87 จากข้อมูลการสัมภาษณ์ข้างต้นท าให้ทราบถึงกระบวนท่ารบระหว่างลิงกับในการแสดงโขน ซึ่งมีกระบวนท่ารบหลัก 6 ท่า ผู้วิจัยขอยกตัวอย่างกระบวนท่ารบในการแสดงโขน 4 ท่า จากทั้ง 6 ท่า บางส่วนที่มีความเกี่ยวข้องอันเป็นกระบวนท่ารบที่มีประโยชน์ต่อการศึกษาวิเคราะห์ในบทถัดไป ดังนี้ ตารางที่ 3 กระบวนท่ารบระหว่างลิงกับลิงในการแสดงโขน ล าดับ ชื่อท่า รูปท่าร า 1 ยืนแทงกัดมือ 2 ยืนแทง 3 เงื้ออาวุธ 4 ลอยมัจฉานุ ที่มา: ผู้วิจัย
88 3. การจับอาวุธในการรบระหว่างลิงกับลิง การจับอาวุธของตัวลิง มีลักษณะการจับอาวุธไม่เหมือนตัวละครฝ่ายพระ และฝ่ายยักษ์ ซึ่งการจับอาวุธของตัวลิงจะจับอาวุธในลักษณะปลายอาวุธหันไปทางหลังแขน ใช้มือขวาในการจับ อาวุธเป็นหลัก นิ้วหัวแม่มือกดอยู่ที่ด้ามอาวุธอุ้งมือกับที่ด้ามจับของอาวุธ ท าให้ลักษณะการใช้อาวุธ ของตัวลิงมีลักษณะที่แตกต่างจากตัวละครฝ่ายอื่น ดังตารางดังนี้ ตารางที่ 4 ลักษณะการจับอาวุธในการรบระหว่างลิงกับลิง ล าดับ ลักษณะการจับ รูปภาพประกอบ อธิบาย 1 การจับอาวุธ ในท่าขยับเตรียม เข้ารบ จะจับอาวุธด้วยมือขวา อยู่ระดับอกในลักษณะก า มือจับที่ด้ามของอาวุธ โดย ใช้นิ้วหัวแม่มือกันไปที่ด้าม ของอาวุธ ปลายของอาวุธชี ไปทางด้านหน้าขนาดกับพื้น เป็นเส้นตรง 2 การจับอาวุธ ในท่าเงื้ออาวุธ จับอ าวุ ธที่มือขว ายกขึ้น ระดับศีรษะอยู่ข้างล าตัว มือที่จับอาวุธอยู่ในลักษณะ ก า อ า วุ ธ หั ก ข้ อ มื อ ล ง ให้ส่วนปลายของอาวุธชี้ ไปด้านหน้าเฉียงลงทางขวา เล็กน้อย 3 การจับอาวุธใน ลักษณะก่อนจะ เข้าปะทะอาวุธ มือขวาจับอาวุธอยู่ที่ข้าง ล าตัวงอศอกเล็กน้อยจับ อาวุธในลักษณะก าอาวุธหัก ข้อมือขึ้น ให้ส่วนปลายของ อาวุธชี้ไปด้านหน้าเฉียงลง พื้นเล็กน้อย
89 ตารางที่ 4 ลักษณะการจับอาวุธในการรบระหว่างลิงกับลิง (ต่อ) ล าดับ ลักษณะการจับ รูปภาพประกอบ อธิบาย 4 การจับอาวุธ ในลักษณะพร้อม ปะทะอาวุธ มือขวาจับอาวุ ธอยู่ข้ าง ล าตัว จะจับอาวุธในลักษณะ คีบอาวุธนิ้วหัวแม่มืออยู่ ด้านบน ปลายของอาวุธชี้ไป ด้านหน้าเฉียงลงทางขวา เล็กน้อย 5 การจับอาวุธใน ลักษณ ะป ะท ะ อาวุธด้านบน มือขวาจับอาวุธในลักษณะ คีบอาวุธนิ้วหัวแม่มือกดนิ้ว ทั้ง 4 ไว้ ปลายของอาวุธเฉียง ขึ้นด้านบนเหนือศีรษะใน ลักษณะอาวุธกระทบกัน 1-2 6 การจับอาวุธใน ลักษณะแทงไป ท าง ข้ าง ล า ตั ว ของศัตรู มือขวาจับอาวุธหงายมืออยู่ ที่ข้างล าตัวมืออยู่ในลักษณะ ก าอาวุธ มือซ้ายแบมือติด อยู่ที่หลังมือขวา ส่วนปลาย ของอาวุธแทงไปที่ข้างล าตัว ของศัตรู 7 การจับอาวุธ ในลักษณะแทง ขนานเป็นเส้นตรง ในท่าแทงกัด มือขวาจับอาวุธในลักษณะ ก าอาวุธแขนตึงคว่ ามือลง แทงไปที่ไหล่ด้านซ้ายของ ศัตรูแทงในลักษณะเป็น เส้นตรงขนานกับพื้น ส่วน ปลายของอาวุธชี้ออกข้าง ล าตัวทางขวา ที่มา: ผู้วิจัย
90 จากตารางข้างต้น การจับอาวุธในการรบระหว่างลิงกับลิงจะจับอาวุธในลักษณะที่ แตกต่างไปตามกระบวนท่าที่ได้ปฏิบัติ จากตารางภาพจะเห็นได้ว่าการจับอาวุธในการรบระหว่าง ลิงกับลิง มีวิธีจับอาวุธอยู่ 2 ลักษณะ คือ 1) การจับอาวุธในลักษณะปลายของอาวุธหันไปทางหลังแขน 2) จับอาวุธในลักษณะปลายของอาวุธหันไปทางหน้าแขน และทิศทางของอาวุธส่วนปลายจะเป็นส่วน ที่ก าหนดว่าอาวุธจะตั้งตรง หรือชี้ขนานเป็นเส้นตรงตามกระบวนท่าที่ได้ปฏิบัติ 4. รูปแบบการรบระหว่างลิงกับลิง การรบในการแสดงโขน ไม่ว่าจะเป็นการรบระหว่าง พระกับยักษ์ ยักษ์กับลิง และลิงกับลิง กระบวนท่าในการรบจะแตกต่างกันตามลักษณะของตัวละครและอาวุธที่ใช้ต่อสู้ผู้วิจัยได้ท าการศึกษา รูปแบบการรบระหว่างลิงกับลิง โดยศึกษาจากบทที่ใช้ประกอบการแสดงโขน และจากการสัมภาษณ์ ในประเด็นรูปแบบการรบระหว่างลิงกับลิงซึ่งความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิดังนี้ “การรบในการแสดงโขนสามารถจ าแนกรูปแบบได้ 3 รูปแบบ คือการรบในเพลงหน้าพาทย์ ตั้งแต่สมัยโบราณนิยมใช้เพลงเดียว คือ เพลงเชิด ซึ่งเพลงเชิดมีความหมายถึงการเดินทางในระยะใกล้ หรือไกลและอีกความหมายคือใช้ประกอบการสู้รบ ส่วนการรบในบทพากย์เจรจานั้นเป็นการรบ ที่บรรยายถึงกิริยาของตัวละครตัวนั้น ๆ ซึ่งที่กล่าวมา การรบทั้งสองรูปแบบเป็นการรบแบบฉบับ การแสดงโขนดั้งเดิม ต่อมาการแสดงโขนมีวิวัฒนาการได้น าบทร้องอย่างละครเข้าผสมจึงเกิด กระบวนการรบในบทร้องขึ้น” (เกษม ทองอร่าม, 2564, 13 กรกฎาคม, สัมภาษณ์) “การรบในการแสดงโขนจะรบตามแบบแผนของเพลงหน้าพาทย์บรรเลงนิยมใช้เพลงเชิด เพียงเพลงเดียวกล่าวได้ว่าเป็นรูปแบบการรบในเพลงหน้าพาทย์ นอกจากการรบในเพลงหน้าพาทย์ ยังมีรูปแบบการรบในบทเพลงร้อง หรือการรบในบทเจรจา ซึ่งทั้ง 3 รูปแบบมีความแตกต่างที่เพลงใช้ ประกอบท่ารบ อาทิการรบในบทร้องและการรบในบทพากย์เจรจาเป็นการรบที่บ่งบอกถึงอากัปกิริยา ของตัวละครในขณะนั้นก าลังรบกับใคร” (จรัญ พูลลาภ, 2564, 1 พฤษภาคม, สัมภาษณ์)
91 จากข้อความดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า รูปแบบการรบในการแสดงโขน ปรากฏรูปแบบการรบ 3 รูปแบบ คือ 1) การรบในเพลงหน้าพาทย์ 2) การรบในบทเจรจา 3) การรบในบทร้อง 1) การรบในเพลงหน้าพาทย์ เป็นการรบตามกระบวนท่าหลักที่ถูกก าหนดไว้ในบท การแสดงโขน ซึ่งการรบในรูปแบบนี้ถือเป็นการรบขั้นพื้นฐาน เช่น การรบของเสนายักษ์และเสนาลิง การรบของตัวเอก เช่น พระรามกับทศกัณฐ์ ซึ่งจะเห็นได้จากบทการแสดงที่ก าหนดเพลงที่ใช้ 2) การรบในบทเจรจา เป็นกระบวนท่ารบที่กล่าวถึงเหตุการณ์การรบของตัวละคร ในเวลา และเหตุการณ์นั้น ๆ เปรียบเสมือนการบรรยายถึงบรรยากาศการรบ ว่าเกิดเหตุการณ์อย่างไร ใครรบกับใคร ฝ่ายไหนได้เปรียบเสียเปรียบ ซึ่งผู้แสดงจะต้องปฏิบัติกระบวนท่ารบตามค าพากย์ เจรจาให้ทัน 3) การรบในบทร้อง เป็นลักษณะการรบของละครใน ซึ่งการแสดงโขนได้รับเอาอิทธิพล การรบในบทร้องมาประยุกต์กับการแสดงโขน การรบในบทร้องผู้แสดงจะต้องปฏิบัติกระบวนท่าให้ทัน กับค าร้องและจังหวะของเพลงอย่างแม่นย า จึงจะท าให้กระบวนท่ารบเกิดความสวยงาม ทั้งนี้ผู้วิจัยได้ศึกษารูปแบบการรบจากบทประกอบการแสดงโขนในยุคกรมศิลปากร ปรับปรุงใหม่ ไว้ในบทที่ 2 ซึ่งสอดคลองกับการสัมภาษณ์ข้างต้น ในส่วนบทที่กล่าวถึงการสู้รบระหว่าง ลิงกับลิง ตัวบทการแสดงมีการก าหนดฉาก เพลง และวิธีการแสดงโดยละเอียด พบว่ารูปแบบการรบ ระหว่างลิงกับลิง มีอยู่เพียง 2 รูปแบบเท่านั้น คือ การรบในเพลงหน้าพาทย์(เพลงเชิด) และการรบใน บทพากย์เจรจา การรบทั้งสองรูปแบบเป็นการรบตามจารีตการแสดงโขนอย่างที่ผู้รู้ได้กล่าวไปข้างต้น บทการแสดงโขนยุคกรมศิลปากรปรับปรุงใหม่ ไม่พบการรบระหว่างลิงกับลิงในรูปแบบการรบในบทร้อง สรุป จากการศึกษาองค์ความรู้กระบวนท่ารบระหว่างลิงกับลิง มีองค์ประกอบหลายส่วนที่ผนวก เข้าด้วยกันท าให้เกิดเป็นกระบวนท่ารบขึ้น ซึ่งในยุคกรมศิลปากรปรับปรุงใหม่ การจัดการแสดงโขน ได้มีการน าบทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 2 เป็นแนวทางในการจัดท าบทเป็นหลัก โดยมีการปรับปรุงตัวบทเพื่อให้เหมาะสมแก่การแสดงโขนมากยิ่งขึ้น บทโขนของกรมศิลปากรจึงมีทั้ง บทพากย์บทเจรจา และบทขับร้อง ซึ่งส่งผลต่อกระบวนการรบในการแสดงโขน ที่มีรูปแบบการรบ 3 รูปแบบ คือ 1. การรบในเพลงหน้าพาทย์ (เพลงเชิด) 2. การรบในบทเจรจา เป็นการรบตามจารีต การแสดงโขนดั้งเดิม 3.การรบในบทร้อง การแสดงโขนน าการรบในรูปแบบที่ 3 นี้ มาจากการแสดง ละครใน แต่การรบระหว่างลิงกับลิง ในยุคกรมศิลปากรปรับปรุงใหม่ ปรากฏการรบเพียง 2 รูปแบบเท่านั้น
92 คือการรบตามจารีตในการแสดงโขน ไม่ปรากฏการรบระหว่างลิงกับลิงในรูปแบบการรบในบทร้อง ที่เหมือนอย่างตัวละครพระกับยักษ์ และยักษ์กับลิง รวมถึงหลักสูตรการเรียนการสอนโขนของ วิทยาลัยนาฏศิลปก็ไม่ปรากฏกระบวนท่ารบลิงกับลิงในบทร้องเช่นกัน ประเด็นการรบในบทร้อง ระหว่างลิงกับลิงผู้วิจัยได้ศึกษาข้อมูลและวิเคราะห์ในประเด็นดังกล่าว อันเป็นประเด็นหลักในงานวิจัย ฉบับนี้ ซึ่งจะขอน าเสนอข้อมูลในบทถัดไป
บทที่ 4 วิเคราะห์กระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ ในบทนี้ผู้วิจัยจะกล่าวถึง กระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ จากบทละครในรัชกาลที่ 1 ผู้วิจัยได้ ศึกษาโดยการลงภาคสนามฝึกปฏิบัติกระบวนท่ารบด้วยตนเอง โดยมีครูวิโรจน์ อยู่สวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญ นาฏศิลป์ไทยโขนลิง เป็นผู้ถ่ายทอดกระบวนท่ารบดังกล่าว รวมถึงการสัมภาษณ์ โดยน าเสนอข้อมูล จากการศึกษาในประเด็นดังต่อไป 1. แนวคิดกระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ จากบทละครในรัชกาลที่ 1 2. องค์ประกอบการแสดงกระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ จากบทละครในรัชกาลที่ 1 2.1 บทละคร 2.2 เพลงร้อง 2.3 ผู้แสดง 2.4 วงดนตรี 2.5 เครื่องแต่งกาย 2.6 กระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1 3. วิเคราะห์กระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ จากบทละครในรัชกาลที่ 1 3.1 ลักษณะกระบวนท่ารบ 3.2 โครงสร้างกระบวนท่ารบ 3.3 กระบวนท่ารบกับการสื่อความหมาย 1. แนวคิดกระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ จากบทละครในรัชกาลที่ 1 กระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุจากบทละครในรัชกาลที่ 1 เป็นแนวคิดการสร้างสรรค์กระบวนท่า ลิงรบลิงในรูปแบบการรบในบทร้อง โดยใช้บทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1 น ามาประกอบการแสดง โดยไม่มีการปรับปรุงตัวบทเดิม เป็นแนวคิดของ ครูกรีวรศะริน ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์โขน) พุทธศักราช 2535 ร่วมคิดประดิษฐ์กระบวนท่ารบดังกล่าวร่วมกับครูวิโรจน์ อยู่สวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทยโขนลิง สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ เมื่อราวปี พ.ศ. 2525 ด้วยเหตุกระบวนท่า
94 ลิงรบลิงยังไม่ปรากฏรูปแบบการรบในบทร้องเหมือนตัวละครประเภทอื่น ผนวกกับความเป็นศิลปิน ในการคิดกระบวนท่ารบในรูปแบบที่แตกต่างออกไปจากการรบที่มีอยู่เดิม ความแปลกใหม่ในด้านการแสดงโขน จึงเกิดเป็นแนวคิดในการสร้างสรรค์กระบวนท่ารบ ระหว่างลิงกับลิงในบทร้องขึ้น แต่ด้วยเหตุบางประการท าให้กระบวนท่ารบที่สร้างสรรค์จากบรมครู ทั้งสองท่าน ยังไม่ได้รับการเผยแพร่เป็นที่ประจักษ์และการสืบทอดเป็นองค์ความรู้ ภาพที่ 33 ครูกรี วรศะริน ที่มา: ส านักงานส่งเสริมเอกลักษณ์ของชาติ ส านักงานปลัดส านักนายกรัฐมนตรี (2555, น. 267) ครูกรี วรศะริน ได้ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2541 ท่านได้สร้างผลงาน ทางด้านการแสดงไว้มากมายและยังเป็นศิลปินต้นแบบของคนในวงการโขน ถ่ายทอดวิชาชีพทาง ด้านนาฏศิลป์ไทยโขนลิงเป็นที่ประจักษ์แก่นักเรียนโขนลิงในหลาย ๆ รุ่น ภาพที่ 34 ครูวิโรจน์ อยู่สวัสดิ์ ที่มา: ผู้วิจัย
95 ครูวิโรจน์ อยู่สวัสดิ์ ปัจจุบันเป็นผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทยโขนลิง สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม ครูผู้เป็นต้นแบบทางด้านการแสดงโขนลิงอีกท่านหนึ่ง เป็นผู้มีความรู้ และความสามารถ ทางด้านการแสดงโขนลิง และการถ่ายทอดองค์ความรู้ทางด้านนาฏศิลป์ไทยโขนลิง ปัจจุบันยังถ่ายทอดความรู้ทางศาสตร์โขนลิงให้กับระดับปริญญาตรี และระดับปริญญาโท ในหลาย ๆ สถาบัน 2. องค์ประกอบการแสดงกระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ บทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1 ในการแสดงกระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุจากบทละครในรัชกาลที่ 1 จะต้องอาศัย องค์ประกอบการแสดงในด้านต่าง ๆ อันจะช่วยเสริมสร้างให้การแสดงเกิดความสมบูรณ์ และเป็น ประโยชน์ในด้านการศึกษาและการน าไปใช้แสดง มีองค์ประกอบการแสดงที่ส าคัญหลายด้าน มีรายละเอียดดังนี้ 2.1 บทละคร บทละครเป็นองค์ประกอบที่ส าคัญส่วนแรกต่อการแสดง มีหน้าที่บทบาทในการก าหนด เหตุการณ์ล าดับเรื่องราวในการด าเนินเรื่องบ่งบอกสถานที่ อารมณ์ในตอนนั้น ๆ รวมไปถึงผู้แสดง บทที่ใช้ประกอบการแสดงกระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1 เป็นบทละคร เรื่องรามเกียรติ์ ในตอนหนุมานรบมัจฉานุ การน าบทมาประกอบการแสดงโดยไม่มีการปรับปรุงตัวบท แต่อย่างใด กล่าวได้ว่าเป็นการใช้บทพระราชนิพนธ์โดยไม่มีการปรับปรุงบทหรือแก้ไข ซึ่งบทที่ กล่าวถึงการสู้รบของหนุมานกับมัจฉานุ มีอยู่ทั้งสิ้น 6 บท ดังนี้ บัดนั้น มัจฉานุฤทธิไกรใจหาญ ได้ฟังกริ้วโกรธคือไฟกาล ตบมือฉัดฉานแล้วตอบไป ถึงตัวกูน้อยเท่านี้ จะกลัวฤทธีเอ็งก็หาไม่ อย่าพักอาจองทะนงใจ ใครดีจะได้เห็นกัน ว่าแล้วส าแดงเดชา พสุธาบาดาลไหวหวั่น โลดโผนโจนรุกบุกบัน เข้าไล่โรมรันราวี ฯ ฯ 6 ค า ฯ เชิด
96 บัดนั้น หนุมานผู้ชาญชัยศรี กริ้วโกรธพิโรธดั่งอัคคี ขุนกระบี่รับระปะทะกร เคล่าคล่องว่องไวทั้งสองข้าง ต่างตนต่างหาญชาญสมร ถ้อยทีถ้อยมีฤทธิรอน ต่อกรไม่ละลดกัน ฯ ฯ 4 ค า ฯ บัดนั้น มัจานุฤทธิแรงแข็งขัน ปล้ าปลุกคลุกคลีตีประจัญ พัลวันหลบหลีกไปในที ถีบกัดวัดเหวี่ยงอุตลุด ทะยานยุทธ์ไม่ท้อถอยหนี กอดรัดฟัดกันเป็นโกลี เปลี่ยนท่าเปลี่ยนทีรอนราญ ฯ ฯ 4 ค า ฯ เชิด บัดนั้น วายุบุตรวุฒิไกรใจหาญ รบรุกบุกบันประจัญบาน เผ่นทะยานโถมถีบด้วยบาทา ถูกมัจฉานุซวนไป ฉวยรวบเท้าได้ทั้งซ้ายขวา ฟาดลงกับแผ่นศิลา ด้วยก าลังศักดาราวี ฯ ฯ 4 ค า ฯ บัดนั้น มัจฉานุผู้ชาญชัยศรี มิได้ชอกช้ าอินทรีย์ โกรธดั่งอัคคีบรรลัยกัลป์ ผุดลุกขึ้นได้กระทืบบาท ท าอ านาจผาดเสียงดั่งฟ้าลั่น วิ่งผลุนหมุนเข้าบุกบัน โรมรันไม่คิดชีวา ฯ ฯ 4 ค า ฯ เชิด บัดนั้น วายุบุตรวุฒิไกรใจกล้า โถมรับกลับกลอกไปมา หันเหียนเปลี่ยนท่าราวี ฯ ฯ 2 ค า ฯ เชิด (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช, 2553 ข, น. 358)
97 บทละครที่ใช้ประกอบกระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ จากบทละครในรัชกาลที่ 1 มีความแตกต่างจากบทที่ใช้ประกอบการแสดงโขนของกรมศิลปากร ซึ่งจะมีการปรับปรุงตัวบทละคร เสียก่อนที่จะใช้ออกแสดง โดยมีแนวทางในการจัดท าบทโดยใช้บทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 2 ในการจัดท าบท 2.2. เพลงร้อง เพลงที่ใช้ประกอบการแสดงกระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ จากบทละครในรัชกาลที่ 1 คือเพลงร่าย เพลงร่ายเป็นเพลงประกอบการแสดงละคร ส าหรับใช้พรรณนาที่ต้องการความรวดเร็ว เพลงร่ายแบ่งออกตามประเภทละคร ละครนอกเรียกร่ายนอก ละครในเรียกร่ายใน ละครชาตรีเรียก ร่ายชาตรี ทั้งนี้โดยมีระดับเสียงและท านองผิดแปลกออกไป (ณรงค์ชัย ปิฎกรัตน์, 2557, น. 25 - 35) กระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ จากบทละครในรัชกาลที่ 1 ใช้เพลงร่ายประกอบการแสดงเพื่อบรรยาย ถึงเหตุการณ์ในการสู้รบของตัวละครหนุมานกับมัจฉานุ อันมีความเหมาะสมต่อการปฏิบัติกระบวนท่ารบ ท าให้การสื่ออารมณ์ในการต่อสู้ได้อย่างรวดเร็วและกระชับ 2.3 ผู้แสดง จากการสัมภาษณ์ครูวิโรจน์ อยู่สวัสดิ์ ถึงลักษณะและคุณสมบัติอันส าคัญต่อการแสดง กระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ จากบทละครในรัชกาลที่ 1 กล่าวว่า ผู้ที่จะแสดงในกระบวนท่ารบนี้ จะต้องมีลักษณะรูปร่างเป็นลิงโล้นอย่างการแสดงโขน กล่าวคือ จะต้องเป็นผู้มีรูปร่างสันทัด ไม่เตี้ยหรือสูงจนเกินไป มีลักษณะอันเป็นพื้นฐานของผู้แสดงโขนตัวลิงโล้น คือหนุมานกับมัจฉานุ และลักษณะของผู้แสดงทั้งสองจะต้องมีรูปร่างไล่เลี่ยกัน ความสูงและน้ าหนักต้องไม่ต่างกันมาก จนเกินไป ผู้ที่แสดงเป็นมัจฉานุสามารถมีรูปร่างที่เล็กกว่าหนุมานได้เล็กน้อย ด้วยกระบวนท่ารบมี ความพลิกแพลงแสดงถึงพละก าลัง รูปร่างความสูงและน้ าหนักจึงมีผลต่อการปฏิบัติกระบวนท่ารบ ดังกล่าว เมื่อทราบถึงลักษณะและรูปร่างในส่วนแรกแล้ว คุณสมบัติของผู้แสดงเป็นสิ่งส าคัญอีก ประการหนึ่งของการปฏิบัติกระบวนท่ารบ มีรายละเอียดดังนี้ 2.3.1 การฝึกหัดขั้นพื้นฐาน ต้องเป็นผู้ที่เคยผ่านการฝึกการแสดงโขนตัวลิงขั้น พื้นฐาน การฝึกหัดแม่ท่าลิง กระบวนท่ารบขั้นพื้นฐาน เช่น กระบวนท่ารบยักษ์กับลิง กระบวนท่ารบ ลิงกับลิง ซึ่งสามารถปฏิบัติกระบวนท่าพื้นฐานที่กล่าวมาได้อย่างคล่องแคล่วและช านาญในการปฏิบัติ
98 2.3.2 ทักษะพิเศษทางด้านการตีลังกาต้องเป็นผู้ที่มีทักษะพิเศษทางด้านการหกคะเมน ตีลังกา สามารถปฏิบัติกระบวนท่าตีลังกาในท่าต่าง ๆ เช่น ท่าตีลังกาหกม้วน ท่าตีลังกาอันธพา ท่าตีลังกาพาสุริน และท่าส่งตีลังกาหกม้วน ซึ่งผู้แสดงจะต้องสามารถปฏิบัติได้อย่างช านาญโดยไม่เกิด ความผิดพลาดต่อการปฏิบัติ 2.3.3 ร่างกายที่แข็งแรง เป็นผู้ที่มีความแข็งแรงของร่างกาย ด้วยกระบวนท่าหนุมาน รบมัจฉานุจากบทละครในรัชกาลที่ 1 เป็นกระบวนท่าที่แสดงถึงการสู้รบในกระบวนท่าต่าง ๆ ผู้แสดง จะต้องมีร่างกายที่สมบูรณ์พร้อมด้วยพละก าลังและความแข็งแรง จึงจะสามารถปฏิบัติกระบวนท่ารบ นี้ได้อย่างคล่องแคล่วและสวยงาม 2.3.4 สติปัญญา ต้องเป็นผู้ที่มีสติปัญญาในด้านความจ าเป็นเลิศ สามารถจดจ าบทที่ ใช้ประกอบการแสดงได้ทุกค ากลอนรวมไปถึงกระบวนท่ารบ และสามารถฟังท านองเพลงร่ายต่อการ ปฏิบัติกระบวนท่ารบได้ตรงตามจังหวะและท านองอย่างแม่นย า 2.3.5 ความอดทนมานะ เป็นผู้ที่มีความอดทนต่อการฝึกปฏิบัติกระบวนท่าหนุมาน รบมัจฉานุพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1 และพร้อมที่จะพัฒนาอยู่ตลอดเวลา ถือเป็นคุณสมบัติอันส าคัญ ต่อการปฏิบัติกระบวนท่ารบที่จะท าให้ประสิทธิภาพในการแสดงนี้มีความสมบูรณ์และเกิดความสวยงาม (วิโรจน์ อยู่สวัสดิ์, 2564, 13 กุมภาพันธ์, สัมภาษณ์) ภาพที่ 35 ลักษณะผู้แสดงหนุมาน ภาพที่ 36 ลักษณะผู้แสดงมัจฉานุ ที่มา: ผู้วิจัย ที่มา: ผู้วิจัย
99 จากภาพจะเห็นได้ว่าลักษณะรูปร่างของผู้แสดงหนุมานกับมัจฉานุ มีร่างกายที่สันทัด ไม่เตี้ยหรือสูงจนเกินไป มีรูปร่างตรงตามลักษณะของลิงประเภทลิงโล้น และผู้แสดงทั้งสองมีรูปร่าง ที่ไล่เลี่ยกัน ซึ่งมีความส าคัญต่อการปฏิบัติกระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ จากพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1 2.4. วงดนตรี กระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1 จะใช้วงปี่พาทย์ประกอบ การแสดง สามารถใช้ได้ทั้งวงปี่พาทย์เครื่องห้า วงปี่พาทย์เครื่องคู่ และวงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ขึ้นอยู่กับ ความเหมาะสมในสถานที่ที่จะใช้ท าการแสดง 2.4.1 วงปี่พาทย์เครื่องห้า ประกอบไปด้วย 1) ปี่ใน 2) ระนาดเอก 3) ฆ้องวงใหญ่ 4) ตะโพน 5) กลองทัด 6) ฉิ่ง ภาพที่ 38 วงปี่พาทย์เครื่องคู่ ที่มา: ราชบัณฑิตยสถาน (2545, น. 217) ภาพที่ 37 วงปี่พาทย์เครื่องห้า ที่มา: ราชบัณฑิตยสถาน (2545, น. 216)
100 2.4.2 วงปี่พาทย์เครื่องคู่ ประกอบไปด้วย 1) ปี่ใน 2) ปี่นอก 3) ระนาดเอก 4) ระนาดทุ้ม 5) ฆ้องวงใหญ่ 6) ฆ้องวงเล็ก 7) ตะโพน 8) กลองทัด 9) ฉิ่ง 10) ฉาบเล็ก 10) ฉาบใหญ่ 11) กรับ 12) โหม่ง ภาพที่ 39 วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ ที่มา: ราชบัณฑิตยสถาน (2545, น. 218) 2.4.3 วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ ประกอบไปด้วย 1) ปี่ใน 2) ปี่นอก 3) ระนาดเอก 4) ระนาดทุ้ม 5) ระนาดเอกเหล็ก 6) ระนาดทุ้มเหล็ก 7) ฆ้องวงใหญ่ 8) ฆ้องวงเล็ก 9) ตะโพน 10) กลองทัด 11) ฉิ่ง 12) ฉาบเล็ก 13) ฉาบใหญ่ 14) กรับ 15) โหม่ง 2.5 เครื่องแต่งกาย ในการแสดงกระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอด ฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 เป็นการแต่งกายยืนเครื่องของตัวลิง ผู้วิจัยจะขอน าเสนอการแต่งกาย ของหนุมานและมัจฉานุ ซึ่งมีส่วนประกอบดังนี้
101 เครื่องแต่งกายหนุมาน (1) (2) ภาพที่ 40 เครื่องแต่งกายของหนุมาน (1) การแต่งกายหนุมานถ่ายจากด้านหน้า (2) การแต่งกายหนุมานถ่ายจากด้านหลัง ที่มา: ผู้วิจัย เครื่องแต่งกายแต่ละชิ้นมีการใช้และชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งผู้วิจัยได้ท าการแยกไว้ เป็นล าดับตามหมายเลขดังนี้ 1. ศีรษะหนุมาน 2. กรองคอ 3. ตาบหลัง 4. หางลิง 5. รัดสะเอว 6. ผ้านุ่ง 7. สนับเพลา 8. ห้อยข้าง 9. ทับทรวง 10. สังวาล 11. สายเข็มขัด 12. หัวเข็มขัด 13. ตาบทิศ 14. ข้อเท้า 15. ห้อยหน้า
102 เครื่องแต่งกายมัจฉานุ (1) (2) ภาพที่ 41 เครื่องแต่งกายมัจฉานุ (1) การแต่งกายมัจฉานุถ่ายจากด้านหน้า (2) การแต่งกายมัจฉานุถ่ายจากด้านหลัง ที่มา: ผู้วิจัย เครื่องแต่งกายแต่ละชิ้นมีการใช้และชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งผู้วิจัยได้ท าการแยก ไว้เป็นล าดับตามหมายเลขดังนี้ 1. ศีรษะมัจฉานุ 2. กรองคอ 3. ตาบหลัง 4. หางปลา 5. รัดสะเอว 6. ผ้านุ่ง 7. สนับเพลา 8. ห้อยข้าง 9. ทับทรวง 10. สังวาล 11. สายเข็มขัด 12. หัวเข็มขัด 13. ตาบทิศ 14. ข้อเท้า 15. ห้อยหน้า
103 การแต่งของหนุมานกับมัจฉานุจะแต่งกายในลักษณะเดียวกัน ศีรษะโขนของหนุมานกับ มัจฉานุ จะมีสีหัวโขนในลักษณะเดียวกัน ต่างกันที่ปากของศีรษะมัจฉานุจะไม่มีลักษณะพิเศษเหมือน อย่างหนุมาน และที่หางของมัจฉานุจะเป็นหางปลา ตามชาติก าเนิดของผู้เป็นมารดาคือ นางสุพรรณมัจฉา ถึงแม้จะแต่งกายในลักษณะคล้ายกันแต่ก็มีความแตกต่างที่เป็นลักษณะเฉพาะที่ บ่งบอกถึงความเป็นตัวตนของตัวละคร ภาพศีรษะหนุมานและมัจฉานุที่มีความแตกต่าง ภาพที่42 ศีรษะของหนุมาน ภาพที่ 43 ศีรษะของมัจฉานุ ที่มา: ผู้วิจัย ที่มา: ผู้วิจัย ภาพหางของหนุมานกับมัจฉานุที่มีความแตกต่างกัน ภาพที่ 44 หางของหนุมาน ภาพที่ 45 หางของมัจฉานุ ที่มา: ผู้วิจัย ที่มา: ผู้วิจัย
104 2.6 กระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุจากบทละครในรัชกาลที่ 1 จากการศึกษากระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ เป็นกระบวนท่ารบระหว่างลิงกับลิง เป็นแนวคิดของครูกรี วรศะริน และครูวิโรจน์ อยู่สวัสดิ์ เป็นผู้คิดประดิษฐ์กระบวนท่ารบนี้ขึ้นโดยน า บทละครเรื่องรามเกียรติ์พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชซึ่งแต่ง เป็นกลอนบทละคร น ามาประกอบกับกระบวนท่ารบ โดยไม่มีการปรุงบทขึ้นใหม่คงใช้บทพระราชนิพนธ์ ต้นฉบับในการคิดกระบวนท่ารบ ผู้วิจัยมุ่งศึกษาเฉพาะบทที่กล่าวถึงการต่อสู้มีทั้งสิ้น 6 บท ดังนี้ ตารางที่ 5 กระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ จากบทละครในรัชกาลที่ 1 ล าดับที่ เนื้อร้อง/ท านองเพลง รูปภาพท่าร า อธิบายท่าร า 1 เพลงร่าย บัดนั้น 1. หนุมาน ทิศ : ด้านหน้า เท้า : เท้าซ้ายเต็มเหลี่ยม เท้าขวาหลบเหลี่ยมเปิดส้นเท้า มือ : มือซ้ายอยู่ที่อกหัก ข้อมือลง มือขวาจับอาวุธอยู่ ที่หน้าขาขวา ศีรษะ : หน้ามองมัจฉานุ 2. มัจฉานุ ทิศ : ด้านหน้า เท้า : ยกเท้าขวามาชิดส้น เท้าซ้าย ส้นเท้าทั้งสองข้าง ชิดกันอยู่ในลักษณะท่าเก็บ ซอยเท้า มือ : มือขวาจับอาวุธอยู่ที่ หน้าขา มือซ้ายตั้งวงลิงอยู่ที่ หน้าขาซ้าย ศีรษะ : หน้ามองตรง
105 ตารางที่ 5 กระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ จากบทละครในรัชกาลที่ 1 (ต่อ) ล าดับที่ เนื้อร้อง/ท านองเพลง รูปภาพท่าร า อธิบายท่าร า 2 มัจฉานุ 1. หนุมาน ทิศ : ด้านหน้า เท้า : เท้าซ้ายเต็มเหลี่ยม เท้าขวาหลบเหลี่ยมเปิด ส้นเท้า มือ : มือซ้ายอยู่ที่อกหัก ข้อมือลง มือขวาจับอาวุธอยู่ ที่หน้าขาขวา ศีรษะ : หน้ามองมัจฉานุ 2. มัจฉานุ ทิศ : ด้านหน้า เท้า : ยกเท้าขวาหนีบน่อง วางลงยกเท้าซ้ายติดยืดกระทบว างเท้ าซ้ ายเต็ม เหลี่ยมเท้าขวาหลบเหลี่ยม เปิดส้นเท้า มือ : มือซ้ายที่ตั้งวงลิงวาด มือจีบหงายเข้าหาล าตัวอยู่ที่ อก มือขวาจับอาวุธอยู่ที่ หน้าขาขวา ศีรษะ : หน้ามองตรงเอียงหู ซ้ายเล็กน้อย
106 ตารางที่ 5 กระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ จากบทละครในรัชกาลที่ 1 (ต่อ) ล าดับที่ เนื้อร้อง/ท านองเพลง รูปภาพท่าร า อธิบายท่าร า 3 ฤทธิไกรใจหาญ 1.หนุมาน ทิศ : ด้านหน้า เท้า : เท้าซ้ายเต็มเหลี่ยม เท้าขวาหลบเหลี่ยม มือ : มือซ้ายอยู่ที่อกหัก ข้อมือลง มือขวาจับอาวุธอยู่ ที่หน้าขาขวา ศีรษะ : หน้ามองมัจฉานุ 2. มัจฉานุ ทิศ : ด้านหน้า เท้า : ยกเท้าซ้ายวางลงหลัง ส้นเท้าขวา ยกเท้าขวาหนีบ น่องวางเท้าขวาลงด้านหน้า เต็มเหลี่ยมเท้าซ้ายหลบ เหลี่ยมเปิดส้นเท้า มือ : มือซ้ายจีบสอดขึ้น เปลี่ยนเป็นมือลิงงอข้อศอก ระดับหัวไหล่อยู่ที่ข้างล าตัว มือขวาจับอาวุธหงายและ พลิกมือกลับมาตั้งวงอยู่ที่ หน้าขาขวา ศีรษะ : หน้ามองตรงเอียง หูซ้ายเล็กน้อย
107 ตารางที่ 5 กระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุจากบทละครในรัชกาลที่ 1 (ต่อ) ล าดับที่ เนื้อร้อง/ท านองเพลง รูปภาพท่าร า อธิบายท่าร า 4 ได้ฟัง 1.หนุมาน ทิศ : ด้านหน้า เท้า : เท้าซ้ายเต็มเหลี่ยม เท้าขวาหลบเหลี่ยม มือ : มือซ้ายอยู่ที่อกหัก ข้อมือลง มือขวาจับอาวุธ อยู่ที่หน้าขาขวา ศีรษะ : หน้ามองมัจฉานุ 2. มัจฉานุ ทิศ : ด้านหน้า เท้า : ขยับเท้าซ้ายมาด้าน ข้างเปิดส้นเท้า เท้าขวาอยู่ กับที่เต็มเหลี่ยม มือ : มือซ้ายท ามือลิงอยู่ที่ หน้าขาซ้าย มือขวาจับอาวุธ หักข้อมือลงอยู่ที่อก ศีรษะ : หน้ามองตรงเอียงหูขวา 5 กริ้วโกรธคือไฟกาล 1. หนุมาน ทิศ : ด้านหน้า เท้า : ขยับเท้าขวาเต็ม เหลี่ยม เท้าซ้ายหลบเหลี่ยม มือ : มือขวาจับอาวุธหัก ข้อมือลงอยู่ที่อก มือซ้ายตั้ง วงลิงอยู่ที่หน้าขาซ้าย ศีรษะ : หน้ามองมัจฉานุ
108 ตารางที่ 5 กระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ จากบทละครในรัชกาลที่ 1 (ต่อ) ล าดับที่ เนื้อร้อง/ท านองเพลง รูปภาพท่าร า อธิบายท่าร า 2. มัจฉานุ ทิศ : ด้านหน้า เท้า : ขยับเท้าซ้ายเต็ม เหลี่ยมเท้าขวาหลบเหลี่ยม มือ : มือขวาแบมือถูที่คอ ด้านขวา มือซ้ายจับอาวุธ หักข้อลงอยู่ที่อก ศีรษะ : หน้ามองไปทางซ้าย ก้มหน้าเล็กน้อย 6 ตบมือฉัดฉาน 1. หนุมาน ทิศ : ด้านหน้า เท้า : เท้าซ้ายเต็มเหลี่ยม เท้าขวาหลบเหลี่ยม มือ : มือซ้ายอยู่ที่อกหัก ข้อมือลง มือขวาจับอาวุธอยู่ ที่หน้าขาขวา ศีรษะ : หน้ามองมัจฉานุ 2. มัจฉานุ ทิศ : ด้านหลัง เท้า : เท้าซ้ายและเท้าขวา ส้นเท้าชิดกัน ส้นเท้าทั้งสอง ข้างยกขึ้น
109 ตารางที่ 5 กระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ จากบทละครในรัชกาลที่ 1 (ต่อ) ล าดับที่ เนื้อร้อง/ท านองเพลง รูปภาพท่าร า อธิบายท่าร า มือ : มือซ้ายแบมือออกอยู่ ระดับหัวไหล่ขางล าตัว มือ ขวาจับอาวุธใช้ด้ามจับของ พระขรรค์ตบไปที่ฝ่ามือซ้าย ศีรษะ : หน้ามองหนุมาน 7 แล้วตอบไป 1. หนุมาน ทิศ : ด้านหน้า เท้า : เท้าซ้ายเต็มเหลี่ยม เท้าขวาหลบเหลี่ยม มือ : มือซ้ายอยู่ที่อกหัก ข้อมือลง มือขวาจับอาวุธอยู่ ที่หน้าขาขวา ศีรษะ : หน้ามองมัจฉานุ 2. มัจฉานุ ทิศ : ด้านหลัง เท้า : กระโดดยกเท้าขวาซ้าย วางเท้าซ้ายเต็มเหลี่ยม เท้าขวาหลบเหลี่ยม มือ : มือซ้ายจีบสะบัดมือออ กวาดมือเข้าหาตัวหักข้อมือ ลงอยู่ที่อก มือซ้ายจับอาวุธ อยู่ที่หน้าขาขวา ศีรษะ : หน้ามองหนุมาน
110 ตารางที่ 5 กระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ จากบทละครในรัชกาลที่ 1 (ต่อ) ล าดับที่ เนื้อร้อง/ท านองเพลง รูปภาพท่าร า อธิบายท่าร า 8 ถึงตัวกู 1. หนุมาน ทิศ : ด้านหน้า เท้า : เท้าซ้ายเต็มเหลี่ยม เท้าขวาหลบเหลี่ยม มือ : มือซ้ายอยู่ที่อกหัก ข้อมือลง มือขวาจับอาวุธอยู่ ที่หน้าขาขวา ศีรษะ : หน้ามองมัจฉานุ 2. มัจฉานุ ทิศ : ด้านหน้า เท้า : หมุนกลับตัวมา ทางซ้าย เท้าขวาเต็มเหลี่ยม เท้าซ้ายหลบเหลี่ยม มือ : มือซ้ายจีบหงายอยู่ที่ อก มือขวาจับอาวุธอยู่ที่ หน้าขาขวา ศีรษะ : หน้ามองหนุมาน 9 น้อยเท่านี้ 1. หนุมาน ทิศ : ด้านหน้า เท้า : เท้าซ้ายเต็มเหลี่ยม เท้าขวาหลบเหลี่ยม
111 ตารางที่ 5 กระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ จากบทละครในรัชกาลที่ 1 (ต่อ) ล าดับที่ เนื้อร้อง/ท านองเพลง รูปภาพท่าร า อธิบายท่าร า มือ : มือซ้ายอยู่ที่อกหัก ข้อมือลง มือขวาจับอาวุธอยู่ ที่หน้าขาขวา ศีรษะ : หน้ามองไปทางซ้าย เอียงหูขวาล็กน้อย 2. มัจฉานุ ทิศ : ด้านหน้า เท้า : ขยับเท้าซ้ายเต็ม เหลี่ยม เท้าขวาเปิดส้นเท้า หลบเหลี่ยม อยู่ในลักษณะ หย่องขวา มือ : มือขวาแบคว่ าลงอยู่ ระดับหัวเข็มขัด มือซ้ายก า พระขรรค์อยู่ที่อก ศีรษะ : หน้ามองมือขวา 10 จะกลัวฤทธีเอ็ง 1. หนุมาน ทิศ : ด้านหน้า เท้า : เท้าซ้ายเต็มเหลี่ยม เท้าขวาหลบเหลี่ยม มือ : มือซ้ายแบมือตั้งวงอยู่ ด้านหน้าข้างล าตัว มือขวา จับอาวุธอยู่ที่หน้าขาขวา ศีรษะ : หน้ามองมัจฉานุ
112 ตารางที่ 5 กระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ จากบทละครในรัชกาลที่ 1 (ต่อ) ล าดับที่ เนื้อร้อง/ท านองเพลง รูปภาพท่าร า อธิบายท่าร า 2. มัจฉานุ ทิศ : ด้านหน้า เท้า : ยกเท้าขวาหนีบน่อง เท้าซ้ายยืนเต็มเท้า มือ : มือซ้ายมือลิงหงายมือ งอศอกระดับศีรษะ มือซ้าย ตั้งวงลิงที่หน้าขา ศีรษะ : หน้ามองหนุมาน 11 ก็หาไม่ 1. หนุมาน ทิศ : ด้านหน้า เท้า : เท้าซ้ายเต็มเหลี่ยม เท้าขวาหลบเหลี่ยม มือ : มือซ้ายตั้งมือระดับเอว แบมือที่ด้านหน้า มือขวาจับ อาวุธอยู่ที่หน้าขาขวา ศีรษะ : หน้ามองมัจฉานุ 2. มัจฉานุ ทิศ : ด้านหลัง เท้า : กระโดดหมุนตัวไป ทางขวาเท้าขวาเต็มเหลี่ยม เท้าซ้ายหลบเหลี่ยม
113 ตารางที่ 5 กระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ จากบทละครในรัชกาลที่ 1 (ต่อ) ล าดับที่ เนื้อร้อง/ท านองเพลง รูปภาพท่าร า อธิบายท่าร า มือ : มือซ้ายแบมือแขนตึง มือขวาจับอาวุธหักข้อมือลง อยู่ที่อก ศีรษะ : หน้ามองไปทางขวา เอียงหูซ้ายเล็กน้อย 12 อย่าพักอาจอง 1. หนุมาน ทิศ : ด้านหลัง เท้า : เท้าขวาเต็มเหลี่ยม เท้าซ้ายหลบเหลี่ยม มือ : มือขวาท าท่าเหม่แขน ตึง มือซ้ายจับอาวุธอยู่ที่ หน้าขาซ้าย ศีรษะ : หน้ามองมัจฉานุ 2. มัจฉานุ ทิศ : ด้านหน้า เท้า : เท้าขวาเต็มเหลี่ยม เท้าซ้ายหลบเหลี่ยม มือ : มือขวาแบมือตั้งมือ งอข้อศอกอยู่ระดับเอว มือ จับอาวุธหักข้อมือลงอยู่ที่อก ศีรษะ : หน้ามองหนุมาน
114 ตารางที่ 5 กระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ จากบทละครในรัชกาลที่ 1 (ต่อ) ล าดับที่ เนื้อร้อง/ท านองเพลง รูปภาพท่าร า อธิบายท่าร า 13 ทะนงใจ 1. หนุมาน ทิศ : ด้านหลัง เท้า : เท้าขวาเต็มเหลี่ยม เท้าซ้ายหลบเหลี่ยม มือ : มือขวาจับอาวุธคว่ า มือระดับอก มือซ้ายแบ ตั้งมือต่ ากว่าระดับมือขวา ศีรษะ : หน้ามองมัจฉานุ 2. มัจฉานุ ทิศ : ด้านหน้า เท้า : เท้าขวาเต็มเหลี่ยม เท้าซ้ายหลบเหลี่ยม มือ : มือขวาจับอาวุธคว่ า มือระดับอก มือซ้ายแบ ตั้งมือวงต่ ากว่าระดับมือขวา ศีรษะ : หน้ามองหนุมาน 14 ใครดีจะได้ 1. หนุมาน ทิศ : ด้านหน้า เท้า : เท้าซ้ายเต็มเหลี่ยม เท้าขวาหลบเหลี่ยม มือ : มือซ้ายตึงแขนแบมือ คว่ าลง (เรียก) มือซ้ายก า อาวุธอยู่ที่หน้าขาขวา ศีรษะ : หน้ามองมัจฉานุ
115 ตารางที่ 5 กระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ จากบทละครในรัชกาลที่ 1 (ต่อ) ล าดับที่ เนื้อร้อง/ท านองเพลง รูปภาพท่าร า อธิบายท่าร า 2. มัจฉานุ ทิศ : ด้านหลัง เท้า : กระโดดหมุนตัวยก เท้าซ้ายวางเต็มเท้า เท้าขวา ยกหนีบน่อง ยืด-กระทบ เข่าซ้าย มือ : มือซ้ายจับอาวุธหัก ข้อมือลงอยู่ที่อก มือขวาชี้ นิ้วงอข้อศอกอยู่ข้างล าตัว ศีรษะ : หน้ามองหนุมาน 15 เห็นกัน 1. หนุมาน ทิศ : ด้านหน้า เท้า : เท้าขวาเต็มเหลี่ยม เท้าซ้ายหลบเหลี่ยม มือ : มือซ้ายแบมือถูที่คอ ซ้าย มือขวาจับอาวุธหัก ข้อมือลงอยู่ที่อก ศีรษะ : หน้ามองทางขวา 2. มัจฉานุ ทิศ : ด้านหน้า เท้า : ขยับเท้าซ้ายเต็ม เหลี่ยมเท้าขวาหลบเหลี่ยม มือ : มือขวาแบมือถูที่คอ ด้านขวา มือซ้ายจับอาวุธ หักข้อลงอยู่ที่อก
116 ตารางที่ 5 กระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ จากบทละครในรัชกาลที่ 1 (ต่อ) ล าดับที่ เนื้อร้อง/ท านองเพลง รูปภาพท่าร า อธิบายท่าร า ศีรษะ : หน้ามองไปทางซ้าย ก้มหน้าเล็กน้อย 16 ว่าแล้วส าแดงเดชา 1. หนุมาน ทิศ : ด้านหน้า เท้า : เท้าซ้ายเต็มเหลี่ยม เท้าขวาหลบเหลี่ยม มือ : มือซ้ายอยู่ที่อกหัก ข้อมือลง มือขวาจับอาวุธอยู่ ที่หน้าขาขวา ศีรษะ : หน้ามองมัจฉานุ 2. มัจฉานุ ทิศ : ด้านซ้าย เท้า : กระโดดยกเท้าขวา วาง เท้าซ้ายเต็มเหลี่ยม เท้าขวาหลบเหลี่ยมเปิด ส้นเท้า มือ : มือซ้ายจีบม้วนมือลง เปลี่ยนเป็นตั้งมือ มือขวาจับ อาวุธหักข้อมือลงอยู่ที่อก ศีรษะ : หน้ามองหนุมาน 17 เดชา 1. หนุมาน ทิศ : ด้านหน้า เท้า : เท้าขวาเต็มเหลี่ยม เท้าซ้ายหลบเหลี่ยม
117 ตารางที่ 5 กระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ จากบทละครในรัชกาลที่ 1 (ต่อ) ล าดับที่ เนื้อร้อง/ท านองเพลง รูปภาพท่าร า อธิบายท่าร า มือ : มือขวาจับอาวุธคว่ า มือระดับอก มือซ้ายแบ ตั้งมือต่ ากว่าระดับมือขวา ศีรษะ : หน้ามองมัจฉานุ 2. มัจฉานุ ทิศ : ด้านซ้าย เท้า : กระโดดยกเท้าซ้าย วางเต็มเหลี่ยมยกเท้าขวา วางเต็มเหลี่ยม (ย่อเหลี่ยมอัด) มือ : มือขวาและมือซ้ายจีบ หงายคว่ าพลิกมือซ้ายกลับ มาตั้งวงลิงอยู่ที่หน้าขาซ้าย มือขวาจับอาวุธตั้งวงอยู่ที่ หน้าขาขวา ศีรษะ : หน้ามองหนุมาน 18 พสุธาบาดาลไหวหวั่น 1. หนุมาน ทิศ : ด้านหน้า เท้า : เท้าซ้ายเต็มเหลี่ยม เท้าขวาหลบเหลี่ยม มือ : มือขวาจับอาวุธยกมือ ระดับศีรษะงอศอก (ท่าเงื้อ) มือซ้ายหักข้อมือลงอยู่ที่อก ศีรษะ : หน้ามองมัจฉานุ
118 ตารางที่ 5 กระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ จากบทละครในรัชกาลที่ 1 (ต่อ) ล าดับที่ เนื้อร้อง/ท านองเพลง รูปภาพท่าร า อธิบายท่าร า 2. มัจฉานุ ทิศ : ด้านหน้า เท้า : เท้าขวาเต็มเหลี่ยม เท้าซ้ายหลบเหลี่ยม มือ : มือซ้ายจีบสอดขึ้น เปลี่ยนเป็นมือลิงงอข้อศอก ระดับหัวไหล่อยู่ที่ข้างล าตัว มือขวาจับอาวุธอยู่ที่หน้าขา ศีรษะ : หน้ามองหนุมาน 19 โลดโผน 1. หนุมาน ทิศ : ด้านหลัง เท้า : เท้าขวาเต็มเหลี่ยม เท้าซ้ายหลบเหลี่ยม มือ : มือขวาจับอาวุธคว่ า มือระดับอก มือซ้ายตั้งมือ ต่ ากว่าระดับมือขวา ศีรษะ : หน้ามองมัจฉานุ 2. มัจฉานุ ทิศ : ด้านหน้า เท้า : เท้าขวาเต็มเหลี่ยม เท้าซ้ายหลบเหลี่ยม มือ : มือขวาจับอาวุธคว่ า มือระดับอก มือซ้ายตั้งมือ ต่ ากว่าระดับมือขวา ศีรษะ : หน้ามองหนุมาน
119 ตารางที่ 5 กระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ จากบทละครในรัชกาลที่ 1 (ต่อ) ล าดับที่ เนื้อร้อง/ท านองเพลง รูปภาพท่าร า อธิบายท่าร า 20 โจนรุก 1. หนุมาน ทิศ : ด้านหน้า เท้า : กระโดดยกเท้าขวา วางเต็มเท้าย่อเข่าเล็กน้อย เท้าซ้าย ยกหนีบน่อง มือ : มือขวาคีบอาวุธหงาย มืออยู่ข้างล าตัว มือซ้ายหัก ข้อมือลงอยู่ที่อก ศีรษะ : หน้ามองมัจฉานุ 2. มัจฉานุ ทิศ : ด้านหน้า เท้า : กระโดดยกเท้าขวา วางเต็มเท้า ย่อเข่าเล็กน้อย เท้าซ้ายยกหนีบน่อง มือ : มือขวาคีบอาวุธหงาย มืออยู่ข้างล าตัว มือซ้ายหัก ข้อมือลงอยู่ที่อก ศีรษะ : หน้ามองหนุมาน 21 บุกบัน 1 1. หนุมาน ทิศ : ด้านหน้า เท้า : วางเท้าซ้ายเต็ม เหลี่ยม เท้าขวาหลบเหลี่ยม เปิดส้นเท้า (ขยับเท้าซ้าย - เท้าขวา)
120 ตารางที่ 5 กระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ จากบทละครในรัชกาลที่ 1 (ต่อ) ล าดับที่ เนื้อร้อง/ท านองเพลง รูปภาพท่าร า อธิบายท่าร า 2 มือ : มือขวาจับอาวุธ (ตีบนเหนือศีรษะ ซ้าย-ขวา) มือซ้ายหักข้อมือลงอยู่ที่อก ศีรษะ : หน้ามองอาวุธ เอียงหู ซ้าย-ขวา 2.มัจฉานุ ทิศ : ด้านหลัง เท้า : วางเท้าซ้ายเต็มเหลี่ยม เท้าขวาหลบเหลี่ยม เปิดส้นเท้า (ขยับเท้าซ้าย - เท้าขวา) มือ : มือขวาจับอาวุธ (ตีบนเหนือศีรษะซ้าย-ขวา) มือซ้ายอยู่ที่อก ศีรษะ : หน้ามองอาวุธ เอียงหูซ้าย-ขวา 22 เข้าไล่ 1 1. หนุมาน ทิศ : ด้านหน้า เท้า : กระโดดสลับแทน ที่กันวางเท้าซ้ายเต็มเหลี่ยม เท้าขวาหลบเหลี่ยมเปิด ส้นเท้า (ขยับเท้าซ้ายและ เท้าขวา) มือ : มือขวาจับอาวุธ (ตีบนเหนือศีรษะซ้าย-ขวา) มือซ้ายอยู่ที่อก
121 ตารางที่ 5 กระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ จากบทละครในรัชกาลที่ 1 (ต่อ) ล าดับที่ เนื้อร้อง/ท านองเพลง รูปภาพท่าร า อธิบายท่าร า 2 ศีรษะ : หน้ามองอาวุธ เอียงหู ซ้าย-ขวา 2. มัจฉานุ ทิศ : ด้านหลัง เท้า : กระโดดสลับแทนที่กัน วางเท้าซ้ายเต็มเหลี่ยมเท้า ขวาหลบเหลี่ยมเปิดส้นเท้า (ขยับเท้าซ้ายและเท้าขวา) มือ : มือขวาจับอาวุธ (ตีบนเหนือศีรษะ ซ้าย-ขวา) มือซ้ายอยู่ที่อก ศีรษะ : หน้ามองอาวุธ เอียงหู ซ้าย-ขวา 23 โรมรัน 1. หนุมาน ทิศ : ด้านหลัง เท้า : ยกเท้าขวามาชิด ส้นเท้าซ้าย ส้นเท้าทั้ง สองข้างยกขึ้น มือ : มือขวาคีบอาวุธงอ ศอกอยู่ข้างล าตัวระดับ เหนือศีรษะ (ตีบนเหนือ ศีรษะซ้าย-ขวา) มือซ้ายหัก ข้อมือลงอยู่ที่อก ศีรษะ : หน้ามองอาวุธ
122 ตารางที่ 5 กระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ จากบทละครในรัชกาลที่ 1 (ต่อ) ล าดับที่ เนื้อร้อง/ท านองเพลง รูปภาพท่าร า อธิบายท่าร า 2. มัจฉานุ ทิศ : ด้านหน้า เท้า : ยกเท้าขวามาชิดส้น เท้าซ้าย ส้นเท้าทั้งสองข้าง ยกขึ้น มือ : มือขวาคีบอาวุธงอ ศอกอยู่ข้างล าตัวระดับ เหนือศีรษะ (ตีบนเหนือ ศีรษะซ้าย-ขวา) มือซ้ายหัก ข้อมืออยู่ที่อก ศีรษะ : หน้ามองอาวุธ 24 ราวี 1. หนุมาน ทิศ : ด้านหลัง เท้า : กระโดดยกเท้าขวาวาง เต็มเท้ายกเท้าซ้ายหนีบน่อง มือ : มือขวาจับอาวุธวาด มือลงเป็นวงกลมตามเข็ม นาฬิกา แล้ววนกลับขึ้นไปตี ด้านบนเหนือศีรษะ ศีรษะ : หน้ามองตามอาวุธ 2. มัจฉานุ ทิศ : ด้านหน้า เท้า : กระโดดยกเท้าขวาวาง เต็มเท้ายกเท้าซ้ายหนีบน่อง
123 ตารางที่ 5 กระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ จากบทละครในรัชกาลที่ 1 (ต่อ) ล าดับที่ เนื้อร้อง/ท านองเพลง รูปภาพท่าร า อธิบายท่าร า มือ : มือขวาจับอาวุธวาด มือลงเป็นวงกลมตามเข็ม นาฬิกา แล้ววนกลับขึ้นไปตี ด้านบน เหนือศีรษะ ศีรษะ : หน้ามองตามอาวุธ 25 จังหวะว่าง 1. หนุมาน ทิศ : ด้านหลัง เท้า : เท้าทั้งสองข้างกาง ออกเหยียดตึง เฉียงขึ้น ด้านบน (ท่าพาสุริน) มือ : มือทั้งสองยันพื้นแขน เหยียดตึง ศีรษะ : หน้ามองพื้น 2. มัจฉานุ ทิศ : ด้านหน้า เท้า : เท้าทั้งสองข้างกาง ออกเหยียดตึง เฉียงขึ้น ด้านบน (ท่าพาสุริน) มือ : มือทั้งสองยันพื้นแขน เหยียดตึง ศีรษะ : หน้ามองพื้น
124 ตารางที่ 5 กระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ จากบทละครในรัชกาลที่ 1 (ต่อ) ล าดับที่ เนื้อร้อง/ท านองเพลง รูปภาพท่าร า อธิบายท่าร า 26 บัดนั้น 1. หนุมาน ทิศ : ด้านหน้า เท้า : ยกเท้าขวามาชิดเท้า ซ้าย ส้นเท้าทั้งสองข้างชิด กันอยู่ในลักษณะท่าเก็บ ซอยเท้า มือ : มือขวาจับอาวุธอยู่ที่ หน้าขา มือซ้ายตั้งวงลิงอยู่ที่ หน้าขา ศีรษะ : หน้ามองตรง 2. มัจฉานุ ทิศ : ด้านหน้า เท้า : เท้าขวาเต็มเหลี่ยม เท้าซ้ายหลบเหลี่ยมเปิด ส้นเท้า มือ : มือขวาท าท่าเหม่แขน ตึง มือซ้ายจับอาวุธอยู่ ที่หน้าขาซ้าย ศีรษะ : หน้ามองหนุมาน 27 หนุมาน 1. หนุมาน ทิศ : ด้านหน้า เท้า : ยกเท้าขวาหนีบน่อง วางลง ยกเท้าซ้ายติด ยืด-กระทบ วางเท้าซ้ายเต็ม เหลี่ยมเท้าขวาหลบเหลี่ยม
125 ตารางที่ 5 กระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ จากบทละครในรัชกาลที่ 1 (ต่อ) ล าดับที่ เนื้อร้อง/ท านองเพลง รูปภาพท่าร า อธิบายท่าร า มือ : มือซ้ายที่ตั้งวงลิงวาด มือจีบเข้าหาล าตัวอยู่ที่อก มือขวาจับอาวุธอยู่ที่หน้าขา ศีรษะ : หน้ามองตรงเอียงหู ซ้ายเล็กน้อย 2. มัจฉานุ ทิศ : ด้านหน้า เท้า : เท้าซ้ายเต็มเหลี่ยม เท้าขวาหลบเหลี่ยมเปิด ส้นเท้า มือ : มือซ้ายหักข้อมืออยู่ที่ อก มือขวาจับอาวุธอยู่ที่ หน้าขา ศีรษะ : หน้ามองหนุมาน 28 ผู้ชาญชัยศรี 1. หนุมาน ทิศ : ด้านหน้า เท้า : เท้าขวาวางเต็มเท้า เท้าซ้ายวางชิดส้นเท้าขวา ดัดปลายเท้า ย่อเข่าลง มือ : มือซ้ายตั้งวงลิงระดับ ศีรษะมือขวาจับอาวุธอยู่ที่อก ศีรษะ : หน้ามองมือซ้าย
126 ตารางที่ 5 กระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ จากบทละครในรัชกาลที่ 1 (ต่อ) ล าดับที่ เนื้อร้อง/ท านองเพลง รูปภาพท่าร า อธิบายท่าร า 2. มัจฉานุ ทิศ : ด้านหน้า เท้า : เท้าขวาเต็มเหลี่ยม เท้าซ้ายหลบเหลี่ยม มือ : มือขวาถืออาวุธขยับ ขึ้นลงสลับกับมือซ้าย ศีรษะ : หน้ามองหนุมาน 29 กริ้วโกรธ 1. หนุมาน ทิศ : ด้านหน้า เท้า : เท้าขวาวางเต็ม เหลี่ยม เท้าซ้ายหลบเหลี่ยม มือ : มือขวาจับอาวุธหัก ข้อมือลงอยู่ที่อก มือซ้ายแบ มือถูที่คอซ้าย ศีรษะ : หน้ามองทางขวา 2. มัจฉานุ ทิศ : ด้านหน้า เท้า : เท้าซ้ายวางเต็ม เหลี่ยม เท้าขวาหลบเหลี่ยม เปิดส้นเท้า มือ : มือซ้ายจับอาวุธหัก ข้อมืออยู่ที่อก มือขวาแบมือ ถูที่คอขวา ศีรษะ : หน้ามองทางซ้าย
127 ตารางที่ 5 กระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ จากบทละครในรัชกาลที่ 1 (ต่อ) ล าดับที่ เนื้อร้อง/ท านองเพลง รูปภาพท่าร า อธิบายท่าร า 30 พิโรธ 1. หนุมาน ทิศ : ด้านหน้า เท้า : เท้าขวาเต็มเหลี่ยม เฉียงสี่สิบห้าองศา เท้าซ้าย หลบเหลี่ยม มือ : มือขวาจับอาวุธ มือ ซ้ายแบออก มือทั้งสองข้าง ประกบกัน ยื่นออกมา ด้านหน้าล าตัวระดับอก ศีรษะ : หน้ามองเฉียงไป ทางขวา 2. มัจฉานุ ทิศ : ด้านหลัง เท้า : เท้าซ้ายเต็มเหลี่ยม เท้าขวาหลบเหลี่ยม มือ : มือขวาจับอาวุธยกมือ ระดับศีรษะงอศอก (ท่าเงื้อ) มือซ้ายหักข้อมืออยู่ที่อก ศีรษะ : หน้ามองหนุมาน 31 ดั่งอัคคี 1. หนุมาน ทิศ : ด้านหลัง เท้า : เท้าขวาวางเต็ม เหลี่ยม เท้าซ้ายหลบเหลี่ยม
128 ตารางที่ 5 กระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ จากบทละครในรัชกาลที่ 1 (ต่อ) ล าดับที่ เนื้อร้อง/ท านองเพลง รูปภาพท่าร า อธิบายท่าร า มือ : มือขวาจับอาวุธหัก ข้อมือขึ้น มือซ้ายแบหัก ข้อมือขึ้น มือทั้งสองข้าง แยกออกข้าง ล าตัว ศีรษะ : หน้ามองมัจฉานุ 2. มัจฉานุ ทิศ : ด้านหน้า เท้า : เท้าขวาเต็มเหลี่ยม เท้าซ้ายหลบเหลี่ยม มือ : มือขวาจับอาวุธ คว่ า มือระดับอก มือซ้ายแบมือ ตั้งวงต่ ากว่าระดับมือขวา ศีรษะ : หน้ามองหนุมาน 32 ขุนกระบี่ 1. หนุมาน ทิศ : ด้านหลัง เท้า : เท้าทั้งสองข้างกาง ออกเหยียดตึง เฉียงขึ้น ด้านบน (พาสุริน) มือ : มือทั้งสองยันพื้นแขน เหยียดตึง ศีรษะ : หน้ามองพื้น 2. มัจฉานุ ทิศ : ด้านหน้า เท้า : เท้าทั้งสองข้างกาง ออกเหยียดตึง เฉียงขึ้น
129 ตารางที่ 5 กระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ จากบทละครในรัชกาลที่ 1 (ต่อ) ล าดับที่ เนื้อร้อง/ท านองเพลง รูปภาพท่าร า อธิบายท่าร า ด้านบน (ท่าพาสุริน) มือ : มือทั้งสองยันพื้นแขน เหยียดตึง ศีรษะ : หน้ามองพื้น 33 รับระปะทะกร 1 2 1. หนุมาน ทิศ : ด้านหน้า เท้า : กระโดดวางเท้า ขวา-ซ้าย วางเท้าซ้ายเต็ม เหลี่ยม เท้าขวาเปิดหลบ เหลี่ยมเปิดส้นเท้า (ขยับเท้าซ้ายและเท้าขวา) มือ : มือขวาจับอาวุธ (ตีบน เหนือศีรษะ ซ้าย-ขวา) มือซ้ายหักข้อมืออยู่ที่อก ศีรษะ : หน้ามองอาวุธ เอียงหู ซ้าย-ขวา 2. มัจฉานุ ทิศ : ด้านหลัง เท้า : กระโดดวางเท้า ขวาซ้าย วางเท้าซ้ายเต็มเหลี่ยม เท้าซ้ายหลบเหลี่ยมเปิด ส้นเท้า (ขยับเท้าซ้ายและ เท้าขวา)
130 ตารางที่ 5 กระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ จากบทละครในรัชกาลที่ 1 (ต่อ) ล าดับที่ เนื้อร้อง/ท านองเพลง รูปภาพท่าร า อธิบายท่าร า มือ : มือขวาจับอาวุธ (ตีบน เหนือศีรษะ ซ้าย-ขวา) มือซ้ายอยู่ที่อก ศีรษะ : หน้ามองอาวุธ เอียงหู ซ้าย-ขวา 34 เคล่าคล่องว่องไว ทั้งสองข้าง 1 2 1. หนุมาน ทิศ : ด้านหลัง เท้า : กระโดดหมุนตัว ทางขวา กระทืบเท้าขวา เต็มเหลี่ยม เท้าซ้ายหลบ เหลี่ยมเปิดส้นเท้า (กระทืบเท้าสลับขวา-ซ้าย) มือ : มือขวาจับอาวุธ มือ ซ้ายแบมือติดที่หลังมือขวา แทงอาวุธไปที่ข้างล าตัว ทางขวา (แทงอาวุธสลับ ขวา-ซ้าย) ศีรษะ : หน้ามองอาวุธ เอียงหูซ้าย 2. มัจฉานุ ทิศ : ด้านหน้า เท้า : กระโดดหมุนตัว ทางขวา กระทืบเท้าขวาเต็ม เหลี่ยมเท้าซ้ายหลบเหลี่ยม
131 ตารางที่ 5 กระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ จากบทละครในรัชกาลที่ 1 (ต่อ) ล าดับที่ เนื้อร้อง/ท านองเพลง รูปภาพท่าร า อธิบายท่าร า ต่างตนต่างหาญ 3 4 เปิดส้นเท้า(กระทืบเท้า สลับขวา-ซ้าย) มือ : มือขวาจับอาวุธ มือ ซ้ายแบมือติดที่หลังมือขวา แทงอาวุธไปที่ข้างล าตัว ทางขวา (แทงอาวุธสลับ ขวา-ซ้าย) ศีรษะ : หน้ามองอาวุธ เอียงหูซ้าย 1. หนุมาน ทิศ : ด้านหลัง เท้า : ยกเท้าซ้ายมาชิด ส้นเท้าขวา เก็บซอยเท้า หมุนตัวทางซ้ายแทนที่กัน กระทืบเท้าขวาเต็มเหลี่ยม เท้าซ้ายหลบเหลี่ยมเปิด ส้นเท้า (กระทืบเท้าสลับ ซ้าย-ขวา) มือ : มือขวาจับอาวุธ มือซ้ายแบมือติดที่หลัง มือขวา แทงอาวุธไปที่ข้าง ล าตัวทางขวา (แทงอาวุธ สลับขวา-ซ้าย) ศีรษะ : หน้ามองอาวุธ เอียงหูซ้าย
132 ตารางที่ 5 กระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ จากบทละครในรัชกาลที่ 1 (ต่อ) ล าดับที่ เนื้อร้อง/ท านองเพลง รูปภาพท่าร า อธิบายท่าร า 2. มัจฉานุ ทิศ : ด้านหน้า เท้า : เท้าซ้ายหลบเหลี่ยม (กระทืบเท้าสลับขวา-ซ้าย) มือ : มือขวาจับอาวุธ มือซ้ายแบมือติดที่หลัง มือขวา แทงอาวุธไปที่ข้าง ล าตัวทางขวา (แทงอาวุธ สลับขวา-ซ้าย) ศีรษะ : หน้ามองอาวุธ เอียงหูซ้าย 35 ชาญสมร 1 2 1. หนุมาน ทิศ : ด้านหน้า เท้า : วางเท้าซ้ายเต็ม เหลี่ยม เท้าซ้ายหลบเหลี่ยม เปิดส้นเท้า (ขยับเท้าซ้าย และเท้าขวา) มือ : มือขวาจับอาวุธ (ตีบน เหนือศีรษะ ซ้าย-ขวา) มือซ้ายหักข้อมือลงอยู่ที่อก ศีรษะ : หน้ามองอาวุธ เอียงหู ซ้าย-ขวา 2. มัจฉานุ ทิศ : ด้านหลัง
133 ตารางที่ 5 กระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ จากบทละครในรัชกาลที่ 1 (ต่อ) ล าดับที่ เนื้อร้อง/ท านองเพลง รูปภาพท่าร า อธิบายท่าร า เท้า : วางเท้าซ้ายเต็ม เหลี่ยม เท้าซ้ายหลบเหลี่ยม เปิดส้นเท้า (ขยับเท้าซ้าย และเท้าขวา) มือ : มือขวาจับอาวุธ (ตีบน เหนือศีรษะ ซ้าย-ขวา) มือซ้ายหักข้อมือลงอยู่ที่อก ศีรษะ : หน้ามองอาวุธ เอียงหู ซ้าย-ขวา 36 ถ้อยที 1. หนุมาน ทิศ : ด้านหลัง เท้า : ส้นเท้าทั้งสองข้างชิด กัน ยกส้นเท้าขึ้น มือ : มือขวาคีบอาวุธงอ ศอกอยู่ข้างล าตัวระดับเหนือ ศีรษะ (ตีบนเหนือ)ศีรษะ ซ้าย-ขวา) มือซ้ายหักข้อมือ ลงอยู่ที่อก ศีรษะ : หน้ามองอาวุธ 2. มัจฉานุ ทิศ : ด้านหน้า เท้า : ส้นเท้าทั้งสองข้าง ชิดกัน ยกส้นขึ้น
134 ตารางที่ 5 กระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ จากบทละครในรัชกาลที่ 1 (ต่อ) ล าดับที่ เนื้อร้อง/ท านองเพลง รูปภาพท่าร า อธิบายท่าร า มือ : มือขวาคีบอาวุธงอศอก อยู่ข้างล าตัวระดับเหนือ ศีรษะ (ตีบนเหนือศีรษะซ้ายขวา) มือซ้ายหักข้อมือลง อยู่ที่อก ศีรษะ : หน้ามองอาวุธ 37 ถ้อยมี 1. หนุมาน ทิศ : ด้านหลัง เท้า : กระโดดยกเท้าขวาวาง เต็มเท้า ยกเท้าซ้ายหนีบน่อง มือ : มือขวาจับอาวุธวาดมือ ลงเป็นวงกลมตามเข็ม นาฬิกา แล้ววนกลับขึ้นไปตี ด้านบน เหนือศีรษะ ศีรษะ : หน้ามองตามอาวุธ 2. มัจฉานุ ทิศ : ด้านหน้า เท้า : กระโดดยกเท้าขวาวาง เต็มเท้า ยกเท้าซ้ายหนีบน่อง มือ : มือขวาจับอาวุธวาดมือ ลงเป็นวงกลมตามเข็ม นาฬิกา แล้ววนกลับขึ้นไปตี ด้านบนเหนือศีรษะ ศีรษะ : หน้ามองตามอาวุธ
135 ตารางที่ 5 กระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ จากบทละครในรัชกาลที่ 1 (ต่อ) ล าดับที่ เนื้อร้อง/ท านองเพลง รูปภาพท่าร า อธิบายท่าร า 38 ฤทธิรอน 1. หนุมาน ทิศ : ด้านหลัง เท้า : เท้าทั้งสองข้างกาง ออกเหยียดตึง เฉียงขึ้น ด้านบน (ท่าพาสุริน) มือ : มือทั้งสองยันพื้น แขนเหยียดตึง ศีรษะ : หน้ามองพื้น 2. มัจฉานุ ทิศ : ด้านหน้า เท้า : เท้าทั้งสองข้างกาง ออกเหยียดตึง เฉียงขึ้น ด้านบน (ท่าพาสุริน) มือ : มือทั้งสองยันพื้นแขน เหยียดตึง ศีรษะ : หน้ามองพื้น 39 ต่อกรไม่ละ 1. หนุมาน ทิศ : ด้านหน้า เท้า : เท้าซ้ายเต็มเหลี่ยม เท้าขวาหลบเหลี่ยม มือ : มือขวาจับอาวุธยกมือ ระดับศีรษะงอศอก (ท่าเงื้อ) มือซ้ายตั้งวงลิงที่หน้าขาซ้าย ศีรษะ : หน้ามองมัจฉานุ
136 ตารางที่ 5 กระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุ จากบทละครในรัชกาลที่ 1 (ต่อ) ล าดับที่ เนื้อร้อง/ท านองเพลง รูปภาพท่าร า อธิบายท่าร า 2. มัจฉานุ ทิศ : ด้านหลัง เท้า : เท้าซ้ายเต็มเหลี่ยม เท้าขวาหลบเหลี่ยม มือ : มือขวาจับอาวุธยกมือ ระดับศีรษะงอศอก (ท่าเงื้อ) มือซ้ายตั้งวงลิงที่หน้าขาซ้าย ศีรษะ : หน้ามองหนุมาน 40 ลดกัน 1. หนุมาน ทิศ : ด้านหลัง เท้า : เท้าขวาเต็มเหลี่ยม เท้าซ้ายหลบเหลี่ยม มือ : มือขวาจับอาวุธคว่ ามือ ระดับอก มือซ้ายแบ ตั้งมือต่ ากว่าระดับมือขวา ศีรษะ : หน้ามองมัจฉานุ 2. มัจฉานุ ทิศ : ด้านหน้า เท้า : เท้าขวาเต็มเหลี่ยม เท้าซ้ายหลบเหลี่ยม มือ : มือขวาจับอาวุธคว่ ามือ ระดับอก มือซ้ายแบตั้งมือต่ า กว่าระดับมือขวา ศีรษะ : หน้ามองหนุมาน