The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

รวมคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by achirapong.art, 2022-09-22 05:49:44

รวมคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว

รวมคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว

วิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๖๙/๒ เมื่อปรากฏว่าจ�ำเลย
ถูกควบคุมตัวอยู่ในเรือนจ�ำอันเป็นเหตุให้พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการไม่
อาจนำ� ตัวจำ� เลยไปศาลเพ่อื ให้ศาลมคี �ำสงั่ เกยี่ วกับการควบคุมตวั แต่พนักงานสอบสวน
ได้มีหนังสือแจ้งการด�ำเนินคดีจ�ำเลยไปยังผู้อ�ำนวยการสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและ
เยาวชน ประกอบกับปรากฏจากรายงานขอ้ เท็จจริงของสถานพนิ จิ และค้มุ ครองเด็กและ
เยาวชนว่า ได้รับตัวจ�ำเลยไว้ควบคุมเม่ือวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๖๐ กรณีถือว่าพนักงาน
สอบสวนได้ด�ำเนินการเพ่ือให้มีการควบคุมตัวจ�ำเลยตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
ดังกล่าวแล้ว โจทก์มีอ�ำนาจฟ้องจ�ำเลยต่อศาลได้ภายในระยะเวลาสามสิบวัน นับแต่
วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๖๐

_______________________________

โจทก์ฟ้อง ขอให้ลงโทษตามพระราชก�ำหนดป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ. ๒๕๓๓
มาตรา ๓, ๔, ๑๗, ๒๔
ศาลชนั้ ตน้ มคี ำ� สง่ั วา่ พเิ คราะหค์ ำ� ฟอ้ งและเอกสารทา้ ยคำ� ฟอ้ งแลว้ เหน็ วา่ เมอ่ื วนั ท่ี ๒๔
มกราคม ๒๕๖๐ คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจังหวัดมุกดาหาร มีค�ำส่ัง
ท่ี ๒๖๗/๒๕๖๐ ว่าผลการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดของจ�ำเลยไม่เป็นที่น่าพอใจ ให้แจ้ง
พนักงานสอบสวนเพ่ือด�ำเนินการต่อไป ตามฟ้องโจทก์ไม่ได้บรรยายว่าพนักงานอัยการหรือ
พนักงานสอบสวนได้รับแจ้งผลค�ำวินิจฉัยของคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด
จังหวัดมุกดาหารดังกล่าวต้ังแต่เม่ือใด แต่ตามหนังสือของสถานีต�ำรวจภูธรดงเย็น จังหวัด
มุกดาหาร ลงวันท่ี ๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๐ มีการอ้างถึงหนังสือส�ำนักงานอัยการคดีเยาวชนและ
ครอบครัวจังหวัดมุกดาหาร ที่ อส ๐๐๔๔ (มห)/๑๒๙ ลงวันท่ี ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ เรื่อง
ขอใหส้ ง่ ตัวผู้ต้องหาพร้อมรายงานสถานพนิ จิ ฯ ไปเพ่ือดำ� เนินคดแี กจ่ �ำเลย นา่ เชื่อว่าพนักงานอยั การ
ได้รับแจ้งผลค�ำวินิจฉัยของคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจังหวัดมุกดาหาร
ว่าการฟื้นฟูไม่เป็นที่น่าพอใจในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ และพนักงานสอบสวนได้รับแจ้งผล
ดังกล่าวในช่วงเวลาเดียวกัน แต่โจทก์มายื่นฟ้องในวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๖๐ จึงเป็นการ
ยื่นฟอ้ งเมือ่ พน้ กำ� หนดระยะเวลาตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณา
คดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๗๘ และไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รับอนุญาตให้
ฟ้องคดจี ากอยั การสูงสุดตามมาตรา ๘๐ จงึ มคี �ำสั่งไม่รบั ฟอ้ งโจทก์

241

โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์คดีช�ำนัญพิเศษแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า มีปัญหาข้อ
กฎหมายทต่ี อ้ งวนิ จิ ฉยั ตามอทุ ธรณข์ องโจทกว์ า่ โจทกย์ น่ื ฟอ้ งภายในระยะเวลาตามพระราชบญั ญตั ิ
ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.๒๕๕๓ มาตรา ๗๘
หรือไม่ เห็นว่า พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและ
ครอบครวั พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๗๘ วรรคหนงึ่ บญั ญตั วิ า่ เมอื่ มกี ารจบั กมุ เดก็ หรอื เยาวชนซง่ึ ตอ้ ง
หาว่ากระท�ำความผิดตามมาตรา ๖๙ วรรคหนึ่งหรือกรณีเด็กหรือเยาวชนปรากฏตัวอยู่ต่อหน้า
พนักงานสอบสวนตามมาตรา ๗๐ วรรคหนึ่ง ให้พนักงานสอบสวนรีบด�ำเนินการสอบสวน
และส่งส�ำนวนการสอบสวนพร้อมทั้งความเห็นไปยังพนักงานอัยการ เพื่อให้พนักงานอัยการ
ยน่ื ฟอ้ งตอ่ ศาลเยาวชนและครอบครวั ใหท้ นั ภายในกำ� หนดสามสบิ วนั นบั แตว่ นั ทเี่ ดก็ หรอื เยาวชน
นั้นถูกจับกุม หรือปรากฏตัวอยู่ต่อหน้าพนักงานสอบสวน แล้วแต่กรณี แต่หากมีความจ�ำเป็น
ไม่สามารถฟ้องเด็กหรือเยาวชนนั้นต่อศาลให้ทันภายในระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง พนักงาน
สอบสวนหรอื พนกั งานอยั การแลว้ แตก่ รณตี อ้ งยน่ื คำ� รอ้ งตอ่ ศาลเพอื่ ขอผดั ฟอ้ งตอ่ ไปตามเงอ่ื นไข
ทกี่ ำ� หนดไวใ้ นวรรคสองและวรรคสาม และมาตรา ๖๙/๒ ซงึ่ ตามบทบญั ญตั ดิ งั กลา่ วมเี จตนารมณ์
ต้องการให้เด็กหรือเยาวชนท่ีเสพยาเสพติดและอยู่ในหลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติฟื้นฟู
สมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้รับการบ�ำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด
ตามกระบวนการที่กฎหมายบัญญัติไว้ก่อน หมายความว่าพนักงานสอบสวนหรือพนักงาน
อัยการยังไม่ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติของมาตรา ๗๘ เก่ียวกับระยะเวลาในการยื่นฟ้องและ
ค�ำร้องขอผัดฟ้องในช่วงระยะเวลาท่ีอยู่ระหว่างการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด โดยไม่ต้อง
น�ำระยะเวลาระหว่างการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดมารวมเข้ากับระยะเวลาท่ีต้องด�ำเนินการ
ยื่นฟ้องและค�ำร้องขอผัดฟ้อง เว้นแต่ไม่อาจด�ำเนินการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดได้
หรือท�ำการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดไม่ส�ำเร็จ ให้พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ
น�ำตัวเด็กหรือเยาวชนไปศาล เพ่ือให้ศาลมีค�ำสั่งเกี่ยวกับการควบคุมตัว และพนักงาน
อัยการฟ้องคดีได้ภายในระยะเวลาตามมาตรา ๗๘ หรือภายในสามสิบวันนับแต่ศาลมีค�ำส่ัง
ข้อเท็จจริงได้ความว่า คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจังหวัดมุกดาหาร
มีค�ำส่ังท่ี ๒๖๗/๒๕๖๐ ลงวันท่ี ๒๔ มกราคม ๒๕๖๐ ว่า ภายหลังคณะอนุกรรมการฟื้นฟู
สมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจังหวัดมุกดาหารมีค�ำสั่งก�ำหนดแผนแก้ไขบ�ำบัดฟื้นฟูให้จ�ำเลย
ปฏิบัติแล้ว จ�ำเลยไม่ไปรายงานตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง กรณีจึงถือว่า

242

จ�ำเลยยังไม่ได้เข้าสู่โปรแกรมการปรับตัวกลับสู่สังคมตามแผนฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด
ให้ครบถ้วนอันเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๔๕
มาตรา ๓๐ และมาตรา ๓๑ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีอ�ำนาจและหน้าที่จับจ�ำเลยเข้าไว้ในศูนย์
ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดเพ่ือบ�ำบัดฟื้นฟูตามแผน แต่ไม่ปรากฏว่าคณะอนุกรรมการ
ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจังหวัดมุกดาหารได้ด�ำเนินการตามที่กฎหมายบัญญัติไว้แต่
ประการใด การที่คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจังหวัดมุกดาหารมีค�ำส่ังว่า
จากผลการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดของจ�ำเลยเห็นว่าวิธีการบ�ำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพ
ผู้ติดยาเสพติดไม่เหมาะสมและใช้ไม่ได้ผล วินิจฉัยว่าผลการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด
ไม่เป็นท่ีนา่ พอใจ แจง้ พนักงานสอบสวนเพอ่ื ด�ำเนินการต่อไป จงึ เปน็ การไมช่ อบ เนื่องจากตาม
พระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๓๓ วรรคสอง บัญญัติ
ให้คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดรายงานความเห็นไปยังพนักงานสอบสวน
หรือพนักงานอัยการเพ่ือประกอบการด�ำเนินคดีผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด
ในกรณีหากผู้นั้นเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดครบถ้วนตามก�ำหนดเวลาแล้ว แต่
ผลการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดยังไม่เป็นที่พอใจ ดังน้ัน หากได้ตัวจ�ำเลยกลับมา
พนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมมีหน้าที่น�ำตัวจ�ำเลยกลับไปบ�ำบัดแก้ไขตามแผนฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติด
ยาเสพติดตามเจตนารมณ์ของกฎหมายให้ครบถ้วนตามมาตรา ๒๕ ก่อน เช่นนี้ แม้พนักงาน
สอบสวนหรือพนักงานอัยการจะได้รับแจ้งผลค�ำวินิจฉัยของคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพ
ผู้ติดยาเสพติดจังหวัดมุกดาหารว่า การฟื้นฟูไม่เป็นที่น่าพอใจต้ังแต่เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๐
พนักงานอัยการก็ยังไม่มีอ�ำนาจฟ้องคดี เพราะต้องถือว่าช่วงระยะเวลาดังกล่าวยังอยู่ระหว่าง
การฟืน้ ฟูสมรรถภาพผตู้ ดิ ยาเสพติด ระยะเวลาในการฟ้องคดีจงึ ยังไม่เรมิ่ นบั อีกทง้ั ไม่ปรากฏวา่
มกี ารจับกมุ จ�ำเลยได้จนกระท่ังพนกั งานสอบสวนมหี นังสอื แจง้ โจทกว์ ่า จ�ำเลยอยูร่ ะหว่างตอ้ งหา
หรือถูกด�ำเนินคดีในความผิดฐานมียาเสพติดให้โทษในประเภท ๑ (เมทแอมเฟตามีน) ไว้ใน
ครอบครองเพ่ือจ�ำหน่าย ซ่ึงเป็นกรณีมีข้อเท็จจริงปรากฏภายหลังจากที่ศาลมีค�ำส่ังตามมาตรา
๑๙ ว่าผู้เข้ารับการตรวจพิสูจน์หรือผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดนั้นต้องหา
หรือถูกด�ำเนินคดีในความผิดฐานอ่ืนซึ่งเป็นความผิดที่มีโทษจ�ำคุก ให้ศาลพิจารณามีค�ำส่ังให้
ส่งตัวผู้น้ันไปยังพนักงานสอบสวนเพื่อด�ำเนินคดีต่อไปตามมาตรา ๒๔ จ�ำเลยจึงขาดคุณสมบัติ
ของผู้มีสิทธิเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดและย่อมส่งผลกระทบต่อการเข้ารับการ
ฟื้นฟูตามแผนการฟื้นฟูที่คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจังหวัดมุกดาหารได้

243

ก�ำหนดไว้ ด้วยเหตุนี้จงึ ไมอ่ าจนำ� ตัวจ�ำเลยกลับไปฟ้ืนฟไู ด้ ถือว่าเปน็ เหตยุ กเวน้ ท่ไี มอ่ าจดำ� เนนิ การ
ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดได้หรือท�ำการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดไม่ส�ำเร็จ
ตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว
พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๖๙/๒ เม่ือปรากฏว่าจ�ำเลยถูกควบคุมตัวอยู่ในเรือนจ�ำจังหวัดมุกดาหาร
อันเป็นเหตุให้พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการไม่อาจน�ำตัวจ�ำเลยไปศาลเพ่ือให้ศาลมี
ค�ำสั่งเกี่ยวกับการควบคุมตัว แต่พนักงานสอบสวนได้มีหนังสือแจ้งการด�ำเนินคดีจ�ำเลยไปยัง
ผู้อ�ำนวยการสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดมุกดาหาร ประกอบกับปรากฏจาก
รายงานข้อเท็จจริงของสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดมุกดาหารว่า ได้รับตัว
จำ� เลยไวค้ วบคมุ เมอ่ื วนั ที่ ๔ ธนั วาคม ๒๕๖๐ กรณถี อื วา่ พนกั งานสอบสวนไดด้ ำ� เนนิ การเพอ่ื ใหม้ ี
การควบคมุ ตวั จำ� เลยตามบทบญั ญตั แิ หง่ กฎหมายดงั กลา่ วแลว้ โจทกม์ อี ำ� นาจฟอ้ งจำ� เลยตอ่ ศาล
ไดภ้ ายในระยะเวลาสามสบิ วนั นบั แตว่ นั ที่ ๔ ธนั วาคม ๒๕๖๐ เม่ือโจทกย์ ่ืนฟ้องคดนี ต้ี อ่ ศาลใน
วันท่ี ๒๑ ธันวาคม ๒๕๖๐ จึงยังไมพ่ น้ ระยะเวลาตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครวั
และวธิ พี ิจารณาคดเี ยาวชนและครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๗๘ ชอบท่ศี าลช้ันต้นจะมคี �ำส่งั
ประทับฟอ้ งโจทก์ไว้พิจารณา ดงั นนั้ ทศี่ าลช้นั ต้นวนิ ิจฉัยวา่ โจทก์ฟอ้ งเมือ่ พ้นก�ำหนดระยะเวลา
ตามกฎหมายและมคี ำ� สง่ั ไมร่ บั ฟอ้ งโจทก์ จงึ ไมต่ อ้ งดว้ ยความเหน็ ของศาลอทุ ธรณค์ ดชี ำ� นญั พเิ ศษ
อุทธรณ์ของโจทก์ฟังขึ้น
พพิ ากษายกคำ� ส่งั ศาลชัน้ ต้น ใหศ้ าลช้ันต้นประทบั ฟ้องโจทก์ไว้พจิ ารณาต่อไป.

(ประวิทย์ อทิ ธชิ ยั วฒั นา - อมรรัตน์ กริยาผล - พนารตั น์ คดิ จิตต)์

พทิ ักษ์ หลิมจานนท์ - ย่อ
โตมร สิริววิ ัฒน์ภากร - ตรวจ

244

คำ� พพิ ากษาศาลอทุ ธรณค์ ดีช�ำนัญพเิ ศษที่ ๒๗๕/๒๕๖๔ พนกั งานอัยการคดีเยาวชน

และครอบครวั

จงั หวัดอบุ ลราชธานี โจทก์

นางสาว ว. จำ� เลย

พ.ร.บ. ศาลเยาวชนและครอบครวั และวธิ พี จิ ารณาคดเี ยาวชนและครอบครวั พ.ศ. ๒๕๕๓
มาตรา ๖๙/๒, ๗๘


พ.ร.บ. ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว
พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๖๙/๒ กําหนดระยะเวลาในการฟ้องคดีเด็กหรือเยาวชนในกรณีท่ี
ไมอ่ าจดําเนนิ การตามกฎหมายวา่ ดว้ ยการฟน้ื ฟสู มรรถภาพผตู้ ดิ ยาเสพตดิ ไดห้ รอื ทําการ
ฟน้ื ฟสู มรรถภาพผตู้ ดิ ยาเสพตดิ ไมส่ ําเรจ็ ใหพ้ นกั งานสอบสวนหรอื พนกั งานอยั การนําตวั
เดก็ หรอื เยาวชนไปศาล เพอื่ ใหศ้ าลมคี ําสงั่ เกยี่ วกบั การควบคมุ ตวั โดยกรณแี รกพนกั งาน
อยั การอาจฟอ้ งคดีได้ภายในระยะเวลาตามที่กฎหมายกําหนด ซง่ึ มาตรา ๗๘ กําหนดวา่
ตอ้ งฟ้องภายใน ๓๐ วัน นับแตว่ ันทีเ่ ดก็ หรือเยาวชนถกู จบั กุมหรือปรากฏตัวอยตู่ ่อหน้า
พนักงานสอบสวน เว้นแต่พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการจะขอผัดฟ้อง หรือ
กรณีท่สี องพนักงานอัยการอาจฟ้องคดีภายใน ๓๐ วัน นับแตศ่ าลมคี ําสงั่ หมายถงึ นบั แต่
วันท่ีศาลมีคําสั่งควบคุมตัวเด็กหรือเยาวชนตามที่พนักงานสอบสวนหรือพนักงาน
อัยการนําตัวเด็กหรือเยาวชนกลับมาด้วยเหตุที่ไม่อาจดําเนินการตามกฎหมายว่า
ด้วยการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดได้หรือทําการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด
ไม่สําเร็จและขอให้ศาลมีคําสั่งควบคุมตัวเด็กหรือเยาวชนไว้เพื่อดําเนินคดีต่อไป ระยะ
เวลาในการฟ้องคดีภายใน ๓๐ วัน ตามมาตรา ๖๙/๒ ย่อมเริ่มนับตั้งแต่วันที่ศาลมี
คําสั่งเก่ียวกับการควบคุมตัว มิใช่เริ่มนับเม่ือพ้นกําหนดระยะเวลาในการฟ้องคดีตาม
มาตรา ๗๘

______________________________

245

โจทกฟ์ อ้ งขอใหล้ งโทษตามพระราชบญั ญตั ยิ าเสพตดิ ใหโ้ ทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๔, ๗,
๘, ๑๕, ๕๗, ๖๖, ๙๑, ๑๐๒ และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๒, ๙๑ รบิ โทรศพั ท์เคลอ่ื นท่ี
ของกลาง และนบั โทษจำ� คกุ หรอื ระยะเวลาฝกึ อบรมของจำ� เลยในคดนี ตี้ อ่ จากโทษจำ� คกุ หรอื ระยะ
เวลาฝกึ อบรมของจำ� เลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ ๔๘๑/๒๕๖๓ ของศาลชน้ั ต้น
ศาลช้ันต้นมีค�ำสั่งว่า คดีน้ีคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจังหวัด
อุบลราชธานีมีค�ำวินิจฉัยให้ส่งตัวจ�ำเลยคืนพนักงานสอบสวนเพื่อด�ำเนินคดี เน่ืองจากผลการ
ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยา
เสพตดิ พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๑๙ พนกั งานสอบสวนรบั ทราบคำ� สงั่ เม่ือวันท่ี ๕ ตลุ าคม ๒๕๖๓
และในวันเดียวกันพนักงานสอบสวนยื่นค�ำร้องขอถอนการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดและ
ขอให้ควบคมุ ตัวจ�ำเลย ศาลอนุญาตใหค้ วบคมุ ตวั จ�ำเลยถงึ วันที่ ๓ พฤศจกิ ายน ๒๕๖๓ ต่อมา
วนั ท่ี ๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ พนกั งานสอบสวนย่นื ค�ำร้องขอผัดฟ้องจำ� เลยครง้ั ที่ ๑ ศาลมีคำ� สั่ง
ยกค�ำร้อง เมื่อโจทก์ไม่ได้ย่ืนฟ้องภายในก�ำหนดเวลาตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและ
ครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๖๙/๒ ทั้งไม่ได้ขอ
อนญุ าตฟ้องคดีตอ่ อยั การสงู สุด จงึ มคี ำ� สัง่ ไม่ประทบั ฟอ้ งโจทก์
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์คดีช�ำนัญพิเศษแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า มีปัญหาท่ีต้อง
วนิ จิ ฉยั ตามอทุ ธรณข์ องโจทกว์ า่ คำ� สง่ั ศาลชนั้ ตน้ ทไ่ี มป่ ระทบั ฟอ้ งโจทกช์ อบดว้ ยกฎหมายหรอื ไม่
เห็นว่า ตามพระราชบญั ญตั ศิ าลเยาวชนและครอบครวั และวิธพี ิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว
พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๖๙/๒ บัญญัติว่า “ในกรณีเด็กหรือเยาวชนอยู่ในเกณฑ์ต้องด�ำเนินการ
ตามกฎหมายว่าด้วยการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ให้ด�ำเนินการตามกฎหมาย
ดังกล่าวก่อน เว้นแต่ไม่อาจด�ำเนินการได้หรือท�ำการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดไม่ส�ำเร็จ
ใหพ้ นกั งานสอบสวนหรอื พนกั งานอยั การนำ� ตวั เดก็ หรอื เยาวชนไปศาล เพอ่ื ใหศ้ าลมคี ำ� สง่ั เกย่ี วกบั
การควบคุมตัว และพนักงานอัยการอาจฟ้องคดีได้ภายในระยะเวลาตามท่ีกฎหมายก�ำหนดหรือ
ภายในสามสิบวันนับแต่ศาลมีค�ำสั่ง” ข้อเท็จจริงได้ความว่า ภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีค�ำสั่ง
ใหส้ ง่ ตวั จ�ำเลยไปตรวจพสิ จู น์การเสพหรอื การตดิ ยาเสพตดิ ระหว่างเขา้ รับการฟ้นื ฟสู มรรถภาพ
ผู้ติดยาเสพติด จ�ำเลยถูกด�ำเนินคดีในความผิดฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับ
ใบอนุญาตตามคดีอาญาหมายเลขด�ำท่ี ตจ ๖๓๙/๒๕๖๓ ของศาลช้ันต้น อันเป็นความผิด
ที่มีโทษจ�ำคุก และคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจังหวัดอุบลราชธานี

246

มีค�ำวนิ ิจฉยั ท่ี ๕๗๒๔/๒๕๖๓ ลงวนั ที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๖๓ ว่า จำ� เลยอยู่ระหว่างถูกดำ� เนินคดี
ในความผิดฐานอ่ืนซึ่งเป็นความผิดที่มีโทษจ�ำคุก จึงเป็นกรณีไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะได้รับ
การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด
พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๑๙ และมาตรา ๒๔ กลา่ วคือ คณะอนกุ รรมการฟน้ื ฟสู มรรถภาพผู้ตดิ ยาเสพติด
จังหวัดอุบลราชธานีมีค�ำส่ังให้ส่งตัวจ�ำเลยคืนพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการเพ่ือ
ด�ำเนินคดีต่อไป กรณีถือว่าการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดไม่อาจด�ำเนินการได้ ซ่ึงตาม
บทบัญญัติมาตรา ๖๙/๒ ก�ำหนดให้พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการน�ำตัวจ�ำเลยไปศาล
เพื่อให้ศาลมีค�ำส่ังเก่ียวกับการควบคุมตัว และพนักงานอัยการอาจฟ้องคดีได้ภายในระยะเวลา
ตามทกี่ ฎหมายก�ำหนด กลา่ วคอื ตามพระราชบญั ญตั ศิ าลเยาวชนและครอบครวั และวธิ ีพจิ ารณา
คดเี ยาวชนและครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๗๘ ซง่ึ ก�ำหนดว่าตอ้ งฟอ้ งภายใน ๓๐ วัน นบั แต่
วันที่จ�ำเลยถูกจับกุมหรือปรากฏตัวอยู่ต่อหน้าพนักงานสอบสวน เว้นแต่พนักงานสอบสวน
หรอื พนักงานอัยการจะขอผดั ฟอ้ ง หรือพนกั งานอยั การอาจฟอ้ งคดภี ายในสามสบิ วนั นบั แตศ่ าล
มีค�ำสัง่ หมายถงึ นับแตว่ นั ทีศ่ าลมีคำ� ส่ังควบคุมตัวจ�ำเลยตามท่ีพนกั งานสอบสวนหรอื พนักงาน
อยั การนำ� ตวั จำ� เลยกลบั มาดว้ ยเหตทุ ไ่ี มอ่ าจดำ� เนนิ การตามกฎหมายวา่ ดว้ ยการฟน้ื ฟสู มรรถภาพ
ผู้ติดยาเสพติดได้และขอให้ศาลมีค�ำส่ังควบคุมตัวจ�ำเลยไว้เพ่ือด�ำเนินคดีต่อไปโดยบทบัญญัติ
มาตรา ๖๙/๒ มีเจตนารมณ์เพื่อก�ำหนดให้นับระยะเวลาเริ่มต้นจากวันที่ศาลมีค�ำสั่งเกี่ยวกับ
การควบคุมตัวเป็นต้นไป ระยะเวลาในการฟ้องคดีตามมาตรา ๗๘ เป็นก�ำหนดระยะเวลาตาม
กฎหมายที่บัญญัติไว้ส�ำหรับการฟ้องคดีกรณีปกติท่ัวไป แต่ส�ำหรับกรณีท่ีมีการส่งตัวจ�ำเลยไป
ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดและมีเหตุที่ไม่อาจด�ำเนินการได้หรือท�ำการฟื้นฟูสมรรถภาพ
ผตู้ ดิ ยาเสพตดิ ไมส่ ำ� เรจ็ ทำ� ใหพ้ นกั งานสอบสวนหรอื พนกั งานอยั การจะตอ้ งนำ� ตวั กลบั มาดำ� เนนิ
คดีต่อไป ซ่ึงอาจพ้นก�ำหนดระยะเวลาในการฟ้องคดีตามมาตรา ๗๘ หรือมีระยะเวลาเหลืออยู่
ไมม่ ากพอทจ่ี ะจดั เตรยี มเอกสารและรวบรวมพยานหลกั ฐานเพอื่ ฟอ้ งคดไี ดท้ นั ภายในกำ� หนดเวลา
ตามมาตรา ๗๘ เพ่ือแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงมีการแก้ไขเพ่ิมเติมบทบัญญัติมาตรา ๖๙/๒ โดย
กำ� หนดระยะเวลาทพ่ี นกั งานอยั การอาจฟ้องคดไี ดภ้ ายใน ๓๐ วัน นบั แตศ่ าลมีคำ� สง่ั เกย่ี วกบั การ
ควบคุมตัว เพื่อให้พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการได้มีเวลาเตรียมการฟ้องคดีได้ ดังนั้น
ระยะเวลาในการฟ้องคดีภายในสามสิบวันตามมาตรา ๖๙/๒ ย่อมเริ่มนับตั้งแต่วันที่ศาลมีค�ำส่ัง
เก่ียวกับการควบคมุ ตัว มิใช่เรมิ่ นับเมือ่ พ้นก�ำหนดระยะเวลาในการฟอ้ งคดตี ามมาตรา ๗๘ แล้ว
ขอ้ เท็จจรงิ ในคดนี ไี้ ด้ความว่า เมื่อวนั ที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๖๓ พนกั งานสอบสวนสถานตี �ำรวจภูธร

247

สิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี ได้รับแจ้งค�ำวินิจฉัยของคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติด
ยาเสพตดิ จงั หวดั อบุ ลราชธานตี ามคำ� วนิ จิ ฉยั ท่ี ๕๗๒๔/๒๕๖๓ ลงวนั ที่ ๒๘ กนั ยายน ๒๕๖๓ จงึ ยน่ื
ค�ำร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีค�ำสั่งถอนการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดและน�ำตัวจ�ำเลยไปยัง
ศาลชน้ั ตน้ เพอื่ ใหศ้ าลชน้ั ตน้ มคี �ำสงั่ เกย่ี วกบั การควบคมุ ตวั ศาลชนั้ ตน้ มคี �ำสง่ั อนญุ าตตามค�ำรอ้ ง
และใหค้ วบคมุ ตวั จำ� เลยถงึ วนั ท่ี ๓ พฤศจกิ ายน ๒๕๖๓ ถอื วา่ พนกั งานสอบสวนสถานตี ำ� รวจภธู ร
สิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี ได้ด�ำเนินการขอให้ศาลมีค�ำสั่งเกี่ยวกับการควบคุมตัวจ�ำเลยตาม
บทบญั ญตั มิ าตรา ๖๙/๒ แลว้ และศาลชนั้ ต้นมคี �ำส่งั เกีย่ วกับการควบคุมตวั จ�ำเลยตามกฎหมาย
โจทกอ์ าจฟ้องคดีนภ้ี ายในระยะเวลา ๓๐ วัน นบั แต่วันท่ี ๘ กันยายน ๒๕๖๓ ซง่ึ เปน็ วันท่ีมกี าร
จับกุมจำ� เลยตามมาตรา ๗๘ แตเ่ นือ่ งจากวนั ที่ ๙ กันยายน ๒๕๖๓ พนักงานสอบสวนควบคมุ ตวั
จ�ำเลยมายังศาลชั้นต้นเพื่อตรวจสอบการจับกุมและขอให้ส่งตัวจ�ำเลยไปควบคุมเพื่อตรวจ
พิสูจน์การเสพหรือการติดยาเสพติด ในวันเดียวกันศาลชั้นต้นตรวจสอบการจับกุมและมีค�ำส่ัง
ให้ส่งตัวจ�ำเลยไปควบคุมเพื่อตรวจพิสูจน์การเสพหรือการติดยาเสพติด ตามพระราชบัญญัติ
ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๑๙ วรรคท้าย บัญญัติว่า “ในระหว่าง
ท่ีผู้ต้องหาถูกควบคุมตามพระราชบัญญัตินี้ พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการไม่ต้อง
ด�ำเนินการฝากขังหรือขอผัดฟ้องตามกฎหมาย” ย่อมหมายถึงว่าไม่ต้องน�ำระยะเวลาระหว่าง
การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดมานับรวมเข้ากับระยะเวลาท่ีต้องด�ำเนินการย่ืนค�ำร้อง
ขอผัดฟ้องหรือฝากขัง เมื่อจ�ำเลยถูกควบคุมตัวมาแล้ว ๒ วัน คือ วันที่ ๘ และ ๙
กันยายน ๒๕๖๓ ดังน้ัน ระยะเวลาในการฟ้องคดีหรือย่ืนค�ำร้องขอผัดฟ้องตามมาตรา ๗๘
จึงเหลืออยู่ ๒๘ วัน คือ ครบก�ำหนดระยะเวลาในการฟ้องคดีหรือย่ืนค�ำร้องขอผัดฟ้อง
ในวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ แต่พนักงานสอบสวนยื่นค�ำร้องขอผัดฟ้องคร้ังแรกใน
วันท่ี ๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ ซึ่งพน้ ก�ำหนดระยะเวลาตามมาตรา ๗๘ แลว้ พนักงานสอบสวน
ย่อมไม่มีสิทธิที่จะขอผัดฟ้องเมื่อพ้นก�ำหนดเวลาตามกฎหมายได้ การที่ศาลช้ันต้นมีค�ำสั่ง
ยกค�ำร้องขอผัดฟ้องของพนักงานสอบสวนจึงชอบแล้ว ดังน้ัน ระยะเวลาท่ีโจทก์อาจฟ้องคดี
น้ีตามมาตรา ๗๘ คือ ภายในวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ หรือโจทก์อาจฟ้องคดีน้ีภายใน
สามสิบวันนับแต่วันที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๖๓ ซึ่งเป็นวันท่ีศาลชั้นต้นมีค�ำสั่งควบคุมตัวจ�ำเลย คือ
ภายในวนั ท่ี ๓ พฤศจกิ ายน ๒๕๖๓ การทโี่ จทกอ์ ทุ ธรณอ์ า้ งวา่ คดนี เี้ ปน็ กรณที ก่ี ารฟน้ื ฟสู มรรถภาพ
ผู้ติดยาเสพติดไม่อาจด�ำเนินการได้และผ่านพ้นระยะเวลาท่ีกฎหมายก�ำหนดตามมาตรา ๗๘
(๓๐ วัน นับแต่วันจับกุม) หากพ้นก�ำหนดระยะเวลาตามมาตรา ๗๘ โจทก์ก็ยังสามารถที่จะ

248

นำ� ตวั จ�ำเลยไปศาลและขอควบคุมตัวเพอ่ื ฟ้องคดภี ายใน ๓๐ วัน นับแตว่ ันท่ศี าลมคี �ำส่ังควบคุม
ตามมาตรา ๖๙/๒ นั้น เมื่อข้อเท็จจริงในส�ำนวนคดีน้ีได้ความว่า ในขณะท่ีพนักงานสอบสวน
น�ำตวั จ�ำเลยไปศาลเพือ่ ขอให้ศาลมคี ำ� ส่งั เก่ยี วกบั การควบคุมตัวเม่อื วันท่ี ๕ ตุลาคม ๒๕๖๓ น้ัน
ระยะเวลาท่ีโจทก์อาจฟ้องคดีนี้ยังไม่พ้นระยะเวลาตามมาตรา ๗๘ เน่ืองจากระยะเวลาท่ีจ�ำเลย
อยู่ระหว่างการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามกฎหมายมิให้น�ำมานับรวมด้วยตามท่ีได้
วินิจฉัยไว้แล้วข้างต้น ทั้งตามมาตรา ๖๙/๒ ก็มิได้มีความหมายว่าหากพ้นก�ำหนดระยะเวลา
ในการฟ้องคดีตามมาตรา ๗๘ แล้ว โจทก์สามารถน�ำตัวจ�ำเลยไปศาลเพ่ือขอให้ศาลมีค�ำส่ัง
เกี่ยวกับการควบคุมตัวได้อีกเป็นครั้งที่ ๒ เพ่ือให้โจทก์มีสิทธิฟ้องคดีนี้ภายใน ๓๐ วัน ตามท่ี
โจทก์อุทธรณ์แต่อย่างใด เพราะหากตีความกฎหมายเช่นนั้นก็จะเป็นการขยายก�ำหนดระยะ
เวลาในการฟ้องคดีตามกฎหมาย ซึ่งย่อมเป็นผลร้ายแก่จ�ำเลย เม่ือโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ในวันท่ี
๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๓ จึงพ้นกำ� หนดระยะเวลาตามกฎหมาย ดังน้ัน โจทกจ์ งึ ตอ้ งไดร้ บั อนุญาตให้
ฟ้องคดีจากอัยการสูงสุดตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดี
เยาวชนและครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๘๐ ท่ีศาลชั้นต้นมีค�ำส่ังไม่ประทับฟ้องโจทก์น้ัน
ชอบแล้ว อุทธรณ์ของโจทกฟ์ งั ไม่ขึ้น
พพิ ากษายนื .

(ประวิทย์ อิทธชิ ัยวฒั นา - อมรรัตน์ กริยาผล - พนารัตน์ คิดจติ ต์)

ณศิ รา กจิ คณาศิริ - ย่อ
พาชนื่ แสงจันทร์เทศ - ตรวจ

249

ค�ำพิพากษาศาลอทุ ธรณค์ ดชี ำ� นัญพเิ ศษท่ี ๓๑๕/๒๕๖๐ พนกั งานอัยการคมุ้ ครองสทิ ธิ

และชว่ ยเหลอื ทางกฎหมาย

และการบงั คบั คดี

จงั หวดั ขอนแก่น ผูร้ อ้ ง

นาย ว. ผถู้ ูกกลา่ วหา

ป.ว.ิ อ. มาตรา ๑๙๕ วรรคสอง
พ.ร.บ. ศาลเยาวชนและครอบครวั และวธิ พี จิ ารณาคดเี ยาวชนและครอบครวั พ.ศ. ๒๕๕๓
มาตรา ๖, ๑๗๔

อ�ำนาจในการออกหรือแก้ไขค�ำส่ังคุ้มครองสวัสดิภาพเป็นอ�ำนาจเฉพาะของ
ศาลเยาวชนและครอบครัวอันเป็นศาลชั้นต้น เม่ือศาลมีค�ำสั่งแก้ไขค�ำสั่งเดิมอย่างไร
ค�ำสั่งศาลดังกล่าวย่อมถึงที่สุดตาม พ.ร.บ. ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณา
คดเี ยาวชนและครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๑๗๔ วรรคสาม เม่ือศาลชั้นตน้ ยกค�ำร้อง
ขอให้เพิกถอนค�ำสั่งคุ้มครองสวัสดิภาพของผู้ถูกกล่าวหาแล้ว ค�ำสั่งศาลช้ันต้นดังกล่าว
ย่อมถึงที่สุดเช่นกัน ผู้ถูกกล่าวหาไม่มีสิทธิอุทธรณ์ค�ำสั่งดังกล่าว ศาลอุทธรณ์
คดีช�ำนญั พเิ ศษไม่รับวินิจฉัย

______________________________

คดีสืบเนื่องมาจากศาลชั้นต้นมีค�ำสั่งให้คุ้มครองสวัสดิภาพเม่ือวันท่ี ๒๘ พฤศจิกายน
๒๕๕๙ ดังน้ี ห้ามผู้ถูกกล่าวหาท�ำร้ายร่างกาย ขู่เข็ญ นาง ช. นาง ส. และเด็กชาย พ. หรือ
บคุ คลในครอบครัวของผถู้ กู กลา่ วหา หา้ มผ้ถู กู กล่าวหาเขา้ ใกลน้ าง ช. นาง ส. และเดก็ ชาย พ.
และบา้ นเลขที่ ๕๘/๑๗๘ หมทู่ ี่ ๔ ถนนชาตะผดงุ ตำ� บลในเมอื ง อ�ำเภอเมอื งขอนแก่น จงั หวดั
ขอนแก่น และห้ามเข้าไปในโรงเรียนอนุบาลขอนแก่น ต�ำบลในเมือง อ�ำเภอเมืองขอนแก่น
จงั หวดั ขอนแกน่ ในระยะ ๒๐๐ เมตร หา้ มผูถ้ ูกกลา่ วหาขม่ ขูก่ ่อกวนนาง ช. นาง ส. เดก็ ชาย พ.
ไมว่ า่ ดว้ ยทางกาย วาจา และสื่อใด ๆ ให้พนกั งานเจา้ หนา้ ท่ี นักจติ วทิ ยา หรอื เจ้าหนา้ ทอ่ี นื่ ของ
บา้ นพกั เดก็ และครอบครวั จงั หวดั ขอนแกน่ สงั กดั กระทรวงพฒั นาสงั คมและความมน่ั คงของมนษุ ย์

250

ติดตามก�ำกับดูแลให้ผู้ถูกกล่าวหาปฏิบัติตามค�ำส่ังและรายงานให้ศาลทราบทุก ๓ เดือน โดย
คำ� ส่งั ทุกขอ้ ให้มกี �ำหนด ๖ เดอื น
ผู้ถูกกล่าวหายื่นค�ำร้องฉบับลงวันที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๕๙ ขอยกเลิกค�ำสั่งคุ้มครอง
สวสั ดภิ าพ
ผูร้ ้องย่ืนคำ� คัดคา้ นขอให้ยกค�ำรอ้ งของผู้ถกู กลา่ วหา
ศาลชั้นต้นมีค�ำสง่ั ยกค�ำรอ้ งของผ้ถู ูกกลา่ วหา
ผู้ถกู กล่าวหาอุทธรณ์
ศาลอทุ ธรณค์ ดชี ำ� นญั พเิ ศษแผนกคดเี ยาวชนและครอบครวั วนิ จิ ฉยั วา่ พระราชบญั ญตั ิ
ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธพี ิจารณาคดเี ยาวชนและครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๑๗๔
วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ศาลมีอ�ำนาจออกค�ำสั่งคุ้มครองสวัสดิภาพให้แก่ผู้ถูกกระท�ำด้วยความ
รุนแรงในครอบครัวได้ เม่ือปรากฏว่าผู้ถูกกล่าวหามีพฤติการณ์น่าจะก่อให้เกิดอันตรายแก่
ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพของบุคคลในครอบครัว และมาตรา ๑๗๔ วรรคสาม บัญญัติให้
ค�ำส่ังคุ้มครองสวัสดิภาพตามวรรคหน่ึงเป็นที่สุด แต่ถ้าพฤติการณ์เปล่ียนแปลงไปศาลมีอ�ำนาจ
ส่ังแก้ไขค�ำสั่งเดิมได้ กรณีเกิดเหตุที่ศาลอาจจะมีค�ำส่ังคุ้มครองสวัสดิภาพดังกล่าวได้ ผู้ถูกกระท�ำ
ด้วยความรุนแรงในครอบครัวมีสิทธิร้องขอให้ศาลเยาวชนและครอบครัวท่ีตนมีถิ่นท่ีอยู่หรือ
มีภูมิล�ำเนาหรือที่ศาลที่มูลเหตุดังกล่าวเกิดข้ึนออกค�ำส่ังก�ำหนดมาตรการหรือวิธีการเพื่อ
บรรเทาทุกข์ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ถูกกระท�ำด้วยความรุนแรงในครอบครัวได้ตาม
พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๓
มาตรา ๑๗๒ วรรคหน่ึง แสดงว่าศาลเยาวชนและครอบครัวท่ีผู้ถูกกระท�ำด้วยความรุนแรง
ร้องขอเป็นศาลท่ีออกค�ำส่ังคุ้มครองสวัสดิภาพที่ถึงท่ีสุดตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและ
ครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๑๗๔ วรรคสาม
ซึ่งตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว
พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๔ ได้ให้นิยามค�ำว่า ศาลเยาวชนและครอบครัว หมายถึง ศาลเยาวชน
และครอบครัวกลาง ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัด หรือแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว
ในศาลจังหวัด ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติน้ี อันเป็นศาลชั้นต้นทั้งส้ิน ประกอบกับค�ำสั่ง
คุ้มครองสวัสดิภาพของศาลเป็นมาตรการเพื่อสนับสนุนให้การคุ้มครองสวัสดิภาพของผู้ถูกกระท�ำ
ด้วยความรุนแรงในครอบครัวหรือเด็ก ซ่ึงถูกปฏิบัติโดยมิชอบตามพระราชบัญญัติคุ้มครอง
ผู้ถูกกระท�ำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๐ และพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก

251

พ.ศ. ๒๕๔๖ ตามล�ำดบั ใหม้ ีผลบังคับใช้อย่างเป็นรปู ธรรม และสามารถให้ความคมุ้ ครองสวัสดภิ าพ
แก่ผู้ถูกกระท�ำด้วยความรุนแรงในครอบครัวหรือเด็กให้พ้นจากสภาพที่ถูกปฏิบัติโดยมิชอบโดย
เร็วทันต่อเหตุการณ์ ทั้งต้องสามารถแก้ไขค�ำส่ังคุ้มครองสวัสดิภาพให้เหมาะสมกับพฤติการณ์
ที่เปลี่ยนแปลงไปได้ด้วย ค�ำส่ังคุ้มครองสวัสดิภาพไม่ใช่โทษอาญาและมีระยะเวลาบังคับเพียง
ระยะเวลาหนึ่งไม่เกินหกเดือนเท่านั้น การที่กฎหมายบัญญัติให้ค�ำสั่งคุ้มครองสวัสดิภาพ
ของศาลเยาวชนและครอบครัวซ่ึงเป็นศาลช้ันต้นถึงที่สุดเพื่อท่ีจะสามารถบรรลุวัตถุประสงค์
ดังกล่าวข้างต้นได้นั่นเอง อ�ำนาจในการออกหรือแก้ไขค�ำส่ังคุ้มครองสวัสดิภาพจึงเป็นอ�ำนาจ
เฉพาะของศาลเยาวชนและครอบครัวอันเป็นศาลช้ันต้น ทั้งการแก้ไขค�ำส่ังคุ้มครองสวัสดิภาพ
เดิมเมื่อมีพฤติการณ์เปล่ียนแปลงไปน้ัน ก็เป็นการด�ำเนินการต่อเน่ืองจากการบังคับใช้ค�ำสั่ง
คุ้มครองสวัสดิภาพที่กฎหมายบัญญัติให้ถึงท่ีสุดแล้ว เม่ือศาลมีค�ำสั่งแก้ไขค�ำสั่งเดิมอย่างไร
คำ� ส่งั ศาลดงั กลา่ วย่อมถงึ ทีส่ ดุ ดว้ ย ดังน้ัน เม่ือศาลช้นั ตน้ ยกคำ� ร้องขอใหเ้ พิกถอนค�ำส่ังคมุ้ ครอง
สวัสดภิ าพของผู้ถกู กลา่ วหาแล้ว ค�ำสงั่ ศาลชนั้ ตน้ ดงั กลา่ วยอ่ มถึงทีส่ ุดเชน่ กนั ผูถ้ กู กล่าวหาไมม่ ี
สิทธิอุทธรณ์ค�ำสั่งศาลดังกล่าว อุทธรณ์ของผู้ถูกกล่าวหาจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ศาลอทุ ธรณค์ ดีชำ� นญั พเิ ศษไม่รบั วนิ ิจฉยั
พิพากษายกอุทธรณ์ของผู้ถูกกลา่ วหา.

(อมรรัตน์ กริยาผล - ประวิทย์ อทิ ธชิ ัยวัฒนา - พนารตั น์ คิดจติ ต์)

พทิ กั ษ์ หลิมจานนท์ - ยอ่
นรนิ ทร์ ทองค�ำใส - ตรวจ

252

ค�ำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำ� นญั พเิ ศษที่ ๒๔๖๓/๒๕๖๐ พนกั งานเจา้ หนา้ ท ี่ ผรู้ อ้ ง

นาย ซ. กบั พวก ผู้ถูกรอ้ ง

ป.วิ.พ. มาตรา ๒๖๗
พ.ร.บ. คุ้มครองเดก็ พ.ศ. ๒๕๔๖ มาตรา ๔๓ วรรคสอง
พ.ร.บ. ศาลเยาวชนและครอบครวั และวธิ พี จิ ารณาคดเี ยาวชนและครอบครวั พ.ศ. ๒๕๕๓
มาตรา ๑๗๒ วรรคสอง, ๑๗๔ วรรคสาม

ค�ำสั่งคุ้มครองสวัสดิภาพของศาลชั้นต้นท่ีออกตาม พ.ร.บ. ศาลเยาวชนและ
ครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นมาตรการให้การ
คุ้มครองสวัสดิภาพของผู้ถูกกระท�ำด้วยความรุนแรงในครอบครัวตาม พ.ร.บ. คุ้มครอง
ผู้ถูกกระท�ำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๐ และเด็กซ่ึงถูกปฏิบัติโดยมิชอบ
ตาม พ.ร.บ. คมุ้ ครองเดก็ พ.ศ. ๒๕๔๖ จงึ ไมใ่ ชค่ ดสี าขาของคดแี พง่ ทผี่ ถู้ กู รอ้ งทงั้ สองพพิ าท
กันในเรื่องการใช้อ�ำนาจปกครองเด็กท้ังสอง แม้ในคดีแพ่งดังกล่าวศาลช้ันต้นมีค�ำส่ัง
ค้มุ ครองช่ัวคราวระหว่างพิจารณาโดยใหผ้ ้ถู ูกรอ้ งที่ ๑ ส่งมอบเด็กท้งั สองคนื แก่ผถู้ กู ร้อง
ท่ี ๒ จนกว่าจะมีค�ำสั่งเป็นอย่างอ่ืน ก็ไม่ได้หมายความว่าหากเด็กท้ังสองถูกกระท�ำด้วย
ความรนุ แรงในครอบครวั หรอื ถกู ปฏบิ ตั โิ ดยมชิ อบแลว้ ศาลจะมคี ำ� สง่ั คมุ้ ครองสวสั ดภิ าพ
เด็กท้งั สองไมไ่ ด้
การที่ศาลช้ันต้นรับค�ำร้องขอคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กท้ังสองในเหตุฉุกเฉิน
และด�ำเนินการไต่สวนพยานผู้ร้องในวันที่ผู้ร้องยื่นค�ำร้องขอทันทีและมีค�ำส่ังคุ้มครอง
สวัสดิภาพเดก็ ท้งั สองได้วนั เดยี วกนั แสดงวา่ ศาลชนั้ ตน้ เหน็ ว่าคำ� ร้องขอของผ้รู อ้ งมเี หตุ
ฉุกเฉิน การที่ศาลช้ันต้นไม่ได้มีค�ำสั่งให้ส่งส�ำเนาค�ำร้องขอให้แก่ผู้ถูกร้องท่ี ๒ เพ่ือให้
ผถู้ กู รอ้ งที่ ๒ มโี อกาสยน่ื คำ� คดั คา้ นจงึ ไมใ่ ชก่ ระบวนพจิ ารณาทผี่ ดิ ระเบยี บ คำ� สงั่ คมุ้ ครอง
สวสั ดิภาพของศาลชน้ั ตน้ ดังกล่าวย่อมเป็นทสี่ ุดตาม พ.ร.บ. ศาลเยาวชนและครอบครัว
และวธิ พี ิจารณาคดีเยาวชนและครอบครวั พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๑๗๔ วรรคสาม

______________________________

253

ผู้ร้องย่ืนค�ำร้องขอว่า ผู้ร้องเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก
พ.ศ. ๒๕๔๖ ขอใหเ้ ด็กหญงิ ซ. และเด็กชาย น. อย่ใู นความปกครองดแู ลของบคุ คลทีเ่ หมาะสม
ตามความเหน็ ของจติ แพทย์ ผู้ร้อง และสหวิชาชพี
ศาลช้นั ตน้ มีค�ำส่ังใหน้ าย ด. ผ้ถู กู รอ้ งที่ ๑ เป็นผคู้ มุ้ ครองสวสั ดิภาพเด็กหญิง ซ. และ
เด็กชาย น. มีก�ำหนด ๖ เดือนนับแต่วันมีค�ำส่งั โดยให้เด็กทงั้ สองอยใู่ นความปกครองดแู ลของ
ผู้ถูกร้องที่ ๑ เมื่อผู้ถูกร้องท่ี ๑ ด�ำเนินการตามเงื่อนไขท่ีผู้ร้องก�ำหนดตามระเบียบ อันเป็น
หลกั ประกันวา่ จะปกครองดูแลเดก็ ท้งั สองใหป้ ลอดภยั แต่ทงั้ นใี้ หผ้ ูถ้ ูกร้องท่ี ๒ มีสทิ ธพิ บ เยีย่ ม
ตลอดจนมกี จิ กรรมร่วมกับผู้ถกู รอ้ งที่ ๑ และเด็กท้ังสอง โดยการเยย่ี มและพบเดก็ ทงั้ สองกระทำ�
ไดท้ โี่ รงพยาบาลจฬุ าลงกรณ์ ภายใตเ้ งอื่ นไขทพี่ นกั งานเจา้ หนา้ ทกี่ ำ� หนด ใหผ้ ถู้ กู รอ้ งทงั้ สองหยดุ
พฤติการณ์อันเป็นการปฏิบัติต่อเด็กทั้งสองโดยมิชอบ โดยเฉพาะการสร้างหรือแสดงให้เห็นถึง
ความขดั แยง้ ระหวา่ งกนั จนสง่ ผลกระทบตอ่ สวสั ดภิ าพของเดก็ ทงั้ สอง และใหร้ ว่ มมอื ในการเขา้ รบั
การประเมนิ และบำ� บดั รกั ษาจากแพทยข์ องโรงพยาบาลจฬุ าลงกรณ์ รวมทง้ั ใหผ้ ถู้ กู รอ้ งทงั้ สองให้
ความรว่ มมอื กบั พนกั งานเจา้ หนา้ ทใี่ นการสบื เสาะและพนิ จิ รวมทงั้ การดำ� เนนิ การอน่ื ทอ่ี ยภู่ ายใต้
อ�ำนาจของพนกั งานเจ้าหนา้ ทเ่ี พ่ือประโยชน์ของเด็กทัง้ สอง คำ� ขออนื่ นอกจากนี้ใหย้ ก
ผ้ถู กู ร้องท่ี ๒ อทุ ธรณ์
ศาลอทุ ธรณ์คดีช�ำนญั พิเศษแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินจิ ฉัยวา่ ทีผ่ ถู้ ูกร้องท่ี ๒
อุทธรณ์วา่ ผูร้ ้องมิได้นำ� ส่งส�ำเนาคำ� ร้องขอใหแ้ กผ่ ูถ้ ูกรอ้ งที่ ๒ เพือ่ ใหผ้ ู้ถกู ร้องที่ ๒ มีโอกาสย่ืน
ค�ำคัดค้าน การท่ีศาลชั้นต้นไต่สวนค�ำร้องขอของผู้ร้องไปฝ่ายเดียวจึงเป็นกระบวนพิจารณาที่
ผิดระเบียบ อีกทั้งศาลช้ันต้นมีค�ำส่ังในคดีน้ีขัดกับค�ำส่ังในคดีแพ่งที่ผู้ถูกร้องทั้งสองพิพาทกันใน
เร่ืองการใชอ้ ำ� นาจปกครองเด็กหญิง ซ. และเดก็ ชาย น. ซ่งึ เปน็ คดีหลกั ค�ำส่ังศาลชน้ั ต้นในคดีน้ี
ซง่ึ เป็นคดสี าขาของคดีแพง่ ดงั กล่าวจงึ ไม่ชอบด้วยกฎหมายนนั้ เห็นว่า ค�ำส่ังคมุ้ ครองสวัสดิภาพ
ของศาลชั้นต้นท่ีออกตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชน
และครอบครวั พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นมาตรการใหก้ ารคุ้มครองสวสั ดิภาพของผถู้ กู กระท�ำด้วยความ
รนุ แรงในครอบครวั ตามพระราชบญั ญตั คิ มุ้ ครองผถู้ กู กระทำ� ดว้ ยความรนุ แรงในครอบครวั พ.ศ. ๒๕๕๐
และเด็กซ่ึงถูกปฏิบัติโดยมิชอบตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. ๒๕๔๖ จึงไม่ใช่
คดีสาขาของคดีแพ่งที่ผู้ถูกร้องท้ังสองพิพาทกันในเร่ืองการใช้อ�ำนาจปกครองเด็กท้ังสอง แม้ใน
คดแี พ่งดังกลา่ วศาลชัน้ ต้นมคี ำ� ส่งั คมุ้ ครองชั่วคราวระหวา่ งพิจารณาโดยใหผ้ ู้ถกู รอ้ งท่ี ๑ สง่ มอบ
เด็กท้ังสองคืนแก่ผู้ถูกร้องที่ ๒ จนกว่าจะมีค�ำสั่งเป็นอย่างอ่ืน ก็ไม่ได้หมายความว่าหากเด็ก

254

ทั้งสองถูกกระท�ำด้วยความรุนแรงในครอบครัวหรือถูกปฏิบัติโดยมิชอบแล้ว ศาลจะมีค�ำสั่งคุ้มครอง
สวัสดิภาพเด็กทั้งสองไม่ได้ เม่ือศาลช้ันต้นมีค�ำสั่งคุ้มครองช่ัวคราวระหว่างพิจารณาในคดีแพ่ง
ดังกล่าวแล้ว ต่อมาได้เกิดเหตุการณ์ที่ผู้ถูกร้องท้ังสองยื้อแย่งเด็กท้ังสองกันที่สถานีต�ำรวจ
นครบาลลุมพินี จนปรากฏเป็นข่าวต่อสาธารณชนอย่างกว้างขวางจากการให้ข่าวของผู้ถูกร้อง
ทั้งสองและผู้เก่ียวข้องกับผู้ถูกร้องทั้งสองรวมท้ังความขัดแย้งในเร่ืองเก่ียวกับการแย่งใช้อ�ำนาจ
ปกครองเด็กทั้งสองระหว่างผู้ถูกร้องท้ังสอง ส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจและอาจส่งผลต่อ
เด็กทงั้ สองในระยะยาวอนั เป็นการปฏิบตั ิโดยมชิ อบ ถือเป็นความรนุ แรงในครอบครัว จงึ มีเหตทุ ี่
ผู้ร้องจะขอให้ศาลมีค�ำส่ังคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กทั้งสองได้ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก
พ.ศ. ๒๕๔๖ มาตรา ๔๓ วรรคสอง และพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธี
พิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๑๗๒ วรรคสอง และ ๑๗๙ ส�ำหรับ
คดีนี้ผู้ร้องได้ยื่นค�ำร้องขอให้ศาลมีค�ำสั่งคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กท้ังสองพร้อมกับค�ำร้องขอ
คุ้มครองสวัสดิภาพในเหตุฉุกเฉินซ่ึงตามข้อบังคับของประธานศาลฎีกาว่าด้วยวิธีการด�ำเนินคดี
คุ้มครองสวัสดิภาพ พ.ศ. ๒๕๕๔ ข้อ ๙ วรรคหนึ่ง และวรรคสาม ซ่ึงให้น�ำประมวลกฎหมาย
วิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๖๗ มาใช้บังคับโดยอนุโลม ก�ำหนดให้ในกรณีมีเหตุฉุกเฉิน
ผู้ร้องจะยื่นค�ำร้องขอคุ้มครองสวัสดิภาพในเหตุฉุกเฉินรวมไปกับค�ำร้องขอคุ้มครองสวัสดิภาพ
เพ่ือให้ศาลมีค�ำสั่งคุ้มครองสวัสดิภาพโดยมิชักช้า และให้ศาลพิจารณาค�ำขอเป็นการด่วน
ถ้าเป็นที่พอใจจากค�ำแถลงของผู้ร้องหรือพยานหลักฐานที่ผู้ร้องได้น�ำสืบ หรือที่ศาลเรียกมา
สืบเองว่าคดีนั้นเป็นคดีที่มีเหตุฉุกเฉินและค�ำขอน้ันมีเหตุผลสมควรอันแท้จริง ให้ศาลมีค�ำสั่ง
ตามที่ขอภายในขอบเขตและเง่ือนไขไปตามท่ีเห็นจ�ำเป็นทันที คดีนี้เมื่อศาลช้ันต้นรับค�ำร้องขอ
คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กท้ังสองในเหตุฉุกเฉิน ศาลช้ันต้นด�ำเนินการไต่สวนพยานผู้ร้องใน
วันที่ผู้ร้องย่ืนค�ำร้องขอทันที และมีค�ำส่ังคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กท้ังสองในวันเดียวกัน แสดงว่า
ศาลช้ันต้นเห็นว่าค�ำร้องขอของผู้ร้องมีเหตุฉุกเฉิน การท่ีศาลชั้นต้นไม่ได้มีค�ำส่ังให้ส่งส�ำเนา
คำ� รอ้ งขอใหแ้ กผ่ ถู้ กู รอ้ งท่ี ๒ เพอ่ื ใหผ้ ถู้ กู รอ้ งท่ี ๒ มโี อกาสยน่ื คำ� คดั คา้ นจงึ ไมใ่ ชก่ ระบวนพจิ ารณา
ท่ีผิดระเบียบ เพราะเป็นการพิจารณาค�ำร้องขอคุ้มครองสวัสดิภาพในเหตุฉุกเฉินซ่ึงศาลต้อง
พจิ ารณาคำ� รอ้ งขอเปน็ การดว่ นและมคี ำ� สง่ั ทนั ที เมอ่ื ศาลมอี ำ� นาจทจี่ ะออกคำ� สง่ั คมุ้ ครองสวสั ดภิ าพได้
และไม่ปรากฏว่ามีการด�ำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบแล้ว ค�ำส่ังคุ้มครองสวัสดิภาพของ
ศาลช้ันต้นดังกล่าวย่อมเป็นท่ีสุดตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณา
คดเี ยาวชนและครอบครวั พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๑๗๔ วรรคสาม คคู่ วามไมม่ สี ทิ ธทิ จี่ ะอทุ ธรณค์ ำ� สงั่

255

ดงั กลา่ วตอ่ ไปได้ แตห่ ากมพี ฤตกิ ารณเ์ ปลยี่ นแปลงไปหรอื ประสงคท์ จี่ ะยตุ กิ ารคมุ้ ครองสวสั ดภิ าพ
กอ่ นครบระยะเวลา ผู้ถกู ร้องที่ ๒ มีสทิ ธิยื่นคำ� รอ้ งตอ่ ศาลชั้นต้นเพือ่ ไตส่ วนและมีคำ� ส่งั ตอ่ ไปได้
และหากมเี หตฉุ กุ เฉนิ กม็ สี ทิ ธขิ อยกเลกิ คำ� สงั่ คมุ้ ครองสวสั ดภิ าพในเหตฉุ กุ เฉนิ ไดเ้ ชน่ กนั อทุ ธรณ์
ของผถู้ กู รอ้ งท่ี ๒ จงึ เปน็ อทุ ธรณท์ ไ่ี มช่ อบดว้ ยกฎหมาย ศาลอทุ ธรณค์ ดชี ำ� นญั พเิ ศษไมร่ บั วนิ จิ ฉยั
พิพากษายกอุทธรณข์ องผู้ถูกร้องท่ี ๒.

(อมรรตั น์ กรยิ าผล - ประวิทย์ อทิ ธิชัยวฒั นา - พนารตั น์ คดิ จติ ต)์

พทิ กั ษ์ หลิมจานนท์ - ย่อส้ัน
นรินทร์ ทองคำ� ใส - ย่อยาว

256

คำ� พพิ ากษาศาลอุทธรณค์ ดชี �ำนัญพิเศษท่ี ๔๘๔๙/๒๕๖๑ พนักงานเจ้าหนา้ ที่ ผรู้ ้อง

นาย ซ. กับพวก ผถู้ กู กลา่ วหา

พ.ร.บ. ศาลเยาวชนและครอบครวั และวธิ พี จิ ารณาคดเี ยาวชนและครอบครวั พ.ศ. ๒๕๕๓
มาตรา ๑๗๔ วรรคหนงึ่ , ๑๗๔ วรรคสาม, ๑๗๗ วรรคหนง่ึ , ๑๗๙

พ.ร.บ. ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว
พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๑๗๔ วรรคหน่ึง บัญญัติว่า “ในกรณีปรากฏว่าผู้ถูกกล่าวหามี
พฤตกิ ารณน์ า่ จะกอ่ ใหเ้ กดิ อนั ตรายแกร่ า่ งกาย จติ ใจ หรอื สขุ ภาพของบคุ คลในครอบครวั
ใหศ้ าลมอี ำ� นาจออกคำ� สงั่ คมุ้ ครองสวสั ดภิ าพ...แตท่ ง้ั น้ี ตอ้ งไมเ่ กนิ กวา่ หกเดอื น” และใน
วรรคสามบญั ญตั วิ า่ “คำ� สงั่ คมุ้ ครองสวสั ดภิ าพตามวรรคหนงึ่ ใหเ้ ปน็ ทส่ี ดุ แตถ่ า้ พฤตกิ ารณ์
เปล่ียนแปลงไป ศาลมีอ�ำนาจสั่งแก้ไขค�ำส่ังเดิมได้” ซึ่งในกรณีที่มีการปฏิบัติต่อเด็ก
โดยมิชอบด้วยกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็กก็ให้น�ำบทบัญญัติมาตรา ๑๗๔ มาใช้
บังคับโดยอนุโลมด้วยตามมาตรา ๑๗๙ แต่คดีนี้ศาลชั้นต้นยกค�ำร้อง ไม่ออกค�ำส่ัง
คุ้มครองสวัสดิภาพผู้เยาว์ท้ังสอง จึงไม่ใช่กรณีท่ีศาลออกค�ำสั่งคุ้มครองสวัสดิภาพ
ค�ำส่ังยกค�ำรอ้ งของศาลชน้ั ต้นจงึ ไมเ่ ปน็ ทส่ี ดุ ผูร้ ้องมสี ทิ ธอิ ทุ ธรณ์ได้
เมอื่ ระยะเวลาปฏบิ ตั ติ ามคำ� สง่ั คมุ้ ครองสวสั ดภิ าพครบ๖เดอื นแลว้ คำ� สงั่ คมุ้ ครอง
สวัสดิภาพจึงเป็นอันส้ินสุดตาม พ.ร.บ. ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดี
เยาวชนและครอบครวั พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๑๗๗ วรรคหนึ่ง ไม่มีบทบญั ญตั ขิ องกฎหมาย
ที่ให้อ�ำนาจศาลขยายระยะเวลาในการปฏิบัติตามค�ำสั่งดังกล่าวออกไปอีก ๖ เดือน
ท้ังตามมาตรา ๑๗๔ วรรคหน่ึง และมาตรา ๑๗๙ ที่ให้อ�ำนาจศาลออกค�ำสั่งคุ้มครอง
สวัสดิภาพได้น้ัน ต้องปรากฏว่าผู้ถูกกล่าวหามีพฤติการณ์น่าจะก่อให้เกิดอันตราย
แก่ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพของบุคคลในครอบครัว หรือปฏิบัติต่อเด็กโดยมิชอบ
แต่ผู้ร้องย่ืนค�ำร้องขอคุ้มครองสวัสดิภาพโดยไม่ปรากฏเหตุตามกฎหมายท่ีศาลจะออก
คำ� สง่ั คุ้มครองสวสั ดภิ าพได้ จงึ ไม่จ�ำต้องไตส่ วนพยานหลกั ฐานตามค�ำรอ้ งของผูร้ ้อง

______________________________

257

ผรู้ อ้ งยน่ื คำ� รอ้ ง ขอใหม้ คี ำ� สง่ั ใหผ้ เู้ ยาวท์ งั้ สองอยใู่ นความปกครองดแู ลของผถู้ กู กลา่ วหา
ที่ ๑ ภายใต้บันทึกข้อตกลงตามระเบียบที่ออกโดยคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ มีระยะ
เวลา ๖ เดือน นับแต่วันท่ีศาลมีค�ำส่ัง อันเป็นหลักประกันว่าผู้เยาว์ท้ังสองจะได้รับการดูแลให้
ปลอดภยั ให้ผู้ถกู กลา่ วหาท่ี ๑ อนญุ าตและใหผ้ ู้ถกู กลา่ วหาที่ ๒ เขา้ พบ เยยี่ ม และทำ� กจิ กรรม
กบั ผเู้ ยาวท์ ้ังสอง ณ โรงพยาบาล จ. ตามกำ� หนดนดั และใหผ้ ู้ถกู กลา่ วหาท่ี ๑ อนญุ าตใหผ้ ถู้ กู
กลา่ วหาที่ ๒ เขา้ พบ เยีย่ ม ท�ำกิจกรรม หรือการอน่ื ใดท่ที ำ� ใหไ้ ดใ้ กล้ชิดกับผูเ้ ยาว์ทง้ั สองมากกว่า
เดิมตามท่ีผู้ร้องจะได้ก�ำหนดข้ึนในภายหลังร่วมกับผู้ถูกกล่าวหาท้ังสองและทีมสหวิชาชีพ ให้
ผู้ถูกกล่าวหาทั้งสองร่วมมือกับผู้ร้อง แพทย์ นักสังคมสงเคราะห์ และทีมสหวิชาชีพผู้เกี่ยวข้อง
ในกรณนี ใี้ นการลงเยยี่ มบา้ น การประเมนิ หรอื การทำ� กจิ การอนื่ ใด อนั เปน็ ไปเพอ่ื ประโยชนส์ งู สดุ
ของผู้เยาว์ท้ังสอง และให้ผู้ถูกกล่าวหาท้ังสองไม่ก่อหรือท�ำพฤติการณ์อันเป็นความขัดแย้งท่ี
ส่งผลกระทบต่อผู้เยาว์ทั้งสอง ก่อหรือท�ำพฤติการณ์ในลักษณะการให้ข่าวต่อสาธารณะที่จะส่ง
ผลกระทบต่อผ้เู ยาวท์ ้ังสองในอนาคต
ผู้ถกู กล่าวหาที่ ๑ ไมย่ ่นื ค�ำคัดคา้ น
ผู้ถูกกลา่ วหาที่ ๒ ยน่ื ค�ำคดั คา้ น ขอให้ยกค�ำร้องของผู้ร้อง
ในวันนดั ไต่สวนค�ำรอ้ ง ผ้รู อ้ งแถลงวา่ ผรู้ อ้ งไดย้ น่ื คำ� รอ้ งขอคุ้มครองสวสั ดภิ าพผเู้ ยาว์
ทั้งสอง และอาศัยเหตุท่ีร้องโดยไม่ได้มีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นใหม่หลังจากศาลช้ันต้นเคยมีค�ำส่ัง
ในคดีหมายเลขแดงท่ี คส.๑/๒๕๖๐ ศาลชน้ั ต้นจึงมคี �ำสงั่ งดไต่สวน
ศาลชั้นต้นมคี �ำสั่งให้ยกค�ำร้อง
ผู้รอ้ งอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์คดีช�ำนัญพิเศษแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริง
เบื้องต้นรับฟังเป็นยุติได้ว่า ศาลชั้นต้นมีค�ำส่ังคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กหญิง ซ. และเด็กชาย น.
ผูเ้ ยาว์ทงั้ สองเปน็ เวลา ๖ เดือน ในคดหี มายเลขแดงท่ี คส.๑/๒๕๖๐ ของศาลชน้ั ตน้ ตามส�ำเนา
คำ� สงั่ ของศาลชัน้ ต้น และระยะเวลา ๖ เดือน ดังกลา่ วครบแล้ว ปจั จุบนั ศาลชนั้ ต้นมีคำ� พิพากษา
เป็นคดีหมายเลขแดงที่ ๑๔๘/๒๕๖๑ ใหผ้ ูถ้ ูกกล่าวหาที่ ๑ เปน็ บดิ าชอบดว้ ยกฎหมายของผู้เยาว์
ทงั้ สอง และใหผ้ ูถ้ ูกกล่าวหาที่ ๑ และท่ี ๒ สลับกนั ดแู ลผเู้ ยาวท์ ้ังสอง
ปญั หาทต่ี อ้ งวนิ จิ ฉยั ตามอทุ ธรณข์ องผรู้ อ้ งมวี า่ มเี หตสุ มควรทศี่ าลจะออกคำ� สง่ั คมุ้ ครอง
สวัสดิภาพผู้เยาว์ทั้งสองหรือไม่ เห็นว่า แม้การยื่นค�ำร้องของผู้ร้องเป็นคดีใหม่นี้ เพ่ือต้องการ
เรมิ่ กระบวนการบำ� บดั ฟน้ื ฟผู เู้ ยาวท์ ง้ั สองทไี่ ดร้ บั ผลกระทบจากความขดั แยง้ ระหวา่ งผถู้ กู กลา่ วหา

258

ทั้งสองซึ่งเป็นเหตุให้ศาลชั้นต้นออกค�ำส่ังคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เยาว์ทั้งสองในคดีหมายเลขแดง
ท่ี คส.๑/๒๕๖๐ แต่ระยะเวลาปฏิบัติตามค�ำสั่งคุ้มครองสวัสดิภาพดังกล่าวครบ ๖ เดือน แล้ว
ค�ำส่ังคุ้มครองสวัสดิภาพจึงเป็นอันสิ้นสุดตามมาตรา ๑๗๗ วรรคหน่ึง ซึ่งก็ไม่มีบทบัญญัติของ
กฎหมายท่ีให้อ�ำนาจศาลขยายระยะเวลาในการปฏิบัติตามค�ำสั่งดังกล่าวออกไปอีก ๖ เดือน
ได้ ทั้งตามมาตรา ๑๗๔ วรรคหน่ึง และมาตรา ๑๗๙ ข้างต้นท่ีให้อ�ำนาจศาลออกค�ำส่ัง
คุ้มครองสวัสดิภาพได้นั้น ต้องปรากฏว่าผู้ถูกกล่าวหามีพฤติการณ์น่าจะก่อให้เกิดอันตรายแก่
ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพของบุคคลในครอบครัว หรือปฏิบัติต่อเด็กโดยมิชอบ แต่ได้ความ
จากค�ำร้องของผู้ร้องเองว่า หลังจากศาลชั้นต้นมีค�ำสั่งคุ้มครองสวัสดิภาพดังกล่าว ผู้ร้อง
ด�ำเนินการให้เป็นไปตามค�ำสั่งศาล ผู้ถูกกล่าวหาท้ังสองให้ความร่วมมือ และผู้เยาว์ทั้งสอง
มีพัฒนาการด้านต่าง ๆ ดีขึ้น โดยเฉพาะด้านอารมณ์และสังคม และผู้ถูกกล่าวหาทั้งสอง
หยุดพฤติการณ์หรือไม่มีพฤติการณ์ในลักษณะเดิมอันเป็นเหตุให้มีการยื่นค�ำร้องในคร้ังแรกแล้ว
ประกอบกับผู้ร้องแถลงต่อศาลว่า อาศัยเหตุที่ร้องโดยไม่ได้มีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นใหม่หลังจาก
ศาลชั้นต้นเคยมีค�ำส่ังในคดีหมายเลขแดงที่ คส.๑/๒๕๖๐ กรณีตามค�ำร้องของผู้ร้องจึงไม่มี
กรณีตามกฎหมายข้างต้นที่ศาลจะออกค�ำส่ังคุ้มครองสวัสดิภาพได้ การท่ีศาลช้ันต้นงดการไต่สวน
จึงไม่ขัดต่อข้อบังคับของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยวิธีการด�ำเนินคดีคุ้มครองสวัสดิภาพ
พ.ศ. ๒๕๕๔ ขอ้ ๑๒ ท่ีใหศ้ าลไตส่ วนพยานหลักฐานตามทผ่ี ู้รอ้ งและผู้ถูกกล่าวหาไดอ้ า้ งไว้ รวมถงึ
พยานหลกั ฐานอนื่ ทศี่ าลเหน็ วา่ จำ� เปน็ แกค่ ดโี ดยมติ อ้ งถอื เครง่ ครดั ตามกฎหมายวธิ พี จิ ารณาความ
เนื่องจากตามค�ำร้องของผู้ร้องไม่ปรากฏเหตุตามกฎหมายข้างต้นที่ศาลจะออกค�ำส่ังคุ้มครอง
สวัสดิภาพได้ จึงไม่มีความจ�ำเป็นที่จะต้องไต่สวนพยานหลักฐานตามค�ำร้องของผู้ร้อง อุทธรณ์อื่น
นอกจากนี้ของผู้ร้องเป็นรายละเอียดไม่ท�ำให้ผลแห่งคดีเปล่ียนแปลงไป จึงไม่จ�ำต้องวินิจฉัย
อุทธรณ์ของผู้ร้องต่อไป ท่ีศาลช้ันต้นยกค�ำร้องของผู้ร้องศาลอุทธรณ์คดีช�ำนัญพิเศษเห็นพ้อง
ด้วย อทุ ธรณข์ องผรู้ อ้ งฟงั ไมข่ น้ึ
พิพากษายืน.

(อมรรตั น์ กรยิ าผล - ประวทิ ย์ อทิ ธิชัยวฒั นา - พนารัตน์ คดิ จิตต)์

ณศิ รา อปุ ัติศฤงค์ - ย่อ
พทิ ักษ์ หลิมจานนท์ - ตรวจ

259

คณะทำงานรวบรวมคำพพิ ากษาหรือคำส่ังคำรองศาลอุทธรณค ดชี ำนญั พเิ ศษ
และคำวินจิ ฉยั ของประธานศาลอทุ ธรณคดชี ำนญั พเิ ศษ

ประธานคณะท่ีปรกึ ษา

อโนชา ชวี ิตโสภณ

สุโรจน จนั ทรพิทกั ษ คณะทีป่ รกึ ษา วนี สั นมิ ติ กลุ
พาช่นื แสงจนั ทรเ ทศ วัชรินทร ฤชโุ รจน
วริ ัตน วิศษิ ฏวงศกร
นภิ า ชัยเจรญิ

ประธานคณะทำงาน

พิทกั ษ หลมิ จานนท

ฉันทนา ชมพานิชย คณะทำงาน อิสรา วรรณสวาท
มณฑาทพิ ย ตง้ั วชิ าชาญ สุธรรม สธุ มั นาถพงษ
รตมิ า ชยั สโุ รจน รุง ระวี โสขมุ า นภกมล หะวานนท สวา งแจง
มนเุ ชษฐ โรจนศิริบุตร
อมั ภสั ชา ดษิ ฐอำนาจ

คณะทำงานและผชู ว ยเลขานกุ าร

ปทมา สมานเกียรติสกุล จฑุ ามาศ สนุ ทรชวี วุฒิ แมนสรวง มณโี ชติ

สวุ ัฒน ชจู ันทร ศกั ดา เขตเจรญิ สนธยา ถนอมจิตร

กฤตภาส ทองฟมู เดอื น รณดิ า เอบ็ ศรี กานตพชิ าณัช ตญั จพัฒนก ุล

นันทกิ านต เทียนวรรณกิจ ภทั รสดุ า วรสาร วนรัตน คงทอง

เบญจวรตั ถ ทองกูล เพชรลดา สำลีทอง สทุ ธวิชญ แพเรอื ง


Click to View FlipBook Version