The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by stabundamrong KM, 2021-10-15 02:52:08

คู่มือปฏิบัติราชการของกระทรวงมหาดไทย

E-BookBook Ministry of Interior

- 135 -

จ้างตามสัญญาจ้างโดยได้รับค่าตอบแทนจากงบประมาณของส่วนราชการ เพื่อเป็นพนักงานของรัฐในการ
ปฏิบตั งิ านใหก้ บั สว่ นราชการนนั้

ท้งั น้ี สว่ นราชการจะมีกรอบอัตรากาลังพนักงานราชการของแต่ละส่วนราชการประเภทใด
จานวนเท่าใด จะเป็นไปตามท่ีคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ (คพร.) กาหนด โดยกรอบอัตรากาลัง
พนักงานราชการของส่วนราชการ จะดาเนินการจัดทาในทุก ๔ ปี ซึ่งกรอบอัตรากาลังพนักงานราชการ
ของสานักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยในปัจจุบัน คือ กรอบอัตรากาลังพนักงานราชการ รอบท่ี ๕ ปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๔ - ๒๕๖๗ มีจานวนท้ังส้ิน ๕๔๐ อัตรา แต่สานักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยยังไม่สามารถจ้างได้
เต็มกรอบที่ได้รับจัดสรรดังกล่าวข้างต้น โดยจ้างได้เพียง ๔๓๓ อัตรา เน่ืองจากต้องรอลูกจ้างประจาท่ีกาหนด
เปน็ ฐานกรอบพนกั งานราชการ อีกจานวน ๙๗ อัตรา เกษียณอายุราชการ เสียชีวิต ลาออก จึงจะสามารถกาหนด
กรอบอัตรากาลังพนักงานราชการเพ่ือทดแทนได้ นอกจากน้ี ส่วนราชการยังมีกรอบอัตรากาลังพนักงานราชการ
เพ่ิมเติมท่ีเกิดจากการทดแทนอัตราว่างจากผลการเกษียณอายุของข้าราชการ ซ่ึงเป็นไปตามคณะรัฐมนตรี
ในการประชุมเมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๖๐ และมาตรการบริหารจัดการกาลังคนภาครัฐ (พ.ศ. ๒๕๖๒ – ๒๕๖๕)
โดยให้ อ.ก.พ.กระทรวงพิจารณาตามแนวทางที่ คปร. กาหนด ซึ่งในส่วนของสานักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
เป็นส่วนราชการขนาดกลาง (มีอัตราข้าราชการต้ังแต่ ๑,๐๐๑ – ๕,๐๐๐ อัตรา) ให้ทดแทนอัตราข้าราชการ
ตาแหน่งประเภทวิชาการและประเภทท่ัวไปที่ว่างจากผลการเกษียณอายุเป็นพนักงานราชการ ร้อยละ ๑๐ ทั้งน้ี
กรณตี าแหน่งพนักงานราชการที่ทดแทนตาแหน่งลูกจ้างประจาและข้าราชการดังกล่าว ส่วนราชการจะดาเนินการ
สรรหาและเลือกสรรบุคคลเพ่ือจัดจ้างได้ต่อเมื่อสานักงบประมาณได้อนุมัติงบประมาณสาหรับการจ้างพนักงาน
ราชการแลว้ จงึ จะสามารถดาเนนิ การได้

เพื่อให้การบริหารทรัพยากรบุคคลของสานักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยในส่วนของ
พนักงานราชการ เป็นไปด้วยความเรยี บร้อย ถูกต้อง ตามท่ีคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ (คพร.) กาหนด
กลุ่มงานวางแผนอัตรากาลัง กองการเจ้าหน้าท่ี จึงได้สารวจข้อมูลอัตรากาลังลูกจ้างประจาท่ีเกษียณอายุราชการ
เสียชีวิต ลาออก เม่ือส้ินปีงบประมาณรวมถึงพนักงานราชการที่เกิดจากการทดแทนอัตราว่างจากผล
การเกษียณอายุของข้าราชการเพื่อศึกษา วิเคราะห์และจัดทาข้อมูลนาเสนอปลัดกระทรวงมหาดไทย เพื่อขอ
ความเห็นชอบการจัดสรรอัตรากาลังพนักงานราชการให้แก่หน่วยงานในสังกัดสานักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
ท้ังในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยพิจารณาจากภาระงานที่เปล่ียนแปลงไป อันเนื่องมาจากการบังคับใช้กฎหมายใหม่
การกาหนดยทุ ธศาสตรช์ าติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ แผนการปฏิรูป
ประเทศ และนโยบาย/ภารกิจสาคัญที่รัฐบาลมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยเป็นหน่วยดาเนินการ รวมถึง
ความต้องการด้านอัตรากาลังของหน่วยงาน รวมท้ังขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากสานักงบประมาณ
สาหรับการจ้างพนักงานราชการดงั กลา่ วดว้ ย โดยสรปุ ขน้ั ตอนการปฏิบตั งิ านได้

หน่วยงานรับผดิ ชอบ : กลุม่ งานวางแผนอตั รากาลงั กองการเจ้าหน้าที่ สป. โทร. ๐ ๒๒๒๓ ๘๗๙๐ (มท.) ๕๐๓๘๖

- 136 -

๒.๒ การบรรจุแต่งต้ังและข้อมูลบุคคล
๒.๒.๑ การแต่งต้ังข้าราชการให้ดารงตาแหน่งของสานักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย

(ตัวอย่ำง กรณีตำแหน่งประเภทวิชำกำร ระดบั ชำนำญกำรพิเศษ)
ภารกิจของกลุ่มงานบรรจุแต่งตั้งและข้อมูลบุคคล กองการเจ้าหน้าท่ี สป. ในการแต่งตั้ง

ข้าราชการ มวี ตั ถปุ ระสงค์เพ่อื การบรหิ ารจัดการตาแหน่งวา่ ง ทาใหม้ ผี ู้ปฏบิ ตั ิราชการในตาแหนง่ ที่ว่างอยู่ ซ่ึงจะเป็น
ประโยชนต์ ่อการขับเคลอื่ นงานของสานักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยท้ังในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคได้อย่างต่อเน่ือง
ตัวอย่าง กรณีการแต่งตั้งให้ดารงตาแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชานาญการพิเศษ จะดาเนินการต่อเน่ืองจาก
กระบวนการสอบคัดเลือกของกลุ่มงานสรรหาและประเมินบุคคล โดยเมื่อได้รับรายช่ือข้าราชการผู้ผ่านการคัดเลือกแล้ว
กลุ่มงานบรรจุฯ จึงดาเนินการเสนอให้ผู้บังคับบัญชามีคาสั่งให้ข้าราชการผู้ผ่านการคัดเลือก รักษาการในตาแหน่ง
ประเภทวิชาการ ระดับชานาญการพิเศษ (อาศัยอานาจตามความในมาตรา ๕๗ (๙) และมาตรา ๖๘ พระราชบัญญัติ
ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑) พรอ้ มท้ังแจง้ วันที่ให้เดนิ ทางไปปฏิบตั ิหน้าท่ีตามคาสั่ง รวมถึงแจ้งให้ส่งผลงาน
เพ่ือประเมินตามหลักเกณฑ์และระยะเวลาที่กาหนดไว้ โดยเม่ือข้าราชการดังกล่าวผ่านการประเมินผลงานเรียบร้อยแล้ว
จึงดาเนินการเสนอให้ผู้บังคับบัญชามีคาส่ังแต่งต้ัง (เล่ือน) ให้ดารงตาแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชานาญการพิเศษ
ตามที่ได้รักษาการอยู่ต่อไป (อาศัยอานาจตามความในมาตรา ๕๗ (๙) และมาตรา ๖๓ พระราชบัญญัติระเบียบ
ข้าราชการพลเรอื น พ.ศ. ๒๕๕๑)

๒.๒.๒ การใหข้ ้าราชการได้รบั เงนิ เดอื นตามคณุ วฒุ ิ
(๑) กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือน พ.ศ. ๒๕๕๑ ข้อ ๒ (๓)

กาหนดวา่ ข้าราชการพลเรอื นสามัญผูใ้ ดไดร้ ับปริญญาหรอื ประกาศนยี บัตรวิชาชีพเพ่ิมขึ้นหรือสูงข้ึนซึ่ง ก.พ. รับรองว่า
ปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพท่ีได้รับเพ่ิมข้ึนหรือสูงข้ึนน้ันเป็นคุณสมบัติเฉพาะสาหรับตาแหน่งท่ีได้รับแต่งตั้ง
และกาหนดเงนิ เดือนที่ควรได้รับในตาแหน่งประเภท สายงาน ระดับ และอัตรานั้นไว้แล้ว ผู้มีอานาจส่ังบรรจุและแต่งต้ัง
อาจปรับให้ไดร้ ับเงนิ เดือนในตาแหน่งประเภท สายงาน ระดบั และอตั ราที่ ก.พ. กาหนดตามหลักเกณฑ์ดังนี้

๑) ผู้ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือเทียบเท่าเพ่ิมขึ้น หรือสูงข้ึน
จากประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือเทียบเท่าจะต้องดารงตาแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งโดยใช้วุฒิประกาศนียบัต ร
วิชาชีพ (ปวช.) หรอื เทียบเทา่ มาแลว้ ไม่นอ้ ยกวา่ หน่งึ ปี

๒) ผู้ได้รับปริญญาโทเพิ่มขึ้นหรือสูงขึ้นจากปริญญาตรีจะต้องดารงตาแหน่งท่ีได้รับ
แตง่ ต้ัง โดยใช้วุฒปิ ริญญาตรมี าแลว้ ไม่นอ้ ยกวา่ หนึง่ ปี

๓) ผู้ได้รับปริญญาเอกเพ่ิมขึ้นหรือสูงขึ้นจากปริญญาโทจะต้องดารงตาแหน่งท่ีได้รับ
แต่งตง้ั โดยใช้วฒุ ิปริญญาโทมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปี

๔) ผู้ได้รับคุณวุฒิเพิ่มขึ้นและเป็นคุณวุฒิที่ ก.พ. กาหนดให้เป็นคุณวุฒิที่ใช้คัดเลือก
เพอ่ื บรรจุเขา้ รบั ราชการ ปรับใหไ้ ดร้ บั เงินเดอื นเพ่ิมขึ้นไม่ก่อนวนั ที่ไดร้ ับคุณวุฒิเพิม่ ข้นึ

- 137 -

(๒) หนังสือสานักงาน ก.พ. ที่ นร ๑๐๐๘.๑/ว ๒๐ ลงวันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๕๕
เรอ่ื ง การกาหนดอตั ราเงินเดอื นสาหรับคณุ วุฒิท่ี ก.พ. รับรอง ใหใ้ ช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๗ เป็นต้นไป
ดงั น้ี

๑) ปริญญาเอก หรือเทียบเท่า ได้รับเงินเดือนประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการ
จานวน ๒๑,๐๐๐ บาท

๒) ปริญญาโททั่วไป หรือเทียบเท่า ได้รับเงินเดือนประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการ
จานวน ๑๗,๕๐๐ บาท

๓) ประกาศนียบัตรวิชาชีพช้ันสูง (ปวส.) หรืออนุปริญญาหรือประกาศนียบัตร
ของส่วนราชการต่าง ๆ ที่มีหลักสูตรกาหนดระยะเวลาศึกษาไว้ไม่น้อยกว่า ๓ ปี ต่อจากวุฒิประกาศนียบัตร
มัธยมศึกษาตอนปลายหรอื เทยี บเทา่ ไดร้ บั เงินประเภททัว่ ไป ระดับปฏบิ ัติงาน จานวน ๑๑,๕๐๐ บาท

ตัวอย่าง นาย ก. ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งโดยใช้วุฒิปริญญาตรี ซึ่งได้รับเงินเดือน
ประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการ จานวน ๑๕,๐๐๐ บาท ซึ่งนาย ก. มีวุฒิปริญญาโท นาย ก. จะต้องดารงตาแหน่ง
ประเภทวชิ าการระดบั ปฏิบัตกิ าร เปน็ เวลา ๑ ปี จงึ จะได้รับเงินเดือนของวุฒิปริญญาโท จานวน ๑๗,๕๐๐ บาท

๒.๒.๓ การจดั ทาสัญญาจา้ งพนกั งานราชการสังกดั สานกั งานปลัดกระทรวงมหาดไทย
ภารกิจของกลุ่มงานบรรจุแต่งต้ังและข้อมูลบุคคล กองการเจ้าหน้าท่ี สป. ในการจัดทา

สัญญาจ้างพนักงานราชการของสานักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี ในการประชุม
เม่ือวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๔๖ ท่ีมีมติเห็นชอบในหลักการของระบบบริหารงานบุคคลของพนักงานราชการ
หรือ “ระบบพนักงานราชการ” ซ่ึงเป็นหลักการพ้ืนฐานในการพัฒนาระบบการจ้างพนักงานราชการ ท่ีมีลักษณะ
เป็นระบบสัญญาจ้าง เป็นกลไกรองรับการจ้างงาน ซ่ึงทาให้ผู้บริหารสามารถบริหารรูปแบบการจ้างงาน
ให้เหมาะสมกับลักษณะงานและภารกิจ โดยใช้สัญญาจ้างเป็นข้อกาหนดหรือเง่ือนไขในการจ้างงาน ซ่ึงถือเป็น
เครื่องมือสาหรับการบริหารผลการปฏิบัติงาน การบริหารงบประมาณด้านบุคลากร และการบริหารกาลังคน
ใหเ้ หมาะสมกบั สถานการณ์และความจาเปน็ ตามเง่ือนไขการทางาน สอดคล้องกับแนวคิดการบริหารจัดการภาครัฐ
แนวใหม่ท่ีเน้นความยืดหยุ่นและความคล่องตัว ซึ่งเมื่อกลุ่มงานสรรหาและประเมินบุคคล กองการเจ้าหน้าที่ สป.
ได้ทาการสรรหาและคัดเลือกบุคคลเพื่อเป็นพนักงานราชการในตาแหน่งต่าง ๆ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข
ที่คณะกรรมการบริหารพนักงานราชการกาหนดกลุ่มงานบรรจุแต่งต้ังและข้อมูลบุคคล กองการเจ้าหน้าท่ี สป.
จะดาเนินการจัดทาสัญญาจ้างพนักงานราชการ ซ่ึงระบุประเภท ตาแหน่ง สังกัด ระยะเวลาการปฏิบัติหน้าที่
และภาระงานหรือหน้าที่ความรับผิดชอบท่ีหน่วยงานในสังกัดสานักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยกาหนดไว้
รวมถึงสิทธิประโยชน์และขอ้ บงั คบั ของพนกั งานราชการไว้ในสัญญาจ้างเสนอให้ผบู้ งั คับบญั ชาลงนามจา้ ง

๒.๒.๔ การจดั ระบบฐานข้อมูลดา้ นทรัพยากรบุคคลของสานักงานปลดั กระทรวงมหาดไทย
ภารกิจของกลุ่มงานบรรจุแต่งตั้งและข้อมูลบุคคล กองการเจ้าหน้าที่ สป. ในการจัดระบบ

ฐานข้อมูลด้านทรัพยากรบุคคล (Human Resources Database) ของข้าราชการ ลูกจ้างประจาและพนักงาน
ราชการในสังกัดสานักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยทั้งในราชการบริหารส่วนกลางและส่วนภูมิภาครวมท้ังบุคลากร

- 138 -

ท่ีอยู่ในอานาจหน้าท่ี โดยการบันทึกข้อมูลในทะเบียนประวัติข้าราชการ (ก.พ.๗) ทะเบียนประวัติข้าราชการ
อิเล็กทรอนิกส์ และในระบบสารสนเทศทรัพยากรบุคคล (DPIS) ให้มีความถูกต้อง ครบถ้วน และเป็นปัจจุบัน
อาทิ ข้อมูลส่วนบุคคล ประวัติการดารงตาแหน่ง ประวัติการศึกษา การอบรม/ดูงาน/สัมมนา ข้อมูลเคร่ืองราชอิสริยาภรณ์
ความเช่ียวชาญพิเศษการดาเนินการทางวนิ ัย เปน็ ต้น

ทั้งนี้ เพ่ือที่จะนาขอ้ มูลมาใชป้ ระโยชน์ในการบรหิ ารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลขององค์กร
ต่อไปรวมท้ังเพื่อนามาประกอบการตัดสินใจและการกาหนดนโยบายด้านการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
ของกระทรวงมหาดไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันการณ์เช่น การวางแผนอัตรากาลัง (Manpower Planning)
การกาหนดสายทางความก้าวหน้าในอาชีพ (CareerPath) การกาหนดความรู้ความสามารถ ทักษะและสมรรถนะ
ทจี่ าเป็นสาหรบั บุคลากรในสังกัด การสรรหา การบรรจุแต่งตัง้ การประเมินผลการปฏิบัติราชการเพื่อเลื่อนเงินเดือน
และค่าตอบแทนการจัดสวัสดิการสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ รวมท้ังการจัดทาแผนการพัฒนาบุคลากร แผนการพัฒนา
เพอ่ื ส่ังสมความเชีย่ วชาญในอาชีพแผนการพัฒนาทักษะด้านดจิ ิทัล (Digital literacy) เปน็ ตน้

หนว่ ยงานรับผดิ ชอบ : กลมุ่ บรรจแุ ต่งตงั้ และขอ้ มลู บคุ คล กองการเจา้ หนา้ ท่ี สป. โทร. ๐ ๒๒๒๑ ๗๐๙๗ (มท.) ๕๐๓๖๓

๒.๒.๕ การเปล่ียนสายงาน (ชื่อตาแหน่ง) และกลุ่มงานของลูกจ้างประจา สานักงาน
ปลดั กระทรวงมหาดไทย

สานักงาน ก.พ. กาหนดให้มีการ
บริหารอัตรากาลังลูกจ้างประจา เพื่อให้เกิดความสอดคล้อง
กับภารกิจและความจาเป็นในการปฏิบัติงานของส่วนราชการ
ในเรื่องการปรับระดับช้ันงาน การเปล่ียนส ายงาน
(ชื่อตาแหน่ง) และกลุ่มงาน และการตัดโอนอัตรากาลัง
ซ่ึงให้อานาจแก่ส่วนราชการในการบริหารอัตรากาลังลูกจ้าง
ประจาในลักษณะดังกล่าวได้ โดยสานักงานปลัดกระทรวง
มหาดไทยได้มีแนวทางการเปลี่ยนสายงาน (ชื่อตาแหน่ง)
และกลุ่มงานของลูกจ้างประจา ซึ่งกาหนดตามเงื่อนไขและ
หลักเกณฑ์ในการบริหารอัตรากาลังที่สานักงาน ก.พ.
ได้กาหนด เพื่อให้หน่วยงานในสังกัดสานักงานปลัดกระทรวง
ม ห า ด ไ ท ย แ ล ะ ส า นั ก ง า น จั ง ห วั ด ถื อ ป ฏิ บั ติ ใ น ก ร ณี ท่ี มี
ลูกจ้างประจาในสังกัดมีความประสงค์จะเปล่ียนสายงาน
(ช่ือตาแหน่ง) และกล่มุ งาน

เพื่อให้การปฏิบัติราชการมีประสิทธิภาพมากยิ่งข้ึน จึงมีการเปลี่ยนสายงาน (ชื่อตาแหน่ง)
และกลุ่มงานของลูกจ้างประจา เพื่อให้มีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมท่ีเปลี่ยนแปลงไป และให้การปฏิบัติ

- 139 -

ราชการของลูกจ้างประจามีความสอดคล้องกับลักษณะงาน ความจาเป็น ภารกิจของส่วนราชการ และประโยชน์
ของทางราชการ โดยสรปุ ขั้นตอนการปฏบิ ัติงานได้

หน่วยงานรบั ผดิ ชอบ : กลุ่มงานวางแผนอตั รากาลงั กองการเจา้ หนา้ ท่ี สป. โทร. ๐ ๒๒๒๓ ๘๗๙๐ (มท.) ๕๐๓๘๖

๒.๓ การบริหารผลการปฏิบัติงาน (กำรประเมินผลกำรปฏบิ ัตงิ ำนและบรหิ ำรค่ำตอบแทน)
ให้ผู้บังคับบัญชามีหน้าท่ีประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาเพ่ือใช้ประกอบการ

พิจารณาแต่งต้ัง การเล่ือนเงินเดือน/เล่ือนขั้นค่าจ้าง/เล่ือนค่าตอบแทน การให้ออกจากราชการ/การต่อสัญญาจ้าง/
การเลิกจ้างของข้าราชการ/ลูกจ้างประจา/พนักงานราชการของสานักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยทั้งน้ี
ตามระเบียบ หลักเกณฑ์และวิธีการท่ีกาหนด และผลการประเมินให้นาไปใช้เพ่ือประโยชน์ในการพัฒนาและ
เพ่ิมพนู ประสทิ ธภิ าพการปฏบิ ตั งิ านดว้ ย

๒.๓.๑ การบรหิ ารผลการปฏิบตั ิราชการสาหรบั ขา้ ราชการสานกั งานปลดั กระทรวงมหาดไทย
(๑) การประเมินผลการปฏบิ ตั ิราชการ ให้ดาเนนิ การปีละ ๒ รอบ ตามปีงบประมาณ ดังนี้
- รอบที่ ๑ : การประเมินผลการปฏบิ ตั ริ าชการระหว่างวนั ที่ ๑ ตุลาคม ถึงวันท่ี ๓๑ มีนาคม
- รอบที่ ๒ : การประเมินผลการปฏิบัตริ าชการระหว่างวนั ท่ี ๑ เมษายน ถงึ วันท่ี ๓๐ กนั ยายน
(๒) การประเมินผลการปฏิบัติราชการ ให้ประเมินสององค์ประกอบ ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์

ของงานโดยมีสัดส่วนคะแนนร้อยละ ๗๐ และพฤติกรรมการปฏิบัติราชการหรือสมรรถนะโดยมีสัดส่วนร้อยละ ๓๐
ทั้งน้ี กรณีที่เป็นการประเมินผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการที่อยู่ระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าท่ีราชการ
หรือมีระยะเวลาทดลองปฏิบัติหน้าท่ีราชการอยู่ในระหว่างรอบการประเมิน ให้ประเมินผลสัมฤทธิ์ของงาน
และพฤตกิ รรมการปฏบิ ตั ิราชการ โดยมีสัดสว่ นคะแนนของแตล่ ะองค์ประกอบร้อยละ ๕๐

(๓) ในแต่ละรอบการประเมิน แบ่งกลุ่มคะแนนผลการประเมินเป็น ๕ ระดับ คือ ดีเด่น
ดีมาก ดี พอใช้ และต้องปรบั ปรงุ โดยคะแนนต่าสุดของระดับพอใชต้ ้องไม่ต่ากวา่ ร้อยละ ๖๐

(๔) ให้ผู้ประเมินประกาศรายชื่อข้าราชการผู้มีผลการปฏิบัติราชการอยู่ในระดับดีเด่น
และดีมากในที่เปิดเผยให้ทราบโดยทั่วกัน เพื่อเป็นการยกย่องชมเชยและสร้างแรงจูงใจให้พัฒนาผลการปฏิบัติราชการ
ในรอบการประเมินตอ่ ไป ให้ดียง่ิ ขึ้น

(๕) การเล่ือนเงินเดือน ให้นาผลการประเมินผลการปฏิบัติราชการไปประกอบการเล่ือน
เงินเดือน โดยเลื่อนเงินเดือนข้าราชการในสังกัด ครง้ั ท่ี ๑ (๑ เมษายน) และครงั้ ที่ ๒ (๑ ตุลาคม) ภายในวงเงินร้อยละ
๓ ของเงินเดอื นท่ีจา่ ยให้ขา้ ราชการ ณ วนั ท่ี ๑ มนี าคม และ ๑ กันยายน ตามลาดับ

๒.๓.๒ การบริหารผลการปฏิบัติงานสาหรบั ลกู จา้ งประจาสานักงานปลดั กระทรวงมหาดไทย
(๑) การประเมนิ ผลการปฏบิ ัติงาน ดาเนินการปลี ะ ๒ คร้งั ตามปงี บประมาณ ดังนี้
- คร้งั ที่ ๑ ครง่ึ ปแี รก ระยะเวลาตัง้ แต่วันที่ ๑ ตุลาคม ถงึ วนั ท่ี ๓๑ มนี าคมของปีถัดไป
- ครั้งที่ ๒ ครึ่งปีหลัง ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ถึงวันที่ ๓๐ กันยายนของปี

เดยี วกนั

- 140 -

(๒) การเลื่อนขั้นค่าจ้าง ให้ผู้บังคับบัญชานาผลการประเมินผลการปฏิบัติงานมาพิจารณา
ประกอบการเล่อื นขน้ั ค่าจ้าง โดยคานึงถึงคุณภาพและปริมาณงาน ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานที่ได้ปฏิบัติมา
ความสามารถและความอุตสาหะในการปฏิบัติงาน ตลอดจนการรักษาวินัยและการปฏิบัติตนเหมาะสมกับการเป็น
ลกู จ้างประจาของส่วนราชการโดยให้เล่ือนข้ันคา่ จ้างลูกจา้ งประจา ปีละสองคร้งั ดังนี้

- ครง้ั ท่ี ๑ คร่ึงปีแรก เลือ่ นวันที่ ๑ เมษายนของปที ี่ไดเ้ ลื่อน
- ครั้งท่ี ๒ คร่ึงปหี ลัง เล่ือนวันท่ี ๑ ตลุ าคมของปถี ดั ไป
(๓) การพิจารณาเล่ือนข้ันค่าจ้างปีละ ๒ คร้ัง ตามผลการปฏิบัติงาน (คร่ึงข้ัน หนึ่งข้ัน
หนง่ึ ข้ันครง่ึ ) โดย
- คร้ังที่ ๑ ครึ่งปีแรก (วันท่ี ๑ เมษายน) ให้คุมจานวนผู้ท่ีได้รับการเลื่อนข้ันหน่ึงข้ัน
ตอ้ งไม่เกินร้อยละ ๑๕ ของอตั ราลูกจ้างประจาท่คี รองอยู่ ณ วนั ท่ี ๑ มีนาคม
- ครั้งที่ ๒ ครึ่งปีหลัง (วันที่ ๑ ตุลาคม)ให้อยู่ภายในวงเงินเล่ือนขั้น ร้อยละ ๖ ของ
จานวนอัตราค่าจ้างท่ีมีผู้ครองอยู่ ณ วันท่ี ๑ กันยายน โดยให้นาจานวนเงินท่ีได้ในการเล่ือนข้ันคร่ึงปีแรก (วันท่ี ๑
เมษายน) มาหักออกก่อน (ไม่รวมค่าตอบแทนพิเศษ) ท้ังนี้ จานวนผู้ท่ีได้รับการเล่ือนขั้นค่าจ้างรวมกันท้ังปีสองขั้น
จะตอ้ งไม่เกนิ ร้อยละ ๑๕ ของจานวนลูกจา้ งประจาท่ีครองอยู่ ณ วนั ท่ี ๑ มนี าคม
๒.๓.๓ การประเมินผลการปฏิบัติงานและการเล่ือนค่าตอบแทนสาหรับพนักงานราชการท่ัวไป
สานักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
(๑) การประเมนิ ผลการปฏบิ ัติงาน ใหด้ าเนนิ การปลี ะ ๒ ครัง้ ตามปงี บประมาณ ดงั น้ี
- ครั้งท่ี ๑ ประเมินผลในช่วงการปฏิบัติงานระหว่างวันท่ี ๑ ตุลาคม ถึงวันท่ี
๓๑ มนี าคมของปถี ัดไป
- คร้ังท่ี ๒ ประเมินผลในช่วงการปฏิบัติงานระหว่างวันที่ ๑ เมษายน ถึงวันที่
๓๐ กนั ยายนของปีเดยี วกัน
(๒) การประเมินผลการปฏิบัติงาน ให้ประเมินสององค์ประกอบ ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ของงาน
โดยมสี ัดสว่ นคะแนนรอ้ ยละ ๘๐ และพฤตกิ รรมการปฏิบัตริ าชการหรือสมรรถนะ โดยมีสดั ส่วนร้อยละ ๒๐
(๓) ในแต่ละรอบการประเมิน ให้นาผลการประเมินผลการปฏิบัติงานมาจัดกลุ่มตาม
ผลคะแนนเป็น ๕ ระดับ คือ ดีเด่น ดีมาก ดี พอใช้ และต้องปรับปรุง โดยกาหนดช่วงคะแนนประเมินของแต่ละ
ระดับผลการประเมิน ดงั น้ี
ดเี ด่น ๙๑ – ๑๐๐ คะแนน
ดมี าก ๘๕ – ๙๔ คะแนน
ดี ๗๕ – ๘๔ คะแนน
พอใช้ ๖๕ – ๗๔ คะแนน
ต้องปรับปรุง น้อยวา่ ๖๕ คะแนน

- 141 -

(๔) ผลการประเมินผลการปฏิบัติงาน นาไปประกอบการต่อสัญญาจ้าง โดยผู้ที่ได้รับ
การพิจารณาให้ต่อสัญญาจ้าง จะต้องมีคะแนนเฉล่ียของผลการประเมินผลการปฏิบัติงาน ๒ ครั้งติดต่อกันในปีที่
จะตอ่ สญั ญาจ้างไมต่ า่ กวา่ ระดับดี

(๕) การเลือ่ นค่าตอบแทนประจาปี ให้นาผลการประเมินไปประกอบการเล่ือนค่าตอบแทน
โดยผู้ท่ีจะได้รับการเลื่อนค่าตอบแทน ต้องมีระยะเวลาในการปฏิบัติงานในรอบปีงบประมาณท่ีแล้วมาไม่น้อยกว่า
๘ เดือน และให้พนกั งานราชการไดร้ ับการพจิ ารณาเลอ่ื นค่าตอบแทนในวันที่ ๑ ตลุ าคม ของทุกปี ท้ังนี้ ให้พิจารณา
เล่ือนค่าตอบแทนพนักงานราชการที่มีผลการปฏิบัติงานไม่ต่ากว่าระดับดี ได้ไม่เกินอัตราร้อยละ ๖ ของฐาน
ค่าตอบแทน ตามผลการปฏิบัติงาน โดยคุมวงเงินไม่เกินร้อยละ ๔ ของอัตราค่าตอบแทนพนักงานราชการ
ณ วันท่ี ๑ กนั ยายน

หน่วยงานรบั ผดิ ชอบ : กลมุ่ งานประเมินผลการปฏบิ ตั ิราชการและการบรหิ ารค่าตอบแทน กองการเจ้าหน้าท่ี สป.
โทร. ๐ ๒๖๒๒ ๐๙๓๕ (มท.) ๕๐๘๐๒

๒.๔ การดาเนินการเก่ียวกบั เคร่ืองราชอิสริยาภรณ์ฯ เหรียญพทิ ักษเ์ สรชี น และเหรียญราชการชายแดน
๒.๔.๑ การเสนอขอพระราชทานเคร่ืองราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูย่ิงช้างเผือก

และเครื่องราชอสิ ริยาภรณอ์ ันมเี กยี รติยศย่ิงมงกุฎไทยและเหรยี ญจกั รพรรดิมาลา
เคร่ืองราชอิสริยาภรณ์เป็นเคร่ืองหมายแห่งเกียรติยศ ซ่ึงพระมหากษัตริย์ทรงพระกรุณา

โปรดเกล้า ฯ พระราชทานแกผ่ กู้ ระทาความดีความชอบเป็นประโยชนแ์ กร่ าชการหรือสาธารณชน โดยการพิจารณา
เสนอขอพระราชทานของรัฐบาล เพื่อเป็นบาเหน็จความชอบและเคร่ืองหมายเชิดชูเกียรติยศอย่างสูงแก่ผู้ได้รับ
พระราชทาน จึงกาหนดให้กลุ่มงานสวัสดิการและประโยชน์เก้ือกูล กองการเจ้าหน้าที่ สานักงานปลัดกระทรวง
มหาดไทย พิจารณากลั่นกรองผู้ประสงค์จะเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ในส่วนของสานักงาน
ปลัดกระทรวงมหาดไทย และรวบรวม กล่ันกรองผู้ประสงค์จะเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
ของกระทรวงมหาดไทย ก่อนนาเข้าทป่ี ระชุมคณะกรรมการพิจารณาการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
ประจาปขี องกระทรวงมหาดไทย และเสนอต่อปลัดกระทรวงมหาดไทยให้ความเห็นชอบและส่งให้สานักเลขาธิการ
คณะรัฐมนตรดี าเนนิ การในสว่ นที่เก่ยี วข้องตอ่ ไป

๒.๔.๒ การเสนอขอพระราชทานเคร่ืองราชอิสรยิ าภรณ์อันเปน็ ที่สรรเสริญย่ิงดิเรกคณุ าภรณ์
กลุ่มงานสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูล กองการเจ้าหน้าท่ี สานักงานปลัดกระทรวง

มหาดไทย พิจารณากลั่นกรองผู้ประสงค์จะเสนอขอพระราชทานเคร่ืองราชอิสริยาภรณ์อันเป็นท่ีสรรเสริญย่ิงดิเรก
คุณาภรณ์ในส่วนของสานักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย และรวบรวม กล่ันกรองผู้ประสงค์จะเสนอขอพระราชทาน
เคร่ืองราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ที่กระทรวงมหาดไทยได้ประโยชน์มากท่ีสุด ซึ่งผ่านการ
ประชุมจากคณะกรรมการระดับจังหวัดแล้ว ก่อนนาเข้าท่ีประชุมคณะกรรมการพิจารณาการเสนอขอพระราชทาน
เครื่องราชอสิ ริยาภรณ์อันเป็นท่ีสรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ กระทรวงมหาดไทย และเสนอต่อปลัดกระทรวงมหาดไทย
ใหค้ วามเหน็ ชอบและส่งใหส้ านักเลขาธกิ ารคณะรฐั มนตรดี าเนนิ การในสว่ นทเี่ ก่ียวข้องต่อไป

- 142 -

๒.๔.๓ การจ่ายเหรียญให้กับผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชนและเหรียญราชการ
ชายแดน การเสนอขอพระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน การรับรองคาขอมีบัตรประจาตัวผู้ได้รับพระราชทาน
เหรียญพิทกั ษเ์ สรีชน และการเปน็ เจา้ พนกั งานออกบตั รประจาตวั ผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพทิ กั ษเ์ สรชี น

กลุม่ งานสวสั ดกิ ารและประโยชน์เก้ือกูล กองการเจ้าหน้าที่ สานักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
ให้บริการจ่ายเหรียญ ออกบัตรประจาตัว ผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชนและเหรียญราชการชายแดน
โดยจะพิจารณาตรวจสอบจากรายชื่อท่ีประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยมีขั้นตอนการจ่ายเหรียญและการจัดทา
บตั รปรากฏตาม Infographic ดังนี้

- 143 -

กลุ่มงานสวัสดิการและประโยชน์เก้ือกูล กองการเจ้าหน้าท่ี สานักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
กล่ันกรองคุณสมบัติผู้เสนอขอพระราชทานเหรียญราชการชายแดน และนาเข้าท่ีประชุมคณะกรรมการพิจารณา
การเสนอขอพระราชทานเหรียญราชการชายแดน และรวบรวมผู้เสนอขอพระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชนท่ีผ่าน
การพิจารณาจากคณะกรรมการพิจารณาการเสนอขอพระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชนในหน่วยงานก่อนเสนอ
ปลัดกระทรวงมหาดไทยและส่งให้สานักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรดี าเนินการต่อไป

๒.๕ การจดั ทาสวสั ดกิ ารใหก้ ับบุคลากรในสังกดั สานกั งานปลัดกระทรวงมหาดไทย
กลุ่มงานสวัสดิการและประโยชน์เก้ือกูล กองการเจ้าหน้าที่ สานักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยได้

สารวจความต้องการเกี่ยวกับสวัสดิการของบุคลากรในสังกัดสานักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยและดาเนินการ
จัดทากิจกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการของบุคลากร เช่น การตรวจสุขภาพประจาปี การฉีดวัคซีนป้องกัน
โรคไขห้ วดั ใหญใ่ นกลมุ่ เส่ียง การยกยอ่ งเชดิ ชูให้กับผู้ปฏิบัติงานมาด้วยความเรียบร้อย การจัดทาประกันความเส่ียง
ในการปฏิบัติงานในพื้นที่ความไม่สงบในจังหวัดภาคใต้ การจัดทาข้อตกลงกับสถาบันการเงิน เพื่อดาเนินการ
เก่ียวกับสินเชื่อที่อยู่อาศัย เป็นต้น และเป็นฝ่ายเลขานุการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับทะเบียนประวัติผู้เป็นสมาชิก
ฌาปนกจิ สงเคราะห์ สานกั งานปลัดกระทรวงมหาดไทย

หนว่ ยงานรบั ผิดชอบ : กลมุ่ งานสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูล กองการเจา้ หน้าท่ี สป. โทร. ๐ ๒๒๒๑ ๐๕๖๕ (มท.) ๕๐๓๗๕

๒.๖ การจัดทาคาสง่ั มอบอานาจของปลดั กระทรวงมหาดไทยทีเ่ กี่ยวข้องกบั การบริหารงานบคุ คล
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๓๘ บัญญัติว่า อานาจในการส่ัง

การอนุญาต การอนุมัติ การปฏิบัติราชการหรือการดาเนินการอ่ืนที่ผู้ดารงตาแหน่งใดจะพึงปฏิบัติหรือดาเนินการ
ตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ หรือคาสั่งใด หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเร่ืองใด ถ้ากฎหมาย กฎ ระเบียบ
ประกาศ หรือคาสั่งนนั้ หรือมติของคณะรฐั มนตรีในเร่อื งน้นั มิได้กาหนดเร่ืองการมอบอานาจไว้เปน็ อย่างอื่น หรือมิได้ห้าม
เรอื่ งการมอบอานาจไว้ ผู้ดารงตาแหน่งนัน้ อาจมอบอานาจใหผ้ ดู้ ารงตาแหน่งอ่ืนในส่วนราชการเดียวกันหรือส่วนราชการ
อ่ืนหรอื ผ้วู ่าราชการจังหวัดเป็นผู้ปฏิบตั ิราชการแทนได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่กาหนดในพระราชกฤษฎีกา

การมอบอานาจต้องเป็นไปเพ่ืออานวยความสะดวก ความคุ้มค่า รวดเร็ว เกิดประสิทธิภาพในการ
ปฏิบัติราชการ กระจายอานาจการตัดสินใจ และไม่เป็นการเพ่ิมข้ันตอนหรือระยะเวลา และการมอบอานาจ
ใหท้ าเปน็ หนงั สอื โดยระบรุ ายละเอียดเกี่ยวกับการมอบอานาจให้ชัดเจนเพียงพอที่จะเข้าใจตามความนัยมาตรา ๕
และมาตรา ๘ แห่ง พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการมอบอานาจ พ.ศ. ๒๕๕๐ ดังน้ัน เพื่อให้การบริหารราชการ
ของกระทรวงมหาดไทย เป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีความคล่องตัว ต่อเน่ือง สะดวก รวดเร็ว เหมาะสม ลดข้ันตอน
การปฏิบัติราชการ กระจายอานาจ การตัดสินใจและความรับผิดชอบจึงมีการมอบอานาจการปฏิบัติราชการ
มอบหมายการปฏิบัติหน้าที่ และมอบหมายภารกิจให้แก่ผู้บริหารในระดับต่าง ๆ โดยสรุปข้ันตอนการปฏิบัติงานได้
ดงั น้ี

- 144 -

หน่วยงานรบั ผิดชอบ : กล่มุ งานวางแผนอตั รากาลงั กองการเจ้าหน้าท่ี สป. โทร. ๐ ๒๒๒๓ ๘๗๙๐ (มท.) ๕๐๓๘๖

๓. การพัฒนาบคุ ลากรของกระทรวงมหาดไทย
สานักงาน ก.พ. ได้จัดทาแนวทางการพัฒนาบุคลากรภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๓ - ๒๕๖๕ โดยได้กาหนด

ประเด็นและแนวทางการดาเนนิ การสาหรบั บุคลากรและหน่วยงานภาครัฐไว้ ๓ ประการ ดังนี้
ประเด็นการพัฒนาที่ ๑ ระบบนิเวศในการทางาน (Ecosystem) ท่ีส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้

และการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเน่ือง โดยมีเป้าประสงค์เพื่อสง่ เสรมิ ใหห้ น่วยงานภาครัฐมีสภาพแวดล้อมและระบบ
การทางานที่เอื้อต่อการเรียนรู้และการพัฒนากรอบความคิดและกรอบทักษะ สาหรับการทางาน ตลอดจน
การดาเนินชีวิตท่ามกลางความท้าทายในยุคดิจิทัลซ่ึงสภาพแวดล้อมและระบบการทางานทั้งทางกายภาพ
และจติ วทิ ยาทเ่ี หมาะสมจะช่วยสง่ เสริมและผลกั ดันให้บุคลากรภาครัฐสามารถแสดงพฤติกรรมที่คาดหวังตามกรอบ
ความคดิ (Mindsets) และกรอบทกั ษะ (Skillsets) ออกมาไดอ้ ยา่ งมีประสิทธผิ ลและต่อเนอ่ื ง

- 145 -

ทม่ี า : สานักงาน ก.พ.

ประเด็นการพัฒนาท่ี ๒ พัฒนากรอบทักษะ (Skillsets) การทางานในยุคดิจิทัล และการสร้างนวัตกรรม
ที่ตอบสนองต่อการขบั เคล่ือนภารกจิ ตามยุทธศาสตรช์ าติ แผนการปฏิรูปประเทศ ตลอดจนการพัฒนาระบบราชการ
ในอนาคต โดยมเี ป้าประสงค์เพื่อให้บุคลากรภาครัฐมีทักษะท่ีจาเป็นในการขับเคล่ือนการปฏิรูปภาครัฐ สร้างผลลัพธ์
เชิงนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อภาครัฐและประชาชน
เพื่อการผสานการทางานกับการใช้ชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพ
ซ่ึงนอกจากองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการภาครัฐ
ท่ีจาเป็นสาหรับบุคลากรภาครัฐจะต้องมีเป็นพ้ืนฐานแล้ว
(อาทิ ยุทธศาสตร์ชาติ แผนปฏิรูปประเทศ การบริหาร
จัดการภาครัฐ การบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐ
การบริหารงบประมาณ เป็นต้น) บุคลากรภาครัฐจะต้อง
มีทักษะที่จาเป็น ๓ กลุ่มทักษะ คือ (๑) ทักษะเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Skillset) เป็นทักษะสาคัญในการตอบสนอง
ต่อบริบทที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งในมิติของการทางานและการใช้ชีวิต เพื่อนาไปสู่การสร้างนวัตกรรม
และการเปล่ียนแปลงในภาครัฐได้ (๒) ทักษะด้านภาวะผู้นา (Leadership Skillset) เป็นทักษะท่ีช่วยให้บุคลากร
สามารถบริหารจัดการงานของตนเองได้ตามบทบาทหน้าที่ เป็นการเตรียมความพร้อมตนเองในการเติบโต

- 146 -

ตามเส้นทางอาชีพ และ (๓) ทักษะตามสายงาน (Functional Skillset) เป็นทักษะที่ช่วยให้บุคลากรภาครัฐ
สามารถทางานของตนเองได้อย่างมืออาชีพ ตามบรบิ ทของงานท่มี ีความเฉพาะและมีความแตกต่างกันไปตามสายงาน

ประเด็นการพัฒนาท่ี ๓ ปลกู ฝังบคุ ลากรภาครัฐให้มีกรอบความคิด (Mindset) ในการเรียนรู้และพัฒนา
ตนเอง การมุ่งเน้นประโยชน์ส่วนรวมและทางานบนหลักคุณธรรม ประยุกต์หลักสากลอย่างเหมาะสม และทางาน
ได้อย่างมีประสิทธิภาพในบริบทที่ขับเคล่ือนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล โดยมีเป้าประสงค์เพ่ือให้บุคลากรของภาครัฐ
มีคุณลักษณะในการเป็นผู้ใฝ่เรียนรู้และพัฒนา ให้ความสาคัญกับประโยชน์ส่วนรวม ทางานด้วยความเป็นธรรม
ไม่เลือกปฏิบัติ ยึดมั่นในมาตรฐานจริยธรรม และมีทัศนคติแบบสากลที่สอดรับกับยุคดิจิทัล เพ่ือร่วมกันสร้างภาครัฐ
ท่ที ันสมยั เปน็ ทพ่ี ่งึ ของประชาชน และเชื่อถือไวว้ างใจได้

กระทรวงมหาดไทยได้ดาเนินการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของกระทรวงมหาดไทย ตามแนวทางการพัฒนา
บคุ ลากรภาครฐั พ.ศ. ๒๕๖๓ – ๒๕๖๕ ดงั นี้

๓.๑ ระบบนเิ วศในการทางาน (Ecosystem)
กระทรวงมหาดไทยให้ความสาคัญกับระบบนิเวศในการทางาน (Ecosystem) ที่ส่งเสริม

และสนับสนุนให้บุคลากรในสังกัดเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง มีสภาพแวดล้อมในการทางานท่ีเอ้ือ
ตอ่ การเรยี นรู้ เช่น

(๑) ระบบคอมพวิ เตอรท์ ี่มีออนไลนส์ ามารถสบื ค้นหาข้อมูลไดต้ ลอดเวลา
(๒) การสง่ เสรมิ และสนบั สนุนให้บคุ ลากรในสงั กัดเข้ารบั การอบรมเพอื่ พฒั นาตนเองอย่เู สมอ
(๓) อนุญาตใหบ้ คุ ลากรในสงั กัดลาไปศึกษาต่อทั้งในประเทศและตา่ งประเทศ
(๔) ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรในสังกัดได้รับทุนการศึกษาอย่างต่อเนื่อง เช่น ทุนของ
สานักงาน ก.พ. ทุนจากสถาบันการศึกษาตา่ ง ๆ
๓.๒ พัฒนากรอบทกั ษะ (Skillsets)
สถาบนั ดารงราชานุภาพ สานักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
เป็นหน่วยงานที่มีภารกิจหลักในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของสานักงาน
ปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้ดาเนินการพัฒนากรอบทักษะ (Skillsets)
ของขา้ ราชการในสังกัด ดงั น้ี
๓.๒.๑ การจัดโครงการฝึกอบรมเพ่ือพัฒนาพัฒนาทักษะ
(Skillsets) ของบุคลากรในสังกัด โดยกาหนดหลักสูตรให้เหมาะสม
กบั บคุ ลากรทกุ ระดบั อาทิ

(๑) หลักสูตรนักปกครองระดับสูง (นปส.) สาหรับ
ข้าราชการประเภทอานวยการ

(๒) หลักสูตรนักบริหารระดับกลางของกระทรวง
มหาดไทย (บ.มท.) สาหรับข้าราชการประเภทวิชาการระดับชานาญการ
และชานาญการพิเศษ

- 147 -

(๓) หลักสูตรการเพ่ิมประสิทธิภาพในการทางานสาหรับข้าราชการระดับต้น สาหรับข้าราชการ
ประเภทท่วั ไป

(๔) หลกั สูตรการเปน็ ข้าราชการทด่ี ี สาหรับข้าราชการบรรจุใหม่
(๕) หลักสูตรข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธ์ิสูง สาหรับข้าราชการประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการ
และชานาญการ
๓.๒.๒ การเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) เป็นการจัดการเรียนผ่านระบบ
อเิ ล็กทรอนกิ ส์ สาหรับบคุ ลาการในสงั กดั โดยกาหนดการเรยี นร้ใู นวิชาตา่ ง ๆ เชน่
(๑) การจดั ทาแผนยุทธศาสตร์ (Strategy Map)
(๒) ระบบแลกเปลี่ยนข้อมลู ภาครฐั (GDX)
(๓) การจดั ทาแผนพัฒนาจงั หวัด
๓.๒.๓ การจัดกิจกรรมเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบชุมชนนักปฏิบัติ (CoPs) ซึ่งเป็นกิจกรรมท่ีส่งเสริม
ให้บุคลากรในสังกัดได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้การทางานร่วมกัน โดยบุคลากรผู้ปฏิบัติงานจะเข้าร่วมกิจกรรม
เพ่ือแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การทางานของตนกับเพื่อนร่วมงานที่ทางานในลักษณะเดียวกัน สอบถามปัญหา
ในการปฏบิ ตั งิ านทพี่ บและหาวิธีการแก้ปัญหาร่วมกัน แนะนาเทคนิควิธีการปฏิบัติงานแบบพี่สอนน้อง เพ่ือนสอนเพ่ือน
และการรับฟงั ความรู้จากวทิ ยากรผูท้ รงคุณวฒุ ิท่เี ข้าร่วมกจิ กรรมในหัวข้อต่าง ๆ เช่น
(๑) เทคนคิ การจดั ซ้อื จัดจา้ งและการบรหิ ารพัสดุภาครฐั
(๒) การยกระดับคะแนนประเมนิ คุณธรรมความโปรง่ ใสในการดาเนนิ งานของหน่วยงานรฐั (ITA)
(๓) การจัดทางบประมาณและการบรหิ ารงบประมาณรายจ่ายประจาปี
(๔) การเชอื่ มโยงบรู ณาการแผนระดบั นโยบายสู่ระดับพืน้ ท่ี
(๕) ความรู้เกี่ยวกับงานพระราชพิธี รัฐพิธี และงานรับเสด็จฯ
(๖) การโอนสนิ ทรพั ย์ การขอใช้ทร่ี าชพัสดุ
๓.๒.๔ การบริการด้านสารสนเทศห้องสมุดของกระทรวงมหาดไทย การจัดทาวารสาร/เอกสารความรู้
หนังสือในรูปแบบหนังสือ และรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) รวมทั้งการจัดทาฐานข้อมูลคลังความรู้
ของสานักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยในเว็บไซต์ของสถาบันดารงราชานุภาพ การจัดทาเอกสารความรู้
เพื่อแจกจ่ายให้แก่บุคลากรในสังกัดใช้ในการศึกษาหาความรู้ พัฒนาทักษะของตนเอง และเป็นเครื่องมือ
ในการปฏิบัติงาน เชน่
(๑) คู่มือการปฏิบัติงานด้านต่าง ๆ เช่น คู่มือการจัดทาคารับรองและการติดตามประเมินผล
คู่มอื การพฒั นากฎหมาย คู่มือการบรหิ ารราชการจงั หวัดแบบบูรณาการ คมู่ ือการจัดฝึกอบรม
(๒) การพัฒนาหลักคิดด้านการบริหารที่มปี ระสทิ ธภิ าพ
(๓) การพฒั นาประสิทธภิ าพในการบริการประชาชนของกระทรวงมหาดไทย

- 148 -

๓.๓ ปลกู ฝังบุคลากรภาครฐั ให้มีกรอบความคดิ (Mindset)
กระทรวงมหาดไทยให้ความสาคัญในการปลูกฝังบุคลากร

ในสังกัดมีกรอบความคิดในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ให้ความสาคัญ
กับประโยชน์ส่วนรวม และทางานด้วยความเป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ
ยึดมนั่ ในมาตรฐานจริยธรรม และมีทัศนคติแบบสากลท่ีสอดรับกับยุคดิจิทัล
เพ่ือร่วมกันสร้างภาครัฐที่ทันสมัย เป็นที่พึ่งของประชาชน และเชื่อถือไว้วางใจได้ โดยการดาเนินการ ดังนี้

๓.๓.๑ ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาตนเองในรู้แบบต่าง ๆ เช่น การเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านระบบ
อิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) การจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบชุมชนนักปฏิบัติ (CoPs) การจัดโครงการ
ฝกึ อบรมเพ่อื พัฒนาบคุ ลากรทกุ ระดบั

๓.๓.๒ ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมให้แก่บุคลากรในสังกัด โดยเร่ิมต้นจากผู้บริหารระดับสูง
ของกระทรวงมหาดไทยและถา่ ยทอดลงสู่บคุ ลากรในสงั กดั ดังน้ี

(๑) ปลัดกระทรวงมหาดไทยประกาศเจตนารมณ์ “สุจริต โปร่งใส มหาดไทยใสสะอาด”
เมื่อวันท่ี ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เพ่ือเป็นการเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ยึดถือความสุจริตและโปร่งใส
เป็นแบบอย่างการประพฤติท่ีดี และแจ้งให้ทุกจังหวัดรับทราบในการประกาศเจตนารมณ์ของจังหวัด พร้อมทั้งแจ้ง
ให้บคุ ลากรในสังกัดรับทราบและถือปฏิบัติต่อไป

(๒) การคัดเลือกบุคลากรในสังกัดเพ่ือยกย่องเป็นผู้มีจริยธรรมดีเด่น โดยคัดเลือก
จากข้าราชการ ลูกจ้างประจา พนักงานราชการ ลูกจ้างตามสัญญา ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เพื่อส่งเสริม
และสนับสนุนให้ข้าราชการในสังกัดได้ตระหนักถึงความมีเกียรติ
ศักดิ์ศรีของความเป็นข้าราชการที่ดี มีจิตสานึกอยู่บนพื้นฐาน
ของคุณธรรมและจริยธรรม การประพฤติปฏิบัติตนตามรอย
พระยุคลบาท การปฏิบัติตนให้เหมาะสมตามพระราชบัญญัติ
มาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. ๒๕๖๒ และเพื่อเป็นการยกย่อง
เชิดชูประกาศเกียรติคุณ สร้างขวัญกาลังใจ เป็นแรงบันดาลใจ
ให้บุคลากรในสังกัดระทรวงมหาดไทยทุกระดับเกิดความเช่ือม่ัน
ศรัทธาในการทาความดี ยึดถือเป็นแบบอย่างในการประพฤติ
ปฏิบัติตนและสร้างสรรค์ผลงานที่มีประโยชน์ต่อหน่วยงาน
และประชาชน

(๓) สร้างธรรมาภิบาลบุคลากรกระทรวงมหาดไทย “บาบัดทุกข์ บารุงสุข” คือเป้าหมายหลัก
ในการดาเนนิ งานของกระทรวงมหาดไทย เพราะต้องทางานใกลช้ ิดกับประชาชน ต้องให้ประชาชนได้รับการบริการ
ที่สะดวกรวดเร็ว เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนผ่านโครงการต่าง ๆ ของรัฐบาล ดังนั้น การส่งเสริม
คุณธรรม จริยธรรม และการเสริมสร้างธรรมาภิบาลให้แก่บุคลากรสังกัดกระทรวงมหาดไทย จึงเป็นเจตจานง
ที่สาคัญในการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ ส่งผลให้การทางานทุกระดับเป็นไปด้วยความโปร่งใส

- 149 -

เน้นการทางานที่ยึดผลประโยชน์ของส่วนรวมเป็นท่ีต้ัง ต่อต้าน
การรับสินบน การรับผลประโยชน์ทุกรูปแบบ ให้ความสาคัญ
กบั การกระตุ้นหรือสรา้ งจิตสานกึ ทกุ ๆ ระดับด้วยการประชาสัมพันธ์
จัดอบรมสัมมนา ส่งเสริมคนดีมีคุณธรรม โดยการส่งเสริมคุณธรรม
ให้แกบ่ ุคลากรกระทรวงมหาดไทย มหี ลัก ๔ ประการ คือ พอเพียง
มีวินัย สุจริต จิตอาสา รวมท้ังต้องยึดมั่นในจริยธรรม เพื่อสร้าง
ผลงานใหเ้ กดิ ประโยชน์แก่สว่ นรว่ มเปน็ สาคัญ

หน่วยงานรับผดิ ชอบ : สถาบนั ดารงราชานภุ าพ สป. โทร. ๐ ๒๒๒๒ ๔๑๕๗ (มท.) ๕๐๓๕๘
ศูนย์ปฏิบตั ิการต่อตา้ นการทุจรติ กระทรวงมหาดไทย โทร. ๐ ๒๒๒๕ ๕๕๒๑ (มท.) ๕๐๑๕๐

๔. การดาเนนิ การทางวนิ ัย
การดาเนินการทางวินัย หมายถึง การดาเนินการหรือกระบวนการทั้งหลายที่จะต้องกระทาเป็นพิธีการ

ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนหรือตามกฎ ก.พ. ที่เก่ียวข้องกับการดาเนินการทางวินัย
เมื่อข้าราชการพลเรือนกระทาผิดวินัยหรือกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทาผิดวินัยและผู้มีอานาจตามกฎหมายได้พิจารณา
เห็นว่า กรณีมีมูลแล้ว การดาเนินการทางวินัยมีจุดมุ่งหมายให้ได้ความจริงว่าข้าราชการพลเรือนที่ถูกกล่าวหาว่า
กระทาผิดวินัยได้กระทาผิดวินัยในกรณีใดหรือไม่ อย่างไร โดยดาเนินการอย่างรวดเร็ว ยุติธรรม ปราศจาก อคติ
เพื่อใหผ้ ู้กระทาผดิ ไดร้ ับการลงโทษที่เหมาะสมกับความผิดและไมใ่ หผ้ ู้ไมม่ ีความผดิ ถูกลงโทษ

๔.๑ ผมู้ หี นา้ ที่ดาเนินการทางวินัย
(๑) ผ้บู ังคบั บญั ชาผ้มู ีอานาจส่งั บรรจุตามมาตรา ๕๗
(๒) ผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาผู้มีอานาจส่ังบรรจุตามมาตรา ๕๗

ตามหลักเกณฑ์ท่ี ก.พ.กาหนด ท้ังน้ี โดยอาศัยหลัก ๓ ประการ คือ ต้องดาเนินการโดยเร็ว ด้วยความยุติธรรม
ปราศจากคติ

๔.๒ กระบวนการดาเนนิ การทางวนิ ัย
๔.๒.๑ การดาเนินการเมื่อมกี ารกล่าวหาหรอื เป็นทส่ี งสยั ว่ามีการกระทาผดิ วินยั
(๑) มลู กรณี
๑) กรณีรอ้ งเรียน หรือบัตรสนเทห่ ์ หรอื หนว่ ยงานอนื่ ตรวจพบ สานักงานการตรวจเงิน

แผ่นดนิ สานกั งาน ป.ป.ช. ผตู้ รวจการแผ่นดนิ การกล่าวหาตอ้ งทาเปน็ หนงั สือ ประกอบด้วย
- ชื่อและลายมือช่อื ผ้กู ล่าวหา
- ช่อื ตาแหน่ง พฤตกิ ารณข์ องผถู้ กู กล่าวหา
- ขอ้ เทจ็ จรงิ พยานหลกั ฐานเพ่ือประกอบการพจิ ารณา
- ในกรณกี ล่าวหาด้วยวาจาก็ให้ทาเป็นหนังสือลงลายมอื ชื่อ

๒) กรณีเป็นทีส่ งสัย เชน่ การกล่าวหาทไี่ ม่ลงลายมือชอ่ื ผบู้ ังคบั บญั ชาตรวจพบ

- 150 -

(๒) มูลกรณเี มื่อปรากฏตอ่ ผ้บู งั คับบัญชาช้นั ต้น เมื่อมกี ารร้องเรียนหรือพบว่า มีการกระทา
ผิดวินัย ผู้บังคับบัญชาช้ันต้นต้องรายงานผู้บังคับบัญชาตามลาดับชั้นจนถึงผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอานาจส่ังบรรจุ
ตามมาตรา ๕๗ การรายงานต้องประกอบด้วย

๑) ช่ือผ้กู ล่าวหา (ถ้าม)ี
๒) ชอ่ื และตาแหน่งผ้ถู ูกกลา่ วหา
๓) ขอ้ เท็จจรงิ หรือพฤติการณ์
๔) พยานหลกั ฐานเบื้องต้น
๔.๒.๒ การสบื สวนทางวนิ ยั
การสืบสวนทางวินัย หมายถึง การแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐาน เพื่อจะทราบ
รายละเอียดของเรื่องใด ๆ เพ่ือพิจารณาว่า กรณีมีมูลความผิดท่ีควรกล่าวหาผู้ใดกระทาผิดวินัยหรือไม่
โดยมีวธิ กี ารสบื สวน ดงั น้ี
(๑) ผูบ้ งั คับบญั ชาตามมาตรา ๕๗ สืบสวนด้วยตนเอง
(๒) มอบหมายให้ผใู้ ต้บังคบั บัญชา หรอื เจา้ หน้าที่ของรฐั สืบสวน
(๓) แต่งตัง้ คณะกรรมการสบื สวนขอ้ เทจ็ จริง
๔.๒.๓ การพิจารณาผลการสืบสวนในเบอ้ื งต้น
(๑) การสืบสวนพบพยานหลักฐานเบื้องตน้ ว่ามีมูลความผิดเชื่อได้ว่า มีการกระทาตามที่ถูก
กลา่ วหา หรือผถู้ ูกกลา่ วหาเกย่ี วข้องกับการน้ัน ให้ดาเนินการทางวินัยตอ่ ไป
(๒) การสืบสวนพบว่า ไม่มีมูลความผิด ข้อเท็จจริงหรือพยานหลักฐานไม่พอฟังว่า
ผใู้ ดกระทาผดิ หรอื ไม่ทราบวา่ มกี ารกระทาความผดิ หรอื พฤติการณ์นัน้ ไม่เปน็ ความผิดวินยั ใหย้ ตุ ิเร่อื ง
๔.๒.๔ การสอบสวนทางวนิ ัย โดยผ้บู งั คับบัญชาซึ่งมอี านาจสัง่ บรรจุแต่งตั้งตามมาตรา ๕๗ แต่งต้ัง
คณะกรรมการสอบสวนวินัย กระบวนการสอบสวนทางวินัยต้องมีการกล่าวหา และแจ้งข้อกล่าวหา สรุปพยานหลักฐาน
ตอ้ งใหโ้ อกาสผ้ถู กู กลา่ วหาชี้แจง
(๑) กรณีมีมูลความผิดที่ควรกล่าวหาว่ากระทาผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ผู้บังคับบัญชา
ซึ่งมีอานาจสั่งบรรจุแต่งต้ังตามมาตรา ๕๗ อาจสอบสวนด้วยตนเอง หรือสั่งการให้มีการสอบสวน หรือแต่งตั้ง
คณะกรรมการสอบสวนวินัยกไ็ ด้ โดยต้องดาเนินการใหแ้ ล้วเสร็จภายใน ๖๐ วนั ไดแ้ ก่
- แจง้ ข้อกล่าวหา
- สอบและสรุปพยานหลักฐาน
- รบั ฟงั คาชแี้ จงจากผถู้ กู กลา่ วหา
(๒) กรณีมีมูลความผิดท่ีควรกล่าวหาว่ากระทาผิดวินัยอย่างร้ายแรง ผู้บังคับบัญชา
ซ่ึงมีอานาจสั่งบรรจุแต่งตั้งตามมาตรา ๕๗ แต่งต้ังคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง แจ้งคาส่ังแต่งต้ัง
คณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ ประชุมวางแนวทางการสอบสวน รวบรวม
พยานหลักฐาน ประชุมพิจารณา แจ้งข้อกล่าวหาและพยานหลักฐาน รับฟังคาช้ีแจงจากผู้ถูกกล่าวหา ประชุมลงมติ

- 151 -

ทารายงานการสอบสวน เสนอสานวนรายงานผู้ส่ังแต่งต้ังกรรมการสอบสวนวินัย โดยต้องดาเนินการให้แล้วเสร็จ
ภายใน ๑๒๐ วัน ขยายเวลาได้ครั้งละไม่เกิน ๖๐ วัน หากสอบสวนไม่เสร็จภายใน ๑๘๐ วัน ต้องรายงาน อ.ก.พ.
กระทรวง โดยรายละเอียดการดาเนนิ การ ดังน้ี

ทมี่ า : สานกั งาน ก.พ.

- การประชุมลงมติเพ่ือทาความเห็นในรายงานการสอบสวน ต้องมีองค์ประชุม

ไม่น้อยกว่าก่ึงหน่ึง มติท่ีประชุมให้ถือเสียงข้างมาก โดยมีสาระสาคัญประกอบด้วย ผู้ถูกกล่าวหากระทาผิดหรือไม่

กระทาผดิ กรณีใด มาตราใด สมควรได้รับโทษสถานใด

-การทารายงานการสอบสวน

กรรมการทุกคนต้องลงลายมือช่ือ ถ้ามีเหตุจาเป็นลงลายมือชื่อ

ไม่ได้ ให้ประธานบันทึกเหตุผลความจาเป็น และให้ประธาน

คณะกรรมการสอบสวนลงนามกากับทุกหน้า กรณีมีความเห็น

แย้ง ให้แสดงชื่อผู้สรุปความเห็นแย้ง โดยผู้มีความเห็นแย้ง

จะบันทึกรายละเอียดและลงนามแนบด้วยก็ได้ โดยรายงาน

การสอบสวน ตอ้ งมสี าระสาคัญ ประกอบดว้ ย ๑) สรุปข้อเท็จจริง

และพยานหลักฐาน ๒) ความเห็นของคณะกรรมการสอบสวน

๓) วนิ ิจฉัยเปรยี บเทียบพยานหลกั ฐาน

๔.๒.๕ การพิจารณาส่ังการของผู้ส่ังแต่งต้ัง

คณะกรรมการสอบสวนวนิ ัย

(๑) กรณีเห็นว่ารายงานการสอบสวน ทม่ี า : สานักงาน ก.พ.
ถูกต้องครบถ้วน พจิ ารณาส่งั การ ดงั นี้

- 152 -

- ไมผ่ ิด สั่งยตุ เิ รื่อง
- ผิดวนิ ยั ไม่รา้ ยแรงสั่งลงโทษ
- ผดิ วินัยรา้ ยแรง สง่ อ.ก.พ.สามัญพจิ ารณา (อ.ก.พ.จังหวดั , อ.ก.พ.กรม, อ.ก.พ.
กระทรวง แล้วแต่กรณ)ี
(๒) กรณเี ห็นว่ารายงานการสอบสวนไม่ถูกต้องครบถ้วน พจิ ารณาสง่ั การ ดงั น้ี
- สอบสวนเพ่ิมเติม
- แก้ไขให้ถกู ตอ้ ง
๔.๒.๖ รายงานการดาเนนิ การทางวินยั
เมื่อผู้บังคับบัญชาซ่ึงมีอานาจส่ังบรรจุแต่งตั้งตามมาตรา ๕๗ ส่ังลงโทษ ยุติเรื่อง
หรืองดโทษแล้ว ให้รายงานการดาเนินการทางวินัยไปยัง อ.ก.พ.กระทรวง หรือ ก.พ. แล้วแต่กรณี เพื่อพิจารณา
ทั้งนี้ เมอ่ื อ.ก.พ.กระทรวง หรอื ก.พ. พิจารณา หากมมี ติเปน็ ประการใดใหผ้ บู้ งั คบั บัญชาซงึ่ มอี านาจส่ังบรรจุแต่งต้ัง
ตามมาตรา ๕๗ ส่ังหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามน้ัน โดยมีอานาจท่ีจะลงมติให้ลงโทษทางวินัยได้ทุกสถาน ตลอดจน
แกไ้ ขกระบวนการสอบสวนหรือใหส้ อบสวนเพ่ิมเตมิ ได้ดว้ ย

ทม่ี า : สานักงาน ก.พ.

๔.๓ โทษทางวินยั การลงโทษทางวนิ ยั มี ๕ สถาน ดังน้ี
๔.๓.๑ โทษไมร่ า้ ยแรง ได้แก่ ภาคทณั ฑ์ ตดั เงินเดือน ลดเงินเดอื น
(๑) การส่งั ลงโทษภาคทัณฑ์ ต้องสัง่ ใหม้ ีผลตั้งแตว่ ันทมี่ คี าสงั่
(๒) การสงั่ ลงโทษตดั เงนิ เดือน หรอื ลดเงนิ เดือน ต้องสง่ั ให้มีผลตง้ั แต่เดอื นทีม่ ีคาสั่ง
๔.๓.๒ โทษร้ายแรง ได้แก่ ปลดออก ไล่ออก โดยการสั่งลงโทษปลดออก หรือไม่ออก ต้องสั่ง

ใหม้ ผี ลตามท่รี ะเบยี บ ก.พ. กาหนด
๔.๔ การส่ังยุติเร่ือง ลงโทษ หรืองดโทษ การสั่งงดโทษแก่ข้าราชการผู้ถูกกล่าวหาทางวินัย จาแนก

ออกเป็น ๒ กรณี ดงั น้ี

- 153 -

๔.๔.๑ กรณีข้าราชการพลเรือนสามัญกระทาผิดวินัยเล็กน้อย และมีเหตุอันควรงดโทษ
ให้ผ้บู งั คบั บญั ชาผมู้ อี านาจสง่ั บรรจุตามมาตรา ๕๗ สั่งงดโทษ โดยทาเป็นคาสั่ง และระบุในคาส่ังว่าให้ทาทัณฑ์บนเป็น
หนงั สือ หรอื ว่ากลา่ วตกั เตือนตามมาตรา ๙๖ วรรคสาม ตามแบบทสี่ านกั งาน ก.พ. กาหนด

๔.๔.๒ กรณีข้าราชการพลเรอื นสามญั ซ่ึงออกจากราชการไปแล้ว แต่กรณีถูกกล่าวหาว่ากระทาผิด
วินัยอย่างร้ายแรงอยู่ก่อน และผลการสอบสวนพิจารณาปรากฏว่าผู้นั้นกระทาผิดอย่างไม่ร้ายแรง
ให้ผู้บังคับบัญชาซ่ึงมีอานาจส่ังบรรจุตามมาตรา ๕๗ ส่ังงดโทษตามมาตรา ๑๐๐ วรรคส่ี แห่งพระราชบัญญัติ
ระเบยี บข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ และทแี่ ก้ไขเพิ่มเติม ตามแบบที่สานกั งาน ก.พ. กาหนด

๔.๕ การสง่ั พักราชการ และใหอ้ อกจากราชการไว้ก่อน
การส่ังพักราชการ คือ การส่ังให้ข้าราชการพ้นจากการปฏิบัติหน้าท่ีราชการระหว่างการสอบสวน

ทางวนิ ัย หรือระหว่างถูกฟ้องคดีอาญา หรือระหว่างต้องหาว่ากระทาความผิดอาญา โดยงดเบิกจ่ายเงินเดือน และ
เงนิ อน่ื ๆ ที่จ่ายเป็นรายเดือน ตลอดจนเงนิ ช่วยเหลอื ตา่ ง ๆ ไว้ก่อน

๔.๕.๑ ผู้มีอานาจสั่งพักราชการและให้ออกจากราชการไว้ก่อน คือ ผู้บังคับบัญชาซ่ึงมีอานาจ
สั่งบรรจแุ ตง่ ตง้ั ตามมาตรา ๕๗ และรวมถึงผู้ทไี่ ดร้ บั มอบหมายให้ปฏบิ ัติราชการแทน

๔.๕.๒ ระยะเวลาการส่ังพักราชการ มาตรา ๑๐๑ วรรคสอง และกฎ ก.พ. กาหนดให้สั่งพัก
ตลอดเวลาท่สี อบสวน หรอื พจิ ารณา

๔.๕.๓ วนั พักราชการ กาหนดใหส้ ่งั พักราชการตั้งแต่วันที่ออกคาสัง่ เวน้ แต่ในกรณีดังต่อไปนี้
(๑) ผู้ซึ่งจะถูกสั่งพักราชการอยู่ในระหว่างถูกควบคุม หรือขัง หรือต้องโทษจาคุก

โดยคาพพิ ากษา ใหส้ ั่งย้อนหลังถงั วันทถี่ ูกคุมขัง หรือตอ้ งจาคกุ
(๒) ในกรณีที่ได้รับการสั่งพักราชการไว้แล้ว ถ้าจะต้องสั่งใหม่เพราะคาส่ังเดิมไม่ชอบ

หรือไม่ถูกต้อง ใหส้ งั่ พักตง้ั แต่วนั ใหพ้ ักราชการตามคาสัง่ เดิม
๔.๕.๔ วันออกจากราชการไว้กอ่ น กาหนดให้ส่ังให้ออกจากราชการไว้ก่อน ให้มีผลต้ังแต่วันท่ีออก

คาสั่ง แต่ถ้าเป็นกรณีที่ได้ส่ังพักราชการไว้ก่อนแล้ว ก็ให้ส่ังให้ออกจากราชการไว้ก่อนต้ังแต่วันท่ีส่ังพักราชการ
เป็นต้นไป หรือกรณอี ยู่ระหว่างควบคมุ หรือขัง หรือตอ้ งโทษจาคุก ก็ใหส้ ัง่ ให้ออกจากราชการไว้ก่อนย้อนหลังต้ังแต่
วันท่ีถูกควบคุม หรือขัง หรือต้องโทษจาคุก หรือกรณีจะต้องส่ังให้ออกจากราชการไว้ก่อนใหม่เพราะคาสั่งเดิมไม่ชอบ
หรอื ไมถ่ กู ต้อง ให้สง่ั ใหอ้ อกจากราชการตามคาสั่งเดิม

๔.๖ การสงั่ ใหก้ ลับเข้ารับราชการ
การสั่งให้กลับเข้ารับราชการ หมายถึง การสั่งให้ข้าราชการท่ีถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนกลับ

เข้ารับราชการ และแต่งต้ังให้ดารงตาแหน่งอีกครั้งหลังจากออกจากราชการไปชั่วคราว โดยกฎ ก.พ. กาหนดไว้ว่า
ถา้ ภายหลังปรากฏผลการสอบสวน หรอื พิจารณาวา่ ผนู้ นั้ มิได้กระทาความผดิ หรอื กระทาผิดวินัยไม่ร้ายแรง หรือไม่
มีกรณีต้องออกจากราชการด้วยเหตุอื่น ก็ให้ผู้มีอานาจส่ังให้ออกจากราชการไว้ก่อนสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการ
ในตาแหน่งเดิม หรือตาแหน่งอื่นในประเภทและระดับเดียวกัน หรือประเภทและระดับที่ ก.พ. กาหนด แต่ท้ังนี้
ผู้น้นั ตอ้ งมีคณุ สมบัติเฉพาะสาหรับตาแหนง่ น้นั ด้วย

- ๑๕๔ -

 ตัวอย่างการดาเนนิ งานภารกิจดา้ นบริหารในพืน้ ท่ี
๑. การจัดทาแผนพฒั นาจงั หวดั : จังหวดั สระบรุ ี
๑.๑ สรปุ สาระสาคัญ
กระบวนการประสานแผนระดับพื้นที่มีความสาคัญอย่างย่ิงต่อการจัดทาแผนพัฒนาจังหวัด

โดยแผนพัฒนาพ้ืนที่ระดับอาเภอและตาบลจะเป็นกลไกสาคัญในการสะท้อนความต้องการของพ้ืนท่ี
ให้แก่จังหวัด และหน่วยงานภูมิภาคของกระทรวงต่าง ๆ เพื่อใช้ในการจัดทายุทธศาสตร์ และแผนงาน/โครงการ
ให้สอดคล้องและตอบสนองต่อศักยภาพ และความต้องการของประชาชน ดังนั้น จังหวัดสระบุรีจึงให้ความสาคัญ
อย่างยิ่งยวดต่อกระบวนการประสานแผนพัฒนาในระดับพื้นที่ ผ่านกลไกการประสานแผนตามระเบียบ กฎหมาย
ท่ีเก่ียวข้อง ตลอดจนนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาปรับใช้เพื่อให้การรวบรวมความต้องการมีประสิทธิภาพ
มากยิ่งข้ึน โดยจังหวัดสระบุรีได้พัฒนาระบบฐานออนไลน์ในรูปแบบเว็บแอปพลิเคช่ัน (WWW.PBPSARABURI.COM)
เพอื่ เป็นการปรับกระบวนการวางแผน และการจัดทางบประมาณของภาครัฐไปสู่กระบวนการท่ีประชาชนมีส่วนร่วม
โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนเสนอความต้องการตรงมายังผู้บริหาร และส่วนราชการระดับจังหวัด ส่งผลให้มีการวางแผน
การพัฒนาที่ตรงความต้องการของประชาชนและแก้ไขปัญหาได้ตรงจุดทันต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน สามารถ
ติดตามประเมินผลและบริหารจัดการงบประมาณท่ีตอบสนองความต้องการของประชาชนในพ้ืนท่ีได้อย่าง
มีประสิทธิภาพลดความซ้าซ้อนของแผนงาน/โครงการและงบประมาณที่ลงในพื้นที่ ทาให้เกิดการกระจาย
งบประมาณโครงการตา่ ง ๆ ท่ีครอบคลมุ และตอบสนองความตอ้ งการของประชาชนในพ้ืนที่ได้อยา่ งแทจ้ ริง

จากการดาเนนิ การดงั กลา่ ว นาไปสูก่ ารไดร้ บั รางวัลเลิศรัฐ สาขา คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ 4.0
จากสานักงาน ก.พ.ร. ประจาปี พ.ศ. ๒๕๖๒ และ ประจาปี พ.ศ. ๒๕๖๓ ตลอดจน รางวัลรัฐบาลดิจิทัล ระดับจังหวัด
ประจาปี พ.ศ. ๒๕๖๓ (Digital Government Awards 2020) จากสานักงานพัฒนารฐั บาลดจิ ิทลั

๑.๒ ระเบยี บกฎหมายท่ีเกีย่ วข้อง
๑.๒.๑ พระราชบัญญัตริ ะเบียบบริหารราชการแผ่นดนิ พ.ศ. ๒๕๓๔ แก้ไขเพ่ิมเตมิ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๐
๑.๒.๒ พระราชกฤษฎีกาวา่ ด้วยการบรหิ ารงานจงั หวดั และกล่มุ จงั หวัดแบบบรู ณาการ พ.ศ. ๒๕๕๑
๑.๒.๓ ระเบยี บสานักนายกรฐั มนตรีว่าดว้ ยการบริหารงานเชงิ พื้นที่แบบบรู ณาการ พ.ศ. ๒๕๖๐
๑.๒.๔ ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดทาแผนและประสานแผนพัฒนาพื้นที่ในระดับ

อาเภอและตาบล พ.ศ. ๒๕๖๒
๑.๓ ข้ันตอนการดาเนนิ การ
๑.๓.๑ สานักงานจังหวัดแจ้งกรอบประเด็นการพัฒนาจังหวัดเพื่ออาเภอ/อปท. เร่ิมดาเนินการ

จดั ทาแผนพัฒนาระดบั พน้ื ที่ ดังน้ี
(๑) ระหว่างเดอื น ม.ค. - ก.พ.
๑) แผนหมู่บ้าน/ชุมชน : คณะกรรมการหมู่บ้าน/คณะกรรมการชุมชน เร่ิมดาเนินการ

จัดทาแผนพฒั นาหม่บู ้าน/ชุมชน
๒) แผนพัฒนาท้องถิน่ : อปท. เริม่ ดาเนินการจดั ทา (ร่าง) แผนพัฒนาทอ้ งถ่ิน

- ๑๕๕ -

(๒) ระหว่างเดอื น มี.ค. - เม.ย.
๑) แผนพัฒนาตาบล : ก.บ.ต. ดาเนนิ การจดั ทาแผนพฒั นาตาบล
๒) แผนพฒั นาทอ้ งถนิ่ : อปท. ดาเนนิ การจัดทาแผนพัฒนาท้องถ่นิ

(๓) ระหว่างเดอื น พ.ค. - ม.ิ ย.
๑) แผนพัฒนาอาเภอ : ก.บ.อ. ดาเนินการจดั ทาแผนพฒั นาอาเภอ

๑.๓.๒ สานักงานจังหวัดเร่ิมดาเนินการจัดเก็บความต้องการผ่านช่องทางปกติ เช่น จังหวัด
เคลื่อนที่ ศูนย์ดารงธรรม และช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบแอปพลิเคชั่น WWW.PBPSARABURI.COM
(แสดงพกิ ดั และรปู ถ่ายจากสถานท่ีจริงประกอบข้อเสนอ) ซึ่งเปิดโอกาสให้ประชาชน ผู้นาชุมชน และ อปท. เสนอ
ความตอ้ งการโดยตรงมายังจังหวัด

๑.๓.๓ อาเภอเสนอแผนพัฒนาอาเภอ และแผนความต้องการ โดยผ่านการประชุมคณะทางาน
กล่ันกรองแผนพัฒนาอาเภอก่อนเสนอขอความเหน็ ชอบจากผ้วู ่าราชการจงั หวดั จาแนกเปน็ ๓ มติ ิ ดงั น้ี

(๑) โครงการ (เกนิ ศักยภาพ) ทอี่ าเภอเสนอใหส้ ว่ นราชการดาเนนิ การ
(๒) โครงการทอ่ี าเภอประสงค์ดาเนนิ การเอง
(๓) โครงการ (เกนิ ศกั ยภาพ) ที่ อปท. เสนอผ่านอาเภอ
๑.๓.๔ กลุ่มงานยุทธศาสตร์ฯ คัดกรองโครงการตามแผนความต้องการของอาเภอ
และความต้องการของประชาชนจากระบบ PBPSARABURI เพื่อนามาจัดทา “คลังโครงการ : Project Bank”
สาหรับใช้ประกอบการเสนอของบประมาณจากแหล่งบประมาณต่างๆ ตามความสาคัญและเร่งด่วนของโครงการ
เชน่ งบของส่วนราชการ (Function) งบพฒั นาจงั หวัด (Area) งบกลาง (Agenda) และเงนิ อดุ หนุนเฉพาะกิจ
๑.๓.๕ เริ่มดาเนินการจัดทาแผนพัฒนาจังหวัด เม่ือ ก.บ.ภ. แจ้งหลักเกณฑ์นโยบาย หลักเกณฑ์
และวิธีการจดั ทาแผนของจงั หวดั กลุ่มจงั หวัด และภาค ประจาปงี บประมาณ
๑.๓.๖ ประชุมช้ีแจง ก.บ.จ. ส่วนราชการ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมเกี่ยวกับนโยบาย
หลักเกณฑ์ และวธิ กี ารจัดทาแผนของจังหวัด กลมุ่ จงั หวดั และภาค ประจาปีงบประมาณ
๑.๓.๗ วิเคราะห์ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ทิศทางการพัฒนาภาค
นโยบายของรัฐบาลเพ่ือวิเคราะห์ความเชื่อมโยง ตลอดจน วิเคราะห์ต้องการของพ้ืนท่ีซึ่งเสนอผ่านอาเภอ
และศักยภาพของพน้ื ที่ เพื่อใช้ประกอบการจดั ทาแผนพฒั นาของจงั หวดั และ
๑.๓.๘ จัดประชุมส่วนราชการ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อจัดทา (ร่าง) แผนพัฒนา
จังหวัด และแผนปฏิบัติราชการประจาปี โดยส่วนราชการจัดทาแผนงาน/โครงการที่สอดคล้องกับประเด็น
การพัฒนาจงั หวัด เพ่อื บรรจุไวใ้ นพฒั นาจังหวัด ๕ ปี
๑.๓.๙ จัดประชุมส่วนราชการ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อรับฟังความคิ ดเห็น
(ร่าง) แผนพัฒนาจังหวัด ตามมาตรา ๑๙ แห่ง พ.ร.ฎ. ว่าด้วยการบริหารงานจังหวัด และกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ
พ.ศ. ๒๕๕๑

- ๑๕๖ -

๑.๓.๑๐ ปรับปรงุ (รา่ ง) แผนพฒั นาจงั หวัดตามข้อเสนอแนะจากการประชุมหารือกับทุกภาคส่วน
๑.๓.๑๑ จัดประชมุ ก.บ.จ. เพือ่ เสนอแผนพัฒนาจังหวัด ฉบบั สมบูรณ์ และแผนปฏิบตั ิราชการประจาปี
๑.๓.๑๒ ก.บ.จ. เสนอแผนพัฒนาจังหวัด (ฉบับสมบูรณ์) และแผนปฏิบัติราชการประจาปี
ต่อ ก.บ.ภ. เพอ่ื พจิ ารณาใหค้ วามเห็นชอบ และแจง้ ครม. เพื่อโปรดทราบ
๑.๔ จุดเนน้ สาคัญ
ผู้วา่ ราชการจงั หวดั สระบุรใี ห้ความสาคัญกบั การจัดทาแผนพัฒนา และโครงการที่ตอบสนองตรงกับ
ความตอ้ งการของประชาชน และศกั ยภาพของพนื้ ที่ โดยมุ่งเนน้ การสร้างองคค์ วามรู้ และความเข้าใจให้แก่บุคลากร
ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องท้ังในระดับอาเภอ และระดับจังหวัด ตลอดจนการปรับปรุ งระบบการทางาน
และการประสานงานใหม้ ีประสทิ ธิภาพโดยการนาเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้ ดงั นี้
๑.๔.๑ การสร้างความรู้และความเข้าใจร่วมกัน : ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีให้ความสาคัญ
กับการพัฒนาองค์ความรู้ให้แก่บุคลากรในจังหวัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับอาเภอ โดยกาหนดให้มีการพัฒนาองค์
ความรู้และสรา้ งความเข้าใจเกยี่ วกบั การจดั ทาแผนพัฒนาจังหวัด และการประสานแผนระดับพ้ืนท่ีอย่างต่อเนื่องและเป็น
ระบบ โดยมอบหมายให้สานกั งานจงั หวดั และคลังจงั หวดั จัดอบรมพัฒนาองค์ความรู้เก่ียวกับการจัดทาแผนและการ
จดั ซอ้ื จดั จ้างทกุ ตน้ ปงี บประมาณใหบ้ ุคลากรของส่วนราชการระดับจังหวัด อาเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ตลอดจน กาหนดให้มีการประชุมช้ีแจงซักซ้อมความแนวทางการดาเนินการกับหัวหน้าส่วนราชการ นายอาเภอ
และผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอยู่อย่างสม่าเสมอ เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ส่วนราชการ อาเภอ
และองค์กรปกครองสว่ นทอ้ งถน่ิ ตระหนักถึงความสาคัญของการจดั ทาและประสานแผนพัฒนา
๑.๔.๒ การกาหนดแนวทางที่ชัดเจนและเป็นระบบ : ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีมอบหมาย
ให้สานักงานจังหวัดกาหนดกรอบแนวทางการดาเนินการให้ชัดเจนและเป็นระบบ เพ่ือให้ส่วนราชการ อาเภอ
และองคก์ รปกครองส่วนท้องถ่ินสามารถปฏิบัติตามได้อย่างเป็นเอกภาพ โดยการเสนอโครงการผ่านแผนความต้องการ
ระดับอาเภอต้องเป็นไปในแนวทางเดียวกันท้ังจังหวัด ตามกรอบการเสนอโครงการ รายละเอียด และห้วงเวลาที่กาหนด
โดยสานกั งานจงั หวัดเพ่ือให้เป็นไปตามระเบียบ และกฎหมายท่ีเก่ียวข้อง ตลอดจนการรวบรวมโครงการ (Project Bank)
ท้ังในระดับอาเภอ และระดบั จงั หวัดเพื่อสามารถนามาจดั ทาคาของบประมาณได้ทนั ทจี ากแหล่งงบประมาณต่าง ๆ
๑.๔.๓ การนาเทคโนโลยีมาปรับใช้เพ่ือพัฒนาการจัดทาแผนพัฒนาจังหวัด : ผู้ว่าราชการ
จังหวัดสระบุรีให้ความสาคัญอย่างยิ่งกับการนาเทคโนโลยีมาปรับใช้เพ่ือยกระดับการจัดทาแผนพัฒนาจังหวัดให้มี
ประสิทธภิ าพมากยิง่ ข้นึ โดยจังหวดั สระบุรไี ด้จดั ทาระบบจดั เก็บความต้องการระดับพ้ืนที่ (PBP-Saraburi) ซ่ึงเปิด
โอกาสให้ประชาชนสามารถเสนอความต้องการตรงมายังจังหวัดซึ่งเป็นการยกระดับการจัดทา และประสาน
แผนพัฒนาให้สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ตรงจุดมากย่ิงขึ้น นอกจากน้ัน จังหวัดสระบุรี
ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระบุรีได้พัฒนาระบบคลังข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Big Data Saraburi) เพื่อใช้
เป็นฐานข้อมูลออนไลน์สาหรับส่วนราชการ อาเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถ่ินในการจัดทาแผนพัฒนา
ในแตล่ ะระดบั ได้อยา่ งมปี ระสิทธภิ าพมากย่ิงข้นึ

หนว่ ยงานรบั ผิดชอบ : สานักงานจงั หวดั สระบรุ ี โทร. ๐ ๓๖๓๔ ๐๗๑๐

- ๑๕๗ -

๒. เทคนิคการบรหิ ารงบประมาณอยา่ งมปี ระสิทธภิ าพ : จงั หวดั สระบรุ ี
๒.๑ สรปุ สาระสาคัญ
การบริหารงบประมาณ และการดาเนินการตามแผน กากับและติดตามผลการดาเนินงาน

ตามยทุ ธศาสตร์ นโยบาย และแผนพัฒนาจังหวัด/แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด ต้องอาศัยการวางแผนเบิกจ่าย และการ
ติดตามอย่างเป็นระบบ โดยความร่วมมือของทกุ ส่วนราชการซึ่งมกี ารทาข้อตกลงร่วมกนั ระหวา่ งส่วนราชการที่ได้รับ
งบประมาณกับจังหวัด และต้องเร่งดาเนินการทันทีในต้นปีงบประมาณเพ่ือให้สามารถเบิกจ่ายได้ทันตามเป้าหมาย
ของรฐั บาล ตลอดจนต้องมีการติดตามประเมินความเสี่ยงอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาข้อจากัดในการ
ดาเนินการท่ีเกิดข้ึนได้ทันที ซ่ึงผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีให้ความสาคัญอย่างยิ่งยวดในการเร่งรัด ติดตาม
การดาเนินงาน และการเบิกจ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามเป้าหมายของรัฐบาล โดยมีกลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูล
การพัฒนาจังหวัดเป็นหน่วยสนับสนุนหลักในการขับเคลื่อน กากับ ติดตามและรายงานผลการดาเนินการ เพื่อให้
สามารถเรง่ รดั การเบิกจา่ ยไดอ้ ย่างมีประสทิ ธิภาพสงู สุด

จากการดาเนินการดังกล่าว นาไปสู่การบริหารงบประมาณ และเร่งรัดการดาเนินโครงการ
ตามแผนพฒั นาจังหวดั ทีม่ ีประสทิ ธิภาพ และประสิทธผิ ลสูงสุด โดยจังหวัดสระบุรีสามารถเบิกจ่ายงบพัฒนาจังหวัด
เป็นลาดับที่ ๑ ของประเทศ คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ ในสองปีงบประมาณติดต่อกัน ต้ังแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒
และปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ ซ่ึงจังหวัดสระบุรี มีแนวทางการบริหารงบประมาณ การดาเนินการตามแผน
การกากับและตดิ ตามผลการดาเนนิ งาน ดงั นี้

๒.๒ ระเบยี บกฎหมายท่เี ก่ียวขอ้ ง
๒.๒.๑ พระราชบญั ญัติระเบียบบริหารราชการแผน่ ดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ แกไ้ ขเพม่ิ เตมิ (ฉบบั ท่ี ๗) พ.ศ. ๒๕๕๐
๒.๒.๒ พระราชกฤษฎีกาวา่ ดว้ ยการบรหิ ารงานจังหวัด และกล่มุ จังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. ๒๕๕๑
๒.๒.๓ ระเบยี บสานกั นายกรฐั มนตรีว่าดว้ ยการบรหิ ารงานเชิงพ้นื ทีแ่ บบบูรณาการ พ.ศ. ๒๕๖๐
๒.๒.๔ พระราชบัญญตั ิวธิ กี ารงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑
๒.๒.๕ พระราชบญั ญัติการจัดซ้อื จัดจา้ งและการบริหารพัสดุภาครฐั พ.ศ. ๒๕๖๐
๒.๒.๖ ระเบยี บกระทรวงการคลงั ว่าดว้ ยการจดั ซ้ือจดั จ้างและการบรหิ ารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
๒.๒.๗ นโยบาย หลักเกณฑ์ และวิธีการจัดทาแผนของจังหวัด กลุ่มจังหวัด และภาค ประจาปี

งบประมาณ ของ ก.บ.ภ.
๒.๓ ขั้นตอนการดาเนนิ การ
๒.๓.๑ จัดทาแผนการติดตามการดาเนินโครงการและการเบิกจ่ายงบประมาณ: ผู้ว่าราชการ

จงั หวัดประชุมชี้แจงนโยบายการติดตามงบประมาณ และสานักงานจังหวัดร่วมกับส่วนราชการที่ได้รับงบประมาณ
กาหนดแผนการติดตามการดาเนินโครงการและการเบิกจ่ายงบประมาณร่วมกัน โ ดยกลุ่มงานยุทธศาสตร์ฯ
ประมาณการเป้าหมายการเบิกจ่ายงบประมาณของจังหวัดรายไตรมาส เพ่ือให้เป็นไปตามเป้าหมายของรัฐบาล
และผวู้ ่าราชการจงั หวดั

- ๑๕๘ -

๒.๓.๒ เริ่มดาเนินการอนุมัติโครงการและจัดซื้อจัดจ้าง (งบลงทุน) : เพื่อให้การดาเนินการ
เป็นไปตามแผน แผนการติดตามการดาเนนิ โครงการและการเบกิ จา่ ยงบประมาณ ดาเนินการ ดงั น้ี

(๑) สานักงานจังหวัดแจ้งส่วนราชการท่ีได้รับงบประมาณของจังหวัด โดยเฉพาะงบลงทุน
ให้เสนอขออนุมัติโครงการ ทันทีท่ีผ่านวาระ ๒ ในการพิจารณางบประมาณ และเร่งดาเนินการจัดทาหนังสือมอบอานาจ
ให้ส่วนราชการตามระเบยี บกระทรวงการคลังวา่ ดว้ ยการจดั ซ้ือจดั จ้างและการบรหิ ารพัสดุภาครฐั พ.ศ. ๒๕๖๐

(๒) สว่ นราชการเริม่ ดาเนินการจัดซอื้ จัดจ้างเมอ่ื ได้รับการมอบอานาจ และดาเนินการจนถึง
ช้นั การลงนามในสัญญา (ลงนามในสัญญาได้เมอ่ื พ.ร.บ. งบประมาณ ประกาศใช)้

๒.๓.๓ เริ่มดาเนินโครงการ : เร่งรัดการลงนามในสัญญาโครงการท่ีเป็นงบลงทุนทันทีเม่ือ พ.ร.บ.
งบประมาณประกาศใช้ โดยโครงการที่เป็นงบลงทุนต้องสามารถลงนามในสัญญาได้ทั้งหมดภายในเดือนธันวาคม -
มกราคม เพ่ือให้สามารถเบิกจ่ายได้ทันภายในปีงบประมาณ โดยจังหวัดสระบุรีสามารถลงนามในสัญญาโครงการ
งบลงทุนได้ทัง้ หมดภายในเดอื นมกราคม

๒.๓.๔ เร่ิมติดตามงบประมาณรายไตรมาส (ไตรมาสที่ ๑) : คลังจังหวัดประชุมติดตามการใช้จ่าย
งบประมาณ และการดาเนินโครงการของจังหวัดละกลุ่มจังหวัด โดยสานักงานจังหวัดต้องเร่งรัดการจัดซ้ือจัดจ้าง
โครงการงบลงทุนให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม เพื่อรับรู้เงินเหลือจ่ายสาหรับพิจารณาโครงการ Y2 เพื่อโอน
เปลยี่ นแปลง ครงั้ ที่ ๑

๒.๓.๕ ดาเนินการโอนเปล่ียนแปลงโครงการกรณีกระทบแผน : กรณีมีการโอนเปลี่ยนแปลง
โครงการท่ีกระทบแผน ผู้ว่าราชการจังหวัดดาเนินการเร่งรัดการประชุม ก.บ.จ. เพื่อพิจารณาโอนเปล่ียนแปลง
โครงการกรณีกระทบแผนตามนโยบาย หลักเกณฑ์ และวิธีการจัดทาแผนของจังหวัด กลุ่มจังหวัด และภาค
ประจาปีงบประมาณ ของ ก.บ.ภ. และจัดส่งรายละเอียดโครงการเพื่อขอโอนเปลี่ยนแปลงโครงการ
กรณีกระทบแผนให้ ก.บ.ภ. ภายในเดอื นมีนาคม ตดิ ตามงบประมาณรายไตรมาส

๒.๓.๖ ติดตามงบประมาณรายไตรมาส (ไตรมาสที่ ๒) : คลังจังหวัดประชุมติดตามการใช้จ่าย
งบประมาณ และการดาเนินโครงการของจังหวัดละกลุ่มจังหวัด โดยสานักงานจังหวัดเร่ิมลงพ้ืนท่ีเพ่ือตรวจติดตาม
การดาเนินโครงการ โดยมุ่งเน้นโครงการที่เป็นงบลงทุนว่าสามารถดาเนินการได้เป็นไปตามแผนการติดตาม
การดาเนนิ โครงการและการเบิกจ่ายงบประมาณ

๒.๓.๗ พิจารณาโอนเปล่ียนแปลงโดยใช้เงินเหลือจ่าย (ครั้งที่ ๑) : ผู้ว่าราชการจังหวัดเร่งรัด
การประชุมประชุม ก.บ.จ. เพ่ือพิจารณาโอนเปลี่ยนแปลงโครงการ Y2 เพื่อใช้เงินเหลือจ่าย คร้ังที่ ๑ ภายในเดือน
กมุ ภาพนั ธ์ – เมษายน

๒.๓.๘ ติดตามงบประมาณรายไตรมาส (ไตรมาสท่ี ๓) : คลังจังหวัดประชุมติดตามการใช้จ่าย
งบประมาณ และการดาเนินโครงการของจังหวัดละกลุ่มจังหวัด โดยสานักงานจังหวัดต้องเร่งรัดการเบิ กจ่าย
ภาพรวมไม่นอ้ ยกว่าร้อยละ ๗๕ ซ่งึ โครงการงบลงทุนควรดาเนินการแล้วเสร็จไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๕ และโครงการ
งบดาเนินการต้องแล้วเสร็จทั้งหมด กรณีที่โครงการท่ีเป็นงบลงทุนที่ยังดาเนินการไม่แล้วเสร็จ สานักงานจังหวัด
ต้องลงพน้ื ที่เพือ่ ตรวจติดตามการดาเนินโครงการอยา่ งใกลช้ ิด

- ๑๕๙ -

๒.๓.๙ พิจารณาโอนเปล่ียนแปลงโดยใช้เงินเหลือจ่าย (ครั้งที่ ๒) : ผู้ว่าราชการจังหวัดเร่งรัด
การประชุม ก.บ.จ. เพ่ือพิจารณาโอนเปลี่ยนแปลงโครงการ Y2 เพื่อใช้เงินเหลือจ่าย ครั้งที่ ๒ โดยควรพิจารณา
โครงการ Y2 ท่ีสามารถดาเนินการแล้วเสร็จภายในปีงบประมาณ หรือการต่อยอดโครงการท่ีดาเนินการแล้วเสร็จ
เปน็ อนั ดบั แรก

๒.๓.๑๐ ติดตามงบประมาณรายไตรมาส (ไตรมาสท่ี ๔) : คลังจังหวัดประชุมติดตามการใช้จ่าย
งบประมาณ และการดาเนินโครงการของจังหวัดละกลุ่มจังหวัด โดยสานักงานจังหวัดต้องเร่งรัดการดาเนินการ
โครงการงบลงทุนให้แล้วเสร็จไม่น้อยกว่าร้อยละ ๙๐-๙๕ ภายในเดือนสิงหาคม กรณีที่โครงการที่เป็นงบลงทุน
ทีย่ งั ดาเนนิ การไมแ่ ลว้ เสร็จ สานกั งานจงั หวัดต้องลงพน้ื ท่ีเพ่อื ตรวจตดิ ตามการดาเนินโครงการและรายงานผู้บริหาร
อย่างใกลช้ ดิ

๒.๔ จดุ เนน้ สาคญั
ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีให้ความสาคัญอย่างย่ิงยวดในการเร่งรัด ติดตามการดาเนินงาน

และการเบิกจ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามเป้าหมายของรัฐบาล โดยมุ่งเน้นการเร่งรัดติดตามการดาเนินการ
และการเบิกจ่ายงบประมาณอย่างเป็นระบบ พยายามปรับลดกระบวนการท่ีไม่จาเป็นให้ได้มากท่ีสุด
เพื่อเป็นการลดภาระด้านงานธุรการให้แก่ส่วนราชการที่ได้รับงบประมาณ ตลอดจน ติดตามการดาเนินการ
อย่างใกลช้ ดิ เพื่อใหท้ ราบปัญหาที่เกดิ ขึน้ และสามารถแกไ้ ขไดท้ ันที รายละเอียด ดงั นี้

๒.๔.๑ ประเมินความพร้อมของโครงการล่วงหน้า : โดยตรวจสอบความพร้อมของโครงการ
โดยเฉพาะโครงการงบลงทุนเพ่ือให้สามารถดาเนินการได้ทันที ทั้งรูปแบบรายการ ประมาณการ ปร.๔/ปร.๕
หนังสืออนุญาตการใช้พื้นท่ี รวมถึงแนวทางในการบริหารจัดการทรัพย์สินหลังโครงการเสร็จส้ินในส่วนของ
งบดาเนินงานต้องการมีการประเมินความพร้อมของส่วนราชการ แนวทางการดาเนินการ สถานท่ีดาเนินการ
และกลุ่มเป้าหมายให้เหมาะสมกับสภาพพื้นท่ี และสถานการณ์ในปัจจบุ ันของจงั หวัด และของประเทศ

๒.๔.๒ วางแผนการจัดซ้ือจัดจ้างและการเบิกจ่ายร่วมกัน : โดยทาการตกลงกับส่วนราชการ
ที่ได้รับงบประมาณ ในการกาหนดแผนดาเนินโครงการและการเบิกจ่ายงบประมาณร่วมกัน มีการจัดทาแผน
การจัดซื้อจัดจ้าง และแผนการดาเนินการและเบิกจ่ายงบประมาณเป็นลายลักษณ์อักษร โดยระบุรายละเอียด
เช่น วธิ ีการจดั ซือ้ จดั จ้าง ระยะเวลาในการดาเนนิ โครงการในแต่ละขัน้ ตอน จานวนงวดงาน ห้วงเวลาในการเบิกจา่ ย

๒.๔.๓ ดาเนินการจดั ซ้อื จัดจา้ งทันที : จังหวัดตอ้ งแจ้งส่วนราชการท่ีไดร้ บั งบประมาณของจังหวัด
โดยเฉพาะงบลงทุน ให้เสนอขออนุมัติโครงการทันทีที่ผ่านวาระ ๒ ในการพิจารณางบประมาณทันที และเร่ง
ดาเนินการมอบอานาจให้ส่วนราชการตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุ
ภาครฐั พ.ศ. ๒๕๖๐ และแจ้งให้ส่วนราชการเริ่มดาเนินการจัดซ้ือจัดจ้างเมื่อได้รับการมอบอานาจ และดาเนินการ
จนถึงชั้นการลงนามในสัญญา โดยระบุในประกาศว่าจะสามารถลงนามในสัญญาได้เมื่อ พ.ร.บ. งบประมาณ
ประกาศใช้แล้ว เพอื่ ให้โครงการสามารถดาเนนิ การไดท้ นั ทีเม่ือไดร้ ับการจดั สรรงบประมาณ

- ๑๖๐ -

๒.๔.๔ ติดตามการดาเนินโครงการอย่างใกล้ชิด : ติดตามการดาเนินการเป็นรายเดือนรายไตรมาส
อย่างใกล้ชิดและเป็นระบบ เพ่ือติดตามความก้าวหน้าในการดาเนินโครงการให้เป็นไปตามแผนการเบิกจ่าย
และงบประมาณเหลือหลังจากลงนามในสัญญา ทาให้จังหวัดสระบุรีสามารถเตรียมความพร้อมของโครงการ Y2
เช่น รูปแบบรายการ ปร.๔/ปร.๕ หนังสืออนุญาตการใช้พื้นที่ แนวทางการบริหารจัดการทรัพย์สินได้ล่วงหน้า
เพอื่ ใหส้ ามารถเสนอขออนมุ ัตโิ ครงการ ตอ่ ก.บ.จ. ได้ทนั ที

๒.๔.๕ สื่อสารแบบไม่เป็นทางการกับส่วนราชการ : เน้นการส่ือสารไม่เป็นทางการเป็นหลัก/ลด
การประชุมติดตามโครงการโดยการใช้โทรศัพท์, แอปพริเคชั่นไลน์ ในการประสานงานตรงกับหัวหน้าส่วนราชการ
ที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณและช่างควบคุมงาน และลงตรวจพื้นที่จริงเพื่อให้ทราบถึงความ ก้าวหน้า
ในการดาเนนิ โครงการ ปัญหาและอปุ สรรคในการดาเนนิ โครงการอยา่ งทันทว่ งที

๒.๔.๖ ประเมินความเสี่ยงในการดาเนินโครงการอย่างต่อเนื่อง : โดยประเมินความเสี่ยง
ในการดาเนินการอยู่ตลอดเวลา เพ่ือให้สามารถแก้ไขปัญหา/ข้อจากัดในการดาเนินการได้ทันที ซ่ึงจะส่งผล
ให้การบริหารโครงการของจังหวัดสระบุรี มีความราบร่ืน สามารถดาเนินการได้ตามแผนที่ต้ังไว้ และเกิดประโยชน์สูงสุด
แกป่ ระชาชนในพ้นื ที่จังหวดั สระบรุ ี

- ๑๖๑ -
ตัวอยา่ งแบบฟอรม์
แผนการเบิกจ่ายงบประมาณ และการตดิ ตามการจดั ซ้ือจัดจ้างตามแผนพฒั นาจงั หวัดสระบรุ ี

หน่วยงานรับผดิ ชอบ : สานักงานจงั หวดั สระบรุ ี โทร. ๐ ๓๖๓๔ ๐๗๑๐

- 162 -

ภารกิจด้านความมน่ั คงภายใน

การเสริมสร้างความสงบเรียบร้อยและความมั่นคง ภายใน เป้าหมาย สังคมมีความสงบเรียบร้อย และปลอดภัย
มีภารกิจเกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงภายในประเทศ งานการข่าวงานกิจการชายแดน
งานควบคุมดูแลชาวเขาและชนกลุ่มน้อย ผู้อพยพและผู้หลบหนีเข้าเมือง งานสัญชาติและงานกิจการมวลชน
การอานวยความเป็นธรรม การปกครองท้องที่ การอาสารักษาดินแดน การทะเบียน การคุ้มครองสิทธิในท่ีดิน
ของบุคคลและจัดการท่ีดินของรัฐ โดยการออกหนังสือแสดงสิทธิ การให้บริการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
เก่ียวกับอสังหาริมทรัพย การบริหารจัดการท่ีดินของรัฐเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด
โดยประกอบส่วนราชการ ดังน้ี

๑. สานกั งานปลดั กระทรวงมหาดไทย (สานักนโยบายและแผน สานักตรวจราชการและเรื่องราวร้องทุกข
กองการตา่ งประเทศ และศนู ยปฏบิ ัติการข่าว)

๒. กรมการปกครอง
๓. กรมท่ดี ิน
บทบาทและภารกจิ ท่ีสาคัญของการรกั ษาความสงบเรียบร้อยและความม่นั คงภายใน
กรมการปกครอง “Department of Provincial Administration” เป็นส่วนราชการระดับกรม สังกัด
กระทรวงมหาดไทย จัดตั้งขึ้นเม่ือวันท่ี ๑ เมษายน ๒๔๓๕ โดยกรมการปกครองในสมัยนั้นมีช่ือว่า "กรมพลาภัง"
หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชยมาเป็นระบอบประชาธิปไตย
แล้วในปี พ.ศ. ๒๔๗๖ กรมพลาภังได้เปลี่ยนชื่อเป็น กรมมหาดไทย ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ จึงเปลี่ยนมาใช้ชื่อ
"กรมการปกครอง” จนถึงปัจจุบัน โดยตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
พ.ศ. ๒๕๕๙ ได้กาหนดให้ กรมการปกครอง มีภารกิจเกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อยและความม่ันคง
ภายในประเทศ การอานวยความเป็นธรรม การปกครองท้องท่ี การอาสารักษาดินแดน และการทะเบียน เพื่อให้
ประชาชนมีความมั่นคง ปลอดภัย ได้รับบริการท่ีสะดวก
รวดเร็ว และให้เกิดความสงบสุขในสังคมอย่างยั่งยืน
โดยแบ่งส่วนราชการกรมการปกครองออกเป็นราชการ
บริหารส่วนกลางประกอบด้วย ๑๑ สานัก/กอง และ
ราชการบริหารส่วนภูมิภาค ประกอบด้วย ท่ีทาการ
ปกครองจังหวัด ที่ทาการปกครองอาเภอ และท่ีทาการ
ปกครองกิ่งอาเภอ
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้มุ่งเน้นในเรื่องของการสร้างความมั่นคงภายในประเทศ และการแก้ไข
ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในระดับพ้ืนที่ โดยได้มอบหมายให้กรมการปกครองเป็นหน่วยดาเนินการ
ในการขบั เคลื่อนภารกิจจานวนมาก อาทิ การป้องกันและแก้ไขปัญหาหน้ีนอกระบบ การจัดระเบียบสังคมเพื่อให้สังคม
มีความสงบเรียบร้อยและประชาชนมีความสงบสุขไม่ว่าจะเป็นโรงแรม สถานบริการ การพนัน การขับเคลื่อน
โครงการไทยนิยมย่ังยืน เพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างย่ังยืนในทุก ๆ ด้าน

- 163 -

ทั้งด้านเ ศรษฐ กิ จ และสั งคม และด้านความมั่ นคง ตา ม
ค ว า ม ต้ อ ง ก า ร ข อ ง ป ร ะ ช า ช น เ พ่ื อ ล ด ปั ญ ห า ค ว า ม เ ห ล่ื อ ม ล้ า
ในประเทศ การขับเคล่ือนการบูรณาการฐานข้อมูลประชาชน
และบริการภาครัฐ (Linkage Center) ระบบ Digital ID ของ
กรมการปกครอง (DOPA-Digital ID) เพื่อให้ส่วนราชการเรียกใช้
เอกสารอิเล็กทรอนิกส์จากระบบแทนการเรียกเอกสารจาก
ประชาชน เป็นต้น ด้วยภารกิจของกรมการปกครองที่มีความ
หลากหลาย และถือเป็นหน่วยงานท่ีมีความใกล้ชิดกับประชาชน
มากท่ีสุดหน่วยงานหน่ึง จึงเป็นแรงขับเคล่ือนสาคัญท่ีผลักดันให้
กรมการปกครองดาเนินการคิดค้นโครงการ และพัฒนาระบบการ
ปฏบิ ตั ิงานให้มีความทันสมยั และสามารถตอบสนองความต้องการ
ของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ท้ังน้ี การปฏิบัติงานของ
กรมการปกครองมีจดุ ม่งุ หมายโดยยดึ หลกั “บาบัดทุกข์ บารุงสุข”
โดยในปี ๒๕๖๔ กรมการปกครองได้มีโครงการ “๑๐ โครงการสาคัญ สู่การเป็นกรมการปกครองวิถีใหม่”
(๑๐ Flagships to DOPA New Normal ๒๐๒๑) ประกอบด้วย ๓ ส่วนสาคัญ ได้แก่ (๑) การส่งเสริมสถาบันหลัก
ของชาติ (๒) การยกระดับงานบริการ และ (๓) การสร้างความเข้มแข็งระดับหมู่บ้าน ตาบล และอาเภอภายใต้
แนวคิด “หน้าท่ีของฝา่ ยปกครอง คือ ทาให้ประชาชนทกุ ข์นอ้ ยลง สุขมากขึ้น”

โดยมี ๑๐ โครงการสาคัญ ประกอบด้วย (๑) โครงการจิตอาสาพระราชทาน (๒) การขยายผลโครงการ
อันเน่ืองมาจากพระราชดาริ (๓) การปกป้องเทิดทูนสถาบันหลักของชาติ (๔) ศูนย์ดารงธรรมอาเภอ “อาเภอดารงธรรม”
(๕) สัญชาติและสถานะบุคคล (๖) อาเภอ..วิถีใหม่ (๗) แผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง (หมู่บ้านเข้มแข็ง)
(๘) อาเภอคณุ ธรรม (๙) อาเภอม่ันคง สขี าว ปลอดยาเสพตดิ (๑๐) อาเภอมง่ั ค่ัง

- 164 -

หน่วยงานรับผดิ ชอบ : กรมการปกครอง (๑) สานักบรหิ ารการทะเบียน โทร. ๐ ๒๗๙๑ ๗๕๙๙
(๒) กองวชิ าการและแผนงานส่วนแผนงานยทุ ธศาสตร์ โทร.๐ ๒๒๒๕ ๔๙๙๖

 ดา้ นการรกั ษาความสงบเรยี บร้อย
๑. การป้องกันและแกไ้ ขปญั หายาเสพตดิ
กระทรวงมหาดไทยได้มีคาสั่ง ที่ ๒๕๖๓/๒๕๖๓ ลงวันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๓ เรื่อง การจัดตั้งศูนย์

อานวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดกระทรวงมหาดไทย (ศอ.ปส.มท.) เพ่ือให้การดาเนินการแก้ไขปัญหา
ยาเสพติดในภาพรวมของกระทรวงมหาดไทย เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และบรรลุวัตถุประสงค์ สอดคล้องกับ
นโยบายหลักและนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล แผนปฏิบัติการด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
และสถานการณ์ปัญหายาเสพติดในปัจจุบัน โดยศูนย์อานวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดกระทรวงมหาดไทย
มีปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้อานวยการ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านกิจการ
ความม่ันคงภายใน เป็นรองผู้อานวยการ ที่ปรึกษาด้านความมั่นคง หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย
อธิบดีกรมในสังกัดกระทรวงมหาดไทย และผู้แทนศูนย์อานวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
กรุงเทพมหานคร เป็นกรรมการ และมีผู้อานวยการสานักนโยบายและแผน สป.มท. และผู้อานวยการ
สานักอานวยการกองอาสารักษาดนิ แดน กรมการปกครอง เป็นกรรมการและเลขานุการร่วม ซ่งึ มอี านาจหน้าท่ี ดงั น้ี

๑.๑ นานโยบาย ยุทธศาสตร์ แนวทาง และมาตรการในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
จากศูนย์อานวยการปอ้ งกนั และปราบปรามยาเสพติดแหง่ ชาตไิ ปสู่การปฏิบัติ

๑.๒ จดั ทาแผนปฏิบัติการด้านการปอ้ งกันและปราบปรามยาเสพติดในสว่ นกลางและระดับพืน้ ที่

- 165 -

๑.๓ อานวยการ สั่งการ เร่งรัด กากับดูแล ตรวจสอบ ติดตามและประเมินผล การปฏิบัติงานของ
ศูนย์อานวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัด (ศอ.ปส.จ.) และศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปราม
ยาเสพติดอาเภอและองค์กรปกครองสว่ นทอ้ งถิน่ ทุกระดับ (ศป.ปส.อ./ศป.ปส. อปท.)

๑.๔ จดั สรรงบประมาณเพื่อการปอ้ งกันและปราบปรามยาเสพตดิ อยา่ งบรู ณาการและเหมาะสม
๑.๕ ปฏิบัติหน้าที่อ่ืน ๆ ตามท่ีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและผู้อานวยการศูนย์อานวยการ
ปอ้ งกันและปราบปรามยาเสพตดิ กระทรวงมหาดไทยมอบหมาย
๑.๖ แต่งต้ังคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และคณะทางานอื่น ๆ ท่ีเก่ียวข้อง เพ่ือให้คาปรึกษา
แนะนา กากบั ดูแลการดาเนินงานป้องกนั และแกไ้ ขปัญหายาเสพตดิ

หนว่ ยงานรับผิดชอบ : ศนู ยอ์ านวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพตดิ กระทรวงมหาดไทย (กล่มุ งานกิจการพิเศษ)
สานักนโยบายและแผน สป. โทร. ๐ ๒๖๒๒ ๒๔๔๓ (มท.) ๕๐๖๒๐ – ๓

๒. การสร้างความเข้มแขง็ ระดับหมบู่ ้าน ตาบล อาเภอ
กรมการปกครองมแี นวทางในการดาเนินแผนงานและโครงการที่รองรับการพัฒนาของอาเภอ อีกทั้งเป็น

การเสรมิ สรา้ งความเขม้ แข็งให้หยง่ั รากลึกลงไปสูอ่ าเภอ ตาบล หมู่บ้านและชุมชน ให้เป็นสังคมที่ดี เป็นสังคมท่ีน่าอยู่
ปลูกฝงั ใหป้ ระชาชนสามารถพ่ึงพาตนเอง และนาพาสังคมไปสู่สงั คมท่ีมีความเข้มแข็ง และอยู่ดีมีสุขอันเป็นแนวทาง
ซึง่ สอดคลอ้ งกบั ยทุ ธศาสตรช์ าตแิ ละแนวทางของการพฒั นาสงั คมอย่างยง่ั ยนื

๒.๑ แผน่ ดินธรรม แผน่ ดนิ ทอง “หมู่บา้ นอยู่เยน็ (Inclusive Growth Village)”
เพือ่ ดาเนินการสร้างความเข้มแข็งของทกุ หมู่บ้าน จานวน ๗๔,๗๐๙ หมู่บ้าน และคัดเลือกหมู่บ้านท่ี

มีผลงานโดดเด่นในระดับเขต และระดับภาค โดยการดาเนินการดังกล่าวจะส่งเสริมให้ประชาชนในหมู่บ้าน
มีความเข้มแข็ง ทั้งทางจิตใจ ร่างกาย สังคม และทางเศรษฐกิจ อีกท้ังยังเป็นการสนับสนุนการเลือกตั้งในทุกระดับ
มปี ระสทิ ธภิ าพ มีความบรสิ ุทธิ์ยุตธิ รรม ปราศจากการซ้ือสิทธิ ขายเสยี ง เปน็ ไปตามกฎหมายและระเบียบท่ีเก่ียวข้อง

(๑) ผลการดาเนนิ งานท่ีสาคัญ
การสร้างความเข้มแข็งในหมู่บ้านตามแนวทาง “แผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง” จานวน

๗๔,๗๐๙ หม่บู า้ น ดาเนินกิจกรรม ดังน้ี
๑) กิจกรรมการปกป้องเทิดทนู สถาบันหลกั ของชาติ จานวน ๗,๐๒๑ กจิ กรรม
๒) กจิ กรรมพัฒนาคน จานวน ๘,๐๕๓ กจิ กรรม
๓) กจิ กรรมด้านสังคม จานวน ๑๖,๒๗๗ กิจกรรม
๔) กจิ กรรมส่งเสริมเศรษฐกิจ จานวน ๓,๖๐๗ กจิ กรรม
๕) กจิ กรรมการจัดการส่งิ แวดล้อม จานวน ๘,๕๑๖ กจิ กรรม

- 166 -

(๒) สนับสนุนการเลือกตงั้ ในทุกระดับใหม้ คี วามบรสิ ุทธิ์ ยตุ ธิ รรม ปราศจากการซอื้ สิทธิ ขายเสียง
๑) จัดทาบัญชีผู้มีสิทธิเลือกตั้งในการ

เลือกตั้งทุกระดับ รับผิดชอบจัดทาโปรแกรมประมวลผล
เพ่ือสนับสนุนการเลือกต้ัง อาทิ การจัดหน่วยเลือกตั้ง บัญชี
ผู้มีสิทธิเลือกต้ังของแต่ละหน่วยเลือกตั้งจากทะเบียนรายช่ือ
ผู้มีสิทธิเลือกตั้งตามกฎหมายให้ถูกต้องตามความเป็นจริง
หนงั สือแจ้งเจา้ บา้ น โดยให้นายทะเบียนอาเภอและนายทะเบียน
ท้องถิ่นเปน็ ผจู้ ดั ทาและพิมพ์

๒) แจ้งแนวทางปฏิบัติในการตรวจสอบ
คุณสมบัติในประเด็นการมีสัญชาติไทยโดยการเกิด โดยแจ้งให้
นายทะเบียนจังหวัดและนายทะเบียนกรุงเทพมหานครทราบ
เพ่ือแจ้งสานักทะเบียนอาเภอและสานักทะเบียนท้องถิ่นเขต
ถือเปน็ แนวทางปฏิบัติ

๓) จัดทาบญั ชรี ายชอื่ ผมู้ สี ิทธเิ ลือกตั้งที่ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งและมิได้แจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิ
เลอื กตัง้ หรือแจ้งเหตแุ ลว้ แตเ่ หตุน้นั ไม่ใช่เหตุอันสมควร

๒.๒ อาเภอคณุ ธรรม “ตน้ แบบ”
เพื่อเป็นการสร้างคนดี สังคมดี ประชาชนใน

พ้ืนท่ีอาเภอมีความอยู่ดีกินดี โดยเป็นคานิยามของอาเภอที่
นายอาเภอ ส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถ่ิน
(เทศบาลเมอื ง เทศบาลตาบล อบต.) เครือข่ายภาครัฐ ภาคธุรกิจ
ภาคเอกชน ชุมชน สถาบันทางศาสนา สมาคม มูลนิธิ
และทุกภาคส่วนของอาเภอ เข้ามามีส่วนร่วมในการแสดง
เจตนารมณ์ และมุ่งมั่นที่จะดาเนินการส่งเสริมและพัฒนา
คุณธรรมในอาเภอ ยดึ ม่ันและปฏิบัติตามหลักธรรมทางศาสนา
โดยน้อมนาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและวิถีวัฒนธรรมไทยที่ดีงามมาเป็นหลักในการดารงชีวิต ตลอดจน
มีส่วนร่วมรณรงค์ส่งเสริมคุณธรรมให้กับประชาชน ชุมชน หรือเครือข่ายอื่น ๆ โดยมีแนวทางในการดาเนินการ
ประกอบด้วย

(๑) น้อมนาหลักการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร
คือ การ “ระเบิดจากขา้ งใน” “เข้าใจ เข้าถงึ พฒั นา” และศาสตรพ์ ระราชา มาเปน็ หลักการในการปฏบิ ัติงาน

(๒) นาหลักการ ๓ ประสาน คือ บ้าน วัด/ศาสนสถาน โรงเรียน/ราชการ หรือภาคประชารัฐ เป็นกลไก
ในการขับเคลือ่ นการดาเนินงานขององค์กร ชมุ ชน อาเภอ และจังหวัด

(๓) นาหลักการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน มาเป็นหลกั ในการปฏบิ ตั ิงานอย่างเปน็ ระบบและเป็นรปู ธรรม

- 167 -

(๔) ใช้มิติทางวัฒนธรรมในการส่งเสริมและพัฒนาองค์กร ชุมชนอาเภอ และจังหวัดคุณธรรมเพ่ือ
สร้างคณุ คา่ ทางสังคมและมูลคา่ เพ่ิมทางเศรษฐกิจเพ่ือเป็นแบบอย่างและเปน็ แหล่งเรยี นรู้ใหก้ ับชมุ ชนและองค์กรอนื่ ๆ

๒.๓ อาเภอม่ันคงสีขาว ปลอดยาเสพติด
จังหวัดและอาเภอจัดชุดปฏิบัติการป้องกันการค้ามนุษย์ เพื่อดาเนินการเฝ้าระวังการกระทา

ความผดิ ในพนื้ ที่ตลอดแนวชายแดน เสน้ ทางเข้ามาในพนื้ ทีช่ ัน้ ใน รวมท้งั ตรวจสถานบริการและสถานประกอบการ
ที่เปน็ กลมุ่ เสีย่ ง และแหลง่ อบายมุขอยา่ งน้อยเดือนละ ๒๐ แห่ง หรือเท่าที่มีในพื้นท่ี และจัดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์
อย่างน้อยเดอื นละ ๔ ครง้ั

๒.๔ อาเภอม่งั คง่ั
(๑) เสริมสร้างการรับรู้และความเข้าใจอันดีของ

ประชาชนในพ้ืนที่อาเภอ ตาบล และหมู่บ้านต่อนโยบายเขต
พัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) แก่ประชาชน ในพื้นท่ี
๓๐ อาเภอ ๒๒๗ ตาบล ๑,๙๙๔ หมู่บา้ น

(๒) การขับเคล่ือนการพัฒนาพ้ืนท่ีเขตเศรษฐกิจพิเศษ
จานวน ๒๓ แหง่ ในพืน้ ที่ ๒๓ อาเภอ ๑๐ จังหวดั

(๓) จานวนการจ้างงานตาบลละ ๒ คน จานวนทั้งหมด
๗,๒๕๕ ตาบลท่ัวประเทศ ครอบคลุม ๘๗๘ อาเภอในพ้ืนที่
๗๖ จังหวัด รวมจานวน ๑๔,๕๑๐ คน

หนว่ ยงานรับผดิ ชอบ : กรมการปกครอง
(๑) สานกั อานวยการกองอาสารกั ษาดินแดนสว่ นปฏบิ ัตกิ ารพิเศษ โทร.๐ ๒๒๒๗ ๕๐๐๒
(๒) กองวิชาการและแผนงาน สว่ นแผนงานยุทธศาสตร์ โทร.๐ ๒๒๒๕ ๔๘๘๖
(๓) กองการเจา้ หน้าท่ี สว่ นวางแผนอตั รากาลงั และพัฒนาระบบงาน โทร.๐ ๒๒๒๑ ๑๘๒๔

- 168 -
๓. การปฏิบตั ิราชการของศนู ยดารงธรรมกระทรวงมหาดไทย

๓.๑ ภารกิจของศูนยดารงธรรมกระทรวงมหาดไทย
ศูนย์ดารงธรรม มีภารกิจตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๙๖/๒๕๕๗

ลงวันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๗ แบง่ ออกเป็น ๗ มิติ ดงั น้ี

มิตทิ ี่ ๑ การรบั เร่อื งรอ้ งเรียน – รอ้ งทุกข แบ่งออกเปน็
- เร่อื งเดอื ดรอ้ นราคาญ เช่น การบรกิ ารพื้นฐาน เหตุราคาญ มลภาวะ ขม่ ขู่ สาธารณภยั
- เรื่องขอความช่วยเหลือ เช่น ทุนประกอบอาชีพ ทุนการศึกษา การสงเคราะห์ผู้ป่วย

การขอท่ีดนิ ทากินและอยู่อาศยั การขอความช่วยเหลอื อ่ืน ๆ
- เรื่องแจ้งเบาะแส เชน่ ยาเสพตดิ ผมู้ ีอทิ ธิพล สถานบริการ การพนัน
- เรื่องท่ดี นิ เชน่ การถูกปดิ ก้นั เสน้ ทาง การบุกรกุ ทสี่ าธารณะ
- เร่ืองรอ้ งเรยี นเจา้ หนา้ ท่รี ฐั เชน่ พฤตกิ รรมการทจุ รติ การบรหิ ารที่ไม่เป็นธรรม
- เรื่องคมุ้ ครองผู้บรโิ ภค เชน่ อสังหาริมทรัพย์ รถยนต์ สินค้าทว่ั ไป การบรกิ ารทวั่ ไป
- เรอื่ งหน้นี อกระบบ เชน่ มูลหนีไ้ ม่เกิน ๒ แสน
- เร่อื งทรพั ยากรธรรมชาติและสงิ่ แวดลอ้ ม เชน่ ป่าไม้ แหลง่ น้า ขยะ มลพิษ
- เร่ืองอื่น ๆ เชน่ การทราบข้อมูล การปรึกษา การเสนอปัญหาหรอื ความเหน็

มิติที่ ๒ การบริหารเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) เช่น การรับชาระค่าน้าประปาและค่าไฟฟ้า
การทาบัตรประจาตัวประชาชน การคัดสาเนาทะเบียนราษฎร์ การขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ SMEs การบริการ
เบด็ เสร็จดา้ นการลงทุน การบริการออกบตั รนายจา้ ง การจดทะเบยี นแรงงานต่างด้าว และการชาระภาษีรถทุกชนิด
(กรณีไม่ต้องตรวจสภาพรถ) เป็นต้น โดยในปัจจุบันศูนย์ดารงธรรมมีการดาเนินการนาร่องเฉพาะในส่วนของ
การให้บริการชาระค่านา้ ประปา และค่าไฟฟา้ เปน็ หลัก

- 169 -

มิติที่ ๓ การบริการและส่งต่อ (Service Link) เช่น การจดทะเบียนคนพิการ การจัดสวัสดิการ
ผู้สูงอายุ การบริการขออนุญาตจัดตั้งสถานประกอบการ การขออนุญาตจัดต้ังโรงงาน การอนุญาตใช้ไฟฟ้า
น้าประปา และโทรศัพท์ การต่อใบอนุญาตผู้ประกอบการ เช่น สถานีบริการน้ามันเชื้อเพลิง ร้านเกม ร้านคาราโอเกะ
เป็นต้น

มิติที่ ๔ การบรกิ ารข้อมูลข่าวสาร/ให้คาปรึกษา เช่น การให้ข้อมูลทางการเกษตรท่ีจาเป็นสาหรับ
ประชาชน (ราคาพืชผล ราคาปุ๋ย พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ เครื่องมือการเกษตร) ข้อมูลทางเศรษฐกิจ การให้คาปรึกษา
เกี่ยวกับคดีความ หนี้นอกระบบ ปัญหาครอบครัว การประกอบอาชีพ การลงทุน SMEs การประกอบธุรกิจต่าง ๆ
เป็นตน้

มิตทิ ี่ ๕ การรับเร่ืองราวความต้องการและข้อเสนอแนะของประชาชน เช่น ข้อคิดเห็น
ในการปฏิรูปประเทศ เพ่ือเสนอต่อสภาปฏิรูปแห่งชาติ ๑๑ ด้าน (ด้านการเมือง ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน
ด้านกฎหมาย และกระบวนการยุติธรรม ด้านการปกครองท้องถิ่น ด้านการศึกษา ด้านเศรษฐกิจ ด้านพลังงาน
ด้านสาธารณสขุ ด้านสิ่งแวดลอ้ ม ด้านสื่อสารมวลชน ดา้ นสงั คม และอืน่ ๆ)

มิติท่ี ๖ การปฏิบตั ิตามนโยบายสาคัญเร่งดว่ นของรัฐบาล/หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
เชน่ การแกไ้ ขปญั หาหนนี้ อกระบบ

มิติที่ ๗ การจัดชุดปฏิบัติการเคลื่อนท่ีเร็ว (Mobile Service) เป็นการแก้ไขปัญหาความเดือนร้อน
เฉพาะหน้า โดยมีหน่วยเคล่ือนท่ีเร็วหากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินหรือมีการแจ้งเบาะแส เช่น ยาเสพติด การลักลอบ
ตดั ไม้ทาลายป่า บอ่ นการพนัน โดยสนธิกาลังตารวจ ทหาร มูลนธิ ิ อาสาสมัคร เพ่ือไปช่วยเหลือจบั กมุ

๓.๑.๑ การบรหิ ารจดั การเรื่องรอ้ งเรยี นร้องทุกขผ่านศูนยดารงธรรม
ศูนย์ดารงธรรมได้พัฒนาช่องทางการร้องเรียนร้องทุกข์ให้มีความสะดวก รวดเร็วเพื่อให้

ประชาชนสามารถเข้าถึงช่องทางในการร้องเรียนร้องทุกข์ได้อย่างง่ายดาย อาทิ (๑) การเข้ารับบริการด้วยตนเอง
(๒) ตู้ ป.ณ. ๑๐๑ ปณฝ. มหาดไทย (๓) โทรศัพท์สายด่วน ๑๕๖๗ (๔) www.damrongdham.moi.go.th
(๕) ดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น Spond (๖) แอพพลเิ คช่ันมอื ถือ MOI ๑๕๖๗

- 170 -
รวมทั้งได้กาหนดแนวทางการพัฒนาศูนย์ดารงธรรมในอนาคต ให้มีศักยภาพสามารถ
บริหารจัดการเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการพัฒนาบุคลากรของศูนย์ดารงธรรมให้มี
ศักยภาพและมีทัศนคติท่ีดีในการปฏิบัติงานโดยการจัดอบรมสัมมนาพัฒนาในด้านองค์ความรู้และจิตวิทยา
การให้บริการท่ีดี รวมถึงมีการบริหารจัดการความรู้ที่เป็นประโยชน์จากศูนย์ดารงธรรมกระทรวงมหาดไทยไปยัง
ศูนย์ดารงธรรมจังหวัด การถอดบทเรียนศูนย์ดารงธรรมจังหวัดท่ีดาเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Best Practice)
เพอ่ื เป็นตน้ แบบในการดาเนินงานใหก้ ับศูนย์ดารงธรรมของจงั หวดั อน่ื ๆ ตอ่ ไป

๓.๑.๒ การพัฒนาระบบฐานขอ้ มูลของศูนยดารงธรรม
การพัฒนาระบบการเชื่อมโยงฐานข้อมูลร้องเรียน ร้องทุกข์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้อมูลปัญหา

ความเดือดร้อนของประชาชน หากมีฐานข้อมูลรวบรวมท่ีส่วนกลาง พร้อมท้ังพัฒนาระบบบริหารจัดการข้อมูล
เว็บเซอร์วิส (Web Service Management) ก็จะนามาเชื่อมโยงกันช่วยให้สามารถนามาวิเคราะห์ และต่อยอดได้
อย่างมีประสิทธภิ าพ โดยมีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาระบบฐานข้อมูลท่ีสาคัญเพ่ือเชื่อมโยงฐานข้อมูลการร้องเรียน
ร้องทุกข์เป็นศูนย์ข้อมูลร้องเรียนร้องทุกข์ของประเทศ หน่วยงานภาครัฐท่ีเกี่ยวข้องสามารถใช้ประโยชน์ข้อมูล
ร่วมกนั ประชาชนสามารถเข้าถงึ ข้อมูลไดอ้ ย่างสะดวก รวดเร็วและทันต่อสถานการณ์เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์
แนวโน้มและทิศทางของปัญหาการรอ้ งเรียนรอ้ งทุกขส์ าหรบั ใชใ้ นการวางแผนติดตามและแก้ไขปัญหา

- 171 -

ท้งั นสี้ ามารถดาเนนิ การได้โดยพฒั นาระบบการเช่ือมโยงฐานข้อมูลของระบบเร่ืองร้องเรียน
ร้องทุกข์ รว่ มกบั หน่วยงานท่ีเกี่ยวข้อง โดยมีศูนย์ดารงธรรมกระทรวงมหาดไทยเป็นศูนย์กลาง รวมถึงพัฒนาระบบ
รายงานและสารสนเทศผู้บริหาร พัฒนาระบบงานบริการประชาชนบนอุปกรณ์แบบพกพา และพัฒนาระบบถาม - ตอบ
ออนไลน์ เพื่อตอบข้อซักถามและการให้บริการข้อมูล ข่าวสารแก่ประชาชนที่ใช้งานผ่านช่องทางต่าง ๆ
ซึ่งจะส่งผลให้ศูนย์ดารงธรรมสามารถพัฒนาระบบการเช่ือมโยงฐานข้อมูลร้องเรียน ร้องทุกข์ให้เป็นระบบ
และมปี ระสทิ ธิภาพในการให้บริการประชาชนและหนว่ ยงานที่เก่ียวขอ้ ง

- 172 -

๓.๑.๓ การสง่ เสรมิ และสงเคราะหพลเมืองดี

กระทรวงมหาดไทย มีหน้าท่ีในการบาบัดทุกข์ บารุงสุข ให้แก่พี่น้องประชาชน มุ่งหวังที่จะให้
สังคมไทยมีพลเมืองดีท่ีเข้าไปช่วยเหลือบุคคล ผู้ประสบภยันตรายจากเหตุการณ์ฉุกเฉินเฉพาะหน้าจานวนมาก
ซ่ึงจะส่งผลให้สังคมไทยเป็นสังคมที่น่าอยู่ และเพ่ือส่งเสริมสนับสนุนให้มีพลเมืองดีออกมาช่วยเหลือสังคมมากขึ้น
จึงได้มีแนวดาริเริ่มให้จัดต้ังกองทุนส่งเสริมและสงเคราะห์พลเมืองดี ขึ้นที่สานักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
และทีศ่ าลากลางจังหวัดทกุ จงั หวัดทว่ั ประเทศ เพื่อสง่ เสรมิ สนับสนุน ยกย่องเชดิ ชูเกียรติและให้ความช่วยเหลือพลเมืองดี
รวมท้ังมอบหมายให้ศูนย์ดารงธรรมกระทรวงมหาดไทย รับผิดชอบภารกิจการส่งเสริมและสงเคราะห์พลเมืองดี
อกี ภารกิจหนึง่ ดว้ ย ต้ังแตว่ นั ที่ ๑ ธนั วาคม ๒๕๔๕ เป็นตน้ มา

ทั้งน้ีกระทรวงมหาดไทยได้จัดให้มีพิธีมอบเข็มเชิดชูเกียรติทองคาและประกาศเกียรติคุณ
ให้แก่ พลเมืองดีเพ่ือยกย่องเชิดชูเกียรติพลเมืองดี ณ ศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย ในวันคล้ายวันสถาปนา
กระทรวงมหาดไทย ในวันท่ี ๑ เมษายน ของทุกปี โดยเร่ิมดาเนินการคร้ังแรกเมื่อวันท่ี ๑ เมษายน ๒๕๔๗
โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานในพิธีมอบเข็มเชิดชูเกียรติทองคาและประกาศเกียรติคุณให้แก่
พลเมืองดี และ/หรือทายาท พลเมืองดี (กรณีพลเมืองดีเสียชีวิต) ซ่ึงผลการดาเนินการที่ผ่านมาตั้งแต่วันท่ี
๑ เมษายน ๒๕๔๗ จนถึง ๑ เมษายน ๒๕๖๔ มีพลเมืองดีท่ีได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติโดยได้รับมอบเข็ม
เชิดชูเกียรติทองคาและประกาศเกียรติคุณไปแล้ว จานวน ๑๘๙ ราย เป็นพลเมืองดีที่เสียชีวิตจากการกระทา
ความดี จานวน ๓๔ ราย พลเมืองดีท่ีได้รับบาดเจ็บ ๔๔ ราย และพลเมืองดีท่ีไม่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์
จานวน ๑๑๑ ราย

หน่วยงานรับผดิ ชอบ : ศูนย์ดารงธรรมกระทรวงมหาดไทย โทร. ๐ ๒๒๒๑ ๑๑๓๓ (มท.) ๕๐๘๘๓

๓.๒ การรับเรอ่ื งราวร้องทกุ ข ขอ้ รอ้ งเรียนหรอื ร้องขอความช่วยเหลือ
การรับเรื่องร้องทุกข์ ร้องเรียน หรือร้องขอความเป็นธรรมของประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน

และขอความช่วยเหลือกรณีต่าง ๆ การชุมนุมประท้วงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยหรือผู้บริหาร
สานักงานรัฐมนตรี กระทรวงมหาดไทย ซ่ึงเป็นไปตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
เพื่อให้ประชาชนได้รับความเป็นธรรม โดยการรับเร่ืองร้องเรียนและบันทึกทางระบบงานสารบรรณร้องทุกข์
ของสานักงานรัฐมนตรีฯ ประกอบการนาเสนอเพื่อการดาเนินการสั่งการโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

- 173 -

ไปยังหน่วยงานในสังกัดท่ีรับผิดชอบตามสายการบังคับบัญชาเพื่อตรวจสอบวินิจฉัยสั่งการ และรายงานผล
การพิจารณาให้กลุ่มงานร้องทุกข์ สานักงานรัฐมนตรีฯทราบ เพื่อรายงานต่อผู้บังคับบัญชาในส่วนของสานักงาน
รัฐมนตรีฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยทราบต่อไป เพ่ือเป็นการปฏิบัติตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงมหาดไทย และเป็นการให้ความช่วยเหลือแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนโดยยึดหลักความถูกต้อง
บรสิ ุทธิ์ ยุตธิ รรม ควบคู่กับกฎระเบียบและกฎหมาย เพ่ือบาบัดทุกข์ บารุงสุข ได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างเป็นรูปธรรม
และตรวจสอบได้ให้เกิดความโปร่งใส

๓.๒.๑ ขั้นตอนการปฏบิ ตั ิงาน
(๑) กลุ่มงานเร่ืองราวร้องทุกข์ รบั เรอื่ งร้องเรียนจากประชาชน รอ้ งเรียนต่อรัฐมนตรีว่าการ

กระทรวงมหาดไทย และผู้บริหารระดับสูง สานักงานรัฐมนตรีฯ ผู้ร้องย่ืนเร่ืองร้องเรียน/ร้องทุกข์ ขอความเป็นธรรม
ขอความช่วยเหลือ ร้องเรยี นผา่ นช่องทางไปรษณีย์หรือมาร้องเรียนด้วยตนเองเป็นลายลักษณ์อักษร ณ กลุ่มงานร้องทุกข์
สานกั งานรฐั มนตรีฯ

(๒) ลงทะเบียนควบคุมทางสารบรรณกลุ่มงานร้องทุกข์ และเพื่อเป็นหลักฐานทางราชการ
ตรวจสอบ กล่ันกรอง เร่ืองร้องเรียนเบื้องต้นตามระเบียบสานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดการเรื่องราว ร้องทุกข์
พ.ศ. ๒๕๕๒

(๓) ตรวจสอบ กล่ันกรอง ตามกฎระเบียบและกฎหมาย และเสนอเร่ืองร้องเรียน
ต่อผู้บริหารระดับสูง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เพ่ือพิจารณาสั่งการไปยังหน่วยงานท่ีเกี่ยวข้อง ส่ังการ
ให้หน่วยงานราชการรับผิดชอบ และหน่วยงานรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงมหาดไทย/จังหวัด ประสานชี้แจง
เพือ่ ให้ตรวจสอบข้อเท็จจรงิ และเสนอแนะแนวทางแกไ้ ขตามผ้บู ังคบั บญั ชาสง่ั การ

(๔) ติดตามผลความคืบหน้าเรื่องร้องเรียน หากพ้นระยะเวลาท่ีกาหนดเร่ืองท่ียังไม่ได้
รายงานผล กลุ่มงานรอ้ งทกุ ข์ สานกั งานรัฐมนตรฯี ทาการแจ้งเตอื นตามระยะเวลาท่กี ฎระเบยี บกาหนด ดงั นี้

- เตือนครั้งท่ี ๑ เมือ่ ครบกาหนด ๓๐ วัน
- เตือนครง้ั ที่ ๒ เม่ือครบกาหนด ๑๕ วนั นับตั้งแต่ได้รบั การเตอื นครั้งท่ี ๑
- เตอื นคร้ังท่ี ๓ เมื่อครบกาหนด ๗ วัน นับต้ังแตไ่ ดร้ ับการเตอื นครง้ั ที่ ๒
- เตอื นพิจารณาความผดิ ตามระเบยี บราชการกาหนด
(๕) ตรวจสอบรายงานสรุปผลของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงมหาดไทย/จังหวัด
และหน่วยงานอื่น รายงานผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงทาการสรุปผลต่อสานักงานรัฐมนตรีฯ การสรุป วิเคราะห์
และเสนอ/พร้อมกฎระเบียบ รายงานผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อนาเรียนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
เพอ่ื พิจารณาสั่งการเพิ่มหรือยตุ ิเร่อื ง พรอ้ มทงั้ ใหห้ นว่ ยงานในสงั กัดเจา้ ของเรอื่ งแจ้งผรู้ อ้ งทราบตอ่ ไป
(๖) กลุ่มงานเรื่องราวร้องทุกข์ สานักงานรัฐมนตรีฯ บริหารระบบเร่ืองร้องเรียนเข้าระบบ
สารบรรณของกลุ่มงานร้องทกุ ข์ สานักงานรฐั มนตรีฯ

- 174 -
แผนภาพขน้ั ตอนการปฏบิ ัติงาน

ข้นั ตอนการปฏบิ ัตงิ าน ผงั งาน ระยะเวลา
รับเรือ่ งร้องเรยี น ๑ ช่วั โมง
๑. กลุ่มงานร้องทุกข์ รับเร่ืองจากระบบสารบรรณ ๑ ช่ัวโมง
สร.มท. ลงทะเบยี น
และตรวจสอบ -
๒. ลงทะเบียนควบคุมงานสารบรรณและตรวจสอบ
เรื่องร้องเรียนเบื้องต้น ตามระเบียบสานัก เสนอเรอ่ื งใหผ้ ูบ้ ังคบั บัญชา
นายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดการเร่ืองราวร้องทุกข์ พิจารณา/สั่งการ
พ.ศ. ๒๕๕๒ หากครบถ้วนกด็ าเนินการต่อไป

๓. ผู้บริหารระดับสูง สร.มท.พิจารณาส่ังการไปยัง
หนว่ ยงานทเ่ี กี่ยวข้อง

๔. ติดตามผลความคืบหน้าเรื่องร้องเรียน หากพ้น ติดตามผลความ -
ระยะเวลาทก่ี าหนดแล้ว จะแจ้งเตือนตามระยะเวลา คืบหนา้ ๑ ชั่วโมง
ทีก่ ระทรวงมหาดไทยกาหนด ๑ ชวั่ โมง

๕. หน่วยงานในสังกัด มท. รายงานผลการ นาเรยี น รมว.มท./รมช.มท
ดาเนินการ/สรุปผล ยุติเรื่องและแจ้งผลให้ผู้ร้อง เพ่ือทราบและส่ังการต่อไป
ทราบ โดยรายงานผลให้ สร.มท. ทราบ เพ่ือนาเรียน
รมว.มท./รมช.มท เพือ่ ทราบและสงั่ การตอ่ ไป

๖. งานรับเรื่องราวร้องทุกข์เก็บเรื่องเข้าระบบ เกบ็ เร่อื งร้องเรียน
สารบรรณ กลุ่มงานรอ้ งทกุ ข์ สร.มท. เข้าระบบสารบรรณ

หนว่ ยงานรับผดิ ชอบ : สานักงานรัฐมนตรี กระทรวงมหาดไทย โทร. ๐ ๒๒๒๒ ๑๒๐๑ (มท.) ๕๐๑๑๖

- 175 -

๓.๓ ศนู ยดารงธรรมอาเภอ “อาเภอดารงธรรม”
รัฐบาลภายใต้การนาของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษา

ความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ มีเจตจานงและความมุ่งม่ันในการบริหารราชการแผ่นดิน แก้ไขสถานการณ์
และความเดือดร้อนของประชาชน ลดปัญหาความเล่ือมล้า ปัญหาด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองการปกครอง
ให้สมั ฤทธ์ผิ ลเกดิ ประโยชนต์ อ่ ประชาชน

ในคราวประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันท่ี ๒๕
ตุลาคม ๒๕๕๙ ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบเรื่องการจัดตั้ง
ศูนย์ดารงธรรมขึ้นในอาเภอ และให้ผู้ว่าราชการจังหวัด
มอบอานาจตามประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ
ฉบับท่ี ๙๖/๒๕๕๗ ให้แก่นายอาเภอเพื่อให้ศูนย์ดารงธรรมอาเภอสามารถดาเนินการแก้ไขความเดือดร้อน
ของประชาชน ท่ีมีสาเหตุจากการร้องเรียน ร้องทุกข์ได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิภาพ และทันต่อสถานการณ์
โดยในส่วนของกรมการปกครองได้แจง้ ใหอ้ าเภอปรับปรุงโครงสร้างและภารกิจของศนู ยด์ ารงธรรมอาเภอ ดังนี้

(๑) แต่งต้ังคณะกรรมการอานวยการระดับอาเภอ มีนายอาเภอเป็นผู้อานวยการศูนย์ฯ หัวหน้า
ส่วนราชการอาเภอ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชนเป็นกรรมการตามความเหมาะสมและปลัดอาเภอ
หัวหน้าฝ่ายอาเภอความเป็นธรรม เป็นกรรมการและเลขานุการ โดยมีอานาจในการทางานด้านอานวยการ
เช่น การตดั สินใจแกป้ ญั หาในเรื่องทเี่ กดิ ขึน้ ภายในอานาจหน้าท่ีของส่วนราชการท่ีอยู่ในพ้ืนที่อาเภอ การมอบหมาย
ภารกจิ ให้หนว่ ยงานต่าง ๆ ไปดาเนินการแก้ไขปัญหาให้ประชาชน การรวบรวมปัญหาและอุปสรรคความเดือดร้อน
ความตอ้ งการของประชาชน นามาพจิ ารณาหาทางแก้ไขตอ่ ไป

(๒) จัดตั้งชุดปฏิบัติการประจาตาบล (ชปต.) ทุกตาบล เพื่อเป็นหน่วยเคลื่อนที่เร็วของ
ศูนย์ดารงธรรมอาเภอ มอบหมายให้ปลัดอาเภอหรือส่วนราชการอาเภอหรือข้าราชการที่นายอาเภอเห็นว่า
เหมาะสม เป็นหัวหน้าชุด และข้าราชการท่ีทางานอยู่ในตาบล หมู่บ้าน รวมทั้งกานัน ผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการ
หมู่บ้าน (กม.) ผ้แู ทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพ้ืนที่ หรืออาสาสมัครภาคประชาชน ออกไปดาเนินการในพื้นท่ี
เพ่ือสารวจสภาพปัญหา ตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อร้องเรียนของประชาชนในตาบล หมู่บ้าน ร่วม การประชุม
หารือหรอื ไกลเ่ กล่ียหากสามารถกระทาได้ ในกรณีท่ีไม่สามารถดาเนนิ การได้ใหร้ ายงานอาเภอเพื่อพิจารณาต่อไป

(๓) กฎหมายและระเบยี บท่ีเกยี่ วข้อง
- พระราชกฤษฎีกาวา่ ด้วยหลกั เกณฑแ์ ละวธิ กี ารบรหิ ารกิจการบ้านเมืองทด่ี ี ๒๕๔๖
- ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแหง่ ชาติ ฉบับที่ ๙๖/๒๕๕๗

(๔) ขัน้ ตอนในการดาเนินการ
- รับเรื่องร้องเรียน โดยอาเภอจะดาเนินการจัดตั้งคณะกรรมการศูนย์ดารงธรรมอาเภอ

(ประกอบด้วยนายอาเภอ และหัวหน้าส่วนราชการระดับอาเภอ ฯลฯ) เพ่ือร่วมกันดาเนินการแก้ไขปัญหาท่ีได้
รับการร้องเรียน เช่น ดาเนินการตามขอบเขตอานาจหน้าท่ีของนายอาเภอ ไกล่เกลี่ยประนีประนอมข้อพิพาท
และพิจารณาเร่อื งท่ีได้รับมอบหมายจากกระทรวง กรม และศูนยด์ ารงธรรมจงั หวัด

- 176 -

- ติดตามการดาเนินการตามอานาจหน้าท่ีของคณะกรรมการฯ และประสานหน่วยงาน
ทเี่ กี่ยวข้องเพ่ือดาเนนิ การแกไ้ ขปญั หาของพน่ี ้องประชาชนในพ้ืนท่ี

- ชดุ ปฏบิ ตั กิ ารประจาตาบล (ชปต.) ซงึ่ ประกอบดว้ ย ปลัดอาเภอ กานัน ผู้ใหญ่บ้าน ประธานชุมชน
นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สมาชิกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และกรรมการหมู่บ้าน (กม.) ลงพื้นที่
เพ่อื แกไ้ ขปัญหาเชิงรุก รวมถึงติดตามข่าวและความเคล่ือนไหวทเ่ี ก่ยี วข้องกบั ปัญหาท่มี ีการรอ้ งเรยี น

- ฝ่ายปฏิบัติการรายงานคณะกรรมการศูนย์ดารงธรรมอาเภอและแจ้งความคืบหน้าต่อผู้ร้อง/
ผ้สู ่งคาร้อง ภายใน ๑๕ วนั (ตามพระราชกฤษฎีกาวา่ ด้วยหลักเกณฑแ์ ละวธิ กี ารบรหิ ารกิจการบา้ นเมืองที่ดี ๒๕๔๖)

- ฝ่ายรายงานรวบรวมเอกสารและแจ้งผลการดาเนินการต่อผู้ร้อง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
และศนู ยด์ ารงธรรมจังหวดั

(๕) เปา้ หมายการดาเนนิ การ
เชงิ ปริมาณ
- ร้อยละของการแก้ไขปัญหาเร่ืองร้องเรยี นร้องทุกขข์ องศูนย์ดารงธรรมอาเภอ (รอ้ ยละ ๘๐)
- การยกระดับการบริการระบบ e-DOPA License พัฒนาระบบรับชาระค่าธรรมเนียม

ผ่านระบบ e-Payment จานวน ๕ ระบบงาน
เชงิ คณุ ภาพ
- ศูนย์ดารงธรรมอาเภอสามารถตอบสนองต่อนโยบายของรัฐบาล และขับเคล่ือนภารกิจ

การแกไ้ ขปญั หาความเดือดร้อนให้กับพี่น้องประชาชนได้อย่างรวดเร็วและเปน็ รปู ธรรม
- การพัฒนาและต่อยอดศูนย์ดารงธรรมอาเภออัจฉริยะต้นแบบตามแนวทางศูนย์ราชการ

สะดวก (GECC)

หนว่ ยงานรบั ผิดชอบ : กรมการปกครอง สานักการสอบสวนและนติ กิ าร ส่วนอานวยความเปน็ ธรรม โทร.๐ ๒๓๕๖ ๙๕๕๖

๔. การเข้าถงึ ข้อมลู และการบริการทสี่ ะดวกสบายมากย่ิงข้นึ ของประชาชน
๔.๑ การพิสูจนและยืนยันตวั ตนทางดิจทิ ลั (DOPA-Digital ID)
กรมการปกครองขับเคล่ือนโครงการพัฒนาระบบ การพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล

(DOPA-Digital ID) กรมการปกครอง ได้ดาเนินงานโครงการพัฒนาระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล
(DOPA-Digital ID) เพ่ือสร้างตน้ แบบและนวตั กรรมใหมใ่ นการพิสจู น์และยืนยันตวั ตนทางดิจิทัลของประเทศรองรับ
การใช้งานบริการภาครัฐ ในระยะแรกกาหนดเป้าหมายผู้ใช้งาน ๑๐๐,๐๐๐ คนท่ัวประเทศ โดยนาร่องกับงานบริการ
ระบบจองคิวขอรับการบริการงานทะเบียนล่วงหน้า (Queue Online) และการตรวจสอบข้อมูลของตนเอง
ทหี่ นว่ ยงานของรัฐจดั เกบ็ ผ่านระบบบรู ณาการฐานขอ้ มลู ประชาชนและการบริการภาครฐั (Linkage Center)

- 177 -

ดาวน์โหลดแอปพลเิ คชนั่ D.DOPA ลงในโทรศัพท์มือถือของตนเองก่อนเข้ามารบั บรกิ าร
โดยสามารถลงทะเบียนใชไ้ ดท้ ้งั ระบบไอโอเอส (IOS) และระบบแอนด์ดรอย (Android)
ผูป้ ระสงคข์ อลงทะเบียนจะต้องนาบตั รประชาชนใบล่าสุด เพอ่ื ใหเ้ จ้าหนา้ ท่ผี รู้ บั ลงทะเบยี น

ทาการตรวจสอบข้อมลู กอ่ นการลงทะเบียน ณ สานกั ทะเบียน

การพิสจู น์และยนื ยันตัวตนทางดจิ ทิ ัล (DOPA-Digital ID) เป็นโครงสร้างพื้นฐานสาคัญท่ีจะเชื่อมต่อ
การยืนยันตัวตนจากทุกภาคส่วนเข้ามาไว้ด้วย แทนระบบเดิมท่ีผู้ให้บริการและรับบริการต้องมาเผชิญหน้า
และแสดงตน เพื่อยืนยันตัวตนด้วยเอกสารทางราชการ เป็นการสร้างมิติใหม่ของการทาธุรกรรมภาครัฐ และภาคเอกชน
ท่ีมีความสะดวก รวดเร็ว ผ่านช่องทางดิจิทัล และมีความปลอดภัยมากข้ึน ลดความเส่ียงในการใช้เอกสารราชการปลอม
ในกระบวนการยืนยันตัวตนของระบบเดิมและเพื่อสนับสนุนการบริการประชาชนของภาครัฐ และภาคเอกชน
ท่ีจะต้องปรับตัวและวิธีการเพ่ือตอบสนองงานบริการแนวใหม่ท่ีไม่ต้องเผชิญหน้าหรือ การเว้นระยะห่างทางสังคม
(Social Distancing) อีกดว้ ย

๔.๒ Call Center ๑๕๔๘
กรมการปกครองได้จัดตั้งศูนย์ตอบปัญหางานทะเบียนและบัตร ทางโทรศัพท์หมายเลข ๑๕๔๘

วัตถุประสงค์เพ่อื เปน็ การใหบ้ รกิ ารและอานวยความสะดวกแก่ประชาชนในการติดต่องานทะเบียนและบัตร โดยให้
คาแนะนาเกี่ยวกับข้ันตอนการติดต่องาน การจัดเตรียมเอกสารท่ีเก่ียวข้อง ระยะเวลาในการดาเนินงาน
ค่าธรรมเนยี ม ฯลฯ ซึ่งจะทาให้ประชาชนสามารถไปดาเนินการด้านงานทะเบียนและบตั รได้อยา่ งถูกต้องและรวดเร็ว

๔.๓ Dopa Citizen Service ระบบบริการประชาชนออนไลนของกรมการปกครอง
หน้าเว็บไซต์ในการรวบรวมช่องทางการติดต่อสื่อสารกับกรมการปกครองผ่านทางระบบออนไลน์

โดยมีการรวบรวมข้อมูลและคู่มือการให้บริการประชาชน DATA WEARHOUSE ข้อมูลการบริการเด่น และข้อมูลของอาเภอ
เพ่ือให้ประชาชนมชี ่องทางในการเข้าถึงขอ้ มูลและการใหบ้ รกิ ารไดอ้ ยา่ งสะดวก รวดเรว็ และทันสมยั มากย่งิ ข้ึน

หนว่ ยงานรับผิดชอบ : กรมการปกครอง สานักบริหารการทะเบียน ส่วนสัญชาติและการทะเบียนและบัตรประจาตัวบุคคล
ผู้ไม่มีสญั ชาติไทย โทร.๐ ๒๗๙๑ ๗๓๓๕

- 178 -

๕. การยกระบบการใหบ้ รกิ ารประชาชน
๕.๑ “อาเภอ...วิถีใหม่”
ชีวิตวิถีใหม่ New Normal มุ่งสู่ "อาเภอ...วิถีใหม่“ หลังวิกฤตโควิด 19 กรมการปกครองได้มีการสร้าง

มาตรฐานแนวทางในการมอบความสะดวกในด้านต่างๆ ให้กับประชาชน โดยคานึงถึงการใช้ชีวิตในระยะยาว
หลังจากนี้ไป เป็นรูปแบบชีวิตวิถีใหม่ New Normal โดยกาหนดให้เป็นหนึ่งภายใต้โครงการ “๑๐ Flagships to
DOPA New Normal ๒๐๒๑” ที่ได้วางแผนตั้งแต่ปี ๒๕๖๓ และจะนาไปปฏิบัติใช้ในปี ๒๕๖๔ ซ่ึงมีการสร้าง
นวัตกรรมการใหบ้ ริการทส่ี อดคล้องกับวถิ ีชีวติ ใหม่ มงุ่ สู่ "อาเภอ...วิถีใหม"่

นอกจากน้ียังมีการพัฒนาและต่อยอดการเช่ือมโยง
ฐานข้อมูลภาครัฐ Linkage Center การออกเอกสารราชการ
๒ ภาษา มีระบบการจองคิวออนไลน์ และการให้บริการผ่านระบบ
ออนไลน์ รวมไปถึงการพัฒนามาตรฐานการให้บริการประชาชน
ตามแนวทางศูนยร์ าชการสะดวก GECC

โ ด ย ก ร ม ก า ร ป ก ค ร อ ง ไ ด้ ก า ห น ด เ ป้ า ห ม า ย
การดาเนินการเพือ่ ไปสู่ความเปน็ อาเภอวิถีใหม่ ดังน้ี

- การขับเคล่ือนการยกระดับงานบริการสู่มาตรฐานศูนย์ราชการสะดวก ( GECC) โดยมี
กล่มุ เป้าหมาย คือ สานักทะเบยี นอาเภอ แบ่งตามเขตตรวจราชการกรมการปกครอง จานวน ๕๖ แหง่

- มีประเภทเอกสารที่เปิดให้บริการตามโครงการเอกสารราชการ ๒ ภาษาจากเดิม ๒๗ ประเภท
เอกสาร เพิม่ ขึ้นเปน็ ๓๐ ประเภทเอกสาร (เพมิ่ ข้นึ ๓ ประเภทเอกสาร ๑๓ แบบฟอรม์ )

- สานักทะเบียนอาเภอ ยกระดับงานบริการสู่มาตรฐานศูนย์ราชการสะดวก ( GECC) ซึ่งเป็น
มาตรฐานระดบั ประเทศ และสร้างภาพลกั ษณท์ ่ดี ใี หก้ ับงานบรกิ ารของกรมการปกครอง

- ส่วนราชการท่ีอยู่ในแผนงานบูรณาการ สามารถใช้งาน Linkage Center ระบบใหม่ครบทุกหน่วยงาน
โดยดาเนนิ การ ดงั นี้

(๑) โครงการเอกสารทางราชการ ๒ ภาษา กรมการปกครองได้ดาเนินการพัฒนาเพ่ือยกระดับ
การให้บริการประชาชน โดยมีระบบโปรแกรมด้านแบบฟอรมเอกสาร ๒ ภาษา จานวน ๓๐ ประเภทเอกสาร
มีผลการดาเนินการตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๑ ถึงวันท่ี ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๔ มีประชาชนมาขอรับบริการ
คัดรบั รองเอกสาร ๒ ภาษา ทัง้ สนิ้ ๑๕๖,๒๖๗ รายการ

(๒) ระบบการจองคิวออนไลน และการให้บริการผ่านระบบออนไลน ดาเนินการพัฒนาระบบ
โปรแกรมส่วนขยายการให้บริการในส่วนของสานักทะเบียนท้องถิ่นทุกแห่ง และแจ้งประสานไปยังศูนย์บริหาร
การทะเบียนภาค ๑ - ๙ และศูนย์บริหารการทะเบียนภาค สาขาจังหวัดทุกจังหวัด (ยกเว้นกรุงเทพมหานคร)
ผลการดาเนินการตั้งแตว่ ันที่ ๒๒ มิถนุ ายน ๒๕๖๓ ถงึ วันที่ ๓๑ มนี าคม ๒๕๖๔ มผี ูใ้ ชบ้ รกิ ารรวม ดังน้ี

- ระบบนัดหมายขอรบั บรกิ ารล่วงหนา้ จานวน ๑๕ งานบรกิ าร มีผใู้ ชบ้ ริการ ๓๕,๓๔๔ ราย
- ระบบการขอคดั และรบั รองเอกสารลว่ งหนา้ จานวน ๑๔ เอกสาร มีผู้ใช้บรกิ าร ๒๒๑ ราย

- 179 -

(๓) การพัฒนาและต่อยอดการเชอ่ื มโยงข้อมลู ภาครัฐ Linkage Center
- ปริมาณการใช้งานข้อมูลประชาชนในระบบ Linkage Center ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔

(๑ ตุลาคม ๒๕๖๓ ถงึ ๓๑ มนี าคม ๒๕๖๔) จานวน ๕๕,๙๘๒,๒๙๓ รายการ รายละเอยี ดดังนี้
- สิทธิประชาชน จานวน ๒๒๙,๕๖๕ รายการ
- สทิ ธิเจา้ หน้าที่ จานวน ๕๕,๗๕๒,๗๒๘ รายการ

หนว่ ยงานรับผดิ ชอบ : กรมการปกครอง กองวิชาการและแผนงาน ส่วนแผนงานยุทธศาสตร์ โทร.๐ ๒๒๒๕ ๔๘๘๖

๖. ชดุ รักษาความปลอดภัยหมบู่ ้าน (ชรบ.)
๖.๑ ชดุ รักษาความปลอดภัยหมูบ่ ้าน (ชรบ.) คอื อะไร
ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) คือ ประชาชนหรือราษฎรอาสาสมัครในพื้นที่ท่ีผ่านการ

ฝึกอบรมและรักษาความสงบเรียบร้อยภายในหมู่บ้าน โดยได้รับการแต่งต้ังจากนายอาเภอให้ปฏิบัติหน้าท่ีรักษา
ความปลอดภัยหม่บู ้านและให้เป็นผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงานตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่ โดยผู้เข้ารับ
การฝึกอบรมหลักสูตร ชรบ. น้ัน จะต้องเป็นประชาชนหรือราษฎรอาสาสมัครที่มีภูมิลาเนาอยู่ในพื้นที่น้ัน ๆ
และต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ ๑) มีสัญชาติไทยและมีอายุต้ังแต่ ๑๘ ปี ข้ึนไป ๒) มีสุขภาพร่างการแข็งแรง ๓) มี
ภูมิลาเนาหรือถิ่นที่อยู่ในหมู่บ้านนั้นไม่น้อยกว่า ๓ เดือน ๔) มีความเลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ๕) มีความประพฤติดี ๖) ไม่เป็นพระภิกษุสามเณร นักพรตหรือนักบวช
๗) ไม่เป็นผตู้ ิดยาเสพตดิ ใหโ้ ทษ

ท้ังน้ี การท่ีประชาชนหรือราษฎรอาสาสมัครในพ้ืนท่ีซึ่งผ่านการฝึกอบรมตามหลักสูตรฯ จะได้เป็น
ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) ที่ถูกต้องตามระเบียบของทางการจะต้องได้รับการพิจารณาคัดเลือก
จากผ้ใู หญบ่ า้ น และผใู้ หญ่บ้านจะเปน็ ผ้เู สนอรายช่ือลกู บา้ นใหน้ ายอาเภอพจิ ารณาแต่งต้ังเปน็ ชรบ. ต่อไป

๖.๒ หนา้ ทีข่ องชุดรกั ษาความปลอดภัยหมู่บา้ น
การปฏิบัติหน้าท่ีของชุดรักษาความปลดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) จะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อพนักงานฝ่ายปกครอง

หรือตารวจ หรือเจ้าพนกั งานอน่ื ได้ร้องขอให้ ชรบ. ช่วยเหลือได้ ซ่งึ มีอยทู่ ง้ั หมด ๑๐ ประการ ประกอบด้วย
๑) การอยเู่ วรยามรกั ษาความสงบเรียบร้อยและรักษาความปลอดภยั หมู่บ้าน
๒) ตรวจตระเวนรักษาความสงบเรียบร้อย
๓) สบื สวนหาข่าวทเ่ี ป็นภยั ต่อความมนั่ คงหรือความสงบเรยี บร้อย
๔) เฝ้าระวังรักษาสถานที่สาคัญ ต้ังจุดตรวจ จุดสกัด ตรวจสอบบุคคลและยานพาหนะ

ทผ่ี า่ นเข้า - ออกหมู่บ้าน
๕) รายงานเหตุการณท์ ่ีเกดิ ขนึ้ ในพ้นื ท่ใี หผ้ บู้ ังคบั บญั ชาทราบ
๖) ป้องกันและปราบปรามการกระทาความผดิ ทางอาญาและการกอ่ ความไม่สงบเรียบร้อยในพื้นที่
๗) ตรวจค้นบุคคลหรือยานพาหนะ ยึดสิ่งของหรืออาวุธที่ใช้โดยต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติ

ในกฎหมายวธิ ีพิจารณาความอาญาวา่ ดว้ ยการค้น

- 180 -

๘) จับกุมผู้กระทาความผิดซ่ึงหน้าตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและควบคุมตัว
ผู้ถูกจบั สง่ ผู้บงั คับบญั ชาใกล้ตนโดยเร็ว

๙) ป้องกนั และบรรเทาสาธารณภยั
๑๐) ปฏบิ ัตหิ น้าทอี่ ่ืนตามท่ไี ด้รับมอบหมาย
๖.๓ โครงสรา้ งของชดุ รักษาความปลอดภยั หมบู่ ้าน (ชรบ.) และการบังคบั บญั ชา
โครงสร้างของชุดรักษาความปลอดภยั หมบู่ ้าน (ชรบ.) มลี ักษณะการจดั หน่วย ดงั น้ี
๖.๓.๑ ระดับหมู่บา้ น

ในหมู่บ้านหนึ่ง ให้มีหมวด ชรบ. โดยมีผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้บังคับหมวด ชรบ. และให้มีทหาร
ตารวจ หรือ อส. จานวน ๒ คน เป็นเจ้าหน้าที่โครง ทาหน้าที่เป็นผู้ช่วยผู้บังคับหมวด ชรบ. ในหนึ่งหมวด ชรบ.
ใหแ้ บ่งการปกครองบังคบั บญั ชาออกเปน็ อยา่ งน้อย ๒ หมู่ ชรบ. เรียกว่า

(๑) หมชู่ ุดรักษาความปลอดภัยหมู่บา้ น ท่ี ๑
(๒) หม่ชู ดุ รักษาความปลอดภยั หม่บู า้ น ท่ี ๒
(๓) หมชู่ ุดรักษาความปลอดภยั หมู่บ้าน ท่ี .... (ตามลาดับ)
โดยให้ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้บังคับหมู่ ชรบ. ใน ๑ หมู่ ชรบ. ให้มีจานวน ชรบ. ตั้งแต่
๗ – ๑๕ คน (พิจารณาจากอตั รากาลงั พลและสถานการณใ์ นพ้ืนที่)
๖.๓.๒ ระดบั ตาบล ใน ๑ ตาบล ให้มกี องร้อย ชรบ. โดยมโี ครงสรา้ ง ดังนี้
(๑) ปลดั อาเภอประจาตาบล เป็น ผู้บงั คบั กองรอ้ ย ชรบ.
(๒) ขา้ ราชการอืน่ ตามท่ีนายอาเภอแตง่ ตงั้ เป็น

๑) รองผบู้ ังคบั กองร้อย ชรบ. ฝ่ายยทุ ธการและการขา่ ว
๒) รองผ้บู ังคับกองรอ้ ย ชรบ. ฝา่ ยกจิ การมวลชน
๓) รองผบู้ ังคับกองรอ้ ย ชรบ. ฝ่ายกาลังพลและส่งกาลังบารงุ
๔) รองผู้บังคบั กองรอ้ ย ชรบ. ฝ่ายส่ือสารและงบประมาณ
(๓) กานนั ในตาบล เปน็ ผู้ชว่ ยผบู้ ังคบั กองร้อย ชรบ.
๖.๓.๓ ระดับอาเภอ ใน ๑ อาเภอ ให้มกี องพันหนว่ ยรักษาความปลอดภัยหมู่บา้ น โดยมีโครงสรา้ ง ดังนี้
(๑) นายอาเภอ เปน็ ผบู้ งั คบั กองพนั หนว่ ยรกั ษาความปลอดภัยหมบู่ า้ น
(๒) ปลัดอาเภอ นายตารวจช้นั สัญญาบัตรและขา้ ราชการในพ้นื ทต่ี ามทนี่ ายอาเภอแต่งต้ัง เปน็
- รองผบู้ งั คับกองพนั หน่วยรกั ษาความปลอดภัยหมู่บา้ น ฝ่ายยุทธการและการข่าว
- รองผู้บังคับกองพนั หนว่ ยรกั ษาความปลอดภัยหมบู่ า้ น ฝ่ายกจิ การมวลชน
- รองผู้บงั คับกองพันหนว่ ยรักษาความปลอดภัยหมูบ่ ้าน ฝา่ ยกาลงั และสง่ กาลังบารงุ
- รองผูบ้ งั คับกองพันหน่วยรกั ษาความปลอดภยั หมบู่ า้ น ฝา่ ยสื่อสารและงบประมาณ

- 181 -

๖.๔ การบงั คบั บัญชา ดงั นี้
๖.๔.๑ ระดบั หมู่ ชรบ.
บังคับหมู่ ชรบ. (ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านพิจารณาผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง เป็นลาดับแรก)

มีหน้าท่ีปกครองบังคับบัญชา ควบคุม กากับดูแลและให้การสนับสนุนการปฏิบัติงาน ชรบ. ตามนโยบายของ
ทางราชการกองพนั หนว่ ยรักษาความปลอดภัยหมบู่ า้ น กองร้อย ชรบ. และหมวด ชรบ.

๖.๔.๒ ระดับหมวด ชรบ.
ผู้บังหมวด ชรบ. (กานัน/ผู้ใหญ่บ้าน) มีหน้าที่ปกครองบังคับบัญชา ควบคุม กากับดูแล

และให้การสนับสนุนการปฏิบัติงานของ ชรบ. ในเขตพ้ืนที่หมู่บ้าน ตามนโยบายของทางราชการ กองพันหน่วย
รกั ษาความปลอดภยั หมู่บ้าน และกองรอ้ ย ชรบ.

๖.๔.๓ ระดับกองร้อย ชรบ.
ผู้บังคับกองร้อย ชรบ. (ปลัดอาเภอประจาตาบล/ปลัดอาเภอผู้เป็นหัวหน้าประจาตาบล)

มีหน้าที่ปกครองบังคับบัญชา ควบคุม กากับดูแลและให้การสนับสนุนการปฏิบัติงานของ ชรบ. ในเขตพ้ืนท่ีตาบล
ตามนโยบายของทางราชการ และกองพนั หนว่ ยรักษาความปลอดภัยหมูบ่ ้าน

๖.๔.๔ ระดบั กองพัน ชรบ.
ผ้บู ังคับกองพันหน่วยรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (นายอาเภอ) มีหน้าท่ีปกครองบังคับบัญชา

ควบคมุ กากับ ดูแลและให้การสนับสนนุ การปฏิบตั ิงานของ ชรบ. ในเขตพืน้ ท่ีอาเภอ ตามนโยบายของทางราชการ
๖.๕ ความสามารถใช้อาวุธปืนลูกซองและเครื่องกระสุนปืนลูกซองของชุดรักษาความปลอดภัย

หมบู่ ้าน (ชรบ.)
ชุดรักษาความปลอดภัย

หมู่บ้าน (ชรบ.) ซ่ึงได้รับการแต่งตั้งจาก
นายอาเภอให้ปฏิบัติหน้าที่รักษาความ
ปลอดภัยหมู่บ้านและเป็นผู้ช่วยเหลือ
เจ้าพนักงาน สามารถใช้อาวุธของทาง
ราชการในการปฏิบัติหน้าที่ตามท่ีได้รับ
มอบหมาย โดยจะต้องได้รับมอบหมาย
เป็นลายลักษณ์อักษร และจะต้อง
คานึงถึงความปลอดภัยและต้องเพิ่ม
ความระมัดระวังในการเก็บรักษาอาวุธปืน
ของทางราชการ ทั้งนี้ ปลัดอาเภอ
ในฐานะผู้บงั คับกองร้อย ชรบ. จะต้องกากบั ดูแลการปฏบิ ตั หิ น้าที่ของ ชรบ. อยา่ งใกลช้ ิด

หน่วยงานรบั ผิดชอบ : สว่ นกิจการมวลชน สานักกิจการความมั่นคงภายใน กรมการปกครอง โทร. ๐ ๒283 1222

- 182 -

๗. งานกองอาสารกั ษาดินแดน (อส.)
กองอาสารักษาดินแดน (อักษรย่อ: อส. : Volunteer Defense Corps ; VDC) จัดตั้งขึ้น

โดยพระราชบัญญัติกองอาสารักษาดินแดน พ.ศ. ๒๔๙๗ เป็นองค์การขึ้นอยู่ในกระทรวงมหาดไทย มีฐานะเป็น
นิติบุคคล ตามมาตรา ๔ หมวด ๑ เป็นองค์การของรัฐ เช่นเดียวกับองค์การอ่ืน ๆ ของรัฐท่ีจัดต้ังขึ้นตามกฎหมาย
เป็นหน่วยงานที่มีลักษณะเสมือนกองทัพต่าง ๆ เกิดขึ้นโดยความร่วมมือของกระทรวงมหาดไทย และกระทรวงกลาโหม
ซึ่งจะมีกรรมการคณะหน่ึงจานวนไม่น้อยกว่าสิบคน และไม่เกินยี่สิบคน เรียกว่า “คณะกรรมการกลางกองอาสา
รักษาดินแดน” ประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
เปน็ รองประธานโดยตาแหน่ง สว่ นกรรมการอืน่ เลขาธิการและรองเลขาธิการน้ัน ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
เป็นผู้แต่งตั้งและถอดถอนโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี ตามมาตรา ๖ ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทย ได้มอบหมาย
ให้กรมการปกครอง เป็นหน่วยงานขับเคล่ือนกิจการกองอาสารักษาดินแดน โดยมีสานักอานวยการกองอาสา
รักษาดินแดน (สน.อส.) สังกัดกรมการปกครอง ทาหน้าที่เป็นฝ่ายอานวยการในภารกิจท่ีเก่ียวข้องกับกิจการ
กองอาสารักษาดินแดน และนอกจากน้ียังมีหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน (นรด.) กองทัพบก ทาหน้าที่เป็น
ฝ่ายอานวยการฝ่ายทหาร โดยกองอาสารักษาดินแดนนั้น จะมีลักษณะโครงสร้างเป็นกองกาลังกึ่งทหาร มีลาดับ
การบังคับบัญชาคล้ายกับกองทัพ ทาหน้าที่รักษาความสงบร่วมกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตารวจ ปราบปราม
ผู้กระทาผิดกฎหมาย การเทิดทูนและพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ รวมถึงรักษาความปลอดภัย
ในสถานท่ีสาคัญ และการคมนาคม และเป็นกองกาลังส่วนหน่ึงไว้สารองที่พร้อมจะเพิ่มเติมและสนับสนุน
กาลังทหารได้เมื่อมีการร้องขอทั้งในยามปกติและยามศึกสงคราม และตามพระราชบัญญัติกองอาสารักษาดินแดน
พ.ศ. ๒๔๙๗ หมวด ๗ มาตรา ๒๙ ได้บัญญัติไว้ว่า "เจ้าหน้าท่ีหรือสมาชิกกองอาสารักษาดินแดนในระหว่างทาการ
ตามหนา้ ท่ี ใหถ้ ือวา่ เปน็ เจา้ พนกั งานตามกฎหมายลักษณะอาญา"

๗.๑ โครงสร้างและการบงั คับบัญชา
กองอาสารกั ษาดนิ แดน แบ่งการจดั หน่วยออกเป็น ๒ ส่วน ได้แก่ ส่วนกลาง และส่วนภมู ภิ าค
๗.๑.๑ ส่วนกลาง ไดแ้ ก่ กองบัญชาการกองอาสารกั ษาดินแดน
(๑) ผบู้ ญั ชาการกองอาสารกั ษาดินแดน (รฐั มนตรีวา่ การกระทรวงมหาดไทย)
(๒) รองผบู้ ญั ชาการกองอาสารักษาดินแดน (รฐั มนตรีช่วยวา่ การกระทรวงมหาดไทย)
(๓) ผู้ช่วยผู้บัญชาการกองอาสารักษาดินแดน (ปลัดกระทรวงมหาดไทย และรองปลัด

กระทรวงมหาดไทย)
(๔) หวั หน้าฝา่ ยอานวยการ กองบัญชาการกองอาสารักษาดินแดน (อธบิ ดกี รมการปกครอง)
(๕) รองหัวหน้าฝา่ ยอานวยการ กองบญั ชาการกองอาสารกั ษาดินแดน (รองอธบิ ดีกรมการปกครอง)
(๖) ผู้ช่วยหัวหน้าฝ่ายอานวยการ กองบัญชาการกองอาสารักษาดินแดน (ผู้อานวยการ

สานักอานวยการกองอาสารกั ษาดินแดน กรมการปกครอง)

- 183 -

๗.๑.๒ ส่วนภมู ิภาค ได้แก่ กองบงั คบั การกองอาสารักษาดินแดนจังหวดั
(๑) ผู้บังคับการกองอาสารกั ษาดนิ แดนจงั หวัด (ผูว้ ่าราชการจงั หวดั )
(๒) รองผูบ้ งั คบั การกองอาสารักษาดินแดนจังหวัด (รองผวู้ ่าราชการจังหวดั )
(๓) ผ้ชู ่วยผบู้ งั คับการกองอาสารักษาดนิ แดนจังหวัดและหัวหน้าฝ่ายอานวยการ กองบังคับ

การกองอาสารักษาดินแดนจงั หวดั (ปลดั จงั หวัด)
(๔) รองหัวหน้าฝ่ายอานวยการ กองบงั คับการกองอาสารักษาดินแดนจังหวัด (หัวหน้าส่วน

ราชการท่มี ีตาแหนง่ เทียบเท่ากับปลดั จังหวดั )
(๕) ผ้ชู ว่ ยหวั หนา้ ฝ่ายอานวยการ กองบังคบั การกองอาสารักษาดินแดนจังหวดั (ปอ้ งกันจังหวดั )
(๖) ผู้บงั คบั กองร้อยอาสารักษาดนิ แดนอาเภอ (นายอาเภอ)

๗.๒ ประเภทของสมาชกิ กองอาสารกั ษาดินแดน
สมาชิกกองอาสารักษาดนิ แดนต้องมีคุณสมบตั ิและลักษณะ ตามของพระราชบญั ญตั ิกองอาสารกั ษา

ดินแดน พ.ศ. ๒๔๙๗ หมวด ๑ มาตรา ๑๒ มี ๓ ประเภท คอื
(๑) ประเภทสารอง คือ สมาชิกท่ียังไมไ่ ดร้ บั การฝึกอบรมตามหลักสตู รท่ีกาหนด
(๒) ประเภทประจากอง คือ สมาชิกท่ไี ด้รับการฝึกอบรมตามหลกั สตู ร และบรรจุอยใู่ นอัตรากาลงั
(๓) ประเภทกองหนุน คอื สมาชิกที่ไดป้ ลดออกจากประจากอง

๗.๓ บทบาท อานาจและหนา้ ที่
กองอาสารักษาดินแดนมีหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติกองอาสารักษาดินแดน พ.ศ. ๒๔๙๗ หมวด ๒

มาตรา ๑๖ ดังน้ี
(๑) บรรเทาภยั ทเ่ี กิดจากธรรมชาติ และการกระทาของขา้ ศกึ
(๒) ทาหน้าท่ีตารวจรักษาความสงบภายในท้องท่ีร่วมกับพนักงาน

ฝา่ ยปกครองหรอื ตารวจ
(๓) รักษาสถานท่สี าคัญ และการคมนาคม
(๔) ป้องกันการจารกรรม สดับตรบั ฟงั และรายงานขา่ ว
(๕) ทาความช่วยเหลือให้ความสะดวกแก่ฝ่ายทหารตามท่ีทหาร

ตอ้ งการ และตดั ทอนกาลงั ขา้ ศึก
(๖) เป็นกาลังส่วนหน่ึงไว้สารองพร้อมที่จะเพิ่มเติมและสนับสนุน

กาลงั ทหารได้เมอื่ จาเป็น
นอกจากน้ันแล้ว ในปัจจุบัน กองอาสารักษาดินแดน หรือ อส. ยังมีภารกิจและบทบาทหน้าท่ี

ในดา้ นต่าง ๆ อีกมาก ท้ังนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลและกระทรวงมหาดไทย ซ่ึงได้ปฏิบัติหน้าที่ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ
เช่น กรมการปกครอง กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ สานักงานตารวจแห่งชาติ และหน่วยงานอ่ืน ๆ
ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด การปราบปรามการค้ามนุษย์ การป้องกันและปราบปรามการทาลาย
ทรัพยากรป่าไม้ การจัดระเบียบสังคม การรักษาความสงบเรียบร้อย รวมถึงการควบคุมความไม่สงบในชายแดน

- 184 -

ภาคใต้ของประเทศไทย การสร้างความปรองดองสมานฉันท์ การพัฒนาและสร้างมวลชน การบริการประชาชน
การสง่ เสรมิ การท่องเทีย่ ว บรรเทาภยั ดา้ นความมน่ั คง เปน็ ต้น

๗.๔ การกากับ ควบคมุ สนบั สนนุ
การจัดหน่วยของกองอาสารักษาดินแดน เป็นการจัดโดยอิงโครงสร้างการจัดส่วนราชการของ

กระทรวงมหาดไทย แบ่งเปน็ ๒ สว่ น คือ ส่วนกลางและสว่ นภมู ิภาค
๗.๔.๑ ส่วนกลาง มีองค์กรรับผิดชอบการบรหิ าร ประกอบด้วย
(๑) คณะกรรมการกลางกองอาสารักษาดินแดน มีอานาจและหน้าท่ี และดาเนินงาน

กองอาสารักษาดินแดน โดยทั่วไปตามนโยบายและวิชาการเทคนิคของสภาความมั่นคงแห่งชาติ และวางระเบียบ
และข้อบังคับสาหรับกองอาสารักษาดินแดน ซ่ึงคณะกรรมการกลางกองอาสารักษาดินแดน มีไม่น้อยกว่าสิบคน
และไม่เกินยี่สิบคน โดยมี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
เป็นรองประธาน โดยตาแหนง่ ส่วนกรรมการ เลขาธิการ และรองเลขาธิการ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
เป็นผู้แต่งต้ังและถอดถอน โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี (ปัจจุบันอธิบดีกรมการปกครอง เป็นกรรมการและเลขาธิการ
รองอธิบดีการปกครอง เป็นกรรมการและรองเลขาธิการ และผู้อานวยการสานักกองอาสารักษาดินแดน
เป็นรองเลขาธิการ)

(๒) กองบัญชาการกองอาสารักษาดินแดน ทาหน้าท่ีเป็นหน่วยบริหารจัดการกิจการ
กองอาสารักษาดินแดนในส่วนกลาง และให้เป็นหน่วยควบคุม อานวยการ สั่งการและกากับดูแลกองบังคับการ
กองอาสารกั ษาดนิ แดนจังหวัด (สว่ นภมู ิภาค) โดยมี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็น ผู้บัญชาการกองอาสา
รักษาดินแดน และเป็นผบู้ ังคบั บญั ชาสูงสุด รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็น รองผู้บัญชาการกองอาสา
รกั ษาดนิ แดน ปลัดกระทรวง/รองปลดั กระทรวงมหาดไทย เป็น ผชู้ ว่ ยผ้บู ญั ชาการกองอาสารักษาดินแดน

กองบัญชาการกองอาสารักษาดินแดน แบง่ สว่ นราชการออกเป็น ๓ ส่วน ประกอบไปด้วย
๑) ฝา่ ยอานวยการ (กรมการปกครอง) โดยมี

- อธิบดีกรมการปกครอง เป็น หัวหน้าฝ่ายอานวยการ กองบัญชาการกองอาสา
รักษาดนิ แดน

- รองอธิบดีกรมการปกครอง เป็น รองหัวหน้าฝ่ายอานวยการ กองบัญชาการกอง
อาสารักษาดนิ แดน

- ผู้อานวยการสานักอานวยการกองอาสารักษาดินแดน เป็น ผู้ช่วยหัวหน้าฝ่าย
อานวยการ กองบญั ชาการกองอาสารกั ษาดนิ แดน

- ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง สังกัด สานักอานวยการกองอาสารักษาดินแดน
ปฏบิ ตั หิ นา้ ทปี่ ระจาฝา่ ยอานวยการ กองบัญชาการกองอาสารกั ษาดนิ แดน

นอกจากนี้ยังมีหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน (นรด.) กองทัพบก ทาหน้าที่ เป็น
ฝ่ายอานวยการฝา่ ยทหาร


Click to View FlipBook Version