The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

QR รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการวิจัยศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by All about your Desing, 2023-05-01 05:58:34

QR รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการวิจัยศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง

QR รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการวิจัยศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง

โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 5-11 (2) ความลาดชันชายฝั่ง จากการวิเคราะห์ภาพหน้าตัดขวางชายหาด (ภาคผนวก ข) เพื่อนำมาคำนวณ ความลาดชันชายฝั่ง พบว่า พื้นที่ชายฝั่งที่มีความลาดชันน้อยที่สุดอยู่บริเวณพื้นที่หาดลายัน (ระบบหาด หาดบางเทา: T7E207) ตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง (รูปที่ 5-11) ส่วนพื้นที่ที่มีความลาดชันมากที่สุด อยู่บริเวณหินหน้าหลาม (ระบบหาดหาดในทอน: T7E204 และระบบหาดอันดามันไวท์บีช: T7E205) ตำบลสาคู อำเภอถลาง ซึ่งเป็นพื้นที่หาดหิน ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของหาดในทอน (รูปที่ 5-12) รูปที่ 5-11 ลักษณะพื้นที่ชายฝั่งบริเวณหาดลายัน ตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต บันทึกภาพเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2565 รูปที่ 5-12 ลักษณะพื้นที่ชายฝั่งบริเวณหินหน้าหลาม ตำบลสาคู อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต บันทึกภาพเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2565


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 5-12 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ผลการศึกษาเพื่อจำแนกระดับความเปราะบางของความลาดชันชายฝั่ง พบว่า พื้นที่ศึกษาส่วนใหญ่มีความเปราะบางอยู่ในระดับต่ำมาก (ความลาดชันมากกว่าร้อยละ 12) มีพื้นที่ ประมาณ 19.97 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 53.60 ของพื้นที่ศึกษาทั้งหมด โดยพบว่าพื้นที่ส่วนใหญ่ เป็นหัวหาดหรือหาดหิน รองลงมาเป็นพื้นที่ที่มีความเปราะบางระดับปานกลาง (ความลาดชันร้อยละ 6 - 9) มีพื้นที่ประมาณ 6.58 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 17.66 ของพื้นที่ศึกษาทั้งหมด พื้นที่ที่มี ความเปราะบางระดับต่ำ (ความลาดชันร้อยละ 9 - 12) มีพื้นที่ประมาณ 5.49 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น ร้อยละ 14.73 ของพื้นที่ศึกษาทั้งหมด พื้นที่ที่มีความเปราะบางระดับสูง (ความลาดชันร้อยละ 3 - 6) มีพื้นที่ประมาณ 4.03 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 10.82 ของพื้นที่ศึกษาทั้งหมด และพื้นที่ ที่มีความเปราะบางระดับสูงมาก (ความลาดชันน้อยกว่าร้อยละ 3) มีพื้นที่ประมาณ 1.19 คิดเป็นร้อยละ 3.19 ของพื้นที่ศึกษาทั้งหมด ตามลำดับ (ตารางที่ 5-4 และรูปที่ 5-13 และ 5-14) ตารางที่ 5-4ระดับความเปราะบางของความลาดชันชายฝั่ง ความลาดชันชายฝั่ง (ร้อยละ) ระดับ ความเปราะบาง พื้นที่ (ตารางกิโลเมตร) ร้อยละ มากกว่า 12 ต่ำมาก 19.97 53.60 9-12 ต่ำ 5.49 14.73 6-9 ปานกลาง 6.58 17.66 3-6 สูง 4.03 10.82 น้อยกว่า 3 สูงมาก 1.19 3.19 รวม 37.26 100 รูปที่ 5-13 แผนภูมิแสดงร้อยละระดับความเปราะบางของความลาดชันชายฝั่ง


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 5-13 รูปที่ 5-14 ระดับความเปราะบางของความลาดชันชายฝั่ง


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 5-14 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (3) ความกว้างของหาด จากการวิเคราะห์ความกว้างของหาด พบว่า พื้นที่ชายฝั่งมีความกว้างของหาด ตั้งแต่ 2.19 - 162.74 เมตร โดยพื้นที่ที่มีความกว้างของหาดมากที่สุดอยู่บริเวณพื้นที่หาดฟรีด้อม (ระบบหาดหาดฟรีด้อม: T7E219) ตำบลป่าตอง อำเภอกะทู้(รูปที่ 5-15) ส่วนพื้นที่ที่มีความกว้าง ของหาดน้อยกว่า 25 เมตร ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่หาดหินหรือหน้าผาหิน รูปที่ 5-15 ลักษณะพื้นที่ชายฝั่งบริเวณหาดฟรีด้อม ตำบลป่าตอง อำเภอกะทู้จังหวัดภูเก็ต บันทึกภาพเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2565 ผลการศึกษาเพื่อจำแนกระดับความเปราะบางของความกว้างของหาด พบว่า ครึ่งหนึ่งของพื้นที่ศึกษามีความเปราะบางอยู่ในระดับสูง (ความกว้างของหาด 25 - 50 เมตร) มีพื้นที่ ประมาณ 18.58 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 49.87 ของพื้นที่ศึกษาทั้งหมด รองลงมาเป็นพื้นที่ที่มี ความเปราะบางระดับสูงมาก (ความกว้างของหาดน้อยกว่า 25 เมตร) มีพื้นที่ประมาณ 14.76 ตาราง กิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 39.61 ของพื้นที่ศึกษาทั้งหมด พื้นที่ที่มีความเปราะบางระดับปานกลาง (ความกว้างของหาด 50 -75 เมตร) มีพื้นที่ประมาณ 2.27 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 6.09 ของพื้นที่ศึกษาทั้งหมด พื้นที่ที่มีความเปราะบางระดับต่ำมาก (ความกว้างของหาดมากกว่า 100 เมตร) มีพื้นที่ประมาณ 0.91 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 2.44 ของพื้นที่ศึกษาทั้งหมด และพื้นที่ที่มี ความเปราะบางระดับต่ำ (ความกว้างของหาด 75 -100 เมตร) มีพื้นที่ประมาณ 0.74 คิดเป็นร้อยละ 1.99 ของพื้นที่ศึกษาทั้งหมด ตามลำดับ (ตารางที่ 5-5 และรูปที่ 5-16 และ 5-17)


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 5-15 ตารางที่ 5-5ระดับความเปราะบางของความกว้างของหาด ความกว้างของหาด (เมตร) ระดับ ความเปราะบาง พื้นที่ (ตารางกิโลเมตร) ร้อยละ มากกว่า 100 ต่ำมาก 0.91 2.44 75-100 ต่ำ 0.74 1.99 50-75 ปานกลาง 2.27 6.09 25-50 สูง 18.58 49.87 น้อยกว่า 25 สูงมาก 14.76 39.61 รวม 37.26 100 รูปที่ 5-16 แผนภูมิแสดงร้อยละระดับความเปราะบางของความกว้างของหาด


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 5-16 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รูปที่ 5-17 ระดับความปราะบางของความกว้างของหาด


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 5-17 (4) ธรณีสัณฐานชายฝั่งทะเล ผลการสำรวจข้อมูลธรณีสัณฐานชายฝั่งทะเลบริเวณพื้นที่ศึกษาด้วยอากาศยาน ไร้คนขับเพื่อเก็บข้อมูลสภาพชายฝั่งปัจจุบัน และการเก็บตัวอย่างตะกอนทรายชายหาด เพื่อนำไป วิเคราะห์ขนาดคละเฉลี่ยกึ่งกลาง (D50) ด้วยการร่อนผ่านตะแกรงมาตรฐาน จำนวน 41 ตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างตะกอนทรายชายหาดเป็นทรายขนาดละเอียด - ทรายหยาบ (Fine sand - Coarse sand) มีขนาดคละเฉลี่ยกึ่งกลางตั้งแต่ 0.13 – 0.56 มิลลิเมตร และมีค่าเฉลี่ยของขนาดคละเฉลี่ยกึ่งกลาง 0.27 มิลลิเมตร โดยหาดที่มีค่าขนาดคละเฉลี่ยกึ่งกลางน้อยที่สุด คือ หาดในยาง ตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง ส่วนหาดที่มีขนาดคละเฉลี่ยกึ่งกลางสูงที่สุด คือ หาดเมอลิน (หน้าโรงแรม Phuket Marriott Resort & Spa) ตำบลป่าตอง อำเภอกะทู้ (ตารางที่ 5-6 และรูปที่ 5-18) ตารางที่ 5-6ตำแหน่งเก็บตัวอย่างและขนาดคละเฉลี่ยกึ่งกลางของตะกอนทรายชายหาด ที่ E N ชื่อหาด D50 (มม.) 1 421230 906346 หาดไม้ขาวทิศเหนือ ติดปากแม่น้ำ 0.29 2 421641 904893 หาดทรายแก้ว 0.25 3 421867 903935 หาดไม้ขาว 0.23 4 422280 902101 หาดไม้ขาว 0.28 5 422590 900327 หาดไม้ขาว 0.22 6 422784 899099 หาดไม้ขาว 0.26 7 423088 896866 หาดไม้ขาวหน้าสนามบิน 0.36 8 422748 895572 หาดไม้ขาวหน้าอุทยาน 0.26 9 422673 894909 อุทยานในยาง 0.27 10 422549 894218 หาดในยาง 0.13 11 421632 893541 หาดในยาง 0.27 12 420387 890813 หาดในทอน 0.26 13 420400 889598 หาด Andaman white beach 0.28 14 420284 889035 หาด Banana 0.29 15 420166 888272 หาด Trisara 0.3 16 421091 888264 หาดลายัน 0.41 17 421609 887544 หาดบางเทา 0.25 18 421934 886073 หาดบางเทา 0.24 19 422025 884765 หาดบางเทา 0.28


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 5-18 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ตารางที่ 5-6(ต่อ) ที่ E N ชื่อหาด D50 (มม.) 20 421694 883213 หาดบางเทา ใกล้ปากแม่น้ำ 0.22 21 420488 881345 หาดสุรินทร์ 0.27 22 420881 879251 หาดกมลา 0.19 23 419544 878562 หาด Sunset 0.33 24 419906 876101 หาดถาวร 0.32 25 422148 874799 หาดกมลา 0.21 26 422438 873475 หาดป่าตอง 0.25 27 422232 872636 หาดป่าตอง 0.24 28 421873 872034 หาดป่าตอง 0.22 29 419760 871820 หาดไตรตรัง 0.24 30 419020 872328 หาด Paradise 0.36 31 418943 872392 หาด Paradise 0.25 32 419735 871349 หาดเมอลิน 0.56 33 420855 869471 หาดกะรน 0.26 34 421776 868428 หาดกะรน 0.24 35 422108 867054 หาดกะรน 0.25 36 422215 865868 หาดกะรน 0.23 37 422445 864648 หาดกะตะ 0.25 38 422698 862837 หาดกะตะน้อย 0.24 39 422501 859804 หาด Jungle 0.31 40 423458 859522 หาดในหาน 0.23 41 423472 858610 หาดยะนุ้ย 0.28 ผลการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลธรณีสัณฐานชายฝั่งทะเลบริเวณพื้นที่ศึกษา ที่ได้จากผลการศึกษาธรณีสัณฐานชายฝั่งทะเลของสิน สินสกุล และคณะ (2546) ร่วมกับการสำรวจ ข้อมูลในภาคสนาม พบว่า พื้นที่ศึกษาส่วนใหญ่มีลักษณะธรณีสัณฐานชายฝั่งทะเลเป็นแผ่นดิน และชายฝั่งหิน รองลงมาเป็นพื้นที่หาดทราย ที่ราบเหนือระดับน้ำขึ้นถึง พื้นที่แปรสภาพ และที่ราบ น้ำขึ้นถึง ตามลำดับ (รูปที่ 5-19)


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 5-19 รูปที่ 5-18 ตำแหน่งเก็บตัวอย่างและขนาดคละเฉลี่ยกึ่งกลางของตะกอนทรายชายหาด


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 5-20 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รูปที่ 5-19 ลักษณะธรณีสัณฐานชายฝั่งทะเลบริเวณพื้นที่ศึกษา


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 5-21 ผลการจำแนกระดับความเปราะบางของลักษณะธรณีสัณฐานชายฝั่งทะเล พบว่า พื้นที่ศึกษาส่วนใหญ่เป็นแผ่นดินและชายฝั่งหิน จึงมีความเปราะบางอยู่ในระดับต่ำมาก มีพื้นที่ประมาณ 21.00 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 56.36 ของพื้นที่ศึกษาทั้งหมด รองลงมาเป็นพื้นที่ที่มี ความเปราะบางระดับปานกลาง มีพื้นที่ประมาณ 15.43 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 41.41 ของพื้นที่ศึกษาทั้งหมด และพื้นที่ที่มีความเปราะบางระดับสูงมาก มีพื้นที่ประมาณ 0.83 ตาราง กิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 2.23 ของพื้นที่ศึกษาทั้งหมด ตามลำดับ (ตารางที่ 5-7 และรูปที่ 5-20 และ 5-21) ตารางที่ 5-7ระดับความเปราะบางของธรณีสัณฐานชายฝั่งทะเล ธรณีสัณฐานชายฝั่งทะเล ระดับ ความเปราะบาง พื้นที่ (ตารางกิโลเมตร) ร้อยละ ชายฝั่งหิน, หน้าผา, แผ่นดิน ต่ำมาก 21.00 56.36 หาดทราย ปานกลาง 15.43 41.41 ที่ราบเหนือระดับน้ำขึ้น, ที่ราบน้ำขึ้นถึง, พื้นที่แปรสภาพ สูงมาก 0.83 2.23 รวม 37.26 100 รูปที่ 5-20 แผนภูมิแสดงร้อยละระดับความเปราะบางของธรณีสัณฐานชายฝั่งทะเล


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 5-22 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รูปที่ 5-21 ระดับความเปราะบางของลักษณะธรณีสัณฐานชายฝั่งทะเล


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 5-23 (5) พื้นที่แนวปะการัง จากการรวบรวมข้อมูลพื้นที่แนวปะการังในบริเวณพื้นที่ศึกษา พบว่า มีพื้นที่แนวปะการังน้ำตื้นบริเวณชายฝั่งประมาณ 6.25 ตารางกิโลเมตร โดยส่วนใหญ่พบกระจายตัว อยู่ตามหาดหินหรือหัวหาด จึงถูกจำแนกให้มีระดับความเปราะบางต่ำมาก ครอบคลุมพื้นที่ศึกษา ประมาณ 14.34 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 38.49 ของพื้นที่ศึกษาทั้งหมด ส่วนพื้นที่ที่ไม่มี แนวปะการังปกคลุม ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 22.92 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 61.51 ของพื้นที่ศึกษาทั้งหมด จึงถูกจำแนกให้มีระดับความเปราะบางสูงมาก (ตารางที่ 5-8 และรูปที่ 5-22 และ 5-23) ตารางที่ 5-8ระดับความเปราะบางของพื้นที่แนวปะการัง พื้นที่แนวปะการัง ระดับ ความเปราะบาง พื้นที่ (ตารางกิโลเมตร) ร้อยละ มี ต่ำมาก 14.34 38.49 ไม่มี สูงมาก 22.92 61.51 รวม 37.26 100 รูปที่ 5-22 แผนภูมิแสดงร้อยละระดับความเปราะบางของพื้นที่แนวปะการัง


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 5-24 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รูปที่ 5-23 ความเปราะบางของพื้นที่แนวปะการัง


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 5-25 (6) พื้นที่ป่าชายเลน จากการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นที่ป่าชายเลนในบริเวณพื้นที่ศึกษา พบว่า เกือบร้อยละ 99 ของพื้นที่ศึกษาเป็นพื้นที่ที่ไม่มีพื้นที่ป่าชายเลนปกคลุม ซึ่งถูกจำแนกให้มีระดับ ความเปราะบางสูงมาก ครอบคลุมพื้นที่รวมประมาณ 36.79 ตารางกิโลเมตร ส่วนพื้นที่ที่มีป่าชายเลน ปกคลุม พบอยู่บริเวณหาดไม้ขาว ตำบลไม้ขาว และพื้นที่ป่าพรุบริเวณหาดบางเทา ตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง จึงถูกจำแนกให้มีระดับความเปราะบางต่ำมาก ครอบคลุมพื้นที่รวมประมาณ 0.47 ตาราง กิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 1.26 ของพื้นที่ศึกษาทั้งหมด (ตารางที่ 5-9 และรูปที่ 5-24 และ 5-25) ตารางที่ 5-9ระดับความเปราะบางของพื้นที่ป่าชายเลน พื้นที่ป่าชายเลน ระดับ ความเปราะบาง พื้นที่ (ตารางกิโลเมตร) ร้อยละ มี ต่ำมาก 0.47 1.26 ไม่มี สูงมาก 36.79 98.74 รวม 37.26 100 รูปที่ 5-24 ร้อยละระดับความเปราะบางของพื้นที่ป่าชายเลน


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 5-26 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รูปที่ 5-25 แผนภูมิแสดงระดับความเปราะบางของพื้นที่ป่าชายเลน


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 5-27 (7) แหล่งหญ้าทะเล จากการวิเคราะห์ข้อมูลแหล่งหญ้าทะเลในบริเวณพื้นที่ศึกษา พบแหล่งหญ้าทะเล บริเวณหาดในทอน ตำบลสาคู อำเภอถลาง ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 0.02 ตารางกิโลเมตร จึงถูกจำแนกให้มีระดับความเปราะบางต่ำมาก ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 0.18 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 0.48 ของพื้นที่ศึกษาทั้งหมด ส่วนพื้นที่ที่ไม่มีแหล่งหญ้าทะเลปกคลุม ครอบคลุม พื้นที่ประมาณ 37.08 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 99.52 ของพื้นที่ศึกษาทั้งหมด จึงถูกจำแนก ให้มีระดับความเปราะบางสูงมาก (ตารางที่ 5-10 และรูปที่ 5-26 และ 5-27) ตารางที่ 5-10 ระดับความเปราะบางของแหล่งหญ้าทะเล แหล่งหญ้าทะเล ระดับ ความเปราะบาง พื้นที่ (ตารางกิโลเมตร) ร้อยละ มี ต่ำมาก 0.18 0.48 ไม่มี สูงมาก 37.08 99.52 รวม 37.26 100 รูปที่ 5-26 แผนภูมิแสดงร้อยละระดับความเปราะบางของแหล่งหญ้าทะเล


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 5-28 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รูปที่ 5-27 แผนภูมิแสดงระดับความเปราะบางของแหล่งหญ้าทะเล


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 5-29 5.2.2.2 ปัจจัยย่อยด้านการเปิดรับสภาพภูมิอากาศ (1) ความสูงคลื่นนัยสำคัญเฉลี่ย จากการรวบรวมข้อมูลความสูงคลื่นนัยสำคัญเฉลี่ยที่ได้จากแบบจำลอง MASNUM-WAM ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2559 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 รวมระยะเวลา 6 ปี (ภาคผนวก ค) มีค่าเฉลี่ยของความสูงคลื่นนัยสำคัญที่เป็นตัวแทนของพื้นที่ศึกษาเท่ากับ 0.85 เมตร ซึ่งมีเพียงค่าเดียวตลอดพื้นที่ศึกษา โดยถูกจัดให้มีความเปราะบางระดับปานกลาง (ความสูง คลื่นนัยสำคัญเฉลี่ย 0.85 - 1.05 เมตร) รายละเอียดแสดงดังรูปที่ 5-28 (2) พิสัยระดับน้ำขึ้น-น้ำลงเฉลี่ย จากการรวบรวมข้อมูลพิสัยระดับน้ำขึ้น-น้ำลงเฉลี่ย ซึ่งได้มาจากสถานี วัดระดับน้ำทะเลบริเวณพื้นที่จังหวัดภูเก็ต จำนวน 2 สถานี ประกอบด้วย สถานีอ่าวปอ โดยกรมเจ้าท่า ระหว่างปี พ.ศ. 2549 – 2562 มีค่าพิสัยระดับน้ำขึ้น – น้ำลง เท่ากับ 2.02 เมตร และสถานีวัดระดับ น้ำเกาะตะเภาน้อย โดยกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ ระหว่างปี พ.ศ. 2528 – 2564 มีค่าพิสัยระดับ น้ำขึ้น – น้ำลง เท่ากับ 1.72 เมตร โดยสามารถจำแนกระดับความเปราะบางออกเป็น 2 ระดับ ได้แก่ ความเปราะบางระดับต่ำ (พิสัยระดับน้ำขึ้น - น้ำลง 1.0 - 1.9 เมตร) มีพื้นที่ประมาณ 0.18 ตาราง กิโลเมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 0.48 ของพื้นที่ศึกษาทั้งหมด และความเปราะบางระดับปานกลาง (พิสัยระดับน้ำขึ้น - น้ำลง 2.0 - 4.0 เมตร) มีพื้นที่ประมาณ 0.18 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 0.48 ของพื้นที่ศึกษาทั้งหมด (ตารางที่ 5-11 และรูปที่ 5-29 และ 5-30) ตารางที่ 5-11 ระดับความเปราะบางของพิสัยระดับน้ำขึ้น-น้ำลงเฉลี่ย แหล่งหญ้าทะเล ระดับ ความเปราะบาง พื้นที่ (ตารางกิโลเมตร) ร้อยละ < 1.0 ต่ำมาก - - 1.0 - 1.9 ต่ำ 19.28 51.74 2.0 - 4.0 ปานกลาง 17.98 48.26 4.1 - 6.0 สูง - - > 6.0 สูงมาก - - รวม 37.26 100


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 5-30 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รูปที่ 5-28 แผนภูมิแสดงระดับความเปราะบางของความสูงคลื่นนัยสำคัญเฉลี่ย


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 5-31 รูปที่ 5-29 ระดับความเปราะบางของพิสัยระดับน้ำขึ้น-น้ำลงเฉลี่ย


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 5-32 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รูปที่ 5-30 แผนภูมิแสดงร้อยละระดับความเปราะบางของพิสัยระดับน้ำขึ้น-น้ำลงเฉลี่ย (3) การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล จากการรวบรวมข้อมูลระดับน้ำทะเลจากสถานีวัดระดับน้ำทะเลเกาะตะเภาน้อย ซึ่งรวบรวมโดย Permanent Service for Mean Sea Level (PSMSL) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2483 – 2564 รวม 81 ปี แล้วจึงนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีกำลังสองน้อยที่สุด พบว่า สมการเส้นตรงที่ได้คือ y = 2.3188x+2546.5 ดังนั้น การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลในพื้นที่ศึกษามีค่าประมาณ 2.32 มิลลิเมตรต่อปี (รูปที่ 5-31) ซึ่งถูกจัดให้มีความเปราะบางระดับต่ำ (การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล 1.8 - 2.5 มิลลิเมตรต่อปี) โดยค่าที่ได้เป็นตัวแทนข้อมูลเพียงค่าเดียวตลอดพื้นที่ศึกษา (รูปที่ 5-32) รูปที่ 5-31 ระดับน้ำทะเลเฉลี่ยรายเดือน สถานีเกาะตะเภาน้อย จังหวัดภูเก็ต ระหว่างปี พ.ศ. 2483 – 2564 โดยเส้นประสีน้ำเงินแสดงเส้นแนวโน้มของระดับน้ำทะเลเฉลี่ย มีค่าความชัน ของเส้นตรงเท่ากับ 2.3188 มิลลิเมตรต่อปี (ฐานข้อมูลจาก PSMSL)


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 5-33 รูปที่ 5-32 ระดับความเปราะบางของการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 5-34 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 5.2.2.3 ปัจจัยย่อยด้านเศรษฐกิจและสังคม (1) ความหนาแน่นประชากร จากการวิเคราะห์ข้อมูลความหนาแน่นประชากรรายตำบล พบว่า พื้นที่ชายฝั่ง ทะเลจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตกมีความหนาแน่นของประชากรต่ำกว่าพื้นที่ชายฝั่งทะเลฝั่งตะวันออก โดยพื้นที่ศึกษาจำนวน 7 ตำบล มีความหนาแน่นของประชากรต่ำกว่า 1,591 คนต่อตารางกิโลเมตร จึงถูกจำแนกให้มีความเปราะบางระดับต่ำมากและมีเพียงค่าเดียวตลอดพื้นที่ศึกษา (ตารางที่ 5-12 และรูปที่ 5-33) ตารางที่ 5-12 จำนวนและความหนาแน่นของประชากรรายตำบลในพื้นที่ศึกษา ที่ ตำบล อำเภอ จำนวนประชากร (คน) พื้นที่ (ตร.กม.) ความหนาแน่น (คน/ตร.กม.) 1 ไม้ขาว ถลาง 13,933 47.32 295 2 สาคู 7,037 23.10 305 3 เชิงทะเล 12,834 29.22 440 4 กมลา กะทู้ 7,010 20.51 342 5 ป่าตอง 19,505 23.56 828 6 กะรน เมืองภูเก็ต 7,494 24.35 308 7 ราไวย์ 18,773 36.23 519 หมายเหตุจำนวนประชากรได้มาจากฐานข้อมูลจำนวนประชากรรายตำบลโดยกรมการปกครอง (2565ก) (2) การใช้ประโยชน์ที่ดิน จากการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณพื้นที่ชายฝั่ง ทะเลจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก สามารถจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินออกเป็น 5 ประเภทหลัก ตามเกณฑ์การแบ่งสภาพการใช้ที่ดินโดยกรมพัฒนาที่ดิน (2563) ประกอบด้วย พื้นที่ชุมชน และสิ่งปลูกสร้าง พื้นที่ป่าไม้ พื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่เบ็ดเตล็ด และพื้นที่น้ำ โดยเมื่อนำไปจำแนกระดับ ความเปราะบางของการใช้ประโยชน์ที่ดิน พบว่า พื้นที่ศึกษาส่วนใหญ่มีความเปราะบางอยู่ในระดับ สูงมาก มีพื้นที่ประมาณ 17.21 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 46.19 ของพื้นที่ศึกษาทั้งหมด รองลงมาเป็นพื้นที่ที่มีความเปราะบางระดับปานกลาง มีพื้นที่ประมาณ 12.69 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น ร้อยละ 34.06 ของพื้นที่ศึกษาทั้งหมด พื้นที่ที่มีความเปราะบางระดับสูง ต่ำมาก และต่ำ มีพื้นที่ ประมาณ 4.4 1.70 และ 1.26 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 11.81 4.56 และ 3.38 ของพื้นที่ศึกษา ทั้งหมด ตามลำดับ (ตารางที่ 5-13 และรูปที่ 5-34 และ 5-35)


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 5-35 รูปที่ 5-33 ระดับความเปราะบางของความหนาแน่นประชากร


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 5-36 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ตารางที่ 5-13 ระดับความเปราะบางของการใช้ประโยชน์ที่ดิน การใช้ประโยชน์ที่ดิน ระดับ ความเปราะบาง พื้นที่ (ตารางกิโลเมตร) ร้อยละ พื้นที่น้ำ พื้นที่ลุ่ม พื้นที่เบ็ดเตล็ด ต่ำมาก 1.70 4.56 ทุ่งหญ้าและไม้ละเมาะ ป่าพรุ ต่ำ 1.26 3.38 พื้นที่ป่าไม้พื้นที่ป่าชายเลน เหมืองแร่ หาดทราย ปานกลาง 12.69 34.06 พื้นที่เกษตรกรรม สูง 4.4 11.81 พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง ราชการ พื้นที่อุตสาหกรรม สูงมาก 17.21 46.19 รวม 37.26 100 รูปที่ 5-34 แผนภูมิแสดงร้อยละระดับความเปราะบางของการใช้ประโยชน์ที่ดิน


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 5-37 รูปที่ 5-35 ระดับความเปราะบางของการใช้ประโยชน์ที่ดิน


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 5-38 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (3) โครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ผลการสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณ พื้นที่ชายฝั่งภูเก็ตฝั่งตะวันตก พบว่า พื้นที่ชายฝั่งส่วนใหญ่ยังไม่มีการก่อสร้างโครงสร้างป้องกัน การกัดเซาะชายฝั่ง ส่วนพื้นที่ที่มีโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง พบโครงสร้างประเภทกำแพง กันคลื่นริมชายฝั่งประเภทตั้งตรงมากที่สุด รองลงมาเป็นเขื่อนหินทิ้ง และกล่องกระชุหิน โดยโครงสร้าง ดังกล่าว พบกระจายตัวในพื้นที่ชายฝั่งทะเล เช่น หาดกะหลิม หาดป่าตอง ตำบลป่าตอง อำเภอกะทู้ หาดกะรน หาดกะตะใหญ่ และหาดกะตะน้อย ตำบลกะรน อำเภอเมืองภูเก็ต เป็นต้น (รูปที่ 5-36 และ 5-37) รูปที่ 5-36 โครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณหาดกะหลิม ตำบลป่าตอง อำเภอกะทู้ จังหวัด ภูเก็ต บันทึกภาพเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2565 รูปที่ 5-37 กำแพงกันคลื่นริมชายฝั่งประเภทตั้งตรง บริเวณหาดกะตะใหญ่ ตำบลกะรน อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต บันทึกภาพเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2565 เขื่อนหินทิ้ง กำแพงกันคลื่นริมชายฝั่ง ประเภทตั้งตรง


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 5-39 ผลการจำแนกระดับความเปราะบางของโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง พบว่า มากกว่าร้อยละ 84 ของพื้นที่ศึกษาเป็นพื้นที่ที่ไม่มีโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ซึ่งถูก จำแนกให้มีระดับความเปราะบางสูงมาก ครอบคลุมพื้นที่รวมประมาณ 31.43 ตารางกิโลเมตร ส่วนที่เหลือเป็นพื้นที่ที่มีโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งรูปแบบต่าง ๆ จึงถูกจำแนกให้มี ความเปราะบางระดับต่ำมาก ครอบคลุมพื้นที่รวมประมาณ 5.83 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 15.65 ของพื้นที่ศึกษาทั้งหมด (ตารางที่ 5-14 และรูปที่ 5-38 และ 5-39) ตารางที่ 5-14 ระดับความเปราะบางของโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง โครงสร้างการป้องกันการกัดเซาะ ชายฝั่ง ระดับ ความเปราะบาง พื้นที่ (ตารางกิโลเมตร) ร้อยละ มี ต่ำมาก 5.83 15.65 ไม่มี สูงมาก 31.43 84.35 รวม 37.26 100 รูปที่ 5-38 แผนภูมิแสดงร้อยละระดับความเปราะบางของโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 5-40 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รูปที่ 5-39 ระดับความเปราะบางของโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 5-41 (4) อัตราส่วนพื้นที่เมืองและสิ่งปลูกสร้าง จากข้อมูลสภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินโดยกรมพัฒนาที่ดิน (2563) พบว่าในพื้นที่ ศึกษามีเนื้อที่ของพื้นที่เมืองและสิ่งปลูกสร้างประมาณ 17.16 ตารางกิโลเมตร เมื่อนำข้อมูลดังกล่าว ไปวิเคราะห์อัตราส่วนของพื้นที่สิ่งปลูกสร้างและพื้นที่เมืองต่อพื้นที่ศึกษา สามารถจำแนกระดับ ความเปราะบางออกเป็น 5 ระดับ โดยส่วนใหญ่พื้นที่ศึกษามีความเปราะบางระดับต่ำมาก (อัตราส่วน พื้นที่เมืองและสิ่งปลูกสร้างน้อยกว่าร้อยละ 20) มีพื้นที่ประมาณ 12.09 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น ร้อยละ 32.45 ของพื้นที่ศึกษาทั้งหมด รองลงมาเป็นพื้นที่ที่มีความเปราะบางระดับสูงมาก (อัตราส่วน พื้นที่เมืองและสิ่งปลูกสร้างมากกว่าร้อยละ 80) มีพื้นที่ประมาณ 9.18 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 24.64 ของพื้นที่ศึกษาทั้งหมด พื้นที่ที่มีความเปราะบางระดับต่ำ (อัตราส่วนพื้นที่เมืองและสิ่งปลูกสร้าง ร้อยละ 20 - 40) มีพื้นที่ประมาณ 5.80 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 15.57 ของพื้นที่ศึกษาทั้งหมด พื้นที่ที่มีความเปราะบางระดับสูง (อัตราส่วนพื้นที่เมืองและสิ่งปลูกสร้างร้อยละ 60 - 80) มีพื้นที่ ประมาณ 5.17 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 13.88 ของพื้นที่ศึกษาทั้งหมด พื้นที่ที่มีความเปราะบาง ระดับปานกลาง (อัตราส่วนพื้นที่เมืองและสิ่งปลูกสร้างร้อยละ 40 - 60) มีพื้นที่ประมาณ 5.02 ตาราง กิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 13.47 ของพื้นที่ศึกษาทั้งหมด ตามลำดับ (ตารางที่ 5-15 และรูปที่ 5-39 และ 5-40) ตารางที่ 5-15 ระดับความเปราะบางของอัตราส่วนพื้นที่เมืองและสิ่งปลูกสร้าง อัตราส่วนสิ่งปลูกสร้าง (ร้อยละ) ระดับ ความเปราะบาง พื้นที่ (ตารางกิโลเมตร) ร้อยละ น้อยกว่าร้อยละ 20 ต่ำมาก 12.09 32.45 20 - 40 ต่ำ 5.80 15.57 40 - 60 ปานกลาง 5.02 13.47 60 - 80 สูง 5.17 13.88 มากกว่าร้อยละ 80 สูงมาก 9.18 24.64 รวม 37.26 100


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 5-42 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รูปที่ 5-40 แผนภูมิแสดงร้อยละระดับความเปราะบางของอัตราส่วนพื้นที่เมืองและสิ่งปลูกสร้าง (5) โครงสร้างพื้นฐาน จากการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานในจังหวัดภูเก็ต พบว่า ในพื้นที่ศึกษามีโครงสร้างพื้นฐาน ประกอบด้วย ทางหลวงแผ่นดิน ทางหลวงชนบท ทางหลวงท้องถิ่น สนามบิน โรงเรียน โรงพยาบาล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สถานที่ราชการต่าง ๆ และสาย ไฟฟ้าแรงสูง ผลการจำแนกระดับความเปราะบางของโครงสร้างพื้นฐาน พบว่า มากกว่าร้อยละ 80 ของพื้นที่ศึกษาทั้งหมด เป็นพื้นที่ที่มีโครงสร้างพื้นฐานตั้งอยู่ ซึ่งถูกจำแนกให้มีระดับ ความเปราะบางสูงมาก ครอบคลุมพื้นที่รวมประมาณ 30.31 ตารางกิโลเมตร ส่วนที่เหลือเป็นพื้นที่ ที่ไม่มีโครงสร้างพื้นฐานตั้งอยู่ จึงถูกจำแนกให้มีความเปราะบางระดับต่ำมาก ครอบคลุมพื้นที่ รวมประมาณ 6.95 ตารางกิโลเมตร (ตารางที่ 5-16 และรูปที่ 5-42 และ 5-43) ตารางที่ 5-16 ระดับความเปราะบางของโครงสร้างพื้นฐาน โครงสร้างพื้นฐาน ระดับ ความเปราะบาง พื้นที่ (ตารางกิโลเมตร) ร้อยละ ไม่มี ต่ำมาก 6.95 18.65 มี สูงมาก 30.31 81.35 รวม 37.26 100


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 5-43 รูปที่ 5-41 ระดับความเปราะบางของอัตราส่วนพื้นที่เมืองและสิ่งปลูกสร้าง


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 5-44 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รูปที่ 5-42 แผนภูมิแสดงร้อยละระดับความเปราะบางของโครงสร้างพื้นฐาน 5.2.2 ดัชนีความเปราะบางชายฝั่งทะเล เมื่อนำข้อมูลระดับความเปราะบางของแต่ละตัวแปรไปซ้อนทับและวิเคราะห์ข้อมูลดัชนี ความเปราะบางชายฝั่งทะเลโดยโปรแกรมสารสนเทศภูมิศาสตร์ มีรายละเอียดดังนี้ 5.2.2.1 ดัชนีความเปราะบางของปัจจัยย่อย (1) ดัชนีความเปราะบางของปัจจัยย่อยด้านลักษณะกายภาพ จากการซ้อนทับและวิเคราะห์ข้อมูลตัวแปรด้านลักษณะกายภาพจำนวน 7 ตัวแปร ประกอบด้วย ความลาดชันชายฝั่ง อัตราการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งทะเล ลักษณะสัณฐาน ชายฝั่งทะเล ความกว้างของหาด พื้นที่แนวปะการัง พื้นที่ป่าชายเลน และแหล่งหญ้าทะเล สามารถ คำนวณและจำแนกดัชนีความเปราะบางของปัจจัยย่อยด้านลักษณะกายภาพ ออกเป็น 5 ระดับ (ตารางที่ 5-17 และรูปที่ 5-44 ถึง 5-46) ดังนี้ • ความเปราะบางระดับต่ำมาก มีพื้นที่รวมประมาณ 8.53 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 22.90 ของพื้นที่ศึกษาทั้งหมด พบมากในพื้นที่ตำบลกะรน ตำบลกมลา ตำบลป่าตอง พบน้อยที่สุดในพื้นที่ตำบลราไวย์ ตามลำดับ และไม่พบในพื้นที่ตำบลไม้ขาว • ความเปราะบางระดับต่ำ มีพื้นที่รวมประมาณ 5.64 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 15.12 ของพื้นที่ศึกษาทั้งหมด พบมากที่สุดในพื้นที่ตำบลไม้ขาว รองลงมาเป็นพื้นที่ ตำบลป่าตอง ตำบลเชิงทะเล และพบน้อยที่สุดในพื้นที่ตำบลสาคูตามลำดับ


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 5-45 รูปที่ 5-43 ระดับความเปราะบางของโครงสร้างพื้นฐาน


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 5-46 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ตารางที่ 5-17 การจำแนกพื้นที่ระดับความเปราะบางของดัชนีย่อยด้านลักษณะทางกายภาพ รายตำบล ตำบล อำเภอ พื้นที่ระดับความเปราะบาง (ตร.กม.) รวม ต่ำมาก ต่ำ ปานกลาง สูง สูงมาก (ตร.กม.) ไม้ขาว ถลาง - 1.26 0.18 3.74 0.14 5.32 สาคู 1.17 0.36 1.51 1.46 0.30 4.80 เชิงทะเล 1.02 1.05 2.50 1.99 0.32 6.87 กมลา กะทู้ 1.99 0.38 1.32 0.71 0.54 4.94 ป่าตอง 1.34 1.20 0.96 0.76 1.41 5.67 กะรน เมืองภูเก็ต 2.11 0.97 1.26 2.42 0.83 7.60 ราไวย์ 0.91 0.41 0.26 0.26 0.22 2.06 รวม 8.53 5.64 8.00 11.35 3.75 37.26 ร้อยละ 22.90 15.12 21.48 30.46 10.07 100.00 รูปที่ 5-44 แผนภูมิแสดงร้อยละของพื้นที่ระดับความเปราะบางของดัชนีความเปราะบางของปัจจัยย่อย ด้านลักษณะกายภาพ


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 5-47 รูปที่ 5-45 แผนภูมิแสดงระดับความเปราะบางของดัชนีย่อยด้านลักษณะทางกายภาพรายตำบล • ความเปราะบางระดับปานกลาง มีพื้นที่รวมประมาณ 8.00 ตาราง กิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 21.48 ของพื้นที่ศึกษาทั้งหมด โดยพบมากที่สุดบริเวณพื้นที่ตำบลเชิงทะเล รองลงมาเป็นพื้นที่ตำบลสาคูและตำบลกมลา และพบน้อยที่สุดในพื้นที่ตำบลไม้ขาว ตามลำดับ • ความเปราะบางระดับสูง มีพื้นที่รวมประมาณ 11.35 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 30.46 ของพื้นที่ศึกษาทั้งหมด โดยพบมากที่สุดบริเวณพื้นที่ตำบลไม้ขาว รองลงมาเป็น พื้นที่ตำบลกะรน ตำบลเชิงทะเล และพบน้อยที่สุดในพื้นที่ตำบลราไวย์ ตามลำดับ • ความเปราะบางระดับสูงมาก มีพื้นที่รวมประมาณ 3.75 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 10.07 ของพื้นที่ศึกษาทั้งหมด โดยพบมากที่สุดบริเวณพื้นที่ตำบลป่าตอง รองลงมาเป็น พื้นที่ตำบลกะรน ตำบลกมลา และพบน้อยที่สุดในพื้นที่ตำบลไม้ขาว ตามลำดับ (2) ดัชนีความเปราะบางของปัจจัยย่อยด้านการเปิดรับสภาพภูมิอากาศ จากการซ้อนทับและวิเคราะห์ข้อมูลตัวแปรด้านการเปิดรับสภาพภูมิอากาศ จำนวน 3 ตัวแปร ประกอบด้วย ความสูงคลื่นนัยสำคัญเฉลี่ย พิสัยระดับน้ำขึ้น-น้ำลงเฉลี่ย และการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล สามารถคำนวณและจำแนกดัชนีความเปราะบางของปัจจัยย่อย ด้านการเปิดรับสภาพภูมิอากาศ ออกเป็น 2 ระดับ (ตารางที่ 5-18 และรูปที่ 5-47 ถึง 5-49) ดังนี้ • ความเปราะบางระดับต่ำมาก มีพื้นที่รวมประมาณ 19.28 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 51.74 ของพื้นที่ศึกษาทั้งหมด โดยพบมากที่สุดในพื้นที่ตำบลกะรน ตำบลป่าตอง ตำบล กมลา และตำบลราไวย์ตามลำดับ


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 5-48 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รูปที่ 5-46 ดัชนีความเปราะบางของปัจจัยย่อยด้านลักษณะกายภาพ


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 5-49 • ความเปราะบางระดับสูงมาก มีพื้นที่รวมประมาณ 17.98 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 48.26 ของพื้นที่ศึกษาทั้งหมด โดยพบมากที่สุดในพื้นที่ตำบลเชิงทะเลตำบลไม้ขาว ตำบลสาคูและตำบลกมลา ตามลำดับ ตารางที่ 5-18 การจำแนกพื้นที่ระดับความเปราะบางของดัชนีย่อยด้านการเปิดรับสภาพภูมิอากาศ รายตำบล ตำบล อำเภอ พื้นที่ระดับความเปราะบาง (ตร.กม.) รวม ต่ำมาก ต่ำ ปานกลาง สูง สูงมาก (ตร.กม.) ไม้ขาว ถลาง - - - - 5.32 5.32 สาคู - - - - 4.80 4.80 เชิงทะเล - - - - 6.87 6.87 กมลา กะทู้ 3.96 - - - 0.99 4.95 ป่าตอง 5.67 - - - - 5.67 กะรน เมืองภูเก็ต 7.59 - - - - 7.59 ราไวย์ 2.06 - - - - 2.06 รวม 19.28 - - - 17.98 37.26 ร้อยละ 51.74 - - - 48.26 100.00 รูปที่ 5-47 แผนภูมิแสดงร้อยละของพื้นที่ระดับความเปราะบางของดัชนีความเปราะบางของปัจจัยย่อย ด้านการเปิดรับสภาพภูมิอากาศ


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 5-50 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รูปที่ 5-48 แผนภูมิแสดงระดับความเปราะบางของดัชนีย่อยด้านการเปิดรับสภาพภูมิอากาศ รายตำบล (3) ดัชนีความเปราะบางของปัจจัยย่อยด้านเศรษฐกิจสังคม จากการซ้อนทับและวิเคราะห์ข้อมูลตัวแปรด้านเศรษฐกิจสังคมจำนวน 5 ตัวแปร ประกอบด้วย ความหนาแน่นประชากร การใช้ประโยชน์ที่ดิน โครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง อัตราส่วนสิ่งปลูกสร้างและพื้นที่เมือง และโครงสร้างพื้นฐาน สามารถคำนวณและจำแนกดัชนี ความเปราะบางของปัจจัยย่อยด้านเศรษฐกิจสังคมออกเป็น 5 ระดับ (ตารางที่ 5-19 และรูปที่ 5-50 ถึง 5-52) ดังนี้ • ความเปราะบางระดับต่ำมาก มีพื้นที่รวมประมาณ 1.48 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 3.97 ของพื้นที่ศึกษาทั้งหมด โดยพบมากที่สุดในพื้นที่ตำบลกะรน รองลงมาเป็นพื้นที่ ตำบลราไวย์ ตำบลป่าตอง และพบน้อยที่สุดในพื้นที่ตำบลสาคูตามลำดับ • ความเปราะบางระดับต่ำ มีพื้นที่รวมประมาณ 5.91 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 15.85 ของพื้นที่ศึกษาทั้งหมด โดยพบมากที่สุดในพื้นที่ตำบลกะรน รองลงมาเป็นพื้นที่ ตำบลสาคูตำบลไม้ขาว และพบน้อยที่สุดในพื้นที่ตำบลเชิงทะเล ตามลำดับ • ความเปราะบางระดับปานกลาง มีพื้นที่รวมประมาณ 13.57 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 36.42 ของพื้นที่ศึกษาทั้งหมด โดยพบมากที่สุดบริเวณพื้นที่ตำบลป่าตอง รองลงมา เป็นพื้นที่ตำบลไม้ขาว ตำบลกมลา และพบน้อยที่สุดในพื้นที่ตำบลราไวย์ตามลำดับ


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 5-51 รูปที่ 5-49 ดัชนีความเปราะบางของปัจจัยย่อยด้านการเปิดรับสภาพภูมิอากาศ


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 5-52 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ตารางที่ 5-19 การจำแนกพื้นที่ระดับความเปราะบางของดัชนีย่อยด้านเศรษฐกิจสังคมรายตำบล ตำบล อำเภอ พื้นที่ระดับความเปราะบาง (ตร.กม.) รวม ต่ำมาก ต่ำ ปานกลาง สูง สูงมาก (ตร.กม.) ไม้ขาว ถลาง 0.13 0.82 2.27 1.57 0.54 5.32 สาคู 0.02 1.65 1.31 1.54 0.29 4.80 เชิงทะเล 0.09 0.25 2.24 2.39 1.90 6.87 กมลา กะทู้ 0.06 0.31 2.26 1.31 0.99 4.94 ป่าตอง 0.32 0.50 2.64 1.67 0.54 5.67 กะรน เมืองภูเก็ต 0.44 1.99 2.22 2.45 0.50 7.60 ราไวย์ 0.42 0.39 0.63 0.35 0.27 2.06 รวม 1.48 5.91 13.57 11.28 5.02 37.26 ร้อยละ 3.97 15.85 36.42 30.27 13.48 100.00 รูปที่ 5-50 แผนภูมิแสดงร้อยละของพื้นที่ระดับความเปราะบางของดัชนีความเปราะบางของปัจจัยย่อย ด้านเศรษฐกิจสังคม


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 5-53 รูปที่ 5-51 แผนภูมิแสดงระดับความเปราะบางของดัชนีย่อยด้านเศรษฐกิจสังคมรายตำบล • ความเปราะบางระดับสูง มีพื้นที่รวมประมาณ 11.28 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 30.27 ของพื้นที่ศึกษาทั้งหมด โดยพบมากที่สุดบริเวณพื้นที่ตำบลกะรน รองลงมาเป็น พื้นที่ตำบลเชิงทะเล ตำบลป่าตอง และพบน้อยที่สุดในพื้นที่ตำบลราไวย์ ตามลำดับ • ความเปราะบางระดับสูงมาก มีพื้นที่รวมประมาณ 5.02 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 13.48 ของพื้นที่ศึกษาทั้งหมด โดยพบมากที่สุดบริเวณพื้นที่ตำบลเชิงทะเล รองลงมา เป็นพื้นที่ตำบลกมลา ตำบลป่าตอง ตำบลไม้ขาว และพบน้อยที่สุดในพื้นที่ตำบลราไวย์ ตามลำดับ 5.2.2.2 ดัชนีความเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง จากการซ้อนทับและวิเคราะห์ข้อมูลดัชนีย่อยด้านลักษณะกายภาพ การเปิดรับสภาพ ภูมิอากาศ และเศรษฐกิจสังคม สามารถคำนวณและจำแนกดัชนีความเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่ง ต่อการกัดเซาะชายฝั่งออกเป็น 5 ระดับ โดยใช้ฟังก์ชันการแบ่งช่วงชั้นสำหรับพื้นที่ที่อิงจากการจับกลุ่ม ของข้อมูลแบบธรรมชาติ (Natural breaks) ในโปรแกรมสารสนเทศภูมิศาสตร์ได้แก่ ระดับต่ำมาก ต่ำ ปานกลาง สูง และสูงมาก (ตารางที่ 5-20 และรูปที่ 5-53 ถึง 5-55) รายละเอียด ดังนี้ (1)ความเปราะบางระดับต่ำมาก มีพื้นที่รวมประมาณ 4.14 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 11.12 ของพื้นที่ศึกษาทั้งหมด โดยพบมากที่สุดในพื้นที่ตำบลกะรน รองลงมาเป็นพื้นที่ ตำบลสาคูตำบลราไวย์และพบน้อยที่สุดในพื้นที่ตำบลไม้ขาว ตามลำดับ


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 5-54 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รูปที่ 5-52 ดัชนีความเปราะบางของปัจจัยย่อยด้านเศรษฐกิจสังคม


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 5-55 ตารางที่ 5-20 การจำแนกพื้นที่ระดับความเปราะบางของดัชนีความเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่ง ต่อการกัดเซาะชายฝั่งรายตำบล ตำบล อำเภอ พื้นที่ระดับความเปราะบาง (ตร.กม.) รวม ต่ำมาก ต่ำ ปานกลาง สูง สูงมาก (ตร.กม.) ไม้ขาว ถลาง 0.14 0.68 1.49 1.94 1.07 5.32 สาคู 0.87 0.86 1.03 0.83 1.21 4.80 เชิงทะเล 0.04 0.35 2.16 2.07 2.25 6.87 กมลา กะทู้ 0.32 0.91 1.80 1.61 0.31 4.95 ป่าตอง 0.45 1.61 1.43 1.37 0.80 5.67 กะรน เมืองภูเก็ต 1.59 1.96 1.44 0.72 1.89 7.60 ราไวย์ 0.74 0.40 0.46 0.45 - 2.06 รวม 4.14 6.78 9.81 8.99 7.54 37.26 ร้อยละ 11.12 18.19 26.32 24.13 20.24 100.00 รูปที่ 5-53 แผนภูมิแสดงร้อยละของพื้นที่ระดับความเปราะบางของดัชนีความเปราะบางของพื้นที่ ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 5-56 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รูปที่ 5-54 แผนภูมิแสดงระดับความเปราะบางของดัชนีความเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะ ชายฝั่งรายตำบล (2)ความเปราะบางระดับต่ำ มีพื้นที่รวมประมาณ 6.78 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น ร้อยละ 18.19 ของพื้นที่ศึกษาทั้งหมด โดยพบมากที่สุดในพื้นที่ตำบลกะรน รองลงมาเป็นพื้นที่ตำบล ป่าตอง ตำบลกมลา และพบน้อยที่สุดในพื้นที่ตำบลเชิงทะเล ตามลำดับ (3)ความเปราะบางระดับปานกลาง มีพื้นที่รวมประมาณ 9.81 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 26.32 ของพื้นที่ศึกษาทั้งหมด โดยพบมากที่สุดบริเวณพื้นที่ตำบลเชิงทะเล รองลงมา เป็นพื้นที่ตำบลกมลา ตำบลไม้ขาว และพบน้อยที่สุดในพื้นที่ตำบลราไวย์ ตามลำดับ (4)ความเปราะบางระดับสูง มีพื้นที่รวมประมาณ 8.99 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น ร้อยละ 24.13 ของพื้นที่ศึกษาทั้งหมด โดยพบมากที่สุดบริเวณพื้นที่ตำบลเชิงทะเล รองลงมาเป็นพื้นที่ ตำบลไม้ขาว ตำบลกมลา และพบน้อยที่สุดในพื้นที่ตำบลราไวย์ ตามลำดับ (5)ความเปราะบางระดับสูงมาก มีพื้นที่รวมประมาณ 7.54 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 20.24 ของพื้นที่ศึกษาทั้งหมด โดยพบมากที่สุดบริเวณพื้นที่ตำบลเชิงทะเล รองลงมา เป็นพื้นที่ตำบลกะรน และตำบลสาคู และพบน้อยที่สุดในพื้นที่ตำบลมกมลา ตามลำดับ ส่วนพื้นที่ ตำบลราไวย์ไม่พบความเปราะบางระดับสูงมาก ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาข้อมูลความเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง รายตำบลจำนวน 7 ตำบล มีรายละเอียด ดังนี้


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 5-57 รูปที่ 5-55 ความเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเลจังหวัด ภูเก็ตฝั่งตะวันตก


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 5-58 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง • ตำบลไม้ขาว ครอบคลุมพื้นที่ศึกษาประมาณ 5.32 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ ส่วนใหญ่มีความเปราะบางในระดับสูง มีพื้นที่ประมาณ 1.94 ตารางกิโลเมตร รองลงมาเป็นระดับ ปานกลางประมาณ 1.49 ตารางกิโลเมตร ระดับสูงมากประมาณ 1.07 ตารางกิโลเมตร ระดับต่ำ ประมาณ 0.68 ตารางกิโลเมตร และระดับต่ำมากประมาณ 0.14 ตารางกิโลเมตร ตามลำดับ (รูปที่ 5-56) • ตำบลสาคูครอบคลุมพื้นที่ศึกษาประมาณ 4.80 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ ส่วนใหญ่มีความเปราะบางในระดับสูงมาก มีพื้นที่ประมาณ 1.21 ตารางกิโลเมตร รองลงมาเป็นระดับ ปานกลางประมาณ 1.03 ตารางกิโลเมตร ระดับต่ำมากประมาณ 0.87 ตารางกิโลเมตร ระดับต่ำ ประมาณ 0.86 ตารางกิโลเมตร และระดับสูงประมาณ 0.83 ตารางกิโลเมตร ตามลำดับ (รูปที่ 5-57) • ตำบลเชิงทะเล ครอบคลุมพื้นที่ศึกษาประมาณ 6.87 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ ส่วนใหญ่มีความเปราะบางในระดับสูงมาก มีพื้นที่ประมาณ 2.25 ตารางกิโลเมตร รองลงมาเป็นระดับ ปานกลางประมาณ 2.16 ตารางกิโลเมตร ระดับสูงประมาณ 2.07 ตารางกิโลเมตร ระดับต่ำประมาณ 0.35 ตารางกิโลเมตร และระดับต่ำมากประมาณ 0.04 ตารางกิโลเมตร ตามลำดับ (รูปที่ 5-58) • ตำบลกมลา ครอบคลุมพื้นที่ศึกษาประมาณ 4.94 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ ส่วนใหญ่มีความเปราะบางในระดับปานกลาง มีพื้นที่ประมาณ 1.80 ตารางกิโลเมตร รองลงมาเป็น ระดับสูงประมาณ 1.61 ตารางกิโลเมตร ระดับต่ำประมาณ 0.91 ตารางกิโลเมตร ระดับต่ำมาก ประมาณ 0.32 ตารางกิโลเมตร และระดับสูงมากประมาณ 0.31 ตารางกิโลเมตร ตามลำดับ (รูปที่ 5-59) • ตำบลป่าตอง ครอบคลุมพื้นที่ศึกษาประมาณ 5.67 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ ส่วนใหญ่มีความเปราะบางในระดับต่ำ มีพื้นที่ประมาณ 1.61 ตารางกิโลเมตร รองลงมาเป็นระดับ ปานกลางประมาณ 1.43 ตารางกิโลเมตร ระดับสูงประมาณ 1.37 ตารางกิโลเมตร ระดับสูงมาก ประมาณ 0.80 ตารางกิโลเมตร และระดับต่ำมากประมาณ 0.45 ตารางกิโลเมตร ตามลำดับ (รูปที่ 5-60) • ตำบลกะรน ครอบคลุมพื้นที่ศึกษาประมาณ 7.60 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ ส่วนใหญ่มีความเปราะบางในระดับต่ำ มีพื้นที่ประมาณ 1.96 ตารางกิโลเมตร รองลงมาเป็นระดับ สูงมากประมาณ 1.89 ตารางกิโลเมตร ระดับปานกลางประมาณ 1.44 ตารางกิโลเมตร ระดับต่ำมาก ประมาณ 1.59 ตารางกิโลเมตร และระดับสูงประมาณ 0.72 ตารางกิโลเมตร ตามลำดับ (รูปที่ 5-61) • ตำบลราไวย์ครอบคลุมพื้นที่ศึกษาประมาณ 2.06 ตารางกิโลเมตร ไม่พบ ความเปราะบางระดับสูงมาก โดยพื้นที่ส่วนใหญ่มีความเปราะบางในระดับต่ำมาก มีพื้นที่ประมาณ 0.74 ตารางกิโลเมตร รองลงมาเป็นระดับปานกลางประมาณ 0.46 ตารางกิโลเมตร ระดับสูงประมาณ 0.45 ตารางกิโลเมตร และระดับต่ำประมาณ 0.40 ตารางกิโลเมตร ตามลำดับ (รูปที่ 5-62)


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 5-59 รูปที่ 5-56 ความเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเลตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 5-60 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รูปที่ 5-57 ความเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเลตำบลสาคู อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต


Click to View FlipBook Version