The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ศึกษาเฉพาะเรื่องในพัฒนาการแห่งพระพุทธศาสนา

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

ศึกษาเฉพาะเรื่องในพัฒนาการแห่งพระพุทธศาสนา

ศึกษาเฉพาะเรื่องในพัฒนาการแห่งพระพุทธศาสนา

ศึกษาเฉพาะเรือ่ งในพฒั นาการแหง พระพทุ ธศาสนา ๙๑
Selected Topics in Development of Buddhism
พระมหามิตร ฐติ ปฺโญ,ผศ.ดร.

ขอมูลความรูตอขยายออกไปพรอมทั้งผูศึกษาคนควาเอาจริงเอาจัง โดยเฉพาะผูรูบาลี เม่ือ
ตองการความชัดเจนแจมแจงมากกวาคําแปลที่อาจจะยังไมเปนท่ีพอใจ จะไดไปดูของตน
เดมิ ทจ่ี ะพจิ ารณาใหไ ดค วามกระจาง ตลอดจนตรวจสอบคาํ แปลนั้น ที่อาจผิดพลาด หรือไม
เพียงพอ อยางนอยจะไดชวยเปนหูเปนตา ในการแกไขปรับปรุงพระไตรปฎกฉบับ
แปลภาษาไทยน้นั ในระยะยาวตอไปดงั ในกรณีศกึ ษาดังนี้๔๒

กรณีศีล ๑๕๐ ขอ ท่ีเปนปญหาในการตีความในสังคมปจจุบัน ซึ่งมาในพระสูตร
พระองคต รัสไวในอังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาตรตอนหนงึ่ วา สมัยหนึ่ง พระผูมีพระภาค
ประทบั อยู ณ กูฏาคารศาลาปามหาวนั ใกลเ มืองเวสาลี คร้งั นนั้ ภกิ ษุวัชชบี ุตรรปู หน่ึงเขาไป
เฝาพระผมู พี ระภาคถึงทีป่ ระทบั ถวายบังคมพระผูม พี ระภาคแลว นั่ง ณ ท่ีควรสวนขางหนึ่ง
คร้ันแลว ทูลวา ขาแตพระองคผูเจริญ สิกขาบท ๑๕๐ ถวนน้ี ยอมมาสูอุเทศทุกก่ึงเดือน ขา
พระองคไมสามารถท่ีจะศึกษาในสิกขาบทน้ี พระเจาขา พระผูมีพระภาคตรัสถามวา ดูกร
ภิกษุ ก็ทานสามารถจะศึกษาในสิกขา ๓ คือ อธิศีลสิกขา ๑ อธิจิตตสิกขา ๑ อธิปญญา
สิกขา ๑ หรือ ฯ

ขาแตพ ระองคผเู จริญ ขา พระองคส ามารถจะศกึ ษาไดในสิกขา ๓ คือ อธิศีลสิกขา
๑ อธจิ ิตตสกิ ขา ๑ อธิปญญาสกิ ขา ๑ พระเจาขา ฯ

ดูกรภิกษุ เพราะฉะนั้นแล ทานจงศึกษาในสิกขา ๓ คือ อธิศีลสิกขา ๑ อธิจิตตสิก
ขา ๑ อธิปญญาสิกขา ๑ เม่ือใดทานจักศึกษาอธิศีลสิกขาก็ดี จักศึกษาอธิจิตตสิกขาก็ดี จัก
ศึกษาอธิปญญาสิกขาก็ดี เม่ือน้ัน ทานศึกษาอธิศีลสิกขาอยูก็ดี ศึกษาอธิจิตตสิกขาอยูก็ดี
ศึกษาอธิปญญาสิกขาอยูก็ดี จักละราคะ โทสะ โมหะ เสียได เพราะละราคะ โทสะ โมหะ เสีย
ไดทานนั้นจักไมกระทํากรรมเปนอกุศล จักไมเสพกรรมที่เปนบาป คร้ันสมัยตอมาภิกษุนั้น
ศกึ ษาแลวทง้ั อธิศลี สิกขา ทั้งอธจิ ติ ตสิกขา ท้ังอธิปญญาสิกขา เม่ือภิกษุนั้นศึกษาอธิศีลสิกขาก็
ดี ศึกษาอธิจิตตสิกขาก็ดี ศึกษาอธิปญญาสิกขาก็ดี ละราคะโทสะ โมหะ ไดแลว เพราะละ
ราคะ โทสะ โมหะ เสียได เธอมิไดท าํ กรรมทเ่ี ปนอกุศล มิไดเสพกรรมท่ีเปนบาป ฯ๔๓

“สมัยหน่งึ พระผมู พี ระภาคประทับอยู ณ กูฏาคารศาลา ปามหาวัน ใกลเมืองเว

สาลี ครั้งนั้นแล ภิกษุวัชชีบุตรรูปหนึ่งเขาไปเฝาพระผูมีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคม
พระผูมีพระภาคแลว น่ัง ณ ท่ีควรสวนขางหนึ่ง คร้ันแลวทูลวา ขาแตพระองคผูเจริญ

๔๒ พระพรหมคณุ าภรณ (ประยตุ ปยุตฺโต), รจู กั พระไตรปฎ กใหชัด ใหตรง, (กรุงเทพมหานคร:
ธรรมทาน, ๒๕๕๘), หนา ๓.

๔๓ องฺ.อ. (ไทย) ๒๐/๕๒๔/๒๖๑

๙๒ บทที่ ๓ ขอ ถกเถยี งและการตคี วามศลี ในพระพทุ ธศาสนา

พระมหามิตร ฐติ ปฺโญ,ผศ.ดร. Controversy and Interpretation of the Precepts in Buddhism

สิกขาบท ๑๕๐ ถวนน้ี ยอมมาสูอุเทศ ทุกกึ่งเดือนขาพระองคไมสามารถท่ีจะศึกษาใน
สกิ ขาบทน้ี พระเจา ขา………”๔๔

สมัยหน่ึง พระผูมีพระภาคประทับอยู ณ กูฏาคารศาลา ปามหาวัน เขตกรุงเวสาลี
ครัง้ นั้น ภิกษุวชั ชบี ตุ รรูปหนงึ่ เขา ไปเฝา พระผูมพี ระภาคถงึ ที่ประทบั ถวายอภิวาทแลวนั่ง ณ
ที่สมควร ไดกราบทูลพระผูมีพระภาคดังน้ีวา ขาแตพระองคผูเจริญ สิกขาบท ๑๕๐ ถวนนี้
มาถึงวาระท่ีจะยกข้ึนแสดงเปน ขอ ๆ ตามลําดับทุกก่ึงเดือน ขาพระองคไมสามารถศึกษาใน
สิกขาบทน้ีได”๔๕

สมัยหน่ึง พระผูมีพระภาคเจา ประทับ ณ กูฏาคาร-ศาลา ในปามหาวัน ใกล
กรุงเวสาลี ครง้ั น้นั ภกิ ษุวัชชีบุตรรูปหน่ึงเขาไปเฝา ฯลฯ กราบทูลวา ขาแตพระองคผูเจริญ
สิกขาบทท่ีสําคัญ ๑๕๐ นี้ ยอมมาสูอุทเทส (คือสวดในทามกลางสงฆ) ทุกกึ่งเดือน
ขาพระพุทธเจาไมอ าจศึกษา (คอื ปฏบิ ตั ริ กั ษา) ในสกิ ขาบทมากน้ีไดพระเจา ขา ๔๖

ประเด็นมีอยูวาสิกขาบท ๑๕๐ ขอ ท่ีมาในสูอุเทศท่ีนี้เองท่ีกําลังเปนขอถกเถียง
กันในสังคมสงฆอยูปจจุบัน โดยพระอธิการคึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล ไดยึดม่ันในความเห็น ดวย
การยกพระสูตรแปลไทย คือวัชชีปุตตสูตร และ เสขสูตรท่ี ๒ ที่แสดงคําวา สิกขาบท ๑๕๐
ถว น มาเปนขอ อา งองิ โดยกลา ววา ฉบบั แปลไทย จากฉบบั สยามรัฐน้ีเปนที่ยอมรับของมหา
เถรสมาคม โดยปฏเิ สธ การสวดปาฏโิ มกข ๒๒๗ ขอ และมักกลาวในทํานองวา “เลข ๒๒๗
ไมม ใี นพทุ ธวจนะ” ดงั ที่แสดงในบนั ทึกวดี ีโอการบรรยายธรรมตาง ๆ ของวัดนาปาพง๔๗ ซ่ึง
ความจริงแลว สิกขาบทปาฏิโมกข ๒๒๗ ขอน้ัน ไดแสดงไวเปนลําดับอยางละเอียดชัดเจน
ใน พระวินัยปฎก ๒ เลมแรก (มหาวิภังค) อยางดีแลว การสวดปาฏิโมกข ๒๒๗ ขอน้ัน
เปนพุทธวัจนะทุกขอทั้งน้ัน และมีตนบัญญัติในมหาวิภังคทุกขอ และเปนสังฆกรรมของ
คณะสงฆฝ า ยเถรวาทท่สี บื ทอดกันมาชา นานแลว และการสวดปาฏิโมกข ๒๒๗ ขอน้ัน เปน
สังฆกรรมท่ีคณะสงฆฝายเถรวาททั่วโลกมีความเห็นโดยพรอมเพรียงกัน ดวยความสามัคคี
รวมทงั้ ถูกการตรวจสอบมตสิ งฆก ารสังคยานาโดยความชอบแลวหลายครั้งและเปนปฏิปทา
ของครูบาอาจารยผูเคารพรักธรรมวินัยมาต้ังแตโบราณการแลว และเปนอริยประเพณีจาก
สมัยพระพุทธกาลจนถึงปจจุบัน ในความจริงแลว ถาจะยืนยันการปริยัติ จะตองมีการ
พิจารณาศึกษาอยางละเอียดถ่ีถวน พรอมท้ังมีการปรึกษากับนักปราชญผูที่มีความรูและ

๔๔ พระไตรปฎกภาษาไทย ฉบับหลวง ขอ ๕๒๔.
๔๕ จาก พระไตรปฎกภาษาไทย ฉบับมหาจฬุ าฯ [๘๕].
๔๖ จาก พระไตรปฎกภาษาไทย ฉบับมหามกฏุ ฯ [๕๒๔].
๔๗ มูลนิธิศึกษาและเผยแพรพระพุทธศาสนา. [ออนไลน]. แหลงที่มา: http://www.
dhammahome.com/webboard/topic/26083. [๒๗ สงิ หาคม ๒๕๖๐].

ศึกษาเฉพาะเรอ่ื งในพัฒนาการแหงพระพุทธศาสนา ๙๓
Selected Topics in Development of Buddhism
พระมหามติ ร ฐติ ปโฺ ญ,ผศ.ดร.

เชี่ยวชาญท้ังหลาย อยางกวางขวาง ในพระบาลีไตรปฎกกอนจะดําเนินการไปตามความ
คิดเห็นของทานเอง ท้ังน้ีควรจะไดมีการเปรียบเทียบคําแปลกับพระไตรปฎก ฉบับอื่นๆ ท่ี
พิมพในประเทศไทยและตางประเทศ ที่ถือหลักพระไตรปฎกภาษาบาลีดวยเพราะวาการ
สวดปาฎโิ มกข ๒๒๗ ขอนนั้ เปนพุทธวจั นะทุกขอและเปนที่ไดรับการสังคายนายอมรับเปน
หลักสากลทั่วโลก ของฝายเถรวาท อาทิ ประเทศศรีลังกาและ พมา เปนตน ที่ไดถือปฏิบัติ
กนั มานานแลว

ในกรณีนี้ พระพุทธโฆสาจารย (ป.อ.ปยุตโต) ไดใหคํายามในการพิจารณาวา จุด
พิจารณา หรือคําท่ีเปนปญหาทานทานไดยกขึ้น คือ “สาธิกํ” ที่ไดอธิบายใหเห็นวาการวาง
คําแปลโดยทําการวางคํา.......... ไว ตรงน้ี หรือคําบาลีน้ี พระไตรปฎกฉบับภาษาไทย (คือ
ฉบับที่แปลเปนภาษาไทย) ซ่ึงปจจุบันมีประมาณ ๔ ฉบับ/ชุด แปลเหมือนกันบาง ตางกัน
บาง พระไตรปฎกฉบับภาษาไทย ท่ีครบชุด และเกาที่สุด คือ ฉบับที่กรมการศาสนารักษา
สบื มา เรมิ่ จากทรี่ ฐั บาลไดอ ุปถัมภคณะสงฆจัดพิมพข้ึนเปนพระไตรปฎกภาษาไทย อนุสรณ
งานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ (พ.ศ.๒๕๐๐) ถือวาเปนฉบับหลวง หรือเปนทางการ แตจะ
เรียกวาอยางไร ก็ไมเปนฉบับสยามรัฐ พระไตรปฎกภาษาไทย ที่สืบมาแต พ.ศ.๒๕๐๐ (คํา
แปลสะสมกันมานาน) ชุดดังกลาวน้ัน แปลบาลีอันเปนพุทธพจนตรงน้ีวา “สิกขาบท ๑๕๐
ถว นนี้”

สวนพระไตรปฎกภาษาไทย
ฉบับอื่นๆ ซึ่งเกิดตามมา
ภายหลังและตามปกติ มัก
แ ป ล ต า ม พ ร ะ ไ ต ร ป ฎ ก
ภาษาไทยฉบับหลวงน้ัน ใน
กรณีน้ีบางฉบับก็แปลเหมือน
ฉ บั บ ห ล ว ง แ ต บ า ง ฉ บั บ
แปลวา “สิกขาบท ที่สําคัญ
๑๕๐ นี้” บางฉบับน้ัน ในท่ีท่ี
นําบาลีพทุ ธวจนะนีไ้ ปอา งอีกแหงหนึ่งแปลวา “๑๕๐ สกิ ขาบท ทีส่ าํ เร็จประโยชน นี”้

๙๔ บทที่ ๓ ขอ ถกเถยี งและการตคี วามศลี ในพระพุทธศาสนา

พระมหามิตร ฐติ ปโฺ ญ,ผศ.ดร. Controversy and Interpretation of the Precepts in Buddhism

คําวา “สาธิกํ” น้ี เปนคําบาลีในภาษาสามัญคําหนึ่งโดยท่ัวไป ในคัมภีรท้ังหลาย
จงึ ไมค อ ยอธบิ าย แตก ็จะเห็นวา คํา “สาธิกํ” น้ีมีความหมายตรงกับ เทากับ หรือในจําพวก
เดียวกับ “สาตเิ รก” (มสี ว นเกิน) “ปโร” (กวา) “อุตฺตรึ” (เพิ่มขึ้นไป) บางทีมาดวยกันดังเปน
ชุด บางทีก็ใชอ ธบิ ายกัน๔๘

“สาธกิ ํ” คือ “สห+อธกิ ” แปลวา พรอมดวยสวนที่เกิน มีขอที่มากขึ้นไป หรือมีเศษ
บาลีพุทธวจนะตรงนี้จึงแปลวา “สิกขาบท ๑๕๐ กับท้ังท่ีเกินออกไป น้ี” หรือแปลส้ันๆ วา
“สิกขาบท ๑๕๐ มีเศษ นี้” อรรถกถาถึงจะไมอธิบายศัพท “สาธิกํ” ก็อธิบายความตอไปวา๔๙
“ท่ีตรัสไวดังนี้ ทรงหมายถึงสิกขาบทท่ีไดทรงบัญญัติแลว ในเวลา (ที่พระวัชชีบุตรทูลถาม)
นั้น” แลวฎีกายังบอกตอไปอีกวา พุทธพจนน้ี ตรัสตามจํานวนสิกขาบทท่ีไดทรงบัญญัติแลว
ในเวลาท่ีทรงแสดงพระสตู รนั้น แตห ลังจากนนั้ มีสิกขาบท ๒๐๐ มเี ศษ สาธิกานิ ทฺเวสตานิ๕๐

ทานยังไดอธิบายศัพทท่ีปรากฏในอรรถกถาฎีกา วามีตัวคําศัพทในบาลีพุทธ
วจนะน้ันชัดเจนอยูแลว ทานยังใหแงคิดวาบางที่พระไตรปฎกภาษาไทยแปลบาลีพุทธพจน
ตรงน้ีพลาด หรือพลง้ั เผลอไป เรอื่ งความผิดพลาดอยางนี้ ไมค วรจะดวนตเิ ตียนทาน ในกรณี
น้ที านไดอ ธิบายเพิ่มเติม มีขอสังเกตไวทีหนึ่งกอน ที่วา “สาธิกํ” เปนคําบาลีในภาษาสามัญ
นั้น มีอีกคําหนึ่งที่ก็สามัญดวย และใชบอยกวา มากกวา “สาธิกํ” ดวย เปนคําที่ควรพูดถึง
เพราะมีรูปรางคลายกัน คือคําวา “สุทฺธิกํ” “สุทฺธิกํ” แปลวา ลวน มีใชบอย ท่ีคุน เชนใน
“สุทธฺ กิ ปาจิตฺติยํ” ซ่ึงบางท่ีแยกเปน Wสุทฺธิกํ ปาจิตฺติยํ” (ปาจิตตียลวน ไมมีของที่ตองสละ)
ลวน กับ ถวน ไมเหมือนกัน ก็จริง แตความเผลอๆ เพลินๆ บางทีก็มีได บางทีทานอาจจะ
นกึ ถึง “สทุ ธฺ ิกํ” ในขณะท่ี “สาธกิ ํ” ผานเขามา ก็เลยพลั้งไป แตไมวาจะอยางไร ก็เปนอันวา
พลาดไป ซึ่งบอกแลววา มเี หตผุ ลทีค่ วรเขา ใจเหน็ ใจดังนี้

เอกํ สมยํ ภควา เวสาลิยํ วิหรติ มหาวเน กูฏาคารสาลายํ ฯ อถโข อฺญตโร วชฺชิ
ปุตตฺ โก ภกิ ขฺ ุ เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ อุปสงฺกมิตฺวา ภควนฺตํ อภิวาเทตฺวา เอกมนฺตํ นิสีทิ เอ
กมนฺตํ นิสินฺโน โข โส วชฺชิปุตฺตโก ภิกฺขุ ภควนฺตํ เอตทโวจ สาธิกมิทํ ภนฺเต ทิยฑฺฒสิกฺ
ขาปทสตํ อนฺวฑฒฺ มาสํ อุทฺเทสํ อาคจฺฉติ นาหํ ภนฺเต เอตถฺ สกฺโกมิ ๑ สกิ ขฺ ติ ุนฺติ ฯ๕๑

พระไตรปฎกภาษาอังกฤษ ตอนหนึ่งวา Thus I have heard: On a certain
occasion the Exalted One was staying near Vesali in Great Grove, at the House
with the Peaked Gable. Now a certain monk who was of the Vajjian clan came

๔๘ พระพรหมคุณาภรณ (ประยตุ ปยุตฺโต). รูจ กั พระไตรปฎ กใหชดั ใหตรง, หนา ๔.
๔๙ อง.ฺ อ. (บาล)ี ๒/๒๓๙.
๕๐ ม.ฏี. (บาลี) ๒/๓๐๐.
๕๑ พระไตรปฎกภาษาบาลี ฉบบั สยามรัฐ ๒๐/๒๙๖/๕๒๔.

ศกึ ษาเฉพาะเร่ืองในพฒั นาการแหงพระพทุ ธศาสนา ๙๕
Selected Topics in Development of Buddhism
พระมหามิตร ฐติ ปฺโญ,ผศ.ดร.

to see the Exalted One . . . As he sat at one side that monk said this to the
Exalted One: ‘Lord, the recital I have to make twice a month amounts to
more than a hundred and fifty rules. Lord, I can ‘t stand such a training !’๕๒

นอกจากน้ันทานพระพุทธโฆสาจารยยังไดอธิบายศัพทเพ่ิมเติมอีกวา “สาธิกํ” นี้
แยกศพั ทเ ปน “สห + อธิก” จึงแปลวา พรอมดวยสวนเกิน หรือ มีเศษ โดยทั่วไปสังเกตไดงาย
วา จะมีคําจําพวกสังขยา คือจํานวนเลขตามมาในพระไตรปฎก ท่ีอื่นก็มี เชน ในพุทธพจนวา
“สาธิกนวุติ อานนฺท ญาติเก อุปาสกา กาลกตา...” (ดูกรอานนท อุบาสกทั้งหลายในหมูบาน
ญาติกะ เกินกวา ๙๐ คน ถึงแกกรรมแลว๕๓ อรรถกถาคงประสงคใหชัดยิ่งขึ้น ยังอธิบายคํานี้
ดวยวา “สาธิกนวุตีติ อติเรกนวุติ”๕๔ ขอยกตัวอยางจากพระไตรปฎกมาดูอีกแหงหนึ่ง เปน
ความในคาถาวา “...สาธิกวีสติ โยชนานิ อาภา รตฺติมฺป จ ยถา ทิวํ กโรติ” (มีรัศมีแผไปเกิน
กวา ๒๐ โยชน และทําแมกลางคืน ใหเปนดุจกลางวัน๕๕ สวนในอรรถกถา ยอมมีมากเปน
ธรรมดา เชน “สาธิกานิ ตีณิ อฏฐิสตานิ” (กระดูกเกินกวา ๓๐๐ ทอน) ๕๖ หรือ อยางในคําวา
“สาธิกานิ ปฺญาสวสฺสานิ” (๕๐ ป มีเศษ หรือ เกินกวา ๕๐ ป)๕๗ เปนอันวา ตามหลักภาษา
หลกั ฐาน และตัวอยางการใช “สาธกิ ํ” ลว นแปลวา “เกิน” ทง้ั นั้น

สวนท่ีแปลวา “ที่สําเร็จประโยชน” นั้น คงเกิดจากความสับสนเล็กนอย คือ ใน
กรณีที่จะแปลอยางน้ัน ท่ีจริง เปน “สาธิกา” คือ เปนรูปอิตถีลิงคของ “สาธก” ซ่ึงแปลวา
“ใหสําเร็จ” ในความหมายอยางน้ี จะไมมากับสังขยา คือไมมีจํานวนเลขตามหลัง แตจะมี
คําจําพวก “อตฺถ” (ประโยชน) หรือ “กิจฺจ” (กิจ, หนาที่) นําหนา เชน “สทตฺถสฺส สา
ธิกาติ”๕๘ (... ใหสําเร็จประโยชนของตน) และ “สา....สํ วิทหนปจฺจุปฏฐานา สกิจฺจปรกิจฺจ
สาธกิ า เชฏฐสสิ สฺ มหาวฑฺฒกีอาทโยวิย” (เจตนานั้น ... มีการจัดแจงเปนปจจุปฏฐาน คือยัง
กิจของตนและกิจของผูอ่ืนใหสําเร็จ ดุจหัวหนาศิษย และชางไมใหญ เปนตน)๕๙ เปนอันสรุป

๕๒ Bloggang.com, ปญหาเรื่องการสวดปาฏิโมกขเพียง ๑๕๐ ขอ กรณี วัดหนองปาพง,
จาก พระไตรปฎกภาษาอังกฤษ ฉบับแปลโดย E. M. Hare-Pali Text Society),
[ออนไลน]. แหลงที่มา: https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=thepathofpurity &month=
02-09-2011& group=7&gblog=4 [๒๓ มกราคม ๒๕๖๐].

๕๓ ส.ํ ม. (ไทย) ๑๙/๑๔๗๘/๔๕๐
๕๔ สํ.อ. (ไทย) ๓/๓๖๓
๕๕ ขุ.ว.ิ (ไทย) ๒๖/๕๓/๙๔)
๕๖ ขทุ ทฺ ก.อ. (ไทย) ๓๗; ฯลฯ
๕๗ จริยา.อ. (ไทย) ๒๘๐
๕๘ เถรี.อ. (ไทย) ๖๒.
๕๙ วสิ ุทฺธิ. (ไทย) ๓/๓๗.

๙๖ บทที่ ๓ ขอ ถกเถยี งและการตีความศลี ในพระพทุ ธศาสนา

พระมหามติ ร ฐติ ปฺโญ,ผศ.ดร. Controversy and Interpretation of the Precepts in Buddhism

คําแปลวา “ท่ีสําเร็จประโยชน” น้ัน ไมเขาหลักและไมเขากับความที่น่ี คือที่นี่ “สาธิก” มา
จาก “สห + อธิก” ไมใช “สาธิกา” ที่เปนรูปอิตถีลิงคของ “สาธก” สวนคําแปลวา “ที่
สําคัญ” ก็คือมาชวยยืนยันวา ทั้ง ๓ คําแปล วา “ถวน” วา “ที่สําเร็จประโยชน” และวา “ท่ี
สําคญั ” นั้น ควรแกไ ขไปพรอมดว ยกัน

ขอพึงพิจารณาอยางหน่ึงท่ีเหลือไว ก็คือ อยางที่บอกแลว ขางตน ขอความน้ี ท้ังที่
เปนพุทธพจนเดียวกัน คําบาลีตรงกันทุกตัวอักษร แตไปอางอยูในที่ตางกัน พอเจอใน
พระไตรปฎกแปลภาษาไทย มีขอความแปลแปลกออกไปไมเหมือนกัน (คอนขางจะตางกัน
ไกล) ถาไมไดตรวจสอบหลักฐานกับพระไตรปฎกบาลี หรือไมมีความรูบาลีท่ีจะตรวจสอบ ก็
อาจจะเขาใจไปวาเปนพุทธพจนตางหาก ตางเร่ืองกัน ความเขาใจผิด หรือไขวเขว ก็อาจจะ
เกิดขน้ึ

เปนอันยุติในเรื่องนี้วา เมื่อเกิดปญหา ก็มีคําบาลีในพระไตรปฎกตัวจริง เปนหลัก
ยืนยันไวใหตรวจสอบไดทันที คือ “สาธกมิทํ ภนฺเต ทิยฑฺฒสิกฺขาปทสตํ” และเม่ือท้ังสํารวจ
และตรวจสอบแลว ก็เปนอันวาพึงแปลพระบาลีประโยคนี้วา “สิกขาบท ๑๕๐ ทั้งยังมีเกินขึ้น
ไปอกี น้ี”

จึงเห็นไดวากรณีขอถกเถียงหรือขอวิจารณสิกขาบท ๑๕๐ นี้ เปนกรณีท่ีใหพุทธ
ศาสนิกควรพิจารณากอนทําการวิจารณ ศึกษาใหเขาใจแลวจึงทําการวิจารณ ซ่ึงเห็นไดจาก
การถกเถียงในคราวนี้แลววา ตามปกติ พระไตรปฎกแปลน้ัน ทานผูแปลโดยปกติก็พยายาม
แปลอยางดีแลว เม่ือเราจะยกพุทธพจนมาอาง เพ่ือใหสะดวกก็ไมไปเสียเวลาแปลเอง ก็ยกที่
ทานแปลไวแลวมาใชไดเลย แตถามีอะไรสะดุด หรือเฉลียวใจ ก็ตรวจสอบกับพระไตรปฎก
บาลีท่ีเปนตนทาง ถาพบอะไรผิดพลาดหรือนาจะใหชัดใหเหมาะย่ิงข้ึน ก็คนเจาะจริงจังตรง
น้ัน และปรับแกเฉพาะที่ๆ จนเสร็จไปตามปกติ การท่ีจะมีขอสะดุดหรือเฉลียวใจใหตรวจสอบ
นน้ั กเ็ พง ไปทถ่ี อยคําเนื้อความท่ีเปนสาระหรือเปนประเด็นของเรื่อง

เม่ือมีเร่ืองใหพิจารณากัน ก็ตรวจสอบ และเม่ือพบคําแปลที่พลาดก็ควรแกคําแปล
ใหตรงอยางกรณี “สิกขาบท ๑๕๐ ถว นน้ี” เปลี่ยนเปน “สกิ ขาบท ๑๕๐ พรอ มทง้ั ท่เี กนิ นี”้

๓.๔ การตีความศีล ศีล ๕

ศีลธรรมก็เหมือนสถาปตยกรรมตางๆ ซ่ึงมีทั้งสวนท่ีเปนโครงสราง สวนท่ีเปนสิ่ง
ตกแตง เหมือนอาคารซ่ึงมีโครงสรางกับสิ่งตกแตงใหมันนาอยูมากข้ึน สวยงามมากข้ึน มี
ประโยชนม ากข้นึ สิ่งทเ่ี ปนหลักคําสอนทางพระพุทธมักจะมีโครงสรางแตละเร่ืองมีแตกตาง
กัน สวนตกแตงแตกตางกัน ถาสวนโครงสรางไมดีมันก็พังไดงาย เม่ือไรก็ตามถาโครงสราง
พังแลวเราจะพยายามตกแตงอยางไร มันก็ไมมีอะไรใหตกแตงถึงแมตกแตงไดอาจไมดีเทา

ศกึ ษาเฉพาะเรื่องในพัฒนาการแหงพระพทุ ธศาสนา ๙๗
Selected Topics in Development of Buddhism
พระมหามิตร ฐติ ปโฺ ญ,ผศ.ดร.

ของเดิมก็ได การฟน ฟศู ลี ธรรมในสังคมไทย พ.ประเวศ ไดแสดงทัศนะวา จึงไมใชการมุงทํา
ใหแ ตละคนเปนดแี ลวสงั คมท้ังหมดจะดีข้ึนเอง หากแตอยูที่วาทําอยางไรจึงจะใหโครงสราง
ของสังคมเขมแข็งจนสามารถเปนภูมิคุมกันทางสังคมได บนรากฐานของโครงสรางสังคมท่ี
เขมแขง็ น้เี องจึงจะสามารถปลูกฝงศีลธรรมไดงาย และบางครั้งศีลธรรมก็สามารถเกิดข้ึนได
เองโดยอาศัยโครงสรางทางสงั คมเปน ตัวหลอหลอมในรปู แบบของวัฒนธรรมหรอื วิถชี ีวิต๖๐

การภูมิคุมกันในท่ีนี้ไมไดหมายเอาเพียงภูมิคุมกันเพียงความอบอุนทางจิตใจ
เทาน้ัน แตสามารถสรา งภมู คิ ุม กนั รวมไปถงึ การชว ยเหลอื กันทางเศรษฐกิจ เปนความอบอุน
อันพึ่งพิงกันได ตรงสามารถเรียกตรงนี้วาเปน “ภูมิคุมกันทางสังคม” เม่ือครอบครัวแตก
ชุมชนแตก สังคมหมดภูมิคุมกัน หลังจากนั้นเปนโรคอะไรเขามาก็ระบาดรุนแรงเกิด “โรค
ของวกิ ฤตการณท างสงั คม”

ดวยเหตุนี้ศีล ๕ จึงเปนอีกทางหนึ่งที่จะเปนรากฐานของสันติในสังคม สามารถ
ทําไดดวยการนําไปเปนรากฐานในการสรางสันติควบคูไปกับการปรับโครงสรางสังคม
แนวราบ ไดแก การนําไปสูวัฒนธรรมแบบเมตตากรุณาและวัฒนธรรมแบบสันติวิธี สวน
โครงสรางในแนวด่ิง ไดแก รากฐานทางสังคมในรูปของปรามิด โดยนําไปจัดโครงสรางทาง
การเมอื ง เศรษฐกจิ สงั คม กระบวนการยตุ ิธรรม และการศึกษา เพ่ือใหเอ้ือตอการสงเสริม
โครงสรางสังคมระดับจุลภาคจนถึงระดับมหัพภาค ซ่ึงเปนการเช่ือมโครงสรางและสถาบัน
สังคมใหยึดโยงอยูกับศีล ๕ อันเปนพื้นฐานของแนวทางสันติวิธี สวนอีกรูปแบบหนึ่งคือ
รากฐานของสันติเชงิ คุณคา ซง่ึ เปนมโนธรรมสํานึกท่ีทําใหเกิดความตระหนักถึงมนุษยธรรม
และสทิ ธมิ นุษยชนสากล ทัง้ ความเสมอภาค ความยุติธรรม ภราดรภาพ สัมพันธภาพ ดุลย
ภาพและเคารพศกั ด์ิศรคี วามเปน มนษุ ย ซง่ึ จะทาํ ใหสังคมเปนแบบสวัสดิการท่ีทุกคนมีสิทธิ
เทาเทียมกัน มีความตระหนักถึงคุณคาของชีวิต และการไมใชความรุนแรงทุกกรณี ทําให
ชวี ิตปราศจากภัยคุกคาม รวมไปถึงการชวยเหลือเกื้อกูลผูท่ีไดรับความทุกขยากลําบาก ทํา
ใหมีสวัสดิภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพยสิน ซึ่งจะทําใหเกิด
สนั ตภิ าพเชงิ บวก

ข ณ ะ เ ดี ย ว กั น ก็ ยั ง เ ป น
แ น ว ท า ง แ ก ป ญ ห า
รากเหงาของความขัดแยง
แ ล ะ ค ว า ม รุ น แ ร ง ใ น รู ป
ของตัณหา มานะ ทิฏฐิ

๖๐ ศ.น.พ. ประเวศ วสี, ธรรมิกสังคม, (กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพมูลนิธิโกมลคีมทอง,
๒๕๔๒), หนา ๔๓.

๙๘ บทท่ี ๓ ขอถกเถียงและการตีความศีลในพระพุทธศาสนา

พระมหามติ ร ฐติ ปโฺ ญ,ผศ.ดร. Controversy and Interpretation of the Precepts in Buddhism

และ อกุศลมูล คือ โลภะ โทสะ โมหะ ซ่ึงศีล ๕ จะเปนตัวสกัดก้ันและทําลายรากเหงาของ
ความขัดแยง และความรุนแรง โดยรากฐานเชิงโครงสรางจะเขาไปจัดโครงสรางสังคมไมให
เออื้ ตอการใชความรุนแรง ในขณะท่ีรากฐานเชิงคุณคาจะปลุกเราใหตระหนักถึงคุณคาของ
ชีวิต เพื่อใหอยูรวมกันตามหลักมนุษยชน ซึ่งเปนรากฐานของมนุษย นอกจากนี้ยังเขาไป
จัดการกับรากเหงาที่ทําใหเกิดความขัดแยงและความรุนแรง โดยจะมีความเชื่อมโยงกันทั้ง
โครงสราง คุณคาของมนุษยและการควบคุมกิเลสภายใน ซ่ึงจะทําใหสันติภาพมีรากฐานท่ี
มน่ั คง ทั้งในระดับจุลภาคและมหัพภาคอยางย่งั ยืน

ศลี ๕ เปน พ้ืนฐานแหงการประพฤติดีของคน นับวาเปนกุศลธรรมสําคัญท่ีคนเรา
ควรประพฤติ หากจะเปรียบศลี ๕ กบั สวนประกอบของบา นกเ็ ปรียบไดกับสวนของเสาบาน
นัน่ เอง ศลี ๕ นั้นจดั เปน มนษุ ยธรรมทีจ่ ําเปน ในสงั คมมนุษย เพราะคนเรานน้ั ตองอยูรวมกัน
เปนสังคม แตละคนตองปฏิบัติตนอยูในหลักการท่ีตองชวยตนเองและคนอ่ืนใหดําเนินชีวิต
ไดอ ยางสงบสุข คือ ไมเบียดเบียนกันไมวาเร่ืองใดๆ รวมท้ังไมเบียดเบียนตนเองดวย เบญจ
ศีลจงึ เปน หลักการท่ีประเสรฐิ ท่ีจะทาํ ใหบคุ คลสงั คมอยูอ ยา งเปนสุข

ไสว มาลาทอง กลาววา เบญจศีลเปนบทบัญญัติทางสังคมที่มนุษย รุนกอน ๆ
ไดวางไว เปนหลักขอปฏิบัติสําหรับปกครองหมูคณะ เพ่ือใหหมูคณะดํารงชีวิตอยูรวมกัน
อยางมีความสุข ไมเบียดเบียนเอารัดเอาเปรียบกัน เบญจศีลเปนเครื่องมือสําหรับวัดความ
เปนมนุษย เปนเครื่องบงช้ีวาผูนั้นมีความเปนมนุษยสมบูรณหรือไม เปนมนุษยธรรม คือ
ธรรมท่ีเปนเครื่องวัด ความเปนมนุษย เพราะศีลแตละขอนั้นทานวางไวเพ่ือประ-โยชนแก
มนุษยใ นแตล ะทาง๖๑ ดังน้ี

๑. เบญจศลี ขอที่ ๑
๑) เพ่อื ใหมีเมตตาธรรม ไมเบียดเบยี นกนั
๒) เพอ่ื ใหชวี ิตมคี วามปลอดภัย ไมตอ งหวาดระแวงกนั และกนั
๓) เพื่อใหประกอบกจิ การงาน และประพฤติธรรมไดโดยสะดวก
๔) เพอื่ เปนพ้ืนฐานใหส ามารถชว ยเหลอื เกือ้ กูลกนั ไดตอไป
๕) เพื่อใหอยรู วมกนั ไดอยางสงบสขุ
๖) เพ่ือกาํ จัดเวรภยั ท้งั ปจจุบนั และอนาคต

๒. เบญจศีลขอท่ี ๒
๑) เพ่ือใหป ระกอบอาชีพโดยความซอ้ื สตั ยสจุ รติ
๒) เพอื่ ใหร ักและเคารพเกยี รตขิ องตนเอง

๖๑ ไสว มาลาทอง, คูมือจริยธรรม, (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ กรมศาสนา
กระทรวงศึกษาธิการ, ๒๕๔๒), หนา ๑๑๗-๑๒๐.

ศกึ ษาเฉพาะเรอื่ งในพฒั นาการแหงพระพุทธศาสนา ๙๙
Selected Topics in Development of Buddhism
พระมหามติ ร ฐติ ปฺโญ,ผศ.ดร.

๓) เพื่อใหเ คารพกรรมสิทธ์ใิ นทรัพยส ินของผูอื่น
๔) เพอ่ื ใหเกดิ ความมัน่ ใจทรพั ยสินของตนเองไมต องวติ กกังวล
๕) เพ่ือใหอยูรว มกันไดอ ยา สงบสขุ
๖) เพ่ือกําจัดเวรภัยทงั้ ปจจุบนั และอนาคต
๓. เบญจศีลขอ ที่ ๓
๑) เพอ่ื ใหเ กดิ ความซอ้ื สตั ย จรงิ ใจตอ กนั ไววางใจกนั
๒) เพ่อื ใหเคารพสิทธิความเปนสามีภรรยาของกนั และกัน
๓) เพ่ือปอ งกันการหยา ราง การแตกราว ภายในครอบครวั
๔) เพ่อื สรางความม่ันคงและความอบอุนภายในครอบครัว
๕) เพื่อใหอ ยูรว มกนั อยา งสงบสขุ
๖) เพือ่ กาํ จัดเวรภัยท้ังปจจบุ นั และอนาคต
๔. เบญจศลี ขอ ท่ี ๔
๑) เพื่อใหมีความซื้อสัตย มีความจริงใจและไวว างใจกันได
๒) เพอื่ สรางความรกั ความสามัคคใี นหมคู ณะ
๓) เพื่อปอ งกนั ผลประโยชนของกนั และกนั ไว
๔) เพอื่ ใหใชว าจาประสานประโยชนข องกันและกัน ไมทําลายกนั ดว ยคําพูด
๕) เพือ่ ใหอ ยรู วมกนั ดว ยความสงบสุข
๖) เพอ่ื กาํ จดั เวรภยั ทั้งปจจบุ นั และอนาคต
๕. เบญจศีลขอที่ ๕
๑) เพ่อื สนบั สนนุ การรกั ษาศีล ๔ ขอ ขางตนใหเกิดมขี ้ึน
๒) เพอ่ื ใหมสี ติรอบคอบสามารถควบคุมใจตวั เองได
๓) เพอ่ื ปองกันมิใหเกดิ การทะเลาะววิ าทและทํารายกัน
๔) เพ่ือปองกันสขุ ภาพทางกายและสุขภาพจติ มิใหเ สื่อม
๖) เพื่อใหอยูรวมกนั ไดอยางมคี วามสงบสขุ
๗) เพื่อกําจัดเวรภัยท้ังปจ จุบนั และอนาคต
แกว ชดิ ตะขบ ไดก ลาวไวว า นกั ปราชญในทางพระพุทธศาสนาน้ันไดช้ีจุดสําคัญ
ท่ีคนเราตองสรางฐานไวใหม่ันคงเปนพิเศษ ๕ จุด ซ่ึงเปนการปดชองทางที่จะทําใหตนเอง
เสยี หาย ๕ ทางดวยกนั โดยวิธที ่ที า นวา นกี้ ค็ อื การรกั ษาศลี ๕ คอื ศีลขอท่ี
๑. เวนจากการฆาสัตวมีชีวิตหรือหามฆาสัตว เพ่ือปองกันทางที่ตนจะเสียหาย
เพราะความโหดราย ไรเ มตตา ศีลขอที่

๑๐๐ บทที่ ๓ ขอถกเถียงและการตคี วามศีลในพระพทุ ธศาสนา

พระมหามิตร ฐติ ปโฺ ญ,ผศ.ดร. Controversy and Interpretation of the Precepts in Buddhism

๒. เวนจากการถือเอาสิ่งของที่เจาของมิไดให ดวยอาการที่เปนโจรขโมย หรือ
หามลกั ทรัพย เพื่อปอ งกันทางทตี่ นจะเสียหายเพราะอาชีพทจุ รติ จิตคิดลักขโมย ศลี ขอ ท่ี

๓. เวนจากการประพฤติผิดในกาม หรือหามประพฤติผิดทางเพศ เพื่อปองกัน
ทางที่ตนจะเสียหายเพราะความเจา ชู สาํ สอ นทางเพศหรอื มักมากในกาม ศีลขอ ท่ี

๔. เวนจากการกลา วคําเท็จ หามพูดเท็จ เพื่อปองกันทางท่ีตนจะเสียหาย เพราะ
คําพูดดกหกหลอกลวง ศีลขอ ที่

๕. เวนจากการดื่มนํ้าเมา คือ สุราเมรัย หรือหามดื่มน้ําเมา เพื่อปองกันทางท่ีตน
จะเสียหายเพราะความมึนเมา ประมาทขาดสติยบั ยงั้ ชัง่ ใจในการทาํ ชั่ว

ตามท่ีกลาวมานี้ จะเห็นไดวาเบญจศีลน้ีมีความสําคัญยิ่งสําหรับสังคมมนุษย ถา
หากคนในสังคมต้ังม่ันอยูในเบญจศีลโดยท่ัวถึงกันแลว สังคมก็มีความม่ันคงสงบสุขอยาง
แนนอน ผูใดมีเบญจศีลผูนั้นยอมเปนท่ีพึงปรารถนาของสังคม ไมวาจะทําอะไรติดตอ
ประสานงานกับใคร จะขอความรวมมือจากใครก็ยอมไดรับความรวมมือเปนอยางดี ดวย
เหตุน้ี เบญจศีลจึงมีความสําคัญตอการเสริมสราง การพัฒนาครอบครัว ซึ่งเปนสวนยอย
ของสังคมใหม ีความมัน่ คงในการดําเนินชวี ติ ตอ ไป๖๒

สมเด็จพระมหาสมณเจา กรมพระยาวชิรญาณวโรรส กลาววา ศีล ๕ แปลวา
สิกขาบท ผูที่ประพฤติปฏิบัติ ศึกษา และงดเวน องคแหงศีลแตละขอน้ัน จัดเปนสิกขาบท
๕ ประการ รวมเรียกวา เบญจศีล ซ่ึงแผลงมาจาก คําวา “ปฺจ สีลานิ” ในคัมภีรพระ
ไตรปฏกสวนมากเรียกวา สิกขาบท ๕ คือ องคแหงศีลอยางหนึ่งๆ ซ่ึงเปนขอหามเพ่ือการ
ฝก ตนและฝกอบรม ของพุทธศาสนิกชนฝายคฤหัสถ สําหรับการจัดระเบียบชีวิตและสังคม
ของมนุษยใหอยูในสภาพที่เอื้อตอการสรางสรรคสิ่งดีงามแกชีวิต สังคม การดําเนินชีวิตให
อยูได ศีล ๕ จงึ เปนฐานของศลี ทง้ั ปวงมี ๕ สกิ ขาบทประกอบดว ย๖๓

๑. ศลี ๕ สิกขาบทท่ี ๑ ปาณาติปาตา เวรมณี คือ เวนจากการฆา สตั ว
๒. ศีล ๕ สิกขาบทที่ ๒ อทินนาทานา เวรมณี คือ เวนจากการลักทรัพย
๓. ศีล ๕ สิกขาบทที่ ๓ กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี คือ เวนจากการประพฤติผิด
ในกาม
๔. ศลี ๕ สกิ ขาบทที่ ๔ มกสาวาทา เวรมณี คอื เวน จากการกลา วเทจ็

๖๒ แกว ชิดตะขบ, พุทธธรรมเพื่อสงเสริมเศรษฐกิจ, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ
พระพุทธศาสนาแหงชาต,ิ ๒๕๕๐), หนา ๒๑๐-๒๑๒.

๖๓ สมเด็จพระมหาสมณเจา กรมพระยาวชิรญาณวโรรส, เบญจศีล เบญจธรรม (หลกั สตู ร
ธรรมศกึ ษา ชั้นตรี), พิมพค รัง้ ที่ ๑๕, (กรงุ เทพมหานคร : มหามงกฎุ ราชวทิ ยาลัย, ๒๕๓๘), หนา ๕.

ศึกษาเฉพาะเรอื่ งในพัฒนาการแหงพระพุทธศาสนา ๑๐๑
Selected Topics in Development of Buddhism
พระมหามติ ร ฐติ ปฺโญ,ผศ.ดร.

๕. ศีล ๕ สิกขาบทท่ี ๕ สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี คือ เวนจากการดื่ม
นาํ้ เมา

ศีล ๕ ตามนัยของพระพุทธศาสนาในสังคมไทยเราจะเห็นวาเปนการเนนหนักมิติ
เชิงปจเจกบุคคลเพียงดานเดียว เชนเวลาที่เราอธิบายถึงคนท่ีกําลังอยูในภาวะเจริญขึ้นหรือ
เส่ือมลง เรามักจะมองเพียงแควาเปนเร่ืองพฤติกรรมหรือกรรมสวนบุคคล โดยไมสนใจตั้ง
คําถามในระดับโครงสรางหรือสภาพแวดลอมทางสังคมวามีความบกพรองอยางไร สังคมไทย
ไมไดหยิบยกขึ้นมาเนนยํ้า “ในสวนของโครงสรางเชิงของสังคมเลย พระพุทธศาสนามีการนับ
ถือกันในสังคมไทยมายาวนานหลายช่ัวอายุคน แตสังคมไทยไมคอยไดเนนไปในเชิงโครงสราง
ทางสังคมมากหนัก ดวยเหตุนี้ พระพุทธศาสนาไทยจึงมักถูกโจมตีเสมอวา ไมคอยมีมิติทาง
สังคมในคําสอน แตที่จริงแลวพระพุทธศาสนาเถรวาทไมไดขาดมิติทางสังคมแตอยางใด
เพียงแตใ นเมอื งไทย มิตดิ า นน้ีถูกละเลยไปเองตางหาก

๓.๕ การตคี วามแนวทางการปฏบิ ัติของเบญจศลี

๑. ศีล ๕ สกิ ขาบทท่ี ๑ ปาณาติปาตา เวรมณี
ปาณาติปาตา เวรมณี แปลวา เวนจากการทําสัตวมีชีวิตใหตกลวง เวนจากการ
ฆาสัตวทุกชนิด คําวาสัตวในท่ีน้ีหมายถึงมนุษยและสัตวเดรัจฉานที่มีชีวิตอยู แมที่สุดซ่ึงยัง
อยูในครรภทุกประเภทไมมีกําหนด สิกขาบทนี้บัญญัติขึ้นโดยมีจุดมุงหมายเพ่ือไมใหมนุษย
เบียดเบียนกัน และไมใหเบียดเบียนสัตวอ่ืนอีกดวย พึงหวังจะใหปลูกเมตตาจิตในสัตวทุก
จําพวก การตั้งใจที่จะไมทํารายตอผูอ่ืนเปนประจํา เม่ือปฏิบัติไดอยางตอเนื่องยอมเกิดเปน
ปกติความคิดท่ีจะฆาหรือทํารายกัน ก็ยอมไมเกิดขึ้นเปนการอบรมใหเกิดเมตตาจิตคิด
สงสารเหน็ ใจในสัตวอ่นื ๆ มนุษยม ีความปรารถนาดีตอกันเสมอ โดยตระหนักถึงความสําคัญ
ของทุกชีวิตท่ีอยูรวมกันในโลก ทุกชีวิตยอมตองการความสุขดวยกัน ไมมุงทํารายกัน ชีวิต
รางกายทกุ ชีวิตยอมดําเนินไปขางหนาอยางปกติ สันติสุขก็เกิดข้ึนในสังคม ตรงกันขามหาก
คนสวนใหญขาดศีลขอน้ี ยอมอยูกันอยางหวาดระแวงหาความสุขไมได ดังน้ัน ศีล ๕
ดังกลาวมานี้ จึงเปนหลักสําหรับการควบคุมพฤติกรรมทางกายไมใหกระทําผิด หรือทํา
อนั ตรายแกรา งกายชวี ิตผอู นื่ ใหเกิดเมตตาจิตคดิ ชวยเหลือกนั เกิดขน้ึ ในทางดานจติ ใจ
สมเด็จพระมหาสมณเจา กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงแสดงวา เม่ือเพงถึง
ความเมตตาจิตเปนใหญ ปาณาติปาตาเวรมณี แปลวา เจตนางดเวนจากการฆาสัตว มี
ขอบเขตของสิกขาบททั้งโดยตรงและโดยออม ผูรักษาตองเวนเพื่อใหบริสุทธ์ิบริบูรณ คือ
การฆา การทําใหตายดวยตนเอง การทําใหบาดเจ็บสาหัส เชน ตาบอด แขนหัก การทรก
รรมดวยการใชแรงงานเกินกําลัง การกักขัง การนําสัตวไปดวยวิธีทรมาน การผลาญสัตว

๑๐๒ บทที่ ๓ ขอถกเถยี งและการตีความศีลในพระพทุ ธศาสนา

พระมหามติ ร ฐติ ปฺโญ,ผศ.ดร. Controversy and Interpretation of the Precepts in Buddhism

เชน ยุยงใหสูกันเพ่ือความสนุกสนาน สวนโทษหนักเบาขึ้นอยูกับสัตวที่ถูกฆา และความ
พยายามของผูฆา เรียกวา ประโยค คือ ความเพียรพยายามในการทําปาณาติบาต ซึ่งเปน
องคแหงการตัดสินวามีโทษนอยหรือมาก การฆานั้นไมวาฆามนุษยหรือสัตวถือวาเปนบาป
เหมือนกนั ซึง่ กําหนดไดจ ากหลกั ๓ ประการ คือ

๑. กําหนดโดยวัตถุมี ๓ อยาง คือ (๑) ฆามนุษยหรือสัตวที่ไมมีความผิด ไมได
ประทุษรายตนและผูอ่ืน มีโทษมาก (๒) ฆามนุษยหรือสัตวที่มีอุปการะแกตน เชน มารดา-
บดิ า วัว กระบอื ท่ชี วยทําไร ไถนา มีโทษมาก (๓) ฆา มนษุ ยหรอื สตั วท ่มี คี ุณงามความดี เชน
ผถู ือศลี ผมู ีคุณตอ สงั คมย่งิ มีคณุ มากมคี วามดีมาก ยิ่งมีโทษมาก

๒. กําหนดเจตนามี ๓ อยาง คือ (๑) ต้ังใจฆาโดยหาเหตุผลไมได เชน เขาไมมี
โทษถึงตาย ไมไดเตรียมจะทํารายตน ถือวามีโทษมาก (๒) ฆาโดยกิเลสมีกําลังกลา เชน
ดวยความโลภจึงรับจางฆาเขา มีความโลภมาก ยิ่งมีโทษมาก (๓) ฆาดวยความพยายามอัน
รายกาจ ผลาญใหเขาพินาศ พยายามมาก มีโทษมาก

๓. กําหนดโดยประโยค หมายถึง ความพยายามหาวิธีฆา ถาใชความพยายาม
มาก มีโทษมาก กลาวคือ ยิ่งทรมานมากมีโทษบาปมาก เชน การทุบตีใหบอบช้ําตองทน
ทกุ ขทรมานจนตาย มโี ทษมาก เพราะผถู ูกฆา ไดเสวยทุกขเวทนามาก๖๔

ปน มุทุกันต กลาววา ผูรักษาศีลขอน้ีนอกจากระวังไมใหศีลขาดเพราะ
ปาณาติบาตแลว วัดจากการกระทําที่เปนฉายาของปาณาติบาตได ก็ทําใหศีลของตน
บริสุทธ์ิย่ิงข้ึน ถาเวนไมไดศีลของเขาก็ดางพรอย เหมือนผาท่ีไมขาดแตสกปรก เรียกวา
ฉายาปาณาติบาต คือ (๑) การทํารายรางกาย คือ การทําใหรางกายของเขาเจ็บปวดพิกล
พิการ (๒) การทรกรรม คือ การทําความลําบากแกสัตวเกินเหตุ เชนการใชงานหนักเกิน
กําลัง (๓) กักขังในที่แคบ ไมสามารถเปลี่ยนอิริยาบถได (๔) นําสัตวไปโดยวิธีทรมาน เชน
ลากไป (๕) ผจญสัตว เชน เลนชนไก กัดปลา “การงดเวนจากการกระทําสิ่งเหลานี้เปน
บริวารของการรกั ษาศีลขอ ที่ ๑”๖๕

แกว ชิดตะขบ กลาววา หลักเกณฑในการวิจัย บุคคลผูจะลวงละเมิดผิดศีลขอท่ี
๑ หรือเรียกวาศีลขาดนั้นประกอบไปดวยองค ๕ ประการ คือ (๑) ปาโณ สัตวมีชีวิต (๒)

๖๔ สมเด็จพระมหาสมณเจา กรมพระยาวชิรญาณวโรรส, เบญจศีล เบญจธรรม (หลักสูตร
ธรรมศึกษา ช้ันตร)ี , พมิ พคร้งั ท่ี ๑๕, (กรุงเทพมหานคร : มหามงกฎุ ราชวิทยาลัย, ๒๕๓๘), หนา ๗.

๖๕ ปน มุทุกันต, พุทธวิธีครองใจคน ฉบับสมบูรณ, (กรุงเทพมหานคร : คลังวิทยา,
๒๕๑๔), หนา ๔๒๑-๔๒๒.

ศึกษาเฉพาะเรือ่ งในพัฒนาการแหงพระพทุ ธศาสนา ๑๐๓
Selected Topics in Development of Buddhism
พระมหามติ ร ฐติ ปฺโญ,ผศ.ดร.

ปาณสฺญิตา รวู าสตั วมีชีวติ (๓) วธกจิตตํ มจี ติ คิดจะฆา (๔) อุปกฺกโม ทําความพยายามฆา
(๕) เตน มรณํ สัตวต ายดว ยความพยายามนน้ั ๖๖

เมื่อบุคคลมีความพยายามในการฆาสัตวมีชีวิตท่ีพรอมดวยองคประกอบทั้ง ๕
ดังกลาว ศีลจึงขาด ถาไมครบองคประกอบทั้ง ๕ นี้ แมองคใดองคหน่ึง เชน ไมมีจิตคิดจะ
ฆา เชน นี้ ศีลไมข าด แตเ ปนเพียงดางพรอยเทานั้น

๒. สิกขาบทท่ี ๒ อทนิ นาทาน เวรมณี
พระมหาธเนศร รามางกูร ไดกลาวถึง อทินนาทานา เวรมณี แปลเจตนางดเวน
จากการถือส่ิงของมิไดใหดวยอาการแหงขโมยในทางปฏิบัติ หมายถึง ความประพฤติกรรม
ตางๆ ในการดําเนินชีวิตของคน โดยไมไปเบียดเบียนทรัพยสินของผูอื่นดวยการลักขโมย
เปนตน ศีลขอน้ีบัญญัติขึ้นเพื่อปองกันความประพฤติ หรือพฤติกรรมดังกลาวมีเจตนาเลี้ยง
ชีพในทางทีช่ อบ ที่เรยี กวา มีสมั มาอาชีวะ เวนการเบียดเบียนกันและกัน ผูรักษาศีลจะตอง
เวนไมก ระทาํ เพือ่ รกั ษาศลี ใหบ รสิ ุทธ์ิ ไดชื่อวา ประพฤติธรรม ไมเปนบาป ขอนี้หมายถึง การ
เวนจากการถือเอาส่ิงของท่ีเจาของไมให คือ ถือเอาดวยอาการเปนโจร ส่ิงที่เจาของไมให
กาํ หนดไวดังน๖้ี ๗
๑. ส่ิงของที่มีเจาของทั้งที่เปนวิญญาณทรัพยและอวิญญาณทรัพย อันเจาของ
ไมไดใหเ ปนสิทธ์ขิ าด
๒. ส่ิงของที่ไมใชของใคร แตสิ่งของมีผูรักษาหวงแหน ไดแก ส่ิงของท่ีเขาอุทิศ
บูชา ปชู นยี วัตถุในศาสนาน้นั ๆ
๓. สิ่งของทเ่ี ปนของในหมูอันไมพึงแบงกันได ไดแก ของสงฆและของมหาชน ใน
สโมสรสถานน้นั ๆ
เมื่อแบงถึงความประพฤติชอบธรรมในทรัพยสมบัติของผูอื่นเปนสําคัญ ก็พึง
ทราบในสิกขาบทน้ีมีขอหาม ๓ ประการ คือ โจรกรรม ประพฤติเปนโจร การเล้ียงชีพ
อนุโลมโจรกรรม กิริยาเปนฉายาโจรกรรม การกระทําในขอที่ ๑ ศีลขาด สวนขอที่ ๒ และ
ขอที่ ๓ พึงพิจารณาไดโดยเจตนา ถามุงทําลายกรรมสิทธ์ิในทรัพยสินของผูอ่ืนศีลยอมขาด
ถาไมเ จตนา ศลี ดางพรอย

๖๖ แกว ชิดตะขบ, พุทธธรรมเพ่ือสงเสริมเศรษฐกิจ, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ
พระพทุ ธศาสนาแหง ชาต,ิ ๒๕๕๐), หนา ๒๐๘.

๖๗ พระมหาธเนศร รามางกูร, “การประยุกตใชและการยึดม่ันหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
ในการดําเนินชีวิตของคนในชุมชนภูเวียง จังหวัดขอนแกน”, ภาคนิพนธ ศศ.ม. (พัฒนาสังคม), (บัณฑิต
วทิ ยาลยั สถาบันบัณฑิตพฒั นบรหิ ารศาสตร, ๒๕๔๗), หนา ๓๘-๓๙.

๑๐๔ บทท่ี ๓ ขอถกเถยี งและการตคี วามศลี ในพระพทุ ธศาสนา

พระมหามติ ร ฐติ ปฺโญ,ผศ.ดร. Controversy and Interpretation of the Precepts in Buddhism

โจรกรรม หมายถงึ การถอื เอาส่ิงของท่ีไมมีผูใหดวยการกระทําอยางโจรทุกอยาง
จัดเปน โจรกรรม ในทางพระพุทธศาสนาไดร วบรวมไวดังนี้

๑. ลกั ไดแก กิรยิ าการขโมยของคนอื่นท่ีเจาของไมเ ห็น มชี อื่ เรียกตางกนั
๒. ขโมย ในเวลาท่เี จา ของทรพั ยวางทรัพยไ ว หยิบทรัพยไ ปไมใ หเ ขารู
๓. ยอ งเบา เวลาสงัดแอบเขา ไปในบาน แลว หยบิ ฉวยเอาสง่ิ ของของเขา
๔. ตดั ชวง งัดหรอื เจาะประตูหนาตา งท่ปี ดอยู แลว เขา ไปหยิบเอาของไป
๕. ฉก ไดแก กิริยาแหงการขโมยทรัพยของคนอ่ืนท่ีเจาของเขาไมให เขา
มองไมเห็น มีช่ือเรียกตางกัน ดังน้ี (๑) วิ่งราว คนถือของกําลังเผลอ เขาแยงแลววิ่งหนีไป
(๒) ตชี งิ ตเี จา ของทรพั ยใหเ จบ็ ตัวแลวถือเอาของไป (๓) กรรโชกกิริยาแหงการแสดงอํานาจ
หรือใชอาวุธขมขู เปนตน เรียกวา ขูหรือจี้ (๔) ปลน ไดแก รวมพวกกันหลายคนมีศาสตรา
วธุ เกบ็ เอาของผอู ืน่ ดวยอํานาจ (๕) ตู ไดแก อางกรรมสิทธิ์ยืนยันเอาของคนอ่ืนมาเปนของ
ตน (๖) ฉอ ไดแก กิริยาท่ีถือเอาทรัพยของคนอ่ืน เชน รับของแลวโกงเอาเสียอางวาเปน
ของตน (๗) หลอก ไดแกกิริยาที่พูดปดเพื่อถือเอาของผูอ่ืน (๘) ลวง ไดแก กิริยาท่ีถือเอา
ของของผูอ่ืนดวยแสดงของอยางใดอยางหน่ึงใหเขาใจผิด เชน ใชเคร่ืองชั่ง เคร่ืองตวงโกง
(๙) ปลอม ไดแก กิริยาท่ที ําของเทียมแบบใหคนอืน่ เห็นวาเปนของจริง แลวเปล่ียนไป (๑๐)
ตระบดั ไดแ ก กริ ิยาท่ยี ืมของคนอืน่ ไปใชแลวเอามาเปนของตน เชน ยืมของแลวไมสงคืน กู
เงินแลว เบยี้ วไมสงดอกสง ตน ทนุ เดิม (๑๑) เบยี ดบัง ไดแ ก กิรยิ าทีถ่ ือเอาเศษ เชน ทานใชให
ไปเก็บเงินคาเชาบานไดมา แตใหเจาของนอย (๑๒) ลักลอบ ไดแก กิริยาท่ีลักลอบเอาของ
ตอ งหา มหลบหนี (๑๓) สบั เปลยี่ น ไดแก กิรยิ าท่ีเอาสง่ิ ของของตนท่ีไมดีเอาไวแทน แลวเอา
ของท่ีดีของผูอื่น (๑๔) ยักยอก ไดแก กิริยาที่ยักยอกทรัพยส่ิงของของตนท่ีจะถูกยึดเอาไว
เสียที่อนื่ เพือ่ หวังสิ่งของมาเปนของตน
โจรกรรมมีลักษณะตางประเภทดังกลาวมาน้ี บุคคลทําเอง ใชใหผูอ่ืนทําไป
รวมกับเขาเหลาน้ี ช่ือวาประพฤติผิดโจรกรรมทั้งส้ิน แมทรัพยจะเปนของตนก็มีโอกาสจะ
เปนของโจรกรรมได เชน ในขอที่ ๑๑ เม่ือถึงเวลาเสียภาษีแตกลับหลบเลี่ยงไมไปเสียภาษี
ตามกําหนด ซึ่งทรัพยสวนที่เสียภาษีไปนั้นไดมาโดยโจรกรรม เมื่อกลาวโดยรวมจัดเปน
กรรมมีโทษหนักเปนช้ันตางกัน ๓ ชั้น ไดแก วัตถุ เจตนา ประโยค คือ (๑) โดยวัตถุ
หมายถึง ถาของที่ทําการโจรกรรมน้ันมีคามาก สรางความเสียหายใหแกเจาของทรัพยมาก
ก็มีโทษมาก (๒) โดยเจตนา หมายถึง ถาถือเอาโดยความโลภมีเจตนากลาก็มีโทษมาก (๓)
โดยประโยค หมายถงึ ถาถอื เอาโดยการฆา ทาํ รา ยเจาของทรัพยหรือประทุษรา ย
เคหสถาน และพัสดขุ องเขากม็ โี ทษมาก ผูรักษาศีลขอนี้นอกจากจะระวังไมใหศีล
ขาด เพราะทําโจรกรรมแลว ก็พึงงดเวนจากการดําเนินชีวิตหรือการเลี้ยงชีพแบบอนุโลม

ศึกษาเฉพาะเร่อื งในพฒั นาการแหง พระพทุ ธศาสนา ๑๐๕
Selected Topics in Development of Buddhism
พระมหามิตร ฐติ ปโฺ ญ,ผศ.ดร.

โจรกรรม จะทําใหศีลของตนไดบริสุทธิ์ย่ิงขึ้น เวนไมไดก็ทําใหศีลดางพรอย ดังน้ี การเลี้ยง
ชีพแบบอนุโลมโจรกรรม คือ การแสวงหาทรัพยโดยทุจริตในทางท่ีไมบริสุทธ์ิ นับเขาใน
อาการเปนโจรจัดเปน ๒ ลักษณะ คือ อนุโลมโจรกรรมและกิริยาเปนฉายาโจรกรรม ดังนี้
อนโุ ลมโจรกรรมนบั เขา ในอาการเปน โจรมี ๓ ประเภท คือ

๑. สมโจร ไดแก การกระทําอุดหนุนการโจรกรรม เชน การรับซื้อของโจร ขอน้ี
เปนเหตุปจ จยั แหงโจรกรรม

๒. ปอกลอก ไดแก การคบคนดวยอาการไมซื้อสัตยหวังทรัพยของเขาฝายเดียว
เม่อื เขาลม สลายแลว ไมช ว ยเหลอื แตกลับทิ้ง ขอนเี้ ปนปจ จัยใหคนตกยาก

๓. รับสินบน ไดแก การถือเอาทรัพยสินเงินทองท่ีเขาใหเพื่อเอาไปชวยทําธุระ
ในทางทไี่ มช อบธรรม เชน ขา ราชการรบั สนิ บนประชาชน ขอน้ีเปนปจจัยใหบุคคลประพฤติ
ผดิ ทางธรรมกิริยาเปนฉายาโจรกรรม นับเขาในกิริยาเปนโจรมี ๒ ประเภท คือ (๑) ผลาญ
ไดแก กริ ิยาทท่ี าํ ความเสียหายแกทรัพยสินเงินทองของคนอื่น เชน เผาบาน กีดกัน กอกวน
โดยไมใ หค นอื่นไดท ํางานเลยี้ งชพี เปนตน (๒) หยิบฉวย ไดแก การถือเอาทรัพยสินเงินทอง
ของผูอ่ืนดวยความมักงาย หรือถือเอาโดยวิสาสะ เพราะการคุนเคยโดยไมบอกเจาของ คิด
เอาเองวา เจา ของเขาไมวาอะไร

หลักเกณฑในการวินิจฉัยในความขาดแหงศีลขอที่ ๒ ประกอบดวยองค ๕
ประการ คอื

๑. ปรปริคคฺ หิตํ ของนัน้ มีเจา ของหวงแหน
๒. ปรปรคิ คฺ หติ สญฺ ติ า รวู า เจาของหวงแหน
๓. เถยฺยจิตตฺ ํ มีจิตคิดจะลกั
๔. อปุ กฺกโม พยายามเพื่อจะลักใหได
๕. เตน หรณํ ไดของนน้ั มาดวยความพยายามนัน้
๓. สิกขาบทท่ี ๓ กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี
สมเด็จพระมหาสมณเจา กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงอธิบายไววา สิกขาบท
น้ีบญั ญตั ขิ ึ้นดวยหวงั ปอ งกันการแตกราวในหมูมนุษย ทําใหเขาไววางใจกัน ชายกับหญิงแม
ไมไดเปนญาติกันก็ยังมีความรักใครเปนอันหนึ่งอันเดียวกัน ดวยอํานาจของปฏิพัทธในทาง
กาย เม่ือชายอน่ื ทําชดู วยภรรยาของทาน สามกี ับภรรยาก็ยอมแตกแยกกันเปนธรรมดาสามี
ยังจะผูกใจเจ็บกับชายชู เกิดเปนศัตรูข้ึน ถาความซื่อตรงในขอนี้ไมพึงมีในหมูมนุษย ท่ีสุด
สามีภรรยากจ็ ะไมก ลา ไวว างใจในกันและกัน๖๘

๖๘ สมเดจ็ พระมหาสมณเจา กรมพระยาวชริ ญาณวโรรส, เบญจศีล เบญจธรรม (หลักสูตร
ธรรมศึกษา ชัน้ ตรี). พิมพคร้งั ที่ ๑๕, (กรงุ เทพมหานคร : มหามงกฎุ ราชวิทยาลัย, ๒๕๓๘), หนา ๒๕.

๑๐๖ บทที่ ๓ ขอถกเถยี งและการตคี วามศลี ในพระพทุ ธศาสนา

พระมหามิตร ฐติ ปโฺ ญ,ผศ.ดร. Controversy and Interpretation of the Precepts in Buddhism

พระมหาธเนศร รามางกูร กลา ววา กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี แปลวา เจตนางด
เวนจากการประพฤติผิดในกาม ในทางปฏิบัติ หมายถึง ความประพฤติการดําเนินชีวิตของ
ตน โดยไมเบียดเบียนผอู น่ื ทางดานคคู รอง และไมล ะเมิดกรรมสิทธิใ์ นบุคคลผูที่เปนที่รักของ
ผูอื่น มีขอบเขตหรือขอหามของสิกขาบทนี้ ทั้งหญิงชายยอมประพฤติผิดในกามดวยกันทั้ง
๒ ฝา ย ในอรรถกถา “อัฏฐ-สาลนิ ”ี ไดแ บงประเภทของชายและหญิง ดังนี้๖๙

๑) หญิงตองหามสําหรับชายมี ๓ จําพวก คือ หญิงมีสามีโดยท่ีสุด แมแตภรรยา
เชา ช่ัวคืนกถ็ ือวา มเี จาของ หญงิ ผูพ ิทักษรักษา เชน บิดามารดาหรือญาติเปนตนรักษา หญิง
ที่จารีตหาม เชน แม ยา ยาย ทวด ลูก หลาน เหลน ภิกษุณี ฯลฯ “หญิงท้ัง ๓ ประเภทน้ี
เมอ่ื ชายประพฤตลิ วงเกนิ จะโดยเขายนิ ยอมหรือไมยนิ ยอมกต็ ามศีลยอมขาด”

๒) ชายตองหามสําหรับหญิงมี ๒ จําพวก คือ ชายอื่นทุกคนนอกจากสามีของตน
สําหรับหญิงทีม่ ีสามีชายท่ีจารตี ตองหา ม เชน ภกิ ษุ สามเณรและนักบวชตางศาสนา สําหรับ
หญิงทุกประเภท “ชาย ๒ ประเภทน้ีเปนวัตถุแหงกาเมสุมิจฉาจารของหญิง คือผิดศีล เวน
ไวแ ตถูกขม ขืนไมเ ตม็ ใจ สวนการเคลา คลงึ หรือพูดเก้ียวแมศีลไมขาดยอมทําใหศีลดางพรอย
ได” หลกั เกณฑใ นการวนิ ิจฉยั ศลี ขอ นี้จะขาดไดตองประกอบดวยองค คือ กาเมสุมิจฉาจาร
มีองค ๔ คือ (๑) อคมนียวตฺถุ หญิง (ชาย) ตองหาม (๒) ตสฺมึ เสวนจิตฺตํ จิตคิดจะเสพ (๓)
เสวนปฺปโยโค ประกอบการเสพ (๔) มคเฺ คน มคฺคปฺปฏิปตตฺ ิ มรรคจรดกัน

๔. สิกขาบทที่ ๔ มสุ าวาทา เวรมณี
มุสาวาทา เวรมณี แปลวา เจตนางดเวนจากการพูดเท็จในทางปฏิบัติ หมายถึง
ความประพฤติ การดําเนินชีวิตท่ีปราศจากการเบียดเบียนผูอ่ืนดวยวาจาที่เปนเท็จ
หลอกลวง เปนสาเหตุตัดรอนทําลายประโยชนของผูอ่ืน แตมีความซื้อสัตย มีสัจจะ รักษา
สัจจะ พูดแตค ําจรงิ คํามปี ระโยชน คํามีสมานสามัคคี เปนตน เทาน้นั
ปน มุทุกันต กลาววา เพ่ือสะดวกในการปฏิบัติสามารถจําแนกกิริยาที่เปน
มุสาวาทไว ๗ วิธีดงั ตอไปนี้
๑. ปด คอื โกหกชดั ๆ เชนไมร วู ารู ไมเหน็ วา เห็น
๒. ทนสาบาน คือ แสดงตัวฝกความจริง เชน ทําผิดหลายคนแตผูทําผิดไมชอบ
รับผิด
๓. ทําเลห กระเทห  คือ โกหกดวยการแสรงทํากิริยาอาการใหคนอ่ืนตีความผิดไป
เอง เชน ทําทีเปนคนพิการใหไมต อ งถูกเกณฑเ ปน ทหาร

๖๙ พระมหาธเนศร รามางกูร, “การประยุกตใชและการยึดม่ันหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
ในการดําเนินชีวิตของคนในชุมชนภูเวียง จังหวัดขอนแกน”, ภาคนิพนธ ศศ.ม. (พัฒนาสังคม), (บัณฑิต
วทิ ยาลยั : สถาบันบัณฑิตพฒั นบรหิ ารศาสตร, ๒๕๔๗), หนา ๓๘-๓๙.

ศึกษาเฉพาะเรือ่ งในพฒั นาการแหงพระพุทธศาสนา ๑๐๗
Selected Topics in Development of Buddhism
พระมหามติ ร ฐติ ปฺโญ,ผศ.ดร.

๔. มารยา คือ แสดงทวงทีหลอกลวงคนอ่ืนใหเขาใจผิด เชน เจ็บนอยแตครวญ
ครางมาก

๕. ทําเลส คอื แสดงในใหคนอนื่ เขา ใจผิด เชน พดู เลนสาํ นวนวกไปวนมา
๖. เสรมิ ความ คือ เรอ่ื งมมี ูลนอ ยแตพดู ใหเหน็ เปนมาก
๗. อาํ ความ คอื เรื่องมากแตพ ูดใหเ หน็ เปนนอ ย ปดความบกพรองของตน๗๐
นอกจากงดเวนจากมสุ าวาท ๗ อยางน้แี ลว ผูรักษาศีลขอ น้ีควรเวนจากการแสดง
อนั มลี ักษณะประหนึง่ มุสาวาท ซงึ่ เรยี กวา ฉายามสุ าวาท ซ่งึ จะทําใหศลี ของตนมัวหมอง คือ
อนุโลมมสุ า ไดแก การท่อี าจทําใหผฟู ง เขาใจผดิ ตามความจริง เชน การคยุ โวโออวดเกินควร
ปฏสิ สวะ ไดแ ก การรบั คาํ คนอน่ื แลว ภายหลังไมทาํ และไมอ ยากคืนคําใหเปนกิจจะลักษณะ
แมจะมีเหตุจําเปนก็ไมพนทําใหเปนคนโกหกเขา มีการแสดงออกบางอยางที่ไมเปนความ
จรงิ แตไ มผิดศลี เพราะผแู สดงออกไมมเี จตนากลาวเท็จ คือ (๑) ยถาสัญญา พูดไปตามที่ตน
จาํ ไดอยา งนน้ั เขาใจอยางน้นั (๒) โวหาร พดู ไปตามแบบฟอรมของการพูดในสังคม เชน ลง
ทายจดหมายวา “ขอแสดงความนับถืออยางสูง” ทั้งๆ ท่ีตนมิไดนับถือเขาเลย (๓) นิยาย
เลานทิ านซงึ่ ผกู ขน้ึ เพอ่ื ฟงกันเพลนิ ๆ (๔) พล้งั พูดพล้ังไป
สมเด็จพระมหาสมณเจา กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงอธิบายวา สิกขาบทขอ
น้ที รงบญั ญตั ดิ วยหวังหา มความตดั ประโยชนทางวาจา คนทั้งหมดยอมชอบนับถือความจริง
ทุกคนไตถามขอความอะไรกับใคร ฟงใครบอกเลาอะไรก็เพื่อตองการความจริง จะใหใคร
เชื่อถอยคําของตนก็ตองอางความจริงขึ้นต้ังปฏิญญา เม่ือความประสงคของตนเปนเชนนี้
ผใู ดฝนความรสู กึ ของตนพดู มุสาแกค นอนื่ ขอ นีเ้ ปน การตัดประโยชน ทานจัดวา เปน บาป๗๑
หลกั เกณฑในการวินิจฉยั ศีลขอมุสาวาทนี้ จะขาดไดตองประกอบดวยองค ๔ คือ
(๑) อตฺถู วตฺถุ เร่อื งไมจริง (๒) วสวํ าทนจิตฺตํ จติ คิดจะพูดใหผิด (๓) ตชฺโ วา-ยาโม พยายาม
พดู ออกไป (๔) ปรสฺสตทตฺถวิชานนํ คนอื่นเขาใจเนื้อความน้ัน “เมื่อการพูดหรือการทําเท็จ
ครบองค ๔ นี้ ศลี จึงขาด”๗๒

๗๐ ปน มุทุกันต, พุทธวิธีครองใจคน ฉบับสมบูรณ, (กรุงเทพมหานคร: คลังวิทยา,
๒๕๑๔), หนา ๔๒๕-๔๒๖.

๗๑ สมเดจ็ พระมหาสมณเจา กรมพระยาวชิรญาณวโรรส.เบญจศีล เบญจธรรม (หลักสูตร
ธรรมศึกษา ชั้นตรี). พมิ พคร้งั ท่ี ๑๕. (กรงุ เทพมหานคร : มหามงกฎุ ราชวิทยาลัย. ๒๘๓๘), หนา ๓๐.

๗๒ พระมหาธเนศร รามางกูร, การประยกุ ตใชแ ละการยึดม่นั หลกั ธรรมทางพระพุทธศาสนา
ในการดําเนินชีวิตของคนในชุมชนภูเวียง จังหวัดขอนแกน, ภาคนิพนธ ศศ.ม.(พัฒนาสังคม), (บัณฑิต
วทิ ยาลยั : สถาบนั บณั ฑิตพัฒนบรหิ ารศาสตร, ๒๕๔๗), หนา ๔๓.

๑๐๘ บทท่ี ๓ ขอถกเถียงและการตคี วามศลี ในพระพทุ ธศาสนา

พระมหามติ ร ฐติ ปฺโญ,ผศ.ดร. Controversy and Interpretation of the Precepts in Buddhism

๕. สิกขาบทท่ี ๕ สรุ าเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี
สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี แปลวา เจตนางดเวนจากของมึนเมา คือ
สรุ าเมรยั อันเปนท่ตี ง้ั แหงความประมาท
ในทางปฏิบัติ หมายถึง ความประพฤติ หรือการดําเนินชีวิตท่ีปราศจากการ
เบียดเบียนตนเอง ดวยการด่ืม สูบ ฉีด ส่ิงที่เปนพิษใหโทษแกรางกาย คือ ยาเสพติดทุก
ประเภทอันเปนเหตใุ หเกิดความประมาทพลาดพล้ัง มัวเมา เสียสติสัมปชัญญะ๗๓ ทําใหเสีย
คุณภาพความเปนคน แตมีสติระวังมิใหติดส่ิงเสพติดเหลานั้น ท้ังสามารถควบคุมใจ คุม
อารมณมิใหเปนทาสของส่ิงเหลาน้ันดวย มีขอหามหรือขอบเขตทั้งโดยตรงและโดยออม
โดยตรง คือ มัวเมา ไดแก สุรา น้ําเมาที่กลั่นเรียกกันวา เหลา เมรัย นํ้าเมาที่ยังไมไดกลั่น
ไดแก เบียร สาโท นํ้าตาลเมา กระแช ฯลฯ โดยออม หมายถึง ยาเสพติดใหโทษทุกชนิด
เชน ฝน กัญชา ไอระเหย เปนตน อันหามไวในศีลขอน้ี กิริยาท่ีไมเฉพาะการด่ืมอยางเดียว
แตห มายถงึ การสูบ และฉีดดวย หลักเกณฑการวินิจฉัย ศีลขอ สุราเมรยมัชชปนาทัฏฐานา
นี้จะขาดไดตอ งประกอบดวยองค ๔ คือ (๑) มทนยี ํ น้าํ เมา (๒) ปาตุกมฺมยตาจิตตํ จิตคิดจะ
ดมื่ นํ้าเมา (๓) ตชฺโช วายาโม พยายามด่มื นํ้าเมา (๔) ปตปฺปเสวนํ นา้ํ เมานนั้ ลว งลําคอลงไป

๓.๖ วธิ ปี ฏิบัตริ ักษาศลี ๕

สมเด็จพระมหาสมณเจา กรมพระยาวชิรญาณวโรรส กลาววา การรักษาศีล
ปฏิบัติตามศีล ๕ หมายถึง การมีเจตนางดเวนจากการทําชั่ว ๕ ประการ ศีลจะเกิดขึ้น
เพราะมวี ริ ัติ คอื เจตนาท่ีจะงดเวนจากโทษนนั้ ๆ เวรนั้นๆ มี ๓ ประการ คอื

๑. สมาทานวิรัติ หมายความวา ความละเวน ดวยถอื คอื สมาทานหรอื รบั เอาดวย
ตนเองก็ไดดวยการรับจากผูอื่นก็ได หมายความวา ต้ังใจกอนวาจะรักษาศีลเมื่อไปประสบ
กับเหตุการณ ท่ีจะทําใหศีลขาดก็ไมทําเพราะถือวาสมาทานศีลไวแลวจะกลัวศีลขาด การ
กระทําเชนน้ี เรียกวา “สมาทาน” ในปจจุบันนี้มีการปฏิบัติกันมาก คือ สมาทานกับ
พระสงฆหรือสมาทานเองก็ได

๒. สมั ปต ตวริ ัติ หมายความวา การงดเวนจากวัตถุอันถึงเขา ขณะประจวบเขาใน
ทันทีทันใดกับเหตุท่ีจะทําใหศีลขาด คือ งดเวนดวยเหตุการณที่เกิดข้ึนเฉพาะหนา
หมายความวา แตเดิมไมไดรักษาศีลไมไดสมาทานศีล เม่ือประสบเหตุท่ีกําลังลวงศีลน้ันก็
ตัง้ ใจงดเวนในขณะน้ัน เชน เห็นทรัพยของผูอ่ืนวางไวตนหยิบถือเอาไป แตมาคิดวาคนอยาง
ตนไมเคยขโมยของๆ ใคร การต้ังใจงดเวนเหตุการณท่ีประจวบเขาเชนนี้ เรียกวา สัมปตต
วริ ัติ

๗๓ เร่อื งเดยี วกนั , หนา ๔๔.

ศกึ ษาเฉพาะเรือ่ งในพฒั นาการแหงพระพุทธศาสนา ๑๐๙
Selected Topics in Development of Buddhism
พระมหามิตร ฐติ ปโฺ ญ,ผศ.ดร.

๓. สมุจเฉทวิรัติ หมายความวา ละเวนไดเด็ดขาด ไดแก การละเวนของพระ
อริยบุคคลต้ังแตพระโสดาบันข้ึนไป ทานงดเวนจากการประพฤติผิดศีลหาไดอยางเด็ดขาด
โดยไมตอ งสมาทาน เพราะจิตของทา นเหลานนั้ เหน็ โทษของการไมม ีศลี อยา งแทจรงิ ๗๔

ดังน้ัน ทุกศาสนามีขอหามที่ไมควรปฏิบัติและมีขอควรปฏิบัติ หรือตองปฏิบัติ
ดวยกันท้ังน้ัน ขอควรปฏิบัติเปนฝายของพระธรรมคําสอน สวนขอเวนไมควรปฏิบัติเปน
ฝา ยศีลหรือวินัย พรอมขอบัญญัติของศาสนาน้ันๆ สําหรับศาสนาพุทธขอท่ีควรเวน ไมควร
ปฏิบัติ เรียกวา ศีล อันเปนขอปฏิบัติทางกาย วาจา ใจ ใหเรียบรอย ซ่ึงศีลจะเกิดข้ึนไดก็
ตองอาศัยสมาทานการงดเวนที่เรียกวา วิรัติ ๓ ประการ คือ งดเวนขณะประจวบพบเขา
ในทันที เชน เห็นสตั วท่ีพอจะทํารา ยได คิดจะทาํ รา ยแตเ วนไมฆา ไมท ํารา ย เรียกวา สัมปตต
วิรัติ การงดเวนดวยการสมาทาน หมายความวาต้ังใจไวกอนวาจะรักษาศีล เม่ือพบ
เหตกุ ารณอนั ชวนใหผดิ ศลี เพราะวาตนไดปฏิญาณสมาทานศีลไวเปนตนนี้เรียกวา พระอริย
เจา ศีลหานั้นบุคคลจะลวงไดก็เพราะจิตมีกิเลสทําใหอยากกระทําผิด พระอริยเจาทานละ
กิเลสได จึงหมดปญญาท่ีจะผิดศีล เรียกวา สมุจเฉทวิรัติ ฉะนั้น ผูปฏิบัติตามศีลหาตองมี
วริ ตั ิขอ งดเวนนี้

สรปุ ไดวา การรักษาเบญจศีลน้ันจําเปนตองมีหลักของวิรัติท้ัง ๓ ขอดังกลาว ขอ
งดเวนจากความชั่วทั้งปวง ซ่ึงกําหนดไดตามเหตุการณที่ตนมีเจตนาปฏิบัติศีล ๕ สะอาด
บริสุทธ์ิแหงจิตใจ ถาไมมีวิรัติแลวเมื่อประสบกับสิ่งที่เขามาในที่กอใหเกิดความทุจริตดวย
กาย วาจา และใจ จะไมมีสิ่งยับย้ังอาจลวงละเมิดแหงองคศีล เบญจศีลเปนบทบัญญัติทาง
สังคมที่มนุษยทุกยุคทุกสมัย ไดวางไวเปนหลักปฏิบัติสําหรับการปกครองหมูคณะ เพื่อให
หมูคณะดํารงชีวิตอยูรวมกันอยางสันติสุข ไมเบียดเบียน กัน ไมเอาเปรียบกัน เบญจศีลน้ี
เปนเคร่ืองมืออยางดีสําหรับวัดความเปนมนุษย เปนเครื่องบงช้ีวาผูนั้นมีความเปนมนุษย
สมบูรณหรือไม โดยเรียกวา “มนุษยธรรม” คือ ธรรมท่ีเปนเครื่องกําหนดความประพฤติ
ของมนุษย ธรรมสําหรับวัดความเปนมนุษยของคน ท้ังน้ีเพราะศีลแตละขอนั้นทานวางไว
เพอ่ื ประโยชนแ กม นษุ ย “วริ ตั ิ” จึงเปนเคร่ืองบง ช้วี า มีศีล ๕ ดงั น้ี

๓.๗ ผลลัพธข องการรกั ษาศลี

การรักษาศีลๆ ยอ มอาํ นวยประโยชนแกผูนั้นมากมายเปนประโยชนในชาติน้ี คือ
มีความเย็นใจไมเดือดรอนเพราะเปนผูมีศีล ศีลกอใหเกิดความสงบสุขของสังคม คือเพื่อ
ปองกันการลวงละเมิดสิทธิของผูอื่น อันจะสงผลใหเกิดการทะเลาะเบาะแวง ความ

๗๔ สมเด็จพระมหาสมณเจา กรมพระยาวชิรญาณวโรรส, เบญจศีล เบญจธรรม (หลักสูตร
ธรรมศกึ ษา ชน้ั ตร)ี , พมิ พครง้ั ที่ ๑๕, (กรุงเทพมหานคร : มหามงกุฎราชวทิ ยาลัย, ๒๕๓๐), หนา ๕๖.

๑๑๐ บทที่ ๓ ขอ ถกเถยี งและการตคี วามศีลในพระพุทธศาสนา

พระมหามติ ร ฐติ ปโฺ ญ,ผศ.ดร. Controversy and Interpretation of the Precepts in Buddhism

หวาดระแวง และความวุนวายในสังคมท่ีเปนเชนน้ีก็เพราะศีลเม่ือบุคคลนําไปปฏิบัติยอม
สามารถพัฒนาจิตใจของผูถือปฏิบัติใหมองเห็นคุณคาของ สัพพสิ่งอยางถองแท สวน
ประโยชนในหนานนั้ กจ็ ะมสี ุคตเิ ปน หรือยังหรือกระทั้งสูพระนิพพานก็เพราะศลี

สาํ ลี รกั สทุ ธี กลาววา ศีลทกุ ระดับนับต้ังแตศลี ๕ จนถึงศีล ๒๒๗ ไลต้ังแตจุลศีล
ไปจนถึงมหาศีล ถาหากผูใดสามารถรักษาคือนําไปปฏิบัติอยางครบถวนสมบูรณ ถึงพรอม
ดว ยศลี จนเปนปกติศีล เปนนิจศีลพัฒนาถึงขั้นปาริสุทธิศีลเปนศีลขั้นอธิศีล ศีลนั้นยอมชวย
ขัดเกลาบํารุงรักษาผูรักษา คือเรารักษาศีล ศีลยอมรักษาเราไมใหตกในท่ีชั่วแนนอน
นอกจากนั้นยังมีผูรูอีกหลายทานไดกลาวถึงอานิสงสของการรักษาศีลไวมากมายหลายที่
หลายแหง แตก พ็ อสรุปรวมไดว า

๑. ศีลขอที่ ๑ การไมฆาสัตวตัดชีวิตน้ัน ทําใหเปนคนอายุยืนไมมีโรคภัยไขเจ็บ
เบียดเบียน ไมมีใครปองราย มีแตคนเมตตาปราณี คอยโอบเอ้ือเจือจุนและไดรับการ
สงเคราะห อนเุ คราะหอยเู สมอ ไมม ีศัตรู

๒. ศีลขอที่ ๒ จะเปนคนรักษาทรัพยไดดี ไมมีใครคิดลักขโมย ไมมีใครเอารัดเอา
เปรียบคอยโกงกิน มีแตคนคอยดูแลใหความชวยเหลือ แมไมอยูก็คอยรักษาดูแลทรัพยสมบัติ
ใหทรัพยสินไมเกิดความเสียหาย ไมวาจะเกิดภัยใดๆ ก็ไมอาจทําลายใหสูญส้ิน เชน วาตภัย
อัคคภี ัย โจรภัย ตลอดจนอทุ กภยั กไ็ มมี แมจะเกดิ กไ็ มเกิดเปนเหตุใหแ คลว คลาดจนได

๓. ศีลขอที่ ๓ จะเปนคนมีสุขภาพกาย สุขภาพใจดี ไมพะวง ไมกังวลกับลูกกับ
เมีย ลูกเมียไมสรางความลําบากใจ คนในครอบครัวมีความรักสามัคคีปรองดอง รักกันเปน
อันหนงึ่ อันเดียวกัน สามี/ภรรยาไมนอกใจ ไมมีใครมาทาํ ใหกลัดกลุม เสยี ใจ คนท่ีอยูในความ
ปกครองกว็ า นอนสอนงาย มีภรรยาก็ไมเ ปนคนมกั มากในกาม มลี กู ก็เชอ่ื ฟงในโอวาท

๔. ศีลขอที่ ๔ ทําใหเปนคนพูดจาไพเราะมีวาทศิลป พูดแลวมีอํานาจ มีพลัง มี
ความหลังเหมือนมีมนตศักดิ์สิทธิ์อยูในวาจา พูดกับใครแลวมีเสนหในตัว มีเสียงดังเสียงดี
กองกงั วาน สดใส พลงั กอ งดังไกลไมแหบพรา

๕. ศีลขอที่ ๕ เปนผูมีสติปญญาดีเลิศ มีความคิดความอานเหนือกวาคนทุศีล
ท่ัวไป รางกายสะอาดสดใส ผิวพรรณเปลงปล่ังเนียนนวล ไมเปนคนคิดมาก ไมคิดฟุงซาน
ไมเ ปนโรคประสาทโรคบา ไมเปนคนจูจีข้ บี้ น มีสติสัมปชญั ญะมน่ั คง ไมข ้ีหลงขีล้ ืม๗๕

สรุปไดวา การรักษาศีลอยางมั่นคงไมใหบกพรองดางพรอยนั้นยอมไดอานิสงส
ทันที ขณะปฏิบัติ ขณะรักษา ไดรับผลตั้งแตวินาทีแรกจนถึงอนาคตชาติ (ชาติหนา)
บางครั้งอาจไมช ดั เจนเรือ่ งอานสิ งส เพราะไมปรากฏเปนรูปธรรมใหเห็นและสัมผัสแตะตอง

๗๕ สําลี รักสุทธี, ศีลสุดยอดวินัยของศาสนาพุทธ, (กรุงเทพมหานคร : พัฒนาศึกษา,
๒๕๔๙), หนา ๑๒๐-๑๒๑.

ศึกษาเฉพาะเรื่องในพัฒนาการแหง พระพทุ ธศาสนา ๑๑๑
Selected Topics in Development of Buddhism
พระมหามติ ร ฐติ ปฺโญ,ผศ.ดร.

ไดทนั ทีทันใด หากแตเ รือ่ งของนามธรรมทเ่ี ขา ใจไดยาก ผทู ่ีจะเขาใจมองเห็นไดจะตองเขาใจ
ธรรมชาติของศีลธรรม รูซึ่งถึงความหมายของนามธรรมและสัมผัสไดถึงเร่ืองจิตพอสมควร
อานิสงสของศลี แมจ ะเกดิ ข้ึนไดทันทีท่ีรักษาได แตก็ไมเหมือนการซื้อขายสินคาท่ีปรากฏผล
จากการแลกเปลี่ยนวัตถุไดทันที และผลนั้นจะเกิดท่ีใจคน ที่มีความละเอียดออนกับเรื่องนี้
อยางเขาใจเทาน้นั จงึ จะยอมรบั อานสิ งสของการรักษาศีลทป่ี รากฏในปจจบุ ัน

๓.๘ ประเดน็ ขอ ถกเถียงและการตคี วามศลี ๕ ในพระพทุ ธศาสนา

การศึกษาวเิ คราะหแนวคดิ เกี่ยวกับศลี หาความหมายของศีลในทางพระพุทธศาสนา
และแนวคิดศีลกับเจตนารมณทางสังคมของกลุมนักคิดและนักวิชาการ กลุมผูวิจัยไดนําเสนอ
มาแลวในขางตน และในลําดับตอไปนี้ กลุมผูวิจัยจะไดนําเสนอ การตีความศีลหาของ
เครือขายพุทธศาสนิกเพื่อสังคมนานาชาติ และแนวคิดในการตีความศีล ๕ แนวใหมของ
เครือขายพุทธศาสนิกเพื่อสังคม ซ่ึงสวนใหญไดรับอิทธิพลจากแนวคิดของบุคคลสําคัญอยาง
นอย ๒ ทานดวยกัน คือ พระธรรมปฎก หรือ พระพุทธโฆสาจารย(ป.อ.ปยุตฺโต) ตําแหนง
ปจจุบนั เสนอไวในเรื่องศีลกบั เจตนารมณข องสังคม

พระธรรมปฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) สมณศักด์ิปจจุบัน คือ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย
เปนพระสงฆอีกทานหนึ่งที่พยายามเสนอแนวคิดและฟนฟูศีลในมิติทางสังคมของ
พระพทุ ธศาสนาใหก ลับคืนมาใหม ซง่ึ ทา นมองวาเปนส่ิงท่ีมีอยูแลวแตถูกมองขามไปหรือถูก
มองในเชิงปจเจกจนเกินไป เปนท่ีทราบกันดีวา เรื่องศีลหรือวินัยที่อธิบายตามจารีต
ประเพณีในสังคมไทย สวนใหญก็จะเนนเรื่องของความดีงามสวนบุคคลเปนสําคัญ โดยมอง
เพียงวาสังคมที่ดีเกิดจากการมีปจเจกชนท่ีดีหลายคนมารวมกัน สวนมิติของศีลในดานการ
จดั วางระบบหรือโครงสรางทางสังคมเพื่อสภาพแวดลอมใหเอ้ือตอการพัฒนาคนแทบจะไม
มีการกลาวถึงเลยในสังคมไทย พระธรรมปฎก ไดใหความสําคัญตอเร่ืองนี้มาก โดยทานได
อุทิศพ้ืนที่ในหนังสือพุทธธรรมถึงหนึ่งบท (๒๐ หนากระดาษ) สําหรับอธิบายมิติทางสังคม
ของศีลหรือวินัยเปน การเฉพาะ โดยต้ังช่ือบทวา “ศีลกับเจตนารมณทางสังคม”๗๖ (ตางจาก
พุทธทาสภิกขุที่มองวาธรรมชาติมีเจตนารมณทางสังคม) ทานมองวา หลักคําสอนของ
พระพุทธศาสนาท่ีสะทอนมิตทิ างสงั คมของพระพุทธศาสนาไดอยางเดนชัดที่สุด คือ หลักคํา
สอนในข้ันของศลี หรอื วินัย ดังคํากลา วของทา นทีว่ า

คําสอนและหลักปฏิบัติทางพระพุทธศาสนา สวนท่ีเกี่ยวของกับสังคม และ
สะทอนเจตนารมณของพระพุทธศาสนาในดานความสัมพันธทางสังคมมากที่สุดก็คือ คํา

๗๖ พระธรรมปฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ.
(กรงุ เทพมหานคร: สาํ นกั พมิ พมหาจฬุ าลงกรณราชวิทยาลยั , ๒๕๔๒), หนา ๔๓๑-๔๕๑.

๑๑๒ บทที่ ๓ ขอถกเถยี งและการตคี วามศีลในพระพทุ ธศาสนา

พระมหามติ ร ฐติ ปโฺ ญ,ผศ.ดร. Controversy and Interpretation of the Precepts in Buddhism

สอนและหลักปฏิบัติในขั้นศีล เพราะศีลเปนระบบการควบคุมชีวิตดานนอกเก่ียวดวยการ
แสดงออกทางกายวาจา เปนระเบียบวาดวยความสัมพันธกับสภาพแวดลอม โดยเฉพาะ
อยางย่ิงความสัมพันธระหวางมนุษยดวยกัน การดําเนินกิจการตาง ๆ ของหมูชน การจัด
สภาพความเปนอยูและสิ่งแวดลอมใหเรียบรอยและเก้ือกูลแกการดํารงอยูดวยดีของหมูชน
น้ัน และแกความผาสุกแหงสมาชิกทั้งปวงของหมูชน อันจะเอ้ืออํานวยใหทุกคนสามารถ
บาํ เพ็ญกิจกรณียทด่ี ีงามย่ิง ๆ ข้ึนไป๗๗

ทา นใหมุมมองอีกวา ถาเราไมเขาใจเจตนารมณของศีลในทางสังคมแลว ไมเพียง
เจตนารมณน้ันจะไมขยายกวางออกไปสูการปฏิบัติในสังคมคฤหัสถเทานั้น แมแต
เจตนารมณสวนท่ีมีอยูแลวในวินัยของสงฆเอง ก็จะเลือนลางเหลืออยูเพียงในสภาพของ
พิธีกรรมเทาน้ัน ดวยเหตุนี้ การท่ีจะฟนฟูศีลหรือวินัย ไมควรเนนแตเพียงความเครงครัด
ดานรูปแบบเพียงอยางเดียว ส่ิงท่ีควรทําเพิ่มเติมคือการรักษาเจตนารมณทางสังคมของศีล
หรือวินัยของสงฆใหคงอยู ไมใหเลือนลางเหลืออยูแตในรูปของพิธีกรรมอยางแหงแลง
นอกจากน้ัน ควรขยายเจตนารมณทางสังคมของศีลใหกวางออกไปสูการปฏิบัติในสังคม
คฤหัสถรอบนอกดวย โดยจัดสรรวินัยที่เปนระบบชีวิตและระเบียบสังคมแบบพุทธของ
ชาวบาน ใหเ กิดมขี ึ้นอยา งเหมาะสมกับสภาพแวดลอ มของกาลสมยั ๗๘

วินัยของพระสงฆ เปนระบบท่ีครอบคลุมชีวิตดานนอกของภิกษุสงฆทุกแงทุกมุม
เร่ิมตั้งแตกําหนดคุณสมบัติ สิทธิ หนาที่ และวิธีการรับสมาชิกใหมเขาสูชุมชนคือสงฆ การ
ดูแลฝกอบรมสมาชิกใหม การแตงต้ังเจาหนาท่ีทํากิจการของสงฆพรอมดวยคุณสมบัติและ
หนาท่ีที่กําหนดให ระเบียบเกี่ยวกับการแสวงหา จัดทํา เก็บรักษา แบงสรรปจจัย ๔
ระเบยี บการรับและการจดั แบงสวนอาหาร การทาํ จวี รและขอปฏิบัติเก่ียวกับจีวร ขอปฏิบัติ
ของคนไขและผูรักษาพยาบาลไข การจัดสรรที่อยูอาศัย ขอปฏิบัติของผูอยูอาศัย ระเบียบ
การกอสรางที่อยูอาศัย การดําเนินงานและรับผิดชอบในการกอสราง การจัดผังท่ีอยูอาศัย
ของ ชมุ ชนสงฆวา พึงมีอาคารหรือส่ิงกอสรางใด ๆ บาง ระเบียบวิธีดําเนินการประชุม การ
โจทหรือฟองคดี ขอปฏิบัติของโจทก จําเลยและผูวินิจฉัยคดี วิธีดําเนินคดีและตัดสินคดี
การลงโทษแบบตาง ๆ เปนตน เหลาน้ีลวนแตเปนเรื่องที่ดําเนินตามเจตนารมณทางสังคม
ของศลี ท้งั สิ้น๗๙

๗๗ เรื่องเดยี วกัน, หนา ๔๓๑.
๗๘ เร่อื งเดียวกัน, หนา ๔๕๑.
๗๙ เรอื่ งเดียวกัน, หนา ๔๔๘-๔๔๙.

ศึกษาเฉพาะเร่ืองในพฒั นาการแหง พระพทุ ธศาสนา ๑๑๓
Selected Topics in Development of Buddhism
พระมหามิตร ฐติ ปฺโญ,ผศ.ดร.

พุทธทาสภิกขุ และพระธรรมปฎก มีจุดเนนในเร่ืองเจตนารมณทางสังคมของ
พระพุทธศาสนาแตกตางกัน คือ ทานแรกเนนท่ีธรรมหรือธรรมชาติวามีเจตนารมณทาง
สงั คม สว นทานหลังเนนเร่ืองบัญญัติหรือวินัยวามีเจตนารมณทางสังคม กลาวคือ พุทธทาส
ภกิ ขมุ องวาการทพี่ ระพุทธเจาทรงบัญญัติวินัยใหเจตนารมณทางสังคม ก็เพราะเจตนารมณ
ของธรรมกําหนดใหตองบัญญัติอยางนั้น สวนพระธรรมปฎก มองวาศีลหรือวินัยมี
เจตนารมณทางสงั คม แตไ มไดย ืนยันวาธรรมมเี จตนารมณทางสังคมหรือไม เพียงแตบอกวา
การบัญญัติวินัยท่ีดีตองตั้งอยูบนฐานของธรรม คือตองเกิดจากความรูความเขาใจอยาง
ถกู ตอ งในธรรม ดังทที่ า นกลา วไวว า

ธรรมจึงเปนทั้งฐานของวินัย และเปนทั้งจุดหมายของวินัย (๑) ท่ีวาเปนฐาน
หมายความวา ตองรูความจริงของกฎธรรมชาติ จึงจะสามารถมาจัดตั้งวางระบบแบบแผน
ในหมูมนุษยเพ่ือใหมนุษยไดประโยชนจากธรรมน้ันได ถาไมรู การจัดตั้งก็ผิดพลาดหรือไร
ความหมาย (๒) ทีว่ า เปนจุดหมายคือ การที่ใหมนุษยมาอยูรวมกัน และมีการจัดตั้งระเบียบ
แบบแผนท้งั หมดนั้น ก็เพ่อื ชว ยใหมนุษยเขาถงึ และไดรับประโยชนจากธรรมน่นั เอง๘๐

จะเหน็ วา การทพี่ ระธรรมปฎกบอกวาธรรมเปนรากฐานของวินัยนั้น ดวยเหตุผล
ที่วา วินยั ถูกบัญญัติขึน้ โดยพระพุทธเจาผูทรงรคู วามจริงของธรรมหรอื กฎธรรมชาติ และการ
ที่พระองคบัญญัติวินัยใหมีเจตนารมณทางสังคมนั้น ทานก็ไมไดยืนยันวา เพราะกฎ
ธรรมชาตมิ เี จตนารมณทางสังคมบังคับอยู จึงตองบัญญัติวินัยใหมีเจตนารมณตามนั้น ทาน
เพียงแตบ อกวา การบญั ญัติจดั วางวินัยใหมีเจตนารมณทางสังคม จะเปนสภาพแวดลอมที่ดี
(ปรโตโฆสะ) หรือเกื้อกูลใหคนท่ีอยูในสังคม (สังฆะ) ไดพัฒนาตนใหเขาถึงความจริงของ
ธรรมชาติไดเร็วขึ้น ๓) แนวคิดสังคมคือโครงสรางของศีลธรรม : ผูท่ีเสนอแนวคิดน้ีข้ึนมา
คือ นายแพทย ประเวศ วสี โดยไดรับอิทธิพลท้ังจากแนวคิดของพุทธทาสภิกขุ และพระ
ธรรมปฎกดังที่กลาวมาแลว นพ. ประเวศ มองวา ศีลธรรมหรือศาสนาเหมือนกับสถาบัน
ทางสังคมอื่น ๆ คือตองมีองคประกอบสําคัญ ๒ สวน ไดแก (๑) สวนที่เปนโครงสราง และ
(๒) สวนท่ีเปนเคร่ืองตกแตง สวนท่ีเปนโครงสรางก็คือสถาบันทางสังคม เชน สถาบัน
ครอบครัว สถาบนั ชมุ ชน และสว นทเ่ี ปนเครือ่ งตกแตง ไดแก หลักศีลธรรมหรือหลักคําสอน
ทางศาสนาท่ีเรานํามา อบรมส่ังสอนกัน สวนที่ถือวาสําคัญท่ีสุด คือสวนท่ีเปนโครงสราง
เพราะเปนหลักคํ้าประกันหรือเปนฐานรองรับศีลธรรม ถาสวนที่เปนโครงสรางน้ีลมสลาย
เสียแลว กไ็ มสามารถท่ีจะปลูกฝง ศีลธรรมใหเ กดิ ขึ้นในสงั คมได

๘๐ พระธรรมปฎก (ป.อ.ปยุตฺโต), นิติศาสตรแนวพุทธ, (กรุงเทพมหานคร : บริษัท
สหธรรมกิ จาํ กดั , ๒๕๓๙), หนา ๑๘.

๑๑๔ บทที่ ๓ ขอถกเถยี งและการตคี วามศีลในพระพุทธศาสนา

พระมหามติ ร ฐติ ปฺโญ,ผศ.ดร. Controversy and Interpretation of the Precepts in Buddhism

พระติช นัท ฮันห: สังคมอินเดียโบราณอันเปนบริบทแวดลอมแหงการเกิดข้ึน
ของพระพุทธศาสนา เปนสังคมแบบเกษตรกรรม สภาพของปญหาและความซับซอนของ
ปญหาไมอาจจะเทียบไดกับปญหาของสังคมปจจุบัน แนนอนวาศีล ๕ ซึ่งเปนหลักพุทธ
จริยธรรมทมี่ ุงเนนการแกป ญ หาสงั คม จงึ ถูกออกแบบมาใหส อดคลองกับปญหาจริยธรรมใน
สงั คมเกษตรกรรม สามารถใชอธบิ ายปรากฏการณท างศีลธรรมที่เปนความผิดตรงไปตรงมา
เทา นั้น เชน ศลี ขอ ปาณาติบาต พระอรรกถาจารยไดสรางเกณฑตัดสินไววา (๑) สัตวมีชีวิต
(๒) รูวาสัตวนั้นมีชีวิต (๓) มีจิตคิดจะฆา (๔) พยายามฆา (๕) สัตวตายดวยความพยายาม
ฆานั้น๘๑ ถา ครบองคประกอบทั้ง ๕ ประการนี้จึงถือวาละเมิดศีลขอนี้ เกณฑวินิจฉัยเหลาน้ี
สามารถอธิบายปญหาทาง จริยธรรมในสังคมเกษตรกรรมซึ่งเปนปญหาแบบงาย ๆ
ตรงไปตรงมา แตเ มื่อสงั คมเร่ิมเปลีย่ นแปลงจากสังคมเกษตรกรรมโบราณมาเปนสังคมแบบ
ใหมทคี่ อย ๆ ทวีความซับซอนมากยง่ิ ขึ้น จึงมีคําถามตามวา การฆาในศีลขอนี้มีความหมาย
แคไหน มีความหมายตรง ๆ ตามตัวอักษรเทานั้น (คือลงมือฆาดวยอาวุธ ยาพิษ หรือ
อปุ กรณพเิ ศษอนื่ ๆ) หรือวาการฆาอาจครอบคลุมมาถึงการปลอยใหตายอยางท่ีเรียกกันใน
ปจจุบันวาการุณฆาตแบบลบ (negative euthanasia) หรืออาจรวมถึงการปลอยสารพิษ
จากโรงงานแลวสรา งมลพิษที่บ่ันทอนสุขภาพของผูคน แมการุณฆาตแบบบวกอันไดแกการ
ทําใหตายเพราะความเมตตาก็อาจกอใหเกิดคําถามไดวาผิดศีลขอปาณาติบาตหรือไม๘๒ นี่
คือสวนหน่ึงของปญหาทาทายในสังคมยุคใหมที่ทําใหชาวพุทธหลายทานใหความสนใจกับ
การตีความศีล ๕ แนวใหมใหสามารถตอบประเด็นปญหาทางจริยธรรมที่เกิดข้ึนใหม ๆ ได
ดังคํากลาวของพระติช นัท ฮันห ที่วา “ศีลหาเปนของเกาแกมาก ซ่ึงยอนกลับไปไดถึงสมัย
พุทธกาล พวกเรารูสึกวามันควรไดรับการพูดเสียใหม ควรไดรับการพูดถึงอีกครั้งใน
ความหมายท่เี ขา ใจไดง า ยขึ้นสําหรบั คนในปจ จุบัน”๘๓

พระติช นัท ฮันห มีการตีความศีล ๕ แนวใหม ดังน้ัน การตีความศีลขอ
ปาณาติบาต : หลักการสมาทานศีลขอท่ี ๑ วา “ดวยความตระหนักรูถึงความทุกขทรมาน
อันเกดิ จากการทาํ ลายชีวติ ฉนั ขอตงั้ สัตยปฏญิ าณวา จะบมเพาะความกรณุ า และเรียนรูวิธีท่ี
จะปกปอ งชีวิตของผูคน สรรพสัตว พืช และแรธาตุ ฉันต้ังจิตม่ันท่ีจะไมทําลายชีวิต ไมยอม
ใหผูอ่ืนทําลายชีวิต และจะไมมองขามการทําลายชีวิตโลกน้ี ในมโนสํานึกและวิถีชีวิตของ

๘๑ ข.ุ ข.ุ อ. (บาลี) ๒๒-๒๓.
๘๒ สมภาร พรมทา, พุทธปรัชญา มนุษย สังคม และปญหาจริยธรรม ธรรม,
(กรงุ เทพมหานคร: โรงพิมพจ ฬุ าลงกรณมหาวทิ ยาลัย, ๒๕๔๒), หนา ๓๕๐-๓๕๑.
๘๓ พทุ ธศาสนาสําหรับสังคมสมัยใหม, สนทนากับติช นัท ฮันห, เสขิยธรรม ๔๗, (มกราคม-
มีนาคม, ๒๕๔๔) : ๒๖.

ศึกษาเฉพาะเรือ่ งในพัฒนาการแหงพระพุทธศาสนา ๑๑๕
Selected Topics in Development of Buddhism
พระมหามิตร ฐติ ปฺโญ,ผศ.ดร.

ฉนั ”๘๔ จะเหน็ วา ขอบเขตของศลี ขอ นใ้ี หครอบคลุมมิติทั้ง ๔ ดาน (๑) จิตใจที่ตระหนักรูถึง
ความทุกขของสัตวที่จะไดรับจากการถูกฆาหรือถูกเบียดเบียน (๒) การงดเวนไมเบียดสัตว
(๓) การปกปองสัตวไมใหไดรับการเบียดเบียน และ (๔) การขัดขวางมิใหผูอ่ืนฆาหรือ
เบยี ดเบียนสัตว

นอกจากนั้น ความเมตตากรุณาถือวาเปนรากฐานสําคัญท่ีจะทําใหรักษาศีลได
อยางย้ังยืน ดังคํากลาวของทานท่ีวา สุลักษณ ศิวรักษ มองวา ศีลขอนี้นอกจากจะหมายถึง
การไมฆาสัตวแลว ยังขยายความไปถึงความขัดแยงท้ังภายในและภายนอกท่ีนําไปสูการใช
ความรุนแรงหรือขบวนการที่สนับสนุนความรุนแรงในสังคม เชน การผลิตอาวุธสงคราม
และอาวธุ ทกุ อยางทีน่ ําไปสูก ารคุกคามส่งิ มชี วี ติ ๘๕

การตีความศีลขออทินนาทาน : หลักการสมาทานศีลขอที่ ๒ วา “ดวยการ
ตระหนักถึงความทุกขทรมานอันเกิดจากการขูดรีด การลักขโมย และการกดขี่ ฉันตั้งสัตย
ปฏิญาณวาจะบมเพาะความรักความเมตตา และเรียนรูวิธีท่ีจะทําใหผูคน สรรพสัตว พืช
และแรธาตุ ฉันต้ังสัตยปฏิญาณท่ีจะเอ้ือเฟอเผ่ือแผโดยการแบงเวลา พลังงาน และวัตถุ
ใหแกผูท่ีมีความจําเปนตองใช ฉันต้ังจิตมั่นที่จะไมลักขโมยและไมครอบครองส่ิงท่ีควรเปน
ของผูอ่ืน ฉันจะเคารพในทรัพยสมบัติของผูอื่น และจะปองกันไมใหผูอื่นหาประโยชนจาก
ความทุกขทรมานของเพ่ือนมนุษย หรือความทุกขทรมานของสรรพส่ิงตาง ๆในโลกน้ี”๘๖
จะเห็นวา ขอบเขตของศีลขอที่ ๒ ตามทัศนะของพระติช นัท ฮันห ครอบคลุมถึงมิติถึง ๔
ดาน (๑) ดานจิตสํานึกที่ตระหนักถึงความทุกขทรมานของสัตวที่จะไดรับจากการถูกลัก
ขโมย (๒) ดานการแบงปนเวลา พลังงาน และสิ่งของใหแกผูจําเปนตองใช (๓) ดานการงด
เวนจากการขโมยทรัพยสินของผูอ่ืน (๔) ดานการปองกันไมใหผูอื่นหาผลประโยชนจาก
ความทุกขทรมานของเพื่อนมนุษย

การตีความศีลขอกาเมสุมิจฉาจาร: หลักการสมาทานศีลขอท่ี ๓ วา “ดวยการ
ตระหนักรูถึงความทกุ ขท รมานอันเกิดจากการประพฤติผิดในกาม ฉันตั้งสัตยปฏิญาณวาจะ
มีความรับผิดชอบและเรียนรูวิธีที่จะคุมครองปองกันความปลอดภัยและเกียรติยศของ

๘๔ ติช นัท ฮันห เขียน, แปลโดย ธีรเดช อุทัยวิทยารัตน,ศานติในเรือนใจ : เรียนรูศิลปะ
การดาํ เนินชีวติ อยา งมีสติและผาสุก, (กรงุ เทพมหานคร : สํานกั พมิ พม ลู นิธโิ กมลคมี ทอง, ๒๕๔๓), หนา
๘๘-๑๐๓.

๘๕ อางใน Kenneth Kraft, ed., Inner Peace, Inner World : Assays on Buddhism
and Non-violence, p. 127-133.

๘๖ ติช นัท ฮันห เขียน, แปลโดย ธีรเดช อุทัยวิทยารัตน, ศานติในเรือนใจ : เรียนรูศิลปะ
การดาํ เนินชวี ติ อยางมีสตแิ ละผาสกุ . หนา ๘๘-๑๐๓.

๑๑๖ บทท่ี ๓ ขอ ถกเถียงและการตคี วามศลี ในพระพทุ ธศาสนา

พระมหามิตร ฐติ ปฺโญ,ผศ.ดร. Controversy and Interpretation of the Precepts in Buddhism

ปจเจกบุคคลคูสมรส ครอบครัว และสังคม ฉันตั้งใจที่จะไมมีเพศสัมพันธโดยปราศจาก
ความรักและพันธสัญญาท่ียาวนาน เพื่อท่ีจะปกปกรักษาความสุขของตนเองและผูอ่ืน ฉัน
ตั้งจิตมั่นท่ีจะเคารพในพันธสัญญาของฉันและผูอื่น จะทําทุกอยางตามกําลังความสามารถ
ในอันที่จะปองกันเด็ก ๆ จากการถูกทารุณกรรมทางเพศ และปองกันไมใหคูสมรสและ
ครอบครัวแตกแยกเนื่องจากการประพฤติผิดทางเพศ” จะเห็นวา หลักการสมาทานนี้ ได
แบงมิติของศีลขอกาเมสุมิจฉาจารเปน ๔ ดาน คือ (๑) ดานความตระหนักรูถึงความทุกข
ทรมานอันเกิดจากการประพฤติผิดในกาม (๒) ดานการตั้งปฏิญาณที่จะรับผิดชอบและ
ปกปองคุมครองความปลอดภัยและเกียรติยศของปจเจกบุคคล คูสมรส ครอบครัว และ
สังคม (๓) ดานความเคารพในพันธสัญญาของตนเองและคนอ่ืน (๔) ดานการปองกันเด็กๆ
จากการถกู ทารุณกรรมทางเพศ (๕) ดานการปองกันคสู มรสไมใหแตกแยกจากการประพฤติ
ผดิ ทางเพศ๘๗

การตีความศีลขอมุสาวาท : หลักการสมาทานศีลขอนี้วา “ดวยการตระหนักรู
ถึงความทุกขจากการกลาวถอยคําท่ีขาดความยั้งคิดและระคายหูผูอ่ืน ฉันต้ังสัตยปฏิญาณ
วาจะกลา ววาจาทไ่ี พเราะและฟงอยา งตง้ั ใจเพอื่ ทีจ่ ะนาํ มาซง่ึ ความสดชื่นรื่นเริงและความสุข
ของผูอื่น และบรรเทาความทุกขทรมานของพวกเขาดวยการรูวาถอยคํานั้นสามารถ
สรางสรรคไ ดทั้งความสุขหรอื ความทุกขทรมาน ฉันตั้งสัตยปฏิญาณที่จะเรียนรูการพูดความ
จริงดวยถอยคําท่ีบันดาลใหเกิดความม่ันใจในตนเอง ความสดชื่นร่ืนเริงและความหวัง ฉัน
ตง้ั จติ มั่นที่จะไมก ระจายขา วทีฉ่ นั ไมรจู ริง และไมวิพากษว จิ ารณหรือตําหนิติเตียนในสิ่งที่ฉัน
ไมแนใจ ฉันจะละเวนจากการพูดจาซ่ึงอาจเปนสาเหตุใหเกิดความแตกแยก หรือความ
ขัดแยงหรือทําใหครอบครัวหรือชุมชนแตกสลาย ฉันจะพยายามทุกวิธีทางท่ีจะ
ประนีประนอม และแกไขความขดั แยงตา ง ๆ ไมว าจะใหญหรอื เลก็ เพยี งใด”๘๘
หลักการสมาทานน้ี แยกไดเปน ๔ ดาน คือ

(๑) ดานจิตสาํ นึกที่ตระรถู ึงความทกุ ขท รมานของสัตวอันเกิดจากการพูดปด และ
การพดู ทีร่ ะคายโสตคนอนื่

(๒) ดานการต้ังสตั ยปฏญิ าณทจ่ี ะกลาวถอ ยคําไพเราะและฟงคนอื่นพูดดวยความ
ตั้งใจ

(๓) ดานการละเวนจาการกระจายขาวที่ตนไมรูจริง จากการวิพากษวิจารณและ
การตาํ หนิตเิ ตยี น จากการพูดจาสอ เสยี ดใสรายปา ยสใี หเ กิดความขัดแยงและแตกแยก

(๔) ดา นความพยายามท่ีจะหาทางประนปี ระนอมและแกไขความขัดแยงตา ง ๆ

๘๗ อางแลว .
๘๘ อางแลว.

ศึกษาเฉพาะเร่อื งในพัฒนาการแหงพระพทุ ธศาสนา ๑๑๗
Selected Topics in Development of Buddhism
พระมหามิตร ฐติ ปโฺ ญ,ผศ.ดร.

การตีความศีลขอสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน : หลักการสมาทานศีลขอนี้วา
“ดวยการตระหนักรูถึงความทุกขอันเกิดจากการบริโภคท่ีขาดสติ ฉันต้ังสัตยปฏิญาณที่จะ
รกั ษาสขุ ภาพท้งั ทางรางกายและจิตใจเพอื่ ตวั ฉันเอง ครอบครัวและสังคมของฉันโดยการกิน
ด่ืม และบรโิ ภคอยา งมสี ติ ฉันตั้งสัตยปฏิญาณที่จะบริโภคแตส่ิงท่ีถนอมรักษาศานติ ความมี
สขุ ภาพดแี ละความสดชืน่ รืน่ เรงิ ในรา งกายและจิตสํานึกของฉันและในรางกายและจิตสํานึก
ของครอบครัวและสังคม ฉันตัง้ จติ มั่นทีจ่ ะไมด ่มื เหลา หรอื เคร่ืองดองของเมาอื่นใด หรือเสพ
รบั อาหารหรือสง่ิ อ่ืน ๆ ท่มี พี ิษภยั เชน รายการโทรทัศน นิตยสาร หนังสือ ภาพยนตร และ
การสนทนา ฉันตระหนักวาการบ่ันทอนทําลายรางกาย หรือจิตสํานึกของฉันดวยพิษภัย
เหลานี้เปนการไมซ่ือสัตยตอบรรพบุรุษพอแม สังคมของฉัน รวมทั้งคนรุนตอไปดวย ฉันจะ
ทาํ การเปลยี่ นแปลงความรุนแรง ความหวาดกลวั ความโกรธ และความสับสนในตัวฉันและ
ในสังคม ดวยการฝกการบริโภคเพื่อตัวฉันและสังคม ฉันตระหนักวาอาการท่ีถูกตอง
เหมาะสมนั้นเปน สิ่งสําคัญยง่ิ ในการเปล่ยี นแปลงตนเองและสงั คม”๘๙

มิติของศีลขอน้ีในทัศนะของพระติช นัท ฮันห มี ๔ ดาน คือ (๑) ดานความ
ตระหนักรูถึงความทุกขอันเกิดจากการบริโภคที่ขาดสติ (๒) ดานการต้ังสัตยปฏิญาณที่จะ
รักษาสุขภาพกายและจิตใจของตัวเอง ครอบครัวและสังคม โดยการกิน ด่ืม และบริโภค
อยางมีสติ (๓) ดานการตั้งสัตยปฏิญาณท่ีจะบริโภคแตส่ิงที่ทําใหรางกายและจิตใจของตน
ครอบครัว และสังคม มีสุขภาพดีและราเริงแจมใส (๔) ดานการต้ังจิตมั่นท่ีจะไมดื่มเหลา
เคร่อื งดองของเมา อาหาร หรือส่งิ อ่ืน ๆ ท่ีมพี ิษภัย เชน รายการโทรทัศน นิตยสาร หนังสือ
ภาพยนตร และการสนทนา (๕) ดานการตระหนักวา การบั่นทอนทําลายรางกาย หรือจิต
วิญญาณของตนดวยพิษภัยเหลาน้ีเปนการไมซื่อสัตยตอบรรพบุรุษ พอแม และสังคม
รวมท้ังคนรุนตอไป (๖) ดานความต้ังใจท่ีจะเปล่ียนแปลงความรุนแรง ความหวาดกลัว
ความโกรธ และความสับสนในตัวเองและสังคม ดวยการฝก การบริโภค

เม่ือวาโดยสรุปแลว แมกลุมชาวพุทธเพื่อสังคมจะใหความหมายศีล ๕ แตกตาง
กันบางในรายละเอียด แตมีความเห็นรวมกันอยางหนึ่งวา ศีล ๕ มีสวนประกอบ ๒ อยาง
คือ สว นทเ่ี ปนเจตนารมณด ั้งเดิมของศีล และสว นทเ่ี ปน คําอธิบายหรือคํานิยามของศีล สวน
ที่เปนเจตนารมณของศีล คือ ความมีสติ ความรักความสงสาร (กรุณา) ปรารถนาที่จะให
มนุษยและสรรพสัตวอยูรวมกันอยางมีความสุข ไมมีการเบียดเบียนซึ่งกันและกัน หรือถา
พูดอยา งรวบรดั เจตนารมณข องศลี กค็ ือเรื่องของสงั คมนัน่ เอง

๘๙ อางแลว .

๑๑๘ บทที่ ๓ ขอถกเถียงและการตีความศลี ในพระพทุ ธศาสนา

พระมหามิตร ฐติ ปฺโญ,ผศ.ดร. Controversy and Interpretation of the Precepts in Buddhism

สวนที่เปน เจตนารมณน ี้จะแกไขเปลยี่ นแปลงไมไ ด สวนคํานิยามของศีล หมายถึง
การนิยามความหมายของศีลแตละขอใหสอดคลองกับปญหาสังคมแตละยุคสมัย ชาวพุทธ
กลุมน้ีมองวา ในอดีตความหมายของศีล ๕ ไดรับการนิยามใหเหมาะสมกับสังคมแบบ
เกษตรกรรมที่มีปญหาไมสลับซับซอนอะไรมากนัก แตปญหาสังคมยุคใหมมีความ
สลับซบั ซอนมาก การฆา การลักทรพั ย การประพฤติผิดในกาม การโกหกหลอกลวง และสิ่ง
มอมเมาประชาชน ก็มีรูปแบบท่ีซับซอนแนบเนียนจนแทบจะดูไมออกวาผิดศีลหรือไมผิด
ดว ยเหตนุ ี้ ความหมายของศลี ๕ ในสังคมปจ จบุ ันจะตอ งไดรับการนิยามใหมเพ่ือใหสามารถ
ตอบปญ หาสังคมยคุ ใหมได

๓.๙ วิเคราะหก ารตคี วามศลี ๕ ของพุทธศาสนิกชน

พระพุทธเจาตรัส เรื่องศีล ๕ ไวในสมัยพุทธกาล เปนการแสดงขึ้นมาทามกลาง
สภาพปญหาสังคมแบบหนึ่งซ่ึงแตกตางจากปญหาสังคมสมัยปจจุบันมาก ดังนั้น ศีล ๕ ที่
พระองคแสดงจึงมีลักษณะกวางๆ โดยเนนไปท่ีการมีจิตสํานึกแบบเอาใจเขามาใสใจเราวา
คนอ่ืนเขารักสุขเกลียดทุกขฉันใด เราก็รักสุขเกลียดทุกขฉันน้ัน คนอ่ืนยอมไมชอบใจเมื่อ
ของเขาถูกขโมย ภรรยาสามีถูกลวงละเมิด และถูกหลอกลวงดวยวาจา ฉันใด เราก็ไมชอบ
ใจเม่ือของถูกขโมย ภรรยาสามีถูกละเมิด และถูกหลอกลวง ฉันนั้น จิตสํานึกน้ีเองเปน
รากฐานสาํ คัญในการรกั ษาศลี ๕ ดงั พทุ ธพจนท ่วี า

อริยสาวก พิจารณาเห็นดังน้ี ‘เราอยากเปนอยู ไมอยากตาย รักสุขเกลียดทุกข
ขอ ทบี่ คุ คลพึงปลงชวี ติ เราผูอยากเปนอยู ไมอยากตาย รักสุขเกลียดทุกขนั้น ไมเปนท่ีรัก ไม
เปนทพ่ี อใจของเรา อนึ่ง ขอ ท่ีเราพงึ ปลงชีวติ ผูอ ่นื ผอู ยากเปนอยู ไมอ ยากตาย รักสุขเกลียด
ทุกขน ั้น ก็ไมเ ปนทรี่ กั ไมเปนที่พอใจแมของผูอ่ืน สิ่งใดไมเปนที่รักไมเปนท่ีพอใจของเรา ส่ิง
น้ันก็ไมเปนท่ีรัก ไมเปนท่ีพอใจแมของผูอ่ืน ส่ิงใดไมเปนท่ีรัก ไมเปนท่ีพอใจของเรา เราจะ
นําสิ่งนั้นไปผูกมัดกับผูอ่ืนไดอยางไร’ อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นอยางนี้แลว เปนผูเวนขาด
จากการฆาสัตวเองดวย ชักชวนผูอ่ืนใหงดเวนจากการฆาสัตวดวย กลาวสรรเสริญการงด
เวนจากการฆาสตั วดว ย๙๐

ในยุคตอมาเม่ือสภาพสังคมเปลี่ยนแปลงไป ปญหาการถกเถียงกันเกี่ยวกับวา
พฤติกรรมอยางไรผิดหรือไมผิดศีล ๕ หรือถาบอกวาผิดหรือไมผิดมีหลักอะไรเปนเกณฑ
ตดั สิน ปญ หาในลักษณะนคี้ งจะหาเหตุผลมาอธบิ ายใหเ ปน ทีย่ ุติไดยากพอสมควร พระอรรถ
กถาจารยผูแตงคมั ภรี อ ธิบายขอความในพระไตรปฎ ก คงจะมองเห็นวาปญ หายุงยากน้ี จึงได
แสดงองคห รอื เกณฑตัดสนิ ศลี ๕ แตล ะขอ ไวดงั น้ี

๙๐ สํ.มหา. (ไทย) ๑๙/๑๔๕๙/๓๕๔.

ศึกษาเฉพาะเรอ่ื งในพัฒนาการแหง พระพุทธศาสนา ๑๑๙
Selected Topics in Development of Buddhism
พระมหามติ ร ฐติ ปโฺ ญ,ผศ.ดร.

๑) ปาณาติบาต มีองค ๕ คือ (ก) สัตวมีชีวิต (ข) รูอยูสัตวมีชีวิต (ค) มีจิตคิดจะ
ฆา (ง) มคี วามพยายามในการฆา (จ) สตั วต ายดว ยความพยายามนนั้

๒) อทินนาทาน มีองค ๕ คือ (ก) ของผูอ่ืนหวงแหน (ข) รูอยูวาเขาหวงแหน (ค)
มีจติ คิดจะลัก (ง) มีความพยายามลัก (จ) ลักของไดด ว ยความพยายามนน้ั

๓) กาเมสมุ ิจฉาจาร มีองค ๔ คือ (ก) สตรีหรือบุรุษท่ีไมควรละเมิด (ข) จิตคิดจะ
เสพ (ค) มีความพยายามในการเสพ (ง) ยังมรรค คือ อวยั วะสบื พนั ธใุ หถ งึ กนั

๔) มุสาวาท มอี งค ๔ คอื (ก) เรือ่ งไมจ รงิ (ข) จติ คดิ จะกลา วใหค ลาดเคลอ่ื น
(ค) มคี วามพยายามทจ่ี ะกลาวใหคลาดเคลือ่ น (ง) ผูอื่นเขา ใจความที่พดู นนั้

๕) สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน มีองค ๕ คือ (ก) สิ่งนั้นเปนของเมา (ข) จิตใครจะ
ดื่ม (ค) มคี วามพยายามในการดม่ื (ง) กลืนใหล ว งลาํ คอลงไป๙๑

นอกจากแสดงเกณฑส ําหรบั ตัดสินวาผดิ หรอื ไมผ ดิ ศีลแลว พระอรรถกถาจารยยัง
ไดแสดงเกณฑตัดสินในแงของการผิดศีลท่ีมีโทษมากและโทษนอยดวย โดยวางเกณฑการ
ตัดสินไวดังน้ี (๑) คุณ : ฆาสัตวมีคุณมาก ก็มีโทษมาก ฆาสัตวมีคุณนอยหรือไมมีคุณ ก็มี
โทษนอย เชน ฆาพระอรหนั ตม ีโทษมากกวา ฆา ปุถุชน ฆา สัตวชวยงานมีโทษมากกวาฆาสัตว
ดุรา ย (๒) ขนาดกาย : สําหรับสัตวจําพวกดิรัจฉานทั่วไปที่ไมมีคุณเหมือนกัน ฆาสัตวใหญก็
มีโทษมาก ฆาสัตวเล็กมีโทษนอย (๓) ความพยายาม : ถามีความพยายามในการฆามากก็มี
โทษมาก ถา มีความพยายามในการฆา นอ ยก็มีโทษนอย (๔) กิเลสหรือเจตนา : ถากิเลสหรือ
เจตนาแรงก็มีโทษมาก ถากิเลสหรือเจตนาออนก็มีโทษนอย เชน ฆาสัตวดวยโทสะ มีโทษ
มากกวาฆา ดวยปองกันตัว๙๒

แมในศีลขออื่น ๆ พระอรรถกถาจารยก็กลาวถึงการละเมิดท่ีมีโทษมากหรือโทษ
นอ ยไวแ นวเดยี วกัน เชน อทนิ นาทานมีโทษมากหรือนอยตามคุณคาของสิ่งของ คุณความดี
ของเจาของ และความพยายามในการลัก กาเมสุมิจฉาจาร มีโทษมากหรือนอยตามคุณ
ความดีของคนที่ถูกละเมิด ความแรงของกิเลสและความเพียรพยายาม มุสาวาทมีโทษมาก
หรือนอ ย แลวแตประโยชนท่จี ะถกู ตัดรอนเปน เรื่องใหญหรือเร่ืองเล็กนอย และแลวแตผูพูด
เชน คฤหัสถจะไมใหของของตน พูดไปวาไมมี ก็ยังมีโทษนอย ถาเปนพยานเท็จมีโทษมาก
สาํ หรับบรรพชติ พูดเลนมโี ทษนอย จงใจบอกของที่ไมเ คยเหน็ วา เห็น มีโทษมาก สําหรับการ
ดื่มของเมา มีโทษมากนอยตามอกุศลจิตหรือกิเลสในการท่ีจะดื่ม ตามปริมาณที่ด่ืม และ

๙๑ ข.ขุ.อ. (บาลี) ๒๒., ขุ.อิติ.อ. (บาลี) ๒๙๙-๓๐๔., มงฺคล.(บาลี) ๑/๑๙๙-๒๒๔/๒๐๐-๒๑๗.
อางใน พระมหาสมบูรณวุฑฺฒิกโร,ดร., พระพุทธศาสนาเพื่อสังคม, https://www.gotoknow.org/posts
/396207. [วันท่ี ๑๕ มิถนุ ายน ๒๕๖๐].

๙๒ ข.ข.ุ อ. (บาล)ี ๒๒., ข.ุ อิต.ิ อ. (บาลี) ๒๙๙-๓๐๔., มงคฺ ล.(บาล)ี ๑/๑๙๙-๒๒๔/๒๐๐-๒๑๗.

๑๒๐ บทที่ ๓ ขอ ถกเถยี งและการตีความศลี ในพระพุทธศาสนา

พระมหามิตร ฐติ ปฺโญ,ผศ.ดร. Controversy and Interpretation of the Precepts in Buddhism

ตามผลท่ีจะกอใหเกิดการกระทําผิดพลาดช่ัวราย ถามองในแงของการสรางจิตสํานึกหรือ
ความรูแบบเอาใจเขามาใสใจเรา ถือวาเปนจิตสํานึกท่ีตระหนักรูและมีความรับผิดชอบตอ
ตนเองและสงั คม

ดังขอความของพุทธพจนท่ียกมาขางตนวา “อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นอยางน้ี
แลว เปน ผเู วนขาดจากการฆาสตั วเองดวย ชักชวนผูอ่ืนใหงดเวนจากการฆาสัตวดวย กลาว
สรรเสริญการงดเวนจากการฆาสัตวดวย” (ในศีลขออื่น ๆ ก็มีขอความอยางเดียวกันนี้)
ผูเขียนมองวา พุทธพจนน้ีคอนขางจะสอดคลองกับการตีความศีล ๕ แนวใหมของพระติช
นัท ฮันห ที่กลาวมาแลวขางตน การตีความของพระอรรถกถาจารยในยุคหลังพุทธกาลท่ี
เนนการสราง กฎเกณฑท่ีรอบคอบรัดกุม แมจะมีประโยชนในแงท่ีใหความสะดวกในการ
วินิจฉัยหรือชี้ชัดลงไปวาพฤติกรรมน้ันๆ เขาขายผิดศีลหรือไมผิด แตในขณะเดียวกัน
กฎเกณฑเหลาน้ีก็มีสวนทาํ ใหศลี แตละขอ มลี กั ษณะหยุดนิ่งตายตัวและมีขอบเขตคับแคบลง
จนกลายเปนเร่ืองของพฤติกรรมสวนตัวของแตละบุคคล และเกณฑสําหรับวินิจฉัยการ
ละเมิดศีลแตละขอก็มุงการตัดสินพฤติกรรมทางศีลธรรมท่ีบุคคลหน่ึง ๆ กระทําขึ้นเทาน้ัน
บางครั้งการรักษาศีลก็กลายเปนเพียงการเฝาระวังพฤติกรรมของใครของมันไมใหเขาขาย
การผิดศีลตามเกณฑที่ต้ังเอาไวเหมือนกับการระวังตนไมใหผิดกฎหมายบานเมือง ซึ่งการ
รักษาศลี แบบน้ีอาจจะไมไ ดม าจากจิตสํานึกทมี่ องกวางออกไปถึงประโยชนท่ีสังคมจะไดรับก็
ได ในท่ีสุดจิตสํานึกหรือเจตนารมณอันกวางขวางที่อยูเบ้ืองหลังการรักษาศีล ๕ ท่ี
พระพทุ ธเจา แสดงไวกห็ มดความสําคญั ลง

ปจจุบันการขยายขอบเขตของศีลหรือวินัยเพื่อใหครอบคลุมประเด็นปญหาใหม ๆ
ในสังคมไมใชวาจะไมเคยเกิดข้ึนในสมัยพุทธกาล แมพระพุทธเจาเองก็ทรงปรับปรุงแกไขพระ
วินัยท่ีพระองคทรงบัญญัติไวเองบอย ๆ ในกรณีท่ีพฤติกรรมการละเมิดพระวินัยของพระภิกษุ
มีความซับซอนมากขึ้น เชน ปาราชิกขอท่ี ๑ ที่วาดวยการหามเสพเมถุน คร้ังแรกบัญญัติ
ข้ึนมาหามไมใหภิกษุเสพเมถุนกับสตรีเพศ โดยปรารภเหตุที่พระสุทินไปเสพเมถุนกับภรรยา
เกาของตน ตอมาปญหาการเสพเมถุนของภิกษุมีความซับซอนมากข้ึน พระพุทธเจาจึงทรง
ขยายขอบเขตของวินัยขอน้ีใหครอบคลุมท้ังการเสพเมถุนกับมนุษยและสัตวเดรัจฉานตัวเมีย
ซึ่งเรียกวา “อนุบัญญัติ” ถาพุทธศาสนิกชนยังตีความโดยยึดตามเจตนารมณของศีล ๕ ท่ี
พระพุทธเจาแสดงไวในพุทธพจนขางตนก็ยังสามารถรักษาอรรถของเน้ือหาไวได ผูเขียน
มองวามีเหตุผลเพียงพอที่จะสามารถทําไดอยางนั้น แตจะมีปญหาอยางหน่ึงตามมา คือ
เนื่องจากวาพุทธศาสนิกชนในสังคมปจจุบัน ไดตีความศีล ๕ ในแงของการขยายขอบเขต
ความหมายของศีลเทา นัน้ โดยไมไดสรางกฎเกณฑสําหรับวินิจฉัยปญหาเหมือนอยางท่ีพระ
อรรถกถาจารยเคยทาํ มาแลว ดังน้ัน เม่ือนําเอาไปใชในสถานการณของปญหาจริยธรรมจริง ๆ

ศกึ ษาเฉพาะเร่อื งในพัฒนาการแหงพระพุทธศาสนา ๑๒๑
Selected Topics in Development of Buddhism
พระมหามติ ร ฐติ ปฺโญ,ผศ.ดร.

จะสรางปญหาในการตัดสินขึ้นมาทันที ใหยึดเกณฑคือเจตนารมณพ้ืนฐานของศีล ๕ เปนตัว
ตดั สนิ ถาการกระทาํ ใดกต็ ามท่ไี มเ ปน ไปโดยสอดคลอ งกับเจตนารมณของศีลที่มุงประโยชนสุข
ของบคุ คลและสังคม ใหถอื วา การกระทํานน้ั เปนการละเมิดศีลฤ

ตารางท่ี ๓.๑ เปรียบการตคี วามศลี หาแบบเดิมกับการตีความแบบใหม๙๓

ศลี หา การตคี วามแบบเดิม (อรรถกา) การตคี วามแบบใหม

๑. ปาณาติบาต ปาณาติบาต หมายถึง การท่ี ป า ณ า ติ บ า ต น อ ก จ า ก จ ะ
บุคคลหน่ึงลงมือฆาสัตวอ่ืนให หมายถึงการพรากชีวิตของคน
ตาย โดยมีเกณฑการตัดสินที่ อื่นแลว ยังครอบคลุมการใช
ชัดเจน ๕ ประการ คือ ความรุนแรงในรูปแบบตาง ๆ
๑) สตั วมชี ีวิต เชน การคาอาวุธสงคราม การ
๒) รูอยูวา สตั วม ีชีวติ กอสงคราม การใชแรงงานเด็ก
๓) มจี ติ คดิ จะฆา การกดข่ีขมเหงผูใชแรงงาน การ
๔) มีความพยายามในการฆา ตัดไมทําลายปา การทําลาย
๕) สตั วตายดว ยความพยายามนนั้ ส่ิงแวดลอม การเสนอภาพขาว
ความรนุ แรง

๒. อทินนาทาน อทินนาทาน หมายถึง การท่ี อ ทิ น น า ท า น น อ ก จ า ก จ ะ
บุคคลหนึ่งไปลักขโมยทรัพยของ หมายถึงการลักทรัพยคนอ่ืน
คนอ่ืน โดยมีเกณฑตัดสิน ๕ โดยตรงแลว ยังหมายถึงการแยง
ประการ คอื ชงิ ทรัพยากร การปน หนุ การเกง็
๑) ของผอู นื่ หวงแหน กําไรคา เงนิ การละเมิดทรัพยสิน
๒) รูอยูว า เขาหวงแหน ทางปญหา การขโมยขอมูล
๓) จิตคดิ จะลกั ขาวสารอันเปนความลับสวน
๔) มีความพยายามลกั บคุ คล เปนตน
๕) ลกั ของไดด วยความพยายามน้ัน

๓.กาเมสมุ จิ ฉาจาร กาเมสุมิจฉาจารเนนการที่บุคคล กาเมสุมิจฉาจาร นอกจากจะ

๙๓ พระมหาสมบูรณ วุฑฺฒิกโร,ดร., พระพุทธศาสนาเพ่ือสังคม (ตอน ๖). [ออนไลน].
แหลงที่มา: https://www.gotoknow.org/posts/396207

๑๒๒ บทที่ ๓ ขอถกเถยี งและการตีความศีลในพระพุทธศาสนา

พระมหามิตร ฐติ ปฺโญ,ผศ.ดร. Controversy and Interpretation of the Precepts in Buddhism

ศลี หา การตคี วามแบบเดิม (อรรถกา) การตีความแบบใหม

หนึ่งประพฤติผิดทางเพศตอสตรี หมายถึงการละเมิดภรรยาสามี
หรือบุรุษท่ีเปนคูครองของคนอ่ืน ของคนอื่นแลว ยังหมายถึงการ
มีเกณฑต ดั สิน ๔ ประการ คาประเวณี ส่ือลามกอนาจาร
๑) สตรีหรือบรุ ุษที่ไมควรละเมิด ความมัวเมาในการเสพบริโภค
๒) จติ คดิ จะเสพ การมีเพศสัมพันธโดยปราศจาก
๓) มีความพยายามในการเสพ พันธสัญญาและความรับผิดชอบ
๔) ยังอวยั วะสืบพนั ธใุ หถ ึงกัน และส่ือบันเทิงท่ีทําใหม ัวเมาหรือ
ยั่วยุกามารมณ เปนตน

๔. มุสาวาท มุสาวาท เนนการพูดเท็จของ มุสาวาท นอกจากจะหมายถึง
บุคคลหน่ึงตออีกบุคคลอื่น มี การพูดเท็จแบบตรง ๆ แลว ยัง
เกณฑตดั สิน ๔ ประการ คือ ห ม า ย ถึ ง ก า ร ป ก ป ด ข อ มู ล
๑) เรอื่ งไมจริง ขาวสาร เสนอการเสนอขาวสาร
๒) จิตคิดจะกลา วใหคลาดเคลอ่ื น เพียงดานเดียว การโฆษณาเกิน
๓) มีความพยายามที่จะกลาวให ความจริง การแสวงหาประโยชน
คลาดเคล่ือน จากความไดเปรียบดานขอมูล
๔) ผอู นื่ เขา ใจความที่พดู นัน้ ขาวสาร เปน ตน

๕. สุราเมรยมัชช- สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน เนน สรุ าเมรยมชั ชมาทัฏฐาน นอกจาก
ปมาทฏั ฐาน ใหปจเจกบุคคลแตละคนงดเวน จะหมายถึงการเสพสุราและของ
จากการเสพสุราและของมึนเมา มึนเมาแลว ยังหมายถึง การหลง
อันเปน ท่ตี ัง้ แหง ความประมาท มี มัวเมาในการเสพส่ือบันเทิง การ
เกณฑต ดั สนิ ๕ ประการ คือ โฆษณาสินคาทม่ี อมเมาประชาชน
๑) สิ่งนัน้ เปน ของเมา การคา ขายของมึนเมา เปนตน
๒) จติ ใครจะดื่ม
๓) มีความพยายามในการดม่ื
๕) กลืนใหล ว งลําคอลงไป

บทที่ ๔
แนวคดิ จิตประภสั สรในพทุ ธศาสนาเถรวาทและมหายาน

The concept of Mental Propitiation in Theravada
and Mahayana Buddhism

บทนาํ

แนวคดิ เรอื่ งจติ ประภสั สรเปนธรรมชาตชิ นิดหนงึ่ ท่เี ปน นามธรรมไมม ีรูปรางอาศัย
อยูในรางกายของสัตวทั้งหลาย มักด้ินรน กวัดแกวง รักษายาก หามไดยาก มักตกไปใน
อารมณท ่ีตนปรารถนา เกิดเร็ว ดับเร็ว เท่ียวไปไกลและเท่ียวไปดวงเดียว แตเปนธรรมชาติ
ท่ีฝก ได มีคนเปนจํานวนไมนอยท่ีเขาใจวา จิตของมนุษยเม่ือเริ่มเกิด คือถือกําเนิดในครรภ
มารดาน้ันบริสุทธิ์ ไมมีความตองการใดๆ แตเม่ือโตขึ้นจิตก็เศราหมอง เพราะอุปกิเลสมีโล
ภะเปนตนจรมารบกวน ทําใหตองการสิ่งโนนสิ่งนี้ไมมีท่ีส้ินสุด เม่ือกลาวถึงเร่ืองจิต
ประภัสสร ซ่ึงหมายถึง จิตผุดผอง หรือผองใส ผูที่เจริญวิปสสนาภาวนา จนถึงข้ันอัปปนา
สมาธแิ ลว จะรูวา จิตนน้ั ใสสะอาด บรสิ ุทธิ์เม่ือเกิดสภาพจิตหรือเจตสิกที่เปนกิเลสข้ึน จิตจึง
ขุนมัวและดูทึบ ดังที่สามัญชนรูสึกกันอยู ดังนั้นปรัชญาของพราหมณและปรัชญาของ
มหายานจึงถอื วา จติ เปนธรรมชาติบริสุทธม์ิ าแตเ ดิมแลว ไดมีการกลาวถึงจิตบริสุทธิ์หรือจิต
เดิมแท หรือเน้ือแทของจิตวา เปนตัวตนท่ีแทจริงของคนเรา พระพุทธศาสนามหายานมี
ทรรศนะเก่ียวกับจิตเดิมแทน้ี (จิตประภัสสร) วาเปนธรรมชาติที่มีความเปนพุทธะอยูในตัว
เปนจติ ดง้ั เดิมที่สะอาด สวาง บรสิ ุทธิ์ ผองใส และเปนธาตบุ ริสุทธ์ิ ท่ีเห็นสภาพจิตกวัดแกวง
ไปมาน้ันก็เพราะถูกกิเลสครอบงํา เมื่อปฏิบัติไปถึงท่ีแลว กิเลสท้ังหลายที่ครอบงําก็จะถูก
ทําลายไปแลวจะพบกับจิตเดิมแท ท่ีสวาง สะอาด สงบ ในขณะเดียวกันการปรากฏการณ
ของจติ นนั้ ถอื วาเปนการสรา งสรรคข องจติ

๔.๑ ความหมายของจิตประภสั สร

พุทธวจนะวา “จิตน้ีประภัสสร แตจิตนั้นแลเศราหมอง เพราะอุปกิเลสที่เกิดข้ึน
ภายหลัง”๑ ความตรงนี้อาจทําใหเขาใจไดวา จิตประภัสสรมีมาต้ังแตดั้งเดิม หรือ จิตจะ
ประภัสสรไดก็ตอเมื่อเขาถึงอัปปนาสมาธิ จึงจะรูไดวาเคยเศราหมอง เพราะมีอุปกิเลสมา

๑ องฺ.เอกก. (ไทย) ๒๐/๔๙-๕๒/๙-๑๐.

๑๒๔ บทที่ ๔ แนวคดิ จิตประภสั สรในพุทธศาสนาเถรวาทและมหายาน

พระมหามติ ร ฐติ ปโฺ ญ,ผศ.ดร. The concept of Mental Propitiation in Theravada and Mahayana Buddhism

พองพาน ทานพุทธทาสไดกลาวไววา “จิตน้ีตามธรรมชาติแทๆ มันก็มิไดมีกิเลสติดมา
นับเปนจิตท่ีเกล้ียงท่ีวางจากกิเลส กอนแตท่ีจะเกิดกิเลส มีลักษณะประภัสสร”๒ และ
“ทารกน้ันไมมีความรูเรื่องเจโตวิมุตติ ไมมีความรูเร่ืองปญญาวิมุตติสําหรับจะควบคุมไมให
เกิดกิเลส”๓ จาํ เปน ตองตีความเพื่อใหชัดเจนวาทุกคนเมื่อเกิดมายอมมีจิตประภัสสรอยูเดิม
แลว ดังพุทธพจนบทหนึ่งวา ภิกษุ ท. ! จิตนี้ เปนธรรมชาติประภัสสร แตจิตน้ันแล เขาถึง
ความเศราหมองแลว เพราะอุปกิเลสอันเปนอาคันตุกะจรมา…๔ จิตท่ีมีธรรมชาติประภัสสร
ซ่ึงมีความละเอียด มีความสวางไสว มันเหมือนกับมีตัวตนแตมันไมใชมีตัวตน พระพุทธเจา
ยกอุปมาอุปไมยเปรียบเทียบกับนักมายากลหรือพยับแดด จิตน้ีทําใหเราเขาใจไปวา มันมี
ตัวตน มันมีของเดิม มันมีของใหม มันเปนของฉัน มันเปนของเขา มันเปนอยางนั้นมันเปน
อยางน้ี ทาํ ใหเราเขาใจไป แตว า “ตวั มนั จรงิ ๆ ไมมีอะไร” คาํ ท่วี า “มนั ไมมีอะไร” ตรงน้ีละ
ท่ีเรียกวา มันมีความเปน ประภัสสร เพราะมันทําใหเรารูสึกวา มันเศราหมองได มันดีได มัน
เปนตัวตนขึ้นมา และถาเปนเชนนั้นจริง กิเลสหรืออนุสัยกิเลสทั้งหลายนั้นเกิดข้ึนมาจาก
ตรงไหน และเกิดข้ึนไดอยางไร ในขณะเดียวกัน การตีความวาจิตไมบริสุทธ์ิมาแตเดิมก็ตั้ง
คําถามวา แสดงวาจิตเศราหมองโดยธรรมชาติ แลวความเศราเกิดเมื่อไร เปนเน้ือเดียวกับ
จิตใชหรือไม ถาเปนเน้ือเดียวกับจิตแลวเราจะกําจัดกิเลสไดอยางไร เหมือนนํ้ากับความ
สกปรกเปนเน้ือเดยี วกัน จึงทาํ ใหเ กิดคาํ ถามตอ ไปอีกวา แนวความคิดของจิตประภัสสรที่ถูก
ทาํ ใหเ ศราหมองเกิดขึน้ มาจากตรงไหนไดอยา งไร และจะมีวธิ ปี อ งกนั หรอื ไม อยา งไร

คําวา “จติ ประภัสสร” สามารถแบงออกเปน ๒ คาํ ไดแ ก คําวา “จิต” และคําวา
“ประภสั สร” ในคมั ภรี อ ภิธัมมตั ถวภิ าวินี ทานพระอนุรุทธาจารยไดใหความหมายของคําวา
“จติ ” ดงั ตอไปนี้ คือ

ความหมายวา คิดหรือรูอารมณ มีขอความรองรับไววา“ธรรมชาติใดยอมคิด
อธิบายความวา ยอมรูแจงอารมณ” ความหมายวา กอหรือสราง มีขอความรองรับวา “ท่ี
ชื่อวาจิตเพราะกอ/สรางใหวิจิตร” ความหมายวา เก็บ หรือสั่งสม มีขอความรองรับวา “ที่
ช่ือวาจิต เพราะสั่งสมสันดาน (การสืบตอ) ของตน หรือที่ชื่อวา จิต เพราะส่ังสมไวดวย
กรรมและกิเลส” และความหมายวา วิจิตร มีขอความรองรับวา ที่ชื่อวา จิต เพราะรักษาไว
ซ่ึงความวิจิตร หรือ ช่ือวาจิต เพราะมีอารมณอันวิจิตร หมายถึงวิจิตรท้ังตัวของจิตเองและ
อารมณทจี่ ติ ปรงุ แตง ขน้ึ ๕

๒ พุทธทาสภกิ ขุ, จติ น้ปี ระภสั สร, (กรุงเทพมหานคร: สขุ ภาพใจ, ๒๕๕๐), หนา ๔๓.
๓ อางแลว หนาเดยี วกัน.
๔ เอก.อ.ํ (ไทย) ๒๐/๑๑–๑๒/๕๒–๕๓.
๕ อภ.ิ สงฺ.อ. (บาลี) -/๑๑๐, วภิ าวนิ ี. (บาลี) ๑๖๕-๑๖๖, ทปี นฎี ีกา (บาลี) ๙.

ศึกษาเฉพาะเร่อื งในพัฒนาการแหงพระพุทธศาสนา ๑๒๕
Selected Topics in Development of Buddhism
พระมหามิตร ฐติ ปโฺ ญ,ผศ.ดร.

จากความหมายของจิตดังกลาวขางตนนี้ สามารถนิยามความหมายไดถึง ๔
ประการดวยกัน ไดแก (๑) คิด (๒) กอหรือสราง (๓) สั่งสม (๔) วิจิตร เมื่อรวมกันเปนการ
ตอเนื่องจะไดความวา การรับรูถึงส่ิงที่มากระทบซึ่งเรียกชื่อวาอารมณ แลวกอหรือสราง
อารมณนั้นใหเปนเรื่องราวอยางตอเน่ืองแลวนําไปเก็บหรือส่ังสมเร่ืองน้ันไว ตอมาก็แสดง
ความวิจิตรพิสดารที่สั่งสมไวในตัวเองออกมาและไปรับอารมณทางตา หู จมูก ล้ิน กาย ใจ
ขึ้นมาใหมอ ีก ดังทีท่ านพระโสภณมหาเถระ (มหาสสี ยาดอ) ไดใหความหมายแบบรวมไวว า

จติ คือ สภาวะรสู ่ิงตา งๆ ทางตา หู จมูก ล้ิน กาย ใจ โดยผานทวารหรือประตู ๖
บานเหมือนคนอยูในบานน่ังดูส่ิงที่อยูนอกบานผานประตู การรูสีผานตาเปนการเห็น การรู
เสียงผานหูเปนการไดยิน การรูกลิ่นผานจมูกเปนการรูกล่ิน การรูรสผานลิ้นเปนการลิ้มรส
การรูสงิ่ ที่ผา นรา งกายเปน การสมั ผสั และการรบั รูทางใจเปนการนึกคิด๖

หลวงพอพุทธทาสภิกขุไดใหความหมายของจิตไววา “ธาตุท่ีมีคุณสมบัติรู เปน
นามธรรมคือไมมีรูปรางทางวัตถุ ธาตุจิตมีหนาท่ีรู จิตตองทําหนาท่ีรูสึกรูแจง รูสึกเกิดขึ้น
เฉพาะกาลเฉพาะเวลากรณี และเปนประภัสสรอยูตามธรรมชาติ แตเปล่ียนได เศราหมอง
ไดตามสง่ิ ทีเ่ ขา ไปเกีย่ วของในฐานทเี่ ปนเจตสกิ ธรรม”๗

จิต คือ การรูอารมณ การขยับเขยื้อนเคล่ือนไหวไปตามอารมณตางๆ มีช่ือเปน
ภาษาบาลีวา นามะ คือนามธรรมท่ีเรียกท่ัวไปวา จิต (นามธรรมท่ีมีสภาพรู)๘ จิตใน
ความหมายวา “ธรรมชาติที่รูอารมณสภาพที่นึกคิด ความคิด ใจ”๙ จิตเปนธรรมชาติท่ีคิด
ธรรมชาติที่รูอารมณ ธรรมชาติท่ีสะสมการสืบตอของตนไวดวยอํานาจชวนวิถี และ
ธรรมชาติที่ทําใหวิจิตร”๑๐ จิตคือสิ่งที่คิดถึงเร่ืองราวดังคํานิยามที่วา อารมฺมณํ จินฺเตตีติ
จิตฺตํ จิตคือธรรมชาติที่คิดถึงอารมณ อารมณคือส่ิงท่ีจิตคิด ๖ ประการ คือ รูป เสียง กลิ่น

๖ พระโสภณมหาเถระ (มหาสสี ยาดอ), มหาสติปฏ ฐานสตู ร ทางสูพระนิพพาน, ตรวจชาํ ระ
โดย พระพรหมโมลี (สมศักดิ์ อุปสโม, ป.ธ.๙, MA.,Ph.D.), แปลและเรยี บเรียงโดย พระคันธสาราภิวงศ,
(กรุงเทพมหานคร: หา งหุนสว นจํากดั ไทยรายวนั การพิมพ, ๒๕๔๙), หนา ๒๖๕.

๗ พุทธทาสภกิ ขุ, บรมธรรม ภาคปลาย, พิมพค รั้งที่ ๕, (กรงุ เทพมหานคร: ธรรมทานมลู นธิ ,ิ
๒๕๔๑), หนา ๕๑๒-๕๑๖.

๘ พระอาจารย ดร. ภัททันตะ อาสภมหาเถระ ธัมมาจริยะ อัคคมหากัมมัฏฐานาจริยะ,
ธรรมกถา การปฏิบัติวิปสสนากัมมัฎฐานตามหลักสติปฎฐาน ๔, (ชลบุรี : คณะศิษยวิเวกอาศรม,
๒๕๔๑), หนา ๒๘-๒๙.

๙ พระพรหมคุณาภรณ (ป.อ.ปยุตฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสน ฉบับประมวลศัพท, พิมพ
คร้ังที่ ๑๕, (กรงุ เทพมหานคร: โรงพิมพบ รษิ ัทสหธรรมกิ จาํ กดั , ๒๕๕๓), หนา ๖๒.

๑๐ พระธรรมกติ ติวงศ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙, ราชบัณฑิต), พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธ
ศาสน ชุด ศัพทวิเคราะห, (กรุงเทพมหานคร: โรงพมิ พเ ล่ยี งเชยี ง, ๒๕๕๐), หนา ๒๔๗.

๑๒๖ บทท่ี ๔ แนวคดิ จิตประภสั สรในพทุ ธศาสนาเถรวาทและมหายาน

พระมหามติ ร ฐติ ปโฺ ญ,ผศ.ดร. The concept of Mental Propitiation in Theravada and Mahayana Buddhism

รส สัมผสั และธรรมารมณ (จินตภาพ)”๑๑ ในขณะเดียวกันทานพระมหาสมบูรณ วุฑฺฒิกโร
(พรรณา) ไดตคี วามความหมายของจิตวา ความหมายของจิตดังกลาวนี้ถูกนิยามข้ึนบนฐาน
คิดที่วา จิตมีโครงสราง-หนาท่ีแตกตางกันหลายระดับ จิตบางระดับทําหนาที่รับรูโลกทาง
อายตนะ บางระดับทําหนา ท่ีปรุงแตงโลกท่รี ับรใู หวิจติ รพสิ ดาร และบางระดับทําหนาที่เปน
ทเี่ กบ็ สง่ั สมผลแหงการกระทําทงั้ หมดทง้ั ทด่ี ี และไมด๑ี ๒

จากประเด็นความหมายของจิตทั้งหมดที่ยกมาขางตนดังกลาว แสดงใหเห็นวา
จิตก็คือ นามธรรมท่ีสามารถรูอารมณหรือสิ่งท่ีมากระทบได หรือรูส่ิงตางๆ คือ รูป เสียง
กลิ่น รส สมั ผสั และธรรมารมณท ีผ่ า นมาทางตา หู จมูก ล้ิน กาย ใจ เม่ือกลาวถึงธรรมชาติ
ของจติ มอี ยู ๔ อยา ง ไดแ ก

๑) ไปไดไ กล (ทรู งฺคมํ) หมายถงึ พฤตกิ รรมการรับรอู ารมณข องจิตอาจกลาวไดวา
จิตสามารถไปรับรูอารมณที่อยูหางออกไปไกลได แมเร่ืองในอดีตไดผานมานานแลว หรือ
เรอ่ื งท่ยี งั มาไมถ งึ ในอนาคต จติ นน้ั สามารถรับเอาเรือ่ งนั้นมาเปน ของอารมณได

๒) เที่ยวไปผูเดียว (เอกจรํ) หมายถึง การเกิดดับเปนขณะๆ ของจิตอาจกลาวได
วา จิตมีธรรมชาติเกิดดับทีละดวง เมื่อจิตดวงหนึ่งเกิดขึ้นแลวก็ดับไป จะเปนปจจัยใหจิต
ดวงอน่ื เกิดข้นึ ในรูปกระแสท่ตี อเน่อื ง

๓) ไมมีสรีระ (อสรีรํ) หมายถึง ความไมมีรูปรางหนาตาของจิต หมายความวา
จิตเปนส่ิงนามธรรม จึงไมมีสรีระรางกาย ไมมีรูปรางสัณฐาน ไมมีน้ําหนัก ไมมีสี ไมมีกลิ่น
และไมมีการกนิ ที่ ซ่ึงตา งจากสิ่งรปู ธรรมท้งั หลาย

๔) มีถ้ําเปนที่อาศัย (คูหาสยํ) หมายถึง จิตมีถ้ําเปนที่อาศัย หมายถึงการอยู
รว มกนั ระหวางนามกับรูปในขันธ ๕ ก็ได ในอรรถกถาธรรมบททานกลาวไววา คําวา “ถ้ํา”
คอื ที่ต้งั อยู หรอื ฐานอันเปน ท่ีตั้งของจติ ไดแ ก หวั ใจ๑๓

สวนคําวา “ประภัสสร” แปลวา “ผุดผอง” หรือ “ผองใส” หมายถึงมีแสงสวาง
หรือมีรัศมี โดยปกติหรือธรรมชาติ คําวา “ผุดผอง”น้ี เหมือนกับคําท่ีพระมหาโมคคัลลาน
เถระถามเทพธดิ าองคห น่งึ ในประภัสสรวมิ านวา

๑๑ พระเทพโสภณ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต), ตามรอยธรรมครอบ ๕๐ ป, (กรุงเทพมหานคร :
โรงพิมพมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๘), หนา ๑๗๒.

๑๒ พระมหาสมบูรณ วุฑฺฒิกโร (พรรณา), “จิตตมาตรของนิกายโยคาจาร: การศึกษาเชิง
วิเคราะหบนฐานแนวคิดเร่ืองจิตในพระพุทธศาสนายุคตน”, วิทยานิพนธพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต,
(บณั ฑติ วิทยาลยั มหาวทิ ยาลยั มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลยั , ๒๕๕๒), หนา ๑๐๔-๑๐๕.

๑๓ ขุ.ธ. (บาลี) ๒๕/๓๗/๒๒., ขุ.ธ. (ไทย) ๒๕/๓๗/๓๗., ดูรายละเอียดใน ขุ.ธ.อ. (บาลี) ๑/
๒๒๘-๒๒๙.

ศกึ ษาเฉพาะเรื่องในพฒั นาการแหงพระพุทธศาสนา ๑๒๗
Selected Topics in Development of Buddhism
พระมหามิตร ฐติ ปโฺ ญ,ผศ.ดร.

เทพธดิ าผมู ีรัศมงี ามผดุ ผอ ง
ทรงพัสตราภรณส ีแดงสดใส มฤี ทธมิ์ าก
มรี างกายสวยงามดุจลูบไลด วยจุรณแกน จันทน
เธอเปน ใครมาไหวอาตมาอยู๑๔
หากคงคําวา ประภัสสร เหมือนเดิม มีปรากฏในอปราทิฏฐิสูตร สังยุตตนิกายส
คาถวรรค ความวา

ทานพระมหาโมคคัลลานะไดก ลา วกับพรหมนั้นดวยคาถาวา
ผูมีอายุ แมในวนั น้ี ทานกย็ งั มีทิฏฐเิ หมือนครั้งกอนหรือ
ทา นยังเหน็ พระรัศมอี นั ปภสั สร (ของพระผูมีพระภาค)
กาวลว งรัศมอี ื่นในพรหมโลกหรือ๑๕ และในสังขปาลชาดก อาฬารดาบสกราบทูล
วา ขอถวายพระพร นรเทพมหาบพิตร ณ ทามกลาง สวนมะมวงท้ัง ๔ ทิศ มีนิเวศนเล่ือม
ปภสั สรสรา งดวยทองคาํ ๑๖
คําวา “ผดุ ผอ ง” และ “ปภัสสร” ที่ยกมาขางตน มีความหมายเหมือนคําวา “อา
ภัสสรพรหม” ซ่ึงมีรากศัพทคลายกัน แปลวา พรหมผูมีรัศมีแผออกมา ดังประโยคที่วา
“จิตฺตโชตนนฺติ จิตฺตสฺส ปภสฺสรภาวกรณํ แปลวา ท่ีช่ือวา การทําจิตใหสวาง คือการทําจิต
ใหเ ปนประภัสสร”๑๗ และประโยคท่ีวา “ปภสฺสรานีติ ปภาสนสีลานิ ชุติมนฺตานีติ วุตฺตํ โห
ติ ในบทวา ปภสฺสรานิ แปลวา เปลงประกายเปนปกติ กลาวคือ มีความโชติชวง”๑๘
นอกจากนี้มีศัพทวิเคราะหตามหลักไวยากรณบาลี ท่ีช้ีใหเห็นความสวาง ดังเชนประโยควา
“ปภา สรติ เอตสฺมาติ ปภสฺสโร แปลวา ส่ิงท่ีชื่อวาประภัสสรเพราะเปนท่ีแผออกมาของ
รัศมี”๑๙ หรือแปลวา “ผูเปนแดนซานออกแหงรัศมี และประโยควา “ปภสฺสโร อสฺส อตฺถีติ
แปลวา ผรู ศั มีอนั ซา นออก”๒๐

๑๔ ขุ.วิ. (บาลี) ๒๖/๖๙๗/๖๘., ขุ.วิ. (ไทย) ๒๖/๖๙๗/๘๐.
๑๕ สํ.ส. (ไทย) ๑๕/๑๗๖/๒๔๒., สํ.ส. (บาลี) ๑๕/๑๗๖/๑๗๕.
๑๖ ขุ.ชา. (ไทย) ๒๗/๑๖๐/๖๒๑., ขุ.ชา. (บาลี) ๒๗/๑๖๐/๔๔๖.
๑๗ ท.ี ม.ฏีกา (บาลี) ๒/๙๐/๙๒.
๑๘ ขุ.จู.อ. (บาลี) ๑/๑๓๔.
๑๙ พันตรี ป. หลงสมบุญ, พจนานุกรม มคธ-ไทย, (กรุงเทพมหานคร: อาทรการพิมพ,
๒๕๔๐), หนา ๔๔๙.
๒๐ พระธรรมกติ ติวงศ (ทองดี สรุ เตโช ป.ธ.๙, ราชบณั ฑิต), พจนานกุ รมเพอื่ การศกึ ษาพุทธ
ศาสน ชุด ศพั ทว เิ คราะห, หนา ๔๐๒.

๑๒๘ บทท่ี ๔ แนวคดิ จติ ประภสั สรในพุทธศาสนาเถรวาทและมหายาน

พระมหามิตร ฐติ ปฺโญ,ผศ.ดร. The concept of Mental Propitiation in Theravada and Mahayana Buddhism

ดังน้ัน คําวา “ประภัสสร” จึงแปลวามีแสงสวางหรือมีรัศมี และมีคําวา “ปกติ”
ซึ่งแปลวา ธรรมชาตเิ ดิม เขา มาดว ย จงึ ไดค วามหมายวา มแี สงสวางเปนปกติหรือมีรัศมีโดย
ธรรมชาติ เม่ือนําคําทั้งสองคือ จิตและประภัสสร มารวมกันเขาก็ไดความวา “จิต
ประภัสสร” จึงความวา จิตที่ผุดผอง หรือมีรัศมีอันซานออกมา เปนสิ่งท่ีคิดถึงเรื่องราว
ตางๆ คอื รปู เสยี ง กล่นิ รส สัมผัส และธรรมารมณ ท่ีผานมาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และ
ใจ ท่ียังผุดผองตามปกติอยู เปรียบเหมือนนํ้าใสสะอาดบริสุทธิ์ หรือมีแสงสวางอยู เปน
นามธรรมที่สามารถรูอ ารมณหรอื สง่ิ ทม่ี ากระทบ แตในขณะน้ัน เปนเพียงสภาพการเห็น ได
ยิน รูกลิ่น ล้ิมรส สัมผัส และนึกคิดเทาน้ัน แตสามารถสองสวางสิ่งนั้นใหปรากฏในโลก สิ่ง
ตา งๆ ในโลกนม้ี อี ยูเพราะถูกจิตประกาศเปดเผยออกมาเปรยี บเหมือนแสงไฟสองสวา งโลกนี้

๔.๒ จติ ประภัสสรในพระไตรปฎก

เมือ่ ทราบถึงความหมายของจติ ประภัสสรแลว ประเดน็ ตอมาคือ จิตประภัสสรใน
พระไตรปฎ กเปน อยา งไร ผูเขียนจึงไดศกึ ษาวเิ คราะหจ ิตประภสั สรในพระไตรปฎ กตอ ไปนี้

พระพุทธองคไดตรัสถึงจิตประภัสสรวา “ภิกษุทั้งหลาย จิตน้ีผุดผอง แตจิตน้ัน
เศราหมองแลว เพราะอปุ กเิ ลสทจ่ี รมา”๒๑

จากพุทธพจนที่ยกมาขางตนน้ีจะเห็นวา พระพุทธองคไดตรัสถึงจิตในจุดเร่ิมที่วา
“จิตนผี้ ดุ ผอง” คาํ วา ผดุ ผอ ง หมายถงึ จิตทย่ี งั ใสสะอาด บริสุทธิ์ หรอื จติ ท่ีมีรศั มี มีแสงสวาง
ซานออกมา ซ่ึงแสดงวา จิตประภัสสรนั้น เปนจิตท่ียังมีความใสสะอาด เปรียบเหมือนน้ําที่
ยงั ใสสะอาดอยใู นเบอ้ื งตน ยงั ไมมีสงิ่ ใด เชน ฝนุ ละออง เปนตน มาเจอื ปน และจิตประภัสสร
น้ัน มีกระบวนการทํางานอยูตลอดเวลา คือ การเกิดดับอยูตลอดทั้งคืนและวัน ดังมีพุทธ
พจนว า

ตถาคตเรียกสง่ิ นี้วา จิตบาง มโนบาง วญิ ญาณบาง จติ เปน ตน น้นั ดวงหนึ่งเกิดขึ้น
ดวงหนงึ่ ดบั ไปตลอดทงั้ คืนและวัน เปรียบเหมือนลิงเมื่อเที่ยวไปในปาเล็กและปาใหญจับกิ่ง
ไมป ลอ ยก่ิงไมน้ันแลว ยอมจับก่ิงอื่น ปลอยก่ิงนั้นแลวยอมจับกิ่งอื่นตอไป ฉะน้ัน ตถาคตจึง
เรียกสิ่งนี้วา จิตบาง มโนบาง วิญญาณบาง จิตเปนตนนั้น ดวงหน่ึงเกิดข้ึน ดวงหน่ึงดับไป
ตลอดทง้ั คนื และวัน๒๒

จากพุทธพจนขางตนน้ี คําวา “จิต มโน วิญญาณ” เปนคําท่ีพระพุทธเจาใชเรียก
จิตท่ีเปล่ียนแปลงไปในการทํางาน คือมีการเกิดดับอยูทั้งตลอดท้ังกลางคืนและกลางวัน
และพระพุทธองคไดเปรียบเทียบจิตดวยเร่ืองลิงท่ีเท่ียวไปในปาเล็กและปาใหญ จับก่ิงไม

๒๑ อง.ฺ เอกก. (ไทย) ๒๐/๔๙/๙. อง.ฺ เอกก. (บาลี) ๒๐/๔๙/๙,
๒๒ สํ.น.ิ (ไทย) ๑๖/๖๑/๑๑๖. ส.ํ น.ิ (บาล)ี ๑๖/๖๑/๙๒,

ศกึ ษาเฉพาะเร่ืองในพฒั นาการแหง พระพทุ ธศาสนา ๑๒๙
Selected Topics in Development of Buddhism
พระมหามติ ร ฐติ ปฺโญ,ผศ.ดร.

ปลอ ยก่งิ ไมนั้นแลว ไปจบั อกี ก่งิ อ่ืน ปลอ ยกงิ่ นั้นแลว ไปจบั ก่ิงอนื่ ตอ ไปเรือ่ ยๆ จะเห็นวา คําวา
จิต มโน วิญญาณ เปนคําท่ีพระพุทธองคเรียกช่ือจิตท่ีมีกระบวนการทํางานอยูตลอดเวลา
คอื ดวงหนึง่ เกดิ ขน้ึ ดวงหนึง่ ดับไป

จิตระดับของความคิด ชื่อวา “มโน”๒๓ โดยเรียกวา “ชวนจิต” ซ่ึงหมายถึงจิต
ระดับท่ีคิดปรุงแตงอารมณหรือเสพอารมณท่ีรับรูทางอายตนะ จิตระดับนี้ไมไดอยูในภาวะ
ของมันลวนๆ เหมือนจิตระดับมูลฐานและไมใชจิตท่ีรับรูโลกทางอายตนะ หากแตเปนจิตท่ี
ทํางานจัดการกับอารมณท่ีรับทางอายตนะอีกชั้นหนึ่ง เชน การใชความคิด การใชเหตุผล
การสรางจินตนาการ การคิดปรุงแตง เปนตน จิตดังกลาวน้ี อาจหมายถึง “ใจ (มโน)” ดัง
จะสงั เกตไดจ ากคาํ เหลา น้ี เชน “มโนปุพพังคมา” ใจมาถึงกอน หรือใจเปนผูนํา “มโนมยะ”
สําเร็จมาจากใจ หรือสรางมาจากใจ (mind-made) “มนสิการ” การทําไวในใจ หรือการ
คิดในใจ “มโนสัญเจตนา” การต้ังเจตจํานงทางใจ“มโนกรรม” กรรมทางใจ “มโนสังขาร”
การคิดปรุงแตงทางใจ หรือ “มโนวิตักกะ” การตรึกในใจ คําเหลานี้ลวนแลวแตบงบอกวา
มโนเปน จติ ทกี่ าํ ลงั ทาํ งานใชความคดิ อยูภายในทงั้ สน้ิ ดังขอความในคาถาธรรมบทท่ีวา “มน
สา เจ ปทุฏเฐน”๒๔ แปลวา ถาบุคคลมีมโน (ใจ) อันโทษประทุษรายแลวหมายถึงมโน (ใจ)
ทีถ่ ูกอปุ กิเลสประทุษรา ยหรือถกู ครอบงําดวยอุปกิเลส นอกจากนี้ยังมีพุทธพจนที่สะทอนให
เหน็ การทาํ งานของจติ ท่ีเรียกวา ใจ ไดเ ปน อยา งดี ดงั ความวา

ถาภิกษุยับยั้งความวติ ก (มโนวิตกเฺ ก) ในใจไวได
เหมือนเตา หดอวยั วะไวในกระดองของตน
กจ็ ะไมมตี ัณหาและทฏิ ฐิอาศยั ไมเบยี ดเบยี นสัตวอ น่ื
ดบั สนทิ แลว (นิพพาน) ไมพงึ วารายใคร๒๕
พุทธพจนขางตนน้ี แสดงใหเห็นวา จิตระดับท่ีทํางานอยูภายในหรือมโน ถือวา
“เปนชวงสําคัญท่ีสุดในพระพุทธศาสนาเถรวาท เพราะเปนจุดหัวเล้ียวหัวตอระหวาง
เสนทางแหงสังสารวัฏกับเสนทางแหงพระนิพพาน อุปมาเร่ืองเตาสามารถมองไดสองมุม
คือ เตาท่ีโผลหัวออกนอกกระดองเปนเตาที่อยูในภาวะเส่ียงตอภัยอันตรายรอบดาน สวน
เตาท่ีหดหัวเขาไปอยูในกระดองเปนเตาท่ีอยูในภาวะไดรับการคุมกันอันตราย เชนเดียวกับ
คนที่ปลอยจิตใหตกอยูในโลกแหงการคิดปรุงแตงสรางสรรค (มโนวิตักกะ) ภายใตการ
ครอบงําของตัณหาและทิฏฐิ เปนคนที่อยูทามกลางความเส่ียงตอภัยแหงสังสารวัฏ สวนคน

๒๓ ดรู ายละเอียดใน พระมหาสมบูรณ วุฑฺฒิกโร (พรรณา), “จิตตมาตรของนิกายโยคาจาร:
การศึกษาเชงิ วิเคราะหบ นฐานแนวคิดเรือ่ งจติ ในพระพุทธศาสนายคุ ตน ”, หนา ๑๐๘-๑๐๙.

๒๔ ขุ.ธ. (ไทย) ๒๕/๑/๒๓. ขุ.ธ. (บาล)ี ๒๕/๑/๑๕.
๒๕ สํ.ส. (ไทย) ๑๕/๑๗/๑๖. สํ.ส. (บาลี) ๑๕/๑๗/๙.

๑๓๐ บทท่ี ๔ แนวคิดจติ ประภสั สรในพุทธศาสนาเถรวาทและมหายาน

พระมหามติ ร ฐติ ปฺโญ,ผศ.ดร. The concept of Mental Propitiation in Theravada and Mahayana Buddhism

ทีค่ ุม ครองจติ ของตนดวยสตแิ ละปญญาเปนคนท่ีอยูทามกลางการรักษาความปลอดภัยหรือ
อยใู นเสนทางแหงพระนิพพาน๒๖ มโนทถ่ี ูกครอบงาํ ดวยอุปกิเลสน้ีเอง คือจิตในชวงท่ีทํางาน
รับรสู ่งิ ตา งๆ อยูภายใน ซง่ึ เรยี กวา “ชวนจิต” ในคัมภีรพระอภิธรรม ชวนจิต หมายถึงจิตที่
เสพอารมณหรือปรุงแตงอารมณแปลตามศัพทวา จิตท่ีแลนไป หมายถึง จิตท่ีเสพอารมณ
จิตที่กระทําการหรือจัดการกับขอมูลท่ีรับรูทางอายตนะ คําน้ีที่มีความหมายกวาง หมาย
รวมทั้งจิตของปุถุชนและจิตของพระอรหันต ตางกันตรงท่ีชวนจิตของปุถุชนสวนใหญจะ
เสพอารมณภายใตอิทธิพลของกิเลส สวนชวนจิตของพระอรหันตเสพอารมณแบบบริสุทธ์ิ
ไมมีการคิดปรุงแตงดวยกิเลส ดังน้ัน การเสพอารมณของพระอรหันตจึงไมถือวาเปนการ
สรางกรรม หากแตเปนเพียงกิริยาเทาน้ัน (กิริยาชวนะ) วงจรแหงสังสารวัฏในชีวิตของ
ปุถุชนไมวาจะเปนกิเลส กรรม และวิบาก ก็เกิดข้ึนในชวงชวนจิตน้ี จิตจะเศราหมอง จะ
ผอ งแผว หรอื จะตรสั รู ก็เกดิ ขึ้นในชวงชวนจิตน้ี

เมื่อกลา วถึงกิเลส หมายถึงส่ิงท่ีทําใหจิตเศราหมอง ตามปกติจิตน้ีประภัสสรหรือ
ผุดผองตามธรรมชาติ แตเศราหมองเพราะมีกิเลสเขามาแปดเปอน กิเลสมี ๓ ชั้น คือ กิเล
สานุสัย ปริยุฏฐานกเิ ลส วีตกิ มกิเลส

๑) กเิ ลสอยา งละเอียด (กเิ ลสานุสยั ) คือ ความตงั้ ใจม่ันและความปกใจมั่นในจักขุ
ในรูป ในจักขุวิญญาณ และในธรรมที่พึงรูแจงทางจักขุวิญญาณ เปนตน๒๗ ซึ่งมีอยู ๗
อยาง๒๘ ไดแกความปรารถนา ความตองการ ความอยากไดในสิ่งท่ีนาใครนาปรารถนา ๕
อยางคือ ปรารถนาและตองการอยากไดอยากเห็น ไดยิน ลิ้มลองรส ดมกล่ิน และอยาก
สัมผัสสิ่งที่ดีๆ ที่นาพอใจทางตา หู จมูก ล้ิน กาย (กามราคานุสัย), ความยินราย ความ
หงุดหงิด ความขัดใจ ขัดเคือง ความไมพอใจตางๆ ความโกรธ โมโห ฯลฯ (ปฏิฆานุสัย),
ความเห็นผิดจากความเปนจริงตางๆ (ทิฏฐานุสัย), ความลังเลสงสัยลังเลใจในสิ่งท่ีควรเช่ือ
(วิจิกิจฉานุสัย), ความถือตัวจัดความเยอหย่ิง สําคัญตนเองวาเปนผูประเสริฐกวาผูอื่นโดย
ชาติ ตระกลู รปู ราง ทรัพยส มบัติ เปน ตน (มานานุสัย), ความติดใจในภพ คือ การเวียนวาย
ตายเกดิ เชน ยงั อยากเปน มนษุ ย (ภวราคานุสัย) และความไมรแู จง (อวชิ ชานสุ ัย)๒๙

จากท่ีกลาวมาขางตนน้ี อาจกลาวไดวา กิเลสอยางละเอียด ก็คือกิเลสที่นอน
เนื่องอยูในขันธสันดาน เปนกิเลสที่เขาใจไดยากท่ีสุด เพราะเปนกิเลสนอนสงบนิ่งอยูอยาง

๒๖ ดรู ายละเอียดใน พระมหาสมบูรณ วุฑฺฒิกโร (พรรณา), “จิตตมาตรของนิกายโยคาจาร:
การศึกษาเชงิ วเิ คราะหบ นฐานแนวคิดเรื่องจิตในพระพทุ ธศาสนายคุ ตน”, หนา ๑๐๘-๑๐๙.

๒๗ ม.อ.ุ (ไทย) ๑๔/๑๐๑/๑๒๐. ม.อ.ุ (บาลี) ๑๔/๑๐๑/๘๔.
๒๘ ที.ปา. (ไทย) ๑๑/๓๓๐/๓๓๗. ที.ปา. (บาลี) ๑๑/๓๓๐.
๒๙ สํ.สฬา.อ. (บาลี) ๓/๕๓-๖๒/๑๔.

ศกึ ษาเฉพาะเรือ่ งในพัฒนาการแหง พระพทุ ธศาสนา ๑๓๑
Selected Topics in Development of Buddhism
พระมหามิตร ฐติ ปโฺ ญ,ผศ.ดร.

เรนลบั เงยี บเชียบ โดยไมป รากฏออกมาทางหน่ึงทางใดเลย แตจะส่ังสมไวในภวังคจิต (life
continuum) หรือจิตไรสํานึก (the unconscious) ของมนุษยเรา เปรียบเสมือนน้ําใสท่ีมี
ตะกอนนอนกนอยู ตะกอนก็เหมือนกับกิเลสอยางละเอียด (อนุสัยกิเลส) ตอเม่ือกิเลสนั้น
แปรเปล่ียนสภาพจากการนอนเนื่องน่ิงสงบอยูมาปรากฏเกิดข้ึนทางใจเม่ือมีส่ิงตางๆ มา
กระทบตา หู จมูก ลิ้น กายหรือใจก็ตาม กิเลสท่ีปรากฏทางใจเหลานี้ เรียกวา กิเลส
ระดบั กลาง (ปรยิ ฏุ ฐาน) ตอเมอ่ื กเิ ลสระดับกลาง มกี ําลงั แรงมากเขา ๆ ก็จะเปนแรงขับ หรือ
ลวงออกมาทางกายไดแกทางการกระทํา และทางวาจาไดแกทางคําพูดซึ่งเปนกิเลสอยาง
หยาบน่นั เอง ฉะนั้น จงึ กลาวไดวา กิเลสอยางละเอียดหรืออนุสัยเปนตัวบงการใหญท่ีสุดซ่ึง
อยเู บอื้ งหลัง

๒) กิเลสอยางกลาง (ปริยุฏฐานกิเลส) คือ ความตองการบํารุงบําเรอดวยรูป
เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่ชอบใจ จะเรียกวา สุขนิยม บริโภคนิยม และวัตถุนิยมก็ได (กาม
ฉันทะ), ความอาฆาตมาดรายผูกเวร อยากทําลายฝายตรงขามท่ีไมชอบใจไมถูกใจตนเอง
(พยาบาท), ความหดหู เซ่ืองซึม เพิกเฉย ไมรับรู ไมสนใจไมอยากยุง ทอแท (ถีนมิทธะ)
ความฟุงซาน รอนใจ/อยากเอาชนะฝายตรงขาม (อุทธัจจกุกกุจจะ), ความหวาดระแวง
สงสัยไปหมด ไมวาใครจะทําดี เสนอโครงการส่ิงดีๆ อะไรเปนตน (วิจิกิจฉา) ทั้ง ๕ น้ี
เรียกช่ืออีกอยางหนึ่งวา “นิวรณ ๕”๓๐ ซึ่งมีอยูภายในจิตใจมนุษยเรานิวรณท้ัง ๕ นี้ จะ
แสดงตวั ใหเหน็ กต็ อเมื่อมนุษยเราอยูใ นท่ีเงยี บสงัด หรือเขา สูการปฏิบัติธรรม ดังมีพุทธพจน
ท่ีวา “ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยูในปาก็ดี อยูที่โคนไมก็ดี อยูในเรือนวางก็ดี ยอมพิจารณาเห็น
ดังนี้วา เรามีจิตอันปริยุฏฐานกิเลส (กิเลสเปนเครื่องครอบงํา) ใดครอบงําแลว ไมพึงรูเห็น
ตามความเปนจริง ปริยุฏฐานกิเลสนั้นที่เรายังละไมไดในภายในมีอยูหรือ”๓๑ นอกจากนี้
นวิ รณท้ัง ๕ ยงั เปนตวั การณท ี่คอยตัดรอนขวางก้นั การทาํ งานไมใหม ีประสิทธิภาพ หรือเปน
สิ่งกั้นจิตใจไมใหบรรลุความดี๓๒ เปนเคร่ืองทําจิตใหเศราหมองและทอนกําลังปญญา๓๓
พุทธองคทรงเปรียบทั้งนิวรณ ๕ ประการดังตอไปน้ี๓๔ คือ (๑) เปรียบเหมือนคนกูหน้ีมา
ลงทุน๓๕ (๒) เปรียบเหมือนคนไขอาการหนัก บริโภคอาหารไมได ไมมีกําลัง๓๖ (๓) เปรียบ

๓๐ ท.ี ม. (ไทย) ๑๐/๓๘๒/๓๑๖-๓๑๗. ที.ม. (บาลี) ๑๐/๓๘๒/๒๕๕-๒๕๖,
๓๑ ม.ม.ู (ไทย) ๑๒/๔๙๓/๕๓๓. ม.ม.ู (บาลี) ๑๒/๔๙๓/๔๓๗-๔๓๘,
๓๒ สํ.ม. (ไทย) ๑๙/๑๗๘/๑๐๔., สํ.ม. (บาลี) ๑๙/๑๗๘/๕๖.
๓๓ ท.ี ปา. (ไทย) ๑๑/๗๑/๔๙., ท.ี ปา. (บาลี) ๑๑/๗๑/๔๑.
๓๔ ท.ี สี. (ไทย) ๙/๒๒๓/๗๕., ท.ี สี. (บาลี) ๙/๒๒๓/๗๔.
๓๕ ที.ส.ี (ไทย) ๙/๒๑๘/๗๔., ท.ี ส.ี (บาลี) ๙/๒๑๘/๗๒.
๓๖ ที.ส.ี (ไทย) ๙/๒๑๙/๗๔., ท.ี ส.ี (บาลี) ๙/๒๑๙/๗๓.

๑๓๒ บทที่ ๔ แนวคดิ จติ ประภสั สรในพุทธศาสนาเถรวาทและมหายาน

พระมหามิตร ฐติ ปฺโญ,ผศ.ดร. The concept of Mental Propitiation in Theravada and Mahayana Buddhism

เหมือนคนตองโทษถกู คุมขังใน๓๗ (๔) เปรียบเหมอื นคนที่ตกเปน ทาส พึ่งตัวเองไมได ตองพึ่ง
ผอู ่ืน จะไปไหนตามใจชอบก็ไมได๓๘ และ (๕) เปรียบเหมือนคนมีทรัพยสมบัติ เดินทางไกล
กนั ดาร หาอาหารไดยาก มีภยั เฉพาะหนา๓๙

จากที่กลาวมาขางตนน้ีจะเห็นไดวา นิวรณ ๕ ประการนี้ เปนกิเลสระดับกลางที่
อยูภายในใจ ไมไ ดแ สดงออกมาทางกาย วาจา ของบุคคล

๓) กเิ ลสอยางหยาบ (วีติกมกิเลส) คือ กิเลสท่ีเกิดข้ึนและออกมาเปนพฤติกรรมทาง
กายและวาจา เชน การฆาสัตว การลักขโมย การประพฤติผิดในกาม การพูดปด การพูดคํา
หยาบการพูดสอเสียด การพูดเพอเจอ การดื่มสุรายาเมา และการใชสารเสพติด เหลานี้เรียก
อีกอยางหน่ึงวา“อกุศลกรรมบถ”๔๐ อกุศลกรรมบถนี้เกิดขึ้นรุงเรืองในยุคท่ีมนุษยอายุสั้นลงๆ
และสังคมวุนวาย ดังขอความในจักวรรดิสูตรวา “ในเม่ือมนุษยมีอายุขัย ๑๐ ป กุศลกรรมบถ
๑๐ จักอันตรธานไปหมดสิ้นอกุศลกรรมบถ ๑๐ จักเจริญรุงเรืองเหลือเกิน”๔๑ และจัดไดวา
เปน ไปในฝา ยเส่ือม๔๒ เพราะทําใหมนษุ ยมีพฤติกรรมไมเสมอเหมือนกัน๔๓

จากท่ีกลาวถึงกิเลส ๓ ช้ันขาง เพ่ือช้ีใหเห็นวา กิเลสที่จรมาน้ันมีอํานาจท่ีจะสั่ง
การใหจ ิตเปน ไปตามอํานาจ เมือ่ ใดทจ่ี รหรือแทรกเขา จิตได ก็สามารถทําจิตใหเปนอยางนั้น
อยา งน้ไี ดท ันที

๔.๓ จิตประภสั สรในอรรถกถา

จิตประภสั สรอนั เปนท่เี ขาใจกนั วา เปนจติ ท่ีผุดผองตามปกติเหมือนน้ําใสสะอาด แต
ในชวงท่ีทํางาน ซึ่งมีอยู ๔ ระดับ เชน ระดับกามาวจร เปนตน ไดถูกเจตสิกธรรมฝายชั่ว คือ
อุปกิเลสที่จรมาซึ่งตองทํางานรวมกับจิต หรือปรุงแตงจิต ทําจิตใหเศราหมองที่เรียกวา ใจช่ัว
ซ่งึ พรอมทีจ่ ะแสดงพฤติกรรมออกมาทางกายและวาจา ดงั ที่พระอรรถกถาจารยก ลาววา

ใจ หมายถึง จิต ๔ ระดับ คือจิตระดับกามาวจรภูมิ จิตระดับรูปาวจรภูมิ จิต
ระดบั อรปู าวจรภมู ิ และจติ ระดบั โลกตุ ตรภูมิ แตใ นที่น้ีหมายเอาจิตท่ีมีโทมนัสประกอบดวย
ปฏิฆะ เดิมทีเดียวจิตน้ันเปนภวังคจิต คือเปนจิตท่ีผองใส (ปภัสสรจิต) แตเม่ือถูกเจตสิก

๓๗ ท.ี ส.ี (ไทย) ๙/๒๒๐/๗๔., ท.ี สี. (บาลี) ๙/๒๒๐/๗๓.
๓๘ ท.ี ส.ี (ไทย) ๙/๒๒๑/๗๕. ที.ส.ี (บาลี) ๙/๒๒๑/๗๓.
๓๙ ที.ส.ี (ไทย) ๙/๒๒๒/๗๕., ท.ี ส.ี (บาลี) ๙/๒๒๒/๗๓-๗๔.
๔๐ ท.ี ปา. (ไทย) ๑๑/๑๐๓/๗๓., ท.ี ปา. (บาลี) ๑๑/๑๐๓/๖๑.
๔๑ ท.ี ปา. (ไทย) ๑๑/๑๐๓/๗๓., ท.ี ปา. (บาลี) ๑๑/๑๐๓/๔๓.
๔๒ ท.ี ปา. (ไทย) ๑๑/๓๖๐/๔๓๑., ท.ี ปา. (ไทย) ๑๑/๓๖๐/๒๘๙.
๔๓ ม.ม.ู (ไทย) ๑๒/๔๔๐/๔๗๓., ม.ม.ู (บาลี) ๑๒/๔๔๐/๒๙๒.

ศึกษาเฉพาะเร่อื งในพัฒนาการแหง พระพุทธศาสนา ๑๓๓
Selected Topics in Development of Buddhism
พระมหามิตร ฐติ ปโฺ ญ,ผศ.ดร.

ธรรมฝายช่วั กลาวคืออุปกิเสสธรรมจรมากระทบเขา ก็กลายเปนจิตเศราหมองท่ีเรียกวา ใจ
ชั่ว ซ่ึงพรอ มที่จะแสดงพฤติกรรมออกมาทางกายและวาจา๔๔

พระอรรถกถาจารยไดขยายความจากพุทธพจนเกย่ี วกับ ”จิตประภัสสร”๔๕ วา
ภวังคจิตแมจะบริสุทธ์ิโดยธรรมชาติ (ปกติปริสุทฺธมฺป) ก็ช่ือวาเปนอันเศราหมอง เพราะ
อุปกิเลสท่ีจรมา ซึ่งเกิดขึ้นเพราะจิตสหรคตดวยกิเลสมีโลภะเปนตน อันมีความกําหนัดขัด
เคอื งและความหลงเปนสภาวะ ในขณะแหงชวนจิต เหมือนมารดาบิดาและอุปชฌายอาจารยผู
สมบรู ณดวยอาจาระ (แต) กลบั มาไดความเสียชื่อเสยี ง เพราะบุตรเปน ตน ฉะนแี้ ล๔๖

จิตประภัสสร ท่ียกข้ึนมาแสดงในที่นี้จึงหมายถึง “ภวังคจิต”ซ่ึงมีความหมายวา
จิตท่ีเปนองคแหงภพ หรือจิตที่รักษาความสืบเน่ืองของชีวิต คือต้ังแตปฏิสนธิจนถึงจุติ (คือ
เกิดมาจนกระทั่งตายไป) มีความสะอาดบริสุทธิ์โดยธรรมชาติ (ปกติปริสุทฺธิ) ท่ีเรียกวา
“ประภัสสร” แตพ อถกู กิเลสท่จี รเขามาก็เศราหมองไป คือในชวงเวลาท่ีจิตรับอารมณ (ชวน
วิถี) ทานจึงเปรียบเทียบกับมารดาบิดาและอุปชฌายอาจารยผูสมบูรณแบบหรือ
เพียบพรอมดวยอาจาระหรือมารยาทดีงาม แตตองมาเสียชื่อเสียง เพราะบุตรเปนตน ซึ่ง
หมายความวา มารดาบิดาและอุปชฌายอ าจารยผูซึ่งเพียบพรอมดวยความประพฤติท่ีดีงาม
ตองเสื่อมเสียช่ือเสียงจากที่เคยเปนคนดีมากอนเพราะการกระทําของบุตรและสัทธิวิหาริก
อนั เตวาสกิ ถึงแมค วามเสียช่ือเสียงไมไดเกิดข้ึนภายในตัวมารดาบิดาและอุปชฌายอาจารย
ก็จริง แตก็สงผลกระทบมาถึงตัวทานเชนกัน เพราะบุตรและสัทธิวิหาริกอันเตวาสิกอยูใน
การดูแลของทาน คือทานก็ถูกตําหนิไดวาไมส่ังสอนอบรมบุตรและสัทธิวิหาริกอันเตวาสิก
ดงั นัน้ ภวงั คจิตท่ีบริสทุ ธิอ์ ยโู ดยปกติ (ธรรมชาต)ิ อยแู ลว แตกิเลสเขา มาทําใหจ ิตเศราหมอง
ไป ในชวงเวลาที่ภวังคจิตทํางานสงตอถึงวิถีจิต คือต้ังแตอดีตภวังคมาถึงชวงโวฏฐัพพนจิต
(จิตท่ีตัดสินอารมณ) ถือวาระหวางน้ีจิตยังมีความบริสุทธิ์ตามธรรมชาติของตนอยู เพราะ
จัดเปนวิบากพนวิถี กิริยาจิต วิบากจิต และกิริยาจิต แตพอถึงชวงชวนจิต (จิตที่เสพ
อารมณ) จิตจึงถูกทําใหเศราหมองดวยกิเลสตางๆ ที่จรเขามา ในชวงชวนจิตน้ีถือวา เปน
ชว งกระบวนการทาํ งานของจิต ซงึ่ ไปรบั อารมณเขามาทางทวาร ถาความเศราหมองเกิดขึ้น
เฉพาะชวงชวนจติ ตามคาํ อธบิ ายของทา นพระอรรถกถาจารย ก็แสดงวาภวังคจิตเศราหมอง
ในชวงรอยตอที่จะขึ้นสูชวนจิตนั่นเอง ภวังคจิต มีอยู ๓ คือ อดีตภวังค ภวังคจลนะ และ
ภวังคุปจเฉทะ ต้ังแตภวังคจิตทั้ง ๓ มาถึงโวฏฐัพพนจิตนี้ ช่ือวา เปนจิตประภัสสรอยู ดัง
ตวั อยา งกระบวนการของจิตทางปญ จทวารวิถี อติมหันตารมณ เชน โสตทวาร (ทางหู) เปน

๔๔ ข.ุ ธ.อ. (บาลี) ๑/๒๐.
๔๕ อง.ฺ เอกก. (ไทย) ๒๐/๔๙/๙., อง.ฺ เอกก. (บาล)ี ๒๐/๔๙/๙.
๔๖ อง.ฺ เอกก.อ. (บาล)ี ๑/๔๙/๕๓.

๑๓๔ บทที่ ๔ แนวคิดจิตประภสั สรในพุทธศาสนาเถรวาทและมหายาน

พระมหามติ ร ฐติ ปโฺ ญ,ผศ.ดร. The concept of Mental Propitiation in Theravada and Mahayana Buddhism

อดีตภวังคจากอดีตอารมณ (หรือส่ิงเรา) ท่ีมากระทบทางหูจะกอใหเกิดการหวั่นไหวตอ
ภวังคเกา หรือภวังคเกิดจนกลาย (หมายเลข ๑) เปนภวังคจลนะ หรือภวังคไหว จิตเตรียม
ทิ้งอารมณเ กา เพือ่ จบั อารมณใหมท่ีมากระทบ (หมายเลข ๒) ภังคุปจเฉทะ ตัดกระแสภวังค
เกาจะข้ึนวิถีแลว แตยังมิไดพนจากภวังค (หมายเลข ๓) ปญจทวาราวัชชนะ หรือประตูรับ
อารมณท้ัง ๕ อันไดแก ตา หู จมูก ล้ิน กาย (หมายเลข ๔) ในกรณีน้ีเปนตัวอยางของเสียง
ท่ีมากระทบกับหูคือโสตวิญญาณ หมายความวา เสียงไดเกิดขึ้นทางหูแลว ข้ันนี้มีเพียงรูแต
ไดยินเทานั้น ยังไมรูวาเปนเสียงอะไร หรือเร่ืองอะไร (หมายเลข ๕) สัมปฏิจฉันน จิตดวงน้ี
เพียงแตรบั อารมณต อจากโสตวิญญาณเพอื่ สงมอบใหสนั ตีรณะ พิจารณา (หมายเลข ๖) สัน
ตีรณะ ไดแกการพิจารณาอารมณเพียงแตพิจารณาเทาน้ัน เชน พิจารณาวาเปนเสียงดี
หรือไมดี (หมายเลข ๗) โวฏฐพั พนะ หมายความวา ตัดสินอารมณเด็ดขาดแลววา เสียงที่มา
กระทบนนั้ จะทําใหจิตเปน กศุ ลหรืออกุศลเปน บญุ หรือบาป ถาเปรียบเทียบกับคนก็เหมือนผู
พิพากษาตัดสินคดีวา ผิดหรือไมผิด เมื่อตัดสินลงไปแลว โจทกจําเลยไมอาจโตแยงไดเลย
(หมายเลข ๘) ชวนะ หมายถึง การเสพอารมณหรือกินอารมณเมื่อโวฏฐัพพนะตัดสินแลวก็
ลงมือกินทันที ถาเปนเสียงท่ีดี เชน คํายกยองชมเชยก็เกิดความยินดี ถาเปนเสียงดาก็โกรธ
บาปหรือบุญอกุศลหรือกุศล โลภะ โทสะ โมหะ หรืออโลภะ อโทสะ อโมหะ ก็เกิดขึ้นท่ีชว
นะท้งั ๗ ดวงนี้ (หมายเลข ๙)จติ ดวงอื่นจะไมเกิดเปนบาปเปนบุญ สวนตทาลัมพนะเปนจิต
ที่รับหรือหนวงอารมณตอจากชวนะหลังจากนั้นจิตก็เปนภวังคตอไป (หมายเลข ๑๖ และ
๑๗) หนุนเวียนกันอยูอยางนี้เปนวิถีจิตเกิดข้ึน ๑๗ แลวก็เปนภวังคตอไป “ภวังคจิตแมจะ
เกิดติดตอกันนับไมถวน แตขณะที่ จิตรับอารมณก็มีภวังคจิตเกิดขึ้นเพียง ๒ ขณะ (ดวง)
เทาน้ัน คือ (๑) ขณะกอนรับอารมณ (๒) ขณะรับ อารมณเสร็จแลว”๔๗ ดังมีรูปแสดง
กระบวนการของจติ ทางปญจทวารวิถี อตมิ หันตารมณ ดังน้ี

๔๗ ดูรายละเอียดใน พระพุทธโฆสเถระ รจนา, คัมภีรวิสุทธิมรรค, สมเด็จพระพุฒาจารย
(อาจ อาสภมหาเถร) แปลและเรียบเรียง, พิมพครั้งที่ ๙, (กรุงเทพมหานคร : บริษัท ธนาเพรส จํากัด,
๒๕๕๓), หนา ๓๒-๓๓.

ศกึ ษาเฉพาะเร่ืองในพฒั นาการแหง พระพทุ ธศาสนา ๑๓๕
Selected Topics in Development of Buddhism
พระมหามติ ร ฐติ ปฺโญ,ผศ.ดร.

๑. อดีตภวังคะ ภวังคจ ากอดีต ขณะกอ นรับอารมณ เปนชวงท่จี ติ
วบิ ากพนวิถี ... … ๒. ภวงั คจลนะ ภวังคไหว ประภสั สรอยู

๓. ภวังคปุ จ เฉทะ ตดั กระแสภวงั ค

- กริ ิยา ... … ๔. ปญจทวาราวัชชนะ การรบั อารมณใหมท่มี ากระทบ
๕. ปญจวิญญาณ (จกั ขุ, โสต, ฆาน, ชิวหา, กาย)
๖. สัมปฏจิ ฉันนะ การรบั อารมณต อ จากโสตวิญญาณ
- วบิ าก ... ... ๗. สนั ตีรณะ การพิจารณาไตสวนอารมณ

- กริ ิยา ... ... ๘. โวฏฐัพพนะ การตัดสนิ อารมณ
๙. ชวนะ

๗ วถิ ี กุศล ๑๐. ชวนะ การเสพอารมณ
อกุศล ๑๑. ชวนะ
หรือกริ ยิ า ๑๒. ชวนะ
๑๓. ชวนะ

๑๔. ชวนะ

๑๕. ชวนะ

- วิบาก ... ... ๑๖. ตทาลมั พนะ การยึดหนว งอารมณต อ จากชวนะ
๑๗. ตทาลมั พนะ

- วิบาก ... ... - ภวงั ค ขณะรับอารมณเ สร็จ
- ภวังค

ตัวอยางของปญจทวารวิถีที่แสดงใหเห็นขางตนน้ี เปนอติมหันตารมณ คือ เปน
อารมณที่มีวิถีจิตเกิดมากที่สุดไดถึง ๗ วิถี และจะต้ังอยูในอารมณไดมากถึง ๑๔ ขณะจิต
เมื่อรวมจิตที่พนวิถีอีก ๓ ขณะจิต ก็จะไดเปน ๑๗ ขณะจิตพอดี ดังนั้น จึงเปนไปไดวา จิต
ประภสั สรอยูระหวา งภวงั คจติ ถึงโวฏฐัพพนจิต

พระอรรถกถาจารยไดอธิบายเกี่ยวกับภวังคจิตตอไปวา ภวังคจิตนั่นแล ชื่อวาจิต
(จิตฺตํ) คําวา หลุดพนแลว (วิปฺปมุตฺตํ) ไดแก ภวังคจิตนั้นไมกําหนัด ไมขัดเคือง ไมหลง
ในขณะแหงชวนจิต เกดิ ขนึ้ ดว ยอํานาจกุศลจิตท่ีเปนญาณสัมปยุตอันเปนติเหตุกะเปนตน ก็
ชื่อวาเปนอันหลุดพนแลวจากอุปกิเลสท้ังหลายท่ีเกิดขึ้นภายหลังภวังคจิตนี้ทานเรียกวา
หลุดพนแลวจากอุปกิเลสท้ังหลายที่เกิดขึ้นภายหลัง ดวยอํานาจกุศลจิตที่เกิดขึ้นในขณะ

๑๓๖ บทที่ ๔ แนวคิดจิตประภสั สรในพุทธศาสนาเถรวาทและมหายาน

พระมหามิตร ฐติ ปฺโญ,ผศ.ดร. The concept of Mental Propitiation in Theravada and Mahayana Buddhism

แหง ชวนจิต เหมือนมารดาเปน ตน เปนผูไดรบั การสรรเสริญ และไดช่ือเสียงวาทานเหลาน้ีดี
แท ใหบุตรเปนตนของตนศึกษา สั่งสอน พรํ่าสอนอยู เพราะอํานาจบุตรเปนตนเปนผูมีศีล
สมบรู ณด ว ยความประพฤติ ฉะนีแ้ ล

จากขอความที่ยกมาขางตนนี้จะเห็นวา ภวังคจิต เปนจิตหลุดพนจากอุปกิเลส
ดวยอํานาจกุศลจิตท่ีประกอบดวยความรู (ญาณสัมปยุต) อันมีความไมโลภ ความไมโกรธ
ความไมหลงเปนตน เปนเหตุ (ติเหตุกะ) กุศลจิตท่ีประกอบดวยความรูนั้น จะเกิดข้ึนไดก็
ตองมีกําจัดอุปกิเลสหรือมลทินที่จรเขามาทําใหจิตเศราหมอง ดังอุปมาที่พระพุทธเจาทรง
ยกขึ้นมาเปรยี บเทยี บวา

ผูมีปญญา พึงกําจัดมลทินของตน ทีละนอย ทุกขณะ โดยลําดับ เหมือนชางทอง
กาํ จดั สนิมทอง ฉะนน้ั ๔๘

นกท่ีเปอนฝนุ ยอมสลัดละอองธลุ ีท่ีแปดเปอนใหตกไป ฉันใด ภิกษุผูมีความเพียร
มสี ติ ยอมสลดั ละอองธุลีคอื กิเลสท่ีแปดเปอนใหตกไป ฉนั นัน้ ๔๙

สาเหตุของการที่จิตถูกกิเลสที่จรมาทําใหเศราหมอง เพราะจิตไดทองเที่ยวไปใน
สังสารวัฏท่ีตามไปดูรูไมได และการท่ีจิตเปนไปอยางนั้น ไมมีใครมาบังคับบัญชาได
นอกจากสังโยชนเปนตัวผูกมัดไวนั่นเอง จึงเปนไปไดวา สังโยชนคือผูอยูเบ้ืองหลังของการ
ทําจิตใหเ ศรา หมอง ดงั น้นั ผวู จิ ยั จงึ ขอกลาวถึงเรือ่ งสังโยชน ๑๐ ประการ

สังโยชน คือ ธรรมท่ีมัดสัตวไวกับทุกข ดังมีพุทธพจนวา ภิกษุท้ังหลาย สังโยชน
(ธรรมท่มี ัดสตั วไ วก บั ทุกข) ๑๐ ประการน้ี

สังโยชน ๑๐ ประการ อะไรบา ง คือ โอรมั ภาคยิ สังโยชน(สังโยชนเบ้อื งตา่ํ ) ๕
ประการ อทุ ธัมภาคยิ สังโยชน (สังโยชนเ บือ้ งสูง) ๕ ประการ

โอรัมภาคิยสงั โยชน ๕ ประการ อะไรบา ง คือ
๑. สักกายทิฏฐิ (ความเห็นวาเปนตัวของตน)
๒. วิจกิ ิจฉา (ความลังเลสงสยั )
๓. สีลัพพตปรามาส (ความถอื มั่นศลี พรต)
๔. กามฉนั ทะ (ความพอใจในกาม)
๕. พยาบาท (ความคดิ ราย)

โอรัมภาคยิ สังโยชน ๕ ประการน้ี
อทุ ธมั ภาคิยสังโยชน ๕ ประการ อะไรบา ง คือ

๑. รปู ราคะ (ความตดิ ใจในอารมณแหงรปู ฌาน)

๔๘ ขุ.ธ. (บาลี) ๒๕/๒๓๙/๕๘., ขุ.ธ. (ไทย) ๒๕/๒๓๙/๑๐๖.
๔๙ สํ.ส. (บาลี) ๑๕/๒๒๑/๒๓๗-๒๓๘., ส.ํ ส. (ไทย) ๑๕/๒๒๑/๓๒๓.

ศกึ ษาเฉพาะเร่อื งในพัฒนาการแหง พระพทุ ธศาสนา ๑๓๗
Selected Topics in Development of Buddhism
พระมหามติ ร ฐติ ปโฺ ญ,ผศ.ดร.

๒. อรูปราคะ (ความติดใจในอารมณแหงอรูปฌาน)
๓. มานะ (ความถือตัว)
๔. อทุ ธจั จะ (ความฟุงซาน)
๕. อวชิ ชา (ความไมรแู จง)
อทุ ธมั ภาคิยสังโยชน ๕ ประการนี้
ภิกษุท้งั หลาย สังโยชนมี ๑๐ ประการนแ้ี ล๕๐
สวนวิธกี ารทีจ่ ะทําใหจ ติ หลุดพน จากสังโยชน มีหนทางเดียวเทาน้ัน คือการเจริญ
สติปฏฐาน ๔ ซ่ึงพระพุทธองคตรัสไวในมหาสติปฏฐานสูตรวา ทางนี้เปนทางสายเอก เพื่อ
ความบริสุทธิ์แหงเหลาสัตว เพ่ือลวงโสกะและปริเทวะ เพื่อดับทุกขและโทมนัส เพ่ือบรรลุ
ญาณธรรม๕๑ เพือ่ ทําใหแจงพระนิพพาน ทางน้ี คือ สติปฏฐาน๕๒
พระพุทธเจาก็ทรงแสดงการเจริญสติปฏฐานท้ัง ๔ ประการไววา ภิกษุทั้งหลาย
เราจักแสดงการเจริญสติปฏฐาน ๔ ประการ เธอทั้งหลายจงฟง การเจริญสติปฏฐาน ๔
ประการ เปนอยา งไร คือ ภิกษใุ นธรรมวนิ ยั นี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กําจัดอภิชฌา
และโทมนัสในโลกได
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กาํ จดั อภชิ ฌาและโทมนสั ในโลกได
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู มีความเพียรมีสัมปชัญญะมีสติ กําจัดอภิชฌาและ
โทมนัสในโลกได
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมท้ังหลายอยู มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กาํ จัดอภชิ ฌาและโทมนัสในโลกได
ภกิ ษทุ ั้งหลาย การเจริญสติปฏฐาน ๔ ประการ เปน อยา งนี้แล๕๓
จากพุทธพจนขางตนนี้ แสดงใหเห็นวาการเจริญสติปฏฐาน ๔ ประการ เปน
วิธีการแหงจิตประภัสสร ไดแก (๑) กายานุปสสนาสติปฏฐาน การมีสติเขาไปต้ังตามดูกาย

๕๐ องฺ.ทสก. (ไทย) ๒๔/๑๓/๒๑., องฺ.ทสก. (บาลี) ๒๔/๑๓/๑๔. ม.มู.อ. (บาล)ี ๑/๘/๔๗, ที.
ปา.ฏีกา (บาลี) ๓๔/๑๓.

๕๑ ที.ม.อ. (ไทย) ๒/๑/๓๑๘-๓๑๙., ที.ม.อ. (บาลี) ๒/๒๑๔/๑๙๗. (ญายธรรม หมายถึง
อรยิ มรรค)

๕๒ ที.ม. (บาลี) ๑๐/๓๗๓/๒๔๘, ที.ม. (ไทย) ๑๐/๓๗๓/๓๐๑-๓๐๒. (สติปฏฐาน แปลวา
ธรรมเปนทีต่ ้ังแหงสติ หรือการปฏบิ ตั มิ ีสตเิ ปน ประธาน)

๕๓ สํ.ม. (ไทย) ๑๙/๔๐๕/๒๖๒. ส.ํ ม. (บาลี) ๑๙/๔๐๕/๑๑๑.

๑๓๘ บทท่ี ๔ แนวคดิ จิตประภสั สรในพุทธศาสนาเถรวาทและมหายาน

พระมหามติ ร ฐติ ปโฺ ญ,ผศ.ดร. The concept of Mental Propitiation in Theravada and Mahayana Buddhism

เพื่อใหเห็นวากายนี้สักแตวาเปนกายเทานั้น ไมใชสัตว บุคคล ตัวตน เรา เขา (๒) เวทนา
นุปสสนาสติปฏฐาน การมีสติเขาไปต้ังตามดูเวทนา เพ่ือใหเห็นวาเวทนานี้สักแตวาเปน
เวทนาเทา น้ัน ไมใชสัตว บุคคล ตัวตน เรา เขา (๓) จิตตานุปสสนาสติปฏฐาน การมีสติเขา
ไปตั้งตามดจู ิต(ความคิด)เพ่ือใหเห็นวา จิตนี้สักแตวาเปนจิตเทานั้น ไมใชสัตว บุคคล ตัวตน
เรา เขาและ (๔) ธัมมานุปสสนาสติปฏฐาน การมีสติเขาไปต้ังตามดูธรรม(อารมณท่ีเกิด
ข้ึนกับจิต) เพื่อใหเห็นวา ธรรมนี้สักแตวาเปนธรรมเทานั้น ไมใชสัตว บุคคล ตัวตนเรา เขา
นอกจากน้ีอาจกลาวไดวา สติปฏฐานท้ัง ๔ ประการ เปนวิธีการปฏิบัติธรรมในสมัยที่พระ
พุทธองคยังทรงพระชนมอยู และเปนวิธีการปฏิบัติท่ีไดผลหรือมีอานิสงสสูงสุด ไดแก เปน
พระอรหันตบุคคลในปจจุบัน และเม่ือยังมีชีวิตอยูก็จะไดเปนพระอนาคามีบุคคล ดังพระ
พุทธพจนวา“ภิกษุท้ังหลาย บุคคลผูเจริญสติปฏฐาน ๔ ตลอด ๗ ป... ตลอด ๗ เดือน...
ตลอด ๗ วัน พึงหวังไดผลอยาง ๑ ใน ๒ อยาง คือ อรหัตตผลในปจจุบัน หรือเมื่อยังมี
อปุ าทานเหลอื อยู ก็จกั เปน อนาคามี”๕๔

ตอมาไดเกิดมีวิธีการปฏิบัติธรรมอยางหนึ่งเรียกวา “วิปสสนากัมมัฏฐาน ซ่ึงเปน
การงานอยางหน่ึงท่ีกอใหเกิดการเห็นแจงชีวิตโดยอาการพิเศษ”๕๕ “คือตามความเปนจริง
วามีลักษณะของความไมเท่ียง (อนิจจัง) ความเปนทุกข ( ทุกขัง) และความไมใชตัวตน
(อนัตตา)”๕๖ “ความเห็นแจงเชนนี้สามารถทําใหเกิดปญญา อันจะนําไปสูความพนทุกข
และปญญาท่ีเกิดขึ้นสามารถทําลายกิเลสตางๆ คือความโลภ ความโกรธ และความหลง
หรือใหล ดนอยลงจนหมดไปในทส่ี ดุ ”๕๗

การเจริญวิปสสนากรรมฐานสามารถปฏิบัติไดโดยการเอาสติไปตั้งไวท่ีฐานท้ัง ๔
คือ (๑)กาย (๒) เวทนา (๓) จติ และ (๔) ธรรม จุดมุงหมายท่ีสําคัญของวิปสสนากัมมัฏฐาน
ไดแ กการพัฒนาสติ คือ การระลกึ ได และสัมปชัญญะ คอื ความรูตัวทั่วพรอม อยางเชนการ
ยืน การเดิน การนั่ง การนอน การรับประทานอาหาร การคู การเหยียด การนุงหมเสื้อผา
การอาบน้ําตลอดจนการถายอุจจาระและปสสาวะ เปนตน สิ่งท่ีสําคัญอีกอยางหนึ่ง คือ

๕๔ ท.ี ม. (บาลี) ๑๐/๔๐๔/๒๖๘., ที.ม. (ไทย) ๑๐/๔๐๔/๓๓๘–๓๔๐.
๕๕ ขุ.ปฏิ.อ. (บาลี) ๑/๑๕๕/๓๒๘., อภ.ิ สงฺ.อ. (บาลี) ๑๐๐/๑๐๐.
๕๖ ม.ม. (บาลี) ๑๓/๒๐๕/๑๘๑., ม.ม. (ไทย) ๑๓/๒๐๕/๒๔๓.
๕๗ U Janakabhivamsa Sayadaw, The ICD-10 Classification of Mental and
Behavioral Disorders : Clinical Descriptions and Diagnostic Guidelines, (Geneva
:World Health Organization, 1992), pp. 30-31, Mahasi Sayadaw, The Great Discourse on
the Turning of the Wheel of Dhamma (Dhammacakkappavattana Sutta), (Bangkok
:Buddhadhamma Foundation, 1996), pp. 71-78. อางใน พระมหาไสว ญาณวีโร, คมู อื หลักปฏิบัติ
วิปสสนากมั มัฏฐาน, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพก ารศาสนา, ๒๕๔๔), หนา ๖๙.

ศกึ ษาเฉพาะเรอ่ื งในพฒั นาการแหงพระพุทธศาสนา ๑๓๙
Selected Topics in Development of Buddhism
พระมหามติ ร ฐติ ปฺโญ,ผศ.ดร.

การกําหนดรูอารมณ หรือส่ิงเราท่ีมากระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เพื่อมิใหกิเลส
เกิดขนึ้ จนทําใหจ ติ ขนุ มัวและเศราหมอง๕๘

จากทก่ี ลาวมาขางตนน้ี จะเห็นวา การปฏบิ ัตวิ ิปส สนากัมมัฏฐานตองอาศัยรูปกับ
นามเปน อารมณ สวนการเจริญสติปฏฐานมีปรากฏในมหาสติปฏฐานสูตรอันเปนพระสูตรที่
มคี วามสาํ คัญมากตอ การปฏิบตั ิวิปส สนากมั มฏั ฐาน

๔.๔ ความหมายของจติ เดิมแท

๔.๔.๑ ความหมายของคําวา “จิต”
คําวา “จิตเดิมแท” สามารถแยกออกเปน ๒ คํา คือ คําวา “จิต” และคําวา “เดิม
แท”ในนิกายโยคาจารไดใหความหมายคําวา “จิต” ไวหลายนัย ดังขอความในสัมธินิรโมจน
สูตรท่ีวา “ที่ชื่อวาจิต เพราะพอกพูน (อาจิต) และส่ังสม (อุปจิต) อารมณ ๖ คือ รูป เสียง
กลิ่น รส โผฏฐัพพ และธรรมารมณ”๕๙ และขอความในคัมภีรตริสวภาวนิรเทศที่วา “อาลย
วิญญาณเรียกวาจิต เพราะสั่งสมพีชะแหงสังกิเลสและวาสนา ปวัตติวิญญาณเรียกวาจิต
เพราะเปน ไปโดยอาการอันวจิ ิตร”๖๐
จากขอความขางตนนี้ นิกายโยคาจารใหความหมายของคําวา “จิต” เปนช่ือเรียก
ใหสอดคลองกับพฤติกรรมการทํางานของจิตในเร่ืองของการส่ังสมพอกพูนขอมูลแหง
ประสบการณที่รับรูทางอายตนะ รวมทั้งสั่งสมกิเลส วิบากกรรม และความเคยชินตางๆ
(วาสนา) ซึ่งความหมายของจิตในขอนี้ เรียกการทํางานของอาลยวิญญาณ สวนความหมายวา
“วิจิตร” เรียกการทํางานของปวัตติวิญญาณ หมายถึง จิตที่ข้ึนสูการรับรูอารมณทางอายตนะ
(วิญญาณ ๖) และจิตท่ีปรุงแตงอารมณ (มนัส) และจิตมีความหมายกวางและครอบคลุมไปถึง

๕๘ Bhaddhanta Asabha, The Practice of Vipassana Meditation for Mindfulness
Development, (Bangkok : Sahadhammika, 2001), pp. 4-14, อางใน พระมหาไสว ญาณวีโร,
คมู ือหลกั ปฏบิ ตั วิ ปิ สสนากมั มฏั ฐาน, หนา ๗๐-๑๐๒.

๕๙ สัมธินิรโมจนสูตร อางใน William S. Waldron, The Buddhist Unconscious,
(London:Routledge Curzon, 2003), p. 96. อางใน พระมหาสมบูรณ วุฑฺฒิกโร (พรรณนา), “จิตต
มาตรของนิกายโยคาจาร: การศึกษาเชิงวิเคราะหบนฐานแนวคิดเร่ืองจิตในพระพุทธศาสนายุคตน”,
วิทยานิพนธพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,
๒๕๕๒), หนา ๑๑๓.

๖๐ ตริสวภาวนิรเทศ อางใน Thomas E. Wood, Mind Only, (Delhi: Motilal
Banarsidass Publishers Private Limited, 1994), pp. 32-33. อางใน พระมหาสมบูรณ วุฑฺฒิกโร
(พรรณา), “จิตตมาตรของนิกายโยคาจาร : การศึกษาเชิงวิเคราะหบนฐานแนวคิดเรื่องจิตใน
พระพทุ ธศาสนายคุ ตน ,” หนา ๑๑๓.

๑๔๐ บทที่ ๔ แนวคดิ จิตประภสั สรในพทุ ธศาสนาเถรวาทและมหายาน

พระมหามติ ร ฐติ ปโฺ ญ,ผศ.ดร. The concept of Mental Propitiation in Theravada and Mahayana Buddhism

วิญญาณ เหมือนกับวาวิญญาณอยูภายใตจิตอีกท่ีหน่ึง เพราะหลักการจิตเดียวซ่ึงมีวิญญาณที่
ทําหนาท่ีแตกตางกัน ในลังกาวตารสูตร ไดใหความหมายของจิตวา หมายถึงระบบของความรู
สาํ นึกทั้งหมดท่ีเกิดขึ้นและดําเนินไปตามกฎเกณฑหรือหนาท่ีตามธรรมชาติ๖๑ ซึ่งทาน ดี.ที. ซู
สุกิ ไดขยายความวา จิต มาจากรากศัพทวา “จิ” หมายถึง (๑) รับรู คือ การรับรูอารมณทาง
อายตนะ (๒) สั่งสม พอกพูน คือ การส่ังสมพอกพูนผลกรรมตางๆ มาเก็บไวในจิต (จิตฺเตน
จียเต กมฺมมฺ) (๓) คิด หมายถึงคิดอารมณที่รับรูเขามาทางอายตนะ และ (๔) วิจิตร
หมายถึง การสรางหรือการปรงุ แตงอารมณทร่ี ับเขา มาหรอื ทีเ่ กบ็ สง่ั สมไวใหว ิจติ รพสิ ดาร๖๒

๔.๔.๒ ความหมายของคําวา “เดิมแท”
คําวา “เดิมแท” หมายถึง “ประภัสสร” สวางหรือมีรัศมี เชน “shining” หรือ
“very bright” หรือ “luminous” หรือ “radiant”๖๓ มีคําเรียกวา “ปฺรกฤติปฺรภาสฺวร”
แปลวา ประภัสสร หรือเปลงประกายโดยธรรมชาติ (luminous by nature) และคําวา
“ปฺรกฤติปริศุทฺธ” แปลวา บริสุทธ์ิโดยธรรมชาติ (pure by nature)๖๔ อีกอยางหน่ึงคําวา
“เดิมแท” หมายถึง ปกติ ภาษาสันสกฤต เรียกวา “ปฺรกฤติ” (ประกฤติ) แปลตามศัพทวา
“การกระทําอันเปนปฐม” (ปฐมํ กติ ปกติ)๖๕ หมายถึง รูปแบบธรรมชาติด้ังเดิม) original or
natural form) หรือสภาวะตามธรรมชาติ (natural state or condition)๖๖ จากความหมาย
ดังกลาวมาอาจสรุปไดวา เดิมแท ก็คือ สวาง เปลงประกายหรือบริสุทธ์ิเปนปกติอยูอยางน้ัน

๖๑ Lańkāvatāra Sūtra, (tran) by D.T. Suzuki, (London and Boston: Routledge
& Kegan Paul LTD, 1973), pp. XXI-XXII. อางใน สุมาลี มหณรงคชัย. พุทธศาสนามหายาน, (ฉบับ
ปรบั ปรุงแกไ ข),พิมพค ร้งั ที่ ๒, (กรงุ เทพมหานคร: สาํ นักพิมพศยาม, ๒๕๔๖), หนา ๑๑๖.

๖๒ D.T. Suzuki, Studies in the Lańkāvatāra Sūtra, (London and Boston:
Routledge & Kegan Paul LTD, 1972), pp. 176, 190, 250, 398-399, 439. อางใน พระมหา
สมบูรณ วุฑฺฒิกโร (พรรณนา),“จิตตมาตรของนิกายโยคาจาร : การศึกษาเชิงวิเคราะหบนฐานแนวคิด
เรื่องจติ ในพระพุทธศาสนายคุ ตน,” หนา ๑๑๔.

๖๓ T.W. Rhys Davids and William Stede, Pali-English Dictionary, (Delhi:
Motilal Banarsidass Publishers Private Limited, 1994), p. 415 และ Sir Monier Monier-
Williams, Sanskrit English Dictionary, (London: Routledge Curzon, 2003), p. 684.

๖๔ อางใน Walpola Rahula, Zen & the Taming of the Bull, (Colombo: Print &
Print Graphics (Pvt) Ltd., 2003), p. 83. อา งใน พระมหาสมบูรณ วุฑฺฒิกโร (พรรณนา), “จิตตมาตร
ของนิกายโยคาจาร : การศึกษาเชิงวิเคราะหบนฐานแนวคิดเรื่องจิตในพระพุทธศาสนายุคตน,” หนา
๑๑๔.

๖๕ พันตรี ป .หลงสมบุญ, พจนานุกรม มคธ – ไทย, (กรุงเทพมหานคร : อาทรการพิมพ ,
๒๕๔๐), หนา ๔๐๙.

๖๖ T.W. Rhys Davids and William Stede, Pali-English Dictionary, p. 379.


Click to View FlipBook Version