The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ภาวะผู้นำการเปลี่ยนผ่านทางการศึกษาตามพุทธวิถีใหม่
รศ.ดร.สิน งามประโคน

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by 24-Chinaporn Nakorn, 2023-06-16 11:55:44

ภาวะผู้นำการเปลี่ยนผ่านทางการศึกษาตามพุทธวิถีใหม่

ภาวะผู้นำการเปลี่ยนผ่านทางการศึกษาตามพุทธวิถีใหม่
รศ.ดร.สิน งามประโคน

40 40 3. องค์การทุกแห่งต้องการวัตถุประสงค์ร่วมที่เรียบง่าย แลชัดเจน โดยมีพันธกิจ (mission) วิสัยทัศน์ (vision) วัฒนธรรม (culture) ขององค์การกันอยู่เสมอ และ ค่านิยม ร่วม (common values) ในองค์การที่จำเป็นต้องมีความชัดเจน 4. งานอีกประการหนึ่งของฝ่ายบริหารจัดการก็คือ การทำให้องค์การและสมาชิก ทุกคนเจริญเติบโต และพัฒนาได้ทั้งตามความต้องการ และตามการเปลี่ยนแปลงของโอกาส ให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ (learning institute) และองค์การแห่งการสอน (teaching institute) การพัฒนาเกิดขึ้นในทุกระดับจนกลายเป็นการฝึกอบรม และการพัฒนาที่ไม่มีวัน สิ้นสุด 5. องค์การทุกแห่งประกอบไปด้วยผู้คนที่มีทักษะ และความรู้แตกต่างกันในการ ทำงานที่แตกต่างกันเป็นจำนวนมาก ด้วยเหตุนี้เององค์การจึงจำเป็นต้องมีการติดต่อสื่อสาร และการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ 6. ปริมาณของผลลัพธ์ และตัวผลลัพธ์ไม่ใช่ปัจจัยที่เพียงพอสำหรับการประเมินผล การดำเนินงานของการบริหารจัดการและองค์การได้ เนื่องจากความโดดเด่นในตลาด นวัตกรรม ความสามารถในการผลิต การพัฒนาบุคลากร คุณภาพ และผลลัพธ์ทางการเงิน ล้วนแต่เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อผลการดำเนินงานและความอยู่รอดขององค์การด้วยกัน ทั้งสิ้น 7. ปัจจัยประการสุดท้ายที่มีความสำคัญมากที่สุดในการระลึกถึงองค์การทุกแห่งก็ คือ "ไม่มีผลลัพธ์ใดเกิดขึ้นภายในองค์การ" เนื่องจากผลลัพธ์ของการดำเนินธุรกิจนั้นอยู่ ภายนอก นั่นก็คือ ลูกค้าที่ได้รับความพึงพอใจส่วน ผลลัพธ์ของโรงเรียนและมหาวิทยาลัยก็ คือ นักเรียน นักศึกษาที่ได้เรียนรู้และสำเร็จการศึกษาแล้ว นำไปใช้ในการทำงานในอีก 5-10 ปีถัดมา สำหรับสิ่งที่เกิดขึ้นภายในองค์การสถานศึกษามีเพียง ศูนย์ต้นทุน (cost centers) ที่เป็นแหล่งเรียนรู้เท่านั้น กล่าวได้ว่าคุณลักษณะภาวะผู้นำทางการศึกษาต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับ องค์ประกอบของการบริหารการศึกษาในยุคศตวรรษที่ 21 ให้ชัดเจนว่า 1. การบริหารการศึกษาด้านวิชาการมีเป้าหมายและความการผลิตนักศึกษาให้เป็น คนมีคุณลักษณะที่พึ่งประสงค์ของตลาดแรงงานทั้งของภาครัฐและเอกชนไดก้ทุกระดับ 2. การบริหารงานบุคคลที่จะช่วยตอบสนองความต้องการของผู้บริหารสถานศึกษา เป็นกุญดอกที่สำคัญที่สุดในการขับเคลื่อนงานทุกด้านในสถานศึกษาที่จะต้องสร้างและ พัฒนาคนในองค์การให้เจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานตามลำดับอย่างมีคุณภาพ 3. การบริหารงานด้านงบประมาณให้สอดคล้องกับการสนับสนุนการดำเนินงาน อย่างพอเพียงทุกด้านอาจต้องอาศัยงบประมาณภาครัฐและเอกชนช่วยเหลือโดยอาศัย บารมีภาวะผู้นำของผู้บริหารที่มีเครืองข่ายกับชุมชน สังคมภายนอก


41 41 4.การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการบริหารการศึกษาทุกด้านอยู่ร่วมกันอย่าง ปลอดภัย มีความสุขในการปฏิบัติทั้งบุคลากรภายในสถานศึกษาและคนภายนอกที่มา ประสานงานด้วย 5. สถานศึกษาเป็น Soft Power คือ แหล่งความรู้การเปลี่ยนแปลงความคิด การทำให้ผู้คนมีส่วนร่วม และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียนให้เป็นคน ดี เก่ง มีความสุขในชีวิต 6. คุณลักษณะภาวะผู้นำทางการศึกษาต้องสร้างมาตรฐานการสำหรับการพัฒนา ตนเอง คนผู้ใต้บังคับบัญชา และนักเรียน นักศึกษา ด้วยการสร้างและพัฒนาพูนศักยภาพ คนในองค์การได้อย่างมีคุณภาพ จากการศึกษาคุณลักษณะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงจากทัศนะ ดังกล่าวข้างต้น ผู้เรียบเรียงพิจารณาเห็นว่าแนวคิดด้านคุณลักษณะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา ที่นักวิชาการได้เสนอไว้นั้น สามารถนำมาวิเคราะห์ได้ดังนี้ 1. การสร้างบารมี 2. การคำนึงถึงความแตกต่างแต่ละบุคคล 3. การกระตุ้นการใช้ปัญญา 4. การสร้างแรงบันดาลใจ 5. ทำให้ผู้ตามตระหนักถึงความสำคัญของคุณค่าของผลการทำงานที่สำเร็จ และ เทคนิคที่จะช่วยทำให้ทำงานให้สำเร็จ 6. พยายามโน้มหน้าวให้ผู้ตามลดความสนใจในตนเองลง 7. พัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา ให้มีความต้องการที่สูงขึ้น 8. ใช้อำนาจโดยการมอบอำนาจให้ผู้อื่นเป็นผู้เรียนรู้ตลอดไป 9. ได้รับการสนับสนุนจากบุคคลอื่น ๆ สนับสนุนความร่วมมือ นอกจากนั้นคุณลักษณะภาวะผู้นำในยุคนี้จำเป็นต้องอาศัยหลักคิดเกี่ยวกับภาวะ ผู้นำที่มีลักษณะเฉพาะ ดังที่นักวิชาการหลายท่านเสนอไว้ ได้แก่ House (1996, p. 194-205) เสนอว่า ผู้นำที่มีคุณลักษณะเฉพาะ ดังนี้ 1. มีลักษณะเด่น มีความเชื่อมั่นในตนเอง ต้องการมีอิทธิพลเหนือผู้ตาม 2. เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้ตาม ยิ่งผู้ตามชื่นชอบผู้นำมากเท่าใด ผู้ตามก็จะยึดผู้นำ เป็นแบบอย่างมากขึ้นเท่านั้น สิ่งที่ผู้ตามยึดถือเป็นแบบอย่าง ได้แก่ ค่านิยมของผู้นำ ความ คาดหวังต่อการตอบสนองทางอารมณ์ และทัศนคติของผู้นำต่องานและองค์การ 3. ผู้ตามประทับใจในความสามารถและความสำเร็จของผู้นำ 4. มีเป้าหมายที่เป็นอุดมการณ์อย่างชัดเจน


42 42 5. แสดงออกถึงความคาดหวังในตัวผู้ตามอย่างสูง มีความเชื่อถือผู้ตาม ผู้ตาม ยอมรับจุดมุ่งหมายของผู้นำ และยอมเสียสละเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายนั้น และมักพบว่าผู้ ตามแข่งขันกันทำงานเพื่อให้ผู้นำบรรลุจุดมุ่งหมาย 6. มีพฤติกรรมที่สร้างสรรค์และยกระดับแรงจูงใจของผู้ตาม ให้สอดคล้องกับภารกิจ ที่จะต้องทำให้สำเร็จ 7. มีคุณสมบัติที่ดึงดูดใจผู้ตาม ในขณะที่ Bass, Bernard M. & Avolio, B. J. เสนอว่า คุณลักษณะของผู้นำที่มี ลักษณะเฉพาะ25 มีดังนี้ 1. มีความสามารถที่จำเป็น (Requisite Abilities) คือ มีความสามารถในการใช้ วิจารณญาณและการตัดสินใจ มีความสามารถในการจัดการการเงิน มีความสามารถในการ สื่อสาร มีความสามารถในการชักชวน มีศิลปะในการพูดจา และมีความสามารถในการ จัดการความเสี่ยง 2. คุณลักษณะด้านบุคลิกภาพ (Personality Characteristics) คือ มีความภูมิใจใน ตนเอง มีความแน่วแน่ มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เป็นคนเปิดเผย มีความซื่อสัตย์ มีคุณธรรมและคำนึงถึงบุคคลอื่น Bass มองว่าผู้นำที่มีลักษณะเฉพาะ จะเกิดขึ้นในช่วงที่มีความต้องการแก้ปัญหาซับ ซ้อมที่มีวิกฤติทางค่านิยมและความเชื่อในการเปลี่ยนแปลง ผู้นำที่มีลักษณะเฉพาะจะเกิด ในองค์การใหม่ ๆ ที่ต้องต่อสู้เพื่อความอยู่รอด ผู้นำที่มีลักษณะเฉพาะอาจมีลักษณะ แตกต่างกัน อาทิ ผู้นำบางคนใช้วิธีการสร้างความเป็นกัลยาณมิตร ผู้นำบางคนใช้หลัก ความรู้อย่างมีเหตุผล โดยผู้นำที่ใช้หลักความรู้ประกอบเหตุผลจะเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ ทางเทคนิค และมีทักษะในการชักจูง โน้มน้าวได้ดี สุพานี สฤษฏ์วานิช26 สรุปคุณลักษณะภาวะผู้นำที่มีลักษณะเฉพาะได้ดังนี้ 1. มีอุดมการณ์ในการพัฒนาตนเอง 2. มีความรู้ความสามารถ 3. มีความสามารถในการสื่อสารกับผู้ตาม 4. มีความประพฤติปฏิบัติที่ดี 5. สร้างศรัทธาให้กับผู้ตาม 25Bass, B. M., & Avolio, B. J. (1990). Developing transformational: 1992 and beyond, Journal of European Industrial Training, 5(10), p. 188-192. 26สุพานี สฤษฎ์วานิช, พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่:แนวคิดและทฤษฎี, (พิมพ์ครั้งที่ 7), (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2552), หน้า. 259.


4343 สรุปคุณลักษณะภาวะผู้นำทางการศึกษาที่มีลักษณะเฉพาะในยุคประเทศไทย 4.0 และศตวรรษที่ 21 ได้ดังนี้ 1. มีความสามารถใช้เทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสมในสถานการณ์ปัจจุบัน 2. มีความสามารถการสื่อสารผ่านระบบดิจิทัลได้อย่างดี 3. มีความเป็นกัลยาณมิตร 4. มีทักษะการใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างเหมาะสม 5. มีเครืองข่ายการเรียนรู้ทั้งในและต่างประเทศ 6. เป็นที่ศรัทธาของผู้ใต้บังคับบัญชาในองค์กรเป็นอย่างดี 2.3 คุณลักษณะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริง คุณลักษณะภาวะผู้นำที่แท้จริง (Authentic Leadership) มีรากเหง้ามาจาก ปรัชญากรีกโบราณ คือ การแสดงความเป็นตัวตนที่แท้จริง (To thane own self be true) ภาวะผู้นำที่แท้จริงจะแสดงความเป็นตัวตนที่แท้จริงขณะที่นำในรูปแบบของความ ซื่อสัตย์ ความจริงใจ (Genuineness) ความเชื่อถือได้ ความซื่อตรง และความไว้วางใจได้ ผู้นำเชิงปฏิรูปที่แท้จริง (Authentic Transformational Leadership) จะใส่ใจผลประโยชน์ ส่วนรวม27 เมื่อเชื่อมโยงกับภาวะผู้นำในยุคนี้จะเห็นว่าคุณลักษณะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ที่แท้จริงในยุคนี้ควรมี คุณสมบัติ 7 ประการคือ28 1. คิดถึงส่วนรวม (Outward Mindset) การเป็นผู้นำที่ดีต้องมุ่งประโยชน์ส่วนรวมต้องมาก่อนประโยชน์ส่วนตนเสมอ การที่จะคิดถึงประโยชน์ส่วนรวมได้ต้องมองให้เห็นจิตใจคนอื่นมีคุณลักษณะดังนี้ 1) ผู้นำที่ดีจะรับบทบาทเป็นผู้รับใช้(Servant Leadership) ที่พร้อมสนับสนุน และปกป้องพนักงานให้มีพื้นที่ปลอดภัยในการทำงาน ช่วยเหลือพนักงานให้พัฒนาศักยภาพ ได้อย่างเต็มที่ 2) สร้างวัฒนธรรมที่เอื้อต่อการเกิดความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม 3) ผู้นำจะต้องเสียสละรับผิดชอบทำหน้าที่ที่มากขึ้น คอยช่วยเหลือและให้ คำแนะนำ เป็นนักฟังที่ดี 27สาโรจน์ โอพิทักษ์ชีวิน, การจัดการและพฤติกรรมองค์กร : เพื่อสร้างและรักษาความ ได้เปรียบ เชิงแข่งขันไว้ให้ยั่งยืนในโกลบอลไลเซชั่น, (กรุงเทพมหานคร: ซีวีแอลการพิมพ์, 2555), หน้า 48. 28Adecco, คุณสมบัติที่ผู้นำยุคใหม่ควรมี, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://adecco.co.th/ th/knowledge-center/detail/7-qualities-of-modern-leaders [10 มิถุนายน 2565].


44 44 4) มีความเห็นอกเห็นใจ รับผิดชอบแทนลูกน้อง 5) สร้างแรงจูงใจแทนการสั่งงาน แสวงหาความร่วมมือและแรงสนับสนุนจาก รอบด้าน 6) ผลักดันให้ลูกน้องได้เติบโต รวมถึงมีความสามารถในการมองภาพรวมและ มองการณ์ไกล ดังนั้น ผู้นำที่ดีอาจต้องเริ่มต้นจากการถามตัวเองก่อนว่าคุณพร้อมเป็นผู้ที่ เสียสละแล้วหรือยัง? ยังมีอะไรที่คุณยังสามารถทำเพื่อลูกน้อง องค์กร หรือสังคมในภาพ ใหญ่ของประเทศ 2. สร้างแรงบันดาลใจ (Inspirational) ผู้นำยุคใหม่ต้องเน้นสร้างแรงบันดาลใจ ให้กับผู้ใต้บังคับบัญชา ให้พวกเขากล้าคิด กล้าแสดงออก ยินดีร่วมคิดร่วมปฏิบัติเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในองค์กร กล้าจินตนาการถึง ความเป็นไปได้ใหม่ ๆ เป็นผู้นำที่ทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเห็นคุณค่าของงานที่ทำและมีแรง บันดาลใจที่จะทำงานอย่างเต็มที่เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้กับตัวเอง องค์กร และสังคม 3. เรียนรู้อยู่เสมอ (Lifelong learning) ภาวะผู้นำการบริหารการศึกษายุคนี้และในตอนนี้ต้องกล้าเปลี่ยนแปลงตามบริบท ของโลก เพื่อเรียนรู้เปิดใจยอมรับความคิดใหม่และผลสะท้อน (Feedback) จากผู้อื่น ทั้งการเรียนรู้จากบุคคลในองค์กรพนักงาน ลูกค้า หรือผู้เชี่ยวชาญ ที่เอื้อต่อการเกิด ความคิดสร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรมที่จะทำให้องค์กรมีศักยภาพสำหรับการปรับตัวได้ เร็วและทันการเปลี่ยนแปลงของกระแสสังคมและโลก 4. สื่อสารเป็น (Communication) การสื่อสารคือเครื่องมือที่มนุษย์ใช้สร้างความร่วมมือระหว่างกันเพื่อแก้ไขปัญหาที่ ซับซ้อนและเอาตัวรอดจากวิกฤตต่าง ๆ จนมนุษย์สามารถดำรงเผ่าพันธุ์มาได้นับพัน ๆ ปี ด้วยเหตุนี้ภาวะผู้นำทางการศึกษาต้องเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารที่รวดร็ว ซึ่งสอดคล้องกับจิณณวัตร ประโคทัง กล่าวไว้ว่า ยุคดิจิทัลเป็นยุคนาโน เทคโนโลยีของโลก สมัยใหม่ที่เต็มไปด้วยความเร็วของ การเปลี่ยนแปลง การมุ่งไปสู่การ พัฒนาศักยภาพ คุณภาพ และประสิทธิภาพสูงสุดของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เป็นสิ่งที่ต้องการให้เกิดการ ยอมรับในองค์กร ความท้าทายของผู้นําในยุคศตวรรษที่ 2129 29จิณณวัฒน์ ปะโคทัง, ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลสำหรับผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ , (อุบลราชธานี: ศิริธรรมอ๊อฟเซท, 2561), หน้า 257.


45 45 5. ความฉลาดทางอารมณ์(Emotional Intelligence) ความฉลาดทางอารมณ์เป็นคุณสมบัติที่จำเป็นอย่างมากสำหรับภาวะผู้นำในการ บริหารจัดการตัวเองและบริหารองค์การเป็นผู้นำในยุคนี้ต้องเจอกับความเครียดและบท ทดสอบมากมาย หากผู้นำไม่รู้จักบริหารจัดการอารมณ์ของตัวเองให้ดีก็จะส่งผลเสียต่อ บรรยากาศในการทำงาน ขณะเดียวกันผู้นำก็ต้องมีความสามารถที่จะเข้าใจและรับรู้ ความรู้สึกของผู้อื่นด้วย เพื่อที่จะสามารถบริหารจัดการอารมณ์ของผู้อื่น ยิ่งในวิกฤตที่ผู้คน มักรู้สึกไม่มั่นคง เครียด และกังวลใจ ผู้นำจะเป็นที่พึ่งสำคัญในการทำให้สภาวะจิตใจของ ทีมงานในองค์การมีความสุขในการทำงานดังนั้นการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์มี กระบวนการดังนี้ กระบวนการพัฒนา EQ และศักยภาพด้วย Thai SMILE30 1. รู้จักและชื่นชมในธรรมชาติของศักยภาพของตนเอง (Self-awareness) 2. บริหารสมดุลของอารมณ์และปัญญา (Manage emotional) 3. สร้างสรรค์เป้าหมายและแรงบันดาลใจในการปลดปล่อยศักยภาพของตนเอง (Innovate inspiration) 4. เข้าใจธรรมชาติของสรรพสิ่งรอบข้าง (Listen with head & heart) 5. อยู่กับธรรมชาติรอบตัวอย่างมีความสุข (Enhance social skill) 6. คิดพลิกแพลงแก้ปัญหา (Unstructured Problem-Solving) ผู้นำทางการศึกษาในยุคนี้ ต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายใหม่ๆ ผู้นำจึงจำเป็นต้อง มีระบบความคิดที่ยืดหยุ่น (Cognitive Flexibility) เพื่อที่จะสามารถพลิกแพลงหาวิธีแก้ไข ปัญหาได้อย่างเหมาะสม ขณะเดียวกันก็ต้องสามารถเชื่อมโยงข้อมูลและความคิเห็นต่าง ๆ (connecting dots) เพื่อนำมาต่อยอดความคิดสร้างสรรค์และตัดสินใจแก้ปัญหาโดยไม่ จำกัดการแก้ปัญหาอยู่ในกรอบเดิม ๆ ซึ่งเป็นจุดตั้งต้นสำคัญของการพลิกวิกฤตให้เป็น โอกาสในการเรียนรู้ตลอดเวลา 7. บริหารจัดการความเปลี่ยนแปลง (Change Management) ในยุคที่ new normal หรือความปกติใหม่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา เมื่อมีการ เปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นสถานการณ์ก็เปลี่ยนไป ดังนั้นผู้นำจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจในการ บริหารจัดการความเปลี่ยนแปลง เพื่อให้องค์กรสามารถทำงานได้อย่างยืดหยุ่น การนำ 30แสงอุษา โลจนานนท์, การบริหารอารมณ์เพื่อความสำเร็จ, [ออนไลน์], แหล่งที่มา:http:// www.blog.rmutt.ac.th/?p=1163 [12 มิถุนายน 2565].


46 46 เทคโนโลยีมาเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงาน เพื่อให้องค์กรพร้อมปรับตัว ได้ทันทีเปลี่ยนแปลง กล่าวได้ว่า ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาในยุคนี้ ต้องมีคุณสมบัติ รอบรู้ทุกด้านในหลากหลายมิติทางการศึกษา มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีในยุค ดิจิทัล เก่งทางด้านการบริหารวิชาการ การบริหารคน การบริหารงานและเรียนรู้การ บริหารความฉลาดทางอารมณ์โดยสามารถบูรณาการหลักพุทธธรรมไปประยุกต์ใช้ได้ ทุกด้านในการบริหารจัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล ดังนั้นคุณลักษณะของภาวะผู้นำที่จำเป็นในยุคนี้ต้องเรียนรู้ให้สอดคล้องกับแนวคิด ในศตวรรษที่21คือ31 1. ความคิดสร้างสรรค์(Creativity) 2. จัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้(Powerful Environment) 3. การบูรณาการ (Integration) 4. การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการปฏิบัติงานและการจัดการเรียนรู้(Technologies) 5. การเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง (Self Directed Learning) 6. การเรียนรู้เป็นทีม (Team Learning) และ 7. การวิจัย (Research) ดังนั้นภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 สามารถสรุปได้ดังนี้ 1. การคิดวิเคราะห์ในการแก้ปัญหาด้วยเหตุและผล 2. การคิดสร้างสรรค์ในการบริหารงานให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ 3. การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการปฏิบัติงานและการสื่อสารที่รวดเร็ว 4. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการปฏิบัติงาน 5. การสร้างเครื่องข่ายในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันในการบริหาร การศึกษา 6. การเรียนรู้เป็นทีม (Team Learning) และพัฒนาการวิจัย (Research) 31กนกอร สมปราชญ์, ภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน: การศึกษา ทฤษฎีฐานราก, วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, ปีที่ 12 ฉบับที่ 34 (มกราคม–เมษายน 2560): 54-55.


47 47 2.4 คุณลักษณะภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล กระแสการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสถานศึกษาในยุคิดจิทัล ผู้บริหาร สถานศึกษามีความจำเป็นต้องเข้าใจบริบทของสถานศึกษาในยุคนี้ ที่สภาพแวดล้อมภายนอก (External environment) เข้ามามีผลกระทบต่อการบริหารสถานศึกษาอย่างมากมาย โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่เป็นปัจจัยเอื้อ และปัจจัยที่เป็นอุปสรรคในการดำเนินกิจกรรมของ สถานศึกษาในการจัดเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน ถึงแม้ว่าบริบทของสถานศึกษายุคดิจิทัลนั้น ดูจะ เป็นสิ่งธรรมดามากที่ผู้เรียน และครูรุ่นใหม่ จะเป็นผู้มีทักษะในการใช้เทคโนโลยีได้เป็น อย่างดี ทีมีความแตกต่างจากครูรุ่นเก่าและผู้บริหารสถานศึกษาหลาย ๆ คน แต่ไม่ได้ หมายความว่าจะมีความเพียงพอสำหรับการจัดการเรียนรู้แก่ผู้เรียน ผู้บริหารสถานศึกษา ที่มีความรู้ ความเข้าใจ มีวิสัยทัศน์เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ โดยนำไปกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และกำหนดจุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษา เหล่านี้ เรียกว่า ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยี (Technology Leadership) รวมทั้งการนำองค์การให้ สามารถพัฒนานวัตกรรมเพื่อให้เกิดผลลัพธ์แก่สถานศึกษา ในที่สุดองค์การจะมุ่งไปสู่เป็น องค์การแห่งนวัตกรรมซึ่งก็คือ ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม32 สอดคล้องแนวทางการศึกษาใน ยุคประเทศไทย 4.0 โดยเน้นการใช้นวัตการจัดการศึกษาและการเรียนการสอนตาม สถานการณ์การระบาดโรคโควิด-19 2.4.1 คุณลักษณะภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยี (Technology Leadership) คุณลักษณะที่สำคัญของภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษายุค ดิจิทัล33 ดังนี้ 1. ผู้บริหารสถานศึกษาควรเรียนรู้การจัดการและใช้เทคโนโลยี 2. ผู้บริหารสถานศึกษาต้องมีความมั่นใจว่าครูและบุคลากรเป็นบุคคลที่พร้อมจะ เรียนรู้ 3. ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีวิสัยทัศน์ด้านบทบาทการนำเทคโนโลยีมาใช้ใน สถานศึกษา 4. ผู้บริหารสถานศึกษาควรจะวัดและประเมินบทบาทการเป็นนักวิชาการและการ บริหารการใช้เทคโนโลยีโดยการตัดสินใจพื้นบนพื้นฐานข้อมูล 32สุกัญญา แช่มช้อย, การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล, (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561), หน้า 119. 33เรื่องเดียวกัน, หน้า 121.


48 48 ผู้บริหารสถานศึกษาที่มีภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยี (Technology Leadership) หมายถึงผู้บริหารสถานศึกษาที่มีความรู้ เข้าใจในการใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการจัดการ เรียนรู้ และการจัดการในสถานศึกษา โดยมีวิสัยทัศน์และเป็นผู้นำในการส่งเสริมให้ครูและ บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีมาบูรณาการใช้ในการจัดการศึกษาและการทำงานใน สถานศึกษาได้อย่างสอดคล้องกับบริบทและความต้องการของผู้เรียน ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง ควรส่งเสริมให้ครูและนักเรียนมีความมั่นใจในการใช้เทคโนโลยี และการใช้เทคโนโลยีอย่าง อย่างมีความรอบรู้ รู้เท่าทันสื่อเทคโนโลยี โดยคำนึกถึงดีงามตามหลักพุทธธรรมในการใช้สื่อ และเทคโนโลยีอย่างเหมาะสม นอกจากนั้นกระแสโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีรวดเร็วและรุนแรงมาก คุณลักษณะภาวะผู้นำของผู้บริหารจำเป็นต้องให้ความสำคัญด้านเทคโนโลยีอย่างมากเพื่อ การจัดการเรียนรู้ในโลกยุคดิจิทัล ดังกล่าว สหรัฐอเมริกาได้กำหนดมาตรฐานชาติด้านการ ใช้เทคโนโลยีสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาว่าประกอบด้วย 5 ด้าน34 คือ 1. การมีวิสัยทัศน์ (Visionary Leadership) ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้อง สามารถสร้างแรงบันดาลใจ สามารนำการพัฒนาและการประยุคใช้เทคโนโลยี โดยการ แลกเปลี่ยนหรือถ่ายทอดวิสัยทัศน์ ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับการบูรณาการ เทคโนโลยีเพื่อ ยกระดับความเป็นเลิสและสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงในองค์การ 2. การสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้แบบโลกดิจิทัล (Digital age Leadership) ผู้บริหารสถานศึกษาต้องสร้างสรรค์พลวัตในการใช้เทคโนโลยีเป็นปกติ จนเป็นวัฒนธรรม การเรียนรู้แบบโลกดิจิทัล โดยจัดและส่งเสริมให้ผู้เรียนทุกคนได้รับการเรียนรู้ดังกล่าวอย่าง ทั่วถึง 3. การปฏิบัติที่เป็นเลิศอย่างมืออาชีพ (Excellence in professional Leadership) ผู้บริหารสถานศึกษาต้องจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้และนวัตกรรมอย่างมือ อาชีพให้กับผู้เรียน โดยส่งเสริมพลังอำนาจครูให้จัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนโดยใช้เทคโนโลยี การเรียนรู้ดิจิทัลต่าง ๆ 4. การปรับปรุงอย่างเป็นระบบ (Systematic improvement) ผู้บริหาร สถานศึกษาต้องส่งเสริมความเป็นผู้นำในยุคดิจิทัล และการบริหารจัดการคุณภาพอย่าง ต่อเนื่องในองค์การโดยใช้แหล่งข้อมูลสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ 5. การเป็นพลเมืองในยุคดิจิทัล (digital citizenship) ผู้บริหารสถานศึกษาต้อง เป็นแบบอย่างที่ดีและส่งเสริมให้เกิดการตระหนักในประเด็นทางสังคม จริยธรรม และ กฎหมาย ความรับผิดชอบในสิ่งที่เกี่ยวข้องเพื่อวัฒนาการของวัฒนธรรมของสังคมดิจิทัล 34เรื่องเดียวกัน, หน้า 119.


49 49 กล่าวโดยสรุป ผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลต้องมีความสามารถในการใช้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนให้ครู อาจารย์ บุคลากร ทางการศึกษามีคุณลักษณะและทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนในยุคดิจิทัลอย่างมีประสิทธิผล ก้าวหน้าทันสถานการณ์เปลี่ยนแปลงในโลกยุคดิจิทัล สรุปคุณลักษณะภาวะผู้นำในยุคศตวรรษที่ 21 และประเทศไทย 4.0 เป็นยุคใหม่ที่ ต้องเรียนรู้ตลอดเวลาในประเด็นต่อไปนี้ 1. การพัฒนาตนเอง 2. การพัฒนางาน 3. การเรียนรู้อยู่ในสังคม 4. การพัฒนาทักษะการสื่อสาร 5. การพัฒนาทักษะหน้าที่ในงานอาชีพของตน 6. สร้างมนุษยสัมพันธ์กับองค์กรในการปฏิบัติงาน 7. นำคุณธรรมมาเป็นพื้นฐานในการทำงานและดำเนินชีวิต 2.4.2 คุณลักษณะภาวะผู้นำการเปลี่ยนผ่านทางการศึกษาในอนาคต ณิรดา เวชญาลักษณ์ ได้เสนอคุณลักษณะภาวะผู้นำทางการศึกษาในอนาคต ดังนี้ 1. มีความคิดกว้างไกลในระดับโลก ชาญฉลาดและเข้าใจวัฒนธรรม 2. เข้าใจองค์การรูปแบบใหม่จากมุมที่เป็นองค์รวมในเชิงบูรณาการ 3. มีความสามารถและทักษะการทำงานแบบทีมงานได้ดี 4. มีความยืดหยุ่นสูงในการบริหารการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่21 5. มีความรู้ความเข้าใจในการนำองค์การแห่งการเรียนรู้ให้ก้าวทันกระแสโลก 6. มีทักษะการใช้เทคโนโลยีและสื่อสาร 7. มีความคิดสร้างสรรค์อย่างมีอาชีพ35 สรุปคุณลักษณะภาวะผู้นำการเปลี่ยนผ่านทางการศึกษาในอนาคตประเด็นสำคัญมี 3 เรื่อง คือ ความยืดหยุ่นสูงในการบริหารการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 การมีทักษะ การใช้เทคโนโลยีและสื่อสารที่ง่าย รวดเร็วและมีความรู้ความเข้าใจในการนำองค์การแห่ง การเรียนรู้ให้ก้าวทันกระแสโลกในการพัฒนาการบริหารการศึกษาไปสู่เป้าหมายได้อย่างมี ประสิทธิภาพ 35ณิรดา เวชญาลักษณ์, ภาวะผู้นำทางการศึกษา, (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560), หน้า 256-257.


50 50 2.4.3 คุณลักษณะภาวะผู้นำทางการศึกษาตามศาสตร์พระราชาด้านการศึกษา ในหลวงรัชกาลที่ 10 คุณลักษณะคนไทยที่พึงประสงค์ตามศาสตร์พระราชาด้านการศึกษาต้องมุ่งสร้าง พื้นฐานให้แก่ผู้เรียน 4 ด้าน36 ประกอบด้วย 1. ทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง 1.1 ความรู้ความเข้าใจต่อชาติบ้านเมือง 1.2 ยึดมั่นในศาสนา 1.3 มั่นคงในสถาบันกษัตริย์ 1 1.4 มีความเอื้ออาทรต่อครอบครัวและ ชุมชนของตน 2. มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคงด้วยมีคุณธรรม 2.1. รู้จักแยกแยะสิ่งที่ผิด – ชอบ / ชั่ว – ดี 2.2 ปฏิบัติแต่สิ่งที่ชอบ สิ่งที่ดีงาม 2.3 ปฏิเสธสิ่งที่ผิด สิ่งที่ชั่ว 2.4 ช่วยกันสร้างคนดีให้แก่บ้านเมือง 3. มีงานทำ คือ การมีอาชีพ 3.1การเลี้ยงดูลูกหลานในครอบครัว หรือการฝึกฝนอบรมในสถานศึกษาต้องมุ่ง ให้เด็ก และเยาวชน รักงาน สู้งาน ทำจนงานสำเร็จ 3.2 การฝึกฝนอมรมทั้งในหลักสูตร และนอกหลักสูตรต้องมีจุดมุ่งหมายให้ ผู้เรียนทำงานเป็นและมีงานทำในที่สุด 3.3 ต้องสนับสนุนผู้สำเร็จหลักสูตร มีอาชีพ มีงานทำ จนสามารถเลี้ยงตนเอง และครอบครัว 4. เป็นพลเมืองที่ดี 4.1 การเป็นพลเมืองดี เป็นหน้าที่ของทุกคน 4.2 ครอบครัว – สถานศึกษาและสถานประกอบการต้องส่งเสริมให้ทุกคนมี โอกาสทำหน้าที่เป็นพลเมืองดี 4.3 การเป็นพลเมืองดี คือ “เห็นอะไรที่จะทำเพื่อบ้านเมืองได้ก็ต้องทำ” เช่น งานอาสาสมัคร งานบำเพ็ญประโยชน์ งานสาธารณกุศลให้ทำด้วยความมีน้ำใจ และความ เอื้ออาทร 36พระบรมราโชบายด้านการศึกษาของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: http://nv.ac.th/site/?p=1878 [25 พฤศจิกายน 2565].


51 51 กล่าวได้ว่าผู้นำทางการศึกษาซึ่งเป็นคนไทยก็ต้องน้อมนำไปพระบรมราโชบาย ด้านการศึกษา ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูรไป ปฏิบัติร่วมกับครู อาจารย์เพื่อให้ส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอนแก่นักเรียนมี พื้นฐานชีวิตที่มั่นคง ซึ่งสอดคล้องกับพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระ บรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงให้ความสำคัญ ส่งเสริม และ พัฒนาด้าน "การศึกษา" ด้วยเป็นรากฐานสำคัญ ในการพัฒนาคน อัน จะนำไปสู่การพัฒนาประเทศไทยให้เจริญรุ่งเรืองสืบไป 2.5 คุณลักษณะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาตามพุทธวิถีใหม่ การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ทางการศึกษาตามพุทธวิถีใหม่ทั้ง 4 ด้าน คือ 2.5.1 คุณลักษณะภาวะผู้นำการบริหารการศึกษาตามพุทธวิถีใหม่ 2.5.2 คุณลักษณะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาตามพุทธวิถีใหม่ 2.5.3 คุณลักษณะภาวะผู้นำทางการศึกษามุ่งพัฒนาคนตามพุทธวิถีใหม่ 2.5.4 คุณลักษณะภาวะผู้นำมุ่งพัฒนางานตามพุทธวิถีใหม่ ซึ่งการพัฒนาคุณลักษณะ ภาวะผู้นำทางการศึกษาตามพุทธวิถีใหม่ในแต่ละด้าน ดังนี้ 2.5.1 คุณลักษณะภาวะผู้นำการบริหารการศึกษาตามพุทธวิถีใหม่ การบริหารการศึกษาในยุคการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็จนั้นต้องอาศัยผู้นำที่มี คุณลักษณะที่มีสมรรถนะที่ดีและเก่งรอบรู้หลากหลายมิติดังที่กล่าวมาแล้ว นอกจากมี ความรู้ที่เก่งตามสถานการณ์ที่โลกต้องการแล้ว หลักบริหารจัดการสถานศึกษาคนเดียวยัง ไม่เพียงพอต้องอาศัยทีมงานในองค์การร่วมมือ ร่วมคิด ร่วมวางแผนและรวมกันปฏิบัติ ขับเคลื่อนนโยบายให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้บรรลุเป้าหมายนั้น ด้วยเหตุนี้ผู้นำต้องมี คุณลักษณะภาวะผู้นำในการบริหารการศึกษาตามพุทธวิถีใหม่เพื่อนำองค์การขนาดใหม่ ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นที่ยอมรับในระดับสากลอย่างโปร่งใส่ ตรวจสอบ ได้ด้วยศรัทธากับผู้นำดังนี้ คุณลักษณะภาวะผู้นำของผู้บริหารต้องมีความคิดให้ไกลไปให้ถึงเป้าหมายอย่าง สมดุลตามพุทธวิถีใหม่ 1. จักขุมา หมายถึง ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกลมีกระบวนการคิดที่รอบคอบและ มีเหตุผลโดยอาจใช้ประสบการณ์ ในอดีตร่วมในการตัดสินใจและวางแผนด้วยซึ่งตรงกับ ภาษาอังกฤษคาว่า Conceptual Skill คือการชำนาญในการใช้ความคิดหรือทักษะ ทางด้านความคิด


52 52 2. วิธูโร หมายถึง ผู้นำที่มีระบบการจัดการที่ดี มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านจัดการ ธุระ ได้ด้วยความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่น นักบริหารการศึกษา ต้องมีความเชี่ยวชาญ ตามสายงานหน้าที่ คุณลักษณะข้อสองนี้ตรงกับคาว่า Technical Skill คือ ความชำนาญ ด้านเทคนิคหรือกลยุทธ์ 3. นิสสยสัมปันโน หมายถึง ผู้นำที่มีมนุษย์สัมพันธ์ดี มีความสามารถในการติดต่อ ประสานงานให้งานสำเร็จลุล่วงไปได้ตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด มีความสามารถในการ สื่อสารและประสานงานให้ฝ่ายแต่ละฝ่ายในองค์กรดำเนินแนวทางตามกรอบทิศทางที่ องค์กรต้องการบรรลุได้หรือมีความสามารถในการผูกใจคนให้เป็นที่รักของคนพึ่งพาอาศัย คนอื่นได้เพราะเป็นคนมีมนุษย์สัมพันธ์ดี เช่น นักบริหารการศึกษาไปต่างเมืองก็มีเพื่อนให้ ช่วยเหลือเพราะมีเครดิตดีผู้นำที่ดีต้องผูกใจคนไว้ได้ คุณลักษณะที่สามนี้สำคัญมาก ตรงกับ คำว่า คุณลักษณะที่สามนี้สำคัญมาก ตรงกับคำว่า Human Relation Skill คือความ ชำนาญด้านมนุษย์สัมพันธ์37 ในพระสูตรนี้แสดงให้เห็นว่า การเป็นผู้นำนั้นจะต้องมีคุณลักษณะภาวะผู้นำทาง การศึกษาที่สอดคล้องกับยุคสมัยนี้เป็นอย่างดีคือ 1. มีวิสัยทัศน์กว้างไกลในการนำพาองค์กรไปสู่เป้าหมาย 2. ปัญญา คือ มีหูตาไว และกว้างไกลสามารถจำแนกบุคคลและเหตุการณ์ได้เป็น อย่างดี 3. มีความรู้ ประสบการณ์ และความชำนาญในการปกครอง 4. เข้าใจบุคคลหรือผู้ใต้บังคับบัญชาได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะทำให้มี ผู้สนับสนุนมากขึ้น 5. สร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับหน่วยงานหรือองค์กร 2.5.2 คุณลักษณะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาตามพุทธวิถีใหม่ คุณลักษณะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาตามพุทธวิถีใหม่ที่จะนำพา องค์การของการบริหารการศึกษาได้ดีอย่างน่าเลื่อมใสและศรัทธายิ่งของผู้ใต้บังคัญบัญชา พร้อมปฏิบัติตามคือคุณลักษณะภาวะผู้นำที่มีคุณธรรมอย่างชุดต่อไปนี้ คุณลักษณะภาวะผู้นำทางการศึกษาตามหลักทศพิธราชธรรม38 คือ คุณธรรมของ ผู้นำ ผู้บริหารการศึกษา, ธรรมของนักปกครองที่ดีเลิศประกอบด้วย 1) ทาน การให้ คือ สละทรัพย์สิ่งของ บำรุงเลี้ยง และบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ (charity; liberality; generosity) ในมุมมองทางการศึกษาผู้นำต้องให้ทั้งสองแบบ คือ การ ให้ที่เป็นนามธรรม การให้คำแนะนำ การสอน ชี้นำที่เป็นความรู้ ความสามารถและการให้ 37ดูรายละเอียดใน องฺ.ติก.(ไทย) 20/459/146. 38ดูรายละเอียดใน ขุ.ชา. (ไทย) 28/240/86.


53 53 สิ่งที่เป็นวัตถุสิ่งของที่จะส่งเสริมการทำงาน สิ่งอำนวยความสะดวก ขวัญและกำลังใจ เหล่าถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งต่อการบริหารการศึกษา 2) ศีล ความประพฤติดีงาม คือ สำรวมกายและวจีทวาร ประกอบแต่การสุจริต รักษากิตติคุณ (high moral character) ถือเป็นคุณลักษณะของผู้บริหารในการอยู่ร่วมกัน ในสังคม องค์กร หน่วยงานในการทำงานอย่างมีความสุข 3) ปริจจาคะ การบริจาค คือ เสียสละความสุขสำราญ เป็นต้น เพื่อประโยชน์สุข ขององค์การ และความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง (self-sacrifice) 4) อาชชวะ ความซื่อตรง คือ ซื่อตรงทรงสัตย์ไร้มารยา ปฏิบัติภารกิจโดยสุจริต มีความจริงใจ (honesty; integrity) 5) มัททวะ ความอ่อนโยน มีอัธยาศัย ไม่เย่อหยิ่งหยาบคายกระด้างถือตน มีความ งามสง่า (kindness and gentleness) 6) ตปะ ความทรงเดช คือ แผดเผากิเลสตัณหา ระงับยับยั้งข่มใจได้มุ่งมั่นแต่จะ บำเพ็ญเพียร ทำกิจให้บริบูรณ์ (austerity; self-control; non-indulgence) 7) อักโกธะ ความไม่โกรธ ไม่ลุอำนาจความโกรธ จนเป็นเหตุให้วินิจฉัยความและ กระทำการต่างๆ ผิดพลาดเสียธรรม (non-anger; non-fury) 8) อวิหิงสา ความไม่เบียดเบียน ไม่หลงระเริงอำนาจ (non-violence; nonoppression) 9) ขันติ ความอดทน คือ อดทนต่องานที่ตรากตรำ ไม่ท้อถอย ไม่หมดกำลังใจ ไม่ยอมละทิ้ง (patience; forbearance; tolerance) 10) อวิโรธนะ ความไม่คลาดธรรม คือ มีหลักหนักแน่นในธรรม คือ ระเบียบแบบ แผนหลักการปกครอง ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม (non deviation from righteousness; conformity to the law) ดังนั้นคุณสมบัติของผู้นำทางการศึกษาตามพุทธวิถีใหม่นี้ถือว่าเป็นคุณลักษณะ ภาวะผู้นำทางการศึกษาชุดใหญ่เป็นเลิศในการนำไปปฏิบัติฝึกขัดสำหรับผู้บริหารการศึกษา ยุคนี้มีคุณลักษณะภาวะผู้นำ 2 ระดับ คือ 1. ระดับคุณลักษณะภายนอก ได้แก่กาย ประกอบด้วย การรักษาศีล เป็นที่ไว้ใจใน สังคม เพื่อนร่วมงาน มีความสงบสุขในองค์กรและมีการเสียสละ แบ่งปัน ช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน 2. ระดับคุณลักษณะภายในได้แก่ การมีจิตใจงดงาม อดทนต่อกันได้ ไม่โกรธกัน รู้จักให้อภัย มีการกล่าวขอโทษ มีอัธยาศัยไมตรีดีมีความอ่อนโยน โดยเฉพาะการไม่ใช่ อำนาจในหน้าที่ที่เป็นอคติต่อผู้ใต้บังคัญบัญชา


54 54 อีกชุดหนึ่งที่เหมาะกับคุณลักษณะภาวะผู้นำการบริหารการศึกษาในยุคนี้ตาม พุทธวิถีใหม่ คือ หลักพละ5 หมายถึงธรรมที่เป็นพลังเสริมจิตใจในกิจของตน39 (controlling faculty) ได้แก่ 1) สัทธา (พลังความเชื่อ (confidence) 2) วิริยะ (พลังความเพียร (energy; effort) 3) สติ (พลังความระลึกได้ (mindfulness) 4) สมาธิ (พลังความตั้งจิตมั่น (concentration) 5) ปัญญา (พลังความรู้ทั่วชัด (wisdom; understanding) กล่าวได้ว่า คุณลักษณะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาตามพุทธวิถีใหม่ ในยุคนี้ต้องอาศัยคนเก่งและดีคือ 1) มีปัญญา 2) สติ คือพลังความระลึกได้ด้วยความรู้ 3)สมาธิ คือความตั้งจิตมั่น 4)เชื่อมั่นในการปฏิบัติงาน 5) วิริยะ ด้วยความเพียร เมื่อนำมา บูรณาการกับการบริหารการศึกษาต้องใช้ความรู้เป็นตัวนำอย่างมีสติทำด้วยจิตมั่นคงในการ ปฏิบัติงานตามระเบียบข้อบังคัญที่ถูกต้องด้วยความขยันอดทน คุณลักษณะเด่นของภาวะผู้นำตามพุทธวิถีใหม่ชุดนี้คือพลังจิตที่ดีงามและพลัง ปัญญาความรู้ที่เป็นเลิศตามด้วยคุณธรรมที่ช่วยเสิรมพลังจิต ปัญญา คือ ความขยัน และ อดทนบูรณาการกับทำงานได้สมบูรณ์ที่สุด 2.5.3 คุณลักษณะภาวะผู้นำทางการศึกษามุ่งพัฒนาคนตามพุทธวิถีใหม่ คุณลักษณะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาต้องปฏิบัติงานร่วมกับคนอื่น ทั้งองค์กรเพื่อให้ผู้ร่วมงานมีแรงจูงใจในการปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายได้อย่างมี ประสิทธิภาพนั้นคือการเห็นผู้นำมีน้ำใจต่อผู้ร่วมงานในรูปแบบที่เหมาะสมอย่างยุติธรรม เรียกว่าเป็นหลักธรรมเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจกันด้วยหลักสังคหวัตถุ 4 ประการนี้ 1. ทาน คือ การให้ 2. เปยยวัชชะ คือ การมีวาจาเป็นที่รัก 3. อัตถจริยา คือ ทำประโยชน์ 4. สมานัตตตา คือการวางตนดีอย่าสม่ำเสมอ40 39ดูรายละเอียดใน ส .ม.19/843–900/256–271; 1061–1069/310–312; ขุ.ปฏิ.31/423– 463/300–344 40ดูรายละเอียดใน องฺ.จตุกฺก.(ไทย) 21/32, 256/50-51, 373.และขุ.ป.อ. (ไทย) 31/72/121.


55 55 แนวทางการปฏิบัติให้สอดคล้องสภาพความเป็นจริงในสถานการณ์ปัจจุบัน พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) ได้เสนอหลักสังคหวัตถุ 4 คือ41 ธรรมเครื่องยึดเหนี่ยวใจ บุคคล และประสานหมู่ชนไว้ในสามัคคีหลักสงเคราะห์กันให้มีความสุขมี 4 คือ 1. ทาน การให้คือ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เสียสละ แบ่งปัน ช่วยเหลือกันด้วย สิ่งของตลอดจนให้ความรู้และแนะนำสั่งสอน 2. ปิยวาจา วาจาเป็นที่รัก วาจาดูดดื่มน้ำใจ หรือวาจาซาบซึ้งใจ คือกล่าวคำ สุภาพไพเราะอ่อนหวานสมานสามัคคี ให้เกิดไมตรีและความรักใคร่นับถือ ตลอดถึงคำแสดง ประโยชน์ประกอบด้วยเหตุผล เป็นหลักฐานจูงใจให้นิยมยอมตาม 3. อัตถจริยา การประพฤติประโยชน์ คือขวนขวายช่วยเหลือกิจการ บำเพ็ญ สาธารณประโยชน์ตลอดถึงคำช่วยแก้ไขปรับปรุงส่งเสริมในทางจริยธรรม 4. สมานัตตตา ความเสมอต้นเสมอปลาย คือทำตนเสมอต้นเสมอปลายปฏิบัติ สม่ำเสมอกันในชนทั้งหลาย และเสนอในสุข ทุกข์ โดยร่วมรับรู้ร่วมแก้ไขตลอดถึงวางตน เหมาะแก่ฐานะภาวะบุคคล เหตุการณ์และสิ่งแวดล้อม ถูกต้องตามธรรมในแต่ละกรณีและ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ธมฺมธโร) (2541, น. 13) ได้ให้คำนิยามหลักจริยศาสตร์สังคม ของพระพุทธศาสนำเรื่อง สังคหวัตถุ 4 หรือหลักปฏิบัติตนตามหลักจิตวิทยาสังคมเพื่อให้ เกิดความนิยมชมชอบและเคารพนับถือแก่ผู้อื่นหรือสังคมของชุมชนต่าง ๆ กล่าวได้ว่าหลักธรรมที่เป็นคุณสมบัติของผู้นำที่ดีช่วยยึดเหนี่ยวจิตใจคนให้ ปฏิบัติงานอย่างมีความสุข เมื่อคนในทีมงานเห็นผู้นำองค์กรมีคุณลักษณะความเป็น คนพูดจาไพเราะ การให้คำแนะนำที่ดีๆ มีกัลยาณมิตร และกล้าเสียสละสิ่งของ สนับสนุน อุปกรณ์ที่เป็นเครื่องมือที่จำเป็นในการปฏิบัติงานในองค์กรอย่างยุติธรรมเสมอต้นเสมอ ปลาย นอกจากนั้นคุณลักษณะภาวะผู้นำทางการศึกษาสำหรับชีวิตคฤหัสถ์ที่ดีต้องมี คุณสมบัติตามหลักเบญจกัลยาณธรรม คือ ธรรมอันดีงามด้วยหลักเบญจธรรมคู่กับเบญจศีล เป็นธรรมเกื้อกูลแก่การรักษาเบญจศีล (the five ennobling virtues; virtues enjoined by the five precepts) ซึ่งมีองค์ประกอบดังนี้ 1) เมตตาและกรุณา ความรักใคร่ปรารถนาให้มีความสุขความเจริญ และความ สงสารคิดช่วยให้พ้นทุกข์ (loving-kindness and compassion) คู่กับศีลข้อที่ 1 2) สัมมาอาชีวะ การหาเลี้ยงชีพในทางสุจริต (right means of livelihood) คู่กับ ศีลข้อที่ 2 41พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต), การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน, (กรุงเทพมหานคร: หจก.เอมี่ เทรดดิ้ง, 2546), หน้า 142.


56 56 3) กามสังวร ความสังวรในกาม ความสารวมระวังรู้จักยับยั้งควบคุมตนในทาง กามารมณ์ ไม่ให้หลงใหลในรูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส sexual restraint) คู่กับศีลข้อ ที่ 3 4) สัจจะ ความสัตย์ ความซื่อตรง (truthfulness; sincerity) คู่กับศีลข้อที่ 4 5) สติสัมปชัญญะ ระลึกได้และรู้ตัวอยู่เสมอ คือ ฝึกตนให้เป็นคนรู้จักยั้งคิด รู้สึกตัว เสมอว่า สิ่งใดควรทำและไม่ควรทำ ระวังมิให้เป็นคนมัวเมาประมาท (mindfulness and awareness; temperance) คู่กับศีลข้อที่ 542 และลักศีล 5 หรือ เบญจศีล องค์ประกอบ ด้วยข้อปฏิบัติในการเว้นจากความชั่ว, การควบคุมตนให้ตั้งอยู่ในความไม่เบียดเบียน (the Five Precepts; rules of morality) ดังนี้ 1) ปาณาติปาตา เวรมณี เว้นจากการปลงชีวิต, (to abstain from killing) 2) อทินฺนาทานา เวรมณี เว้นจากการถือเอาของที่เขามิได้ให้ (to abstain from stealing) 3) กาเมสุมิจฺฉาจารา เวรมณี เว้นจากการล่วงละเมิดสิ่งที่ผู้อื่นรักใคร่หวงแหน (to abstain fromsexual misconduct) 4) มุสาวาทา เวรมณี เว้นจากการพูดเท็จ (to abstain from false speech) 5) สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา เวรมณี เว้นจากการดื่มน้ำเมา สุราอันเป็นที่ตั้งแห่ง ความประมาท (to abstain from intoxicants causing heedlessness) 43 จากชุดหลักธรรมที่ส่งเสริมคุณลักษณะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา ตามหลักพุทธวิถีใหม่ ชี้ชัดว่าคุณลักษณะพื้นฐานชีวิตที่งดงามและเจริญก้าวหน้าในหน้าที่ การงานสำหรับการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขอย่างยั่งยืนคือ คุณลักษณะของภาวะผู้นำที่มี ศีล 5 ในการดำเนินชีวิตคู่กับคุณธรรม 5 ข้อดังกล่าวแล้ว หลักการปฏิบัติจริง ๆ ชีวิตผู้นำ ตามหลักศีล 5 ข้อนั้น เรื่องแรกต้องเป็นคนมีสติรู้ตัวเองอยู่เสมอควบคุมหลักปฏิบัติอีก 4 ข้อได้ง่าย คือ สัจจะ กามสังวร สัมมาอาชีพ และเมตตาและกรุณา ตามลำดับดังภาพ ที่ 2.2 ดังนี้ 42ดูรายละเอียดใน องฺ.อฏฺฐก.23/131/25. 43ดูรายละเอียดใน ที.ปา. 11/286/247; องฺ.ปญฺจก. 22/172/227/264/307; อภิ.วิ.35/767/ 388.


57 57 ภาพที่ 2.2 หลักปฏิบัติศีล 5 คู่กับเบญจธรรม 5 ที่มา : มาจาก แนวคิดการปฏิบัติตามหลักศีล 5 คู่กับเบญจธรรม 5 ข้อ โดยสังเคราะห์ของ ผู้เขียน (2564) 2.5.4 คุณลักษณะภาวะผู้นำมุ่งพัฒนางานตามพุทธวิถีใหม่ คุณลักษณะภาวะผู้นำการศึกษามุ่งพัฒนางานให้สำเร็จตามเป้าหมายและอีก คุณลักษณะหนึ่งคือการปฏิบัติงานให้โปร่งใส่ สุจริตในหน้าที่การปฏิบัติงานตามหลักพุทธวิถี ใหม่ดังนี้ หลักคุณธรรมที่ช่วยส่งเสริมคุณลักษณะภาวะผู้นำในการปฏิบัติงานให้สำเร็จด้วยดี และมีความสุขชุดแรก คือการพัฒนางานตามแผนงานให้บรรลุเป้าหมายนั้นต้องอาศัย คนทำงานที่เก่ง ดีและมีคุณภาพผลสำเร็จของงานจึงจะได้คุณภาพ ดังนั้นพุทธธรรมที่ ส่งเสริมให้เพิ่มประสิทธิภาพงานและได้ผลงานที่เรียบร้อยได้แก่หลักอิทธิบาท44 คือหนทาง แห่งความสำเร็จ มี 4 ข้อ คือ 1. ฉันทะ มีใจรัก คือ พอใจจะทำสิ่งนั้น 2. วิริยะ พากเพียรทำ คือ ขยันหมั่นประกอบกิจการงาน หมั่นกระทำสิ่งนั้น 3. จิตตะ เอาจิตฝักใฝ่คือ ตั้งจิตรับรู้ในสิ่งที่ทำ 4. วิมังสา ใช้ปัญญาสอบสวน คือ หมั่นใช้ปัญญาพิจารณาใคร่ครวญ เพื่อความสุข และเป็นการสร้างฉันทะในการทำงานซึ่งต้องอาศัยผู้นำสนับสนุนให้เกิดขึ้น เพื่อให้คนทำงาน มีความสุข ดังภาพที่ปรากฏต่อไปนี้ 44ดูรายละเอียดใน (ที.ปา.(ไทย) 11/231/233. สติ สัจจะ กามสังวร อาชีพสุจริต เมตตา 57 ภาพที่ 2.2 หลักปฏิบัติศีล 5 คู่กับเบญจธรรม 5 ที่มา : มาจาก แนวคิดการปฏิบัติตามหลักศีล 5 คู่กับเบญจธรรม 5 ข้อ โดยสังเคราะห์ของ ผู้เขียน (2564) 2.5.4 คุณลักษณะภาวะผู้นำมุ่งพัฒนางานตามพุทธวิถีใหม่ คุณลักษณะภาวะผู้นำการศึกษามุ่งพัฒนางานให้สำเร็จตามเป้าหมายและอีก คุณลักษณะหนึ่งคือการปฏิบัติงานให้โปร่งใส่ สุจริตในหน้าที่การปฏิบัติงานตามหลักพุทธวิถี ใหม่ดังนี้ หลักคุณธรรมที่ช่วยส่งเสริมคุณลักษณะภาวะผู้นำในการปฏิบัติงานให้สำเร็จด้วยดี และมีความสุขชุดแรก คือการพัฒนางานตามแผนงานให้บรรลุเป้าหมายนั้นต้องอาศัย คนทำงานที่เก่ง ดีและมีคุณภาพผลสำเร็จของงานจึงจะได้คุณภาพ ดังนั้นพุทธธรรมที่ ส่งเสริมให้เพิ่มประสิทธิภาพงานและได้ผลงานที่เรียบร้อยได้แก่หลักอิทธิบาท44 คือหนทาง แห่งความสำเร็จ มี 4 ข้อ คือ 1. ฉันทะ มีใจรัก คือ พอใจจะทำสิ่งนั้น 2. วิริยะ พากเพียรทำ คือ ขยันหมั่นประกอบกิจการงาน หมั่นกระทำสิ่งนั้น 3. จิตตะ เอาจิตฝักใฝ่คือ ตั้งจิตรับรู้ในสิ่งที่ทำ 4. วิมังสา ใช้ปัญญาสอบสวน คือ หมั่นใช้ปัญญาพิจารณาใคร่ครวญ เพื่อความสุข และเป็นการสร้างฉันทะในการทำงานซึ่งต้องอาศัยผู้นำสนับสนุนให้เกิดขึ้น เพื่อให้คนทำงาน มีความสุข ดังภาพที่ปรากฏต่อไปนี้ 44ดูรายละเอียดใน (ที.ปา.(ไทย) 11/231/233. สติ สัจจะ กามสังวร อาชีพสุจริต เมตตา


58 58 ภาพที่2.3 หลักอิทธิบาท 4 ที่มา : มาจาก (ที.ปา.(ไทย) 11/231/233 โดยสังเคราะห์ของผู้เขียน (2564) ในเรื่องนี้ พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต)45 กล่าวในการเพิ่มประสิทธิภาพในการ ทำงานว่า พระพุทธเจ้าตรัสว่า อิทธิบาท แต่ละข้อเป็นตัวทำให้เกิดสมาธิได้ทั้งนั้น ใน พระไตรปิฎกจึงมักจะตรัสเรื่องอิทธิบาท 4 ในแง่ของสมาธิ แล้วจะมีสมาธิตามชื่อของ อิทธิบาท 4 แต่ละข้อ พระพุทธเจ้าตรัสว่า สมาธิที่อาศัยฉันทะเกิดขึ้น เรียกว่า "ฉันทสมาธิ" สมาธิที่อาศัยวิริยะเกิดขึ้น เรียกว่า "วิริยสมาธิ" สมาธิที่อาศัยจิตตะ ความเอาใจฝักใฝ่เกิดขึ้น เรียกว่าจิตตสมาธิที่ สมาธิอาศัยวิมังสาเกิดขึ้น เรียกว่า "วิมังสาสมาธิ" โดยเอาหลักอิทธิบาทมาใช้ช่วย ให้ได้ผลดี แล้วไม่จำเป็นจะต้องเป็นไปตามลำดับที่ว่า คือ จิตตสมาธิกล่าวโดยสั้น ๆ คือ "มีใจรัก พากเพียรทำ เอาจิตฝักใฝ่ ใช้ปัญญาสอบสวน" จากหลักการข้างต้นเห็นชัดเจนว่าหลัการปฏิบัติจริงชุดคุณลักษณะภาวะผู้นำทาง การศึกษาตามพุทธวิถีใหม่ อาจเริ่มต้นจากจิตที่สนใจในงานที่จะทำนั้น และลงมือทำงาน ด้วยขยัน อดทนด้วยภาวะหน้าที่ และพอใจที่จะทำงานด้วยให้สำเร็จอย่างมีสมาธิมีความสุข ด้วยความรู้ความสามารถจนเกิดความชำนาญและงานนั้นสำเร็จลุล่วงด้วยดี นอกจากนั้นยังมีหลักอปริหานิยธรรมชุดส่งเสริมคุณลักษณะภาวะผู้นำในการ ปฏิบัติงานอย่างมีคุณภาพซึ่งมีองค์ประกอบ 7 ประการดังนี้ 45พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต), การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน, หน้า 13-25. อิทธิ บาท4 รักการท างาน ขยัน ท างาน เอาใจใส่การ ท างาน ตรวจสอบการ ท างาน


59 59 1. หมั่นประชุมประชุมพร้อมกัน 2. เลิกประชุมพร้อมกัน 3. ยอมรับมติ ปฏิบัติตามมติที่ประชุม 4. เคารพ นับถือ เชื่อฟังผู้เป็นหัวหน้า 5. คุ้มครองป้องกันให้เกียรติกุลสตรี 6. ส่งเสริม รักษาประเพณี วัฒนธรรม 7. ให้ความอารักขา บำรุงคุ้มครองบรรพชิตและศาสนา46 ดังภาพที่ปรากฏดังนี้ ภาพที่2.4 คุณลักษณะภาวะผู้นำในการปฏิบัติงานอย่างมีคุณภาพ ที่มา : มาจาก ที.ม. (ไทย) 10/136/82-83 โดยสังเคราะห์ของผู้เขียน (2564) ชุดหลักพุทธวิถีใหม่เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะภาวะผู้นำทางการศึกษาในการ ปฏิบัติงานอย่างมีความสุขอย่างยั่งยื่น คือหลักสุจริต47 1. กายสุจริต ความประพฤติชอบด้วยกาย (good conduct in act) มีปัจจัย สนับสนุน 3 คือ งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต - งดเว้นจากการถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ คือไม่ลักทรัพย์ 46ดูรายละเอียด ที.ม. (ไทย) 10/136/82-83. 47ดูรายละเอียดใน ที.ปา.(ไทย) 11/228/227; อภิ.ส.(ไทย) 34/840/327. ประชุม ประชุม พร้อมกัน เลิกประชุม พร้อมกัน เชื่อผู้น า ให้เกียรติ สตรี รักษา ประเพณี วัฒนธรรม บ ารุง คุ้มครอง 59 1. หมั่นประชุมประชุมพร้อมกัน 2. เลิกประชุมพร้อมกัน 3. ยอมรับมติ ปฏิบัติตามมติที่ประชุม 4. เคารพ นับถือ เชื่อฟังผู้เป็นหัวหน้า 5. คุ้มครองป้องกันให้เกียรติกุลสตรี 6. ส่งเสริม รักษาประเพณี วัฒนธรรม 7. ให้ความอารักขา บำรุงคุ้มครองบรรพชิตและศาสนา46 ดังภาพที่ปรากฏดังนี้ ภาพที่2.4 คุณลักษณะภาวะผู้นำในการปฏิบัติงานอย่างมีคุณภาพ ที่มา : มาจาก ที.ม. (ไทย) 10/136/82-83 โดยสังเคราะห์ของผู้เขียน (2564) ชุดหลักพุทธวิถีใหม่เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะภาวะผู้นำทางการศึกษาในการ ปฏิบัติงานอย่างมีความสุขอย่างยั่งยื่น คือหลักสุจริต47 1. กายสุจริต ความประพฤติชอบด้วยกาย (good conduct in act) มีปัจจัย สนับสนุน 3 คือ งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต - งดเว้นจากการถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ คือไม่ลักทรัพย์ 46ดูรายละเอียด ที.ม. (ไทย) 10/136/82-83. 47ดูรายละเอียดใน ที.ปา.(ไทย) 11/228/227; อภิ.ส.(ไทย) 34/840/327. ประชุม ประชุม พร้อมกัน เลิกประชุม พร้อมกัน เชื่อผู้น า ให้เกียรติ สตรี รักษา ประเพณี วัฒนธรรม บ ารุง คุ้มครอง 59 1. หมั่นประชุมประชุมพร้อมกัน 2. เลิกประชุมพร้อมกัน 3. ยอมรับมติ ปฏิบัติตามมติที่ประชุม 4. เคารพ นับถือ เชื่อฟังผู้เป็นหัวหน้า 5. คุ้มครองป้องกันให้เกียรติกุลสตรี 6. ส่งเสริม รักษาประเพณี วัฒนธรรม 7. ให้ความอารักขา บำรุงคุ้มครองบรรพชิตและศาสนา46 ดังภาพที่ปรากฏดังนี้ ภาพที่2.4 คุณลักษณะภาวะผู้นำในการปฏิบัติงานอย่างมีคุณภาพ ที่มา : มาจาก ที.ม. (ไทย) 10/136/82-83 โดยสังเคราะห์ของผู้เขียน (2564) ชุดหลักพุทธวิถีใหม่เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะภาวะผู้นำทางการศึกษาในการ ปฏิบัติงานอย่างมีความสุขอย่างยั่งยื่น คือหลักสุจริต47 1. กายสุจริต ความประพฤติชอบด้วยกาย (good conduct in act) มีปัจจัย สนับสนุน 3 คือ งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต - งดเว้นจากการถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ คือไม่ลักทรัพย์ 46ดูรายละเอียด ที.ม. (ไทย) 10/136/82-83. 47ดูรายละเอียดใน ที.ปา.(ไทย) 11/228/227; อภิ.ส.(ไทย) 34/840/327. ประชุม ประชุม พร้อมกัน เลิกประชุม พร้อมกัน เชื่อผู้น า ให้เกียรติ สตรี รักษา ประเพณี วัฒนธรรม บ ารุง คุ้มครอง


60 60 - งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม 2. วจีสุจริต ความประพฤติชอบด้วยวาจา (Vacã-sucarita: good conduct in word) มี 4 คือ - เว้นจากการพูดเท็จ - เว้นจากการพูดส่อเสียด - เว้นจากการพูดคำหยาบ - เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ 3. มโนสุจริต ความประพฤติชอบด้วยใจ (Mano-sucarita: good conduct in thought) มี 3 อย่าง คือ - ไม่โลภอยากได้ของคนอื่น - ไม่คิดปองร้ายคนอื่น - ความเห็นที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม หลักการปฏิบัติงานต้องจริง ๆ จิตใจเป็นผู้นำพฤติทั้งหมดของกายและวาจา ดังภาพที่ 2.5 ดังนี้ ภาพที่2.5 สุจริต 3 ที่มา : มาจาก ที.ปา.(ไทย) 11/228/227 โดยสังเคราะห์ของผู้เขียน (2564) ผลงานวิจัยของสิน งามประโคน (2560,157) 48 คุณลักษณะภาวะผู้นำของ พระสงฆ์ในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในยุคพุทธวิถีใหม่ คุณลักษณะภาวะผู้นำของพระสงฆ์ในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา สามารถ สรุปได้ดังต่อไปนี้ 1. ภาวะผู้นำของพระสงฆ์ในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาทั้ง ๓ ด้าน ดังนี้ 48 สิน งามประโคน, การวิเคราะห์คุณลักษณะภาวะผู้น าของพระสงฆ์ในการเผยแพร่ พระพุทธศาสนา,รายงานการวิจัย ,คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. 2560,157 กาย วาจา ใจเป็นหัวหน้า 60 - งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม 2. วจีสุจริต ความประพฤติชอบด้วยวาจา (Vacã-sucarita: good conduct in word) มี 4 คือ - เว้นจากการพูดเท็จ - เว้นจากการพูดส่อเสียด - เว้นจากการพูดคำหยาบ - เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ 3. มโนสุจริต ความประพฤติชอบด้วยใจ (Mano-sucarita: good conduct in thought) มี 3 อย่าง คือ - ไม่โลภอยากได้ของคนอื่น - ไม่คิดปองร้ายคนอื่น - ความเห็นที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม หลักการปฏิบัติงานต้องจริง ๆ จิตใจเป็นผู้นำพฤติทั้งหมดของกายและวาจา ดังภาพที่ 2.5 ดังนี้ ภาพที่2.5 สุจริต 3 ที่มา : มาจาก ที.ปา.(ไทย) 11/228/227 โดยสังเคราะห์ของผู้เขียน (2564) ผลงานวิจัยของสิน งามประโคน (2560,157) 48 คุณลักษณะภาวะผู้นำของ พระสงฆ์ในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในยุคพุทธวิถีใหม่ คุณลักษณะภาวะผู้นำของพระสงฆ์ในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา สามารถ สรุปได้ดังต่อไปนี้ 1. ภาวะผู้นำของพระสงฆ์ในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาทั้ง ๓ ด้าน ดังนี้ 48 สิน งามประโคน, การวิเคราะห์คุณลักษณะภาวะผู้น าของพระสงฆ์ในการเผยแพร่ พระพุทธศาสนา,รายงานการวิจัย ,คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. 2560,157 กาย วาจา ใจเป็นหัวหน้า 60 - งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม 2. วจีสุจริต ความประพฤติชอบด้วยวาจา (Vacã-sucarita: good conduct in word) มี 4 คือ - เว้นจากการพูดเท็จ - เว้นจากการพูดส่อเสียด - เว้นจากการพูดคำหยาบ - เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ 3. มโนสุจริต ความประพฤติชอบด้วยใจ (Mano-sucarita: good conduct in thought) มี 3 อย่าง คือ - ไม่โลภอยากได้ของคนอื่น - ไม่คิดปองร้ายคนอื่น - ความเห็นที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม หลักการปฏิบัติงานต้องจริง ๆ จิตใจเป็นผู้นำพฤติทั้งหมดของกายและวาจา ดังภาพที่ 2.5 ดังนี้ ภาพที่2.5 สุจริต 3 ที่มา : มาจาก ที.ปา.(ไทย) 11/228/227 โดยสังเคราะห์ของผู้เขียน (2564) ผลงานวิจัยของสิน งามประโคน (2560,157) 48 คุณลักษณะภาวะผู้นำของ พระสงฆ์ในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในยุคพุทธวิถีใหม่ คุณลักษณะภาวะผู้นำของพระสงฆ์ในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา สามารถ สรุปได้ดังต่อไปนี้ 1. ภาวะผู้นำของพระสงฆ์ในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาทั้ง ๓ ด้าน ดังนี้ 48 สิน งามประโคน, การวิเคราะห์คุณลักษณะภาวะผู้น าของพระสงฆ์ในการเผยแพร่ พระพุทธศาสนา,รายงานการวิจัย ,คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. 2560,157 กาย วาจา ใจเป็นหัวหน้า 48สิิน งามประโคน, การวิิเคราะห์์คุุณลัักษณะภาวะผู้้�นำของพระสงฆ์์ในการเผยแพร่่พระพุุทธ ศาสนา, รายงานการวิิจััย, คณะครุุศาสตร์์มหาวิิทยาลััยมหาจุุฬาลงกรณราชวิิทยาลััย พ.ศ. 2560, หน้้า 157.


61 61 1.1) ภาวะผู้นำของพระสงฆ์ในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา ด้านจักขุมา ประกอบไปด้วย - มีวิสัยทัศน์ในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาทั้งในและต่างประเทศ - มีวิสัยทัศน์ในการศึกษาความรู้ตามหลักพระพุทธศาสนา - มีวิสัยทัศน์ในการปฏิบัติและการสร้างมนุษยสัมพันธ์ในบริบทของสังคม 1.2) ภาวะผู้นำของพระสงฆ์ในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา ด้านวิธุโร ประกอบไปด้วย - พระสงฆ์ผู้เผยแพร่พระพุทธศาสนาต้องมีความรู้หลักพุทธศาสนาเป็น อย่างดี -มีความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติกรรมฐาน ฝึกสอนสมาธิ -มีความเชี่ยวชาญในการเผยแพร่หลากหลายรูปแบบ ตามพุทธวิธีการ เผยแพร่พระพุทธศาสนา -เป็นผู้มีความใฝ่เรียนรู้และใฝ่ปฏิบัติด้วยจิตศรัทธา 1.3) ภาวะผู้นำของพระสงฆ์ในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา ด้านนิสสยสัมปัน โน ประกอบไปด้วย - มีการสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับประชาชน -มีคุณธรรมด้านพรหมวิหาร ๔ สังคหวัตถุ ๔ และหลักกัลป์ยาณมิตรธรรม - เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณในการปฏิบัติตามหลักพุทธศาสนา -สร้างจิตศรัทธาต่อประชาชนนำสู่กี่ปฏิบัติดังภาพที่2.6 ดังนี้ , จักขุมา (คิดไกล) วิธูโร(เชียวชาญ) นิสสยสัมปันโน วิสัยทัศน์คุณลัษณะ (มนุษยสัมพันธ์) ภาวะผู้นำ ภาพที่2.6 คุณลักลษณะภาวะผู้นำของพระสงฆ์ในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในยุค พุทธวิถีใหม่ มาจาก สิน งามประโคน ,2560 61 1.1) ภาวะผู้นำของพระสงฆ์ในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา ด้านจักขุมา ประกอบไปด้วย - มีวิสัยทัศน์ในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาทั้งในและต่างประเทศ - มีวิสัยทัศน์ในการศึกษาความรู้ตามหลักพระพุทธศาสนา - มีวิสัยทัศน์ในการปฏิบัติและการสร้างมนุษยสัมพันธ์ในบริบทของสังคม 1.2) ภาวะผู้นำของพระสงฆ์ในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา ด้านวิธุโร ประกอบไปด้วย - พระสงฆ์ผู้เผยแพร่พระพุทธศาสนาต้องมีความรู้หลักพุทธศาสนาเป็น อย่างดี -มีความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติกรรมฐาน ฝึกสอนสมาธิ -มีความเชี่ยวชาญในการเผยแพร่หลากหลายรูปแบบ ตามพุทธวิธีการ เผยแพร่พระพุทธศาสนา -เป็นผู้มีความใฝ่เรียนรู้และใฝ่ปฏิบัติด้วยจิตศรัทธา 1.3) ภาวะผู้นำของพระสงฆ์ในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา ด้านนิสสยสัมปัน โน ประกอบไปด้วย - มีการสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับประชาชน -มีคุณธรรมด้านพรหมวิหาร ๔ สังคหวัตถุ ๔ และหลักกัลป์ยาณมิตรธรรม - เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณในการปฏิบัติตามหลักพุทธศาสนา -สร้างจิตศรัทธาต่อประชาชนนำสู่กี่ปฏิบัติดังภาพที่2.6 ดังนี้ , จักขุมา (คิดไกล) วิธูโร(เชียวชาญ) นิสสยสัมปันโน วิสัยทัศน์คุณลัษณะ (มนุษยสัมพันธ์) ภาวะผู้นำ ภาพที่2.6 คุณลักลษณะภาวะผู้นำของพระสงฆ์ในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในยุค พุทธวิถีใหม่ มาจาก สิน งามประโคน ,2560 ภาพที่่�2.6 คุุณลัักษณะภาวะผู้้�นำของพระสงฆ์์ในการเผยแพร่่พระพุุทธศาสนาในยุุคพุุทธ วิิถีีใหม่่ ที่่�มา : มาจาก สิิน งามประโคน, 2560


62 62 สรุปได้ว่าคุณลักษณะภาวะผู้นำมุ่งพัฒนางานตามพุทธวิถีใหม่การปฏิบัติงานมี เป้าหมายชัดเจนแล้ว ต้องมุ่งทำงานอย่างมีความคุณภาพและผู้ทำต้องมีความสุขเป็น พื้นฐานสำคัญโดยหลักสากลด้วยการอาศัยการปฏิบัติตามหลักพุทธวิถีใหม่ได้อย่างถูกต้อง โปร่งใส่สามารถตรวจสอบได้ถือว่าเป็นการปฏิบัติอย่างมีความสุขอย่างยั่งยืน ดังนั้นคุณลักษณะภาวะผู้นำที่ดีต้องมีความคิดสร้างสรรค์สมดุลระหว่างงานกับคน มีความคิดริเริ่ม กล้าหาญ มีมนุษยสัมพันธ์ มีความยุติธรรมและซื่อสัตย์ มีความอดทน มี ความตื่นตัวและพร้อมมีทักษะและความสามารถในการสื่อสารข้อมูลทั้งภายในและ ภายนอกองค์กร เป็นมืออาชีพในการบริหารจัดการและมีผลงานในความสำเร็จ มีความเป็น ผู้นำในองค์องค์กร และผู้นำทางจิตใจให้การช่วยเหลือ ทำงานเป็นทีม มุ่งความสำเร็จของ ทีมและความสุขในการทำงานตามหลักพุทธวิถีใหม่ด้วยทำงานอย่างมีความสุข เอกสารอ้างอิง 1. ภาษาไทย ก. เอกสารชั้ภูมิ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539. ข. เอกสารทุติยภูมิ (1) หนังสือ : จิณณวัตร ปะโคทัง. ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลสำหรับผู้บริหารสถานศึกษามือ อาชีพ. อุบลราชธานี: พิมพ์ที่ศิริธรรมออฟเซ็ท, 2561. เจริญ ภูวิจิตร์, คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาในอาเซียน, กรุงเทพมหานคร: ม.ป.ท., 2558. จอหน์ ซี แมก็กซ์เวลล์ ภาวะผู้นำ 5 ระดับ(ฉบับปรับปรุง) (The 5 levels of Leadership) (ผู้เขียน), วันดี อภิรักษ์ธนากร (แปล), (กรุงเทพมหานคร: แอคทีฟ พริ้นท์, 2555. ธีระ รุญเจริญ. ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: แอล.ที.เพรส, 2550. ไพฑูรย์ สินลารัตน์. การศึกษา 4.0 เป็นยิ่งกว่าการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561.


63 63 พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน. กรุงเทพมหานคร: หจก.เอมี่ เทรดดิ้ง, 2546. วิโรจน์ สารรัตนะ. นวัตกรรมกับกระบวนทัศน์การศึกษาศตวรรษที่ 21. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2559. วิจารย์ พาณิช. แนวโน้มการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. สงขลา: สำนักงาน เลขานุการคณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์, 2558. สิน งามประโคน, การวิเคราะห์คุณลักษณะภาวะผู้นำของพระสงฆ์ในการเผยแพร่ พระพุทธศาสนา,รายงานการวิจัย,คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย พ.ศ. 2560. สุกัญญา แช่มช้อย. การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561. สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์. คิดต่างสร้างความเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพมหานคร: ธุรกิจโรงพิมพ์, 2563. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, แผนอุดมศึกษาระยะยาว 20 ปี (พ.ศ. 2561- 2580), สำนักนโยบายและแผนการอุดมศึกษา, 2561. สุพานีสฤษฎ์วานิช. พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่:แนวคิดและทฤษฎี. (พิมพ์ครั้งที่7). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2552. สาโรจน์ โอพิทักษ์ชีวิน. การจัดการและพฤติกรรมองค์กร : เพื่อสร้างและรักษาความ ได้เปรียบ เชิงแข่งขันไว้ให้ยั่งยืนในโกลบอลไลเซชั่น. กรุงเทพมหานคร: ซีวีแอล การพิมพ์, 2555. สุวิทย์ เมษินทรีย์. โลกเปลี่ยน ไทยปรับ. กรุงเทพมหานคร: กรุงเทพธุรกิจ, 2559. (2) บทความ : กนกอร สมปราชญ์. ภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน: การศึกษา ทฤษฎีฐานราก. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์. ปีที่ 12 ฉบับที่ 34 (มกราคม–เมษายน 2560): 54-55. สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. “Start up Thailand 4.0”. วารสาร ไทยคู่ฟ้า. (24 กันยายน 2559): 7. สาริศา เจนเขว้าและเสวียน เจนเขว้า. “การเป็นนักการบริหารมีอาชีพในยุคไทยแลนด์ 4.0”. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ราชภัฏพิบูลสงคราม 11, 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2560). (3) สื่อออนไลน์ :


64 64 พระบรมราโชบายด้านการศึกษาของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://nv.ac.th/site/?p=1878 [25 พฤศจิกายน 2565]. แสงอุษา โลจนานนท์. การบริหารอารมณ์เพื่อความสำเร็จ. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.blog. rmutt.ac.th/?p=1163 [12 มิถุนายน 2565]. Adecco, คุณสมบัติที่ผู้นำยุคใหม่ควรมี, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://adecco.co.th/ th/knowledge-center/detail/7-qualities-of-modern-leaders [10 มิถุนายน 2565]. 2. ภาษาอังกฤษ Bass, B. M., & Avolio, B. J. (1990). Developing transformational: 1992 and beyond. Journal of European Industrial Training, 5 (10), 21-27. Daniel Geloman. Emotional Intelligence : the Groundbreaking book that Redefines What it Means to be Smart. New York, 1995. John C. Maxwell (เขียน). ศิริลักษณ์ มานะวงศ์เจริญ (แปล). ยกระดับภาวะผู้นำ. กรุงเทพมหานคร: แอคทีฟ พริ้นท์, 2562. John P. Kotter. การเปลี่ยนแปลงที่ไม่มีวันล้มเหลว (Leading Change). วิญญู กิ่งหิรัญวัฒนา. (ผู้แปล). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วีเลิร์น, 2564. Peter F Drucker (เขียน). วีรวุธ มาฆะศิรานนท์(แปล). สุดยอดปรมาจารย์ด้านบริหาร จัดการ. กรุงเทพมหานคร: เอ็กซเปอร์เน็ท จำกัด, 2563. Peter M. Senge. The Fifth Discipline: the Art and Practice of the Learning Organization. Doubleday. New York, 1990. Yukl, G.A. Leadership in Organization. (2 nd ed). Englewood Cliffs. NJ : Prentice Hall, 1989. 63 พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน. กรุงเทพมหานคร: หจก.เอมี่ เทรดดิ้ง, 2546. วิโรจน์ สารรัตนะ. นวัตกรรมกับกระบวนทัศน์การศึกษาศตวรรษที่ 21. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2559. วิจารย์ พาณิช. แนวโน้มการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. สงขลา: สำนักงาน เลขานุการคณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์, 2558. สิน งามประโคน, การวิเคราะห์คุณลักษณะภาวะผู้นำของพระสงฆ์ในการเผยแพร่ พระพุทธศาสนา,รายงานการวิจัย,คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย พ.ศ. 2560. สุกัญญา แช่มช้อย. การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561. สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์. คิดต่างสร้างความเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพมหานคร: ธุรกิจโรงพิมพ์, 2563. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, แผนอุดมศึกษาระยะยาว 20 ปี (พ.ศ. 2561- 2580), สำนักนโยบายและแผนการอุดมศึกษา, 2561. สุพานีสฤษฎ์วานิช. พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่:แนวคิดและทฤษฎี. (พิมพ์ครั้งที่7). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2552. สาโรจน์ โอพิทักษ์ชีวิน. การจัดการและพฤติกรรมองค์กร : เพื่อสร้างและรักษาความ ได้เปรียบ เชิงแข่งขันไว้ให้ยั่งยืนในโกลบอลไลเซชั่น. กรุงเทพมหานคร: ซีวีแอล การพิมพ์, 2555. สุวิทย์ เมษินทรีย์. โลกเปลี่ยน ไทยปรับ. กรุงเทพมหานคร: กรุงเทพธุรกิจ, 2559. (2) บทความ : กนกอร สมปราชญ์. ภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน: การศึกษา ทฤษฎีฐานราก. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์. ปีที่ 12 ฉบับที่ 34 (มกราคม–เมษายน 2560): 54-55. สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. “Start up Thailand 4.0”. วารสาร ไทยคู่ฟ้า. (24 กันยายน 2559): 7. สาริศา เจนเขว้าและเสวียน เจนเขว้า. “การเป็นนักการบริหารมีอาชีพในยุคไทยแลนด์ 4.0”. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ราชภัฏพิบูลสงคราม 11, 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2560). (3) สื่อออนไลน์ :


บทที่ 3 ภาวะผู้นำการคิดสร้างสรรค์ทางการศึกษาตามพุทธวิถีใหม่ ภาวะผู้นำการคิดสร้างสรรค์ทางการศึกษาตามนโยบายกระทรวงศึกษาธิการและ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยมีเป้าหมายให้ผู้บริหาร คณาจารย์ผลิตบัณฑิตให้เป็นพลังของชาติและโลกในยุคประเทศไทย 4.0 ภาวะผู้นำใน ศตวรรษที่ 21 สอดคล้องกับยุทธศาสตร์แห่งชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) ปัจจัยเหล่านี้ ล้วนต้องการภาวะผู้นำการคิดสร้างสรรค์ซึ่งขอนำเสนอเนื้อหาในบทนี้ดังนี้ 3.1 แนวคิดและหลักการของภาวะผู้นำการคิดสร้างสรรค์ 3.2 คุณลักษณะการคิดสร้างสรรค์ของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง 3.3 ประเภทของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาต่อการคิดสร้างสรรค์ 3.4 ภาวะผู้นำทางการศึกษาคิดเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพยุคการศึกษาไทย 4.0 3.5 ภาวะผู้นำแบบสร้างสรรค์กับแผนอุดมศึกษาระยะยาว 20 ปี(พ.ศ. 2561-2580) 3.6 การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ต่อการคิดสร้างสรรค์ของภาวะผู้นำทางการศึกษา ในศตวรรษที่ 21 (3Rs 8Cs) 3.7 ภาวะผู้นำการคิดสร้างสรรค์ที่พึงประสงค์ตามหลักพุทธวิถีใหม่ 3.8 ภาวะผู้นำทางการศึกษาสำหรับคิดสร้างสรรค์ตามหลักพระพุทธวิถีใหม่ ซึ่งมี รายละเอียดดังนี้ 3.1 แนวคิดและหลักการของภาวะผู้นำการคิดสร้างสรรค์ คำนิยามการคิดสร้างสรรค์ของนักวิชาการ ก่อนอื่นให้เข้าใจความหมายการคิด สร้างสรรค์ของนักวิชาการจะได้ประมวลภาพการคิดสร้างสรรค์นำไปพัฒนาภาวะผู้ทางการ ศึกษาได้ดังนี้ Torrance1 ได้ให้ความหมายของความคิดสร้างสรรค์ว่า เป็น ความสามารถอย่าง หนึ่งของมนุษย์ที่จะคิดสิ่งใหม่ ๆ ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน โดยเกิดจากการรวมเอา ความรู้ ประสบการณ์ รวมความคิด ตั้งเป็นสมติฐาน ทดสอบ แล้วรายงานสิ่งที่ค้นพบ 1 E. Paul Torra nce, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://pumlovetoey21031.wixsite.com/ kewwalin01/about2-cw4s [4 พฤศจิกายน 2565]. บทที่ 3 ภาวะผู้นำการคิดสร้างสรรค์ทางการศึกษาตามพุทธวิถีใหม่ ภาวะผู้นำการคิดสร้างสรรค์ทางการศึกษาตามนโยบายกระทรวงศึกษาธิการและ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยมีเป้าหมายให้ผู้บริหาร คณาจารย์ผลิตบัณฑิตให้เป็นพลังของชาติและโลกในยุคประเทศไทย 4.0 ภาวะผู้นำใน ศตวรรษที่ 21 สอดคล้องกับยุทธศาสตร์แห่งชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) ปัจจัยเหล่านี้ ล้วนต้องการภาวะผู้นำการคิดสร้างสรรค์ซึ่งขอนำเสนอเนื้อหาในบทนี้ดังนี้ 3.1 แนวคิดและหลักการของภาวะผู้นำการคิดสร้างสรรค์ 3.2 คุณลักษณะการคิดสร้างสรรค์ของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง 3.3 ประเภทของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาต่อการคิดสร้างสรรค์ 3.4 ภาวะผู้นำทางการศึกษาคิดเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพยุคการศึกษาไทย 4.0 3.5 ภาวะผู้นำแบบสร้างสรรค์กับแผนอุดมศึกษาระยะยาว 20 ปี(พ.ศ. 2561-2580) 3.6 การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ต่อการคิดสร้างสรรค์ของภาวะผู้นำทางการศึกษา ในศตวรรษที่ 21 (3Rs 8Cs) 3.7 ภาวะผู้นำการคิดสร้างสรรค์ที่พึงประสงค์ตามหลักพุทธวิถีใหม่ 3.8 ภาวะผู้นำทางการศึกษาสำหรับคิดสร้างสรรค์ตามหลักพระพุทธวิถีใหม่ ซึ่งมี รายละเอียดดังนี้ 3.1 แนวคิดและหลักการของภาวะผู้นำการคิดสร้างสรรค์ คำนิยามการคิดสร้างสรรค์ของนักวิชาการ ก่อนอื่นให้เข้าใจความหมายการคิด สร้างสรรค์ของนักวิชาการจะได้ประมวลภาพการคิดสร้างสรรค์นำไปพัฒนาภาวะผู้ทางการ ศึกษาได้ดังนี้ Torrance1 ได้ให้ความหมายของความคิดสร้างสรรค์ว่า เป็น ความสามารถอย่าง หนึ่งของมนุษย์ที่จะคิดสิ่งใหม่ ๆ ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน โดยเกิดจากการรวมเอา ความรู้ ประสบการณ์ รวมความคิด ตั้งเป็นสมติฐาน ทดสอบ แล้วรายงานสิ่งที่ค้นพบ 1 E. Paul Torra nce, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://pumlovetoey21031.wixsite.com/ kewwalin01/about2-cw4s [4 พฤศจิกายน 2565].


66 65 ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และคณะ2 ให้ความหมายของความคิดสร้างสรรค์ว่า ความคิด สร้างสรรค์ เป็นความสามารถของบุคคลในการคิด โดยมีองค์ประกอบการคิดที่เกี่ยวข้อง หลายด้าน คือ การคิดคล่อง การคิดยืดหยุ่น การคิดหลายแง่มุมและความคิดที่เหมาะสม ผลผลิตเป็นสิ่งใหม่ที่มีประโยชน์ อาจเป็นรายบุคคลและประโยชน์ของส่วนรวม ทวีป อภิสิทธิ์3 ได้ให้ความหมายของความคิดสร้างสรรค์ ว่าความคิดสร้างสรรค์ เป็นพฤติกรรมทางการคิดและการกระทำ ของมนุษย์ ที่มีสิ่งเร้า กระตุ้นเร้าให้เกิดความคิดที่ หลากหลาย มองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ และหรือ สามารถคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ หรือ ดัดแปลงใหม่ เกิดวิธีการใหม่ๆ ผลผลิตใหม่ๆ เกิดขึ้น ซึ่งสิ่งที่เกิดนั้น เกี่ยวข้องกับความคิด ใหม่ๆ สุวิทย์ มูลคำ4 ให้ความหมายของความคิดสร้างสรรค์ว่า เป็นกระบวนการทางปัญญา สามารถขยายขอบเขตของความคิดที่มีอยู่เดิม ให้เป็นความคิดที่แปลกใหม่ แตกต่างจากเดิม และมีประโยชน์ เป็นกระบวนการทางความคิดของมนุษย์ เป็นสิ่งที่ทำให้สามารถสร้าง ความคิด จินตนาการ เป็นพลังทางความคิดที่มาแต่เกิดการที่มีแรงกระตุ้น การพัฒนา จะทำให้เด็กมีอิสระทางความคิด มีการคิดค้นนอกกรอบ มีการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ อยู่ ตลอดเวลา การสอนให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และการฝึกให้คิดสร้างสรรค์ จะทำให้บุคคล มั่นใจในตนเองเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดี ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ5 ได้ให้ความหมาย ของความคิดสร้างสรรค์ว่าเป็นความ สามารถ ที่จะรวบรวมความรู้ ความคิดที่มีอยู่เดิม เกิดเป็นความรู้ใหม่ สร้างขึ้นมาเป็น ความรู้คิดของตนเอง จากแนวคิดดังกล่าวสามารถสรุปความหมายการคิดสร้างสรรค์ได้ดังนี้ 1. เป็นความรู้ความสามารถของผู้นำทางการศึกษา 2. เป็นความสามารถของบุคคลในการคิดคล่อง การคิดยืดหยุ่น การคิดหลายแง่มุม และความคิดที่เหมาะสม และนำความรู้ไปผลิตสิ่งใหม่ได้เหมาะสมกับสถานการณ์ 3. เป็นความสามารถเฉพาะบุคคลที่ได้จากประสบการณ์การทำงาน 2 ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และคณะ, คิดนอกกรอบ: สอนและสร้างได้อย่างไร, (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558), หน้า 95. 3 ทวีป อภิสิทธิ์,กิจกรรมส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็ก และเยาวชน, (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2559), หน้า 5. 4 สุวิทย์ มูลคำ, กลยุทธ์การสอนคิดบูรณาการ, (กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาคพิมพ์, 2551), หน้า 9. 5 ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ, การพัฒนาการคิด, (กรุงเทพมหานคร: เทคนิค พริ้นติ้ง, 2556), หน้า 207.


67 66 4. เป็นผู้ที่คิดสร้างสรรค์ได้อย่างหลากหลายมิติโดยอาศัยข้อมูลที่ดีพอ หลักการคิดสร้างสรรค์ของภาวะผู้นำทางการศึกษามีหลักการดังนี้ 1) การเรียนรู้แบบทีม (Team learning) การคิดอย่างหวังผล (Productive thinking) และการร่วมมือร่วมใจกันแก้ปัญหา (Collaborative problem solving) ควร นำมาใช้แทนกลไกการควบคุม (Control mechanisms) การตัดสินใจจากเบื้องบน (Top – down decision making) ตลอดจน การบังคับสั่งการให้ทำแบบเดียวกัน (Enforcement of conformity) 2) ควรมีมุมมองครูว่าเป็นผู้นำ และครูใหญ่ของโรงเรียนเป็นผู้นำของผู้นำ โดยผู้นำ ทั้งหลายเหล่านี้ต้องมีทักษะการตั้งคำถามที่เหมาะสม มากกว่าการแสดงตนว่าเป็นผู้รอบรู้ คำตอบของทุกคำถาม 3) ความสัมพันธ์ของการปฏิบัติงานควรตั้งอยู่บนพื้นฐานของการไว้วางใจ (Trust) ต่อกัน ผู้นำจะต้องไม่มีทัศนะว่าครูและนักเรียนชอบหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ (ทำนอง ทฤษฎี X ของ McGregor) แต่มีหน้าที่ช่วยให้คนเหล่านี้มีความกล้าต่อการปฏิบัติสิ่งใหม่ ๆ 4) ผู้นำควรปรับเปลี่ยนทัศนะจาก “ให้ทุกคนทำตามที่สั่งและยึดหลักทำแบบ เดียวกัน” ไปเป็นกระตุ้น ให้กำลังใจ และสนับสนุนความคิดริเริ่มและค้นคิดนวัตกรรมใหม่ๆ ของครู 5) ผู้นำควรให้ความสนใจและให้ความสำคัญของคน (People) และต่อกระบวนการ (Process) มากกว่างานเอกสารและงานธุรการประจำ แต่ควรบริหารเวลาไปกับกิจกรรมที่ ก่อให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value – added activities) ขึ้น 6) ผู้นำควรเน้นถึงความสำคัญของลูกค้า (Customer – focused) และยึด หลักการให้บริการ ทฤษฎีนี้ถือว่า ครูและบุคลากรคือลูกค้าโดยตรงของครูใหญ่ ดังนั้น หน้าที่สำคัญที่สุดของครูใหญ่ ก็คือ การให้บริการแก่ลูกค้าของตน 7) ผู้นำ ควรสร้างเครือข่ายให้เกิดการสื่อสารแบบสองทาง มากกว่าการกำหนด ช่องทางไหลของสารสนเทศเพียงทิศทางเดียว 8) การเป็นผู้นำแบบสร้างสรรค์ จำเป็นต้องอาศัยความเอาใจใส่ใกล้ชิด (Proximity) การปรากฏตัวอยู่กับงาน (Visibility) และอยู่ใกล้ชิดกับลูกค้าของตน ผู้นำควรใช้หลักนิเทศ ภายในแบบแวะเวียน (Managing by Wandering Around : MBWA) ไปยังหน่วยต่าง ๆ ทั่วทั้งโรงเรียนและชุมชนที่ล้อมรอบโรงเรียนเพื่อไปรับฟังและเรียนรู้ ไปสอบถาม ไปสร้าง สัมพันธ์ภาพ และไปเสาะหาแนวทางที่เป็นไปได้ในเรื่องต่าง ๆ 9) ผู้นำแบบสร้างสรรค์จะกระจายอำนาจการตัดสินใจ (Empowering) แก่บุคคล ผู้ปฏิบัติงานต่าง ๆ ของโรงเรียน และจะทำหน้าที่ปกป้องคนเหล่านี้เมื่อมีการแทรกแซงการ ทำงานจากภายนอก


68 67 10) ผู้นำแบบสร้างสรรค์ต้องมีความสามารถสูงในการปฏิบัติภารกิจอยู่ท่ามกลาง สภาวะแวดล้อมที่ไม่แน่นอน เป็นผู้เรียนรู้การบริหารความเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบ เพื่อให้หน่วยงานได้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงนั้น และเป็นผู้ที่ไม่ยึดติดกับสถานภาพ เดิมที่เป็นอยู่ (Maintaining status quo) ของโรงเรียน6 ดังนั้นความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) คือ การกระทำความคิด หรือผลิตภัณฑ์ ใดๆ ที่เปลี่ยน (Change) ขอบเขตของความรู้อันหนึ่ง หรือเปลี่ยนแปลง (Transform) ขอบเขตของความรู้เดิมไปสู่ขอบเขตของความรู้ใหม่ กล่าวได้สามารถนำความเดิมที่มีอยู่ พัฒนาด้วยกระบวนขั้นตอนในหลากหลายรูปแบบได้อย่างเหมาะสมกับงานปัจจุบัน 3.1.1 องค์ประกอบที่มีผลต่อความคิดสร้างสรรค์ การคิดสร้างสรรค์นั้นมีองค์ประกอบที่สำคัญที่นักวิชาการได้เสนอไว้เป็นจำนวน มากแต่ที่น่าจะเป็นผลต่อการพัฒนาการคิดสร้างสรรค์ของภาวะผู้นำทางการศึกษาใน สถานการณ์ปัจจุบัน ได้แก่ Amabile7 ได้กล่าวถึงสิ่งแวดล้อมขององค์ประกอบที่สำคัญที่มี ผลต่อ ความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งผลที่แสดงออกมาจะแสดงออกทั้งในด้านการส่งเสริมความคิด สร้างสรรค์ และ การขัดขวางความสร้างสรรค์ โดยมีองค์ประกอบดังภาพต่อไปนี้ 6 สุชาติ ไตรภพ, ชาคริต พิชญางกูร, การจัดการนวัตกรรม, (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563), หน้า 176. 7 Amabile, T.M. (2012), Componential theory of creativity, Harvard Business School, 12 (96) : 1-10.


69 68 ภาพที่ 3.1 องค์ประกอบที่มีผลต่อความคิดสร้างสรรค์ ที่มา: สรุปแนวคิดของ Amabile, T.M. (2012), Componential theory of creativity, Harvard Business School, 12 (96) : 1-10. นอกจากนั้น สุชาติ ไตรภพ และชาคริต พิชญางกูร8 ได้เสนอองค์ประกอบความคิด สร้างสรรค์ ดังนี้ 1. การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ (Encouragement of Creativity) มีองค์ประกอบย่อย 3 ส่วน ด้วยกัน คือ ลักษณะขององค์กร (Organizational) การกำกับดูแล (Supervisory) และการช่วยเหลือจากกลุ่มทำงาน (Work Group Support) ทั้งสามส่วน ถือว่าเป็นการส่งเสริมให้เกิดความสร้างสรรค์ขึ้นได้ 8 สุชาติ ไตรภพ, ชาคริต พิชญางกูร, การจัดการนวัตกรรม, หน้า 717. องค์ประกอบของความ ความคิดสร้างสรรค์ ลักษณะของความคิด สร้างสรรค์ ความคิดสร้างสรรค์ -อิสรภาพ - ทรัพยากร - ภาวะกดดัน - องค์กร -การกำกับดูแล - ทรัพยากร - การช่วยเหลือจากกลุ่มทำงาน - ความมีอิสระ - ทรัพยากรที่เหมาะสม - งานที่ท้าทาย - งานที่กดดัน - ลำดับขั้นองค์กร


70 69 2. อิสรภาพ (Autonomy) การมีอิสรภาพ หรืออิสระทางด้านความคิดถือว่าเป็นการส่งเสริมความสร้างสรรค์ เพราะไม่ได้เป็นการกำหนดหรือปิดกั้นสิ่งใด ๆ 3. ทรัพยากร (Resources) ทรัพยากรที่เหมาะสมและเพียงพอจะช่วยส่งเสริมความสร้างสรรค์ให้เพิ่มมากขึ้น 4. ภาวะกดดัน (Pressure) ภาวะกดดันที่เกิดขึ้นสามารถเป็นได้ทั้งการส่งเสริมและการขัดขวาง คือถ้าภาวะ กดดัน นั้นเป็นงานที่เกิดขึ้นมาอย่างท้าทายจะเป็นการส่งเสริมความสร้างสรรค์ให้เพิ่มมาก ยิ่งขึ้น ในทางกลับกัน การให้ภาระงานที่มากเกินไปกลับเป็นอุปสรรคสำหรับความ สร้างสรรค์ได้ 5. องค์กร (Organizational) การดำเนินการในรูปแบบองค์กรนั้นจะก่อให้เกิดการขัดขวางในแง่ของการ สร้างสรรค์ ได้เช่นกันเพราะจะต้องเป็นการทำงานตามลำดับขั้น นอกจากนั้นได้มีนักวิชาการทั้งในและต่างประเทศกล่าวถึงองค์ของการคิด สร้างสรรค์ อาทิเช่น กิลฟอร์ด9 ได้กล่าวถึงองค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ ซึ่งมีองค์ประกอบดังนี้ 1. ความคิดริเริ่ม (Originality) เป็นความคิดที่แปลกใหม่ ไม่เลียนแบบ หรือซ้ำกับ ความคิดของผู้อื่น และมีความแตกต่างจากความคิดธรรมดา โดยอาจมีความคิดเดิมที่ ดัดแปลงอยู่แล้ว มาประยุกต์เป็นสิ่งใหม่ และเป็นความคิดที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม 2. ความคิดคล่องแคล่ว (Fluency) เป็น ความคล่องตัว ในการคิดตอบสนองต่อ สิ่งเร้า ให้ได้มากที่สุด โดยสามารถแบ่งย่อยได้อีกเป็น 4 ประเภท ดังนี้ 2.1 ความคิดคล่องแคล่วด้านถ้อยคำ 2.2 ความคิดคล่องแคล่วด้านการโยงความสัมพันธ์ 2.3 ความคิดคล่องแคล่วด้านการแสดงออก 2.4 ความคล่องแคล่วในการคิด 3. ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility) เป็นความสามารถของบุคคล ในการคิดหา คำตอบได้หลายประเภท หลายทิศทาง ความคิดยืดหยุ่น มีความยืดหยุ่นทั้งความคิด และ การกระทำ โดยสามารถแบ่งย่อยได้เป็น 2 อย่าง คือ 3.1 ความคิดยืดหยุ่นที่เกิดขึ้นในทันที 9 Guilford, J.P., The nature of human intelligence, (New York: McGraw-Hill Book Company, 1967), P. 145-151.


71 70 3.2 ความคิดยืดหยุ่นด้านการดัดแปลง 4. ความคิดละเอียดลออ (Elaboration) เป็นความคิดที่สามารถขยายความคิดหลัก หรือความคิดครั้งแรกให้สมบูรณ์ เป็น คุณลักษณะที่จำเป็นในการสร้างผลงาน ที่มีความใหม่ ไม่ซ้ำกัน กิลฟอร์ด และ ฮอฟเนอร์10 ได้ศึกษาองค์ประกอบความคิดสร้างสรรค์มี8 องค์ประกอบ ดังนี้ 1. การมีความคิดริเริ่ม 2. การมีความคิดคล่องตัว 3. การมีความคิดที่ยืดหยุ่น 4. การมีความคิดที่ละเอียดลออ 5. การมีความคิดที่ไวต่อปัญหา 6. การมีความสามารถในการสร้างนิยามและความหมาย 7. ความซึมซาบ 8. ความสามารถในการทำนาย ในเวลาต่อมา กิลฟอร์ด (Guilford. 1996) กิลฟอร์ดและฮอฟเนอร์ (Guilford and Hopefner. 1971) เจลเลน และเออร์บัน (Jellen and Urban. 1986) ได้กล่าวถึง องค์ประกอบของ ความคิดสร้างสรรค์ โดยสรุปได้ ดังนี้ 1. ความคิดริเริ่ม (Originality) เป็นความคิดที่แปลกใหม่แตกต่างไปจากความคิด เดิม ไม่ซ้ำกับบุคคลอื่น อาจจะเป็นการนำความรู้เดิมมาดัดแปลงและประยุกต์ให้เกิดสิ่งใหม่ ขึ้น 2. ความคิดคล่องตัว (Fluency) หมายถึง ปริมาณความคิดที่ไม่ซ้ำกันในเรื่อง เดียวกัน แบ่งออกเป็น 4 ชนิด คือ 2.1 ความคิดคล่องตัวในด้านถ้อยคำ (Word Fluency) เป็นความสามารถ ในการใช้ถ้อยคำ 2.2 ความคิดคล่องตัวในด้านการโยงความสัมพันธ์ (Associational Fluency) เป็นความสามารถที่จะคิดหาถ้อยคำที่เหมือนกันหรือคล้ายกันได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ภายในเวลา ที่กำหนด 10Guilford and Hoepfner, R., The Analysis of Intelligence, (New York: McGrawHill Book Company, 1971), P. 125- 143.


72 71 2.3 ความคิดคล่องตัวในการแสดงออก (Expressional Fluency) เป็นความ สามารถ ในการใช้วลีหรือประโยคและนำคำมาเรียงกันอย่างรวดเร็ว เพื่อให้ได้ประโยคที่ ต้องการ 2.4 ความคล่องแคล่วในการคิด (Ideational Fluency) เป็นความสามารถที่จะ คิดในสิ่งที่ต้องการภายในเวลาที่กำหนด 3. ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility) หมายถึง แบบหรือประเภทของความคิด แบ่งออกเป็น 2 แนวคิด ดังนี้ 3.1 ความคิดยืดหยุ่นที่เกิดขึ้นในทันทีทันใด (Spontaneous Flexibility) เป็น ความสามารถในการคิดได้หลายทิศทางอย่างอิสระ 3.2 ความคิดยืดหยุ่นทางการดัดแปลง (Adapture Flexibility) หมายถึง ความสามารถในการดัดแปลงความรู้หรือประสบการณ์ให้เกิดประโยชน์หลาย ๆ ด้าน ซึ่งมี ประโยชน์มากในการแก้ปัญหา 4. ความคิดละเอียดลออ (Elaboration) หมายถึง ความคิดในรายละเอียดเป็น ขั้นตอน สามารถอธิบายให้เห็นภาพชัดเจน หรือเป็นแผนงานที่สมบูรณ์ขึ้น จัดเป็น รายละเอียดที่นำมาตกแต่งขยายความคิดริเริ่มให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น 4.1 ความไวต่อปัญหา (Sensitivity to Problem) 4.2 ความสามารถในการให้นิยามใหม่ (Redefinition) 4.3 ความซึมซาบ (Penetration) 4.4 ความสามารถในการทำนาย (Prediction) 4.5 การมีอารมณ์ขัน (Humor) 4.6 ความมุ่งมั่น (Intention) สุวิทย์ มูลคำ11 กล่าวถึงองค์ประกอบสำคัญของความคิดสร้างสรรค์ว่า ความคิด สร้างสรรค์ประกอบด้วย องค์ประกอบ 4 ประการ คือ 1. ความคิดคล่องแคล่ว (Fluency) เป็นความสามารถในการคิดตอบสนองสิ่งเร้า การหาคำตอบได้มากที่สุด เด่นที่สุด เป็นการเน้นในแง่ของปริมาณ 2. ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility) เป็นความสามารถในการปรับความคิดตาม สถานการณ์ เป็นการเสริมความคิดคล่องแคล่วให้มีหลักเกณฑ์เป็นหมวดหมู่ 11สุวิทย์ มูลคำ, กลยุทธ์การสอนคิดบูรณาการ, (กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาคพิมพ์, 2551), หน้า 19,


73 72 3. ความคิดริเริ่ม (Originality) เป็นความสามารถในการคิดแปลกใหม่ที่แตกต่างไป จากเดิม อาจเป็นการคิดใหม่หรือการเอาความรู้ที่มีอยู่แต่เดิมมาดัดแปลงประยุกต์ให้เกิด สิ่งใหม่ 4. ความคิดละเอียดลออ (Elaboration) เป็นความสามารถในการมองเห็น รายละเอียด ที่ผู้อื่นอาจมองไม่เห็น เป็นการเชื่อมโยง สิ่งต่าง ๆ อย่างมีความหมาย ในขณะที่อารีย์ พันธุ์มณี12 ได้กล่าวถึงแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ ของทอแรนซ์ โดย ทอแรนซ์ ได้กล่าวถึง องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ 5 องค์ประกอบ คือ 1. ความคิดคล่องตัว เป็นความสามารถในการหาคำตอบได้รวดเร็ว และมีปริมาณ คำตอบมาก ในเวลาอันจำกัด 2. ความคิดริเริ่ม เป็นความสามารถในการคิดแปลกใหม่ ต่างจากผู้อื่น ไม่ซ้ำใคร พิจารณาจากสัดส่วนความถี่ของคำตอบ คำตอบที่ตอบซ้ำมาก จะไม่ได้คะแนนหรือได้ คะแนนน้อย 3. ความคิดละเอียดลออ เป็นความสามารถในการคิดถึงรายละเอียดที่ทำให้ ความคิดสมบูรณ์ขึ้น 4. ความคิดจินตนาการ ตั้งชื่อภาพเป็นความสามารถในการตั้งชื่อภาพ โดยพิจารณา ชื่อภาพที่สื่อความหมายตรงกับภาพ 5. ความไม่ยอมจำนนต่อปัญหา เป็นความสามารถในการอดทน ไม่ยอมแพ้ปัญหา พิจารณาปัญหาอย่างรอบคอบ และนำไปสู่การแก้ปัญหา สรุปได้ว่าการคิดสร้างสรรค์มีองค์ประกอบเริ่มจากตนเองไปสู่การปฏิบัติอย่างมี ขั้นตอนและอาศัยกระบวนการที่ส่งเสริมความคิดดังกล่าวให้บรรลุความสำเร็จตามเป้าหมาย ของเรื่องนั้น ๆ 3.1.2 กระบวนการสร้างความคิดสร้างสรรค์ James Webb Young อ้างในทัศนวรรณ รามณรงค์13 ได้เสนอกระบวนความคิด สร้างสรรค์มี5 ขั้นตอน ดังนี้ 1. ขั้นรวบรวมข้อมูลดิบ เป็นขั้นเริ่มต้นของกระบวนการสร้างความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งมักจะเกิดขึ้นจากการ มีความรู้สึกสงสัยและอยากรู้เกิดขึ้นในใจ และเป็นขั้นตอนที่สมองจะเริ่มทำการรวบรวม 12อารีย์ พันธุ์มณี, ฝึกให้คิดเป็น คิดให้สร้างสรรค์, (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, 2558), หน้า 4-16. 13ทัศนวรรณ รามณรงค์, ความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking), [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.gotoknow.org/posts/544576 [5 ตุลาคม 2565].


74 73 เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาพิจารณาอย่างรอบคอบเพื่อค้นหาว่าสาเหตุดังกล่าวเกิดจาก ปัญหาอะไร เริ่มมีการเตรียมการของ ผู้คิดที่จะศึกษาข้อมูลพื้นฐาน และเตรียมข้อมูลดิบ ต่าง ๆ ที่เป็นข้อเท็จจริงของเรื่องที่ค้นพบปัญหาเพื่อใช้ในการคิดแก้ปัญหา โดยข้อมูลดิบ นั้นจะสามารถแยกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ 1.1 ข้อมูลดิบเฉพาะ เป็นข้อมูลดิบที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่องที่ต้องการคิดหา คำตอบ 1.2 ข้อมูลดิบทั่วไป เป็นข้อมูลทั่ว ๆ ไปเพื่อนำมาประกอบการสร้างความคิด สร้างสรรค์ให้สมบูรณ์ อาจเป็นได้ทั้งข้อมูลที่เกี่ยวข้องในส่วนขององค์การหรือสภาพแวดล้อม 2. ขั้นแยกแยะข้อมูลดิบ เป็นขั้นการนำข้อมูลวัตถุดิบต่าง ๆ ที่ได้เก็บรวบรวมมาได้ นำมาแจกแจง พิจารณา วิเคราะห์ หาความสัมพันธ์ ความเกี่ยวข้องกันของข้อมูล เริ่มพิจารณาข้อมูลอย่างละเอียด หาความสัมพันธ์เชิง เหตุผล แยกแยะรายละเอียดแล้ววิเคราะห์ใช้เหตุผลในการพิจารณา หากพบว่าข้อมูลดิบที่มีอยู่ยังไม่เพียงพอ อาจต้องมีการแสวงหาข้อมูลใหม่ ๆ เพิ่มเติม 3. ขั้นก่อตัวของความคิด ขั้นนี้รวมข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้มาทั้งเก่าและใหม่ แม้ว่าจะผ่านการแยกแยะกลั่นกรอง มาแล้ว แต่ก็ยังปราศจากความเป็นระเบียบเรียบร้อยเพื่อรวบรวมมาสังเคราะห์ให้ยกผลึก ความรู้ใหม่ 4. ขั้นกำเนิดความคิดพื้นฐาน เป็นขั้นตอนที่ความสับสน กระจัดกระจาย วุ่นวายของความคิดได้ผ่านการเรียบเรียง เชื่อมโยง ความสัมพันธ์เข้าด้วยกัน เริ่มมีความกระจ่างชัดและมองเห็นภาพเกิดขึ้นในใจเป็น ครั้งแรก ความคิด ที่พัฒนาขึ้นมาแม้จะดูว่ามีความเป็นไปได้สูง อย่างไรก็ตาม ความคิดใน ขั้นนี้ยังไม่ทำให้ผู้คิดเกิดความ เชื่อมั่นในสิ่งที่คิดได้ 5. ขั้นปรับแต่งและพัฒนา เป็นขั้นที่นำความคิดที่ได้ของขั้นที่ 4 ที่ยังมีความไม่มั่นใจ ไปหาข้อพิสูจน์ให้เห็น จริงมากขึ้น เช่น มีการตั้งสมมติฐานว่าจะเกิดอะไรขึ้นหากทำตามความคิดที่คิดไว้ หากเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ก็จะทำให้เกิดความมั่นใจเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ก่อนการ นำความคิดสร้างสรรค์ที่เกิดขึ้นไปใช้ปฏิบัติจริง ควรจะมีการนำเสนอความคิดนั้นสู่ การวิพากษ์วิจารณ์ เพื่อปรับแต่งและพัฒนาความคิดให้เหมาะสม กับสภาพการณ์ที่เป็นจริง ได้ดีที่สุดซึ่งสรุปเป็น 5 ขั้นตอนต่อไปนี้


75 74 ภาพที่ 3.2 กระบวนการคิดสร้างสรรค์ ของ James Webb Young ที่มา :มาจาก นิวเวลล์ ชอล และซิมป์สัน (Newell, A and Simpson, 1972 อ้างในสุชาติ ไตรภพ, ชาคริต พิชญางกูร, 2563) E. Paul Torrance14 กล่าวถึงความคิดสร้างสรรค์ว่าเป็นกระบวนการของความรู้สึก ไวต่อปัญหา หรือสิ่งที่บกพร่องขาดหายไปแล้วรวบรวมความคิดตั้งเป็นสมมติฐานขึ้น ต่อจากนั้นก็ทำการรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เพื่อทดสอบสมมติฐานนั้น กระบวนการเกิดความคิดสร้างสรรค์ตามทฤษฎีของทอร์แรนซ์ สามารถแบ่งออกเป็น 5 ขั้นดังนี้ 1. การค้นหาข้อเท็จจริง (Fact Finding) เริ่มจากการความรู้สึกกังวล สับสน วุ่นวาย แต่ยังไม่สามารถหาปัญหาได้ว่าเกิดจากอะไร ต้องคิดว่าสิ่งที่ทำให้เกิดความเครียด คืออะไร 2. การค้นพบปัญหา (Problem – Finding) เมื่อคิดจนเข้าใจจะสามารถบอกได้ว่า ปัญหาต้นตอคืออะไร 3. กล้าค้นพบความคิด (Ideal – Finding) คิดและตั้งสมมติฐาน ตลอดจนรวบรวม ข้อมูลต่าง ๆ เพื่อทดสอบความคิด 4. การค้นพบคำตอบ (Solution – Finding) ทดสอบสมมติฐานจนพบคำตอบ 14E. Paul Torrance, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://pumlovetoey21031.wixsite.com/ kewwalin01/about2-cw4s [4 พฤศจิกายน 2565]. 1.ขั้นรวบรวมข้อมูลดิบ 2. ขั้นแยกแยะข้อมูลดิบ 3. ขั้นก่อตัวของความคิด 4. ขั้นกำเนิดความคิดพื้นฐาน 5. ขั้นปรับแต่งและพัฒนา


76 75 5. การยอมรับจากการค้นพบ (Acceptance – Finding) ยอมรับคำตอบที่ค้นพบ และคิดต่อว่าการค้นพบจะนำไปสู่หนทางที่จะทำให้เกิดแนวความคิดใหม่ต่อไปที่เรียกว่า การท้าทายในทิศทางใหม่ (New Challenge) 3.1.3 หลักเกณฑ์การพิจารณาความคิดสร้างสรรค์ Newell A and Simpson15 ได้เสนอหลักเกณฑ์การพิจารณาว่าความคิดใดเป็น ความคิดสร้างสรรค์โดยดูจากผลผลิตจากความคิดสร้างสรรค์ ไว้ดังต่อไปนี้ 1. ต้องเป็นผลผลิตที่แปลกใหม่และสร้างคุณค่าต่อตัวผู้คิด สังคม และวัฒนธรรม แวดล้อม 2. ต้องเป็นผลผลิตที่ได้รับความนิยมและเป็นที่ยอมรับว่าความคิดที่ดัดแปลงหรือ ยกเลิก ความคิดที่เคยยอมรับกันมาก่อนนั้นทำให้ทุกอย่างดีขึ้นได้ 3. ต้องเป็นผลผลิตที่เกิดขึ้นจากการตั้งใจที่แน่วแน่เพื่อที่จะสรรหาคำตอบที่ต้องใช้ ระยะเวลา ยาวนานหรือใช้ความพยายามอย่างสูง 4. ต้องเป็นผลผลิตที่ได้จากการประมวลปัญหาซึ่งเดิมค่อนข้างจะคลุมเครือและไม่ ชัดเจน และยังไม่มีผู้ใดเสนอแนวทางออกได้โดยความคิดสร้างสรรค์สามารถแบ่งออกได้เป็น ระดับต่าง ๆ ดังนี้ 1) ความคิดสร้างสรรค์ระดับต้น เป็นความคิดที่มีอิสระ แปลกใหม่ยังไม่คำนึงถึง คุณภาพและ การนำไปประยุกต์ใช้ : 2) ความคิดสร้างสรรค์ระดับกลาง คำนึงถึงผลผลิตทางคุณภาพนำไปประยุกต์ ใช้งานได้ 3) ความคิดสร้างสรรค์ระดับสูง สรุปสิ่งที่ค้นพบเป็นรูปธรรมนำไปใช้ในการ สร้างหลักการ ทฤษฎี ที่เป็นสากลยอมรับโดยทั่วไป16 Garison17 ได้อธิบายถึงลักษณะของผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ไว้ดังนี้ 1. เป็นคนที่สนใจในปัญหา ยอมรับความเปลี่ยนแปลง ไม่ถอยหนีปัญหาที่จะเกิดขึ้น แต่กล้าที่จะเผชิญปัญหา กระตือรือร้นที่จะแก้ไขปัญหาตลอดจนหาทางปรับปรุงเปลี่ยนแปลง พัฒนาตนและงานอยู่เสมอ 15Newell A and Simpson, Career Education : The State of the Science, Washingon, D.C. : Office of Career Education, United States Office of Education, 1963. 16สุชาติ ไตรภพ, ชาคริต พิชญางกูร. การจัดการนวัตกรรม, หน้า 172-174. 17Garison, (1954) [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://pumlovetoey21031.wixsite.com/ kewwalin01/about2-cw4s [4 พฤศจิกายน 2565].


77 76 2. เป็นคนมีความสนใจกว้างขวาง ทันต่อเหตุการณ์รอบด้านต้องการเอาใจใส่ใน การศึกษาหาความรู้จากแหล่งต่าง ๆ เพิ่มเติมอยู่เสมอ พร้อมทั้งยอมรับข้อคิดเห็นจาก ข้อเขียนที่มีสาระประโยชน์ และนำข้อมูลเหล่านั้นมาประกอบใช้พิจารณาปรับปรุงพัฒนา งานของตน 3. เป็นคนที่ชอบคิดหาทางแก้ปัญหาได้หลาย ๆ ทาง เตรียมทางเลือกสำหรับแก้ไข ปัญหาไว้มากกว่า 1 วิธีเสมอ ทั้งนี้เพื่อจะช่วยให้มีความคล่องตัวและประสบผลสำเร็จมาก ขึ้น เพราะการเตรียมทางแก้ไว้หลาย ๆ ทางย่อมสะดวกในการเลือกใช้ให้เหมาะสมกับ สถานการณ์ได้ และยังเป็นการประหยัดเวลาและเพิ่มกำลังใจในการแก้ไขปัญหาด้วย 4. เป็นคนที่มีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ หรือสุขภาพกายดี สุขภาพจิตก็ดีนั่นเอง ทั้งนี้เพราะมีการพักผ่อนหย่อนใจอย่างเพียงพอ และมีความสนใจต่อ สิ่งใหม่ที่พบ และยังเป็นช่างซักถามและจดจำได้ดี ทำให้สามารถนำข้อมูลที่จดจำมาใช้ ประโยชน์ได้ดี จึงทำให้งานดำเนินไปได้ด้วยดี 5. เป็นคนที่ยอมรับและเชื่อในบรรยากาศและสภาพแวดล้อมว่ามีผลกระทบต่อ ความคิดสร้างสรรค์ ดังนั้น การจัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อมว่า มีผลกระทบต่อ ความคิดสร้างสรรค์ดังนั้น การจัดบรรยากาศ สถานที่ สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม จะสามารถ ขจัดสิ่งรบกวนและอุปสรรค ทำให้การพัฒนาการคิดสร้างสรรค์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 3.2 คุณลักษณะการคิดสร้างสรรค์ของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง คุณลักษณะภาวะผู้นำที่คิดสร้างสรรค์ทางการศึกษาต้องเป็นกล้าในการคิดและการ ปฏิบัติตามแนวคิดได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์สำหรับการแก้ปัญหาการจัดการศึกษา ให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างเหมาะกับสภาพความเป็นจริงในสถานศึกษาซึ่งได้มีนักวิชาการ อย่าง ไพฑูรย์ สินลารัตน์และคณะ18 ได้เสนอคุณลักษณะการคิดสร้างสรรค์ 7 ประการ ดังนี้ 1. เชื่อว่าการคิดใหม่ คิดไม่เหมือนใคร คิดต่างเป็นสิ่งที่ดี มีประโยชน์มี คุณค่า 2. จะสงสัยตั้งคำถามและยังไม่เชื่อสิ่งที่ได้เห็น ได้ยิน ได้ฟังทันที ต้องกรองใหม่ ก่อนเสมอ 3. ไม่กลัวความผิดพลาด ไม่กลัวความล้มเหลว ไม่กลัวการวิพากษ์วิจารณ์ 4. ทันสมัย มองมุมใหม่ ลองทำ (คิด เขียน อ่าน) สิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ 5. พร้อมที่ยืนยันในสิ่งที่ตัวเองคิด เชื่อว่าสิ่งที่เราคิดมีประโยชน์และยืนยัน จนกว่าจะเห็นชัดว่าใช้ไม่ได้ 18ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และคณะ. คิดนอกกรอบ: สอนและสร้างได้อย่างไร, หน้า 19.


78 77 6. มีความเชื่อว่าคนเราล้มแล้วลุกได้ ผิดก็ทำใหม่ให้ถูกได้ อะไรไม่ดีใช้ไม่ได้ ไม่เหมาะกับยุคก็เปลี่ยนแปลงได้ 7. ความสำเร็จอยู่ที่ความแปลกใหม่ นอกนั้น อนุศักดิ์ จินดา (2560 : 22) ได้เสนอการพัฒนาภาวะผู้นำของตนเอง ในการคิดสร้างสรรค์มี7 ประการเด่น ๆ คือ 1) รักการเรียนรู้ 2) ฝึกการสังเกต 3) มองอย่างรอบ 4) ตั้งคำถาม 5) ขบถกับความคิดเดิม 6) ฝึกความสัมพันธ์ทางความคิดและ 7) คิดแง่บวก ในขณะที่ ธีระ รุญเจริญ19 กล่าวถึงการสร้างสรรค์ในการบริหารจัดการตนเองให้มี ความสามารถในการวางแผนเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ และการควบคุมพฤติกรรมตนเองได้ ดี ผู้บริหารสถานศึกษาสามารถดำเนินการได้ต่อไปนี้ 1. จัดลำดับความสำคัญและบริหารเวลาของตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ 2. สามารถทำงานภายใต้ความกดดันและทันตามกำหนดเวลา 3. สามารถบรรลุเป้าหมายทางวิชาชีพที่ท้าทาย 4. รับผิดชอบในการพัฒนาวิชาชีพของตนและบริบทภาวะผู้นำสำหรับการจัดการตน ดังนี้ 1) มีพันธะสัญญากับงานในหน้าที่และมีอิทธิพลจูงใจบุคลากรอื่น 2) มีความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมและ ความคิดใหม่ ๆ 3) มีความอดทน มีพลัง และมีแรงจูงใจที่จะทำงาน 4) มีความมั่นใจในตนเอง 5) มีความกระตือรือร้น 6) มีความสามารถเชิงสติปัญญา 19ธีระ รุญเจริญ, ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา (ฉบับปรับปรุง) เพื่อปฏิรูปรอบ 2 และประเมินภายนอกรอบ 3, พิมพ์ครั้งที่ 8, (กรุงเทพมหานคร: บริษัทสำนักพิมพ์ข้าวฟ่าง จำกัด, 2557) หน้า 172.


79 78 7) มีความเชื่อถือได้ และซื่อสัตย์สุจริต 8) มีพันธะสัญญากับงานการพัฒนาวิชาชีพของตนอย่างต่อเนื่อง จากแนวคิดดังกล่าวลักษณะการคิดสร้างสรรค์ เริ่มจากตัวผู้คิด ตั้งคำถามแสวงหา คำตอบนำความรู้ที่ได้มาคิดวิเคราะห์หามุมมองใหม่แล้วนำองค์ความรู้ใหม่ไปสร้างนวัตกรรม เพื่อประโยชน์ทางการศึกษาที่ได้รับการนำเสนอในรูปแบบบทความและงานวิจัยต่อไป 3.3 ประเภทของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาต่อการคิดสร้างสรรค์ ภาวะผู้นำการคิดสร้างทางการศึกษามีหลากหลายประเภทแต่มีเป้าหมายคล้ายกัน คือการคิดสร้างสรรค์เพื่อประโยชน์ทางการศึกษามีดังนี้ 3.3.1 ผู้นำแบบสร้างสรรค์กับการสร้างการเรียนรู้แบบทีม การทำงานแบบทีมโดยต้องร่วมมือพึ่งพาอาศัยกันและกัน เพื่อให้งานสำเร็จตาม เป้าหมาย และคุณลักษณะแบบทีมงานจะสำเร็จราบรื่นได้ต้องอาศัยการมีวัฒนธรรมองค์การ แบบเต็มใจรับและสนับสนุน (Receptive and supportive culture) ซึ่งกระบวนการ คุณภาพจะต้องเอื้อให้เกิดบรรยากาศของการทำงานแบบทีมที่ดีจำเป็นต้องอาศัยปัจจัย ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ 1.การมีส่วนร่วมโดยรวม (Total involvement) กล่าวคือ ทุกคนในโรงเรียนไม่ว่า เป็นครูหรือบุคลากรอื่นใด จะต้องมีส่วนเกี่ยวข้องและยอมรับว่าโครงสร้างบริหารแบบ ทีมงาน เหมาะสมที่สุดในการใช้แก้ปัญหาและการปฏิบัติงาน ทั้งยังช่วยเพิ่มกาเรียนรู้ และ ทำให้เกิดการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง 2. มุ่งเน้นที่ลูกค้าเป็นสำคัญ (Customer focus) กล่าวคือ ทีมงานปฏิบัติหน้าที่ อันสำคัญในการบริการลูกค้า โดยร่วมกันเสาะหาปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่ขัดขวางการ ให้บริการที่ดีแก่ลูกค้า 3.ต้องมีความชื่นชอบต่อค่านิยมเรื่องความหลากหลาย (Appreciation of the value of diversity) กล่าวคือ โรงเรียนให้คุณค่าต่อความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) และ มีความเข้าใจว่า การที่คนในทีมงานมีความแตกต่างกันในด้านทักษะ ด้านวิธีการคิด และ มีแง่มุมในการแก้ปัญหาที่แตกต่างกัน ถือว่าเป็นจุดแข็งและมีผลดีต่อการทำงาน และการ เรียนรู้แบบทีมงาน รวมทั้งให้ประสิทธิภาพที่สูงสุดในการแก้ปัญหาใด ๆ 4. มีการแบ่งปันสารสนเทศ (Sharing information) กล่าวคือ การแบ่งปันข้อมูล สารสนเทศระหว่างกันของสมาชิกทีมงาน ย่อมก่อให้เกิดบรรยากาศที่เปิดเผย ตรงไปตรงมา และมีความไว้วางใจต่อกัน ทำให้การตัดสินใจใด ๆ ที่ขาดข้อมูลสารสนเทศสนับสนุนจะทำ ได้ยากขึ้น


80 79 5. มีการรับฟัง (Listening) กล่าวคือ ผู้นำที่มีกระบวนทัศน์ใหม่ด้านพฤติกรรม องค์การ จะแสดงออกด้วยพฤติกรรมที่ยอมรับฟัง การสนับสนุนให้เกิดการสนทนาและการ อภิปราย และมีการตัดสินใจร่วมกัน เป็นต้น ย่อมก่อให้เกิดบรรยากาศให้การทำงานแบบ ทีมประสบความสำเร็จราบรื่นและได้คุณภาพคำตอบที่มีความสร้างสรรค์เกิดขึ้น 6. ทราบผลการทำงานของทีมงาน (Scorekeeping) กล่าวคือ มีการวัดผลสำเร็จ ของทีมงานโดยใช้ดัชนีตัวบ่งชี้หลัก (Key performance indicators) ที่บ่งชี้ถึงผลสำเร็จ โดยรวมของทีมงาน ทำให้สมาชิกแต่ละคนมีระดับความพึงพอใจสูงขึ้น และนำมาสู่การ ปรับปรุงผลรวมของการปฏิบัติงานแบบทีมงานสูงตามไปด้วย 7. มีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Continuous improvement) กล่าวคือ การมี ทัศนคติเชิงคุณภาพ (Quality mindset) มิใช่จุดหมายปลายทางของการปรับปรุง แต่มี แนวคิดสำคัญคือ การให้โรงเรียนต้องพยายามค้นหาจุดอ่อนเพื่อนำมาปรับปรุงบริการให้แก่ ลูกค้าเกิดความพึงพอใจอย่างไม่มีที่สิ้นสุด20 3.3.2 ผู้นำแบบสร้างสรรค์ในฐานะหัวหน้าสูงสุดด้านการเรียนรู้ของโรงเรียน หัวหน้าสูงสุดด้านการเรียนรู้หรือ CLO (Chief Learning Officer) ทำหน้าที่เป็น ผู้นำทางวิชาการ (Instructional leader) ซึ่งในอนาคตจะต้องเปิดกว้างสู่การเรียนรู้ใหม่ ๆ ยิ่งขึ้น แม้ว่าการเรียนรู้บางอย่างอาจจะขัดแย้งกับปรัชญาความเชื่อหลักของตนก็ตาม ผู้นำ CLO จะต้องแสดงพฤติกรรมแบบอย่างทางวิชาการให้สอดคล้องกับสิ่งที่ตนพูด และอยาก ให้ครูแสดงพฤติกรรมด้านการเรียนการสอนอย่างที่ตนต้องการ ผู้นำการเรียนรู้หรือ CLO ต้องทำตนเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต (Life – long learner) เพื่อเป็นแบบแก่องค์การ ดังนี้ 1. ผู้นำแบบสร้างสรรค์กับกลยุทธ์การส่งเสริมนวัตกรรมหรืองานสร้างสรรค์ การเปลี่ยนแปลงในโรงเรียนไม่สามารถทำให้เกิดขึ้นได้ไม่ว่าจะดำเนินการแบบจาก ระดับบนสู่ล่าง (Top down) หรือจากระดับล่างสู่บน (Bottom up) แต่จะต้องมาจากการ ปฏิสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมในแนวนอนของทุกระดับชั้นเรียนหรือแผนกงาน การ เปลี่ยนแปลงต้องเกี่ยวข้องกับการใช้ทั้งภาวะผู้นำ (Leadership) และภาวะผู้ตาม (Followership) ผู้นำควรจัดสรรเวลาและให้ความใส่ใจเป็นพิเศษต่อกลยุทธ์ต่อไปนี้ซึ่งจะ ช่วยสร้างบรรยากาศที่เกื้อหนุนและเพิ่มขีดความสามารถในการนำนวัตกรรมหรืองาน สร้างสรรค์ใหม่ๆ ลงสู่การปฏิบัติได้ดังนี้ 1) สร้างความท้าทายให้แก่ทีมงานในระดับเดียวกันหรือแผนกงานเดียวกันให้ ช่วยกันค้นหานวัตกรรมและนำลงสู่การปฏิบัติให้ได้อย่างน้อยปีละ 1 เรื่อง พร้อมกันนั้นต้อง 20สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์, ภาวะความเป็นผู้นำ, (กรุงเทพมหานคร: ส.เอเชียเพรส (1989), 2550).


81 80 จัดเวลาให้ทีมงานดังกล่าว ได้นำเสนอนวัตกรรมของตนต่อหน้าที่ประชุมคณาจารย์ทั้ง โรงเรียน 2) จัดการฝึกอบรมประจำการ (In – service training) ในเรื่องเกี่ยวกับการ สร้างความเข้าใจและการบริหารความเปลี่ยนแปลง 3) ขจัดอุปสรรคทั้งหลายที่อาจสกัดกั้นการคิดวิเคราะห์สร้างสรรค์ โดยหมั่น ตรวจสอบ ทบทวนแก้ไขกฎข้อบังคับและระเบียบต่าง ๆ ของโรงเรียน ที่ไม่เอื้อต่อการนำ นวัตกรรมหรืองานสร้างสรรค์ใหม่ๆลงสู่ภาคปฏิบัติ 4) ปรับสภาพสภาพการปฏิบัติงานที่มีลักษณะแยกให้ครูต้องปฏิบัติการสอนแบบ ลำพังคนเดียวไปเป็นการทำงานแบบทีม และทำการปรับปรุงช่องทางให้เกิดการสื่อสาร หลายทางได้สะดวกและกว้างขวาง พัฒนาทักษะการรับฟัง (Listening) และทักษะการ พูดคุย (Talking) ซึ่งเป็นเครื่องมืออันทรงพลังให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพต่อการสร้าง องค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning organization) ให้เกิดขึ้นขึ้นในโรงเรียน 5) แสวงหา ให้การยอมรับ และแสดงออกถึงความชื่นชม ต่อนักนวัตกรรม หรือ ผู้สร้างผลงานสร้างสรรค์ใหม่ที่เกิดขึ้นให้เป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณชน 6) ให้การยอมรับ ให้รางวัลตอบแทน และแสดงความชื่นชมต่อผู้ที่ล้มเหลว เช่นเดียวกับผู้ที่ประสบความสำเร็จ ทั้งนี้เพราะในองค์การแห่งการเรียนรู้ถือว่า “ความ ล้มเหลวช่วยสร้าง โอกาสให้เกิดการเรียนรู้ “(ทำนองคล้ายกับ “ผิดเป็นครู”) และไม่ควร ได้รับการตำหนิ แต่ควรให้กำลังใจมากกว่า เพื่อให้ผู้นั้น “กล้าคิดใหม่ ทำใหม่” อีกต่อไป 7) ศึกษาเกณฑ์เทียบเคียงกับ “แบบปฏิบัติที่ดี” (Benchmark “Best practices”) ของหน่วยงานอื่น ๆ ที่มิใช่ทางการศึกษา เช่น องค์การธุรกิจเอกชน องค์การภาครัฐ หน่วยงานส่วนท้องถิ่น และทางศาสนา เป็นต้น เพื่อสอบถามและวิเคราะห์หาว่าหน่วยงาน เหล่านี้ประสบความเป็นเลิศในด้านเหล่านั้น ได้อย่างไร 8) จัดสร้างเกณฑ์การประเมินที่คาดหวัง ต่อทุกนวัตกรรมหรืองานสร้างสรรค์ใหม่ๆ ของโรงเรียน 9. กระตุ้นให้ครูแต่ละคนใช้ความพยายามค้นหาวิธีทำงานแบบใหม่ที่ต่างจากเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กระตุ้นให้ทำวิจัยเชิงปฏิบัติการในประเด็นต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน ของตน 3.4 ภาวะผู้นำทางการศึกษาคิดเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพยุคการศึกษาไทย 4.0 การศึกษาไทยเริ่มการศึกษา 1.0 ในยุคเกษตรกรรมซึ่งแนวคิดพื้นฐานอยู่กับ การเกษตรกรรม เน้นการศึกษาแบบพึ่งตนเองการศึกษาก็อยู่กับเกษตรกรรมเหมือนกัน หลักสำคัญคือ การศึกษาเพื่อชุมชนของตนเองทักษะที่ใช้หลักก็คือทักษะเพื่อยังชีพ


82 81 ได้แก่ การปลูกผักทำสวนครัว ช่วยตัวเอง ส่วนการศึกษาไทย 2.0 คือ การศึกษาไทยที่อยู่บนพื้นฐานของอุตสาหกรรมเป็น การศึกษาเพื่อระบบอุตสาหกรรมเริ่มขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 หลักสำคัญคือการศึกษาเพื่อ ชุมชนของคนอื่นทักษะที่ใช้เป็นทักษะอุตสาหกรรมคือการแบ่งงานกันทำเป็นส่วน ๆ ต่างคน ต่างทำของตนเองให้ดีที่สุดเราจะเห็นทักษะนี้ในปัจจุบันก็ยังมีมากอยู่ การศึกษาไทย 3.0 คือ การศึกษาไทยในยุคเทคโนโลยี ยุคโลกาภิวัตน์ แต่ยุคโลกา ภิวัตน์ในขณะนี้ เป็น Post globalization โลกาภิวัตน์จะค่อย ๆ เปลี่ยนไปเป็นการศึกษา เพื่อชุมชนนานาชาติ เน้นทักษะการติดต่อสื่อสารทางเทคโนโลยีเป็นหลัก คนจะเปลี่ยนไป ในลักษณะของการช่วยตัวเองมากขึ้นและ การศึกษาไทย 4.0 คือ การศึกษายุคผลิตภาพ ยุคที่ต้องการผลผลิต (Products) ให้ได้มากที่สุดเพื่อ ประโยชน์ของชุมชนตนเองและชุมชนอื่น ๆ ด้วย ทักษะของการศึกษาจึง จะต้องเน้นการทำได้ เมื่อลงมือทำแล้วก็จะได้ออกมาเป็นผลผลิต21 นอกจากนั้นไพฑูรย์ สินลารัตน์ และคณะ22 ได้เสนอแนวคิดสร้างสรรค์ จากใน กรอบ สู่ นอกกรอบ ดังในภาพต่อไปนี้ ที่ การคิดในกรอบ การคิดนอกกรอบ 1 ในโรงเรียน นอกโรงเรียน/ชุมชน 2 ทฤษฎี/ความรู้ ปฏิบัติ/ชีวิตจริง 3 ความจำ/แยกส่วน ความคิด/กระบวนการ 4 ครู (ตัวตั้ง) นักเรียน 5 อดีต/ผ่านมาแล้ว ปัจจุบัน/อนาคต 6 รับใช้คนกลุ่มน้อย/ธุรกิจ รับใช้เพื่อนมนุษย์ 7 นอกตัวเอง รู้จักตัวเอง/จิตใจ ภาพที่ 3.3 แนวคิดสร้างสรรค์ จากในกรอบ สู่ นอกกรอบ ที่มา : ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และคณะ, 2557 : 2-3 21ไพฑูรย์ สิ้นลารัตน์ และคณะ, การศึกษา4.0เป็นยิ่งกว่าการศึกษา, (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561), 57-58. 22เรื่องเดียวกัน, หน้า 2-3.


83 82 เกสิณี ชิวปรีชา23 ได้กล่าวสรุปการบรรยายภาวะผู้นำแบบหมอกระแสในการคิด สร้างสรรค์ของภาวะผู้นำทางการศึกษาต้องใช้บันใด 3 ขั้น ดังนี้ บันใดขั้นที่ 1 ภาวะผู้นำชอบเพิ่มค่า เพิ่มความหมายและความสำคัญให้กับผู้อื่น เสมอ บันใดขั้นที่ 2 ภาวะผู้นำต้องรู้จักเพิ่มค่า เพิ่มความหมายและความสำคัญให้กับ งานเสมอ บันใดขั้นที่ 3 ภาวะผู้นำต้องรู้จักเพิ่มค่า เพิ่มความหมายและความสำคัญให้กับ ตนเองเสมอ กล่าวได้ว่าการคิดสร้างสรรค์ของภาวะผู้นำทางการศึกษาแบบศ.ดร.นพ.กระแส ชนะ วงศ์ เจ้าของคุณหมอแมกไซไซ สาขาผู้นำชุมชน ที่ท่านมีอุดมการณ์ว่า “การศึกษาของคน ชนบท คือ อนาคตของประเทศ” ผู้เรียบเรียบเห็นว่า การคิดสร้างสรรค์แบบคุณหมอกระแส มีคุณค่ามากต่อการนำไปปฏิบัติในการพัฒนาตน คน และงาน คือ 1. ภาวะผู้นำต้องรู้จักเพิ่มคุณค่าความดีให้กับผู้อื่นด้วยความเต็มใจ 2. ผู้ภาวะผู้นำต้องรู้จักเพิ่มคุณค่ากับการทำงานอย่างจริงจัง 3. ภาวะผู้นำต้องรู้จักเพิ่มศักยภาพให้กับตนเองเสมอด้วยการศึกษาเรียนรู้อย่างมี วินัย นอกจากนั้นขอนำเสนอภาวะผู้นำการคิดสร้างสรรค์ทางการศึกษาแบบ ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์24 อดีตอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้ กล่าวในหนังสือ “คิดต่างสร้างการเปลี่ยน” จากประสบการณ์การปฏิบัติงานว่าคุณลักษณะ ภาวะผู้การเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาสำหรับวิธีการคิดอย่างสร้างสรรค์ตามหลักคิด 5 ข้อ จากการทำงานมาทั้งชีวิตดังนี้ 1. ต้องปรับทัศนคติการทำงานด้วยการมองที่ผลของงานที่เรียกว่าค่าของคนอยู่ที่ผล ของงาน 2. เมื่อปรับทัศนคติได้แล้วการทำงานต้องมีความอดทนและมีความพยายามอย่าง เต็มความรู้ความสามารถ 3. ต้องมีความขยันเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในอาชีพการงาน 23เกสิณี ชิวปรีชา, 100 บรรทัด ร้อยใจคน ภาวะผู้นำแบบหมอกระแส, (กรุงเทพมหานคร: วี.พริ้นต์, 2562), หน้า 59. 24สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์, คิดต่าง สร้างการเปลี่ยนแปลง, พิมพ์ครั้งที่ 3, (กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิทองเนื้อเก้า, 2563), หน้า 88-92.


84 83 4. ต้องแสวงหาความรู้อย่างสม่ำเสมอด้วยการเรียนรู้จากการอ่านหนังสือ ดังที่มหา เศรษฐีอย่างบิลล์ เกตส์ให้สัมภาษณ์ว่า หนังสือทุกเล่มที่อ่านเป็นครูของเขา เพราะช่วยให้ได้ ความรู้เพิ่มความคิดใหม่ ๆ 5. ต้องรู้จักหาความสุขกับสิ่งง่าย ๆ ในชีวิตจริงทั้งจากการทำงานและการดำเนิน ชีวิตประจำวัน กล่าวได้ว่าภาวะผู้นำการคิดสร้างสรรค์ทางการศึกษาแบบศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณ สวัสดิ์สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานให้มีความสุขและประสบความสำเร็จด้วยการ ปรับทัศนคติทางบวก ขยัน อดทน เห็นคุณค่าของผลงานสร้างแรงบันดาลใจทำงานให้บรรลุ เป้าหมายอย่างมีคุณภาพ สรุปได้ว่าภาวะผู้นำแบบสร้างสรรค์ทางการศึกษาจะต้องประกอบด้วยคุณลักษณะที่ สามารถพัฒนาได้ดังนี้ 1) การเรียนรู้แบบทีม 2) ควรมีมุมมองครูว่าเป็นผู้นำ 3) ความสัมพันธ์ของการปฏิบัติงานควรตั้งอยู่บนพื้นฐานของการไว้วางใจ 4) ผู้นำควรปรับเปลี่ยนทัศนคติด้วยการทำงานอย่างมีความสุขแบบง่าย ๆ 5) ผู้นำควรให้ความสนใจและให้ความสำคัญของคน 6) ผู้นำควรเน้นถึงความสำคัญของคนในองค์การ 7) ผู้นำควรสร้างเครือข่ายให้เกิดการสื่อสารแบบสองทาง 8) การเป็นผู้นำแบบสร้างสรรค์จำเป็นต้องอาศัยความเอาใจใส่ใกล้ชิด 9) ผู้นำแบบสร้างสรรค์จะกระจายอำนาจการตัดสินใจ 10) ผู้นำแบบสร้างสรรค์ต้องมีความสามารถสูงในการปฏิบัติภารกิจอยู่ท่ามกลาง สภาวะแวดล้อมที่ไม่แน่นอน 3.5 ภาวะผู้นำแบบสร้างสรรค์กับแผนอุดมศึกษาระยะยาว 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) ภาวะผู้นำแบบสร้างสรรค์ต้องเรียนรู้และเข้าใจแผนอุดมศึกษาระยะยาว 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) เกี่ยวกับยุทธศาสตร์การสร้างเสริมบุคลากรคุณภาพสูง (Concentration of Talent) โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) ระบบอุดมศึกษาสามารถพัฒนาสภาพแวดล้อม ให้ดึงดูดผู้มีความสามารถสูงเข้า มาปฏิบัติหน้าที่ได้อย่าง มีประสิทธิภาพ ทั้งคณาจารย์ นักวิจัย ผู้นำ และผู้บริหาร ตลอดจน ผู้ปฏิบัติสนับสนุนการดำเนินงานของสถาบัน อุดมศึกษาให้บรรลุเป้าหมาย


85 84 2) ระบบอุดมศึกษาเป็นชุมชนทางวิชาการที่มี ศักยภาพสูง มีความหลากหลาย มีจุดเน้น จุดแข็งที่แตกต่างกัน ล้วนสร้างสรรค์ประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติ 3) ระบบอุดมศึกษามีขีดความสามารถในการแข่งขัน สู่สากลเป็นสถาบันอุดมศึกษา ระดับโลก เป็นจุดดึงดูดนักวิชาการจากทั้งโลกมาร่วมพัฒนาประเทศ25 ซึ่งมี 4 กลยุทธ์ใน การพัฒนาการศึกษาดังนี้ กลยุทธ์ที่ 1 กำหนดจุดเน้นเพื่อการพัฒนาสถาบัน อุดมศึกษาที่หลากหลายให้เกิด ประโยชน์ต่อการพัฒนา ประเทศในมิติต่าง ๆ กลยุทธ์นี้เรียกว่า University Re-positioning Framework คือ การพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา ให้ทำหน้าที่เสริมสร้างขีดความสามารถ ในการแข่งขันของประเทศในอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพ สร้างความสอดคล้อง ในแนว เดียวกันระหว่างความต้องการของประเทศ นโยบาย ทิศทางของสถาบัน การกำกับดูแล การจัดสรรทรัพยากร และการจัดการทรัพยากรบุคคล การสร้างจุดเน้นของการดำเนินการ ของสถาบันในเรื่องที่เป็นความต้องการ ของประเทศและประสิทธิภาพของการใช้ทรัพยากร ที่มีคุณค่า อย่างแท้จริง กลยุทธ์ที่ 2 สนับสนุนกรอบการบริหารงานบุคลากร ในสถาบันอุดมศึกษา เพื่อ กระตุ้นให้เกิดการพัฒนาเส้นทาง อาชีพที่หลากหลายในระบบอุดมศึกษา เพื่อสร้างแรงจูงใจ ให้บุคลากรคุณภาพสูงทั้งในประเทศและต่างประเทศเข้ามา ร่วมปฏิบัติหน้าที่ในชุมชน วิชาการ ชักจูงผู้ประสบความสำเร็จ ในภาคเอกชน-ภาครัฐ มีโอกาสมาช่วยงานวิชาการและ งานวิชาชีพในสถาบันอุดมศึกษาอย่างต่อเนื่อง และสอดคล้องกับ จุดเน้นของสถาบันแต่ ละแห่ง กลยุทธ์ที่ 3 ส่งเสริมพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาสู่ระดับโลก (World Class University) ในสังคมวิชาการระดับโลก ต่างยอมรับบทบาทของนักวิชาการด้วยกันว่าเป็น ผู้ที่สร้างสรรค์ พัฒนาความรู้หรือวิชาการที่ส่งผลกระทบต่อ แวดวงวิชาการทั้งโลก ชุมชน วิชาการนั้นอยู่ในสถาบันใด มากที่สุด สถาบันนั้นจะเป็นที่รู้จักเป็นที่ยอมรับและยกย่อง ให้ เป็นสถาบันระดับโลก การพัฒนาไปสู่จุดนั้นเป็นเรื่องยาก จึงเป็นสิ่งที่รัฐต้องเข้ามามีบทบาท ผลักดันอย่างจริงจังต่อเนื่อง โดยเลือกสรรสถาบันที่มีความพร้อมเหมาะสม มีความเป็นไป ได้สูงเท่านั้น กลยุทธ์ที่ 4 พัฒนาระบบการส่งเสริมและเชิดชูเกียรติ บุคลากรคุณภาพสูงใน ระดับสากล มุ่งส่งเสริมชุมชนวิชาการ ระดับชาติและระดับนานาชาติ การประกวดการ 25สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, แผนอุดมศึกษาระยะยาว 20 ปี (พ.ศ. 2561- 2580), สำนักนโยบายและแผนการอุดมศึกษา, 2561, หน้า 114.


86 85 แข่งขัน ผลงานวิชาการ การสนับสนุนผลักดันให้เป็นบุคลากรผู้มีชื่อเสียง ของประเทศและ ของโลก26 แนวทางการดำเนินงานให้บรรลุตามกลยุทธ์ 1. การกำหนดจุดเน้นเชิงยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา (Re-positioning Framework) 1.1 กำหนดกรอบแสดงจุดเน้นของสถาบันอุดมศึกษา ที่ตอบสนองความ ต้องการในการพัฒนาประเทศ ประกอบด้วย ความหมาย คุณลักษณะ และแนวทางการ วิเคราะห์คุณลักษณะ เหล่านั้นเพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานของสถาบัน (Strategic Profiles) พร้อมระบบฐานข้อมูลเพื่อการตรวจสอบอย่างมี ประสิทธิภาพ 1.2 พัฒนาระบบการเงินอุดมศึกษาฐานคุณค่า (Value-based Financing) 1.3 พัฒนาระบบธรรมาภิบาลในการกำกับดูแลและ การบริหารสถาบัน อุดมศึกษาให้มีประสิทธิภาพ 2. กำหนดกรอบส่งเสริมการพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลที่มีประสิทธิภาพ 2.1 กำหนดแนวทางการพัฒนาและเส้นทางอาชีพ ของบุคลากรในสถาบัน อุดมศึกษาที่หลากหลายและสามารถ ดึงดูดผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลก 2.2 การกำหนดวิธีการและผลงานวิชาการเพื่อเข้าสู่ ตำแหน่งทางวิชาการที่ หลากหลาย ทั้งในสายคณาจารย์ผู้สอน และนักวิจัย ตลอดจนนักสร้างสรรค์นวัตกรรม 2.3 การกำหนดหลักเกณฑ์การสนับสนุน ชักจูงและ คัดสรรบุคลากรผู้มี ความสามารถทางวิชาการระดับชาติและ ระดับนานาชาติ พัฒนาระบบเชิดชูเกียรติให้เป็น ที่ยอมรับ ระดับชาติและนานาชาติ 3. การส่งเสริมการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาสู่ระดับโลก 3.1 ศึกษา วิเคราะห์ ติดตามความเคลื่อนไหวของ การจัดอันดับสถาบัน อุดมศึกษาของโลกที่มีความหลากหลาย มิติและเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาระบบ อุดมศึกษาของ ประเทศ 3.2 รัฐร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาที่มีศักยภาพ และความพร้อมสูง เพื่อให้ การสนับสนุน สร้างแรงจูงใจและ กำหนดเป้าหมายการพัฒนาแบบมีเงื่อนไขร่วมกันในระยะ สั้น และระยะยาว 26เรื่องเดียวกัน, หน้า 114-115.


87 86 3.3 รัฐใช้มาตรการจัดอันดับหรือจัดระดับสถาบัน อุดมศึกษาในประเทศ ทั้งนี้ เพื่อการพัฒนาและการส่งเสริมให้ เป็นไปตามจุดเน้นที่กำหนด27 3.6 การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ต่อการคิดสร้างสรรค์ของภาวะผู้นำทาง การศึกษาในศตวรรษที่ 21 (3Rs 8Cs) การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ต่อการคิดสร้างสรรค์ของภาวะผู้นำทางการศึกษา ในศตวรรษที่ 21 (3Rs 8Cs) โดยมีหลักการเรียนรู้ใหม่ประกอบด้วย 3Rs : 1. การอ่านออก (Reading) 2. การเขียนได้ (Writing) และ 3. การคิดเลขเป็น (Arithmetic’s) และ ทักษะ 8Cs : การคิดสร้างสรรค์สำหรับการพัฒนาภาวะผู้นำทางการศึกษาดังนี้ 1. ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ( Critical Thinking ) 2. ทักษะในการแก้ปัญหา (and Problem Solving) 3. ทักษะด้านการสร้างสรรค์และนวัตกรรม (Creativity and Innovation) 4. ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์ (Cross – Cultural Understanding) 5. ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ (Collaboration, Teamwork and Leadership) 6. ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และการรู้เท่าทันสื่อ (Communications, Information and Media Literacy) 7. ทักษะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Computing and ICT Literacy) 8. ทักษะอาชีพและทักษะการเรียนรู้(Career and Learning Skills) และความมี เมตตา กรุณา มีวินัย คุณธรรม จริยธรรม (Compassion) 28 จากแนวคิดการพัฒนาทักษะภาวะผู้นำทางการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ทุกข้อมี ความสำคัญโดยเฉพาะในโลกใหม่ทักษะที่มองเห็นชัด คือ 1 .ทักษะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Computing and ICT Literacy) 2. ทักษะด้านการสร้างสรรค์และนวัตกรรม (Creativity and Innovation) 27อ้างแล้ว. 28อ้างแล้ว


88 87 3. ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และ ทักษะในการแก้ปัญหา (Critical Thinking and Problem Solving) 4. ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ (Collaboration, Teamwork and Leadership) สำหรับผู้เรียบเรียงเห็นข้อ 4 เป็นทักษะที่จำเป็นมาก เพราะภาวะผู้นำการเปลี่ยนทางการศึกษาจะบรรลุเป้าหมายการบริหารการศึกษาได้ต้อง ได้รับความร่วมมือจากองค์กรทุกฝ่ายเป็นอย่างดี 3.6.1 การพัฒนาศักยภาพและคุณภาพนักศึกษา เสริมสร้างความรู้และทักษะ ทางอาชีพให้พร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต 1) การพัฒนาทักษะในด้านต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง (3R 8C) 2) การเปิดโอกาสให้เกิดความเท่าเทียมและการเข้าถึงของกลุ่มที่มีข้อจำกัด 3) การพัฒนาทักษะและความรู้ความสามารถเพื่อตอบสนองความต้องการของ ตลาดแรงงานและ การพัฒนาเศรษฐกิจในด้านการสร้างนวัตกรรมและความเป็น ผู้ประกอบการ 4) การสร้างจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมและความเป็นประชากรโลก 5) การพัฒนาศักยภาพเพื่ออนาคต 6) กิจกรรมนักศึกษาที่บูรณาการกับหลักสูตร 7) ความสามารถและเทคนิคในการถ่ายทอดวิชาความรู้และทักษะของอาจารย์ เพื่อให้นักศึกษา รู้จักคิดแก้ไขปัญหา และมีความคิดสร้างสรรค์29 ตามด้วยสมรรถนะบัณฑิต ที่ภาวะผู้นำแบบสร้างสรรค์ต้องเข้าใจนโยบายแผนการผลิตนักศึกษาให้เป็นบัณฑิตที่มีเพิ่ม สมรรถนะตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ชาติในอนาคต ซึ่งมีดังนี้ 3.6.2 การคิดสร้างสรรค์ของภาวะผู้นำทางการศึกษากับการพัฒนาสมรรถนะ ของบัณฑิต การคิดสร้างสรรค์ของภาวะผู้นำทางการศึกษากับการพัฒนาสมรรถนะของบัณฑิต ซึ่งมีวัตถุประสงค์ดังนี้30 การเปลี่ยนแปลงด้านสมรรถนะของบัณฑิต มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบัณฑิตทุกคน ให้มีค่านิยม ตามบรรทัดฐานที่ดีทางสังคม มีทักษะดำรงชีวิตในโลกยุคศตวรรษที่ 21 ได้รับ การศึกษาที่มีคุณภาพสูง ตามมาตรฐานสากล และสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง เป็นบัณฑิตที่ประกอบด้วย 29เรื่องเดียวกัน, หน้า 90. 30เรื่องเดียวกัน, หน้า 107-110.


89 88 1) สมรรถนะ เชิงวิชาการ 2) สมรรถนะการประกอบอาชีพ ซึ่งประกอบ ด้วยทักษะการปฏิบัติงาน และทักษะ การเป็นผู้ประกอบการ และ 3) สมรรถนะการเป็นพลเมืองและพลโลก สมรรถนะ เหล่านี้จะช่วยให้บัณฑิต สามารถพัฒนาตนเอง ครอบครัว ตลอดจนสังคม และมีส่วนร่วมอันสำคัญต่อการพัฒนา ประเทศ จากวัตถุประสงค์ดังกล่าวพบประเด็นที่ท้าทายดังนี้1) ผลิตคนเก่งตามสาขาที่เรียน มา 2) มีความสามารถใช้ทักษะความรู้ของสาขาที่นักศึกษาสำเร็จไปประกอบอาชีพตรง ตามที่ผู้ประกอบการต้องการ 3) มีคุณภาพ สุขภาพในการดำเนินชีวิตที่ดีมีความสุขในการ พัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน ตลอดถึงสังคมของประเทศชาติ เมื่อเข้าใจวัตถุประสงค์ชัด แล้วไปดูรายละเอียดในกลยุทธ์การเปลี่ยนแปลง ดังนี้ กลยุทธ์ที่ 1 ปรับปรุงระบบการกำกับคุณภาพ และมาตรฐานหลักสูตรให้เกิดการ เชื่อมโยงอย่างชัดเจน ระหว่างการออกแบบและพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียน การสอน และการวัดและประเมินผล หลักสูตรต้องกำหนด คุณลักษณะของบัณฑิตในลักษณะของ ผลการเรียนรู้ (Learning Outcomes) อย่างชัดเจนตามอัตลักษณ์ของ สถาบันอุดมศึกษา และตอบสนองความต้องการของสังคม ในการพัฒนาประเทศ การจัดการเรียนการสอนต้อง ปรับ ให้สอดคล้องการใช้ชีวิตของผู้เรียนยุคใหม่ โดยมุ่งเน้นให้ ผู้เรียนบรรลุผลการเรียนรู้ที่ ก้าวหน้า และการวัดและ ประเมินผลต้องเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพ สามารถ แสดงผลการ เรียนรู้และพัฒนาการของผู้เรียนตามความแตกต่างระหว่างบุคคล ทั้งนี้ รัฐต้องกำหนดกลไก สนับสนุนการดำเนินงานร่วมกับสถาบันอุดมศึกษาได้ ตามความจำเป็น กลยุทธ์ที่ 2 วางแผนการผลิตบัณฑิตกำลังคน ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพให้ สอดคล้องตามศักยภาพ ของสถาบันอุดมศึกษา และตอบสนองความต้องการ เพื่อการ พัฒนาประเทศ รัฐควรสร้างกลไกการติดตาม และตรวจสอบความต้องการกำลังคน ความ ต้องการ ของสมรรถนะที่จำเป็นในการทำงาน การเปลี่ยนแปลงของ อาชีพตลอดจนการ ประเมินศักยภาพของบัณฑิตในการ ประกอบอาชีพ แผนการผลิตบัณฑิตต้องประกอบด้วย กลไกการกำกับปริมาณและคุณภาพกำลังคนให้สอดคล้อง กับความต้องการในการพัฒนา ประเทศ โดยที่สถาบัน อุดมศึกษามีอิสระในการวางแผนการผลิตบัณฑิตของตนเอง การ วางแผนการผลิตกำลังคนจะต้องเชื่อมโยงกับ ระบบและกลไกการจัดสรรงบประมาณ อุดหนุนสถาบัน อุดมศึกษาตามหลักการ การสนองทุนผ่านด้านอุปสงค์ (Demand Side Financing) ตลอดจนการยกระดับ คุณภาพและประสิทธิภาพการผลิตบัณฑิต


Click to View FlipBook Version