The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ภาวะผู้นำการเปลี่ยนผ่านทางการศึกษาตามพุทธวิถีใหม่
รศ.ดร.สิน งามประโคน

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by 24-Chinaporn Nakorn, 2023-06-16 11:55:44

ภาวะผู้นำการเปลี่ยนผ่านทางการศึกษาตามพุทธวิถีใหม่

ภาวะผู้นำการเปลี่ยนผ่านทางการศึกษาตามพุทธวิถีใหม่
รศ.ดร.สิน งามประโคน

240 226 ภาพที่6.3 การบูรณาพุทธวิถีการบริหารของผู้นำทางการศึกษา ที่มา : มาจาก พระธรรมโกศาจารย์(ประยูร ธมฺมจิตฺโต), พุทธวิธีบริหาร, (กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2549. 6.3 การบูรณาการบริหารสถานศึกษาของภาวะผู้นำทางการศึกษาจากทฤษฎี สู่การปฏิบัติ การบูรณาการบริหารสถานศึกษาของภาวะผู้นำทางการบริหารสู่การปฏิบัติ ซึ่งได้ สรุปจากผลการวิจัย สิน งามประโคน ทั้ง 4 ด้าน32 ดังนี้ 1. แนวทางการบริหารสถานศึกษาของภาวะผู้นำการบริหารด้านงานวิชาการสู่ การปฏิบัติ 1.1) การวางแผนเกี่ยวกับการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาด้าน งานวิชาการ เป็นการวางแผนเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้ การ จัดการล่วงหน้าเกี่ยวกับการเรียนการสอน มีแนวโน้มการวางแผนเกี่ยวกับงานวิชาการสู่การ ปฏิบัติ โดยการเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลัก น้อมนำพระราชปณิธานและพระราช กระแสด้านการศึกษา พัฒนาหลักสูตร การเรียนการสอนวิชาที่มีเนื้อหาเกี่ยวประวัติศาสตร์ และสถาบันพระมหากษัตริย์พัฒนากระบวนการเรียนการสอน เพื่อความปรองดองและ 32สิน งามประโคน, การบริหารการศึกษา : แนวคิด ทฤษฎีและรูปแบบการบริหารจัดการ, (คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2561), หน้า 184-186. การบูรณาพุทธวิถี การบริหารของ ผู้น าทางการศึกษา 1. พุทธวิถีการ วางแผน (Planning) 2. พุทธวิถีในการจัด องค์กร (Organization) 3. พุทธวิถีในการ บริหารงานบุคคล (Staffing) 4. พุทธวิถีในการ อ านวยการ (Directing) 5. พุทธวิถีในการก ากับ ดูแล (Controlling)


241 227 สมานฉันท์ เช่น กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน ยกระดับวิชาภาษาอังกฤษรองรับ Thailand 4.0 ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างต่อเนื่อง และสังกัด สำนักงานคณะกรรมการ การอาชีวศึกษา โดยจัดทำ Echo English Vocational ซึ่งเป็น Application ภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนอาชีวศึกษา และการอบรมโดย Boot Camp ตลอดจนพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของประชาชนในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ หลักสูตรภาษา อังกฤษระยะสั้น Application และสื่อต่างๆ ที่หลากหลาย 1.2) การจัดดำเนินงานเกี่ยวกับการเรียนการสอน เพื่อให้การสอนในสถานศึกษา ดำเนินไปด้วยดีและสามารถปฏิบัติได้ จึงต้องมีการจัดการเรียนการสอน มีแนวโน้มการ ดำเนินงานเกี่ยวกับการเรียนการสอนไปสู่การปฏิบัติ ได้แก่ ส่งเสริม สนับสนุนให้คนทุกช่วง วัยมีทักษะ ความรู้ความสามารถและการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างเหมาะสม เต็มตาม ศักยภาพในแต่ละช่วงวัย ส่งเสริมและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ สื่อตำราเรียน และสื่อการเรียนรู้ ต่าง ๆ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และประชาชนสามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ได้โดยไม่จำกัดเวลา และสถานที่ สร้างเสริมและปรับเปลี่ยนค่านิยมของคนไทยให้มีวินัย จิตสาธารณะและ พฤติกรรมที่พึงประสงค์พัฒนาระบบและกลไกการติดตาม การวัดและประเมินผลผู้เรียนให้ มีประสิทธิภาพ พัฒนาคลังข้อมูล สื่อ และนวัตกรรมการเรียนรู้ ที่มีคุณภาพและมาตรฐาน พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการผลิตครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา พัฒนา คุณภาพครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา 1.3) การจัดบริหารเกี่ยวกับการเรียนการสอน เป็นการจัดสิ่งอำนวยความ สะดวก และการส่งเสริมการจัดหลักสูตร และโปรแกรมการศึกษาให้มีประสิทธิภาพและ คุณภาพ มีแนวโน้มการบริหารเกี่ยวกับการเรียนการสอนสู่การปฏิบัติพัฒนาการจัด การศึกษาเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติ และการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ยกระดับคุณภาพและส่งเสริมโอกาสใน การเข้าถึงการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษ ยกระดับคุณภาพและส่งเสริมโอกาสในการเข้าถึง การศึกษาในพื้นที่พิเศษ (พื้นที่สูงพื้นที่ตามแนวตะเข็บชายแดน และพื้นที่เกาะแก่ง ชายฝั่ง ทะเล ทั้งกลุ่มชนต่างเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม กลุ่มชน-ชายขอบ และแรงงานต่าง ด้าว) พัฒนาการจัดการศึกษาเพื่อการจัดระบบการดูแลและป้องกันภัยคุกคาม ในรูปแบบ ใหม่ อาทิ อาชญากรรมและความรุนแรงในรูปแบบต่าง ๆ ยาเสพติด ภัยพิบัติจากธรรมชาติ ภัยจากโรคอุบัติใหม่ ภัยจากไซเบอร์ เป็นต้น 1.4) การวัดและประเมินผล กระบวนการเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในด้านการ ตรวจสอบและวิเคราะห์ผลการเรียน สอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษาในปัจจุบันที่เน้นให้มี การวัดและประเมินผลด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ การปฏิรูป ICT เพื่อการศึกษา โดย การพัฒนาระบบอินเทอร์เน็ต และระบบฐานข้อมูล ได้แก่ การดำเนินโครงการจัดหา High


242 228 Speed Internet ในโรงเรียน ที่ให้โรงเรียนเลือกผู้ให้บริการเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเอง ทำให้ โรงเรียนมีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงใช้ และสามารถลดค่าใช้จ่ายจากเดิมปีละประมาณ 2,000 ล้านบาท และโครงการ Big Data กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อการพัฒนาระบบ ฐานข้อมูลกลางของทุกหน่วยงานในกระทรวงศึกษาธิการให้สามารถรองรับการเชื่อมโยง และแลกเปลี่ยนข้อมูลกับฐานข้อมูลกลางของกระทรวงศึกษาธิการ ได้แบบ On-Line Real Time ทำให้สามารถใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการฐานข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสอดคล้องกับแผนการศึกษาแห่งชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) มีแนวโน้มการวัดและ ประเมินผลสู่การปฏิบัติ ได้แก่ ผลิตและพัฒนากำลังคนให้มีสมรรถนะในสาขาที่ตรงตาม ความต้องการของตลาดงานและการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ส่งเสริมการ ผลิตและพัฒนากำลังคนที่มีความเชี่ยวชาญและเป็นเลิศเฉพาะด้าน ส่งเสริมการวิจัยและ พัฒนาเพื่อสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมที่สร้างผลผลิตและมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ 2. แนวทางการบริหารสถานศึกษาของภาวะผู้นำการบริหารด้านงานบุคคลสู่ การปฏิบัติ แนวทางการบริหารงานบุคคลของภาวะผู้นำการบริหารเป็นส่วนสำคัญที่ช่วย ผลักดันให้องค์กรมีประสิทธิภาพโดยการบริหารงานบุคคลผู้บริหารจะต้องให้ความสำคัญกับ บุคลากรในองค์กร ได้แก่ 2.1) มีการกำหนดภารกิจหน้าที่และความรับผิดชอบของบุคลากรอย่างชัดเจน คือผู้ปฏิบัติงานรู้บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบและเป้าหมายผลงานทั้งในเชิงปริมาณและ คุณภาพที่คาดหวังจากพวกเขา โดยสอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษาในปัจจุบัน การผลิต และพัฒนากำลังคน เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน เป็นการผลิตและพัฒนาคนให้ตรงกับ ความต้องการของการพัฒนาประเทศ ดำเนินโครงการสำคัญ ดังนี้ จัดหลักสูตรอาชีวะพันธุ์ ใหม่ ดำเนินการสร้างและผลิตอาชีวะในอุตสาหกรรม จัดหลักสูตรอาชีวะพันธุ์ใหม่ที่เน้น ผลิตช่างในอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ 5 สาขา มีวิทยาลัยอาชีวศึกษา เข้าร่วม ทั้งหมด 27 แห่ง มีเป้าหมายผลิตอาชีวะพันธุ์ใหม่ให้ได้ 8,500 คนใน 5 ปี มาตรการลดการ ทะเลาะวิวาทของนักเรียนอาชีวศึกษา ที่ส่งผลให้การทะเลาะวิวาทลดลงอย่างต่อเนื่อง สัตหีบโมเดลที่เน้นการเรียนจริง รู้จริง ได้ลงมือทำจริง ผลิตกำลังคนในสาขาที่เกี่ยวข้องกับ New S-Curve สร้างระบบการเตรียมนวัตกรในพื้นที่ EEC มีแนวโน้มการกำหนดภารกิจ หน้าที่และความรับผิดชอบของบุคลากรอย่างชัดเจนสู่การปฏิบัติ ได้แก่ พัฒนาระบบการ ผลิตและพัฒนาครูที่มีคุณภาพและมีจิตวิญญาณของความเป็นครู เน้นครูผู้สอนให้มีวุฒิตรง ตามวิชาที่สอน นำเทคโนโลยีสารสนเทศและเครื่องมือที่เหมาะสมมาใช้ในการเรียนการสอน เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยครูหรือเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง เช่น การเรียนทางไกล การเรียน


243 229 โดยระบบอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น รวมทั้งปรับระบบการประเมินสมรรถนะที่สะท้อน ประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนเป็นสำคัญ 2.2) กระบวนการบริหารงานบุคคลมีความชัดเจนและเป็นที่รับรู้รับทราบโดย บุคลากรทุกคนขององค์การกระบวนการนี้ถือเป็นกติกาที่ทุกคนรับรู้รับทราบเช่นความ ชัดเจนเรื่องการประเมินผลกระบวนการทางวินัยกระบวนการพิจารณาแต่งตั้งโยกย้ายเป็น ต้น สอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษาในปัจจุบัน ด้านการปฏิรูปครู ได้ดำเนินการโครงการ สำคัญในหลายเรื่อง มีแนวโน้มกระบวนการบริหารงานบุคคลมีความชัดเจน การพัฒนา ศักยภาพครูโดยเฉพาะภาษาอังกฤษ ผ่านโครงการ Boot Camp การตั้งสถาบันคุรุพัฒนา เพื่อการพัฒนาครูแบบครบวงจรเพื่อลดการจัดอบรมสัมมนาซ้ำซ้อน แก้ปัญหาครูออกนอก ห้องเรียน การดึงคนเก่งคนดีมาเรียนครูผ่านโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น จะทำให้ได้ ครูเก่งที่ทำงานในภูมิลำเนา 2.3) มุ่งผลงานที่มีคุณภาพจากบุคลากรเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนและ หน่วยงานการปฏิบัติราชการนั้นต้องมุ่งเป้าหมายผลงานให้เกิดต่อสังคมเป็นหลัก ดังนั้นการ บริหารงานบุคคลก็ต้องมุ่งให้ผู้ทำงานมีผลงานที่เป็นไปตามเป้าหมายดังกล่าวความคุ้มค่า ของค่าตอบแทนที่รัฐให้แก่ผู้ทำงานจึงวัดได้จากผลงานที่เป็นประโยชน์ตามเป้าหมายที่ กำหนด มีแนวโน้มมุ่งผลงานที่มีคุณภาพจากบุคลากรสู่การปฏิบัติ ได้แก่ จัดโครงการผลิต ครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น มอบให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและสำนักงาน คณะกรรมการการอาชีวศึกษา เป็นหน่วยงานหลักดำเนินการสรรหาครู (การผลิต รูปแบบ การสรรหา การบรรจุแต่งตั้ง การติดตามพร้อมการพัฒนา) เปิดโอกาสให้คนเก่งมาเป็นครู ปรับเกณฑ์การประเมินวิทยฐานะครูให้เป็นการเชื่อมโยงกับการเรียนการสอนเพื่อให้ครูอยู่ ในห้องเรียน การพัฒนาครู การอบรมครู โดยจัดหลักสูตรในการอบรมครูให้มีความเชื่อมโยง กับการได้รับวิทยฐานะและการได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู 2.4) เน้นหลักคุณธรรมคือมีความคงเส้นคงวาไม่มีอคติไม่เห็นแก่หน้าใครเน้น หลักการยึดถือผลงานเป็นหลักหลักการนี้ถือเอาความรู้ความสามารถการปฏิบัติตนและผล การทำงานเป็นเครื่องวัดความดีความชอบโดยไม่อาความรู้สึกหรือความรู้จักมักคุ้นส่วนตน เป็นตัวกำหนด สอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษา ด้านการปฏิรูปการบริหารจัดการ ได้มี การปรับระบบการบริหารจัดการในหลายเรื่อง ดังนี้ พัฒนาการจัดการศึกษาในรูปแบบ Partnership School มีโรงเรียนเข้าร่วม จำนวน 42 แห่ง และบริษัทเข้าร่วม จำนวน 11 แห่ง กำหนดวิธีการจัดการสอบผู้อำนวยการเขตพื้นที่ในรูปแบบใหม่ โดยมุ่งเน้นให้ได้คนเก่ง และป้องกันการทุจริตจากการคัดเลือก การปรับวิธีการประเมินและการประกันคุณภาพ สถานศึกษา ที่สามารถประหยัดงบประมาณกว่าพันล้านบาท แต่เป็นการประเมินเพื่อ พัฒนาและไม่เป็นภาระให้ครูมีแนวโน้มเน้นหลักคุณธรรมสู่การปฏิบัติคือ สร้างโอกาส


244 230 ความเสมอภาค และการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ด้านการสร้างโอกาส ความเสมอ ภาค และการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา สร้างโอกาสและความเสมอภาคทาง การศึกษาโดยยกระดับคุณภาพสถานศึกษา ที่ต้องการความช่วยเหลือและพัฒนาเป็นพิเศษ อย่างเร่งด่วน (ICU) รวมทั้งการดำเนินการตามแนวทาง No Child Left Behind คือ จัดทำข้อมูลเพื่อส่งต่อผู้เรียน การป้องกัน การติดตามเด็กออกกลางคันโดยชุมชน ผู้ปกครองร่วมรับผิดชอบ และคัดกรองเด็กที่มีความจำเป็นและต้องการเป็นพิเศษ เพิ่ม โอกาสทางการศึกษาผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล โดยบูรณาการเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษาให้ สามารถใช้ประโยชน์ร่วมกัน ทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐานและระบบเครือข่าย ด้านระบบข้อมูล สารสนเทศเพื่อการศึกษา ด้านสื่อและองค์ความรู้ 3. แนวทางการบริหารสถานศึกษาของภาวะผู้นำการบริหารด้านงบประมาณสู่ การปฏิบัติ งบประมาณเป็นส่วนส่งเสริมการบริหารองค์กรให้มีประสิทธิภาพและประสบ ผลสำเร็จในการบริหารงานทุกด้านขององค์กร การบริหารงบประมาณเป็นสิ่งที่ผู้บริหาร จะต้องใส่ใจและดูแลไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดเพราะเป็นเรื่องของความอยู่รอดขององค์กร 3.1) การจัดเตรียม การจัดเตรียมงบประมาณทั้ง 2 ด้าน คือวงเงินงบประมาณ รายรับและวงเงินงบประมาณรายจ่ายในขั้นตอนการจัดเตรียมงบประมาณ มีแนวโน้มการ จัดเตรียมงบประมาณสู่การปฏิบัติได้แก่ ปรับปรุงโครงสร้างการบริหารจัดการศึกษา เพิ่ม ประสิทธิภาพการบริหารจัดการสถานศึกษา ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการ จัดการศึกษา ปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับระบบการเงินเพื่อการศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพและ ประสิทธิภาพการจัดการศึกษา พัฒนาระบบบริหารงานบุคคลของครู อาจารย์ และ บุคลากรทางการศึกษา 3.2 การอนุมัติ การพิจารณางบประมาณ ที่หน่วยงานเสนอขึ้นมาโดยผู้มีอำนาจ ในการอนุมัติงบประมาณ มีอำนาจหน้าที่ ที่จะวิเคราะห์ตัดสินและแก้ไขเปลี่ยนแปลง งบประมาณได้แต่ต้องอยู่ภายในวงเงินงบประมาณที่เสนอมา มีแนวโน้มการจัดเตรียม งบประมาณสู่การปฏิบัติได้แก่ โดยผลิตและพัฒนากำลังคนให้มีสมรรถนะในสาขาที่ตรง ตามความต้องการของตลาดงานและการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ส่งเสริม การผลิตและพัฒนากำลังคนที่มีความเชี่ยวชาญและเป็นเลิศเฉพาะด้านส่งเสริมการวิจัยและ พัฒนาเพื่อสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมที่สร้างผลผลิตและมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ 3.3 การบริหาร การควบคุมการใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามแผนงาน งาน และโครงการที่ได้รับอนุมัติงบประมาณ เพื่อป้องกันการรั่วไหลโดยการควบคุมการเบิก จ่ายเงิน การตรวจสอบตามระเบียบที่หน่วยงานกำหนด มีแนวโน้มการบริหารงบประมาณสู่ การปฏิบัติ ได้แก่ ปรับปรุงโครงสร้างการบริหารจัดการศึกษา เพิ่มประสิทธิภาพการบริหาร


245 231 จัดการสถานศึกษา ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการจัดการศึกษา ปรับปรุง กฎหมายเกี่ยวกับระบบการเงินเพื่อการศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพและประสิทธิภาพการจัด การศึกษา พัฒนาระบบบริหารงานบุคคลของครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา 4. แนวทางการบริหารสถานศึกษาของภาวะผู้นำทางการศึกษาด้านงานทั่วไปสู่ การปฏิบัติ 1) ด้านสภาพแวดล้อมในสถานศึกษามีส่วนสำคัญที่ช่วยสนับสนุนการจัดการ เรียนการสอนและการปฏิบัติงานในสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพและประสบผลสำเร็จ (1.1) บรรยากาศที่ดีหรือบรรยากาศแบบเปิด เป็นบรรยากาศแห่งความ ร่วมมือร่วมใจมีการให้เกียรติแก่กันและกัน ให้ความเชื่อถือ ไว้วางใจมีความเกรงใจ มีความ พึงพอใจในการทำงาน ไม่มีการขัดขวาง ทุกคนมีความรู้สึกความเป็นเจ้าของ มีขวัญและ กำลังใจที่ดีในการทำงาน ซึ่งจัดว่าบรรยากาศประเภทนี้เป็นบรรยากาศที่พึงประสงค์ (1.2) บรรยากาศที่ไม่ดีหรือบรรยากาศแบบปิด เป็นบรรยากาศแบบตัวใคร ตัวมันขาดการให้เกียรติซึ่งกันและกัน ขาดความเกรงใจ ขาดความร่วมมือ แต่ละคนไม่พึง พอใจในงานและสภาพของการทำงาน มีการขัดขวาง ขาดความรู้สึกในการเป็นเจ้าของ ร่วมกันขาดขวัญและกำลังใจในการทำงานร่วมกัน มีแนวโน้มบรรยากาศที่ดีหรือบรรยากาศแบบเปิดสู่การปฏิบัติได้แก่ จัด สภาพแวดล้อมทางกายภาพ ได้แก่ สภาพแวดล้อมที่เป็นวัตถุ เช่น บริเวณโรงเรียน อาคาร เรียน อาคารประกอบ ห้องเรียน ห้องประกอบ ครุภัณฑ์ และวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ สิ่งชี้วัดถึง ลักษณะ สภาพแวดล้อมทางวิชาการ ได้แก่ การจัดบรรยากาศการเรียนการสอนทั้งในและ นอกห้องเรียน ตลอดจนการจัดบริการเพื่อส่งเสริม สนับสนุนทางวิชาการต่าง ๆ ที่จะทำให้ นักเรียนได้รับความรู้ ประสบการณ์ให้มากที่สุดและสภาพแวดล้อมทางการบริหารการ จัดการ ได้แก่ การดำเนินการใด ๆ ภายในสถานศึกษาให้การปฏิบัติงานสำเร็จลงด้วยความ ร่วมมือร่วมใจของบุคลากร ซึ่งสังเกตได้จากการดำเนินงานอย่างมีระบบ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ช่วยเหลือเกื้อกูลกันของบุคลากร ทุกคนในโรงเรียนยิ้มแย้มแจ่มใสเป็นมิตรต่อกัน รักใคร่ กลมเกลียวกัน ซึ่งสอดคล้องกับ นโยบายของนายกรัฐมนตรี ที่ให้จัดตั้งโครงการธนาคาร ขยะ โดยโรงเรียนและชุมชนร่วมคัดแยกขยะนำกลับมาใช้ประโยชน์ การสร้างจิตสำนึกการ พัฒนาอย่างยั่งยืน เช่น โรงเรียนตามพระราชดำริ : ต้นแบบการจัดการสิ่งแวดล้อม หลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยขยายผลบรรจุในหลักสูตรทุกระดับ 2) ด้านการมีส่วนร่วมในการบริหารการศึกษาเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีส่วน เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เกิดประสิทธิภาพและ ประสิทธิผลที่เห็นผลเป็นรูปธรรม ได้แก่ ร่วมทำการศึกษา ร่วมคิดหาและสร้างรูปแบบ ร่วม วางนโยบายหรือแผนงาน ร่วมตัดสินใจการใช้ทรัพยากรที่มีอย่างจำกัดให้เป็นประโยชน์ต่อ


246 232 ส่วนรวม ร่วมจัดหรือปรับปรุงระบบการบริหารงานพัฒนาให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ร่วมลงทุนในกิจกรรมโครงการของชุมชนตามขีดความสามารถของตนเองและหน่วยงาน ร่วมปฏิบัติตามนโยบายแผนงานโครงการ ร่วมควบคุม ติดตาม ประเมินผล มีแนวโน้มการมี ส่วนร่วมในการบริหารการศึกษาสู่การปฏิบัติ ได้แก่ พัฒนาหลักสูตร กระบวนการเรียนการ สอน การวัดและประเมินผล ผลิต พัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา ยุทธศาสตร์ผลิตและพัฒนากำลังคน รวมทั้งงานวิจัยที่สอดคล้องกับความต้องการ ของการ พัฒนาประเทศ ยุทธศาสตร์ขยายโอกาสการเข้าถึงบริการทางการศึกษา และการเรียนรู้ อย่างต่อเนื่อง ตลอดชีวิต ยุทธศาสตร์ส่งเสริมและพัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา ดังภาพประกอบที่ 6.4 ดังนี้ ภาพที่ 6.4 การบูรณาการบริหารสถานศึกษาของภาวะผู้นำจากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ ที่มา : สรุปผลการวิจัย สิน งามประโคน (2561 : 184-186) 6.4 การบูรณาการภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาที่จำเป็นในยุค ประเทศไทย 4.0 นโยบายประเทศไทย 4.0 ถือเป็นจุดเริ่มต้นของยุทธศาสตร์และแผนระดับชาติที่ สำคัญหลายฉบับ เช่น ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579) แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและ สังคม แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย ระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2559 - 2561) และแผน ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2560 - 2564) ซึ่งเป็นการกำหนด วิสัยทัศน์เป้าหมายและยุทธศาสตร์ใน ภาวะผู้นำการบริหาร ด้านงานวิชาการสู่ การปฏิบัติ ภาวะผู้นำการบริหาร ด้านงานบุคคลสู่การ ปฏิบัติ การบูรณาการบริหารสถานศึกษาของภาวะผู้นำจากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ ภาวะผู้นำการบริหาร ด้านงบประมาณสู่ การปฏิบัติ ภาวะผู้นำการบริหาร ด้านงานทั่วไปสู่การ ปฏิบัติ


247 233 การผลักดันให้ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาชาติไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน เชื่อมโยงการบริหารจัดการศึกษาทุกระดับให้สอดคล้องกับแผนการศึกษา แห่งชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579) มุ่งพัฒนาคนให้มีทักษะที่จำเป็นในกรอบแผนการ ศึกษาแห่งชาติดังนี้ 1. คุณสมบัติของภาวะผู้นำทางการศึกษาในยุคประเทศไทย 4.0 และแนวทาง ปฏิบัติในสถานการณ์ปัจจุบัน คุณสมบัติหรือคุณลักษณะของภาวะผู้นำทางการศึกษาในยุคประเทศไทย 4.0 ประกอบด้วย33 1.1 Mind Set มีทัศนคติ มุมมอง หรือแนวความคิดที่ดี ยอมรับ สิ่งใหม่และ เปิดใจพิจารณาถึงเหตุผล ความจำเป็นและประโยชน์ของการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ซึ่ง เป็นความท้าทายและโอกาสในการเรียนรู้และพัฒนา แทนที่จะมองว่าการเปลี่ยนแปลงเป็น ต้นเหตุของปัญหา เป็นต้น 1.2 Vision มีวิสัยทัศน์เป็นผู้มีความสามารถในการมองเห็นทิศทาง วิกฤต และโอกาสที่จะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงในอนาคต พร้อมทั้งสามารถนำผลของการ เปลี่ยนแปลงนั้นมา กำหนดเป้าหมาย วางแผนและพัฒนาเพื่อให้องค์กรสามารถแก้ไขวิกฤต หรือใช้โอกาสที่เกิดขึ้นเพื่อสร้างประโยชน์และนำองค์กรไปสู่ เป้าหมายที่ดีขึ้นในอนาคตได้ 1.3 Ethics มีจริยธรรม/คุณธรรม คือ มีความประพฤติถูกต้อง เหมาะสมและ อยู่ภายใต้กฎหมาย ศีลธรรม วัฒนธรรม หรือจารีต ประเพณีที่ดีงาม ตลอดจนมีความ รับผิดชอบ สามารถเป็นแบบอย่างที่ดีและสร้างความเชื่อมั่น/ศรัทธาแก่ผู้ตามได้ 1.4 Influence มีความสามารถในการโน้มน้าวใจผู้อื่น สามารถชักจูงหรือ โน้มน้าวบุคคลอื่นให้เปลี่ยนความคิด ความเชื่อ พฤติกรรม การปฏิบัติ ฯ ไปในทิศทางที่ดี 1.5 Communication มีทักษะการสื่อสารที่ดีสามารถสื่อข้อมูล ข่าวสารที่ ต้องการไปสู่บุคคลหรือกลุ่มเป้าหมายได้แบบง่าย กระชับ และชัดเจน (Simple, Concise and Clear) เพื่อให้กลุ่มเป้าหมาย รับทราบถึงสิ่งที่ต้องการเปลี่ยนแปลงที่ดีในอนาคต 1.6 Collaboration สร้างการมีส่วนร่วมของบุคคลากรและ ทีมงานที่มีส่วนได้ ส่วนเสียหรือมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงทั้งหมด ทั้งภายใน/ภายนอกหน่วยงานและ องค์กร 33สราวุธ นาแรมงาม. ผู้นำกับการขับเคลื่อนนโยบายประเทศไทย 4.0. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://wiki.ocsc.go.th/_media/สราวุธ_นาแรมงาม11.pdf [30 ตุลาคม 2564].


248 234 1.7 Commitment ความมุ่งมั่น ทุ่มเทและอุทิศพลังกาย ใจและความเชื่อ เพื่อสนับสนุนและสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นจริง 1.8 Critical & Creative Thinking มีความคิดสร้างสรรค์คิดนอกกรอบ กล้า ทดลอง นำไปสู่การสร้างนวัตกรรมสำหรับการ แก้ปัญหา การคิดค้นสินค้าและบริการใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง 1.9 Coaching and Mentoring คือ มีความสามารถในการฟัง เข้าใจและตั้ง คำถามที่ดี เพื่อให้สามารถดึงความรู้ความสามารถของทีมงานออกมาใช้ในการค้นหา เป้าหมาย การพัฒนา/ตัดสินใจและการทำงานให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้ (Coaching) สอดคล้องกับการทำงานและเป้าหมายของทั้ง ตนเอง ทีมงานและองค์กร 1.10 Digital technology เป็น ผู้ที่รู้เท่าทันเทคโนโลยี และ นวัตกรรมใหม่ๆ รู้ว่าส่วนใดเป็นประโยชน์และส่วนใดอาจเป็นโทษ รวมทั้งสามารถนำเทคโนโลยีและ นวัตกรรมที่เกิดขึ้นหรือมีอยู่มาใช้ในการสร้างประโยชน์หรือเพิ่มมูลค่าให้แก่ตนเอง ทีมงาน และองค์กร ได้อย่างสร้างสรรค์แตกต่างและมีลักษณะเฉพาะเป็นของตนเอง 1.11 Change Agent การเป็นตัวแทน หรือผู้นำการความเปลี่ยนแปลงที่ สามารถจัดกระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร เพื่อให้สามารถขับเคลื่อนและพัฒนา ไปสู่เป้าหมายที่ได้วางเอาไว้ Dr.Herminia Ibarra ศาสตราจารย์ด้านภาวะผู้นำ (Professor of Leadership) ของมหาวิทยาลัย INSEAD ประเทศฝรั่งเศส ยืนยันว่า 75 เปอร์เซ็นต์ ของหัวหน้าระดับ ผู้จัดการไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับโลกภายนอกองค์กร เพราะพวกเขามักให้ความสนใจกับ ทักษะทางเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับงานโดยตรง (Technical & Functional Skills) จึงมองข้าม การพัฒนาความรู้ความสามารถในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่มีความจำเป็นสำหรับ การทำงานและนำพาทีมงานให้ก้าวผ่านความผันผวน ความไม่แน่นอน ความสลับซับซ้อน และความคลุมเครือของโลกยุคปัจจุบัน Professor Dr. Barbara Kellerman ศาสตราจารย์ด้านภาวะผู้นำแห่งมหาวิทยาลัย Harvard เจ้าของตำราวิชาการด้าน “ภาวะผู้นำ” ซึ่งเป็นที่ฮือฮาในแวดวงนักวิชาการระดับ โลกเกือบ 20 เล่ม บทบาทของการเป็นผู้นำในยุค 4.0 จึงสำคัญและมีอิทธิพลต่อคนใน องค์กรในการบริหารการศึกษาอย่างมากและแนวทางการนำไปปฏิบัติ34 ซึ่งแบ่งเป็นชุด ๆ ดังนี้ 34พรชัย เจดามาน. ภาวะผู้นำในพลวัตศตวรรษที่ 21. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา:https:// www.ignitethailand.org/ content/ 4757/ignite [30 ตุลาคม 2564].


249 235 ชุดที่ 1 ภาวะผู้นำของการกำหนดทิศทางการปฏิบัติงาน 1. การกำหนดทิศทางการปฏิบัติงาน การกำหนดทิศทางช่วยให้องค์กรมีความเข้าใจตรงกันมีเป้าหมายเดียวกันที่จะ ร่วมบรรลุไปสู่ความสำเร็จ ผู้นำต้องมีความสามารถในการเขียนแผนงานโครงการและ บริหารงานโดยยึดวัตถุประสงค์ เป้าหมายและผลสำเร็จ 2. การเป็นผู้กระตุ้นความเป็นผู้นำ ผู้นำต้องมีความสามารถในการกระตุ้นจูงใจ มีอิทธิผลต่อพฤติกรรมของบุคคล ในองค์กรสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ 3. การเป็นนักวางแผน ผู้นำจะต้องสามารถคาดเดาเหตุการณ์อนาคตเทรนด์ต่าง ๆ เพื่อเตรียมความ พร้อมขององค์กรและบุคคลในองค์กรให้รับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นเรื่องดีหรือร้าย ชุดที่ 2 ภาวะผู้นำการตัดสินใจ 4. การเป็นผู้ตัดสินใจ ผู้นำจะต้องมีความรู้ความเข้าใจ ความรอบคอบในการประมวลและวิเคราะห์ ข้อมูลเพื่อใช้ในการตัดสินใจวินิจฉัยสั่งการและไม่ทำให้เกิดความขัดแย้ง 5. การเป็นผู้จัดองค์กร ผู้นำต้องกำหนดโครงสร้างองค์กรเข้าใจพฤติกรรมขององค์กรเพื่อที่จะบริหาร จัดการให้องค์กรสามารถบรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ 6. การเป็นผู้เปลี่ยนแปลง ผู้นำจะต้องนำพาการเปลี่ยนแปลงที่ดีมาสู่องค์กรควรรู้ว่าต้องนำการ เปลี่ยนแปลงอะไร อย่างไร เมื่อไหร่ ในเหตุการณ์ไหนและเวลาใด ชุดที่ 3 ภาวะผู้นำการเป็นผู้ประสานงาน 7. การเป็นผู้ประสานงาน ผู้นำจะต้องเข้าใจรูปแบบปฏิสัมพันธ์ของบุคคล เข้าใจเครือข่ายการสื่อสาร รู้จักวิธีกำกับติดตามงาน เข้าใจระบบการรายงานที่ดีและสามารถประสานกิจกรรมต่าง ๆ ได้ 8. การเป็นผู้สื่อสาร ผู้นำจะต้องมีความสามารถในการสื่อสารทั้งพูด อ่าน เขียนที่ดี รู้จักการใช้สื่อ ต่าง ๆ เพื่อการสื่อสารและเป้าประสงค์ มีความสามารถในการประชาสัมพันธ์องค์กร 9. การเป็นผู้แก้ความขัดแย้ง ผู้นำต้องสามารถเผชิญหน้ากับความขัดแย้งได้และพร้อมรับมือกับมัน ต้อง เข้าใจสาเหตุของความขัดแย้งสามารถต่อรองและไกล่เกลี่ยได้


250 236 ชุดที่ 4 ภาวะผู้นำการเป็นผู้แก้ปัญหา 10. การเป็นผู้แก้ปัญหา ผู้นำต้องวินิจฉัยปัญหาและแก้ปัญหาเป็นสามารถนำความรู้ความเข้าใจทั้งหมด ที่มีมาประมวลหาวิธีการแก้ไขที่ดีที่สุด 11. การเป็นผู้จัดระบบ ผู้นำต้องสามารถวิเคราะห์ระบบและกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ และบริหารระบบเพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด 12. การเป็นผู้บริหารการพัฒนาบุคลากร ผู้นำต้องมีความเข้าใจในระบบพัฒนาบุคลากรและการจัดการเรียนรู้มีความ สนใจในการสร้างและพัฒนาบุคลากรในองค์กร ชุดที่ 5 ภาวะผู้นำการเป็นผู้บริหารงานบุคคล 13. การเป็นผู้บริหารงานบุคคล ผู้นำต้องมีความสามารถในเทคนิคของการเป็นผู้นำเจรจาต่อรองประเมินผล งานและปฏิบัติงานของบุคลากร 14. การเป็นผู้บริหารทรัพยากร ผู้นำต้องมีความสามารถในการบริหารด้านการเงินและงบประมาณอีกทั้งต้อง สามารถบริหารทรัพยากรอื่น ๆ ในองค์กร รวมไปถึงการบำรุงรักษาการแสวงหาและการ สนับสนุนจากภายในและภายนอกองค์กร 15. การเป็นผู้ประเมินผล ผู้นำต้องมีความสามารถในการประเมินความต้องการและระบบวิธีการทาง สถิติและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ นอกจากบทบาทของ “ผู้นำ” ปัจจัยที่ส่งผลต่อ “ทักษะภาวะผู้นำ” ซึ่งประกอบด้วย • มีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ • การสร้างแรงบันดาลใจ • การกระตุ้นทางปัญญา • การคำนึงถึงความเป็นบุคคล กล่าวได้ว่าภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาจำเป็นต้องทำหน้าที่หลาย บทบาทในทั้งในฐานะผู้นำทางการศึกษาขององค์การขนาดใหญ่ผู้ นำต้องมีความรู้ ความสามารถในการสร้างศรัทธาให้ผู้อื่นปฏิบัติตามและเป็นผู้บริหารการศึกษาที่ต้องกระ จ่ายอำนาจการบริหารให้ผู้มีความรู้ มีความสามารถสนองงานช่วยกันได้เพื่อให้เป็นไปตาม นะโยบายของสถานศึกษาในการขับเคลื่อนงานให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ


251 237 และเกิดประสิทธิผลโดยอาศัยเทคนิคการร่วมมือกันด้วยการประสานงานและประสานใจ ปฏิบัติงานอย่างมีความสุข 6.5 การบูรณาการภาวะผู้นำทางการศึกษาด้วยการคิดสร้างสรรค์กับพุทธวิถี ใหม่ ภาวะผู้นำการคิดสร้างสรรค์ตามหลักพุทธวิถีใหม่ขอสรุปจากผลการวิจัยของ สิน งามประโคน ภาวะผู้นำของพระสงฆ์หรืออาจารย์ในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาและ สอนในระดับมหาวิทยาลัยสงฆ์และการสอนในสาขาวิชาพระพุทธศาสนาได้เป็นอย่างดีใน ปัจจุบัน35 สรุปได้ดังต่อไปนี้ 6.5.1 ภาวะผู้นำของพระสงฆ์และอาจารย์ในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาทั้ง 3 ด้าน ดังนี้ 1) ภาวะผู้นำด้านวิสัยทัศน์กว้างไกล (จักขุมา) ของพระสงฆ์ในการเผยแพร่ พระพุทธศาสนา ประกอบไปด้วย (1.1) มีวิสัยทัศน์ในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาทั้งในและต่างประเทศ (1.2) มีวิสัยทัศน์ในการศึกษาความรู้ตามหลักพระพุทธศาสนา (1.3) มีวิสัยทัศน์ในการปฏิบัติและการสร้างมนุษยสัมพันธ์ในบริบทของ สังคม 2) ภาวะผู้นำด้านผู้นำที่มีความรู้ความสามารถ (วิธูโร) ของพระสงฆ์ในการ เผยแพร่พระพุทธศาสนา ประกอบไปด้วย (2.1) พระสงฆ์ผู้เผยแพร่พระพุทธศาสนาต้องมีความรู้หลักพุทธศาสนา เป็นอย่างดี (2.2) มีความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติกรรมฐาน (2.3) มีความเชี่ยวชาญในการเผยแพร่หลากหลายรูปแบบ ตามพุทธ วิธีการเผยแพร่พระพุทธศาสนา (2.4) เป็นผู้มีความใฝ่เรียนรู้และใฝ่ปฏิบัติด้วยจิตศรัทธา 3) ภาวะผู้นำด้านมนุษยสัมพันธ์ที่ดี(นิสสยสัมปันโน) ของพระสงฆ์ในการ เผยแพร่พระพุทธศาสนา ประกอบไปด้วย (3.1) มีการสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับประชาชน 35สิน งามประโคน, “คุณลักษณะภาวะผู้นำของพระสงฆ์ในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา”. รายงานการวิจัย. (คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2560), หน้า 157.


252 238 (3.2) มีคุณธรรมด้านพรหมวิหาร 4 สังคหวัตถุ 4 และหลักกัลป์ยาณมิตร ธรรม (3.3) เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณในการปฏิบัติตามหลักพุทธศาสนา จากผลการศึกษาภาวะผู้นำของพระสงฆ์ในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาต้องมี ความสามารถในการสอน 4 ประการ หรือ 4 ส. ดังนี้ 1) สันทัสสนา อธิบายให้เห็นชัดเจนแจ่มแจ้งเหมือนจูงมือไปดูเห็นกับตา (1.1) มีทักษะในการเผยแพร่โดยการสื่อสารให้ผู้ฟังเข้าใจได้อย่างชัดเจน (1.2) มีทักษะในการเผยแพร่ในหลายๆ รูปแบบที่เข้าใจง่าย 2) สมาทปนา ชักจูงใจให้เห็นจริงด้วยชวนให้คล้อยตามจนต้องยอมรับและ นำไปปฏิบัติเรียกว่าสอนในลักษณะเอหิปัสสิโกคือเรียกให้มาดูเองเสมือนการเชื้อเชิญ (2.1) มีทักษะในการเผยแพร่ด้วยการสร้างแรงศรัทธาและความเลื่อมใสใน การปฏิบัติ (2.2) มีความสามารถในการยกตัวอย่างประกอบในการเผยแพร่ พระพุทธศาสนาให้เข้าใจง่าย 3) สมุตเตชนา เร้าใจให้แกล้วกล้าบังเกิดกำลังใจ ปลุกให้มีอุตสาหะแข็งขัน มั่นใจว่าจะทาให้สำเร็จได้ ไม่หวั่นระย่อต่อความเหนื่อยยาก (3.1) มีทักษะในการเผยแพร่ให้ผู้ฟังเข้าใจ อยากนำไปปฏิบัติด้วยตนเอง (3.2) มีทักษะในการเผยแพร่ จูงใจให้เกิดศรัทธา และทำให้ผู้ไม่ศรัทธามี ศรัทธา 4) สัมปหังสนา ชโลมใจให้แช่มชื่น ร่าเริง เบิกบาน ฟังไม่เบื่อ และเปี่ยมด้วย ความหวัง (4.1) มีทักษะในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาด้วยการสื่อสารให้ผู้ฟังมี ความสุขกาย สุขใจ เลื่อมใสศรัทธาในคำสอนของพระพุทธศาสนา (4.2) มีทักษะในการส่งเสริม สนับสนุน ให้ผู้ฟังใฝ่รู้และใฝ่ปฏิบัติตามหลัก พระพุทธศาสนาด้วยความสุขกาย สุขใจ (4.3) มีทักษะในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาด้วยสร้างจิตให้มีความ ตระหนักในการเสียสละและอยากช่วยเหลือผู้อื่นให้มีความสุข (4.4) มีทักษะให้ผู้ปฏิบัติมีความสุขและสามารถแนะนำผู้อื่นให้ปฏิบัติตาม ได้ด้วย 6.5.2 การสร้างเครือข่ายของภาวะผู้นำ ในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาของ พระสงฆ์ไทยในปัจจุบัน ประเทศไทยมีพระเถระที่มีความรู้ ความสามารถในการเผยแพร่ พระพุทธศาสนา ในแต่ละด้านที่มีความโดดเด่น 3 ระดับ ดังนี้


253 239 1) ระดับวิชาการ มีคุณลักษณะด้านจักขุมา ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกลในการ เผยแพร่พระพุทธศาสนาในปัจจุบัน กรณีตัวอย่าง ได้แก่ พระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต (นคร ไธสง) หรือที่รู้จักกันดีทั่วไปในนาม "พระมหาสมปอง" เป็นพระนักเทศน์ชื่อดังอีกท่านหนึ่ง ของเมืองไทย โดยท่านได้สร้างแรงบันดาลใจให้กับพระนักเทศน์รุ่นน้องอีกหลายรูปมีการ จัดทำหนังสือ เอกสาร สื่อออนไลน์ทั้งใน youtube เว็ปไซต์ Dhamma Delivery ที่เป็น ผลงานการเผยแผ่ของพระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต และท่านยังมีเครือข่ายร่วมกับพระภิกษุ รุ่นใหม่ในการจัดทำค่ายคุณธรรม พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี หรือที่เรียกว่า ว.วชิรเมธี ท่าน เป็นพระภิกษุที่มีบทบาทด้านวิชาการในระดับโลก โดยท่านมีผลงานมากมายทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ท่านได้สร้างมหาวิชชาลัยพุทธเศรษฐศาสตร์เพื่อเป็นทางเลือกให้กับ พุทธศาสนิกชนทั่วโลกท่านได้เป็นต้นแบบของพระนักคิด นักเขียน นักพัฒนา โดยท่านได้ สร้างเครือข่ายเชิงวิชาการอยู่ที่ศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวันซึ่งท่านจัดให้สถานที่ให้เป็น แหล่งเรียนรู้หลักเศรษฐกิจพอเพียงให้กับคนไทยและชาวต่างชาติมีแหล่งข้อมูลทาง website ในอินเตอร์ (internet) Dhamma Delivery มากหมาย 2) ระดับการปฏิบัติ มีคุณลักษณะ นิสสยสัมปันโน ภาวะผู้นำการเผยแพร่ พระพุทธศาสนาที่มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกรณีศึกษา ได้แก่ พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) ท่านได้มีสร้างเครือข่ายเป็นสำนักปฏิบัติธรรมสาขาวัดหนองป่าพงทั้งในประเทศและ ต่างประเทศซึ่งเป็นวัดป่าสายปฏิบัติ สมเด็จพระญาณวชิโรดม (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินธโร) และสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก มีการบันทึกหนังสือ คำสอน รวมถึงสื่อธรรมะของท่านเผยแผ่ใน youbube และเว็ปไซต์ต่าง ๆ มากมาย และ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสโภ) ท่านเป็นพระเถระที่มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลและมี อุปการคุณอย่างใหญ่หลวงต่อมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยซึ่งท่านเป็นผู้ที่นำ การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน 4 (แบบยุบหนอ-พองหนอ) จากพม่ามา เผยแพร่ในประเทศไทย และขยายไปเปิดสอนที่สาขาอื่นทั่วราชอาณาจักร มีการตั้งกองการ วิปัสสนาธุระที่วัดมหาธาตุฯ ต่อมาถูกยกสถานะเป็นสถาบันวิปัสสนาธุระ สังกัดมหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 และได้เผยแพร่การปฏิบัติวิปัสสนา กรรมฐานแบบยุบหนอ-พองหนอจนแพร่หลายดังปัจจุบัน ท่านเหล่านี้ได้เป็นกำลังสำคัญใน การเผยแพร่พระพุทธศาสนาในสังคมไทยในปัจจุบันด้วยวัตรปฏิบัติที่น่าเลื่อมใส ส่งผลให้ผู้ที่ ได้พบเห็น ได้สนทนา ได้ปฏิบัติตามเกิดความสุขใจในการปฏิบัติธรรม ซึ่งพระมหาเถระทั้ง 4 ท่าน ได้เผยแพร่พระพุทธศาสนาด้วยการปฏิบัติเป็นแบบอย่างที่ดีแก่พุทธศาสนิกชน ทำให้มี ลูกศิษย์มากมายในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในประเทศไทยและต่างประเทศ 3) ระดับการบริหารการศึกษา มีคุณลักษณะ ด้านวิธูโร ภาวะผู้นำที่มีความรู้ ความสามารถในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาใน 4 ส. กรณีศึกษา ได้แก่ พระธรรมโกศาจารย์


254 240 (เงื่อม อินทปญฺโญ) หรือรู้จักในนาม พุทธทาสภิกขุศาสตราจารย์พิเศษ สมเด็จพระพุทธ โฆษาจารย์นามเดิม ประยุทธ์ อารยางกูร ฉายา ปยุตฺโต หรือที่รู้จักกันดีทั่วไปในนามปากกา "ป.อ. ปยุตฺโต" ซึ่งมีบทบาทในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในช่วง 20 ปีย้อนหลังใน สังคมไทย โดยทั้ง 4 ท่านมีหลักการสอนและการเผยแพร่พระพุทธศาสนาโดยมีหลักการ สอนที่แจ่มแจ้ง จูงใจ แกล้วกล้า และร่าเริง ทำให้ผู้ฟัง ผู้สนทนาธรรมกับท่านเหล่านี้เกิด ความเลื่อมใส เข้าใจในหลักธรรม และสามารถนำหลักธรรมต่าง ๆที่ได้รับฟัง หรือสนทนา ด้วยไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้ ส่งผลให้พระพุทธศาสนาได้เผยแพร่ไปไกลในต่างประเทศ และพระพรหมบัณฑิต,ศ.ดร. อดีตองค์อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงฆ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ท่านเป็นนักบริหารการศึกษาที่มีวิทยา เขต วิทยาลัยสงฆ์ สถาบันสมทบทั้งในและต่างประเทศในการดูแล ปกครองอย่างมากมาย เป็นการสร้างเครือข่ายของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยที่ผลิตคนดี คนเก่ง ให้กับสังคมไทยและสังคมโลกและมีการบันทึกเทปคำสอน หนังสือ เอกสาร ตำราทาง วิชาการซึ่งเป็นผลงานของท่านได้เผยแพร่ไปทั่วโลกในยุคดิจิทัล สรุป แนวทาการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนผ่านทางการศึกษาตามพุทธวิถี ใหม่ในยุคประเทศไทย 4.0 ผู้นำต้องสามารถบูรณาการองค์ความรู้จากศาสตร์สมัยใหม่ กับพุทธศาสตร์เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติตามพุทธวิถีใหม่ ดังต่อไปนี้ 1. การปรับตัวของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาตอบโจทย์ประเทศไทย 4.0 2. การพัฒนาคุณลักษณะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 และยุคดิจิทัล 3. การพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงการคิดสร้างสรรค์ 4. การพัฒนาทักษะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อการยกระดับภาวะผู้นำการ เปลี่ยนแปลงทางการศึกษา 5. วิธีการยกระดับภาวะผู้นำทางการศึกษาตามหลักพระพุทธวิถีใหม่ด้านคุณสมบัติ ผู้นำ 6. การบูรณาการภาวะผู้นำที่จำเป็นในยุคประเทศไทย 4.0 สู่ภาวะผู้นำการเปลี่ยน ผ่านทางการศึกษาตามพุทธวิถีใหม่ 7. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางการศึกษาการคิดสร้างสรรค์ตามหลักพุทธ ธรรม การนำไปสู่การปฏิบัติทั้งภาคทฤษฎีและหลักพุทธศาสนาต้องสอดคล้องกับบริบท ของการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกทางการศึกษาในยุคการปฏิบัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 โดยเน้นนวัตกรรม เทคโนโลยี และแผนการศึกษาแห่งชาติ 20 ปี (2560-2579) และ


255 241 ประเทศไทย 4.0 ซึ่งตรงกัน คือ ภาวะผู้นำต้องสร้างนวัตกรรมทางการศึกษาเพื่อพัฒนา ผู้เรียนให้มีสมรรถนะ เพิ่มทักษะความรู้ ความสามารถและทำงานอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมี ความสุข ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน บนเงื่อนไข ความรู้ และคุณธรรมซึ่งในที่สุดของวัฒนธรรมองค์การต้องการภาวะผู้นำทางการศึกษาที่มี ความสง่างามและมีความสุขในการขับเคลื่อนนำพาองค์กรไปสู่การจัดการศึกษาในยุคการ เปลี่ยนแปลงได้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพอย่างแท้จริง วิเคราะห์แนวโน้มเชิงทฤษฎีและรูปแบบภาวะผู้นำการเปลี่ยนผ่านทางการ บริหารการศึกษาสู่การปฏิบัติจากผลการวิจัยของสิน งามประโคน 2561หน้า 144 36 ดังนี้ 1. แนวโน้มการบริหารวิชาการสู่การปฏิบัติตามหลักพุทธบูรณาการ โดยการเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลัก น้อมนำพระราชปณิธานและ พระราชกระแสด้านการศึกษา พัฒนาหลักสูตร การเรียนการสอนวิชาที่มีเนื้อหาเกี่ยว ประวัติศาสตร์และสถาบันพระมหากษัตริย์ พัฒนากระบวนการเรียนการสอน เพื่อความ ปรองดองและสมานฉันท์ เช่น กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน ยกระดับวิชาภาษาอังกฤษรองรับ Thailand 4.0 ส่งเสริม สนับสนุนให้คนทุกช่วงวัยมีทักษะ ความรู้ความสามารถและการ พัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างเหมาะสม เต็มตามศักยภาพในแต่ละช่วงวัย ส่งเสริมและพัฒนา แหล่งเรียนรู้ สื่อตำราเรียน และสื่อการเรียนรู้ต่างๆ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และประชาชน สามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ได้โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่ สร้างเสริมและปรับเปลี่ยน ค่านิยมของคนไทยให้มีวินัย จิตสาธารณะและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ พัฒนาระบบและ กลไกการติดตาม การวัดและประเมินผลผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพ พัฒนาคลังข้อมูล สื่อ และนวัตกรรมการเรียนรู้ ที่มีคุณภาพและมาตรฐาน พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการผลิต ครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา พัฒนาคุณภาพครู อาจารย์ และบุคลากรทางการ ศึกษา ผลิตและพัฒนากำลังคนให้มีสมรรถนะในสาขาที่ตรงตามความต้องการของตลาด งานและการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ส่งเสริมการผลิตและพัฒนากำลังคนที่ มีความเชี่ยวชาญและเป็นเลิศเฉพาะด้าน ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างองค์ความรู้ และนวัตกรรมที่สร้างผลผลิตและมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ หลักสูตรมีความยืดหยุ่น ชุมชน ท้องถิ่นสามารถออกแบบหลักสูตรเองได้ ปรับปรุงหลักสูตร โดยเพิ่ม 3 วิชา ซึ่งอยู่ในกรอบ เดิม ได้แก่ วิชาภูมิศาสตร์ ICT และ Design and Technology โดยวิชา ICT และ Design and Technology เป็นการสนับสนุนช่วยเหลือจากประเทศอังกฤษและประเทศ 36 สิน งามประโคน , การบริหารการศึกษา : แนวคิด ทฤษฎีและรูปแบบการบริหารจัดการคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. 2561 หน้า 144 36สิิน งามประโคน, การบริิหารการศึึกษา : แนวคิิด ทฤษฎีีและรููปแบบการบริิหารจััดการ, คณะครุุศาสตร์์มหาวิิทยาลััยมหาจุุฬาลงกรณราชวิิทยาลััย พ.ศ. 2561, หน้้า 144.


256 242 สหรัฐอเมริกา โดยนำหลักพุทธธรรมาบูรณาการร่วมกับแนวทางปฏิบัติ คือ หลักปัญญา ๓ ได้แก่ สุตมยปัญญา จินตามยปัญญา ภาวนามยปัญญา มาบูรณาการบริหารงาน วิชาการ ได้แก่ สุตมยปัญญา หมายถึง ความรู้ ความเข้าใจอันเกิดจากการฟัง อ่าน สนทนา เรียนรู้ก่อให้เกิดปัญญา ที่ส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้รวมถึง ปัจจัยภายนอก อันได้แก่ คู่มือ ตำรา สถานที่ สิ่งแวดล้อม องค์ความรู้ ต่างๆ ฯลฯ เป็นต้น จินตามยปัญญา หมายถึง ความรู้ความเข้าใจทำให้เกิดปัญญาจากการคิดหาแนวทางนวัตกรรมหรือกิจกรรมที่ส่งเสริม หรือก่อให้เกิดกระบวนการ วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นเหตุ เป็นผล และมี วิจารณญาณภาวนามยปัญญา หมายถึง ความรู้ ความเข้าใจที่ก่อให้เกิดปัญญาจากการ ปฏิบัติ การกระทำกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนปฏิบัติ และเกิดความรู้ความเข้าใจได้ด้วยตนเอง ๒.แนวโน้มการบริหารงานบุคคลสู่การปฏิบัติตามหลักพุทธบูรณาการ พัฒนาระบบการผลิตและพัฒนาครูที่มีคุณภาพและมีจิตวิญญาณของความ เป็นครู เน้นครูผู้สอนให้มีวุฒิตรงตามวิชาที่สอน นำเทคโนโลยีสารสนเทศและเครื่องมือที่ เหมาะสมมาใช้ในการเรียนการสอน เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยครูหรือเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง เช่น การเรียนทางไกล การเรียนโดยระบบอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น รวมทั้งปรับระบบการ ประเมินสมรรถนะที่สะท้อนประสิทธิภาพการจัดการเรียน การสอนและการพัฒนา คุณภาพผู้เรียนเป็นสำคัญ จัดโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น มอบให้สำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เป็น หน่วยงานหลักดำเนินการสรรหาครู (การผลิต รูปแบบการสรรหา การบรรจุแต่งตั้ง การ ติดตามพร้อมการพัฒนา) เปิดโอกาสให้คนเก่งมาเป็นครู การบริหารงานบุคคลในปัจจุบันในศตวรรษที่ 21 ผู้บริหารจะต้องวางนโยบาย แผนการพัฒนาบุคลากรประจำทุกปีและปฏิบัติตามแผนให้ชัดเจนและประยุกต์กับหลักอิทธิ บาท 4 หลักปฏิบัติที่เป็นบันไดแห่งความสำเร็จในการปฏิบัติกิจทุกอย่าง 1) ฉันทะ ความ พอใจในการบริหาร ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติ 2) วิริยะ ความเพียรไม่ท้อถอยในการ ประกอบกิจนั้นๆ ด้วยการลงมือปฏิบัติอย่างไม่ย่อท้อ 3) จิตตะ เอาใจใส่ไม่ทอดธุระในเรื่อง นั้นๆ ด้วยการร่วมกันตัดสินใจปฏิบัติตามแผนที่วางไว้อย่างถูกต้องและเหมาะสม 4) วิมังสา จะต้องทำงานนั้นต่อไป บันไดสู่ความสำเร็จสี่ประการที่กล่าวนี้ข้อสุดท้ายสำคัญสุดเพราะ เป็นการพิจารณาร่วมกันติดตามผลงานที่ทำและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการทำงาน ร่วมกันคิดพัฒนาปรับปรุงให้งานดีขึ้นเพื่อรับผลประโยชน์ที่ได้จากการบริหารเพื่อ ความสำเร็จและการพัฒนาอย่างยั่งยืน สหรััฐอเมริิกา โดยนำหลัักพุุทธธรรมาบููรณาการร่่วมกัับแนวทางปฏิิบััติิ คืือ หลัักปััญญา ๓ ได้้แก่่ สุุตมยปััญญา จิินตามยปััญญา ภาวนามยปััญญา มาบููรณาการบริิหารงานวิิชาการ ได้้แก่่ สุุตมยปััญญา หมายถึึง ความรู้้� ความเข้้าใจอัันเกิิดจากการฟััง อ่่าน สนทนา เรีียนรู้้� ก่่อให้้เกิิดปััญญา ที่่�ส่่งผลกระทบต่่อการเรีียนรู้้�รวมถึึง ปััจจััยภายนอก อัันได้้แก่่ คู่่มืือ ตำรา สถานที่่� สิ่่�งแวดล้้อม องค์์ความรู้้�ต่่างๆ ฯลฯ เป็็นต้้น จิินตามยปััญญา หมายถึึง ความรู้้� ความเข้้าใจทำให้้เกิิดปััญญาจากการคิิดหาแนวทางนวััตกรรมหรืือกิิจกรรมที่่�ส่่งเสริิม หรืือก่่อให้้เกิิดกระบวนการ วิิเคราะห์์และสัังเคราะห์์ข้้อมููลอย่่างเป็็นเหตุุ เป็็นผล และมีี วิิจารณญาณภาวนามยปััญญา หมายถึึง ความรู้้� ความเข้้าใจที่่ก่�่อให้้เกิดปัิ ัญญาจากการปฏิิบัติัิ การกระทำกิิจกรรมที่่�ให้้ผู้้�เรีียนปฏิิบััติิ และเกิิดความรู้้�ความเข้้าใจได้้ด้้วยตนเอง


257 243 3. แนวโน้มการบริหารงานงบประมาณสู่การปฏิบัติตามหลักพุทธบูรณา การ การบริหารจัดการเรื่องเงินมีความเสี่ยงสูงผู้บริหารจะต้องรู้และเข้าใจรวมถึง จะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องและแม่นยำกับกฎระเบียบ โดยผู้บริหารจะต้องมี 3.1 การวางแผนงบประมาณ เริ่มต้นจากการวางแผนกลยุทธ์ของ หน่วยงาน ประกอบด้วย วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ ผลผลิตหลัก กลยุทธ์ โครงสร้าง แผนงาน ตัวบ่งชี้ความสำเร็จของผลงาน (KPI) และการวางแผนงบประมาณระยะปานกลาง (MTEF) 3.2 การกำหนดผลผลิตและการคำนวณต้นทุน เป็นการกำหนดต้นทุนใน แต่ละผลผลิต ซึ่งมีการติดตั้งต้นทุนทางตรงและต้นทุนทางอ้อม เพื่อได้ทราบถึงการใช้ ต้นทุนต่อหน่วยของผลผลิตเท่าไหร่ 3. 3 การจัดระบบจัดซื้อจัดจ้าง เป็นการพัฒนาระบบการจัดซื้อจัดจ้างให้ มีประสิทธิภาพ การจัดซื้อจัดจ้างต้องเน้นความคุ้มค่าของการใช้จ่ายเงิน 3.4 การบริหารการเงินและการควบคุมงบประมาณ สถานศึกษา จำเป็นต้องกำหนดรายการและโครงสร้างบัญชี เอกสารหลักฐานที่จำเป็น การปรับระบบ บัญชีจากเกณฑ์เงินสดไปสู่ระบบเกณฑ์คงค้าง มีระบบควบคุมการเบิกจ่าย และบริหาร จัดการงบประมาณที่มีประสิทธิภาพ 3.5 การรายงานทางการเงินและผลดำเนินงาน ในกระบวนการรายงาน ต้องมีการกำหนดดัชนีชี้วัด กรอบและโครงสร้างการประเมิน การรายงานผลที่ชัดเจนทั้ง รายงานทางการเงินและการดำเนินงาน 3.6 การบริหารสินทรัพย์ สถานศึกษาต้องมีระบบบริหารสินทรัพย์ที่มี ประสิทธิภาพ แสดงให้เห็นถึงการบริหารสินทรัพย์ ที่เกิดประโยชน์สูงสุด 3.7 การตรวจสอบภายใน สถานศึกษาต้องมีฝ่ายรับผิดชอบในการ ตรวจสอบภายใน มีอิสระในการดำเนินงาน มีหน้าที่ความรับผิดชอบที่ชัดเจน เน้นการ ตรวจสอบทางการเงิน และผลโดยนำหลักการดำเนินงานการใช้ทรัพย์ในพุทธศาสนานั้นได้ ให้แนวคิดเกี่ยวกับการใช้สอยทรัพย์สิน เงินทองที่หามาได้ และในทางพุทธศาสนา ได้แก่ ทรัพย์สมบัติที่หามาได้ให้มาจัดสรร ออกเป็น 5 ส่วน ได้แก่ 1. เลี้ยงตัว เลี้ยงมารดาบิดา บุตร ภรรยา และคนในปกครองทั้งหลายให้เป็นสุข 2. บำรุงมิตรสหาย และผู้ร่วมกิจการ งานให้เป็นสุข 3. ใช้ปกป้องรักษาสวัสดิภาพ ทำตนให้มั่นคงปลอดภัยจากภยันตราย 4 . ทำพลี คือ สละเพื่อบำรุงและบูชา 5 อย่าง 5. อุปถัมภ์บำรุงพระสงฆ์มายึดเป็นแบบอย่าง และนำมาปฏิบัติ 4..แนวโน้มการบริหารงานทั่วไปสู่การปฏิบัติตามหลักพุทธบูรณาการ


258 244 จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ได้แก่ สภาพแวดล้อมที่เป็นวัตถุ เช่น บริเวณ โรงเรียน อาคารเรียน อาคารประกอบ ห้องเรียน ห้องประกอบ ครุภัณฑ์ และวัสดุอุปกรณ์ ต่าง ๆ สภาพแวดล้อมทางวิชาการ ได้แก่ การจัดบรรยากาศการเรียนการสอนทั้งในและ นอกห้องเรียน ตลอดจนการจัดบริการเพื่อส่งเสริม สนับสนุนทางวิชาการต่าง ๆ โดยการ จัดสภาพแวดล้อมในพุทธศาสนาประกอบด้วย สัปปายะ 7 คือ สิ่งที่เหมาะกัน สิ่งที่เกื้อกูล ช่วยสนับสนุนในการบำเพ็ญภาวนาให้ได้ผลดี ช่วยให้สมาธิตั้งมั่น ไม่เสื่อมถอย ช่วยส่งเสริม การเรียนรู้ในองค์กร ได้แก่อาวาสสัปปายะ หมายถึง ที่อยู่ซึ่งเหมาะกัน เช่น ไม่พลุกพล่าน จอแจ โคจรสัปปายะ หมายถึง อาหาร ทางสัญจรสะดวก ไม่ใกล้ไม่ไกลเกินไป ภัสสสัปปา ยะ หมายถึง การพูดคุยที่เหมาะกัน ปุคคลสัปปายะ หมายถึง บุคคลที่ถูกกันเหมาะกันมี ความเป็นกัลยาณมิตร โภชนสัปปายะ หมายถึง อาหารที่เหมาะกัน เช่น ถูกกับร่างกาย เกื้อกูลต่อสุขภาพ อุตุสัปปายะ หมายถึง ดินฟ้าอากาศธรรมชาติแวดล้อมที่เหมาะกัน เช่น ไม่หนาวเกินไป ไม่ร้อนเกินไป เป็นต้น อิริยาปถสัปปายะ หมายถึง อิริยาบถที่เหมาะกัน การมีส่วนร่วมในการบริหารการศึกษาสู่การปฏิบัติ ได้แก่ พัฒนาหลักสูตร กระบวนการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล ผลิต พัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากร ทางการศึกษา ยุทธศาสตร์ผลิตและพัฒนากำลังคน รวมทั้งงานวิจัยที่สอดคล้องกับความ ต้องการ ของการพัฒนาประเทศ ยุทธศาสตร์ขยายโอกาสการเข้าถึงบริการทางการศึกษา และการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตลอดชีวิต การบริหารแบบมีส่วนร่วมมาบูรณาการร่วมกับ หลักพุทธธรรม คือ หลักสาราณียธรรม ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน ถือว่าเป็นธรรม ที่เป็นพลังในการสร้างควาสามัคคี มีอยู่ 6 ข้อ คือ กายกรรม อันประกอบด้วยเมตตา วจีกรรม อันประกอบด้วยเมตตา มโนกรรมอัน ประกอบด้วยเมตตา สาธารณโภคี คือ การ รู้จักแบ่งสิ่งของให้กันและกันตามโอกาสอันควร สีลสามัญญตา คือ ความรักใคร่สามัคคี รักษาศีลอย่างเคร่งครัด ทิฏฐิสามัญญตา คือ การมีความเห็นร่วมกัน ไม่เห็นแก่ตัว รู้จัก เคารพและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นร่วมมือร่วมใจในการสร้างสรรค์สังคมให้เกิดความ สงบ


259 245 เอกสารอ้างอิง (1) หนังสือ : เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. การคิดบูรณาการ. กรุงเทพมหานคร: บริษัทซัคเซสมีเดีย, 2549. เควิน เคลลีย์ (เขียน.) ดร.พิมพ์ใจ สุรินทรเสรี (แปล). THE INEVITABLE โลกอัจฉริยะ แห่งอนาคต. กรุงเทพมหานคร: เนชั่นบุ๊คส์, 2562. ธีระ รุญเจริญ. ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: บริษัท สำนักพิมพ์ข้าวฟ่างจำกัด, 2557. ประเวศ วะสี. การศึกษาของชาติกับภูมิปัญญาท้องถิ่น, เรื่องภูมิปัญญาชาวบ้านกับการ พัฒนาชุมชน เล่ม 1. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊ป, 2536. พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). วิธีบูรณาการพระพุทธศาสนากับศาสตร์ สมัยใหม่. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2553. . พุทธวิธีบริหาร. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2549. พระธรรมปิฏก (ป.อ.ปยุตโต). การศึกษา : พัฒนาการหรือบูรณาการ. กรุงเทพมหานคร: บริษัทสหธรรมิก, 2540. วิชัย วงค์ใหญ่. นวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้สู่ความเป็นพลเมือง. กรุงเทพมหานคร : บริษัทอาร์แอนด์ปริ้นท์, 2554. สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์. คิดต่างสร้างความเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพมหานคร: ธุรกิจโรงพิมพ์, 2563. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในท้องถิ่น ระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2553. กรุงเทพมหานคร: ภาคพิมพ์, 2554 . สิน งามประโคน. การบริหารการศึกษา : แนวคิด ทฤษฎีและรูปแบบการบริหารจัดการ. คณะครุศาสตร์,รายงานการวิจัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2561. . “คุณลักษณะภาวะผู้นำของพระสงฆ์ในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา”. รายงาน การวิจัย. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2560. สุมน อมรวิวัฒน์. กระบวนการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ในชุมชนและธรรมชาติ เสนอ คณะกรรมการการปฏิรูปการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาแห่งชาติ, 2544. . หลักสูตรครุศึกษาตามแนวพุทธศาสตร์จากหนังสือสมบัติทิพย์ของการศึกษา ไทย. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535.


260 246 สุวิทย์ มูลคำ. กลยุทธ์การสอนคิดบูรณาการ. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาคพิมพ์, 2551. (2) เว็บไซต์ พรชัย เจดามาน. ภาวะผู้นำในพลวัตศตวรรษที่ 21. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา:https:// www.ignitethailand.org/ content/ 4757/ignite [30 ตุลาคม 2564]. สราวุธ นาแรมงาม. ผู้นำกับการขับเคลื่อนนโยบายประเทศไทย 4.0. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://wiki.ocsc.go.th/_media/สราวุธ_นาแรมงาม11.pdf [30 ตุลาคม 2564]. 2. ภาษาอังกฤษ Beane, Iames. The Middle School : The Natural Home of Integrated Curriculum. Educational leadership 49(2) 1991. Ken Wilber. Sex, Ecology, Spirituality: The Spirit of Evolution. Second Edition Revised. Boston: Shambhala, 2000.


บรรณานุกรม 1. ภาษาไทย ก. เอกสารชั้นปฐมภูมิ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539. ข. เอกสารทุติยภูมิ (1) หนังสือ : เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. การคิดบูรณาการ. กรุงเทพมหานคร: บริษัทซัคเซสมีเดีย, 2549. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการปฏิบัติสำหรับสถานศึกษาในการป้องกันการ แพร่ระบาดของโรคโควิด 19. กรุงเทพมหานคร: บริษัท คิว แอดเวอร์ไทซิ่ง จำกัด, 2563. กระทรวงศึกษาธิการ, พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545, กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและ พัสดุภัณฑ์, 2546. กวี วงศ์พุฒ. ภาวะผู้นำ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ส่งเสริมวิชาชีพบัญชา, 2539. เกสิณี ชิวปรีชา. 100 บรรทัด ร้อยใจคน ภาวะผู้นำแบบหมอกระแส. กรุงเทพมหานคร: วี.พริ้นต์, 2562. เควิน เคลลีย์ (เขียน.) ดร.พิมพ์ใจ สุรินทรเสรี (แปล). THE INEVITABLE โลกอัจฉริยะ แห่งอนาคต. กรุงเทพมหานคร: เนชั่นบุ๊คส์, 2562. จิณณวัฒน์ ปะโคทัง. ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลสำหรับผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ. อุบลราชธานี: ศิริธรรมอ๊อฟเซท, 2561. จตุพร สังขวรรณ. ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557. เจริญ ภูวิจิตร์, คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาในอาเซียน, กรุงเทพมหานคร: ม.ป.ท., 2558. ชัชวาล โอสถานนท์. การปรับตัวของมหาวิทยาลัยเพื่อตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงในยุค Disruption. กรุงเทพมหานคร: กองบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล, 2563.


262 245 ชัยยนต์ เพาพาน. ผู้บริหารสถานศึกษายุคใหม่ในศตวรรษที่ 21. กาฬสินธุ์: การประชุม วิชาการระดับชาติครุศาสตร์ ครั้งที่ 1 การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น สู่ ประชาคมอาเซียน: ทิศทางใหม่ในศตวรรษที่ 21. 28 กรกฎาคม 2559 ณ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์. ซูซูกิ โยชิยุกิ (เขียน). ทินภาส พาหะนิชย์ (แปล). ผู้นำต้องมีโค้ช. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2561. ทวีป อภิสิทธิ์. กิจกรรมส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็ก และเยาวชน . กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559. ธีระ รุญเจริญ. ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: แอล.ที.เพรส, 2550. ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. การพัฒนาการคิด. กรุงเทพมหานคร: เทคนิค พริ้นติ้ง, 2556. ประเวศ วะสี. การศึกษาของชาติกับภูมิปัญญาท้องถิ่น, เรื่องภูมิปัญญาชาวบ้านกับการ พัฒนาชุมชน เล่ม 1. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊ป, 2536. ประสงค์ ประณีตพลกรัง และคณะ.การบริหารการผลิตและการปฏิบัติการ. กรุงเทพมหานคร: Diamond in Business World, ๒๕๕๓. ไพฑูรย์ สินลารัตน์. การศึกษา 4.0 เป็นยิ่งกว่าการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561. . ผู้นำเชิงสร้างสรรค์: กระบวนทัศน์ใหม่และผู้นำใหม่ทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553. .ออกแบบผู้นำการศึกษาใหม่ : ผู้นำเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ.กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยครุศาสตร์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต, 2559. ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และคณะ. คิดนอกกรอบ: สอนและสร้างได้อย่างไร. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558. พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมมฺจิตฺโต). พุทธวิธีบริหาร. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลง กรณราชวิทยาลัย, 2549. .วิธีบูรณาการพระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่.กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2553. พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน. กรุงเทพมหานคร: หจก.เอมี่ เทรดดิ้ง, 2546. . การศึกษา : พัฒนาการหรือบูรณาการ. กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก. 2540. พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). ธรรมนูญชีวิต. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: สํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ, 2550.


263 246 . พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้ง 34, กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิธรรมทานกุศลจิต, 2559. พระราชวรมุนี (ประยุทธ ปยุตฺโต). เทคนิคการสอนของพระพุทธเจ้า. กรุงเทพมหานคร: อมรินทรพริ้นติ้ง กรุ๊พ, 2530. พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์. การพลิกโฉมระบบการศึกษาเพื่อตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564. พัฐรัศมิ์ ว่องไชยกุล, บุคลิกผู้นำ ยุคอุตสาหกรรม 4.0, แปลและเรียบเรียงจาก The Four Leadership Personas Of The Fourth Industrial Revolution – Which One Are You? เขียนโดย Punit Renjen ซีอีโอแห่ง Deloitte Global ตีพิมพ์ใน forbes.com. วิโรจน์ สารรัตนะ. นวัตกรรมกับกระบวนทัศน์การศึกษาศตวรรษที่ 21. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2559. วิจารณ์พานิช. แนวโน้มการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. สงขลา: สำนักงาน เลขานุการคณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์, 2558. . วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรี สฤษดิ์วงศ์, 2562. วิจารณ์ พานิชและ ปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร. การศึกษาคุณภาพสูงระดับโลก.กรุงเทพมหานคร: เอส.อาร์.พริ้นติ้งแมสโปรดักส์, 2563. วิชัย วงค์ใหญ่. นวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้สู่ความเป็นพลเมือง. กรุงเทพมหานคร : บริษัทอาร์แอนด์ปริ้นท์, 2554. สุกัญญา แช่มช้อย. การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561. สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์. คิดต่างสร้างความเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพมหานคร: ธุรกิจโรงพิมพ์, 2563. สุชาติ ไตรภพ, ชาคริต พิชญางกูร. การจัดการนวัตกรรม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563.สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. ภาวะความเป็นผู้นำ. กรุงเทพมหานคร: ส.เอเชียเพรส (1989), 2550. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. แผนอุดมศึกษาระยะยาว 20 ปี (พ.ศ. 2561- 2580). สำนักนโยบายและแผนการอุดมศึกษา, 2561. . คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในท้องถิ่นระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2553. กรุงเทพมหานคร: ภาคพิมพ์, 2554.


264 247 สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. แผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2560. สำนักนายกรัฐมนตรี. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560– 2564. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม แหงชาติ, 2559. สุพานีสฤษฎ์วานิช. พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่:แนวคิดและทฤษฎี. (พิมพ์ครั้งที่7). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2552. สาโรจน์ โอพิทักษ์ชีวิน. การจัดการและพฤติกรรมองค์กร : เพื่อสร้างและรักษาความ ได้เปรียบ เชิงแข่งขันไว้ให้ยั่งยืนในโกลบอลไลเซชั่น. กรุงเทพมหานคร: ซีวีแอ ลการพิมพ์, 2555. สมบัติ นพรัก. ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาศาสตร์การบริหาร. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิซซิ่ง, 2561. สุมิตร สุวรรณ. กลยุทธ์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ. กรุงเทพมหานคร: เพชรเกษม พริ้นติ้งกรุ๊ป, 2561. สุมน อมรวิวัฒน์. กระบวนการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ในชุมชนและธรรมชาติ เสนอ คณะกรรมการการปฏิรูปการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาแห่งชาติ, 2544. . หลักสูตรครุศึกษาตามแนวพุทธศาสตร์จากหนังสือสมบัติทิพย์ของการศึกษา ไทย. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535. สุวิทย์ เมษินทรีย์. โลกเปลี่ยน ไทยปรับ. กรุงเทพมหานคร: กรุงเทพธุรกิจ, 2559. สุวิทย์ มูลคำ. กลยุทธ์การสอนคิดบูรณาการ. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาคพิมพ์, 2551. เหวย์ ซิ่วอิง (เขียน). จิราพร เนตรสมบัติผล(แปล). ฮาร์วาร์ด มหาวิทยาลัยที่ดีแห่งหนึ่ง ของโลก สอนวิธีคิดเล่มที่2. กรุงเทพมหานคร: แอคทีฟ พริ้นท์, 2563. อานันท์ ชินบุตร, พันโท. ปลุกความยิ่งใหญ่สไตล์ 3 กูรู. กรุงเทพมหานคร: รุ่งแสงการพิมพ์, 2561. อารีย์ พันธุ์มณี. ฝึกให้คิดเป็น คิดให้สร้างสรรค์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, 2558.


265 248 (2) บทความ กนกอร สมปราชญ์. ภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน: การศึกษา ทฤษฎีฐานราก. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์. ปีที่ 12 ฉบับที่ 34 (มกราคม–เมษายน 2560): 54-55. บุญมา แพ่งศรีสาร. คุณลักษณะผู้บริหารทางการศึกษาในยุคศตวรรษใหม่. วารสาร มจร. นครน่านปริทรรศน์, 2(2), 2561: 131 – 141. พรชัย เจดามาน, รศ.(พิเศษ) ดร., ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ศตวรรษที่ 21 : ไทยแลนด์ 4.0. ว.มรม. ปีที่ 13 ฉบับที่ 2. (พฤษภาคม - สิงหาคม 2562): 27. ศศิรดา แพงไทย. บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารวิทยาลัย บัณฑิตเอเซีย, 6(1), 2559: 7-11. สาริศา เจนเขว้าและเสวียน เจนเขว้า. “การเป็นนักการบริหารมีอาชีพในยุคไทยแลนด์ 4.0”. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ราชภัฏพิบูลสงคราม 11, 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2560). สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. “Start up Thailand 4.0”. วารสาร ไทยคู่ฟ้า. (24 กันยายน 2559): 7. สมหมาย อ่ำดอนกลอย. บทบาทผู้บริหารสถาน ศึกษาใน ศตวรรษที่ 21. วารสารบัณฑิตศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. 7(1), 2556: 1 – 7. (3) วิทยานิพนธ์/ งานวิจัย: ปัทมา ประทุมสุวรรณ, “ทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษา สุราษฎร์ธานีเขต 2”, วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิต วิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 2562. สิน งามประโคน. การบริหารการศึกษา : แนวคิด ทฤษฎีและรูปแบบการบริหารจัดการ. คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2561. . “คุณลักษณะภาวะผู้นำของพระสงฆ์ในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา”. รายงาน การวิจัย. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2560. (4) เว็บไซต์ : ชุลีพร อร่ามเนตร. แนวทางปรับตัว มบส. ตอบโจทย์ยุคศตวรรษที่21. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.komchadluek.net/kom-lifestyle/418892 [6 สิงหาคม 2565].


266 249 ธิติ ธีระเธียร, Digital Disruption กับครูไทยในศตวรรษที่ 21, เตรียมพร้อมและ เปลี่ยนแปลงก่อนถูกแทนที่ อ่านหนังสือ เรื่อง "การจัดการเรียนรู้ในยุค Disruptive Innovation" เขียนโดย รองศาสตราจารย์ ดร.วิชัย วงษ์ใหญ่ และ รองศาสตราจารย์ ดร.มารุต พัฒผล, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.starfishlabz.com/ [9 สิงหาคม 2564] ธเนศน์ นุ่นมัน [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.bu.ac.th/th/bu-magazine/view/ 257. [9 สิงหาคม 2564]. ธราธร รัตนนฤมิตศร ประกาย ธีระวัฒนากุล. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www. bangkokbiznews.com/blog/detail/647760 [10 สิงหาคม 2564] ปรัชญา ชุ่มนาเขียว. รูปแบบหลักสูตรตอบคนทุกGEN หนทางรอดมหาวิทยาลัยยุคใหม่. [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.newsplus.co.th/around-town/ 32407/ [6 สิงหาคม 2565]. ปราณี ชื่นอารมณ์, สถาบันอุดมศึกษาไทย : กับการปรับตัวภายใต้ยุคของชีวิตวิถีใหม่, กลุ่มงานประชาสัมพันธ์, สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.ops.go.th/th/main /index.php/news-service/news-executive/2756-2020-10-20-13-19-33 [3 พฤศจิกายน 2565]. พระบรมราโชบายด้านการศึกษาของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://nv.ac.th/site/?p=1878 [25 พฤศจิกายน 2565]. ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์, การปฏิรูปอุดมศึกษาและมหาวิทยาลัย พระพุทธศาสนา, [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.mcu.ac.th/news/ detail/39626 [16 สิงหาคม 2565]. แสงอุษา โลจนานนท์. การบริหารอารมณ์เพื่อความสำเร็จ. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http:// www.blog.rmutt.ac.th/?p=1163 [12 มิถุนายน 2565]. ทัศนวรรณ รามณรงค์, ความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking), [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.gotoknow.org/posts/544576 [5 ตุลาคม 2565]. พรชัย เจดามาน. ภาวะผู้นำในพลวัตศตวรรษที่ 21. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา:https:// www.ignitethailand.org/ content/ 4757/ignite [30 ตุลาคม 2564]. สราวุธ นาแรมงาม. ผู้นำกับการขับเคลื่อนนโยบายประเทศไทย 4.0. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://wiki.ocsc.go.th/_media/สราวุธ_นาแรมงาม11.pdf [30 ตุลาคม 2564].


267 250 Adecco, คุณสมบัติที่ผู้นำยุคใหม่ควรมี, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://adecco.co.th/ th/knowledge-center/detail/7-qualities-of-modern-leaders [1 0 มิถุนายน 2565]. E. Paul Torrance. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://pumlovetoey21031.wixsite.com/ kewwalin01/about2-cw4s [4 พฤศจิกายน 2565]. Garison, (1954) [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://pumlovetoey21031.wixsite.com/ kewwalin01/about2-cw4s [4 พฤศจิกายน 2565]. 2. ภาษาอังกฤษ Amabile, T.M. (2012). Componential theory of creativity. Harvard Business School. 12 (96) : 1-10. Bass, B. M., & Avolio, B. J. (1990). Developing transformational: 1992 and beyond. Journal of European Industrial Training, 5(10), 21-27. Beane, Iames. The Middle School : The Natural Home of Integrated Curriculum. Educational leadership 49(2) 1991. Daniel Geloman. Emotional Intelligence : the Groundbreaking book that Redefines What it Means to be Smart. New York, 1995. Daniel Goleman & Frederick Herzberg (เขียน). ณัฐยา สินตระการผลและวีรวุธ มาฆะ ศิรานนท์ (แปลและเรียบเรียง). การบริหารทรัพยากรบุคคล คัมภีร์ สำหรับผู้บริหารจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด. กรุงเทพมหานคร: แอคทีฟ พริ้นท์, 2563. Daft R.L. Essentials of Organization Theory and Design. Cincinnati. Ohio : South–Western College Publishing. 1998 p. 355. อ้างใน สัมมนา รธนิธย์. รศ.ดร. ภาวะผู้นำของผู้บริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ข้าวฟ่าง, 2556. Guilford, J.P. The nature of human intelligence. New York: McGraw-Hill Book Company, 1967. Guilford and Hoepfner, R.. The Analysis of Intelligence. New York: McGrawHill Book Company, 1971. John C. Maxwell (เขียน). ศิริลักษณ์ มานะวงศ์เจริญ (แปล). ยกระดับภาวะผู้นำ. กรุงเทพมหานคร: แอคทีฟ พริ้นท์, 2562.


268 251 . วันดี อภิรักษ์ธนากร (แปล). The 5 Levels of Leadership ภาวะผู้นำ 5 ระดับ (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพมหานคร: แอคทีฟ พริ้นท์, 2563. John P. Kotter. การเปลี่ยนแปลงที่ไม่มีวันล้มเหลว (Leading Change). วิญญู กิ่งหิรัญวัฒนา. (ผู้แปล). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วีเลิร์น, 2564. Linda A. Hill & Nina A. Bowman ผู้เขียน. ณัฐยา สินตระการผล (แปล) วีรวุธ มาฆะศิรา นนท์ผู้เรียบเรียง. พิมพ์กรีน ไลฟ์ พริ้นติ้ง เฮาส์, 2563.. Nanus. B Visionary Leadership:Creating a Compelling Sense of Directing for Your Organization. San Francisco. CA : Jossey-Bass.1992. p.96. อ้างใน สัมมนา รธนิธย์. รศ.ดร. ภาวะผู้นำของผู้บริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ข้าวฟ่าง, 2556. Newell A and Simpson. Career Education : The State of the Science. Washingon, D.C. : Office of Career Education. United States Office of Education, 1963. Peter F Drucker (เขียน). วีรวุธ มาฆะศิรานนท์(แปล). สุดยอดปรมาจารย์ด้านบริหาร จัดการ. กรุงเทพมหานคร: เอ็กซเปอร์เน็ท จำกัด,2563. Peter M. Senge. The Fifth Discipline: the Art and Practice of the Learning Organization. Doubleday. New York, 1990. Jo Owen (เขียน), กัลศลา วนันโท, (แปล). How to Lead คิดและทำ นำคนให้แตกต่าง. กรุงเทพมหานคร: แพค เพรส. Richard Luecke และ Christopher Bartlett (เรียบเรียง). ณัฐยา สินตระการผล (แปล และเรียบเรียง). คัมภีร์ผู้จัดการ (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพมหานคร: เอ็กซเปอร์ เน็ท, 2561. Ken Wilber. Sex, Ecology, Spirituality: The Spirit of Evolution. Second Edition Revised. (Boston: Shambhala, 2000. Yukl, G.A. Leadership in Organization. (2 nd ed). Englewood Cliffs. NJ : Prentice Hall, 1989.


ดััชนีีคำหลััก (Index) ก กระบวนการบริิหารงานบุุคคล 243 การกำหนดทิิศทางการปฏิิบััติิงาน 249 การขัับเคลื่่�อนการศึึกษาตามนโยบายของรััฐบาล 221 การควบคุุมการใช้้จ่่ายงบประมาณให้้เป็็น ไปตาม แผนงาน 244 การบริหิารด้านงานวิิชาการ ้ สู่่การปฏิิบัติัิ 240, 246 การปฏิิรููปการศึึกษา 221, 241-243 การประกัันคุุณภาพสถานศึึกษา 243 การประเมิินภาวะผู้้�นำการเลี่่�ยนแปลง 173, 193, 194 การประเมิินภาวะผู้้�นำการเลี่่�ยนแปลงทางการ ศึึกษา 173 การเป็็นนัักวางแผน 249 การเป็็นผู้้�กระตุ้้�นความเป็็นผู้้�นำ 249 การเป็็นผู้้�บริิหารทรััพยากร 250 การเป็็นผู้้�ประเมิินผล 250 การเปลี่่�ยนแปลง 1, 4-8, 12-13, 15-19, 21-23, 25, 27-30, 33-35, 37-49, 51-52, 54, 56, 64-65, 68, 77-80, 83, 88-91, 99-101, 105, 108-109, 117, 119-121, 131-133, 135- 138, 148-149, 151, 155, 157, 162-163, 167, 172, 174-175, 185,-188, 190, 193- 195, 199, 201, 203, 205-211, 219-221, 233, 246-250 การพััฒนาความรู้้�ความสามารถในการรัับมืือกัับ การเปลี่่�ยนแปลง 248 การพััฒนาศัักยภาพครูู 243 การมีีส่่วนร่่วมในการบริิหารการศึึกษา 245-246, 258 การเรีียนการสอน 2-11, 13, 15, 17, 34, 38, 47, 51, 80, 89-90, 116, 136, 143, 146, 162- 163, 188, 190, 220, 236, 240-243, 245- 246, 255-256, 258 การสร้้างคน 6, 144-145 การสร้้างเครืือข่่ายของภาวะผู้้�นำ 252 การสร้้างนวััตกรรม 16-17, 26, 88, 100, 135, 203, 248 การสร้้างองค์์ความรู้้� 25, 30 ค คุุณลัักษณะของภาวะผู้้�นำทางการศึึกษาของ ผู้้�บริิหารสถานศึึกษาในยุุคดิิจิิทััล 34 เครืือข่่าย 2, 7-8, 14, 18-19, 30, 33, 67, 84, 97, 101, 147, 155, 158, 187, 198, 201-202, 242, 244, 249, 252-254 ท ทัักษะการสื่่�อสารที่่�ดีี 247 ทัักษะในการเผยแพร่่ 252 เทคโนโลยีีดิิจิิทััล 12, 134-135, 220, 244, 246- 247 น นวััตกรรมใหม่่ 4, 67, 248 แนวทางการบริิหารสถานศึึกษา 6 แนวทางการบริิหารสถานศึึกษาของภาวะผู้้�นำ 240, 242, 244-245 แนวโน้้มบรรยากาศที่่�ดีีหรืือบรรยากาศแบบเปิิด สู่่การปฏิิบััติิ 245


270 บ บรรยากาศที่่�ดีีหรืือบรรยากาศแบบเปิิด 245 บรรยากาศที่่�ไม่่ดีีหรืือบรรยากาศแบบปิิด 245 ป โปรแกรมเรีียนออนไลน์์ 220 ผ ผู้้�นำทางจิิตวิิญญาณ 61, 93, 252 ผู้้�สร้้างแรงบัันดาลใจ 206 แผนการศึึกษาแห่่งชาติิ 20 ปีี (พ.ศ.2560-2579) 18 พ พััฒนาการศึึกษา 6, 13, 19, 85, 130, 220 ภ ภาวะผู้้�นำการคิิดสร้้างสรรค์์ 22, 25, 83-84, 92, 94-96, 251 ภาวะผู้้�นำการตััดสิินใจ 249 ภาวะผู้้�นำการบริหิารด้านง้บประมาณสู่่การปฏิิบัติัิ 244, 246 ภาวะผู้้�นำการบริิหารด้้านงานทั่่�วไปสู่่การปฏิิบััติิ 246 ภาวะผู้้�นำการบริิหารด้้านงานบุุคคลสู่่การปฏิิบััติิ 242, 246 ภาวะผู้้�นำการเป็็นผู้้�แก้้ปััญหา 250 ภาวะผู้้�นำการเป็็นผู้้�บริิหารงานบุุคคล 250 ภาวะผู้้�นำการเป็็นผู้้�ประสานงาน 249 ภาวะผู้้�นำการเปลี่่�ยนแปลงทางการศึึกษา 1, 6-8, 12, 15, 22, 25-26, 30, 33-35, 38, 41, 46, 51-52, 54-56, 65, 79, 108, 131-132, 135, 149, 167, 173-175, 193-194, 211, 221, 233, 246, 250, 254 ภาวะผู้้�นำด้้านมนุุษยสััมพัันธ์์ที่่�ดีี 251 ภาวะผู้้�นำที่่�สร้้างอนาคต 201 ภาวะผู้้�นำนวััตกรรม 203 ย ยกระดัับคุุณภาพและส่่งเสริิมโอกาสในการเข้้าถึึง การศึึกษา 241 ยุุทธศาสตร์์ส่่งเสริิมและพััฒนาระบบเทคโนโลยีี ดิจิทัิลัเพื่่�อการศึึกษา 12, 134-135, 220, 244, 246-247 ว วิิสััยทััศน์์ 1-2, 7-8, 16, 18, 20, 22, 26, 29-31, 33-35, 37-40, 47-48, 51-52, 61, 92, 94, 98, 113, 116-117, 133-134, 144-145, 165, 182, 185, 187-192, 195, 197, 205- 206, 211, 234, 238-239, 246-247, 251, 253, 257 ส สภาพแวดล้้อมในสถานศึึกษา 245 สื่่�อออนไลน์์ 64, 106, 162, 253 ห หลัักคุุณธรรมสู่่การปฏิิบััติิ 243 หลัักพุุทธธรรม 22, 46, 48, 51, 92, 94-96, 122- 123, 129-131, 149, 153, 155-156, 163- 165, 167-168, 214, 254, 256, 258


Click to View FlipBook Version