The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

QR รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการวิจัยศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by All about your Desing, 2023-05-01 05:58:34

QR รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการวิจัยศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง

QR รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการวิจัยศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง

โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 4-14 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รูปที่ 4-8 ตำแหน่งแนวสำรวจภาพตัดขวางชายหาดโดยการสำรวจรังวัดโดยระบบโครงข่ายการรังวัด ด้วยดาวเทียมแบบจลน์


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 4-15 รูปที่ 4-9 การสำรวจภาพถ่ายทางอากาศด้วยอากาศยานไร้คนขับความละเอียดสูง


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 4-16 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง การวิเคราะห์ข้อมูลภาพตัดขวางชายหาดสามารถทำได้โดยอาศัยโปรแกรม ArcMap ร ่วมกับ Microsoft Excel ให้แสดงผลในรูปแบบกราฟเส้น (Line chart) ซึ่งเป็นภาพหน้า ตัดขวางของชายหาดในแนวตั้งฉากกับชายฝั่ง โดยใช้ระดับทะเลปานกลางเป็นแนวอ้างอิง เนื่องจาก ค่าระดับความสูงที่บันทึกได้จากเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมเป็นค่าความสูงจากระดับทะเลปานกลาง โดยข้อมูลที่วิเคราะห์ได้จากภาพตัดขวางชายหาด ประกอบด้วยข้อมูล ดังนี้ • ความสูงชายฝั่งทะเล (Coastal height: CH) คือ ความสูงของแนวชายฝั่ง ทะเลจากระดับทะเลปานกลาง • ความกว้างของหาด (Beach width: BW) คือ ความกว้างของพื้นทราย ตั้งแต่แนวชายฝั่งทะเลลงไปจนถึงแนวระดับทะเลปานกลาง • ความลาดชันชายฝั่ง (Coastal slope: CS ) คือ ความเอียงเทของพื้นที่ ตั้งแต ่แนวชายฝั่งทะเลไปจนถึงแนวระดับทะเลปานกลาง โดยคำนวณได้จากร้อยละของระยะทาง แนวดิ่งหรือค่าความสูงของชายฝั่งทะเลต่อระยะทางแนวราบหรือค่าความกว้างของหาด ตามสมการที่ 4-2 (รูปที่ 4-10) ความลาดชันชายฝั่ง = ระยะทางแนวดิ่ง (เมตร) x 100 (4-2) (ร้อยละ) ระยะทางแนวราบ (เมตร) รูปที่ 4-10 การวิเคราะห์ข้อมูลภาพตัดขวางชายหาดวัดค่าความสูงของชายฝั่งทะเล (CH) ความกว้าง ของหาด (BW) และความลาดชันชายหาด (BS )โดยเส้นสีน้ำตาลแสดงพื้นผิวของหาด (ดัดแปลงจากสุเมธ พันธุวงค์ราช และคณะ, 2563; ชุติมา บุญฤทธิ์ศรีพงษ์ และคณะ, 2565ข) การจำแนกระดับความเปราะบางของค่าความลาดชันชายฝั่งในครั้งนี้ ประยุกต์ จากงานศึกษาของ Nidhinarangkoon & Ritphring (2019) สามารถจำแนกออกเป็น 5 ระดับ โดยพื้นที ่ที ่มีความลาดชันชายฝั ่งมากกว ่าร้อยละ 12 จะมีความเปราะบางต ่อการกัดเซาะชายฝั่ง ในระดับต่ำมาก (แทนด้วยค่าคะแนน 1) ส่วนพื้นที่ที่มีความลาดชันชายฝั่งน้อยกว่าร้อยละ 3 จะมีความ เปราะบางต่อการกัดเซาะชายฝั่งในระดับสูงมาก (แทนด้วยค่าคะแนน 5) รายละเอียดดังตารางที่ 4-5


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 4-17 ตารางที่ 4-5การจัดระดับความเปราะบางของความลาดชันชายฝั่ง ความลาดชันชายฝั่ง (ร้อยละ) ระดับความเปราะบาง ค่าคะแนน มากกว่า 12 ต่ำมาก 1 9-12 ต่ำ 2 6-9 ปานกลาง 3 3-6 สูง 4 น้อยกว่า 3 สูงมาก 5 (ที่มา: Nidhinarangkoon & Ritphring, 2019) (3) ความกว้างของหาด ชายหาดทำหน้าที ่เป็นแนวกันชน กระจายพลังงานคลื ่น และเป็นแหล่งกักเก็บ ตะกอนชั ่วคราวบริเวณชายฝั ่งในช ่วงที ่เกิดพายุ ชายหาดที่มีความกว้างของหาดมากกว ่าจะมี ความสามารถในการกระจายพลังงานคลื ่น และลดผลกระทบจากการกัดเซาะชายฝั ่งโดยคลื่น หรือคลื่นพายุซัดฝั่งได้ดีกว่าชายหาดที่แคบกว่า (Pantusa et al., 2018; Bagdanavičiute et al., 2019) การวิเคราะห์ความกว้างของหาดใช้การสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลภาพตัดขวาง ชายหาดเช่นเดียวกับข้อมูลความลาดชันชายฝั่งในหัวข้อ (2) ดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น โดยเป็นข้อมูล การวัดความกว้างของพื้นทรายตั้งแต่แนวชายฝั่งทะเลลงไปจนถึงแนวระดับทะเลปานกลาง ดังนั้น การจำแนกระดับความเปราะบางของความกว้างชายหาด สามารถจำแนกตามฐานข้อมูลที่สำรวจได้ใน พื้นที่ศึกษาออกเป็น 5 ระดับ แทนค่าคะแนนด้วยตัวเลข 1 – 5 โดยชายหาดที่มีความกว้างมากกว่า 100 เมตร จะมีระดับความเปราะบางต ่อการกัดเซาะในระดับต ่ำมาก ส ่วนชายหาดที ่มีความกว้าง น้อยกว่า 25 เมตร จะมีระดับความเปราะบางต่อการกัดเซาะในระดับสูงมาก รายละเอียดดังตารางที่ 4-6 ตารางที่ 4-6การจัดระดับความเปราะบางของความกว้างของหาด ความกว้างของหาด (เมตร) ระดับความเปราะบาง ระดับความเปราะบาง ค่าคะแนน มากกว่า 100 ต่ำมาก 1 75-100 ต่ำ 2 50-75 ปานกลาง 3 25-50 สูง 4 น้อยกว่า 25 สูงมาก 5


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 4-18 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (4) ธรณีสัณฐานชายฝั่งทะเล ธรณีสัณฐานชายฝั่งทะเลเป็นลักษณะรูปร่างของพื้นที่ที่อยู่ระหว่างทะเลกับแผ่นดิน โดยมีลักษณะแตกต ่างกันออกไปตามลักษณะทางธรณีวิทยาของเปลือกโลกที ่ประกอบเป็นชายฝั่ง และอิทธิพลจากการกระทำของคลื่น ลม น้ำขึ้นน้ำลง และกระแสน้ำในบริเวณนั้น (สิน สินสกุล และคณะ, 2546; สุวัจน์ ธัญรส, 2557) โดยลักษณะธรณีสัณฐานเป็นหนึ ่งในตัวแปรที ่มีผลต ่อความเปราะบาง ชายฝั่ง เนื่องจากมีความสัมพันธ์โดยตรงกับการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเล (Husnayaen et al., 2018) โดยทั่วไป ลักษณะธรณีสัณฐานที่มีความเปราะบางสูงจะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และไม่มีเสถียรภาพ ส ่วนใหญ ่จึงเป็นพื้นที่ราบที ่ถูกทับถมด้วยตะกอนไม ่แข็งตัว (Unconsolidated sediment) เช่น ที่ราบน้ำขึ้นถึง ปากแม่น้ำ ชะวากทะเล (Estuary) เป็นต้น ในทางตรงกันข้าม พื้นที่ ที่เป็นชายฝั่งหินหรือหน้าผา จะมีความเสี่ยงต่อการกัดเซาะชายฝั่งต่ำกว่า (Gornitz, 1991) การศึกษาในครั้งนี้ ได้มีการรวบรวมข้อมูลธรณีสัณฐานชายฝั่งทะเลบริเวณทะเล อันดามันโดยสิน สินสกุล และคณะ (2546) ซึ่งได้มีการศึกษาลักษณะธรณีสัณฐานชายฝั่งทะเลเฉพาะ ชายฝั่งที่เกิดการเปลี่ยนแปลงโดยกระบวนการชายฝั่งในสมัยโฮโลซีน (ประมาณ 10,000 ปี - ปัจจุบัน) ประกอบกับข้อมูลธรณีวิทยา เช ่น กระบวนการเกิดและโครงสร้างของหินและตะกอน เป็นต้น โดยพบว่าในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตมีลักษณะธรณีสัณฐานประกอบด้วย แผ่นดินและชายฝั่งหิน หาดทรายเดิม หาดทรายปัจจุบัน ที่ราบน้ำขึ้นถึง ที่ราบเหนือระดับน้ำขึ้นถึง ที่ราบใต้ระดับน้ำลง และพื้นที่แปรสภาพ (รูปที่ 4-11) นอกจากนี้ ยังมีการสำรวจข้อมูลในภาคสนามด้วยอากาศยานไร้คนขับเพื ่อเก็บข้อมูล สภาพชายฝั่งปัจจุบัน (รูปที่ 4-12) และเก็บตัวอย่างตะกอน จำนวน 41 ตัวอย่าง เพื่อนำไปวิเคราะห์ ขนาดคละเฉลี ่ยกึ ่งกลาง (D50) ด้วยการร ่อนผ ่านตะแกรงมาตรฐาน (Sieve analysis) (รูปที ่ 4-13 และ 4-14) เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความถูกต้องมากยิ่งขึ้น การจำแนกระดับความเปราะบางของลักษณะธรณีสัณฐานชายฝั่งทะเล สามารถ จำแนกตามลักษณะธรณีสัณฐานชายฝั ่งทะเลซึ ่งสัมพันธ์กับความต้านทานต ่อการกัดเซาะชายฝั่ง โดยดัดแปลงมาจากงานศึกษาของ Nidhinarangkoon & Ritphring (2019) สามารถแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก ่ ชายฝั ่งหินมีระดับความเปราะบางต ่ำมาก (ค ่าคะแนนเท ่ากับ 1) หาดทราย มีระดับ ความเปราะบางปานกลาง (ค่าคะแนนเท่ากับ 3) ส่วนที่ราบใต้ระดับน้ำลง ที่ราบเหนือระดับน้ำขึ้น ที่ราบน้ำขึ้นถึง และพื้นที่แปรสภาพ มีระดับความเปราะบางสูงมาก (ค่าคะแนนเท่ากับ 5) ตามลำดับ รายละเอียดดังตารางที่ 4-7


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 4-19 รูปที่ 4-11 ลักษณะธรณีสัณฐานชายฝั ่งบริเวณจังหวัดภูเก็ต (ดัดแปลงจากสิน สินสกุลและคณะ, 2546)


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 4-20 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รูปที่ 4-12 การสำรวจลักษณะธรณีสัณฐานชายฝั ่งด้วยการถ ่ายภาพมุมสูงโดยอาศัยอากาศยาน ไร้คนขับบริเวณหาดยะนุ้ย ตำบลราไวย์ อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต บันทึกภาพ เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2565 รูปที่ 4-13 การเก็บตัวอย่างตะกอนทรายชายหาดเพื่อนำไปวิเคราะห์ขนาดคละเฉลี่ยกึ่งกลาง บริเวณ หาดยะนุ้ย ตำบลราไวย์ อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต บันทึกภาพเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2565 หาดทราย ชายฝั่งหิน ชายฝั่งหิน


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 4-21 รูปที่ 4-14 ตำแหน่งการเก็บตะกอนทรายชายหาด


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 4-22 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ตารางที่ 4-7การจัดระดับความเปราะบางของธรณีสัณฐานชายฝั่งทะเล ธรณีสัณฐานชายฝั่งทะเล ระดับความเปราะบาง ค่าคะแนน ชายฝั่งหิน, หน้าผา, แผ่นดิน ต่ำมาก 1 หาดทราย ปานกลาง 3 ที่ราบใต้ระดับน้ำลง, ที่ราบเหนือระดับน้ำขึ้น, ที่ราบน้ำขึ้นถึง, ปากแม่น้ำ, พื้นที่แปรสภาพ สูงมาก 5 (5) พื้นที่แนวปะการัง แนวปะการังถือเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญต ่อระบบนิเวศทางทะเล บทบาทสำคัญของปะการังในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง คือ การกระจายและลดทอนพลังงานคลื่น และเป็นแหล ่งกำเนิดตะกอนทรายจากการสึกกร ่อนของโครงสร้างหินปูนของปะการังจากคลื่น ลม และสัตว์บางชนิด (Gracia et al., 2018; กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 2561ข) ซึ่งบทบาท ดังกล ่าวมีความเกี ่ยวข้องกับรูปร ่างและโครงสร้างของปะการังที ่ทำหน้าที ่เป็นแนวกันคลื ่นใต้น้ำ ตามธรรมชาติรวมถึงรูปทรงเรขาคณิตของแนวปะการัง เช่น ความพรุน พื้นผิว ความขรุขระ เป็นต้น ตลอดจนความลึกของระดับน้ำเหนือแนวปะการังและความยาวในทิศทางของการแพร่กระจายคลื่น (Hettiarachchi et al., 2013) (รูปที ่ 4-15) ดังนั้น ในพื้นที ่ชายฝั ่งทะเลที ่มีแนวปะการังปกคลุม จึงถือว่ามีความเสี่ยงต่อการกัดเซาะชายฝั่งน้อยกว่าพื้นที่ที่ไม่มีแนวปะการัง จากการสำรวจในปี 2564 พบว่า จังหวัดภูเก็ตมีพื้นที่แนวปะการังปกคลุมทั้งหมด ประมาณ 13,757 ไร่ (ประมาณ 22 ตารางกิโลเมตร) (กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 2564ก) กระจายตัวตามแนวชายฝั่งและเกาะต่าง ๆ รอบจังหวัดภูเก็ต โดยสามารถแยกพื้นที่แนวปะการังเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ แนวปะการังน้ำตื้นบริเวณชายฝั่ง และแนวปะการังตามเกาะต ่าง ๆ (กรมทรัพยากร ทางทะเลและชายฝั่ง, 2561ข) (รูปที่ 4-16) การจำแนกระดับความเปราะบางของพื้นที ่แนวปะการังในครั้งนี้ สามารถ วิเคราะห์ได้โดยการฉายภาพ (Projection) ขอบเขตพื้นที่แนวปะการังบริเวณแนวชายฝั่งทะเลเข้าไปใน แผ่นดิน โดยจำแนกระดับความเปราะบางออกเป็น 2 ระดับ ได้แก่ พื้นที่ที่มีแนวปะการังจะมีระดับ ความเปราะบางต่ำมาก (ค่าคะแนนเท่ากับ 1) และพื้นที่ที่ไม่มีแนวปะการัง จะมีระดับความเปราะบาง สูงมาก (ค่าคะแนนเท่ากับ 5) รายละเอียดดังตารางที่ 4-8


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 4-23 รูปที่ 4-15 การลดทอนพลังงานคลื ่นและการป้องกันการกัดเซาะชายฝั ่งจากแนวปะการังภายใต้ สถานการณ์การจัดการต่าง ๆ (ดัดแปลงจาก Gracia et al., 2018)


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 4-24 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รูปที่ 4-16 พื้นที่แนวปะการัง จังหวัดภูเก็ต (ดัดแปลงจากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 2564ก)


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 4-25 ตารางที่ 4-8การจัดระดับความเปราะบางของพื้นที่แนวปะการัง พื้นที่แนวปะการัง ระดับความเปราะบาง ค่าคะแนน มี ต่ำมาก 1 ไม่มี สูงมาก 5 (6) พื้นที่ป่าชายเลน ป ่าชายเลนเป็นระบบนิเวศที ่อยู ่ในแนวเชื ่อมต ่อระหว ่างแผ ่นดินกับน้ำทะเล ประกอบด้วยสังคมพืชและสัตว์หลากชนิด ดำรงชีวิตร่วมกันภายใต้สภาพแวดล้อมที่เป็นดินเลน น้ำกร่อย และมีน้ำทะเลท่วมถึงอย่างสม่ำเสมอ (กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 2561) ซึ่งมีบทบาทสำคัญ ในการช ่วยลดความเสี ่ยงต ่อการกัดเซาะชายฝั ่งโดยการช ่วยลดทอนพลังงานคลื ่น โดยเฉพาะในกรณี ที ่มีคลื ่นกำลังแรงและคลื ่นสึนามิ (Gracia et al., 2018) เนื ่องจากคุณลักษณะเฉพาะของป ่าชายเลน เช ่น โครงสร้างราก ความกว้าง และขนาดของต้นไม้ในป ่าชายเลน มีความสามารถในการลดพลังงาน ของคลื ่นที่เคลื ่อนที ่ผ ่านได้ โดยพบว ่าเมื ่อลมและคลื ่นผ ่านรากและกิ ่งก้านของป ่าชายเลน พลังงาน ที่สูญเสียไปอยู่ระหว่างร้อยละ 15 - 65 นอกจากนี้ ยังช่วยเพิ่มการสะสมตัวของตะกอน ลดการกัดเซาะ ของพื้นทะเลและการเคลื่อนตัวของตะกอนด้วย (Spalding et al., 2014) (รูปที่ 4-17) ดังนั้น ในพื้นที่ ชายฝั่งทะเลที่มีป่าชายเลนจึงถือว่ามีความเสี่ยงต่อการกัดเซาะชายฝั่งน้อยกว่าพื้นที่ที่ไม่มีป่าชายเลน รูปที่ 4-17 ปัจจัยที ่มีผลต ่อความสามารถในการลดทอนพลังงานของคลื ่นและการกัดเซาะชายฝั่ง ในป่าชายเลน (Gracia et al., 2018)


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 4-26 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จากการสำรวจข้อมูลในปี 2564 โดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (2564) พบว่า จังหวัดภูเก็ตมีพื้นที่ป่าชายเลนตามมติคณะรัฐมนตรีทั้งหมดประมาณ 21,155.12 ไร่ และมีพื้นที่ ป่าชายเลนคงสภาพประมาณ 13,446.40 ไร่ (หรือคิดเป็นประมาณร้อยละ 63.56 ของพื้นที่ป่าชายเลน ตามมติคณะรัฐมนตรี) โดยพบในท้องที่อำเภอถลาง และอำเภอเมืองภูเก็ต (รูปที่ 4-18) รูปที่ 4-18 พื้นที่ป่าชายเลนจังหวัดภูเก็ต (ดัดแปลงจากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 2564ก)


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 4-27 การจำแนกระดับความเปราะบางของพื้นที ่ป ่าชายเลน สามารถวิเคราะห์ได้ โดยการฉายภาพขอบเขตพื้นที่ป่าชายเลนบริเวณแนวชายฝั่งทะเลเข้าไปในแผ่นดิน โดยจำแนกออกเป็น 2 ระดับ ได้แก่ พื้นที่ที่มีป่าชายเลนจะมีระดับความเปราะบางต่ำมาก (ค่าคะแนนเท่ากับ 1) และพื้นที่ ที่ไม่มีป่าชายเลน จะมีระดับความเปราะบางสูงมาก (ค่าคะแนนเท่ากับ 5) รายละเอียดดังตารางที่ 4-9 ตารางที่ 4-9การจัดระดับความเปราะบางของพื้นที่ป่าชายเลน พื้นที่ป่าชายเลน ระดับความเปราะบาง ค่าคะแนน มี ต่ำมาก 1 ไม่มี สูงมาก 5 4.2.1.7แหล่งหญ้าทะเล หญ้าทะเลเป็นแหล่งทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศ เป็นอย่างมาก โดยแหล่งหญ้าทะเลมีบทบาทในการช่วยลดความรุนแรงของคลื่นและกระแสน้ำที่พัดพา เข้าสู่ฝั่ง ช่วยกระจายพลังงานคลื่น ทำให้อัตราการพังทลายของชายฝั่งลดลง ตลอดจนโครงสร้างที่มี ความซับซ้อนของแหล่งหญ้าทะเล ยังช่วยลดการฟุ้งกระจายของตะกอน และช่วยให้การตกตะกอน ของอินทรีย์วัตถุและตะกอนดินมีเสถียรภาพอีกด้วย (กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั ่ง, 2560; Gracia et al., 2018) โดยพบว่าประสิทธิภาพของแหล่งหญ้าทะเลในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ขึ้นอยู ่กับความหนาแน ่น ความสมบูรณ์ความแข็งเกร็งของพืช (Plant stiffness) และการไหล ของพลังงานที ่ตกกระทบ (Gracia et al., 2018) (รูปที ่ 4-19) ดังนั้น ในพื้นที ่ชายฝั ่งทะเลที ่มี แหล่งหญ้าทะเลปกคลุมจึงถือว่ามีความเสี่ยงต่อการกัดเซาะชายฝั่งน้อยกว่าพื้นที่ที่ไม่มีแหล่งหญ้าทะเล รูปที่ 4-19 กระบวนการทางกายภาพที่เกี่ยวข้องกับอิทธิพลของหญ้าทะเลต่อการลดทอนพลังงานคลื่น และลดการกัดเซาะชายฝั่ง (Gracia et al., 2018)


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 4-28 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จากการสำรวจของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั ่งในปี 2563 พบว่า แหล่งหญ้าทะเลของจังหวัดภูเก็ตครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 4,882.60 ไร่ กระจายตัวรอบเกาะภูเก็ต และเกาะต่าง ๆ ใน 12 พื้นที่ โดยพบมากที่สุดบริเวณอ่าวป่าคลอก อำเภอถลาง จำนวน 2,466.90 ไร่ (กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 2564ก) (รูปที่ 4-20) รูปที่ 4-20 แหล่งหญ้าทะเล จังหวัดภูเก็ต (ดัดแปลงจากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 2564ก)


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 4-29 การจำแนกระดับความเปราะบางของแหล่งหญ้าทะเลในครั้งนี้ สามารถวิเคราะห์ ได้เช ่นเดียวกับการวิเคราะห์พื้นที ่แนวปะการังและป ่าชายเลน โดยการฉายภาพขอบเขตแหล่ง หญ้าทะเลบริเวณแนวชายฝั่งทะเลเข้าไปในแผ่นดิน โดยจำแนกระดับความเปราะบางออกเป็น 2 ระดับ ได้แก่ พื้นที่ที่มีแหล่งหญ้าทะเลจะมีระดับความเปราะบางต่ำมาก (ค่าคะแนนเท่ากับ 1) และพื้นที่ที่ไม่มี แหล่งหญ้าทะเล จะมีระดับความเปราะบางสูงมาก (ค่าคะแนนเท่ากับ 5) รายละเอียดดังตารางที่ 4-10 ตารางที่ 4-10 การจัดระดับความเปราะบางของแหล่งหญ้าทะเล แหล่งหญ้าทะเล ระดับความเปราะบาง ค่าคะแนน มี ต่ำมาก 1 ไม่มี สูงมาก 5 4.4.2.2 ปัจจัยย่อยด้านการเปิดรับสภาพภูมิอากาศ (1) ความสูงคลื่นนัยสำคัญเฉลี่ย ความสูงคลื ่นนัยสำคัญเป็นความสูงคลื ่นเฉลี ่ยซึ่งวัดจากท้องคลื ่นถึงยอดคลื่น โดยคิดเป็นความสูงของหนึ ่งในสามของชุดคลื ่นที่มีความสูงมากที ่สุด (กรมอุตุนิยมวิทยา, ม.ป.ป.) โดยค ่าพลังงานคลื ่นมีความแปรผันตรงกับค ่าความสูงคลื ่นยกกำลังสอง และเป็นตัวแปรสำคัญ ที่มีบทบาทในการเคลื่อนย้ายและพัดพาตะกอนชายฝั่ง ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อกระบวนการกัดเซาะชายฝั่ง ทะเล (Gonitz, 1990; Hammer – Klose et al., 2003) ดังนั้น ความสามารถในการพัดพาตะกอน ชายฝั่งจึงมีความสัมพันธ์กับค่าความสูงของคลื่นด้วย โดยคลื่นที่มีความสูงมากกว่าย่อมมีพลังงานคลื่น และความสามารถในการพัดพาตะกอนชายฝั่งมากกว่า จึงสามารถสรุปได้ว่า ในพื้นที่ชายฝั่งที่มีความสูง คลื ่นนัยสำคัญมากกว ่าจะมีความเปราะบางชายฝั ่งต ่อการกัดเซาะชายฝั ่งสูงกว ่าพื้นที ่ที่มีความสูง คลื่นนัยสำคัญต่ำกว่า ค ่าความสูงคลื ่นนัยสำคัญเฉลี ่ยในการศึกษาครั้งนี้ ได้มาจากแบบจำลองคลื่น MASNUM-WAM (หรือแบบจำลอง LAGFD-WAM) โดยแบบจำลองดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของระบบ พยากรณ์ทางสม ุทรศาสตร์ (Ocean Forecasting System: OFS) ที ่ถูกพัฒนาภายใต้บันทึก ความเข้าใจระหว่างกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแห่งราชอาณาจักรไทย และทบวง กิจการทางมหาสมุทร แห ่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (State Oceanic Administration of China) ว่าด้วยความร่วมมือทางด้านทะเล (กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 2563ง) (รูปที่ 4-21)


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 4-30 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รูปที่ 4-21 ความสูงคลื่นนัยสำคัญจากแบบจำลอง MASNUM-WAM ในวันที่ 12 ธันวาคม 2565 (ระบบพยากรณ์ทางสมุทรศาสตร์, 2022 http://61.19.77.149/thailand/results.jsp) แบบจำลองคลื่น MASNUM-WAM ได้ถูกคิดค้นและเผยแพร่เป็นครั้งแรกในช่วงต้น ทศวรรษที่ 1990 โดยห้องปฏิบัติการ Laboratory of Geophysical Fluid Dynamics (LAGFD) First Institute of Oceanography (FIO) ต่อมาได้เปลี่ยนเป็น Key Lab of Marine Science and Numerical Modeling หรือ MASNUM ภายใต้ทบวงกิจการทางมหาสมุทรแห ่งสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยแบบจำลองดังกล ่าวเป็นแบบจำลองคลื ่นที ่ถูกพัฒนาเป็นรุ ่นที ่ 3 ซึ่งมีรูปแบบการจำลองคลื่น และการทำนายความลึกของมหาสมุทร และได้มีการปรับปรุงความสามารถในการจำลองระบบ ภูมิอากาศของโลก (Pan, 2017) สมการสมดุลสเปกตรัมพลังงานคลื ่นและสมการลักษณะเฉพาะ ที ่ซับซ้อนในแบบจำลองได้มาจากปริภูมิเลขคลื ่น (Wave-number space) ฟังก์ชันแหล ่งที ่มาของ การกระจายตัวของคลื ่นถูกนำมาใช้โดยได้มาจากทฤษฎีการศึกษาทางสถิติของคลื ่นแตกตัว และมีการใช้วิธีการฝัง (Inlaid) ที ่มีลักษณะเฉพาะเพื ่อรวมสมการสมดุลสเปกตรัมพลังงานคลื่น (Sun, Du, Yang, & Yin, 2021; ระบบพยากรณ์ทางสมุทรศาสตร์, 2022) โดยสมการสมดุลสเปกตรัม พลังงานคลื่นที่ใช้ในแบบจำลองสามารถแสดงดังสมการที่ 4-3


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 4-31 + ( gλ+λ cos ∅ ) + ( g∅+∅ ) ∅ − (g∅+∅) tan ∅ = in + ds + bo + nl + cu (4-3) เมื่อ = (, , ∅, ) เป็นสเปกตรัมของเลขคลื่น (Wave-number spectrum) โดยที่ K คือเลขคลื่น = (λ, ∅ ) หมายถึง ความเร็วกระแสน้ำพื้นหลัง (Background current velocity) g = (gλ, g∅) หมายถึง ความเร็วกลุ่ม (Group velocity) ข้อมูลความสูงคลื ่นนัยสำคัญสำหรับการศึกษาในครั้งนี้ เป็นข้อมูลความสูง คลื่นนัยสำคัญเฉลี่ยรายวันของบริเวณจังหวัดภูเก็ต ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2559 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 รวมระยะเวลา 6 ปี โดยสามารถนำข้อมูลที่ได้ไปคำนวณหาค่าเฉลี ่ย ทำให้ได้ข้อมูลความสูง คลื่นนัยสำคัญเฉลี่ยที่เป็นตัวแทนของพื้นที่ศึกษา การจำแนกระดับความเปราะบางของความสูงคลื ่นนัยสำคัญเฉลี ่ย ประยุกต์ จากงานศึกษาของ Hammer – Klose et al. (2003) สามารถจำแนกออกเป็น 5 ระดับ โดยกำหนดให้ บริเวณที่มีความสูงคลื่นนัยสำคัญเฉลี่ยน้อยกว่า 0.55 เมตร มีความเปราะบางในระดับต่ำมาก (แทนด้วย ค่าคะแนน 1) และบริเวณที่มีความสูงคลื่นนัยสำคัญเฉลี่ยมากกว่า 1.25 เมตร มีความเปราะบางในระดับ สูงมาก (แทนด้วยค่าคะแนน 5) รายละเอียดดังตารางที่ 4-11 ตารางที่ 4-11 การจัดระดับความเปราะบางของความสูงคลื่นนัยสำคัญเฉลี่ย ความสูงคลื่นนัยสำคัญ (เมตร) ระดับความเปราะบาง ค่าคะแนน < 0.55 ต่ำมาก 1 0.55 - 0.85 ต่ำ 2 0.85 - 1.05 ปานกลาง 3 1.05 - 1.25 สูง 4 > 1.25 สูงมาก 5 (ที่มา: Hammer – Klose et al., 2003) (2) พิสัยระดับน้ำขึ้น-น้ำลงเฉลี่ย พิสัยระดับน้ำขึ้น-น้ำลง หมายถึง ความแตกต่างของความสูงระหว่างน้ำขึ้นเต็มที่ (High tide) และน้ำลงเต็มที่ (Low tide) ที่เกิดต่อเนื่องกันในพื้นที่เดียวกัน (กรมอุทกศาสตร์, 2560) โดยตัวแปรดังกล่าวมีความสัมพันธ์กับกระบวนการกัดเซาะชายฝั่งและอันตรายจากการรุกท่วมของ น้ำทะเลทั้งแบบชั่วคราวและถาวร (Gonitz, 1990; Hammer – Klose et al., 2003) เมื่อพิจารณา ปัจจัยอื่น ๆ ทางสมุทรศาสตร์ที่เกี่ยวข้องให้เป็นปัจจัยคงที่ จะพบว่าน้ำขึ้น-น้ำลงที่มีช่วงพิสัยกว้างจะมี ความสัมพันธ์โดยตรงกับความเร็วของกระแสน้ำขึ้น-น้ำลงที่รุนแรงขึ้น ซึ่งส่งผลให้พลังงานของคลื่น ที่เกิดจากความแตกต่างของระดับน้ำเพิ่มมากขึ้น สามารถทำให้เกิดการพัดพาตะกอนและการกัดเซาะ


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 4-32 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ชายฝั่งที่เพิ่มขึ้นได้ตลอดจนทำให้พื้นที่มีความเปราะบางต่อการรุกท่วมของน้ำทะเลเพิ่มขึ้นหลังจาก การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล ดังนั้น พิสัยระดับน้ำขึ้น-น้ำลง จึงมีความสำคัญต่อการพิจารณากำหนด ขีดจำกัดสูงสุดของการรุกท ่วมของน้ำทะเล โดยพื้นที่ชายฝั ่งทะเลที ่มีช ่วงพิสัยน้ำขึ้น-น้ำลงกว้าง (มากกว่า 4 เมตร) มักจะมีความเสี่ยงต่อการกัดเซาะชายฝั่งมากกว่าพื้นที่ที่มีช่วงช่วงพิสัยน้ำขึ้น-น้ำลง แคบกว่า (Gonitz, 1990) สำหรับการศึกษาในครั้งนี้ ได้รวบรวมข้อมูลพิสัยระดับน้ำขึ้น-น้ำลงเฉลี่ยจากสถานี วัดระดับน้ำทะเลจำนวน 2 สถานี ได้แก่ สถานีอ่าวปอ อำเภอถลาง โดยกรมเจ้าท่า ระหว่างปี พ.ศ. 2549 – 2562 และสถานีวัดระดับน้ำเกาะตะเภาน้อย อำเภอเมืองภูเก็ต โดยกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ ระหว่างปี พ.ศ. 2528 – 2564 รายละเอียดแสดงดังตารางที่ 4-12 และรูปที่ 4-22 ตารางที่ 4-12 ข้อมูลพิสัยระดับน้ำขึ้น-น้ำลงเฉลี่ย จากสถานีวัดระดับน้ำทะเลบริเวณจังหวัดภูเก็ต สถานี หน่วยงาน ข้อมูลปี พ.ศ. พิสัยระดับน้ำขึ้น-น้ำลงเฉลี่ย (เมตร) อ่าวปอ กรมเจ้าท่า 2549-2562 2.02 เกาะตะเภาน้อย กรมอุทกศาสตร์ 2528-2564 1.72 การวิเคราะห์ข้อมูลพิสัยระดับน้ำขึ้น-น้ำลงเฉลี่ย ทำได้โดยการวัดระยะขอบเขต จากสถานีวัดระดับน้ำทะเลทั้ง 2 สถานี โดยใช้คำสั่งสร้างระยะกันชน (Buffer) ในโปรแกรม ArcMap และหาจุดตัดของพื้นที่จากระยะกันชนนั้น จากนั้นจะพิจารณาอิทธิพลของสถานีวัดระดับน้ำทะเล ต่อพื้นที่ชายฝั่งที่อยู่ใกล้เคียง กล่าวคือ พื้นที่ชายฝั่งทะเลที่อยู่ใกล้สถานีวัดระดับน้ำทะเลสถานีใด มากกว่าก็จะพิจารณาเลือกใช้ข้อมูลพิสัยระดับน้ำขึ้น-น้ำลง ของสถานีนั้น ๆ การจำแนกระดับความเปราะบางของพิสัยระดับน้ำขึ้น-น้ำลงเฉลี ่ยประยุกต์ จากงานศึกษาของกัทลี คุรุกุล และกาญจนา นาคะภากร (2557) สามารถจำแนกออกเป็น 5 ระดับ โดยกำหนดให้บริเวณที่มีช่วงพิสัยระดับน้ำขึ้น-น้ำลงแคบ (น้อยกว่า 1 เมตร) มีความเปราะบางต่อ การกัดเซาะชายฝั ่งในระดับต่ำมาก (แทนด้วยค ่าคะแนน 1) ส ่วนบริเวณที่มีช ่วงพิสัยระดับน้ำขึ้นน้ำลงกว้าง (มากกว ่า 6 เมตร) มีความเปราะบางต ่อการกัดเซาะชายฝั ่งในระดับสูงมาก (แทนด้วย ค่าคะแนน 5) รายละเอียดดังตารางที่ 4-13


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 4-33 รูปที่ 4-22 ตำแหน่งสถานีวัดระดับน้ำทะเล บริเวณพื้นที่จังหวัดภูเก็ต


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 4-34 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ตารางที่ 4-13 การจัดระดับความเปราะบางของพิสัยระดับน้ำขึ้น-น้ำลงเฉลี่ย พิสัยระดับน้ำขึ้น-น้ำลงเฉลี่ย (เมตร) ระดับความเปราะบาง ค่าคะแนน < 1.0 ต่ำมาก 1 1.0 - 1.9 ต่ำ 2 2.0 - 4.0 ปานกลาง 3 4.1 - 6.0 สูง 4 > 6.0 สูงมาก 5 (ที่มา: กัทลี คุรุกุล และกาญจนา นาคะภากร, 2557) (3) การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลเป็นปรากฏการณ์ของการวิวัฒนาการของชายฝั่ง ทะเลที่เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องอย่างช้า ๆ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก โดยระดับน้ำทะเล ที่เพิ่มขึ้นมีความสัมพันธ์โดยตรงกับอุณหภูมิพื้นผิวโลกที่เพิ่มสูงขึ้น (สุวลักษณ์ สาธุมนัสพันธุ์, 2554) ซึ่งทำให้เกิดการรุกท่วมของน้ำทะเลโดยเฉพาะในพื้นที่ลุ่มริมชายฝั่งทะเล (Roy et al., 2021) โดยพบว่า ขอบเขตของพื้นที่ชายฝั่งทะเลที่ถูกน้ำทะเลรุกท่วมอย่างถาวรจะขยายไปถึงระดับความลึกของการเพิ่มขึ้น ของระดับน้ำทะเลในแนวดิ่ง และส่งผลกระทบทำให้การกัดเซาะชายฝั่งมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น (Gornitz, 1991) นอกจากนี้ มีการประเมินว ่าในอีก 50 ปีข้างหน้า ภายใต้สถานการณ์การเปลี ่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศในปัจจุบัน อย ่างน้อยเกือบร้อยละ 30 ของที ่อยู ่อาศัยของประชาชนในระยะ 200 เมตร จากแนวชายฝั่งอาจได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการกัดเซาะชายฝั่ง (Gracia et al., 2018) ข้อมูลการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลในการศึกษาครั้งนี้ ใช้ฐานข้อมูลระดับน้ำทะเล เฉลี ่ยรายเดือนจากสถานีวัดระดับน้ำทะเลเกาะตะเภาน้อย จังหวัดภูเก็ต ระหว ่างปี พ.ศ. 2483 – 2564 (รวมระยะเวลา 81 ปี) ซึ่งรวบรวมโดย Permanent Service for Mean Sea Level (PSMSL) (รูปที่ 4-23) โดยการวิเคราะห์ข้อมูลการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล สามารถทำได้โดยอาศัยโปรแกรม Microsoft Excel ในการวิเคราะห์ด้วยวิธีกำลังสองน้อยที ่สุด (Least Squares Method) ซึ ่งเป็น วิธีการวิเคราะห์การถดถอย (Regression analysis) ที่แสดงความสัมพันธ์ของตัวแปรในรูปของสมการ เชิงเส้นหรือสมการเส้นตรง y = mx + c เพื ่อให้ได้เส้นตรงที ่เป็นตัวแทนของค ่าเฉลี ่ยของข้อมูล ระดับน้ำทะเลที่เข้ากับข้อมูลได้ดีที่สุด (กิรพัฒน์ พชรพิชชากร และสมปรารถนา ฤทธิ์พริ้ง, 2555) โดยวิธีการนี้จะให้ค่าประมาณ m และ c ที่ทำให้ความแตกต่างของค่าตัวแปรตามกับค่าที่คาดคะเนได้ จากสมการถดถอยมีค่าน้อยที ่สุด (วรวิทย์ จันทร์สุวรรณ, 2564) ซึ่งการศึกษาในครั้งนี้ กำหนดให้ ตัวแปรอิสระหรือตัวแปร x แทนช่วงเวลา และตัวแปรตามหรือตัวแปร y แทนค่าระดับน้ำทะเลเฉลี่ย แสดงได้ดังสมการที่ 4-4


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 4-35 รูปที่ 4-23 ข้อมูลระดับน้ำทะเลเฉลี่ยจากสถานีวัดระดับน้ำทะเลเกาะตะเภาน้อย จังหวัดภูเก็ต ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2483 – 2564 จากฐานข้อมูลของ Permanent Service for Mean Sea Level (PSMSL) (เข้าถึงได้จาก https://psmsl.org/data/obtaining/map.html#plotTab) y = x + c (4-4) เมื่อ y คือ ตัวแปรตาม แทนค่าระดับน้ำทะเลเฉลี่ย (มิลลิเมตร) x คือ ตัวแปรอิสระ แทนช่วงเวลา (ปี) m คือค่าความชันของเส้นตรง แทนค่าการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล (มิลลิเมตรต่อปี) c คือ จุดตัดแกน y การจำแนกระดับความเปราะบางของการเพิ ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลในครั้งนี้ ประยุกต์จากงานศึกษาของ Hammer – Klose et al. (2003) สามารถจำแนกออกเป็น 5 ระดับ โดยกำหนดให้บริเวณที ่มีค ่าการเพิ ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลน้อยกว ่า 1.8 มิลลิเมตรต ่อปี มีความเปราะบางต ่อการกัดเซาะชายฝั ่งในระดับต ่ำมาก (แทนด้วยค ่าคะแนน 1) ส ่วนบริเวณที ่มี ค่าการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลมากกว่า 3.4 มิลลิเมตรต่อปีมีความเปราะบางต่อการกัดเซาะชายฝั่ง ในระดับสูงมาก (แทนด้วยค่าคะแนน 5) รายละเอียดดังตารางที่ 4-14 ตารางที่ 4-14 การจัดระดับความเปราะบางของการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล (มิลลิเมตร/ปี) ระดับความเปราะบาง ค่าคะแนน < 1.8 ต่ำมาก 1 1.8 - 2.5 ต่ำ 2 2.5 - 3.0 ปานกลาง 3


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 4-36 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ตารางที่ 4-14 (ต่อ) การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล (มิลลิเมตร/ปี) ระดับความเปราะบาง ค่าคะแนน 3.0 - 3.4 สูง 4 > 3.4 สูงมาก 5 (ที่มา: Hammer – Klose et al., 2003) 4.4.2.3 ปัจจัยย่อยด้านเศรษฐกิจสังคม (1) ความหนาแน่นประชากร ประชากรสามารถกำหนดให้เป็นตัวแปรทางด้านเศรษฐกิจ เนื่องจากเป็นตัวแปร สำคัญที่มีความเกี่ยวข้องกับมูลค ่าทางเศรษฐกิจและแรงกดดันจากกิจกรรมของมนุษย์บริเวณพื้นที่ ชายฝั ่งทะเล (McLaughlin et al., 2002; Satta et al., 2016; Rangel-Buitrago et al., 2020) นอกจากนี้ ประชากรยังสามารถพิจารณาให้เป็นตัวแปรที ่กระตุ้นทำให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่ง ได้โดยตรง เนื่องจากการที่มีผู้คนจำนวนมากอยู่ใกล้ชายฝั่งอาจสร้างผลกระทบและเกิดความเสียหาย (Damage) ต ่อพื้นที ่ชายฝั ่งได้ โดยทั ่วไปความเสียหายที ่เกิดขึ้นเป็นการตีความในแง ่ของมูลค่า ของมนุษย์ ยกตัวอย่างเช่น การกัดเซาะของพื้นที่ชายฝั่งบนเกาะที่ไม่มีคนอาศัย อาจถูกมองว่าเป็น "กระบวนการ (Process)" หรือ "เหตุการณ์(Event)" มากกว่า "ความเสียหาย" เนื่องจากไม่มีผลกระทบ ต่อชีวิตมนุษย์ (McLaughlin et al., 2002) ดังนั้น ในพื้นที่ชายฝั่งทะเลที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่าง หนาแน ่น จึงเพิ ่มความเสี ่ยงต ่อการกัดเซาะชายฝั ่งและการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินระหว ่างเกิด ภัยพิบัติมากขึ้น ในการศึกษาครั้งนี้ ประชากรจึงได้รับการพิจารณาว ่าเป็นแรงกดดันที ่ทำให้ เกิดกิจกรรมต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อระบบชายฝั่งทะเลให้มีความเข้มข้นมากขึ้น จึงต้องมีการศึกษา ตัวแปรด้านความหนาแน ่นของประชากรเพื ่อให้เข้าใจถึงความสำคัญของประชากรมนุษย์ที ่เป็น แรงผลักดันทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ชายฝั่งทะเล (สราวุธ สังงาม, 2560) การศึกษาในครั้งนี้ ได้รวบรวมข้อมูลจำนวนประชากรรายตำบลของตำบลชายฝั่ง ทะเล จังหวัดภูเก็ต ปี พ.ศ. 2564 จากฐานข้อมูลของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย (กรมการปกครอง, 2565ก) และนำมาคำนวณความหนาแน ่นประชากรรายตำบลต ่อขนาดพื้นที่ ของตำบลนั้น ๆ โดยปัดเศษเป็นจำนวนเต็ม และนำเข้าข้อมูลในโปรแกรมสารสนเทศภูมิศาสตร์ ทั้งนี้ ข้อมูลจำนวนประชากรและความหนาแน่นของประชากรรายตำบลของตำบลชายฝั่งทะเล จังหวัด ภูเก็ต ปี พ.ศ. 2564 จำนวน 15 ตำบล แสดงดังตารางที่ 4-15 โดยพื้นที่ศึกษาประกอบด้วย 7 ตำบล ได้แก่ ตำบลไม้ขาว ตำบลสาคู ตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง ตำบลกมลา และตำบลป่าตอง อำเภอกะทู้ ตำบลกะรน และตำบลราไวย์ อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 4-37 ตารางที่ 4-15 จำนวนและความหนาแน่นของประชากรตำบลชายฝั่งทะเล จังหวัดภูเก็ต ปี พ.ศ. 2564 ที่ ตำบล อำเภอ จำนวนประชากร (คน) พื้นที่ (ตร.กม.) ความหนาแน่น (คน/ตร.กม.) 1 ไม้ขาว* ถลาง 13,933 47.32 295 2 สาคู* 7,037 23.10 305 3 เชิงทะเล* 12,834 29.22 440 4 เทพกระษัตรี 17,693 66.95 265 5 ศรีสุนทร 27,259 48.41 564 6 ป่าคลอก 18,494 65.59 282 7 กมลา* กะทู้ 7,010 20.51 342 8 ป่าตอง* 19,505 23.56 828 9 กะรน* เมืองภูเก็ต 7,494 24.35 308 10 ราไวย์* 18,773 36.23 519 11 เกาะแก้ว 17,303 24.61 704 12 ฉลอง 27,431 24.63 1,114 13 ตลาดใหญ่ 54,716 7.94 6,894 14 รัษฎา 49,462 29.88 1,656 15 วิชิต 52,954 33.87 1,564 หมายเหตุ* ตำบลชายฝั่งทะเลในพื้นที่ศึกษา การจำแนกระดับความเปราะบางของความหนาแน ่นประชากรในครั้งนี้ ใช้การแบ่งอันตรภาคชั้นออกเป็น 5 ระดับ โดยใช้ฐานข้อมูลความหนาแน่นประชากรรายตำบลของ ตำบลชายฝั่งทะเล จังหวัดภูเก็ต สามารถทำได้โดยการหาความกว้างอันตรภาคชั้น (Class interval) ซึ ่งเป็นค ่าสัดส ่วนของค ่าพิสัยต ่อจำนวนชั้นข้อมูล ดังสมการที ่ 4-5 แล้วจึงหาช่วงระดับของแต่ละ อันตรภาคชั้น โดยให้ข้อมูลที่มีค่าต่ำสุดเป็นค่าต่ำสุดของอันตรภาคชั้นชั้นแรก ความกว้างอันตรภาคชั้น = ข้อมูลที่มีค่าสูงที่สุด - ข้อมูลที่มีค่าต่ำสุด (4-5) จำนวนอันตรภาคชั้น ระดับความเปราะบางของความหนาแน่นประชากรที่ได้ มีค่าความกว้างอันตรภาคชั้น เท่ากับ 1,326 (ปัดเศษเป็นจำนวนเต็ม) ดังนั้น พื้นที่ตำบลชายฝั่งที่มีความหนาแน่นประชากรระหว่าง 265 - 1,591 คนต ่อตารางกิโลเมตร จึงมีความเปราะบางต ่อการกัดเซาะชายฝั ่งในระดับต ่ำมาก


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 4-38 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (แทนด้วยค ่าคะแนน 1) ส ่วนพื้นที ่ตำบลชายฝั ่งที ่มีความหนาแน ่นประชากรมากกว ่า 5,569 คนต่อตารางกิโลเมตร มีความเปราะบางต่อการกัดเซาะชายฝั่งในระดับสูงมาก (แทนด้วยค่าคะแนน 5) รายละเอียดดังตารางที่ 4-16 ตารางที่ 4-16 การจัดระดับความเปราะบางของความหนาแน่นประชากร ความหนาแน่นประชากร (คน/ตารางกิโลเมตร) ระดับความเปราะบาง ค่าคะแนน 265 - 1,591 ต่ำมาก 1 1,591 – 2,917 ต่ำ 2 2,917 - 4,243 ปานกลาง 3 4,243 – 5,569 สูง 4 มากกว่า 5,569 สูงมาก 5 (2) การใช้ประโยชน์ที่ดิน การใช้ประโยชน์ที่ดินถือเป็นอีกตัวแปรด้านเศรษฐกิจและสังคมที่มีความสำคัญ ต่อการพิจารณาความเปราะบางต่อการกัดเซาะชายฝั่ง เนื่องจากการพิจารณาเพื่อดำเนินมาตรการ ป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการกัดเซาะ จะพิจารณาจากพื้นที่ ที่มีความสำคัญเพียงพอในแง่ของมูลค่าทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม หรือสิ่งแวดล้อม เป็นลำดับต้น ๆ โดยมูลค ่าของที ่ดินสามารถกำหนดได้หลายวิธี ซึ ่งอาจจะพิจารณาในแง ่ของมูลค ่าทางการเงิน ค่าทดแทน สุนทรียศาสตร์ หรือการอนุรักษ์ ตัวอย่างเช่น ในแง่ของมูลค่าทางการเงิน พื้นที่แหล ่งน้ำ หรือพรุ อาจจะถูกจัดให้มีมูลค่าต่ำมาก แต่หากพิจารณาในแง่ของการอนุรักษ์พื้นที่ดังกล่าวมักมีคุณค่า ทางนิเวศวิทยาและชีวภาพที่สูงกว่ามาก เนื่องจากเป็นแหล่งอาหารของนกหรือสถานที่ที่เป็นแหล่งที่อยู่ ของพืชพรรณหายาก (McLaughlin et al., 2002) นอกจากนี้ การกัดเซาะชายฝั ่งยังส่งผลกระทบ ทำให้เกิดการสูญเสียที่ดิน ซึ่งหากที่ดินบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเล มีความสำคัญหรือมีกิจกรรมการใช้ ประโยชน์ที่ดินของมนุษย์อย่างเข้มข้น เช่น พื้นที่ชุมชนเมือง พื้นที่อุตสาหกรรม และย่านธุรกิจการค้า หรือเป็นที ่ตั้งของสถานที ่สำคัญและแหล ่งโบราณคดีอันควรอนุรักษ์ การกัดเซาะชายฝั ่งที ่เกิดขึ้น ย ่อมส ่งผลเสียหายอย ่างรุนแรงต ่อวิถีชีวิตความเป็นอยู ่ ประเพณี วัฒนธรรม และระบบเศรษฐกิจ ของชุมชน นำมาซึ่งการสูญเสียงบประมาณในการดำเนินมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะ ชายฝั่ง (สราวุธ สังงาม, 2560) โดยจากการวิเคราะห์ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ ที่ดินต่อการกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต โดยใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ โดย Suwanprasit (2015) พบว่า การขยายตัวของพื้นที่เมืองบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเลของจังหวัดภูเก็ตมีความสัมพันธ์กับ การเพิ่มขึ้นของการกัดเซาะชายฝั่งทะเลอย่างมีนัยสำคัญ


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 4-39 การศึกษาในครั้งนี้ ได้รวบรวมข้อมูลสภาพการใช้ที่ดิน จังหวัดภูเก็ต ปี 2563 จากฐานข้อมูลของกรมพัฒนาที่ดิน (2563) โดยสามารถจำแนกการใช้ที่ดินออกเป็น 5 ประเภทหลัก ได้แก ่ พื้นที ่ชุมชนและสิ ่งปลูกสร้าง พื้นที ่ป ่าไม้ พื้นที ่เกษตรกรรม พื้นที ่เบ็ดเตล็ด และพื้นที ่น้ำ (รูปที่ 4-24) โดยการใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภทมีการจำแนกในระดับรายละเอียด ซึ่งนำไปใช้เป็น ฐานข้อมูลในการจำแนกระดับความเปราะบางต่อการกัดเซาะชายฝั่งทะเลต่อไป การจำแนกระดับความเปราะบางของการใช้ประโยชน์ที่ดินในครั้งนี้ พิจารณาจาก ระดับมูลค่าทางเศรษฐกิจและระดับความเข้มข้นของกิจกรรมของมนุษย์ของการใช้ประโยชน์ที ่ดิน แต ่ละประเภท โดยประยุกต์จากงานศึกษาของกัทลี คุรุกุล และกาญจนา นาคะภากร (2557) สราวุธ สังงาม (2560) และชุติมา บุญฤทธิ์ศรีพงษ์และคณะ (2565ก) สามารถจำแนกออกเป็น 5 ระดับ โดยกำหนดให้ พื้นที่น้ำ พื้นที่ลุ่ม และพื้นที่เบ็ดเตล็ด มีความเปราะบางต่อการกัดเซาะชายฝั่ง ในระดับต่ำมาก (แทนด้วยค่าคะแนน 1) พื้นที่ทุ่งหญ้าและไม้ละเมาะ และป่าพรุ มีความเปราะบาง ต่อการกัดเซาะชายฝั่งในระดับต่ำ (แทนด้วยค ่าคะแนน 2) พื้นที่ป่าไม้ พื้นที่ป่าชายเลน เหมืองแร่ และหาดทราย มีความเปราะบางต่อการกัดเซาะชายฝั่งในระดับปานกลาง (แทนด้วยค่าคะแนน 3) พื้นที ่เกษตรกรรม มีความเปราะบางต ่อการกัดเซาะชายฝั ่งในระดับสูง (แทนด้วยค ่าคะแนน 4) ส ่วนพื้นที ่ชุมชนและสิ ่งปลูกสร้าง สถานที ่ราชการ และพื้นที ่อุตสาหกรรม มีความเปราะบาง ต่อการกัดเซาะชายฝั ่งในระดับปานสูงมาก (แทนด้วยค ่าคะแนน 5) ตามลำดับ รายละเอียด ดังตารางที่ 4-17 ตารางที่ 4-17 การจัดระดับความเปราะบางของการใช้ประโยชน์ที่ดิน การใช้ประโยชน์ที่ดิน ระดับความเปราะบาง ค่าคะแนน พื้นที่น้ำ พื้นที่ลุ่ม พื้นที่เบ็ดเตล็ด ต่ำมาก 1 ทุ่งหญ้าและไม้ละเมาะ ป่าพรุ ต่ำ 2 พื้นที่ป่าไม้พื้นที่ป่าชายเลน เหมืองแร่ หาดทราย ปานกลาง 3 พื้นที่เกษตรกรรม สูง 4 พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง สถานที่ราชการ พื้นที่อุตสาหกรรม สูงมาก 5


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 4-40 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รูปที่ 4-24 การใช้ประโยชน์ที่ดิน จังหวัดภูเก็ต (ดัดแปลงจากกรมพัฒนาที่ดิน, 2563)


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 4-41 (3) โครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง โครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั ่งรูปแบบต ่าง ๆ ถูกออกแบบมาเพื ่อยับยั้ง การถอยร่นของแนวชายฝั่งได้ สามารถป้องกันพื้นที่ด้านหลังแนวชายฝั่งไม่ให้ถูกกัดเซาะ นอกจากนี้ โครงสร้างดังกล ่าวยังสามารถป้องกันไม ่ให้คลื ่นในฤดูมรสุมซัดเข้าไปสร้างความเสียหายต ่อระบบ สาธารณูปโภค ทรัพย์สิน และสิ ่งปลูกสร้างริมชายฝั ่ง เป็นการลดผลกระทบต ่อประชาชน และความเสียหายที่จะเกิดขึ้นต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมได้ ในทางกลับกัน หากชายฝั่งบริเวณใด ยังไม ่มีโครงสร้างป้องกัน พื้นที ่บริเวณนั้นก็จะมีลักษณะของการเปิดรับคลื ่นและลมมากกว่า จึงมีความเสี่ยงสูงที่จะถูกคลื่นลมพัดพาเอาตะกอนออกไปในทะเล และคลื่นขนาดใหญ่ในฤดูมรสุม ก็อาจจะสามารถซัดเข้าไปทำลายที ่ดินและสิ ่งปลูกสร้างด้านหลังหาดให้เกิดความเสียหายได้ (สราวุธ สังงาม, 2560) การรวบรวมข้อมูลโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งในศึกษาครั้งนี้ สามารถ รวบรวมได้จากฐานข้อมูลสถานภาพชายฝั่งทะเลจังหวัดภูเก็ต ปี 2564 ร่วมกับสำรวจในภาคสนาม โดยประยุกต์ใช้การสำรวจรังวัดโดยระบบโครงข่ายการรังวัดด้วยดาวเทียมแบบจลน์และอากาศยาน ไร้คนขับ เพื่อให้ได้ข้อมูลประเภท พิกัด และความยาวของแนวโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งที่มี ความถูกต้องแม่นยำมากยิ่งขึ้น (รูปที่ 4-25) จากนั้นจึงนำข้อมูลที่สำรวจได้เข้าสู่โปรแกรมสารสนเทศ ภูมิศาสตร์เพื่อจัดทำฐานข้อมูลในการจำแนกระดับความเปราะบางต่อไป (รูปที่ 4-26) รูปที่ 4-25 การสำรวจแนวโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งโดยประยุกต์ใช้การสำรวจรังวัดโดย ระบบโครงข่ายการรังวัดด้วยดาวเทียมแบบจลน์ บันทึกภาพเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2565


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 4-42 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รูปที่ 4-26 โครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเล บริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเลภูเก็ตฝั่งตะวันตก


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 4-43 การจำแนกระดับความเปราะบางของโครงสร้างการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง สามารถวิเคราะห์ได้โดยการฉายภาพโครงสร้างการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณแนวชายฝั่งทะเล เข้าไปในแผ ่นดิน โดยการจำแนกระดับความเปราะบางพิจารณาจากแง ่มุมของผลกระทบ ทางด้านเศรษฐกิจและสังคมเป็นสำคัญ ดังนั้น จึงสามารถจำแนกออกเป็น 2 ระดับ ได้แก่ พื้นที่ที่มี โครงสร้างการป้องกันการกัดเซาะชายฝั ่ง จะมีระดับความเปราะบางต ่ำมาก (ค ่าคะแนนเท ่ากับ 1) และพื้นที่ที่ไม่มีโครงสร้างการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง จะมีระดับความเปราะบางสูงมาก (ค่าคะแนน เท่ากับ 5) รายละเอียดดังตารางที่ 4-18 ตารางที่ 4-18 การจัดระดับความเปราะบางของโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง โครงสร้างการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ระดับความเปราะบาง ค่าคะแนน มี ต่ำมาก 1 ไม่มี สูงมาก 5 (4) อัตราส่วนสิ่งปลูกสร้างและพื้นที่เมือง พื้นที ่สิ ่งปลูกสร้างและพื้นที ่เมือง ถือเป็นพื้นที ่ที ่มีความสำคัญในแง ่ของมูลค่า ทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ซึ่งมีความสัมพันธ์กับความหนาแน่นประชากร การตั้งถิ่นฐาน การพัฒนาพื้นที ่ ตลอดจนความเข้มข้นของกิจกรรมทางด้านเศรษฐกิจและสังคมในแต ่ละบริเวณ หากเกิดการกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่ดังกล่าว ย่อมส่งผลเสียหายอย่างรุนแรงต่อทรัพย์สิน สิ่งปลูกสร้าง รวมถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ประเพณี วัฒนธรรม และระบบเศรษฐกิจของชุมชนบริเวณนั้น นำมาซึ่ง การสูญเสียงบประมาณในการฟื้นฟูพื้นที่ และดำเนินมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะ ชายฝั่งด้วย ดังนั้น พื้นที่ที่มีอัตราส่วนของสิ่งปลูกสร้างและพื้นที่เมืองสูงกว่า ย่อมมีความเปราะบาง ต่อการกัดเซาะชายฝั่งมากกว่าพื้นที่ที่มีอัตราส่วนของสิ่งปลูกสร้างและพื้นที่เมืองต่ำกว่า การวิเคราะห์อัตราส ่วนสิ่งปลูกสร้างและพื้นที่เมืองในครั้งนี้สามารถวิเคราะห์ ได้จากระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ด้วยโปรแกรม ArcMap โดยนำเข้าข้อมูลสภาพการใช้ที่ดินประเภท พื้นที ่ชุมชนและสิ ่งปลูกสร้าง จังหวัดภูเก็ต ปี 2563 จากฐานข้อมูลของกรมพัฒนาที ่ดิน (2563) (รูปที่ 4-27) จากนั้นจึงนำไปคำนวณอัตราส่วนของพื้นที่สิ่งปลูกสร้างและพื้นที่เมืองต่อพื้นที ่ศึกษา ดังสมการที่ 4-6 อัตราส่วนสิ่งปลูกสร้างและพื้นที่เมือง = พื้นที่สิ่งปลูกสร้างและพื้นที่เมือง (ตร.กม.) x 100 (4-6) (ร้อยละ) พื้นที่ศึกษา (ตร.กม.)


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 4-44 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รูปที่ 4-27 พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง จังหวัดภูเก็ต ปี 2563 (ดัดแปลงจากกรมพัฒนาที่ดิน, 2563)


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 4-45 การจำแนกระดับความเปราะบางของอัตราส ่วนสิ ่งปลูกสร้างและพื้นที ่เมือง ประยุกต์จากงานศึกษาการประเมินความเสี ่ยงต ่อการกัดเซาะชายฝั่งของ Rangel-Buitrago et al. (2020) สามารถจำแนกระดับความเปราะบางออกเป็น 5 ระดับ โดยกำหนดให้บริเวณที่มีอัตราส่วน สิ่งปลูกสร้างและพื้นที่เมืองน้อยกว่าร้อยละ 20 มีความเปราะบางต่อการกัดเซาะชายฝั่งในระดับต่ำมาก (แทนด้วยค ่าคะแนน 1) ส ่วนบริเวณที ่มีอัตราส่วนสิ ่งปลูกสร้างและพื้นที ่เมืองมากกว ่าร้อยละ 80 มีความเปราะบางต ่อการกัดเซาะชายฝั ่งในระดับสูงมาก (แทนด้วยค ่าคะแนน 5) รายละเอียด ดังตารางที่ 4-19 ตารางที่ 4-19 การจัดระดับความเปราะบางของอัตราส่วนสิ่งปลูกสร้าง อัตราส่วนสิ่งปลูกสร้าง (ร้อยละ) ระดับความเปราะบาง ค่าคะแนน น้อยกว่าร้อยละ 20 ต่ำมาก 1 20 - 40 ต่ำ 2 40 - 60 ปานกลาง 3 60 - 80 สูง 4 มากกว่าร้อยละ 80 สูงมาก 5 (ที่มา: Rangel-Buitrago et al., 2020) (5) โครงสร้างพื้นฐาน โครงสร้างพื้นฐาน หมายถึง สิ่งปลูกสร้างและระบบพื้นฐานที่ใช้สำหรับอำนวย ความสะดวกสาธารณะ ซึ่งอาจเป็นโครงการที่ภาคเอกชนหรือภาครัฐดำเนินการก็ได้ โดยมุ่งเน้นให้ สาธารณะชนได้ใช้ประโยชน์ อาทิเช่น ระบบคมนาคมขนส่ง ระบบสื่อสาร ระบบระบายน้ำ ระบบบำบัด น้ำเสีย เป็นต้น นอกจากนี้ยังรวมถึงระบบพื้นฐานที่ตอบสนองประชาชน เช่น โรงพยาบาล โรงเรียน เป็นต้น ซึ่งระบบดังกล่าวเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประเทศเกิดการพัฒนาทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ ตลอดจนการพัฒนาคุณภาพชีวิตที ่ดี(Modify, 2017; Singlor, 2022) โดยหากพิจารณาในแง่ ความสำคัญของพื้นที่ ในพื้นที่ที่มีโครงสร้างพื้นฐานตั้งอยู่ย่อมมีความสำคัญต่อสาธารณะชน หากเกิด การกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่ดังกล่าว จึงสามารถส่งผลกระทบต่อระบบสังคมและเศรษฐกิจของชุมชน บริเวณนั้น นำมาซึ่งการสูญเสียงบประมาณในการดำเนินมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะ ชายฝั่งอีกด้วย นอกจากนี้ หากพิจารณาในแง่ของการรบกวนสมดุลตะกอนของกระบวนการชายฝั่ง สภาพพื้นที่ การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานประเภทต่าง ๆ เช่น ถนน ท่าเทียบเรือ เป็นต้น ยังส่งผล ทำให้เกิดการแปรสภาพพื้นที่ชายฝั่ง และรบกวนสภาพทางธรรมชาติ ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 4-46 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง อัตราการกัดเซาะชายฝั่งมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น (ชุติมา บุญฤทธิ์ศรีพงษ์และคณะ, 2565ก) ดังนั้น ในพื้นที่ที่มีโครงสร้างพื้นฐานตั้งอยู่ ย่อมมีความเปราะบางต่อการกัดเซาะชายฝั่งมากกว่า การศึกษาในครั้งนี้ ได้รวบรวมข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที ่จังหวัดภูเก็ต จากฐานข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์สำหรับการวิเคราะห์หลักเกณฑ์ประกอบการจัดทำแผนงาน/ โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (2563ก) อาทิเช่น ถนน โรงเรียน โรงพยาบาล สถานที่ราชการ สายส่งไฟฟ้าศักย์สูง เป็นต้น (รูปที่ 4-28) การจำแนกระดับความเปราะบางของโครงสร้างพื้นฐาน สามารถจำแนกระดับ ออกเป็น 2 ระดับ โดยกำหนดให้บริเวณที ่ไม่มีโครงสร้างพื้นฐาน มีความเปราะบางต ่อการกัดเซาะ ชายฝั่งในระดับต่ำมาก (แทนด้วยค่าคะแนน 1) ส่วนบริเวณที่มีโครงสร้างพื้นฐาน มีความเปราะบางต่อ การกัดเซาะชายฝั่งในระดับสูงมาก (แทนด้วยค่าคะแนน 5) รายละเอียดดังตารางที่ 4-20 ตารางที่ 4-20 การจัดระดับความเปราะบางของโครงสร้างพื้นฐาน โครงสร้างพื้นฐาน ระดับความเปราะบาง ค่าคะแนน ไม่มี ต่ำมาก 1 มี สูงมาก 5 เกณฑ์ในการจำแนกระดับความเปราะบางของตัวแปรที ่ใช้ในการศึกษา และประเมินความเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัด ภูเก็ตฝั่งตะวันตก สามารถสรุปได้ดังตารางที่ 4-21 4.4.3 การวิเคราะห์ดัชนีความเปราะบางชายฝั่งทะเล การวิเคราะห์ดัชนีความเปราะบางชายฝั่งทะเล สามารถวิเคราะห์ได้โดยใช้การซ้อนทับ ข้อมูล (Overlay) จากเครื ่องมือในโปรแกรมสารสนเทศภูมิศาสตร์ จากนั้นจึงนำค ่าคะแนนที ่ได้ แสดงผลข้อมูลในรูปแบบของแผนที่ความเปราะบางชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง สามารถแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน รายละเอียด ดังนี้ 4.4.3.1การวิเคราะห์ดัชนีของปัจจัยย่อย การวิเคราะห์ดัชนีของปัจจัยย่อยทั้ง 3 ด้าน ประกอบด้วย ดัชนีย ่อยด้านลักษณะ กายภาพ ด้านการเปิดรับสภาพภูมิอากาศ และด้านเศรษฐกิจสังคม สามารถวิเคราะห์ได้โดยใช้ ค่าถ่วงน้ำหนักตัวแปรเฉลี่ยคูณกับค่าคะแนนของตัวแปรในแต่ละปัจจัยย่อย ซึ่งประยุกต์จากงานศึกษา ของ Mclaughlin & Cooper (2010) ดังสมการที่ 4-7


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 4-47 รูปที่ 4-28 ตำแหน่งโครงสร้างพื้นฐาน จังหวัดภูเก็ต


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 4-48 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ที่ ตัวแปร ระดับความเปราะบาง ต่ ามาก (1) ต่ า (2) ปานกลาง (3) สูง (4) สูงมาก (5) ปัจจัยย่อยด้านลักษณะกายภาพ 1 อัตราการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งทะเล (เมตร/ปี) สะสมมาก (มากกว่า +5 ม./ปี) สะสมน้อย (+1 ถึง +5 ม./ปี) สมดุล (-1 ถึง +1 ม./ปี) กัดเซาะปานกลาง (-1 ถึง -5 ม./ปี) กัดเซาะรุนแรง (มากกว่า -5 ม./ปี) 2 ความลาดชันชายฝั่ง (%) มากกว่า 12 9-12 6-9 3-6 น้อยกว่า 3 3 ความกว้างของหาด (เมตร) มากกว่า 100 75-100 50-75 25-50 น้อยกว่า 25 4 ลักษณะสัณฐานชายฝั่งทะเล - หาดหิน - หน้าผา - แผ่นดิน - - หาดทราย - - หาดโคลน - ปากแม่น้ า - Subtidal flat - Supratidal flat - Intertidal flat - Disturbed area 5 พื้นที่แนวปะการัง มี - - - ไม่มี 6 พื้นที่ป่าชายเลน มี - - - ไม่มี 7 แหล่งหญ้าทะเล มี - - - ไม่มี ตารางที่ 4-21รายละเอียดการจำแนกระดับความเปราะบางของตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 4-49 ที่ ตัวแปร ระดับความเปราะบาง ต่ ามาก (1) ต่ า (2) ปานกลาง (3) สูง (4) สูงมาก (5) ปัจจัยย่อยด้านการเปิดรับสภาพภูมิอากาศ 1 ความสูงคลื่นนัยส าคัญเฉลี่ย (เมตร) < 0.55 0.55 - 0.85 0.85 - 1.05 1.05 - 1.25 > 1.25 2 พิสัยระดับน้ าขึ้น-น้ าลงเฉลี่ย (เมตร) < 1.0 1.0 - 1.9 2.0 - 4.0 4.1 - 6.0 > 6.0 3 การเพิ่มขึ้นของระดับน้ าทะเล (มม./ปี) < 1.8 1.8 - 2.5 2.5 - 3.0 3.0 - 3.4 > 3.4 ปัจจัยย่อยด้านเศรษฐกิจสังคม 1 ความหนาแน่นประชากร (คน/ตร.กม.) <1,591 1,591 – 2,917 2,917 - 4,243 4,243 – 5,569 >5,569 2 การใช้ประโยชน์ที่ดิน - พื้นที่แหล่งน้ า - พื้นที่ลุ่ม - พื้นที่เบ็ดเตล็ด - ทุ่งหญ้าและไม้ละเมาะ - ป่าพรุ - พื้นที่ป่าไม้ - พื้นที่ป่าชายเลน - เหมืองแร่ - หาดทราย พื้นที่เกษตรกรรม - พื้นที่ชุมชน และสิ่งปลูกสร้าง - สถานที่ราชการ - พื้นที่อุตสาหกรรม 3 รูปแบบการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง มี - - - ไม่มี 4 อัตราส่วนสิ่งปลูกสร้าง (ร้อยละ) ต่ ากว่าร้อยละ 20 ร้อยละ 20 - 40 ร้อยละ 40 - 60 ร้อยละ 60 - 80 สูงกว่าร้อยละ 80 5 โครงสร้างพื้นฐาน ไม่มี - - - มีตารางที่ 4-21 (ต่อ)


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 4-50 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง Index (CC, CF, SE) = w1x1 + w2x2 + w3x3 + … +wnxn (4-7) เมื่อ CC คือ ปัจจัยความเปราะบางย่อยด้านลักษณะกายภาพ CF คือ ปัจจัยความเปราะบางย่อยด้านการเปิดรับสภาพภูมิอากาศ SE คือ ปัจจัยความเปราะบางย่อยด้านเศรษฐกิจสังคม wn คือค่าน้ำหนักของตัวแปร xn คือค่าคะแนนความเปราะบางของตัวแปร n คือจำนวนตัวแปรของแต่ละปัจจัยย่อยที่ใช้ในการศึกษา 4.4.3.2การวิเคราะห์ดัชนีความเปราะบางของชายฝั่งทะเล การวิเคราะห์ดัชนีความเปราะบางต ่อการกัดเซาะชายฝั ่งทะเลในขั้นตอนสุดท้าย ประยุกต์จากงานศึกษาของ Mclaughlin & Cooper (2010) โดยค่าดัชนีที่ได้เป็นสัดส่วนของผลรวม ดัชนีย่อยทั้ง 3 ด้านต่อจำนวนปัจจัยที่ใช้ในการศึกษา แสดงดังสมการที่ 4-8 CVI = (CC + CF + SE) (4-8) N เมื่อ CVI คือดัชนีความเปราะบางของชายฝั่งทะเล N คือจำนวนของปัจจัยย ่อยที ่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย ปัจจัยย ่อย ด้านลักษณะกายภาพ การเปิดรับสภาพภูมิอากาศ และเศรษฐกิจสังคม จำนวนรวม 3 ปัจจัย 4.4.3.3 การจำแนกระดับความเปราะบางของชายฝั่งทะเล เมื ่อทำการซ้อนทับข้อมูลและวิเคราะห์ดัชนีความเปราะบางของชายฝั ่งทะเล ดังสมการที่ 4-7 และ 4-8 แล้ว จะนำค่าคะแนนที่ได้มาจำแนกระดับความเปราะบางของชายฝั่งทะเล ของดัชนีย่อยและดัชนีความเปราะบางของชายฝั่งทะเลสุดท้าย ซึ่งสามารถจำแนกออกเป็น 5 ระดับ ได้แก่ ระดับต่ำมาก ต่ำ ปานกลาง สูง และสูงมาก โดยใช้ฟังก์ชันการแบ่งช่วงชั้นสำหรับพื้นที่ที่อิงจาก การจับกล ุ ่มของข้อมูลแบบธรรมชาติ (Natural breaks) ในโปรแกรมสารสนเทศภูมิศาสตร์ ซึ่งค่าการแบ่งกลุ่มใช้เป็นตัวกำหนดค่าที่คล้ายคลึงกันของกลุ่มได้ดีที่สุด และช่วยเพิ่มความแตกต่าง ระหว่างแต่ละช่วงชั้นข้อมูล จากนั้นจึงแสดงผลข้อมูลในรูปแบบของแผนที ่ความเปราะบางชายฝั่ง (Coastal Vulnerability Map) ซึ่งแยกเป็นเฉดสีตามระดับความเปราะบางที่วิเคราะห์ได้ในพื้นที่ศึกษา


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 4-51 4.4.4 การวิเคราะห์แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล การวิเคราะห์แนวทางการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลประยุกต์จากหลักเกณฑ์ ประกอบแนวทางการจัดทำแผนงาน/โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะ ซึ่งเผยแพร่โดย กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (2563ก) โดยต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับแนวทางการป้องกัน และแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2561 ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน (รูปที่ 4-29) รายละเอียดดังนี้ รูปที่ 4-29 แผนผังแนวคิดการกำหนดแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งเบื้องต้น


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 4-52 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 4.4.4.1 การจำแนกพื้นที่เปราะบางต่อการกัดเซาะชายฝั่ง ผลการวิเคราะห์ดัชนีความเปราะบางของชายฝั่งทะเลที่ได้แสดงถึงความเปราะบาง หรือความเสี่ยงของพื้นที่ชายฝั่งทะเลต่อการกัดเซาะชายฝั่งในอนาคต โดยพื้นที่ชายฝั่งที่ไม่ประสบ ปัญหาการกัดเซาะหรือมีความเสี่ยงที่จะเกิดการกัดเซาะชายฝั่งต่ำ - ต่ำมาก ควรปล่อยให้พื้นที่ชายฝั่ง ปรับสมดุลโดยธรรมชาติพร้อมทั้งดำเนินการติดตามและเฝ้าระวังการเปลี ่ยนแปลงสภาพชายฝั่ง อยู่เสมอ เพื่อให้ชายฝั่งคงไว้ซึ่งเสถียรภาพและบริการของระบบนิเวศตามธรรมชาติส่วนพื้นที่ชายฝั่งที่ ประสบปัญหากัดเซาะหรือมีความเปราะบางปานกลาง - สูง ที่จะเกิดการกัดเซาะชายฝั่งในอนาคต พื้นที่เหล่านี้เป็นพื้นที่ที่ต้องได้รับการดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อป้องกัน แก้ไข หรือบรรเทา ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการกัดเซาะชายฝั่ง โดยพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในขั้นตอนถัดไป 4.4.4.2 การจำแนกพื้นที่ที่มีการดำเนินการป้องกันหรือแก้ไขปัญหาการกัดเซาะ ชายฝั่งโดยใช้โครงสร้างทางวิศวกรรม ในขั้นตอนนี้เป็นการจำแนกพื้นที่ชายฝั่งทะเลที ่มีการดำเนินการป้องกันหรือแก้ไข ปัญหาการกัดเซาะชายฝั ่งโดยใช้โครงสร้างทางวิศวกรรม และพื้นที่ที ่ยังไม ่ได้ดำเนินการป้องกัน หรือแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั ่งโดยใช้โครงสร้างทางวิศวกรรมออกจากกัน โดยพิจารณา จากฐานข้อมูลที่รวบรวมได้ในพื้นที่ศึกษา เพื่อนำไปสู่การพิจารณาปัจจัยประกอบการกำหนดแนวทาง การป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ในขั้นตอนต่อไป 4.4.4.3 การกำหนดแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง การกำหนดแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั ่ง ที่มี ความเหมาะสม สามารถพิจารณาแนวทางหรือรูปแบบที ่เปลี ่ยนแปลงกระบวนการชายฝั่ง ตามธรรมชาติหรือก ่อให้เกิดผลกระทบต ่อระบบบนิเวศน้อยที ่สุดก ่อนเป็นลำดับแรก โดยหากมี ความจำเป็นต้องเลือกใช้รูปแบบโครงสร้างทางวิศวกรรม อาจดำเนินการโดยใช้รูปแบบผสมผสาน ร่วมกัน โดยสามารถจำแนกเกณฑ์การกำหนดแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ออกเป็น 2 กรณี ดังนี้ (1)กรณีพื้นที ่ที ่มีการดำเนินการป้องกันหรือแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง โดยใช้โครงสร้างทางวิศวกรรม การกำหนดแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ที่เหมาะสม ได้แก่ การฟื้นฟูเสถียรภาพชายฝั่ง การป้องกันปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง และการแก้ไข ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง (2)กรณีพื้นที่ที่ยังไม่มีการดำเนินการป้องกันหรือแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง โดยใช้โครงสร้างทางวิศวกรรมแล้ว การกำหนดแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 4-53 ที่เหมาะสมสามารถพิจารณาดำเนินการได้ทั้ง 4 แนวทาง ได้แก่ การปรับสมดุลตามธรรมชาติ การฟื้นฟู เสถียรภาพชายฝั่ง การป้องกันปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง และการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง 4.5 การอภิปรายผลและสรุปผลการศึกษา เป็นการรวบรวมผลการวิเคราะห์ข้อมูลต ่าง ๆ เพื่ออภิปรายผลและสรุปผลการศึกษา การเปลี ่ยนแปลงเส้นแนวชายฝั ่งทะเล การวิเคราะห์ดัชนีความเปราะบางชายฝั ่งของปัจจัยย ่อย และตัวแปรต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อดัชนีความเปราะบางชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง และการวิเคราะห์พื้นที่ เปราะบางต่อการกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก รวมถึงเสนอแนะแนวทาง การป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งในเบื้องต้น แล้วจึงดำเนินการเขียนบทความวิชาการ และรายงานผลการศึกษาฉบับสมบูรณ์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลต่อไป


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 5-1 บทที่ 5 ผลการศึกษา ผลการศึกษาและวิเคราะห์ผลโครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบาง ของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ได้แก่ การถ่วงค่าน้ำหนักตัวแปร ดัชนีความเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง และแนวทางการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล มีรายละเอียด ดังนี้ 5.1 การถ่วงค่าน้ำหนักตัวแปร การวิเคราะห์ค่าถ่วงน้ำหนักตัวแปรด้วยการวิเคราะห์ทางเลือกแบบหลายปัจจัย ดำเนินการโดยใช้แบบสอบถามสำรวจความคิดเห็นจากกลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย ผู้ที่มี ความเชี่ยวชาญในด้านธรณีวิทยาชายฝั่ง วิศวกรรมชายฝั่ง สมุทรศาสตร์ หรือการบริหารจัดการพื้นที่ ชายฝั่ง จำนวน 15 คน และนำไปคำนวณค่าถ่วงน้ำหนักเฉลี่ย โดยตัวแปรที่มีค่าถ่วงน้ำหนักสูงกว่า เป็นตัวแปรที่มีความสำคัญมากกว่าตัวแปรที่มีค่าถ่วงน้ำหนักต่ำกว่า ผลการคำนวณค่าถ่วงน้ำหนัก ของตัวแปรในแต่ละปัจจัยแสดงดังตารางที่ 5-1 มีรายละเอียด ดังนี้ (1) ปัจจัยย่อยด้านลักษณะกายภาพ ตัวแปรที่มีค่าน้ำหนักมากที่สุด คือธรณีสัณฐาน ชายฝั่งทะเล (ค่าน้ำหนัก 0.18) รองลงมาเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งทะเล (ค่าน้ำหนัก 0.17) ความลาดชันชายฝั่งและความกว้างของหาดมีค่าน้ำหนักเท่ากัน (ค่าน้ำหนัก 0.15) พื้นที่ป่าชายเลน (ค่าน้ำหนัก 0.14) พื้นที่แนวปะการัง (ค่าน้ำหนัก 0.12) และแหล่งหญ้าทะเลมีค่าน้ำหนักน้อยที่สุด (ค่าน้ำหนัก 0.09) ตามลำดับ (2) ปัจจัยย่อยด้านการเปิดรับสภาพภูมิอากาศ ตัวแปรที่มีค่าน้ำหนักมากที่สุด คือ ความสูงคลื่นนัยสำคัญเฉลี่ย (ค่าน้ำหนัก 0.44) รองลงมาเป็นการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล (ค่าน้ำหนัก 0.31) และพิสัยระดับน้ำขึ้น-น้ำลงเฉลี่ย (ค่าน้ำหนัก 0.25) ตามลำดับ (3) ปัจจัยย่อยด้านเศรษฐกิจสังคม ตัวแปรที่มีค่าน้ำหนักมากที่สุด คือ รูปแบบ การป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง (ค่าน้ำหนัก 0.28) รองลงมาเป็นการใช้ประโยชน์ที่ดิน (ค่าน้ำหนัก 0.24) อัตราส่วนสิ่งปลูกสร้างและพื้นที่เมือง (ค่าน้ำหนัก 0.19) โครงสร้างพื้นฐาน (ค่าน้ำหนัก 0.16) และความหนาแน่นประชากรมีค่าน้ำหนักน้อยที่สุด (ค่าน้ำหนัก 0.13) ตามลำดับ


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 5-2 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ตารางที่ 5-1ค่าถ่วงน้ำหนักตัวแปรสำหรับการประเมินความเปราะบางชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง บริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเลจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ที่ ตัวแปร ค่าน้ำหนัก ปัจจัยย่อยด้านลักษณะกายภาพ 1 อัตราการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งทะเล (เมตร/ปี) 0.17 2 ความลาดชันชายฝั่ง (ร้อยละ) 0.15 3 ความกว้างของหาด (เมตร) 0.15 4 ธรณีสัณฐานชายฝั่งทะเล 0.18 5 พื้นที่แนวปะการัง 0.12 6 พื้นที่ป่าชายเลน 0.14 7 แหล่งหญ้าทะเล 0.09 ปัจจัยย่อยด้านการเปิดรับสภาพภูมิอากาศ 1 ความสูงคลื่นนัยสำคัญเฉลี่ย (เมตร) 0.44 2 พิสัยระดับน้ำขึ้น-น้ำลงเฉลี่ย (เมตร) 0.25 3 การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล (มิลลิเมตร/ปี) 0.31 ปัจจัยย่อยด้านเศรษฐกิจสังคม 1 ความหนาแน่นประชากร (คน/ตารางกิโลเมตร) 0.13 2 การใช้ประโยชน์ที่ดิน 0.24 3 โครงสร้างการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง 0.28 4 อัตราส่วนสิ่งปลูกสร้างและพื้นที่เมือง (ร้อยละ) 0.19 5 โครงสร้างพื้นฐาน 0.16 5.2 ดัชนีความเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง 5.2.1 ระดับความเปราะบางของตัวแปร การศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก มีตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาทั้งหมด 15 ตัวแปร โดยสามารถจำแนกตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาออกเป็น 3 ปัจจัยย่อย ได้แก่ ปัจจัยย่อยด้านลักษณะ กายภาพ ปัจจัยย่อยด้านการเปิดรับสภาพภูมิอากาศ ปัจจัยย่อยด้านเศรษฐกิจสังคม รายละเอียดดังนี้


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 5-3 (1) การเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งทะเล จากการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งทะเลจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ด้วยโปรแกรม ArcMap โดยการแปลความหมายภาพถ่ายทางอากาศและภาพถ่ายดาวเทียม เพื่อวิเคราะห์เส้นแนวชายฝั่งทะเล ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 – 2565 รวมระยะเวลา 55 ปี(รูปที่ 5-1) และนำผลการวิเคราะห์เส้นแนวเส้นชายฝั่งทะเลที่ได้ไปวิเคราะห์อัตราการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งทะเล ด้วยซอฟท์แวร์ Digital Shoreline Analysis System (DSAS) โดยใช้ค่าสถิติอัตราการเปลี่ยนแปลง แนวชายฝั่งทะเล (End Point Rate : EPR) ในการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งทะเล พบว่า พื้นที่ชายฝั่งทะเลจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก มีอัตราการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งทะเลเฉลี่ย 0.1 เมตรต่อปี โดยส่วนใหญ่เป็นพื้นที่คงสภาพ ซึ่งมีอัตราการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งทะเลอยู่ในช่วง -1 ถึง 1 เมตร ต่อปี แนวชายฝั่งทะเลที่มีการสะสมตัวมากที่สุดอยู่บริเวณพื้นที่หาดบางเทา (ระบบหาดหาดบางเทา: T7E207) ตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง (รูปที่ 5-2) มีอัตราการสะสมตัวมากที่สุด 3.15 เมตรต่อปี ส่วนพื้นที่ที่มีการกัดเซาะ พบว่า พื้นที่ที่มีการกัดเซาะรุนแรง (อัตราการอัตราการเปลี่ยนแปลง แนวชายฝั่งทะเลมากกว่า -5 เมตรต่อปี) อยู่บริเวณพื้นที่หาดลายัน (ระบบหาดหาดบางเทา: T7E207) ตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง (รูปที่ 5-3) มีอัตราการกัดเซาะสูงที่สุด 13.45 เมตรต่อปี ส่วนพื้นที่ที่มี การกัดเซาะปานกลาง ซึ่งมีอัตราการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งทะเลอยู่ในช่วง -1 ถึง -5 เมตรต่อปี อยู่บริเวณพื้นที่หาดในยาง (ระบบหาดหาดไม้ขาว: T7E203) ตำบลสาคู อำเภอถลาง (รูปที่ 5-4) หาดแหลมสน (ระบบหาดหาดแหลมสน: T7E212) ตำบลกะทู้ อำเภอกะทู้ (รูปที่ 5-5) และหาดยะนุ้ย (ระบบหาดกะตะน้อย: T7E223) ตำบลกะรน อำเภอเมืองภูเก็ต (รูปที่ 5-6) อัตราการเปลี่ยนแปลง แนวชายฝั่งทะเลและสถานภาพชายฝั่งทะเล บริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเลจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก แสดง ดังตารางที่ 5-2 และรูปที่ 5-7 และ 5-8) ตารางที่ 5-2สถานภาพชายฝั่งทะเล บริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเลจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก สถานภาพชายฝั่งทะเล อัตราการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งทะเล (เมตรต่อปี) ระยะทาง (กิโลเมตร) สะสมน้อย +1 ถึง +5 เมตรต่อปี 7.19 คงสภาพ ±1 เมตร/ปี 75.62 กัดเซาะปานกลาง -1 ถึง -5 เมตร/ปี 0.44 กัดเซาะรุนแรง มากกว่า -5 เมตร/ปี 0.89 รวม 84.14


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 5-4 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รูปที่ 5-1 เส้นแนวชายฝั่งทะเลและเส้นตั้งฉากสมมติสำหรับการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่ง ทะเลด้วยซอฟท์แวร์ Digital Shoreline Analysis System (DSAS)


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 5-5 รูปที่ 5-2 ลักษณะพื้นที่ชายฝั่งบริเวณหาดบางเทา ตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต บันทึกภาพเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2564 รูปที่ 5-3 ลักษณะพื้นที่ชายฝั่งบริเวณหาดลายัน ตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต บันทึกภาพ เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2565


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 5-6 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รูปที่ 5-4 ลักษณะพื้นที่ชายฝั่งบริเวณหาดในยาง ตำบลสาคู อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต บันทึกภาพเมื่อ วันที่ 12 พฤษภาคม 2565 รูปที่ 5-5 ลักษณะพื้นที่ชายฝั่งบริเวณหาดแหลมสน ตำบลกะทู้ อำเภอกะทู้จังหวัดภูเก็ต บันทึกภาพ เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2565 รูปที่ 5-6 ลักษณะพื้นที่ชายฝั่งบริเวณหาดยะนุ้ย ตำบลกะรน อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต บันทึกภาพเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2565


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 5-7 รูปที่ 5-7อัตราการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งทะเลบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเลจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก จากการวิเคราะห์ด้วยซอฟท์แวร์ Digital Shoreline Analysis System (DSAS)


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 5-8 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รูปที่ 5-8 สถานภาพชายฝั่งพื้นที่ชายฝั่งทะเล จังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 5-9 ผลการศึกษาเพื่อจำแนกระดับความเปราะบางของอัตราการเปลี่ยนแปลง แนวชายฝั่งทะเล พบว่า พื้นที่ศึกษาส่วนใหญ่มีความความเปราะบางอยู่ในระดับปานกลาง (อัตรา การอัตราการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งทะเล ±1 เมตรต่อปี) มีพื้นที่ประมาณ 31.85 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 85.11 ของพื้นที่ศึกษาทั้งหมด รองลงมาเป็นพื้นที่ที่มีความเปราะบางระดับต่ำ (อัตรา การเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งทะเล +1 ถึง +5 เมตรต่อปี) มีพื้นที่ประมาณ 4.90 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 13.09 ของพื้นที่ศึกษาทั้งหมด พื้นที่ที่มีความเปราะบางระดับสูงมาก (อัตรา การเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งทะเลมากกว่า -5 เมตรต่อปี) มีพื้นที่ประมาณ 0.43 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 1.15 ของพื้นที่ศึกษาทั้งหมด และพื้นที่ที่มีความเปราะบางระดับสูง (อัตรา การเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งทะเลมากกว่า -1 ถึง -5 เมตรต่อปี) มีพื้นที่ประมาณ 0.24 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 0.64 ของพื้นที่ศึกษาทั้งหมด ตามลำดับ (ตารางที่ 5-3 และรูปที่ 5-9 และ 5-10) ตารางที่ 5-3ระดับความเปราะบางของอัตราการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งทะเล อัตราการเปลี่ยนแปลง แนวชายฝั่งทะเล (เมตร/ปี) ระดับ ความเปราะบาง พื้นที่ (ตารางกิโลเมตร) ร้อยละ สะสมน้อย (+1 ถึง +5 เมตร/ปี) ต่ำ 4.90 13.15 คงสภาพ (±1 เมตร/ปี) ปานกลาง 31.69 85.05 กัดเซาะปานกลาง (-1 ถึง -5 เมตร/ปี) สูง 0.24 0.64 กัดเซาะรุนแรง (มากกว่า -5 เมตร/ปี) สูงมาก 0.43 1.15 รวม 37.26 100 รูปที่ 5-9 แผนภูมิแสดงร้อยละระดับความเปราะบางของอัตราการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งทะเล


โครงการศึกษาและประเมินความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันตก ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 5-10 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รูปที่ 5-10 ระดับความเปราะบางของอัตราการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งทะเล


Click to View FlipBook Version