The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

QR รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการวิจัยศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by All about your Desing, 2023-05-01 05:58:34

QR รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการวิจัยศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง

QR รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการวิจัยศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง

โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 5-61 รูปที่ 5-58 ความเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเลตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 5-62 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รูปที่ 5-59 ความเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเลตำบลกมลา อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 5-63 รูปที่ 5-60 ความเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเลตำบลป่าตอง อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 5-64 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รูปที่ 5-61 ความเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเลตำบลกะรน อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 5-65 รูปที่ 5-62 ความเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเลตำบลราไวย์ อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 5-66 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 5.3 แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล จากผลการวิเคราะห์ดัชนีความเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง สามารถ จำแนกการกำหนดแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งในเบื้องต้น ออกเป็น 2 กรณี ดังนี้ (1) กรณีพื้นที่ชายฝั่งทะเลมีความเปราะบางระดับต่ำ – ต่ำมาก มีพื้นที่รวมประมาณ 10.92 ตารางกิโลเมตร ซึ่งส่วนใหญ่พบในพื้นที่ตำบลกะรน ตำบลป่าตอง และตำบลสาคู โดยพื้นที่ ดังกล่าวไม่ถูกพิจารณาให้เป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงหรือพื้นที่เฝ้าระวังต่อการกัดเซาะชายฝั่ง จึงไม่มี ความจำเป็นที่จะต้องดำเนินมาตรการการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งโดยใช้โครงสร้าง ทางวิศวกรรม ดังนั้น จึงกำหนดแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งในกรณีนี้ คือ แนวทางการปรับสมดุลชายฝั่งโดยธรรมชาติสามารถดำเนินการได้โดยการออกมาตรการรักษา ความสมบูรณ์ของสภาพธรรมชาติชายฝั่งและกำหนดไม่ให้มีกิจกรรมของมนุษย์ที่จะเข้าไปรบกวน เสถียรภาพของชายฝั่ง อาทิเช่น การไม่ดำเนินการใด ๆ เพื่อปล่อยให้ชายฝั่งได้มีการปรับสมดุล ตามธรรมชาติ การกำหนดพื้นที่ถอยร่น โดยการกำหนดพื้นที่กันชนให้มีระยะห่างระดับหนึ่งและกำหนด กิจกรรมการใช้ประโยชน์ที่ดิน และมาตรการต่าง ๆ ที่สามารถดำเนินการได้ภายในเขตพื้นที่ถอยร่นให้มี ความเหมาะสมกับอัตราการกัดเซาะชายฝั่ง หรือการกำหนดมาตรการคุ้มครองพื้นที่ชายฝั่ง เป็นต้น (2) กรณีพื้นที่ชายฝั่งทะเลมีความเปราะบางระดับปานกลาง – สูงมาก มีพื้นที่รวม ประมาณ 26.34 ตารางกิโลเมตร โดยพื้นที่ดังกล่าวถูกพิจารณาให้เป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงหรือพื้นที่ เฝ้าระวังต่อการกัดเซาะชายฝั่ง เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่มีการใช้ประโยชน์ในด้านการท่องเที่ยว มีมูลค่า ทางเศรษฐกิจสูง ซึ่งหากเกิดการกัดเซาะชายฝั่ง จะส่งผลให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจและสังคม เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีความเปราะบางในระดับสูง – สูงมาก เช่น หาดบางเทา ตำบล เชิงทะเล หาดกะรน ตำบลกะรน ดังนั้น การกำหนดแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะ ชายฝั่งในเบื้องต้น สามารถดำเนินการได้ทั้ง 4 แนวทาง โดยมุ่งเน้นแนวทางและรูปแบบการป้องกัน และแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งที่มีความสอดคล้องกับกระบวนการทางธรรมชาติเป็นหลัก ดังนี้ • การปรับสมดุลชายฝั่งโดยธรรมชาติสามารถดำเนินการได้โดยการกำหนด พื้นที่ถอยร่น โดยการกำหนดพื้นที่กันชนและกำหนดรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดิน และมาตรการต่าง ๆ ที่สามารถดำเนินการได้ภายในเขตพื้นที่ถอยร่นให้มีความเหมาะสมกับอัตราการกัดเซาะชายฝั่ง ซึ่งอาจดำเนินการควบคู่กับการสร้างความสมดุลของตะกอนชายฝั่ง • การฟื้นฟูเสถียรภาพชายฝั่ง เป็นการดำเนินการใด ๆ เพื่อฟื้นฟูสภาพ ชายหาดที่ถูกกัดเซาะให้คืนสภาพเดิมตามธรรมชาติเช่น การเติมทรายชายหาด เพื่อให้สามารถ กระจายแรงคลื่นและลดความเสี่ยงต่อการกัดเซาะชายฝั่ง การปลูกป่าชายเลนหรือป่าชายหาด เพื่อสร้างเสถียรภาพให้กับชายฝั่ง เป็นต้น


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 5-67 • การป้องกันปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง เป็นการดำเนินการเพื่อป้องกันพื้นที่ ชายฝั่งที่มีการกัดเซาะให้มีอัตราการกัดเซาะลดลง ทั้งการดำเนินการในรูปแบบสอดคล้อง หรือเลียนแบบธรรมชาติ เช่น การเติมทรายชายหาด การใช้รั้วไม้ดักทราย ตลอดจนการดำเนินการ โดยใช้โครงสร้างทางวิศวกรรม เช่น เขื่อนกันคลื่นนอกชายฝั่ง รอดักทราย เขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเล และกำแพงป้องกันคลื่นริมชายหาด เป็นต้น • การแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง เป็นการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหา การกัดเซาะชายฝั่งในบริเวณชายฝั่งที่ถูกกัดเซาะ ทั้งการใช้รูปแบบที่สอดคล้องธรรมชาติและเลียนแบบ ธรรมชาติ หรือใช้โครงสร้างทางวิศวกรรม ตลอดจนการแก้ไขที่ต้นเหตุของปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง เช่น การรื้อถอนโครงสร้างหรือปรับปรุงรูปแบบสิ่งก่อสร้างที่ขวางการเคลื่อนที่ของตะกอนชายฝั่ง การเสริมทรายชายหาด การก่อสร้างกำแพงกันคลื่นริมชายฝั่งทะเล เป็นต้น อย่างไรก็ดี แนวทางดังกล่าวเป็นเพียงข้อเสนอแนะในเบื้องต้นเท่านั้น แต่เนื่องจาก ชายฝั่งทะเลแต่ละพื้นที่มีลักษณะทางกายภาพ สภาพทางสมุทรศาสตร์ชายฝั่ง การใช้ประโยชน์ที่ดิน และความยากง่ายในการดำเนินการที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้น ในการพิจารณาดำเนินมาตรการใด ๆ จึงจำเป็นที่จะต้องพิจารณาในรายละเอียดเป็นรายกรณีไป ซึ่งต้องคำนึงถึงปัจจัยด้านอื่น ๆ ร่วมด้วย อาทิเช่น ด้านวิศวกรรม สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม งบประมาณ และความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ ตลอดจนข้อคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 6-1 บทที่ 6 อภิปรายผลและสรุปผลการศึกษา 6.1 อภิปรายผลและสรุปผลการศึกษา การศึกษาในครั้งนี้มีวัตุประสงค์เพื่อศึกษาตัวแปรด้านลักษณะกายภาพ การเปิดรับสภาพ ภูมิอากาศ และเศรษฐกิจสังคมที่ส่งผลต่อดัชนีความเปราะบางชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่ ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก และเพื่อประเมินและวิเคราะห์พื้นที่เปราะบางต่อการกัดเซาะชายฝั่ง ในพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตกโดยประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ โดยสามารถ อภิปรายและสรุปผลการศึกษาได้ ดังนี้ 6.1.1 ตัวแปรที่ใช้ในการประเมินดัชนีความเปราะบางชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง การศึกษาในครั้งนี้ได้คัดเลือกตัวแปรที่ใช้ในการประเมินดัชนีความเปราะบางของพื้นที่ ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่ชายฝั่งทะเลจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก จำนวน 15 ตัวแปร ซึ่งได้คัดเลือกมาจากการทบทวนวรรณกรรมและการรวบรวมฐานข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิที่สามารถ รวบรวมได้และมีความเหมาะสมสำหรับการศึกษาดัชนีความเปราะบางบริเวณพื้นที่ศึกษา โดยตัวแปร ดังกล่าวสามารถจำแนกออกเป็น 3 ปัจจัยย่อย ดังนี้ (1) ปัจจัยย่อยด้านลักษณะกายภาพ ประกอบด้วยตัวแปรจำนวน 7 ตัวแปร ได้แก่ อัตรา การเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งทะเล ความลาดชันชายฝั่ง ความกว้างของหาด ธรณีสัณฐานชายฝั่งทะเล พื้นที่แนวปะการัง พื้นที่ป่าชายเลน และแหล่งหญ้าทะเล (2) ปัจจัยย่อยด้านการเปิดรับสภาพภูมิอากาศ ประกอบด้วยตัวแปรจำนวน 3 ตัวแปร ได้แก่ความสูงคลื่นนัยสำคัญเฉลี่ย พิสัยระดับน้ำขึ้น-น้ำลงเฉลี่ย และการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล (3) ปัจจัยย่อยด้านเศรษฐกิจสังคม ประกอบด้วยตัวแปรจำนวน 5 ตัวแปร ได้แก่ ความหนาแน่นประชากร การใช้ประโยชน์ที่ดิน โครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง อัตราส่วน สิ่งปลูกสร้างและพื้นที่เมือง และโครงสร้างพื้นฐาน ผลการให้ค่าน้ำหนักตัวแปรด้วยการวิเคราะห์ทางเลือกแบบหลายปัจจัย พบว่า ปัจจัยย่อยด้านลักษณะกายภาพที่มีค่าน้ำหนักมากที่สุด คือ ธรณีสัณฐานชายฝั่งทะเล รองลงมาเป็น อัตราการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งทะเล ความลาดชันชายฝั่ง ความกว้างของหาด พื้นที่ป่าชายเลน พื้นที่แนวปะการัง และแหล่งหญ้าทะเลมีค่าน้ำหนักน้อยที่สุด ตามลำดับ ปัจจัยย่อยด้านการเปิดรับ สภาพภูมิอากาศ ตัวแปรที่มีค่าน้ำหนักมากที่สุด คือ ความสูงคลื่นนัยสำคัญเฉลี่ย รองลงมาเป็น การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล และพิสัยระดับน้ำขึ้น-น้ำลงเฉลี่ย ตามลำดับ ส่วนปัจจัยย่อย ด้านเศรษฐกิจสังคม ตัวแปรที่มีค่าน้ำหนักมากที่สุด คือ รูปแบบการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 6-2 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รองลงมาเป็นการใช้ประโยชน์ที่ดิน อัตราส่วนสิ่งปลูกสร้างและพื้นที่เมือง โครงสร้างพื้นฐาน และความหนาแน่นประชากรมีค่าน้ำหนักน้อยที่สุด ตามลำดับ การคัดเลือกและกำหนดตัวแปรสำหรับการศึกษาในครั้งนี้ มีการคัดเลือกจำนวนตัวแปร ที่ใช้ศึกษาปรับปรุงเพิ่มเติมจากงานศึกษาความเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งในพื้นที่อื่น ๆ ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้มีความเหมาะสมกับการประเมินความเปราะบางในพื้นที่ศึกษา ยกตัวอย่างเช่น ด้านลักษณะทางกายภาพ ได้เพิ่มตัวแปรพื้นที่แนวปะการัง พื้นที่ป่าชายเลน และแหล่งหญ้าทะเล ด้านเศรษฐกิจสังคมได้เพิ่มตัวแปรอัตราส่วนพื้นที่เมืองและสิ่งปลูกสร้าง เป็นต้น ซึ่งตัวแปรดังกล่าวเป็นตัวแปรที่ส่งผลต่อความเปราะบางต่อการกัดเซาะชายฝั่งของพื้นที่ชายฝั่งทะเล บริเวณพื้นที่ศึกษา โดยจากการศึกษาของ Rangel-Buitrago et al. (2020) พบว่า การคัดเลือก และการเพิ่มจำนวนตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา จะต้องหลีกเลี่ยงความซ้ำซ้อนและความกำกวมของ ตัวแปรต่าง ๆ เนื่องจากการกำหนดจำนวนตัวแปรที่มากขึ้น จะทำให้การประเมินดัชนีความเปราะบาง ของพื้นที่ชายฝั่งมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ดังนั้น ในการศึกษาไม่ว่ากรณีใด ๆ จะต้องมีความสมดุล ระหว่างการใช้ประโยชน์ความถูกต้องของข้อมูล และความสะดวกในการประยุกต์ใช้ข้อมูลนั้น ๆ ด้วย 6.1.2 ความเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง จากการประเมินและวิเคราะห์พื้นที่เปราะบางต่อการกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่ชายฝั่ง จังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตกโดยประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ภูมิศาสตร์ซึ่งมีระยะทาง แนวชายฝั่งทะเลประมาณ 84.14 กิโลเมตร และพื้นที่ศึกษารวมทั้งหมดประมาณ 37.26 ตาราง กิโลเมตร สามารถสรุปผลการศึกษาได้ดังนี้ 6.1.2.1 ปัจจัยย่อยด้านลักษณะกายภาพ ผลการศึกษาความเปราะบางของปัจจัยย่อยด้านลักษณะกายภาพ พบว่า มากกว่า ร้อยละ 30 ของพื้นที่ศึกษาทั้งหมดมีความเปราะบางระดับสูง โดยมีพื้นที่รวมประมาณ 11.35 ตาราง กิโลเมตร โดยพบมากที่สุดบริเวณพื้นที่ตำบลไม้ขาว ตำบลกะรน และตำบลเชิงทะเล ตามลำดับ รองลงมาเป็นความเปราะบางระดับต่ำมาก มีพื้นที่รวมประมาณ 8.53 ตารางกิโลเมตร พบมากที่สุด บริเวณพื้นที่ตำบลกะรน ตำบลกมลา และตำบลป่าตอง ตามลำดับ ความเปราะบางระดับปานกลาง มีพื้นที่รวมประมาณ 8.00 ตารางกิโลเมตร พบมากที่สุดบริเวณพื้นที่ตำบลเชิงทะเล ตำบลสาคู และตำบลกมลา ตามลำดับ ความเปราะบางระดับต่ำ มีพื้นที่รวมประมาณ 5.64 ตารางกิโลเมตร พบมากที่สุดในพื้นที่ตำบลไม้ขาว ตำบลป่าตอง และตำบลเชิงทะเล ตามลำดับ และความเปราะบาง ระดับสูงมาก มีพื้นที่รวมประมาณ 3.75 ตารางกิโลเมตร พบมากที่สุดในพื้นที่ตำบลป่าตอง ตำบลกะรน และตำบลกมลา ตามลำดับ นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาพื้นที่รายตำบล พบว่า พื้นที่ตำบลไม้ขาว มีความเปราะบางของปัจจัยย่อยด้านลักษณะกายภาพในระดับสูง - สูงมาก มากที่สุด รองลงมาคือ


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 6-3 ตำบลกะรน ตำบลเชิงทะเล ตำบลป่าตอง ตำบลสาคู ตำบลกมลา และตำบลราไวย์ ตามลำดับ โดยตัวแปรด้านลักษณะกายภาพที่มีอิทธิพลต่อดัชนีความเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งในพื้นที่ศึกษา มากที่สุด ได้แก่ ความกว้างของหาด ลักษณะธรณีสัณฐานชายฝั่งทะเล และอัตราการเปลี่ยนแปลง แนวชายฝั่งทะเล รวมถึงพื้นที่แนวปะการัง พื้นที่ป่าชายเลน และแหล่งหญ้าทะเล ซึ่งเป็นตัวแปรที่มี ความสามารถในการกระจายและลดทอนพลังงานคลื่นตามธรรมชาติด้วย 6.1.2.2 ปัจจัยย่อยด้านการเปิดรับสภาพภูมิอากาศ ผลการศึกษาความเปราะบางของปัจจัยย่อยด้านการเปิดรับสภาพภูมิอากาศ พบว่า พื้นที่ ศึกษาสามารถจำแนกระดับความเปราะบางออกเป็น 2 ระดับ คือ ระดับต่ำมาก และสูงมาก โดยส่วนใหญ่มีความเปราะบางระดับต่ำมาก มีพื้นที่รวมประมาณ 19.28 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น ร้อยละ 51.74 ของพื้นที่ศึกษาทั้งหมด โดยพบมากที่สุดในพื้นที่ตำบลกะรน ตำบลป่าตอง และตำบล กมลา ตามลำดับ ส่วนที่เหลือมีความเปราะบางระดับสูงมาก มีพื้นที่รวมประมาณ 17.98 ตาราง กิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 48.26 ของพื้นที่ศึกษาทั้งหมด โดยพบมากที่สุดในพื้นที่ตำบลเชิงทะเล ตำบล ไม้ขาว และตำบลสาคู ตามลำดับ โดยตัวแปรด้านการเปิดรับสภาพภูมิอากาศที่มีอิทธิพลต่อดัชนี ความเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งมากที่สุด ได้แก่ พิสัยระดับน้ำขึ้น-น้ำลงเฉลี่ย เนื่องจากเป็นตัวแปรเดียว ที่แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของระดับความเปราะบางในพื้นที่ศึกษา กล่าวคือ ค่าความสูงคลื่น นัยสำคัญเฉลี่ย และการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล มีค่าเท่ากันตลอดทั้งพื้นที่ศึกษา ทำให้ไม่มี ความแตกต่างกันในเชิงพื้นที่ แต่อย่างไรก็ตาม ตัวแปรดังกล่าวเป็นตัวแปรสำคัญที่มีอิทธิพล และส่งผลกระทบต่อกระบวนการเคลื่อนย้ายมวลตะกอนและการกัดเซาะชายฝั่งทะเลในพื้นที่ศึกษา โดยเฉพาะความสูงคลื่นนัยสำคัญเฉลี่ยซึ่งมีค่าถ่วงน้ำหนักตัวแปรมากที่สุด 6.1.2.3 ปัจจัยย่อยด้านเศรษฐกิจสังคม ผลการศึกษาความเปราะบางของปัจจัยย่อยด้านเศรษฐกิจสังคม พบว่า พื้นที่ศึกษา ส่วนใหญ่มีความเปราะบางระดับปานกลาง มีพื้นที่รวมประมาณ 13.57 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 36.42 ของพื้นที่ศึกษาทั้งหมด โดยพบมากที่สุดบริเวณพื้นที่ตำบลป่าตอง ตำบลไม้ขาว และตำบล กมลา ตามลำดับ รองลงมาเป็นความเปราะบางระดับสูง มีพื้นที่รวมประมาณ 11.28 ตารางกิโลเมตร พบมากที่สุดบริเวณพื้นที่ตำบลกะรน ตำบลเชิงทะเล และตำบลป่าตอง ตามลำดับ ความเปราะบาง ระดับต่ำ มีพื้นที่รวมประมาณ 5.91 ตารางกิโลเมตร พบมากที่สุดบริเวณพื้นที่ตำบลกะรน ตำบลสาคู และตำบลไม้ขาว ตามลำดับ ความเปราะบางระดับสูงมาก มีพื้นที่รวมประมาณ 5.02 ตารางกิโลเมตร พบมากที่สุดในพื้นที่ตำบลเชิงทะเล ตำบลกมลา และตำบลป่าตอง ตามลำดับ และความเปราะบาง ระดับต่ำมาก มีพื้นที่รวมประมาณ 1.48 ตารางกิโลเมตร พบมากที่สุดในพื้นที่ตำบลกะรน ตำบลราไวย์


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 6-4 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และตำบลป่าตอง ตามลำดับ นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาพื้นที่รายตำบล พบว่า พื้นที่ตำบลเชิงทะเล มีความเปราะบางของปัจจัยย่อยด้านเศรษฐกิจสังคมในระดับสูง - สูงมาก มากที่สุด รองลงมาคือ ตำบลกะรน ตำบลกมลา ตำบลป่าตอง ตำบลไม้ขาว ตำบลสาคู และตำบลราไวย์ ตามลำดับ โดยตัวแปรด้านเศรษฐกิจสังคมที่มีอิทธิพลต่อดัชนีความเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งในพื้นที่ศึกษา มากที่สุด ได้แก่ โครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง อัตราส่วนสิ่งปลูกสร้างและพื้นที่เมือง และโครงสร้างพื้นฐาน 6.1.2.4 ความเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง ผลการศึกษาความเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง พบว่า พื้นที่ศึกษา ส่วนใหญ่มีความเปราะบางระดับปานกลาง มีพื้นที่รวมประมาณ 9.81 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 26.32 ของพื้นที่ศึกษาทั้งหมด โดยพบมากที่สุดบริเวณพื้นที่ตำบลเชิงทะเล ตำบลกมลา และตำบล ไม้ขาว ตามลำดับ รองลงมาเป็นความเปราะบางระดับสูง มีพื้นที่รวมประมาณ 8.99 ตารางกิโลเมตร พบมากที่สุดบริเวณพื้นที่ตำบลเชิงทะเล ตำบลไม้ขาว และตำบลกมลา ตามลำดับ ความเปราะบาง ระดับสูงมาก มีพื้นที่รวมประมาณ 7.54 ตารางกิโลเมตร พบมากที่สุดบริเวณพื้นที่เชิงทะเล ตำบลกะรน และตำบลสาคู ตามลำดับ ความเปราะบางระดับต่ำ มีพื้นที่รวมประมาณ 6.78 ตารางกิโลเมตร พบมากที่สุดในพื้นที่ตำบลกะรน ตำบลป่าตอง และตำบลกมลา ตามลำดับ และความเปราะบางระดับ ต่ำมาก มีพื้นที่รวมประมาณ 4.14 ตารางกิโลเมตร พบมากที่สุดในพื้นที่ตำบลกะรน ตำบลสาคู และตำบลราไวย์ ตามลำดับ นอกจากนี้เมื่อพิจารณาความเปราะบางรายตำบล พบว่า ตำบลเชิงทะเล มีความเปราะบางในระดับสูง - สูงมาก มากที่สุด รองลงมาคือ ตำบลไม้ขาว ตำบลกะรน ตำบลป่าตอง ตำบลสาคู ตำบลกมลา และตำบลราไวย์ ตามลำดับ สำหรับพื้นที่ชายฝั่งทะเลที่มีความเปราะบางชายฝั่งทะเลในระดับปานกลาง - สูงมาก ควรกำหนดให้เป็นพื้นที่เฝ้าระวังต่อการกัดเซาะชายฝั่ง เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่มีการใช้ประโยชน์ ในด้านการท่องเที่ยว ซึ่งมีมูลค่าทางเศรษฐกิจค่อนข้างสูง หากเกิดการกัดเซาะชายฝั่ง อาจจะส่ง ผลกระทบทำให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจและสังคมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มี ความเปราะบางในระดับสูง – สูงมาก เช่น หาดบางเทา ตำบลเชิงทะเล หาดกะรน ตำบลกะรน โดยการกำหนดแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งในเบื้องต้นควรพิจารณาแนวทาง หรือรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงกระบวนการชายฝั่งตามธรรมชาติหรือก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศ น้อยที่สุดก่อนเป็นลำดับแรก อย่างไรก็ตาม หากจำเป็นต้องเลือกใช้รูปแบบโครงสร้างทางวิศวกรรม อาจดำเนินการได้โดยใช้รูปแบบผสมผสานร่วมด้วย เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งทะเลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 - 2565 และผลการวิเคราะห์ระดับความเปราะบางของพื้นที่ พบว่า ส่วนใหญ่พื้นที่ที่มี


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 6-5 ความเปราะบางในระดับสูง – สูงมาก ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการกัดเซาะชายฝั่งสูง มีสถานภาพ แนวชายฝั่งเป็นพื้นที่คงสภาพและพื้นที่สะสมน้อย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อ ความเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่ศึกษามากที่สุด คือ ตัวแปร ด้านเศรษฐกิจสังคม ได้แก่ โครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง อัตราส่วนสิ่งปลูกสร้างและพื้นที่เมือง และโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งจากการศึกษาของ Cooper & McLaughlin (1998) ได้กล่าวไว้ว่า หากค่าของ ดัชนีความเสี่ยงไม่สอดคล้องกับข้อมูลการกัดเซาะชายฝั่งอย่างเพียงพอ ปัจจัยอื่น ๆ ในพื้นที่ศึกษา ที่ยังไม่รวมอยู่ในดัชนีอาจส่งผลต่อกระบวนการกัดเซาะชายฝั่งได้ อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดของการศึกษาในครั้งนี้ คือ เป็นการศึกษาในระดับท้องถิ่น (Local scale) เนื่องจากพื้นที่ศึกษามีขนาดเล็ก ทำให้ค่าของบางตัวแปร เช่น ความสูงคลื่นนัยสำคัญเฉลี่ย การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล ความหนาแน่นประชากร เป็นต้น ไม่มีความแตกต่างกันในเชิงพื้นที่ โดยค่าของตัวแปรนั้น ๆ มีค่าเท่ากันตลอดทั้งพื้นที่ศึกษา 6.2 ข้อเสนอแนะ (1) ดัชนีความเปราะบางและผลการศึกษาที่ได้สามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อประเมิน ความเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งบริเวณอื่น ๆ ได้ทั้งในระดับภูมิภาค (Regional scale) และระดับ ท้องถิ่น โดยสามารถปรับเปลี่ยนหรือประยุกต์เลือกใช้ปัจจัยที่มีความเหมาะสมทั้งทางด้านกายภาพ และเศรษฐกิจสังคมในแต่ละพื้นที่ (2) ในการศึกษาครั้งต่อไป สามารถเพิ่มตัวแปรในการวิเคราะห์ความเปราะบางของพื้นที่ ชายฝั่งทั้งทางด้านกายภาพและเศรษฐกิจสังคม เพื่อให้การศึกษามีความครอบคลุมมากยิ่งขึ้น เช่น ความสูงของพื้นที่ (Elevation) ชนิดหิน มูลค่าที่ดิน พื้นที่ประสบปัญหาน้ำท่วมชายฝั่ง ความสูงคลื่น ซัดฝั่ง ความถี่พายุ อัตราการรู้หนังสือ เป็นต้น ซึ่งจะช่วยให้การประเมินความเปราะบางชายฝั่ง มีความครอบคลุมมากยิ่งขึ้น (3) เมื่อมีการปรับปรุงฐานข้อมูลต่าง ๆ ให้มีความเป็นปัจจุบันมากขึ้น เช่น อัตรา การเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งทะเล ความหนาแน่นประชากร โครงสร้างการป้องกันและแก้ไขปัญหา การกัดเซาะชายฝั่ง การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล เป็นต้น สามารถนำชุดข้อมูลใหม่ไปวิเคราะห์ และประเมินความเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่งของพื้นที่ศึกษาอีกครั้งได้ (4) ควรมีการศึกษาข้อมูลตัวแปรด้านการเปิดรับสภาพภูมิอากาศในระดับท้องถิ่นที่มี ความละเอียดและมีความเหมาะสมกับขนาดของพื้นที่ศึกษา ซึ่งจะช่วยให้การประเมินความเปราะบาง ของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่งมีความถูกต้องแม่นยำเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ ข้อมูลดังกล่าว ช่วยให้สามารถเข้าใจถึงกระบวนการทางสมุทรศาสตร์ที่มีผลต่อการกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่ศึกษา มากยิ่งขึ้น


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 6-6 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (5) การกำหนดแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งในการศึกษา ครั้งนี้ เป็นเพียงข้อเสนอแนะในเบื้องต้นเท่านั้น โดยการพิจารณาดำเนินมาตรการหรือรูปแบบใด ๆ จำเป็นที่จะต้องพิจารณาในรายละเอียดเป็นรายกรณีไป เนื่องจากชายฝั่งทะเลแต่ละพื้นที่มีลักษณะ ทางกายภาพ สภาพทางสมุทรศาสตร์ชายฝั่ง การใช้ประโยชน์ที่ดิน และความยากง่ายในการดำเนินการ ที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงปัจจัยด้านอื่น ๆ อาทิเช่น ด้านวิศวกรรม สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม งบประมาณ และความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ ตลอดจนข้อคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 7-1 เอกสารอ้างอิง กรมแผนที่ทหาร. (2545ก). แผนที่ภูมิประเทศ ลำดับชุด L7018 มาตราส่วน 1:50,000 ระวาง 4624I. กรุงเทพฯ: กรมแผนที่ทหาร. กรมแผนที่ทหาร. (2545ข). แผนที่ภูมิประเทศ ลำดับชุด L7018 มาตราส่วน 1:50,000 ระวาง 4625II. กรุงเทพฯ: กรมแผนที่ทหาร. กรมโยธาธิการและผังเมือง. (2552). โครงการศึกษาออกแบบการพังทลายของตลิ่งริมทะเล. กรุงเทพฯ: กรมโยธาธิการและผังเมือง. กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2565ก). จำนวนประชากร. สืบค้น 24 พฤษภาคม 2565, จาก:https://stat.bora.dopa.go.th/new_stat/webPage/statByYear.php กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2565ข). การแสดงสถิติรูปแบบกราฟ. สืบค้น 20 กันยายน 2565, จาก:https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statPMOC/#/detialContract กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. (2559). คู่มือองค์ความรู้: แนวคิดระบบกลุ่มหาด (Littoral Cell) ในประเทศไทยกับการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง. กรุงเทพฯ: กองบริหาร จัดการพื้นที่ชายฝั่ง. กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. (2560). หญ้าทะเล: ประโยชน์และความสำคัญ. [ออนไลน์]. สืบค้น 17 สิงหาคม 2565, จาก https://km.dmcr.go.th/c_4 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. (2561ก). แนวทางการจัดทำแผนงาน/โครงการป้องกัน และแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง. กรุงเทพฯ: กองบริหารจัดการพื้นที่ชายฝั่ง. กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. (2561ข). ข้อมูลทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งจังหวัดภูเก็ต. กรุงเทพฯ: กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. (2561ค). คู่มือความรู้ “การกัดเซาะชายฝั่ง”. กรุงเทพฯ: กองบริหารจัดการพื้นที่ชายฝั่ง. กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. (2563ก). หลักเกณฑ์ประกอบการจัดทำแผนงาน/โครงการ ป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง กรุงเทพฯ: กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง. กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. (2563ข). ระบบหาดประเทศไทย. กรุงเทพฯ: กองอนุรักษ์ ทรัพยากรชายฝั่ง. กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. (2563ค). อุทกศาสตร์ชายฝั่งทะเล. [ออนไลน์]. สืบค้น 17 สิงหาคม 2565, จาก http://km.dmcr.go.th/th/c_263/d_1130


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 7-2 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. (2563ง). ระบบติดตามสถานการณ์การเกิดปะการังฟอกขาว (สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง). [ออนไลน์]. สืบค้น 17 สิงหาคม 2565, จากhttps://projects.dmcr.go.th/miniprojects/172/news/335/detail/41227 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. (2564ก). รายงานสถานการณ์ด้านทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่ง และการกัดเซาะชายฝั่งของจังหวัดภูเก็ต. กรุงเทพฯ: กองยุทธศาสตร์ และแผนงาน. กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. (2564ข). ข้อมูลสมุทรศาสตร์ฝั่งอันดามัน. [ออนไลน์]. สืบค้น 16 กันยายน 2565, จาก:https://km.dmcr.go.th/c_263/d_1137 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. (2564ค). สมุดแผนที่ระบบกลุ่มหาดประเทศไทย. กรุงเทพฯ: กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง. กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. (2565). รายงานสถานภาพชายฝั่งทะเล พ.ศ. 2563. กรุงเทพฯ: กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง. กรมทรัพยากรธรณี. (2556). แนวทางการจัดทำข้อมูลธรณีสัณฐานชายฝั่งทะเลเชิงพื้นที่ เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการชายฝั่งอย่างเป็นระบบ. กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและแผน ทรัพยากรธรณีกรมทรัพยากรธรณี. กรมพัฒนาที่ดิน. (2563). สรุปประเภทการใช้ที่ดิน จังหวัดภูเก็ต ปี พ.ศ. 2563. [ออนไลน์]. สืบค้น 8 สิงหาคม 2565, จาก:http://www1.ldd.go.th/WEB_OLP/Lu_63/Lu63_S/PKT2563.htm กรมอุกศาสตร์. (2564). มาตราน้ำ น่านน้ำไทย แม่น้ำเจ้าพระยา - อ่าวไทย – ทะเลอันดามัน พ.ศ. 2565. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กองบริการการเดินเรือ กรมอุทกศาสตร์. กรมอุตุนิยมวิทยา. (2563). ภูมิอากาศจังหวัดภูเก็ต. [ออนไลน์]. สืบค้น 23 พฤษภาคม 2565, จาก: http://climate.tmd.go.th/data/province/ใต้ฝั่งตะวันตก/ภูมิกาศภูเก็ต.pdf กรมอุตุนิยมวิทยา. ม.ป.ป. Ocean Wave Forecasts (WAM-TMD Model) การพยากรณ์คลื่น มหาสมุทร โดยใช้โมเดล WAM-TMD. [ออนไลน์]. สืบค้น 23 ธันวาคม 2565, จาก http://www.marine.tmd.go.th/wam.html กรมอุทกศาสตร์. (2560) พจนานุกรมศัพท์อุทกศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กองสร้างแผนที่ กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ. กองธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม. 2564. รายงานการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งทะเลอ่าวไทย พื้นที่ตำบล แหลมกลัด อำเภอเมือง และตำบลไม้รูด อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด. กรุงเทพฯ: กรมทรัพยากรธรณี.


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 7-3 กัทลี คุรุกุล และกาญจนา นาคะภากร. (2557). การประเมินหาพื้นที่เปราะบางชายฝั่งโดยใช้ เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 22 (6). 775-788. กิรพัฒน์ พชรพิชชากร และสมปรารถนา ฤทธิ์พริ้ง. (2555). การเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเล ในประเทศไทย. วิศวสารลาดกระบัง, 29(3), 55-60. คุณชนก ปรีชาสถิต. (2560). การประเมินความต้องการเทคโนโลยีพลังงานในภาคคมนาคมขนส่ง ทางถนนเพื่อบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญา วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและการจัดการพลังงาน (สหสาชาวิชา). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สืบค้นจาก http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60278 จิรายุ รัตนเดชากร. (2555). บทบาทของภูมิปัญญาท้องถิ่นในการลดความเปราะบางต่อการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของครัวเรือนประมงพื้นบ้าน ลุ่มน้ำปะเหลียน จังหวัดตรัง. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาเทคโนโลยีการบริหาร สิ่งแวดล้อม). นครปฐมฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล. สืบค้นจาก https://library.mahidol.ac.th ฉัตรกนก บุญญภิญโญ, จำลอง โพธิ์บุญ และวิสาขา ภู่จินดา. (2560). การปรับตัวต่อผลกระทบ จากการกัดเซาะชายฝั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลแหลมฟ้าผ่า และชุมชนอำเภ อ พระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 11(2), 98-109. ฉัตรกนก บุญญภิญโญ. (2559). การปรับตัวต่อผลกระทบจากการกัดเซาะชายฝั่งขององค์การ บริหารส่วนตำบลแหลมฟ้าผ่า และชุมชนอำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการสิ่งแวดล้อม) กรงเทพฯ: คณะบริหารการ พัฒนาสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. ชุติมา บุญฤทธิ์ศรีพงษ์, นิรันดร์ ชัยมณี, ณฐมน ติมัน, พรพรรณ ชุมภูเทพ, กิตติรัช อินทรศิริ, สุภวรรณ วรรณนุช, ... และปวีณา พร้อมมงคล. (2565ข). โครงการศึกษาวิจัยผลกระทบของการ แพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ต่อการเปลี่ยนแปลงทางลักษณะธรณีสัณฐานชายฝั่ง (รายงาน วิจัยฉบับสมบูรณ์). กรุงเทพฯ: กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง. ชุติมา บุญฤทธิ์ศรีพงษ์, นิรันดร์ ชัยมณี, พรพรรณ ชุมภูเทพ, ณฐมน ติมัน, กิตติรัช อินทรศิริ, อนุชิต คนแล้ว, ... และอรธีรา ศรีสวัสดิ์. (2565ก). การศึกษาและประเมินความอ่อนไหว เปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษา : ระบบหาดอ่าวพังงา


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 7-4 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เกาะยาวน้อย และเกาะยาวใหญ่ (รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์). กรุงเทพฯ: กองอนุรักษ์ ทรัพยากรชายฝั่ง. บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด. (2565). สถิติเที่ยวบินต่อวัน. [ออนไลน์]. สืบค้น 23 พฤษภาคม 2565, จาก: https://www.aerothai.co.th/th/flight-statistic ประกาศกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เรื่อง แผนที่ระบบกลุ่มหาดประเทศไทย. (2564, 14 กรกฎาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 138 ตอนพิเศษ 157 ง. หน้า 26-27. ประกาศิต รักษาแก้ว และไพฑูรย์มนต์พานทอง. (2561). คุณภาพการบริการของท่าอากาศยานภูเก็ต. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 13(46). 33-44. ประชาชาติธุรกิจ. (2564). “ที่ดินภูเก็ต” พุ่งสวนกระแสโควิด ลุ้นแซนด์บอกซ์เปิดเกาะฟื้นความเชื่อมั่น. [ออนไลน์]. สืบค้น 15 กันยายน 2565, จาก https://www.prachachat.net/property/news-707179 พรรณศิริ จูมล และวันเพ็ญ วิโรจนกูฏ. (2559). การประเมินพื้นที่ที่มีศักยภาพในการจัดตั้งนิคม อุตสาหกรรม ตามแนวทางการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ พื้นที่ศึกษาจังหวัด ขอนแก่น. The National and International Graduate Research Conference 2016. (หน้า 82-88). ขอนแก่น: ไทย. สืบค้นจาก https://gsbooks.gs.kku.ac.th/59/ingrc2016/pdf/PMO4.pdf มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2562). โครงการสำรวจ ศึกษาความเหมาะสม และออกแบบ รายละเอียด ระบบรวบรวมน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสีย เทศบาลเมืองบางกรวย (รายงานฉบับสมบูรณ์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ระบบพยากรณ์ทางสมุทรศาสตร์. (2022). Introduction of the MASNUM wave-tidecirculation coupled numerical model. [ออนไลน์]. สืบค้น 12 ธันวาคม 2565, จาก http://61.19.77.149/thailand/results.jsp รักษา สุนินทบูรณ์. (2556). การคัดเลือกเกณฑ์และตัวชี้วัดเพื่อการประเมินผลการจัดการป่าชุมชน. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิชาการเครือข่ายงานวิจัยนิเวศวิทยาป่าไม้ ประเทศไทย ครั้งที่ 2. (หน้า 396-403). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวนศาสตร์ เครือข่ายงานวิจัยนิเวศวิทยาป่าไม้ประเทศไทย;มหาวิทยาลัยแม่โจ้; กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช; สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. วนิดา เกกาฤทธิ์และสมปรารถนา ฤทธิ์พริ้ง. (2560). การศึกษาเปรียบเทียบค่าน้ำหนักดัชนีชี้วัด ความเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งจากคลื่นพายุซัดฝั่ง. วิศวสารลาดกระบัง, 34(4), 44-51.


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 7-5 วรวิทย์ จันทร์สุวรรณ. (2564). การวิเคราะห์การถดถอยและสหสัมพันธ์ด้วยโปรแกรม MS Excel. [ออนไลน์]. สืบค้น 12 ธันวาคม 2565, จาก https://web.rmutp.ac.th/woravith/?page_id=8206 วิสรรค์ ศรีอนันต์. (2560). การประเมินความต้องการทางเทคโนโลยีพลังงานในภาคการผลิตไฟฟ้า เพื่อบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและการจัดการพลังงาน (สหสาชาวิชา).กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. สืบค้นจาก http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60283 วิสุทธิพงศ์ ศรีรัตนเสถียร และวราภรณ์ จิตสุวรรณ. (2562). การเปลี่ยนแปลงชายฝั่งทะเลอ่าวไทย พื้นที่หาดแขมหนู อำเภอแหลมสิงห์และอำเภอท่าใหม่จังหวัดจันทบุรี. กรุงเทพฯ: กองธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม กรมทรัพยากรธรณี. ศิวพร ปรีชา. (2560). การประเมินความต้องการเทคโนโลยีพลังงานในภาคอุตสาหกรรมการผลิต เพื่อบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและการจัดการพลังงาน (สหสาชาวิชา). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สืบค้นจาก http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60284 สมบูรณ์ พรพิเนตพงศ์. (2548). การไหลเวียนของน้ำขึ้นน้ำลงในทะเลอันดามัน. ว. สงขลานครินทร์ วทท., 27(2): 425-431. สรวิศ วิฑูรทัศน์, Reyes, M.C. & Sarsycki, M. (2559). คู่มือการประเมินความเสี่ยงจากภัยพิบัติ. กรุงเทพฯ: สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ สำนักงานประเทศไทย. สราวุธ สังงาม. (2560). การประเมินความเปราะบางต่อการกัดเซาะชายฝั่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วิศวกรรมทรัพยากรน้ำ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์. สันติ ภัยหลบลี้. (2562). 42 ภูเก็ต : ภูมิศาสตร์ . แผนที่. [ออนไลน์]. สืบค้น 30 สิงหาคม 2565, จาก: https://www.mitrearth.org/m42-phuket/ สำนักงานแรงงานจังหวัดภูเก็ต. (2565). รายงานสถานการณ์แรงงานจังหวัดภูเก็ต ปี 2564. [ออนไลน์]. สืบค้น 25 พฤษภาคม 2565, จาก:https://phuket.mol.go.th/news/รายงาน สถานการณ์แรงงานจังหวัดภูเก็ต-ปี-2564 สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย. (2565). รายงานสถิติขนส่งทางอากาศ ไตรมาสที่ 4 ประจำปี 2564. [ออนไลน์]. สืบค้น 23 พฤษภาคม 2565, จาก:https://www.caat.or.th/ th/archives/62873


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 7-6 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง สำนักงานคลังจังหวัดภูเก็ต. (2564). รายงานประมาณการเศรษฐกิจจังหวัดภูเก็ต. [ออนไลน์]. สืบค้น 23 พฤษภาคม 2565, จากhttp://www.cgd.go.th/pkt สำนักงานจังหวัดภูเก็ต. (2562). แผนพัฒนาจังหวัดภูเก็ต (พ.ศ. 2561 – 2565) ฉบับทบทวน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. ภูเก็ต: สำนักงานจังหวัดภูเก็ต. สิน สินสกุล, สุวัฒน์ ติยะไพรัตน์, นิรันดร์ ชัยมณี และบรรเจิด อร่ามประยูร. (2546). การเปลี่ยนแปลง พื้นที่ชายฝั่งทะเลด้านทะเลอันดามัน. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: กรมทรัพยากรธรณี. สุเมธ พันธุวงค์ราช และคณะ. (2563). การเปลี่ยนแปลงธรณีสัณฐานชายฝั่งทะเลและกระบวนการ ฟื้นตัวจากเหตุการณ์คลื่นซัดฝั่งจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณภาคใต้ ประเทศไทย (รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.). สุเมธ พันธุวงค์ราช. (2560). การประเมินพิบัติภัยคลื่นซัดฝั่งจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณชายฝั่งทะเลภาคใต้ของประเทศไทย (รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สุวลักษณ์สาธุมนัสพันธุ์. (2554). การจัดการชายฝั่ง: การบูรณาการสู่ความยั่งยืน. นครปฐม: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหิดล. สุวัจน์ ธัญรส. (2557). วิทยาศาสตร์ทางทะเลเบื้องต้น (Introduction to Marine Science). สงขลา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. สุวัชร์ บัวแย้ม, เชิดวงศ์ แสงสุภวานิช, ลัดดาวัลย์ วิระมิตรชัย และเยาวลักษณ์ จรัสเอี่ยม. (2563). การ แก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณแหลมงู ตำบลเกาะลันตาน้อย อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25. 25, (ก.ค. 2020), WRE28. เอกรักษ์ ใฝ่บุญ และวุฒิพงษ์ แสงมณี. (2562). การตรวจสอบและการพยากรณ์ผลกระทบจาก โครงสร้างวิศวกรรมชายฝั่งทะเลต่อการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งบริเวณปากร่องน้ำทะเลสาบ สงขลาโดยใช้เทคนิคเชิงพื้นที่. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 11(3). อรยา สุขสม. (2560). การกำหนดระยะถอยร่นสำหรับชายฝั่งทะเลตามกฎหมายของต่างประเทศ. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม, 13(1). doi: 10.14456/jem.2017.7 อัศมน ลิ่มสกุล และคณะ. (2559). โครงการ “จัดทำรายงานการสังเคราะห์และประมวลสถานภาพ องค์ความรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของไทย ครั้งที่ 2” (องค์ความรู้และข้อมูล ข่าวสารปัจจุบันด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของประเทศไทย) (รายงานฉบับ สมบูรณ์). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 7-7 Bagdanavičiūtė, I., Kelpšaitė-Rimkienė, L., Galinienė, J., & Soomere, T. (2019). Index based multi-criteria approach to coastal risk assesment. Journal of Coastal Conservation, 23(4), 785-800. Baig, M. R. I., Ahmad, I. A., Shahfahad, Tayyab, M., & Rahman, A. (2020). Analysis of shoreline changes in Vishakhapatnam coastal tract of Andhra Pradesh, India: an application of digital shoreline analysis system (DSAS). Annals of GIS, 26(4), 361-376. Birkmann, J. (Ed.). (2013). Measuring vulnerability to natural hazards (2d ed.). Tokyo: United National University Press. Brown, B. E., Dunne, R. P., Phongsuwan, N., & Somerfield, P. J. (2011). Increased sea level promotes coral cover on shallow reef flats in the Andaman Sea, eastern Indian Ocean. Coral Reefs, 30(4), 867-878. Brown, B.E. (2007) Coral reefs of the Andaman Sea: an integrated perspective. Oceanography and Marine Biology: An Annual Review, 45, 173–194. Cannon, T. (2008). Reducing people’s vulnerability to natural hazards: Communities and resilience. Research Paper No. 2008/34. Helsinki, Finland: WIDER. Cooper, J. A. G., & McLaughlin, S. (1998). Contemporary multidisciplinary approaches to coastal classification and environmental risk analysis. Journal of Coastal Research, 512-524. Department of Mineral Resources [DMR]. (2555). Status of Coastal Geo-Environment in Thailand. [Online]. cited May 18, 2022, Retrieved from: http://www.dmr.go.th/ewtadmin/ewt/dmr_web/main.php?filename=coastal_En Douglas B.C. (2001). Sea level change in the era of the recording tide gauge. Int. Geophys; 75: pp 37–64. Duriyapong, F., & Nakhapakorn, K. (2011). Coastal vulnerability assessment: a case study of Samut Sakhon coastal zone. Songklanakarin Journal of Science & Technology, 33(4). Foyhirun, C., Kositgittiwong, D., & Ekkawatpanit, C. (2020). Wave Energy Potential and Simulation on the Andaman Sea Coast of Thailand. Sustainability, 12(9), 3657.


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 7-8 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง Füssel, H. M., & Klein, R. J. (2006). Climate change vulnerability assessments: an evolution of conceptual thinking. Climatic change, 75(3), 301-329. Gonitz, V. (1990). Vulnerability of the East coast, USA to future sea level rise, Journal of Coastal Research, 9: 201-237. Gornitz, V. (1991). Global coastal hazards from future sea level rise. Palaeogeography, Palaeoclimatology, Palaeoecology, 89(4), 379-398. Gornitz, V. M., Daniels, R. C., White, T. W., & Birdwell, K. R. (1994). The development of a coastal risk assessment database: vulnerability to sea-level rise in the US Southeast. Journal of coastal research, 327-338. Gracia A., Rangel-Buitrago N., Oakley J.A., Williams A.T. (2018). Use of ecosystems in coastal erosion management. Ocean & Coastal Management; 156: pp 277- 289. Green, C., & McFadden, L. (2007). Coastal vulnerability as discourse about meanings and values. Journal of Risk Research, 10(8), 1027-1045. Hahn, M. B., Riederer, A. M., & Foster, S. O. (2009). The Livelihood Vulnerability Index : A pragmatic approach to assessing risks from climate variability and change- A case study in Mozambique. Global Environmental Change. 19(1), pp. 74-88. Hammar-Klose, E. S., Pendleton, E. A., Thieler, E. R., Williams, S. J., & Norton, G. A. (2003). Coastal vulnerability assessment of Cape Cod National Seashore (CACO) to sea-level rise. US Geological Survey, Open File Report, 02-233. Hettiarachchi, S., Samarawickrama, H., Fernando, H.J.S., 2013. Investigating the performance of coastal ecosystems for hazard mitigation. In: Estrella, M., Renaud, F., Sudmeier-Rieux, K. (Eds.), The Role of Ecosystems in Disaster Risk Reduction. United Nations University Press, Geneva, pp. 57e81. Himmelstoss, E. A., Henderson, R. E., Kratzmann, M. G., & Farris, A. S. (2018). Digital shoreline analysis system (DSAS) version 5.0 user guide (No. 2018-1179). U.S. Geological Survey. Husnayaen,Rimba, A. B., Osawa, T., Parwata, I. N. S., As-syakur, A. R., Kasim, F., & Astarini, I. A. (2018). Physical assessment of coastal vulnerability under enhanced land


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 7-9 subsidence in Semarang, Indonesia, using multi-sensor satellite data. Advances in Space Research, 61(8), 2159-2179. Intergovernmental Panel on Climate Change [IPCC]. (2007). Climate Change 2007: Impacts, Adaptation and Vulnerability. Contribute of Working Group II to the Fourth Assessment Report of the Intergovernmental Panel on Climate Change, M’L’ Parry, O’F’ Canziani, J.P Palutikof, P.J. van der Linden and C.E. Hanson, Eds., Cambridge University Press, Cambridge, UK. Isha, I. B., & Adib, M. R. M. (2020). Application of Geospatial Information System (GIS) using Digital Shoreline Analysis System (DSAS) in Determining Shoreline Changes. IOP Conference Series: Earth and Environmental Science, 616(1), p. 012029. Khokiattiwong, S. (1991). Coastal hydrography of the southern Andaman Sea of Thailand, Trang to Satun province. In Proceedings of the First Workshop of the Tropical Marine Mollusc Programme (TMMP). Phuket: Phuket Marine Biological Center, 87–93. Kompor, W., Ekkawatpanit, C., & Kositgittiwong, D. (2018). Assessment of ocean wave energy resource potential in Thailand. Ocean & Coastal Management, 160, 64-74. Mclaughlin, S. & Cooper, J.A.G. (2010). A multi-scale coastal vulnerability index: A tool for coastal managers? Environmental Hazards, 9(3), 233-248. DOI: 10.3763/ehaz.2010.0052 McLaughlin, S., McKenna, J., & Cooper, J. A. G. (2002). Socio-economic data in coastal vulnerability indices: constraints and opportunities. Journal of coastal research, (36 (10036)), 487-497. Mendoza, G. A., & Prabhu, R. (2000). Development of a methodology for selecting criteria and indicators of sustainable forest management: a case study on participatory assessment. Environmental management, 26(6), 659-673. Modify. (2017). โครงสร้างพื้นฐานคืออะไร. [ออนไลน์]. สืบค้น 12 ธันวาคม 2565, จาก https://www.modify.in.th/17591 Nguyen, T. T., Bonetti, J., Rogers, K., & Woodroffe, C. D. (2016). Indicator-based assessment of climate-change impacts on coasts: A review of concepts,


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 7-10 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง methodological approaches and vulnerability indices. Ocean & Coastal Management, 123, pp 18-43. Nidhinarangkoon, P. & Ritphring, S. (2019). Assessment of coastal vulnerability to sea level rise: A case study of Prachuap Khiri Khan, Thailand. IOP Conference Series: Earth and Environmental Science: Earth and Environmental Science. 326: 012005. Pan Q. (2017). Optimization of Masnum_wave Calculation Model Based on SW26010 Multi-core Processor. Signals and Telecommunication Journal, 6. pp. 29- 42. Pantusa, D., D’Alessandro, F., Riefolo, L., Principato, F., & Tomasicchio, G. R. (2018). Application of a coastal vulnerability index. A case study along the Apulian Coastline, Italy. Water, 10(9), 1218. Permanent Service for Mean Sea Level. (2023). PSMSL Data Explorer. [ออนไลน์]. สืบค้น 12 ธันวาคม 2565, จากhttps://psmsl.org/data/obtaining/map.html#plotTab Potemra, J.T., Luther, M.E. & O’Brien, J.J. (1991). The seasonal circulation of the upper ocean in the Bay of Bengal. Journal of Geophysical Research 96, 12,667– 12,683. Ramieri, E., Hartley, A., Barbanti, A., Santos, F. D., Gomes, A., Hilden, M., ... & Santini, M. (2011). Methods for assessing coastal vulnerability to climate change. ETC CCA technical paper, 1(2011), 1-93. Rangel-Buitrago, Neal, Jonge. (2020). Risk assessment as tool for coastal erosion management. Ocean and Coastal Management 186: 105099. Ranthodsang, M., Waewsak, J., Kongruang, C., & Gagnon, Y. (2020). Offshore wind power assessment on the western coast of Thailand. Energy Reports, 6, 1135-1146. Roy, S., Pandit, S., Papia, M., Rahman, M.M., Ocampo, J.C.O.R.O., & Razi, M.A., et al. (2021). Coastal erosion risk assessment in the dynamic estuary: The Meghna estuary case of Bangladesh coast. International Journal of Disaster Risk Reduction 61: 102364.


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 7-11 Sahin O. & Mohamed S. (2013). Spatial Temporal Decision Framework for Adaptation to Sea Level Rise. Environmental Modelling & Software, 46 (August 2013): pp. 129-141. Doi: 10.1016/j.envsoft.2013.03.004. Sarajit, O., Nakhapakorn, K., Jirakajohnkool, S., Tienwong, K., & Pansuwan, A. (2015). Assessing Coastal Composite Vulnerability Indices on Seasonal Change in Phetchaburi, Thailand. Environment Asia, 8(1). pp 115-123. Satta, A. (2014). An Index-based Method to Assess Vulnerabilities and Risks of Mediterranean Coastal Zones to Multiple Hazards. Doctoral dissertation submitted in October 2014 to the Department of Economics Ca’Foscari University of Venice, Italy. Sheik Mujabar, P., & Chandrasekar, N. (2013). Coastal erosion hazard and vulnerability assessment for southern coastal Tamil Nadu of India by using remote sensing and GIS. Natural Hazards, 69(3), 1295-1314. Singlor T. (2022). SDG Vocab | 28 – Resilient Infrastructure – โครงสร้างพื้นฐานที่ ทนทานพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง. [ออนไลน์]. สืบค้น 12 ธันวาคม 2565, จาก https://www.sdgmove.com/2021/07/06/sdg-vocab-28-resilient-infrastructure/ Soegiarto, A. & Birowo, A.T. (1975). Oceanologic Atlas of the Indonesian and Adjacent Waters. Volume 1. Jakarta, Indonesia: National Institute of Oceanology. Soegiarto, A. (1985). Oceanographic assessment of the East Asian Seas. Environment and Resources in the Pacific, UNEP Regional Seas Reports and Studies 69, 173–184. Spalding, M.D., Ruffo, S., Lacambra, C., Meliane, I., Hale, L.Z., Shepard, C.C., Beck, M.W., 2014. The role of ecosystems in coastal protection: adapting to climate change and coastal hazards. Ocean. Coast. Manage. 90, 50e57. Sun, M., Du, J., Yang, Y., & Yin, X. (2021). Evaluation of Assimilation in the MASNUM Wave Model Based on Jason-3 and CFOSAT. Remote Sensing, 13(19), 3833. Varkey, M.J., Murty, V.S.N. & Suryanarayana, A. (1996). Physical oceanography of the Bay of Bengal and Andaman Sea. Oceanography and Marine Biology: An Annual Review 34, 1–70.


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 7-12 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง Weather Spark. (2565). ภูมิอากาศและสภาพอากาศเฉลี่ยตลอดปีในภูเก็ต. [ออนไลน์]. สืบค้น 15 กันยายน 2565, จาก https://th.weatherspark.com White, G.F. (Ed.). (1974). Natural Hazards. Oxford University Press, London, pp. 288. Woods Hole Coastal and Marine Science Center. Digital Shoreline Analysis System (DSAS). [ออนไลน์]. สืบค้น 12 ธันวาคม 2565, จาก https://www.usgs.gov/centers/whcmsc/science/digital-shoreline-analysis-systemdsas


ภาคผนวก ก แบบสอบถาม เรื่อง การกำหนดค่าถ่วงน้ำหนักตัวแปรสำหรับการประเมินความเปราะบางชายฝั่งทะเล พื้นที่ชายฝั่งทะเล จังหวัดภูเก็ต


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ก-1 แบบสอบถาม เรื่อง การกำหนดค่าถ่วงน้ำหนักตัวแปรสำหรับการประเมินความเปราะบางชายฝั่งทะเล พื้นที่ชายฝั่งทะเล จังหวัดภูเก็ต แบบสอบถามชุดนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการเก็บข้อมูลและนำมาวิเคราะห์ค่าถ่วงน้ำหนัก ตัวแปรสำหรับการประเมินความเปราะบางชายฝั่งทะเลต่อการกัดเซาะชายฝั่ง พื้นที่ชายฝั่งทะเล ของจังหวัดภูเก็ต โดยแบบสอบถามชุดนี้ ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ส่วนที่ 2 การพิจารณาค่าถ่วงน้ำหนักตัวแปร ในการนี้ คณะผู้วิจัยขอขอบพระคุณทุกท่านเป็นอย่างสูงที่ได้กรุณาสละเวลาในการให้ข้อมูล หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามได้ที่นายกิตติรัช อินทรศิริ นักธรณีวิทยาปฏิบัติการ โทรศัพท์หมายเลข 09 6107 2904 หรืออีเมลล์ [email protected] ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ชื่อ-สกุล อาชีพ ตำแหน่ง หน่วยงาน เบอร์โทรศัพท์ E-mail


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- ก-2 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ส่วนที่ 2 การพิจารณาค่าถ่วงน้ำหนักตัวแปร 2.1 ตัวแปรที่ใช้ในการพิจารณาค่าถ่วงน้ำหนัก การประเมินความเปราะบางชายฝั่งทะเลต่อการกัดเซาะชายฝั่ง พื้นที่ชายฝั่งทะเลฝั่ง ตะวันตกของจังหวัดภูเก็ตในครั้งนี้ ได้รวบรวมตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการกัดเซาะชายฝั่งจากการศึกษาที่ เกี่ยวข้อง โดยได้จำแนกข้อมูลออกเป็น 3 ปัจจัยย่อย ได้แก่ ปัจจัยย่อยด้านลักษณะกายภาพ (Coastal Characteristicsub-index) ปัจจัยย่อยด้านการเปิดรับสภาพภูมิอากาศ (Coastal forcing subindex) และปัจจัยย่อยด้านเศรษฐกิจสังคม (Socio-economy sub-index) รายละเอียดดังนี้ ปัจจัยย่อย คำอธิบาย 1. ด้านลักษณะกายภาพ 1.1 ความลาดชันชายฝั่ง เป็นลักษณะทางกายภาพของชายฝั่งที่แสดงให้เห็นถึงพื้นที่ ที่จะได้รับผลกระทบจากการเกิดน้ำท่วม และความรวดเร็ว ในการถดถอยของแนวชายฝั่ง โดยทั่วไปพื้นที่ที่มีความลาดชัน ชายหาดต่ำมีโอกาสที่คลื่นขนาดใหญ่จะสามารถซัดเข้าไปโจมตี พื้นที่ด้านในฝั่งได้มากกว่าพื้นที่ที่มีความลาดชันชายหาดสูงกว่า 1.2 อัตราการเปลี่ยนแปลง แนวชายฝั่งทะเล เป็นตัวแปรที่ชี้ให้เห็นถึงพื้นที่เสี่ยงต่อการสูญเสียที่ดินในบริเวณ แนวชายฝั่ง โดยทั่วไปชายฝั่งที่มีการสะสมตัวจะมีความเปราะบาง ต่ำกว่าชายฝั่งที่มีอัตราการกัดเซาะสูง เนื่องจากมีความเสี่ยง ต่อการสูญเสียที่ดินต่ำกว่า 1.3 ลักษณะสัณฐานชายฝั่ง ทะเล ลักษณะสัณฐานชายฝั่งจะขึ้นอยู่กับชนิดและขนาดของตะกอน ที่เป็นองค์ประกอบ ชายฝั่งที่มีลักษณะเป็นหาดหินจะมี ความเปราะบางต่ำกว่าในพื้นที่หาดทรายและหาดโคลน เนื่องจาก หาดโคลนมีองค์ประกอบเป็นตะกอนดินขนาดเล็ก จึงมีโอกาส ถูกกระแสน้ำและคลื่นพัดพาออกไปได้โดยง่าย 1.4 ความกว้างของหาด ความกว้างของหาดสามารถบ่งบอกถึงความเสี่ยงต่อการกัดเซาะ ชายฝั่งได้โดยชายหาดที่มีความกว้างมากกว่าจะมีความเปราะบาง ต่อการกัดเซาะชายฝั่งต่ำกว่า 1.5 พื้นที่แนวปะการัง แหล่งปะการังเป็นตัวช่วยลดความรุนแรงของคลื่นที่จะเข้ามาสู่ ชายฝั่งได้เสมือนแนวป้องกัน breakwater ตามธรรมชาติ สามารถ ช่วยป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งได้ ดังนั้น พื้นที่ชายฝั่งที่มีแหล่ง ปะการังจะมีความเปราะบางต่ำกว่าพื้นที่ชายฝั่งที่ไม่มีแหล่ง ปะการัง


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ก-3 ปัจจัยย่อย คำอธิบาย 1.6 พื้นที่ป่าชายเลน ป่าชายเลนเป็นแนวชายป้องกันชายฝั่งทะเลจากการกัดเซาะ พังทลาย กำบังคลื่น ลม กระแสน้ำและพายุ ดังนั้น พื้นที่ชายฝั่ง ทะเลที่มีป่าชายเลนจะมีความเปราะบางต่ำกว่าในพื้นที่ที่ไม่มี ป่าชายเลน 1.7 แหล่งหญ้าทะเล แหล่งหญ้าทะเลช่วยลดความรุนแรงของกระแสน้ำที่พัดพาเข้าสู่ฝั่ง ทำให้อัตราการพังทลายของชายฝั่งลดลง นอกจากนี้ โครงสร้าง ของแหล่งหญ้าทะเล ช่วยลดการฟุ้งกระจายของตะกอน ช่วยใน การตกตะกอนของอินทรีย์วัตถุ ตะกอนดิน และกรองของเสีย และยังทำให้เกิดการหมุนเวียนและสะสมแร่ธาตุต่างๆ ในระบบ นิเวศ 2. ปัจจัยย่อยด้านการเปิดรับสภาพภูมิอากาศ 2.1 ความสูงคลื่นนัยสำคัญ เฉลี่ย (เมตร) คลื่นทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการพัดพาตะกอนไปตามชายฝั่งทะเล และเปลี่ยนรูปร่างของแนวชายฝั่ง โดยความสูงของคลื่นจะขึ้นอยู่ กับความสูงคลื่นนัยสำคัญสูงสุดของพื้นที่ชายฝั่งทะเล พื้นที่ที่มี ความสูงคลื่นนัยสำคัญสูงกว่าจะมีความเปราะบางสูงกว่า 2.2 พิสัยระดับน้ำขึ้น-น้ำลง เฉลี่ย (เมตร) บริเวณที่มีพิสัยระดับน้ำช่วงกว้างจะมีความเสี่ยงต่อความ เปราะบางด้านการกัดเซาะชายฝั่งมากขึ้น เนื่องจากพลังงานของ คลื่นที่เกิดจากความแตกต่างของระดับน้ำ 2.3 การเปลี่ยนแปลง ระดับน้ำทะเล (มม.) เมื่อความสูงของระดับน้ำทะเลเฉลี่ยมีค่าเพิ่มขึ้น จะทำให้เกิด ความเสี่ยงที่สำคัญต่อพื้นที่ชายฝั่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้าน การสูญเสียที่ดิน 3. ปัจจัยย่อยด้านเศรษฐกิจสังคม 3.1 ความหนาแน่น ประชากร (คน/ตร.กม.) แสดงถึงความหนาแน่นของการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์และความ เข้มข้นของกิจกรรมทางด้านเศรษฐกิจและสังคมในแต่ละบริเวณ ซึ่งหมายรวมถึงระบบสาธารณูปโภค การใช้ประโยชน์ในทรัพยากร ชายฝั่ง และผลกระทบต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม ประชากรจึง ได้รับการพิจารณาว่าเป็นแรงกดดันที่ทำให้เกิดกิจกรรมต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อระบบนิเวศชายฝั่งทะเล ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยเสี่ยง ต่อความเปราะบางด้านการกัดเซาะชายฝั่ง


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- ก-4 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ปัจจัยย่อย คำอธิบาย 3.2 การใช้ประโยชน์ที่ดิน (เช่น พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูก สร้าง พื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่ป่าไม้ พื้นที่น้ำ พื้นที่รก ร้าง ทุ่งหญ้า เป็นต้น) หากพื้นที่ริมชายฝั่งมีกิจกรรมการใช้ประโยชน์ของมนุษย์อย่าง เข้มข้น เช่น พื้นที่ชุมชน ที่พักอาศัยและย่านธุรกิจการค้า หรือเป็น ที่ตั้งของสถานที่สำคัญและแหล่งโบราณคดีอันควรอนุรักษ์ เช่น เขตพระราชฐานหรือแหล่งโบราณคดีที่สำคัญของชาติ ย่อมส่งผล เสียหายอย่างรุนแรงต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ประเพณี วัฒนธรรม และระบบเศรษฐกิจของชุมชน นำมาซึ่งการสูญเสียงบประมาณ ของประเทศในการดำเนินมาตรการป้องกันและเยียวยา 3.3 โครงสร้างป้องกันการ กัดเซาะชายฝั่ง โครงสร้างรูปแบบต่าง ๆ สามารถยับยั้งการถอยร่นของแนวชายฝั่ง ป้องกันที่ดินด้านหลังไม่ให้ถูกคลื่นกัดเซาะสูญหายไป และยัง สามารถป้องกันคลื่นในฤดูมรสุมไม่ให้ซัดเข้าไปทำลายระบบ สาธารณูปโภค/สาธารณูปการ และสิ่งปลูกสร้างริมชายฝั่ง อันจะ เป็นการลดผลกระทบต่อประชาชน และความเสียหายที่จะเกิดขึ้น ต่อระบบสังคมและเศรษฐกิจในระดับท้องถิ่น จึงจัดให้มีความ เปราะบางในระดับต่ำมาก ในทางกลับกัน หากชายฝั่งบริเวณใดยัง ไม่มีโครงสร้างป้องกัน พื้นที่บริเวณนั้นก็จะมีลักษณะของการ เปิดรับคลื่นและลมมากกว่า จึงมีความเสี่ยงสูงที่จะถูกคลื่นลมพัด พาเอาตะกอนออกไปในทะเล และคลื่นขนาดใหญ่ในฤดูมรสุมก็ อาจจะสามารถซัดเข้าไปทำลายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างด้านหลังหาด ให้เกิดความเสียหายได้ จึงจัดให้มีความเปราะบางในระดับสูงมาก 3.4 อัตราส่วนสิ่งปลูกสร้าง และพื้นที่เมือง (อัตราส่วนของพื้นที่ สิ่งปลูกสร้างและพื้นที่เมือง ต่อพื้นที่ทั้งหมด) สัมพันธ์กับความหนาแน่นประชากร การพัฒนาพื้นที่ และความ เข้มข้นของกิจกรรมทางด้านเศรษฐกิจและสังคมในแต่ละบริเวณ ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อความเปราะบางด้านการกัดเซาะชายฝั่ง พื้นที่ที่มีอัตราส่วนของสิ่งปลูกสร้างมากกว่า ก็ส่งผลให้มีความ เปราะบางต่อการกัดเซาะชายฝั่งเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากหากเกิดการ กัดเซาะชายฝั่ง จะส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินและสิ่ง ปลูกสร้างเพิ่มขึ้น 3.5 โครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนน สถานที่ราชการ สถานศึกษา โรงพยาบาล วัด สัมพันธ์กับการพัฒนาพื้นที่และความเข้มข้นของกิจกรรมทางด้าน เศรษฐกิจและสังคมในแต่ละบริเวณ ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อ ความเปราะบางด้านการกัดเซาะชายฝั่ง พื้นที่ที่มีโครงสร้างพื้นฐาน ต่าง ๆ แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของพื้นที่ที่เป็นศูนย์กลาง


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ก-5 ปัจจัยย่อย คำอธิบาย ทางด้านเศรษฐกิจและชุมชน ส่งผลให้มีความเปราะบางต่อการกัด เซาะชายฝั่งเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากหากเกิดการกัดเซาะชายฝั่ง จะ ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินและสิ่งปลูกสร้างเพิ่มขึ้น 2.2 การพิจารณาค่าถ่วงน้ำหนัก การพิจารณาหาค่าถ่วงน้ำหนักในครั้งนี้ ใช้การวิเคราะห์ทางเลือกแบบหลายปัจจัย (MultiCriteria Analysis: MCA) มาประยุกต์ใช้เพื่อจัดลำดับความสำคัญของตัวแปรและขจัดความเบี่ยงเบน เนื่องจากตัวแปรแต่ละตัวมีอิทธิพลต่อการกัดเซาะชายฝั่งในระดับที่แตกต่างกัน โดยสามารถพิจารณา ตัวแปรทีละคู่ว่าตัวแปรใดมีความสำคัญหรือมีอิทธิพลต่อการกัดเซาะชายฝั่งมากกว่ากัน ตัวอย่าง หากท่านพิจารณาว่าความลาดชันชายหาดมีความสำคัญหรือมีอิทธิพลต่อการกัดเซาะชายฝั่ง มากกว่าอัตราการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งทะเล ให้ทำเครื่องหมาย √ ในช่องความลาดชันชายหาด 1. ความลาดชันชายหาดและอัตราการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งทะเล ความลาดชันชายหาด อัตราการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งทะเล มีความสำคัญเท่ากัน √


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- ก-6 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ท่านคิดว่าระหว่างตัวแปรแต่ละคู่ต่อไปนี้ ตัวแปรใดมีความสำคัญหรือมีอิทธิพลต่อการ กัดเซาะชายฝั่งมากกว่ากัน ปัจจัยย่อยด้านลักษณะกายภาพ 1. ความลาดชันชายฝั่งและอัตราการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งทะเล ความลาดชันชายฝั่ง อัตราการเปลี่ยนแปลง มีความสำคัญเท่ากัน แนวชายฝั่งทะเล 2. ความลาดชันชายฝั่งและลักษณะสัณฐานชายฝั่งทะเล ความลาดชันชายฝั่ง ลักษณะสัณฐานชายฝั่งทะเล มีความสำคัญเท่ากัน 3. ความลาดชันชายฝั่งและความกว้างของชายหาด ความลาดชันชายฝั่ง ความกว้างของหาด มีความสำคัญเท่ากัน 4. ความลาดชันชายฝั่งและพื้นที่แนวปะการัง ความลาดชันชายฝั่ง พื้นที่แนวปะการัง มีความสำคัญเท่ากัน 5. ความลาดชันชายฝั่งและพื้นที่ป่าชายเลน ความลาดชันชายฝั่ง พื้นที่ป่าชายเลน มีความสำคัญเท่ากัน 6. ความลาดชันชายฝั่งและแหล่งหญ้าทะเล ความลาดชันชายฝั่ง แหล่งหญ้าทะเล มีความสำคัญเท่ากัน 7. อัตราการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งทะเลและลักษณะสัณฐานชายฝั่งทะเล อัตราการเปลี่ยนแปลง ลักษณะสัณฐานชายฝั่งทะเล มีความสำคัญเท่ากัน แนวชายฝั่ง 8. อัตราการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งทะเลและความกว้างของหาด อัตราการเปลี่ยนแปลง ความกว้างของหาด มีความสำคัญเท่ากัน แนวชายฝั่ง 9. อัตราการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งทะเลและพื้นที่แนวปะการัง อัตราการเปลี่ยนแปลง พื้นที่แนวปะการัง มีความสำคัญเท่ากัน แนวชายฝั่ง 10. อัตราการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งทะเลและพื้นที่ป่าชายเลน อัตราการเปลี่ยนแปลง พื้นที่ป่าชายเลน มีความสำคัญเท่ากัน


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ก-7 11. อัตราการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งทะเลและแหล่งหญ้าทะเล อัตราการเปลี่ยนแปลง แหล่งหญ้าทะเล มีความสำคัญเท่ากัน แนวชายฝั่ง 12. ลักษณะสัณฐานชายฝั่งทะเลและความกว้างของหาด ลักษณะสัณฐานชายฝั่งทะเล ความกว้างของหาด มีความสำคัญเท่ากัน 13. ลักษณะสัณฐานชายฝั่งทะเลและพื้นที่แนวปะการัง ลักษณะสัณฐานชายฝั่งทะเล พื้นที่แนวปะการัง มีความสำคัญเท่ากัน 14. ลักษณะสัณฐานชายฝั่งทะเลและพื้นที่ป่าชายเลน ลักษณะสัณฐานชายฝั่งทะเล พื้นที่ป่าชายเลน มีความสำคัญเท่ากัน 15. ลักษณะสัณฐานชายฝั่งทะเลและแหล่งหญ้าทะเล ลักษณะสัณฐานชายฝั่งทะเล แหล่งหญ้าทะเล มีความสำคัญเท่ากัน 16. ความกว้างของหาดและพื้นที่แนวปะการัง ความกว้างของหาด พื้นที่แนวปะการัง มีความสำคัญเท่ากัน 17. ความกว้างของหาดและพื้นที่ป่าชายเลน ความกว้างของหาด พื้นที่ป่าชายเลน มีความสำคัญเท่ากัน 18. ความกว้างของหาดและแหล่งหญ้าทะเล ความกว้างของชายหาด แหล่งหญ้าทะเล มีความสำคัญเท่ากัน 19. พื้นที่แนวปะการังและพื้นที่ป่าชายเลน พื้นที่แนวปะการัง พื้นที่ป่าชายเลน มีความสำคัญเท่ากัน 20. พื้นที่แนวปะการังและแหล่งหญ้าทะเล พื้นที่แนวปะการัง แหล่งหญ้าทะเล มีความสำคัญเท่ากัน 21. พื้นที่ป่าชายเลนและแหล่งหญ้าทะเล พื้นที่ป่าชายเลน แหล่งหญ้าทะเล มีความสำคัญเท่ากัน ปัจจัยย่อยด้านการเปิดรับสภาพภูมิอากาศ 1. ความสูงคลื่นนัยสำคัญเฉลี่ยและพิสัยระดับน้ำขึ้น-น้ำลงเฉลี่ย ความสูงคลื่นนัยสำคัญเฉลี่ย พิสัยระดับน้ำขึ้น-น้ำลงเฉลี่ย มีความสำคัญเท่ากัน


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- ก-8 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 2. ความสูงคลื่นนัยสำคัญเฉลี่ยและการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำทะเล ความสูงคลื่นนัยสำคัญเฉลี่ย การเปลี่ยนแปลง มีความสำคัญเท่ากัน ระดับน้ำทะเล 3. พิสัยระดับน้ำขึ้น-น้ำลงเฉลี่ยและการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำทะเล พิสัยระดับน้ำขึ้น-น้ำลงเฉลี่ย การเปลี่ยนแปลง มีความสำคัญเท่ากัน ระดับน้ำทะเล ปัจจัยย่อยด้านเศรษฐกิจสังคม 1. ความหนาแน่นประชากรและรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดิน ความหนาแน่นประชากร รูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดิน มีความสำคัญเท่ากัน 2. ความหนาแน่นประชากรและโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ความหนาแน่นประชากร โครงสร้างป้องกัน มีความสำคัญเท่ากัน การกัดเซาะชายฝั่ง 3. ความหนาแน่นประชากรและอัตราส่วนสิ่งปลูกสร้างและพื้นที่เมือง ความหนาแน่นประชากร อัตราส่วนสิ่งปลูกสร้าง มีความสำคัญเท่ากัน และพื้นที่เมือง 4. ความหนาแน่นประชากรและโครงสร้างพื้นฐาน ความหนาแน่นประชากร โครงสร้างพื้นฐาน มีความสำคัญเท่ากัน 5. รูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินและโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง รูปแบบการใช้ประโยชน์ โครงสร้างป้องกัน มีความสำคัญเท่ากัน ที่ดิน การกัดเซาะชายฝั่ง 6. รูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินและอัตราส่วนสิ่งปลูกสร้างและพื้นที่เมือง รูปแบบการใช้ประโยชน์ อัตราส่วนสิ่งปลูกสร้าง มีความสำคัญเท่ากัน ที่ดิน และพื้นที่เมือง 7. รูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินและโครงสร้างพื้นฐาน รูปแบบการใช้ประโยชน์ โครงสร้างพื้นฐาน มีความสำคัญเท่ากัน ที่ดิน


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ก-9 8. โครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งและอัตราส่วนสิ่งปลูกสร้างและพื้นที่เมือง โครงสร้างป้องกัน อัตราส่วนสิ่งปลูกสร้าง มีความสำคัญเท่ากัน การกัดเซาะชายฝั่ง และพื้นที่เมือง 9. โครงสร้างการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งและโครงสร้างพื้นฐาน โครงสร้างการป้องกัน โครงสร้างพื้นฐาน มีความสำคัญเท่ากัน การกัดเซาะชายฝั่ง 10. อัตราส่วนสิ่งปลูกสร้างและพื้นที่เมืองและโครงสร้างพื้นฐาน อัตราส่วนสิ่งปลูกสร้าง โครงสร้างพื้นฐาน มีความสำคัญเท่ากัน และพื้นที่เมือง


ภาคผนวก ข ภาพตัดขวางชายหาดแนวชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ข-1 หาดไม้ขาว รูปที่ ข-1 ภาพตัดขวางชายหาดแนวชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก หาดไม้ขาว แนวที่ 1 รูปที่ ข-2 ภาพตัดขวางชายหาดแนวชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก หาดไม้ขาว แนวที่ 2 รูปที่ ข-3 ภาพตัดขวางชายหาดแนวชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก หาดไม้ขาว แนวที่ 3


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- ข-2 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รูปที่ ข-4 ภาพตัดขวางชายหาดแนวชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก หาดไม้ขาว แนวที่ 4 รูปที่ ข-5 ภาพตัดขวางชายหาดแนวชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก หาดไม้ขาว แนวที่ 5 รูปที่ ข-6 ภาพตัดขวางชายหาดแนวชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก หาดไม้ขาว แนวที่ 6


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ข-3 รูปที่ ข-7 ภาพตัดขวางชายหาดแนวชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก หาดไม้ขาว แนวที่ 7 รูปที่ ข-8 ภาพตัดขวางชายหาดแนวชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก หาดไม้ขาว แนวที่ 8 รูปที่ ข-9 ภาพตัดขวางชายหาดแนวชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก หาดไม้ขาว แนวที่ 9


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- ข-4 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รูปที่ ข-10 ภาพตัดขวางชายหาดแนวชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก หาดไม้ขาว แนวที่ 10 รูปที่ ข-11 ภาพตัดขวางชายหาดแนวชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก หาดไม้ขาว แนวที่ 11 รูปที่ ข-12 ภาพตัดขวางชายหาดแนวชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก หาดไม้ขาว แนวที่ 12


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ข-5 รูปที่ ข-13 ภาพตัดขวางชายหาดแนวชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก หาดไม้ขาว แนวที่ 13 รูปที่ ข-14 ภาพตัดขวางชายหาดแนวชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก หาดไม้ขาว แนวที่ 14 รูปที่ ข-15 ภาพตัดขวางชายหาดแนวชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก หาดไม้ขาว แนวที่ 15


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- ข-6 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รูปที่ ข-16 ภาพตัดขวางชายหาดแนวชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก หาดไม้ขาว แนวที่ 16 รูปที่ ข-17 ภาพตัดขวางชายหาดแนวชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก หาดไม้ขาว แนวที่ 17 รูปที่ ข-18 ภาพตัดขวางชายหาดแนวชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก หาดไม้ขาว แนวที่ 18


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ข-7 รูปที่ ข-19 ภาพตัดขวางชายหาดแนวชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก หาดไม้ขาว แนวที่ 19 รูปที่ ข-20 ภาพตัดขวางชายหาดแนวชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก หาดไม้ขาว แนวที่ 20 รูปที่ ข-21 ภาพตัดขวางชายหาดแนวชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก หาดไม้ขาว แนวที่ 21


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- ข-8 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รูปที่ ข-22 ภาพตัดขวางชายหาดแนวชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก หาดไม้ขาว แนวที่ 22 รูปที่ ข-23 ภาพตัดขวางชายหาดแนวชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก หาดไม้ขาว แนวที่ 23 รูปที่ ข-24 ภาพตัดขวางชายหาดแนวชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก หาดไม้ขาว แนวที่ 24


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ข-9 รูปที่ ข-25 ภาพตัดขวางชายหาดแนวชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก หาดไม้ขาว แนวที่ 25 รูปที่ ข-26 ภาพตัดขวางชายหาดแนวชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก หาดไม้ขาว แนวที่ 26 รูปที่ ข-27 ภาพตัดขวางชายหาดแนวชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก หาดไม้ขาว แนวที่ 27


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- ข-10 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รูปที่ ข-28 ภาพตัดขวางชายหาดแนวชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก หาดไม้ขาว แนวที่ 28 รูปที่ ข-29 ภาพตัดขวางชายหาดแนวชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก หาดไม้ขาว แนวที่ 29 รูปที่ ข-30 ภาพตัดขวางชายหาดแนวชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก หาดไม้ขาว แนวที่ 30


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ข-11 รูปที่ ข-31 ภาพตัดขวางชายหาดแนวชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก หาดไม้ขาว แนวที่ 31 รูปที่ ข-32 ภาพตัดขวางชายหาดแนวชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก หาดไม้ขาว แนวที่ 32 รูปที่ ข-33 ภาพตัดขวางชายหาดแนวชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก หาดไม้ขาว แนวที่ 33


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- ข-12 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รูปที่ ข-34 ภาพตัดขวางชายหาดแนวชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก หาดไม้ขาว แนวที่ 34 รูปที่ ข-35 ภาพตัดขวางชายหาดแนวชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก หาดไม้ขาว แนวที่ 35 รูปที่ ข-36 ภาพตัดขวางชายหาดแนวชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก หาดไม้ขาว แนวที่ 36


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ข-13 รูปที่ ข-37 ภาพตัดขวางชายหาดแนวชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก หาดไม้ขาว แนวที่ 37 รูปที่ ข-38 ภาพตัดขวางชายหาดแนวชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก หาดไม้ขาว แนวที่ 38 รูปที่ ข-39 ภาพตัดขวางชายหาดแนวชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก หาดไม้ขาว แนวที่ 39


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- ข-14 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รูปที่ ข-40 ภาพตัดขวางชายหาดแนวชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก หาดไม้ขาว แนวที่ 40 รูปที่ ข-41 ภาพตัดขวางชายหาดแนวชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก หาดไม้ขาว แนวที่ 41 รูปที่ ข-42 ภาพตัดขวางชายหาดแนวชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก หาดไม้ขาว แนวที่ 42


Click to View FlipBook Version