หนุมานรบมัจฉานุ : กระบวนท่ารบของตัวละครลิง HANUMAN BATTLING AGAINST MACCHANU: THE CHOREOGRAPHY FOR FIGHTING STANCE OF THE VANARA CHARACTER พรรวินท์ ชุนเกษา วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร ศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย บัณฑิตศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ พ.ศ. 2566 ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
หนุมานรบมัจฉานุ : กระบวนท่ารบของตัวละครลิง พรรวินท์ ชุนเกษา วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร ศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย บัณฑิตศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ พ.ศ. 2566 ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
HANUMAN BATTLING AGAINST MACCHANU: THE CHOREOGRAPHY FOR FIGHTING STANCE OF THE VANARA CHARACTER PHONRAWIN CHUNKESA A THESIS SUBMITTED IN PARTIAL FULFILLMENT OF THE REQUIREMENTS FOR THE DEGREE OF MASTER OF FINE ARTS PROGRAM IN THAI PERFORMING ARTS GRADUATE SCHOOL BUNDITPATANASILPA INSTITUTE OF FINE ARTS YEAR 2023 COPYRIGHT OF BUNDITPATANASILPA INSTITUTE OF FINE ARTS
(ค) ชื่อเรื่อง หนุมานรบมัจฉานุ : กระบวนท่ารบของตัวละครลิง 4006601012 นายพรรวินท์ ชุนเกษา ปริญญา ศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชา นาฏศิลป์ไทย พ.ศ. 2566 อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก ดร. นิวัฒน์ สุขประเสริฐ อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อัควิทย์ เรืองรอง บทคัดย่อ วิทยานิพนธ์ “หนุมานรบมัจฉานุ กระบวนท่ารบของตัวละครลิง”เป็นกระบวนท่ารบ ที่นายกรี วรศะริน ประดิษฐ์ขึ้นรวมกับ นายวิโรจน์ อยู่สวัสดิ์ โดยมีวัตถุประสงค์1) ศึกษาวรรณกรรม รูปแบบการแสดงเรื่องรามเกียรติ์และบทบาทของหนุมานและมัจฉานุจากบทละครพระราชนิพนธ์ ในรัชกาลที่ 12) ศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับกระบวนท่าลิงรบลิง 3) วิเคราะห์กระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ จากบทละครในรัชกาลที่ 1 ด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพโดยศึกษาจากต ารา เอกสารที่เกี่ยวข้องการสัมภาษณ์ ผู้ทรงคุณวุฒิและการรับการถ่ายทอดกระบวนท่ารบจากครูวิโรจน์ อยู่สวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทย โขนลิง ผลการวิจัยพบว่า 1) วรรณกรรมรามเกียรติ์ปรากฏตั้งแต่สมัยอยุธยา ธนบุรี รัตนโกสินทร์ การสู้รบระหว่างลิงกับลิงปรากฏอยู่ใน รามเกียรติ์ค าพากย์ บทละครรามเกียรติ์ในรัชกาลที่ 1 และ รัชกาลที่2 และบทโขนกรมศิลปากร ส่วนกระบวนท่ารบลิงกับลิงปรากฏอยู่ 3 ประเภท คือจิตกรรมฝาผนัง หนังใหญ่ และการแสดงโขน ซึ่งมีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์กระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุจากบทละคร ในรัชกาลที่ 1 บทบาทหนุมานและมัจฉานุในศึกไมยราพพบ 3 บทบาท คือ บทบาททหาร บทบาทพ่อ และบทบาทลูกตามล าดับ 2) องค์ความรู้เกี่ยวกับกระบวนท่าลิงรบลิง คือ องค์ประกอบการแสดง ได้แก่ ผู้แสดง บทประกอบการแสดง เครื่องแต่งกาย อาวุธ ดนตรีและเพลงประกอบการแสดง รวมถึง กระบวนท่ารบและรูปแบบการรบ องค์ประกอบเหล่านี้ส่งผลให้เกิดกระบวนท่าลิงรบลิงในการแสดงโขน 2 แบบ คือ การรบในเพลงหน้าพาทย์และการรบในบทเจรจา ซึ่งเป็นการรบตามจารีตการแสดงโขน 3)กระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุจากบทละครในรัชกาลที่ 1 พบ 2 ลักษณะคือ ท่ารบที่สัมพันธ์กับค าร้อง และท่ารบที่เกิดจากจินตนาการของผู้ประดิษฐ์ท่าซึ่งมีลักษณะเด่นเฉพาะ เพราะมีความประณีตกว่า กระบวนท่าลิงรบลิงที่แสดงโดยทั่วไป ด้วยมีการตีบท ที่สัมพันธ์กับค าร้องอย่างละเอียดตามแบบการรบ อย่างละครใน กระบวนท่าดังกล่าวพบว่ามีโครงสร้าง 3 แบบ คือ แบบท่าลิงรบลิง พระรบยักษ์ และลิงรบยักษ์ ซึ่งน ามาจากการแสดงโขน แต่รายละเอียดกระบวนท่าแตกต่างกัน อีกทั้งสื่อความหมายทางอารมณ์ 2 ลักษณะคือ ความกล้าหาญ และความโกรธ จึงกล่าวได้ว่ากระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ จากบทละคร ในรัชกาลที่ 1 เป็นกระบวนท่าลิงรบลิงในบทร้องที่เห็นถึงการผสมผสานการรบในแบบโขนกับละครใน อีกรูปแบบหนึ่งที่มีลักษณะเฉพาะและน่าสนใจ ค าส าคัญ: หนุมานรบมัจฉานุ กระบวนท่ารบ ตัวละครลิง 238 หน้า
(ง) Thesis Title Hanuman Battling Against Machanu: the Choreography of the Fighting Dance Movements for the Monkey Characters 4006601012 Mr. Phonrawin chunkesa Degree Master of fine Art Program in Performing Arts Year 2023 Advisor Niwat Sukprasirt Eb.D Co-advisor Assistant Professor Akhawit Ruengrong, PhD. Abstract The thesis “Hanuman Battling Against Machanu: the Choreography of the Fighting Dance Movements for the Monkey Characters” as created by Kree Worasarin and Viroj Yusawat aims to study the literary style by the royal plays of King Rama I - Ramayana story which focuses on Hanuman and Machanu. The other purposes include to understand the knowledge of the monkey characters fighting positions and to comprehend the mentioned fighting positions with a qualitative research method by studying the relevant textbooks, related documents, interviews with khon masters and by practicing with the expert of the monkehy character in Thai Khon dance, Mr. Wirot Yusawat. The study finds that the Ramayana literature has been present since the Ayutthaya Kingdom, Thonburi and Rattanakosin periods. The battle scenes among monkey characters can be found in Ramayana narration literature, the royal work by the King Rama I and Rama II, including the Khon story from the Find Arts Department in Thailand. According to the Khon performance of the episode of Suk Mayarab, the study shows that there are three main roles displayed by the monkey protagonists, which includes a soldier, a father and a son. An in-depth study, also revealed more details about the performance, such as the details of the actors, characters, costumes, weapons, music and songs. This resulted in a new performance highlighting the monkey characters’ fights with two distinct characteristics in Khon performance: in form of Naphat music performance and in Narrating Performance. The fighting choreographies are categorized into three different structures including: battle among the monkey characters, between the heroes and villains, and between villains and monkeys, which is conveying different emotions, namely courage and anger. The choreography in this battle scene is the combination of Khon style and the royal dance-drama, also known as Lakhon Nai, which makes it unique and interesting. Keyword: Hanuman battling Machanu, Fighting positions, monkey characters 238 pages
(จ) กิตติกรรมประกาศ วิทยานิพนธ์ เรื่อง หนุมานรบมัจฉานุ : กระบวนการรบของตัวละครลิง ฉบับนี้ส าเร็จสมบูรณ์ ได้ด้วยความกรุณาและความช่วยเหลืออย่างดีจาก ดร. นิวัฒน์ สุขประเสริฐ อาจารย์ที่ปรึกษา วิทยานิพนธ์หลัก และผู้ช่วยศาสตราจารย์.ดร.อัควิทย์เรืองรอง อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม ตลอดทั้งรองศาสตราจารย์ ดร.ศุภชัย จันทร์สุวรรณ์ดร.ชนัย วรรณะลีและดร.ไพโรจน์ ทองค าสุก ประธานและกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ตามล าดับ ที่กรุณาให้ค าแนะน าตรวจสอบความถูกต้องของ เนื้อหาสาระต่าง ๆ แก้ไขข้อผิดพลาดในการวิเคราะห์ข้อมูล ท าให้วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ส าเร็จสมบูรณ์ ตามวัตถุประสงค์ของผู้วิจัย ผู้วิจัยขอขอบพระคุณทุกท่าน อย่างยิ่งไว้ในโอกาสนี้ ขอกราบขอบพระคุณ คุณครูวิโรจน์ อยู่สวัสดิ์ ที่ให้ความเมตตาในการถ่ายทอด กระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1 แก่ผู้วิจัย และขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้อง ที่คอยสนับสนุนท าให้วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ส าเร็จลุล่วงด้วยดี ขอกราบระลึกถึงครูกรี วรศะริน บรมครูทางด้านนาฏศิลป์ไทยโขนลิง ผู้ริเริ่มสร้างสรรค์ กระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุจากบทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1 อันท าให้เกิดประโยชน์ต่อ การศึกษาทั้งทางด้านการปฏิบัติ และวิชาการความรู้ทางด้านกระบวนท่ารบของตัวละครลิง ทั้งนี้ประโยชน์ของงานวิจัยฉบับนี้ผู้วิจัยขอมอบเป็นคุณูปการต่อการศึกษากระบวนท่ารบของ ตัวละครลิงอันอาจเกิดผลในภายภาคหน้าไม่มากก็น้อย พรรวินท์ ชุนเกษา
(ฉ) สารบัญ หน้า บทคัดย่อภาษาไทย .............................................................................................................. (ค) บทคัดย่อภาษาอังกฤษ ........................................................................................................ (ง) กิตติกรรมประกาศ ............................................................................................................... (จ) สารบัญ ................................................................................................................................. (ฉ) สารบัญภาพ ......................................................................................................................... (ฌ) สารบัญตาราง ...................................................................................................................... (ฏ) บทที่ 1 บทน า ...................................................................................................................... 1 1. ความเป็นมาและความส าคัญของปัญหา ............................................................ 1 2. วัตถุประสงค์ของการวิจัย .................................................................................... 4 3. ขอบเขตของการวิจัย .......................................................................................... 4 4. วิธีด าเนินการวิจัย ............................................................................................... 5 5. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ................................................................................. 7 6. นิยามศัพท์เฉพาะ ................................................................................................ 7 บทที่ 2 การทบทวนวรรณกรรม ......................................................................................... 8 1. วรรณกรรมรามเกียรติ์ส านวนต่าง ๆ ของไทย ..................................................... 8 1.1 รามเกียรติ์ส านวนอยุธยา …………………………….…………………………………… 9 1.2 รามเกียรติ์ส านวนพระเจ้ากรุงธนบุรี………….………………………………………. 13 1.3 รามเกียรติ์ส านวนรัตนโกสินทร์.................................................................. 14 2. รูปแบบการแสดงของวรรณกรรมเรื่องรามเกียรติ์………………………………………… 29 2.1 นาฏกรรมรามเกียรติ์……………………………………….………………..………………. 29 2.2 จิตกรรมรามเกียรติ์ ……………………………………………..……………..……….……. 44 3. บทบาทหนุมานและมัจฉานุ ในเรื่องรามเกียรติ์บทพระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 …………..……... 46
(ช) สารบัญ (ต่อ) หน้า 3.1 หนุมาน ………………………….………………………………………….…….......…… 47 3.2 มัจฉานุ ................................................................................................... 57 4. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ........................................................................................... 61 สรุป ........................................................................................................................ 63 บทที่ 3 องค์ความรู้กระบวนท่าลิงรบลิง .......................................................................... 64 1. องค์ประกอบการแสดงลิงรบลิง ....................................................................... 64 1.1 ผู้แสดง ..................................................................................................... 65 1.2 บทการแสดงโขน ..................................................................................... 73 1.3 เครื่องแต่งกาย ......................................................................................... 74 1.4 อาวุธที่ใช้ในการรบระหว่างลิงรบลิง ........................................................ 81 1.5 ดนตรีประกอบการแสดง ......................................................................... 82 1.6 เพลงที่ใช้ประกอบการรบ ........................................................................ 85 2. กระบวนท่ารบระหว่างลิงรบลิงในการแสดงโขน ............................................. 86 3. การจับอาวุธในการรบระหว่างลิงรบลิง …………………………………………………… 88 4. รูปแบบการรบระหว่างลิงรบลิง ………………………………………………….………….. 90 สรุป ........................................................................................................ ............. 91 บทที่ 4 วิเคราะห์กระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ………………………………………….………….. 93 1. แนวคิดกระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ จากบทละครในรัชกาลที่ 1 ………….…… 93 2. องค์ประกอบการแสดงกระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุจากบทละคร ในรัชกาลที่ 1 ………………………………………………………………….……………………. 95 2.1 บทละคร …………………………………….……………………...………………………….. 95 2.2 เพลงร้อง ..................................................................................................... 97 2.3 ผู้แสดง ....................................................................................................... 97 2.4 วงดนตรี ..................................................................................................... 99
(ซ) สารบัญ (ต่อ) หน้า 2.5 เครื่องแต่งกาย ......................................................................................... 100 2.6 กระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ จากบทละครในรัชกาลที่ 1 ..................... 104 3. วิเคราะห์กระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุจากบทละครในรัชกาลที่ 1 ................. 176 3.1 วิเคราะห์ลักษณะกระบวนท่ารบ ............................................................. 176 3.2 วิเคราะห์โครงสร้างกระบวนท่ารบ ........................................................... 189 3.3 วิเคราะห์กระบวนท่ารบกับการสื่อความหมาย ........................................ 203 สรุป ...................................................................................................................... 207 บทที่ 5 สรุป อภิปรายผลการวิจัย และข้อเสนอแนะ ...................................................... 209 1. สรุปผลการวิจัย ................................................................................................ 209 2. อภิปรายผลการวิจัย ......................................................................................... 215 3. ข้อเสนอแนะ …………………………………………………………………..……………………. 217 บรรณานุกรม …………………..……………………..…………………………………………………………… 219 บุคลานุกรม ....................................................................................................................... 222 ภาคผนวก ………………………………………………..…………………………………………..…………….. 223 ภาคผนวก ก ประวัติครูกรี วรศะรินและประวัติครูวิโรจน์ อยู่สวัสดิ์ ..................... 224 ภาคผนวก ข การด าเนินงานวิจัย ……………………………….…….…………………………. 232 ภาคผนวก ค แบบสัมภาษณ์…………………………………………..………………………….. 234 ประวัติผู้วิจัย …………………………………………………………………………………..……….………….. 238
(ฌ) สารบัญภาพ ภาพที่ หน้า 1 การแสดงหนังใหญ่ ชุด จับลิงหัวค ่า .............................................................. 32 2 หนังจับ ลิงขาวรบลิงด่า ................................................................................ 32 3 หนังจับ ลิงขาวรบลิงด่า ................................................................................ 33 4 หนังจับ ลิงขาวรบลิงด่า ................................................................................ 33 5 สูจิบัตรละครในเรื องรามเกียรติ์ ตอน นางลอย ............................................. 35 6 โขนกลางแปลง ............................................................................................. 38 7 โขนนั งราวหรือโขนโรงนอก .......................................................................... 38 8 โขนหน้าจอ ................................................................................................... 39 9 โขนโรงใน ...................................................................................................... 40 10 โขนฉาก ........................................................................................................ 41 11 ระบ่าวีระชัยสิบแปดมงกุฎ ............................................................................ 43 12 จิตกรรมฝาผนังเรื องรามเกียรติ์.................................................................... 45 13 จิตรกรรมฝาผนัง หนุมานรบมัจฉานุ ............................................................. 45 14 ลักษณะผู้แสดงลิงโล้น .................................................................................. 65 15 ลักษณะผู้แสดงลิงยอด .................................................................................. 65 16 ฝึกหัดเบื้องต้น (ตบเข่า) ................................................................................ 67 17 ฝึกหัดเบื้องต้น (ถองสะเอว) .......................................................................... 67 18 ฝึกหัดเบื้องต้น (เต้นเสา) ............................................................................... 68 19 ท่าอันธพา ..................................................................................................... 69 20 ท่าพาสุริน ..................................................................................................... 70 21 ท่าตีลังกาหกม้วน .......................................................................................... 71 22 เครื องแต่งกายพาลี....................................................................................... 75 23 เครื องแต่งกายท้าวมหาชมพู......................................................................... 76
(ญ) สารบัญภาพ (ต่อ) ภาพที่ หน้า 24 เครื องแต่งกายสุครีพ ..................................................................................... 77 25 เครื องแต่งกายหนุมาน .................................................................................. 78 26 เครื องแต่งกายนิลพัท .................................................................................... 79 27 เครื องแต่งกายมัจฉานุ ................................................................................... 80 28 อาวุธตรี........................................................................................................ 81 29 อาวุธพระขรรค์............................................................................................. 82 30 วงปี่พาทย์เครื องห้า ...................................................................................... 83 31 วงปีพาทย์เครื องคู่ ........................................................................................ 83 32 วงปี่พาทย์เครื องใหญ่ .................................................................................... 84 33 ครูกรี วรศะริน .............................................................................................. 94 34 ครูวิโรจน์ อยู่สวัสดิ์ ....................................................................................... 94 35 ลักษณะผู้แสดงหนุมาน ................................................................................. 98 36 ลักษณะผู้แสดงมัจฉานุ ................................................................................. 98 37 วงปี่พาทย์เครื องห้า ....................................................................................... 99 38 วงปี่พาทย์เครื องคู่ ......................................................................................... 99 39 วงปี่พาทย์เครื องใหญ่ .................................................................................... 100 40 เครื องแต่งกายของหนุมาน ........................................................................... 101 41 การแต่งกายมัจฉานุ ...................................................................................... 102 42 ศีรษะของหนุมาน ......................................................................................... 103 43 ศีรษะของมัจฉานุ .......................................................................................... 103 44 หางของหนุมาน ............................................................................................ 103 45 หางของมัจฉานุ ............................................................................................. 103 46 ครูกรี วรศะริน .............................................................................................. 225 47 ครูวิโรจน์ อยู่สวัสดิ์ ....................................................................................... 228
(ฎ) สารบัญภาพ (ต่อ) ภาพที่ หน้า 48 การสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์....................................................................... 233 49 ประธาน คณะกรรมการ และที ปรึกษา ในการสอบป้อกันวิทยานิพนธ์......... 233
(ฏ) สารบัญตาราง ตารางที่ หน้า 1 ส่านวนรามเกียรติ์ที ปรากฏการรบระหว่างลิงกับลิง ...................................... 28 2 หลักสูตรนาฏดุริยางคศิลป์ สาขาวิชานาฏศิลป์ไทยโขนลิง พ.ศ. 2562 ......... 72 3 กระบวนท่ารบระหว่างลิงรบลิงในการแสดงโขน ........................................... 87 4 ลักษณะการจับอาวุธในการรบระหว่างลิงรบลิง ............................................ 88 5 กระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุจากบทละครในรัชกาลที 1 ........................... 104 6 ลักษณะกระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุจากบทละครในรัชกาลที 1 ............. 177 7 ลักษณะท่าตีบทที เป็นกระบวนท่ารบ ............................................................ 190 8 เปรียบเทียบกระบวนท่าลิงรบลิงกับกระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ จากบทละครในรัชกาลที 1 : ท่ากระทบอาวุธ ............................................... 195 9 เปรียบเทียบกระบวนท่าลิงรบลิงกับกระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ จากบทละครในรัชกาลที 1 : ท่าตีเลาะ ......................................................... 196 10 เปรียบเทียบกระบวนท่าลิงรบลิงกับกระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ จากบทละครในรัชกาลที 1 : ท่ายืนแทง ....................................................... 196 11 เปรียบเทียบกระบวนท่าลิงรบลิงกับกระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ จากบทละครในรัชกาลที 1 : ท่ายืนแทงกัดมือ ............................................. 197 12 เปรียบเทียบกระบวนท่าลิงรบลิงกับกระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ จากบทละครในรัชกาลที 1 : ท่าถีบเท้าขวา .................................................. 197 13 เปรียบเทียบกระบวนท่าลิงรบลิงกับกระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ จากบทละครในรัชกาลที 1 : ท่าจับเหวี ยงหกคะเมน ................................... 198 14 เปรียบเทียบกระบวนท่าลิงรบลิงกับกระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ จากบทละครในรัชกาลที 1 : ท่าข้าวต้มมัด ................................................... 199 15 เปรียบเทียบกระบวนท่าลิงรบลิงกับกระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ จากบทละครในรัชกาลที 1 : ท่าจับแขนเงื้อ ................................................ 199
(ฐ) สารบัญตาราง (ต่อ) ตารางที่ หน้า 16 เปรียบเทียบกระบวนท่าลิงรบลิงกับกระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ จากบทละครในรัชกาลที 1 : ท่าหกตะเมนกลางอากาศ ............................... 200 17 เปรียบเทียบกระบวนท่าลิงรบลิงกับกระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ จากบทละครในรัชกาลที 1 : ท่าแทงอาวุธ .................................................... 201 18 เปรียบเทียบกระบวนท่าลิงรบลิงกับกระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ จากบทละครในรัชกาลที 1 : ท่าลอยมัจฉานุ ................................................ 201 19 เปรียบเทียบกระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุจากบทละครในรัชกาลที 1 กับกระบวนท่าลิงรบยักษ์ : ท่าหกฉีก ........................................................... 202 20 เปรียบเทียบกระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุจากบทละคร ในรัชกาลที 1 กับกระบวนท่าพระรบยักษ์ : ท่าตีพลาดปะทะอาวุธ ............................. 203 21 วิเคราะห์อารมณ์(อารมณ์ความกล้าหาญ) ................................................... 204 22 วิเคราะห์อารมณ์(อารมณ์โกรธ) ................................................................... 206
บทที่ 1 บทน ำ 1. ควำมเป็นมำและควำมส ำคัญของปัญหำ บัดนั้น หนุมานผู้ชาญชัยศรี กริ้วโกรธพิโรธดั่งอัคคี ขุนกระบี่รับระปะทะกร เคล่าคล่องว่องไวทั้งสองข้าง ต่างตนต่างหาญชาญสมร ถ้อยทีถ้อยมีฤทธิรอน ต่อกรไม่ละลดกัน ฯ ฯ 4 ค า ฯ บัดนั้น มัจฉานุฤทธิแรงแข็งขัน ปล้ าปลุกคลุกคลีตีประจัญ พัลวันหลบหลีกไปในที ถีบกัดวัดเหวี่ยงอุตลุด ทะยานยุทธ์ไม่ท้อถอยหนี กอดรัดฟัดกันเป็นโกลี เปลี่ยนท่าเปลี่ยนทีรอนราญฯ ฯ 4 ค า ฯ เชิด (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช, 2553 ข, น. 358) “รามเกียรติ์” บทประพันธ์ข้างต้น คือพระราชนิพนธ์บทละครรามเกียรติ์ในรัชกาลที่ 1 เป็นตอนที่เกี่ยวกับการรบ ระหว่างหนุมานทหารเอกของพระรามกับมัจฉานุ บุตรบุญธรรมไมยราพ ความเดิมพญาไมยราพเจ้าเมืองบาดาล ได้ขึ้นมาสะกดทัพและได้ลักพาตัวพระรามไปยังเมืองบาดาล หนุมานตามไปช่วยพระรามถึงเมืองบาดาล ฝ่าด่านอันตรายต่าง ๆ จนกระทั่งบุกมาถึงด่านชั้นในและ ได้พบกับมัจฉานุ ซึ่งไมยราพได้ชุบเลี้ยงในฐานะลูกบุญธรรม มอบหมายให้ดูแลรักษาการณ์ด่านชั้นใน เมืองบาดาลนี้ มัจฉานุผู้รักษาด่าน เห็นผู้บุกรุกเข้ามาจึงเกิดการต่อสู้ระหว่างหนุมานกับมัจฉานุ บทละครเรื่องรามเกียรติ์ในรัชกาลที่ 1 นี้ ได้น าเสนอส านวนภาษาที่ให้อรรถรสความบันเทิง โดยใช้ส านวนภาษาที่สัมผัสนอกและสัมผัสใน เพื่อมุ่งหวังให้ผู้อ่านเห็นภาพได้จากตัวอักษร ที่มีความไพเราะในน้ าเสียงจากการอ่าน การร้องเป็นส าคัญ
2 รามเกียรติ์ ฉบับพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ถือเป็นวรรณกรรมชิ้นเอกของไทย หลังได้เปลี่ยนรัชสมัยเป็นราชวงศ์จักรี การรวบรวมวรรณกรรม เรื่องนี้มีเจตนารมณ์คือ เพื่อการฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าด้านสุนทรียะให้มีความ เจริญรุ่งเรืองทัดเทียมกับสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีดังแต่ก่อนมาอีกทั้งรามเกียรติ์บทละคร พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ถือได้ว่าเป็น วรรณกรรมที่ทรงคุณค่า ทั้งเนื้อความทางด้านภาษาส านวนที่มีความไพเราะงดงาม และเป็นวรรณกรรม รามเกียรติ์ที่มีความสมบูรณ์ที่สุดของไทย เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติประจ าปีพุทธศักราช 2558 คณะกรรมการวรรณคดีแห่งชาติจึงมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ประกาศยกย่องพระราชนิพนธ์บทละคร เรื่อง รามเกียรติ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็น “วรรณคดีแห่งชาติ” (กรมศิลปากร, 2558, น. 8) ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ตั้งแต่เริ่มเรื่อง หิรัญยักษ์ม้วนแผ่นดิน จนจบเรื่อง พระรามครองเมือง นอกจากวรรณกรรมรามเกียรติ์จะเป็นหนังสือที่น่าอ่านแล้วการแสดง หลายประเภทได้หยิบยก เรื่อง รามเกียรติ์น าไปประกอบการแสดงอีกด้วย การแสดงมหรสพของไทย มีอยู่หลายประเภทที่ได้น าเรื่องรามเกียรติ์ไปประกอบเป็นบท ในการแสดง เช่น การแสดงหนังใหญ่ การแสดงละครใน และการแสดงโขน ซึ่งมีความแตกต่าง ในเชิงรูปแบบของการแสดง ท าให้วรรณกรรมรามเกียรติ์มีความแพร่หลายมากยิ่งขึ้น อันเป็นเอกลักษณ์ ของไทยสืบมาจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะการแสดงโขน การแสดงโขน เป็นมหรสพชั้นสูงของไทยที่เป็นแหล่งรวบรวมศิลปะหลายแขนงเข้าด้วยกัน ก าเนิดมาจากการแสดง 3 ประเภท คือ การแสดงหนังใหญ่ การแสดงกระบี่กระบอง และการแสดง ชักนาคดึกด าบรรพ์ เอกลักษณ์ของการแสดงทั้ง 3 ประเภท น ามาสู่การก าเนิดการแสดงโขน ประเภท ของการแสดงโขน ยังสามารถแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ด้วยกัน คือ โขนกลางแปลง โขนโรงนอก โขนหน้าจอ โขนโรงใน และโขนฉาก แต่เดิมการแสดงโขนมีวิธีการด าเนินเรื่องด้วยการ พากย์เจรจาเท่านั้น ต่อมามีการแสดงโขนโรงในเกิดขึ้น จึงมีการน าการขับร้องอย่างละครในเข้ามา ผสมการแสดงโขนจึงมีทั้งการพากย์เจรจา และการขับร้องในการด าเนินเรื่อง โดยจะใช้คนพากย์ พูดแทนตัวละคร ที่สวมหน้ากาก และนิยมแสดงเพียงเรื่องเดียวคือเรื่องรามเกียรติ์ เนื้อเรื่องส าคัญกล่าวถึงการท าสงครามระหว่างพระรามกับทศกัณฐ์ เพื่อแย่งชิงนางสีดา ดังนั้นในการท าศึกสงครามแต่ละตอนของเรื่องรามเกียรติ์ได้เกิดศิลปะการแสดงในกระบวนท่ารบ ทางด้านนาฏศิลป์ไทย กระบวนท่ารบในการแสดงโขน จัดได้ว่าเป็นกระบวนท่าที่ส าคัญในการแสดง
3 ด้วยเนื้อเรื่องส าคัญของเรื่องรามเกียรติ์ คือการท าสงคราม กระบวนท่าการรบในการแสดงจึงได้ถูก สร้างสรรค์ขึ้นโดยบรมครูนาฏศิลป์ไทยและสืบทอดต่อมาในหลาย ๆ รุ่น ในรูปแบบการรบใน เพลงหน้าพาทย์ (เพลงเชิด) การรบในบทเจรจา และการรบในบทร้อง ไม่ว่าจะเป็นกระบวนท่ารบ ระหว่าง พระกับยักษ์ ยักษ์กับลิง ลิงกับควาย และลิงกับลิง ล้วนแต่เป็นกระบวนท่าที่แตกต่างกันไป ตามลักษณะของตัวละคร สามารถแยกความแตกต่างได้ตามพฤติกรรมและชาติก าเนิด กระบวนท่าลิงรบลิงในการแสดงโขนเกิดจากการสร้างสรรค์กระบวนท่ารบจากลักษณะ ทางธรรมชาติบางส่วนของอากับกิริยาความว่องไวของตัวลิง ผสมผสานระหว่างกระบวนท่าทาง นาฏศิลป์ไทย กระบวนท่าลิงรบลิง จึงมีลักษณะที่แตกต่างจากกระบวนท่ารบในตัวโขนอื่น ๆ ในยุคกรมศิลปากรปรับปรุงใหม่ มีการฟื้นฟูการแสดงโขนละคร ได้มีการจัดการแสดงโขนในวาระ งานส าคัญต่าง ๆ กรมศิลปากร มีแนวทางในการจัดท าบทการแสดงโขน โดยน าบทพระราชนิพนธ์ ในรัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 2 รวมถึงบทพากย์โขนส านวนต่างๆจัดเรียบเรียงและปรับปรุงบทเสียใหม่ โดยผู้รู้ทางด้านการจัดท าบท และเคยจัดการแสดงโขนที่กล่าวถึงการสู้รบระหว่างลิงกับลิง 4 คู่ด้วยกัน คือ 1. พาลีรบสุครีพ 2. หนุมานรบนิลพัท 3. หนุมานรบมัจฉานุ 4. ท้าวมหาชมพูรบมัจฉานุ ทั้งนี้เมื่อศึกษากระบวนท่ารบทั้ง 4 คู่ พบว่ามีลักษณะการรบ 2 ลักษณะ คือ การรบในเพลงหน้าพาทย์ (เพลงเชิด) และการรบในบทเจรจา ซึ่งไม่ปรากฏการรบในบทร้องเหมือนอย่างเช่น ตัวโขนตัวอื่น ๆ วิโรจน์ อยู่สวัสดิ์(2564, 13 กุมภาพันธ์, สัมภาษณ์) ผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ เกี่ยวกับกระบวนท่าลิงรบลิง กล่าวว่าการแสดงโขนในยุคกรมศิลปากรปรับปรุงใหม่ เป็นการน าบทพระ ราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 2 ได้ช าระและปรับปรุงบทเพื่อน ามาเป็นบทประพันธ์ส าหรับใช้ ในการแสดงโขนสืบต่อกันมา ทั้งนี้กระบวนท่าลิงรบลิงที่กรมศิลปากรใช้แสดงไม่ว่าจะเป็นพาลีรบสุครีพ หนุมานรบนิลพัท หนุมานรบมัจฉานุ ท้าวมหาชมพูรบมัจฉานุ เป็นกระบวนท่ารบในเพลงเชิด และการบในบทเจรจาเท่านั้น นอกจากกระบวนท่ารบที่กล่าวมายังมีกระบวนท่าลิงรบลิง อีกรูปแบบหนึ่ง ครูกรี วรศะริน ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์-โขน) พุทธศักราช 2531 ได้คิด ประดิษฐ์ขึ้น โดยน าบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ในตอนหนุมานรบมัจฉานุ เป็นกระบวนท่ารบที่ใช้เพลง “ร่าย” ประกอบกับกระบวนท่ารบ หรือเรียกว่า การตีบทตามบทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1 กล่าวได้ว่าเป็นกระบวนท่ารบในรูปแบบ การรบในบทร้อง ของตัวละครลิง มีการคิดประดิษฐ์กระบวนท่ารบขึ้นอย่างประณีต เนื่องจากบทวรรณกรรมมีการ
4 พรรณนาอย่างละเอียด การปฏิบัติกระบวนท่ารบจึงมีความยาก ผู้แสดงจะต้องปฏิบัติกระบวนท่ารบ ได้อย่างมีทักษะจัดเจนและทันกับค าร้องเพลงร่าย จากข้อมูลการสัมภาษณ์ข้างต้นชี้ให้เห็นว่านอกจากกระบวนท่าลิงรบลิงที่มีอยู่เดิม คือ การรบในเพลงหน้าพาทย์ และการในบทเจรจา ลิงรบลิงยังมีกระบวนท่ารบในบทร้องอย่างเช่น ตัวละครอื่น ๆ แต่ด้วยเหตุผลบางประการ กระบวนท่ารบดังกล่าวนี้ยังมิได้เผยแพร่เป็นที่ประจักษ์ และยังไม่มีการสืบทอดเป็นองค์ความรู้ จากเหตุผลข้างต้นผู้วิจัยเกิดความสนใจที่จะศึกษาวิเคราะห์กระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ จากบทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1 ซึ่งเป็นกระบวนท่ารบในบทร้องของตัวละครลิง เพื่อเป็นการรักษาไว้ ซึ่งภูมิปัญญาในการประดิษฐ์กระบวนท่ารบของบรมครูทางนาฏศิลป์ไทยโขนลิง ให้คงอยู่ มิให้สูญหายและยังคงประโยชน์ต่อการศึกษากระบวนท่ารบ ทั้งเพื่อสืบทอดองค์ความรู้และภูมิปัญญานี้ ยังคงอยู่สืบไป 2. วัตถุประสงค์ของกำรวิจัย 2.1 เพื่อศึกษาวรรณกรรมและ รูปแบบการแสดงจากเรื่องรามเกียรติ์ รวมถึงบทบาท ของหนุมานและมัจฉานุในบทละครเรื่องรามเกียรติ์พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1 2.2 เพื่อศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับกระบวนท่ารบของลิงกับลิง 2.3 เพื่อวิเคราะห์โครงสร้างและกระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุจากบทละครเรื่องรามเกียรติ์ ในพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 1 3. ขอบเขตของกำรวิจัย ศึกษากระบวนท่ารบ ตอน หนุมานรบมัจฉานุ จากพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 (เฉพาะที่กล่าวถึงการรบ 6 บท) จากนายวิโรจน์ อยู่สวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ผู้ได้รับการสืบทอดและร่วมประดิษฐ์กระบวนท่า หนุมาน-รบมัจฉานุ จากครูกรี วรศะริน ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์-โขน) พุทธศักราช 2531
5 4. วิธีด ำเนินกำรวิจัย การศึกษา หนุมานรบมัจฉานุ : กระบวนท่ารบของตัวลิง ใช้วิจัยเชิงคุณภาพโดยท าการศึกษา จากต าราและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงการสัมภาษณ์จากผู้เชี่ยวชาญด้านนาฏศิลป์ไทย และการลงภาคสนาม ผู้วิจัยมีล าดับขั้นตอนดังนี้ 4.1 ขั้นตอนที่ 1 กำรเก็บรวบรวมข้อมูล 1) การวิจัยเอกสาร (Documentary Research) ศึกษาเอกสารต าราและงานวิจัยที่เกี่ยวกับ วรรณกรรมรามเกียรติ์ และตัวละครหนุมานกับมัจฉานุจากวรรณกรรมรามเกียรติ์จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ดังนี้ 1.1) หอสมุดแห่งชาติ 1.2) โครงการบัณฑิตศึกษา 1.3) ห้องสมุดวิทยาลัยนาฏศิลป 1.4) ห้องสมุดกลุ่มนาฏศิลป์ส านักการสังคีต กรมศิลปากร 2) การสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Interview) จากผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนาฏศิลป์ ด้วยวิธีการบันทึกเสียง และการจดบันทึก โดยมีเกณฑ์การคัดเลือกดังนี้ 2.1) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการแสดงโขนลิง เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถด้านการสอน และถ่ายทอดการแสดงนาฏศิลป์ไทย มีประสบการณ์ทางด้านการแสดงมากกว่า 20 ปี 2.1.1) นายวิโรจน์ อยู่สวัสดิ์ผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทย (โขนลิง) สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ผู้ได้รับการถ่ายทอดและร่วมประดิษฐ์กระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ จากบทละคร ในรัชกาลที่ 1 ประเด็นค าถามที่ใช้ในการสัมภาษณ์กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านนาฏศิลป์ไทย ที่มีความรู้และประสบการณ์ทางด้านการถ่ายทอดและการแสดง (1) กระบวนท่ารบของลิงรบลิงในการแสดงโขน การรบในเพลงหน้าพาทย์ และบทเจรจา ตลอดทั้งกระบวนท่ารบของหนุมานกับมัจฉานุในบทร้องร่าย มีลักษณะอย่างไร เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร (2) ผู้แสดงตัวลิงมีคุณสมบัติอย่างไร และมีวิธีการคัดเลือกอย่างไร (3) มีกระบวนการฝึกหัดผู้ที่ได้รับการคัดเลือกอย่างไร
6 2.2)ผู้ทรงคุณวุฒิด้านนักวิชาการนาฏศิลป์ไทย เป็นผู้มีความรู้ ด้านวิชาการนาฏศิลป์ไทย รวมไปถึงการสอนนาฏศิลป์ไทย และได้รับการยอมรับจากสังคมนาฏศิลป์ไทย 2.2.1) ดร.ไพโรจน์ ทองค าสุก ราชบัณฑิต สาขานาฏกรรมไทย ราชบัณฑิตยสภา 2.2.2) นายเกษม ทองอร่าม ผู้เชี่ยวชาญวิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ 2.2.3) นายจรัญ พูลลาภ นักวิชาการละครและดนตรีช านาญการ กลุ่มวิจัยพัฒา กองการสังคีต กรมศิลปากร ประเด็นค าถามที่ใช้ในการสัมภาษณ์กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านวิชาการที่มีความรู้ทางด้าน นาฏศิลป์ไทย รวมไปถึงการสอนนาฏศิลป์ไทย และได้รับการยอมรับจากสังคมนาฏศิลป์ไทย (1) กรมศิลปากรมีแนวทางในการจัดท าบทการแสดงโขน ที่เอื้อให้เกิดกระบวนท่ารบ ของลิงรบลิงอย่างไร 2.3) กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านดนตรีและการขับร้อง เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ มีประสบการณ์ด้านการบรรเลงดนตรีไทยและการขับร้องดนตรีไทย 2.3.1) นายปี๊บ คงลายทอง ศิลปินแห่งชาติ สาขาดนตรีไทย พุทธศักราช 2563 ผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทย ส านักการสังคีต กรมศิลปากร 2.3.2) นายสมชาย ทับพร ผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทย ส านักการสังคีต กรมศิลปากร ประเด็นค าถามที่ใช้ในการสัมภาษณ์กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านดนตรีไทยที่มีความรู้และ ประสบการณ์ ในการบรรเลงดนตรีไทยประกอบการแสดงโขน (1) การเลือกใช้เพลงในกระบวนท่ารบมีลักษณะอย่างไร (2) การเลือกเพลงร้องในกระบวนท่ารบมีลักษณะอย่างไร 4.2 ขั้นตอนที่ 2 กำรลงภำคสนำม การเก็บข้อมูลภาคสนาม ผู้วิจัยได้ด าเนินการโดยใช้การสังเกตแบบมีส่วนร่วม (ภาคสนาม) ผู้วิจัยได้ด าเนินการฝึกปฏิบัติกระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุด้วยตนเอง จากนายวิโรจน์ อยู่สวัสดิ์ ผู้เชียวชาญนาฏศิลป์ไทยสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ 4.3 ขั้นตอนที่ 3 ตรวจสอบวิเครำะห์ข้อมูล 1) น าข้อมูลที่ได้จากเอกสาร การสัมภาษณ์ รวมถึงการลงภาคสนาม น าข้อมูลมา วิเคราะห์ และน าเสนอในรูปแบบการพรรณนาวิเคราะห์ 2) เขียนรายงานทางวิชาการ
7 3) รวบรวมสรุป น าเสนอโครงร่างวิทยานิพนธ์ 4.4 ขั้นตอนที่ 4 สรุป สรุปวิเคราะห์ผลของงานวิจัยเรียบเรียงเป็นรายงานวิจัย 5. ประโยชน์ที่คำดว่ำจะได้รับ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาแนวทางในการปฏิบัติกระบวนท่ารบระหว่างหนุมานกับ มัจฉานุ ในรูปแบบกระบวนท่ารบในบทร้อง และยังสืบทอดภูมิปัญญาการคิดกระบวนท่ารบของ บรมครูทางนาฏศิลป์ไทยโขนลิง ในรูปแบบงานเอกสาร 6. นิยำมศัพท์เฉพำะ กระบวนท่ารบของลิง หมายถึง ท่าร าที่รวมกันหลาย ๆ ท่า จนเป็นกระบวนท่ารบ ในงานวิจัย ฉบับนี้หมายถึง กระบวนท่ารบระหว่างหนุมานและมัจฉานุ ที่นายกรี วรศะริน ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์-โขน) พุทธศักราช 2531 ได้คิดประดิษฐ์ขึ้นร่วมกับนายวิโรจน์ อยู่สวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทย (โขนลิง) สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์และยังเป็นผู้ถ่ายทอดกระบวนท่ารบนี้ การรบในบทร้อง หมายถึง กระบวนท่าร าที่รวมกันหลาย ๆ ท่าที่ปฏิบัติกระบวนท่ารบ ตามค าร้องในบทเพลง ในงานวิจัยฉบับนี้หมายถึง กระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ จากบทละคร ในรัชกาลที่ 1 บทบาทหนุมานและมัจฉานุ หมายถึง พฤติกรรมและสถานภาพของตัวละครหนุมาน และมัจฉานุ ที่ปรากฏในบทละครเรื่อง รามเกียรติ์ บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ในตอนศึกไมยราพ บทละครเรื่องรามเกียรติ์ หมายถึง ตัวบทวรรณกรรม ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1 ตอนที่กล่าวถึงการรบ ระหว่างหนุมานกับมัจฉานุ รูปแบบการแสดง หมายถึง ลักษณะของการรบระหว่างลิงกับลิงที่ถูกก าหนดขึ้น
บทที่2 การทบทวนวรรณกรรม วรรณกรรมเรื่องรามเกียรติ์ รูปแบบการแสดง และบทบาทของหนุมานกับมัจฉานุ ในบทนี้ ผู้วิจัย ได้ศึกษาวรรณกรรมเรื่องรามเกียรติ์ในส านวนต่าง ๆ ของไทย และรูปแบบการแสดงของ วรรณกรรมรามเกียรติ์ ตลอดจนบทบาทและประวัติของหนุมานและมัจฉานุ จากบทละคร เรื่อง รามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 อันเป็น ข้อมูลวรรณกรรมที่มีความเกี่ยวข้อง จากต ารา เอกสาร และงานวิจัยต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อ การศึกษาหนุมานรบมัจฉานุ กระบวนท่ารบของตัวละครลิง โดยมีประเด็นในการศึกษาดังนี้ 1. วรรณกรรมรามเกียรติ์ส านวนต่าง ๆ ของไทย 1.1 รามเกียรติ์ส านวนอยุธยา 1.2 รามเกียรติ์ส านวนพระเจ้ากรุงธนบุรี 1.3 รามเกียรติ์ส านวนรัตนโกสินทร์ 2. รูปแบบการแสดงของวรรณกรรมเรื่องรามเกียรติ์ 2.1 นาฏกรรมรามเกียรติ์ 2.2 จิตกรรมรามเกียรติ์ 3. บทบาทและประวัติหนุมานและมัจฉานุ ในบทละครเรื่องรามเกียรติ์พระราชนิพนธ์ใน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 3.1 ประวัติและบทบาทหนุมาน 3.2 ประวัติและบทบาทมัจฉานุ 4 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 1. วรรณกรรมรามเกียรติ์ ส านวนต่าง ๆ ของไทย รามเกียรติ์เป็นวรรณคดีส าคัญของชาติไทย วรรณคดีเรื่องนี้มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป และสร้างความนิยมจับจิตจับใจคนไทยทุกระดับยาวนานกว่า 700 ปี ชื่อของถ้ าพระรามที่ปรากฏ ในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 1 และพระนามของพ่อขุนรามค าแหงมหาราช พระมหากษัตริย์องค์ที่ 3
9 แห่งสุโขทัยย่อมเป็นประจักษ์พยานอันดีว่า คนไทยนิยมยกย่องวรรณคดีเรื่องนี้มาแต่ปางบรรพ์แต่ รามเกียรติ์มิใช่เป็นวรรณคดีไทยแท้ หากแต่มีที่มาจากมหากาพย์เรื่องรามายณะ อันเป็นคัมภีร์ส าคัญของ ศาสนาฮินดู(รื่นฤทัย สัจจพันธุ์, 2554, น. 54) เนื้อเรื่องส าคัญของรามเกียรติ์กล่าวถึงการท าศึกสงคราม ระหว่างพระรามกับทศกัณฐ์เพื ่อแย ่งชิงนางสีดา ซึ ่งรามเกียรติ์ของไทยปรากฏอยู ่หลายส านวน ผู้วิจัยได้ศึกษาส านวนรามเกียรติ์ที่ปรากฏในสมัยอยุธยา สมัยธนบุรีและสมัยรัตนโกสินทร์ดังนี้ 1.1 รามเกียรติ์ส านวนอยุธยา สมัยอยุธยาพบส านวนรามเกียรติ์ที่ประพันธ์ขึ้นโดยกวีในยุคสมัยนั้น มีลักษณะ ค าประพันธ์ในรูปแบบส านวนต่าง ๆ เป็นบทประพันธ์ที่ถูกแต่งขึ้นเพื่อใช้ประกอบการแสดงในสมัย อยุธยามีอยู่ด้วยกัน 3 ส านวน ดังนี้ 1. รามเกียรติ์ค าฉันท์ รามเกียรติ์ส านวนนี้มีกล่าวไว้ในหนังสือจินดามณีของ พระโหราธิบดีครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ ซึ่งยกมาเป็นกลอนตัวอย่างส าหรับแต่งฉันท์ 3 - 4 บท คือบทตอนที่พระอินทร์ใช้ให้พระมาตุลีน ารถมาถวายพระรามในสนามรบ 1 บท ตอนพระรามกับ พระลักษมณ์คร่ าครวญติดตามหานางสีดา เมื่อแรกหาย 1 บท ตอนพรรณนาถึงมหาบาศลูกทศกัณฐ์1 บท และบทตอนพิเภกครวญถึงทศกัณฐ์เมื่อทศกัณฐ์ล้ม เข้าใจว่าพระโหราธิบดีคงจะได้หยิบยกมาจาก ค าพากย์ของเก่า ซึ่งกวีแต่ก่อนได้แต่งไว้ส าหรับเล่นโขน หรือแต่งไว้เป็นเรื่อง แต่ได้สูญไปเสียแล้ว คงเหลือแต่ที่น ามาเป็นตัวอย่างไว้ในหนังสือจินดามณี 3 - 4 บทเท่านั้น และบทที่น ามาเป็นตัวอย่าง ส าหรับแต่งฉันท์ลักษณะต่าง ๆ ในหนังสือจินดามณี ก็มีหลายบทที่เหมือนกับหนังสือเรื่องหนึ่งซึ่งมีชื่อ เรียกว่า “นิราศษีดา” หรือ “ราชาภิลาป” แต่ท่านผู้รู้บางท่านลงความเห็นว่า หนังสือ นิราศษีดาหรือ ราชาภิลาปนั้นมีผู้แต่งขึ้นภายหลังแล้วน าเอาบทประพันธ์ของเก่าที่เข้ากันกับท้องเรื่อง ซึ่งมีในจินดา มณีแทรกอยู่บรรจุไว้(ธนิต อยู่โพธิ์, 2539, น. 115-116) รามเกียรติ์ค าฉันท์นี้แต่งไว้เพียงไม่กี่ตอน เนื้อเรื่องที่กล่าวมานี้ไม่ติดต่อกันเป็นเรื่องราวที่สมบูรณ์ และยังไม่ปรากฏบทบาทที่กล่าวถึงลิงรบลิง 2. รามเกียรติ์ค าพากย์รามเกียรติ์ส านวนนี้ หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากรได้ แบ่งตีพิมพ์ไว้เป็นภาค มีข้อความติดต่อกันตั้งแต่ภาค 2 ตอนสีดาหายจนถึงภาค 9 ตอนกุมภกรรณล้ม และยังมีค าพากย์ตอนอื่น ๆ ซึ่งยังมิได้ตีพิมพ์อยู่ แต่เข้าใจว่าค าพากย์เหล่านี้ ความมุ่งหมายในชั้นเดิม คงใช้ส าหรับเล่นหนัง นายธนิต อยู่โพธิ์ได้กล่าวไว้ในหนังสือโขนว่า รามเกียรติ์ค าพากย์ ถ้าน ามา เปรียบกับรามเกียรติ์ค าฉันท์เทียบกันทางด้านกวีมีลักษณะเหมือนกัน และต่อมาก็น ามาใช้ในการ แสดงโขนด้วย รามเกียรติ์ค าพากย์นี้ ถ้าเปรียบเทียบกันแบบของการแต่งกลอน เช่น ในหนังสือจินดามณี
10 ก็ควรจะเรียกว่า “ค าฉันท์” แต่ถ้าเทียบแบบกวีนิพนธ์ในหนังสือฉันทลักษณ์ก็เรียกได้ว่า “กาพย์” เพราะมีค าพากย์เป็นกาพย์ลักษณะเหมือนกาพย์ 3 ชนิด คือ กาพย์ฉบัง กาพย์ยานี และกาพย์ สุรางคนางค์ แต่กาพย์สุรางคนางค์ ไม่ปรากฏว่าใช้ในการพากย์โขน มีแต่กาพย์ยานีกับกาพย์ฉบัง และเข้าใจว่ามีค าเจรจาซึ่งตามปรกติเจรจาเป็น “ร่ายยาว” มีสัมผัสค ากันห่าง ๆ ในการเล่นหนัง และโขนแต่ก่อน ๆ มา คนเจรจาทุกคนคงจะต้องเป็นผู้รู้เรื่องรามเกียรติ์ซึมซาบอยู่ในใจแล้ว และเมื่อ ถึงตอนที่จะเจรจาให้ตัวใด ก็ว่าไปตามใจ ของตนเอง สุดแต่ไม่ให้ผิดเพี้ยนไปจากเรื่องก็แล้วกัน ในสมัยนั้นจึงไม่มีความจ าเป็นอันใดที่จะต้องจดหรือบันทึกค าเจรจาไว้(ธนิต อยู่โพธิ์, 2539, น. 117) รามเกียรติ์ค าพากย์เป็นบทประพันธ์เพื่อประกอบการแสดงหนังใหญ่ซึ่งเป็นมหรสพแต่ครั้งโบราณ ต ่อมาจึงได้น าบทรามเกียรติ์ค าพากย์มาแสดงโขนด้วย ภายหลังกรมศิลปากรได้จัดท าเป็น หนังสือประชุมค าพากย์รามเกียรติ์ แบ่งเป็นสองเล่มพิมพ์เผยแพร่พุทธศักราช 2546 พบว่าในบท ประชุมค าพากย์รามเกียรติ์ ปรากฏค าพากย์บทบาทการสู้รบระหว่างลิงกับลิง 3 คู่คือ พาลีกับสุครีพ หนุมานกับนิลพัท และหนุมานกับมัจฉานุ ดังค าประพันธ์ที่ว่า (1) ประชุมค าพากย์รามเกียรติ์ ตอน พระรามได้ขีดขิน เป็นการสู้รบระหว่างพาลีกับสุครีพ ดาราผู้เพื่อนพิสมัย กอดบาททูลไท ธิราชปิ่นพานร ว่าศรีสุครีพชาญสมร เกรงกลัวฤทธิรอน จึ่งหนีเข้าดงพงไพร แม้นบมีคนหนุนเยียไฉน จะกลับอาจใจ มากล่าวท านุกรุกราญ ความนี้ข้าข้อยทูลสาร ภูธรพิจารณ์ ด าริพระทัยจงดี อย่าเพ่อไปชิงชัยศรี งดดูท่วงที สุครีพจะท าฉันใด พาลีขัดอัชฌาสัย ขบฟันขัดใจ มิฟังพระอรรคชายา ผาดโผนโจนระเห็จเวหา ไล่ติดอนุชา ค ารนค ารามราวี
11 สุครีพรบพลางทางหนี ครั้นใกล้จักรี ก็โถมเข้าต่อแรงกาย พาลีบมิฆ่าให้ตาย จับตัวน้องชาย ก็พุ่งไปขอบจักรวาล แล้วคืนเข้าสู่ราชฐาน สุครีพเดือดดาล ก็เหาะมายังจักรา ฯ ฯ เชิด ฯ (กรมศิลปากร, 2546 ก, น. 145) (2) ประชุมค าพากย์รามเกียรติ์ ตอน พระรามประชุมพล เป็นการสู้รบระหว่างหนุมานกับนิลพัท ลูกลมโกรธเพียงเพลิงผลาญ เผ่นโผนโจนทะยาน เข้าจับขึ้นเหวี่ยงเวหน ฟัดกับขุนเขาใหญ่ถกล ภูผาบมิทน ก็แตกเป็นจุณธุลี นิลพัทไม่ช้ าอินทรีย์ ผาดแผลงฤทธี สะเทือนทั้งพื้นแผ่นดิน โถมจับหนุมานกระบิล ทุ่มลงสายสินธุ์ ก็จมไปจนบาดาล อากาศเนียรนาททุกสถาน สาครฟูมธาร คะนองระลอกเลื่อนผกา (กรมศิลปากร, 2546 ข, น. 83) (3) ประชุมค าพากย์รามเกียรติ์ ตอน ศึกไมยราพ เป็นการสู้รบระหว่างหนุมานกับมัจฉานุ หนุมานจับได้มัจฉา ฟาดกับพสุธา ก็เกลื่อนกระเด็นกายกร มัจฉานุไม่ม้วยมรณ์ กลับเข้าราญรอน ประยุทธค าแหงลูกลม
12 โถมถีบหนุมานตกจม สาครเริงชม ไชเยศส ารวลไยไพ ลูกลมผุดขึ้นทันใด ดาลเดือนดังไฟ ทะยานเขารวมมัจฉา ขว้างไปถูกเขามหิมา เหลี่ยมลานเพิงผา ก็แตกกระจายเป็นจุณ มัจฉานุแผล็วโผนผลุน เขม้นมุหมุน เข้าต่อค าแหงหนุมาน สองหาญต่อหาญประหาร ฟ้าดินเกิดการ วิจลอื้ออัศจรรย์ฯ (กรมศิลปากร, 2546 ข, น. 168) จากค าประพันธ์ดั่งกล่าว แสดงให้เห็นว่ารามเกียรติ์ค าพากย์ ได้ปรากฏบทบาท การสู้รบระหว่างลิงกับลิงขึ้นแล้ว คือ พาลีกับสุครีพ หนุมานกับนิลพัท และ หนุมานกับมัจฉานุ 3. รามเกียรติ์บทละครสมัยอยุธยา รามเกียรติ์ส านวนนี้กล่าวถึงตอนที่พระราม ประชุมพลจนถึงองคตสื่อสาร ต้นฉบับเป็นสมุดไทยขาว รามเกียรติ์ส านวนนี้ยังไม่เคยตีพิมพ์ออก แพร่หลายแต่เมื่อน าบางตอนไปเปรียบเทียบกับบทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1 เห็นได้ว่ามีเนื้อความ ไม่ตรงกันในบางตอน อาจจะเป็นด้วยเหตุที่ว่าครั้งกรุงศรีอยุธยาเสียให้แก่พม่าบ้านเมืองแตกสลาย วรรณคดีส าคัญ ๆก็คงสูญหายไปบ้าง หนังสือรามเกียรติ์ที่เหลือมาคงจะขาดตกบกพร่องไปด้วยเช่นกัน (ธีรภัทร์ ทองนิ่ม, 2555, น. 37) ผู้ที่แต่งบทละครเรื่องรามเกียรติ์ในสมัยอยุธยาขึ้นนี้เป็นใครยังไม่มี หลักฐานที่ปรากฏทราบแน่ชัด แต่ในท้ายของเล่มบทละครเรื่องรามเกียรติ์สมัยอยุธยานี้ ได้เขียนบอก ไว้ว่า “นายฉายโศรฐ เขียนจบในเดือนเจ็ดไม่หมดเสดเรื่องราวรามมะเกรียร” (ดาวรัตน์ ชูทรัพย์, 2541, น. 12) ซึ่งนักวิชาการ ลงความเห็นว่าบทละครนี้เป็นบทละครฉบับเชลยศักดิ์หรือที่เรียกว่าเป็นฉบับ ชาวบ้านที่แต่งขึ้นหรือคัดลอกไว้ส าหรับแสดงละครในคณะของตนเท่านั้น ด้วยภาษาถ้อยค่ าที่ ไม่ไพเราะนัก ส านวนภาษาแตกต่างจากบทละครเรื่องรามเกียรติ์ฉบับอื่น ๆ ทั้งนี้บทละครเรื่อง รามเกียรติ์ในสมัยอยุธยาไม่พบบทบาทที่กล่าวถึงการสู้รบลิงกับลิง
13 จากการศึกษาส านวนรามเกียรติ์ในสมัยอยุธยา ทั้ง 3 ส านวน สามารถสรุปได้ว่า ในสมัยอยุธยา มีการประพันธ์บทเรื่องรามเกียรติ์ เพื่อใช้ส าหรับประกอบการแสดงนาฏกรรม หนังใหญ่ ละคร โขน ซึ่งบทประพันธ์รามเกียรติ์ทั้ง 3 ส านวนนี้ มีเนื้อเรื่องที่ไม่ติดต่อกัน ประพันธ์ขึ้นต่างวาระและเวลา ยังไม่ทราบแน่ชัดถึงที่มาผู้ใดเป็นผู้ประพันธ์ขึ้น มีเพียงหลักฐาน จากรามเกียรติ์บทละครในสมัยอยุธยา ที่ปรากฏข้อความในท้ายเล่มความว่า “นายฉายโศรฐเขียนจบในเดือนเจดไม่หมดเสดเรื่องราว รามมะเกรียร” แต่ด้วยความเห็นจากนักวิชาการเห็นว่าคงเป็นเพียงการคัดลอก ของหัวหน้าคณะละคร ในสมัยนั้น ด้วยส านวนภาษาไม่ไพเราะ เมื่อเทียบกับรามเกียรติ์ส านวนอื่น ๆ และมีเพียงรามเกียรติ์ ค าพากย์เท่านั้นที่ปรากฏบทบาทการสู้รบระหว่างลิงกับลิง 1.2 รามเกียรติ์ส านวนพระเจ้ากรุงธนบุรี รามเกียรติ์ในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี ปรากฏเพียงส านวนเดียวเท่านั้น ด้วยบ้านเมืองพึ่ง ผ่านความยากเข็นในศึกสงครามสู้รบกับพม่า เป็นยุคที่ประเทศก าลังก่อร่างสร้างตัวขึ้นใหม่ ภายหลังผ่านช่วงสมัยอยุธยาที่ได้ล่มสลายไป พระเจ้ากรุงธนบุรีได้เร่งฟื้นฟูบ้านเมืองในด้านต่าง ๆ รวมไปถึงทรงโปรด ให้รวบรวมวรรณคดีในสมัยอยุธยาที่ยังคงหลงเหลือจากภัยสงครามน ากลับมา ฟื้นฟูเสียใหม่ให้ได้มากที่สุด นายธนิต อยู่โพธิ์ ได้เขียนอธิบายถึงรามเกียรติ์ส านวนพระเจ้ากรุงธนบุรี ไว้ในหนังสื่อ “ โขน” ความว่า รามเกียรติ์ส านวนนี้สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงพระราชนิพนธ์ไว้เพียง 4 ตอน มีฉบับเขียน ไว้ใน สมุดไทยด า แต่ล าดับเล่มไว้ไม่ตรงกับล าดับเรื่อง เข้าใจว่าล าดับเล่มตามเวลาที่ทรงพระราชนิพนธ์ ก่อนและหลัง มี 4 เล่ม สมุดไทยคือ เล่ม 1 ตอนพระมงกุฎ เล่ม 2 ตอนหนุมานเกี้ยวนางวานริน จนถึง ท้าวมาลีสราชมา เล่ม 3 ตอนท้าวมาลีวราชพิพากษาความ จนทศกัณฐ์เข้าเมือง เล่ม 4 ตอนทศกัณฐ์ ตั้งพิธิทรายกรด พระลักษณ์ต้องหอกกบิลพัท จนผูกผมนางมณโฑกับทศกัณฐ์ ในบางแผนก มีบอกวัน เดือนปีที่ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ในหน้าต้นทุกเล่มว่า “วันอาทิตย์ เดือน 6 ขึ้นค่ าหนึ่ง จุลศักราช 1132 ปีขาล โทศก” ตรงกับ พ.ศ. 2313 เป็นปีที่ 3 ในรัชกาลนั้น บทละครเรื่องรามเกียรติ์พระราชนิพนธ์ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีนี้ กรมศิลปากรได้ช าระและตีพิมพ์แล้วเมื่อ พ.ศ. 2484 รวมทั้ง 4 ตอน มีความยาว 2,012 ค ากลอน (ธนิต อยู่โพธิ์, 2539, น. 119-120)
14 จากข้อความดังกล่าว สามารถสรุปได้ว่า รามเกียรติ์ในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงพระ ราชนิพนธ์ไว้ 4 ตอนเท่านั้น อาจด้วยเหตุผลจากระยะเวลาในการพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์มีเวลา น้อยจึงพระราชนิพนธ์ไว้เป็นบางตอนเท่านั้นไม่ครบจบสมบูรณ์ซึ่งเนื้อหาตอนที่ปรากฏในสมัยพระเจ้า ธนบุรีไม่พบการกล่าวถึงบทบาทการสู้รบระหว่างลิงกับลิง 1.3 รามเกียรติ์ส านวนรัตนโกสินทร์ รามเกียรติ์ในสมัยรัตนโกสินทร์นี้มีอยู่ด้วยกันหลายฉบับตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน สามารถแบ่งออกได้เป็น 6 ส านวนดังนี้ 1. รามเกียรติ์บทละครพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1 รามเกียรติ์บทละครพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราช พระราชนิพนธ์ไว้เริ่มตั้งแต่ หิรัญตยักษ์ม้วนแผ่นดินจนถึงพระรามครองเมือง ทรงพระราชนิพนธ์ เป็นเรื่องเดียวตั้งแต่ต้นจนจบเรื่องจัดได้ว่าเป็นรามเกียรติ์ที่สมบูรณ์ที่สุดของไทย ด้วยพระองค์มี พระราชประสงค์จะทรงรวบรวมเรื่องรามเกียรติ์ซึ่งกระจัดกระจายแพร่หลายให้เข้าเป็นเรื่องเดียวกัน เพื่อเป็นแบบฉบับของบ้านเมืองจึงโปรดเกล้าให้ประชุมกวีทั้งหลายร่วมกันแต่งขึ้นโดยพระองค์ ทรงพระราชนิพนธ์เองเป็นบางตอนพร้อมทั้งทรงตรวจแก้ไขของบรรดากวีต่างๆด้วยพระองค์เอง (ธนิต อยู่โพธิ์, 2539, น. 121-122) บทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1 ได้ปรากฏ บทการสู้รบระหว่างลิงกับลิง 4 คู่ คือ พาลีกับสุครีพ หนุมานกับนิลพัท หนุมานกับมัจฉานุและ ท้าวมหาชมพูกับมัจฉานุซึ่งสอดแทรกอยู่ในตอนต่าง ๆ ดังค าประพันธ์ที่ว่า (1) บทละครเรื่องรามเกียรติ์พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1 ตอน พาลีขับสุครีพ เมื่อนั้น ลูกท้าวหัสนัยน์ใจกล้า ได้ฟังยิ่งกริ้วโกรธา ดั่งหนึ่งเพลิงฟ้ามาจ่อใจ เหม่เหม่ดูดู๋ไอ้ทรลักษณ์ มาเจรจาเยื้องยักแก้ไข แม้นว่าชีวันกูบรรลัย ก็จะได้เป็นใหญ่ในธานี หากคิดจะปิดนินทา จึ่งแสร้งโศกาว่ารักพี่ ตัวเอ็งกับกูในวันนี้ ขาดวงศ์พงศ์พีพี่น้องกัน เร่งไปเสียจากเวียงชัย หาไม่ชีวาจะอาสัญ ว่าพลางขบเขี้ยวเคี้ยวฟัน แกว่งพระขรรค์ออกไล่รอนราญ ฯ ฯ 8 ค า ฯ
15 เมื่อนั้น สุครีพลูกพระสุริย์ฉาน ความกลัวเพียงแทรกสุธาธาร ก็หนีจากราชฐานพารา ฯ ฯ 2 ค า ฯ (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช, 2553 ก, น. 378-379) (2) บทละครเรื่องรามเกียรติ์พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1 ตอน นิลพัทรบหนุมานรบ บัดนั้น หนุมานฤทธิแรงแข็งขัน ได้ฟังกริ้วโกรธขบฟัน ตัวสั่นโลดโผนโจนไป ฯ ฯ 2 ค า ฯ สิงขรสาครกัมปนาท พสุธาอากาศหวาดไหว ถีบถูกนิลพัทฤทธิไกร ล้มลงในพ่างพื้นปัถพี ฯ ฯ 2 ค า ฯ บัดนั้น ลูกพระกาลผู้ชาญชัยศรี ผุดลุกขึ้นได้ทันที กระบี่วิ่งผลุนหมุนมา ฯ ฯ 2 ค า ฯ ถาโถมโจมจับวายุบุตร ด้วยก าลังฤทธิรุทรแกล้วกล้า กอดรัดฟัดกันเป็นโกลา ต่างเขม้นเข่นฆ่าโรมรัน บ้างถีบบ้างขบบ้างกัด เปลี่ยนผลัดรวดเร็วดั่งจักรผัน ถ้อยทีไม่ละลดกัน เสียงสนั่นครั่นครื้นอัมพร ฯ ฯ 4 ค า ฯ บัดนั้น ค าแหงหนุมานชาญสมร ไล่รุกบุกบันประจัญกร ราญรอนหักโหมโจมตี เคล่าคล่องว่องไวทั้งสองหัตถ์ จับได้นิลพัทกระบี่ศรี หมายฆ่าให้สิ้นชีวี ฟาดกับปัถพีแล้วขว้างไป ฯ ฯ 4 ค า ฯ ตกถูกยอดเขาจักรวาล เสียงสะเทือนสะท้านหวั่นไหว ศิลาแตกเป็นประกายไฟ พรายไปดั่งสายอสุนี ฯ ฯ 2 ค า ฯ
16 บัดนั้น นิลพัทผู้ชาญชัยศรี มิได้ชอกช้ าอินทรีย์ ขุนกระบี่กริ้วโกรธคือเพลิงกัลป์ กระทืบบาทผาดแผลงส าแดงเดช สองเนตรดั่งดวงสุริย์ฉัน หมายหมาดพิฆาตชีวัน ขบฟันโลดโผนโจนมา ฯ ฯ 4 ค า ฯ ฉวยสะพัดรัดรวบหนุมาน ลูกพระกาลเขม้นเข่นฆ่า ฟาดลงกับพื้นพสุธา เสียงสนั่นลั่นฟ้าแดนไตร ฯ ฯ 2 ค า ฯ บัดนั้น ค าแหงหนุมานทหารใหญ่ ผุดลุกขึ้นด้วยว่องไว กริ้วโกรธดั่งไฟบรรลัยกาล ตัวสั่นเข่นเขี้ยวเคี้ยวกราม ค ารามเขม้นจะสังหาร ท าอ านาจผาดโผนโจนทะยาน เข้าไล่รอนราญราวี ฯ ฯ 4 ค า ฯ สองจับสัประยุทธ์สับสน ต่างตนไม่ท้อถอยหนี กอดฟัดกัดกันคลุกคลี ถ้อยทีเคล่าคล่องว่องไว ฯ ฯ 2 ค า ฯ (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช, 2553 ข, น. 241-242) (3) บทละครเรื่องรามเกียรติ์พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1 ตอน หนุมานรบมัจฉานุ บัดนั้น หนุมานผู้ชาญชัยศรี กริ้วโกรธพิโรธดั่งอัคคี ขุนกระบี่รับระปะทะกร เคล่าคล่องว่องไวทั้งสองข้าง ต่างตนต่างหาญชาญสมร ถ้อยทีถ้อยมีฤทธิรอน ต่อกรไม่ละลดกันฯ ฯ 4 ค า ฯ บัดนั้น มัจฉานุฤทธิแรงแข็งขัน ปล้ าปลุกคลุกคลีตีประจัญ พัลวันหลบหลีกไปในที ถีบกัดวัดเหวี่ยงอุตลุด ทะยานยุทธ์ไม่ท้อถอยหนี กอดรัดฟัดกันเป็นโกลี เปลี่ยนท่าเปลี่ยนทีรอนราญฯ ฯ 4 ค า ฯ เชิด
17 บัดนั้น วายุบุตรวุฒิไกรใจหาญ รบรุกบุกบันประจัญบาน เผ่นทะยานโถมถีบด้วยบาทา ถูกมัจฉานุซวนไป ฉวยรวบเท้าได้ทั้งซ้ายขวา ฟาดลงกับแผ่นศิลา ด้วยก าลังศักดาราวีฯ ฯ 4 ค า ฯ บัดนั้น มัจฉานุผู้ชาญชัยศรี มิได้ชอกช้ าอินทรีย์ โกรธดั่งอัคคีบรรลัยกัลป์ ผุดลุกขึ้นได้กระทืบบาท ท าอ านาจผาดเสียงดั่งฟ้าลั่น วิ่งผลุนหมุนเข้าบุกบัน โรมรันไม่คิดชีวีฯ ฯ 4 ค า ฯ เชิด (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช, 2553 ข, น. 358) (4) บทละครเรื่องรามเกียรติ์พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1 ตอน ทัพท้าวมหาชมพู ตีทัพหน้าวันยุวิก มัจฉานุ เมื่อนั้น มัจฉานุฤทธิไกรใจกล้า ทั้งวันยุวิกอสุรา ได้ยินเสียงโกลาก็แลไป เห็นวานรตีพลวุ่นวาย สองนายกริ้วโกรธดั่งเพลิงไหม้ เหม่ไอ้วานรินทร์กระบินทร์ไพร เหตุไฉนโอหังมาราวี ชะรอยอ้ายเดียรัจฉานนี้คิดร้าย ต่อบาทพระนารายณ์เรืองศรี ว่าแล้วขับรถมณี ต้อนพลโยธีเข้ารอนราญฯ ฯ 6 ค า ฯ บัดนั้น พวกพลอสุราทวยหาญ กลัวอาญาเจ้าพ้นประมาณ แยกกันทะยานเข้าต่อยุทธ์ ถาโถมโรมรันฟันฟอน จับกุมตะลุมบอนอุตลุด กระหนาบเข้าราวีตีรุด จุดปืนโห่ร้องเป็นโกลีฯ ฯ 4 ค า ฯ
18 บัดนั้น ท้าวมหาชมพูแกล้วกล้า เห็นวานรแตกยับก็โกรธา ขับรัถาไล่พลากรฯ ฯ 2 ค า ฯ (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช, 2553 ง, น. 314) จากบทประพันธ์ข้างต้นดังกล่าว ท าให้ทราบว่า บทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1 ได้ปรากฏบทบาทการสู้รบระหว่างลิงกับลิงขึ้นแล้ว คือ พาลีกับสุครีพ หนุมานกับนิลพัท หนุมานกับมัจฉานุ และท้าวมหาชมพูกับมัจฉานุ 2. รามเกียรติ์บทละครพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 รามเกียรติ์ส านวนนี้ไม่ปรากฏว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นไว้เมื่อใด แต่มีการตีพิมพ์เป็นครั้งแรกโดยบางกอกประสิทธิการบริษัท เมื่อปีพุทธศักราช 2442 เพียงหนึ่งตอน ในชั้นแรกบทพระราชนิพนธ์ดังกล่าวอาจมีคลาดเคลื่อนไปบ้าง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รับสั่งให้ตรวจช าระเสียใหม่และพิมพ์เป็นของ พระราชทานในงานพระราชกุศลฉลอง พระต าหนักจิตรลดารโหฐานในปีพุทธศักราช 2456 ท านองแต่งเป็นแบบกลอนบทละคร มีความมุ่งหมายเพื่อใช้เป็นบทละคร เนื้อเรื่องเริ่มตั้งแต่หนุมาน ถวายแหวน จนถึงสองกษัตริย์กลับคืนอโยธยา รามเกียรติ์ส านวนนี้ถ้อยค าส านวนโวหารอยู่ในชั้นเยี่ยม มีถ้อยความกะทัดรัดเหมาะส าหรับใช้เล่นโขนละครมากที่สุด จนได้รับการยกย่องจากพระบาท สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่าเป็นหนังสือที่พร้อมไปด้วยองค์ 3 ดังในพระราชนิพนธ์ค าน าใน หนังสือบทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยว่า เป็นภาษาไทยดี เป็นหนังสือส าคัญเป็นเกียรติยศแห่งชาติ เป็นหนังสือที่อ่านแล้วไม่เบื่อ (ธีรภัทร์ทองนิ่ม, 2555, น. 38) ซึ่งพระองค์ทรงพระราชนิพนธ์โดยมีแนวทางตามบทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ ในรัชกาลที่ 1 ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นใหม่เพื่อให้เหมาะสมกับการแสดงโขนและละครโดยง่าย ในบท ละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 ปรากฏบทบาทการสู้รบระหว่างลิงกับลิง 2 คู่ คือ หนุมานกับนิลพัท และหนุมานกับมัจฉานุ สอดแทรกอยู่ในตอนต่าง ๆ ดังค าประพันธ์ที่ว่า (1) บทละครเรื่องรามเกียรติ์พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 ตอน หนุมานรบนิลพัท บัดนั้น หนุมานโกรธมุ่นหุนหัน โถมถีบนิลพัทฉับพลัน เสียงสนั่นครั่นครื้นสุธาดลฯ ฯ 2 ค า ฯ
19 บัดนั้น นิลพัทไม่ระคายปลายขน รับรอต่อต้านทานทน โจนประจญหนุมานรานรบ ถ้อยทีมีฤทธิ์ก้ ากึ่ง โถมถึงปะเตะต่อยตบ เสียงสะเทือนเลื่อนลั่นอรรณพ กัดขบรบรับจับประจัญฯ ฯ 4 ค าฯ (พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย, 2544, น. 97-98) (2) บทละครเรื่องรามเกียรติ์พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 ตอน หนุมานรบมัจฉานุ เมื่อนั้น ค าแหงหนุมานชาญสมร รบรับจับกุมตะลุมบอน เห็นข้ออ่อนอุ่นใจไล่ส าทับฯ ฯ 2 ค า ฯ เชิด บัดนั้น มัจฉานุโลดโผนโจนจับ ตัวเล็กเลี่ยงหลบรบรับ เคี่ยวขับขบกัดฟัดยีฯ ฯ 2 ค า ฯ เชิด เมื่อนั้น ค าแหงหนุมานชาญชัยศรี ไล่ตลบรบรุกคลุกคลี เหยียบขยี้ยุดสนัดฟัดฟาดไป ฯ 2 ค า ฯ เชิด เห็นลิงเล็กไม่สิ้นยืนหัวร่อ กลับผัดเจ้าล่อจะให้ไล่ วายุบุตรหยุดหย่อนอ่อนใจ พลางด าริตริไตรในวิญญาณ์ ไอ้วานรตัวนี้กระจิริด แต่มีฤทธิ์กว่ายักษ์เป็นหนักหนา ดูรูปกายคล้ายเราทั้งกายา หรือว่าพงศ์เผ่าไม่เข้าใจ คิดพลางทางว่าเหวยวานร บิดรมารดาอยู่หาไหน นามวงศ์พงศ์ประยูรอย่างไร เหตุใดมีหางเหมือนอย่างปลาฯ ฯ 6 ค า ฯ เจรจา (พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย, 2544, น. 157)
20 จากค าประพันธ์ดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าบทละครเรื่องรามเกียรติ์พระราชนิพนธ์ใน พระบาทสมเด็จพระพุธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ได้ปรากฏบทบาทการสู้รบระหว่างลิงกับลิงขึ้นแล้ว คือ หนุมานกับนิลพัท และหนุมานกับมัจฉานุ 3. รามเกียรติ์บทละครพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 4 รามเกียรติ์ส านวนนี้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ ไว้เป็นส านวนใหม่เพียงตอนเดียวคือ พระรามเดินดงจับตั้งแต่ นางไกยเกษีขอพรท้าวทศรถจนถึงถวาย พระเพลิงพระศพท้าวทศรถ และยังมีตอนเบ็ดเตล็ดอีก 2 ตอนคือ เบิกโรงเรื่องนารายณ์ปราบนนทุก และพระรามเข้าสวนพิราพ ท านองแต่งเป็นกลอนบทละคร โดยมุ่งหวังเพื่อใช้เล่นละครนั่นเอง (ธีรภัทร์ทองนิ่ม, 2555, น. 38-39) จากข้อมูลข้างต้นแสดงให้เห็นว่า บทละครในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว รามเกียรติ์ส านวนนี้ มีจุดมุ่งหมายในการพระราชนิพนธ์เพื่อใช้ส าหรับการแสดงละครใน และทรง พระราชนิพนธ์เพียงตอนเดียวเท่านั้น คือ พระรามเดินดง และตอนเบ็ดเตล็ด 2 ตอน คือเบิกโรง นารายณ์ปราบนนทุก และพระรามเข้าสวนพิราพ ไม่ปรากฏบทบาทการสู้รบระหว่างลิงกับลิงใน ส านวนรามเกียรติ์นี้ 4. โคลงเรื่องรามเกียรติ์บรรยายภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม รามเกียรติ์ในรัชกาลที่ 5 เป็นโคลงอธิบายภาพรามเกียรติ์ ที่พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงชักชวนให้พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้รู้ นักเขียนนักประพันธ์ช่วยกันแต่ง แล้วจารึกไว้ที่ฝาผนังระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) กรุงเทพฯ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา รวมเป็นโคลงทั้งสิ้น 4,984 บท ทั้งหมดเป็นการอธิบายภาพรามเกียรติ์ 178 ห้อง เป็นพระราชนิพนธ์ ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 224 บท ซึ่งบรรยายภาพรามเกียรติ์ 8 ห้องยาวห้องละ 28 บท ท านองแต่งเป็นเป็นโคลงสี่สุภาพ วัตถุประสงค์ในการแต่งนั้นเพื่อเป็นการฉลองพระนครที่ ครบรอบ 100 ปี(เอกรัตน์ อุดมพร, 2545, น. 54) จากข้อมูลดังกล่าว โคลงเรื่องรามเกียรติ์บรรยายภาพจิตรกรรมฝาผนังของ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นโคลงรามเกียรติ์บรรยายภาพจิตกรรมฝาผนังมีจุดมุ่งหมายในการพระ ราชนิพนธ์ขึ้นนั้นเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองพระนครที่มีวาระครบรอบ 100 ปี ลักษณะโคลงแต่งเป็นโคลง สี่สุภาพใช้ค าและภาษาที่เรียบง่าย มีความไพเราะ บรรยายถึงภาพจิตรกรรมฝาผนังในเรื่องรามเกียรติ์ เป็นลักษณะโครงประจ าภาพ การแนะน าตัวละละคร ไม่พบบทบาทการสู้รบระหว่างลิงกับลิง
21 5. รามเกียรติ์พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์บทร้องและบทพากย์ รามเกียรติ์ขึ้นส าหรับเล่นโขนขึ้น โดยทรงพระราชนิพนธ์ด้วยกลอนบทละคร กาพย์ และร่ายยาว จ านวน 6 ชุด คือ ชุดสีดาหาย ชุดเผาลงกา ชุดพิเภกถูกขับ ชุดจองถนน ชุดประเดิมศึกลงกาและ ชุดนาคบาศ นอกจากนี้ยังมีบทพระราชนิพนธ์ที่ยังไม่ได้ตีพิมพ์ในช่วงนั้น ได้แก่ ชุดนางลอย พรหมาสตร์ชุดอภิเษกสมรส และชุดพิธีกุมภนิยา (ธีรภัทร์ทองนิ่ม, 2555, น. 39) พระองค์ทรง ชี้แจงไว้ในพระราชนิพนธ์ค าน าเมื่อคราวตีพิมพ์เป็นเล่มเมื่อพุทธศักราช 2462 (กรมศิลปากร, 2554, น. ก-ข) ความว่า “บทละครเรื่องรามเกียรติ์ที่รวมอยู่ในเล่มนี้ เป็นบทที่ข้าพเจ้าได้แต่งขึ้นเป็นครั้งคราว ส าหรับเล่นโขนมิได้ตั้งใจที่จะให้เป็นหนังสือกวีนิพนธ์ส าหรับอ่าน หรือด าเนินเรื่องราว ติตต่อกันฉนั้นเลย บทเหล่านี้ได้แต่งขึ้นส าหรับความสะดวกแก่การเล่นโขนโดยแท้ จึงมีค ากลอน อันเป็นบทร้อง ทั้งบทพากย์ และเจรจาอย่างโขนระคนกันอยู่ตามแต่จะเหมาะแก่การเล่นออกโรงจริง ๆ ข้าพเจ้าขอชี้แจงว่า ความในบทรามเกียรติ์ของข้าพเจ้านี้ ข้าพเจ้าได้แต่งขึ้นตามข้อความอันมีอยู่ใน คัมภีร์รามายณะของวาลมิกิพรหมฤษี อันมีฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษ ฉนั้นท่านผู้อ่านจะสังเกตเห็นได้ว่า ข้อความด าเนินเรื่องมีที่ผิดกันกับพระราชนิพนธ์รามเกียรติ์รัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 2 อยู่หลายแห่ง ข้าพเจ้าขอออกตัวว่าข้าพเจ้ามิได้ตั้งใจเลยที่จะแต่งบทเหล่านี้ขึ้นใหม่เพื่อแข่งขันกับพระราชนิพนธ์เก่า เป็นแต่มีความตั้งใจที่จะด าเนินเรื่องโดยทางที่แปลกกว่าที่เคยมีมาแล้ว เพื่อชวนให้คนดูนึกถึงแปลก หน่อยเท่านั้น” (กรมศิลปากร, 2554, น. ก-ข) จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่า รามเกียรติ์พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 มีจุดมุ่งหมายเพื่อใช้ส าหรับการแสดงโขนโดยเฉพะ โดยด าเนิน เรื่องตามรามายณะ ของอินเดียมิได้ด าเนินเรื่องตามพระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 2 ซึ่งส านวนรามเกียรติ์พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 6 ไม่ปรากฏบทบาทการสู้รบระหว่างลิงกับลิง 6. บทโขนรามเกียรติ์ กรมศิลปากรปรับปรุงใหม่ ภายหลังที่กรมศิลปากรได้รื้อฟื้นและปรับปรุงศิลปะทางนาฏศิลป์และดุริยางคศิลป์ ของไทยขึ้นใหม่ในระยะเวลาภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ได้รื้อฟื้นโขนโดยได้ปรับปรุง และได้น า โขนออกแสดงให้ประชาชนชม ณ โรงละครศิลปากรหลายครั้ง ในครั้งแรกก็ได้ใช้บทละครเรื่อง
22 รามเกียรติ์ซึ่งเป็นบทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1 และที่รัชกาลที่ 2 บ้าง ใช้บทที่ท่านผู้รู้ได้ปรับปรุง ขึ้นมาใหม่จากบทพระราชนิพนธ์เหล่านั้นบ้าง น ามาเป็นบทแสดง แต่บทเหล่านั้น เป็นบทที่ท่านผู้รู้ แต่ก่อนได้แก้ไขปรับปรุงขึ้น ส าหรับใช้ในโอกาสต่างกันและบางชุดก็มีลักษณะเป็นแบบละคร แม้การที่ น ามาใช้เป็นบทแสดง จะบิดผันให้การแสดงเป็นแบบโขนก็ตาม แต่ถ้าพิจารณาตามบทก็คงเป็นอย่าง ละครต่อมากรมศิลปากร จึงปรับปรุงบทโขนชุดหนุมานอาสา ขึ้นใหม่ น าออกแสดงให้ประชาชนชม ณ โรงละครศิลปากร เริ่มแต่วันศุกร์ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2495 บทโขนเรื่องรามเกียรติ์ ชุดหนุมานอาสา ที่ปรับปรุงขึ้นใหม่นี้มีทั้งบทขับร้องตามแบบละครในและมีทั้งบทพากย์กับค าเจรจาตามแบบแผน การแสดงโขนแต่ก่อนมา แต่คงด าเนินเรื่องไปตามพระราชนิพนธ์บทละครในรัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 2 (ธีรภัทร์ทองนิ่ม, 2555, น. 39) ในการจัดการแสดงตามวาระงานของกรมศิลปากร ได้มีการจัด การแสดงโขนในตอนต่าง ๆ ทั้งที่เปิดขายบัตร แก่ผู้ที่มีความสนใจ และจัดแสดงในวาระงานส าคัญ พบว่ามีการประพันธ์บทการแสดงโขนที่กล่าวถึงการสู้รบระหว่างลิงกับลิง 4 คู่ คือ พาลีกับสุครีพ หนุมานกับนิลพัท หนุมานกับมัจฉานุ และท้าวมหาชมพูกับมัจฉานุสอดแทรกอยู่ในตอนต่าง ๆ ดังบทประกอบการแสดง ดังนี้ บทการแสดงโขนกรมศิลปากรปรับปรุงใหม่ ชุดมัยราพณ์สะกดทัพ แสดงเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2502 องค์ที่ 3 หนุมานผ่านด่านเมืองบาดาล นายถนอม โหมดเทศน์ ประพันธ์บท - ร้องเพลงลิงโลด - บัดนั้น มัจฉานุซึ่งรักษาสระอยู่ เห็นลิงใหญ่หมายใจว่าศัตรู ก็โบกหางวางวู่แหวกมา ทะยานขึ้นยืนขวางทางไว้ แล้วว่าเหวยลิงใหญ่ใจกล้า มัยราพณ์ให้เราเฝ้าคงคา รักษาด่านกั้นชั้นใน ตัวท่านอาจอุกรุกราน จะข้ามด่านไปต าบลหนไหน ไม่รู้ว่าชีวันจะบรรลัย จงเร่งกลับคืนไปอย่าได้ช้า - เจรจา –
23 หนุมาน วายุบุตรขุนสวาเพ่งพินิจ ยิ่งดูไปให้แคลงจิตคิดสงกา เอ๊ะไฉนหนออ้ายสวาตัวน้อยนี้ เป็นอย่างไรจึงได้มีหางเหมือนปลาดูท่วงทีกิริยาก็องอาจ คิดพลางจึงร้องตวาดว่า เหวยอ้ายลิงเล็กจะเจียมตัวว่าเป็นเด็กก็หาไม่จงหลีกลี้หนีไปให้พ้นทาง อย่ามา ขัดขวางกูจะรีบเข้าเมืองบาดาล มัจฉานุ มัจฉานุก็โลดทะยานขวางหน้าไว้ ร้องว่าเหวยเฮ้ยอ้ายลิงใหญ่น้ าใจพาล จะไปก่อกวน กรุงบาดาลด้วยอันใด กูให้เข้าไปไม่ได้จงรีบกลับ แม้ไม่เชื่อฟังกูจะจับมาเข่นฆ่าอย่า ดูถูกกุมารานะออเจ้า หนุมาน วายุบุตรแสนโกรธาดังไฟกัลป์ ทะลึ่งโลดโดดเข้าโรมรันจับลิงน้อย มัจฉานุไม่ท้อถอย เข้าราวี ทั้งสองข้างต่างก็มีก าลังหาญ ฝ่ายก าแหงหนุมานชาญยุทธนา จับได้ลิงหางปลา ฟัดฟาดไปเป็นหลายครั้งตั้งใจให้มรณา บัดนี้ - ปี่พาทย์ท าเพลงเชิด – หนุมาน หนุมานชาญศักดาต่อยุทธกับลิงเล็ก เจ้านี่ฤทธิ์ใช่ชั่วราวกับตัวเป็นเหล็กแสนคงทน แต่ฟาดฟันเป็นหลายหนหาตายไม่กลับผัดล้อล่อให้ไล่อยู่ไปมา มีฤทธิ์มากกว่ายักษา เป็นหลายเท่า ทั้งรูปกายก็คล้ายกับเราเป็นหนักหนา เกลือบจะเป็นเผ่าผงศาใช่ผู้อื่น ด าริแล้วจึงหยุดยืนไม่ราวี พลางพาทีไต่ถามไปทันใด เหวยออเจ้านี้ลูกใครชื่อไรหวา จึงมีหาง เหมือนอย่างปลาหน้าเป็นลิง จงบอกความไปตามจริง เถิดออเจ้า มัจฉานุ มัจฉานุนิ่งฟังวาจาที่ไต่ถาม จึงตอบความไปตามที่จ าได้ มารดาเราสอนไว้แต่เยาว์มา ว่าหนุมานทหารพระรามราชาเป็นบิตุเรศ อันมารดาผู้เกิดเกศคือแม่นางมัจฉา หางของ เราจึงเป็นหางปลาหน้าเป็นวานร อันนามกรของเรานี้ชื่อมัจฉานุชนนีแต่ง ตั้งแต่เดิมมาส่วนพญามัยราพณ์อสุราเจ้าบาดาล ท่านรักใคร่โปรดปรานในตัวเรา จึงสร้างสระโบกขรณีเป็นล าน าให้เราอยู่ส านัก เราจึงมีหน้าที่บริรักษ์ด่านกรุงไกร แล้วตัวท่านเล่า เป็นผู้ใหญ่ก็อย่าอ าพราง เราขอถามตัวท่านบ้างว่าชื่อไร นะท่าน (กรมศิลปากร, 2547 ก, น. 3-4) จากบทการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ ตอน มัยราพณ์สะกดทัพ ในองค์ที่ 3 หนุมาน ผ่านด่านเมืองบาดาล พบว่ามีการกล่าวถึงบทบาทการสู้รบระหว่างลิงกับลิง คือ หนุมานกับมัจฉานุ นอกจากนี้ยังพบว่า บทโขนเรื่องรามเกียรติ์ ตอน จองถนน ได้มีการกล่าวถึงบทบาทการสู้รบระหว่าง ลิงกับลิงดังบทการแสดงโขนของกลมศิลปากร ดังนี้
24 บทโขน เรื่องรามเกียรติ์ ชุด จองถนน ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร วันที่ 14 กุมภาพันธ์2547 เวลา 17.00 น. - ร้องเพลงเย้ย – หนุมานท่านอย่ามัวพาที เรานี้แสนหนักนักหนา ไหนเขาว่ากล้าแก่นแสนศักดา แม้นไม่มีฤทธาก็น่าอาย - ปี่พาทย์ท าเพลงรัว – เชิด – (นิลพัทโยนก้อนหินทั้ง 4 ก้อน หนุมานรับน าไปทิ้ง) (หนุมานท าท่าโกรธเคืองแล้วยกพลขีดขินไป) (หนุมานกับนิลพัทคุมพลออกเวทีล่างคนละข้าง พลขีดขินขนก้อนหินมา หนุมานเองเอาก้อนหินผูกมา ทุกเส้นขน หนุมานสั่งพลลิงให้รับส่งก้อนหินก่อน นิลพัทท าท่าตกใจ) นิลพัท ฮะเฮ้ย เหวยลูกพระพายอ้ายหนุมาน เอ็งขนก้อนหินมาเกินการมองดูดังภูเขา ขอให้เจ้าโยนลงมาคราวละสองก้อน เราจะคอยรับเอาสิงขรไปถมทิ้งในชลธาร หนุมาน ชะ ไอ้ลูกพระกาล ไอ้นิลพัท ไยมาทานทัดเกี่ยงงอนเรื่องก้อนศิลา เมื่อครั้งแรกเอ็ง แบกมาสี ่ก้อนใหญ ่ กูขอให้โยนคีรีทีละสอง ไอ้อันธพาลลิงกลับหยิ ่งผยองหวัง ประลองก าลัง เฮ้ยไอ้กาลีทีมั่งกูไม่ยังมือ นิลพัท มะมะ ไอ้หนุมานเมื่อมึงดึงดื้อก็ลองดู อีกสิบเท่านี้ตัวกูก็ไม่กลัว เก็บสองมือไว้กับตัว ไม่ต้องจับ ใช้เพียงเท้าเข้าลองรับยืนหลับตา หนุมาน ลองซิวะไอ้อหังการ์มาลองดู ถ้าเอ็งใช้เท้ารับของกูเป็นได้ดี มะไอ้ลิงเชลยมึงกล้า ดีมาลองดู - ปี่พาทย์ท าเพลงรัว – เชิด – (หนุมานโยนก้อนหินทั้งหมด นิลพัทใช้เท้ารับ หนุมานตรงเข้าถีบนิลพัท แล้วรบกัน สุครีพออกห้าม ครู่หนึ่งพระลักษณะออกมาทั้งสามลิงจึงหยุดวิวาท) (กรมศิลปากร, 2547 ข, น. 7-8)
25 จากบทการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ ตอน จองถนน พบว่ามีการกล่าวถึงบทบาท การสู้รบระหว่างลิงกับลิง คือ หนุมานกับนิลพัท นอกจากนี้ยังพบว่า บทโขนเรื่องรามเกียรติ์ ชุด พาลีสอนน้อง ได้มีการกล่าวถึงบทบาทการสู้รบระหว่างลิงกับลิง ดังบทการแสดงโขนของ กรมศิลปากร ดังนี้ บทการแสดงโขน กรมศิลปากรปรับปรุงใหม่ ชุด พาลีสอนน้อง จัดแสดงทุกวันเสาร์อาทิตย์เดือน กุมภาพันธ์ 2517 องค์ที่ 1 พาลีเสียสัตย์ ตอน 2 สุครีพต้องโทษ เสรี หวังในธรรม ประพันธ์บท - ปี่พาทย์ท าเพลงรัว - เชิด – (พลลิงขนหินปิดปากถ้ า) (เปิดไฟเห็นการแสดงภายในถ้ า) (พาลีใช้เศียรควาย ขว้างท าลายปากทาง ออกมาจากในถ้ า) พาลี เหม่ ไอ้สุครีพ ไอ้จัญไร มึงจะฆ่าพี่ ช่างเสียทีกูเลี้ยงกูรักเป็นหนักหนา มึงแกล้งสั่งปิด คูหาเพราะใจคด ไอ้ทรยศกบฏลิงจะชิงเมือง นี่มึงคงผูกจิตคิดแค้นเคืองเรื่อง นางดาราลืมญาติวงศ์พงศาคิดฆ่าพี่ ไป ไอ้สุครีพ ไอ้กาลีมึงกับกูเป็นขาดกันแม้ว่า กูตายวายชีวันมึงอย่าเข้าไปเผาผี สุครีพ ข้าแต่พระเจ้าพี่ โปรดยับยังฟังน้องก่อน น้องจงรักต่อพระภูธรดั่งพระบิดามิเคยเสื่อม ซึ่งศรัทธาในพระเจ้าพี่ ที่สั่งพลขนคีรีปิดปากทาง ก็เพราะเห็นโลหิตจาง ไหลหลั่งมา จึงก่นแต่จะโศกาอาลัยพระพี่ พาลี ชะ น้อยรึไอ้ตัวร้าย อย่ามาเจรจามุสาเล่า กูน่ะรู้ทันรู้เท่าเจ้าทุกสิ่ง สัญชาติลิงทรยศ หมด ยางอาย ไอ้อุบาทว์ขาดเชื้อสายกันแต่วันนี้ มึงจงออกนอกธานีอย่าคิดกลับ ถ้าหาไม่ กูจะสับให้อาสัญ กริ้วพลางฉวยพระขรรค์สุรกานต์ โถมทะยานเข้าไล่รอนดังฟอนไฟ - ปี่พาทย์ท าเพลงเชิด – (พาลีไล่ท ารายสุครีพ สุครีพหนี) (กรมศิลปากร, 2547 ค, น. 2)
26 จากบทการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ ตอน พาลีสอนน้อง ในองค์ที่ 1 พาลีเสียสัตย์ ตอน สุครีพต้องโทษ พบว่ามีการกล่าวถึงบทบาทการสู้รบระหว่างลิงกับลิง คือ พาลีกับสุครีพ นอกจากนี้ยังพบว่า บทโขนเรื่องรามเกียรติ์ ตอน ตัดหางมัจฉานุ ได้มีการกล่าวถึงบทบาทการสู้รบ ระหว่าลิงกับลิงดังบทการแสดงโขนของกรมศิลปากร ดังนี้ บทโขนเรื่องรามเกียรติ์ ตอน ตัดหางมัจฉานุ จัดแสดง ณ โรงละครแห่งชาติ วันศุกร์ที่ 30 มกราคม 2547 ปัญญา นิตยสุวรรณ ท าบท เสรี หวังในธรรม ตรวจแก้และบรรจุเพลง - เจรจา – ท้าวมหาชมพู ท้าวมหาชมพูผู้ศักดายกพลากร เข้าเขตด่านชานมหานครศรีอยุธยา ทอดพระเนตร เห็นกองทัพอสุราขวางหน้าอยู่ ส าคัญผิดคิดว่าเหล่าศัตรูจู่มาราวี จะรบรับกับ พระจักรีผู้อวตาร กูก็ฝากกายาเป็นข้าทหารองค์พระรามา จะต้องสังหารผลาญชีวา ให้มวยมอดคิดพลางร้องสั่งยอดทหารหาญ ให้ตรงเข้ารบกับหมู่มารในทันที ไวยวิก ฝ่ายไวยวิกอสุรี คิดว่าเหล่าวานร จะมารบรับพระสี่กรก็โกรธา กระทืบพระบาท ประกาศสั่งพลอสุราเข้าโรมรัน - ปี่พาทย์ท าเพลงเชิด – (ท้าวมหาชมพูสั่งวานรเข้ารบกับพวกยักษ์) (ไวยวิกกับมัจฉานุสั่งพลยักษ์เข้ารบ) (ไวยวิกและมัจฉานุเข้ารบกับท้าวมหาชมพู) (กรมศิลปากร, 2547 ง, น. 8) จากบทการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ ตอน ตัดหางมัจฉานุ ในองค์ที่ 1 พบว่ามีการกล่าว ถึงบทบาทการสู้รบระหว่างลิงกับลิง คือ ท้าวมหาชมพูกับมัจฉานุ จากการศึกษาบทการแสดงโขนข้างต้น ในยุคกรมศิลปากรปรับปรุงใหม่ จะเห็นได้ ว่ามีการจัดท าบทการแสดงโขนที่กล่าวถึงการสู้รบระหว่างลิงกับลิง สอดแทรกอยู่ในการแสดงโขน ตอนต่าง ๆ ปรากฏการสู้รบระหว่างลิงกับลิง 4 คู่ คือ พาลีกับสุครีพ หนุมานกับนิลพัท หนุมานกับ มัจฉานุและท้าวมหาชมพูกับมัจฉานุ
27 จากการศึกษาวรรณกรรมรามเกียรติ์ ส านวนต่าง ๆ ของไทย สามารถสรุปได้ว่า มีจุดมุ่งหมายส าคัญ 2 ประการ คือ 1) พระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์เพื่อเป็นเกียรติยศแก่บ้านเมือง รวมไปถึงในวาระเฉลิมฉลอง 2) ใช้ส าหรับประกอบการแสดงมหรสพของไทย ซึ่งส านวนรามเกียรติ์ ในสมัยอยุธยาปรากฏ รามเกียรติ์ค าฉันท์ รามเกียรติ์ค าพากย์และรามเกียรติ์บทละครสมัยอยุธยา เป็นการจดบันทึกในรูปแบบฉันทลักษณ์ของไทย มีเพียงรามเกียรติ์ค าพากย์ ที่ปรากฏบทพากย์ กล่าวถึงบทบาทการสู้รบระหว่างลิงกับลิง ต่อมาในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้ทรงพระราชนิพนธ์ บทละครเรื ่องรามเกียรติ์ขึ้น โดยมีการจดบันทึก วันเดือนปีที ่พระราชนิพนธ์ไว้อย ่างชัดเจน โดยทรงพระราชนิพนธ์ไว้เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 6 ขึ้น 1 ค่ า ปีขาล โทศกจุลศักราช 1132 ตรงกับ พุทธศักราช 2313 มีจุดมุ่งหมายส าคัญเพื่อใช้ส าหรับแสดงละครใน รามเกียรติ์พระเจ้ากรุงธนบุรีไม่ ปรากฏบทบาท การสู้รบระหว่างลิงกับลิง ต่อมารามเกียรติ์ส านวนรัตนโกสินทร์พบรามเกียรติ์เกิดขึ้น หลายฉบับ โดยส านวนรามเกียรติ์บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 เป็นบทละคร เรื่องรามเกียรติ์ที่มีความสมบูรณ์ที่สุดของไทยในขณะนี้ ทรงพระราชนิพนธ์ ไว้ตั้งแต ่ต้นจนจบเรื ่อง เริ ่มตั้งแต ่ หิรันตยักษ์ม้วนแผ ่นดิน ไปจนจบที ่ พระรามครองเมือง การพระราชนิพนธ์มีจุดมุ่งหมายส าคัญเพื่อจะรวบรวมวรรณกรรมรามเกียรติ์ที่กระจัดกระจายอยู่ให้ เป็นแบบแผนเป็นเกียรติยศแก่บ้านเมืองและยังคงประโยชน์ทางด้านนาฏกรรม ซึ่งได้ปรากฏบทบาท การสู้รบระหว่างลิงกับลิงเช่นเดียวกับรามเกียรติ์ค าพากย์ในสมัยอยุธยา ในยุคสมัยพระบาท สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ได้ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ โดยด าเนิน เรื่องตามบทพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 1 พระราชนิพนธ์เพื่อใช้ส าหรับการแสดงละครโขน และยังพบว่า รามเกียรติ์บทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 ได้ปรากฏบทบาทการสู้รบระหว่างลิงกับลิงแล้ว ส านวนรามเกียรติ์ต่อมา รามเกียรติ์ส านวนในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระองค์ทรง พระราชนิพนธ์ไว้เพียงตอนเดียว คือพระรามเดินดง จับเรื่องตั้งแต่ นางไกยเกษีขอพรท้าวทศรถ จนถึงถวายพระเพลิงพระศพท้าวทศรถ และยังมีตอนเบ็ดเตล็ด อีก 2 ตอน คือ เบิกโรงเรื่องนารายณ์ ปราบนนทุก และ พระรามเข้าสวนพิราพ ท านองแต่งเป็นกลอนบทละคร โดยมุ่งหวังเพื่อใช้เล่นละครใน โคลงบรรยายภาพเรื่องรามเกียรติ์ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นโคลงบรรยาย ภาพจิตรกรรมฝาผนัง เรื่องรามเกียรติ์โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงชักชวน พระบรมวงศานุวงศ์ รวมถึงผู้รู้กวีและนักเขียนช่วยกันประพันธ์ขึ้น และจารึกโคลงไว้ที่ฝาผนังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ส านวนแต่งเป็นโคลงสี่สุภาพ มีจุดมุ่งหมายในการพระราชนิพนธ์ขึ้น เพื่อเป็นการฉลองพระนคร
28 ที่มีวาระครบ 100 ปีส านวนรามเกียรติ์สมัยรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ด้วยกลอนบทละคร กาพย์ และร่ายยาว มีจุดมุ่งหมายเพื่อใช้ส าหรับ การแสดงโขนโดยเฉพาะ พระองค์มิได้ทรงด าเนินเรื่องตาม บทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 2 แต่ทรงด าเนินเรื่องตาม รามายณะ ของประเทศอินเดีย เพื่อให้เกิดความแปลกใหม่ แก่ผู้ชม ต่อมาบทโขนเรื่องรามเกียรติ์ยุคกรมศิลปกรปรับปรุงใหม่ หลังจากเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 กรมศิลปากรได้ฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมของไทย โดยเฉพาะการแสดงโขน ได้มีการปรับปรุงครั้งใหญ่ โดยในครั้งแรกการแสดงโขนได้น าบทพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 2 น ามาใช้ส าหรับ ประกอบการแสดง ภายหลังผู้รู้ทางด้านบทละครโขนได้ปรับปรุงบทการแสดงโขน โดยบทที่ปรับปรุง ขึ้นใหม่ยังคงใช้แนวทางในการจัดท าบทตามพระราชนิพนธ์ รัชกาลที 1 และรัชกาลที่ 2 ทั้งนี้บท การแสดงโขนประกอบไปด้วยบทร้องอย่างละครใน และบทพากย์ตามอย่างการแสดงโขนดั้งเดิม บทการแสดงโขนของกรมศิลปากรปรากฏบทบาทการสู้รบระหว่างลิงกับลิงซึ่งส านวนรามเกียรติ์ที่ ปรากฏบทบาทการรบระหว่างลิงกับลิง มีอยู่ด้วยกัน 4 ส านวน ผู้วิจัยสามารถสรุปเป็นตารางได้ดังนี้ ตารางที่ 1 ส านวนรามเกียรติ์ที่ปรากฏการรบระหว่างลิงกับลิง ส านวน รามเกียรติ์ค า พากย์ รามเกียรติ์ รัชกาลที่ 1 รามเกียรติ์ รัชกาลที่ 2 บทโขนกรมศิลปากร ลับดับ ปรับปรุงใหม่ 1 พระรามได้ขีดขิน (พาลีกับสุครีพ) พาลีขับสุครีพ หนุมานรบนิลพัท พาลีสอนน้อง (พาลีกับสุครีพ) 2 พระรามประชุมพล (หนุมานกับ นิลพัท) หนุมานรบนิลพัท หนุมานรบมัจฉานุ จองถนน (หนุมานกับนิลพัท) 3 ศึกไมยราพ (หนุมานกับมัจฉานุ) หนุมานรบมัจฉานุ มัยราพณ์สะกดทัพ หนุมานกับมัจฉานุ) 4 ทัพท้าวมหาชมพู ตีทัพหน้า วันยุวิกมัจฉานุ ตัดหางมัจฉานุ (ท้าวมหาชมพู กับมัจฉานุ) ที่มา: ผู้วิจัย
29 จากตารางข้างต้นจะเห็นได้ว่า รามเกียรติ์ที่ปรากฏบทบาทการสู้รบระหว่างลิงกับลิง มีอยู่ด้วยกัน 4 ส านวน คือ รามเกียรติ์ค าพากย์รามเกียรติ์บทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1 รามเกียรติ์ บทละครในรัชกาลที่ 2 และบทการแสดงโขนกรมศิลปากรปรับปรุงใหม่ อย่างที่ผู้วิจัยได้กล่าวไปแล้ว ข้างต้นถึงการเกิดขึ้นของวรรณกรรมรามเกียรติ์ของไทยส านวนต่าง ๆ มีจุดมุ่งหมายส าคัญ 2 ประการ คือ 1) พระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์เพื่อเป็นเกียรติยศแก่บ้านเมืองรวมไปถึงในวาระ เฉลิมฉลอง 2) ใช้ส าหรับประกอบการแสดงมหรสพของไทย จุดมุ่งหมายนี้ยังน าไปสู่ประโยชน์ทาง ด้านนาฏกรรมใช้ส าหรับการแสดงมหรสพของไทย อาทิ การแสดงหนังใหญ่ การแสดงละครใน การแสดงโขนล้วนแล้วแต่น าเรื่องรามเกียรติ์ไปประกอบการแสดง 2. รูปแบบการแสดงของวรรณกรรมเรื่องรามเกียรติ์ รามเกียรติ์ เป็นวรรณกรรมที่รู้จักแพร่หลายของคนไทย ซึ่งปรากฏในรูปแบบของวรรณกรรม เพื่อใช้ส าหรับอ่านเป็นเรื่องเล่านิทานในลักษณะส านวนโวหาร อีกทั้งรูปแบบของการแสดง หนังใหญ่ ละคร โขน รวมไปถึงการแสดงในรูปแบบงานจิตกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งรูปแบบ การแสดงเหล่านี้เอง ที่ช่วยให้รามเกียรติ์มีความแพร่หลายมากยิ่งขึ้น โดยการสื่อเนื้อหาทาง ด้านอารมณ์ผ่านบทการแสดง ตัวละคร กระบวนท่าร า ท่าเต้น และลายเส้นในงานจิตกรรม อันเป็น ลักษณะเฉพาะของรูปแบบการแสดงแต่ละประเภท สามารถแบ่งประเด็นในการศึกษาได้ดังนี้ 2.1 นาฏกรรมรามเกียรติ์ ส านวนรามเกียรติ์ของไทยที่ปรากฏในสมัย อยุธยา ธนบุรี และสมัยรัตโกสินทร์ มีจุดมุ่งหมายเพื่อประกอบการแสดงแต่ละประเภท ดังที่ เสาวณิต วิงวอน ได้กล่าวไว้ว่า วรรณกรรม รามเกียรติ์ มีปรากฏตั้งแต่สมัยอยุธยา ซึ่งประพันธ์ขึ้นไว้ส าหรับใช้ประโยชน์ในการเล่นหนัง เล่นโขน หรือละคร (เสาวณิต วิงวอน, 2555, น. 43) มีรายละเอียดดังนี้ 1. การแสดงหนังใหญ่ เป็นการแสดงที่มีเอกลักษณ์ที่เฉพาะตัว และงดงามตามจารีตของการแสดง นาฏศิลป์ไทยมีประวัติความเป็นมาแต่ครั้งโบราณ อยู่คู่บ้านคู่เมืองมาทุกยุคทุกสมัยของคนไทย ดังที่ ธีรภัทร์ ทองนิ่ม ได้กล่าวไว้ในหนังสือโขน ถึงประวัติความเป็นมาของหนังใหญ่ว่า
30 หนังใหญ่ เป็นมหรสพเก่าแก่ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นมหรสพชั้นสูงอย่างหนึ่งของไทย ที่มีมาแต่ครั้ง สมัยกรุงสุโขทัยแล้ว มีลีลาการแสดงที่งดงาม ดังมีหลักฐานปรากฏในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ว่า พระองค์ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระมหาราชครูแต่งเรื่อง “สมุทรโฆษ ชาดกค าฉัน” ขึ้น เพื่อใช้ส าหรับเล่นหนังใหญ่ ดังหลักฐานที่ปรากฏในหนังสือสมุทรโฆษค าฉันท์ว่า พระให้กล่าวกาพย์นิพนธ์ จ านองโดยกล ตระการเพลงยศพระ ให้ฉลักแสบกภาพอันชระ เป็นบรรพบุรณะ นเรนทราชบรรหาร ให้ทวยนักคนผู้ชาญ กลเล่นโดยการ ย เป็นบ าเทิงธรณี ตามปกติในสมัยโบราณหนังใหญ่ได้รับการยกย่องว่าเป็นมหรสพชั้นสูง เป็นการละเล่น ของหลวงที่มีลีลาการแสดงงดงาม ซึ่งการละเล่นประเภทนี้จะขึ้นหน้าขึ้นตามากกว่าการละเล่นมหรสพ ชนิดอื่น งานใดที่มีการแสดงหนังใหญ่ก็หมายความว่างานนั้นเป็นงานที่ใหญ่มากและส าคัญจริง ๆ ถึงแม้ว่ากรุงศรีอยุธยาจะเสียให้แก่พม่าในพุทธศักราช 2310 ซึ่งพม่าได้ท าลายทุกสิ่งทุกอย่างไม่ว่าจะ เป็นโบราณสถาน โบราณวัตถุ ตลอดจนศิลปะต่าง ๆ แต่ในสมัยต่อมาสมเด็จพระเจ้าตาดสินก็ทรง กอบกู้เอกราชได้จนกระทั้งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงสร้างกรุงรัตน์โกสินทร์ขึ้น หนังใหญ่ซึ่งเป็นมหรสพชนิดหนึ่งกลับมีความเจริญตามยุคสมัยด้วยนับได้ว่าหนังใหญ่เป็นของ คู่บ้านคู่เมืองของคนไทยอย่างแท้จริง (ธีรภัทร์ ทองนิ่ม, 2555, น. 5) จากข้อมูลดังกล่าว ท าให้ทราบว่า การแสดงหนังใหญ่ เป็นการแสดงที่มีความเป็นมาแต่ ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี และเป็นการแสดงที่จัดอยู่ในการแสดงชั้นสูงอยู่คู่บ้านคู่เมืองคนไทย มาอย่างยาวนาน การแสดงหนังใหญ่ด าเนินเรื่องด้วยการพากย์เจรจา ส่วนเรื่องที่ใช้แสดงหรือ เล่นหนังใหญ่ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช นิยมเล่นเรื่อง“สมุทรโฆษค าฉันท์” ของพระมหาราชครู หรือ “อนิรุทธค าฉันท์” ของศรีปราชญ์ แต่อาจจะไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร จึงหันมาเล่น เรื่องรามเกียรติ์และเรื ่องรามเกียรติ์นี้ท าให้การเล ่นหนังใหญ่เป็นที่นิยมต่อมาจนถึงปัจจุบันนี้ (ธีรภัทร์ ทองนิ่ม, 2555, น. 11) ซึ่งสอดคล้องกับสมชาย ศุภลักษณ์อ าไพพร ได้รวบรวมต าราเล่นหนัง
31 ในงานมหรสพ ที่ได้เคยประทานหนังสือมาพิมพ์ในหนังสือชิรญาณวิเศษ เป็นค าพากย์กับ หนังสือต าราเล่น มีความว่า “ข้าพเจ้าจะขอกล่าวถึงเรื่องเล่นหนังอย่างบุราณก่อน ทราบว่าแต่บุราณ ชอบเล่น เมื่อฑูตขรตรีเศียร พอเล่นไปถึงสองยามพอถึงฑูตขรตาย จึงเรียกกันได้ว่า “ขรล้ม” แต่คนดูที่นั้นมา กลับเรียกเสียว่า “ล้มขร” พอขรล้ม ก็หยุดพักเลี้ยงกันเสียทีหนึ่ง” (ส านักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ, 2551, น. 13) จากข้อความดังกล่าวมีการกล่าวถึงทูตขรตรีเศียร ซึ่งเป็นตัวละครฝ่ายยักษ์ในรามเกียรติ์ นอกจากเรื่องรามเกียรติ์ที่การแสดงหนังใหญ่น ามาจับเรื่องแสดงแล้ว ก่อนการแสดงจะเริ่มขึ้น จะมีพิธีเบิกหน้าพระหรือการไหว้ครู และต่อด้วยการแสดงชุดเบิกโรง การแสดงเบิกโรงนั้นมีอยู่หลาย ตอนด้วยกัน แล้วแต่ผู้จัดจะน ามาแสดงในคืนนั้น ๆ การแสดงเบิกโรงชุด “จับลิงหัวค่ า” เป็นการแสดง เบิกโรง ที่นิยมน ามาแสดงอยู่บ่อยครั้ง เนื้อเรื่องกล่าวถึงการสู้รบกันระหว่างลิงขาวและลิงด า ลิงด านั้น มีนิสัยที่โอหังเที่ยวข่มเหงใครต่อใคร ลิงขาวได้ว่ากล่าวตักเตือนไปหลายครั้ง แต่ลิงด านั้นไม่เชื่อฟัง ท าให้ลิงขาวหมดความอดทนจึงได้เกิดต่อสู้กันระหว่างสองลิง หลังจากที่ได้ต่อสู้กันฝ่ายลิงขาวได้จับลิง ด ามัดมือไขว้หลัง และน าตัวลิงด าไปให้พระฤษีซึ่งเป็นพระอาจารย์ของทั้งสอง เมื่อพระอาจารย์เห็นจึง ขอให้ไว้ชีวิตลิงด าและสั่งสอนลิงด าให้กลับตัวเสียใหม่ ท าแต่ความดี เลิกก่อกรรมท าชั่ว ด้วยเนื้อเรื่อง ของการแสดงหนังใหญ่ในชุดเบิกโรง จับลิงหัวค่ า มีเนื้อหาเกี่ยวกับการสู้รบของลิงขาวและลิงด า จึงท าให้เกิดกระบวนการ สู้รบระหว่างลิงกับลิงในรูปแบบการแสดงหนังใหญ่ขึ้น
32 ภาพที่1 การแสดงหนังใหญ่ ชุด จับลิงหัวค่ า ที่มา: กรมศิลปากร (2556, น. 19) ตัวหนังเป็นเอกลักษณ์ส าคัญของการแสดงหนังใหญ่ ถูกฉลุลวดลายอย่างประณีตสวยงาม ท าด้วยหนังควายหรือหนังวัว สามารถแบ่งประเภทของหนังใหญ่ที่ใช้ส าหรับการแสดงได้ 6 ชนิด คือ 1. หนังเฝ้า 2. หนังคเนจร 3. หนังง่า 4. หนังเมือง 5. หนังจับ 6. หนังเบ็ดเตล็ด จากประเภทของ ตัวหนังทั้ง6 ชนิด หนังจับเป็นภาพตัวหนังที่มีตัวละคร 2 ตัวขึ้นไปท าท่าทางในลักษณะเป็นกระบวนท่ารบ ซึ่งในการแสดงหนังใหญ่ปรากฏตัวหนังที่แสดงถึงกระบวนท่ารบระหว่างลิงกับลิง ภาพที่ 2 หนังจับ ลิงขาวรบลิงด า ที่มา: กรมศิลปากร (2551, น. 18)
33 ภาพที่ 3 หนังจับ ลิงขาวรบลิงด า ที่มา: กรมศิลปากร (2551, น. 19) ภาพที่ 4 หนังจับ ลิงขาวรบลิงด า ที่มา: กรมศิลปากร (2551, น. 20) จากการศึกษาการแสดงหนังใหญ่สามารถสรุปได้ว่า การแสดงหนังใหญ่เป็นการละเล่น ที่เป็นมหรสพชั้นสูงอย่างหนึ่งของไทยพบหลักฐานที่มีความเก่าแก่ที่สุดในสมัยสุโขทัย ส่วนเรื่องที่ใช้ แสดงหนังใหญ่ ตั้งแต่สมัยโบราณจะใช้เรื่องอะไรแสดงไม่แน่ชัด แต่เรื่องที่ได้รับความนิยมมาจนถึง ปัจจุบันคือเรื่อง รามเกียรติ์นอกจากนี้ยังปรากฏกระบวนท่ารบระหว่างลิงกับลิง ในการแสดงเบิกโรง ในการแสดง ชุด “จับลิงหัวค่ า” และตัวหนังประเภทหนังจับ
34 2. การแสดงละครใน ละครใน เป็นการแสดงที ่เล ่นเป็นเรื ่องราว เป็นละครที ่เกิดขึ้นในเขต พระราชฐานชั้นในมีกระบวนการร่ายร าที่งดงามประณีต ทั้งเพลงและบทที่ใช้ประกอบการแสดง พบหลักฐานในหนังสือบุณโณวาทค าฉันท์ ของพระมหานาควัดท่าทราย การแสดงละครในจะมี ลักษณะการร่ายร าที่เชื่องช้าอ่อนช้อยประณีตงดงาม ต่างจากละครนอก ด าเนินเรื่องด้วยการขับร้อง โดยใช้ผู้ขับร้องในวงปี่พาทย์เป็นผู้ขับร้องแทนตัวละคร เรื่องที่ใช้ในการแสดงละครในนั้นปรากฏ ด้วยกัน 3 เรื่อง คือ เรื่องรามเกียรติ์ อุณรุท และอิเหนา แต่ในปัจจุบันการแสดงละครในเรื่องรามเกียรติ์ ไม่มีให้พบเห็นมากนัก ที่นิยมแสดงในปัจจุบัน คือ เรื่องอิเหนา และอุณรุท สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาด ารงราชานุภาพ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ ต านานละครอิเหนา ถึงเรื่องที่ใช้แสดงละครในไว้ว่า “ครั้นต่อมาจะเล่นระบ าให้เรื่องแปลกออกไป จึงเลือกเอาเรื่องโขนบางตอนที่ เหมาะแก่กระบวนฟ้อนร า เช่น อุณรุทในเรื่องกฤษณาวตารเป็นต้น มาคิดปรุงกับกระบวนละคร ฝึกซ้อมให้พวกนางร าของหลวงเล่น ครั้นเล่นก็เห็นว่าดี จึงให้มีละครผู้หญิงของหลวงขึ้นแต่นั้นมา ต้นละครผู้หญิงน่าจะเป็นเช่นว่ามานี้ ชั้นแรกเห็นจะเล่นแต่เรื่องอุณรุท แล้วจึงได้หัดเล่น เรื่องรามเกียรติ์อีกเรื่อง 1 บางทีจะเป็นเพราะเหตุที่เอาเรื่อง อุณรุท ไปให้นางร าของหลวงเล่นนั้นเอง โขนจึงมิได้เล่นเรื่อง “กฤณาวตารต่อมา” (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาด ารงราชานุภาพ, 2464, น. 16) จากข้อความดังกล่าวท าให้ทราบว่า การแสดงละครใน นิยมแสดง เรื่อง อุณรุท อิเหนา และยังคัดเลือกเรื่องที่ใช้ส าหรับการแสดงโขน คือ เรื่องรามเกียรติ์ น ามาประกอบการแสดงด้วย โดยคัดเลือกบางตอนที่เหมาะสมกับกระบวนการร่ายร าของละครในเท่านั้น บทละครเรื่องรามเกียรติ์ที่ใช้ประกอบการแสดง เห็นได้จากการพระราชนิพนธ์ไว้ ส าหรับแสดงละครในรัชสมัยต่าง ๆ ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายฉบับ เช่น บทละครรามเกียรติ์พระราชนิพนธ์ ในพระเจ้ากรุงธนบุรี บทละครเรื่องรามเกียรติ์พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1 บทละครรามเรื่องเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 และบทละครรามเกียรติ์พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 4 ล้วนแต่พระราชนิพนธ์ เพื่อใช้ประโยชน์ทางด้านการแสดงละครในเช่นกัน นอกจากนี้ในยุคกรมศิลปากรปรับปรุงใหม่ จากการ สืบค้น ข้อมูลการแสดงละครใน เรื่องรามเกียรติ์ ที่พอจะหาข้อมูลได้ กรมศิลปากรยังเคยจัดการแสดง ละครในเรื่องรามเกียรติ์ เนื่องในงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พุทธศักราช 2548 ตอน อภิเษกพระรามกับสีดาที่เขาไกรลาส ปัญญา นิตยสุวรรณ เรียบเรียงบท
35 จัดแสดง ณ อุทยานพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2548 เป็นการแสดงละครในเรื่องรามเกียรติ์ที่ใช้ผู้แสดงเป็นผู้หญิงล้วน โดยใช้นักแสดง ยุวศิลปินในอุปถัมภ์ของมูลนิธิพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และละครในเรื่องรามเกียรติ์ ตอน นางลอย บทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 เป็นโครงการนเรศวรสังคีต ครั้งที่ 24 จัดแสดง วันที่ 28 กรกฎาคม 2558 มหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมกับส านักการสังคีตกรมศิลปากร จัดการแสดง ณ โรงละครเฉลิมพระเกียรติ72 พรรษา บรมราชินีนาถ มหาวิทยาลัยนเรศวร ภาพที่ 5 สูจิบัตรละครในเรื่องรามเกียรติ์ ตอน นางลอย ที่มา: ส านักการสังคีต จากการศึกษาข้อมูลที่กล่าวมาแสดงให้เห็นว่า การแสดงละครในเป็นการแสดงที่มีความ ประณีตงดงามมีลักษณะเฉพาะตัวที่มีความงดงามทั้งบทประพันธ์รวมถึงกระบวนท่าร า นิยมแสดง เรื่องอิเหนา อุณรุท และเรื่องรามเกียรติ์ ละครในเรื่องรามเกียรติ์ในยุคกรมศิลปากรที่สามารถค้น ข้อมูลได้ พบว่าเคยจัดการแสดง ในตอน อภิเษกพระรามกับนางสีดาที่เขาไกรลาส และตอนนางลอย ซึ่งการแสดงละครในเรื่องรามเกียรติ์ ในการสืบค้นข้อมูลการแสดงละครในยังไม่พบว่าเคยจัดการแสดง ที่กล่าวถึงบทบาทการสู้รบระหว่างลิงกับลิง
36 3. การแสดงโขน โขน จัดเป็นมหรสพชั้นสูงของไทยอย่างหนึ่ง เป็นการแสดงที่วิจิตรงดงาม ประณีตและยังรวมงานด้านศิลปกรรมของไทยในแขนงต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น วิจิตรศิลป์ ประติมากรรม วรรณศิลป์การแสดงโขนเกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยใดไม่ทราบแน่ชัด มีเพียงหลักฐานจากในจดหมายเหตุ ของชาวต่างชาติ มองสิเออร์ เดอ ลา ลูแบร์ (Mon-sieur De La Loubere) ราชทูตฝรั่งเศส ชาวต่างชาติที่เดินทางมายัง กรุงศรีอยุธยาได้บันทึกเกี่ยวกับการแสดงของไทยไว้ว่า “ชาวสยามมี มหรสพประเภทเล่นในโรงอยู่ 3 อย่าง อย่างที่ชาวสยามเรียกว่าโขน (cone) นั้น เป็นการร่ายร าเข้าๆ ออกๆ หลายค ารบตามจังหวะซอและเครื่องดนตรีอย่างอื่นอีก ผู้แสดงนั้นสวมหน้ากาก (หัวโขน) และถืออาวุธ แสดงบทหนักไปในทางสู้รบกันมากกว่าจะเป็นการร่ายร า และมาตรว่าการแสดงส่วนใหญ่จะหนักไป ในทางโลดเต้นเผ่นโผนโจนทะยานและวางท่าอย่างเกินสมควรแล้วนาน ๆ ก็จะหยุดเจรจาออกมาสักค า สองค า หน้ากาก (หัวโขน) ส่วนใหญ่นั้นน่าเกลียด เป็นหน้าสัตว์ที่มีรูปพรรณวิตถาร (ลิง) หรือไม่ก็เป็น หน้าปีศาจ (ยักษ์)” (สัน ท. โกมลบุตร, 2510, น. 157) จากจดหมายเหตุที่กล่าวมาพบว่าเริ่มมี การแสดงโขนมาตั้งแต่สมัยอยุธยาแต่จะมีการแสดงโขน ในสมัยก่อนหน้านั้น หลักฐานยังไม่ทราบแน่ชัด การแสดงโขนถือก าเนิดจากการแสดง 3 ประเภท คือ การแสดงหนังใหญ่ การแสดงกระบี่กระบอง และการแสดงชักนาคดึกด าบรรพ์ โดยได้น าเอาส่วนหนึ่งของการแสดงทั้ง 3 ประเภท เช่น ค าพากย์ เจรจา เพลงหน้าพาทย์ต่าง ๆ รวมไปถึงกระบวนท่าเต้นมาจาก การแสดงหนังใหญ่ กระบวนการต่อสู้ บางส่วนมาจากการแสดงกระบี่กระบอง และน าเอาการแต่งกายวิธีการมาจากการแสดง ชักนาคดึกด าบรรพ์น ามาผสมผสานจนเกิดเป็นการแสดงโขน การแสดงโขน ได้มีวิวัฒนาการไปถึง 5 ประเภทด้วยกัน คือ โขนกลางแปลง โขนโรงนอกหรือโขนนั่งราว โขนหน้าจอ โขนโรงใน และโขนฉาก การแสดงโขนมีลักษณะส าคัญคือผู้แสดงที่สวมบทเป็นตัวละครต่าง ๆ ในเรื่องสามารถแบ่งประเภท ของตัวละครได้ 4 ประเภท คือ พระ นาง ยักษ์ ลิง ตามจารีตการแสดงโขน ผู้แสดงจะสวมหัวโขน ไม่สามารถพูดและร้องเองได้ เปรียบเสมือนคนใบ้ เพราะฉะนั้นจึงต้องมีผู้ท าหน้าที่พากย์เจรจาแทน (กรมศิลปากร, 2556, น. 86) ต่อมาภายหลังจึงให้ตัวละครที่เป็นตัวพระใช้การแต่งหน้าแทน การสวมหัวโขน และองค์ประกอบที่ส าคัญที่เป็นจุดเด่นของการแสดงโขน คือ ผู้พากย์เจรจา เป็นผู้ที่คอยด าเนินเรื่องราวตั้งต้นจนถึงจบการแสดงด้วยดี คนพากย์เจรจาจะต้องมีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องราวที่แสดงเป็นอย่างดี อีกทั้งยังต้องจ าบทพากย์ เจรจาได้เอง แก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่อาจ