187 ตารางที่6 ลักษณะกระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ จากบทละครในรัชกาลที่ 1 (ต่อ) ล าดับ กระบวนท่า/บทร้อง กระบวนท่าที่มี ความสัมพันธ์กับค าร้อง กระบวนท่าที่เกิดจาก จินตนาการของผู้ประดิษฐ์ 42 ผุดลุกขึ้นได้กระทืบบาท 43 ท าอ านาจผาดเสียง 44 วิ่งผลุนหมุนเข้า 45 บุก 46 บัน
188 ตารางที่6 ลักษณะกระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ จากบทละครในรัชกาลที่ 1 (ต่อ) ล าดับ กระบวนท่า/บทร้อง กระบวนท่าที่มี ความสัมพันธ์กับค าร้อง กระบวนท่าที่เกิดจาก จินตนาการของผู้ประดิษฐ์ 47 โรมรัน 48 ไม่คิดชีวา 49 กลับกลอก 50 หันเหียนเปลี่ยนท่า 51 ราวี ที่มา: ผู้วิจัย
189 จากตารางจ าแนกกระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ จากบทละครในรัชกาลที่ 1 ผู้วิจัยได้ วิเคราะห์กระบวนท่าในท่าหลักซึ่งเป็นการตีบทประกอบค าร้องในเพลงร่าย มีกระบวนท่า ทั้งสิ้น 51 ท่า จ าแนกเป็นกระบวนท่าที่มีความสัมพันธ์กับค าร้อง มีกระบวนท่าทั้งสิ้น 30 ท่าและ กระบวนท่าที่เกิดจากจินตนาการของผู้ประดิษฐ์ท่า มีกระบวนท่าทั้งสิ้น 21 ท่า จากลักษณะการตีบท ตามค าร้องทั้งสองลักษณะ จะเห็นได้ว่ากระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ บทละครในรัชกาลที่ 1 มีลักษณะท่าการตีบททุกค ากลอน ต่างจากการตีบทในจารีตการแสดงโขน ที่มีลักษณะการตีบท แบบรวบค า ในการสื่อความหมาย สรุปได้ว่ากระบวนท่ารบนี้เป็นกระบวนท่ารบที่มีจารีตอย่างละคร ในมีความประณีตในการตีบทของกระบวนท่ารบอย่างละเอียด ดังที่ นายประเมษฐ์ บุณยะชัย (ม.ป.ป., น. 69) ได้อธิบายไว้ในเอกสารประกอบการสอน เรื่องจารีตนาฏศิลป์ไทย ความว่า จารีตในการร าใช้บท และตีบทในการแสดงโขน และละคร จะมีความแตกต่างกัน ทั้งนี้เนื่องจาก การแสดงทั้ง 2 มีโครงสร้างที่แตกต่างกัน โขน เป็นการด าเนินเรื่องด้วยการพากย์เจรจา ส่วนการขับร้องเป็นศิลปะของละครที่เข้าไปประกอบในภายหลัง ผู้แสดงโขนจะต้องฟังผู้พากย์ เจรจา หลังจากนั้นจึงใช้บทและตีบท ออกเป็นท่าทางต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความหมาย ด้วยเหตุนี้ลักษณะ ของท่าจึงมีขอบเขตจ ากัด คือ การใช้บท ตีบท นิยมใช้บท ตีบทท้ายค าเท่านั้น ละคร เป็นการแสดงที่ ด าเนินเรื่องด้วยการร่ายร าประกอบบทร้อง ซึ่งในแต่ละเพลงจะมีท านองเอื้อนของเพลงที่ ค่อนข้างช้า ด้วยเหตุนี้การใช้บท ตีบท จึงสามารถใส่ท่าทางต่าง ๆ ได้มากกว่าโขน นอกจากนี้ยัง พบว่ากระบวนท่าทั้งสองลักษณะ สามารถแยกเป็นกระบวนท่าที่เป็นกระบวนท่ารบ มีกระบวนท่าทั้งสิ้น 13 ท่า ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ถึงโครงสร้างกระบวนท่ารบ ดังจะน าเสนอการวิเคราะห์ในหัวข้อถัดไป 3.2 วิเคราะห์โครงสร้างกระบวนท่ารบ จากการศึกษาลักษณะกระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1 กระบวนท่าการตีบททั้งสองลักษณ์พบว่าเป็นกระบวนท่าที่เป็นท่ารบ มีจ านวน 14 ท่า ดังนี้1) ท่ากระทบ อาวุธ 2) ท่าตีเลาะๆ 3) ท่ายืนแทง 4) ท่ายืนแทงกัดมือ 5) ท่าถีบเท้าขวา 6) ท่าจับเหวี่ยงหกคะเมน 7) ท่าข้าวต้มมัด 8) ท่าจับแขนเงื้อ 9) ท่าหกคะเมนกลางอากาศ 10) ท่าหกฉีก 11) ท่าแทงอาวุธ 12) ท่าตีพลาดปะทะอาวุธ 13) ท่าลอยมัจฉานุ ดังนี้
190 ตารางที่ 7 ลักษณะท่าตีบทที่เป็นกระบวนท่ารบ ล าดับ ชื่อท่า กระบวนท่ารบ 1 ท่ากระทบอาวุธ 2 ท่าตีเลาะๆ 3 ท่ายืนแทง
191 ตารางที่ 7 ลักษณะท่าตีบทที่เป็นกระบวนท่ารบ (ต่อ) ล าดับ ชื่อท่า กระบวนท่ารบ 3 ท่ายืนแทง (ต่อ) 4 ท่ายืนแทงกัดมือ 5 ท่าถีบเท้าขวา
192 ตารางที่ 7 ลักษณะท่าตีบทที่เป็นกระบวนท่ารบ (ต่อ) ล าดับ ชื่อท่า กระบวนท่ารบ 6 ท่าจับเหวี่ยงหกคะเมน 7 ท่าข้าวต้มมัด . ....
193 ตารางที่ 7 ลักษณะท่าตีบทที่เป็นกระบวนท่ารบ (ต่อ) ล าดับ ชื่อท่า กระบวนท่ารบ 8 ท่าจับแขนเงื้อ 9 ท่าหกคะเมนกลางอากาศ 10 ท่าหกฉีก
194 ตารางที่ 7 ลักษณะท่าตีบทที่เป็นกระบวนท่ารบ (ต่อ) ล าดับ ชื่อท่า กระบวนท่ารบ 11 ท่าแทงอาวุธ 12 ท่าตีพลาดปะทะอาวุธ 13 ท่าลอยมัจฉานุ ที่มา: ผู้วิจัย
195 จากตารางลักษณะท่าตีบทที่เป็นกระบวนท่ารบข้างต้น สามารถสรุปได้ว่ากระบวนท่าหนุมาน รบมัจฉานุ จากบทละครในรัชกาลที่ 1 มีกระบวนท่าที่เป็นกระบวนท่ารบ 13 ท่า กระบวนท่ารบ มีลักษณะเป็นท่าจับในท่าทางต่าง ๆ ท่าการใช้อาวุธในลักษณะแทง กระทบอาวุธ ท่าถีบ ท่ากอดรัด ท่าหกคะเมน และท่าขึ้นลอย เมื่อน ากระบวนท่ารบทั้ง 13 ท่า มาวิเคราะห์ถึงโครงสร้างของกระบวนท่ารบ พบว่ากระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ มีโครงสร้างกระบวนท่า 3 แบบ มาจากการแสดงโขน คือ1.กระบวน ท่าลิงรบลิง 2. กระบวนท่าลิงรบยักษ์ 3. กระบวนท่าพระรบยักษ์ ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้ 1) โครงสร้างกระบวนท่ารบ ที่มาจากกระบวนท่าลิงรบลิง กระบวนท่ารบของหนุมานกับมัจฉานุ จากบทละครในรัชกาลที่ 1 มีกระบวนท่ารบที่ เหมือนหรือตรงกับกระบวนท่ารบระหว่าง หนุมานกับนิลพัท หนุมานกับมัจฉานุ และระบ าวีรชัยลิง ในกระบวนท่าที่ 1. ท่ากระทบอาวุธ 2. ท่าตีเลาะๆ 3. ท่ายืนแทง 4. ท่ายืนแทงกัดมือ 5. ท่าถีบเท้าขวา 6. ท่าจับเหวี่ยงหก 7. ท่าข้าวต้มมัด 8. ท่าจับแขนเงื้อ 9. ท่าหกคะเมนกลางอากาศ 10. ท่าแทงอาวุธ 11. ท่าลอยมัจฉานุ12. ท่าหกฉีก 13. ท่าตีพลาดปะทะอาวุธ มีรายละเอียดดังตารางต่อไปนี้ ตารางที่ 8 เปรียบเทียบกระบวนท่าลิงรบลิงกับกระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ จากบทละคร ในรัชกาลที่ 1 : ท่ากระทบอาวุธ ชื่อท่า หนุมานรบมัจฉานุจาก บทละครในรัชกาลที่ 1 ลิงรบลิง ในการแสดงโขน ท่ากระทบอาวุธ ท่ากระทบอาวุธ เป็นท่าที่ใช้ในกระบวนท่า หนุมานรบนิลพัท หนุมานรบมัจฉานุ และกระบวนท่าลิงรบลิงคู่อื่น ๆ รวมไปถึงเป็นท่าที่พบในระบ าวีรชัยลิง เป็นการออกกราวตรวจพล ของสิบแปดมงกุฎ จากตารางภาพจะเห็นได้ว่า กระบวนท่ารบหนุมานกับมัจฉานุ จากบทละครใน รัชกาลที่ 1 มีโครงสร้างกระบวนท่ารบที่ตรงกัน ที่มา: ผู้วิจัย
196 ตารางที่ 9 เปรียบเทียบกระบวนท่าลิงรบลิงกับกระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ จากบทละคร ในรัชกาลที่ 1 : ท่าตีเลาะ ชื่อท่า หนุมานรบมัจฉานุจาก บทละครในรัชกาลที่ 1 ลิงรบลิง ในการแสดงโขน ท่าตีเลาะ ท่าตีเลาะ เป็นท่าที่ใช้ในกระบวนท่า หนุมานรบนิลพัท หนุมานรบมัจฉานุ และ กระบวนท่าลิงรบคู่อื่น ๆ จากตารางภาพจะเห็นได้ว่า กระบวนท่ารบหนุมานกับมัจฉานุ จากบทละคร ในรัชกาลที่ 1 มีโครงสร้างกระบวนท่ารบที่ตรงกัน ตารางที่10 เปรียบเทียบกระบวนท่าลิงรบลิงกับกระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ จากบทละคร ในรัชกาลที่ 1 : ท่ายืนแทง ชื่อท่า หนุมานรบมัจฉานุจาก บทละครในรัชกาลที่ 1 ลิงรบลิง ในการแสดงโขน ท่ายืนแทง ท่ายืนแทง เป็นกระบวนท่ารบที่ใช้อาวุธประจ ากาย ในลักษณะแทงไปที่ข้างล าตัว ระดับเอว เป็นท่าที่ใช้ในกระบวนท่ารบของ หนุมานรบนิลพัท จากตารางจะเห็นได้ว่า กระบวนท่า หนุมานรบมัจฉานุ จากบทละครในรัชกาลที่ 1 มีโครงสร้างกระบวนท่ารบที่ตรงกัน ที่มา: ผู้วิจัย ที่มา: ผู้วิจัย
197 ตารางที่11 เปรียบเทียบกระบวนท่าลิงรบลิงกับกระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ จากบทละคร ในรัชกาลที่ 1 : ท่ายืนแทงกัดมือ ชื่อท่า หนุมานรบมัจฉานุจาก บทละครในรัชกาลที่ 1 ลิงรบลิง ในการแสดงโขน ท่ายืนแทงกัดมือ ท่ายืนแทงกัดมือ เป็นกระบวนท่ารบการใช้อาวุธในลักษณะแทงขนาดเป็นเส้นตรง ระดับเดียวกับหัวไหล่ ผสมผสานกับกระบวนท่าจับแขนแล้วก้มกัดที่แขนของฝ่ายศัตรู เป็นกระบวนท่า ที่ใช้ในการรบของ หนุมานรบนิลพัท และยังปรากฏกระบวนท่ายืนแท่งในระบ าวีรชัยลิง จากตาราง ภาพจะเห็นได้ว่า กระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ จากบทละครในรัชกาลที่ 1 มีโครงสร้างกระบวน ท่ารบที่ตรงกัน ตารางที่12 เปรียบเทียบกระบวนท่าลิงรบลิงกับกระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ จากบทละคร ในรัชกาลที่ 1 : ท่าถีบเท้าขวา ชื่อท่า หนุมานรบมัจฉานุจาก บทละครในรัชกาลที่ 1 ลิงรบลิง ในการแสดงโขน ท่าถีบเท้าขวา ที่มา: ผู้วิจัย ที่มา: ผู้วิจัย
198 ท่าถีบเท้าขวา เป็นกระบวนท่ารบ ที่ใช้ร่างกายส่วนเท้าในการต่อสู้ มีลักษณะเป็น ท่าถีบหรือยัน ที่เลียนแบบพฤติกรรมทางธรรมชาติของมนุษย์ในการต่อสู้ เป็นกระบวนท่าที่ปรากฏ ในระบ าวีรชัยลิง จากตารางจะเห็นได้ว่า กระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ จากบทละครในรัชกาลที่ 1 มีโครงสร้าง กระบวนท่าที่ตรงกัน ตารางที่13 เปรียบเทียบกระบวนท่าลิงรบลิงกับกระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ จากบทละคร ในรัชกาลที่ 1 : ท่าจับเหวี่ยงหกคะเมน ชื่อท่า หนุมานรบมัจฉานุจาก บทละครในรัชกาลที่ 1 ลิงรบลิง ในการแสดงโขน ท่าจับเหวี่ยงหก คะเมน ท่าจับเหวี่ยงหกคะเมน เป็นกระบวนท่ารบในลักษณะท่าจับผสมกับการตีลังกาในท่า พาสุริน กระบวนท่ารบบงบอกได้ถึงพฤติกรรมทางธรรมชาติของตัวลิงที่มีความว่องไว เป็นกระบวนท่า ที่ใช้ในการสู้รบของ หนุมานกับมัจฉานุ ในบทเจรจา และปรากฏในระบ าวีรชัยลิง จากตาราง เปรียบเทียบจะเห็นได้ว่า กระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ จากบทละครในรัชกาลที่ 1 มีโครงสร้าง กระบวนท่าที่ตรงกัน ที่มา: ผู้วิจัย
199 ตารางที่14 เปรียบเทียบกระบวนท่าลิงรบลิงกับกระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ จากบทละคร ในรัชกาลที่ 1 : ท่าข้าวต้มมัด ชื่อท่า หนุมานรบมัจฉานุจาก บทละครในรัชกาลที่ 1 ลิงรบลิง ในการแสดงโขน ท่าข้าวต้มมัด ท่าข้าวต้มมัด เป็นกระบวนท่าในลักษณะกอดรัดของตัวละคร ซึ่งผู้ปฏิบัติจะต้องมี ร่างกายที่แข็งแรงและมีล าตัวที่ยืดหยุ่น แสดงถึงพฤติกรรมของตัวลิงที่มีความซุกซนว่องไวในกระบวน ท่าการต่อสู้ที่มีความพลิกแพลง และยังเป็นกระบวนท่าที่ใช้เป็นทางเล่นส าหรับตัวละคร สิบแปดมงกุฎ เพื่อแสดงออกถึงความสามารถของผู้แสดง ภายหลังเสร็จจากการท าศึกสงคราม ตารางที่15 เปรียบเทียบกระบวนท่าลิงรบลิงกับกระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ จากบทละคร ในรัชกาลที่ 1 : ท่าจับแขนเงื้อ ชื่อท่า หนุมานรบมัจฉานุจาก บทละครในรัชกาลที่ 1 ลิงรบลิง ในการแสดงโขน ท่าจับแขนเงื้อ ที่มา: ผู้วิจัย ที่มา: ผู้วิจัย
200 ท่าจับแขนเงื้อ เป็นกระบวนท่ารบในลักษณะท่าจับเงื้ออาวุธ เป็นกระบวนท่าที่ใช้ใน กระบวนท่ารบของ หนุมานกับนิลพัท เป็นกระบวนท่ารบท่าสุดท้ายก่อนที่สุครีพจะจับทั้งสองแยกออก จากกัน จากตารางเปรียบเทียบจะเห็นได้ว่า กระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ จากบทละครในรัชกาลที่ 1 มีโครงสร้างกระบวนท่ารบที่ตรงกัน ตารางที่16 เปรียบเทียบกระบวนท่าลิงรบลิงกับกระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ จากบทละคร ในรัชกาลที่ 1 : ท่าหกตะเมนกลางอากาศ ชื่อท่า หนุมานรบมัจฉานุจาก บทละครในรัชกาลที่ 1 ลิงรบลิง ในการแสดงโขน ท่าหกคะเมนกลาง อากาศ ท่าหกคะเมนกลางอากาศเป็นกระบวนท่าในลักษณะการหกคะเมนตีลังกา กระบวนท่า ปรากฏในระบ าวีรชัยลิง กระบวนท่านี้ต้องอาศัยทักษะความช านาญของผู้แสดงทางด้านการตีลังกา จากตารางเปรียบเทียบจะเห็นได้ว่า กระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ จากบทละครในรัชกาลที่ 1 มีโครงสร้างกระบวนท่าที่ตรงกัน ที่มา: ผู้วิจัย
201 ตารางที่17 เปรียบเทียบกระบวนท่าลิงรบลิงกับกระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุจากบทละคร ในรัชกาลที่ 1 : ท่าแทงอาวุธ ชื่อท่า หนุมานรบมัจฉานุจาก บทละครในรัชกาลที่ 1 ลิงรบลิง ในการแสดงโขน ท่าแทงอาวุธ ท่าแทงอาวุธ เป็นกระบวนท่าการใช้อาวุธในลักษณะแทงไปด้านหน้าเข้าหาศัตรู เป็นกระบวนท่าที่ใช้ในการรบลิงกับลิงคู่อื่น ๆ รวมถึงกระบวนท่าระหว่างลิงกับยักษ์ด้วย จากตาราง เปรียบเทียบจะเห็นได้ว่า กระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ จากบทละครในรัชกาลที่ 1 มีโครงสร้าง กระบวนท่าที่ตรงกัน ตารางที่18 เปรียบเทียบกระบวนท่าลิงรบลิงกับกระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ จากบทละคร ในรัชกาลที่ 1 : ท่าลอยมัจฉานุ ชื่อท่า หนุมานรบมัจฉานุจาก บทละครในรัชกาลที่ 1 ลิงรบลิง ในการแสดงโขน ท่าลอยมัจฉานุ ที่มา: ผู้วิจัย ที่มา: ผู้วิจัย
202 ท่าลอยมัจฉานุ เป็นกระบวนท่ารบในลักษณะขึ้นลอย แสดงถึงการได้เปรียบและ เสียเปรียบในเชิงการต่อสู้ เป็นกระบวนท่าที่ใช้ในกระบวนท่ารบของ หนุมานกับมัจฉานุ และยัง ปรากฏในกระบวนท่าระบ าวีรชัยลิง จากตารางเปรียบเทียบจะเห็นได้ว่า กระบวนท่าหนุมานรบ มัจฉานุ จากบทละครในรัชกาลที่ 1 มีโครงสร้างกระบวนท่าที่ตรงกัน 2) โครงสร้างกระบวนท่ารบ ที่มาจากกระบวนท่าลิงรบยักษ์ กระบวนท่ารบของหนุมานกับมัจฉานุ พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1 มีกระบวนท่ารบ ที่เหมือนหรือตรงกับกระบวนท่ารบระหว่าง ลิงกับยักษ์ ในกระบวนท่าที่ 12 ท่าหกฉีก ตารางที่19 เปรียบเทียบกระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ จากบทละครในรัชกาลที่ 1 กับกระบวนท่า ลิงรบยักษ์: ท่าหกฉีก ชื่อท่า หนุมานรบมัจฉานุจาก บทละครในรัชกาลที่ 1 กระบวนท่าลิงรบยักษ์ ท่าหกฉีก ท่าหกฉีก เป็นกระบวนท่ารบในลักษณะท่าจับ เป็นกระบวนท่ารบของลิงกับยักษ์ ในตัวละครต่าง ๆ เช่น หนุมานรบทศกัณฐ์ หนุมานรบกุมภกรรณ เป็นต้น จากตารางเปรียบเทียบจะ เห็นได้ว่า กระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ จากบทละครในรัชกาลที่ 1 มีโครงสร้างกระบวนท่าที่ตรงกัน 3) โครงสร้างกระบวนท่ารบ ที่มาจากกระบวนท่าพระรบยักษ์ กระบวนท่ารบของหนุมานกับมัจฉานุ พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1 มีกระบวนท่ารบ ที่เหมือนหรือตรงกับกระบวนท่ารบระหว่าง พระกับยักษ์ ในกระบวนท่ารบที่ 13 ท่าตีพลาดปะทะอาวุธ ที่มา: ผู้วิจัย
203 ตารางที่ 20 เปรียบเทียบกระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ จากบทละครในรัชกาลที่ 1 กับกระบวนท่า พระรบยักษ์: ท่าตีพลาดปะทะอาวุธ ชื่อท่า หนุมานรบมัจฉานุจาก บทละครในรัชกาลที่ 1 กระบวนท่าพระรบยักษ์ ท่าตีพลาดปะทะ อาวุธ ที่มา: ผู้วิจัย ท่าตีพลาดปะทะอาวุธ เป็นกระบวนท่ารบในลักษณะการใช้อาวุธกระทบกัน เป็นกระบวนท่ารบของตัวละคร พระกับยักษ์ จากตารางเปรียบเทียบจะเห็นได้ว่า กระบวนท่าหนุมาน รบมัจฉานุจากบทละครในรัชกาลที่ 1 มีโครงสร้างกระบวนท่าที่ตรงกัน จากตารางเปรียบเทียบกระบวนท่ารบข้างต้น สรุปได้ว่า กระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1 มีโครงสร้างกระบวนท่ารบมาจากกระบวนท่ารบในการแสดงโขน มีโครงสร้างหลัก 3 โครงสร้าง 1.กระบวนท่าลิงรบลิง 2. กระบวนท่าลิงรบยักษ์ 3. กระบวนท่าพระรบยักษ์ จากโครงสร้างทั้ง 3 แบบนี้จึงท าให้กระบวนท่ารบดังกล่าว มีความหลากหลายในกระบวนท่ารบ ที่ผสมผสานทั้งกระบวนท่าลิงรบลิงที่มีอยู่เดิม กระบวนท่าลิงรบยักษ์และกระบวนท่าพระรบยักษ์ ส่งผลให้กระบวนท่ารบนี้มีกระบวนท่ารบที่มากกว่ากระบวนท่าลิงรบลิงในการแสดงโขน 3.3 วิเคราะห์กระบวนท่ารบกับการสื่อความหมาย จากการศึกษากระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ การแสดงนั้นคือการสื่อความหมายให้ผู้ชม เข้าถึงบทบาทที่ตัวละครต้องการจะสื่อความหมายเข้าถึงอิริยาบถของตัวละครในขณะนั้น ซึ่งการใช้ ท่าทางการตีบทเพื่อสื่อความหมายผ่านบทประกอบการแสดงของหนุมานกับมัจฉานุซึ่งมีเนื้อหา ที่กล่าวการสู้รบของตัวละครด้วยทั้งสองฝ่ายต่างท าหน้าที่ของตน หนุมานท าหน้าที่เพื่อช่วยพระรามให้พ้น ความอันตรายจากไมยราพ มัจฉานุท าหน้าที่ป้องกันรักษาด่านกรุงบาดาลไม่ให้ศัตรูบุกรุกเข้าไปได้ จึงท า ให้เกิดกระบวนท่าที่สื่อความหมายถึงอารมณ์โกรธและความกล้าหาญ สอดคลองกับบทประพันธ์ ดังนี้
204 1) อารมณ์ที่แสดงออกถึงความกล้าหาญ 2) อารมณ์ที่แสดงออกถึงความโกรธ 1) อารมณ์ที่แสดงออกถึงความกล้าหาญ บทพระราชนิพนธ์ในบทแรกเป็นบทที่กล่าวถึงมัจฉานุ ที่แสดงท่าทีที่ไม่เกรงกลัว หนุมานซึ่งเป็นศัตรูผู้มาบุกรุกยังเมืองบาดาล และพูดจาดูหมิ่นมัจฉานุ ว่าเป็นลิงเด็กหาเจียมตัวไม่ มัจฉานุจึงตอบวาจากลับไปถึงตัวกูจะน้อยเท่านี้ แต่ก็ไม่ได้มีความเกรงกลัวแต่อย่างใด และยังท้าทาย หนุมาน ว่าจะได้เห็นดีกัน บัดนั้น มัจฉานุฤทธิไกรใจหาญ ได้ฟังกริ้วโกรธคือไฟกาล ตบมือฉัดฉานแล้วตอบไป ถึงตัวกูน้อยเท่านี้ จะกลัวฤทธีเอ็งก็หาไม่ อย่าพักอาจองทะนงใจ ใครดีจะได้เห็นกัน ว่าแล้วส าแดงเดชา พสุธาบาดาลไหวหวั่น โลดโผนโจนรุกบุกบัน เข้าไล่โรมรันราวี ฯ บทประพันธ์ที่ขีดเส้นใต้สื่อให้เห็นถึงความกล้าหาญของมัจฉานุ ที่ไม่เกรงกลัวศัตรู อย่างหนุมานผู้มารุกราน พร้อมที่จะเข้าต่อสู้เพื่อท าหน้าที่การเป็นทหารรักษาด่านของตน ตารางที่ 21 วิเคราะห์อารมณ์ (อารมณ์ความกล้าหาญ) ค าประพันธ์ ภาพท่าร า การใช้อารมณ์ ถึงตัวกู ความกล้าหาญ -ใช้ภาษาท่าแทน ค าพูด น้อยเท่านี้ ความกล้าหาญ -ใช้ภาษาท่าแทน ค าพูด
205 ตารางที่ 21 วิเคราะห์อารมณ์ (อารมณ์ความกล้าหาญ) (ต่อ) ค าประพันธ์ ภาพท่าร า การใช้อารมณ์ จะกลัวฤทธี ความกล้าหาญ -ใช้ภาษาท่าแทน ค าพูด เอ็งก็หาไม่ ความกล้าหาญ -ใช้ภาษาท่าแทน ค าพูด อย่าพักอาจอง ความกล้าหาญ -ใช้ภาษาท่าแทน ค าพูด ทะนงใจ ความกล้าหาญ -ใช้ภาษาท่าแทน ค าพูด ใครดีจะได้เห็นกัน ความกล้าหาญ -ใช้ภาษาท่าแทน ค าพูด ที่มา: ผู้วิจัย
206 2) อารมณ์ที่แสดงออกถึงความโกรธ จากบทพระราชนิพนธ์ตั้งแต่บทที่ 2 - 6 ตัวละครจะสื่ออารมณ์ถึงความโกรธ บันดาลโทสะเข้าสู้รบในกระบวนท่าทางต่าง ๆ หมายจะเอาชีวิตซึ่งกันและให้ถึงตาย ต่างฝ่ายต่างท า หน้าที่ของตนสุดความสามารถ บัดนั้น หนุมานผู้ชาญชัยศรี กริ้วโกรธพิโรธดั่งอัคคี ขุนกระบี่รับระปะทะกร เคล่าคล่องว่องไวทั้งสองข้าง ต่างตนต่างหาญชาญสมร ถ้อยทีถ้อยมีฤทธิรอน ต่อกรไม่ละลดกัน ฯ ฯ 4 ค า ฯ ตารางที่ 22 วิเคราะห์อารมณ์ (อารมณ์โกรธ) ค าประพันธ์ ภาพท่าร า การใช้อารมณ์ แคล่วคล่องว่องไว ทั้งสองข้าง อารมณ์โกรธ - ใช้กระบวนท่ารบ สื่อความหมาย ต่างตนต่างหาญ ชาญสมร อารมณ์โกรธ -ใช้กระบวนท่ารบ สื่อความหมาย ถ้อยทีถ้อยมี ฤทธิรอน อารมณ์โกรธ -ใช้กระบวนท่ารบ สื่อความหมาย ที่มา: ผู้วิจัย
207 จากตารางวิเคราะห์อารมณ์จะเห็นได้ว่า ทั้งอารมณ์ความกล้าหาญ และอารมณ์โกรธ จะเป็นสิ่งส าคัญที่ผู้แสดงต้องเข้าใจถึงบทประพันธ์ที่สื่อความหมายถึงอารมณ์ใดและภูมิหลังของ ตัวละคร จึงจะสามารถถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกผ่านการเคลื่อนไหวที่ปรากฏในท่าทางต่าง ๆ จากตารางข้างต้นผู้วิจัยสามารถจ าแนก การถ่ายทอดอารมณ์ในการแสดงได้2 อารมณ์ 1. การสื่อ อารมณ์ความกล้าหาญ ของมัจฉานุในบทประพันธ์บทแรก 2. การสื่ออารมณ์โกรธของหนุมานและ มัจฉานุในบทประพันธ์ที่ 2-6สามารถสรุปได้ว่า อารมณ์การสื่อความหมายของบทการแสดงผ่านตัวละคร แสดงออกทางด้านอารมณ์ 2 ลักษณะ 1. อารมณ์ความกล้าหาญ 2. อารมณ์ความโกรธ สรุป จากการศึกษาวิเคราะห์กระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1 ถึงการวิเคราะห์ลักษณะกระบวนท่าที่ปรากฏ โครงสร้างกระบวนท่ารบ รวมถึงการวิเคราะห์อารมณ์ที่ ปรากฏในการแสดง สามารถสรุปได้ว่า กระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1 มีกระบวนท่าหลักในการปฏิบัติ กระบวนท่า 2 ลักษณะ 1. กระบวนท่าที่มีความสัมพันธ์กับค าร้อง 2. กระบวนท่าที่เกิดจากจินตนาการ ของผู้ประดิษฐ์ท่าจากลักษณะกระบวนท่าทั้งสองลักษณะนี้ท าให้กระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1 เกิดเป็นลักษณะเด่นที่เป็นลักษณะเฉพาะ ท าให้เกิดการตีบทที่มี ความประณีต และละเอียดลออ มีการตีบทตามบทประพันธ์เกือบทุกค าร้อง ซึ่งเป็นลักษณะการตีบท ตามจารีตละครใน อันแตกต่างจากกระบวนท่าลิงรบลิงตามจารีตในการแสดงโขน นอกจากนี้ยังจ าแนกกระบวนท่าที่เป็นกระบวนท่ารบมีจ านวนทั้งสิ้น 13 ท่า ประกอบไปด้วย 1) ท่ากระทบอาวุธ 2) ท่าตีเลาะ 3) ท่ายืนแทง 4) ท่ายืนแทงกัดมือ 5) ท่าถีบเท้าขวา 6) ท่าจับเหวี่ยง หกคะเมน 7) ท่าข้าวต้มมัด 8) ท่าจับแขนเงื้อ 9) ท่าหกคะเมนกลางอากาศ 10) ท่าหกฉีก 11) ท่าแทง อาวุธตรี 12) ท่าตีพลาดปะทะอาวุธ 13) ท่าลอยมัจฉานุกระบวนท่ารบที่กล่าวข้างต้น เมื่อน ามา เปรียบเทียบกับกระบวนท่ารบในการแสดงโขน พบว่ามีโครงสร้างที่ตรงและคล้ายคลึงกัน ซึ่งมีโครงสร้างหลัก 3 แบบ มาจาก 1. กระบวนท่าลิงรบลิง 2. กระบวนท่าลิงรบยักษ์ 3. กระบวนท่า พระรบยักษ์ จากโครงสร้างทั้ง 3 แบบ ที่ผสมผสานนี้ท าให้กระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ พระราชนิพนธ์ ในรัชกาลที่ 1 มีกระบวนท่ารบที่หลากหลายผสมผสานจากโครงสร้างทั้ง 3 แบบร้อยเรียงจนท าให้เกิด เป็นการรบอีกรูปแบบหนึ่งที่มีความละเอียดประณีต
208 ด้านการสื่อความหมายในด้านอารมณ์การแสดงจากการศึกษาพบว่า การถ่ายทอดอารมณ์ ของตัวละครได้ 2 อารมณ์ 1. อารมณ์ความกล้าหาญ 2. อารมณ์โกรธซึ่งเป็นสิ่งส าคัญที่ผู้แสดงจะต้อง ศึกษาบทประพันธ์และภูมิหลังของตัวละคร เพื่อที่จะถ่ายทอดอารมณ์และสื่อความได้อย่างถูกต้อง
บทที่ 5 สรุป อภิปรายผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ งานวิจัยเรื่อง หนุมานรบมัจฉานุ : กระบวนท่ารบของตัวละครลิง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา วรรณกรรมและรูปแบบการแสดงจากเรื่องรามเกียรติ์ รวมถึงบทบาทของหนุมานกับมัจฉานุ ในบทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1 ศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับกระบวนท่ารบ ของลิงกับลิงและวิเคราะห์โครงสร้างกระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุจากบทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1 การก าหนดขอบเขตของการศึกษา โดยศึกษากระบวนท่าหนุมานรบ มัจฉานุ บทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1 เฉพาะบทที่กล่าวถึงการรบ 6 บท จากนายวิโรจน์ อยู่สวัสดิ์ การศึกษาวิจัยในเชิงคุณภาพ ค้นคว้าจากต ารา เอกสารที่มีความเกี่ยวข้อง รวมถึงการสัมภาษณ์ ผู้ทรงคุณวุฒิผู้มีความรู้วิชาการและปฏิบัติทางด้านนาฏศิลป์ไทยและดนตรี การลงภาคสนามจากการ รับการถ่ายทอดกระบวนท่ารบดังกล่าว น าข้อมูลที่ได้เขียนรายงานวิจัยในเชิงพรรณนาวิเคราะห์ รวบรวมผลข้อมูลจากการวิเคราะห์มาสรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ ดังประเด็นต่อไปนี้ 1. สรุปผลการวิจัย 2. อภิปรายผล 3. ข้อเสนอแนะ 1. สรุปผลการวิจัย การวิจัยเรื่อง หนุมานรบมัจฉานุ : กระบวนท่ารบของตัวละครลิง ได้สรุปผลของการวิจัย ตามวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) ศึกษาวรรณกรรมและรูปแบบการแสดงจากเรื่องรามเกียรติ์ รวมถึงบทบาทของ หนุมานและมัจฉานุในบทละครเรื่องรามเกียรติ์พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1 ส านวนรามเกียรติ์ของไทยปรากฏอยู่หลายส านวน มีความแพร่หลายในแต่ละ ยุคสมัย ประพันธ์ขึ้นในรูปของส านวนโวหารประเภทต่าง ๆ พบว่า ส านวนรามเกียรติ์ที่กล่าวถึงบทบาทการ สู้รบระหว่างลิงกับลิง พบหลักฐานจากรามเกียรติ์ค าพากย์เป็นบทรามเกียรติ์ส าหรับเล่นหนังใหญ่ ในสมัยอยุธยาภายหลังได้น ามาแสดงโขน ส านวนรามเกียรติ์พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที ่ 1
210 พระราชนิพนธ์เป็นกลอนบทละคร ทรงโปรดให้กวีในสมัยนั้น รวบรวมวรรณกรรมรามเกียรติ์ที่ กระจัดกระจายให้เป็นแบบแผน ทรงพระราชนิพนธ์ไว้จนจบเรื่องรามเกียรติ์ และเป็นส านวน รามเกียรติ์ที่มีความสมบูรณ์ที่สุดของไทย ส านวนรามเกียรติ์พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 เป็นส านวน รามเกียรติ์ที่มีความเหมาะสมแก่การแสดง ด้วยมีความไพเราะทางด้านภาษาและสามารถน าไป ประกอบการแสดงได้โดยง่าย ทรงพระราชนิพนธ์ด าเนินเรื ่องตามพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที ่ 1 ส่วนบทโขนกรมศิลปากรปรับปรุงใหม่ ในยุคฟื้นฟู กรมศิลปากรได้มีการปรับปรุงการแสดงศิลปะใน หลาย ๆ ประเภท รวมถึงการแสดงโขน โดยน าบทละครเรื่องรามเกียรติ์พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 2 มาเป็นแนวทางในการจัดท าบทเป็นหลักส าหรับใช้ออกแสดง ซึ่งส านวนรามเกียรติ์ ที่กล่าวถึงการสู้รบระหว่างลิงกับลิงกล่าวถึงตัวละครที่เกิดการทะเลาะวิวาท คือ พาลีกับสุครีพ หนุมานกับนิลพัท หนุมานกับมัจฉานุ และท้าวมหาชมพูกับมัจฉานุ รามเกียรติ์ยังแพร่หลายไปสู่นาฏกรรมการแสดงในรูปแบบมหรสพของไทย หนังใหญ่ ละคร โขน ล้วนใช้วรรณกรรมรามเกียรติ์ประกอบการแสดง ส่งผลให้รามเกียรติ์มีความแพร่หลาย มากยิ่งขึ้นรวมถึงการแสดงในลักษณะของภาพวาดจิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติ์ บอกเล่าเรื่องราว ผ่านภาพวาดลายเส้นที่เป็นเอกลักษณ์ด้านงานจิตรกรรมไทย ช่วยเสริมสร้างเรื่องราววรรณกรรม รามเกียรติ์ให้กระจัดกระจายในหลากหลายรูปแบบ พบว ่า กระบวนท ่ารบระหว ่างลิงกับลิง ปรากฏอยู่ในงานศิลปะ 3 ประเภท คือ 1. การแสดงหนังใหญ่ 2. การแสดงโขน 3. จิตกรรมฝาผนัง เรื่องรามเกียรติ์ การแสดงหนังใหญ่เป็นการละเล่นที่เป็นมหรสพชั้นสูงของไทยพบหลักฐานปรากฏ ขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตัวหนังสร้างขึ้นจากหนังวัวหรือหนังควาย ฉลุลวดลายตาม ลักษณะตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ หรือเรื่องที่จับตอนแสดง ด าเนินเรื่องด้วยการพากย์เจรจา เรื่องที่ใช้แสดงจะแสดงเรื่องใดมาก่อนไม่ทราบแน่ชัด แต่เรื่องที่ได้รับความนิยมคือเรื่องรามเกียรติ์ กระบวนท่ารบระหว่างลิงกับลิงที่ปรากฏในการแสดงหนังใหญ่ มาจากภาพตัวหนังที่ปรากฏเป็นตัว หนังสองตัวขึ้นไปท าท่าในลักษณะการต่อสู้ เรียกหนังประเภทนี้ว่า “หนังจับ” หรือหนังรบ และการแสดง ชุดจับลิงหัวค่ าเป็นชุดการแสดงเบิกโรง จะท าการแสดงก่อนที่การแสดงหนังใหญ่จะจับเรื่องในตอนหลัก เนื้อเรื่องส าคัญกล่าวถึงการทะเลาะวิวาทของลิงขาวและลิงด าเกิดการต่อสู้ มีลักษณะกระบวนท่ารบ ในรูปแบบของการแสดงหนังใหญ่
211 การแสดงโขนปรากฏหลักฐานในสมัยอยุธยาตอนปลายจากจดหมายเหตุของ ชาวต่างชาติในสมัยกรุงศรีอยุธยา มองสิเออร์ เดอ ลา ลูแบร์ ราชทูตฝรั่งเศส ได้บันทึกอธิบายเกี่ยวกับ การแสดงโขน ถึงตัวละครที่สวมหน้ากากถืออาวุธ ออกมาต่อสู้กันอย่างแข็งแรง จากจดหมายเหตุ ดังกล่าวสันนิษฐานได้ว่า เป็นการละเล่นอย่างโขน ซึ่งลักษณะส าคัญของการแสดงโขน ผู้แสดงจะ สวมหน้ากาก หรือเรียกกันว่า ศีรษะโขน ตามประเภทของตัวละครต่าง ๆ กล่าวคือ ตัวละคร พระ นาง ยักษ์ ลิง ต่อมาผู้แสดงเป็นตัวพระใช้การแต่งหน้าแทนการสวมศีรษะโขน การแสดงโขนด าเนินเรื่อง ด้วยการ พากย์ เจรจา สามารถแบ่งประเภทของได้ 5 ประเภท คือ 1. โขนกลางแปลง 2. โขนโรงนอก 3. โขนโรงใน 4. โขนหน้าจอ 5. โขนฉาก การแสดงโขนนั้นนิยมแสดงมีเพียงเรื่องเดียว คือ เรื่องรามเกียรติ์ ในยุคกรมศิลปากรปรับปรุงใหม่ได้มีการฟื้นฟูศิลปะประเภทโขน มีการปรับปรุงบท การแสดงโดยใช้บทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 2 เป็นหลักมาเป็นแนวทางในการจัดท า บทการแสดง มีการจัดการแสดงโขนในวาระงานส าคัญเผยแพร่ให้แก่ประชาชน กระบวนท่ารบ ระหว่างลิงกับลิง แทรกอยู่ในการจัดการแสดงโขนตอนต่าง ๆ การแสดงโขนชุดพาลีสอนน้อง เป็นการรบระหว่างพาลีกับสุครีพ ตอนจองถนน เป็นการรบระหว่างหนุมานกับนิลพัท ตอนศึกมัยราพณ์ เป็นการรบระหว่างหนุมานกับมัจฉานุ และตอนตัดหางมัจฉานุ เป็นการรบระหว่างท้าวมหาชมพูกับ มัจฉานุ นอกจากกระบวนท่ารบที่ปรากฏจากการแสดงโขนทั้ง 4 คู่ กระบวนท่ารบระหว่างลิงกับลิง ยังปรากฏในการแสดงชุดเอกเทศในชุด ระบ าวีรชัยสิบแปดมงกุฎ เป็นการตรวจพลของเหล่าวานร การเตรียมความพร้อมในการออกรบ มีกระบวนท่าที่แสดงถึงความแข็งขันของตัวลิงและความพร้อมเพรียง ในรูปแบบการจัดทัพรวมถึงกระบวนท่าการฝึกซ้อมการรบในกองทัพ การแสดงในรูปแบบภาพวาดจิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติ์ปรากฏตามระเบียงวัด และอุโบสถ เขียนบรรยายภาพเรื่องรามเกียรติ์ มีลักษณะภาพเป็นลักษณะ (ภาพจับ) สื่อให้เห็นถึง การสู้รบของตัวละคร ในท่าทางต่าง ๆ การศึกษาบทบาทของตัวละคร ผู้วิจัยได้ศึกษาบทบาหนุมานกับมัจฉานุจากบทละคร เรื่องรามเกียรติ์พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1 ตอน ศึกไมยราพ พบว่า บทบาทของหนุมานกับมัจฉานุ ในตอน ศึกไมยราพ มีดังนี้ บทบาทหนุมานในตอน ศึกไมยราพ ปรากฏบทบาท 2 ด้าน 1. บทบาททหารเอก เมื่อหนุมานตามลงไปช่วยพระรามยังเมืองบาดาล ต้องผ่านอุปสรรคมากมายนับไม่ถ้วน ผ่านด่านต่าง ๆ
212 สุดแสนอันตรายในเมืองบาดาล หนุมานแสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบต่อหน้าที่การงานของตน ถึงแม้ว่าหนทางไปยังเมืองบาดาลจะพบอุปสรรคมากเพียงใด หนุมานทหารเอกก็สามารถช่วยพระราม และสังหารไมยราพได้ส าเร็จ บทบาทที่ 2 ของหนุมาน คือ บทบาทความเป็นพ่อ เมื่อหนุมานรู้ ความจริงว่ามัจฉานุซึ่งเป็นทหารเฝ้าด่านชั้นในเมืองบาดาลของไมยราพนั้นคือลูกของตน หนุมานเข้า สวมกอดจูบลูกด้วยความรัก แต่ด้วยหน้าที่การงานของผู้เป็นพ่อ จึงท าให้พ่อกับลูกจ าต้องจากกัน เพื่อท าหน้าที่ของตน บทบาทของมัจฉานุพบว่ามีอยู่ด้วยกัน 2 ด้านเช่นเดียวกัน คือบทบาททหาร มัจฉานุรับ หน้าที่ค่อยเฝ้าด่านชั้นในเมืองบาดาล ท าหน้าที่ไม่ให้ศัตรูบุกเข้าไปยังเมืองบาดาลได้ ส่วนบทบาทที่ 2 คือบทบาทความเป็นลูก มัจฉานุเมื่อรู้ว่าหนุมานคือพ่อแท้ ๆ มัจฉานุแสดงออกถึงบทบาทความลูก ออกมาเห็นได้ถึงความกตัญญูต่อผู้เป็นพ่อที่ให้ก าเนิดได้อย่างชัดเจน ช่วยบอกหนทางท าให้หนุมาน ตามไปช่วยพระราม และฆ่าไมยราพตายได้ส าเร็จ บทบาทความเป็นลูกของมัจฉานุยังสะท้อนถึงความ กตัญญูต่อไมยราพผู้ที่ชุบเลียงมัจฉานุ ในฐานะบุตรบุญธรรมถึงความกังขาในความกตัญญูต่อผู้ชุบเลี้ยง กับพ่อผู้ให้ก าเนิดที่ไม่เคยเลี้ยงดูตนมา ในการบอกหนทางเป็นปริศนาท าให้ไมยราพถึงแก่ความตาย ความกตัญญูของมัจฉานุแสดงให้เห็นถึงความถูกผิดชั่วดี เปรียบได้ดัง หนุมานผู้จงรักภักดีต่อพระราม อันเป็นสัญลักษณ์แห่งความดีและความถูกต้อง ส่วนไมยราพเป็นอสุรพงศ์ฝ่ายยักษ์จงรักภักดีต่อ ทศกัณฐ์เป็นสัญลักษณ์แห่งความชั่ว บทบาทความเป็นลูกของมัจฉานุ จึงเป็นเครื่องมือในการสอน คติธรรมอันความดีต้องชนะความชั่ว ถึงแม้ความชั่วจะอยู่ในรูปของผู้ที่มีพระคุณก็ตาม 2) ศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับกระบวนท่าลิงรบลิง การศึกษาองค์ความรู้นั้น ผู้วิจัยได้ศึกษาองค์ประกอบของการแสดงลิงรบลิง เพื่อให้ ทราบถึงส่วนประกอบที่ส่งผลต่อการเกิดขึ้นของกระบวนท่าลิงรบลิงในการแสดง รวมไปถึงรูปแบบ การรบในการแสดงโขนที่ปรากฏของตัวละครลิง อันจะเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษา วิเคราะห์กระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1 พบว่า องค์ประกอบกระบวนท่ารบลิงกับลิง ประกอบไปด้วย องค์ประกอบหลายส่วนมี ความส าคัญต่อการก าหนดกระบวนท่ารบระหว่างลิงกับลิงในการแสดงโขน ส่วนต่าง ๆ ในองค์ประกอบล้วนเสริมสร้างให้การแสดงกระบวนท่ารบเกิดความสมบูรณ์และสวยงาม ผู้แสดงบทบาทตัวลิงในการแสดงโขน จะต้องเป็นผู้ที่มีรูปร่างสัดทัด ร่างกายแข็งแรง จะเตี้ยหรือสูงก็ได้ จะแบ่งลักษณะผู้แสดงเป็น 2 ลักษณะ คือ ลักษณะลิงโล้น จะคัดเลือกผู้แสดงที่มี
213 ร่างกายไม่สูงหรือเตี้ยมากนัก ลักษณะลิงยอด จะคัดเลือกผู้แสดงที่มีรูปร่างโปร่งล าคอยาว ลักษณะของผู้แสดงทั้ง 2 ลักษณะจะต้องมีบุกคลิกที่มีความว่องไว คล่องแคล่ว ไหวพริบดี และมีความจ าอันเป็นเลิศ ส ่วนของการฝึกหัดผู้แสดงตัวลิง จะต้องผ ่านการฝึกหัดขั้นพื้นฐาน การฝึกตบเข่า ถองสะเอว และเต้นเสา เมื่อฝึกหัดพื้นฐานจนช านาญแล้วจึงจะฝึกหัดตามกระบวนท่า ต่อไปตามล าดับ การฝึกหัดขั้นพื้นฐานเป็นส่วนส าคัญที่ผู้แสดงในบทบาทการรบระหว่างลิงกับลิง จะต้องปฏิบัติให้เกิดความช านาญ จึงจะสามารถปฏิบัติกระบวนท่ารบระหว่างลิงกับลิงต่อไป บทประกอบการแสดงโขน ในยุคกรมศิลปากรปรับปรุงใหม่มีแนวทางในการจัดท า บทการแสดงโขน โดยได้น าบทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 2 มาเป็นแนวทางในการ จัดท าบทและรูปแบบการจัดท าบท มาจากพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 6 บทโขนของกรมศิลปากร มีทั้งบทพากย์เจรจา อย่างจารีตการแสดงโขนดั้งเดิม และการขับร้องอย่างละครใน เครื่องแต่งกาย ของตัวลิงจะแต่งกายยืนเครื่อง แบ่งได้เป็นสองลักษณะคือ ลิงยอด กับลิงโล้น ทั้งสองลักษณะแต่งกายเหมือนกัน จะแตกต่างกันที่ศีรษะโขน และสีกายของตัวละคร ตามชาติก าเนิด อาวุธ การใช้อาวุธในการรบของลิงในการแสดงโขนนั้นขึ้นอยู่กับอาวุธประจ ากาย ของตัวละครแต่ละตัว ซึ่งตัวละครฝ่ายลิงมีอาวุธประจ ากายทั่วไปคือ อาวุธพระขรรค์ มีเพียงพาลี และหนุมานที่ใช้อาวุธในการรบเป็น “อาวุธตรี” เท่านั้น ดนตรีประกอบการแสดง โขนจะใช้วงปี่พาทย์เครื่องห้า วงปี่พาทย์เครื่องคู่ วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ การเลือกใช้วงปี่พาทย์แต่ละประเภทขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของการจัดการ แสดงและสถานที่ใช้แสดง เพลง ที่ใช้ประกอบการรบในการแสดงโขน จะใช้เพลงหน้าพาทย์คือ เพลงเชิด เพียงเพลงเดียวเท่านั้น นอกจากการรบในเพลงหน้าพาทย์ ยังมีการรบในเพลงร้องหรือการรบ ในบทร้อง หลักการเลือกเพลงที่ใช้รบในบทร้องจะเลือกใช้เพลงที่มีลักษณะอัตราจังหวะชั้นเดียว หรืออัตราจังหวะสองชั้น ผู้ที่ประพันธ์บทจะเป็นผู้บรรจุเพลงลงในตัวบทที่ใช้แสดง กระบวนท่าลิงรบลิง ในการแสดง มีอยู่ด้วยกัน 6 ท่าหลัก คือ 1. ท่าจับหนึ่ง 2. ท่าแทง ในลักษณะนั่ง 3. ท่าแทงในลักษณะยืน 4. ท่าเหยียบป้องแทง 5. ท่ายืนแทงกัดมือ 6. ท่าเงื้ออาวุธ และท่าลอย คือลอยมัจฉานุ เป็นลอยประจ าตัวในการรบระหว่างหนุมานกับมัจฉานุ
214 การจับอาวุธในการรบระหว่างลิงกับลิง มีวิธีจับอาวุธอยู่ 2 ลักษณะ คือ 1. การจับอาวุธ ในลักษณะปลายของอาวุธหันไปทางหลังแขน 2. จับอาวุธในลักษณะปลายของอาวุธหันไปทางหน้าแขน และทิศทางของอาวุธส่วนปลายจะเป็นส่วนที่ก าหนดว่าอาวุธจะตั้งตรงหรือขนานเป็นเส้นตรงตาม กระบวนท่าที่ได้ปฏิบัติ รูปแบบการรบในการแสดงโขน ประกอบไปด้วย 1. การรบในเพลงหน้าพาทย์ เป็นการรบตามกระบวนท่าหลักที่ถูกก าหนดไว้ในบทการแสดงโขน การรบในรูปแบบนี้ถือเป็นการรบ ขั้นพื้นฐาน เช่น การรบกันของเสนายักษ์และเสนาลิง การรบของตัวเอก เช่น พระรามกับทศกัณฐ์ 2. การรบในบทเจรจาเป็นกระบวนท่ารบที่กล่าวถึงเหตุการณ์การรบของตัวละครในเวลาและ เหตุการณ์นั้น ๆ เปรียบเสมือนการบรรยายถึงบรรยากาศการรบว่าเกิดเหตุการณ์อย่างไร ใครรบกับใคร ฝ่ายไหนได้เปรียบเสียเปรียบ ผู้แสดงปฏิบัติกระบวนท่ารบตามค าพากย์เจรจา 3. การรบในบทร้อง เป็นลักษณะการรบที่ได้รับอิทธิพลมาจากการแสดงละครในการรบในบทร้องผู้แสดงจะต้องปฏิบัติ กระบวนท่าให้ทันกับค าร้องและจังหวะของเพลงอย่างแม่นย า รูปแบบการรบทั้ง 3 แบบนี้ในการแสดง โขนกระบวนท่ารบระหว่างลิงกับลิง พบว่า มีกระบวนท่ารบในรูปแบบเพลงเชิดและกระบวนท่ารบใน บทเจรจาเท่านั้น ไม่ปรากฏรูปแบบการรบในบทร้องระหว่างลิงกับลิง 3) วิเคราะห์โครงสร้างและกระบวนท่ารบระหว่างหนุมานกับมัจฉานุจากบทละคร เรื่องรามเกียรติ์ในพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 1 ในวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 ผู้วิจัยได้แบ่งประเด็นในการวิเคราะห์เป็น 3 ประเด็น คือ วิเคราะห์ลักษณะกระบวนท่าร า วิเคราะห์โครงสร้าง วิเคราะห์การสื่อความหมาย สามารถสรุปได้ดังนี้ 3.1 กระบวนท่าร าพบว่ากระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ จากบทละครในรัชกาลที่ 1 เป็นกระบวนท่าร าตีบทประกอบบทร้องในเพลงร่าย มีกระบวนท่ารบ 86 ท่า เป็นท่าหลัก 51 ท่า มีลักษณะกระบวนท่า 2 ลักษณะ คือ กระบวนท่าที่มีความสัมพันธ์กับค าร้อง 30 ท่า กระบวนท่าที่เกิดจาก จินตนาการของผู้ประดิษฐ์ท่า 21 ท่า จากลักษณะการตีบทตามค าร้องทั้ง 2 ลักษณะมีลักษณะท่าการ ตีบททุกค ากลอน ต่างจากการตีบทในจารีตการแสดงโขน ที่มีลักษณะการตีบทแบบรวบค าในการสื่อ ความหมาย กล่าวได้ว่ากระบวนท่ารบนี้เป็นกระบวนท่ารบที่มีจารีตอย่างละครใน 3.2 โครงสร้าง กระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ จากบทละครในรัชกาลที่ 1 กระบวนท่าการตีบททั้ง 2 ลักษณะ พบว่าเป็นกระบวนท่าที่เป็นท่ารบ มีจ านวน 13 ท่า ดังนี้ 1) ท่ากระทบอาวุธ 2) ท่าตีเลาะ 3) ท่ายืนแทง 4) ท่ายืนแทงกัดมือ 5) ท่าถีบเท้าขวา 6) ท่าจับเหวี่ยง
215 หกคะเมน 7) ท่าข้าวต้มมัด 8) ท่าจับแขนเงื้อ 9) ท่าส่งตีลังกากลับหลัง 10) ท่าหกฉีก 11) ท่าแทง อาวุธตรี 12) ท่าตีพลาดปะทะอาวุธ 13) ท่าลอยมัจฉานุ กระบวนท่ารบส่วนใหญ่มีโครงสร้างมาจาก การแสดงโขน คือ 1. กระบวนท่าลิงรบลิง 2. กระบวนท่าลิงรบยักษ์ 3. กระบวนท่าพระรบยักษ์ 3.3 การสื่อความหมาย ในกระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ จากบทละครใน รัชกาลที่ 1 เมื่อศึกษาบทละคร ทั้ง 6 บท พบว่า บทละครมีการสื่อความหมายทางด้านอารมณ์ในการ แสดงออก จะเป็นสิ่งที่ก าหนดการถ่ายทอดอารมณ์ของผู้แสดงในการปฏิบัติกระบวนท่าร า ส่งผลให้ ผู้แสดงเข้าถึงบทบาทและส่งไปยังผู้ที่ชมการแสดงได้รับรู้ถึงการสื่อความหมายด้านอารมณ์ในบทบาท การแสดงตอนนั้น ๆ ซึ่งการสื่อความหมายในกระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ จากบทละครในรัชกาลที่ 1 แสดงออกทางด้านอารมณ์ 2 ลักษณะ ได้แก่ 1. ความกล้าหาญ 2. ความโกรธ 2. อภิปรายผล งานวิจัยเรื่อง หนุมานรบมัจฉานุ : กระบวนท่ารบของตัวละครลิง ท าให้ทราบถึงส านวน วรรณกรรมที่ปรากฏบทบาทการสู้รบระหว่างลิงกับลิงที่ปรากฏในส านวนรามเกียรติ์ส านานอื่น ๆ และรูปแบบวรรณกรรมรามเกียรติ์ที่มีอิทธิพลต่อการแสดง จนน ามาสู่กระบวนท่ารบระหว่างลิงกับที่ ปรากฏในรูปแบบนาฏกรรมการแสดง บทบาทของหนุมานกับมัจฉานุ จากบทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1 รวมถึงองค์ความรู้กระบวนท่าลิงรบลิงในการแสดงโขน ตลอดจน กระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1 ซึ่งเป็นกระบวนท่ารบของตัวละครลิง จากแนวคิดการประดิษฐ์กระบวนท่า ของครูกรี วรศะริน และครูวิโรจน์ อยู่สวัสดิ์ผู้ร่วมคิดประดิษฐ์ กระบวนท่ารบดังกล่าว สามารถน าข้อมูลที่ค้นพบน ามาอภิปรายผลได้ดังประเด็นต่อไปนี้ 1. บทละครรามเกียรติ์พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1 เป็นทั้งวรรณกรรมเพื่ออ่านและการแสดง บทละครเรื่องรามเกียรติ์พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราช เป็นวรรณกรรมรามเกียรติ์ที่มีความสมบูรณ์ที่สุดของไทย ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเพื่อเป็นการ รวบรวมวรรณกรรมเรื่องรามเกียรติ์นี้ให้เป็นวรรณกรรมคู่บ้านคู่เมือง ซึ่งเป็นบทละครรามเกียรติ์ที่อ่าน แล้วท าให้เกิดความเพลิดเพลินในรสของวรรณกรรม กระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ ที่ครูกรี วรศะริน และครูวิโรจน์ อยู่สวัสดิ์ ได้ประดิษฐ์ขึ้น ยังชี้ให้เห็นว่า บทละครรามเกียรติ์ในพระราชนิพนธ์ที่ 1 สามารถน ามาประกอบกับการแสดงได้โดยไม่ต้องดัดแปลงบท ซึ่งสอดคล้องกับ ฉัตรชัย ว่องกสิกรณ์ (2529) จากการศึกษางานวิจัย วิเคราะห์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จ
216 พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ตามหลักการละครใน ผลการศึกษาพบว่า บทละครเรื่องรามเกียรติ์ ฉบับนี้สามารถน าไปใช้แสดงละครในหรือโขนโรงในได้ดีตลอดทั้งฉบับ อาจมีบางบทที่มีข้อบกพร่อง บ้างดังที่กล่าวมาแล้ว อย่างไรก็ดีบทละครเรื่องรามเกียรติ์พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธ ยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช มีบทที่จะน าไปใช้แสดงละครในหรือโขนโรงในได้มากกว่าบทที่จะต้องน ามา ดัดแปลงเพื่อใช้แสดงละครในหรือโขนโรงใน 2. การประดิษฐ์กระบวนท่ารบมีลักษณะของการสืบทอดและการสร้างสรรค์ กระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1 จากการประดิษฐ์กระบวน ท่ารบของ ครูกรีวรศะริน และ ครูวิโรจน์ อยู่สวัสดิ์สร้างสรรค์กระบวนท่ารบดังกล่าวนี้ขึ้น โครงสร้าง กระบวนท่ารบทั้ง 3 แบบที่มาจากการแสดงโขน 1. กระบวนท่าลิงรบลิง 2. กระบวนท่าลิงรบยักษ์ 3. กระบวนท่าพระรบยักษ์ซึ่งเป็นโครงสร้างกระบวนท่ารบตามขนบเดิม มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ กระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ ในแง่ของแนวคิดลักษณะกระบวนท่ารบต่าง ๆ กระบวนท่ารบที่เป็น ท่าจับ ท่ากอดรัด การใช้อาวุธ และการขึ้นลอย ลักษณะดังกล่าวนี้ส่งต่อจากการแสดงหนึ่งไปสู่การ แสดงหนึ่ง ท าให้เกิดความเชื่อมโยงของศิลปะที่สืบทอดในลักษณะการเลียนแบบกันและกัน แสดงให้ เห็นว่าการสร้างสรรค์งานศิลปะใด ๆ ล้วนมีการสืบทอดมาจากความรู้พื้นฐานจากงานเก่า ชี้ให้เห็นถึง การสร้างสรรค์งานวัฒนธรรมทุกด้าน ว่าการสร้างสรรค์งานใหม่ล้วนมีการสืบทอดงานเก่าจากพื้นฐาน เดิมทั้งสิ้น สอดคล้องกับ ไพโรจน์ ทองค าสุก (2549, บทคัดย่อ) ศึกษาเรื่อง แนวคิด และวิธีการแสดง โขนลิง ผลการวิจัยพบว่า แนวคิดเชิงวิจิตรศิลป์กระบวนท่าจับของโขนลิงกับโขนตัวอื่น ๆ ปรากฏใน ภาพศิลปกรรม จิตรกรรมฝาผนัง และภาพหนังใหญ่ นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับ นเรศ นิ่มพัฒนสกุล (2557, น. 185) ศึกษาเรื่อง ศึกษาบทบาท และกระบวนท่าร าของนิลพัทในเรื่องรามเกียรติ์ ผลการวิจัยพบว่า ปรมาจารย์ทางนาฏศิลป์ไทยได้น าท่าที่ปรากฏในหนังใหญ่ประกอบกับท่าพื้นฐาน จากธรรมชาติมาร้อยเรียงเป็นต้นแบบของแนวคิดประดิษฐ์ท่าร าเพื่อก่อให้เกิดความสวยงามทางด้าน นาฏศิลป์ไทย ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าศิลปะการแสดงนาฏศิลป์ไทยนั้นทุกอย่างมีพื้นฐานมาจากธรรมชาติ ซึ่งต้องผ่านกระบวนการคัดกรอง และสร้างสรรค์เพื่อให้เกิดความสวยงาม ต้องอาศัยความสามารถ ของผู้ประดิษฐ์ที่ท าให้สิ่งเหล่านี้เป็นแบบแผนไว้แม้กระทั่งกระบวนท่ารบในการแสดงโขนก็ก าเนิด ขึ้นมาจากงานเก่าอย่างการแสดงหนังใหญ่และภาพจิตรกรรมเรื่องรามเกียรติ์ ที่ส่งอิทธิพลต่อ การสร้างสรรค์กระบวนท่ารบในการแสดงโขนเช่นกัน
217 3. กระบวนท่าลิงรบลิงมีลักษณะผสมผสานของกระบวนท่ารบของโขนและละครใน ลักษณะเด่นของกระบวนท ่าหนุมานรบมัจฉานุในบทร้องร่าย จากพระราชนิพนธ์ ในรัชกาลที่ 1 มีลักษณะเฉพาะอันเป็นลักษณะเด่น ประกอบไปด้วยกระบวนท่ารบ 2 ลักษณะ คือ 1. กระบวนท่ารบที่มีความสัมพันธ์กับค าร้อง 2. กระบวนท่าที่เกิดจากจินตนาการของผู้ประดิษฐ์ท่า จากลักษณะการตีบททั้งสองลักษณะท าให้กระบวนท่ารบมีความประณีตละเอียดลออมีลักษณะเฉพาะ อันเป็นลักษณะเด่น มีการตีบทเกือบทุกค าร้องตามบทละครพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1 ซึ่งมีลักษณะ การตีบทอย่างละครใน แตกต่างจากการรบในการแสดงโขนที่จะตีบทรวบค าอีกทั้งยังแสดงถึง ศักยภาพในการตีบทของผู้แสดง ในทักษะการรบในบทร้อง ด้วยผู้ที่จะรับบทเป็นหนุมานและมัจฉานุ จะต้องมีความแข็งแรงทางด้านร่างกาย ทักษะพิเศษทางด้านการตีลังกาได้อย่างคล่องแคล่วที่ส าคัญ ต้องสามารถจดจ าบทประพันธ์และท านองเพลงสามารถปฏิบัติกระบวนท่ารบได้ทันกับค าร้อง และจังหวะซึ่งจะต้องมีพื้นฐานโครงสร้างการรบตามขนบของการแสดงโขนอย่างดียิ่ง อันเป็นลักษณะ ของการผสมผสานปรับปรนทางวัฒนธรรมการแสดงที่เกิดการปรับปรุงปรับเปลี่ยนปะปนและผ่อนปรน ทั้งรูปแบบและวิธีแสดงเพื่อเนื้อหาและความอยู่รอดของศิลปะการแสดง สอดคล้องกับสุกัญญา ภัทราชัย และคณะ (2540, น. 48-49) กล่าวว่า ศิลปะการแสดงย่อมผ่านกระบวนการปรับปรนทางวัฒนธรรม เพื่อให้สามารถด ารงอยู่ต่อไปได้โดยการปรับปรุง ปรับเปลี่ยน ปะปน ผ่อนปรนทั้งรูปแบบ เนื้อหาและ วิธีการแสดงเพื่อความอยู่รอดของศิลปะการแสดงนั้น ๆ จากตรงนี้ชี้ให้เห็นถึงความสามารถของ ผู้คิดประดิษฐ์กระบวนท่ารบคือ ครูกรี วรศะรินและครูวิโรจน์อยู่สวัสดิ์ผู้สร้างสรรค์ร้อยเรียง กระบวนท่ารบอันเป็นภูมิปัญญาการประดิษฐ์และการถ่ายทอดกระบวนท่ารบอันทรงคุณค่าของครู ทางนาฏศิลป์ไทยโขนลิง 3. ข้อเสนอแนะ 3.1 ข้อเสนอแนะในการน าไปใช้ 3.1.1 สถาบันการศึกษา และผู้ที่มีความสนใจทางด้านนาฏศิลป์ไทยโขนลิงสามารถ น าผลของการวิจัย ซึ่งเป็นองค์ความรู้ทางด้านกระบวนท่ารบของตัวละครลิงน าไปประกอบการสอน หรือเพื่อศึกษาให้เกิดประโยชน์ เพื่อเป็นการสืบทอดกระบวนท่ารบดังกล่าวไม่ให้สูญหาย
218 3.1.2กระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ จากบทละครในรัชกาลที่ 1 อันเป็นกระบวนท่ารบ อีกรูปแบบหนึ่งของตัวละครลิงรบลิง ในรูปแบบการรบในบทร้อง ผู้ที่มีความสนใจสามารถน ากระบวน ท่ารบดังกล่าว ไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ ในลักษณะของการแสดงผลงานในชุดอื่น ๆ 3.2 ข้อเสนอแนะส าหรับการวิจัยครั้งต่อไป 3.2.1 ควรมีการศึกษากลวิธีในการปฏิบัติกระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุจากบทละคร ในรัชกาลที่ 1 เพื่อให้ทราบถึงกลวิธีในการปฏิบัติกระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ อันจะน าไปสู่หลักและ วิธีการแสดงที่ชัดเจน 3.2.2ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมถึงกระบวนท่ารบของตัวละครลิงในคู่อื่น ๆ จากบทละคร เรื่องรามเกียรติ์ในรัชกาลที่ 1 เพื่อให้ทราบถึงรูปแบบกระบวนท่ารบ ความเหมือนและความต่างจากการรบ ของตัวละครลิงที่มีลักษณะเป็นลิงใหญ่และลิงเล็ก
บรรณานุกรม กรมศิลปากร. (2546 ก). ประชุมค าพากย์รามเกียรติ์. กรุงเทพฯ: เอดิสัน เพรส โพรดักส์. กรมศิลปากร. (2546 ข). ประชุมค าพากย์รามเกียรติ์. กรุงเทพฯ: เอดิสัน เพรส โพรดักส์. กรมศิลปากร. (2547 ก). บทโขน เรื่องรามเกียรติ์ ศึกมัยราพณ์. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ. กรมศิลปากร. (2547 ข). บทโขน เรื่องรามเกียรติ์ จองถนน . กรุงเทพฯ: ม.ป.พ. กรมศิลปากร. (2547 ค). บทโขน เรื่องรามเกียรติ์ พาลีสอนน้อง. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ. กรมศิลปากร. (2547 ง). บทโขน เรื่องรามเกียรติ์ ตัดหางมัจฉานุ . กรุงเทพฯ: ม.ป.พ. กรมศิลปากร. (2551). หนังพระนครไหว. กรุงเทพฯ: บางกอกอินเฮาส์. กรมศิลปากร. (2554). รามเกียรติ์ บทร้องและบทพากย์พระราชนิพนธ์ใน รัชกาลที่ 6. กรุงเทพฯ: เอดิสัน เพรส โพรดักส์. กรมศิลปากร. (2556). โขนอัจฉริยนาฏกรรมสยาม. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิซชิ่ง. กรมศิลปากร. (2556). จิตกรรมฝาผนังวัดสุทัศนเทพวราราม. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์. กรมศิลปากร. (2558). บทความเรื่องรามเกียรติ์. กรุงเทพฯ: ส านักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์. กรมศิลปากร. (2560). บทหนังใหญ่ และบทโขนเนื่องในงานพระราชพิธีถวายเพลิงพระบรมศพฯ. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ. กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). โคลงภาพรามเกียรติ์ เรื่องรามเกียรติ์. กรุงเทพฯ: กรมการศาสนา ฉัตรชัย ว่องกสินกรณ์. (2529). วิเคราะห์บทละครเรื่องรามเกียรติ์พระราชนิพนธ์ใน พระบาทสมเด็จพระพุทะยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพมหานคร. ณรงค์ชัย ปิกฏรัชต์. (2557). สารานุกรมเพลงไทย. นครปฐม: ส านักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหิดล. ดาวรัตน์ ชูทรัพย์. (2541). บทละครเรื่องรามเกียรติ์สมัยกรุงศรีอยุธยา.กรุงเทพฯ: พริ้นท์ติ้ง เซ็นเตอร์. ด ารงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. (2464). ต านานละครอิเหนา. พระนคร: คลังวิทยา. ธีรภัทร ทองนิ่ม. (2555). โขน. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์. ธนิต อยู่โพธิ์. (2539). โขน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
220 ทวีป ช่วยคุณุประการ. (2555). การศึกษาภาพจิตกรรมฝาผนังพระอุโบสถวัดสุทัศเทพวรารามส าหรับ จัดท าคู่มือการท่องเที่ยว. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี. นเรศ นิ่มพัฒนสกุล. (2557). ศึกษาบทบาท และกระบวนท่าร าของนิลพัทในเรื่องรามเกียรติ์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).กรุงเทพมหานคร. ประเมษฐ์ บุณยะชัย. (ม.ป.ป.). เอกสารประกอบการสอน วิชาจารีตนาฏศิลป์ไทย. กรุงเทพฯ พุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช, พระบาทสมเด็จพระ. (2553 ก). บทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เล่มที่ 1. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ: บรรณกิจ. พุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช, พระบาทสมเด็จพระ. (2553ข). บทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เล่มที่ 2. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ: บรรณกิจ. พุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช, พระบาทสมเด็จพระ. (2553ค). บทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เล่มที่ 3. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ: บรรณกิจ. พุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช, พระบาทสมเด็จพระ. (2553ง). บทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เล่มที่ 4. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ: บรรณกิจ. พุทธเลิศหล้านภาลัย, พระบาทสมเด็จพระ. (2544). บทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย. กรุงเทพฯ: โสภณการพิมพ์. ไพโรจน์ ทองค าสุก. (2538). กระบวนการรบของพญาวานรในการแสดงโขน. (วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร. ไพโรจน์ ทองค าสุก. (2549). แนวคิด และวิธีแสดงโขนลิง. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต) จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร. ภิญโญ กองทอง. (2543). หนุมาน ขุนพลวานรผู้ทระนง. กรุงเทพฯ: จูน พับลิชชิ่ง. มนตรี ตราโมท. (2481). ดุริยางคศาสตร์ไทย. พระนคร: พิคเณศ พริ้นท์ติ้ง เซ็นเตอร์. มนตรี ตราโมท. (2515). อธิบายลักษณะวงดนตรีไทย. พระนคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ราชบัณฑิตยสถาน. (2545). สารานุกรมศัพท์ดนตรีไทย ภาคคีตะ - ดุริยางค์.กรุงเทพฯ: สหมิตรพริ้นติ้ง.
221 รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. (2554). นามานุกรมรามเกียรติ์. กรุงเทพฯ: เอเชียเพรส. วันทนีย์ ม่วงบุญ. (2539). ลักษณะประติมานวิทยาของหุ่นเรื่อง รามเกียรติ์. (งานวิจัย กรมศิลปากร). กรุงเทพมหานคร. สุกัญญา ภัทราชัย และคณะ (2540). การแสดงพื้นบ้านภาคกลาง : การปรับปรนในชีวิตไทย สมัยใหม่.(รายงานวิจัย). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพทมหานคร. สุจิบัตรการแสดงนาฏศิลป์ไทย. (2548). บทละครในเรื่องรามเกียรติ์พระราชนิพนธ์ใน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ตอน อภิเษกสีดาที่เขาไกรลาส. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร. ส านักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติส านักนายกรัฐมนตรี. (2555). ครูกรี วรศะริน ศิลปินแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิซซิ่ง. ส านักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ. (2551). หนังสือประกอบนิทรรศการพิเศษ เหลียวหน้าแลหลัง. กรุงเทพฯ: บางกอก อิน เฮ้าส์ . เสาวนิต วิงวอน.(2555). วรรณคดีการแสดง. กรุงเทพฯ: ศักดิโสภาการพิมพ์. สันต์ ท. โกมลบุตร. (2510). จดหมายเหตุ ลา ลูแบร์ ราชอาณาจักรสยาม. นนทบุรี: ศรีปัญญา. เอกรัตน์ อุดมพร. (2545). วรรณคดีสมัยกรุงรัตรโกสินทร์. กรุงเทพฯ: เรืองแสง.
บุคลานุกรม เกษม ทองอร่าม. ผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทยโขนลิง วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. (ผู้ให้สัมภาษณ์) พรรวินท์ ชุนเกษา. (ผู้สัมภาษณ์) เมื่อ 13 กรกฎาคม 2564. จรัญ พูลลาภ. (2564). นักวิชาการโขนละคร ส านักการสังคีต กรมศิลปากร. (ผู้ให้สัมภาษณ์) พรรวินท์ ชุนเกษา. (ผู้สัมภาษณ์) เมื่อ 1 พฤษภาคม 2564. ไพโรจน์ ทองค าสุก. (2564). นักวิชาการโขนละคร ส านักการสังคีต กรมศิลปากร. (ผู้ให้สัมภาษณ์) พรรวินท์ ชุนเกษา. (ผู้สัมภาษณ์) เมื่อ 1 พฤษภาคม 2564. วิโรจน์ อยู่สวัสดิ์. ผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. (ผู้ให้สัมภาษณ์) พรรวินท์ ชุนเกษา. (ผู้สัมภาษณ์) เมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2564. สมชาย ทับพร. ผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทย ส านักการสังคีต. (ผู้ให้สัมภาษณ์) พรรวินท์ ชุนเกษา. (ผู้สัมภาษณ์) เมื่อ 7 กรกฎาคม 2564. ปี๊บ คงลายทอง.ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย) พุทธศักราช 2563. (ผู้ให้สัมภาษณ์) พรรวินท์ ชุนเกษา. (ผู้สัมภาษณ์) เมื่อ 7 กรกฎาคม 2564
ภาคผนวก
224 ภาคผนวก ก ประวัติครูกรี วรศะริน และ ประวัติครูวิโรจน์ อยู่สวัสดิ์
225 ประวัติ ครูกรี วรศะริน ภาพที่ 46 ครูกรี วรศะริน ที่มา : ส ำนักงำนส่งเสริมเอกลักษณ์ของชำติ ส ำนักงำนปลัดส ำนักนำยกรัฐมนตรี (2555, น. 267) ครูกรี วรศริน เกิดเมื่อวันที่ 5 มกรำคม พ.ศ. 2478 บิดำชื่อ นำยเผื่อน วรศริน มำรดำชื่อ นำงแป้น วรศะริน ชีวิตครอบสมรสกับภรรยำชื่อ นำงสมถวิล ยิ่งเจริญ และมีบุตรด้วยกัน 5 คน คือ 1. นำยประสิทธิ์ วรศะริน 2. นำยภิเศก วรศะริน 3. นำยธวัชชัย วรศะริน 4. นำงสำวจรรยำ วรศะริน 5. นำยอิสระ วรศะริน โดยมีภูมิล ำเนำอยู่ที่บ้ำนเลขที่ 6 ซอยอินทรำนุสรณ์ ถนนพิบูลสงครำม แขวงบำงซื่อ เขตดุสิต กรุงเทพมหำนคร ด้านประวัติการศึกษา ครูกรี วรศะริน จบกำรศึกษำชั้นต้นที่โรงเรียนวัดสังเวชวิทยำรำม และจบชั้นประถมศึกษำ ในชั้นปีที่ 3 ภำยหลังได้ลำออกจำกโรงเรียน เพื่อมำฝึกหัดโขนที่บ้ำนเจ้ำพระยำวรพงศ์พิพัฒน์ ต่อมำได้ ย้ำยมำฝึกหัดโขนที่วังสวนกุหลำบ และได้เข้ำศึกษำเล่ำเรียนวิชำสำมัญที่โรงเรียนศรีอยุธยำ จนส ำเร็จ กำรศึกษำในชั้นมัธยมปีที่ 3
226 ประวัติการท างาน พ.ศ. 2472 เข้ำรับรำชกำรครั้งแรกในต ำแหน่งพระยำวำนร แผนกโขนหลวง กรมพิณพำทย์ กระทรวงวัง พ.ศ. 2478 เข้ำรับรำชกำรทหำร กองพันทหำรรำบที่ 1 ทหำรรักษำวัง พ.ศ. 2479 โอนย้ำยสังกัดมำอยู่ที่โรงเรียนศิลปำกร แผนกนำฏดุริยำงค์ ปฏิบัติหน้ำที่ครูผู้สอน และในฐำนะนักแสดง พ.ศ. 2482 หน่อยงำนทหำรเรียกระดมพล เพื่อฝึกทบทวนวิชำทหำรเป็นเวลำ 14 วัน แล้วจึง กลับมำรับรำชกำรต่อ พ.ศ. 2484 ทำงหน่อยงำนทหำรเรียกระดมพลอีกครั้งหนึ่ง โดยเข้ำประจ ำกำรและไปรำชกำร ในกำรสงครำมเรียกคืนดินแดน และในกำรสงครำมเพื่อสถำปนำ 009 ไพบูลย์แห่งเอเชียบูรพำ จนได้รับพระรำชทำนเหรียญชัยสมรภูมิ พ.ศ. 2485 กลับมำรับรำชกำรสังกัดเดิม โดยด ำรงต ำแหน่งเสมียนแผนกสำรบรรณ ส ำนักงำน เลขำนุกำร พ.ศ. 2489 ด ำรงต ำแหน่งศิลปินจัตวำ แผนกนำฏศิลป์ กองกำรสังคีต ปฏิบัติหน้ำที่ครูผู้สอน วิชำนำฏศิลป์ ภำคปฏิบัติ และงำนทำงด้ำนกำรแสดง ในฐำนะศิลปิน พ.ศ. 2490 ด ำรงต ำแหน่งศิลปินตรี แผนกนำฏศิลป์ กองกำรสังคีต กรมศิลปำกร ปฏิบัติหน้ำที่ ครูผู้สอนวิชำนำฏศิลป์ ภำคปฏิบัติ และงำนทำงด้ำนกำรแสดง ในฐำนะศิลปิน พ.ศ. 2501 ด ำรงต ำแหน่งศิลปินโท แผนกนำฏศิลป์ กองกำรสังคีต กรมศิลปำกร ปฏิบัติหน้ำที่ ครูผู้สอนวิชำนำฏศิลป์ ภำคปฏิบัติ และงำนทำงด้ำนกำรแสดง ในฐำนะศิลปิน พ.ศ. 2511 ด ำรงต ำแหน่งศิลปินเอก งำนวิชำกำร กองกำรสังคีต กรมศิลปำกร มีหน้ำที่หลัก ในกำรรักษำฟื้นฟู ศิลปวัฒนธรรม รวมถึงกำรเผยแพร่นำฏศิลป์โขน-ละคร และเป็นผู้แสดง ฝึกซ้อม กับกับควบคุมกำรแสดงนำฏศิลป์ไทย ตำมนโยบำยของกรมศิลปำกร ทั้งในประเทศและต่ำงประเทศ ผลงานทางด้านการแสดง ครูกรี วรศะริน เป็นผู้ที่มีควำมสำมำรถทำงด้ำนกำรแสดงเป็นเลิศและได้ถูกคัดเลือกแสดงเป็น ตัวละครต่ำง ๆ ในกำรแสดงโขนมำกมำย อำทิเช่น ชำมภูวรำช สุครีพ องคต นิลพัท ชมพูพำน นำงกำกนำสูร และตัวละครที่ครูกรี วรศะริน แสดงได้อย่ำงยอดเยี่ยมและมีฝีมือเป็นเลิศ คือ บทบำทหนุมำนซึ่ง ภำยหลังบทบำทหนุมำน ของครูกรี วรศะริน เป็นต้นแบบให้กับลูกศิษย์อีกมำกมำย นอกจำกตัวละคร
227 ที่กล่ำวมำ ยังได้ได้ถูกคัดเลือกเป็นตัวละครเอกและตัวประกอบในกำรแสดงละครอีกหลำยเรื่อง อำทิเช่น พระรำชมนู น่ำนเจ้ำ อุณรุท พระเจ้ำกรุงธน เป็นต้น ผลงานการแสดงในต่างประเทศ ในกำรปฏิบัติหน้ำที่ ณ ต่ำงประเทศ ครูกรี วรศะริน ได้มีโอกำสไปปฏิบัติหน้ำที่ในฐำนะ นักแสดง และเป็นผู้ฝึกซ้อมควบคุมกำรแสดง ในประเทศต่ำง ๆ อำทิ - สหภำพพม่ำ - รำชอณำจักรลำว - ประเทศมำเลเซีย - สำธำรณรัฐสิงค์โปร์ - สำธำรณรัฐอินโดนีเซีย - สหพันธสำธำรณรัฐเยอรมนี - ประเทศญี่ปุ่น - สำธำรณรัฐประชำชนจีน ผลงานการแสดงสร้างสรรค์ นอกจำกงำนทำงด้ำนกำรแสดงที่ได้รับมอบหมำยหลักและในฐำนะครูผู้สอน ครูกรี วรศะริน ยังได้สร้ำงสรรค์ผลงำนทำงด้ำนนำฏศิลป์ไทยอันเป็นผลงำนที่มีควำมส ำคัญต่อวงกำรนำฏศิลป์มำกมำย หลำยชุดกำรแสดง อำทิ ร ำเถิดเทิง ร ำปลุกใจ ร ำโคม ชุดหนุมำนจับนำงเบญกำย ระบ ำวีรชัยสิบแปด มงกุฎกระบวนท่ำร ำกำรจัดทัพวำนร กระบวนท่ำร ำในกำรเกี้ยวพำรำสีในบทบำทพำลีเกี้ยวนำงดำรำ กระบวนท่ำร ำฉุยฉำยลิง กระบวนท่ำร ำชมตลำด ระบ ำปลุกใจเพลงบำงระจัน ระบ ำเปรมปรีดิ์วำนร เป็นผู้ให้ค ำปรึกษำชี้แนะ รางวัลเกียรติคุณสูงสุดของชีวิตศิลปิน ครูกรี วรศะริน ได้รับคัดเลือกให้เป็นศิลปินแห่งชำติ สำขำศิลปะกำรแสดง (นำฏศิลป์ - โขน) พุทธศักรำช 2531 ถือเป็นรำงวัลอันสูงสุดของชีวิตศิลปินผู้มำกควำมสำมำรถ สมควรแก่กำรถูกยกย่อง เชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชำติ
228 ประวัติ ครูวิโรจน์ อยู่สวัสดิ์ ภาพที่ 47 ครูวิโรจน์ อยู่สวัสดิ์ ที่มา : วิโรจน์ อยู่สวัสดิ์ ครูวิโรจน์ อยู่สวัสดิ์ เกิดเมื่อวันที่ 27 มกรำคม พ.ศ. 2494 บิดำชื่อนำยเหรียญ อยู่สวัสดิ์ มำรดำชื่อนำงวงษ์ อยู่สวัสดิ์ ชีวิตครอบครูสมรสกับนำงวันทนีย์ อยู่สวัสดิ์ มีภูมิล ำเนำ บ้ำนเลขที่ 50 ตรอกมะยม ถนนจักรพงษ์ แขวงชนะสงครำม เขตพระนคร กรุงเทพมหำนคร สัญชำติไทย ด้านประวัติการศึกษา ครูวิโรจน์ อยู่สวัสดิ์ จบกำรศึกษำชั้นประถมศึกษำในระดับชั้นประถม 4 ที่โรงเรียนพิมำนวิทย์ จบกำรศึกษำระดับประกำศนียบัตรนำฏศิลป์ชั้นต้น โรงเรียนนำฏศิลป และศึกษำต่อจนจบในระดับชั้น มัธยมปลำย ประกำศนียบัตรนำฏศิลป์ชั้นกลำง ประกำศนียบัตรนำฏศิลป์ชั้นสูง (ปนส.) ตำมล ำดับ ได้เข้ำศึกษำต่อในระดับอุดมศึกษำ ที่วิทยำลัยเทคโนโลยีและอำชีวะศึกษำและจบในหลักสูตร ศึกษำศำสตรบัณฑิต (ศษ.บ.)
229 ประวัติด้านการท างาน - พ.ศ. 2513 นำฏศิลปินส ำรองกองกำรสังคีต กรมศิลปำกร - พ.ศ. 2514 นำฏศิลปินจัตวำ ระดับ 1 กองกำรสังคีต กรมศิลปำกร - พ.ศ. 2515 ทดลองปฏิบัติงำนในต ำแหน่งครูตรี - พ.ศ. 2517 ครูตรีระดับ 1 โรงเรียนนำฏศิลป - พ.ศ. 2518 ครู ระดับ 2 โรงเรียนนำฏศิลป - พ.ศ.2519 ครู ระดับ 3 โรงเรียนนำฏศิลป - พ.ศ. 2521 อำจำรย์ 1 ระดับ 3 โรงเรียนนำฏศิลป - พ.ศ. 2524 อำจำรย์ 1 ระดับ 4 โรงเรียนนำฏศิลป - พ.ศ. 2526 อำจำรย์ 2 ระดับ 5 โรงเรียนนำฏศิลป - พ.ศ. 2531 อำจำรย์ 2 ระดับ 6 โรงเรียนนำฏศิลป - พ.ศ. 2539 อำจำรย์2 ระดับ 7 โรงเรียนนำฏศิลป - พ.ศ. 2544 อำจำรย์ 3 ระดับ 8 โรงเรียนนำฏศิลป - พ.ศ. 2547 ครู(ครูช ำนำญกำรพิเศษ) โรงเรียนนำฏศิลป - พ.ศ. 2553 ครู(ครูเชี่ยวชำญ) โรงเรียนนำฏศิลป ปัจจุบันคุณครูวิโรจน์ อยู่สวัสดิ์ เกษียณอำยุรำชกำรเมื่อ 30 กันยำยน 2554 ในต ำแหน่ง ครู วิทยฐำนะครูเชี่ยวชำญ วิทยำลัยนำฏศิลป สถำบันบัณฑิตพัฒนศิลป์กระทรวงวัฒนธรรม เมื่อเกษียณอำยุรำชกำรปัจจุบันได้รับกำรจ้ำงให้สอนในระดับปริญญำตรีและท ำกำรสอนนำฏศิลป์ โขน (ลิง) ต ำแหน่ง ผู้เชี่ยวชำญกำรสอนนำฏศิลป์ไทย (โชนลิง) สถำบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวง วัฒนธรรมจนถึงปัจจุบัน ผลงานทางด้านการแสดง ผลงำนทำงด้ำนกำรแสดงคุณครูวิโรจน์ อยู่สวัสดิ์ ได้รับมอบหมำยให้ปฏิบัติหน้ำที่ในฐำนะ นักแสดงอยู่หลำยบทบำท แต่บทบำทที่แสดงได้ยอดเยี่ยมคือ บทบำทหนุมำน ในงำนเนื่องในกำรเปิด โรงละครแห่งชำติหลังใหม่ คุณครูวิโรจน์ อยู่สวัสดิ์ ได้รับเลือกให้แสดงบทหนุมำน ในตอนสีดำหำย ถวำยพล ยกรบ อีกด้วย
230 ผลงานการแสดงสร้างสรรค์ คุณครูวิโรจน์ อยู่สวัสดิ์ ได้สร้ำงสรรค์ผลงำนขึ้นใหม่หลำยชุดด้วยกัน ซึ่งส่วนมำกจะ เป็นกำรแสดงโขน กำรสร้ำงสรรค์งำนในลักษณะบูรณำกำร ของเดิมให้มีควำมหลำกหลำย โดยพัฒนำกระบวนท่ำจำกพื้นฐำนกำรแสดงโขนลิง และกระบวนท่ำในกำรรบตำมแบบ นำฏศิลป์ไทย ประกอบด้วยระบ ำวีระชัยถวำยพล ระบ ำทัศนำวำนร วำยุบุตรสัปยุทธ์มำร นอกจำกนี้ คุณครูวิโรจน์ อยู่สวัสดิ์ยังได้คิดค้นผลงำนสร้ำงสรรค์ทำงด้ำนนำฏศิลป์ขึ้นใหม่ที่ไม่เคยมีมำก่อน เช่น ฉุยฉำยอสุรผัด ฉุยฉำยมัจฉำ รางวัลเกียรติคุณ เครื่องรำชอิสริยำภรณ์ - ปี พ.ศ. 2527 ตริตรำภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.) - ปี พ.ศ. 2532 ตริตรำภรณ์ช้ำงเผือก (ต.ช.) - ปี พ.ศ. 2540 ทวีติยำภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.) - ปี พ.ศ. 2544 ทวีติยำภรณ์มงกุฎไทย (ท.ช.) - ปี พ.ศ. 2539 เหรียญจักพรรดิมำลำ (ร.จ.พ.) เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพาย - ปี พ.ศ. 2554 ประถมำภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.) รางวัลเกียรติคุณ - ได้รับพระรำชทำนของที่ระลึกจำกพระหัตถ์สมเด็จพระกนิษฐำธิรำชเจ้ำ กรมสมเด็จพระเทพรัตนรำชสุดำฯ สยำมบรมรำชกุมำรีในงำนวันสิรินธร ณ ต ำหนักบ้ำนปลำยเนิน เมื่อปี พ.ศ. 2535 - ได้รับรำงวัล“แมวมอง”ในฐำนะผู้สืบสำนกำรถ่ำยทอดนำฏศิลป์โขน เมื่อวันที่ 28 เมษำยน พ.ศ. 2548 ของมูลนิธิ“นริศรำนุวัดติวงศ์” - ได้รับเครื่องหมำยเชิดชูเกียรติ และเกียรติบัตร“ครูผู้สอนดีเด่น” ประจ ำปี 2553 - ได้รับกำรพิจำรณำคัดเลือกเป็นครูดีเด่น ประจ ำปี 2554 ในวันครู 16 มกรำคม 2554
231 - ได้รับพระรำชทำนเหรียญที่ระลึกจำกพระหัตถ์สมเด็จพระกนิษฐำธิรำชเจ้ำ กรมสมเด็จพระเทพรัตนรำชสุดำฯ สยำมบรมรำชกุมำรีในโอกำสที่เป็นผู้เชี่ยวชำญและฝึกซ้อม โขนพระรำชทำน - ได้มีโอกำสเข้ำเฝ้ำสมเด็จพระกนิษฐำธิรำชเจ้ำ กรมสมเด็จพระเทพรัตนรำชสุดำฯ สยำมบรมรำชกุมำรีแสดงเพลงร ำหน้ำพำทย์ ช ำนำญ ที่วังสระปทุม เมื่อวันที่ 1 พฤษภำคม 2562
232 ภาคผนวก ข การด าเนินงานวิจัย
233 ภาพที่48 กำรสอบโครงร่ำงวิทยำนิพนธ์ ที่มา: ผู้วิจัย ภาพที่49 ประธำน คณะกรรมกำร และที่ปรึกษำ ในกำรสอบป้อกันวิทยำนิพนธ์ ที่มา: ผู้วิจัย
234 ภาคผนวก ค แบบสัมภาษณ์
235 แบบสัมภาษณ์รวบรวมข้อมูล หนุมานรบมัจฉานุ : กระบวนท่ารบของตัวละครลิง ด้านนาฏศิลป์ไทยโขนลิง 1. สถำนภำพทั่วไป 1.1 ชื่อผู้ให้สัมภำษณ์ ………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………… 1.2 วัน เดือน ปี เกิด ……………………………………………………………………………………………………….……………………..… ………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………..………………. 1.3 ที่อยู่ปัจจุบัน ………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………… 2. สถำนภำพที่เกี่ยวข้อง ด้ำนนำฏศิลป์ไทยโขนลิง 1) กระบวนท่ำรบของลิงรบลิงในกำรแสดงโขน กำรรบในเพลงหน้ำพำทย์และบทเจรจำ ตลอดทั้งกระบวนท่ำรบของหนุมำนกับมัจฉำนุในบทร้องร่ำย มีลักษณะอย่ำงไร เหมือนหรือ แตกต่ำงกันอย่ำงไร ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… 2) ผู้แสดงตัวลิงมีคุณสมบัติอย่ำงไร และมีวิธีกำรคัดเลือกอย่ำงไร ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… 3) มีกระบวนกำรฝึกหัดผู้ที่ได้รับกำรคัดเลือกอย่ำงไร ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………
236 แบบสัมภาษณ์รวบรวมข้อมูล หนุมานรบมัจฉานุ : กระบวนท่ารบของตัวละครลิง ด้านวิชาการนาฏศิลป์ไทย 1. สถำนภำพทั่วไป 1.1 ชื่อผู้ให้สัมภำษณ์ ………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………… 1.2 วัน เดือน ปี เกิด ……………………………………………………………………………………………………….……………………..… ………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………..………………. 1.3 ที่อยู่ปัจจุบัน ………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………… 2. สถำนภำพที่เกี่ยวข้อง ด้ำนวิชำกำรนำฏศิลป์ไทย 1) กรมศิลปำกรมีแนวทำงในกำรจัดท ำบทกำรแสดงโขน ที่เอื้อให้เกิดกระบวนท่ำรบของ ลิงรบลิงอย่ำงไร ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………