The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

A506 คู่มือการตรวจวินิจฉัยและติดตามการรักษาโรคซิฟิลิสทางห้องปฏิบัติการ 2564

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by E-Library DAS, 2021-08-18 00:32:51

คู่มือการตรวจวินิจฉัยและติดตามการรักษาโรคซิฟิลิสทางห้องปฏิบัติการ 2564

A506 คู่มือการตรวจวินิจฉัยและติดตามการรักษาโรคซิฟิลิสทางห้องปฏิบัติการ 2564

Keywords: A506,คู่มือการตรวจวินิจฉัยและติดตามการรักษาโรคซิฟิลิสทางห้องปฏิบัติการ 2564

คู่มือการตรวจวนิ จิ ฉยั และติดตามการรักษาโรคซิฟิลิส
ทางหอ้ งปฏบิ ัติการ

กลุม่ บางรักโรคตดิ ต่อทางเพศสัมพนั ธ์
กองโรคเอดสแ์ ละโรคติดตอ่ ทางเพศสมั พันธ์

“คู่มือการตรวจวนิ ิจฉัยและตดิ ตามการรกั ษาโรคซฟิ ิลสิ ทางห้องปฏิบัติการ”
ไดผ้ า่ นการตรวจประเมนิ รับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ เพอ่ื การเฝา้ ระวัง

ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพ กรมควบคุมโรค ณ วันท่ี 9 กุมภาพันธ์ 2564
Citation: Bangrak STI Center. National Guideline for Syphilis Testing:
Laboratory Manual for Diagnosis and Monitoring. Bangkok:
Bangrak STI Center; 2021.

คมู่ อื การตรวจวนิ จิ ฉยั และตดิ ตามการรกั ษาโรคซฟิ ลิ สิ
ทางห้องปฏบิ ตั ิการ

ISBN: 978-616-11-4495-1
บรรณาธิการ
นพ.ณัฐพล งามจริ ธรรม
ผชู้ ่วยศาสตราจารย์ ทนพ.ศักดิช์ ยั เดชตรัยรัตน์
กองบรรณาธกิ าร
ทนพญ.นริศรา อยู่จยุ้

จดั พิมพโ์ ดย กลมุ่ บางรกั โรคตดิ ต่อทางเพศสมั พนั ธ์
กองโรคเอดสแ์ ละโรคติดต่อทางเพศสมั พันธ์
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
พมิ พค์ รง้ั ที่ 1 มนี าคม 2564 จ�ำนวน 100 เลม่

พมิ พ์ท ี่ หจก. ส�ำนกั พิมพ์อกั ษรกราฟฟคิ แอนดด์ ไี ซน์
161/477-478 ถนนจรัญสนทิ วงศ์ แขวงบางขนุ ศรี
เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร 10700

ที่ปรึกษา และคณะท�ำงานคูม่ อื การตรวจวนิ ิจฉัยและติดตาม
การรักษาโรคซิฟลิ สิ ทางห้องปฏบิ ัตกิ าร

ท่ปี รกึ ษา

1. นายแพทยป์ รชี า เปรมปรี รองอธิบดกี รมควบคมุ โรค
2. นางสาวองั คณา เจริญวฒั นาโชคชยั นายแพทยท์ รงคุณวุฒิ
3. นางสาวชวี นนั ท์ เลศิ พิรยิ สุวฒั น์ ผูอ้ ำ� นวยการกองโรคเอดส์และ
โรคติดต่อทางเพศสมั พนั ธ์
ประธานคณะทำ� งาน

4. นางสาวรสพร กิตตเิ ยาวมาลย์ หวั หนา้ กลมุ่ บางรกั โรคตดิ ตอ่ ทางเพศสมั พนั ธ์

คณะทำ� งาน

5. นางสาวกุลกญั ญา โชคไพบลู ยก์ จิ คณะแพทยศาสตร์ ศริ ริ าชพยาบาล
6. นางเจนจติ ฉายะจินดา คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
7. นายโอภาส พุทธเจรญิ คณะแพทยศาสตร์ จฬุ าลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั
8. นางสาวสุพตั รา ร่งุ ไมตรี คณะแพทยศาสตร์ ศิรริ าชพยาบาล
9. นายพนิต ทกั ขญิ เสถียร คณะแพทยศาสตร์
มหาวทิ ยาลัยศรนี ครนิ ทรวิโรฒ
10. นายกติ ติภูมิ ชนิ หริ ัญ กลมุ่ บางรักโรคติดต่อทางเพศสมั พนั ธ์
11. นายณัฐพล งามจริ ธรรม กลุ่มบางรักโรคตดิ ต่อทางเพศสัมพันธ์
12. นางสาวธันยนนั ท์ กังวาฬพรโรจน์ กลมุ่ บางรักโรคตดิ ต่อทางเพศสมั พนั ธ์
13. นายศักด์ิชัย เดชตรัยรัตน์ นักวิชาการอสิ ระ
14. นายปยิ ะ วงศ์จ�ำปา โรงพยาบาลจฬุ าลงกรณ์ สภากาชาดไทย
15. นายเกรียงศกั ด์ิ ไชยวงค์ ศูนยบ์ ริการโลหติ แหง่ ชาติ สภากาชาดไทย
16. นางสาวณฐมน เทยี บมณี กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
17. นายภูรติ ทรงธนนิตย ์ กรมวิทยาศาสตรก์ ารแพทย์

คู่มอื การตรวจวินิจฉยั และตดิ ตามการรกั ษาโรคซฟิ ลิ ิสทางหอ้ งปฏิบตั กิ าร III

18. นางสาวชนยิ า ลี้ปยิ ะสกุลชัย คณะเทคนคิ การแพทย์ มหาวิทยาลัยมหดิ ล
19. นางฉววี รรณ ตน้ พุดซา กรมอนามัย
20. นางสาวขนษิ ฐา ภ่บู วั กองระบาดวทิ ยา
21. นางอรพิน สุขศรพี านิช ศนู ยค์ วามรว่ มมอื ไทย-สหรฐั ดา้ นสาธารณสขุ
22. นางทำ� เนียบ สงั วาลประกายแสง กองโรคเอดสแ์ ละโรคตดิ ตอ่ ทางเพศสมั พนั ธ์
23. นายเอกชยั แดงสอาด กลุม่ บางรกั โรคติดตอ่ ทางเพศสัมพันธ์
24. นางสาวปริศนา บัวสกลุ กลุ่มบางรักโรคติดตอ่ ทางเพศสัมพันธ์
25. นางกัญจมาภรณ์ ช่มุ เชิงรักษ์ กลุ่มบางรักโรคติดตอ่ ทางเพศสมั พนั ธ์
26. นางสาวลวติ รา พธิ าวุฒิกร กลุ่มบางรักโรคติดตอ่ ทางเพศสัมพันธ์
27. นางสาวทพิ วลั ย์ ปันค�ำ คลีนคิ นริ นาม
ศนู ยว์ จิ ยั โรคเอดส์ สภากาชาดไทย
28. นางสาวสาวิตรี นะงอลา คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
29. นายดารี่ พลนามอินทร์ โรงพยาบาลขอนแก่น
30. นายอนุกูล บุญคง สำ� นักงานปอ้ งกนั และควบคุมโรคที่ 3
จงั หวัดนครสวรรค์
31. นายปฐมพงศ์ แยม้ ปน้ั สำ� นักงานป้องกันและควบคมุ โรคท่ี 3
จังหวดั นครสวรรค ์
32. นายปฐม การยั ภูมิ สำ� นักงานป้องกนั และควบคุมโรคท่ี 11
จงั หวัดนครศรธี รรมราช
33. นางสาวก่าหมหี ละ ยาชะรดั สำ� นักงานปอ้ งกันและควบคุมโรคท่ี 11
จงั หวัดนครศรธี รรมราช
34. นางสาวพิศทุ ธิดา แก้วเลยี่ ม สำ� นักงานป้องกนั และควบคุมโรคท่ี 12
จังหวัดสงขลา
35. นางสาวพชั ญส์ ุพิญญา คำ� พา กลมุ่ บางรักโรคติดตอ่ ทางเพศสัมพนั ธ์
36. นางอ�ำพร จุ้ยอ่อน กองโรคเอดสแ์ ละโรคตดิ ตอ่ ทางเพศสมั พนั ธ์

คณะท�ำงานและเลขานกุ าร กล่มุ บางรกั โรคตดิ ต่อทางเพศสัมพันธ์
37. นางนรศิ รา อยจู่ ยุ้

IV คมู่ อื การตรวจวินจิ ฉยั และติดตามการรักษาโรคซฟิ ลิ ิสทางหอ้ งปฏิบตั กิ าร

ค�ำนำ�

คู่มือการตรวจวินิจฉัยและติดตามการรักษาโรคซิฟิลิสทางห้องปฏิบัติการ
ไดจ้ ดั พมิ พข์ นึ้ ครงั้ แรกในปี พ.ศ. 2564 โดยผทู้ รงคณุ วฒุ กิ รมควบคมุ โรค คณะผเู้ ชย่ี วชาญ
คณะทำ� งาน และผมู้ สี ว่ นไดส้ ว่ นเสยี จากทมี สหวชิ าชพี ไดร้ ว่ มจดั ประชมุ เชงิ ปฏบิ ตั กิ าร
จดั ทำ� คมู่ อื การตรวจวนิ จิ ฉยั และตดิ ตามการรกั ษาโรคซฟิ ลิ สิ ทางหอ้ งปฏบิ ตั กิ าร ทงั้ หมด 3 ครง้ั
เพอื่ ใหบ้ คุ ลากรทางการแพทย์ และบคุ ลากรสาธารณสขุ ทงั้ ภาครฐั และเอกชนในประเทศไทย
ใช้เป็นคู่มือการตรวจวินิจฉัยและติดตามการรักษาโรคซิฟิลิสทางห้องปฏิบัติการ
ในการปฏิบัติงาน เพื่อให้ได้ผลการตรวจวินิจฉัย ท่ีถูกต้อง แม่นย�ำ ตามมาตรฐาน
ซึ่งคู่มือการตรวจวินิจฉัยและติดตามการรักษาโรคซิฟิลิสทางห้องปฏิบัติการ ไดผ้ า่ น
การตรวจประเมนิ และรบั รองมาตรฐานผลติ ภณั ฑเ์ พอื่ การเฝา้ ระวงั ปอ้ งกนั ควบคมุ โรค
และภยั สขุ ภาพ กรมควบคมุ โรคแลว้ ในปี พ.ศ. 2564
ณ โอกาสน้ี ขอขอบคุณท่ีปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ คณะท�ำงาน และผู้มีส่วนได้
ส่วนเสียจากทีมสหวิชาชีพทุกท่าน ท่ีมีส่วนร่วมในการจัดท�ำคู่มือการตรวจวินิจฉัย
และตดิ ตามการรักษาโรคซิฟลิ ิสทางห้องปฏิบัตกิ าร จนสำ� เร็จลลุ ว่ งไปดว้ ยดี


(นายแพทย์โอภาส การยก์ วนิ พงศ์)
อธบิ ดกี รมควบคมุ โรค

คู่มอื การตรวจวินิจฉยั และติดตามการรกั ษาโรคซิฟิลิสทางหอ้ งปฏบิ ัติการ V



นิยามศพั ท์และคำ� ยอ่

CDC Centers for Disease Control and Prevention (USA)
CIA/CLIA Chemiluminescent immunoassay
CMIA Chemiluminescent Microparticle immunoassay
CSF Cerebrospinal Fluid
DF Dark-field microscopic test
DFA-TP Direct fluorescent antibody Treponema pallidum
test
EDTA Ethylene diamine tetraacetic acid
EIA Enzyme immunoassay
ELISA Enzyme-linked immunosorbent assay
FTA-ABS Fluorescent Treponemal Antibody-Absorption
test
IHC Immunohistochemistry test
NAAT Nucleic acid amplification test
NTT Nontreponemal test
RDT Rapid Diagnostic Test
RPR Rapid Plasma Reagin
T. pallidum Treponema pallidum
TPHA Treponema pallidum hemagglutination test
TPPA Treponema pallidum particle agglutination test

คมู่ อื การตรวจวนิ ิจฉัยและติดตามการรกั ษาโรคซฟิ ิลสิ ทางหอ้ งปฏบิ ตั กิ าร VII

นยิ ามศพั ท์และค�ำย่อ (ตอ่ )

TT Treponemal test
VDRL Venereal Disease Research Laboratory
WHO World Health Organization
cm centimeter

cells/mm3 cells/cubic millimeter
cells/µl cells/microliter
gm gram
kg kilogram
mg miligram
ml milliliter
mm millimeter
mg/dl milligram/deciliter
rpm revolutions per minute (รอบตอ่ นาที)
µm micrometer
ºC degree celsius

VIII คมู่ อื การตรวจวนิ ิจฉัยและตดิ ตามการรกั ษาโรคซฟิ ิลิสทางหอ้ งปฏบิ ตั ิการ

สารบัญ

1บทท่ี บทน�ำ 1

2บทท่ี ความร้เู รอ่ื งโรคซฟิ ลิ สิ 11
49
3บทที่ เทคนคิ การตรวจทางหอ้ งปฏบิ ตั กิ ารเพอ่ื ชว่ ยวนิ จิ ฉยั โรคซฟิ ลิ สิ

4บทท่ี แนวทางการตรวจโรคซิฟลิ สิ ในผใู้ หญ ่ 93

5บทที่ แนวทางการตรวจโรคซฟิ ลิ ิสในเดก็ 133

6บทที่ การประกนั คุณภาพหอ้ งปฏิบตั กิ ารตรวจโรคซิฟลิ ิส 141

ภาคผนวก 155
157
• การขนส่งน�้ำเหลอื งและน�้ำไขสนั หลงั 161
• หอ้ งปฏบิ ัติการที่ให้บริการตรวจวเิ คราะห์น้ำ� ไขสันหลงั
โดยใชว้ ธิ ี VDRL กรณีวนิ ิจฉัยเปน็ Neurosyphilis

ค่มู อื การตรวจวนิ จิ ฉัยและตดิ ตามการรักษาโรคซฟิ ลิ ิสทางหอ้ งปฏิบตั กิ าร IX



สารบัญตาราง

ตารางท่ี 1.1 ผลการคาดประมาณจำ� นวนผู้ตดิ เชอ้ื โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 4
รายใหม่ทวั่ โลก ปี พ.ศ. 2559
ตารางท่ี 1.2 แสดงความชุกของการติดเช้ือโรคซิฟลิ สิ ในกลุม่ ชายรกั ชาย 5
และ หญงิ บรกิ าร ข้อมลู จากการรายงาน แบง่ ตามเขตภมู ิภาค
พ.ศ. 2559-2560
ตารางที่ 2.1 การแปลผลการตรวจนำ�้ ไขสนั หลังในโรคซฟิ ิลิสของระบบประสาท 18
ตารางท่ี 2.2 ลกั ษณะทางคลนิ ิกและระยะเวลาทตี่ รวจพบหลงั ไดร้ บั เชือ้ 19
ของผทู้ เ่ี ปน็ โรคซิฟิลิสระยะที่ 3 และโรคซฟิ ิลิสของระบบประสาท
ตารางท่ี 2.3 สรปุ การรักษาโรคซฟิ ิลิสระยะตา่ งๆ 23
ตารางที่ 2.4 ลักษณะทางคลินกิ ของโรคซิฟลิ สิ แตก่ ำ� เนดิ ระยะแรก 33
(Early onset clinical manifestations of congenital syphilis)
ตารางท่ี 2.5 ลักษณะทางคลินิกของโรคซิฟิลสิ แต่กำ� เนิดระยะหลงั 35
(Late onset clinical manifestation of congenital syphilis)
ตารางท่ี 3.1 การอ่านและรายงานผลการทดสอบ VDRL 68
ตารางท่ี 3.2 ตวั อย่างการรายงานผลการทดสอบ VDRL 70
ตารางท่ี 3.3 เปรยี บเทยี บคณุ ลักษณะของการทดสอบ VDRL 75
และ RPR card test
ตารางที่ 3.4 แสดงสาเหตุทีท่ �ำใหเ้ กดิ Biological false positive 76
ของการตรวจหา nontreponemal antibody
เพอ่ื วินิจฉยั โรคซิฟลิ ิส
ตารางที่ 3.5 แสดงตวั อยา่ งวธิ ี labeled immunoassay ทีม่ ใี ชใ้ นประเทศไทย 86

ค่มู อื การตรวจวนิ ิจฉยั และติดตามการรกั ษาโรคซิฟิลิสทางหอ้ งปฏิบตั กิ าร XI

สารบัญตาราง

ตารางที่ 3.6 แสดงคา่ ร้อยละของความไว (sensitivity) และความจำ� เพาะ   88
(specificity) ของการทดสอบแบบต่างๆ ในซฟิ ิลิสระยะตา่ งๆ 100
ตารางท่ี 4.1 ตวั อยา่ งวิธีการตรวจทางห้องปฏิบัติการและแอนติบอดี 101
เป้าหมายทแ่ี ตล่ ะวิธตี รวจจับ 112
ตารางที่ 4.2 ลำ� ดบั ขน้ั ตอนท่ใี หใ้ ชใ้ นการตรวจหาแอนตบิ อดีต่อโรคซฟิ ิลิส 114
ในกลมุ่ บุคคลตา่ งๆ 115
ตารางท่ี 4.3 การแปลผลการตรวจหาแอนตบิ อดเี พอื่ วนิ จิ ฉยั โรคซฟิ ิลิส 135
ตารางที่ 4.4 ค�ำแนะนำ� ในการพจิ ารณาเลือกชุดตรวจทใี่ หผ้ ลรวดเร็ว 144
(Rapid Diagnostic Test, RDT)
ตารางที่ 4.5 การแปลผลการตรวจนำ�้ ไขสันหลังในภาวะโรคซฟิ ิลิส
ของระบบประสาท
ตารางท่ี 5.1 เกณฑก์ ารวนิ ิจฉยั โรคซฟิ ลิ ิสแตก่ ำ� เนดิ
ตารางที่ 6.1 การประกนั คุณภาพหอ้ งปฏิบตั กิ ารตรวจโรคซฟิ ลิ ิส

XII คมู่ ือการตรวจวนิ ิจฉยั และตดิ ตามการรักษาโรคซฟิ ลิ สิ ทางหอ้ งปฏิบัตกิ าร

สารบญั รปู

รูปที่ 2.1 เชอ้ื Treponema sp. จากการตรวจ darkfield examination 12
รูปที่ 2.2 แผลรมิ แขง็ (hard chancre) 29
รูปท่ี 2.3 ผืน่ บริเวณฝ่ามอื (a) และผ่นื บรเิ วณหนา้ อก (b) 30
ของผูป้ ว่ ยโรคซฟิ ลิ สิ ระยะที่ 2 31
รูปท่ี 2.4 Condyloma lata 3 6
รูปท่ี 2.5 ลกั ษณะผมร่วงเปน็ หยอ่ มๆ (moth-eaten alopecia) ของผปู้ ว่ ย 36
โรคซิฟิลิสระยะที่ 2 (a), (b) 37
รูปท่ี 2.6 โรคซิฟลิ ิสแตก่ �ำเนดิ แสดงลักษณะทารกภาวะบวมน�้ำ 38
(hydrops fetalis) 39
รปู ที่ 2.7 โรคซิฟลิ สิ แตก่ �ำเนิด แสดงลกั ษณะทารกมตี ับและม้ามโต 40
38 (Hepatosplenomegaly) 41
รูปท่ี 2.8 โรคซฟิ ลิ ิสแตก่ ำ� เนิด แสดงลกั ษณะ frontal bossing 42
รปู ท่ี 2.9 ภาวะผมร่วงในเดก็ ที่เปน็ โรคซิฟลิ ิส 43
รูปที่ 2.10 ทารกโรคซฟิ ิลิสแตก่ �ำเนดิ แสดงลักษณะมือเปน็ มนั วาว 44
รูปที่ 2.11 โรคซฟิ ิลิสแตก่ ำ� เนิด แสดงลกั ษณะเท้าเป็นมันวาว 45
รปู ที่ 2.12 โรคซิฟลิ สิ แต่กำ� เนดิ แสดงลกั ษณะฝา่ เทา้ ลอก
รปู ที่ 2.13 โรคซิฟลิ สิ แตก่ ำ� เนิด แสดงลกั ษณะผื่นผวิ หนัง
รปู ท่ี 2.14 โรคซฟิ ลิ สิ แต่กำ� เนิด แสดงลักษณะ snuffering และ rhagades
รูปท่ี 2.15 โรคซฟิ ลิ สิ แต่ก�ำเนิด แสดง transverse radiolucent bands
with sclerotic lines at distal metaphyses

คูม่ อื การตรวจวินิจฉยั และติดตามการรกั ษาโรคซฟิ ลิ สิ ทางห้องปฏบิ ัติการ XIII

สารบญั รปู (ต่อ)

รปู ท่ี 2.16 โรคซิฟลิ ิสแตก่ ำ� เนิด แสดง Wimberger’s sign: destructive 46
metaphysitis medial aspects of the proximal and distal tibia
รปู ท่ี 3.1 แนวทางการเกบ็ ตัวอย่างสง่ิ ส่งตรวจ (Specimens Collection) 54
ส�ำหรับการตรวจหาโรคซิฟลิ สิ
รปู ท่ี 3.2 การตรวจทางห้องปฏบิ ตั ิการเพอ่ื การวินจิ ฉยั โรคซฟิ ิลิส 55
รปู ที่ 3.3 Microscopic view of Treponema pallidum. 57
with darkfield microscopy, spirochetes appear as motile,
bright corkscrews against a black background
รปู ที่ 3.4 Positive Direct fluorescent antibody test 59
รปู ท่ี 3.5 Immunohistochemistry test จากเน้ือเย่ือรก: 61
positive T. pallidum
รูปท่ี 3.6 การตอบสนองทางแอนตบิ อดตี ่อโรคซฟิ ิลสิ ในระยะต่างๆ 63
(ดดั แปลงจาก Peeling RW, Ye H. 2004)
รปู ท่ี 3.7 หลกั การการทดสอบ Venereal Diseases Research 65
Laboratory Test
รปู ที่ 3.8 สไลดแ์ ก้วมีขอบส�ำหรับท�ำการทดสอบ VDRL 65
รูปที่ 3.9 Principle of Rapid Plasma Reagin test 71
รูปท่ี 3.10 ตัวอยา่ งการอา่ นผล RPR card test แบบ qualitative 73
รูปที่ 3.11 ตวั อยา่ งการอ่านผล RPR card test แบบ quantitative 75
รูปท่ี 3.12 แสดงหลกั การของวิธี Fluorescent Treponemal Antibody- 78
Absorption test (FTA-ABS test)

XIV คู่มือการตรวจวินจิ ฉยั และติดตามการรกั ษาโรคซิฟลิ สิ ทางห้องปฏิบัตกิ าร

สารบญั รูป (ต่อ)

รูปท่ี 3.13 แสดงผล Fluorescent Treponemal Antibody-Absorption test: 78
Reactive
รปู ท่ี 3.14 แสดงหลักการของวธิ ี Treponema pallidum 79
hemagglutination test (TPHA)
รูปที่ 3.15 แสดงผลการทดสอบ Treponema pallidum hemagglutination 81
test (TPHA)
รูปท่ี 3.16 แสดงผลการทดสอบ Treponema pallidum passive particle 84
agglutination test (TPPA)
รูปที่ 3.17 แสดงหลักการของวธิ ี lateral flow Immunochromatography 87
test
รูปท่ี 3.18 แสดงตัวอย่างวธิ ที ำ� การทดสอบ Immunochromatography Test 88
รูปที่ 4.1 การตอบสนองทางแอนติบอดีต่อโรคซิฟิลสิ ในระยะตา่ งๆ 96
(ดดั แปลงจาก Peeling RW, Ye H. 2004)

คูม่ ือการตรวจวินิจฉยั และติดตามการรกั ษาโรคซิฟลิ สิ ทางหอ้ งปฏบิ ตั ิการ XV



สารบัญแผนภูมิ

แผนภูมทิ ี่ 1.1 อัตราปว่ ยโรคตดิ ตอ่ ทางเพศสมั พนั ธ์ ประเทศไทย 6
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 – 2562 จ�ำแนกตาม 5 โรคหลัก
ข้อมลู จากรายงาน 506 กองระบาดวทิ ยา กรมควบคุมโรค
แผนภูมิท่ี 1.2 อตั ราป่วยเฉพาะกลมุ่ อายุโรคซฟิ ลิ สิ ประเทศไทย 7
ปงี บประมาณ พ.ศ. 2558-2562 ขอ้ มลู จากรายงาน 506
กองระบาดวทิ ยา กรมควบคุมโรค
แผนภูมิที่ 1.3 จำ� นวนของผูป้ ว่ ยโรคซิฟลิ ิส ประเทศไทย ปงี บประมาณ 7
พ.ศ. 2562 จำ� แนกตามเชอ้ื ชาติ ขอ้ มลู จากรายงาน 506
กองระบาดวทิ ยา กรมควบคุมโรค
แผนภมู ทิ ่ี 1.4 จำ� นวนของผู้ปว่ ยโรคซฟิ ลิ สิ ประเทศไทย ปงี บประมาณ 8
พ.ศ. 2562 จ�ำแนกตามอาชพี ขอ้ มลู จากรายงาน 506
กองระบาดวทิ ยา กรมควบคมุ โรค
แผนภมู ิท่ี 4.1 ลำ� ดบั ข้นั ตอนการตรวจแบบดัง้ เดมิ (Traditional Algorithm) 104
แผนภมู ทิ ่ี 4.2 ลำ� ดบั ขนั้ ตอนการตรวจแบบยอ้ นทาง (Reverse Algorithm) 108
แผนภูมทิ ี่ 4.3 การคดั กรองโรคซิฟิลสิ ในหญิงตั้งครรภ์ 118
(ใช้ automated machine)
แผนภูมทิ ่ี 4.4 การคัดกรองโรคซิฟลิ สิ ในหญงิ ต้ังครรภ์ 119
(ใช้ rapid diagnostic test)
แผนภูมิที่ 4.5 ลำ� ดบั ขน้ั ตอนการตรวจทีแ่ นะน�ำใหใ้ ช้ 123
(Recommended Algorithm)

คู่มอื การตรวจวนิ ิจฉัยและติดตามการรกั ษาโรคซิฟิลิสทางหอ้ งปฏิบตั กิ าร XVII

XVIII คมู่ อื การตรวจวินจิ ฉยั และติดตามการรกั ษาโรคซฟิ ิลิสทางห้องปฏิบัตกิ าร

1บทท่ี
บทน�ำ

ค่มู ือการตรวจวินิจฉยั และตดิ ตามการรักษาโรคซิฟลิ สิ ทางห้องปฏบิ ตั กิ าร 1

2 ค่มู อื การตรวจวนิ จิ ฉยั และตดิ ตามการรกั ษาโรคซฟิ ลิ สิ ทางหอ้ งปฏบิ ตั กิ าร

1บทท่ี บทนำ�

นายแพทยณ์ ัฐพล งามจิรธรรม

1.1 ความเปน็ มา

จากสถานการณข์ องโรคซฟิ ลิ สิ ในประเทศไทย ทมี่ แี นวโนม้ สงู เพมิ่ ขน้ึ กองโรคเอดส์
และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค จึงเห็นความส�ำคัญของการลดการ
อัตราการติดเชื้อของโรคซิฟิลิส ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายในปี ค.ศ. 2030 ของ
องคก์ ารอนามยั โลก(WHO)1 ทตี่ งั้ เปา้ หมายลดอบุ ตั กิ ารณก์ ารตดิ เชอ้ื Treponemapallidum
ท่ัวโลกให้ได้ร้อยละ 90 และลดการเกิดโรคซิฟิลิสแต่ก�ำเนิดให้น้อยกว่า 50 รายต่อ
แสนทารกแรกเกิด ในรอ้ ยละ 80 ของประเทศทวั่ โลก และยงั สอดคลอ้ งกบั ยทุ ธศาสตร์
ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์แห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2564 ของ
กรมควบคุมโรค ทีต่ ั้งเปา้ หมายการลดอตั ราปว่ ยโรคซฟิ ลิ สิ ตอ้ งไมเ่ กนิ 3.5 รายตอ่ แสน
ประชากร2 โดยการจะลดการติดเช้ือให้ได้ตามเป้าหมาย จ�ำเป็นต้องค้นหาและ
นำ� ผตู้ ดิ เชอื้ รายเกา่ เขา้ สู่ระบบการดแู ลรกั ษาตามมาตรฐาน
การตรวจทางห้องปฏิบัติการเป็นสิ่งจำ� เป็นในการวินิจฉัยโรคซิฟิลิสระยะต่างๆ
ซง่ึ ปจั จบุ นั การตรวจมอี ย่หู ลากหลายวิธี เชน่ การตรวจหาเช้อื จากแผล การตรวจทาง
น�้ำเหลืองวิทยา การจะเลือกใช้วิธีใดในการตรวจ นอกจากข้ึนกับระยะของโรคแล้ว
ยังขึ้นกับบริบทของแต่ละสถานพยาบาลอีกด้วย ในการจัดท�ำคู่มือการตรวจซิฟิลิส
ทางห้องปฏิบัติการ จึงเห็นความส�ำคัญของการจัดท�ำคู่มือที่ชัดเจนส�ำหรับบริบท
ของประเทศไทยวา่ ควรแนะนำ� ใหห้ อ้ งปฏบิ ตั กิ ารดำ� เนนิ การตรวจดว้ ยวธิ ใี ดจงึ จะเหมาะสม

คู่มอื การตรวจวนิ ิจฉยั และติดตามการรักษาโรคซฟิ ิลสิ ทางห้องปฏิบัติการ 3

1.2 สถานการณ์

สถานการณ์โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ทั่วโลกจากรายงานการส�ำรวจของ
องค์การอนามยั โลก (WHO) ปี ค.ศ. 20163 พบวา่ มผี ปู้ ่วยโรคตดิ ต่อทางเพศสัมพนั ธ์
รายใหม่ ทั้งหมด 376 ล้านคน แยกเป็นผู้ป่วยโรคหนองในเทียมจากเช้ือคลามัยเดีย
127 ล้านคน ผปู้ ่วยโรคหนองใน 87 ล้านคน ผู้ป่วยโรคพยาธชิ อ่ งคลอด 156 ล้านคน
และ ผู้ป่วย โรคซิฟิลิส 6 ล้านคน ดังแสดงในตารางที่ 1.1 เขตภูมิภาคท่ีพบผู้ป่วย
โรคซิฟิลิสกลุ่มชายรักชายสูงสุด คือ เขตประเทศในทวีปอเมริกา รองลงมาคือ
เขตประเทศแถบเมดเิ ตอรเ์ รเนยี นตะวนั ออก และเขตประเทศในทวปี เอเชยี ตะวนั ออก
เฉียงใต้พบน้อยท่ีสุดเม่ือเทียบกับทุกภูมิภาค และเขตภูมิภาคท่ีพบผู้ป่วยโรคซิฟิลิส
ในกลุ่มหญิงขายบริการสูงสุด ได้แก่ เขตประเทศ ในทวีปแอฟริกา รองลงมาคือ
เขตประเทศแถบแปซฟิ ิกตะวันตก สำ� หรับประเทศไทย อยเู่ ขตประเทศในทวปี เอเชยี
ตะวันออกเฉียงใต้ ซ่งึ อยูใ่ นล�ำดับท่ี 6 จาก 7 เขตภมู ภิ าค ดงั แสดงในตารางท่ี 1.2

ตารางท่ี 1.1 ผลการคาดประมาณจ�ำนวนผู้ตดิ เชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์รายใหม่
ทว่ั โลก ปี พ.ศ. 25593

โรค จำ� นวนผูต้ ดิ เช้ือ (ลา้ นคน)
โรคหนองในเทยี มจากเชือ้ คลามัยเดีย (Chlamydia) 127
โรคหนองใน (Gonorrhoeae) 87
โรคซิฟลิ ิส (Syphilis) 6
โรคพยาธใิ นชอ่ งคลอด (Trichomoniasis) 156
376
รวม

4 คมู่ ือการตรวจวนิ จิ ฉยั และตดิ ตามการรักษาโรคซฟิ ลิ สิ ทางหอ้ งปฏบิ ตั ิการ

ตารางท่ี 1.2 แสดงความชกุ ของการตดิ เชอื้ ซฟิ ลิ สิ ในกลมุ่ ชายรกั ชายและ หญงิ บรกิ าร
ขอ้ มลู จากการรายงาน แบง่ ตามเขตภมู ภิ าค พ.ศ. 2559-2560 ดงั น้ี

เขตประเทศ คา่ มัธยฐานความชกุ
ตามองค์การอนามยั โลก ของการตดิ เช้อื ซฟิ ิลสิ % (range [%])

เขตประเทศในทวปี แอฟริกา ชายรกั ชาย* หญงิ บริการ#
เขตประเทศในทวปี อเมรกิ า
เขตประเทศแถบเมดเิ ตอร์เรเนียนตะวนั ออก 2.3 (0.8-2.9) 13.2 (0-21.6)
เขตประเทศในทวีปยุโรป
เขตประเทศในทวปี เอเชยี ตะวันออกเฉยี งใต้ 12.4 (0.8-61.5) 3.1 (0.4-9.5)
เขตประเทศแถบแปซฟิ ิกตะวันตก
8.9 (3.8-10.8) 1.3 (0.4-2.7)
*ขอ้ มูลรายงานจาก 38 ประเทศ
#ข้อมลู รายงานจาก 41 ประเทศ 4.7 (0-36.7) 5.4 (0.7-20.0)

1.9 (0.4-13.5) 2.2 (0-10.9)

6.0 (4.1-26.5) 5.9 (0.3-35.2)

สำ� หรับสถานการณ์ของประเทศไทย ตามรายงาน 506 ของ กองระบาดวทิ ยา
กรมควบคุมโรค พบอัตราป่วยโรคซิฟิลิสสูงเป็นอันดับสองของการติดเชื้อโรคติดต่อ
ทางเพศสมั พนั ธ์ โดยรองจากอตั ราปว่ ยโรคหนองใน และอตั ราปว่ ยโรคซฟิ ลิ สิ มแี นวโนม้ สงู ขน้ึ
โดยในปี พ.ศ. 25624 พบอัตราป่วย 13.2 รายตอ่ แสนประชากร สงู กวา่ ปี พ.ศ. 25585
ทพ่ี บอตั ราปว่ ย 5.3 รายตอ่ แสนประชากร โดยเพมิ่ ขนึ้ มากกวา่ 2 เทา่ ดงั แสดงในแผนภมู ิ
ที่ 1.1 ช่วงอายุทพี่ บผ้ปู ่วยสงู ทสี่ ดุ ได้แก่ 15-24 ป,ี 25-34 ปี และ 35-44 ปี ตามล�ำดับ
ดงั แสดงในแผนภมู ทิ ี่ 1.2

คมู่ ือการตรวจวินิจฉยั และตดิ ตามการรักษาโรคซฟิ ิลิสทางหอ้ งปฏบิ ตั กิ าร 5

เมอ่ื พจิ ารณาผปู้ ว่ ยโรคซฟิ ลิ สิ ในประเทศไทย ปงี บประมาณ พ.ศ. 2562 จำ� นวน
8,737 คน โดยแยกตามสญั ชาติ พบผปู้ ว่ ยสญั ชาตไิ ทยมากทส่ี ดุ รอ้ ยละ 93.4 รองลงมา
คอื พมา่ รอ้ ยละ 3.4 และกมั พชู า รอ้ ยละ1.3 ตามลำ� ดบั ดงั แสดงในแผนภมู ทิ ี่ 1.3 และ
เมื่อพิจารณาโดยแยกตามการประกอบอาชีพ พบผู้ป่วยซฟิ ลิ สิ ประกอบอาชพี รับจา้ ง/
กรรมกร มากทส่ี ดุ ถงึ ร้อยละ 40 รองลงมา คอื กล่มุ ผู้ป่วยไมร่ ะบอุ าชพี ร้อยละ 22.4
และนกั เรยี น รอ้ ยละ 18.1 ตามล�ำดบั ดังแสดงในแผนภูมิท่ี 1.4

แผนภูมทิ ี่ 1.1 อตั ราปว่ ยโรคตดิ ตอ่ ทางเพศสมั พนั ธ์ ประเทศไทย ปงี บประมาณ พ.ศ. 2558
– 2562 จำ� แนกตาม 5 โรคหลกั ขอ้ มลู จากรายงาน 506 กองระบาดวทิ ยา
กรมควบคมุ โรค

18 14.3 15.8 14.6 14.8 ซฟิ ล สิ
16 11.0 13.2 หนองใน
ัอตรา ปวย ตอประชากรแสนคน 14 12.5 หนองในเทยี ม

12
10 5.9 7.6
8 5.3 แผลรมิ ออ น
6
4 3.8 3.5 203306 กามโรคตอ ม
2 01..32 10..33 301...256 310...497 นำ้ เหลอื ง
0
2558 2559 2560 2561 2562

ปง บประมาณ

6 คู่มือการตรวจวินจิ ฉัยและตดิ ตามการรักษาโรคซิฟิลิสทางหอ้ งปฏบิ ัตกิ าร

แผนภูมทิ ่ี 1.2 อตั ราปว่ ยเฉพาะกลมุ่ อายุ โรคซฟิ ลิ สิ ประเทศไทย ปงี บประมาณ พ.ศ.
2558-2562 ขอ้ มลู จากรายงาน 506 กองระบาดวทิ ยา กรมควบคมุ โรค

30.0 27.9

ัอตราปวยตอประชากรแสนคน 25.0
20.0 19.4

15.0 10.5
10.0 7.8
5.0 1.1 3.2 6.3 5.0 3.6 6.3 3.0 5.3 6.8
0.0 1.8

<15 15-24 25-34 35-44 45-54 55-64 >65

กลุมอายุ

2558 2559 2560 2561 2562

แผนภูมทิ ่ี 1.3 จำ� นวนของผปู้ ว่ ยโรคซฟิ ลิ สิ ประเทศไทย ปงี บประมาณ พ.ศ. 2562 จำ� แนก
ตามสญั ชาติ ขอ้ มลู จากรายงาน 506 กองระบาดวทิ ยา กรมควบคมุ โรค

9,000 ีจน/ฮองกง/ไไตทหยวัน
8,000 พ มา
7,000
6,000 มาเลเ ีซย
5,000 กัมพูชา
4,000
3,000 ลาว
2,000 ่ือนๆ
1,000

0

คู่มือการตรวจวนิ จิ ฉัยและติดตามการรักษาโรคซฟิ ลิ สิ ทางหอ้ งปฏบิ ตั ิการ 7

เกษตรแผนภูมทิ ี่ 1.4 จำ� นวนของผปู้ ว่ ยโรคซฟิ ลิ สิ ประเทศไทย ปงี บประมาณ พ.ศ. 2562 จำ� แนก
ขาราชการตามอาชพี ข้อมลู จากรายงาน 506 กองระบาดวทิ ยา กรมควบคมุ โรค
ัรบจาง/กรรมกร
3,500
คาขาย3,000
งานบาน2,500
ันกเ ีรยน2,000
ทหาร/ตำรวจ1,500
ประมาง1,000

ค ูร500
่อืนๆ0
ไมทราบอาชีพ
เ ี้ลยง ัสตว 1.3 ขอบเขตของแนวทาง
ันกบวช จดุ มงุ่ หมายสำ� คญั ของการจดั ทำ� หนงั สอื คมู่ อื การวนิ จิ ฉยั โรคซฟิ ลิ สิ ทางหอ้ งปฏบิ ตั กิ าร
อาชีพ ิพเศษเพอื่ ใชเ้ ปน็ คมู่ อื ใหเ้ จา้ หนา้ ทท่ี างหอ้ งปฏบิ ตั กิ าร รวมไปถงึ บคุ ลากรทางการแพทย์ เชน่ แพทย์
บุคลากรสาธารณ ุสขพยาบาล ใช้เป็นแนวทางในการตรวจวินิจฉัยโรคซิฟิลิสให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ
และ ประกอบองคค์ วามรใู้ นการพฒั นาการใหบ้ รกิ ารตรวจหาการตดิ เชอื้ ซฟิ ลิ สิ โดยเนอ้ื หา
จะกลา่ วถงึ ความรเู้ รอ่ื งโรคซฟิ ลิ สิ เทคนคิ การตรวจหาการตดิ เชอื้ ซฟิ ลิ สิ ทางหอ้ งปฏบิ ตั กิ าร
แนวทางการตรวจโรคซฟิ ลิ สิ ในผใู้ หญ่ เดก็ หญงิ ตง้ั ครรภ์ และแนวทางการปฏบิ ตั ใิ นการ
ตรวจการติดเช้ือซิฟิลิสในโลหิตบริจาค รวมถึงการประกันคุณภาพห้องปฏิบัติการ
ตรวจซฟิ ลิ สิ ในสว่ นของภาคผนวกไดก้ ลา่ วถงึ รายละเอยี ดการบรรจแุ ละขนสง่ นำ้� เหลอื ง
และนำ้� ไขสนั หลงั

8 คมู่ อื การตรวจวนิ จิ ฉัยและตดิ ตามการรกั ษาโรคซฟิ ลิ สิ ทางหอ้ งปฏิบตั กิ าร

เอกสารอ้างองิ

1. World Health Organization. Vision, goal and targets and guiding principles
in Global health sector strategy on sexually transmitted infections, 2016–2021.
June 2016: 24-29.

2. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ยุทธศาสตร์ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ
ทางเพศสมั พันธ์แหง่ ชาติ พ.ศ. 2560 – 2564. กรุงเทพฯ.

3. World Health Organization. Report on global sexually transmitted infection
surveillance 2018. Geneva, 2019.

4. กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. รายงานโรคในระบบเฝ้าระวัง 506 พ.ศ. 2562.
5. กองระบาดวิทยา กรมควบคมุ โรค. รายงานโรคในระบบเฝา้ ระวงั 506 พ.ศ. 2558.

คมู่ อื การตรวจวินจิ ฉัยและตดิ ตามการรกั ษาโรคซิฟิลสิ ทางหอ้ งปฏบิ ตั ิการ 9

10 คมู่ อื การตรวจวนิ ิจฉยั และตดิ ตามการรักษาโรคซฟิ ลิ สิ ทางห้องปฏบิ ัตกิ าร

2บทท่ี

ความรู้เร่อื งโรคซฟิ ิลสิ

คู่มอื การตรวจวินจิ ฉัยและตดิ ตามการรักษาโรคซิฟิลสิ ทางห้องปฏบิ ัตกิ าร 9

10 คมู่ อื การตรวจวนิ ิจฉยั และตดิ ตามการรักษาโรคซฟิ ลิ สิ ทางห้องปฏบิ ัตกิ าร

2บทท่ี ความรู้เรือ่ งโรคซิฟลิ ิส

ผ้ชู ่วยศาสตราจารย์ นายแพทยโ์ อภาส พุทธเจริญ
นายแพทยก์ ิตตภิ มู ิ ชนิ หิรญั

2.1 โรคซิฟลิ ิสในผู้ใหญ่

โรคซฟิ ลิ สิ เปน็ โรคตดิ ตอ่ ทางเพศสมั พนั ธท์ ม่ี อี นั ตรายเนอื่ งจากอาจมอี าการเรอื้ รงั
มีระยะติดต่อยาวนานกว่า 1 ปี สามารถท�ำให้เกิดโรคแก่ระบบต่างๆ ของร่างกายได้
หลาย ระบบ อาจมอี าการแสดงทช่ี ดั เจน หรอื อาจอยใู่ นระยะสงบไดเ้ ปน็ ระยะเวลานาน
นอกจากการติดต่อทางเพศสัมพันธ์แล้ว ยังสามารถติดต่อจากมารดาไปสู่ทารกได้
(congenital syphilis) จากการส�ำรวจข้อมูลในประเทศไทยปีพ.ศ. 2562 พบอัตรา
ป่วยโรคซฟิ ลิ ิส 13.2 ต่อประชากรแสนคน ซึ่งสงู ขนึ้ อยา่ งตอ่ เน่ืองตง้ั แต่ปพี .ศ. 2556
ทมี่ ีอตั ราป่วยโรคซิฟิลสิ 3.5 ตอ่ ประชากรแสนคน นอกจากน้ี ยงั พบปัญหาเลือดบวก
ซิฟิลิสในหญิงท่ีมาฝากครรภ์อยู่ประมาณร้อยละ 0.42 และพบอัตราป่วยโรคซิฟิลิส
แตก่ ำ� เนิด 91.18 ตอ่ เดก็ เกดิ มชี พี แสนคน1 ซ่ึงมีแนวโน้มสูงข้นึ เช่นเดียวกัน โรคซิฟลิ ิส
ยังคงเป็นโรคท่ีควรให้ความสนใจ เนื่องจากภาวะแทรกซ้อนของโรคและอุบัติการณ์
ของโรคยงั คงมีอยู่ และยังไมส่ ามารถกำ� จดั ได้หมดส้นิ

เชือ้ ที่เป็นสาเหตุ
โรคซิฟิลิสเกิดจากการติดเช้ือแบคทีเรีย Treponema pallidum subsp.
pallidum ซึ่งเป็น spirochete2-7 ที่มีความยาว 6-20 µm เส้นผ่านศูนย์กลาง
0.09-0.18 µm3-4 มี 8-20 เกลยี ว5 มี periplasmic flagella หรอื endoflagella 3 เสน้ 6
เคลอ่ื นที่แบบควงสวา่ น (corkscrew) ไปขา้ งหนา้ และหลัง เป็นมมุ แหลมหรือมุมปา้ น5
เชื้อนี้ชอบความชื้น ตายง่ายในสภาวะแห้ง6 เป็นเช้ือที่ถ่ายทอดทางการมีเพศสัมพันธ์
และถ่ายทอดจากมารดาส่ทู ารกในครรภ์

ค่มู อื การตรวจวนิ จิ ฉัยและติดตามการรกั ษาโรคซิฟิลิสทางหอ้ งปฏบิ ตั กิ าร 11

!

รปู ท่ี 2.1 เชื้อ Treponema sp. จากการตรวจ darkfield examination
(ภาพจาก: กลุ่มบางรักโรคติดต่อทางเพศสมั พนั ธ์)

ลกั ษณะทางคลนิ กิ
1. โรคซิฟลิ สิ ระยะที่ 1 (primary syphilis)
2. โรคซฟิ ลิ สิ ระยะท่ี 2 (secondary syphilis)
3. โรคซฟิ ิลิสระยะแฝง (latent syphilis)
4. โรคซิฟลิ ิสระยะท่ี 3 (tertiary syphilis)
5. โรคซิฟลิ สิ ของระบบประสาท (neurosyphilis)

12 คูม่ ือการตรวจวนิ ิจฉยั และตดิ ตามการรักษาโรคซฟิ ิลสิ ทางหอ้ งปฏิบัติการ

1. โรคซิฟิลิสระยะท่ี 1 (Primary syphilis)
มีระยะฟักตัว 10-90 วัน2-6 เช้ือเข้าทางเยื่อบุปกติ หรือเยื่อบุ/ผิวหนังท่ีมี
รอยถลอก รอยฉีกขาด โดยจะเกดิ แผลบริเวณที่เชื้อเขา้ ไป เชน่ อวัยวะเพศ ริมฝปี าก
นวิ้ มอื ลน้ิ หวั นม ทวารหนกั ในระยะแรก รอยโรคเปน็ ผน่ื สแี ดงเขม้ ตอ่ มาจะเปน็ ตมุ่ เลก็ ๆ
หลงั จากนนั้ จะแตกเป็นแผล ซึ่งค่อยๆ ใหญ่ขึน้ มเี สน้ ผา่ นศนู ยก์ ลาง 1-2 cm มกั เปน็
แผลเดยี ว กน้ แผลสะอาด มนี ำ้� เหลอื งเยม้ิ ขอบแผลนนู แขง็ บางคนเรยี ก “โรคแผลรมิ แขง็
(chancre)” แผลจะไมเ่ จบ็ นอกจากมกี ารติดเชือ้ โรคอ่ืนแทรกซ้อน ท�ำใหแ้ ผลอกั เสบ
และเจบ็ ปวดได้ แผลอาจ มีลกั ษณะตา่ งไปจากน้ี เชน่ มจี �ำนวนหลายแผล อาจมีสาร
น้�ำคล้ายหนองเคลือบ กินลึกไปรอบๆ ต�ำแหน่งที่เป็น และอาจเกิดแผลบริเวณ
นอกอวัยวะเพศและทวารหนัก เช่น ช่องปาก นอกจากน้ียังพบร่วมกับโรคติดต่อ
ทางเพศสมั พนั ธอ์ นื่ ๆ ได้ ทบี่ รเิ วณแผลจะมเี ชอ้ื Treponema pallidum อยู่ จงึ ตดิ ตอ่
สผู่ อู้ นื่ ได้ง่าย3-6 แผลบริเวณอวัยวะเพศอาจท�ำให้เกิดการอักเสบของต่อมน�้ำเหลือง
บรเิ วณขาหนบี (inguinal lymph node) ได้ ใน 7-10 วนั หลงั จากเกดิ แผล ซง่ึ ตอ่ มนำ้� เหลอื ง
ทบ่ี วมโตน้ี จะมลี กั ษณะแขง็ คลา้ ยยาง และกดไมเ่ จบ็ 3 แผลของโรคซฟิ ลิ สิ มคี ณุ สมบตั พิ เิ ศษ
คือ สามารถหายเองไดภ้ ายในเวลา 3-8 สปั ดาห์ แมจ้ ะได้รับการรักษาท่ไี มถ่ กู ตอ้ งหรอื
ไม่ได้รบั การรักษากต็ าม3,5 แต่ ไม่ไดห้ มายความวา่ โรคหายไป โรคสามารถลุกลามต่อ
ไปเข้าสรู่ ะยะท่ี 2 ได้

คู่มือการตรวจวนิ ิจฉยั และติดตามการรักษาโรคซิฟลิ ิสทางห้องปฏบิ ัตกิ าร 13

2. โรคซฟิ ิลิสระยะที่ 2 (Secondary syphilis)
มักจะเกิดหลังจากท่ีเป็นแผลโรคซิฟิลิสระยะท่ี 1 ประมาณ 3-12 สัปดาห์
แต่บางรายอาจจะนานเป็นเวลาหลายเดอื นได3้ -6 โรคซฟิ ลิ สิ ระยะนี้ อาจมอี าการแสดง
ในอวยั วะหลายระบบ ภายใน 8 สปั ดาห์ หลงั จากเรมิ่ ตดิ เชอื้ 5 ซงึ่ เปน็ ระยะทเี่ ชอื้ กระจาย
ไปตามกระแสโลหติ โดยทว่ั ไป ผปู้ ่วยมักมีไข้ ปวดศีรษะ คลืน่ ไส้ อาเจียน เบอื่ อาหาร
ปวดเม่อื ยกล้ามเนื้อหรือกระดกู ตอ่ มน�ำ้ เหลืองโต3-6 นอกจากน้อี าจพบอาการตอ่ ไปน้ี
ได้แก่ ม่านตาอักเสบ (uveitis)5-6 เยื่อหุ้มสมองอักเสบ3-5 เส้นประสาทสมองเส่ือม
(cranial nerve palsy)5 ตับอักเสบ3-6 มา้ มโต4 เยอ่ื หุ้มกระดูกอักเสบ (periostitis)5-6
กรวยไตอักเสบ5-6 เป็นต้น อาการแสดงทางผิวหนังหรือเย่ือบุท่ีพบได้จากการตรวจ
ร่างกาย2-6 ได้แก่
2.1 ผ่ืน (skin rash) เป็นลักษณะทางคลินิกที่พบได้บ่อยที่สุด ลักษณะผื่นท่ี
พบ มีหลายแบบ เช่น ผื่นราบ (macule) ผ่ืนนูน (papule) หรือ ผ่ืนนูนมีสะเก็ด
(papulosquamous) มลี กั ษณะทีพ่ บบ่อย คือ ผนื่ มกั จะไมค่ ัน มีสีแดงลกั ษณะคล้าย
สที องแดง และผนื่ กระจายเทา่ ๆ กนั ทง้ั สองดา้ นของรา่ งกาย (symmetrically distributed)
โดยมกั พบผนื่ บรเิ วณฝา่ มอื และฝา่ เทา้ ไมพ่ บลกั ษณะผน่ื ทเี่ ปน็ ตมุ่ นำ้� ใส (vesiculobullous
lesion) ยกเว้นในโรคซิฟลิ สิ แต่ก�ำเนิด
2.2 ผ่ืนชนิดเป็นแผล (lues maligna) ลักษณะเป็นผ่ืนนูนมีสะเก็ดน้�ำเหลือง
และกลายเป็นแผลท่ีมีเน้ือเย่ือท่ีตายแล้วอยู่บนผ่ืน ผิวมีลักษณะคล้ายหอยนางรม
(oyster shell-like)
2.3 รอยโรคเฉพาะที่มีลักษณะเป็นผื่นนูนหนา เกิดขึ้นบริเวณผิวหนังที่อับชื้น
(condyloma lata) เชน่ บริเวณรอบอวยั วะเพศ หรือทวารหนัก

14 คู่มือการตรวจวินิจฉัยและตดิ ตามการรักษาโรคซิฟิลสิ ทางห้องปฏิบัติการ

2.4 รอยโรคเฉพาะท่ีมีลักษณะเป็นแผลต้ืนๆ โดยมีเย่ือสีขาวเทาคลุมอยู่
พบบริเวณเยอ่ื บใุ นช่องปาก (mucous patch) หรือบริเวณอวยั วะเพศ
2.5 ผมรว่ ง (alopecia) ลกั ษณะเปน็ ผมรว่ งชนดิ ไมเ่ ปน็ แผลเปน็ (nonscarring
alopecia) โดยลักษณะที่พบบ่อย คือ ร่วงเป็นหย่อมๆ (moth-eaten alopecia)
แตอ่ าจพบเปน็ แบบอน่ื ๆ ได้ เช่น ร่วงแบบกระจาย (diffuse alopecia) นอกจากนี้
อาจพบขนบริเวณคว้ิ หรอื เคราร่วงรว่ มดว้ ยได้
ผ่ืนโรคซิฟิลิสระยะท่ี 2 อาจค่อยๆ หายไปเองแม้ไม่รักษา หรือรักษาไม่ถูกวิธี
แต่ไม่ไดห้ มายความวา่ โรคทเุ ลาหรอื หายขาด โรคจะดำ� เนินเข้าสู่ระยะสงบ ซง่ึ เรยี กวา่
โรคซิฟิลิสระยะแฝง
3. โรคซิฟลิ สิ ระยะแฝง (latent syphilis)
เป็นระยะท่ีไม่แสดงอาการ การตรวจร่างกายทั่วไปรวมทั้งระบบหัวใจ หลอด
เลอื ด และระบบประสาท พบว่าปกต2ิ -6 แต่ผลการตรวจหาภูมิคมุ้ กันตอ่ ซิฟลิ สิ ในเลอื ด
ดว้ ยวธิ ี treponemal test ให้ผลบวก โดยท่ี nontreponemal test อาจให้ผลบวก
หรอื ลบกไ็ ด้ ขึน้ กบั ระยะเวลาทีต่ ิดเชื้อ แบ่งออกเปน็ 2 ระยะ2-7 คือ
3.1 โรคซฟิ ลิ สิ ระยะแฝงชว่ งตน้ (early latent syphilis) คอื สมั ผสั เชอ้ื มาไมเ่ กนิ 1 ปี
3.2 โรคซฟิ ลิ สิ ระยะแฝงชว่ งปลาย (late latent syphilis) คอื สมั ผสั เชอ้ื มาเกนิ 1 ปี
หากไมท่ ราบระยะเวลาตดิ เชอ้ื ทแ่ี นน่ อน จะเรยี กวา่ โรคซฟิ ลิ สิ ระยะแฝงไมท่ ราบ
ระยะเวลาทเี่ ปน็ (latent syphilis of unknown duration)2,7

คู่มือการตรวจวินิจฉัยและติดตามการรกั ษาโรคซิฟิลสิ ทางหอ้ งปฏบิ ัตกิ าร 15

4. โรคซฟิ ลิ ิสระยะที่ 3 (tertiary syphilis)
หลงั จากโรคสงบอยู่ในระยะแฝงนานต้ังแต่ 2 ปีเป็นต้นไป ประมาณ 1 ใน 3
ของผปู้ ว่ ยทไี่ มไ่ ดร้ บั การรกั ษา จะแสดงอาการของโรคในระยะทา้ ย คอื โรคซฟิ ลิ สิ ระยะที่ 3
(มกั เกดิ 15-40 ปี หลงั ตดิ เชอื้ )3 ในปจั จบุ นั พบผปู้ ว่ ยระยะนนี้ อ้ ย เนอื่ งจากการรกั ษาตงั้ แตต่ น้
สามารถหยดุ การด�ำเนินโรคได้ อาการที่พบบอ่ ยในโรคซิฟิลสิ ระยะที่ 32-6 แบง่ เปน็
4.1 แผลโรคซฟิ ลิ สิ ระยะท่ี 3 (late benign syphilis) พบรอยโรคลกั ษณะเปน็ กอ้ น
หรอื ผนื่ นนู หนาสชี มพถู งึ แดงเขม้ มกั ไมเ่ จบ็ ขนาดเสน้ ผา่ ศนู ยก์ ลางตงั้ แตห่ ลายมลิ ลเิ มตร
ถงึ หลายเซนตเิ มตร อาจพบแผลหรือฝบี ริเวณรอยโรคได้ รอยโรคนี้เรยี กว่า gumma
เกดิ จากการทมี่ ี tissue necrosis และ granuloma พบไดท้ ผี่ วิ หนงั และเยอื่ บุ ตำ� แหนง่ ที่
พบสว่ นใหญ่ ไดแ้ ก่ ศรี ษะ กน้ กลางอก (presternal) เหนอื ไหปลารา้ (supraclavicular)
หรอื หนา้ แขง้ เปน็ ต้น3 นอกจากนอ้ี าจเกิดที่เย่อื บุกระดกู หรืออวยั วะภายในได้
4.2 โรคซิฟิลิสของระบบหัวใจและหลอดเลือด (cardiovascular syphilis)
เชอื้ โรคเขา้ ทำ� ลายหวั ใจ และหลอดโลหติ ใหญ่ (aorta) อยา่ งชา้ ๆ จะปรากฎอาการเสน้
โลหติ ใหญอ่ กั เสบ (aortitis) เสน้ โลหติ ใหญโ่ ปง่ พอง ลน้ิ หวั ใจรว่ั (aortic regurgitation)
ท�ำให้การท�ำงานของหัวใจเสื่อม หรอื ลม้ เหลวได้ในทสี่ ดุ

5. โรคซฟิ ลิ สิ ของระบบประสาท (neurosyphilis)
สามารถเกิดได้ในทุกระยะของโรคซิฟิลิส อาจมีอาการหรือไม่มีอาการก็ได้
(asymptomatic neurosyphilis) ซงึ่ วนิ จิ ฉยั ไดโ้ ดยการตรวจนำ�้ ไขสนั หลงั พบผดิ ปกติ
หากมีอาการ ในช่วงแรกมักจะท�ำให้เกิดอาการทางเยื่อหุ้มสมองและเส้นโลหิต
(meningovascular) เชน่ เยอื่ หมุ้ สมองอกั เสบ (meningitis) ทำ� ใหม้ อี าการปวดศรี ษะ มไี ข้
หรือมีอาการเหมือนผู้ป่วยเส้นโลหิตสมองตีบ (stroke) เช่น แขนขาอ่อนแรงคร่ึงซีก
เป็นต้น หรือท�ำให้เกิดเส้นประสาทสมองท�ำงานผิดปกติได้ ในระยะต่อมา อาจเกิด
อาการทางสมอง (parenchymatous sequelae) เชน่ general paresis of the insane

16 ค่มู อื การตรวจวนิ จิ ฉยั และติดตามการรกั ษาโรคซิฟิลสิ ทางหอ้ งปฏบิ ัตกิ าร

(dementia paralytica) ซึ่งจะท�ำให้เกิดอาการความ จ�ำเสื่อม อารมณ์แปรปรวน
บคุ ลกิ ภาพเปล่ยี นแปลง และ tabes dorsalis ท�ำใหม้ อี าการเดนิ ผิดปกติ การท�ำงาน
ของล�ำไส้และกระเพาะปัสสาวะผิดปกติ เป็นต้น นอกจากน้ียังอาจพบความผิดปกติ
ทางตา เชน่ uveitis ซง่ึ จะมีอาการปวดตา ตาแดง ตาสู้แสงไม่ได้ และความผดิ ปกติ
ทางหู เช่น sensorineural hearing loss เป็นต้น3-6
การวนิ จิ ฉยั โรคซิฟลิ สิ ของระบบประสาท
ท�ำไดโ้ ดยอาศัยอาการ อาการแสดง ร่วมกับการตรวจเพมิ่ เติม ไดแ้ ก่
• การตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ยืนยันการมีการติดเช้ือโรคซิฟิลิสในเลือด
เชน่ RPR, VDRL, FTA-ABS, TPPA, EIA
• การตรวจทางหอ้ งปฏบิ ตั กิ ารระบบประสาท ไดแ้ ก่ การตรวจนำ�้ ไขสนั หลงั
แตใ่ นภาวะ asymptomatic neurosyphilis จะไม่พบความผิดปกติทางคลินิก
แต่มีความผดิ ปกติของนำ�้ ไขสันหลงั
• การตรวจทางรังสีวิทยา (neurological imaging) ส�ำหรับผู้ท่ีมีอาการ
และอาการแสดงของระบบประสาท โดยเฉพาะกอ่ นทจ่ี ะทำ� การเจาะนำ้� ไขสนั หลงั มาตรวจ
ควรจะตอ้ งแยกภาวะความดนั ในกะโหลกศรี ษะสงู (increased intracranial pressure)
โดยการตรวจหา focal neurological deficit และการดูจอประสาทตา เพ่ือหา
papilledema
หมายเหตุ ไมแ่ นะนำ� ให้เจาะน�้ำไขสนั หลัง (lumbar puncture) เนือ่ งจากอาจ
เกิดอันตรายต่อหญิงต้งั ครรภไ์ ด้

ค่มู อื การตรวจวนิ ิจฉยั และติดตามการรกั ษาโรคซฟิ ิลิสทางหอ้ งปฏบิ ัติการ 17

ตารางท่ี 2.1 การแปลผลการตรวจนำ้� ไขสนั หลังในโรคซฟิ ิลิสของระบบประสาท

ประเภทของ การแปลผล
การตรวจ

CSF-VDRL • ถอื เปน็ การตรวจทเี่ ปน็ gold standard ในการวนิ จิ ฉยั โรคซฟิ ลิ สิ ของระบบ
ประสาท
• มีความไวต่�ำ แต่ความจ�ำเพาะค่อนข้างสูง ดังน้ันหากการตรวจเป็นลบ
ผปู้ ว่ ยยงั อาจเปน็ โรคซฟิ ลิ สิ ของระบบประสาทได้
• อาจมผี ลลบลวงในผู้ป่วยที่เป็น late neurosyphilis
• อาจมผี ลบวกลวงได้ ถา้ มกี ารปนเปอ้ื นของเลอื ดในนำ้� ไขสนั หลงั หากในเลอื ด
มคี า่ VDRL สงู

CSF-RPR • ไมม่ บี ทบาทในการวนิ จิ ฉยั โรคซฟิ ลิ สิ ของระบบประสาท

CSF-FTA • มีความไวสูง แตค่ วามจำ� เพาะต�่ำ
• อาจเกดิ ผลบวกลวง เนอ่ื งจากมกี ารขา้ มผา่ น blood brain barrier ของ IgG
antitreponemal antibody ได้
• ในทางคลนิ กิ อาจใช้ negative predictive value ในการชว่ ยแยกโรคซฟิ ลิ สิ
หากผล CSF-FTA เป็น nonreactive

จ�ำนวนของ • หากจำ� นวนเมด็ เลอื ดขาวในนำ้� ไขสนั หลงั มากกวา่ 5 cells/µl ถอื วา่ มคี วาม
เมด็ เลอื ดขาว ผิดปกติ และควรแปลผลร่วมกับอาการทางคลินิก

ระดบั ของ • ค่าของโปรตนี ในนำ�้ ไขสนั หลงั มากกว่า 45 mg/dl
โปรตนี • ควรแปลผลคา่ ของโปรตนี ในนำ้� ไขสนั หลงั รว่ มกบั จำ� นวนเมด็ เลอื ดขาวและ
อาการทางคลินกิ
CSF = Cerebrospinal fluid



การตรวจทางรงั สีวทิ ยา
Neurological imaging สำ� หรบั ผทู้ ม่ี อี าการและอาการแสดงของระบบประสาท

โดยเฉพาะก่อนท่ีจะท�ำการเจาะน้�ำไขสันหลังมาตรวจ ควรจะต้องแยกภาวะความดัน

ในกะโหลกศรี ษะสงู (increased intracranial pressure) โดยการตรวจหา focal neuro-

logical deficit และการดูจอประสาทตา เพ่ือหา papilledema

18 คูม่ ือการตรวจวินิจฉยั และติดตามการรกั ษาโรคซฟิ ลิ ิสทางห้องปฏิบตั ิการ

การวินจิ ฉยั โรคในผ้ตู ิดเช้อื เอชไอวี
ผู้ติดเช้ือเอชไอวีที่เป็นโรคซิฟิลิส มีแนวโน้มที่จะมีรอยโรคขนาดใหญ่และลึก
และจำ� นวนหลายรอยโรค พบว่ากลมุ่ น้จี ะมีความเส่ยี งทจี่ ะมีการติดเชอ้ื ซฟิ ลิ สิ ท่รี ะบบ
ประสาทร่วมดว้ ย
ในหญงิ ต้ังครรภ์ส่วนหน่ึงจะมีผลการตรวจ nontreponemal test ไม่แมน่ ยำ�
ดงั นนั้ หากผลการตรวจเปน็ ลบ แตห่ ญงิ ตงั้ ครรภม์ คี วามเสย่ี งเปน็ โรคซฟิ ลิ สิ สงู ควรตรวจ
โดยใชว้ ธิ ีการตรวจอืน่ รว่ มด้วยเพือ่ ยืนยนั การวนิ ิจฉัย

ตารางที่ 2.2 ลักษณะทางคลินิกและระยะเวลาที่ตรวจพบหลังได้รับเชื้อของผู้ท่ีเป็น
โรคซฟิ ลิ ิสระยะที่ 3 และโรคซฟิ ิลิสของระบบประสาท3-5

ลักษณะ ระยะเวลา อาการและอาการแสดง
โรคซฟิ ิลสิ ของระบบ หลงั ไดร้ ับเชื้อ
ประสาทแบบไมม่ อี าการ
(asymptomatic ไม่แน่นอน มคี วามผดิ ปกตขิ องน้�ำไขสันหลัง โดยจะพบใน
neruosyphilis) รอ้ ยละ 15-40 ของโรคซิฟลิ สิ ระยะที่ 1 และ
โรคซฟิ ิลสิ ที่บรเิ วณเย้อื หุ้ม ระยะท่ี 2
สมองและหลอดเลอื ด
(meningovascular 4-12 ปี เสน้ เลอื ดอกั เสบเปน็ หยอ่ มๆ โดยอาจมลี กั ษณะ
syphilis) จุดเน้ือตาย เย่ือหุ้มสมองอักเสบหรืออาการ
ทเ่ี กดิ จากเนอ้ื สมองสว่ นนนั้ ตาย อาการตอ่ ไปน้ี
โรคซฟิ ิลสิ ของเนอ้ื สมอง เปน็ บางครง้ั ไดแ้ ก่ ปวดศรี ษะ อารมณแ์ ปรปรวน
(parenchymatous นอนไมห่ ลับ ออ่ นแรงคร่ึงซกี ชกั
syphilis)
- General paresis 10-20 ปี cortical neuronal loss ความจำ� เสอ่ื ม/ความ
15-25 ปี สามารถในการใชเ้ หตผุ ลเสอ่ื มอยา่ งชา้ ๆ อารมณ์
- Tabes dorsalis แปรปรวน บคุ ลกิ ภาพเปลยี่ นแปลง psychosis
มอี าการอกั เสบของ spinal dorsal column/
nerve root เชน่ มีอาการ lightening pains,
ataxia, paraesthesia, areflexia และอาจตรวจ
พบ Charcot’s joint, papillary changes ได้

คมู่ อื การตรวจวินจิ ฉยั และติดตามการรักษาโรคซิฟิลสิ ทางหอ้ งปฏิบัติการ 19

ตารางท่ี 2.2 ลักษณะทางคลินิกและระยะเวลาท่ีตรวจพบหลังได้รับเช้ือของผู้ที่เป็น
โรคซิฟลิ สิ ระยะท่ี 3 และโรคซฟิ ลิ ิสของระบบประสาท3-5 (ต่อ)

ลกั ษณะ ระยะเวลา อาการและอาการแสดง
หลังไดร้ บั เชอื้

โรคซฟิ ิลิสของระบบไหล 10-30 ปี หลอดเลือด aorta อักเสบ (มีการพบเฉพาะ
เวยี นโลหติ (cardiovascular ส่วน ascending aorta) อาจไมม่ ีอาการเลย
syphilis) หรือเจบ็ บริเวณใต้ sternum, อาจเกิด aortic
regurgitation สง่ ผลใหห้ วั ใจลม้ เหลว, coronary
ostial stenosis เกิด angina หรืออาจเกิด
aortic aneurysm ได้

แผลโรคซฟิ ิลิสระยะที่ 3 2-40 ปี ลกั ษณะเปน็ กอ้ นหรอื ผน่ื นนู หนาสชี มพถู งึ แดงเขม้
(late benign syphilis) (เฉลี่ย 15 ป)ี อาจพบแผลหรือฝีบริเวณรอยโรค (gumma)

อาจเกิดที่อวัยวะใดก็ได้ แต่มักพบท่ีผิวหนัง
และกระดูก

หมายเหตุ :
- อาจพบอาการแสดงร่วมกันของโรคซิฟิลิสของระบบประสาท โรคซิฟิลิส
ของระบบหัวใจและหลอดเลอื ด และแผลโรคซิฟิลิสระยะท่ี 3 ได้
- ผู้เชี่ยวชาญได้มีการแบ่งระยะของโรคซิฟิลิสเพ่ือประโยชน์ในการก�ำหนด
ระยะเวลาการรักษา2 ดงั น้ี
1. โรคซิฟลิ สิ ระยะต้น (early syphilis) ได้แก่
1.1 โรคซิฟลิ สิ ระยะท่ี 1 (primary syphilis)
1.2 โรคซฟิ ิลิสระยะที่ 2 (secondary syphilis)
1.3 โรคซฟิ ลิ สิ ระยะแฝงช่วงตน้ (early latent syphilis)

20 คู่มอื การตรวจวนิ จิ ฉัยและตดิ ตามการรกั ษาโรคซฟิ ิลสิ ทางหอ้ งปฏบิ ัติการ

2. โรคซฟิ ิลิสระยะปลาย (Late syphilis) ได้แก่
2.1 โรคซิฟลิ สิ ระยะแฝงช่วงปลาย (late latent syphilis)
2.2 โรคซิฟิลิสระยะแฝงไม่ทราบระยะเวลาท่ีเป็น (latent syphilis of
unknown duration)
2.3 โรคซิฟิลสิ ระยะท่ี 3 (tertiary syphilis)
• แผลโรคซฟิ ลิ ิสระยะท่ี 3 (late benign syphilis)
• โรคซฟิ ลิ สิ ของระบบหวั ใจและหลอดเลอื ด (cardiovascular syphilis)
3. โรคซฟิ ลิ สิ ของระบบประสาท (neurosyphilis)

การรกั ษาโรคซฟิ ิลิส
1. โรคซิฟิลิสระยะต้น (Early syphilis) ได้แก่ โรคซิฟิลสิ ระยะที่ 1 (primary
syphilis) โรคซฟิ ลิ สิ ระยะที่ 2 (secondary syphilis) และ โรคซฟิ ลิ สิ ระยะแฝงชว่ งตน้
(early latent syphilis)
• ฉีด Benzathine penicillin G 2.4 ล้านยนู ิต เขา้ กล้ามเนอ้ื คร้ังเดยี ว
(ให้แบง่ ฉีดเข้ากล้ามเนอ้ื สะโพกขา้ งละ 1.2 ล้านยูนิต)2-7
• ติดตามและรักษาค่เู พศสมั พนั ธ์แมไ้ ม่มีอาการและผลเลือดเปน็ ลบ
กรณีแพ้ยา Penicillin ใหย้ าอย่างใดอยา่ งหนงึ่ ไดแ้ ก่
• Doxycycline 100 mg รบั ประทานวนั ละ 2 ครงั้ หลงั อาหาร นาน 14 วนั 2-7
• Tetracycline 500 mg รบั ประทานวนั ละ 4 ครงั้ หลงั อาหาร นาน 14 วนั 2,4,6-7
• Azithromycin 2 gm รับประทานครั้งเดียว2,4,7
• Ceftriaxone 1-2 gm ฉดี เขา้ หลอดเลอื ดดำ� หรอื เขา้ กลา้ มเนอ้ื วนั ละ 1 ครง้ั
นาน 10-14 วนั 2,4,7
• Erythromycin 500 mg รบั ประทานวนั ละ 4 ครง้ั หลงั อาหาร นาน 14 วนั 2,5,7

คมู่ ือการตรวจวินจิ ฉยั และติดตามการรักษาโรคซิฟิลสิ ทางหอ้ งปฏบิ ัตกิ าร 21

2. โรคซฟิ ลิ สิ ระยะปลาย (Late syphilis) ไดแ้ ก่ โรคซฟิ ลิ สิ ระยะแฝงชว่ งปลาย
(late latent syphilis) โรคซฟิ ลิ สิ ระยะแฝงไมท่ ราบระยะเวลาทเ่ี ปน็ (latent syphilis
of unknown duration) โรคซฟิ ลิ สิ ระยะที่ 3 (tertiary syphilis) ซงึ่ ประกอบดว้ ย แผลโรค
ซฟิ ลิ สิ ระยะที่ 3 (late benign syphilis) และโรคซฟิ ลิ สิ ของระบบหวั ใจและหลอดเลอื ด
(cardiovascular syphilis)
• ฉดี Benzathine penicillin G 2.4 ลา้ นยนู ติ เขา้ กลา้ มเนอ้ื สปั ดาหล์ ะ 1 ครงั้
จำ� นวน 3 ครงั้ ตดิ ตอ่ กนั (ใหแ้ บง่ ฉดี เขา้ กลา้ มเนอื้ สะโพกขา้ งละ 1.2 ลา้ นยนู ติ ) 2-7
• ใหก้ ารรกั ษาคเู่ พศสมั พนั ธห์ ากมผี ลเลอื ดผดิ ปกติ
กรณีแพ้ยา Penicillin ให้ยาอยา่ งใดอยา่ งหน่ึง ไดแ้ ก่
• Doxycycline 100 mg กนิ วนั ละ 2 ครง้ั หลงั อาหาร นาน 28 วนั 2-5,7
• Tetracycline 500 mg กนิ วนั ละ 4 ครงั้ หลงั อาหาร นาน 28 วนั 2,4,7
3. โรคซิฟลิ ิสของระบบประสาท (neurosyphilis)
• ฉีด Aqueous crystalline penicillin G 18-24 ลา้ นยนู ิต/วนั เข้าหลอด
เลอื ดดำ� โดยแบ่งฉดี 3-4 ล้านยนู ิต ทกุ 4 ชวั่ โมงนาน 10-14 วนั

22 ค่มู อื การตรวจวนิ ิจฉยั และติดตามการรักษาโรคซิฟลิ สิ ทางห้องปฏิบตั กิ าร

ตารางที่ 2.3 สรปุ การรักษาโรคซฟิ ิลิสระยะตา่ งๆ2-7

การรักษา
Alternative option
ระยะของ (แพ้ Penicillin หรือ หมายเหตุ
โรคซิฟิลิส First line option กรณไี มม่ ี Benzathine

โรคซฟิ ิลิสชว่ งตน้ (Early syphilis) penicillin)

1. โรคซิฟิลิส Benzathinepenicillin Doxycycline 100 mg • Doxycycline เป็นที่
ระยะที่ 1 G 2.4 ล้านยูนิต ฉีด รบั ประทานวนั ละ 2 ครงั้ นิ ย ม ใ ช ้ ม า ก ก ว ่ า
(primary เขา้ กลา้ มเนอ้ื ครงั้ เดยี ว หลังอาหาร นาน 14 วัน Tetracycline เนอ่ื งจาก
syphilis) (ให้แบ่งฉีดเข้ากล้าม (หา้ มใชใ้ นหญงิ ตงั้ ครรภ)์ ยาผา่ นเขา้ นำ้� ไขสนั หลงั
2. โรคซิฟิลิส เนอ้ื สะโพกขา้ งละ 1.2 ได้ดีกว่า และอาการ
ระยะที่ 2 ล้านยูนิต) และอาจ Tetracycline 500 mg คลื่นไส้น้อยกว่า
(secondary ลดอาการปวดจาก รบั ประทานวนั ละ 4 ครงั้ • ห้ามใช้ Doxycycline
syphilis) การฉีด โดยผสมกับ หลงั อาหาร นาน 14 วนั หรอื Tetracycline ใน
1% lidocaine ท่ไี มม่ ี (หา้ มใชใ้ นหญงิ ตง้ั ครรภ)์ หญงิ ต้ังครรภ์

epinephrine จำ� นวน Azithromycin 2 gm มี ร า ย ง า น พ บ เ ชื้ อ
0.5-1.0 ml รบั ประทานครง้ั เดยี ว T. pallidum ด้อื ตอ่ ยา

Azithromycin ในบาง
ประเทศ

3. โรคซิฟิลิส Ceftriaxone 1-2 gm • การใช้ Ceftriaxone
ระยะแฝง ฉีดเข้าหลอดเลือดด�ำ มโี อกาสcrossreaction
ชว่ งตน้ หรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ กับผู้ท่ีแพ้ Penicillin
(early latent วันละ 1 คร้ัง นาน ได้ 10%
syphilis) 10-14 วนั • ขณะน้ียังไม่มีข้อมลู วา่
สามารถปอ้ งกนั การเกดิ
โรคซฟิ ลิ สิ แต่ก�ำเนดิ

คู่มอื การตรวจวนิ ิจฉัยและตดิ ตามการรกั ษาโรคซฟิ ิลสิ ทางหอ้ งปฏบิ ตั กิ าร 23

ตารางท่ี 2.3 สรปุ การรกั ษาโรคซฟิ ิลิสระยะต่างๆ2-7 (ตอ่ )

การรกั ษา
Alternative option
ระยะของ (แพ้ Penicillin หรอื หมายเหตุ
โรคซฟิ ิลสิ First line option กรณไี มม่ ี Benzathine

penicillin)

โรคซฟิ ลิ สิ ชว่ งปลาย (Late syphilis) Erythromycin 500 mg • ให้ผลการรักษาต่�ำ
รบั ประทาน วนั ละ 4 ครง้ั (high failure rates)
หลังอาหาร นาน 14 วนั ยาผา่ น blood brain

barrier และ placental
barrier ได้ไม่ดี
• ยาน้ีไม่สามารถผ่าน
รกไปที่ทารกในระดับ
ทเ่ี พยี งพอทจี่ ะปอ้ งกนั
โรคซิฟิลิสแต่ก�ำเนิด
ในทารก

1. โรคซิฟิลสิ Benzathinepenicillin Doxycycline 100 mg • Doxycycline และ
ระยะแฝง G 2.4 ลา้ นยนู ติ ฉดี เขา้ รบั ประทานวนั ละ 2 ครง้ั Tetracycline เปน็ ยา
ช่วงปลาย กล้ามเน้ือ สปั ดาห์ละ หลงั อาหาร นาน 28 วัน เพียง 2 ชนิดเท่านั้น
(late latent 1 คร้ัง จำ� นวน 3 ครง้ั (หา้ มใชใ้ นหญงิ ตง้ั ครรภ)์ ที่ศูนย์ควบคุมโรค
syphilis) ตดิ ตอ่ กนั แห่งชาติ ประเทศ
สหรัฐอเมริการับรอง
เป็น alternative
option ใน late latent
syphilis และ latent
syphilis of unknown
duration

24 คมู่ ือการตรวจวนิ ิจฉยั และติดตามการรกั ษาโรคซิฟิลสิ ทางห้องปฏิบตั กิ าร

ตารางที่ 2.3 สรุปการรักษาโรคซิฟลิ สิ ระยะต่างๆ2-7 (ตอ่ )

การรักษา
Alternative option
ระยะของ (แพ้ Penicillin หรือ หมายเหตุ
โรคซฟิ ิลสิ First line option กรณไี มม่ ี Benzathine

penicillin)
2. โรคซฟิ ิลิส Tetracycline 500 mg • ห้ามใช้ Doxycycline
ระยะแฝง รบั ประทานวนั ละ 4 ครงั้ หรอื Tetracycline ใน
ไมท่ ราบระยะ หลงั อาหาร นาน 28 วัน หญงิ ต้ังครรภ์
เวลาที่เปน็ (หา้ มใชใ้ นหญงิ ตงั้ ครรภ)์ • Ceftriaxone อาจ
(latent
syphilis of ใชไ้ ดผ้ ลดใี นโรคซฟิ ิลสิ
unknown ระยะนี้ แต่ขนาดของ
duration) ยาและระยะเวลาที่ให้
3. โรคซฟิ ิลิส ยายงั ไมม่ นี ยิ ามทชี่ ดั เจน
ระยะที่ 3 • ขณะน้ยี ังไมม่ ขี อ้ มูลวา่
(tertiary สามารถปอ้ งกนั การเกดิ
syphilis) โรคซิฟลิ ิส แตก่ ำ� เนิด
- แผลโรค
ซฟิ ลิ สิ ระยะท่ี 3
(late benign
syphilis)
- โรคซฟิ ลิ สิ
ของระบบหวั ใจ
และหลอดเลอื ด
(cardiovascular
syphilis)

ค่มู ือการตรวจวนิ ิจฉัยและติดตามการรกั ษาโรคซิฟิลสิ ทางห้องปฏิบัติการ 25

ตารางท่ี 2.3 สรุปการรักษาโรคซฟิ ลิ สิ ระยะต่างๆ2-7 (ตอ่ )

การรกั ษา
Alternative option
ระยะของ (แพ้ Penicillin หรือ หมายเหตุ
โรคซฟิ ิลิส First line option กรณไี มม่ ี Benzathine

penicillin)
โรคซฟิ ลิ สิ ของระบบประสาท (neurosyphilis)
โรคซิฟลิ ิสของ Aqueous crystalline Ceftriaxone 2 gm • Ceftriaxone ผ่าน
ระบบประสาท penicillin G 18-24 ฉีดเข้าหลอดเลือดด�ำ เขา้ น�ำ้ ไขสันหลังได้ดี
(neurosyphilis) ล้านยูนิต/วัน ฉีดเข้า หรือฉีดเข้ากล้ามเน้ือ • การใช้ Ceftriaxone
หลอดเลือดด�ำ โดย วนั ละ 1 ครงั้ นาน 10-14 มโี อกาสcross-reaction
แบง่ ฉดี 3-4 ลา้ น ยนู ติ วัน กับผู้ท่ีแพ้ Penicillin
ทุก 4 ช่ัวโมงนาน ได้ 10%
10-14 วนั

26 คู่มอื การตรวจวินิจฉยั และตดิ ตามการรกั ษาโรคซิฟิลิสทางหอ้ งปฏบิ ัติการ

ตารางท่ี 2.3 สรปุ การรักษาโรคซฟิ ิลสิ ระยะต่างๆ2-7 (ต่อ)

การรักษา
Alternative option
ระยะของ (แพ้ Penicillin หรอื หมายเหตุ
โรคซิฟิลสิ First line option กรณไี มม่ ี Benzathine

โรคซิฟิลิสในผปู้ ว่ ยท่ตี อ้ งพิจารณาเป็นพเิ ศษ penicillin)

1. โรคซฟิ ลิ สิ • ศูนย์ควบคุมโรค • Ceftriaxone 1-2 gm • Ceftriaxone ผ่านเขา้
ในหญงิ มคี รรภ์ แห่งชาติ ประเทศ ฉีดเข้าหลอดเลือดด�ำ น้ำ� ไขสนั หลังได้ดี
ทแ่ี พ้ Penicillin สหรฐั อเมรกิ าแนะนำ� หรอื เขา้ กลา้ มเนอ้ื วนั ละ • การใช้ Ceftriaxone
ให้ท�ำ Penicillin 1 ครง้ั นาน 10-14 วนั มโี อกาสcrossreaction
desensitized กอ่ น กบั ผู้ท่ีแพ้ Penicillin
แ ล ้ ว รั ก ษ า ด ้ ว ย ได้ 10%
Penicillin เช่น • ขณะน้ยี ังไมม่ ขี ้อมูลวา่
เดยี วกับข้างบน สามารถป้องกันการ
• บางการศกึ ษาแนะนำ� เกดิ โรคซฟิ ลิ สิ แตก่ ำ� เนดิ
ให้ฉีด Benzathine
penicillinG2.4ลา้ น
ยนู ติ ฉดี เขา้ กลา้ มเนอ้ื
สัปดาห์ละ 1 คร้ัง
จำ� นวน 2 ครงั้ ตดิ ตอ่
กนั 3,7
• บางการศกึ ษาแนะนำ�
ให้เพิ่มการฉีดยา 1
dose ในโรคซิฟิลิส
ระยะต้น โดยฉีด
Benzathine peni-
cillin G 2.4 ลา้ นยนู ติ
ฉีดเข้ากล้ามเน้ือ
สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
จ�ำนวน 2 ครงั้ 3,7

คมู่ อื การตรวจวนิ จิ ฉัยและติดตามการรักษาโรคซิฟิลสิ ทางห้องปฏิบตั กิ าร 27

ตารางท่ี 2.3 สรุปการรกั ษาโรคซิฟิลสิ ระยะต่างๆ2-7 (ต่อ)

การรักษา
Alternative option
ระยะของ (แพ้ Penicillin หรือ หมายเหตุ
โรคซฟิ ิลสิ First line option กรณไี มม่ ี Benzathine
2. โรคซิฟลิ สิ
แต่กำ� เนิด penicillin)
(congenital
syphilis) • E r y t h r o m y c i n • ให้ผลการรักษาต�่ำ
stearate 500 mg ยาผา่ น blood brain
รบั ประทานวนั ละ4ครงั้ barrier และ placental
หลงั อาหาร นาน 14 วนั barrier ไดไ้ ม่ดี

• ยาน้ีไม่สามารถผ่าน
รกไปที่ทารกในระดับ
ทเี่ พยี งพอทจี่ ะปอ้ งกนั
โรคซฟิ ลิ สิ แตก่ ำ� เนดิ ใน
ทารก
• ทารกตอ้ งไดร้ บั การตรวจ
เลือดและติดตามดูแล
รักษาอย่างใกล้ชดิ

Aqueous crystalline มารดา บดิ า/คเู่ พศสมั พนั ธ์
penicillin G 50,000 ของมารดา ควรไดร้ บั การ
ยู นิ ต / น�้ ำ ห นั ก ตั ว ประเมินการติดเชื้อและ
1 kg/คร้ัง ฉีดเข้า รกั ษา
หลอดเลือดด�ำ ทุก
12 ชั่วโมง ในช่วงท่ี
ทารกอายุ 1–7 วัน
และทุก 8 ชัว่ โมง ใน
ชว่ งทที่ ารกอายมุ ากกวา่
7 วนั รวมทง้ั สน้ิ 10 วนั

หมายเหตุ: ผตู้ ดิ เชือ้ เอชไอวีใหร้ ักษาเหมือนผู้ท่ีไม่ติดเชอื้ เอชไอวี

28 คูม่ ือการตรวจวนิ จิ ฉัยและตดิ ตามการรกั ษาโรคซฟิ ลิ ิสทางหอ้ งปฏบิ ตั ิการ

รูปอาการทางคลินกิ (โรคซิฟิลิสระยะท่ี 1 และ 2)
โรคซฟิ ิลสิ ระยะท่ี 1
• แผลของโรคซิฟิลิสระยะที่ 1 เป็นลักษณะแผลขอบแข็ง ก้นแผลสะอาด
เรยี กแผลริมแข็ง (hard chancre)

รปู ที่ 2.2 แผลรมิ แขง็ (hard chancre)

คมู่ ือการตรวจวินจิ ฉัยและตดิ ตามการรักษาโรคซฟิ ลิ ิสทางห้องปฏิบตั กิ าร 29


Click to View FlipBook Version