The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

รวมคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ แผนกคดีล้มละลาย

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by achirapong.art, 2022-09-22 05:44:23

รวมคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ แผนกคดีล้มละลาย

รวมคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ แผนกคดีล้มละลาย

ธนาคารกสกิ รไทย จำกดั (มหาชน) มหี นงั สอื ใหโ จทกช ำระหนต้ี ามหนงั สอื คำ้ ประกนั เมอ่ื วนั ท่ี ๑๓
กรกฎาคม ๒๕๕๙ โจทกไดชำระหนี้คาประกันชดเชยใหแกธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
เปน เงิน ๒,๙๒๖,๒๐๐ บาท โจทกจ ึงรับชวงสิทธิจากธนาคารกสกิ รไทย จำกัด (มหาชน) ไลเบย้ี
ใหจำเลยชำระคืนเปนตนเงิน ๒,๙๒๖,๒๐๐ บาท พรอมดอกเบี้ยอัตรารอยละ ๗.๕ ตอป
ของตนเงินดังกลาว นับแตวันที่โจทกไดชำระเงินใหแกเจาหนี้ของจำเลยไปจนถึงวันฟอง
(ฟอ งวนั ท่ี ๓ สงิ หาคม ๒๕๖๓) คดิ เปน ดอกเบย้ี ๘๙๑,๐๖๑.๘๙ บาท รวมเปน ตน เงนิ และดอกเบย้ี
๓,๘๑๗,๒๕๑.๘๙ บาท

มีปญหาท่ีตอ งวนิ ิจฉยั วา จำเลยมหี นส้ี ินลนพนตวั หรอื ไม เห็นวา ขณะโจทกสง หนังสอื
ทวงถามครั้งที่ ๑ ลงวันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๖๓ จำเลยมีภูมิลำเนาอยูบานเลขที่ ๑๓๒/๓๗๒
ตำบลบางเสาธง อำเภอบางเสาธง จงั หวัดสมุทรปราการ พนกั งานไปรษณียรายงานผลการสง
ทห่ี นา ซองหนงั สอื ทวงถามวา ไมมผี รู ับตามจา หนา แตต อมาวนั ที่ ๒๔ กมุ ภาพนั ธ ๒๕๖๓ ซ่ึงเปน
วนั หลงั จากโจทกม กี ารสง หนงั สอื ทวงถามใหจ ำเลยโดยชอบไมถ งึ ๓๐ วนั ไดม กี ารยา ยทอ่ี ยขู อง
จำเลยออกจากบา นเลขทด่ี งั กลา วเขา ไปอยใู นทะเบยี นบา นกลางเปน การถาวร โดยไมม กี ารแจง
ใหโจทกซึ่งเปนเจาหนี้ทราบ กรณีถือไดวาเปนการจงใจหลีกเลี่ยงหลบซอนโจทกไมใหทำการ
ติดตามทวงถามไดถูกตอง ทั้งในเวลาโจทกฟองคดีนี้ ก็สงหมายเรียกและสำเนาคำฟองใหแก
จำเลยไมได จนตองประกาศหนังสือพิมพ ดังนี้ ถือไดวาจำเลยไดไปเสียจากเคหสถานที่เคยอยู
เพื่อประวิงการชำระหนี้หรือมิใหเจาหนี้ไดรับชำระหนี้ พฤติการณของจำเลยจึงตองดวยขอ
สันนิษฐานตามกฎหมายวาเปนผูมีหนี้สินลนพนตัว ตามพระราชบัญญัติลมละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓
มาตรา ๘ (๔) ข แลว กรณีไมจำตองวินิจฉัยอีกวา ลูกหนี้ไมมีทรัพยสินอยางหนึ่งอยางใดที่จะ
พงึ ยดึ มาชำระหนไี้ ด หรือลกู หน้ีไดร ับหนังสอื ทวงถามจากเจา หน้ีใหช ำระหนีแ้ ลวไมน อยกวา สอง
ครง้ั ซง่ึ มรี ะยะเวลาหา งกนั ไมน อ ยกวา สามสบิ วนั และลกู หนไ้ี มช ำระหน้ี อนั ตอ งดว ยขอ สนั นษิ ฐาน
วามีหนี้สินลนพนตัว ตามมาตรา ๘ (๕) (๙) หรือไม ทั้งนี้ เพราะโจทกสามารถนำสืบใหเขาขอ
สันนิษฐานตามมาตรา ๘ อนุมาตราหนึ่งอนุมาตราใดก็ได จำเลยมีหนาที่นำพยานหลักฐานมา
สืบหักลางขอสันนิษฐานดังกลาว เมื่อจำเลยไมนำสืบพยาน ขอเท็จจริงจึงรับฟงไดวา จำเลยมี
หน้ีสนิ ลน พนตวั และเมอื่ ปรากฏวา จำเลยเปน หนีโ้ จทกตัง้ แตป ๒๕๕๙ แตไมเ คยชำระหนีใ้ หแก
โจทกเ ลย จึงไมมีเหตอุ ื่นทีไ่ มสมควรใหจำเลยลม ละลาย ทีศ่ าลลม ละลายกลางมีคำพพิ ากษา
ยกฟอ งโจทกม านน้ั ไมต อ งดว ยความเหน็ ของศาลอทุ ธรณค ดชี ำนญั พเิ ศษ อทุ ธรณข องโจทกฟ ง ขน้ึ

๔๓

พิพากษากลับ ใหพิทักษทรัพยของจำเลยเด็ดขาดตามพระราชบัญญัติลมละลาย
พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๑๔ และใหจ ำเลยใชค า ฤชาธรรมเนยี มทง้ั สองศาลแทนโจทก โดยใหห กั จาก
กองทรพั ยส นิ ของจำเลย เฉพาะคา ทนายความใหเ จา พนกั งานพทิ กั ษท รพั ยก ำหนดตามทเ่ี หน็ สมควร.

(พูนศกั ด์ิ เขม็ แซมเกษ - จกั รพนั ธ สอนสภุ าพ - ปฏิกรณ คงพิพิธ)

รตมิ า ชัยสุโรจน - ยอ
วิรตั น วศิ ิษฏวงศกร - ตรวจ

หมายเหตุ คดถี ึงท่สี ดุ

๔๔

คำพพิ ากษาศาลอุทธรณค ดชี ำนญั พิเศษท่ี ๕๕/๒๕๖๕ ธนาคารพฒั นาวสิ าหกจิ

ขนาดกลางและขนาดยอม

แหงประเทศไทย โจทก

บริษทั เนินตองกรุป

จำกัด กับพวก จำเลย

ป.ว.ิ พ. มาตรา ๑๔๑ (๕), ๒๔๕ (๑)

พ.ร.บ. ลม ละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๖, ๙, ๑๐ (๒), ๑๔

พ.ร.บ. จดั ตงั้ ศาลลม ละลายและวิธีพิจารณาคดลี มละลาย พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๒๘/๑

จำเลยที่ ๒ มิไดเปนผูรับมอบอำนาจของจำเลยที่ ๓ จึงไมมีอำนาจยื่นอุทธรณ
แทนจำเลยท่ี ๓ คำสง่ั รบั อทุ ธรณข องจำเลยท่ี ๓ ซง่ึ อทุ ธรณร วมมาในฉบบั เดยี วกบั จำเลย
อื่นอีก ๔ คน เปนการไมชอบ ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษไมรับวินิจฉัยอุทธรณของ
จำเลยท่ี ๓

โจทกเปนเจาหนี้มีประกันของจำเลยที่ ๑ ตาม พ.ร.บ. ลมละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓
มาตรา ๖ การฟองจำเลยที่ ๑ โจทกตองปฏิบัติตามมาตรา ๑๐ (๒) โดยตองกลาวในฟอง
เกี่ยวกับหลักประกันสิ่งปลูกสรางวา ถาจำเลยที่ ๑ ลมละลายแลว โจทกจะยอมสละ
หลักประกันเพื่อประโยชนแกเจาหนี้ทั้งหลาย หรือตีราคาหลักประกันมาในฟองซึ่งเมื่อ
หักกับจำนวนหนี้ของโจทกแลว เงินยังขาดอยูสำหรับจำเลยที่ ๑ เปนจำนวนไมนอยกวา
สองลานบาท แตโจทกไมไดบรรยายฟองใหปรากฏขอความตามบทบัญญัติดังกลาว
คำฟองของโจทกสำหรับจำเลยที่ ๑ จึงไมชอบที่ศาลจะรับไวพิจารณา แมจำเลยที่ ๑ มิได
ใหการตอสูและไมไดยกขึ้นอางในชั้นนี้ แตเปนปญหาอันเกี่ยวดวยความสงบเรียบรอย
ของประชาชน ศาลอทุ ธรณค ดชี ำนญั พเิ ศษยกขน้ึ วนิ จิ ฉยั ได ตาม ป.ว.ิ พ. มาตรา ๑๔๒ (๕)
ประกอบ พ.ร.บ. จดั ตง้ั ศาลลม ละลายและวธิ พี จิ ารณาคดลี ม ละลาย พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๒๘/๑
คำสั่งของศาลลม ละลายกลางท่พี ทิ ักษท รัพยของจำเลยที่ ๑ จึงไมชอบ

พ.ร.บ. ลมละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๑๐ (๒) ใหสิทธิเจาหนี้มีประกันฟองคดี
ลมละลายไดโดยตีราคาหลักประกันมาในฟองหักกับจำนวนหนี้ มิไดบัญญัติใหเจาหนี้
มปี ระกนั ตอ งบงั คบั ชำระหนจ้ี ากหลกั ประกนั กอ น แลว นำหนท้ี เ่ี หลอื มาฟอ งเปน คดลี ม ละลาย
เมอ่ื โจทกย งั มไิ ดร บั ชำระหนต้ี ามคำพพิ ากษาจนครบถว น และยงั มหี นค้ี า งชำระอนั เปน หน้ี
ที่อาจกำหนดจำนวนไดโดยแนนอนไมนอยกวาหนึ่งลานบาทสำหรับจำเลยที่เปนบุคคล

๔๕

ธรรมดาและจำนวนไมน อ ยกวา สองลา นบาทสำหรบั จำเลยทเ่ี ปน นติ บิ คุ คล จงึ เขา หลกั เกณฑ
ที่โจทกจะฟองคดีลมละลายได ตาม พ.ร.บ. ลมละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๙ แมขณะที่
โจทกฟ อ งคดนี ย้ี งั มไิ ดข ายทอดตลาดหลกั ประกนั ทง้ั หมดตามคำพพิ ากษาในคดแี พง โจทก
กม็ ีสทิ ธนิ ำหน้ีตามคำพิพากษาคดีแพง มาฟอ งขอใหจำเลยท่ี ๒ ที่ ๔ และที่ ๕ ลมละลาย

เจาพนักงานบังคับคดีดำเนินการกำหนดราคาทรัพยเพื่อขายทอดตลาดที่ดิน
จำนองที่ยึดท้งั เกาแปลงใหมโดยไดเปรียบเทยี บกบั ราคาประเมนิ ของกรมทด่ี ินและราคา
ตลาด ซง่ึ ปรากฏวา ทด่ี นิ ทง้ั เกา แปลงรวมสง่ิ ปลกู สรา งทย่ี ดึ มรี าคารวม ๑๑๘,๔๖๒,๒๖๐ บาท
ซง่ึ มจี ำนวนสงู กวา หนท้ี ฝ่ี า ยจำเลยคา งชำระแกโ จทกต ามฟอ งมาก โจทกจ งึ มที างทจ่ี ะบงั คบั
ชำระหนี้จากหลักประกันของลูกหนี้รวมตามคำพิพากษาไดเต็มจำนวนหนี้ และจะมีผล
ใหหนี้ตามคำพิพากษาของฝายจำเลยซึ่งเปนลูกหนี้รวมตามคำพิพากษาคนอื่นระงับสิ้น
ไปดวย กรณีถือวามีเหตุที่ไมควรใหจำเลยที่ ๒ ที่ ๔ และที่ ๕ ลมละลาย ตาม พ.ร.บ.
ลม ละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๑๔ และเนอ่ื งจากจำเลยท่ี ๓ ตอ งรว มรบั ผดิ กบั จำเลยท่ี ๒
ท่ี ๔ และท่ี ๕ ในมลู หนต้ี ามคำพพิ ากษาดงั กลา วดว ย คำสง่ั พทิ กั ษท รพั ยเ ดด็ ขาดทอ่ี ทุ ธรณ
นน้ั เกย่ี วดว ยการชำระหนอ้ี นั ไมอ าจแบง แยกได ศาลอทุ ธรณค ดชี ำนญั พเิ ศษพพิ ากษาถงึ
จำเลยที่ ๓ ได ตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๒๔๕ (๑) ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลลมละลายและ
วิธพี จิ ารณาคดีลม ละลาย พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๒๘/๑

_____________________________

โจทกฟองขอใหมีคำสั่งพิทักษทรัพยของจำเลยทั้งหาเด็ดขาดและพิพากษาใหเปน
บคุ คลลม ละลาย

จำเลยทั้งหาใหก ารขอใหยกฟอง
ศาลลม ละลายกลางมีคำสง่ั พิทกั ษทรพั ยข องจำเลยทง้ั หา เดด็ ขาด ตามพระราชบญั ญตั ิ
ลม ละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๑๔ และใหจ ำเลยทงั้ หาใชค า ฤชาธรรมเนยี มแทนโจทก โดยหกั
จากกองทรัพยสินของจำเลยทั้งหา เฉพาะคาทนายความใหเจาพนักงานพิทักษทรัพยกำหนด
ตามทเี่ หน็ สมควร
จำเลยท้ังหาอทุ ธรณ
ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษแผนกคดีลมละลายวินิจฉัยวา สำหรับอุทธรณของจำเลย
ท่ี ๓ ซึ่งอทุ ธรณร วมมาในฉบบั เดียวกนั กบั จำเลยอนื่ อกี ๔ คน โดยจำเลยท่ี ๒ ลงลายมอื ชือ่ เปน

๔๖

ผูอุทธรณและระบุวาเปนผูรับมอบอำนาจจากจำเลยทั้งหานั้น ไมปรากฏในสำนวนวาจำเลยที่ ๓
ไดม อบอำนาจใหจ ำเลยท่ี ๒ ดำเนนิ คดแี ทน จำเลยท่ี ๒ จงึ มไิ ดเ ปน ผรู บั มอบอำนาจของจำเลยท่ี ๓
ในการดำเนินคดีแทน และไมมีอำนาจยื่นอุทธรณแทนจำเลยที่ ๓ ที่ศาลลมละลายกลางมีคำสั่ง
รับอุทธรณของจำเลยที่ ๓ มาดวย เปนการไมชอบ ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษไมรับวินิจฉัย
อทุ ธรณข องจำเลยที่ ๓

คดีในสวนจำเลยที่ ๑ ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษเห็นสมควรวินิจฉัยกอนวา คำฟอง
โจทกสำหรับจำเลยที่ ๑ ชอบดวยกฎหมายหรือไม เห็นวา มูลหนี้ที่โจทกนำมาฟองคดีนี้เปนหนี้
ตามคำพิพากษาคดีหมายเลขแดงที่ ธ.๕๔/๒๕๕๓ ของศาลแพง ซึ่งปรากฏตามสำเนาคำฟอง
คดีแพง ขอ ๙.๒ วา จำเลยที่ ๑ จำนองสิ่งปลูกสรางอาคารคอนกรีตเลขที่ ๗๓/๑๐๗ และเลขที่
๗๓/๑๓๖ หมูที่ ๓ ตำบลกมลา อำเภอกะทู จังหวัดภูเก็ต เปนประกันหนี้แกโจทก สิ่งปลูกสราง
ที่จำนองนี้ตรงกับที่ระบุในสำเนาหนังสือสัญญาจำนองสิ่งปลูกสรางเปนประกัน ทั้งตามสำเนา
คำพิพากษา ศาลแพงมีคำพิพากษาใหโจทกบังคับจำนองยึดสิ่งปลูกสรางที่จำนองรายนี้ของ
จำเลยท่ี ๑ ตามคำฟอ งของโจทก สว นคำฟอ งของโจทกค ดนี ้ี ขอ ๑ หนา ๔ โจทกย งั กลา วดว ยวา
โจทกย งั ไมไ ดด ำเนนิ การบงั คบั คดสี ง่ิ ปลกู สรา งทจ่ี ำนองของจำเลยท่ี ๑ แสดงใหเ หน็ วา สง่ิ ปลกู สรา ง
ที่จำนองรายนี้ยังคงเปนประกันหนี้แกโจทกอยู โจทกจึงเปนเจาหนี้มีประกันของจำเลยที่ ๑ ตาม
พระราชบัญญัติลมละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๖ การฟองจำเลยที่ ๑ โจทกตองปฏิบัติตาม
มาตรา ๑๐ (๒) โดยตอ งกลา วในฟอ งเกย่ี วกบั หลกั ประกนั สง่ิ ปลกู สรา งวา ถา จำเลยท่ี ๑ ลม ละลาย
แลว โจทกจ ะยอมสละหลกั ประกนั เพอ่ื ประโยชนแ กเ จา หนท้ี ง้ั หลาย หรอื ตรี าคาหลกั ประกนั มาใน
ฟอง ซง่ึ เม่ือหกั กบั จำนวนหน้ขี องโจทกแ ลว เงนิ ยังขาดอยสู ำหรับจำเลยท่ี ๑ เปนจำนวนไมน อ ย
กวา สองลา นบาท แตโจทกไ มไดบ รรยายฟอ งใหป รากฏขอความตามบทบัญญัติดงั กลา ว คำฟอง
ของโจทกส ำหรบั จำเลยท่ี ๑ จงึ ไมช อบทศ่ี าลจะรบั ไวพ จิ ารณา แมจ ำเลยท่ี ๑ มไิ ดใ หก ารตอ สแู ละ
ไมไ ดย กขน้ึ อา งในชน้ั น้ี แตเ ปน ปญ หาขอ กฎหมายอนั เกย่ี วดว ยความสงบเรยี บรอ ยของประชาชน
ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษยกขึ้นวินิจฉัยได ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพง
มาตรา ๑๔๒ (๕) ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลลมละลายและวิธีพิจารณาคดีลมละลาย
พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๒๘/๑ คำสง่ั ของศาลลม ละลายกลางทพ่ี ทิ กั ษท รพั ยข องจำเลยท่ี ๑ จงึ ไมช อบ
กรณีไมจำตองพิจารณาอุทธรณของจำเลยที่ ๑ คงมีปญหาที่ตองพิจารณาเฉพาะอุทธรณของ
จำเลยที่ ๒ ท่ี ๔ และท่ี ๕ ตอ ไป

ทจ่ี ำเลยท่ี ๒ ท่ี ๔ และท่ี ๕ อทุ ธรณว า การทโ่ี จทกไ ดร บั ยกเวน ไมต อ งปด อากรแสตมป
ในหนังสือมอบอำนาจและหนังสือมอบอำนาจชวงตามพระราชกฤษฎีกา เปนการขัดตอหลัก

๔๗

ความเสมอภาค ไมช อบดว ยรฐั ธรรมนญู นน้ั เหน็ วา เปน ขอ ทเ่ี พง่ิ ยกขน้ึ อา งในอทุ ธรณ มไิ ดโ ตแ ยง
ไวในคำใหการของจำเลย จึงไมไดยกขึ้นวากันมาแลวโดยชอบในศาลลมละลายกลาง เปนขอ
อุทธรณที่มิชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพง มาตรา ๒๒๕ วรรคหนึ่ง ประกอบ
พระราชบัญญัติจัดตั้งลมละลายและวิธีพิจารณาคดีลมละลาย พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๒๔
ศาลอุทธรณค ดชี ำนญั พเิ ศษไมรบั วินิจฉยั อทุ ธรณของจำเลยท่ี ๒ ท่ี ๔ และท่ี ๕ ในสว นน้ี

ปญ หาทต่ี อ งวนิ จิ ฉยั ตามอทุ ธรณข องจำเลยท่ี ๒ ท่ี ๔ และท่ี ๕ มเี พยี งขอ เดยี ววา โจทก
มสี ทิ ธนิ ำหนต้ี ามคำพพิ ากษาคดแี พง มาฟอ งขอใหจ ำเลยดงั กลา วลม ละลายหรอื ไม เหน็ วา แมใ น
การบังคับคดี โจทกจะตองบังคับชำระหนี้จากหลักประกันกอนตามคำพิพากษาในคดีแพงก็ตาม
แตเปนเรื่องของการบังคับคดีซึ่งเจาหนี้ตามคำพิพากษาตองดำเนินการตามลำดับขั้นตอนที่
คำพิพากษากำหนด สวนการฟองคดีลมละลาย มิใชเปนการฟองเพื่อบังคับทรัพยสินของลูกหนี้
ชำระหนี้แกเจาหนี้ดังเชนคดีแพงทั่วไป เนื่องจากเปนการฟองเพื่อจัดการทรัพยสินของลูกหนี้
ตามกระบวนการที่กฎหมายลมละลายกำหนด และเพื่อประโยชนแกเจาหนี้ทั้งหลาย มิใชเฉพาะ
แกเจาหนี้ผูเปนโจทกเทานั้น จึงเปนเรื่องการใชสิทธิตามกฎหมายคนละสวนกัน และไมถือวา
ขดั แยงกนั ประกอบกับแมแ ตล ูกหนี้คนทม่ี หี ลกั ประกันใหไ วแ กเจา หน้ี พระราชบญั ญตั ิลม ละลาย
พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๑๐ (๒) ก็ยังใหสิทธิเจาหนี้มีประกันฟองคดีลมละลายได โดยตีราคาหลัก
ประกันมาในฟองหักกับจำนวนหนี้ มิไดบัญญัติใหเจาหนี้มีประกันตองบังคับชำระหนี้จากหลัก
ประกันกอน แลวนำหนี้ที่เหลือมาฟองเปนคดีลมละลาย ดังนี้ เมื่อโจทกยังมิไดรับชำระหนี้ตาม
คำพิพากษาจนครบถวน และยังมีหนี้คางชำระอันเปนหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนไดโดยแนนอน
ไมน อ ยกวา หนง่ึ ลา นบาทสำหรบั จำเลยท่ี ๒ และท่ี ๔ และจำนวนไมน อ ยกวา สองลา นบาท สำหรบั
จำเลยที่ ๕ กับขอเท็จจริงฟงไดตามคำสั่งของศาลลมละลายกลางวา จำเลยดังกลาวมีหนี้สินลน
พน ตวั จงึ เขา หลกั เกณฑท โ่ี จทกจ ะฟอ งคดลี ม ละลายไดต ามพระราชบญั ญตั ลิ ม ละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓
มาตรา ๙ แมข ณะทโ่ี จทกฟ อ งคดนี ย้ี งั มไิ ดข ายทอดตลาดหลกั ประกนั ทง้ั หมดตามคำพพิ ากษาใน
คดีแพง โจทกก็มีสิทธินำหนี้ตามคำพิพากษาคดีแพงมาฟองขอใหจำเลยที่ ๒ ที่ ๔ และที่ ๕
ลม ละลาย อุทธรณของจำเลยที่ ๒ ท่ี ๔ และท่ี ๕ ฟง ไมข ึ้น

ปญ หาทต่ี อ งวนิ จิ ฉยั ตอ ไปมวี า กรณมี เี หตทุ ไ่ี มค วรใหจ ำเลยท่ี ๒ ท่ี ๔ และท่ี ๕ ลม ละลาย
หรือไม เห็นวา โจทกประเมินราคาที่ดินที่ยึดภายหลังจากเจาพนักงานบังคับคดียึดไวถึงหกป
แตกลับมีราคาต่ำกวาราคาประเมินของเจาพนักงานบังคับคดีมาก และไมปรากฏวาไดพิจารณา
ราคาตลาดที่มีการซื้อขายกันจริง ทั้งโจทกมิไดนำผูประเมินราคามานำสืบใหเห็นวาการประเมิน
ราคาของโจทกม ีหลกั เกณฑห รอื วธิ ีการทน่ี าเช่ือถือและรบั ฟงได สวนฝายจำเลยมสี ำเนารายงาน

๔๘

ระเบียบวาระการประชุมคณะกรรมการกำหนดราคาทรัพย สำนักงานบังคับคดีจังหวัดภูเก็ต
มาแสดงวา เจาพนักงานบังคับคดีดำเนินการกำหนดราคาทรัพยเพื่อขายทอดตลาดที่ดินจำนอง
ที่ยึดทั้งเกาแปลงใหมเมื่อวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๖๑ โดยไดเปรียบเทียบกับราคาประเมินของ
กรมที่ดินและราคาตลาดดวย ซึ่งปรากฏวาที่ดินทั้งเกาแปลงรวมสิ่งปลูกสรางที่ยึดมีราคารวม
๑๑๘,๔๖๒,๒๖๐ บาท เมอ่ื การประเมนิ ราคาใหมด งั กลา วเปน การดำเนนิ การตามวธิ ปี ฏบิ ตั ใิ นการ
บงั คบั คดตี ามกฎกระทรวงและคำสง่ั กรมบงั คบั คดใี นเรอ่ื งน้ี และเจา พนกั งานบงั คบั คดจี ะใชร าคา
ประเมนิ ใหมป ระกอบการขายทอดตลาดทรพั ยต อ ไป จงึ ฟง ไดว า ทด่ี นิ เกา แปลงทย่ี ดึ พรอ มสง่ิ ปลกู สรา ง
มีราคาตามที่ประเมินใหม ซึ่งมีจำนวนสูงกวาหนี้ที่ฝายจำเลยคางชำระแกโจทกตามฟองมาก
โจทกจ งึ มที างทจ่ี ะบงั คบั ชำระหนจ้ี ากหลกั ประกนั ของนายอาจลกู หนร้ี ว มตามคำพพิ ากษาไดเ ตม็
จำนวนหนี้ และจะมีผลใหหนี้ตามคำพิพากษาของฝายจำเลยซึ่งเปนลูกหนี้รวมตามคำพิพากษา
คนอื่นระงับสิ้นไปดวย กรณีถือวามีเหตุที่ไมควรใหจำเลยที่ ๒ ที่ ๔ และที่ ๕ ลมละลาย ตาม
พระราชบัญญัติลมละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๑๔ และเนื่องจากจำเลยที่ ๓ ตองรวมรับผิดกับ
จำเลยที่ ๒ ที่ ๔ และที่ ๕ ในมูลหนี้ตามคำพิพากษาดังกลาวดวย คำสั่งพิทักษทรัพยเด็ดขาดที่
อุทธรณนั้นเกี่ยวดวยการชำระหนี้อันไมอาจแบงแยกได ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษพิพากษา
ถึงจำเลยที่ ๓ ได ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพง มาตรา ๒๔๕ (๑) ประกอบ
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลลมละลายและวิธีพิจารณาคดีลมละลาย พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๒๘/๑
ทศ่ี าลลม ละลายกลางมคี ำสง่ั พทิ กั ษท รพั ยข องจำเลยท่ี ๒ ถงึ ท่ี ๕ นน้ั ศาลอทุ ธรณค ดชี ำนญั พเิ ศษ
ไมเห็นพอ งดวย

อนง่ึ ทผ่ี รู บั มอบอำนาจจำเลยท่ี ๑ ท่ี ๒ ท่ี ๔ และท่ี ๕ ยน่ื คำรอ งขอระบพุ ยานเพม่ิ เตมิ
ชั้นอุทธรณพรอมบัญชีพยานลงวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ นั้น ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษ
เหน็ วา ไมม เี หตจุ ำเปน ทจ่ี ะรบั ฟง พยานหลกั ฐานตามคำรอ งเนอ่ื งจากไดว นิ จิ ฉยั พยานหลกั ฐานอน่ื
ซึ่งเพยี งพอใหรบั ฟง แลว จึงไมอนญุ าตใหจำเลยดังกลาวอางพยานหลักฐานเพ่ิมเตมิ ในช้ันน้ี

พิพากษากลับ ใหยกฟองโจทก และยกอุทธรณของจำเลยที่ ๓ คาฤชาธรรมเนียม
ทงั้ สองศาลใหเปน พบั .

(องอาจ งามมีศรี - ฐานติ ศริ ิจันทรสวา ง - วเิ ชยี ร วชิรประทีป)

หมายเหตุ คดีถงึ ทีส่ ุด รติมา ชยั สุโรจน - ยอ
วริ ตั น วศิ ษิ ฏวงศกร - ตรวจ

๔๙

คำพพิ ากษาศาลอุทธรณคดชี ำนญั พเิ ศษที่ ๕๖/๒๕๖๕ บริษทั บี วนิ ๙๘๘๙ จำกดั

หรือบริษัทโมเดิรน เทจ

เฮาสแอนดดีไซน จำกัด โจทก

นายธราพงษ สขุ ะอาคม

กับพวก จำเลย

พ.ร.บ. ลมละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๙ (๓)

แมสัญญาประนีประนอมยอมความจะกำหนดจำนวนเงนิ คา เสยี หายไวแ นน อน
หากผิดสัญญาจำเลยทั้งสองจะชดใชเงินเปนจำนวน ๒๐,๘๕๕,๑๑๔.๖๔ บาท แตหนี้ที่จะ
ตองชำระเงินจำนวนดังกลาวจะเกิดขึ้นตอเมื่อจำเลยทั้งสองผิดสัญญาประนีประนอม
ยอมความ ซึ่งขอเท็จจริงเพียงวาศาลแรงงานภาค ๖ ออกหมายบังคับคดียังไมอาจฟง
เปน ยตุ ไิ ดว า จำเลยทง้ั สองผดิ สญั ญาประนปี ระนอมยอมความและมหี นเ้ี งนิ ทต่ี อ งชำระเงนิ
ใหแกโจทก เพราะจำเลยทั้งสองยังโตแยงวาตนมิไดผิดสัญญาและขอใหเพิกถอนหมาย
บังคับคดีอยู ปญหาวาจำเลยทั้งสองผิดสัญญาประนีประนอมยอมความแลวหรือไมเปน
ประเดน็ ทย่ี งั โตแ ยง กนั อยใู นชน้ั บงั คบั คดี ดงั จะเหน็ ไดจ ากรายงานกระบวนพจิ ารณาของ
ศาลแรงงานภาค ๖ ทแ่ี มจ ำเลยทง้ั สองจะถอนคำรอ งขอใหเ พกิ ถอนหมายบงั คบั คดแี ตก ย็ งั
แถลงยืนยันวา ตนไมไ ดผ ดิ สัญญาประนปี ระนอมยอมความ และหากฝายโจทกจะดำเนนิ
การบงั คบั คดี ฝา ยจำเลยทง้ั สองกจ็ ะโตแ ยง คดั คา นในภายหลงั ขอ โตแ ยง ดงั กลา วเปน เรอ่ื ง
ที่คูความจะตองไปดำเนินการที่ศาลแรงงานภาค ๖ ซึ่งเปนศาลที่ออกหมายบังคับคดี
เพื่อใหไดขอยุติกอนวาจำเลยทั้งสองผิดสัญญาประนีประนอมยอมความหรือไม ในชั้นนี้
หนี้ตามคำพิพากษาตามยอมดังกลาวจึงยังไมอาจกำหนดจำนวนไดโดยแนนอนตาม
พ.ร.บ. ลมละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๙ (๓) โจทกจึงฟองขอใหจำเลยทั้งสองเปนบุคคล
ลมละลายไมได

_____________________________

โจทกฟอ งขอใหม คี ำสัง่ พิทักษทรัพยข องจำเลยทง้ั สองเด็ดขาดและพพิ ากษาใหจ ำเลย
ท้งั สองเปนบุคคลลมละลาย

๕๐

จำเลยทง้ั สองใหก ารขอใหยกฟอ ง
ศาลลมละลายกลางมีคำสั่งพิทักษทรัพยจำเลยทั้งสองเด็ดขาด ตามพระราชบัญญัติ
ลมละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๑๔ และใหจำเลยทั้งสองใชคาฤชาธรรมเนียมแทนโจทกโดยให
หกั จากกองทรพั ยส นิ ของจำเลยทง้ั สอง เฉพาะคา ทนายความใหเ จา พนกั งานพทิ กั ษท รพั ยก ำหนด
ตามทเ่ี ห็นสมควร
จำเลยท้งั สองอทุ ธรณ
ศาลอุทธรณคดีชำนญั พิเศษแผนกคดลี ม ละลายวินิจฉัยวา ขอ เท็จจริงเบื้องตนฟงไดวา
เม่ือวนั ท่ี ๑๒ ธันวาคม ๒๕๖๑ โจทกก บั จำเลยท้งั สองและนางผาสขุ ไดท ำสัญญาประนปี ระนอม
ยอมความกันที่ศาลแรงงานภาค ๖ ตกลงใหจำเลยทั้งสองประกอบกิจการตามวัตถุประสงคของ
จำเลยที่ ๒ ในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก พิจิตร สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร และนครสวรรคเทานั้น
โดยใชสถานที่ประกอบกิจการหลักอยูที่จังหวัดพิษณุโลก และจะไมเปดสาขาในจังหวัดพิจิตร
สุโขทยั ตาก กำแพงเพชร และนครสวรรคอกี จำเลยทั้งสองตกลงจะหยุดประกอบกิจการทส่ี าขา
ขอนแกน มีกำหนด ๕ ป นับแตว ันทำสัญญา ซง่ึ ศาลแรงงานภาค ๖ ไดพพิ ากษาตามยอม ตอ มา
วันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๖๒ โจทกยื่นคำรองวาจำเลยทั้งสองผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ
ขอใหศาลออกหมายตั้งเจาพนักงานบังคับคดี ศาลแรงงานภาค ๖ ออกหมายบังคับคดีใหในวัน
ดังกลาว ตอมาวันที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๖๓ จำเลยทั้งสองยื่นคำรองขอใหเพิกถอนหมายบังคับคดี
โดยอา งวา ไมไ ดก ระทำผดิ สญั ญาประนปี ระนอมยอมความ ศาลแรงงานภาค ๖ นดั ไตส วนในวนั ท่ี
๒๑ กรกฎาคม ๒๕๖๓ เมื่อถึงวันนัดจำเลยทั้งสองแถลงยืนยันวาไมไดผิดสัญญาประนีประนอม
ยอมความ และขอถอนคำรองขอเพิกถอนหมายบังคับคดีโดยแถลงวาหากโจทกดำเนินการ
บังคับคดี ฝายจำเลยทั้งสองจะโตแยงคัดคานตอศาลในภายหลัง ศาลแรงงานภาค ๖ อนุญาต
ใหถอนคำรองไดโดยกำชับฝายโจทกวาหากจะมีการบังคับคดีโดยกลาวอางวามีการผิดสัญญา
ประนปี ระนอมยอมความในขอ ใดขอ หนง่ึ ตอ งดำเนนิ การบงั คบั คดใี หเ ปน ไปตามกฎหมาย ตอ มา
วันที่ ๙ กันยายน ๒๕๖๓ โจทกจึงมาฟองตอศาลลมละลายกลางเปนคดีนี้ขอใหพิทักษทรัพย
จำเลยทง้ั สองเดด็ ขาด จำเลยทง้ั สองจงึ ยน่ื คำรอ งลงวนั ท่ี ๒ เมษายน ๒๕๖๔ ตอ ศาลแรงงานภาค ๖
ขอใหเ พกิ ถอนหมายบงั คบั คดอี กี ครง้ั ซง่ึ ศาลแรงงานภาค ๖ นดั ไตส วนวนั ท่ี ๔ พฤศจกิ ายน ๒๕๖๔
กอนถึงวันนัดศาลลมละลายกลางมีคำสั่งพิทักษทรัพยเด็ดขาดจำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ ๒๗
พฤษภาคม ๒๕๖๔ คดีมีปญหาที่จะตองวินิจฉัยวา จำเลยทั้งสองเปนหนี้โจทกอันอาจกำหนด
จำนวนไดโ ดยแนน อนแลว หรอื ไม เหน็ วา แมส ญั ญาประนปี ระนอมยอมความจะกำหนดจำนวนเงนิ
คา เสยี หายไวแ นน อนหากผดิ สญั ญาจำเลยทง้ั สองจะชดใชเ งนิ เปน จำนวน ๒๐,๘๕๕,๑๑๔.๖๔ บาท

๕๑

แตหนี้ที่จะตองชำระเงินจำนวนดังกลาวจะเกิดขึ้นตอเมื่อจำเลยทั้งสองผิดสัญญาประนีประนอม
ยอมความ ซึ่งขอเท็จจริงเพียงวาศาลแรงงานภาค ๖ ออกหมายบังคับคดียังไมอาจฟงเปนยุติ
ไดวาจำเลยทั้งสองผิดสัญญาประนีประนอมยอมความและมีหนี้เงินที่ตองชำระใหแกโจทก เพราะ
จำเลยทง้ั สองยงั โตแยงวาตนมิไดผดิ สญั ญาและขอใหเพิกถอนหมายบงั คับคดีอยู ปญ หาวา จำเลย
ทง้ั สองผดิ สญั ญาประนปี ระนอมยอมความแลว หรอื ไมเ ปน ประเดน็ ทย่ี งั โตแ ยง กนั อยใู นชน้ั บงั คบั คดี
ดังจะเห็นไดจากรายงานกระบวนพิจารณาของศาลแรงงานภาค ๖ ลงวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๖๓
ที่แมจำเลยทั้งสองจะถอนคำรองขอใหเพิกถอนหมายบังคับคดีแตก็ยังแถลงยืนยันวาตนไมได
ผดิ สญั ญาประนปี ระนอมยอมความ และหากฝา ยโจทกจ ะดำเนนิ การบงั คบั คดี ฝา ยจำเลยทง้ั สอง
ก็จะโตแยงคัดคานในภายหลัง ขอโตแยงดังกลาวเปนเรื่องที่คูความจะตองไปดำเนินการที่
ศาลแรงงานภาค ๖ ซง่ึ เปน ศาลทอ่ี อกหมายบงั คบั คดี เพอ่ื ใหไ ดข อ ยตุ กิ อ นวา จำเลยทง้ั สองผดิ สญั ญา
ประนปี ระนอมยอมความหรอื ไม ในชน้ั นห้ี นต้ี ามคำพพิ ากษาตามยอมดงั กลา วจงึ ยงั ไมอ าจกำหนด
จำนวนไดโดยแนนอนตามพระราชบัญญัติลมละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๙ (๓) โจทกจึงฟอง
ขอใหจำเลยทั้งสองเปนบุคคลลมละลายไมได ที่ศาลลมละลายกลางมีคำสั่งพิทักษทรัพยเด็ดขาด
จำเลยทง้ั สองมาไมต อ งดว ยความเหน็ ของศาลอทุ ธรณค ดชี ำนญั พเิ ศษ อทุ ธรณข องจำเลยทง้ั สอง
ฟงข้ึน

พิพากษากลับ ใหย กฟอ งโจทก คา ฤชาธรรมเนียมทง้ั สองศาลเปนพบั .

(เพชรนอ ย สมะวรรธนะ - สถาพร วิสาพรหม - เกยี รติคุณ แมนเลขา)

รตมิ า ชยั สุโรจน - ยอ
วิรตั น วิศษิ ฏวงศกร - ตรวจ

๕๒

คำพิพากษาศาลอทุ ธรณคดชี ำนญั พเิ ศษท่ี ๑๖๖๖/๒๕๖๐ บริษัทบริหารสินทรัพย

สขุ มุ วิท จำกดั โจทก

ธนาคารกรงุ เทพ จำกดั

(มหาชน) เจา หนี้

นายวเิ ชยี รหรือ

ธนัชสรณ ศรจี งใจ

กบั พวก จำเลย

ป.พ.พ. มาตรา ๑๙๓/๑๔ (๒), ๑๙๓/๑๗, ๑๙๓/๓๒
ป.วิ.พ. มาตรา ๒๒๕ วรรคหนง่ึ
พ.ร.บ. ลมละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๑๐๗ (๑) เดิม
พ.ร.บ. จดั ต้ังศาลลม ละลายและวธิ ีพิจารณาคดลี ม ละลาย พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๒๘/๑

หนต้ี ามคำพพิ ากษาทเ่ี จา หนน้ี ำมายน่ื คำขอรบั ชำระหนเ้ี ปน สทิ ธเิ รยี กรอ งทเ่ี กดิ ขน้ึ
โดยคำพพิ ากษาของศาลทถ่ี งึ ทส่ี ดุ มกี ำหนดอายคุ วาม ๑๐ ป ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๙๓/๓๒
เมอ่ื ลกู หนท้ี ่ี ๑ ผดิ นดั ชำระหนต้ี ามคำพพิ ากษาตามยอมตง้ั แตง วดแรก เจา หนจ้ี งึ อาจบงั คบั
สิทธิเรียกรองตามคำพิพากษาตามยอมไดนับแตวันที่ ๑ กุมภาพันธ ๒๕๔๐ เปนตนไป
เจาหนี้นำมูลหนี้ดังกลาวมาขอรับชำระหนี้เมื่อวันที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๕๐ จึงพนกำหนด
อายุความ ๑๐ ป

เจาหนี้เพิ่งกลาวอางมาในอุทธรณและแสดงพยานเอกสารที่ไดฟองลูกหนี้ที่ ๑
เปน คดลี ม ละลายมาทา ยอทุ ธรณ เปน การอา งเขา มาภายหลงั จากทเ่ี จา พนกั งานพทิ กั ษท รพั ย
ไดส อบสวนพยานหลกั ฐานเจา หนเ้ี สรจ็ สน้ิ และศาลลม ละลายกลางมคี ำสง่ั ใหย กคำขอรบั
ชำระหนข้ี องเจา หนต้ี าม พ.ร.บ. ลม ละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๑๐๗ (๑) เดมิ แลว จงึ เปน
ขอเท็จจริงที่ไมไดยกขึ้นวากันมาแลวในชั้นสอบสวนของเจาพนักงานพิทักษทรัพยและ
ศาลลม ละลายกลาง ตอ งหา มตาม ป.ว.ิ พ. มาตรา ๒๒๕ วรรคหนง่ึ ประกอบ พ.ร.บ. จดั ตง้ั
ศาลลม ละลายและวิธพี ิจารณาคดีลม ละลาย พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๒๘/๑

เจา หนท้ี ง้ั หลายไมว า จะเปน เจา หนต้ี ามคำพพิ ากษาหรอื เจา หนผ้ี เู ปน โจทกก ต็ าม
มีหนาที่ตองนำพยานหลักฐานมาแสดงตอเจาพนักงานพิทักษทรัพยในชั้นสอบสวนเพื่อ
พสิ จู นใ หเ หน็ วา มลู หนท้ี ย่ี น่ื คำขอรบั ชำระหนย้ี งั คงมอี ยจู รงิ กอ นวนั ทศ่ี าลมคี ำสง่ั พทิ กั ษท รพั ย

๕๓

และลกู หนตี้ องรบั ผดิ ในหนดี้ งั กลา ว มใิ ชห นาท่ีเจา พนักงานพิทักษท รัพยทต่ี องเรียกพยาน
หลักฐานเกี่ยวกับการฟองคดีลมละลายของเจาหนี้หรือเรียกพยานเจาหนี้มาสอบสวน
เพิ่มเติมเพื่อพิสูจนวามูลหนี้ที่ขอรับชำระของเจาหนี้ยังไมขาดอายุความ แมปรากฏวา
พยานเอกสารทีส่ ง ไดแ ก สำเนาคำพิพากษาตามยอม สญั ญาประนีประนอมยอมความ
และบญั ชคี า ฤชาธรรมเนยี ม จะมตี ราประทบั หมายเอกสารของศาลลม ละลายกลางใน
คดลี มละลายทเี่ จาหนเ้ี คยฟองลกู หน้ีท่ี ๑ ปรากฏอยู แตก รณีจะถอื วา อายคุ วามบังคบั สทิ ธิ
เรียกรองของเจาหนส้ี ะดุดหยดุ ลงเพราะเหตเุ จาหน้ีไดฟ องคดลี ม ละลายนน้ั กต็ อ งมิใชเปน
เรื่องที่มีคำพิพากษาถึงที่สุดนั้นใหยกคำฟอง หรือคดีเสร็จไปโดยการจำหนายคดีเพราะ
เหตถุ อนฟอ ง หรอื ทง้ิ ฟอ ง ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๙๓/๑๗ อนั ถอื วา อายคุ วามไมเ คยสะดดุ
หยดุ ลงดวย ซง่ึ ไมใ ชเ รอ่ื งท่ปี รากฏไดจากเอกสารดังกลา ว

______________________________

คดสี ืบเนอ่ื งมาจากศาลลม ละลายกลางมคี ำส่งั พทิ ักษท รพั ยของลกู หนี้ (จำเลย) ทัง้ สอง
เดด็ ขาด เม่ือวนั ท่ี ๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๐

เจา หนย้ี น่ื คำขอรบั ชำระหนใ้ี นมลู หนต้ี ามคำพพิ ากษาตามยอมของศาลจงั หวดั นครปฐม
คดแี พง หมายเลขแดงท่ี ๒๓๐๗/๒๕๓๙ เปน เงนิ ๑๓,๒๕๓,๗๘๒ บาท ในฐานะเจา หนไ้ี มม ปี ระกนั
จากกองทรพั ยสินของลกู หนท้ี ี่ ๑ ตามพระราชบญั ญตั ิลมละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๙๔

เจาพนักงานพิทักษทรัพยนัดตรวจคำขอรับชำระหนี้ ตามพระราชบัญญัติลมละลาย
พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๑๐๔ แลว ไมม ีผใู ดโตแยง คำขอรับชำระหน้ขี องเจาหน้ีรายนี้

เจาพนักงานพิทักษทรัพยยกคำขอรับชำระหนี้ของเจาหนี้รายนี้เสียทั้งสิ้น ตาม
พระราชบญั ญัตลิ มละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๑๐๗ (๑) เดิม

ศาลลมละลายกลางมีคำสั่งใหยกคำขอรับชำระหนี้ของเจาหนี้ตามความเห็นของ
เจา พนักงานพิทกั ษท รพั ย

เจา หน้อี ทุ ธรณ
ศาลอทุ ธรณคดชี ำนัญพเิ ศษแผนกคดีลมละลายวนิ ิจฉัยวา ขอ เทจ็ จรงิ รับฟงไดเ ปน ยตุ ิวา
ลูกหนี้ที่ ๑ เปนหนี้เจาหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพงหมายเลขแดงที่ ๒๓๐๗/๒๕๓๙ ของศาล
จังหวดั นครปฐม ซ่ึงพิพากษาตามยอมเมื่อวันท่ี ๒๖ ธันวาคม ๒๕๓๙ โดยลูกหน้ีที่ ๑ ตกลง
ชำระหน้แี กเจาหนใี้ หเสร็จสิ้นภายในเดอื นมิถุนายน ๒๕๔๐ ดวยการผอนชำระเปน รายเดอื น
เริ่มชำระงวดแรกภายในสิ้นเดือนมกราคม ๒๕๔๐ แตลูกหนี้ที่ ๑ ผิดนัดชำระหนี้ตั้งแตงวดแรก

๕๔

เจาหนี้ไดนำยึดทรัพยหลักประกันออกขายทอดตลาดนำเงินชำระหนี้บางสวนแลว ลูกหนี้ที่ ๑
ยังคงเปน หนีค้ า งชำระเจาหนี้คดิ ถงึ วันพิทกั ษท รัพยเ ปน เงนิ ๑๓,๒๕๓,๗๘๒ บาท

คดมี ปี ญ หาตอ งวนิ จิ ฉยั ตามอทุ ธรณข องเจา หนว้ี า หนต้ี ามคำพพิ ากษาทข่ี อรบั ชำระหน้ี
ขาดอายคุ วามหรอื ไม เหน็ วา หนต้ี ามคำพพิ ากษาทเ่ี จา หนน้ี ำมายน่ื คำขอรบั ชำระหนใ้ี นคดนี เ้ี ปน
สทิ ธเิ รยี กรอ งทเ่ี กดิ ขน้ึ โดยคำพพิ ากษาของศาลทถ่ี งึ ทส่ี ดุ มกี ำหนดอายคุ วาม ๑๐ ป ตามประมวล
กฎหมายแพงและพาณิชย มาตรา ๑๙๓/๓๒ ในการสอบสวนคำขอรับชำระหนี้รายนี้ปรากฏใน
สำนวนคำขอรับชำระหนี้มีพยานหลักฐานที่พิสูจนถึงมูลหนี้ที่ขอรับชำระ ไดแก สำเนาคำฟอง
คำพพิ ากษาตามยอม สญั ญาประนปี ระนอมยอมความ บญั ชคี า ฤชาธรรมเนยี ม บญั ชแี สดงรายการ
รบั จา ยเงนิ ในคดแี พง และบญั ชแี สดงภาระหนส้ี นิ เทา นน้ั ซง่ึ รบั ฟง ไดว า ลกู หนท้ี ่ี ๑ เปน หนเ้ี จา หน้ี
ในมูลหนี้ตามคำพิพากษาดังกลาวจริง เมื่อลูกหนี้ที่ ๑ ผิดนัดชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอม
ตั้งแตงวดแรก เจาหนี้จึงอาจบังคับสิทธิเรียกรองตามคำพิพากษาตามยอมไดนับแตวันที่ ๑
กุมภาพันธ ๒๕๔๐ เปนตนไป เมื่อเจาหนี้นำมูลหนี้ดังกลาวมาขอรับชำระหนี้จากกองทรัพยสิน
ของลูกหนีท้ ี่ ๑ เมื่อวันท่ี ๕ ตุลาคม ๒๕๕๐ จงึ พนกำหนดอายุความ ๑๐ ป ไมมสี ทิ ธิยืน่ คำขอรบั
ชำระหน้ีได

เจาหนี้ไมมีพยานหลักฐานในสำนวนคำขอรับชำระหนี้ที่แสดงใหเห็นชัดเจนวาสิทธิ
เรยี กรอ งตามคำพพิ ากษาทข่ี อรบั ชำระหนน้ี น้ั เจา หนไ้ี ดฟ อ งลกู หนท้ี ่ี ๑ เปน คดลี ม ละลายไวก อ น
หนี้ดังกลาวขาดอายุความ อันเปนเหตุใหอายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพง
และพาณชิ ย มาตรา ๑๙๓/๑๔ (๒) แลว ทง้ั ผรู บั มอบอำนาจของเจา หนท้ี เ่ี ขา ใหถ อ ยคำตอ เจา พนกั งาน
พทิ กั ษท รพั ยใ นการสอบสวนคำขอรบั ชำระหนก้ี ไ็ มไ ดใ หก ารถงึ เรอ่ื งดงั กลา ว เจา พนกั งานพทิ กั ษท รพั ย
จึงตองทำความเห็นไปตามพยานหลักฐานเทาที่ปรากฏในสำนวนการสอบสวนเจาหนี้เพิ่ง
กลาวอางมาในอุทธรณและแสดงพยานเอกสารที่ไดฟองลูกหนี้ที่ ๑ เปนคดีลมละลายมาทาย
อุทธรณ เปนการอางเขามาภายหลังจากที่เจาพนักงานพิทักษทรัพยไดสอบสวนพยานหลักฐาน
เจา หนเ้ี สรจ็ สน้ิ และศาลลม ละลายกลางมคี ำสง่ั ใหย กคำขอรบั ชำระหนข้ี องเจา หนต้ี ามพระราชบญั ญตั ิ
ลม ละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๑๐๗ (๑) เดิม แลว จึงเปน ขอเทจ็ จริงท่ีไมไ ดยกขนึ้ วากนั มาแลว
ในชั้นสอบสวนของเจาพนักงานพิทักษทรัพย และศาลลมละลายกลาง ตองหามตามประมวล
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพง มาตรา ๒๒๕ วรรคหนึ่ง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้ง
ศาลลมละลายและวธิ พี ิจารณาคดีลม ละลาย พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๒๘/๑

การขอรบั ชำระหนใ้ี นคดลี ม ละลาย เจา หนท้ี ง้ั หลายไมว า จะเปน เจา หนต้ี ามคำพพิ ากษา
หรอื เจา หนผ้ี เู ปน โจทกก ต็ าม มหี นา ทต่ี อ งนำพยานหลกั ฐานมาแสดงตอ เจา พนกั งานพทิ กั ษท รพั ย

๕๕

ในชน้ั สอบสวนเพอ่ื พสิ จู นใ หเ หน็ วา มลู หนท้ี ย่ี น่ื คำขอรบั ชำระหนย้ี งั คงมอี ยจู รงิ กอ นวนั ทศ่ี าลมคี ำสง่ั
พทิ กั ษท รพั ยแ ละลกู หนต้ี อ งรบั ผดิ ในหนด้ี งั กลา ว แมเ จา พนกั งานพทิ กั ษท รพั ยม อี ำนาจออกหมายเรยี ก
ใหเจาหนี้ ลูกหนี้หรือบุคคลใดมาสอบสวนในเรื่องหนี้สิน แลวทำความเห็นสงสำนวนเรื่องหนี้สิน
ที่ขอรับชำระนั้นตอศาลตามพระราชบัญญัติลมละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๑๐๕ เดิม ก็ตาม
แตก ไ็ มใ ชห นา ทเ่ี จา พนกั งานพทิ กั ษท รพั ยท ต่ี อ งเรยี กพยานหลกั ฐานเกย่ี วกบั การฟอ งคดลี ม ละลาย
ของเจาหนี้ในคดีหมายเลขดำที่ ล.๑๔๔/๒๕๕๐ หรือเรียกพยานเจาหนี้มาสอบสวนเพิ่มเติมเพื่อ
พสิ จู นว า มลู หนท้ี ข่ี อรบั ชำระของเจา หนไ้ี มข าดอายคุ วาม ทง้ั ทเ่ี จา หนต้ี ดิ ใจอา งพยานหลกั ฐานและ
คำใหการผูรับมอบอำนาจเพียงเทาที่สงในสำนวนคำขอรับชำระหนี้ แมปรากฏวาพยานเอกสาร
ทส่ี ง ไดแ กส ำเนาคำพพิ ากษาตามยอม สญั ญาประนปี ระนอมยอมความ และบญั ชคี า ฤชาธรรมเนยี ม
จะมตี ราประทบั หมายเอกสารของศาลลม ละลายกลางในคดลี ม ละลายทเ่ี จา หนเ้ี คยฟอ งลกู หนท้ี ่ี ๑
ปรากฏอยู แตกรณีจะถือวาอายุความบังคับสิทธิเรียกรองของเจาหนี้สะดุดหยุดลงเพราะเหตุ
เจา หนไ้ี ดฟ อ งคดลี ม ละลายนน้ั กต็ อ งมใิ ชเ ปน เรอ่ื งทม่ี คี ำพพิ ากษาถงึ ทส่ี ดุ นน้ั ใหย กคำฟอ ง หรอื คดี
เสรจ็ ไปโดยการจำหนา ยคดเี พราะเหตถุ อนฟอ ง หรอื ทง้ิ ฟอ งตามประมวลกฎหมายแพง และพาณชิ ย
มาตรา ๑๙๓/๑๗ อนั ถอื วา อายคุ วามไมเ คยสะดดุ หยดุ ลงดว ย ซง่ึ ไมใ ชเ รอ่ื งทป่ี รากฏไดจ ากเอกสาร
ดังกลาว จึงเปนขอเท็จจริงที่เจาหนี้จะตองแสดงพยานหลักฐานตอเจาพนักงานพิทักษทรัพย
หรือขอสงเพิ่มเติมกอนเจาพนักงานพิทักษทรัพยเสร็จการสอบสวนเพื่อทำความเห็นสงสำนวน
คำขอรับชำระหนี้ตอศาล ดังนั้น ขอเท็จจริงจึงรับฟงไมไดวาหนี้ตามคำพิพากษาที่เจาหนี้ขอรับ
ชำระหนน้ี น้ั ไมข าดอายคุ วาม ทศ่ี าลลม ละลายกลางมคี ำสง่ั ยกคำขอรบั ชำระหนต้ี ามความเหน็ ของ
เจาพนักงานพิทักษทรัพยนั้น ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษเห็นพองดวย อุทธรณของเจาหนี้
ฟงไมข ึ้น

พิพากษายนื คาฤชาธรรมเนยี มในช้นั นี้ใหเ ปน พบั .

(โชคชัย รุจนิ นิ นาท - วเิ ชียร วชริ ประทปี - องอาจ งามมีศร)ี

นราธิป บุญญพนชิ - ยอ
อดศิ ักดิ์ เทียนกริม - ตรวจ

หมายเหตุ คดถี ึงทส่ี ดุ

๕๖

คำพพิ ากษาศาลอุทธรณค ดชี ำนัญพิเศษที่ ๒๓๓๓/๒๕๖๐ โอเจเอม็ อาร โฮลด้งิ โจทก
ลิมิเตด็ เจา หน้ี
โอเจเอม็ อาร โฮลดง้ิ จำเลย
ลิมิเตด็
บริษทั พเี คเอน็ เอส
(ประเทศไทย) จำกดั

ป.วิ.พ. มาตรา ๑๔๒ (๕)
พ.ร.บ. ลม ละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๑๗๘
พ.ร.บ. จัดตงั้ ศาลลมละลายและวธิ พี จิ ารณาคดีลมละลาย พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๒๘/๑

เจา หนจ้ี ดทะเบยี นเปน นติ บิ คุ คลและมสี ำนกั งานตง้ั อยทู ห่ี มเู กาะเคยแ มน จงึ เปน
เจา หนต้ี า งประเทศซง่ึ มภี มู ลิ ำเนาอยนู อกราชอาณาจกั รจะขอรบั ชำระหนใ้ี นคดลี ม ละลาย
ไดต อ เมอ่ื ไดป ฏบิ ตั ติ ามเงอ่ื นไขท่ี พ.ร.บ. ลม ละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๑๗๘ กำหนดโดย
ตองพิสูจนวาเจาหนี้ในประเทศไทยก็มีสิทธิขอรับชำระหนี้ในคดีลมละลายตามกฎหมาย
และในศาลแหง ประเทศของตนไดใ นทำนองเดยี วกนั และตอ งแถลงวา ตนไดร บั หรอื มสี ทิ ธิ
จะไดร บั ทรพั ยส นิ หรอื สว นแบง จากทรพั ยส นิ ของลกู หนค้ี นเดยี วกนั นน้ั นอกราชอาณาจกั ร
เปนจำนวนเทาใดหรือไม และถามีตนยอมสงทรัพยสินหรือสวนแบงจากทรัพยสินของ
ลูกหนี้ดังกลาวแลวมารวมในกองทรัพยสินของลูกหนี้ในราชอาณาจักร เมื่อเจาหนี้เพียง
แตแถลงขอเท็จจริงและนำสงพยานเอกสารเกี่ยวกับมูลหนี้ที่ขอรับชำระหนี้เทานั้น โดย
มิไดปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกลาว เจาหนี้จึงไมมีสิทธิจะขอรับชำระหนี้ได ปญหาดังกลาว
เปนขอกฎหมายอันเกี่ยวดวยความสงบเรียบรอยของประชาชน แมไมมีคูความฝายใด
ยกขึ้นอุทธรณ ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได ตาม ป.วิ.พ.
มาตรา ๑๔๒ (๕) ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลลมละลายและวิธีพิจารณาคดีลมละลาย
พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๒๘/๑

______________________________

คดสี บื เนอ่ื งมาจากศาลลม ละลายกลางมคี ำสง่ั พทิ กั ษท รพั ยข องลกู หน้ี (จำเลย) เดด็ ขาด
เม่อื วันท่ี ๑ ธันวาคม ๒๕๕๗

๕๗

เจาหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ตามสัญญาโอนสิทธิเรียกรองจากการกูยืมเงิน
สญั ญากยู มื เงนิ ดอกเบย้ี ระหวา งผดิ นดั และคา ฤชาธรรมเนยี ม รวม ๘,๑๑๑,๙๖๙,๒๒๘.๓๘ บาท
จากกองทรัพยสินของลูกหนี้ในฐานะเจาหนี้ไมมีประกัน ตามพระราชบัญญัติลมละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓
มาตรา ๙๔

เจาพนักงานพิทักษทรัพยนัดตรวจคำขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติลมละลาย
พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๑๐๔ แลว ไมม ผี ูใ ดโตแ ยง คำขอรับชำระหนีข้ องเจา หน้ีรายนี้

เจา พนกั งานพทิ กั ษท รพั ยส อบสวนแลว มคี วามเหน็ วา มลู หนต้ี ามสญั ญาโอนสทิ ธเิ รยี กรอ ง
จากการกยู มื เงิน อนั ดบั ที่ ๑ และท่ี ๒ ลูกหนเ้ี ปน เพียงผูรบั โอนสิทธเิ รยี กรองในมลู หนก้ี ยู ืมเงนิ
ที่เจาหนี้มีตอบริษัทบีเอฟเคที (ประเทศไทย) จำกัด มิใชผูกูยืมเงินที่จะตองรับผิดชำระหนี้แก
เจา หน้ี มลู หนต้ี ามสญั ญาโอนสทิ ธเิ รยี กรอ ง และสญั ญากยู มื เงนิ อนั ดบั ท่ี ๓ ท่ี ๔ และท่ี ๕ เจา หน้ี
ไมไ ดน ำตน ฉบบั สญั ญากยู มื เงนิ และหลกั ฐานการรบั มอบเงนิ ตามสญั ญากยู มื เงนิ ดงั กลา วมาแสดง
ตอเจาพนักงานพิทักษทรัพย จึงรับฟงไมไดวาเจาหนี้มีสิทธิไดรับชำระหนี้ และไมมีสิทธิไดรับ
ชำระมูลหน้ดี อกเบ้ียในอนั ดับท่ี ๖ ดว ย สวนคาธรรมเนยี มในชนั้ ฟองคดีลมละลายคดีนี้ เปน หน้ี
ที่เกิดขึ้นภายหลังศาลมีคำสั่งพิทักษทรัพยเด็ดขาด เจาหนี้จึงไมมีสิทธิขอรับชำระหนี้ เห็นควรให
ยกคำขอรับชำระหนี้ของเจาหนี้รายนี้เสียทั้งสิ้นตามพระราชบัญญัติลมละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓
มาตรา ๑๐๗ (๑) เดิม

ศาลลมละลายกลางมีคำสั่งใหยกคำขอรับชำระหนี้ของเจาหนี้ตามความเห็นของ
เจา พนักงานพทิ ักษทรัพย

เจาหนอี้ ทุ ธรณ
ศาลอทุ ธรณค ดชี ำนญั พเิ ศษแผนกคดลี ม ละลายวนิ จิ ฉยั วา คดีมีปญหาท่ตี องวินิจฉยั
ในเบื้องตนวา เจาหนี้มีสิทธิขอรับชำระหนี้ไดหรือไม เห็นวา เจาหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้โดยมี
นางสาวปะราลี เปน ผรู บั มอบอำนาจตามสำเนาหนงั สอื มอบอำนาจ (POWER OF ATTORNEY)
ในสำนวนคำขอรับชำระหนี้ของเจาพนักงานพิทักษทรัพย และนางสาวปะราลีมอบอำนาจชวง
ใหน ายศวิ าวธุ กบั นางสาวกานตส ดุ า เปน ผรู บั มอบอำนาจชว งมอี ำนาจยน่ื คำขอรบั ชำระหน้ี คำรอ ง
และเอกสาร รวมถงึ ใหถ อ ยคำตอ เจา พนกั งานพทิ กั ษท รพั ยเ พอ่ื พสิ จู นห น้ี ตอ มานางสาวกานตส ดุ า
ยน่ื คำแถลงขอ เทจ็ จรงิ กบั นำสง พยานเอกสารประกอบการสอบสวนในเรอ่ื งหนส้ี นิ ตอ เจา พนกั งาน
พทิ กั ษท รพั ย ซง่ึ ปรากฏวา เจา หนจ้ี ดทะเบยี นเปน นติ บิ คุ คลและมสี ำนกั งานตง้ั อยทู ห่ี มเู กาะเคยแ มน
เดมิ ชื่อ ฮทั ชสิ ัน เทเลคอมมวิ นเิ คชนั่ ส อนิ เตอรเนช่ันแนล (เคยแ มน) โฮลดงิ้ ส ลิมิเต็ด ตามสำเนา
หนังสือมอบอำนาจ (POWER OF ATTORNEY) และสำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนจัดตั้ง

๕๘

บรษิ ทั (Certificate Of Incorporation) กบั สำเนาหนงั สอื รบั รองการจดทะเบยี นเปลย่ี นชอ่ื บรษิ ทั
(Certificate of Incorporation on Change of Name) เจาหนี้จึงเปนเจาหนี้ตางประเทศซึ่งมี
ภูมลิ ำเนาอยูนอกราชอาณาจกั รจะขอรบั ชำระหน้ีในคดลี ม ละลายไดตอเม่ือไดป ฏบิ ัตติ ามเงอ่ื นไข
ที่พระราชบัญญัติลมละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๑๗๘ กำหนด โดยตองพิสูจนวาเจาหนี้ใน
ประเทศไทยกม็ สี ทิ ธขิ อรบั ชำระหนใ้ี นคดลี ม ละลายตามกฎหมายและในศาลแหง ประเทศของตนได
ในทำนองเดียวกัน และเจาหนี้ตางประเทศดังกลาวตองแถลงวาตนไดรับหรือมีสิทธิจะไดรับ
ทรพั ยส นิ หรอื สว นแบง จากทรพั ยส นิ ของลกู หนค้ี นเดยี วกนั นน้ั นอกราชอาณาจกั รเปน จำนวนเทา ใด
หรือไม และถามี ตนยอมสงทรัพยสินหรือสวนแบงจากทรัพยสินของลูกหนี้ดังกลาวแลวมารวม
ในกองทรพั ยส นิ ของลกู หนใ้ี นราชอาณาจกั ร เมอ่ื เจา หนเ้ี พยี งแตแ ถลงขอ เทจ็ จรงิ และนำสง พยาน
เอกสารเกี่ยวกับมูลหนี้ที่ขอรับชำระหนี้เทานั้น โดยมิไดปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกลาว เจาหนี้จึง
ไมม สี ทิ ธขิ อรบั ชำระหนไ้ี ด ปญ หาดงั กลา วเปน ขอ กฎหมายอนั เกย่ี วดว ยความสงบเรยี บรอ ยของ
ประชาชน แมไ มม คี คู วามฝา ยใดยกขน้ึ อทุ ธรณ ศาลอทุ ธรณค ดชี ำนญั พเิ ศษมอี ำนาจยกขน้ึ วนิ จิ ฉยั
เองได ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพง มาตรา ๑๔๒ (๕) ประกอบพระราชบัญญัติ
จดั ตง้ั ศาลลม ละลายและวธิ พี จิ ารณาคดลี ม ละลาย พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๒๘/๑ ทศ่ี าลลม ละลายกลาง
มีคำสั่งใหยกคำขอรับชำระหนี้ตามความเห็นของเจาพนักงานพิทักษทรัพยนั้น ศาลอุทธรณ
คดีชำนัญพิเศษเห็นพองดวยในผล กรณีไมจำตองวินิจฉัยอุทธรณของเจาหนี้เพราะไมทำใหผล
แหง คดเี ปลี่ยนแปลง

พพิ ากษายืน คา ฤชาธรรมเนยี มในช้นั อุทธรณใ หเ ปน พบั .

(โชคชยั รจุ นิ นิ นาท - วิเชียร วชริ ประทปี - องอาจ งามมศี รี)

นราธปิ บุญญพนชิ - ยอ
วริ ตั น วิศษิ ฏวงศกร - ตรวจ

หมายเหตุ คดถี ึงท่สี ดุ

๕๙

คำพพิ ากษาศาลอทุ ธรณคดชี ำนัญพิเศษที่ ๒๓๓๑/๒๕๖๑ ธนาคารอาคารสงเคราะห โจทก
ธนาคารอาคารสงเคราะห เจา หนี้
นางสาวชลิตาหรอื ชลิดาหรอื
ทรรศมล ถาวรเวช จำเลย

ป.พ.พ. มาตรา ๑๙๓/๑๔ (๒), ๑๙๓/๑๕, ๑๙๓/๓๒
ป.ว.ิ พ. มาตรา มาตรา ๑๔๗ วรรคสอง
พ.ร.บ. ลมละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๙๔ (๑)

มูลหนี้ที่เจาหนี้นำมายื่นคำขอรับชำระหนี้เปนสิทธิเรียกรองที่เกิดขึ้นโดย
คำพิพากษาของศาลท่ถี ึงทสี่ ุด มกี ำหนดอายคุ วามสิบปตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๙๓/๓๒
โดยวันท่คี ำพิพากษาถงึ ท่ีสุดน้ันตอ งพิจารณาตาม ป.ว.ิ พ. มาตรา ๑๔๗ วรรคสอง ทีบ่ ญั ญัติ
ใหคำพิพากษาหรือคำส่งั ใด ซ่งึ อาจอุทธรณ ฎีกาหรอื มีคำขอใหพิจารณาใหมไ ดน ้ัน ถามิได
อุทธรณ ฎกี าหรือรองขอใหพ ิจารณาคดีใหมภ ายในเวลาท่ีกำหนดไวใ หถ อื วา เปน ท่ีสุด
ตั้งแตระยะเวลาเชนวานั้นไดสิ้นสุดลง เมื่อตามคำพิพากษาของศาลจังหวัดฉะเชิงเทรา
ลกู หน้ีขาดนัดยืน่ คำใหก ารและไมปรากฏวาลกู หนีไ้ ดขอใหพ จิ ารณาคดใี หม การท่ีเจาหน้ี
นำคดีมาฟองขอใหล ูกหนล้ี มละลายเม่ือวันท่ี ๑๓ ตลุ าคม ๒๕๕๓ ยอ มอยภู ายในกำหนด
อายคุ วามสบิ ปน บั แตว นั ทค่ี ำพพิ ากษาถงึ ทส่ี ดุ เจา หนม้ี สี ทิ ธนิ ำหนต้ี ามคำพพิ ากษาดงั กลา ว
มาฟอ งขอใหล กู หนล้ี ม ละลายได และมผี ลเทา กบั เปน การฟอ งคดเี พอ่ื ใหช ำระหนอ้ี ยา งหนง่ึ
ตามวธิ กี ารท่ี พ.ร.บ. ลม ละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ บญั ญตั ไิ วโ ดยเฉพาะ ซง่ึ ทำใหอ ายคุ วามสะดดุ
หยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๙๓/๑๔ (๒) และทำใหระยะเวลาที่ลวงไปกอนนั้น ไมนับ
เขาในอายุความตามมาตรา ๑๙๓/๑๕ วรรคหนึ่ง ตองเริ่มนับอายุความใหมตั้งแตเหตุที่
ทำใหอายุความสะดุดหยุดลงไดสิ้นสุดไปแลวตามมาตรา ๑๙๓/๑๕ วรรคสอง ดังนั้น
คำขอรบั ชำระหนข้ี องเจา หนซ้ี ง่ึ ยน่ื ตอ เจา พนกั งานพทิ กั ษท รพั ยเ มอ่ื วนั ท่ี ๙ มถิ นุ ายน ๒๕๕๔
เปน การยน่ื คำขอรบั ชำระหนใ้ี นระหวา งเวลาทอ่ี ายคุ วามสะดดุ หยดุ ลง กรณจี งึ ไมเ ปน การ
ตอ งหา มมใิ หไดร ับชำระหนีต้ าม พ.ร.บ. ลมละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๙๔ (๑)

_______________________________

๖๐

คดีสืบเนื่องมาจากศาลลมละลายกลางมีคำสั่งพิทักษทรัพยของจำเลยทั้งสองเด็ดขาด
เม่อื วันที่ ๑๕ กมุ ภาพนั ธ ๒๕๕๔

เจา หนย้ี น่ื คำขอรบั ชำระหนใ้ี นมลู หนต้ี ามคำพพิ ากษาของศาลจงั หวดั ฉะเชงิ เทรา คดแี พง
หมายเลขแดงที่ ๑๘๖๒/๒๕๔๓ จำนวน ๒,๕๙๒,๗๔๖.๐๑ บาท จากกองทรัพยสินของลูกหนี้
ในฐานะเจาหนี้ไมม ีประกันตามพระราชบญั ญัตลิ ม ละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๙๔

เจาพนักงานพิทักษทรัพยนัดตรวจคำขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติลมละลาย
พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๑๐๔ แลว ไมม ีผูใ ดโตแ ยง คำขอรบั ชำระหนีร้ ายน้ี

เจา พนกั งานพทิ กั ษท รพั ยส อบสวนแลว มคี วามเหน็ วา ศาลจงั หวดั ฉะเชงิ เทรามคี ำพพิ ากษา
เมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๔๓ อายุความสิทธิเรียกรองดังกลาวจึงครบกำหนดสิบปในวันที่ ๑๓
กนั ยายน ๒๕๕๓ เจา หนย้ี น่ื ฟอ งคดนี ต้ี อ ศาลลม ละลายกลางเมอ่ื วนั ท่ี ๑๓ ตลุ าคม ๒๕๕๓ เปน การ
ยื่นฟองเมื่อพนกำหนดอายุความและไมมีผลทำใหอายุความสะดุดหยุดลง เจาหนี้ยื่นคำขอรับ
ชำระหนว้ี นั ท่ี ๙ มถิ นุ ายน ๒๕๕๔ จงึ เปน การยน่ื คำขอรบั ชำระหนข้ี ณะทอ่ี ายคุ วามในการใชส ทิ ธิ
เรียกรองตามคำพิพากษาสิ้นสุดแลว หนี้ดังกลาวจึงขาดอายุความ ตองหามมิใหยื่นคำขอรับ
ชำระหนต้ี ามพระราชบญั ญตั ลิ ม ละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๙๔ เหน็ สมควรใหย กคำขอรบั ชำระหน้ี
ของเจา หน้ีเสยี ทงั้ ส้นิ ตามพระราชบัญญตั ลิ ม ละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๑๐๗ (๑) (เดมิ )

ศาลลม ละลายกลางมคี ำสง่ั ใหย กคำขอรบั ชำระหนข้ี องเจา หนต้ี ามความเหน็ ของเจา พนกั งาน
พิทักษท รัพย

เจา หนอ้ี ุทธรณ
ศาลอทุ ธรณค ดชี าํ นญั พเิ ศษแผนกคดลี ม ละลายวนิ จิ ฉยั วา ขอ เทจ็ จรงิ รบั ฟง เปน ยตุ วิ า ลกู หน้ี
เปน หนเ้ี จา หนต้ี ามคำพพิ ากษาของศาลจงั หวดั ฉะเชงิ เทรา คดแี พง หมายเลขแดงท่ี ๑๘๖๒/๒๕๔๓
ซง่ึ ศาลไดม คี ำพพิ ากษาเมอ่ื วนั ท่ี ๑๓ กนั ยายน ๒๕๔๓ ใหล กู หนช้ี ำระเงนิ แก เจา หน้ี ๑,๔๕๔,๙๗๕.๒๕ บาท
พรอมดอกเบี้ยในอัตรารอยละ ๑๙ ตอป ของตนเงิน ๑,๒๒๐,๙๔๙.๓๖ บาท นับถัดจากวันฟอง
เปนตนไปจนกวาจะชำระเสร็จ หากลูกหนี้ไมชำระใหยึดที่ดินตามโฉนดที่ดิน เลขที่ ๕๓๕๗๙
ตำบลศีรษะกระบือ อำเภอองครักษ จังหวัดนครนายก พรอมสิ่งปลูกสรางออกขายทอดตลาด
นำเงนิ ชำระหนแ้ี กเ จา หน้ี หากไดเ งนิ ไมพ อใหย ดึ ทรพั ยส นิ อน่ื ของลกู หนอ้ี อกขายทอดตลาดนำเงนิ
ชำระหนเ้ี จา หนี้จนครบถวน กับใหใชคาฤชาธรรมเนียมแทนเจา หน้ีโดยกำหนดคาทนายความให
๒,๕๐๐ บาท ลูกหนี้มิไดชำระหนี้ตามคำพิพากษา เจาหนี้นำเจาพนักงานบังคับคดียึดทรัพย
หลักประกันออกขายทอดตลาดเมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ ๒๕๔๘ เจาหนี้เปนผูประมูลซื้อและ
หักสวนไดใชแทนราคาเปนเงิน ๑๑๘,๐๕๖ บาท คงเหลือหนี้จำนวน ๒,๔๖๗,๖๑๔.๖๙ บาท

๖๑

ตอมาวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๓ เจาหนี้นำมูลหนี้ตามคำพิพากษาดังกลาวมาฟองลูกหนี้เปน
คดีลมละลายคดีนี้ หลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษทรัพยของลูกหนี้เด็ดขาด เจาหนี้นำมูลหนี้ตาม
คำพิพากษาดังกลาวมายื่นขอรับชำระหนี้จากกองทรัพยสินของลูกหนี้ คดีมีปญหาตองวินิจฉัย
ตามอทุ ธรณข องเจา หนว้ี า หนต้ี ามคำพพิ ากษาทเ่ี จา หนน้ี ำมายน่ื คำขอรบั ชำระหนข้ี าดอายคุ วาม
อนั ตอ งหา มมใิ หไ ดร บั ชำระหนต้ี ามพระราชบญั ญตั ลิ ม ละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๙๔ (๑) หรอื ไม
เหน็ วา มลู หนต้ี ามคำพพิ ากษาทเ่ี จา หนน้ี ำมายน่ื คำขอรบั ชำระหนเ้ี ปน สทิ ธเิ รยี กรอ งทเ่ี กดิ ขน้ึ โดย
คำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุด มีกำหนดอายุความสิบป ตามประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย
มาตรา ๑๙๓/๓๒ และอายุความดังกลาวตองเริ่มนับแตวันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด ซึ่งศาล
จงั หวดั ฉะเชงิ เทรามคี ำพพิ ากษาคดแี พง หมายเลขแดงท่ี ๑๘๖๒/๒๕๔๓ เมอ่ื วนั ท่ี ๑๓ กนั ยายน ๒๕๔๓
วันที่คำพิพากษาถึงที่สุดนั้น ตองพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพง
มาตรา ๑๔๗ วรรคสอง ที่บัญญัติใหคำพิพากษาหรือคำสั่งใด ซึ่งอาจอุทธรณ ฎีกา หรือมีคำขอ
ใหพ จิ ารณาใหมไ ดน น้ั ถา มไิ ดอ ทุ ธรณ ฎกี าหรอื รอ งขอใหพ จิ ารณาคดใี หมภ ายในเวลาทก่ี ำหนดไว
ใหถือวาเปนที่สุดตั้งแตระยะเวลาเชนวานั้นไดสิ้นสุดลง เมื่อตามคำพิพากษาของศาลจังหวัด
ฉะเชิงเทราลูกหนี้ขาดนัดยื่นคำใหการและไมปรากฏวาลูกหนี้ไดขอใหพิจารณาคดีใหม การที่
เจาหนี้นำคดีมาฟองขอใหลูกหนี้ลมละลายเมื่อวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๓ ยอมอยูภายในกำหนด
อายุความสิบปนับแตวันที่คำพิพากษาถึงที่สุด เจาหนี้มีสิทธินำหนี้ตามคำพิพากษาดังกลาว
มาฟองขอใหลูกหนี้ลมละลายได และมีผลเทากับเปนการฟองคดีเพื่อใหชำระหนี้อยางหนึ่งตาม
วิธีการที่พระราชบัญญัติลมละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ บัญญัติไวโดยเฉพาะ ซึ่งทำใหอายุความสะดุด
หยุดลงตามประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย มาตรา ๑๙๓/๑๔ (๒) และทำใหระยะเวลาที่ลวง
ไปกอ นนน้ั ไมน บั เขา ในอายคุ วามตามมาตรา ๑๙๓/๑๕ วรรคหนง่ึ ตอ งเรม่ิ นบั อายคุ วามใหมต ง้ั แต
เหตุที่ทำใหอายุความสะดุดหยุดลงไดสิ้นสุดไปแลวตามมาตรา ๑๙๓/๑๕ วรรคสอง ดังนั้นคำขอ
รบั ชำระหนข้ี องเจา หนซ้ี ง่ึ ยน่ื ตอ เจา พนกั งานพทิ กั ษท รพั ยเ มอ่ื วนั ท่ี ๙ มถิ นุ ายน ๒๕๕๔ เปน การ
ย่ืนคำขอรับชำระหนี้ในระหวา งเวลาที่อายุความสะดดุ หยดุ ลง เจาหน้ีจงึ มีสทิ ธิเรยี กรอ งใหล ูกหน้ี
ชำระหนี้ในมูลหนี้ตามคำพิพากษาศาลจังหวัดฉะเชิงเทราได กรณีจึงไมเปนการตองหามมิใหได
รับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติลมละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๙๔ (๑) ที่ศาลลมละลายกลาง
มีคำส่ังใหย กคำขอรบั ชำระหนขี้ องเจาหน้ีเสียท้ังส้ินตามความเห็นของเจา พนักงานพทิ ักษท รพั ย
นัน้ ศาลอทุ ธรณค ดชี าํ นัญพิเศษไมเหน็ พอ งดว ย อุทธรณข องเจาหนฟ้ี ง ขน้ึ

สำหรับปญหาวาเจาหนี้มีสิทธิไดรับชำระหนี้ตามคำขอรับชำระหนี้เพียงใดนั้น ศาล
อุทธรณคดีชำนัญพิเศษเห็นสมควรวินิจฉัยปญหาดังกลาวไปทีเดียว โดยไมจำตองยอนสำนวน

๖๒

ไปใหเจาพนักงานพิทักษทรัพยทำความเห็นและใหศาลลมละลายกลางมีคำสั่งอีก เห็นวา เมื่อ
ขอ เทจ็ จรงิ ตามสำนวนการสอบสวนของเจา พนกั งานพทิ กั ษท รพั ยไ ดค วามวา หลงั จากศาลจงั หวดั
ฉะเชิงเทรามีคำพิพากษาดังกลาวแลว ลูกหนี้ไมชำระหนี้ตามคำพิพากษา เจาหนี้บังคับคดียึด
ทรัพยหลักประกันออกขายทอดตลาดในคดีดังกลาวเมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ ๒๕๔๘ เจาหนี้
เปนผูประมูลซื้อและหักสวนไดใชแทนราคาเปนเงิน ๑๑๘,๐๕๖ บาท คงเหลือหนี้จำนวน
๒,๔๖๗,๖๑๔.๖๙ บาท ตามสำเนาบัญชีแสดงรายการรับ-จา ยเงินครง้ั ท่ี ๑ เจาหนีจ้ งึ มสี ิทธิไดร บั
ชำระหนต้ี ามยอดหนท้ี เ่ี หลอื จำนวน ๒,๔๖๗,๖๑๔.๖๙ บาท พรอ มดอกเบย้ี อตั รารอ ยละ ๑๙ ตอ ป
ของตนเงิน ๑,๒๒๐,๙๔๙.๓๖ บาท นับแตวันขายทอดตลาดถึงวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษทรัพย
ลกู หนเ้ี ดด็ ขาด แตท ง้ั นต้ี อ งไมเ กนิ จำนวนเงนิ ทเ่ี จา หนข้ี อรบั ชำระหนจ้ี ากกองทรพั ยส นิ ของลกู หน้ี

พิพากษากลับ ใหเจาหนี้มีสิทธิไดรับชำระหนี้จำนวน ๒,๔๖๗,๖๑๔.๖๙ บาท พรอม
ดอกเบี้ยอัตรารอยละ ๑๙ ตอป ของตนเงิน ๑,๒๒๐,๙๔๙.๓๖ บาท นับแตวันขายทอดตลาด
(วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ ๒๕๔๘) ถึงวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษทรัพยลูกหนี้เด็ดขาด แตรวมแลวตอง
ไมเกิน ๒,๕๙๒,๗๔๖.๐๑ บาท ตามที่เจาหนี้ขอรับชำระหนี้จากกองทรัพยสินของลูกหนี้ ตาม
พระราชบัญญัตลิ ม ละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๑๓๐ (๗) คา ฤชาธรรมเนยี มในชนั้ นี้ใหเ ปนพบั .

(สิรพิ ร เปรมาสวัสด์ิ สรุ มณี - ณรงค กลนั่ วารินทร - เกียรติคุณ แมนเลขา)

รติมา ชยั สโุ รจน - ยอ
วริ ัตน วิศษิ ฏวงศกร - ตรวจ

หมายเหตุ คดีถงึ ทส่ี ดุ

๖๓

คำพิพากษาศาลอทุ ธรณค ดชี ำนญั พิเศษท่ี ๒๘๙๕/๒๕๖๒ ธนาคารอาคารสงเคราะห โจทก
การไฟฟา นครหลวง เจา หนี้
นายแสวง มนัสสกุล จำเลย

ป.ว.ิ พ. มาตรา ๒๗๑ (เดิม)
พ.ร.บ. ลมละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๑๓๐ (๗)

ภายในกําหนดระยะเวลาตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๒๗๑ (เดิม) เจาหนี้ไดดําเนินการ
บังคับคดีโดยยื่นคํารองขอเฉลี่ยทรัพยในคดีแพงและศาลมีคําสั่งอนุญาตแลว ซึ่งโจทก
ในคดแี พง ดังกลา วไดน าํ เจาพนักงานบงั คับคดยี ึดท่ีดนิ พรอมสิ่งปลูกสรางของลกู หนี้ ดงั น้ี
แมจะลวงเลยระยะเวลาตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๒๗๑ (เดิม) แตไมปรากฏขอเท็จจริงวามีการ
ขายทอดตลาดทรัพยทย่ี ึดแลว ตองถอื วา ทรพั ยด ังกลา วอยใู นระหวางการบงั คบั คดขี าย
ทอดตลาดตามขน้ั ตอนการดาํ เนนิ การของเจา พนกั งานบงั คบั คดี เจา หนย้ี อ มมสี ทิ ธไิ ดร บั
ชําระหนี้โดยสวนเฉลี่ยจากเงินสุทธิที่ไดจากการขายทอดตลาดที่ดินและสิ่งปลูกสราง
ซ่งึ เจาหนไี้ ดร ับอนุญาตใหเ ฉลย่ี ทรพั ยดงั กลา วได แมว า เจา หนี้จะนาํ มูลหน้ตี ามคําพพิ ากษา
มายื่นคําขอรับชําระหนี้เมื่อลวงเลยกําหนดอายุความ ๑๐ ป นับแตวันที่คําพิพากษาถึง
ที่สุดแลวก็ตาม แตสิทธิของเจาหนี้ในอันที่จะไดรับชําระหนี้โดยการเฉลี่ยทรัพยจากเงิน
สุทธิที่ไดจากการขายทอดตลาดทรัพยที่มีการดําเนินการบังคับคดีแลวยอมไดรับความ
คมุ ครอง เจา หนจ้ี งึ มสี ทิ ธไิ ดร บั ชาํ ระหนโ้ี ดยเฉลย่ี จากเงนิ สทุ ธทิ ไ่ี ดจ ากการขายทอดตลาด
ทีด่ นิ พรอมสง่ิ ปลกู สรา งของลูกหนที้ ่ยี ึดไวใ นคดแี พงโดยเฉล่ียกบั เจาหนร้ี ายอนื่ หากขาย
ทอดตลาดแลว เจา หนไ้ี ดร บั ชาํ ระหนโ้ี ดยสว นเฉลย่ี นอ ยกวา จาํ นวนหนท้ี ค่ี า งชาํ ระ หนส้ี ว น
ทเ่ี กนิ นน้ั เจา หนไ้ี มม สี ทิ ธไิ ดร บั ชาํ ระหนอ้ี กี เนอ่ื งจากยน่ื คาํ ขอรบั ชาํ ระหนเ้ี กนิ กาํ หนดเวลา
บังคับคดีทีก่ ฎหมายกาํ หนดไว

______________________________

คดสี บื เนอ่ื งมาจากศาลลม ละลายกลางมคี ำสง่ั พทิ กั ษท รพั ยข องลกู หน้ี (จำเลย) เดด็ ขาด
เมอ่ื วนั ท่ี ๗ มถิ นุ ายน ๒๕๕๙

เจาหนี้เปนเจาหนี้รายที่ ๗๔ ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ตามคำพิพากษาเปนเงิน
๘๑๑,๘๒๔.๙๖ บาท จากกองทรัพยสินของลูกหนี้ในฐานะเจาหนี้ไมมีประกันตามพระราชบัญญัติ
ลม ละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๙๔

๖๔

เจาพนักงานพิทักษทรัพยนัดตรวจคำขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติลมละลาย
พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๑๐๔ แลว ลูกหนี้โตแยงคำขอรับชำระหนี้ของเจาหนี้รายนี้วา หนี้ตาม
คำพิพากษาพนกำหนดระยะเวลาบังคับคดตี ามกฎหมายแลว ขอใหยกคำขอรบั ชำระหนี้

เจา พนกั งานพทิ กั ษท รพั ยส อบสวนแลว ทำความเหน็ วา เหน็ ควรใหย กคำขอรบั ชำระหน้ี
ของเจาหนเ้ี สยี ทง้ั สิ้นตามพระราชบัญญตั ิลม ละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๑๐๗ (๑) (เดิม)

ศาลลมละลายกลางมีคำสั่งใหยกคำขอรับชำระหนี้ตามความเห็นของเจาพนักงาน
พิทักษทรัพย

เจา หนี้อทุ ธรณ
ศาลอทุ ธรณคดีชำนัญพเิ ศษแผนกคดลี มละลายวินจิ ฉัยวา ขอเทจ็ จรงิ รับฟง ไดเ ปนยตุ วิ า
ลกู หนเ้ี ปน หนเ้ี จา หนต้ี ามคำพพิ ากษาของศาลแพง รวม ๒ คดี ไดแ ก คดหี มายเลขแดงท่ี ๑๐๖๖๖/๒๕๒๗
และคดีหมายเลขแดงที่ ๒๒๙๙๗/๒๕๒๙ หลงั จากศาลพพิ ากษาแลวลกู หนไ้ี มชำระหนี้ เจา หน้ี
จึงดำเนินการบังคับคดีโดยยื่นคำรองขอเฉลี่ยทรัพยในคดีหมายเลขแดงที่ ๑๒๒๖๓/๒๕๒๘
ของศาลแพง และศาลมีคำสั่งอนุญาตแลว ซึ่งโจทกในคดีหมายเลขแดงที่ ๑๒๒๖๓/๒๕๒๘ ของ
ศาลแพง ไดน ำเจา พนกั งานบงั คบั คดยี ดึ ทด่ี นิ ทต่ี ำบลคนั นายาว อำเภอบางกะป กรงุ เทพมหานคร
พรอ มสง่ิ ปลกู สรา งของลกู หน้ี รวม ๘๕ โฉนด เพอ่ื นำออกขายทอดตลาดชำระหน้ี ตอ มาเมอ่ื ศาล
มคี ำสง่ั พทิ กั ษท รพั ยข องลกู หนเ้ี ดด็ ขาด เจา หนจ้ี งึ นำมลู หนต้ี ามคำพพิ ากษาดงั กลา วมายน่ื ขอรบั
ชำระหน้ตี อเจาพนักงานพิทักษท รัพยเม่ือวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
คดมี ีปญหาตอ งวินิจฉยั ตามอุทธรณของเจาหนว้ี า เจาหน้ีมสี ิทธไิ ดรับชำระหน้ีจากกอง
ทรัพยสินของลูกหนี้หรือไม เพียงใด เห็นวา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพง
มาตรา ๒๗๑ (เดมิ ) บญั ญตั ใิ หเ จา หนต้ี ามคำพพิ ากษาชอบทจ่ี ะรอ งขอใหบ งั คบั คดตี ามคำพพิ ากษา
หรือคำสั่งนั้นไดภ ายในสิบปน ับแตว นั มีคำพพิ ากษาหรือคำส่ัง โดยอาศยั และตามคำบังคับทอ่ี อก
ตามคำพพิ ากษาหรอื คำสั่งนน้ั ซ่ึงปรากฏวา ภายในกำหนดระยะเวลาดงั กลาว เจาหน้ไี ดด ำเนนิ การ
บงั คบั คดโี ดยยน่ื คำรอ งขอเฉลย่ี ทรพั ยใ นคดหี มายเลขแดงท่ี ๑๒๒๖๓/๒๕๒๘ ของศาลแพง และ
ศาลมคี ำสัง่ อนุญาตแลว ซึ่งโจทกในคดแี พงดังกลา วไดนำเจา พนักงานบังคับคดียดึ ท่ีดินของลกู หนี้
รวม ๘๕ โฉนด พรอ มสง่ิ ปลกู สรา ง ดงั น้ี แมจ ะลว งเลยระยะเวลาตามประมวลกฎหมายวธิ พี จิ ารณา
ความแพง มาตรา ๒๗๑ (เดมิ ) แตไมป รากฏขอเทจ็ จริงวา มีการขายทอดตลาดทรัพยทีย่ ึดแลว
ตอ งถอื วา ทรพั ยด งั กลา วยงั อยใู นระหวา งการบงั คบั คดขี ายทอดตลาดตามขน้ั ตอนการดำเนนิ การ
ของเจาพนักงานบงั คบั คดี เจา หน้ียอ มมีสิทธิไดร บั ชำระหนโี้ ดยสว นเฉล่ยี จากเงนิ สทุ ธิที่ไดจ าก
การขายทอดตลาดทด่ี นิ และสง่ิ ปลกู สรา งซง่ึ เจา หนไ้ี ดร บั อนญุ าตใหเ ฉลย่ี ทรพั ยด งั กลา วได ดงั นน้ั

๖๕

แมว า ศาลลม ละลายกลางจะมคี ำสง่ั พิทกั ษท รัพยข องลกู หน้ีเดด็ ขาด และเจา หน้นี ำมูลหนี้ตาม
คำพพิ ากษาทัง้ สองคดมี ายืน่ คำขอรบั ชำระหน้ีลวงเลยกำหนดอายคุ วาม ๑๐ ป นบั แตวนั ที่
คำพิพากษาถึงท่ีสุดแลวกต็ าม แตสทิ ธิของเจา หนใี้ นอันทจี่ ะไดร บั ชำระหนี้โดยการเฉล่ียทรพั ย
จากเงนิ สทุ ธทิ ไ่ี ดจ ากการขายทอดตลาดทรพั ยท ม่ี กี ารดำเนนิ การบงั คบั คดแี ลว ยอ มไดร บั ความ
คุมครอง เจาหนีจ้ ึงมีสิทธทิ ่ีจะไดรับชำระหนีโ้ ดยสว นเฉลีย่ จากเงินสุทธิทีไ่ ดจากการขายทอดตลาด
ที่ดินพรอมสิ่งปลูกสรางของลูกหนี้ที่ยึดไวในคดีหมายเลขแดงที่ ๑๒๒๖๓/๒๕๒๘ ของศาลแพง
โดยเฉลี่ยกับเจาหนรี้ ายอ่นื หากขายทอดตลาดแลวเจาหนี้ไดร ับชำระหนีโ้ ดยสวนเฉลีย่ นอ ยกวา
จำนวนหนี้ที่คางชำระ หนี้สวนที่เกินนั้น เจาหนี้ไมมีสิทธิไดรับชำระหนี้อีกเนื่องจากยื่นคำขอรับ
ชำระหนเ้ี กนิ กำหนดระยะเวลาบงั คบั คดที ก่ี ฎหมายกำหนดไว ทศ่ี าลลม ละลายกลางมคี ำสง่ั ใหย ก
คำขอรบั ชำระหนี้ตามความเห็นของเจา พนกั งานพทิ ักษทรัพยนั้น ศาลอุทธรณค ดีชำนัญพิเศษ
ไมเ หน็ พองดว ย อุทธรณข องเจาหนี้ฟง ขึน้

พิพากษากลับ ใหเจาหนี้ไดรับชำระหนี้ในมูลหนี้ตามคำพิพากษาคดีหมายเลขแดงที่
๑๐๖๖๖/๒๕๒๗ และคดีหมายเลขแดงที่ ๒๒๙๙๗/๒๕๒๙ ของศาลแพง จากเงินสุทธิที่ไดจาก
การขายทอดตลาดท่ดี นิ ของลูกหนี้ รวม ๘๕ โฉนด พรอมสิ่งปลูกสรา งที่เจา หนไี้ ดยื่นคำรองขอ
เฉลี่ยทรัพยในคดีหมายเลขแดงท่ี ๑๒๒๖๓/๒๕๒๘ ของศาลแพง โดยเฉลี่ยกบั เจา หน้ีรายอื่นใน
ฐานะเจาหนี้ไมมีประกันตามพระราชบัญญัติลมละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๑๓๐ (๗) แตทั้งนี้
ตอ งไมเ กนิ ๘๑๑,๘๒๔.๙๖ บาท ตามทีเ่ จาหนีข้ อมา คา ฤชาธรรมเนยี มชั้นอุทธรณใ หเปน พบั .

(อดิศักดิ์ ศรธนะรตั น - ปฏิกรณ คงพพิ ธิ - พูนศักดิ์ เข็มแซมเกษ)

รติมา ชยั สโุ รจน - ยอ
วิรตั น วศิ ษิ ฏวงศกร - ตรวจ

หมายเหตุ คดถี งึ ที่สุด

๖๖

คำพพิ ากษาศาลอุทธรณค ดีชำนัญพเิ ศษที่ ๖๕๐๘/๒๕๖๒ บริษทั บริหารสนิ ทรพั ย

(ประชมุ ใหญ) สุขุมวทิ จำกัด โจทก

บรรษทั บริหารสินทรัพยไทย

โดยบรษิ ทั บริหารสินทรัพย

กรุงเทพพาณชิ ย จำกดั

(มหาชน) ผเู ขาสวมสทิ ธิ

เปน คคู วามแทน เจา หนี้

บรษิ ัทซัพพอรต ซสิ เต็มส

(ประเทศไทย) จำกัด

กับพวก จำเลย

ป.พ.พ. มาตรา ๑๙๓/๒๙, ๑๙๓/๓๐
พ.ร.บ. ลมละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๒๒ (๓), ๙๔ (๑)

แมสัญญากูเบิกเงินเกินบัญชีซึ่งตองดวยลักษณะของสัญญาบัญชีเดินสะพัดจะ
ไมไดกำหนดเวลาชำระหนี้ไว แตสัญญาบัญชีเดินสะพัดเปนเอกเทศสัญญาที่มีลักษณะ
เฉพาะโดยสัญญาจะคงสภาพอยูตอไปไดจะตองมีการเดินสะพัดทางบัญชีอยางตอเนื่อง
และภายในเวลาอันสมควร เมื่อปรากฏวาวันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๓๒ ลูกหนี้ที่ ๑ ทำสัญญา
กเู บิกเงนิ เกินบัญชกี บั ธนาคาร ก. เจา หนีเ้ ดิม วงเงินกู ๕๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท ตอ มาวันท่ี ๑๘
มิถุนายน ๒๕๓๔ ลูกหนี้ที่ ๑ ขอลดวงเงินกูเหลือ ๓๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท จึงสันนิษฐานไดวา
ในชวงเวลาดังกลาวลูกหนี้ที่ ๑ กับเจาหนี้เดิมยังมีการเดินสะพัดทางบัญชีตอกัน แตเมื่อ
เจา หนม้ี ไิ ดน ำสง รายการเคลอ่ื นไหวทางบญั ชกี ระแสรายวนั ของลกู หนท้ี ่ี ๑ ตอ เจา พนกั งาน
พิทักษทรัพย จึงไมปรากฏวาหลังจากมีการขอลดวงเงินกูแลว สัญญายังเดินสะพัดทาง
บญั ชตี อ กนั หรอื ไม เมอ่ื สญั ญากเู บกิ เงนิ เกนิ บญั ชี ขอ ๒ กำหนดใหล กู หนท้ี ่ี ๑ ชำระดอกเบย้ี
เปน รายเดอื นทกุ วนั สน้ิ สดุ ของเดอื น และขอ ๓ กำหนดวา หากมดี อกเบย้ี คา งชำระลกู หนท้ี ่ี ๑
ยอมตกลงใหเจาหนี้เดิมคิดดอกเบี้ยทบเขากับตนเงินเดือนละหนึ่งครั้ง ในระหวาง
วันที่ ๒๐ ถึงวันสิ้นเดือน จะเปนวันใดแลวแตความสะดวกของเจาหนี้เดิม เปนกรณีที่
คูสัญญากำหนดใหมีการหักทอนบัญชีกันทุกเดือน จึงถือวาวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๓๔

๖๗

อันเปนวันสิ้นเดือนของเดือนที่มีการขอลดวงเงินกูเปนวันหักทอนบัญชีครั้งสุดทาย
หลังจากนั้นไมมีหลักฐานการเดินสะพัดทางบัญชีตอกันอีก ถือวาสัญญาบัญชีเดินสะพัด
เลกิ กนั โดยปรยิ ายในวนั ดงั กลา ว สทิ ธเิ รยี กรอ งของเจา หนต้ี ามสญั ญากเู บกิ เงนิ เกนิ บญั ชี
จงึ เกดิ ขน้ึ นบั แตว นั ท่ี ๑ กรกฎาคม ๒๕๓๔ และกฎหมายมไิ ดก ำหนดอายคุ วามของสญั ญา
บัญชีเดินสะพัดไวจึงมีกำหนดอายุความ ๑๐ ป ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๙๓/๓๐ เจาหนี้ยื่น
คำขอรับชำระหนี้ในวันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๒ พนกำหนด ๑๐ ป หนี้ดังกลาวยอม
ขาดอายคุ วามแลว

กระบวนพจิ ารณาคดลี ม ละลายในชน้ั ยน่ื คำขอรบั ชำระหน้ี ลกู หนไ้ี มจ ำตอ งใหก าร
ตอสูคดีเชนคดีแพงสามัญ ทั้ง พ.ร.บ. ลมละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๒๒ (๓) ใหอำนาจ
เจา พนกั งานพทิ กั ษท รพั ยแ ตผ เู ดยี วฟอ งรอ งหรอื ตอ สคู ดใี ด ๆ เกย่ี วกบั ทรพั ยส นิ ของลกู หน้ี
เจาพนักงานพิทักษทรัพยจึงมีอำนาจที่จะอางเอาอายุความมาเปนมูลทำความเห็น
ยกคำขอรบั ชำระหนข้ี องเจา หนไ้ี ด ซง่ึ หนท้ี ข่ี าดอายคุ วามถอื เปน หนท้ี จ่ี ะฟอ งรอ งใหบ งั คบั คดี
ไมได ตองหามมิใหขอรับชำระหนี้ตามมาตรา ๙๔ (๑) กรณีไมอาจนำบทบัญญัติตาม
ป.พ.พ. มาตรา ๑๙๓/๒๙ มาใชบ ังคบั ในคดลี มละลายได

______________________________

คดีสบื เนอ่ื งมาจากศาลลมละลายกลางมีคำสง่ั พทิ ักษทรพั ยข องลูกหนี้ (จำเลย) ทัง้ สอง
เดด็ ขาด เมือ่ วนั ที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๒

เจา หนย้ี น่ื คำขอรบั ชำระหนใ้ี นมลู หนก้ี เู บกิ เงนิ เกนิ บญั ชี หนก้ี ยู มื เงนิ โดยออกตว๋ั สญั ญา
ใชเ งนิ และหนอ้ี าวลั หรอื รบั รองตว๋ั แลกเงนิ เปน เงนิ ๗,๙๒๑,๓๖๒,๘๖๓.๕๗ บาท จากกองทรพั ยส นิ
ของลูกหนี้ที่ ๑ในฐานะเจาหนี้ไมมีประกัน ตามพระราชบัญญัติลมละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๙๔

เจาพนักงานพิทักษทรัพยนัดตรวจคำขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติลมละลาย
พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๑๐๔ แลว ไมมีผูใดโตแ ยงคำขอรบั ชำระหน้ีของเจา หนร้ี ายน้ี

เจาพนักงานพิทักษทรัพยสอบสวนแลวทำความเห็นวา ลูกหนี้ที่ ๑ เปนหนี้ธนาคาร
กรงุ เทพฯ เจา หนเ้ี ดมิ ในมลู หน้ี ๓ อนั ดบั สำหรบั มลู หนอ้ี นั ดบั ๑ หนก้ี เู บกิ เงนิ เกนิ บญั ชี มลี กั ษณะ
เปน สญั ญาบญั ชเี ดนิ สะพดั ตามประมวลกฎหมายแพง และพาณชิ ย มาตรา ๘๕๖ เจา หนม้ี ไิ ดน ำสง
รายการเคลื่อนไหวทางบัญชีกระแสรายวันของลูกหนี้ที่ ๑ ตอเจาพนักงานพิทักษทรัพย คงนำสง
เพียงรายการคำนวณภาระหนี้นับแตวันที่เจาหนี้ไดรับโอนหนี้มาเทานั้น จึงไมอาจทราบไดวา
ลกู หนท้ี ่ี ๑ ชำระหนค้ี รง้ั สดุ ทา ยวนั ใดและเจา หนเ้ี ดมิ หกั ทอนบญั ชเี มอ่ื ใด สญั ญาเบกิ เงนิ เกนิ บญั ชี

๖๘

ระบวุ า เจา หนจ้ี ะคำนวณดอกเบย้ี ทกุ วนั สน้ิ เดอื น จงึ อาจถอื ไดว า ลกู หนท้ี ่ี ๑ ผดิ นดั ชำระหนน้ี บั แต
วันหักทอนบัญชีงวดแรก คือ วันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๓๒ เปนตนไป เจาหนี้ยอมบังคับตามสิทธิ
เรียกรองใหลูกหนท้ี ี่ ๑ ชำระหนไ้ี ดนบั แตวันที่ ๑ พฤศจกิ ายน ๒๕๓๒ และจะครบกำหนด ๑๐ ป
ในวนั ท่ี ๑ พฤศจกิ ายน ๒๕๔๒ เมอ่ื เจา หนย้ี น่ื คำขอรบั ชำระหนว้ี นั ท่ี ๒๒ ธนั วาคม ๒๕๕๒ จงึ ลว งพน
ระยะเวลา ๑๐ ป หนี้ดังกลาวขาดอายุความแลว มูลหนี้อันดับ ๒ หนี้กูยืมเงินโดยออกตั๋วสัญญา
ใชเงิน ลูกหนี้ที่ ๑ ทำหนังสือขอรับเงินกูไวเปนหลักฐานการกูยืมเงินและออกตั๋วสัญญาใชเงิน
ตามจำนวนเงินกูพรอมดอกเบี้ยตามวันครบกำหนด จึงเปนตั๋วสัญญาใชเงินที่ถึงกำหนดใชเงิน
ตามวันที่กำหนดไวในตั๋ว ตามประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย มาตรา ๙๑๓ (๑) ประกอบ
มาตรา ๙๘๕ วรรคหนึ่ง เมื่อลูกหนี้ที่ ๑ ไมชำระหนี้ตามกำหนด เจาหนี้ตองใชสิทธิเรียกรอง
ภายใน ๑๐ ป นบั แตว นั ทต่ี ว๋ั สญั ญาใชเ งนิ แตล ะฉบบั ถงึ กำหนดชำระ เมอ่ื นบั ถงึ วนั ทเ่ี จา หนย้ี น่ื คำ
ขอรับชำระหนี้ในวันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๒ พนกำหนด ๑๐ ป หนี้ทั้งหมดดังกลาวยอมขาด
อายุความแลว มูลหนี้อันดับ ๓ หนี้อาวัลหรือรับรองตั๋วแลกเงิน เจาหนี้ตองใชสิทธิเรียกรอง
ภายใน ๑๐ ป นับแตวันที่ตั๋วแลกเงินแตละฉบับถึงกำหนดชำระ เมื่อนับถึงวันที่เจาหนี้ยื่นคำขอ
รับชำระหนี้ในวันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๒ พนกำหนด ๑๐ ป หนี้ทั้งหมดดังกลาวยอม
ขาดอายุความแลวเชนเดียวกัน จึงเห็นควรใหยกคำขอรับชำระหนี้ของเจาหนี้รายนี้เสียทั้งสิ้น
ตามพระราชบญั ญัติลมละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๑๐๗ (๑) (เดมิ )

ศาลลมละลายกลางมีคำสั่งใหยกคำขอรับชำระหนี้ของเจาหนี้ตามความเห็นของ
เจา พนกั งานพิทกั ษทรัพย

เจา หนีอ้ ทุ ธรณ
ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษแผนกคดีลมละลายวินิจฉัยวา ขอเท็จจริงเบื้องตนรับฟง
เปนยุติวา เมื่อวันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๒ เจาหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ ๓ อันดับ ไดแก
หนี้กเู บกิ เงนิ เกินบญั ชี หน้ีกยู ืมเงินโดยออกตั๋วสัญญาใชเ งนิ และหนอ้ี าวลั หรอื รบั รองตั๋วแลกเงิน
รวมเปน เงนิ ๗,๙๒๑,๓๖๒,๘๖๓.๕๗ บาท จากกองทรพั ยส นิ ของลกู หนท้ี ่ี ๑ ในฐานะเจา หนไ้ี มม ี
ประกนั ตามพระราชบญั ญตั ลิ ม ละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๙๔ เจา พนกั งานพทิ กั ษท รพั ยส อบสวน
แลวทำความเห็นวาหนี้ทั้งหมดดังกลาวขาดอายุความแลว เห็นควรใหยกคำขอรับชำระหนี้ของ
เจา หนเ้ี สยี ทง้ั สน้ิ ศาลลม ละลายกลางมคี ำสง่ั ใหย กคำขอรบั ชำระหนข้ี องเจา หนต้ี ามความเหน็ ของ
เจาพนกั งานพทิ กั ษทรพั ย
คดมี ปี ญ หาตอ งวนิ จิ ฉยั ตามอทุ ธรณข องเจา หนป้ี ระการแรกวา มลู หนต้ี ามสญั ญากเู บกิ เงนิ
เกินบัญชีขาดอายุความแลวหรือไม ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษโดยมติที่ประชุมใหญเห็นวา

๖๙

แมสญั ญากูเบกิ เงนิ เกินบัญชซี ่งึ ตองดว ยลักษณะของสัญญาบัญชีเดนิ สะพดั จะไมไดก ำหนดเวลา
ชำระหนี้ไว แตสัญญาบัญชีเดินสะพัดเปนเอกเทศสัญญาที่มีลักษณะเฉพาะ โดยสัญญาจะคง
สภาพอยูตอไปไดจะตองมีการเดินสะพัดทางบัญชีอยางตอเนื่องและภายในเวลาอันสมควร เมื่อ
ปรากฏวา วนั ท่ี ๑๗ ตลุ าคม ๒๕๓๒ ลกู หนท้ี ่ี ๑ ทำสญั ญากเู บกิ เงนิ เกนิ บญั ชกี บั ธนาคารกรงุ เทพฯ
พาณชิ ยก าร จำกดั เจา หนเ้ี ดมิ วงเงนิ กู ๕๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท ตามสญั ญากเู บกิ เงนิ เกนิ บญั ชี ตอ มา
วันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๓๔ ลูกหนี้ที่ ๑ ขอลดวงเงินกูเหลือ ๓๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท ตามบันทึก
ขอ ตกลงแกไ ขสญั ญากเู บกิ เงนิ เกนิ บญั ชี ครง้ั ทห่ี นง่ึ จงึ สนั นษิ ฐานไดว า ในชว งเวลาดงั กลา วลกู หน้ี
ท่ี ๑ กบั เจา หนเ้ี ดมิ ยงั มกี ารเดนิ สะพดั ทางบญั ชตี อ กนั แตเ มอ่ื เจา หนม้ี ไิ ดน ำสง รายการเคลอ่ื นไหว
ทางบัญชีกระแสรายวันของลูกหนี้ที่ ๑ ตอเจาพนักงานพิทักษทรัพย จึงไมปรากฏวาหลังจากมี
การขอลดวงเงนิ กแู ลว คสู ญั ญายงั เดนิ สะพดั ทางบญั ชตี อ กนั หรอื ไม เมอ่ื สญั ญากเู บกิ เงนิ เกนิ บญั ชี
ขอ ๒ กำหนดใหล กู หนท้ี ่ี ๑ ชำระดอกเบย้ี เปน รายเดอื น ทกุ วนั สน้ิ สดุ ของเดอื น และขอ ๓ กำหนด
วา หากมดี อกเบย้ี คา งชำระลกู หนท้ี ่ี ๑ ยอมตกลงใหเ จา หนเ้ี ดมิ คดิ ดอกเบย้ี ทบเขา กบั ตน เงนิ เดอื นละ
หนง่ึ ครง้ั ในระหวา งวนั ท่ี ๒๐ ถงึ วนั สน้ิ เดอื น จะเปน วนั ใดแลว แตค วามสะดวกของเจา หนเ้ี ดมิ เปน
กรณีที่คูสัญญากำหนดใหมีการหักทอนบัญชีกันทุกเดือน จึงถือวาวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๓๔
อันเปนวันสิ้นเดือนของเดือนที่มีการขอลดวงเงินกูเปนวันหักทอนบัญชีครั้งสุดทาย หลังจากนั้น
ไมม หี ลกั ฐานการเดนิ สะพดั ทางบญั ชตี อ กนั อกี ถอื วา สญั ญาบญั ชเี ดนิ สะพดั เลกิ กนั โดยปรยิ ายใน
วันดังกลาว สิทธิเรียกรองของเจาหนี้ตามสัญญากูเบิกเงินเกินบัญชีจึงเกิดขึ้นนับแตวันที่ ๑
กรกฎาคม ๒๕๓๔ และกฎหมายมไิ ดก ำหนดอายคุ วามของสญั ญาบญั ชเี ดนิ สะพดั ไว จงึ มกี ำหนด
อายุความ ๑๐ ป ตามประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย มาตรา ๑๙๓/๓๐ เจาหนี้ยื่นคำขอรับ
ชำระหนี้ในวันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๒ พนกำหนด ๑๐ ป หนี้ดังกลาวยอมขาดอายุความแลว
ที่ศาลลมละลายกลางมีคำสั่งใหยกคำขอรับชำระหนี้ของเจาหนี้ในมูลหนี้กูเบิกเงินเกินบัญชี
เพราะขาดอายคุ วามตามความเหน็ ของเจา พนกั งานพทิ กั ษท รพั ยน น้ั ศาลอทุ ธรณค ดชี ำนญั พเิ ศษ
เห็นพองดวยในผล อทุ ธรณข องเจา หน้ีขอน้ีฟงไมขนึ้

คดมี ปี ญ หาตอ งวนิ จิ ฉยั ตามอทุ ธรณข องเจา หนป้ี ระการตอ ไปวา เจา พนกั งานพทิ กั ษท รพั ย
มอี ำนาจยกเรอ่ื งอายคุ วามมาเปน เหตทุ ำความเหน็ เสนอศาลใหม คี ำสง่ั ยกคำขอรบั ชำระหนไ้ี ดห รอื ไม
เจา หนอ้ี ทุ ธรณท ำนองวา แมห นข้ี องเจา หนจ้ี ะขาดอายคุ วามกไ็ มต อ งหา มมใิ หข อรบั ชำระหนต้ี าม
พระราชบัญญัติลมละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๙๔ (๑) อีกทั้งลูกหนี้ที่ ๑ ไมไดใหการตอสูเรื่อง
อายุความ เจาพนักงานพิทักษทรัพยไมมีอำนาจยกเรื่องอายุความมาเปนเหตุทำความเห็นเสนอ
ศาลใหมีคำสั่งยกคำขอรับชำระหนี้ได เห็นวา กระบวนพิจารณาคดีลมละลายในชั้นยื่นคำขอรับ

๗๐

ชำระหน้ี ลกู หนไ้ี มจ ำตอ งใหก ารตอ สคู ดเี ชน คดแี พง สามญั ทง้ั พระราชบญั ญตั ลิ ม ละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓
มาตรา ๒๒ (๓) ใหอ ำนาจเจา พนักงานพทิ ักษท รัพยแตผเู ดียวฟอ งรอ งหรือตอสูคดีใด ๆ เกีย่ วกบั
ทรัพยสินของลูกหนี้ เจาพนักงานพิทักษทรัพยจึงมีอำนาจที่จะอางเอาอายุความมาเปนมูลทำ
ความเห็นยกคำขอรับชำระหนี้ของเจาหนี้ได ซึ่งหนี้ที่ขาดอายุความถือเปนหนี้ที่จะฟองรองให
บังคับคดีไมได ตองหามมิใหขอรับชำระหนี้ตามมาตรา ๙๔ (๑) กรณีไมอาจนำบทบัญญัติตาม
ประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย มาตรา ๑๙๓/๒๙ ซึ่งบัญญัติวา “เมื่อไมไดยกอายุความขึ้น
เปนขอตอสู ศาลจะอางเอาอายุความมาเปนเหตุยกฟองไมได” มาใชบังคับในคดีลมละลายได
ทเ่ี จา พนกั งานพทิ กั ษท รพั ยท ำความเหน็ วา หนท้ี เ่ี จา หนย้ี น่ื คำขอรบั ชำระหนท้ี ง้ั หมดขาดอายคุ วาม
และศาลลม ละลายกลางมคี ำสง่ั ใหย กคำขอรบั ชำระหนข้ี องเจา หนต้ี ามความเหน็ ของเจา พนกั งาน
พิทักษทรัพยน ัน้ ชอบแลว อทุ ธรณข องเจาหน้ลี ว นฟงไมข ึน้

พิพากษายนื คา ฤชาธรรมเนียมในชัน้ น้ใี หเปนพับ.
(อดิศกั ดิ์ ศรธนะรตั น - ปฏิกรณ คงพิพธิ - พูนศักดิ์ เข็มแซมเกษ)

นราธิป บุญญพนชิ - ยอ
วริ ัตน วศิ ษิ ฏวงศกร - ตรวจ

หมายเหตุ คดีถึงที่สดุ

๗๑

คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนญั พิเศษท่ี ๔๖๙/๒๕๖๓ บริษัทบรหิ ารสนิ ทรัพย

กรงุ เทพพาณชิ ย จำกดั โจทก

ธนาคารธนชาต จำกดั (มหาชน)

โดยบริษทั บริหารสนิ ทรพั ย

กรุงเทพพาณชิ ย จำกดั (มหาชน)

ผเู ขาสวมสทิ ธิ

เปนคูค วามแทน เจา หน้ี

บริษัทสตารบล็อค กรปุ จำกดั

(มหาชน) กบั พวก จำเลย

พ.ร.บ. ลม ละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๙๐/๖๐ วรรคหนง่ึ , ๙๐/๗๐ วรรคสอง, ๙๐/๗๕

กอนคดีนี้ ศาลลมละลายกลางเคยมีคำสั่งใหฟนฟูกิจการของลูกหนี้ที่ ๑ ในคดี
หมายเลขแดงที่ ๕๗๔/๒๕๔๓ เจาหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีดังกลาว ศาลมีคำสั่ง
เห็นชอบตามแผนฟนฟูกิจการและเจาหนี้ไดรับชำระหนี้บางสวนแลว แผนฟนฟูกิจการ
ที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบดังกลาวจึงผูกมัดเจาหนี้ดวยตาม พ.ร.บ. ลมละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓
มาตรา ๙๐/๖๐ วรรคหนึ่ง เมื่อตอมาศาลมีคำสั่งยกเลิกการฟนฟูกิจการของลูกหนี้ที่ ๑
ตามมาตรา ๙๐/๗๐ วรรคสอง ลูกหนี้ที่ ๑ จะยังตองรับผิดในหนี้ที่เจาหนี้ยื่นคำขอรับ
ชำระหนีไ้ วใ นคดีฟนฟกู ิจการเพียงใดยอ มเปน ไปตามมาตรา ๙๐/๗๕ ทีบ่ ัญญตั ิวา “คำสัง่
ยกเลกิ การฟน ฟกู จิ การมผี ลใหล กู หนห้ี ลดุ พน จากหนท้ี ง้ั ปวงซง่ึ อาจขอรบั ชำระหนใ้ี นการ
ฟนฟูกิจการได เวนแตหนี้ซึ่งเจาหนี้อาจขอรับชำระหนี้ในการฟนฟูกิจการจะไดขอรับ
ชำระหนไ้ี วแ ลว ...” เชน นก้ี ารยกเลกิ การฟน ฟกู จิ การจงึ มผี ลใหล กู หนท้ี ่ี ๑ คงรบั ผดิ ชำระหน้ี
ตามทก่ี ำหนดไวใ นแผนฟน ฟกู จิ การและชำระหนส้ี ว นทข่ี าดอยไู มค รบถว นตามแผนตอ ไป
เทานั้น เจาหนี้จึงมีสิทธิเรียกรองเฉพาะใหลูกหนี้ที่ ๑ ชำระเงินจำนวนดังกลาว มิใชสวน
ทขี่ าดอยูจากจำนวนท่ีเจาพนักงานพทิ ักษทรพั ยม คี ำส่งั อนญุ าตใหไ ดร บั ชำระหนี้

_____________________________

๗๒

คดีสบื เนื่องมาจากศาลลมละลายกลางมีคำส่ังพทิ กั ษทรพั ยของลกู หนี้ (จำเลย) ทัง้ สอง
เดด็ ขาด เมอ่ื วนั ท่ี ๓๐ มนี าคม ๒๕๕๒ และมคี ำพพิ ากษาใหล กู หนท้ี ง้ั สองลม ละลายเมอ่ื วนั ท่ี ๓๑
พฤษภาคม ๒๕๕๔

เจาหนี้ซึ่งเปนเจาหนี้รายที่ ๑๖ ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ตามคำพิพากษาเปนเงิน
รวม ๖๓๕,๘๙๘,๘๗๗.๓๖ บาท จากกองทรัพยสินของลูกหนี้ที่ ๑ ในฐานะเจาหนี้ไมมีประกัน
ตามพระราชบญั ญตั ลิ มละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๙๔

เจาพนักงานพิทักษทรัพยนัดตรวจคำขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติลมละลาย
พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๑๐๔ แลว ไมมผี ใู ดโตแ ยงคำขอรับชำระหนข้ี องเจาหนรี้ ายน้ี

เจา พนกั งานพทิ กั ษท รพั ยส อบสวนแลว ทำความเหน็ วา เจา หนม้ี สี ทิ ธเิ รยี กรอ งใหล กู หน้ี
ท่ี ๑ ชำระหนต้ี ามคำพพิ ากษา รวมเงนิ ตน และดอกเบย้ี คดิ ถงึ วนั พทิ กั ษท รพั ยก บั คา ฤชาธรรมเนยี ม
และคา ทนายความ เปน เงนิ ๗๕๖,๗๐๕,๕๔๘.๖๓ บาท แตเ จา หนข้ี อมา ๖๓๕,๘๙๘,๘๗๗.๓๖ บาท
สว นคา เบย้ี ประกนั ภยั พยานหลกั ฐานไมเ พยี งพอใหร บั ฟง จงึ ตอ งหา มมใิ หข อรบั ชำระหน้ี เหน็ ควร
ใหเจาหนี้ไดรับชำระหนี้ในมูลหนี้ตามคำพิพากษาของศาลแพงกรุงเทพใต คดีหมายเลขแดง
ท่ี ๒๑๔๒/๒๕๔๓ เปน เงนิ ๖๓๕,๘๙๘,๘๗๗.๓๖ บาท จากกองทรพั ยส นิ ของลกู หนท้ี ่ี ๑ ในฐานะ
เจาหนี้ไมมีประกัน ตามพระราชบัญญัติลมละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๙๔ โดยใหไดรับชำระ
โดยสว นเฉลย่ี อยา งเจา หนส้ี ามญั ตามมาตรา ๑๓๐ (๗) โดยมเี งอ่ื นไขวา หากเจา หนไ้ี ดร บั ชำระหนจ้ี าก
นายสุเทพ หรือ นายโสวัฒน และ/หรือ บริษัทเอสจี สตาร พร็อพเพอรตี้ส จำกัด จำเลยรวมใน
คดแี พง และ/หรอื หากไดร บั ชำระหนจ้ี ากการบงั คบั จำนองกบั ทด่ี นิ โฉนดเลขท่ี ๓๙๗๗๖, ๓๙๗๗๗
ตำบลชองนนทรีย, ชองนนทรีย (คลองเตย) อำเภอยานนาวา (พระโขนง) กรุงเทพมหานคร
พรอ มสง่ิ ปลกู สรา ง กรรมสทิ ธข์ิ องลกู หนท้ี ่ี ๑ และ/หรอื ทด่ี นิ โฉนดเลขท่ี ๒๓๘๙๒๔ ตำบลพระโขนง
(ที่ ๑๑ พระโขนงฝงเหนือ) อำเภอคลองเตย (พระโขนง) กรุงเทพมหานคร พรอมสิ่งปลูกสราง
กรรมสิทธิ์ของลูกหนี้ที่ ๑ และ/หรือ ที่ดินโฉนดเลขที่ ๒๙๓๗๕ ตำบลไรสม อำเภอเมืองเพชรบุรี
จังหวัดเพชรบุรี พรอมสิ่งปลูกสราง กรรมสิทธิ์ของลูกหนี้ที่ ๑ แลวเพียงใด ใหสิทธิของเจาหนี้ที่
จะไดรับชำระหนใ้ี นคดนี ้ลี ดลงเพียงน้นั

ศาลลม ละลายกลางมคี ำสง่ั อนญุ าตใหเ จา หนไ้ี ดร บั ชำระหนต้ี ามความเหน็ ของเจา พนกั งาน
พิทักษท รัพย

เจาหน้อี ทุ ธรณ
ศาลอทุ ธรณค ดชี ำนญั พเิ ศษแผนกคดลี ม ละลายวนิ จิ ฉยั วา ขอ เทจ็ จรงิ รบั ฟง ไดเ ปน ยตุ วิ า
ลูกหนี้ที่ ๑ เปนหนี้บริษัทเงินทุนธนชาต จำกัด (มหาชน) เจาหนี้เดิม ตามคำพิพากษาตามยอม

๗๓

ของศาลแพง กรงุ เทพใต คดหี มายเลขแดงท่ี ๒๑๔๒/๒๕๔๓ ซง่ึ ไดพ พิ ากษาเมอ่ื วนั ท่ี ๒๘ มนี าคม ๒๕๔๓
หลังจากนั้นธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) เจาหนี้ ขอเขาสวมสิทธิแทนเจาหนี้เดิมและ
ศาลไดมีคำสั่งอนุญาตใหสวมสิทธิแลว ตอมาบริษัทบริหารสินทรัพย กรุงเทพพาณิชย จำกัด
(มหาชน) ไดร บั ซอ้ื และรบั โอนสนิ ทรพั ยด อ ยคณุ ภาพตลอดจนหลกั ประกนั ทกุ ประเภทจากเจา หน้ี
และขอสวมสทิ ธแิ ทนธนาคารธนชาต จำกดั (มหาชน) เจา หนร้ี ายท่ี ๑๖ ตอ เจา พนกั งานพทิ กั ษท รพั ย
คดีมีปญหาวา เจาหนี้มีสิทธิไดรับชำระหนี้คดีนี้เพียงใด เห็นวา ขอเท็จจริงตามอุทธรณ
ของเจาหนี้ไดความวา กอนคดีนี้ ศาลลมละลายกลางเคยมีคำสั่งใหฟนฟูกิจการของลูกหนี้ที่ ๑
ในคดหี มายเลขแดงท่ี ๕๗๔/๒๕๔๓ และมคี ำสง่ั เหน็ ชอบตามแผนฟน ฟกู จิ การ เจา หนย้ี น่ื คำขอรบั
ชำระหนใ้ี นคดดี งั กลา วและไดร บั ชำระหนแ้ี ลว บางสว นดว ยการรบั โอนทด่ี นิ โฉนดเลขท่ี ๓๙๗๗๖,
๓๙๗๗๗ ตำบลชอ งนนทรยี , ชอ งนนทรยี  (คลองเตย) อำเภอยานนาวา (พระโขนง) กรงุ เทพมหานคร
พรอ มสง่ิ ปลกู สรา ง ทด่ี นิ โฉนดเลขท่ี ๒๓๘๙๒๔ ตำบลพระโขนง (ท่ี ๑๑ พระโขนงฝง เหนอื ) อำเภอ
คลองเตย (พระโขนง) กรงุ เทพมหานคร พรอ มสง่ิ ปลกู สรา ง และทด่ี นิ โฉนดเลขท่ี ๒๙๓๗๕ ตำบล
ไรสม อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี พรอมสิ่งปลูกสราง อันเปนกรรมสิทธิ์ของลูกหนี้ที่ ๑
เปนการชำระหนี้จำนองเปนเงิน ๕๘,๑๘๙,๐๐๐ บาท และไดรับชำระหนี้ในคดีฟนฟูกิจการเปน
เงินอีก ๔๐,๘๘๕.๘๘ บาท รวมเปนเงิน ๕๘,๒๒๙,๘๘๕.๘๘ บาท เพื่อการชำระหนี้เงินตนตาม
เงื่อนไขในแผนฟนฟูกิจการ ตอมาศาลลมละลายกลางมีคำสั่งยกเลิกการฟนฟูกิจการ อันเปน
ขอ เท็จจรงิ ทไี่ มม ปี รากฏในชนั้ สอบสวนคำขอรบั ชำระหนค้ี ดนี ี้ ซงึ่ เปนสาระสำคญั แกคดี เปน เหตุ
ใหก ารคดิ คำนวณยอดหนท้ี เ่ี จา หนม้ี สี ทิ ธไิ ดร บั ชำระและการเสนอความเหน็ ตอ ศาลของเจา พนกั งาน
พิทักษทรัพยคลาดเคลื่อนไป จึงเปนกรณีสมควรที่ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษจะวินิจฉัยเพื่อให
การพจิ ารณาคำขอรบั ชำระหนข้ี องเจา หนเ้ี ปน ไปโดยถกู ตอ งและเพอ่ื ประโยชนแ หง ความยตุ ธิ รรม
เพราะมผี ลกระทบตอ สว นไดเ สยี ของเจา หนท้ี ง้ั ปวง รวมทง้ั ลกู หนท้ี ไ่ี มค วรรบั ผดิ เกนิ กวา หนท้ี ต่ี อ ง
ชำระ เมอ่ื ขอ เทจ็ จรงิ ไดค วามตามอทุ ธรณข องเจา หนแ้ี ละคำแกอ ทุ ธรณข องเจา พนกั งานพทิ กั ษท รพั ย
วา กอนคดีนี้ ศาลลมละลายกลางเคยมีคำสั่งใหฟนฟูกิจการของลูกหนี้ที่ ๑ ในคดีหมายเลขแดง
ที่ ๕๗๔/๒๕๔๓เจาหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีดังกลาว ศาลมีคำสั่งเห็นชอบตามแผนฟนฟู
กิจการและเจาหนี้ไดรับชำระหนี้บางสวนแลว แผนฟนฟูกิจการที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบดังกลาว
จึงผูกมัดเจาหนี้ดวยตามพระราชบัญญัติลมละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๙๐/๖๐ วรรคหนึ่ง เมื่อ
ตอ มาศาลมคี ำสง่ั ยกเลกิ การฟน ฟกู จิ การของลกู หนท้ี ่ี ๑ ตามมาตรา ๙๐/๗๐ วรรคสอง ลกู หนท้ี ่ี ๑
จะยังตองรับผิดในหนี้ที่เจาหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไวในคดีฟนฟูกิจการเพียงใดยอมเปนไปตาม
มาตรา ๙๐/๗๕ ที่บัญญัติวา "คำสั่งยกเลิกการฟนฟูกิจการมีผลใหลูกหนี้หลุดพนจากหนี้ทั้งปวง

๗๔

ซึ่งอาจขอรับชำระหนี้ในการฟนฟูกิจการได เวนแตหนี้ซึ่งเจาหนี้อาจขอรับชำระหนี้ในการฟนฟู
กิจการจะไดขอรับชำระหนี้ไวแลว..." เชนนี้การยกเลิกการฟนฟูกิจการจึงมีผลใหลูกหนี้ที่ ๑
คงรบั ผดิ ชำระหนต้ี ามทก่ี ำหนดไวใ นแผนฟน ฟกู จิ การและชำระหนส้ี ว นทข่ี าดอยไู มค รบถว นตามแผน
ตอไปเทานั้น เจาหนี้จึงมีสิทธิเรียกรองเฉพาะใหลูกหนี้ที่ ๑ ชำระเงินจำนวนดังกลาว มิใชสวนที่
ขาดอยูจากจำนวนที่เจาพนักงานพิทักษทรัพยมีคำสั่งอนุญาตใหไดรับชำระหนี้ เมื่อขอเท็จจริง
จากการสอบสวนในเรื่องหนี้สินของเจาพนักงานพิทักษทรัพยยังไมปรากฏวาเจาหนี้มีสิทธิไดรับ
ชำระหนต้ี ามทก่ี ำหนดในแผนฟน ฟกู จิ การเทา ไร และลกู หนท้ี ่ี ๑ ยงั ชำระหนไ้ี มค รบถว นตามแผน
ฟนฟูกิจการเพียงใด จึงยังไมอาจพิจารณาคำขอรับชำระหนี้ของเจาหนี้ไดชอบที่เจาพนักงาน
พทิ กั ษท รพั ยจ ะตอ งสอบสวนคำขอรบั ชำระหนข้ี องเจา หนใ้ี หมแ ละดำเนนิ การตามกฎหมายตอ ไป

พพิ ากษายกคำสง่ั ของศาลลม ละลายกลาง ใหเ จา พนกั งานพทิ กั ษท รพั ยส อบสวนคำขอ
รับชำระหนี้ของเจาหนี้และทำความเห็นเสนอศาลลมละลายกลางเพื่อมีคำสั่งใหมตอไป คาฤชา
ธรรมเนยี มในชน้ั นใ้ี หเ ปนพับ.

(โชคชยั รุจินนิ นาท - วิเชยี ร วชริ ประทปี - องอาจ งามมศี รี)

สรายุทธ เตชะวุฒพิ นั ธุ - ยอ
วริ ตั น วิศษิ ฏวงศกร - ตรวจ

หมายเหตุ คดถี งึ ทีส่ ดุ

๗๕

คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษท่ี ๑๓๖๕/๒๕๖๓ ธนาคารกรุงไทย โจทก
จำกดั (มหาชน) เจา หน้ี
ธนาคารกรงุ ไทย จำเลย
จำกัด (มหาชน)
นายชาลี บญุ วานิช
กบั พวก

ป.พ.พ. มาตรา ๗๔๗, ๗๔๙

การจำนำตาม ป.พ.พ. มาตรา ๗๔๗ ตองมีการสงมอบทรัพยจำนำใหอยูในการ
ครอบครองของผูรับจำนำ จึงจะถือวามีการจำนำเปนหลักประกัน เมื่อพิจารณาสัญญา
จำนำและรกั ษาทรพั ยท ง้ั สองฉบบั เหน็ ไดว า สนิ คา ขา วเปลอื กขา วสารทจ่ี ำนำตกลงใหเ กบ็
ไวในโกดังซึ่งเปนที่อยูตามสัญญาของลูกหนี้ทั้งสี่และเปนที่ดินกรรมสิทธิ์ของลูกหนี้ที่ ๒
ถงึ ท่ี ๔ ซง่ึ เทา กบั วา ทรพั ยจ ำนำคงเกบ็ รกั ษาอยกู บั ลกู หนท้ี ง้ั สน่ี น่ั เอง แมต ามสญั ญาตกลง
ใหลูกหนี้ที่ ๔ เปนผูรักษาทรัพยจำนำ แตลูกหนี้ที่ ๔ ก็มีความผูกพันเปนทั้งผูค้ำประกัน
และเปนผูจำนองที่ดินเปนประกันในมูลหนี้ตามสัญญาขายตั๋วเงินที่มีการนำขาวเปลือก
และขา วสารมาจำนำเปน หลกั ประกนั ทง้ั ถกู ฟอ งบงั คบั รว มกบั ลกู หนอ้ี น่ื ตามคำพพิ ากษา
ศาลจงั หวดั นครปฐมในเวลาตอ มาดว ย ลกู หนท้ี ่ี ๔ จงึ มใิ ชบ คุ คลภายนอกทค่ี สู ญั ญาจำนำ
ตกลงกนั ใหเ ปน ผเู กบ็ รกั ษาทรพั ยส นิ ทจ่ี ำนำตามมาตรา ๗๔๙ ได นอกจากนก้ี ารนำสนิ คา
ขา วเปลอื กเขา เกบ็ หรอื นำออกจากโกดงั ทเ่ี กบ็ รกั ษาเปน สง่ิ ทล่ี กู หนท้ี ่ี ๑ และท่ี ๒ สามารถ
ทำได เพยี งแตแ จง เปน ลายลกั ษณอ กั ษรแกเ จา หนผ้ี รู บั จำนำกอ นเทา นน้ั ซง่ึ หมายความวา
แทจ รงิ แลว สนิ คา ขา วเปลอื กทร่ี ะบเุ ปน ทรพั ยจ ำนำมไิ ดม กี ารสง มอบใหอ ยใู นการครอบครอง
ของเจา หนแ้ี ตอ ยา งใด แตอ ยกู บั ฝา ยลกู หนท้ี อ่ี าจนำไปใชห มนุ เวยี นในกจิ การคา ปกตขิ อง
โรงสีขา วทด่ี ำเนนิ การอยไู ด ยิ่งกวา นน้ั เมื่อพจิ ารณาจากสญั ญา ขอ ๔ ทกี่ ำหนดใหลูกหนี้
ท่ี ๑ และท่ี ๒ ผจู ำนำจา ยคา ใชจ า ยในการดแู ลและเกบ็ รกั ษาทรพั ยจ ำนำใหแ กเ จา หนเ้ี พยี ง
เดือนละ ๑๐๐ บาท เพื่อนำไปเปนคาตอบแทนที่จะจายแกผูรักษาทรัพยนั้น นับวาเปน
จำนวนนอยมากเมื่อเทียบกับมูลคาสินคาขาวเปลือกตามสัญญาจำนำและรักษาทรัพย
ที่มีมากกวา ๙๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท จึงเชื่อวาสัญญาจำนำและรักษาทรัพยทำขึ้นเพียงเปน
แบบพิธีเทานั้น เพื่อใหเห็นวาการจำนำมีขึ้นตามสัญญาดังกลาว คดีฟงไดแตเพียงวา
คูส ัญญาไดท ำสัญญาจำนำและรกั ษาทรพั ยกนั โดยลกู หนี้ที่ ๑ และท่ี ๒ มิไดมีการสง มอบ

๗๖

ทรพั ยจ ำนำแกเ จา หนจ้ี รงิ จงึ ถอื ไมไ ดว า เปน การจำนำตามบทบญั ญตั แิ หง ประมวลกฎหมาย
แพง และพาณชิ ยล กั ษณะจำนำ เมอ่ื ไมม กี ารจำนำ จงึ ไมม มี ลู หนท้ี เ่ี จา หนจ้ี ะขอรบั ชำระหน้ี
ในความเสียหายอันเกิดแกทรัพยจำนำจากกองทรัพยสินของลูกหนี้ที่ ๑ ที่ ๒ และที่ ๔
ในคดีลมละลายได

_____________________________
คดสี ืบเนือ่ งมาจากศาลลมละลายกลางมีคำสง่ั พิทกั ษท รพั ยของลูกหนี้ (จำเลย) ทั้งส่ี
เด็ดขาดเมื่อวันที่ ๗ กมุ ภาพันธ ๒๕๕๔
เจาหนเี้ ปน เจา หน้ีรายท่ี ๒ ยืน่ คำขอรับชำระหนใี้ นมลู หน้ีตามสัญญาจำนำและรกั ษา
ทรพั ยเ ปน เงนิ ๑๒๙,๓๑๑,๒๘๒.๑๘ บาท ในฐานะเจา หนม้ี ปี ระกนั จากกองทรพั ยส นิ ของลกู หนท้ี ่ี ๑
ท่ี ๒ และท่ี ๔ ตามพระราชบัญญตั ลิ มละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๙๖ (๓)
เจาพนักงานพิทักษทรัพยนัดตรวจคำขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติลมละลาย
พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๑๐๔ แลว ไมม ีผใู ดโตแยง คำขอรบั ชำระหนข้ี องเจา หน้รี ายนี้
เจาพนักงานพิทักษทรัพยสอบสวนแลวทำความเห็นควรยกคำขอรับชำระหนี้ของ
เจา หนร้ี ายนี้ตามพระราชบญั ญัติลมละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๑๐๗ (๑) เดมิ
ศาลลมละลายกลางมีคำสั่งใหยกคำขอรับชำระหนี้ของเจาหนี้ตามความเห็นของ
เจาพนกั งานพิทกั ษทรพั ย
เจาหนี้อทุ ธรณ
ศาลอทุ ธรณค ดชี ำนัญพิเศษแผนกคดีลมละลายวินิจฉยั วา ขอ เทจ็ จริงรับฟงไดเปนยุติวา
เมื่อวันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๔๕ และวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๖ ลูกหนี้ที่ ๑ และที่ ๒ ตกลง
ทำสญั ญารบั ชำระหน้ี (กรณขี ายตว๋ั สญั ญาใชเ งนิ ) กบั เจา หน้ี รวม ๒ ครง้ั เปน เงนิ ๕๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
และ ๒๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท โดยมีขอตกลงวา ลูกหนี้ที่ ๑ และที่ ๒ จะชำระเงินใหครบตามจำนวน
ในตั๋วสัญญาใชเงินภายในวันที่ตั๋วสัญญาใชเงินครบกำหนดชำระ หากเจาหนี้ไมไดรับชำระเงิน
ตามตั๋วสัญญาใชเงินที่ลูกหนี้ที่ ๑ และที่ ๒ ขายแกเจาหนี้เมื่อตั๋วสัญญาใชเงินถึงกำหนดแลว
ลกู หนท้ี ่ี ๑ และท่ี ๒ ยนิ ยอมจา ยดอกเบย้ี ในอตั ราดอกเบย้ี สงู สดุ ตามประกาศของเจา หน้ี ซง่ึ ขณะ
ทำสัญญาเทากับอัตรารอยละ ๑๔.๕ ตอป ของจำนวนเงินที่คางชำระจนกวาจะชำระเสร็จ
นอกจากนี้ลูกหนี้ที่ ๑ และที่ ๒ ยังไดทำสัญญาตกลงจำนำสินคาขาวเปลือก ขาวสาร กับเจาหนี้
ผูรับจำนำเปนเงิน ๕๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท และ ๒๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท ตามลำดับ โดยยอมใหดอกเบี้ย
อัตรารอยละ ๑๔.๕ ตอป และลูกหนี้ที่ ๔ ตกลงเปนผูรักษาทรัพยจำนำดังกลาว โดยเก็บรักษา
ณ โกดงั โรงสขี า วทวโี ชค ที่ลูกหนี้ที่ ๔ เปนผคู รอบครองอยู ตอ มาทรัพยจ ำนำดงั กลา วไดสูญหายไป

๗๗

เจา หนแ้ี จง ความรอ งทกุ ขต อ พนกั งานสอบสวนแลว เมอ่ื วนั ท่ี ๒๙ มถิ นุ ายน ๒๕๕๔ กอ นยน่ื คำขอ
รบั ชำระหนค้ี ดนี ้ี เจา หนไ้ี ดฟ อ งลกู หนท้ี ง้ั สต่ี อ ศาลจงั หวดั นครปฐมเปน คดแี พง เพอ่ื บงั คบั ชำระหน้ี
เงินกู หนี้ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัด รวมทั้งหนี้สัญญารับชำระหนี้ (กรณีขายตั๋วสัญญาใชเงิน)
ที่เกีย่ วเนือ่ งกบั สญั ญาจำนำและรกั ษาทรัพยทขี่ อรับชำระหนร้ี ายนี้ และศาลจงั หวดั นครปฐมไดมี
คำพิพากษาตามยอมแลวในคดีแพงหมายเลขแดงที่ ๓๕๕/๒๕๕๐ แตลูกหนี้ทั้งสี่ผิดนัดชำระหนี้
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ เจาหนี้จึงยึดทรัพยจำนองออกขายทอดตลาดนำเงินมา
ชำระหน้ี ภายหลงั บงั คบั จำนองทด่ี นิ หลกั ประกนั ในคดแี ลว ไมพ อชำระหน้ี เจา หนไ้ี ดน ำมลู หนต้ี าม
คำพพิ ากษาทเ่ี หลอื ไปยน่ื ขอรบั ชำระหนเ้ี ปน เจา หนร้ี ายท่ี ๑ ในคดลี ม ละลายแลว สำหรบั การขอรบั
ชำระหนี้รายนี้ จึงเปนกรณีเจาหนี้ขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ที่อางความเสียหายจากการที่
ทรัพยจำนำสูญหายซึ่งเจาหนี้อางวาลูกหนี้ที่ ๑ ที่ ๒ และที่ ๔ ตองรับผิดตามสัญญาจำนำและ
รักษาทรพั ย

คดีมีปญหาตองวินิจฉัยตามอุทธรณของเจาหนี้วา เจาหนี้มีสิทธิไดรับชำระหนี้ตาม
คำขอรับชำระหนี้หรือไม เห็นวา ประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย มาตรา ๗๔๗ บัญญัติวา
“อันวาจำนำนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกวาผูจำนำ สงมอบสังหาริมทรัพยสิ่งหนึ่งใหแก
บคุ คลอีกคนหน่ึง เรียกวาผูรับจำนำ เพ่อื เปน ประกันการชำระหน้”ี ดังน้ัน การจำนำจึงตองมกี าร
สง มอบทรพั ยจ ำนำใหอ ยใู นการครอบครองของผรู บั จำนำ จงึ จะถอื วา มกี ารจำนำเปน หลกั ประกนั
ขอเท็จจริงไดความจากบันทึกถอยคำแทนการซักถามพยานของนายอาทร พนักงานผูดูแล
ติดตามหนี้ของเจาหนี้วา ในการขอกูเงินจากเจาหนี้ ลูกหนี้ที่ ๑ และที่ ๒ ไดนำใบเสร็จรับเงิน
จากซอ้ื ขายขา วจำนวน ๙๐,๔๑๓,๑๓๒ บาท มาขอกเู งนิ และจำนำขา วเปลอื กไวก บั เจา หน้ี โดยมี
ลูกหนี้ที่ ๔ ตกลงเปนผูรักษาทรัพยจำนำดังกลาว แตเมื่อพิจารณาสัญญาจำนำและรักษาทรัพย
ทง้ั สองฉบบั ซง่ึ มขี อ ความและเงอ่ื นไขแหง สญั ญาเหมอื นกนั นน้ั เหน็ ไดว า สนิ คา ขา วเปลอื กขา วสาร
ทจ่ี ำนำตกลงใหเ กบ็ ไวใ นโกดงั บรเิ วณโรงสขี า วทวโี ชค เลขท่ี ๒ ถนนเพชรเกษม ตำบลหนองดนิ แดง
อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม บนที่ดินโฉนดเลขที่ ๒๒๙๑๔, ๒๙๙๗๘ ตำบล
หนองดินแดง อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม และที่ดินโฉนดเลขที่ ๕๙๓๐๔ ตำบล
หนองงูเหลือม อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม อันเปนที่อยูตามสัญญาของลูกหนี้ทั้งสี่
และเปน ทด่ี นิ ทเ่ี ปน กรรมสทิ ธข์ิ องลกู หนท้ี ่ี ๒ ถงึ ท่ี ๔ ซง่ึ เทา กบั วา ทรพั ยจ ำนำคงเกบ็ รกั ษาอยกู บั
ลูกหนี้ทั้งสี่นั่นเอง แมตามสัญญาตกลงใหลูกหนี้ที่ ๔ เปนผูรักษาทรัพยจำนำ แตลูกหนี้ที่ ๔ ก็มี
ความผกู พนั เปน ทง้ั ผคู ำ้ ประกนั และเปน ผจู ำนองทด่ี นิ เปน ประกนั ในมลู หนต้ี ามสญั ญาขายตว๋ั เงนิ
ทม่ี กี ารนำขา วเปลอื กและขา วสารมาจำนำเปน หลกั ประกนั ทง้ั ถกู ฟอ งบงั คบั รว มกบั ลกู หนอ้ี น่ื ตาม

๗๘

คำพิพากษาศาลจังหวัดนครปฐมในเวลาตอมาดวย ลูกหนี้ที่ ๔ จึงมิใชบุคคลภายนอกที่คูสัญญา
จำนำตกลงกนั ใหเปน ผูเก็บรักษาทรัพยส ินทจ่ี ำนำตามมาตรา ๗๔๙ ได นอกจากนี้สญั ญา ขอ ๓
ที่ระบุวา “การสงมอบทรัพยสินจำนำใหผูรักษาทรัพย ผูจำนำตองจัดนำสง ณ สถานที่เก็บรักษา
ดังกลาวขางตน... ผูจำนำตองจดแจง คุณภาพ ปริมาณ ชนิดและราคาทรัพยสินจำนำเปน
ลายลกั ษณอ กั ษรแจง ใหผ รู บั จำนำทราบกอ น ตลอดทง้ั การนำทรพั ยส นิ จำนำออกทกุ ครง้ั เพอ่ื การ
ไถถ อนจำนำบางสว น ตอ งไดร บั อนญุ าตจากผรู บั จำนำเปน ลายลกั ษณอ กั ษรกอ นทกุ ครง้ั ” นน้ั แสดง
วา การนำสนิ คา ขา วเปลอื กเขาเก็บหรอื นำออกจากโกดงั ทเี่ ก็บรกั ษาเปน สง่ิ ทล่ี กู หนี้ท่ี ๑ และที่ ๒
สามารถทำได เพยี งแตแ จง เปน ลายลกั ษณอ กั ษรแกเ จา หนผ้ี รู บั จำนำกอ นเทา นน้ั ซง่ึ หมายความ
วาแทจริงแลวสินคาขาวเปลือกที่ระบุเปนทรัพยจำนำมิไดมีการสงมอบใหอยูในการครอบครอง
ของเจา หนแ้ี ตอ ยา งใด แตอ ยกู บั ฝา ยลกู หนท้ี อ่ี าจนำไปใชห มนุ เวยี นในกจิ การคา ปกตขิ องโรงสขี า ว
ที่ดำเนินการอยูได ยิ่งกวานั้นเมื่อพิจารณาจากสัญญา ขอ ๔ ที่กำหนดใหลูกหนี้ที่ ๑ และที่ ๒
ผูจำนำจายคาใชจายในการดูแลและเก็บรักษาทรัพยจำนำใหแกเจาหนี้เพียงเดือนละ ๑๐๐ บาท
เพอ่ื นำไปเปน คา ตอบแทนทจ่ี ะจา ยแกผ รู กั ษาทรพั ยน น้ั นบั วา เปน จำนวนนอ ยมาก เมอ่ื เทยี บกบั
มูลคาสินคาขาวเปลือกตามสัญญาจำนำและรักษาทรัพยที่มีมากกวา ๙๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท จึงเชื่อ
วา สญั ญาจำนำและรกั ษาทรพั ยท ำขน้ึ เพยี งเปน แบบพธิ เี ทา นน้ั เพอ่ื ใหเ หน็ วา การจำนำมขี น้ึ ตาม
สญั ญาดงั กลา ว คดฟี ง ไดแ ตเ พยี งวา คสู ญั ญาไดท ำสญั ญาจำนำและรกั ษาทรพั ยก นั โดยลกู หนท้ี ่ี ๑
และท่ี ๒ มิไดม กี ารสง มอบทรพั ยจ ำนำแกเ จาหนจี้ รงิ จงึ ถอื ไมไ ดว าเปนการจำนำตามบทบัญญัติ
แหงประมวลกฎหมายแพงและพาณิชยลักษณะจำนำ เมื่อไมมีการจำนำ จึงไมมีมูลหนี้ที่เจาหนี้
จะขอรับชำระหนี้ในความเสียหายอันเกิดแกทรัพยจำนำจากกองทรัพยสินของลูกหนี้ที่ ๑ ที่ ๒
และที่ ๔ ในคดีลมละลายได ที่ศาลลมละลายกลางยกคำขอรับชำระหนี้ตามความเห็นของ
เจาพนักงานพิทักษทรัพยนั้น ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษเห็นดวยในผล สวนอุทธรณขออื่น
ไมจำตองวนิ จิ ฉยั เพราะไมท ำใหผ ลแหง คดเี ปล่ียนแปลง

พพิ ากษายืน คาฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณใ หเปนพับ.

(โชคชัย รุจนิ ินนาท - วิเชยี ร วชริ ประทีป - องอาจ งามมศี ร)ี

รตมิ า ชัยสโุ รจน - ยอ
วริ ัตน วิศษิ ฏวงศกร - ตรวจ

หมายเหตุ คดีถึงท่สี ุด

๗๙

คำพิพากษาศาลอทุ ธรณค ดชี ำนญั พเิ ศษที่ ๖๗๖/๒๕๖๔ ธนาคารกรงุ ไทย จำกดั

(มหาชน) โจทก

บริษัทบริหารสนิ ทรพั ย

กรุงเทพพาณิชย จำกดั เจา หนี้

นายดิโรจนหรือฉตั รชัย

หัชสฬี หาหรอื หัชลฬี หา จำเลย

พ.ร.บ. ลม ละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๙๔ (๑)
ป.พ.พ. มาตรา ๑๙๓/๓๒, ๑๙๓/๑๔ (๒), ๑๙๓/๑๕
ป.วิ.พ. มาตรา ๑๔๕ วรรคหน่ึง

ขออางตามอุทธรณของลูกหนี้ที่วา หนี้ตามสัญญาที่เปนมูลตามคำพิพากษาใน
คดีแพง ซึ่งโจทกนำมาขอรับชำระหนี้ขาดอายุความ เปนขอตอสูที่ลูกหนี้จะตองยกขึ้น
ตอ สหู รอื ยกขน้ึ อทุ ธรณใ นคดแี พง เมอ่ื ลกู หนม้ี ไิ ดใ หก ารตอ สใู นคดแี พง จนศาลมคี ำพพิ ากษา
ถึงที่สุด คำพิพากษาดังกลาวยอมผูกพันลูกหนี้ซึ่งเปนคูความในกระบวนพิจารณาของ
ศาลที่พิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๑๔๕ วรรคหนึ่ง สิทธิเรียกรองดังกลาวเกิดขึ้นโดย
คำพิพากษาของศาลท่ถี ึงทสี่ ุดจงึ มีอายคุ วามสิบปตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๙๓/๓๒

เจาหนี้ฟองขอลูกหนี้ใหลมละลายเมื่อวันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ จึงเปนการ
ฟองคดีเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกรองหรือเพื่อใหชำระหนี้โดยชอบภายในกำหนดสิบป
ยอมทำใหอ ายคุ วามสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๙๓/๑๔ (๒) เม่ืออายุความสะดดุ
หยุดลงแลวระยะเวลาที่ลวงไปกอนนั้นไมนับรวมเขาในอายุความ และเมื่อเหตุที่ทำให
อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดลงเวลาใดใหเริ่มนับอายุความใหมตั้งแตเวลานั้นตาม
มาตรา ๑๙๓/๑๕ เมอ่ื นบั แตว นั ท่ี ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๒ ทศ่ี าลมคี ำสง่ั จำหนา ยคดลี ม ละลาย
ออกจากสารบบความ อันถือไดวาเปนเหตุที่ทำใหอายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดลงถึง
วนั ท่ี ๒๕ สงิ หาคม ๒๕๕๒ ซง่ึ เจา หนย้ี น่ื คำขอรบั ชำระหนย้ี งั ไมพ น สบิ ป คำขอรบั ชำระหน้ี
ของเจาหนจ้ี ึงไมข าดอายุความ

_____________________________

๘๐

คดสี บื เนอ่ื งมาจากศาลลม ละลายกลางมคี ำสง่ั พทิ กั ษท รพั ยข องลกู หน้ี (จำเลย) เดด็ ขาด
เมื่อวนั ที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๒

เจาหนี้เปนเจาหนี้รายที่ ๒ ยื่นคำขอรับชำระหนี้ มูลหนี้ตามคำพิพากษาเปนเงิน
๖,๐๓๕,๘๙๖.๕๑ บาท จากกองทรพั ยส นิ ของลกู หนใ้ี นฐานะเจา หนไ้ี มม ปี ระกนั ตามพระราชบญั ญตั ิ
ลมละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๙๔

เจาพนักงานพิทักษทรัพยนัดตรวจคำขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติลมละลาย
พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๑๐๔ แลว ไมมีผูใดโตแยง คำขอรบั ชำระหน้ีของเจา หนร้ี ายน้ี

เจาพนักงานพิทักษทรัพยสอบสวนแลว เห็นวา มูลหนี้เกิดขึ้นกอนวันที่ศาลมีคำสั่ง
พทิ กั ษท รพั ยล กู หนเ้ี ดด็ ขาด ยงั ไมข าดอายคุ วาม ไมต อ งหา มมใิ หข อรบั ชำระหน้ี เหน็ ควรใหเ จา หน้ี
ไดร บั ชำระหนม้ี ลู หนต้ี ามคำพพิ ากษาเปน เงนิ ๓,๖๑๙,๓๒๐.๕๑ บาท จากกองทรพั ยส นิ ของลกู หน้ี
ในฐานะเจาหนี้ไมมีประกันตามพระราชบัญญัติลมละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๙๔ โดยใหไดรับ
ชำระหนโ้ี ดยสว นเฉลย่ี อยา งเจา หนส้ี ามญั ตามพระราชบญั ญตั ลิ ม ละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๑๓๐ (๗)
สว นทข่ี อเกนิ มาใหย กเสยี

ศาลลม ละลายกลางมคี ำสง่ั อนญุ าตใหเ จา หนไ้ี ดร บั ชำระหนต้ี ามความเหน็ ของเจา พนกั งาน
พทิ กั ษท รัพย

ลกู หนี้อุทธรณ
ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษแผนกคดีลมละลายวินิจฉัยวา ขอเท็จจริงรับฟงเปนยุติ
โดยคูความมิไดโตแยงวา เมื่อวันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๐ ศาลแพงพิพากษาใหลูกหนี้ชำระเงิน
๙๔๒,๒๗๗.๓๖ บาท พรอ มดอกเบย้ี จนกวา จะชำระเสรจ็ แกธ นาคารสหธนาคาร จำกดั (มหาชน)
กับใหใชคาฤชาธรรมเนียมแทนโจทก โดยกำหนดคาทนายความให ๕,๐๐๐ บาท วันที่ ๑๗
สิงหาคม ๒๕๔๙ เจาหนี้ไดรับอนุญาตใหเขาสวมสิทธิแทนธนาคารสหธนาคาร จำกัด (มหาชน)
วันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ เจาหนี้ฟองลูกหนี้ใหลมละลาย วันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๒
ศาลลม ละลายกลางมคี ำสง่ั จำหนา ยคดเี สยี จากสารบบความ ตามพระราชบญั ญตั ลิ ม ละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓
มาตรา ๑๕ เนอ่ื งจากลกู หนถ้ี กู พทิ กั ษท รพั ยเ ดด็ ขาดในคดหี มายเลขแดงท่ี ๗๐๓๔/๒๕๕๒ เจา หน้ี
จึงนำมูลหนี้ตามคำพิพากษาดังกลาวมาขอรับชำระหนี้เห็นควรวินิจฉัยตามคำแกอุทธรณของ
เจา พนกั งานพทิ กั ษท รพั ยเ สยี กอ นวา ลกู หนย้ี น่ื อทุ ธรณภ ายในกำหนดหรอื ไม เหน็ วา ลกู หนไ้ี ดร บั
หมายแจงคำสั่งศาลโดยวิธีปดหมายเมื่อวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๖๓ ลูกหนี้ไดขอขยายเวลา
อุทธรณเมื่อวันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๖๓ ซึ่งศาลอนุญาตใหลูกหนี้ยื่นอุทธรณไดถึงวันที่ ๒๘
กนั ยายน ๒๕๖๓ จากนน้ั ลกู หนไ้ี ดย น่ื คำขอและไดร บั อนญุ าตใหข ยายเวลายน่ื อทุ ธรณอ กี หลายครง้ั

๘๑

โดยครั้งสุดทายไดรับอนุญาตใหขยายเวลาถึงวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๖๔ ลูกหนี้ยื่นอุทธรณในวัน
ดังกลาว จึงเปน การยื่นอุทธรณภ ายในกำหนด

มปี ญ หาตอ งวนิ จิ ฉยั ตามอทุ ธรณข องลกู หนว้ี า เจา หนม้ี สี ทิ ธไิ ดร บั ชำระหนห้ี รอื ไม เหน็ วา
ขออางตามอุทธรณของลูกหนี้ที่วา หนี้ตามสัญญาที่เปนมูลตามคำพิพากษาในคดีแพง ซึ่งโจทก
นำมาขอรับชำระหนี้ขาดอายุความ เปนขอตอสูที่ลูกหนี้จะตองยกขึ้นตอสูหรือยกขึ้นอุทธรณใน
คดีแพง เมื่อลูกหนี้มิไดใหการตอสูในคดีแพงจนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คำพิพากษาดังกลาว
ยอมผูกพันลูกหนี้ซึ่งเปนคูความในกระบวนพิจารณาของศาลที่พิพากษาตามประมวลกฎหมาย
วิธีพิจารณาความแพง มาตรา ๑๔๕ วรรคหนึ่ง สิทธิเรียกรองดังกลาวเกิดขึ้นโดยคำพิพากษา
ของศาลที่ถึงที่สุดจึงมีอายุความสิบปตามประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย มาตรา ๑๙๓/๓๒
สวนที่ลูกหนี้อางวายอดหนี้ที่เจาหนี้ขอสวมสิทธิมีเพียง ๘๑๕,๗๘๐.๕๕ บาท ไมเขาเกณฑที่จะ
ฟองลูกหนี้ใหลมละลาย การฟองคดีไมทำใหอายุความสะดุดหยุดลงนั้น ก็ปรากฏตามสำเนา
คำฟอง เอกสารหมาย จ.๘ วา เจาหนี้บรรยายฟองวา เมื่อคำนวณถึงวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๐
ลกู หนเ้ี ปน หนเ้ี จา หนร้ี วมตน เงนิ และดอกเบย้ี เปน เงนิ ๓,๓๑๑,๖๕๙.๕๑ บาท ซง่ึ เปน หนท้ี ก่ี ำหนด
จำนวนไดโดยแนนอนไมนอยกวาหนึ่งลานบาท ลูกหนี้ถูกยึดทรัพยตามหมายบังคับคดีหรือไมมี
ทรัพยสินอยางหนึ่งอยางใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได ตองดวยขอสันนิษฐานตามพระราชบัญญัติ
ลม ละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๘ (๕) วา ลกู หนม้ี หี นส้ี นิ ลน พน ตวั ศาลแพง มคี ำพพิ ากษาเมอ่ื วนั ท่ี
๗ พฤศจกิ ายน ๒๕๔๐ เจา หนฟ้ี อ งขอลกู หนใ้ี หล ม ละลายเปน คดหี มายเลขดำท่ี ล.๑๒๘๕๕/๒๕๕๐
เมื่อวันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ จึงเปนการฟองคดีเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกรองหรือเพื่อให
ชำระหนโ้ี ดยชอบภายในกำหนดสบิ ป ยอ มทำใหอ ายคุ วามสะดดุ หยดุ ลงตามประมวลกฎหมายแพง
และพาณิชย มาตรา ๑๙๓/๑๔ (๒) เมื่ออายุความสะดุดหยุดลงแลวระยะเวลาที่ลวงไปกอนนั้น
ไมนบั รวมเขาในอายคุ วามและเมอ่ื เหตทุ ีท่ ำใหอ ายคุ วามสะดดุ หยุดลงส้ินสดุ ลงเวลาใด ใหเรม่ิ นับ
อายคุ วามใหมต ง้ั แตเ วลานน้ั ตามมาตรา ๑๙๓/๑๕ เมอ่ื นบั แตว นั ท่ี ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๒ ทศ่ี าล
มีคำสั่งจำหนายคดีลมละลายออกจากสารบบความ อันถือไดวาเปนเหตุที่ทำใหอายุความสะดุด
หยุดลงสิ้นสุดลงถึงวันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๒ ซึ่งเจาหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ยังไมพนสิบป
คำขอรบั ชำระหนข้ี องเจา หน้ี จงึ ไมข าดอายคุ วาม สว นขอ อา งทว่ี า ลกู หนม้ี ที รพั ยส นิ เปน บา นพรอ ม
ทด่ี นิ ในโครงการหมบู า นลดั ดารมย ปน เกลา ซง่ึ มรี าคาประเมนิ ๑๓,๐๐๐,๐๐๐ บาท ลกู หนจ้ี งึ มไิ ด
มีหนี้สินลนพนตัวนั้น เปนเรื่องที่ลูกหนี้จะตองยกขึ้นเปนขอตอสูในคดีลมละลาย ขออางตาม
อทุ ธรณข องลกู หนไี้ มมีนำ้ หนักรบั ฟง หักลางพยานของเจาหนี้ อทุ ธรณข อ อ่นื ไมอาจเปลี่ยนแปลง
ผลคดไี มจ ำตอ งวนิ จิ ฉยั ทศ่ี าลลม ละลายกลางมคี ำสง่ั อนญุ าตใหเ จา หนร้ี บั ชำระหนต้ี ามความเหน็

๘๒

ของเจาพนักงานพิทักษทรัพย ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษเห็นพองดวย อุทธรณของลูกหนี้
ฟงไมข นึ้

พพิ ากษายนื คาฤชาธรรมเนยี มในชั้นน้ีใหเปนพบั .
(วเิ ชียร วชริ ประทีป - โชคชยั รุจินินนาท - องอาจ งามมีศร)ี

สรายุทธ เตชะวุฒิพนั ธุ - ยอ
วริ ัตน วิศิษฏวงศกร - ตรวจ

๘๓

คำพพิ ากษาศาลอุทธรณคดชี ำนญั พิเศษที่ ๑๔๐๔/๒๕๖๑ ธนาคารกรุงไทย

จำกดั (มหาชน) โจทก

บริษัทบรหิ ารสินทรพั ย

สขุ ุมวิท จำกดั ผูรอง

เจา พนักงาน

พิทกั ษทรัพย ผคู ัดคา น

นางสาวหรือนางมิ่งมิตร

โสภณ จำเลย

พ.ร.บ. ลม ละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๒๒ (๑), ๙๕, ๑๐๙

ผรู อ งยน่ื คำรอ งในฐานะเจา หนม้ี ปี ระกนั ทม่ี สี ทิ ธเิ หนอื ทรพั ยจ ำนองอนั เปน หลกั
ประกันของจำเลยตาม พ.ร.บ. ลมละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๙๕ ซึ่งทรัพยจำนองของ
จำเลยเปนทรัพยสินในคดีลมละลายอันอาจแบงแกเจาหนี้ไดตามมาตรา ๑๐๙ แมผูรอง
หมดสทิ ธบิ งั คบั คดเี พราะพน กำหนดระยะเวลาบงั คบั คดใี นคดแี พง ตามกฎหมายแลว กต็ าม
ผูคัดคานก็ยังคงมีอำนาจและหนาที่รวบรวมและจัดการทรัพยสินนั้นในคดีลมละลายได
ตอไป เพราะเปนการดำเนินการตามบทบัญญัติมาตรา ๒๒ (๑) มิใชกรณีที่ผูรองขอให
บังคับคดีในคดีแพง และแมวาทรัพยจำนองมีราคาไมคุมหรือไมพอชำระหนี้จำนองของ
ผูรองแตก็ยังมิใชเหตุที่ผูคัดคานจะอางไมยึดทรัพยจำนองตามอำนาจและหนาที่ของ
ผคู ดั คา น เพราะหากมภี าระแกก องทรพั ยส นิ กช็ อบทจ่ี ะใหผ รู อ งเปน ผรู บั ผดิ ชอบคา ใชจ า ยได
การที่ผูคัดคานไมยึดทรัพยจำนองเพื่อนำออกขายทอดตลาดนั้น ยอมจะทำใหทรัพย
จำนองยงั คงตดิ จำนองหรอื มภี าระหนจ้ี ำนองอยโู ดยผคู ดั คา นมไิ ดจ ดั การชำระหนจ้ี ำนอง
แกผ รู อ ง ทง้ั หากมใิ หผ รู อ งบงั คบั แกท รพั ยจ ำนองไดท ง้ั ในคดแี พง และคดลี ม ละลายตามท่ี
ผูคัดคานมีคำสั่งกลับจะไมเปนประโยชนแกฝายเจาหนี้และลูกหนี้ที่ยังไมไดชำระสะสาง
หนีส้ นิ ท่มี ีอยูและอาจทำใหม ีเหตขุ ัดขอ งตอ การนำทรพั ยจำนองไปใชป ระโยชนอ ีกดวย

______________________________

คดสี บื เนอ่ื งมาจากเมอ่ื วนั ท่ี ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๔๗ ศาลลม ละลายกลางมคี ำสง่ั พทิ กั ษท รพั ย
ของจำเลยเด็ดขาด

๘๔

ผรู อ งยน่ื คำรอ งวา ขอใหม คี ำสง่ั ใหผ คู ดั คา นยดึ ทรพั ยจ ำนองดงั กลา วเพอ่ื ขายทอดตลาด
นำเงินมาชำระหนีแ้ กเ จา หนี้

ผคู ดั คานยนื่ คำคัดคา น ขอใหย กคำรอง
ศาลลม ละลายกลาง มคี ำสงั่ ยกคำรอง คาฤชาธรรมเนียมในชนั้ น้ใี หเ ปน พบั
ผูรองอทุ ธรณโดยไดรับอนุญาตจากศาลอทุ ธรณค ดชี ำนญั พิเศษ
ศาลอทุ ธรณค ดชี ำนญั พเิ ศษแผนกคดลี ม ละลายวนิ จิ ฉยั วา ขอ เทจ็ จรงิ ฟง ยตุ วิ า เมอ่ื วนั ท่ี
๒๗ มกราคม ๒๕๕๕ ผรู อ งยน่ื คำรอ งขอใหผ คู ดั คา นมคี ำสง่ั ใหผ รู อ งไดร บั เงนิ จากการขายทอดตลาด
ทรพั ยจ ำนองกอ นเจา หนร้ี ายอน่ื ในฐานะเจา หนม้ี ปี ระกนั ตามพระราชบญั ญตั ลิ ม ละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓
มาตรา ๙๕ ผคู ดั คา นมคี ำสง่ั ใหผ รู อ งใชส ทิ ธบิ งั คบั คดแี พง กบั ทรพั ยห ลกั ประกนั ตามสำเนาคำรอ ง
ตอมาวันที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๕๕ วันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๕๖ และวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๕๙ ผูรอง
ยื่นคำรองขอใหผูคัดคานยึดทรัพยจำนองตามคำพิพากษาตามยอม คือ ที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่
๑๖๘๘๐๔ ตำบลทาทราย อำเภอเมืองนนทบุรี (ตลาดขวัญ) จังหวัดนนทบุรี พรอมสิ่งปลูกสราง
ของจำเลยตามสำเนาคำรอ ง คดมี ปี ญ หาตอ งวนิ จิ ฉยั ตามอทุ ธรณข องผรู อ งวา ผรู อ งขอใหผ คู ดั คา น
ยึดทรัพยจำนองออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แกผูรองไดหรือไมเห็นวาเมื่อศาลมีคำสั่ง
พิทักษทรัพยของลูกหนี้เด็ดขาด ผูคัดคานแตผูเดียวมีอำนาจจัดการและจำหนายทรัพยสินของ
ลูกหนี้ หรือกระทำการที่จำเปนเพื่อใหกิจการของลูกหนี้ที่คางอยูเสร็จสิ้นไปตามพระราชบัญญัติ
ลมละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๒๒ (๑) คดนี ีผ้ ูรองไดย ่นื คำรอ งในฐานะเจา หนม้ี ีประกนั ท่มี สี ทิ ธิ
เหนือทรัพยจำนองอันเปนหลักประกันของจำเลยตามมาตรา ๙๕ ซึ่งทรัพยจำนองของจำเลย
เปนทรัพยสินในคดีลมละลายอันอาจแบงแกเจาหนี้ไดตามมาตรา ๑๐๙ แมไดความวาผูรองหมด
สิทธิบังคับคดีเพราะพนกำหนดระยะเวลาบังคับคดีในคดีแพงตามกฎหมายแลวก็ตามผูคัดคาน
ก็ยังคงมีอำนาจและหนาที่รวบรวมและจัดการทรัพยสินนั้นในคดีลมละลายไดตอไปเพราะเปน
การดำเนินการตามบทบัญญัติของมาตรา ๒๒ (๑) ดังกลาวมิใชกรณีที่ผูรองขอใหบังคับคดีใน
คดีแพง และแมวาทรัพยจำนองมีราคาไมคุมหรือไมพอชำระหนี้จำนองของผูรองแตก็ยังมิใชเหตุ
ที่ผูคัดคานจะอางไมยึดทรัพยจำนองตามอำนาจและหนาที่ของผูคัดคาน เพราะหากมีภาระแก
กองทรพั ยสนิ กช็ อบทีจ่ ะใหผ ูรองเปนผูรับผดิ ชอบคาใชจ ายไดการที่ผคู ดั คานไมยดึ ทรัพยจำนอง
เพื่อนำออกขายทอดตลาดนั้น ยอมจะทำใหทรัพยจำนองยังคงติดจำนองหรือมีภาระหนี้จำนอง
อยโู ดยผคู ดั คา นมไิ ดจ ดั การชำระหนจ้ี ำนองแกผ รู อ งตามทผ่ี รู อ งยน่ื คำรอ ง ทง้ั หากมใิ หผ รู อ งบงั คบั
แกท รพั ยจ ำนองไดท ง้ั ในคดแี พงและคดีลม ละลายตามที่ผูคดั คานมีคำสง่ั กลบั จะไมเ ปน ประโยชน
แกฝายเจาหนี้และลูกหนี้ที่ยังไมไดชำระสะสางหนี้สินที่มีอยูและอาจทำใหมีเหตุขัดของตอการ

๘๕

นำทรัพยจำนองไปใชประโยชนอีกดวย ดังนั้น เมื่อผูรองในฐานะเจาหนี้มีประกันไดใชสิทธิยื่น
คำขอรับชำระหนี้จำนองแลว ผูรองจึงขอใหผูคัดคานยึดทรัพยจำนองออกขายทอดตลาดนำเงิน
มาชำระหนี้แกผูรองได และผูคัดคานชอบที่จะตองรับคำขอรับชำระหนี้ของผูรองเพื่อดำเนินการ
ตอ ไป ทศ่ี าลลม ละลายกลางมคี ำสง่ั ยกคำรอ งของผรู อ งนน้ั ศาลอทุ ธรณค ดชี ำนญั พเิ ศษไมเ หน็ พอ งดว ย
อทุ ธรณข องผูรองฟง ขึน้

พิพากษากลับ ใหผูคัดคานรับคำขอรับชำระหนี้ในฐานะเจาหนี้มีประกันของผูรองเพื่อ
ดำเนินการสอบสวนสิทธิของผูรองและมีคำสั่ง แลวยึดทรัพยจำนองหลักประกันของผูรองออก
ขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แกผูรองตามสิทธิตอไป ทั้งนี้ หากเปนภาระแกกองทรัพยสิน
ก็ใหผูรองเปนผูเสียคาใชจา ยในการนี้ คาฤชาธรรมเนียมท้งั สองศาลใหเปนพบั .

(องอาจ งามมีศรี - โชคชยั รจุ นิ ินนาท - วิเชยี ร วชิรประทปี )

นราธิป บุญญพนชิ - ยอ
อดศิ กั ด์ิ เทียนกริม - ตรวจ

หมายเหตุ คดถี ึงท่ีสุด

๘๖

คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนญั พิเศษที่ ๑๓๑๕/๒๕๖๒ กรมสรรพากร โจทก

บรษิ ทั บริหารสินทรพั ย

สขุ มุ วทิ จำกัด ผูร อง

เจาพนกั งาน

พิทักษทรัพย ผูค ดั คาน

นายณรงคธน เอนกสัมพันธ

ในฐานะหุนสวน

ผจู ัดการหางหุนสวนจำกดั

เอนกสัมพนั ธณ รงคธน จำเลย

พ.ร.บ. ลม ละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๒๒ (๑), ๑๐๙, ๑๔๕ (๒), ๑๔๖

เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษทรัพยของลูกหนี้เด็ดขาดแลว ผูคัดคานมีอำนาจในการ
รวบรวมและจัดการทรัพยสินของลูกหนี้ ตาม พ.ร.บ. ลมละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๒๒
ทรัพยสินของลูกหนี้ที่ผูคัดคานมีอำนาจดำเนินการ คือ ทรัพยสินตามที่บัญญัติไวตาม
พ.ร.บ. ลม ละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๑๐๙ ซง่ึ รวมถงึ ทรพั ยท กุ ประเภทของลกู หนท้ี ม่ี อี ยู
ในเวลาเรม่ิ ตน แหง การลม ละลายตามมาตรา ๑๐๙ (๑) ไมว า ทรพั ยน น้ั จะเปน หลกั ประกนั
แกเ จา หนร้ี ายใดหรอื ไม ผคู ดั คา นยอ มมอี ำนาจรวบรวมทรพั ยส นิ ดงั กลา วเขา กองทรพั ยส นิ
ได เวน แตจ ะเปน กรณตี ามมาตรา ๑๑๐ วรรคสาม การทผ่ี คู ดั คา นสละสทิ ธไิ มด ำเนนิ การ
กบั ทรพั ยส นิ ของลกู หนต้ี อ งปรากฏวา ผคู ดั คา นไดร บั ความเหน็ ชอบจากกรรมการเจา หน้ี
ตามมาตรา๑๔๕ (๒) แลว เมือ่ ทดี่ ินพิพาทเปน ทรพั ยของลกู หน้ีทม่ี มี ากอนลมละลายและ
ไมปรากฏวากรรมการเจาหนี้มีมติเห็นชอบใหผูคัดคานสละสิทธิในที่ดินดังกลาวตาม
มาตรา ๑๔๕ (๒) ผคู ดั คา นจงึ ยงั คงมหี นา ทใ่ี นการรวบรวมจดั การทรพั ยด งั กลา วโดยไมต อ ง
คำนึงวาทรัพยดังกลาวจะเปนหลักประกันของเจาหนี้และราคาทรัพยมีมูลคานอยกวา
ภาระหนี้หรือไม เมื่อผูรองในฐานะเจาหนี้มีประกันเลือกที่จะใชสิทธิมายื่นคำรองให
ผูคัดคานดำเนินการบังคับบุริมสิทธิของผูรองกับที่ดินพิพาท ผูคัดคานจำตองรับคำรอง
เพื่อดำเนนิ การสอบสวนสทิ ธขิ องผรู อ ง และยึดทรัพยจำนองออกขายทอดตลาดตอไป

______________________________

๘๗

คดสี บื เนอ่ื งมาจากเมอ่ื วนั ท่ี ๑๕ ตลุ าคม ๒๕๕๐ ศาลลม ละลายกลางมคี ำสง่ั พทิ กั ษท รพั ย
ของลกู หน้ี (จำเลย) เด็ดขาดและพพิ ากษาใหล ม ละลายเม่อื วันท่ี ๖ มนี าคม ๒๕๕๒

ผูรองยื่นคำรอง ขอใหกลับคำสั่งผูคัดคานโดยใหผูคัดคานยึดทรัพยหลักประกันที่ดิน
โฉนดเลขที่ ๔๗๓๙๕ ตำบลหวยทราย อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม พรอมสิ่งปลูกสราง
ออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนีใ้ หแกผรู อง

ผคู ัดคา นยื่นคำคัดคา น ขอใหย กคำรอง
ศาลลม ละลายกลางมคี ำสัง่ ใหยกคำรอ ง คา ฤชาธรรมเนยี มใหเปน พบั
ผูรองอุทธรณโ ดยไดร ับอนุญาตจากศาลอทุ ธรณคดชี ำนัญพิเศษ
ศาลอทุ ธรณค ดชี ำนญั พเิ ศษแผนกคดลี ม ละลายวนิ จิ ฉยั วา ขอ เทจ็ จรงิ เบอ้ื งตน ทค่ี คู วาม
มไิ ดอ ทุ ธรณโ ตแ ยง กนั รบั ฟง เปน ยตุ วิ า เดมิ ลกู หนเ้ี ปน หนธ้ี นาคารศรนี คร จำกดั (มหาชน) เจา หน้ี
เดมิ ในมลู หนต้ี ามคำพพิ ากษาของศาลจงั หวดั เชยี งใหม คดแี พง หมายเลขแดงท่ี ย.๒๑๗๙/๒๕๔๔
ซึ่งพิพากษาใหลูกหนี้และจำเลยที่ ๒ ที่ ๓ ในคดีแพงดังกลาวชำระเงิน ๗๕๕,๒๔๗.๗๙ บาท
พรอมดอกเบี้ยอัตรารอยละ ๑๓.๗๕ ตอป ของตนเงิน ๔๔๒,๖๘๔.๕๗ บาท นับถัดจากวันฟอง
เปน ตน ไปจนกวา จะชำระเสรจ็ แกเ จา หนเ้ี ดมิ หากไมช ำระใหย ดึ ทด่ี นิ โฉนดเลขท่ี ๔๗๓๙๕ ตำบล
หวยทราย อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม พรอมสิ่งปลูกสรางของลูกหนี้ออกขายทอดตลาด
นำเงินมาชำระหนี้ หากไดเงินไมพอใหยึดทรัพยสินอื่นของลูกหนี้กับพวกบังคับชำระหนี้จนครบ
กบั ใหล กู หนก้ี บั พวกใชค า ฤชาธรรมเนยี มแทนเจา หนเ้ี ดมิ โดยกำหนดคา ทนายความ ๒,๕๐๐ บาท
ตอมาเจาหนี้เดิมโอนสิทธิเรียกรองและสิทธิการรับจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ ๔๗๓๙๕ ตำบล
หวยทราย อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม ใหแกผูรอง ศาลจังหวัดเชียงใหมมีคำสั่งอนุญาต
ใหผรู อ งสวมสิทธิเปน เจาหนีต้ ามคำพพิ ากษาแทนเจา หน้ีเดมิ
คดมี ปี ญ หาตามคำแกอ ทุ ธรณข องผคู ดั คา นวา ผรู อ งยน่ื คำรอ งคดั คา นคำสง่ั ของผคู ดั คา น
ตอศาลภายในกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนดไวหรือไม เห็นวา แมปญหาเรื่องผูรองใชสิทธิรอง
คัดคานคำสั่งของผูคัดคานภายในกำหนดเวลาตามพระราชบัญญัติลมละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓
มาตรา ๑๔๖ หรือไม จะเปนปญหาขอกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบรอยของประชาชน
ซง่ึ ศาลสามารถหยบิ ขน้ึ วนิ จิ ฉยั ไดเ องตามประมวลกฎหมายวธิ พี จิ ารณาความแพง มาตรา ๑๔๒ (๕)
ก็ตาม แตการวินิจฉัยปญหาขอกฎหมายดังกลาวจำเปนตองอาศัยขอเท็จจริงที่ไดมาจากการ
ดำเนนิ กระบวนพจิ ารณาโดยชอบในศาลลม ละลายกลาง เมอ่ื ทางนำสบื ของผรู อ งและผคู ดั คา นในชน้ั
พจิ ารณาไมป รากฏขอ เทจ็ จรงิ ดงั กลา ว ศาลจงึ หยบิ ยกขอ เทจ็ จรงิ ตามคำแกอ ทุ ธรณม าวนิ จิ ฉยั เปน
ขอ กฎหมายไมไ ดแ ละถอื เปน ขอ แกอ ทุ ธรณท ไ่ี มไ ดย กขน้ึ วา กนั มาแลว โดยชอบในศาลลม ละลายกลาง

๘๘

ไมชอบดวยตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลลมละลายและวิธีพิจารณาคดีลมละลาย พ.ศ. ๒๕๔๒
มาตรา ๒๘/๑ ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพง มาตรา ๒๒๕ วรรคหนึ่ง
ศาลอุทธรณค ดชี ำนญั พิเศษไมร ับวนิ ิจฉยั

ปญหาตอไปตามอุทธรณของผูรองมีวา ผูคัดคานมีหนาที่ยึดและขายทอดตลาดทรัพย
หลักประกันเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ใหแกผูรองหรือไม เห็นวา เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษทรัพยของ
ลูกหนี้เด็ดขาด ผูคัดคานแตเพียงผูเดียวมีอำนาจในการรวบรวมและจัดการทรัพยสินของลูกหนี้
ตามพระราชบญั ญตั ลิ ม ละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๒๒ ทรพั ยส นิ ของลกู หนท้ี ผ่ี คู ดั คา นมอี ำนาจ
ดำเนนิ การ คอื ทรพั ยส นิ ตามทบ่ี ญั ญตั ไิ วต ามพระราชบญั ญตั ลิ ม ละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๑๐๙
ซง่ึ รวมถงึ ทรพั ยท กุ ประเภทของลกู หนท้ี ม่ี อี ยใู นเวลาเรม่ิ ตน แหง การลม ละลายตามมาตรา ๑๐๙ (๑)
ไมวาทรัพยนั้นจะเปนหลักประกันแกเจาหนี้รายใดหรือไม ผูคัดคานยอมมีอำนาจหนาที่รวบรวม
ทรัพยส นิ ดังกลาวของลกู หนี้เขา กองทรัพยส นิ เพ่อื จัดการได เวนแตจ ะเปนกรณตี ามมาตรา ๑๑๐
วรรคสาม การที่ผูคัดคานจะสละสิทธิไมดำเนินการกับทรัพยสินใดของลูกหนี้ไดตองปรากฏวา
ผูคัดคานไดรับความเห็นชอบจากกรรมการเจาหนี้ตามมาตรา ๑๔๕ (๓) แลว เมื่อขอเท็จจริง
ปรากฏวา ทดี่ ินโฉนดเลขที่ ๔๗๓๙๕ ตำบลหวยทราย อำเภอสันกำแพง จงั หวดั เชยี งใหม พรอม
สง่ิ ปลกู สรา ง เปน ทรพั ยท ล่ี กู หนม้ี มี ากอ นลม ละลาย และไมป รากฏวา กรรมการเจา หนม้ี มี ตเิ หน็ ชอบ
ใหผ คู ดั คา นสละสทิ ธใิ นทด่ี นิ ดงั กลา ว ตามพระราชบญั ญตั ลิ ม ละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๑๔๕ (๓)
ผูคัดคานจึงยังคงตองมีหนาที่ในการรวบรวมจัดการทรัพยสินดังกลาว โดยไมคำนึงวาทรัพย
ดังกลาวจะเปนหลักประกันของเจาหนี้และราคาทรัพยมีมูลคานอยกวาภาระหนี้หรือไม ดังนั้น
เมอ่ื ผรู อ งในฐานะเจา หนม้ี ปี ระกนั เลอื กทจ่ี ะใชส ทิ ธมิ ายน่ื คำรอ งใหผ คู ดั คา นดำเนนิ การบงั คบั บรุ มิ สทิ ธิ
ของผูรองกับที่ดินดังกลาว ผูคัดคานจำตองรับคำรองเพื่อดำเนินการสอบสวนสิทธิของผูรอง
และยดึ ทรพั ยจ ำนองออกขายทอดตลาดตอ ไป การทศ่ี าลลม ละลายกลางมคี ำสง่ั ยกคำรอ งของผรู อ ง
ศาลอทุ ธรณคดชี าํ นัญพิเศษไมเหน็ พองดว ย อทุ ธรณข องผรู องฟง ข้นึ

พพิ ากษากลบั ใหผ คู ดั คา นรบั คำรอ งเพอ่ื ดำเนนิ การสอบสวนสทิ ธขิ องผรู อ ง และยดึ ทรพั ย
จำนองออกขายทอดตลาดตอ ไปโดยใหผ รู อ งเปน ผรู บั ผดิ ชอบคา ใชจ า ยในการยดึ และขายทอดตลาด
ทรพั ย คา ฤชาธรรมเนียมทัง้ สองศาลใหเ ปนพบั .

(สิริพร เปรมาสวัสดิ์ สรุ มณี - สถาพร วสิ าพรหม - เกียรติคณุ แมน เลขา)

หมายเหตุ คดถี ึงท่ีสุด ภารดี เพญ็ เจริญ - ยอ
วริ ตั น วศิ ษิ ฏว งศกร - ตรวจ

๘๙

คำพพิ ากษาศาลอุทธรณค ดีชำนัญพเิ ศษท่ี ๑๑๐๔/๒๕๖๓ บริษทั บริหารสินทรัพย

(ประชุมใหญ) กรงุ ศรอี ยธุ ยา จำกัด โจทก

บรษิ ัทบรหิ ารสนิ ทรพั ย

สขุ มุ วิท จำกัด ผูรอง

เจาพนักงาน

พิทักษทรพั ย ผคู ดั คาน

นายศุภชัย บูรณะกจิ

กบั พวก จำเลย

พ.ร.บ. ลมละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๙๕, ๙๖

ผูรองเปนเจาหนี้มีประกันผูมีสิทธิเหนือทรัพยสินของลูกหนี้ในทางจำนองยอม
มสี ทิ ธไิ ดร บั ชำระหนจ้ี ากทรพั ยห ลกั ประกนั ตาม พ.ร.บ. ลม ละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๙๕
หรือมาตรา ๙๖ แมผูรองเคยยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพยสินของจำเลยที่ ๑ ตาม
มาตรา ๙๖ (๓) แตไดถอนคำขอรับชำระหนี้แลว ซึ่งการขอถอนคำขอรับหนี้ยอมลบลาง
ผลแหงการยื่นคำขอและทำใหเจาหนี้กลับคืนสูฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิไดมีการยื่นคำขอ
รับชำระหนี้เลย ผูรองยังคงเปนเจาหนี้มีประกันตามมาตรา ๙๕ จึงมีสิทธิขอใหผูคัดคาน
ดำเนนิ การขายทอดตลาดทรพั ยส นิ อนั เปน หลกั ประกนั แลว นำเงนิ มาชำระหนใ้ี หแ กผ รู อ งได

______________________________

คดีสืบเนื่องมาจากศาลลมละลายกลางมีคำสั่งพิทักษทรัพยของจำเลยทั้งสามเด็ดขาด
เม่อื วันท่ี ๑๕ ธันวาคม ๒๕๔๗

ผูรองยื่นคำรองขอใหมีคำสั่งใหผูคัดคานรับคำรองขอรับชำระหนี้ตามมาตรา ๙๕
เพื่อนำเงนิ ท่ไี ดจ ากการขายทอดตลาดทรัพยจ ำนองชำระหนใี้ หผรู อง

ผูคดั คานยืน่ คำคัดคานขอใหย กคำรอ ง
ศาลลมละลายกลางมคี ำส่งั ใหย กคำรอง คา ฤชาธรรมเนียมใหเ ปนพับ
ผูร องอุทธรณโ ดยไดรับอนุญาตจากศาลอทุ ธรณค ดีชำนัญพิเศษ
ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษแผนกคดีลมละลายวินิจฉัยวา ขอเท็จจริงรับฟงเปนยุติ
โดยคคู วามมไิ ดโ ตแ ยง วา เมอ่ื วนั ท่ี ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๔๘ ผรู อ งไดย น่ื คำขอรบั ชำระหนจ้ี ากกอง

๙๐

ทรัพยสินของจำเลยที่ ๑ ในมูลหนี้ตามคำพิพากษาของศาลจังหวัดขอนแกน คดีหมายเลขแดงที่
๒๓๗๙/๒๕๔๔ ในฐานะเจา หนม้ี ปี ระกนั ตามพระราชบญั ญตั ลิ ม ละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๙๖ (๓)
เปนเงิน ๑,๓๕๒,๒๕๐.๒๔ บาท มีที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน (น.ส. ๓ ก.) เลขที่
๑๑๑๔, ๑๑๑๕ และ ๑๑๑๖ ตำบลโนนทอน (สำราญ) อำเภอเมืองขอนแกน จังหวัดขอนแกน
พรอ มสง่ิ ปลกู สรา งเปน หลกั ประกนั วนั ท่ี ๓ มถิ นุ ายน ๒๕๕๓ สำนกั งานบงั คบั คดจี งั หวดั ขอนแกน
ไดส ง เงนิ คงเหลอื สทุ ธจิ ากการขายทอดตลาดทรพั ยห ลกั ประกนั ๒๗๗,๔๖๕ บาท เขา กองทรพั ยส นิ
ของจำเลยที่ ๑ วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ ๒๕๕๕ ผูรองขอถอนคำขอรับชำระหนี้ ตอมาวันที่ ๗
มถิ นุ ายน ๒๕๖๑ ผรู อ งนำหนต้ี ามคำพพิ ากษาของศาลจงั หวดั ขอนแกน ดงั กลา วมาขอรบั ชำระหน้ี
ตามพระราชบญั ญตั ลิ ม ละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๙๕ เจา พนกั งานพทิ กั ษท รพั ยม คี ำสง่ั วา มลู หน้ี
ที่ผูรองขอรับชำระหนี้ ผูรองไดยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามมาตรา ๙๖ (๓) และไดขอถอนคำขอรับ
ชำระหนโ้ี ดยไมป ระสงคจ ะดำเนนิ การใด ๆ กบั จำเลยท่ี ๑ อกี ตอ ไป ยกคำรอ ง มปี ญ หาตอ งวนิ จิ ฉยั
ตามอุทธรณของผูรองวา ผูรองมีสิทธิไดรับชำระหนี้หรือไม ผูรองอุทธรณวา จำเลยที่ ๑ เปนหนี้
ผูรอง ๒ มูลหนี้ คือ หนี้ตามคำพิพากษาของศาลแพง คดีหมายเลขแดงที่ ๑๙๙๘๒/๒๕๔๑ และ
หนี้ตามคำพิพากษาของศาลจังหวัดขอนแกน คดีหมายเลขแดงที่ ๒๓๗๙/๒๕๔๔ หนี้ตาม
คำพิพากษาของศาลแพงมีบุคคลภายนอกชำระหนี้แทนจำเลยที่ ๑ แลวตามสัญญาปรับปรุง
โครงสรา งหนี้ สว นหนต้ี ามคำพิพากษาของศาลจงั หวดั ขอนแกนทีผ่ รู องยน่ื คำขอรบั ชำระหน้แี ละ
ไดถอนคำขอรับชำระหนี้นั้น ผูรองยังไมเคยไดรับชำระหนี้ การถอนคำขอรับชำระหนี้เกิดจาก
ความสำคัญผิดไมทำใหหนี้ระงับ ผูรองจึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้ ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษ
โดยมตทิ ป่ี ระชมุ ใหญเ หน็ วา ผรู อ งเปน เจา หนม้ี ปี ระกนั ผมู สี ทิ ธเิ หนอื ทรพั ยส นิ ของลกู หนใ้ี นทางจำนอง
ยอ มมสี ทิ ธิไดร ับชำระหนจ้ี ากทรพั ยห ลักประกันตามมาตรา ๙๕ หรอื มาตรา ๙๖ แมผูรองเคยย่นื
คำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพยสินของจำเลยที่ ๑ ตามมาตรา ๙๖ (๓) แตไดถอนคำขอรับ
ชำระหนี้แลว ซึ่งการขอถอนคำขอรับชำระหนี้ยอมลบลางผลแหงการยื่นคำขอและทำใหเจาหนี้
กลบั คนื สฐู านะเดมิ เสมอื นหนง่ึ มไิ ดม กี ารยน่ื คำขอรบั ชำระหนเ้ี ลย ผรู อ งยงั คงเปน เจา หนม้ี ปี ระกนั
ตามมาตรา ๙๕ จึงมีสิทธิขอใหผูคัดคานดำเนินการขายทอดตลาดทรัพยสินอันเปนหลักประกัน
แลวนำเงินมาชำระหนี้ใหแกผูรองได แตเมื่อมีการขายทอดตลาดที่ดินทรัพยหลักประกันและสง
เงินคงเหลือสุทธิเขากองทรัพยสินของจำเลยที่ ๑ แลว ผูคัดคานยอมมีหนาที่นำเงินดังกลาว
ชำระหนี้ใหผูรองกอนเจาหนี้อื่นตามสิทธิของผูรอง ที่ศาลลมละลายกลางมีคำสั่งยกคำรองของ
ผรู อง ศาลอุทธรณค ดีชำนัญพเิ ศษไมเห็นพอ งดว ย อทุ ธรณของผูรองฟงขนึ้

๙๑

พิพากษากลับ ใหผูคัดคานรับคำรองขอรับชำระหนี้ในฐานะเจาหนี้มีประกันของผูรอง
เพื่อดำเนนิ การสอบสวนสทิ ธิของผูรองและมีคำสัง่ ตอไป คา ฤชาธรมเนยี มท้ังสองศาลใหเปนพับ.

(วเิ ชียร วชิรประทีป - โชคชัย รจุ นิ ินนาท - องอาจ งามมีศร)ี

นราธิป บุญญพนชิ - ยอ
วิรตั น วศิ ษิ ฏว งศกร - ตรวจ

๙๒


Click to View FlipBook Version