้ามสายได้ 7) พัฒนามาตรฐานหลักสูตรวิชาชีพตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ(NQF) มาตรฐานอาชีพ/วิชาชีพที่สอดคล้องกับตลาดงานและยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 8) ขับเคลื่อนการนำกรอบคุณวุฒิแห่งชาติไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็น รูปธรรมและดำเนินการเทียบเคียงกับกรอบคุณวุฒิอ้างอิงอาเซียนและประเทศต่าง ๆ เพื่อ การยกระดับฝีมือแรงงานของประเทศสู่ระดับสากล 9) พัฒนามาตรฐานครูฝึกในสถานประกอบการ 10) พัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะในสาขาที่ตรงกับความต้องการของ ตลาดงานและการพัฒนาประเทศ 11) พัฒนาหลักสูตรเพื่อเสริมสร้างความเชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ แบบ ครบวงจรซึ่งเป็นกระบวนการต้นทางถึงปลายทาง ตั้งแต่กระบวนการผลิต การแปรรูป การ จัดจำหน่ายการตลาด และการดำเนินการในเชิงธุรกิจ 12) พัฒนาระบบการสะสมและการเทียบโอนเพื่อยกระดับคุณวุฒิและ สมรรถนะของผู้เรียนตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ ค. การพัฒนาคุณภาพครูอาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา 1) ออกแบบระบบและรูปแบบการพัฒนาครูอาจารย์และบุคลากร ทางการศึกษา เพื่อเสริมสร้างการพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ20 ปีและยุทธศาสตร์ ประเทศไทย 4.0 โดยครูทุกระดับและประเภทการศึกษาได้รับการพัฒนาตามมาตรฐาน วิชาชีพเพื่อประกันคุณภาพและมาตรฐานสมรรถนะวิชาชีพครูและระบบประกันคุณภาพ ทางการศึกษา 2) เร่งรัดพัฒนาครูอาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา รวมทั้งครูฝึกใน สถานประกอบการโดยเริ่มต้นจากครูประจำการที่สอนไม่ตรงวุฒิครูที่สอนคละชั้น และครู ในสาขาวิชาที่ขาดแคลน 3) พัฒนาระบบการพัฒนาวิชาชีพของครูในสถานศึกษาด้วยการส่งเสริม ให้มีชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพหรือ Professional Learning Community (PLC) เพื่อให้ครูเกิดสังคมการเรียนรู้ในการพัฒนาและช่วยเหลือผู้เรียนในสถานศึกษาและระหว่าง
148 142 สถานศึกษา รวมทั้งแลกเปลี่ยนประสบการณ์และสร้างสังคมครูที่เข้มแข็งในการพัฒนา ตนเองและนักเรียนให้เต็มศักยภาพ 4) พัฒนามาตรฐานสมรรถนะวิชาชีพครูอาชีวศึกษา มาตรฐานครูฝึกใน สถานประกอบการ และมาตรฐานสถานประกอบการที่ทำหน้าที่ฝึกปฏิบัติ 5) เสริมสร้าง ปลูกจิตสำนึกครูอาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา ให้ดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 6) พัฒนาระบบการประเมินตามระดับคุณภาพของมาตรฐานวิชาชีพเพื่อ การต่ออายุใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ 7) พัฒนาครูสู่การเป็นครูแกนนำ (Master Teacher) และครูมืออาชีพ (Professional Teacher) ที่สะท้อนทักษะ ความรู้ความสามารถ และสมรรถนะของวิชาชีพ ครู สรุป เป้าหมายการพัฒนาคนที่เป็นทรัพยากรมนุษย์ของชาติเพื่อให้เป็นนวัตกรไป สร้างนวัตกรรมและเรียนรู้เทคโนโลยีเพื่อใช้พัฒนาอาชีพและพัฒนาอาชีพคุณภาพชีวิตให้ดี ขึ้นสอดคล้องกับแผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2560 – 2579 ของชาติในอนาคตโดย มีบริบทเศรษฐกิจและสังคมโลก ทั้งที่เป็นปัจจัยภายนอก จากการปฏิวัติดิจิทัล (Digital Revolution) การเปลี่ยนแปลงสู่อุตสาหกรรม 4.0 (The Fourth Industrial Revolution) เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ 2558 (Millennium Development Goals : MDGs 2015) เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ 2573 (Sustainable Development Goals : SDGs 2030) และความต้องการกำลังคนที่มีทักษะในศตวรรษที่ 21 และปัจจัยภายในประเทศ จากนโยบายการปรับเปลี่ยนประเทศไปสู่ประเทศไทย 4.0 ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี(พ.ศ. 2560 – 2579) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) และวิกฤตสังคมสูงวัย ล้วนมีผลกระทบต่อการบริหารจัด การศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ การพัฒนาคนให้มีคุณภาพตามรูปแบบประเทศไทย 4.0 ต้องเน้นการ “พัฒนาที่ สมดุล” ใน 4 มิติคือ มีความสมดุลในความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ การรักษ์สิ่งแวดล้อม การมี สังคมที่อยู่ดีมีสุข และการเสริมสร้างภูมิปัญญามนุษย์ โดยการพัฒนาที่สมดุลตั้งอยู่บนฐาน คิดของ “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” หลักการสำคัญของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีอยู่ว่า “เมื่อพร่อง ต้องรู้จักเติม เมื่อพอ ต้องรู้จักหยุด เมื่อเกินต้องรู้จักปัน”เป็นคติพัฒนาคนให้ รู้จักคิดเป็น ทำได้รู้จักพอประมาณในการดำรงชีวิตให้มีความสุข
149 143 4.4 การบูรณาการหลักพุทธวิถีใหม่สู่การพัฒนาคนของภาวะผู้นำการ เปลี่ยนแปลง การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อพัฒนาคนของภาวะผู้นำทางการศึกษาโดยเชื่อ ความสัมพันธ์กับระดับการบริหารการศึกษา หน้าที่การงาน ความรู้ ทักษะ สมรรถนะที เป็นคุณสมบัติของภาวะผู้นำทางการศึกษา ผู้เรียบเรียงขอนำเสนอชุดคุณธรรมที่เหมาะสม กับคุณลักษณะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาที่สง่างาม ดังนี้ ชุดการพัฒนาคนของภาวะผู้นำทางการศึกษา หลักกัลยาณมิตร คือ มีผู้แนะนำ สั่งสอน ที่ปรึกษา เพื่อนน่าที่คบหาและบุคคล ผู้สร้างสภาพแวดล้อมที่ดีดังพระพุทธเจ้าตรัสว่า31 “ความมีกัลยาณมิตร ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ยิ่งใหญ่, เพื่อความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ ไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม” ฯลฯ และกัลยาณมิตรธรรม 7 มีองค์ประกอบของกัลยาณมิตร คือ ความดีงามและความเจริญ ดังนี้ พที่ 4.17 ภาพที่4.18 คุณลักษณะภาวะผู้นำที่เป็นกัลยาณมิตร ที่มา : มาจากพระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต), 2559) 31ดูรายละเอียดใน สํ.ม. 19/5–129/2–36; องฺ.เอก. 20/72–128/16–25; พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต), 2559, น. 19-22. 1. เป็นที่รัก 2. เป็นที่เคารพ 3. เป็นที่ยกย่อง 4. เป็นนักพูด 5. เป็นผู้อดทนต่อถ้อยคำ 6. เป็นผู้ทำเรื่องยากให้เข้าใจ ง่าย 7. ไม่ชักนำในทางผิด (องฺ.สตฺตก.(ไทย) 23/37 /57) คุณลักษณะภาวะ ผู้นำที่เป็น กัลยาณมิตรได้ทุก ระดับ หนทางความ เจริญในหน้าที่ การงานเป็นดี มีความสุข
150 144 นอกจากนั้นพระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต)32 ได้กล่าวในหนังสือธรรมนูญชีวิต พุทธจริยธรรมเพื่อชีวิตที่ดีงาม จากหลักการนี้การพัฒนาตนของภาวะผู้นำทางการศึกษาต้อง มีคุณสมบัติที่เป็นต้นทุน 7 ประการ เป็นหลักประกันของชีวิตที่จะพัฒนาสู่ความเป็นมนุษย์ ที่สมบูรณ์ อย่างแท้จริง ดังนี้ 1. กัลยาณมิตตตา (มีกัลยาณมิตร) แสวงแหล่งปัญญาและแบบอย่างที่ดี คือ อยู่ร่วมหรือใกล้ชิดกัลยาณชน 2. สีลสัมปทา (ทำศีลให้ถึงพร้อม) มีวินัยเป็นฐานของการพัฒนาชีวิต คือ รู้จักจัด ระเบียบความเป็นอยู่กิจกรรมกิจการและสิ่งแวดล้อมให้เอื้อโอกาสแก่การพัฒนาชีวิต 3. ฉันทสัมปทา (ทำฉันทะให้ถึงพร้อม) มีจิตใจใฝ่รู้ใฝ่สร้างสรรค์ คือ เป็นผู้มีพลัง แห่งความใฝ่รู้ ใฝ่ดี ใฝ่ทำ ใฝ่สร้างสรรค์ ใฝ่สัมฤทธิ์ ใฝ่ความเป็นเลิศ 4. อัตตสัมปทา (ทำตนให้ถึงพร้อม) มุ่งมั่นฝึกตนจนเต็มสุดภาวะที่ความเป็นคน จะให้ถึงได้ คือ ระลึกอยู่เสมอถึงความจริงแท้แห่งธรรมชาติของมนุษย์ผู้เป็นสัตว์ที่ฝึกได้ และต้องฝึกกรรม จิตใจ และปัญญา 5. ทิฏฐิสัมปทา (ทำทิฏฐิให้ถึงพร้อม) ถือหลักเหตุปัจจัยมองอะไรๆ ตามเหตุและ ผล คือ ตั้งอยู่ในหลักความคิดความเชื่อถือที่ดีงามมีเหตุผล อย่างน้อยถือหลักเหตุปัจจัย ที่จะนำไปสู่การพิจารณาไตร่ตรองสืบสวนค้นคว้า 6. อัปปมาทสัมปทา (ทำความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม) ตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท คือ มีจิตสำนึกในความไม่เที่ยง มองเห็นตระหนักถึงความไม่คงที่ ไม่คงทน และไม่คงตัว ทั้งของชีวิตและสิ่งทั้งหลายรอบตัว 7. โยนิโสมนสิการสัมปทา (ทำโยนิโสมนสิการให้ถึงพร้อม) ฉลาดคิดแยบคายให้ได้ ประโยชน์และความจริง คือ รู้จักคิด รู้จักพิจารณา มองเป็น คิดเป็น เห็นสิ่งทั้งหลายตามที่ มันเป็นไปในระบบความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย33 ดังภาพที่ 4.19 ดังนี้ 32พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต), ธรรมนูญชีวิต พุทธจริยธรรมเพื่อชีวิตที่ดีงาม, (กรุงเทพมหานคร: กองทุนอริยมรรค, 2541), หน้า 11-12. 33ดูรายละเอียดใน สํ.ม. 19/129–136/36–37.
151 145 ภาพที่4.19 การพัฒนาตนของภาวะผู้นำที่ทางการศึกษา ที่มา : มาจาก พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต), ธรรมนูญชีวิต พุทธจริยธรรมเพื่อชีวิต ที่ดีงาม 2. คุณธรรมสำหรับการพัฒนาคนของภาวะผู้นำทางการศึกษาตามหลักธรรม คุ้มครองโลก และธรรมทำให้งาม คุณธรรมชุดนี้เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับการพัฒนาตนของภาวะผู้นำทางการศึกษา ในทุกยุคทุกสมัยทุกระดับของผู้นำการศึกษาในโลก ดังภาพที่ปรากฏต่อไปนี้ ภาพที่4.20 คุณธรรมสำหรับการพัฒนาตนของภาวะผู้นำทางการศึกษา ที่มา : มาจาก องฺ.ทุก. 20/410/11 โดยสังเคราะห์ของผู้เขียน (2564) ธรรมคุ้มครองโลก 2 1. หิริความละอายบาป, ละอายใจต่อการ ทำความชั่ว 2. โอตตัปปะ ความกลัวบาป (องฺ.ทุก.20/255/65; ขุ.อิติ. 25/220/257) ธรรมทำให้งาม 2 1. ขันติความอดทน, 2. โสรัจจะ ความสงลเสงี่ยม, อัธยาศัยงาม (องฺ.ทุก. 20/410/118) แนวทางการพัฒนา พฤติกรรมอันงดงามทั้งภายใน และภายนอก 1.เป็นแหล่งปัญญาและแบบอย่างที่ดี 2.มีวินัย 3.มีจิตใจใฝ่รู้ใฝ่สร้างสรรค์ 4.มุ่งมั่นฝึกตนจนเต็มศักยภาพ 5.ถือหลักเหตุปัจจัยด้วยเหตุและผล 6.ตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท 7.ฉลาดคิดแยบคายให้ได้ประโยชน์และ ความจริง การพัฒนาตน ของภาวะผู้นำ ทางการศึกษาใน ศตวรรษที่ 21 ภาวะผู้นำที่ ก้าวทันการ เปลี่ยนแปลง
152 146 3. คุณลักษณะภาวะผู้นำทางการศึกษาตามหลักความดี ดังภาพที่ 4.21 ต่อไปนี้ ภาพที่ 4.21 แนวทางปฏิบัติควบคุมอารมณ์และพฤติกรรม ที่มา : มาจาก ที.ปา.11/228/227; อภิ.สํ.34/840/327 โดยสังเคราะห์ของผู้เขียน (2564) กุศลมูล3 1. อโลภะ ความไม่โลภ 2. อโทสะ ความไม่คิดโกรธ 3. อโมหะ ความไม่หลง (ที.ปา.11/394/292.) สุจริต3 1. กายสุจริต ประพฤติชอบทางกาย 2. วจีสุจริต ประพฤติชอบทางวาจา 3. มโนสุจริต ประพฤติชอบด้วยใจ (ที.ปา.11/228/227; อภิ.สํ. 34/840/327) แนวทางปฏิบัติควบคุมอารมณ์ และพฤติกรรม 3 รูปแบบ คือ - กาย - วาจา - ใจ
153 147 4. คุณลักษณะคนดีทั้งภายในและภายนอกของภาวะผู้นำทางการศึกษา คุณสมบัติของคนดีตามหลักสัปปุริสธรรม 734 สรุปดังภาพที่ 4.22 ต่อไปนี้ + ภาพที่4.22 องค์ประกอบคุณสมบัติของคนดี ที่มา : มาจาก พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต), 2559) 5.แนวทางการพัฒนาคนตามหลักพุทธธรรมด้วยตอบคำถามทั้ง 3 ระดับดังนี้ 1) การพัฒนาคนให้เป็นอย่างไร คำถามนี้การพัฒนาคนให้มีความสามารถทำงานกับองค์กรให้มีความสุขได้ทั้งงาน และคนดีมีความสมดุลที่ถูกต้องคนกลุ่มแรก คือคนที่ดำรงแบบฆราวาสอย่างมีความสุขตาม หลักฆราวาสธรรม 4 เป็นหลักการครองชีวิตของคฤหัสถ์ซึ่งมีองค์ประกอบของฆราวาสธรรม 4 ประการ35 สรุปดังภาพที่ 4.23 ต่อไปนี้ 34ดูรายละเอียดใน ที.ปา.11/331/264; 439/312; องฺ.สตฺตก.23/65/114, พระพรหม คุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต), 2559. 35ดูรายละเอียดใน องฺ.จตุกฺก. (ไทย) 21/32/50, พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต), 2559. องค์ประกอบคุณสมบัติของคนดี 1.ธัมมัญญุตา คือ รู้เหตุ 2. อัตถัญญุตา คือ รู้จักผล 3. อัตตัญญุตา คือ รู้จักตน 4. มัตตัญญุตา คือ รู้จักประมาณ 5. กาลัญญุตา คือ รู้กาลเวลาอัน เหมาะสม 6. ปริสัญญุตา คือ รู้จักชุมชน 7. ปุคคลัญญุตา คือ รู้จักบุคคล แนวทางการปฏิบัติให้เกิดมีคุณสมบัติ ที่ดีได้แบ่งเป็นสองชุด ชุดแรกเป็นคุณสมบัติภายใน 1. อัตตัญญุตา คือ รู้จักตน 2. ธัมมัญญุตา คือ รู้เหตุ 3. อัตถัญญุตา คือ รู้จักผล 4. มัตตัญญุตา คือ รู้จักประมาณ ชุดที่สองเป็นคุณสมบัติภายนอก 5. กาลัญญุตา คือ รู้กาลเวลาอัน เหมาะสม 6. ปริสัญญุตา คือ รู้จักชุมชน 7. ปุคคลัญญุตา คือ รู้จักบุคคล คุณลักษณะที่ดี ของคนที่องค์กร ต้องการ
154 148 การพัฒนาคนให้สามารถทำงานได้อย่างมีคุณภาพชุดที่1 ภาพที่4.23 กระบวนการพัฒนาคนให้สามารถทำงานได้อย่างมีคุณภาพ ที่มา : มาจาก องฺ.จตุกฺก. (ไทย) 21/32/50 โดยสังเคราะห์ของผู้เขียน (2564) หลักธรรมที่เอื้อต่อทำงานส่งเสริมสนับสนุนซึ่งกันและกันในการพัฒนาคนชุดที่ 2 คือ หลักธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในองค์กรมี4 ประการนี้ สรุปดังภาพที่ 4.24 ต่อไปนี้ ภาพที่4.24 แนวทางการพัฒนาคน ที่มา : พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต), 2559) 1. สัจจะ คือ ความจริง 2. ทมะ คือ การฝึกฝน 3. ขันติ คือ ความอดทน 4.จาคะ คือ ความ เสียสละใจกว้าง ตรงต่อเวลา เรียนรู้ ฝึกหัด ใจหนักแน่น เสียสละความสุขส่วนตน เพื่อส่วนรวม 1. ทาน คือ การให้ 2. ปิยวาจา คือ สุภาพ ไพเราะ 3. อัตถจริยาคือ การประพฤติใน สิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น 4. สมานัตตตาคือ มีความ ประพฤติเสมอต้นเสมอปลาย คุณลักษณะภาวะผู้นำทาง การศึกษาที่ครองใจในองค์กร
155 149 2) การพัฒนาคนให้เป็นอยู่อย่างไร หลักการข้อหนึ่งในแผนการศึกษาแห่งชาติในระหว่างพ.ศ.2560-2579 กล่าวว่า สร้างความมั่นคงแก่ประเทศชาติโดยสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้และสังคม คุณธรรม จริยธรรมที่คนไทยทุกคนอยู่ร่วมกันอย่างปลอดภัย สงบสุข และพอเพียง ซึ่งใน ทางพระพุทธศาสนา คือหลักมรรมมีองค์ 8 ซึ่งมีองค์ประกอบในนำไปสู่การปฏิบัติ 3 ชุด36 ดังนี้ ชุดที่ 1 เป็นหลักการปฏิบัติรักษาศีล ซึ่งมีองค์ประกอบของมรรคมีองค์8 ได้แก่ สัมมาวาจา วาจาสุจริต 3 สัมมากัมมันตะ กุศลกรรม 3 และสัมมาอาชีวะ ชุดที่ 2 เป็นหลักการปฏิบัติฝึกจิตให้งดงาม ซึ่งมีองค์ประกอบของมรรคมีองค์8 ได้แก่ สัมมาวายามะ สัมมาสติและสัมมาสมาธิ ชุดที่ 3 เป็นหลักการปฏิบัติให้เกิดปัญญา ซึ่งมีองค์ประกอบของมรรคมีองค์8 ได้แก่ สัมมาทิฏฐิสัมมาสังกัปปะ สรุป การพัฒนาคนให้เป็นเก่งตามกระแสการเปลี่ยนแปลงทั้งภาคทฤษฎีและ การบูรณาการหลักพุทธธรรมให้สมดุลกันทั้งทางกาย จิตใจและปัญญา คือ การพัฒนาคนให้ เก่งตามความต้องการของแต่ละสาขาอาชีพ ตามหลักคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ดังนี้ 1. ส่งเสริมโอกาลการเข้าถึงบริการทางสังคมบนพื้นฐานแห่งความพอเพียง 2. สร้างภูมิคุ้มกันและพัฒนาศักยภาพกลุ่มเป้าหมายและเครือข่าย โดยมีภูมิคุ้มกัน ช่วยเหลือตนเอง 3. ผนึกกำลังทางสังคมเพื่อเป็นกลไกในการพัฒนาสังคมโดยมีเป้าประสงค์ให้คนไทย มีความตระหนักร่วมรับผิดชอบตนเอง สร้างค่านิยมให้มีส่วนร่วมรับผิดชอบตนเอง รับผิดชอบ สังคม 4. บริหารจัดการองค์กรที่เป็นเลิศและเสริมสร้างธรรมาภิบาล ดังที่สุวิทย์ เมษินทรีย์อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไทยได้กล่าวว่า "รู้จักเติม รู้จักพอ รู้จักปัน ชีวิตวิถีใหม่สู่ความยั่งยืน ก่อให้เกิดการพึ่งพาตนเอง พึ่งพากันเอง และ รวมกันเป็นกลุ่มอย่างมีพลัง 3) การพัฒนาคนให้มีเป้าหมายเป็นอย่างไร การพัฒนาคนมีเป้าหมายการพัฒนาคนของภาวะผู้นำทางการศึกษาให้มีความสุข ตามหลักพุทธวิถีใหม่37 มีองค์ประกอบดังนี้ 36ดูรายละเอียดใน องฺ.ติก.20/524/296, ม.มู.12/508/ 549, พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺ โต), 2545, น. 601-616. 37พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต), ธรรมนูญชีวิต (ฉบับชาวบ้าน), หน้า 141.
156 150 ตารางที่4.3 ความสุขด้วยหลักพุทธธรรม 5 ขั้นและความสุขสร้างสรรค์ด้วยปัญญา 5 ขั้น ความสุขด้วยหลักพุทธธรรม 5 ขั้น ความสุขสร้างสรรค์ด้วยปัญญา 5 ขั้น 1. ความสุขด้วยวัตถุภายนอก 1. ประกอบสัมมาอาชีพ พอเพียง 2. เจริญด้วยคุณธรรมเพิ่มขึ้น 2. เมื่อพอรู้จักแบ่งปัน 3. ความสุขที่เกิดจากการดำเนินชีวิตถูกต้อง 3. เข้าใจความจริงของชีวิต สร้างและผลิต 4. ความสุขจากการสามารถปรุงแต่ง 4. สร้างนวัตกรรม เพิ่มคุณภาพชีวิตด้วย ปัญญา 5. ความสุขเหนือการปรุงแต่งอยู่ด้วย ปัญญา 5. สามารถเข้าถึงความจริง จิตเป็นอิสระ 3.1) แบบตรวจสอบความสุข 5 ระดับสำหรับการพัฒนาคนตามหลักภาวนา 4 ดังตารางต่อไปนี้ ตารางที่ 4.4 การวัดระดับความสุข 5 ระดับ ได้ด้วยตนเองตามหลักภาวนา 4 ที่ ภาวะนา 4 ปราโมทย์ ร่าเริงเบิก บานใจ ปีติความ อิ่มใจ ปัสสัทธิ ผ่อนคลาย กาย ใจ ความสุข โปร่งโล่ง ใจ สมาธิ สภาวะจิต มั่นคง 1 กายภาวนา การพัฒนา ความสัมพันธ์กับ สิ่งแวดล้อมทาง กายภาพ 2 สีลภาวนา อยู่ร่วม กับผู้อื่น ได้ด้วยดี 3 จิตภาวนา สดชื่น เบิกบาน เป็นสุขผ่อง ใส 4 ปัญญาภาวนา รู้เท่าทันเห็นโลก และชีวิตตามสภาวะ ความจริง
157 151 จากตารางที่ 4.4 ขอแนะนำให้ตรวจในแต่ละด้านด้วยการใช้การบันทึกเพื่อเริ่มการ พัฒนาคนในองค์การสถานศึกษา เริ่มด้าน กาย ตามด้วย ศีล จิตใจ และปัญญา มีความสุข ใน 5 ระดับได้อย่างไร และข้อใดเป็นจุดแข็ง ข้อใดต้องเร่งพัฒนา ข้อใดเป็นโอกาส หรือ ข้อใดมีปัญหาอุปสรรค์ จะได้แนวทางที่ต้องเร่งพัฒนาตนให้มีความสุข ซึ่งฝากให้ตรวจด้วย ตนเองว่าต้องการประเมินความสุขด้านใดในระดับใด 4.5 การพัฒนางานของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การพัฒนางานสถานศึกษา เป็นบริบทที่เกี่ยวกับการบริหารงานและจัดการด้าน การศึกษาเล่าเรียนให้แก่เด็กและเยาวชน ซึ่งเป็นการจัดกิจกรรมที่ต้องดำเนินการอย่าง ต่อเนื่อง และได้รับการสนับสนุน ส่งเสริมจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพราะขอบข่ายของการ บริหารสถานศึกษาหรือโรงเรียนนั้น จะต้องกระทำอย่างเป็นระบบและได้มาตรฐาน ดังนั้น จึงมีหน่วยงานและนักวิชาการหลายท่านได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับขอบข่ายของการบริหารงาน สถานศึกษา หรือโรงเรียนไว้ ดังนี้ 4.5.1 ขอบข่ายของการบริหารงานในสถานศึกษาในปัจจุบัน กระทรวงศึกษาธิการ38 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไข เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ได้กำหนดขอบข่ายของการบริหารงานในสถานศึกษาไว้ 4 กลุ่มงานใหญ่ๆ ดังนี้ 1. การบริหารงานวิชาการ ประกอบด้วย 1) การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา 2) การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ 3) การวัดผล การประเมินผล และเทียบโอนผลการเรียน 4) การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา 5) การพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา 6) การพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ 7) การนิเทศการศึกษา 8) การแนะแนวการศึกษา 9) การพัฒนาระบบกระประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา 10) การส่งเสริมความรู้ด้านวิชาการแก่ชุมชน 38กระทรวงศึกษาธิการ, พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545, (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์, 2546), หน้า 33 – 38.
158 152 11) การประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาอื่น 12) การส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการแก่บุคคล ครอบครัว องค์กร หน่วยงาน และสถานบันอื่นที่จัดการศึกษา 2. การบริหารงบประมาณ ประกอบด้วย 1) การจัดทำและเสนอของบประมาณ 2) การจัดสรรงบประมาณ 3) การตรวจสอบ การติดตาม ประเมินผลและรายงานผลการใช้เงิน 4) การระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา 5) การบริหารเงิน 6) การบริหารบัญชี 7) การบริหารพัสดุและทรัพย์สิน 3. การบริหารงานบุคคลประกอบด้วย 1) การวางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่ง 2) การสรรหาและการบรรจุแต่งตั้ง 3) การเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ 4) วินัยและการรักษาวินัย 5) การออกจากราชการ 4. การบริหารทั่วไปประกอบด้วย 1) การดำเนินงานธุรการ 2) งานเลขานุการคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) งานพัฒนาระบบเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศ 4) การประสานและการพัฒนาเครือข่ายการศึกษา 5) การจัดระบบการบริหารและการพัฒนาองค์การ 6) งานเทคโนโลยีสารสนเทศ 7) การส่งเสริมสนับสนุนด้านวิชาการ งบประมาณ บุคลากรและบริหารทั่วไป 8) การดูแลอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม 9) การจัดทำสำมโนนักเรียน 10) การรับนักเรียน 11) การส่งเสริมและการประสานงานการศึกษาในระบบ นอกระบบและตาม อัธยาศัย 12) การส่งเสริมงานกิจกรรมนักเรียน 13) การประชาสัมพันธ์งานการศึกษา
159 153 14) การส่งเสริมสนับสนุนแลประสานงานการศึกษาของบุคคล ชุมชน องค์กร หน่วยงานและสถานบัน สังคมอื่นที่จัดการศึกษา 15) การจัดระบบการควบคุมในหน่วยงาน 16) งานบริการสาธารณะ 17) งานที่ไม่ได้ระบุไว้ในงานอื่น 4.5.2 การปฏิบัติภารกิจของงานในสถานศึกษา ประสงค์ ประณีตพลกรัง และคณะ39 ได้กล่าวถึง ความหมายของคำว่าการบริหาร และการจัดการคือการกำหนดนโยบายสำคัญและการกำหนดแผนงานขององค์กร รวมถึง การบริหารงาน ที่มุ่งเน้นการดำเนินงานเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายที่วางแผนไว้เพื่อให้กิจการ หรือองค์กรสามารถ ดำเนินกิจการอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และบรรลุวัตถุประสงค์ ที่องค์กรตั้งไว้ โดยกระบวนการของการจัดการเพื่อให้องค์กรบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้ง ไว้มีอยู่ 4 ขั้นตอน คือ 1. การวางแผน (Planning) ด้วยการกำหนดวัตถุประสงค์ (Objectives) การ กำหนดแนวทางการดำเนินงาน (Map out activities) 2. การจัดองค์การ (Organizing) เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ไม่ว่า จะเป็นด้านบุคลากร การเงิน โครงสร้าง การสื่อสาร และข้อมูลต่าง ๆ ที่จะเป็นสิ่งสนับสนุน ด้วยการ กำหนดบทบาทหน้าที่ของแต่ละคน ตลอดจนการแก้ปัญหาความขัดแย้ง 3. การชักนำ (Leading) ประกอบด้วยการจูงใจผู้ใต้บังคับบัญชา การสั่งการ การคัดเลือก ช่องทางการสื่อสารที่มีประสิทธิผลที่สุด ตลอดจนการแก้ปัญหาความขัดแย้ง 4. การควบคุม (Controlling) เป็นกิจกรรมการติดตามผลและการแก้ไข ปรับปรุงสิ่งที่จำเป็น เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นว่างานบรรลุผลตามที่ได้วางแผนไว้ซึ่งสอดคล้อง กับพระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมมฺจิตฺโต)40 อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬา ลงกรณราชวิทยาลัย ได้กล่าวว่า การบริหารเป็นวิธีการทำให้งานสำเร็จโดยอาศัยผู้อื่น (Getting thing done through other people) และกล่าวว่าหน้าที่ของผู้บริหารเป็น กรอบในการพิจารณาของผู้บริหารให้สำเร็จ มี 5 ประการ ตามคำย่อภาษาอังกฤษ ว่า “POSDC” ดังนี้ คือ 39ประสงค์ ประณีตพลกรัง และคณะ, การบริหารการผลิตและการปฏิบัติการ, (กรุงเทพมหานคร: Diamond in Business World, 2553), หน้า 9-18 40พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมมฺจิตฺโต), พุทธวิธีในการบริหาร, พิมพ์ครั้งที่ 4, (กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2549), หน้า 3 – 5.
160 154 1. P คือ planning หมายถึง การวางแผนเป็นการกำหนดแนวทางดำเนินงาน เพื่อความสำเร็จที่จะตามมาในอนาคต ผู้บริหารที่ดีต้องมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลเพื่อกำหนด ทิศทางขององค์กร 2. O คือ organizing หมายถึง การจัดองค์กร เป็นการกำหนดโครงสร้าง ความสัมพันธ์ของสมาชิกและสายบังคับบัญชาภายในองค์กร มีการแบ่งงานกันทำและ กระจายอำนาจ 3. S คือ staffing หมายถึง งานบุคลากร เป็นการสรรหาบุคลากรใหม่ การ พัฒนาบุคลากรและการใช้คนให้เหมาะสมกับงาน 4. D คือ directing หมายถึง การอำนวยการ เป็นการสื่อสารเพื่อให้เกิดการ ดำเนินการตามแผน ผู้บริหารต้องมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี และต้องมีภาวะผู้นำ 5. C คือ controlling หมายถึง การกำกับดูแล เป็นการควบคุมคุณภาพของ การปฏิบัติงานภายในองค์กร รวมทั้งกระบวนการแก้ปัญหาภายในองค์กร กล่าวได้ว่าหัวใจการปฏิบัติงานต้องเริ่มการวางแผนให้ชัดและกำหนดคนรับผิดชอบ งานเพื่อให้ดำเนินงานบรรลุเป้าหมายอย่างมีคุณภาพและติดตาม ควบคุมสนับสนุนให้ กำลังใจการทำงานให้มีประสิทธิภาพ กรณีการพัฒนางานสถานศึกษาในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-2019 กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการได้จัดทำคู่มือการ ปฏิบัติสำหรับสถานศึกษาในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 เป็นมาตรการการ ป้องกันโรคเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด - 19 ในการเตรียมความพร้อมก่อนเปิด ภาคเรียน41 มีดังนี้ มิติที่ 1 ความปลอดภัยจากการลดการแพร่เชื้อโรค 1. มีมาตรการคัดกรองวัดไข้และ อาการเสี่ยง ก่อนเข้าสถานศึกษา พร้อมสังเกต อาการไข้ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ หายใจลำบาก เหนื่อยหอบ ไม่ได้กลิ่น ไม่รู้รส สำหรับนักเรียน บุคลากรของ สถานศึกษา และผู้มาติดต่อทุกคน 2. ให้นักเรียน บุคลากร และผู้เข้ามาในสถานศึกษา ทุกคนต้องสวมหน้ากากผ้า หรือหน้ากากอนามัย ตลอดเวลาเมื่ออยู่ในสถานศึกษา 3. ให้มีจุดบริการล้างมือด้วยสบู่และน้ำ หรือเจลแอลกอฮอล์อย่างเพียงพอ ในบริเวณต่าง ๆ เช่น ทางเข้าอาคารห้องเรียน โรงอาหาร 41กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, คู่มือการปฏิบัติสำหรับสถานศึกษาในการป้องกันการ แพร่ระบาดของโรคโควิด 19, (กรุงเทพมหานคร: บริษัท คิว แอดเวอร์ไทซิ่ง จำกัด, 2563), หน้า 7-14.
161 155 4. ให้จัดเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล อย่างน้อย 1 - 2 เมตร เช่น ระหว่างโต๊ะ เรียน ที่นั่งเรียนที่นั่งในโรงอาหาร ที่นั่งพัก ทางเดินจุดรอคอย ห้องนอนเด็กเล็กกรณี ห้องเรียนไม่เพียงพอในการจัดเว้นระยะห่างระหว่างบุคคลควรจัดให้มีการสลับวันเรียนแต่ ละชั้นเรียน การแบ่งจำนวนนักเรียน หรือการใช้พื้นที่ใช้สอยบริเวณสถานศึกษา ตามความ เหมาะสม ทั้งนี้อาจพิจารณาวิธีปฏิบัติอื่นตามบริบทความเหมาะสมโดยยึดหลัก Social distancing 5. เปิดประตู หน้าต่างให้อากาศถ่ายเท ทำความสะอาดห้องเรียน และบริเวณ ต่าง ๆ โดยเช็ด ทำความสะอาดพื้นผิวสัมผัสของโต๊ะ เก้าอี้ และวัสดุอุปกรณ์ก่อนเข้าเรียน พักเที่ยง และหลังเลิกเรียนทุกวัน รวมถึงจัดให้มีถังขยะมูลฝอยแบบมีฝาปิดและรวบรวม ขยะออกจากห้องเรียนเพื่อนำไปกำจัดทุกวัน 6. ให้พิจารณาควบคุมจำนวนนักเรียนที่มาร่วมกิจกรรม ลดแออัด หรือลดเวลา ทำกิจกรรมให้สั้นลงเท่าที่จำเป็น หรือเหลื่อมเวลาทำกิจกรรม โดยถือหลักหลีกเลี่ยงการ ติดต่อสัมผัสระหว่างกัน 7. ทำความสะอาดพื้นที่ที่นักเรียนใช้ร่วมกัน ก่อนและหลังใช้งานทุกครั้ง เช่น ห้องคอมพิวเตอร์ห้องดนตรี ลิฟต์ อุปกรณ์กีฬา 8. จัดให้มีพื้นที่ในการเข้าแถว ทำกิจกรรม หรือเล่นกลุ่มย่อย เว้นระยะห่าง ระหว่างบุคคลอย่างน้อย 1 - 2 เมตร 9. ให้นักเรียนใช้ของใช้ส่วนตัวไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น เช่น แก้วน้ำ ช้อน ส้อม แปรงสีฟัน ยาสีฟัน ผ้าเช็ดหน้า 10. จัดให้มีห้องพยาบาลสำหรับแยกผู้มีอาการป่วยระบบทางเดินหายใจออก จากผู้มีอาการป่วยระบบอื่น ๆ หรือพิจารณาส่งไปสถานพยาบาล 11. จัดให้มีการสื่อสารความรู้การป้องกันโรคโควิด 19 แก่นักเรียน บุคลากร เพื่อให้สามารถล้างมือ สวมและถอดหน้ากากอย่างถูกวิธี การเก็บรักษาหน้ากาก ช่วงพัก เที่ยงและการทำความสะอาดสถานที่และอุปกรณ์ของใช้ที่ถูกสุขลักษณะตลอดจนจัดให้มี นักเรียนแกนนำด้านสุขภาพนักเรียนที่มีจิตอาสาเป็นอาสาสมัครในการช่วยดูแลสุขภาพ เพื่อนนักเรียนด้วยกันหรือดูแลรุ่นน้องด้วย 12. กรณี มีรถรับ – ส่งนักเรียนเน้นให้ผู้โดยสารทุกคน สวมหน้ากากผ้าหรือ หน้ากากอนามัยทำความสะอาดยานพาหนะและบริเวณจุดสัมผัสร่วมกัน เช่น ราวจับ เบาะ นั่ง ที่วางแขน ก่อนรับ และหลังจากส่ง นักเรียนแล้วทุกครั้งลดการพูดคุยหรือเล่นกันบนรถ ตลอดจนการจัดเว้นระยะห่างระหว่างที่นั่ง
162 156 มิติที่ 2 การเรียนรู้ 1. จัดหาสื่อความรู้ในการป้องกันควบคุมโรคโควิด 19 สำหรับใช้ในการเรียน การสอน การเรียนรู้นอกห้องเรียน หรือ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในรูปแบบของสื่อออนไลน์: VTR , Animation , Infographic และสื่อสิ่งพิมพ์ : โปสเตอร์ แผ่นพับภาพพลิก คู่มือ แนว ปฏิบัติ 2. เตรียมความพร้อมด้านการเรียนรู้ของเด็กตามวัยและสอดคล้องกับพัฒนาการ ด้านสังคม อารมณ์ และสติปัญญา 3. สร้างความเข้มแข็งของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยบูรณาการกิจกรรม ส่งเสริมพัฒนานักเรียนด้านทักษะชีวิต และความเข้มแข็งทางใจ เข้าในการเรียนการสอน ปกติเพื่อช่วยให้นักเรียนจัดการความเครียดและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้อย่าง เหมาะสม มิติที่ 3 การครอบคลุมถึงเด็กด้อยโอกาส 1. จัดหาวัสดุสิ่งของเครื่องใช้และอุปกรณ์ล้างมือ เช่น สบู่ เจลแอลกอฮอล์ หน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยอย่างเพียงพอสำหรับนักเรียนและบุคลากรในสถานศึกษา ควรมีสำรอง โดยเฉพาะเด็กเล็กที่เป็นง่ายเพราะถ้าชื้นแฉะจะไม่สามารถป้องกันเชื้อได้ 2. มีการปรับรูปแบบการเรียนการสอนให้ สอดคล้องกับบริบทการเข้าถึงการ เรียนรู้ในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 3. มีมาตรการส่งเสริมให้นักเรียนได้รับบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึง 4. มีมาตรการการทำความสะอาด และจัดสภาพแวดล้อมของที่พักและเรือน นอนให้ถูกสุขลักษณะ 5. มีมาตรการการทำความสะอาดและจัดสภาพแวดล้อมให้สอดคล้องกับ ข้อบัญญัติการปฏิบัติด้านศาสนกิจ 6. มีมาตรการดูแลนักเรียนที่มีความบกพร่อง ด้านพัฒนาการการเรียนรู้ หรือ ด้านพฤติกรรมอารมณ์ ที่สามารถเรียนร่วมกับเด็กปกติ ได้แก่ นักเรียนที่มีภาวะบกพร่อง ทางสติปัญญา บกพร่องทางการเรียนรู้ บกพร่องด้านพฤติกรรมอารมณ์ รวมถึงภาวะสมาธิ สั้นและเด็กออทิสติก มิติที่ 4 สวัสดิภาพและการคุ้มครอง 1. จัดเตรียมแผนรองรับด้านการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนป่วยกักตัวหรือ กรณีปิดสถานศึกษาชั่วคราว 2. จัดเตรียมแนวปฏิบัติการสื่อสารเพื่อลดการรังเกียจและการตีตราทางสังคม (Social stigma)
163 157 3. จัดเตรียมแนวปฏิบัติด้านการจัดการความเครียดของครูและบุคลากร 4. ตรวจสอบประวัติเสี่ยงของบุคลากรและนักเรียน ตรวจสอบเรื่องการกักตัว ให้ครบ 14 วันก่อนมาทำการเรียนการสอนตามปกติและทุกวันเปิดเรียน 5. กำหนดแนวทางปฏิบัติตามระเบียบสำหรับบุคลากรและนักเรียนที่สงสัยติด เชื้อหรือป่วยด้วยโรคโควิด 19 โดยไม่ถือเป็นวันลาหรือวันหยุดเรียน มิติที่ 5 นโยบาย 1. สื่อสารประชาสัมพันธ์แก่ครูและบุคลากรในสถานศึกษาให้มีความรู้ความ เข้าใจเบื้องต้น เกี่ยวกับโรคโควิด 19 ทักษะการล้างมือการสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากาก อนามัย สุขลักษณะส่วนบุคคลที่ดีรวมทั้งการทำความสะอาดอย่างถูกวิธี 2. ประชุมชี้แจงคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานแบบออนไลน์หรือกลุ่ม ย่อยตามความจำเป็น 3. มีแผนงาน โครงการ และกิจกรรมรองรับนโยบายและแนวทางการป้องกัน โรคโควิด 19 ของสถานศึกษา 4. แต่งตั้งคณะทำงานรับผิดชอบเกี่ยวกับโรคโควิด 19 ในสถานศึกษา ประกอบด้วย ครู บุคลากร สถานศึกษานักเรียน ผู้ปกครอง เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และ ผู้เกี่ยวข้อง องค์กรหรือภาคเอกชน เช่น ท้องถิ่น บริษัท ห้างร้าน NGO เป็นต้น เพื่อ สนับสนุนกิจกรรม การป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในสถานศึกษา 4. พิจารณาสรรหาบุคลากรเพิ่มเติมในการดูแลนักเรียนและการจัดการสิ่งแวดล้อม ในสถานศึกษา สรุปว่าภาวะผู้นำทางการศึกษาต้องเก่งเรื่องการจัดการศึกษาให้ทันสถานการณ์ การระบาดของโรคโควิด 19 เพื่อการเรียนการสอนเดินหน้าต่อไปได้อย่างมีคุณภาพ 4.6 การบูรณาการหลักพุทธวิถีใหม่สู่การพัฒนางานของภาวะผู้นำการ เปลี่ยนแปลง การพัฒนางานให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ หน่วยงานต้องอาศัยคนทำงานที่มี ความรู้ความสามารถ บูรณาการกับหลักพุทธธรรมเพื่อการพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพดังนี้ การพัฒนางานตามแผนงานให้บรรลุเป้าหมายนั้นต้องอาศัยคนทำงานที่เก่ง ดีและ มีคุณภาพผลสำเร็จของงานจึงจะได้คุณภาพ ดังนั้นพุทธธรรมที่ส่งเสริมให้เพิ่มประสิทธิภาพ งานและได้ผลงานที่เรียบร้อยประกอบด้วย
164 158 หลักอิทธิบาท คือหนทางแห่งความสำเร็จในการปฏิบัติงานอย่างมีคุณภาพ ซึ่งมี 4 ข้อ คือ 1. ฉันทะ มีใจรัก คือ พอใจในการทำงานอย่างมีความสุข 2. วิริยะ พากเพียรทำ คือ ขยันหมั่นประกอบกิจการงาน หมั่นกระทำสิ่งนั้น 3. จิตตะ เอาจิตฝักใฝ่ คือ ตั้งจิตรับรู้ในสิ่งที่ทำ 4. วิมังสา ใช้ปัญญาสอบสวน คือ หมั่นใช้ปัญญาพิจารณาใคร่ครวญ เพื่อความสุข และเป็นการสร้างฉันทะในการทำงานซึ่งต้องอาศัยผู้นำสนับสนุนให้เกิดขึ้น เพื่อให้คนทำงาน มีความสุข42 เมื่อนำหลักอิทธิภาพ 4 มาวิเคราะห์และสังเคราะห์ในการเพิ่มประสิทธิภาพ การทำงานพบว่า มีหลักพุทธธรรมอีกหลายหลักธรรมเพื่อบูรณาการกับการพัฒนางานของ ผู้บริหารการศึกษาดังต่อไปนี้ หลักการปฏิบัติให้เพิ่มคุณภาพและการพัฒนางานด้วยระบบ PDGA ซึ่งสอดคล้อง กับหลักอิทธิบาท 4 ดังนี้ ภาพที่ 4.25 การพัฒนางานด้วยระบบ PDGA กับหลักอิทธิบาท 4 ที่มา : หลักคิดการพัฒนางานด้วยระบบ PDGA กับหลักอิทธิบาท 4 โดยสังเคราะห์ของ ผู้เขียน (2564) 42ดูรายละเอียดใน ที.ปา.(ไทย) 11/231/233, พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต), 2559. 1. Plan ห ม า ย ถึ ง การวางแผน ชุดฉันทะ ความพอใจ 2. Do หมายถึง การ ดำเนินการตามแผน ชุดวิริยะ ขยัน 3. Check หมา6ถึง การประเมินแผน ชุดจิตตะ เอาใจใส่งาน 4. Act หมายถึง การ นำผลการประเมินมา พัฒนาแผน ชุดวิมังสา การตรวจสอบ ปรับปรุงงาน
165 159 ชุดหลักธรรมที่ส่งเสริมการพัฒนาผู้นำในการปฏิบัติงานด้วยคุณธรรมมีอุปการะ มาก 2 คือ ธรรมที่เกื้อกูลในกิจหรือในการปฏิบัติงานอย่างมีจิตสำนึกที่ดี 1. สติความระลึกได้นึกได้สำนึกอยู่ในกิจการงานของตน 2. สัมปชัญญะ ความรู้ชัด รู้ชัดสิ่งที่นึกได้ตระหนัก เข้าใจชัดตามความเป็น จริง43 และหลักธรรมที่ส่งเสริมให้จิตใจมีความซื้อสัตย์สุจริตต่อการปฏิบัติงานซึ่งมี องค์ประกอบ 3 ประการคือ 1) กายสุจริต ความประพฤติชอบด้วยกาย มีปัจจัยสนับสนุน 3 คือ งดเว้น และประพฤติตรงข้ามกับ ปาณาติบาต อทินนาทาน และกาเมสุมิจฉาจาร 2) วจีสุจริต ความประพฤติชอบด้วยวาจา มี 4 คือ งดเว้นและประพฤติตรง ข้ามกับ มุสาวาท ปิสุณาวาจา ผรุสวาจา และสัมผัปปลาปะ 3) มโนสุจริต ความประพฤติชอบด้วยใจ44 ชุดการสื่อสารด้วยหลักพุทธธรรมอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลัย คือพระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต)45 กล่าวไว้ว่า ภาวะผู้นำตามแนว พระพุทธศาสนา คือ ผู้ที่มีความสามารถในการจูงใจให้คนเกิดความต้องการอยากปฏิบัติ ตามคำสั่ง ตามมีอัตตหิตสมบัติ คือ เพียบพร้อมด้วยคุณสมบัติส่วนตัวที่เหมาะสมกับการ เป็นผู้นำ และมีปรหิตปฏิบัติ คือ ความมีน้ำใจในการปฏิบัติงานเพื่อส่วนรวมและองค์กรของ ตน พร้อมกับมีความสามารถในการสื่อสารเพื่อให้การบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ คือ 1) สันทัสสนา (แจ่มแจ้ง) หมายถึง อธิบายขั้นตอนของการดำเนินงานได้อย่าง ชัดเจนแจ่มแจ้งให้สมาชิกในองค์กรปฏิบัติตามได้ง่าย 2) สมาทปนา (จูงใจ) หมายถึง อธิบายให้เข้าใจและเห็นชอบกับวิสัยทัศน์จึงจะ ศรัทธาและความรู้สึกว่าต้องฝันให้ไกลแล้วไปให้ถึง 3) สมุตเตชนา (แกล้วกล้า) หมายถึง ปลุกใจให้เกิดความเชื่อมั่นในตนเองและ มีความกระตือรือร้นในการดำเนินการไปสู่เป้าหมายของการปฏิบัติงานอย่างมีความสุข 4) สัมปหังสนา (ร่าเริง) หมายถึง สร้างบรรยากาศในการทำงานร่วมกันแบบ กัลยาณมิตรซึ่งจะส่งเสริมให้การทำงานในองค์กรมีความสุข ดังภาพต่อไปนี้ 43ดูรายละเอียดใน ที.ปา.11/378/290; องฺ.ทุก.20/424/119, พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต), 2559. 44ดูรายละเอียดใน ที.ปา.11/228/227; อภิ.สํ.34/840/327, พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺ โต), 2559.45พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมมฺจิตฺโต), พุทธวิธีในการบริหาร, หน้า 16-17.
166 160 ภาพที่4.26 การสื่อสารเพื่อให้การบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ ที่มา : มาจากพระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) (2549) 2. คุณลักษณะภาวะผู้นำสำหรับการพัฒนาคนของผู้นำทางการศึกษาตามหลัก อปริหานิยธรรม 7 แนวทางการปฏิบัติงานตามหลักอปริหานิยธรรม 7 องค์ประกอบของหลักธรรมอัน ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม เป็นไปเพื่อความเจริญฝ่ายเดียว46 สรุปดังภาพที่ 4.27 ต่อไปนี้ ภาพที่4.27 องค์ประกอบของการปฏิบัติงานที่ส่งเสริมให้องค์กรมีความเจริญ ที่มา : มาจาก พระพรหมคุณาภรณ์(ป. อ. ปยุตฺโต), 25 46ดูรายละเอียดใน ที.ม.10/68/86; องฺ.สตฺตก. 23/20/18 และคำอธิบายพระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต), 2559, เรียงตามหมวดหลักธรรม. แจ่งแจ้ง จูงใจ แกล้วกล้า ร่าเริง คุณสมบัติคนดีที่ส่งเสริมให้ องค์กรมีความเจริญ 1. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย 2. พร้อมเพรียงกันประชุม 3. ไม่บัญญัติสิ่งที่มิได้บัญญัติไว้ 4. เคารพผู้ใหญ่ 5. ให้เกียรติผู้หญิง 6. เคารพที่นับถือประจำชาติ 7. อารักษ์ขาคุ้มครององค์กร แนวทางปฏิบัติพัฒนา คุณสมบัติคนดีเพื่อส่งเสริมให้ องค์กรมีความเจริญ 1. ศรัทธาในภาวะผู้นำของ องค์กร 2. เข้าใจวิสัยทัศน์ขององค์กร 3. เข้าใจวัฒนธรรมองค์กร 4. มีเป้าหมายเดียวกันในการ สร้างความสามัคคี 5. คนในองค์กรมีส่วนร่วมใน การรับผิดชอบงาน ผลทำให้องค์กรหรือ หน่วยงาน พัฒนาบรรลุ เป้าหมายง่าย 160 ภาพที่4.26 การสื่อสารเพื่อให้การบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ ที่มา : มาจากพระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) (2549) 2. คุณลักษณะภาวะผู้นำสำหรับการพัฒนาคนของผู้นำทางการศึกษาตามหลัก อปริหานิยธรรม 7 แนวทางการปฏิบัติงานตามหลักอปริหานิยธรรม 7 องค์ประกอบของหลักธรรมอัน ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม เป็นไปเพื่อความเจริญฝ่ายเดียว46 สรุปดังภาพที่ 4.27 ต่อไปนี้ ภาพที่4.27 องค์ประกอบของการปฏิบัติงานที่ส่งเสริมให้องค์กรมีความเจริญ ที่มา : มาจาก พระพรหมคุณาภรณ์(ป. อ. ปยุตฺโต), 25 46ดูรายละเอียดใน ที.ม.10/68/86; องฺ.สตฺตก. 23/20/18 และคำอธิบายพระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต), 2559, เรียงตามหมวดหลักธรรม. แจ่งแจ้ง จูงใจ แกล้วกล้า ร่าเริง คุณสมบัติคนดีที่ส่งเสริมให้ องค์กรมีความเจริญ 1. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย 2. พร้อมเพรียงกันประชุม 3. ไม่บัญญัติสิ่งที่มิได้บัญญัติไว้ 4. เคารพผู้ใหญ่ 5. ให้เกียรติผู้หญิง 6. เคารพที่นับถือประจำชาติ 7. อารักษ์ขาคุ้มครององค์กร แนวทางปฏิบัติพัฒนา คุณสมบัติคนดีเพื่อส่งเสริมให้ องค์กรมีความเจริญ 1. ศรัทธาในภาวะผู้นำของ องค์กร 2. เข้าใจวิสัยทัศน์ขององค์กร 3. เข้าใจวัฒนธรรมองค์กร 4. มีเป้าหมายเดียวกันในการ สร้างความสามัคคี 5. คนในองค์กรมีส่วนร่วมใน การรับผิดชอบงาน ผลทำให้องค์กรหรือ หน่วยงาน พัฒนาบรรลุ เป้าหมายง่าย
167 161 สรุปการพัฒนางานด้วยระบบ PDGA กับหลักอิทธิบาท 4 จะเชื่อมโยงการบูรณา การหลักพุทธธรรมกับการปฏิบัติงานจริงทั้งระบบเริ่มตั้งภาวะผู้นำของผู้บริหาร คนใน องค์กรและผู้เกี่ยวข้องดังภาพที่ 4.28 การพัฒนางานในสถานศึกษาดังนี้ ภาพที่ 4.28 เกี่ยวกับภาระหน้าที่การบริหารงานของสถานศึกษา/โรงเรียน ที่มา : การบูรณาการหลักพุทธธรรมกับการพัฒนางานในสถานศึกษา โดยสังเคราะห์ของ ผู้เขียน (2564) สรุปการพัฒนาตน คน และงาน สำหรับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา โดยการนำแนวคิดและทฤษฎีไปบูรณาการกับหลักพุทธวิถีใหม่เพื่อให้สมดุลกันระหว่างการ พัฒนาตน คน และงานไปพร้อม ๆ กันดังภาพต่อไปนี้ -อิทธิบาท4
168 162 ภาพที่ 4.29 สรุปการพัฒนาตน คน และงาน บูรณาการกับหลักพุทธวิถีใหม่ ที่มา : กรอบการคิดมาจากแนวคิด ทฤษฎี และ หลักพุทธธรรม โดยสังเคราะห์ของผู้เขียน (2564) สรุปจากผลการวิจัยสิน งามประโคน การพัฒนาตนคุณลักษณะภาวะผู้นำตาม หลักสัปปุริสธรรม ๗ ประกอบด้วย 1) ธัมมัญญุตารู้หลักและรู้จักเหตุคือรู้หลักความจริงของ ธรรมชาติ 2) อัตถัญญุตารู้ความมุ่งหมายและรู้จักผลคือรู้ความหมายหรือความมุ่งหมายของ หลักธรรม 3) อัตตัญญุตารู้จักตนคือรู้ฐานะภาวะเพศกำลังความรู้ความถนัดความสามารถ และคุณธรรม 4) มัตตัญญุตารู้จักประมาณคือรู้จักความพอเหมาะพอดี 5) กาลัญญุตารู้จัก กาล 6) ปริสัญญุตารู้จักชุมชน 7) ปุคคลัญญุตารู้จักบุคคล และสังคหวัตถุ 4 คือ หลักการ สงเคราะห์เพื่อยึดเหนี่ยวใจคนและประสานสังคมไว้ในสามัคคี คือ 1) ทาน คือ การเผื่อแผ่ แบ่งปัน 2) ปิยวาจา คือ การพูดอย่างรักกัน 3) อัตถจริยา คือการทำประโยชน์แก่เขา และ • 1. การพัฒนาตนให้มี ภาวะผู้นําอย่างไร • 2. การปฏิบัติตนให้ เป็นผู้นําได้อย่างไร • 3. เป้าหมายการ พัฒนาตนให้เป็นผู้นํา ได้อย่างไร • 4. บูรณาการพัฒนา ตนกับหลักพุทธวิถี ใหม่ • 1. การพัฒนาคนบน พื้นฐานความต้องการของ บริบทการพัฒนาประเทศ • 2. คุณลักษณะคนใน ศตวรรษที่21 • 3. คุณลักษณะคนในยุค ประเทศไทย4.0 • 4. คุณลักษณะคน เฉพาะงาน • 5. บูรณาการการพัฒนา คนกับหลักพุทธวิถีใหม่ • 1. การบริหารงานวิชาการ • 2. การบริหารงบประมาณ • 3. การบริหารงานบุคคล • 4. การบริหารทั่ว • 5. การปฏิบัติภารกิจของ งานในสถานศึกษา • 6. บูรณาการ การปฏิบัติ งานกับหลักพุทธวิถีใหม่ การพัฒนาตน การพัฒนาคน การพัฒนางาน 162 ภาพที่ 4.29 สรุปการพัฒนาตน คน และงาน บูรณาการกับหลักพุทธวิถีใหม่ ที่มา : กรอบการคิดมาจากแนวคิด ทฤษฎี และ หลักพุทธธรรม โดยสังเคราะห์ของผู้เขียน (2564) สรุปจากผลการวิจัยสิน งามประโคน การพัฒนาตนคุณลักษณะภาวะผู้นำตาม หลักสัปปุริสธรรม ๗ ประกอบด้วย 1) ธัมมัญญุตารู้หลักและรู้จักเหตุคือรู้หลักความจริงของ ธรรมชาติ 2) อัตถัญญุตารู้ความมุ่งหมายและรู้จักผลคือรู้ความหมายหรือความมุ่งหมายของ หลักธรรม 3) อัตตัญญุตารู้จักตนคือรู้ฐานะภาวะเพศกำลังความรู้ความถนัดความสามารถ และคุณธรรม 4) มัตตัญญุตารู้จักประมาณคือรู้จักความพอเหมาะพอดี 5) กาลัญญุตารู้จัก กาล 6) ปริสัญญุตารู้จักชุมชน 7) ปุคคลัญญุตารู้จักบุคคล และสังคหวัตถุ 4 คือ หลักการ สงเคราะห์เพื่อยึดเหนี่ยวใจคนและประสานสังคมไว้ในสามัคคี คือ 1) ทาน คือ การเผื่อแผ่ แบ่งปัน 2) ปิยวาจา คือ การพูดอย่างรักกัน 3) อัตถจริยา คือการทำประโยชน์แก่เขา และ • 1. การพัฒนาตนให้มี ภาวะผู้นําอย่างไร • 2. การปฏิบัติตนให้ เป็นผู้นําได้อย่างไร • 3. เป้าหมายการ พัฒนาตนให้เป็นผู้นํา ได้อย่างไร • 4. บูรณาการพัฒนา ตนกับหลักพุทธวิถี ใหม่ • 1. การพัฒนาคนบน พื้นฐานความต้องการของ บริบทการพัฒนาประเทศ • 2. คุณลักษณะคนใน ศตวรรษที่21 • 3. คุณลักษณะคนในยุค ประเทศไทย4.0 • 4. คุณลักษณะคน เฉพาะงาน • 5. บูรณาการการพัฒนา คนกับหลักพุทธวิถีใหม่ • 1. การบริหารงานวิชาการ • 2. การบริหารงบประมาณ • 3. การบริหารงานบุคคล • 4. การบริหารทั่ว • 5. การปฏิบัติภารกิจของ งานในสถานศึกษา • 6. บูรณาการ การปฏิบัติ งานกับหลักพุทธวิถีใหม่ การพัฒนาตน การพัฒนาคน การพัฒนางาน 163 4) สมานัตตตา คือ การเอาตัวเข้าสมานหรือความเป็นผู้มีตนเสมอต้นเสมอปลาย หมายถึง การทำตัวให้เข้ากับเขาได้ไม่ถือตัวร่วมสุขร่วมทุกข์กันนับว่าเป็นคุณธรรมสำคัญยิ่งสำหรับ ผู้บริหารพึงยึดถือไว้เป็นแนวทางในการปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารคนในองค์กรของตน ประกอบด้วยอิทธิบาท 4 คือ 1) ฉันทะคือความพอใจ 2 วิริยะ คือ ความเพียร 3) จิตตะ คือ ความคิดจดจ่อ 4) วิมังสา คือ ความสอบสวนไตร่ตรอง นอกจากนั้นนักวิชาการทั้งพระสงฆ์และนักการศึกษายังได้ศึกษาและตั้งภาค ทฤษฏีเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้นำไว้หลายประการ ได้แก่ 1. คุณลักษณะทางร่างกาย (Physical Traits) เกี่ยวกับรูปร่างหน้าตาดี เช่น ความสูงพอเหมาะ น้ำหนักไม่มีมากนัก หน้าตาดี สุขภาพแข็งแรง 2. คุณลักษณะทางบุคลิกภาพ(Personality)เกี่ยวกับความฉลาดความ กระตือรือร้นในหน้าที่การงาน ความริเริ่มในทางความคิด ความอดทน ความพยายาม 3. คุณลักษณะทางนิสัยส่วนตัว (Personal Traits) เกี่ยวกับความฉลาดความ รับผิดชอบ การตัดสินใจ การชอบและรักงาน 4. คุณลักษณะทางสังคม (Social Traits) เกี่ยวกับความเห็นอกเห็นใจ ความมี มนุษยสัมพันธ์ ความเป็นผู้ไว้วางใจได้ ร่วมงานกับผู้อื่นได้ ซึ่งได้สรุปได้ในผลการวิจัยของสิน งามประโคน (พ.ศ. 2560) 47 คุณลักษณะ ของภาวะผู้นำในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาต้องอาศัยคุณธรรมที่มีสัปปุริสธรรม ๗ สังคห วัตถุ ๔ พรหมวิหาร ๔ และภาวะผู้นำที่คุณสมบัติของความเป็นผู้นำที่ดีดังนี้ 1. คุณลักษณะ ทางร่างกาย เช่น หน้าตาดี ความสูงพอเหมาะ นำหนักไม่มาก สุขภาพดีและสมบูรณ์ 1. คุณลักษณะทางบุคลิกภาพ เช่น มีความกระตือรือร้น มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ มีความอดทนมีความพยายาม 3. คุณลักษณะทางนิสัยส่วนตัว เช่น มีความฉลาด มีการตัดสินใจแม่นยำมี ความรักงานมีความรับผิดชอบ 4. คุณลักษณะทางสังคม เช่น มีความเห็นอกเห็นใจ มีมนุษยสัมพันธ์ดียอมรับฟัง ความคิดคนอื่น มีความซื่อสัตย์สุจริตผู้นำและภาวะผู้นำนั้น มีความจำเป็น และความสำคัญ อย่างยิ่งต่อความสำเร็จขององค์การ เพราะผู้นำ คือ ผู้ที่มีอำนาจหน้าที่หรือผู้นำที่มี ความสามารถที่ดีและเป็นบุคคลที่ได้รับการยอมรับโดยสามารถชักจูงให้กลุ่มบุคคลใน องค์การมีความสามารถเชื่อมั่นในตัวเองคอยชักจูงให้ร่วมกันคิดและร่วมมือกันทำนำพาองค์ 47 สิน งามประโคน ,การวิเคราะห์คุณลักษณะภาวะผู้นำของพระสงฆ์ในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา คณะครุศาสตร์,รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. 2560 ,หน้า 69
169 163 4) สมานัตตตา คือ การเอาตัวเข้าสมานหรือความเป็นผู้มีตนเสมอต้นเสมอปลาย หมายถึง การทำตัวให้เข้ากับเขาได้ไม่ถือตัวร่วมสุขร่วมทุกข์กันนับว่าเป็นคุณธรรมสำคัญยิ่งสำหรับ ผู้บริหารพึงยึดถือไว้เป็นแนวทางในการปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารคนในองค์กรของตน ประกอบด้วยอิทธิบาท 4 คือ 1) ฉันทะคือความพอใจ 2 วิริยะ คือ ความเพียร 3) จิตตะ คือ ความคิดจดจ่อ 4) วิมังสา คือ ความสอบสวนไตร่ตรอง นอกจากนั้นนักวิชาการทั้งพระสงฆ์และนักการศึกษายังได้ศึกษาและตั้งภาค ทฤษฏีเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้นำไว้หลายประการ ได้แก่ 1. คุณลักษณะทางร่างกาย (Physical Traits) เกี่ยวกับรูปร่างหน้าตาดี เช่น ความสูงพอเหมาะ น้ำหนักไม่มีมากนัก หน้าตาดี สุขภาพแข็งแรง 2. คุณลักษณะทางบุคลิกภาพ(Personality)เกี่ยวกับความฉลาดความ กระตือรือร้นในหน้าที่การงาน ความริเริ่มในทางความคิด ความอดทน ความพยายาม 3. คุณลักษณะทางนิสัยส่วนตัว (Personal Traits) เกี่ยวกับความฉลาดความ รับผิดชอบ การตัดสินใจ การชอบและรักงาน 4. คุณลักษณะทางสังคม (Social Traits) เกี่ยวกับความเห็นอกเห็นใจ ความมี มนุษยสัมพันธ์ ความเป็นผู้ไว้วางใจได้ ร่วมงานกับผู้อื่นได้ ซึ่งได้สรุปได้ในผลการวิจัยของสิน งามประโคน (พ.ศ. 2560) 47 คุณลักษณะ ของภาวะผู้นำในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาต้องอาศัยคุณธรรมที่มีสัปปุริสธรรม ๗ สังคห วัตถุ ๔ พรหมวิหาร ๔ และภาวะผู้นำที่คุณสมบัติของความเป็นผู้นำที่ดีดังนี้ 1. คุณลักษณะ ทางร่างกาย เช่น หน้าตาดี ความสูงพอเหมาะ นำหนักไม่มาก สุขภาพดีและสมบูรณ์ 1. คุณลักษณะทางบุคลิกภาพ เช่น มีความกระตือรือร้น มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ มีความอดทนมีความพยายาม 3. คุณลักษณะทางนิสัยส่วนตัว เช่น มีความฉลาด มีการตัดสินใจแม่นยำมี ความรักงานมีความรับผิดชอบ 4. คุณลักษณะทางสังคม เช่น มีความเห็นอกเห็นใจ มีมนุษยสัมพันธ์ดียอมรับฟัง ความคิดคนอื่น มีความซื่อสัตย์สุจริตผู้นำและภาวะผู้นำนั้น มีความจำเป็น และความสำคัญ อย่างยิ่งต่อความสำเร็จขององค์การ เพราะผู้นำ คือ ผู้ที่มีอำนาจหน้าที่หรือผู้นำที่มี ความสามารถที่ดีและเป็นบุคคลที่ได้รับการยอมรับโดยสามารถชักจูงให้กลุ่มบุคคลใน องค์การมีความสามารถเชื่อมั่นในตัวเองคอยชักจูงให้ร่วมกันคิดและร่วมมือกันทำนำพาองค์ 47 สิน งามประโคน ,การวิเคราะห์คุณลักษณะภาวะผู้นำของพระสงฆ์ในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา คณะครุศาสตร์,รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. 2560 ,หน้า 69 47สิิน งามประโคน, การวิิเคราะห์์คุุณลัักษณะภาวะผู้้�นำของพระสงฆ์์ในการเผยแพร่่พระพุุทธ ศาสนาคณะครุุศาสตร์์, รายงานการวิิจััย มหาวิิทยาลััยมหาจุุฬาลงกรณราชวิิทยาลััย พ.ศ. 2560, หน้้า 69.
170 164 การไปสู่ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ด้วยความสมัครสมานสามัคคีกัน นอกจาก ภาวะผู้นำแล้วยังต้องมีคุณสมบัติและลักษณะของผู้นำอีกซึ่งประกอบด้วยลักษณะภายนอก ได้แก่ บุคลิกลักษณะทางร่างกาย และอุปนิสัยส่วนตัวที่เหมาะสม บุคลิกภายใน ได้แก่ คุณธรรมภายในจิตใจและสติปัญญาที่เหนือบุคคลอื่น เช่น ความกล้าหาญ ความเด็ดขาด ความเที่ยงตรง ความกระตือรือร้น และที่ขาดไม่ได้คือ ทัศน์ที่กว้างไกล
171 165 เอกสารอ้างอิง 1. ภาษาไทย ก. เอกสารชั้นปฐมภูมิ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539. ข. เอกสารทุติยภูมิ (1) หนังสือ : กระทรวงศึกษาธิการ. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและ พัสดุภัณฑ์, 2546. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการปฏิบัติสำหรับสถานศึกษาในการป้องกันการ แพร่ระบาดของโรคโควิด 19. กรุงเทพมหานคร: บริษัท คิว แอดเวอร์ไทซิ่ง จำกัด, 2563. จตุพร สังขวรรณ. ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557. ประสงค์ ประณีตพลกรัง และคณะ. การบริหารการผลิตและการปฏิบัติการ. กรุงเทพมหานคร: Diamond in Business World, 2553. พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมมฺจิตฺโต). พุทธวิธีในการบริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2549. พระธรรมปิฏก (ป.อ.ปยุตโต). การศึกษา : พัฒนาการหรือบูรณาการ. กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก, 2540. พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). ธรรมนูญชีวิต. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: สํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ, 2550. . พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้ง 34.กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิธรรมทานกุศลจิต, 2559. วิจารณ์ พานิช. วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิ สดศรีสฤษดิ์วงศ์, 2562.
172 166 สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์. คิดต่าง สร้างการเปลี่ยนแปลง. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิทองเนื้อเก้า, 2563. สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. แผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2560. สมบัติ นพรัก. ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาศาสตร์การบริหาร. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิซซิ่ง, 2561. สิน งามประโคน ,การวิเคราะห์คุณลักษณะภาวะผู้นำของพระสงฆ์ในการเผยแพร่ พระพุทธศาสนาคณะครุศาสตร์,รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย พ.ศ. 2560 2. ภาษาอังกฤษ Jo Owen (เขียน). กัลศลา วนันโท. (แปล). How to Lead คิดและทำ นำคนให้แตกต่าง. กรุงเทพมหานคร: แพค เพรส. John C. Maxwell (เขียน). วันดี อภิรักษ์ธนากร (แปล). The 5 Levels of Leadership ภาวะผู้นำ 5 ระดับ (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพมหานคร: แอคทีฟ พริ้นท์, 2563. Linda A. Hill & Nina A. Bowman (เขียน). ณัฐยา สินตระการผล (ผู้แปล). วีรวุธ มาฆะ ศิรานนท (ผู้เรียบเรียง). คัมภีร์กลยุทธ์สำหรับผู้นำจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด. กรุงเทพมหานคร: เอ็กซเปอร์เน็ท, 2563. Pat Flynn (ผู้เขียน). ปฏิภาณ กุลวพันธ์ (ผู้แปล). วิถีผู้ชนะฉบับคนเก่งแบบเป็ด: HOW TO BE BETTER AT (ALMOST) EVERYTHING. พิมพ์ที่ Pimdee, 2020. Robert Hromas, M.D. & Christopher Hromas, Ph.D. (เขียน). ชัชวนันท์ สันธิเดช (แปล). เหนือกว่าลูกน้องแบบไอน์สไตน์ คือเจ้านายอัจฉริยะ. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน), 2562.
บทที่ 5 การยกระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา การยกระดับภาวะผู้นำคืออะไร คำตอบคือการพัฒนาความรู้ความสามารถ และ ความเต็มใจที่จะเปลี่ยนแปลงภาวะผู้นำ เพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าด้านดีขององค์กรและ ตนเอง เหมือนสุภาษิตจีนที่ว่า คนฉลาดย่อมปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ เหมือนน้ำที่ปรับ รูปร่างตามเหยือกน้ำ ดังนั้น "ความสามารถปรับตัว หรือความสามารถในการเปลี่ยน เพื่อให้ เข้ากับสถานการณ์ใหม่ๆ เป็นทักษะจำเป็นสำหรับผู้นำ" 1 ในยุคของการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาของโลกที่เกิดจากแนวคิดของศตวรรษที่ 21 ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงวิธีการคิดอย่างสร้างสรรค์ของภาวะผู้นำและในบริบทประเทศที่ เข้าสู่ยุคประเทศไทย 4.0 ซึ่งต้องการผู้นำที่จะต้องนำพาองค์การไปสู่การเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะยุค Disruption คือการหยุดทำสิ่งเดิม เพื่อพัฒนาสิ่งใหม่หรือวิธีการใหม่ หรือ แสวงหาโอกาสใหม่ให้ทันกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของบริบทของประเทศและโลกที่กำลัง เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในสถานการณ์ปัจจุบัน ดังนั้นภาวะผู้นำในยุค Disruption ผู้นำต้องศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี สมัยใหม่เพื่อนำไปพัฒนาการบริหารจัดการศึกษา ซึ่งในบทนี้ขอนำเสนอเนื้อหาดังนี้ 5.1 การยกระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษายุคประเทศไทย 4.0 5.2 แนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อยกระดับภาวะผู้นำตามนโยบาย ไทยแลนด์ 4.0 5.3 วิธีการยกระดับภาวะผู้นำทางการศึกษาตามหลักพุทธวิถีใหม่ 5.4 การยกระดับคุณลักษณะที่ดีของภาวะผู้นำทางการศึกษาตามหลักพุทธวิถีใหม่ 5.5 การประเมินภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา 5.6 ตัวอย่างการใช้แบบประเมินเพื่อยกระดับภาวะผู้นำทางการศึกษาในแต่ละด้าน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ 1 John C. Maxwell, (เขียน) ศิริลักษณ์ มานะวงศ์เจริญ (แปล), ยกระดับภาวะผู้นำ, (กรุงเทพมหานคร: แอคทีฟ พริ้นท์, 2562), หน้า 5. บทที่ 5 การยกระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา การยกระดับภาวะผู้นำคืออะไร คำตอบคือการพัฒนาความรู้ความสามารถ และ ความเต็มใจที่จะเปลี่ยนแปลงภาวะผู้นำ เพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าด้านดีขององค์กรและ ตนเอง เหมือนสุภาษิตจีนที่ว่า คนฉลาดย่อมปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ เหมือนน้ำที่ปรับ รูปร่างตามเหยือกน้ำ ดังนั้น "ความสามารถปรับตัว หรือความสามารถในการเปลี่ยน เพื่อให้ เข้ากับสถานการณ์ใหม่ๆ เป็นทักษะจำเป็นสำหรับผู้นำ" 1 ในยุคของการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาของโลกที่เกิดจากแนวคิดของศตวรรษที่ 21 ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงวิธีการคิดอย่างสร้างสรรค์ของภาวะผู้นำและในบริบทประเทศที่ เข้าสู่ยุคประเทศไทย 4.0 ซึ่งต้องการผู้นำที่จะต้องนำพาองค์การไปสู่การเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะยุค Disruption คือการหยุดทำสิ่งเดิม เพื่อพัฒนาสิ่งใหม่หรือวิธีการใหม่ หรือ แสวงหาโอกาสใหม่ให้ทันกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของบริบทของประเทศและโลกที่กำลัง เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในสถานการณ์ปัจจุบัน ดังนั้นภาวะผู้นำในยุค Disruption ผู้นำต้องศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี สมัยใหม่เพื่อนำไปพัฒนาการบริหารจัดการศึกษา ซึ่งในบทนี้ขอนำเสนอเนื้อหาดังนี้ 5.1 การยกระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษายุคประเทศไทย 4.0 5.2 แนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อยกระดับภาวะผู้นำตามนโยบาย ไทยแลนด์ 4.0 5.3 วิธีการยกระดับภาวะผู้นำทางการศึกษาตามหลักพุทธวิถีใหม่ 5.4 การยกระดับคุณลักษณะที่ดีของภาวะผู้นำทางการศึกษาตามหลักพุทธวิถีใหม่ 5.5 การประเมินภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา 5.6 ตัวอย่างการใช้แบบประเมินเพื่อยกระดับภาวะผู้นำทางการศึกษาในแต่ละด้าน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ 1 John C. Maxwell, (เขียน) ศิริลักษณ์ มานะวงศ์เจริญ (แปล), ยกระดับภาวะผู้นำ, (กรุงเทพมหานคร: แอคทีฟ พริ้นท์, 2562), หน้า 5.
174 166 5.1 การยกระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษายุคประเทศไทย 4.0 การยกระดับภาวะผู้นำทางการศึกษาเพื่อให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงนโยบายการ พัฒนาประเทศสู่ประเทศไทย4.0 และได้มีนักวิชการอย่างอาทิเช่น ไพฑูรย์ สินลารัตน์2 ได้กล่าวถึง การศึกษา 4.0 (Education 4.0) คือ การศึกษายุคผลิตภาพ เป็นยุคที่ต้องการ ผลผลิต หรือ Products ให้ได้มากที่สุดเพื่อประโยชน์ของชุมชนตนเองและชุมชนอื่น ๆ ด้วยทักษะที่เน้นการกระทำและลงมือทำแล้วออกมาเป็นผลผลิต และยังเป็นยุคที่เข้าสู่ ศตวรรษที่ 21 ที่ประเทศไทยต้องมองผลิตภาพในลักษณะที่ตามให้ทันและก้าวไปข้างหน้า จำเป็นต้องเน้นให้ภาวะผู้นำทางการศึกษาต้องมีคุณลักษณะ 4 อย่าง ได้แก่ 1) คิดวิเคราะห์ 2) คิดสร้างสรรค์ 3) คิดผลิตภาพ และ 4) คิดรับผิดชอบมากขึ้น นอกจากนั้นภาวะผู้นำทางการศึกษาต้องคิดสร้างสรรค์เพื่อยกระดับตนเองให้เป็นที่ ศรัทธาขององค์กรในการขับเคลื่อนภาวะงานให้บรรลุเป้าหมายในการบริหารจัดการศึกษา ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วซึ่งไพฑูรย์ สินลารัตน์ ได้กล่าวในหนังสือชื่อ ผู้นำเชิง สร้างสรรค์และผลิตภาพว่าลักษณะของผู้นำเชิงสร้างสรรค์มี 10 ลักษณะ ดังต่อไปนี้3 คือ 1. มีการวิเคราะห์เป้าหมายภายใต้กรอบของสังคมไทย หลังจากนั้นต้อง 2. สร้างแรงจูงใจในกลุ่มให้เขามีแรงจูงใจที่จะทำ 3. ใช้การเปลี่ยนแปลงเป็นตัวนำและต้องนำอย่าง 4. เข้าใจวัฒนธรรม 5. การวางกลยุทธ์ 6. ต้องสร้างความเข้มแข็งให้องค์กร 7. ให้บุคลากรในหน่วยงานมีอำนาจในการตัดสินใจ 8. สร้างขวัญกำลังใจในการทำงาน 9. ไม่ยอมแพ้ และ 10. ยึดหลักความสำเร็จของงาน คือความสำเร็จของพวกเรา 5.1.1 วิธีการยกระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา การยกระดับภาวะผู้นำทางการศึกษาจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงการคิด การปฏิบัติ เพื่อให้สอดคล้องกับยุคนี้ในการพัฒนาตนเอง องค์กรและงานไปสู่เป้าหมายของการจัด 2 ไพฑูรย์สินลารัตน์, ออกแบบผู้นำการศึกษาใหม่ : ผู้นำเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ, (กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยครุศาสตร์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต, 2559), หน้า 11. 3 ไพฑูรย์ สินลารัตน์, ผู้นำเชิงสร้างสรรค์: กระบวนทัศน์ใหม่และผู้นำใหม่ทางการศึกษา, (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553), หน้า 19-22.
175 167 การศึกษา ดังนั้นผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องสร้างสมรรถนะภาวะผู้นำให้ชัดเจนโดยอาศัย กระบวนการพัฒนาตนเองซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ ได้เสนอว่าภาวะผู้นำการเปลี่ยน ทางการศึกษาต้องยกระดับวิธีคิดดังนี้4 1. เรียนรู้ ลืม แล้วเรียนรู้ใหม่อย่างต่อเนื่อง 2. เห็นคุณค่าของเมื่อวานแต่อยู่กับวันนี้ 3. อาศัยความเร็วแต่ก้าวหน้าตามจังหวะ 4. มองภาพใหญ่ ขณะที่ภาพนั้นใหญ่ขึ้นไปอีก 5. อยู่กับวันนี้ แต่คิดถึงวันพรุ่งนี้ 6. ก้าวไปข้างหน้าอย่างกล้าหาญท่ามกลางความไม่แน่นอน 7. รู้ว่าที่ดีที่สุดวันนี้ ยังไม่พอสำหรับความท้าทายในวันพรุ่งนี้ สรุปให้เข้าใจง่าย ถ้าอยากเก่งขึ้นไปเรื่อย ๆ ต้องยกระดับภาวะผู้นำให้เก่งขึ้น โดยวิธีการดังนี้ 1. เรียนรู้สิ่งใหม่ 2. ลองทำเรื่องใหม่ ๆ 3. หาสิ่งที่ดีกว่า 4. มองภาพที่ใหญ่ขึ้น หลักการนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตนเองของภาวะผู้นำทาง การศึกษาเพื่อเพิ่มสมรรถนะของตนเอง 5.1.2 กระบวนการยกระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา กระบวนการยกระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาควรสร้างตัวบ่งชี้ใน แต่ละด้านให้ชัด5 ดังนี้ 1) กระบวนการยกระดับภาวะผู้นำตนเองด้านหลักการศึกษา มีตัวบ่งชี้ 3 ข้อ ได้แก่ (1) ประพฤติตนและดำเนินชีวิตที่สุจริต ดีงาม ปฏิบัติตามกฎระเบียบขององค์กร (ศีล) (2) สุขุมรอบคอบ ตั้งจิตมั่นในการทำงาน ไม่หวั่นไหวต่อสถานการณ์ที่มากระทบ (สมาธิ) 4 John C. Maxwell (เขียน) วันดี อภิรักษ์ธนากร (แปล). The 5 Levels of Leadership ภาวะผู้นำ 5 ระดับ (ฉบับปรับปรุง). (กรุงเทพมหานคร: แอคทีฟ พริ้นท์, 2563), หน้า 10-18. 5 ดูรายละเอียดใน ที.ปา.11/228/231; องฺ.ติก.20/521/294. (พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺ โต), พจนานุกรม ฉบับประมวลธรรม, 2559, หน้า 107.
176 168 (3) พิจารณาไตร่ตรอง ใช้เหตุผลในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทำงาน แยกแยะถูก-ผิด ดี-ชั่ว ควร-ไม่ควร ได้และเข้าใจสภาพต่าง ๆ ตามที่เป็นจริง (ปัญญา) ภาพที่ 5.1 กระบวนการยกระดับภาวะผู้นำตนเองด้านหลักการศึกษา ที่มา : จาก พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต), 2559 2) กระบวนการยกระดับภาวะผู้นำตนเองสำหรับผู้นำ มีตัวบ่งชี้ 4 ข้อ6 ได้แก่ (2.1) เอาใจใส่ ห่วงใย เอื้ออาทรผู้ใต้บังคับบัญชาอยู่เสมอ และส่งเสริมสนับสนุน ให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีความเจริญก้าวหน้า ประสบความสำเร็จในการทำงาน (เมตตา) (2.2) ให้ความช่วยเหลือผู้ร่วมงาน/ผู้ใต้บังคับบัญชาที่ประสบปัญหา จากการ ทำงานหรือมีความทุกข์เดือดร้อนด้วยความเต็มใจ (กรุณา ) (2.3) แสดงความยินดีกับความสำเร็จของผู้ร่วมงาน/ผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยความ จริงใจ (มุทิตา) (2.4) มีความยุติธรรม ไม่ตัดสินผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยอคติส่วนตัว ให้การดูแล ผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยความเสมอภาคตามควรแก่สถานการณ์ (อุเบกขา) 6 พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต), พจนานุกรม ฉบับประมวลธรรม, หน้า 124. ภาวะผู้น าทางการศึกษา ปัญญา รอบรู้ จิตใจงดงาม พฤติกรรมดี
177 169 ภาพที่ 5.2 กระบวนการยกระดับภาวะผู้นำตนเองสำหรับผู้นำ ที่มา : จาก พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต), 2559 3) กระบวนการยกระดับภาวะผู้นำการนำตนเองด้านตน คน และงานตามพุทธ วิถีใหม่ มีตัวบ่งชี้ 7 ข้อ7 ได้แก่ (3.1) รู้ขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบ กฎระเบียบต่าง ๆ ในการปฏิบัติงาน และใช้เหตุผลในการตัดสินใจกระทำสิ่งต่างๆ (ธัมมัญญุตา:รู้จักเหตุ) (3.2) มีเป้าหมายที่ชัดเจนในการปฏิบัติงานและยอมรับผลของการกระทำไม่ว่า จะเป็นผลดีหรือผลเสีย (อัตถัญญูตา: ผู้รู้จักผล) (3.3) เข้าใจ และรับรู้ความสามารถ ข้อดี ข้อด้อยของตนเอง และองค์กรตาม ความเป็นจริงและพร้อมแก้ไขพัฒนาให้ทันต่อเหตุการณ์ที่มากระทบ (อัตตัญญุตา: ผู้รู้จักตน) (3.4) รู้จักบริหารและใช้ทรัพยากรขององค์กรในการปฏิบัติงานได้อย่างคุ้มค่า ประหยัด และเกิดประโยชน์สูงสุด (มัตตัญญุตา: ผู้รู้จักประมาณ) (3.5) เข้าใจในสภาพแวดล้อม บรรยากาศวัฒนธรรมองค์กรทั้งภายในและ ภายนอกองค์กร เพื่อสื่อสาร ประสานงานปฏิสัมพันธ์ได้เหมาะสม (ปริสัญญุตา: ผู้รู้จักชุมชน) (3.6) เข้าใจและยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคลและมอบหมายงานได้ เหมาะสมกับความรู้ ความสามารถและศักยภาพ (ปุคคลัญญุตา: ผู้รู้จักบุคคล) (3.7) รู้จักจัดสรรเวลา และโอกาส ในการทำหน้าที่ กิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่าง เหมาะสมตามกำหนดเวลา (กาลัญญุ :ผู้รู้จักกาล) 7 ดูรายละเอียดใน ที.ปา.11/331/264; 439/312; องฺ.สตฺตก.23/65/114, พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต), 2559. กระบวนการ ยกระดับภาวะ ผู้นา ตนเอง สา หรับผู้นา เอาใจใส่ผู้อื่น ยินดีช่วยเหลือผู้อื่น ยินดีกับ ความส าเร็จของ ผู้อื่น ยุติธรรมเสมอ
178 170 ภาพที่ 5.3 กระบวนการยกระดับภาวะผู้นำการนำตนเองด้านตน คน และงานตาม พุทธวิถีใหม่ ที่มา : จาก พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต), 2559 4) กระบวนการยกระดับภาวะผู้นำสำหรับการนำทีมงานตามพุทธวิถีมีตัวบ่งชี้ 6 ข้อ8 ได้แก่ (4.1) มีเมตตาจิต ให้ความช่วยเหลือ ผู้ใต้บังคับบัญชา ที่ประสบความทุกข์ ความลำบาก ความเดือดร้อน ด้วยความยินดีและเต็มใจ (เมตตากายกรรม) (4.2) สอน แนะนำ ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ แก่ผู้ร่วมงาน /ผู้ใต้บังคับบัญชา ด้วยคำพูดสุภาพ จริงใจเป็นกันเอง (เมตตาวจีกรรม) (4.3) เอื้ออาทร เอาใจใส่ในความทุกข์ ความเดือดร้อนของผู้ใต้บังคับบัญชาอยู่ เสมอ (เมตตามโนกรรม) (4.4) เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ แบ่งปัน จัดสรรงบประมาณสวัสดิการ ทรัพยากรที่ สนับสนุนการทำงาน ด้วยความ เสมอภาคและทั่วถึง (สาราณโภคี) (4.5) ตั้งมั่นในความถูกต้อง เคารพในกฎกติกา ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับ ต่าง ๆ (สีลสามัญญตา) (4.6) รับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ของผู้ร่วมงานเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนา งาน (ทิฐิสามัญญตา) 8 ดูรายละเอียดใน ที.ปา.11/317/257, พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต), พจนานุกรม ฉบับ ประมวลธรรม, หน้า 200. รู้จักตน รู้จักคน รู้งาน • รู้จักบริหาร • รู้หน้าที่ของตน • รู้จักบุคคลในองค์กร • รู้จักสังคมแวดล้อม •เข้าใจเป้าหมายงาน • เข้าใจกฎระเบียบ วัฒนธรรมองค์กร 170 ภาพที่ 5.3 กระบวนการยกระดับภาวะผู้นำการนำตนเองด้านตน คน และงานตาม พุทธวิถีใหม่ ที่มา : จาก พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต), 2559 4) กระบวนการยกระดับภาวะผู้นำสำหรับการนำทีมงานตามพุทธวิถีมีตัวบ่งชี้ 6 ข้อ8 ได้แก่ (4.1) มีเมตตาจิต ให้ความช่วยเหลือ ผู้ใต้บังคับบัญชา ที่ประสบความทุกข์ ความลำบาก ความเดือดร้อน ด้วยความยินดีและเต็มใจ (เมตตากายกรรม) (4.2) สอน แนะนำ ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ แก่ผู้ร่วมงาน /ผู้ใต้บังคับบัญชา ด้วยคำพูดสุภาพ จริงใจเป็นกันเอง (เมตตาวจีกรรม) (4.3) เอื้ออาทร เอาใจใส่ในความทุกข์ ความเดือดร้อนของผู้ใต้บังคับบัญชาอยู่ เสมอ (เมตตามโนกรรม) (4.4) เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ แบ่งปัน จัดสรรงบประมาณสวัสดิการ ทรัพยากรที่ สนับสนุนการทำงาน ด้วยความ เสมอภาคและทั่วถึง (สาราณโภคี) (4.5) ตั้งมั่นในความถูกต้อง เคารพในกฎกติกา ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับ ต่าง ๆ (สีลสามัญญตา) (4.6) รับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ของผู้ร่วมงานเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนา งาน (ทิฐิสามัญญตา) 8 ดูรายละเอียดใน ที.ปา.11/317/257, พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต), พจนานุกรม ฉบับ ประมวลธรรม, หน้า 200. รู้จักตน รู้จักคน รู้งาน • รู้จักบริหาร • รู้หน้าที่ของตน • รู้จักบุคคลในองค์กร • รู้จักสังคมแวดล้อม •เข้าใจเป้าหมายงาน • เข้าใจกฎระเบียบ วัฒนธรรมองค์กร
179 171 ภาพที่5.4 กระบวนการยกระดับภาวะผู้นำที่สร้างศรัทธากับทีมงาน ที่มา : จาก พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต), 2559 5) กระบวนการยกระดับภาวะผู้นำตนเองด้านสร้างมิตรที่หวังดีตามพุทธวิถีใหม่ มีตัวบ่งชี้ 7 ข้อ9 ได้แก่ (5.1) ยิ้มแย้ม แจ่มใส พูดคุย ทักทาย ไต่ถามทุกข์สุขของผู้ร่วมงานเป็นประจำ (ปิโย) (5.2) ประพฤติตนเหมาะสมเป็นแบบอย่างที่ดีของครูพยาบาลทั้งในการดำเนิน ชีวิตและการปฏิบัติงานเป็นที่ปรึกษาให้แก่ผู้ร่วมงานเมื่อมีปัญหาคับข้องใจ (ครุ) (5.3) มีความรู้ ความสามารถ ใฝ่เรียนรู้ศึกษาคันคว้าหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ ทั้งในศาสตร์การศึกษาและในศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง (ภาวนีโย) (5.4) มีความสามารถในการถ ่ายทอดความรู้ชี้แจงแนะนำ ให้คำปรึกษา ผู้ร่วมงาน/ผู้ใต้บังคับบัญชา ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพและเรื่องอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อ องค์กร (วตฺตา) (5.5) อดทนต่อข้อซักถาม คำวิพากษ์วิจารณ์ต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่การปรับปรุง แก้ไขให้ดียิ่งขึ้นต่อไป (วจนกฺขโม) (5.6) สามารถให้คำแนะนำ ชี้แจงเรื่องที่ลึกซึ้ง หรือเรื่องที่ยุ่งยากซับซ้อนให้ เข้าใจอย่างถูกต้อง ชัดเจน ตรงประเด็น (คมฺภีรญฺจกถ กตฺตา) (5.7) ไม่ชักจูง ผู้ร่วมงาน/ ผู้ใต้บังคับบัญชา ให้ประพฤติปฏิบัติไปในทางเสื่อมเสีย เป็นโทษ หรือเดือดร้อนทั้งต่อตนเองและองค์กร (โน จฏฺฐาเน นิโยชเย) 9 ดูรายละเอียดใน องฺ.สตฺตก.23/34/33, พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต), พจนานุกรม ฉบับประมวลธรรม, หน้า 204. จิตใจงดงาม คุณธรรม ภาวะผู้น าที่ สร้างศรัทธา กับทีมงาน
180 172 ภาพที่5.5 กระบวนการยกระดับภาวะผู้นำตนเองด้านสร้างมิตรที่หวังดีตามพุทธวิถีใหม่ ที่มา : มาจาก พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต),2559 6) กระบวนการยกระดับภาวะผู้นำองค์กรด้วยหลักสงเคราะห์ซึ่งกันและกันตาม พุทธวิถีมีตัวบ่งชี้ 4 ข้อ10 ได้แก่ (6.1) ให้ความช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ด้านวัสดุอุปกรณ์ที่เอื้อต่อการปฏิบัติงาน สวัสดิการต่างๆ แก่ผู้ใต้บังคับบัญชา อยู่เสมอ (ทาน) (6.2) พูดด้วยวาจาสุภาพ อ่อนโยน มีเหตุผล (ปิยวาจา) (6.3) อุทิศตนทำงานในหน้าที่อย่างเต็มความสามารถเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายโดยยึด ประโยชน์ส่วนรวม (อัตถจริยา ) (6.4) ปฏิบัติต่อผู้ใต้บังคับบัญชา ด้วยความเสมอภาคอย่างเสมอต้นเสมอปลาย และเคารพในความเป็นบุคคล (สมานัตตตา) ภาพที่ 5.6 กระบวนการยกระดับภาวะผู้นำองค์กรด้วยหลักสงเคราะห์ซึ่งกันและกันตาม พุทธวิถี ที่มา : มาจาก พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) 2559 10ดูรายละเอียดใน ที.ปา.11/140/167, พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต), พจนานุกรม ฉบับประมวลธรรม, หน้า 143. จิตงาม ความรู้ดี คุณธรรม ภาวะผู้น าทาง การศึกษาใน ศตวรรษที่21 มิตไมตรีดี ให้ช่วยเหลือ อยู่ในใจผู้ตาม รักและศรัทธา
181 173 7) กระบวนการยกระดับภาวะผู้นำด้วยหลักการทำงานตามพุทธวิถีมีตัวบ่งชี้ 4 ข้อ11 ได้แก่ (7.1) กระตือรือร้น และทุ่มเทในการทำงานในหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมาย (ฉันทะ ) (7.2) ขยัน เพียรพยายามในการทำงานในหน้าที่ให้ประสบความสำเร็จ โดยไม่ ย่อท้อต่ออุปสรรค (วิริยะ) (7.3) ตั้งใจ มุ่งมั่น เอาใจใส่ในงานที่ได้รับมอบหมายโดยไม่ทิ้งงานแม้ว่าจะมี ความยากลำบาก (จิตตะ) (7.4) สุขุมรอบคอบ พิจารณา ไตร่ตรอง มีเหตุผลในการทำงาน (วิมังสา) ภาพที่5.7 กระบวนการยกระดับภาวะผู้นำด้วยหลักการทำงานตามพุทธวิถีใหม่ ที่มา : มาจาก พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) 2559 8) กระบวนการยกระดับภาวะผู้นำองค์กรด้วยหลักความจริงตามพุทธวิถีใหม่ มีตัวบ่งชี้ 4 ข้อ12 ได้แก่ (8.1) มีความสามารถในการวิเคราะห์สภาพปัจจุบันและวิเคราะห์ปัญหาของ องค์กร (ทุกข์) 11ดูรายละเอียดใน ที.ปา.11/231/233, พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต), พจนานุกรม ฉบับประมวลธรรม, หน้า 160. 12ดูรายละเอียดใน วินย.4/15/20; ส .ม.19/1666/529, พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต), พจนานุกรม ฉบับประมวลธรรม, หน้า 155. รักงาน ขยัน อดทน เอาใจใส่เต็ม ศักยภาพ ปรับปรุง พัฒนา ภาวะผู้น าการสร้างงานใน ยุคศตวรรษที่21
182 174 (8.2) มีความสามารถในการวิเคราะห์ค้นหาสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์กร ได้อย่างชัดเจนและถูกต้อง (สมุทัย) (8.3) มีวิสัยทัศน์ สามารถกำหนดทิศทางและเป้าหมายขององค์กรได้อย่าง ถูกต้องและดีงาม เหมาะสมและสามารถแก้ไขจัดการปัญหาได้ตรงสาเหตุ (นิโรธ) (8.4) กำหนดแนวทาง ขั้นตอนแนวปฏิบัติในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ขององค์กร เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ (มรรค) ภาพที่ 5.8 กระบวนการยกระดับภาวะผู้นำองค์กรด้วยหลักความจริงตามพุทธวิถีใหม่ ที่มา : มาจาก พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) 2559 9) กระบวนการยกระดับภาวะผู้นำองค์กรสำหรับผู้ปกครองตามพุทธวิถีใหม่ มีตัวบ่งชี้ 10 ข้อ13 ได้แก่ (9.1) มีจิตสาธารณ เข้าร่วมกิจกรรมสาธารณประโยชน์ขององค์กร สังคมและ บริจาคทรัพย์สิน/สิ่งของช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส /ผู้ประสบความเดือดร้อนด้วยความเต็มใจ เป็นนิจสิน(ทาน) (9.2) สำรวมกาย วาจา ใจอย่างสุจริต ประพฤติตนอยู่ในศีลธรรมอันดีและตาม จรรยาบรรณวิชาชีพ (ศีล) (9.3) ยินดีเสียสละความสุขส่วนตัว มาปฏิบัติงานนอกเวลาเพื่อให้องค์กรบรรลุ ความสำเร็จ (ปริจาค) 13ดูรายละเอียดใน ขุ.ชา.28/240/86, กวี วงศ์พุฒ, ภาวะผู้นำ, พิมพ์ครั้งที่ 4, (กรุงเทพมหานคร, ศูนย์ส่งเสริมวิชาชีพบัญชา, 2539), (พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต), พจนานุกรม ฉบับประมวล ธรรม, หน้า 240. ปัญหา วิเคระห์ สาเหตุปัญหา ก าหนดเป้าหมาย แนวปฏิบัติ แก้ปัญหา
183 175 (9.4) ปฏิบัติงานอย่างซื่อสัตย์สุจริต มีความจริงใจกับผู้ใต้บังคับบัญชาปราศจาก ความลำเอียงและอคติ(อาชวะ) (9.5) รับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะอย่างเต็มใจและเปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับ บัญชาเข้าพบได้ตลอดเวลา (มัททวะ) (9.6) มีความอดทนในการปฏิบัติงานจนบรรลุเป้าหมายโดยไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค (ขันติ) (9.7) มุ่งมั่นในการทำงานให้บรรลุความสำเร็จ ไม่หลงใหลในสิ่งเริงรมย์ต่าง ๆ และระงับ ยับยั้งข่มใจได้เมื่อผู้ร่วมงาน/ผู้ใต้บังคับบัญชาทำสิ่งที่ไม่พอใจ (ตะบะ) (9.8) สามารถควบคุมอารมณ์ได้ใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ในการพิจารณา ตัดสินเรื่องต่าง ๆ (อักโกธะ) (9.9) ร่วมทุกข์ ร่วมสุข มีความโอบอ้อมอารี ไม่เบียดเบียนผู้ร่วมงาน ผู้ใต้บังคับ บัญชา /ผู้อื่น สังคมให้ได้รับความลำบาก เดือดร้อน (อวิหิงสา) (9.10) มั่นคงในศีลธรรม หนักแน่นในความถูกต้อง ดีงาม ไม่ลำเอียง ไม่หลงใหล ในคำเยินยอ และไม่หวั่นไหวกับคำพูดที่ให้ร้ายผู้อื่น (อวิโรธนะ) สรุปได้ดังภาพต่อไปนี้ ภาพที่ 5.9 กระบวนการยกระดับภาวะผู้นำองค์กรสำหรับผู้ปกครองตามพุทธวิถีใหม่ ที่มา : มาจาก พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) 2559 บูรณาการยกระดับภาวะผู้นำทาง การศึกษา จิตอาสา เสียสละ คุณธรรม ยกระดับภาวะผู้น าองค์กร ส าหรับผู้ปกครองตามพุทธ วิถีใหม่
184 176 5.2 แนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อยกระดับภาวะผู้นำตามนโยบาย ไทยแลนด์ 4.0 เป้าหมายที่ 1 การพัฒนาคนไทยให้เป็นคนดี แนวทางในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้คนไทยเป็นคนดีคือ การสร้างค่านิยมร่วม และชุดความคิดเพื่อให้เกิดบรรทัดฐานที่ดี ผู้บริหารและนักปกครองของหน่วยงานภาครัฐ ต้องเป็นต้นแบบให้แก่สังคม ส่งเสริมให้คนไทยทุกคนนำค่านิยมร่วมไปสู่การปฏิบัติ เป้าหมายที่ 2 การพัฒนาคนไทยให้เป็นคนเก่ง แนวทางในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้คนไทยเป็นคนเก่ง คือ การพัฒนาและ ยกระดับความฉลาดทางสติปัญญาของคนไทย การพัฒนาระบบการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ก่อนวัยเรียนพร้อมทั้งลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ระดับความฉลาดทางสติปัญญาลดลง ส่งเสริมให้ เด็กไทยและคนไทยมีความรู้ความสามารถที่จะใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ 2 และส่งเสริม ให้เด็กไทยมีความรอบรู้ด้านดิจิทัล เป้าหมายที่ 3 การพัฒนาคนไทยให้เป็นคนแข็งแรง แนวทางในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้คนไทยแข็งแรง คือ การสนับสนุนให้คน ไทยมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ มีการส่งเสริมสุขภาพ ควบคุมโรคและคุ้มครองผู้บริโภคด้าน สาธารณสุขที่ดี มีคุณภาพ การปฏิรูประบบบริการปฐมภูมิเพื่อให้มีระบบการแพทย์ปฐมภูมิ ที่มีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวดูแลประชาชนในสัดส่วนที่เหมาะสม การพัฒนาระบบ บริหารงานสาธารณสุขตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เป้าหมายที่ 4 สังคมไทยมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต แนวทางในการพัฒนาให้คนไทยมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาคนตลอดช่วง ชีวิตคือการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาคนไทยตลอดช่วงชีวิต ปรับเปลี่ยน ค่านิยมและชุด ความคิดใหม่ ส่งเสริมการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมและคณิตศาสตร์ ปรับปรุงระเบียบหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดความ คล่องตัวในการทำงาน การให้ความสำคัญกับยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มีการ บริหารจัดการภาครัฐที่ดี14 บุคลิกผู้นำ 4 แบบแห่ง “ยุคอุตสาหกรรม 4.0” โดย 4 บุคลิกเหล่านี้ ได้แก่ Social Supers (ยอดผู้นำเพื่อสังคม), Data-driven Decisives (ผู้ตัดสินใจจากฐานข้อมูล), 14สำนักนายกรัฐมนตรี, แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560– 2564, (กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ), 2559.
185 177 Disruption Drivers (นักขับเคลื่อนนวัตกรรมดิสรัปชั่น) และ Talent Champions (นัก บริหารทาเลนต์) เมื่อนำแนวคิดของพัฒนาบุคลิกผู้นำสู่ความสำเร็จตามกรอบยุคอุตสาหกรรม 4.0 มาประยุกต์ในการยกระดับภาวะผู้นำทางการศึกษาได้ดังนี้ 1. สุดยอดผู้นำเพื่อสังคม (The Social Supers) ผู้บริหารที่เป็นสุดยอดผู้นำเพื่อสังคมดูเหมือนจะแก้โจทย์นี้ได้ ผู้นำเหล่านี้สามารถ หาทาง “ทำได้ดีด้วยการทำสิ่งที่ดี” ด้วยการคิดอย่างสร้างสรรค์นำไปสู่การปฏิบัติให้เป็น รูปธรรมในทางการศึกษาด้วยการลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ ๆ และอบรมฝึกพนักงานให้ สามารถนำไปปฏิบัติกับงานในองค์กรได้ขึ้น 2. ผู้ตัดสินใจจากฐานข้อมูล (The Data-driven Decisives) การวางกลยุทธ์พัฒนาองค์กรจากฐานข้อมูลที่มีการจัดการอย่างเป็นระบบช่วย สร้างความมั่นใจให้กับผู้นำองค์กรและพนักงานเป็นอย่างดียิ่ง 3. นักขับเคลื่อนนวัตกรรมดิสรัปชั่น (The Disruption Drivers) ผู้บริหารสถานศึกษาต้องมีความสามารถในใช้เทคโนโลยีเพื่อการบริหารจัดการศึกษา ให้ทันการเปลี่ยนแปลงเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 และนักขับเคลื่อน นวัตกรรมมักจะมีวิธีการที่ครบรอบด้านกว่าเพื่อตัดสินใจ อันได้แก่การวางขั้นตอนที่ชัดเจน ใช้ข้อมูลและรวบรวมความเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายฝ่าย ผู้นำกลุ่มนี้ยังมีแนวโน้ม ความเชื่อมั่นว่าตนเองได้เตรียมพนักงานที่มีทักษะพร้อมสำหรับอนาคตแล้ว 4.นักบริหารทาเลนต์ (The Talent Champions) นักบริหารทาเลนต์คือ ผู้นำที่ก้าวไปได้ไกลกว่าเพื่อนในการเตรียมพนักงานเพื่อ รองรับอนาคต พวกเขาเชื่อมั่นว่าตนเองทราบถึงทักษะต่างๆ การที่ผู้นำมุ่งมั่นพัฒนาทักษะพนักงานทำให้เกิดประโยชน์ตามมา 64% ของนัก บริหารทาเลนต์สามารถสร้างรายได้ให้เติบโต สิ่งนี้อาจเป็นผลสะท้อนจากปรัชญาของการ “ทำได้ดีเพราะทำสิ่งที่ดี” เนื่องจากวิสัยทัศน์การพัฒนาแรงงานเป็นสำคัญทำให้พนักงานให้ ความร่วมมือมากกว่า และรู้สึกมีไฟในการทำงานเพราะต้องการใช้ทักษะใหม่ ๆ ที่เพิ่งได้รับ การฝึกฝน15 15พัฐรัศมิ์ ว่องไชยกุล, บุคลิกผู้นำ ยุคอุตสาหกรรม 4.0, แปลและเรียบเรียงจาก The Four Leadership Personas Of The Fourth Industrial Revolution – Which One Are You? เขียน โดย Punit Renjen ซีอีโอแห่ง Deloitte Global ตีพิมพ์ใน forbes.com.
186 178 ในขณะที่ไพฑูรย์ สินลารัตน์16 ได้กล่าวในหนังสือชื่อ ผู้นำเชิงสร้างสรรค์และผลิต ภาพ ว่าลักษณะของผู้นำเชิงสร้างสรรค์มี 10 ลักษณะดังต่อไปนี้คือ 1) มีการวิเคราะห์เป้าหมายภายใต้กรอบของสังคมไทย หลังจากนั้นต้อง 2) สร้างแรงจูงใจในกลุ่มให้เขามีแรงจูงใจที่จะทำ 3) ใช้การเปลี่ยนแปลงเป็นตัวนำและต้องนำอย่าง 4) เข้าใจวัฒนธรรมและมี 5) การวางกลยุทธ์ 6) ต้องสร้างความเข้มแข็งให้องค์กร 7) ให้บุคลากรในหน่วยงานมีอำนาจในการตัดสินใจ 8) สร้างขวัญกำลังใจในการทำงาน 9) ไม่ยอมแพ้ และ 10) ยึดหลักความสำเร็จของงาน คือความสำเร็จของพวกเรา ผู้นำในศตวรรษที่ 21 : ไทยแลนด์ 4.0 สิ่งที่ท้าทายความสามารถ คือ ความสามารถ นำพาองค์กรของตนให้อยู่ในฐานะผู้นำการเปลี่ยนแปลงได้หรือไม่ ผู้นำการเปลี่ยนแปลงจะ มองเห็นการเปลี่ยนแปลงว่าเป็นโอกาส การทราบวิธีการค้นหาการเปลี่ยนแปลงที่ถูกต้อง และทราบวิธีที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างมีประสิทธิผลทั้งจากภายนอกและภายใน องค์กร ได้แก่ ด้านนโยบายการสร้างอนาคต ด้านวิธีการอย่างเป็นระบบในการมองหาและ คาดการณ์ถึงการเปลี่ยนแปลง ด้านวิธีที่ถูกต้องในการสร้างความคุ้นเคยกับการเปลี่ยนแปลง ทั้งภายในและภายนอกองค์กร ด้านนโยบายในการสร้างสมดุลระหว่างการเปลี่ยนแปลงกับ ความต่อเนื่อง เพราะนโยบายการสร้างสรรค์สิ่งใหม่อย่างเป็นระบบ สามารถสร้างจิตสำนึก ให้องค์กรในฐานะที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง อีกทั้งยังทำให้องค์กรมองเห็นว่าการ เปลี่ยนแปลงนั้นคือโอกาสที่เกิดขึ้นมาใหม่ภายใต้บทบาทสำคัญ 1. การทำความรู้จักกับการเปลี่ยนแปลง (To Make the Change) การเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้นมาจากการแข่งขันที่ไร้พรมแดน โลกกำลังอยู่ในยุคของเทคโนโลยีและข่าวสาร ความรู้เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน ดังนั้นเมื่อผู้นำเข้าใจถึงการ เปลี่ยนแปลงแล้วก็จะสามารถจัดการกับการเปลี่ยนแปลงได้ โดยการเปลี่ยนแปลงจะเกิด ขึ้นอยู่ตลอดเวลา มีผลกระทบหรือมีปฏิสัมพันธ์กับองค์กร 2. ผู้นำต้องสร้างการเปลี่ยนแปลง (Leadership to Change Intervention) ของ แผนปฏิบัติการในการปรับแต่งสิ่งต่าง ๆ ให้แตกต่างจากเดิม โดยอาจจะกระทำอย่างรวดเร็ว 16ไพฑูรย์สินลารัตน์, ออกแบบผู้นำการศึกษาใหม่ : ผู้นำเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ, หน้า 19-22.
187 179 หรือกระทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป การบริหารความเปลี่ยนแปลงนั้น จะต้องเข้าใจถึงการ เปลี่ยนแปลงก่อนแล้วจึงกำหนดเป้าหมายและเลือกวิธีที่จะนำมาใช้ในการจัดการกับความ เปลี่ยนแปลงซึ่งต้องอาศัยการวางแผนการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์แล้วจึงนำไปปฏิบัติตาม แผนที่ต้องอาศัยความเข้าใจและความร่วมมือจากทุกคนในองค์กร มีการเสริมแรงให้กับ ความเปลี่ยนแปลงโดยการชี้แจงให้บุคลากรในองค์กรทราบถึงความเปลี่ยนแปลงหรือการ ปรับปรุงที่ได้เกิดขึ้นแล้วและแสดงความขอบคุณต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องและมีส่วนช่วยให้เกิด ความเปลี่ยนแปลงแล้วจึงทำการประเมินผลต่อไป 3. การเป็นตัวแทนความเปลี่ยนแปลง (Change Agent) การเป็นผู้นำการ เปลี่ยนแปลง หรือมีหน้าที่ในการจัดกระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร เพื่อพัฒนา เน้นผลการปฏิบัติงานโดยส่วนรวมมากกว่าการเน้นไปที่ผลงานของแต่ละคนในองค์กร ให้บุคลากรในองค์กรรับรู้ถึงผลการดำเนินงานขององค์กร เพื่อให้ทราบถึงสถานการณ์และ วิกฤตการณ์ต่าง ๆ ที่องค์กรเผชิญอยู่ เช่น จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค 4. การเป็นนักคิด นักพัฒนาที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก (The Thinkers Developers keep Pace with the Changing World) มีวิสัยทัศน์ในการบริหารงานที่ พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง และไม่ยึดติดต่อสิ่งใด 5. การบริหารงานแบบประชาธิปไตย (Democratic Administrational) รับความ คิดเห็นของผู้อื่น ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ปัญหากับบุคลากรในองค์กร 6. การเป็นผู้ประสานงานในองค์กรให้เกิดการทำงานที่ราบรื่น (Organization is Coordinating a Smooth Operation) มุ่งให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน และ ประสานงานนอกองค์กรให้เกิดภาคีเครือข่ายร่วมคิด ร่วมจัดการศึกษา 7. การประนีประนอม (Compromise) ผู้นำต้องพยายามไม่ให้ผู้ใต้บังคับบัญชา เกิดความขัดแย้งในองค์กร เป็นผู้ประนีประนอมเมื่อเกิดปัญหา 8. การประชาสัมพันธ์ (Public Relations) ผู้นำต้องสนับสนุนให้ทุกคนทำรายงาน ผลการดำเนินงาน และนำรายงานมาประชาสัมพันธ์ให้ผู้เกี่ยวข้องและสาธารณชนทราบ 9. การประชาสงเคราะห์ (Public Welfare) ผู้นำจะต้องให้ความช่วยเหลือ ผู้ร่วมงานทุกเรื่อง เป็นห่วงเป็นใยตลอดเวลา จะประสานงานกับหน่วยงานอื่นเพื่อให้ความ ช่วยเหลือผู้ร่วมงาน การพัฒนาอย่างต่อเนื่องให้ทุกคนมีความก้าวหน้า การให้อภัย การตักเตือน การเป็นกัลยาณมิตร
188 180 การยกระดับทักษะของภาวะผู้นำทางการศึกษาในศตวรรษที่ 21 : ไทยแลนด์ 4.0 ที่จะประสบความสำเร็จและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร17 ได้แก่ 1. การสร้างทีมงานที่มีประสิทธิผลสูง (Highly Effective Team Building) 2. การแก้ปัญหา (Problem Solving) 3. การวางแผน (Planning Project) 4. การกำกับการ ปฏิบัติงาน (Performance Monitoring) 5. การสื่อสารที่ดี (Communication and Climate set) 6. การสร้างสัมพันธ์ (Relationship Building up) 7. การสอนงาน (Coaching) 8. การสร้างสังคม (Social) 9. การติดสินใจ (Decision Making) 10. การกระตุ้นจูงใจ (Motivational) 11. การคิดเชิงสะท้อน (Reflective Thinking) 12. การจัดการตนเอง (Self - Management) 13. การใช้เทคโนโลยี (Technological) 14. การเรียนการสอน (Pedagogical) 15. รวมทั้งความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence) 16. ตลอดจนการบริหารที่ยืดหยุ่นและปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ (Administration and Flexibly Adapted to the Situation) มีแนวทาง ดังนี้ 1) การวางแผน (Planning) การวางแผนที่ดีด้วยแผนกลยุทธ์ นโยบาย แผนงานที่ชัดเจนเข้าใจง่าย โดยการวางแผนนั้นต้องมีแนวปฏิบัติที่เป็นแนวทางในการ วางแผนกลยุทธ์ได้เป็นอย่างดีและสามารถปรับปรุงยืดหยุ่นให้สอดรับกับนโยบายให้เป็น วิสัยทัศน์ พันธะกิจ เป้าประสงค์ 2) การจัดองค์กร (Organizing) เป็นสิ่งสำคัญไม่น้อยไปกว่าสิ่งใดจะต้องมีการ จัดโครงสร้างอย่างชัดเจนทั้งสายงานจัดบุคคลากรตามสายบังคับบัญชา การแบ่งหน้าที่ของ ฝ่ายงานอย่างเป็นระบบงาน และมีทีมงานในการดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์ที่วางไว้ 3) การบังคับบัญชา (Commanding) มีการตัดสินใจสั่งการที่เป็นกัลยาณมิตร การสั่งการเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการบังคับบัญชาดูแลตรวจสอบและ ติดตาม 17พรชัย เจดามาน, รศ.(พิเศษ) ดร., ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ศตวรรษที่ 21 : ไทยแลนด์ 4.0, ว.มรม. ปีที่ 13 ฉบับที่ 2, (พฤษภาคม - สิงหาคม 2562): 27.
189 181 4) การประสานงาน (Coordinating) ทั้งภายในองค์กรและระหว่างองค์กร ดังนั้นต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์เพื่อประสานงานต่างๆ และให้ทุกภาคส่วนได้เข้ามีส่วนร่วม ในการบริหารจัดการ 5) การควบคุม (Controlling) จำเป็นต้องมีการควบคุม ดูแลทรัพยากรที่มีอยู่ อย่างคุ้มค่า เพื่อให้การจัดการมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลโดยผ่านองค์ประกอบ พฤติกรรม 5 ประการ คือ (1) การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ (Idealized Influence) เป็นระดับ พฤติกรรมการทำงานที่ผู้นำแสดงให้เห็นและเป็นกระบวนการทำให้ผู้ร่วมงานยอมรับ เชื่อมั่น ศรัทธา ภาคภูมิใจ ไว้วางใจในความสามารถ มีความเสียสละเพื่อประโยชน์ของ องค์กร มีเป้าหมายชัดเจนและมั่นใจที่จะเอาชนะอุปสรรค์ การมีวิสัยทัศน์และการถ่ายทอด ไปยังผู้ร่วมงาน มีความสามารถ มุ่งมั่น ตระหนักและทุ่มเท มีความสามารถในการจัดการ หรือควบคุมตนเอง เห็นคุณค่า มีคุณธรรมและจริยธรรม (2) การสร้างแรงบันดาลใจ (Inspiration Motivation) เป็นระดับ พฤติกรรมที่ผู้นำแสดงให้เห็นในการทำงาน ที่เป็นกระบวนการทำให้ผู้ร่วมงาน มีแรงจูงใจ ภายใน ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน การตั้งมาตรฐานในการทำงานสูง มีการคิดเชิงบวกและ เชื่อมั่นว่าจะสามารถบรรลุเป้าหมาย (3) การกระตุ้นทางปัญญา (Intellectual Stimulation) เป็นระดับ พฤติกรรมที่ผู้นำแสดงให้เห็นในการทำงานที่เป็นกระบวนการกระตุ้นผู้ร่วมงานให้เห็น วิธีการ หรือ แนวทางใหม่ในการแก้ปัญหา การมองปัญหาเชิงระบบในแง่มุมต่าง ๆ การ วิเคราะห์ปัญหาโดยใช้เหตุผลและข้อมูลหลักฐาน มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (4) การคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล (Individualized Consideration) เป็นระดับพฤติกรรมที่ผู้นำแสดงให้เห็นถึงการคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล มีการ เอาใจเขามาใส่ใจเรา มีการติดต่อแบบสองทางและเป็นรายบุคคล มีการวิเคราะห์ความ ต้องการและให้คำแนะนำ รวมทั้งการส่งเสริมให้ผู้ร่วมงานได้พัฒนาตนเองและยึดหลักการ บริหารงานแบบกระจายอำนาจ มีเทคนิคการ มอบหมายงาน ที่ดี (5) การสร้างทีมงาน (Teams) การมีความสามารถหรือพลังงานพิเศษของ บุคคล การรวมกันของกลุ่มคนขึ้นมาอย่างเหมาะสมและทำงานร่วมกันได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ผู้บริหารสถานศึกษาจึงเป็นกลไกและตัวแปรสำคัญในด้านการจัดการศึกษาให้มี คุณภาพดังนั้น ผู้บริหารสถานศึกษายุคใหม่ในศตวรรษที่ 21 จึงต้องมีคุณลักษณะโดดเด่น เหมาะสม มีความรู้เชิงทฤษฎี ทักษะ บทบาทหน้าที่ คุณธรรมและประสบการณ์ทางการ