240
3. การจัดการเรยี นรู้แบบโครงงานฐานวจิ ยั
การจดั การเรียนรูแ้ บบโครงงานฐานวิจยั (Research – Based Learning; RBL) เป็นการจดั การเรียนรู้
แบบบูรณาการที่ให้ผู้เรยี นไดส้ รา้ งองคค์ วามรู้ดว้ ยตนเอง ผ่านการทำโครงงานด้วยกระบวนการวิจัย การจัดการ
เรียนรู้แบบโครงงานฐานวิจัยมี 3 องค์ประกอบสำคัญ คือ จิตตปัญญาศึกษา การคิดเชิงระบบ และชุมชน
การเรียนรู้ทางวิชาชีพ การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานฐานวิจัยใช้จัดการเรียนรู้ ใน 2 ภาคการศึกษา
โดยภาคการศกึ ษาท่ี 1 เน้นการพฒั นาเค้าโครงโครงงานฐานวจิ ัย และภาคเรียนท่ี 2 เนน้ ในเร่อื งการทำวิจยั และ
การนำเสนอผลการวิจัย จะมขี น้ั ตอนในการจัดการเรยี นรูจ้ ำนวน 14 ขนั้ ตอน ดงั น้ี
2. การประเมนิ การเรยี นรู้
2.1 การประเมนิ การเรยี นรู้มจี ุดมุ่งหมายหลกั เพอ่ื พัฒนาผ้เู รียน
การประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียนต้ังอยู่บนหลักการที่สำคัญว่า การประเมินเป็นประสบการณ์การ
เรียนรู้ที่มีความหมาย สร้างแรงจูงใจ และส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน สามารถดำเนินการได้ตลอดเวลา
ในช่วงเวลาที่เหมาะสม มีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงและนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ การประเมินเป็นประสบการณ์
การเรียนรู้ที่เป็นบวกส่งเสริมให้ผู้เรียนแสดงออกถึงการพัฒนาสมรรถนะตามเกณฑ์การปฏิบัติ (Performance
Criteria) ท่ีกำหนดเป็นการวัดอิงเกณฑ์ ประเมินความก้าวหน้าตามอัตราตนเองเม่ือผู้เรียนพร้อม ผู้เรียนได้
รับทราบเกณฑ์การประเมินและข้อมูลพัฒนาการของตนเองท่ีชัดเจนเพ่ือเป็นข้อมูลป้อนกลั บในการพัฒนา
สมรรถนะ ผู้เรียนสามารถเลอ่ื นระดับการพัฒนาได้ (Advancement) หากแสดงถึงหลักฐาน หรือรอ่ งรอยการ
ปฏิบัติ (Evidence) ที่บ่งบอกความชำนาญ (Mastery) ของผู้เรียน หากไม่ผ่านผู้เรียนจะได้รับความช่วยเหลือ
อย่างทันท่วงทีเพื่อพัฒนาสู่ระดับสมรรถนะข้ันถัดไป การประเมินบูรณาการอยู่ในกระบวนการเรียนรู้
กระบวนการประเมนิ เน้นการรวบรวมหลกั ฐานการเรียนรู้เพื่อให้ได้สารสนเทศเก่ียวกบั พัฒนาการของผ้เู รียนท้ัง
241
ในด้านสมรรถนะเฉพาะและสมรรถนะหลัก เพ่ือใช้ในการพัฒนาผู้เรยี นอย่างต่อเนื่อง การประเมินการเรียนรู้
ของผู้เรียนดำเนินการท้ังการประเมินเพื่อพัฒนาและการประเมินเพื่อสรุปผล ด้วยวิธีการที่หลากหลายและ
สอดคล้องกับวัยและความต้องการจำเป็นของผู้เรียน และธรรมชาติของศาสตร์ การประเมินเพ่ือพัฒนาเป็น
จุดเน้นหลักของหลกั สูตรฐานสมรรถนะและมีบทบาทสำคัญในการขับเคล่ือนการเรียนรู้ของผ้เู รียน โดยเฉพาะ
ในระหว่างการจัดการเรียนรู้ การประเมินเพ่ือพัฒนาให้ความสำคัญกับสมรรถนะเฉพาะซ่ึงครอบคลุมความรู้
ทักษะ คุณลักษณะและเจตคติ และสมรรถนะหลักซึ่งเนน้ กระบวนการผ่านผลลัพธ์การเรยี นรู้ โดยพิจารณาจาก
หลักฐานการเรียนรู้เทียบกับเกณฑ์ การประเมินเพ่ือพัฒนาควรดำเนินการระหว่างการจัดการเรยี นรู้เป็นระยะ
ซึ่งเปน็ การแสดงความก้าวหน้าในการเรยี นรู้ และให้ข้อมลู ปอ้ นกลับ เพื่อการปรับปรุงและพฒั นาผู้เรยี น รวมถึง
สง่ เสริมและชแ้ี นะการเรยี นรูใ้ นลำดบั ตอ่ ไป และวางแผนเป้าหมายและเสน้ ทางการเรยี นรู้ในอนาคต ผเู้ รียนควร
มีส่วนร่วมในการประเมินตนเองและเพ่ือน เพื่อพัฒนาทักษะในการกำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์การ
เรยี นรู้ และเพอ่ื วิเคราะห์การเรยี นรู้ รวมทง้ั เพอ่ื เพิม่ แรงจงู ใจและกำกับการเรยี นร้ขู องตนเอง
2.2 การประเมินเพ่ือสรปุ ผล
เป็นการพิจารณาสมรรถนะเฉพาะและสมรรถนะหลักเพื่อทำการตัดสินใจในหลายลักษณะ ท้ังการ
ตดั สินผลการเรียน การเล่ือนชั้น และการจบการศึกษา การประเมินสรุปผลพิจารณาหลักฐานการเรยี นรู้เทียบ
กับเกณฑ์ การประเมินสรุปผลสมรรถนะเฉพาะประเมินผ่านผลลัพธ์การเรียนรู้เมื่อผู้เรียนพร้อม หรือเมื่อจบ
หน่วยการเรียนรู้ ส่วนการประเมินสมรรถนะหลักประเมินเมื่อจบปีการศึกษา เพ่ือสะท้อนภาพการพัฒนา
สมรรถนะของผูเ้ รียนตลอดแนว
2.3 การประเมินจากหลกั ฐาน (Evidence - based Assessment)
จากการประเมินเพ่ือพัฒนาและประเมินรวบยอดท่ีระบุไว้ในข้างต้น จะประกอบด้วยหลักฐาน หรือ
ร่องรอยการปฏบิ ัติ (Evidence) ทีบ่ ่งบอกความชำนาญ (Mastery) ของผู้เรียน หากไม่ผ่านผู้เรยี นจะได้รบั ความ
ชว่ ยเหลอื อยา่ งทนั ท่วงทเี พื่อพฒั นาสู่ระดับสมรรถนะข้นั ถดั ไป
3.4 การประเมิน 360๐ (360๐ Assessment)
โรงเรยี นมีการใหน้ กั เรียนประเมินตนเองเพอ่ื นประเมนิ เพอ่ื น ครปู ระเมนิ นักเรยี น นกั เรียนประเมินครู
ผู้ปกครองประเมินนักเรียน ดังน้ี
• ในการประเมินกลุ่มสาระการเรียนรู้พ้ืนฐาน (ภาษาไทย คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ) ใช้การ
ประเมินจากตวั ผูเ้ รียน เพอ่ื นผ้เู รียน ครู ผู้ปกครอง และคนในชมุ ชน
• ในการประเมินกลมุ่ สาระการเรียนรบู้ รู ณาการ
ชว่ งช้ันท่ี 1 ( ศลิ ปะ สุขศกึ ษาและพลศึกษา สังคมศึกษา วิทยาศาสตรแ์ ละระบบธรรมชาติ )
ช่วงชั้นท่ี 2 ( ศิลปะ สุขศึกษาและพลศึกษา สังคมศึกษา วิทยาศาสตร์และระบบธรรมชาติ
เทคโนโลยดี ิจิทลั การจัดการในครวั เรือนและการประกอบการ
3. การตัดสนิ ผลการเรียน
3.1 ตดั สินผลการเรียนตามผลลัพธ์การเรียนรู้
ในการตัดสินผลลัพธ์การเรียนรู้รายปีและผลลัพธ์การเรียนรู้ช่วงช้ัน กำหนดระดับความสามารถของ
ผเู้ รยี นเปน็ 4 ระดับ ดังนี้
A หมายถึง ผเู้ รียนผา่ นการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ในระดับเหนือความคาดหวงั /ดีเยยี่ ม
B หมายถึง ผู้เรียนผ่านการประเมินผลลพั ธก์ ารเรียนรู้ในระดบั สามารถ/ดี
C หมายถึง ผูเ้ รียนผ่านการประเมินผลลัพธก์ ารเรยี นรู้ในระดับกำลังพัฒนา/ปานกลาง
D หมายถึง ผู้เรยี นผ่านการประเมินผลลพั ธ์การเรยี นร้ใู นระดบั เร่ิมต้น/พอใช้
242
3.2 ตดั สินผลการพัฒนาสมรรถนะหลักของผเู้ รียน
ในการตดั สินผลการพฒั นาสมรรถนะหลักของผ้เู รียน กำหนดระดับเช่ียวชาญของผู้เรียนเป็น 4 ระดับ
ได้แก่ ระดับเริ่มต้น ระดับกำลังพัฒนา ระดับสามารถ และระดับเหนือความคาดหวัง ซึ่งมีรายละเอียดดัง
เอกสารแนบ
4. การรายงานผลการพฒั นาและการเลื่อนช้ัน
4.1 การรายงานผลการพัฒนา
1) การรายงานผลการเรียนรู้ในระหว่างชั้นปีและเม่ือจบช่วงชั้นให้อิงสมรรถนะ โดยมี
องค์ประกอบอย่างน้อย 2 ส่วน ได้แก่ ผลการเรียนรู้ตามผลลัพธ์การเรียนรู้ท่ีผู้เรียนบรรลุ และสรุปผลระดับ
สมรรถนะหลักทีผ่ เู้ รยี นบรรลุ
2) หากผู้เรียนย้ายสถานศึกษาระหว่างการศึกษาภายในชั้นปี สถานศึกษาดำเนินการสรุป
รายงานผลการเรียนร้ขู องผเู้ รียนในปกี ารศึกษาท่ผี ่านมาและผลการเรียนรู้ท่บี รรลุในชว่ งเวลาน้นั
4.2 การเลอื่ นชน้ั
4.2.1 การเล่อื นชนั้ ระหว่างชนั้ ปี
1) ผู้เรียนต้องผ่านตามผลลัพธ์การเรียนรู้ที่กำหนดในรายวิชาท่ีเรียนในระหว่าง
การศึกษา หรือช้ันปีที่ 1 - 2 ของแต่ละช่วงชัน้
2) ถ้าผลการเรียนรู้ของผู้เรียนต่ำ หรือไม่เป็นไปตามระดับที่คาดหวังท่ีสถานศึกษา
กำหนด สถานศึกษาสามารถให้ผู้เรยี นเลื่อนระดับช้นั ปไี ด้ โดยจัดกิจกรรม หรือระบบสนับสนุนอ่ืน ซง่ึ สอดคล้อง
กับหลกั สูตรสถานศกึ ษา เพื่อช่วยใหผ้ ู้เรียนมีผลการเรยี นรู้ตามท่หี ลักสตู รสถานศกึ ษากำหนด
3) ผเู้ รียนต้องไดร้ ับการประเมินสมรรถนะหลกั 6 ดา้ นโดยการวิเคราะห์สมรรถนะ
เฉพาะเทยี บกับเกณฑ์จากสว่ นกลาง
4) ผูเ้ รยี นมีผลการประเมินคณุ ลกั ษณะอันพึงประสงค์ผา่ นตามเกณฑท์ ่ีสถานศึกษา
กำหนด
5) ผู้เรียนเข้ารว่ มกจิ กรรมเพ่มิ เตมิ ตามจดุ เน้นและบริบทของสถานศึกษา และ
กจิ กรรมพัฒนาผู้เรียน โดยมีผลการประเมินผ่านเกณฑ์การประเมินตามทสี่ ถานศกึ ษากำหนด
4.2.2 การเลอ่ื นช้นั เม่อื จบช่วงชัน้
การเลื่อนชั้นเมอ่ื จบช่วงชั้นเป็นการตดั สินผลการเรียนร้ใู นภาพรวมเม่ือจบการศึกษาหรอื ชั้นปี
สดุ ท้ายของช่วงชน้ั ดังนี้
1.ผเู้ รยี นผ่านเกณฑผ์ ลลพั ธก์ ารเรียนรู้ทกุ กลุ่มสาระการเรียนรู้
2.ผู้เรียนมีสมรรถนะหลักตามเกณฑท์ ี่ส่วนกลางกำหนดในระดับสามารถขน้ึ ไปอยา่ งนอ้ ย 2 ด้าน
4.2.3 เกณฑก์ ารเลอ่ื นชนั้
- เกณฑก์ ารเลอ่ื นชน้ั ระหวา่ งชั้นปี
1) ผ้เู รยี นตอ้ งมเี วลาเรยี นไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาเรยี นทัง้ หมด
2) ผ้เู รยี นตอ้ งได้รับการประเมนิ ทุกผลลพั ธก์ ารเรยี นรู้ และผ่านตามเกณฑ์ที่
สถานศึกษากำหนด
3) ผเู้ รยี นตอ้ งไดร้ ับการประเมินสมรรถนะหลัก และผา่ นตามเกณฑ์ทสี่ ถานศกึ ษา
กำหนด
243
4) ผ้เู รยี นตอ้ งได้รบั การประเมนิ กจิ กรรมพฒั นาผู้เรียน และผ่านตามเกณฑ์ที่
สถานศึกษากำหนด
- เกณฑก์ ารเลือ่ นชนั้ เมอื่ จบชว่ งชนั้
1) ผเู้ รียนต้องมเี วลาเรยี นไม่น้อยกว่ารอ้ ยละ 80 ของเวลาเรยี นท้งั หมด
2) ผา่ นเกณฑ์ผลลัพธก์ ารเรยี นรทู้ กุ กลุ่มสาระการเรียนรู้พน้ื ฐาน
3) ผ่านเกณฑ์ผลลพั ธก์ ารเรยี นร้ทู กุ กล่มุ สาระการเรยี นรบู้ รู ณาการ
4) มีสมั ฤทธ์ทิ างการเรียนด้านสมรรถนะระดบั สามารถขน้ึ ไปอยา่ งนอ้ ย 2 ดา้ น
5) มีผลการประเมนิ คณุ ลกั ษณะอันพึงประสงค์ผ่านตามเกณฑท์ ส่ี ถานศึกษากำหนด
6) มีผลการประเมนิ กิจกรรมพัฒนาผเู้ รยี น จำนวน 3 กิจกรรม ได้แก่กจิ กรรมแนะ
แนวกิจกรรมลูกเสอื เนตรนารี และกจิ กรรมชุมนมุ
5. การจบการศึกษา
5.1 มีผลการประเมนิ ผลลพั ธ์การเรยี นรู้ ตามเกณฑท์ ี่สถานศกึ ษากำหนด
5.2 มีผลการพัฒนาสมรรถนะหลัก โดยมีสมรรถนะหลักอย่างน้อย 2 สมรรถนะ อยู่ในระดับ
“สามารถ” ข้ึนไป
5.3 มีเวลาเรียนไมน่ ้อยกวา่ ร้อยละ 80 ของเวลาเรยี นท้งั หมด
5.4 สถานศึกษาเปน็ ผู้พิจารณาอนมุ ตั ิการจบการศึกษา
5.5 หลกั ฐานการจบการศึกษาองิ สมรรถนะ โดยมอี งค์ประกอบดังน้ี
5.5.1 ผลการเรยี นตามผลลัพธ์การเรยี นรู้
5.5.2 ผลการประเมนิ สมรรถนะหลกั
244
ภาคผนวก