The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ภาวะผู้นำการเปลี่ยนผ่านทางการศึกษาตามพุทธวิถีใหม่
รศ.ดร.สิน งามประโคน

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by 24-Chinaporn Nakorn, 2023-06-16 11:55:44

ภาวะผู้นำการเปลี่ยนผ่านทางการศึกษาตามพุทธวิถีใหม่

ภาวะผู้นำการเปลี่ยนผ่านทางการศึกษาตามพุทธวิถีใหม่
รศ.ดร.สิน งามประโคน

190 182 บริหารการศึกษายุคใหม่ เพื่อนำพาสถานศึกษาให้ประสบผลสำเร็จ สามารถสนองตอบต่อ การแข่งขัน และทันสมัยเหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของโลก18 คิดหายุทธศาสตร์ในการบริหารจัดการใหม่ ๆ ปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน ใส่ใจ ในเรื่องของศาสตร์ทางการสอนที่เหมาะสมเร่งปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดการเรียนการสอน และเนื้อหาตามหลักสูตรควบคู่ไปกับการพัฒนาทักษะใหม่ ๆ ให้กับครูผู้สอน ส่งเสริมให้มี การนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพทางการศึกษาให้สูงขึ้น และมีทักษะทัดเทียมเป็น ที่ยอมรับของชาติอื่นและสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข19 การจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพและเหมาะสมต่อการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 สถานศึกษาต้องพัฒนาผู้เรียนทั้งในด้านสาระวิชาหลัก และทักษะในศตวรรษที่ 21 ซึ่ง ประกอบด้วยทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะชีวิตและอาชีพทักษะด้านสารสนเทศ เทคโนโลยี20 ทำให้ทักษะการบริหารของผู้บริหารต้องปรับเปลี่ยนไปจากเดิมที่ส่งผลต่อ ความ สำเร็จในการพัฒนาระบบการศึกษาภายในประเทศแสวงหาวิธีการ ทักษะและ ความสามารถในการนำพาองค์กรทางด้านการศึกษาไปสู่โลกแห่งการเปลี่ยนหรือโลก ศตวรรษใหม่21 ผู้บริหารสถานศึกษาจึงต้องได้รับการพัฒนาทักษะที่สำคัญต่อการบริหารจัดการ สถานศึกษา และตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่การบริหารงานให้มีประสิทธิภาพ ทั้งการ มีวิสัยทัศน์ ความสามารถทางวิชาการ นักสร้างพลังและแรงบันดาลใจเชิงบวก การคิด วิเคราะห์และการคิดสร้างสรรค์ การแก้ปัญหา การสื่อสาร การทำงานเป็นทีม เทคโนโลยี และดิจิตอล การตัดสินมุ่งผลสัมฤทธิ์ มนุษยสัมพันธ์ คุณธรรมจริยธรรม และคิดหาเทคนิค 18พรชัย เจดามาน, รศ.(พิเศษ) ดร., ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ศตวรรษที่ 21 : ไทยแลนด์ 4.0, ว.มรม. ปีที่ 13 ฉบับที่ 2, (พฤษภาคม - สิงหาคม 2562): 27. 19สมหมาย อ่ำดอนกลอย, บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21,วารสารบัณฑิตศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 7(1), 2556: 1 – 7. 20ศศิรดา แพงไทย, บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21, วารสารวิทยาลัยบัณฑิต เอเซีย, 6(1), 2559: 7-11. 21บุญมา แพ่งศรีสาร, คุณลักษณะผู้บริหารทางการศึกษาในยุคศตวรรษใหม่, วารสาร มจร. นครน่านปริทรรศน์, 2(2), 2561: 131 – 141.


191 183 วิธีการต่าง ๆ ในการวางแผนการจัดระบบระเบียบการกำหนดเป้าหมายเพื่อใช้เวลาอย่าง คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด22 5.3 วิธีการยกระดับภาวะผู้นำทางการศึกษาตามหลักพุทธวิถีใหม่ วิธีการยกระดับภาวะผู้นำทางการศึกษาตามหลักพระพุทธศาสนาด้านคุณสมบัติ ผู้นำ มีองค์ประกอบ 3 ประการ23 คือ 1. ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกลมีกระบวนการคิดที่รอบคอบและมีเหตุผลโดยอาจใช้ ประสบการณ์ ในอดีตร่วมในการตัดสินใจและวางแผนด้วยซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษคำว่า Conceptual Skill คือ การชำนาญในการใช้ความคิดหรือทักษะทางด้านความคิด (จักขุมา) 2. ผู้นำที่มีระบบการจัดการที่ดี มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านจัดการธุระ ได้ด้วย ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่น นักบริหารการศึกษา ต้องมีความเชี่ยวชาญ ตามสายงาน หน้าที่ คุณลักษณะข้อสองนี้ตรงกับคำว่า Technical Skill คือ ความชำนาญด้านเทคนิค หรือกลยุทธ์ (วิธูโร) 3. ผู้นำที่มีมนุษย์สัมพันธ์ดี มีความสามารถในการติดต่อ ประสานงานให้งานสำเร็จ ลุล่วงไปได้ตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด มีความสามารถในการสื่อสารและ ประสานงานให้ ฝ่ายแต่ละฝ่ายในองค์กรดำเนินแนวทางตามกรอบทิศทางที่องค์กรต้องการบรรลุได้หรือมี ความสามารถในการผูกใจคนให้เป็นที่รักของคนพึ่งพาอาศัยคนอื่นได้เพราะเป็นคนมีมนุษย์ สัมพันธ์ดี เช่น นักบริหารการศึกษาไปต่างเมืองก็มีเพื่อนให้ช่วยเหลือเพราะมีเครดิตดีผู้นำที่ ดีต้องผูกใจคนไว้ได้ คุณลักษณะที่สามนี้สำคัญมาก ตรงกับคำว่า คุณลักษณะที่สามนี้สำคัญ มาก ตรงกับคำว่า Human Relation Skill คือความชำนาญด้านมนุษย์สัมพันธ์ (นิสสยสัม ปันโน) ในพระสูตรนี้แสดงให้เห็นว่า การเป็นผู้นำนั้นจะต้องประกอบด้วยปัญญา คือ มีหู ตาไว และกว้างไกลสามารถจำแนกบุคคลและเหตุการณ์ออกว่าเป็นอย่างไร ซึ่งจะทำให้ผู้นำ มีประสบการณ์ มีความชำนาญในการปกครอง เขาใจบุคคลหรือผู้ใต้บังคับบัญชาได้ เป็นอย่างดี ซึ่งจะทำให้มี ผู้สนับสนุนมากขึ้น แต่คุณสมบัติทั้งสามประการนี้ มีระดับ ความสำคัญมากน้อยต่างกันไปตามระดับ ตำแหน่งหน้าที่ขององค์กรหรือหน่วยงานว่า เล็กหรือใหญ่ขนาดไหน หรือมีความสำคัญเพียงใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งแล้วผู้ปกครองรัฐหรือ ผู้นำประเทศแล้วนับว่าเป็นองค์กรที่ใหญ่ ผู้นำหรือผู้บริหาร จึงต้องมีคุณสมบัติครบถ้วน จึง 22ปัทมา ประทุมสุวรรณ, “ทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้น พื้นฐานที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษา สุราษฎร์ธานีเขต 2”, วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 2562). 23ดูรายละเอียดใน องฺ.ติก. (ไทย) 20/459/146.


192 184 จะสามารถยึดศรัทธาของผู้ใต้บังคับบัญชาไว้ได้ ส่งผลให้ผู้ร่วมงานมี ความเชื่อมั่นนั้นยอม เป็นเหตุที่จะนำไปสู่เป้าหมายเดียวกันอย่างมีประสิทธิภาพ สรุปการปรับเปลี่ยนวิสัยทัศน์เป็นตัวบ่งชี้ว่าสิ่งบอกเหตุข้างต้นแสดงให้เห็นว่า วิสัยทัศน์ขององค์กรที่เคยกำหนดไว้ อาจไม่สมบูรณ์จะต้องปรับเปลี่ยนวิสัยทัศน์ เพื่อพัฒนา องค์กรให้ประสบความสำเร็จ ผู้นำขององค์กรจะได้หาช่องทางในการปรับเปลี่ยนและ พัฒนาวิสัยทัศน์ใหม่ขึ้น เพื่อมาทดแทนวิสัยทัศน์เดิม เพื่อเพิ่มศักยภาพการทำงาน และเพื่อ ความก้าวหน้าขององค์กรที่จะก้าวเข้าสู่เวทีการแข่งขั้นในระดับชาติและนานาชาติ 5.4 การยกระดับคุณลักษณะที่ดีของภาวะผู้นำทางการศึกษาตามหลักพุทธ วิถีใหม่ วิธีการยกระดับภาวะผู้นำทางการศึกษาตามหลักพระพุทธศาสนาด้านคุณลักษณะ ที่ดีมีองค์ประกอบ 7 ประการ24 คือ 1. ปิโย - น่ารัก (ในฐานเป็นที่วางใจและสนิทสนม) 2. คะรุ - น่าเคารพ (ในฐานให้เกิดความรู้สึกอบอุ่นใจ เป็นที่พึ่งได้ และปลอดภัย) 3. ภาวะนีโย – น่ายกย่อง (ในฐานทรงคุณคือความรู้และภูมิปัญญาแท้จริง) 4. วะตะตา - รู้จักพูด (คอยให้คำแนะนำว่ากล่าวตักเตือน เป็นที่ปรึกษาที่ดี) 5. วะจะนักขะโม - อดทนต่อถ้อยคำ (พร้อมที่จะรับฟังคำซักถามต่าง ๆ อยู่เสมอ และสามารถรับฟังคำได้ด้วยความอดทนไม่เบื่อ) 6. คัมภีรัญจะ กะถัง กัตตา - (กล่าวชี้แจงแถลงเรื่องต่าง ๆ ที่ลึกซึ่งได้) 7. โนจะฏะฐาเน นิโยชะเย - (ไม่ชักจูงไปในทางที่เสื่อมเสีย) การยกระดับภาวะผู้นำทางการศึกษาที่แท้จริงคือ การศึกษาเพิ่มสมรรถนะความรู้ ความสามารถซึ่งเป็นคุณสมบัติของภาวะผู้นำในการปกครองผู้ใต้บังคับบัญชา จึงขอยก คุณสมบัติของพระเจ้ามหาวิชิตะผู้ปกครองนครในพระไตรปิฎกที่ดี 8 ประการ25 ดังนี้ 1. ทรงเป็นอุภโตสุชาตทั้งฝ่ายพระมารดาและพระบิดา มีพระครรภ์เป็นที่ปฏิสนธิ หมดจดดีตลอดเจ็ดชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครจะคัดคานติเตียนด้วยอ้างถึงพระชาติกำเนิดได้ซึ่ง เป็นชาติตระกูลที่ดี 2. ทรงมีพระรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยพระฉวีวรรณผุดผ่องยิ่งนัก มีพระฉวีวรรณคล้ายพรหม มีพระรูปคล้ายพรหม น่าดู น่าชมไม่น้อย 24พระราชวรมุนี (ประยุทธ ปยุตฺโต), เทคนิคการสอนของพระพุทธเจ้า, (กรุงเทพมหานคร: อมรินทรพริ้นติ้ง กรุ๊พ, 2530), หน้า 26. 25ดูรายละเอียดใน ที.สี. (ไทย) 9/213-214/230-204.


193 185 3. ทรงมั่งคง มีทรัพย์มาก มีโภคสมบัติมาก มีทองและเงินมาก มีเครื่องใช้สอยอัน น่าปลื้มใจมาก มีทรัพย์และธัญญาหารมาก มีพระคลังและฉางเต็มบริบูรณ์ 4. ทรงมีกำลัง ทรงสมบูรณ์ด้วยเสนามีองค์ 4 ซึ่งอยู่ในวินัย คอยปฏิบัติตามพระราช บัญชามีพระบรมเดชานุภาพดังจะเผาผลาญราชศัตรูได้ด้วยพระราชอิสริยยศ 5. ทรงพระราชศรัทธา เป็นทายก เป็นทานบดี มิได้ปิดประตูเป็นดุจโรงทานของ สมณพราหมณ์ คนกำพร้า คนเดินทาง วณิพก และยาจก ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล 6. ได้ทรงศึกษา ทรงสดับเรื่องนั้น ๆ มาก 7. ทรงทราบอรรถแห่งขอที่ทรงศึกษาและภาษิตนั้น ๆ ว่า นี้อรรถแห่งภาษิตนี้ 8. ทรงเป็นบัณฑิต เฉียบแหลม ทรงพระปรีชาสามารถ ทรงพระราชดำริอรรถอัน เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน กล่าวได้ว่าการยกระดับภาวะผู้นำทางการศึกษาตามหลักพุทธวิถีต้องมีคุณสมบัติ 2 ประการที่เด่นชัด คือ การพัฒนาคุณสมบัติภายใน ได้แก่ การศึกษาดี มีปัญญารอบรู้ และมีคุณธรรมที่งดงามในจิตใจ และคุณสมบัติภายนอก ได้แก่การพฤติดี ด้วยกาย รูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส มีโภคสมบัติที่เหมาะสมในการดำรงชีวิตเหมาะสมแก่ฐานะในสังคม 5.5 การประเมินภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา การประเมินผลการปฏิบัติงาน (performance appraisal) เป็นหนึ่งของ กระบวนการพัฒนาภาวะผู้นำทางการศึกษาที่ยากและสำคัญที่สุดที่ต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อประเมินคุณค่า สมรรถนะความรู้ ความสามารถของบุคคลแต่ละคนที่มีต่อองค์การและ การปฏิบัติงานภายในช่วงเวลาที่กำหนด มีความสำคัญและมีผลต่อพนักงานในองค์การทุก คนทั้งในด้านการรักษาจุดแข็งและจุดที่ควรพัฒนาให้ทันการเปลี่ยนแปลงเพื่อเพิ่มทักษะการ ปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแผนการบริหารจัดการศึกษาได้อย่างประสิทธิผลสอดคล้องกับ กลยุทธ์และเป้าหมายขององค์การ การประเมินผลการปฏิบัติงานขององค์การราชการจะ ดำเนินการทุก 6 เดือน หรือปีละ 2 ครั้ง ผลการประเมินจะสะท้อนให้เห็นว่าในช่วงเวลาการ ทำงานของผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษาในสายตาของหัวหน้า มีข้อดีอะไรที่ต้อง รักษาเอาไว้หรือมีข้อบกพร่องอะไรที่ต้องได้รับการพัฒนา นอกจากนั้น สุมิตร สุวรรณ26 ได้กล่าวถึงผลการประเมินจะนำไปสู่การเลื่อนเงินเดือน หรือค่าจ้าง เงินรางวัลหรือโบนัสการเลื่อนตำแหน่งที่สูงขึ้น เพื่อสร้างการจูงใจ ความพึงพอใจ และความผูกพันให้กับพนักงานในการทำงานอยู่กับองค์การไปนาน ๆ แต่หากผลการเมินต่ำ 26สุมิตร สุวรรณ. กลยุทธ์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ. (กรุงเทพมหานคร: เพชรเกษม พริ้นติ้งกรุ๊ป, 2561), หน้า 51.


194 186 มากแม้ว่าจะได้รับการพัฒนาแล้วยังไม่ดีขึ้นเป็นเวลาหลายครั้งติดต่อกัน อาจนำไปสู่การ ยกเลิกสัญญาจ้างหรือการให้ออกจากงานด้วยการทำผิดวินัยอันรายแรงด้วยการทุจริตและ ประพฤติผิดศีล 5 ตามหลักพระพุทธศาสนาก็ส่งผลต่อการปฏิบัติงานทั้งระบบราชการ และเอกชน การประเมินภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาหลังจากการดำเนินงานแล้ว เพื่อให้ทราบผลการทำงานมาแล้วต้องมีวิธีปฏิบัติที่มีประสิทธิผล 8 ขั้นตอน27 ดังนี้ ขั้นที่ 1 : เตรียมพร้อม การประเมินผลการปฏิบัติงานอาจมีหลายวิธี เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของงานที่ ได้ว่างไว้ จะใช้การสังเกต การใช้แบบประเมินที่มีแบบฟอร์มรายการตรวจสอบมาเพื่อ จุดมุ่งหมายนี้ขั้นตอนของกระบวนการประเมินผลการปฏิบัติงาน เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายมีส่วน ร่วม การประเมินผลการปฏิบัติงานนั้น มีประโยชน์ที่สำคัญอยู่ 2 ข้อ โดย ข้อแรก ก็คือ มัน ทำให้คนเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง รู้สึกมีส่วนร่วมในกระบวนการประเมินผลการปฏิบัติงาน และทำให้พนักงานเปิดรับข้อมูลป้อนกลับจากผู้จัดการ มากขึ้น ส่วนข้อที่สอง คือ ทำให้ ผู้บริหารมีข้อมูลมากขึ้นในการปรับปรุงงาน ขั้นที่ 2 : จัดการประชุมประเมินผลการปฏิบัติงาน ขั้นตอนนี้จะเน้นไปทางการจัดการของบริษัทมากกว่า แต่นำมาประยุกต์ใน การประเมินทางการศึกษา การประชุมประเมินผลการปฏิบัติงาน เพื่อสร้างความรู้สึกของ การมีส่วนร่วมในการสนทนาการประเมินผลงานที่ส่วนได้ในการตามเป้าหมายของการ ประเมินผลการปฏิบัติงาน และผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับทั้งสองฝ่าย นี่จะเป็นการ เตรียมพร้อมด้านจิตใจให้กับบุคลากรในหน่วยงานได้เป็นอย่างดี ขั้นที่ 3 : ระบุช่วงห่างของผลการปฏิบัติงาน มองเป้าหมายในการปฏิบัติงานที่เกิดขึ้นจริงและผลการปฏิบัติงานที่คาดหวัง ได้ปฏิบัติหน้าที่ได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในแผนงานอย่างไร เป็นการพิจารณาผลการ ปฏิบัติงานที่มอบหมายสำคัญๆ ตามแผนของหน่วยงาน ขั้นที่ 4 : หาสาเหตุแท้จริงที่ทำให้เกิดช่วงห่างของผลการปฏิบัติงาน ส่วนมากการระบุสาเหตุแท้จริงที่ทำให้เกิดช่วงห่างของผลการปฏิบัติงานจะทำ ให้เกิดบรรยากาศของความจริงใจ และเปิดกว้างที่ทั้งคุณและผู้ใต้บังคับบัญชาของคุณ สามารถจะสร้างสรรค์แนวทางใหม่ ๆ ที่ดียิ่งขึ้นได้การประชุมเพื่อให้ข้อมูลป้อนกลับ 27Richard Luecke และ Christopher Bartlett (เรียบเรียง), ณัฐยา สินตระการผล (แปล และเรียบเรียง), คัมภีร์ผู้จัดการ (ฉบับปรับปรุง), (กรุงเทพมหานคร: เอ็กซเปอร์เน็ท, 2561), หน้า 184-193.


195 187 ขั้นที่ 5 : วางแผนที่จะปิดช่วงห่างของผลการปฏิบัติงาน เมื่อคุณได้ระบุช่วงห่างของผลการปฏิบัติงาน และหารือกันถึงสาเหตุของมัน แล้ว ก็ทำให้แน่ใจว่าพนักงานรับรู้ในเรื่องนี้ และตระหนักถึงความสำคัญของมันและแผนที่ดี ซึ่งประกอบไปด้วย 1) เป้าหมายที่เฉพาะเจาะจง 2) กำหนดระยะเวลา 3) ผลลัพธ์ที่คาดหวัง 4) การฝึกอบรมหรือการฝึกปฏิบัติที่ต้องการ ขั้นที่ 6 : ย้อนกลับมาทบทวนเป้าหมายของผลการปฏิบัติงานกันใหม่ เนื่องจากระยะเวลาตั้งแต่การประเมินผลการปฏิบัติงานตามแผนที่กำหนดไว้ เมื่อผ่านไปหนึ่งปีแล้ว ต้องกลับมาทบทวนเป้าหมายที่คาดหวังให้ผู้ใต้บังคับบัญชาของคุณ ทราบอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้บุคลากรมีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการเปลี่ยนแปลงเป้าหมายให้ ทุกคนมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบเป้าหมายใหม่และร่วมกันปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมาย ตามแผนของหน่วยงาน ขั้นที่ 7 : บันทึกสิ่งเหล่านี้ไว้ เรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องจัดทำเอกสารเกี่ยวกับการ ประชุม ทั้งประเด็นที่ สำคัญและผลลัพธ์ที่ได้ในระหว่างการประชุมและทำให้เสร็จสมบูรณ์หลังจากบันทึกการ ประชุมให้ไปตามวาระการประชุมว่ามติใดที่ทุกคนเห็นด้วยและมติใดที่ไม่เห็นด้วยสรุป แผนงานสำหรับการพัฒนาและการดำเนินการขั้นต่อไปตามที่ตกลงร่วมกันอย่างไร เพื่อมอบ ให้เจ้าหน้าที่ใส่ไว้ในแฟ้มข้อมูลบุคลากรของฝ่าย ทรัพยากรบุคคล รวมถึงในแฟ้มข้อมูลของ คุณเองด้วย ส่วนใหญ่แล้วทั้งผู้บริหารและบุคลากรต่างถูกขอให้เซ็นชื่อลงในแบบฟอร์มการ ประเมินผลการปฏิบัติงาน ขั้นที่ 8 : ติดตามผล คุณควรวางแผนในการติดตามผลสำหรับทุก ๆ การประชุม เพื่อประเมินผล การปฏิบัติงาน สำหรับคนที่มีผลการปฏิบัติงานยอดเยี่ยมและน่าพอใจนั้น คุณอาจจะรู้สึก ว่าไม่จำเป็นต้องมีการติดตาม มากสักเท่าใดนัก แต่ในความเป็นจริงนั้นเมื่อใดที่คุณกำหนด เป้าหมาย ผู้บริหารต้องเป็นผู้นำ ในส่วนที่ตนมีความรับผิดชอบ อยู่ด้วย พวกเขาต้อง กำหนดวิสัยทัศน์ที่คนอื่นจะปฏิบัติตามไปในทางเดียวกันกับวิสัยทัศน์ของหน่วยงานหรือ สถานศึกษาได้กำหนดไว้ซึ่งสามารถสรุปเป็นภาพประกอบที่ 5.10 ได้ดังนี้


196 188 ภาพที่ 5.10 ขั้นตอนการประเมินผลการปฏิบัติงาน ที่มา : มาจากแนวคิดของ Richard Luecke and Christopher Bartlett (เรียบเรียง), ณัฐยา สินตระการผล (แปลและเรียบเรียง), 2561 : 184-193)


197 189 5.6 ตัวอย่างการใช้แบบประเมินเพื่อยกระดับภาวะผู้นำทางการศึกษา ในแต่ ละด้าน 1. ด้านภาวะผู้นำเชิงผู้ประกอบการ แบบสอบถามภาวะผู้นำเชิงผู้ประกอบการ ซึ่งได้ ปรับให้เหมาะสมกับภาวะผู้นำทางการศึกษาจาก ศ.ดร. พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์(2564) จงใส่เครื่องหมาย ✓ ในช่องที่ตรงกับลักษณะของท่าน ลักษณะของภาวะผู้นำทางการศึกษา ระดับที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน มากที่สุด 5 มาก 4 ค่อนข้างมาก 3 น้อย 2 น้อยที่สุด 1 1. ทุ่มเทเวลาสำหรับการพัฒนางานด้านการศึกษา 2. มองหาจุดอ่อนในการพัฒนาและหาวิธีการแก้ไข 3. รับฟังทีมงานหรือผู้ใช้บริการและนำมาปรับปรุงแก้ไข 4. สร้างแรงบันดาลใจผู้ร่วมงานในการคิดหาวิธีการใหม่ที่ ดีกว่าในการทำงาน 5. สนับสนุนการแก้ไขกฎเกณฑ์ขององค์การให้บรรลุ เป้าหมาย 6. กล้าสื่อสารกับฝ่ายบริหารระดับสูงกว่าเกี่ยวกับแนว ทางการปรับปรุงพัฒนางานให้ดียิ่งขึ้น 7. มองหาแนวทางริเริ่มสร้างสรรค์ในการบริหารและการใช้ ทรัพยากรขององค์การ 8. แสวงหาวิธีการใหม่ในการพัฒนาองค์การอย่างจริงจัง 9. จูงใจบุคลากรในการคิดแนวทางพัฒนานวัตกรรมการ ทำงาน 10. มีวิธีการที่ดีในการนำเสนอแนวคิดใหม่ต่อผู้บริหาร ระดับสูง 11. สนับสนุนข้อเสนอของบุคลากรในการปรับปรุงพัฒนา องค์การ 12. ทำงานได้สำเร็จแม้ว่าจะใช้วิธีลัด 13. สื่อสารให้เข้าใจวิสัยทัศน์ขององค์การในอนาคตและ การปรับปรุงที่จำเป็น 14. กระตุ้นบุคลากรให้พร้อมเปลี่ยนแปลง 15. ย้ำให้บุคลากรคำนึงถึงลูกค้าหรือผู้รับบริการเมื่อมีการ ตัดสินใจเปลี่ยนแปลงองค์การ 16. ให้ข้อมูลเกี่ยวกับขีดความสามารถในการทำงานของ องค์การแก่บุคลากร 189 5.6 ตัวอย่างการใช้แบบประเมินเพื่อยกระดับภาวะผู้นำทางการศึกษา ในแต่ ละด้าน 1. ด้านภาวะผู้นำเชิงผู้ประกอบการ แบบสอบถามภาวะผู้นำเชิงผู้ประกอบการ ซึ่งได้ ปรับให้เหมาะสมกับภาวะผู้นำทางการศึกษาจาก ศ.ดร. พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์(2564) จงใส่เครื่องหมาย ✓ ในช่องที่ตรงกับลักษณะของท่าน ลักษณะของภาวะผู้นำทางการศึกษา ระดับที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน มากที่สุด 5 มาก 4 ค่อนข้างมาก 3 น้อย 2 น้อยที่สุด 1 1. ทุ่มเทเวลาสำหรับการพัฒนางานด้านการศึกษา 2. มองหาจุดอ่อนในการพัฒนาและหาวิธีการแก้ไข 3. รับฟังทีมงานหรือผู้ใช้บริการและนำมาปรับปรุงแก้ไข 4. สร้างแรงบันดาลใจผู้ร่วมงานในการคิดหาวิธีการใหม่ที่ ดีกว่าในการทำงาน 5. สนับสนุนการแก้ไขกฎเกณฑ์ขององค์การให้บรรลุ เป้าหมาย 6. กล้าสื่อสารกับฝ่ายบริหารระดับสูงกว่าเกี่ยวกับแนว ทางการปรับปรุงพัฒนางานให้ดียิ่งขึ้น 7. มองหาแนวทางริเริ่มสร้างสรรค์ในการบริหารและการใช้ ทรัพยากรขององค์การ 8. แสวงหาวิธีการใหม่ในการพัฒนาองค์การอย่างจริงจัง 9. จูงใจบุคลากรในการคิดแนวทางพัฒนานวัตกรรมการ ทำงาน 10. มีวิธีการที่ดีในการนำเสนอแนวคิดใหม่ต่อผู้บริหาร ระดับสูง 11. สนับสนุนข้อเสนอของบุคลากรในการปรับปรุงพัฒนา องค์การ 12. ทำงานได้สำเร็จแม้ว่าจะใช้วิธีลัด 13. สื่อสารให้เข้าใจวิสัยทัศน์ขององค์การในอนาคตและ การปรับปรุงที่จำเป็น 14. กระตุ้นบุคลากรให้พร้อมเปลี่ยนแปลง 15. ย้ำให้บุคลากรคำนึงถึงลูกค้าหรือผู้รับบริการเมื่อมีการ ตัดสินใจเปลี่ยนแปลงองค์การ 16. ให้ข้อมูลเกี่ยวกับขีดความสามารถในการทำงานของ องค์การแก่บุคลากร


198 190 ลักษณะของภาวะผู้นำทางการศึกษา ระดับที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน มากที่สุด 5 มาก 4 ค่อนข้างมาก 3 น้อย 2 น้อยที่สุด 1 17. ผลักดันบุคลากรให้มีนวัตกรรมในการทำงาน 18. แสวงหาโอกาสในการพัฒนาองค์การอย่างต่อเนื่อง 19. จัดคณะทำงานที่เข้มแข็งในการแสวงหาโอกาสใหม่ๆ ใน การพัฒนาองค์การ 20. แสดงความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ทักษะใหม่ 21. เปลี่ยนทิศทางใหม่อย่างรวดเร็วเมื่อผลงานไม่บรรลุผล 22. กระตุ้นบุคลากรให้ใช้ความริเริ่มสร้างสรรค์ของตนเอง ในการทำงาน 23. จูงใจบุคลากรให้คิดหาวิธีการใหม่ที่น่าสนใจในการ ทำงาน 24. จัดเวลาในการช่วยบุคลากรคิดหาวิธีการปรับปรุงการ ทำงาน 25. สร้างบรรยากาศการทำงานที่ส่งเสริมการปรับปรุงงาน อย่างต่อเนื่อง 26. มีความมั่นใจในการเดินหน้าการใช้แนวทางใหม่ในการ บริหาร 27. ส่งเสริมความกล้าเสี่ยงในการดำเนินการที่พิจารณา ตัดสินใจแล้ว 28. ส่งเสริมและปกป้องบุคลากรที่คิดและทำงานด้วยวิธีที่ แตกต่าง 29. สนับสนุนบุคลากรในการคิดพลิกแพลงการทำงาน 30. เปลี่ยนวิธีการแก้ปัญหาอย่างรวดเร็วเมื่อวิธีการเดิมไม่ ได้ผล 31. สร้างบรรยากาศที่บุคลากรมีเสรีภาพในการทำสิ่งใหม่ 32. ท้าทายบุคลากรในการคิดค้นวิธีการทำงานให้ได้ผลงาน ที่มากขึ้น 33. แสดงความเป็นผู้มีสมรรถนะภาวะผู้นำในการทำงาน 34. ผลักดันองค์การให้เป็นองค์การที่ฉับไว ยืดหยุ่น และ ปรับตัวได้ในสถานการณ์ที่มีโอกาสใหม่ๆ เกิดขึ้น 35. ต่อสู้กับความไม่ยืดหยุ่นขององค์การตามแบบราชการ อย่างแข็งขัน 36. ใช้ประโยชน์จากเครือข่ายบุคลากรในองค์การอย่าง เต็มที่


199 191 ลักษณะของภาวะผู้นำทางการศึกษา ระดับที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน มากที่สุด 5 มาก 4 ค่อนข้างมาก 3 น้อย 2 น้อยที่สุด 1 37. วิเคราะห์วิธีการทำงานเพื่อแสวงหาวิธีการที่ดีกว่า เร็ว กว่า และถูกกว่า แต่มีผลกระทบที่ดีกว่าสำหรับทำงาน 38. คาดหวังให้บุคลากรแก้ปัญหาองค์การอย่างสร้างสรรค์ 39. รับฟังข้อเสนอแนะจากบุคลากรเกี่ยวกับวิธีการทำงานที่ แตกต่าง 40. สนับสนุนบุคลากรในการต่อสู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงการ ทำงานที่ดีกว่า 41. มุ่งมั่นสร้างสรรค์วัฒนธรรมนวัตกรรมภายในองค์การ 42. ส่งเสริมการคิดแบบผู้ประกอบการและความกล้าในการ เสี่ยง 43. ตัดสินใจอย่างฉับไวในการขจัดอุปสรรคขององค์การ 44. ส่งเสริมการสื่อสารแบบเปิดและการแบ่งปันความคิด ระหว่างหน่วยงานต่างๆ 45. ให้บุคลากรทราบข้อมูลเกี่ยวกับแนวโน้มและกลยุทธ์ การแข่งขันของคู่แข่ง 46. ส่งเสริมการจัดทำข้อเสนอแนะการปรับปรุงการทำงาน อย่างต่อเนื่องจริงจัง 47. มีการพิจารณานำข้อเสนอแนะการปรับปรุงการทำงาน ไปใช้อย่างจริงจัง 48. ดำเนินการให้องค์การมุ่งมั่นในกลยุทธ์หลักและ สนับสนุนความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 49. จัดสรรเงินสนับสนุนความคิดเชิงนวัตกรรมเพิ่มเติมจาก กระบวนการงบประมาณปกติ 50. ส่งเสริมบุคลากรในการตัดสินใจอย่างท้าทาย


200 192 รวมคะแนน GELB EB MB AB IB ข้อ คะแนน ข้อ คะแนน ข้อ คะแนน ข้อ คะแนน ข้อ คะแนน 5 1 6 4 13 12 2 7 11 28 26 3 15 14 34 27 8 32 17 36 29 9 37 20 41 30 10 38 21 42 33 16 40 22 43 35 18 23 44 39 19 24 45 25 46 31 47 48 49 50 รวม 9 = 9 = 7 = 11 = 14 =


201 193 2. แบบประเมินด้านภาวะผู้นำที่สร้างอนาคต แบบสอบถามภาวะผู้นำที่สร้างอนาคต ปรับปรุงจาก ศ.ดร. พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์(2564) จงใส่เครื่องหมาย ✓ ในช่องที่ตรงกับลักษณะของท่าน ลักษณะภาวะผู้นำที่สร้างอนาคต ระดับที่เป็นในปัจจุบัน มากที่สุด 5 มาก 4 ค่อนข้างมาก 3 น้อย 2 น้อยที่สุด 1 1. มองเห็นพลังความสามารถของตนเองใน การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ 2. มีจุดมุ่งหมายชัดเจนในสิ่งใหม่ที่จะ สร้างสรรค์ แต่มีความยืดหยุ่นในวิธีการ สร้างสรรค์ 3. สามารถเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาสและ ความได้เปรียบ 4. สามารถเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ คุ้นเคยและไม่ปกติ 5. มองเห็นสิ่งต่างๆ จากมุมมองธรรมชาติ เพื่อเข้าใจ ยอมรับและเรียนรู้จากสิ่งเหล่านั้น 6. สามารถเปลี่ยนสถานการณ์ที่ตึงเครียด และขัดแย้งเป็นความร่วมมือผูกผัน 7. เปิดเผยและมีความน่าเชื่อถือในเรื่อง สำคัญ ไม่โอ้อวด 8. สามารถสร้างต้นแบบนวัตกรรมได้ รวดเร็ว 9. สามารถสร้างเครือข่ายธุรกิจ หรือ เครือข่ายการเปลี่ยนแปลงสังคม โดยใช้สื่อ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะหรือการสื่อสารส่วน บุคคล 10. สามารถบ่มเพาะ ทำนุบำรุงสินทรัพย์ที่ มีประโยชน์กับทุกคน


202 194 ทักษะ คะแนน 1. สัญชาตญาณนักสร้าง (maker Instinct) ______ 2. ความชัดเจน (Clarity) ______ 3. การพลิกวิกฤต (Dilemma Flipping) ______ 4. การเรียนรู้อย่างจดจ่อ (Immersive Learning Ability) ______ 5. การหยั่งรู้ชีวิต (Bio-Empathy) ______ 6. การสร้างบรรยากาศเชิงบวก (Constructive Depolarizing) ______ 7. ความโปร่งใสที่ถ่อมตัว (Quiet Transparency) ______ 8. การสร้างต้นแบบจานด่วน (Rapid Prototyping ) ______ 9. การสร้างเครือข่ายอัจฉริยะ (Smart-Mob Organizing) ______ 10. การสร้างสินทรัพย์ร่วม (Common Creating) ______ รวมคะแนน 10 – 20 ต้องปรับปรุง 21 – 30 ค่อนข้างดี 31 – 40 ดี 41 – 50 ดีมาก


203 195 3. แบบประเมินด้านภาวะผู้นำนวัตกรรม แบบสอบถามภาวะผู้นำนวัตกรรม ปรับปรุงจาก ศ.ดร. พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์(2564) จงใส่เครื่องหมาย ✓ ในช่องที่ตรงกับลักษณะของท่าน ลักษณะภาวะผู้นำด้านนวัตกรรม ระดับที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน มากที่สุด 5 มาก 4 ค่อนข้างมาก 3 น้อย 2 น้อยที่สุด 1 1. ฉันมีแรงจูงใจในการสร้างนวัตกรรม 2. ฉันมองหาโอกาสในการปรับปรุงพัฒนางาน ที่ทำอยู่เสมอ 3. ฉันชอบการคิดหาวิธีการใหม่ในการจัดการ กับปัญหาการทำงาน 4. ฉันชอบแสวงหาวิธีการที่ดีกว่าในการทำงาน 5. ฉันพร้อมจะทดลองใช้วิธีการใหม่ในการ ทำงานแม้ว่าจะใช้เวลามากขึ้นในระยะเริ่มต้น 6. ฉันอยากให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนได้มีส่วนร่วม ในการเสนอความคิด 7. ฉันเป็นผู้ให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ในการ ส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม 8. ฉันสุขสบายใจกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ตลอดมา 9. ฉันสนุกกับการเรียนรู้สิ่งใหม่และการเรียนรู้ ตลอดชีวิต 10. ฉันผูกพันกับการนำข้อติชมผลการทำงาน มาปรับปรุงการทำงาน 11. ฉันพร้อมรับความเสี่ยงจากการดำเนินการ ที่ได้พิจารณาตัดสินใจแล้ว 12. ฉันสุขสบายใจกับการคิดทั้งในภาพรวม และการคิดในรายละเอียด 13. เมื่อได้ฟังความคิดผู้อื่น ฉันมักจะคิด เพิ่มเติมหรือสร้างสรรค์ความคิดใหม่ต่อยอดจาก ความคิดนั้น


204 196 14. ฉันเชื่อว่าฉันมีความสามารถในการคิดริเริ่ม สร้างสรรค์นวัตกรรมและพัฒนาความสามารถให้ ดียิ่งขึ้นได้ 15. ฉันเชื่อว่านวัตกรรมมีความส ำคัญต่อ ความสำเร็จตามเป้าประสงค์เชิงกลยุทธ์ของ องค์การ คะแนนรวม 15 – 30 ต้องปรับปรุง 31 – 45 ค่อนข้างดี 46 – 60 ดี 61 – 75 ดีมาก


205 197 4. แบบประเมินด้านสมรรถนะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง แบบสอบถามสมรรถนะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change Leadership Competency Questionnaire) ปรับปรุงจาก ศาสตราจารย์ ดร.พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์(2564) ตอนที่ 1 ผู้มีวิสัยทัศน์(Visionary) พฤติกรรมด้านสมรรถนะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ไม่ค่อยจะ 1 บางครั้ง 2 บ่อยครั้ง 3 เป็นประจำ 4 1. ฉันมีความเต็มใจที่จะรับมือกับความเสี่ยง 2. ฉันมีความรู้อย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับบุคลากร กิจการ งานและหน่วยงานที่ฉันทำงานอยู่ 3. ฉันมีความสามารถในการแก้ปัญหา 4. ฉันเป็นคนที่โน้มน้าวชักจูงได้เสมอ 5. ฉันเชื่อมั่นในความสามารถของตนในการนำผู้อื่น 6. ฉันปรับตัวตามสภาพที่เปลี่ยนแปลงได้เสมอ 7. ฉันเป็นผู้ทำให้เกิดผลลัพธ์ตามเป้าหมายได้ 8. ฉันมีวิสัยทัศน์ศักยภาพและความสามารถในการ เป็นผู้นำในองค์การ 9. ฉันมีความสามารถในการคิดริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งใหม่ 10.ฉันยอมรับและมีความอดทนต่อสิ่งที่ยังไม่ชัดเจน 11.ฉันมีความรับผิดชอบในการตัดสินใจและการปฏิบัติ ของตน 12.ฉันให้ความสำคัญต่อความต้องการจำเป็นของ องค์การและผู้อื่นมากกว่าของตน 13.ฉันให้ความสำคัญกับโอกาสและทางออกระยะยาว มากกว่าระยะสั้น 14.ฉันต้องแน่ใจว่าการริเริ่มการเปลี่ยนแปลงสนับสนุน วิสัยทัศน์พันธกิจ และเป้าประสงค์ขององค์การ 15.ฉันสามารถนำคนมาร่วมสร้างพันธมิตรในการ ทำงานให้บรรลุเป้าประสงค์ 16.ฉันมีความกระตือรือร้นในการเสริมสร้างความ ร่วมมือร่วมใจของบุคลากรเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ และจุดมุ่งหมายขององค์การ รวมคะแนนผู้มีวิสัยทัศน์=


206 198 ตอนที่ 2 ผู้สร้างแรงบันดาลใจ (Inspirer) พฤติกรรมผู้สร้างแรงบันดาลใจ ไม่ค่อยจะ 1 บางครั้ง 2 บ่อยครั้ง 3 เป็นประจำ 4 1. ฉันช่วยให้บุคลากรมองเห็นสิ่งดีๆ ที่จะได้รับจาก การเปลี่ยนแปลง 2. ฉันมีศรัทธาแรงกล้าและมีใจจดจ่อในประโยชน์ ของการเปลี่ยนแปลงที่มีต่อบุคคล กลุ่มและ องค์การ 3. ฉันเปิดโอกาสให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการพัฒนา วิสัยทัศน์ขององค์การ 4. ฉัน ทำงาน ร่วม กับ บุ คลากรเพื่ อให้ บ รรลุ เป้าประสงค์และวัตถุประสงค์ขององค์การ 5. ฉันทำงานร่วมกับบุคลากรเพื่อให้ได้ทางออกที่จะ ทำให้ประสบความสำเร็จ 6. ฉันจะต้องแน่ใจว่าค่านิยมและความเชื่อของตนมี ความสอดคล้องกับขององค์การและการ เปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น 7. ฉันจะเป็นคนแรกที่นำวิธีการใหม่และการ เปลี่ยนแปลงมาใช้ 8. ฉันทำตามคำพูดอย่างคงเส้นคงวา รวมคะแนนผู้สร้างแรงบันดาลใจ =


207 199 ตอนที่ 3 ผู้สนับสนุน (Supporter) พฤติกรรมด้านผู้ให้การสนับสนุน ไม่ค่อยจะ 1 บางครั้ง 2 บ่อยครั้ง 3 เป็นประจำ 4 1. ฉันมองหาและขจัดอุปสรรคของการเปลี่ยนแปลง ในองค์การ 2. ฉันยอมให้บุคลากรทำผิดพลาดได้แต่ต้องเรียนรู้ จากข้อผิดพลาด 3. ฉันมีความยืดหยุ่นและเต็มใจให้ปรับแผนเมื่อมี ความจำเป็น 4. ฉันเปิดรับความคิดและมุมมองใหม่ 5. ฉันกระตุ้นบุคลากรให้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความเป็นห่วงและคำแนะนำสำหรับการปรับปรุง พัฒนา 6. ฉันเข้าใจความซับซ้อนขององค์การ ขีด ความสามารถและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และใช้ ความรู้ความเข้าใจให้ได้มาซึ่งทรัพยากรที่จำเป็น 7. ฉันสนับสนุนบุคลากรในการดำเนินการให้ได้รับ ทรัพยากรที่ต้องการ 8. ฉันกระตุ้นบุคลากรในการสร้างสรรค์และมีส่วน ร่วมในแนวทางที่มีความสำคัญต่อบุคลากร 9. ฉันทำงานกับบุคลากรในฐานะผู้ชี้แนะมากกว่า เจ้านาย 10.ฉันทำให้บรรยากาศการทำงานมีความเป็นมิตร และปราศจากความกลัว 11.ฉันสร้างความเชื่อถือไว้วางใจโดยให้บุคลากรมี เสรีภาพในการคิดริเริ่มสร้างสรรค์นวัตกรรม 12.ฉันพัฒนาทักษะการสื่อสารด้านการเขียนและ การพูดอย่างต่อเนื่อง 13.ฉันพัฒนารูปแบบการสื่อสารกับบุคลากรอย่าง ต่อเนื่องทั้งในแง่ความถี่และความลึก 14.ฉันให้ความสนใจบุคลากรอย่างเต็มที่และ รับฟังอย่างกระตือรือร้น 15.ฉันขอรับคำติชมจากบุคลากรเกี่ยวกับผลงาน และพฤติกรรมของฉัน


208 200 พฤติกรรมด้านผู้ให้การสนับสนุน ไม่ค่อยจะ 1 บางครั้ง 2 บ่อยครั้ง 3 เป็นประจำ 4 16.ฉันแสดงออกถึงความรับผิดชอบสำหรับการ เปลี่ยนแปลง 17.ฉันรับผิดชอบผลงานของบุคลากรและ ความสำเร็จของโครงการ 18.ฉันซื่อสัตย์และเปิดเผยทั้งความตั้งใจและการ กระทำ 19.คำพูดของฉันตรงกับการกระทำและความเชื่อ 20.ฉันมุ่งมั่นในการพัฒนาทักษะของตนเอง 21.ฉันผูกพันกับการสะท้อนตนเองเพื่อพัฒนาความ เข้าใจในข้อจำกัดของตน 22.ฉันเข้าใจผู้สร้างแรงจูงใจพฤติกรรมมนุษย์ 23.ฉันทำความรู้จักบุคลากรในด้านความสามารถ เฉพาะ ความต้องการจำเป็น เป้าประสงค์และ ความต้องการอยากได้ รวมคะแนนผู้สนับสนุน =


209 201 ตอนที่ 4 ผู้แก้ปัญหา (Problem Solver) พฤติกรรมการแก้ปัญหา ไม่ค่อยจะ 1 บางครั้ง 2 บ่อยครั้ง 3 เป็นประจำ 4 1. ฉันสามารถใช้เทคนิคการรวบรวมข้อมูลโดยพหุ วิธี ทั้งการสังเกต การสำรวจ การสัมภาษณ์ และ การสนทนากลุ่ม 2. ฉันสามารถรวบรวมข้อมูล จัดทำข้อสรุป นำเสนอทางเลือกและประเมินทางเลือก รวมทั้ง การเสนอแนะทางออก 3. ฉันสามารถคิดสร้างสรรค์ทางเลือกในการ แก้ปัญหาที่ซับซ้อนได้อย่างรอบด้าน พร้อมทั้ง วิเคราะห์แนวทางการนำไปปฏิบัติอย่างชัดเจน 4. ฉันสามารถคิดนอกกรอบและกระตุ้นให้บุคลากร คิดนอกกรอบได้ 5. ฉันสามารถแสดงให้เห็นว่าแนวทางของฉันใช้ แก้ปัญหาได้ดี 6. ฉันใช้เวลาในการศึกษาข้อมูลบุคลากรรายบุคคล เพื่อประเมินทักษะ ความต้องการและวิธีการ ทำงาน 7. ฉันทำงานร่วมกับบุคลากรเพื่อประเมินสถานะ ของการเปลี่ยนแปลงและปรับเปลี่ยนตามความ จำเป็น รวมคะแนนผู้แก้ปัญหา =


210 202 ตอนที่ 5 ผู้จัดการเปลี่ยนแปลง (Change Manager) พฤติกรรมผู้จัดการเปลี่ยนแปลง ไม่ค่อยจะ 1 บางครั้ง 2 บ่อยครั้ง 3 เป็นประจำ 4 1. ฉันช่วยบุคลากรทำงานอย่างมีประสิทธิผลและ ประสิทธิภาพโดยการลดการแทรกแซงจาก องค์การ 2. ฉันเข้าใจความสลับซับซ้อนของการ เปลี่ยนแปลงทั้งในด้านการวางแผน การนำ แผนสู่การปฏิบัติ และปฏิกิริยา ของคนที่ เกี่ยวข้อง 3. ฉันจัดบรรยากาศการสื่อสารให้ไม่กดดัน และ เอื้อต่อการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น 4. ฉันสื่อสารกับบุคลากรแบบเปิดเพื่อช่วยให้ ทำงานการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตามความ ต้องการ 5. ฉันใช้วิธีการที่หลากหลายในการสื่อสารที่ เหมาะสมกับความต้องการของบุคลากร 6. ฉันเข้าใจความสำคัญของการกำหนด เป้าประสงค์ที่มีต่อแรงจูงใจของบุคลากร 7. ฉันและบุคลากรร่วมกำหนดเป้าประสงค์และ ความคาดหวังที่ท้าท้ายและเป็นไปได้จริง 8. ฉันมีความเชื่อในความสามารถและการตัดสินใจ ของบุคลากร 9. ฉันให้ความสำคัญกับข้อคิดเห็นของบุคลากร และกระตุ้นให้แสดงข้อคิดเห็นอยู่เสมอ 10. ฉันมอบหมายงานให้บุคลากรตามทักษะ ความสามารถและความสนใจของบุคลากร 11. ฉันเข้าใจว่าการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงเป็น ธรรมชาติแต่สามารถก้าวข้ามได้ 12. ฉันพบว่าบุคลากรแต่ละคนมีแนวทาง และ ปฏิกิริยาต่อการเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างกัน 13. ฉันสามารถใช้วิธีการที่แตกต่างกันในการช่วย บุคลากรทำงานสู่การเปลี่ยนแปลงได้ 14. ฉันยอมรับว่าความขัดแย้งนำไปสู่ความ สร้างสรรค์ได้


211 203 พฤติกรรมผู้จัดการเปลี่ยนแปลง ไม่ค่อยจะ 1 บางครั้ง 2 บ่อยครั้ง 3 เป็นประจำ 4 15. ฉันสามารถเจรจาต่อรองเพื่อให้ได้ทางออกที่ดี กับทุกฝ่ายได้ 16. ฉันสามารถเป็นคนกลางที่ไม่ลำเอียงในกรณี ความขัดแย้งของบุคลากร 17. ฉันให้ความก้าวหน้าบุคลากรที่สร้างการ เปลี่ยนแปลงในองค์การ 18. ฉันยกย่องบุคลากรที่ร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลง ต่อสาธารณะ 19. ฉันให้รางวัลบุคลากรที่เปลี่ยนแปลงในแนวทาง ที่มีความสำคัญต่อตนเอง 20. ฉันยกย่องและให้รางวัลบุคลากรอย่างเหมาะสม ตามลักษณะการเปลี่ยนแปลง 21. ฉันให้บุคลากรทุกคนเป็นเจ้าภาพในการฉลอง ความสำเร็จของการเปลี่ยนแปลง รวมคะแนนผู้จัดการเปลี่ยนแปลง = สรุปการยกระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา การยกระดับภาวะผู้ทางการศึกษาซึ่งมีองค์ประกอบ ดังต่อไปนี้ 1. ภาวะผู้นำยุคประเทศไทย 4.0 2. วิธีการยกระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา 3. กระบวนการยกระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา 4. แนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อยกระดับภาวะผู้นำตามนโยบาย ไทยแลนด์ 4.0 5. วิธีการยกระดับภาวะผู้นำทางการศึกษาตามหลักพระพุทธศาสนาด้านคุณสมบัติ ผู้นำ 6. วิธีการยกระดับภาวะผู้นำทางการศึกษาตามหลักพระพุทธศาสนาด้าน คุณลักษณะที่ดี 7. การประเมินภาวะผู้นำการเลี่ยนแปลงทางการศึกษา จากองค์ประกอบดังกล่าวภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา ในยุคประเทศ ไทย 4.0 จะต้องมีวิสัยทัศน์ของภาวะผู้นำที่ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกับ บริบทของประเทศและความต้องการของสถานศึกษาที่มุ่งสู่ความเป็นผู้นำทางการศึกษาใน อนาคตที่พลิกโฉมตอบโจทย์การศึกษาของประเทศชาติต่อไป


212 28สิิน งามประโคน, การวิิเคราะห์์พุุทธวิิธีีการสื่่�อสารเพื่่�อการเผยแพร่่พระพุุทธศาสนา คณะครุุศาสตร์์,รายงานการวิิจััย มหาวิิทยาลััยมหาจุุฬาลงกรณราชวิิทยาลััย พ.ศ. 25591, หน้้า 42-146. 5.7การยกระดับัภาวะผู้้�นำเพื่่�อบููรณาการพุทุธวิธีีิการสื่่�อสารสำหรับัการเผยแพร่่ พระพุทุธศาสนาสำหรับัการเรีียนรู้้�ขอยกกรณีีงานวิิจััยสิิน งามประโคน,2559, 142-14628 1) การบรรยายธรรม ผู้้�วิิจััยได้้ยกตััวอย่่างของพระอััญญาโกณฑััญญเถระ พระอุุรุุเวลกััสสปะ และพระสารีีบุุตรเถระที่่�ได้้รัับฟัังการบรรยายธรรมของพระพุุทธเจ้้าด้้วย พุุทธวิิธีีการสอนด้้านการบรรยายธรรมให้้ท่่านพระเถระเหล่่านี้้�ฟัังจนทำให้้ท่่านบรรลุุ พระอรหััตตผลและเป็็นกำลัังสำคััญในการประกาศพระศาสนา โดยท่่านทั้้�ง 3 เป็็นผู้้�ที่่�สร้้าง ความศรััทธา เลื่่�อมใสให้้แก่่ผู้้�ที่่�ยัังท่่านเป็็นผู้้�ที่่�มีีเสีียงที่่�ไพเราะ ทำให้้ผู้้�ฟัังเกิิดความเลื่่�อมใส ศรััทธาในพระพุุทธศาสนามากยิ่่�งขึ้้�นและอธิิบายธรรมได้้อย่่างลึึกซึ้้�งโดยท่่านสร้้างศรััทธาให้้ แก่่ผู้้�ที่่�ยัังไม่่ศรััทธาให้้ศรััทธาและผู้้�ที่่�ศรััทธาแล้้วมีีความศรััทธามากยิ่่�งขึ้้�น มีีความรู้้�พื้้�นฐาน ที่่�ทำให้้มีีสาวกศรััทธามากในด้้านการปฏิิบััติิของท่่าน เป็็นผู้้�ที่่�เคารพศรััทธาของสาวกที่่�ยอม ปฏิิบัติัิตามในการนับถืั ือพระพุุทธศาสนามากขึ้้�น มีีความรู้้�อย่่างลึึกซึ้้�งเป็็นผู้้�มีีปฏิิปทาน่่าเลื่่�อมใส ศรััทธาทำให้้ผู้้�พบเห็็นเกิิดความศรััทธาเลื่่�อมใสในการปฏิิบััติิตามทำให้้พระพุุทธศาสนา เผยแพร่่ไปได้้อย่่างกว้้างไกล 2) การสาธิิต ผู้้�วิิจััยได้ยก้ตัวัอย่่างของ พระโสณกุุฏิิกััณณเถระ พระจููฬปัันถกเถระ พระราหุุลเถระ พระองค์์ได้้ทรงใช้้การสอนด้้วยการสาธิิตให้้พระเถระเหล่่านั้้�นดููจนท่่าน เหล่่านั้้�นได้้บรรลุุพระอรหััตตผล โดยทั้้�ง ๓ ท่่านมีีปฏิิปทาที่่�เน้้นการปฏิิบััติิวิิปััสสนากรรมฐาน สร้้างศรััทธาให้้กัับผู้้�ที่่�พบเห็็นยิินดีีปฏิิบััติิตามหลัักพุุทธศาสนาด้้วยจริิยวััตรของท่่าน เป็็นต้้น แบบของการเรีียนรู้้�ที่่�เริ่่�มจากง่่ายไปหายาก ท่่านสามารถหยั่่�งรู้้�ธรรมได้้ด้้วยตนเองจากสื่่�อ ธรรมชาติิที่่�ได้้รัับการแนะนำจากพระพุุทธเจ้้าเป็็นต้้นแบบที่่�ดีีของการเรีียนรู้้� เป็็นพหููสููตรคืือ เป็็นผู้้�ที่่�เรีียนรู้ตั้้� �งแต่่เยาว์วั์ ัยในการปฏิิบัติัิธรรม เป็็นแบบอย่่างการเรีียนรู้้�ของเด็็กและเยาวชน ในการปฏิิบััติิธรรม 3) การแนะนำ ผู้้�วิิจััยได้้ยกตััวอย่่างของ พระมหาโมคคััลลานเถระ พระอนุุรุุทธ เถระ และพระมหากััสสปเถระ ท่่านเหล่่านี้้�ได้้รัับการแนะนำหลัักการปฏิิบััติิธรรมจาก พระพุุทธเจ้้าและได้้นำไปปฏิิบััติิจนสามารถบรรลุุพระอรหััตตผลและเป็็นกำลัังสำคััญในการ


213 205 ประกาศพระศาสนาหลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน โดยท่านเป็นผู้เรียนรู้หลักธรรมที่ ได้จากการปฏิบัติที่เรียกว่าหยั่งรู้จิตของผู้ฟัง มีความสามารถในการแสดงฤทธิ์ให้ผู้ฟังหรือผู้ ปฏิบัติเห็นประจักษ์ด้วยตนเอง มีความสามารถในการหยั่งรู้จิตของผู้ฟัง ท่านสามารถสอน ได้ถูกต้องตามจริตของผู้ฟังก่อให้เกิดการสอนง่าย เข้าใจง่าย มีปฏิปทาน่าเลื่อมใสในด้าน นำปฏิบัติด้วยการถือธุดงค์เป็นวัตร สามารถสร้างศรัทธาแก่ผู้ฟังและผู้พบเห็นเป็นแบบอย่าง ที่ดีในการปฏิบัติตามหลักพระธรรมวินัย 4 การถาม-ตอบ ผู้วิจัยได้ยกตัวอย่างของ พระลกุณฏกภัททิยเถระ พระวังคี สเถระ และพระปุณณมันตานีบุตรเถระที่ได้สนทนาธรรม ถาม-ตอบธรรมะจากพระพุทธเจ้า และการสนทนาธรรมถาม-ตอบด้วยกันเอง ซึ่งทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลักธรรม และหลักปฏิบัติจนสามารถนำกลับไปปฏิบัติและบรรลุพระอรหัตตผลได้ซึ่งท่านเป็นผู้ที่มี บุคลิกภาพที่งดงามก่อให้เกิดศรัทธาเลื่อมใสแก่ผู้พบเห็น เป็นแบบอย่างของการพัฒนา บุคลิกภาพด้วยการปฏิบัติธรรมอย่างสำรวม มีความสามารถหยั่งรู้จิตของผู้อื่นที่สร้างศรัทธา ให้กับผู้พบเห็น ท่านมีความสามารถชี้แจงผลการปฏิบัติของผู้ล่วงลับด้วยกระแสจิตของท่าน จนเป็นที่ศรัทธาเลื่อมใสของผู้ที่มาบำเพ็ญกุศล เป็นผู้มีความสามารถในการสื่อสาร หลักธรรมที่ง่ายต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนามีบุคลิกภาพที่สร้างศรัทธาให้กับผู้ฟังในการ สื่อสารหลักธรรมในทางพระพุทธศาสนาได้เป็นอย่างดี 5) การสนทนาธรรม ผู้วิจัยได้ยกตัวอย่างของ พระมหากัปปินเถระ พระอุป เสนเถระ และพระปิณโฑลภารทวาชเถระท่านเหล่านี้ได้สนทนาธรรมกับพระพุทธเจ้าและ สนทนาธรรมกับเพื่อนสหธรรมิกด้วยกันเอง แลกเปลี่ยนเรียนรู้หลักธรรมและนำกลับไป ปฏิบัติจนสามารถบรรลุพระอรหัตตผลได้เป็นต้นแบบในการสร้างศรัทธาในการปฏิบัติ ธรรมอย่างแรงกล้าจึงถือเป็นแบบอย่างของการเผยแผ่พุทธศาสนา เป็นผู้มีศรัทธาเป็น พื้นฐานในการปฏิบัติธรรมที่ถือเป็นหลักปฏิบัติเบื้องต้นของการสร้างทัศนคติที่ดีต่อการเผย แผ่พุทธศาสนา เป็นต้นแบบของการปฏิบัติธรรมด้วยจิตศรัทธา เป็นแบบอย่างในการปฏิบัติ ที่ยึดธุดงค์เป็นวัตรในการปฏิบัติธรรมที่สร้างความเลื่อมใสศรัทธาให้กับผู้ที่พบเห็น มี บุคลิกภาพที่สร้างศรัทธาให้กับผู้ที่พบเห็นด้วยการแสดงปาฏิหาริย์ให้แก่ผู้พบเห็นมี ความสามารถสร้างศรัทธาน้อมนำแก่ผู้พบเห็นด้วยวิธีการแสดงฤทธิ์ 5.8 บูรณาการพุทธวิธีการสื่อสารสำหรับการเผยแพร่พระพุทธศาสนาเพื่อ การเรียนรู้ในสถานศึกษา ผู้สื่อสาร คือ พระสอนศีลธรรมและครูสอน ผู้รับสาร คือ นิสิต/นักศึกษา/นักเรียน/เด็กเยาวชนและประชาชนทั่วไป 205 ประกาศพระศาสนาหลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน โดยท่านเป็นผู้เรียนรู้หลักธรรมที่ ได้จากการปฏิบัติที่เรียกว่าหยั่งรู้จิตของผู้ฟัง มีความสามารถในการแสดงฤทธิ์ให้ผู้ฟังหรือผู้ ปฏิบัติเห็นประจักษ์ด้วยตนเอง มีความสามารถในการหยั่งรู้จิตของผู้ฟัง ท่านสามารถสอน ได้ถูกต้องตามจริตของผู้ฟังก่อให้เกิดการสอนง่าย เข้าใจง่าย มีปฏิปทาน่าเลื่อมใสในด้าน นำปฏิบัติด้วยการถือธุดงค์เป็นวัตร สามารถสร้างศรัทธาแก่ผู้ฟังและผู้พบเห็นเป็นแบบอย่าง ที่ดีในการปฏิบัติตามหลักพระธรรมวินัย 4 การถาม-ตอบ ผู้วิจัยได้ยกตัวอย่างของ พระลกุณฏกภัททิยเถระ พระวังคี สเถระ และพระปุณณมันตานีบุตรเถระที่ได้สนทนาธรรม ถาม-ตอบธรรมะจากพระพุทธเจ้า และการสนทนาธรรมถาม-ตอบด้วยกันเอง ซึ่งทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลักธรรม และหลักปฏิบัติจนสามารถนำกลับไปปฏิบัติและบรรลุพระอรหัตตผลได้ซึ่งท่านเป็นผู้ที่มี บุคลิกภาพที่งดงามก่อให้เกิดศรัทธาเลื่อมใสแก่ผู้พบเห็น เป็นแบบอย่างของการพัฒนา บุคลิกภาพด้วยการปฏิบัติธรรมอย่างสำรวม มีความสามารถหยั่งรู้จิตของผู้อื่นที่สร้างศรัทธา ให้กับผู้พบเห็น ท่านมีความสามารถชี้แจงผลการปฏิบัติของผู้ล่วงลับด้วยกระแสจิตของท่าน จนเป็นที่ศรัทธาเลื่อมใสของผู้ที่มาบำเพ็ญกุศล เป็นผู้มีความสามารถในการสื่อสาร หลักธรรมที่ง่ายต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนามีบุคลิกภาพที่สร้างศรัทธาให้กับผู้ฟังในการ สื่อสารหลักธรรมในทางพระพุทธศาสนาได้เป็นอย่างดี 5) การสนทนาธรรม ผู้วิจัยได้ยกตัวอย่างของ พระมหากัปปินเถระ พระอุป เสนเถระ และพระปิณโฑลภารทวาชเถระท่านเหล่านี้ได้สนทนาธรรมกับพระพุทธเจ้าและ สนทนาธรรมกับเพื่อนสหธรรมิกด้วยกันเอง แลกเปลี่ยนเรียนรู้หลักธรรมและนำกลับไป ปฏิบัติจนสามารถบรรลุพระอรหัตตผลได้เป็นต้นแบบในการสร้างศรัทธาในการปฏิบัติ ธรรมอย่างแรงกล้าจึงถือเป็นแบบอย่างของการเผยแผ่พุทธศาสนา เป็นผู้มีศรัทธาเป็น พื้นฐานในการปฏิบัติธรรมที่ถือเป็นหลักปฏิบัติเบื้องต้นของการสร้างทัศนคติที่ดีต่อการเผย แผ่พุทธศาสนา เป็นต้นแบบของการปฏิบัติธรรมด้วยจิตศรัทธา เป็นแบบอย่างในการปฏิบัติ ที่ยึดธุดงค์เป็นวัตรในการปฏิบัติธรรมที่สร้างความเลื่อมใสศรัทธาให้กับผู้ที่พบเห็น มี บุคลิกภาพที่สร้างศรัทธาให้กับผู้ที่พบเห็นด้วยการแสดงปาฏิหาริย์ให้แก่ผู้พบเห็นมี ความสามารถสร้างศรัทธาน้อมนำแก่ผู้พบเห็นด้วยวิธีการแสดงฤทธิ์ 5.8 บูรณาการพุทธวิธีการสื่อสารสำหรับการเผยแพร่พระพุทธศาสนาเพื่อ การเรียนรู้ในสถานศึกษา ผู้สื่อสาร คือ พระสอนศีลธรรมและครูสอน ผู้รับสาร คือ นิสิต/นักศึกษา/นักเรียน/เด็กเยาวชนและประชาชนทั่วไป 5.8 บููรณาการพุุทธวิิธีีการสื่่�อสารสำหรัับการเผยแพร่่พระพุุทธศาสนาเพื่่�อการ เรีียนรู้้�ในสถานศึึกษา


214 206 1)บูรณาการหลักพุทธธรรมด้านศีล คือ พระสอนศีลธรรมและครูสอนได้จัด กิจกรรมต่างๆ ทางพุทธศาสนา เช่น กิจกรรมวันสำคัญทางพุทธศาสนา วันมาฆบูชา วันวิ สาขบูชา วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา วันพ่อแห่งชาติ วันแม่แห่งชาติ เป็นต้น โดย ฝึกอบรมนิสิต/นักศึกษา/นักเรียน/เด็กเยาวชนและประชาชนทั่วไปให้อยู่ร่วมกันในสังคม อย่างสงบสุข 2)บูรณาการหลักพุทธธรรมด้านสมาธิคือ พระสอนศีลธรรมและครูสอนได้ จัดกิจกรรมต่างๆ ทางพุทธศาสนา เช่น กิจกรรมฝึกสมาธิในโรงเรียน สวดมนต์ แผ่เมตตา และปฏิบัติกรรมฐานเบื้องต้นให้แก่นิสิต/นักศึกษา/นักเรียน/เด็กเยาวชนและประชาชน ทั่วไปได้นำไปประยุกต์ใช้กับการทำหน้าที่ของตนในสังคมเพื่อให้เกิดความสุข 3)บูรณาการหลักพุทธธรรมด้านปัญญา คือ พระสอนศีลธรรมและครูสอนได้ เสริมสร้างการเรียนรู้ความจริงของชีวิตและการอยู่ร่วมกัน รู้จักสิ่งใดถูกหรือสิ่งใดผิดผ่าน กระบวนการทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างบ้าน วัด และโรงเรียน 5.9 บูรณาการพุทธวิธีการสื่อสารสำหรับการเผยแพร่พระพุทธศาสนาทาง สถานีวิทยุและโทรทัศน์ 1)บูรณาการพุทธวิธีการสื่อสารสำหรับการเผยแพร่พระพุทธศาสนาทาง สถานีวิทยุกระจายเสียง โดยยึดคัมภีร์พระไตรปิฎกเป็นหลัก ต้องยึดธรรมะของ พระพุทธเจ้า มิใช่ธรรมะของข้าพเจ้า มิฉะนั้นก็จะเป็นปัญหาอย่างในปัจจุบัน นักเผยแพร่ ธรรมทางสถานีวิทยุกระจายเสียงที่ดีหรือประสบความสำเร็จคิดว่า จะต้องเริ่มด้วย การศึกษาพระบาลีพุทธศาสนามาดี มีการปฏิบัติธรรมจนได้ผลแก่ตนบ้าง เกิดความเชื่อมั่น ในพระธรรมคุณ จากนั้นจะเกิดศรัทธาในการเผยแพร่ เกิดฉันทะในการ เป็นนักเผยแพร่ที่ดี แล้วจะนำไปสู่ความเป็นคนหมั่นศึกษาหาความรู้หรือเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา อยากเป็นนักพูด ที่ประสบความสำเร็จก็ต้องเริ่มด้วยการเป็นนักฟังที่ดี หมั่นสังเกตวิพากษ์วิจารณ์โดยมีการ พูดเพื่อวัตถุประสงค์ให้ผู้ฟังเกิดความรู้ โน้มน้าวจิตใจ โดยใช้เนื้อหาการเผยแพร่ พระพุทธศาสนาใช้ถ้อยคำที่ทันสมัย เป็นนักวิชาการ มีสำนวนสุภาษิตที่ทันสมัย มีคำคม คำ กลอนที่เป็นภาษาต่างประเทศและมีเนื้อหาหลักพุทธธรรมที่สามารถนำไปพัฒนาสังคม แก้ไขปัญหาสังคมได้ เช่น หลักอคติ พรหมวิหาร ฆราวาสธรรม ทิศ ๖ และภาวนา ๔ เป็น ต้น 2)บูรณาการพุทธวิธีการสื่อสารสำหรับการเผยแพร่พระพุทธศาสนาทาง สถานีโทรทัศน์ เมื่อมีสถานีวิทยุโทรทัศน์เกิดขึ้นพระสงฆ์ส่วนหนึ่งก็ได้ใช้สื่อวิทยุโทรทัศน์ใน การเผยแผ่พระพุทธศาสนา จึงมีพระนักจัดรายการวิทยุโทรทัศน์จำนวนมาก ปัจจุบันการ ดำเนินชีวิตทั้งทางโลกและทางธรรมอาจจะพยายามแสวงหาทางอยู่ร่วมกันอย่างสันติโดยที่


215 207 ต่างฝ่ายก็ต้องพยายามปรับตัวไปตามทางของตัวเอง ศาสนาได้แสดงอกในหลากหลาย รูปแบบ หลากหลายเนื้อหา เพื่อเอาใจมิตรรักนักธรรมและบรรดาญาติธรรมทั้งหลายให้หัน หน้ามาเข้าวัดบ้างรวมทั้งได้ผสมผสานการใช้สื่อแบบใหม่ ๆ อย่างไม่เคอะเขิน เช่น พระ พยอม กัลยาโณ ได้จัดรายการสนทนาธรรมคู่กับดีเจรายการวิทยุเป็นประจำเป็นต้น งานเผยแผ่พระพุทธศาสนาซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติ โดยสื่อโทรทัศน์นั้นเป็น งานที่ยิ่งใหญ่มีความ สำคัญต่อการดำรงอยู่ของสถาบันชาติ ศาสน าและสถาบัน พระมหากษัตริย์ เป็นอย่างยิ่ง และในขณะเดียวกัน ก็จะต้องใช้เงินงบประมาณดำเนินการ เป็นจำนวนมาก งานเผยแผ่จึงจะดำเนินไปได้ด้วยดี ฉะนั้นคณะกรรมการดำเนินงานสถานี จึงได้ขอจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิสถานีโทรทัศน์โลกพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย วัดยาน นาวา เพื่อระดมทุนจากผู้มีจิตศรัทธาจากทุกภาคส่วนต่าง ๆ ของประเทศ เพื่อนำดอกผลมา ดำเนินการเผยแผ่พระพุทธศาสนาและส่งเสริมกิจกรรมต่าง ๆ ของคณะสงฆ์ ให้ดำเนินไปได้ อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ ผู้เผยแผ่หรือผู้แสดงผ่านการบรรยายธรรม การสาธิต การแนะนำ การถามตอบ และการสนทนาธรรมซึ่งปัจจุบันนั้นการเผยแพร่พุทธศาสนานั้นมีตารางการเผยแผ่ ขึ้นอยู่กับทางสถานีโทรทัศน์ในการเอื้อเฟื้อตารางการออกอากาศซึ่งในปัจจุบันจะมีตาราง การออกอากาศน้อยเพราะมีรายการทางสถานีวิทยุโทรทัศน์มาก ต้องอาศัยช่องทาง สถานีโทรทัศน์เฉพาะของแต่ละแห่งหรือแต่ละวัดบางวัดมีสถานีโทรทัศน์ของตนเองซึ่งจะทำ ให้ง่ายต่อการเผยแพร่พระพุทธศาสนาแต่ทางสถานีจะต้องคัดสรรบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถในการแสดงธรรมเพื่อทำการเผยแพร่ผ่านสถานีโทรทัศน์ 3) บูรณาการพุทธวิธีการสื่อสารสำหรับการเผยแพร่พระพุทธศาสนาทาง สื่อเทคโนโลยี ปัจจุบันมีการนำเอาพระไตรปิฎกเผยแผ่ทางอินเตอร์เน็ตเป็นจำนวนมาก มีทั้ง ฉบับภาษาไทย ภาษาบาลี และภาษาอังกฤษเป็นต้น คนรุ่นใหม่สามารถศึกษา พระพุทธศาสนาผ่านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศได้ทุกโอกาสที่ต้องการ โดยผ่านทางเว็บไซต์ ต่างๆ ในทางคณะสงฆ์มีหลายองค์กรได้นำเอาหลักธรรมของพระพุทธศาสนา ข่าวสารขององค์กรและข่าวสารทางศาสนาเผยแผ่ทางอินเทอร์เน็ต ในส่วนขององค์กรนั้น เริ่มต้นที่องค์กรทางด้านการศึกษาคือมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยได้สร้างเว็บไซต์ ภายใต้โดเมนเนมว่า mbu.ac.th และมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยได้มี เว็บไซต์ภายใต้โดเมนเนมว่า mcu.ac.t สังคมปัจจุบันมีวิวัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัยโดยเฉพาะสื่อ เทคโนโลยีออนไลน์ ได้แก่ เว็ปไซต์ youtube facebook line เป็นต้น ซึ่งช่องทางเหล่านี้


216 208 เป็นช่องทางที่เปิดกว้างที่ทำให้การเผยแพร่พระพุทธศาสนาของพระภิกษุสงฆ์ทันสมัยมาก ยิ่งขึ้น ภิกษุบางรูปเทศน์ สอน สาธิตการปฏิบัติผ่านช่องทางออนไลน์ youtube facebook line ทำให้มีผู้ติดตามข่าวมากมาย เช่น การเทศน์สอนธรรมะของหลวงพ่อชา เทศน์สอน ธรรมะของหลวงพ่อพุทธทาส พระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) และนักเทศน์สายเลือดใหม่ เช่น พระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี) เป็นต้น ซึ่งนักเทศน์ นักเผยแพร่พระพุทธศาสนาเหล่านี้มีวิธีการ เผยแพร่ที่ทันสมัย จูงใจ และทำให้ผู้ฟังเกิดความสนใจในหลักธรรมทางพุทธศาสนามาก ยิ่งขึ้น 5.10 บูรณาการพุทธวิธีการสื่อสารสำหรับการเผยแพร่พระพุทธศาสนาทาง ประเพณีวัฒนธรรมของสังคมไทย บูรณาการพุทธวิธีการสื่อสารสำหรับการเผยแพร่พระพุทธศาสนาทางประเพณี พุทธศาสนามีความผูกพันกับสังคมไทยมาตั้งแต่โบราณกาล ซึ่งพุทธศาสนาเข้ามามีส่วน สำคัญกับประเพณีของประเทศไทยอย่างมากถือว่าเป็นบ่อเกิดประเพณีสำคัญในสังคมไทย ตัวอย่างเช่น ประเพณีชักพระ ประเพณีสรงน้ำพระ ประเพณีฉลององค์พระธาตุ ประเพณี โกนผมจุก ประเพณีนมัสการพระธาตุ ประเพณีการบวช เข้าพรรษา ออกพรรษา สงกรานต์ ลอยกระทง เทศน์มหาชาติ เป็นต้น ซึ่งพุทธศาสนานั้นมีความผูกพันกับสังคมไทยกับคนไทย ตั้งแต่เกิดจนถึงตายและเป็นบ่อเกิดประเพณีสำคัญในสังคมไทยจนทำให้ประเทศไทยมี ประเพณีที่ดีงามมาจนถึงทุกวันนี้ 1) บูรณาการพุทธวิธีการสื่อสารสำหรับการเผยแพร่พระพุทธศาสนาด้าน วัฒนธรรม วิถีชีวิตของคนไทยได้ผูกพันประสานกลมกลืนกับหลักความเชื่อ และหลักปฏิบัติ ในพระพุทธศาสนาตลอดเวลายาวนาน จนทำให้เกิดการปรับตัวเข้าหากัน และสนองความ ต้องการของกันและกัน ตลอดจนผสมคลุกเคล้ากับความเชื่อถือและข้อปฏิบัติสายอื่น ๆ ที่มี มาในหมู่ชนชาวไทย ถึงขึ้นที่ทำให้เกิดมีระบบความเชื่อและความประพฤติปฏิบัติทาง พระพุทธศาสนา ที่เป็นแบบของคนไทยโดยเฉพาะ อันมีรูปลักษณะและเนื้อหาของตนเอง ที่ เน้นเด่นบางแง่บางด้านเป็นพิเศษ แยกออกได้จากพระพุทธศาสนาอย่างทั่ว ๆ ไป เรียกว่า พระพุทธศาสนาแบบไทยหรือพระพุทธศาสนาของชาวไทยโดยวัฒนธรรมไทยทุกด้านมี รากฐานสำคัญอยู่ในพระพุทธศาสนา คำมากมายในภาษาไทยมีต้นกำเนิดมาจากภาษาบาลี และมีความหมายสืบเนื่อง ปรับเปลี่ยนมาจากคติในพระพุทธศาสนา แบบแผนและครรลอง ตามหลักการของพระพุทธศาสนา ได้รับการยึดถือเป็นแนวทาง และเป็นมาตรฐานสำหรับ ความประพฤติ การบำเพ็ญกิจหน้าที่ และการดำเนินชีวิตของคนในสังคมไทยทุกระดับ ทั้ง สถาบันพระมหากษัตริย์และประชาชนทั่วไปโดยวัดทางพระพุทธศาสนา มีสถานะ


217 209 1.1 เป็นสถานศึกษา ชาวบ้านส่งลูกหลานอยู่วัดเพื่อรับใช้พระและรับการ อบรมศีลธรรมเล่าเรียนวิชาการต่าง ๆ จากพระ 1.2 เป็นสถานสงเคราะห์บุตรหลานชาวบ้านที่ยากจนได้มาอาศัยอยู่ในวัด อาศัยเล่าเรียนและดำรงชีพ แม้ผู้ใหญ่ที่ยากจนก็อาศัยวัดดำรงชีพ 1.3 เป็นสถานพยาบาลรักษาผู้เจ็บป่วยตามความรู้ ความสามารถในสมัยนั้น 1.4 เป็นที่พักคนเดินทาง 1.5 เป็นสโมสร ชาวบ้านมาพบปะสังสรรค์ พักผ่อนหย่อนใจ หาความรู้ 1.6 เป็นสถานบันเทิงที่จัดงานเทศกาลและมหรสพต่าง ๆ 1.7 เป็นที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท (ชาวบ้านไปหาความยุติธรรมที่วัด) 1.8 เป็นที่ปรึกษาการครองตน การครองชีพ แก้ปัญหาชีวิตครอบครัวและ ความทุกข์ 1.9 เป็นศูนย์กลางศิลปวัฒนธรรม ที่รวบรวมศิลปกรรมต่าง ๆ ของชาติ 1.10 เป็นคลังพัสดุ เก็บของใช้ต่าง ๆ ที่ชาวบ้านจะได้ใช้ร่วมกันเมื่อมีงานที่วัด หรือเอาไปใช้ เมื่อตนมีงาน 1.11 เป็นศูนย์กลางการปกครองท้องถิ่น ที่กำนันผู้ใหญ่บ้านเรียกประชุม ลูกบ้านชี้แจงข้อราชการต่าง ๆ 1.12 เป็นที่บำเพ็ญกุศลกิจ หรือประกอบพิธีกรรมตามประเพณีดังคำกลอน ที่ว่า วัดจะดี มีหลักฐาน เพราะบ้านช่วย บ้านจะสวย เพราะมีวัด ดัดนิสัย บ้านกับวัด ผลัด กันช่วย อำนวยชัย ถ้าขาดกัน ก็บรรลัย ทั้งสองทาง จากความสำคัญดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในสมัย พุทธกาลจนถึงปัจจุบันการเผยแพร่พระพุทธศาสนาถึงจะมีวิวัฒนาการด้านเทคโนโลยี มากมายแต่การเผยแพร่พุทธศาสนายังไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่จึงทำให้การเผยแพร่พุทธศาสนา กว้างไกลและรวดเร็ว สามารถตอบสนองสังคม และแก้ไขปัญหาสังคมได้อย่างยั่งยืน


218 210 เอกสารอ้างอิง 1. ภาษาไทย ก. เอกสารชั้นปฐมภูมิ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหา จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539. ข. เอกสารทุติยภูมิ (1) หนังสือ : ไพฑูรย์สินลารัตน์. ออกแบบผู้นำการศึกษาใหม่ : ผู้นำเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ. กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยครุศาสตร์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต, 2559. . ผู้นำเชิงสร้างสรรค์: กระบวนทัศน์ใหม่และผู้นำใหม่ทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553. ชัยยนต์ เพาพาน. ผู้บริหารสถานศึกษายุคใหม่ในศตวรรษที่ 21. กาฬสินธุ์: การประชุม วิชาการระดับชาติครุศาสตร์ ครั้งที่ 1 การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น สู่ ประชาคมอาเซียน: ทิศทางใหม่ในศตวรรษที่ 21. 28 กรกฎาคม 2559 ณ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์. พระราชวรมุนี (ประยุทธ ปยุตฺโต). เทคนิคการสอนของพระพุทธเจ้า. กรุงเทพมหานคร: อมรินทรพริ้นติ้ง กรุ๊พ, 2530. พัฐรัศมิ์ ว่องไชยกุล, บุคลิกผู้นำ ยุคอุตสาหกรรม 4.0, แปลและเรียบเรียงจาก The Four Leadership Personas Of The Fourth Industrial Revolution – Which One Are You? เขียนโดย Punit Renjen ซีอีโอแห่ง Deloitte Global ตีพิมพ์ใน forbes.com. สำนักนายกรัฐมนตรี. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560– 2564. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม แหงชาติ, 2559. สิน งามประโคน,การวิเคราะห์พุทธวิธีการสื่อสารเพื่อการเผยแพร่พระพุทธศาสนาคณะครุ ศาสตร์,รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. 25591


219 211 สุมิตร สุวรรณ. กลยุทธ์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ. กรุงเทพมหานคร: เพชรเกษม พริ้นติ้งกรุ๊ป, 2561. (2) บทความ : บุญมา แพ่งศรีสาร. คุณลักษณะผู้บริหารทางการศึกษาในยุคศตวรรษใหม่. วารสาร มจร. นครน่านปริทรรศน์, 2(2), 2561: 131 – 141. พรชัย เจดามาน, รศ.(พิเศษ) ดร., ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ศตวรรษที่ 21 : ไทยแลนด์ 4.0, ว.มรม. ปีที่ 13 ฉบับที่ 2, (พฤษภาคม - สิงหาคม 2562): 27. ศศิรดา แพงไทย, บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21, วารสารวิทยาลัย บัณฑิตเอเซีย, 6(1), 2559: 7-11. สมหมาย อ่ำดอนกลอย. บทบาทผู้บริหารสถาน ศึกษาใน ศตวรรษที่ 21. วารสารบัณฑิตศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. 7(1), 2556: 1 – 7. (3) วิทยานิพนธ์ ปัทมา ประทุมสุวรรณ. “ทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษา สุราษฎร์ธานีเขต 2”. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิต วิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 2562. 2. ภาษาอังกฤษ John C. Maxwell (เขียน). ศิริลักษณ์ มานะวงศ์เจริญ (แปล). ยกระดับภาวะผู้นำ. กรุงเทพมหานคร: แอคทีฟ พริ้นท์, 2562. . วันดี อภิรักษ์ธนากร (แปล). The 5 Levels of Leadership ภาวะผู้นำ 5 ระดับ (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพมหานคร: แอคทีฟ พริ้นท์, 2563. Richard Luecke และ Christopher Bartlett (เรียบเรียง). ณัฐยา สินตระการผล (แปล และเรียบเรียง). คัมภีร์ผู้จัดการ (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพมหานคร: เอ็กซเปอร์ เน็ท, 2561.


บทที่ 6 การบูรณาการภาวะผู้นำและการนำเสนอ การเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้สำหรับการจัดการศึกษาในปัจจุบัน เพราะความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่เป็นตัวเร่งของมนุษยชาติทำให้ทุกสิ่งที่สร้างขึ้นมาเกิด เปลี่ยนแปลง (Becoming) อยู่ตลอดเวลา ทุกสิ่งล้วนเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ไม่มีอะไรที่ จบแล้วจะสิ้นสุด ไม่มีอะไรที่ทำเสร็จแล้วจะจบสิ้น ความเปลี่ยนแปลงอย่างไม่สิ้นสุดถือเป็น แนวทางหลักของโลกสมัยใหม่1 ในปัจจุบันเรียกว่า กระแสการเปลี่ยนแปลงในโลก เทคโนโลยีดิจิทัล (Technology Digital) ด้วยปัจจัยการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ยุค ศตวรรษที่ 21 และประเทศไทย 4.0 สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นความท้าทายของภาวะผู้นำของผู้บริหาร สถานศึกษาในการเรียนรู้และเลือกแนวการพัฒนาการจัดการศึกษาก้าวให้ทันวิธีการ แก้ปัญหาและสร้างนวัตกรรมการบริหารจัดการศึกษาในสถานการณ์วิกฤตการแพร่ระบาด โรคโควิด-19 นี้ต้องใช้ระบบความยืดหยุ่นถือเป็นกุญแจสำคัญที่สุด เป็นโอกาสใหม่ในการใช้ ช่องทางเทคโนโลยี เช่น Google classroom, Miscrosofts, Zoom, Scopia และโปรแกรม เรียนออนไลน์อื่น ๆ ที่เหมาะสมกับการบริหารจัดการศึกษาของครู อาจารย์เลือกใช้ โดยใช้ ผ่านการประชุมทางไกล การจัดการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์ การการจัดกิจกรรม สัมมนาวิชาการ และการทำงานที่บ้าน (Work from home) เพื่อพัฒนาการศึกษาให้ ดำเนินต่อไปได้อย่างมีคุณภาพ ดังที่ ศ.ดร.สุชัชชีร์ สุวรรณสวัสดิ์2 อธิการบดี สถาบัน เทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังกล่าวว่า 1) มหาวิทยาลัยไม่ควรมองว่าออนไลน์คือศัตรู ให้ถือเป็นโอกาสใหม่ ๆ ของการใช้ ช่องทางพวกนี้ให้เป็นประโยชน์ 2) สมัยนี้ร้านค้าเขาไม่ใช้ขายแต่หน้าร้าน ต้องมีหน้าร้านออนไลน์ด้วย แถมต้อง ขายออนไลน์มากขึ้น 1 เควิน เคลลีย์ (เขียน), ดร.พิมพ์ใจ สุรินทรเสรี (แปล), THE INEVITABLE โลกอัจฉริยะแห่ง อนาคต, (กรุงเทพมหานคร: เนชั่นบุ๊คส์, 2562), หน้า 7. 2 สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์, คิดต่างสร้างความเปลี่ยนแปลง, (กรุงเทพมหานคร: ธุรกิจโรงพิมพ์, 2563), หน้า 63. บทที่ 6 การบูรณาการภาวะผู้นำและการนำเสนอ การเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้สำหรับการจัดการศึกษาในปัจจุบัน เพราะความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่เป็นตัวเร่งของมนุษยชาติทำให้ทุกสิ่งที่สร้างขึ้นมาเกิด เปลี่ยนแปลง (Becoming) อยู่ตลอดเวลา ทุกสิ่งล้วนเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ไม่มีอะไรที่ จบแล้วจะสิ้นสุด ไม่มีอะไรที่ทำเสร็จแล้วจะจบสิ้น ความเปลี่ยนแปลงอย่างไม่สิ้นสุดถือเป็น แนวทางหลักของโลกสมัยใหม่1 ในปัจจุบันเรียกว่า กระแสการเปลี่ยนแปลงในโลก เทคโนโลยีดิจิทัล (Technology Digital) ด้วยปัจจัยการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ยุค ศตวรรษที่ 21 และประเทศไทย 4.0 สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นความท้าทายของภาวะผู้นำของผู้บริหาร สถานศึกษาในการเรียนรู้และเลือกแนวการพัฒนาการจัดการศึกษาก้าวให้ทันวิธีการ แก้ปัญหาและสร้างนวัตกรรมการบริหารจัดการศึกษาในสถานการณ์วิกฤตการแพร่ระบาด โรคโควิด-19 นี้ต้องใช้ระบบความยืดหยุ่นถือเป็นกุญแจสำคัญที่สุด เป็นโอกาสใหม่ในการใช้ ช่องทางเทคโนโลยี เช่น Google classroom, Miscrosofts, Zoom, Scopia และโปรแกรม เรียนออนไลน์อื่น ๆ ที่เหมาะสมกับการบริหารจัดการศึกษาของครู อาจารย์เลือกใช้ โดยใช้ ผ่านการประชุมทางไกล การจัดการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์ การการจัดกิจกรรม สัมมนาวิชาการ และการทำงานที่บ้าน (Work from home) เพื่อพัฒนาการศึกษาให้ ดำเนินต่อไปได้อย่างมีคุณภาพ ดังที่ ศ.ดร.สุชัชชีร์ สุวรรณสวัสดิ์2 อธิการบดี สถาบัน เทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังกล่าวว่า 1) มหาวิทยาลัยไม่ควรมองว่าออนไลน์คือศัตรู ให้ถือเป็นโอกาสใหม่ ๆ ของการใช้ ช่องทางพวกนี้ให้เป็นประโยชน์ 2) สมัยนี้ร้านค้าเขาไม่ใช้ขายแต่หน้าร้าน ต้องมีหน้าร้านออนไลน์ด้วย แถมต้อง ขายออนไลน์มากขึ้น 1 เควิน เคลลีย์ (เขียน), ดร.พิมพ์ใจ สุรินทรเสรี (แปล), THE INEVITABLE โลกอัจฉริยะแห่ง อนาคต, (กรุงเทพมหานคร: เนชั่นบุ๊คส์, 2562), หน้า 7. 2 สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์, คิดต่างสร้างความเปลี่ยนแปลง, (กรุงเทพมหานคร: ธุรกิจโรงพิมพ์, 2563), หน้า 63.


221 207 3) อย่ามองภาพการศึกษาว่าต้องมีความเป็น"สถาบัน" เสียจนดิ้นไปไหนไม่ได้ ท้ายที่สุดมหาวิทยาลัยที่ไม่ยอมปรับตัวก็จะต้องล้มหายตายจากไปเพราะไม่เข้ากับยุคสมัย ด้วยเหตุดังกล่าวการเปลี่ยนแปลงเป็นยุคข้อมูลข่าวสารที่มหาศาล (Big Data) ที่ ผู้บริหารต้องเรียนรู้และปรับตัว ผู้นำทางศึกษาต้องเข้าใจให้ชัดวิธีการบริหารจัดการศึกษา เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างมืออาชีพในอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพในการขับเคลื่อน การศึกษาตามนโยบายของรัฐบาลและการปฏิรูปการศึกษาที่สะท้อนผลให้เห็นคุณภาพเด็ก และเยาวชนของชาติที่เป็นพลังสำคัญของความเป็นพลเมืองที่ดีมีความรู้ ความสามารถและ ความสุขในอนาคต ในบทนี้ขอเสนอสาระเนื้อหาดังนี้ 6.1 แนวคิดเกี่ยวกับการบูรณาการของภาวะผู้นำทางการศึกษา 6.2 การบูรณาการพุทธวิถีใหม่กับการบริหารของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ทางการศึกษา 6.3 การบูรณาการบริหารสถานศึกษาของภาวะผู้นำทางการศึกษาจากทฤษฎีสู่ การปฏิบัติ 6.4 การบูรณาการภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาที่จำเป็นในยุค ประเทศไทย 4.0 6.5 การบูรณาการภาวะผู้นำทางการศึกษาด้วยการคิดสร้างสรรค์กับพุทธวิถี ใหม่ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ 6.1 แนวคิดเกี่ยวกับการบูรณาการของภาวะผู้นำทางการศึกษา 1. ความหมายของบูรณาการ เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ได้ให้ความหมายของการบูรณาการไว้ว่า หมายถึง เป็นการนำสิ่งหนึ่งเข้ารวมกับอีกสิ่งหนึ่ง เพื่อทำให้สิ่งที่มีอยู่ “เพิ่มพูน” เกิดความสมบูรณ์ มากกว่าเดิมโดยเกิดการเอื้อประโยชน์ต่อกัน3 ประเวศ วะสีได้ให้ความหมายของการบูรณาการว่า หมายถึง ความเชื่อมโยงของ องค์ประกอบต่างๆ อย่างสมดุล4 3 เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์, การคิดบูรณาการ, (กรุงเทพมหานคร: บริษัทซัคเซสมีเดีย, 2549), หน้า 7. 4 ประเวศ วะสี, การศึกษาของชาติกับภูมิปัญญาท้องถิ่น, เรื่องภูมิปัญญาชาวบ้านกับการ พัฒนาชุมชน เล่ม 1, (กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊ป, 2536), หน้า 34.


222 208 พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) ได้ให้ความหมายบูรณาการว่า หมายถึง การนำสิ่งที่แยกกันมารวมเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันจนเกิดองค์รวม (the whole) ถ้า ศรัทธาในพระพุทธศาสนากับปัญหาทางวิทยาศาสตร์เป็นไปในทางเดียวกันคือส่งเสริม สนับสนุนซึ่งกันและกันก็จะก่อให้เกิดองค์รวมที่สมบูรณ์ องค์รวมนี่แหละคือบูรณาการ5 พระธรรมปิฏก (ป.อ.ปยุตฺโต) ได้ให้ความหมายบูรณาการว่า หมายถึง การทำให้ หน่วยงานย่อยทั้งหลายที่สัมพันธ์อิงอาศัยซึ่งกันและกันเข้ามาร่วมทำหน้าที่ประสานกลมกลืน เป็นองค์รวมหนึ่งเดียวกันที่มีความหมายครบถ้วนสมบูรณ์ในตัว6 สุมน อมรวิวัฒน์ได้ให้ความหมายของการบูรณาการว่า หมายถึง ความสมบูรณ์ ความเต็ม ความพอดี ความสมดุล ความผสมกลมกลืนได้สัดส่วนพอเหมาะสนองวัตถุประสงค์ เกิดผลในทางสร้างสรรค์ และเป็นเอกภาพ7 สุวิทย์ มูลคำ ได้ให้ความหมายของการบูรณาการว่า หมายถึง การนำหน่วยย่อย ต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์อิงอาศัยซึ่งกันและกัน มารวมเข้าด้วยกันอย่างกลมกลืนเป็นองค์ รวมมีความครบถ้วนสมบูรณ์8 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้ให้ความหมายของการบูรณาการไว้ว่า หมายถึง การผสมกลมกลืนของแผน กระบวนการ สารสนเทศ การจัดสรรทรัพยากร การปฏิบัติการ ผลลัพธ์และการวิเคราะห์เพื่อสนับสนุนเป้าประสงค์ที่สำคัญของสถาบัน การบูรณาการที่มีประสิทธิผล เป็นมากกว่าความสอดคล้องไปในแนวทางเดียวกัน ซึ่งการ ดำเนินการของแต่ละองค์ประกอบภายใน ระบบการจัดการ ผลการดำเนินการมีความ เชื่อมโยงกันเป็นหนึ่งเดียวอย่างสมบูรณ์9 5 พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต), วิธีบูรณาการพระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่, (กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2553), หน้า 49. 6 พระธรรมปิฏก (ป.อ.ปยุตโต), การศึกษา : พัฒนาการหรือบูรณาการ, (กรุงเทพมหานคร: บริษัทสหธรรมิก, 2540), หน้า 30. 7 สุมน อมรวิวัฒน์, กระบวนการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ในชุมชนและธรรมชาติ เสนอ คณะกรรมการการปฏิรูปการเรียนรู้, (กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2544), หน้า 33 - 35. 8 สุวิทย์ มูลคำ, กลยุทธ์การสอนคิดบูรณาการ, (กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาคพิมพ์, 2551), หน้า 9. 9 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในท้องถิ่น ระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2553, (กรุงเทพมหานคร: ภาคพิมพ์, 2554), หน้า 53.


223 209 Beane ได้ให้ความหมายของการบูรณาการว่า หมายถึง เป็นการสร้างความรู้ และประสบการณ์ขึ้นมาใหม่ในลักษณะการผสมผสานเข้าด้วยกัน เพื่อให้สอดคล้องกับความ ต้องการ10 จากการศึกษาความหมายของการบูรณาการของนักวิชาการ ได้แก่ เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์, (2549), ประเวศ วะสี, (2536), พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต), (2553), พระธรรมปิฏก (ป.อ.ปยุตฺโต), (2539), สุมน อมรวิวัฒน์, (2544), สุวิทย์ มูลคำ, (2551), สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาอุดมศึกษา, (2553), เบน (Beane), (1991) ผู้เรียบเรียงได้นำมาวิเคราะห์ดังตาราง ดังนี้ ตารางที่ 6.1 การวิเคราะห์ความหมายของการบูรณาการ ความหมายของการบูรณาการ นักวิชาการ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 เป็นการนำสิ่งหนึ่งเข้ารวมกับอีกสิ่งหนึ่ง เพื่อทำให้ สิ่งที่มีอยู่ “เพิ่มพูน” เกิดความสมบูรณ์มากกว่าเดิม โดยเกิดการเอื้อประโยชน์ต่อกัน การผสมผสานทรัพยากรที่มีอยู่นำมาบริหารจัดการ ร่วมกันเพื่อให้เกิดการพัฒนา หรือ ทำให้ดีขึ้น ความเชื่อมโยงขององค์ประกอบต่างๆ อย่างสมดุล การนำหน่วยย่อยทั้งหลายที่สัมพันธ์อ้างอิงซึ่งกัน และกัน หรือการนำสิ่งที่แยกกันมารวมเข้าเป็น อันหนึ่งอันเดียวกันจนเกิดองค์รวมมีความครบถ้วน สมบูรณ์ ความสมบูรณ์ ความเต็ม ความพอดี ความสมดุล ความผสมกลมกลืนได้สัดส่วนพอเหมาะสนอง วัตถุประสงค์เกิดผลในทางสร้างสรรค์ และเป็น เอกภาพ 10Beane, Iames, The Middle School : The Natural Home of Integrated Curriculum, Educational leadership 49(2) 1991, pp. 9 - 13.


224 210 ความหมายของการบูรณาการ นักวิชาการ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 การผ ส ม ก ลม กลื น ขอ งแ ผน ก ระบ วน ก าร สารสนเทศ การจัดสรรทรัพยากร การปฏิบัติการ ผลลัพธ์และการวิเคราะห์เพื่อสนับสนุนเป้าประสงค์ ที่สำคัญ มีความเชื่อมโยงเป็นหนึ่งเดียวอย่าง สมบูรณ์ เป็นการสร้างความรู้ และประสบการณ์ขึ้นมาใหม่ ในลักษณะการผสมผสานเข้าด้วยกัน เพื่อให้ สอดคล้องกับความต้องการ หมายเหตุอักษรย่อ : 1 = เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์, (2549) 2 = ประเวศ วะสี, (2536) 3 = พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต), (2553) 4 =พระธรรมปิฏก (ป.อ.ปยุตฺโต), (2539) 5 = สุมน อมรวิวัฒน์, (2544) 6 =สุวิทย์มูลคำ, (2551) 7 = สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาอุดมศึกษา, (2553) 8 =เบน (Beane), (1991) 9 = ผู้เรียบเรียง จากตารางการวิเคราะห์ความหมายของการบูรณาการ ผู้เรียบเรียงสรุป ความหมายได้ว่า เป็นการนำสิ่งหนึ่งเข้ารวมกับอีกสิ่งหนึ่ง ผสมผสานทรัพยากรที่มีอยู่ เพื่อให้ เกิดการเชื่อมโยงขององค์ประกอบต่าง ๆ อย่างสมดุล เกิดความพอดี สามารถผสมกลมกลืน ให้สอดคล้องกับความต้องการเข้าด้วยกันจนเกิดเป็นองค์รวมมีความครบถ้วนสมบูรณ์ 2. องค์ประกอบของการบูรณาการ พระธรรมปิฏก (ป.อ.ปยุตโต) กล่าวว่า ในการบูรณาการนั้น เราจะเอาหน่วยย่อย หน่วยหนึ่งเข้ามารวมเข้าในองค์รวมที่มีหน่วยย่อยอื่นอยู่แล้วก็ได้ หรือจะเอาหน่วยย่อย ทั้งหลายที่ต่างก็แยก ๆ กันอยู่ มารวมเข้าด้วยกันเป็นองค์รวมเดียวกันก็ได้ อันนี้เรียกว่า การบูรณาการทั้งสิ้น แต่ข้อสำคัญจะต้องมีตัวยืนที่เป็นหลักอยู่ 3 อย่าง ในเรื่องการบูรณา การ คือ 1) มีหน่วยย่อย องค์ประกอบ ชื้นส่วน อวัยวะ หรือขั้นระดับ แง่ ด้าน ที่จะเอามา ประมวลเข้าด้วยกัน อันนี้เป็นสิ่งที่จะเอามาประมวลเข้าด้วยกัน คือสิ่งย่อย ส่วนย่อย 2) หน่วยย่อยเป็นต้นนั้นมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงอิงอาศัยซึ่งกันและกัน อันนี้ อาจจะเลยไปถึงลักษณะที่ว่ายืดหยุ่นปรับตัวได้ มีความเคลื่อนไหวตลอดเวลาด้วย


225 211 3) เมื่อรวมเข้าด้วยกันแล้วก็จะเกิดความครบถ้วนเต็มบริบูรณ์ โดยมีความประสาน กลมกลืน เกิดภาวะได้ที่ พอดีหรือสมดุล พอได้ที่หรือพอดีสมดุลแล้ว องค์รวมนั้นก็มี ชีวิตชีวา ดำรงอยู่และดำเนินไปด้วยดี อันเป็นภาวะของบูรณาการ ถ้าครบ 3 อย่างนี้ก็เป็นการบูรณาการ สามอย่างนี้เป็นตัวยืนที่จำเป็นตามสภาวะ ส่วนในทางปฏิบัติจะมีหลักและกระบวนวิธีอย่างไรก็พิจารณาว่ากันอีกส่วนหนึ่ง แต่สิ่งที่ จะต้องเน้นก็คือ ความพอดีหรือได้ที่ หรือสมดุล ซึ่งเป็นภาวะที่ต้องการของการบูรณาการ นั้น11 วิชัย วงศ์ใหญ่ กล่าวว่า การบูรณาการมีองค์ประกอบ 5 ประการ ได้แก่ 1) แนวความคิด 2) ระเบียบและระบบ 3) กระบวนการ 4) หลักปฏิบัติ5) สิ่งประดิษฐ์12 สุมน อมรวิวัฒน์กล่าวว่า การบูรณาการมีองค์ประกอบ ได้แก่ ภาพรวม ส่วนย่อย หรือองค์ประกอบ หลักการ กระบวนการ วิธีการ ผลที่เกิด การทบทวนและประเมิน13 Ken Wilber กล่าวว่า การบูรณาการมีองค์ประกอบปัจจัยหลัก ๆ อยู่ 4 ด้าน ด้วยกัน หรือเรียกว่า มณฑลทัศน์4 ด้าน (The Four Quadrants) ได้แก่ มณฑลทัศน์ที่ 1 เรียกว่าด้าน “I” หรือ “ฉัน” หรือด้านเจตจำนงหรือเจตนา (Intention) เป็นด้านที่เกี่ยวข้องกับภายในของมนุษย์(interior) เป็นเรื่องความรู้สึกนึกคิด จิต วิวัฒนาการของจิตและสิ่งที่เป็นอัตวิสัย เป็นต้น มณฑลทัศน์ที่ 2 เรียกว่าด้าน “IT” หรือ “สิ่งนั้น” หรือ “มัน” หรือด้านพฤติกรรม (Behavior) เป็นการกล่าวถึงด้านกายภาพ โครงสร้างทางร่างกาย วิวัฒนาการทางกายภาพ กฎทางฟิสิกส์หรือเคมี เป็นการแสดงที่เกี่ยวข้องเรื่องภายนอกที่มองเห็น (exterior) เป็นต้น มณฑลทัศน์ที่ 3 เรียกว่าด้าน “WE” หรือ “พวกเรา” หรือด้านวัฒนธรรม (Culture) เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตในชุมชน วิวัฒนาการในเรื่องความสัมพันธ์เชิงชาติพันธุ์ ความสัมพันธ์ระบบการให้คุณค่า ทัศนะในการมองโลกและสังคม หรือสิ่งที่ปรากฏภายใน (interior) ของสังคมที่เป็นนามธรรม เป็นต้น มณฑลทัศน์ที่ 4 เรียกว่าด้าน ”ITS” หรือ “สิ่งเหล่านั้น” หรือด้านสังคม (Social) เป็นด้านที่เกี่ยวกับสังคมในภาพกว้าง รูปแบบการปกครอง นิเวศวิทยา ความสัมพันธ์กับ 11พระธรรมปิฏก (ป.อ.ปยุตโต), การศึกษา : พัฒนาการหรือบูรณาการ, หน้า 33-34. 12วิชัย วงค์ใหญ่, นวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้สู่ความเป็นพลเมือง, (กรุงเทพมหานคร: บริษัทอาร์แอนด์ปริ้นท์, 2554), หน้า 131. 13สุมน อมรวิวัฒน์, หลักสูตรครุศึกษาตามแนวพุทธศาสตร์จากหนังสือสมบัติทิพย์ของ การศึกษาไทย, (กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535), หน้า 179 - 183.


226 212 สิ่งแวดล้อม หรือสิ่งที่ปรากฏภายนอก (exterior) ของสังคมที่มองเห็นเป็นรูปธรรม เป็น วิวัฒนาการของสังคม ชุมชน ประเทศหรือระดับโลก จักรวาล กาแล็กซีต่าง ๆ เป็นต้น14 จากการศึกษาองค์ประกอบของการบูรณาการของนักวิชาการ ได้แก่ พระ ธรรมปิฏก (ป.อ.ปยุตโต), (2540), วิชัย วงศ์ใหญ่, (2554), สุมน อมรวิวัฒน์, (2535) เคน วิลเบอร์(Ken Wilber), (2000) ผู้เรียบเรียงได้นำมาวิเคราะห์ดังตาราง ดังนี้ ตารางที่ 6.2 การวิเคราะห์องค์ประกอบของการบูรณาการ องค์ประกอบของการบูรณาการ นักวิชาการ 1 2 3 4 5 เราจะเอาหน่วยย่อยหน่อยหนึ่งเข้ามารวมเข้าในองค์รวมที่มีหน่วยย่อยอื่น อยู่แล้วก็ได้ หรือจะเอาหน่วยย่อยทั้งหลายที่ต่างก็แยกๆ กันอยู่ มารวมเข้า ด้วยกันเป็นองค์รวมเดียวกันก็ได้ 1) แนวความคิด 2) ระเบียบและระบบ 3) กระบวนการ 4) หลักปฏิบัติ 5) สิ่งประดิษฐ์ การบูรณาการมีองค์ประกอบ ได้แก่ ภาพรวม ส่วนย่อยหรือองค์ประกอบ หลักการ กระบวนการ วิธีการ ผลที่เกิด การทบทวนและประเมิน การบูรณาการมีองค์ประกอบ ได้แก่ มณฑลทัศน์ที่ 1 เรียกว่าด้าน “I” หรือ “ฉัน” หรือด้านเจตจำนงหรือเจตนาเป็นเรื่องความรู้สึกนึกคิด จิต มณฑลทัศน์ที่ 2 เรียกว่าด้าน “IT” หรือ “สิ่งนั้น” หรือ “มัน” หรือด้าน พฤติกรรมเป็นด้านที่เกี่ยวกับกายภาพ การแสดงออก เป็นเรื่องของ ภายนอกที่มองเห็น มณฑลทัศน์ที่ 3 เรียกว่าด้าน “WE” หรือ “พวกเรา” หรือด้านที่เกี่ยวกับวัฒนธรรม วิถีชีวิตในชุมชน ความสัมพันธ์ระบบการให้ คุณค่า ทัศนะในการมองโลกและสังคม มณฑลทัศน์ที่ 4 เรียกว่าด้าน “ITS” หรือ “สิ่งเหล่านั้น” หรือด้านที่เกี่ยวกับสังคม เป็นวิวัฒนาการของ สังคม ชุมชน ประเทศหรือระดับโลก หมายเหตุอักษรย่อ : 1 = พระธรรมปิฏก (ป.อ.ปยุตโต), (2540) 2 = วิชัย วงศ์ใหญ่, (2554) 3 = สุมน อมรวิวัฒน์, (2535) 4 = เคน วิลเบอร์(Ken Wilber), (2000) 5 = ผู้เรียบเรียง 14Ken Wilber, Sex, Ecology, Spirituality: The Spirit of Evolution, Second Edition Revised, (Boston: Shambhala, 2000), pp. 44 - 45.


227 213 จากตารางการวิเคราะห์องค์ประกอบของการบูรณาการ มีนักวิชาการได้ให้ ความหมายองค์ประกอบของการบูรณาการไปในหลายทิศทาง ผู้เรียบเรียงจึงใช้องค์ประกอบ ของการบูรณาการของ เคน วิลเบอร์(Ken Wilber) เป็นองค์ประกอบของการบูรณาการใน ครั้งนี้ ดังภาพต่อไปนี้ ภาพที่ 6.1 องค์ประกอบของการบูรณาการ ที่มา : มาจาก Ken Wilber, Sex, Ecology, Spirituality: The Spirit of Evolution, Second Edition Revised, (Boston: Shambhala, 2000). 3. ลักษณะของการบูรณาการ เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ กล่าวว่าโดยทั่วไป การบูรณาการใน 2 ลักษณะ อันได้แก่ การบูรณาการรูปธรรม และการบูรณาการนามธรรม 1) การบูรณาการรูปธรรม (Factual integration) หมายถึง การนำสิ่งที่มีอยู่ จริงมารวมกันหรือนำองค์ประกอบที่อยู่อย่างแยกส่วนมาทำให้เป็นระบบที่มีลักษณะสมบูรณ์ มากยิ่งขึ้น ใช้ในลักษณะของกระบวนการที่องค์ประกอบต่าง ๆ อาทิ ระบบ องค์การ บุคคล ฯลฯ ตั้งแต่ 2 หน่วยขึ้นไปรวมตัวกัน โดยมีการจัดโครงสร้างใหม่ หรือปรับกระบวนการ ทำงานใหม่ตามหน้าที่มีการประสานงานอย่างเชื่อมโยงกันเพื่อทำให้องค์ประกอบดังกล่าว บรรลุถึงสภาพที่ดีกว่าสภาพก่อนการบูรณาการ การบูรณาการในลักษณะนี้อาจเป็นการ ผสานศักยภาพระหว่างกัน เพื่อช่วยให้ศักยภาพหรือความถนัดในแต่ละด้านของแต่ละฝ่าย มาผสมผสานกัน มณฑลทัศน์ที่ 1 เรียกว่าด้าน “I” หรือ “ฉัน” มณฑลทัศน์ที่ 2 เรียกว่าด้าน “IT” หรือ “สิ่งนั้น” หรือ “มัน” มณฑลทัศน์ที่ 3 เรียกว่าด้าน “WE” หรือ “พวกเรา” มณฑลทัศน์ที่ 4 เรียกว่า ”ITS” หรือ “สิ่งเหล่านั้น”


228 214 2) การบูรณาการนามธรรม (Conceptual integration) หมายถึง การบูรณา การแนวคิดที่มีอยู่ในรูปของแผนงาน สมมติฐาน กระบวนทัศน์ ทฤษฎี โครงการ แผนการ ฯลฯ ตั้งแต่สองแนวคิดขึ้นไป แนวคิดเหล่านี้อาจมีข้อมูลบางส่วนหรือแนวคิดภายในที่ เหมือนมีความขัดแย้งกัน การบูรณาการเป็นการนำมาก่อรูปใหม่ โดยนำองค์ประกอบย่อยที่ ดูเหมือนแตกต่างมารวมกันอย่างผสมกลมกลืน ผลลัพธ์ของกระบวนการนี้คือ มูลค่าที่ เพิ่มขึ้นและน่าพึงพอใจมากขึ้นกว่าการที่แต่ลพแนวคิดอยู่อย่างแยกส่วน เช่น จิตแพทย์ บูรณาการกลยุทธ์การรักษาโรคจากสำนักต่าง ๆ เพื่อให้การรักษาได้ผลมากที่สุด ผู้บริหาร องค์กรและพนักงานช่วยกันคิดวางแผนเพื่อให้แผนดำเนินการมีความสมบูรณ์และมีความ เชื่อมโยงกัน เป็นต้น15 สรุปว่า ลักษณะของการบูรณาการ มี 2 ลักษณะด้วยกัน คือ การบูรณาการ รูปธรรม (Factual integration) เป็นการนำการนำสิ่งที่มีอยู่จริง หรือการนำองค์ประกอบ ที่อยู่อย่างแยกส่วนกันมาทำให้เป็นระบบ/รวมกันให้มีความสมบูรณ์ ส่วนการบูรณาการ นามธรรม (Conceptual integration) เป็นการการบูรณาการแนวคิดตามแผนงาน สมมติฐาน ทฤษฎี ฯลฯ ตั้งแต่สองอย่างขึ้นไป อาจมีเหมือนหรือแตกต่างกันแต่สามารถผสม กลมกลืนก่อรูปขึ้นมาใหม่ได้ 4. ขั้นตอนการบูรณาการ เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์กล่าวว่า การคิดเชิงบูรณาการเป็นการขยายกรอบ ความคิดให้เปิดกว้างในลักษณะเดียวกับการคิดเชิงสร้างสรรค์ ในการวินิจฉัยสถานการณ์ การมองปัญหา การหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผล นั่นคือ ไม่ยึดติดกับกรอบตัวแบบเดิม ไม่ว่า จะเป็นกรอบทฤษฎี กรอบเหตุผลที่พิสูจน์แล้ว กรอบความเชื่อ ฯลฯ แต่ขยายกรอบความคิด ออกไปเพื่อให้สามารถพิจารณาเรื่องที่เกิดขึ้นในเวลานั้น ในมุมมองที่กว้างและครบถ้วน มากขึ้น อันจะช่วยให้เห็นความเป็นไปได้ เห็นโอกาสใหม่ ๆ หรือหาหนทางแก้ปัญหาในทาง สร้างสรรค์กว่าที่เป็นอยู่ได้ กรอบความคิดของนักคิดเชิงบูรณาการ จะมีลักษณะเป็นกระบวนการคิด 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 ขั้นถอดกรอบ ขั้นถอดกรอบจะเป็นผู้ที่ไม่ยึดติดกับเลนส์หรือกรอบการมองโลกของตนเอง ในการพิจารณาปัญหาหรือวินิจฉัยเรื่องต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเนื่องจากตระหนักว่า กรอบหรือ มุมมองที่เรามีต่อเรื่องใดนั้นมีความจำกัด ทำให้เรามองสิ่งนั้นด้วยสายตาของความเคยชิน แก้ปัญหาโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบ ด้วยความคิดที่ตนเองคิดว่าถูกต้อง 15เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์, การคิดบูรณาการ, หน้า 9 - 10.


229 215 กรอบความคิด ได้แก่ กรอบความเคยชิน กรอบทฤษฎี กรอบข้อสมมุติ กรอบ ความเชื่อ กรอบความรู้ กรอบประสบการณ์ กรอบวัฒนธรรม เป็นต้น กรอบเหล่านี้กำหนด มุมมองที่เรามีต่อเรื่องต่าง ๆ กำหนดวิธีการใช้เหตุผลของเรา และที่สำคัญเป็นตัวจำกัด ปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงต่อเรื่องนั้น เนื่องจากเป็นสิ่งที่ยึดถือและปฏิบัติสืบต่อ กันมา เห็นประสบการณ์ความสำเร็จมั่นใจว่าครั้งต่อไปจนเป็นเช่นเดียวกันอีก ส่งผลให้ไม่ เกิดการพิจารณาอย่างครบถ้วน กรอบความคิด ความเชื่อ ทฤษฎี ทำให้รูปแบบการใช้เหตุผลของเราเป็นลักษณะ การใช้เหตุผลแบบนิรนัย (Deductive Thinking) เป็นส่วนมาก แม้ว่าส่วนหนึ่งจะช่วยให้ เกิดการประหยัดเวลาในการพิจารณาวินิจฉัยสิ่งที่เกิดขึ้น แต่ย่อมมีโอกาสให้เราคิดผิดได้ถ้า ข้ออ้างที่เราเชื่อว่าถูกต้องนั้น แท้จริงแล้วมิใช่สิ่งที่ถูกต้อง อีกทั้งการคิดในลักษณะนี้ส่งผล ให้เราขาดการนำปัจจัยอื่น ๆ มาร่วมคิดด้วย ก่อให้เกิดมุมมองวินิจฉัยเรื่องต่าง ๆ อย่าง คับแคบและเกิดปัญหาตามมาได้ อาจกล่าวได้ว่า แม้ธรรมชาติสมองจะคิดบูรณาการอย่างผสมผสาน แต่คนจำนวน ไม่น้อยมักมีแนวโน้มคิดแบบ “แยกส่วน” ไม่ได้นำองค์ประกอบต่างๆ มาบูรณาการร่วมกัน อย่างเหมาะสม ทั้งนี้เนื่องจากเราถูกจำกัดกรอบความคิดให้คิดแยกส่วนด้วยกับดักทาง ความคิด 4 กับดัก คือ 1) กับดักรูปแบบวิธีคิด 2) กับดักทางวัฒนธรรม 3) กับดักความรู้ 4) กับดักประสบการณ์ ดังนั้น การคิดเชิงบูรณาการจึงจำเป็นต้อง “ถอดกรอบ” ความคิดเดิมออกเสียก่อน ให้มีความคิดที่ยืดหยุ่น ไม่ติดกรอบความคิดเดิม กรอบความเชื่อเดิม กรอบทฤษฎีเดิม ในการตัดสินหรือวินิจฉัยสิ่งต่าง ๆ แต่เปิดใจออกให้กับการสังเกตสิ่งใหม่ ที่เข้ามาโดย พิจารณาในเรื่องนั้นอย่างครบถ้วนเชื่อมโยง เพื่อเปิดโอกาสให้เห็นความเป็นไปได้หรือ หาทางออกที่เหมาะสมมากกว่า ขั้นที่ 2 ขยายกรอบ การคิดเชิงบูรณาการ เป็นการคิดแบบลักษณะของการ “ขยายขอบเขตการคิด” ของเราที่มีต่อเรื่องนั้น ๆ โดยไม่สามารถด่วนสรุปหรือตัดสินได้ แต่สามารถพิจารณาเรื่องนั้น อย่างครบถ้วน ทุกด้านทุกมุม มีการเปิดโอกาสให้ความคิดของเราได้ทำการเชื่อมโยง เพื่อหา ความเป็นไปได้ในความสัมพันธ์ของสิ่งที่ดูเหมือนอาจจะขัดแย้งกัน ทำให้สามารถเห็นความ เป็นไปได้ มุมมองใหม่ ๆ เห็นแนวทางในการแก้ปัญหาที่ดีกว่าการสร้างสรรค์ อีกทั้งเพื่อให้ เห็นความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างเรื่องนั้นกับปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้อง การขยายกรอบขอบเขต การคิด เป็นการขยายมุมมอง 5 ด้าน ได้แก่ 1) มององค์รวม 2) มองสหวิทยาการ 3) มอง อย่างอุปนัย 4) มองประสานขั้วตรงตาม 5) มองทุกฝ่ายชนะ


230 216 ดังนั้น การขยายกรอบความคิดนับเป็นส่วนสำคัญของการคิดเชิงบูรณาการ เป็น การเรียนรู้ที่จะใช้สมองปลดปล่อยศักยภาพเชิงบูรณาการออกมา แทนการถูกจำกัดด้วย กรอบความคิดเดิม กรอบความคิดที่ขยายออกจะช่วยให้เรามองเห็นเรื่องนั้นอย่างครบถ้วน เห็นความเป็นไปได้ใหม่ เห็นแนวทางการแก้ปัญหาที่เหมาะสมกับโลกที่เปลี่ยนแปลงและ ซับซ้อนเช่นในปัจจุบัน ขั้นที่ 3 คลุมกรอบ ขั้นต่อไปหลังจากที่กรอบความคิดของเราขยายออกในการพิจารณาเรื่องนั้นอย่าง ครบถ้วนแล้ว สมองจะเข้าสู่ภาวะของการบูรณาการเชื่อมโยงมุมมองทั้งหมดเข้าสู่แกนหลัก ของเรื่อง เหมือนภาพจิกซอร์ที่มีความสมบูรณ์ ทุกภาพนั้นอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง เห็น ความสัมพันธ์ของสิ่งเหล่านั้นอย่างเป็นระบบ ช่วยให้มุมมองที่เรามีต่อเรื่องนั้นครอบคลุม ครบถ้วน และทำให้กรอบความคิดเดิมที่เรามีต่อเรื่องนั้นกลายเป็น “กรอบความคิดใหม่” ที่บูรณาการแล้ว อย่างไรก็ตาม กรอบนี้จะมีความยืดหยุ่นและพร้อมที่เข้าสู่กระบวนการถอดกรอบ การขยายกรอบและการคลุมกรอบเป็นวงจรอีก เมื่อมีการรับรู้ต่อสถานการณ์ใหม่ ๆ เข้ามา16 พระธรรมโกศาจารย์ กล่าวว่า การศึกษาแบบบูรณาการ เป็นการนำสิ่งที่เรา ศึกษามาปรับแต่งผสมผสานกันจนก่อให้เกิดองค์รวมที่สมบูรณ์ ดังนั้นในการบูรณาการ พระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่ จึงต้องมีการปรับองค์ความรู้ทั้งสองสายให้เชื่อมโยงเข้า หากัน วิธีการศึกษาแบบบูรณาการพระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่จึงทำได้ 2 วิธี ดังนี้ วิธีที่ 1 พุทธวิทยาหรือพุทโธโลยี (Buddhology) หมายถึง การปรับศาสตร์เข้าหา พระพุทธศาสนา คือ ใช้พระพุทธศาสนาเป็นตัวตั้ง และนำศาสตร์สมัยใหม่มาอธิบายเสริม พระพุทธศาสนา วิธีนี้ใช้องค์ความรู้ในศาสตร์สมัยใหม่มาอธิบายสนับสนุนพระพุทธศาสนา ให้ดูทันสมัยและมีเหตุผลเป็นที่ยอมรรับได้ง่ายขึ้น วิธีที่ 2 ธรรมวิทยาหรือธรรมโมโลยี(Dhammology) หมายถึง การปรับ พระพุทธศาสนาเข้าหาศาสตร์ คือ ใช้ศาสตร์สมัยใหม่เป็นตัวตั้ง และนำหลักศีลธรรมใน พระพุทธศาสนาเพิ่มเติมเข้าไปในเนื้อหาของศาสตร์สมัยใหม่ ทั้งนี้ เพราะศาสตร์สมัยใหม่มุ่ง 16เรื่องเดียวกัน, หน้า 45 - 70.


231 217 แสวงหาความจริงโดยไม่สนใจเรื่องศีลธรรม การนำหลักศีลธรรมในพระพุทธศาสนาเติมเต็ม ให้กับศาสตร์เหล่านั้น ย่อมจะช่วยให้เกิดองค์รวมที่สมบูรณ์17 สุวิทย์ มูลคำ กล่าวว่า การคิดบูรณาการ เป็นการคิดเชื่อมโยงความสัมพันธ์เชิง เหตุผลระหว่างสิ่งต่าง ๆ เหตุการณ์ หรือเรื่องราวต่าง ๆ โดยอาศัยความสามารถในการ สังเกตการรวบรวมข้อมูลข่าวสาร การวินิจฉัยสถานการณ์ การมองปัญหา การหา ความสัมพันธ์เชิงเหตุผล รวมทั้งความสามารถในการสังเคราะห์เพื่ออธิบายทำความเข้าใจ เรื่องทั้งหมด นำไปสู่ความคิดที่สมบูรณ์เกี่ยวกับเรื่องราวหรือเหตุการณ์นั้น ๆ ลักษณะการ คิดที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์เชิงเหตุผลออกไปอย่างกว้างขวางเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์นั้น การคิดบูรณาการควรจะมีกระบวนการคิดเป็นขั้นตอน 4 ขั้น18 ดังนี้ ขั้นที่ 1 ทลายกรอบความคิดเดิม การคิดบูรณาการเพื่อที่จะขยายและเชื่อมโยงความสัมพันธ์เชิงเหตุผลของเรื่องราว หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ นั้น สิ่งแรกที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งคือ ผู้คิดต้องทลายกรอบความคิด เดิมเสียก่อน ซึ่งเป็นลักษณะของความเคยชิน ความเชื่อ ความรู้ ประสบการณ์ วัฒนธรรม เป็นต้น เพื่อให้เกิดความคิดที่ยืดหยุ่นไม่ติดกรอบความคิดเดิม และเป็นการเปิดโอกาสให้ได้ คิดอย่างครบถ้วน มีความเป็นไปได้หรือได้ทางออกที่เหมาะสมกว่าเดิม อาจถามตัวเองว่า “สิ่งที่เรากำลังคิดไม่น่าจะจำกัดแค่นี้” ขั้นที่ 2 เพิ่มขยายกรอบความคิดใหม่ การเพิ่มขยายกรอบความคิดใหม่ เป็นการขยายขอบเขตของการคิดของเราที่มีต่อ เรื่องนั้น ๆ โดยไม่รีบด่วนสรุปหรือตัดสิน เป็นการเปิดโอกาสให้สมองของเราได้มีโอกาส พิจารณาถึงสิ่งอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวนั้น ๆ อย่างครบถ้วนในทุกแง่ทุกมุมเพื่อให้เรื่อง นั้นสมบูรณ์ยิ่งขึ้น อาจถามตัวเองว่า “มีสิ่งอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เรากำลังคิดอีกบ้าง ไหม?” ขั้นที่ 3 เชื่อมโยงให้ร้อยรัด การเชื่อมโยงให้ร้อยรัด เป็นการนำองค์ประกอบย่อยหรือปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง กับเรื่องที่เราคิดได้เพิ่มเติม โดยคิดหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผลอาจใช้คำถามถามตนเองและ พิจารณาหาเหตุผลว่า เชื่อมโยงกันได้จริงหรือไม่ เชื่อมโยงด้วยเหตุผลหรือไม่ เมื่อนำมา เชื่อมโยงแล้วส่งผลทำให้เรื่องนี้ดีขึ้น ชัดเจนขึ้น หรือสมบูรณ์ขึ้นหรือไม่ 17พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต), วิธีบูรณาการพระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่, หน้า 50. 18สุวิทย์ มูลคำ, กลยุทธ์การสอนคิดบูรณาการ, หน้า 9.


232 218 ขั้นที่ 4 จัดความคิดให้เป็นระบบ การจัดความคิดให้เป็นระบบ เป็นการนำองค์ประกอบหรือปัจจัยอื่น ๆ ในขั้นตอน ที่ 3 มาจัดระบบซึ่งเป็นเหตุผลมาจากการคิดเชื่อมโยงความสัมพันธ์โดยพิจารณาองค์ประกอบ หรือปัจจัยนั้น ๆ ควรจะอยู่ช่วงใด ตอนใดของเรื่องราวหรือเหตุการณ์นั้น ๆ จึงจะสมเหตุสมผล ที่สุด เปรียบเสมือนภาพจิกซอร์ที่มีความสมบูรณ์ ทุกภาพนั้นอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง เหมาะสมสามารถเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งเหล่านั้นอย่างเป็นระบบ ช่วยให้เรามีมุมมองหรือ ความคิดเรื่องนั้นอย่างครอบคลุมครบถ้วนและเกิดกรอบความคิดใหม่ที่มีการบูรณาการแล้ว19 จากการศึกษาขั้นตอนของการบูรณาการของนักวิชาการ ได้แก่ เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์, (2549), พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต), (2553), สุวิทย์ มูลคำ, (2551) นำมาวิเคราะห์ดังตาราง ที่ 6.3 ดังนี้ ตารางที่ 6.3 องค์ประกอบของการบูรณาการ ขั้นตอนของการบูรณาการ นักวิชาการ 1 2 3 4 การถอดกรอบหรือทลายกรอบความคิด การขยายเพิ่มกรอบความคิดใหม่ การเชื่อมโยงให้ครอบคลุม การจัดความคิดให้เป็นระบบเชื่อมโยงเข้าหากัน หมายเหตุอักษรย่อ : 1.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์, (2549) 2.พระธรรมโกศาจารย์(ประยูร ธมฺมจิตฺโต), (2553) 3. สุวิทย์ มูลคำ, (2551) 4. ผู้เรียบเรียง สรุปขั้นตอนการบูรณาการ ได้ 4 ขั้นตอน คือ 1) การถอดกรอบหรือทลายกรอบ ความคิด 2) การขยายเพิ่มกรอบความคิดใหม่ 3) การเชื่อมโยง ให้ครอบคลุม 4) การจัด ความคิดให้เป็นระบบเชื่อมโยงเข้าหากันดังภาพต่อไปนี้ 19สุวิทย์ มูลคำ, กลยุทธ์การสอนคิดบูรณาการ, 2551หน้า 13 - 14.


233 219 ภาพที่6.2 ขั้นตอนของการบูรณาการ ที่มา : สังเคราะห์มาจาก ตารางที่ 6.3 การวิเคราะห์ขั้นตอนการบูรณาการ 6.2 การบูรณาการพุทธวิถีใหม่กับการบริหารของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ทางการศึกษา การศึกษาพุทธวิถีใหม่ในครั้งนี้ขอใช้หน้าที่ภาวะผู้นำทางการศึกษาของผู้บริหาร เป็นกรอบในการพิจารณาหน้าที่ (Function) ของนักบริหารมีอยู่ 5 ประการ ตามคำย่อใน ภาษาอังกฤษว่า POSDC ได้แก่ P คือ Planning, O คือ Organization, S คือ Staffing, D คือ Directing, C คือ Controlling20 จากแนวคิดนี้สามารถนำไปเชื่อมกับหลักพุทธวิถี การบริหารของผู้นำทางการศึกษาได้ดังนี้ 6.2.1 การบูรณาการพุทธวิถีใหม่ในการวางแผน (Planning) พุทธวิถีการวางแผนตามคำนิยามและหน้าที่ของนักบริหารดังกล่าวมานี้ พบว่า หลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้ในวันเพ็ญกลางเดือน 6 ซึ่งเป็นวันวิสาขบูชา พระพุทธเจ้าทรง ประทับอยู่ตามลำพังพระองค์เดียว ในขั้นนี้ยังไม่มีการบริหารในพระพุทธศาสนา การ บริหารเกิดขึ้น เมื่อมีสมาชิกใหม่เข้ามาในพระพุทธศาสนา เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นหลังจาก พระพุทธเจ้าตรัสรู้ได้ 2 เดือน นั่นคือ เมื่อพระพุทธเจ้าแสดงปฐมเทศนา แก่พระปัญจวัคคีย์ 20พระธรรมโกศาจารย์(ประยูร ธมฺมจิตฺโต), พุทธวิธีบริหาร, (กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬา ลงกรณราชวิทยาลัย, 2549), หน้า 3 – 23. 1) การถอดกรอบหรือทลายกรอบความคิด 2) การขยายเพิ่มกรอบความคิดใหม่ 3) การเชื่อมโยง ให้ครอบคลุม 4) การจัดความคิดให้เป็นระบบเชื่อมโยงเข้าหากัน


234 220 ในวันอาสาฬหบูชา ท่านอัญญาโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรมแล้วขอบวชเป็นพระภิกษุรูป แรกในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าทรงประทานการอุปสมบทแก่ท่านอัญญาโกณฑัญญะ ด้วยพุทธดำรัสว่า “เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว เธอจงประพฤติ พรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบเถิด” “พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสไว้ว่า พรหมจรรย์ หรือการบวชนี้ไม่ได้มีไว้สำหรับการ แสวงหาลาภสักการะใด ๆ หรือคำสรรเสริญใด ๆ ไม่ได้มีไว้เพียงเพื่อศีล สมาธิ และปัญญา สำหรับการปฏิบัติแต่มีไว้เพื่อเจโตวิมุตติหรือความหลุดพ้นแห่งจิตนั่นเอง พุทธวิถีกับการวางแผนนี้ พระพุทธเจ้ากล่าวว่าเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับผู้บริหารตาม แนวพุทธ กล่าวคือ ผู้บริหารต้องมีวิสัยทัศน์ ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ผู้บริหารต้องมีจักขุ มา แปลว่า มีสายตาที่ยาวไกล” ผู้บริหารต้องมีการมองการณ์ไกล21 จะเห็นได้ว่าในการ วางแผนเพื่อบริหารองค์กรของพระพุทธเจ้านั้นมีการใช้วิสัยทัศน์กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ และพันธกิจขององค์กรคณะสงฆ์ไว้อย่างชัดเจน องค์กรพระพุทธศาสนา เจริญเติบโตขึ้นมาได้เพราะผลจากวิสัยทัศน์ของพระพุทธเจ้า จากแนวทางพระพุทธวิถีการวางแผนการบริหารการศึกษานำไปสู่การปฏิบัติใน สถานการณ์บริหารปัจจุบันใช้ได้ทุกทุกยุคทุกสมัยสำหรับผู้นำทางการศึกษา22 คือ 1. ต้องกำหนดวิสัยทัศน์ 2. เป็นผู้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 3. เป็นผู้เปลี่ยนแปลงทันสถานการณ์ 4. เป็นผู้เรียนรู้ด้วยความกระตือรือร้น 5. เป็นผู้อำนวยความสะดวกให้ร่วมงาน ปฏิบัติหน้าที่และการรับผิดชอบและมอง กว้าง ใฝ่สู่สูงของผู้นำ 6.2.2 การบูรณาการพุทธวิถีใหม่ในการจัดองค์กร (Organization) ในการรับสมาชิกใหม่เข้ามาบวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาจะมรการ กำหนดให้สมาชิกทุกคนเริ่มต้นจากศูนย์ นั่นคือ ไม่มีการอนุญาตให้นำชาติชั้นวรรณะหรือ ตำแหน่งหน้าที่ในเพศฆราวาสเข้ามาในองค์กรคณะสงฆ์ ดังพุทธพจน์ที่ว่า “เปรียบเหมือน แม่น้ำใหญ่บางสายคือ แม่น้ำคงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี ไหลถึงมหาสมุทรแล้วย่อมละ นามและโคตรอันเดิมเสีย ถึงซึ่งอันนับว่ามหาสมุทรเหมือนกันวรรณะ 4 เหล่านี้ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ก็เช่นเดียวกันคือ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยที่ 21ดูรายละเอียดใน อง ติก. (ไทย) 20/459/146. 22ธีระ รุญเจริญ, ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา, (กรุงเทพมหานคร: บริษัท สำนักพิมพ์ข้าวฟ่างจำกัด, 2557), หน้า 161.


235 221 ตถาคตประกาศแล้วย่อมละชื่อและตระกูลเดิมเสีย ถึงซึ่งอันนับว่าสมณะเชื้อสายศากยบุตร เหมือนกัน”23 พุทธพจน์นี้แสดงให้เห็นว่า ทุกคนที่เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนาเป็นพระภิกษุ เสมอเหมือนกันหมด การอยู่ร่วมกันของคนที่เท่าเทียมกันนี้อาจก่อให้เกิดปัญหาในการ บังคับบัญชาภายในองค์กร เพราะเหตุที่ว่าเมื่อสมาชิกถือตัวว่า เท่าเทียมกับคนอื่นก็จะไม่มี ใครเชื่อฟังใครหรือยอมลงให้ใคร ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า “การอยู่ร่วมกันของคนที่เสมอ กันนำทุกข์มาให้”24ถ้าเป็นเช่นนั้น การบังคับบัญชาภายในองค์กรก็มีไม่ได้ พระพุทธเจ้าจึง ทรงกำหนดให้พระภิกษุต้องเคารพกันตามลำดับพรรษา ดังจะเห็นได้จากการที่ทรงกระจายอำนายให้คณะสงฆ์ดำเนินการอุปสมบท เมื่อมี กิจจาธิกรณ์หรือกิจการที่จะต้องทำร่วมกัน คณะสงฆ์สามารถบริหารจัดการเอง หรือเมื่อมี กรณีความขัดแย้งเกิดขึ้นในคณะสงฆ์ พระพุทธเจ้าได้ทรงมอบอำนาจให้คณะสงฆ์เป็น ผู้จัดการในการแก้ไขปัญหา พระพุทธเจ้าทรงดำรงตำแหน่งเป็นธรรมราชา กล่าวคือพระพุทธเจ้าเป็นผู้บริหาร สูงสุดในองค์กรพระพุทธศาสนา ดังพุทธพจน์ที่ว่า “เราเป็นพระราชานั่นคือเป็นธรรมราชาผู้ ยอดเยี่ยม”25 และพระพุทธเจ้าทรงแต่งตั้งพระสารีบุตรให้เป็นพระธรรมเสนาบดี ซึ่งมีฐานะ เป็นรองประธานบริหาร อยู่ในลำดับถัดมาจากพระพุทธเจ้า และทรงได้เป็นอัครสาวกฝ่าย ขวารับผิดชอบงานด้านวิชาการ พระโมคคัลลานะเป็นพระอัครสาวกฝ่ายซ้ายรับผิดชอบ งานด้านบริหาร พระอานนท์เป็นเลขานุการส่วนพระองค์ และได้ทรงแต่งตั้งสาวก ทั้งฝ่าย บรรพชิตและคฤหัสถ์เป็นเอตทัคคะ คือ ผู้ชำนาญการที่รับภาระงาน ด้านต่าง ๆ เช่น พระ มหากัสสปะเป็นผู้ชำนาญด้านธุดงค์ พระปุณณะมันตานีบุตรเป็นผู้ชำนาญด้านการแสดง ธรรม ภิกษุณีปฏาจาราเป็นผู้ชำนาญด้านวินัย จิตตคหบดีเป็นผู้ชำนาญด้านการแสดง ธรรม26 การแต่งตั้งเอตทัคคะนี้เป็นตัวอย่างของกระจายอำนาจ และการใช้คนให้เหมาะกับ งานในพระพุทธศาสนา ประเพณีปฏิบัติในสมัยปัจจุบันที่พระมหากษัตริย์ทรงพระราชทาน สมณศักดิ์แก่พระสงฆ์ผู้มีความชำนาญในแต่ละความรู้ความถนัด จากความรู้ในพระพุทธศาสนาดูเหมือนเป็นเรื่องอดีตแต่นี้คือองค์ความรู้ที่มีมาตั้ง นานแล้วว่า เรื่องของการกระจายอำนาจการปกครองในองค์กรในปัจจุบันก็ได้ดำเนินการ 23ดูรายละเอียดใน วิ.จุล. (ไทย) 7/460/290. 24ดูรายละเอียดใน ขุ.ธ. (ไทย) 25/31/54. 25ดูรายละเอียดใน ม.ม. (ไทย) 13/609/554. 26ดูรายละเอียดใน องฺ.เอกก. (ไทย) 20/146/30.


236 222 ตามนี้ การจัดภาระงานให้ตรงตามความรู้ความสามารถในปฏิบัติงานกล่าวได้ว่าภาวะผู้นำ ทางการศึกษาต้องรอบรู้ในการจัดการศึกษาและการใช้คนเพื่อให้เกิดคุณภาพงาน 6.2.3 การบูรณาการพุทธวิถีใหม่ในการบริหารงานบุคคล (Staffing) การบริหารงานบุคคลในพระพุทธศาสนานั้น เริ่มตั้งแต่การรับคนเข้ามาบวช โดยมี การกลั่นกรองโดยคณะสงฆ์ พระพุทธเจ้าทรงมอบความเป็นใหญ่ให้แก่คณะสงฆ์ในการ อุปสมบทแก่กุลบุตรตามแบบบัญญัติติจตุตถกรรม พระสงฆ์ผู้เป็นประธานในพิธีอุปสมบท เรียกว่าพระอุปัชฌาย์ การรับคนเข้ามาอุปสมบทต้องได้รับความเห็นชอบเป็นเอกฉันท์ จากคณะสงฆ์ที่ประชุมพร้อมกันในอุโบสถที่ประกอบพิธีอุปสมบท เมื่อบวชเข้ามาใน พระพุทธศาสนาแล้ว พระบวชใหม่จะต้องได้รับการฝึกหัดอบรมและการศึกษาเล่าเรียนจาก พระอุปัชฌาย์โดยอยู่ภายใต้การปกครองดูแลของท่านจนกว่าจะมีพรรษาครบ 5 จึงเรียกว่า นิสัยมุตตกะ คือ ผู้พ้นจากการพึ่งพาพระอุปัชฌาย์ ดังนั้นกระบวนการฝึกอบรมพระบวชใหม่จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง กระบวนการ นี้ก่อให้เกิดระบบโรงเรียนในวัด ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็นมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาที่ สำคัญในอินเดีย เช่น มหาวิทยาลัยนาลันทาระบบการศึกษาในพระพุทธศาสนาเป็น เครื่องมือที่สำคัญในการพัฒนาบุคลากร ตราบใดที่บุคลากรนั้นยังไม่บรรลุเป็นพระอรหันต์ เขาผู้นั้นต้องได้รับการศึกษาอบรมตลอดไป เรียกว่าเป็นเสขะ คือ ผู้ยังต้องศึกษา ต่อเมื่อ สำเร็จการศึกษาเป็นพระอรหันต์แล้วจึงเรียกว่าเป็นอเสขะ คือผู้ไม่ต้องศึกษา ด้วยเหตุนี้ พระพุทธศาสนาจึงได้ชื่อว่าเป็นศาสนาแห่งการศึกษา การศึกษาและ การอบรม ในพระพุทธศาสนานั้น ยึดหลักผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ดังที่จะเห็นได้ว่าการจัดการ เรียนการสอนต้องมีความสอดคล้องกับพัฒนาการของผู้เรียน และวุฒิภาวะของผู้เรียน พระพุทธเจ้าได้ทรงมุ่งให้ผู้เรียนนั้น ได้ศึกษาเล่าเรียนและลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ดังพุทธพจน์ที่ว่า “เธอทั้งหลายต้องทำความเพียรเผากิเลสเอง พระตถาคตเจ้าเป็นผู้ทรง บอกทาง”27 ดังกรณีสารถีผู้ฝึกมาคนหนึ่ง มีชื่อว่านายเกสีได้เข้าไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าแล้วทูล ถามพระพุทธเจ้าว่า พระองค์ทรงมีวิธีการฝึกคนอย่างไร แต่พระพุทธเจ้าก็ทรงได้ย้อนถาม กลับนายเกสีว่า แล้วนายเกสีเล่าท่านมีวิธีการในการฝึกม้าอย่างไร นายเกสีก็ได้กราบทูลต่อพระพุทธเจ้าว่า เขาใช้ 3 วิธี คือ 1) วิธีนุ่มนวล 2) วิธี รุนแรง 3) วิธีผสมผสาน กล่าวคือ มีได้ทั้งความนุ่มนวลและมีได้ทั้งความรุนแรงใน ขณะเดียวกัน และพระพุทธเจ้ายังทรงได้ตรัสถามอีกว่า ถ้านายเกสีใช้วิธีการฝึกม้าทั้ง 3 วิธี แล้วนายเกสียังไม่ได้ผลท่านจะทำอย่างไร นายเกสีกราบทูลพระพุทธเจ้าต่อไปอีกว่า ถ้าฝึก 27ดูรายละเอียดใน ขุ.ธ. (ไทย) 25/30/51.


237 223 ทั้ง 3 วิธีนี้ไม่ได้ผลก็ฆ่าม้าพวกนี้ทิ้งเสีย เพราะถ้าปล่อยม้าพวกนี้เอาไว้ก็จะทำให้เสียชื่อเสียง อันดีงามของสถานบันเกสีวิทยาแห่งนี้ ดังนั้นแล้วพระพุทธเจ้าจึงทรงได้ตรัสว่า สำหรับตัวพระองค์เองก็ทรงใช้ 3 วิธีนี้ด้วย เช่นกัน กล่าวคือ 1) การใช้วิธีที่นุ่มนวลกับบุคคลที่เราควรใช้กำลังด้วย 2) การใช้วิธีที่รุนแรง กับบุคคลที่ควรจะห้ามปราม และ 3) การใช้วิธีผสมผสานกันระหว่างบุคคลที่ควรยกย่องเมื่อ ถึงคราวที่ควรจะยกย่อง กับการตำหนิบุคคลเมื่อถึงคราวที่ต้องควรตำหนิ นายเกสีกราบทูลถามต่อพระพุทธเจ้าต่อไปอีกว่า ถ้าหากพระองค์ทรงใช้ 3 วิธีดังที่ กล่าวมาแล้วนี้ แล้วไม่ได้ผลพระองค์จะทรงทำเช่นไร พระองค์ทรงตรัสเพียงว่า ก็ต้องมีการ ฆ่าทิ้งเช่นกัน แต่การฆ่านั้นไม่สมควรกระทำกับสมณะมิใช่หรือ พระพุทธเจ้าทรงอธิบายว่า ในวินัยของพระอริยเจ้า การฆ่าหมายถึงการเลิกว่ากล่าวสั่งสอน คนที่พระพุทธเจ้าเลิกว่า กล่าวสั่งสอนย่อมหมดโอกาสเจริญเติบโตในทางธรรม จากกรณีการสนทนาระหว่างนายเกสีกับพระพุทธเจ้าชี้ชัดว่า ภาวะผู้นำทาง การศึกษาจะมีผู้ใต้บังคับบัญชาที่มีบุคลิกภาพแตกต่างกันหลายระดับก็ต้องพัฒนาคนใน รูปแบบต่าง ๆ เพื่อเพิ่มทักษะและสมรรถนะแต่ละหน้าที่อย่างยุติธรรมต่อไป 6.2.4 การบูรณาพุทธวิถีใหม่ในการอำนวยการ (Directing) การอำนวยการให้เกิดการดำเนินงานในพระพุทธศาสนาต้องอาศัยภาวะผู้นำเป็น สำคัญ ทั้งนี้เพราะไม่มีระบบการใช้กำลังบังคับให้ปฏิบัติตามผู้นำในพระพุทธศาสนา การที่ สมาชิกจะทำตามคำสั่งของผู้บริหารหรือไม่จึงขึ้นอยู่กับภาวะผู้นำของผู้บริหารเป็นสำคัญ ดังนั้น ผู้บริหารเชิงพุทธต้องมีภาวะผู้นำ คือ เป็นผู้บริหารที่มีความสามารถในการ จูงใจของบุคคลให้คนเกิดความต้องการอยากปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บริหาร บุคคลใดที่มี ความสามารถเป็นผู้บริหารได้ จะต้องมีคุณสมบัติ 2 ประการ ดังนี้ 1) อัตตหิตสมบัติ คือ การมีความเพียบพร้อมด้วยคุณสมบัติส่วนตัวที่เหมาะกับการ เป็นผู้นำ และ 2) ปรหิตปฏิบัติ คือ การมีน้ำใจต่อบุคคลในการปฏิบัติงานเพื่อส่วนรวมและองค์กร ดังนั้น พระพุทธเจ้าทรงมีความเพียบพร้อมด้วย คุณสมบัติ 2 ประการนี้ พระพุทธเจ้ามี ความสามารถในการสื่อสารได้กับคนทั่วไป เป็นการสื่อสารเพื่อการบริหาร ซึ่งในแต่ละครั้ง พระพุทธเจ้าทรงใช้หลัก 4 ส.28 ซึ่งคำอธิบายเชิงประยุกต์เข้ากับภาวะผู้นำทางการศึกษาได้ ดังนี้ 1. สันทัสสนา (แจ่มแจ้ง) หมายถึง อธิบายขั้นตอนของการดำเนินงานได้อย่าง ชัดเจนแจ่มแจ้งช่วยให้สมาชิกปฏิบัติตามได้ง่าย 28ดูรายละเอียดใน ที.สี. (ไทย) /149/161.


238 224 2. สมาทปทา (จูงใจ) หมายถึง การอธิบายให้เข้าใจและมีความเห็นชอบกับ วิสัยทัศน์จนกระทั่งเกิดศรัทธา และเกิดความรู้สึกว่าต้องฝันให้ไกลไปให้ถึง 3. สมุตเตชนา (แกล้วกล้า) หมายถึง การปลุกใจให้เกิดความเชื่อมั่นในตนเอง และมีความกระตือรือร้นในการดำเนินการต่างๆ ให้ไปสู่เป้าหมายได้ 4. สัมปหังสนา (ร่าเริง) หมายถึง การสร้างบรรยากาศในการปฏิบัติงานร่วมกัน แบบเพื่อน (กัลยาณมิตร) ซึ่งจะสามารถช่วยในการส่งเสริมให้สมาชิกทุกคน มีความสุข ร่วมกันได้ในการปฏิบัติงาน หลักการที่สำคัญยิ่งสำหรับภาวะผู้นำทางการศึกษาต้องมีความสามารถในการ สื่อสารกับองค์การในยุคดิจิทัล “อย่างแจ่มแจ้ง จูงใจ แกล้วกล้า ร่าเริงในการนำไป ปฏิบัติงานได้อย่างมีความสุข” สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน 6.2.5.การบูรณาการพุทธวิถีในการกำกับดูแล (Controlling) พุทธวิธีในการกำกับดูแล เป็นอีกวิธีการหนึ่งในการควบคุมสมาชิกทุกคนภายใน องค์กร ให้บุคคลหรือสมาชิกสามารถปฏิบัติงานตามหน้าที่ของตนเอง เพื่อให้บรรลุ เป้าหมายขององค์กรตรงตามวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้ พระพุทธเจ้าพระองค์ทรงได้ให้ ความสำคัญกับการกำกับดูแลคณะสงฆ์เป็นอย่างยิ่ง ดังที่จะเห็นว่าพระองค์ทรงบัญญัติพระวินัย เพื่อมีไว้ให้สำหรับพระสงฆ์ได้ใช้ เพื่อ เป็นมาตรฐานในการควบคุมความประพฤติให้ไปเป็นแนวทางเดียวกัน พระพุทธองค์ทรงให้ เหตุผลในการบัญญัติพระวินัย ทั้ง 10 ประการ ไว้ว่า เพื่อนำความผาสุกมาสู่คณะสงฆ์ เพื่อ เป็นการข่มผู้ที่ไร้ยางอายเพื่อเป็นการปกป้องไม่ให้เกิดความเสื่อมเสียทั้งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และกำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต และเพื่อความมั่นคงของพระพุทธศาสนาสืบไป29 ดังนั้นสรุปได้ว่า พุทธวิถีการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหาร คือ การยึดหลักของ ธรรมาธิปไตยเป็นสำคัญ30 กล่าวคือ ผู้บริหารต้องประพฤติ ปฏิบัติ และใช้หลักธรรมเป็น เครื่องมือการพัฒนาภาวะผู้นำ ชี้ชัดให้เห็นได้ว่าการที่จะเป็นผู้บริหารที่ดีต้องมีความเป็นธรรมาธิปไตย ควรจะ ยึดถือคติที่ว่า “ความถูกต้องไม่จำเป็นต้องถูกใจเสมอไป” หรือต้องถูกใจทุกคน การที่ ผู้บริหารกล้าตัดสินใจลงมือกระทำในสิ่งที่เกิดขึ้นด้วยความชอบธรรม โดยที่ผู้บริหารไม่หนี ปัญหา ควรยึดถือคติที่ว่า “อำนาจที่มาพร้อมกับความรับผิดชอบ”31 29ดูรายละเอียดใน วินย. (ไทย) 1/20/37. 30พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตโต), พุทธวิธีบริหาร, หน้า 4 - 23. 31ดูรายละเอียดใน ขุ.ธ. (ไทย) 25/8/9.


239 225 เมื่อเราพิจารณาพุทธวิถีของภาวะผู้นำการศึกษาในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการ วางแผน การจัดการองค์กร การบริหารงานบุคคล การอำนวยการ และการกำกับดูแลแล้ว นั้น ผู้นำสามารถนำมาบูรณาการ ในสถานศึกษาปัจจุบันได้ดังนี้ 1) พุทธวิถีในการวางแผน คือ ผู้บริหารต้องมีจักขุมา แปลว่า มีสายตาที่ยาวไกล คือมองการณ์ไกล มีเป้าหมายสูงสุดที่จุดเดียว คือวิมุตติ (ความหลุด พ้นทุกข์) กล่าวคือ ผู้บริหารต้องการกำหนดแนวทางเนินงานในปัจจุบันของสถานศึกษา โดยมีโครงสร้างการ บริหารงาน 4 ฝ่าย กำหนดเป้าหมาย/กลยุทธ์ วัตถุประสงค์ วิสัยทัศน์ พันธกิจให้ชัดเจน เพื่อให้สมาชิกได้ปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน สถานศึกษาก็จะถูกขับเคลื่อนไปโดยบุคลากร และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เกิดการยอมรับและประสบความสำเร็จตามมาในอนาคต 2) พุทธวิถีในการจัดการองค์กร คือ การให้ความเคารพซึ่งกันและกัน หมายถึง ลูกน้องให้ความเคารพหัวหน้า หัวหน้าให้เกียรติลูกน้องในการทำงาน การใช้ความคิดที่ สร้างสรรค์เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสถานศึกษา มีการแบ่งงานกันทำและการกระจายอำนาจ ภายในองค์กร ดั่งเช่นในทางพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าทรงกำหนดให้พระภิกษุต้อง เคารพกันตามลำดับพรรษา ผู้ที่บวชทีหลังต้องแสดงความเคารพต่อผู้บวชก่อน เป็นต้น 3) พุทธวิถีในการบริหารงานบุคคล คือ เป็นการสรรหาบุคลากรใหม่ ๆ เข้ามา ช่วยกันพัฒนาสถานศึกษา เป็นการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ที่ทันสมัยอยู่ เสมอ คือการมีศีล สมาธิ ปัญญา อีกทั้งการบริหารสถานศึกษาที่ดีสำหรับผู้บริหารต้องใช้คน ให้เหมาะกับงานจัดสรรภาระหน้าที่ให้ปฏิบัติงานตามความรู้ความสามารถ มีระบบการให้ รางวัลและการลงโทษเมื่อผิดกฎระเบียบข้อบังคับของสถานศึกษา 4) พุทธวิถีในการอำนวยการ คือ เป็นการสื่อสารเพื่อให้เกิดการดำเนินการตาม แผน ผู้บริหารสถานศึกษาต้องมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีและสามารถในการจูงใจคนได้ โดยใช้หลัก 4 ส. ได้แก่ 1) สันทัสสนา (แจ่มแจ้ง) 2) สมาทปนา (จูงใจ) 3) สมุตเตชนา (แกล้วกล้า) และ 4) สัมปหังสนา (ร่าเริง) และต้องมีภาวะผู้นำทางการบริหาร โดยยึดหลักธรรมคือหน้าที่เป็น สำคัญ 5) พุทธวิถีในการกำกับดูแล คือ เป็นการควบคุมคุณภาพ ผล/ประสิทธิภาพของ การปฏิบัติงานภายในสถานศึกษา รวมทั้งกระบวนการตรวจสอบ ประเมิน และแก้ปัญหา ภายในสถานศึกษาอีกด้วย เพื่อให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ดังภาพต่อไปนี้


Click to View FlipBook Version