ห น้ า | 1
หนังสอื เรียน สาระความรพู นื้ ฐาน
รายวิชา ภาษาไทย
(พท21001)
ระดบั มัธยมศึกษาตอนตน
(ฉบบั ปรบั ปรุง พ.ศ. 2554)
หลกั สูตรการศกึ ษานอกระบบระดบั การศกึ ษาขั้นพนื้ ฐาน
พทุ ธศกั ราช 2551
หามจาํ หนา ย
หนงั สือเรียนเลม นี้ จัดพิมพด ว ยเงินงบประมาณแผนดินเพ่อื การศึกษาตลอดชีวิตสาํ หรับประชาชน
ลขิ สิทธิ์เปนของ สํานกั งาน กศน. สํานักงานปลดั กระทรวงศกึ ษาธกิ าร
สาํ นักงานสงเสริมการศกึ ษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
สํานกั งานปลดั กระทรวงศึกษาธิการ
กระทรวงศกึ ษาธิการ
2 | ห น้ า
หนังสือเรยี นสาระความรพู นื้ ฐาน
รายวิชาภาษาไทย (พท21001)
ระดบั มัธยมศึกษาตอนตน
ฉบบั ปรบั ปรงุ พ.ศ. 2554
เอกสารทางวชิ าการหมายเลข 2 /2555
ห น้ า | 3
คํานํา
กระทรวงศึกษาธิการไดประกาศใชหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน
พุทธศักราช 2551 เม่ือวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2551 แทนหลักเกณฑและวิธีการจัดการศึกษานอก
โรงเรียน ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ซ่ึงเปนหลักสูตรท่ีพัฒนาข้ึนตามหลัก
ปรัชญาและความเชอ่ื พืน้ ฐานในการจดั การศึกษานอกโรงเรียนท่มี ีกลุมเปาหมายเปนผูใหญมีการเรียนรู
และสง่ั สมความรู และประสบการณอยางตอ เนือ่ ง
ในปงบประมาณ 2554 กระทรวงศึกษาธิการไดกําหนดแผนยุทธศาสตรในการขับเคลื่อน
นโยบายทางการศึกษาเพ่ือเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแขงขันใหประชาชนไดมีอาชีพที่
สามารถสรา งรายไดท ม่ี งั่ ค่งั และม่นั คง เปน บุคลากรทมี่ ีวินัย เปยมไปดวยคุณธรรมและจริยธรรม และมี
จิตสํานึกรับผิดชอบตอตนเองและผูอ่ืน สํานักงาน กศน. จึงไดพิจารณาทบทวนหลักการ จุดหมาย
มาตรฐาน ผลการเรียนรทู ่คี าดหวงั และเนอ้ื หาสาระ ทั้ง 5 กลมุ สาระการเรยี นรู ของหลักสตู รการศึกษา
นอกระบบระดับการศึกษาข้ันพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ใหมีความสอดคลองตอบสนองนโยบาย
กระทรวงศึกษาธิการ ซ่ึงสงผลใหตองปรับปรุงหนังสือเรียน โดยการเพิ่มและสอดแทรกเนื้อหาสาระ
เกีย่ วกับอาชีพ คุณธรรม จริยธรรมและการเตรียมพรอม เพ่ือเขาสูประชาคมอาเซียน ในรายวิชาที่มี
ความเกย่ี วขอ งสัมพนั ธกนั แตย ังคงหลักการและวิธกี ารเดมิ ในการพัฒนาหนงั สือทใ่ี หผ เู รียนศกึ ษาคน ควา
ความรูดวยตนเอง ปฏิบัติกิจกรรม ทาํ แบบฝกหัดเพื่อทดสอบความรูความเขาใจ มีการอภิปราย
แลกเปล่ยี นเรียนรกู บั กลุม หรอื ศึกษาเพม่ิ เติมจากภมู ิปญญาทอ งถิน่ แหลงการเรียนรแู ละสอื่ อนื่
การปรับปรุงหนังสือเรียนในครั้งน้ี ไดรับความรวมมืออยางดียิ่งจากผูทรงคุณวุฒิในแตละ
สาขาวิชา และผเู กย่ี วของในการจัดการเรียนการสอนที่ศึกษาคนควา รวบรวมขอ มูลองคความรูจากสื่อ
ตาง ๆ มาเรียบเรียงเนื้อหาใหครบถวนสอดคลองกับมาตรฐาน ผลการเรียนรูท่ีคาดหวัง ตัวช้ีวัดและ
กรอบเน้ือหาสาระของรายวชิ า สาํ นักงาน กศน.ขอขอบคุณผูม สี วนเกีย่ วของทกุ ทานไว ณ โอกาสน้ี และ
หวังวาหนังสือเรียนชุดนี้จะเปนประโยชนแกผูเรียน ครู ผูสอน และผูเก่ียวของในทุกระดับ หากมี
ขอเสนอแนะประการใด สาํ นกั งาน กศน. ขอนอมรบั ดวยความขอบคุณย่งิ
4 | ห น้ า
สารบัญ
หนา
คาํ นํา
คําแนะนําการใชหนังสอื เรียน
โครงสรางรายวิชา
ขอบขา ยเนือ้ หา
บทที่ 1 การฟง การดู............................................................................................ 9
เรอ่ื งท่ี 1 หลกั เบอื้ งตน ของการฟงและการดู ................................................... 10
เรอ่ื งท่ี 2 หลกั การฟงเพื่อจบั ใจความสาํ คญั ..................................................... 11
เรื่องที่ 3 หลกั การฟง การดู อยางมวี ิจารณญาณ.......................................... 14
เรอ่ื งที่ 4 มารยาทในการฟง การดู................................................................. 15
บทที่ 2 การพดู ...............................................................................................18
เร่ืองที่ 1 สรปุ ความ จบั ประเด็นสาํ คญั ของเรอ่ื งที่พูด..................................... 19
เรื่องที่ 2 การพูดในโอกาสตา งๆ...................................................................... 21
เรอ่ื งที่ 3 มารยาทในการพูด............................................................................ 24
บทที่ 3 การอา น ...............................................................................................27
เรอ่ื งท่ี 1 การอา นในใจ ................................................................................... 28
เรอ่ื งท่ี 2 การอานออกเสียง ............................................................................ 29
เรื่องท่ี 3 การอานจบั ใจความสําคญั ................................................................ 44
เรื่องท่ี 4 มารยาทในการอาน และนิสยั รกั การอาน........................................ 50
บทที่ 4 การเขียน ...............................................................................................52
เรื่องท่ี 1 หลกั การเขียน การใชภาษาในการเขยี น.......................................... 53
เรอ่ื งท่ี 2 หลักการเขียนแผนภาพความคิด ...................................................... 56
เรอื่ งที่ 3 การเขยี นเรยี งความและยอ ความ ..................................................... 63
เรอ่ื งที่ 4 การเขียนเพอ่ื การสอ่ื สาร.................................................................. 83
เรอ่ื งที่ 5 การสรา งนสิ ยั รักการเขียนและการศกึ ษาคน ควา .............................. 97
บทท่ี 5 หลกั การใชภาษา...........................................................................................113
เรอ่ื งท่ี 1 การใชคาํ และการสรางคําในภาษาไทย...........................................114
เรอ่ื งที่ 2 การใชเ ครื่องหมายวรรคตอนและอกั ษรยอ.....................................126
เรอ่ื งที่ 3 ชนิดและหนา ท่ขี องประโยค...........................................................136
ห น้ า | 5
เรื่องที่ 4 หลกั ในการสะกดคํา.................................................................................141
เร่อื งท่ี 5 คําราชาศพั ท..................................................................................148
เรอ่ื งที่ 6 การใชสํานวน สภุ าษิต คาํ พงั เพย..................................................152
เรื่องท่ี 7 หลกั การแตง คาํ ประพันธ................................................................156
เรือ่ งท่ี 8 การใชภาษาทีเ่ ปน ทางการและไมเ ปนทางการ................................162
บทที่ 6 วรรณคดี และวรรณกรรม ......................................................................166
เรื่องท่ี 1 หลักการพิจารณาวรรณคดีและหลกั การพนิ ิจวรรณกรรม...............167
เรอ่ื งท่ี 2 หลักการพนิ จิ วรรณคดดี า นวรรณศิลปแ ละดา นสังคม.....................172
เร่อื งที่ 3 เพลงพนื้ บา น เพลงกลอ มเดก็ ........................................................178
บทท่ี 7 ภาษาไทยกับชอ งทางการประกอบอาชพี .................................................191
เรอ่ื งที่ 1 คุณคา ของภาษาไทย ......................................................................192
เรอ่ื งที่ 2 ภาษาไทยกับชอ งการประกอบอาชีพ..............................................194
เรอ่ื งท่ี 3 การเพ่มิ พูนความรแู ละประสบการณท างดา นภาษาไทย
เพอ่ื การประกอบอาชพี ..................................................................196
เฉลยแบบฝก หดั ......................................................................................................203
บรรณานกุ รม ......................................................................................................209
คณะผจู ัดทาํ ......................................................................................................210
6 | ห น้ า
คําแนะนาํ ในการใชหนงั สือเรียน
หนังสือเรียนสาระความรูพ้ืนฐาน รายวิชาภาษาไทย พท21001 ระดับมัธยมศึกษาตอนตน
เปนหนังสอื เรียนที่จดั ทําข้นึ สาํ หรบั ผูเรยี นทีเ่ ปน นักศึกษานอกระบบ
ในการศึกษาหนงั สือเรียนสาระความรูพ ื้นฐาน รายวิชาภาษาไทย พท21001 ระดับมัธยมศึกษา
ตอนตน ผเู รยี นควรปฏิบัตดิ ังน้ี
1. ศึกษาโครงสรางรายวิชาใหเ ขา ใจในหัวขอ และสาระสําคัญ ผลการเรียนรูท ี่คาดหวัง และ
ขอบขา ยเนื้อหาของรายวชิ านน้ั ๆ โดยละเอียด
2. ศึกษารายละเอียดเน้ือหาของแตละบทอยางละเอียด ทํากิจกรรม แลวตรวจสอบกับแนว
ตอบกิจกรรม ถา ผูเรียนตอบผดิ ควรกลบั ไปศกึ ษาและทาํ ความเขา ใจในเนื้อหานัน้ ใหมใหเ ขา ใจ กอนที่จะ
ศึกษาเร่ืองตอ ๆ ไป
3. ปฏบิ ตั กิ จิ กรรมทา ยเรื่องของแตล ะเรอื่ ง เพือ่ เปนการสรปุ ความรู ความเขา ใจของเนือ้ หาใน
เรือ่ งน้นั ๆ อกี คร้งั และการปฏิบตั ิกจิ กรรมของแตละเนือ้ หา แตล ะเรื่อง ผูเ รียนสามารถนําไปตรวจสอบ
กบั ครแู ละเพ่อื นๆ ทร่ี ว มเรยี นในรายวิชาและระดับเดยี วกนั ได
4. หนังสือเรียนเลม นม้ี ี 7 บท
บทท่ี 1 การฟง การดู
บทท่ี 2 การพดู
บทท่ี 3 การอาน
บทที่ 4 การเขียน
บทที่ 5 หลกั การใชภ าษา
บทท่ี 6 วรรณคดี และวรรณกรรม
บทที่ 7 ภาษาไทยกับชองทางการประกอบอาชพี
ห น้ า | 7
โครงสรา งรายวชิ าภาษาไทย (พท21001)
ระดับมธั ยมศึกษาตอนตน
สาระสาํ คญั
1. การอา นเปนทักษะทางภาษาที่สําคัญเพราะชว ยใหสามารถรับรูขา วสารและเหตุการณ
ตาง ๆ ของสงั คม ทาํ ใหปรับตัวไดกับความเจรญิ กา วหนา ทางวทิ ยาการตา ง ๆ สามารถวเิ คราะห วิจารณ
และนําความรูไปใชใ นชวี ิตประจําวนั ได
2. การเขยี นเปน การสอื่ สารท่จี ัดระบบความคดิ การเลือกประเดน็ การเลือกสรรถอยคําเพื่อ
ถา ยทอดเปน ตวั อักษรในการส่อื ความรู ความคดิ ประสบการณ อารมณ ความรสู ึก จากผเู ขยี นไปยงั ผูอาน
3. การฟง การดู และการพูด เปนทกั ษะท่สี ําคัญของการส่ือสารในการดาํ เนินชีวติ ประจาํ วัน
จึงจําเปน ตอ งเขาใจหลกั การเบอื้ งตน และตอ งคาํ นงึ ถงึ มารยาทในการฟง การดูและการพูดดว ย
4. การใชภาษาไทยใหถูกตองตามหลักภาษา ทาํ ใหเกิดความภาคภูมิใจในภูมิปญญาของ
คนไทยจึงตองตระหนักถึงความสําคัญของภาษาและตองอนุรักษภาษาไทยไวเปนสมบัติของชาติ
สืบตอไป
5. การใชทักษะทางภาษาไทยในการแสวงหาความรู การเขาใจระดับของภาษาสามารถ
ใชคาํ พูดและเขียนไดด ี ทําใหเกิดประโยชนตอ ตนเองและสว นรวม
6. วรรณคดไี ทยเปน มรดกของภาษาและวฒั นธรรมที่มคี ณุ คา เปนมรดกทางปญ ญาของคนไทย
แสดงถึงความรุงเรืองของวฒั นธรรมทางภาษา เปน การเชิดชูความเปนอารยะของชาติ
ผลการเรียนรทู ่คี าดหวัง
เมื่อศึกษาชดุ วชิ าแลว ผเู รยี นสามารถ
1. จับใจความสาํ คัญ และเลาเร่ืองได ตีความได อานในใจและอานออกเสียง วิเคราะห
วิจารณ ประเมินคาได เลอื กหนงั สอื และสารสนเทศไดแ ละมีมารยาทในการอานและมีนิสยั รกั การอา น
2. อธิบายการเขียนเบื้องตนได เขียนเรียงความ ยอความ เขียนจดหมาย เขียนโตแยง
เขียนรายงาน เขียนคาํ ขวัญ เขียนประกาศ เขียนเชิญชวน กรอกแบบรายการ แตงคําประพันธ
บอกคุณคา ของถอยคําภาษาและสามารถเลือกใชถอยคาํ ในการประพันธ เขียนอางอิง เขียนเลขไทย
ไดถ ูกตองสวยงาม
3. บอกหลกั เบอื้ งตน และจุดมงุ หมายของการฟง การดูและการพดู ได และสามารถพดู ในโอกาส
ตา ง ๆ ได
8 | ห น้ า
4. บอกลกั ษณะสําคัญของภาษาและการใชภ าษาในการสื่อการ ใชพ จนานกุ รมและสารานกุ รม
ในชีวติ ประจําวันได
5. บอกชนิดและหนาท่ีของคํา ประโยค และนําไปใชไ ดถ กู ตอง
6. ใชเคร่ืองหมายวรรคตอน อักษรยอ คาํ ราชาศัพท หลักการประชุม การอภิปราย
การโตว าที
7. บอกความหมายของวรรณคดีและวรรณกรรม องคประกอบและรปู แบบลักษณะเดน
ของวรรณคดีได
8. บอกความหมายของวรรณกรรมมขุ ปาฐะ และวรรณกรรมลายลักษณได
9. บอกความหมายและลกั ษณะเดน ของวรรณกรรมทองถน่ิ ประเภทรปู แบบของวรรณกรรมไทย
ปจ จุบนั ได
10. อานวรรณคดีและวรรณกรรม บอกแนวความคดิ คา นยิ ม คณุ คาหรือแสดงความคดิ เหน็ ได
11. บอกลักษณะสําคญั และคณุ คาของเพลงพ้นื บาน และบทกลอมเด็กพรอมทงั้ รองเพลงพน้ื บาน
และบทกลอมเดก็ ได
ขอบขา ยเนอื้ หา
บทท่ี 1 การฟง การดู
บทที่ 2 การพูด
บทที่ 3 การอา น
บทที่ 4 การเขยี น
บทท่ี 5 หลักการใชภาษา
บทที่ 6 วรรณคดี และวรรณกรรม
บทที่ 7 ภาษาไทยกบั การประกอบอาชพี
ห น้ า | 9
บทที่ 1 การฟง การดู
สาระสําคญั
การฟง การดู เปนทักษะสําคัญประการหน่ึงของการสื่อสารท่ีเราใชมากท่ีสุดท้ังเรื่องของ
การศึกษาเลา เรียน การประกอบอาชพี และการดําเนินชีวิตประจําวัน จึงจําเปนจะตองเขาใจหลักการ
เบ้ืองตน เพ่ือเปนพ้ืนฐานในการประยุกตใชในขั้นสูงขึ้นไป นอกจากน้ีตองพัฒนาทักษะเหลานี้ใหมี
ประสิทธิภาพโดยคาํ นึงถงึ มารยาทในการฟง และการดดู ว ย
ผลการเรียนรูท ่คี าดหวงั ผูเ รียนสามารถ
1. สรปุ ความจับประเด็นสาํ คญั ของเรอ่ื งทีฟ่ งและดู
2. วิเคราะหค วามนา เชือ่ ถือ จากการฟง และดสู อื่ โฆษณา และขา วสารประจําวนั อยางมี
เหตผุ ล
3. วเิ คราะหการใชน ้าํ เสียง กริ ิยา ทาทาง ถอยคําของผูพดู อยา งมีเหตุผล
4. ปฏิบตั ติ นเปนผมู มี ารยาทในการฟง และดู
ขอบขา ยเน้ือหา
เรอ่ื งท่ี 1 หลกั เบ้อื งตนของการฟง และการดู
เร่ืองท่ี 2 หลักการฟง เพื่อจบั ใจความสาํ คญั
เรื่องท่ี 3 หลกั การฟง การดู และการพูดอยา งมีวจิ ารณญาณ
เรื่องท่ี 4 การมมี ารยาทในการฟงและการดู
10 | ห น้ า
เร่อื งที่ 1 หลักเบื้องตน ของการฟงและการดู
หลักเบ้ืองตน ของการฟงและการดู
ความหมายของการฟง และการดู
การฟง และการดูหมายถงึ การรบั รเู ร่อื งราวตา ง ๆ จากแหลง ของเสยี งหรือภาพ หรือเหตุการณ
ซ่งึ เปนการฟงจากผพู ดู โดยตรง หรอื ฟง และดูผานอุปกรณ หรือสิ่งตาง ๆ แลวเกิดการรับรูและนําไปใช
ประโยชน โดยตอ งศกึ ษาจนเกดิ ความถกู ตอง วองไว ไดประสทิ ธิภาพ
หลกั การฟง และการดทู ่ดี ี
1. ตองรจู ุดมงุ หมายของการฟงและดู และตอ งจดบันทกึ เพอ่ื เตอื นความจํา
2. ตองฟงและดูโดยปราศจากอคติ เพือ่ การวิเคราะหวจิ ารณท ี่ตรงประเด็น
3. ใหค วามรวมมือในการฟง และดดู ว ยการรว มกจิ กรรม
จุดมงุ หมายของการฟง และการดู
การฟง มจี ดุ มงุ หมายที่สาํ คญั ดงั น้ี
1. ฟงเพอื่ จับใจความสําคัญไดว า เรือ่ งท่ีฟงนน้ั เปน เรื่องเก่ียวกบั อะไร เกิดขึ้นทีไ่ หน เมือ่ ไร หรือ
ใครทาํ อะไร ทไี่ หน เมื่อไร
2. ฟงเพื่อจบั ใจความโดยละเอยี ด ผูฟงตอ งมสี มาธใิ นการฟง และอาจตองมีการบันทึกยอเพ่ือ
ชวยความจํา
3. ฟงเพื่อหาเหตุผลมาโตแยงหรือคลอยตาม ผูฟงตองตั้งใจฟงเปนพิเศษ และตองใช
วิจารณญาณพิจารณาวาเรื่องท่ีฟงนั้นมีอะไรเปนขอเท็จจริง อะไรเปนขอคิดเห็น และมีความถูกตอง
มีเหตุผลนาเชือ่ ถือมากนอ ยเพยี งใด ซึ่งผูฟง ควรพจิ ารณาเร่ืองราวท่ีฟง ดว ยใจเปน ธรรม
4. ฟงเพื่อเกดิ ความเพลดิ เพลิน และซาบซึ้ง ในคุณคาของวรรณคดี คติธรรม และดนตรี ผูฟง
ตอ งมีความรูในเรอื่ งทฟี่ ง เขา ใจคําศัพท สัญลกั ษณตา ง ๆ และมคี วามสามารถในการตีความ เพ่ือใหเกิด
ความไพเราะซาบซ้ึงในรสของภาษา
5. ฟง เพือ่ สง เสริมจนิ ตนาการ และความคดิ สรางสรรค เปนความคิดท่ีเกิดข้ึนขณะท่ีฟง หรือ
หลงั จากการฟง ซ่ึงอาจจะออกมาในรูปของงานประพันธ งานศลิ ปะ หรือการพูด
การดูมีจดุ มุงหมายทส่ี ําคญั ดังนี้
1. ดูเพ่อื ใหรู เปน การดูเพ่ือใหเปน คนทันโลกทนั เหตกุ ารณ
2. ดูเพื่อศึกษาหาความรู เปนการดูที่ชวยสงเสริมการอาน หรือการเรียนใหมีความรูมากข้ึน
หรือมคี วามชัดเจนลุมลึกขนึ้
3. ดูเพอ่ื ความเพลิดเพลนิ เชน ละคร เกมโชว มวิ สคิ วดิ ีโอ
ห น้ า | 11
4. ดเู พอื่ ยกระดบั จติ ใจ เปนการดทู จ่ี ะทาํ ใหจ ติ ใจเบิกบานและละเอยี ดออ น เขาถงึ ธรรมชาติ
และสจั ธรรม ไดแก การชมธรรมชาติ การชมโขน ละคร การดูรายการเก่ยี วกบั ธรรมะ การดูกีฬา
เรื่องท่ี 2 หลกั การฟง เพื่อจับใจความสาํ คญั
การฟง เพือ่ จบั ใจความสาํ คัญ เปนการฟง เพื่อความรู ผูฟง ตองตั้งใจฟง และพยายามสรุป เนื้อหา
โดยมหี ลักการสาํ คัญดงั นี้
1. มสี มาธดิ ี ตัง้ ใจฟง ตดิ ตามเร่อื ง
2. ฟงใหเขาใจและลําดับเหตุการณใหดีวา เร่ืองท่ีฟงเปนเร่ืองของอะไร ใครทําอะไร ท่ีไหน
อยา งไร
3. แยกใหอ อกวา ตอนใดเปนใจความสาํ คัญ ตอนใดเปน สว นขยาย
4. บันทึกขอความสาํ คญั จากเรอ่ื งทฟี่ ง
ตวั อยาง การฟงเพื่อจับใจความสําคญั
1. จบั ใจความสําคัญจากบทรอยแกว
รอยแกว คือ ความเรียงท่ีสละสลวยไพเราะเหมาะเจาะดวยเสียงและความหมาย แตไม
กําหนดระเบียบบัญญตั แิ หง ฉันทลกั ษณค ือไมจํากดั ครุ ลหุ ไมก ําหนดสมั ผสั
ตัวอยาง “เห็นกงจักรเปนดอกบัว” สุภาษิต “เห็นกงจักรเปนดอกบัว” นี้โดยมากรูจัก
ความหมายกันแพรหลายอยูแลว คือวา เห็นผิดเปนชอบ เชน ตัวอยาง เห็นเพ่ือนของตนคาฝนเถื่อน
หามเทาไรก็ไมฟงจนเพื่อนผูนั้นถูกจับเสียเงินเสียทองมากมาย เชนนี้มักกลาวติเตียนทานผูนั้นวา
“เห็นกงจักรเปนดอกบัว”
(ชุมนุมนิพนธ ของ อ.น.ก.)
ใจความสําคญั เหน็ กงจกั รเปน ดอกบวั คือเห็นผิดเปนชอบ
ตัวอยาง ครอบครัวของเราคนไทยสมัยกอน ผูชายก็ตองเปนหัวหนาครอบครัว ถามาจาก
ตระกลู ดมี ีวิชาความรูก ม็ กั รับราชการ เพราะคนไทยเรานิยมการรับราชการมีเงินเดือน มีบานเรือนของ
ตนเองไดก ม็ ี เชาเขาก็มี อยูกับบิดามารดาก็ไมนอย ไดเปนมรดกตกทอดกันก็มี ทรัพยสมบัติเหลานี้จะ
งอกเงยหรอื หมดไปก็อยทู ี่ภรรยาผูเปน แมบาน
(แมศ รีเรือน ของทิพยว าณี สนิทวงศ)
ใจความสาํ คัญ ครอบครัวไทยสมยั กอ น ผชู ายทม่ี คี วามรูนิยมรบั ราชการ ทรพั ยส มบตั ทิ ่มี จี ะ
เพม่ิ ข้นึ หรือหมดไปกอ็ ยทู ภ่ี รรยา
2. จบั ใจความสาํ คัญจากบทรอ ยกรอง
12 | ห น้ า
รอยกรอง คือ ถอ ยคําท่เี รียบเรียงใหเ ปน ระเบยี บตามบญั ญตั แิ หง ฉนั ทลักษณ คอื ตาํ ราวา
ดว ยการประพนั ธ เชน โคลง ฉนั ท กาพย กลอน
ตัวอยาง ฟง ขอความตอไปนีแ้ ลวจบั ใจความสาํ คญั (ครูหรือนักศึกษาเปนผอู า น)
นางกอดจบู ลบู หลังแลวสง่ั สอน อํานวยพรพลายนอ ยละหอ ยไห
พอไปดีศรสี วัสด์ิกาํ จดั ภัย จนเติบใหญย งิ่ ยวดไดบ วชเรยี น
ลูกผูช ายลายมือน้ันคอื ยศ เจา จงอตสาหท าํ สมา่ํ เสมียน
แลวพาลกู ออกมาขางทาเกวียน จะจากเจยี นใจขาดอนาถใจ
(กาํ เนิดพลายงาม ของ พระสุนทรโวหาร (ภ)ู
ใจความสาํ คญั การจากกนั ของแมล กู คือ นางวันทองกับพลายงาม นางวันทองอวยพรให
โอวาทและจากกันดวยความอาลัยอาวรณอยา งสุดซงึ้
ตวั อยาง การฟง บทรอ ยกรองเพอ่ื จับใจความสําคัญ (ครูอา นใหฟ ง )
ถึงบางแสนแลน สบายจรดชายหาด เดยี รดาษคนลงสรงสนาน
เสยี งเจ๊ียวจาวฉาวฉานา สาํ ราญ ลว นเบิกบานแชมชื่นร่นื ฤทยั
คลืน่ ซดั สาดฟาดฝง ดงั ซซู า ถึงแสงแดดแผดกลาหากลัวไม
เด็กกระโดดโลดเตนเลน นํ้าไป พวกผูใหญค อยเฝา เหมอื นเขา ยาม
เราหยุดพักกินกลางวนั กันท่ีน่ี ในรา นมีผูคนอยลู นหลาม
มอี าหารจีนไทยรสไมท ราม คนละชามอ่มิ แปลม าแคคอ
(นริ าศสัตหีบ พล.ร.ต.จวบ หงสกุล)
ฟง บทรอ ยกรองขา งบนแลวตอบคําถามตอ ไปน้ี
1. เรอ่ื งอะไร (เทีย่ วชายทะเล)
2. เก่ียวกบั ใคร (เดก็ และผใู หญ)
3. ทาํ อะไร (สงเสียงดงั วิ่งเลน ตามชายหาด)
4. ท่ีไหน (บางแสน)
5. เม่ือไร (ตอนกลางวนั )
ใจความสําคัญ เด็กและผูใหญไ ปเท่ียวบางแสน รบั ประทานอาหารกลางวัน เด็กเลนน้ํา
ผใู หญคอยเฝาสนุกสนานมาก
3. จบั ใจความสาํ คัญจากบทความ
บทความ คือ ขอเขียนซ่ึงอาจจะเปนรายงาน หรือการแสดงความคิดเห็น มักตีพิมพใน
หนังสือพมิ พ วารสาร สารานกุ รม เปน ตน
ห น้ า | 13
ตัวอยา ง ใครที่เคยกินไขเย่ียวมา คงประหลาดใจวา ทาํ ไมเรียกวาไขเยีย่ วมา ทงั้ ๆ ทต่ี ามปกติ
แลวใชขเี้ ถาจากถานไมผสมวตั ถุดบิ อน่ื ๆ พอกไขจนเกิดปฏิกริ ยิ าระหวา งสารทพ่ี อกกบั เนื้อไขจนเกิดวุนสี
ดํา ๆ เปน ไขเ ยย่ี วมาขน้ึ มา โดยไมได “เยี่ยวมา” สักกะหยดมากอนปฏิสนธิจนเปนไขกินอรอยแตก็นั่น
แหละ นา จะสันนิษฐานกนั ไดว า ตนตํารบั เดิมของการทําไขวุนดําเชนนี้ มาจากการเอาไขไปแชเยี่ยวมา
จรงิ ๆ และเจาฉี่มา นเี่ องท่ีทําปฏิกริ ิยากับไขจนเปน วุนขึน้ มา
ทวาในยคุ หลัง ๆ ชะรอยจะหาฉี่มา ลําบากหรือไมส ะดวก กเ็ ลยหาสูตรทาํ ทําไขป สสาวะมา
ใหมใหส ะดวกและงา ยดายรวมทง้ั ประหยัดเพราะไมตองเลย้ี งมาเอาฉีเ่ หมอื นเดิมก็เปนได
สวนรสชาติจะเหมือนตํารับเดิมหรือเปล่ียนแปลงประการใด ก็ยังไมมีใครพิสูจนหรือ
พยายามทําออกมาเทยี บเคียงกัน
ตดั ตอนจากหนังสือสยามรฐั ฉบบั วันท่ี 24 กมุ ภาพนั ธ 2530
ใจความสําคัญ ไขเ ยีย่ วมาไมไดใชเยี่ยวมา ในการทํา
4. จับใจความสาํ คญั จากขา ว
ขาว คือ คําบอกเลา เรือ่ งราวซึง่ โดยปกติมกั เปนเรื่องเกิดใหมห รอื เปนทน่ี าสนใจ
ตัวอยา ง ทศ่ี าลจังหวัดอุบลราชธานี พนกั งานอยั การจังหวัดเปนโจทกฟองนายวนั สันสงู โนน
อายุ 44 ป เปนจําเลย ฐานเมื่อวันที่ 30 ก.ค.30 ในเวลากลางวัน จําเลยไดบังอาจตัดฟนตนไมประดู
1 ตน ในเขตปาสงวนแหงชาติ และบังอาจแปรรูปไมประดูดังกลาว จํานวน 8 แผน ประมาณ 0.48
ลูกบาศกเ มตร และมไี มด งั กลา วไวครอบครอง เหตุเกิดท่ีตําบลนาจะหลวย อําเภอนาจะหลวย จังหวัด
อุบลราชธานี
ศาลจงั หวดั อุบลราชธานี มีคาํ พิพากษาวา จําเลยมคี วามผดิ พ.ร.บ.ปา สงวนแหง ชาติ พ.ร.บ.
ปาไม และประมวลกฎหมายอาญา รวมลงโทษ จาํ คุก 18 เดือน จําเลยใหก ารสารภาพขณะจบั กมุ เปน
ประโยชนแ กก ารพจิ ารณาอยบู าง จึงมีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษใหหนึ่งในส่ี คงจําคุก 13 เดือน 15 วนั
ของกลางรบิ
ใจความสําคญั ตดั ตนประดู 1 ตน ถกู จําคุกกวา 13 เดือน
14 | ห น้ า
เร่ืองท่ี 3 หลักการฟง การดู อยา งมวี ิจารณญาณ
ผทู ส่ี ามารถจะฟงและดไู ดอยางมีวจิ ารณญาณ จะตอ งมีความเขา ใจและสามารถปฏิบัตดิ งั น้ีได
1. การวิเคราะห คือ ความสามารถในการแยกขอเทจ็ จรงิ ออกจากขอคดิ เหน็ รวู า อะไรเปนอะไร
อะไรเปนเหตุอะไรเปนผล
ตวั อยาง
ปทผี่ านมาถึงแมการแขงขันธุรกิจกองทุนรวมสูง แตบริษัทวางกลยุทธดวยการแบงกลุมลูกคา
อยา งชดั เจน เพ่อื คดิ คน ผลติ ภณั ฑ และการบรกิ ารใหท่วั ถงึ รวมท้งั ตอบสนองความตองการลูกคาไดตรง
จุดเพราะเช่ือวา ลูกคามีความตองการและรบั ความเสย่ี งเทา กัน
ขอ คดิ เหน็ คอื ผพู ูดถอื วาลูกคา มีความตอ งการและรบั ความเส่ยี งเทากนั
2. การตคี วาม คอื ตอ งรูค วามหมายทแ่ี ฝงไวใ นใจเร่ืองหรือภาพน้นั ๆ
ตัวอยา ง
กองทุนไทยพาณชิ ยย ิ้มหนา บาน ผลงานทะลเุ ปาดันทรพั ยส นิ พุง
ย้มิ หนา บาน หมายถึง ยม้ิ อยา งมีความสุขมคี วามพงึ พอใจ
3. การประเมินคา เปนทักษะทีต่ อเน่ืองมาจากการวิเคราะหก ารตีความ การประเมินคาสง่ิ ใด ๆ
จะตอ งพิจารณาใหรอบดาน เชน จุดประสงค รูปแบบ ประเภทของสาร เชน ถาจะประเมินคุณคาของ
วรรณคดีตอ งดใู นเรอ่ื งคุณคา วรรณศิลป ดา นสงั คม เนื้อหาและนาํ ไปใชในชวี ติ ประจําวนั
4. การตัดสนิ ใจ คอื การวนิ ิจฉยั เพื่อประเมินคา อันนาํ ไปสูการตดั สินใจทีถ่ กู ตองวา ส่งิ ใดควร
เชื่อไมค วรเชือ่ ซ่ึงการตัดสนิ ใจทถ่ี ูกตอ งเปนเร่ืองสําคญั มากในชีวิตประจาํ วัน
5. การนาํ ไปประยกุ ตใ ชใ นชวี ติ ประจําวนั ทกั ษะนจี้ ะตอ งใชศ ิลปะและประสบการณข องแตล ะ
คนมาชว ยดว ย ซงึ่ การฟง มาก ดูมากกจ็ ะชว ยใหตัดสนิ ใจไมผ ิดพลาด
ห น้ า | 15
เร่ืองท่ี 4 มารยาทในการฟง การดู
มารยาทในการฟง และการดู
การฟงและการดูเปนกิจกรรมในการดําเนินชีวิตที่ทุกคนในสังคมมักจะตองเขาไปมีสวนรวม
เกือบทุกวนั การเปน ผมู มี ารยาทในการฟง ทด่ี ี นอกจากเปนการสรางบุคลิกภาพที่ดีใหกับตนเองแลวยัง
เปนส่ิงแสดงใหเห็นวาเปนผูไดรับการอบรมฝกฝนมาอยางดี เปนผูมีมารยาทในสังคม การท่ีทุกคนมี
มารยาทท่ีดีในการฟงและการดู ยังเปนการสรางระเบียบในการอยูรวมกันในสังคม ชวยลดปญหา
การขัดแยง และชวยเพม่ิ ประสิทธภิ าพในการฟง อีกดวย ผมู มี ารยาทในการฟงและดู ควรปฏิบตั ติ นดงั นี้
1. เม่อื ฟง อยูเ ฉพาะหนา ผูใหญ ควรฟง โดยสาํ รวมกริ ยิ ามารยาท
2. การฟง ในท่ปี ระชมุ ควรเขาไปนั่งกอนผูพ ดู เร่ิมพดู โดยนั่งทด่ี า นหนาใหเ ตม็ เสียกอ น และควร
ตั้งใจฟงจนจบเร่ือง
3. ฟง ดว ยใบหนา ย้มิ แยมแจม ใสเปนกันเองกบั ผูพูด ปรบมือเม่ือมีการแนะนําตัวผูพูดและเม่ือ
ผพู ดู พูดจบ
4. เมอื่ ฟง ในทป่ี ระชุม ตอ งตัง้ ใจฟง และจดบันทกึ ขอความทส่ี นใจ หรอื ขอ ความท่สี าํ คญั หากมี
ขอสงสยั เก็บไวถามเมื่อมีโอกาสและถามดว ยกริ ยิ าสภุ าพ
5. เมือ่ ไปดูละคร ภาพยนตร หรือฟงดนตรี ไมควรสรางความรําคาญใหบุคคลอ่ืน ควรรักษา
มารยาทและสาํ รวมกิริยา
16 | ห น้ า
กจิ กรรม บทที่ 1 การฟง การดู
กจิ กรรมท่ี 1 ใหผ เู รยี นตอบคาํ ถามตอ ไปน้ี
1.1 ความหมายของการฟง และการดู
....................................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................
1.2 บอกจดุ มงุ หมายของการฟง และการดู มา 3 ขอ
....................................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................
กิจกรรมที่ 2 ใหผ เู รียนใชวจิ ารณญาณใหรอบคอบวา เมอ่ื ฟง ขอ ความโฆษณานแ้ี ลว นาเชื่อถอื หรือเปน
ความจริงมากนอ ย เพยี งไร
ครีมถนอมผิว ชวยใหผ วิ นม่ิ ผิวทม่ี รี ิ้วรอยเหีย่ วยน จะกลบั เตงตึง
เปลง ปล่ัง ผิวท่อี อนเยาวในวัยเด็กจะกลบั คืนมา คณุ สภุ าพสตรี
โปรดไววางใจ และเรียกใชครีมถนอมเนอ้ื
....................................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................
ห น้ า | 17
กิจกรรมที่ 3 ใหผ เู รยี นเลอื กคาํ ตอบทถี่ ูกตองเพยี งคําตอบเดยี ว
1. การฟง ทมี่ ปี ระสิทธภิ าพ คือการฟง ในขอใด
ก. จับสาระสําคญั ได
ข. จดบันทกึ ไดทัน
ค. ปราศจากอคติ
ง. มสี มาธใิ นการฟง
2. ขอ ใดคือลักษณะของการฟง ที่ดี
ก. แสดงสหี นา เม่อื สงสัยและรอถามเมอ่ื ผพู ดู พูดจบ
ข. ดวงตาจบั จอ งอยทู ผ่ี พู ูดแสดงความใสใจในคําพูดอยา งจรงิ จงั
ค. กวาดสายตาไปมาพรอ มกบั จอ งหนา และทกั ทวงขึน้ เมื่อไมเหน็ ดว ย
ง. สบตากบั ผพู ดู เปน ระยะๆ อยางเหมาะสมและเสรมิ หรอื โตแยง
ตามความเหมาะสม
3. การฟง ท่ที าํ ใหผ ฟู ง เกิดสตปิ ญ ญา หมายถงึ การฟง ลักษณะใด
ก. ฟง ดว ยความอยากรู
ข. ฟง ดว ยความตงั้ ใจ
ค. ฟงแลววเิ คราะหส าร
ง. ฟง เพื่อจับใจความสําคัญ
4. ความสามารถในการฟง ขอ ใดสาํ คัญทสี่ ุดสําหรบั ผเู รียน
ก. จดสิ่งทีฟ่ งไดค รบถวน
ข. จับสาระสําคญั ของเรอื่ งได
ค. ประเมินคา เรอื่ งท่ฟี งได
ง. จบั ความมงุ หมายของผพู ดู ได
5. บคุ คลในขอใดขาดมารยาทในการฟง มากทสี่ ดุ
ก. คุยกบั เพอ่ื นขณะทฟ่ี งผูอน่ื พดู
ข. ฟง ไปทานอาหารไปขณะทผี่ ูพดู พูด
ค. ไปถึงสถานที่ฟง หลังจากผพู ดู เร่มิ พดู แลว
ง. จดบันทกึ ขณะที่ฟงโดยไมมองผพู ูดเลย
18 | ห น้ า
บทท่ี 2 การพูด
สาระสาํ คัญ
การพูดเปนทักษะสงสารเพื่อรับรูเร่ืองราวตาง ๆ และถายทอดความรูและความคิดของเรา
ใหผูอ่ืนรับรู การสงสารจะประสบความสาํ เร็จ จําเปนตองจบั ประเด็นสําคัญเร่ืองท่ีจะพูดใหเหมาะสม
กับลักษณะโอกาส รวมทง้ั การมีมารยาทในการพูดจะทําใหสามารถส่ือสารดวยการพูดมีประสิทธิภาพ
ยิ่งขึน้
ผลการเรียนรทู ีค่ าดหวัง ผเู รยี นสามารถ
1. พูดนําเสนอเพื่อความรู ความคิดเห็น สรางความเขาใจ โนมนาวใจ ปฏิเสธ เจรจาตอรอง
ดว ยภาษากิรยิ าทาทางที่สภุ าพ
2. ปฏบิ ตั ติ นเปนผูมมี ารยาทในการพูด
ขอบขา ยเน้อื หา
เรื่องที่ 1 สรปุ ความจับประเดน็ สําคญั ของเรื่องท่ีพูดได
เร่ืองท่ี 2 การพดู ในโอกาสตา ง ๆ
เรอ่ื งที่ 3 มารยาทในการพูด
ห น้ า | 19
เร่ืองท่ี 1 สรปุ ความ จบั ประเดน็ สาํ คญั ของเรือ่ งท่พี ดู
การพดู เปนทกั ษะหนง่ึ ของการสอื่ สาร การพูดคือการเปลงเสยี งออกมาเปน ถอ ยคาํ หรอื ขอความ
ตาง ๆ เพ่ือติดตอส่ือสารใหผูพูดและผูฟงเขาใจเรื่องราวตาง ๆ การพูดเปนการส่ือความหมายโดยใช
ภาษาเสียง กิริยาทาทางตาง ๆ เพื่อถายทอดความรูและความรูสึก รวมท้ังความคิดเห็นของผูพูดใหผูฟง
ไดร บั รู และเขา ใจตามความมุงหมาย ของผูฟง เปน เกณฑ
องคประกอบของการพดู ประกอบดว ย
1. ผพู ดู คอื ผทู ่ีมีจดุ มงุ หมายสําคัญทจี่ ะเสนอความรคู วามคดิ เหน็ เพอื่ ใหผฟู ง ไดรับรูและเขาใจ
โดยใชศิลปะการพูดอยางมีหลกั เกณฑ และฝก ปฏิบัตอิ ยเู ปน ประจํา
2. เนอ้ื เร่ือง คือ เรื่องราวที่ผูพูดนําเสนอเปนความรูหรือความคิดเห็นใหผูฟงไดรับรูอยาง
เหมาะสม
3. ผฟู ง คือ ผูรับฟงเร่ืองราวตาง ๆ ที่ผูพูดนําเสนอซ่ึงผูฟงตองมีหลักเกณฑและมารยาท
ในการฟง
นอกจากนี้ผูพูดยังควรมีการใชส่ือ หรืออุปกรณตาง ๆ ประกอบการพูดเพ่ือใหผูฟงมีความรู
ความเขาใจยงิ่ ขึน้ สือ่ ตาง ๆ อาจเปน แผนภาพ ปายนิเทศ เทปบันทึกเสียง หรือ วีดิทัศน เปนตน และ
ส่งิ ทสี่ าํ คญั คือผพู ูดตอ งคํานงึ ถงึ โอกาสในการพดู เวลาและสภาพแวดลอ มที่เกี่ยวของกับการพูด เพ่ือให
การพดู น้ันเกดิ ประสทิ ธิภาพมากย่งิ ข้ึน
การพดู ท่ดี ี คือ การส่อื ความหมายทีด่ นี น้ั ยอมส่ือความเขาใจกับใคร ๆ ไดตรงตามวัตถุประสงค
ของผพู ูด การทผี่ ฟู ง ฟงแลว พึงพอใจ สนใจ เกดิ ความศรทั ธาเลื่อมใสผูพูด เรยี กวาผูนัน้ มีศลิ ปะในการพดู
ลักษณะการพดู ท่ีดี มีดังนี้
1. มีบุคลิกภาพท่ีดี การฟงคนอื่นพูดน้ันเราไมไดฟงแตเพียงเสียงพูด แตเราจะตองดูการพูด
ดูบุคลิกภาพของเขาดวย บุคลิกภาพของผูพูดมีสวนท่ีจะทําใหผูฟงสนใจ ศรัทธาตัวผูพูด บุคลิกภาพ
ไดแก รูปราง หนา ตา ทา ทาง การยืน การนั่ง การเดนิ ใบหนาทย่ี ิม้ แยม ตลอดจนอากปั กริ ิยาทแี่ สดงออก
ในขณะท่ีพูดอยา งเหมาะสมดว ย
20 | ห น้ า
2. มคี วามเช่อื ม่นั ในตนเองดี ผูพูดจะตองเตรียมตัวลวงหนา ฝกซอมการพูดใหคลองสามารถ
จดจําเร่ืองทพี่ ูดได ควบคุมอารมณได ไมตื่นเตน ประหมา หรอื ลกุ ลลี้ ุกลน รบี รอนจนทําใหเสยี บุคลกิ
3. พูดใหตรงประเด็น พูดในเร่ืองที่กําหนดไว ไมนอกเร่ือง พูดอยางมีจุดมุงหมายมุงใหผูฟง
ฟงแลวเขา ใจ ตรงตามวัตถปุ ระสงคท ผี่ ูพดู ตอ งการ
4. ตองใชภ าษาท่ีเหมาะสมกบั ระดับผฟู ง ตามปกตินิยมใชภาษาธรรมดา สุภาพ สน้ั ๆ กะทดั รัด
สอ่ื ความเขาใจไดง า ย หลีกเล่ยี งสาํ นวนโลดโผน ศพั ทเ ทคนคิ หรือสาํ นวนทีไ่ มไดม าตรฐาน
5. ตอ งคํานงึ ถงึ ผูฟง ผูพดู ตอ งทราบวา ผูฟงเปน ใคร เพศ วยั อาชพี ระดับการศึกษา ความสนใจ
ความเชื่อถือเปนอยางไร เพ่ือจะไดพูดใหถูกกับสภาพของผูฟง หลีกเล่ียงการแสดงความคิดเห็นและ
ความเช่ือท่ขี ัดแยง กบั ผูฟง
6. มีมารยาทในการพดู ผูพ ดู ตอ งพจิ ารณาเลือกใชถอยคําท่ีถูกตองเหมาะสมกับกาลเทศะและ
บุคคลเพอื่ แสดงถึงความมมี ารยาทท่ดี แี ละใหเกียรตผิ ูฟง
การสรุปความ จบั ประเด็นสาํ คัญของเรื่องที่พูด
1. ผพู ูดจะตองทราบรายละเอยี ดของผูฟงดังน้ี
1.1 เปน ชายหรอื หญิง
1.2 อายุ
1.3 การศกึ ษา
1.4 อาชพี
เปน เบือ้ งตนเพือ่ มากําหนดเนอ้ื หาสาระที่จะพดู ใหเ หมาะสมกับผฟู ง
2. ผูพูดตองมีวัตถุประสงคท่ีจะพูด จะเปนการพูดวิชาการ เพื่อความบันเทิง หรือเพื่อสั่งสอน
เปนตน
3. เนื้อหาสาระ ผูพูดอาจเพียงกําหนดหัวขอ แตเมื่อพูดจริงจะตองอธิบายเพิ่มเติม อาจ
เปนตวั อยา ง อาจเปนประสบการณ ที่จะเลาใหผ ฟู งไดฟง
ผูฟงจะสรุปความเรอ่ื งท่ีรบั ฟง ได หากผพู ดู พดู มสี าระสําคญั และมกี ารเตรยี มตวั ทีจ่ ะพูดมาอยา งดี
ห น้ า | 21
เรอื่ งท่ี 2 การพดู ในโอกาสตาง ๆ
การพดู เปน การสื่อสารท่ีทําใหผูฟงไดรับทราบเนื้อหารายละเอียดของสารไดโดยตรงหากเปน
การส่ือสารในลักษณะการสนทนาโดยตรงก็ยอมทําใหเห็นอากัปกิริยาตอกันเปนการเสริมสราง
ความเขาใจมากยิ่งขึ้น การพูดมีหลายลักษณะ ไดแก การพูดอภิปราย พูดแนะนําตนเอง พูดกลาว
ตอนรับ พูดกลาวขอบคุณ พูดโนมนาวใจ เปนตน จะมีรูปแบบนําเสนอในหลายลักษณะ เชน
การนาํ เสนอเพอ่ื ตงั้ ขอสงั เกต การแสดงความคิดเห็นเพื่อตั้งขอเท็จจริง การโตแยง และการประเมินคา
เปนตน
ความสําคัญของการพูด
การพูดมคี วามสาํ คญั ดงั น้ี
1. การพดู ทําใหเ กดิ ความเขา ใจในประเด็นของการส่ือสารตาง ๆ ท้ังการสื่อสารเพื่อใหความรู
ทางวชิ าการ การสนทนาในชีวิตประจําวัน หรือการพูดในรูปแบบตาง ๆ ยอมทําใหผูฟงเขาใจประเด็น
เกิดความคดิ สรา งสรรคน าํ ไปสูการปฏิบตั ิไดถ กู ตอ ง
2. การพูดสามารถโนม นา วจติ ใจของผูฟง ใหค ลอ ยตามเพื่อเปลย่ี นความเชื่อ หรอื ทัศนคตติ า ง ๆ
เพ่ือใหเกิดการปฏิบัติส่ิงตาง ๆ อยางมีหลักเกณฑมีความถูกตอง ซ่ึงผูฟงตองใชวิจารณญาณใน
การพจิ ารณาเร่อื งราวทผ่ี พู ดู เสนอสารในลกั ษณะตาง ๆ อยา งมีเหตุผล
3. การพูดทาํ ใหเกิดความเพลิดเพลิน โดยเฉพาะการพูดที่มุงเนนเร่ืองการบันเทิงกอใหเกิด
ความสนุกสนาน ทําใหผ ฟู ง ไดร บั ความรดู วยเชนกัน
4. การพูดมีประโยชนท ่ีชวยดาํ รงสงั คม ใชภาษาพดู จาทักทาย เปนการสรางมนุษยสัมพันธแก
บุคคลในสงั คม การพูดยงั เปนการสือ่ สารเพอื่ เผยแพรความรูค วามคิดใหผูฟงปฏิบัติ เพ่ือใหเกิดความสุข
สงบในสังคม
22 | ห น้ า
การพดู ในโอกาสตาง ๆ
1. การพูดแนะนําตนเอง
การพูดแนะนําตนเอง เปนการพูดท่ีแทรกอยูกับการพูดในลักษณะตาง ๆ เปนพ้ืนฐาน
เบื้องตนที่จะทาํ ใหผ ฟู ง มคี วามรเู กีย่ วกับผูพ ดู การแนะนาํ ตนเองจะใหร ายละเอยี ดแตกตางกันไปตาม
ลกั ษณะของการพูด
1. การพดู แนะนําตนเองในกลมุ ของผูเรียน ควรระบุรายละเอียด ช่ือ-นามสกุล การศึกษา
สถานศกึ ษา ที่อยปู จ จุบัน ภมู ิลําเนาเดมิ ความถนัด งานอดเิ รก
2. การพูดแนะนําตนเองเพ่อื เขาปฏิบตั ิงาน ควรระบุ ช่ือ – นามสกุล รายละเอียดเกี่ยวกับ
การศึกษาตาํ แหนง หนาทที่ จ่ี ะเขามาปฏบิ ัตงิ าน ระยะเวลาท่จี ะเร่มิ ปฏิบัตหิ นา ที่
3. การแนะนําบุคคลอ่ืนในสังคมหรือท่ีประชุม ควรใหรายละเอียด ช่ือ – นามสกุล
ผทู เ่ี ราแนะนําความสามารถของผทู เี่ ราแนะนาํ การแนะนําบคุ คลใหผอู นื่ รจู กั ตองใชคาํ พดู เพ่อื สรางไมตรี
ท่ดี รี ะหวางบคุ คลท้ังสองฝาย
2. การกลาวตอ นรับ
การกลา วตอ นรับเปน การกลา วเพือ่ บอกความรูสึกท่มี ตี อผทู มี่ าโดย
1. กลา วถึงความยนิ ดีของการเปน เจา ของสถานท่ี
2. กลาวยกยองผูมาเยือน เชน เปนใคร มีผลงานดีเดนอะไร มีความสัมพันธอยางไรกับ
ผูต อ นรับ
3. แสดงความยินดีทีใ่ หการตอนรับ
4. ขออภัยหากมีสงิ่ ใดบกพรอ ง และหวังวา จะกลบั มาเยยี่ มอกี
3. การกลา วอวยพร
โอกาสท่ีกลาวอวยพรมีหลายโอกาส เชน การกลาวอวยพรวันเกิด วันปใหม ข้ึนบานใหม
การอวยพรคบู าวสาว หรือในโอกาสท่จี ะมกี ารโยกยา ยอาํ ลาไปรบั ตําแหนง ใหม ฯลฯ
หลักการกลา วอวยพร มขี อ ปฏิบตั ทิ ค่ี วรจาํ ดงั นี้
1. ควรกลา วถึงโอกาสและวนั สาํ คญั นน้ั ๆ ทีไ่ ดม าอวยพรวา เปนวันสําคญั อยางไร ในโอกาส
ดอี ยา งไร มีความหมายตอเจาภาพหรอื การจดั งานนั้นอยางไร
2. ควรใชค ําพดู ทส่ี ุภาพ ไพเราะ ถูกตอ ง เหมาะสมกับกลุมผฟู ง
3. ควรกลาวใหสั้นๆ ใชค ําพูดงา ยๆ ฟง เขาใจดี กะทดั รัด กระชบั ความ นา ประทบั ใจ
4. ควรกลา วถึงความสมั พนั ธระหวางผอู วยพรกบั เจาภาพ กลาวใหเกยี รติ ชมเชยในความดี
ของเจาภาพ และแสดงความปรารถนาดีท่ีมตี อ เจาภาพ
5. ควรใชคําพดู อวยพรใหถูกตอง หากเปนการอวยพรผูใหญ นิยมอางสิ่งศักดิ์สิทธท์ิ ี่เคารพ
นบั ถือมาประทานพร
ห น้ า | 23
4. การกลาวขอบคุณ
การกลาวขอบคุณเปนการแสดงน้ําใจไมตรี หรือความดีที่ผูอื่นกระทําให เชน ขอบคุณ
วิทยากรท่บี รรยายดังนี้
1. ควรกลาวขอบคณุ วทิ ยากรใหเ กยี รตบิ รรยาย
2. มีการสรุปเรื่องทว่ี ทิ ยากรบรรยายจบไปอยา งสนั้ ๆ ไดใจความ
3. ควรกลาวถึงคณุ คาของเรอื่ งที่ฟงและประโยชนทีไ่ ดรบั จากการบรรยาย
4. กลา วใหมีความหวังจะไดรบั เกยี รติจากวทิ ยากรอกี ในโอกาสตอไป
5. กลา วขอบคณุ วิทยากรอีกครัง้ ในตอนทา ย
5. การพดู ใหโอวาท
การพดู ใหโ อวาท จะมีลกั ษณะดังน้ี
1. กลา วถึงความสําคญั และโอกาสท่มี ากลาวใหโอวาทวา มคี วามสาํ คญั อยางไร
2. พดู ใหต รงประเด็น เลอื กประเด็นสําคญั ๆ ท่ีมคี วามหมายแกผรู บั โอวาท
3. ควรมขี อแนะนาํ ตักเตือน และเสนอแนะประสบการณท ีม่ ปี ระโยชน
4. ควรพูดช้แี จงและเกลย้ี กลอ มใหผฟู ง ตระหนกั และนาํ โอวาทไปใชใ หเ กิดประโยชนไ ดอ ยา งแทจริง
5. กลา วส้ัน ๆ ไดใจความดี ตอนทายของการใหโ อวาทกค็ วรกลา วอวยพรทีป่ ระทบั ใจ
การพดู แสดงความคิดเหน็
การพูดเพ่ือแสดงความรแู ละความคิดเหน็ ไดแ ก การพูดอภิปราย การรายงาน การสือ่ ขาว และ
การสนทนาความรู เปนตน ซงึ่ การพดู ตา ง ๆ เหลา น้ีมีแนวทางดงั นี้
1. ศกึ ษารายละเอยี ดเนือ้ หา โดยคํานึงถึงเน้ือหาตามจุดประสงคที่จะพูด เพ่ือใหรายละเอียด
ทถี่ ูกตองตรงประเด็นตามทตี่ อ งการเสนอความรู
2. วิเคราะหเรอื่ งราวอยา งมีหลกั เกณฑ โดยพิจารณาแยกแยะออกเปนสวน ๆ เพ่ือทําความเขาใจ
แตละสว นใหแจมแจง และตองคาํ นงึ ถึงความสัมพันธเกี่ยวเนอื่ งกนั ของแตละสวน
3. ประเมินคาเรื่องทจี่ ะพูด
4. ใชภาษาอยางเหมาะสม มีการเรียงลําดับใจความท่ีดี แบงเน้ือหาเปนเรื่องเปนตอน
ใชตัวอยางประกอบการพดู มกี ารเปรียบเทยี บเพ่ือใหผฟู ง เห็นภาพพจนไดอยา งชัดเจน มีการยาํ้ ความ
เพอ่ื เนน สาระสําคญั รวมท้งั ยกโวหารคําคมมาประกอบเพอื่ สรา งความเขา ใจ และเกิดความประทับใจ
ย่ิงข้ึน
24 | ห น้ า
เรือ่ งที่ 3 มารยาทในการพูด
การพูดท่ีดีไมว าจะเปนการพดู ในโอกาสใด ผูพดู จะตองคํานึงถึงมารยาทในการพูด ซึ่งจะชวย
สรางความช่นื ชมจากผฟู ง มีผลใหการพดู แตล ะคร้งั ประสบความสําเร็จตามวตั ถปุ ระสงคทตี่ ง้ั ไว มารยาท
ในการพูดสรุปไดดังน้ี
1. เรื่องท่พี ูดน้นั ควรเปนเร่ืองทีท่ ง้ั สองฝายสนใจรว มกนั หรืออยูในความสนใจของคนทั่วไป
2. พูดใหตรงประเด็นจะออกนอกเรอื่ งบางก็เพยี งเลก็ นอย
3. ไมถามเร่อื งสวนตัว ซงึ่ จะทําใหอ กี ฝายหนึง่ รูส ึกอดึ อัดใจ หรอื ลําบากใจในการตอบ
4. ตอ งคํานงึ ถึงสถานการณและโอกาส เชน ไมพูดเรอ่ื งเศรา เรื่องท่นี ารังเกียจ ขณะรับประทาน
อาหารหรืองานมงคล
5. สรางบรรยากาศทด่ี ี ยม้ิ แยม แจม ใสและสนใจเร่อื งท่กี าํ ลงั พูด
6. ไมแสดงกิรยิ าอนั ไมสมควรในขณะท่พี ูด เชน ลวง แคะ แกะ เกา สวนใดสว นหน่งึ ของรา งกาย
7. หลีกเลี่ยงการกลาวรา ย การนนิ ทาผอู ื่น ไมยกตนขมทาน
8. พูดใหมีเสยี งดงั พอไดยินกันท่วั ไมพูดตะโกน หรอื เบาจนกลายเปน กระซบิ กระซาบ
9. พดู ดว ยถอยคาํ วาจาทส่ี ุภาพ
10.พยายามรกั ษาอารมณใ นขณะพูดใหเ ปนปกติ
11.หากนาํ คาํ กลาวหรือมีการอางอิงคําพูดของผูใดควรระบุนามหรือแหลงท่ีมา เพื่อใหเปน
เกยี รติแกบ ุคคลทกี่ ลา วถงึ
12.หากพูดในขณะท่ผี ูอ่นื กาํ ลงั พูดอยูควรกลา วขอโทษ
13.ไมพดู คุยกนั ขามศีรษะผอู ่นื
จากมารยาทในการพูดทั้ง 13 ขอ ผูเรยี นควรจะนาํ ไปปฏิบตั ไิ ดใ นชีวิตประจําวนั
ห น้ า | 25
กิจกรรมบทท่ี 2 การพูด
กิจกรรมที่ 1 ใหผูเรียนเลอื กคําตอบที่ถกู ท่ีสดุ เพียงขอ เดียว
1. ขอ ใดไมใชองคป ระกอบสําคญั ของการพูด
ก. ผูพูด ข. ผูฟง
ค. สาระที่พดู ง. อปุ กรณป ระกอบการพดู
2. ขอ ใดเปนการพูดแบบเปน ทางการ
ก. พูดกบั พ่ีนอ ง ข. พดู บรรยายใหค วามรู
ค. พูดกับเพอ่ื นรว มงาน ง. พูดในงานสงั สรรค
3. สิง่ ทส่ี าํ คญั ท่สี ดุ ทผ่ี พู ดู ควรเตรียมลวงหนา คือขอ ใด
ก. การแตงกาย ข. การฝกซอม
ค. การเตรยี มตนฉบบั พูด ง. การใชเ สยี งและทาทาง
4. การพูดแสดงความคิดเห็น คือการพดู ในลักษณะใด
ก. พูดทักทาย ข. พูดแนะนําตวั
ค. พดู อภปิ ราย ง. พดู อวยพร
5. ขอ ใดเปนจุดมุงหมายในการพูดเพอ่ื หาเสียงเลือกต้ัง
ก. สรา งจนิ ตนาการ ข. ใหข อมูลความรู
ค. โนม นาวชกั จูง ง. ใหความเพลิดเพลิน
กิจกรรมท่ี 2 ใหผ เู รียนเขียนคําพดู ตามหัวขอตอไปน้ี
1. เขยี นคาํ ขอบคณุ สั้น ๆ ที่เพ่อื นคนหน่งึ เกบ็ กระเปาสตางคท ี่หลน หายมาใหเ รา
2. เขียนคาํ พูดอวยพรวันเกดิ ของเพอ่ื น
3. เขียนคํากลา วแสดงความยินดีในโอกาสท่เี พ่อื นสอบสัมภาษณเขาทาํ งานได
4. เขยี นคาํ แนะนําตนเองในกลุม ผูเรยี น
26 | ห น้ า
กิจกรรมที่ 3 ใหผ เู รยี นยกตัวอยางการกระทาํ ทไี่ มม ีมารยาทในการพูดมา 5 ตัวอยา ง
1. ..............................................................................................................................
2. ..............................................................................................................................
3. ..............................................................................................................................
4. ..............................................................................................................................
5. ..............................................................................................................................
กิจกรรมที่ 4 ใหผเู รยี นจัดทาํ ตนรางเร่ืองท่จี ะพูดในโอกาสดงั ตอ ไปนี้
1. กลา วอวยพรคูบ า ว – สาว ในงานเลีย้ งฉลองมงคลสมรส
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………….…………………...
2. กลาวตอนรบั ผูทีม่ าศึกษา – ดงู านในชุมชน
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………….……………...
3. กลาวขอบคุณวิทยากรในงานฝก อบรม
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………….…………………………...
ห น้ า | 27
บทที่ 3 การอาน
สาระสาํ คญั
การอานเปนทักษะทางภาษาที่สําคัญ และจําเปนอยางยิ่งในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลง
อยางรวดเร็วเชนปจจุบัน เพราะชวยใหสามารถรับรูขาวสารและเหตุการณตาง ๆ ของสังคม ชวยให
ปรับตวั ไดทันกับความเจรญิ กา วหนา ทางวิทยาการทุกสาขา เปน เคร่ืองมือสําคัญในการแสวงหาความรู
ท่ีแปลกใหม การอา นยงั ชว ยใหเ กดิ ความเพลิดเพลนิ การอา นจะประสบผลสาํ เรจ็ ตองสามารถจบั ใจความ
สําคญั วเิ คราะห วิจารณ และมมี ารยาทในการอา น
ผลการเรยี นรทู ค่ี าดหวัง ผูเรยี นสามารถ
1. อานในใจไดคลอ งและเร็ว
2. อานออกเสียงและอานทํานองเสนาะไดอ ยางถูกตอ งตามลักษณะคําประพนั ธ
3. วเิ คราะหแยกแยะขอเท็จจรงิ ขอคดิ เหน็ และจุดมุงหมายของเรอื่ งที่อา น
4. เลือกอา นหนงั สือ และส่ือสารสนเทศ เพอ่ื พฒั นาตนเอง
5. ปฏบิ ตั ติ นเปน ผูม มี ารยาทในการอาน และมีนสิ ยั รกั การอาน
ขอบขา ยเน้ือหา
เรอ่ื งที่ 1 การอา นในใจ
เรื่องที่ 2 การอานออกเสยี ง
เร่อื งที่ 3 การอา นจับใจความสําคญั
เรื่องท่ี 4 มารยาทในการอา น และนสิ ัยรกั การอาน
28 | ห น้ า
เร่อื งที่ 1 การอานในใจ
การอานในใจ หมายถึง การแปลตัวอักษรออกมาเปนความรู ความเขาใจ และความคิด
แลว นําไปใชอีกทอดอยางไมผ ิดพลาด โดยท่ัวไป จะเปนการอา นเพื่อความรู และความบันเทิง
จดุ ประสงคข องการอานในใจ
1. เพื่อจับใจความไดถ กู ตอ งและรวดเรว็
2. เพ่ือใหเ กดิ ความรู ความเขา ใจ และความคิดอยางกวางขวางและลกึ ซ้ึง
3. เพื่อใหเ กดิ ความเพลิดเพลนิ และเปนการใชเวลาวา งใหเกิดประโยชน
4. เพอ่ื ใหถ ายทอดสิง่ ท่อี านใหผ ูอ่นื รับรโู ดยไมผิดพลาด
หลกั การอานในใจ
1. ตัง้ จุดมุงหมาย วา จะตองอา นเพอ่ื อะไร อานเพอื่ ความรู หรือจะอา นเพอ่ื ความเพลดิ เพลนิ
2. ตง้ั สมาธิในการอา น ใหจ ดจออยกู บั หนงั สอื ทอ่ี า น จิตใจไมว อกแวกไปท่อี น่ื ซง่ึ จะทําใหอา นได
เรว็ และเขา ใจไดดี
3. ต้ังเปาการอานโดยกําหนดปริมาณทจี่ ะอานไวลวงหนา แลวจบั เวลาในการอานเพ่อื ท่จี ะ
พัฒนาการอา นครง้ั ตอ ไปใหเ รว็ ขึ้น
4. ไมอานหนังสือทีละคํา การอานกวาดสายตาใหกวางข้ึนอานใหครอบคลุมขอความที่อยู
ตอหนาอยา งเร็วไปเรื่อย ๆ
5. ลองถามตนเองวาเปนเรื่องเก่ียวกับอะไร เกิดกับใคร ท่ีไหน อยางไร ถาตอบไดแปลวา
เขา ใจ แตถ าตอบไมไดกต็ อ งกลบั ไปอา นใหม
6. จับใจความสําคญั ใหได และบันทึกเปนความรูความเขา ใจ และความคดิ ไวเพราะจะทําใหจะ
จาํ เร่อื งทอ่ี านไดอ ยา งแมนยาํ และสามารถนําไปใชป ระโยชนไ ดท ันที
ห น้ า | 29
เรอ่ื งที่ 2 การอา นออกเสียง
การอานออกเสียง หมายถึง การอานท่ีผูอื่นสามารถไดยินเสียงอานดวยการออกเสียง
มักไมนิยมอานเพ่ือการรับสารโดยตรงเพียงคนเดียว เวนแตในบางคร้ังเราอานบทประพันธเปน
ทวงทาํ นองเพ่อื ความไพเราะเพลิดเพลนิ สว นตวั แตส ว นใหญแ ลว การอา นออกเสยี งมกั เปน การอา นให
ผอู ่ืนฟง การอา นประเภทนมี้ หี ลายโอกาส คือ
1. การอา นออกเสียงเพือ่ บคุ คลในครอบครัวหรอื ผทู ่ีคุนเคย
เปน การอานท่ีไมเ ปนทางการ การอา นเพอ่ื บคุ คลในครอบครวั เชน อานนิทาน หนงั สอื พมิ พ
ขา ว จดหมาย ใบปลิว คาํ โฆษณา ใบประกาศ หนังสือวรรณคดีตาง ๆ เปนการเลาสูกันฟง อานเพื่อให
เพื่อนฟง อา นใหคนบางคนท่ีอา นหนังสอื ไมออกหรือมองไมเ ห็น เปน ตน
2. การอานออกเสียงทเี่ ปนทางการหรอื อา นในเร่ืองของหนา ทก่ี ารงาน
เปน การอานทีเ่ ปน ทางการ มรี ะเบียบแบบแผนในการอา นอยา งรดั กมุ กวา การอา นออกเสยี ง
เพอ่ื บคุ คลในครอบครวั หรอื อยทู ี่คนุ เคย เชน การอานในหองเรียน อานในท่ีประชุม อานในพิธีเปดงาน
อานคาํ ปราศรยั อา นสารในโอกาสทส่ี าํ คญั ตาง ๆ การอานของส่ือมวลชน เปนตน
การอานออกเสียงใหผูฟง จะตองอา นใหช ดั เจนถูกตองไดขอความครบถวนสมบูรณ มีลีลา
การอา นทน่ี าสนใจและนาติดตามฟงจนจบ
จุดมุง หมายในการอา นออกเสยี ง
1. เพื่อใหอานออกเสียงไดถูกตอ งตามอกั ขรวธิ ี
2. เพ่ือใหรูจักใชนํ้าเสียงบอกอารมณและความรูสึกใหสอดคลองกับเนื้อหาของ
เร่อื งที่อา น
3. เพื่อใหเ ขาใจเรอ่ื งที่อา นไดถ ูกตอง
4. เพอ่ื ใหผอู านมีความรแู ละเขา ใจในเน้ือเร่อื งทีอ่ า นไดอ ยางชดั เจน
5. เพื่อใหผ อู านและผฟู ง เกิดความเพลิดเพลิน
6. เพอ่ื ใหเ ปน การรับสารและสงสารอกี วิธีหน่ึง
30 | ห น้ า
หลกั การอา นออกเสยี ง
1. อานออกเสียงใหถ กู ตองและชัดเจน
2. อานใหฟงพอท่ผี ูฟง ไดย ินทว่ั ถึง
3. อา นใหเ ปน เสียงพูดโดยธรรมชาติ
4. รูจ กั ทอดจงั หวะและหยดุ หายใจเม่ือจบขอความตอนหนึง่ ๆ
5. อานใหเขาลักษณะของเนื้อเร่ือง เชน บทสนทนา ตองอานใหเหมือนการสนทนากัน
อานคาํ บรรยาย พรรณนาความรสู ึก หรือปาฐกถากอ็ า นใหเขา กบั ลักษณะของเร่ืองนน้ั ๆ
6. อานออกเสยี งและจงั หวะใหเ ปน ตามเนือ้ เรอ่ื ง เชน ดหุ รอื โกรธ ก็ทาํ เสียงแข็งและเรว็ ถาเปน
เรอื่ งเกย่ี วกับครา่ํ ครวญ ออนวอน ก็ทอดเสียงใหช า ลง เปน ตน
7. ถา เปนเรื่องรอ ยกรองตองคาํ นงึ ถงึ ส่ิงตอ ไปน้ดี ว ย
7.1 สัมผัสครุ ลหุ ตองอา นใหถ กู ตอ ง
7.2 เนน คาํ รับสัมผสั และอา นเออ้ื สัมผสั ใน เพอื่ เพม่ิ ความไพเราะ
7.3 อานใหถ ูกตองตามจงั หวะและทาํ นองนิยม ตามลักษณะของรอ ยกรองน้นั ๆ
ยังมีการอานออกเสียงอีกประการหน่ึง การอานทํานองเสนาะ เปนลักษณะการอาน
ออกเสียงที่มีจงั หวะทํานองและออกเสยี งสงู ต่ําเพ่ือใหเกิดความไพเราะ การอานทํานองเสนาะน้ีผูอาน
จะตองเขาใจลักษณะบังคับของคําประพันธแตละชนิดและรูวิธีอานออกเสียงสูงตาํ่ การทอดเสียง
การเออ้ื นเสยี ง ซึง่ เปนลกั ษณะเฉพาะของคําประพนั ธชนิดตางๆ ดวย การอานทํานองเสนาะนี้ เปน
มรดกทางวัฒนธรรมท่ีสืบทอดกนั มาชา นาน ซ่งึ เปน สง่ิ ทค่ี นไทยทุกคนควรภมู ิใจและรักษาวัฒนธรรม
ลาํ้ คานีไ้ วเพือ่ ถายทอดสบื ตอ กันไปชั่วลูกช่วั หลาน
การอานเรว็
คนที่มีนิสัยรักการอาน ยอมเปนผูที่มีความรอบรู มีความนึกคิดลึกซึ้งและกวางขวาง
ทั้งยังไดรับความบนั เทงิ ในชีวิตมากขึ้นอกี ดว ย
การอา นทีใ่ ชมากในชวี ิตประจาํ วัน คือการอา นในใจ เพราะสามารถอานไดรวดเร็ว ไมตองกังวล
กับการเปลง เสยี งกบั ตวั หนังสอื การอา นในใจท่ีดี ผูอานจะตองรจู ักใชสายตา กริ ยิ าทา ทาง มสี มาธิ ความ
ตง้ั ใจและกระบวนการอา นในใจ เชน การเขาใจความหมายของคํา รูจักคนหาความหมายของคํา หรือ
เดาความหมายได รูจักจับใจความแลวรูจักพิจารณาตาม รวมทั้งตองเปนผูที่สามารถอานไดรวดเร็ว
อีกดว ย
ห น้ า | 31
เพอื่ เปน การทดสอบตนเองวา สามารถอานหนงั สือไดเรว็ หรือไม
ใหผูเรยี นอานขอความตอไปน้ี แลว จบั ใจความของเร่อื งโดยใชเ วลา 8 นาที
ลมเหนอื
ลมทงุ นาหอมกลิ่นฟางขาวพัดรวยรนิ อยูร อบตัว นชุ ลกู สาวครูปรีชาว่งิ มาบอกพอ วา
“พอ คะ นชุ ขอไปดเู ขาแลกขา วท่บี านจําเนียรนะคะ”
“บา นจําเนียรไหน”
“บา นจําเนยี รที่มตี นมะขามโนนไงคะ มีคนเขาเอาของเยอะแยะมาแลกขา ว นุชไปนะพอ”
“เดี๋ยวกอน”
“โธ พอ นุชชาไมไ ด นุชจะไปชว ยจําเนยี รเขาแลกเสือ้ ประเดี๋ยวจําเนียรก็อดไดเสอ้ื สวยๆ หรอก”
ผมชะเงอ ดูท่บี านหลงั หนึ่ง อยเู กือบกลางทงุ นา บริเวณบา นลอมดว ยกอไผ ผมเห็นคนเปนกลมุ ๆ
ยนื อยกู ลางบานนน้ั นุชเหน็ ผมมองอยางอยากรูอยากเหน็ จึงเอย วา
“พโ่ี ชคไปกบั หนไู หมละ ”
“เออ โชคไปเปน เพ่ือนนองก็ดีนะ แดดรอนอยางน้ีหาหมวกใสสักใบเถอะ ประเดี๋ยวจะเปน
ไข” ครปู รชี าพดู
“นุชไมม ีหมวก”
“เออ...เอาผา ขาวมาของพอ ไป” ครปู รชี าสง ผาขาวมาใหลูกสาว นุชไดผาก็เอามาเคียนหัวแลว
ออกว่ิงนําหนาผมไป
ผมเห็นคนๆ หน่งึ แตงตัวแปลกไปกวา ชาวนา ท่ีวาแปลกก็คือเขาใสเส้ือนุงกางเกงเหมือนคนใน
จงั หวดั อยูต รงกลาง ขางหนา มหี าบใสสิ่งของเครื่องใช เชน เสือ้ ผา หมออะลมู เิ นยี ม เปน ตน
วันนผี้ มเหน็ พอ ของจาํ เนยี รยอมแลกขาวเปลอื กสองถงั กบั เสือ้ ผา ดอกสีสดใสใหจ ําเนยี รตวั หนึ่ง
ปา แมนยอมเสียขา วเปลือกถังหนึง่ แลกกบั แกว นา้ํ 3 ใบ
ผมกลบั มาเลา ใหค รปู รีชาฟง ครปู รีชากถ็ อนหายใจยาวพดู วา
“คนพวกนแ้ี หละเปนเหลอื บคอยดดู เลือดชาวนา”
“เขาเห็นจาํ เนยี รอยากไดเส้ือผา เลยจะเอาขาวเปลือกต้ัง 2 ถังแลกกับเส้ือตัวเดียว ผมวาเสื้อ
ตัวนน้ั ราคาไมก ี่บาทหรอกครับ”
“โธครถู งึ วา พวกนเี้ ปนเหลือบไงละ เอาเปรียบกนั เกนิ ไป”
“แตพวกนน้ั ไปยอมแลกกบั เขาเอง” ผมพูดเสยี งออน
“ก็เพราะง้ันนะซิ ครูถึงหนักใจแทน โชคคิดดูสิวากวาจะทํานาไดขาวถังหนึ่งนะ หมดแรงไป
เทา ไรมนั คุม กันไหมละ ”
“ทาํ ไมชาวนาถงึ โง...”
“ไมใ ช” ครปู รีชาขดั ขึ้น “ไมไ ดโ ง แตไ มทนั เลหเ หลยี่ มพอคา ตา งหากละ”
“ครบู อกแลว บอกอกี บอกจนไมรจู ะบอกยังไงแลว ”
32 | ห น้ า
“ไมเ ชอ่ื ครูหรอื ครบั ”
“พูดไมถูก อยางพอจําเนียรน่ันแกรูดีวาอะไรเปนอะไร หากแลกขาวนะยังดีกวาพวกอื่นนะ
น่นั ไงละมากันเปนแถว” ครูปรีชาช้ีใหผมดู คนข่ีจักรยานตามกันเปนแถว แทบทุกคนสวมหมวกกะโล
มไี มกลม ๆ ขนาดแขนผูกตดิ รถจักรยานมาดว ย
“ใครครับ” ผมสงสยั
“พวกพอ คาคนกลางตวั จริง” ครูปรชี าตอบเสยี งตํ่า “เปนพวกนายหนารับซอ้ื ขา วใหโ รงสี อีกที
หนงึ่ เธอเห็นไมทอนกลมน่ันไหมละ”
“ครับ”
“ไมนั้นแหละเขาเอาไวร ดี ขาวเปลอื กดูเมล็ดกอนตีราคา”
“ทาํ ไมตอ งตรี าคาดวยเลา ”
“เพราะวาขาวท่ีชาวนาทําไดมีคุณภาพตาง ๆ กันนะสิโชค นี่แหละเปนโอกาสใหพอคามี
ชอ งทางกดราคาขาวละ”
“เขาทํายงั ไงครบั ”
“เขาจะรีดขา วดู ถาไดข า วเมล็ดงามไมล ีบเลก็ ก็ตีราคาเอาตามใจ ถา ชาวนาพอใจราคาที่เขาให
เกดิ ตกลงขาย เขากจ็ ะจา ยเงินใหลวงหนา จํานวนหนง่ึ แลว กม็ าขนขา วไปโรงสี สวนมากคนท่ีรับซ้ือถึงที่
มกั จะกดราคาขา วจนต่ํามาก”
“ราคาตาํ่ เรากไ็ มขาย” ผมบอก
“แตช าวนาตอ งการเงนิ ”
“งน้ั เอาไปขายเองกไ็ ดนค่ี รบั ”
“นั้นยงิ่ แลว ใหญเลย ถา หากเธอขนขา วไปโรงสีจะถกู กดราคามาก เพราะเขาถอื วา เธอไปงอ เขา”
“อา ว ทําไมถงึ เปนอยา งนน้ั เลา”
ครูปรีชาหัวเราะหๆึ แตแววตาหมอง “ทาํ ไมถึงเปน เชน นั้นนะหรือ ครูตอบเธอเด๋ียวนี้ เธอก็คงไม
เขา ใจหรอก...โชคด”ี
ผูเ รียนอานจบภายในเวลา 8 นาทีหรือไม
อานจบแลว ลองตอบคําถามดู เพราะการอานหนังสอื ไดเ รว็ น้ันตองจับใจความไดดวย
1. ผูท่ีใชส รรพนามวา ผมในเร่ืองนชี้ ่ืออะไร
2. พอ ของจําเนยี รมีอาชีพอะไร
3. ทาํ ไมครปู รีชาจึงเรียกพวกทีเ่ อาของมาแลกขาววาตัวเหลอื บ
4. จากเร่ืองนี้ ใครเปน ผทู ีเ่ อาเปรียบชาวนามากท่ีสุด
5. ผเู รยี นอา นเรอื่ งนแี้ ลวไดขอ คิดอะไรบา ง
การอา นหนังสือใหเร็ว นอกจากใชเวลาชวงส้ัน ๆ อานหนังสือใหไดมากที่สุดแลว จะตองจับ
ใจความเปนหนังสอื ใหไ ดค รบถวน อา นแลวเขาใจเรอื่ งตลอดดวย
ห น้ า | 33
ลองคดิ ดูซิวา เหตทุ อ่ี า นไมท ันหรือจบั ใจความไมไดตลอดเพราะเหตใุ ด
ถา เราลองคิดหาเหตผุ ล โดยเอาตัวเองเปนหลกั อาจไดคาํ ตอบหลายอยาง เชน ไมมีสมาธิ อาน
กลบั ไปกลบั มา สบั สนจึงทําใหอา นชา หรือไมเขาใจคาํ ศพั ทบ างคํา เปนตน
หลกั การอานเรว็
ในการฝก ตนเองใหเปน คนอา นเรว็ ควรไดเ ริม่ ตนฝกสม่ําเสมอทลี ะเล็กละนอ ย โดยฝกอานในใจ
ทถี่ กู วธิ ีและจะตอ งฝกฝนในส่งิ ตอ ไปนี้
1. มีสมาธิในการอาน ในขณะท่ีอาน จะตองสนใจและเอาใจจดจอตอส่ิงท่ีอาน ไมปลอยใจ
วอกแวกคดิ เรือ่ งอ่ืน จะทําใหจบั ใจความของเรือ่ งไมไ ดตลอดและความสามารถในการอานชาลงไป
2. จับตาทตี่ ัวหนังสือ โดยใชสายตาจับอยูในชวงเวลาเล็กนอยแลวเคลื่อนสายตาตอไปอยาง
รวดเร็ว การฝก จับตาเชนนี้ตองกระทําบอย ๆ และจับเวลาทดสอบความสามารถในการจบั สายตา และ
เคลอื่ นสายตาใหไ ดรวดเร็วเพอ่ื ทดสอบความกา วหนา
3. ขยายชวงสายตาใหก วาง ชวงสายตาหมายถึง ระยะจากจุดท่ีสายตาจับจุดหน่ึงไปยังจุดท่ี
สายตาจบั ในคราวตอไป การรูจกั ขยายสายตาใหกวา งจะชว ยใหอานหนงั สอื ไดเรว็
4. ไมอานยอ นกลับไปกลับมา หมายถึง การทวนสายตายอนกลับไปกลับมายังคําท่ีไมเขาใจ
ซึง่ ทําใหเสยี เวลา
5. เปล่ียนบรรทดั ใหแ มนยาํ โดยกวาดสายตากลับมาทางซายเพ่ือข้ึนบรรทัดใหม เม่ืออานจบ
แตละบรรทัดและตองกําหนดบรรทัดใหแมนยําไมอานขามบรรทัด หรืออานซํ้าบรรทัดเดิมซึ่งทําให
ความคิดสับสนการฝกในระยะแรกเรมิ่ อาจใชไ มบรรทดั หรอื กระดาษปด ขอความบรรทัดลางไว แลว เลือ่ น
ลงเรื่อย ๆ คอ ย ๆ เพ่ิมความเร็วขน้ึ จนชาํ นาญจึงอานโดยไมตอ งใชสิ่งอนื่ มาปด
การอา นเพ่ือเขาใจความหมายของสํานวน
การอา นเพ่ือทําความเขา ใจ ความหมายของสํานวน ตองอาศัยถอยคําสิ่งแวดลอม บริบท เพื่อ
สรุปสาระสําคญั
1. ความหมายของสาํ นวน สํานวน คอื ถอ ยคําท่ีมคี วามหมายไมตรงตามความหมายปกติของคาํ
นัน้ ๆ
2. หลักการอาน เพ่ือเขาใจความหมายของสํานวน
2.1 อานขอความอยางละเอียด เพ่ือจับใจความสําคัญ เขาใจเน้ือเร่ืองและเขาใจ
ความหมายของสาํ นวน
2.2 สังเกตเน้ือความตามบรบิ ท ทาํ ใหตคี วามหมายของสํานวนไดถ ูกตอง
2.3 ตีความหมายของสาํ นวน ตอ งตรงประเดน็ ตามบรบิ ท
34 | ห น้ า
ตวั อยา ง การอา นเพื่อเขาใจความหมายของสาํ นวน
ออยเขา ปากชา ง หมายถงึ ของตกไปอยใู นมอื ผูอน่ื แลวไมมีทางไดคืน
ไกแกแมป ลาชอน หมายถึง ผทู ่ีมีความจดั จา น เจนสังเวยี น
ววั หายลอมคอก หมายถึง เมอ่ื เกดิ ความเสยี หายแลวจึงหาทางปองกนั
กนิ ขา วตม กระโจมกลาง หมายถึง การกระทําทีไ่ มร อบคอบ ผลผี ลาม
ช้นี กบนปลายไม หมายถึง การพูดถงึ สิง่ สดุ วิสยั ทจ่ี ะทําได
สํานวนตา ง ๆ ท่นี ําไปกลาวเปรยี บเทยี บใหเขา กับสถานการณ เรียกวา คําพังเพย เชน เมื่อของ
หายแลวจงึ คิดหาทางปองกัน ก็เปรยี บวา วัวหายลอมคอก เปน ตน
ความหมายของสํานวนมีลกั ษณะเหมือนความหมายโดยนยั คอื ตองตีความ หรือแปลความตาม
นยั ยะของคําหรือขอ ความนน้ั ๆ
การอา นเพ่อื เขา ใจโวหารตา ง ๆ
ผเู ขียนตองใชโวหารประกอบการเขียน เชน พรรณนาโวหาร อุปมาโวหาร สาธกโวหาร ฯลฯ
เพือ่ ใหง านเขยี นมคี ณุ คา
1. ความหมายของโวหาร
โวหาร คือทวงทํานองในการเรียบเรียงถอยคําท้ังในวรรณกรรมรอยแกวและรอยกรอง
โวหารทใ่ี ชก ันทวั่ ไปมี 5 โวหาร ดังน้ี
1.1 บรรยายโวหาร คือการเลาเรื่องไปตามเหตุการณ เชนการเขียนบทความ การเลา
นทิ าน เลาประวัติบุคคล ตํานาน ตอ งอธิบายใหเ ปนไปตามลําดับ
ตวั อยาง บรรยายโวหาร
มนุษยมคี วามเชอ่ื อยอู ยางหนึ่งซง่ึ สบื มาแตโบราณนานไกล วา คนทเ่ี กดิ มาทง้ั เดก็ และผใู หญไมว า
จะเปนหญงิ หรือชาย ยอ มมีอะไรอยูอ ยางหนง่ึ สงิ อยูภายในรางกายมาแตก ําเนิดสง่ิ ทว่ี านี้ถา อยกู บั เน้อื กบั
ตัวของผใู ดผูน้ันก็จะมีความสุขความสบาย ไมป วยไขไ ดทุกขถ าสิ่งนั้นหนหี ายไปจากตัวกจ็ ะทําใหผ นู ้นั เปน
ไขไดท กุ ขแ ละอาจถึงแกความตายได ถา ส่งิ นัน้ ไมกลบั คืน อยใู นรางกาย สง่ิ ที่กลาวนภ้ี าษาไทยเรยี กวา
ขวัญ อันเปน คํามคี วามหมายในภาษาท่เี ขาใจกันอยางเลาๆ แลว กย็ ุงดวย ท่วี ายุง เพราะเปนส่งิ มองไมเ หน็
ตวั วา มรี ูปรางเปน อยา งไร
(ขวัญและประเพณีทําขวัญ ของ เสฐยี รโกเศศ)
ห น้ า | 35
1.2 พรรณนาโวหาร คอื การเขียนเลน เร่ืองอยา งประณีตมักแทรกความรูสึกของผูเขียน
ดว ยทําใหผ ูอ า นเกิดความรแู ละอารมณคลอยตาม เชน การพรรณนาความสวยงามคุณความดีตลอดจน
พรรณนาอารมณแ ละความรสู ึกในใจ ฯลฯ
ตัวอยา ง พรรณาโวหาร
ไมผ ล เชน ละมุด มะมวง ขนนุ พอปลกู ไวขางสนามและบรเิ วณมุมขาง สวนทีเ่ ล้อื ยรอบบา น
กม็ เี ถาวัลยและสายหยุดข้ึนอยูคนละมุม ราตรีอยูตรงบันไดขึ้นหอหนาบาน ซ่ึงเปนทางไปหองรับแขก
ชะลูดปลกู อยูทส่ี ะพานขามทองรอ งเล็ก ๆ อยกู งึ่ กลางระยะจากตวั บา นไปยงั ประตรู ้วั บาน คนละดานกบั
เถาพวงครามดอกสมี ว ง ใบแข็งดวย ถาไปถูกมันจะคนั แตดอกเปน สคี รามเปน ชอยาวมองดสู วยและบาน
อยไู ดห ลายวัน ถาดอกรวงจะหมุนเพราะกลีบของมันเปนเฟองมี 5-6 กลีบ คลายใบพัด มันหมุนตัวลง
มากวา จะถึงพน้ื เหมือนกงั หนั ตอ งลม ดูสวยงามเพลินตาดี ผมชอบเก็บดอกมันข้ึนไปปลอยบนหนาตาง
สูง ๆ ใหม ันหมนุ จีล๋ งมาสูพ้นื ดนิ เปน ของเลน สนุก เมือ่ สมยั เด็กกอ นเขา โรงเรียน
(เดก็ บานสวน ของ พ.เนตรรงั ส)ี
1.3 เทศนาโวหาร คือ กระบวนความอบรมส่ังสอน อธิบายในเหตุผล หรือชี้แจงใหเห็น
คณุ และโทษ เพ่อื ใหผ อู านเชื่อถือตาม
ตัวอยาง เทศนาโวหาร
บรรดาของมคี าทงั้ หลายจะหาส่งิ ไรมีคาเกินวิชาดีกับจรรยาดีไมไดเลย ทรัพยอื่น ๆ อาจจะถูก
ขโมยลักหรอื ลดนอยลงดว ยการจับจายใชส อย แตวิชากบั จรรยาดีนีเ้ ปนอมตะไมรจู กั ตายย่ิงจายมากก็ย่ิง
เพิม่ ทวคี ูณขึน้ และเราจะแยกแบงใครก็ไมได แมขโมยจะลักเอาไปก็ไมได แตจงทราบดวยวาโดยเฉพาะ
วิชาดีที่แหลมคมนั้นถาไมมีสติคอยควบคุม ปลอยเพงมองแสหาความสุขในทางที่ผิดแลว ก็จะเปนตัว
มหาอุบาทว มหาพินาศ มหาจัญไร ดูเถอะ มนุษยบางเหลาถือตัววาฉลาดแตขาดสติ ประพฤติตัว
เลวทราม กอกวนหมูคณะใหยุงเหยิงเดือดรอนอยูทุกวันนี้ก็เพราะเขามีวิชาดีท่ีแหลมคมและใชวิชาดี
ทแี่ หลมคมไปในทางทผ่ี ิด ซงึ่ ไมม สี ตคิ วบคุมน้ันเอง
(โลกานุศาลนี ของ สมเด็จพระมหาวรี วงศ (พิมพ ธมมฺ ธโร))
1.4 สาธกโวหาร คอื การเขยี น โดยยกตัวอยา งประกอบเพอ่ื ใหผอู า นเขา ใจเร่ืองไดชัดเจน
ย่งิ ขึ้นนยิ มใชใ นการบรรยายโวหาร และเทศนาโวหาร
ตวั อยา ง สาธกโวหาร
ในที่น้ีจะชักนิยายมาเปนอุทาหรณใหเห็นวา ผูท่ีต้ังความเพียรไดรับรางวัลของธรรมดาโลก
อยา งไร
ชายชาวนาผูหน่ึง เม่ือปวยจนจะส้ินใจอยูแลว จึงเรียกบุตรชาย 3 คน เขามาบอกวาบิดาจะ
สิ้นชีพไปในครั้งน้ีก็หามีส่ิงใดท่ีจะหยิบยื่นใหเปนมรดกแกเจาไม แตบิดาจะบอกความลับใหเจาวา
ในพนื้ ท่ีนาของเรามขี ุมทรพั ยใหญซ อนอยู เจาจะตองขดุ ข้นึ ดู พอพูดเทาน้นั แลวก็ขาดใจยงั หาทนั จะบอก
วาขุมทรัพยนั้นอยูตรงไหน ๆ ไม ฝายบุตรทั้ง 3 ต้ังแตบิดาตายแลวก็ชวยกันตั้งหนาขุดพ้ืนท่ีดินข้ึน
จนทั่ว คนหาจนส้ินเชิง ก็หาพบขุมทรัพยไมแตไดรับผลที่ขดุ ไดคือ เม่ือขุดพรวนดินข้ึนดีแลว จึงหวาน
36 | ห น้ า
เพาะพชื ไดผ ลเปนรางวลั ของธรรมดาโลกและอกี นัยหนงึ่ เปน ขุมทรัพยท ่ีบดิ าไดบอกไววา อยูในพืน้ ทน่ี า
นั้นเอง
(ความเพยี ร ธรรมจริยา ของ เจา พระยาธรรมศักดิม์ นตรี)
1.5 อปุ มาโวหาร คอื การเขียน โดยยกขอความเปรียบเทียบเพ่ือใหผูอานเขาใจเรื่องราว
ตา ง ๆ ไดดยี ่ิงขึน้ ใชแ ทรกในโวหารตาง ๆ
ตวั อยา ง อุปมาโวหาร
ขณะน้ันโจโฉจงึ วาแกท หารทั้งปวงวา เลา ปค รั้งนีอ้ ุปมาเหมอื นปลาขังอยูใ นถัง เสอื ตกอยใู น
หลุม ถาแกจะละเสยี ใหเลด็ ลอดหนีไปได บัดน้กี ็เหมือนปลอยเสือเขาปา ปลอยปลาลงในสมุทร ทหาร
ทัง้ ปวงจงชวยกันขะมักเขมนจับตวั เลาปใหจ งได ทหารทัง้ ปวงตางคนตา งรีบขนึ้ หนาขับกนั ตามไป
(สามกก ตอนจูลงฝาทัพรบั อาเตา )
การอานออกเสยี งรอยกรอง
การอา นบทรอยกรองตาง ๆ ใหเปน ไปตามทาํ นองลีลาและจังหวะอันถูกตองจะทําใหเกิดความ
ไพเราะเสนาะหู และทําใหผ ฟู ง ไดรบั อรรถรสทางภาษาดว ย
หลกั การอานออกเสยี งรอยกรอง
1. อานออกเสยี งใหดงั พอเหมาะ กับสถานทีแ่ ละจาํ นวนผฟู ง
2. อา นใหค ลอง รนื่ หู ออกเสียง ใหชัดเจนโดยเฉพาะตวั ร ล ตวั ควบกล้ํา
3. อานใหถูกฉันทลักษณของคาํ ประพันธ เชน จํานวนคํา จํานวนวรรค สัมผัส ครุ ลหุ คําเปน
คาํ ตาย
4. อานใสอารมณ ตามลีลาของบทรอยกรองดวยความรูสึกซาบซึ้งชื่นชมในคุณคาของ
บทรอ ยกรองนัน้ ๆ โดยใหม ที ว งทาํ นอง สูง ตํา่ หนกั เบา เพอ่ื ใหไดรสถอย รสเสยี ง รสความ รสภาพ
การอานกลอนสภุ าพ
1. จํานวนคําในกลอนสุภาพ
ooo oo ooo ooo oo ooo
ooo oo ooo ooo oo ooo
2. คณะ กลอนสภุ าพ บทหน่ึงมี 2 บาท บาทที่ 1 เรียกวา บาทเอก มี 2 วรรค คือ วรรคสดับ
วรรครับ บาทท่ี 2 เรียกวาบาทโท มี 2 วรรค คือวรรครอง และวรรคสง พยางคในกลอนวรรคหนึ่ง ๆ
จะบรรจุคาํ ประมาณ 6-9 คํา กลอนแปด มวี รรคละ 5 คาํ รวม 4 วรรค เปน 32 คาํ
3. วธิ อี า นกลอนสภุ าพ
กลอนมีหลายชนิด ไดแก กลอนหก กลอนแปด กลอนดอกสรอย กลอนสักวา กลอนบท
ละคร การอา นคลายคลงึ กนั จะแตกตางกันบางเพยี งเลก็ นอ ย ดังน้ี
ห น้ า | 37
1. อานทํานองชาวบาน คือเสียงสูง 2 วรรค คือวรรคสดับ วรรครับ และอานเสียงต่ํา
ในวรรครอง และลดต่ําลงไปอีกในวรรคสง
2. อานทํานองอาลกั ษณ คอื อา นเสียงสงู 2 วรรค คอื วรรคสดับ วรรครับ และอานเสียงตํ่า
ในวรรครอง และลดต่ําลงไปอกี ในวรรคสง
การแบง จํานวนคํา วรรคหนึ่งจะมี 8-9 คาํ ดงั น้ี
3 2 3 เขาคลอขลยุ ครวญเสียง เพียงแผว ผิว
ชะลอนิ้ว พล้ิวผา น จนมานหมอง
ถา มี 9 คําจะแบงวรรคเปน 3 3 3
สรวงสวรรค ชนั้ กวี รุจรี ตั น
ผอ งประภสั สร พลอยหาว พราวเวหา
การอา นกาพยย านี
1. จํานวนคาํ ในกาพยยานี
oo ooo ooo ooo
oo ooo ooo ooo
2. วิธีอาน
วรรคท่ี 1 และ 2 ในบาทเอกจะออกเสียงต่ํา วรรคท่ี 1 ในบาทโท จะอานออกเสียงสูงขึ้น
หรือ อานออกเสียงเหมือนวรรคท่ี 1 ก็ไดตามความเหมาะสม วรรคที่ 2 ในบาทโท อานออกเสียงต่ํา
กาพยยานีมีจงั หวะการอานดงั นี้
มัสหมน่ั แกงแกว ตา หอมยหี่ รา รสรอนแรง
ชายใด ไดก ลืนแกง แรงอยากให ใฝฝนหา
การอานโคลงสีส่ ภุ าพ
1. จาํ นวนคาํ ในโคลงส่สี ุภาพ
oo ooo oo oo
oo ooo oo
oo ooo oo oo
oo ooo oooo
2. คณะโคลงบทหนงึ่ มี 4 บท บทท่ี 1 2 3 4 บาทหน่งึ มี 2 วรรค คอื วรรคหนาและ
วรรคหลังมจี าํ นวนคาํ เทากันคอื 5 คํา และ 2 คาํ ยกเวนวรรคหลังในบาทท่ี 4 จะมี 4 คาํ
3. วธิ ีการอา น
การอา นโคลงสี่สภุ าพสามารถอานได 2 ลลี า คอื
1. อา นแบบรอ ยแกว
2. อานแบบทาํ นองเสนาะ
38 | ห น้ า
การแบงชว งเสียง วรรคแรกเปน 2 ชว ง เปน 3 2 หรอื 3 2 วรรคหลัง เปน 2 การแบงชวงเสียง
ตองพจิ ารณาใหคงความหมาย แทนทจ่ี ะแกต ามปกตบิ ทรอยกรองทไ่ี พเราะ กวจี ะจัดกลมุ คําไวดีแลว
การเอ้ือนเสียงทอดเสียง ตามปกติจะเอื้อนเสียงทายวรรคแรกของแตละบาท ในบาทท่ี 2
อาจเอือ้ นเสยี งไดถ งึ คําที่ 1 คําท่ี 2 ของวรรคหลัง และบาทท่ี 4 ระหวางคําที่ 2 กบั คาํ ท่ี 3 ของวรรคที่ 2
และทอดเสียงตามตาํ แหนงสมั ผสั
ตัวอยา งโคลงส่สี ภุ าพ
เรืองเรอื ง ไตรรัตนพน พันแสง
รนิ รส พระธรรมแสดง คํ่าเชา
เจดยี ระดงแซง เสียดยอด
ยลยิง่ แสงแกวเกา แกนหลาหลากสวรรค
(นริ าศนรนิ ทร)
การอานฉันท
ฉันท มีลักษณะบังคับพิเศษแตกตางไปจากคําประพันธชนิดอ่ืนโดยบังคับ ครุ ลหุ แทนคํา
ธรรมดา และบังคับสัมผัส เชน เดยี วกบั คาํ ประพันธช นดิ อ่ืนๆ
คาํ ลหุ (,) คอื พยางคท ีม่ ีลักษณะใดลกั ษณะหนงึ่ ดงั นี้
1. การประสมสระเสยี งสัน้ ในแม ก กา เชน จะ ทิ ปุ ยกเวน พยางคท่ีประสมดวย สระ อํา ใอ
ไอ เอา ซ่งึ จัดเปนคาํ ครุ เชน คาํ ไกล ใจ เรา
2. คาํ บ บ จดั เปน คาํ ลหุ
คาํ ครุ คือ พยางคท่มี ีลกั ษณะใดลกั ษณะหนง่ึ ดังน้ี
1. ประสมสระเสียงยาวในแม ก กา เชน อา ดี เธอ ปู
2. ประสมสระ อํา ใอ ไอ เอา
3. มตี ัวสะกด เชน มด กัด เดก็
ห น้ า | 39
แผนบงั คับอินทรวิเชยี รฉันท
อินทรวิเชียรฉันท บทหน่ึงมี 2 บาท บาทหน่ึงมี 2 วรรค วรรคหนา 5 คํา วรรคหลัง 6 คํา
มกี ารแบงจังหวะการอา นดงั นี้
สายนั ห ตะวันยาม ขณะขา ม ทฆิ มั พร
เขาภาค นภาตอน ทศิ ตะตก กร็ าํ ไร
หนงั สือและสื่อสารสนเทศ
หนังสือ
ปจจุบันน้ีมีหนังสือออกมาจําหนายหลายประเภท ท้ังตาํ ราวิชาการ วารสาร นิตยสาร
หนังสือพิมพ นวนิยาย เร่ืองส้ัน สารคดี ฯลฯ การที่มีหนังสือออกมาจาํ หนายมากมายเชนน้ี ผูอาน
จึงจาํ เปนท่ีจะตองรูวิธีการเลือกหนังสือ เพ่ือจะไดอานหนังสือที่เหมาะกับความตองการของตนเอง
เหมาะกับเวลาและโอกาส
วธิ ีการเลอื กหนงั สือประเภทตาง ๆ
ในการเลือกอานหนังสือประเภทตาง ๆ น้ัน ผูอานควรพิจารณาใหรอบคอบ ละเอียดถี่ถวน
เพอ่ื ประโยชนใ นการพิจารณาคุณคา ของหนังสือนั้น ๆ หนังสือแตล ะประเภทควรเลอื กพิจารณาดังนี้
1. ตาํ ราวชิ าการ เปน หนังสอื ที่ใหค วามรดู า นตาง ๆ โดยเฉพาะอาจจะเสนอทฤษฎีหรือเน้อื หา
สาระอยางกวาง ๆ หรือเฉพาะดานใดดานหนึ่ง โดยผูแตงมีจุดมุงหมายทางดานวิชาการโดยตรง
การพจิ ารณาควรดูรายละเอียดในดานตาง ๆ ดงั นี้
1.1 พิจารณาดานเน้ือหา เน้ือหาจะตองถูกตองกับชื่อหนังสือ เชน วิชาวิทยาศาสตร
กฎหมาย ภาษาศาสตร ประวัติศาสตร คณิตศาสตร ฯลฯ หนังสือวิชาการแขนงใด เน้ือหาก็ควรจะ
เนน แขนงนนั้ โดยเฉพาะ
1.2 พิจารณาขอมูลและภาพประกอบ ขอมูลและภาพประกอบควรถูกตองชัดเจน
โดยเฉพาะภาพประกอบ ควรดูวาตรงกับคาํ บรรยายหรือไม และภาพน้ันนาสนใจเพียงใดเหมาะสม
กบั วิชาน้นั หรอื ไม
1.3 การใชภาษา ภาษาท่ีใชควรเปนภาษาทเ่ี หมาะสมกับแขนงวิชานัน้ ๆ และดูการสะกด
คาํ ดวยถา หากมคี ําผิด ก็ควรจะเลอื กดูหนังสอื ทม่ี ีคําผิดนอยท่ีสุด
40 | ห น้ า
นอกจากนี้การพจิ ารณาตําราวิชาการควรดสู ว นประกอบอืน่ ๆ ดว ย เชน รูปเลม ควรมคี ํานํา
สารบญั ฯลฯ
2. สารคดี เปนหนังสอื ท่ีมีสาระในดานใหความรู ความคิด พรอมทั้งใหความเพลิดเพลินดวย
หนังสือประเภทน้ีมีหลายชนิด เชน วิทยาศาสตร ประวัติศาสตร ประวัติบุคคลสําคัญ ฯลฯ หนังสือ
สารคดที ่มี ีคณุ ภาพนั้นพจิ ารณาในรายละเอียดตา งๆ ดังนี้
2.1 พิจารณาดานเนอ้ื หาสาระ คุณคา ของสารคดีนน้ั อยทู ่ีเนอ้ื หาสาระเปนประการสาํ คัญ
เนื้อหาท่ีดีจะตองถูกตองและสมบูรณ รวมท้ังเสนอความคิดเห็นท่ีเปนประโยชนตอผูอานและสังคม
สว นรวม เชน
2.1.1 สารคดีประเภทชีวประวัติ เน้ือหาสาระจะตองตรงตอความเปนจริง ผูเขียน
จะตองเขยี นดวยใจเปนธรรม ไมอ คตติ อ เจา ของประวัตินัน้ ๆ เนอ้ื หาจงึ ควรมีทง้ั สวนดแี ละสวนบกพรอ ง
ของเจาของประวตั ิ
2.1.2 สารคดีประเภททองเท่ียว ควรมเี น้ือหาทีใ่ หท ้ังความรแู ละความบนั เทิงรวมท้ัง
ประสบการณทแ่ี ปลกใหมนา สนใจ เพือ่ ใหผ ูอานไดท ราบขอเท็จจรงิ เก่ยี วกับสถานท่ีนั้น ๆ
2.1.3 สารคดีประเภทเชิงวิชาการ ควรมเี นอ้ื หาทใี่ หความรูอ ยา งถูกตองแมนยํา ควร
มีภาพหรอื แผนท่ีประกอบใหถ ูกตอ งตรงกบั สาระของเร่ืองดว ย
2.2 พิจารณาวธิ ีการเขยี น วธิ กี ารเขียนสารคดพี ิจารณาไดจ ากหลักเกณฑต อ ไปนี้
2.2.1 การวางโครงเรื่องและการดาํ เนินเรื่อง สารคดีตองมีวิธีการดาํ เนินเร่ือง
ตามลําดับ
2.2.2 เราความสนใจ ขอเขยี นที่ดผี เู ขยี นจะมวี ิธีการเขียนที่จะดึงดูดความสนใจของ
ผูอานใหตดิ ตามอา นไปเรือ่ ย ๆ โดยไมเ กดิ ความเบ่ือหนาย เชนการสอดแทรกความคดิ เหน็ หรือเหตุการณ
ปจ จบุ ันทีน่ า สนใจหรอื การเลาตาํ นาน นทิ าน เกร็ดขําขันตาง ๆ เปนตน ตอนปดเร่ืองก็จบอยางซาบซึ้ง
ประทบั ใจหรือใหข อ คิดอยางใดอยา งหน่ึง เพอื่ ใหผอู า นอยากติดตามอานตอ ไป
2.2.3 สํานวนภาษา ภาษาทใี่ ชใ นการเขยี นสารคดีเปน ถอยคาํ ภาษาท่ีไพเราะงดงาม
มีสํานวนกะทดั รดั อา นเขา ใจงาย ไมใชสาํ นวนท่ไี มสุภาพ
2.2.4 สวนประกอบอน่ื ๆ ควรพิจารณาเก่ยี วกบั ผูแตง และสว นประกอบรปู เลม ของ
หนังสือถาสารคดีน้ันเปนหนังสือเลม ซึ่งจะมีคําวา สารบัญ เนื้อเรื่อง บรรณานุกรม ฯลฯ
ตามรูปแบบของหนงั สอื
3. บันเทิงคดี เปนหนังสือทีแ่ ตง เพื่อมงุ ใหผ อู า นเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน อาจจะแทรก
วรรณคดี บทรอยกรอง บทละคร ซึ่งสามารถแตงเปนรอยแกวหรือรอยกรองก็ไดตามความเหมาะสม
ในการพจิ ารณาเรอ่ื ง บนั เทิงคดี ควรพจิ ารณาในดานตา งๆ ดงั นี้
3.1 โครงเรื่องและเน้ือเร่ืองสวนสาํ คัญของนวนิยายและเรื่องสั้นคือ การเลาเร่ือง
โดยเลาวาเปน เรื่องของใคร เกิดขึน้ ที่ไหน เมื่อไร มีความสมั พันธระหวางเหตุการณตาง ๆ ในเร่อื งและ
ระหวางบคุ คลในเรื่องเกยี่ วเนอื่ งกันไปโดยตลอด มกี ารสรางความสนใจใหผ อู า นอยากตดิ ตาม นอกจากนี้
ห น้ า | 41
เหตุการณทเ่ี กดิ ข้นึ ในเรือ่ งควรสมจริง และเปน ไปอยา งสมเหตสุ มผล และมีสวนประกอบปลีกยอ ยอืน่ ๆ
เพื่อใหนาตดิ ตาม
3.2 การดําเนินเรื่อง สวนสําคัญที่ชวยใหเร่ืองนาสนใจชวนติดตามขึ้นอยูกับการดําเนิน
เร่อื ง การดาํ เนนิ เรอื่ งมีอยูหลายวิธี เชน ดาํ เนนิ เร่อื งตามลาํ ดับวยั คือ เร่ิมต้งั แตตวั ละครเกิดจนกระทัง่ ถึง
แกกรรมดําเนินเร่ืองยอนตน คือ เลาเหตุการณในตอนทายเสียกอน แลวยอนกลับไปเลาตั้งแตตน
จนกระทั่งจบ เปนตน ฉากท่ีดีตองมีสภาพความเปนจริงท้ังสภาพภูมิศาสตรและประวัติศาสตร
นอกจากนีย้ ังตอ งสอดคลอ งกบั เรือ่ งดวย
3.3 ตัวละคร ผูเขียนมีวิธีการแนะนําตัวละครไดหลายวิธี เชน ดวยการบรรยายรูปราง
ลกั ษณะของตัวละครเอง ดวยการบรรยายพฤติกรรมของตัวละคร หรือดวยการใหตัวละครสนทนากัน
เปนตน การบรรยายลักษณะนสิ ัยของตวั ละครท่ีดีน้นั ควรบรรยายอยา งสมจรงิ ตัวละครตัวหน่ึง ๆ จะมี
ลักษณะนสิ ัยหลาย ๆ อยา ง ไมใ ชดจี นหาทต่ี มิ ไิ ด หรือเลวจนไมมคี วามดีที่จะใหช มเชย ความตองการของ
ตัวละครท่ีดีควรจะเหมือนคนธรรมดาทั่ว ๆ ไป เชน มีความรัก ความโกรธ เกลียด หรือตองการความ
สนใจจากผูอ ่ืน เปนตน
3.4 แนวคิดของเรอ่ื ง แนวคดิ ของเรอื่ งสวนมากผูเขยี นจะไมบอกตรงๆ ผูอา นจะตอ งคนหา
เองวาไดแนวคิดอยางไร ตัวอยางเชน เรื่องลูกชายของศรีบูรพา ตองการแสดงวา “ลูกผูชายนั้น
มีความหมายอยางไร” จดหมายจากเมืองไทยของโบตั๋นตองการใหเ หน็ ขอ ดีขอเสียของคนไทยโดยเฉพาะ
“น้ําใจ” ซ่งึ ไมเหมอื นกันกับชาตอิ ่นื เปน ตน
นวนิยายหรือเร่ืองส้ันที่ดีนั้น ผูอานตองพิจารณาคุณคาที่จะไดจากเรื่องน้ันๆ ไมทางใดก็
ทางหน่ึงดว ย
3.5 สาํ นวนภาษา เปนสิ่งสาํ คัญมากอยางหน่ึง ในการพิจารณาเลือกอานนวนิยายและ
เร่ืองสั้นผูอานมักจะรูสึกวาตนเองชอบหรือไมชอบสํานวนของนักเขียนคนน้ันคนนี้ แตบางคนก็ไม
สามารถบอกวาเพราะเหตุใด ส่ิงท่ีควรพิจารณาเก่ียวกับสาํ นวนภาษาคือสํานวนภาษาของตัวละคร
ในบทสนทนา ตองสมจริงและเหมาะสมกับตวั ละคร ประโยคทแี่ ตกตางควรกะทดั รัด สละสลวย เขาใจ
งา ย หากเปนประโยคยาวก็ควรเปน สํานวนทสี่ ามารถสรางอารมณ และความรสู ึกไดดี
4. วารสารและหนงั สือพิมพ หนงั สอื ประเภทน้ีคนทวั่ ไปไดอ า นบอยกวาหนังสอื ประเภทอ่ืนๆ
ในการผลิตหนังสอื ประเภทนต้ี องแขงกับเวลา ดังนั้น โดยการพิจารณาหนังสือประเภทน้ีควรพิจารณา
ดงั น้ี
หนังสือพิมพ หนังสือพิมพเปนเครื่องมือส่ือสารที่จะกระจายขาวคราวเหตุการณตาง ๆ
ไปท่วั ประเทศหรอื อาจทวั่ โลก โดยเฉพาะหนงั สอื พมิ พร ายวัน เปนเครื่องมอื สื่อสารทีเ่ สนอขาวท่นี า สนใจ
ท่ีเกิดข้นึ ในแตล ะวนั ดังน้ันหัวใจของหนังสอื พิมพรายวันก็คือ “ขาว” การพิจารณาหนังสือพิมพรายวัน
จึงควรพจิ ารณาเก่ียวกบั ขาววามสี วนในการชวยยกระดบั สังคมใหสูงข้ึนหรอื มีประโยชนต อ ชนหมมู าก
42 | ห น้ า
หรือไม หากขา วนนั้ ไมเ ก่ยี วกับความเปนอยขู องคนหมมู าก หรือกระทบกระเทอื นตอ ประชาชนสวนใหญ
เหตุการณเหลานั้นก็ไมควรนํามาเสนอในหนาหนังสือพิมพ ขาวที่ควรนําเสนอควรเปนขาวท่ีเก่ียวกับ
การปกครอง การเมือง เศรษฐกจิ สังคม การศึกษา การอนามัย การประกอบอาชพี ฯลฯ
เหตุการณท่ีไมสมควรนํามาเสนอเปนขาวอีกอยางหน่ึงก็คือเหตุการณท่ีอาจจะสงผลทําลาย
ความมัน่ คงของชาติ หรือทําลายวัฒนธรรม และประเพณอี นั ดีงาม
บทวิจารณ ในหนงั สอื พิมพรายวนั ทกุ ฉบบั จะมบี ทวิจารณ หรือบทวเิ คราะหข า ว ซงึ่ เปน ลกั ษณะ
บทความ แสดงความคิดเห็นของผูเขียนเอง ประกอบกับขาวที่ตองการวิจารณ หรือวิเคราะหน้ัน
การพจิ ารณาบทวจิ ารณในหนงั สอื พิมพ ควรพิจารณาถึงลักษณะตอ ไปนี้
1. พิจารณาขอมูลท่ีผูเขยี นอา งอิงวาถกู ตองและมีขอเท็จจริงเพยี งใด
2. พจิ ารณาวาผูเขยี นบทความนนั้ ชีใ้ หเห็นปญ หาและวิธแี กปญ หาอยางไร
3. พจิ ารณาวา ผูเขยี นบทวจิ ารณใ ชอารมณ และนาํ ความรสู ึกสวนตวั เขาไปเกย่ี วขอ งหรือไม
4. พิจารณาภาษาทใี่ ชวา มคี วามประณีตและถูกตอ งตามหลกั ภาษาเพยี งใด
วารสาร เปนหนังสือพิมพจําหนายตามกําหนดระยะเวลา เชน 7 วัน 10 วัน รายเดือน
ราย 3 เดือน หรือรายป เปนตน หนังสือวารสารจึงมีเนื้อหาเนนท้ังสารคดี และบันเทิงคดี ขาวสารที่
ปรากฏมกั เปนขาวสารทมี่ รี ะยะเวลาตอ เนือ่ งกันเปน เวลานาน เชน ขา วเกีย่ วกบั นโยบายโครงการตาง ๆ
หรอื ขาวเกี่ยวกับการเมืองบางเรอ่ื ง เปน ตน
ดังนน้ั การอา นวารสาร จงึ ควรพิจารณาเลือกอานเรื่องที่เราสนใจ และควรพยายามอานอยาง
สม่าํ เสมอ
นอกจากพิจารณาเก่ียวกับขาวสารดังกลาวแลว สิ่งที่ควรพิจารณาอีกอยางหน่ึงคือรูปเลม
ควรพจิ ารณาความเรยี บรอ ยและความคงทนของการจดั รูปเลม ใหเหมาะสมกับราคาดวย
ประโยชนข องการเลอื กหนงั สอื
การเลือกหนังสือควรคํานึงถงึ ประโยชนทจี่ ะไดร บั ดงั ตอไปน้ี
1. เพ่อื ใหไ ดห นงั สอื ท่ตี รงกบั ความสนใจ และตองการท่ีจะศกึ ษาคน ควา
2. เพ่ือใหไ ดอ า นหนังสือทดี่ มี ปี ระโยชนตอชีวิต
3. เพื่อเลอื กหนงั สือใหเ หมาะสมกบั เวลา
1. การเลอื กหนังสือท่ีตรงกบั ความสนใจ และตอ งการท่ีจะศึกษาคนควา
ผูที่จะเลือกอานหนังสือประเภทนี้ก็คือ ผูท่ีมีความสนใจหนังสือเลมน้ันโดยตรง หรือผูท่ี
มีความตองการศึกษาคนควา เร่ืองนั้น ๆ โดยเฉพาะ เชน ผูศึกษาคนควาตามแนวทางท่ีตนไดเ รียนมา
ผูทเี่ รียนทางดา นภาษาก็จะคน ควาทางดานน้ี เพอื่ จะไดรบั ประโยชนจากการอา นอยางคมุ คา
ห น้ า | 43
2. เพ่อื ใหไดอ า นหนงั สอื ท่ีดมี ปี ระโยชนตอ ชวี ิต
ผูที่อานหนังสือทุกคนยอมหวังท่ีจะไดรับประโยชนจากการอาน เชน ขอคิดเห็น ความรู
ทางวิชาการ ขาวที่ทันเหตุการณ แนวทางดําเนินชีวิตท่ีดี ฯลฯ แมวาจะไดรับประโยชนเพียงเล็กนอย
กต็ าม เพราะการท่ไี ดร ับประโยชนโ ดยตรงจากการอานน้ียอมทาํ ใหไมเ สียเวลาโดยเปลาประโยชน
3. เพ่ือเลอื กหนังสือใหเ หมาะสมกบั เวลา
การอานหนังสือนั้นจะเสียเวลามากหรือนอยยอมแลวแตเร่ืองที่อานวามีขนาดส้ัน ยาว
แคไ หน มคี วามยากงายตอการอา นมากนอ ยเพียงใด ถาหากมเี วลานอ ยควรอา นเรอื่ งสั้นท่จี บไดท นั เวลา
ทม่ี ีอยู ถา มเี วลามากก็อา นเรอ่ื งยาวข้ึนโดยเลอื กใหเ หมาะสมกบั เวลา เพราะการอานหนงั สอื นั้น หากไม
เลอื กใหเหมาะสมกบั เวลาอาจทาํ ใหผ ูอา นรสู ึกเบอื่ และไมอยากอา นอกี ตอไป
ประโยชนที่ไดรับจากการอา นหนังสือ
การอา นหนงั สือยอมไดร บั ประโยชนหลายประการ ซ่ึงพอจะสรุปไดด ังนี้
1. อา นหนังสือตรงกับความตองการของตน
2. ไดร ับความรจู ากเรอ่ื งน้ันสมความตงั้ ใจ
3. ทําใหร กั การอานมากยง่ิ ข้นึ เพราะไดอ า นหนงั สือทตี่ นเลือกเอง
4. ชวยพฒั นาอาชพี ใหก าวหนา
5. ชวยใหเ กิดความคดิ สรางสรรค
6. ทาํ ใหเ กิดความเพลิดเพลนิ สนกุ สนาน
7. ทาํ ใหท ราบความเปน ไปของบานเมือง ทันโลก ทันเหตุการณ
8. เพิม่ พูนความรูความสามารถ เปนการพัฒนาตนเอง
9. ไดอา นหนังสอื ทีม่ คี ณุ คา คุม กบั เวลาที่เสียไป
ส่ือสารสนเทศ
ปจจบุ ันไดมกี ารนําเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชประโยชนทางการศึกษา ท้ังในดานการบริหาร
การจัดการและการเรียนรูดานสอ่ื อเิ ลก็ ทรอนิกส เปนการใชประโยชนจ ากแหลงความรูจากส่ือตาง ๆ
ทห่ี ลากหลายมากขึ้น เพือ่ ใหป ระชาชนสามารถเรยี นรูและพฒั นาตนเองไดอยางตอเนอื่ ง
สื่อสารสนเทศมีทัง้ สอ่ื ส่ิงพิมพ และสอื่ อเิ ลก็ ทรอนิกส
สอ่ื สงิ่ พิมพ
ส่ิงพิมพท่ีจัดพิมพข้ึนเพ่ือนําไปใชในการจัดการเรียนการสอน เชน หนังสือเรียน ตําราเรียน
แบบเรียน แบบฝกหัด ใบงาน คูมือการสอนและสงเสริมการเรียนรู เชน หนังสือสงเสริมความรู
สารานกุ รม พจนานกุ รม หนังสือพิมพ หนังสือบันเทิงคดี และสารคดีท่ีมีเน้ือหาเปนประโยชน สวนส่ือ
ส่ิงพิมพที่ใหความรูขาวสารตางๆ เชน หนังสือเลม หนังสือพิมพ วารสาร นิตยสาร เอกสาร จุลสาร
แผนพบั แผน เปลา เปน ตน
44 | ห น้ า
สอ่ื อิเลก็ ทรอนกิ ส
สังคมยุคปจจุบัน การส่ือสารดวยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกสมีใชกันอยางกวางขวางท่ัวประเทศ
การใชสื่ออิเล็กทรอนิกสในสังคมยุคโลกาภิวัตนเปนเร่ืองจําเปน เพราะชวยใหประชาชนเขาถึงขอมูล
ขาวสารความรูตาง ๆ ไดอยางรวดเร็ว อันเปนการสงเสริมสรางโอกาสในการเขาถึงการศึกษาของ
ประชาชน ใหสามารถเรยี นไดอยางตอเนือ่ งตลอดชีวติ สอ่ื อเิ ล็กทรอนิกส ไดแ ก วิทยุ โทรทศั น เทปเสียง
วีดิทัศน โปรแกรมคอมพิวเตอรซอฟตแ วรในรปู แบบตา ง ๆ คอมพิวเตอรชว ยสอน เปน ตน
1. วทิ ยุ เปนสอื่ มวลชนท่ใี ชเสียงเปน สื่อ เร่ืองราวที่สื่อสารมีท้งั เร่อื งท่ีใหความบันเทิงและเร่ือง
ท่ีใหสาระความรู เชน ขาว บทความ รายการตอบปญหา สัมภาษณบุคคลสําคัญ รายการวิทยุ
เพอ่ื การศึกษา เปน ตน
2. โทรทัศน เปนสื่อมวลชนท่ีใชท้ังเสียงและภาพเปนสื่อ การชมรายการทางโทรทัศน
นอกจากเราจะสมั ผสั ดวยหแู ลว ยังสัมผัสไดด วยตาอีกดว ย รายการโทรทัศนจงึ นา สนใจกวารายการวิทยุ
และทําใหผูช มต่ืนตัวอยตู ลอดเวลา จึงประทับใจหรอื จดจาํ ไดดกี วารายการวทิ ยุ
รายการตา ง ๆ ทางโทรทัศนไมต างกับรายการทางวิทยุ คือ มีทั้งรายการที่ใหความบันเทิงและ
รายการท่ใี หทัง้ ขอ มูล ขาวสาร และความรทู ่ีทนั สมยั ทนั เหตกุ ารณ รวมท้ังใหค วามบันเทิง เชน รายการ
ขาวท้ังในประเทศและตางประเทศ รายการโทรทัศนเพ่ือการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มหาวิทยาลัยรามคําแหง รายการสัมภาษณบุคคลสําคัญ รายการ
รัฐบาลพบประชาชน รายการทดสอบเชาวน ความจํา และอน่ื ๆ
3. คอมพิวเตอรช วยสอน เปน สอ่ื ทผ่ี เู รียนสามารถนาํ ไปศกึ ษาดว ยตนเองในเวลาและสถานท่ี
ที่ผูเรียนสะดวก ทําใหมีความเปนอิสระและเปนสวนตัวในการเรียนรู สามารถโตตอบหรือให
ผลยอ นกลับไดทนั ที ทาํ ใหผ ูเ รยี นทราบความกา วหนาในการเรียนของตนซึ่งหากไมเขาใจก็ยอนกลับไป
ทบทวนไดหลาย ๆ ดา น ทําใหผ ูเรยี นไดพฒั นาความรตู ามความพรอมและศักยภาพของตน
4. อนิ เตอรเนต็ (Internet) หรอื เทคโนโลยีเครือขา ยเปนการเช่อื มโยงแหลง ขอ มลู จากท่ัวโลก
ท่ีหลากหลายคลายกับ “หองสมุดโลก” ใหผูเรียนไดคนควาเนื้อหาสาระท่ีตองการไดอยางสะดวก
รวดเรว็ และราคาประหยดั
เร่ืองท่ี 3 การอานจบั ใจความสาํ คัญ
การอา นจะเกดิ ประโยชนสงู สดุ แกผูอานไดน้ัน ผูอานจะตองจับใจความสําคัญของเร่ืองที่อาน
ใหไ ดแลว นาํ ไปปฏบิ ตั ิ
ใจความสําคญั หมายถึง ขอความทีเ่ ปน แกนหรือหวั ใจของเรอ่ื ง
การจับใจความสําคัญในการอานก็คือ กรณีเอาขอความหรือประโยคที่เปนหัวใจของเรื่องน้ัน
ออกมาใหได เพราะใจความสําคัญของเรือ่ งจะเปนใจความหลักของแตละบทแตละตอน หรอื แตละเรือ่ ง
ห น้ า | 45
ใหร วู าแตล ะบทตอนน้นั กลา วถงึ เรอ่ื งอะไรเปนสาํ คญั ดังนั้น การจับใจความสําคญั ของเร่ือง ที่อานจะทํา
ใหม ีความเขา ใจในเร่อื งนนั้ ๆ อยา งแจมแจง
หลักการอานจบั ใจความ
1. การเขาใจความหมาย
หลักเบ้ืองตนในการจับใจความของสาระท่ีอาน คือ การเขาใจความหมาย ความหมาย
มีหลายระดับนับตั้งแตระดับคํา สํานวน ประโยค และขอความ คําและสํานวนเปนระดับภาษาที่ตอง
ทําความเขาใจเปน อนั ดับแรก เพราะนาํ ไปสคู วามเขา ใจความหมายของประโยคและขอ ความ
1.1 ความหมายของคํา
ความหมายของคําโดยทั่วไปมี 2 อยาง คือ ความหมายโดยตรง และความหมาย
โดยนยั
ก. ความหมายโดยตรง เปนความหมายตามรูปคําท่ีกําหนดข้ึน และรับรูไดเขาใจ
ตรงกนั ความหมายประเภทนเ้ี ปนความหมายหลักทีใ่ ชสื่อสารทําความเขา ใจกัน
คําท่ีมีความหมายโดยตรงในภาษาไทยมีลักษณะอยางหน่ึงท่ีอาจเปนอุปสรรค
ในการสื่อสารลักษณะดังกลาว คือ การพองคํา คําพองในภาษาไทยมีอยู 3 อยาง ไดแก คําพองรูป
คําพอ งเสยี ง และคําพองรูปพอ งเสยี ง คําท่พี อ งท้งั 3 ลักษณะนีม้ ีความหมายตา งกัน
คาํ พอ งรูป คือ คําท่ีสะกดเหมือนกัน แตออกเสียงตาง เชน เพลารถ กับ เพลาเย็น
คําแรก ออกเสยี ง เพลา คําหลังออกเสียง เพ ลา คําพองรปู เปน อุปสรรคตอการอานและทําความเขาใจ
คําพองเสียง คือ คําที่ออกเสียงเหมือนกัน แตสะกดตางกัน เชน การ กาน กานต
กานท กาล กาฬ กาญจน ทัง้ หมดนี้ออกเสียง “กาน” เหมือนกัน การพอ งเสยี งเปน อปุ สรรคตอการอาน
เพ่ือความเขา ใจ
คาํ พองรปู พองเสยี ง คือคาํ ท่ีสะกดเหมือนกนั และออกเสียงอยางเดียวกัน โดยรูปคํา
จะเห็นวา เปนคําเดียวกนั แตมคี วามหมายแตกตางกัน ดงั ตัวอยา งตอไปนี้
ขัน หมายถงึ การทาํ ใหแนน
ขนั หมายถงึ ภาชนะตกั นา้ํ
ขนั หมายถึง ความรสู ึกชอบใจ
ขัน หมายถงึ การสงเสียงรอ งของไกต ัวผู
ขัน หมายถงึ การรับ ฯลฯ
46 | ห น้ า
คําพองรปู พองเสียงเปนอุปสรรคตอการฟงและอานเพ่ือความเขาใจ วิธีที่จะชวยใหเขาใจ
ความหมายของคําพอง จะตองดูคาํ ขางเคียงหรือคําที่ประกอบกันในประโยค หรือขอความน้ัน
ท่ีเรยี กวา บรบิ ท ดงั ตัวอยางตอไปน้ี
ขันชะเนาะใหแ นน
หยิบขันใหท ซี ิ
เขารูสกึ ขนั
ไกข ันแตเ ชามืด
เขาขันอาสาจะไปตดิ ตอให
นอกจากดูคําขางเคียง หรือคําประกอบในประโยคแลว บางที่ตองอาศัยสถานการณ เชน
ประโยคท่วี า
“ทําไมตอ งดูกนั ”
คาํ วา “ดู” ในสถานการณท่ัวไป หมายถึง การมอง แตในสถานการณเฉพาะเชนการสอบดู
จะมคี วามหมายวา ลอกกัน เอาอยางกัน
ในบทรอ ยกรอง ตองอาศยั ฉนั ทลักษณ เชน สมั ผสั เปน ตน ตัวอยางเชน
อยา หวงแหนจอกแหนใหแ กเ รา แหน แ หน
พอลมเพลาก็เพลาสายัณห เพลา เพ ลา
คําที่ความหมายโดยตรงไดแก คําศัพท คําศัพทคือ คําท่ีตองแปลความ เปนคําไทยท่ีมาจาก
ภาษาอ่ืน สันสกฤต เขมร เปนตน เชน สมโภช รโหฐาน สุคติ โสดาบัน บุคคล จตุราบาย เปนตน
รวมท้ังศัพทบัญญัติทั้งหลายท่ีใชในวงวิชาการหรือกิจบางอยาง เชน มโนทัศน เจตคติ กรมธรรม
เปนตน คาํ ศัพทดังกลาวน้ีจําเปนตองศึกษาวามีมูลมาอยางไร ประกอบขึ้นอยางไร และมีความหมาย
อยางไร
ข. ความหมายโดยนัย เปนความหมายท่ีส่ือหรือนําความคิดใหเกี่ยวโยงถึงบางส่ิง
บางอยา งที่มีลกั ษณะหรือคุณสมบัติเหมือนกับคําท่ีมีความหมายโดยตรง บางทานเรียกวา ความหมาย
รอง หรือความหมายแฝง
ความหมายโดยนยั มีหลายลกั ษณะ กลาวคอื มีความหมายเปน เชิงเปรยี บเทยี บ เชน
เปรียบเทียบโดยอาศยั นยั ของความหมายของคาํ เดิม ตวั อยางเชน
เธอมใี บหนา ยมิ้ แยม แจมใส
เขาทาํ งานเอาหนา หมายถงึ ทํางานเพ่ือผลประโยชนข องตน
เดก็ สาดโคลนกนั เลอะเทอะ
เขาสาดโคลนคณุ พอ หมายถงึ ใสร า ย
ตน ไมต นนเ้ี ปลือกสวย
หลอ นรวยแตเปลือก หมายถงึ ไมร าํ่ รวยจรงิ
ห น้ า | 47
มกี ารเปรียบเทยี บกบั คุณสมบัตขิ องสงิ่ ทน่ี ํามากลาว เชน
เขาเปนสงิ หสนาม หมายถงึ เปน คนเลนกฬี าเกง
1.2 ความหมายของสาํ นวน
สาํ นวนเปนขอความที่มีความหมายพิเศษไปจากคําที่ประกอบอยูในขอความนั้น
ไมไดมีความหมายตามรูปคํา ความหมายของสาํ นวนมีลักษณะเปนเชิงเปรียบเทียบโดยอาศัยนัยของ
ความหมายตามลักษณะหรือคณุ สมบตั ขิ องขอ ความน้ัน เชน
ออ ยเขาปากชาง หมายถงึ ของตกไปอยใู นมือผูอ่นื แลว ไมมที างไดคืน
ไกแกแมปลาชอน หมายถึง ผูทีม่ คี วามจดั จานเจนสงั เวยี น
วัวหายลอ มคอก หมายถงึ เม่อื เกิดความเสยี หายแลว จงึ หาทางปองกัน
กนิ ขาวตม กระโจมกลาง หมายถึง การพูดถึงสิง่ สดุ วิสยั ทีจ่ ะทําได
สวนตาง ๆ ที่นาํ ไปกลาวเปรียบเทียบใหเขากับสถานการณ เรียกวา คาํ พังเพย
เชน เมื่อของหายแลวจงึ คิดหาทางปอ งกนั กเ็ ปรยี บวา วัวหายลอมคอก เปนตน
ความหมายของสํานวนมีลักษณะเหมือนความหมายโดยนัย คือ ตองตีความ หรือ แปล
ความหมายตามนยั ของคาํ หรอื ขอความน้นั ๆ
2. การเขาใจลกั ษณะของขอ ความ
ขอความแตล ะขอความตอ งมีใจความอนั เปน จุดสาํ คัญของเรื่อง ใจความของเรือ่ งจะปรากฏ
ท่ีประโยคสําคญั เรยี กวา ประโยคใจความ ประโยคใจความจะปรากฏอยูในตอนใดของขอความกไ็ ด โดย
ปกตจิ ะปรากฏในตอนตา ง ๆ ดังนี้
ปรากฏอยใู นตอนตนของขอ ความ ตัวอยางเชน
“ภยั อนั ตรายทจี่ ะเปน เครื่องทําลายชาตอิ าจเกดิ ขนึ้ และมีมาไดท้ังแตภายนอก ทั้งท่ีภายใน
อนั ตรายท่ีจะมีมาตงั้ แตภายนอกนนั้ กค็ ือ ขา ศึกศตั รยู กมายํ่ายีตีบานตีเมืองเรา การที่ขาศึกศัตรูจะมาตี
นั้น เขายอ มจะเลอื กหาเวลาใดเวลาหนึง่ ซง่ึ ชาตกิ าํ ลงั ออ นแอและมไิ ดเตรยี มตวั ไวพรอ ม เพือ่ ตอสปู องกัน
ตน เพราะฉะน้ันในบทที่ 2 ขาพเจาจึงไดเตือนทานท้ังหลายอยาไดเผลอตัว แตขอสําคัญท่ีสุดเปน
เครื่องทอนกําลังและเสียหลักความมั่นคงของชาติ คือ ความไมสงบภายในชาติน้ันเอง จึงควรอธิบาย
ความขอนสี้ ักหนอ ย
(พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกลาเจา อยูห วั ปลุกใจเสอื ปา )
ปรากฏอยใู นตอนกลางของขอความ ตวั อยา งเชน
“อันความรัก ความชงั ความโกรธ ความกลวั ความขบขนั เหลา นเี้ ปน สามญั ลักษณะของปุถชุ น
ใครหวั เราะไมเ ปน ย้มิ ไมอ อก ก็ออกจะพกิ ลอยู คนสละความรักความชงั ไดก็มีแตพระอรหันต อารมณ
ความรูส ึกดังน้เี ปน ธรรมชาตขิ องมนุษย กวีและนกั ประพนั ธย อ มจะแตง เรื่องยัว่ เยาอารมณ ความรสู ึก
48 | ห น้ า
เหลานี้ และถาเขาแตงเปน แตงดี ก็จะปลุกอารมณของผูอานผูฟงใหเกิดขึ้น ทานคงจะเคยเห็นคน
อานเรอ่ื งโศกจบั ใจจนนา้ํ ตาไหล สงสารตวั นางเอก พระเอก อา นเรื่องขบขันจนหัวเราะทองคัดทองแข็ง
ท้ัง ๆ ท่ีรูวามันเปนเร่ืองอานเลน และคนท่ีอานก็ไมไดมีสวนเสียอะไรกับตัวนาง ก็พลอยโศกเศราไป
ดว ยได อยา งไรก็ดีความเศรา ของอารมณอ นั เกดิ จากความยั่วเยาของศิลปะวรรณคดี ตลอดจนนาฏกรรม
ตา ง ๆ นั้น เปนความสุขชนดิ หนึ่ง มฉิ ะนน้ั เรื่องทาํ นองโศกนาฏกรรมคงจะไมมใี ครดูเลย”
(นายตาํ รา ณ เมืองใต ภาษาและวรรณคดี)
ปรากฏใจความอยูทา ยยอ หนา ตวั อยา งเชน
“ทานกลาววา คนเปนสัตวท่ีเรียนรูคือ รูดู เห็นอะไรแลวเม่ือเห็นวาดีก็เอาไว ถาเห็นวาไมดี
ก็ไมเอาและหลีกเล่ยี ง เดก็ รูรสหวาน กอ็ ยากไดอ ีก ถา รูรสขมของบอระเพ็ด หรือเมื่อถูกไฟก็รูสึกรอนจะ
ไมตองการกินบอระเพ็ดหรือเขาใกลไฟอีก นี่เปนเรื่องของการผานพบเคยรูเคยเห็นเรื่องนี้ ตอ ๆ มา
หลาย ๆ ครั้ง เกดิ ความชํานาญชดั เจนขึ้น โลกมคี วามเจรญิ กาวหนา เรอื่ งวัฒนธรรมก็เพราะการผานพบ
และ การจัดเจนของมนุษย
(เสถียรโกเศศ ชวี ติ ชาวไทยสมยั กอนและการศึกษาเรือ่ งประเพณไี ทย)
ประโยคใจความอยูตอนตนและตอนทายของขอ ความ ตวั อยา งเชน
“คนไทยนัน้ ถอื วาบา นเปนส่ิงจําเปนตอชีวิตต้ังแตเกิดไปจนตาย เพราะคนไทยโบราณน้ันใช
บา นเปน ทีเ่ กดิ การคลอดลกู จะกระทาํ กันทบี่ า นโดยมหี มอพืน้ บา นเรยี กวา หมอตาํ แย เปนผูทําคลอด มไิ ด
ใชโรงพยาบาลหรือสถานผดุงครรภอยางในปจ จบุ นั น้ี และท่ีสดุ ของชีวติ เมอ่ื มกี ารตายเกิดขึ้น คนไทยกจ็ ะ
เก็บศพของผูตายท่เี ปนสมาชิกของบา นไวใ นบา นกอ นท่จี ะทําพิธีเผา เพ่อื ทําบญุ สวดและเปนการใกลชิด
กับผูตายเปนคร้ังสุดทา ย ดงั น้นั บานจึงเปนที่ที่คนไทยใชชีวิตอยูเกือบตลอดเวลาต้ังแตเกิดจนตาย”
(วบิ ูลย ลี้สุวรรณ “บา นไทย” ศลิ ปะชาวบา น)
การเขาใจถงึ การปรากฏของประโยคใจความในตอนตาง ๆ ของขอ ความดงั ทก่ี ลา วแลว จะชวย
ใหจับใจความไดด ยี ิง่ ข้ึน
3. การเขา ใจลกั ษณะประโยคใจความ
เมื่อเขาใจถึงลักษณะของขอความวาตองมีประโยคใจความ และปรากฎอยูในตอนตาง ๆ
ของขอความแลว ตองเขาใจตอ ไปวาประโยคใจความเปนอยา งไร
ประโยคใจความคือขอความที่เปนความคิดหลักของหัวขอ หรือเรื่องของขอความนั้น
ตัวอยา งเชน
หัวขอ บาน
ความคิดหลัก บา นเปนที่อยอู าศยั
หัวขอ ราชสหี
ความคดิ หลกั ราชสีหไ ดชอ่ื วา เปน เจาปาในบรรดาสัตวท งั้ หลาย
ห น้ า | 49
ความคดิ หลกั นี้ คือประโยคใจความท่จี ะปรากฏในตอนใดตอนหน่งึ ของขอ ความที่กลาวแลว
ฉะน้ันการท่ีจะทราบวาประโยคใดเปน ประโยคใจความ ตอ งพิจารณาจากหัวเร่ือง ประโยคใจความมักมี
เนอื้ หาสอดคลองกับหวั เรื่อง
ในกรณที ่ไี มทราบหวั ขอเรอ่ื ง ตอ งเขาใจวาสวนที่เปนประโยคใจความนั้นจะมเี น้ือความหลกั
ของเนอ้ื ความอนื่ ทีป่ ระกอบกนั ข้ึนเปนหวั ขอน้ัน ถาขาดสวนที่เปนใจความ เน้ือความอื่นก็เกิดขึ้นไมได
หรือความหมายออ นลง
การอา นอยางวเิ คราะห
การอานอยางวิเคราะห หมายถึง การอานท่ีมีการพิจารณาแยกรายละเอียดออกเปนสวน ๆ
เพ่ือทาํ ความเขาใจ และใหเหน็ ถึงความสมั พันธร ะหวางสว นตา ง ๆ เหลานัน้
การอานอยา งวิเคราะหเริ่มตนจากพื้นฐานขอมูลและความคิดจากการอานเองเปนอันดับแรก
เพ่อื ใหเ ขา ใจเนือ้ เร่ืองโดยตลอด ตอจากนั้นจึงแยกเรื่องในบทอานออกเปนสวน ๆ ไดรูวา ใครทําอะไร
เพ่ืออะไร อยางไร ในเร่ืองมีใครบาง หรือตัวละครก่ีตัว และที่มีบทบาทสําคัญมีกี่ตัว ทําไมเหตุการณ
จึงเปน อยา งนน้ั หรือเพราะเหตุใด ตอ ไปนาจะเปน อยางไร
ตอไปนี้จะนํานทิ านเรอ่ื ง “กระตา ยบนดวงจนั ทร” มาเลาใหฟง
นทิ านเร่ือง กระตายบนดวงจันทร
กาลคร้ังหนง่ึ มีกระตา ย ลิง นกน้ํา และสนุ ัขจิง้ จอก สาบานรวมกันวาจะไมฆาสัตวตัดชีวิต และ
บําเพ็ญตนเปนฤๅษีอยูในปา พระอินทรขอทดสอบในศรัทธาของสัตวทั้งสี่ จึงปลอมตัวเปนพราหมณ
เทย่ี วขอบริจาคทานโดยไปขอจากลงิ เปน ตัวแรก ลงิ มอบมะมวงให จากนน้ั พราหมณไ ปขอทานจากนกนํ้า
นกน้ําถวายปลาซึง่ มาเกยตนื้ อยรู มิ ฝงแมน้ํา สวนสนุ ัขจิง้ จอกก็ถวายนมหมอหน่ึงกบั ผลไมแ หง
เมือ่ พราหมณไปขอบริจาคทานจากกระตาย กระตายพูดกับพราหมณวา “ขากินแตหญาเปน
อาหารหญากไ็ มม ีประโยชนใด ๆ กบั ทา นเลย” พราหมณจ งึ เอย ขน้ึ วา ถากระตายบําเพ็ญพรตเปนฤๅษีที่
แทจ รงิ ขอใหสละชีวิตของตนเปนอาหารแกพราหมณ กระตายตอบตกลงทันทีและทําตามท่ีพราหมณ
ขอรอ งวา ใหกระโดดลงกองไฟแดง พราหมณจะไมลงมือฆาและปรงุ กระตายเปนอาหาร กระตายปนขึ้น
ยืนบนกอนหินและกระโดดลงกองไฟ ในขณะที่กระตายกําลังจะตกสูเปลวไฟนั้น พราหมณไดควา
กระตายไว แลว เปด เผยตัวตนท่แี ทจ รงิ วา คือใคร แลวพระอินทรก็นํากระตายไปไวบ นดวงจันทร
(จากนติ ยสารสารคดี ฉบบั ที่ 147 ปท่ี 13 หนา 30)
เม่อื อา นเรื่องนี้อยางวเิ คราะหกจ็ ะตองใหความคดิ ติดตามประเดน็ ตางๆ ตวั ละครในนทิ านเรื่องน้ี
มใี ครบาง มีลกั ษณะนิสยั อยางไร ตัวละครแตละตัวไดกระทําส่ิงใดบาง ทําอยางไร ผลของการกระทํา
เปนอยางไร ทําไมสัตวท้งั 4 จงึ สาบานรวมกนั วาจะไมฆา สัตวและบําเพญ็ ตนเปนฤๅษีอยูในปา เพราะเหตุใด
สัตวทั้ง 4 จึงบริจาคทานไมเหมือนกัน ทําไมพราหมณจึงนํากระตายไปไวบนดวงจันทรเพียงตัวเดียว
หากพระอินทรน าํ สตั วท ัง้ 4 ไปไวบนดวงจนั ทรเ ราจะเห็นรปู ของสัตวท้งั 4 บนดวงจนั ทรท ้งั หมดหรอื ไม
50 | ห น้ า
เร่อื งที่ 4 มารยาทในการอา น และนสิ ัยรักการอา น
การอา นอยางมมี ารยาทเปนเรือ่ งทจี่ าํ เปนและสําคญั เพราะการอา นอยางมีมารยาทเปน เรอื่ ง
การประพฤติปฏบิ ัตอิ ยางมีวินยั และรบั ผดิ ชอบ รวมทัง้ การมจี ิตสาํ นึกและแสดงถึงความเจรญิ ทางดาน
จิตใจท่คี วรยึดถอื ใหเปนนิสยั
มารยาทในการอาน
คําวา มารยาท หมายถึง กิริยา วาจาท่ีเรียบรอย หรือการกระทําท่ีดีงาม ผูอานที่ดีตองมี
มารยาทท่ดี ีในการอา นดงั ตอไปนี้
1. ไมสงเสยี งดังรบกวนผอู ื่น
2. ไมท าํ ลายหนังสอื โดยการ ขูด ลบ ขดี ทบั หรอื ฉีกสว นท่ีตอ งการ
3. เม่ือคัดลอกเนื้อหาเพ่ืออางอิงในขอเขียนของตน ตองอางอิงแหลงท่ีมาใหถูกตองตาม
หลกั การเขียนอางอิงโดยเฉพาะงานเขยี นเชิงวิชาการ
4. เมอ่ื อา นหนงั สอื เสร็จแลวควรเก็บหนงั สือไวทีเ่ ดมิ
5. ไมค วรอา นเร่ืองทีเ่ ปนสว นตัวของผอู นื่
6. อา นอยางตั้งใจ และมสี มาธิ รวมทั้งไมทําลายสมาธผิ อู ่ืน
7. ไมใชส ถานทีอ่ า นหนังสอื ทํากิจกรรมอยา งอ่ืน เชน นอนหลับ รบั ประทานอาหาร
นสิ ัยรักการอา น
การทบี่ คุ คลใดบุคคลหนงึ่ จะมีนสิ ัยรกั การอา นไดจะตอ งไดร บั การฝก ฝนมาตง้ั แตเ ดก็ ๆ แตก ม็ ใิ ช
วาเม่ือโตเปนผูใหญแลวจะไมสามารถสรางนิสัยรักการอานได ทั้งน้ีเราจะตองสรางบรรยากาศ
สภาพแวดลอ มทเ่ี อือ้ ใหเ ดก็ ๆ หันมาสนใจการอานดงั นี้
1. อานหนังสอื ทีต่ นเองชอบ จะทาํ ใหอ า นไดอ ยา งตอ เนอ่ื ง และไมเบอื่ หนา ย
2. ทาํ ตนใหเ ปนผูใฝรู
3. การอานจะตอ งมีสมาธเิ พื่อจับใจความของเรื่องทอี่ า นได
4. เรม่ิ อานหนังสอื จากระยะเวลาส้นั ๆ กอน แลว คอ ย ๆ กาํ หนดเวลาเพม่ิ ขนึ้
5. การอานจะตอ งมสี มาธเิ พ่อื จับใจความของเรอ่ื งท่อี านได
6. จดั ตารางเวลาสําหรบั การอานหนงั สือเปน ประจําทุกวนั ใหเ กิดความเคยชินจนเกิดเปนนิสัย
รักการอาน