The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ศึกษาเฉพาะเรื่องในพัฒนาการแห่งพระพุทธศาสนา

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

ศึกษาเฉพาะเรื่องในพัฒนาการแห่งพระพุทธศาสนา

ศึกษาเฉพาะเรื่องในพัฒนาการแห่งพระพุทธศาสนา

ศึกษาเฉพาะเรอื่ งในพัฒนาการแหงพระพทุ ธศาสนา ๔๑
Selected Topics in Development of Buddhism
พระมหามิตร ฐติ ปโฺ ญ,ผศ.ดร.

และรุนหลัง แมรายละเอียดปลีกยอยในหลักฐานน้ัน ๆ จะมีตางกันออกไปก็ตาม แตก็เปน
อันตกลงวา ฝายมหายานไดร ับรองการสังคายนาครง้ั ที่ ๑ และครั้งท่ี ๒ รวมกัน๑๕

โดยเหตุที่คัมภีรพระพุทธศาสนาฝายมหายานมักจะมีอะไรตออะไรตางออกไป
จากของเถรวาท เม่ือเกิดปญหาวา คัมภีรเหลาน้ันมีมาอยางไร ก็มักจะมีคําตอบวา มีการ
สังคายนาของฝา ยมหายาน คมั ภรี เ หลาน้นั เกดิ ขน้ึ จากผูท่ีสังคายนา ซ่ึงเปนผูทรงคุณวุฒิไดรู
ไดฟ ง มาคนละสายกบั ฝา ยเถรวาท

เม่ือตรวจสอบจากหนังสือของฝายมหายาน แมจะพบวาสังคายนาผสมกับฝาย
มหายานนั้น เกิดเม่ือสมัยพระเจากนิษกะ ประมาณ พ.ศ. ๖๔๓ ก็จริง แตขออางตาง ๆ
มักจะพาดพิงไปถึงสังคายนาครั้งที่ ๑ และที่ ๒ คือมีคณะสงฆอีกฝายหน่ึง ทําสังคายนา
แขงขันอกี สว นหนงึ่ คอื

๑. สังคายนาคร้ังแรกท่ีพระมหากัสสปเปนประธานนั้น กระทําที่ถ้ําสัตตบรรณ
คูหา ขางเขาเวภารบรรพต กรุงราชคฤห มคี าํ กลาวของฝายมหายานวา ภิกษุท้ังหลายผูมิได
รับเลือกเปนการกสงฆ (คือสงฆผูกระทําหนาที่) ในปฐมสังคายนาซึ่งมีพระมหากัสสปเปน
ประธาน ไดประชมุ กันทาํ สังคายนาขนึ้ อกี สว นหนึ่ง เรยี กวาสังคายนานอกถํ้า และโดยเหตุท่ี
ภิกษผุ ูทําสังคายนานอกถ้ํามีจํานวนมาก จึงเรียกอีกอยางหน่ึงวา สังคายนามหาสังฆิกะ คือ
ของสงฆหมูใหญ เร่ืองนี้ปรากฏในประวัติของหลวงจีนเฮี่ยนจัง ผูเดินทางไปดูการ
พระพุทธศาสนาในอินเดยี ทนี่ างเคงเหลียน สีบุญเรือง แปลเปนภาษาไทย หนา ๑๖๙ และ
กลาวดวยวา ในการสังคายนาครั้งนี้ แบงออกเปน ๕ ปฎก คือ พระสูตร, วินัย, อภิธรรม,
ปกณิ ณกะ และธารณี

แตห ลกั ฐานของการสังคายนา “นอกถํ้า” ครัง้ ท่ี ๑ นี้นา จะเปนการกลา วสับสนกับ
เหตุการณที่เกิดขนานกับการสังคายนาครั้งท่ี ๒๕ หรือนัยหน่ึงเอาเหตุการณในสังคายนา
คร้งั ท่ี ๒๑๖ ไปเปนครั้งที่ ๑ คือ

๒. การสังคายนาของมหาสังฆิกะ มีเร่ืองเลาวา เมื่อภิกษุวัชชีบุตร ถือวินัยยอ
หยอ น ๑๐ ประการ และพระยสะ กากัณฑกบุตร ไดชักชวนคณะสงฆในภาคตาง ๆ มารวม
กันทําสังคายนา ชําระมลทินโทษแหงพระศาสนาวินิจฉัยชี้วา ขอถือผิด ๑๐ ประการนั้น มี
หามไวในพระวินัยอยางไร แลวไดทําสังคายนา ในขณะเดียวกัน พวกภิกษุวัชชีบุตรซึ่งมีอยู

๑๕ ผูตองการหลักฐานละเอียดโปรดดู หนังสือ Early Monastic Buddhism เลม ๒, หนา
๓๑ ถึง ๔๖

๑๖ หนงั สือประวัติของหลวงจีนเฮี่ยนจัง เปนนิพนธของภิกษุฮุยลิบศิษยของทาน สวนบันทึก
เดินทางของหลวงจีนเฮ่ียนจังเอง มีอีกเลมหนึ่งตางหาก ซึ่งฉบับหลังน้ี ฝรั่งใหเกียรตินําไปอางอิงไวใน
หนังสอื ของตนมากมายดว ยกนั .

๔๒ บทท่ี ๒ ความรูเ รอ่ื งพระไตรปฎ ก
Knowledge of the scriptures
พระมหามิตร ฐติ ปโฺ ญ,ผศ.ดร.

เปน จํานวนมาก กไ็ ดเ รียกประชมุ สงฆถ งึ ๑๐,๐๐๐ รปู ทาํ สังคายนาของตนเองท่ีเมืองกุสุมปุ
ระ (ปาตลีบุตร) ใหช่ือวามหาสังคีติ คือมหาสังคายนาเปนเหตุใหเกิดนิกายมหาสังฆิกะ ซึ่ง
แมจะยังไมนับวาเปนมหายานโดยตรง แตก็นับไดวาเปนเบ้ืองตนแหงการแตกแยกจากฝาย
เถรวาท มาเปนมหายานในกาลตอมา การสังคายนาคร้ังน้ี ไดแกไขเปล่ียนแปลงของเดิมไป
ไมนอย หลักฐานของฝายมหายานบางเลมไดกลาวถึงกําเนิดของนิกายมหาสังฆิกะ โดยไม
กลา วถึงวัตถุ ๑๐ ประการก็มี แตกลาววา ขอเสนอ ๕ ประการ ของมหาเทวะเก่ียวกับพระ
อรหันตวา ยังมิไดดับกิเลสโดยสมบูรณ เปนตน เปนเหตุใหเกิดการสังคายนาคร้ังท่ี ๒ แลว
พวกมหาสงั ฆกิ ะกแ็ ยกออกมาทําสงั คายนาของตน

๒.๕.๖ การสงั คายนาของนิกายสัพพัตถิกวาท
กายสังคายนาของพระเจากนิษกะ ประมาณในปพุทธศักราช ๖๔๓ (ค.ศ. ๑๐๐)
พระเจากนิษกะผูมีอํานาจอยูในอินเดียภาคเหนือไดสนับสนุนใหมีการสังคายนา ซึ่งอาจ
กลาวไดว า เปน สงั คายนาแบบผสม ณ เมืองชาลันธร หรือบางแหงกลาววา เมืองกาษมีระ
ในหนังสือจดหมายเหตุของหลวงจีนเฮี่ยนจัง เลาวา พระเจากนิษกะหันมาสนใจ
พระพทุ ธศาสนา และตํารับตําราแหงศาสนาน้ี จึงใหอาราธนาพระภิกษุ ๑ รูปไปสอนทุก ๆ
วัน และเนื่องจากภิกษุแตละรูปที่ไปสอนก็สอนตาง ๆ กันออกไป บางคร้ังก็ถึงกับขัดกัน
พระเจากนิษกะทรงลังเลไมรูจะฟงวาองคไหนถูกตอง จึงปรึกษาขอความน้ีกับพระเถระผูมี
นามวา ปารสวะ ถามวา คําสอนที่ถูกตองน้ันคืออันใดกันแน พระเถระแนะนําใหแลว พระ
เจา กนิษกะจึงตกลงพระทยั จดั ใหมีการสังคายนา ซ่ึงมีภิกษุสงฆนิกายตาง ๆ ไดรับอาราธนา
ใหมาเขาประชุม พระเจากนิษกะโปรดใหสรางวัด เปนที่พักพระสงฆได ๕๐๐ รูป ผูจะพึง
เขียนคําอธิบายพระไตรปฎก คําอธิบายหรืออรรถกถาสุตตันตปฎก มี ๑๐๐,๐๐๐ โศลก,
อรรถกถาวินัยปฎก ๑๐๐,๐๐๐ โศลก และอรรถกถาอภิธรรมอันมีนามวา อภิธรรมวิภาษา
มีจาํ นวน ๑๐๐,๐๐๐ โศลก ก็ไดแ ตง ขนึ้ ในสงั คายนาครัง้ นี้ดวย เมื่อทําสังคายนาเสร็จแลว ก็
ไดจารึกลงในแผนทองแดง เก็บไวในหีบศิลา แลวบรรจุไวในเจดียท่ีสรางข้ึนโดยเฉพาะเพื่อ
การน้ีอีกตอหน่ึง มีขอสังเกต คือกําหนดกาลของสังคายนาคร้ังน้ี ท่ีปรากฏในคัมภีรฝายธิ
เบต กลาววา กระทําในยุคหลังกวาท่ีหลวงจีนเฮ่ียนจังกลาวไว แตเร่ือง พ.ศ. ที่เก่ียวกับ
เหตุการณในพระพทุ ธศาสนา ก็มีขอโตแยงผิดเพ้ียนกันอยูมิใชแหงเดียว จึงเปนขอที่ควรจะ
ไดพจิ ารณาสอบสวนในทางท่ีควรตอไป
การสังคายนาครั้งน้ี เปนของนิกายสัพพัตถิกวาท ซ่ึงแยกสาขาออกไปจากเถร
วาท แตก ม็ ีพระของฝายมหายานรว มอยดู ว ย จงึ เทากับเปน สังคายนาผสม

ศึกษาเฉพาะเรือ่ งในพฒั นาการแหงพระพทุ ธศาสนา ๔๓
Selected Topics in Development of Buddhism
พระมหามิตร ฐติ ปฺโญ,ผศ.ดร.

๒.๖ สังคายนานอกประวัติศาสตร

ยังมีสังคายนาอีกครั้งหน่ึง ซ่ึงไมปรากฏในประวัติศาสตร และไมไดการรับรอง
ทางวชิ าการจากผูศึกษาคนควาทางพระพุทธศาสนา อาจถือไดวาเปนความเชื่อถือปรัมปรา
ของพทุ ธศาสนิกชนฝา ยมหายานในจีนและญี่ปุน คือสังคายนาของพระโพธิสัตวมัญชุศรี กับ
พระโพธิสัตว ไมเตรยะ (พระศรีอารย) ทั้งนี้ ปรากฏตามหลักฐาน ในหนังสือประวัติศาสตร
ยอแหงพระพุทธศาสนา ๑๒ นิกาย ของ๑๗ ญ่ีปุน หนา ๕๑ ซ่ึงไมไดบอกกาลเวลา สถานที่
และรายละเอียดไว ท่ีนํามากลาวไวใ นท่นี ี้ พอเปนเครื่องประดับความรูเก่ียวกับความเปนมา
แหง พระไตรปฎ กในทีม่ าตา ง ๆ เทาท่จี ะคน หามาได

เปนอันวาไดกลาวถึงการสังคายนา ท้ังของฝายเถรวาทและของมหายานไว พอเปน
แนวทางใหทราบความเปนมาแหงคําสอนทางพระพุทธศาสนา และโดยเฉพาะคัมภีร
พระไตรปฎ ก ท้ังไดพยายามรวบรัดกลาว เพราะไมเชนน้ันจะกลายเปนตองแตงประวัติศาสตร
ความเปน มาแหง พระพุทธศาสนาขนาดใหญไวในทน่ี ้ี

๒.๗ ลาํ ดบั อาจารยผูท รงจําพระไตรปฎ ก
ไดกลาวไวแลวในสมัยท่ียังมิไดมีการจารึกพระไตรปฎกลงในใบลานนั้นใชวิธี
ทองจํา และการทองจําก็แบงหนาที่กัน ตามใครจะสมัครเปนผูเชี่ยวชาญในสวนไหนตอน
ไหนของพระไตรปฎก เชน คําวา ทีฆภาณกะ แปลวา ผูสวดคัมภีรทีฆนิกาย (พระธรรม
เทศนาหมวดยาว) มัชฉิมภาณกะ ผูสวดคัมภีร มัชฌิมนิกาย (พระธรรมเทศนาขนาดปาน
กลาง) โดยนัยน้ีจึงเปนการแบงงานกันทําในการทองจําพระไตรปฎก และมีผูเชี่ยวชาญใน
แตละสาขา มีศิษยของแตละสํานักทองจําตามท่ีอาจารยสั่งสอน เปนทางใหเห็นความ
เปนมาแหง พระไตรปฎก ดวยประการฉะน้ี
ในหนังสืออธิบายพระไตรปฎก หรือที่เรียกวาอรรถกถา ไดแสดงการสืบสายของ
อาจารยในแตละทาง คือ วินัยปฎก สุตตันตปฎก และอภิธัมมปฎก ท่ีเรียกวาอาจริย
ปรมั ปรา สายแหงพระอาจารย ดงั นี้
สายวินยั ปฎ ก๑๘ ๒. พระทาสกะ
๑. พระอบุ าลี
๓. พระโสณกะ ๔. พระสคิ ควะ

๑๗ Bunyiu Bantio, A Shory History of Twelve Japanese Buddhist Sicts,
(Tokyo: Bukkyo-sho-ei-yaku-shuppan-sha, 1979). p.102-106.

๑๘ สมนั ตปั ปาสาทกิ า ภาค ๑, หนา ๖๑ ครั้นแลวไดกลาวถึงช่ืออาจารยในรุนหลัง ตอนท่ีแผ
ศาสนาไปในลังกาแลว อีกเกอื บ ๑๐๐ รูป

๔๔ บทท่ี ๒ ความรเู รอื่ งพระไตรปฎ ก
Knowledge of the scriptures
พระมหามิตร ฐติ ปโฺ ญ,ผศ.ดร.

๕. พระโมคคลีบุตร ตสิ สะ

สายสุตตันตปฎ ก
ไมไดมีระบุไวในอรรถกถา เปนแตไดกลาวถึงการมอบหนาที่ในการทองจํานําสืบ ๆ
กนั ตอไป ดงั นี้๑๙
๑. มอบใหพระอานนททอ งจําสัง่ สอนทฆี นิกาย
๒. มอบใหนสิ ติ ทง้ั หลายของพระสารีบุตรทอ งจํามชั ฉมิ นกิ าย
๓. มอบใหพระมหากสั สปทอ งจําสังยุตตนกิ าย
๔. มอบใหพระอานุรุทธทองจําอังคุตตรนิกาย สวนขุททกนิกายไมไดกลาวไววา
มอบเปนหนาทีข่ องใคร
สายอภิธัมมปฎ ก๒๐
๑. พระสารีบตุ ร ๒. พระภัททชิ
๓. พระโสภติ ะ ๔. พระปย ชาลี
๕. พระปย ปาละ ๖. พระปยทสั สี
๗. พระโกสยิ ปตุ ตะ ๘. พระสิคควะ
๙. พระสนั เทหะ ๑๐. พระโมคคลบี ตุ ร
๑๑. พระติสสทตั ตะ ๑๒. พระธมั มยิ ะ
๑๓. พระทาสกะ ๑๔. พระโสณกะ
๑๕. พระเรวตะ
ตามรายนามน้ี สืบตอมาเพียงชั่ว ๒๓๕ ปเทาน้ัน ตอจากนั้นยังมีรายนามอีกมาก
ซง่ึ นบั แตแผศาสนาไปในลังกาแลว

๒.๘ การชําระและจารกึ กับการพิมพพ ระไตรปฎกในประเทศไทย

ไดกลาวไวแลววา ควรจะไดกลาวเปนพิเศษถึงการชําระการเขียน การพิมพ
พระไตรปฎกในประเทศไทย ใหคอนขางละเอียดสักเล็กนอย เพื่อเปนประโยชน ในการรู
เร่ืองความเกี่ยวของของประเทศไทยท่ีมีตอพระไตรปฎก ซ่ึงในที่นี้จะไดแบงเปน ๔ สมัย
ดงั น้ี

สมัยที่ ๑ ชําระและจารลงในใบลาน กระทําท่ีเมืองเชียงใหม สมัยพระเจาติโลก
ราช ประมาณ พ.ศ. ๒๐๒๐

๑๙ สุมังคลวิลาสนิ ี ภาค ๑, หนา ๑๘.
๒๐ อัฏฐสาลินี, หนา ๔๓.

ศกึ ษาเฉพาะเร่อื งในพฒั นาการแหง พระพุทธศาสนา ๔๕
Selected Topics in Development of Buddhism
พระมหามติ ร ฐติ ปโฺ ญ,ผศ.ดร.

สมัยที่ ๒ ชาํ ระและจารลงในใบลาน กระทาํ ทีก่ รุงเทพฯ สมัยพระบาทสมเด็จพระ
พุทธยอดฟา จุฬาโลก รชั กาลที่ ๑ พ.ศ. ๒๓๓๑

สมัยที่ ๓ ชําระและพิมพเปนเลม กระทําท่ีกรุงเทพฯ สมัยพระบาทสมเด็จพระ
จลุ จอมเกลา เจาอยูห ัว รัชกาลที่ ๕ พ.ศ. ๒๔๓๑ ถึง พ.ศ. ๒๔๓๖

สมัยที่ ๔ ชําระและพิมพเปนเลม กระทําที่กรุงเทพฯ สมัยพระบาทสมเด็จ
พระปกเกลาเจา อยหู ัว รชั กาลที่ ๗ พ.ศ. ๒๔๖๘ ถึง พ.ศ. ๒๔๗๓

๒.๘.๑ สมยั ที่ ๑ พระเจาตโิ ลกราช เมอื งเชยี งใหม
ความจริงสมัยนั้น เมืองเชียงใหมเปนอิสระ และถือไดวาภูมิภาคแถบน้ันเปน
ประเทศลานนาไทย แตเมื่อรวมกันเปนประเทศไทยในภายหลัง ก็ควรจะไดกลาวถึงการ
ชําระพระ ไตรปฎ ก และการจารลงในใบลาน
พระเจาติโลกราชผูน้ี มีเร่ืองกลาวถึงไวในหนังสือชินกาลมาลีปกรณส้ัน ๆ วา
สรางพระพทุ ธรูป ในจลุ ศักราช ๘๔๕ ในหนังสือสังคีติยวงศเลาเร่ืองสรางพระพุทธรูปขนาด
ใหญ ตรงกบั หนังสอื ชินกาลมาลปี กรณ แตมีเลา เรื่องสังคายนาพระไตรปฎกดวย พระเจาติ
โลกราชไดอาราธนาพระภิกษุผูทรงพระไตรปฎกหลายรอยรูป มีพระธรรมทินเถระเปน
ประธาน ใหชําระอักษรพระไตรปฎกในวัดโพธาราม ๑ ปจึงสําเร็จ เม่ือทําการฉลองสมโภช
แลว กไ็ ดใ หส รา งมณเฑยี รในวดั โพธาราม เพือ่ ประดษิ ฐาน พระไตรปฎ ก
ขอที่นาสังเกตก็คือ ตัวอักษรท่ีใชในการจารึกพระไตรปฎกในคร้ังน้ัน คงเปน
อกั ษรแบบไทยลานนา คลายอักษรพมา มผี ิดเพยี้ นกันบา ง และพอเดาออกเปนบางตัว
๒.๘.๒ สมัยที่ ๒ รัชกาลที่ ๑ กรงุ เทพฯ
เร่ืองสังคายนาพระไตรปฎกโดยพิสดาร ในสมัยรัชกาลที่ ๑ มีปรากฏในหนังสือ
พงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา และคําประกาศเทวดาครั้งสังคายนาปวอก สัมฤทธิศก
พ.ศ. ๒๓๓๑ รัชกาลท่ี ๑ (หนงั สือประกาศการพระราชพิธี) ซึ่งเกบ็ ใจความไดดังนี้
ในป พ.ศ. ๒๓๓๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลก ทรงสละพระราช
ทรัพยจางชางจารจารึกพระไตรปฎกลงในใบลาน และใหชําระและแปลฉบับอักษรลาว
อักษรรามัญ เปนอักษรขอม สรางใสตูไวในหอมนเทียรธรรม และสรางพระไตรปฎกถวาย
พระสงฆไวทุกพระอาราม หลวง มีผูกราบทูลวา ฉบับพระไตรปฎก และอรรถกถาฎีกาท่ีมี
อยู ผิดเพ้ียนวิปลาสเปนอันมาก ผูท่ีรูพระไตรปฎกก็มีนอยทาน ควรจะไดหาทางชําระให
ถูกตองจึงทรงอาราธนาพระสังฆราช พระราชาคณะ ฐานานุกรมเปรียญ ๑๐๐ รูปมาฉัน
ตรสั ถามวา พระไตรปฎกผดิ พลาดมากนอ ยเพียงไร สมเดจ็ พระสังฆราชพรอมดวยพระราชา
คณะถวายพระใหทรงทราบวา มีผดิ พลาดมาก แลว เลา ประวัตกิ ารสังคายนาพระไตรปฎก ๘
ครั้งที่ลวงมาแลว เมื่อทรงทราบด่ังนี้ จึงอาราธนาใหพระสงฆดําเนินการสังคายนาชําระ

๔๖ บทท่ี ๒ ความรูเ รือ่ งพระไตรปฎก
Knowledge of the scriptures
พระมหามิตร ฐติ ปโฺ ญ,ผศ.ดร.

พระไตรปฎก ซึ่งเลือกไดพระสงฆ ๒๑๘ รูป ราชบัณฑิตอุบาสก ๓๒ คน (แตตามประกาศ
เทวดาวา พระสงฆ ๒๑๙ รูป ราชบัณฑิตอุบาสก ๓๐ คน) กระทํา ณ วัดพระศรีสรรเพชญ
(คือวัดมหาธาตุ ยุวราชรังสฤษดิ์ในปจจุบัน) แบงงานออกเปน ๔ กอง สมเด็จพระสังฆราช
เปนแมกองชําระสุตตันตปฎก พระวันรัตเปนแมกองชําระวินัยปฎก พระพิมลธรรมเปนแม
กองชําระอภิธัมมปฎก พระพุฒาจารยเปนแมกองชําระสัททาวิเศษ (ตําราไวยากรณและ
อธบิ ายศพั ทต า ง ๆ) พระบาทสมเดจ็ พระเจา อยหู วั และพระอนุชาเสด็จไป ณ พระอารามทุก
วัน ๆ ละ ๒ คร้ัง เวลา เชา ทรงประเคนสํารบั อาหาร เวลาเย็นทรงถวายน้าํ อัฐบาน (นํ้าผลไม
ค้ัน) และเทียนทกุ วัน เปนอยางน้สี นิ้ เวลา ๕ เดอื นจงึ เสร็จ แลวไดจางชางจารึกลงในใบลาน
ใหปดทองแทงทับท้ังใบปกหนาหลัง และกรอบท้ังส้ิน เรียกวาฉบับทองหอดวยผายก เชือก
รัดถักดวยไหม แพรเบญจพรรณ มีฉลากงาแกะเขียนอักษรดวยหมึก และฉลากทอเปน
ตัวอักษร บอกชือ่ พระคัมภีรท ุกคัมภีร

เมื่อพิจารณาจากการที่พระมหากษัตริยทรงอุตสาหะ เสด็จพระราชดําเนินไปให
กาํ ลงั ใจแกพ ระเถระและราชบัณฑิตผูชําระพระไตรปฎก ถึงวันละ ๒ เวลาแลว ก็ควรจะถือ
ไดวาเปนพระราชจริยาอันดีย่ิง มีคุณคาในการถนอมรักษาตําราทางพระพุทธศาสนาไว
ดว ยดี

แตการสังคายนาครั้งน้ี ผูทรงความรูรุนหลัง มักจะพูดลอวาเปนการสังคายนา
แตมหัวตะ เชน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัวรัชกาลท่ี ๕ ทรงไวในพระราช
วิจารณเทียบลัทธิพระพุทธศาสนาฝายหีนยาน (เถรวาท) กับมหายาน หนา ๑๓ โดยเล็งไป
ถึงวาไมไดทําอะไรมาก นอกจากแกไขตัวหนังสือที่ผิด คําวา แตมหัวตะ หมายความวา
อักษร ค กับอักษร ต เมื่อเขียนดวยอักษรขอม มีลักษณะใกลเคียงกัน ถาจะใหชัดเจนเวลา
เขียนตัว ต จะตองมีขมวดหัว การสอบทานเหน็ ตัวไหนไมชัดกเ็ ติมขมวดหวั เสียใหชดั

แตขา พเจาเองมิไดเห็นวา การชําระพระไตรปฎ กในรชั กาลที่ ๑ เปนเรื่องเล็กนอย
เพราะมิไดติดใจถอยคําท่ีวา สังคายนา จะตองเปนเรื่องปราบเส้ียนหนามทุกครั้งไป
สังคายนาครั้งที่ ๑ ก็ไมใชมีเส้ียนหนามอะไรมาก เพียงภิกษุสูงอายุรูปหน่ึงพูดไมดีเทานั้น
ขอสําคัญอยูที่การจัดระเบียบหรือถนอมรักษาพระพุทธวจนะ ใหดํารงอยูก็พอแลว ขอ
ปรารภของรชั กาลที่ ๑ ที่วา พระไตรปฎกมีอักษรผิดพลาดตกหลนมาก จึงควรชําระใหดี นี้
เปน เหตผุ ลเพยี งพอทจ่ี ะดําเนินงานได เพราะถาไมไดพระบรมราชูปถัมภงานนี้ก็คงสําเร็จได
โดยยาก จะเรียกวา สังคายนาหรือไม ไมสําคัญ สําคัญอยูที่ไดแกไขฉบับพระไตรปฎกใหดี
ข้ึนก็เปนท่ีพอใจแลว เพราะแมการสังคายนาคร้ังที่ ๑-๒-๓ ถาจะถือวา มีการสังคายนาคน
เกีย่ วขอ งดว ยทกุ ครง้ั แตในทสี่ ดุ ก็ไมพ นสังคายนาพระธรรมวินัย จัดระเบียบพระพุทธวจนะ
โดยเฉพาะการสงั คายนาครง้ั แรกก็เพยี งปรารภถอยคําของสุภทั ทภิกษุเทาน้ัน มิใชสังคายนา

ศึกษาเฉพาะเรอื่ งในพัฒนาการแหง พระพทุ ธศาสนา ๔๗
Selected Topics in Development of Buddhism
พระมหามิตร ฐติ ปโฺ ญ,ผศ.ดร.

คนหรือตองชําระสะสางความผิดของใคร ดวยเหตุนี้ขาพเจาจึงขอบันทึกพระคุณของ
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลก รัชกาลท่ี ๑ แหงกรุงรัตนโกสินทรไวในท่ีดวย
คารวะอยา งยิง่

๒.๘.๓ สมยั ท่ี ๓ ในรชั กาลที่ ๕ กรงุ เทพ ฯ
หลักฐานเร่ืองการพิมพพ ระไตรปฎ ก ซึง่ เดิมเขียนเปน ตัวอักษรขอมอยูในคัมภีรใบ
ลาน ใหเปนเลมหนังสือขึ้นน้ี มีในหนังสือชุมนุมกฎหมายในรัชกาลท่ี ๕ (หลวงรัตนาญัปต์ิ
เปนผูรวบรวมพิมพ) หนา ๘๓๙ วาดวยลักษณะบํารุงพระพุทธศาสนาในหัวขอวา การ
ศาสนูปถัมภ คือการพิมพพระไตรปฎก ประกาศการสังคายนา และ พระราชดํารัสแก
พระสงฆโดยพระองค ซ่งึ ไดพิมพไว สวนหน่ึงในภาคผนวกแลว
สาระสําคัญท่ีไดกระทํา คือคัดลอกตัวขอมในคัมภีรใบลานเปนตัวไทยแลวชําระ
แกไข และพิมพข้ึนเปนเลมหนังสือรวม ๓๙ เลม (เดิมกะวาจะถึง ๔๐ เลม) มีการประกาศ
การสังคายนา แตเพราะเหตุที่ถือกันวา การสังคายนาควรจะตองมีการชําระสะสางหรือ
ทําลายเสี้ยนหนามพระศาสนา เพียงพิมพหนังสือเฉย ๆ คนจึงไมนิยมถือวาเปนการ
สังคายนา แตไดกลาวไวแลววา จะเรียกวา สังคายนา หรือไม ไมสําคัญ ขอใหไดมีการ
ตรวจสอบ จารึกหรือจัดพิมพพระไตรปฎกใหเปนเลมรักษาไวเปนหลักฐาน ก็นับวาเปนกิจ
อันควรสรรเสริญอยางยิ่ง เพราะเปนการทําใหพระพุทธวจนะดํารงอยูเปนหลักแหง
การศกึ ษาและปฏบิ ตั ิตลอดไป
มีขอนาสังเกตในการจัดพิมพพระไตรปฎกคร้ังแรกในประเทศไทย ครั้งนี้ท่ีขอ
เสนอไวเ ปนขอ ๆ คอื
๑. การชําระ และจัดพิมพพระไตรปฎกคร้ังนี้เริ่มแต พ.ศ. ๒๔๓๑ สําเร็จเมื่อ
พ.ศ. ๒๔๓๖ จํานวน ๑,๐๐๐ ชุด นับเปนครั้งแรกในประเทศไทยท่ีไดมีการพิมพ
พระไตรปฎกเปนเลมดวยอักษรไทย เปนการฉลองการท่ีพระบาทสมเด็จพระ
จลุ จอมเกลา เจาอยหู วั เสวยราชสมบตั ิมาครบ ๒๕ ป
๒. เปนการสละพระราชทรัพยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว
(เทยี บกับการพมิ พพระไตรปฎกในรชั กาลท่ี ๗ ซ่ึงเปน การสละพระราชทรัพย และทรัพย
รว มกันของพระมหากษตั ริยก ับประชาชน)
๓. ในการพิมพคร้ังแรกนี้ พิมพได ๓๙ เลมชุด ยังขาดหายไปมิไดพิมพอีก ๖
เลม และไดพิมพเพิ่มเติมในรัชกาลที่ ๗ จนครบ ฉบับพิมพในรัชกาลที่ ๗ รวม ๔๕ เลม
จงึ นับวาสมบูรณ เปน การชว ยเพ่มิ เตมิ เลม ทขี่ าดหายไปคือ (๑) เลม ๒๖ วิมานวุตถุ เปต
วตั ถุ เถรคาถา เถรคี าถา (๒) เลม ๒๗ ชาดาก (๓) เลม ๒๘ ชาดก (๔) เลม ๓๒ อปทาน
(๕) เลม ๓๓ อปทาน พุทธวงศ จริยาปฎก (๖) เลม ๔๑ อนุโลมติกปฏฐานภาค ๒ และ

๔๘ บทที่ ๒ ความรูเรื่องพระไตรปฎก
Knowledge of the scriptures
พระมหามติ ร ฐติ ปโฺ ญ,ผศ.ดร.

(๗) ปจจนียปฏฐาน อนุโลมปจจนียปฏฐาน ปจจนียานุโลมปฏฐาน นอกจากน้ันยังได
เพ่ิมเติมทายเลม ๔๔ ที่ขาดหายไป คร่ึงหนึ่ง คือ นุโลมติกติกปฏฐานและอนุโลมทุกทุก
ปฏฐานใหสมบูรณดวย ตามจํานวนดังกลาวน้ี เมื่อคิดเปนเลมจึงมีหนังสือขาดหายไป
ตอ งพิมพเพิม่ เตมิ ใหมถึง ๗ เลม แตเพราะเหตุท่ีฉบับพิมพในครั้งรัชกาลที่ ๕ แยกคัมภีร
ยมกแหงอภิธัมมปฎกออกเปน ๓ เลม สวนในการพิมพครั้งหลัง รวมเปนเพียง ๒ เลม
จํานวนเลม ทข่ี าดหายจึงเปน เพียง ๖ เลม คือ ฉบับพิมพในรัชกาลท่ี ๕ มี ๓๙ เลม ฉบับ
พิมพในรัชกาลท่ี ๗ มี ๔๕ เลม ดวยประการฉะน้ี

อยางไรก็ดี การพิมพพระไตรปฎกเปนเลมหนังสือนี้ แมในข้ันแรกจะไมสมบูรณ
แตก็เปนประโยชนในการศึกษาคนควาทางพระพุทธศาสนาสะดวกย่ิงขึ้น เปนการ
วางรากฐานอยางสําคัญแหงพระพุทธศาสนาในประเทศไทย เปนพระราชกรณียกิจอันควร
สรรเสรญิ ย่ิงแหงพระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา เจา อยูหวั

๒.๘.๔ สมยั ท่ี ๔ รัชกาลท่ี ๗ กรุงเทพ ฯ
หลักฐานเรื่องน้ีในหนังสือรายงานการสรางพระไตรปฎกสยามรัฐ ซึ่งพิมพข้ึนใน
สมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกลาเจาอยูหัว รัชกาลท่ี ๗ แสดงรายละเอียดการจัดพิมพ
พระไตรปฎ ก ระหวาง พ.ศ. ๒๔๖๘ ถึง พ.ศ. ๒๔๗๓

มีขอท่พี ึงกลา วเกยี่ วกบั การจัดพมิ พพระไตรปฎ กครัง้ นี้ คอื
๑. ไดใ ชเครือ่ งหมายและอักขรวิธตี ามแบบของสมเดจ็ พระมหาสมณเจา กรมพระ
ยาวชิรญาณวโรรส ซึ่งทรงคิดขึ้นใหม แมการจัดพิมพจะกระทําในสมัยที่พระองคทาน
ส้นิ พระชนมแ ลว
๒. พิมพ ๑,๕๐๐ จบ พระราชทานในพระราชอาณาจักร ๒๐๐ จบ พระราชทาน
ในนานาประเทศ ๔๕๐ จบ เหลืออีก ๘๕๐ จบ พระราชทานแกผูบริจาคทรัพยขอรับ
หนงั สือพระไตรปฎ ก
๓. การพิมพพระไตรปฎกในครั้งน้ี นับวาไดเพ่ิมเติมสวนที่ยังขาดอยูใหสมบูรณ
โดยใชฉบับลานของหลวง (เขาใจวาฉบับน้ีสืบเนื่องมาจากรัชกาลท่ี ๑) คัดลอกแลวพิมพ
เพ่มิ เตมิ จากสว นทีย่ งั ขาดอยู
๔. ผลของการท่ีสงพระไตรปฎกไปตางประเทศ ทําใหมีผูพยายามอานอักษรไทย
เพื่อสามารถอานพระไตรปฎกฉบับไทยได และไดมีผูบันทึกสดุดีไว เชน พระนยานติโลก
เถระ ชาวเยอรมัน ผูอุปสมบทประจําอยู ณ ประเทศลังกา ไดชมเชยไวในหนังสือ Guide
through the Abhidhamma-Pitaka วา ฉบบั พระไตรปฎกของไทยสมบูรณกวาฉบับพิมพ
ดวยอักษรโรมันของสมาคมบาลีปกรณใ นอังกฤษเปนอันมาก

ศึกษาเฉพาะเรอื่ งในพัฒนาการแหงพระพุทธศาสนา ๔๙
Selected Topics in Development of Buddhism
พระมหามติ ร ฐติ ปฺโญ,ผศ.ดร.

๕. ในการพิมพครง้ั น้ี ไดท าํ อนกุ รมตาง ๆ ไวทายเลมเพื่อสะดวกในการคน แมจะ
ไมสมบูรณ แตก ็มปี ระโยชนม าก และเปน แนวทางใหช าํ ระเพมิ่ เตมิ ใหส มบูรณตอ ไป

เปนอันวาทานผูอานไดทราบความเปนมาแหงพระไตรปฎกต้ังแตตนจนถึงพิมพ
เปน เลมแลว ตอไปจะไดก ลา วถงึ วิธีจัดระเบียบและการจัดประเภทในแตละปฎกเพ่ือสะดวก
ในการกําหนดจดจํา ซึ่งไดมีการริเริ่มมาแตการสังคายนาครั้งท่ี ๑ และไดเพ่ิมเติมในการจัด
ระเบยี บในสมยั ตอ ๆ มา

๒.๙ ลกั ษณะการจดั หมวดหมูข องแตละปฎก

ไดกลาวแลววา พระไตรปฎกน้ัน แบงออกเปนวินัยปฎก สุตตันตปฎก และ
อภิธัมมปฎก โดยลําดับ พระโบราณาจารยฝายไทยไดใชวิธียอหัวขอสําคัญในแตละปฎก
เพื่อจํางายเปนอักษรยอ ในการใชอักษรยอน้ัน วินัยปฎกมี ๕ คํา สุตตันตปฎก ๕ คํา
อภิธมั มปฎ ก ๗ ดงั ตอ ไปนี้

๒.๙.๑ วนิ ยั ปฎก
อักษรยอในปฎกอ่ืน ๆ ไมมีปญหา คงมีปญหาเฉพาะวินัยปฎก คือ อา, ปา, ม, จุ,
ป อา = อาทกิ ัมม (การกระทําท่เี ปน ตนบญั ญัติ) หมายเฉพาะรายการพระวินัย ต้ังแตอาบัติ
ปาราชิกลงมาถึงสังฆาทิเสส, ปา = ปาจิตตีย เปนช่ือของอาบัติในปาฏิโมกข เฉพาะต้ังแต
ถัด สังฆาทิเสสลงมา ทั้งสองหัวขอน้ีเปนการยออยางจับความมากกวายอตามช่ือหมวดหมู
จึงไมตรงกบั ชอื่ ที่ใชเ ปนทางการในวินัยปฎก สวนอีก ๓ ขอทายตรงตามช่ือหมวดหมู ฉะน้ัน
ถาจะจดั ตามชอื่ จงึ ควรเปนดังนี้

๑. ม= มหาวิภังค หรือ ภิกขุวิภังค วาดวยศีลของภิกษุท่ีมาในปาฏิโมกข (
คําวา ปาฏิโมกข คือศีลที่เปนใหญเปนสําคัญอันจะตองสวดทบทวนในที่ประชุมสงฆทุกก่ึง
เดือน)

๒. ภิ= ภกิ ขุนีวิภังค วา ดวยศลี ของภิกษุณี
๓. ม = มหาวัคค แปลวา วรรคใหญ แบงออกเปนขันธกะ คือหมวดตาง ๆ
๑๐ หมวด
๔. จุ = จุลลวัคค แปลวา วรรคเล็ก แบงออกเปนขันธกะ คือหมวดตาง ๆ
๑๒ หมวด
๕. ป = ปริวาร หมายถึงหัวขอเบ็ดเตล็ดตาง ๆ เปนการยอหัวขอสรุป
เนอ้ื ความ วินยั ฉยั ปญญาใน ๔ เรื่องขางตน
แตความเขาใจของชาวอังกฤษท่ีต้ังสมาคมบาลีปกรณขึ้นพิมพพระไตรปฎก
ในประเทศอังกฤษเขาแบง วินยั ปฎกออกเปน ๓ สวน คือ

๕๐ บทท่ี ๒ ความรูเรอื่ งพระไตรปฎก
Knowledge of the scriptures
พระมหามติ ร ฐติ ปโฺ ญ,ผศ.ดร.

๑ . สุตตวิภังค หมายรวมทง้ั ศลี ของภกิ ษุและภกิ ษณุ ี
๒. ขันธกะ หมายรวมทงั้ มหาวคั คและจลุ ลวคั ค
๓. ปริวาร คอื หวั ขอเบ็ดเตลด็ ๒๑
ปญหาเหลานี้ ไมไดทําใหเกิดการผิดพลาดหรือบกพรองในวินัยปฎกแตละ
ประการใด ตนฉบับก็ตรงกัน เปนแตการเรียกช่ือหัวขอ หรือวิธีแบงหัวขอตางกันออกไป
เทานนั้
ในหนังสืออรรถกถาวินัย (สมันตัปปาสาทิกาภาค ๑ หนา ๑๗) พระอรรถกถา
จารยจัดหัวขอยอวินัยปฎกไววา ชื่อวินัยปฎก คือ “ ปาฏิโมกข ๒ ( ภิกขุปาฏิโมกข ภิกขุนี
ปาฏิโมกข ) วิภังค ๒ ( มหาวิภังคหรือภิกขุวิภังคกับภิกขุนีวิภังค) ขันธกะ ๒๒ ( รวมท้ังใน
มหาวัคคและจุลลวัคค ) และบริวาร ๑๖ ” เร่ืองเหลาน้ีคงเปน ปญหาในการเรียกชื่อ
หมวดหมูตามเคย ถารูความหมายแลวจะทองจําหัวขอยอ ๆ แบบไทยวา อา, ปา, ม, จุ, ป ก็
คงไดป ระโยชนเทากนั อน่ึง ทา นผอู านจะเขาใจยิ่งข้ึนเมื่ออานถึงภาค ๓ อันวาดวยความยอ
แหง พระไตรปฎก เพราะจะไดเห็นหัวขอที่แบงออกไปเปนหมวดหมูรอง ๆ ลงไปหมวดใหญ
อยา งชัดเจน
๒.๙.๒ สุตตนั ตปฎ ก
หัวขอยอ แหง สุตตันตปฎกมี คอื ที , ม, สัง, องั , ขุ ดังตอ ไปนี้
๑ . ที = ทีฆนิกาย แปลวา หมวดยาว หมายถึงหมวดที่รวบรวมพระสูตร
ขนาดยาวไวสวนหนึ่งไมปนกับพระสูตรประเภทอ่ืน ในหมวดนี้มีพระสูตรรวมท้ังสิ้น ๓๔
สูตร
๒. ม = มัชฌิมนิกาย แปลวา หมวดปานกลาง หมายถึงหมวดที่รวบรวม
พระสูตรขนาดกลางไมส้ันเกินไป ไมยาวเกินไปไวสวนหนึ่ง ในหมวดนี้มีพระสูตรรวมท้ังส้ิน
๑๕๒ สูตร
๓. สัง= สังยุตตนิกาย แปลวา หมวดประมวล คือประมวลเร่ืองประเภท
เดยี วกันไวเ ปน หมวดหมู เชน เร่ืองพระมหากัสสป เรียกกัสสปสังยุต เรื่องอินทรีย (ธรรมะท่ี
เปนใหญในหนาท่ีของตน) เรียกอินทริยสังยุต เร่ืองมรรค (ขอปฏิบัติ) เรียกมัคคสังยุต ใน
หมวดนมี้ ีพระสูตรรวมทงั้ สน้ิ ๗,๗๖๒ สูตร๑๔
๔. อัง = อังคุตตรนิกาย แปลวา หมวดยิ่งดวยองค คือจัดลําดับธรรมะไว
เปนหมวด ๆ ตามลําดับตัวเลข เชน หมวดธรรมะขอเดียว เรียกเอกนิบาต หมวดธรรมะ ๒
ขอ เรยี กทกุ นิบาต หมวดธรรมะ ๓ ขอ เรียกติกนิบาต ดังนี้เปนตน จนถึงหมวดธรรมะ ๑๐

๒๑ คณาจารย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พระวินัยปฎก, (กรุงเทพมหานคร :
โรงพมิ พมหาจฬุ าลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๐), หนา ๑๑ – ๑๓.

ศึกษาเฉพาะเรอ่ื งในพัฒนาการแหงพระพทุ ธศาสนา ๕๑
Selected Topics in Development of Buddhism
พระมหามติ ร ฐติ ปโฺ ญ,ผศ.ดร.

ขอ เรยี กทสกนิบาต หมวดธรรมะเกนิ ๑๐ ขอ เรยี ก อติเรกทสกนิบาต ในหมวดนี้มีพระสูตร
รวมทัง้ สน้ิ ๙,๕๕๗ สตู ร ๒๒

๕. ขุ = ขุททกนิกาย แปลวา หมวดเล็กนอย รวบรวมขอธรรมที่ไมจัดเขา
ใน ๔ หมวดขางตนมารวมไวในหมวดนท้ี ัง้ หมด เม่อื จะแบงโดยหัวใหญก ม็ ี ๑๕ เรือ่ ง คือ

๑) ขุททกปาฐะ แปลวา บทสวดเล็ก ๆ นอย ๆ โดยมากเปนบทสวด
ส้ัน ๆ เกย่ี วกับพระพทุ ธศาสนา

๒) ธรรมบท แปลวา บทแหงธรรม คือธรรมภาษิตสั้น ๆ ประมาณ
๓๐๐ หวั ขอ ( สวนเรือ่ งพิสดารมที องเรอ่ื งประกอบปรากฏในอรรถกถา)

๓) อุทาน แปลวา คําที่เปลงออกมา หมายถึงคําอุทานที่เปนธรรมภา
ศิต มีทอ งเร่ืองประกอบเปน เหตุปรารภในการเปลงอุทานของพระพุทธเจา

๔) อิติวุตตกะ แปลวา “ ขอความท่ีทานกลาวไวอยางน้ี” เปนการ
อา งองิ วา พระพทุ ธเจาไดตรัสขอความไวอยางน้ี ไมมีเรื่องประกอบ มีแตที่ข้ึนตนวา ขาพเจา
ไดย ินมาวา พระผูมีพระภาคเจาเปนพระอรหนั ตตรัสไวอ ยางนี้

๕) สุตตนิบาต แปลวา รวมพระสูตร คือรวบรวมพระสูตรเบ็ดเตล็ด
ตางๆ ไวด ว ยกนั มีช่อื สตู รบอกกาํ กบั ไว

๖) วิมานวัตถุ แปลา เรื่องของผูไดวิมาน แสดงเหตุดีที่ใหไดผลดีตาม
คาํ บอกเลา ของผไู ดผ ลดนี ้นั ๆ

๗) เปตวตั ถุ แปลวา เรอ่ื งของเปรตหรือผูลวงลบั ไป ท่ที ํากรรมชว่ั ไว
๘) เถรคาถา ภาษติ ตาง ๆ ของพระเถระผูเปนอรหนั ตสาวก
๙) เถรีคาถา ภาษิตตาง ๆ ของพระเถรีผเู ปน อรหนั ตสาวกิ า
๑๐) ชาดก แสดงภาษิตตาง ๆ เกี่ยวโยงกับคําสอนประเภทเลานิทาน
(ทอ งเร่ืองพสิ ดารมีในอรรถกถา เชนเดียวกับธรรมบท)
๑๑) นิทเทส แบงออกเปนมหานิทเทสกับจูฬนิทเทส คือมหานิทเทส
เปนคําอธิบายพระพุทธภาษิตในสุตตนิบาต (หมายเลข ๕) รวม ๑๖ สูตร สวนจูฬนิทเทส
เปนคําอธบิ ายพระพทุ ธภาษติ ในสตุ ตนิบาต (หมายเลข ๕) วาดวยปญ หาของมาณพ ๑๖ คน
กบั ขคุ ควสิ าณสูตร กลาวกนั วา เปนภาษติ ของพระสารีบุตรเถรเจา
๑๒) ปฏิสัมภิทามัคค แปลวา ทางแหงปญญาอันแตกฉาน เปน
คาํ อธิบายหลกั ธรรมทางพระพุทธศาสนา ซึง่ กลาวกันวาพระสารีบตุ รเถระเจาไดก ลา วไว

๒๒ การนบั จาํ นวนสตู รนีก้ ลา วตามหลกั ฐานของอรรถกถา เพราะในสังยุตตนกิ ายและองั คุตตร
นิกาย บางแหงก็บอกช่ือสตู ร บางแหงก็บอกชื่อ สว นใหญไมบอกช่ือสูตร.

๕๒ บทท่ี ๒ ความรูเร่อื งพระไตรปฎก
Knowledge of the scriptures
พระมหามติ ร ฐติ ปโฺ ญ,ผศ.ดร.

๑๓) อปทาน แปลวา คําอางอิง เปนประวัติสวนตัวที่แตละทานเลาไว
ซ่ึงอาจแบง ได คอื เปนอดีตประวัติของพระพุทธเจา ของพระเถระอรหันตสาวก ของพระเถรี
อรหันตสาวิกา สวนท่ีเปนประวัติการทําความดีของพระปจเจกพุทธเจานั้น มีคําอธิบายวา
เปน พทุ ธภาษิตตรสั เลา ใหพระอานนทฟง

๑๔) พุทธวังส แปลวา วงศของพระพุทธเจา หลักการใหญเปนการ
แสดงประวัติของพระพุทธเจาในอดีต ๒๔ องค รวมทั้งของพระโคตมพุทธเจาดวยจึงเปน
๒๕ องค นอกจากนน้ั มีเรอ่ื งเบ็ดเตล็ดแทรกเลก็ นอย

๑๕) จริยาปฎก แปลวา คมั ภีรแสดงจรยิ า คือการบําเพ็ญบารมีตาง ๆ
ของพระพุทธเจา ซึ่งแบงหลักใหญออกเปนทาน (การให) ศีล (การรักษากายวาจาให
เรยี บรอย) และเนกขัมมะ (การออกบวช)

๒.๙.๒.๑ ขอสงั เกตทา ยสุตตันตปฎก
พระสุตตันตปฎกซึ่งเเบงออกเปน ๕ นิกายดังกลาวมาแลว คือทีฆนิกาย
จนถึงขุททกนิกายน้ัน บางคร้ังพระอรรถกถาจารยกลาววา ๕ นิกายนี้แหละ จะเรียกวา
ประมวลไดครบทั้งสามปฎกก็ได คือถือวานอกจากพระพุทธวจนะท่ีอยูใน ๔ นิกายขางตน
แลว พระพุทธวจนะที่เหลือจัดเขาในขุททกนิกาย คือหมวดเบ็ดเตล็ดทั้งหมด คือท้ังวินัย
ปฎกและอภิธรรมปฎก จัดเขาในขุททกนิกายท้ังสิ้น คําวา นิกายนี้ ในท่ีบางแหงใชคําวา
อาคม แทนพระไตรปฎกฝายเถรวาทท่ีปรากฏแปลในฉบับจีน ชาวจีนใชคําวา อาคม หมาย
รวมแทนพระไตรปฎกของฝา ยเถรวาท
๒.๙.๓ อภิธัมมปฎก
หัวขอยอ แหง อภิธมั มปฎกมี ๗ คอื สัง, วิ, ธา, ป,ุ ก, ย, ป, ดงั ตอ ไปน้ี
๑. สัง = สังคณี วาดวยการรวมหมูธรรมะ คือธรรมะแมจะมีมากเทาไร ก็
อาจรวมหรือจดั เปนประเภท ๆ ไดเ พยี งไมเกนิ ๓ อยา ง
๒. วิ = วิภังค วาดวยการแยกธรรมะออกเปนขอ ๆ เชน เปนขันธ ๕ เปน
เปนตน ท้ังสังคณีและวิภังคนี้ เทียบดวยคําวาสังเคราะห (Synthesis) และวิเคราะห
(Analysis) ในวิทยาศาสตร เปนแตเนื้อหาในทางศาสนากับทางวิทยาศาสตร มุงไปคนละ
ทาง คงลงกันไดในหลักการวา ควรเรียนรูท้ังในทางรวมกลุมและแยกกลุม เชน รถคันหน่ึง
ควรรูท ้งั การประกอบเขา เปนคนั รถ และแยกสว นตาง ๆ ออกฉะน้นั
๓. ธา = ธาตุถกา วาดวยธาตุ คือธรรมะทุกอยาง อาจจัดเปนประเภทได
โดย ธาตุ อยา งไร

ศึกษาเฉพาะเร่ืองในพัฒนาการแหงพระพทุ ธศาสนา ๕๓
Selected Topics in Development of Buddhism
พระมหามติ ร ฐติ ปโฺ ญ,ผศ.ดร.

๔. ปุ = ปคุ คลบัญญัติ วา ดวยบัญญัติ ๖ ประการ เชน บัญญัติขันธ บัญญัติ
อายตนะ จนถึงบัญญัติเรื่องบุคคล พรอมทั้งแจกรายละเอียดเรื่องบัญญัติบุคคลตาง ๆ
ออกไป

๕. ก = กถาวัตถุ วาดวยคําถาม คําตอบ หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
(เพราะอรรถกถาจารยกลาววา เปนคําถาม ๕๐๐ คําตอบ ๕๐๐ แตตัวเลข ๕๐๐ น้ี อาจ
หมายเพยี งวาหลายรอย เพราะเทาที่นบั กนั ดแู ลว ไดค าํ ถาม คําตอบ อยางละ ๒๑๙ ขอ)

๖. ย = ยมก วาดวยธรรมเปนคู ๆ บางทีจัดคูก็มีลักษณะเปนตรรกวิทยา
ซึง่ จะไดกลา วถงึ ใน ๓ ภาค ยอ ความแหง พระไตรปฎ ก

๗. ป = ปฏฐาน วา ดวยปจจยั คือสนับสนุน ๒๔ ประการ๒๓
เปนอันวา หัวใจยอแหงพระไตรปฎก คือ อา ปา ม จุ ป ที ม สัง อัง ขุ สัง วิ ธา
ปุ ก ย ป มีรายละเอยี ดดงั กลา วมาน้ี

๒.๑๐ ลาํ ดับชนั้ คัมภรี ทางพระพุทธศาสนา

แมว า พระไตรปฎ กจะนบั วา เปนคมั ภีรสําคัญ และเปนหลักฐานทางพระพุทธศาสนา
แตก็มีคัมภีรอ่ืนอีกท่ีเก่ียวของดวย จึงควรทราบลําดับชั้นคัมภีรทางพระพุทธศาสนาไว
ดังตอ ไปนี้

๑. พระไตรปฎ ก เปน หลักฐานข้ัน ๑ เรยี กวา บาลี
๒. คาํ อธบิ ายพระไตรปฎก เปน หลกั ฐานขนั้ ๒ เรยี กวา อรรถกถา หรือวณั ณนา
๓. คําอธิบายอรรกถา เปน หลักชน้ั ๓ เรยี กวาฎกี า
๔. คาํ อธิบายฎกี า เปนหลกั ฐานชน้ั ๔ เรยี กวาอนุฎีกา๒๔
นอกจากน้ียังมคี ัมภรี ท่ีแตงขึ้น วาดวยไวยกรณภาษาบาลีฉบับตาง ๆ และอธิบาย
ศัพยตาง ๆ เรียกรวมกันวา สัททาวิเสส เปนสํานวนท่ีเรียกกันในวงการนักศึกษาฝายไทย
ปรากฏในพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาวา เม่ือทําการสังคายนา ในรัชกาลที่ ๑ กรุง
รัตนโกสินทร พ.ศ. ๒๓๓๑ เพื่อชําระพระไตรปฎกน้ัน ไดมีการชําระคัมภีรสัททวิเสสตาง ๆ
ดวย โดยมพี ระพุฒาจารยเปน แมก อง
การจดั ช้นั ของบาลอี รรถกถา ก็เนื่องดวยกาลเวลานั้นเอง พระไตรปฎกเปนของมี
มากอน ก็จัดเปนหลักฐานช้ัน ๑ คําอธิบายพระไตรปฎกแตงขึ้นประมาณ ๙๕๖ ปภายหลัง
พุทธปรนิ ิพพาน จึงจดั เปนชั้น ๒ สวนฎกี านัน้ แตง ขึน้ เม่ือประมาณ พ.ศ. ๑๕๘๗ จึงนับเปน

๒๓ พระมหาอดิศร ถิรสีโล, ประวัติคัมภีรบาลี, (กรุงเทพมหานคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย,
๒๕๔๓), หนา ๕๖.

๒๔ เรอ่ื งเดียวกนั , หนา ๑๐๓.

๕๔ บทที่ ๒ ความรเู รื่องพระไตรปฎก
Knowledge of the scriptures
พระมหามติ ร ฐติ ปโฺ ญ,ผศ.ดร.

หลักฐานชั้น ๓ อนึ่ง คัมภีรอนุฎีกาน้ัน แตงขึ้นภายหลังฎีกาในยุคตอ ๆ มา เปนคําอธิบาย
ฎกี าอีกตอหนึง่ จึงนับเปนหลกั ฐานช้นั ๔

อยางไรก็ตาม แมพระไตรปฎกจะเปนหลักฐานชั้น ๑ เม่ือพิจารณาตามหลักพระ
พุทธภาษิตในกาลามสูตร ทานก็ไมใหติดจนเกินไป ดังคําวา มา ปฎกสมฺปทาเนน อยาถือ
โดยอางตํารา เพราะอาจมีผิดพลาดตกหลนหรือบางตอนอาจเพ่ิมเติมข้ึน แสดงวา
พระพุทธศาสนาสอนใหใชปญญาพิจารณาเหตุผล สอบสวนดูใหประจักษแกใจตนเอง เปน
การสอนอยางมีน้ําใจกวางขวางและใหเสรีภาพแกผูนับถือพระพุทธศาสนาอยางเต็มท่ี
นอกจากนนั้ ยงั เปนการยืนยันใหนําไปประพฤติปฏิบัติ เพ่ือไดประจักษผลนั้น ๆ ดวยตนเอง
แมจะมีพระพุทธภาษิตเตือนไวมิใหติดตําราจนเกินไป แตก็จําเปนตองรักษาตําราไว เพื่อ
เปนแนวทางแหงการศึกษา เพราะถาไมมีตําราเลยจะย่ิงซํ้าราย เพราะจะไมมีแนวทางให
รูจกั พระพุทธศาสนาเลย ฉะน้ัน การศึกษาใหรูและเขาใจในพระไตรปฎก จึงเปนลําดับแรก
เรียกวา ปริยัติ การลงมือกระทําตามโดยควรแกจริตอัธยาศัยเรียกวา ปฏิบัติ การไดรับผล
แหง การปฏิบัตินั้น ๆ เรยี กวา ปฎเิ วธ

บทที่ ๓
ขอถกเถยี งและการตีความศีลในพระพทุ ธศาสนา

Controversy and Interpretation of the
Precepts in Buddhism

บทนาํ

ศีลในทางพระพุทธศาสนามีความผูกพันกับวิถีชีวิตของคนในสังคมมนุษยในทุก
ดาน ของการดํารงชีวิต โดยเฉพาะวิถีชีวิตของคนไทยน้ันมีความผูกพัน ประสานกลมกลืน
กับหลักความเชื่อ การประพฤติปฏิบัติ จนทําใหพระพุทธศาสนาเปนสวนหนึ่งของชีวิต
ประชาชนสวนมากนับถอื พระพุทธศาสนาอยา งมนั่ คง ตง้ั แตในอดตี ถงึ ปจจุบัน ตางมีเมตตา
เอ้ือเฟอ อนุเคราะห เสียสละ เปนท่ีท่ีตั้งตลอดมา ดวยคุณของพุทธธรรมคําสอนแหงองค
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจาที่ทรงสั่งสอน ใหมีอิสระจากปจจัยที่เปนเหตุแหงเครื่องเศรา
หมองท้งั ปวง ทง้ั ทางกาย และทางใจ ทางกาย หมายถึง การไมสรางความวิบัติเสียหายแก
บุคคลอื่น สวนทางใจ คือ อิสระจากกิเลสเครื่องเศราหมองท้ังหลาย อันตัดรอนชีวิตความ
เปน อยูของตน เพอ่ื นําสนั ตภิ าพและสันติสุขมาสูโลกมนุษย พระพุทธศาสนา จึงเปนศาสนา
ของผูรูเทาทันภาวะความเปล่ียนแปลงของตน ของสังคม โดยใชศาสนธรรมคําสอน ของ
พระพุทธองคเ ปน หลกั ยึดถือประพฤติปฏิบัติ ในสวนของคําส่ังน้ัน ไดแก ขอปฏิบัติซึ่งบังคับ
ไว เปนขอหามมิใหกระทํา เรียกวา ศีล เปนขอยกเวนท่ีวางไวกฎระเบียบ ในสวนของคํา
สอน ไดแก คําแนะนํา คําชีแจง การศึกษาอบรมอันเปนหลักท่ีทรงวางไวสําหรับการ
ประพฤติปฏิบัติท่ีเรียกวา พระธรรม ถือวาเปนหนาท่ี ที่จะพึงประพฤติปฏิบัติเพ่ือความ
ความเจริญกาวหนา เปนความดีงามแหงชีวิต ความเปนอยูรวมกันไดอยางมีความสุขและ
ปลอดภัย ทง้ั รา งกายและจติ ใจ ไดใ นสังคมโดยรวม

พุทธทาสภิกขุ ไดอธิบายวา “ศีล” หมายถึง ความเปนปกติ หรือปกติภาวะ ตาม
ธรรมดา หมายความวา ทําทุกอยางตามที่ควรทํา อยูในภาวะปกติ คือไมเดือดรอน ไม
กระวนกระวาย ไมระส่ําระสาย ไมมีความสกปรก ไมมีความเศราหมองใหเกิดขึ้น โดย
เน้ือความศีล หมายถึง ระเบียบ ที่ไดบัญญัติข้ึนไวสําหรับประพฤติปฏิบัติ เพ่ือใหเกิดภาวะ
ปกติ เกิดขึ้นท่กี าย วาจา ใจ๑ สอดคลองกับพระพรหมคุณาภรณ (ป.อ. ปยุตฺโต) ไดกลาววา

๑ พุทธทาสภิกขุ, หลักธรรมสําหรับนักศึกษา, (กรุงเทพมหานคร : ธรรมสภาสํานักบันลือ
ธรรม, ๒๕๓๗).

๕๖ บทท่ี ๓ ขอถกเถยี งและการตีความศีลในพระพุทธศาสนา

พระมหามิตร ฐติ ปฺโญ,ผศ.ดร. Controversy and Interpretation of the Precepts in Buddhism

“ศลี ” หมายถึง การไมเจตนา ละเมิดระเบียบ ไมเจตนาลวงเกินเบียดเบียนผูอ่ืน ถามองแต
อาการการกระทํา ศลี ก็คอื ความไมล ะเมดิ ไมเ บียดเบียน อีกอยางหนึ่ง ศีลอยูท่ีความสํารวม
ระวัง คอยปดกล้ันหลีกเวนไมใหความชั่วเกิดข้ึน ถามองใหลึกท่ีสุดสภาพจิตของผูไมคิดจะ
ละเมิดจะเบียดเบยี นคนอื่น ดว ยกาย วาจา ใจ๒ ฉะน้ันศีลจึงเปนหลักประพฤติปฏิบัติในทาง
ท่ีดีงามใหเปนไปโดยปกติชน สงเสริมใหมนุษยทุกคน สามารถดําเนินชีวิตอยูรวมกันกันใน
สังคม โดยปราศจากโทษภัยทั้งทางดานรางกาย และจิตใจ เขาถึงจุดหมายท่ีดีงาม
ตามลําดับของชีวิต ทําใหสังคมโดยรวมมีความสงบเรียบรอย และทําใหมนุษยนั้นมีการ
สํารวมกายและวาจาเรียบรอย ทั้งในการพูด การคิด การทํา ในการแสดงออก อันเปนการ
ยกระดับจิตใจ เขาถงึ แกนแทในหลักธรรม อันเปน กศุ ลธรรมอันดีงามทั้งปวง อาจกลาวส้ันๆ
วา ศีล คือ ขอหามมิใหทําความช่ัวทุจริตของพระพุทธศาสนานั่นเอง และนักวิชาการใน
สังคมไทยไดเสนอแนวคิดเก่ียวกับศีลในพระพุทธศาสนาไวอยางหลากหลาย มีมุมมองเร่ือง
ของศีลแตกตางกัน เชน พุทธทาสภิกขุ ไดนําเสนอแนวคิดของศีลวาต้ังอยูบนฐานของ
ธรรมชาติ มองวาธรรมหรือกฎธรรมชาติมีเจตนารมณทางสังคม เปนวิถีชีวิตแบบเนน
ความสําคัญของสังคมจึงถือวาดําเนินตามเจตนารมณของธรรมชาติ สวนพระพรหมคุณา
ภรณ (ป.อ. ปยตุ โฺ ต) ไดน าํ เสนอแนวคิดศีลกับเจตนารมณทางสังคม ซึ่งเปนการมองศีลหรือ
วินัยในมิติที่ครอบคลุมทั้งเร่ืองความประพฤติดีงามสวนบุคคลและการจัดวางระเบียบแบบ
แผนในสังคม และการตคี วามศีล ๕ แนวใหมเพอื่ สามารถตอบปญหาสังคมโลกยุคใหมที่เต็ม
ไปดวยความสลบั ซบั ซอนได

ประเด็นขอถกเถียงและการตีความศีลในพระพุทธศาสนา จึงมีความสําคัญและ
สอดรับกับกระแสของพระพุทธศาสนาแนวใหมในสังคมไทยปจจุบันท่ีกําลังปรากฏตัวขึ้น
เรอื่ ยๆ ประเด็นปญหาหลัก ๆ ทีต่ อ งการจะศกึ ษา คือ กลุมนักคิดและนักวิชาการไดถกเถียง
ประเด็นปญหาเกี่ยวกับแนวคิดเชิงสังคมในพระพุทธศาสนา ไมวาจะเปนกรณีศีล ๕ และ
การตีความศีล ๕ ตามแนวจารีตประเพณีแบบเดิมมีปญหาในการตอบปญหาสังคมยุคใหม
อยา งไร และไดเสนอทางออกดว ยการตคี วามศลี ๕ แบบใหมอยา งไร

๒ พระธรรมปฎก (ประยทุ ธ ปยตุ โฺ ต), เคร่ืองวัดความเจริญของชาวพทุ ธ (อารยวัฒิ), พิมพ
คร้ังท่ี ๗. (กรุงเทพมหานคร : สหธรรมมกิ , ๒๕๔๐), หนา ๗๒๗.

ศึกษาเฉพาะเรอ่ื งในพัฒนาการแหง พระพุทธศาสนา ๕๗
Selected Topics in Development of Buddhism
พระมหามิตร ฐติ ปโฺ ญ,ผศ.ดร.

๓.๑ ประเดน็ ขอ ถกเถียงและการตคี วามศีลในพระพทุ ธศาสนา

๓.๑.๑ ความหมายของศลี ในทางพระพุทธศาสนา
ศีลในทางพระพุทธศาสนามีความผูกพันกับวิถีชีวิตของคนในสังคมมนุษย ในทุก
ดาน ของการดํารงชีวิต โดยเฉพาะวิถีชีวิตของคนไทยน้ันมีความผูกพัน ประสานกลมกลืน
กับหลกั ความเชอ่ื การประพฤติปฏิบัติ จนทําใหพระพุทธศาสนาเปนสวนหนึ่งของชีวิตเร่ือง
ของศลี จงึ ถือวาเปน เรอื่ งสําคัญระดบั ในมนุษยชาติ
ศีล หมายถึง การประพฤติปฏิบัติของภิกษุ เพ่ือใหสํารวมในพระปาฏิโมกข
ความถึงพรอมดวยอาจาระและสารูป เห็นภัยในโทษท้ังหลาย แมจะมีประมาณนอย
สมาทานอยูในสิกขาทั้งหลาย ความสํารวมระวัง ความไมกาวลวงในสิกขาบท ทั้งหลาย ซึ่ง
หมายถึง การสาํ รวมกาย วาจาและใจ ใหสงบเรียบรอ ย๓
สมเด็จพระมหาสมณเจา กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงใหความหมายของ
ศีล ไววา ศีล คือ เจตนาท่ีจะระวังรักษาความประพฤติทางกาย วาจา ใจใหเรียบรอย
ปราศจากโทษ๔
พทุ ธทาสภิกขุ ไดอ ธบิ ายวา “ศลี ” หมายถึง ความเปนปกติ หรือปกติภาวะ ตาม
ธรรมดา หมายความวา ทําทุกอยางตามท่ีควรทํา อยูในภาวะปกติ คือไมเดือดรอน ไม
กระวนกระวาย ไมระส่ําระสาย ไมมีความสกปรก ไมมีความเศราหมองใหเกิดข้ึน โดย
เน้อื ความศีล หมายถงึ ระเบียบ ที่ไดสาํ หรับประพฤติปฏิบัติ เพ่ือใหเกิดภาวะปกติ เกิดขึ้นที่
กาย วาจา ใจ๕
ไชยวฒั น กปลกาญจน ไดกลาววา เจตนา คือ ความตั้งใจไมทํากรรมชั่ว มีการ
ฆาสัตว เปนตน ความงดเวนจากการทํากรรมช่ัวนั้นไดก็ดี สติเปนตนเหตุท่ีเกิดข้ึน อันเปน
เหตใุ หย ับยงั้ การทาํ กรรมชั่วคร้งั น้ัน ๆ ไดก ็ดี ช่อื วา “ศีล” เรยี กวา “ศีล” โดยความหมายวา
การตั้งกาย และวาจาโดยชอบธรรม๖

๓ กรมการศาสนา, พระไตรปฎ กภาษาไทย ฉบบั หลวง, (กรงุ เทพมหานคร: กรมการศาสนา
กระทรวงศึกษาธิการ, ๒๕๒๕), หนา ๒๐.

๔ สมเดจ็ พระมหาสมณเจา กรมพระยาวชิรญาณวโรรส, เบญจศีล เบญจธรรม (หลักสูตร
ธรรมศกึ ษา ช้ันตรี), พิมพครัง้ ที่ ๑๕, (กรงุ เทพมหานคร: มหามงกฎุ ราชวทิ ยาลยั , ๒๕๓๘), หนา ๒๗๔.

๕ พุทธทาสภิกขุ, หลักธรรมสําหรับนักศึกษา, (กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภาสํานักบันลือ
ธรรม, ๒๕๓๗), หนา ๕๖.

๖ ไชยวฒั น กปลกาญจน, หยั่งลงสูพระพุทธศาสนา, (กรุงเทพมหานคร: ม.ป.พ.,๒๕๔๒),
หนา ๔๒.

๕๘ บทที่ ๓ ขอถกเถยี งและการตีความศีลในพระพุทธศาสนา

พระมหามิตร ฐติ ปโฺ ญ,ผศ.ดร. Controversy and Interpretation of the Precepts in Buddhism

พรธรรมปฎก (ประยุทธ ปยุตฺโต) ไดกลาววา “ศีล” หมายถึง การไมเจตนา
ละเมดิ ระเบียบ ไมเ จตนาลวงเกินเบียดเบียนผูอ่ืน ถามองแตอาการกระทํา ศีลก็คือความไม
ละเมิด ไมเบียดเบียน อีกอยางหนึ่ง ศีลอยูท่ีความสํารวมระวัง คอยปดก้ันหลีกเวนไมให
ความชัว่ เกดิ ข้ึน ถา มองใหลกึ ทีส่ ุดสภาพจิตของผูไมคิดจะละเมิด ไมคิดจะเบียดเบียนคนอื่น
ดว ยกาย วาจา ใจ๗

ไสว มาลาทอง กลา ววา ศลี ๕ หรือ เบญจศีล หมายถึง เจตนา หรือความตั้งใจ
ประพฤติ งดเวนจากความช่ัวทางกาย วาจา ใจ เรียกโดยทั่วไปวา “ศีล ๕” เรียกตาม
บทบัญญัตวิ า “สิกขาบท ๕”๘

แกว ชิดตะขบ ไดกลาววา คําวา ศีล (สีลํ) แปลไดหลายนัย เชน แปลวา ปกติ
ธรรมชาติ ความเคยชิน เยือกเย็น เกษมสุข ในที่นี้แปลวา ปกติ การทําใหเปนปกติ
ธรรมชาติ ความประพฤติทด่ี ี ความตงั้ ใจงดเวนและความสาํ รวมระวังไมลวงละเมิดบัญญัติ
อนั ชอบธรรม คือ การรักษา กาย วาจา ใจ ใหเรียบรอย ความประพฤติชอบทางกาย วาจา
ใจ ใหต้ังอยูในความดีงาม การรักษาปกติ ระเบียบวินัยปกติ มารยาทดีปราศจากโทษ ขอ
ปฏิบัติการฝกใหดียิ่งข้ึน ขอปฏิบัติในการควบคุมคนใหอยูในความไมเบียดเบียน หรือการ
ควบคุมพฤติกรรมสวนตัวของคนเรา๙

ศีล หมายถึง หลักประพฤติปฏิบัติทางกายเพ่ือสรางสังคมท่ีนาอยูใหกับมวล
มนุษยชาติ ผูคนสามารถดําเนินชีวิตอยูรวมกันในสังคมอยางความปลอดภัย เปนสังคมท่ีไร
การเบียดเบียนกันทั้งทางกายและวาจา ศีลจึงเปนเคร่ืองบังคับกายและวาจาใหเกิดความ
สงบสขุ ใหต นเอง นอกจากน้ีก็สามารถขยายวงกวางไปสูสังคมจึงกลายเปนการสรางสังคมที่
นาอยู สังคมมีความสงบเรยี บรอยนีค้ ือ อานสิ งสข องศลี

๓.๑.๑.๑ ประเภทของศลี ในพระพทุ ธศาสนา
ในการแบง ประเภทของศีลในพุทธศาสนามีหลักในการแบงอยูหลายแบบดวยกัน
ไดแ กแ บง ตามหลักจตปุ ารสิ ทุ ธศิ ลี ๔ ประเภท คอื (๑) ปาฏิโมกข สงั วรศีล (๒) อนิ ทรยี สังวร
(๓) ปจจยสนั นิสิตศีล (๔) อาชีวปาริสุทธศิ ลี หรอื อาจแบง ตามจํานวน เชน ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล
๑๐ ศีล ๒๒๗ หรอื อารารยิ วินัย อนาคาริยวินัย

๗ พระธรรมปฎก (ประยุทธ ปยตุ โฺ ต), เครอื่ งวัดความเจรญิ ของชาวพุทธ (อารยวัฒิ), พิมพ
คร้ังที่ ๗, (กรุงเทพมหานคร: สหธรรมมกิ , ๒๕๔๒), หนา ๗๖๗.

๘ ไสว มาลาทอง, คูมือจริยธรรม, (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพกรมศาสนา กระทรวง
ศึกษาธกิ าร.๒๕๔๒), หนา ๑๐๙.

๙แกว ชิดตะขบ, พุทธธรรมเพื่อสงเสริมเศรษฐกิจ, (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ
พระพทุ ธศาสนาแหง ชาติ, ๒๕๕๐), หนา ๒๐๓.

ศึกษาเฉพาะเร่อื งในพฒั นาการแหง พระพทุ ธศาสนา ๕๙
Selected Topics in Development of Buddhism
พระมหามิตร ฐติ ปโฺ ญ,ผศ.ดร.

๓.๑.๑.๑.๑ ปาฏิโมกขสงั วรศีล

เนอ่ื งดว ยคนเรามีอัธยาศยั นสิ ัยใจคอท่ีแตกตางกัน และมีกําลังไมเทากัน ผูมี
อธั ยาศยั หยาบและมีกําลงั มาก อาจจะขม เหงคนท่สี ภุ าพหรือคนทม่ี กี าํ ลังนอยได ซ่ึงจะทําให
การอยูรวมกันอยางสงบสุขเปนเรื่องยาก ดังนั้นจึงมีการกําหนดกฎหมายขึ้นมาเพ่ือหาม
ปรามไมใหคนประพฤติผิด พรอมท้ังกําหนดบทลงโทษแกผูลวงละเมิด ไวดวย นอกจากนี้
ในหมูชนหนงึ่ ๆ กย็ งั มีธรรมเนียมเฉพาะสําหรับประพฤติปฏิบัติเพิ่มขึ้นอีก ดังเชนในสกุลผูดี
ก็มีธรรมเนียมสําหรับคนในสกุลผูดี แมในหมูภิกษุเองก็จําตองมีกฎหมายและ
ขนบธรรมเนียม หรือพระวินัย เพ่ือใชเปนแนวปฏิบัติท่ีปองกันไมใหเกิดความเสียหายและ
เพือ่ ชักจูงใหภิกษมุ คี วามประพฤตทิ ่ีดีงามเชนเดยี วกนั

พระวนิ ยั
พระพุทธเจา พระองคผูเปนพระธรรมราชาและเปนสังฆบิดรแหงภิกษุสงฆ
พระองคจึงทรงตั้ง พระ-พุทธบัญญัติ เพ่ือปองกันความประพฤติที่จะกอใหเกิดความ
เสียหายแกสงฆ และกําหนดโทษแกภิกษุผูลวงละเมิด ดวยการปรับอาบัติหนักบางเบาบาง
เชน เดยี วกนั กับพระเจาแผนดนิ ทรงตัง้ พระราชบัญญัติน่ันเอง นอกจากนี้ พระศาสดายังทรง
ตั้งขนบธรรมเนียมซึ่งเรียกวา อภิสมาจาร เพื่อชักนําใหภิกษุสงฆมีความประพฤติดีงาม ดุจ
เดียวกับบิดาผูเปนใหญในสกุล พึงฝกปรือของตนตามขนบธรรมเนียมของสกุล ฉะนั้น พระ
พุทธบัญญัติและอภิสมาจาร รวมเรียกวา พระวินัย ซึ่งจะประคองรักษาหมูสงฆใหตั้งอยู
เปรยี บดงั ดายรอยดอกไม ท่คี อยควบคมุ ดอกไมไ มใหกระจัดกระจาย
คนที่บวชเปนภิกษุน้ันมาจากสกุลตางๆ อันเปนพ้ืนฐานการอบรมและนิสัยใจคอท่ี
ตางกัน หากไมมีพระวินัยหรือไมประพฤติตามพระวินัย ก็จะเปนภิกษุท่ีเลวทรามไมเปนท่ีต้ัง
แหงศรัทธาและเล่ือมใส เหมือนดอกไมที่ตางพรรณถูกเก็บคละกันมาในภาชนะเดียวกัน ถึงแม
บางดอกจะมีสีมีสัณฐานอันงาม หรือมีกล่ินหอมก็ตามยอมเปนของไมนาดูไมนาชมเลย แตถา
ภิกษุตางรูปตางประพฤติตามพระวินัย ก็จะเปนภิกษุท่ีดีเปนท่ีต้ังแหงศรัทธาและเล่ือมใส เฉก
เชนนายชางผูฉลาดบรรจงจัดดอกไมไวบนพานใหเขาระเบียบ ยอมเปนของนาดูนาชม แมแต
ดอกไมท ไ่ี มงามกย็ ังพลอยเปนของไดร ะเบยี บและทําเปนของงามไดอีกดวย
สกิ ขาบท
มูลเหตุแหงการบัญญัติพระวินัยน้ัน พระศาสดามิไดทรงกําหนดไวลวงหนา แตมี
มาโดยลําดับตามเหตุท่ีเกิดขึ้น อันเรียกวา นิทานตนบัญญัติ โดยเมื่อใดมีความเสียหาย
เกิดขน้ึ จากภิกษุรูปใดรูปหนึ่งท่ีกระทําอยางหนึ่งลง เมื่อน้ันพระองคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท
เพ่ือหามความประพฤติเชนนั้นเปนอยางๆ ไป เชน พระธนิยะถือเอาพระวาจาของพระ
เจาพิมพิสาร ซึ่งเปลงตามพระราชประเพณีเมื่อครั้งราชาภิเษกวา “หญา ไม และน้ํา เรา

๖๐ บทที่ ๓ ขอ ถกเถยี งและการตีความศลี ในพระพทุ ธศาสนา

พระมหามติ ร ฐติ ปฺโญ,ผศ.ดร. Controversy and Interpretation of the Precepts in Buddhism

ใหแกพวกสมณพราหมณ” ดังน้ีนําไปเปนเลศโดยถือเอาไมหลวงทํากุฎี โดยอางวาไดรับ
พระราชทานไวแลว เมื่อเกิดเหตุเชนนี้ พระศาสดาจึงทรงบัญญัติหามลักทรัพยขึ้น แมการ
ตั้งขนบธรรมเนียมหรืออภิสมาจารกท็ รงวางไวโ ดยนยั นเ้ี ชนกัน

คร้ันตั้งพระบัญญัติขึ้นแลว แตยังไมเหมาะดวยประการใดประการหน่ึง คือยัง
หลวมอยูไมพอจะหามความเสียหายน้ันไดขาด ก็ทรงบัญญัติรัดซํ้าเขาอีก เชน ทรงต้ังพระ
บัญญัติหามลางผลาญชีวิตมนุษยแลว พระองคยังทรงบัญญัติซ้ําหามตลอดถึงพรรณนาคุณ
แหงความตายหรอื ใหเขาฆาตัวเองตาย หรือแมหากทรงบัญญัติตึงเกินไป ก็ทรงบัญญัติผอน
ใหเบาลง เชน ทรงต้ังพระบัญญัติหามไมใหอวดอุตตริมนุสสธรรมอันไมมีจริง ขอน้ีกินความ
กวางไปถึงการอวดดวยสําคัญวาไดบรรลุแตเปนคุณที่ไมมีจริง จึงทรงบัญญัติใหยกเวนผูพูด
เพราะสําคัญผิด และแมพระบัญญัติท่ีทรงตั้งไวแลว แตทําใหไมไดรับความสะดวกก็ไมทรง
ถอนเสยี ทีเดยี ว คงเพิ่มหรือดัดแปลงบา งกม็ ี

ขอบัญญัติท่ีพระองคทรงตั้งเร่ิมตน เรียกวา มูลบัญญัติ ขอบัญญัติท่ีทรงตั้ง
เพิ่มเติมภายหลัง เรียกวา อนุบัญญัติ รวมมูลบัญญัติและอนุบัญญัติเขาดวยกัน เรียกวา
สิกขาบท ดังนั้นสิกขาบทขอหนึ่งๆ อาจมีหลายอนุบัญญัติก็ได เชนสิกขาบทปรารภคณะ
โภชนคือรับนิมนตออกชื่อของกินแลวรวมกันฉันเปนหมู ก็ทรงผอนใหตามคราว เชนใน
คราวเจบ็ ปวย ในคราวทําจีวร ในคราวเดินทาง ในคราวอัตคัด หรือในคราวนิมนตของพวก
สมณะดว ยกนั เปนตน

เมื่อเกิดเหตุขึ้นแลวจึงมีการต้ังพระบัญญัติ โดยพระองคจะตรัสสั่งใหใหประชุม
สงฆและตรัสถามภิกษุผูกอเหตุใหยอมรับ แลวทรงช้ีโทษแหงการประพฤติเชนน้ันและตรัส
ถึงอานิสงสแหงความสํารวม แลวจึงทรงตั้งพระบัญญัติหามเพื่อไมใหภิกษุทําอยางน้ันอีก
ตอไป โดยวางโทษใหปรับอาบัตไิ วหนักบา ง เบาบา ง แลว แตก รณี

อาบัติ
อาบัติ คือกิริยาที่ลวงละเมิดสิกขาบท และตองไดรับโทษตอตนกลาวโดยชื่อ
อาบัติมี ๗ อยาง คือ ปาราชิก สังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย ปาฏิเทสนีย ทุกกฎ และทุพ
ภาสิตกลา วโดยโทษมี ๓ สถานคือ
๑. อาบัติอยางหนัก ทําใหภิกษุผูตองอาบัตินั้นขาดจากความเปนภิกษุ อัน
หมายถึงอาบัตปิ าราชกิ ซ่งึ เปนอาบตั ทิ ่ีแกไขไมไ ด เรยี กวา อเตกจิ ฉา
๒. อาบัติอยางกลาง ทําใหภิกษุตองอาบัติน้ันตองอยูกรรม โดยประพฤติวัตร
อยางหนงึ่ เพื่อทรมานตน อันหมายถึงอาบัตสิ งั ฆาทเสส

ศึกษาเฉพาะเรื่องในพัฒนาการแหงพระพุทธศาสนา ๖๑
Selected Topics in Development of Buddhism
พระมหามิตร ฐติ ปโฺ ญ,ผศ.ดร.

๓. อาบัติอยางเบา ทําใหภิกษุผูตองอาบัติน้ันตองประจานตนตอหนาภิกษุ
ดวยกันแลวจึงจะพนโทษนั้นได อันไดแก อาบตั ิถลุ ลจจัย ปาจิตตีย ปาฏิเทสนีย ทุกกฎ และ
ทุพภาสติ โดยอาบตั ิอยางกลางและอยา งเบาน้นั เปน อาบัติที่ยังแกไขได เรยี กวา สเตกิจฉา

อาบัติน้ันไมเกิดโดยลําพังจิตอยางเดียว คือเปนแตเพียงนึกวาจะทํายังไมช่ือวา
ลว งสิกขาบท และยังไมชอ่ื วาเปน การพยายามเพื่อจะลวงสิกขาบท แตอาบัติจะเกิดจากทาง
กายบางก็มี ทางวาจาบางก็มี มีจิตเขาประกอบดวยบางก็มี เชนเปนปาจิตตียเพราะด่ืม
น้ําเมาแมไมมีความตั้งใจ ไมรูวาเปนนํ้าเมา ดื่มเขาไปก็ตองอาบัติ นี้เปนอาบัติท่ีเกิดโดย
ลําพังกายหรือเปนปาจิตตียเพราะสอนธรรมแกสามเณรโดยกลาวพรอมกัน แมจะระวังแต
พลาดพลั้งกลาวพรอมกันเขา นี้เปนอาบัติที่เกิดโดยลําพังวาจา หรือเปนปาราชิกเพราะทํา
โจรกรรมดว ยตนเอง น้ีเปนอาบัติที่เกิดโดยทางกายกับจิต หรือเปนปาราชิกเพราะสั่งใหเขา
ทาํ โจรกรรมดวยวาจา นเ้ี ปน อาบตั ทิ ่ีเกิดโดยทางวาจากับจติ

โดยนยั นี้ ไดสมุฏฐานคอื ทางที่เกดิ อาบตั ิโดยตรงเปน ๖ ทาง คือ
๑. อาบตั ทิ เ่ี กิดโดยลําพังจากกาย
๒. อาบตั ทิ เี่ กดิ โดยลาํ พังจากวาจา
๓. อาบัตทิ เ่ี กิดจากกายกบั จติ
๔. อาบัติทเ่ี กิดจากวาจากับจติ
๕. อาบตั ิทีเ่ กดิ จากกายกับวาจา
๖. อาบัติทเี่ กิดจากทง้ั กาย วาจา และจติ
ในอรรถกถา (คัมภรี ท ่อี ธบิ ายขยายความพระไตรปฏก) แสดงสมุฏฐานแหงอาบัติ
ไวมาออกไปเปน ๑๓ ทาง โดยนับแยกอาบัติซึ่งเกิดจากสมุฏฐานเดียวบาง หลายสมุฏฐาน
บา ง ผตู องการทราบโดยละเอยี ด สามารถศึกาเพิม่ เตมิ ในหนังสอื บพุ สกิ ขาวรรรานนั้ เถิด
ลาํ ดับชัน้ หลกั ฐานของประเภทคัมภีรท างพระพุทธศาสนา ฝา ยเถรวาท
๑. พระไตรปฏก (บาลี) เปนคัมภีรท่ีบันทึกพระพุทธพจนไว นับวาเปนคัมภีร
สาํ คญั และเปนหลกั ฐานสาํ คัญสงู สุดทางพระพทุ ธศาสนา เปนหลักฐานช้ันที่ ๑ โดยมีเน้ือหา
แบง ออกเปน ๓ สวน คือ พระวนิ ัยปฏ ก พระสตุ ตนั ตปฏก และพระอภิธรรมปฏ ก
๒. คมั ภีรร ะดบั อรรถกถา (วณั ณนา) เปนคัมภีรท่ีอธิบายขยายความพระไตรปฏก
เปนหลักชนั้ ที่ ๒
๓. คัมภีรระดับฎีกา (มูลฎีกา) เปนคัมภีรท่ีอธิบายขยายความอรรถกถาเปน
หลกั ฐานชัน้ ที่ ๓
๔. คัมภีรระดับอนุฎีกา หมายถึง เปนคัมภีรท่ีอธิบายขยายความมูลฎีกาเปน
หลักฐานช้นั ท่ี ๔

๖๒ บทท่ี ๓ ขอถกเถยี งและการตีความศีลในพระพทุ ธศาสนา

พระมหามิตร ฐติ ปฺโญ,ผศ.ดร. Controversy and Interpretation of the Precepts in Buddhism

เจตนา-ไมเ จตนา
ถาเพงเอาเจตนาเปนที่ต้ัง อาบัติจัดเปน ๒ ประเภท คือ ประเภทท่ีเกิดข้ึนโดย
สมุฏฐานมีเจตนาประกอบ เรียกวา สจิตตกะ และประเภทท่ีเกิดขึ้นโดยสมุฏฐานประกอบ
เรียกวา อจิตตกะ นี้เปนกระทูสําคัญท่ีควรใสใจเพ่ือใหรูจักอาบัติ ถานึกถึงกฎหมายสําหรับ
บานเมืองเขาเทียบ ก็จะเห็นวา การลงโทษแกผูทําผิดเพราะไมมีเจตนายอมมีเหมือนกัน
เพราะทาํ ลงไปแลวยอ มมคี วามเสยี หายดวยเชน กัน
ทางท่ีจะรูวาอาบัติเปนสจิตตกะนั้น ใหสังเกตท่ีรูปความหรือโวหารในสิกขาบท
นั้น เชนหากคําวา “แกลง” หรือ “รูอยู” มีในสิกขาบทใดอาบัติเพราะลวงสิกขาบทน้ัน
เปน สจิตตกะ เชน สาํ นวนแหงสกิ ขาบทหน่ึงกลาววา “ภิกษุใด แกลงกอความรําคายแกภิกษุ
อ่ืนดวยคิดวา ดวยอุบายนี้ความไมผาสุกจักมีแกเธอแมครูหน่ึง ตองปาจิตตีย” อีกสิกขาบท
หน่ึง “ภิกษุใด รูอยูชักชวนแลวเดินทางกับพวกพอคาเกวียนผูลักลอบภาษีโดยท่ีสุดแมส้ิน
ระยะบา นหนง่ึ ตอ งปาจิตตีย” ดังน้ี เปน สจิตตกะ
บางสิกขาบทไมมีคําเชนนั้น รูปความมีการบงบอกชัด เชนนี้ก็จะระบุประเภทของ
สิกขาบทได สํานวนแหงสิกขาบทหนึ่งกลาววา “เปนปาจิตตีย เพราะกลาวเสียดแทง” รูป
ความบง วา มคี วามจงใจจึงกลาวเสียดแทง เชนน้ีเปนสจิตตกะ สํานวนแหงสิกขาบทหนึ่งกลาว
วา “เปนปาจิตตีย เพราะด่ืมน้ําเมา” ดังน้ี รูปความไมไดบงเจตนา เชนน้ีเปนอจิตตกะ การ
สันนิษฐานตามโวหารเชนนี้ถาถอยคําแหงสิกขาบทตกหลนมาแตเดิมก็ดี จดจําพลาดไปใน
ระหวา งกาลก็ดี การสันนิษฐานนน้ั อาจจะชีบ้ ง ผิดไปก็ไดว าเปน อจิตตกะหรือสจติ ตกะกนั แน
ความผิดของคน ใชวาจะมีเพราะการกระทําเทานั้นก็หาไม บางทีอาจมีเพราะไม
กระทาํ กไ็ ด เชน ถกู เกณฑไปทัพแตไมไป เห็นของที่เขาลืมไวในท่ีอยูของตนแลวไมเก็บไวให
เจา ของเขา เปนตน
อาบัติท่ีเปนโทษทางโลก กลาวคือการกระทําใดท่ีคนท่ัวไปอันไมใชภิกษุกระทําเขา
กเ็ ปน ความผดิ ความเสยี เชน ทําโจรกรรมหรอื ฆา มนุษย ตลอดลงมาถึงโทษที่เบา เชน ทุบตีกัน
ดากัน อาบัติลักษณะเชนนี้เรียกวา โลกวัชชะ สวนอาบัติที่คนทั่วไปกระทําเขาไมจัดวาเปน
ความผิดความเสีย เปนความผิดเฉพาะแกภิกษุท่ีละเมิดพระบัญญัติ เชนขุดดินหรือฉันอาหาร
เวลาวิกาล เปนตน อยางนี้คนท่ัวไปทําไมมีความผิดความเสีย เรียกวา ปณณัตติวัชชะ
อธบิ ายท่ีวามานีต้ ามมตขิ องสมเด็จพระมหาสมณเจา กรมพระยาวชิรญาณวโรรส สวนในอรรถ
กถาพระวินัยพรรณนาไววา อาบัติท่ีเปนโลกวัชชะนั้น ไดแกอาบัติท่ีเกิดข้ึนในเวลามีจิตเปน
กศุ ล มไิ ดยกตวั อยางขึ้นไว แตพึงเหน็ เชน เก็บดอกไมเพ่ือจะบชู าพระ
อาบัติท่ีเปนโลกวัชชะ ถาลวงเขาแลวจะทําใหเกิดความเสียหายข้ึนมาก สวน
อาบัติท่ีเปนปณณัตติวัชชะนั้น ขอใดท่ีภิกษุยังถือกวดขันเม่ือลวงอาบัติเหลานั้นเขา ยอมมี

ศกึ ษาเฉพาะเรอ่ื งในพัฒนาการแหง พระพุทธศาสนา ๖๓
Selected Topics in Development of Buddhism
พระมหามิตร ฐติ ปโฺ ญ,ผศ.ดร.

ความเสียหายไดมากเหมือนกัน แตกระนั้น อาบัติใดก็ตาม แมเพียงเล็กนอยก็ยอมทําความ
เสียหายแกผ ูล วงไดมากเชนกัน ถึงจะทําคืนแลวความเสียหายน้ันก็ยังปรากฏอยูเหมือนเดิม
ดั่งมแี ผลเปนฉะน้นั

อาการแหง อาบตั ิ
อาการของภกิ ษทุ เี่ ปน เหตใุ หตองอาบตั มิ ี ๖ อาการ คอื
๑. ตองดวยไมละอาย คือภิกษุรูอยู แลวละเมิดพระบัญญัติเพราะใจดาน ไม
ละอาย
๒. ตองดวยไมรู คือภิกษุไมรูวาการทําอยางนั้นมีพระบัญญัติหามไว และทําลวง
พระบัญญัติ
๓. ตอ งดวยสงสัยแลว ขืนทาํ คอื ภกิ ษสุ งสยั อยูวา การทําอยางนั้นผิดพระบัญญัติ
หรือไมหนอ แตขืนทําดวยความสะเพรา ถาการกระทําน้ันผิดพระบัญญัติก็ตองอาบัติตาม
วตั ถุ (ปาราชกิ สังฆาทิเสส ...)ถาไมผ ดิ ก็ตอ งทกุ กฎ เพราะสงสัยแลวขนื ทาํ
๔. ตองดวยสาํ คัญวา ควรในของไมควร ทําในของไมควรทํา เชน เนื้อสัตวที่ทรง
หา มใชเปน อาหาร เปน ของตอ งหามมใิ หฉ ัน ภกิ ษสุ ําคญั วาควร แลว ฉนั เปน ตน
๕. ภิกษุสําคัญวาไมควรในของควร ไมทําในของที่ควรทํา เชน เน้ือสัตวท่ีทรง
อนุญาตใหใชเปน อาหาร เปน ของควร ภกิ ษสุ าํ คญั วาเปน มงั สะตองหาม แตขนื ฉนั เขา เปนตน
๖. ตองดวยลมื สติ เชน นาํ้ ผ้งึ จัดวาเปนเภสัชอยา งหน่ึง ประเคนแลวเก็บไวฉันได
ภายใน ๗ วัน ภิกษนุ ับจาํ นวนวนั พลาดปลอ ยใหล ว งกาํ หนดน้ันไป แลว ฉัน เปนตน
หากจะมีคําถามแทรกเขามาวา ปรับอาบัติแกภิกษุผูละเมิดพระบัญญัติดวยไม
ละอาย หรือแมสงสัยแลวขืนทํา ก็ชอบอยู ฝายภิกษุลวงอาบัติโดยไมรู ดวยสําคัญผิดไป
ดวยลืมสติ ควรไดรับความปรานีไมใชหรือ มีคําแกวาก็นาจะเปนเชนนั้น แตจะลองนึกถึง
กฎหมายของบานเมืองดู ถามีการยกเวนใหแกคนไมรูก็คงมีผูสนใจกฎหมายนอย และอาจ
เปน แนวทางที่คนเหลาน้ันจะใชเปนขออา งแกตัวได น้ีฉันใด พระวินัยก็ฉันน้ัน ภิกษุผูมาใหม
ตองสนใจรูพระบัญญัติจะไดมีความระมัดระวังไมพล้ังเผลอ การมีความรูและมีสติยอมเปน
เหตุใหเจริญในพระศาสนา ทั้งจะไดเปนเครื่องมือสกัดกั้นภิกษุอลัชชี (ภิกษุผูไมมีความ
ละอาย)ไมใหไดชองแกตัว ดังนั้น ขอไมควรยกเวนจึงไมทรงยกเวน สวนขอท่ีควรยกเวนก็
ทรงยกเวน เชน ธรรมเนียมการนุงหมผา ผูเขาบวชใหมยังหมผาไมเปนก็ยังไมถูกปรับอาบัติ
ถายงั มงุ วาจะสําเหนียกเพื่อหม ผาใหเปนโดยไมท อดธุระ
อาบัติท่ีตองดวยทั้ง ๖ อาการนี้ อยางใดอยางหน่ึง เปนหนาท่ีของภิกษุผูตอง
อาบัติจะตองทําคืนดวยวิธีน้ันๆ แตถาปดบังหรือทอดธุระเสียก็เปนหนาที่ของภิกษุอื่น ผูรู
เห็นจะพึงตักเตือนภิกษุนั้นดวยเมตตาในเธอ หรือถาดื้อดึงก็ควรโจทกทวงหามเธอฟงพระ

๖๔ บทท่ี ๓ ขอ ถกเถียงและการตคี วามศีลในพระพุทธศาสนา

พระมหามิตร ฐติ ปโฺ ญ,ผศ.ดร. Controversy and Interpretation of the Precepts in Buddhism

ปาฏิโมกขในทามกลางสงฆ ดวยเห็นแกพระศาสนาและเปนหนาท่ีของสงฆจะพึงทําตาม
สมควรแกพระธรรมวินัย ดังน้ัน ภิกษุควรประพฤติตนเปนคนซ้ือตรง ใหสมกับเปนที่วาง
พระหฤทัยของพระศาสดา เพราะกิริยาท่ีประพฤติใหเกิดความเสียหาย ยอมเลวทรามไม
สมควรแกภิกษเุ ลย

อานิสงสแ หง พระวนิ ัย
พระวินัยนั้น ถาภิกษุรักษาดีโดยถูกทางแลวยอมไดอานิสงส คือ ความไมตอง
วิปฏสิ าร (เดือดรอ นใจ) แตภิกษุผปู ระพฤติยอหยอนทางวินัยยอมไดปฏิสาร เพราะอนาจาร
ผดิ พระบญั ญัติอาจถูกจับกุมและถูกลงโทษบาง ถูกดูหม่ินบาง ไมมีคนนับถือบาง และถาจะ
เขาหมูใ นภกิ ษุผมู ีศีลกห็ วน่ั หวาดกลัวจะถกู โจทกท วง แมไ มมีใครวาอะไรก็ตะขิดตะขวงใจไป
เอง ท่สี ดุ นึกขน้ึ มาถึงตนกต็ ิเตียนตนเองได ไมไดปต ปิ ราโมทย
ฝายภิกษุผูนิยมในพระวินัย พอใจจะถือใหตรงตามเหมือนครั้งพุทธกาล แตขาด
ความเขาใจเคาเง่ือนและตนเกิดในกาลอื่นในประเทศอ่ืน ยอมไดพบความขัดของประพฤติ
ไมส ะดวกใจเปนธรรมดา ซ่ึงอาจจะไดร ับความลําบาก สวนผูประพฤติเครงพระวินัยโดยไมมี
สติมักมีมานะถือตัววาตนประพฤติเครงครัดดีกวาผูอ่ืน และดูหม่ินภิกษุอ่ืนวาเลวทราม น้ี
เปนกิริยาที่นารังเกียจนาตําหนิ คร้ันจะตองอยูรวมและสมาคมกับภิกษุอ่ืนท่ีตนเห็นวา
ประพฤติบกพรอ งในพระวนิ ยั ยอมรงั เกียจเชน กันและจาํ ทาํ กก็ ลับไดค วามเดอื ดรอนซํา้ อีก
ภิกษุผูประพฤติถูกทางยอมไดรับความแชมช่ืน เพราะรูสึกวาตนประพฤติดีงาม
ไมตองถูกจับกุมและถูกลงโทษ หรือถูกติเตียน มีแตจะไดรับคําสรรเสริญจะเขาหมูภิกษุผูมี
ศีล ก็องอาจไมตองสะทกสะทาน ดังน้ัน การจะปฏิบัติตามพระวินัยใหสําเร็จประโยชนน้ัน
ควรพิจารณาใหเขา ใจผลที่มุงหมายแหง พระวินยั นน้ั ใหจงดี
ตัวอยางอานิสงสแหงพระวินัยอันเกิดขึ้นจากการท่ีพระศาสดาทรงตั้งพระพุทธ
บัญญตั แิ ละอภิสมาจารไว ดงั น้ี
๑. ปอ งกันไมใหเ ปนคนเห้ียมโหด เชน หามทาํ โจรกรรม หา มฆา มนษุ ย เปนตน
๒. ปอ งกันความลวงโลกเล้ียงชพี เชน หามไมใหอวดอุตตรมิ นุสสธรรม เปนตน
๓. ปอ งกันความดรุ า ย เชน หามไมใหด า กันตีกัน เปนตน
๔. ปอ งกันความประพฤตเิ ลวทราม เชน หา มพดู ปด หา มเสพสรุ า เปนตน
๕. ปอ งกนั ความประพฤตเิ สยี หาย เชน หา มแอบฟงความของเขา เปน ตน
๖. ปอ งกนั ความเลน ซกุ ซน เชน หามไมใหเลนจก้ี นั ไมใ หเ ลน น้ํา เปนตน
อนึ่ง พึงใครครวญถึงพระบัญญัติท่ีทรงต้ังขึ้นแลว แตยังไมเหมาะดวยประการใด
ประการหนึ่ง จึงไดทรงเพ่ิมอนุบัญญัติดัดแปลง วายังใหสําเร็จผลมุงหมายเดิมหรือไมหรือ
กลายเปนอื่นไปแลว แตยงั จะตองถอื ไปตามธรรมเนียมของภกิ ษุตอ ไป

ศกึ ษาเฉพาะเร่ืองในพฒั นาการแหงพระพทุ ธศาสนา ๖๕
Selected Topics in Development of Buddhism
พระมหามติ ร ฐติ ปฺโญ,ผศ.ดร.

อนึ่ง พงึ ใสใจถงึ พระบัญญัตปิ รารภเฉพาะกาลเฉพาะประเทศอันเปนไปในสมัยน้ัน
ครั้นกาลลวงมานานหรือนํามาใชในประเทศอื่น เปนไปไมสะดวกไมมีใครจะแกไขได ภิกษุ
ท้งั หลายในกาลน้นั ในประเทศนน้ั จึงหลกี เลีย่ งในการประพฤติบาง เลิกเสียบา ง

ปาฏโิ มกข
พระบัญญัติมาตราหน่ึงๆ จัดวาเปนสิกขาบทหน่ึงๆ ที่พระศาสดาต้ังขึ้นดวยเปน
พทุ ธอาณา ไดแ ก อาทิพรหมจริยาสิกขา ซึ่งกําหนดไวในพระปาฏิโมกขอันมีพระพุทธานุญาต
ใหสวดในที่ประชุมสงฆทุกก่ึงเดือน และท่ีทรงต้ังขึ้นดวยเปนอภิสมาจาร คือขนบธรรมเนียม
ไดแก อภิสมาจาริกาสิกขา โดยไมกําหนดไวในพระปาฏิโมกข เวนไวแตสวนเสขิยวัตรซ่ึง
กําหนดไวในพระปาฏิโมกข
จํานวนสิกขาบทในพระปาฏิโมกขมีเพียง ๒๒๗ สิกขาบท แตจํานวนสิกขาบท
นอกพระปาฏิโมกข มีมากกวามาก จนพนความใสใจของผูศึกษาอาจเรียกวาพนคณนาก็ได
นอกจากน้ี ยังมีขอปรับอาบัติเพ่ิมเติมเขาไวอีก เรียกวา บาลีมุตตกทุกกฏ ซึ่งมีปรากฏให
เห็นเปนจํานวนมาก ภิกษุท้ังหลายจึงหาทางหลีกเลี่ยงบาง เลิกเสียบาง กลาวคือทนเปน
อาบัติเอาบาง เมื่อเลิกอยางน้ีแลวก็ชวนใหเลิกอยางอื่นตอไปอีก พระศาสดาทรงคํานึงถึง
เหตนุ ้ีแลว เมอ่ื จะนิพพานจึงไดป ระทานพุทธานุญาตไววา ถาสงฆปรารถนา ก็ถอนสิกขาบท
เล็กนอยได แตพิจารณาดูเถิดวาเมื่อคร้ังทําปฐมสังคายนา พระอรหันตสาวกทั้งหลายอันมี
พระมหากัสสปะเปนประธานสงฆก็มิไดเปลี่ยนแปลงหรือถอนสิกขาบทใดเลย เราผูมา
ภายหลังจะควรถอนสิขาบทใดหรือ แมกระนั้น ภิกษุท้ังหลายในภายหลังก็ไดถอนขอที่ตน
เห็นวาเล็กนอยเสีย แตเปนการถอนโดยทางออม คือไมต้ังใจรักษาบาง หรือทนตองอาบัติ
เอาบาง
“ภิกษุท้ังหลาย สิกขาบท ๑๕๐ ถวนน้ี ยอมมาสูอุเทศ (คือการสวดในทามกลาง
สงฆ) ทกุ กง่ึ เดือน ที่กุลบุตรทัง้ หลายผูปรารถนาประโยชนศึกษากันอยู ภิกษุทั้งหลาย สิกขา
นี้มี ๓ ท่ีสิกขาบทท้ังปวงน้ันยอมรวมกันอยู สิกขา ๓ นั้น คืออะไรบาง สิกขา ๓ นั้น คือ
อธิศีลสิกขา อธิจิตสิกขา อธิปญญาสิกขา ภิกษุทั้งหลาย น้ีแล สิกขา ๓ ที่สิกขาบททั้งปวง
นน้ั รวมกนั อยู
ภกิ ษทุ ้ังหลาย ภิกษุในธรรมวนิ ัยน้ี เปน ผทู าํ บรสิ ทุ ธใิ์ นศีล เปน ผทู ําพอประมาณใน
สมาธิ เปนผูทําพอประมาณในปญญา (คือ พระโสดาบัน เปนพระสกทาคามี) บางก็มี เปน
ผูทําใหบ ริสุทธท์ิ ั้งในศลี ท้ังในสมาธิ ทงั้ ในปญญา (คือเปนพระอรหันต) บางก็มี เธอยอมลวง
สิกขาบทเล็กนอยบาง ยอมออกจากอาบัติบาง เหตุไฉนจึงเปนอยางน้ัน ภิกษุท้ังหลาย เหตุ
ไมมใี ครความเปนคนอาภัพ (คือไมอาจบรรลุโลกุตตรธรรม) เพราะเหตุลวงสิกขาบทน้ี ก็แต
วา สิกขาบทเหลา ใดเปน เบือ้ งตน แหงพรหมจรรย สมควรแกพรหมจรรย เธอเปนผูมีศีลย่ังยืน

๖๖ บทท่ี ๓ ขอถกเถยี งและการตีความศีลในพระพทุ ธศาสนา

พระมหามติ ร ฐติ ปโฺ ญ,ผศ.ดร. Controversy and Interpretation of the Precepts in Buddhism

เปน ผมู ศี ีลมัน่ คงในสิกขาบทเหลาน้ัน สมาทานศึกษาอยูในสิกขาบททั้งหลาย ภิกษุท้ังหลาย
ภิกษุผูทําไดดีเพียงเอกเทศ ยอมทําไดดีเพียงเอกเทศ ผูทําใหบริสุทธิ์ได ยอมทําใหบริสุทธ์ิ
อยางน้ีแล ภกิ ษุทง้ั หลาย เราจึงกลา ววา สกิ ขาบทท้ังหลายหาเปน หมนั ไม”

พระสูตรน้ีมาในวรรคท่ี ๔ แหงทุติยปณณาสก ติกนิบาตร อุงคุตตรนิกาย ท่ีหนา
๓๐๑ ฉบับพิมพของหลวง ตามสูตรนี้ยังจัดสิกขาบทที่มีในพระปาฏิโมกขเปนสําคัญ เปน
เบื้องตนแหงพรหมจรรยบางก็มี จากบาลีสูตรซึ่งแปลมาไวในท่ีน้ีพอสรุปไดวา สิกขาบทใน
พระปาฏิโมกขม ี ๑๕๐ สิกขาบท จาํ แนกไดดังนี้

ปาราชกิ ๔ สิกขาบท
สังฆาทเิ สส ๑๓ สกิ ขาบท
นสิ สัคคิยปาจิตตยี  ๓๐ สิกขาบท
สุทธปิ าจิตตีย ๙๒ สิกขาบท
ปาฏิเทสนยี  ๔ สิกขาบท
อธกิ รณสมถะ ๗ สกิ ขาบท
รวมเปน ๑๕๐ สกิ ขาบทถว น
แตใ นพระปาฏิโมกขท ีส่ วดกนั อยู และในพระไตรปฏก แสดงวามี ๒๒๗ สิกขาบท
คอื เติมอนยิ ต ๒ สิกขาบท และเสขิยวตั ร ๗๕ สิกขาบท ตามนัยน้ีสันนิษฐานวา ชะรอยเดิม
จะมีเพยี ง ๑๕๐ สกิ ขาบทถวน ตามทีก่ ลาวไวในพระสูตรกอนทาํ สังคายนาคร้งั ใดครง้ั หนง่ึ
สิกขาบทในพระปาฏิโมกขนั้น ปรับอาบัติแกผูละเมิดไวครบทุกชื่อ คือปาราชิก
สังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย (นิสสัคคิยปาจิตตียและสุทธิกปาจิตตีย) ปฏิเทสนิย ทุกกฏ
และทุพภาสติ
สิกขาบทที่ทรงบัญญัติโดยปรับท่ีสูงกวาทุกกฏข้ึนไป เชนวามีภิกษุพยายามจะ
ละเมิด แตไมไดทําความผิดตามที่กลาวไวในสิกขาบท เชน พยายามจะฆามนุษยและให
ประหารแลว แตเขาไมตาย เชนน้ีปรับปาราชิกไมได แตจะวาไมมีโทษก็ไมไดเหมือนกัน
เพราะเหตุนั้นจึงมีปรับอาบัติหยอนลงมา เหมือนกฎหมายบานเมืองท่ีวางโทษแกผูทําผิดไว
อยา งแรง เพ่ือใหเ ห็นถึงโทษในการฆา มนุษย ถา ทําผดิ ไมถ งึ ท่ีกาํ หนด ก็ลงโทษหยอ นลงมา
อาบัติที่รองจากปาราชิกและสังฆาทิเสส เพราะทําผิดไมถึงท่ีน้ันเปนถุลลัจจัยบาง
เปนทุกกฏบาง อาบัติท่ีรองจากปาจิตตียเวนโอมสวาทสิกขาบท และอาบัติที่รองจากปาฏิ
เทสนีย มีแตทุกกฏอยางเดียว สวนอาบัติท่ีรองจากโอมสวาทสิกขาบท เปนอาบัติทุพภาสิตใน
เสขิยวตั รขอ หน่งึ ๆ มคี ําวา พงึ ทําความศึกษาอยางนน้ั ๆ อธบิ ายวา ถา ไมเ อ้ือเฟอตองทุกกฎ
พระพรหมคุณาภรณ (ป.อ. ปยุตฺโต) (ปจจุบัน สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย) ได
กลาวถึงประเภทของศีล โดยแบงตามจตุปาริสุทธิศีล ๔ (ศีลคือความบริสุทธิ์, ศีลเครื่องให

ศกึ ษาเฉพาะเร่ืองในพัฒนาการแหง พระพทุ ธศาสนา ๖๗
Selected Topics in Development of Buddhism
พระมหามติ ร ฐติ ปโฺ ญ,ผศ.ดร.

บริสุทธ์ิ, ความประพฤติบริสุทธิ์ท่ีจัดเปนศีล - morality consisting in purity; morality
for purification; morality of pure conduct)

ปาฏิโมกขสังวรศีล (ศีลคือความสํารวมในพระปาฏิโมกข เวนจากขอหาม ทํา
ตามขออนุญาต ประพฤติเครงครัดในสิกขาบททั้งหลาย - restraint in accordance with
the monastic disciplinary code) การสาํ รวมในพระปาฏิโมกข หรือศีล ๒๒๗ ขอ ท่ีพระ
พุทธองคทรงบัญญัติไว ศีลขอน้ีสําเร็จไดดวย ศรัทธา เพราะดวยเหตุท่ีปาฏิโมกขสังวรศีล
นั้น พระภิกษุไดสมาทานไวในวันอุปสมบท ดวยความเช่ือใน ปญญาตรัสรูธรรมของพระ
สัมมาสัมพุทธเจา วาศลี หรือสิกขาบทเหลา นนั้ เปน สิง่ ดีจรงิ ที่จะทําใหผูปฏิบัติสามารถกําจัด
ทุกขไปสูพระนิพพานไดโดยงายสิกขาบทท่ีมาในพระปาฏิโมกข และมานอกพระปาฏิโมกข
๒๒๗ ขอ มี ปาราชิก สังฆาทิเสส อนิยต นิสสัคคียปาจิตตีย ปาจิตตีย ปาฏิเทสนียะ เสขิย
วัตรและอธิกรณสมถะ ซ่งึ ในแตละขอหามน้ันมีความหนักเบาของอาบัติตางกัน และมีวิธีแก
ไขท่ีตางกันที่ชื่อวาอาบัติ คําเรียกอาบัติ ระดับของอาบัติ วิธีแกไขอาบัติ (๑) ปาราชิก ๔
ปาราชิก ครุกาบัติ ขาดจากความเปนพระเมื่อลวงสิกขาบท (ไมสามารถแกได) (๒)
สังฆาทิเสส ๑๓ สังฆาทิเสส ครุกาบัติ อยูปริวาสกรรมเพื่อใหพนจากอาบัติ (๓) อนียต ๒
เปนอาบัติที่ไมแนนอนเปนไดท้ัง ปาราชิก สังฆาทิเสส และปาจิตตีย ตามแตกรณี ครุกาบัติ
ลหุกาบัติ ตามแตกรณี ขาดจากความเปนพระ อยูปริวาสกรรม หรือแสดงอาบัติ ตอหนา
สงฆหรอื ภกิ ษุรปู ใดรูปหนงึ่ (ลหุกาบัติ) (๔) นิสสคั คียปาจิตตีย ๓๐ เปนลหุกาบัติ สละวัตถุท่ี
เปนอาบัติและแสดงอาบัติ (๕) ปาจิตตีย ๙๒ ปาจิตตีย ลหุกาบัติ แสดงอาบัติ (๖) ปาฏิ
เทสนียะ ๔ ทุกกฎ ลหุกาบัติ แสดงอาบัติ (๗) เสขิยวัตร ๗๕ ทุกกฎ ลหุกาบัติ แสดงอาบัติ
(๘) อธิกรณสมถะ ๗ วิธีระงับอธิกรณ และมีวิธีแกไขตางกันออกไปตามความหนักเบาของ
อาบัตนิ ั้นๆ

พุทธทาสภกิ ขุ ไดก ลา วถึงประเภทของปาริสุทธิศีล วา พระพุทธองค ตรัสไว เปน
หลักวา การศึกษาเลาเรียนปริยัติน้ัน ไมใช สิกขา แต การกระทําจริงๆ ตามหลักที่เปนการ
บังคบั ตนเอง ในสวนท่ีเปน ความเส่ือมเสียทางกายและวาจา เรียกวา “สีลสิกขา” ในสวนใจ
เรียกวา “จิตตสิกขา” และ ในสวนท่ีเก่ียวกับ ความคิดนึก ในสวน สีลสิกขา โดยประเภท
คือ การบังคับตน ใหตั้ง หรือดําเนิน ไปดวย กาย วาจา ตามกฎ อันเปนระเบียบ มรรยาท
หรือ จรรยา อันตนจะพึงประพฤติ ตอตนเอง ตอผูอ่ืน และตอวัตถุสิ่งของ อันเกี่ยวเนื่องกัน
เปน ขอบังคับตายตวั ในเบื้องตน เรยี กวา ปาฏิโมกขสังวรสลี ๑๐

๑๐ พุทธทาสภิกขุ, ชุมนุมเร่ืองส้ันพุทธทาสภิกขุ, พิมพครั้งที่ ๔, (กรุงเทพมหานคร:
สํานักพิมพสขุ ภาพใจ, ๒๕๓๘), หนา ๔๕.

๖๘ บทท่ี ๓ ขอถกเถียงและการตคี วามศีลในพระพทุ ธศาสนา

พระมหามิตร ฐติ ปฺโญ,ผศ.ดร. Controversy and Interpretation of the Precepts in Buddhism

ปาฏิโมกขุทเทส เม่ือปฏิบัติไมถูกตองตามพระวินัยยอมเขาไมได ผูปฏิบัติถูกตาม
พระวินัยแลว โมกฺขํ ชอื่ วา เปนทางขา มพนวฏั ฏะได ปาฏโิ มกขน ้ียังสงเคราะหเขาไปหาวิสุทธิ
มรรคอีก เรียกวา ปาฏิโมกขสังวรศีล ในสีลนเิ ทศ สีลนเิ ทศน้ัน กลาวถึงเร่ืองศีลท้ังหลาย คือ
ปาฏิโมกขสงั วรศีล ๑ อินทรยี สังวรศีล ๑ ปจ จยสนั นสิ สิตศลี ๑ อาชวี ปาริสทุ ธศิ ีล ๑ สวนอีก
๒ คมั ภรี น นั้ คือ สมาธินิเทศ และปญญานิเทศ วิสุทธิมรรคทั้ง ๓ พระคัมภีรน้ีสงเคราะหเขา
ในมรรคทั้ง ๘ มรรค ๘ สงเคราะหลงมาในสิกขาทั้ง ๓ คือ ศีล สมาธิ ปญญา เม่ือจะ
กลา วถึงเร่ืองมรรคแลว ความประโยคพยายามปฏิบัติดัดตนอยู ชื่อวาเดินมรรค สติปฏฐาน
ทั้ง ๔ กเ็ รียกวามรรค อริยสัจจ ๔ ก็ชื่อวามรรค เพราะเปนกิริยาท่ียังทําอยู ยังมีการดําเนิน
อยู ดังภาษิตวา "สจฺจานํ จตุโรปทา ขีณาสวา ชุติมนฺโต เต โลเก ปรินิพฺพุตา" สําหรับเทา
ตองมีการเดิน คนเราตองไปดวยเทาทั้งนั้น ฉะนั้นสัจจะท้ัง ๔ ก็ยังเปนกิริยาอยู เปนจรณะ
เครอ่ื งพาไปถึงวิสุทธิธรรม วิสุทธิธรรมนั้นจะอยูที่ไหน? มรรคสัจจะอยูท่ีไหน? วิสุทธิธรรมก็
ตอ งอยูท่ีนัน่ !

มรรคสัจจะไมมีอยูท อี่ ่นื มโนเปน มหาฐาน มหาเหตุ วิสทุ ธธิ รรมจงึ ตองอยูที่ใจของ
เรานี่เอง ผูเจริญมรรคตองทาํ อยูทน่ี ี้ ไมตองไปหาที่อื่น การหาท่ีอื่นอยูชื่อวายังหลง ทําไมจึง
หลงไปหาท่ีอน่ื เลา ? ผไู มหลงก็ไมต อ งหาทางอ่นื ไมต องหากับบุคคลอื่น ศีลก็มีในตน สมาธิก็
มีในตน ปญญากม็ อี ยกู บั ตน

ดังบาลวี า เจตนาหํ ภกิ ฺขเว สีลํ วทามิ เปน ตน กายกบั จติ เทา นปี้ ระพฤติปฏิบัติศีล
ได ถาไมมีกายกับจิต จะเอาอะไรมาพูดออกวาศีลได จิตเปนผูคิดงดเวนเปนผูระวังรักษา
เปน ผูประพฤติปฏิบตั ิ ซง่ึ มรรคและผลใหเปนไปได พระพทุ ธเจา ก็ดี พระสาวกขีณาสวเจาก็ดี
จะชาํ ระตนใหหมดจดจากสงั กิเลสทัง้ หลายได ทา นก็มกี ายกบั จิตทั้งนั้น เมื่อทานจะทํามรรค
และผลใหเกิดมีไดก็ทําอยูท่ีน่ี คือท่ีกายกับจิต ฉะน้ันจึงกลาวไดวามรรคมีอยูท่ีตนของตนนี้
เอง เม่ือเราจะเจริญซ่ึงสมถหรือวิปสสนา ก็ไมตองหนีจากกายกับจิต ไมตองสงจิตออกไป
ขา งนอก

ใหพ จิ ารณาอยูในตนของตน เปนโอปนยิโก แมจะเปนของมีอยูภายนอก เชน รูป
เสียง กลน่ิ รส โผฏฐัพพะ เปน ตน กไ็ มต องสงออกเปนนอกไป ตองกําหนดเขามาเทียบเคียง
ตนของตน พิจารณาอยูท่ีน้ี ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิฺูหิ เม่ือรูก็ตองรูเฉพาะตน รูอยูในตน
ไมไดรูมาแตนอก เกิดขึ้นกับตนมีข้ึนกับตน ไมไดหามาจากที่อื่นไมมีใครเอาให ไมไดขอมา
จากผูอ ืน่ จงึ ไดช่อื วา ญาณ ทสสฺ นํ สวุ ิสุทธํ อโหสิ ฯลฯ เปนความรเู หน็ ท่ีบริสทุ ธ์แิ ท ฯลฯ๑๑

๑๑ พระอาจารยมนั่ ภูรทิ ัตโต, ปาฏิโมกขสังวรศีล, [ออนไลน]. แหลงที่มา: http://www.
baanjomyut.com /pratripidok/mon/05.html. [๒๐ พฤษภาคม ๒๕๖๐].

ศกึ ษาเฉพาะเรือ่ งในพัฒนาการแหง พระพุทธศาสนา ๖๙
Selected Topics in Development of Buddhism
พระมหามติ ร ฐติ ปโฺ ญ,ผศ.ดร.

ศีลใดท่ีพระผูมีพระภาคเจาตรัสไววา “ภิกษุใดในศาสานนี้เปนผูสํารวมดวยเปนผู
สํารวมดวยปาฏิโมกขสังวรอยู ถึงพรอมดวยอาจาระและโคจร มีปกติเห็นเปนภัยในโทษมาตร
วาเล็กนอ ย สมาทานศึกษา อยูในสิกขาบททั้งหลาย” ดงั น้ี ๑ ศลี นี้ชอื่ ปาฏิโมกขสังวรศลี

๓.๑.๑.๑.๒ อินทรยี สังวรศีล
อินทรียสังวรศีล (ศีลคือความสํารวมอินทรีย ระวังไมใหบาปอกุศลธรรม
ครอบงําเม่อื รับรูอารมณดวยอินทรียท้ัง ๖ - restraint of the senses; sense-control)๑๒
อินทรีย ๖ น้ี เปนจุดเร่ิมตนของการรับรูและทําใหมีเร่ืองราวตางๆ สืบตอขยายแตกตัว
กระจายออกไปเร่อื ยๆจนดูเหมือนมี อะไรจนเต็มโลกแทจริงเปนเพียงโลกในความ รูสึกของ
แตละบุคคลที่ปรุงแตงตอมาจากการ รับรูอารมณทางทวารท้ัง ๖ อาศัยตากระทบ กับรูป
เกิดการมองเห็นข้ึน เปนการสัมผัสทาง ตา ตอจากจุดนี้ ก็ทําใหเกิดความรูสึกวามี ผูคน
ผูหญิง ผูชาย หมา แมว สวย ไมสวย สูง ต่ํา ดํา ขาว ใหญ เล็ก เพ่ิมขึ้นมามากมายจาก
ความไมมีอะไรเลยอาศัยตาก็มีโลกทางตาข้ึนมา โลกทางหู โลกทางจมูก โลกทางล้ิน โลก
ทางกาย โลกทางใจ ก็โดยทํานองเดียวกัน โดยเฉพาะโลกทางใจยิ่งแตกตัวมากมายมีความ
เชื่อความเห็นหลักวิชา ปรัชญา แนวคิดทฤษฎีทัศนคติ อุดมคติเกิดข้ึนมามากมายในโลกน้ี
และจะเกิดข้ึนอีกตอไปไมมีท่ีส้ินสุด ความหมายอินทรียสังวร คําวา อินทรีย แปลวา ความ
เปนใหญ สภาวธรรมที่เปนใหญในกิจของตนสภาวธรรมท่ีเปนเจาของหนาที่อยางหน่ึง ๆ
เชน ตาเปนใหญหรือเปนเจาของหนาท่ีในการเห็น หูเปนใหญ หรือเปนเจาของหนาที่ใน
การไดยิน จมูกเปนใหญหรือเปนเจา ของหนาท่ีในการดม ล้ินเปนใหญหรือเปนเจาของ
หนาที่ในการลิ้มรส๑๓ คําวา “สังวร” หมายถึงการปดกั้นปองกันไมใหมีบาปอกุศลธรรม
ทง้ั หลายเกดิ ขึน้ ในจิตเวลาที่มกี ารรับรูอ ารมณทางทวารทั้ง ๖ หรือ จะหมายถึงการคุมครอง
การปอ งกนั รักษาจติ ไมใหถ กู กเิ ลสครอบงาํ ซง่ึ ทําไดโ ดยการฝกให มีสติระลึกรูอยูในกายของ
ตนเองใหมนั่ คงไว เม่ือรบั รูอารมณแลว อารมณก ็จะไมฉ ุดจิตให ออกไปสนใจภายนอกไมหลง
ยินดีในอารมณท่ี นารัก ไมเกลียดชังในอารมณท่ีไมนารักมีจิตท่ี ไมถูกกิเลสครอบงําและรู
วิธีการฝก ฝนให หมดจดจากกิเลสตางๆ ดวยการทํากรรมฐาน เปนการปอ งกันท่ีตนเหตุ
มีหลายพวก เก่ียวกับขนบธรรมเนียมของนักบวชก็มี เก่ียวกับอนามัยของรางกายก็
มี เกี่ยวกับการเคารพปฏิสันถาร ปรนนิบัติ ฯลฯ ผูอ่ืน ก็มี เกี่ยวกับการรักษาสิ่งของเครื่องใช
สอย ของตน หรือ หมู ก็มี และยังมีอยางอ่ืนอีก ซึ่งเปนสวนตองรูแลวทําในเบ้ืองตน อนุโลม

๑๒ พระพรหมคุณาภรณ (ป.อ.ปยุตฺโต), พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ, พิมพ
ครง้ั ที่ ๑๑, (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพมหาจฬุ าลงกรณราชวทิ ยาลยั , ๒๕๔๖), หนา ๖๔-๖๕.

๑๓ อภิ.ย. (ไทย) ๓๙/๔๕. (บทนํา)

๗๐ บทที่ ๓ ขอ ถกเถยี งและการตคี วามศลี ในพระพุทธศาสนา

พระมหามิตร ฐติ ปฺโญ,ผศ.ดร. Controversy and Interpretation of the Precepts in Buddhism

ทํานองเดียวกัน ท้ังฆราวาส และบรรพชิตการควบคุม ตา หู จมูก ล้ิน กาย ไมให กําเริบ ไป
ตาม รปู เสยี ง กล่นิ รส สัมผัส อนั เปนโลกธรรม เรยี กวา อนิ ทรียสงั วรสลี ๑๔

สวนศีลใดที่ตรัสไววา “ภิกษุนั้นเห็นรูปดวยจักษุแลว เปนผูไมถือเอานิมิต ไม
ถือเอาอนุพยัญชนะ ๒ อภิชฌาโทมนัสท้ังหลาย ธรรมทั้งหลายอันเปนบาปกุศล จะพึงไหล
ไปตามภิกษุผูไมสํารวมจักขุนทรียอยู เพราะเหตุไมสํารวมจักขุนทรียอันใด ยอมปฏิบัติเพื่อ
ปด ก้ันเสียซง่ึ จกั ขุนทรียน ้นั รักษาจกั ขุนทรยี  ถึงความสาํ รวมในจักขุนทรยี เธอฟงเสียงดวยโส
ตะแลว ฯลฯ ดมกล่ินดว ยฆานะแลว ฯลฯ ล้ิมรสดวยชิวหาแลว ฯลฯ ถูกตองโผฏฐัพพะดวย
กายแลว ฯลฯ รูธรรมารมณดวย มนะแลวไมถือเอานิมิต ไมถือเอาอนุพยัญชนะ ฯลฯ ถึง
ความสํารวมในมนนิ ทรยี ” ดังนี้ ศีลนช้ี ่อื วา อนิ ทรยิ -สงั วรศลี ๑๕

สําหรับผูทีข่ าดอนิ ทรียส งั วรเม่ือมีการรับรูอารมณใดๆ แลวก็จะเกิดความยินดียิน
ราย ในอารมณน้ันตามความเคยชินอันจะเปนสาเหตุใหเกิดการกระทํา การพูด การคิด ไป
ตามกําลังของกิเลสนําไปสูการแสวงหาและ หลงยึดติดในส่ิงท่ีคิดวาจะทําใหเกิดความพึง
พอใจเม่ือนํามาเสพบริโภคทําใหเกิดปญหา มากมายติดตามมาดังที่ปรากฏในปจจุบันทาง
แยกสําคัญคือการมีสติปดกั้นกิเลส ตั้งแตเริ่มตนกระบวนการรับรูอารมณ ซึ่งเปนการใช
อินทรียอยางสรางสรรค เพ่ือการศึกษาพัฒนาจิตใจใหดีงามข้ึนในสังคมไทยปจจุบันซ่ึงเต็ม
ไปดว ยสิง่ ย่ัวยวนใจมากมาย การฝก ฝนพัฒนาอินทรียสังวรจึงมคี วามจาํ เปนอยางยงิ่

๓.๑.๑.๑.๓ อาชีวปารสิ ุทธศิ ลี
ศีลอันเกิดจากการเลี้ยงชวี ิตท่ีบริสทุ ธิท์ ี่เรยี กวา อาชีวปาริสทุ ธิ เชน การเท่ียว
บิณฑบาตรับ อาหารท่ีเขาใสบาตรมาขบฉันหรือการขบฉันอาหารที่เปนอดิเรกลาภที่เขา
นํามาถวายแกตนหรือแก สงฆแลวแบงปนกันในหมูคณะโดยชอบ งดเวนที่จะไปเที่ยวขอ
ของเขาหรอื การแสวงหาในบณิ ฑบาต จีวร เสนาสนะและคิลานเภสชั ในทางท่ีผิดตาง ๆ การ
เลี้ยงชีวิตที่สมควรและเหมาะสมแกความเปน บรรพชิตในพุทธศาสนา จึงเปนการพนจาก
การโกหก หลอกลวง ไมเปนผูทุศีลลวงสิกขาบทเพราะเหตุ แหงการแสวงหาปจจัย เมื่อนั้น
ยอมไดช่ือวาเปนผูสมบูรณดวยศีล อันเกิดจากการปฏิบัติที่ถูกตองเปน สัมมาอาชีวะใน
อริยมรรค อาชวี ปาริสุทธิก็ถึงการรวมลงในวิริยสังวรดวย การสนับสนุนของอาชีวปาริสุทธิ
ศีล ในขณะที่ปฏิบัติวิปสสนาภาวนาตามหลักสติปฏฐาน หมวดสัมปชัญญะ ผูปฏิบัติวิปสสนา
ภาวนา มีความเพียร มีความรูสึกในการกําหนดท่ีเปนปจจุบันอยางมี สติในขณะฉัน ในขณะ

๑๔ พุทธทาสภิกขุ, ชุมนุมเร่ืองสั้นพุทธทาสภิกขุ, พิมพครั้งท่ี ๔ (กรุงเทพมหานคร:
สํานักพมิ พสุขภาพใจ, ๒๕๓๘), หนา ๔๕.

๑๕ สุทธิมรรค, มหามกุฏราชวทิ ยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ สิงหาคม ๒๕๐๘ ๑ ตอน ๑ -
หนา ๓๓.

ศกึ ษาเฉพาะเรอื่ งในพัฒนาการแหง พระพุทธศาสนา ๗๑
Selected Topics in Development of Buddhism
พระมหามิตร ฐติ ปโฺ ญ,ผศ.ดร.

ดื่ม ในขณะใชสอยจีวร ในขณะบิณฑบาตเปนตน ซึ่งมีสติกําหนดตามรูในอาการ นั้น ๆ ดวย
จิตท่ีสงบ เบิกบานผองใส โดยอิงอาศัยอาชีวปาริสุทธิศีลที่บริสุทธิ์ท่ีเกิดข้ึนจากวิริยสังวร
การบรรลุมรรคผลในการปฏบิ ตั ิวปิ ส สนาภาวนาอนั เกิดจากการสนับสนุนของอาชีวปาริสุทธิ
ศีล ดังจะ เห็นไดจากเร่ืองของพระมหามิตตเถระ เลากันวา พระเถระอาศัยอยูในถาช่ือกส
กะและมหาอุบาสิกาผูหน่ึงในบานเปนที่โคจรของ พระเถระบํารุงทานเหมือนบุตร วันหนึ่ง
นางจะไปปาจึงสั่งลูกสาววาขาวสารเกาอยูโนน นํ้านม เนยใส น้ําออย อยูโนน เวลาท่ีพระ
เปนเจามิตตะพี่ชายของเจามาแลว จงปรงุ อาหารถวายพรอมดวยนํ้านม เนยใส และนํ้าออย
ดวยนะลูก ลูกสาวจึงถามวา แมจะรับประทานดวยไหมจะ มหาอุบาสิกาตอบวา แม
รับประทานอาหารสํารับคางคืนท่ีปรุงกับน้ําสมเม่ือวานน้ีแลว ลูกสาวถามวา แมจัก
รับประทาน กลางวันไหม มหาอุบาสิกาส่ังวา เจาจงใสผักดองแลวเอาปลายขาวสาร ตม
ขาวตมท่ีมีรสเปรี้ยวเก็บไว ใหเถอะลูก ในขณะนั้นพระเถระครองจีวรแลว กําลังนําบาตร
ออกจากถลกไดยินเสียงน้ันแลว จึงให โอวาทตนเองวา ไดยินวา มหาอุบาสิการับประทาน
แตอ าหารสํารบั คางคืนกับน้ําสม แมกลางวันก็จัก รับประทานขาวตมเปรี้ยวใสผักดอง มหา
อุบาสกิ าบอกอาหารมีขา วสารเกาเปนตน เพื่อประโยชนแก เธอ มหาอุบาสิกานั้นมิไดหวังที่
นาที่สวน อาหารและผา เพราะอาศยั เธอเลย แตปรารถนาสมบัติ ๓ ประการมีมนุษยสมบัติ
สวรรคส มบัติ นพิ พานสมบตั ิ จงึ ถวายอาหารบํารุงแกเธอ เธอจักสามารถให สมบัติเหลาน้ัน
แกมหาอุบาสิกาน้ันไดหรือไมเลา พระเถระคิดวา บิณฑบาตน้ีแล ทานนั้นยังมีราคะ โทสะ
โมหะอยู จึงไมควรรับบิณฑบาตนี้ แลวเก็บบาตรเขาถลก ปลดดุมจีวร กลับไปยังถากสกะ
เลย จากน้ันพระเถระไดนั่งลงอธิษฐานความเพียรวา เราไมบรรลุพระอรหัต จักไมออกไป
จาก ถาพระเถระผูไมประมาทอยูมาชานานเจริญวิปสสนา ก็บรรลุพระอรหัตกอนเวลา
อาหารเชาเปน พระ ขณี าสพสิน้ อาสวะแลว ในคราวนนั้ ผวิ พรรณของพระเถระบริสุทธ์ิยิ่งนัก
อินทรียผองใส หนาของทาน เปลงปล่ังยิ่งนักประดุจผลตาลสุกหลุดออกจากขั้วฉะนั้น พระ
เถระลุกขึ้นดูเวลา ทราบวายังเปนเวลา เชาอยู จึงถือบาตรและจีวรเขาสูหมูบาน ฝาย
เด็กหญิงจดั เตรียมอาหารเสรจ็ แลว นั่งคอยดูอยูตรง ประตูดวยนึกวา ประเด๋ียวพ่ีชายเราคง
จักมา เม่ือพระเถระมาถึงประตูเรือนแลว เด็กหญิงน้ันรับบาตร บรรจุเต็มดวยอาหารเจือ
นํ้านม ท่ีปรุงดวยเนยใสและนํ้าออยแลว วางไวบนมือของพระเถระ พระเถระทําอนุโมทนา
วา จงมีสุขเถิดแลวหลีกไป มหาอุบาสิกาเม่ือกลับมาจากปาถามวาพ่ีชายของเจามาแลว
หรือลูก เด็กหญิงนั้นเลาเร่ืองท้ังหมดใหมารดาฟง อุบาสิกาก็รูไดวากิจแหงบุตรของเราถึง
ท่ีสุดแลว พระเถระประจักษถึงความมีศรัทธาและการเสียสละทานอันเลิศของทายกแลว
จึงสํารวจ ศีลและคุณธรรมของตน เม่ือทราบวาตนยังไมมีคุณวิเศษใด ๆ ยังไมสามารถละ
อกุศลคือโลภะ โทสะ โมหะไดเ ลย แลวตัง้ สติระลึกถึงความไมประมาทในบณิ ฑบาตนั้น มีสติ

๗๒ บทท่ี ๓ ขอถกเถียงและการตีความศีลในพระพุทธศาสนา

พระมหามิตร ฐติ ปฺโญ,ผศ.ดร. Controversy and Interpretation of the Precepts in Buddhism

มุงมั่นในการปฏิบัติวิปสสนา ภาวนาดวยการระลึกถึงศีลอันบริสุทธิ์ท่ีปฏิบัติมาแลวและ
บิณฑบาตอันบริสุทธ์ิที่ทายกใหดีแลว ตั้ง ปณิธานปรารภความเพียรอันแรงกลาปฏิบัติ
วิปส สนาภาวนาไมน านก็ไดบรรลุมรรคผล สรปุ ศีลมวี ิริยสงั วรอันเปนองคธรรมของอาชีวปา
ริสุทธิศีล จัดเปนศีลในองคมรรคขอ สัมมาอาชีวะ เม่ืออาชีวบริสุทธ์ิ ศีลในอริยมรรคมีองค
๘ ก็บริสทุ ธดิ์ วย สัมมาสมาธิและปญ ญาก็จะเกิด เก้ือหนนุ ตามลําดับไปจนถึงการบรรลุธรรม
ไดในท่ีสดุ

อาชีวปาริสทุ ธศิ ีล (ศีลคือความบรสิ ทุ ธ์ิแหงอาชีวะ เล้ียงชีวิตโดยทางที่ชอบ
ไมประกอบอเนสนา มีหลอกลวงเขาเลี้ยงชีพ เปนตน - purity of conduct as regards
livelihood)๑๖ ฉะน้ันอาชีวปาริสุทธิศีล คือความสะอาดหมดจดแหงวิธีการท่ีจะไดมาซ่ึง
ปจจัยบริโภคของภิกษุ ไดแก อาหาร เคร่ืองนุงหมท่ีอยูอาศัย และยารักษาโรคซึ่งจะตองได
มาโดยวิธีที่ถูก ตองโดยนัยแหงความเปนสมณเพศน้ัน วิธีการท่ีจะไดมาซึ่ง ปจจัยบริโภค
ยอมแตกตางกับวิธีการของ ฆราวาสโดย ส้ินเชิง อน่ึงสําหรับมิจฉาอาชีวะ กลาวคือวิธีการท่ี
จะไดมาซ่ึงปจจัยบริโภคของภกิ ษโุ ดยไมถกู ตอง ไมบ รสิ ุทธอิ์ นั เปน การลวงละเมิดตออาชีวปา
ริสทุ ธิศลี

การควบคุมตน ใหมีการ แสวง การรับ การบริโภคปจจัย เครื่องอาศัย อัน
จําเปน แกชีวิต อยางบริสุทธิ์ จากการ หลอกลวงตน และผูอ่ืน เรียกวา อาชีวปาริสุทธิ
สีล๑๗

สวนการงดเวนจากมิจฉาชีวะ อันเปนไปดวยอํานาจแหงการละเมิด
สิกขาบท ๖ ท่ีพระผูมีพระภาคทรงบัญญัติ เพราะอาชีพเปนเหตุเพราะอาชีพเปนจัวการณ
และ (ดวยอํานาจ) แหงบาปธรรมทั้งหลาย มีอยางนี้ คือ “การลอลวง” (กุหนา) การปอยอ
(ลปนา) การทําใบ (เนมิตฺติกา) การบีบบังคับ (นิปฺเปสิกตา) การแสวงหาลาภดวยลาภ
(ลาเภน ลาภ นชิ ิคสึ นตา)" ดังนีเ้ ปนตน ศีลน้ชี ่อื วา อาชวี ปาริสุทธศิ ีล๑๘

๑๖ พระพรหมคุณาภรณ (ป.อ.ปยุตฺโต), พุทธธรรม, คร้ังที่ ๑๑, (กรุงเทพมหานคร:
สหธรรมกิ , ๒๕๔๙), หนา ๗๙๔.

๑๗ พุทธทาสภิกขุ, ชุมนุมเรื่องส้ันพุทธทาสภิกขุ, พิมพคร้ังที่ ๔ (กรุงเทพมหานคร:
สํานักพิมพสุขภาพใจ, ๒๕๓๘), หนา ๔๕.

๑๘ สุทธิมรรค, มหามกฏุ ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ สิงหาคม ๒๕๐๘ ๑ ตอน ๑ -
หนา ๓๓.

ศกึ ษาเฉพาะเร่ืองในพฒั นาการแหง พระพุทธศาสนา ๗๓
Selected Topics in Development of Buddhism
พระมหามติ ร ฐติ ปโฺ ญ,ผศ.ดร.

๓.๑.๑.๑.๔ ปจจัยสนั นิสิตศลี
พระสมั มาสมั พทุ ธเจาไดทรงบัญญัติวิธีบริโภคท่ีดี เพ่ือความบริสุทธิ์บริบูรณ
คอื ศลี ทีเ่ รยี กวา ปจจัยสันนิสสันสิตศีล หรือปจจเวกขณศีล อันเปนหน่ึงในจาตุปาริสุทธิศีล
ท่เี ปนสลี วิสุทธิ
๑. การพจิ ารณาการใชจ วี รในปจ จัยสนั นิสสติ ศีล
ปจจัยสันนิสสิตศีล คือ โดยเหตุที่เปาหมายสําคัญของการบวช คือ การหลีก
ออกจากกาม ดังน้ัน เม่ือพระภิกษุสามารถปฏิบัติตนใหสมบูรณดวยอาชีวปาริสุทธิศีลแลว ก็
จําเปนจะตองรูจักบริโภคปจจัยที่ไดมาอยางฉลาดอีกดวย ท้ังน้ีเพ่ือยกตนใหพนจากการเปน
ทาสของกามไดอ ยางแทจรงิ พระสมั มาสมั พทุ ธเจา จึงตรัสสอนบริโภคปจจัย ๔ หรือปจจัยสันนิ
สสิตศีลใหกับพระภิกษุ โดยใหพระภิกษุพิจารณาวัตถุประสงคของการบริโภคจีวรอยางแยบ
คาย กลาวคือ วัตถปุ ระสงคก ารใชจีวร คาํ วา “จีวร”๑๙ หมายถึง ผาทุกชิ้นท่ีภิกษุใชนุงหม การ
ใชจีวรหรือการบริโภคจีวร ก็เพียงเพ่ือบําบัดความรอน ความหนาว อันจะเปนเหตุใหเกิด
อาพาธประการหน่ึง เพ่ือปองกันแมลงและสัตวอันตรายประการหน่ึง และเพ่ือปกปดอวัยวะที่
นาอายอีกประการหน่ึง การพิจารณาปจจัย ๔ โดยเฉพาะจีวรควรมีการพิจารณาในกาลทั้ง ๓
คือ (๑) ในเวลารบั (๒) ในเวลาใชสอย (๓) ในเวลาหลงั จากใชแ ลว ดงั นี้
๑) การพิจารณาการใชจ วี รในเวลารบั
มนุษยจําเปนตองบริโภคใชสอยปจจัยสี่ แตการพิจารณาในเวลารับมาหรือ
กอนบริโภคใชสอย จําเปนกวา พระพุทธองคตรัสยํ้าใหพิจารณากอนเพื่อรูเทาทันโทษภัยและ
คํานึงถึงคุณคาของส่ิงบริโภคใชสอย กอนบริโภคใชสอยใหพิจารณาท้ังสิ่งบริโภคและตัว
ผูบริโภคเอง เพ่ือใหรูวาแทท่ีจริงแลวท้ังส่ิงบริโภคและตัวผูบริโภค เมื่อพิจารณาอยางละเอียด
ลึกซงึ้ แลว ก็เปนเพียงธาตวุ างจากตัวตน ประกอบข้ึนดวยเง่ือนไขแหงธาตุปจจัยเทาน้ัน บริโภค
ใชสอยแบบปลอยวาง ไมยึดมั่นถือม่ันทั้งในส่ิงท่ีบริโภคและตัวผูบริโภค เม่ือผูบริโภคมีตัวตน
การใชสอยก็มุงจะเพื่อพอกพูนรักษาตัวตนดวยการบริโภคใชสอยอยางไมมีสติสัมปชัญญะ ทํา
ใหละเมิดคุณธรรมในตน ละเมิดจริยธรรมสังคมและทําลายสิ่งแวดลอมในที่สุด ถาเสพบริโภค
ใชสอยโดยปราศจากตัวตน ปลอยวาง ไมพอกพูนอัตตา บริโภคใชสอยเพื่อคุณคาที่แทจริง คํา
วา “กอนบริโภคใชสอย” มีความหมายกวางทั้งขณะแสวงหา ขณะรับและขณะเก็บรักษาไว
เพื่อบริโภคใชสอย พระพุทธองคตรัสแนวทางปฏิบัติไวในบท ธาตุปฏิกูลปจจเวกขณะ
พจิ ารณาโดยความเปนธาตุในเวลารบั หรือกอนบรโิ ภค ดังตอไปนี้

๑๙ พระราชวรมุนี (ป.อ. ปยุตโต), พจนานุกรมพุทธศาสน ฉบับประมวลศัพท,
(กรุงเทพมหานคร: โรงพมิ พอ มรนิ ทรการพมิ พ, ๒๕๒๗), หนา ๔๕.

๗๔ บทท่ี ๓ ขอ ถกเถียงและการตีความศลี ในพระพุทธศาสนา

พระมหามิตร ฐติ ปฺโญ,ผศ.ดร. Controversy and Interpretation of the Precepts in Buddhism

ส่ิงเหลาน้ีเปนสักแตวาธาตุตามธรรมชาติเทานั้น กําลังเปนไปตามเหตุปจจัย
ตามปกติ ไมวาจะเปนจีวร และบุคคลผูใชสอยก็เปนเพียงธาตุตามธรรมชาติเทานั้น มิใชสัตว
อันยั่งยืน มิใชชีวะ บุคคลท่ีอมตะ วางเปลาจากตัวตน ประกอบกับจีวรเหลานี้เดิมไมไดนา
เกลียด สกปรก เปอยยุย แตพอถูกใชสอยสวมใสกับกายอันเปอยเนา สกปรก เหม็นคาว จึง
พลอยกลายเปน ของนาเกลยี ดไปดว ยกนั ๒๐

ขอ ความในบทพิจารณาจวี ร (ผา เครื่องนุงหม) สะทอนใหเห็นวาพระพุทธองค
ใหพ จิ ารณาส่งิ ใชสอย และผูใชสอยวา โดยธรรมชาติหรือธาตุแทแลวตางไรสาระเปนเพียงธาตุ
๔ ทั้งคู ปกติเนาเหม็น นาเกลียด ผาปลอยไวนานก็เปอยยุย ยอยสลาย เพราะสภาพของเหตุ
และปจจัยขณะท่ีรางกายของมนุษยน้ัน ปกติมีกล่ินเนาเหม็นสาบสกปรกอยูแลว สมมติวาคน
ไมไดอาบนํ้าสวมใสเสื้อผาไมไดซักมาหลายวันจนสกปรก มีกล่ินเนาเหม็นอับมีเชื้อรา ไมวาผา
ชนดิ น้ันจะมีราคาแพงซักเพียงใดและบุคคลท่ีสวมใสจะเปนใครก็ตาม สุดทายแลวเม่ือผาไมได
ซัก คนไมไดอาบน้ําคนจํานวนมากก็ไมปรารถนาแมแตจะเขามาน่ังใกล น่ีคือสารัตถะหรือธาตุ
แทจรงิ ๆ ของจวี ร ผาเครื่องนงุ หม และผสู วมใสจ ีวร ผา เครือ่ งนุงหมนน้ั

๒) การพิจารณาจีวรในเวลาบริโภค
เมื่อภิกษุสามเณรแสวงหาและรับจีวรมาเพื่อบริโภคใชสอยไดแลว ขณะจะ
บริโภคใชสอยในแตละวัน พระพุทธองคตรัสใหพิจารณาส่ิงท่ีบริโภคใชสอยไปพรอมกับการ
บริโภค เพ่ือเตือนสติใหตระหนักรูถึงแหลงท่ีมา คุณคา เปาหมายหรือวัตถุประสงคของการ
บริโภคใชส อยวา บริโภคใชสอยเพ่อื อะไร
ขณะใชสอยจีวร ขณะใชสอยใหคิดเสมอวา “จะรอบคอบในการนุงหมจีวร
เพียงเพื่อบําบัดความหนาว เพื่อบําบัดความรอน เพื่อบําบัดสัมผัสอันเกิดจากเหลือบยุง ลม
แดดและสัตวเลือ่ ยคลานท้งั หลาย และเพยี งเพื่อปกปดอวยั วะอันใหเกิดความละอาย๒๑
๓) การพจิ ารณาจวี รในเวลาภายหลังบรโิ ภค
เมื่อบรรพชิตไดบริโภคใชสอยจีวรแลวในแตละวัน ถาลืมพิจารณาหรือ
พิจารณาไปแลวก็ตาม พระพุทธองคตรัสใหตระหนักยอนพิจารณาสิ่งบริโภคใชสอยอีกคร้ัง
ท้ังน้ีเพื่อเตือนสติใหตระหนักตรวจสอบวา ตนไดบริโภคใชสอยใหเกิดประโยชนอยางแทจริง
หรือไมหลังจากบรโิ ภคจวี ร หลังจากการใชสอยใหพจิ ารณาวา

๒๐ พระบาลเี ต็มวา “ยถาปจฺจยํ ปวตตฺ มานํ ธาตุมตฺตเมเวตํ ยทิทํ จีวรํ, ตทุปภุฺชโก จ ปุคฺค
โลธาตุมตฺตโก นิสสตโฺ ต นิชชีโว สุญโญ, สพพฺ านิ ปน อมิ านิ จวี รานิ อชิคุจฺฉนียานิ อิมํ ปูติกายํ ปตฺวา อติ
วิยชิคจุ ฺฉนียานิ ชายยนตฺ ิ”

๒๑ พระบาลีเต็มวา “ปฏิสงฺขาโยนิโส จีวรํ ปฏิเสวามิ ยาวเทว สีตลฺส ปฏิฆาตาย, อุณฺหสฺส
ปฏฆิ าตาย ฑํสมกสวาตาตปสิรึ สปสมผสฺสานํ ปฏฆิ าตาย, ยาวเทว หริ โิ กปน นฺ ปฏิจฉาทนตฺถ”ํ

ศึกษาเฉพาะเรอ่ื งในพัฒนาการแหงพระพุทธศาสนา ๗๕
Selected Topics in Development of Buddhism
พระมหามิตร ฐติ ปโฺ ญ,ผศ.ดร.

“ส่ิงท่ีเราใชสอยแลวไมทันพิจารณาในวันน้ี ถือวา เราใชสอยแลวเพียงเพื่อ
บําบัดความหนาว เพื่อบําบัดความรอน เพ่ือบําบัดสัมผัสอันเกิดจากเหลือบยุง ลม แดดและ
สัตวเ ลอ่ื ยคลานทง้ั หลาย และเพียงเพ่ือปกปดอวยั วะอนั ใหเ กิดความละอาย”๒๒

การพิจารณายอนหลังแมผานการบริโภคใชสอยจีวรไปแลวก็ตาม แตก็เปน
การกําจัดตัณหา คือ ความยินดีพอใจในจีวรน้ัน เพ่ือใหรูวาเราใชสอยจีวรน้ันตามจําเปน
เทานั้น มิไดเพื่อความสวยงามหรือเหตุผลอื่นท่ีเปนการสงเสริมใหเกิดอุปทานความยึดม่ันแต
อยา งใด

สรุปไดวา การบริโภคจีวรเพื่อไมใหเปนที่เกิดแหงตัณหาอุปทานในเคร่ืองแตง
กาย ควรพิจารณาใหรูถึงคุณคาแทของจีวร พิจารณาทั้งเวลารับมา เวลาบริโภคใชสอย และ
หลังจากบริโภคใชส อยเรียบรอยแลว ทําใหเปนผูมีสติม่ันคงไมหลงใหลในผาแพรพรรณ จึงนับ
ไดวาเปน ปจจยสันนิสสิตศีล เกดิ ปญญาในการใชสอยจีวร และเปนเคร่ืองสนับสนุนอีกประการ
หน่ึงของการปฏิบัติเพ่ือการบรรลุธรรม เพราะมีศีลบริสุทธิ์แลว ไมมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับ
ความบริสุทธิ์ของปจจัยเกี่ยวกับเคร่ืองนุงหมแลว ก็จะเปนปจจัยสนับสนุนทําใหเกิดสมาธิจิต
บรสิ ทุ ธิ์ และปญ ญาบรสิ ทุ ธทิ์ ําใหไดบรรลธุ รรมในพระพุทธศาสนา

๒. การพิจารณาบณิ ฑบาตในปจ จยสนั นิสสิตศีล
พระสมั มาสัมพทุ ธเจาไดท รงบญั ญัตวิ ิธบี รโิ ภคที่ เพื่อความบริสุทธิ์บริบูรณ คือ
ศีลท่ีเรียกวา ปจจัยสันนิสสิตศีล หรือปจจเวกขณศีล โดยการพิจารณาปจจัย ๔ โดยเฉพาะ
บิณฑบาตอันนับเปนสวนหนึ่งของศีลวิสุทธิ์ในบรรดาวิสุทธิ ๗ ความบริสุทธ์ิของการปฏิบัติ
ตามลําดบั จนกระท่ังไดบรรลุธรรม ดังน้ันควรพิจารณาในกาลทั้ง ๓ คือ (๑) ในเวลารับ (๒) ใน
เวลาใชส อย และ (๓) ในเวลาหลังจากใชแลว ดงั นี้
๑) การพจิ ารณาบิณฑบาตในเวลารับ
ภิกษุจําเปนตองบริโภคปจจัยส่ี โดยเฉพาะอาหารบิณฑบาต การพิจารณาใน
เวลารับมาหรือกอนบริโภคใชสอยมีความจําเปนมาก พระพุทธองคตรัสย้ําใหพิจารณากอน
เพื่อรูเทาทันโทษภัยและคํานึงถึงคุณคาของการบริโภคอาหาร กอนบริโภคอาหารใหพิจารณา
ท้ังสง่ิ บรโิ ภคและตัวผบู ริโภคเอง เพอื่ ใหรูว า แททจ่ี ริงแลว เมอ่ื พิจารณาอยางละเอียดลึกซ้ึงแลว
ทั้งส่ิงท่ีบริโภคและผูบริโภคก็เปนเพียงธาตุ วางจากตัวตน ประกอบข้ึนดวยเง่ือนไขแหงธาตุ
ปจจัยเทานั้น บริโภคใชสอยแบบปลอยวาง ไมยึดมั่นถือมั่นท้ังในส่ิงท่ีบริโภคและตัวผูบริโภค
เมือ่ ผูบรโิ ภคมีตัวตน การใชส อยก็มุงจะเพื่อพอกพูนรักษาตัวตนดวยการบริโภคใชสอยอยางไม

๒๒ พระบาลีเต็มวา “อชฺชมยา อปจฺจเวกฺขิตวา ยํ จีวรํ ปริตรภุตฺตํ, ตํ ยาวเทว สีตลฺส ปฏิฆา
ตาย, อุณฺหสฺส ปฏิฆาตาย ฑํสมกสวาตาตปสิรึ สปสมผสฺสานํ ปฏิฆาตาย, ยาวเทว หิริโกปนฺนปฏิจ
ฉาทนตถฺ ํ”

๗๖ บทที่ ๓ ขอถกเถยี งและการตีความศีลในพระพทุ ธศาสนา

พระมหามติ ร ฐติ ปโฺ ญ,ผศ.ดร. Controversy and Interpretation of the Precepts in Buddhism

มสี ติสัมปชัญญะ ทําใหละเมิดคุณธรรมในตน ละเมิดจริยธรรมสังคมและทําลายส่ิงแวดลอมใน
ท่ีสดุ ถาเสพบรโิ ภคใชส อยโดยปราศจากตัวตน ปลอยวาง ไมพอกพูนอัตตา บริโภคใชสอยเพ่ือ
คุณคา ที่แทจริง อน่ึง คําวา กอนบริโภค มีความหมายกวางทั้งขณะแสวงหา ขณะรับและขณะ
เก็บรักษาไวเพื่อบริโภคดวย พระพุทธองคตรัสแนวทางปฏิบัติไวในบท ธาตุปฏิกูลปจจเวก
ขณะ พจิ ารณาโดยความเปนธาตุในเวลารับหรือกอนบริโภค ดงั ตอ ไปน้ี

สิ่งเหลาน้ีเปนสักแตวาธาตุตามธรรมชาติเทาน้ัน กําลังเปนไปตามเหตุปจจัย
ตามปกติ ไมวา จะเปนบณิ ฑบาต (อาหาร นํ้าดื่ม เคร่ืองดื่ม) และบุคคลผูใชสอยก็เปนเพียงธาตุ
ตามธรรมชาติเทาน้ัน มิใชสัตวอันยั่งยืน มิใชชีวบุคคลที่อมตะ วางเปลาจากตัวตน ประกอบ
กบั บิณฑบาตเดมิ ไมไดน าเกลียด สกปรก แตพอบริโภคเขาไปในรางกายอันเปอยเนาอยูเปนนิจ
จงึ เปนของนาเกลียดไปดวยกัน๒๓

ขอความในบทพิจารณาอาหาร โดยความเปนธาตุสะทอนใหเห็นวาพระพุทธ
องคใหม องสิง่ บรโิ ภค และตวั ผบู ริโภควา เปนธาตแุ ทข องท้ังสองสิ่งตางไรสาระเปนเพียงธาตุ ๔
ทั้งคู ลองนึกภาพดูอาหารท่ียังใหมสด เชน อาหารประเภทกะทิ เปนตน เก็บไวเพียงขามคืน
(คางคืน) กล่ิน รส คุณคา ก็เปล่ียนไป เกิดการเนาบูดบริโภคแลวทําใหทองเสีย หรือแมแต
อาหารอันโอชะ กล่ินหอม รสโอชา ราคาแพง คร้ันรับประทานเขาไปแลวผสมกับนํ้ายอยใน
กระเพาะอาหาร ครน้ั ถา ยอุจจาระปสสาวะออกมาลวนมีกลิ่นเหม็นเสมอกันท้ังสิ้น ไมวาอาหาร
ชนิดนั้นจะราคาแพงเพียงใดและผูบริโภคจะเปนใครก็ตาม สุดทายแลวอาหารน้ันก็บูดโดย
ธรรมชาติคนก็เนาโดยธรรมดา ของบูดและของเนามาประกอบกันก็ยิ่งจะนาเกลียดย่ิงขึ้น นี่คือ
สารัตถะหรือธาตุแทจริงๆ ของอาหารบณิ ฑบาตและผบู รโิ ภคอาหารบิณฑบาต

๒) การพิจารณาบณิ ฑบาตในเวลาบริโภค
เมื่อภิกษุสามเณรแสวงหาและรับบิณฑบาตมาเพ่ือบริโภคใชสอยไดแลว
ขณะจะบรโิ ภคในแตล ะวัน พระพทุ ธองคตรสั ใหพิจารณาสง่ิ ท่ีบริโภคใชสอยไปพรอมกับการ
บริโภค เพื่อเตือนสติใหตระหนักรูถึงแหลงที่มา คุณคา เปาหมายหรือวัตถุประสงคของการ
บริโภควา บรโิ ภคเพ่อื อะไร ขณะใชส อยจวี ร ขณะใชส อยใหค ดิ เสมอวา
จ ะ ร อ บ ค อ บ ใ น ก า ร ฉั น บิ ณ ฑ บ า ต ไ ม ใ ห เ ป น ไ ป เ พื่ อ ค ว า ม เ พ ลิ ด เ พ ลิ น
สนุกสนาน เพ่ือความมัวเมาเกิดกําลังพลังทางกาย เพื่อประดับ เพื่อตกแตง แตเพื่อให
รางกายน้ีดํารงอยูได ดําเนินไปได มิใหรางกายลําบาก เพื่ออนุเคราะหพรหมจรรย ทําได
ตามนี้ก็จะชวยระงับดับบรรเทาทุกขเวทนาเกาคือความหิวได และไมทําทุกขเวทนาใหมให

๒๓ พระบาลีเต็มวา “ยถาปจฺจยํ ปวตฺตมานํ ธาตุมตฺตเมเวตํ ยทิทํ ปณฺฑปาโต, ตทุปภุฺชโก
จ ปุคคฺ โล ธาตุมตตฺ โก นิสสตฺโต นชิ ชีโว สญุ โญ, สพโฺ พ ปนายํ ปณ ฺฑปาโต อชคิ ุจฉฺ นีโย อิมํ ปูติกายํ ปตฺวา
อติวยิ ชคิ ุจฺฉนีโย ชายติ”

ศกึ ษาเฉพาะเรอ่ื งในพัฒนาการแหง พระพทุ ธศาสนา ๗๗
Selected Topics in Development of Buddhism
พระมหามิตร ฐติ ปโฺ ญ,ผศ.ดร.

เกิดขึ้น อนึ่งความเปนไปโดยสะดวกแหงอัตตภาพรางกายน้ี ความเปนผูหาโทษไมได และ
ความเปน อยโู ดยผาสุกกจ็ กั บังเกดิ ข้ึนแกเ รา”๒๔

บทพิจารณาอาหารขณะกําลังบริโภคอยูน้ัน สังเกตเห็นไดถึงการงดเวน
จุดมุงหมายท่ีเปนคุณคาเทียมของอาหาร อันไดแก ความสนุกสนาน เพ่ิมพละกําลัง เพื่อ
ประดับตกแตงบํารุงใหรางกายสวยงาม หรือเพ่ือโชวคนอ่ืนวาตนเองมีฐานะ มีรสนิยมสูง
เปนตน นับวาไมใชประโยชนแทจริงของอาหารบิณฑบาต คุณคาแทจริงนั้นอยูท่ีการ
บรรเทาทุกขจากความหิว แลวจะไดมีเรี่ยวแรงพอที่จะประพฤติปฏิบัติธรรมใหถึงที่สุดแหง
ทุกขได และจะตองไมมากเกินไปจนอึดอัดสรางทุกขใหมใหเกิดขึ้นอีก เรียกวา รูจัก
พอประมาณในการบริโภค และไมบริโภคดว ยตัณหา

๓) การพจิ ารณาบิณฑบาตในเวลาภายหลงั บรโิ ภค
เม่ือบรรพชิตไดบริโภคบิณฑบาตแลวในแตละวัน ถาลืมพิจารณาหรือ
พิจารณาไปแลวก็ตาม พระพุทธองคตรัสใหตระหนักยอนพิจารณาส่ิงบริโภคอีกครั้ง ทั้งนี้
เพ่ือเตือนสติใหตระหนักตรวจสอบวา ตนไดบริโภคใชสอยใหเกิดประโยชนอยางแทจริง
หรือไม หลงั จากบริโภคบิณฑบาตใหพิจารณาวา
บิณฑบาตท่ีเราบริโภคแลวไมท ันพจิ ารณาในวนั นี้ ถือวา เราไมไดบริโภคเพื่อ
เลน ไมไดบริโภคเพ่ือความเพลิดเพลินสนุกสนาน ไมไดบริโภคเพ่ือความมัวเมาเกิดกําลัง
พลังทางกาย ไมไดบริโภคเพื่อประดับ ไมไดบริโภคเพื่อตกแตง แตบริโภคเพื่อใหรางกายน้ี
ดาํ รงอยูได ใหอ ัตภาพเปน ไปได เพื่อไมใหรางกายลําบาก เพื่ออนุเคราะหพรหมจรรย ทําได
อยางนี้ยอ มระงับบรรเทาทุกขเวทนาเกาคือความหิวได และไมทําทุกขเวทนาใหมใหเกิดขึ้น
อนึ่ง ความเปนไปโดยสะดวกแหงอัตภาพรางกายน้ี ความเปนผูหาโทษไมได และความ
เปน อยูโดยผาสกุ ก็จะบงั เกิดมีแกเรา๒๕
การพิจารณายอนหลังแมผานการบริโภคบิณฑบาตไปแลวก็ตาม แตก็เปน
การกําจัดตัณหา คือ ความยินดีพอใจในบิณฑบาตนั้น เพื่อใหรูวาเราบริโภคบิณฑบาตนั้น

๒๔ พระบาลีเตม็ วา “ปฏสิ งฺขาโยนโิ ส ปณฺฑปาตํ ปฏิเสวามิ เนว ทวาย น มทาย น มณฺฑนาย
น วิภูสนาย, ยาวเทว อมสฺส กายสฺส ฐิติยา ยาปนาย วิหึ สุปรติยา พฺรหฺมจริยานุคหาย, อิติ ปุราณฺจ
เวทนํ ปฏิหงขฺ ามิ นวจฺ เวทนํ น อปุ ปฺ าเทสสฺ ามิ ยาตรา จ เม ภวิสฺสติ อนวชฺชตา จ ผาสุวิหาโร จาต”ิ

๒๕ พระบาลีเต็มวา “อชฺชมยา อปจฺจเวกฺขิตวา โย ปณฺฑปาโต ปริภุตฺโต โส เนว ทวาย น
มทาย น มณฺฑนาย น วิภูสนาย, ยาวเทว อมสฺส กายสฺส ฐิติยา ยาปนาย วิหึ สุปรติยา พฺรหฺมจริยานุค
หาย, อติ ิ ปรุ าณจฺ เวทนํ ปฏหิ งฺขามิ นวจฺ เวทนํ น อปุ ปฺ าเทสฺสามิ ยาตรา จ เม ภวิสฺสติ อนวชฺชตา จ
ผาสุวหิ าโร จาติ”

๗๘ บทที่ ๓ ขอถกเถียงและการตคี วามศีลในพระพทุ ธศาสนา

พระมหามิตร ฐติ ปฺโญ,ผศ.ดร. Controversy and Interpretation of the Precepts in Buddhism

ตามความจําเปนของรา งกายเทา นน้ั มิไดเพ่อื ความสวยงามหรือเหตุผลอ่ืนท่ีเปนการสงเสริม
ใหเกดิ อปุ ทานความยึดม่ันแตอ ยางใด

๓. การพิจารณาเสนาสนะในปจ จยสันนิสสิตศีล
พระสมั มาสมั พทุ ธเจาไดทรงบัญญัติวิธีบริโภคที่ดี เพื่อความบริสุทธ์ิบริบูรณ
คือ ศีลท่ีเรียกวา ปจจัยสันนิสสิตศีล ปรือปจจเวกขณศีล คือ โดยการพิจารณาปจจัย ๔
โดยเฉพาะเสนาสนะควรมีการพิจารณาในกาลทั้ง ๓ คือ (๑) ในเวลารับ (๒) ในเวลาใชสอย
และ (๓) ในเวลาหลังจากใชแ ลว ดังน้ี
๑) การพจิ ารณาเสนาสนะในเวลารับ
มนุษยจําเปนตองบริโภคใชสอย แตการพิจารณาในเวลารับมาหรือกอน
บริโภคใชสอย จําเปนกวา พระพุทธองคตรัสยํ้าใหพิจารณากอนเพ่ือรูเทาทันโทษภัยและ
คํานึงถึงคุณคาของสิ่งบริโภคใชสอย กอนบริโภคใชสอยใหพิจารณาท้ังส่ิงบริโภคและตัว
ผูบริโภคเอง เพื่อใหรูวาแทที่จริงแลวทั้งส่ิงบริโภค และตัวผูบริโภค เมื่อพิจารณาอยาง
ละเอียดลึกซึ้งแลวก็เปนเพียงธาตุวางจากตัวตน ประกอบขึ้นดวยเงื่อนไขแหงธาตุปจจัย
เทานนั้ บรโิ ภคใชสอยแบบปลอยวาง ไมยึดมั่นถือมั่นทั้งในส่ิงที่บริโภคและตัวผูบริโภค เมื่อ
ผูบรโิ ภคมีตัวตน การใชส อยกม็ ุง จะเพอ่ื พอกพูนรกั ษาตัวตนดวยการบริโภคใชสอยอยางไมมี
สติสัมปชัญญะ ทําใหละเมิดคุณธรรมในตน ละเมิดจริยธรรมสังคมและทําลายสิ่งแวดลอม
ในท่ีสุด ถาเสพบริโภคใชสอยโดยปราศจากตัวตน ปลอยวาง ไมพอกพูนอัตตา บริโภคใช
สอยเพื่อคุณคาท่ีแทจริง คําวา “กอนบริโภคใชสอย” มีความหมายกวางท้ังขณะแสวงหา
ขณะรับและขณะเก็บรักษาไวเพื่อบริโภคใชสอย พระพุทธองคตรัสแนวทางปฏิบัติไวในบท
ธาตปุ ฏกิ ลู ปจจเวกขณะ พิจารณาโดยความเปนธาตใุ นเวลารับหรอื กอนบรโิ ภค ดังตอ ไปนี้
ส่งิ เหลา นี้เปน สักแตวาธาตุตามธรรมชาติเทาน้ัน กําลังเปนไปตามเหตุปจจัย
ตามปกติ ไมว า จะเปน เสนาสนะ และบุคคลผูใชสอยเสนาสนะก็เปนเพียงธาตุตามธรรมชาติ
เทาน้ัน มิใชสัตวอันยั่งยืน มิใชชีวะบุคคลที่อมตะ วางเปลาจากตัวตน ประกอบกับจีวร
เหลานี้เดิมไมไดนาเกลียด สกปรก เปอยยุย แตพอถูกใชสอยสวมใสกับกายอันเปอยเนา
สกปรก เหมน็ คาว จึงพลอยกลายเปนของนาเกลียดไปดวยกนั ๒๖
จากขอความในบทพิจารณาเสนาสนะ (ท่ีอยูอาศัย) สะทอนใหเห็นวา พระ
พุทธองคใ หพ จิ ารณาเสนาสนะและผูใชสอย โดยธรรมชาติหรือธาตุแทตางไรสาระเปนเพียง
ธาตุ ๔ ท้ังคู ปกติผุพัง โยกคลอน ไมมั่นคง คร้ันถูกมนุษยใชก็ยิ่งผุพังเส่ือมเร็วย่ิงขึ้น สมมติ

๒๖ พระบาลีเต็มวา “ยถาปจฺจยํ ปวตฺตมานํ ธาตุมตฺตเมเวตํ ยทิทํ เสนาสนํ, ตทุปภุฺชโก จ
ปุคฺคโลธาตมุ ตฺตโก นิสสตฺโต นิชชีโว สุญโญ, สพฺพานิ ปน อิมานิ เสนาสนานิ อชิคุจฺฉนียานิ อิมํ ปูติกายํ
ปตวฺ า อติวยิ ชิคจุ ฉฺ นียานิ ชายนตฺ ิ”

ศกึ ษาเฉพาะเรือ่ งในพัฒนาการแหงพระพุทธศาสนา ๗๙
Selected Topics in Development of Buddhism
พระมหามติ ร ฐติ ปฺโญ,ผศ.ดร.

วา เสนาสนะหรือบา นท่ีใชอยูไมไดใสใ จดแู ลรักษาเลย ปลอยใหร กรงุ รงั ท้ิงเศษขยะอาหารไม
เปนที่ยอมเนาเหม็น เชน สลัม ชุมชนแออัด หรือแมแตบานเศรษฐีก็ตาม ถาปราศจากการ
ดูแลก็ยอ มรกรา งในทส่ี ดุ แมจะดแู ลอยา งดีนานปไ ปยอ มผุพัง ทรดุ โทรม เสื่อมสลายไป น่ีคือ
สารตั ถะหรอื ธาตแุ ทจ ริงๆ ของสองสงิ่ คอื เสนาสนะและผูใชสอยอยูอาศัย

๒) การพจิ ารณาเสนาสนะในเวลาบริโภค
เม่ือภิกษุสามเณรแสวงหาและรับปจจัย ๔ มาเพื่อบริโภคใชสอยไดแลว
ขณะจะบริโภคใชส อยในแตละวนั พระพุทธองคตรัสใหพิจารณาส่ิงท่ีบริโภคใชสอยไปพรอม
กับการบริโภค เพื่อเตือนสติใหตระหนักรูถึงแหลงท่ีมา คุณคา เปาหมายหรือวัตถุประสงค
ของการบรโิ ภคใชส อยวา บรโิ ภคใชสอยเพ่อื อะไร ดังนี้
เราจะรอบคอบในการใชสอยเสนาสนะ เพียงเพ่ือบําบัดความรอน เพ่ือ
บาํ บดั สมั ผัสอันเกดิ จากเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตวเล่ือยคลานทั้งหลาย และเพ่ือบรรเทา
อนั ตรายอนั จะพงึ มจี ากดนิ ฟาอากาศ และเพื่อความเปน ผูอยูใ นทีห่ ลกี เรน สาํ หรบั ภาวนา๒๗
ขณะใชสอยเสนาสนะตา งๆ ควรตระหนักถึงคุณประโยชนที่แทจริงเพียงเพื่อ
ปองกันความหนาวรอน สัตวท่ีมีอันตรายตางๆ รวมท้ังสภาพดินฟาอากาศท่ีอาจเปน
อันตรายตอการประพฤติธรรม เพราะไมวาจะเปนที่พักอาศัย รวมทั้งเคร่ืองใชสอยตางๆ มี
ไวเพียงเพอื่ อาํ นวยความสะดวกแกการเจรญิ ภาวนาใหถึงจุดหมายคือการบรรลุธรรมในท่ีสุด
๓) การพจิ ารณาเสนาสนะในเวลาภายหลังบรโิ ภค
เม่ือบรรพชิตไดบริโภคใชสอยจีวรแลวในแตละวัน ถาลืมพิจารณาหรือพิจารณา
ไปแลวก็ตาม พระพุทธองคตรัสใหตระหนักยอนพิจารณาสิ่งบริโภคใชสอยอีกคร้ัง ทั้งนี้เพ่ือ
เตือนสติใหตระหนักตรวจสอบวา ตนไดบริโภคใชสอยใหเกิดประโยชนอยางแทจริงหรือไม
หลังจากบรโิ ภคจีวร หลงั จากการใชสอยใหพ จิ ารณาวา
“เสนาสนะใดอันเราใชสอยแลวไมทันพิจารณาในวันนี้ เสนาสนะน้ันเราใชสอย
แลวเพียงเพื่อบําบัดความหนาว เพ่ือบําบัดความรอน เพื่อบําบัดสัมผัสอันเกิดจากเหลือบ
ยุง ลม แดดและสัตวเลื่อยคลานท้ังหลาย และเพียงเพื่อบรรเทาอันตรายอันจะพึงมีจากดิน
ฟา อากาศ และเพอื่ ความเปน ผยู ินดอี ยไู ดใ นท่หี ลีกเรน สําหรับภาวนา”๒๘

๒๗ พระบาลีเต็มวา “ปฏิสงฺขาโยนิโส เสนาสนํ ปฏิเสวามิ ยาวเทว สีตลฺส ปฏิฆาตาย,
อุณหฺ สฺส ปฏิฆาตาย ฑํสมกสวาตาตปสิรึ สปสมผสสฺ านํ ปฏิฆาตาย, ยาวเทว อุตุปริสฺสยวิโนทนํ ปฏิสลฺลา
นารามตถ”ํ

๒๘ พระบาลีเตม็ วา “อชฺชมยา อปจฺจเวกฺขิตวา ยํ เสนาสนํ ปฏเิ สวามิ ยาวเทว สีตลฺส ปฏิฆา
ตาย, อุณฺหสฺส ปฏิฆาตาย ฑํสมกสวาตาตปสิรึ สปสมผสฺสานํ ปฏิฆาตาย, ยาวเทว อุตุปริสฺสยวิโนทนํ
ปฏิสลลฺ านารามตถํ”

๘๐ บทที่ ๓ ขอถกเถยี งและการตีความศลี ในพระพุทธศาสนา

พระมหามิตร ฐติ ปฺโญ,ผศ.ดร. Controversy and Interpretation of the Precepts in Buddhism

การพิจารณายอ นหลงั แมผ านการบริโภคใชสอยเสนาสนะไปแลวก็ตาม แตก็เปน
การกําจัดตัณหา คือ ความยินดีพอใจในเสนาสนะนั้น เพื่อใหรูวาเราใชสอยเสนาสนะน้ัน
ตามจําเปนเทานั้น มิไดเพ่ือความสุขสบายหรือเหตุผลอ่ืนที่เปนการสงเสริมใหเกิดอุปทาน
ความยดึ มัน่ แตอยา งใด

๔. การพิจารณาคิลานเภสัชในปจจยสนั นิสสติ ศีล
พระสมั มาสัมพทุ ธเจาไดทรงบัญญัติวิธีบริโภคท่ีดี เพ่ือความบริสุทธ์ิบริบูรณ
คือศีลที่เรียกวา ปจจยสันนิสสิตศีล หรือปจจเวกขณศีล คือ โดยเหตุท่ีเปาหมายสําคัญของ
การบวช คือ การหลีกออกจากกาม ดังนั้น เม่ือภิกษุสามารถปฏิบัติตนใหสมบูรณดวยอาชีว
ปาริสทุ ธิศีลแลว ก็จําเปนจะตองรูจักบริโภคคิลานเภสัชที่ไดมาอยางฉลาดอีกดวย ท้ังน้ีเพ่ือ
ยกตนใหพน จากการเปนทาสของกามไดอยางแทจริง พระสัมมาสัมพุทธเจาจึงตรัสสอนการ
บริโภคปจจัย ๔ หรือปจจัยสันนิสสิตศีลใหกับภิกษุ โดยใหพระภิกษุพิจารณาวัตถุประสงค
ในการบริโภคคิลานเภสัช ก็เพื่อระงับอาพาธหรือโรคตางๆ อันเปนบอเกิดแหงทุกขเวทนา
ดังน้ัน กอนท่พี ระภกิ ษจุ ะบริโภคจะตอ งพิจารณาอยางรอบคอบจนม่ันใจวา เมื่อบริโภคแลว
ทกุ ขเวทนาในตนจะถูกระงับอยา งแทจริง การพิจารณาปจจัย ๔ โดยเฉพาะคิลานเภสัชควร
มกี ารพิจารณาในกาลทง้ั ๓ คือ (๑) ในเวลารับ (๒) ในเวลาใชสอย และ (๓) ในเวลาหลังใช
แลว ดังน้ี
๑) การพิจารณาคิลานเภสชั ในเวลารบั
มนุษยจําเปนตองบริโภคใชสอยคิลานเภสัช แตการพิจารณาในเวลารับมา
หรือกอนบริโภคใชสอยจําเปนกวา พระพุทธองคตรัสยํ้าใหพิจารณากอนเพ่ือรูเทาทันโทษ
ภยั และคาํ นงึ ถึงคณุ คาของส่งิ บริโภคใชสอย กอนบริโภคใชส อยใหพ จิ ารณาทัง้ ส่ิงบริโภคและ
ตัวผูบริโภคเอง เพ่ือใหรูวาแทที่จริงแลวท้ังสิ่งบริโภค และตัวผูบริโภค เมื่อพิจารณาอยาง
ละเอียดลึกซึ้งแลวก็เปนเพียงธาตุวางจากตัวตน ประกอบข้ึนดวยเงื่อนไขแหงธาตุปจจัย
เทานั้น บริโภคใชสอยแบบปลอยวาง ไมยึดม่ันถือม่ันท้ังในสิ่งท่ีบริโภคและตัวผูบริโภค เมื่อ
ผูบริโภคมีตวั ตน การใชส อยกม็ งุ จะเพื่อพอกพนู รกั ษาตัวตนดว ยการบริโภคใชสอยอยางไมมี
สติสัมปชัญญะ ทําใหละเมิดคุณธรรมในตน ละเมิดจริยธรรมสังคมและทําลายสิ่งแวดลอม
ในที่สุด ถาเสพบริโภคใชสอยโดยปราศจากตัวตน ปลอยวาง ไมพอกพูนอัตตา บริโภคใช
สอยเพื่อคุณคาแท อยางไรก็ตามคําวา กอนบริโภคใชสอย มีความหมายกวางรวมถึงขณะ
แสวงหา ขณะรับ และขณะเก็บรักษาไวเพื่อบริโภคใชสอยดวย พระพุทธองคตรัสแนวทาง
ปฏิบัติไวในบท ธาตุปฏิกูลปจจเวกขณะ พิจารณาโดยความเปนธาตุในเวลารับหรือกอน
บริโภค ดงั ตอไปน้ี

ศึกษาเฉพาะเรอ่ื งในพฒั นาการแหง พระพทุ ธศาสนา ๘๑
Selected Topics in Development of Buddhism
พระมหามิตร ฐติ ปโฺ ญ,ผศ.ดร.

สงิ่ เหลาน้ีเปน สักแตว าธาตตุ ามธรรมชาติเทาน้ัน กําลังเปนไปตามเหตุปจจัย
ตามปกติ ไมวาจะเปนคิลานเภสัช และบุคคลผูบริโภคก็เปนเพียงธาตุตามธรรมชาติเทาน้ัน
มิใชสัตวอันย่ังยืน มิใชชีวะบุคคลท่ีอมตะ วางเปลาจากตัวตน ประกอบกับคิลานเภสัชเดิม
ไมไดนาเกลียดสกปรก แตพอบริโภคเขาไปในรางกายอันเปอยเนาอยูเปนนิจจึงพลอย
กลายเปน ของนาเกลยี ดไปดวยกนั ๒๙

ขอความในบทพิจารณาคิลานเภสัช (ยารักษาโรค) สะทอนใหเห็นวา พระ
พทุ ธองคใ หพ จิ ารณาส่งิ ท่ถี ูกบริโภคและผบู รโิ ภค โดยธาตุแทแลวตางไรสาระคือเพียงธาตุ ๔
ทั้งคู ปกติคิลานเภสัชก็เสื่อมสภาพไป คร้ันมาประกอบเขาดวยการบริโภคก็ยิ่งเส่ือมเร็วยิ่ง
กวา เดิม สมมตวิ า เปดยาท้งิ ไวน านเกบ็ ไวในที่รอนเกินไป ยาก็จะเสื่อมสภาพเร็วข้ึนประกอบ
กบั มนษุ ยป วยไขส ังขารทรดุ โทรม ซ่ึงแมไ มปว ยไขก็เนา เหมน็ อยูแลว ก็จะเกิดความสกปรกมี
กลิ่นเนาเหม็นเร็วข้ึน ไมวาคิลานเภสัชนั้นจะมีราคาแพงสักเพียงใด นํามาจากไหน และ
บุคคลบริโภคจะเปนใครก็ตาม สุดทายแลวก็เนา เสื่อมท้ังคู น่ีคือสารัตถะหรือธาตุแทจริงๆ
ของคิลานเภสัชและผบู รโิ ภค

การพิจารณาใหเห็นธาตุแทของสิ่งบริโภคใชสอยและผูบริโภคใชสอย
นอกจากจะมีวัตถุประสงคเพื่อเตือนสติผูบริโภคใชสอยใหมีสติสัมปชัญญะรูเทาทัน ไมปรุง
แตงเกินความเปนจริงวาส่ิงตางๆ เหลาน้ี เม่ือวาตามความเปนจริงแลวก็เปนเพียงธาตุ ๔
ประกอบเขากันเทานั้นและใหรูประมาณในการแสวงหา รับมา เก็บรักษา เพ่ือบริโภคใช
สอยมใิ หม ากจนเกินไปและนอ ยเกินไปมุง ใหเ กดิ ความพอดี จึงจะเปน ประโยชนอ ยา งแทจ ริง

๒) การพิจารณาคิลานเภสชั ในเวลาบริโภค
เม่ือภิกษุสามเณรแสวงหาและรับปจจัย ๔ มาเพ่ือบริโภคใชสอยไดแลว ขณะ
จะบริโภคใชส อยในแตละวัน พระพุทธองคตรัสใหพิจารณาส่ิงท่ีบริโภคใชสอยไปพรอมกับการ
บริโภค เพ่ือเตือนสติใหตระหนักรูถึงแหลงท่ีมา คุณคา เปาหมายหรือวัตถุประสงคของการ
บรโิ ภคใชส อยวา บรโิ ภคใชสอยเพ่ืออะไร ขณะใชสอยจวี ร ขณะใชส อยใหคิดเสมอวา
จะรอบคอบในการบรโิ ภคใชส อยคิลานเภสัช เพียงเพ่ือบําบัดทุกขเวทนาอัน
เกดิ ข้ึนแลว มอี าพาธตา งๆ เปน มูล เพ่อื ความเปน ผไู มม ีโรคเบียดเบยี น เปน อยา งหนง่ึ ๓๐

๒๙ พระบาลีเต็มวา “ยถาปจฺจยํ ปวตฺตมานํ ธาตุมตฺตเมเวตํ ยทิทํ คิลานเภสชฺชปริกขาโร,
ตทุปภุ ฺชโก จ ปคุ ฺคโลธาตุมตตฺ โก นิสสตโฺ ต นิชชโี ว สญุ โญ, สพฺโพ ปนายํ คลิ านเภสชฺชปริกขาโร อชิคุจฺ
ฉนียานิ อมิ ํ ปูตกิ ายํ ปตวฺ า อตวิ ยิ ชิคุจฺฉนยี านิ ชายติ”

๓๐ พระบาลีเตม็ วา “ปฏิสงฺขาโยนิโส คิลานปจจฺ ยเภสชฺชปรกิ ขารํ ปฏิเสวามิ ยาวเทว อุปฺปนฺ
นานํ เวยยาพาธกิ นํ ปฏิฆาตายอพฺยาปชฌฺ ปรมตายาติ”

๘๒ บทท่ี ๓ ขอถกเถียงและการตีความศีลในพระพทุ ธศาสนา

พระมหามิตร ฐติ ปฺโญ,ผศ.ดร. Controversy and Interpretation of the Precepts in Buddhism

บทพิจารณาในขณะบริโภคใชสอยคิลานเภสัชรักษาโรคที่เบียดเบียนเทานั้น
เพื่อใหผูบริโภคมีสติปญญารูเทาทันไมบริโภคใชสอยดวยความหลุมหลงมัวเมา รูจัก
ประมาณในความพอดีไมมากเกินไปไมนอยเกินไป ระมัดระวังในการรับและบริโภคใชสอย
มุง ใหเกิดประโยชนอ ยา งแทจ ริง

๓) การพจิ ารณาคลิ านเภสัช ในเวลาภายหลงั บริโภค
เมื่อบรรพชิตไดบริโภคใชสอยคิลานเภสัชแลวในแตละวัน ถาลืมพิจารณา
หรอื พิจารณาไปแลวก็ตาม พระพุทธองคตรัสใหตระหนักยอนพิจารณาสิ่งบริโภคใชสอยอีก
ครั้ง ทั้งน้ีเพื่อเตือนสติใหตระหนักตรวจสอบวา ตนไดบริโภคใชสอยใหเกิดประโยชนอยาง
แทจริงหรอื ไมห ลงั จากบรโิ ภคคลิ านเภสชั หลังจากการใชส อยคลิ านเภสชั ใหพ ิจารณาวา
คิลานเภสัชใด อนั เราบริโภคใชสอยแลว ไมทันพิจารณาในวันน้ี คิลานเภสัช
น้ันเราใชสอยแลว เพียงเพ่ือบําบัดทุกขเวทนาอันเกิดขึ้นแลว มีอาพาธตางๆ เปนมูล เพ่ือ
ความเปน ผูไมม โี รคเบียดเบยี น เปนอยางยิง่ ๓๑
การพจิ ารณายอนหลังแมผานการบริโภคคิลานเภสัชไปแลวก็ตาม แตก็เปน
การกําจดั ตณั หา คือ ความยินดีพอใจในคิลานเภสชั น้ัน เพือ่ ใหรูวาเราบริโภคคิลานเภสัชนั้น
ตามความจาํ เปนแกการรักษาโรคภยั เทานัน้ มิไดเ พื่อความสวยงามหรือเหตุผลอ่ืนที่เปนการ
สงเสริมใหเกิดอุปทานความยึดม่ันแตอยางใด เพื่อใหผูบริโภคใชสอยมีสติสัมปชัญญะ
พิจารณายอนถึงสิ่งที่บริโภคใชสอยประจําวัน ที่ลืมพิจารณาหรือพิจารณาตอกยํ้าเพื่อให
ตระหนักรูถึงแหลงท่ีมา ความบริสุทธ์ิของการแสวงหาประมาณในความพอดี ในการรับมา
ระมัดระวังในการบริโภคใชสอยพอประมาณ ที่เหลือน้ันใหถือวาเปนสวนเกินที่จะตองสละ
หรือแบงปนแกผ น่ื มงุ ใหเกดิ ประโยชนสูงสดุ
จากบทพิจารณาการบริโภคใชสอยคิลานเภสัชท้ัง ๓ บท คือ บทพิจารณา
กอนบรโิ ภคใชสอยหรอื ขณะรับและแสวงหา (ธาตปุ จจเวกขณะ) บทพจิ ารณาขณะบริโภคใช
สอย (ตังขณิกปจจเวกขณะ) และบทพิจารณาหลังจากการบริโภคใชสอย (อตีตปจจเวก
ขณะ) ไดสะทอนใหเห็นวา พระพุทธองคไดทรงวางหลักการใหพุทธศาสนิกชนไดเตือนตน
ใหตระหนกั สํานกึ พจิ ารณาการบรโิ ภคใชส อยคิลานเภสัช เพอื่ กอ ใหเกดิ ประโยชนสูงสดุ
เรือ่ งของการบรโิ ภคคิลานเภสัชนี้ มีส่ิงที่ตองระมัดระวังอยางย่ิง โดยเฉพาะ
ในสภาพสังคมปจจุบัน ซ่ึงมีการใชยาที่เปนโทษแกรางกายกันอยางกวางขวาง โดยเฉพาะ
อยางยงิ่ ยาประเภทที่เรยี กกันวา “ยาเพ่มิ พลังหรือยาขยัน” และ “ยาอายุวัฒนะ” น้ัน ที่แท

๓๑ พระบาลีเต็มวา “อชฺชมยา อปจจฺ เวกฺขติ วา โย คิลานเภสชฺชปรกิ ขาโร, ปรภิ ุตโฺ ต, โส ยาว
เทว อปุ ปฺ นฺนานํ เวยยาพาธกิ านํ เวทนานํ ปฏิฆาตาย, อพฺยาปชฺฌปรมตายาต”ิ

ศึกษาเฉพาะเรื่องในพฒั นาการแหงพระพทุ ธศาสนา ๘๓
Selected Topics in Development of Buddhism
พระมหามิตร ฐติ ปโฺ ญ,ผศ.ดร.

คอื ยาทก่ี อ ใหเกดิ ทกุ ขเวทนามใิ ชระงับทกุ ขเวทนา ฉะนน้ั กอ นจะบรโิ ภคจะตองพิจารณาให
ดีวา สิง่ นั้นเปนคิลานเภสัชทเ่ี หมาะกับตนหรอื ไม

ปจจัยสันนิสสิตศีลนี้ จึงมุงเนนใหพระภิกษุบริโภคใชสอยปจจัยสี่อยางถุ
กตองเหมาะสม โดยการใหภิกษุพิจารณาโดยแยบคาย ถึงวัตถุประสงคท่ีถูกตองของการ
บริโภคเสียกอ น แลว จงึ บรโิ ภคใชสอยปจ จยั นน้ั ๆ ซง่ึ จะเห็นไดวาปจจัยนิสสิตศีลน้ี พระภิกษุ
จะสามารถบาํ เพ็ญใหส าํ เร็จบรบิ รู ณไดกด็ ว ยปญ ญา

ดังน้ัน การบริโภคคิลานเภสัชหรือปจจัย ๔ เพ่ือสนับสนุนการบรรลุธรรม
หมายถึง พฤตกิ รรมในการกิน ใช เสพ บริโภค ตองพัฒนาใหเปนพฤติกรรมที่เกิดจากความ
เปนผูรูจักประมาณในการบริโภค หรือใชสอยแบบพอดี ที่เรียกวา มัตตัญุตา ตลอดจนใช
สอยส่ิงตางๆ อยางประหยัด ซึ่งทําใหไดประโยชนมากท่ีสุด แบบนี้เปนการบริโภคแบบมี
คุณคาแท โดยอาศัยขอวัตรปฏิบัติที่พระพุทธเจาทรงอนุญาตไว ไมมีการบังคับ แลวแตผูใด
จะสมัครใจปฏิบัติ เปนอุบายวิธีกําจัดขัดเกลากิเลสและการบริโภคปจจัย ๔ เพ่ือความ
บรสิ ทุ ธ์ิ ทาํ ใหเกิดความมักนอยสันโดษยิ่งขึ้น ไมสะสม เพ่ือใหเบาสบายไปมาไดสะดวกไมมี
ภาระมาก

๔. ปจจัยสันนิสิตศีล (ศีลท่ีเกี่ยวกับปจจัย ๔ ไดแก ปจจัยปจจเวกขณ คือ
พิจารณาใชสอยปจจัยสี่ ใหเปนไปตามความหมายและประโยชนของส่ิงน้ัน ไมบริโภคดวย
ตัณหา - pure conduct as regards the necessaries of life)๓๒ ปจจัยสันนิสิตศีล คือ
การพิจารณาปจ จยั ๔ อันไดแก อาหารที่อยูอาศัย เคร่ืองนุงหม และยารักษาโรค ใหเปนไป
ตามวัตถุประสงคของการใชท่ีแทจริงกอนที่จะบริโภค ซึ่งศีลนี้สําเร็จไดดวยปญญา เปน
คุณธรรมท่ีจะชวยประคับประคองชีวิตของบรรพชิตและคฤหัสถใหมีความหมดจดผองใส
และรมเย็นเปนสขุ ไดตลอดเวลา การปฏิบัติตามหลักปจจัยสันนิสสิตศีล สามารถนํามาปรับ
ใชเพื่อการพัฒนาชีวิตใหมีความสุขไดปาริสุทธิศีลท้ังส่ี. ปาติโมกขสังวร คือ ความสํารวมใน
พระปาติโมกข เวนขอท่ีพระพุทธเจาทรงหาม ทําตามขอที่ทรงอนุญาต ไมลวงละเมิด
สิกขาบทบญั ญัติ รวมทัง้ สกิ ขาบท ท่ีมานอกพระปาติโมกข อินทรียสังวร คือการรูจักระวัง
ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ในเวลาท่ีไดเห็นรูป ฟงเสียง ดมกล่ิน ลิ้มรส ถูกตองโผฎฐัพพะ รู
ธรรมารมณดวยใจ ไมใหยินดีในสวนท่ีนาปรารถนา ไมใหยินรายในสวนที่ไมนา
ปรารถนา เรียกวา สํารวมอินทรีย อาชีวปาริสุทธิศีล แปลวา ศีลกลาวคือความสะอาด
หมดจดแหงอาชีวะ อาชีวะในท่ีนี้หมายถึงวิธีท่ีจะไดจจนุปจจัยมาบริโภคของภิกษุ สวนวิธี
บริโภคดวยดีอยางไรนั้น ทานจัดเปนศีลอีกขอหน่ึง เรียกวาปจจยสันนิสสิตศีล หรือปจจย

๓๒ พระพรหมคุณาภรณ (ป.อ. ปยุตฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสตร ฉบับประมวลธรรม,
(กรุงเทพมหานคร: สาํ นกั พิมพม หาจฬุ าลงกรณราชวทิ ยาลัย, ๒๕๔๒), หนา ๑๒๑.

๘๔ บทที่ ๓ ขอถกเถียงและการตีความศีลในพระพทุ ธศาสนา

พระมหามติ ร ฐติ ปฺโญ,ผศ.ดร. Controversy and Interpretation of the Precepts in Buddhism

เวกขณศีล ปจ จยั สค่ี อื เคร่ืองนุงหม อาหาร ที่อยูรวมทั้งเครื่องใชสอยและยาแกโรค, เปนสิ่ง
ท่ภี ิกษุจะตองแสวงหาใหถ ูกตอ งตามบัญญัติ ซ่ึงสมควรแกส มณภาพ. เมื่อแสวงหาไมควร คือ
เปนการนอกรีตของสมณะไป แมจ ะถูกตองตามวิธีท่ีชาวโลกเขาแสวงกัน ก็ช่ือวาเสียอาชีวะ
เปนอาชีวะวิบัติ หรือไมมีอาชีวปาริสุทธิศีล. สวนที่แสวงหามาได แมโดยทางสมควร แต
บริโภคโดยวิธที ี่ไมสมควร ถงึ จะไมเ สียอาชวี ปารสิ ุทธศิ ีล กย็ ังขาดในสว นปจ จยเวกขณศลี ๓๓

การควบคมุ ตน ใหม สี ติระลึก เพียงเพ่ือยังอัตตภาพ ใหเปนไปในการบริโภค
ปจจัยนั้นๆ ไมบริโภคดวยตัณหา เรียกวา ปจจยสันนิสสิตสีล รวมเรียกวา ปาริสุทธิศีลส่ี
หรือ จตุปาริสุทธิศีล เรียก ภาวะแหง การกระทําจริงๆ ตามน้ีวา สีลสิกขา อันไดแก การ
บังคบั ตัวเองโดยตรง เปนเหมอื น ถากโกลน กลอมเกลา ในขน้ั ตน แตประสงคเฉพาะสวน ท่ี
เปน ไป ทางกาย และวาจา เทาน้นั ๓๔

การบริโภคปจจัย ๔ อันบริสุทธิ์ดวยการพิจารณา ที่พระศาสดาตรัสไวโดยนัยวา
"ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแลว สพจีวร วาเพียงเพื่อบําบัดความหนาว" ๒ ดังน้ีเปนตน นี้
ชือ่ วา ปจ จยสนั นสิ ิตศีล๓๕

ดงั นัน้ ความสาํ คัญปาริสทุ ธศิ ีล ผูประพฤตธิ รรม คอื ปารสิ ุทธศิ ลี ๔ นี้ ตามสมควร
แกภาวะของตนๆ เพ่ือขัดเกลาศีลใหบริสุทธิ์ เม่ือศีลบริสุทธิ์แลว ก็เปนเหตุใหจิตบริสุทธ์ิ
และปญญาบริสุทธิ์โดยลําดับจนกระท้ังเปนผูบริสุทธิ์จากกิเลสท้ังปวง เปนไปเพ่ือทําที่สุด
แหงทกุ ข คอื เพ่อื พนจากทกุ ขโ ดยส้นิ เชงิ

จึงเหน็ วาประเภทของศลี ในพุทธศาสนาไดมีการกําหนดข้ันตอนของแตละขึ้นเพื่อ
แยงการปฏิบัติใหชัดเจนน้ันเอง ดังที่กลาวมาแลวในขางตนวา ปาฏิโมกขสังวรศีล เปนการ
สํารวมในพระปาติโมกข เวนขอที่พระพุทธเจาทรงหาม ทําตามขอที่ทรงอนุญาต ไมลวง
ละเมิดสิกขาบทบัญญัติ ในสวนของศีล ๒๒๗ ขอเปนศีลหรือขอหามของภิกษุสงฆเถรวาท
ตามพระวนิ ยั บญั ญตั ิ อนิ ทรยี สังวร เปน การสํารวมในความเปน ใหญ, สภาวธรรมท่ีเปนใหญ
ในกจิ ของตน, สภาวธรรมท่ีเปนเจาของหนาที่อยางหนึ่งๆ เชน ตาเปนใหญหรือเปนเจาของ
หนาที่ในการเห็น หูเปนใหญหรือเปนเจาของหนาท่ีในการไดยิน จมูกเปนใหญหรือเปน
เจาหนาท่ีในการ ดม ล้ินเปนใหญหรือเปนเจาของหนาท่ีในการ ลิ้มรส โดยท่ัวไป อินทรีย
หมายถึง อินทรีย ๖ ปจจยสันนิสิตศีลเปนการสํารวมในการหาเล้ียงชีวิตในทางท่ีชอบ

๓๓ ม.ู ม. (ไทย) ๑๒/๔๖๔/ ๔๙๘.
๓๔ พุทธทาสภิกขุ, ชุมนุมเรื่องสั้นพุทธทาสภิกขุ, พิมพคร้ังท่ี ๔ (กรุงเทพมหานคร:
สํานักพมิ พสุขภาพใจ, ๒๕๓๘), หนา ๔๕.
๓๕ สุทธมิ รรค, มหามกุฏราชวทิ ยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ สิงหาคม ๒๕๐๘ ๑ ตอน ๑ -
หนา ๓๓.

ศึกษาเฉพาะเร่ืองในพัฒนาการแหงพระพทุ ธศาสนา ๘๕
Selected Topics in Development of Buddhism
พระมหามิตร ฐติ ปฺโญ,ผศ.ดร.

(อาชีพสุจริต) และอาชีวปาริสุทธิศีลเปนการสํารวมในการใชสอยปจจัยใหเปนไปตาม
ประโยชนที่แทของส่ิงนั้น ไมบริโภคดวยตัณหา เชน ไมบริโภคดวยความอยากรับประทาน
ไมบริโภคดวยความอยากใชสอย และศีลในพระพุทธศาสนาแบงตามจํานวนของศีลได ๕
ประเภท คือ ศลี ๕ หรอื เบญจศลี เปนพื้นฐานของศีลทงั้ ปวง กาํ หนดเปน ศีลสําหรับฆราวาส
ศีล ๘ หรือศีลอุโบสถเปนศีลสําหรับฝกตน ใหรูจักใชชีวิตพัฒนาจิตใจ และปญญาใหดี
ยิ่งข้ึนไป ศีล ๑๐ สําหรับสามเณรสมาทานรักษาเพื่อเตรียมเปนภิกษุ ศีล ๒๒๗ เรียกวา
ปาฏิโมกขสังวรศีลเปนพุทธบัญญัติเพื่อสํารวมในพระปาฏิโมกข สําหรับบุรุษผูอุปสมบทใน
พระพทุ ธศาสนา ศลี ๓๑๑ เปนพทุ ธบญั ญัติ ในสว นของสตรที บ่ี วชเปน ภกิ ษุณี

นอกจากน้ีศีลในทางพระพุทธศาสนาไดแบงประเภทของศีล ไวมีอยูหลายชั้น
หลายระดับ จัดแบง ไดห ลายประเภท เพอื่ ใหเหมาะกับวถิ ชี วี ติ และสังคมปจจุบนั เชน

ศีล ๕ หรือเบญจศีล เปนศีลข้ันพื้นฐานของศีลท้ังปวง กลาวคือ ศีลทุกประเภท
ไมวาจะเปนศีลของอุบาสก อุบาสิกา พระภิกษุ สามเณร ตลอดจนศีลของพระภิกษุณี นั้น
ตองอยูบนพ้ืนฐานของศีล ๕ สําหรับศีล ๕ นี้กําหนดเปนศีลสําหรับฆราวาสผูครองเรือน
ทั่วไปท่ีควรรกั ษา มีช่อื เรยี กวา นจิ ศีล ศลี ที่ควรรักษาเปนนิจ ปกติศีล ศีลท่ีควรรักษาใหเปน
ปกติบา ง เรยี กวา มนสุ สธรรม หรือมนษุ ยธรรม คือ ธรรมของมนษุ ย หรอื ทําใหเปน มนุษย

ศีล ๘ (อัฐศีล) หรือศีลอุโบสถ เปนศีลที่มีพ้ืนฐานจากศีล ๕ โดยเนนการไมเสพ
กาม การรูจ กั รับประทานอาหารจาํ กดั เวลา การหัดลดละการหาความสุขจากสิ่งบันเทิง การ
งดใชเคร่ืองน่ัง เครื่องนอนฟูกหรูหรา เปนการฝกตนใหรูจักใชชีวิตท่ีเปนอิสระไดมากขึ้น
สามารถอยูดีมีสุขได โดยไมตองพึ่งพาวัตถุภายนอกมากเกินไป ศีล ๘ น้ี เปนเคร่ืองเสริม
โอกาสในการพัฒนาชีวิตทางดาน จิตใจ และปญญา เปนศีลสําหรับฝกตนใหดีย่ิงขึ้นไปกวา
คฤหัสถปกตทิ ั่วไป

ศีลยังแบงตามจุดหมายของการรักษาได ๒ ประเภทสําคัญ ไดแก โลกิยศีล
และโลกุตตระศีล จุดมุงหมายใหผูปฏิบัติยกระดับชีวิตใหพัฒนาดีข้ึน และการอยูอยางมี
ความสุขในโลก เรียกวา โลกยิ สุข (สขุ ในโลก) ศีลที่ผูปฏิบัติมุงถึงการปฏิบัติ เพ่ือดับกิเลสอา
สวะทั้งปวง ซ่ึงเรียกวา โลกุตตระศลี เปน ตน

๓.๒ ขอ ถกเถียงและการตคี วามศีลของนครโกสมั พี

ความหมายของการถกเถียงและการตีความศีลในพระพุทธศาสนาสามารถ
รวบรวมและวิเคราะหความหมายไดหลายนัยมีวาจะเปนการถกเถียงกันแงทิฏฐิ มานะอาจ
รวมไปถึงการทะเลาะ การแกงแยง การวิวาท กัน ซ่ึงอาจเปนจุดชวนในการแตกแยงเลยก็
เปนได ชุดของความหมายท่ีมีหลายนัยดังกลาวน้ัน จัดไดวาเปนขอถกเถียงในมิติของ

๘๖ บทที่ ๓ ขอถกเถียงและการตคี วามศีลในพระพุทธศาสนา

พระมหามิตร ฐติ ปโฺ ญ,ผศ.ดร. Controversy and Interpretation of the Precepts in Buddhism

พระพุทธศาสนา และเม่ือนํามาเทียบเคียงกับขอถกเถียงท่ัวไป จะพบวาขอเถียงใน
ความหมายของพระพุทธศาสนามีนัยท่ีกวางขวางกวากัน เพราะวากรอบขอถกเถียงใน
พระพุทธศาสนานั้นกินความตั้งแตความถกเถียงภายในและภายนอกในทุกๆ มิติ กินความ
ในแงของธรรมและวินัย ขอถกเถียงที่ปรากฏขึ้นในพระพุทธศาสนามีวิธีการจัดการ คือ
อธิกรณ แปลวา ภารกิจที่พึงทําใหสงบใหเรียบรอยเหมาะสม อธิกรณ คือ เปนช่ือแหง
เรือ่ งท่ีเกิดขึน้ แลวจะตอ งจัดตองทําใหลลุ ว งไป มี ๔ ประการ คือ ๑. วิวาทาธิกรณ คือวิวาท
ไดแกการเถียงกันปรารภพระธรรมวินัยน้ี จะตองไดรับชี้ขาดวาถูกวาผิด หรือเรียกอีกอยาง
วาเปน การถกเถยี งกนั ดวยเร่อื งพระธรรมวินัย ๒. อนุวาทาธิกรณ คือ ความโจทกกลาวหา
กันดวยปรารภ พระธรรมวนิ ยั น้ีจะตองไดรับชี้ขาดวาถูกวาผิด หรือเรียกอีกอยางวาเปนการ
ถกเถียงกันดวยเรื่อง อาบัติ ๓. อาปตตาธิกรณ คือ กิริยาที่ตองอาบัติหรือถูกปรับอาบัติน้ี
จะตองทําคืน คือทําใหพนโทษหรือเรียกอีกอยางวาเปนการถกเถียงกันดวยเร่ืองการปรับ
อาบัติและวิธีการออกหรือพนจาก อาบัติ ๔. กิจจาธิกรณ คือกิจธุระท่ีสงฆจะพึงสามัคคี
รว มกนั ทํา เรียกวา สงั ฆกรรม เชนใหอปุ สมบท น้ีจะตอ งทาํ ใหสําเร็จ

กรณีขอขอถกเถียงเรื่องธรรมวินัยของ
ภกิ ษุพระสงฆว ัดโฆษิตาราม นครโกสัมพี
โดยภิกษุท้ังสองฝายคือ พระวินัยธร กับ
พระธรรมธร หรือเรียกวาพระธรรมกถึก
ซ่ึ ง ทั้ ง ส อ ง ฝ า ย ต า ง ก็ มี ลู ก ศิ ษ ย ม า ก
ดวยกันท้ังคู สาเหตุเกิดจากนํ้าชําระใน
เว็จกุฏี หรือน้ําใชในกุฏีของพระธรรม
กถึก พระธรรมกถึกนํานํ้าไปชําระแลว
เหลือท้ิงไวซ่ึงมีบัญญัติใหใชนํ้าและไมใหเหลือนํ้าทิ้งไวในภาชนะ ฝายพระวินัยธรเขาไปที
หลัง ไปพบนา้ํ ทเ่ี หลือนนั้ จงึ พดู วา ทา นเหลอื นาํ้ ทง้ิ ไวใ นภาชนะการทําอยางน้ันตองอาบัติทุก
กฎ พระธรรมกถึกกต็ อบวาทานไมรูวาการทําอยางน้ันเปนอาบัติเพราะเหตุท่ีกระทํานั้น แต
วาเม่ือเปนอาบัติทานก็จะแสดงอาบัติคืน พระวินัยธรก็บอกวาเม่ือไมจงใจก็ไมเปนไร แลวก็
แยกจากกนั
ฝายพระวินัยธรเมื่อกลับมาแลวก็มาแจงแกบรรดาลูกศิษยของตนวา พระธรรม
กถึกตองอาบัติแลวไมรูวาเปนอาบัติแลวฝายลูกศิษยก็นําความนั้นไปบอกแกลูกศิษยของ
ฝายพระธรรมกถึกวาปชฌายของพวกทานตองอาบัติแลวไมรูวาเปนอาบัติ เมื่อลูกศิษยพระ
ธรรมกถึกไดฟงดังน้ันก็นําเหตุน้ันกลับไปเลาใหพระธรรมกถึกฟง พระธรรมกถึกก็บอกวา
พระวินยั ธรบอกแกตนแลววาไมเปนอาบัติเพราะไมไดจงใจ แตเหตุไรพระวินัยธรจึงกลับมา

ศกึ ษาเฉพาะเรือ่ งในพัฒนาการแหง พระพุทธศาสนา ๘๗
Selected Topics in Development of Buddhism
พระมหามติ ร ฐติ ปโฺ ญ,ผศ.ดร.

พดู วา ตนเองเปนอาบัติ เทากบั พระวินยั ธรพูดมสุ าวาท พวกลูกศิษยพ ระวินัยธรไดฟงดังนั้นก็
นําเหตนุ น้ั ไปเลา สพู ระวินยั ธรฟง ท้ังสองฝายกเ็ กดิ การทมุ เถียงกนั จนแตกกันเปน สองฝาย

ฝายพระวินัยธรไดโอกาสจึงลง อุกเขปนียกรรม ลงโทษแกพระธรรมกถึกในเหตุ
เพราะไมเห็นเปนอาบัติ เพ่ือจะเอาชนะพระธรรมกถึก แตก็ทําไมสําเร็จตามความมุงหมาย
ฝายพวกลูกศิษยของพระธรรมกถึกกลับเห็นวาอาจารยของตนถูกลงอุกเขปนียกรรมโดย
ไมไดรับความเปน ธรรม ในขณะเดียวกันฝา ยพระวินัยธรก็ยืนยันวาพวกตนไดทํากรรมนั้นไป
โดยความชอบธรรม จึงเกิดการทะเลาะทุมเถียงกันวิวาทาธิกรณซอนขึ้นมาอีกดวยขอที่วา
“น้เี ปน วินยั นไี้ มใชว นิ ัย”

พระผมู ีพระภาคเจา ทรงทราบเหตุแลวไดเสด็จไปยังสํานักของพระวินัยธร ทรงช้ี
โทษของการทําอุกเขปนียกรรมงายๆ แกภิกษุเหลาน้ันและตรัสแนะใหพิจารณาดูกอนวา
ภิกษุท่ีถูกลงอุกเขปนียกรรมนั้นเปนเชนไร ถาเห็นวา ทานเปนพหูสูต มีคนเคารพมาก นับ
ถือมาก มีบริวารมาก ถูกลงอุกเขปนียกรรมแลว สงฆจักแตกแยกกันหรือราวรานกัน ใน
กรณเี ชนน้ีไมค วรลงอุกเขปนียกรรมแกภกิ ษุน้ัน โดยมุงเอาความสามคั คแี หง สงฆเ ปน ทตี่ งั้

จากนนั้ พระผูมพี ระภาคเจาไดเสด็จไปยังสํานักของพระธรรมกถึกและภิกษุผูเปน
ลูกศิษย ซ่ึงถูกพระวินัยธรลงอุกเขปนียกรรม ทรงชี้โทษของความเปนคนด้ือ ไมยอมรับผิด
พรอมกับตรสั แนะวา พระวินยั ธรน้นั เปน ผเู ชน ไร ถาเหน็ วาเปนพหูสูต ทรงธรรม ทรงวินัย ก็
คงไมม อี คติตอ พวกทา นเปนแน

แมวาพระองคจะทรงไกลเกลี่ยอยางนั้นแลว ก็ไมอาจทําใหท้ังสองฝายเขาใจ
ปรองดองกนั ได จึงทรงเบือ่ หนายและไดเ สดจ็ ไปประทบั อยูยัง ปารักขิตวัน เขตบานปาริเลย
กะ ทรงประทบั อยูสําราญพระอิริยาบถแลว กเ็ สดจ็ ออกจากทน่ี ้ัน ไปประทบั ณ กรุงสาวตั ถี

เม่ือพระบรมศาสดาเสด็จไปจากเมืองโกสัมพีแลว ชาวเมืองโกสัมพีไดพรอมกัน
ลงโทษพวกภิกษุท่ีทะเลาะกันจนเปนเหตุใหพระพุทธเจาเสด็จหนีไป ทําใหเส่ือมจาก
ประโยชนของพวกตน ไมทําการอุปถัมภบํารุงดวยขาวปลาอาหารทําใหพวกภิกษุนั้นอด
อยาก เม่ือภิกษุเหลานั้นถูกลงโทษจากชาวเมืองก็ทนไมไหว กลับไดสติข้ึนมา พอออก
พรรษาก็พากันไปสูกรุงสาวัตถีออนวอนพระอานนทใหพาไปเขาเฝาพระผูมีพระภาคเจา
พรอมดวยคณะพระภิกษุไดมากราบทูลอาราธนาพระผูมีพระภาคใหเสด็จกลับพระเชตวัน
มหาวิหารและทูลขอขมาพระผูมีพระภาคเจาและระงับอธิกรณนั้น พระธรรมกถึกและพระ
วินัยธร พรอมดวยเหลาศิษยก็ยินยอมขอขมาตอกันไมมีความเห็นแตกแยกกันเพราะไดรับ
โทษของความแตกแยกกันเปนบทเรียนแลว น่นั เอง

๘๘ บทท่ี ๓ ขอ ถกเถียงและการตีความศีลในพระพทุ ธศาสนา

พระมหามติ ร ฐติ ปโฺ ญ,ผศ.ดร. Controversy and Interpretation of the Precepts in Buddhism

จากกรณียงั กลาวมาน้ีจึงเห็นวาได ขอถกเถียงมักจะเจือปนไปดวยทิฏฐิ (ความเห็น)
หรือ “ลัทธิ” ทิฏฐิในบริบทนี้ไดแกทิฏฐิในแง “ลบ” ประกอบไปดวยสักกายทิฏฐิ ๒๐
มิจฉาทิฏฐิ ๑๐ อนั ตคาหกิ ทฏิ ฐมิ ีวตั ถุ ๑๐ จนถึงทิฏฐิ ๖๒๓๖ การท่ีมนุษยยึดม่ันถือม่ันในทิฏฐิ
(ทิฏุปาทาน) อยางใดอยางหน่ึงดังท่ีไดกลาวแลว จึงทําใหเกิดการทะเลาะวิวาทกันในกลุม
ของคนท่ีมีความเห็นแตกตางกันแตไมยอมรับ๓๗ความคิดเห็นของ คนอ่ืน เนื่องจากบุคคล
แตละคนมีจุดยืนของตัวเอง ดวยเหตุผลดังกลาว พระพุทธเจาทรงย้ําวา “ชนเหลาใดยัง
ถือทิฏฐิ๓๘ ชนเหลาน้ัน ยอมเที่ยวกระทบกระท่ังกันในโลก”๓๙ และ “สัตวท้ังหลายผูยึดถือ
ในทฏิ ฐิท้ังหลายวา ยอดเย่ียม ยอมทําทิฏฐิใดใหย่ิงใหญในโลกกลาวทิฏฐิอ่ืนทุกอยางนอกจาก
ทิฏฐิน้ันวาเลว เพราะฉะน้ัน สัตวเหลานั้นจึงไมลวงพนการวิวาทไปได”๔๐ ดังจะเห็นไดจาก
กรณขี องพราหมณท ี่ถอื ทิฏฐติ างกันวา สิ่งทั้งปวงเปนที่พอใจแกเรา สิ่งท้ังปวงไมเปนที่พอใจ
แกเรา บางสิ่งเปนท่ีพอใจแกเรา และบางส่ิงไมเปนที่พอใจแกเรา” จึงทุมเถียงกัน เมื่อทุม
เถียงกัน ทําลายกนั และเบียดเบยี นกนั ๔๑

เมื่อโดยรวมแลวจะเห็นวาขอเท็จจริงหรือขอมูลนี้ ถือไดวาเปนตัวแปรสําคัญที่
จะกอใหเกิดขอถกเถียง ซึ่งเหตุปจจัยหลักท่ีจะนํามาซึ่งขอถกเถียงเพราะวา การวิเคราะห
การตคี วาม การแปรผลขอมูล และการสื่อสารที่ผิดแผกแตกตางออกไปจากขอเท็จจริงท่ีคง
อยู หรือในทิศทางตรงกันขาม เราอาจจะเขาใจ ซ่ึงความเขาใจอาจจะเกิดจากการตีความ
วิเคราะห หรือไดรับความบอกเลา จากบุคคลที่นาเชือ่ ถือ แตเ มอื่ มีบางคนไดนําขอมูลที่เปน
ชัน้ ปฐมภูมมิ าชีแ้ จง เราอาจจะไมย อมรบั และมองวาขอมูลดังกลาวน้ันอาจจะไมใชขอมูลท่ี
แทจริงก็ได

อยางไรก็ตามขอมูลท่ีเปนช้ันปฐมภูมิถือวาเปนขอมูลท่ีสําคัญในการแปล
ความหมาย ในท่ีน้ีผูเขียนไดนํากรณีภิกษุโกสัมพีมาเปนการศึกษา จากการศึกษาแลวก็จะ
มองเห็นประเด็นหลกั ๆ ไดด ังน้ี

๓๖ ขุ.ม. (ไทย) ๒๙/๑๗๔/๔๙๒-๔๙๔.
๓๗ ขุ.ม. (ไทย) ๒๙/๑๑๕/๓๔๑: บาลีใชคําวา “ไมยอมรับธรรมของคนอื่นเลย” อธิบายวา
“ไมยอมรับ คือไมเหน็ ตามไมคลอ ยตาม ไมยินดีตามธรรม คอื ทฏิ ฐิ ปฏปิ ทา มรรค ของผอู ่นื
๓๘ ขุ.ม. (ไทย) ๒๙/๘๒/๒๔๔-๒๔๕: ซ่ึงทฏิ ฐิตามนัยน้ีก็คือ “โลกเท่ยี ง... หรือหลงั จากตาย
ไปแลวตถาคตจะวาเกิดอีกก็ไมใช จะวาไมเกิดอีก ก็ไมใช” เปนตน เมื่อยืดถือจึงกระทบกระทั่งกัน ทํา
รายกนั ดว ยอํานาจแหงทฏิ ฐิ
๓๙ ข.ุ ม. (ไทย) ๒๙/๘๒/๒๔๓.
๔๐ ข.ุ สุ. (ไทย) ๒๕/๘๐๓-๘๐๗/๖๙๔.
๔๑ ม.ม. (ไทย) ๑๓/๒๐๒-๒๐๔/๒๓๙-๒๔๒.

ศึกษาเฉพาะเร่ืองในพฒั นาการแหงพระพุทธศาสนา ๘๙
Selected Topics in Development of Buddhism
พระมหามติ ร ฐติ ปฺโญ,ผศ.ดร.

ประเด็นที่เกิดข้ึนในกรณีโกสัมพีศึกษา พบวา แรกเร่ิมเดิมทีน้ัน พระวินัยธรได
บอกพระธรรมกถึกวา การที่พระธรรมกถึกเหลือนํ้าชําระเอาไวในกระบวยน้ันไมจัดวาเปน
อาบัติเพราะไมไดตั้งใจ ซงึ่ พระธรรมกถกึ ก็คลอยตามประเด็นดังกลาว แตเม่ือกาลเวลาผาน
ไป พระวนิ ัยธรกลบั นาํ เสนอขอมูลใหมว า สงิ่ ที่พระธรรมกถกึ ทาํ นั้น เปนการตองอาบัติทั้ง ๆ
ที่ไมร ู

ตัวแปรสําคัญท่ีใหเกิดสถานการณเชนนี้ก็เพราะพระวินัยธร และพระธรรมกถึก
เขาถึงขอมูลที่แตกตางกัน พระวินัยธรทราบวาพระพุทธเจาไดบัญญัติวินัยขอดังกลาว แต
พระธรรมกถึกไมทราบขอเท็จจรงิ ดังกลา ว การท่ที งั้ คูเขาถงึ ขอมูลทแ่ี ตกตางกันนั้น ไดทําให
ปฐมบทของการถกเถยี งไดเ กิดข้นึ นอกจากน้ัน ขอถกเถียงไดปะทุข้ึนมาอีกเมื่อพระวินัยธร
ไดแปรขอมูลอันเปนประเด็นสวนตัวของทั้งคูไปสูลูกศิษยของทาน การแปรขอมูลดังกลาว
จะไมเ กดิ ขอถกเถียงเลย หากเต็มไปดว ยขอ มลู ท่ีเต็มไปดวยขอเทจ็ จรงิ

ประเดน็ ความขัดแยงไดลุกลามข้นึ เม่ือพระธรรมกถึกมองวา ตนเองไมไดรับความ
เปนธรรมจากการนําเสนอขอมูลดังกลาว เพราะขอมูลดังกลาวไดทําใหเกิดภาพลบแก
ตนเอง ดังน้ัน การนําเสนอขอมูลของพระธรรมกถึกในช้ันน้ี แทนท่ีจะตอบคําถามใหแก
ขอมูลท่ีเกิดข้ึนแกลูกศิษยตามความเปนจริงเพียงเทาน้ัน แตสิ่งท่ีนําเสนอเพ่ิมเติมจาก
ขอมูลดังกลาวก็คือ “ทานพูดเท็จ” ประเมินคําพูดในลักษณะนี้พบวา เต็มไปดวยอารมณ
และความรูสึกท่ีวาตัวเอง “ถูกแฉ” หรือ “ถูกหักหลัง” สรุปก็คือ “เมื่อทานปรับอาบัติทุก
กฎผมได ทําไมผมจะปรับอาบัติปาจิตตียทานไมได” ซึ่งวิธีการน้ีเปนการเผชิญหนาใน
ลักษณะของการหนามยอกเอาหนามบง หรือตาตอตาฟนตอฟน อุณหภูมิของวิวาทะจึง
เพม่ิ ข้นึ อยางรวดเร็ว

นอกจารกรณีภิกษุโกสัมพีแลวมีอีกแลวกรณี เชน กรณีที่กอใหเกิดสังคายนาคร้ัง
ท่ี ๑ และครงั้ ท่ี ๒ จะพบขอ เท็จจรงิ เก่ยี วกบั ความขดั แยง ดา นขอมลู ดังนี้

กรณีการสังคายนาคร้ังที่ ๑ น้ัน เมื่อวิเคราะหจากพฤติกรรมของพระปุราณะ
พบวา ทานยึดมั่นและถือเอาตามท่ีตัวเองเคยไดยินไดฟงมาวาควรปฏิบัติตามสิกขาบท ๘
ประการท่ีพระพุทธเจาไดตรัสไวตลอดไป ในขณะท่ีพระมหากัสสปเถระ และคณะได
ช้ีใหเห็นวาขอเท็จจริงหรือขอมูลดังกลาวน้ัน พระพุทธองคทรงอนุญาตใหพระภิกษุปฏิบัติ
ไดเฉพาะในยุคขาวยากหมากแพงเทานั้น และถึงแมวาพระมหากัสสปเถระจะยกเหตุผล
อันใดมาชี้แจง แตพระปุราณะก็ไมยอมปฏิบัติตาม จะขอปฏิบัติตามมติของตนเองเทาน้ัน
ซ่งึ ประเดน็ ความขัดแยง ของพระเถระทัง้ สอง กลุมน้ี จึงเกิดข้ึนจากการยืนยันแหลงที่มาของ
ขอ มลู ทีแ่ ตกตางกัน

๙๐ บทท่ี ๓ ขอ ถกเถยี งและการตคี วามศลี ในพระพทุ ธศาสนา

พระมหามิตร ฐติ ปฺโญ,ผศ.ดร. Controversy and Interpretation of the Precepts in Buddhism

กรณีการทําสังคายนาครั้งท่ี ๒ จะเห็นวา วัตถุ ๑๐ ประการท่ีพระภิกษุเมืองวัชชี
ไดนําเสนอน้ันสอดรับกับส่ิงท่ีพระพุทธเจาไดตรัสเองไวใน ๕ ประการหลักดวยกัน
ขอเท็จจริงหรือขอมูลดังกลาวนั้นเปนขอมูลท่ีแตกตางกันอยางสิ้นเชิงกับหลักการที่ปรากฏ
ในพระไตรปฎกตามท่ีพระสงฆกระแสหลักนํามากลาว และชี้ใหเห็นถึงความผิดปกติของ
กลมุ พระภกิ ษเุ มืองวชั ชี การท่ีฝายพระภิกษุเมืองวัชชีเขาถึงขอมูลที่ผิดพลาดดังกลาว ไดทํา
ใหเกิดการถกเถียงกันอยางรุนแรง กลายเปนความขัดแยงจนนําไปสูการสังคายนาครั้งที่ ๓

ประเด็นท่นี า สนใจอีกประเด็นหน่ึงกค็ ือ “พระอรหันตคิดตางกัน หรือมีมุมมองที่
แตกตางกันไดหรือไม” จากการศึกษาคนควาทําใหไดรับคําตอบวา “คิด หรือมีมุมมองที่
แตกตา งกันได” ส่ิงที่ ทําใหพ บคาํ ตอบในลักษณะน้ีก็เพราะคําวา “บัญญัติ” หรือ “ความ
จริงเชิงสมมติ” นั้นเปนกุญแจสําคัญท่ีนําเราไปสูคําตอบดังกลาวคําวา “บัญญัติ” หรือ
“ความจริงเชิงสมมติ” เปนส่ือกลางในการที่จะใชเปนสะพาน หรือเปนคูมือสําหรับเรียนรู
หรือเขาใจรวมกันระหวางมนุษยกับมนุษยดังที่พุทธทาสภิกขุใชคําวา “ภาษาคน” ฉะนั้น
เมื่อวิเคราะหในบริบทนี้ทําใหเกิดคําถามวา “เปนไปไดหรือไมวาผูท่ีเขาใจโลกแหงปรมัตถ
จะสามารถเขาใจโลกแหงสมมติไดท ง้ั หมด”

กลาวโดยสรุปแลวขอถกเถียงที่เกี่ยวกับความคิดเห็น จัดไดวาเปน “ธรรมดา”
หรือ “ธรรมชาติ” ของมนุษย ไมวาจะเปนมนุษยในระดับที่เปนปุถุชนหรือพระอรหันตก็
ตาม สาเหตทุ เ่ี ปนเชน นก้ี ็เพราะวามขี อจํากัดในการรับรูเรื่องราวตางๆ ในโลกน้ีแตกตางกัน
ดังน้ันการถกเถียงกันนั้นเปนเร่ืองธรรมดา คือ มันเปนธรรมชาติของส่ิงท้ังหลาย ท่ีแตละ
อยางมีความเปนไปของมัน เมื่อตางฝายก็ตางมุมมอง หรือมองคนละทางก็ยอมมีการ
ถกเถียงกนั เปน ธรรมดา

๓.๓ ขอถกเถียงและการตีความศีล ๑๕๐ ขอ

คัมภีรพระไตรปฎกเปนคูมือท่ีชวยใหพระภิกษุ สามเณรและญาติโยมเขาถึง
เนื้อหาสาระสําคัญของพระไตรปฎก การศึกษาพระไตรปฎก เปนการเกื้อกูลหรือสืบทอด
พระธรรมวินัยพรอมเปนการเผยแผพระพุทธศาสนาเปนอยางดี ไมวาจะอยางไรก็ตาม
พระไตรปฎกฉบับแปลจะเปน ไดแคคูมือศึกษาพระไตรปฎก เปนส่ือท่ีจะเขาถึงพระไตรปฎก
และเปนเคร่ืองมอื ใชพระไตรปฎก แตเหนือข้ึนไป ที่ศูนยรวมกลาง เราก็มีพระไตรปฎกบาลี
เปนหลักประกัน เปนมาตรฐาน เปนที่อางอิงสิ้นสุด เนื่องจากพระไตรปฎกฉบับบาลีเปน
มาตรฐานตัดสินในการแสดงหลักฐาน ถึงแมจะนําความท่ีเปนคําแปลจากพระไตรปฎก
ภาษาไทยมาแสดง แตเ มือ่ จะอางอิงที่มาควรอางพระไตรปฎกบาลี อยางนอยเพื่อใหผูศึกษา
จะไดสามารถยอนไปถึงแหลงขอมูลที่แทจริง ทั้งเปนที่สอบเทียบและเปนจุดโยงท่ีจะหา


Click to View FlipBook Version