The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

เล่มที่ 5 ท้องถิ่นในรอบ 125 ปี (พ.ศ.2440-2564) ประเด็นและความท้าทาย

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by papichaya, 2022-02-09 04:41:24

125 ปี การปกครองท้องถิ่นไทย พ.ศ.2440-2565 เล่มที่ 5

เล่มที่ 5 ท้องถิ่นในรอบ 125 ปี (พ.ศ.2440-2564) ประเด็นและความท้าทาย

แทบทุกด้านของการบริหารจัดการท้องถ่ินอยู่ภายใต้กรอบจากัด
เดยี วกนั และการกระจายอานาจสูท่ อ้ งถ่ินเตม็ ไปดว้ ยความล่าชา้

ข้อที่ 10 ความอ่อนแอของประชาธิปไตยระดับชาติ
เหน็ ไดจ้ ากรัฐประหาร 13 ครั้งในช่วง 74 ปี (2490-2564) ผนู้ าจาก
การยึดอานาจ และรัฐบาลอานาจนิยมหลังการยึดอานาจแต่ละคร้ัง
ที่เขียนกติกาข้ึนใหม่มีอานาจ และบทบาทครอบงาการเมือง
ได้มากกว่าและยาวนานกว่า และมีเพียงรัฐบาลจากการเลือกต้ัง
เพียงชุดเดียวท่ีอยู่ครบวาระ 4 ปี ตลอดช่วง 89 ปีนี้ (2475-2564)
ด้วยภาวะการต่อสู้ดิ้นรนดังกล่าว เราจึงแทบไม่เห็นบทบาทสาคัญ
ของประชาธิปไตยระดับชาติในการสร้างความเข้มแข็งให้แก่
ประชาธิปไตยท้องถ่ิน สภาผู้แทนและฝ่ายบริหารที่มาจากการ
เลือกตั้งไม่เคยมีโอกาสถกเถียงอย่างจริงจังกันว่าจริงจังที่จะศึกษา
ว่าการปกครองท้องถ่ินมีปัญหาอะไร และควรจัดการแก้ไขต่อไป
อย่างไร

การเปิดโอกาสให้ ส.ส. จัดสรรงบประมาณและโครงการ
พัฒนาให้แต่ละจังหวัด (โดยเฉพาะจังหวัดของตนเอง) สะท้อนให้
เห็นชัดเจนว่าการปกครองท้องถ่ินถูกทาให้หมดสภาพ มีฐานะเพียง
รอรับความเมตตาจากสถาบันการเมอื งระดับสงู ขึน้ ไป การพฒั นาท้องถ่ิน
ควรเป็นเรื่องของ อปท. และประชาชนในท้องถิ่นน้ัน ๆ กลับกลาย
เป็นนายอาเภอ ผู้ว่าฯ และกระทรวงต่าง ๆ ในระดับชาติมีบทบาท
มากกว่า และดึง ส.ส. เข้ามาร่วมจัดสรรงบและโครงการพัฒนา

244 ๑๒๕ ปี การปกครองท้องถิ่นไทย พ.ศ. ๒๔๔๐ - ๒๕๖๕
ท้องถิ่นในรอบ ๑๒๔ ปี (พ.ศ. ๒๔๔๐ - ๒๕๖๕)ประเด็นและความท้าทาย

ท้องถ่ิน ก็คือการหาเสียงและผลประโยชน์ต่าง ๆ จากการตัดสินใจ
ทางการเมืองเหล่าน้ัน ในสภาพท่ี ส.ส. ก็มีผลประโยชน์ดังกล่าว ก็น่าจะ
เป็นคาตอบว่าเหตุใดฝ่ายประชาธิปไตยระดับชาติท่ีสะดุดบ่อยคร้ัง
จงึ มบี ทบาทนอ้ ยในการสง่ เสรมิ การปกครองท้องถิ่น

ข้อท่ี 11 ความเป็นรัฐราชการมายาวนานต่อเน่ืองถึง
ศตวรรษเศษ มีระบอบประชาธิปไตยท่ีล้มลุกคลุกคลาน ส่งผลให้
ผู้นาหลายคนต้องลี้ภัยในต่างแดน ขรก. เต็มไปด้วยอานาจ บารมี
และศักด์ิศรี รัฐไทยมีประชากร 70 ล้านคนมีนายพล 1500 คน
ขณะท่ีสหรัฐ-ชาติมหาอานาจมีนายพลเพียง 500 คน ญี่ปุ่นเร่ง
พัฒนาประเทศ ไม่มีกองทัพ สร้างประชาธิปไตยระดับชาติให้ม่ันคง
มีกระทรวงกระจายอานาจให้ท้องถิ่น ไม่มีหน่วยงานราชการส่วน
ภูมิภาค มีประชากรทั่วประเทศ 130 ล้านคน มี 12 กระทรวง
จานวนข้าราชการ 5 แสน บุคลากรทางานให้ท้องถิ่นมีถึง 3.2 ล้าน
ส่วนไทยมี 22 กระทรวง ขรก. 2 ล้าน แต่บุคลากรของท้องถ่ินมี
เพียง 4 แสนคน (เจิมศักด์ิ ป่ินทอง, 2561) ขณะท่ี ขรก. ส่วนภูมิภาค
ของไทยย้ายไปมาเพื่อเลื่อนตาแหน่ง ไม่เคยมผี ลงานโดดเด่นของแต่
ละจังหวดั -อาเภอ ยกเว้นการสรา้ งภาพประเภทข่าวทีผ่ วู้ ่าฯ คนหน่ึง
ข่ีจักรยานไปทางาน ผลงานของแต่ละท้องถ่ินในรัฐประชาธิปไตย
เชน่ ญี่ป่นุ หลากหลายมสี ีสนั จนไทยนามาเลยี นแบบคือ โอท็อป แต่
ไทยไม่ยอมเปิดเผยว่าทุก ๆ จังหวัดของญ่ีปุ่นมีผู้ว่าฯ เลือกตั้งโดย

245125 ปี การปกครองท้องถิ่นไทย (พ.ศ. 2440–2565) และก้าวต่อไปสศู่ ตวรรษใหม่

ประชาชนมาตง้ั แตป่ ี 2490 ส่วนรฐั ราชการไทยไม่เคยสนใจประเด็น
เลอื กตั้งผู้ว่าฯ

รฐั ไทยไมเ่ พยี งแต่มหี น่วยราชการส่วนภมู ิภาคท่ียงั คงเติบโต
ขณะที่ประเทศประชาธิปไตยท่ัวโลกไม่มี ขรก.ส่วนภูมิภาคยัง
ควบคุมท้องถ่ินได้อย่างเต็มท่ีด้วย ต้ังแต่ปี 2540 จนปัจจุบัน
แผนการกระจายอานาจสู่ท้องถ่ินเป็นของใหม่ และระบบราชการ
ก็ทางานตามแผนอย่างล่าช้า การถ่ายโอนภารกิจให้ท้องถ่ิน การเพิ่ม
งบประมาณใหท้ อ้ งถิ่นล่าชา้ มาตลอด ความมุ่งม่นั ของส่วนกลางท่ีจะ
พัฒนาการปกครองท้องถ่ินก็แทบไม่ปรากฏ การถ่ายโอนภารกิจ-
งบและบุคลากรจึงยุ่งยากท้ังขาดความเต็มใจของบุคลากรที่จะ
โยกยา้ ยไปทางานภายใต้ อปท. ทา่ มกลางปัญหาและอุปสรรคต่างๆ
ทไ่ี ด้กล่าวมา ฯลฯ

ข้อท่ี 12 ทง้ั หมดทกี่ ล่าวมานจี้ ึงย้อนกลบั ไป 2 ประเด็นเดิม
คือ (1) ความขัดแย้งและการต่อสู้ในประเด็นใหญ่ของประเทศที่
ชัยอนันต์ ได้กล่าวไว้เม่ือปี 2535 ก็ยังคงดาเนินต่อมาจนถึงขณะนี้
และ (2) บทนาของ ธงชัย ในหนังสือเล่มนี้พร้อมกับความเห็น
สนับสนุนจากงานประวัติศาสตร์บทอ่ืน ๆ ในเล่มแรก น่ันคือ
ระบอบเก่าท่ีสถาปนาต้ังแต่ปี พ.ศ. 2435 ได้หวนกลับมาและ

ต้องการรักษาอานาจไว้ต่อไป รัฐราชาชาตินิยมต้องการรักษาระบบ
ราชการแบบรวมศูนย์อานาจไว้ต่อไป และไม่ต้องการกระจาย
อานาจสู่ท้องถิ่น ไม่ปรารถนาท่ีจะเห็นประชาชนในแต่ละท้องถิ่น

246 ๑๒๕ ปี การปกครองท้องถ่ินไทย พ.ศ. ๒๔๔๐ - ๒๕๖๕
ท้องถิ่นในรอบ ๑๒๔ ปี (พ.ศ. ๒๔๔๐ - ๒๕๖๕)ประเดน็ และความท้าทาย

เข้มแข็ง อันจะเป็นรากฐานสาคัญของการสนับสนุนประชาธิปไตย
ระดับชาติ และข้อมูลต่าง ๆ และบทวิเคราะห์ในบทความแต่ละช้ิน
ก็ยืนยันในทศิ ทางน้นั

V. ขอ้ เสนอสาคญั ในวาระครบรอบ 125 ปี เพื่อก้าว
ต่อไปสศู่ ตวรรษหน้า

“รัฐไทยอยู่กับระบอบเผด็จการในรูปแบบต่าง ๆ มานาน
แม้ว่ามีความพยายาม…ที่จะออกจาก...หลายครั้ง แต่ก็ไม่มีผลอย่าง
ยั่งยืนสักคร้ัง...ทาไมจึงเป็นเช่นนั้น...องค์กรและสถาบันสาคัญทาง
สังคมการเมืองของไทย...ไม่ยอมขยับปรับเปลี่ยนไปสู่ระบอบการ
ปกครองอย่างอ่ืนนอกจากเผด็จการในรูปต่าง ๆ....น่าจะมีอะไร
“ลึก” กว่าปัจจัยต่าง ๆ ท่ีกล่าวแล้ว...วัฒนธรรมไทย โลกทัศน์และ
ระบบความสัมพันธ์ทางสังคมแบบไทยต่างหากซึ่งเป็นพ้ืนฐาน....ให้
ระบอบเผด็จการงอกงามอย่างไม่เสื่อมคลาย.... แม้ (สยาม) ไม่ตก
เป็นอาณานิคมโดยตรงผู้ปกครองก็นารูปแบบความสัมพันธ์อาณา
นิคมเข้าสู่ประเทศและยังรักษาระบบความสัมพันธ์ตามประเพณี
เดิมเอาไว้ แมต้ ้องปรบั เปล่ยี นไปบา้ ง แตก่ ็ไมม่ ากนัก....”

นธิ ิ เอยี วศรวี งศ์,
“วฒั นธรรมเผด็จการไทย (1)” 5-11 พฤศจิกายน 2564

247125 ปี การปกครองท้องถ่ินไทย (พ.ศ. 2440–2565) และก้าวต่อไปสศู่ ตวรรษใหม่

น่าคิดย่ิงนักรัฐกับสังคมไทยต้อนรับการเปลี่ยนแปลงของ
โลกเข้าสู่ยุคใหม่ที่เรียกว่า Globalization ในช่วงปี พ.ศ. 2536
อย่างต่ืนเต้น มีการประดิษฐ์คาว่า “โลกานุวัตร” และต่อมา
เปลี่ยนเป็น “โลกาภิวัตน์” เริ่มตอนปลายปีนั้น และต่อจากน้ัน
ก็ไม่เคยมีห้วงยามใดที่รัฐและสังคมไทยจะปฏิเสธกระแสการ
เปลี่ยนแปลงของโลกท่ีโอบล้อมเราและนับวันรุนแรงขึ้นและ
รวดเรว็ ยง่ิ ๆ ข้ึน

แต่บัดน้ี 2 ทศวรรษเศษผ่านไป 2 นักคิดเรืองนามเริ่มท่ี
นิธิ เอียวศรีวงศ์ เตือนเราให้นึกถึงคาว่า “วัฒนธรรมเผด็จการ”
และ ธงชัย วินจิ จะกูล ชวนเราให้ “เดินหนา้ ออกจากจินตนาการเกา่ ”

เราจะก้าวต่อไปอย่างไรในวาระ 125 ปีครบรอบการ
ปกครองท้องถิ่นไทยในปี พ.ศ. 2565?

ประการแรก เราควรตระหนักให้มาก ๆ ว่า หนึ่ง ขณะที่
ประเทศประชาธิปไตยท้ังหลายได้ผ่านการต่อสู้เรื่องกติกาของ
ประเทศไปนานแล้ว รัฐและสังคมไทยยังไม่ก้าวผ่านความขัดแย้ง
และการต่อสู้น้ัน น่ีคือสาระสาคัญยิ่งของสังคมศาสตร์ไทย และของ
ภูมิปัญญาของคนไทยเราท่ีจะต้องยึดกุมไว้ ไม่ควรหลง ลืมไป หรือ
ปล่อย ๆ ไป และไม่ช่วยกันย้าเตือนกันบ่อย ๆ ครั้ง และ สอง
ส่ิงท่ีครอบงาและขัดขวางสังคมไทยไม่ให้ก้าวไปข้างหน้า ก็คือการ
ดารงอยู่ของอุดมการณ์ราชาชาตินิยมท่ีล้าหลังท่ี ธงชัย กล่าวถึง

248 ๑๒๕ ปี การปกครองท้องถิ่นไทย พ.ศ. ๒๔๔๐ - ๒๕๖๕
ท้องถ่ินในรอบ ๑๒๔ ปี (พ.ศ. ๒๔๔๐ - ๒๕๖๕)ประเด็นและความท้าทาย

และปรากฏให้เห็นคือวัฒนธรรมแบบเผด็จการที่ นิธิ กล่าวถึง
และระบบราชการแบบรวมศูนย์ท่ีครอบงาสังคมน้ีทุก ๆ ระดับ
หลอกลวงว่า สังคมน้ี รัฐนี้เป็นประชาธิปไตย และการปกครอง
ทอ้ งถ่นิ ดาเนินการโดยผคู้ นในทอ้ งถิน่ นนั้ ซึ่งไมเ่ ป็นความจริงเลย

ประการทส่ี อง เราจะตอ้ งไมล่ ืมว่าประชาธปิ ไตยทอ้ งถ่ินกับ
ประชาธปิ ไตยระดับชาตินน้ั เป็นอันหนึ่งอันเดยี วกัน สนับสนุนซึ่งกัน
และกัน และไม่อาจแยกขาดออกจากกัน การศึกษาเรื่องการสร้าง
ระบอบประชาธิปไตยในสหรัฐ สหราชอาณาจักร และฝรั่งเศส
จนนาไปสู่ระบอบประชาธิปไตยท่ีม่ันคงในเวลาต่อมา โดย James
T. Kloppenberg (2016) เผยให้เห็นปัจจัยสาคัญ 5 ข้อร่วมกัน
(1) การต่อสู้เพ่ือประชาธิปไตย และการเรียนรู้เร่ืองน้ีเป็นผลงาน
ของผู้คนทุก ๆ ระดับช้ันจานวนมาก ไม่ใช่กิจกรรมปิดลับของผู้นา
เพียงไม่ก่ีคนหรือบางกลุ่ม (2) การต่อสู้และการทางานร่วมกัน
เรียนรู้ร่วมกันเพื่ออุดมการณ์เดียวกันจะต้องอาศัยเวลา การจัดตั้ง
และการบริหารองค์การ และการสร้างบุคลากรอย่างต่อเนื่อง
(3) การต่อสู้ต้องมีการศึกษาเรียนรู้ความคิดที่ถูกต้องแม่นยา
ผ่านการค้นคว้า ถกเถียง และกล่ันกรองจนเป็นอุดมการณ์ท่ีชัดเจน
ร่วมกัน และเดินไปตามอุดมการณ์น้ัน (4) การต่อสู้เพื่อสร้าง
ระบอบประชาธิปไตยจาเป็นต้องมีความมุ่งมั่นแน่วแน่ทางการเมือง
(Political will) ของผู้นาทุก ๆ ระดับ การล้มลุกคลุกคลาน ความ
พ่ายแพ้ และการเรียนรู้และสรุปบทเรียนเป็นการหล่อหลอมและ

249125 ปี การปกครองท้องถิ่นไทย (พ.ศ. 2440–2565) และก้าวต่อไปสศู่ ตวรรษใหม่

เป็นส่ิงที่จะต้องเกิดข้ึนเป็นระยะ ๆ (5) อปท. มิใช่เคร่ืองมือรับใช้
ของการเมืองหรือนักการเมืองระดับชาติ แต่ประชาธิปไตยท้องถ่ิน
และประชาธิปไตยระดับชาติรับใช้และสนับสนุนซึ่งกัน และกัน
ความเข้มแข็งของ อปท., ท้องถ่ิน และประชาธิปไตยท้องถ่ินก็คือ
รากฐานสาคัญของประชาธิปไตยระดับชาติ ไม่มีท้องถิ่นที่เข้มแข็ง
ประชาธปิ ไตยระดบั ชาตจิ ะเกิดข้ึนได้และเข้มแขง็ สถาพรไดอ้ ยา่ งไร

ประการที่สาม เราจะต้องไม่ลืมหลักการสาคัญที่สุด
เกี่ยวกับการปกครองท้องถ่ินท่ีผู้แทนชาวเยอรมันได้ให้ไว้ในคานา
และเป็นหลกั การที่ใช้กันทวั่ โลก นนั่ คอื “หลักการเริ่มตน้ ท่ีท้องถิ่น”
(Subsidiarity principle) นั่นคือไม่ว่าจะเป็นเร่ืองอะไรที่เก่ียวกับ
ท้องถ่ินหรือมีผลกระทบโดยตรงต่อท้องถ่ิน ก็ต้องขอความเห็นจาก
ท้องถ่ิน คิดและถกเถียงกันว่าท้องถิ่นจะได้รับประโยชน์อย่างไร
หรือจะสูญเสียผลประโยชน์ โดยให้ท้องถ่ินเป็นคนตัดสินใจด้วยตัว
เขาเอง และหากมีสง่ิ ใดท่ีจะต้องแก้ไขปรบั ปรุง กต็ อ้ งกลับไปเริ่มต้น
ที่ท้องถิ่นอีกคร้ัง นั่นก็คือ ท้องถิ่นลงมือทาเองได้หรือไม่ มีสิ่งใด
ท่ีส่วนที่อยู่เหนือข้ึนจะช่วยเหลือได้บ้าง และหากงานดังกล่าว
ท้องถิ่นไม่สามารถทาได้เพราะมีขนาดหรือต้องการการทางานด้วย
หน่วยงานท่ีอยู่ในระดับที่สูงกว่า ก็ค่อย ๆ เลื่อนงานดังกล่าวข้ึนไป
เป็นขั้น ๆ จนทุกฝ่ายเหน็ วา่ เหมาะสม โดยเฉพาะท้องถิ่น ซึ่งจะเป็น
ผูไ้ ด้รับผลไดผ้ ลเสยี โดยตรง เนอ่ื งจากเร่ืองทเ่ี กิดขน้ึ อยู่ในท้องถ่ินน้ัน
หรอื จะได้รบั ผลกระทบโดยตรง

250 ๑๒๕ ปี การปกครองท้องถิ่นไทย พ.ศ. ๒๔๔๐ - ๒๕๖๕
ท้องถิ่นในรอบ ๑๒๔ ปี (พ.ศ. ๒๔๔๐ - ๒๕๖๕)ประเด็นและความท้าทาย

ทผี่ ่านมา กจิ การหลายอย่างอยู่ที่ท้องถ่ิน เชน่ ทุ่งนา แม่น้า
ป่าเขา อากาศ ทรพั ยากรในดิน-น้า อาหาร ศลิ ปวฒั นธรรมประเพณี
ศาสนา การศึกษา สิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ บุคลากร ฯลฯ แต่ปรากฏว่า
การตัดสินใจที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสิ่งท่ีกล่าวมากลบั ทากันนอก
ท้องถ่ิน เช่น การวางผังเมืองของท้องถิ่น ทาโดยหน่วยงานส่วนกลาง
หรือส่วนภูมิภาค ซ่ึงบ่อยครั้งไม่เคยเห็นหรือเข้าไปในท้องถิ่นเลย
การแต่งตั้งบุคคลเข้าทางาน มีการส่งนายอาเภอ ตารวจ ปลัดอาเภอ
ครู ฯลฯ ท่ีไหนไม่ทราบไปทางานท่ีท้องถิ่น คือข้าราชการจาก
ส่วนกลางและส่วนภูมิภาคท่ีสอบได้หรือถูกส่งไปทางาน แล้วอยู่ไม่
นานก็ย้ายไปจังหวัดอ่ืน ย้ายไปหลายครั้งจนไม่มีความเข้าใจหรือ
ผูกพันใด ๆ กับท้องถิ่นใดเลย ในประเด็นเดียวกัน ท่ีผ่านมา
เราเห็นคนจานวนมากมาจากจังหวัดอื่น ๆ เข้ามาทางานในท้องถ่ิน
เหตุใดจึงไม่มีการออกกฎหมายเพ่ือให้งานแก่คนท้องถิ่นท่ีมีใบ
ทะเบียนบ้านอยู่ที่น่ันได้สิทธิก่อน อันเป็นการส่งเสรมิ เศรษฐกิจและ
ยกระดับคุณภาพของคนท้องถิน่ ฯลฯ

ต่อท้ัง 3 ประเด็นที่ยกตัวอย่างมา หน่วยราชการส่วนกลาง
และภูมิภาคไม่เคยสนใจยกระดับบุคลากรท้องถิ่น อาจมีข้ออ้างว่า
ต้องการได้บุคคลที่ดีมีคุณภาพท่ีสุด รัฐก็ควรจัดระบบการศึกษา
ทุกสาขาเพ่ือพัฒนาคนทุก ๆ แห่ง การผังเมือง การทาเหมืองฝาย
การส่งเสริมภาษาล้านนา ปัญหาหมอกควัน ฯลฯ รัฐและ อปท.
สามารถร่วมกันคิดได้ว่าจะจัดระบบการศึกษาและการฝึกอบรม

251125 ปี การปกครองท้องถ่ินไทย (พ.ศ. 2440–2565) และก้าวต่อไปสศู่ ตวรรษใหม่

อย่างไรเพ่ือพัฒนาบุคลากรที่มีความสามารถในด้านเหล่านี้ เพื่อให้
ไดท้ างานใกล้บา้ น กระทั่งไปอบรมคนที่ห่างไกล ฯลฯ

และเหตุใดจึงไม่มีการเลือกต้ังผู้ว่าฯ ซึ่งเป็นคนในท้องถิ่น
นน้ั ทมี่ ีความรกั ความผกู พนั และพร้อมทจ่ี ะเสียสละทกุ อย่างเพื่อบ้าน
เกิดเมืองนอน ในทานองเดียวกัน บริษัทธุรกิจขนาดใหญ่ไปเปิดทา
การในท้องถ่ิน แล้วจ่ายภาษีอากรท้ังหมดที่กรุงเทพฯ ทั้ง ๆ ที่ธุรกิจ
ดังกล่าวใช้ทรัพยากรมากมายในท้องถิ่น รวมไปถึงการสร้างขยะ
ปัญหาการคมนาคมขนส่ง ปัญหาสิ่งแวดล้อม ฯลฯ ให้แก่ท้องถ่ิน
และให้องค์กรปกครองท้องถิ่นแก้ไขปัญหาเหล่านั้น แต่ภาษีอากร
กลับไปตกอยู่ที่รัฐบาลกลาง โดยไม่มีใครรู้ว่าภาษีอากรเหล่าน้ัน
ย้อนกลับมาให้ประโยชน์แต่ท้องถิ่นบ้างหรือไม่ และมากเท่าใด
ท้งั หมดนเี้ กีย่ วพันโดยตรงกับหลักการ “เรมิ่ ต้นทีท่ อ้ งถนิ่ ” ทงั้ สน้ิ

ประการที่สี่ เมื่อวาระ 125 ปีมาบรรจบ และรัฐ-สังคมนี้
ก็ยังติดกับดักเดิม ๆ ก็สมควรเฉลิมฉลองด้วยการศึกษาประเด็น
ปัญหาต่าง ๆ ของการปกครองท้องถ่ินไทยท่ีจริงจังกว่าที่ผ่านมา
เริ่มต้ังแต่จุดแข็ง จุดอ่อน ปัญหาในแต่ละประเด็นที่นาเสนอ
ในโครงการน้ี โดยเฉพาะอยา่ งยงิ่ อปุ สรรคของการกระจายอานาจสู่
ท้องถ่ินต้ังแต่ปี พ.ศ. 2540 ที่รัฐธรรมนูญฉบับประชาชนระบุให้มี
แผนการกระจายอานาจสู่ อปท. อยา่ งชัดเจน จนมี พ.ร.บ. กาหนดแผน
และข้ันตอนการกระจายอานาจออกมาใน ปี พ.ศ. 2542 ผ่านมา
แล้วจนถึงบัดน้ี 22 ปีเต็ม เราควรนาเอางานวิเคราะห์ปัญหาของ

252 ๑๒๕ ปี การปกครองท้องถิ่นไทย พ.ศ. ๒๔๔๐ - ๒๕๖๕
ท้องถิ่นในรอบ ๑๒๔ ปี (พ.ศ. ๒๔๔๐ - ๒๕๖๕)ประเด็นและความท้าทาย

การกระจายอานาจที่ ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์ เขียน (การเมืองใน
กระบวนการกระจายอานาจ, 2556) และ วีระศักดิ์ เครือเทพ
ใน (การเมืองท้องถิ่น-กระจายอานาจ 4 ปี คสช. ก้าวหน้าหรือ
ถอยหลัง?, 2561) มาศึกษาเพ่ิมเติม เพื่อให้เห็นปัญหา และอุปสรรค
อย่างเปน็ รูปธรรมตลอด 20 กวา่ ปมี าน้ีและก่อนหน้านนั้

ประการท่ีห้า การสัมมนาอย่างจริงจังของชมรมหรือ
องค์กร อปท. แต่ละรูปแบบ และที่เป็นองค์รวมทั้งหมดของ อปท.
เพ่ือแสวงหาแนวทางการผลักดันการปกครองท้องถ่ินแห่งศตวรรษ
ใหม่ท่ีเป็นประชาธิปไตย และก้าวออกจากการกระจายอานาจ
ทลี่ า่ ชา้ ไปสจู่ ินตนาการใหม่

ประการที่หก นักวิชาการท่ีทาวิจัยและสอนเกี่ยวกับการ
ปกครองและการบรหิ ารจัดการท้องถิ่นในทกุ ๆ สถาบนั ควรทบทวน
ว่าที่ผ่านมา งานวิจัย การสอนและงานตาราของพวกเรามีคุณภาพ
อย่างไร สารวจว่าส่วนใดยังคงเวียนวนอยู่ในจินตนาการเก่า หรือ
เข้าใจว่าการปกครองท้องถิ่นท่ีผ่านมามีปัญหาเพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ
ไมไ่ ดน้ าพานกั ศึกษาและผู้อา่ นไปสหู่ ลักการสาคญั ที่ถกู ละทิ้งมานาน
หรอื สว่ นหนึ่งอาจเกิดจากหวั ข้อวจิ ัย เงินทุนวจิ ัยทถ่ี กู กาหนดมาแล้ว
หรือต้องเข้าไปช่วยงานของ อปท. รวมทั้งงานของกรมกองและ
คณะกรรมการต่าง ๆ ของสภาและกระทรวงที่เป็นรายละเอียดของ
การปกครองท้องถ่ินและการกระจายอานาจ จนละเลยหลักการ
สาคัญของประชาธิปไตยท้องถิ่น ความเป็นอิสระของท้องถ่ิน

253125 ปี การปกครองท้องถิ่นไทย (พ.ศ. 2440–2565) และก้าวต่อไปสศู่ ตวรรษใหม่

บทบาทของประชาชนในการทางานร่วมกับสภาท้องถิ่นเพื่อตรวจสอบ
ฝ่ายบริหาร และหน่วยราชการส่วนภูมิภาค ฯลฯ

ประการท่ีเจ็ด น่าสังเกตว่าจนถึงบัดนี้เวลาผ่านไปต้ังแต่
พ.ศ. 2476 หรอื 88 ปีก่อน การมีสภาท้องถิน่ เพ่ืออะไร การเลอื กต้ัง
สมาชิกสภาท้องถิ่นหลายคนในเขตเดียวทาให้ประชาชนผู้เลือกต้ัง
และผู้แทนไม่มีความสัมพันธ์ที่ชัดเจน และสมาชิกสภาก็ไม่ได้ทาหน้าท่ี
อยา่ งเตม็ ที่ การท่คี ณะรฐั ประหารไม่จดั การเลือกตั้งท้องถิ่นเปน็ เวลานาน
ในหลาย ๆ ช่วง การไมอ่ าจออกข้อบัญญัตทิ ้องถนิ่ ไดเ้ พราะถูกสะกัดกั้น
การที่ อปท. ถูกควบคุมโดยส่วนภูมิภาคและส่วนกลางมาอย่างต่อเน่ือง
รวมทั้งการที่รัฐบาลกลางใช้หน่วยราชการส่วนภูมิภาคคอยควบคุม
อปท. ตลอดมา ฯลฯ ทั้งหมดน้ีล้วนเป็นปัญหาใหญ่ท่ีขัดแย้งกับ
หลักการสาคัญของการปกครองตนเองในระดับท้องถ่ินท้ังสิ้น และ
มกี ารนามาเป็นประเด็นศึกษา และหาทางแก้ไขน้อยมาก

และสุดท้าย ประการที่แปด อปท. จะมีบทบาทอย่างไร
ในการระดมทุนและกาลังร่วมมือกับองค์กรการเมืองระดับชาติ ภาค
วิชาการ ภาคธุรกิจและภาคประชาชน ในการต่อสู้เพ่ือประชาธิปไตย
ระดับชาติให้กลับคืนมา น่ายินดีอย่างยิ่งท่ีพรรคการเมืองส่วนหนึ่ง
ในระดับชาติในปัจจุบันให้ความสนใจต่อการเมืองและการปกครอง
ท้องถ่ินมากข้ึน เพราะเท่ากับว่า จะมีการขยายบทบาททางการเมือง
ของประชาชนในท้องถิน่ มากย่ิงกว่าแต่ก่อน.

12 พฤศจกิ ายน 2564.

254 ๑๒๕ ปี การปกครองท้องถ่ินไทย พ.ศ. ๒๔๔๐ - ๒๕๖๕
ท้องถิ่นในรอบ ๑๒๔ ปี (พ.ศ. ๒๔๔๐ - ๒๕๖๕)ประเดน็ และความท้าทาย

บรบรรณรณานากุนรุกมรม

ชยั อนนั ต์ สมุทวณชิ , 100 ปีแห่งการปฏริ ปู ระบบราชการ: ววิ ฒั นาการ
อานาจรัฐและอานาจการเมือง. กรุงเทพฯ: โครงการ
เผยแพร่ผลงานวิจัย, ฝ่ายวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
2535

นิธิ เอียวศรีวงศ์, “วัฒนธรรมเผด็จการไทย (1)” มติชนสุดสัมดาห์.
ปีที่ 42 ฉ บับ ที่ 2151, 5-11 พ ฤ ศ จิก า ย น 2564:
หน้า 28-29

ณัฐพล ใจจริง, ขุนศึก ศักดินา และพญาอินทรี: การเมืองไทย
ภายใต้ระเบียบโลกของสหรัฐอเมริกา 2491-2500.
กรงุ เทพฯ: สนพ. ฟา้ เดยี วกนั , 2563

ธเนศวร์ เจริญเมือง, จากโลกานุวัตรถึงโลกาภิวัตน.์ เอกสารลาดับ
ที่ 7 เชียงใหม่: โครงการศึกษาการปกครองท้องถิ่น คณะ
สงั คมศาสตร,์ มหาวิทยาลยั เชยี งใหม,่ ตลุ าคม 2537

ดวงจันทร์ อาภาวัชรุตม์, เชียงใหม่: เอกนครระดับภาค. เอกสาร
ชุดปฏิรูปการปกครองท้องถ่ิน ลาดับที่ 3 โครงการศึกษา
การปกครองท้องถิ่น คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
มนี าคม 2538

255125 ปี การปกครองท้องถิ่นไทย (พ.ศ. 2440–2565) และก้าวต่อไปสศู่ ตวรรษใหม่

ธเนศวร์ เจริญเมือง. ปรินส์รอยฯ 131 ปี (พ.ศ. 2430-2561).
เชียงใหม่: PRC Philos 66 & PRC Eternity 68 et. al,

สงิ หาคม 2561

อภิชาต สถิตนิรามัย, รัฐธรรมนูญ, การกระจายอานาจ และการมี
ส่วนร่วมของประชาชน. เชียงใหม่: สานักงานกองทุน
สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สถาบันศึกษา

นโยบายสาธารณะ, มหาวิทยาลยั เชียงใหม,่ 2555.

ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์, “การเมืองในกระบวนการกระจายอานาจ:

ศึกษาผ่านบทบาทของนักวิชาการ, ข้าราชการ, นักการเมือง

และประชาชน.” วารสารธรรมศาสตร์. ปีที่ 32 ฉบับท่ี 1
มกราคม-เมษายน 2556

วรวิทย์ ไชยทอง, “การเมืองท้องถิ่นยุค คสช.: คุยกับ ‘วีระศักดิ์

เครือเทพ’ การเมืองท้องถิ่น-กระจายอานาจ 4 ปี คสช.

ก้าวหน้า vs ถอยหลัง.” มติชนออนไลน์. 27 สิงหาคม
2561

เจิมศักดิ์ ป่ินทอง, รายการ “ขอคิดด้วยคน” 14 พฤษภาคม 2561

อา้ งใน นสพ. แนวหน้า. 16 พ.ย. 2564
Hambleton, Robin., Hank V. Savitch, & Murray Stewart, eds.

Globalism and Local Democracy: Challenge and
Change in Europe and North America. London:
Palgrave Macmillan, 2003

256 ๑๒๕ ปี การปกครองท้องถ่ินไทย พ.ศ. ๒๔๔๐ - ๒๕๖๕
ท้องถ่ินในรอบ ๑๒๔ ปี (พ.ศ. ๒๔๔๐ - ๒๕๖๕)ประเดน็ และความท้าทาย

Jay, Antony. Oxford Dictionary of Political Quotations.
Oxford: Oxford University Press, 1999

Kloppenberg, James T. Toward Democracy: The Struggle
for Self-Rule in European and American Thought.
Oxford: Oxford University Press, 2016

Terwiel, B.J. Thailand’s Political History from the 13th
Century to Recent Times. Bangkok: River Books,
2011, revised edition.

Tanet Charoenmuang, Thailand: A Late Decentralizing
Country. Chiang Mai: Urban Development Institute
Foundation (UDIF), 2006.

257125 ปี การปกครองท้องถ่ินไทย (พ.ศ. 2440–2565) และก้าวต่อไปสศู่ ตวรรษใหม่

Jay, Antony. Oxford Dictionary of Political Quotations.
Oxford: Oxford University Press, 1999

Kloppenberg, James T. Toward Democracy: The Struggle
for Self-Rule in European and American Thought.
Oxford: Oxford University Press, 2016

Terwiel, B.J. Thailand’s Political History from the 13th
Century to Recent Times. Bangkok: River Books,
2011, revised edition.

Tanet Charoenmuang, Thailand: A Late Decentralizing
Country. Chiang Mai: Urban Development Institute
Foundation (UDIF), 2006.


Click to View FlipBook Version