The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

บุคคลทำการรบ รส.21-75

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by training7005, 2024-05-24 02:30:55

รส.21-75

บุคคลทำการรบ รส.21-75

Keywords: บ

- ๔๕ - รูปที่ ๒ - ๔๓ การยิง เอม็.๗๒ เอ.๒ (M 72 A 2) จากที่มั ่น ซ. คูติดต่อ (TRENCHES) ถ้ามีเวลาให้ขุดคูติดต่อเพื่อให้การก าบังเมื่อเคลื่อนที่ไปมาระหว่างที่มั่น ความลึกของคูที่จะขุด ย่อมขึ้นอยู่กับเวลาและอุปกรณ์ที่มาช่วยเท่าที่มีอยู่จริง ถ้าไม่มีรถขุดของทหารช่าง คูคลาน ต้องขุดด้วยพลั่วสั้น ควรลึกประมาณ ๓ ฟุต กว้าง ๒ ฟุต เป็นทางหักไปมา (ZIGZAG) เพื่อมีมุมหลบสะเก็ด กระสุนปืนใหญ่ที่อาจตกลงมาระเบิดในคู่ติดต่อ


- ๔๖ - รูปที่ ๒ - ๔๔ ภาพของคตูิดต่อมองทางอากาศ ด. ช่องเก็บสัมภาระ (STORAGE COMPARTMENTS) ที่มั่นต่อสู้จะต้องมีที่เก็บยุทโธปกรณ์ และกระสุน เมื่อทหารสร้างที่ก าบังเหนือศีรษะตรงกลางของหลุมให้ขุดช่องเก็บของที่ตอนล่างของผนังด้านหลัง ขนาดของช่อง เก็บของขึ้นอยู่กับจ านวนของยุทโธปกรณ์และกระสุนที่จะน าเข้าเก็บ


- ๔๗ - รูปที่ ๒ - ๔๕ ส่วนกลางของที่ก าบังเหนือศีรษะ ถ้าที่มั่นของทหารสร้างที่ก าบังเหนือศีรษะทางด้านปีกให้ใช้บริเวณนั้นเป็นที่เก็บสัมภาระได้เลย รูปที่ ๒ - ๔๖ ที่ก าบังเหนือศีรษะด้านปี กหลุมปื น ถ้าทหารขุดช่องเก็บให้กว้างพอจะท าให้ทหารมีที่ว่างพอเหยียดแข้งเหยียดขาขณะนอนพักผ่อน ช่องนี้ สามารถใช้เป็นที่นอนหลับภายใต้ที่ก าบัง


- ๔๘ - บทที่ ๓ การเคลื่อนที่ ( MOVEMENT ) ๓ - ๑ กล่าวทั ่วไป ( GENERAL ) ก. โดยปกติ ทหารใช้เวลาในการปฏิบัติต่าง ๆ ด้วยการเคลื่อนที่ไปตามภูมิประเทศมากกว่าการต่อสู้ ดังนั้น จะต้องใช้วิธีการเฉพาะในการเคลื่อนที่หรือนิยม เรียกว่า เทคนิคในการเคลื่อนที่ (MOVEMENT TECHNIQUES) เพื่อหลีกเลี่ยงการปะทะกับข้าศึก เมื่อทหารยังไม่ได้เตรียมการเพื่อเข้าปะทะ ข. หลักพื้นฐานของการเคลื่อนที่ ที่ได้เขียนลงในบทนี้ได้ระบุวิธีการเฉพาะอย่างที่เป็นประโยชน์ (STIPLATED) ซึ่งทหารทุกคนควรเรียนรู้วิธีการเหล่านี้ทหารต้องฝึกทบทวนจนกลายเป็นบุคคลิกภาพซ้อน (SECOND NATURE) ในตัวเอง ๓ - ๒ เทคนิคการเคลื่อนที่ ( MOVEMENT TECHNIQUES ) ความสามารถในการเคลื่อนที่ของหน่วยขึ้นอยู่กับ ความช านาญในการเคลื่อนที่ของตัวทหารทุกคนทหารจงใช้เทคนิคดังต่อไปนี้เพื่อหลีกหลบการตรวจการณ์หรือการ ได้ยินของข้าศึก ก. พรางร่างกายของตนและยุทโธปกรณ์ ข. พันแผ่นป้ายระบุตน (DOG TAGE) ที่แขวนคอด้วยเทปกาว ไม่ให้กระทบกันจนเกิดเสียงดัง ตลอดจน อาวุธและยุทโธปกรณ์ที่ติดตัวไปไม่ให้ ตวัด แกว่ง รุงรัง และเกิดเสียงดัง ค. สวมเครื่องแบบเนื้อผ้าหนานุ่ม และมีขนาดพอดีตัวไม่รุ่มร่าม ง. ไม่แบกหาม เกาะเกี่ยวสัมภาระไร้ประโยชน์บนร่างกาย เคลื่อนที่ไปในแต่ละที่ซึ่งให้การก าบังอย่าง คล่องตัว ๓ - ๕ วินาที ระหว่างจุดต่าง ๆ จ. หยุด มองไปรอบ ๆ และนิ่งฟัง มองหาจุดที่จะวางตัวก่อนเคลื่อนที่ต่อไป ฉ. มองหาเส้นทางที่ปกปิดและก าบังซึ่งจะเคลื่อนที่ไป ช. เคลื่อนที่สลับไปมาทางซ้าย - ขวา แต่ละครั้งที่ผ่านพงหญ้าสูง ๆ ซ. หยุดมองไปรอบ ๆ นิ่งฟัง เมื่อมีเสียงนกร้องเตือนหรือเสียงสัตว์อื่น ๆ (อาจมีข้าศึกอยู่ใกล้บริเวณนั้น) ด. อาศัยเสียงปืน ระเบิดในสนามรบกลบเสียงการเคลื่อนที่ของเรา ต. ข้ามถนนหรือเส้นทางในบริเวณที่มีสิ่งปกปิดก าบังมากที่สุด (ท่อลอดถนนใหญ่ๆ ที่ต่อ (LOW SPOTS) ทางโค้ง สะพาน) ถ. หลีกเลี่ยงใช้เส้นทางลาดชันและบริเวณที่มีดินร่วนหรือมีก้อนหินระเกะระกะ ท. หลีกเลี่ยงพื้นที่โล่งเตียน ยอดเนินและสันเขา ๑) วิธีการเคลื่อนที่ (METHODS OF MOVEMENT) นอกจากการเดินแล้ว ทหารอาจเคลื่อนที่ไปใน ๓ วิธีการ คือ คลานต ่า คลานสูง หรือไปด้วยการโผ (RUSH)


- ๔๙ - รูปที่ ๓ - ๑ การเคลื่อนที่ ก) การคลานต ่า (LOW CRAWL) ท าให้ตัวทหารเป็นเป้าที่ต ่าที่สุด ใช้การเคลื่อนที่ผ่านพื้นที่ซึ่งมี สิ่งปกปิดต ่ามาก และมีการระดมยิงหรือตรวจการณ์ของข้าศึกอย่างหนักจนทหารโผล่หัวไม่ขึ้นแนบล าตัวให้ติดพื้น มากที่สุด ใช้มือที่ถนัดก าสายสะพายปืนที่หูกระวินบน คว ่าข้อมือลงใช่ท่อนแขนรองใต้ฝาประกับล ากล้องปืน หนุน ปืนให้ปากล ากล้องพ้นพื้นดินปล่อยพานท้ายปืน (BUTT) ลากไปตามพื้น เมื่อจะเคลื่อนที่ไปยึดแขนทั้งสองข้างไป ข้างหน้า พร้อมกับงอเข่าข้างเดียวกับมือที่จับปืน แล้วใช้มือทั้งสองดึงตัวพร้อมกับถีบเท้าข้างที่งอขึ้นมา เคลื่อนที่ไป ในลักษณะนี้จนพ้นบริเวณที่โล่ง


- ๕๐ - รูปที่ ๓ - ๒ การคลานต ่า/สูง ข) การคลานสูง (HIGH CRAWL) จะท าให้เคลื่อนที่ได้เร็วกว่าคลานต ่าและยังคงท าให้ตัวทหาร เป็นเป้าต ่า ใช้วิธีนี้เมื่อในบริเวณของข้าศึกบังคับให้ทหารลุกขึ้นไม่ได้ ยกล าตัวท่อนบนเหนือพื้นดินใช้แขนท่อน ปลายและข้อศอกและขาท่อนล่างพยุงน ้าหนักตัวไว้ พาดปืนในอุ้งแขนขวากับล าตัวให้ล ากล้องพ้นพื้นดิน งอเข่ามา เล็กน้อยแต่อย่าให้เลยแนวก้นขึ้นมา ท าตัวให้ต ่าไว้ก่อน การเคลื่อนไปโดยเลื่อนข้อศอกขวาไปข้างหน้าพร้อมกับงอ เข่าซ้ายขึ้นมาแล้ว โยกสลับข้อศอกซ้ายไปข้างหน้า พร้อมเข่าขวาไปเรื่อย ๆ ในลักษณะลากตัวไปเหมือนกิ้งก่า ค) การโผ (RUSH) เป็นวิธีที่เร็วที่สุดในการเคลื่อนที่จากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง โดยใช้เวลา ๓ - ๕ วินาที ในการเคลื่อนที่ไปถึงแต่ละจุด โดยไปเป็นห้วงสั้นๆ เพื่อไม่ให้พลยิง ปกบ. หรือพลปืนเล็กของข้าศึก มอง ตามได้ทัน แต่ถ้าวิ่งไป ๕ วินาทีแล้วยังไม่พ้นพื้นที่โล่งก็ให้พยายามหาสิ่งที่พอก าบังตัวได้ หมอบก าบังไว้ก่อน อย่า หยุดอยู่กลางลานที่โล่งเตียน ก่อนโผต่อไปเล็งหาต าแหน่งที่มีการก าบังและปกปิดตลอดจนเส้นทางที่ดีที่สุด ซึ่ง ทอดไปยังที่นั้น


- ๕๑ - ๒) เริ่มการโผจากท่านอน (PRONE POSITION) ก) โผล่หัวขึ้นช้า ๆ เลือกดูจุดวางตัวข้างหน้าและเส้นทางที่จะวิ่งไป ข) ก้มหัวลงช้า ๆ ค) ดึงแขนเข้ามาแนบล าตัว ข้อศอกชิดล าตัว ง) ดึงขาขวา งอมาข้างหน้า จ) ดันแขนทั้งสอง ยกล าตัวขึ้น ฉ) ลุกขึ้นอย่างรวดเร็ว ช) วิ่งเร็วที่สุดไปยังจุดที่หมายตาไว้ รูปที่ ๓ - ๓ การโผ ๓) เมื่อทหารจะหยุดการเคลื่อนที่ให้ท าดังนี้ ก) กระโดดหยุดลงพร้อมกันทั้งสองเท้าในท่ามั่นคง ข) คุกเข่าลงพร้อมกัน ในขณะเดียวกันเลื่อนมือไปจับพานท้ายปืน ค) ทิ้งตัวลงด้านหน้า ผลักพานท้ายปืนยันพื้นข้างหน้า ง) วางตัวลงในท่านอนยิง


- ๕๒ - ถ้ามีข้าศึกยิงมาจากที่ใดที่หนึ่งเป็นครั้งคราว แสดงว่าข้าศึกอาจมองเห็นการเคลื่อนที่ของเราและคอยจ้องยิง เมื่อเราโผล่ออกจากที่ก าบัง ดังนั้นก่อนโผต่อไปให้กลิ้งตัวหรือคลานไปให้พ้นจากที่เราหยุดอยู่ไกลพอประมาณ เพื่อหลอกข้าศึกให้จ้องอยู่ที่จุดเดิม แล้วจึงโผต่อไปอย่างรวดเร็ว ถ้าเส้นทางมุ่งสู่ที่วางตัวแห่งใหม่ต้องผ่านพื้นที่โล่ง ใช้การโผแบบสลับฟันปลา (ZIGZAGGING) หยุดลง แล้วกลิ้งซ้าย หรือขวา แล้วโผต่อไป ๔) การเคลื่อนที่แบบย่องเงียบ (MOVING WITH STEALTH) หมายถึง การย่องเงียบ ๆ ช้า ๆ และระมัดระวัง วิธีนี้ต้องใช้ความอดทนมาก คือ (ก) ถืออาวุธในท่าเตรียมพร้อมยิง (ข) ก้าวอย่างมั่นคง ถ่ายน ้าหนักตัวไว้ที่ขาที่ยึดติดพื้นขณะก้าวไปข้างหน้า (ค) ยกขาที่ก้าวไปข้างหน้าให้สูงพ้นพงหญ้า หรือพุ่มไม้ (ง) วางเท้าลง โดยใช้ปลายเท้าก่อน น ้าหนักตัวยังอยู่ที่ขาหลัง (จ) เมื่อปลายเท้าถึงพื้นที่มั่นคงแล้ว จึงวางส้นเท้าลง (ฉ) ถ่ายน ้าหนักตัวไปที่เท้าหน้าก่อนที่จะยกขาหลังก้าวต่อไป (ช) ใช้การก้าวสั้น ๆ เพื่อรักษาการทรงตัวไว้ ในการเคลื่อนที่ในเวลากลางคืนผ่านดงไม้ที่หนาแน่นรกทึบ ต้องพยายามให้เงียบที่สุด ถือปืนไว้ด้วยมือ ที่ถนัด อีกมือหนึ่งยื่นไปข้างหน้า คล าหาสิ่งกีดขวางต่าง ๆ ๕) เมื่อจะหมอบลงใช้วิธีต่อไปนี้ (ก) ถือปืนไว้ด้วยมือใดมือหนึ่ง ย่อตัวลงช้า ๆ (ข) มือที่ว่างคล าดูที่พื้นให้ปลอดจากทุ่นระเบิด, ลวดสะดุด และอันตรายอื่น ๆ (ค) งอเข่าลงทีละข้าง จนเข่าทั้งสองและมือที่คล าพื้นรับน ้าหนักตัวเองไว้ทั้งหมด (ง) ถ่ายน ้าหนักตัวให้มือที่เท้าพื้นและเข่าด้านตรงข้ามกับมือ (มือซ้าย - เข่าขวา) (จ) ยกขาที่ไม่ได้รับน ้าหนักตัวขึ้นและเหยียดไปข้างหลัง วางลงอย่างนุ่มนวล (ฉ) เหยียดขาอีกข้างหนึ่งไปวางคู่กันเงียบ ๆ (ช) ม้วนตัวลงนอนในท่าหมอบ ๖) เมื่อทหารจะคลานให้ใช้วิธีดังต่อไปนี้ (ก) น ้าหนักตัวอยู่บนมือและเท้าทั้งสอง ถือปืนในมือที่ถนัด มือที่ว่างคล าพื้นดินเพื่อหาจุดวางมือ และเข่าที่จะคลานต่อไป (ข) เลื่อนมือและเข่าคลานไปยังจุดที่ได้เลือกไว้ วางลงอย่างนุ่มนวล ๓ - ๓ การปฏิบตัิโดยฉับพลนัขณะเคลื่อนที่ (IMMEDIATE ACTIONS WHILE MOVING) ขั้นตอนนี้เป็น แนวทางให้ทหารปฏิบัติโดยฉับพลันเมื่อข้าศึกระดมยิงด้วยพลุส่องสว่าง ก. ปฏิกิริยาตอบโต้ต่อการยิงด้วยอาวุธกระสุนวิธีโค้ง ๑) ถ้าทหารตกอยู่ท่ามกลางการระดมยิงของกระสุน ป. หรือ ค. ฯลฯ ในขณะเคลื่อนที่ รีบมองดู ผบ. หน่วยเพื่อรับค าสั่งโดยทันที ผบ.หน่วย อาจสั่งการให้วิ่งออกไปให้พ้นเขตกระสุนตกในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง หรือ อาจสั่งการให้ตามไป ถ้าทหารมองไม่เห็น ผบ.หน่วย แต่สามารถมองเห็นเพื่อนคนอื่น ๆ ให้รีบตามไป ถ้าทหารอยู่ โดดเดี่ยวไม่เห็นใครเลย ให้วิ่งออกจากบริเวณนั้นในทิศทางตรงข้ามกับที่กระสุนยิงมา


- ๕๓ - ข. วิธีกะระยะจากลักษณะวัตถุที่ปรากฏ (กลางวัน) (APPEARANCE - OF- OBJECTS METHOD) ๑) วิธีนี้ใช้การสังเกตจากขนาด และรายละเอียดความชัดเจนของวัตถุที่ปรากฏต่อสายตาเราเป็นวิธีปกติที่ เราได้ใช้อยู่ในชีวิตประจ าวัน เช่น เมื่อนักขับรถ พยายามจะแซงรถคันหน้าขึ้นไปก็ต้องตัดสินใจเอาจากขนาดของ รถที่สวนมาเขาจะไม่สนใจระยะห่างจริง ๆ เป็นระยะเท่าใด เพียงให้มีที่ว่างที่ปลอดภัยเพื่อแซงให้พ้น สมมติว่า นักขับรถรู้แน่ว่าในระยะ ๑ ไมล์ จะมองเห็นรถที่สวนมามีขนาดกว้าง ๑ นิ้ว และสูง ๒ นิ้ว และระยะห่างของดวงไฟ หน้าของรถที่สวนมาครึ่งนิ้ว ดังนั้นเมื่อเขามองเห็นรถที่วิ่งสวนมา (ONCOMING (AR)) มีขนาดสัดส่วนตามที่กล่าว มาแล้ว เขาก็จะรู้ว่าเขาห่างจากรถที่วิ่งสวนมาเป็นระยะ ๑ ไมล์ ๒) วิธีการนี้สามารถน ามาใช้กะระยะในสนามรบได้ ถ้าทหารรู้ถึงขนาด/รายละเอียดของกองทหารและ ยุทโธปกรณ์ที่มองเห็นในระยะที่เราทราบแล้วเราก็เปรียบเทียบลักษณะเหล่านั้นต่อวัตถุที่คล้ายคลึงกันในระยะห่างที่ เรายังไม่รู้ว่าไกลเท่าไร ถ้าลักษณะ/ขนาดพอดีกันกับกองทหารดังกล่าวระยะทางก็ต้องเท่ากันหรือใกล้เคียง ๓) การใช้วิธีนี้ทหารต้องมีความคุ้นเคยกับรายละเอียดลักษณะ ของวัตถุที่มองเห็นในหลาย ๆ ระยะที่ แตกต่างกัน และเนื่องจากทหารจะต้องสามารถมองเห็นรายละเอียดของวัตถุจึงจะใช้วิธีนี้ได้ผล ดังนั้นถ้าหากมีสิ่ง ที่บดบังทัศนวิสัย (เช่น หมอก, ควัน, ความมืดมัว) ก็จะจ ากัดประสิทธิภาพ หรือลดประสิทธิผลของการกะระยะด้วย วิธีนี้ ค. วิธีการผสม (COMBINATION OF METHODS) สภาพของสนามรบไม่เหมาะส าหรับการกะระยะเสมอ ไป ถ้าห้องภูมิประเทศจ ากัดต่อการใช้วิธีกะระยะเป็นห้วง ๑๐๐ เมตร และทัศนวิสัยมัวสลัว ก็จะจ ากัดการใช้วิธีกะ ระยะจากลักษณะวัตถุที่ปรากฏ ทหารอาจต้องใช้วิธีผสม เช่นถ้าทหารไม่สามารถมองเห็นพื้นภูมิประเทศได้ยาว ตลอดไปจนถึงเป้าหมาย ทหารก็ยังคงใช้การกะระยะจากรูปลักษณะ / รายละเอียดของวัตถุที่ทหารมองเห็น หมอก ควัน อาจบดบังรายละเอียดของเป้าหมาย แต่ทหารยังคงสามารถตัดสินใจได้จากขนาดหรือการกะระยะเป็นห้วง ๑๐๐ เมตร โดยการใช้วิธีใดวิธีหนึ่งหรือทั้ง ๒ วิธี ทหารจะกะระยะเป้าหมายได้ใกล้เคียงกับระยะจริง ง. วิธีสังเกตแสงสว่างและเสียง (ดีที่สุดในเวลากลางคืน) (FLASH - AND - SOUND METHOD) เสียงเดิน ทางผ่านอากาศได้ระยะทาง ๓๐๐ เมตร (โดยประมาณ) สิ่งนี้ท าให้เรากะระยะได้ ถ้าเราได้ยินทั้งเสียงและมองเห็น แสง ที่เกิดจากสิ่งนั้น ๆ เมื่อทหารมองเห็นแสงสว่างหรือควันของการระเบิดหรือฝุ่นที่ฟุ้งขึ้น ให้ทหารเริ่มนับในทันที และหยุดนับเมื่อทหารได้ยินเสียงตามมา จากการสว่างของแสงจ านวนที่ทหารนับได้ให้คูณด้วย ๓ วิธีนี้จะท าให้ ทหารประมาณระยะทางจากตัวทหารถึงจุดระเบิดได้เป็นหลักร้อยเมตร ถ้าทหารนับได้หนึ่งระยะทางจะห่างประมาณ ๓๐๐ เมตร ถ้าทหารนับได้สาม ระยะจะห่างประมาณ ๙๐๐ เมตร ถ้าทหารนับได้เกิน ๙ ยังไม่ได้ยินเสียงให้เริ่มนับ จากหนึ่งขึ้นไปอีกจนได้ยินเสียง (การนับจ านวนมากกว่า ๙ จะท าให้เวลามากขึ้น การกะระยะผิดพลาดง่าย)


- ๕๔ - รูปที่ ๓ - ๔ ทหารวิ่งติดตามหวัหน้าชุดออกจากตา บลกระสุนตก รูปที่ ๓ - ๕ ปฏิกิริยาต่อพลุส่องสว่างบนพืน้ดิน


- ๕๕ - ๒) ถ้าทหารตกอยู่ท่ามกลางแสงสว่างของพลุสะดุด ให้เคลื่อนที่ออกจากบริเวณแสงสว่างอย่างรวดเร็ว เพราะข้าศึกจะระดมยิงในทันที ใช้วิธีโผ ม้วนตัว หรือคลานต ่าในขณะเคลื่อนที่มองหาพวกผ่ายเรา และเคลื่อนที่ ตามไปสมทบกัน ณ บริเวณที่มีสิ่งปกปิดก าบัง ๓) ในภูมิประเทศที่รกและเป็นหลุมเป็นโขดหินเนินดิน จะเป็นอุปสรรคท าให้ทหารวิ่งเร็วไม่ได้ แต่บริเวณ นั้นอาจให้ที่ก าบังที่ดี จึงควรใช้ประโยชน์จากบริเวณนั้นเป็นที่ก าบังและหมายคอยจนพลุส่องสว่างดับแสงลง จึง เคลื่อนที่ออกจากบริเวณนั้นโดยเร็ว ข. ปฏิกิริยาต่อพลุสะดุดบนพื้นดิน ข้าศึกจะใช้พลุสะดุดเป็นเครื่องเตือนภัยโดยการโยน ให้ระเบิดหรือผูก ลวดไว้ให้ฝ่ายเราสะดุดระเบิดส่องสว่างขึ้น ในบริเวณที่ข้าศึกสามารถตรวจการณ์เห็นได้ชัดเจน ค. ปฏิกิริยาต่อพลุส่องสว่างบนอากาศ ข้าศึกนั้นใช้พลุส่องสว่างทางอากาศในพื้นที่ส าคัญ ๆ อาจใช้ยิงจาก การกระแทกด้วยมือ เครื่องยิงจรวด ค. และ ป. หรือทิ้งจากเครื่องบิน ๑) ในขณะที่ทหารก าลังเคลื่อนที่ถ้าได้ยินเสียงระเบิดจากพลุส่องสว่างบนอากาศ ให้ทหารรีบหมอบลง (หลังที่ก าบังถ้ามี) ในขณะที่พลุยังส่องสว่างอยู่ ๒) ถ้าทหารเคลื่อนที่ไปในบริเวณที่กลมกลืนกับฉากหลัง (เช่นในป่า) และมีพลุส่องสว่างระเบิดขึ้นบน อากาศให้ทหารหยุดอยู่นิ่ง ๆ จนกว่าพลุจะดับไป ๓) ถ้าเป็นที่โล่งให้ย่อตัวต ่าลงในทันที หรือนอนราบกับพื้น ๔) ถ้าทหารก าลังข้ามเครื่องกีดขวาง เช่น รั้วลวดหนามหรือก าแพง ให้ย่อตัวลงต ่าและนิ่งจนกว่าพลุจะดับ ๕) พลุส่องสว่างที่ระเบิดขึ้นอาจท าให้ทั้งทหารฝ่ายเราและฝ่ายข้าศึก ตาพร่าไปชั่วขณะ เมื่อข้าศึกใช้พลุ ส่องสว่างเพื่อตรวจดูฝ่ายเรา ข้าศึกก็จะสูญเสียการเห็นภาพในที่มืดไปชั่วขณะ เพื่อให้ฝ่ายเรายังคงรักษาการ มองเห็นในที่มืดไว้ได้ ให้รีบปิดตาในขณะที่พลุก าลังส่องสว่าง เมื่อพลุดับลงเราก็จะมองเห็นในความมืดได้ รูปที่ ๓ - ๖ ปฏิกิริยาต่อพลุส่องสว่างกลางอากาศ


- ๕๖ - ๓ - ๔ การเคลื่อนที่เป็ นชุด (MOVING WITHIN A TEAM) เมื่อทหารเคลื่อนที่เป็นชุดเล็ก ๆ เช่น ชุดการยิงของ ทหารราบ ปกติจะใช้รูปขบวนสามเหลี่ยม (WEDGE FORMATION) ทหารแต่ละคนในชุดจะประจ าต าแหน่งใน รูปสามเหลี่ยม โดยก าหนดจากอาวุธที่ถือ แต่อาจมีการเปลี่ยนต าแหน่งในรูปขบวนได้โดย หน.ชุด เมื่อเผชิญ สถานการณ์ ระยะห่างตามปกติระหว่างทหารแต่ละคน ห่างกัน ๑๐ เมตร รูปที่ ๓ - ๗ ชุดยิงในรปูขบวนสามเหลี่ยม ก. ทหารอาจต้องเปลี่ยนรูปขบวนบ้างเป็นการชั่วคราว เมื่อเคลื่อนที่ผ่านห้วงภูมิประเทศแคบ ทหารในแต่ละ แถวของรูปขบวนสามเหลี่ยม จะบีบเข้ามาเป็นแถวตอนเรียงหนึ่ง เมื่อเคลื่อนที่ผ่านป่าทึบหรือช่องแคบ เมื่อผ่าน ไปแล้ว จะกระจายก าลังออกเป็นรูปขบวนสามเหลี่ยมดังเดิม โดยไม่ต้องรอค าสั่งจาก หน.ชุดยิง แล้วคอยมองดู ผบ.ชุด และทหารในชุดอยู่ตลอดเวลา (VISUAL CONTACT)


- ๕๗ - ข. หน.ชุดหรือ ผบ.หมู่ น าหมู่ด้วยการเป็นตัวอย่าง ค าสั่งประจ าที่รู้กันในใจคือ “ ตามข้าพเจ้ามา และท าตาม ข้าพเจ้า ” (FOLLOW ME AND DO AS I DO.) เมื่อ ผบ. หรือ หน.ชุด ไปทางซ้าย ทหารก็ต้องไปทางซ้าย เมื่อเขาหมอบทหารก็ต้องหมอบ เมื่อเขายิงทหารก็ยิงตาม ค. เมื่อทัศนวิสัยจ ากัด การควบคุมในขณะเคลื่อนที่จะท าได้ยาก ให้เย็บแถบเรืองแสงขนาดยาว ๑ นิ้ว ๒ แถบ ติดกับผ้าพรางหมวกด้านหลัง ห่างกัน ๑ นิ้ว (ทหารอเมริกันเย็บติดที่สายรัดผ้าพราง เพื่อเป็นจุดสังเกตในเวลา กลางคืน) รูปที่ ๓ - ๘ แถบเรืองแสงเป็นอุปกรณ์ช่วยสังเกต ๓ - ๕ การยิงและการเคลื่อนที่ (FIRE AND MOVEMENT) เมื่อหน่วยทหารปะทะข้าศึก ก็จะท าการยิงโต้ตอบ และเคลื่อนที่เข้าหาข้าศึก บางครั้งก็ต้องเคลื่อนที่ออกห่างจากข้าศึก วิธีการนี้เรียกว่า การยิงและการเคลื่อนที่ เป็นการปฏิบัติทั้งการเข้าประชิดและท าลายข้าศึก หรือ เคลื่อนที่ออกห่างเพื่อผละจากการปะทะ (BREAK CONTACT) ก. การยิงและการเคลื่อนที่ จะเกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน ประกอบด้วยส่วนยิงและเคลื่อนที่ ส่วนต่างๆ เหล่านี้ อาจมีเพียงทหารคนเดียว ทหารเป็นคู่ ชุดยิงหรือหมู่ขึ้นอยู่กับขนาดของส่วนนั้น ๆ การปฏิบัติก็ยังคงเป็นการยิงและ การเคลื่อนที่ ข. ส่วนยิง (FIRE ELEMENT) จะยิงคุ้มกันการเคลื่อนที่ของส่วนเคลื่อนที่ไปยังที่มั่นของข้าศึก เพื่อป้องกัน ไม่ให้ข้าศึกยิงไปยังส่วนเคลื่อนที่


- ๕๘ - ค. ส่วนเคลื่อนที่ (MOVEMENT ELEMENT) จะเคลื่อนที่เข้าประชิดข้าศึกหรือเข้าประจ าที่มั่น แล้วยิง ตอบโต้ ส่วนเคลื่อนที่จะเริ่มเคลื่อนที่เมื่อส่วนยิงท าการยิงคุ้มกันให้ ง. ส่วนยิงและส่วนเคลื่อนที่ จะสลับหน้าที่กันตามระยะและที่ก าบังที่เหมาะสม เพื่อเคลื่อนที่เข้าท าลายข้าศึก จ. ก่อนที่ส่วนเคลื่อนที่จะเคลื่อนที่พ้นระยะยิงสนับสนุนของส่วนยิง (ตามระยะยิงของที่มีอยู่) ส่วนเคลื่อนที่ จะต้องเข้ายึดที่วางตัวที่สามารถยิงไปยังข้าศึกได้แล้วเปลี่ยนเป็นส่วนยิงคุ้มกัน ในขณะที่ส่วนยิงคุ้มกันเดิม เปลี่ยนเป็นส่วนเคลื่อนที่ ๓ - ๖ การเคลื่อนที่ไปกับรถถัง (MOVING WITH TANKS) ทหารอาจมีโอกาสเคลื่อนที่ไปพร้อมกับรถถัง โดย การนั่งไปบนรถถัง การนั่งบนรถถัง ท าให้เสี่ยงต่อการถูกระดมยิงจากข้าศึก และยังเป็นการลดความสามารถใน การด าเนินกลยุทธ์ของรถถังและความสามารถในการหมุนส่ายป้อมปืนบนรถถังอีกด้วย ถ้าเกิดการปะทะกับข้าศึก ทหารต้องลงจากรถถังในทันที ก. ในการบรรทุกไปโดยรถถัง ขั้นแรกจะต้องได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชารถก่อน แล้วจึงขึ้นตอนหน้า ทางขวาของรถถัง ไม่ใช่ด้านซ้ายซึ่งมีปืนกลร่วมแกนติดตั้งอยู่ แล้วเดินไปข้างหลังยืนเกาะที่โครงเหล็กด้านหลัง ป้อมปืน ถ้าคนมากไปไม่พอยืน อาจต้องยืนด้านข้างของป้อมปืน และเกาะที่ฝาปิดช่องลงป้อมปืน ข. เมื่อขึ้นไปบนรถถัง ต้องเตรียมพร้อมระวังกิ่งไม้ที่อาจฟาดทหารหล่นลงไปได้ และเครื่องกีดขวางต่าง ๆ บนพื้นดิน ซึ่งท าให้รถถังต้องเลี้ยวหลบ โดยทันทีทันใดและต้องระวังเมื่อรถถังพบข้าศึก จะส่ายป้อมปืนอย่าง รวดเร็วเพื่อท าการยิงข้าศึก ค. การขึ้นไปกับรถถัง ย่อมมีอันตรายเสมอ และควรปฏิบัติเมื่อความได้เปรียบในการไปกับรถถัง มีน ้าหนัก กว่าการเสี่ยงกับอันตรายต่าง ๆ รูปที่ ๓ - ๙ ทหารขึ้นไปกับรถถัง


- ๕๙ - บทที่ ๔ การตรวจการณ์ (OBSERVATION) ๔ - ๑ กล่าวทั ่วไป (GENERAL) ก. ในเวลาปฏิบัติการทุกชนิด ทหารจะต้องมองข้าศึก แต่ถึงอย่างไรทหารก็ยังมีเวลาอื่นในการตรวจการณ์ เมื่อทหารเข้าประจ ายังที่ตรวจการณ์ (OP) เพื่อเฝ้าตรวจการณ์ปฏิบัติของข้าศึก ข. ที่ตรวจการณ์ เป็นจุดที่ทหารเฝ้าตรวจเขตตรวจการณ์ที่ได้รับมอบ และรายงานพฤติกรรมของข้าศึก ที่ ตรวจพบหรือได้ยินเสียงภายในเขตตรวจการณ์นั้น ในบทที่ ๖ จะเป็นแนวทางในการรบรวบรวมและรายงานข่าวสาร ที่ได้จากการตรวจการณ์ ๔ - ๒ ทหารจะตรวจการณ์อย่างไร (HOW TO OBSERVE) ในส่วนนี้กล่าวถึงเทคนิคที่ทหารจะใช้ในการ ตรวจการณ์ทั้งในเวลากลางวันและในเวลากลางคืน ก. การตรวจการณ์ในเวลากลางวัน ในเวลามีแสงสว่างในเวลากลางวัน ใช้เทคนิคการค้นหาด้วยสายตา เพื่อ ตรวจดูภูมิประเทศ โดยท าวิธีนี้ได้ ๒ ขั้นคือ ๑) ขั้นที่ ๑ ตรวจการณ์ด้วยสายตา ภาพรวมของขอบเขตตรวจการณ์ทั้งหมดไปยังที่หมายที่เด่นเห็นได้ ง่ายและสีต่าง ๆ ที่ผิดธรรมชาติรูปทรงภายนอกหรือการเคลื่อนไหวต่าง ๆ มองดูพื้นที่ด้านหน้าของที่ตรวจการณ์ เป็นสิ่งแรกแล้วกวาดตาไปทั่วพื้นที่อย่างรวดเร็ว ไกลออกไปจนถึงระยะไกลสุดที่ต้องการตรวจดูถ้าเขตตรวจการณ์ กว้างแบ่งออกเป็นส่วน ๆ และตรวจการณ์ส่วนที่แบ่งออกตามขั้นที่ ๒ รูปที่ ๔ - ๑ ตรวจดูพื้นที่ให้ทั ่ว ๆ


- ๖๐ - ๒) ขั้นที่ ๒ ตรวจการณ์เป็นแนว ๆ กว้างแนวละ ๕๐ เมตร ทาบทับกันโดยสลับจากซ้ายไปขวา และขวาไป ซ้าย จนตรวจการณ์ได้ทั่วตลอดเขต เมื่อทหารพบจุดที่น่าสงสัย ตรวจดูให้ละเอียด รูปที่ ๔ - ๒ ตรวจการณ์ทาบทับ ๕๐ เมตร ข. การตรวจการณ์เวลากลางคืน (NIGHT OBSERVATION) ในเวลากลางคืน ใช้เทคนิคใดเทคนิคหนึ่งใน ๓ อย่างของตรวจการณ์ในเวลากลางคืน เพื่อตรวจดูภูมิประเทศ ๑) เทคนิคการปรับสายตาให้เข้ากับความมืด ขั้นแรกปล่อยโดยการยืนในที่มืดประมาณ ๓๐ นาที หรือใน บริเวณแสงสีแดงประมาณ ๒๐ นาที ตามด้วยยืนมองความมืด ๑๐ นาที แสงสีแดงจะช่วยประหยัดเวลา โดยทหาร สามารถรับค าสั่ง ตรวจยุทโธปกรณ์หรือท าสิ่งอื่นในบริเวณที่ส่องด้วยแสงสีแดงก่อนที่จะเข้าไปมองในที่มืด ๒) เทคนิคมองเฉียด (OFF - CENTER VISION TECHNIQUE) พุ่งความสนใจไปที่เป้าหมายแต่มอง เพียงเฉียดเป้าหมาย วิธีนี้จะมองเห็นเป้าหมายได้ชัดเจนกว่ามองตรงกลาง ๓) เทคนิคมองกวาดตารอบภาพ (SCANNING TECHNIQUE) พุ่งความสนใจไปที่เป้าหมาย แต่ไม่มอง ตรงไปที่เป้าแล้วเลื่อนสายตาเป็นระยะสั้น ๆ อย่างทันทีทันใด สลับที่ไปมาไม่เป็นวงรอบที่แน่นอนรอบ ๆ เป้าหมาย หยุดมองแต่ละจุดประมาณ ๒ - ๓ วินาที


- ๖๑ - ๔ - ๓ สิ่งที่ต้องมองและคอยฟัง ( THINGS TO LOOK AND LISTEN FOR ) ในการพยายามที่จะค้นหาข้าศึกใน เขตตรวจการณ์ให้มองและฟังสิ่งแสดงออกเหล่านี้ ก. เสียง ข. ฝุ่นหรือควันไอเสียของยานยนต์ ค. การเคลื่อนไหว ง. ต าบลต่าง ๆ จ. รูปทรงภายนอกหรือเงา ฉ. แสงสะท้อนหรือแสงส่องสว่าง ๑) เสียง ฟังเสียงต่างๆ เช่นเสียงก้าวเท้า กิ่งไม้หรือไม้แห้ง หักใบไม้สั่น คนไอและเสียงของยุทโธปกรณ์ หรือยานยนต์ สิ่งเหล่านี้อาจยากที่จะแยกแยะความเด่นชัดจากสนามรบอื่น ๆ และเสียงสัตว์เสียงสามารถเตือนให้ ทราบถึงทิศทางหรือต าแหน่งที่อยู่ทั่ว ๆ ไปของข้าศึก อย่างไรก็ตามถ้ามีเสียงใดเสียงหนึ่งสะดุดหูนั่นคือทหารใกล้ที่ จะเห็นข้าศึกแล้ว ๒) ฝุ่นหรือควันจากท่อไอเสียยานยนต์ (DUST OR VEHICLE EXHAUST) ทหารเดินเท้าหรือยานยนต์ ท าให้เกิดฝุ่นกระจายขึ้น ควันจากท่อไอเสียยานยนต์ที่ปล่อยออกมา สามารถมองเห็นได้จากระยะไกล ๓) การเคลื่อนไหว (MOVEMENT) มองหาความเคลื่อนไหวในเขตตรวจการณ์ ใช้เทคนิคการค้นหาด้วย สายตา ๔) ต าบลต่าง ๆ (POSITION) มองหาที่มั่นข้าศึกในสถานที่เด่นชัด เช่น ชุมทางถนน, ยอดเนิน, อาคาร โดดเดี่ยว มองหาบริเวณที่ให้การก าบังหลบซ่อนด้วย เช่น ในป่า ๕) รูปทรงภายนอกและเงา (OUTLINES OR SHADOWS) มองหารูปทรงหรือเงาของทหารข้าศึก อาวุธ ยุทโธปกรณ์ ยานยนต์ ข้าศึกอาจซ่อนอยู่ใต้ร่มเงาของต้นไม้หรืออาคาร ให้มองเพ่งในร่มเงา ๖) แสงสะท้อนหรือแสงส่องสว่าง (SHINE OR GLARE) มองหาต้นก าเนิดของแสงในที่มืด เช่น ไฟจาก ปลายบุหรี่ ไฟหน้ารถยนต์ ไฟฉาย ในเวลากลางวัน มองหาแสงสะท้อน หรือแสงเจิดจ้าจากวัตถุผิวเรียบ ผิวขัดมัน เช่น กระจกรถยนต์ ภาชนะใส่อาหาร หน้าปัทม์นาฬิกา และผิวหนังที่ไม่ทาสีพราง ๗) สิ่งที่ตัดกับฉากหลัง (CONTRASTING COLORS) มองหาสีที่ตัดกับฉากหลัง เช่น สีเครื่องแบบ ยุทโธปกรณ์ เช่น เสื้อในสีขาว, ผ้าเช็ดตัว ๔ - ๔ การกะระยะ (RANGE ESTIMATION) เมื่อทหารต้องท าการกะระยะ ในสนามรบวิธีที่ง่ายและแม่นย า คือ การใช้การกะระยะเป็นห้วงละ ๑๐๐ เมตร การกะระยะจากลักษณะวัตถุที่ปรากฏ การกะระยะจากแสงสว่างและ เสียงซึ่งจะได้อธิบายวิธีการต่อไป ก. วิธีกะระยะเป็นห้วง ๑๐๐ เมตร (ในเวลากลางวัน) (๑๐๐ METER UNIT - OF - MEASURE METHOD) ๑) ขั้นต้นทหารต้องฝึกวัดระยะเส้นทางในระยะ ๑๐๐ เมตร บนพื้นดิน เช่นในลู่วิ่งของสนามกีฬา จน คุ้นเคยด้วยสายตา ต่อไปฝึกกะระยะจากตัวเราถึงวัตถุในระยะไม่เกิน ๕๐๐ เมตร โดยกะระยะเป็นห้วง ห้วงละ ๑๐๐ เมตร จนถึงเป้าหมาย ถ้าวัตถุเป้าหมายอยู่ไกลเกิน ๕๐๐ เมตร ให้แบ่งระยะจากตัวเราถึงที่หมายเป็น ๒ ส่วน แล้ว กะระยะเป็นห้วงละ ๑๐๐ เมตร ไปถึงสุดเขตส่วนแรกที่แบ่งไว้ ได้ระยะเท่าไรให้คูณด้วย ๒ จะได้ระยะใกล้เคียงถึง ที่หมาย ๒) พื้นดินที่ลาดขึ้น จากจุดที่ทหารยืนจะท าให้มองระยะ ๑๐๐ เมตร รู้สึกลาดลง และพื้นดินที่ลาดลงจะ มองดูลาดขึ้นระยะ ๑๐๐ เมตร ดังนั้น แนวโน้มคือเมื่อระยะบนทางลาดขึ้น ต้องกะระยะ ๑๐๐ เมตร ให้ใกล้กว่าระยะ บนพื้นราบและกะระยะลงมาตามลาดลงด้วยกะระยะให้เกินกว่าระยะ ๑๐๐ เมตร บนที่ราบ ๓) ความแม่นย าของวิธีนี้ขึ้นอยู่กับ พื้นดินที่เรามองเห็นได้มากเท่าใด นี้เป็นความจริง คือถ้าเป้าหมาย อยู่ที่ระยะ ๕๐๐ เมตร หรือไกลกว่าและทหารสามารถมองเห็นพื้นดินได้เพียงบางส่วน ระหว่างตัวทหารถึงเป้าหมาย (อาจมีหุบ/ที่ต ่าคั่นอยู่) การใช้วิธีนี้จะเกิดความแม่นย าได้ยาก


- ๖๒ - บทที่ ๕ สงครามนิวเคลียร์ชีวะ เคมี(นชค.) ( NUCLEAR BIOLOGICAL AND CHEMICAL WARFARE ) ๕ - ๑ กล่าวทั ่วไป (GENERAL) อาวุธนิวเคลียร์ เชื้อโรค และไอพิษ (นชค.) สามารถท าให้เกิดผู้บาดเจ็บ ท าลายล้าง หรือท าให้ยุทโธปกรณ์ช ารุดใช้การไม่ได้ ขัดขวางการใช้ภูมิประเทศและท าให้การปฏิบัติการสับสน ยุ่งเหยิง ทหารจะต้องเตรียมการรักษาชีวิตให้ด ารงอยู่ในสภาพแวดล้อม ในพื้นที่ที่ได้เคยถูกถล่มด้วยอาวุธเหล่านี้ (นชค.) ในบทนี้จะกล่าวถึงมาตรการป้องกันเชิงรุกและเชิงรับ ซึ่งจะหลีกเลี่ยงหรือลดผลกระทบของอาวุธ นชค. ๕ - ๒ อาวุธนิวเคลียร์(NUCLEAR WEAPONS) ในตอนนี้จะกล่าวถึง ลักษณะของการระเบิดท าลายล้างและ ผลร้ายต่าง ๆ ต่อตัวทหาร อาวุธยุทโธปกรณ์และสัมภาระต่าง ๆ พร้อมให้มาตรการในการป้องกันการโจมตีด้วย อาวุธนิวเคลียร์ ก. ลักษณะการระเบิดท าลายล้างของนิวเคลียร์ ลักษณะหลัก ๔ ประการ ๑) แรงผลักดันฉับพลัน “ แรงระเบิด ” (BLAST) ๒) รังสีความร้อน (THERMAL RADIATION) ๓) รังสีนิวเคลียร์(NUCLEAR RADIATION) ๔) ห้วง คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (EMP) รูปที่ ๕ - ๑ ผลจากการใช้อาวธุนิวเคลียร์


- ๖๓ - ข. แรงผลักดันฉับพลัน (BLAST) ท าให้เกิดคลื่นปะทะแรงมหาศาล และแรงลมพุ่งขึ้นสูงก่อให้เกิดเศษดินหิน ฟุ้งกระจายท าลายอาคารและที่มั่นต่อสู้ ค. รังสีความร้อน (THERMAL RADIATION) ท าให้เกิดเปลวเพลิงและการเผาไหม้แสงจ้าที่แวบขึ้นขณะ ระเบิด ท าให้ตาพร่าหรือตาบอดถ้ามองไปตรงจุดระเบิด โดยเฉพาะในเวลากลางคืน ง. รังสีนิวเคลียร์ (NUCLEAR RADIATION) ท าให้เกิดผู้บาดเจ็บและถ่วงเวลาการเคลื่อนที่ รังสีจะแผ่อยู่ เป็นเวลาหลายวัน ครอบคลุมพื้นที่กว้างไกลจะเกิดขึ้นเป็น ๒ ระดับคือ ๑) รังสีนิวเคลียร์เริ่มแรก (INITIAL RADIATION) จะพุ่งออกรอบด้านในนาทีแรกที่ระเบิดออก ส่งรังสี โดยตรงจากลูกไฟมีความเร็วเท่ากับความเร็วแสง พุ่งตรงเป็นแนวมีพลังอ านาจทะลุทะลวงสูง ๒) รังสีนิวเคลียร์ตกค้าง (RESIDUAL RADIATION) จะเป็นการแผ่รังสีต่อเนื่องไป หลังการระเบิดนาที แรก ซึ่งเกิดจากวัตถุกัมมันตรังสีตัวเดิมของเดิม หรือจากวัตถุสัมภาระต่าง ๆ เช่น ละอองธาตุตามผิวดินและอาวุธ วัตถุระเบิดต่าง ๆ ก่อตัวเป็นกัมมันตรังสีแผ่ออกไปโดยแรงระเบิดของนิวเคลียร์ จ. ห้วงคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (EMP) เป็นมวลใหญ่มหึมาของพลังแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งพุ่งออกไปอย่างรุนแรง รวดเร็ว สร้างเสริมให้เกิดการระเบิดของนิวเคลียร์ในฉับพลันทันที และส่งพลังออกไปรอบทิศทาง ด้วยความเร็ว เท่ากับความเร็วแสง สามารถท าลายส่วนประกอบที่แข็งแกร่งของอุปกรณ์ไฟฟ้า (วิทยุ เรดาร์ คอมพิวเตอร์ ยาน ยนต์) และระบบการท างานของอาวุธ (จรวดโทว์ และจรวดดรากอน) การป้องกันอุปกรณ์เหล่านี้เสียหายต้องถอด ปลั๊กออกจากแหล่งพลังงานและน าซุกซ่อนก าบังไว้ วัตถุที่ก าบังได้ เช่น ยานเกราะ หรือก าแพงดินหนา ให้พ้นแนว เส้นตรงของแรงระเบิด แต่ถ้าไม่มีการเตือนภัยก่อนเกิดการระเบิดขึ้นก็จะไม่อาจหาเครื่องมือใดๆ มาป้องกัน ยุทโธปกรณ์เหล่านั้นได้ ฉ. ผลเสียต่อตัวทหาร ทหารที่ถูกรังสีนิวเคลียร์ จะท าให้เซลล์ทุกส่วนในร่างกายถูกท าลาย เกิดอาการป่วย จากการแผ่รังสี (RADIATION SICKNESS) อาการรุนแรงเพียงใดขึ้นอยู่กับรังสีที่มาถูกร่างกาย, ระยะที่ถูกรังสี และสภาพร่างกายในขณะนั้น อาการป่วยจากรังสีขั้นแรกจะปรากฏหลังจากถูกรังสี ๑ - ๖ ชม. มีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน และท้องร่วง อาการขั้นแรกอาจตามมาด้วยช่วงเวลาซ่อนอาการ ซึ่งจะไม่ปรากฏอาการใดๆ เมื่อรังสี ปรมาณูถูกต้องตัวทหารแล้ว จะไม่สามารถท าการปฐมพยาบาลได้ ทางช่วยเหลือที่ดีที่สุดคือ เมื่อเกิดอาการป่วย ขั้นต้นให้ทหารพักนอนในที่ ๆ ให้ความสะดวกสบายแก่ร่างกายมากที่สุด ถ้ารังสีที่แพร่มาถูกตัวทหารเป็นเพียงส่วนน้อย อาการเจ็บป่วยอาจจะหายไปเอง และไม่เกิดขึ้นอีกใน ภายหลัง แต่ถ้าอาการก าเริบขึ้นหลังจากซ่อนอาการไว้ ทหารต้องเข้ารับการรักษายังแนวหลัง ช. ผลเสียต่อยุทโธปกรณ์และเสบียงสัมภาระ แรงดันมหาศาลจากลมร้อนของระเบิดปรมาณูสามารถท าลาย วัตถุที่มีการผนึกฝาปิดไว้อย่างดี เช่น อาหารกระป๋ อง ล ากล้องปืน ถังน ้ามัน และเฮลิคอปเตอร์ เศษอิฐ หินที่ พังทลายจากตึกอาคารจะกลบทับยุทโธปกรณ์ ๑) ความร้อน สามารถท าให้เกิดการลุกไหม้ เช่น ไม้แห้ง, แผ่นผ้ายาง และวัตถุไวไฟ ๒) แสงจ้า สามารถท าลายสายตาได้ ๓) รังสีนิวเคลียร์ สามารถปนเปื้อนอยู่ในอาหารและน ้าดื่มได้ ซ. การป้องกันต่อการโจมตีด้วยนิวเคลียร์ ทางที่ดีและเร็วที่สุดคือ เข้าหลบหลังที่ก าบัง หลังเนินเขาหรือ หลุมปืน ท่อระบายน ้า หรือคู ถ้าอยู่ในที่โล่งให้หมอบราบลงทันทีและหลับตาให้สนิท ปกคลุมส่วนของผิวหนังที่อยู่ นอกร่มผ้า และนอนทับอาวุธไว้เพื่อป้องกันการสูญหาย ถ้าจับทิศทางของการระเบิดได้ให้ทหารหมอบลงโดยหัน ศีรษะไปในทิศทางตรงข้าม หมอบนิ่งอยู่จนกว่าลมแรงดันจากระเบิดจะผ่านพ้นไปแล้ว เริ่มตรวจอาการบาดเจ็บและ ความเสียหายของอาวุธยุทโธปกรณ์ และเตรียมการปฏิบัติภารกิจต่อไป ผลเสียต่อเนื่องจากการระเบิดของอาวุธ ยุทโธปกรณ์คือ การแผ่รังสีเท่านั้น ที่ทหารไม่สามารถรับรู้ได้ด้วยสามัญส านึก ต้องใช้อุปกรณ์ตรวจจับการแผ่รังสี ระเบียบปฏิบัติในการใช้เครื่องมือนี้ มีอยู่ใน รส. ๓ - ๑๒ และ รส. ๒๑ - ๔๐ ทางที่ดีที่สุดคือ


- ๖๔ - หลบออกไปให้พ้นเขตที่มีรังสีปนเปื้อนเหลืออยู่ ทางที่ดีที่สุดคือ อยู่ในหลุมบุคคลที่มีก าบังเหนือศีรษะ หรือใช้ ผ้ายางกันฝนปิดปากหลุมไว้ เมื่อฝุ่นควันจางลงสนิทแล้วให้ปัดสิ่งปนเปื้อนผงออกจากเสื้อผ้าและล้างร่างกายและ ยุทโธปกรณ์ให้เร็วที่สุด รูปที่ ๕ - ๒ มาตรการป้องกันส าหรับทหารราบ ๕ - ๓ อาวุธเคมี (ไอพิษ) และอาวุธแพร่เชื้อโรค (CHEMICAL AND BIOLOGICAL WEAPONS) ข้าศึกอาจ ใช้อาวุธสองชนิดนี้พร้อมกันหรือแยกกันใช้ก็ได้ โดยบรรจุมากับอาวุธนิวเคลียร์หรืออาวุธอื่น ๆ ความรู้เท่าทันต่อ วิธีใช้งานของอาวุธเหล่านี้ จะท าให้ทหารเอาตัวรอดจากผลกระทบต่าง ๆ และสามารถปฏิบัติภารกิจของเราต่อไปได้ ก. ลักษณะพิเศษที่ร้ายแรงของอาวุธเคมีและอาวุธแพร่เชื้อโรคและพิษร้ายของมัน ๑) ผลร้ายจากอาวุธเคมี เสมือนกับพิษจากยาฆ่าแมลง แต่มีอ านาจมากมหาศาลยิ่งกว่า มันจะท าลาย ชีวิตต่อการบาดเจ็บต่อตัวทหาร และแผ่คลุมพื้นที่กว้างเป็นกลุ่มแก๊ส ของเหลว หรือละออง ท าให้เกิดอาการ วิงเวียนงุนงง และบาดเจ็บ ข้าศึกอาจใช้ส่วนผสมเคมีต่าง ๆ ยิงมาจาก ป., ค. จรวด ขีปนาวุธ เครื่องบินทิ้งระเบิด และทุ่นระเบิด


- ๖๕ - ๒) ผลร้ายจากอาวุธแพร่เชื้อโรค เป็นตัวผลิตเชื้อโรคนานาชนิด สามารถสร้างเชื้อโรคอันตรายที่ไม่มีอยู่ ในธรรมชาติข้าศึกอาจใช้โดยวิธีพ่นเป็นละอองหรือบรรจุในวัตถุระเบิด การทิ้งระเบิด ขีปนาวุธ และทิ้งจาก เครื่องบินอาจแพร่เชื้อโดยใช้ ยุง เห็บ เหา ๓) พิษร้ายของอาวุธเหล่านี้ เป็นสารผสมมีพิษซึ่งผลิตจากสิ่งมีชีวิต (เช่น พิษงู) ตัวพิษไม่ใช่สิ่งมีชีวิตและ ในความรู้สึกของเราคิดว่ามันคือสารเคมี ข้าศึกอาจน ามาใช้ในสงครามทั่ว ๆ ไป ในระบบเดียวกับการท าสงคราม เคมี และพิษเหล่านี้สามารถท าให้เกิดการพิการหรือเสียชีวิตโดยไม่มีการแจ้งเตือน ข. ผลกระทบต่ออาวุธยุทโธปกรณ์ สารเคมีและพิษเชื้อโรคมีผลกระทบโดยตรงต่ออาวุธยุทโธปกรณ์เพียง เล็กน้อย อาวุธที่ถูกสารเคมีเหลวให้ระงับการใช้ไว้ก่อน จนกว่าการแปดเปื้อนนั้นจะคลายพิษลงไปจนหมด ค. ผลกระทบต่อสภาพพื้นภูมิประเทศ พื้นที่และอาคารที่เปื้อนสารเคมีเหลว ต้องระงับการเข้าไปปฏิบัติงาน ในที่แห่งนั้น ถ้าเป็นการยากที่จะขจัดสารพิษออกจากพื้นที่นั้น ต้องใช้เวลาคอยให้สารพิษถูกก าจัดออกไปด้วยวิธีการ ทางธรรมชาติ เช่น ฝนตกหนักชะล้างผิวดินออกไป พื้นที่ปนเปื้อนสารพิษจะต้องอ้อมผ่านไปหรือถ้าเครื่องตรวจวัด สารพิษส่ง สัญญาณเตือนให้ข้ามพื้นที่นั้นโดยเร็วและขจัดสารพิษที่อาจติดมากับเสื้อผ้า ยุทโธปกรณ์ออกมาให้เร็ว ที่สุด ง. ผลกระทบต่อตัวทหาร สารเคมีและสารแพร่เชื้อโรค อาจเข้าสู่ร่างกายทหารโดยการหายใจ ทางปาก ทางตา หรือผิวหนัง ท าให้เกิดการพิการหรือเสียชีวิตได้ ๑) สารพิษเหลวอาจกระจายถูกยุทโธปกรณ์ของทหาร ค้างอยู่บนพื้นดินและใบไม้ และอาจออกพิษ ต่อเนื่องไปหลายชั่วโมงหรือหลายวัน สามารถเป็นอันตรายต่อทหารที่ขาดการระวังป้องกันตนเองเมื่อไปสัมผัส ๒) สารแพร่เชื้อโรคเป็นสิ่งที่ยากจะรู้ได้ เมื่อไปแตะต้องเข้าในครั้งแรก ถ้าพบหรือสงสัยว่าข้าศึกมีการใช้ สารแพร่เชื้อโรค ให้รีบรายงานผู้บังคับบัญชาทราบ ๓) เครื่องส่งสัญญาณเตือนการตรวจจับสารเคมีแบบอัตโนมัติแบบ เอ็ม.๘ สามารถตรวจวัดการแพร่กระจาย ของสารเคมีในอากาศได้ และจะส่งสัญญาณเตือนเป็นระบบเสียง หรือแสง เครื่อง เอ็ม.๘ สามารถตรวจวัดสารเคมี ที่ท าลายระบบประสาทเม็ดเลือดและระบบการหายใจ เครื่องตรวจวัดแบบ เอ็ม.๔๓ เอ.๑ ตรวจวัดได้เฉพาะสาร ท าลายระบบประสาทแบบสารระเหย การใช้และการปรนนิบัติบ ารุงเครื่องมือทั้งสองชนิดนี้ เป็นความรับผิดชอบ ของหน่วยป้องกันอาวุธนิวเคลียร์ เชื้อโรค จ. การตรวจวัดสารเคมีและสารแพร่เชื้อโรค ความรู้สึกของมนุษย์ไม่อาจตรวจวัดสารเคมีได้เพราะสารเหล่านี้ไม่ มีกลิ่น ไม่มีสี ไม่มีรสและมองไม่เห็นในสนามรบ แต่ทหารสามารถตรวจวัดสารเคมีได้โดยการใช้เครื่อง เตือนภัยจาก สารเคมีและชุดเครื่องมือตรวจวัดสารเคมีในหน่วยของตน (รส. ๒๑ - ๔๐)


- ๖๖ - รูปที่ ๕ - ๓ เครื่องเตือนภัยจากสารเคมี ๑) แผ่นกระดาษตรวจวัดสารเคมีแบบ เอบีซี - เอ็ม.๘ (ABC - M 8) จะท าเป็นเล่ม ๆ ละ ๒๕ แผ่น ซึ่งเป็น ส่วนหนึ่งของชุดเครื่องตรวจวัดสารเคมีแบบ เอ็ม. ๒๕๖ กระดาษจะกลายเป็นสีเขียวเข้ม เหลือง หรือแดง เมื่อ สัมผัสกับสารเหลวท าลายระบบประสาทแบบ V-TYPE, G -TYPE หรือสารพิษท าให้ผิวหนังพอง (MUSTARD GAS) ตามล าดับ กระดาษ เอบีซี- เอ็ม.๘ ไม่สามารถตรวจวัดสารระเหย การทดสอบไม่สามารถมั่นใจได้เสมอไป บนวัตถุที่ผิวมีรูพรุนเล็ก ๆ เช่น ไม้ หรือยาง สารผสมหลาย ๆ อย่าง (รวมทั้ง สารละลายบางชนิดและสารขจัด คราบสกปรก) สามารถท าให้สีของกระดาษ เอบีซี - เอ็ม.๘ เปลี่ยนไปได้ การเปลี่ยนแปลงอันนั้นแสดงแต่เพียงว่า อาจ มีสารเคมีอยู่บนวัตถุนั้น การใช้กระดาษ เอบีซี - เอ็ม.๘ ตรวจสอบอย่างได้ผล จะต้องท าการตรวจสอบด้วย เครื่องมือตรวจวัดอย่างอื่นด้วย


- ๖๗ - รูปที่ ๕ - ๔ กระดาษตรวจวัดสารเคมี ๒) เครื่องตรวจวัดสารเคมี เอ็ม.๒๕๖ (M 256) จะแบ่งมอบให้ถึงระดับหมู่ปืนเล็ก เพื่อใช้ในการตรวจวัด อันตรายจากสารระเหยท าลายระบบประสาท ผิวหนังพอง หรือท าลายเม็ดเลือด จะใช้เมื่อหมวด/กองร้อย ถูก โจมตีด้วยอาวุธเคมี หรือเมื่อได้รับรายงานว่าน่าจะมีการใช้สารเคมีหรือสงสัยว่าจะมีการใช้ รูปที่ ๕ - ๕ ชุดตรวจวัดสารเคมี


- ๖๘ - ฉ. สัญญาณเตือน ถ้าทหารรู้หรือสงสัยว่ามีการใช้สารเคมี หรือสารแพร่เชื้อโรค ให้ทหารกลั้นหายใจ สวม หน้ากากป้องกันไอพิษ ตรวจสอบบริเวณนั้น และให้สัญญาณเตือนภัยตาม รปจ.ของหน่วย รูปที่ ๕ - ๖ ท่าสัญญาณเตือนสารเคมีเชื้อโรค ช. การป้องกันการแพร่สารเคมี เชื้อโรค ๑) อุปกรณ์ป้องกัน คือ หน้ากากป้องกันไอพิษจะช่วยป้องกันการหายใจเอาสารพิษเข้าไปในปอด ชุดป้องกันสารเคมีช่วยป้องกันสารเคมีเหลวประกอบด้วย หน้ากากและที่คลุมศีรษะป้องกันสารเคมี (OVERGARMENT) รองเท้ายางหุ้มน่องและถุงมือ


- ๖๙ - รูปที่ ๕ - ๗ ชุดป้องกันสารเคมีและอุปกรณ์ ๒) การป้องกันแมลง ปกติเครื่องแบบของทหารและถุงมือจะช่วยป้องกันยุงและเห็บ หรือหมัด ซึ่งเป็น ตัวแพร่เชื้อโรค กลัดกระดุมเสื้อทุกเม็ดยัดขากางเกงเข้าในรองเท้าเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายทาง รอยขีดข่วนและยังป้องกันแมลงที่น าเชื้อโรคมากัดบริเวณผิวหนังของเรา ใช้ยากันแมลงทาให้ทั่วผิว ยกเว้นใต้ตา และรอบ ๆ ดวงตา ๓) การถูกสารเคมี เมื่อทหารคนหนึ่งแสดงอาการป่วยจากการถูกสารเคมี ให้รีบท าการปฐมพยาบาล ทันทีเพื่อช่วยชีวิตไว้ ๔) สารเคมีท าลายระบบประสาท จะมีอาการคือ หายใจล าบาก น ้าลายไหล (DROOLING) คลื่นไส้ (NAUSEA) อาเจียน (VOMITING) ชักกระตุก (CONVULSIONS) และตามัว (DIM VISION) ให้น าตัวส่ง แพทย์ทันที ๕) สารเคมีท าให้ผิวหนังพองไหม้ มีอาการพองไหม้ที่ผิวหนัง ตา จมูก อาการอาจเกิดขึ้นทันที หรือ ซ่อนอยู่หลายชั่วโมงหรือหลายวันขึ้นอยู่กับชนิดของสารเคมี ถ้าสารเคมีนี้มาถูกตา หรือผิวหนังให้ล้างออกทันที ล้างตาด้วยน ้าสะอาด ใช้กระดาษก าจัดสารเคมี เอ็ม.๒๕๘ เอ.๑ (M 258 A1) เช็ดสารเคมีออกจากผิวหนัง ถ้ามี อาการพองมากขึ้นให้ปิดด้วยผ้าก๊อซ หรือผ้าสะอาดเพื่อป้องกันการติดเชื้อและรีบน าส่งแพทย์ ๖) สารเคมีท าลายเม็ดเลือด มีอาการคลื่นไส้ วิงเวียน ปวดศีรษะ ผิวหนัง/ริมฝีปากเป็นสีแดง หรือ ชมพู ชักกระตุกและสลบ รีบน าส่งแพทย์ทันที ๗) สารเคมีท าลายระบบการหายใจ จะมีอาการไอ หายใจขัด แน่นหน้าอก คลื่นไส้ ปวดศีรษะ น ้าตา ไหล ให้คนเจ็บอยู่เงียบ ๆ ในท่าที่สบาย และน าส่งแพทย์ทันที ส าหรับรายละเอียดเกี่ยวกับสงคราม นชค. ดูได้จาก รส.๒๑ - ๔๐ และ รส. ๒๑ - ๔๑


- ๗๐ - บทที่ ๖ ข่าวกรองการรบและการต่อต้านข่าวกรอง (COMBAT INTELLIGENCE AND COUNTERINTELLIGENCE) ๖ - ๑ กล่าวทั ่วไป (GENERAL) การใช้เทคนิคในการตรวจการณ์ที่ได้กล่าวไว้ในบทที่ ๔ ทหารต้องรวบรวม (COLLECT และรายงาน REPORT) ข่าวสารเกี่ยวกับข้าศึก ภูมิประเทศและสภาวะอากาศ ข่าวสารเหล่านั้นจะ กลายเป็นข่าวกรองหลังจากได้มีการตีความแล้ว ผบ.หน่วย ของทหารต้องการข่าวกรองการรบ เพื่อช่วยในการ วางแผนปฏิบัติการ ชีวิตของทหารและการด ารงอยู่ของเพื่อน ๆ ขึ้นอยู่กับการรายงานสิ่งที่ทหารเห็น ได้ยินและได้ กลิ่น ก. ทหารต้องกระท าการใด ๆ ไม่ให้ข้าศึกได้รับข่าวสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปฏิบัติการของฝ่ายเรา การกระท า นี้เรียกว่า “ การต่อต้านข่าวกรอง ” ประกอบด้วย ๑) ไม่บอกข่าวสารให้ข้าศึกทราบ เกี่ยวกับแผนปฏิบัติความมุ่งมั่นและพฤติกรรม ๒) การสืบหาความพยายามของข้าศึกเพื่อให้ได้ข่าวสาร ๓) การลวงข้าศึกถึงแผนและความมุ่งมั่นต่าง ๆ ๖ - ๒ แหล่งข่าวสาร (SOURCES OF INFORMATION) ผบช.ทราบข่าวสารจากหลาย ๆ หน่วย แต่ตัวทหาร คือแหล่งข่าวที่ดีที่สุด ทหารสามารถรวบรวมข่าวสารได้จากแหล่งต่อไปนี้ ก. เชลยศึก เป็นแหล่งข่าวด่วนให้ส่งทหารข้าศึกที่จับได้ไปให้ ผบ.หน่วย ของทหารโดยเร็วพร้อมทั้งบอก ข่าวสารทุกอย่างที่ทหารได้รู้จากข้าศึกให้ ผบ.หน่วยทราบ ข. เอกสารที่ยึดได้อาจบันทึกข่าวสารที่มีค่าในปัจจุบันหรือในอนาคต เกี่ยวกับการปฏิบัติการของข้าศึก รีบส่งเอกสารให้ ผบ.หน่วยเร็วที่สุด ค. พฤติกรรมของข้าศึก เป็นสิ่งระบุว่าข้าศึกก าลังจะไปท าอะไร รายงานทุกสิ่งที่ทหารเห็น การปฏิบัติของ ข้าศึกบางเรื่องที่ทหารคิดว่าไม่ใช่เรื่องส าคัญส าหรับตนเอง อาจมีความส าคัญส าหรับ ผบช.ของเราได้ ง. บุคคลพลเรือนในท้องถิ่น การรบด้วยวิธีรุกจะได้ข่าวสารข้าศึก ภูมิประเทศ และสภาวะอากาศในพื้นที่ รายงานข่าวสารทุกอย่างได้รับเพิ่มเติมจากบุคคลพลเรือน เมื่อทหารไม่สามารถเชื่อได้ว่าฝ่ายไหนที่ประชาชน พยายามที่จะช่วยจึงต้องระวัง เมื่อจะปฏิบัติตามข่าวสารที่ได้มาจากข้าศึก พยายามยืนยันข่าวนั้นโดยเครื่องมืออื่นๆ บางชนิด ๖ - ๓ อะไรที่ต้องรายงาน รายงานข่าวสารเกี่ยวกับข้าศึกให้ ผบ.หน่วย ทราบโดยเร็ว ถูกต้อง และสมบูรณ์ ใน รายงานนั้นจะต้องตอบค าถามต่อไปนี้ได้ ใคร ท าอะไร ที่ไหน เมื่อไร จะเป็นการดีที่สุดถ้าเป็นการใช้หัวข้อแบบ การรายงาน (SALUTE) แจ้งข่าวสารเกี่ยวกับ ขนาดพฤติกรรม ที่ตั้ง หน่วย เวลา และยุทโธปกรณ์ เมื่อท าการ รายงานโดยใช้การรวมอักษรตัวแรกเพื่อให้จ าได้ง่าย Size = ขนาด Activity = พฤติกรรม Location = ที่ตั้ง Unit/ Uniform = หน่วย/ เครื่องแบบ Time = เวลา Equipment = ยุทโธปกรณ์ รูปที่ ๖ - ๑ แบบการรายงาน


- ๗๑ - ก. ขนาด รายงานจ านวนของทหารและยานยนต์ที่เห็น เช่น “ ทหารสิบคน ” (ไม่ใช่หนึ่งหมู่ ปล.) หรือ “รถถัง ข้าศึก ๓ คัน ” (ไม่ใช่รถถังข้าศึก ๑ มว.) ข. พฤติกรรม รายงานว่าข้าศึกก าลังท าอะไร เช่น “ วางทุ่นระเบิดถนน ” ค. ที่ตั้ง รายงานสถานที่ที่เห็นข้าศึกถ้ามีแผนที่ให้รายงานเป็นระบบกริด ๖ ตัว เช่น จีแอล ๘๗๔๔๖๑ ถ้า ไม่มีแผนที่ให้ระบุจุดอ้างบนภูมิประเทศ เช่น บนถนนเพชรเกษม ๓๐๐ เมตร จากหน้าค่ายธนะรัชต์ ง. หน่วย รายงานหน่วยของข้าศึก ถ้าไม่ทราบให้รายงานลักษณะเด่น เช่น เครื่องหมายบนกันชนของ รยบ. หรือชนิดของหมวก บางกองทัพใช้หมวกและเครื่องแบบที่ดูเด่นชัดหรือแถบสีบนเครื่องแบบ เพื่อระบุชี้บ่ง ประเภทของหน่วยประเภทของยุทโธปกรณ์ที่ตรวจการณ์เห็นอาจเป็นแบบพิเศษเฉพาะหน่วยใช้ เช่น “ รถจิ๊ป ติด ปืนกลบนแท่น อาจเป็นการชี้ว่า นั่นคือ หน่วยลาดตระเวน ” จ. เวลา รายงานเวลาที่เห็นข้าศึกก าลังท างานอยู่ ไม่ใช่เวลาที่เริ่มรายงานตามเวลาท้องถิ่น ฉ. ยุทโธปกรณ์ รายงานยุทโธปกรณ์ทุกอย่างที่ข้าศึกสวมใส่หรือใช้อยู่ ถ้าทหารไม่สามารถจ ารูปแบบของ ยุทโธปกรณ์หรือชนิดของยานยนต์ได้ ให้เขียนภาพประกอบและแนบภาพสเก็ตมาพร้อมรายงาน ต่อไปนี้เป็น ตัวอย่างของการรายงาน แบบการรายงาน (SALUTE) จาก มว.๑ ร้อย.๒ ถึง ฝอ.๒ ร.๒๑ จุดตรวจการณ์ ได้ตรวจเห็นรถถังข้าศึกสี่คัน วิ่งลงไปทางใต้ถนนสายที่สอง ที่พิกัด เอ็นบี (NB) ๖๑๓๓๙๗ เมื่อ ๒๔๑๓๐๐ ธ.ค.๔๐ รถวิ่งด้วยความเร็วประมาณ ๕ กม. ต่อ ชม. เปิดฝาปิดป้อมปืนสามารถมองเห็นทหาร ข้าศึกสวมหน้ากากป้องกันไอพิษ ก. เชลยศึกและเอกสารที่จับได้ เชลยศึก (Pws) คือแหล่งข่าวสารที่ดีจะต้องควบคุมโดยไม่ละเมิดกฏหมาย ระหว่างชาติและโดยไม่เสียโอกาสได้รับข่าวกรองเพิ่มเติม ปฏิบัติต่อเชลยศึกด้วยความเมตตา กรุณาแบบเพื่อน มนุษย์ ไม่ท าอันตรายพวกเขา ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ทหารที่อาวุโสสูงให้ท าหน้าที่รับผิดชอบการดูแล ถ้าเชลย ศึกไม่อาจส่งกลับมาแนวหลังได้ทันเวลา ให้เลี้ยงดู อาหาร น ้า และการปฐมพยาบาล อย่าให้บุหรี่ ขนมหวาน หรือสิ่งอ านวยความสะดวกต่าง ๆ แก่เชลยศึก ข. การควบคุมเชลยศึก ให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้ด้วยระบบ S (เอส) ๑) ค้น (SEARCH) ตัวเชลยศึกเร็วที่สุดเมื่อจับได้ ยึดอาวุธและเอกสารต่าง ๆ ยกเว้น เอกสารระบุตนเอง และหน้ากากป้องกันไอพิษ ออกใบแสดงรายการสิ่งของที่ยึดไว้ให้พวกเขาระบุรายการทรัพย์สินส่วนตัว และเอกสาร ต่าง ๆ ที่ได้ยึดไว้ เพื่อให้รู้ว่าเชลยศึกคนใดมีเอกสาร/ทรัพย์สิน อะไรบ้าง เมื่อท าการตรวจค้นเชลยศึกให้ทหารฝ่าย เราหนึ่งคนระวังป้องกัน (ผู้ตรวจค้นต้องไม่ยืนอยู่ระหว่างตัวเชลยศึกกับผู้คุ้มกัน) ให้เชลยศึกถ่างขา ถ่างแขนเท้า ก าแพง หรือต้นไม้ หรือนอนคว ่าในท่าเตรียมยึดพื้น ให้คุกเข่าติดพื้น ตรวจค้นร่างกายยุทโธปกรณ์ เสื้อผ้า


- ๗๒ - รูปที่ ๖ - ๒ การควบคุมเชลยศึก ๒) แยก (SEGREGATE) เชลยศึกออกเป็นกลุ่มเพศและกลุ่มเล็ก เช่น ทหาร พลเรือน และนักการเมือง วิธีนี้ท าให้เป็นการป้องกันข้าศึกหลบนี้ แยกกลุ่มไว้จนกว่าจะส่งถึงแนวหลัง ๓) เงียบ (SILENCE) ให้เชลยศึกเงียบห้ามพูดคุยกับคนอื่น ๆ เพื่อป้องกันการวางแผน หลบหนี และเป็น การรอบคอบต่อการระวังป้องกันแต่ละคน รายงานทุกสิ่งที่เชลยศึกพูดหรือท า ๔) เร็ว (SPEED) ส่งเชลยศึกไปให้ ผบช. อย่างเร็ว ผบช. จะรวบรวมและส่งกลับไปแนวหลังเพื่อให้ ฝอ. ๒ ซักถาม


- ๗๓ - ๕) พิทักษ์ (SAFEGUARD) เมื่อส่งตัวเชลยศึกไปแนวหลัง อย่าให้ใครข่มขู่พวกเขา คอยเฝ้าดูความ พยายามที่จะหลบหนี อย่าให้เชลยศึกรวมกันเป็นกลุ่ม หรือแยกให้ออกห่างกันมากเกินไป การท าแบบนี้อาจเปิด โอกาสให้เชลยศึกหลบหนี ถ้าเชลยศึกบาดเจ็บ และไม่อาจส่งกลับตามขั้นตอนได้ให้ส่งตัวให้หน่วยเสนารักษ์เพื่อส่งกลับสายแพทย์ ก่อนส่งกลับเชลยศึก มอบป้ายให้เขา และท าขึ้นมาใหม่อีกอันหนึ่งตามรายละเอียดในแผ่นป้ายตามรูป แผ่นป้ายที่ลงรายการนี้ ฝอ.๒ ของหน่วยจะเป็นผู้จัดท าไว้เพื่อสนับสนุนหน่วยก าลังรบ วัน/เวลาของวันจับกุม....................................................................................................... สถานที่ในการจับกุม.......................................................................................................... หน่วยที่ท าการจับกุม........................................................................................................ เหตุการณ์ขณะจับกุม......................(เกิดขึ้นอย่างไร)....................................................... รูปที่ ๖ - ๓ ป้ายเชลยศึก ชนิดของเอกสาร/สิ่งอุปกรณ์ ........................................................................................... วัน/เวลาที่ยึดของได้ ....................................................................................................... สถานที่ที่ยึดของได้........................(บอกพิกัด)............................................................... หน่วยที่ท าการยึดของ, เอกสาร ..................................................................................... เหตุการณ์ขณะยึดของ, เอกสาร..............(เกิดขึ้นอย่างไร).................................................... ได้ยึดเอกสารหรือสิ่งของจากใคร..................................................................................... รูปที่ ๖ - ๔ ป้ายเอกสารหรือป้ายสิ่งอปุกรณ์ ค. การจัดส่งเอกสารและยุทโธปกรณ์ที่จับได้ เอกสารและยุทโธปกรณ์ของข้าศึกเป็นแหล่งข่าวสารที่ดีเยี่ยม อาจเป็นเอกสารทางราชการ (แผนที่ ค าสั่ง บันทึก ภาพถ่าย) หรือเอกสารส่วนตัว (จดหมายหรือบันทึกประจ าวัน) ส่งเอกสาร และยุทโธปกรณ์ของข้าศึกให้ ผบ.หน่วยโดยเร็วที่สุด เพราะถ้าช้าไปข่าวสารต่าง ๆ อาจสูญ หายหรือล้าสมัยไปก่อนวิเคราะห์ ท าป้ายแสดงรายละเอียดบันทึกการจับกุม หลักฐานทุกชิ้นตามแบบที่แสดงในรูป ถ้าหลักฐานชิ้นนั้น ๆ ได้จากเชลยศึกคนใดให้ลงชื่อเชลยศึกผู้นั้นไว้ในป้ายด้วย ๖ - ๔ มาตรการต่อต้านข่าวกรอง (COUNTERINTELLIGENCE MEASURES) ทหารทุกคนจะต้องปฏิบัติตาม มาตรการดังต่อไปนี้ เพื่อไม่ให้ข้าศึกได้รับทราบข่าวสารการปฏิบัติการของฝ่ายเรา ก. ฝึกหัดเรื่องการพรางให้แนบเนียน และเรียนรู้กลวิธีในการพรางแบบต่าง ๆ


- ๗๔ - ข. ฝึกฝนการรักษาวินัยการใช้เสียงและแสง ค. ฝึกหัดการรักษาสุขอนามัยในสนามอย่างถูกต้อง ง. ปฏิบัติตามระเบียบการใช้วิทยุโดยเคร่งครัด จ. ใช้นามเรียกขานและสัญญาณผ่านตามที่ก าหนด ฉ. ไม่น าจดหมายส่วนตัว หรือรูปถ่ายติดตัวไปในพื้นที่การรบ ช. ไม่จดบันทึกประจ าวันลงในสมุดบันทึก เมื่ออยู่ในพื้นที่การรบ ซ. ต้องรอบคอบระมัดระวังเมื่อคุย หรือประชุมเกี่ยวกับเรื่องทางทหาร (ข้าศึกอาจแอบดักฟังอยู่) ด. ใช้รหัส/ประมวลลับ ตามที่ได้รับอนุมัติ ต. ไม่ยอมเปิดเผยรหัสการปฏิบัติการ (ถ้าถูกจับ) ถ. รายงานผู้ที่มีฝักใฝ่กับข้าศึก ไม่ว่าจะเป็นทหารหรือพลเรือน ให้ ผบช.ทราบ ท. รายงานให้ ผบช. ทราบถึงผู้ใดก็ตามที่พยายามสืบถามข่าวการปฏิบัติการของฝ่ายเรา น. ท าลายแผนที่ หรือเอกสารส าคัญเมื่อคาดว่าจะถูกจับเป็นเชลยแน่ ๆ บ. ไม่คุยเรื่องการปฏิบัติทางทหารให้ทราบ ป. บอกเรื่องการปฏิบัติการทางทหารให้ทราบเฉพาะผู้เกี่ยวข้องเท่าที่ต้องการให้ทราบเท่านั้น ผ. เตือนเพื่อนทหารให้ตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อการต่อต้านข่าวกรองอยู่เสมอ


- ๗๕ - บทที่ ๗ การติดต่อสื่อสาร (COMMUNICATIONS) ๗ - ๑ กล่าวทั ่วไป (GENERAL) การติดต่อสื่อสาร คือ การแลกเปลี่ยนข่าวสารโดย ๒ ฝ่าย หรือมากกว่า ข่าวสารนั้นต้องมีการส่งและการรับที่เข้าใจความหมาย ทหารต้องรู้ว่าจะติดต่อสื่อสารอย่างไรถึง ผบ.หน่วย และเพื่อนทหารด้วยกัน ทหารต้องสามารถบอกถึงสิ่ง ต่อไปนี้ ก. ท่านเห็นอะไร ข. ท่านก าลังท าอะไร ค. ท่านได้ท าอะไรไปแล้ว ง. ท่านก าลังจะท าอะไร จ. ท่านต้องการอะไร ๗ - ๒ วิธีการติดต่อสื่อสาร (MEANS OF COMMUNICATION) วิธีการติดต่อสื่อสาร แต่ละแบบมีขีด ความสามารถข้อได้เปรียบและข้อเสียเปรียบในตัวของมันเอง วิธีการต่าง ๆ ที่ทหารสามารถน ามาใช้ได้มีดังต่อไปนี้ ก. วิทยุสื่อสาร วิทยุเป็นเครื่องมือสื่อสารซึ่งติดต่อกันด้วยคลื่นความถี่ วิทยุมีความเหมาะสม โดยเฉพาะ เมื่อน ามาใช้เพื่อด ารงการบังคับบัญชา และควบคุมในขณะหน่วยทหารท าการเคลื่อนย้ายในระดับหมู่ และหมวด นิยมใช้วิทยุชนิดมือถือขนาดเล็กหรือชนิดแบกสะพายหลัง ซึ่งมีระยะการติดต่อสื่อสารได้ไกลขึ้นและติดต่อได้ หลายๆ หน่วย จึงจ าเป็นต้องเพิ่มขนาด และชนิดของวิทยุที่มีการใช้งานยุ่งยากมากขึ้น ๑) การที่จะใช้วิทยุให้บังเกิดผลดีที่สุดทหารจะต้องพิจารณาถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่จะมีผลกระทบกระเทือน ต่อการใช้เสียงก่อน การจะติดต่อสื่อสารกับหน่วยต่าง ๆ วิทยุที่ใช้ต้องตั้งความถี่คลื่นให้ตรงกัน ท าการส่งและรับ ด้วยสัญญาณชนิดเดียวกัน วิทยุของหน่วยทหารราบส่วนใหญ่เป็นวิทยุแบบส่งคลื่นทางระดับ (FM) ซึ่งจะไม่ สามารถติดต่อสื่อสารกับวิทยุแบบส่งคลื่นขึ้นไปทางสูงแล้วสะท้อนชั้นบรรยากาศกลับลงมา (AM) ทหารต้องตั้งปุ่ม ตัดเสียงคลื่นความถี่บนหน้าปัดวิทยุให้ถูกตามต าแหน่งด้วย ๒) ปัจจัยซึ่งกระทบกระเทือนต่อระยะติดต่อของวิทยุ คือ สภาพอากาศ ภูมิประเทศ เสาอากาศ แหล่งจ่ายพลังงาน และที่ตั้งวิทยุ ถ้าตั้งวิทยุใกล้สะพานโครงเหล็กหรืออาคารสูง ๆ จะกระทบกระเทือนต่อการส่ง คลื่นวิทยุ ถ้าตั้งวิทยุใกล้สายไฟฟ้าแรงสูงจะเกิดการรบกวนจากไฟฟ้าสถิต (STATIC) การรบกวนคลื่นวิทยุยังมี สาเหตุจากสถานีวิทยุใกล้ ๆ สภาพอากาศเลว หรือการส่งสัญญาณรบกวนจากวิทยุข้าศึก


- ๗๖ - รูปที่ ๗ - ๑ วิธีการติดต่อสื่อสาร ๓) มีหลาย ๆ สิ่งที่เป็นสาเหตุในสภาพการติดต่อสื่อสารไม่ชัดเจน แต่ทหารสามารถแก้ไขได้โดยการใช้ สามัญส านึกของตนเอง เช่น ไม่พยายามส่งวิทยุเมื่อยืนอยู่ใต้สะพานโครงเหล็ก หรือใกล้กับเครื่องก าเนิดไฟฟ้า และ สายไฟแรงสูง และการใช้เสาอากาศที่เหมาะสมกับย่านความถี่มากที่สุดพร้อมทั้งเลือกจุดที่ตั้งวิทยุ หรือสถานีสื่อสาร ที่ไม่มีสิ่งบังทิศทางการส่ง - รับคลื่นวิทยุ และใช้วิธีต่อต้านการส่งสัญญาณวิทยุรบกวนจากข้าศึกที่ถูกต้อง ๔) วิทยุเป็นเครื่องมือติดต่อสื่อสารที่ปลอดภัยน้อยที่สุด ทุกครั้งที่ทหารพูดผ่านระบบวิทยุ สัญญาณเสียง จะถูกส่งออกไปรอบทิศทาง ซึ่งข้าศึกที่มีวิทยุชนิดคลื่นความถี่เหมือนกันสามารถรับสัญญาณของเราได้ ทหารจึง ต้องตระหนักไว้ว่าข้าศึกก าลังดักฟังข่าวสารของฝ่ายเรา หรือก าลังก าหนดหาจุดที่ตั้งของเรา เพื่อยิงท าลายด้วย ป. ดังนั้นทหารทุกคนที่ใช้วิทยุท าการติดต่อสื่อสารจะต้องรู้เทคนิคการป้องกันไม่ให้ข้าศึกดักฟังได้ ข. การติดต่อสื่อสารทางทัศนสัญญาณ (VISUAL COMMUNICATIONS) เมื่อข้าศึกมีขีดความสามารถ ในการส่งสัญญาณวิทยุรบกวนคลื่นวิทยุของฝ่ายเรา ฝ่ายเราจะต้องเน้นการใช้ทัศนสัญญาณในการบังคับบัญชา และการควบคุมหน่วยทัศนสัญญาณประกอบด้วยสัญญาณมือและแขน พลุส่องแสง ควัน ไฟฉาย แผ่นผ้าสัญญาณ และทัศนสัญญาณจากการบินของเครื่องบิน ๑) การใช้ทัศนสัญญาณให้บังเกิดผลนั้น ขึ้นอยู่กับความหมายของชุดทัศนสัญญาณที่ได้เตรียมการไว้ ก่อน ผบ.หน่วย ต้องเตรียมสอนท่าสัญญาณต่อทหารทุกคนให้รู้และเข้าใจตรงกัน รวมทั้งก าหนดความหมายของ การยิงพลุส่องแสง ควันและแสงไฟฉาย โดยทั่วไปการใช้ทัศนสัญญาณต่าง ๆ จะระบุไว้ในระเบียบปฏิบัติประจ า ของหน่วย หรือใน นปส. หรือค าแนะน าปฏิบัติการสื่อสาร - อิเล็กทรอนิกส์ (นปอ.) (COMMUNICATION -


- ๗๗ - ELECTRONIC OPERATION INSTRUCTION) ๒) แผ่นผ้าสัญญาณ (PANEL MARKER) เป็นชุดของแผ่นผ้าสีซึ่งใช้ปูบนพื้นดินเป็นสัญญาณ ติดต่อสื่อสารกับอากาศยาน มีประโยชน์เมื่อทหารไม่อาจติดต่อทางวิทยุกับเครื่องบินได้ หรือเมื่อมีการสั่งระงับการ ใช้วิทยุทั้งหน่วยทหารภาคพื้นดินและเครื่องบินเมื่อวิทยุของฝ่ายเราช ารุดหรือถูกท าลาย หรือเมื่อถูกข้าศึกส่ง สัญญาณวิทยุรบกวนจนไม่สามารถติดต่อกันทางวิทยุได้ ถ้าไม่มีแผ่นผ้าสัญญาณ ต้องมีการเตรียมการให้เป็น มาตรฐาน เช่นเดียวกับสัญญาณแขนและมือ แผ่นผ้าสัญญาณมีข้อจ ากัดในการใช้คือ สามารถท าให้เข้าใจผิดได้ ง่าย บางชนิดยังจ ากัดต่อการใช้ในสภาพทัศนวิสัยเลว เช่น ในเวลากลางคืน หรือภูมิประเทศรกทึบ และในบาง โอกาสข้าศึกอาจตรวจจับรหัสการวางแผ่นผ้าสัญญาณได้ และน ามาใช้ซ้อนกลฝ่ายเราให้เกิดการสับสน ค. การติดต่อสื่อสารด้วยเสียงสัญญาณ การติดต่อสื่อสารด้วยเสียงสัญญาณ ต้องมีการเตรียมการในเรื่อง สื่อความหมายต่าง ๆ ให้เป็นที่เข้าใจตรงกัน เสียงสัญญาณที่ใช้ติดต่อประกอบด้วย เสียงพูด เสียงนกหวีด เสียงแตร เสียงของอาวุธ และเครื่องก าเนิดเสียงอื่น ๆ ใช้ส่งข่าวแบบง่าย ๆ ในระยะทางสั้น ไม่ไกลกันนัก แต่ เสียงสัญญาณก็เป็นสิ่งที่เสี่ยงต่อการตรวจจับของข้าศึก และยังอาจถูกกลบด้วยเสียงอาวุธต่าง ๆ ในสนามรบ การ ใช้เสียงสัญญาณส่วนใหญ่ใช้กับสัญญาณเตือนของที่บังคับการ โดยปกติ ผบ.หน่วย ทหารในพื้นที่เป็นผู้ก าหนด ความหายของเสียงสัญญาณ และบันทึกไว้ใน รปจ.ของหน่วย และใน นปส. เสียงสัญญาณต่างๆ ที่น ามาใช้ก็ยังมี โอกาสท าให้เข้าใจความหมายผิดได้ง่าย ง. การติดต่อสื่อสารทางสาย (WIRE COMMUNICATIONS) ถึงแม้ว่าการติดต่อข่ายการติดต่อสื่อสาร ทางสายจะใช้เวลามากกว่าการติดตั้งวิทยุ แต่ทางสายให้ความปลอดภัยในการติดต่อได้ดีกว่าวิทยุ เพราะเมื่อทหาร ใช้การติดต่อสื่อสารทางสาย เสียงของทหารจะถูกแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้าส่งไปตามสายโทรศัพท์ ซึ่งจะถูกรบกวน จากสภาพอากาศได้ยากมาก รวมทั้งสภาพภูมิประเทศ และสายยังป้องกันการรบกวนสัญญาณจากการปฏิบัติทาง สงครามอิเล็กทรอนิกส์ของข้าศึก เช่นการส่งคลื่นรบกวนได้ ๑) สายอาจถูกท าลายจากการยิง ป.ของข้าศึก และการบินโจมตี และโดยการถูกเหยียบขาดโดยบังเอิญ จากรถสายพานและยานยนต์ล้อ ดังนั้นจึงจ าเป็นต้องเดินสายโทรศัพท์อย่างเหมาะสม เพื่อลดความเสียหาย โดย พิจารณาจากสถานการณ์ทางยุทธวิธีก่อนนั้น คือ การติดต่อสื่อสารทางสายขณะเคลื่อนที่ไปโดยเร็วอาจไม่ได้ผลและ ในสถานการณ์ที่หน่วยตั้งอยู่ประจ าที่ต้องใช้เวลามากในการเดินสายโทรศัพท์ ๒) เมื่อข้าศึกมีขีดความสามารถในการส่งสัญญาณวิทยุรบกวนฝ่ายเรา และค้นหาที่ตั้งฝ่ายเราได้ในขณะที่ เราส่งสัญญาณวิทยุ ฝ่ายเราควรต้องพิจารณาใช้การติดต่อสื่อสารทางสายแทนวิทยุ การเดินสายโทรศัพท์ในป่าที่ รกหนาทึบ ในพื้นที่มีน ้าขัง หรือในเขตภูเขาสูงจะเกิดความยุ่งยากมาก พายุฝน หิมะ และอุณหภูมิสูง ย่อมมี ผลกระทบต่อการเดินสายโทรศัพท์เมื่อจะเดินสายโทรศัพท์ต้องมีเจ้าหน้าที่และอุปกรณ์พร้อมจึงจะไม่ยุ่งยาก จ. การติดต่อสื่อสารทางพลน าสาร (MESSENGER COMMUNICATIONS) พลน าสารเป็นวิธีการสื่อสารที่ ต่างไปจากแบบต่าง ๆ ของการติดต่อสื่อสารของทหารราบเป็นวิธีทางการส่งต่อแผนที่, เอกสาร และวัตถุใหญ่ๆ เช่นเดียวกับการส่งข่าวด้วยค าพูดหรือข้อความ ศูนย์ข่าวเป็นศูนย์กลางของการรับข่าวส่งข่าวชนิดต่าง ๆ ตั้งอยู่ที่ บก.พัน. หรือ บก.อื่น ๆ ที่สูงกว่า การส่งข่าวด้วยพลน าสาร อาจถูกจ ากัดเพราะการปฏิบัติของข้าศึก ทั้งยังต้องใช้ เวลามากกว่าวิทยุหรือทางสาย และยังไม่มีเวลาแลกเปลี่ยนข่าวสารจากผู้เขียนข่าวและผู้รับข่าว ๗ - ๓ ระเบียบการวิทยุโทรศพัท์ (RADIOTELEPHONE PROCEDURE) ระเบียบการวิทยุโทรศัพท์ เป็น ระเบียบปฏิบัติประจ าในการใช้วิทยุโทรศัพท์ เป็นระเบียบที่ท าให้การแลกเปลี่ยนข่าวสารได้เร็วขึ้น และช่วยให้เกิด ความผิดพลาดน้อย กฎต่อไปนี้จะช่วยให้ทหารใช้เวลาในการส่งข่าวอย่างมีประสิทธิภาพ และหลีกเลี่ยงการละเมิด การ รปภ. ทางการติดต่อสื่อสาร ก. ส่งข่าวให้สั้น สมบูรณ์ และชัดเจน โดยการเขียนข้อความข่าวเตรียมไว้ก่อน


- ๗๘ - ข. ส่งข่าวช้า ชัดเจน และใช้ค าพูดธรรมชาติออกเสียงชัดเจนทุกค า ให้เวลาสถานีรับข่าวเขียนข่าวได้ทัน ค. ฟังก่อนส่งข่าว เพื่อหลีกเลี่ยงการกระจายคลื่นรบกวนการส่งข่าวของสถานีอื่น ๆ ง. จงตระหนักอยู่เสมอว่า ข้าศึกก าลังดักฟังข่าวของท่านอยู่ ก. การออกเสียงตัวอักษร (PHONETIC ALPHABET) อักษรต่อไปนี้ได้คัดเลือกไว้เป็นแบบของการออกเสียง เพื่อช่วยระบุชี้บ่งการออกเสียงอักษรต่าง ๆ เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน เช่น อักษร B ออกเสียงว่า “ บราโว่ ” และอักษร D ออกเสียงว่า “ เดลตา ” การออกเสียงว่า “ บราโว่ ” และ “ เดลตา ” จะไม่ท าให้ฟังสับสน เมื่อส่ง ข่าวทางวิทยุ ว่า บี ดี ซึ่งฟังดูใกล้เคียงกันมาก ๑) เราใช้การออกเสียงตัวอักษรเพื่อ ก. ส่ง ตัวอักษรต่าง ๆ เสียงต่าง ๆ ข. ส่ง ค าย่อของแต่ละตัวอักษร ค. ออกเสียงดัง ๆ ค าที่ผิดปกติหรือค ายาก ตัวอักษร ค า ออกเสียง ตัวอักษร ค า ออกเสียง A (เอ) อัลฟ่า อัล - ฟ่า N (เอ็น) โนเว็มเบอร์ โน-เว็ม-เบอร์ B (บี) บราโว่ บรา - โว่ O (โอ) ออสการ์ ออส - การ์ C (ซี) ชาลี ชา - ลี P (พี) ปาป้า ปา - ป้า Q (คิว) คิวเบค คิว - เบค D (ดี) เดลต้า เดล - ต้า R (อาร์) โรมิโอ โร - มิ - โอ E (อี) เอคโค่ เอค - โค่ S (เอส) เซียร่า เซีย - ร่า F (เอฟ) พอกซ์ทรอท พอกซ์ทรอท T (ที) แทงโก้ แทง - โก้ G (จี) กอล์ฟ กอล์ฟ U (ยู) ยูนิ ฟอร์ม ยู - นิ - ฟอร์ม H (เฮช) โฮเทล โฮ - เทล V (วี) วิคเตอร์ วิค - เตอร์ I (โอ) อินเดีย อิน - เดีย W (ดับเบิ้ลยู) วิสกี้ วิส - กี้ J (เจ) จูเลียส จู – เลียส X (เอ็ก) เอกซ์ - เรย์ เอกซ์ - เรย์ K (เค) กิโล กิ - โล Y (วาย) แยงกี้ แยง - กี้ L (แอล) ลิม่า ลิ - ม่า Z (แซด) ซูลู ซูลู M (เอ็ม) ไมค์ ไมค์ หมายเหตุ ออกเสียงหนักที่ตัวพิมพ์หนา เมื่อต้องการสะกดค ายากในข้อความข่าว ให้เกริ่นน าว่า “ ข้าพเจ้าจะสะกดค าให้ ” แล้วสะกดทีละตัว อักษรแล้วอ่านค าเต็มอีกครั้ง รูปที่ ๗ - ๒ การออกเสียงค าต่าง ๆ ตัวอย่าง ค าว่า แมนูเวอร์ (MANEUVER) ต้องส่งออกไปและสามารถออกเสียงได้ว่า “ MANEUVER ” (แมนูเวอร์) ข้าพเจ้าสะกดค าให้ MIKE - ALPHA - NOVEMBER - ECHO - UNIFORM - VICTOR - ECHO - ROMEO - MANEUVER ” ถ้าทหารไม่สามารถอ่านค านี้ออก หรือออกเสียงไม่ถูก อย่าพยายามออกเสียงไปให้ เกริ่นน า ด้วยค า ว่า EVACUATE จะต้องส่งค านี้แต่ไม่สามารถออกเสียงได้ถูก ให้ออกเสียงดังนี้ “ ข้าพเจ้าสะกดให้ ” ECHO - VICTOR - ALPHA - CHARLIE - UNIFORM - ALPHA - TANGO - ECHO


- ๗๙ - ตัวเลข การอ่านออกเสียง ๐ ศูนย์ (ZE -RO) ๑ หนึ่ง (WUN) ๒ สอง (TOO) ๓ สา – อ๋าม (TREE) ๔ สี่ (FOW - ER) ๕ ห้า (FIFE) ๖ หก (SIX) ๗ เจ็ด (SEV - EN) ๘ แปด (AIT) ๙ เก้า (NIN - ER) รูปที่ ๗ - ๓ การออกเสียงตัวเลข การส่งตัวเลขหลายหลักให้ส่งต่อกันไปครั้งละ ๑ ตัวเลข แต่มีข้อยกเว้น ๒ ข้อ ที่ต้องส่งตัวเลขเป็น หลักร้อยและหลักพัน คือ ๑. เมื่อส่งจ านวนเต็มของหลักพัน และเมื่อระบุกลุ่มเลขรหัสที่เป็นจ านวนเต็มของหลักพันในข่าวรหัส ตัวเลข (ปกติกลุ่มละ ๔ ตัวเลข) ๒. เมื่อร้องขอปรับการยิง ป. หรือ ค. จ านวน การอ่านออกเสียง ๔๔ สีสี่ (FOR - ER FOR - ER) ๙๐ เก้า ศูนย์ (NIN - ER ZE - RO) ๑๓๖ หนึ่ง สา - อ๊าม - หก (WUN TREE SIX) ๕๐๐ ห้า - ศูนย์ - ศูนย์ (FIFE ZE - RO ZE - RO) ๑,๒๐๐ หนึ่ง สองร้อย (WUN TOO ZE - RO ZE - RO) ๑,๔๗๘ หนึ่ง สี่ เจ็ด แปด (WUN FOR - ER SEV - EN AIT) ๗,๐๐๐ เจ็ดพัน (SEV - EN TOU - SAND) ๑๖,๐๐๐ หนึ่งหกพัน (WUN SIX TOU - SNAD) ๘๑๒,๖๘๑ แปด หนึ่ง สอง หก แปด หนึ่ง (AIT WUN TOO SIX AIT WUN)


- ๘๐ - รูปที่ ๗ - ๔ การอ่านตัวเลขหลายหลัก ค าพูดตามระเบียบการ (PROWORDS) ค าพูดตามระเบียบการ ซึ่งมีความหมายเฉพาะจะต้อง น ามาใช้เพื่อให้การส่งข่าวมีความสั้นกระทัดรัดชัดเจน ไม่สับสน ค าพูดตามระเบียบการ คา อธิบาย ALL BEFORE...................ทั้งหมดก่อนค าว่า............ อ้างถึงส่วนของข้อความในข่าว ก่อนค าว่า ALL AFTER.....................ทั้งหมดหลังค าว่า............ อ้างถึงส่วนของข้อความในข่าว หลังค าว่า AUTHENTICATE..............ส่งระบบรับรองฝ่าย......... สถานีที่เรียกเข้ามา ต้องตอบรหัสที่ถามต่อไปนี้ AUTHENTICATION IS......ระบบรับรองฝ่ายคือ การส่งรหัสรับรองฝ่ายของข่าวฉบับนี้คือ ............ BREAK.............................หยุด ข้าพเจ้ารับค าสั่งหยุด เพื่อเว้นวรรค หรือแยกบางข้อ ความออกจาก ข่าวทั้งหมด (เช่นขึ้นบรรทัดใหม่) GORRECT......................ถูกต้อง ข่าวถูกต้อง หรือสิ่งที่ท่านส่งออกอากาศไปถูกต้อง CORRECTION................ผิดหยุด ข่าวที่ส่งไปผิดพลาด ข้อความที่ถูกต้อง คือ ต้นฉบับ FROM..............................จาก ของข่าวส่งมาจาก .......(ส่งหน่วยต้นข่าว) ล าดับการ FLASH..............................ด่วนที่สุด ส่งข่าวด่วนที่สุด จัดให้ข่าวการเตือนระวังภัย หรือ เหตุฉุกเฉินที่ต้องปฏิบัติโดยทันที เกี่ยวกับเรื่องของ ชาติ การบังคับบัญชา หรือการ รปภ. ในพื้นที่ เช่น การประกาศเตรียมพร้อม การประกาศท าสงคราม ความหายนะทางบก ทางน ้า ทางอากาศ การรายงาน ข่าวกรองในเรื่องการปะทะกับข้าศึก อุบัติเหตุ หรือ อุบัติภัยจากอาวุธนิวเคลียร์ GROUPS..............................หมู่ค า, กลุ่มค า ข่าวนี้ประกอบด้วย จ านวนของหมู่ค า ซึ่งก าหนดด้วย ตัวเลข I AUTHENTICATE..............ตอบระบบรับรองฝ่าย หมู่ค าต่อไปนี้เป็นการตอบระบบรับรองฝ่าย IMMEDIAT..........................ด่วนมาก ล าดับการส่งข่าวด่วนมากใช้กับการติดต่อสื่อสารที่ ส าคัญ เช่น ๑. การปฏิบัติการด่วนที่มีผลต่อการยุทธ์ ๒. เกี่ยวข้องโดยตรงกับการรักษาความปลอดภัย หรือปฏิบัติการช่วยชีวิต ๓. มีผลเสียต่อแผนการปฏิบัติด้านข่าวในชุมชน I READ BACK.........................ข้าพเจ้าทวนข่าว ต่อไปนี้ข้าพเจ้าอ่านทวนข่าวทั้งฉบับตามค าแนะน า ของท่าน รูปที่ ๗ - ๕(๑) ค าพูดตามระเบียบการสื่อสาร


- ๘๑ - ค าพูดตามระเบียบการ ความหมาย I SAY AGAIN.....................ข้าพเจ้าส่งซ ้า ข้าพเจ้าส่งซ ้า ในส่วนที่ระบุ.................... I SPELL.................................ข้าพเจ้าสะกดค า ข้าพเจ้าจะสะกดค าต่อไปนี้ MESSAGE............................ข้อความข่าว ข่าวต่อไปนี้เป็นข่าวที่ต้องบันทึก ส่งข่าวทันทีหลัง การเรียกขาน MORE TO FOLLOW........มีข้อความอีก สถานีส่งข่าวมีการส่งข้อความเพิ่มให้สถานีรับ OUT.....................................เลิกติดต่อ จบการส่งข่าวถึงท่าน ไม่ต้องตอบข่าว OVER..................................เปลี่ยน จบการส่งข่าวถึงท่าน ตอบกลับด้วย เริ่มได้ PRIORITY..........................ความเร่งด่วน “ ด่วน ” ล าดับการส่งข่าว ซึ่งส ารองไว้เพื่อการเรียกขานที่ ต้องการความส าเร็จโดยฉับพลัน ในการป้องกันชาติ และการรักษาความปลอดภัย ความส าเร็จในการท า สงคราม หรือการป้องกันรักษาชีวิต หรือทรัพย์สิน ซึ่งไม่ต้องการล าดับความเร่งด่วน ที่สูงกว่า (เช่น การรายงานความเร่งด่วนของการเคลื่อนย้าย ทางพื้น ดิน พื้นน ้า หรือทางอากาศ งานทางธุรการ การข่าว การยุทธ์ หรือการส่งก าลัง ซึ่งต้องปฏิบัติโดยเร่งด่วน การเรียกขานซึ่งถ้าใช้การเรียกขานตามปกติ จะมีผล กระทบอย่างร้ายแรงต่องานธุรการ การข่าว การยุทธ์ และการส่งก าลัง) ตามปกติความเร่งด่วน “ ด่วน ” จะเป็นล าดับสูงสุด ซึ่งอาจมอบให้กับงานทางธุรการ ซึ่งต้องการความเร่งด่วนอย่างยิ่ง RADIO CHECK.........................ทดสอบวิทยุ ความแรงสัญญาณวิทยุข้าพเจ้าสามารถอ่านได้เท่าไร HOW DO YOU HEAR ME? หรืออาจใช้ว่า “ รับสัญญาณข้าพเจ้าเป็นอย่างไร ” READ BACK............................จงทวนข่าวกลับมา ทวนข่าวทั้งฉบับให้ข้าพเจ้าตามที่ได้รับจริง RELAY (TO)..............................ส่งข่าวผ่าน (ไปยัง) ข่าวนี้ให้ส่งผ่านไปยังสถานีต่าง ๆ ในทันที ROGER.....................................รับข่าวได้สมบูรณ์ ข้าพเจ้ารับข่าวที่ท่านส่งให้ได้อย่างถูกต้องชัดเจน รูปที่ ๗ - ๕ (๒) ค าพูดตามระเบียบการสื่อสาร


- ๘๒ - ค าพูดตามระเบียบ คา อธิบาย ROUTINE........................................ข่าวปกติ ล าดับการส่งข่าว “ ปกติ ” ใช้ส าหรับการติดต่อสื่อสาร ทุกข่าวทางราชการ ซึ่งไม่ต้องการความด่วนที่สุด ด่วนมาก, ด่วน SAY AGAIN...................................อ่านข้อความอีก จงส่งซ ้าข้อความสุดท้าย หรือส่วนที่ระบุ SILENCE.........................................ระงับวิทยุ หยุดการส่งข่าวในข่ายนี้โดยทันที (พูดซ ้ากันหลาย ๆ ครั้ง) SILENCE LIFTED......................ยกเลิกการระงับวิทยุ การระงับวิทยุถูกยกเลิก (ถ้ามีการใช้ระบบรับรองฝ่าย ต้องส่งการรับรองฝ่ายด้วย) SPEAK SLOWER........................ส่งให้ช้าลง ท่านส่งข่าวเร็วเกินไป ช้าลงหน่อย THIS IS.........................................จาก (นี้คือ) สถานีส่งเป็นผู้กล่าวตามด้วยนามเรียกขานของตน TIME..............................................หมู่ วัน เวลา ส่งหมู่ วัน เวลา ของข่าวฉบับนี้ TO..................................................ถึง ผู้มีชื่อตามหัวข้อข่าวนี้เป็นผู้ปฏิบัติ UNKNOWN STATION................สถานีไม่รู้จัก เอกลักษณ์ (นามสถานี) ซึ่งข้าพเจ้าพยายามติดต่อด้วย ยังไม่ทราบชื่อ WAIT............................................คอย ข้าพเจ้าต้องหยุดส่ง ๒ วินาที WAIT OUT ................................คอยนาน ข้าพเจ้าต้องหยุดส่งเกิน ๒ วินาที WILCO.........................................ทราบ ข้าพเจ้ารับสัญญาณท่านได้แล้วเข้าใจ และจะปฏิบัติ ใช้เฉพาะสถานีที่ทราบชื่อ เพราะเหตุว่า ความหมาย ของ ROGER คล้ายกับ WILCO ทั้ง ๒ ค านี้จึงไม่ใช้ ร่วมกัน รูปที่ ๗ - ๕ (๓) ค าพูดตามระเบียบการสื่อสาร ข. การ รปภ. ทางการติดต่อสื่อสาร การ รปภ. ทางการติดต่อสื่อสาร เพื่อป้องกันผู้ไม่มีหน้าที่รับทราบ ข่าวสารจากวิทยุ และโทรศัพท์ มีการ รปภ. ดังต่อไปนี้ ๑) ใช้ระบบรับรองฝ่าย เพื่อให้แน่ใจได้ว่าสถานีที่ก าลังติดต่ออยู่เป็นฝ่ายเดียวกัน ๒) ใช้เฉพาะรหัสที่ได้รับอนุมัติแล้วเท่านั้น ๓) ก าหนดห้วงเวลาปิดการติดต่อทุกสถานี ๔) จ ากัดการส่งข่าวและรับข่าว เท่าที่จ าเป็น ๕) ส่งข่าวทางวิทยุด้วยก าลังส่งต ่า ๖) กวดขันวินัยในข่ายวิทยุและโทรศัพท์ ตามระเบียบการ (ทุกสถานีต้องใช้ค าพูด) และนามเรียกขาน ตามที่ได้รับอนุมัติ และส่งข่าวเฉพาะทางราชการเท่านั้น)


- ๘๓ - ๗) ที่ตั้งสถานีวิทยุ ควรอยู่ในพื้นที่ที่มีเนินเขาหรือสิ่งก าบังอื่น ๆ ในทิศทางที่ข้าศึกตั้งอยู่ ๘) ใช้สายอากาศแบบแนวตั้งถ้าท าได้ ค. อุปกรณ์วิทยุ ทหารควรจะท าความคุ้นเคยต่อการใช้ชุดวิทยุ เอเอ็น/พีอาร์ซี - ๗๗ (AN/PRC - 77) และ วิทยุในระดับหมู่ เช่น วิทยุ เอเอ็น/พีอาร์ซี - ๖๘ (AN/PRC - 68) วิทยุรับ - ส่งของหน่วยขนาดเล็ก (SMALL UNIT TRANCEIVER) (SUT) ง. การใช้งานชุดวิทยุ เอเอ็น/พีอาร์ซี - ๗๗ (AN/PRC - 77) ๑) บรรจุแบตเตอรี่ ๒) เปลี่ยนกล่องบรรจุแบตเตอรี่และปิดล็อค ก้านล็อคฝากล่อง ๒ ข้างพร้อม ๆ กัน ๓) เลือกสายอากาศและโคนเสาหมุนต่อเข้า ๔) ต่อปากพูด - หูฟัง เข้าที่ช่อง AUDIO ๕) เลือกแถบความถี่ย่านสูง - ต ่า (BAND) ๖) ตั้งความถี่โดยใช้ปุ่มปรับความถี่ ๗) เปิดสวิทช์การท างานไปที่โอเค (OK) ๘) หมุนปุ่มควบคุมเสียงไปครึ่งรอบ ๙) กดปุ่มส่งสัญญาณที่ปากพูด เพื่อพูดออกอากาศและปล่อยปุ่มเพื่อรับฟังที่หูฟัง ๑๐) ปรับปุ่มควบคุมความดังตามระดับที่ต้องการ


- ๘๔ - รูปที่ ๗ - ๖ ชุดวิทยุเอเอน็/พีอาร์ซี - ๗๗ (AN/PRC - 77)


- ๘๕ - รูปที่ ๗ - ๗ ชุดวิทยุเอเอน็/พีอาร์ซี - ๖๘ (AN/PRC - 68) จ. การใช้วิทยุ เอเอ็น/พีอาร์ซี - ๖๘ (AN/PRC - 68) ๑) บรรจุแบตเตอรี่ ๒) ตั้งช่อง (๐ - ๙) ผบ.หมู่ จะเป็นผู้บอกว่าจะใช้ช่องใด ๓) ต่อปากพูดหูฟัง ๔) ต่อเสาอากาศ ๕) หมุนปุ่มปิด/เปิด/ตัดเสียงคลื่นไปที่ OK (PWR OFF/ON/SQUELCH) ๖) หมุนปุ่ม (PWR OFF/ON/SQUELCH) ไปที่ SQUELCH ปุ่มนี้จะดีดกลับเมื่อเลิกใช้งาน ๗) หมุนปุ่มปรับความดัง เพื่อปรับความดังของเสียงขณะรับสัญญาณ ๘) กดปุ่ม PUSH - TO - TALK ที่ปากพูด หูฟัง หรือปุ่มยางด้านหลังของตัววิทยุ เพื่อส่งสัญญาณ และ ปล่อยเพื่อรับสัญญาณ


- ๘๖ - ฉ. อุปกรณ์สายและโทรศัพท์ เมื่อท าการตั้งรับ หน่วยจะใช้การติดต่อสื่อสารทางสายและพลน าสารแทนการ ใช้วิทยุ ช. การเดินสายโทรศัพท์ ๑) สายวางบนพื้นดิน ต้องวางสายไปตามพื้นดินไม่ให้ตึงให้มีช่วงสายหย่อนไว้มากๆ เพื่อให้การดูแล และ ซ่อมสายท าได้ง่าย การเดินสายบนพื้นดินใช้เวลาน้อย และใช้พลเดินสายเพียง ๒ - ๓ คน ควรขุดร่องตื้น ๆ ฝัง กลบสายโทรศัพท์เพื่อป้องกันสายขาดจากการตกระเบิดของกระสุน ป. ค. ในพื้นที่โล่งควรซ่อนสายไม่ให้ข้าศึกตรวจ พบ ผูกป้ายสายที่ตู้สลับสาย และตามเส้นทาง ถนนและทางตัดข้ามทางรถไฟ เพื่อก าหนดว่าเป็นสายของหน่วยใด และให้ซ่อมได้ง่ายเมื่อสายขาด ๒) สายวางเหนือแนวศีรษะ ใช้สายสนามวางเหนือพื้นดินสูงเหนือศีรษะบริเวณที่บังคับการ ในที่รวมพล และตามแนวถนนที่มียานพาหนะวิ่ง เพื่อให้พ้นการเกี่ยวชนโดยเฉพาะบริเวณข้ามถนนที่ไม่มีท่อลอดใต้ถนนหรือ สะพาน สายที่วางเหนือศีรษะลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากยานพาหนะหรือสภาวะอากาศ รูปที่ ๗ - ๘ ล้อสาย ดีอาร์ - ๘ (DR - 8) ๓) ชุดโทรศัพท์ ทีเอ - ๑/พีที (TA – 1/PT) เป็นโทรศัพท์ก าลังงานเสียง ซึ่งแสดงสัญญาณการเรียกเข้ามา ได้ทั้งระบบทัศนสัญญาณและเสียงสัญญาณมีระยะติดต่อ ๖.๔ กม. เมื่อต่อด้วยสายดับเบิ้ลยูดี – ๑/ทีที (WD – 1/TT)


- ๘๗ - รูปที่ ๗ - ๙ โทรศัพท์ ทีเอ - ๑ (TA - 1) ซ. การติดตั้งโทรศัพท์ ทีเอ - ๑/พีที (TA – 1/PT) ๑) ปอกปลายสาย WD - ๑/TT ทั้ง ๒ เส้นยาว ๑/๒ นิ้ว ๒) กดปุ่มสปริงที่หลักต่อสาย และต่อสายที่ปอกปลายเข้าในช่องแล้วปล่อย ๓) ปรับก้านเพิ่มความดังสัญญาณไปที่ LOUD ๔) กดคันก้านตัวก าเนิดกระแสไฟหลาย ๆ ครั้งเพื่อส่งสัญญาณเรียกโทรศัพท์เครื่องอื่น และคอยฟังเสียง สัญญาณเรียก (BUZZER) ๕) คอยมองดูช่องแสดงทัศนสัญญาณ ที่ตัวเครื่องเมื่อปรากฏเป็นสีขาวเรืองแสง ๖) กดสวิตช์พูด (PUSH - TO -TALK) เพื่อให้ช่องทัศนสัญญาณหมุนกลับเข้าต าแหน่งปิดมองไม่เห็น ชุดโทรศัพท์ TA - ๓๑๒/PT เป็นโทรศัพท์ชนิดท างานด้วยก าลังไฟจากแบตเตอรี่แห้ง มีระยะการ ติดต่อได้ไกล ๓๘ กม. เพื่อต่อพ่วงด้วยสาย WD - ๑/TT ด. การติดตั้งโทรศัพท์ ทีเอ - ๓๑๒/พีที (TA – 312/PT) ๑) ปอกปลายสาย WD - ๑/TT ออกข้างละ ๑/๒ นิ้ว ๒) กดปุ่มสปริงที่หมุดต่อสาย และสอดปลายสายที่ปอกฉนวนออกเข้าไปหนีบไว้ที่ขั้วต่อสายโทรศัพท์ ๓) ปรับปุ่มสัญญาณเรียกเข้าไปที่ LOUD (เสียงดัง) ๔) หมุนสวิทช์ INT - EXT ไปที่ INT (ใช้ก าลังงานจากภายในเครื่อง) ๕) หมุนสวิทช์เลือกวงจรไปที่ แอลบี (LB) (ใช้แบตเตอรี่บรรจุในตัวเครื่อง) ๖) บรรจุแบตเตอรี่แห้ง บีเอ - ๓๐ (BA - 30) จ านวน ๒ ก้อนลงในช่องบรรจุ (กลับขั้วกันขึ้นลง) ๗) วางปากพูดหูฟังลงในแท่นรับหูฟัง ๘) หมุนคันบังคับแกนตัวก าเนิดไฟฟ้าเร็ว ๆ ๒ - ๓ รอบ แล้วยกหูฟังขึ้นคอยฟังสัญญาณตอบจาก พนักงานสลับสาย ๙) กดสวิทช์ PUSH - TO - TALK เพื่อพูดและปล่อยเมื่อต้องการฟัง


- ๘๘ - รูปที่ ๗ - ๑๐ โทรศัพท์ ทีเอ ๓๑๒/พีที (TA – 312/PT) ต. ชุดอุปกรณ์ตรวจซ่อม ซีอี - ๑๑ (CE - 11) ชุดอุปกรณ์ตรวจซ่อม สาย CE - ๑๑ เป็นเครื่องมือที่มี น ้าหนักเบา สามารถยกไปมาได้ใช้ส าหรับวางสายและตรวจซ่อมการลัดวงจรของสายมีส่วนประกอบดังต่อไปนี้ ๑) โครงล้อม้วนสายด้วยมือ อาร์แอล - ๓๙ (RL - 39) พร้อมด้วยแกนเหลี่ยม และมือหมุน ก้านหิ้วและ สายรัดคล้องรอบคอ เอสที - ๓๔ (ST - 34) และ เอสที - 35 (ST - 35) ๒) ชุดโทรศัพท์ ทีเอ - ๑/พีที (TA - 1/PT) ๓) โครงล้อ อาร์แอล - ๓๙ (RL - ๓๙) ใช้ส าหรับประกอบกับล้อสาย ดีอาร์ - ๘ (DR -๘) ซึ่งบรรจุสาย สนาม WD - ๑/TT ได้ยาว ๔๐๐ เมตร ล้อสาย DR - ๘ และสาย WD - ๑/TT เป็นชิ้นส่วนแยก ไม่จัดรวมอยู่ใน ชุด CE - ๑๑ หรือ RL - ๓๙


- ๘๙ - รูปที่ ๗ - ๑๑ ชุดอุปกรณ์ตรวจซ่อมสาย ซีอี - ๑๑ (CE - 11)


- ๙๐ - บทที่ ๘ การปฐมพยาบาล และอนามยัส่วนบุคคล (FIRST AID AND PERSONAL HYGINE) ๘ - ๑ กล่าวทั ่วไป (GENERAL) ก. การปฐมพยาบาล คือ การดูแล และการรักษาที่ทหารช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ ก่อนที่บุรุษพยาบาลจะมาถึง ข. อนามัยส่วนบุคคล คือ ล าดับขั้นที่ทหารป้องกันสุขภาพของทหารเอง และเพื่อน ๆ เมื่อทหารรู้จักรักษา อนามัยส่วนตัว และมีความช านาญในการปฐมพยาบาล จะเป็นส่วนช่วยให้รักษาชีวิตของทหาร และเพื่อนสนิทได้ ค. โดยการรู้ว่าจะท าอะไร และโดยการได้รับความช่วยเหลือเยียวยาอย่างทันท่วงที ทหารอาจสามารถรักษา ชีวิตป้องกันการพิการอย่างถาวร และป้องกันการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเป็นเวลานาน ๆ ได้ ง. ถ้าทหารได้รับจ่ายชุดปฐมพยาบาลสนามทหารจะต้องน าติดตัวไปตลอดเวลา เพื่อใช้ยามจ าเป็น ภายใน กล่องจะบรรจุผ้าพันแผลชนิดซับเลือดได้ ๒ - ๓ ชิ้น เมื่อทหารช่วยปฐมพยาบาลเพื่อนที่บาดเจ็บให้น าชุดปฐม พยาบาลของผู้บาดเจ็บที่ได้รับจ่ายมาใช้ก่อน เพราะของทหารเองต้องเก็บไว้ใช้ถ้าเกิดบาดเจ็บขึ้นภายหลัง ดู เอกสารเพิ่มเติมใน รส. ๒๑ - ๑๑ (FM 21 - 11) รูปที่ ๘ - ๑ กล่องบรรจุชุดปฐมพยาบาล ๘ - ๒ มาตรการช่วยชีวิต ( LIFESAVING MEASURES ) เมื่อทหารหรือเพื่อนเกิดบาดเจ็บต้องท าการ ปฐมพยาบาลทันที ขั้นแรกต้องใช้มาตรการช่วยชีวิต ๔ ข้อ คือ ก. เปิดทางเดินลมหายใจ ตรวจดูว่ามีสิ่งใดค้างอยู่ในช่องปากให้เอาออก เป่าลมเข้าทางปากเพื่อช่วยการ หายใจ ปั้มหัวใจ ข. ห้ามเลือด


- ๙๑ - ค. ป้องกันอาการช๊อค ง. พันผ้าพันแผลให้เรียบร้อย ก. เปิดทางเดินลมหายใจ ตรวจ และช่วยการหายใจ และช่วยให้หัวใจเต้น ๑) เปิดทางเดินลมหายใจ การขาดอากาศออกซิเจนในการหายใจ และหัวใจเต้นอ่อน เป็นสาเหตุให้ผู้ป่วย ถึงแก่ชีวิตได้ภายใน ๒ - ๓ นาที ในการช่วยผู้บาดเจ็บ ขั้นแรกตรวจดูว่าเขายังหายใจอยู่หรือไม่ ถ้าผู้บาดเจ็บไม่ หายใจ ก) จับคนไข้นอนหงาย และนั่งคุกเข่าข้าง ๆ ศีรษะ ข) เปิดทางเดินหายใจโดยล้วงเอาสิ่งกีดขวางการหายใจออกมาจากช่องปาก (ถ้ามี) ค) สอดมือซ้ายเข้าใต้ล าคอผู้บาดเจ็บ มือขวากดที่หน้าผากผู้บาดเจ็บ ยึดล าคอผู้บาดเจ็บโดยการยก มือซ้ายที่สอดใต้ล าคอขึ้นมาพร้อมกับกดมือขวาที่หน้าผาก จะท าให้หน้าผู้บาดเจ็บหงายขึ้นด้านบน จะเป็นการยก โคนลิ้นให้พ้นจากด้านหลังของหลอดลมเปิดทางเดินลมหายใจ รูปที่ ๘ - ๒ เปิดทางเดินลมหายใจ ๒) ตรวจการหายใจ หลังจากเปิดทางเดินลมหายใจแล้วให้มองดู ฟัง และสัมผัส ค้นหาว่าผู้บาดเจ็บยัง หายใจอยู่หรือไม่ โดยใช้วิธีดังนี้ ก) เอียงหูเข้าไปติดปากและจมูกผู้บาดเจ็บค้างไว้ ๕ วินาที ข) มองดูหน้าอกผู้บาดเจ็บ พองขึ้นยุบลงหรือไม่ ค) ฟังและสัมผัส ดูการหายใจ


- ๙๒ - รูปที่ ๘ - ๓ ตรวจการหายใจ ๓) ช่วยการหายใจ (RESTORE BREATHING) ถ้ามีอาการบ่งบอกว่ายังมีลมหายใจอยู่ ให้เริ่มเป่าปาก (MOUTH - TO - MOUTH) ช่วยชีวิตทันทีในวิธีการต่อไปนี้ ก) สอดมือเข้าใต้ล าคอผู้บาดเจ็บ เพื่อระวังไม่ให้ศีรษะเอียงกลับมาต าแหน่งเดิม ข) อีกมือหนึ่งกดที่หน้าผาก ค) บีบจมูกคนไข้ไว้ ง) จับคนไข้อ้าปากกว้าง ๆ จ) สูดลมหายใจเข้าเต็มปอด และประกบปากของเราเข้าที่ปากผู้บาดเจ็บ อย่าให้มีช่องอากาศลอด ออกมาได้ ฉ) เป่าลมเข้าในปากผู้ป่วย ช) นับถึง ๔ - ๕ เร็ว ๆ จนแน่ใจว่าอากาศเข้าเต็มปอด ซ) ถอนปากของเราออก และมองดู ฟัง และสัมผัส ว่ามีอากาศออกมาจากปากผู้ป่วย หรือไม่ ด) ท าวิธีนี้ซ ้าอีกครั้งทุก ๆ ๕ วินาที จนกว่าผู้ป่วยจะหายใจออกมา


- ๙๓ - รูปที่ ๘ - ๔ ช่วยชีวิตใหม่ด้วยการเป่าปาก ถ้ารู้สึกว่ามีแรงต้านเมื่อเป่าลมเข้าปากในครั้งแรก รีบจับหน้าผู้ป่วยหงายขึ้นและเป่าซ ้า ถ้าทางเดินลมหายใจ ยังไม่เปิด จับผู้ป่วยพลิกตะแคง ใช้สันมือกระแทกบริเวณสันไหล่ เพื่อให้วัตถุแปลกปลอมหลุดออกมา ถ้าหน้าท้อง ของผู้ป่วยโป่งพองออกมา (ลมเข้ากระเพาะ) ค่อย ๆ กดลงที่หน้าท้องด้วยมือข้างหนึ่ง เพื่อไล่ลมออกมา ถ้าวิธีนี้ท า ให้ผู้ป่วยอาเจียน ให้รีบจับคนป่วยนอนตะแคง ล้วงปากออกให้หมดและเริ่มเป่าปากช่วยชีวิตต่อไป ๔) ตรวจการหายใจ เมื่อพบคนไข้บาดเจ็บหมดสติ ให้ตรวจดูว่าคนไข้ยังหายใจอยู่หรือไม่ และหัวใจยัง เต้นอยู่หรือไม่ โดยใช้วิธีต่อไปนี้ ก) จับหน้าของผู้บาดเจ็บหงายขึ้นให้คางแหงน ข) ล้วงเข้าไปในหลอดลมด้วยนิ้วมือ ค) สัมผัส ลูกกระเดือก ง) เลื่อนนิ้วลงไปจากลูกกระเดือกไปที่ข้างล าคอปลายนิ้วจะสัมผัสกับเส้นเลือดแดง เพื่อดูการเต้น ของชีพจร


- ๙๔ - รูปที่ ๘ - ๕ ตรวจการหายใจ ๕) การช่วยให้หัวใจเต้น ทหารต้องเริ่มนวดหัวใจจากภายนอกโดยเร็ว เพราะสมองอาจถูกท าลาย โดยถาวรถ้าขาดเลือดที่น าออกซิเจนไปเลี้ยงสมอง ตัวอย่างของระยะเวลาที่ขาดออกซิเจนและสมองถูกท าลาย ตามรายการข้างล่างนี้ ๐ - ๔ นาที สมองยังไม่มีการถูกท าลาย ๔ - ๖ นาที สมองอาจถูกท าลาย ๖ - ๑๐ นาที สมองใกล้จะถูกท าลาย เกิน ๑๐ นาที สมองเกือบจะถูกท าลายแน่นอน รูปที่ ๘ - ๖ สมองถกูท าลายเมื่อไม่มีออ๊กซิเจน ก. การนวดหัวใจจากภายนอก จะช่วยให้มีการไหลเวียนของโลหิต โดยการกดหัวใจบริเวณ ระหว่างกระดูกหน้าอก และกระดูกสันหลัง บังคับให้เลือดวิ่งเข้าปอด สมอง และร่างกาย


Click to View FlipBook Version