The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ศึกษาเฉพาะเรื่องในพัฒนาการแห่งพระพุทธศาสนา

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

ศึกษาเฉพาะเรื่องในพัฒนาการแห่งพระพุทธศาสนา

ศึกษาเฉพาะเรื่องในพัฒนาการแห่งพระพุทธศาสนา

ศกึ ษาเฉพาะเรือ่ งในพัฒนาการแหง พระพุทธศาสนา ๑๙๑
Selected Topics in Development of Buddhism
พระมหามิตร ฐติ ปฺโญ,ผศ.ดร.

ของพระโพธสิ ตั วท้งั หลายอนั มีอยดู ว ยกนั ๑๐ ประการทีพ่ ระโพธิสัตวจะตองบําเพ็ญเพียร๗๐
ไดแก

๑. ทาน ตามรูปศัพทหมายถึงการใหปนตามความหมาย ไดแก การเปนผูมีน้ําใจ
กวางขวาง การเสียสละ การสละ สิ่งทใ่ี หม ีอยู ๓ อยา ง ไดแ ก

๑) ทรพั ยส ่ิงของภายนอก
๒) อวยั วะในรางกายของตน
๓) ชีวติ ตนเอง หรือสง่ิ เสมอดว ยชีวิตตน คือ บุตร ภรรยา เปน ตน
๒. ศีล ไดแกความประพฤติดีละเวนความประพฤติช่ัวและมุงกระทําแตความดี
อนั เปน คุณธรรมเครอ่ื งปราบกิเลสอยางหยาบ กิเลสอยางหยวบคือ กิเลสที่เกิดแลวทําใหไม
สามารถยับย้ังช่ังใจไวไดตองลงมือกระทําชั่ว ไมวาจะเปนทางกายหรือวาจาก็ตาม สําหรับ
ศีลทีพ่ ระโพธิสตั วรกั ษามอี ยู ๒ อยาง ไดแก ๑. นิจศลี (ศีล ๕) ๒. อุโบสถศลี (ศลี ๘)
จริยธรรมศีลที่พระโพธิสัตวไดบําเพ็ญบารมีน้ันมีปรากฏอยูในหลายชาดก เชน
เรื่องกลุ าวชาดก สีลานิสงั สชาดก ปญจอุโบสถชาดก เปนตน
๓. เนกขัมมะ คือ การออกบวชทําใจไมใหหมกมุนในกามคุณ เพราะเห็นทุกข
โทษในเพศฆราวาสและเห็นอานิสงสของการบวชวาเปนชองทางหาความบริสุทธ์ิใหชีวิตได
งา ย และการออกจากกาม มี ๒ ประการ ไดแ ก
๑) ออกจากกามโดยสละบานเรอื นออกบวช
๒. ออกจากกามโดยบําเพญ็ สมาธิจนไดบ รรลุญาณ
การบําเพ็ญเนกขัมมะบารมีของพระโพธิสัตวตามที่ปรากฏในพระสูตรน้ันมี
อยมู ากมายหลายเร่ืองดวยกัน เชน อโยฆรกุมาร และพระเจาจุลสุตโม เทาท่ีไดศึกษาไดพบ
เรอื่ งของการบาํ เพ็ญบารมีของพระโพธิสัตวในเร่ืองของเนกขัมมะนี้ จะสังเกตเห็นไดวาสวน
ใหญแ ลวพระโพธสิ ตั วจะเสวยพระชาติเปนมนษุ ย ไมพบวาเสวยพระชาติเปนสตั วเ ลย
๔. ปญญา คือ การรอบรูในส่ิงที่เปนคุณและโทษประโยชนหรือมิใชประโยชน
ตลอดจนวิธีการแกปญหาดวยวิธีการแหงเหตุผล ความเฉลียวฉลาด ความรอบรู ความรู
ลึกซงึ้ ซง่ึ ปญ ญานีม้ ี ๓ อยาง คอื
๑) สตุ มยปญญา ปญ ญาอนั เกดิ จากการศึกษาเลา เรียน
๒) จินตามยปญญา ปญญาอันเกิดจากการขบคิดพิจารณาจากการที่ได
ศึกษาเลา เรยี นมาหรือจากประสบการณท ไ่ี ดผ า นพบมา

๗๐ บรรจบ บรรณรจุ ,ิ พระโพธิสตั วใ นนิกายเถรวาท, (กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพสุขใจ,
๒๕๒๙), หนา ๑๙.

๑๙๒ บทท่ี ๕ การบรรลธุ รรมของพระอรหนั ตกบั พระโพธสิ ตั ว
The Enlightenment and Bodhisattvas
พระมหามติ ร ฐติ ปโฺ ญ,ผศ.ดร.

๓) ภาวนามยปญญา ปญญาอันเกิดจากการฝกจิต อบรมจิตช้ันสูง ไดแก
อภิญญา ๕ คือ

(๑) ทิพพจักษุ
๒) ทิพพโสต
(๓) อทิ ธวิ ิธี (แสดงฤทธไ์ิ ด)
(๔) เจโตปรยิ ญาณ (ทายใจคนอื่นได)
(๕) มโนมยิทธิ (สามารถใชอาํ นาจจิตเนรมิตสงิ่ ตา งๆ ได)
สําหรับการบําเพ็ญเรื่องของปญญาบารมีของพระโพธิสัตวน้ัน ในพระ
สูตรไดกลาวถึงพระโพธิสัตวที่เสวยพระชาติในสวนของมนุษยและสัตว ในสวนของมนุษย
เชนเร่ืองมโหสถบัณฑิต และเสนกบัณฑิต สวนในชาติท่ีเกิดเปนสัตวเชนเรื่อง กุกกุรชาดก
มหิฬามขุ ชาดก มิตจินตีชาดก เปน ตน
๕. วริ ิยะ คือ ความเพยี รบากบ่นั กาวไปขางหนา ไมท อถอยในการระงับบาปทุจริต
มิใหเกิดข้ึนแลวก็ละเสีย และพยายามบําเพ็ญเพียรในทางท่ีดีท่ีชอบใหสําเร็จลุลวงไปดวยดี
และจะตองเปนความพากเพียร ความพยายาม การกระทําอยางตอเน่ืองถูกตอง คือเปน
สัมมาทิฏฐิดว ย ซึง่ เรยี กวา “สมั มัปธาน” มี ๔ ขอ คอื
๑) สังวรปธาน เพยี รระวงั ไมทาํ บาป
๒) ปหานปธาน เพียรละบาปทีเ่ กิดขนึ้ แลว เพยี รเลิกไมกระทาํ บาปอกี ตอ ไป
๓) ภาวนาปธาน เพยี รทาํ บุญใหเกดิ ใหมีขน้ึ ใหไ ด
๔) อนรุ กั ขนาปธาน เพยี รรักษาการทาํ บุญไวต อ เนอ่ื งอยา ใหขาดตอน
สําหรับในการบําเพญ็ วริ ยิ ะบารมีของพระโพธิสัตวน้ันเรื่องที่ถือวาเปนท่ีรูจัก
ของประชาชนคนไทยกันอยา งกวางขวางก็คือ พระมหาชนก กณั หชาดก เปน ตน
๖. ขันติ คือ ความอดกล้ัน ความอดทนตอความลําบากตรากตรํา ความหิว
กระหาย อดทนตอคําลวงเกิน อดทนตออันตราย ทนทุกขเวทนาตางๆ ขันติมีอยูดวยกัน ๓
อยางคือ
๑) ตีติกขาขันติ ความอดทนแบบอดกลั้น เชน เม่ือถูกใครดา ก็ไมดาตอบ
แมจะโกรธแตก็อดกลั้นขมใจไวใหได ไมวูวาม ไมตกอยูใตอํานาจวีติกกมกิเลส กิเลสขั้น
หยาบซึ่งเปนเหตใุ หป ระพฤตศิ ลี ธรรม อดกลัน้ อดทน ยับยงั้ ชั่งใจไวใหไ ด
๒) ตบขันติ ความอดทนดวยอํานาจตะบะ คือ สมาธิอดทนขมใจ ไมใหตก
อยูใตอํานาจปริยุฏฐานกิเลส กิเลสที่คอยเกิดข้ึนรบกวนจิตใจเปนระยะๆ เหมือนโจรท่ีคอย
ดักซุมโจมตพี วกคนเดินทางฉะน้นั

ศกึ ษาเฉพาะเรื่องในพัฒนาการแหงพระพุทธศาสนา ๑๙๓
Selected Topics in Development of Buddhism
พระมหามติ ร ฐติ ปฺโญ,ผศ.ดร.

๓) อธิวาสนขันติ ความอดทนแบบระงับยับย้ังไมใหกิเลสเกิดข้ึนไดเลย ขม
กิเลสไวไดอยางราบคาบ อีกประการหน่ึงอธิวาสนขันตินี้ หมายถึง ความอดทนท่ีเอาชีวิต
เปนเดิมพัน แมจะถูกทํารายถึงชีวิต แตจะไมยอมใหความโกรธหรือกิเลสอ่ืนๆ เกิดขึ้น
รบกวนจิตใจเลยแมแตนอย ตัวอยางเรื่องของการบําเพ็ญขันติบารมีของพระโพธิสัตวน้ัน ก็
มีอยูดว ยกนั หลายเรอ่ื ง เชน เรื่องโภชาชานิยชาดก ทัททรชาดก และอาชัญญชาดก เปนตน

๗. สัจจะ คือ การรักษาความสัตย ความต้ังใจมั่นตอการปฏิบัติมุงแสวงหาความ
จริง ไดแก ความจริงใจ คือประพฤติสิ่งใดก็ใหไดจริง ซึ่งในท่ีนี้ หมายถึงความจริงใจ ไม
หลอกลวงคิดอยางใด กพ็ ูดและทาํ ตามความคิดน้ัน สําหรับตัวอยางเร่ืองการบําเพ็ญในเร่ือง
สจั จะของพระโพธิสัตวทเ่ี ดน ๆ ไดแ ก วัฏฏกชาดก และเรือ่ งมจั ฉชาดก เปนตน

๘. อธิษฐาน คือ ความต้ังมั่นอยูในความดีแลวตั้งปณิธานไวในใจใหแนวแนวา
จะตองทําสิ่งนั้นๆ ใหสําเร็จ ถายังไมสําเร็จก็จะไมละเลิกเสีย ถึงแมการกระทําน้ันจะ
ลมเหลวก็พยายามแสวงหาลูทางอื่นทําตอไปเพ่ือใหบรรลุถึงเปาหมายที่ตนตั้งไวจงได
อุทาหรณในเร่ืองอธษิ ฐานบารมใี นการบําเพ็ญธรรมของพระโพธสิ ัตวก็คือเร่ืองของพระเตมีย
ชาดก เปนตน

๙. เมตตา คือ ความปรารถนาดี ในท่ีน้ีหมายถึงรักและปรารถนาดีดวยอํานาจ
คุณธรรม ไมใชรักและปรารถนาดีดวยอํานาจกามราคะ หวังประโยชนสุขตอบุคคลอื่นสัตว
อื่นอยางแทจริง สําหรับเร่ืองเมตตาบารมีท่ีคนไทยรูจักและเปนท่ีเลาขานกันแพรหลายใน
หมูคนไทยมากทีส่ ดุ เร่อื งหนึ่งก็คือเร่ืองสุวรรณสามดาบส พระยาเอกราช วลาหกหัสสชาดก
และมจั ฉชาดก เปนตน

๑๐. อุเบกขา ความวางเฉย ความปลอยวาง ในที่น้ี หมายถึง อาการท่ีจิตเปน
กลาง ไมยึดในความดีท่ีตนเองไดกระทําลงไปจนกลายเปนเหตุใหเกิดโลภะ (ความโลภ)
ทิฏฐิ (ความเขาใจผิด, ความหลงยึดถือตัวตน) และมานะ (ความหยิ่งทนงวาตนวิเศษกวา
ผอู ่นื หรอื ทัดเทยี มผูอ่นื ) อีกทั้งไมทุกขทรมานใจจนเกินไปในการทําผิด ซึ่งพลาดพล้ังเกิดข้ึน
จนเปนเหตใุ หเกดิ ความทอ แทเหน่อื ยหนาย หรือดูถกู ตนเอง พระโพธิสัตวบําเพ็ญบารมีข้ันน้ี
ก็คือ กจั ฉปชาดก สุกรชาดก เปน ตน

การบําเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตวในพระชาติตางๆ น้ัน จะสังเกตไดวาพระ
โพธิสัตวนนั้ ไดบ ําเพญ็ บารมธี รรมมาเปน ลําดับข้ัน จากงายท่ีสุดมาสูความยากที่สุด ซึ่งถือวา
เปนวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตท้ังหลายบนโลกใบนี้ตางก็ตองมีวิวัฒนาการที่แตกตางกัน
ออกไป และเปนทนี่ า สังเกตอกี อยา งหนึง่ ก็คือวา การบาํ เพ็ญบารมีของพระโพธิสัตวในแตละ
ชาติน้ัน ก็แตกตางกันไปแตที่เหมือนกันก็คือ การบําเพ็ญคุณงามความดี เร่ิมตั้งแตมี
สติปญญานอยจนกระทั้งมีสติปญ ญาสขุ มุ ลุม ลกึ จากความที่เปนสัตวดุรายจนกลายเปนสัตว

๑๙๔ บทที่ ๕ การบรรลุธรรมของพระอรหันตกบั พระโพธสิ ตั ว
The Enlightenment and Bodhisattvas
พระมหามติ ร ฐติ ปโฺ ญ,ผศ.ดร.

ทีม่ ีความเมตตากรุณา จากการท่ีมีความโลภมากจนถึงขั้นเปนมหาโจร จากยากจนกลายมา
สูความเปนเศรษฐี และการสละทรัพยออกบวช จากคนท่ีมักมากในกามจนถึงขนาดยอม
ประพฤติผิดศีลขอ ๓ มาสูการบริจาคบุตรและภริยาใหเปนทาน ละกามออกบวชเพ่ือความ
สงบสขุ หลดุ พน จากโลกยี วิสยั ในท่สี ุด จากข้ันตอนตางๆ น้ีก็เห็นวา เปนการวิวัฒนาการของผู
ท่มี อี ุดมคตใิ นชวี ติ อยางแทจรงิ

คุณธรรมทั้งหมดนี้ลวนมีอยูในพระโพธิสัตวทุกพระองค และถือวาเปนคุณธรรม
ประจาํ ใจของทา นดว ย แตอ าจจะมขี อใดมากหรอื นอ ยก็ข้ึนอยูกับการเสวยพระชาติของพระ
โพธสิ ตั วใ นแตละชาติ และพระโพธิสัตวจะตองบําเพ็ญเพ่ือใหความเขมขนของบารมีท้ัง ๑๐
ขอ น้ีสมบรู ณอ ยา งไมขาดสายจนกวา จะไดบรรลุเปนพระสัมมาสัมพุทธเจาในท่สี ุด

๕.๑๒.๒ คัมภรี พ ระพทุ ธศาสนามหายาน
นอกจากบารมีธรรมที่เปนหลักในการปฏิบัติแลว พระโพธิสัตวยังจะตองมี
หลกั ธรรมอืน่ ๆ อกี มากมาย เชน สโมธานธรรม ทศภมู ิ พทุ ธภมู ธิ รรม และมหาปณิธาน เปน
ตน ท่ีจะเปนสวนเสริมสนับสนุนใหการบําเพ็ญบารมี และความปรารถนาเปนพระพุทธเจา
น้ันสําเรจ็ ผล
๑. สโมธานธรรม

๑) มนุสสตฺตํ ทานท่ีปรารถนาซ่ึงพุทธภูมิ หวังจักไดสําเร็จเปนพระพุทธเจา
ในอนาคตกาลน้นั ในเบือ้ งตนจาํ ตอ งตงั้ ความปรารถนาที่จะมาเปน “มนุษย” ใหไดเสียกอน
เพราะการทไ่ี ดรับคาํ พยากรณจากพระพุทธเจา น้นั จะไดก็แตเฉพาะชาตทิ ่เี ปนมนษุ ยเทานนั้

๒) ลงิ ฺคสมปฺ ตฺติ นอกจากจะทรงพยากรณเฉพาะทานท่ีเปนมนุษย แตการท่ี
เปน มนษุ ยนัน้ ตอ งต้งั อยูในอัตตภาพของบรุ ษุ เทานัน้ ไมสาํ เร็จแกส ตรี บณั เฑาะก

๓) เหตุ คือ ถึงพรอมดวยอุปนิสัย ความปรารถนายอมสําเร็จแกมนุษยบุรุษ
ผูสมบูรณดวยอุปนิสัย เพราะเหตุสมาบัติคืออุปนิสัยปจจัยแหงพระอรหันตรุงเรืองอยูใน
สันดาน

๔) สตฺถารทสฺสนํ คือการไดเห็นพระพุทธเจา เพราะความปรารถนายอม
สําเร็จแกผูปรารถนาในสํานักของพระพุทธเจาซ่ึงยังทรงพระชนมอยู เม่ือพระผูมีพระภาค
เจาปรินิพพานแลว ความปรารถนายอมไมสําเร็จในสํานักของพระเจดีย ท่ีโคนโพธิ์ ที่พระ
ปฏิมา หรือท่ีสํานักของพระปจเจกพุทธเจาและสาวกของพระพุทธเจา เพราะไมมีอํานาจ
ไมใชวิสัย ไมมีกําลังพอท่ีจะพยากรณ ความปรารถนาที่จะสําเร็จไดมีเพียงสํานักของ
พระพุทธเจา เทาน้ัน

๕) ปพฺพพชฺชา คือ การออกบวช ผูท่ีจะไดตรัสรูเปนพระพุทธเจานั้นตอง
ออกบวช การเปนพระพุทธเจานั้นไมสําเร็จแกผูตั้งอยูในเพศคฤหัสถ เพราะไมสมควรเปน

ศกึ ษาเฉพาะเรอื่ งในพฒั นาการแหงพระพุทธศาสนา ๑๙๕
Selected Topics in Development of Buddhism
พระมหามติ ร ฐติ ปโฺ ญ,ผศ.ดร.

พระพุทธเจา เพราะบรรพชิตเทานั้นเปนพระมหาโพธิสัตว ยอมบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณได
มิใชเปนคฤหัสถ เพราะฉะน้ัน ในเวลาตั้งปณิธานควรเปนเพศของบรรพชิตเทาน้ัน เพราะ
เปนการอธษิ ฐานดวยคุณสมบตั โิ ดยแท

๖) คุณสมฺปตฺติ คือ ถึงพรอมดวยคุณมีอภิญญาเปนตน เพราะความ
ปรารถนายอมสําเร็จ แมแกบรรพชิตผูไดสมาบัติ ๘ มีอภิญญา ๕ เทาน้ัน ไมสําเร็จแกผู
ปราศจากคุณสมบัติตามท่ีกลาวแลว เพราะสามารถคนควาบารมีไดพระมหาบุรุษบําเพ็ญ
อภินิหาร เปนผูสามารถคน ควาบารมีไดดวยตนเอง เพราะประกอบดวยอุปนิสัยสมบัติ และ
อภญิ ญาสมบัติ

๗) อธิกาโร คอื มอี ปุ การะยงิ่ เมื่อถึงพรอมดวยคุณสมบัติที่กลาวมาแลว แม
ชีวิตของตนก็สละแดพระพุทธเจาได ยอมทําอุปการะอันยิ่งในกาลน้ันอภินิหารยอมสําเร็จ
แกผูนั้น ไมส ําเร็จแกคนนอกนี้

๘) ฉนฺทตา คือ พอใจในกุศลเพราะความใครที่จะเปนพระพุทธเจา ความ
ปรารถนายอมสําเร็จแกผูประกอบดวยธรรมตามท่ีกลาวมาแลว มีความพอใจมาก มีความ
ปรารถนามาก มีความใครเ พอ่ื จะทาํ มาก ไมท อ ถอยตออุปสรรคตางๆ กับพอใจที่จะทําใหได
เพือ่ ประโยชนแกธรรมอนั ทําใหเ ปนพระพทุ ธเจา เทา นั้น

สโมธานธรรมท้ังหมดนี้ เปนธรรมท่ีพระโพธิสัตวผูท่ีมีความปรารถนาจะเปน
พระพุทธเจาตองมธี รรมทพ่ี รอ มอยูในพระโพธิสตั ว เพอื่ ตรัสรูธ รรมในชาตนิ นั้ ๆ

๒. พทุ ธภูมิธรรม
นอกจากสโมธานธรรม ๘ ประการแลวพระมหาโพธิสัตวจะตองเพ่ิมพูนบารมี
ธรรมใหย ง่ิ ข้นึ และมีนํ้าใจทปี่ ระกอบดวยพทุ ธภมู ธิ รรมอันยง่ิ ใหญ ๔ ประการ คอื

๑) อสุ สฺ าโห ไดแก พระโพธิสัตวทรงประกอบดวยอุตสาหะ มีความเพียรอัน
สลักตดิ แนนในดวงหฤทยั อยางม่นั คง

๒) อุมตฺโต ไดแก พระโพธิสัตวทรงประกอบดวยพระปญญา ทรงมีพระ
ปญญาเชย่ี วชาญหาญกลาเฉยี บคมยิ่งนกั

๓) อวตฺถานํ ไดแก พระโพธิสัตวทรงประกอบดวยพระอธิษฐาน ทรงมีพระ
อธษิ ฐานอันมน่ั คง

๔) หิตจริยา ไดแก พระโพธิสัตวทรงประกอบดวยพระเมตตา ทรงมีพระ
เมตตาเปนนษิ ย เจรญิ อยดู วยเมตตาพรหมวหิ ารเปน ปกติ

พระโพธิสตั วผูทรงกระทําใหโพธิญาณเปนจริงขึ้นมาไดนั้น ตองเปนผูท่ีนอม
ไปในกุศลธรรมอยูเสมอ ท้ังนี้ก็เพื่อเปนเครื่องชวยหลอเลี้ยงใหโพธิญาณ แกกลาเพ่ิมข้ึน

๑๙๖ บทท่ี ๕ การบรรลุธรรมของพระอรหนั ตกบั พระโพธิสตั ว
The Enlightenment and Bodhisattvas
พระมหามติ ร ฐติ ปโฺ ญ,ผศ.ดร.

เรื่อยๆ หากไมมีอัธยาศัยที่ดีงามเปนกุศลคอยสนับสนุนหลอเล้ียงแลวจะไมสําเร็จ
โพธญิ าณ๗๑

๓. ทศภูมิ
ทางฝายมหายานนั้นนอกจากบารมีธรรมแลว พระโพธิสัตวยังมีคุณสมบัติ
แตกตางกันไปตามลําดับภูมิธรรมท่ีบําเพ็ญมา ธรรมที่ทําใหพระโพธิสัตวธรรมดากาวเขา
ไปสคู วามเปน มหาสตั วนนั้ คือ ทศภมู ธิ รรม ครั้นสั่งสมบารมีตามแบบอยางของพระโพธิสัตว
ใหครบสมบูรณแลว จิตของพระโพธิสัตวจะกาวเขาไปสูภาวะ หรือฐานะอันเปนของมหา
สตั ว เรียกวา ทศภมู ิมี ๑๐๗๒

๕.๑๓ สรุป

พระอรหนั ต: พระอรหนั ตในพระพทุ ธศาสนาเถรวาทอยูจบกิจในพรหมจรรยแลว
สิ้นกิเลสแลว ส้นิ ความสงสยั รูวาตนบรรลพุ ระอรหตั ผลดวยตนเอง มีความรูในอริยมรรค อริ
ยผล ปรนิ ิพพานแลวกด็ บั หมดทัง้ กายสงั ขาร วจสี ังขาร จิตสังขาร (อนุปาทิเสสนิพพาน) ไม
เกิดอีก สวนพระอรหันตในพระพุทธศาสนามหายาน เมื่อปรินิพพานแลวก็ไมเกิดอีก แต
เกิดเพื่อสําเร็จเปนพระสัมมาสัมพุทธเจาในอนาคต ท่ีมีความแตกตางจากเถรวาทอีก
ประการหนึ่งคือพระอรหันตยังฝนอยางคนมีราคะ เพราะถูกมารย่ัว ยังความไมรูใน
อรยิ มรรค อริยผลยังตอ งสงสัยใน อรยิ มรรค อริยผล เปนตน จะรูวา ตนบรรลตุ อ งมีผูบอก

พระโพธิสัตวในพระพุทธศาสนาเถรวาท: หมายถึง ผูท่ีบําเพ็ญบารมีเพื่อการ
ตรัสรูเปนพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจา หรือจะตรัสรูเปนพระปจเจกพุทธเจา จะตรัสรูเปน
พุทธสาวกอยางใดอยางหน่งึ พระโพธสิ ัตวท ัง้ หลายในชว งท่ีทานบาํ เพ็ญบารมีอยูน้ัน ทานจะ
สะสมบารมีตามควรแกอัตตภาพ คือ ในสมัยนอกพุทธกาลทานยอมสะสมบารมี เชนทาน
ศีล เนกขัมมะ เจริญสมถภาวนา แตในสมัยท่ีพบพระพุทธเจาพระองคกอนๆ ทานยอมฟง
ธรรมศึกษาพระธรรมวนิ ัย เจริญทัง้ ศีล สมาธิ ปญญา ทั้งสมถะวปิ ส สนา เถรวาทถือวาความ
เปนพระอรหันตสัมมาสัมพระพุทธเจาสําคัญกวาความเปนพระโพธิสัตว ซึงฝายเถรวาทได
แสดงเร่ืองราวของพระโพธสิ ัตวเปนอดีตชาติของพระพุทธเจากอนจะไดเปนพระพุทธเจาใน
อดีตชาตินับเปนรอย ๆ ชาติ ไดประพฤติธรรมหรือบําเพ็ญประโยชน ใหแกสัตวอ่ืน คนอื่น
เชนการเปนชางก็เปนพระยาชาง ใหความเปนธรรมแกชาง เชนเรื่องพระยาฉัตทันต เกิด

๗๑ พระพรหมโมลี (วิลาศ ญาณวโร ป.ธ.๙), มุนีนาถทีปนี, (กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ
ดอกหญา , ๒๕๔๕), หนา ๔๔.

๗๒ เร่อื งเดียวกัน, หนา ๑๑๗.

ศึกษาเฉพาะเร่ืองในพัฒนาการแหง พระพุทธศาสนา ๑๙๗
Selected Topics in Development of Buddhism
พระมหามติ ร ฐติ ปฺโญ,ผศ.ดร.

เปน เนอ้ื กเ็ สยี สละชวี ิตตนใหแกเนื้ออื่น ยอมตายแทน เชนเรื่องแมเนื้อชื่อ นโครธสาขะ เปน
คนเชนพระเวสสันดรเปนตน แสดงถึงชวี ติ กอนเสวยพระชาติสดุ ทายเปน ตน

พระโพธิสัตวในพระพุทธศาสนามหายาน: หมายถึง บุคคลท่ีบําเพ็ญบารมีเพ่ือ
เปนพระพุทธเจาในอนาคต มหายานถือวาพระโพธิสัตวสําคัญกวาพระอรหันต มีเร่ืองทาง
พระพุทธนิกายมหายานเลาไววาอาจารยซ่ึงเปน พระอรหันตเดินหนาศิษยซ่ึงเปนสามเณร
เดินตามหลังถือบาตรและรมของอาจารย มีบางขณะท่ี สามเณรตั้งโพธิจิตปรารถนา
โพธิญาณ คอื การตรัสรเู ปน พระพทุ ธเจา อาจารยร ูวาระจติ ของสามเณร จึงขอบาตรและรม
มาถอื เอง แลวขอใหสามเณรเดินหนา แตก็มีบางขณะท่ีสามเณรคิดวาเปน พระพุทธเจาน้ัน
ยากนัก ตองบําเพ็ญบารมีกันนานเหลือเกิน ขอเปนพระอรหันตธรรมดาเถิดพอพน จาก
สงั สารวฏั เมอื่ สามเณรคดิ อยา งน้ี อาจารยก็สงบาตรและรมใหสามเณรพรอมกับบอกใหไป
เดิน ขา งหลงั ทานเดินหนา ทาํ อยอู ยางนัน้ หลายหน จนสามเณรสงสัยถามข้ึน ทานอาจารย
จึงตอบวา “ตอนท่ีเณรปรารถนาพุทธภูมินั้น เณรเปนพระโพธิสัตว ซ่ึงจะตองตรัสรูเปน
พระพุทธเจาตอไป สูง กวาพระอรหันตธรรมดาผมซ่ึงเปนพระอรหันตธรรมดา จะให
พระพุทธเจาในอนาคตถือบาตรและ รมตามหลังไดอยางไร แตพอสามเณรปรารถนาเปน
พระอรหนั ตธรรมดากต็ ่ํากวาผม เพราะผมเปน พระอรหันตอยแู ลว เปนตน

๑๙๘ บทท่ี ๕ การบรรลธุ รรมของพระอรหนั ตก ับพระโพธสิ ตั ว
The Enlightenment and Bodhisattvas
พระมหามิตร ฐติ ปโฺ ญ,ผศ.ดร.

บทที่ ๖
ดนตรีในพระพทุ ธศาสนาเถรวาท

The Music in Theravadha Buddhism
บทนาํ

พุทธศาสนาเปนศาสนาหน่ึงท่ีถือกําเนิดขึ้นในสังคมโลกและมีความเจริญรุงเรือง
ในดินแดนตางๆ ท่ัวไปในเอเชียและฝงรากลึกม่ันคงในดินแดนเหลานั้นนับพันป จนถึง
ปจจุบันอนั เปน ผลมาจากการเหน็ การณไกลของพระเจาอโศกมหาราชท่ีทรงเผยแพรศาสนา
พุทธอยา งจริงจงั ตอเน่อื ง ซ่ึงคมั ภรี ในพระพุทธศาสนาเถรวาทไดรวบรวมบันทึกหลักคําสอน
และวินัยตางๆ ของพุทธศาสนาแบงออกเปน ๒ ประเภท คือ ประเภทหนึ่งเปนพระดํารัส
ของพระพุทธเจา เรยี กวา ไตรปฏ ก อีกประเภทหนงึ่ เปนคาํ สอนของพระอรรถกถาจารยและ
ปราชญอ่นื ๆ ท่ีแตง ข้ึนในชนั้ หลัง เรียกวา อรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา โยชนาและอื่นๆ ดนตรี
เปนทั้งศาสตรและศิลปอยางหน่ึงท่ีชวยใหมนุษยมีความสุข สนุกสนานรื่นเริง ชวยผอน
คลายความเครยี ดทง้ั ทางตรงและทางออม นอกจากน้ันดนตรียังเปนเครื่องกลอมเกลาจิตใจ
ของมนษุ ยใหม คี วามเบิกบานหรรษาได

ในสมัยพุทธกาลมีดนตรีเปนเครื่องดนตรีหรือวงดนตรีที่ใชบรรเลงประโคมอยู
เชน กลม สังข กังสดาล พิณ มโหระทึก เปนตน ซึ่งถือเปนเครื่องดนตรีท่ีเกิดขึ้นในสมัยน้ัน
ซึ่งเปนหลักวัฒนธรรมที่สืบตอกันมาชานาน อันสําคัญสูงสุด ดนตรีเปนสวนสงเสริม
บรรยากาศพิธีกรรม และกิจกรรมกอใหเกิดความศักด์ิสิทธ์ิในสังคมอินเดียมาถึงปจจุบัน
แมแตในพระพุทธศาสนา คําวา ดนตรี ในภาษาบาลี ตนฺติ และในภาษาสันสกฤตคําวา ตนฺ
ตรนิ หมายถึง เครอ่ื งสายเครื่องดดี และเคร่ืองสี เปน ตน

๖.๑ ความเปนมาของดนตรี

ศัพทคําวา ดนตรี ในภาษาบาลี ตนฺติ และในภาษาสันสกฤตคําวา ตนฺตริน
หมายถงึ เคร่อื งสายเครื่องดดี และเครื่องสี เปนตน คําวา คีต แปลวา เสียงขับรอง และ คํา
วา วาทติ แปลวา เสียงเครอ่ื งดีดสตี เี ปา หรือ การแสดงจังหวะประกอบในการขับรอง ฟอน
รํา เชน พิณ สังข กลอง ฉิ่ง ฆอง ป ซอ แตร ขลุย เปนตน ดนตรีน้ันตองประกอบดวย คีต
เสียงขับรอง และวาทิต จังหวะประกอบการขับรอง หรือ ฟอนรํา เปนตน จะตอง
ประกอบดว ย ๒ ประการน้เี สมอจงึ จะเกิดองคป ระกอบดนตรีอยางสมบูรณ

๒๐๐ บทท่ี ๖ ดนตรีในพระพทุ ธศาสนา
The Music in Theravadha Buddhism
พระมหามิตร ฐติ ปโฺ ญ,ผศ.ดร.

การดํารงชีพของมนุษยต้ังแตเกิดจนกระท่ังตายอาจปฏิเสธไมไดเลยวาดนตรีมี
ความเก่ียวของอยางกับวิถีชีวิต อาจสืบเน่ืองมาจากความบันเทิงในรูปแบบตางๆ โดยตรง
หรืออาจเกิดจากขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ เชน เพลงกลอมเด็ก เพลง
ประกอบในการทํางาน เพลงที่เกี่ยวของในงานพิธีการ เพลงสวดสรรเสริญพระคุณของ
พระพุทธเจาหรือสวดถึงพระผูเปนเจาในศาสนาอ่ืน และการบูชา สมดังพุทธพจนที่กลาว
ในขุททกนิกาย ชาดกไววา “พระราชากําลังถอดพระเนตรดูการละเลนเพลินอยูดวยการ
ฟอนรํา ขับรอง และดนตรี...”๑ ดนตรีเปนศิลปะท่ีอาศัยเสียงเพื่อเปนส่ือในการถายทอด
อารมณความรูสึกตางๆ ไปสูผูฟงเปนศิลปะท่ีงายตอการสัมผัส กอใหเกิดความสุข ความ
ปล้ืมปติ พึงพอใจใหแกมนุษยได นอกจากน้ี ดนตรีเปนภาษาสากลของมนุษยชาติและ
มนษุ ยไดนาํ มาดัดแปลงแกไขใหประณีตงดงามไพเราะเมื่อฟงดนตรีแลวทําใหเกิดความรูสึก
นึกคิดตางๆ และในสมัยที่พระพุทธเจายังมีพระชนมอยูและหลังจากปรินิพพานใหมๆ
ศาสนาพุทธเจริญรุงเรืองสูงสุดในชมพูทวีป มีผูนับถือมากมายทุกชั้นทุกวรรณะ ทั้งยากดีมี
จน พุทธศาสนาไดปฏิวัติวัฒนธรรมความเชื่อของชาวฮินดูอยางมาก ตอมาประมาณ ๒๐๐
ป ในสมัยพระเจาอโศกมหาราช พระองคทรงศรทั ธาเล่ือมใสพระพุทธศาสนาและทะนุบํารุง
เผยแพรพระพุทธศาสนาไปในดินแดนตางๆ เปนองคอุปถัมภพระพุทธศาสนา สราง
ถาวรวัตถุทางพุทธศาสนาและสังคายนาพระไตรปฏก สงพระธรรมทูตไปในดินแดนตางๆ
นับวาเปนยุคทองแหงพุทธศาสนาอีกสมัยหน่ึง พระพุทธศาสนาไดเผยแผหลักธรรมเขามา
ประเทศไทยโดยรูปแบบตา งๆ ซงึ่ มาจากหลักคาํ สอนโดยตรงหรอื อาจจะสอดแทรกเขามาใน
วรรณกรรมชาวบานหรือแมกระท่ังบทเพลงพ้ืนบานตางๆ เชน บทเพลงพื้นบานท่ีวาดวย
หลักคําสอน ศรทั ธาและความเช่ือ เชน ความเชื่อเรื่องกรรม บาป-บุญ เปนตน ท่ีปรากฏอยู
ในคัมภีรทางพระพุทธศาสนา ท่ีมาของบทเพลงอันเปนพื้นฐานของบทเพลงตางๆ ใน
ปจ จุบัน ในพระพุทธศาสนามีบทเพลงตางๆ อยูมาก ทง้ั บทเพลงที่เน่ืองดวยโลกียธรรม และ
ทีเ่ นอื่ งดว ยโลกตุ รธรรม

อยางไรก็ตาม เมื่อพระพุทธศาสนาแผเขามาสูประเทศไทยแลวก็ทําใหลักษณะ
สังคมเปลี่ยนไปในหลายๆ รูปแบบ อาทิเชน การดําเนินชีวิต การนําหลักธรรมมา
ประยุกตใชในการประกอบอาชีพ ตลอดทั้งดนตรีที่มีอยูในศาสนามาเปนรูปแบบสงเสริม
กิจกรรมทางสังคมพิธีกรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณีของสังคมตั้งแตอดีตถึงปจจุบัน ดัง
ในชว งสมัยอยุธยาตอนปลายมาจนถงึ สมัยรัตนโกสินทรตอนตน ดนตรีไทยก็อยูในสังคมไทย
ทุกระดับ นับตั้งแตในวังหลวง วังเจานาย เคหสถานของทานผูมีบรรดาศักดิ์และสามัญชน
ท่ัวไป ซ่ึงก็ดวยเหตุผลอื่นอีกหลายๆ ประการ มีท้ังแสดงยศศักดิ์อัครฐานมีท้ังเพื่อสงเสริม

๑ ข.ุ ช. (ไทย) ๒๘/๑๔๐๕-๑๔๐๘/๔๐๒.

ศึกษาเฉพาะเรื่องในพฒั นาการแหง พระพุทธศาสนา ๒๐๑
Selected Topics in Development of Buddhism
พระมหามิตร ฐติ ปฺโญ,ผศ.ดร.

การรักษาดนตรีไทยที่บรรพบุรุษสะสมไวกอนมิใหสูญหาย และมีท้ังอาชีพทางดนตรี
โดยเฉพาะ การดาํ เนินกิจพิธกี บั การบรรเลงดนตรกี ม็ ีประเพณจี ดั ไวอยา งมีระเบียบ

การใชดนตรีในพระพุทธศาสนาของสังคมไทย ก็เพื่อสรางสรรคสงเสริม
พัฒนาการทางอารมณ เสริมสรา งความคดิ จนิ ตนาการในสังคมไทย เชน สถาบันครอบครัว
ชวยกระตุนใหครอบครัวมีความสามัคคี และมีความอบอุน สถาบันการศึกษา ผูสอน
ถา ยทอดไดทําการถายทอดแบบตัวตอตัวกับผูรับการถายทอด ทางวัฒนธรรมการถายทอด
ดนตรีไทยจึงเปนวัฒนธรรมการถายทอดที่ใหความสําคัญในเร่ืองของความตั้งใจ ใน
การศกึ ษาเลาเรยี นและความอดทนในการฝกฝนเพ่ือใหเกิดทักษะในการบรรเลงทีเชี่ยวชาญ
มากขึ้นรวมไปถึงเปนกระบวนการท่ีมีการถายทอดเร่ืองคติความเช่ือ วิถีชีวิตและการปฏิบัติ
ตัวใหเหมาะสมในฐานะนักดนตรีและความเปนคนไทยแกศิษยผูรับการถายทอดไดรับการ
เรียนรูไปพรอมๆ กัน ในดานรูปแบบการถายทอดจะเปนการถายทอดในลักษณะของบาน
ดนตรีท่ีผูเรียนตองฝากตัวเปนศิษย อาศัยกินอยูหลับนอนในบานครูและคอยดูแลปรนนิบัติ
ครูเพื่อแลกความรู สถาบนั ศาสนา เปนกจิ กรรมทางศิลปวัฒนธรรม ทางประเพณี วรรณคดี
คานิยม เพื่อบงบอกถึงความเปนมาของไทย และสถาบันเศรษฐกิจเปนสถาบันสังคมที่
เก่ียวของกับแบบแผนการสนองความตองการเก่ียวกับความจําเปนทางวัตถุ เพื่อการ
ดาํ รงชวี ิต เปนแบบแผนพฤติกรรมทางสังคมท่ีเกี่ยวของกับการผลิต การกระจายสินคาและ
การบริการไปสผู บู รโิ ภค ซงึ่ เปนปจ จยั สาํ คญั ไปสูการดํารงชีวิต

๖.๒ ดนตรที ี่ปรากฏในพระวนิ ัยปฏ ก

ดนตรีท่ีปรากฏในพระวินัยปฏกในสมัยพุทธกาลมีมหรสพบนยอดเขาในกรุงรา
ชคฤห พวกภิกษฉุ ัพพคั คยี ไปเทย่ี วดูมหรสพบนยอดเขาในกรุงราชคฤห มีผูคนเห็นกิริยาพวก
ภกิ ษุอยูในอาการพอใจในการละเลน นั้นและไมสาํ รวมกิริยาของสมณะ เม่ือชาวบานเห็นเขา
ก็ถูกชาวบานตําหนิวาไมเหมาะสม ดังท่ีปรากฏในพระวินัยปฏกในฐานพุทธบัญญัติ “ไฉน
พวกสมณะเชื้อสายศากยบุตรจึงไปดูการฟอนรําบาง การขับรองบาง เหมือนคฤหัสถ
ผูบริโภคกามเลา”๒ จากเนื้อความที่ยกมา แสดงใหเห็นวา ถาภิกษุไปเที่ยวดูมหรสพ เชน
การฟอนรํา การขับรอง การประโคมดนตรี ตองผิดวินัยตามพุทธบัญญัติไวและยังเปนการ
กระทําเหมือนคฤหัสถผูบริโภคกามอยูไมใชทางของสมณะ ดังนั้น ในพระวินัยปฏกในฐาน
พุทธบัญญตั ิวา “ภิกษณุ ีไปดมู หรสพการฟอ นราํ การขับรอ ง การประโคมดนตรี ที่เปนขาศึก
ตอกุศล”๓ เปนของคฤหัสถผูบริโภคกามและยังเปนขาศึกตอกุศลอีกดวย ทรงตรัสแกภิกษุ

๒ วิ.น (ไทย) ๗/๒๔๙/๑๐.
๓ ว.ิ ภิกขฺ ุน.ี (ไทย) ๔/๘๓๓/๓๑.

๒๐๒ บทที่ ๖ ดนตรใี นพระพุทธศาสนา
The Music in Theravadha Buddhism
พระมหามิตร ฐติ ปโฺ ญ,ผศ.ดร.

และภกิ ษณุ วี าการดมู หรสพ การฟอนรํา การขับรอง การประโคมดนตรี เปนของชาวบานท่ี
ยงั เปน ผูบริโภคกามอยู และเปนขาศึกตอกุศลผลู ะเมิดตองอาบัตติ ามพุทธบัญญตั ิไว

๖.๓ ดนตรีปรากฏในพระสตุ ตันตปฏก

ดนตรีในพระสุตตันตปฏ กวาดว ย ดูการละเลน ยงั เปน ขาศึกตอกุศล เชน การฟอน
รํา การขับรอง การประโคมดนตรี การรํา การเลานิทาน การเลนปรบมือ การเลนปลุกผี
การเลนตีกลอง การสรางฉากบานเมืองใหงดงาม การละเลนของคนจัณฑาล การลน
กระดานหก การละเลนหนา ศพ การแขง ชนชา ง การแขงมา การแขงชนกระบือ การแขงชน
โค การแขงชนแพะ การแขงชนแกะ การแขงชนไก การจัดกระบวนทัพ การตรวจกองทัพ
ดังที่ปรากฏในพระสุตตันตปฏกวา “พระสมณโคดมทรงเวนขาดจากการดูการละเลนอัน
เปนขาศึกตอ กุศล”๔ ดังพทุ ธพจนท่ยี กมา ถา ภิกษุเวน ขาดจากการดูการละเลนอันเปนขาศึก
ตอกุศล เชน การฟอน การขับรอง การประโคมดนตรี การรํา การเลานิทาน การเลน
ปรบมือ การเลนปลุกผี การเลนตีกลอง เปนตน เหลานี้รวมเปนทางของอกุศลท้ังปวง ถา
ภิกษุเวนขาดจากกรดุการละเลนจะไมถูกอกุสลครอบงําจิต และเปนการรักษาพระวินัยให
ถูกตอ งตามพุทธบญั ญัติไวอีกดว ย

ในวิมานวัตถุ ปรุ ิสวมิ าน กัณฐกวมิ าน ไดกลาวถึง พระมหาโมคคัล-ลานเถระ ได
ถามผลกรรมของพระยามากัณฐกะวาเปนเพราะผลกรรมอะไรถึงไดมาเกิดเปนเทพบุตรในวิ
มารทิพย มีทั้งการขบั รอง การฟอนรํา และการประโคมดนตรีท่ีเปนทิพย อันที่รื่นรมย และ
มีรูป เสยี ง กลิ่น รส โผฏฐัพพะมรี ศั มีรงุ เรือง มีผิวพรรณรุงโรจน เปนเพราะผลของทานหรือ
วาผลของศีลจงบอกแกเรา เทพบุตร (มากัณฐกะ) ไดบอกถึงเม่ือสมัยอดีตชาติเราไดเกิดมา
ชาตเิ ดยี วกันกับพระโอรส พระโอรสพระองคน้ันเสด็จออกเพ่ือพระโพธญิ าณในเวลาเท่ียงคืน
พระองคทรงไดใชฝาพระหัตถท่ีออนนุม ประทับนั่งบนหลังขาพเจาแลวขาพเจาเกิดความ
ยินดพี อใจที่ไดนําเสด็จ๕ ดังท่ีปรากฏในพระไตรปฏกวา “การฟอนรํา ขับรอง และประโคม
ดนตรีร่ืนรมยอยูดวยกลอง สังข ตะโพน พิณ และบัณเฑาะว และมีรูป เสียง กล่ิน รส
โผฏฐัพพะหลายอยางลวนเปนทิพยนารื่นรมย สมความประสงคในวิมานอันประเสริฐน้ัน
เปนเทพบุตรผูมีรัศมีรุงเรืองมากมีผิวพรรณรุงโรจนยิ่ง ดังพระอาทิตยกําลังอุทัย”๖ ดังพุทธ
พจนท ่ยี กมาสง่ิ ท่เี ปนทิพยสมความประสงคในวิมานอนั ประเสริฐน้นั มเี สียงดนตรีท่ีเปนทิพย
และมรี ัศมรี งุ เรืองมากผิวพรรณรงุ โรจนย ่งิ ดังพระอาทติ ยก าํ ลงั อทุ ัย เปนเพราะผลกรรมของ

๔ ท.ี สี (ไทย) ๙/๑๑/๖.
๕ ข.ุ วิ (ไทย) ๒๖/๑๑๘๐-๑๑๘๙/๑๔๗.
๖ ข.ุ วิ (ไทย) ๒๖/๑๑๘๐-๑๑๘๙/๑๔๘.

ศกึ ษาเฉพาะเรอ่ื งในพฒั นาการแหงพระพุทธศาสนา ๒๐๓
Selected Topics in Development of Buddhism
พระมหามิตร ฐติ ปฺโญ,ผศ.ดร.

เราที่ไดชวยมหาบุรุษไดออกเสด็จเพื่อเปนพระโพธิญาณน่ันเองจึงไดเกิดมาเปนเทพบุตรใน
วิมานแหง น้ี

ในชาดก มหานิบาต เวสสนั ดรชาดก กัณฑมหาราช ไดกลาวถึง ชูชกตั้งใจพาสอง
พระกุมารกลับไปหานางอมิตตดาที่เมืองกลิงราษฎรแตเทพดาดลใจใหชูชกเลือกทางผิด
กลายเปนเดินทางเขาสูกรุงสีพีของพระเจากรุงสัญชัยฝายพระเจากรุงสัญชัยคืนกอนท่ีจะได
พบสองพระกุมาร ไดทรงพระสุบินนิมิตวา มีบุรุษรูปรางนาเกลียดนากลัวนําดอกบัวสอง
ดอกมาถวาย ซึ่งโหรหลวงทํานายวาจะมีพระญาติใกลชิดที่พลัดพรากไปกลับสูพระนครรุง
ขน้ึ ชชู กก็มีโอกาสนาํ สองพระกมุ ารเขา เฝา พระเจา สญั ชัยและพระนางผสุ ดี ทง้ั สองพระองคดี
พระทัยยิ่งนัก พระราชทานส่ิงของไถพระนัดดาท้ังสองตามที่พระเวสสันดรกําหนดไว และ
ทรงใหจัดเล้ียงชูชกดวยอาหารคาวหวานมากมาย ชูชกบริโภคเกินขนาดจนธาตุไฟไมอาจ
เผาผลาญได อาหารไมย อ ยสุดทา ยก็ถึงแกจ ุกตาย ทรพั ยท ่ีไดร บั มาก็ถูกยึดเขาพระคลังหลวง
หลังจากที่ประกาศหาวงศาคณาญาติใหมารับแลวแลวไมมีผูใดมารับหลังจากพระเจา
กรุงสัญชัยทรงสดับเร่ืองราวจากพระนัดดาท้ังสองท่ีตกระกําลําบากกับพระชนกพระชนนี
พระเจากรุงสัญชัยก็ทรงเตรียมยกพยุหยาตราไปรับพระเวสสันดรกับพระนางมัทรีมาถวาย
คืน จึงโปรดใหพระชาลีทรงชางปจจัยนาเคนทรนําขบวนสูเขาวงกต ดังปรากฏในพระ
ไตรปฏกวา “ใหมีมหรสพฟอนรําขับรองทุกๆ อยางเพลงปรบมือ กลองยาว คนขับเสภา
และคนผูบรรเทาความเศราโศก พวกมโหรีจงเลนดนตรีดีดพิณพรอมท้ังตีกลองนอยกลอง
ใหญเปาสังข ตีกลองหนาเดียว ตีตะโพน แกวงบัณเฑาะว เปาสังข ดีดจะเข และตีกลอง
ใหญ กลองเล็ก”๗ ดังพุทธพจนท ่ียกมา กลาวถึง พระเจากรุงสัญชัยก็ทรงเตรียมพยุหยาตรา
ไปรับพระเวสสันดร และพระนางมัทรีกลับพระนครจึงจัดใหมีมหรสพฟอนรําขับรองทุกๆ
อยาง เชน เพลงปรบมือ กลองยาว คนขับเสภา เพื่อตอนรับพระเวสสันดรกับพระนางมัทรี
กลบั พระนคร

ในสัพพทายกเถราปทาน ไดกลาวถึง ผลบุญท่ีไดไปเสวยยศพรอมดวยการฟอน
รํา ขับรอง และประโคมดนตรีอันเปนทิพยอยูในสวรรคชั้นดุสิตนั้น ไมวาจะเกิดเปนเทวดา
หรือมนุษยก็ตาม จะไมมีความพรองดวยโภคะเลย และมีเหลาเทพท้ังหลาย เชน ยักษ ภูต
รากษส กุมภัณฑ และครฑุ ท่มี อี ยูในไพสณฑตางก็มาบํารุงคอยติดตามปกปองอยูตลอดเวลา
ดังที่ปรากฏในพระไตรปฏกวา “ขาพเจา ไดหอบหอผลไมถวายภิกษุสงฆ ทําจิตใจใหเลื่อมใส
ในภิกษนุ ้นั แลว ไดไ ปเกดิ ในสวรรคช นั้ ดุสิต ขา พเจาผูป ระกอบดวยบุญกรรม เสวยยศ พรอม
ดวยการฟอนรํา ขับรอง และประโคมดนตรีอันเปนทิพยอยูในสวรรคชั้นดุสิตนั้น ขาพเจา
เกิดในกําเนดิ ใดๆ คอื จะเกดิ เปน เทวดาหรือมนุษยก็ตาม (ในกําเนิดนั้นๆ) ขาพเจาไมมีความ

๗ ข.ุ ชา. (ไทย) ๒๘/๒๓๕๗-๒๓๖๓/๕๔๘.

๒๐๔ บทที่ ๖ ดนตรใี นพระพุทธศาสนา
The Music in Theravadha Buddhism
พระมหามติ ร ฐติ ปฺโญ,ผศ.ดร.

พรองดวยโภคะเลย”๘ ดังพุทธพจนท่ียกมากลาวถึง ผูที่มีความเลื่อมใสตอภิกษุสงฆ และ
ถวายผลไมแ กภกิ ษุสงฆ จะไมม ีความพรองดวยโภคะเลยและมีเหลาเทพท้ังหลาย เชน ยักษ
ภตู รากษส กมุ ภัณฑ และครุฑที่มีอยูในไพสณฑตางก็มาบํารุง คอยติดตามรักษาปกปองอยู
ตลอดเวลา

ในทีฆนิกาย สีลักขันธวรรค ไดกลาวถึง ทิพพโสต หรือหูทิพย คือ การไดยิน
เสียงในทหี่ า งไกล หรอื เบาทีส่ ดุ เหมือนกบั ของเทวดา และ พรหมท้ังหลาย โดยอาศัยจิตท่ีตั้ง
ม่ันเปนหน่ึงเดียวแลวนอมไปเพื่อ อภิญญา แปลวา ความรูย่ิง หมายถึงปญญาความรูท่ีสูง
เหนอื กวา ปกติ เปนความรูพเิ ศษทเี่ กิดขน้ึ จากการอบรมจิตเจริญปญญาหรือบําเพ็ญกรรฐาน
ดังพุทธพจนท่ีวา “พระพุทธองคตรัสแกภิกษุ ความวา ภิกษุทั้งหลาย เมื่อจิตเปนสมาธิ
บริสทุ ธ์ิผุดผองไมมีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความเศราหมอง ออน เหมาะแกการใชงาน
ตัง้ มัน่ ไมหวัน่ ไหวอยางนี้ ภกิ ษุนน้ั ก็นอมจิตไปเพ่ือทิพพโสตธาตุญาณการไดยินเสียง ๒ ชนิด
คือเสียงทิพยและเสียงมนุษยทั้งท่ีอยูไกลและใกลดวยทิพอันบริสุทธ์ิเหนือมนุษย เปรียบ
เหมอื นคนเดินทางไกล (มีประสบการณมาก) ไดยินเสียงกลอง เสียงตะโพน เสียงสังข เสียง
บัณเฑาะว เสียงเปงมาง ก็เขาใจวานั่นเสียงกลอง เสียงตะโพน เสียงสังข เสียงบัณเฑาะว
เสียงเปงมาง ฉันใด เมื่อจิตเปนสมาธิบริสุทธ์ิผุดผองไมมีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ
เศราหมองออน เหมาะแกการใชงาน ตั้งม่ัน ไมหวั่นไหวอยางน้ี ภิกษุนอมจิตไปเพ่ือทิพพ
โสตธาตุญาณ”๙ ดังน้ันพุทธพจนท่ีไดยกมา การที่เราจะสามารถไดยินเสียงทิพยและเสียง
มนุษย ท้ังท่ีอยูไกลและใกลดวยหูทิพยท่ีบริสุทธ์ิเหนือมนุษยนั้นตองอาศัยที่ต้ังม่ันเปนหน่ึง
เดียว ตองอาศัยการบําเพ็ญกรรมฐานโดยเขา-ออก สมาธิอยางชํานาญแลวจึงจะสามารถ
แสดงอิทธิฤทธิ์ตางๆ ได จึงนอมจิตไปเพื่อไดยินเสียงทิพยและเสียงมนุษยทั้งที่อยูไกล และ
ใกลด วยหูทิพยอ ันบรสิ ุทธเิ์ หนือมนษุ ย

ในทีฆนกิ าย มหาวรรค ไดกลาวถึง ปญจสิขะขันธบุตรคร้ัง พระพุทธองคตรัสรูท่ี
แมน ํา้ เนรัญชรา ตําบลอุรุเวลา ท่ีเร่ืองราวมีความสอดคลองกันกับดรื่อง ปญจสิขะขันธบุตร
ไปหลงรักหญิงคนหน่งึ ชอ่ื นางภทั ทาสุริยวัจฉสา เปน ลูกสาวของมาตลีสังคาหกเทพบุตร เม่ือ
ปญจสิขะขันธบุตรไมไดรับความรักจากนางจึงใชพิณบรรเลงเพลงเพ่ือสื่อถึงความรักที่มีตอ
ลูกสาวของทาวติมพรุคันธรรพราช ไดกลาวเปนคาถาออนวอนถึงพระพุทธ พระธรรม
พระสงฆ และพระอรหนั ตเพือ่ หวงั ชวยใหค วามรกั ของตนสมหวงั เพราะทาํ ไปเพื่อความใครที่
มีตอนาง และไดกลาวอุปมัยถึงนางภัททาสุริยวัจฉสาวา นางภัททาสริยวัจฉสาชางงดงาม
และมคี วามเฉลยี วฉลาด จะขอนอบนอมสักการะแดพอของนางวามีลูกสาวท่ีสวยงดงาม ดัง

๘ ขุ.อป. (ไทย) ๓๓/๕๘-๖๔/๒๑๑.
๙ ท.ี ส.ี (ไทย) ๙/๒๐๗-๒๐๘.

ศกึ ษาเฉพาะเรอ่ื งในพฒั นาการแหง พระพทุ ธศาสนา ๒๐๕
Selected Topics in Development of Buddhism
พระมหามติ ร ฐติ ปฺโญ,ผศ.ดร.

ตน สาระท่ีมีดอกบานสะพรง่ั พุทธพจนท่ีวา “เม่ือขาพเจาไมไดนางดวยวิธีหนึ่งจึงถือเอาพิณ
สีเหลืองดังผลมะตูมเขาไปยังนิเวศนของ ทาวติมพรุคันธรรพราช แลวบรรเลงพิณ”๑๐ ดัง
พทุ ธพจนท่ยี กมา เรื่องเก่ียวกับปญจสิขะขันธบุตรไมไดความรักสมหวังจากนาง ก็เลยหาวิธี
เอาชนะนางอีกวิธีหน่ึงโดยเขาไปหาทาวติมพรุคันธรรพราชผูเปนพอของภัททาสุริยวัจฉสา
ชางงดงามและมีความเฉลียวฉลาด จะขอนอบนอมสกั การะแดทาวติมพรุคันธรรพราชผูเปน
พอวามีลูกทีส่ วยงาม ดังตน สาระทม่ี ดี อกบานสะพร่งั หวังจะเอาชนะใจพอของนาง

ในมหาสุทัสสนสูตร ไดกลาวถึง การรางธรรมปราสาทที่พักผอนในตอนกลางวัน
แตพระเจา มหาสุทสั สนะเปน คนทพี่ ิถพี ถิ ันในการสรางธรรมปราสาททม่ี ีร้ัวลอม ๒ ชั้น คือรั้ว
ทองกับร้ัวเงิน รั้วทองมีเสาทําดวยทอง ราวและหัวเสาทําดวยเงิน รั้วเงินมีเสาทําเงิน ราว
และทําดวยทองธรรมปราสาท และมีขายกระด่ิงแวดลอม ๒ ชั้น คือ ขายทองช้ันหนึ่งขาย
เงนิ ชน้ั หนึ่ง ขายทองมีกระดิ่งเงิน ขายเงินมีกระด่ิงทอง ขายกระด่ิงเหลาน้ันยามเม่ือตองลม
แลวจงึ ทาํ ใหเกดิ เสียงไพเราะ นา ยินดี ชวนฟง ใหเคลบิ เคล้ิม ดังพุทธพจนที่วา “ดนตรีเครื่อง
หา ที่บุคคลปรับเสียงดีแลวประโคมดีแลว บรรเลงโดยผูเชี่ยวชาญ ยอมมีเสียงไพเราะ
นายินดี ชวนฟงชวนใหเคลิบเคลิ้ม ฉันใด ขายกระด่ิงเหลาน้ันยามเม่ือตองลมเกิดเสียง
ไพเราะ นายินดี ชวนฟงชวนใหเคลิบเคลิ้ม ฉันนั้น”๑๑ ดังพุทธพจนที่ยกมาไดกลาวถึง
ปราสาททส่ี รางดวยรวั้ ทองกับรัว้ เงนิ รว้ั ทองมเี สาทําดวยทอง ราวและหัวเสาทําดวยเงิน ร้ัว
เงินมีเสาทําดวยเงิน ราวและหัวเสาทําดวยทองธรรมปราสาท และมีขายกระด่ิงแวดลอม
ดวย ๒ ช้ัน เปรียบเสมือนบุคคลผูมีความชํานาญในการบรรเลงดนตรียอมทําใหเสียงที่
บรรเลงไพเราะ นาฟง และทําใหเคลบิ เคลิ้ม

ในจูฬตัณหาสัขยสูตร ไดกลาวถึงพระมหาโมคคัลลานะทรงสงสัยทาวสักกะ
เก่ยี วกับสุภาษิตของพระพทุ ธเจา ท่ีทรงบอกกับทาวสักกะ สมัยน้ัน ทานมหาโมคคัลลานะน่ัง
อยใู นท่ไี มไกลจากพระผูม ีพระภาค ไดม คี วามคิดวาทา วสกั กะนั้นทราบเนอ้ื ความสุภาษิตของ
พระผมู พี ระภาคเปนสุภาษิตอะไรจึงยินดี หรือไมทราบสุภาษิตของพระผูมีพระภาคเจาแลว
ยินดี สงสัยตนเองแลวบอกกับตนวาทางท่ีดีเราควรไปถามทาวสักกะจอมเทพวาทรงทราบ
เนื้อความสภุ าษติ ของพระผมู พี ระภาคดวยสุภาษิตอะไร จากน้ัน ทานพระมหาโมคคัลลานะ
ไดเนรมิตตนเองไปปรากฏในหมูเทพช้ันดาวดึงส ดวยพริบตาเดียว และทาวสักกะจอมเทพ
กําลังเอิบอิ่มพรอมพรั่งบําเรออยูดวยทิยดนตรี ๕๐๐ ชนิด ในช้ันดาวดึงสในสวนดอก
บุณฑริก ทาวเธอทอดพระเนตรเห็นทานพระมหาโมคคัลลานะมาแตไกล จึงรับสั่งใหหยุด
บรรเลงทิยดนตรที ง้ั ๕๐๐ ชนดิ ไว เสด็จ เขาไปหาทานพระมหาโมคคัลลานะแลวจึงกลาวคํา

๑๐ ที.สี. (ไทย) ๑๐/๓๔๙/๒๗๗.
๑๑ ท.ี มหา (ไทย) ๑๐/๒๕๗-๒๕๘/๑๙๑.

๒๐๖ บทท่ี ๖ ดนตรีในพระพทุ ธศาสนา
The Music in Theravadha Buddhism
พระมหามิตร ฐติ ปฺโญ,ผศ.ดร.

ตอนรับทานพระมหาโมคคัลลานะ นิมนตเขามาน่ังบนอาสนะท่ีจัดไวแลวดังพุทธพจนที่วา
“บรรเลงทิพยดนตรีท้ัง ๕๐๐ ชนิด”๑๒ ดังที่พระพุทธพจนที่ยกมา ไดกลาวถึงดนตรีมีท้ัง
๕๐๐ ชนิดมีอยูเฉพาะบนสวรรคช้ันดาวดึงส เพราะแตละชั้นของสวรรคอาจมีดนตรีท่ี
แตกตางกนั ไปในแตล ะชั้น

ในวิมานวัตถุ ลตาวิมาน ไดกลาวถึง วิมานท่ีเกิดขึ้นแกเทพธิดา สัชชาเทพธิดา
ปวราเทพธิดา กลาวถึง อัจฉิมุดีเทพธิดาและสุดาเทพธิดาผูมีบารมี เปนบุตรของทาว
เวสสุวัณมหาราช และเปน ภรรยาของทาวสกั กเทวราชผูทรงคณุ อนั ประเสริฐ ทรงสิริ งดงาม
อยูดวยคณุ ธรรม เทพธิดาท้ัง ๕ นาง ตามที่กลาวมาน้ีไดพากันไปเลนที่แมนํ้าแหงหน่ึงซ่ึงอยู
ในปาหิมพานต ในขณะที่เลนเหลาเทพธิดาก็ไดพากันรองเพลงฟอนรําและขับรองไปใน
ขณะท่ีเลนนํ้าอยู สุดาเทพธิดาไดพูดกับลดาเทพธิดาผูเปนพ่ีวาทําไมพ่ีจึงมีผิวพรรณเปลง
ปล่ังดั่งทองคํา มีนัยนตาสีนํ้าตาลมีผิวพรรณท่ีงดงาม ประดุจทองฟา ไรเมฆหมอกและอายุ
ยืน ดิฉันขอถามพ่ี เพราะบุญอะไรจึงทําใหพี่ไดบริวารและเกียรติยศ และเปนท่ีโปรดปราน
ของสามี มีโฉมงามเลิศกวาใคร ทั้งฉลาดเปนเลิศในการฟอนรํา ขับรอง และบรรเลงดนตรี
ดังพุทธพจนที่วา “พ่ีจึงเปนที่โปรดปรานของสามี มีโฉมงามเลิศกวาใคร ทั้งฉลาดเปนเลิศ
กวาในการฟอนรํา ขับรอง และบรรเลงดนตรี”๑๓ ดังพุทธพจนท่ียกมา ไดกลาวถึงลดา
เทพธิดา เมื่อตอนเปนมนุษยอยูในมนุษยโลกเปนสะใภในตระกูลม่ังค่ังตระกูลหนึ่งมีนิสัยไม
โกรธ ปฏิบัติตามคําสั่งของสามีเสมอไมประมาทในการรักษาอุโบสถศีล จึงทําใหลดา
เทพธิดาเกิดมาในหมูเทพ และมีผิวพรรณเปลงปล่ังดังทองคํา มีนัยนตาสีนํ้าตาลมีผิวพรรณ
ที่งดงาม ประดุจทองฟา ไรเมฆหมอก และอายุยืน มีบริวารยศและเกียรติยศเลิศกวาใคร
และมคี วามฉลาดในการฟอนราํ ขบั รอ ง และบรรเลงดนตรี

ในวิมานวัตถุ เปสวตีวิมาน ไดกลาวถึง วิมานที่เกิดขึ้นแกหญิงช่ือวาเปสวดี เม่ือ
พระวงั คีสเถระจะไตถามถงึ บุพกรรมที่เทพธิดาเปสวดีอาศัยอยูน้ันมีความสวยงาม เชน มีมุง
บังดวยแกวผลึก มีขายเงินและขายทองคํามีพื้นวิจิตรตระกราตาหลากสี เปนท่ีนาร่ืนรมย
ยินดีเปนที่อยูอาศัยอันเนรมิตไวดีแลว ประกอบดวยซุมประตูที่ลานวิมานเกลื่อนกราดไป
ดว ยทรายทองวมิ านของเธอนส้ี องแสงสวางเหมือนพระอาทิตยบนทองฟามีรัศมีต้ังพันกําจัด
ความมดื ในฤดสู ารทกาล และมคี วามสวางไสวไปท่ัวสิบทศิ เหมอื นเปลวไฟซึ่งกําลังลุกโชนอยู
บนยอดภเู ขาในเวลากลางคืนวมิ านประหน่งึ บาดนัยนตาอยู คลายกับสายฟาแลบ ลอยอยูใน
อากาศนาร่ืนรมยใจ วิมานเธอนี้กองกังวานไปดวยเสียงดนตรี คือพิณเครื่องใหญ กลอง ฉ่ิง
และกังสดาลมั่งคั่งรุงเรือง ดุจเมืองพระอินทร วิมานของเอนี้อบอวลไปดวยกล่ินหอมระหื่น

๑๒ ม.ม.ู (ไทย) ๑๒/๓๙๑/๔๒๒.
๑๓ ขุ.วิ. (ไทย) ๒๖/๓๑๖-๓๒๐/๑๕.

ศึกษาเฉพาะเรื่องในพฒั นาการแหง พระพุทธศาสนา ๒๐๗
Selected Topics in Development of Buddhism
พระมหามิตร ฐติ ปฺโญ,ผศ.ดร.

แหงไมชั้นเลิศนานาพันธ ไดแก ดอกปทุม ดอกโกมุท ดอกอุบล ดอกคัดเคา ดอกชบา ดอก
อังกาบ ดอกรัง ดอกอโศกแยมกลีบบานสะพรั่งสงกลิ่นหอมระรื่น เทพธิดาผูเรืองยศ สระ
โบกขรณีนารื่นรมย เรียงรายไปดวยตนหูกวาง ขนุนสําปะลอและตนไมมีกล่ินหอม มีทั้งไม
เลื้อยชูดอกออกชอบานสะพรั่ง หอยยอยเกาะกายลงมาคลายกับขายแกวมณี ปรากฏมีอยู
ใกลวิมานของเธอ ดังพุทธพจนท่ีวา “วิมานเธอกองกังวานไปดวยเสียงดนตรี คือพิณเคร่ือง
ใหญ กลอง ฉิ่งและกังสดาล มั่งคง่ั รงุ เรอื ง”๑๔ กลาวคอื วมิ านทอ่ี ยูของนางเปสวดีเปนเพราะ
ผลบุญของนางจึงไดมาเกดิ เปนเทพอยใู นวิมานแหงนี้ และมเี สียงดนตรที เี่ ปนทพิ ย เชน เสียง
พิณ กลอง และ ฉงิ่ บรรเลงดวยเสียงที่ไพเราะนารืน่ รมยอยูต ลอดเวลา

ในวิมานวัตถุ อิตถีวิมาน๑๕ ไดกลาวถึงการถามถึงผลกรรมของเทพธิดาผูหนึ่ง
เพราะเหตุใดจึงไดมาจุติในวิมานที่เปนทิพยแหงนี้ กลาวถึงวิมานแหงน้ีจะมีกลิ่นทิพยหอม
ระรื่นช่ืนใจฟุงออกมาจาอวัยวะนอยใหญทุกสวนสัดของเธอ เม่ือเธอสั่นไหวกายไปมาเสียง
เครอ่ื งประดับที่ชอ นผมกจ็ ะเปลงเสียงไพเราะ นา ฟง ดุจดังเสียงดนตรีเครื่องหาและเปนตาง
หูเพชรตองลมส่ันไหว ก็สงเสียงดังไพเราะนาฟง เชนกับเสียงดนตรีเครื่องหา แมมาลัยบน
ศีรษะของเธอมีกลิ่นหอมระรื่นช่ืนใจก็สงกล่ินหอมฟุงไปท่ัวทิศ นี้เปนเพราะผลของกรรมที่
ดิฉันไดนอมนํามาลัยดอกอโศกซึ่งมีเกสรงามเลื่อมประภัสสรมีสีสด มีกล่ินหอมฟุง ไปนอม
บูชาพระพุทธเจา ดิฉันน้ันครั้นทํากุศลกรรมที่พระพุทธเจาทรงสรรเสริญแลวจึงสรางโศก
หมดโรคภัย มีความสุข ร่ืนเริงบันเทิงใจอยูเปนนิตย ดังพุทธพจนวา “เสียงเครื่องประดับที่
ชอนผมก็เปลงเสียงดังไพเราะ นาฟง ดุจเสียงดนตรีเคร่ืองหา อน่ึง ดูตางหูเพชรตองลมสั่น
ไหวก็สงเสียงดังไพเราะนาฟง เชนเดียวกับเสียงดนตรีเคร่ืองหา” กลาวไดวาพุทธพจนที่ยก
มา ไดกลาวถึงผลกรรมของเทพธิดาผูหนึ่งเปนเพราะผลกรรมที่เคยไดนอมนํามาลัยดอก
อโศกซ่ึงมีเกสรงามเล่ือมประภัสสรมีสีสด มีกล่ินหอมฟุง ไปนอมบูชาพระพุทธเจา จึงทําให
เทพธิดาผูน น้ั มีเสียงเครอ่ื งประดบั ที่ชอ นผม และตา งหูเพชรที่เปนทิพยเปลงเสียงดัง ไพเราะ
นาฟง อยตู ลอดเวลา

ในวิมานวัตถุ รัชชุมาลาวิมาน ไดกลาวถึง วาดวยวิมานที่เกิดขึ้นแกหญิงผูกราบ
ไหวสมณะ พระมหาโมคคัลลานเถระไดถ ามเทพธิดาองคหนึ่งวา เทพธิดาเธอมีผิวพรรณงาม
ยงิ่ นกั เปลงรัศมีสวางไสวไปทั่วทุกทิศ ประดุจดาวประกายพรึกเพราะสรางบุญอะไรเธอจึงมี
ผิวพรรณงามเชนน้ี และมีรัศมีกายสวางไสวไปทั่วทุกทิศอยางน้ี เทพธิดาน้ันดีใจท่ีพระมหา
โมคคัลลานเถระถามเธอจึงตอบปญหาผลกรรมวา เม่ือดิฉันเกิดเปนมนุษยอยูในหมูมนุษย
พบสมณะทั้งหลายผูมีศีลจึงไหวและทําใจใหเล่ือมใสดิฉันปลื้มใจ ที่ไดประคองอัญชลี

๑๔ ข.ุ วิ. (ไทย) ๒๖/๖๔๖-๖๕๐/๗๒.
๑๕ ข.ุ วิ. (ไทย) ๒๖/๖๘๒-๖๘๘/๗๘.

๒๐๘ บทท่ี ๖ ดนตรใี นพระพทุ ธศาสนา
The Music in Theravadha Buddhism
พระมหามติ ร ฐติ ปโฺ ญ,ผศ.ดร.

สักการะเคารพพระพทุ ธเจา เพราะบุญน้ันดิฉันจึงมีผิวพรรณงามเชนน้ี และมีรัศมีกายสวาง
ไสวไป ขณะที่ดนตรีบรรเลงอยางไพเราะเธอฟอนรําไดอยางชํานาญ ดังพุทธพจนที่วา “มี
รศั มีกายสวา งไสวไป ขณะดนตรบี รรเลงอยูอยางไพเราะ เธอกรีดกรายมือและเทาฟอนรําได
อยางกลมกลืน”๑๖ เพราะผลบุญของนางจึงไดมาเกิดเปนเทพอยูในวิมานแหงนี้ และมี
เสียงดนตรีท่ีเปนทิพย เชน เสียงพิณ กลอง และ ฉ่ิง บรรเลงดวยเสียงไพเราะนารื่นรมยอยู
ตลอดเวลา

ในชาดก เตรสกนิบาต อกิตติชาดก ไดกลาวถึง คําชมเชยจากพราหมณผูหน่ึงถึง
พระพุทธเจาถึงพระพุทธเจาท้ังหลายวาเปนสัพพัญูรูแจงเห็นจริงและทรงรูทุกอยาง
หลงั จากนั้น พระราชาผูหนึ่งทรงนําดอกไมและเคร่ืองลูบไลไปบูชาท่ีตนโพธิ์และตองการให
มีการขับรอง การฟอนรําดวยดนตรีตางๆ และพระราชารับสั่งใหเก็บดอกไมหกหมื่นเลม
เกวยี นใหบรรเลงดนตรเี พือ่ บูชาตน โพธิม์ ณฑลสถานอันยอดเย่ียมอยางน้ีทุกวัน ดังพุทธพจน
วา “การใหบรรเลงดนตรีเพื่อบูชาตนโพธิ์มณฑลสถานยอดเยี่ยมทุกวัน”๑๗ ก็เพ่ือบูชาถึง
พระพุทธเจาทั้งหลายวาที่เปนสัพพัญู รูแจงเห็นจริง และทรงรูทุกอยางท่ีตนโพธิ์เปน
สถานทต่ี รัสรขู องพระพทุ ธเจา

ในชาดก มหานิบาต วิธุรชาดก มณิกัณฑ ไดกลาวถึงการฟอนรํา ขับรอง และ
ประโครมดนตรีตางๆ ที่เปนของถูกเนรมิตไวบนโลกแหงนี้ พระพุทธเจาไดทอดพระเนตรท่ี
เกิดในแกวมณีนี้ทั้งหมดเปนของธรรมชาติท่ีถูกสรางเองโดยธรรมชาติไมมีใครเปนผูบันดาล
ข้ึนเอง เชน โรงขายสุรา นักเลงสุรา พอครัว เรือนครัว พอคา หญิงแพศยา หญิงงามเมือง
ทุกอยางที่ปรากฏข้ึนลวนเปนส่ิงที่ธรรมชาติไดเนรมิตไวในแกวมณีดวงนี้ ดังพุทธพจนวา
“ขอทูลเชิญพระองคทอดพระเนตรพวกคนทําของหวาน คนทําของคาว พวกนักดนตรี คือ
บางพวกฟอนรํา ขับรอง บางพวกปรบมือ บางพวกตีฉิ่ง ที่ธรรมชาติไดเนรมิตไวในแกวมณี
ดวงนี้ ขอทูลเชิญพระองคทอดพระเนตรกลอง ตะโพน สังข บัณเฑาะว มโหระทึก และ
เคร่ืองดนตรีทุกชนิดท่ีธรรมชาติไดเนรมิตไวในแกวมณีดวงนี้ ขอทูลเชิญพระองค
ทอดพระเนตรเปงมาง (ฉิ่ง) กังสดาล พิณ การฟอนรํา ขับรอง เครื่องดนตรีดีดสีตีเปาที่เขา
ประโคมกึกกองที่ธรรมชาติไดเนรมิตไวในแกวมณีดวงนี้”๑๘ ดังพุทธพจนที่ยกมา กลาวถึง
บางพวกฟอนรําขับรอง บางพวกปรบมือ บางพวก บางพวกตีฉ่ิง เชน กลอง ตะโพน สังข
บัณเฑาะว มโหระทึก และเคร่ืองดนตรีทุกชนิดท่ีธรรมชาติไดเนรมิตไวในแกวมณีดวงน้ี

๑๖ ข.ุ วิ. (ไทย) ๒๖/๘๑๙-๘๒๖/๘๕.
๑๗ ข.ุ ชา.มหา. (ไทย) ๒๘/๗๙-๘๔/๔๐๙.
๑๘ ขุ.ชา.มหา. (ไทย) ๒๘/๑๔๐๓-๑๔๐๙/๔๐๒.

ศึกษาเฉพาะเรือ่ งในพฒั นาการแหงพระพทุ ธศาสนา ๒๐๙
Selected Topics in Development of Buddhism
พระมหามติ ร ฐติ ปฺโญ,ผศ.ดร.

หมายถึงทกุ อยางที่ปรากฏข้ึน ในแตละช้นั ทงั้ มนษุ ยแ ละเทวดามีความละเอียดท่ีแตกตางกัน
ออกไปตามช้นั ภมู ิตา งๆ นน้ั เปนสงิ่ ที่ถกู สรา งขึน้ โดยธรรมชาตเิ อง

ในอปทาน พุทธวรรค เราปทาน สารปี ุตตเถราปทาน ไดกลาวถึง พระสาวกชื่อว
รุณะ ผุเปนอุปฏฐากของพระศาสดาพระนามวาอโนมทัสสีท่ีเปนพระพุทธเจาในสมัย
พระองคผูเปนผูนําสัตวโลกวาขาแตพระผูมีพระภาค และพระสาวกช่ือวรุณะ ไดถาม
พระพุทธเจาวา เปนเพราะเหตุใดพระศาสดาทรงแยมพระโอษฐโดยธรรมดาพระพุทธเจา
ท้ังหลายต้ังแตองคในอดีตที่ผานมานั้นไมทรงแยมพระโอษฐ โดยไมมีเหตุ พระผูมีพระภาค
พระนามวาอโนมทัสสีพระพุทธเจาองคในอดีตทรงเปนผูเจริญที่สุดในโลก ผูองอาจกวานร
ชนประทบั นงั่ ในทา มกลางหมภู ิกษุแลว ไดต รัสพระคาถานแี้ กภกิ ษวุ าเราจะพยากรณดาบสผู
ที่ใชด อกไมบชู าเราและชมเชยญาณของเราเนืองๆ ขอทานท้ังหลายจงฟงเรากลาวเถิด เหลา
เทวดาท้ังปวง ทรงทราบพระดํารัสของพระพุทธเจาแลวประชุมกันเพ่ือจะฟงพระสัทธรรม
ของพระศาสดา เหลาพวกเทวดาผูมีฤกษมากทั้ง ๑๐ โลกธาตุเหลาน้ันประสงคจะฟงพระ
สัทธรรมจึงเขาเฝาพระสัมมาสัมพุทธเจา ดังน้ันพระผูมีพระภาคจึงไดตรัสวา กองทัพ ๔
เหลา คือ พลชาง พลมา พลรถ พลเดินเทาจักแวดลอมผูนี้เปนนิตยเปนผลแหงการบูชา
พระพทุ ธเจา และเครอ่ื งดนตรี ๑๐,๖๐ ชิ้น กลองท่ีประดับตกแตงสวยงามจักบําเรอผูนี้เปน
นติ ย ดงั พทุ ธพจนท ี่วา “เครื่องดนตรี ๑๐,๐๖๐ ช้ิน กลองที่ประดับตกแตงสวยงามจักบํารุง
บําเรอผูน ้เี ปน นติ ยเปนผลแหง การบูชาพระพุทธเจา”๑๙ ความหมายก็คือเมื่อบุคคลบูชาและ
ชมเชยญาณของพระพทุ ธเจาผนู น้ั จะไดผลตอบแทน คือ เมื่อกายสงั ขารดับในภพปจจุบันจิต
ของเขายอมไปเกิดในภูมิของเหลาเทพท้ังหลายและจะมีเคร่ืองดนตรี ๑๐,๐๖๐ ช้ิน กลอง
เปนที่ประดบั ตกแตง สวยงามท่ีเปนทิพยของเทพจักบํารุงบําเรอผูนั้นอยูเปนนิตย เพราะบุญ
ของเขาทําไวแลวจงึ เปนเหตใุ หไปเกิดในภูมิแหงนี้

ในขุททกนิกาย เอกาเสนิยเถราปทาน๒๐ ไดกลาวถึง ประวัติอดีตชาติของพระ
เอกาเสนยิ เถระ ขาพเจาไดเกิดเปนทาวเทราชมีนามวาวรุณะ พรอมดวยญาณพลทหารและ
พาหนะเขาไปชวยเหลือพระสัมมาสัมพุทธเจา ผูสูงสุดแหงเทวดาและมนุษยทรงเสด็จดับ
ขันธปรินิพพานแลว ขาพเจาไดนําดนตรีท้ังปวงไปยังตนโพธิ์อันอุดม ขาพเจาประกอบการ
ประโคม การฟอนรําและกังสดาลทุกอยางบํารุงตนโพธิ์อันอุดมดุจบํารุงพระสัมมาสัมพุทธ
เจาเฉพาะพระพักตร ครั้นขาพเจาบํารุงตนโพธ์ิซ่ึงงอกข้ึนบนพ้ืนดินน้ันแลว และน่ังสมาธิ
แลวไดส้ินชีวิตลง ณ ท่ีน้ัน ขาพเจาไดปรารภกรรมของตนเอง ท่ีเปนผูเล่ือมใสในตนโพธิ์อัน
อดุ มดวยจติ ทีเ่ ลือ่ มใสนนั้ ขา พเจา จงึ ไปเกิดในสวรรคช ้ันนิมมานรดี มีเครื่องดนตรี ๖๐,๐๐๐

๑๙ ขุ.อป. (ไทย) ๓๒/๒๓๘-๒๔๕/๔๐.
๒๐ ขุ.อป. (ไทย) ๓๒/๓๑-๓๗/๒๖๖.

๒๑๐ บทที่ ๖ ดนตรใี นพระพุทธศาสนา
The Music in Theravadha Buddhism
พระมหามิตร ฐติ ปโฺ ญ,ผศ.ดร.

ชิ้น แวดลอมขาพเจา ผูเ วยี นวายตายเกิดอยูในภพนอยภพใหญท ั้งในเทวดาและมนุษยอยูทุก
เม่ือ หลังจากขาพเจาไดดับไฟ ๓ กอง คือ (๑) ไฟราคะ คือ ความกําหนัดยินดีในอารมณ
(๒) ไฟโทสะ คือความโกรธ ความเกลียด ความไมพอใจ (๓) ไฟโมหะ คือ ความหลง ความ
มัวเมา ความไมรูจริง ไฟท้ัง ๓ กองบมเพาะกิเลสในใจมนุษยใหเผาผลาญโลกอยางไมมีที่
สนิ้ สุด ขาพเจากด็ บั ไดแ ลว ภพท้ังปวงขาพเจาก็ถอนไดแลว ขาพเจาทรงรางกายอันมีในภพ
สุดทายอยูในศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจา ดังพุทธพจนที่วา “ขาพเจาจึงไปเกิดใน
สวรรคชั้นนิมมานรดี มีเคร่ืองดนตรี ๖๐,๐๐๐ ชิ้น แวดลอมขาพเจาผูเวียนวายตายเกิดอยู
ในภพนอยภพใหญท้ังในเทวดาและมนุษย” ความวา ขาพเจาประกอบการประโคม การ
ฟอ นราํ การบรรเลงเพลงทุกอยาง เพราะไดบํารุงตนโพธ์ิอันอุดมดุจบํารุงพระสัมมาสัมพุทธ
เจา ขา พเจาคร้ันบาํ รงุ ตนโพธซ์ิ ึ่งงอกงามขนึ้ บนพ้ืนดินน้ันแลว และนั่งสมาธแิ ลวไดส้ินชีวิตลง
ณ ที่นั้น ขาพเจาจึงไปเกิดในสวรรคชั้นนิมมานรดี มีเคร่ืองดนตรี ๖๐,๐๐๐ ชิ้น แวดลอม
ขาพเจา ผเู วยี นวา ยตายเกดิ อยใู นภพนอ ยภพใหญท ้งั ในเทวดาและมนุษยหลายภพหลายชาติ
หลงั จากขาพเจาไดดับไฟ ๓ กองจนหมดสนิ้ ไป

ดังน้ัน ดนตรีท่ปี รากฏในพระสตุ ตนั ตปฏ กคลา ยกับพระวินัยปฏก กลาวถึง บุคคล
ผูดุการขับรอง การฟอนรํา การประโคมดนตรีเปนคาศึกตอกุศลเพราะทําจิตใหหลงตาม
เสียงดนตรีทาํ ใหจ ิตใจตกอยใู นเสียงทีไ่ ดยนิ เกิดความเคลิบเคลม้ิ พอใจในเสียงที่ไดยิน และผู
ท่จี ติ ใจตั้งมน่ั ปราศจากเสยี งรบกวนตางๆ แลว สามารถจะทําจิตใจใหเกิดอิทธิฤทธ์ิตางๆ ได
โดยอาศัยการบําเพ็ญกรรมฐานโดยกําหนดลมหายใจเขา-ออก สมาธิอยางชํานาญ นอมจิต
ไปเพ่ือไดย นิ เสียงทพิ ยและเสียงมนุษยท ั้งท่ีอยไู กลและใกลด วยหทู ิพยอ ันบริสุทธิ์เหนือมนุษย
และดนตรีเปนส่ิงที่รื่นเริงของเทพเทวดา และการขับรอง การฟอนรํา การประโคมดนตรีท่ี
เปนของทิพย เปนเพราะผลกรรมบุคคลผูเลื่อมใส ศรัทธาบูชาและชมเชยญาณของ
พระพุทธเจา จงึ ไดม บี ริวารมดี นตรที ไี่ พเราะรอบลอ มอยูเปนนิตย

๖.๔ ดนตรีทีป่ รากฏในพระอภิธรรมปฏก

ดนตรีที่ปรากฏในพระอภิธรรมปฏกปรากฎอยูในกถาวัตถุ อนันตรปจจยกถา
กลาวถึง การโตตอบคาํ ถามจาํ พวกหนึ่งสมมติเปน สักวาที (ส.) คือผูกลาวถอยคําฝายตน คือ
ฝายเสนอหรือฝายถาม, จําพวกหนึ่งสมมติเปนปรวาที (ป.) คือผูกลาวถอยคําฝายตอบหรือ
ฝายคาน ท้ังสองฝายไดโตตอบกันถึงเรื่องวิญญาณ ๕ ดังท่ีปรากฏในพระไตรปฏกวา “ป.
บคุ คลบางคนฟอราํ ขับรอง บรรเลงดนตรีเห็นรูปดวย ฟงเสียงดวย สูดกลิ่นดวย ลิ้มรสดวย
ถูกตองโผฏฐัพพะดวย (ในขณะเดียวกัน) มีอยู มิใชหรือ? ส. ถูกแลว ป. หากวาบุคคลบาง
คนฟอ นรํา ขบั รอง บรรเลงดนตรเี ห็นรปู ดว ย ฟงเสยี งดวย สูตรกลิ่นดวย ลิ้มรสดวย ถูกตอง

ศกึ ษาเฉพาะเรื่องในพัฒนาการแหงพระพทุ ธศาสนา ๒๑๑
Selected Topics in Development of Buddhism
พระมหามติ ร ฐติ ปฺโญ,ผศ.ดร.

โผฏฐพั พะดวย (ใน-ขณะเดียวกัน)มอี ยู ดวยเหตุนั้นทานจึงตองกลาววา วิญญาณ ๕ เกิดข้ึน
ในลําดับแหงกันและกันแล”๒๑ ด่ังพุทธพจนท่ีไดยกมากลาวถึงเรื่อง วิญญาณ ๕ เกิดขึ้น
อยางตอเนื่องโดยไมมีจิตอื่นมาค่ันในระหวาง ซ่ึงจากความเห็นของ “สักวาที” ที่เห็นวา
วิญญาณ ๕ เกิดข้ึนไมตอเน่ืองกันโดยตองมีอารมณมาค่ันในระหวาง เชน เมื่อจักขุวิญญาณ
เกิดขึ้นจะตองมีรูปารมณมาคั่น จึงจะเกิดโสตวิญญาณ (ความรูสึกทางเสียงตอไปได ดัง
ตวั อยางกราฟแสดงดงั น้ี

ทวาร อารมณ ทําใหเกดิ วิญญาณ
ทางรบั รู + กระทบ ส่ิงทถ่ี ูกรู ความรู
๑. จกั ขุทวาร + รูปารมณ จักขวุ ิญญาณ = เหน็ รปู
๒. โสตทวาร + สัททารมณ โสตวญิ ญาณ = ไดยนิ เสียง
๓. ฆานทวาร + คนั ธารมณ ฆานวญิ ญาณ = ไดกลิน่
๔. ชิวหาทวาร + รสารมณ ชิวหาวิญญาณ = รูรส
๕. กายทวาร + โผฏฐพั พารมณ กายวญิ ญาณ = รูสง่ิ ทม่ี าถูกตอ ง
๖. มโนทวาร + ธรรมารมณ มโนวิญญาณ = รเู รื่องในใจ

ขั้นตอนการรับรู ผัสสะจะเกิดขึ้นก็ตอเม่ือมีองคประกอบ ๓ ประการ คือ (๑)
ทวารทางรับรู (๒) อารมณส่ิงท่ีถูกตอง และ (๓) วิญญาณ ความรูมาประจวบพรอมกัน
กระบวนการรับรูจะเกิดขึ้นอยางอยางแทจริงก็ตรงจุดที่ผัสสะนี้เอง ผัสสะเม่ือแยกยอยลง
ตามทางรับรคู อื ทวาร ๖ ก็จะมจี าํ นวน ๖ อยางเทากับทวาร ๖ คือ (๑) จักขุสัมผัส การรับรู
(รปู ) ทางตา (๒) โสตสัมผสั การรับรู (เสียง) ทางหู (๓) ฆานสัมผัส การรับรู (กล่ิน) ทางจมูก
(๔) ชิวหาสัมผัส การรับรู (รส) ทางปาก (๕) กายสัมผัส การรับรู (สิ่งตองกาย) ทางกาย
และ (๖) มโนสัมผัส การรับรู (ธรรมารมณ) ทางใจ แตทางปรวาที กลาววา วิญญาณ ๕
เกิดขนึ้ อยางตอ เน่ืองโดยไมมีจิตอ่นื มาค่ันในระหวางดงั กราฟแสดงดงั นี้

เสียง + หู = ความรูสกึ ทางเสยี งจึงปรากฏขึน้ กลาววา ท้ังเสียงที่มากระทบหู จิต
ตัวผูรูเกดิ ขน้ึ ไดอ ยา งไมมีสิ่งใดมาขวางกั้น จิตเกดิ ดับอยใู นกฎของไตรลักษณอ ยูต ลอดเวลา

ดังน้ัน ดนตรีท่ีปรากฏในพระอภิธรรมปฏกถึง ปรวาที กลาววา วิญญาณ ๕
เกิดข้นึ อยา งตอเนอื่ งโดยไมม จี ติ มาอืน่ มาคัน่ ระหวาง ซ่ึงตางจากความเห็นของ “สักวาที” ท่ี
เห็นวาวิญญาณ ๕ เกิดข้ึนไมตองมีอารมณมาคั่นในระหวาง เชน เม่ือจักขุวิญญาณเกิดขึ้น
จะตองมรี ปู ารมณม าค่นั จงึ จะเกิดโสตวิญญาณตอไปได ถูกท้ังปรวาทีและสักวาทีแตอธิบาย

๒๑ อภ.ิ ก. (ไทย) ๓๗/๑๕๖๑-๑๕๖๗/๖๖๘-๖๗๒.

๒๑๒ บทที่ ๖ ดนตรีในพระพทุ ธศาสนา
The Music in Theravadha Buddhism
พระมหามติ ร ฐติ ปโฺ ญ,ผศ.ดร.

คนละความหมายเทานั้นเอง เปรียบเสมือนการเขาถึงนิพพานก็เปรียบไวสองอยางก็
เชน เดยี วกัน คอื อีกทางหน่ึงเดนิ สมถะกอนจึงวิปสสนาตอจึงสําเร็จเขาสูนิพพาน แตอีกทาง
หนึ่งเจริญวิปสสนาลวนๆ มีการประชุมพรอมกันทั้งสององคประกอบมีทั้งสมถะ และ
วิปส สนาในขณะเจรญิ วปิ สสนาจงึ เขา ถงึ นพิ พานไดเชน เดียวกนั ดังนั้น วิญญาณ ๕ ท่ีเกิดข้ึน
จะตองอาศยั เสียงกบั ทวาร (ห)ู กระทบกันเพอ่ื ผา นใหจติ รับรูอ ยา งไมมสี ่ิงกดี ขวางกนั้ จติ ได

๖.๕ ดนตรที ี่ปรากฏในอรรถกถา

นิยามและความหมายในอรรถกถา มีปรากฏในอรรถกถา ทุกกนิกาย เถรคาถา
กลาวถึงดนตรี (เสียง)๒๒ บทวา อิตถิสเร ไดแก เสียงขับรอง เสียงพูด เสียงหัวเราะ และ
เสียงรอ งไหของหญงิ อกี อยางหนึ่งเสยี งผาท่ีหญงิ กด็ ี เสียงเครื่องประดับท่ีหญิงก็ดี เสียงขลุย
พิณ สังข และบัณเฑาะว เปนตนสําเร็จดวยประโยชนของหญิงก็ดี ในที่น้ี พึงทราบวาทาน
สงเคราะหดว ย อติ ถิสร ศพั ท เสียงหญิง เสียงท้งั หมดนน้ั พึงทราบวาฉุดคราเอาจิตของบุรุษ
มา สว นในบาลีวา อิตถิสเร ในรสแหงหญิงทานกลาวดวยอํานาจอายตนะอันเกิดจากสมมุฏ
ฐาน ๔ อาจารยอีกพวกหนึ่งกลาววา กิจคือการรับคําดวยการจัดการงาน เปนตน และกิจ
คือการบริโภคของหญิงน้ันใหแกบุรุษ ทั้งหมดน้ันพึงทราบวา อิตถีรสเหมือนกัน และใน
โผฏฐัพพะ กายสัมผัสของหญิง และผัสสะแหงผา เครื่องประดับ และดอกไม เปนตน ท่ีอยู
ในรางกายหญิง พึงทราบวา อิตถีโผฏฐัพพะเหมือนกัน ก็ในบทวา โผฏฐพฺเพป น้ี พึงเห็นวา
สงเคราะหเอาอิตถรี สดวย อป ศัพท ของอาจารยพวกหน่งึ ทอี่ างบาลวี า อตถฺ ิรูเป อตฺถสิ เร

บทวา อิตถฺ ิคนเฺ ธสุ ไดแก ในคนั ธายตนะอันเกดิ แตสมุฏฐาน ๔ ของหญิง ธรรมดา
วา กล่ินรางกายของหญิงเปนเหม็น จริงอยูบางพวกมีกล่ินคลายกลิ่นมา บางพวกมีกลิ่น
คลายกล่ินแพะ บางพวกมีกล่ินคลายกลิ่นเหงื่อ บางพวกมีกล่ินคลายกลิ่นเลือด แมถึง
กระนน้ั คนผูบอดเขลากย็ ังยนิ ดใี นหญิงเหลานนั้ นั้นอยูน ัน่ แหละ

ดังนั้น ความหมายดังกลาวมาในอรรถกถาวากลาวถึงความหมายดนตรี (เสียง)
บทวา อิตฺสเร ไดแ ก เสียงขับรอง เสียงพูด เสียงหัวเราะ และเสียงรองไหของหญิง อีกอยาง
หน่ึง เสียงผาที่หญิงก็ดี เสียงเคร่ืองประดับท่ีหญิงก็ดี เสียงขลุย พิณ สังข และบัณเฑาะว
เปนตน ท่ีสาํ เรจ็ ดว ยประโยคของหญงิ กด็ ี ยอ มทาํ ใหจิตเศราหมองเพราะเสียงของสตรี

รวมความวา นิยามศัพทดนตรีในพระไตรปฏกท้ัง ๓ ปฏก ในอรรถกถาคําวา
“ดนตรี” มาจากภาษาบาลีและในภาษาสันสกฤต คําวา “คีต” แปลวา เสียงขับรอง และคํา
วา “วาทิต” แปลวา เสียงเครื่องดีดสีตีเปา หรือดนตรีประกอบในการขับรอง ฟอนรํา เปน

๒๒ ดูรายละเอียดใน ขุททกนิกาย มหานิทเทส เลม ๒ ภาค ๓ ฉบบั มหามกุฎราชวิทยาลัย,
(กรุงเทพมหานคร : มหามกุฎราชวิทยาลยั , ๒๕๓๐), หนา ๒๗.

ศกึ ษาเฉพาะเรอ่ื งในพฒั นาการแหงพระพทุ ธศาสนา ๒๑๓
Selected Topics in Development of Buddhism
พระมหามติ ร ฐติ ปโฺ ญ,ผศ.ดร.

ตน ดนตรีน้ันตองประกอบดวย คีต เสียงขับรอง และ วาทิต คือ เครื่องดนตรีประกอบการ
ขับรอง หรือฟอนรํา เปนตน จะตองประกอบดวย ๒ ประการน้ีเสมอจึงจะเกิดเปนดนตรีที่
สมบูรณ ดังน้ัน ดนตรีเปนส่ิงท่ีร่ืนเริงของเทวดา และการขับรอง การฟอนรํา การประโคม
ดนตรีเปน อาบัตแิ กภ ิกษุ และเปนคา ศกึ ตอ กุศล

๖.๖ ประเภทของดนตรี

ดนตรีที่ปรากฏในพระพุทธศาสนาเปนการขับรอง การฟอนรํา การประโคม
ดนตรี ในสมัยพุทธกาลใชในการบรรเลงในกิจกรรมตางๆ โดยมีการขับรอง และมีเครื่อง
ดนตรีประกอบในการขบั รองไปดว ยเสมอ โดยสรุปก็อยูใน ๒ ประเภท คือ (๑) คีต และ (๒)
วาทิตฺ มดี ังน้ี

๖.๖.๑ คตี
คีต คือ เสียงขับรองอยางหนึ่ง เชน ขับรอง หรือเพลงขับ เปนตน ดังน้ัน คีต
ดนตรี เรียกตามภาษาบาลีวา คีตะบาง ซึ่งนิยมแปลกันมาจากโบราณวา ขับรอง หรือเพลง
ขับ เพลงขับของนางกุณภทาสหี ญิงชาวสงิ หลเพลงขับของสตรีเกบ็ ดอกบัว และเพลงขับของ
หญิงซอมขาวท่ีกลาวถึงในคัมภีรมังคลัตถทีปนี และเพลงขับของสตรีท่ีสามเณรหลานชาย
ของพระเถระจักขุบาลไดย ินเม่ือคราวจูงพระเถระเดินทางกลับบาน ตามที่พรรณนามาไวใน
อรรถกถาพระธรรมบทถงึ คําวา คาถาในภาษาบาลีที่ทานแตงเปนฉันทปฐยาวัตต เปนตน ก็
แปลไดวา เพลงขับอยางเดียวกันกับคีต และคีต ดังจะเห็นไดจากคําที่พระคันถรจนาจารย
ไดแตงไวในบาลีสักปญหสูตร ก็เรียก เพลงขับของปญจสิขวา คาถา แตเมื่ออานตอไปถึง
ตอนกลาวเปนพระดํารัสของพระพุทธเจา ทานใชท้ังคําวา คาถา และ คีต เชนที่ตรัสชมวา
คีตสฺสโร จตนติสฺสเรน แปลวา เสียงเพลงขับประสานกลมกลืนกันดีกับเสียงสาย เสียงของ
มนษุ ยทีร่ อ ยกรองขับรองเปน ลํานําทาํ นองเพลงดงั กลาวน้ี โดยไมตองอาศัยเคร่ืองจักเปนคีต
ดนตรี หรอื คตี ะ๒๓
๖.๖.๒ วาทิตฺ
วาทิตฺ คือ เครื่องดนตรี เคร่ืองประกอบจังหวะ หรือ เสียงเคร่ืองดีดสีตีเปา แปล
อยางนเ้ี ปนการแปลตามประเภทของดนตรที ่ีเรามองเหน็ ไดดวยตา กลาวคือ เครื่องดีดอยาง
หนึ่ง เครื่องสีอยางหนึ่ง เคร่ืองตีอยางหนึ่ง และเครื่องเปาอยางหน่ึง คงจะมีความมุงหมาย
ไมใหเปนคํารุมรามยืดยาวจึงกําหนดแปลรวมของคํา วาทิต ไวอีกอยางหน่ึงวา ประโคม
(ดนตร)ี และ บรรเลงดนตรี คําแปลทั้งสองอยางนี้จึงรวมเอาท้ังเคร่ืองดนตรีที่เรียกในภาษา

๒๓ นายสนั่น บุณยศิริพันธ, ดนตรีในพระธรรมวินัย, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพทา
พระจนั ทร, ๒๔๙๘), หนา ๑๒.

๒๑๔ บทท่ี ๖ ดนตรใี นพระพทุ ธศาสนา
The Music in Theravadha Buddhism
พระมหามิตร ฐติ ปโฺ ญ,ผศ.ดร.

บาลีวา ตนฺติ เครอ่ื งมีสาย คอื ดนตรี เชน ท่ีพระพุทธเจาเรียกเสียงพิณของปญจสิขวา “ตนฺ
ติสฺโร” เสียงของเครื่องสาย เครื่องมีสายน้ี เขาใชสีใชดีดและใชเปนคําแปลของตุริยฺ เคร่ือง
ดดี เครือ่ งเปาดว ย ในหนงั สอื เตภูมกิ ถา หรือ ไตรภูมิพระรวงทานเรียกควบกันวา ดุริยดนตรี
และเคยพบในหนังสือบางเร่ือง ทานเรียกวา ดุริยางคดนตรี ก็มี แตในบาลีทานกลาวถึงตุริ
ยะไววา ปจฺ งคฺ ิกตรุ ยิ แปลวา ตรุ ิยะประกอบดวยองค ๕ ซงึ่ พระคัมภีรสุมังคลวิลาสินี ตอน
พรรณนาความในมหาสทุ สั สนสตู ร แยกองคหรอื ชนดิ ของตรุ ิยะ ๕ อยา งไวด วยวา

๑) อาตฏะ – ตรุ ิยะขึงหนาเดียว เชน โทน ชนดิ หนึ่ง
๒) วิตฏะ – ตุรยิ ะขึงสองหนา เชน ตะโพน ชนดิ หนึง่
๓) อาตฏวิตฏะ – ตรุ ยิ ะขึงทงั้ ตัว เชน ตะโพน ชนิดหนึ่ง
๔) ฆนะ – ตุริยะที่เปนแทงเปนทอน เชน ฉ่ิง กรับ และฆอง เปนตน ชนิด
หน่งึ เครือ่ งตรุ ยิ ะ ๔ ชนดิ นี้เขาใชต อี ยา งเดียว
๕) สุสิระ กลาวคือ ตุริยะที่เปนโพรง เชน ป และขลุย เปนตน ดนตรีชนิด
หลังนี้ใชเปารวมตุริยะทั้ง ๕ ชนิดนี้ ทานเรียกวา ปฺจงฺคิกตุริย แปลวา เม่ือตีเคร่ืองเปามี
องค ๕ ตามท่ีแปลความหมายกันมาแตโบราณ ตนฺติและตุริยะนอกจากท่ีกลาวถึงพิณ
และปญจังคิกดุริยะแลว ในบาลีชาดกและบาลีพระสูตรพระวินัยยังระบุเคร่ืองดนตรีแตละ
อยา งๆ ไว เชน สงั ขะ ทินทีมะ มุทิงคะ อาลัมพระ สมะ ตาละ ปณฑวะ หรือ ปณวะ กุมภถู
นะ และเถรี เปนตน ท่ีเรามาเรียกมาแปลความหมาย ตุริยะ วา ดนตรีดวยน้ัน อาจเปน
เพราะในตอนหลังๆ มาไดมีการนําดนตรีเคร่ืองสาย เชน ซอ หรือ พิณ มาเลนผสมวงเขา
ดวยกัน หรือ อาจเปนเพราะการเรียกหรือการพูดคําวาดนตรีเปนภาษาที่เรียบงาย ดีกวาที่
เรยี กตรุ ยิ ะซึง่ เรียกยากกวา ตอมาภายหลังคนเห็นกิริยาบรรเลงเคร่ืองดนตรีเหลานั้นใหเกิด
เสียงดวยลักษณะที่แตกตางกันจึงแปลความหมาย วาทิต วา ดีดสีตีเปา ซ่ึงความจริง คําวา
วาทิต แปลความหมาย ตามธาตุเดิมไดวา ทําใหพูด ทําใหกลาว หรือ ทําใหออกเสียง เชน
เภริวาทิกะ ผูทํากลองใหออกเสียง ก็คือ ตีกลอง และวีณาวาทิกะ ผูทําใหพูดได ก็คือ ผู
บรรเลงพิณ เปนตน ในคัมภีรสังคีรัตตนากรของทาน ศารฺงคเทพ แยกประเภทของเคร่ือง
ดนตรีออกเปน ๔ ชนิด คอื ๑) ตตะ ไดแก เครื่องมีสายสําหรับดีดสีเปนเสียง เชน พิณ และ
ซอ ๒) สุษิระ เครื่องมสี ายสําหรับดดี เปนเสยี ง เชน พณิ และซอ ป ๓) อวทนัทธะ เครื่องหุม
หนงั ตีเปน เสียง เชน โทน ราํ มะนา และกลอง เปนตน และ ๔) ฆนะ เคร่ืองกระทบเปนเสียง
ซ่ึงมักทําดวยโลหะ เชน ฉ่ิง ฉาบ ระฆังและฆอง เปนตน เราจึงอาจเรียกเคร่ืองท้ัง ๔
ประเภทตามคัมภีรสังคีตรัตนาการไดวา เคร่ืองดีดสีตีเปา ครบกิริยาบรรเลงตามที่นิยาม
แปลความหมายจากคําบาลี “วาทิต”๒๔

๒๔ เร่ืองเดยี วกนั , หนา ๑๓-๑๖.

ศกึ ษาเฉพาะเรอ่ื งในพฒั นาการแหงพระพทุ ธศาสนา ๒๑๕
Selected Topics in Development of Buddhism
พระมหามิตร ฐติ ปโฺ ญ,ผศ.ดร.

รวมความวา ประเภทของดนตรีมี ๒ ประเภท คีต คือ การขับรอง และ
วาทติ คอื ดนตรี ดังนัน้ ดนตรีท่บี รรเลงใหสมบูรณไดน ้นั ตองมี ๒ อยางน้ีเปน องคประกอบ

๖.๗ ประโยชนข องดนตรี

ประโยชน หมายถึง ส่ิงท่ีเปนผลและความคิดท่ีมุงหมายนําผลมาใชไดตาม
ตอ งการ ดังน้นั ดนตรี คือ เสยี งที่จัดเรียบเรียงอยางเปนระเบียบ และมีแบบแผนมีแนวทาง
และโครงสรางในรูปแบบของกิจกรรมเชิงศิลปะของมนุษยที่เกี่ยวของกับเสียงโดยดนตรีนั้น
แสดงออกมาในดานเสียง (ซ่ึงรวมถึง-ทวงทํานองและเสียงประสาน) จังหวะ และคุณภาพ
เสียง ความตอเนื่องของเสียง (พ้ืนผิวของเสียง-ความดังคอย) ดนตรีนั้นสามารถใชในดาน
ศลิ ปะหรือสุนทรยี ศาสตร การสื่อสาร ความบันเทิง รวมถึงใชในงานพิธีการตางๆ ทําหนาท่ี
บรรเลงและประโคมในงานพธิ ีกรรมและประกอบการแสดง ซึง่ ลักษณะเชนนี้มีสวนทําใหคน
ไทยเกดิ ความรูสึกรกั มรดกวฒั นธรรมดนตรีเกิดความตระหนักรู และเกิดความภาคภูมิใจใน
ความเปนไทยรว มกัน

ประโยชนจากดนตรนี ับวามอี ยไู มน อยกลาวโดยยอ มีดังนี้ คอื ๒๕
๑. เสียงดนตรีเปนสิ่งที่กลอมหัวใจของคนใหออนโยน เยือกเย็นดับทุกขได
ชวั่ ขณะปลกุ ใจใหร่นื เรงิ กลา หาญ ส่ิงเหลานเ้ี กิดแกบคุ คลผฟู งทั่วๆ ไป
๒. เปน เคร่ืองท่ที ําใหโลกครึกคร้นื
๓. การแสดงมหรสพตางๆ เปนตนวา โขนละคร ดนตรีก็เปนผูประกอบใหนาดู
สนุกสนานข้ึนสมอารมณผ ูดูและผแู สดง
๔. ทาํ ความสมบรู ณใหแ กฤ กษและพิธีตา งๆ ทงั้ ของประชาชนและของชาติ
๕. เปนเครื่องประกอบในการสงคราม ซึ่งเคยใชไดผลมาแลวหลายชาติ กลาว
โดยเฉพาะชาตไิ ทยคราวสมเด็จพระพุทธยอดฟา จฬุ าโลก เมื่อยังดํารงพระยศเปนเจาพระยา
จักรีทรงรักษาเมืองพิษณุโลกตอสูอะแซหวุนกี้ ก็ไดทรงใชดนตรีเปนเครื่องประกอบอุบาย
เปน ตน
๖. ทําใหโลกเห็นวาชาติไทยมวี ัฒนธรรมเปนอันดี ชาติใดท่ีมีวัฒนธรรมของตนอยู
อยา งดยี อมเปน ท่ยี กยองของชาติทงั้ หลาย

๒๕ มนตรี ตราโมท, บรรยายวิชาดุริยางคศาสตรไทย, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพวัฒนา
พานิช, ๒๕๔๖), หนา ๖๙.

๒๑๖ บทที่ ๖ ดนตรใี นพระพทุ ธศาสนา
The Music in Theravadha Buddhism
พระมหามิตร ฐติ ปฺโญ,ผศ.ดร.

ประโยชนเ ฉพาะผบู รรเลงกลาวโดยยอ มีดงั น้ี คอื ๒๖
๑. ไดชือ่ วาเปนผทู าํ ประโยชนทว่ั ไปดงั กลาวมาแลว
๒. เปน อาชพี ในทางท่ีชอบอันหน่ึง
๓. เปน ผรู ักษาและเผยแพรว ัฒนธรรมของชาติ
๔. จะเปนผูมีอารมณเ ยือกเย็น สุขมุ กวา ปกติ
๕. มเี คร่ืองกลอมตนเองเมอ่ื ยามทุกข ปลุกตนเองเมอ่ื ยามเหงา
๖. เปน เครอ่ื งฝก สมองอยใู นตัว
๗. จะเปน ผมู ีเกียรติชื่อเสยี งปรากฏแกโลก
๘. ทําการสมาคมใหกวา งขวางไดเปนอยา งดี ตัง้ แตช น้ั ตา่ํ จนถึงชัน้ สูงสดุ
คุณประโยชนของดนตรี แตการที่จะกอใหเกิดประโยชนนั้นๆ ข้ึนไดอยางจริงจัง นักดนตรี
จะตองปฏิบัติตนใหสมควรแกฐานะอีกประการหน่ึงดวย ดังที่ปรากฏในพระสุตตันตปฏก
ขทุ ทกนิกาย อปทาน ชตกุ ณั ณิกเถราปทาน ไดกลา วถึง “คนผูม ีอาหารมาก มีเงิน มีโภชนะ
ครองเอกราชในทวีปทั้ง ๔ จักสมาทานศีล ๕ ยินดีในกรรมบถ ๑๐ ครั้นสมาทานแลวก็
ประพฤติใหบริวารศึกษาดวย เคร่ืองดนตรี ๑๐๐,๐๐๐ ชิ้น กลองที่ประดับตกแตงสวยงาม
จักบรรเลงใหผูน้ีอยูเปน นติ ยนเ้ี ปนผลแหง การบาํ รุงผนู ้จี ักร่ืนรมยในเทวโลกตลอด ๓๐,๐๐๐
กัปจักเปนจอมเทพครองเทวสมบัติตลอด ๖๔ ชาติ จักเปนพระเจาจักพรรดิ ๗๔ ชาติจัก
เปนพระเจาประเทศราชอันไพบูลยนับชาติไมถวน ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ (นับจากกัปน้ีไป)
พระศาสดาพระนามวา โคดม ตามพระโคตรทรงสมภพในราชสกุลโอกกราช จักอุบัติข้ึนใน
โลกผูนี้เกิดในกําเนิดเปนเทวดาหรือมนุษยก็ตามในกําเนิดน้ัน เขาจักเกิดเปนมนุษยมีโภคะ
ไมบกพรอง”๒๗ พระพุทธศาสนากลาวถึงเร่ือง การบูชา และนอบนอมดวยดนตรี และได
ถวายขาวนํ้าแกพระพุทธเจาเรียกวาเปนการบูชา ผูนั้นจะไดอานิสงส คือ ถากําเนิดเปน
มนุษยมีโภคะไมบกพรอง ถาจะกําเนิดเปนเทวดาผูนี้จักรื่นรมยในเทวโลกตลอดมีทั้ง
เสียงดนตรีทีเ่ ปนทิพย และบรวารสมบตั ติ ลอดอนั ไพบลู ยนับชาตไิ มถ ว น
ดังน้ัน ประโยชนของดนตรี คือการใชในดานศิลปะหรือสุนทรียศาสตร การ
สอ่ื สารความบันเทงิ และไดร ับความเพลิดเพลินเปนการผอนคลายความตึงเครียด รวมไปถึง
ใชในงานพิธีการ ทําหนาที่บรรเลงในงานพิธีกรรมตางๆ ในทางพระพุทธศาสนากลาวถึง
ประโยชนของดนตรี คือ การบูชา และนอบนอมดวยดนตรี และไดถวายขาวน้ําแก
พระพทุ ธเจาเรียกวา เปนการบูชา ผูนั้นจะไดอานิสงสหลังจากทิ้งกายทําลายขันธไปแลว ถา

๒๖ เร่ืองเดยี วกนั , หนา ๑๐๖.
๒๗ ข.ุ อป. (ไทย) ๓๒/๓๑๓-๓๒๐/๖๙๕.

ศกึ ษาเฉพาะเร่อื งในพัฒนาการแหง พระพทุ ธศาสนา ๒๑๗
Selected Topics in Development of Buddhism
พระมหามิตร ฐติ ปโฺ ญ,ผศ.ดร.

กําเนิดเปนมนุษยมีโภคะมากมาย ถาจะกําเนิดเปนเทวดาผูนี้จักร่ืนรมยในเทวโลกมี
เสยี งดนตรีทเ่ี ปนทิพยแ ละบริวารสมบัติมากมาย

ดนตรีในพระพุทธศาสนาเถรวาทท่มี ีปรากฏทั้ง ๓ ปฏก และนักวิชาการตางๆ ให
คํานิยามศัพทของ “ดนตรี” มาจากคํา ๒ ชนิด คือ “คีต” หมายถึง การขับรอง ฟอนรํา
การประโคม เปนตน และ “วาทิต” หมายถึง ดนตรีเพ่ือประกอบในการขับรอง ฟอนรํา
และการประโคม เปน ตน และยังนําดนตรีที่ปรากฏในพระพุทธศาสนานําไปใชประโยชนใน
ดานศลิ ปะหรอื สุนทรียศาสตร การส่ือสาร ความบนั เทงิ และไดรับความเพลิดเพลินเปนการ
ผอนคลายความตึงเครียด รวมไปถึงใชประโยชนในงานพิธีกรรม และประกอบการแสดง
ตางๆ ทางพระพุทธศาสนา

๖.๘ การใชดนตรีในพระพุทธศาสนาเถรวาท

สั ง ค ม วั ฒ น ธ ร ร ม มี ค ว า ม ศ รั ท ธ า เ ป น อ ย า ง ย่ิ ง ต อ พ ร ะ พุ ท ธ ศ า ส น า ท่ี รั ก ษ า
ขนบธรรมเนยี มจารตี ประเพณีความนอบนอม ใหสอดคลองกับพิธีกรรมทางศาสนาอยางลง
ตวั ๒๘ และศิลปะทางดนตรีนับไดวาเปนบทบาทสําคัญตอศาสนา เพราะเสียงดนตรีสามารถ
สรางความรูสึกกลอมเกลาและนอมนําอารมณของผูฟงใหเคลิบเคลิ้ม ใหราเริงชื่นบาน ให
อาจหาญหรือเศราสรอยไปไดตางๆ ตามทวงทํานองของบทเพลงที่บรรเลง ดวยเหตุน้ีจึงทํา
ใหบทสวดมนตพ ระเวทในศาสนาตางๆ มักมีการสวดเปนทํานองเชนเดียวกันกับการขับรอง
บรรเลงซึ่งในการสวดกเ็ ปน การพรรณนาสรรเสรญิ คุณคาของพระพุทธเจาและเทพเจาตางๆ
ท้ังมีการบรรยายธรรมควบคูกันไปดวยเพื่อใหเกิดกุศลในบทสวดหรือมนต พระเวทจึงแตง
เปนโคลงฉันทและการสวดรับทํานอง ก็เพ่ือสะดวกในการทองจําบท และยังเปนส่ือกลางท่ี
สามารถเขาใจใหเกิดอารมณค วามรูส กึ และทองจําบทสวดไดเร็วเม่ือเปนเชนนี้เสียงดนตรีจึง
มีสองนัย นัยท่ีหนึ่งคือ เสียงดนตรีเราใจผูท่ีไดยินเสียงเกิดความรูสึกศรัทธาส่ิงที่ตนเล่ือมใส
เชน เม่ือเวลาพระขนึ้ ธรรมาสนหรือลงจากธรรมาสนเ มอ่ื เทศนจ บ จงึ มีดนตรปี ระโคมทํานอง
เพลงใหครึกคร้ืนเพื่อผูไดยินจะไดยินดีโมทนา และนัยท่ีสองคือ เสียงดนตรีเราใจแกผูไดยิน
เกดิ ฟงุ ซา นดวยกิเลสราคะ

เพราะฉะนั้น เสียงดนตรีจึงมีสองนัย คือดีก็มี เลวก็มี ในพระพุทธศาสนาจึงมีขอ
หามไวใ นพระวนิ ัยไมใหพ ระฟง ดนตรอี ยูในอโุ บสถสลี ขอ ๗ นัจจะ คีตะ วาทิตะ วิสูกทัสสนา
เวรมณีสิกขาปทัง สมาทิยามิ คือ เวนจากการฟอนรําขับรอง ประโคมดนตรี และดู
การละเลน อันเปนขาศึกแหงกุศล ทานสิริมังคลาจารยผูรจนาคัมภีรมังคลีตถทีปนีก็เปดทาง

๒๘ สุรพล สวรรณ, ดนตรีไทยในวัฒนธรรมไทย, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพจุฬาลงกรณ
ราชวิทยาลยั , ๒๕๕๑), หนา ๙๓.

๒๑๘ บทท่ี ๖ ดนตรใี นพระพุทธศาสนา
The Music in Theravadha Buddhism
พระมหามติ ร ฐติ ปฺโญ,ผศ.ดร.

ได “การฟงคีตะดนตรที ไี่ มเ ปนวสิ ูกะ บางคราวฟงได” แลวทานยกเอาอรรถาธิบายในคัมภีร
สมุ ังคลาสนิ ี ตอนกลา วในสักปญ หาสูตรกลาววา เสียงชนิดใดแมอักขระและพยัญชนะวิจิตร
สละสลวย แตเมื่อฟงแลวกอใหบังเกิดราคาทิกิเลสเสียงเห็นปานนี้ไมควรสองเสพคบหา แต
ทวาเสียงใดที่ประกอบดวยอรรถะและธรรมะแมแตนางกุมภาทาสี เม่ือฟงแลวกอใหเกิด
ความเลื่อมใสศรัทธาในพระรัตนตรัยหรือก็ไดเกิดความเบ่ือหนายสังสารวัฏเสียงเชนน้ีสดับ
ตรับฟงได ซึ่งเปนเรื่องเก่ียวกับพ้ืนฐานอารมณของผูฟงประกอบดวย ความจริงศิลปะท่ี
กลาวน้ีเปนอัพยากฤตจะเกิดเปนกุศลหรืออกุศลขึ้นก็เนื่องดวยพื้นฐานของอารมณของผูดู
ผูฟง หรือดวยธรรมก็ถือไดในทางไมควรฟง เพราะอาจจูงใจใหนอมนําไปในทางนั้นไดงาย
แตถาผูฟงมีพื้นฐานอารมณที่ดี เชน มีพื้นฐานอารมณและเหตุผลหรือหลักธรรมมุงในทาง
ศึกษาหาความรูเพิ่มพูนปญญาเปนสําคัญก็ถือเขาในแงท่ีฟงได ถาการดูการฟงนัจจะ คีตะ
และวาทิตะ เพื่อสนุกสนาน เพื่อร่ืนเริงบันเทิงใจ เพ่ือมหรสพ ก็ยอมเปนของไมควรแก
บรรพชิตและอุบาสกอุบาสิกา แตถาดูเพื่อศิลปก็ไมนาอยูในขอหาม เพราะศิลปะเกิดจาก
ความคดิ เห็นเปน กุศลเปนความเหน็ ดีเห็นชอบเพื่อจูงใจใหค นประพฤติดี ประพฤติชอบจึงไม
ควรหา ม

บทบาทของดนตรีท่ีมีสวนเก่ียวของกับพระพุทธศาสนา อาจารยมนตรี ตราโมท
ไดกลา ววา อนั ทจ่ี รงิ แลวดนตรีกับพระพุทธศาสนาไมมีความเกี่ยวของกัน แตท่ีนําดนตรีเขา
ไปบรรเลงเพ่ือชวยสงเสรมิ เปน แรงบนั ดาลหรือเปนส่ือใหเกิดความเล่ือมใสศรัทธาในศาสนา
มากขน้ึ ดนตรีจะเขา ประกอบในพิธีทางศาสนาเทา นัน้ เชน มีประกอบในเทศนมหาชาติ แต
ละกัณฑก ม็ ดี นตรีบรรเลงประกอบกเ็ พื่อใหความครึกครนื้ ๒๙

ดังน้ัน ศิลปะทางดนตรีนับไดวามีบทบาทสําคัญตอศาสนา เพราะเสียงดนตรี
สามารถสรางความรสู กึ กลอ มเกลาจติ ใจเพอ่ื ใหเ กิดกุศลได และเสียงดนตรียังเราใจผูที่ไดยิน
เสียงเกดิ ความรูสกึ ศรัทธาสาํ หรบั บคุ คลทีม่ ีความเล่ือมใสอยูแลวใหเกิดความเลื่อมใสเพิ่มข้ึน
ไป และทําใหบ คุ คลทยี่ งั ไมเลื่อมใสทําใหเกิดความเล่ือมใสข้ึนมาไดตอพระพุทธศาสนา และ
ดนตรียังมีบทบาทมีสว นเก่ียวของเขา กบั การประกอบในการอุปมาอุปมัยและการสอนธรรม
ทําใหผ ศู ึกษาไดเ ขา ใจในหลักคําสอนเก่ียวกบั ดนตรี เปนตน

๒๙ ธนิต อยูโพธ์ิ, ดนตรีในพระธรรมวินัย, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพทาพระจัทร,
๒๔๙๘), หนา ๖.

ศึกษาเฉพาะเร่ืองในพฒั นาการแหง พระพทุ ธศาสนา ๒๑๙
Selected Topics in Development of Buddhism
พระมหามิตร ฐติ ปโฺ ญ,ผศ.ดร.

๖.๘.๑ การใชด นตรีเพื่อการบูชา
การบูชา๓๐ คือ การแสดงความเคารพ การกราบไหว การยกยองนับถือบุคคลท่ี
ควรเคารพนับถือ เชน บูชาดวยสิ่งของ คือปรนนบิ ตั ิดูแล ใหขาวนํ้า ท่ีอยูอาศัย ยารักษาโรค
คาใชจ าย เปน ตน
ในพระสุตตันตปฏก ทีฆนิกาย มหาวรรค ไดกลาวถึง พระผูมีพระภาคตรัสถาม
พระอานนทถงึ เรอ่ื งการบูชาท่ีมีอานิสงสนอย และ อานิสงสมากเปนอยางไร ตถาคตตรัสวา
การบูชาดวยเคร่ืองอามิสตางๆ และแสดงดนตรีดวยการบรรเลงก็ดี ขับรองก็ดี ยอมได
อานิสงสนอยและยังกลาวอีกวา การบูชาท่ีมีอานิสงสมากควรบูชาดวยการปฏิบัติธรรม
สมควรแกธรรมจึงจะเรียกวาการบูชาท่ีไดอานิสงสมาก ดังพุทธพจนที่วา “ดนตรีทิพยก็
บรรเลงในอากาศเพอื่ บชู าตถาคต ทั้งสังคีตทิพยก็บรรเลงในอากาศเพื่อบูชาตถาคต ตถาคต
จะช่ือวาอันบริษัทสักการะ เคารพ นับถือ บูชา นอบนอม ดวยการบูชาอยางยอดเยี่ยม
ฉะนั้น อานนท เธอท้ังหลายพงึ สาํ เหนยี กอยา งนี้วา เราจะเปนผูปฏิบัติธรรมสมควรแกธรรม
ปฏิบตั ชิ อบ ปฏิบัติตามธรรมอยู อานนท เธอทั้งหลายพึงสําเหนียกอยางนี้แล”๓๑ ดังท่ีพุทะ
พจนท่ียกมาพระพุทธเจาไดอธิบายกับพระอานนทกลาวถึงการบูชาวาผูใดบูชาเราโดยใช
ดอกไมก็ดี และดนตรี เชนการฟอนรํา ประโคมดนตรีก็ดี ไดอานิสงสนอย แตผูใดบูชาเรา
โดยเปนผูปฏิบัติธรรมสมควรแกธรรม ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตามธรรมอยู ผูน้ันช่ือวาสักการะ
เคารพ นับถือ บูชา นอบนอม ดวยการบูชาอยางยอดเยี่ยม เรียกวา เปนการบูชา
พระพทุ ธเจาน้ันเอง ยอ มไดอานิสงสม าก
ในอปทาน โสณณกิงกณิยเถราปทาน ไดกลาวถึงการบูชาวา บุคคลใดมีจิตใจ
เบกิ บานระลึกถงึ พระพุทธเจา แมปรนิ พิ พานนานแลวคงเหลอื ไวแตตัวแทนของพระองค คือ
พระสถูป เจดีย เปนตน ดังนั้น ผูมีความเคารพ นอบนอม ดวยการกราบไหวบูชา ดวยการ
เลื่อมใสศรัทธา ผูน้ันจะมีความสุขอันไพบูลยในมนุษยและเทวโลก ดังพุทธพจนท่ีวา “เทพ
นารขี องขาพเจา มปี ระมาณ ๘๐ โกฏปิ ระดับตกแตง สวยงามตางก็บํารุงขาพเจาอยูทุกเม่ือ นี้
เปนผลแหงการบูชาพระพุทธเจา เคร่ืองดนตรี ๖๐,๐๐๐ ช้ิน คือ กลอง ตะโพน สังข
บณั เฑาะว มดหระทกึ กลองใหญ บรรเลงอยางไพเราะในวิมานนั้น”๓๒ ดังพุทธพจนท่ียกมา
พระพุทธศาสนากลาวถึงเร่ืองการบูชาวา ผูใดบูชาโดยการสรางสถูปท่ีอุดมไวท่ีหาดทราย
หมายถึงการสรางพระพทุ ธรูปองคแทนพระองคดวยจิตท่ีเล่ือมใสตอพระพุทธเจาผูน้ันจะไป

๓๐ พระราชมุนี (ประยุทธ ปยุตฺโต), พจนานุกรมพุทศาสตร ฉบับประมวลศัพท,
(กรงุ เทพมหานคร : โรงพมิ พอมรนิ ทรก ารพิมพ, ๒๕๒๗), หนา ๑๔๐.

๓๑ ที.มหา. (ไทย) ๑๐/๑๙๙/๑๔๘.
๓๒ ข.ุ อป. (ไทย) ๓๓/๑๔๒-๑๔๗/๕๓.

๒๒๐ บทที่ ๖ ดนตรใี นพระพทุ ธศาสนา
The Music in Theravadha Buddhism
พระมหามติ ร ฐติ ปโฺ ญ,ผศ.ดร.

เกิดยังเทวโลกไดความสุขอันไพบูลยในเทวโลกน้ันๆ และมีผิวพรรณเหมือนทองคําเพราะ
เปนผลแหง การบชู าองคแทนของพระพุทธเจา

ในอปทาน พุทธอุปฏฐากเถราปทาน ไดกลาวถึงเรื่องราวในอดีตชาติของพระ
พทุ ธอปุ ฏ ฐากเถระกอนท่ีทานจะไดมาเปนพุทธอุปฏฐากทานส่ังสมบุญมาตั้งแตในอดีต เมื่อ
คร้ังหน่ึงไดมีโอกาสไดเปาสังขบูชาพระผูมีพระภาคพระนามวาวิปสสี เปนผูขวนขวาย
แสวงหาคณุ อันย่ิงใหญเปนท่ีพงึ ของสัตวโลก ดว ยผลบญุ นน้ั ทาํ ใหเ คร่ืองดนตรี ๖๐,๐๐๐ ชิ้น
แวดลอมขาพเจาทุกเม่ือ ในกัปท่ี ๙๑ นับจากกัปน้ีไปขาพเจาไดบํารุงพระผูมีพระภาคผู
แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ จึงไมรูจักทุคติเลยนี้เปนผลแหงการบํารุง ในกัปที่ ๙๔ นับจากัปไป
ไดเปนพระเจาจักรพรรดิ ๑๖ ชาติมีพระนามวามหานิโฆษ มีพาลานุภาพมากคุณวิเศษ
เหลานี้ คือปฏิสัมภิทา ๔ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ปญญาแตกฉานในอรรถ มีความแตกฉาน
ในเนื้อหา ในความหมาย รูจริง เขาใจจริง หัดตั้งคําถามเพื่อตรวจสอบตัวเอง ๒. ธัมม
ปฏิสัมภิทา ปญญาแตกฉานในธรรม จับประเด็นได จับจุดของเร่ืองได แตกฉานในตัวหลัก
ตัวประเดน็ ๓. นริ ตุ ติปฏสิ ัมภทิ า ปญญาแตกฉานในนิรุตติ คือ ภา ปญยาแตกฉานในการใช
ภาษาส่ือความใหผูฟงเขาใจได ๔. ปฏิยาณปกิสัมภิทา ปญญาแตกฉานในปฏิภาณ เอา
ขอมูลท้ังหลายมาเช่ือมโยงกันได สรางเปนความรูใหมใชแกปญหาไดตรงตามสถานการณ
คิดสรางสรรคสิ่งใหมได และวิโมกข ๘ (ความหลุดพน) ๘ ประเภท คือ ๑. บุคคลมีรูป เห็น
รปู ๒. บุคคลมีความกาํ หนัดหมายในสิง่ ไมมีรปู เห็นรูปภายนอก ๓. บุคคลนอมใจวา “งาม”
๔. บุคคลทําไวในใจวา อากาศไมมีท่ีสุด เขาถึงอากาสานัญจายตนะ ๕. บุคคลทําไวในใจวา
วิญญาณไมมีที่สุด เขาถึงวิญญาณณัญจายตนะ ๖. บุคคลผูทําไวในใจวา ไมมีอะไรเขาถึงอา
กิญจัญญายตนะ ๗. บุคคลกาวลวงอากิญจัญญายตนะ เขาถึง เนวสัญญานสัญญาตนะ ๘.
บคุ คลกาวลวงเนวสญั ญานาสญั ญายตนะ เขา ถึงสัญญาเวทยนิโรธ ๘ สรุปเกี่ยวกับวิโมกข ๘
ภิกุเขาสูวิโมกข ๘ น้ี ไดทั้งอนุโลม (ตามลําดับ และปฏิโลม (ถอยกลับจากหลังไปหาหนา)
เขาออกไดตามตองการ ยอมทําใหแจง (บรรลุ) ความหลุดพนดวยสมาธิ (เจโตวิมุติ) และ
ความหลุดพน ดว ยปญญา (ปญญาวิมุติ) อันไมมีอาสวะ เพราะสิ้นอาสวะไดในปจจุบัน ภิกษุ
นี้ เรียกวาอุภโตภาควิมุติ (ผูพนทั้งสองทาง) ไมมีอุภโตภาควิมุติอยางอ่ืนยอดเย่ียมกวา
ประณีตกวา และอภิญญา ๖ คือ ๑) ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ระลึกชาติได ๒) ทิพพจักขุ
ญาณ หรือจตูปปาตญาณ ตาทพิ ยและรูวาตายแลวไปเกิดท่ีไหน ๓) อาสวักขยญาณ รูวิธีทํา
กิเลสใหหมดไป ๔) ปริจิตตวิชานน หรือ เจโตปริยญาณ รูจิตใจผูอื่น ๕) ทิพพโสตญาณ หู
ทิพย ๖) อิทธิวิธี แสดงฤทธิ์ตางๆ ไดขาพเจาไดทําใหแจงแลวคําสั่งสอนของพระพุทธเจา
ขาพเจาก็ไดทําสําเร็จแลว ไดทราบวา ทานพุทธอุปฏฐากเถระไดภิตคาถาเหลาน้ี ดังพุทธ

ศกึ ษาเฉพาะเรือ่ งในพัฒนาการแหง พระพทุ ธศาสนา ๒๒๑
Selected Topics in Development of Buddhism
พระมหามิตร ฐติ ปฺโญ,ผศ.ดร.

พจนที่วา “เคร่ืองดนตรี ๖๐,๐๐๐ ช้ินแวดลอมขาพเจาทุกเม่ือ”๓๓ ดังน้ัน พระพุทะเจา
แสดงใหเหน็ วาการบูชา เปน การแสดงออกถึงความเคารพ การกราบไหว การยกยองนับถือ
บุคคลท่ีควรเคารพนับถือ เชน บุคคลใดมีการนบนอบ บูชา พระสรีระของพระผูมีพระภาค
เจา ดวยการฟอ นรํา ขับรอง ประโคมดนตรี ระเบียบดอกไมและของหอม หรือฟงธรรมหรือ
ปฏิบัติตามธรรมของพระผูมีพระภาคก็ดี ผลของบุคคลที่มีความเคารพ การกราบไหวบูชา
ดวยจิตที่เล่ือมใสตอพระพุทธเจา ผูน้ันถากําเนิดเปนมนุษยจะมีความกาวหนาในชีวิต และ
โชคลาภไมบกพรอง ถากําเนิดเปนเทวดาผูนี้จักร่ืนรมยในเทวโลกตลอด มีท้ังเสียงดนตรีท่ี
เปนทพิ ยบ รวิ ารสมบัตติ ลอดอันไพบูลยน บั ชาตไิ มถ ว นและผิวพรรณเหมือนเมฆทองคําน้ีเปน
ผลแหงการบชู าพระพทุ ะเจา

๖.๘.๒ การใชด นตรเี พื่อการเปรียบเทยี บแบบอปุ มาอปุ ไมย
การเปรียบเทียบแบบอุปมาอุปไมย คือ การเปรียบเทียบเพื่อทําใหเห็นภาพหรือ
เกิดความรูสึกชัดเจนจึงตองนําส่ิงอ่ืนที่มีลักษณะคลายคลึงกันมาชวยอธิบาย หรือเช่ือมโยง
ความคิดโดยมีคํามาชวยเชื่อมคือ ดุจ ดัง ราว กล เหมือน ปาน ประหน่ึง ราวกับ แก เปน
ตน อุปมาอุปมัยเปนคําเปรียบเทียบ เชน อุปมา หมายถึงการอางเอามาเปรียบเทียบ
อุปไมย หมายถึง สิ่งที่ควรจะหาสิ่งอ่ืนมาเปรียบเทียบ ตัวอยางคําอุปมาอุปไมย “สวย
เหมอื นนางฟา ” สวยเปน อปุ ไมย นางฟาเปนอปุ มา
ดังพุทธพจนท่ีวา “การอุปมาดวยการเปาสังข เม่ือสังขมีคน มีความพยายาม
และมีลมจึงสงเสียงได เม่ือสังขนี้ไมมีคน ไมมีความพยายาม และไมมีลมก็สงเสียงไมได
บพิตรเชนเดียวกันนั่นแหละ เมื่อกายนี้ยังมีอายุ มีไออุนและมีวิญญาณจึงกาวไปได ถอย
กลับได ยืนได นั่งได นอนได เห็นรูปทางตาได ฟงเสียงทางหูได ดมกล่ิน”๓๔
พระพุทธศาสนาอปุ มาอุปไมยถึงคนเปาสังขวา เม่อื สังขนม้ี ีคนเปา กจ็ ะมีเสียงได เม่ือสังขน้ีไม
มีคนเปาเสียงก็ไมมี ทานเปรียบเหมือนกายกับวิญญาณเปนที่อาศัยซ่ึงกันและกันจึงกาวไป
ได ถอยกลับได ยืนได นั่งได นอนได เห็นรูปทางตาได ฟงเสียงทางหูได ดมกล่ินได แตถามี
แตกายไมมีวิญญาณมนุษยก็ไมสามารถทําอะไรได จะยืน น่ัง นอน เห็นรูปทางตา ฟงเสียง
ทางหูไมส ามารถจะทําได เปน ตน
ดังน้ัน การใชดนตรีเพ่ือเปรียบเทียบแบบอุปมาอุปไมย ดั่งพระพุทธศาสนา
อปุ มาอุปไมยถึงคนเปาสงั ข เมอ่ื สงั ขน ้ีมีคนเปา ก็จะมีเสยี งได เมอ่ื สงั ขไมมีคนเปาเสยี งก็จะไมม ี

๓๓ ข.ุ อป. (ไทย) ๓๒/๕๖-๖๐/๒๔๗.
๓๔ ท.ี ม. (ไทย) ๑๐/๔๒๖/๓๕๘.

๒๒๒ บทที่ ๖ ดนตรีในพระพุทธศาสนา
The Music in Theravadha Buddhism
พระมหามติ ร ฐติ ปโฺ ญ,ผศ.ดร.

๖.๘.๓ การใชดนตรีเพอื่ การสอนธรรม
การสอนธรรม คือ การถายทอดความรู หรือทักษะกระบวนการสภาพที่ทรงไว,
ธรรมดา, ธรรมชาติ, สภาวธรรม, สัจธรรม, ความจริง, เหตุ, ตนเหตุ, สิ่ง, ปรากฏการณ,
ธรรมารมณ, สิ่งที่ใจคิด, คุณธรรม, ความดี, ความถูกตองขององคสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธ
เจาทรงตรัสไวเพ่ือใหเกิดสติปญญา และสามารถนําไปใชแกปญหาของตนเองได ดังน้ันใน
การสอนธรรมมเี น้ือหามากมายผูศึกษาไดวางกรอบศึกษาการสอนธรรมในเฉพาะที่เก่ียวกับ
ดนตรีเทานั้น ดังปรากฏในพระสุตตันตปฏก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค นัจจคีตสูตร
กลาวถงึ “การเวนจากการฟอนรํา การขับรอง การประโคมดนตรี และดูการละเลนอันเปน
ขาศึกแกกุศลมีจํานวนนอยสัตวท่ีไมเวนขาดจากการฟอนรํา ขับรอง ประโคมดนตรี และดู
การละเลนอันเปนขาศึกแกกุศลมีจํานวนมากกวา”๓๕ ในเรื่องนี้พระพุทธองคทรงสอนภิกษุ
วา ถาเวนขาดจากการดูฟอนรํา การขับรอง การประโคมดนตรี และดูการละเลนตางๆ จะ
ทําใหพนจากอาบัติและเปนการเจริญกุศลไปดวยมีจํานวนนอย แตผูดูการละเลนการฟอน
รํา การขบั รอ ง การประโคมดนตรี อันเปน ขาศึกแกกุศลมจี ํานวนมากกวา กลาวถึงผูที่ปฏิบัติ
เวน ขาดจากการดูการฟอนรํา ขับรอง ประโคมดนตรี มีอยูนอยเปรียบเสมือนหมูเกาะเล็กๆ
มีนอยกวามหาสมทุ รเปรยี บเสมือน ผูดูการละเลน ดูการฟอนรํา ขับรอง ประโคมดนตรี อยู
ในอกศุ ลมมี ากกวา
ในมาคัณฑิกยสูตร ไดกลาวถึงพระพุทธเจาตรัสซักถาม “มาคัณฑิยะ” เรื่องกาม
คุณ ตอนที่เขาเปนคฤหัสถครองเรือนเขาหมกมุนในกามคุณ ๕ บําเรอตนอยูดวยรูป เสียง
กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่นาปรารถนา นาใคร นาพอใจ ชวนใหรัก ชักใหใคร อยูในฤดูฝน ฤดู
หนาว และฤดูรอนในฤดูฝนตลอด ๔ เดือน ไมไดลงจากปราสาทเลย แตตอมา เขารูความ
เกดิ ความดับคุณ โทษ และอุบายเปนเครื่องออกไปแหงกามคุณ ๕ ท้ังหลายตามความเปน
จริง แลวละตัณหาบรรเทาความเรารอนอันเกิดเพราะปรารภรูป เปนผูปราศจากความ
กระหายมีจิตใจสงบอยูภายใน ดังพุทธพจนที่วา “ดูกรมาคัณฑิยะ ทานสําคัญความขอน้ัน
เปนไฉน บางคนในโลกนี้เปน ผูเ คยไดรบั บาํ เรอดวยรูปทั้งหลาย อันจะพึงรูแจงดวยนัยนตาท่ี
สัตวปรารถนา รักใคร ชอบใจนารัก ประกอบดวยกาม เปนส่ิงที่ต้ังแหงความกําหนัด สมัย
ตอมา เขารูความเกิด ความดับคุณ โทษ และอุบายเปนเครื่องออกไปแหงรูปท้ังหลายตาม
ความเปนจริง แลวละตัณหาในรูปบรรเทาความเรารอนอันเกิดเพราะปรารภรูป เปนผู
ปราศจากความกระหายมีจติ สงบอยูภายใน”๓๖ ดังพุทธพจนที่ยกมา ไดกลาวถึงในหลักของ
พระพุทธศาสนาวา เมื่อกอนถึงแมจะเกิดมาดวยความมืดอยูดวยกามคุณ ๕ ประการ อัน

๓๕ ส.ํ ม. (ไทย) ๑๙/๑๑๕๑/๖๔๗.
๓๖ ม.ม. (ไทย) ๑๓/๒๑๑/๒๔๘.

ศกึ ษาเฉพาะเรอื่ งในพฒั นาการแหงพระพุทธศาสนา ๒๒๓
Selected Topics in Development of Buddhism
พระมหามิตร ฐติ ปฺโญ,ผศ.ดร.

ปรารถนา นาใคร นาพอใจ ชวนใหรัก ชักใหใคร พาใจใหกําหนัดหมกมุนอยูในกามคุณ
ท้ังหลาย แตภายหลังปฏิบัติมุงมั่นในธรรมทั้งหลายจนรูแจงดวยวิชชา จนรูแจงแหงความ
เกิด ความดับ คณุ โทษ และอุบายเปนเคร่ืองสลัดกามทั้งหลายใหออกไปตามความเปนจริง
แลวละตัณหาในกามได บรรเทาความเรารอนท่ีเกิดเพราะกามได เปนผูปราศจากความ
กระหายมจี ิตสงบอยูภ ายใน

ในฉักกนิบาต ไดกลาวถึงเจาชายสิทธัตถะกําลังบําเพ็ญทางสุดโตง ดังนั้น ไดมี
เทวดามีเจตนาดีดพิณเพื่อใหเจาชายสิทธัตถะไดฟงเสียงพิณ จนไดมีปญญารูเขาไปในเสียง
พิณในแตละสายวา เสียงพิณสายกลางคือ ทางสายเอก เพราะวาถาสายพิณหยอนไปเสียง
พิณก็ไมไพเราะ แตถาสายพิณตึงไปสายพิณก็ขาด ดังพุทธพจนที่วา “สายพิณตองไมตึงไม
หยอ นจนเกินไป ขงึ อยใู นระดบั ที่พอเหมาะ พณิ ของเธอจงึ มเี สียงที่ใชการได”๓๗ ดังน้ัน พุทธ
พจนที่ยกมา กลาวถึงการสอนธรรมเก่ียวกับพิณสามสาย คือ เสียงของพิณท้ังสามสายยอม
แตกตา งกัน สายหนึ่งหยอนเกินไป สายหน่ึงตึงเกินไป สายหน่ึงพอดีไมหยอนหรือตึงเกินไป
ใหปฏิบัติทางสายเอก คือ ทางปฏิบัติไมสุดโตงไปในทางอุดมการณใดอุดมการณหนึ่งเกินไป
มงุ เนนใชปญ ญาในการแกปญ หา มกั ไมยดึ ถอื หลกั การอยางงมงาย

การใชดนตรีในทางพระพุทธศาสนา คือ ถือไดวามีบทบาทสําคัญตอศาสนา
เพราะเสียงดนตรีสามารถสรา งความรูสกึ กลอมเกลาจติ ใจเพอื่ ใหเกิดกุศลได และเสียงดนตรี
ยังเราใจผูท่ีไดยินเสียงเกิดความรูสึกศรัทธาสําหรับบุคคลที่มีความเล่ือมใสอยูแลวใหเกิด
ความเลื่อมใสเพ่ิมข้ึนไป และทําใหบุคคลท่ียังไมเลื่อมใสใหเกิดความเล่ือมใสข้ึนมาไดตอ
พระพุทธศาสนา และดนตรยี งั มบี ทบาทมีสวนเก่ียวของเขากับการประกอบในอุปมาอุปไมย
และการสอนธรรม ทําใหผูศึกษาไดเ ขาใจในหลกั คาํ สอนเกยี่ วกับดนตรี เปน ตน

เมื่องกลาวโดยภาพรวมแลวจะเห็นวาการใชดนตรีเพื่อการบูชา คือ เปนการ
แสดงออกถึงความเคารพ การกราบไหว การยกยองนับถือบุคคลท่ีควรเคารพนับถือ เชน
บคุ คลใดมีการนบนอบ บชู าพระสรรี ะของพระผูมพี ระภาคดว ยการฟอนรํา ขับรอง ประโคม
ดนตรี ระเบียบดอกไมและของหอม ฟงธรรมหรือปฏิบัติตามธรรมของพระผูมีพระภาคก็ดี
ผลของบญุ ทมี่ ีความเคารพ การกราบไหวก็จะทําใหส่ิงท่ีปรารถนาก็จะประสบผลสําเร็จแกผู
ท่ีมีความเคารพ การกราบไหวบูชาดวยจิตที่เล่ือมใสตอพระพุทธเจา ผูนั้นถากําเนิดเปน
มนุษยก็จะมีความกาวหนาในชีวิตและโชคลาภไมบกพรอง ถาจะกําเนิดเปนเทวดา ผูน้ีจัก
รื่นรมยในเทวโลกตลอด มีทั้งเสียงดนตรีที่เปน ทิพย บริวารสมบตั ติ ลอดอนั ไพบูลยนับชาติไม
ถวนและผิวพรรณเหมือนทองคาํ น้เี ปน ผลแหง การบชู าพระพุทธเจา

๓๗ อัง.ฉ. (ไทย) ๒๒/๕๕/๕๓๓-๕๓๔.

๒๒๔ บทที่ ๖ ดนตรีในพระพทุ ธศาสนา
The Music in Theravadha Buddhism
พระมหามติ ร ฐติ ปโฺ ญ,ผศ.ดร.

การใชดนตรีเพ่ือเปรยี บเทียบแบบอุปมาอุปไมย หมายถึง เม่ือสังขมีคนเปาก็จะมี
เสียงได เมอ่ื สังขไ มมคี นเปา เสยี งก็จะไมมี ทานเปรียบเหมือนกายกับวิญญาณเปนสิ่งท่ีอาศัย
ซง่ึ กันและกันจึงกา วไปได ถอยกลับได ยืนได น่ังได นอนได เห็นรูปทางตาได ฟงเสียงทางหู
ได ดมกล่ินได แตถามีแตกายไมมีวิญญาณมนุษยก็ไมสามารถทําอะไรได จะยืน นั่ง นอน
เห็นรูปทางตา ฟง เสยี งทางหไู มส ามารถจะทําได เปนตน

การใชด นตรเี พ่อื การสอนธรรม เชน ถาภิกษุและภิกษณุ ีเวนขาดจากการดูฟอนรํา
การขับรอง การประโคมดนตรี และการดูการละเลนตางๆ จะทําใหพนจากอาบัติและเปน
การเจริญกุศลดวย และการสอนเกย่ี วกับการออกจากกามคุณ เชน ตอนเปนคฤหัสถผูครอง
เรือนยังอยูในกามคุณแตเม่ือเห็นโทษของกามคุณแลวละตัณหาในกามคุณท้ังหลายออกได
จะเปนผปู ราศจากความกระหายและมจี ติ สงบอยูภ ายใน อุปมาเหมือนพิณสามสายพระองค
ทรงสอนวา ถาสายพิณหยอนไปเสียงก็ไมไพเราะ แตถาสายพิณตึงไปสายพิณก็ขาด ดังน้ัน
ทางสายเอกคอื สายพิณทีพ่ อดีไมห ยอนและไมตึงเกินไป เสียงพิณจะดังไพเราะพระองคสอน
ใหป ฏบิ ัติทางสายกลางจึงจะรูธรรมและเห็นธรรมดว ยปญญาได

๖.๙ การใชด นตรใี นพระพทุ ธศาสนาของสงั คมไทย

ความเปนมาของดนตรีในสังคมไทย คือ ดนตรีที่เกิดข้ึนในยุคแรกๆ มนุษยเรายัง
อาศัยอยูในปาดง ในถํ้า แมในโพรงไมก็รูจักการรองรําทําเพลงตามธรรมชาติ เชน รูจักการ
ปรบมือ เคาะหิน เคาะไม เปาปาก เปาเขาสัตว จนพัฒนามาตามประวัติศาสตรของไทยซ่ึง
สามารถแบงการพัฒนาการของดนตรีในสมัยตางๆ ต้ังแตสมัยสุโขทัย คือ ปรากฏหลักฐาน
ดานดนตรีไทยที่เปนลายลักษณอักษร ท้ังในหลักศิลาจารึก หนังสือวรรณคดี และเอกสาร
ทางประวัติศาสตร ในแตละยุคดนตรีท่ีเกิดข้ึนในสมัยนั้น คือ วงปพาทยเครื่องหา เปนตน
สมัยกรุงศรีอยุธยา คือ ในสมัยน้ีมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาขึ้นกวาในสมัยสุโขทัย ดังนี้
คือ วงปพาทย ในสมัยนี้ก็ยังคงเปนวงปพาทยเครื่องหา เชนเดียวกับในสมัยสุโขทัยแตมี
ระนาดเอกเพ่มิ ข้ึนมาเทานน้ั เปนตน สมยั กรุงธนบุรี คือ เปนสมัยแหงการกอสรางเมืองและ
การปองกันประเทศเสียโดยมาก วงดนตรีไทยในสมัยน้ีจึงไมปรากฏหลักฐานไววา ไดมีการ
พัฒนาเปลี่ยนแปลงขึ้น สันนิษฐานวายังคงเปนลักษณะและรูปแบบของดนตรีไทยในสมัย
กรุงศรีอยุธยา เปนตน และสมัยกรุงรัตนโกสินทร คือ ท่ีพัฒนาขึ้นบางในสมัยน้ีก็คือ การ
เพ่ิมกลองทัดขึ้นอีก ๑ ลูก ในวงปพาทยซ่ึงแตเดิมมามีแค ๑ ลูก พอมาถึงสมัยรัชกาลที่ ๑
วงปพาทยมีกลองทัด ๒ ลูก เสียงสูง (ตัวผู) ลูกหน่ึงและเสียงต่ํา (ตัวเมีย) ลูกหนึ่ง และการ
ใชก ลองทดั ๒ ลกู ในวงปพาทยกเปนท่ีนิยมกนั มาจนกระท่ังปจจุบนั นี้

ศกึ ษาเฉพาะเรอ่ื งในพัฒนาการแหง พระพุทธศาสนา ๒๒๕
Selected Topics in Development of Buddhism
พระมหามติ ร ฐติ ปฺโญ,ผศ.ดร.

การใชดนตรีในพระพุทธศาสนาของสังคมไทย คือ การใชดนตรีของ
พระพุทธศาสนาในสังคมไทยใชประกอบงานประเพณี เชน งานมงคล จะใชวงปพาทย
บรรเลงเพลงมหาฤกษ เพลงสาธุการ เพลงตอยตริ่ง เปนตน งานอวมงคลจะใชเพลงงวงป
พาทยมอญเปน หลักในพธิ กี รรม การบูชา เพลงสาธกุ าร เพลงประจําองคเทพตางๆ และการ
ไหวค รู ใชลักษณะคลา ยกบั การบชู า

การใชดนตรใี นดานการเผยแผธรรม หมายถึง การเผยแผธ รรมในการปฏิบตั ธิ รรม
ตามแนวทางพระพุทธศาสนา โดยใชส่ือการสอนจากเสียงดนตรีโดยใชดนตรีรวมสมัย
บรรเลงเพลงประกอบทํานองในเร่ืองนิทานชาดกมาแตงเปนทํานองเพลงเสียงขับรอง และ
บทสวดมนตต างๆ ในหนงั สือมงคลพิธีและทํานองแหลโ ดยใชดนตรีรวมสมัยมาบรรเลงเพลง
ประกอบ เชน ดนตรีไทย โดยสวนใหญจะใช ขิม ขลุย ซอ เปงมางคอก ระนาด และ ฉ่ิง
ดนตรีสากลสวนใหญใชซาวเสียง กลอง เบส เปนตน เพ่ือใหผูฟงไดเกิดความเขาใจในคํา
สอนของพระพุทธเจาและสามารถนําไปประยุกตเพื่อใหเกิดความสงบดานจิตใจ และเพ่ือ
เกิดปญญาเพ่ือเกิดปญญาและเขาใจของธรรมชาติ และอยูดวยความไมประมาทมัวเมาใน
กองสังขารท้งั ของตนและผอู ่ืน รจู ักปลอ ยวาง

รวมความวา การใชดนตรีในทางพระพุทธศาสนาของสังคมไทย ดนตรีท่ีเกิดขึ้น
ในยคุ แรกๆ มนุษยเ รายังอาศยั อยใู นปา ดง ในถํ้า แมในโพรงไมก็รูจักการรองรําทําเพลงตาม
ธรรมชาติ เชน รูจักการปรบมือ เคาะหิน เคาะไม เปาปาก เปาเขาสัตว จนพัฒนามาตาม
ประวัติศาสตรของไทย ซ่ึงสามารถแบงการพัฒนาการของดนตรีในสมัยตางๆ จนถึงยุค
ปจจุบันมีการพัฒนาการใชดนตรีเขามาเกี่ยวของกับพระพุทธศาสนาในสังคมไทยโดยใช
ประกอบงานประเพณี เชน งานอวมงคล วงปพาทยจะบรรเลงเพลงมหาฤกษ เพลงสาธุการ
เพลงตอ ยตริง่ เปน ตน งานอวมงคล วงปพ าทยม อญเปนหลักในพิธีกรรมในงานศพสวนใหญ
จะบรรเลงเพลงมอญ การบูชาเพลงสาธุการ เพลงประจําองคเทพตางๆ และการไหวครู ใช
ลักษณะคลายกับการบูชา และยังใชดนตรีในดานการเผยแผตามหลักพระพุทธศาสนา โดย
ใชส่ือการสอนจากเสียงดนตรีรวมสมัยมาบรรเลงเพลงประกอบ เชน ดนตรีไทยโดยสวน
ใหญจะใชพิณ ขลุย ซอ ฆอง เปนตน ดนตรีสากลโดยสวนใหญใชซาวเสียง กลอง เบส เปน
ตน สว นใหญจ ะใชบ รรเลงเพลงประกอบเปน จงั หวะชา และบทเพลงทํานองเน้ือรองและบท
สวดแตละบท ทําใหผูฟงที่กําลังจะทําอยูในปจจุบันในขนาดนั้น และทําใหปญญาในการ
พิจารณาเห็นความจริงของสังขาร หรือของชีวิตเปนอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไมอาจแนนอน
คงทน และบังคับบัญชาใหเปนไปตามท่ีตองการได ทําใหจิตใจผูฟงเกิดความเบื่อหนาย
คลายกําหนดั จนทําจติ ของตนใหพนจากอุปาทาน

๒๒๖ บทที่ ๖ ดนตรใี นพระพทุ ธศาสนา
The Music in Theravadha Buddhism
พระมหามิตร ฐติ ปโฺ ญ,ผศ.ดร.

บทที่ ๗
พระพทุ ธศาสนากับโสเภณี

Buddhism and Prostitution
บทนํา

อาชีพของคนเรามีความแตกตางกันไปความถนัดของแตละคน แตน้ันก็ไมใชวา
ทุกคนในโลกนจ้ี ะไดอาชพี ตามความถนัดของตนเสมอไป อาเชนอาชีพท่ีผูเขียนจะนําเสนอนี้
เปนอาชีพหน่ึงไดถูกกลาวในคัมภีรทางพระพุทธศาสนา ซึ่งถือวาเปนอาชีพท่ีทรงเกียรติ
เพราะเปนอาชีพท่คี อ ยใหการตอ นรบั แขกบานแขกเมอื งทมี่ าแวะเยือน ทางพระพุทธศาสนา
ใชศัพทวา นครโสเภณี๑ ตําแหนงนครโสเภณีสมัยกอนเปนตําแหนงท่ีมีเกียรติ พระราชา
แตงตั้งอีกทั้งตําแหนงน้ีเปนตําแหนงที่ดูดเงินตราจากตางประเทศไดเปนอยางดีอยางเชน
แควน วัชชี หัวกา วหนา กวารัฐอนื่ เปนแควน แรกท่มี ีตําแหนง นครโสเภณี เพ่ือดูดเงินตราจาก
ตางประเทศ กษัตรยิ เ มอื งเล็กเมอื งนอยไดทราบซ่ึงนครไพศาลีมีนางนครโสเภณีที่เปนสมบัติ
ของทุกคนๆ หนึ่งท่ีสามารถทําเงินใหแควนไดเปนอยางมาก กษัตริยเมืองนอยใหญตางก็ขน
เงินมาทิ้งที่เมืองนี้กันปละจํานวนไมนอยถึงแมวาคาอภิรมยกับนางอัมพปาลีคืนหนึ่งจะมี
ราคาแพงก็ตาม ก็วายทจ่ี ะมีแขกตางเมืองมาเยยี่ มสาํ นักเธอมิขาดสาย

ดวยเหตุน้ีอาชีพนครโสเภณีจึงเปนอาชีพเปนท่ีทรงเกียรติ ไดรับการแตงตั้งจาก
พระราชาทรงใหอยูในฐานะทูตสันถวไมตรีระหวางแควน เพื่อตอนรับ ใหความเพลิดเพลิน
สนุกสนานแกอาคันตุกะของบานเมือง เน่ืองจากโสเภณี ในสมัยนั้นนอกจากจะมีความสวย
แลว ยงั ตอ งมศี าสตร คือ มีความรูความเชี่ยวชาญในเหตุบานการเมือง มีศิลปะ ในการราย
รํา ขับรอง ประโคมเคร่ืองดนตรี ไดอยางไพเราะ งดงาม มีการใชภาษา ท่ีไพเราะเพราะ
พร้ิง จับอกจับใจ มีปฏิภาณไหวพริบที่ดี อาชีพนครโสเภณีในนี้ถึงแมวามันจะมีความ
แตกตางกันจากอดีตกับในสมัยปจจุบันนี้อยูบางมันก็ข้ึนอยูกับมุมมองของแตละยุคแตละ
สมัยเน่ืองวิถีชีวิตของคนมีการเปล่ียนแปลงไป รูปแบบของสังคมเปล่ียนแปลงตามเหตุและ
ปจจยั อาชพี นครโสเภณกี ย็ อมมีการปรับเปล่ยี นไปตามเชน กัน

๑ วิ.ม. (ไทย) ๕/๓๒๖/๑๗๙

๒๒๘ บทท่ี ๗ พระพุทธศาสนากับโสเภณี
Buddhism and Prostitution
พระมหามติ ร ฐิตปโฺ ญ,ผศ.ดร.

๗.๑ ความหมายของโสเภณี (Prostitution)

โสเภณี แปลตามศัพท “หญิงงาม” หญิงงามประจําเมือง เรียกวา “นครโสเภณี”
เปนหญิงงามประเภทใชความงามเพ่ือหาประโยชนจากการเสนอตัวใหใครก็ตามท่ีตองการ
ปลดเปลอ้ื งความใคร โดยแลกกบั เงนิ เปน คา ตอบแทน ซ่ึงแลวแตจ ะตกลงราคากนั

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ไดใหความหมายของคําวา
โสเภณี หรือ โสภิณี ไววา “หญิงท่ีหาเล้ียงชีพดวยการคาประเวณี”๒ ซึ่งคําๆน้ีเปนคํายอมา
จากคําวา “นครโสเภณี” หรือ “นครโสภิณี”๓ ซึ่งหมายถึง หญิงที่รับจางสําเร็จความใคร
ของผูอื่น ตรงกับภาษาจีนวา “หยําฉ่ํา”๔ และตรงกับภาษาอังกฤษวา “Prostitute”
(Prostitute means a person who has sex for money)๕ ปทนานุกรมกฎหมายของ
Wharton ใหน ิยามของหญิงโสเภณี ไววา “หญงิ โสเภณี คือ หญิงทส่ี มสกู บั ชายไมเลือกหนา
เพ่ือหวังผลประโยชนแหงการใหเชา”๖ พจนานุกรมกฎหมายอยางละเอียดของ Frank D
Hoore ใหนิยามของหญิงโสเภณี ไววา “หญิงโสเภณี คือ หญิงที่ยอมใหรวมประเวณีโดยไม
เลือกหนาเพ่ือหวังทรัพยสิน”๗ นครโสเภณี คือ หญิงท่ีหาเงินในทางรวมประเวณีโดยไม
เลือกหนา๘

Guyot ชาวฝรั่งเศส ใหวิเคราะหศัพทวา “โสเภณี คือ คนท่ียอมรับการรวม
ประเวณเี พื่อหวังผลแหง รายได” ๙

Berger and Richard นักสังคมศาสตรชาวฝรั่งเศส ใหวิเคราะหศัพทวา “หญิง
โสเภณีท่ขี ายรา งกายเพือ่ การประเวณีเปนอาชีพ”๑๐ จากความหมายที่กลาวมาในขางตนนั้น

๒ ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒, (พระนคร :โรง
พิมพรงุ เรอื งธรรม, ๒๕๐๕), หนา ๑๒๓๔.

๓ ร.ต.อ. วันชัย ศรีนวลนัด, “ทัศนคติของตํารวจไทยตอปญหาโสเภณี”, รายงานวิจัย ,
(บณั ฑติ วิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหิดล, ๒๕๐๕), หนา ๗.

๔ บุญนาค สายสวาง, “โสเภณี มหาดไทย”. ปท่ี ๒ ฉบับที่ ๓๐, ๒๕๒๑, หนา ๑๐๗.
๕ Oxford advanced leaners dictionary, sixth edition, p. 1060.
๖ กอเกียรติ เอี่ยมบุตรลบ, “เร่ืองทัศนคติของขาราชการตํารวจท่ีมีตอการจดทะเบียน
โสเภณี”, รายงานวจิ ยั , (คณะสังคมศาสตรแ ละมนุษย มหาวทิ ยาลยั มหดิ ล, ๒๕๔๕), หนา ๑๗.
๗ เรอ่ื งเดยี วกนั , หนา ๑๗.
๘ เรื่องเดียวกัน, หนา ๑๘.
๙ เรื่องเดียวกัน, หนา ๑๘.
๑๐ เร่อื งเดียวกัน , หนา ๑๘.

ศึกษาเฉพาะเร่ืองในพฒั นาการแหงพระพุทธศาสนา ๒๒๙
Selected Topics in Development of Buddhism
พระมหามติ ร ฐิตปฺโญ,ผศ.ดร.

เราพอจะสรุปไดวา โสเภณี คือ หญิงท่ีคอยใหบริการเพื่อบําบัดความใครของชาย๑๑ โดย
ไดรับเงินทอง หรือส่ิงของมีคาเปนเครื่องตอบแทน ไวพจนของคําวา โสเภณีอีกหลายคํา
เชน ในกลมุ คําที่มีความหมายเดียวกัน ซ่ึงใชแทนคําวา โสเภณี ในตางคราว ตางบุคคล ตาง
วาระกันตามระดับของบุคคลที่ใช บางท่ีคําวา โสเภณี ในทางพระพุทธศาสนา หมายถึง
หญิงแพศยา๑๒ บาง หญิงงามเมืองบาง หญิงคณิกา ซึ่งคําศัพทท่ีใชเรียกกลุมนี้ ในบาง
มุมมองอาจจะมปี รากฏอยู ๖ ศพั ท๑๓ คอื

๑. คณิกา๑๔
๒. เวสิยา๑๕
๓. วณฺณทาส๑ี ๖
๔. นครโสเภณี๑๗

๑๑ ขุ.ชา. (ไทย) ๒๘/๑๖๕๐/๕๖๐ “พวกหญิงแพศยาที่อาศัยอยูตามถนนใหญ จงเลาโลม
ชายผูมีความตอ งการเปน นิตย”

๑๒ องฺ.เถร.อ. (ไทย) ๕๒ / ๓๖๑/๒๔๑: หญิงแพศยา หมายถึง หญิงที่เล้ียงชีพดวยอาศัย
เรือนรา งของตน. องฺ.เถร.อ. (ไทย) ๕๒ / ๓๖๑/๒๔๑

๑๓ มาณพ นักการเขียน, ผศ., พระพุทธศาสนากับสตรีศึกษา (Buddhism and Women’s
Studies), พิมพครั้งที่ ๑, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๕), หนา
๒๔.

๑๔ ขุ.อุ. (ไทย) ๒๕/ ๕๘/๓๐๔: พระพรหมคุณาภรณ (ป.อ. ปยุตฺโต), พจนานุกรมพุทธ
ศาสตร ฉบับประมวลศัพท, พิมพคร้ังท่ี ๓๕, หมายถึง หญิงงามเมือง หญิงแพศยา. (กรุงเทพมหานคร
: บริษัท สหธรรมิก จํากัด, ๒๕๕๔), หนา ๓๗.

๑๕ อง.ฺ ปฺจก.อ.(ไทย) ๓๖/๑๐๓/ ๒๓๕., ขุ.ชา.ม.อ. (ไทย) ๖๓/๔๔๑/๔๖., อรรถกถาสังกิต
สูตร กลาวถึง พวกหญิงท่ีอาศัยรูปรางเล้ียงชีพ ทานเรียกวา เวสิยา (หญิงแพศยา) ในเตมียชาดก น้ัน
กลาวถึง เวสิยา ซึ่งแปลวา พอคา. ภาษาบาลีเปน เวสิยา, สันสกฤตเปน เวศฺยา, ภาษาไทยเปนแพศยา
หรอื หญิงโสเภณี.

๑๖ ขุ.ชา.เอกา.ทสก.อ. (ไทย) ๖๐/ ๑๙๒๐/ ๓๙๒: อรรถกถาอุททาลกชาดก กลาวตอนหน่ึง
ไววา “เห็นหญิงแพศยารูปงามนางหน่ึง ติดใจ สําเร็จการอยูรวมกับนาง. นางอาศัยทานมีครรภ คร้ันรู
วาตนมีครรภ ก็บอกทานวาเจานาย ดิฉันต้ังครรภแลวละ ในเวลาเด็กเกิด เมื่อดิฉันจะต้ังช่ือ จะขนาน
นามเขาวา อยา งไรเจาคะ. ทา นคิดวา เพราะเดก็ เกิดในทอ งวณั ณทาสีไมอ าจขนานนามตามสกลุ ได”

๑๗ วิ.ม. (ไทย) ๕/๓๒๖/๑๗๙ “นครโสเภณี” น้ัน ราชบัณฑิตยสถานวาเห็นจะเปนเพราะวา
หญิงพวกน้ีอาศัยเมืองหรือนครเปนที่หาเลี้ยงชีพ หญิงโสเภณีตามชนบทนั้นไมมี เพราะการเปนโสเภณี
น้ันเปนที่รังเกียจของสังคม ผูหญิงพวกนี้จึงอาศัยที่ชุมชนเปนที่หากิน อีกประการหน่ึง ในเมืองหรือนคร
น้นั มผี ูค นลกู คา มากมาย เปนการสะดวกแกก ารคา ประเวณี

อน่ึง วากันตามรากศัพทแลว ราชบัณฑิตยสถานวา “นคร” แปลวา เมือง “โสภิณี” แปลวา
หญิงงาม “นครโสภณิ ”ี จงึ แปลวา หญงิ งามประจําเมือง หรือหญิงผทู าํ เมอื งใหงาม.

๒๓๐ บทท่ี ๗ พระพุทธศาสนากบั โสเภณี
Buddhism and Prostitution
พระมหามติ ร ฐิตปโฺ ญ,ผศ.ดร.

๕. รูปูปชวี นิ ี
๖. เวสี๑๘
สวนในภาษาถ่ินอีสานน้ัน มีคําเรียกโสเภณี อยูหลายคํา ไดแก “หญิงแมจาง”
“กะหร่ี”๑๙, “หญิงหากิน” หรือ “อีตัว”๒๐ จากคําที่ใชในเบ้ืองตนน้ัน จะพบขอท่ีนาสังเกต
ประการหน่ึง คือการเรียกชอ่ื แทนคาํ วา โสเภณี นั้นมักจะมีความหมายในทางลบ แทบทั้งส้ิน
แมในคาํ ศพั ททีป่ รากฏในคมั ภีรท างพระพุทธศาสนาเองก็ ยังมคี วามหมายในแงลบแฝงอยู
ความหมาย คําวา “โสเภณี” ยังแปลวา นครโสเภณี แปลวา สตรีที่ยังนครให
งาม หรือสตรีงามเมือง ชื่อน้ีเปนตําแหนงท่ีพระราชามหากษัตริยทรงแตงตั้ง คนที่ไดรับ
ตําแหนงนี้ตองเปนสตรีที่งามเลิศจริงๆ ผานการคัดเลือกโดยคณะกรรมการผูทรงคุณวุฒิ ไม
แพประกวดนางสาวจกั รวาล
หญิงงามมีคําบาลีอีกคําหน่ึงท่ีใชเรียก คือ “กัลยาณี” มักใชคูกับคําวา “เบญจ”
เปน “เบญจ-กัลยาณ”ี แปลวา ผมู ีความงามหาประการ ไดแก๒๑
๑. ผมงาม (เกสกัลยาณะ) มีลักษณะเปนกลุม มีเงางาม ดังขนนกยูงยาวลงมาถึง
ท่ีสุดของผา นงุ มีปลายชอ นกนั

๑๘ วิ.ม.อ. (ไทย) ๖/๑๐๐/๒๓๒ เวสี หรือเวสิยา มีรากศัพทมาจากคําวา เวสฺส แปลวา ตรอก
(ผหู ญงิ หากนิ ตามตรอก) เปนโสเภณชี ้ันตํา่ ไมม ีสํานักทแ่ี นน อน

อรรถกถาอัญญติตถิยวัตถุกถา อธิบายคําวา “เวสิยโคจโร” ซึ่งมีวินิจฉัยวา สตรีทั้งหลายผู
อาศัย รูปเล้ียงชีวิต มีอัชฌาจารอันบุรุษไดงาย ดวยเพ่ิมใหสินจางเพียงเล็กนอย เปนตน ชื่อวาหญิง
แพศยา.

๑๙ คําวา “กะหร่ี” เปนคําตลาด หมายถึง หญิงโสเภณี ตัดทอนและเพี้ยนมาจากคําเต็มวา
“ช็อกกะรี” และคํา “ช็อกกะรี” นี้ก็เพ้ียนมาจาก “ชอกกาลี” ซ่ึงมาจากคํา “โฉกกฬี” ในภาษาฮินดี
แปลวา เด็กผหู ญิง คกู บั “โฉกกฬา” (Chōkarā) ทีแ่ ปลวา เด็กผูช าย เปนทอด ๆ

จํานงค ทองประเสริฐ ราชบัณฑิต สันนิษฐานวา ที่เรียกหญิงโสเภณีวา “โฉกกฬี” อันแปลวา
เดก็ ผหู ญงิ น้ัน คงเปนทาํ นองเดียวกบั ที่เรียกหญิงโสเภณวี า “อหี น”ู

คําวา “กะหรี่” ในความหมายวา โสเภณี ยังไมปรากฏในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
ฉบับใด ๆ แตราชบัณฑิตยสถานบันทึกไวใน พจนานุกรมคําใหม วา “กะหร่ี เปนคําใชเรียก โสเภณี
(เปน คาํ ไมสุภาพ)”

สวนคํา “ช็อกกะรี” ปรากฏใน พจนานุกรมคําใหม เชนกัน ความวา “ช็อกกะรี เปนคํานาม
ใชเรยี กโสเภณี”. อา งแลว .

๒๐ อางแลว.
๒๑ ธมฺมปท. ๓/๔๘; กานิ ปเนตานิ ปฺจกลฺยาณิ นาม คตานิ เกสกลฺยาณํ มํสกลฺยาณํ
อฏฐ กิ ลฺยาณํ ฉวิกลยฺ าณํ วยกลยฺ าณนติ

ศึกษาเฉพาะเร่อื งในพฒั นาการแหง พระพุทธศาสนา ๒๓๑
Selected Topics in Development of Buddhism
พระมหามิตร ฐิตปโฺ ญ,ผศ.ดร.

๒. เน้ืองาม (มังสกัลยาณะ) ชองระหวางฟน มีสีสวยแดงปลั่งดังมะพลับสุกเรียบ
เสมอกนั เนอื้ งามพิจารณาจากไรฟน

๓. กระดูกงาม (อัฏฐิกัลยาณะ) ฟนยาวเรียบ ไมหาง เหมือนสังขที่เขาขัดดีแลว
เปน เงางามวาววับ ไมผไุ มก รอ น

๔. ผิวงาม (ฉวิกัลยาณะ) หญิงดํา ผิวไมมีบาดแผล เรียบสนิท มีสีเหมือนดอก
อบุ ลเขยี ว หญงิ ขาวมสี เี หมอื นดอกกัณณิการ

๕. วัยงาม (วยกัลยาณะ) ยังสาวอยูเสมอ แมจะคลอดลูกสิบคร้ังก็เหมือนคลอด
ครง้ั เดียว ทุกสว นเตง ตึง ไมหยอ นยาน

ความงามท้ัง ๕ น้ีดูเหมือนจะเนนวา เปนคุณสมบัติดานรูปรางของหญิงที่เปนกุล
สตรมี ากกวาจะเปน หญงิ ขายบริการ ความงามท่เี รียกวา “โสเภณี” น้ันจะเนน เฉพาะ

๑. รูปสวย (อภิรปู า) ไดสดั สว น มีทรวดทรงดี ไมอว นไมผอม
๒. ชวนใหม อง (ทัสสนยี า) เหน็ แลวเตะตา ทาํ ใหม องตาม ดงั ที่ สุรพลสมบัติเจริญ
วา “พม่ี องเสยี จนเหลยี วหลงั ”
๓. ชวนใหเ กิดอารมณเ พศ (ปสาทนยี ะ) ใหเกิดความอยากใกลชิด
ลักษณะทั้งสามประการ เมื่อรวมเปนหน่ึงเดียวกัน เปนเสนหดึงดูดเพศตรงขาม
ที่ฝรั่งเรียกวา “Sex appeal” ภาษาตลาดเรียกวา เซ็กซ่ี (Sexy) กอใหเกิดอารมณเพศ
(Sexually attractive)
ความงามถึงขนาดเห็นแลวดึงดูด (คือ ทั้งอยากดึงเขามาและดูดเขาไป) เปน
สิง่ จําเปนสําหรับโสเภณที ่ีมีอนาคต
ความเปนโสเภณี คือ การปฏิบัติกิจกรรมทางเพศที่มีความสัมพันธชนิดไม
แบงแยก เปนกิจกรรมท่ีทํากับคนอ่ืนมากกวาคูครองและเพื่อน โดยรับเงินเปนคาตอบแทน
ทนั ทีมากกวาจะแลกดว ยของมีคา อยางอ่ืน
ความเปนโสเภณี อาจใชอุปกรณ คือ เคร่ืองเพศโดยตรง หรือใชสวนอ่ืนของ
รางกายหาเงินดวยการประกอบกามกิจกับเพศตรงกันขาม (Heterosexuall) หรือกับเพศ
เดียวกัน (Homosexual) แตสวนใหญจะเปนเพศหญิง มีผูชายเปนลูกคา อีกความหมาย
หนึ่ง โสเภณี คือ อาชีพขายบริการทางเพศ มีทั้งผูหญิงและผูชาย ปกติจะเปนธุรกิจที่ทํากับ
คนแปลกหนาซึ่งเปนผูรับบริการ โดยใหผูบริการคิดคาตอบแทนเปนเงินสด การดําเนิน
ธุรกิจโสเภณี อาจทําโดยเปนการสวนตัว หรือทําโดยมีสํานัก โดยมีผูจัดการ ผูควบคุม ผู
คุมครอง ซ่ึงมีรายไดจากการหักเปอรเซ็นตจากหญิงบริการตามจํานวนคร้ังที่มีผูใชบริการ
ธุรกิจอาจดําเนินการขางถนน หรือสํานักโสเภณี เชน โรงแรม โรงน้ําชา สถานนวดแผน
โบราณ อาบอบนวด หรอื นางทางโทรศพั ท (Call girl)

๒๓๒ บทที่ ๗ พระพุทธศาสนากบั โสเภณี
Buddhism and Prostitution
พระมหามติ ร ฐิตปฺโญ,ผศ.ดร.

ประเทศไทยโสเภณเี ปน ธุรกจิ กฎหมาย แตกลับมีผูประกอบธุรกิจน้ีอยูมากมาย มี
สถานคาประเวณีอยูเปนจํานวนมากในรูปแบบสถานอาบอบนวด รานคาราโอเกะ ฯลฯ
ศีลธรรมคือขออางสําคัญท่ีทําใหธุรกิจน้ีผิดกฎหมาย แตการท่ีทําใหธุรกิจน้ีผิดกฎหมาย
กลับเปนการทําลายศีลธรรมอยางถึงแกน และกลายเปนการปกปองกลุมอิทธิพลบางกลุม
ใหสามารถทําธุรกิจนี้อยางเปนลํ่า เปนสัน ในทางตรงกันขาม ธุรกิจหรืออาชีพโสเภณีกลับ
ถูกกฎหมายในยุโรปตะวันตกนับสิบประเทศ๒๒ โดยเฉพาะประเทศสวิตเซอรแลนด ซ่ึงเปน
ประเทศที่เจริญ นาอยูและโปรงใสท่ีสุดแหงหนึ่งของโลกนั้น ธุรกิจหรืออาชีพโสเภณีเปน
อาชีพที่ตองไดรับใบอนุญาต ผูใหบริการเสียภาษีถูกตอง ลูกคาสามารถจายผานบัตรเครดิต
ได นาแปลกแทๆ ประเทศที่ประชาชนมีจริยธรรมสูงสง มีวินัยดีเยี่ยม มีคุณภาพชีวิตและ
การศึกษาช้นั ยอด กลบั เปด กวา งสําหรับธุรกิจหรืออาชีพโสเภณีอยา งถูกกฎหมาย

๗.๒ ความเปน มาของโสเภณี

๗.๒.๑ กําเนิดโสเภณี
ในยุโรปและเอเชียตะวันออกกลาง ต้ังแตสมัยกรีกและโรมันโบราณนั้น จาก
การศกึ ษามาเราพบวา หญงิ โสเภณมี ตี นกําเนิดมาจากพธิ ีการทางศาสนา๒๓ ปฏิบัติกันอยูใน
เอเชียตะวันตกเปนสวนใหญ คือหญิงสาวจะตองกระทําพิธีสละพรหมจารีของตนเพ่ือบูชา
เทวี เชน ของอนิ เดยี ไดแ ก พิธีบูชาพระแมกาลี ซึ่งบางทีก็เรียก “ทุรคาบูชา” (Durgapuja)
พธิ ีเชนวา นส้ี ืบเนอื่ งมาจากความเชื่อทว่ี า ผหู ญิงมีความรูส กึ ฝง ใจอยกู บั ชายคนแรกท่เี ธอรวม
ประเวณดี วย การสละพรหมจารีดงั กลา ว จึงกระทําเพ่ือบูชาเทวีเบื้องบนเสีย และชายผูรวม
ประเวณีดวยน้ันก็มกั จะเปน แขกแปลกหนาท่ีหญิงน้ันไมรูจัก โดยถือกันวาชายแปลกถิ่นเปน
ผูศ กั ดิ์สทิ ธ์ิซง่ึ จะนาํ โชคลาภมาสตู น
การสละพรหมจารีดวยการรวมประเวณีกับชายแปลกหนานั้นบางแหงก็มีส่ิงตอบ
แทน หญิงชาวบาบิโลนโบราณพากันมานั่งคอยชายแปลกหนาในวิหารเจาแมอิชตาร
(Ishtar) เพื่อเขาสูพิธีสละพรหมจารีกับชายแปลกหนา ถาชายพึงใจในหญิงคนใดก็จะโยน
เหรียญมาที่ตักของเธอ หญิงท่ีไดรับเหรียญจะตองลุกตามเขาไปทันทีเพื่อประกอบพิธี โดย
ไมวาเงินที่ชายโยนใหนั้นจะมากนอยเพียงไร เม่ือไดพลีพรหมจารีแลวก็เปนอันหมดหนาท่ี
หญิงนั้นจะไดกลับไปบานเมืองและครองชีวิตอยางมีเกียรติพรอมกับต้ังหนาคอยโชคลาภ
ตอ ไป หญงิ ทร่ี ปู ไมง ามอาจตอ งนัง่ รอชายแปลกหนา เปน เวลาหลายป

๒๒ [ออนไลน] . แหลงทีม่ า: www.siarath.com.th/web/ [๑๙ กมุ ภาพันธ ๒๕๕๗].
๒๓ [ออนไลน] . แหลง ที่มา: http://blog.msu.ac.th [๒๘ เดอื นมถิ ุนายน ๒๕๕๖].

ศกึ ษาเฉพาะเรือ่ งในพัฒนาการแหงพระพุทธศาสนา ๒๓๓
Selected Topics in Development of Buddhism
พระมหามิตร ฐิตปฺโญ,ผศ.ดร.

บางทองท่ีก็มีพิธีกรรมทางโสเภณีเพ่ือการศาสนาอยางเชน เทวทาสี คือ ผูหญิง
โสเภณีเทพเจาหรือทาสสตรีแหงเทพเจามีวิถีชีวิตในการคาประเวณี เพื่อรับใชกามเทวีแหง
ศาสนาหนึ่ง พวกเธอไดอทุ ิศชีวิตใหกับเทพเจา และใชเวลาท่ีเหลือในชีวิตเปนโสเภณีในพระ
นามของเยลลมั มา๒๔ ในขณะเดยี วกนั ยังมีนักบวชหญิงรว มกนั จัดพธิ กี รรมตาง ๆ ทางโสเภณี
ซึ่งถือวาเปนการพลีกายเพ่ือศาสนา เงินท่ีไดจากพิธีกรรมทางเพศดังกลาวจะสงเขาบํารุง
ศาสนา บางแหงหญิงสาวตองไปวัดเพ่ือขอใหนักบวชชายเบิกพรหมจารีให โดยถือวา
นักบวชเปน ตัวแทนของพระเจา บางแหง หญงิ สาวอุทศิ ตนเปนนางบําเรอประจําวัด เพ่ือรอง
รําทาํ เพลงเพื่อบําเรอ พวกนักบวชและพวกธุดงคที่มาสักการะเทพเจาในสํานักตน ทั้งหมด
น้ีเปนจุดกําเนิดของหญิงโสเภณีในปจจุบัน แตโสเภณีทางศาสนาดังที่กลาวมาแลวกระทํา
ในคลองจารีตประเพณีของศาสนา ไมอือ้ อึงหรืออจุ าดนกั

ตอมาเกิดมีธรรมเนียมใหมคือ หญิงสาวหันมาเปนโสเภณีเพื่อสะสมทุนทรัพย
สําหรับสมรส ชายท่ีสมสูไมตองวางเงินบนแทนบูชาแตใหใสลงในเสื้อของหญิง ภายหลังหา
เงินไดสองสามปก็จะกลับบานเพ่ือแตงงาน และถือกันวาหญิงท่ีไดผานการเปนโสเภณี
มาแลวเปนแบบอยางของเมียและแมท่ีดี การปฏิบัติของหญิงโสเภณีประเภทหลังนี้ บางคน
ก็กระทําไปโดยมิไดเกี่ยวของกับพิธีทางศาสนาเลย คร้ันกาลเวลาลวงมา อารยธรรมในทาง
วัตถุนิยมเพิ่มมากข้ึน โสเภณีทางศาสนาคอยเลือนรางจางไป โดยมีโสเภณีทางโลกเขามา
แทนที่ โรงหญิงโสเภณีโรงแรกจึงถือกําเนิดข้ึนที่กรุงเอเธนส โดยเปนโรงหญิงโสเภณี
สาธารณะ เก็บเงินรายไดบํารุงการกุศล ผูจัดตั้งช่ือ “โซลอน” (Solon) เปนนักกฎหมาย
และนักปฏิรูป วัตถุประสงคในการต้ังโรงหญิงโสเภณีดังกลาวมีสองประการ คือ ๑) เพื่อ
คุมครองอารักขาความบริสุทธิ์ใหแกครอบครัวของประชาชน มิใหมีการซองเสพชนิด
ลักลอบและมีชู และ ๒) เพ่ือหารายไดบํารุงการกุศลตาง ๆ จากน้ันโสเภณีก็ไดคล่ีคลาย
ขยายตัวเรื่อยมาจนกระทัง่ เปนอยอู ยางในปจจบุ นั

๗.๒.๒ โสเภณใี นสงั คมอินเดยี สมยั พุทธกาล
ประเทศอนิ เดียตั้งแตสมัยพุทธกาลมีหลักฐานที่แสดงวา การบริการทางเพศเปน
อาชพี สุจรติ และมีเกียรติ หญงิ โสเภณไี ดรบั การยกยอ งวาเปนผูมคี ุณประโยชนต อ สังคม
คําวา “นครโสเภณี”๒๕ นั้นมาจากอินเดีย ในสมัยโบราณบางแควนของชมพูทวีป
มีหญิงเหลาน้ีเอาไวเชิดหนาชูตา เปนแรงดึงดูดการทองเท่ียว และนําเงินตราเขาบานเมือง
ไดเปนอยางดี อยางในเร่ือง กามนิต ก็ไดกลาวเอาไววา นางนครโสเภณีเหลาน้ีคือ “มงกุฎ

๒๔ ดร.ศิลปชัย เชาวเจริญรัตน, โสเภณีเทพเจา, [ออนไลน]. แหลงท่ีมา: http://
www.oknation.nationtv.tv/blog/Nomades. [๑๙ กุมภาพนั ธ ๒๕๕๗].

๒๕ อางแลว .

๒๓๔ บทท่ี ๗ พระพุทธศาสนากับโสเภณี
Buddhism and Prostitution
พระมหามติ ร ฐิตปโฺ ญ,ผศ.ดร.

ดอกไมหลากสีของกรุงอุชเชนี” โดยนางเหลานี้พระราชาก็ประทานเกียรติยศ ประชาชนก็
บูชา จินตกวีก็กลาวขวัญเปนบทเพลงกวีเพื่อเยินยอ ซ่ึงเปนการสมควรแลวท่ีจะขนานนาม
วา “มงกุฎดอกไมหลากสีของกรุงอุชเชนี ที่สถิตเหนือฐานศิลา” กระทําใหแควนใกลเมือง
เคียงตางๆ อิจฉากรุงอุชเชนีเปนอยางมาก นางงามเหลานี้บางคนท่ีเลือกสรรแลว เคยรับ
เชิญเปน แขกเมอื งไปเยี่ยมแดนตางๆ อยบู อ ย ๆ”๒๖

ในประเทศอินเดียน้ัน อาชีพโสเภณีก็มีมากอนคร้ังพุทธกาล ในพระไตรปฎก
เรียกหญิงที่ใหบริการทางเพศวา “โสภิณี” มาจากคําเต็มๆ วา “นครโสภิณี” แปลวา หญิง
งามประจําเมือง ซ่ึงเปน ตาํ แหนง ที่กษัตริยแหงแควนวชั ชี เปนผูรเิ ริม่ พระราชทานใหเ ปนคร้ัง
แรก๒๗

สวนจีนโบราณ หญิงบริการก็ไดรับการยกยองวาเปนผูเชี่ยวชาญทางเพศ จนถึง
ขนาดเปนท่ีปรึกษาในราชสํานักและสําหรับบุคคลท่ัวไปก็มีสถานบริการทางเพศท่ีรูจักกัน
โดยท่ัวไปวา โรงน้ําชา๒๘ หญิงผูไดรับตําแหนงนี้นอกจากจะมีความงามเปนเลิศแลว ยังตอง
เปนคนเฉลียวฉลาด มีความรอบรูในศาสตร เชน นาฏศิลป คีตศิลป๒๙ มีความรอบรูในการ
แตงฉันท กาพย กลอน มีศิลปะในการเอาใจชาย ตลอดจนรอบรูในคัมภีรกามสูตร ท้ัง ๖๔
ประเภท๓๐ ซึ่งเปนศิลปะในการใหบริการทางเพศโดยตรง ดวยเหตุท่ีหญิงโสเภณีน้ีเปนที่

๒๖ คารล อดอลฟ เจเลอรูป, กามนิต-วาสิฏฐี, แปลโดย เสถียรโกเศศ-นาคประทีป, พิมพ
ครัง้ ที่ ๓, (กรงุ เทพมหานคร: สํานักพมิ พศยาม, ๒๕๔๒), หนา ๑๑๖.

๒๗ วิ.ม. (ไทย) ๕/๓๒๖/๑๗๙
๒๘ [ออนไลน] . แหลง ท่มี า: http://www.baanjomyut.com [๒๘ มถิ ุนายน ๒๕๕๖].
๒๙ [ออนไลน] . แหลง ทีม่ า: http://psychics.exteen.com [๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๖].
๓๐ กามสูตร เปนคัมภีรอินเดียสมัยโบราณ วาดวยเพศศึกษา หรือพฤติกรรมทางเพศของ
มนุษย ยอมรับกันโดยท่ัวไปวาเปนผลงานมาตรฐานวาดวยความรัก ในวรรณคดีสันสกฤต เขียนโดยวาต
สยายน โดยมีชื่อเต็มวา “วาตฺสฺยายน กามสูตฺร” (คัมภีรวาดวยความรักของวาตสยายน) นอกจากนี้ยังมี
ความสําคัญในดานสังคมวิทยา และแพทยศาสตรดวย คัมภีรกามสูตรประกอบดวยโศลก ๑,๒๕๐ บท
แบง เปน ๗ อธกิ รณ (ภาค), ๑๔ ปกรณ (ตอน) และ ๓๖ อธยายะ (บท) ดังน้ี สาธารณะ (Sadharna) (๕
บท) วาดว ยความรัก การจําแนกประเภทของสตรี สัมปรโยคิกะ (Samparayogika) (๑๐บท) วาดวยการ
จูบ การเลา โลม การแสดงทา รว มรัก กนั ยาสมั ปรยกุ ตกะ (Kanya Samprayuktaka) (๕ บท) วาดวยการ
เลือกหาภรรยา การเก้ียวพาราสี และการแตงงาน ภารยาธิการิกะ (Bharyadhikarika) (๒ บท) วาดวย
การประพฤติตัวอยางเหมาะสมของภรรยา ปารทาริก (Paradika) (๖ บท) วาดวยการแอบมีชูกับภรรยา
คนอื่น หลักศีลธรรม ไวศิกะ (Vaishika) (๖ บท) วาดวยหญิงคณิกา โสเภณี เอาปนิษทิกะ
(Aupaniṣadika) (๒ บท) วา ดวยการสรา งเสนหใ หต นเอง

ศกึ ษาเฉพาะเรื่องในพัฒนาการแหง พระพุทธศาสนา ๒๓๕
Selected Topics in Development of Buddhism
พระมหามิตร ฐิตปโฺ ญ,ผศ.ดร.

ตองการท้ังในหมกู ษัตริยจากแควนตาง ๆ เจาชาย และบรรดาขุนนาง เธอจึงเปนเหตุใหเกิด
การแยงชิงสูรบกัน๓๑ ในบรรดาเจานายเหลาน้ีไดงาย ๆ เพ่ือแกปญหาดังกลาว กษัตริยของ
เมืองน้ันจึงประทานตําแหนงและแตงตั้งใหเธออยูในตําแหนงโสเภณี เพ่ือเธอจะไดไมตอง
เปน ของคนใดคนหน่ึงโดยเฉพาะ ขณะเดียวกันเธอก็เปนของทุก ๆ คนที่สามารถสูราคาของ
เธอได ราคาคาตัวของโสเภณีเหลาน้ีจะสูงมากจนคนธรรมดาไมมีสิทธ์ิ เธอจึงใหบริการ
เฉพาะเจา นายชนั้ สงู และกลมุ ขนุ นาง โสเภณีนางหน่ึงมคี าตวั กึ่งหนงึ่ ของแควน กาสี๓๒

ดังน้ัน จะเห็นไดวาในอินเดียนั้น นครโสเภณีนี้มีรากฐานมาจากการเมืองและ
เศรษฐกิจ เพื่อเปนเคร่อื งเจรจาตอรองทางการเมืองและการคาระหวางรัฐ เพ่ือใหการเจรจา
นั้นดาํ เนนิ การเสรจ็ สนิ้ เรียบรอยไปดวยดี

๗.๒.๓ โสเภณที ปี่ รากฏในคมั ภรี ท างพระพุทธศาสนาฝา ยเถรวาท
เม่ือประมาณ ๘๔๕ ป กอนคริสตกาล ก็ปรากฏวา มีพฤติกรรมของหญิง ซึ่งมี
ลักษณะเปนโสเภณีเกิดข้ึนแลว๓๓ ในฐานะเมืองมิเลตุสเปนศูนยกลางการคา และเปน
แหลงกําเนิดของความคดิ ไรพ รมแดน (Cosmopolitan Ideas) เมืองมิเลตุส จึงเปนท่ีพํานัก
ของคนหลายชาติ ณ ท่ีน้นั จึงมีทีพ่ ักแรม มธี นาคาร มโี สเภณที ํามาหากินกบั คนตา งชาติ
ในอินเดียโบราณยังหาหลักฐานชัดเจนแนนอนไมไดวา โสเภณีเกิดข้ึนเม่ือไร
ต้ังแตสมัยใด สันนิษฐานวานาจะเกิดขึ้นต้ังแตยุค ๑,๕๐๐ ปกอนพุทธกาล ยุคท่ีอารยันเขา
มารุกรานครอบงําเจาของถ่ินเดิม คือพวกดราวิเดียน (Dravidians) พวกอารยันเปนนักรบ
และชอบเสพสุขเปนพวก “เบญจมการ”๓๔ หญิงโสเภณีของอินเดียถาศึกษาจากคัมภีร
พระพุทธศาสนาจะพบวา โสเภณียามเผอเรอไปมีเพศสัมพันธกับชายถามีลูกผูหญิง เธอจะ

กามสตู รกลา วถึงทาทางการรว มเพศ ๖๔ ทา โดยเปนการรวมวิธีรวมรัก ๘ วิธี และทาเฉพาะ
ของแตละวิธี ๘ ทา รวมทั้งหมด ๖๔ ทา ในคัมภีรน้ีเรียกวา ศิลปะท้ัง ๖๔ วาตสยายนน้ัน เชื่อวา “เร่ือง
เพศน้นั ไมใชส งิ่ ผดิ แตก ารกระทาํ ที่ผิดศีลธรรมเทา นัน้ ท่ีเปนบาป”

คัมภีรกามสูตรน้ี เปนคําสอนสําหรับหญิงชายท่ีใหความรูดานเพศศึกษาอยางครบถวน และ
ละเอยี ด อยา งนา พิศวง นอกจากน้ยี ังกลา วถึงศลี ธรรมและการปฏิบตั ทิ างเพศในอนิ เดยี สมัยน้ันดว ย.
http://th.wikipedia.org/wiki/กามสตู ร. [๒๘ มถิ นุ ายน ๒๕๕๖].

๓๑ ข.ุ ธ. (ไทย) ๒๕/๒๑๔/๙๙
๓๒ [ออนไลน]. แหลงท่ีมา: http://guru.sanook.com/answer/question/อาชีพที่เกาแก
ท่ีสดุ ในโลก. [๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๖].
๓๓ Zeller Edward, Outlines of History of Creek Philosophy, (The World
Publishing Company Cleveland 1955).
๓๔ มาตยะ, มางสะ, มนตระ, มทริ ะ, ไมถนุ

๒๓๖ บทที่ ๗ พระพุทธศาสนากับโสเภณี
Buddhism and Prostitution
พระมหามติ ร ฐิตปฺโญ,ผศ.ดร.

เลี้ยงไวสืบสกุล แตถามีลูกเปนชาย เธอจะนําไปทิ้ง หรือนําไปใหคนอื่นเล้ียงแทน ตัวอยาง
กรณหี มอชวี ก

หมอชีวก ช่ือเต็มวา “ชีวกโกมารภัจจ” เปนแพทยผูเชี่ยวชาญในการรักษาและ
การผาตัดสมอง ปกติเปนแพทยประจําพระองคของพระเจาพิมพิสารและพระเจาพิมพิสาร
ไดโปรดใหเปนแพทยประจําพระองคของพระพุทธเจา หมอชีวกเปนบุตรของนางคณิกา
(โสเภณ)ี ช่ือ สาลวดี แตไมรูจักมารดาของตนเพราะเม่ือนางสาลวดีมีครรภ เกรงวาคาตัวจะ
ตก จึงเก็บตัวอยู ครั้นคลอดแลวก็ใหคนรับใชนําไปท้ิงกองขยะ เจาชายอภัย โอรสองคหน่ึง
ของพระเจาพิมพสิ ารเสด็จมาพบเขา ขณะฝูงการมุ ลอมอยู จึงเก็บเอาไปใหนางนมเล้ียงไวใน
วังจนเจริญเติบโต และไดเขาศึกษาวิชาการแพทยอยู ๗ ป จบแลวมีความเชี่ยวชาญหลาย
ดาน เปนคนแรกท่ีผาตัดสมอง (เน้ืองอก) ของเศรษฐีเมืองราชคฤห ผาตัดเนื้องอกในลําไส
ของบตุ รเศรษฐีเมืองพาราณสี เปนตน

โสเภณีของอินเดียโบราณ ตองเปนคนงาม หรือนางงามระดับทองถ่ินหรือ
ระดับชาติตองเปนบุคคลสาธารณะ ไมมีความผูกพันกับชายใดเปนการถาวร ที่สําคัญตองมี
ความรูทางศาสตร และศิลปะ เรียกวา “Art of Prostitudes” ในการบริการลูกคา ศิลปะ
ประกอบดว ย ศิลปะการยวั่ ยวน การพูดประโลม การสวมกอด การปลุกเรา การจุมพิต การ
นวดเฟน การฉอเลาะ การแสดงอารมณรวม เชน การครวญคราง การรองไห และรูศาสตร
คือ จติ วทิ ยาชนชนั้

โสเภณีสมัยกอนก็มี “เกรด” โดยมีที่มาและคาตัวของนางเปนเคร่ืองกําหนดต้ังแต
แพงสดุ ๆ ถงึ ถกู -สดุ ๆ อยางนีเ้ ชน

๑. หญิงนครโสเภณี
หญิงนครโสเภณี ถือวาเปนโสเภณีช้ันสูง ใชสําหรับตอนรับแขกบานแขกเมืองที่มี
อํานาจ และเงินหนา เพราะคาตัวของเหลาเธอ ตองเรียกวา “โคตรแพง” คือเริ่มตนท่ี
๑,๐๐๐ กหาปนะ/คืน กระท่ังถึงหลักหมื่นและหลักแสน ที่แพงเพราะหญิงนครโสเภณี น้ัน
เปนตําแหนงที่ตองอาศัยการประกวดคัดเลือกกันอยางเอิกเกริก ไมแพเวทีประกวดนางงาม
ในปจจุบัน เกณฑท่ีใชคัดเลือกอันดับแรกก็คือ “ตองสวย” เพราะคําวา โสเภณี ตามศัพท
แปลวา "นางงาม" ซึ่งยืนยันหลักเกณฑขอแรกไดเปนอยางดี ประการตอมาคือ “ตองมี
ศิลปะ” อยางนอยก็ตองดีดสีตีเปา ขับรองประโคมดนตรีเปน ถาผูจะเปนโสเภณีไมสามารถ
เลนของสองส่ิงนี้ได หญิงน้ันถึงจะสวยแคไหนก็ไมมีสิทธิ์เปนโสเภณีได ดวยเหตุน้ีหญิงนคร
โสเภณีจึงเปนสีสันของบานของเมือง มิใชใคร ๆ ก็สามารถเปนได เหตุน้ีพระเจาพิมพิสาร
เม่ือคร้ังมีโอกาสเสด็จเมืองเวสาลี ไดทรงเห็นสีสันของหญิงนครโสเภณีเขาก็ทรงรูสึก

ศกึ ษาเฉพาะเรอื่ งในพัฒนาการแหงพระพุทธศาสนา ๒๓๗
Selected Topics in Development of Buddhism
พระมหามติ ร ฐิตปโฺ ญ,ผศ.ดร.

ประทับใจ หลังจากเสด็จกลับเมืองราชคฤหแลว ก็ไดเอาแนวคิดดังกลาวมาจัดต้ังในเมือง
หลวงของพระองคด วย

๒. หญิงคณิกา
หญิงคณิกา หญิงคณิกา ถือวาเปนโสเภณีช้ันรองลงมา คาตัวก็อาจจะลดลง
คาตัวโดยประมาณก็อยูที่ ๕๐ กหาปนะ/คืน ที่มาของคณิกาก็มาสายเดียวกับหญิงนคร
โสเภณีหญิงเหลานี้ชื่นมื่นกับท่ียืนในระดับสูงของสังคม หญิงคณิกาจะไมมีวันไดแตงงาน
และไมมีวันเปนแมมาย พวกเธอจึงรอดพนจากตราบาปของสังคมในความเปนแมมาย
เพราะแมมายของชาวฮินดูนั้นถูกพิจารณาวาเปนกาลกิณี และถูกหามมิใหปรากฏตัวตอ
สาธารณะ ในขณะเดียวกัน หญิงคณิกาไดรับเกียรติใหรับใชในราชสํานัก และมีเพลงกับบท
กวีที่เขียนข้ึนเพื่อสรรเสริญความงาม และทักษะของพวกเธอ ในขณะท่ีพวกเธอรับใชชน
ช้ันสูงของสังคมนั้น พวกเธอก็ไดรับการคุมครองโดยกฎหมายของรัฐ นอกจากน้ีพวกเธอยัง
เปน สมบตั ิของรฐั ดวย และจะถกู เฆยี่ นหรือปรบั ถา ปฏิเสธลูกคา ท่ีเปนชนชน้ั สงู คนใดคนหนงึ่
๓. หญิงแพศยา
หญงิ แพศยา กลุม นี้มีทที่ าํ มาหากินตามตรอกซอกซอย สามารถ “หิ้ว” ไปไหนตอ
ไหนไดตามความพอใจของลูกคา แตตอ งระวงั ตัวใหด ี เพราะบางครั้งคุณเธอก็เลนลอกคราบ
ลูกคาไดเหมือนกัน อยางกรณีภัททวัคคียกุมาร๓๕ สหายจํานวน ๓๐ คน พรอมดวยปชา
บดีบําเรอกันอยู ณ ไพรสณฑแหงนั้น ในจํานวนนั้นสหายคนหนึ่งไมมีประชาบดี เพ่ือนๆจึง
ไดนําหญิงแพศยามาเพื่อประโยชนแกเขา ตอมาหญิงแพศยาน้ัน เมื่อพวกสหายน้ันเผลอตัว
มัวบําเรอกันอยู ไดขโมยเครื่องประดับอันมีคาไปหลายรายการหนีไปจนทําใหมีเรื่องตอง
ตามลาตวั หญิงแพศยา แตค า ตัววา มีจาํ นวนเทาใดไมชัดเจน แตก็คิดวา ไมนาจะแพงมากนัก
เม่อื เทยี บกบั หญงิ นครโสเภณี และหญิงคณกิ า
ในคัมภีรอรรถกถาธรรมบท๓๖ กลาวถึงหญิงแพศยา (วสิยา) รับจางโยม บิดา
มารดา ของพระสุนทรสมุทรกุมาร เพ่ือไปลอใหพระสุนทรสมุทรสึก หลอนไดแสดงมารยา
หญงิ ครบ ๓๐ ประการ เชน
ทาํ กิริยาชมดชมอ ย เอ้ียวตัว บดิ ตัว
ดดี เล็บดว ยเล็บ เอาเทา เขี่ยฟน
เอาไมเขีย่ ดิน ยกเด็กขน้ึ ยกเด็กลง
เลนเอง ใหเด็กเลน จูบเอง ใหเดก็ จูบ
กนิ เอง ใหเ ด็กกนิ ทําตามเด็ก

๓๕ วิ.มหา. (ไทย) ๔/๓๖/๔๕.
๓๖ ธมมฺ ปทฉฐกถา. (ไทย) ๘/๑๕๖.

๒๓๘ บทท่ี ๗ พระพุทธศาสนากบั โสเภณี
Buddhism and Prostitution
พระมหามติ ร ฐิตปโฺ ญ,ผศ.ดร.

ใหของเดก็ ขอของเดก็
พดู เสียงสูง เสยี งตํา่ พูดเสียงดัง เสียงคอย
ฟอ นราํ ขบั รอง
แอบมอง ยักคิ้ว
ทําของลับใหไ หว เปดอก ปดอก
แสดงนม โชวร ักแร
โชวสะดอื ขยบิ ตา
เลียริมฝปาก แลบลิน้
เปลอ้ื งผานงุ นุงผา
เกลา ผม สยายผม
คมั ภีรพ ระไตรปฎก ชั้นคัมภีรอรรถกถา และ ปกรณวิเศษ เชน วิสุทธิมรรค มีคําใช
เรยี กโสเภณี ๖ คํา คือ
๑. คณกิ า = แปลวา หญิงของคณะหรอื หญงิ หากนิ เปนกลุม, นกั คาํ นวณ
๒. เวสิยา = แปลวา หญงิ แพศยา หญงิ หากนิ ดว ยอาศยั เคร่ืองเพศ
๓. เวสี = แปลวา หญงิ อาศยั เพศดาํ รงชีพ
๔. นครโสเภณี = แปลวา หญงิ งามเมอื ง
๕. รปู ปู ชวี นิ ี = แปลวา หญงิ ดาํ รงชีวิตดวยอาศัยรปู
๖. วรรณทาสี = หญิงมีรูปเปนเคร่ืองบริการหรือหญิงบริการทางเพศ
(วรรณะ= เพศ ทาสี=หญงิ บรกิ าร)
นอกจากน้ันยังมีเนื้อหาในคัมภีรพระพุทธศาสนาฝายเถรวาท ไดกลาวถึงหญิงผู
ประกอบอาชีพโสเภณี เปนคําที่สื่อนัยถึงการยกยองในรูปรางหนาตา (โสเภณี) และ
ลักษณะของการประกอบอาชีพ (คณิกา) ในพระไตรปฎกและอรรถกถามีเร่ืองราวของ
โสเภณีหลายคนท่ีไดบรรลุธรรมเปนพระอริยบุคคล และไดทําคุณประโยชนแกพุทธศาสนา
มากมาย เชน
๑. นางอัมพปาลี
เกิดใตตนมะมวงในอุทยานของพระราชาในเมืองไพศาลี ไดรับการเลี้ยงดูจาก
ผูดูแลสวนมะมวง จึงไดมีชื่อวา “อัมพปาลี” ๓๗ แปลวา ผูดูแลสวนมะมวง เมื่อเติบโตขึ้น
เปนผูที่มีรูปรางหนาตาดี และมีความสามารถในดานดนตรีและนาฏศิลป จึงไดหันไปเอาดี
ในการประกอบอาชีพโสเภณี ครั้งหนึ่ง เธอทราบวาพระพุทธเจาไดเสด็จไปยังโกฏิคาม จึง
ตองการไปเฝาเพ่ือฟงธรรม หลังจากไดเฝาและฟงธรรมแลว เกิดความเล่ือมใสจึงไดนิมนต

๓๗ วิ.ม. (ไทย) ๕/๓๒๖/๓๗๔

ศกึ ษาเฉพาะเร่อื งในพฒั นาการแหงพระพุทธศาสนา ๒๓๙
Selected Topics in Development of Buddhism
พระมหามิตร ฐิตปโฺ ญ,ผศ.ดร.

พระพทุ ธเจาพรอมทั้งภิกษุสงฆไปฉันภัตตาหาร ตอมาเจาลิจฉวีไดเขามานิมนตพระพุทธเจา
เชนเดียวกัน แตพระองคไมทรงรับเพราะไดรับนิมนตจากนางอัมพปาลีไวแลว ตรงนี้แสดง
ใหเห็นวาพระพุทธเจาทรงใหความเสมอภาคแกคนทุกชนชั้นและสาขาอาชีพมิไดเลือกวาผู
นิมนตจ ะเปนคนชั้นใดและมิไดดูถูกบุคคลผูนั้นประกอบอาชีพโสเภณี ตอมาเธอไดบวชเปน
ภิกษุณีและไดเปนพระอรหันตในที่สุด หลังจาดนั้นก็ถวายสวนมะมวงใหเปนวัดใน
พระพุทธศาสนา ช่ือวา “อมั พปาลวี ัน”

๒. นางสาลวดี
หญิงโสเภณีในกรุงราชคฤหมีความสามารถในดานดนตรีและนาฏศิลปอยางยอด
เย่ียมคนหนึ่งท้ังรูปรางหนาตาก็สวยงาม จนเปนท่ีหมายปองของคนจํานวนมาก ดวยการ
ใหบริหารจนลืมปองกันหรือมีความต้ังใจก็ตามเธอต้ังครรภ๓๘ คิดวาหญิงท่ีมีครรภยอมไม
เปน ทต่ี องการของบุรุษ ในระหวางที่ต้ังครรภเธอจึงแกลงทําเปนปวย โดยส่ังใหคนเฝาประตู
บอกแกแ ขกวา เธอปว ยไมสามารถรับแขกได เม่ือคลอดบุตรแลวปรากฏวาไดคลอดลูกชาย
จึงไดใหนางทาสีนําบุตรไปทิ้งที่กองขยะ ตอมาอภัยราชกุมารไดเสด็จไปพบเด็กคนนี้เขา จึง
ทรงนํามาเลี้ยงไว เมื่อเด็กคนนี้เติบโตข้ึนไดเดินทางไปเรียนวิชาแพทยท่ีเมืองตักกศิลา จน
กลายมาเปนหมอผูมีชื่อเสียง ช่ือวา “หมอชีวกโกมารภัจจ” ผูซึ่งทําหนาที่ถวายการดูดาน
สขุ ภาพของพระพุทธเจาและคณะสงฆในเวลาตอ มา
๓. นางสริ มิ า
ลกู สาวของสาลวดี เปนนองสาวของหมอชีวกโกมารภจั จ เธอมีความงามเปนเลิศ
เชนเดียวกับมารดาของเธอ ไดประกอบอาชีพโสเภณีเชนเดียวกับมารดาของเธอ ใน
ภายหลังเธอไดฟงธรรมจนบรรลุโสดาบัน จึงไดถวายภัตตาหารแกพระสงฆวันละ ๘ รูปเปน
ประจํา๓๙ วันหน่ึงเธอไมสบายจึงส่ังใหนางทาสีเตรียมอาหารถวายพระสงฆแทน แมจะไม
สบายแตเธอก็มีใจออกมาไหวพระสงฆ กระน้ันก็มีพระรูปหนึ่งเห็นเธอแลวคิดวา แมเธอจะ
ไมสบายก็ยังงามถึงเพียงนี้ หากสบายดีคงจะงามย่ิงกวาน้ี กลับไปแลวก็ยังคร่ําครวญถึงเธอ
อกี ในวนั นน้ั เองนางสิริมาไดเ สยี ชีวิตลง พระพุทธเจา ทรงขอใหเก็บศพของเธอไว ในวันที่ ๔
ไดเสด็จไปพรอมกับภิกษุสงฆรวมทั้งพระรูปน้ันดวย ทรงใหมีการประมูลราคาศพของเธอ
ตั้งแต ๑,๐๐๐ กหาปณะลงไป ลดราคาลงไปจนถึงใหแบบเปลา ๆ แตก็ไมมีใครตองการ

๓๘ ว.ิ ม. (ไทย) ๕/๓๒๗/ ๓๗๔
๓๙ ข.ุ ธ. (ไทย) ๒๕/๑๔๗/๗๘๔ “จงดอู ัตภาพท่ีตกแตง อยา งสวยงาม
แตม ีกายเปนแผล มีกระดูกเปนโครงราง
อนั กระสบั กระสา ย ท่มี หาชนดาํ ริหวงั กนั มาก
ซง่ึ ไมมคี วามยงั่ ยืนต้ังมนั่ ”

๒๔๐ บทท่ี ๗ พระพทุ ธศาสนากับโสเภณี
Buddhism and Prostitution
พระมหามิตร ฐิตปโฺ ญ,ผศ.ดร.

พระองคจึงใชศพของนางเปนสื่อสําหรับสอนถึงความไมย่ังยืนของชีวิต จนเปนเหตุใหมีผู
บรรลธุ รรมเปนจํานวนมาก รวมถึงพระภกิ ษรุ ปู นนั้ ก็ไดบ รรลุโสดาบนั ดว ย

๔. นางอฑั ฒกาสี
ลูกสาวเศรษฐีชาวเมืองพาราณสี แควนกาสี ไดเปนโสเภณีเพราะวิบากกรรมใน
อดีตชาติ ตอมาเกิดเบื่อหนายในชีวิตฆราวาส๔๐ ตองการบวชจึงเดินทางไปยังเมืองสาวัตถี
ระหวางทางนน้ั มพี วกนักเลงซุมอยู จึงไมสามารถเดินทางไปถึงเมืองสาวัตถีได พระพุทธองค
ทรงทราบขาว จึงทรงอนุญาตใหบวชโดยการสงทูตไปเปนตัวแทน เรียกการบวชแบบนี้วา
“ทูเตนอุปสัมปทา” เธอเปนภิกษุณีเพียงรูปเดียวท่ีบวชดวยวิธีน้ี เมื่อเธอไดบวชเปนภิกษุณี
แลว ปฏิบัตธิ รรมไมน านกไ็ ดบ รรลเุ ปนพระอรหันตในท่ีสดุ
๕. นางปทมุ าวดี
โสเภณีเมืองอุชเชนี พระเจาพิมพิสารกษัตริยแหงกรุงราชคฤหทรงทราบ
กิตติศัพทจึงเสด็จไปเสวยสุขกับเธอ ตอมาเธอก็ตั้งครรภ พระเจาพิมพิสารจึงรับสั่งวา หาก
เด็กในทองเปนผูชาย เม่ือโตข้ึนใหนําไปเฝาท่ีกรุงราชคฤห เธอคลอดลูกเปนชาย ไดตั้งช่ือวา
“อภัย” ๔๑ และไดสงไปเฝาพระเจาพิมพิสารในเวลาตอมา พระองคทรงเลี้ยงเด็กคนนี้
เชนเดียวกับพระโอรสองคอ่ืน ๆ ตอมาอภัยไดอุปสมบทเปนพระภิกษุในพุทธศาสนา มี
โอกาสไดเทศนโปรดมารดา คือ นางปทุมาวดี มารดาไดฟงแลวมีศรัทธาอยางแรงกลา จึงได
ออกบวชเปน ภกิ ษุณแี ละสาํ เรจ็ เปน พระอรหนั ตใ นเวลาตอ มา
๖. นางวิมาลา
เมืองไพศาลีมีหญิงงานช่ือนางวิมาลา มารดาเปนนางโสเภณี เม่ือโตเปนสาว วัน
หน่ึงไดเห็นพระโมคคัลลานะเดินบิณฑบาตอยู ไดเกิดหลงรักพระโมคคัลลานะ จึงเดินตาม
ไปจนถึงกุฏิแลวพยายามหาเร่ืองสนทนาดวยเพื่อยั่วยวนทาน๔๒ แตทานเปนพระอรหันตจึง
ไมหว่ันไหวและทราบเจตนาของเธอ จึงเตือนเธอจนเธอไดสติ เธอรูสึกอับอายกับพฤติกรรม
ท่ีแสดงออกมา จึงเลิกประกอบอาชีพโสเภณีตั้งแตน้ันมา ตอมาไดออกบวชเปนภิกษุณีและ
ไดบรรลุอรหัตผล อยางไรก็ตาม มีโสเภณีอีกจํานวนหนึ่งที่ปรากฏในคัมภีรทาง
พระพุทธศาสนาวาเปนผูท่ีมีพฤติกรรมท่ีไมดี หรือเปนผูมีสวนใหเกิดเหตุการณท่ีไมดี

๔๐ วิ.จ.ู (ไทย) ๗/๔๓๐/ ๔๒๐., ,ข.ุ อป. (ไทย) ๓๒/๑๗๔ ๕๔๓
๔๑ อภยมาตุเถร.ี ข.ุ เถรี. (ไทย) ๒๖/๓๓-๓๔/๓๓., ขุ.เถร.ี อ. (ไทย) ๕๔/๔๒๗/๖๕-๖๘
๔๒ ขุ.เถรี. (ไทย) ๒๖/ ๖๔๐/๗๒: พระวิมลาเถรีผูเคยเปนหญิงคณิกา (ไดกลาวภาษิตเหลานี้
วา) “เรามัวเมาดวยผิวพรรณ รูปสมบัติ ความสวยงาม บริวารยศ และเปนผูมีจิตกระดางอยางย่ิง ดวย
ความเปนสาว ดหู มิ่นหญิงอน่ื ”


Click to View FlipBook Version