The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

บทบาทด้านต่างประเทศของรัฐสภา
ในระหว่างดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภา
โดย ศาสตราจารย์ ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by พีระยา นาวิน, 2020-11-16 20:01:53

บันทึกประวัติศาสตร์ความทรงจำ

บทบาทด้านต่างประเทศของรัฐสภา
ในระหว่างดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภา
โดย ศาสตราจารย์ ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน

พระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอยหู่ วั พระราชทานพระราชดำ�รสั ในพิธีเปดิ
ประชมุ สหภาพรัฐสภา ครง้ั ที่ ๗๘

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำ�เนินเป็นองค์ประธาน
เปิดประชุม การประชุมสหภาพรัฐสภาคร้ังที่ ๗๘ ระหว่างวันที่ ๑๒-๑๗
ตุลาคม ๒๕๓๐ ณ กรุงเทพมหานคร โดยมีวุฒิสมาชิกและสมาชิกสภา
ผแู้ ทนราษฎรแตล่ ะประเทศรวม ๑๐๘ ประเทศทว่ั โลกมาประชมุ และประธาน
รฐั สภาไทย ดร.อกุ ฤษ มงคลนาวนิ ไดร้ บั เลอื กจากสมาชกิ ใหเ้ ปน็ ประธานการ
ประชุม

99

การประชุมใหญ่ ครั้งท่ี ๗๘ ของสหภาพรฐั สภา ณ กรุงเทพฯ

การประชุมสหภาพรัฐสภาคร้ังน้ี เร่ิมจากการประชุมคณะกรรมการ
บรหิ าร ครัง้ ท่ี ๒๐๒ เมอ่ื วันที่ ๙ และ ๑๐ ตลุ าคม ๒๕๓๐ โดยมี นายฮันส์
สเตอร์กเก้น เป็นประธานในท่ีประชุม อันประกอบด้วย สมาชิกในคณะ
กรรมการบริหารจาก ๑๐ ชาติ คือ อัลจีเรีย เวเนซูเอล่า แคนาดา ไซปรัส
อินเดีย เดนมาร์ก สาธารณรัฐเกาหลี สหรัฐอเมริกา และสหภาพโซเวียต
ซงึ่ ไดม้ กี ารพจิ ารณาถงึ การเรง่ ขยายบทบาทของสหภาพฯใหก้ วา้ งขวางมากขนึ้
และแสวงหาหนทางที่จะร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศต่าง ๆ ตลอดจน
พจิ ารณาในสาระของการบรหิ ารงานของสหภาพฯและสาํ นกั งานกลางบรหิ ารฯ
นอกจากนี้ ยงั ได้พจิ ารณาทจี่ ะเลอื กสมาชิก คณะ กรรมการบรหิ ารใหม่อีก ๓
ตาํ แหน่ง ทดแทนผทู้ ดี่ าํ รงอายใุ นสมาชิกภาพของ คณะกรรมการ ซ่งึ ผลจาก
การเลอื กตั้งคร้งั นี้ นายสุวทิ ย์ คุณกิตติ จากประเทศไทย และ นายฮวน เจียง
จากสาธารณรัฐ ประชาชนจีน ไดร้ ับเลือกให้ดาํ รงตาํ แหน่ง ดังกล่าว รวมทัง้
นางเอ็ม โมลิม่า รูบโิ อ จากกวั เตมาลา

100

จากนน้ั ในช่วงเชา้ ของวันท่ี ๑๒ ตุลาคม ๒๕๓๐ ไดม้ กี ารประชมุ คณะ
มนตรีสหภาพฯ ครั้งที่ ๑๔๑ ซึ่งมี นายฮันส์ สเตอร์กเก้น เป็นประธานในที่
ประชมุ ไดม้ กี ารพจิ ารณารบั ประเทศฟลิ ปิ ปนิ สเ์ ขา้ เปน็ สมาชกิ ของสหภาพใหม่
อีกครั้งหนึ่ง และระงับสมาชิกภาพของประเทศบูรุนติ เน่ืองจากไม่มีสถาบัน
นิตบิ ัญญตั ิของตนเอง ผลจากการพจิ ารณาดงั กล่าว ทาํ ใหส้ หภาพ รัฐสภามี
สมาชกิ ทั้งสนิ้ ในขณะน้ี ๑๐๘ ประเทศ คือ

อัลมาเนีย อัลจีเรีย อังโกล่า อาร์เจนติน่า ออสเตรเลีย บังกลาเทศ
เบลเยียม เบนิน โบลิเวีย บราซิล บัลกาเรีย คาเมอรูน แคนาดา แคปเวรด์
จีน โคลอมเบีย โคโมรอส คองโก คอสตารกิ า้ โคตเตเวอร์ คิวบา ไซปรัส เช็ค
โกสลาเวีย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี ประชาธิปไตยเยเมน
เดนมารก์ ดจบิ ตู ิ สาธารณรัฐโดมินกิ ัน อคี วาดอร์ อยี ิปต์ เอลซลั วาดอร์ อีเด
เตอเรยี ล กนิ ี ฟนิ แลนด์ ฝร่งั เศส กาบอง สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนั
เยอรมนั (สหพันธ์สาธารณรฐั ) กรซี กัวเตมาลา ฮอนดูรัส ฮงั การี ไอซแลนด์
อินเดีย อนิ โดนีเซีย อิหร่าน (สาธารณรัฐ อิสลาม) อรี กั ไอร์แลนด์ อิสราเอล
อิตาลี จาไมก้า ญี่ปุ่น จอร์แดน เคนยา เลบานอน ไลบีเรีย ลักซ์เซมเบอร์ก
มาดากสั การ์ มาลาวี มาเลเซยี มาลี เมก็ ซิโก โมนาโค มองโกเลยี โมร็อคโค
โมซัมบิค เนปาล เนเธอรแ์ ลนด์ นวิ ซแี ลนด์ นกิ ารากวั นอรเว

ปากีสถาน ปานามา ปาปัวนวิ กินี ปารากวัย เปรู ฟลิ ปิ ปินส์ โปแลนด์
โปรตุเกส สาธารณรัฐเกาหลี โรมาเนีย รวันดา เซเนกัล สิงคโปร์ โซมาเลีย
สเปน ศรลี ังกา ซูดาน สวเี ดน สวติ เซอรแ์ ลนด์ สาธารณรัฐอาหรับซีเรยี ไทย
โตโก ตูนีเซีย ตรุ กี สหรัฐอาหรบั อีมเิ รตส์ สหราชอาณาจักร สหรฐั สาธารณรัฐ
ทนั ซาเนยี สหรฐั อเมรกิ า อรุ กุ วยั สหภาพโซเวยี ต เวเนซเู อลา่ เวยี ดนาม เยเมน
ยูโกสลาเวยี ซาอรี ์ แซมเบีย และซมิ บับเว

101

ต่อมา ไดม้ กี ารพิจารณาและลงมติ เป็นเอกฉนั ท์ เลือก ศาสตราจารย์
ดร.อกุ ฤษ มงคลนาวนิ ประธานรฐั สภาไทย เปน็ ประธานในการประชมุ สหภาพ
รัฐสภา คร้ังท่ี ๗๘ น้ี

การที่ ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน ประธานรัฐสภาไทยไดร้ บั ความเหน็ ชอบ
จากที่ประชุมเป็นเอกฉันท์ ให้เป็นประธานของท่ีประชุมสหภาพรัฐสภา
ครงั้ น้ี

ซึ่งเป็นการส่งเสริมศักด์ิศรีและเกียรติภูมิของประเทศและประชาชน
ชาวไทยให้เพ่ิมพูนยิ่งข้ึน เพราะแสดงว่านานาประเทศได้ยอมรับถึงความ
สาํ คญั ในบทบาทของประเทศไทย ในการสง่ เสรมิ ระบอบประชาธิปไตย และ
ไว้วางใจบทบาทความเที่ยงธรรมของรัฐสภาไทย โดยเฉพาะอย่างย่ิงของ
ดร.อกุ ฤษ มงคลนาวนิ เอง ในการทจ่ี ะควบคมุ การประชมุ ของสมาชกิ สหภาพ

102

ดร.อกุ ฤษ มงคลนาวนิ ในฐานะประธานทป่ี ระชมุ กลา่ วตอ้ นรบั สมาชกิ ผเู้ ขา้ รว่ มประชมุ
103

การประชมุ สหภาพรฐั สภา ครงั้ ท่ี ๗๘ โดยมี ดร.อกุ ฤษ มงคลนาวนิ
ท�ำหน้าทีป่ ระธานท่ปี ระชมุ

รฐั สภาทมี่ าจากตา่ งชาติ ศาสนาและลทั ธคิ วามเชอ่ื ถอื ใหม้ คี วามราบรน่ื และ
นบั ไดว้ า่ เปน็ คนไทยคนทสี่ อง ทไี่ ดร้ บั การคดั เลอื กใหเ้ ปน็ ประธานในทปี่ ระชมุ
ของสหภาพรัฐสภา คนแรกคอื พลเอก พระประจนปจั จนึก เป็นประธานของ
ท่ปี ระชุมสหภาพรัฐสภา คร้งั ท่ี ๔๕ เมอ่ื ปี พ.ศ. ๒๔๙๙

ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน เกิดเมื่อ วันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๔๗๖ ณ เขต
ป้อมปราบ กรุงเทพมหานคร เป็นนักกฎหมายท่ีทรงคุณวุฒิ เป็นที่ยอมรับ
นับถือกันในวงการต่าง ๆ ท้ังภายในประเทศไทยและในวงการกฎหมาย
ระหว่างประเทศ สําเร็จการศึกษานิติศาสตร์บัณฑิตและสังคมสงเคราะห์
ศาสตร์บัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปริญญาเอกทางกฎหมาย
(เกียรตินิยม) จากมหาวิทยาลัยปารีส ประเทศฝร่ังเศส เคยเป็นผู้บรรยาย
วชิ ากฎหมายท่ธี รรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงอกี หลายแหง่ เป็น
คณบดีคณะนติ ิศาสตร์ จฬุ าลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั

104

ประสบการณ์ทางการเมือง เคยเป็นท่ีปรึกษานายกรัฐมนตรี สมาชิก
สภา นติ บิ ญั ญตั แิ หง่ ชาติ สมาชกิ สภาปฏริ ปู การปกครองแผน่ ดนิ รองประธาน
วฒุ สิ ภา ๒ สมยั ไดร้ บั เลอื กจากวฒุ สิ ภาใหเ้ ปน็ ประธานวฒุ สิ ภา และประธาน
รฐั สภาไทย โดยตาํ แหนง่ เปน็ ครงั้ ท่ี ๒ ตง้ั แตเ่ มอ่ื ปี พ.ศ. ๒๕๒๗ จนถงึ ปจั จบุ นั
ในระหว่างท่ดี ํารง ตําแหนง่ ประธานรัฐสภาไทย กไ็ ด้แลกเปลี่ยนการเยือนกบั
รัฐสภาของนานาประเทศ ในหลายภูมิภาค จนมีความคุ้นเคยสนิทสนมเป็น
สว่ นตวั กับบรรดาประธานและสมาชกิ รัฐสภาของประเทศสว่ นใหญใ่ นโลก

นอกจากน้ี ในการประชมุ คณะมนตรสี หภาพฯ ครงั้ ท่ี ๑๔๑ ยงั ไดม้ กี าร
พจิ ารณารบั พลเอก กฤษณ์ ชเี จรญิ ทป่ี รกึ ษาคณะผแู้ ทนหน่วยประจําชาติ
ไทยในการประชมุ ครัง้ น้ี เป็นสมาชกิ กติ ติมศักดขิ์ องสหภาพรฐั สภาดว้ ย จาก
นั้น ไดพ้ ิจารณา และรับทราบในรายงานกิจกรรมตา่ ง ๆ ของสหภาพในรอบปี
ทผ่ี า่ นมา รวมทงั้ ผลการตดิ ตามผลของมตติ า่ ง ๆ จากการประชมุ ครงั้ ทผ่ี า่ นมา
และมมี ตใิ ห้ หนว่ ยประจาํ ชาตปิ ระเทศตา่ ง ๆ ตระหนักถึงความสาํ คญั และใช้
ความพยายามอยา่ งเตม็ ที่ทจี่ ะทําใหม้ ตขิ องสหภาพฯ ได้บรรลุถึงผล

: สนบั สนนุ ใหห้ นว่ ยประจาํ ชาตปิ ระเทศตา่ ง ๆ และองคก์ รชาํ นาญการ
พิเศษต่าง ๆ ร่วมมือและให้ความสนใจในปัญหาความเสมอภาคของบุรุษ
และสตรีมากย่ิงข้ึน โดยน่าจะมีการสรุปและประเมินความคืบหน้าในเรื่องน้ี
ทุก ๆ สี่ปี รวมท้ังขอให้หน่วยประจําชาติต่าง ๆ ให้ความสําคัญต่อการ
เสริมสรา้ งและสนบั สนุนในบทบาทผ้นู าํ ของสตรีดว้ ย

สําหรับหัวข้ออื่น ๆ ที่สําคัญ และนําเข้าสู่การพิจารณาคณะมนตรี
ครง้ั น้ี มอี กี หลายประเดน็ เช่น

105

บรรยากาศในหอ้ งประชมุ

- เลขาธกิ ารสหภาพรฐั สภา กลา่ วสรปุ ผลงานของสหภาพฯ ในรอบปี
ที่ผ่านมา

- ขอเปลี่ยนแปลงระเบียบ ข้อบังคับ การประชุมซึ่งเสนอโดย
เนเธอร์แลนดแ์ ละซีเรีย

- สนับสนุนให้มีการจัดต้ังคณะกรรมาธิการเพื่อจัดให้มีการประชุม
เพ่ือสันติภาพในตะวันออกกลาง คณะกรรมาธิการประกอบด้วยผู้แทนจาก
ไซปรสั สเปน และ ซิมบับเว

- อนุมัติในแผนงบประมาณประจํา ปี ๒๕๓๑ ของสหภาพรฐั สภา
- ตกลงรับระเบียบวาระการประชุมใหญ่ของสหภาพรัฐสภาครั้ง
ตอ่ ไป (๗๙) ณ ประเทศกวั เตมาลา ระหวา่ งวันที่ ๑๑ – ๑๖ เมษายน ๒๕๓๑

106

นายชวน หลกี ภยั ประธานสภาผแู้ ทนราษฎรในฐานะหวั หนา้ คณะผแู้ ทน
หน่วยประจ�ำชาติรฐั สภาประเทศไทย

- แผนการจดั ประชมุ ครง้ั ตอ่ ไปของสหภาพรฐั สภา คอื การจดั ประชมุ
ใหญ่ ครงั้ ท่ี ๘๐ ณ ประเทศบัลแกเรีย ระหวา่ งวันท่ี ๑๙-๒๔ กันยายน ๒๕๓๑
และครง้ั ท่ี ๘๑ ณ ประเทศฮงั การี ระหวา่ งวันที่ ๑๓-๑๘ มีนาคม ๒๕๓๒

- รบั ทราบถงึ ผลการดาํ เนนิ งานของคณะกรรมาธกิ ารวสิ ามญั วา่ ดว้ ย
การละเมิดสิทธิมนุษยชนของสหภาพฯ ซ่ึงกําลังปฏิบัติหน้าท่ีต่อการละเมิด
สิทธิ มนุษยชนในประเทศชิลี โคลัมเบีย อินโดนีเซีย โซมาเลีย ซวาซิแลนด์
ตรุ กี และเวยี ดนาม

สาํ หรับการประชุมใหญ่ของสหภาพรัฐสภา ครง้ั ที่ ๗๘ เรม่ิ ในชว่ งบ่าย
ของวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๓๐ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ทรง
พระกรณุ าฯ เสดจ็ พระราชดาํ เนนิ มากระทาํ พธิ เี ปดิ การประชมุ ณ หอ้ งวภิ าวดี
โรงแรมไฮแอทเซ็นทรัล พลาซ่า ต่อมา ก็มีการประชุมใหญ่เต็มคณะของ
ประเทศตา่ ง ๆ ท่ีมาเขา้ รว่ มประชุมครง้ั น้ี ณ คอนเวนช่นั เซ็นเตอร์

107

นายสุวทิ ย์ คุณกติ ติ สมาชิกสภาผแู้ ทนราษฎร จังหวัดขอนแก่น
ได้รบั เลือกเปน็ กรรมการบริหารสหภาพรฐั สภา

การประชมุ ของสมาชกิ รฐั สภาสตรี โดยมคี ุณสพุ ัตรา มาศดติ ถ์
สมาชิกรฐั สภาไทย เป็นประธานท่ปี ระชุม

108

มติต่าง ๆ ที่เปน็ ผลจากการประชมุ สหภาพรฐั สภา ครั้งที่ ๗๘
- เรียกร้องให้รัฐสภาประเทศต่าง ๆ เคารพ พฒั นา และสง่ เสริมสิทธิ

มนุษยชน
- ให้เคารพในหลักการสําคัญต่าง ๆ สนธิสัญญา และเสริมสร้าง

สัมพนั ธภาพระหว่างชาติ เพื่อทจี่ ะรว่ มกันแก้ไขปญั หาผูล้ ภี้ ัยและหาทพี่ ักพิง
ใหก้ ับบคุ คลเหลา่ น้นั

- เรียกร้องให้รัฐสภาประเทศต่าง ๆ ใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ใน
การตั้งมาตรการเพื่อประเทศปลดปล่อยและให้อิสรภาพต่ออาณานิคมและ
ประชาชนของดินแดนเหล่านั้น รวมท้ังการเลิกลัทธิการเหยียดผิวและกีดกัน
เชือ้ ชาตใิ นทุกรปู แบบ

- เรียกร้องให้รัฐสภาประเทศต่าง ๆ บรรลุถึงความเข้าใจ และ
สรา้ งสรรค์ สนั ตภิ าพระหวา่ งอริ กั และอหิ รา่ น และหามาตรการความปลอดภยั
ของเส้นทางเดินเรือในอ่าวตามมติของคณะมนตรีความม่ันคงขององค์การ
สหประชาชาติ ที่ ๕๙๘ (๑๙๘๗)

- เรียกร้องให้ทางการของชิลี ปลดปล่อยนักโทษการเมืองซ่ึงถูก
รฐั บาล จบั กมุ ขงั ไวเ้ ปน็ จาํ นวนมากในขณะนี้ ในขอ้ หาทเี่ ปน็ ปฏปิ กั ษก์ บั รฐั บาล
โดยเฉพาะอย่างยง่ิ อดีตสมาชกิ รฐั สภาของชลิ ีหลายคนได้หายสาบสญู ไป

- เรยี กรอ้ งใหท้ างการของโคลมั เบยี เรง่ สอบสวนกรณที สี่ มาชกิ รฐั สภา
และสมาชกิ หนว่ ยประจาํ ชาตขิ องโคลมั เบยี ๔ คน ไดถ้ กู ฆาตกรรมเมอ่ื ปที แ่ี ลว้
อนั สืบเนอ่ื งมาจากวกิ ฤตการณ์ขัดแยง้ ทางการเมอื งภายในของประเทศ

109

- เรยี กรอ้ งใหท้ างการของอนิ โดนเี ซยี พจิ ารณาผอ่ นปรนนริ โทษกรรม
ของอดีตสมาชิกรัฐสภาสตรีผู้หน่ึงของอินโดนีเซีย ท่ีไม่ได้รับความเป็นธรรม
จากกฎหมายจองจาํ ดงั กล่าว

- เรียกร้องให้ทางการของโซมาเลีย พิจารณาปลดปล่อยโดยความ
เป็นธรรม สมาชิกรัฐสภา ๗ คน ซง่ึ ถูกจับกมุ ในข้อหา เปน็ พวกปฏิกริ ิยาและ
ต่อต้านรัฐบาลเม่ือ ๕ ปีมาแล้วให้เป็นอิสระ ปัจจุบันกลุ่มบุคคลดังกล่าว
ถูกจองจําโดยขดั ต่อหลักมนุษยธรรมอย่างรา้ ยแรง

- เรยี กรอ้ งใหท้ างการของซวาซแี ลนด์ พจิ ารณาใหค้ วามเปน็ ธรรมตอ่
สมาชิกรัฐสภา ซึ่งต้องพ้นจากสมาชิกภาพไป เนื่องจากถูกจองจําเป็นเวลา
๑ ปี และ ยงั ไมม่ กี ารพิสจู นเ์ ป็นทแ่ี นช่ ัดก่อนทีท่ างการจะยกเลิกสมาชิกภาพ
ของบคุ คลดังกลา่ ว อนั ถอื ได้วา่ เป็นการละเมิดสทิ ธิมนษุ ยชน

- เรียกร้องให้ทางการของตุรกี ให้ความเป็นธรรมต่อสมาชิกรัฐสภา
ของตุรกีจํานวน ๒๗ คน ซ่ึงถูกกล่าวหาว่าเป็นพวกหัวรุนแรง ได้รับการ
พิจารณาจากศาลทหารซึ่งมีข้ันตอนการพิจารณาผิดจากวิธีปกติ และส่งผล
สะทอ้ นโดยตรงตอ่ สมาชกิ ภาพของบคุ คลเหลา่ นน้ั อนั ถอื ไดว้ า่ เปน็ การละเมดิ
สิทธิมนุษยธรรม

- เรียกร้องให้ทางการของเวียดนาม พิจารณาให้ปล่อยตัวสมาชิก
รฐั สภา สาธารณรฐั เวยี ดนาม (เวยี ดนามใตใ้ นขณะนน้ั ) จาํ นวนหนง่ึ ซงึ่ ขณะนี้
ยงั ถกู จองจาํ อยู่ในค่ายสมั มนาฯ โดยปราศจากข้อกลา่ วหา หรอื ข้อต้องสงสยั
ใด ๆ เลย และไมม่ ีกําหนดปลดปล่อยตวั ให้เปน็ อิสระ หลงั จากทเ่ี วยี ดนามได้
ถูกยดึ ครองไว้ (เมอ่ื ๑๓ ปีท่ีผา่ นมาแลว้ ) ตราบจนปัจจบุ นั น้ี

110

มติดังกล่าวท้ังหมดมาจากการพิจารณาของคณะกรรมาธิการ
ประจาํ ทง้ั ๔ คณะ คอื คณะกรรมาธกิ ารปญั หาการเมอื ง ความมน่ั คงระหวา่ ง
ประเทศ และ การลดอาวุธ คณะกรรมาธิการปัญหาด้านรัฐสภา กฎหมาย
และสิทธมิ นุษยชน คณะกรรมาธิการปญั หาด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม
และส่ิงแวดล้อม คณะกรรมาธิการปัญหาเก่ียวกับดินแดนที่ยังมิได้ปกครอง
ตนเอง และปัญหาชาติพันธุ์ โดยหน่วยประจําชาติ เสนอเป็นร่างมติต่อ
ท่ีประชุมคณะกรรมาธิการฯ ก่อนนําเข้าสู่การพิจารณาในท่ีประชุมใหญ่ของ
สหภาพฯนอกจากคณะกรรมาธกิ ารประจาํ ทง้ั ๔คณะแลว้ สหภาพฯยงั มคี ณะ
กรรมาธิการวสิ ามัญอกี ๑ คณะ ว่าด้วยการละเมดิ สทิ ธิ มนุษชนของสมาชกิ
รฐั สภา ซง่ึ ขณะนม้ี กี ารดาํ เนนิ การเพอ่ื สอบสวนกรณที ส่ี มาชกิ รฐั สภา และอดตี
สมาชกิ รฐั สภา ๑๒๑ คน จาก ๑๔ ประเทศ ทถี่ กู จองจาํ หรอื คมุ ขงั อยใู่ นขณะน้ี

อนงึ่ ในระหว่างการประชุมสหภาพรฐั สภา ครง้ั ที่ ๗๘ นี้ มกี ารประชมุ
ใน ระหว่างคณะผ้แู ทนของชาติตา่ ง ๆ อาทิ เชน่

- การประชุมระหว่างหน่วยประจําชาติของกลุ่มประเทศยุโรป
แคนาดา และ สหรัฐอเมริกา ซ่ึงมีการแลกเปล่ียนความคิดเห็นระหว่างกัน
ในประเดน็ ของความร่วมมอื และปญั หาความมนั่ คงรว่ มกัน ซึ่งตกลงท่จี ะต้ัง
คณะทาํ งานขนึ้ มาเพอื่ รวบรวมผล และมาตรการเสนอต่อทปี่ ระชมุ คร้ังตอ่ ไป
ในกวั เตมาลา

- การประชมุ ของสมาชกิ รฐั สภาสตรีจาํ นวน๓๘คนจาก๒๔ประเทศ
โดยมี คณุ สุพัตรา มาศดติ ถ์ สมาชิกรฐั สภาไทยเป็นประธานของท่ปี ระชมุ ซง่ึ
ได้มีการพิจารณาถึงบทบาททางการเมืองของสมาชิกรัฐสภาสตรี ตลอดจน
แสวงหาวิธีท่ีจะเพ่ิมและส่งเสริมบทบาทของสมาชิกรัฐสภาสตรีต่อกิจกรรม
ของสหภาพรฐั สภาให้มากยง่ิ ขน้ึ

111

- การประชมุ วา่ ดว้ ยการสง่ เสรมิ สขุ ภาพและสวสั ดภิ าพของผสู้ งู อายุ
ซงึ่ ไดร้ บั ความสนใจและมสี มาชกิ รฐั สภาประเทศตา่ ง ๆ มาเขา้ รว่ มการประชมุ
มากพอสมควร โดยท่ีประชุมได้หารือกันอย่างกว้างขวาง ในบทบาทของ
สมาชิกรัฐสภาต่อผู้สูงอายุ ซ่ึงกําลังเผชิญปัญหาทางสังคมและเศรษฐกิจ
ที่ประชุมเห็นพ้องต้องกันท่ีจะเสนอให้สหภาพฯ พิจารณา มอบหมายให้
สํานกั งานกลางของสหภาพฯ ดาํ เนินการเพอื่ ใหจ้ ดั การประชุมเชน่ นีข้ ้นึ อกี ใน
การประชุมสหภาพฯ ครงั้ ตอ่ ไป ณ กวั เตมาลา

- การประชมุ ระหว่างเลขาธิการรฐั สภาประเทศตา่ ง ๆ
ภายหลังจากการประชุมสหภาพรัฐสภา ครั้งท่ี ๗๘ ได้สิ้นสุดลงเมื่อ
วันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๓๐ ฯพณฯ ศาสตราจารย์ ดร. อุกฤษ มงคลนาวิน
ประธานรฐั สภา ได้ แถลงขา่ วตอ่ สอ่ื มวลชนทง้ั ไทยและตา่ งประเทศ โดยมสี าระ
สาํ คัญสรปุ ไดว้ า่ บรรดาผู้แทนประเทศต่าง ๆ ได้แสดงความยนิ ดีและชื่นชม
โดยเฉพาะอยา่ งยง่ิ ในพระมหากรณุ าธคิ ณุ ของพระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั
ท่ีได้เสด็จพระราชดําเนินมาทรงกระทําพิธีเปิดการประชุมด้วยพระองค์เอง
นอกจากนี้ บรรดาคณะผู้แทนชาติต่าง ๆ ไดแ้ สดงความชื่นชมในเอกลกั ษณ์
ของประชาชนชาวไทยท้ังหลาย ท่ีมีความผาสุกอย่างแท้จริงมีเสรีภาพเต็มที่
ย้ิมแย้มแจ่มใส จนกล่าวได้ว่าระบบต่าง ๆ ของไทยมีความสุขท่ีสุดในโลก
คาํ กลา่ วน้ี เปน็ ทย่ี นื ยนั แมก้ ระทงั่ ประเทศสงั คมนยิ ม กลมุ่ ประเทศคอมมวิ นสิ ต์
ทงั้ หลาย ซง่ึ ลว้ นแตไ่ ดแ้ สดงความขอบคณุ ตอ่ ประเทศไทย รฐั สภาไทย รฐั บาล
ไทย และประชาชนชาวไทย และส่ิงทนี่ ่ายินดีเป็นท่สี ดุ กค็ ือ การดาํ เนนิ การ
เพอ่ื จดั การประชมุ ครง้ั นี้ ไดส้ าํ เรจ็ ลงอยา่ งเรยี บรอ้ ยดว้ ยดที กุ ประการ แมว้ า่ จะ
มีเวลาเตรยี มการเพียงแค่ ๓ เดอื นเทา่ นน้ั ก็ตาม ทุกฝ่ายได้ร่วมมือรว่ มใจกนั
ในนามของรฐั สภาไทย ใครข่ อขอบคณุ อยา่ งสงู ตอ่ ความสนบั สนนุ ของรฐั บาล
โดยเฉพาะอย่างย่งิ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี และสมาชกิ รฐั สภาทีอ่ นมุ ตั เิ งินงบ

112

ประมาณสว่ นหนง่ึ ใหม้ าดาํ เนนิ การน้ี นบั เปน็ การสรา้ งชอื่ เสยี งเกยี รตภิ มู ใิ หแ้ ก่
ประเทศไทยเป็นอย่างย่งิ ประการสําคญั ทสี่ ดุ อีกอย่างหนึง่ กค็ ือ ผูม้ าเขา้ รว่ ม
การประชมุ ทกุ คนดใี จเปน็ ลน้ พน้ ทไี่ ดม้ าในงานเฉลมิ ฉลองปที สี่ าํ คญั ของไทย
เรา ถือเป็นปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
รวมทง้ั เปน็ ปกี ารสง่ เสรมิ การทอ่ งเทยี่ วไทยดว้ ย ในการประชมุ ระหวา่ งประเทศ
ครงั้ นี้ กรรมการหนว่ ยประจาํ ชาตขิ องไทย โดยทา่ น ประธานสภาผแู้ ทนราษฎร
เป็นผู้นํา ได้แสดงบทบาทอย่างสูงมาก นอกจากน้ีแล้ว เรายังประสบความ
สําเร็จ ซ่ึงถือว่า เป็นความริเริ่มสําคัญของประเทศไทย คือในช่วงระยะ ๙๘
ปี ของสหภาพรฐั สภา ไม่เคยปรากฏมาก่อนก็คอื การริเร่ิมจดั ต้งั กลมุ่ เอเชยี
ขึน้ ในสหภาพฯ นอกเหนอื จากการจัดตัง้ กลมุ่ ตา่ ง ๆ ขนึ้ เชน่ กลมุ่ ยุโรป กลมุ่
อเมริกา กลุ่มลาตินอเมริกา ฯลฯ ฯพณฯ ประธานรัฐสภาได้กล่าวถึงความ
เปน็ มาของกลมุ่ เอเชยี หรอื อาเซยี นวา่ ไดเ้ ชญิ บรรดาคณะผแู้ ทนกลมุ่ ประเทศ
อาเซยี นมาปรกึ ษาหารอื รว่ มกนั กบั หนว่ ยประจาํ ชาตไิ ทย และเหน็ พอ้ งตอ้ งกนั
เปน็ เอกฉันท์วา่ เป็นสิ่งทีจ่ ะต้องดําเนินตอ่ ไป จากน้ัน ไดเ้ ชิญคณะผ้แู ทนของ
ประเทศเอเชยี ทงั้ หลายตามหลกั เกณฑจ์ ดั แบง่ โซนของเอสแคปประมาณ ๒๐
ประเทศ เขา้ มาร่วมปรกึ ษาหารอื กัน ซงึ่ ประเทศดงั กลา่ ว มีประชากรรวมกนั
มากกวา่ ครง่ึ หนง่ึ ของประชากรทวั่ โลกทง้ั หมดไดเ้ หน็ พอ้ ง ตอ้ งกนั เปน็ เอกฉนั ท์
อกี เชน่ กนั ทส่ี นบั สนนุ การจดั ตง้ั กลมุ่ เอเชยี นี้ จะเปน็ กลมุ่ ทม่ี คี วามสาํ คญั และ
มีพลังอย่างสูง ท้ังหมดน้ี ถือเป็นผลสําเร็จของรัฐสภาไทย คณะผู้แทนไทย
ทั้งหมด รวมท้ังเปน็ ความสาํ เรจ็ ของประชาชนชาวไทยท้งั ปวงดว้ ย

ผลสําเร็จจากการที่รัฐสภาไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสหภาพ
รฐั สภา ครงั้ ท่ี ๗๘ น้ี เปน็ ผลจากการรว่ มมอื ระหวา่ งฝา่ ยบรหิ ารคอื รฐั บาล กบั
ฝา่ ย นิติบญั ญตั ิ ซ่ึงตามกฎหมายตามระเบยี บปฏบิ ตั ทิ ั้งสองสถาบนั หลกั ของ
ชาติน้ี แยกเปน็ เอกเทศตา่ งหากจากกนั แตใ่ น โอกาสอันสําคัญของประเทศ
ชาติในครั้งนี้ ได้มีการร่วมมือกันเป็นอย่างดี ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีได้สนอง

113

คําร้องขอของ ฯพณฯ ประธานรัฐสภา โดยมีบัญชาให้ทุกส่วนราชการของ
ฝ่ายบริหารให้ความร่วมมือสนับสนุนอย่างเต็มท่ี ไม่ว่าจะเป็น ข้าราชการ
พลเรือน ตํารวจ ทหาร แม้กระทั่งนักศึกษาก็ได้มีส่วนช่วยเหลือ ด้วยการ
ตดิ ตามแนะนาํ ช่วยเหลอื คณะผู้แทนของแตล่ ะคณะ และในบรรดา ระหว่าง
สมาชกิ รฐั สภาดว้ ยกนั เอง กไ็ ดม้ คี วามรว่ มมอื ประสานงานกนั อยา่ งแนบแนน่
ดังนั้น อาจกล่าวได้อย่างเต็มภาคภูมิว่า ความสําเร็จประการสําคัญท่ีสุด
เป็นเพราะความร่วมมือร่วมใจของประชาชนชาวไทย ทุกฝ่ายทุกระดับช้ัน
น่นั เอง

114

รายชือ่ คณะกรรมการบริหารหนว่ ยประจําชาตไิ ทยในสหภาพรัฐสภา
ประจําปี ๒๕๓๐-๒๕๓๒

ประธานหน่วย นายอกุ ฤษ มงคลนาวนิ

รองประธานหนว่ ยฯ นายชวน หลีกภยั

เลขาธกิ ารหน่วยฯ นายอมร จันทรสมบรู ณ์

เหรญั ญกิ หน่วยฯ นายประสงค์ บูรณ์พงศ์

ผสู้ อบบญั ชหี น่วยฯ นายพีรพันธุ์ พาลุสุข

กรรมการหนว่ ยฯ พลเรอื เอกประพฒั น์ กฤษณจนั ทร์
พลโทงามพล นตุ สถติ ย์
นายถวลิ ไพรสณฑ์
นายสุวทิ ย์ คณุ กติ ติ
นายพนิ จิ จนั ทรสุรนิ ทร์

(เลอื กตั้งโดยที่ประชุมใหญส่ ามญั ประจาํ ปแี หง่ สหภาพรฐั สภา เมื่อวนั ที่ ๒๙
พฤษภาคม ๒๕๓๐ และโดยท่ีประชมุ กรรมการบรหิ ารหนว่ ยประจาํ ชาตไิ ทย
ในสหภาพรฐั สภา ประจาํ ปี ๒๕๓๐ ครงั้ ที่ ๑ เมอ่ื วนั ที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๓๐)

มนตรีสหภาพฯ พลเรอื เอกประพฒั น์ กฤษณจันทร์
นายสุวิทย์ คณุ กิตติ

(แต่งต้ังโดยที่ประชุมคณะกรรมการบริหารหน่วยประจําชาติไทยในสหภาพ
รฐั สภาประจาํ ปี ๒๕๓๐ คร้ังที่ ๑ เมอื่ วันที่ ๑๒ มิถนุ ายน ๒๕๓๐)

115

ดร.อกุ ฤษ มงคลนาวนิ ได้รับมอบฆ้อนสญั ลักษณข์ องประธานที่ประชุม
สหภาพรัฐสภาจากประธานคณะมนตรีสหภาพรฐั สภาสากล

116

คำ�ปราศรยั
เน่ืองในโอกาสปิดการประชุมสหภาพรฐั สภา คร้งั ท่ี ๗๘
ของศาสตราจารย์ ดร.อกุ ฤษ มงคลนาวิน ประธานรัฐสภา
ในฐานะประธานการประชุมสหภาพรัฐสภา ครงั้ ที่ ๗๘

วับเสารท์ ี่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๓๐

เพอื่ นสมาชิกทัง้ หลาย

บัดนี้ การประชุมสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ ๗๘ ที่กรุงเทพมหานคร
ได้สิ้นสุดลงแล้ว ข้าพเจ้าขอแสดงความขอบใจ และแสดงความยินดี
ในผลส�ำ เรจ็ ของการประชมุ ครงั้ นี้ ทด่ี �ำ เนนิ ไปในบรรยากาศแหง่ ความเปน็ มติ ร
ทสี่ ดุ ซงึ่ บรรยากาศเชน่ น้ี เปน็ สง่ิ ทห่ี าไดย้ ากยงิ่ ในการประชมุ ระหวา่ งประเทศ
ขนาดใหญ่ ทมี่ สี มาชกิ มาร่วมประชุมถึง ๑๐๘ ประเทศ และองคก์ ารระหวา่ ง
ประเทศอกี เกอื บ ๓๐ องค์การ การประชมุ ครั้งนี้ นอกจากมีข้อยตุ ทิ ่สี อดคลอ้ ง
กบั วตั ถปุ ระสงคส์ �ำ คญั ของสหภาพรฐั สภาไดแ้ ก่การแสวงหามาตรการรว่ มกนั
ในอนั ที่จะนำ�มาสูส่ ันติภาพของโลก และความรว่ มมอื กันระหวา่ งบรรดามิตร
ประเทศทงั้ หลายแลว้ ยงั สง่ เสรมิ ใหม้ กี ารรวมกลมุ่ กนั เพอื่ พฒั นาความสมั พนั ธ์
ระหวา่ งบรรดาสมาชกิ ในภูมภิ าคตา่ ง ๆ ของโลกให้มีความสนทิ สนมกนั และ
ไว้วางใจกนั ย่ิงขนึ้ ด้วย

117

ณ บัดนี้ ขอประกาศว่า การริเริ่มจัดตั้งกลุ่มเอเชียข้ึนในสหภาพ
รัฐสภา ได้ประสบผลสำ�เร็จลงแล้ว โดยบรรดามิตรประเทศในเอเชียท้ังหลาย
ได้ตกลงกันเป็นเอกฉันท์ มอบหมายให้หน่วยประจำ�ชาติไทยในสหภาพ
รัฐสภา เป็นแกนนำ�ในการติดต่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของกลุ่มต่อไป
และในการประชุมสหภาพรัฐสภาคราวหน้า จะมีกลุ่มเอเชียในสหภาพ
รัฐสภา เพิ่มข้ึนจากบรรดากลุ่มต่าง ๆ ที่ได้มีการจัดตั้งข้ึนแล้ว ข้าพเจ้า
ขอขอบคุณในสปิริตแห่งความเป็นเอกภาพของบรรดาเพื่อนสมาชิก
รฐั สภาในภาคพ้ืนเอเชียทง้ั หลาย

วัตถุประสงค์สำ�คัญประการสุดท้ายของสหภาพรัฐสภา ได้แก่
การเสริมสร้างความสัมพันธ์ส่วนตัวระหว่างสมาชิกรัฐสภานานาชาติ
เพื่อให้มีการร่วมมือกันอย่างเป็นเอกภาพ ในการเสริมสร้างความดีงาม
ท้ังหลายให้แกม่ วลมนษุ ยชาติในโลก ให้อยรู่ ว่ มกันโดยสนั ติ ซง่ึ วตั ถุประสงค์
สำ�คญั น้กี ็ได้ส�ำ เรจ็ ลงดว้ ยดใี นการประชมุ ครงั้ น้ี เช่นกนั

ข้าพเจ้าขอขอบคุณในความร่วมมืออย่างดีย่ิงของบรรดาเพื่อน
สมาชิกรัฐสภา และจากบรรดาผู้แทนขององค์การระหว่างประเทศ
ทั้งหลาย ขอขอบคุณประธานมนตรีสหภาพรัฐสภา เลขาธิการสหภาพ
รัฐสภา และเจ้าหน้าที่สหภาพรัฐสภา รวมทั้ง บรรดาเจ้าหน้าท่ีฝ่ายไทย
ท้ังจากรัฐสภา และหน่วยงานต่าง ๆ ที่ร่วมแรงร่วมใจกันทำ�ให้การจัดการ
ประชุมคร้ังน้ีสำ�เร็จลุล่วงไปอย่างดี แม้ว่าจะมีเวลาเตรียมการประชุม
เพียงประมาณ ๓ เดือน อย่างไรก็ตาม ถ้ามีส่วนใดบกพร่อง ข้าพเจ้าต้อง
ขออภยั และขอรับเปน็ ความผิดของขา้ พเจ้าแตผ่ ้เู ดียว

118

สุดท้ายนี้ ข้าพเจ้าขออวยพรให้ท่านทั้งหลายมีสุขภาพดี และขอให้
เดินทางกลับประเทศของท่านโดยสวัสดิภาพ และพบกันใหม่ในการประชุม
คราวหน้า

จนกวา่ จะพบกนั ใหม่
ขอขอบคุณ

หมายเหตุ : ประเทศไทยเปน็ เจา้ ภาพจดั ประชมุ ครงั้ ลา่ สดุ คอื การประชมุ สมชั ชาสหภาพ
รฐั สภา คร้งั ที่ ๑๒๒ วันที่ ๒๗ มนี าคม ๒๕๕๓ โดยสมเดจ็ พระเทพรตั นราชสุดาฯ สยาม
บรมราชกุมารี เสด็จพระราชด�ำเนินแทนพระองค์ทรงเปิดการประชุมสมัชชาสหภาพ
รฐั สภา โดยมี นายชยั ชดิ ชอบ ประธานสภาผแู้ ทนราษฎร นายประสพสขุ บญุ เดช ประธาน
วุฒิสภา นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรี นายศุภชัย พานิชภักดิ์ เลขาธิการ
การประชมุ สหประชาชาติวา่ ด้วยการค้าและการพฒั นา (UNCTAD) นายธโี อเบน กุรีราบ
ประธานสหภาพรัฐสภา และนายแอนเดอร์ส บี จอนห์สัน เลขาธิการสหภาพรัฐสภา
เขา้ รว่ มรับเสดจ็

119

บรรยากาศงานเล้ียงรับรอง

บรรยากาศงานเลย้ี งรับรองซึ่งมพี ลเอกเปรม ตณิ สลู านนท์ นายกรัฐมนตรใี ห้เกยี รติ
มาร่วมงานโดยมดี ร.อุกฤษและคณุ หญงิ มณฑินี มงคลนาวิน ให้การตอ้ นรับ

120

บรรยากาศในงานเลย้ี งรับรองจากซา้ ย ดร.อกุ ฤษ มงคลนาวิน, พลเอกเปรม ติณสูลานนท,์
Dr.Hans stercken ประธานคณะมนตรฯี และMr.Pepper ประธานคณะกรรมการบริหาร (ขวาสดุ ) 121

บรรยากาศงานเลีย้ ง
122

บรรยากาศงานเลีย้ งรบั รองมดี ร.อุกฤษ- คุณหญิงมณฑนิ ี มงคลนาวิน
และนายชวน หลีกภยั ฯลฯ มารว่ มงานในฐานะประเทศเจา้ ภาพ
123

124

125

งานเลีย้ งอาหารคำ่� ผูแ้ ทนสหภาพรฐั สภาบางประเทศทเี่ คยเชิญคณะผูแ้ ทนรฐั สภาไทย
ไปเยือนเปน็ ทางการ

126

127

การปฏบิ ัตติ ่อคณะผูแ้ ทนท่เี ข้าร่วมประชมุ

เนอื่ งจากผมมโี อกาสไดร้ ว่ มประชมุ สหภาพรฐั สภาเปน็ ครง้ั แรกในการ
ประชมุ ที่ออสเตรเลยี พ.ศ. ๒๕๒๐ โดยผมในฐานะหวั หน้าหน่วยประจ�ำ ชาติ
ไทยเข้าร่วมประชุม

คณะผแู้ ทนไทยในพธิ เี ปดิ ประชุม ที่ Canberra Theatre วันท่ี ๑๑ เมษายน ๒๕๒๐

ผมมีข้อสังเกตว่าผู้แทนทุกประเทศมีความประสงค์จะพบปะสนทนา
กับประธานรัฐสภา ซึ่งเป็นเจ้าภาพเป็นการส่วนตัว ไม่ใช่การพบปะในงาน
เลีย้ งรับรองคณะผแู้ ทนทกุ ประเทศ ซง่ึ การทักทายทำ�ไดไ้ มท่ ัว่ ถึง

อย่างไรก็ตาม มีตัวอย่างท่ี ประธานรัฐสภาออสเตรเลียได้จัดเลี้ยง
อาหารกลางวัน งา่ ยๆ แกห่ ัวหนา้ คณะผู้แทนบางประเทศ ในหอ้ งรบั รองเลก็ ๆ
อยูข่ า้ งห้องท�ำ งานโดยเชิญแขกคร้ังละ ๖-๗ คน

128

ดร.อกุ ฤษ มงคลนาวนิ ท�ำหน้าที่ประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารในชว่ งเชา้
ของการประชมุ กอ่ นการประชุมใหญข่ องทกุ วนั กอ่ นท�ำหนา้ ทีเ่ ปน็ ประธานที่ประชุมใหญ่

ระหว่างการประชุม ๕ วันเชิญแขกได้ประมาณ ๓๐-๓๕ คนจาก
หวั หน้าคณะผแู้ ทนจำ�นวนหลายสบิ ประเทศจงึ เป็นการจดั ได้ไม่ท่วั ถึง

ผมมีโอกาสได้รับเชิญวันหน่ึงพร้อมกับหัวหน้าคณะผู้แทนอ่ืนอีก
๖ คนซ่ึงนับว่าเป็นการให้เกียรติอย่างสูง การจัดท่ีน่ังก็จัดให้นั่งทางขวามือ
ของประธานรฐั สภา (เจา้ ภาพ)

ในการประชุมสหภาพรัฐสภา คร้ังท่ี ๗๘ ในฐานะที่ผมเป็นประธาน
ในท่ปี ระชมุ และเป็นประธานรัฐสภาไทย มกี ารติดตอ่ ทาบทามขอเข้าพบจาก
คณะผู้แทนหลายประเทศ เพอ่ื พบปะสนทนาและมอบของท่รี ะลกึ

ผมจงึ ไดว้ างก�ำ หนดการและก�ำ หนดเวลารบั แขกทกุ คณะเทา่ ทจี่ ะท�ำ ได้
โดยกำ�หนดการไว้ดังนี้

129

ทกุ วนั เวลาประมาณ๐๙.๐๐น.ผมในฐานะประธานการประชมุ ตอ้ งเปน็
ประธานการประชมุ กรรมการบรหิ ารซง่ึ จะแลว้ เสรจ็ ภายในประมาณครง่ึ ชวั่ โมง

หลงั จากนนั้ ผมจะเขา้ ท�ำ หนา้ ทปี่ ระธานทปี่ ระชมุ ใหญป่ ระมาณ๑ชว่ั โมง
ต่อจากน้ัน จะขอให้หัวหน้าคณะผู้แทนประเทศต่าง ๆ ซึ่งเป็นรองประธาน
โดยตำ�แหนง่ ผลดั เปลี่ยนกนั ทำ�หนา้ ท่ีประธานท่ีประชมุ แทน

ส่วนผมเองจะรอรับแขกที่ขอเข้าพบท่ีห้องรับรองชั้นท่ี ๒๐ โรงแรม
เซ็นทรัลฯ ซ่ึงโรงแรมจัดให้เป็นห้องพักของผมตลอดการประชุมด้วย แต่ผม
ไม่เคยใช้เพราะบ้านอยู่ไม่ไกลจากที่ประชุม คงใช้เฉพาะในการรับรองแขก
เทา่ นน้ั

130

การใช้ห้องรับรองนี้ขอใช้สองโอกาสคือใช้ห้องรับรองเพื่อต้อนรับ
คณะผู้แทนท่ีขอเข้าพบ อีกส่วนหน่ึงเป็นท่ีจัดเล้ียงอาหารเย็นประมาณ
คราวละ ๒๐-๓๐ คนซง่ึ ผมไดเ้ ชญิ คณะผแู้ ทนมารบั ประทานอาหารเปน็ พเิ ศษ
โดยเฉพาะ เปน็ การตอบแทนทป่ี ระเทศเหลา่ น้ันเป็นเจา้ ภาพเชิญคณะผูแ้ ทน
รฐั สภาไทยไปเยือนใน พ.ศ. ๒๕๒๗, ๒๕๒๘, ๒๕๓๐ และ พ.ศ. ๒๕๓๑ เช่น
คณะผู้แทนสหภาพโซเวียตรัสเซีย,ประเทศโปแลนด์,จีน ฯลฯ (ตามรายช่ือ
ประเทศที่ไปเยือน) ซ่ึงกิจกรรมน้ีเป็นท่ีช่ืนชอบของบรรดาผู้แทนประเทศ
ตา่ ง ๆ ที่ส่วนใหญ่เคยรจู้ กั คนุ้ เคยกนั มากอ่ น

ระหวา่ งการประชมุ เวลาประมาณ ๑๐.๓๐ น. – ๑๒.๓๐ น.และชว่ งบา่ ย
เวลา ๑๔.๐๐ น. – ๑๖.๓๐ น. เป็นเวลานัดหมายให้คณะผู้แทนประเทศ
ต่างๆ เขา้ พบประมาณคณะละประมาณ ๑๐ นาที

131

การบริหารเวลาเช่นนี้ ทำ�ให้ผมสามารถต้อนรับคณะผู้แทนช่วงเช้า
ประมาณ ๑๐ - ๑๒ คณะและชว่ งบา่ ยอกี ประมาณ ๑๐ - ๑๒ คณะท�ำ ใหค้ ณะ
ผู้แทนมีโอกาสเข้าพบประธานรัฐสภาไทย ซึ่งเป็นเจ้าภาพการประชุม
อย่างท่ัวถึงเพราะท่ีปฏิบัติท่ัว ๆ ไป คณะผู้แทนต่างประเทศจะมีโอกาสพบ
ประธานสภาประเทศเจ้าภาพเฉพาะในโอกาสการเลี้ยงรับรอง (Reception)
เปน็ การทักทายแคก่ ารจบั มือเม่อื ไปถงึ งานเท่านน้ั

ผมเชอื่ วา่ วธิ นี ป้ี ระสบความส�ำ เรจ็ มากเพราะเปน็ การใหเ้ กยี รตหิ วั หนา้
คณะผแู้ ทนประเทศตา่ ง ๆ การจดั ใหเ้ ขา้ พบเจา้ หนา้ ทจี่ ดั เวลา โดยเชญิ ใหแ้ ขก
พกั รอทหี่ นา้ หอ้ งทจ่ี ดั เตรยี มไว้ ปรากฎวา่ คณะผแู้ ทนไดต้ ดิ ตอ่ ขอเขา้ พบทกุ คณะ

ในการพบปะพดู คยุ มกี ารมอบของขวญั หรอื ของทรี่ ะลกึ ดว้ ย โดยทวั่ ไป
ไม่ใช่ของทมี่ มี ูลคา่ ราคาสูงเพราะการพบปะวิธนี ้ีไม่ได้อยใู่ นก�ำ หนดการ

อย่างไรก็ตาม การพบปะกับคณะผู้แทนเกือบ ๑๐๐ คณะในเวลา
๕ วันท�ำ ให้เหน่อื ยพอสมควร แต่โชคดีทเ่ี วลานน้ั อายยุ ังไม่มาก (อายุ ๕๓ ป)ี
จึงพอปฎิบตั ิหนา้ ทไี่ ดอ้ ย่างดี

ปญั หาทีเ่ กิดข้ึนคอื เรือ่ ง ”ภาษา” ซึ่งจ�ำ แนกออกเปน็ ๓ กลมุ่
กลมุ่ ที่หน่ึง ขอใชล้ า่ ม เช่น จนี , ญป่ี นุ่ , เกาหล,ี รสั เซีย ฯลฯ
กลุ่มท่ีสอง ใช้ภาษาอังกฤษในการพบประสนทนา ซึ่งกลุ่มนี้ไม่มีการ
ใชล้ ่าม
กลุ่มที่สาม ใช้ภาษาฝร่ังเศสในการพบปะสนทนา ซง่ึ กลุ่มนี้กไ็ ม่มกี าร
ใช้ “ล่าม” เพราะผมใช้ภาษาฝร่ังเศสได้

132

เป็นท่ีน่าสังเกตว่าสมาชิกสหภาพรัฐสภา (IPU) พูดภาษาฝรั่งเศส
มากกว่าภาษาอังกฤษในสดั ส่วนประมาณ ๓ ตอ่ ๕ ซง่ึ ไม่เคยทราบมาก่อน

ข้อสังเกตประการที่สองอาจมีข้อสงสัยว่า การพบกันเพียงคณะละ
ประมาณ ๑๐ นาทีจะพอมีเวลาพูดจากันได้เพียงพอหรือไม่ ซ่ึงตอบได้ว่า
การพบปะโดยสนทนากนั โดยตรงสำ�หรับประเทศที่ไม่ไดใ้ ช้ “ล่าม” จะมเี วลา
มากพอสมควร

สรุปผลการประชุมสหภาพรัฐสภาสากล คร้ังที่ ๗๘ นี้ ประสบความ
ส�ำ เรจ็ อยา่ งสงู เปน็ ทช่ี นื่ ชมของบรรดาผเู้ ขา้ รว่ มประชมุ ทกุ คณะ เพราะวธิ กี าร
ใหม่ๆทเี่ ปน็ การใหเ้ กยี รตแิ กค่ ณะผแู้ ทนทกุ ประเทศอยา่ งทวั่ ถงึ เปน็ การกระชบั
ความสมั พนั ธร์ ะหวา่ งประเทศอยา่ งดยี ง่ิ ซงึ่ ไมเ่ คยปรากฏในการประชมุ สหภาพ
รัฐสภาสากลท้งั อดตี และปจั จุบนั

โดยเฉพาะอย่างย่ิงการเสด็จพระราชดำ�เนินของพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หวั เปน็ องคป์ ระธาน ทรงเปิดการประชมุ ดว้ ยพระองค์เอง นบั เปน็
ประวัติศาสตร์ของการประชุมสหภาพรัฐสภาที่อยู่ในความทรงจำ�ของผู้เข้า
ร่วมประชมุ ทกุ คน

133

การประชุมสมชั ชาองคก์ ารรัฐสภาอาเซยี น คร้งั ที่ ๗
AIPO SEVENTH GENERAL ASSEMBLY
วนั ท่ี ๒-๖ ตุลาคม ๒๕๒๗ ท่ีกรุงเทพฯ

สำ�หรับกจิ กรรมด้านองค์กรระหวา่ งประเทศ ขณะที่ผม
ดำ�รงตำ�แหน่งในรัฐสภา ผมได้ทำ�งานด้านการประชุมตั้งแต่
พ.ศ. ๒๕๒๐ โดยการเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนหน่วยประจำ�
ชาตไิ ทย ไปประชุมทส่ี หภาพรฐั สภา (IPU) ทกี่ รุงแคนเบอรร์ า
ประเทศออสเตรเลีย

ท่ีสำ�คัญอีกงานหน่ึง ได้แก่ การที่ประเทศไทยเป็น
เจ้าภาพการประชุมสมัชชาองค์การรัฐสภาอาเซียน ครั้งที่ ๗
วันที่ ๒-๖ ตลุ าคม ๒๕๒๗ ท่กี รงุ เทพฯ

ในการประชมุ คร้งั นั้น ผมในฐานะประธานรฐั สภาไทย
ท�ำ หนา้ ทป่ี ระธานทปี่ ระชุมสมัชชา

การประชุมดังกล่าวมีสมาชิกรัฐสภาที่เป็นสมาชิก
มาร่วมประชมุ โดยพรอ้ มเพรยี งกนั

พิธีเปิดประชุมมีข้ึนท่ีพระท่ีนั่งอนันตสมาคม ซึ่งใน
ขณะนั้นได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้เป็นที่
ทำ�การรัฐสภา

134

135

งานแถลงการประชุม
ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน ทำ�หน้าที่ประธานการประชมุ
136

137

138

ผแู้ ทนสภายโุ รป

ผแู้ ทนประเทศญ่ปี ุ่น

139

ดร.อุกฤษ มงคลนาวนิ ประธานรัฐสภา ให้การตอ้ นรบั พลเอก ประจวบ สุนทรางกูร
รองนายกรัฐมนตรแี ละผแู้ ทนต่างประเทศ ทหี่ ้องรบั รองรัฐสภา

140

ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน กล่าวคำ�ปราศรัยตอ่ ท่ีประชมุ

บรรยากาศผูเ้ ขา้ รว่ มประชุมในพระที่น่ังอนนั ตสมาคม 141

บรรยากาศงานเลีย้ งรับรอง

เม่อื เสร็จการประชมุ รัฐสภาไทยเปน็ เจา้ ภาพจดั งานเลี้ยงรบั รอง โดยมี พลเอก
ประจวบ สุนทรางกรู รองนายกรัฐมนตรี เขา้ ร่วมงานเลีย้ งรบั รองด้วย

ภาพบรรยากาศงานเล้ียงรับรอง
142

ภาพงานเล้ยี งรับรอง มีคณุ สมรรค ศิริจนั ทร์ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ ๑
และภริยา มารว่ มงาน
143

ภาพบรรยากาศในงานเลยี้ งรับรอง
144

สมาชกิ และผ้เู ขา้ รว่ มประชมุ แสดงความพอใจในผลสำ�เร็จของการประชมุ และการ
ต้อนรบั อยา่ งสมเกยี รตแิ กผ่ เู้ ข้ารว่ มประชมุ
145



การประชุมสมชั ชาองค์การรฐั สภาอาเซยี นคร้งั ท่ี ๘
วนั ที่ ๑๐-๑๕ เมษายน ๒๕๒๘

ทกี่ รงุ ¨าการ์ตา สาธารณรัฐอินโ´นเี ซีย

147

สาธารณรัฐอินโดนเี ซีย

ระหวา่ งวนั ท่ี ๑๐ - ๑๕ เมษายน ๒๕๒๘ ได้รับเชิญไปประเทศ
อนิ โดนเี ซยี เพ่ือเข้าร่วมประชมุ องค์การรัฐสภาอาเซยี น (AIPO) และสง่ มอบ
ต�ำ แหนง่ ประธานองคก์ ารรัฐสภาอาเซยี น ใหก้ บั ประธานรฐั สภา สาธารณรัฐ
อินโดนีเซยี

วันท่ี ๑๐ เมษายน ๒๕๒๘ เดนิ ทางไปประเทศอนิ โดนเี ซยี พร้อมคณะ
ผแู้ ทนหนว่ ยประจำ�ชาติไทย

เมือ่ ถึงสนามบินได้รบั การตอ้ นรับอย่างอบอ่นุ จากประธานรฐั สภาอินโดนเี ซียและภรยิ า
148


Click to View FlipBook Version