The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

บทบาทด้านต่างประเทศของรัฐสภา
ในระหว่างดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภา
โดย ศาสตราจารย์ ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by พีระยา นาวิน, 2020-11-16 20:01:53

บันทึกประวัติศาสตร์ความทรงจำ

บทบาทด้านต่างประเทศของรัฐสภา
ในระหว่างดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภา
โดย ศาสตราจารย์ ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน

เยยี่ มชมหอ้ งประชุมสภา

49

เครอื รัฐออสเตรเลีย
๒๐-๓๐ พฤศจกิ ายน ๒๕๓๐

เขา้ พบประธานวุฒสิ ภา Mr.Kerry W.Sibraa

นาย John Roach นายกเทศมนตรเี มอื งอลั บุรี ใหก้ ารตอ้ นรบั
50

ฯพณฯ Sir Ninian Stephen ผู้ส�ำ เร็จราชการสหราชอาณาจักรประจำ�ออสเตรเลีย
และ Lady Stephen เป็นเจ้าภาพเล้ียงอาหารกลางวนั

แก่ ฯพณฯ ประธานรฐั สภาและคณะ ณ ทำ�เนียบผสู้ ำ�เรจ็ ราชการ

เข้าชมที่ทำ�การภายในอาคารรฐั สภาวคิ ตอเรยี

51

ปี ๒๕๓๑

เกาหลีเหนอื
๖-๑๒ กนั ยายน ๒๕๓๑

ประธานสภาใหก้ ารต้อนรับ ตรวจแถวทหารกองเกียรตยิ ศ

52 รองประธานสภาทำ�การแทนประธานสภาเลยี้ งรบั รอง

ร่วมพธิ ีเฉลิมฉลองเนอ่ื งในโอกาสครบรอบ ๔๐ ปแี ห่งการสถาปนาเกาหลเี หนือ
53

สาธารณรัฐประชาชนจีน
๑๒-๒๐ กันยายน ๒๕๓๑

เขา้ พบ ฯพณฯ หยางซา่ งคุน ประธานาธบิ ดี
54 ในการเยือนประเทศจนี ครงั้ ที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๓๑ ณ มหาศาลาประชาชน

เขา้ พบ ฯพณฯ หว่านล่ี ประธานรฐั สภา ณ มหาศาลาประชาชน

เข้าพบ ฯพณฯ นายหลเี่ ผิง นายกรฐั มนตรี (พ.ศ. ๒๕๓๑) ณ มหาศาลาประชาชน 55

ทเิ บต
๑๕-๑๖ กันยายน ๒๕๓๑

มอบของท่รี ะลึกใหผ้ ู้แทนชาว “ทเิ บต”
56

ภาพหมู่ผมู้ าเยือน “ทเิ บต” เมอื งใตห้ ลงั คาโลก ความสงู ประมาณ ๔,๐๐๐ เมตร
จากระดับน้ำ� ทะเล
57



ภาคท่สี อง

งานดา้ นองค์กรระหวา่ งประเทศ

บทบาทในการสร้างความสัมพันธ์พหุภาคีกับองค์กรรัฐสภาระหว่าง
ประเทศ

รัฐสภาไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศหลาย
องคก์ ร เช่น

- สหภาพรฐั สภา (Inter - Parliamentary Union : IPU) มวี ตั ถปุ ระสงค์
เพ่ือเสริมสร้าง สันติภาพและความร่วมมือระหว่างประชาชน ส่งเสริมให้มี
การตดิ ต่อสมั พนั ธก์ ันอย่างใกล้ชิด ระหวา่ งสมาชกิ แหง่ รัฐสภา และมุ่งมน่ั จะ
สร้างและพฒั นาสถาบันประชาธิปไตยให้มั่นคง

- สหภาพสมาชกิ รฐั สภาและแปซฟิ กิ (Asia - Pacific Parliamentari-
ans’ Union : APPU) มวี ตั ถปุ ระสงคเ์ พอ่ื รกั ษาไวซ้ งึ่ อสิ รภาพและการปกครอง
ระบอบประชาธิปไตย เสริมสรา้ งความเข้าใจอนั ดี และความสามคั ครี ะหวา่ ง
ประเทศในเอเชียและแปซิฟิก ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการ
แลกเปลีย่ นทางวฒั นธรรมและวชิ าการ

- สมชั ชารฐั สภาอาเซยี น (ASEAN Inter - Parliamentary Assembly
: AIPA) มี วตั ถปุ ระสงคเ์ พอื่ ความรว่ มมอื และความเขา้ ใจอนั ดรี ะหวา่ งรฐั สภา
ของกล่มุ ประเทศ อาเซยี น

นอกจากน้ี รัฐสภาไทยยังได้เป็นสมาชิกและเข้าร่วมในกิจกรรมของ
องค์การรฐั สภาระหว่างประเทศอกี หลายองค์กร เชน่

- องค์การสมาชิกรัฐสภาแห่งเอเชียว่าด้วยเรื่องประชากรและ
การพัฒนา (Asia Forum of Parliamentarian on Population and
Development : AFPPD)

60

- องค์กรสมาชิกรัฐสภาฝ่ายแพทย์และสาธารณสุข (International
Medical Parliamentarians Organization : IMPO)

- องคก์ รการประชมุ รฐั สภาภาคพน้ื เอเชยี และแปซฟิ กิ (Asia - Pacific
Parliamentary Forum : APPF)

สมาชิกรัฐสภาเป็นสมาชิกหน่วยประจำ�ชาติไทยโดยตำ�แหน่ง การ
ดำ�เนินการในรูปแบบของหน่วยประจำ�ชาติไทย ในแต่ละองค์กรดังกล่าว
ข้างต้น บริหารงานโดยคณะกรรมการบริหารหน่วยประจำ�ชาติไทย โดยมี
ประธานรัฐสภาเป็นประธาน และรองประธานรัฐสภาเป็นรองประธานหน่วย
ประจำ�ชาติไทยโดยตำ�แหน่ง รองประธานสภาผู้แทนราษฎร รองประธาน
วุฒิสภา ผู้นำ�ฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ประธานคณะกรรมาธิการการ
ตา่ งประเทศ สภาผแู้ ทนราษฎร และประธานคณะกรรมาธกิ ารการตา่ งประเทศ
วุฒสิ ภา เป็นกรรมการบรหิ ารโดยตำ�แหนง่

นอกจากนี้ ยังมกี รรมการบริหารอืน่ อกี ๑๔ คน ซึ่งได้รับการคัดเลอื ก
จากสมาชกิ รฐั สภาทม่ี คี วามรคู้ วามสามารถในการใชภ้ าษาองั กฤษ หรอื ภาษา
ตา่ งประเทศอน่ื โดยค�ำ นงึ ถงึ จ�ำ นวนของสมาชกิ สภาผแู้ ทนราษฎรและสมาชกิ
วุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญ ท้ังน้ี คณะกรรมการบริหารหน่วยประจำ�ชาติไทย
มีวาระการดำ�รงตำ�แหนง่ คราวละ ๒ ปี
บทบาทในการสร้างความเป็นผู้นำ�และเกียรติภูมิให้แก่รัฐสภาและ
ประเทศไทย

รฐั สภาไทยไดร้ บั เกยี รตใิ หเ้ ปน็ เจา้ ภาพจดั ประชมุ ระหวา่ งประเทศของ
องค์การระหวา่ งประเทศมาแล้วหลายองคก์ าร เชน่

61

๑) สหภาพรฐั สภา (Inter - Parliamentary Union : IPU)
- การประชุมสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ ๔๕ ปี พ.ศ. ๒๔๙๙
- การประชมุ สหภาพรัฐสภา คร้ังท่ี ๗๘ ปี พ.ศ. ๒๕๓๐
- การประชุมพิเศษของสหภาพรัฐสภา เร่ืองความร่วมมือทาง
เศรษฐกิจในภมู ิภาคเอเชยี แปซฟิ ิก พ.ศ. ๒๕๓๔
- การประชมุ รฐั สภาเนอ่ื งในโอกาสการประชมุ สหประชาชาตวิ า่ ดว้ ย
การค้า และการพฒั นา ครั้งท่ี ๑๐ พ.ศ. ๒๕๔๓
- การสัมมนารัฐสภาภูมิภาคของรัฐสภาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
และเอเชียแปซิฟิก ว่าด้วยการปฏิรูปด้านความม่ันคงในระดับประเทศและ
ระดับภมู ิภาค พ.ศ. ๒๕๔๙
และนอกเหนอื จากการเปน็ เจา้ ภาพจดั การประชมุ รฐั สภาระดบั โลกแลว้
สมาชกิ รัฐสภาไทยยงั ไดร้ ับเกยี รติให้ดำ�รงตำ�แหนง่ สำ�คญั ในสหภาพรัฐสภา
อาทิเช่น กรรมการบริหารสหภาพรัฐสภา สมาชิกกิตติมศักดิ์ของสหภาพ
รฐั สภา กรรมการและคณะกรรมาธกิ ารด้านตา่ งๆ เป็นตน้
๒) สหภาพสมาชิกรัฐสภาเอเชียและแปซิฟิก (Asia - Pacific
Parliamentarians’ Union : APPU)
รฐั สภาไทยเคยเป็นเจา้ ภาพจัดการประชมุ ดังนี้ :
- การประชุมสมัชชาใหญ่ ครั้งท่ี ๓ และคณะมนตรี คร้ังท่ี ๓ พ.ศ.
๒๕๑๐

62

- การประชมุ คณะมนตรี ครัง้ ท่ี ๔ ปี พ.ศ. ๒๕๑๑
- การประชุมสมัชชาใหญ่ ครั้งท่ี ๑๐ และคณะมนตรี ครั้งที่ ๑๗
พ.ศ. ๒๕๑๗
- การประชุมสมัชชาใหญ่ คร้ังที่ ๒๙ และคณะมนตรี คร้ังที่ ๕๖
พ.ศ. ๒๕๓๗
๓) สมัชชารัฐสภาอาเซียน (ASEAN Inter - Parliamentary
Assembly : AIPA)
รฐั สภาไทยเคยเปน็ เจา้ ภาพจดั การประชมุ สมชั ชาใหญม่ าแลว้ ๕ ครง้ั
คือ ในปี พ.ศ. ๒๕๒๒, ๒๕๒๗, ๒๕๓๔, ๒๕๓๙ และ ๒๕๔๔ และจะเป็น
เจ้าภาพอกี คร้ังหนึ่งในปี พ.ศ. ๒๕๕๒

63



ขอ้ มูลสหภาพรฐั สภาโดยสังเขป (ข้อมูลเมือ่ พ.ศ. ๒๕๓๐)

ความเป็นมา
สหภาพรฐั สภา (Inter-Parliamentary Union.หรอื IPU) เปน็ องค์การ
รัฐสภาระหว่างประเทศองค์การหนึ่ง ในขณะที่สหประชาชาติเป็นองค์การ
รัฐบาลระหว่างประเทศ สององค์การนี้มีลักษณะแตกต่างกันท่ีเห็นชัดเลย
คอื สหภาพรฐั สภา ไม่มบี ทลงโทษ (Sanction) แต่สหประชาชาตมิ บี ทลงโทษ
ส�ำ หรับประเทศทไี่ มป่ ฏบิ ตั ติ ามข้อมติตา่ ง ๆ ของสหประชาชาติ
ทา่ นเซอร์ วลิ เลยี ม แรนเดล ครเี มอร์ (Sir William Randal Cremer)
สมาชิกรัฐสภาของสหราชอาณาจักร และ นายเฟรเดรคิ ปาสซี (Mr.Frederic
Passy) สมาชกิ รัฐสภาของฝรง่ั เศส เป็นบุคคลส�ำ คญั ทีไ่ ดร้ ิเรมิ่ และร่วมมอื กนั
จัดต้ังสหภาพรัฐสภาข้ึนจนเป็นผลสำ�เร็จเม่ือปี พ.ศ. ๒๔๓๒ นับว่าสหภาพ
รฐั สภาเปน็ องคก์ ารรฐั สภาระหวา่ งประเทศทม่ี อี ายนุ านเกอื บ ๑๐๐ ปี ปจั จบุ นั
มีสมาชกิ จ�ำ นวน ๑๐๘ ประเทศ

65

องคก์ รท่สี ำ�คัญของสหภาพรัฐสภามอี ยู่ ๕ องค์กร คอื
๑. การประชมุ สหภาพรฐั สภา (Inter - Parliamentary Conference)

ปัจจุบนั กำ�หนดให้มีปีละ ๒ ครัง้ คอื ฤดใู บไม้ผลิ ประมาณเดอื นมนี าคมหรอื
เมษายนครงั้ หนงึ่ และฤดใู บไมร้ ว่ ง ประมาณเดอื นกนั ยายนหรอื ตลุ าคมอกี ครง้ั
หนง่ึ สถานทปี่ ระชมุ สว่ นใหญจ่ ะเปน็ เมอื งหลวงของประเทศสมาชกิ โดยคณะ
มนตรีสหภาพรัฐสภาเป็นองค์กรที่จะให้ความเห็นชอบท้ังสถานที่ เวลา และ
หัวข้อเรื่องที่จะประชุมแต่ละครั้ง สำ�หรับจำ�นวนสมาชิกรัฐสภาของประเทศ
สมาชิกท่ีจะเป็นผู้แทนเข้าร่วมประชุมได้กำ�หนดให้ประเทศที่มีประชากร
นอ้ ยกวา่ ๑๐๐ ลา้ นคน จะมไี ดไ้ มเ่ กนิ ๘ คนและประเทศทมี่ ปี ระชากรเกนิ กวา่
๑๐๐ ลา้ นคน จะมไี ดไ้ มเ่ กนิ ๑๐ คน ทงั้ น้ี ไมร่ วมทปี่ รกึ ษาและเจา้ หนา้ ทปี่ ระจ�ำ
คณะผู้แทนของแต่ละประเทศ โดยที่ผ่านมาจะมีสมาชิกรัฐสภา เจ้าหน้าที่
และผ้ตู ดิ ตาม ไดเ้ ดนิ ทางไปรว่ มประชุมคร้ังละประมาณ ๗๐๐-๑,๐๐๐ คน

๒. คณะมนตรสี หภาพรฐั สภา (Inter-Parliamentary Council)
ประกอบดว้ ยสมาชกิ รฐั สภาจากหนว่ ยประจ�ำ ชาตขิ องประเทศสมาชกิ
ประเทศละ ๒ คน เป็นสมาชิกในคณะมนตรีสหภาพรัฐสภา โดยมีประธาน
คณะมนตรสี หภาพรฐั สภามาจากการเลอื กตงั้ ในทปี่ ระชมุ คณะมนตรสี หภาพ
รัฐสภา มีวาระดำ�รงตำ�แหน่งคราวละ ๓ ปีและจะสมัครเข้ารับเลือกต้ัง
ตดิ ตอ่ กนั เปน็ วาระทสี่ องไมไ่ ด้ ปจั จบุ นั คอื Dr. Hans Stercken สมาชกิ รฐั สภา
ของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนั เป็นประธานคณะมนตรี
การประชุมของคณะมนตรีสหภาพรัฐสภาจะมีปีละ ๒ ครั้ง พร้อม
กันกับการประชุมสหภาพรัฐสภา แต่อาจจะมีประชุมสมัยพิเศษได้ เม่ือ
คณะกรรมการบริหาร (Executive Committee) ของสหภาพรัฐสภา หรือ
สมาชิกคณะมนตรสี หภาพรฐั สภา มีจ�ำ นวนไม่น้อยกวา่ ๑ ใน ๔ ของจ�ำ นวน

66

สมาชิกท้ังหมดของคณะมนตรีสหภาพรัฐสภาร้องขอให้มีการประชุมเป็น
สมัยพเิ ศษ

๓. คณะกรรมการบรหิ าร (Executive Committee) ประกอบดว้ ย
ประธานคณะมนตรสี หภาพรัฐสภา เป็นประธานโดยต�ำ แหน่ง และกรรมการ
บรหิ าร อีก ๑๐ คน มาจากสมาชิกคณะมนตรีสหภาพรฐั สภาทไี่ ดร้ บั เลอื กตง้ั
ในท่ปี ระชุมคณะมนตรสี หภาพรัฐสภา รวมเป็น ๑๑ คน

คณะกรรมการบริหารสหภาพรฐั สภาปัจจบุ ัน คอื (พ.ศ.๒๕๓๐)
๑. Dr. Hans Stercken ประธานคณะมนตรีสหภาพรัฐสภาเป็น
ประธานโดยตำ�แหน่ง (สหพนั ธ์สาธารณรัฐเยอรมนั ครบวาระปี ๒๕๓๑)
๒. นาย Bal Ram Jakhar (อนิ เดีย ครบวาระปี ๒๕๓๐)
๓. นาย Se Eung Oh (สาธารณรฐั เกาหลี ครบวาระปี ๒๕๓๐)
๔. นาย Rabah Bitat (แอลจเี รีย ครบวาระปี ๒๕๓๑)
๕. นาย R. Carpio Castillo (เวเนซเู อลา ครบวาระปี ๒๕๓๑)
๖. นาย A.Ghalanos (ไซปรสั ครบวาระการประชมุ ใหญฤ่ ดใู บไมผ้ ลิ ๒๕๓๑)
๗. นาย Claude Pepper (สหรฐั อเมริกา ครบวาระปี ๒๕๓๑)
๘. นาย L.N. Torkovnov (สหภาพโซเวียต ครบวาระปี ๒๕๓๒)
๙. นาย B.Friesen (แคนาดา ครบวาระปี ๒๕๓๒)
๑๐. นาย R. Pedersen (เดนมารก์ ครบวาระปี ๒๕๓๓)
๑๑. นาย N.c. Makombe (ซิมบับเว ครบวาระปี ๒๕๓๓)

67

อนง่ึ ในการประชุมคณะมนตรสี หภาพรฐั สภา สมัยท่ี ๑๔๐ เมอื่ เดอื น
เมษายน ๒๕๓๐ ที่กรุงมานากัว ประเทศนกิ ารากวั ได้เห็นชอบให้เพ่มิ จ�ำ นวน
กรรมการบรหิ ารอกี ๒ ต�ำ แหนง่ รวมเป็น ๑๓ ตำ�แหน่ง โดยจะมีการเลอื กต้ัง
เพ่ิมเติมเปน็ คร้งั แรกในการประชมุ คณะมนตรีสหภาพรฐั สภา คร้ังที่ ๑๔๑ ที่
กรุงเทพ ฯ

การประชมุ คณะกรรมการบริหารจะมอี ยา่ งน้อยปลี ะ ๒ ครั้ง พร้อมกนั
ไปกบั การประชุมสหภาพรฐั สภา

๔. คณะกรรมาธิการ (Study Committees) ประกอบด้วยคณะ
กรรมาธกิ ารประจำ� ๔ คณะ คือ

๔.๑ คณะกรรมาธิการปัญหาการเมือง ความม่ันคงระหว่างประเทศ
และการลดอาวธุ (Committee on Political Question, International Security
and Disarmament)

๔.๒ คณะกรรมาธกิ ารปญั หาดา้ นรฐั สภา กฎหมาย และสทิ ธมิ นษุ ยชน
(Committee on Parliamentary, Juridical and Rights Questions)

๔.๓ คณะกรรมาธิการปัญหาด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและ
สง่ิ แวดลอ้ ม (Committee on Economic, Social Cultural and Environmental
Questions)

๔.๔ คณะกรรมาธกิ ารปญั หาเกย่ี วกบั ดนิ แดนทย่ี งั มไิ ดป้ กครองตนเอง
และปัญหาชาติพันธ์ุ (Committee on Non- Self Territories and Ethnic
Questions)

68

นอกจากน้ี คณะมนตรีสหภาพรัฐสภายังอาจจะให้ความเห็นชอบ
ตง้ั คณะกรรมาธกิ ารพเิ ศษ หรอื คณะกรรมาธกิ ารวสิ ามญั ขน้ึ เพอื่ ท�ำ การศกึ ษา
เรอื่ งหน่ึงเร่อื งใดโดยเฉพาะก็ได้ เช่น คณะกรรมาธิการพเิ ศษว่าดว้ ยเรอื่ งการ
ละเมดิ สทิ ธมิ นษุ ยชนของสหภาพรฐั สภา (Special Committee on Violations
of Human Rights of Parliamentary) เป็นตน้

การประชุมของคณะกรรมาธิการแต่ละคณะ ต้องมีประชุมปีละ
อย่างน้อย ๑ คร้ัง โดยที่ในการประชุมสหภาพรัฐภาแต่ละคร้ังจะต้องมีการ
ประชุมคณะกรรมาธิการ อย่างน้อย ๒ คณะ ส่วนคณะกรรมาธิการพิเศษ
ว่าด้วยการละเมิดสิทธิมนุษยชนของสมาชิกรัฐสภาในอดีตจะมีการประชุม
ปีละ ๒ คร้ัง ก่อนการประชุมสหภาพรัฐสภา ท่ีส�ำ นักงานเลขาธิการสหภาพ
รัฐสภา ณ นครเจนีวา แต่ปัจจบุ นั ไดเ้ พิม่ การประชุมไปพรอ้ มกับการประชุม
สหภาพรัฐสภาทุกครงั้ ดว้ ย

๕. สำ�นักงานเลขาธิการสหภาพรัฐสภา (Secretariat of lnter-
Parliamentary Union) เป็นหน่วยงานดำ�เนินกิจการทางด้านธุรการและ
วิชาการตา่ ง ๆ ของสหภาพรฐั สภา ภายใตก้ ารก�ำ กับดแู ลของคณะกรรมการ
บริหาร เพ่ือให้เป็นไปตามอำ�นาจหน้าท่ีความรับผิดชอบที่มีกำ�หนดไว้ใน
ธรรมนญู ของสหภาพรฐั สภา(StatutesoftheInter-ParliamentaryUnion)และ
ข้อบังคับของสำ�นักงานเลขาธิการสหภาพรฐั สภา (Rules of the Secretariat
of the Inter-Parliamentary Union)

ปจั จุบันมี นาย Pierre Cornillon เปน็ เลขาธกิ ารสหภาพรัฐสภา (พ.ศ.
๒๕๓๐)

69

ความสัมพันธร์ ะหว่างรัฐสภาไทยกบั สหภาพรฐั สภา

ในปี พ.ศ. ๒๔๙๑ ทางสหภาพรัฐสภาได้ติดต่อทาบทามผ่านมาท้ัง
ทางรัฐบาลและรัฐสภา ให้ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกของสหภาพรัฐสภา
โดยท่ีประชุมคณะมนตรีสหภาพรัฐสภาได้มีมติเป็นเอกฉันท์ในคราวประชุม
เม่ือเดอื นกันยายน ๒๔๙๓ ทก่ี รงุ ดบั ลิน ประเทศไอรแ์ ลนด์

ประเทศไทยได้เคยถูกระงับ สมาชิกภาพไว้ช่ัวคราว โดยมติของ
ที่ประชุม คณะมนตรีสหภาพรัฐสภา สมัยที่ ๑๑๑ เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.
๒๕๑๕ ทีก่ รงุ โรม ประเทศอติ าลี เน่ืองจากความผันแปรทางการเมอื ง มีการ
ปฏวิ ัตแิ ละยบุ สภา ต่อมาในการประชมุ สหภาพรัฐสภา สมยั ที่ ๑๑๒ และการ
ประชุมคณะกรรมการบริหารสหภาพรฐั สภา สมยั ที่ ๑๖๒ เมอ่ื เดอื นเมษายน
พ.ศ. ๒๕๑๖ ทกี่ รงุ อาบคิ จนั ประเทศ ไอเวอรโ่ี คสต์ ไดเ้ หน็ ชอบใหป้ ระเทศไทย
กลบั เขา้ เปน็ ภาคขี องสหภาพรฐั สภา โดยผ้แู ทนไทย คอื นายเสนาะ อูนากลู
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และเลขาธิการหน่วยประจำ�ชาติไทย
ในขณะน้ัน เป็นผู้ชี้แจงอำ�นาจหน้าที่ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติตาม
ธรรมนญู การปกครองของประเทศไทยในเวลานนั้

นบั ตงั้ แตป่ ระเทศไทยไดเ้ ปน็ สมาชกิ ของสหภาพรฐั สภามาจนปจั จบุ นั
เปน็ เวลาเกอื บ ๔๐ ปี ปรากฏว่าประเทศไทยได้เคยรับเป็นเจ้าภาพจดั ประชมุ
สหภาพรัฐสภา คร้ังที่ ๔๕ ท่ีกรุงเทพมหานคร โดยใช้ศาลาสันติธรรมเป็น
สถานท่ีประชุม เม่ือวันท่ี ๑๕ ถึง ๒๒ พฤศจิกายน ๒๔๙๙ มี พลเอก
พระประจนปจั จนกึ ประธานสภาผแู้ ทนราษฎรในเวลานนั้ ไดร้ บั ความเหน็ ชอบ
เป็นเอกฉันท์จากที่ประชุมให้เป็นประธานของที่ประชุมสหภาพรัฐสภา
ครัง้ ท่ี ๔๕ และได้รบั ความรว่ มมอื และเงนิ งบประมาณสนับสนุนจากรฐั บาล
เปน็ อย่างดี

70

นอกจากนี้ ยังมีสมาชิกรัฐสภาของประเทศไทยได้เคยดำ�รงตำ�แหน่ง
ส�ำ คญั ของสหภาพรฐั สภาในอดตี มาแลว้ คอื พระราชธรรมนเิ ทศ รองประธาน
สภาผู้แทนราษฎร คนท่ี ๑ ได้ดำ�รงตำ�แหน่งกรรมการบริหารสหภาพรฐั สภา
ในปี ๒๔๙๙ และไดม้ บี คุ คลส�ำ คญั ของประเทศไทยปจั จบุ นั ไดเ้ คยเปน็ ผแู้ ทน
ไปรว่ มประชมุ สหภาพรฐั สภามาหลายทา่ น อาทเิ ชน่ ฯพณฯ นายพจน์ สารสนิ
และ ฯพณฯ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ในคราวประชุมครั้งท่ี ๓๙ ณ กรุงดับลิน
ประเทศไอร์แลนด์ เม่ือ พ.ศ. ๒๔๙๓ ฯพณฯ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์
ไดเ้ คยเปน็ ผแู้ ทนไปรว่ มประชมุ ครง้ั ที่ ๕๐ ณ กรงุ บรสั เซลส์ ประเทศเบลเยยี่ ม
เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๔ และ ฯพณฯ ประธานรัฐสภา ปัจจุบัน (พ.ศ. ๒๕๓๐)
(ศาสตราจารย์ ดร.อุกฤษ มงคลนาวนิ ) ไดเ้ คยเปน็ หัวหนา้ คณะผู้แทนรัฐสภา
ไทยไปรว่ มการประชมุ สหภาพรฐั สภาประจ�ำ ฤดใู บไมผ้ ลิและการประชมุ คณะ
มนตรีสหภาพรัฐสภา สมยั ที่ ๑๒๐ ท่ี กรงุ แคนเบอรร์ า ประเทศออสเตรเลีย
เม่อื พ.ศ. ๒๕๒๐ ในขณะที่เปน็ รองประธานสภาปฏริ ปู การปกครองแผน่ ดนิ
คนท่ี ๑

71

การถูกทาบทามให้รัฐสภาไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสหภาพ
รัฐสภา

การประชุมสหภาพรัฐสภาครั้งที่ ๖๙ ซ่ึงมีข้ึนที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี
(พ.ศ. ๒๕๒๖ )โดยมีพลอากาศเอกหะริน หงสกุล ประธานรัฐสภาเป็นหัวหน้า
คณะฯพลเอกกฤษณ์ชเี จรญิ สมาชกิ วฒุ สิ ภาเปน็ เลขาธกิ ารหนว่ ยฯในการประชมุ
คร้ังน้ีนาย Pio-Carlo Terenzio เลขาธิการสหภาพรัฐสภา ไดม้ าตดิ ตอ่ ทาบทาม
กับ พลเอก กฤษณ์ ชเี จรญิ เลขาธกิ ารหนว่ ยฯ เพอ่ื ขอให้รัฐสภาไทยเปน็ เจา้ ภาพ
จัดการประชุม ซึ่งเป็นคร้ังแรกที่ประเทศไทยถูกทาบทามให้เป็นเจ้าภาพ ซึ่ง
เลขาธกิ ารหนว่ ยฯไดต้ อบกบั เลขาธกิ ารสหภาพรฐั สภาวา่ จะไดน้ �ำ เรอื่ งนไ้ี ปปรกึ ษา
กบั คณะกรรมการบริหารหนว่ ยก่อนและจะแจ้งผลใหท้ ราบในโอกาสต่อไป

ปีต่อมาเป็นการประชุมสหภาพรัฐสภาครั้งท่ี ๗๐ ณ กรุงโซล ประเทศ
เกาหลีใต้ โดยมีนายจารุบุตร เรืองสุวรรณ ประธานรัฐสภาเป็นหัวหน้าคณะฯ
และมีพลเอก กฤษณ์ ชีเจริญ สมาชิกวุฒิสภา เป็นเลขาธิการหน่วยฯ ในการ
ประชุมครั้งน้เี ลขาธิการสหภาพรัฐสภา Mr.Terenzio กไ็ ดม้ าขอทาบทามอีกครัง้
ซง่ึ เลขาธกิ ารหนว่ ยฯไดแ้ จง้ วา่ ขณะนปี้ ระเทศไทยยงั ไมพ่ รอ้ มทจ่ี ะรบั เปน็ เจา้ ภาพ
ได้ เน่ืองจากสาเหตหุ ลายประการ

ปีถัดมาเป็นการประชุมสหภาพรัฐสภาครั้งท่ี ๗๑ ซ่ึงไม่มีประเทศใด
รับเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ดังน้ีจึงต้องไปประชุมกันท่ีกรุงเจนีวา ประเทศ
สวิตเซอร์แลนด์ ซ่ึงเป็นสำ�นักงานกลางของสหภาพรัฐสภา ในการประชุมคร้ังนี้
นาวาอากาศโท ทินกร พันธ์ุกระวี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นหัวหน้าคณะ
และ พลเอก กฤษณ์ ชเี จรญิ สมาชกิ วฒุ สิ ภา เปน็ เลขาธกิ ารหนว่ ยฯ Mr.Terenzio
เลขาธิการสหภาพรัฐสภาได้มาติดต่อทาบทามให้รัฐสภาไทยจัดการประชุม
สหภาพรัฐสภาว่าด้วยเรื่องอนามัยและการพัฒนาในภูมิภาคเอเชียตะวันออก
เฉียงใต้และแปซิฟิกตะวันตกซึ่งจะมีขึ้นในต้นปี ๒๕๒๘ ซ่ึงจะมีสมาชิกเข้าร่วม

72

ประชุมประมาณ ๒๐ ประเทศ เลขาธิการหน่วยได้แจ้งว่าจะรับไปพิจารณา
และจะแจง้ ใหท้ ราบผลโดยเรว็ ทสี่ ดุ ตอ่ มาเมอื่ คณะผแู้ ทนกลบั มายงั ประเทศไทย
ได้เชิญกรรมการบริหารหน่วยร่วมกันพิจารณาในเร่ืองดังกล่าวและเห็นว่า
เนื่องจากประเทศไทยได้ถูกทาบทามมาหลายต่อหลายครั้งแล้วและเพ่ือไม่ต้อง
รบั ภาระการจดั ประชมุ ใหญจ่ งึ เหน็ สมควรรบั จดั ประชมุ ในเรอื่ งน้ี ดงั นน้ั ประธาน
รฐั สภาจงึ ไดม้ หี นงั สอื ตอบรบั เปน็ เจา้ ภาพจดั การประชมุ ไปยงั เลขาธกิ ารสหภาพ
รฐั สภา (ประธานรัฐสภาขณะนัน้ คือ ดร.อุกฤษ มงคลนาวนิ )

ตอ่ มา เปน็ การประชุมสหภาพรัฐสภา คร้ังท่ี ๗๒ ซึ่งไมม่ ีประเทศสมาชกิ
รบั เปน็ เจา้ ภาพ จงึ ไปจดั ประชมุ ณ กรงุ เจนวี า ประเทศสวติ เซอรแ์ ลนด์ อกี ครง้ั หนง่ึ
เม่ือปีพ.ศ. ๒๕๒๗ ในการน้ี นาวาอากาศโท ทินกร พันธ์ุกระวี สมาชิกสภา
ผู้แทนราษฎรเป็นหัวหน้าคณะและพลเอก กฤษณ์ ชีเจริญ สมาชิกวุฒิสภา
เปน็ เลขาธกิ ารหนว่ ยฯ ในการประชมุ ครงั้ นปี้ ระธานในทปี่ ระชมุ ไดแ้ จง้ ใหท้ ราบวา่
ในการประชุมสหภาพรัฐสภาว่าด้วยอนามัยและการพัฒนาในภูมิภาคเอเชีย
ตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิกตะวันตก รัฐสภาไทยได้รับเป็นเจ้าภาพจัดการ
ประชุม โดยการประชมุ จะเรมิ่ จากวนั ท่ี ๑๘-๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๘ ณ โรงแรม
ไฮแอท เซน็ ทรัล พลาซา

การทรี่ ฐั สภาไทยไดเ้ ปน็ เจา้ ภาพจดั การประชมุ ในครงั้ น้ี ท�ำ ใหป้ ระเทศไทย
สามารถแก้ปัญหาเร่ืองการเป็นเจ้าภาพจัดประชุมใหญ่ไปได้ ท้ังน้ีเน่ืองจาก
นับเป็นเวลาหลายสิบปีแล้วท่ีประเทศไทยมิได้รับเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม
สหภาพรัฐสภา

ตอ่ มาเปน็ การประชมุ สหภาพรฐั สภาครงั้ ท่ี๗๓ซงึ่ มขี น้ึ ทกี่ รงุ โลเม่ประเทศ
โตโก (พ.ศ. ๒๕๒๘) โดยมีนาวาอากาศโท ทนิ กร พนั ธ์กุ ระวี สมาชิกสภาผแู้ ทน
ราษฎรเป็นหัวหน้าคณะฯ และพลเอก กฤษณ์ ชีเจริญ สมาชิกวุฒิสภาเป็น
เลขาธิการหนว่ ยฯ

73

การประชุมสหภาพรัฐสภา คร้ังท่ี ๗๔ มีข้ึนท่ีกรุงออตตาวา ประเทศ
แคนาดา (พ.ศ. ๒๕๒๘) โดยมีนาวาอากาศโท ทนิ กร พนั ธ์กุ ระวี สมาชิกสภา
ผ้แู ทนราษฎรเป็นหัวหนา้ คณะและพลเอก กฤษณ์ ชเี จริญ สมาชกิ วฒุ ิสภาเปน็
เลขาธกิ ารหนว่ ยฯ

การประชุมสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ ๗๕ มีขึ้นที่กรุงเม็กซิโกซิต้ี ประเทศ
เม็กซิโก (พ.ศ. ๒๕๒๙) โดยมีนาวาอากาศโท ทินกร พันธ์ุกระวี สมาชิกสภา
ผแู้ ทนราษฎรเปน็ หวั หน้าคณะและพลเอก กฤษณ์ ชีเจริญ สมาชิกวุฒสิ ภาเป็น
เลขาธิการหน่วยฯ

การประชุมสหภาพรัฐสภาคร้งั ที่ ๗๖ มีขน้ึ ท่กี รงุ บวั โนสไอเรส ประเทศ
อาร์เจนติน่า (พ.ศ. ๒๕๒๙) โดยมีนายถวิล ไพรสณฑ์ สมาชิกสภาผู้แทน
ราษฎรเป็นหัวหน้าคณะและพลเอก กฤษณ์ ชีเจริญ สมาชิกวุฒิสภาเป็น
เลขาธกิ ารหนว่ ยฯในการประชมุ ครงั้ น้ี Mr.Terenzio เลขาธกิ ารสหภาพรัฐสภา
ได้มาขอร้องให้รัฐสภาไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมใหญ่สหภาพรัฐสภา
อีกสักคร้ัง ทั้งนี้เน่ืองจากเป็นเวลากว่า ๓๐ ปีแล้วท่ีประเทศไทยมิได้เป็น
เจ้าภาพจัดการประชุม อีกท้ังประเทศซิมบับเว (ZIMBABWA) ซึ่งเดิมรับเป็น
เจา้ ภาพจดั การประชมุ ใหญค่ รง้ั ท่ี ๗๘ ไมส่ ามารถจดั ประชมุ ได้ เนอ่ื งจากเหตผุ ล
ทางการเมืองหลายประการ อีกท้ังประเทศสมาชิกอ่ืน ๆ ก็ไม่สามารถรับจัด
ประชมุ ไดท้ นั ดงั นนั้ เลขาธกิ ารหนว่ ยฯจงึ ไดแ้ จง้ วา่ จะไดน้ �ำ เรอ่ื งนไ้ี ปปรกึ ษากบั
คณะกรรมการบริหารหน่วยและทางฝ่ายรัฐบาลก่อนซ่ึงเม่ือผลเป็นประการใด
แลว้ จะแจ้งใหท้ ราบในโอกาสต่อไป

เมอื่ คณะผแู้ ทนไทยเดนิ ทางกลบั มายงั ประเทศไทย กไ็ ดท้ �ำ เรอื่ งนเี้ สนอ
ต่อคณะกรรมการบริหารหน่วย โดยมี ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน เป็นประธาน
ทั้งนี้โดยน�ำ เหตุผลหลาย ๆ อย่างมาอภปิ รายกนั โดยเฉพาะเหน็ ว่าในปี ๒๕๓๐
เป็นปที อ่ งเท่ียวไทยซึง่ จะทำ�ใหเ้ หมาะแกก่ ารรับจัดเปน็ เจ้าภาพ

74

ดงั นนั้ คณะกรรมการบรหิ ารหนว่ ยฯ จงึ มมี ตเิ หน็ ชอบทจ่ี ะรบั เปน็ เจา้ ภาพ
จัดการประชุมใหญ่สหภาพรัฐสภาคร้ังที่ ๗๘ โดยให้นำ�เร่ืองนี้ไปเจรจากับ
ฝ่ายรัฐบาลก่อน หากรัฐบาลยินยอมและเห็นด้วยก็จะดำ�เนินการต่อไป
ดงั นน้ั ในวนั พธุ ที่ ๑๕ เมษายน ๒๕๓๐ คณะผแู้ ทนไทยจงึ ไดข้ อเขา้ เยย่ี มคารวะ
และปรึกษาหารือกับฯพณฯ นายกรัฐมนตรี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์และ
รฐั มนตรวี า่ การกระทรวงการตา่ งประเทศ พลเอกสทิ ธิ เศวตศลิ า ผลการประชมุ
และปรึกษาหารือ ทุกฝ่ายเห็นพ้องต้องกันให้รับเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม
สหภาพรัฐสภาครงั้ ที่ ๗๘ ท่ีกรุงเทพฯ ประเทศไทย

ดงั นั้น ในการประชุมสหภาพรัฐสภาครง้ั ท่ี ๗๗ ณ กรุงมานากวั ประเทศ
นิการากัว (พ.ศ. ๒๕๓๐) คณะผู้แทนรัฐสภาไทยโดยการนำ�ของนายถวิล
ไพรสณฑ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นหัวหน้าคณะฯ และพลเอก กฤษณ์
ชีเจรญิ สมาชิกวฒุ ิสภาเป็นเลขาธิการหน่วยฯไดแ้ จง้ ตอ่ นายPierre Cornillon
เลขาธิการสหภาพรัฐสภาคนใหม่ซ่ึงมาแทนนาย Pio-Carlo Terenzio ซึ่ง
หมดวาระโดยแจ้งให้ทราบว่ารัฐสภาไทยยินดีรับเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม
ใหญ่สหภาพรัฐสภาครั้งท่ี ๗๘ ที่กรุงเทพฯ ประเทศไทย โดยท้ังน้ี ประธาน
สหภาพรฐั สภา Dr.Hans Stercken ไดแ้ จง้ ตอ่ ทป่ี ระชมุ ในวนั พธิ ปี ดิ การประชมุ
คร้ังท่ี ๗๗ ณ กรุงมานากัว ประเทศนิการากัว โดยแจ้งให้ท่ีประชุมทราบว่า
ในการประชุมสหภาพรัฐสภาคร้ังที่ ๗๘ ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัด
การประชมุ ณ กรงุ เทพฯซง่ึ ท�ำ ใหป้ ระเทศสมาชกิ ปรบมอื แสดงความยนิ ดตี อ่ การ
รับเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ซ่ึงทั้งนี้เป็นการตัดสินใจซ่ึงมีระยะเวลาสั้นมาก
ต่อการจดั เตรยี มงานซึ่งเชอ่ื ว่าหลาย ๆ ประเทศคงจะกระท�ำ ได้ล�ำ บาก

จากผลของการจัดประชมุ สหภาพรัฐสภาครงั้ ที่ ๗๘ ซง่ึ มขี นึ้ ทีก่ รงุ เทพฯ
ประเทศไทย ระหว่างวันที่ ๑๒-๑๗ ตุลาคม ๒๕๓๐ ซ่ึงในครั้งน้ีรัฐสภาไทย
มีระยะเวลาสั้นมากในการจัดเตรียมงานแต่หลังจากการประชุมได้ผ่านไป

75

แล้วโดยการนำ�ของ ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน ประธานรัฐสภา ซ่ึงได้รับเลือก
เป็นประธานท่ีประชุมและนายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร ซึ่ง
เป็นรองหัวหน้าหน่วยประจำ�ชาติ ทำ�หน้าที่หัวหน้าคณะผู้แทนไทยและ
ดร.อมร จันทรสมบูรณ์ สมาชิกวุฒิสภาเป็นเลขาธิการหน่วยฯ รัฐสภาไทย
ได้ประสบผลสำ�เร็จเป็นอย่างมากโดยได้รับคำ�ชมเชยจากนานาประเทศท่ี
เป็นสมาชิกของสหภาพรัฐสภา โดยเฉพาะมีการให้ความสำ�คัญแก่หัวหน้า
คณะผู้แทนทุกคณะ ซึ่งนำ�โดยประธานรัฐสภาหรือนายกรัฐมนตรี ด้วยการมี
โอกาสเข้าพบสนทนากับประธานรัฐสภาประเทศไทย ซ่ึงเป็นเจ้าภาพในการ
ประชุม โดยไม่เคยมีการปฏิบัติเชน่ น้ีมาก่อน

76

77



การดำ� เนินงานในการจดั ประชุมสหภาพรฐั สภา
(ครง้ั ประวตั ศิ าสตร์)

รัฐสภาได้ทำ�หนังสือขอพระราชทานอัญเชิญเสด็จพระราชดำ�เนิน
ทรงเปน็ ประธานในการเปิดประชมุ สหภาพรฐั สภา ครง้ั ท่ี ๗๘ และหนังสือ
ราชเลขาธิการแจ้งวา่ ทรงรบั เชิญเสด็จ (ส�ำ เนาหนังสอื ทงั้ สองฉบับ)

79

80

81

82

การประชุมสหภาพรัฐสภา ครัง้ ท่ี ๗๘
ระหว่างวนั ท่ี ๑๒-๑๗ ตุลาคม ๒๕๓๐
รัฐสภาไทยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสหภาพรัฐสภา
ครั้งท่ี ๗๘ ระหว่างวันท่ี ๑๒-๑๗ ตุลาคม ๒๕๓๐ ที่กรุงเทพมหานคร ท้ังนี้
เป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่คณะผู้แทนรัฐสภาไทยที่ไปร่วมประชุมสหภาพ
รฐั สภาครงั้ ท่ี ๗๗ ณ กรงุ มานากวั ประเทศนกิ ารากวั โดยมนี ายถวลิ ไพรสณฑ์
สมาชกิ สภาผูแ้ ทนราษฎรเปน็ หัวหน้าคณะ ได้เข้าเย่ยี มคารวะ ฯพณฯ นายก
รฐั มนตรี เมอื่ วนั ที่ ๑๕ เมษายน ๒๕๓๐ เพอื่ ขอรบั ทราบนโยบายกอ่ นเดนิ ทาง
ไปประชุมและฯพณฯ ได้กรุณาเห็นชอบในหลักการและนโยบายให้การ
สนับสนุนท่ีจะให้รัฐสภาไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสหภาพรัฐสภา
ครงั้ ที่ ๗๘ ทก่ี รงุ เทพมหานคร ดงั นน้ั ในคราวประชมุ คณะมนตรสี หภาพรฐั สภา
ท่กี รงุ มานากัว ประเทศนกิ ารากวั ไดม้ ีมตเิ ป็นเอกฉนั ทใ์ หป้ ระเทศไทยรบั เป็น
เจา้ ภาพจัดการประชมุ สหภาพรฐั สภา ครัง้ ที่ ๗๘ ท่ีกรงุ เทพมหานคร นับเปน็
ครั้งท่ีสองที่รัฐสภาไทยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดประชุมสหภาพรัฐสภา
หลังจากท่ีได้เคยจัดประชุมสหภาพรัฐสภาครั้งท่ี ๔๕ ไปแล้วครั้งหนึ่ง เมื่อปี
พ.ศ. ๒๔๙๙
การประชมุ สหภาพรฐั สภา ครงั้ ที่ ๗๘ นี้ จะมผี เู้ ขา้ รว่ มประชมุ ประกอบ
ดว้ ยสมาชกิ รฐั สภา จากประเทศสมาชกิ จ�ำนวน ๑๐๘ ประเทศและผแู้ ทนจาก
องคก์ ารระหวา่ งประเทศทไ่ี ดร้ บั ความเหน็ ชอบจากคณะมนตรสี หภาพรฐั สภา
ใหเ้ ข้าร่วมประชุมในฐานะเปน็ ผูส้ ังเกตการณอ์ กี ๓๐ องค์การ รวมผเู้ ข้าร่วม
ประชมุ ทงั้ สน้ิ ประมาณ ๑,๐๐๐ คน พระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั พระราชทาน
พระมหากรุณาธิคุณเสด็จพระราชด�ำเนินทรงเป็นองค์ประธานในพิธีเปิด
การประชุมในวนั จันทรท์ ี่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๓๐ เวลา ๑๖.๓๐ นาฬิกา ณ ห้อง
วิภาวดีบอลรูม โรงแรมไฮแอท เซ็นทรัลพลาซ่า ส่วนการประชุมจะประชุม

83

กนั ที่ บางกอก คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ ศูนย์การคา้ เซน็ ทรลั พลาซา่ คณะผแู้ ทน
รัฐสภาไทยท่ีจะเข้าร่วมการประชุมสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ ๗๘ ประกอบด้วย
คณะกรรมการบรหิ ารหน่วยประจ�ำชาตไิ ทยในสหภาพรฐั สภา โดยมปี ระธาน
สภาผู้แทนราษฎรเป็นหัวหน้าคณะฯ ส่วนประธานรัฐสภา จะท�ำหน้าท่ีเป็น
ประธานของท่ีประชมุ สหภาพรฐั สภา ครง้ั ที่ ๗๘ คณะผู้แทนไทยจะอภิปราย
เป็นภาษาไทย โดยมีล่ามแปลเป็นภาษาอังกฤษและในการประชุมสหภาพ
รัฐสภาครั้งน้ีนายสุวิทย์ คุณกิตติ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและกรรมการ
บรหิ ารหนว่ ยประจ�ำชาตไิ ทยในสหภาพรฐั สภา ไดส้ มคั รชงิ ต�ำแหนง่ กรรมการ
บรหิ ารสหภาพรฐั สภาและนายนสิ สัย เวชชาชวี ะ เอกอคั รราชทตู ผแู้ ทนถาวร
ประจ�ำสหประชาชาติ ณ กรงุ เจนีวา เป็นทีป่ รกึ ษาของคณะผ้แู ทนไทยดว้ ย

ภาษาราชการของการประชุมสหภาพรัฐสภา คือ ภาษาอังกฤษและ
ฝรั่งเศส แต่เป็นธรรมเนียมปฎิบัติของการประชุมสหภาพรัฐสภาท่ีประเทศ
เจา้ ภาพจะจดั ใหม้ อี ปุ กรณก์ ารแปล ๗ ภาษาดว้ ยกนั คอื องั กฤษ ฝรง่ั เศส สเปน
รัสเซีย ญีป่ นุ่ จีนและอารบคิ และในการประชุมสหภาพรัฐสภาคร้งั น้ีได้จัดให้
มลี า่ มแปลจากภาษาไทยเปน็ ภาษาองั กฤษดว้ ย ฉะนน้ั ในการประชมุ สหภาพ
รฐั สภา ครัง้ ที่ ๗๘ จะจดั ให้มีอปุ กรณ์แปลรวม ๘ ภาษา

84

การประชมุ สหภาพรฐั สภาแตล่ ะครงั้ จะประกอบดว้ ยการประชมุ ตา่ ง ๆ
ดงั ตอ่ ไปน้ี

๑. การประชมุ คณะกรรมการบริหารสหภาพรัฐสภา
๒. การประชมุ คณะมนตรสี หภาพรฐั สภา
๓. การประชุมสหภาพรัฐสภาเต็มคณะ (Plenary session)
๔. การประชมุ คณะกรรมาธิการตา่ งๆ
๕. การประชุมระหว่างสมาชิกรัฐสภาสตรีท่ีมาร่วมประชุมสหภาพ
รัฐสภา
๖. การประชุมกลุ่มย่อยๆ ของกลุ่มประเทศต่างๆ เช่น กลุ่มยุโรป
กลุม่ อเมรกิ า กลุม่ ๑๒ plus เปน็ ต้น
๗. การประชุมระหว่างเลขาธกิ ารรัฐสภาของประเทศตา่ งๆ

85

ค�ำปราศรยั
ฯพณฯ รองนายกรัฐมนตรี (นายพิชัย รัตตกุล)

รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี
พิธีเปดิ การประชุมสหภาพรัฐสภา ครัง้ ที่ ๗๘

วนั จันทรท์ ี่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๓๐
------------------------------------------
ขอเดชะฝ่าละอองธลุ ีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม
ข้าพระพุทธเจ้า นายพิชัย รัตตกุล รองนายกรัฐมนตรี รักษาราชการ
แทนนายกรัฐมนตรี ซึ่งเดินทางไปปฏิบัติราชการอยู่ในต่างประเทศ ขอ
พระราชทาน พระบรมราชานุญาตกล่าวค�ำปราศรัย ในนามของรัฐบาลแก่
บรรดาสมาชกิ รฐั สภาและทา่ นผมู้ เี กยี รตทิ ไ่ี ดม้ ารว่ มชมุ นมุ อยู่ ณ ทน่ี ้ี ดว้ ยเกลา้
ด้วยกระหม่อม ขอเดชะ
ในนามของรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและประชาชนชาวไทย
ข้าพเจ้าขอต้อนรับท่านสมาชิกรัฐสภาผู้ทรงเกียรติทั้งหลายของโลก ท่ีได้
มาร่วมชุมนุมกันในประเทศไทยอีกครั้งหน่ึง เพ่ือร่วมประชุมสหภาพรัฐสภา
ครั้งท่ี ๗๘ ณ กรุงเทพมหานคร นี้ ด้วยความยินดเี ปน็ อย่างยิง่
เป็นท่ีตระหนักกันดีว่า นอกจากสหภาพรัฐสภาจะมีวัตถุประสงค์เพื่อ
เสริมสร้างและกระชับสัมพันธภาพกันเอง ระหว่างบรรดาสมาชิกรัฐสภา

86

ทว่ั โลกแลว้ สหภาพรฐั สภายงั เปน็ องคก์ ารรฐั สภาโลก ซง่ึ ไดร้ บั การยอมรบั จาก
ชุมชนระหว่างประเทศที่ได้มีบทบาทส�ำคัญในอันที่จะเสริมสร้างและรักษา
สันติภาพของโลกไว้ตลอดมา นับตั้งแต่ได้มีการจัดต้ังสหภาพรัฐสภาในปี
พุทธศักราช ๒๔๗๒ เป็นท่ีน่ายินดีอย่างย่ิงท่ีสหภาพรัฐสภาได้มีการด�ำเนิน
งานสนับสนุนและร่วมมือกับองค์การสหประชาชาติอีกด้วย ท�ำให้เชื่อมั่นได้
ว่า หากปราศจากความร่วมมือระหว่างองค์กรของฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่าย
บริหารแล้ว สันติภาพซ่ึงเป็นความปรารถนาอันสูงสุดของมวลมนุษยชาติ
คงจะไมส่ ามารถด�ำเนินงานใหบ้ รรลุผลส�ำเร็จได้

ส�ำหรบั ประเทศไทย รฐั บาลและรฐั สภาไดป้ ระสานงานกันเพื่อปฏบิ ัติ
หนา้ ทอ่ี ยา่ งดยี ง่ิ เพอื่ ธ�ำรงเอกราชและอธปิ ไตยของชาตไิ ทยไวใ้ หย้ ง่ั ยนื สบื ไป
ภายใตก้ ารปกครองในระบอบประชาธปิ ไตย อนั มพี ระมหากษตั รยิ เ์ ปน็ ประมขุ
นอกจากนนั้ รัฐบาลยงั ได้ให้การสนับสนุนและให้ความรว่ มมือกบั บรรดามิตร
ประเทศทั้งหลาย ในอันท่ีจะปกป้องและรักษาสันติภาพของโลกไว้ให้ม่ันคง
ตลอดไป ความรว่ มมอื ขององคก์ รทง้ั ในระดบั รฐั บาลและรฐั สภาของประเทศ
สมาชิกสมาคมอาเซียนเป็นตวั อยา่ งหนึ่งของการประสานประโยชน์ดงั กล่าว

ท่านสมาชิกรัฐสภาผู้ทรงเกียรติทุกท่าน ท่ีได้มาร่วมประชุมกันอยู่
ขณะนี้นอกจากจะได้มีส่วนช่วยสนับสนุนปีท่องเที่ยวประเทศไทยแล้ว
ท่านทั้งหลายยังจะมีโอกาสได้ชมประเพณีอันเก่าแก่โบราณ เกี่ยวกับงาน
เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เน่ืองในวโรกาสพระราช
พิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบโดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันศุกร์
ที่ ๑๖ ตุลาคมนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชด�ำเนินโดย
กระบวนพยหุ ยาตราชลมารค จากทา่ วาสกุ รไี ปตามล�ำนำ้� เจา้ พระยา เพอื่ ถวาย
ผ้าพระกฐินแด่พระภิกษุสงฆ์ท่ีจ�ำพรรษา ณ พระอุโบสถวัดอรุณราชวราราม
อีกดว้ ย

87

ในนามของรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและประชาชนชาวไทย
ข้าพเจ้าหวังว่าการประชุมสหภาพรัฐสภา คร้ังท่ี ๗๘ นี้ จะบรรลุผลส�ำเร็จ
ในการสร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้า เกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างรัฐบาล
และรัฐสภาของประเทศทั้งหลายให้แน่นแฟ้นย่ิง ๆ ข้ึนไป และหวังว่าท่าน
ทัง้ หลายจะประสบความสขุ ตลอดระยะเวลาที่พ�ำนักอย่ใู นประเทศไทย

88

ค�ำปราศรัย
ฯพณฯ ศาสตราจารย์ ดร.อุกฤษ มงคลนาวนิ ประธานรัฐสภา

ในพธิ เี ปดิ การประชุมสหภาพรฐั สภา ครง้ั ท่ี ๗๘
วนั จนั ทร์ที่ ๑๒ ตลุ าคม ๒๕๓๐
------------------------------------------

ขอเดชะฝ่าละอองธลุ ีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม
ข้าพระพุทธเจ้า นายอุกฤษ มงคลนาวิน ประธานรัฐสภา ขอ
พระราชทานพระบรมราชานญุ าต กลา่ วค�ำปราศรยั ในนามของ สมาชกิ รฐั สภา
แห่งราชอาณาจักรไทย แก่บรรดาท่านผู้มีเกียรติท่ีได้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลี
พระบาท ณ ทน่ี ้ี
ในนามของสมาชิกรัฐสภาแห่งราชอาณาจักรไทย และในนามของ
ประชาชนชาวไทย ขอต้อนรับท่านประธานคณะมนตรีสหภาพรัฐสภา คณะ
กรรมการบรหิ ารสหภาพรฐั สภา ทา่ นสมาชกิ รฐั สภาจากบรรดาประเทศตา่ ง ๆ
และท่านผู้มีเกียรติทั้งหลายที่เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแห่งราช
อาณาจกั รไทย อยู่ ณ ทนี่ ี้
เม่อื วันที่ ๑๕ พฤศจกิ ายน พ.ศ. ๒๔๙๙ (ค.ศ.๑๙๕๖) ประเทศไทย
ไดเ้ คยเปน็ เจา้ ภาพในการจดั ประชุมสหภาพรฐั สภา ครง้ั ท่ี ๔๕ ขนึ้ ที่กรงุ เทพฯ
และเป็นครั้งแรกท่ีประเทศในทวีปเอเชียเป็นเจ้าภาพ ในการจัดการประชุม
สหภาพรฐั สภาข้ึน

89

คร้ังนี้นับเป็นครั้งที่ ๒ ที่ประเทศไทยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพ
ในการจัดการประชมุ อีกคร้งั หน่งึ เป็นการประชุมคร้งั ท่ี ๗๘ ซง่ึ มบี รรดาเพ่ือน
สมาชิกรัฐสภาท่ัวโลกได้มาร่วมประชุมถึง ๑๐๘ ประเทศ รวมทั้งองค์การ
ระหว่างประเทศอีก ๒๑ องค์การ นอกจากนัน้ พระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอยหู่ ัว
พระราชทานพระมหากรุณาธิคุณเสด็จพระราชด�ำเนินทรงเป็นองค์ประธาน
ในพิธีเปิดการประชุมด้วยพระองค์เอง จึงนับเป็นโอกาสที่ส�ำคัญท่ีสุดของ
ประเทศไทยและประชาชนชาวไทย

เพ่ือนสมาชิกรัฐสภาและท่านผู้มีเกียรติทั้งหลายคงทราบว่า วัตถุ
ประสงค์ส�ำคัญของสหภาพตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบัน ได้แก่ การเสริมสร้าง
สันติภาพแห่งโลก ดังน้ัน จึงเป็นหน้าที่ของพวกเราทั้งหลายที่จะต้องด�ำเนิน
การให้บรรลุผล โดยให้ประชาชนของเราทั้งหลายได้รับหลักประกันในเร่ือง
เสรีภาพและความยุติธรรมและการอยู่ร่วมกันโดยสันติ และควรหาทางลด
ช่องว่างระหว่าง ”การพดู และการกระท�ำ”

เป็นที่น่าสังเกตว่า แม้สมาชิกรัฐสภาทั่วโลกจะมีความพยายามใน
การน�ำสันติภาพท่ีแท้จริงมาสู่มวลประชาชนท่ัวโลก แต่ปัญหาความขัดแย้ง
และความเข้าใจผิดต่าง ๆ กลับไม่ยุตลิ ง และมขี ้อพิพาทตา่ ง ๆ ทร่ี า้ ยแรงเกิด
ข้ึนในหลายภูมิภาคของโลก จึงเป็นหน้าที่ของเราท้ังหลายท่ีจะต้องมีส่วน
เขา้ รว่ มในการแกป้ ัญหาต่อไป

การบรรลุเป้าหมายในเรื่องนี้ ต้องพิจารณาจากผลไปถึงต้นเหตุและ
วางแนวทางแก้ปัญหา จนกระท่ังบรรลุเป้าหมายท่ีแท้จริงและถาวร เช่น
การสู้รบกันเกิดข้ึนเพราะการขัดแย้งรุนแรง จนเกิดความโกรธและใช้ก�ำลัง
เขา้ ประหัตประหารกนั ในสงครามแต่ละครงั้ ทัง้ สงครามท่ีมีการประกาศ หรอื
ไม่มีการประกาศ ได้ท�ำลายชีวิตมนุษยชาติที่บริสุทธ์ิ รวมท้ังทารก คนชรา
และสตรีลงจ�ำนวนมาก และยังมีผู้พิการทุพพลภาพมากมายท่ีได้รับผลจาก

90

สงคราม บุคคลเหล่านี้ต้องเผชิญกับชีวิตที่มีแต่ความทุกข์ยากและทรมาน
เม่ือเร่ิมต้นสงคราม ปัญหาอธิปไตยและศักด์ิศรีของประเทศชาติจะเข้ามา
มสี ่วนก�ำหนดในการเจรจายุตกิ ารสู้รบ ท�ำใหก้ ารเจรจาเกดิ ขึน้ ไม่ไดห้ รือต้อง
ยตุ ิลงและการฆ่าฟันด�ำเนินต่อไป

หรือในกรณีท่ีมีประชาชนอพยพหลบหนีออกนอกประเทศจะต้องมี
สาเหตุส�ำคัญคือ ประชาชนเหล่าน้ันไม่สามารถมีชีวิตอยู่ต่อไปในประเทศ
ของตนได้ จงึ ตอ้ งอพยพหลบภยั ไปตายเอาดาบหนา้ ยอมไปอยใู่ นประเทศอน่ื
ซึ่งสภาพชีวิตไม่ได้ดีข้ึนมากมาย แต่เนื่องจากไม่สามารถทนทานต่อภัย
อันร้ายแรงในประเทศของตน จึงต้องอพยพหลบหนีออกจากมาตุภูมิ
การแก้ปัญหาจึงควรพิจารณาท่ีต้นเหตุ ไดแ้ ก่ การพิจารณาทีว่ า่ อะไรคอื ภยั
อันร้ายแรงท่ีประชาชนของประเทศ ไม่สามารถทนทานได้และร่วมมือกัน
แก้ปัญหาน้ันเสียโดยสันติวิธี ได้แก่ การเจรจากันโดยตรงระหว่างคู่กรณี
หรือด้วยการประชุมนานาชาติระหว่างประเทศท่ีเป็นต้นเหตุแห่งปัญหา
ด้วยความตั้งใจจริงและมีความจริงใจในการแก้ปัญหา โดยค�ำนึงถึงสภาพ
สภาวะความเป็นอยู่ที่ทุกข์ทรมานของประชาชนที่มีชีวิตอยู่โดยปราศจาก
ความหวงั และอนาคต เวลาทลี่ ว่ งไปแตล่ ะวนั ของประชาชนผนู้ า่ สงสารเหลา่ นี้
เปน็ เวลาอนั ยาวนานและจะไมม่ อี ะไรเปลย่ี นแปลงเลย ถา้ เราไมเ่ รมิ่ ตน้ กระท�ำ
ดงั นนั้ ผมู้ สี ว่ นส�ำคญั ในการพจิ ารณาแกไ้ ขและยตุ ปิ ญั หาตา่ ง ๆ จงึ ควรด�ำเนนิ
การโดยรวดเรว็ และฉบั พลัน

บดั นี้ ไดเ้ วลาอนั เปน็ มหามงคล ทา่ มกลางสนั นบิ าตแหง่ สมาชกิ รฐั สภา
และท่านผู้มีเกียรติทั้งหลาย ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานพระบรมราช
วโรกาส กราบบังคมทูลอัญเชญิ ใตฝ้ ่าละอองธลุ พี ระบาท เพ่อื ทรงพระกรณุ า
โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานพระราชด�ำรัส เพื่อเป็นสิริสวัสดิ
พพิ ฒั นมงคล แก่ผู้มเี กยี รติท่เี ขา้ ร่วมการประชมุ ทงั้ หลายสบื ไป

91

พระราชด�ำรัส
ในพิธีเปิดการประชมุ สหภาพรฐั สภา ครั้งที่ ๗๘

วนั จนั ทร์ที่ ๑๒ ตลุ าคม ๒๕๓๐
------------------------------------------
ข้าพเจ้ามีความยินดีเป็นอย่างย่ิง ที่ได้ต้อนรับท่านทั้งหลายซึ่งเป็น
ผู้แทนรัฐสภาจากนานาประเทศทั่วโลก และได้มาท�ำพิธีเปิดประชุมสหภาพ
รัฐสภา ครั้งท่ี ๗๘ ในวาระน้ี
การร่วมมือรว่ มแรงกันธ�ำรงรกั ษาสนั ติภาพและความมั่นคงปลอดภัย
ในโลก เปน็ กรณยี กจิ ส�ำคญั ทสี่ ดุ ประการหนงึ่ ของอารยชน ผปู้ รารถนาใหโ้ ลก
มีความสงบร่มเย็น ให้ประชาชนทุกเชื้อชาติ ศาสนาอยู่ร่วมกันโดยสวัสดี มี
ความสุขความเจริญตามควรแก่อัตภาพ และมีอิสรภาพทั่วถึงเสมอหน้ากัน
เหตฉุ ะนัน้ ประเทศตา่ ง ๆ จึงพยายามกอ่ ต้งั องคก์ ารระหวา่ งประเทศขึน้ เป็น
อันมาก เพื่อสถาปนาสันติภาพและความมั่นคงอันถาวรขึ้น สหภาพรัฐสภา
ที่ท่านท้ังหลายเป็นสมาชิกอยู่ ก็เป็นสถาบันหน่ึงท่ีปฏิบัติบ�ำเพ็ญกรณียกิจ
ดา้ นนอ้ี ยา่ งเข้มแขง็ ตอ่ เนอ่ื งมาเกอื บศตวรรษ คราวน้ี ยงั ไดม้ าประชมุ ปรกึ ษา
พร้อมกันอีกในกรุงเทพมหานคร เพื่อแสวงหาข้อยุติปัญหาต่าง ๆ ที่กระทบ
กระเทอื นความสงบมน่ั คงของโลก กบั ทงั้ พจิ ารณาหาวถิ ที างอนั เหมาะสมทจี่ ะ
เสรมิ สร้างและรกั ษาเอกราชอธิปไตย พรอ้ มทัง้ ความอยู่ดีมีสุขของประชาชน
ทุกชาติ ข้าพเจ้าเช่ือว่า ความหวังต้ังใจอันแน่วแน่ประกอบกับสติปัญญา
ความรอบรู้และความร่วมมือร่วมความคิดโดยสมานฉันท์เป็นเอกภาพ

92

ของท่าน จะเก้ือกูลส่งเสริมให้สามารถมองเห็นลู่ทางและค้นหาวิธีปฏิบัติ
ด�ำเนนิ งานไดส้ �ำเรจ็ อนั จะเปน็ ปจั จยั ชว่ ยใหโ้ ลกของเราด�ำรงอยโู่ ดยสนั ตแิ ละ
วฒั นากา้ วหนา้ ตลอดตอ่ ไปโดยราบรน่ื

ได้เวลาอันเป็นมงคลแล้ว ข้าพเจ้าขอเปิดประชุมสหภาพรัฐสภา
ครงั้ ที่ ๗๘ ณ บดั นี้ ขออวยพรใหก้ ารประชมุ ด�ำเนนิ ลลุ ว่ งไปดว้ ยความเรยี บรอ้ ย
ส�ำเรจ็ ประโยชน์ตามทีม่ ุง่ หมายทุกประการ และขอใหท้ ุกทา่ นทีร่ ว่ มชุมนุมใน
พิธีน้ี มีความสขุ ความเจริญและความมนั่ คงสวสั ดีทุกเมือ่ ทว่ั กนั

93



เหตกุ ารณป์ ระวตั ศิ าสตรข์ องรฐั สภาไทย

เหตกุ ารณ์ประวัตศิ าสตรข์ องรฐั สภาไทย
เปน็ ทีท่ ราบกันดีวา่ การรับเปน็ เจ้าภาพจดั การประชุมสหภาพรฐั สภา

คร้ังที่ ๗๘ ระหว่างวันท่ี ๑๒-๑๗ ตุลาคม ๒๕๓๐ เป็นระยะเวลาที่สั้นมาก
ในการเตรยี มการประชุม

เหตกุ ารณท์ ม่ี คี วามส�ำ คญั ยงิ่ ในการประชมุ ครงั้ นี้ ไดแ้ ก่ การทพี่ ระบาท
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๙) เสด็จพระราชดำ�เนินเป็นองค์ประธาน
เปดิ ประชมุ ถือเป็นเหตกุ ารณ์ทค่ี วรจารึกไว้ในประวตั ศิ าสตร์ของรฐั สภาไทย

พระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยู่หวั เสด็จพระราชดำ�เนนิ ถงึ หอ้ งประชมุ โรงแรมเซน็ ทรลั พลาซา่
96

ประธานคณะมนตรีสหภาพรัฐสภาและคณะมนตรเี ขา้ เฝา้ รบั เสดจ็
โดยมี ดร.อกุ ฤษ มงคลนาวนิ ประธานรัฐสภาตามเสด็จ

Dr.Hans Stercken, (R) President, IPU Council ถวายแนะน�ำ President Of
Quatemala and Senator Pepper ต่อพระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยู่หวั ฯ

97

พระบาทสมเด็จพระเจา้ อยูห่ ัวเสด็จฯเป็นองค์ประธานเปดิ ประชุม

ดร.อกุ ฤษ มงคลนาวิน ประธานรฐั สภา ถวายรายงาน
98


Click to View FlipBook Version