The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

QR รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการวิจัยศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by All about your Desing, 2023-05-01 05:58:34

QR รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการวิจัยศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง

QR รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการวิจัยศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง

โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 2-4 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ผลกระทบอย่างรุนแรงจากการกัดเซาะชายฝั่ง (Gracia et al., 2018) โดยข้อมูลจากแบบจำลอง การเปลี่ยนแปลงระดับน้ำทะเลในพื้นที่อ่าวไทย พบว่า ในช่วง 30 ปีข้างหน้า การเพิ่มขึ้นของ ระดับน้ำทะเลเฉลี่ย มีค่าอยู่ระหว่าง 10 - 20 เซนติเมตร (อัศมน ลิ่มสกุล และคณะ, 2559) ส่วนบริเวณทะเลอันดามัน แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำทะเลมีค่าอยู่ระหว่าง 0.7 – 36.7 มิลลิเมตรต่อปี ซึ่งค่าสูงที่สุดมาจากข้อมูลสถานีอ่าวปอ จังหวัดภูเก็ต (กิรพัฒน์ พชรพิชชากร และสมปรารถนา ฤทธิ์พริ้ง, 2555) 2.2.2.2 การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ชายฝั่งจากกิจกรรมของมนุษย์ กิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ก่อให้เกิดการชะลอหรือกีดขวางกระบวนการสร้างสมดุล ของชายฝั่งซึ่งส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนที่ของตะกอนชายฝั่งตามธรรมชาติ (กรมทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่ง, 2561ก) ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ชายฝั่งและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เช่น อุตสาหกรรมท่องเที่ยว การประมง บ่อกุ้ง การตักและดูดทราย การบุกรุกทำลายพื้นที่ป่าชายเลน การสร้างเขื่อนหรือฝายกั้นแม่น้ำลำคลอง ตลอดจนการก่อสร้างโครงสร้างรูปแบบต่าง ๆ ทั้งการก่อสร้างในทะเล เช่น การถมทะเล การก่อสร้างท่าเรือน้ำลึก เป็นต้น สิ่งก่อสร้างที่ยื่นออกจาก ชายฝั่ง เช่น ท่าเทียบเรือประมง สะพาน ท่อระบายน้ำ เขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำ (Jetty) เป็นต้น และสิ่งก่อสร้างบนหาดหรือบนฝั่ง เช่น ถนน อาคาร เขื่อนป้องกันตลิ่งริมชายฝั่ง เป็นต้น ซึ่งกิจกรรมดังกล่าว ทำให้เกิดการชะลอหรือกีดขวางกระบวนการสร้างสมดุลชายฝั่ง เกิดผลกระทบต่อ การเคลื่อนที่ของตะกอนตามธรรมชาติ จนอาจเกิดการกัดเซาะชายฝั่งขึ้น (กองธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม, 2564; กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 2561ก) 2.1.3 ผลกระทบของการกัดเซาะชายฝั่ง จากการศึกษาของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (2561ก) พบว่า การกัดเซาะ ชายฝั่งก่อให้เกิดผลกระทบในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม ระบบนิเวศ และความมั่นคง ดังนี้ 2.1.3.1 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ การกัดเซาะชายฝั่งทำให้เกิดการสูญเสียแผ่นดิน โดยมีการประมาณการว่า ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยสูญเสียพื้นที่จากการกัดเซาะชายฝั่งมากกว่า 113,042 ไร่ หรือคิดเป็นมูลค่า ความเสียหายเฉพาะที่ดินประมาณ 1 แสนล้านบาท ซึ่งส่งผลกระทบทำให้เกิดการสูญเสียแหล่งที่อยู่ อาศัยและแหล่งทำกินของประชาชน ตลอดจนระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ แหล่งทรัพยากรธรรมชาติ และแหล่งท่องเที่ยว นอกจากนี้ หน่วยงานส่วนกลางที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานป้องกันและแก้ไข ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งของประเทศ ได้มีการขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีในแต่ละปี


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 2-5 รวมกันไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท ส่งผลกระทบต่อโอกาสด้านการลงทุนเพื่อพัฒนาประเทศ ในภาคอุตสาหกรรม การบริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการท่องเที่ยว 2.1.3.2 ผลกระทบด้านสังคม ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งส่งผลกระทบต่อชุมชนที่ตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่บริเวณพื้นที่ ชายฝั่ง เนื่องจากต้องสูญเสียพื้นที่อยู่อาศัย แหล่งทำกิน แหล่งท่องเที่ยว แหล่งวัฒนธรรม และสถานที่ สำคัญทางศาสนาต่าง ๆ อาจทำให้ต้องอพยพย้ายถิ่นฐานไปยังพื้นที่อื่น ซึ่งส่งผลทำให้เกิด การขาดแคลนที่อยู่อาศัย ที่ทำกินอันเป็นแหล่งรายได้ ยังเกิดการสูญเสียวิถีชีวิตชุมชน วัฒนธรรม และประเพณีดั้งเดิมอีกด้วย นอกจากนี้ ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ยังส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต ของประชาชน เนื่องจากชุมชนต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตดั้งเดิม เกิดความไม่มั่นคงทั้งในด้านกรรมสิทธิ์ ที่ดิน การประกอบอาชีพ ตลอดจนเกิดความวิตกกังวลและขาดความมั่นใจในการดำเนินชีวิต ทั้งในปัจจุบันและอนาคต ดังนั้น ชุมชนที่ประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งจึงมีคุณภาพชีวิตที่ตกต่ำลง 2.1.3.3 ผลกระทบด้านระบบนิเวศ การกัดเซาะชายฝั่งก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศ เช่น ตะกอน ที่ถูกพัดพามาจากพื้นที่ที่ถูกกัดเซาะไปตกสะสมตัวอยู่บริเวณที่เป็นแหล่งอาศัยและเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ วัยอ่อน ทำให้เกิดการสูญเสียความอุดมสมบูรณ์ของทะเลและห่วงโซ่อาหารบริเวณชายฝั่ง นอกจากนี้ ระบบนิเวศชายหาด ป่าชายเลน แหล่งหญ้าทะเล และปะการัง ยังอาจได้รับผลกระทบจากปัญหา การกัดเซาะชายฝั่งแบะเกิดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพอีกด้วย 2.1.3.4 ผลกระทบด้านความมั่นคง การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ชายฝั่งจากการกัดเซาะชายฝั่งกระทบต่อความมั่นคง ของประเทศและการดำรงชีวิตของประชาชน การสูญเสียแผ่นดินอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อ ยุทธศาสตร์ทางการทหารและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ นอกจากนี้ ยังเกิดความเปราะบางต่อ ภัยคุกคามจากธรรมชาติ เช่น อุทกภัย วาตภัย และภาวะโลกร้อน 2.2 การป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งในประเทศไทย การป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งของประเทศไทยที่ผ่านมา มีหลาย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาร่วมดำเนินการทั้งหน่วยงานปฏิบัติและหน่วยงานกำกับดูแลและสนับสนุน ในการจัดทำแผน ข้อมูล และองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง อาทิเช่น กรมเจ้าท่า กรมโยธาธิการและผังเมือง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง สำนักงาน


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 2-6 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง นโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมทรัพยากรธรณี องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงภาคเอกชนและประชาชนที่มีการดำเนินการเพื่อปกป้องและลดความเสียหายที่เกิดขึ้นกับ ทรัพย์สินของตนเองบริเวณแนวชายฝั่งทะเล (กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 2561ก) 2.2.1 แนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ตามแนวทางการจัดทำแผนงาน/โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง จัดทำ โดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (2561ก) ซึ่งผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการนโยบาย และแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ และคณะรัฐมนตรีพิจารณา เห็นชอบแล้วเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2561 สำหรับใช้เป็นแนวทางและข้อมูลสนับสนุนหน่วยงานต่าง ๆ ในการจัดทำแผนงานโครงการและงบประมาณการจัดการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ที่เหมาะสม โดยมุ่งเน้นแนวทางและรูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งที่มี ความสอดคล้องกับกระบวนการทางธรรมชาติเป็นหลัก สามารถจำแนกออกเป็น 4 แนวทาง ดังนี้ (1) การปรับสมดุลชายฝั่งโดยธรรมชาติคือ การคงไว้ซึ่งสภาวะสมดุลพลวัต หรือกระบวนการชายฝั่งตามธรรมชาติ เพื่อปล่อยให้ชายฝั่งที่เกิดการกัดเซาะได้มีการปรับสมดุล และฟื้นคืนสภาพธรรมชาติด้วยตนเอง โดยการออกมาตรการรักษาความสมบูรณ์ของสภาพธรรมชาติ ชายฝั่งและกำหนดไม่ให้มีกิจกรรมของมนุษย์ที่จะเข้าไปเกี่ยวข้องหรือรบกวนเสถียรภาพของชายฝั่ง เช่น การไม่ดำเนินการใด ๆ เพื่อปล่อยให้ชายฝั่งที่เกิดการกัดเซาะได้มีการปรับเข้าสู่สมดุล ตามธรรมชาติ การกำหนดพื้นที่ถอยร่น เพื่อป้องกันผลกระทบจากการกัดเซาะชายฝั่งที่จะมีต่อมนุษย์ เศรษฐกิจและสังคมหรือการออกมาตรการคุ้มครองพื้นที่ชายฝั่ง เป็นต้น (2) การฟื้นฟูเสถียรภาพชายฝั่ง คือ การดำเนินการใด ๆ เพื่อให้ชายฝั่งที่ถูกกัด เซาะไปแล้วฟื้นคืนสภาพเดิมตามธรรมชาติ และสามารถกลับมาให้บริการของระบบนิเวศ (Ecosystem service) ได้เช่น การปลูกป่าชายเลน ป่าชายหาด เพื่อสร้างเสถียรภาพให้กับชายฝั่ง การฟื้นฟูชายหาด ด้วยการเติมทรายชายหาดเพื่อให้สามารถกระจายแรงคลื่นและลดความเสี่ยงต่อการกัดเซาะชายฝั่ง รวมทั้งการปักเสาดักตะกอนเพื่อฟื้นฟูป่าชายเลน เป็นต้น (3) การป้องกันปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง คือ การดำเนินกิจกรรมใด ๆ เพื่อ ป้องกันพื้นที่ชายฝั่งที่มีการกัดเซาะให้มีอัตราการกัดเซาะลดลง ทั้งการดำเนินการในรูปแบบสอดคล้อง หรือเลียนแบบธรรมชาติ เช่น การฟื้นฟูชายหาด การปักเสาดักตะกอนเพื่อปลูกป่าชายเลน ตลอดจน การดำเนินการโดยใช้รูปแบบที่เป็นโครงสร้างทางวิศวกรรม เช่น เขื่อนกันคลื่นนอกชายฝั่ง รอดักทราย เขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเล และกำแพงป้องกันคลื่นริมชายหาด เป็นต้น (4) การแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง คือ การดำเนินกิจกรรมใด ๆ เพื่อแก้ไข ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งในบริเวณชายฝั่งที่ถูกกัดเซาะ ทั้งการใช้รูปแบบที่สอดคล้องธรรมชาติ และเลียนแบบธรรมชาติ หรือใช้โครงสร้างทางวิศวกรรม ตลอดจนการแก้ไขที่ต้นเหตุของปัญหา


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 2-7 การกัดเซาะชายฝั่ง เช่น การรื้อถอนโครงสร้างหรือปรับปรุงรูปแบบสิ่งก่อสร้างที่ขวางการเคลื่อนที่ ของตะกอนชายฝั่ง การปลูกป่า และการถ่ายเททราย เป็นต้น 2.2.2 มาตรการและรูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ภายใต้แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง 4 แนวทางดังกล่าว ข้างต้น สามารถจำแนกออกเป็น 3 มาตรการ 8 รูปแบบ (รูปที่ 2-1) รายละเอียด ดังนี้ รูปที่ 2-1 มาตรการและรูปแบบในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง (กรมทรัพยากร ทางทะเลและชายฝั่ง, 2561ก) (1) มาตรการสีขาว (White measure) หมายถึง การดำเนินงานต่าง ๆ เพื่อลดผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนที่อาจเกิดขึ้นจากการกัดเซาะชายฝั่ง ได้แก่ การกำหนดพื้นที่ถอยร่น (2) มาตรการสีเขียว (Green measures) หมายถึง การดำเนินงานเพื่อรักษา เสถียรภาพชายฝั่ง โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบกับพื้นที่ข้างเคียง เหมาะกับบริเวณที่มีชายฝั่งทะเล แบบปิด คลื่นขนาดเล็ก ชายฝั่งมีความลาดชันต่ำ ได้แก่ การปลูกป่า (ป่าชายเลน/ป่าชายหาด) การฟื้นฟูชายหาด (การถ่ายเททราย/การเติมทราย การปักเสาดักตะกอนเพื่อปลูกป่าชายเลน (ปักไม้ไผ่/ เสาคอนกรีตหรือวัสดุอื่น) (3) มาตรการสีเทา (Gray measures) หมายถึง การดำเนินงานเพื่อรักษา เสถียรภาพชายฝั่ง โดยใช้โครงสร้างทางวิศวกรรม เหมาะกับบริเวณชายฝั่งทะเลเปิด คลื่นขนาดใหญ่ ชายฝั่งมีความลาดชันสูง ได้แก่ เขื่อนกันคลื่นนอกชายฝั่ง รอดักทราย เขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเล กำแพง ป้องกันคลื่นริมชายหาด การรื้อถอนโครงสร้างหรือสิ่งก่อสร้างที่ขวางการเคลื่อนที่ของตะกอนชายฝั่ง 2.2.3 รูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง รูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทั้ง 8 รูปแบบ มีรายละเอียด ดังนี้ (1) การกำหนดพื้นที่ถอยร่น (Setback zone) เป็นหนึ่งในเครื่องมือทาง กฎหมายโดยใช้หลักการคุ้มครองพื้นที่ชายฝั่งทะเลและทะเลในฐานะเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 2-8 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เนื่องจากวัตถุประสงค์สำคัญของการกำหนดระยะถอยร่นชายฝั่งทะเล คือ การสร้างหลักประกันสิทธิใน การเข้าถึงการใช้ทรัพยากรชายฝั่งในฐานะที่เป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินของประชาชนทุกคนอย่าง เท่าเทียม (อารยา สุขสม, 2560) นอกจากนี้ ยังเป็นการลดผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ที่อาจเกิดขึ้นจากการกัดเซาะชายฝั่ง โดยการกำหนดพื้นที่กันชนให้มีระยะห่างระดับหนึ่งและกำหนด กิจกรรมการใช้ประโยชน์ที่ดิน และมาตรการต่าง ๆ ที่สามารถดำเนินการได้ภายในเขตพื้นที่ถอยร่นให้มี ความเหมาะสมกับอัตราการกัดเซาะชายฝั่ง เพื่อเป็นการคุ้มครองทรัพยากรชายฝั่งทะเลและควบคุม การพัฒนาและการก่อสร้างอาคารที่มีการพัฒนาถาวรภายในพื้นที่นั้น (รูปที่ 2-2) รูปที่ 2-2 รูปแบบการกำหนดะยะถอยร่นชายฝั่งทะเล (กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 2561ก) (2) การปลูกป่า (Vegetation) โดยการปลูกต้นไม้เพื่อสร้างเสถียรภาพของ ชายฝั่ง โดยใช้รากของพืชช่วยในการยึดเกาะดินตะกอนหรือทราย ต้นและใบช่วยในการเป็นแนวกันลม และเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย แหล่งอนุบาลแพร่ขยายพันธุ์สัตว์น้ำ และสนับสนุนบริการของระบบนิเวศ โดยต้องคำนึงถึงการหาพื้นที่ปลูกที่เหมาะสม และคัดเลือกพันธุ์ไม้ท้องถิ่นที่เหมาะสม รวมถึงปัจจัย ทางสิ่งแวดล้อม เช่น ความเค็มของน้ำทะเล ลักษณะดินตะกอน และความถี่ที่น้ำท่วมถึง เป็นต้น (3) การฟื้นฟูชายหาด (Beach Restoration) เป็นการสร้างเสถียรภาพ โดยการเพิ่มพื้นที่ชายหาด เพื่อใช้เป็นแนวป้องกันและสลายพลังงานคลื่นตามธรรมชาติ ช่วยลดผลกระทบ ของการกัดเซาะชายฝั่ง รวมถึงเป็นแหล่งแพร่ขยายพันธุ์และที่อยู่อาศัยของสัตว์ในระบบนิเวศหาดทราย แต่อย่างไรก็ตาม การดำเนินการดังกล่าวจำเป็นต้องใช้ทรายปริมาณมาก และต้องดำเนินการ เป็นประจำอย่างต่อเนื่อง จึงควรพิจารณาเลือกใช้แหล่งทรายที่เหมาะสมในทะเลเป็นลำดับแรก แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ดังนี้


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 2-9 (3.1) การถ่ายเททราย (Sand bypassing) เป็นการเคลื่อนย้ายทราย จากบริเวณที่มีการสะสมตัวของตะกอนทรายอยู่มากจนเกินสมดุลไปยังบริเวณที่มีอยู่น้อยกว่า เนื่องจากมีสิ่งกีดขวางการเคลื่อนที่ของตะกอนชายฝั่งตามธรรมชาติ เช่น เขื่อนกันทรายและคลื่น ปากร่องน้ำ (Jetty) รอดักทราย (Groin) ท่าเรือ หัวหาด (Headland) เป็นต้น เพื่อช่วยฟื้นฟูชายฝั่ง ให้กลับมามีสภาพธรรมชาติเดิม (3.2) การเติมทรายชายหาด (Beach nourishment) คือ การนำทราย จากแหล่งอื่นที่มีสภาพใกล้เคียงกับทรายชายฝั่งเดิม ทั้งจากบนบกและแหล่งทรายในทะเลมาเติม ในพื้นที่ที่เกิดการกัดเซาะ โดยต้องคำนึงถึงขนาดอนุภาคและคุณสมบัติของทรายและไม่ทำให้เกิด การเปลี่ยนแปลงของสภาพชายหาดและไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในพื้นที่ (4) การปักเสาดักตะกอนเพื่อปลูกป่าชายเลน (Edging) เพื่อสร้างเสถียรภาพ หาดโคลนหรือหาดทรายปนโคลน โดยการปักเสาไม้ไผ่ เสาคอนกรีต หรือวัสดุอื่น ๆ เพื่อชะลอความ รุนแรงของคลื่น ลดการเคลื่อนตัวของตะกอนออกจากชายฝั่ง ส่งผลให้เกิดการตกตะกอนและช่วยให้ ป่าชายเลนสามารถเติบโตได้ รวมถึงเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย แหล่งอนุบาล และแหล่งแพร่ขยายพันธุ์สัตว์น้ำ อีกด้วย (รูปที่ 2-3) รูปที่ 2-3 การปักไม้ไผ่ชะลอความรุนแรงของคลื่นในพื้นที่หาดโคลน บริเวณตำบลปากน้ำแหลมสิงห์ อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี (บันทึกภาพเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2565)


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 2-10 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (5) เขื่อนกันคลื่นนอกชายฝั่ง (Offshore breakwater) เป็นโครงสร้างที่ ตั้งอยู่นอกชายฝั่งในแนวขนานกับชายฝั่ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยลดพลังงานของคลื่นที่เข้ากระทำ ต่อชายฝั่ง และช่วยให้เกิดการตกตะกอนด้านหลังเขื่อน สามารถจำแนกรูปแบบโครงสร้างที่พบใน ประเทศไทยได้เป็น 4 รูปแบบ คือ โดมทะเล (Reef balls) ไส้กรอกทราย (Sand sausage) เสาคอนกรีต ป้องกันคลื่นนอกชายฝั่ง และเขื่อนป้องกันคลื่นนอกชายฝั่ง (Offshore breakwater) (รูปที่ 2-4) รูปที่ 2-4 รูปแบบเขือนกันคลื่นนอกชายฝั่ง (ก) โดมทะเล (ข) ไส้กรอกทราย (ค) เสาคอนกรีตป้องกันคลื่น นอกชายฝั่ง และ (ง) เขื่อนป้องกันคลื่นนอกชายฝั่ง (กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 2561ค) (6) รอดักทราย (Groin) เป็นการสร้างเสถียรภาพให้กับชายฝั่ง โดยการใช้หิน หรือวัสดุอื่น ๆ สร้างยื่นตั้งฉากกับแนวชายฝั่ง เพื่อดักตะกอนทรายที่ถูกพัดพาไปกับกระแสน้ำ เลียบชายฝั่ง ช่วยเพิ่มพื้นที่ชายหาดและลดการกัดเซาะชายฝั่ง มักสร้างต่อเนื่องกันหลายตัว และเว้นเป็นช่วง ๆ ต่อเนื่องกันไปตลอดแนวชายฝั่ง มีหลากหลายรูปแบบ เช่น รูปตัววาย (Y) รูปตัวไอ (I) รูปตัวที (T) แต่มีข้อด้อยคือ ตะกอนทรายถูกดักไว้อีกด้านหนึ่งของโครงสร้าง ทำให้ชายฝั่ง เกิดการกัดเซาะต่อเนื่องได้(รูปที่ 2-5)


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 2-11 รูปที่ 2-5 โครงสร้างรอดักทรายรูปตัววาย บริเวณหาดแสงจันทร์ อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง (บันทึกภาพเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2564) (7) เขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเล (Revetment) เป็นการสร้างเสถียรภาพตลิ่ง ริมทะเล โดยการใช้หินหรือวัสดุอื่น ๆ ที่เหมาะสมบนแนวชายฝั่งที่ลาดเอียง เพื่อรักษาเสถียรภาพของ ชายฝั่งและลดความรุนแรงของคลื่นที่เข้าปะทะชายฝั่ง ช่วยป้องกันการพังทลายของชายฝั่ง โครงสร้าง รูปแบบนี้ มีคุณสมบัติในการหักเหและเปลี่ยนทิศทางของคลื่น และลดพลังงานของคลื่นในช่วงไหล ย้อนกลับ สามารถแก้ปัญหาได้ดีในบริเวณด้านหลัง แต่ในส่วนด้านหน้าเขื่อนยังคงเกิดการกัดเซาะ โดยเฉพาะบริเวณฐานเขื่อน จึงเหมาะสำหรับชายฝั่งที่มีความลาดชันต่ำ โดยทั่วไปสามารถจำแนก ออกเป็น 4 ประเภท คือ เขื่อนคอนกรีตหล่อรูปสี่ขา (Tetra pod) กล่องกระชุหิน (Gabion box) ถุงใยสังเคราะห์ (Geobag) และเขื่อนหินทิ้ง (Quarrystone revetment) (รูปที่ 2-6) (8) กำแพงป้องกันคลื่นริมชายหาด (Seawall) เป็นโครงสร้างที่สร้างขึ้น ในแนวขนานกับชายหาดหรือชายฝั่ง เพื่อต้านแรงปะทะของคลื่นที่กระทบชายฝั่งโดยเฉพาะในช่วงที่มี พายุ สามารถช่วยรักษาเสถียรภาพของแนวชายฝั่งทะเล ป้องกันพื้นที่ อาคาร และทรัพย์สิน จากผลกระทบของการกัดเซาะชายฝั่งจากคลื่นและกระแสน้ำ แต่อย่างไรก็ตาม การสะท้อนของคลื่น ด้านหน้ากำแพงจะทำให้เกิดการพัดพาเอาตะกอนทรายด้านหน้าและด้านใต้ของโครงสร้างออกไปด้วย จนอาจเกิดการทรุดตัวและพังทลายลง และยังกีดขวางความเชื่อมโยงระหว่างทะเลและชายฝั่ง จนทำให้สูญเสียสมดุลของระบบนิเวศ โดยทั่วไป สามารถจำแนกออกได้ 3 ประเภท คือ กำแพงป้องกัน คลื่นประเภทลาดเอียง (Mild-slope seawall) กำแพงป้องกันคลื่นประเภทลาดเอียงแบบขั้นบันได (Stepped sloping seawall) และกำแพงป้องกันคลื่นประเภทตั้งตรง (Vertical seawall) (รูปที่ 2-7)


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 2-12 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รูปที่ 2-6 รูปแบบเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลที่พบในประเทศไทย (ก) เขื่อนคอนกรีตหล่อรูปสี่ขา (ข) กล่องกระชุหิน (ค) ถุงใยสังเคราะห์ และ (ง) เขื่อนหินทิ้ง (กรมทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่ง, 2561ค) รูปที่ 2-7 รูปแบบกำแพงกันคลื่นริมชายฝั่ง (ก) กำแพงป้องกันคลื่นประเภทลาดเอียง (ข) กำแพง ป้องกันคลื่นประเภทลาดเอียงแบบขั้นบันได และ (ค) กำแพงป้องกันคลื่นประเภทตั้งตรง (กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 2561ค) นอกจากนี้ ตามหลักเกณฑ์ประกอบการจัดทำแผนงาน/โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหา การกัดเซาะชายฝั่ง จัดทำโดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (2563ก) ซึ่งได้ผ่านความเห็นชอบจาก คณะกรรมการนโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2563 และได้เสนอคณะรัฐมนตรีให้รับทราบเป็นข้อมูลเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์2564 สำหรับเป็นแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล และเป็นกรอบสำหรับ การจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล 23 จังหวัดที่เหมาะสมใน


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 2-13 แต่ละระบบหาดตามหลักวิชาการ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการจัดการพื้นที่ชายฝั่ง โดยการวิเคราะห์ แนวทางการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลประกอบด้วย 3 ขั้นตอน (รูปที่ 2-8) รายละเอียดดังนี้ รูปที่ 2-8 แผนผังแนวคิดการกำหนดแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง (กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 2563ก)


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 2-14 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (1) การวิเคราะห์ความเสี่ยงต่อการกัดเซาะชายฝั่งของพื้นที่ ผลการวิเคราะห์ดัชนีความเปราะบางของชายฝั่งทะเลที่ได้แสดงถึงความเสี่ยง ของพื้นที่ชายฝั่งทะเลต่อการกัดเซาะชายฝั่งในอนาคต โดยพื้นที่ชายฝั่งที่ไม่ประสบปัญหาการกัดเซาะ หรือมีความเสี่ยงที่จะเกิดการกัดเซาะชายฝั่งต่ำ - ต่ำมาก ควรปล่อยให้พื้นที่ชายฝั่งปรับสมดุล โดยธรรมชาติพร้อมทั้งดำเนินการติดตามและเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงสภาพชายฝั่งอยู่เสมอ เพื่อให้ ชายฝั่งคงไว้ซึ่งเสถียรภาพและบริการของระบบนิเวศตามธรรมชาติส่วนพื้นที่ชายฝั่งที่ประสบปัญหา กัดเซาะหรือมีความเสี่ยงปานกลาง - สูง ที่จะเกิดการกัดเซาะชายฝั่งในอนาคต พื้นที่เหล่านี้เป็นพื้นที่ ที่ต้องได้รับการดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อป้องกัน แก้ไข หรือบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้น จากการกัดเซาะชายฝั่ง โดยพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในขั้นตอนถัดไป (2) การจำแนกพื้นที่ที่มีการดำเนินการป้องกันหรือแก้ไขปัญหาการกัดเซาะ ชายฝั่งโดยใช้โครงสร้างทางวิศวกรรม ในขั้นตอนนี้เป็นการจำแนกพื้นที่ชายฝั่งทะเลที่มีการดำเนินการป้องกันหรือแก้ไข ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งโดยใช้โครงสร้างทางวิศวกรรม และพื้นที่ที่ยังไม่ได้ดำเนินการป้องกัน หรือแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งโดยใช้โครงสร้างทางวิศวกรรมออกจากกัน โดยพิจารณา จากฐานข้อมูลที่รวบรวมได้ในพื้นที่ศึกษา เพื่อนำไปสู่การพิจารณาปัจจัยประกอบการกำหนดแนวทาง การป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ในขั้นตอนต่อไป (3) การกำหนดแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง เพื่อให้สามารถกำหนดแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งมี ความเหมาะสม และแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งที่ต้นเหตุของปัญหาได้อย่างแท้จริง สามารถจำแนก เกณฑ์การกำหนดแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ออกเป็น 2 กรณี ดังนี้ • กรณีพื้นที่ที่ยังไม่มีการดำเนินการป้องกันหรือแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง โดยใช้โครงสร้างทางวิศวกรรม การกำหนดแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ที่เหมาะสมให้พิจารณาจากปัจจัยในด้านต่าง ๆ ได้แก่ อัตราการกัดเซาะแนวชายฝั่ง ความเสี่ยงต่อการ กัดเซาะชายฝั่ง และศักยภาพในการพัฒนาพื้นที่โดยอาศัยเทคนิค Potential Surface Analysis (PSA) • กรณีพื้นที่ที่มีการดำเนินการป้องกันหรือแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง โดยใช้โครงสร้างทางวิศวกรรมแล้ว การกำหนดแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ที่เหมาะสมให้พิจารณาจากศักยภาพการพัฒนาของพื้นที่เป็นหลัก เนื่องจากพื้นที่ที่มีศักยภาพ การพัฒนาสูงจะถูกจัดเป็นพื้นที่ความสำคัญด้านเศรษฐกิจและสังคม จึงจำเป็นต้องได้รับการดำเนินการ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งต่อไป ทั้งนี้ รูปแบบการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งภายใต้แนวทาง และมาตรการต่าง ๆ รายละเอียดแสดงดังตารางที่ 2-1 และรูปที่ 2-9


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 2-15 ตารางที่ 2-1 มาตรการและรูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ภายใต้ 4 แนวทาง มาตรการ รูปแบบ วิธีการ แนวทาง การปรับสมดุล ชายฝั่งโยยธรรมชาติ การฟื้นฟูเสถียรภาพ ชายฝั่ง การป้องงกันปัญหา การกัดเซาะชายฝั่ง การแก้ไขปัญหา การกัดเซาะชายฝั่ง สีขาว การกำหนดพื้นที่ ถอยร่น การกำหนดพื้นที่ถอยร่น อาจดำเนินการควบคู่ กับการสร้างความสมดุลของตะกอนชายฝั่ง √ √ √ √ สีเขียว การปลูกป่า การปลูกป่าชายเลน √ √ √ √ การปลูกป่าชายหาด √ √ √ √ การฟื้นฟูชายหาด การถ่ายเททราย √ √ √ √ การเติมทราย √ √ √ การปักเสาดักตะกอน เพื่อปลูกป่าชายเลน การปักไม้ไผ่ √ √ √ การปักเสาคอนกรีตหรือวัสดุอื่น ๆ √ √ √ สีเทา เขื่อนกันคลื่น นอกชายฝั่ง โดมทะเล √ √ ไส้กรอกทราย √ √ เสาคอนกรีตป้องกันคลื่นนอกชายฝั่ง √ √ เขื่อนหินป้องกันคลื่นนอกชายฝั่ง √ √ รอดักทราย รอดักทรายแบบตัวไอ √ √ รอดักทรายแบบตัววาย/ตัวที √ √ เขื่อนป้องกันตลิ่ง ริมทะเล เขื่อนคอนกรีตหล่อรูปสี่ขาหรือรูปแบบอื่น ๆ √ √ กล่องกระชุหิน √ √ ถุงใยสังเคราะห์ √ √ เขื่อนหินทิ้ง √ √ กำแพงป้องกันคลื่น ริมชายหาด กำแพงป้องกันคลื่นประเภทลาดเอียง √ √ กำแพงป้องกันคลื่นประเภทลาดเอียงแบบ ขั้นบันได √ √ กำแพงป้องกันคลื่นประเภทตั้งตรง √ √ รื้อถอน รื้อถอนโครงสร้างที่ขวางการเคลื่อนที่ของ ตะกอนชายฝั่ง √ (ที่มา: กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 2563ก)


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 2-16 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รูปที่ 2-9 แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล 23 จังหวัด (กรมทรัพยากร ทางทะเลและชายฝั่ง, 2563ก)


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 2-17 2.3 ระบบกลุ่มหาดประเทศไทย แนวความคิดเรื่องการแบ่งระบบกลุ่มหาดได้ริเริ่มขึ้นมาเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2508 ในบริเวณชายฝั่งแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยแบ่งชายฝั่งออกเป็นหน่วยย่อย ๆ หรือเซลล์ (Cell) ซึ่งเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดทางธรณีสัณฐานวิทยา สำหรับใช้ในการพิจารณาการเปลี่ยนแปลง แนวชายฝั่งทะเล และกำหนดกรอบแนวคิดที่ใช้ในการจัดการและแก้ไขปัญหาชายฝั่ง โดยในแต่ละ ระบบกลุ่มหาดหรือแต่ละเซลล์หลักถือว่าเป็นระบบปิด (Closed system) กล่าวคือ ตะกอนจะไม่มี การเคลื่อนย้ายหรือแลกเปลี่ยนตะกอนระหว่างเซลล์หลักข้างเคียงหรือเซลล์ที่อยู่ติดกันภายใต้กรอบ แนวคิดเรื่องสมดุลตะกอน (Sediment budget) และภายในเซลล์นั้น ๆ จะถูกควบคุมและกำหนด ขอบเขตตามลักษณะทางธรณีสัณฐานชายฝั่ง ซึ่งเป็นลักษะเฉพาะตัวของชายฝั่งในบริเวณดังกล่าว ที่ผ่านการเปลี่ยนแปลงตามช่วงเวลามามากกว่า 100 ปี (กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 2559) กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (2563ข) ได้ศึกษาข้อมูลและกำหนดหลักเกณฑ์ ในการจัดแบ่งระบบกลุ่มหาดประเทศไทย โดยนำแนวคิดและทฤษฎีในการจัดแบ่งระบบกลุ่มหาด ของต่างประเทศซึ่งอาศัยทิศทางการเคลื่อนที่ของตะกอนและลักษณะทางธรณีสัณฐาน ประกอบด้วย (1) ข้อมูลสมุทรศาสตร์ฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน (2) คลื่น-ลม และทิศทางการเคลื่อนที่ของตะกอน (3) ลักษณะทางธรณีสัณฐานชายฝั่ง และ (4) ตะกอนบริเวณชายฝั่ง สำหรับใช้เป็นข้อมูล เพื่อการบริหารจัดการและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งอย่างเป็นระบบ โดยสามารถจำแนกระดับ ของระบบกลุ่มหาดประเทศไทยได้ 3 ระดับ ได้แก่ ระบบกลุ่มหาดหลัก (Major littoral cell) ระบบ กลุ่มหาด (Littoral cell) และระบบหาด (Beach cell) ดังนี้ 2.3.1 ระบบกลุ่มหาดหลัก เป็นการจัดแบ่งเพื่อการบริหารจัดการพื้นที่ชายฝั่งในภาพรวมระดับภูมิภาค สามารถ แบ่งออกเป็น 8 กลุ่มหาดหลัก โดยแบ่งออกเป็นระบบกลุ่มหาดหลักด้านทะเลอ่าวไทย จำนวน 6 กลุ่มหาดหลัก และด้านทะเลอันดามัน จำนวน 2 กลุ่มหาดหลัก หลักแนวคิดการตั้งชื่อและรหัสของระบบกลุ่มหาดหลัก คือ ต้องสามารถบ่งบอกถึงภูมิภาค หรือที่ตั้ง สามารถจดจำและเข้าใจได้ง่าย และไม่เกิดความซ้ำซ้อนกับระบบกลุ่มหาดหลักของประเทศอื่น โดยชื่อระบบกลุ่มหาดหลักเป็นชื่อที่สื่อถึงภูมิภาคหรือที่ตั้งของระบบกลุ่มหาดหลักนั้น ๆ และรหัสระบบ กลุ่มหาดหลักใช้อักษรย่อภาษาอังกฤษ T แทนคำว่า Thailand Major Littoral Cell จากนั้นตามด้วย หมายเลข 1 - 8 แทนแต่ละภูมิภาค โดยเริ่มนับกลุ่มหาดหลักลำดับที่ 1 บริเวณชายฝั่งทะเลอ่าวไทย ตะวันออกตอนล่างนับวนแบบทวนเข็มนาฬิกามาจนถึงทะเลอ่าวไทยตอนล่าง ต่อเนื่องไปยังฝั่งทะเล อันดามัน จนครบ 8 กลุ่มหาดหลัก (รูปที่ 2-10)


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 2-18 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รูปที่ 2-10 ระบบกลุ่มหาดหลักประเทศไทย พ.ศ. 2563 มาตราส่วน 1:3,000,000 (กรมทรัพยากร ทางทะเลและชายฝั่ง, 2564ข)


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 2-19 2.3.2 ระบบกลุ่มหาด เป็นการจัดแบ่งเพื่อใช้เป็นแนวทางการบริหารจัดการหรือการศึกษาการแก้ไขปัญหา การกัดเซาะชายฝั่งที่คำนึงถึงทิศทางการเคลื่อนที่ของตะกอนสุทธิเป็นหลักสำคัญโดยพิจารณาร่วมกับ ข้อมูลพื้นฐานอื่น ๆ (ลักษณะทางธรณีสัณฐานชายฝั่ง ประเภทตะกอนบริเวณชายฝั่งและนอกชายฝั่ง) สามารถแบ่งออกเป็น 44 กลุ่มหาด โดยแบ่งออกเป็นระบบกลุ่มหาดด้านทะเลอ่าวไทย จำนวน 34 กลุ่มหาด และด้านทะเลอันดามัน จำนวน 10 กลุ่มหาด การตั้งชื่อระบบกลุ่มหาดให้ง่ายต่อการจดจำและการเข้าใจในพื้นที่ จึงใช้คำว่า ระบบกลุ่มหาด ตามด้วยจุดเริ่มต้น – จุดสิ้นสุด ของแต่ละกลุ่มหาด ซึ่งเป็นชื่อท้องถิ่นที่ปรากฏบนแผนที่ภูมิประเทศ ของกรมแผนที่ทหารเป็นหลัก ส่วนการตั้งรหัสของระบบกลุ่มหาด สามารถสื่อถึงระบบกลุ่มหาดหลัก และลำดับที่ของกลุ่มหาด โดยฝั่งอ่าวไทยเริ่มนับจากด้านตะวันออกไปทางด้านตะวันตก และทางใต้ ตามลำดับ ส่วนฝั่งอันดามันเริ่มตั้งแต่บริเวณด้านเหนือสุดของทะเลอันดามันไปจรดด้านทิศใต้สุด ของทะเลอันดามัน โดยแทนด้วยรหัสของระบบกลุ่มหาดหลักแล้วจึงตามด้วยลำดับที่ของกลุ่มหาด ซึ่งอ้างอิงด้วยตัวอักษรภาษาอังกฤษพิมพ์ใหญ่ A-Z เช่น ระบบกลุ่มหาดบ้านหาดเล็ก-ไม้รูด ถือเป็นระบบ กลุ่มหาดลำดับที่ 1 ในระบบกลุ่มหาดหลักทะเลอ่าวไทยตะวันออกตอนล่าง (T1) ดังนั้น รหัสของระบบ กลุ่มหาดนี้คือ T1A (รูปที่ 2-11) รูปที่ 2-11 ตัวอย่างแผนที่การแบ่งระบบกลุ่มหาดบ้านหาดเล็ก-ไม้รูด (T1A) ตำบลหาดเล็ก อำเภอ คลองใหญ่ จังหวัดตราด มาตราส่วน 1:250,000 (กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 2564ข)


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 2-20 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 2.3.3 ระบบหาด เป็นหน่วยย่อยที่เล็กที่สุด มีวัตถุประสงค์เพื่อนำมาใช้ในการพิจารณาจัดทำแผนงาน/ โครงการ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง รวมถึงเพื่อศึกษาตรวจสอบ และประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง สามารถแบ่งออกเป็น 318 หาด โดยแบ่งออกเป็นระบบหาดด้านทะเลอ่าวไทย 158 หาด และด้านทะเลอันดามัน 160 หาด การตั้งชื่อระบบหาดใช้คำว่า ระบบหาดตามด้วยชื่อหาดในบริเวณนั้น ๆ หรือหากระบบ หาดใดมีความยาวมากใช้ชื่อบริเวณที่เป็นจุดเริ่มต้น - จุดสิ้นสุดระบบหาด ซึ่งเป็นชื่อท้องถิ่นที่ปรากฏ บนแผนที่ภูมิประเทศของกรมแผนที่ทหารเป็นหลัก ส่วนการตั้งรหัสระบบหาดให้สามารถสื่อถึงระบบ กลุ่มหาดและลำดับที่ของระบบหาดนั้น ดังนั้น รหัสของระบบหาด จึงใช้รหัสของระบบกลุ่มหาด ตามด้วยลำดับที่ของระบบหาดซึ่งแทนด้วยหมายเลข 001 - 318 ยกตัวอย่างเช่น ระบบหาด บ้านหาดเล็ก เป็นระบบหาดลำดับที่ 1 จากทั้งหมด 318 หาด และเป็นระบบหาดลำดับที่ 1 ในระบบ กลุ่มหาดบ้านหาดเล็ก- ไม้รูด (T1A) ดังนั้น รหัสของระบบกลุ่มหาดนี้คือ T1A001 และระบบหาด บ้านทรายแดง เป็นระบบหาดลำดับที่ 2 จากทั้งหมด 318 หาด และจัดอยู่ในระบบกลุ่มหาด บ้านหาดเล็ก- ไม้รูด (T1A) ดังนั้น รหัสของระบบกลุ่มหาดนี้คือ T1A002 เป็นต้น (รูปที่ 2-12) ทั้งนี้ การจัดแบ่งระบบกลุ่มหาดประเทศไทย ได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการ นโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ ในคราวการประชุมครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 และประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2564 (ประกาศกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เรื่อง แผนที่ระบบกลุ่มหาดประเทศไทย. (2564, 14 กรกฎาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 138 ตอนพิเศษ 157 ง. หน้า 26-27) 2.4 แนวคิดการประเมินความเปราะบางชายฝั่งทะเล 2.4.1 แนวคิดการประเมินความเปราะบาง ต้นกำเนิดของการประเมิน “ความเปราะบาง” หรือ “Vulnerability” มาจากงานศึกษา ทางด้านภูมิศาสตร์และภัยธรรมชาติ(Nguyen et al., 2016) แต่ปัจจุบันความเปราะบางได้กลายเป็น เครื่องมือสำคัญในการศึกษาความสัมพันธ์ของมนุษย์และสภาพแวดล้อม ในแง่ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม ของมนุษย์หรือชุมชนที่อาจจะได้รับอันตรายจากการเปลี่ยนแปลงบางประการอันเป็นผลมาจาก กระบวนการทางธรรมชาติหรือที่เกิดขึ้นจากมนุษย์ (สราวุธ สังงาม, 2560) ซึ่งการให้ความหมายของ คำว่าความเปราะบาง มีการกำหนดใช้กันอย่างกว้างขวางตามลักษณะของสาขาวิชา ซึ่งแตกต่างกันไป ตามบริบทของงานวิจัย เช่น ความมั่นคงทางอาหาร (Food security) ภัยธรรมชาติ (Natural hazards)


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 2-21 รูปที่ 2-12 ตัวอย่างแผนที่การแบ่งระบบหาดระวางที่ 5532 II (บ้านหาดเล็ก) มาตราส่วน 1:50,000 (กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 2564ข)


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 2-22 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง การจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติ (Disaster risk management) การเปลี่ยนแปลงของสภาพ ภูมิอากาศและการปรับตัว (Climate change and adaptation) รวมถึงผลกระทบทางสังคม ด้านความยากจน การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน เป็นต้น (Füssel & Klein, 2006; Nguyen et al., 2016) จากการศึกษาของ Nguyen et al. (2016) พบว่า มีการให้ความหมายของคำว่า “ความเปราะบาง” ไว้อย่างกว้างขวาง ยกตัวอย่างเช่น White (1974) ได้ให้ความหมายไว้ว่า “ความเปราะบาง คือ ระดับที่ระบบ ระบบย่อย หรือองค์ประกอบมีแนวโน้มที่จะได้รับอันตราย เนื่องจากการเปิดรับหรือสัมผัสกับภัย (Hazard) ไม่ว่าจะเป็นการรบกวนหรือความเครียด” ส่วน Liverman (1990) ให้ความเห็นว่า ความเปราะบางมีความเกี่ยวข้องหรือเทียบเท่ากับแนวคิด เกี่ยวกับความหยืดหยุ่น (Resilience) สภาวะชายขอบ (Marginality) ความอ่อนไหว (Susceptibility) การปรับตัว (Adaptability) ความเปราะ (Fragility) และความเสี่ยง (Risk) ดังนั้น จึงควรให้ ความสำคัญกับการอธิบายความหมายของความเปราะบางให้มีความชัดเจน เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยง ความสับสน เนื่องจากการรับรู้เกี่ยวกับความเปราะบางที่แตกต่างกันในสาขาวิชาต่าง ๆ ทำให้เกิด การตีความเกี่ยวกับความเปราะบางแตกต่างกัน (Nguyen et al., 2016) อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (2550 อ้างถึงในจิรายุ รัตนเดชากร, 2555) กล่าวถึง ความเปราะบางของระบบทางเศรษฐกิจ สังคม หรือระบบนิเวศใด ๆ ขึ้นอยู่กับ 3 ปัจจัย คือ ความเสี่ยง (Risk) ความอ่อนไหว (Sensitivity) และศักยภาพในการรับมือ (Coping Capacity) ส่วนสรวิศ วิฑูรทัศน์, Reyes และ Sarsycki (2559) ได้ให้ความหมายความเปราะบางเอาไว้ว่า “เป็นปัจจัยหรือสภาวะใด ๆ ที่ทำให้ชุมชนหรือสังคมขาดความสามารถในการปกป้องตนเอง ทำให้ไม่สามารถรับมือกับภัยพิบัติ หรือไม่สามารถฟื้นฟูได้อย่างรวดเร็วจากความเสียหายอันเกิดจากภัย โดยปัจจัยเหล่านี้มีอยู่ในชุมชน หรือสังคมมานานก่อนเกิดภัยพิบัติและอาจเป็นปัจจัยที่ทำให้ผลกระทบของภัยมีความรุนแรงมากขึ้น แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ ความเปราะบางทางกายภาพ ความเปราะบางเชิงสังคมและโครงสร้าง ทางสังคม และความเปราะบางทางทัศนคติและแรงจูงใจ” แนวคิดการประเมินความเปราะบางของพื้นที่ เริ่มพัฒนามาจากความเปราะบางที่เป็น ปัจจัยเสี่ยงภายใน คือ ปัจจัยที่มนุษย์คิดว่าก่อให้เกิดความเสียหายเท่านั้น แต่ต่อมาแนวคิด ความเปราะบางได้ขยายกว้างเป็นปัจจัยความอ่อนแอและความสามารถในการรับมือ โดยต้องพิจารณา ปัจจัยในหลากหลายมิติ ครอบคลุมทั้งด้านกายภาพ สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และรัฐ (Birkmann, 2013) (รูปที่ 2-13)


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 2-23 รูปที่ 2-13 แนวคิดเกี่ยวกับหลักการและความซับซ้อนของความเปราะบาง (Birkmann, 2013) ส่วนแนวคิดของ Cannon (2008) ได้จำแนกองค์ประกอบของความเปราะบางออกเป็น 5 ส่วน ซึ่งประกอบด้วยมุมมองของการสัมผัสและความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติได้แก่ ความเข้มแข็ง และความยืดหยุ่นในการดำรงชีวิต (Livelihood strength and resilience) ความเป็นอยู่ที่ดี และสถานะพื้นฐาน (Wellbeing and base-line status) การป้องกันตนเอง (Self-protection) การคุ้มครองทางสังคม (Social protection) และธรรมาภิบาล (Governance) (รูปที่ 2-14) ทั้งนี้ องค์ประกอบทั้ง 5 ส่วนนี้มีความสัมพันธ์และเชื่อมโยงระหว่างกัน โดยมีความสำคัญอย่างยิ่งในการ ทำความเข้าใจสาเหตุของความเปราะบางและการกำหนดนโยบายเพื่อลดผลกระทบจาก ความเปราะบางนั้น การเชื่อมโยงที่สำคัญที่สุดคือการเชื่อมโยงที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งในการดำรงชีวิต และการคุ้มครองทางสังคม ซึ่งทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของการธรรมาภิบาล


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 2-24 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รูปที่ 2-14 องค์ประกอบของความเปราะบาง (Cannon, 2008) พัฒนาการของแนวคิดความเปราะบางทางสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์กับ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ฉัตรกนก บุญญภิญโญ, 2559) ตามแนวคิดของคณะกรรมการ ระหว่างรัฐบาลด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change; IPCC, 2007) เกี่ยวกับการศึกษาวิจัยด้านความเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้ให้ความหมายของความเปราะบาง หมายถึง “ระดับที่ระบบใดระบบหนึ่งไม่สามารถรับมือ ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้น ซึ่งรวมถึงความแปรปรวนและความรุนแรง ของสภาพภูมิอากาศ โดยความเปราะบางเป็นฟังก์ชันของลักษณะ ขนาด และอัตราการแปรปรวน ของสภาพอากาศที่ระบบใด ๆ ได้รับผลกระทบ รวมทั้งความไว ศักยภาพในการรับมือ และการปรับตัว ของระบบนั้น ๆ” โดยความเปราะบางประกอบด้วย 3 มิติหลัก ได้แก่ การเปิดรับผลกระทบ (Exposure) ความอ่อนไหว (Sensitivity) และความสามารถในการปรับตัว (Adaptive Capacity) 1) การเปิดรับผลกระทบ คือ ระดับที่ระบบใดระบบหนึ่งได้เปิดรับผลกระทบจาก การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างมีนัยสำคัญ 2) ความอ่อนไหว คือ ระดับที่ระบบได้รับผลกระทบจากสิ่งที่เป็นภัยคุกคาม หรือที่ให้ ประโยชน์จากภาวะความแปรปรวนและการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ซึ่งอาจเป็นผลกระทบทางตรง หรือทางอ้อมก็ได้


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 2-25 3) ความสามารถในการปรับตัว คือ ความสามารถของระบบในการปรับตัวต่อการ เปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ รวมถึงความแปรปรวนและความรุนแรงของสภาพอากาศ เพื่อลด ความรุนแรงของอันตรายหรือเพื่อรับประโยชน์ ตลอดจนเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่ อาจเกิดขึ้น โดยปัจจัยดังกล่าวข้างต้น Sahin & Mohamed (2013) สามารถนำมาเขียนในรูปแบบ สมการของความเปราะบางแบบไม่พิจารณาการเปลี่ยนแปลงของความเปราะบางในเชิงพื้นที่และเวลา (Spatio-temporal) ซึ่งเป็นการตั้งสมมติฐานให้ความเปราะบางนั้นเป็นกระบวนการทางสถิติ (Static process) และเป็นกระบวนการพลวัต (Dynamic process) แสดงดังสมการที่ 2-1 V = f (E, S, AC) (2-1) โดยที่ V = ความเปราะบาง E = การเปิดรับ S = ความอ่อนไหว AC = ความสามารถในการปรับตัว ส่วนการศึกษาของ Hahn et al. (2009) ได้กำหนดสมการคำนวณความเปราะบาง โดยแบ่งกลุ่มดัชนีออกเป็น 3 องค์ประกอบหลักของความเปราะบาง โดยให้น้ำหนักกับองค์ประกอบ หลักความอ่อนไหวมากกว่าองค์ประกอบอื่น เป็นการนำค่าของความอ่อนไหวคูณผลต่างของค่าการ เปิดรับกับค่าความสามารถในการรับมือ แสดงดังสมการที่ 2-2 V = (E – A) x S (2-2) โดยที่ V = ความเปราะบาง (ความเสี่ยง / ความสามารถในการรับมือ) E = ค่าขององค์ประกอบหลักการเปิดรับ S = ค่าความเปราะบางขององค์ประกอบหลักความอ่อนไหว A = ค่าขององค์ประกอบหลักความสามารถในการรับมือ โดยค่าความเปราะบางอยู่ในช่วง -1 ถึง 1 สามารถแปลผลได้ว่า -1 คือ มีความเปราะบางต่ำ และ 1 มีความเปราะบางสูง ในพื้นที่หนึ่ง ๆ มีการเปิดรับต่อการเปลี่ยนแปลงและความอ่อนไหวต่อภัยธรรมชาติ แตกต่างกัน โดยการเปิดรับและความอ่อนไหวเรียกรวมกันว่า ผลกระทบเชิงศักยภาพของ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ส่วนความสามารถในการรับมือนั้นขึ้นกับฐานะทางเศรษฐกิจ สังคม ต้นทุน ทางธรรมชาติ ความตั้งใจในการปรับตัว และความสามารถของแต่ละบุคคล ซึ่งเมื่อพิจารณาผลกระทบ เชิงศักยภาพและความสามารถในการปรับตัวของพื้นที่ร่วมกัน จะได้ความเปราะบางของพื้นที่ โดยพื้นที่ที่มีความเปราะบางมากจะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกมากกว่า พื้นที่ที่มีความเปราะบางน้อย ส่วนวิธีลดความเปราะบางคือ การวางแผนและนโยบายต่าง ๆ


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 2-26 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เพื่อให้สามารถลดความเสียหายและปรับตัวได้ (ฉัตรกนก บุญญภิญโญ, 2559) ดังนั้น การประเมิน ความเปราะบางจึงเป็นกระบวนการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบเกี่ยวกับความอ่อนแอขององค์ประกอบ ทางกายภาพและสังคมหากได้รับผลกระทบจากภัย ซึ่งโดยหลักการแล้วการประเมินความเปราะบาง เป็นการมุ่งหาจุดอ่อนทั้งในเชิงกายภาพ สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม เพื่อค้นหามาตรการ เพื่อแก้ไขจุดอ่อนเหล่านั้นให้ดีขึ้น (สรวิศ วิฑูรทัศน์และคณะ, 2559) 2.4.2 การประเมินความเปราะบางชายฝั่งทะเล แนวความคิดเกี่ยวกับความเปราะบางของชายฝั่งขึ้นอยู่กับการประเมินคุณค่าของมนุษย์ เกี่ยวกับความเสี่ยงต่อองค์ประกอบต่าง ๆ ของสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและมนุษย์จากแหล่งต่าง ๆ การหาปริมาณความเปราะบางส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับแนวคิดของแหล่งที่มาของความเสี่ยง นั้น ๆ และองค์ประกอบด้านคุณค่าของมนุษย์ที่ถูกคุกคาม (Green & McFadden, 2007) เนื่องจากมีปัจจัย หรือตัวแปรที่ใช้ในการประเมินความเปราะบางชายฝั่งที่หลากหลาย จึงมีการประยุกต์ใช้ระบบ สารสนเทศภูมิศาสตร์ในการวิเคราะห์และสร้างดัชนีในการแสดงผลของการประเมินความเปราะบาง ชายฝั่งทะเล โดยรูปแบบโดยทั่วไปของการประเมินความเปราะบางชายฝั่งทะเลจะเกี่ยวข้องกับ การคำนวณดัชนี ซึ่งจะช่วยลดความซับซ้อนของจำนวนปัจจัยหรือตัวแปรที่มีปฏิสัมพันธ์กัน สามารถ นำเสนอในรูปแบบของข้อมูลที่หลากหลาย สามารถทำความเข้าใจได้อย่างรวดเร็ว และเป็นเครื่องมือ ที่มีประโยชน์อย่างมากในการบริหารจัดการ (Mclaughlin & Cooper, 2010) การประเมินความเปราะบางพื้นที่ชายฝั่งทะเลโดยใช้ดัชนีความเปราะบางชายฝั่ง (Coastal Vulnerability Index; CVI) ถูกคิดค้นขึ้นมาครั้งแรกในปี พ.ศ. 2533 (ปี ค.ศ. 1990) โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกันชื่อ Vivien Gornitz เพื่อใช้ในการประเมินความเสี่ยงต่อการเพิ่มขึ้น ของระดับน้ำทะเลบริเวณชายฝั่งด้านตะวันออกของประเทศสหรัฐอเมริกา โดยใช้ตัวแปรทางด้าน กายภาพจำนวน 7 ตัวแปร ที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงจากการรุกท่วมของน้ำทะเล (Inundation) และการกัดเซาะชายฝั่ง (Gornitz, 1990) ซึ่งถูกนำไปประยุกต์ใช้ในการศึกษาความเปราะบางชายฝั่ง ทะเลในพื้นที่อื่น ๆ อย่างกว้างขวาง โดยมีการปรับเปลี่ยนวิธีการบางอย่างให้มีความเหมาะสม แต่ยังคง รักษาสาระสำคัญดั้งเดิมของวิธีการ คือ การจัดอันดับและการประเมินความเปราะบางชายฝั่ง ในเชิงปริมาณ (สราวุธ สังงาม, 2560) ต่อมาในปี พ.ศ. 2546 (ปี ค.ศ. 2003) Hammer-Klose et al. (2003) ได้พัฒนาดัชนีความเปราะบางชายฝั่งเพื่อจัดทำแผนที่ความเปราะบางชายฝั่งต่อการเพิ่มขึ้น ของระดับน้ำทะเลบริเวณ Cape Cod ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยจำแนกดัชนีออกเป็น 2 ด้าน คือ ด้านธรณีวิทยา ได้แก่ ลักษณะธรณีสัณฐาน ความลาดชันชายฝั่ง อัตราการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่ง ทะเล และด้านกระบวนการทางกายภาพ ได้แก่ อัตราการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลสัมพัทธ์ พิสัยระดับ น้ำขึ้นน้ำลงเฉลี่ย และความสูงคลื่นเฉลี่ย


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 2-27 ต่อมาได้เริ่มมีการนำตัวแปรทางด้านเศรษฐกิจและสังคมมาใช้ในการประเมิน ความเปราะบางชายฝั่งทะเล โดยในปี 2545 (ปี ค.ศ. 2002) McLaughlin et al. (2002) ได้เพิ่มปัจจัย ทางด้านเศรษฐกิจสังคมเข้าไปในการประเมินความเปราะบางชายฝั่งทะเลต่อการกัดเซาะที่เกิดจาก คลื่นบริเวณพื้นที่ไอร์แลนด์เหนือ โดยปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจสังคมที่ถูกคัดเลือกนำมาใช้ในการ ประเมินความเปราะบางในครั้งนี้มี 6 ตัวแปร ได้แก่ ประชากร มรดกทางวัฒนธรรม ถนน ทางรถไฟ การใช้ประโยชน์ที่ดิน และสถานะการอนุรักษ์ (Conservation status) ซึ่งทำให้การประเมิน ความเปราะบางมีความครอบคลุมมากยิ่งขึ้นและสอดคล้องกับกรอบแนวคิดของ IPCC ที่แสดงให้เห็น ว่าความเปราะบางของพื้นที่ที่นำไปสู่ความเสี่ยงในการเกิดภัยพิบัติ ไม่ได้มาจากปัจจัยธรรมชาติ เพียงอย่างเดียวแต่หากเกี่ยวข้องกับวิธีการพัฒนาและการปรับตัวของมนุษย์ด้วย (สราวุธ สังงาม, 2560) สำหรับแนวคิดการประเมินความเปราะบางชายฝั่งทะเลในรูปแบบการจัดการพื้นที่ ชายฝั่ง (Coastal Zone Management: CZM) ได้กล่าวถึงความเปราะบางในมุมมองของการบูรณาการ แบบสหวิทยาการหรือสาขาวิชาต่าง ๆ ต่อการเปลี่ยนแปลงชายฝั่ง ส่วนใหญ่งานวิจัยความเปราะบาง ที่ผ่านมาตั้งอยู่บนพื้นฐานทางกายภาพหรือมุมมองทางสังคมศาสตร์ของการเปลี่ยนแปลงธรรมชาติ และคุณค่าของทรัพยากร ดังนั้น หากต้องการให้งานวิจัยด้านความเปราะบางมีความครอบคลุม จำเป็นต้องใช้วิธีการบูรณาการหลากหลายสาขาในการสำรวจความเชื่อมโยงระหว่างระบบนิเวศ และสังคมมนุษย์ เพื่อให้ผลวิจัยที่ได้มานั้นมีความชัดเจนและสามารถรวบรวมตัวแปรที่เกี่ยวข้องมา พิจารณาได้ทั้งหมด (สราวุธ สังงาม, 2560) การประเมินความเปราะบางชายฝั่งทะเลนั้นมีหลายวิธีโดย Satta (2014) ได้รวบรวมวิธี และเครื่องมือในการประเมินความเปราะบางชายฝั่งทะเล ประกอบด้วย 4 แนวทาง ได้แก่ (1) แนวทาง ที่ยึดตามดัชนี (Index-based methods) (2) แนวทางที่ยึดตามแบบจำลองพลวัต (Dynamic computer models) (3) ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่ใช้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (GIS Based Decision Support tools) และ (4) การจำลองภาพ (Visualization) สำหรับการศึกษาความเปราะบางชายฝั่งทะเลในครั้งนี้ เป็นการประยุกต์ใช้แนวทาง ที่ยึดตามดัชนีโดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกับการถ่วงน้ำหนักตัวแปร ด้วยวิธีวิเคราะห์ทางเลือกแบบหลายปัจจัย และคำนวณดัชนีความเปราะบางชายฝั่งทะเล เนื่องจาก สามารถวิเคราะห์ข้อมูลที่มีปัจจัยที่หลากหลายและซับซ้อน สามารถจัดลำดับความสำคัญของปัจจัย และแสดงความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านต่าง ๆ ทั้งในด้านกายภาพและด้านเศรษฐกิจสังคมที่มีผลต่อ ความเปราะบางชายฝั่งทะเลในพื้นที่ศึกษาได้อย่างครอบคลุม


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 2-28 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 2.5 การวิเคราะห์ทางเลือกแบบหลายปัจจัย (Multi-criteria analysis; MCA) การวิเคราะห์ทางเลือกแบบหลายปัจจัยเป็นวิธีการในการประเมินทางเลือกจากหลาย เกณฑ์และเป็นการรวมเอาการประเมินที่แยกส่วนกันมาอยู่ในการวัดประเมินทั้งหมด ซึ่งสามารถช่วย จัดการความซับซ้อนโดยการแปลงเป็นค่าคะแนน โดยจะต้องเกิดจากการร่วมตัดสินใจในการให้ค่า น้ำหนักของเกณฑ์ในการดำเนินการประเมิน (วิสรรค์ ศรีอนันต์, 2560) สามารถนำมาใช้ในการประเมิน ทางเลือกของหลักเกณฑ์หรือตัวชี้วัดมิติทางสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี และอื่น ๆ และให้คะแนนทางเลือกที่เหมาะสมโดยไม่ต้องการข้อมูลและองค์ความรู้เกี่ยวกับปัญหานั้น ๆ อย่างสมบูรณ์ จึงเหมาะสำหรับนำมาประยุกต์ใช้กับการประเมินทางเลือกในการจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สราวุธ สังงาม, 2560) ดังนั้น วิธีการดังกล่าวจึงเป็นหลักการ ประกอบการตัดสินใจ โดยพิจารณาจากตัวแปรที่มีความสำคัญต่อเรื่องที่กำลังสนใจ แล้วทำการสร้าง วิธีการที่เหมาะสมเพื่อความชัดเจนในการหาคำตอบให้ได้ผลลัพธ์ที่สามารถเรียงลำดับความสำคัญ ทำให้สามารถคัดเลือกผลลัพธ์ที่เหมาะสมที่สุดได้อย่างมีหลักการซึ่งอยู่บนพื้นฐานของการตัดสินใจ แบบหลายคุณสมบัติ (Multi Attribute Decision Making) ซึ่งเป็นการตัดสินใจเลือกคุณสมบัติ ที่มีข้อจำกัดในการตัดสินใจ และการตัดสินใจแบบหลายวัตถุประสงค์ (Multi Objective Decision Making : MODM) การวิเคราะห์ทางเลือกแบบหลายปัจจัยเป็นวิธีการเปรียบเทียบแต่ละปัจจัยในรูปแบบ การถ่วงน้ำหนัก (Weighting factor) เพื่อขจัดความเบี่ยงเบนในการตัดสินใจ โดยมีหลักเกณฑ์ ในการพิจารณาเปรียบเทียบ คือ ถ้าปัจจัยในแนวนอนมีความสำคัญมากกว่าปัจจัยในแนวตั้งจะให้ ค่าเปรียบเทียบเท่ากับ 3 ถ้าปัจจัยในแนวนอนมีความสำคัญเท่ากับปัจจัยในแนวตั้งจะให้ ค่าเปรียบเทียบเท่ากับ 2 ถ้าปัจจัยในแนวนอนมีความสำคัญน้อยกว่าปัจจัยในแนวตั้งจะให้ ค่าเปรียบเทียบเท่ากับ 1 ส่วนถ้าปัจจัยในแนวนอนและแนวตั้งเป็นปัจจัยเดียวกัน จะไม่สามารถ เปรียบเทียบกันได้ จึงกำหนดให้ค่าเท่ากับ 0 (สราวุธ สังงาม, 2560) ข้อดีของการวิเคราะห์ทางเลือกแบบหลายปัจจัย คือ สามารถใช้เกณฑ์ที่แตกต่างกัน ในการประเมินทางเลือกซึ่งไม่ได้อยู่ในกระบวนการตัดสินใจตามปกติ และสามารถรวบรวมมุมมอง และทัศนคติของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่แตกต่างกัน ง่ายต่อการตรวจสอบ และสามารถสื่อสารระหว่าง ผู้ตัดสินและสังคมโดยรวมได้โดยง่าย ส่วนข้อด้อย คือ ผลลัพธ์ที่ได้อาจจะถูกปรับเปลี่ยนหรือ ลดความเที่ยงตรงโดยผู้ที่ควบคุมการประเมิน เนื่องจากการประเมินโดยวิธีนี้ ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของ กลุ่มบุคคลหรือผู้เชี่ยวชาญที่ถูกคัดเลือกมาให้ทำการประเมิน ซึ่งพื้นฐานความรู้ของแต่ละคนสามารถ สร้างความแตกต่างให้กับการให้ค่าคะแนนอย่างมีนัยสำคัญ รวมถึงการให้ค่าคะแนนและค่าน้ำหนัก ทางเลือกหรือปัจจัยต่าง ๆ อาจจะลดการอภิปรายเชิงเหตุผลของทางเลือกเหล่านั้นทั้งในแง่บวก และแง่ลบ (วิสรรค์ ศรีอนันต์, 2560; คุณชนก ปรีชาสถิต, 2560)


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 2-29 ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีการประยุกต์ใช้การวิเคราะห์ทางเลือกแบบหลายปัจจัย ในการวิจัยหลากหลายด้าน อาทิเช่น การจัดการป่าไม้ การคัดเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการจัดตั้ง นิคมอุตสาหกรรม การคัดเลือกรูปแบบที่เหมาะสมในการจัดการน้ำเสีย การประเมินความต้องการ ทางเทคโนโลยีพลังงาน การจัดการและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง รวมถึงการประเมิน ความเปราะบางชายฝั่งทะเล ตัวอย่างการวิจัยด้านการจัดการป่าไม้โดย Mendoza & Prabhu (2000) ซึ่งได้พัฒนาวิธี วิจัยสำหรับการคัดเลือกเกณฑ์และตัวชี้วัดเพื่อการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน พื้นที่เมืองกาลิมันตัน ประเทศอินโดนีเซีย โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญในการร่วมตัดสินใจ และใช้การวิเคราะห์ผลโดยการวิเคราะห์ทางเลือกแบบหลายปัจจัย ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการคัดเลือกตัวชี้วัดโดยการจับคู่เปรียบเทียบ (Pairwise comparisons) พบว่า การวิเคราะห์ทางเลือกแบบหลายปัจจัยเป็นวิธีการที่สามารถใช้ประกอบการตัดสินใจ เพื่อการประเมินผลที่ดี ง่ายต่อการใช้งาน และสะดวกต่อการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ส่วนการศึกษา โดยรักษา สุนินทบูรณ์ (2556) เกี่ยวกับการคัดเลือกเกณฑ์และตัวชี้วัดเพื่อการประเมินผลการจัดการ ป่าชุมชน โดยใช้แบบสอบถามการวิเคราะห์ทางเลือกแบบหลายปัจจัย จากผู้ทรงคุณวุฒิด้านป่าชุมชน จำนวน 20 คน โดยการให้ค่าคะแนนความสำคัญ (Ranking) และอัตราความสำคัญของแต่ละเกณฑ์ (Rating) เพื่อใช้ในการคัดเลือกเกณฑ์และตัวชี้วัดสำหรับการประเมินและติดตามการจัดการป่าชุมชน งานวิจัยที่ประยุกต์ใช้การวิเคราะห์ทางเลือกแบบหลายปัจจัยสำหรับการประเมิน ศักยภาพพื้นที่ในการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม อาทิเช่น การศึกษาของพรรณศิริ จูมล และวันเพ็ญ วิโรจนกูฏ (2559) ในการประเมินพื้นที่ที่มีศักยภาพในการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม ตามแนวทาง การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ พื้นที่ศึกษาจังหวัดขอนแก่น โดยใช้ข้อมูลที่ครอบคลุมทั้งมิติ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม และประยุกต์ใช้การวิเคราะห์ทางเลือกแบบหลายปัจจัยร่วมกับวิธี พิจารณาโดยผู้เชี่ยวชาญในการพิจารณาค่าน้ำหนักของแต่ละมิติ ซึ่งเป็นวิธีที่ช่วยในการจัดการ ความซับซ้อนโดยการแปลงเป็นค่าคะแนนจากการร่วมตัดสินใจเปรียบเทียบในแต่ละมิติ สามารถนำค่า คะแนนที่ได้ไปวิเคราะห์หาพื้นที่ศักยภาพในการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมได้ การศึกษาของวิสรรค์ ศรีอนันต์(2560) ได้ประยุกต์ใช้การวิเคราะห์ทางเลือกแบบหลาย ปัจจัยในการประเมินความต้องการทางเทคโนโลยีพลังงานในภาคการผลิตไฟฟ้าเพื่อบรรเทา การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่นเดียวกับการศึกษาของคุณชนก ปรีชาสถิต (2560) เกี่ยวกับ การประเมินความต้องการเทคโนโลยีพลังงานในภาคคมนาคมขนส่งทางถนนเพื่อบรรเทา การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงการประเมินความต้องการเทคโนโลยีพลังงาน ในภาคอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยศิวพร ปรีชา (2560) ซึ่งมีการกำหนดเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินและใช้วิธีการวิเคราะห์ทางเลือกแบบหลายปัจจัยในการ


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 2-30 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จัดลำดับเทคโนโลยี/ทางเลือกที่มีผลกระทบสูง นำไปสู่การจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเกี่ยวกับ แนวทางการส่งเสริมสนับสนุนเทคโนโลยีพลังงานที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สำหรับการศึกษารูปแบบที่เหมาะสมในการจัดการน้ำเสียโดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (2562) ได้ประยุกต์ใช้การวิเคราะห์ทางเลือกแบบหลายปัจจัยสำหรับการวิเคราะห์คัดเลือกรูปแบบ ที่เหมาะสมในการจัดการน้ำเสียของเทศบาลเมืองบางกรวย โดยกำหนดค่าน้ำหนักของแต่ละ ปัจจัยย่อย และเปรียบเทียบความสำคัญระหว่างแต่ละปัจจัยในรูปของการถ่วงน้ำหนัก (Weighting score) การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์ทางเลือกแบบหลายปัจจัยสำหรับการจัดการและแก้ไข ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ยกตัวอย่างเช่น การศึกษาของสุวัชร์ บัวแย้ม และคณะ (2563) ได้ประยุกต์ใช้การวิเคราะห์แบบหลายปัจจัยสำหรับการพิจารณาทางเลือกในการคัดเลือกรูปแบบ โครงสร้างทางวิศวกรรมที่เหมาะสมสำหรับการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณแหลมงู ตำบล เกาะลันตาน้อย อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ นอกจากนี้ ยังมีการประยุกต์ใช้การวิเคราะห์ทางเลือกแบบหลายปัจจัยในการประเมิน ความเปราะบางชายฝั่งทะเล อาทิเช่น การศึกษาของวนิดา เกกาฤทธิ์และสมปรารถนา ฤทธิ์พริ้ง (2560) เกี่ยวกับการเปรียบเทียบค่าน้ำหนักดัชนีชี้วัดความเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งจากคลื่นพายุ ซัดฝั่ง พื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็นจากนักวิชาการด้านวิศวกรรม ชายฝั่ง เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานภาครัฐ และประชาชนในพื้นที่ รวม 46 คน และคำนวณค่าถ่วงน้ำหนัก ความสำคัญของแต่ละปัจจัยโดยการประยุกต์ใช้หลักการวิเคราะห์ทางเลือกแบบหลายปัจจัย ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการวิเคราะห์ความเปราะบางของพื้นที่ต่อไป และสราวุธ สังงาม (2560) ได้ประยุกต์ใช้การวิเคราะห์ทางเลือกแบบหลายปัจจัยในการประเมินความเปราะบางต่อการกัดเซาะ ชายฝั่งประเทศไทย โดยใช้วิธีวิเคราะห์แบบ Multi-scale coastal vulnerability index ร่วมกับ การถ่วงน้ำหนักตัวแปรด้วยวิธีวิเคราะห์ทางเลือกแบบหลายปัจจัย และประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศ ภูมิศาสตร์เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์หาพื้นที่เปราะบางชายฝั่ง สำหรับการศึกษาในครั้งนี้ ได้ประยุกต์ใช้หลักการการวิเคราะห์ทางเลือกแบบหลายปัจจัย สำหรับการจัดลำดับความสำคัญและกำหนดค่าถ่วงน้ำหนักของตัวแปรที่ใช้ในการประเมิน ความเปราะบางชายฝั่งทะเลเพื่อขจัดความเบี่ยงเบนของแต่ละตัวแปร เนื่องจากแต่ละปัจจัย มีความสำคัญหรือมีอิทธิพลต่อความเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งทะเลไม่เท่ากัน และยังเป็นวิธีการ ที่ไม่ซับซ้อน สะดวกและง่ายต่อการตัดสินใจเพื่อการประเมินผลที่ดี


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 2-31 2.6 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การประเมินความเปราะบางพื้นที่ชายฝั่งทะเล ได้มีการศึกษาอย่างแพร่หลายในหลาย ประเทศ ซึ่งมีการพัฒนาแนวคิดและวิธีการในการศึกษามาอย่างต่อเนื่อง โดยส่วนใหญ่การศึกษา จะประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการวิเคราะห์ข้อมูลและจัดทำแผนที่ความเปราะบาง ชายฝั่งทะเล ซึ่งได้ประยุกต์และพัฒนามาจากการศึกษาของ Gonitz (1990) ได้ทำการประเมิน ความเปราะบางชายฝั่งทะเลต่อการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล บริเวณชายฝั่งทะเลทางด้านตะวันออก ของประเทศสหรัฐอเมริกาโดยการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ โดยใช้ตัวแปรด้านกายภาพ ที่สัมพันธ์กับการรุกท่วมของน้ำทะเลและศักยภาพในการกัดเซาะชายฝั่ง จำนวน 7 ตัวแปร ได้แก่ ความสูงของพื้นดิน (Relief) ชนิดหิน (Rock type) ธรณีสัณฐาน (Landform) อัตราการเปลี่ยนแปลง ระดับน้ำทะเล อัตราการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่ง พิสัยระดับน้ำทะเล และความสูงคลื่น โดยแต่ละ ตัวแปรจะถูกจำแนกระดับความเปราะบางออกเป็น 5 ระดับ ตั้งแต่ ระดับ 1 (ความเปราะบางต่ำมาก) ถึงระดับ 5 (ความเปราะบางสูงมาก) (ตารางที่ 2-2) โดยประยุกต์ใช้ระบบภูมิสารสนเทศเพื่อวิเคราะห์ ค่าดัชนีความเปราะบางชายฝั่งและแสดงแผนที่ดัชนีความเปราะบางชายฝั่ง ตารางที่ 2-2การจำแนกระดับความเปราะบางของตัวแปรในการประเมินความเปราะบางชายฝั่งทะเล ต่อการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล บริเวณชายฝั่งทะเลทางด้านตะวันออกของประเทศ สหรัฐอเมริกา (ที่มา: Gonitz, 1990)


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 2-32 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ต่อมา Mclaughlin et al. (2002) ได้พัฒนาตัวแปรด้านเศรษฐกิจสังคมในการประเมิน ความเปราะบางชายฝั่งทะเล บริเวณชายฝั่งทางด้านเหนือของประเทศไอร์แลนด์ (Ireland) ประกอบด้วยตัวแปรจำนวน 6 ตัวแปร ได้แก่ ประชากร มรดกทางวัฒนธรรม ถนน ทางรถไฟ การใช้ ประโยชน์ที่ดิน และสถานการณ์อนุรักษ์ ซึ่งแต่ละตัวแปรจะถูกจำแนกระดับความเปราะบางออกเป็น 5 ระดับ ตั้งแต่ ระดับ 1 (ความเปราะบางต่ำมาก) ถึงระดับ 5 (ความเปราะบางสูงมาก) (ตารางที่ 2-3) ตารางที่ 2-3การจำแนกระดับความเปราะบางของตัวแปรด้านเศรษฐกิจสังคมในการประเมิน ความเปราะบางชายฝั่งทะเล บริเวณชายฝั่งทางด้านเหนือของประเทศไอร์แลนด์ (ที่มา Mclaughlin et al., 2002) Hammar-Klose et al. (2003) ได้วิเคราะห์ความเปราะบางชายฝั่งทะเลต่อการเพิ่มขึ้น ของระดับน้ำทะเลในอนาคต บริเวณ Cape Cod National Seashore โดยใช้ตัวแปรด้านกายภาพ ที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลซึ่งสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ชายฝั่ง ได้แก่ ลักษณะธรณีสัณฐาน ความลาดชันชายฝั่ง อัตราการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล อัตราการเปลี่ยนแปลง แนวชายฝั่ง พิสัยน้ำขึ้นน้ำลงเฉลี่ย และความสูงคลื่นเฉลี่ย โดยตัวแปรทั้งหมดจะแทนค่าด้วยระดับ 1 – 5 โดย ระดับ 1 มีความเปราะบางต่ำมาก และระดับ 5 มีความเปราะบางสูงมาก (ตารางที่ 2-4) โดยพื้นที่ ที่มีความเสี่ยงต่อการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลมากที่สุด คือ บริเวณพื้นที่ที่มีความลาดชันชายฝั่ง ต่ำที่สุด มีลักษณะธรณีสัณฐานที่มีอ่อนไหวต่อการรุกท่วมของน้ำทะเล และมีอัตราการการกัดเซาะ ชายฝั่งสูงสุด Mclaughlin & Cooper (2010) ได้ศึกษาการประเมินความเปราะบางชายฝั่งด้วยวิธี Multi-scale coastal vulnerability index บริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเลทางตอนเหนือของประเทศ ไอร์แลนด์ โดยแบ่งปัจจัยย่อยออกเป็น 3 ด้าน คือ ปัจจัยย่อยด้านกายภาพ ปัจจัยย่อยด้านการเปิดรับ สภาพภูมิอากาศ และปัจจัยย่อยด้านเศรษฐกิจสังคม (รูปที่ 2-15) ซึ่งการจัดอันดับตัวแปรจะต้องมี


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 2-33 ตารางที่ 2-4การจำแนกระดับความเปราะบางของตัวแปรในการประเมินความเปราะบางชายฝั่งทะเล ต่อการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลในอนาคต บริเวณ Cape Cod National Seashore (ที่มา: Hammar-Klose et al., 2003) รูปที่ 2-15 การจำแนกปัจจัยย่อยและตัวแปรในการประเมินความเปราะบางชายฝั่งทะเล ด้วยวิธี Multi-scale coastal vulnerability index บริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเลทางตอนเหนือของ ประเทศไอร์แลนด์(Mclaughlin & Cooper, 2010)


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 2-34 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง การให้คำอธิบายและกำหนดหลักเกณฑ์อย่างชัดเจน มีการให้ค่าน้ำหนักตัวแปรซึ่งแสดงถึง การให้ความสำคัญกับปัจจัยแต่ละตัว สิ่งที่สำคัญในการประเมินความเปราะบางคือ ความพร้อม ของข้อมูลที่ถูกคัดเลือกเป็นตัวแปร ส่วนผลการวิเคราะห์จะแสดงเป็นแผนที่แสดงความเปราะบาง ชายฝั่งทะเล ซึ่งแสดงเป็นเฉดสีแสดงตามระดับความเปราะบาง ในประเทศจีน Li & Li (2011) ได้ศึกษาความเปราะบางต่อคลื่นพายุซัดฝั่ง (Storm surge) บริเวณชายฝั่งทะเลของมณฑลกวางตุ้ง โดยได้กำหนดตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจสังคม การใช้ประโยชน์ที่ดิน นิเวศ-สิ่งแวดล้อม (Eco-environment) โครงสร้างชายฝั่ง และความสามารถในการรองรับภัยพิบัติโดยแต่ละปัจจัยจะถูกจำแนกออกเป็น ตัวแปรย่อยเพื่อคำนวณความเปราะบางต่อคลื่นพายุซัดฝั่ง (ตารางที่ 2-5) Sheik Mujabar & Chandrasekar (2013) ได้ประเมินภัยและความเปราะบางชายฝั่ง ทะเลต่อการกัดเซาะชายฝั่ง บริเวณชายฝั่งทางด้านใต้ของรัฐทมิฬนาฑูประเทศอินเดีย โดยใช้ระบบ สารสนเทศภูมิศาสตร์ ซึ่งแบ่งปัจจัยด้านกายภาพออกเป็น 2 ปัจจัยย่อย ได้แก่ ปัจจัยด้านธรณีวิทยา ประกอบด้วย ลักษณะธรณีสัณฐานชายฝั่ง อัตราการเปลี่ยนแปลงแนวชายหาด และความลาดชัน ชายฝั่ง ส่วนปัจจัยด้านกระบวนการกายภาพ ประกอบด้วย การเปลี่ยนแปลงระดับน้ำทะเล ความสูงคลื่นเฉลี่ย และพิสัยน้ำขึ้นน้ำลงเฉลี่ย ซึ่งการจัดระดับความเปราะบางของแต่ละตัวแปรจะแบ่ง ออกเป็น 5 ระดับ โดยระดับ 1 มีความเปราะบางต่ำมาก และระดับ 5 มีความเปราะบางสูงมาก (ตารางที่ 2-6) ผลการวิเคราะห์โดยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์จะแสดงเป็นแผนที่ดัชนีความเปราะบาง ชายฝั่งทะเล ซึ่งแสดงเป็นเฉดสีแสดงตามระดับความเปราะบาง Pantusa et al. (2018) ประเมินความเปราะบางชายฝั่งทะเลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ บริเวณชายฝั่งของเมือง Apulian ประเทศอิตาลี โดยแบ่งกลุ่มตัวแปรเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ (1) ตัวแปรด้านธรณีวิทยา ประกอบด้วย ลักษณะธรณีสัณฐาน ความลาดชันชายฝั่ง อัตราการกัดเซาะ/ สะสมของแนวชายฝั่ง ความกว้างชายหาด และความกว้างของเนินทราย (2) ตัวแปรด้านกระบวนการ กายภาพ ประกอบด้วย การเปลี่ยนแปลงระดับน้ำทะเลสัมพัทธ์ ความสูงคลื่นนัยสำคัญเฉลี่ย และพิสัย ระดับน้ำทะเลเฉลี่ย (3) ตัวแปรด้านพืชพรรณ ประกอบด้วย ความกว้างของแนวพืชพรรณหลังชายหาด และ หญ้า Posidonia oceanica (พบ/ไม่พบ) โดยจำแนกระดับความเปราะบางของแต่ละตัวแปร ออกเป็น 5 ระดับ ตั้งแต่ระดับ 1 มีความเปราะบางต่ำมาก ถึงระดับ 5 มีความเปราะบางสูงมาก (ตารางที่ 2-7) จากนั้นจึงคำนวณดัชนีความเปราะบางชายฝั่งด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ซึ่งจะได้ ผลลัพธ์เป็นแผนที่ดัชนีความเปราะบางชายฝั่งทะเล โดยผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อ ความเปราะบางชายฝั่งในพื้นที่ศึกษา คือ ความกว้างของเนินทรายและลักษณะธรณีสัณฐาน


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 2-35 ตารางที่ 2-5ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาความเปราะบางต่อคลื่นพายุซัดฝั่ง (Storm surge) บริเวณ ชายฝั่งทะเลของมณฑลกวางตุ้ง (ที่มา: Li & Li, 2011)


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 2-36 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ตารางที่ 2-6การจำแนกระดับความเปราะบางของตัวแปรสำหรับการประเมินภัยและความเปราะบาง ชายฝั่งทะเลต่อการกัดเซาะชายฝั่ง บริเวณชายฝั่งทางด้านใต้ของรัฐทมิฬนาฑู ประเทศ อินเดีย (ที่มา: Sheik Mujabar & Chandrasekar, 2013) ตารางที่ 2-7การจำแนกระดับความเปราะบางของตัวแปรสำหรับการประเมินความเปราะบางชายฝั่ง ทะเลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ บริเวณชายฝั่งของเมือง Apulian ประเทศ อิตาลี (ที่มา: Pantusa et al., 2018)


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 2-37 Kantamaneni et al. (2019) ได้ทำการประเมินและจัดทำแผนที่ความเปราะบางชายฝั่ง บริเวณชายฝั่งและท่าเรือของเมือง Southampton ประเทศอังกฤษ โดยคัดเลือกตัวแปรด้านกายภาพ จำนวน 5 ตัวแปร ได้แก่ ความกว้างชายหาด ความลาดชันชายหาด ระยะของพืชพรรณหลังชายหาด ระยะของสิ่งปลูกสร้างหลังชายหาด และโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง โดยแต่ละตัวแปรจะถูก จำแนกระดับความเปราะบางออกเป็น 4 ระดับ ตั้งแต่ ระดับ 1 (ความเปราะบางต่ำมาก) ถึงระดับ 4 (ความเปราะบางสูง) (ตารางที่ 2-8) จากนั้นจึงคำนวณดัชนีความเปราะบางชายฝั่งโดยประยุกต์ใช้ ระบบภูมิสารสนเทศและแสดงแผนที่ดัชนีความเปราะบางชายฝั่ง ตารางที่ 2-8การจำแนกระดับความเปราะบางของตัวแปรสำหรับการประเมินและจัดทำแผนที่ความ เปราะบางชายฝั่ง บริเวณชายฝั่งเมือง Southampton ประเทศอังกฤษ (ที่มา: Kantamaneni et al., 2019) สำหรับในประเทศไทย พบว่า การศึกษาและประเมินความเปราะบางชายฝั่งทะเล ยังไม่แพร่หลายมากนัก โดยในเบื้องต้นพบการศึกษาและประเมินความเปราะบางพื้นที่ชายฝั่งทะเล โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสามารสนเทศ อาทิเช่น Duriyapong & Nakhapakorn (2011) ได้ศึกษาความเปราะบางชายฝั่งบริเวณชายฝั่งทะเลจังหวัดสมุทรสาคร โดยใช้ตัวแปรด้านกายภาพ จำนวน 4 ตัวแปร ได้แก่ ความลาดชันชายฝั่ง อัตราการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่ง พิสัยระดับน้ำทะเล เฉลี่ย และความสูงคลื่น ร่วมกับตัวแปรด้านเศรษฐกิจสังคม จำนวน 4 ตัวแปร ได้แก่ การใช้ประโยชน์ ที่ดิน ความหนาแน่นประชากร แหล่งมรดกทางวัฒนาธรรม และถนน/ทางรถไฟ โดยจำแนกระดับ ความเปราะบางของตัวแปรออกเป็น 5 ระดับ ตั้งแต่ ระดับ 1 มีความเปราะบางต่ำมาก ถึงระดับ 5 มีความเปราะบางสูงมาก (ตารางที่ 2-9) ซึ่งผลการศึกษาพบว่า ความเปราะบางของพื้นที่ศึกษา มีความสัมพันธ์กับลักษณะทางด้านเศรษฐกิจสังคมมากกว่าปัจจัยทางด้านลักษณะกายภาพ


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 2-38 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ตารางที่ 2-9การจำแนกระดับความเปราะบางของตัวแปรในการศึกษาความเปราะบางชายฝั่งบริเวณ ชายฝั่งทะเลจังหวัดสมุทรสาคร (ที่มา: Duriyapong & Nakhapakorn, 2011) กัทลี คุรุกุล และกาญจนา นาคะภากร (2557) ได้ศึกษาการประเมินหาพื้นที่เปราะบาง ชายฝั่งโดยใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ จังหวัดสมุทรสงคราม โดยข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย ข้อมูลเชิงพื้นที่และคุณลักษณะของตัวแปรความเปราะบางชายฝั่งทะเลในบริบทของการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ ประกอบด้วย 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยการเปิดรับต่อสภาพภูมิอากาศ (Climate exposure variable) ได้แก่ ความสูงคลื่นนัยสำคัญ น้ำขึ้น-น้ำลง และการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล และปัจจัยความอ่อนไหว (Coastal sensitivity variable) ได้แก่ ความลาดชัน อัตราการกัดเซาะ ชายฝั่ง ความหนาแน่นของประชากร ความหนาแน่นของหลังคาเรือน การใช้ประโยชน์ที่ดิน และมาตรการป้องกันแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง โดยมีการจำแนกระดับความเปราะบางของแต่ละ ตัวแปรออกเป็น 5 ระดับ ตั้งแต่ ระดับ 1 มีความเปราะบางต่ำมาก ถึงระดับ 5 มีความเปราะบาง สูงมาก (ตารางที่ 2-10) ผลการศึกษา พบว่า ดัชนีที่ส่งผลกระทบมากที่สุด ได้แก่ น้ำขึ้นน้ำลง และการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล สำหรับปัจจัยความอ่อนไหว พบว่ามีความเปราะบางตั้งแต่ระดับ ต่ำมากถึงสูงมาก ดัชนีที่ส่งผลกระทบมากที่สุด คือ ความลาดชัน รองลงมาคือความหนาแน่น ของประชากร และการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยข้อจำกัดในการศึกษาในครั้งนี้ คือ เป็นการประเมิน ความเปราะบางชายฝั่งทะเลในระดับท้องถิ่น (ระดับตำบล) และพื้นที่ศึกษามีขนาดเล็ก ทำให้ค่าของ ตัวแปรบางตัว เช่น ความสูงคลื่นนัยสำคัญ น้ำขึ้นน้ำลง การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล ไม่มี ความแตกต่างกันในเชิงพื้นที่ โดยค่าของตัวแปรนั้น ๆ มีค่าเท่ากันตลอดทั้งพื้นที่ศึกษา


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 2-39 ตารางที่ 2-10 การจำแนกระดับความเปราะบางของตัวแปรความเปราะบางชายฝั่ง ในการประเมิน พื้นที่เปราะบางชายฝั่งโดยใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ จังหวัดสมุทรสงคราม (ที่มา: กัทลี คุรุกุล และกาญจนา นาคะภากร, 2557) Sarajit et al. (2015) ได้ศึกษาการประเมินหาพื้นที่เปราะบางชายฝั่งตามฤดูกาล พื้นที่ จังหวัดเพชรบุรี โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ โดยจำแนกดัชนีออกเป็น 2 ด้าน ได้แก่ ดัชนีด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (Physical Environment Vulnerability Index: PVI) ประกอบด้วย ความลาดชันชายฝั่ง พิสัยน้ำขึ้นน้ำลงเฉลี่ย ความสูงคลื่นเฉลี่ย อัตราการกัดเซาะชายฝั่งทะเล และดัชนีด้านสภาพเศรษฐกิจสังคม (Socio-Economic Vulnerability Index: SVI) ประกอบด้วย ความหนาแน่นประชากร การใช้ประโยชน์ที่ดิน ชนิดของสิ่งปลูกสร้าง เส้นทางคมนาคม และมาตรการ ป้องกันชายฝั่ง โดยมีการจำแนกระดับความเปราะบางของแต่ละตัวแปรออกเป็น 5 ระดับ โดยแทน ด้วยค่าตัวเลข 1 - 5 โดยระดับ 1 มีความเปราะบางต่ำมาก ถึงระดับ 5 มีความเปราะบางสูงมาก (ตารางที่ 2-11) ผลการศึกษา พบว่า ตัวแปรที่ส่งผลต่อความเปราะบางพื้นที่ชายฝั่งทะเล คือ การใช้ประโยชน์ที่ดิน ความลาดชันชายฝั่ง อัตราการกัดเซาะชายฝั่งทะเล และความหนาแน่นประชากร


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 2-40 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ตารางที่ 2-11 การจำแนกระดับความเปราะบางของตัวแปรในการประเมินหาพื้นที่เปราะบางชายฝั่ง ตามฤดูกาล พื้นที่จังหวัดเพชรบุรี (ที่มา: Sarajit et al., 2015) วนิดา เกกาฤทธิ์และสมปรารถนา ฤทธิ์พริ้ง (2560) ได้มีการศึกษาเกี่ยวกับการ เปรียบเทียบค่าน้ำหนักดัชนีชี้วัดความเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งจากคลื่นพายุซัดฝั่ง พื้นที่จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ โดยกำหนดปัจจัยที่มีผลต่อความเปราะบางทั้งหมด 7 ปัจจัย ได้แก่ ประเภทชายหาด ความลาดชันชายฝั่ง ระดับความสูงของพื้นที่ชายฝั่ง โครงสร้างป้องกันชายฝั่ง ความสูงของคลื่นพายุ ซัดฝั่ง ความหนาแน่นของชุมชน และการใช้ประโยชน์ที่ดิน ซึ่งใช้เครื่องมือในการประเมินคือ แบบสอบถามความคิดเห็นจากนักวิชาการด้านวิศวกรรมชายฝั่ง เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานภาครัฐ และประชาชนในพื้นที่ รวม 46 คน โดยการประยุกต์ใช้หลักการวิเคราะห์ทางเลือกแบบหลายปัจจัย จากนั้นจึงคำนวณค่าถ่วงน้ำหนักความสำคัญของแต่ละปัจจัยซึ่งสามารถนำไปใช้ในการวิเคราะห์ ความเปราะบางของพื้นที่ต่อไป (ตารางที่ 2-12) สราวุธ สังงาม (2560) ได้ประยุกต์ใช้การวิเคราะห์ทางเลือกแบบหลายปัจจัยในการ ประเมินความเปราะบางต่อการกัดเซาะชายฝั่งประเทศไทย รวมความยาวชายฝั่งทั้งสิ้น ประมาณ 3,193 กิโลเมตร (ไม่รวมพื้นที่เกาะยกเว้นเกาะภูเก็ต) โดยใช้วิธีวิเคราะห์แบบ Multi-scale coastal vulnerability index ร่วมกับการถ่วงน้ำหนักตัวแปรด้วยวิธีวิเคราะห์ทางเลือกแบบหลายปัจจัย และประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์หาพื้นที่เปราะบางชายฝั่ง โดยมี ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาจำนวน 9 ตัวแปร สามารถจำแนกปัจจัยย่อยออกเป็น 3 ด้าน คือ ปัจจัยย่อย ด้านกายภาพ ประกอบด้วย อัตราการกัดเซาะชายฝั่ง ความลาดชันชายฝั่ง ลักษณะธรณีสัณฐานชายฝั่ง


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 2-41 ตารางที่ 2-12 ข้อมูลและแหล่งข้อมูลสำหรับการศึกษาเปรียบเทียบค่าน้ำหนักดัชนีชี้วัด ความเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งจากคลื่นพายุซัดฝั่ง พื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (ที่มา: วนิดา เกกาฤทธิ์ และสมปรารถนา ฤทธิ์พริ้ง, 2560) ปัจจัยย่อยด้านการเปิดรับสภาพภูมิอากาศ ประกอบด้วย ความสูงคลื่นนัยสำคัญเฉลี่ย พิสัยระดับ น้ำขึ้น-น้ำลงเฉลี่ย การเปลี่ยนแปลงระดับน้ำทะเล และปัจจัยย่อยด้านเศรษฐกิจสังคม ประกอบด้วย ความหนาแน่นประชากร การใช้ประโยชน์ที่ดิน และโครงสร้างป้องกันชายฝั่ง โดยแบ่งระดับ ความเปราะบางออกเป็น 5 ระดับ คือ ความเปราะบางระดับต่ำมาก ต่ำ ปานกลาง สูง และสูงมาก ผลการศึกษา พบว่า ตัวแปรที่มีอิทธิพลสูงสุดต่อระดับความเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่ง 3 ลำดับแรก ได้แก่การใช้ประโยชน์ที่ดิน อัตราการกัดเซาะชายฝั่ง และความหนาแน่นของประชากร ตามลำดับ Nidhinarangkoon & Ritphring (2019) ได้ศึกษาการประเมินความเปราะบางชายฝั่ง ต่อการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล พื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์โดยจำแนกปัจจัยย่อยออกเป็น 2 ด้าน ได้แก่ ปัจจัยย่อยด้านลักษณะทางกายภาพ ประกอบด้วย ความลาดชันชายฝั่ง การเปลี่ยนแปลง


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 2-42 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง แนวชายฝั่งทะเล ลักษณะธรณีสัณฐาน ความสูงคลื่นนัยสำคัญ การเปลี่ยนแปลงระดับน้ำทะเล และพิสัยน้ำขึ้นน้ำลง ส่วนปัจจัยย่อยด้านเศรษฐกิจสังคม ประกอบด้วย ความหนาแน่นประชากร การใช้ประโยชน์ที่ดิน และโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง โดยแบ่งระดับความเปราะบางออกเป็น 5 ระดับ คือ ความเปราะบางระดับต่ำมาก ต่ำ ปานกลาง สูง และสูงมาก (ตารางที่ 2-13) ผลการศึกษา พบว่า ตัวแปรสำคัญในการวิเคราะห์ความเปราะบางของชายฝั่งในครั้งนี้ คือ โครงสร้างชายฝั่ง และการใช้ประโยชน์ที่ดินเป็น เนื่องจากโครงสร้างชายฝั่งส่งผลต่ออัตราการกัดเซาะและการใช้ ประโยชน์ที่ดินมีความสัมพันธ์โดยตรงกับความหนาแน่นของประชากร ตารางที่ 2-13 การจำแนกระดับความเปราะบางของตัวแปรในการประเมินความเปราะบางชายฝั่ง ต่อการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล พื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (ที่มา: Nidhinarangkoon & Ritphring, 2019)


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 2-43 ชุติมา บุญฤทธิ์ศรีพงษ์ และคณะ (2565ก) ได้ศึกษาและประเมินความเปราะบางชายฝั่ง บริเวณอ่าวพังงา เกาะยาวน้อย และเกาะยาวใหญ่ จังหวัดพังงา โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งกำหนดปัจจัยและตัวแปรที่ใช้ศึกษารวม 3 ปัจจัยย่อย 15 ตัวแปร ประกอบด้วย ปัจจัยย่อยด้านลักษณะทางภายภาพ ได้แก่ ป่าชายเลน ธรณีสัณฐานชายฝั่ง ประเภท ชายหาด พื้นที่ชุ่มน้ำ ความลาดชัน อัตราการเปลี่ยนแปลงชายฝั่ง ปัจจัยย่อยด้านการเปิดรับสภาพ ภูมิอากาศ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเล ค่าพิสัยน้ำขึ้น-น้ำลง ความถี่พายุ และปัจจัยย่อย ด้านเศรษฐกิจสังคม ได้แก่ ชุมชนชายฝั่ง แหล่งท่องเที่ยวริมชายฝั่ง ความหนาแน่นของประชากร การใช้ประโยชน์ที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน และโครงสร้างวิศวกรรมชายฝั่ง โดยแบ่งระดับความเปราะบาง ของแต่ละตัวแปรออกเป็น 5 ระดับ คือ ความเปราะบางระดับต่ำมาก - สูงมาก (ตารางที่ 2-14) โดยผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยย่อยที่ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อการกัดเซาะชายฝั่งมากที่สุดในพื้นที่ ศึกษา คือ ปัจจัยย่อยด้านลักษณะทางกายภาพ ตารางที่ 2-14 การจำแนกระดับความเปราะบางของตัวแปรสำหรับการประเมินความเปราะบาง ชายฝั่ง บริเวณอ่าวพังงา เกาะยาวน้อย และเกาะยาวใหญ่ จังหวัดพังงา (ที่มา: ชุติมา บุญฤทธิ์ศรีพงษ์ และคณะ, 2565ก)


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 2-44 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จะเห็นได้ว่าการกำหนดตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ศึกษา ซึ่ง ขึ้นอยู่กับฐานข้อมูลในพื้นที่ศึกษานั้น ๆ หากมีจำนวนตัวแปรมากขึ้นจะทำให้งานวิจัยมีความซับซ้อน มากยิ่งขึ้น โดยสามารถใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ชั้นข้อมูลที่มีความ ซับซ้อนได้จากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องในการประเมินความเปราะบางชายฝั่งทะเล สามารถ นำข้อมูลตัวแปรต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ในการศึกษาความเปราะบางชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่งใน พื้นที่จังหวัดภูเก็ต โดยสามารถสรุปตัวแปรที่ใช้ในงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และจำแนกออกเป็น 2 กลุ่ม ประกอบด้วย ตัวแปรด้านกายภาพและด้านเศรษฐกิจสังคม แสดงดังตารางที่ 2-15


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 2-45ตารางที่ 2-15ตัวแปรที่ใช้ในการประเมินความเปราะบางชายฝั่งทะเล


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 2-46 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งตารางที่ 2-15ตัวแปรที่ใช้ในการประเมินความเปราะบางชายฝั่งทะเล(ต่อ)หมายเหตุ: √คือ รายละเอียดของตัวแปรแตกต่างกันในแต่ละงานวิจัยแต่สามารถรวมเป็นกลุ่มเดียวกันได้


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 3-1 บทที่ 3 ลักษณะทั่วไปของพื้นที่ศึกษา โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะ ชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ได้มีการศึกษาและรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ของพื้นที่ศึกษาที่เกี่ยวข้อง รายละเอียดดังนี้ 3.1 ที่ตั้ง พื้นที่ศึกษาครอบคลุมพื้นที่แนวชายฝั่งทะเลจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก จำนวน 7 ตำบล ได้แก่ ตำบลไม้ขาว ตำบลสาคู และตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง ตำบลกมลา และตำบลป่าตอง อำเภอ กะทู้ ตำบลกะรน และตำบลราไวย์ อำเภอเมืองภูเก็ต โดยครอบคลุมพื้นที่ 23 ระบบหาด ตั้งแต่ระบบ หาดหาดไม้ขาว (T7E203) ตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง จนถึงบริเวณแหลมพรหมเทพ ระบบหาด หาดยะนุ้ย (T7E225) ตำบลราไวย์ อำเภอเมืองภูเก็ต มีระยะทางตามแนวชายฝั่งประมาณ 84.14 กิโลเมตร และระยะทางตั้งฉากกับแนวชายฝั่งทะเลเข้ามาในแผ่นดิน 500 เมตร (รูปที่ 1-2) โดยปรากฏ ในแผนที่ภูมิประเทศ ลำดับชุด L7018 มาตราส่วน 1:50,000 ระวาง 4624I และ 4625II (กรมแผนที่ ทหาร, 2545ก; 2545ข) (รูปที่ 3-1) 3.2 ลักษณะภูมิประเทศ จังหวัดภูเก็ตมีลักษณะเป็นหมู่เกาะ วางตัวในแนวเหนือ-ใต้พื้นที่โดยรอบประกอบด้วย ภูเขา ทะเล และหาดทราย ซึ่งพื้นที่สวนใหญ่ประมาณร้อยละ 70 เป็นภูเขา วางตัวในแนวเหนือ-ใต้ มียอดเขาสูงที่สุด คือ ยอดเขาไม้เท้าสิบสอง มีความสูงประมาณ 549 เมตร อยู่ในเขตตำบลป่าตอง อำเภอกะทู้ ประมาณร้อยละ 30 ของพื้นที่จังหวัดภูเก็ตเป็นพื้นที่ราบ พบอยู่ตอนกลางและตะวันออก ของเกาะ พื้นที่ชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกเป็นดินเลน และป่าชายเลน สำหรับชายฝั่งทะเล ด้านตะวันตก เป็นพื้นที่ภูเขาและหาดทรายที่สวยงาม (กรมอุตุนิยมวิทยา, 2563) (รูปที่ 3-1 และ 3-2) 3.3 ลักษณะภูมิอากาศ ลักษณะอากาศของจังหวัดภูเก็ต อยู่ภายใต้อิทธิพลของมรสุมที่พัดประจำฤดูกาล 2 ชนิด คือ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้(Southwest monsoon) ซึ่งพัดพาเอามวลอากาศชื้นจากทะเลแถบ มหาสมุทรอินเดียมาสู่ประเทศไทย ระหว่างกลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม ทำให้จังหวัด


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 3-2 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รูปที่ 3-1 แผนที่ภูมิประเทศจังหวัดภูเก็ตและบริเวณใกล้เคียง ดัดแปลงจากแผนที่ภูมิประเทศ ลำดับชุด L7018 มาตราส่วน 1:50,000 ระวาง 4624I (กรมแผนที่ทหาร, 2545ก) และ 4625II (กรมแผนที่ทหาร, 2545ข)


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 3-3 รูปที่ 3-2 ระดับความสูงและลักษณะภูมิประเทศจังหวัดภูเก็ต (สันติ ภัยหลบลี้, 2562)


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 3-4 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ภูเก็ตมีฝนชุกทั่วไป ส่วนลมมรสุมอีกชนิดหนึ่ง คือ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ (Northeast monsoon) ซึ่งพัดผ่านทะเลจีนใต้และอ่าวไทยพาเอาไอน้ำและความชื้นมาสู่จังหวัด แต่เนื่องจาก จังหวัดภูเก็ตอยู่ภาคใต้ฝั่งตะวันตกจึงได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือไม่เต็มที่ทำให้ อากาศไม่หนาวเย็นและมีฝนตกในฤดูมรสุมนี้แต่มีปริมาณน้อย มีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 27.7 องศา เซลเซียส ปริมาณฝนบริเวณอำเภอเมืองภูเก็ตเฉลี่ยตลอดปี 2,219.5 มิลลิเมตร ส่วนอำเภอถลาง มีปริมาณฝนเฉลี่ยตลอดปี 2,475.0 มิลลิเมตร โดยช่วงเดือนกันยายนเป็นเดือนที่มีฝนตกมากที่สุด ในรอบปี มีปริมาณฝนอยู่ในช่วง 360 – 400 มิลลิเมตร (กรมอุตุนิยมวิทยา, 2563) 3.4 การปกครอง จังหวัดภูเก็ตแบ่งการปกครองส่วนภูมิภาคออกเป็น 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองภูเก็ต อำเภอกะทู้ และอำเภอถลาง ประกอบด้วย 17 ตำบล (เป็นตำบลชายฝั่งจำนวน 15 ตำบล) และ 96 หมู่บ้าน 61 ชุมชน ส่วนการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง เทศบาลตำบล 9 แห่ง เทศบาลเมือง 2 แห่ง เทศบาลนคร 1 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) 6 แห่ง รายละเอียดแสดงดังตารางที่ 3-1 (สำนักงานจังหวัดภูเก็ต, 2562) โดยพื้นที่ศึกษา ในครั้งนี้ครอบคลุมพื้นที่จำนวน 7 ตำบล ได้แก่ ตำบลไม้ขาว ตำบลสาคู และตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง ตำบลกมลา และตำบลป่าตอง อำเภอกะทู้ ตำบลกะรน และตำบลราไวย์ อำเภอเมืองภูเก็ต ตารางที่ 3-1ข้อมูลการปกครองจังหวัดภูเก็ต อำเภอ ตำบล จำนวนหมู่บ้าน จำนวนชุมชน รูปแบบการปกครอง เมืองภูเก็ต เกาะแก้ว 7 - อบต. ฉลอง 10 - เทศบาลตำบล วิชิต 9 - เทศบาลตำบล รัษฎา 7 - เทศบาลตำบล ราไวย์ 7 - เทศบาลตำบล กะรน 4 5 เทศบาลตำบล ตลาดเหนือ - 21 เทศบาลนคร ตลาดใหญ่ รวม 8 ตำบล 44 26 -


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 3-5 ตารางที่ 3-1(ต่อ) อำเภอ ตำบล จำนวนหมู่บ้าน จำนวนชุมชน รูปแบบการปกครอง กะทู้ กมลา 6 - อบต. กะทู้ - 19 เทศบาลเมือง ป่าตอง - 7 เทศบาลเมือง รวม 3 ตำบล 6 26 - ถลาง เชิงทะเล 6 2 อบต. และเทศบาลตำบล เทพกระษัตรี 11 7 อบต. และเทศบาลตำบล ไม้ขาว 7 - อบต. ป่าคลอก 9 - เทศบาลตำบล ศรีสุนทร 8 - เทศบาลตำบล สาคู 5 - อบต. รวม 6 ตำบล 46 9 - รวมทั้งจังหวัด 17 ตำบล 96 61 - ที่มา: ที่ทำการปกครองจังหวัดภูเก็ต ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2562 อ้างถึงในสำนักงานจังหวัดภูเก็ต (2562) 3.5 การคมนาคม จังหวัดภูเก็ตมีเส้นทางคมนาคมจำนวน 3 ทาง (รูปที่ 3-3) รายละเอียด ดังนี้ (1) ทางบก จังหวัดภูเก็ตมีทางหลวงแผ่นดิน จำนวน 17 เส้นทาง โดยมีทางหลวง หมายเลข 402 เป็นเส้นทางหลัก และมีเส้นทางรองรอบเกาะ รวมทั้งเส้นทางอื่น ๆ ที่แยกออกจากทาง หลวงหมายเลข 402 ไปยังชุมชนและสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ (สำนักงานจังหวัดภูเก็ต, 2562) (2) ทางน้ำ จังหวัดภูเก็ตมีท่าเทียบเรือทั้งหมดประมาณ 38 แห่ง มีมารีน่า (Marina) จำนวน 5 แห่ง แบ่งเป็นของราชการ 1 แห่ง และของเอกชน จำนวน 4 แห่ง มีท่าเรือน้ำลึก 1 แห่ง ได้แก่ ท่าเรือน้ำลึกภูเก็ต อยู่บริเวณอ่าวมะขาม ใช้เป็นท่าเรือเพื่อการขนส่งสินค้าและเพื่อการท่องเที่ยว (สำนักงานจังหวัดภูเก็ต, 2562) (3) ทางอากาศ มีท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต (Phuket International Airport – HKT) ซึ่งเป็นท่าอากาศยานที่มีอัตราความหนาแน่นของผู้ใช้บริการเป็นอันดับสาม รองจากท่าอากาศ ยานนานาชาติสุวรรณภูมิ และท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริม การท่องเที่ยวทางภาคใต้และทั่วประเทศไทย (ประกาศิต รักษาแก้ว และไพฑูรย์ มนต์พานทอง, 2561)


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 3-6 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รูปที่ 3-3 การคมนาคมจังหวัดภูเก็ต (สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดภูเก็ต, 2565)


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 3-7 ซึ่งสามารถรองรับเที่ยวบินได้ประมาณ 20 เที่ยวต่อชั่วโมง และรองรับผู้โดยสารได้มากกว่า 12.5 ล้านคน (สำนักงานจังหวัดภูเก็ต, 2562) โดยในปี 2564 มีจำนวนเที่ยวบินพานิชย์เฉลี่ย 158 เที่ยวบินต่อวัน (บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด, 2565) นอกจากนี้ ตามสถิติจำนวนผู้โดยสารในไตรมาสที่ 4 ประจำปี 2564 พบว่า ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ตมีจำนวนผู้โดยสารทั้งหมด 0.89 ล้านคน ลดลง คิดเป็นร้อยละ 7.6 จากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2563 เนื่องจากผลกระทบจากการระบาดของไวรัส โควิด-19 (สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย, 2565) 3.6 ประชากร จากข้อมูลสถิติจำนวนประชากร ปี พ.ศ. 2564 ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย (กรมการปกครอง, 2565ก) พบว่า จังหวัดภูเก็ตมีจำนวนประชากรมากเป็นลำดับที่ 63 ของประเทศไทย โดยมีประชากรรวมทั้งหมด 418,785 คน แบ่งเป็นประชากรชาย จำนวน 197,874 คน ประชากรหญิง จำนวน 220,911 คน และมีจำนวนบ้าน 277,112 หลังคาเรือน ทั้งนี้ จำนวนประชากรแยกตาม เขตการปกครอง แสดงดังตารางที่ 3-2 และรูปที่ 3-4 ตารางที่ 3-2จำนวนประชากรและหลังคาเรือนแยกตามเขตการปกครอง จังหวัดภูเก็ต ปี 2564 เขตการปกครอง อำเภอ จำนวนประชากร (คน) จำนวน หลังคาเรือน (หลัง) ชาย หญิง รวม ตำบลเกาะแก้ว เมืองภูเก็ต 8,207 9,096 17,303 11,695 ตำบลฉลอง 12,751 14,680 27,431 19,106 ท้องถิ่นเทศบาลนครภูเก็ต (ตำบลตลาดใหญ่) 25,494 29,222 54,716 16,112 ท้องถิ่นเทศบาลนครภูเก็ต (ตำบลตลาดเหนือ) 9,784 11,870 21,654 10,658 ท้องถิ่นเทศบาลตำบลราไวย์ 8,785 9,988 18,773 19,684 ท้องถิ่นเทศบาลตำบลรัษฎา 23,389 26,073 49,462 30,760 ท้องถิ่นเทศบาลตำบลวิชิต 24,798 28,156 52,954 34,915 ท้องถิ่นเทศบาลตำบลกะรน 3,579 3,915 7,494 8,835 ตำบลกมลา กะทู้ 3,345 3,665 7,010 6,723 ท้องถิ่นเทศบาลเมืองกะทู้ 14,155 16,467 30,622 21,671 ท้องถิ่นเทศบาลเมืองป่าตอง 9,371 10,134 19,505 16,523


Click to View FlipBook Version