The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

QR รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการวิจัยศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by All about your Desing, 2023-05-01 05:58:34

QR รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการวิจัยศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง

QR รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการวิจัยศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง

โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 3-8 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ตารางที่ 3-2 (ต่อ) เขตการปกครอง อำเภอ จำนวนประชากร (คน) จำนวน หลังคาเรือน (หลัง) ชาย หญิง รวม ตำบลเทพกระษัตรี ถลาง 8,132 8,522 16,654 11,268 ตำบลศรีสุนทร 13,037 14,222 27,259 21,427 ตำบลเชิงทะเล 5,866 6,089 11,955 12,013 ตำบลป่าคลอก 9,026 9,468 18,494 9,642 ตำบลไม้ขาว 6,955 6,978 13,933 9,967 ตำบลสาคู 3,414 3,623 7,037 7,349 ท้องถิ่นเทศบาลตำบล เทพกระษัตรี 4,655 4,906 9,561 5,085 ท้องถิ่นเทศบาลตำบล เชิงทะเล 3,131 3,837 6,968 3,679 รวม 197,874 220,911 418,785 277,112 (ที่มา: กรมการปกครอง, 2565ก) รูปที่ 3-4 จำนวนประชากรและหลังคาเรือนแยกตามเขตการปกครองของจังหวัดภูเก็ต ปี 2564 (ฐานข้อมูลจากกรมการปกครอง, 2565ก)


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 3-9 นอกจากนี้ จากข้อมูลสถิติจำนวนประชากรย้อนหลัง 20 ปี ตั้งแต่ปี 2545 – 2564 พบว่า จำนวนประชากรของจังหวัดภูเก็ตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2564 มีจำนวนประชากร 418,785 คน เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 35.42 จากจำนวนประชากรในปี 2545 ซึ่งมีจำนวน 270,438 คน (รูปที่ 3-5) (กรมการปกครอง, 2565ข) รูปที่ 3-5 จำนวนประชากรและบ้านในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตย้อนหลัง 20 ปี ตั้งแต่ปี 2545 – 2564 (กรมการปกครอง, 2565ข) 3.7 อาชีพ การประกอบอาชีพของประชากรในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต ในอดีตนั้นส่วนใหญ่ประกอบ อาชีพเกษตรกรรม เช่น การทำสวนยาง มะพร้าว สับปะรด ผลไม้ต่าง ๆ และประกอบการเหมืองดีบุก แต่ในปัจจุบันมีการเปลี่ยนไปประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมากขึ้น เนื่องจาก แร่ดีบุกในตลาดมีราคาต่ำ ประกอบกับเมื่อเทียบกับความคุ้มในการลงทุนด้านการท่องเที่ยว ซึ่งให้ผลตอบแทนที่สูงมาก ดังนั้น ในปัจจุบัน อาชีพหลักในท้องถิ่นจะเป็นการประกอบอาชีพ ด้านการท่องเที่ยว การประมง และเกษตรกรรมบ้างเล็กน้อย นอกจากนี้ จากการศึกษาอัตรา การว่างงานของจังหวัดภูเก็ต พบว่า อัตราการว่างงานของจังหวัดภูเก็ตจะแปรผันตามฤดูกาลท่องเที่ยว เนื่องจากจังหวัดภูเก็ตเป็นพื้นที่ท่องเที่ยว โดยในปี 2564 มีอัตราการว่างงานร้อยละ 6.45 และเมื่อ พิจารณาอัตราการว่างงาน ระหว่างปี 2561 - 2564 พบว่าอัตราการว่างงานในจังหวัดภูเก็ตมีแนวโน้ม เพิ่มขึ้น เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนา 2019 ทำให้ไม่มีการเดินทาง ท่องเที่ยวภายในประเทศและต่างประเทศ ส่งผลให้จังหวัดภูเก็ตซึ่งเป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีระบบ เศรษฐกิจขนาดใหญ่ และอุตสาหกรรมส่วนใหญ่อยู่ในภาคบริการ โดยเฉพาะประเภทการโรงแรม และภัตตาคาร จึงทำให้สถานประกอบกิจการปิดตัวชั่วคราวและทำให้การจ้างแรงงานในจังหวัดลดลง และอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น (สำนักงานแรงงานจังหวัดภูเก็ต, 2565)


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 3-10 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 3.8 เศรษฐกิจ ในปี 2562 จังหวัดภูเก็ตมีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด ณ ราคาประจำปี (Gross Provincial Product: GPP) เท่ากับ 251,813 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 17.1 ของ GRP_SOUTHERN และร้อยละ 1.5 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ (Gross Domestic Product; GDP) โดยมีมูลค่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดรายได้ต่อคนต่อปี (GPP per capita) เท่ากับ 428,351 บาท สูงเป็นอันดับ 1 ของภาคใต้และเป็นอันดับ 7 ของประเทศ โดยมาจากการผลิตในภาคเกษตร 7,435 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 3.0 และนอกภาคเกษตร (ภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ) 244,378 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 97.0 ซึ่งเมื่อพิจารณาตามโครงสร้างเศรษฐกิจของจังหวัด 5 อันดับแรก ได้แก่ สาขา ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร คิดเป็นร้อยละ 45.9 สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า คิดเป็นร้อยละ 18.8 สาขาการขายส่งและการขายปลีก คิดเป็นร้อยละ 5.6 กิจกรรมการบริหาร และการบริการสนับสนุน คิดเป็นร้อยละ 5.2 กิจกรรมทางการเงินและการประกันภัย คิดเป็นร้อยละ 4.5 และกิจกรรมอื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 20.0 ตามลำดับ (สำนักงานแรงงานจังหวัดภูเก็ต, 2565) ส่วนผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด ณ ราคาประจำปี 2563 มีมูลค่าเท่ากับ 76,381 ล้านบาท และมีมูลค่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดรายได้ต่อคนต่อปี เท่ากับ 143,887 บาท (สำนักงานคลังจังหวัดภูเก็ต, 2564) 3.9 การใช้ประโยชน์ที่ดิน จากข้อมูลสภาพการใช้ที่ดิน จังหวัดภูเก็ต ปี 2563 พบว่า มีการใช้ที่ดิน 5 ประเภท ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้างประมาณ 106,211 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 31.30 ของพื้นที่ ทั้งหมด รองลงมาเป็น พื้นที่ป่าไม้ พื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่เบ็ดเตล็ด และพื้นที่น้ำ ประมาณ 104,555 ไร่ 99,225 ไร่ 21.649 ไร่ และ 7,756 ไร่ โดยคิดเป็นร้อยละ 30.79 29.25 6.37 และ 2.29 ตามลำดับ (รูปที่ 3-6) (กรมพัฒนาที่ดิน, 2563) 3.10 ลักษณะธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี (2556) ได้แบ่งลักษณะธรณีวิทยาของจังหวัดภูเก็ตออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ ธรณีวิทยาหินอัคนี ธรณีวิทยาหินตะกอน และธรณีวิทยาของตะกอนร่วน โดยประมาณร้อยละ 50 ของพื้นที่ ประกอบด้วยหินอัคนีชนิดหินแกรนิตเป็นหลัก โดยหินที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดอยู่ในหินตะกอน ยุคคาร์บอนิเฟอรัส - เพอร์เมียน (Carboniferous - Permian) โดยมีหินแกรนิตแทรกสลับอยู่ในหินโคลน เนื้อกรวด (Pebbly mudstone) ซึ่งคาดว่าเป็นแกรนิตที่แทรกตัวเข้ามาในช่วงยุคครีเทเชียส (Cretaceous) (รูปที่ 3-7 และ 3-8)


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 3-11 รูปที่ 3-6 สภาพการใช้ที่ดิน จังหวัดภูเก็ต ปี พ.ศ. 2563 (กรมพัฒนาที่ดิน, 2563)


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 3-12 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รูปที่ 3-7 แผนที่ธรณีวิทยาจังหวัดภูเก็ต (กรมทรัพยากรธรณี, 2556)


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 3-13 รูปที่ 3-8 คำอธิบายแผนที่ธรณีวิทยา จังหวัดภูเก็ต (กรมทรัพยากรธรณี, 2556) 3.10.1 ลำดับชั้นหิน (Stratigraphy) 3.10.1.1 หินตะกอนและหินแปร เป็นหินตะกอนอายุคาร์บอนิเฟอรัส-เพอร์เมียน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ (1) กลุ่มหินตะกอนคาร์บอนิเฟอรัส (CP (horn, sch)) กลุ่มหินชนิดนี้ ครอบคลุมพื้นที่ประมาณร้อยละ 10 ของจังหวัดภูเก็ต พบตามแนวเขาหินแกรนิตบริเวณตอนกลาง ของเกาะภูเก็ตถูกแปรสภาพด้วยขบวนการแปรสภาพแบบสัมผัส (Contact metamorphism) พบเป็น หินชีสต์ (Schist) หินฮอร์นเฟลส์ (Hornfels) และหินฟิลไลต์ (Phyllite) ที่มีสายแร่ควอตซ์หรือ เพกมาไทต์แทรกอยู่ทั่วไป ชั้นหินมีการแตกมากและมีหินโผล่น้อย ไม่สามารถเรียงลำดับชั้นตะกอนได้ (2) กลุ่มหินแก่งกระจาน (Kaeng Krachan Group; CP) ชั้นหินของกลุ่มหิน แก่งกระจานบริเวณเกาะภูเก็ตที่พบทั่วไปมี 3 ประเภท ซึ่งมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ได้แก่ หินโคลน ปนกรวด หินทรายชั้นบาง และหินโคลนชั้นบาง โดยพบเป็นแนวเขาเตี้ย ๆ ไม่ต่อเนื่อง กระจายตัวตาม แนวชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของเกาะภูเก็ต หินที่พบส่วนใหญ่เป็นหินโคลน หินโคลนปนกรวด


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 3-14 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง แทรกสลับด้วยหินทรายเกรย์แวก โดยในจังหวัดภูเก็ตพบกลุ่มหินแก่งกระจาน 3 หมวดหิน คือ หมวดหินแหลมไม้ไผ่ หมวดหินสปิลเวย์ และหมวดหินเกาะเฮ 3.10.1.2 หินอัคนี บริเวณที่เป็นภูเขาสูงในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต ส่วนใหญ่พบเป็นภูเขาหินแกรนิต คิดเป็น พื้นที่ประมาณร้อยละ 50 ของพื้นที่ทั้งหมด เทือกเขาหินแกรนิตที่พบ มีลักษณะการวางตัวอยู่ในแนว ทิศเหนือ-ใต้ พบทางด้านตะวันตกและทางตอนกลางของเกาะภูเก็ต ได้แก่ ควนนาคาเล เขาบางเหนียวดำ เขาพันธุรัตน์ ควนหว้า เขาใสแม้น เขาตูด เขาไม้เท้าสิบสอง ควนปากบาง เขารังนอก เขารังใน เขาโต๊ะแซะ เขากระบอก เขาพลุเรือน ควนคีรีมะนูน ควนพรหมเทพ เกาะมะพร้าว นอกจากนี้ ทางตอนเหนือของเกาะ พบเทือกเขาหินแกรนิตบริเวณ เขาบางหลาม ควนต้นมะม่วง แหลมหิน เขาคอเอน เขาบ้านบางคุก เขาไสครู เขาม่วง เขาตาเกลี้ยง เขาพารา ควนถ้ำตาอิน และเขาประทิว (เขาพระแทว) โดยมีเทือกเขาที่สูงที่สุดสูงประมาณ 528 เมตรจากระดับน้ำทะเล 3.10.1.3 ตะกอนยุคควอเทอร์นารี การแบ่งตะกอนยุคควอเทอร์นารีในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตอาศัยข้อมูลชนิดของตะกอน และสภาวะแวดล้อมของการสะสมตัวของตะกอนออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ ตะกอนที่สะสมตัว บนแผ่นดิน และหน่วยตะกอนที่สะสมตัวจากขบวนการทางทะเล สามารถแบ่งออกเป็น 7 หน่วย คือ ตะกอนหินผุอยู่กับที่ (Qr) ตะกอนเศษหินเชิงเขา (Qc) ตะกอนหลังหาด (Qtb) ตะกอนทางน้ำขึ้นถึง (Qtf) ตะกอนป่าชายเลน (Qtm) ตะกอนหลังป่าชายเลน (Qmb) และตะกอนสันหาดหรือตะกอนทราย ชายหาด (Qb) 3.10.2 ธรณีวิทยาโครงสร้าง (Structural Geology) จังหวัดภูเก็ตมีโครงสร้างหลักพาดผ่านประกอบด้วยแนวคดโค้ง (Folding) และรอยเลื่อน (Faults) โดยแนวคดโค้งมีแนวแกนในแนวทิศเหนือ หรือตะวันออกเฉียงเหนือ พลันจ์ (Plunge) ไปทาง ตะวันออกประมาณ 20 องศา พบได้ในหมวดหินแก่งกระจานบริเวณแหลมพับผ้า และอ่าวมะขาม ส่วนแนวรอยเลื่อนและแนวแตกที่สำคัญวางตัวในแนวทิศเหนือ และมีมุมเอียงเทไปทางทิศตะวันออก มากกว่า 75 องศา ขนานกับรอยเลื่อนคลองมะรุ่ย และพบหลักฐานของหินกรวดเหลี่ยมแนวรอยเลื่อน (Fault breccia) หรือแนวหินไมโลไนต์ (Mylonite zone) บริเวณตอนเหนือของอ่าวกะรน และด้าน ทิศตะวันตกของเกาะราชาใหญ่ นอกจากนี้ มีการพบตะกอนทางน้ำเก่าที่ระดับความสูงมากกว่า 20 เมตร บริเวณหาดบางเทาติดกับเทือกเขาหินแกรนิต แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพธรณี สัณฐานจากที่ราบลุ่มแม่น้ำในการสะสมตัวของตะกอนชุดดังกล่าวมาเป็นที่ลาดเชิงเขา บ่งบอกถึง


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 3-15 การเปลี่ยนแปลงที่อาจจะสัมพันธ์กับโซนแนวรอยเลื่อนหรือโซนการมุดตัวของเปลือกโลก (subduction zone) ที่พบในทะเลอันดามัน (กรมทรัพยากรธรณี, 2556) 3.11 ลักษณะธรณีสัณฐานชายฝั่งทะเล ธรณีสัณฐานชายฝั่งทะเล เป็นลักษณะรูปร่างของพื้นที่ชายฝั่งที่อยู่ระหว่างทะเล กับแผ่นดิน ตั้งแต่เริ่มต้นเกิดขึ้นแล้วมีวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปตามกระบวนการทางธรณีวิทยา จนมีรูปลักษณ์อย่างที่พบเห็นในปัจจุบัน โดยมีลม คลื่น น้ำขึ้นน้ำลง และกระแสน้ำ เป็นตัวการหลัก ที่ร่วมกันทำให้เกิดพื้นที่ชายฝั่งชนิดต่าง ๆ ในขณะเดียวกันก็เป็นตัวการที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ชายฝั่งด้วย (สิน สินสกุล, สุวัฒน์ ติยะไพรัตน์, นิรันดร์ ชัยมณี และบรรเจิด อร่ามประยูร, 2546) สัณฐานชายฝั่งประกอบด้วยสามบริเวณหลัก ได้แก่ บริเวณฝั่งทะเล ชายหาด และบริเวณ ที่ได้รับอิทธิพลจากน้ำขึ้น - น้ำลง โดยขอบเขตของแนวชายฝั่งจะแบ่งระหว่างชายฝั่งกับชายหาด พิจารณาจากแนวของเนินทราย หน้าผา หรือแนวของพืชพรรณชายหาด ส่วนบริเวณชายหาด จะแบ่งเป็นชายหาดส่วนหน้า และชายหาดส่วนหลัง โดยมีแนวชายหาด (Shoreline) เป็นแนวแบ่ง ขอบเขตดังกล่าว ในช่วงมรสุมที่คลื่นลมแรง สันทรายที่อยู่บริเวณชายหาดส่วนหน้าจะถูกกัดเซาะ เป็นแนวตรงดิ่งและทรายจะถูกพัดพาสู่ทะเลกลายเป็นสันดอนใต้น้ำ หรือสันดอนชายฝั่ง (Longshore bar) แต่เมื่อคลื่นลมสงบ คลื่นเดิ่ง (Swell) จะนำทรายนั้นกลับสู่ฝั่งก่อตัวเป็นชายหาดดังเดิม (รูปที่ 3-9) (กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 2561ก) รูปที่ 3-9 ลักษณะธรณีสัณฐานชายฝั่งตามฤดูกาล (กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 2561ก)


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 3-16 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามันในปัจจุบัน เริ่มมีวิวัฒนาการเมื่อประมาณ 10,000 ปีที่ผ่านมา หลังจากสิ้นสุดยุคน้ำแข็ง เกิดการละลายของธารน้ำแข็งซึ่งส่งผลให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ น้ำทะเลไหลเข้ามาท่วมพื้นที่ที่เป็นแผ่นดิน โดยจากการสำรวจชั้นตะกอนที่สะสมตัวอยู่ในบริเวณพื้นที่ ชายฝั่ง พบว่า น้ำทะเลได้ไหลเข้ามาท่วมแผ่นดินเมื่อประมาณ 9,000 ปีที่ผ่านมา และขึ้นถึงระดับสูงสุด เมื่อประมาณ 6,000 ปีที่ผ่านมา ซึ่งมีระดับสูงกว่าระดับน้ำทะเลในปัจจุบันประมาณ 4 เมตร หลังจาก นั้นจึงลดระดับลงมาอยู่ในระดับปัจจุบันเมื่อประมาณ 1,500 ปีที่ผ่านมา ทำให้พื้นที่เดิมที่น้ำทะเล เคยท่วมถึงกลายเป็นพื้นที่ชายฝั่งทะเล แต่เนื่องด้วยชายฝั่งทะเลอันดามันมีข้อจำกัดทางด้านธรณี โครงสร้างและธรณีสัณฐาน ทำให้พื้นที่ชายฝั่งที่เกิดขึ้นมีลักษณะแคบและสั้นกว่าชายฝั่งทางด้าน อ่าวไทย โดยสามารถจำแนกลักษณะธรณีสัณฐานชายฝั่งทะเลอันดามัน ประกอบด้วย ชายฝั่งหิน (rocky coast) ที่ราบน้ำขึ้นถึงที่อยู่เหนือระดับน้ำขึ้นสูงสุด (Supratidal flat) ที่ราบน้ำขึ้นถึงที่อยู่ ระหว่างระดับน้ำขึ้นสูงสุดกับน้ำลงต่ำสุด (Intertidal flat) ที่ราบน้ำขึ้นถึงใต้ระดับน้ำทะเล (subtidal flat) หาดทรายเดิมหรือหาดทรายโบราณ (old beach) หาดทรายใหม่ (young beach) และพื้นที่ แปรสภาพ (Disturbed area) เพื่อการพัฒนาหรือประกอบกิจกรรมอย่างอื่น เช่น การแปรสภาพ ที่ราบน้ำขึ้นถึงหรือป่าชายเลนเป็นนากุ้ง ส่วนพื้นที่หาดทรายส่วนใหญ่จะแปรสภาพเป็นที่อยู่อาศัย เหมืองแร่ดีบุก และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว (สิน สินสกุล และคณะ, 2546) ลักษณะธรณีสัณฐานชายฝั่งทะเลบริเวณพื้นที่จังหวัดภูเก็ตมีความแตกต่างกัน อย่างชัดเจนระหว่างฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตก โดยพื้นที่ชายฝั่งทะเลฝั่งตะวันตกส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ หาดทรายปัจจุบันแคบ ๆ ที่อยู่ระหว่างหัวหาดหรือหาดหิน ยกเว้นบริเวณหาดไม้ขาว อำเภอถลาง ซึ่งเป็นหาดทรายยาวขนานชายฝั่งทะเล ถัดเข้าไปในแผ่นดินหลังพื้นที่หาดทรายปัจจุบันเป็นที่ราบ น้ำขึ้นถึง หาดทรายเดิม ที่ราบเหนือระดับน้ำทะเล และพื้นที่แปรสภาพเป็นเหมืองแร่ดีบุก ส่วนพื้นที่ ชายฝั่งทะเลฝั่งตะวันออกส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นที่ราบใต้ระดับน้ำลง ถัดเข้าไปเป็นที่ราบน้ำขึ้นถึง และที่ราบเหนือระดับน้ำขึ้นและพื้นที่แปรสภาพ นอกจากนี้ ยังพบพื้นที่หาดทรายปัจจุบันอยู่ทางทิศใต้ ของพื้นที่ชายฝั่งทะเลฝั่งตะวันออกบริเวณอ่าวฉลอง ตำบลฉลอง อำเภอเมือง และหาดทรายแคบ ๆ บริเวณบ้านบางแป ตำบลป่าคลอก อำเภอถลาง (รูปที่ 3-10 และ 3-11) 3.12 ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จังหวัดภูเก็ตมีความยาวชายฝั่งทะเลทั้งหมดประมาณ 203 กิโลเมตร โดยสามารถสรุป สถานภาพทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งของจังหวัดภูเก็ต ได้แก่ ป่าชายเลน ปะการัง หญ้าทะเล สัตว์ทะเลหายาก และสิ่งแวดล้อมทางทะเล (รูปที่ 3-12) ได้ดังนี้


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 3-17 รูปที่ 3-10 แผนที่ธรณีสัณฐานชายฝั่งทะเล ระวาง 4625II อำเภอถลาง มาตราส่วน 1:150,000 (สิน สินสกุล และคณะ, 2546) รูปที่ 3-11 แผนที่ธรณีสัณฐานชายฝั่งทะเล ระวาง 4624I จังหวัดภูเก็ต มาตราส่วน 1:150,000 (สิน สินสกุล และคณะ, 2546)


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 3-18 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รูปที่ 3-12 ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งจังหวัดภูเก็ต (กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 2564ก)


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 3-19 3.12.1 ป่าชายเลน จังหวัดภูเก็ตมีเนื้อที่ป่าชายเลนตามมติคณะรัฐมนตรี ประมาณ 21,155.12 ไร่ ซึ่งส่วนใหญ่ ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกของจังหวัดภูเก็ต โดยมีเนื้อที่ป่าชายเลนคงสภาพ ประมาณ 13,446.40 ไร่ (คิดเป็นร้อยละ 63.56 ของเนื้อที่ป่าชายเลนตามมติคณะรัฐมนตรี) ครอบคลุมพื้นที่ 2 อำเภอ 11 ตำบล ได้แก่ อำเภอถลาง และอำเภอเมืองภูเก็ต (ตารางที่ 3-3) (กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 2561ข) ตารางที่ 3-3 พื้นที่ป่าชายเลนรายตำบลในจังหวัดภูเก็ต อำเภอ ตำบล ป่าชายเลนตามมติ ครม. (ไร่) ป่าชายเลนคงสภาพ (ไร่) ถลาง เชิงทะเล 108.76 0 เทพกระษัตรี 2,123.77 1,349.08 ป่าคลอก 6,325.87 4,65103 ไม้ขาว 2,470.09 1,679.70 ศรีสุนทร 1,149.49 527.86 สาคู 0.67 0 เมืองภูเก็ต เกาะแก้ว 2,177.62 1,058.22 ตลาดใหญ่ 243.47 52.52 ตลาดเหนือ 275.06 107.12 รัษฎา 6,128.06 3,946.35 รวม 21,155.12 13,446.40 (ที่มา: กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 2561ข) ความหลากหลายทางชีวภาพในป่าชายเลน พบพันธุ์ไม้ป่าชายเลนทั้งหมด 15 ชนิด (Species) พันธุ์ไม้ที่พบมากที่สุดจัดอยู่ในวงศ์ Rhizophoraceae ซึ่งชนิดที่มีความหนาแน่นมากที่สุด คือ โกงกางใบเล็ก รองลงมาคือ ตะบูนขาว และโปรงแดง ส่วนความหลากหลายของนกในป่าชายเลน พบทั้งหมด 11 อันดับ (Order) 30 วงศ์ (Family) 65 ชนิด นกที่พบมากที่สุด คือ นกหัวโตทรายเล็ก ในวงศ์ Charadriidae อันดับ Charadriiformes ซึ่งจากการประเมินสถานภาพการอยู่อาศัยของนก พบว่าเป็นนกประจำถิ่น 38 ชนิด นกอพยพ 16 ชนิด เป็นทั้งนกอพยพและนกประจำถิ่น 8 ชนิด และนกอพยพผ่าน 1 ชนิด ส่วนเห็ดราในฤดูแล้ง พบจำนวนทั้งสิ้น 18 ชนิด จำแนกได้ 5 ชนิด ในฤดูฝน พบ 1 ชนิด จำแนกได้ 5 ชนิด เช่นเดียวกัน ความหลากหลายของสัตว์น้ำในป่าชายเลน พบทั้งหมด 25 วงศ์ 32 ชนิด โดยพบมากที่สุด คือ วงศ์ Penaeidae (วงศ์กุ้ง) จำนวน 5 ชนิด ด้านความเด่น พบว่า ปลาแป้นแก้ว เป็นชนิดที่มีความเด่นสูงสุด ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตพื้นป่าชายเลน พบทั้งหมด


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 3-20 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 10 วงศ์ 17 ชนิด สัตว์หน้าดินที่พบมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มปูก้ามดาบ กลุ่มหอยถั่วแดง และกลุ่มหอยขี้นก นอกจากนี้ จากการจำแนกข้อมูลเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินป่าชายเลนในปี 2563 พบว่า จังหวัดภูเก็ตมี พื้นที่ป่าชายเลนในความรับผิดชอบของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รวม 29,310.31 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ป่าชายเลนคงสภาพ จำนวน 13,446.40 ไร่ ป่าชายเลนเปลี่ยนสภาพ 7,569.69 ไร่ (เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 4,697.12 ไร่ เกษตรกรรม 426.71 ไร่ เมืองและสิ่งก่อสร้าง 4,280.64 ไร่) พื้นที่อื่น ๆ 8,294.22 ไร่ (เลนงอก หาดเลน 6,694.97 ไร่ ป่าชายหาด 56.83 ไร่) ป่าบก 665.05 ไร่ เปลี่ยนแปลง แนวชายฝั่ง 639.24 ไร่ และพื้นที่ทิ้งร้าง 238.13 ไร่ (กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 2564ก) 3.12.2 ปะการัง จังหวัดภูเก็ตมีพื้นที่แนวปะการังทั้งหมด 13,757 ไร่ (ประมาณ 22 ตารางกิโลเมตร) โดยปะการังชนิดเด่นที่พบโดยทั่วไปมีรูปทรงเป็นแบบก้อน กิ่งก้าน และแผ่น จากการสำรวจสถานภาพ แนวปะการังในปี 2564 พิจารณาตามขนาดพื้นที่แนวปะการัง พบว่า ส่วนใหญ่มีสถานภาพสมบูรณ์ ปานกลาง ส่วนแนวปะการังที่เสียหายมักพบเป็นแนวปะการังน้ำตื้น (Reef flat) ที่อยู่ตามแนวชายฝั่ง ทั้งสองด้านของจังหวัดภูเก็ต ซึ่งมีลักษณะน้ำทะเลขุ่น มีความลึกไม่มากนัก โผล่พ้นน้ำเมื่อน้ำลงต่ำสุด หรืออยู่บริเวณที่มีกิจกรรมของมนุษย์ ส่วนแนวปะการังที่อยู่ห่างไกลจากชายฝั่งยังคงมีความสมบูรณ์ดี นอกจากนี้ เมื่อเปรียบเทียบแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงสภาพความสมบูรณ์ของแนวปะการังในช่วงปี 2560 – 2564 พบว่า มีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ส่วนแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง การครอบคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิตในช่วงปี 2560 – 2564 พบว่า ร้อยละการครอบคลุมพื้นที่ ของปะการังมีชีวิตมีแนวโน้มการฟื้นตัวที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง (รูปที่ 3-13) (กรมทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่ง, 2564ก) 3.12.3 หญ้าทะเล จากการสำรวจของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในปี 2563 พบว่า แหล่งหญ้าทะเล ของจังหวัดภูเก็ตครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 4,882.60 ไร่ กระจายตัวรอบเกาะภูเก็ตและเกาะบริวาร ใน 12 พื้นที่ โดยส่วนใหญ่พบอยู่ทางด้านตะวันออกของจังหวัดภูเก็ต พบมากที่สุดบริเวณอ่าวป่าคลอก จำนวน 2,466.90 ไร่ ส่วนฝั่งตะวันตกพบเป็นแหล่งขนาดเล็กบริเวณตำบลสาคู อำเภอถลาง โดยพบทั้งหมด จำนวน 11 ชนิด ได้แก่ หญ้าชะเงาใบมน (Cymodocea rotundata: Cr) หญ้าชะเงาใบฟันเลื่อย (Cymodocea serrulata: Cs) หญ้าคาทะเล (Enhalus acoroides: Ea) หญ้าใบพาย (Halophila beccarii: Hb) หญ้าเงาใส (Halophila decipiens: Hd) หญ้าเงาใบใหญ่ (Halophila major: Hj) หญ้าเงาใบเล็ก (Halophila minor: Hm) หญ้าใบมะกรูด (Halophila ovalis: Ho) หญ้ากุยช่ายเข็ม (Halodule pinifolia: Hp)


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 3-21 รูปที่ 3-13 สถานภาพแนวปะการังจังหวัดภูเก็ตในปี 2564 (กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 2564ก)


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 3-22 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง หญ้ากุยช่ายทะเล (Halodule uninervis: Hu) หญ้าต้นหอมทะเล (Syringodium isoetifolium: Si) และหญ้าชะเงาเต่า (Thalassia hemprichii: Th) (ตารางที่ 3-4) ทั้งนี้ จากการติดตามสถานภาพ แหล่งหญ้าทะเลในปี 2564 และนำมาเปรียบเทียบกับข้อมูลในปี 2563 พบว่า แหล่งหญ้าทะเล ของจังหวัดภูเก็ตมีแนวโน้มเสื่อมโทรมลง อาจเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล ส่งผลทำให้ การแพร่กระจายของหญ้าทะเลลดลง (กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 2564ก) ตารางที่ 3-4 พื้นที่และองค์ประกอบชนิดหญ้าทะเลของจังหวัดภูเก็ต พื้นที่ เนื้อที่ (ไร่) Cr Cs Ea Hb Hd Hj Hm Ho Hp Hu Si Th ช่องแคบปากพระ 452.50 √ √ √ √ แหลมทราย-บางดุก 114.60 √ หาดในยาง 36.00 √ (√) (√) √* เกาะนาคาใหญ่ 14.70 (√) (√) √ √* (√) √ อ่าวป่าคลอก 2,466.90 √ √ √ √ √ (√) √* √ √ (√) √ เกาะมะพร้าวเกาะรังใหญ่ 35.7 (√) (√) (√) (√) √ อ่าวน้ำบ่อ 621.30 √ เกาะตะเภาใหญ่ 246.90 √ √ √ √ √ อ่าวมะขาม 8.60 √ √ √ √ √ √ (√) อ่าวตั้งเข็ม 133.90 √ √ (√) (√) √ (√) √ √ √ (√) (√) อ่าวฉลอง 476.70 √ √ √ √ √ √ เกาะโหลน-อ่าวยนต์ 274.70 (√) √ √ (√) รวม 4,882.60 √ √ √ √ √ √ √ √ √ √ (√) √ หมายเหตุ (1) ชนิดหญ้าทะเลที่พบ ได้แก่ หญ้าชะเงาใบมน (Cymodocea rotundata: Cr) หญ้าชะเงาใบฟันเลื่อย (Cymodocea serrulata: Cs) หญ้าคาทะเล (Enhalus acoroides: Ea) หญ้าใบพาย (Halophila beccarii: Hb) หญ้าเงาใส (Halophila decipiens: Hd) หญ้าเงาใบใหญ่ (Halophila major: Hj) หญ้าเงาใบเล็ก (Halophila minor: Hm) หญ้าใบมะกรูด (Halophila ovalis: Ho) หญ้ากุยช่ายเข็ม (Halodule pinifolia: Hp) หญ้ากุยช่ายทะเล (Halodule uninervis: Hu) หญ้าต้นหอมทะเล (Syringodium isoetifolium: Si) และหญ้าชะเงาเต่า (Thalassia hemprichii: Th) (2) √ แสดงชนิดหญ้าทะเลที่พบปัจจุบัน (3) * หญ้าทะเลชนิดเด่น (ที่มา: กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 2564ก)


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 3-23 3.12.4 สัตว์ทะเลหายาก จังหวัดภูเก็ตพบสัตว์ทะเลหายากจำนวน 17 ชนิด จำแนกเป็นเต่าทะเล 5 ชนิด ได้แก่ เต่ากระ เต่าตนุ เต่าหญ้า เต่าหัวค้อน และเต่ามะเฟือง โลมาและวาฬ จำนวน 8 ชนิด ได้แก่ โลมาปากขวด โลมาลายจุด โลมาลายแถบ โลมากระโดด วาฬหัวทุย วาฬหัวทุยแคระ วาฬหัวแตงโม และโลมา ไม่ทราบชนิด พะยูน 1 ชนิด นอกจากนี้ ยังพบปลากระดูกอ่อน 3 ชนิด ได้แก่ กระเบนราหู ฉลามเสือดาว และปลาโรนัน เต่ามะเฟืองพบการขึ้นวางไข่มากบริเวณชายหาดด้านทิศตะวันตกของเกาะภูเก็ตบริเวณ หาดไม้ขาว และหาดในทอน ส่วนโลมาปากขวดพบมากบริเวณเกาะราชา เกาะไม้ท่อน และเกาะเฮ โดยในปี 2564 พบสัตว์ทะเลหายากจำนวน 48 ตัว ได้แก่ เต่าทะเล 33 ตัว โลมาและวาฬ 15 ตัว พบการเกยตื้นของสัตว์ทะเลหายากรวม 75 ตัว ได้แก่ โลมา 19 ตัว และเต่าทะเล 56 ตัว (กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 2564ก) 3.12.5 สิ่งแวดล้อมทางทะเล กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (2564ก) ได้สรุปสถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมทาง ทะเลของจังหวัดภูเก็ต ประกอบด้วยข้อมูลคุณภาพน้ำทะเล น้ำมันรั่วไหล และน้ำทะเลเปลี่ยนสี ดังนี้ (1) คุณภาพน้ำทะเล จากการติดตามคุณภาพน้ำทะเล จำนวน 23 สถานี ระหว่างปี 2558 - 2564 พบว่า ค่าดัชนีวัดคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่ง (Marine Water Quality Index: MWQI) เฉลี่ย มีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำทะเลดลง โดยปัจจัยที่มีผลต่อการคำนวณค่าดัชนี วัดคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่ง ได้แก่ ปริมาณแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมด และธาตุอาหารแอมโมเนีย ทั้งหมดในน้ำ (รูปที่ 3-14) รูปที่ 3-14 แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงสถานะคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่ง จังหวัดภูเก็ต ระหว่างปี 2558 - 2564 (กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 2564ก)


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 3-24 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (2) น้ำมันรั่วไหล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ได้รับแจ้งเหตุกรณีการพบก้อน น้ำมันดินจำนวนมากขึ้นมาเกยหาด โดยกระจายตามแนวชายฝั่งทะเลตั้งแต่จังหวัดระนองถึงจังหวัด ภูเก็ต จำนวน 2 ครั้ง คือ ในวันที่ 15 มิถุนายน 2564 พบก้อนน้ำมันดินเกยบริเวณหาดไม้ขาว หาดทราย แก้ว หาดในยาง และหาดลากูน่า โดยมีความหนาแน่นที่สำรวจได้ในช่วง 0.1-11.8 กรัมต่อตารางเมตร และในวันที่ 20 มิถุนายน 2564 พบก้อนน้ำมันดินเกยหาดหนาแน่นบริเวณหาดในยาง โดยมีความ หนาแน่นที่สำรวจได้ในช่วง 129.5 กรัมต่อตารางเมตร ซึ่งยังไม่ทราบแหล่งที่มาอย่างแน่ชัด เนื่องจาก ก้อนน้ำมันสามารถลอยอยู่ในมวลน้ำได้เป็นระยะเวลานาน โดยอาจมีแหล่งที่มาจากอุบัติเหตุทางน้ำ หรือการลักลอบปล่อยทิ้งจากเรือ ทั้งในบริเวณใกล้เคียงหรือห่างออกไปในทะเลได้ (3) น้ำทะเลเปลี่ยนสีในช่วงปี 2559 – 2563 พบน้ำทะเลเปลี่ยนสีในพื้นที่จังหวัด ภูเก็ตทั้งหมด 19 ครั้ง โดยแพลงก์ตอนพืชที่เป็นสาเหตุของปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสี คือ Alexandrium sp., Chaetoceros spp., Bellerochea sp., Gymnodinium catenatum, Peridinium quinquecorne, Coolia cf. malayensis, Karenia sp. และ Eunotogramma sp. ส่วนในปี 2564 ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์- มีนาคม พบการสะพรั่งของสาหร่ายแดง สกุล Hypnea บริเวณหาดป่าตอง และพบแพลงก์ตอนพืชกลุ่มไดอะตอมเจริญร่วมอยู่ด้วย 3.13 อุทกศาสตร์ชายฝั่งทะเล อุทกศาสตร์ชายฝั่งทะเลเกิดจากปัจจัยหลักสำคัญหลาย ๆ ด้านที่ส่งผลให้เกิด กระบวนการชายฝั่ง (coastal processes) ที่มีการเกิดและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยอิทธิพล หลัก ได้แก่ กระแสลม คลื่น กระแสน้ำ และน้ำขึ้น - น้ำลง โดยจะมีความแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ และส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อสภาพแวดล้อมชายฝั่งทะเล (กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 2563ค) จังหวัดภูเก็ตตั้งอยู่ทางด้านทะเลอันดามัน โดยลักษณะภูมิประเทศพื้นท้องทะเล มีลักษณะเป็นชายฝั่งทะเลยุบตัวหรือจมตัว ทำให้ชายฝั่งทะเลของพื้นที่มีความลาดชันและเกิดเป็น แนวไม่ราบเรียบ เว้าแหว่ง มีอ่าวและเกาะแก่งมากมาย (กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 2563ข) บริเวณนอกชายฝั่งทะเลจังหวัดภูเก็ตลงไปทางใต้และตะวันออกจนถึงบริเวณไหล่ทวีปซุนดาและช่องแคบ มะละกา ไหล่ทวีปชั้นในมีความกว้างประมาณ 35 กิโลเมตร (Brown, 2007) โดยผิวพื้นทะเลบริเวณ ชายฝั่งทะเลจังหวัดระนอง พังงาฝั่งตะวันตกและภูเก็ตฝั่งตะวันตก มีความลาดชันสูง มีความลึกน้ำเฉลี่ย ประมาณ 1,000 เมตร โดยเฉพาะบริเวณแอ่งอันดามันซึ่งเป็นบริเวณที่ทะเลไทยมีความลึก มากที่สุด ประมาณ 3,000 เมตร ส่วนลักษณะพื้นทะเลเป็นทรายและทรายปนโคลน (กรมทรัพยากร ทางทะเลและชายฝั่ง, 2563ค) (รูปที่ 3-15) ทั้งนี้ สามารถรวบรวมข้อมูลอุทกศาสตร์ชายฝั่งทะเล อันดามันและจังหวัดภูเก็ตได้ รายละเอียดดังนี้


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 3-25 รูปที่ 3-15 ลักษณะภูมิประเทศพื้นท้องทะเลของทะเลอันดามัน (Brown, 2007) 3.13.1 กระแสลม พื้นที่จังหวัดภูเก็ต อยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุมที่พัดประจำฤดูกาล 2 ชนิด คือ ลมมรสุม ตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งพัดปกคลุมระหว่างกลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม ทำให้จังหวัดภูเก็ตมี ฝนตกชุกทั่วไป และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งพัดปกคลุมประมาณกลางเดือนตุลาคมจนถึง กลางเดือนกุมภาพันธ์ทำให้จังหวัดภูเก็ตมีฝนตกในฤดูมรสุมนี้แต่มีปริมาณน้อย ส่วนพายุหมุนเขตร้อน ที่เคลื่อนที่ผ่านจังหวัดภูเก็ต จากสถิติคาบ 69 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2494 – 2562 พบว่า มีพายุหมุนเขตร้อน เคลื่อนผ่านจังหวัดภูเก็ต จำนวน 2 ลูก ใน ปี พ.ศ. 2505 และ 2536 ซึ่งมีกำลังแรงเป็นพายุดีเปรสชั่น ทั้งสองลูก โดยในปี 2505 พายุหมุนเขตร้อนที่เคลื่อนที่ผ่านจังหวัดภูเก็ตส่งผลให้มีฝนตกหนักมาก ใน 1 วัน มีปริมาณน้ำฝนสูงสุด 101.4 มิลลิเมตร (กรมอุตุนิยมวิทยา, 2564)


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 3-26 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จากข้อมูลความเร็วและทิศทางลมเฉลี่ยรายชั่วโมงในพื้นที่กว้างที่ระดับ 10 เมตร เหนือพื้นดิน ที่ได้จากข้อมูล MERRA-2 Modern-Era Retrospective Analysis ขององค์การบริหาร การบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (The National Aeronautics and Space Administration; NASA) โดยอาศัยแบบจำลองทางอุตุนิยมวิทยาเพื่อสร้างบันทึกประวัติสภาพอากาศรายชั่วโมงทั่วโลก ขึ้นมาใหม่บนตารางกริด 50 กิโลเมตร ระหว่างปี 2557 – 2565 ซึ่งเผยแพร่โดย Weather Spark (2565) พบว่า ความเร็วลมเฉลี่ยรายชั่วโมงในจังหวัดภูเก็ต มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญตาม ฤดูกาลตลอดระยะเวลาทั้งปีโดยช่วงที่ลมแรงกว่าในปีนั้นมีระยะเวลานาน 4.3 เดือน ระหว่างวันที่ 28 พฤษภาคม ถึงวันที่ 5 ตุลาคม โดยมีความเร็วลมเฉลี่ยสูงกว่า 11.8 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งในเดือน สิงหาคมเป็นเดือนที่มีลมแรงที่สุดของปี มีความเร็วลมเฉลี่ยรายชั่วโมงเท่ากับ 14.5 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ส่วนช่วงเวลาที่ลมสงบกว่าในปีนั้นมีระยะเวลานาน 7.7 เดือน ระหว่างวันที่ 5 ตุลาคม ถึงวันที่ 28 พฤษภาคม เดือนเมษายนเป็นเดือนที่มีลมสงบมากที่สุดของปี โดยมีความเร็วลมเฉลี่ยรายชั่วโมงเท่ากับ 9.0 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (ตารางที่ 3-5 และรูปที่ 3-16) ส่วนทิศทางลมเฉลี่ยรายชั่วโมงมีความแตกต่าง กันตลอดปีโดยลมส่วนใหญ่มักพัดมาจากทิศตะวันตกระหว่างวันที่ 1 เมษายน ถึงวันที่ 31 ตุลาคม (ระยะเวลา 7 เดือน) โดยมีค่าร้อยละสูงสุดเท่ากับร้อยละ 93 ในวันที่ 18 สิงหาคม ส่วนลมที่พัดมาจาก ทิศตะวันออก อยู่ในช่วงระหว่างวันที่ 31 ตุลาคม ถึงวันที่ 1 เมษายน (ระยะเวลา 5 เดือน) โดยมี ค่าร้อยละสูงสุดเท่ากับร้อยละ 85 ในวันที่ 1 มกราคม (รูปที่ 3-17) ตารางที่ 3-5ความเร็วลมเฉลี่ยรายเดือนในจังหวัดภูเก็ต ระหว่างปี 2557 – 2565 เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ความเร็วลม (กม./ชม.) 12.3 10.9 9.5 9.0 11.0 13.4 14.0 14.5 13.2 10.9 10.7 12.6 (ที่มา: Weather Spark, 2565) รูปที่ 3-16 ค่าเฉลี่ยของความเร็วลมเฉลี่ยรายชั่วโมง (เส้นสีเทาเข้ม) พร้อมด้วยแถบเปอร์เซ็นไทล์ที่ 25 ถึง 75 และ 10 ถึง 90 (Weather Spark, 2565)


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 3-27 รูปที่ 3-17 ร้อยละของชั่วโมงที่ทิศทางลมเฉลี่ยมาจากทิศหลักของลมทั้ง 4 ทิศ โดยไม่รวมถึงจำนวน ชั่วโมงที่มีความเร็วลมเฉลี่ยน้อยกว่า 1.6 กิโลเมตร/ชั่วโมง พื้นที่ที่มีสีอ่อนตรงขอบเขตคือ ร้อยละของชั่วโมงที่ใช้ไปกับทิศระหว่างกลางโดยนัย (ตะวันออกเฉียงเหนือ ตะวันออกเฉียงใต้ ตะวันตกเฉียงใต้ และตะวันตกเฉียงเหนือ) (Weather Spark, 2565) นอกจากนี้ Ranthodsang, Waewsak, Kongruang, & Gagnon (2020) ได้มีการ ประเมินพลังงานลมนอกชายฝั่งตะวันตกของประเทศไทยโดยใช้แบบจำลอง Computational Fluid Dynamics (CFD) ทั้งในระดับกลาง (Mesoscale) และระดับเล็ก (Microscale) ควบคู่กับฐานข้อมูล ภูมิอากาศ โดยแสดงเป็นแผนที่ลมนอกชายฝั่ง (Offshore wind maps) ที่ระดับความสูง 80 เมตร 90 เมตร และ 120 เมตรเหนือระดับทะเลปานกลาง พบว่า พื้นที่บริเวณรอบเกาะภูเก็ต ณ ระดับความสูง 120 เมตรเหนือระดับทะเลปานกลาง มีความเร็วลมอยู่ในช่วง 4.6 – 5.3 เมตร/วินาที (รูปที่ 3-18) 3.13.2 คลื่น จากการศึกษาของ Kompor, Ekkawatpanit, & Kositgittiwong (2018) โดยใช้ แบบจำลอง SWAN (Simulating Waves Nearshore) เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลความสูงคลื่นนัยสำคัญเฉลี่ย (Significant wave height) และพลังงานคลื่นเฉลี่ย (Average wave power) บริเวณทะเลอันดามัน ในช่วงระยะเวลา 10 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 – 2558 จำนวน 5 สถานี ได้แก่ สถานี P12 – P16 โดยมี สถานีที่ตั้งอยู่บริเวณจังหวัดภูเก็ต คือ สถานี P15 พบว่า บริเวณสถานีP15 มีค่าความสูงคลื่นนัยสำคัญ เฉลี่ยสูงที่สุดในช่วงฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ โดยมีความสูงคลื่นนัยสำคัญเฉลี่ยประมาณ 1.21 เมตร ส่วนในช่วงมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ มีความสูงคลื่นนัยสำคัญเฉลี่ย 0.86 เมตร และในช่วงก่อนฤดู มรสุมพบว่ามีความสูงคลื่นนัยสำคัญเฉลี่ยต่ำที่สุดประมาณ 0.78 เมตร ซึ่งมีแนวโน้มสอดคล้องกับ ค่าพลังงานคลื่นเฉลี่ยซึ่งมีค่าสูงที่สุดในช่วงฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้เช่นกัน โดยมีค่าประมาณ 4.33 กิโลวัตต์ต่อเมตร (kW/m) ส่วนในช่วงมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและช่วงก่อนฤดูมรสุมมีค่าไม่แตกต่าง กันมากนัก โดยมีค่าประมาณ 2.70 และ 2.50 กิโลวัตต์ต่อเมตร ตามลำดับ (รูปที่ 3-19 และ 3-20)


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 3-28 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รูปที่ 3-18 แผนที่ลมนอกชายฝั่งระดับเล็กบริเวณรอบเกาะภูเก็ต ณ ระดับความสูง 120 เมตร เหนือระดับทะเลปานกลาง (Ranthodsang et al., 2020)


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 3-29 รูปที่ 3-19 ค่าความสูงคลื่นนัยสำคัญเฉลี่ยบริเวณทะเลอันดามัน โดยใช้แบบจำลอง SWAN (จุด P15 ตั้งอยู่บริเวณจังหวัดภูเก็ต) โดย (a) และ (b) แสดงค่าความสูงคลื่นนัยสำคัญเฉลี่ยในช่วง ก่อนฤดูมรสุม (c) และ (d) แสดงค่าความสูงคลื่นนัยสำคัญเฉลี่ยในช่วงฤดูมรสุมตะวันตก เฉียงใต้ (e) และ (f) แสดงค่าความสูงคลื่นนัยสำคัญเฉลี่ยในช่วงฤดูมรสุมตะวันออก เฉียงเหนือ (ดัดแปลงจาก Kompor et al., 2018)


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 3-30 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รูปที่ 3-20 ค่าพลังงานคลื่นเฉลี่ยบริเวณทะเลอันดามัน โดยใช้แบบจำลอง SWAN (จุด P15 ตั้งอยู่บริเวณ จังหวัดภูเก็ต) โดย (a) และ (b) แสดงค่าพลังงานคลื่นเฉลี่ยในช่วงก่อนฤดูมรสุม (c) และ (d) แสดงค่าพลังงานคลื่นเฉลี่ยในช่วงฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (e) และ (f) แสดงค่าพลังงาน คลื่นเฉลี่ยในช่วงฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ (ดัดแปลงจาก Kompor et al., 2018) นอกจากนี้ ผลการศึกษาของ Kompor et al (2018) มีความสอดคล้องกับผลการศึกษาของ Foyhirun, Kositgittiwong, & Ekkawatpanit (2020) ซึ่งมีการวิเคราะห์ข้อมูลความสูงคลื่นนัยสำคัญ และค่าพลังงานคลื่นโดยใช้แบบจำลอง SWAN ในพื้นที่ทะเลอันดามัน ตั้งแต่เดือนมกราคม - ธันวาคม 2557 พบว่า บริเวณจังหวัดภูเก็ต (สถานี S5 ตั้งอยู่บริเวณอุทยานแห่งชาติสิรินาถ) มีค่าความสูง คลื่นนัยสำคัญสูงที่สุดเท่ากับ 3.36 เมตร ในช่วงเดือนสิงหาคมซึ่งอยู่ในช่วงฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และมีค่าพลังงานคลื่นสูงที่สุดเท่ากับ 10.19 กิโลวัตต์ต่อเมตรในช่วงเดือนสิงหาคมเช่นกันเดียวกัน ซึ่งทั้งสองค่าเป็นค่าสูงที่สุดในพื้นที่ศึกษาดังกล่าว (รูปที่ 3-21)


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 3-31 รูปที่ 3-21 ความสูงคลื่นนัยสำคัญของสถานี S1 - S8 บริเวณทะเลอันดามัน ในปี 2557 โดยสถานี S5 ตั้งอยู่บริเวณอุทยานแห่งชาติสิรินาถ จังหวัดภูเก็ต (Foyhirun et al., 2020)


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 3-32 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 3.13.3 กระแสน้ำ กระแสน้ำในทะเลอันดามันบริเวณพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน ได้รับอิทธิพลจาก ลมมรสุมที่ก่อให้เกิดการไหลเวียนของน้ำในทิศทางต่าง ๆ โดยกระแสน้ำจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตาม ฤดูกาล และจะไหลแรงในแนวเหนือ - ใต้มากกว่าในแนวตะวันออก - ตะวันตก ซึ่งส่งผลต่อการพัดพา และสะสมตัวของตะกอนชายฝั่ง กระแสน้ำบริเวณชายฝั่งทะเลด้านใต้จังหวัดระนอง และภูเก็ต ฝั่งตะวันตก มีลักษณะเป็นกระแสน้ำที่มีทิศทางไม่แน่นอน (Turbulence) รูปแบบการไหลมีการ เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา อาจเนื่องมาจากลักษณะชายฝั่ง สภาพภูมิประเทศ หรือเกิดจากการ ผสมผสานของลักษณะการเกิดของกระแสน้ำ โดยปกติแล้วบริเวณที่เป็นทะเลเปิดรูปแบบกระแสน้ำ มักจะมีทิศทางไม่แน่นอนมากกว่าทะเลปิด นอกจากนี้ รูปแบบการไหลของกระแสน้ำที่ไม่แน่นอนทำให้ การตกตะกอนล่าช้าและช่วยในการพัดพาตะกอนน้อย (กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 2564) จากการศึกษาของ Varkey et al. (1996 อ้างถึงใน Brown, 2007) และ Potemra et al. (1991 อ้างถึงใน Brown, 2007) ได้อธิบายการหมุนเวียนของผิวน้ำในทะเลอันดามันว่ามีลักษณะ เป็นวงแหวนคู่ (Double gyre) ที่มีกระแสน้ำทวนเข็มนาฬิกาในช่วงมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และไหลตามเข็มนาฬิกาในช่วงมรสุมตะวันตกเฉียงใต้โดยการศึกษาของ Potemra et al. (1991 อ้างถึงใน Brown, 2007) พบว่า ในช่วงมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ กระแสน้ำพื้นผิว (Surface flow) ไหลเข้าสู่ ทะเลอันดามันทางตอนใต้ของหมู่เกาะนิโคบาร์และไหลออกทางใต้ของทะเลอันดามัน ส่วนในช่วงมรสุม ตะวันตกเฉียงใต้กระแสน้ำมีการไหลเข้าจากอ่าวเบงกอลแล้วไหลวนตามเข็มนาฬิกาและไหลออก ทางใต้ทะเลอันดามัน นอกจากนี้ Khokiattiwong (1991 อ้างถึงใน Brown, 2007) เสนอว่า นอกชายฝั่งตะวันตกของประเทศไทยกระแสน้ำตื้นได้รับอิทธิพลอย่างมากจากกระแสน้ำขึ้น - น้ำลง ในช่วงมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีมวลน้ำสำคัญ 2 ชนิด ที่มีอิทธิพลต่อกระแสน้ำบริเวณชายฝั่ง ตะวันตกของจังหวัดภูเก็ต คือ มวลน้ำทางเหนือที่ไหลตามเข็มนาฬิกาจากอ่าวเบงกอลตามแนวชายฝั่ง ทะเลอันดามันของประเทศไทยไปยังบริเวณจังหวัดภูเก็ตซึ่งไหลไปบรรจบกับมวลน้ำทางใต้ที่ไหลจาก ช่องแคบมะละกาไปทางเหนือในทิศทางทวนเข็มนาฬิกาก่อนไหลไปทางตะวันออกสู่มหาสมุทรอินเดีย (รูปที่ 3-22) นอกจากนี้ จากการศึกษาของกรมโยธาธิการและผังเมือง (2552) พบว่า การเคลื่อนที่ ของตะกอนชายฝั่งด้านทะเลอันดามันบริเวณจังหวัดระนองถึงบริเวณแหลมพรหมเทพ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต มวลทรายมีการเคลื่อนที่ขึ้นไปทางด้านทิศเหนือ โดยเริ่มจากบริเวณชายฝั่งจังหวัดภูเก็ต ขึ้นไปสู่จังหวัดพังงา และระนอง ซึ่งสอดคล้องกับสภาพชายฝั่งที่สามารถพบแนวสันทรายจะงอย (Sand Spit) มีปลายชี้ขึ้นทิศเหนือ เช่น ชายฝั่งบริเวณเขาหลัก จังหวัดพังงา และชายฝั่งบริเวณ ตำบล ท้ายเหมือง และตำบลลำแก่น จังหวัดพังงา เป็นต้น โดยมีปริมาณการเคลื่อนที่มวลทรายสุทธิต่อปี เท่ากับ 132,191 431,836 และ 775,343 ลูกบาศก์เมตรต่อปี(รูปที่ 3-23)


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 3-33 รูปที่ 3-22 ทิศทางกระแสน้ำผิวน้ำบริเวณทะเลอันดามันในช่วงมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ (เดือนธันวาคม–พฤษภาคม) และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (เดือนมิถุนายน–พฤศจิกายน) โดยลูกศรสีดำแสดงถึงความแรงของกระแสน้ำ (ดัดแปลงจาก Soegiarto & Birowo (1975) และ Soegiarto (1985 อ้างถึงใน Brown, 2007))


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 3-34 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รูปที่ 3-23 ปริมาณการเคลื่อนตัวของมวลทรายขนานชายฝั่งสุทธิในภาพรวมของชายฝั่งประเทศไทย (กรมโยธาธิการและผังเมือง, 2552) 3.13.4 น้ำขึ้น - น้ำลง จากการศึกษารูปแบบการไหลเวียนของกระแสน้ำขึ้นน้ำลงบริเวณทะเลอันดามันตั้งแต่ ช่องแคบมะละกาจนถึงจังหวัดระนองโดยสมบูรณ์ พรพิเนตพงศ์(2548) พบว่า บริเวณชายฝั่งทะเล ของพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน มีลักษณะน้ำขึ้น - น้ำลง เป็นแบบน้ำคู่หรือน้ำขึ้นลงวันละ 2 ครั้ง (Semidiurnal tide) มีคาบเท่ากับ 12.42 ชั่วโมง โดยจังหวัดภูเก็ตมีพิสัยน้ำขึ้นน้ำลงในช่วงน้ำเกิด (Spring range) มีค่าเท่ากับ 3.1 เมตร และมีพิสัยในช่วงน้ำตายเท่ากับ 0.4 เมตร ส่วนรูปแบบ การไหลเวียนของกระแสน้ำขึ้นน้ำลงจากแบบจำลอง Water Quality Mapping (WQMAP) พบว่า


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 3-35 บริเวณช่องแคบมะละกากระแสน้ำมีกำลังแรง มีความเร็วสูงสุดอยู่ในช่วง 0.75 – 1.00 เมตรต่อวินาที และอ่อนกำลังลงเมื่อเข้าสู่น่านน้ำของประเทศไทย โดยบริเวณทิศตะวันตกของทะเลอันดามันมีค่า น้อยมากจนเกือบเป็นน้ำนิ่ง การโคจรของอนุภาคน้ำชายฝั่งทะเลบริเวณจังหวัดตรังจนถึงภูเก็ต มีการเคลื่อนที่เป็นวงรี โดยบริเวณจังหวัดภูเก็ตมีการเคลื่อนที่เป็นวงรีแคบ ๆ ในแนวตะวันออก - ตะวันตก มีระยะขจัดประมาณ 1.5 กิโลเมตร นอกจากนี้ จากการวิเคราะห์ค่าระดับน้ำรายเดือนในรอบปีจากสถานีเกาะตะเภาน้อย ตั้งแต่ปี2483 – 2552 พบว่า ระดับน้ำทะเลบริเวณจังหวัดภูเก็ตเปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาล โดยในช่วงฤดูร้อน (เดือนธันวาคม – เมษายน) และฤดูฝน (เดือนพฤษภาคม - พฤศจิกายน) มีความแตกต่างของระดับน้ำทะเลประมาณ 20 เซนติเมตร (รูปที่ 3-24) ส่วนรูปแบบของระดับน้ำทะเล ในระยะยาว พบว่า ค่อนข้างมีความซับซ้อนมากขึ้น โดยมีความแปรผันของระดับน้ำค่อนข้างสูง ±46 เซนติเมตร ซึ่งรวมถึงการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล และมีความเกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์การสลับขั้ว ของน้ำอุ่นและน้ำเย็นในมหาสมุทรอินเดีย หรือ Indian Ocean Dipole (IOD) (รูปที่ 3-25) (Brown et al., 2011) รูปที่ 3-24 การเปลี่ยนแปลงระดับน้ำทะเลเฉลี่ยรายเดือนจากสถานีเกาะตะเภาน้อย จังหวัดภูเก็ต ตั้งแต่ปี 2483 – 2552 โดยขีดแสดงความผิดพลาด (Error bar) มีค่าเท่ากับร้อยละ 95 (Brown et al., 2011)


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 3-36 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รูปที่ 3-25 ความผิดปกติของระดับน้ำทะเลเฉลี่ยรายเดือนจากสถานีเกาะตะเภาน้อย จังหวัดภูเก็ต ตั้งแต่ปี 2483 - 2552 ซึ่งแสดงถึงความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยรายเดือนและ ระดับน้ำทะเลเฉลี่ยโดยรวม (Brown et al., 2011) 3.14 สถานภาพชายฝั่งทะเล จากการศึกษาการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งทะเลจังหวัดภูเก็ตในปี 2545 โดยสิน สินสกุล และคณะ (2546) พบว่า จังหวัดภูเก็ตมีระยะชายฝั่งทะเลประมาณ 185 กิโลเมตร โดยชายฝั่งที่มี การกัดเซาะรุนแรงพบอยู่บริเวณหาดเลพัง บ้านบางเทา อำเภอถลาง ระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร ส่วนชายฝั่งที่มีการกัดเซาะปานกลางพบอยู่บริเวณอ่าวปอ บ้านบางแป อำเภอถลาง ระยะทาง ประมาณ 1.5 กิโลเมตร ส่วนที่เหลือจัดเป็นชายฝั่งคงสภาพ มีการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล (รูปที่ 3-26 และ 3-27) ต่อมากรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (2565) ได้รายงานสถานภาพชายฝั่งทะเล พ.ศ. 2563 โดยพบว่า จังหวัดภูเก็ตมีระยะทางชายฝั่งทะเลทั้งหมดประมาณ 202.83 กิโลเมตร โดยมี ระยะชายฝั่งที่มีการกัดเซาะรวม 8.11 กิโลเมตร โดยเป็นระยะชายฝั่งที่มีการกัดเซาะรุนแรง (อัตราการ กัดเซาะชายฝั่งมากกว่า 5 เมตร/ปี) ประมาณ 0.25 กิโลเมตร การกัดเซาะปานกลาง (อัตราการกัดเซาะ ชายฝั่ง 1-5 เมตร/ปี) ประมาณ 6.46 กิโลเมตร และการกัดเซาะน้อย (อัตราการกัดเซาะชายฝั่งน้อยกว่า 1 เมตรต่อปี) ประมาณ 1.40 กิโลเมตร ระยะชายฝั่งที่มีโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ประมาณ 25.16 กิโลเมตร และระยะชายฝั่งที่ไม่มีการกัดเซาะชายฝั่ง ประมาณ 169.56 กิโลเมตร (รูปที่ 3-28)


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 3-37 รูปที่ 3-26 แผนที่การเปลี่ยนแปลงชายฝั่งทะเล อำเภอถลาง ระวาง 4625II มาตราส่วน 1:150,000 (สิน สินสกุล และคณะ, 2546) รูปที่ 3-27 แผนที่การเปลี่ยนแปลงชายฝั่งทะเล จังหวัดภูเก็ต ระวาง 4624I มาตราส่วน 1:150,000 (สิน สินสกุล และคณะ, 2546)


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 3-38 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รูปที่ 3-28 สถานภาพแนวชายฝั่งทะเล จังหวัดภูเก็ต ปี 2563 (กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 2565)


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 3-39 3.15 ระบบหาด กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (2564ค) ได้จำแนกพื้นที่ชายฝั่งทะเลจังหวัดภูเก็ต อยู่ในระบบกลุ่มหาดหลักทะเลอันดามันตอนบน (T7) และระบบกลุ่มหาดหลักทะเลอันดามันตอนล่าง (T8) ประกอบด้วย 3 ระบบกลุ่มหาด และ 44 ระบบหาด (ตารางที่ 3-6 และรูปที่ 3-29 และ 3-30) ดังนี้ (1) ระบบกลุ่มหาดหลักทะเลอันดามันตอนบน (T7) เป็นพื้นที่แนวชายฝั่ง ด้านตะวันตกของจังหวัดภูเก็ต ประกอบด้วยระบบกลุ่มหาดเขาหลัก - แหลมพรหมเทพ (T7E) แบ่งออกเป็นระบบหาด 23 หาด ตั้งแต่ระบบหาดหาดไม้ขาว (T7E203) จนถึงระบบหาดยะนุ้ย (T7E225) (2) ระบบกลุ่มหาดหลักทะเลอันดามันตอนล่าง (T8) เป็นพื้นที่แนวชายฝั่ง ด้านตะวันออกของจังหวัดภูเก็ต ประกอบด้วย 2 กลุ่มหาด คือ ระบบกลุ่มหาดแหลมพรหมเทพ – แหลมขาด (T8A) แบ่งออกเป็นระบบหาด 18 หาด ตั้งแต่ระบบหาดราไวย์ (T8A226) จนถึงระบบหาด หาดแหลมยาง (T8A243) และระบบกลุ่มหาดแหลมขาด - อ่าวนาง (T8B) แบ่งออกเป็น 3 ระบบหาด ตั้งแต่ระบบหาดอ่าวกุ้ง (T8B244) จนถึงระบบหาดท่าฉัตรไชย (T8B246) ตารางที่ 3-6รายชื่อและรหัสของระบบหาดและระบบกลุ่มหาดจังหวัดภูเก็ต ระบบกลุ่มหาด ชื่อระบบหาด ตำบล อำเภอ เขาหลักแหลมพรหมเทพ (T7E) ระบบหาดหาดไม้ขาว (T7E203) ไม้ขาว, สาคู ถลาง ระบบหาดหาดในทอน (T7E204) สาคู ระบบหาดอันดามันไวท์บีช (T7E205) เชิงทะเล ระบบหาดแหลมตอ (T7E206) ระบบหาดอ่าวบางเทา (T7E207) ระบบหาดหาดควนกลาง (T7E208) ระบบหาดหาดสุรินทร์ (T7E209) ระบบหาดหาดแหลมสิงห์(ภูเก็ต) (T7E210) กมลา ระบบหาดหาดกมลา (T7E211) ระบบหาดหาดแหลมสน (T7E212) ระบบหาดแหลมยมดิง (T7E213) ระบบหาดอ่าวนาคาเล (T7E214) กมลา, ป่าตอง ระบบหาดกะหลิม (T7E215) ป่าตอง ระบบหาดหาดป่าตอง (T7E216)


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 3-40 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ตารางที่ 3-6(ต่อ) ระบบกลุ่มหาด ชื่อระบบหาด ตำบล อำเภอ เขาหลักแหลมพรหมเทพ (T7E) ระบบหาดหาดแหลมคอใสรอด (T7E217) ป่าตอง ถลาง ระบบหาดภูเก็ตมารีออต (T7E218) ระบบหาดหาดฟรีด้อม (T7E219) ป่าตอง, กะรน กะทู้, เมืองภูเก็ต ระบบหาดหาดแหลมแขก (T7E220) กะรน เมืองภูเก็ต ระบบหาดหาดกะรน (T7E221) ระบบหาดกะตะใหญ่ (T7E222) ระบบหาดกะตะน้อย (T7E223) ระบบหาดในหาน (T7E224) กะรน, ราไวย์ ระบบหาดยะนุ้ย (T7E225) ราไวย์ แหลมพรหมเทพแหลมขาด (T8A) ระบบหาดราไวย์(T8A226) ราไวย์ ระบบหาดอ่าวฉลอง (T8A227) ราไวย์, ฉลอง, รัษฎา, ตลาดเหนือ, ตลาดใหญ่ ระบบหาดเขาขาด (T8A228) วิชิต ระบบหาดอ่าวยน (T8A229) ระบบหาดหาดจุดชมวิวพันวา (T8A230) ระบบหาดแหลมพันวา (T8A231) ระบบหาดหาดบ้านแหลมพันวา (T8A232) ระบบหาดอ่าวท่าเรือภูเก็ต (T8A233) ระบบหาดอ่าวมะขาม (T8A234) ระบบหาดอ่าวภูเก็ต (T8A235) วิชิต, ตลาดเหนือ, ตลาดใหญ่, รัษฎา ระบบหาดแหลมตุ๊กแก (T8A236) รัษฎา ระบบหาดรัษฎา (T8A237)


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 3-41 ตารางที่ 3-6(ต่อ) ระบบกลุ่มหาด ชื่อระบบหาด ตำบล อำเภอ แหลมพรหมเทพแหลมขาด (T8A) ระบบหาดหาดหน้าบริษัทนนทศักดิ์ (T8A238) รัษฎา เมืองภูเก็ต ระบบหาดหาดเขาสิเหร่ (T8A239) ระบบหาดสะปำ (T8A240) เกาะแก้ว, รัษฎา, ศรีสุนทร, ป่าคลอก เมืองภูเก็ต, ถลาง ระบบหาดป่าคลอก (T8A241) ป่าคลอก ถลาง ระบบหาดอ่าวปอ (T8A242) ระบบหาดหาดแหลมยาง (T8A243) แหลมขาด-อ่าวนาง (T8B) ระบบหาดอ่าวกุ้ง (T8B244) ป่าคลอก, เทพกระษัตรี ระบบหาดอ่าวท่ามะพร้าว (T8B245) เทพกระษัตรี, ไม้ขาว ระบบหาดท่าฉัตรไชย (T8B246) ไม้ขาว (ที่มา: กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 2565) 3.16 แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (2563ก) ได้จำแนกแนวทางการป้องกันและแก้ไข ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลจังหวัดภูเก็ต โดยพิจารณาปัจจัยด้านต่าง ๆ ได้แก่ อัตราการกัดเซาะ ความเสี่ยง และศักยภาพพื้นที่ เพื่อกำหนดแนวทางที่เหมาะสม สามารถจำแนกออกเป็น 3 แนวทาง ประกอบด้วยแนวทางการปรับสมดุลชายฝั่งโดยธรรมชาติ 166.87 กิโลเมตร (คิดเป็นร้อยละ 82.27 ของระยะทางแนวชายฝั่งทะเลทั้งหมด) แนวทางการป้องกันปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง 24.43 กิโลเมตร (คิดเป็นร้อยละ 12.04 ของระยะทางแนวชายฝั่งทะเลทั้งหมด) และแนวทางการฟื้นฟูเสถียรภาพชายฝั่ง 11.53 กิโลเมตร (คิดเป็นร้อยละ 5.69 ของระยะทางแนวชายฝั่งทะเลทั้งหมด) (รูปที่ 3-31)


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 3-42 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รูปที่ 3-29 แผนที่ระบบหาดระวางที่ 4625 II (อำเภอถลาง) มาตราส่วน 1:50,000 (กรมทรัพยากร ทางทะเลและชายฝั่ง, 2564ค)


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 3-43 รูปที่ 3-30 แผนที่แสดงระบบหาดระวางที่ 4624 I (จังหวัดภูเก็ต) มาตราส่วน 1:50,000 (กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 2564ค)


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 3-44 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รูปที่ 3-31 แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล ระบบหาดบริเวณจังหวัด ระนอง จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดกระบี่ (กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 2563ก)


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 4-1 บทที่ 4 วิธีการศึกษา โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั ่งต่อการกัดเซาะ ชายฝั ่ง กรณีศึกษาพื้นที ่ชายฝั ่งจังหวัดภูเก็ตฝั ่งตะวันตกในครั้งนี้ แบ ่งขั้นตอนการศึกษาวิจัยเป็น 5 ขั้นตอนหลัก ประกอบด้วย การทบทวนเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การกำหนดขอบเขตพื้นที่ศึกษา การคัดเลือกตัวแปร การวิเคราะห์ข้อมูล และการอภิปรายผลและสรุปผลการศึกษา (รูปที ่ 4-1) รายละเอียด ดังนี้ 4.1 การทบทวนเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสาเหตุและผลกระทบของการกัดเซาะชายฝั่งทะเล ทฤษฎี และหลักการในการประเมินความเปราะบางชายฝั่งทะเลทั้งจากงานวิจัยในต่างประเทศและในประเทศ รวมถึงข้อมูลพื้นฐานของพื้นที่ศึกษา อาทิเช่น ที่ตั้ง ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะภูมิอากาศ ลักษณะ ธรณีวิทยา ธรณีสัณฐานวิทยา อุตุนิยมวิทยา อุทกวิทยา เศรษฐกิจสังคม นิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อม สถานภาพชายฝั่งทะเลและสถานการณ์การกัดเซาะชายฝั่งทะเลจังหวัดภูเก็ต 4.2 การกำหนดขอบเขตพื้นที่ศึกษา พื้นที ่ศึกษาในครั้งนี้ครอบคลุมพื้นที ่ชายฝั ่งทะเลจังหวัดภูเก็ตฝั ่งตะวันตก ระยะทาง ตามแนวชายฝั่งประมาณ 84.14 กิโลเมตร โดยอยู่ในพื้นที่ตำบลชายฝั่งทะเลจำนวน 7 ตำบล ได้แก่ ตำบลไม้ขาว ตำบลสาคู และตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง ตำบลกมลา และตำบลป่าตอง อำเภอกะทู้ ตำบลกะรน และตำบลราไวย์ อำเภอเมืองภูเก็ต โดยครอบคลุมพื้นที่ 23 ระบบหาด ตั้งแต่ระบบหาด หาดไม้ขาว (T7E203) ตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง จนถึงบริเวณแหลมพรหมเทพ ระบบหาดหาดยะนุ้ย (T7E225) ตำบลราไวย์ อำเภอเมืองภูเก็ต การกำหนดขอบเขตพื้นที่ศึกษาสามารถทำได้โดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์โปรแกรม ArcMap ในการสร้างขอบเขตพื้นที ่ (Polygon) โดยใช้คำสั ่งสร้างระยะกันชน (Buffer) กำหนด ระยะทางตั้งฉากกับแนวชายฝั่งทะเลเข้ามาในแผ่นดิน 500 เมตร จากนั้นจึงสร้างเส้นตั้งฉากสมมติ ทุก ๆ ระยะ 50 เมตร ในการแบ่งพื้นที่ย่อยเพื่อใช้สำหรับจัดการฐานข้อมูลตัวแปรในระบบสารสนเทศ ภูมิศาสตร์โดยมีพื้นที่ศึกษารวมทั้งหมดประมาณ 37.26 ตารางกิโลเมตร แบ่งเป็นพื้นที่ตำบลไม้ขาว ประมาณ 5.32 ตารางกิโลเมตร ตำบลสาคู ประมาณ 4.80 ตารางกิโลเมตร ตำบลเชิงทะเล ประมาณ


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 4-2 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รูปที่ รูปที่ 4 4-1 -1แผนภูมิแสดงวิธีการศึกษาการประเมินความเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง บริเวณชายฝั่งทะเลจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 4-3 6.87 ตารางกิโลเมตร ตำบลกมลา ประมาณ 4.95 ตารางกิโลเมตร ตำบลป ่าตอง ประมาณ 5.67 ตารางกิโลเมตร ตำบลกะรน ประมาณ 7.60 ตารางกิโลเมตร และตำบลราไวย์ ประมาณ 2.06 ตาราง กิโลเมตร (ตารางที่ 4-1 และรูปที่ 4-2) ตารางที่ 4-1ระยะทางตามแนวชายฝั่งและขนาดพื้นที่ศึกษารายตำบล ตำบล อำเภอ ระยะทางตามแนวชายฝั่ง พื้นที่ศึกษา (กิโลเมตร) (ตารางกิโลเมตร) ไม้ขาว ถลาง 11.04 5.32 สาคู 9.71 4.80 เชิงทะเล 15.26 6.87 กมลา กะทู้ 12.09 4.95 ป่าตอง 13.84 5.67 กะรน เมืองภูเก็ต 17.67 7.60 ราไวย์ 4.53 2.06 รวม 84.14 37.26 4.3 การคัดเลือกตัวแปร การคัดเลือกตัวแปรในการศึกษาครั้งนี้ ได้มาจากการทบทวนวรรณกรรมจากงานศึกษา เกี่ยวกับการประเมินความเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งทะเลทั้งในและต่างประเทศ ร่วมกับฐานข้อมูล ปฐมภูมิและทุติยภูมิที่สามารถรวบรวมได้ในพื้นที่ศึกษา โดยได้แบ่งปัจจัยย่อยในการศึกษาออกเป็น 3 ปัจจัยย ่อย ได้แก่ ปัจจัยย ่อยด้านลักษณะกายภาพ ปัจจัยย ่อยด้านการเปิดรับสภาพภูมิอากาศ ปัจจัยย่อยด้านเศรษฐกิจสังคม (ตารางที่ 4-2) รายละเอียด ดังนี้ 4.3.1 ปัจจัยย่อยด้านลักษณะกายภาพ ปัจจัยย่อยด้านลักษณะกายภาพ หมายถึง สภาพทางกายภาพของชายฝั่งซึ่งเกี่ยวข้องกับ ความยืดหยุ่นหรือความไว (Susceptibility) ต่อการกัดเซาะชายฝั่ง ประกอบด้วย อัตราการเปลี่ยนแปลง แนวชายฝั่งทะเล ความลาดชันชายฝั่ง ความกว้างของหาด ธรณีสัณฐานชายฝั่งทะเล พื้นที่แนวปะการัง พื้นที่ป่าชายเลน และแหล่งหญ้าทะเล 4.3.2 ปัจจัยย่อยด้านการเปิดรับสภาพภูมิอากาศ ปัจจัยย่อยด้านการเปิดรับสภาพภูมิอากาศ หมายถึง ปัจจัยที่ควบคุมชายฝั่งซึ่งเป็นปัจจัย อันเนื่องมาจากสภาพภูมิอากาศ ประกอบด้วย ความสูงคลื่นนัยสำคัญเฉลี่ย พิสัยระดับน้ำขึ้น-น้ำลง เฉลี่ย และการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 4-4 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รูปที่ 4-2 การกำหนดขอบเขตพื้นที่ศึกษาโครงการศึกษาและประเมินความเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่ง ต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 4-5 ตารางที่ 4-2ตัวแปรในการวิเคราะห์ความเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง ตัวแปร หน่วย แหล่งข้อมูล อัตราการเปลี่ยนแปลง แนวชายฝั่งทะเล เมตร/ปี การวิเคราะห์ภาพถ่ายทางอากาศและภาพถ่าย ดาวเทียม (ปี 2510 – 2565) ด้วยซอฟท์แวร์ Digital Shoreline Analysis (DSAS) ความลาดชันชายฝั่ง ร้อยละ การสำรวจ RTK และ UAV ในปี 2565 ความกว้างของหาด เมตร การสำรวจ RTK และ UAV ในปี 2565 ธรณีสัณฐานชายฝั่งทะเล - สิน สินสกุล และคณะ (2546) พื้นที่แนวปะการัง - ฐานข้อมูลทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ปี 2562 พื้นที่ป่าชายเลน - ฐานข้อมูลทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ปี 2562 แหล่งหญ้าทะเล - ฐานข้อมูลทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ปี 2564 ความสูงคลื่นนัยสำคัญเฉลี่ย เมตร แบบจำลอง MASNUM-WAM model (ปี 2559 – 2564) โดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พิสัยระดับน้ำขึ้น-น้ำลงเฉลี่ย เมตร ข้อมูลระดับน้ำจากสถานีเกาะตะเภาน้อย (ปี 2528 - 2564) และสถานีอ่าวปอ (ปี 2549 – 2562) การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล มม./ปี ฐานข้อมูลระดับน้ำรายเดือนของสถานี เกาะตะเภาน้อย (ปี 2483 - 2564) จาก https://psmsl.org ความหนาแน่นประชากร คน/ตร.กม. จำนวนประชากรจังหวัดภูเก็ต ปี 2564 จากฐานข้อมูลของกรมการปกครอง การใช้ประโยชน์ที่ดิน - ข้อมูลสภาพการใช้ที่ดิน จังหวัดภูเก็ต ปี 2563 จากกรมพัฒนาที่ดิน (2563) โครงสร้างป้องกันการกัดเซาะ ชายฝั่ง - ฐานข้อมูลสถานภาพชายฝั่งทะเล ปี 2564 และการสำรวจ RTK และ UAV ในปี 2565 อัตราส่วนสิ่งปลูกสร้าง และพื้นที่เมือง (ร้อยละ) ข้อมูลสภาพการใช้ที่ดิน จังหวัดภูเก็ต ปี 2563 จากกรมพัฒนาที่ดิน (2563) โครงสร้างพื้นฐาน - ฐานข้อมูลโครงสร้างพื้นฐาน จังหวัดภูเก็ต ปี 2563 จากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (2563) หมายเหตุ 1. RTK คือ การสำรวจรังวัดโดยระบบโครงข่ายการรังวัดด้วยดาวเทียมแบบจลน์ 2. UAV คือ การสำรวจภาพถ่ายทางอากาศด้วยอากาศยานไร้คนขับ


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 4-6 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 4.3.3 ปัจจัยย่อยด้านเศรษฐกิจสังคม ปัจจัยย่อยด้านเศรษฐกิจสังคม หมายถึง ชุดตัวแปรที่แสดงถึงกิจกรรมทางสังคม เศรษฐกิจ หรือกิจกรรมของมนุษย์ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เสี่ยงต่อการกัดเซาะชายฝั่ง ซึ่งอาจได้รับผลกระทบในทางลบ จากการกัดเซาะชายฝั่ง ประกอบด้วย ความหนาแน่นประชากร การใช้ประโยชน์ที่ดิน โครงสร้างป้องกัน การกัดเซาะชายฝั่ง อัตราส่วนสิ่งปลูกสร้างและพื้นที่เมือง และโครงสร้างพื้นฐาน 4.4 การวิเคราะห์ข้อมูล 4.4.1 การให้ค่าถ่วงน้ำหนักตัวแปร การให้ค่าถ่วงน้ำหนักตัวแปรทำได้โดยการวิเคราะห์ทางเลือกแบบหลายปัจจัย (Multicriteria analysis; MCA) ซึ่งเป็นหลักการประกอบการตัดสินใจ โดยพิจารณาจากตัวแปรที่มีความสำคัญ ต่อเรื่องที่กำลังสนใจ สามารถใช้วิธีการเปรียบเทียบแต่ละปัจจัยในรูปแบบการถ่วงน้ำหนัก เพื่อขจัด ความเบี่ยงเบนในการตัดสินใจ โดยการให้ค่าน้ำหนักตัวแปร มีวิธีการดำเนินงาน ดังนี้ (1) นำตัวแปรที ่ได้รับคัดเลือกมาออกแบบแบบสอบถามสำรวจความคิดเห็น (ภาคผนวก ก) และกำหนดกลุ ่มเป้าหมายในการสำรวจแบบสอบถาม จำนวนรวมทั้งหมด 15 คน โดยคัดเลือกจากผู้ที ่มีส ่วนเกี ่ยวข้องที ่มีความเชี่ยวชาญในด้านธรณีวิทยาชายฝั ่ง วิศวกรรมชายฝั่ง สมุทรศาสตร์ หรือการบริหารจัดการพื้นที่ชายฝั่ง ได้แก่ นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ จำนวน 5 คน และเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐ เช่น กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมทรัพยากรธรณี กรมเจ้าท่า เป็นต้น จำนวน 10 คน (2) ให้ค ่าคะแนนตัวแปร โดยนำคำตอบที ่ได้จากการสำรวจความคิดเห็นด้วย แบบสอบถามมาให้ค ่าคะแนนและจัดลำดับความสำคัญของตัวแปรโดยใช้การเปรียบเทียบโดยตรง ระหว่างตัวแปรแต่ละตัวในแต่ละปัจจัยย่อย มีหลักเกณฑ์ในการเปรียบเทียบ ดังนี้ • ถ้าตัวแปรในแนวนอนมีความสำคัญมากกว่าตัวแปรในแนวตั้ง กำหนดให้ ค่าคะแนนเปรียบเทียบของตัวแปรนั้นเท่ากับ 3 • ถ้าตัวแปรในแนวนอนมีความสำคัญเท ่ากับตัวแปรในแนวตั้ง กำหนดให้ ค่าคะแนนเปรียบเทียบเท่ากับ 2 • ถ้าตัวแปรในแนวนอนมีความสำคัญน้อยกว ่าตัวแปรในแนวตั้ง กำหนดให้ ค่าคะแนนเปรียบเทียบเท่ากับ 1 • ถ้าตัวแปรในแนวนอนและแนวตั้งเป็นตัวแปรเดียวกัน จะไม่สามารถ เปรียบเทียบกันได้ จึงกำหนดให้ค่าคะแนนเท่ากับ 0 (3) นำค่าคะแนนของตัวแปรที ่ได้ไปคำนวณค่าถ่วงน้ำหนักโดยใช้สมการที ่ 4-1 และหาค่าเฉลี่ยของค่าถ่วงน้ำหนักที่ได้


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 4-7 ค่าถ่วงน้ำหนัก = ค่าคะแนนของตัวแปร (4-1) ผลรวมของค่าคะแนนตัวแปรแต่ละปัจจัย 4.4.2 การจัดระดับความเปราะบางและจัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ การศึกษาในครั้งนี้ได้รวบรวมข้อมูลตัวแปรต่าง ๆ จากการสำรวจในภาคสนาม ร่วมกับ ข้อมูลทุติยภูมิจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จากนั้นจึงนำข้อมูลดังกล่าวมาจัดระดับ ความเปราะบาง โดยพิจารณาให้มีความสอดคล้องเหมาะสมกับลักษณะของชายฝั ่งในพื้นที ่ศึกษา และจัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์โดยใช้โปรแกรมสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อใช้เป็นข้อมูล นำเข้าในการประเมินความเปราะบางชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง รายละเอียด ดังนี้ 4.4.2.1 ปัจจัยย่อยด้านลักษณะกายภาพ (1) อัตราการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งทะเล พื้นที่ชายฝั่งทะเลเป็นพื้นที่ที่มีลักษณะเป็นพลวัตร มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ และแตกต ่างกันไปในแต ่ละพื้นที ่และฤดูกาล (กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั ่ง, 2561ก) การเปลี ่ยนแปลงแนวชายฝั ่งทะเลสัมพันธ์กับกระบวนการพัดพาตะกอนชายฝั ่ง ซึ ่งขึ้นอยู ่กับ กระบวนการชายฝั ่งทะเล ลักษณะธรณีสัณฐานชายฝั ่งทะเล ชนิดตะกอนชายฝั ่ง รวมถึงการใช้ ประโยชน์ที่ดิน โดยการเพิ่มขึ้นหรือสูญเสียมวลตะกอนชายฝั่งย่อมส่งผลต่อตำแหน่งแนวชายฝั่งทะเล (สราวุธ สังงาม, 2560) ดังนั้น การศึกษาการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งทะเล จึงมีความสำคัญอย่างมาก สำหรับการประเมินความเปราะบางต่อการกัดเซาะชายฝั่งทะเล เนื่องจากเป็นตัวแปรที่แสดงให้เห็นถึง วิวัฒนาการของตำแหน ่งแนวชายฝั ่งทะเลในช ่วงเวลาที ่ต้องการศึกษาและแนวโน้มความเสี ่ยง ต่อการสูญเสียที่ดินในอนาคต การวิเคราะห์อัตราการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งทะเลในครั้งนี้ ดำเนินการโดยใช้ โปรแกรม ArcMap สามารถทำได้โดยการวิเคราะห์แนวเส้นชายฝั ่งทะเลจากการแปรความหมาย ภาพถ่ายทางอากาศตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 – 2545 และภาพถ่ายดาวเทียมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 – 2565 รวมระยะเวลา 55 ปี (ตารางที่ 4-3) และนำผลการวิเคราะห์แนวเส้นชายฝั่งทะเลที่ได้ไปวิเคราะห์อัตรา การเปลี ่ยนแปลงแนวชายฝั ่งทะเลด้วยซอฟท์แวร์ Digital Shoreline Analysis System (DSAS) ซึ ่งเป็นส ่วนเสริม (Extension) ของโปรแกรม ArcGIS ที ่ถูกคิดค้นและพัฒนาโดยสำนักงานสำรวจ ธรณีวิทยาแห ่งสหรัฐอเมริกา (United States Geological Survey: USGS) ซึ ่งซอฟท์แวร์ดังกล ่าว สามารถพยากรณ์และคำนวณค่าสถิติการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งทะเลจากตำแหน่งชายฝั่งในอดีตได้ (Woods Hole Coastal and Marine Science Center, 2022) โดยองค์ประกอบหลักของซอฟท์แวร์ DSAS แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ การกำหนดเส้นฐานสมมติ(Baseline) การกำหนดเส้นตั้งฉากสมมติ (Transect line) และการคำนวณอัตราการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งทะเลโดยใช้แบบจำลองหรือวิธีการ


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 4-8 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ทางสถิติต ่าง ๆ เช ่น ระยะทางระหว ่างแนวชายฝั ่งเส้นในสุดกับเส้นนอกสุด (Shoreline Change Envelope: SCE) การเคลื่อนที่ของแนวชายฝั่งสุทธิ (Net Shoreline Movement: NSM) การวิเคราะห์ สมการถดถอยเชิงเส้น (Linear Regression Rate: LRR) และอัตราการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งทะเล (End Point Rate : EPR) เป็นต้น นอกจากนี้ ยังสามารถพยากรณ์การเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งทะเล ตามแนวเส้นตั้งฉากสมมติแต ่ละแนวในระยะเวลา 10 หรือ 20 ปีข้างหน้าได้อีกด้วย (Woods Hole Coastal and Marine Science Center, 2022; Isha & Adib, 2020; Baig et al., 2020; เอกรักษ์ใฝ่บุญ และวุฒิพงษ์แสงมณี, 2562) (รูปที่ 4-3) ตารางที่ 4-3 ภาพถ่ายทางอากาศและภาพถ่ายดาวเทียมที่ใช้ในการวิเคราะห์อัตราการเปลี่ยนแปลง แนวชายฝั่งทะเล ข้อมูล ปี มาตราส่วน/รายละเอียดจุดภาพ แหล่งข้อมูล ภาพถ่ายทางอากาศ 2510 1:50,000 สป.ทส.1 ภาพถ่ายทางอากาศ 2538 1:50,000 สป.ทส.1 ภาพถ่ายทางอากาศ 2542 1:50,000 สป.ทส.1 ภาพถ่ายทางอากาศ 2545 1:25,000 สป.ทส.1 ภาพถ่ายดาวเทียมไทยโชต 2563 2 เมตร GISTDA2 ภาพถ่ายดาวเทียมไทยโชต 2565 2 เมตร GISTDA2 1 สำนักปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ ่งแวดล้อม, 2 สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ และภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) รูปที่ 4-3 การวิเคราะห์การเปลี่ยนเปลงแนวชายฝั่งทะเลโดยซอฟท์แวร์ DSAS (Woods Hole Coastal and Marine Science Center, 2022)


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 4-9 การลากเส้น (Digitize) แนวชายฝั ่งทะเลจากการแปลความหมายภาพถ ่าย ทางอากาศและภาพถ ่ายดาวเทียมใช้เกณฑ์การพิจารณาแนวชายฝั ่งทะเลจากแนวพืชพรรณถาวร (Permanent vegetation line) ที่กำหนดโดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (2565) ยกตัวอย่าง เช่น ในพื้นที่หาดทราย จะทำการลากเส้นแนวชายฝั่งทะเลตามแนวสันหาดที่แสดงถึงจุดสูงสุดที่ได้รับ อิทธิพลจากน้ำทะเลในรอบปีหรือแนวพืชพรรณและจ ุดกึ ่งกลางเรือนยอดของต้นไม้ใหญ่ หรือแนวกึ่งกลางพุ่มของพุ่มไม้พื้นที่ป่าชายเลนใช้แนวขอบนอกสุดของป่าชายเลนและจุดกึ่งกลางเรือน ยอดไม้ บริเวณหาดหินใช้แนวน้ำขึ้นสูงสุด ส ่วนพื้นที ่ที่มีโครงสร้างทางวิศวกรรมริมชายฝั ่งทะเล ประกอบด้วย เขื ่อนหินป้องกันริมชายฝั ่ง (Revetment) และกำแพงป้องกันคลื ่นริมชายหาด (Seawall) ให้ถือแนวนอกสุดของโครงสร้างเป็นเส้นแนวชายฝั่งทะเล เป็นต้น โดยเส้นแนวชายฝั่งทะเล ที่ได้จะใช้เป็นฐานข้อมูลนำเข้า (Input data) สำหรับการวิเคราะห์อัตราการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่ง ทะเลโดยซอฟท์แวร์ DSAS เพื่อสร้างเส้นตั้งฉากสมมติ สำหรับการศึกษาในครั้งนี้กำหนดให้ซอฟท์แวร์ DSAS สร้างเส้นตั้งฉากสมมติ กับเส้นแนวชายฝั่งทุก ๆ ระยะ 50 เมตร จำนวน 1,262 แนว และมีระยะทางยาวออกไปจากเส้นฐาน สมมติประมาณ 1,500 เมตร โดยเส้นตั้งฉากเส้นแรกเริ่มจากจุดเริ่มต้นของเส้นฐานสมมติซึ่งทำมุม ตั้งฉากกับเส้นฐานสมมติและตัดผ ่านเส้นแนวชายฝั่ง ค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลง แนวชายฝั่งทะเล คือ อัตราการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งทะเล (End Point Rate : EPR) ซึ่งได้มาจาก การคำนวณอัตราส่วนการเคลื่อนที่ของแนวชายฝั่งสุทธิ (Net Shoreline Movement: NSM) เทียบกับ ระยะเวลาจากปีที่เก่าที่สุดกับปีล่าสุด ตามแนวของเส้นตั้งฉากสมมติแต่ละแนว (รูปที่ 4-4 และ 4-5) การจำแนกระดับความเปราะบางของอัตราการเปลี ่ยนแปลงแนวชายฝั ่งทะเล สามารถประยุกต์ได้จากการจำแนกอัตราการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งทะเลตามเกณฑ์ของสิน สินสกุล และคณะ (2546) และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (2565) โดยแบ่งออกเป็น 5 ระดับ ได้แก่ ชายฝั่งทะเลที่มีการสะสมตัวมาก อัตราการสะสมตัวมากกว่า 5 เมตร/ปี ชายฝั่งทะเลที่มีการสะสมตัวน้อย อัตราการสะสมตัว 1 - 5 เมตร/ปี ชายฝั่งคงสภาพ มีอัตราการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่ง ±1 เมตร/ปี ชายฝั ่งทะเลที ่มีการกัดเซาะปานกลาง อัตราการกัดเซาะ 1 - 5 เมตร/ปี และชายฝั ่งทะเลที ่มี การกัดเซาะรุนแรง มีอัตราการกัดเซาะมากกว่า 5 เมตร/ปีดังนั้น การจำแนกระดับความเปราะบาง ของอัตราการเปลี ่ยนแปลงแนวชายฝั ่งทะเลในครั้งนี้สามารถจำแนกเป็น 5 ระดับดังเกณฑ์ข้างต้น โดยกำหนดให้ค่าคะแนนแทนด้วยตัวเลข 1 – 5 รายละเอียดดังตารางที่ 4-4


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 4-10 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รูปที่ 4-4 การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งทะเลด้วยซอฟท์แวร์ DSAS ซึ่งประกอบด้วยเส้นฐาน (สีดำ) เส้นตั้งฉากสมมติ(สีเทา) และเส้นแนวชายฝั่งและจุดตัดแต่ละปีที่ผ่านเส้นตั้งฉากสมมติ (สีต ่าง ๆ) เพื ่อแสดงความสัมพันธ์ระหว ่างอัตราการเปลี ่ยนแปลงแนวชายฝั ่งทะเล ได้แก่ การเคลื่อนที่ของแนวชายฝั่งสุทธิ (NSM) และอัตราการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งทะเล (EPR) (Himmelstoss et al., 2018) รูปที่ 4-5 ตัวอย่างการวิเคราะห์อัตราการเปลี ่ยนแปลงแนวชายฝั่งทะเลบริเวณหาดไม้ขาว จังหวัด ภูเก็ต โดยซอฟท์แวร์ DSAS


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 4-11 ตารางที่ 4-4การจัดระดับความเปราะบางของอัตราการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งทะเล อัตราการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งทะเล (เมตร/ปี) ระดับความเปราะบาง ค่าคะแนน สะสมมาก (มากกว่า +5 เมตร/ปี) ต่ำมาก 1 สะสมน้อย (+1 ถึง +5 เมตร/ปี) ต่ำ 2 คงสภาพ (±1 เมตร/ปี) ปานกลาง 3 กัดเซาะปานกลาง (-1 ถึง -5 เมตร/ปี) สูง 4 กัดเซาะรุนแรง (มากกว่า -5 เมตร/ปี) สูงมาก 5 (2) ความลาดชันชายฝั่ง ความลาดชันชายฝั่งสัมพันธ์กับการรุกท่วมของน้ำทะเลและความรวดเร็วที่อาจจะ เกิดขึ้นจากการกัดเซาะชายฝั่ง เนื่องจากพื้นที่ชายฝั่งที่มีความลาดชันต่ำ น้ำทะเลมักจะสามารถรุกท่วม และเกิดการกัดเซาะได้ง่ายกว่าพื้นที่ที่มีความลาดชันสูงกว่า (Gornitz, 1991; Hammar-Klose et al., 2003) ดังนั้น จึงสามารถสรุปได้ว่า บริเวณที่มีความลาดชันชายฝั่งต่ำ มีความเปราะบางต่อการกัดเซาะ ชายฝั่งได้มากกว่าบริเวณที่มีความลาดชันสูงกว่า การศึกษาในครั้งนี้ กำหนดให้ความลาดชันชายฝั่ง คือ ความเอียงเทของพื้นที่ ตั้งแต่แนวชายฝั่งทะเลไปจนถึงแนวระดับทะเลปานกลาง (ชุติมา บุญฤทธิ์ศรีพงษ์ และคณะ, 2565ข) โดยเป็นข้อมูลจากการวิเคราะห์ภาพตัดขวางชายหาด (Beach profile) ซึ่งเป็นการวัดลักษณะรูปร่าง ของภูมิประเทศในแนวทิศทางตั้งฉากกับชายฝั ่งทะเล และแสดงลักษณะเฉพาะของชายฝั ่งทะเล ในแต่ละบริเวณ สามารถนำไปเป็นฐานข้อมูลในการวิเคราะห์แนวโน้มการเคลื่อนที่ของตะกอนชายหาด และติดตามการเปลี ่ยนแปลงลักษณะชายฝั ่งทะเลในอนาคตได้(สุเมธ พันธุวงศ์ราช, 2560) การสำรวจภาพตัดขวางชายหาดในการศึกษาครั้งนี้ ดำเนินการเก็บข้อมูลโดยการสำรวจรังวัด โดยระบบโครงข ่ายการรังวัดด้วยดาวเทียมแบบจลน์ (Real Time Kinematics with Global Navigation Satellite System Network: RTK GNSS Network) และการสำรวจภาพถ่ายทางอากาศ ด้วยอากาศยานไร้คนขับ (Unmanned Aerial Vehicle: UAV) รายละเอียด ดังนี้ • การสำรวจรังวัดโดยระบบโครงข่ายการรังวัดด้วยดาวเทียมแบบจลน์ โดยดำเนินการเก็บข้อมูลจำนวน 2 ช่วงเวลา ได้แก่ เดือนธันวาคม 2564 - มีนาคม 2565 เป็นตัวแทน ข้อมูลในช่วงฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 1 ครั้ง และเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2565 เป็นตัวแทนข้อมูลในช ่วงฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จำนวน 1 ครั้ง การสำรวจในครั้งนี้ใช้เครื่องรับ สัญญาณดาวเทียมชนิดสองความถี ่ รุ ่น CHC I90Pro ซึ ่งมีค ่าความแม ่นยำในการวางตำแหน่ง ในแนวราบ (Horizontal positioning precision) ประมาณ ±8 mm + 1 ppm และค่าความแม่นยำ


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 4-12 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ในการวางตำแหน ่งในแนวดิ ่ง (Vertical positioning precision) ประมาณ ±15 mm +1 ppm (รูปที ่ 4-6) ดำเนินการสำรวจโดยใช้เครื ่องรับสัญญาณดาวเทียม (สถานีเคลื่อนที ่) วางในตำแหน่ง ที่ต้องการทราบค ่าพิกัดในแต่ละจุดประมาณ 3 – 5 วินาทีจากนั้นจึงบันทึกค่าพิกัดทั้งในแนวราบ และค ่าระดับความสูงจากระดับทะเลปานกลาง (ค ่า x, y และ z) ในระบบพิกัดกริดแบบยูทีเอ็ม (Universal Transverse Mercator; UTM) โดยกำหนดแนวสำรวจในพื้นที ่หาดทรายทั้งหมด 278 แนวสำรวจ ระยะห่างแต่ละแนวสำรวจประมาณ 100 – 200 เมตร การสำรวจดำเนินการในช่วงเวลา น้ำลง (Low tide) เพื่อให้สามารถเก็บข้อมูลได้มากที่สุด โดยทำการบันทึกข้อมูลแต่ละจุดในแนวตั้งฉาก กับชายฝั่งทะเล จุดที่เริ่มทำการสำรวจอยู่บริเวณหลังแนวชายฝั่ง ซึ่งเป็นจุดที่มีความมั่นคงแข็งแรง และไม่มีการเคลื่อนย้าย เช่น ไม้ยืนต้น เสาปูน สิ่งปลูกสร้างที่มีความมั่นคง หรือเส้นถนนที่มีการทำ สัญลักษณ์ไว้ เป็นต้น จากนั้นจึงทำการเดินสำรวจในแนวตั้งฉากกับชายฝั่งลงไปในทะเล โดยกำหนด ระยะห่างระหว่างจุดสำรวจในแต่ละแนวประมาณ 2 - 3 เมตร หรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงความลาดชัน ชายฝั่งอย่างชัดเจน เช่น แนวชานหาด แนวหน้าผาชายหาดขนาดเล็ก ร่องน้ำ แนวสันทรายใต้น้ำ เป็นต้น ทั้งนี้ ขึ้นอยู ่กับลักษณะภูมิประเทศตามแนวสำรวจ และหยุดบันทึกข้อมูลในแต ่ละแนวเมื ่อผู้สำรวจ ไม่สามารถเดินสำรวจต่อไปได้ (รูปที่ 4-7 และ 4-8) รูปที่ 4-6 เครื่องรับสัญญาณดาวเทียมชนิดสองความถี่ รุ่น CHC I90Pro


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 4-13 รูปที่ 4-7 การสำรวจข้อมูลภาพตัดขวางชายหาดโดยการสำรวจรังวัดโดยระบบโครงข่ายการรังวัด ด้วยดาวเทียมแบบจลน์ • การสำรวจภาพถ่ายทางอากาศด้วยอากาศยานไร้คนขับ (Unmanned Aerial Vehicle: UAV) การสำรวจในครั้งนี้ดำเนินการโดยใช้อากาศยานไร้คนขับรุ ่น Matric 300 RTK โดยดำเนินการสำรวจในช ่วงเดือนเมษายน 2565 ครอบคลุมระยะทางการบินรวมประมาณ 57.44 กิโลเมตร โดยมีความกว้างของเส้นแนวบินตามแนวชายฝั่งเข้าไปในแผ่นดินประมาณ 100 เมตร และออกไปในทะเลประมาณ 100 เมตร หรือตามระยะทางที่สามารถทำการบินได้(ยกเว้นพื้นที่ห้ามบิน หรือพื้นที ่ที ่ไม ่ได้รับการอนุญาตจากเจ้าของพื้นที่) ระดับสูงสุดของการบินประมาณ 150 เมตร เหนือระดับพื้นดิน กำหนดส่วนซ้อนทับระหว่างภาพร้อยละ 75 – 80 และส่วนซ้อนทับระหว่างแนวบิน ร้อยละ 50 – 80 ส ่วนค ่าความละเอียดของจุดภาพบนพื้นดินที ่ได้จากการบิน (Ground Sampling Distance: GSD) ประมาณ 5 เซนติเมตรต ่อพิกเซล (รูปที ่ 4-9) ข้อมูลที ่ได้จากการสำรวจภาพถ ่าย ทางอากาศด้วยอากาศยานไร้คนขับสามารถนำไปวิเคราะห์ข้อมูลความสูงเชิงเลข (Digital Elevation Model: DEM) เส้นชั้นความสูง (Contour) และความลาดชันชายฝั ่ง เพื ่อใช้สำหรับเป็นฐานข้อมูล ในพื้นที ่หาดหินหรือพื้นที ่เอกชนที ่ไม ่สามารถเข้าไปสำรวจรังวัดโดยระบบโครงข ่ายการรังวัด ด้วยดาวเทียมแบบจลน์ได้


Click to View FlipBook Version