The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

เอกสารประกอบการเรียน ท่าศาลาศึกษา

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

เอกสารประกอบการเรียน ท่าศาลาศึกษา

เอกสารประกอบการเรียน ท่าศาลาศึกษา

Keywords: ท่าศาลา

เอกสารประกอบการเรียน หลักสูตรรายวิชาเลือก รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ สาระพัฒนาสังคมชุมชน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จ�ำนวน ๓ หน่วยกิต (๑๒๐ ชั่วโมง) ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อ�ำเภอท่าศาลา กรมส่งเสริมการเรียนรู้ กระทรวงศึกษาธิการ ท่าศาลาศึกษา


เอกสารประกอบการเรียน หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๑๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ลิขสิทธิ์ของ ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อ�ำเภอท่าศาลา พิมพ์ครั้งที่ ๑ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอ�ำเภอท่าศาลา ปีที่พิมพ์ ๒๕๖๔ จ�ำนวน ๒๐๐ เล่ม พิมพ์ครั้งที่ ๒ ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อ�ำเภอท่าศาลา ปีที่พิมพ์ ๒๕๖๖ จ�ำนวน ๒๐๐ เล่ม


คำ�นำ� คู่มือครูการจัดการเรียนรู้รายท่าศาลาศึกษา รหัสรายวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ รายวิชาเลือกเสรี ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ เป็นเอกสารส�ำหรับครู กศน. ใช้เป็นแนวทางในการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับนักศึกษา ตามหลักสูตรการศึกษานอก ระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ซึ่งมีเนื้อหาประกอบด้วย ๗ เนื้อหาสาระตามรายละเอียด ดังนี้ บทที่ ๑ ภาพลักษณ์ท่าศาลา บทที่ ๒ พัฒนาการด้านประวัติศาสตร์ท่าศาลา บทที่ ๓ นามบ้านนามเมือง บทที่ ๔ รุ่งเรืองวิถี บทที่ ๕ บุคคลส�ำคัญท่าศาลา บทที่ ๖ ภูมิปัญญาท่าศาลา บทที่ ๗ เมืองมหาวิทยาลัย ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อ�ำเภอท่าศาลา ขอขอบคุณผู้เชี่ยวชาญเนื้อหา ที่ให้การสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อประกอบการน�ำเสนอเนื้อหา รวมทั้งผู้เกี่ยวข้องในการจัดท�ำคู่มือ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคู่มือเล่มนี้ จะเกิดประโยชน์ ต่อครูและนักศึกษา ศสกร.อ�ำเภอท่าศาลา และผู้ที่สนใจเพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับอ�ำเภอท่าศาลา มีความภาคภูมิใจ รัก ศรัทธา หวงแหน แหล่งเรียนรู้โบราณสถาน ศิลปวัฒนธรรม แหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญา ท้องถิ่น ขนบธรรมเนียมประเพณี และด�ำเนินชีวิตตามขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม มีคุณธรรม จริยธรรม ตามหลักศาสนาเห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัย เห็นความส�ำคัญของส่วนรวม และร่วมกันพัฒนาอ�ำเภอท่าศาลา ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อ�ำเภอท่าศาลา กรกฎาคม ๒๕๖๖


สารบัญ หน้า ค�ำน�ำ บทที่ ๑ ภาพลักษณ์ท่าศาลา ๑ เรื่องที่ ๑ ที่ตั้ง อาณาเขต ลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ อ�ำเภอท่าศาลา ๓ ๑.๑ ที่ตั้ง อาณาเขตอ�ำเภอท่าศาลา ๓ ๑.๒ ลักษณะภูมิประเทศอ�ำเภอท่าศาลา ๔ ๑.๓ ล�ำน�้ำที่ส�ำคัญอ�ำเภอท่าศาลา ๔ ๑.๔ ลักษณะภูมิอากาศ อ�ำเภอท่าศาลา ๕ ๑.๕ การคมนาคมของอ�ำเภอท่าศาลา ๗ เรื่องที่ ๒ ประชากร การเมืองการปกครอง ส่วนราชการ (ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค) ๙ และหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ๒.๑ ประชากร อ�ำเภอท่าศาลา ๙ ๒.๒ การเมืองการปกครอง อ�ำเภอท่าศาลา ๙ ๒.๓ ส่วนราชการ (ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค) และหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ๑๐ อ�ำเภอท่าศาลา เรื่องที่ ๓ เศรษฐกิจและการประกอบอาชีพอ�ำเภอท่าศาลา ๑๒ ๓.๑ การวิเคราะห์ศักยภาพด้านเศรษฐกิจและการประกอบอาชีพ ๑๒ ๓.๒ การวิเคราะห์ศักยภาพด้านอุตสาหกรรมและพาณิชย์ ๑๖ ๓.๓ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ๑๗ เรื่องที่ ๔ การศึกษาในอ�ำเภอท่าศาลา ๑๗ ๔.๑ การศึกษาปฐมวัย ๑๗ ๔.๒ การศึกษาในระบบ ๑๗ ๔.๓ สถาบันระดับอุดมศึกษา ๑๘ ๔.๔ การศึกษานอกระบบ ๑๘ เรื่องที่ ๕ ประเพณี ความเชื่อ และพิธีกรรม ในอ�ำเภอท่าศาลา ๑๙ ๕.๑ ประเพณีท�ำบุญลอยแพ “บ้านบ่อนนท์” ๑๙ ๕.๒ ประเพณีท�ำบุญสารทเดือนสิบแห่หมฺรับ ๒๐ ๕.๓ ประเพณีชักพระวัฒนธรรมวิถีชีวิตคนท่าศาลา ๒๑ ๕.๔ ประเพณีให้ทานไฟ ๒๒ ๕.๕ พิธีนั่งเจ้าเข้าทรง บวงสรวงทวดกลาย ๒๔ ๕.๖ ประเพณีรดน�้ำด�ำหัวผู้สูงอายุในวันสงกรานต์ ๒๖ ๕.๗ ประเพณีฮารีรายอ ๒๖


สารบัญ (ต่อ) หน้า ๕.๘ ประเพณีถือศีลอดเดือนรอมฎอนของไทยมุสลิม ๒๗ ๕.๙ ประเพณีลอยกระทง ๒๙ บทที่ ๒ พัฒนาการด้านประวัติศาสตร์ท่าศาลา ๓๑ เรื่องที่ ๑ อ�ำเภอท่าศาลายุคก่อนประวัติศาสตร์ ๓๕ ๑.๑ ยุคหิน ๓๕ ๑.๒ ยุคโลหะ ๓๖ เรื่องที่ ๒ อ�ำเภอท่าศาลาช่วงที่เป็นแคว้นอิสระบนคาบสมุทรมลายู ๓๗ ๒.๑ ท่าศาลายุคก่อนอาณาจักรตามพรลิงค์ ๓๘ ๒.๒ อาณาจักรตามพรลิงค์ยุคที่ ๑ ๓๘ ๒.๓ แหล่งโบราณคดีที่ส�ำคัญสมัยอาณาจักรตามพรลิงค์ยุคที่ ๑ ๔๒ ๒.๓.๑ โบราณสถานวัดโมคลาน ๔๒ ๒.๓.๒ โบราณคดีทุ่งน�้ำเค็ม ๔๕ ๒.๓.๓ โบราณสถานวัดไทรขาม ๔๕ ๒.๓.๔ โบราณสถานวัดตาเณร ๔๖ ๒.๓.๕ โบราณสถานตุมปัง (วัดร้าง) ๔๖ ๒.๓.๖ โบราณสถานเกาะพระนารายณ์ ๕๑ ๒.๓.๗ โบราณสถานวัดมเหยงคณ์ ๕๒ ๒.๓.๘ โบราณสถานวัดนางตรา ๕๔ ๒.๓.๙ โบราณสถานบ้านนางน�ำ สังข์ทอง ๕๗ ๒.๓.๑๐ โบราณสถานบ้านนายสว่าง พรหมสุวรรณ ๕๗ ๒.๓.๑๑ โบราณสถานวัดป่าเรียน ๕๘ ๒.๓.๑๒ โบราณสถานวัดดอนใคร ๕๘ เรื่องที่ ๓ ท่าศาลาช่วงที่เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรไทย ๕๙ ๓.๑ ยุคกรุงสุโขทัย (พ.ศ. ๑๗๘๐ - ๑๙๘๑) ๕๙ ๓.๒ ยุคกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. ๑๘๙๓ - ๒๓๑๐) ๖๒ ๓.๒.๑ สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ๖๒ ๓.๒.๒ สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง ๖๒ ๓.๒.๓ สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ๖๒ ๓.๓ ยุคกรุงธนบุรี พ.ศ. ๒๓๑๐ - ๒๓๒๕ ๖๓ ๓.๔ ยุคกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. ๒๓๒๕ - ถึงปัจจุบัน ๖๔


สารบัญ (ต่อ) หน้า บทที่ ๓ นามบ้าน นามเมือง ๙๓ เรื่องที่ ๑ ภูมิหลัง ความเป็นมาของการตั้งชื่อต�ำบลในอ�ำเภอท่าศาลา ๙๕ ๑.๑ ต�ำบลท่าศาลา ๙๕ ๑.๒ ต�ำบลสระแก้ว ๙๖ ๑.๓ ต�ำบลโพธิ์ทอง ๙๖ ๑.๔ ต�ำบลดอนตะโก ๙๗ ๑.๕ ต�ำบลท่าขึ้น ๙๘ ๑.๖ ต�ำบลกลาย ๙๙ ๑.๗ ต�ำบลหัวตะพาน ๙๙ ๑.๘ ต�ำบลโมคลาน ๑๐๐ ๑.๙ ต�ำบลไทยบุรี ๑๐๑ ๑.๑๐ ต�ำบลตลิ่งชัน ๑๐๑ เรื่องที่ ๒ ภูมิหลัง ความเป็นมาการตั้งชื่อหมู่บ้านในต�ำบลท่าศาลา ๑๐๒ ๒.๑ หมู่ ๑ บ้านโดน ๑๐๒ ๒.๒ หมู่ ๒ บ้านเตาหม้อเหนือ บ้านโคกเหรียง บ้านสี่กั๊ก บ้านทุ่งเขื่อน ๑๐๒ ๒.๓ หมู่ ๓ บ้านท่าสูง บ้านนางตรา ๑๐๓ ๒.๔ หมู่ ๔ บ้านท่าสูงบน ๑๐๓ ๒.๕ หมู่ ๕ บ้านในถุ้ง ๑๐๓ ๒.๖ หมู่ ๖ บ้านสระบัว ๑๐๔ ๒.๗ หมู่ ๗ บ้านหน้าทับ ๑๐๔ ๒.๘ หมู่ ๘ บ้านปากน�้ำใหม่ ๑๐๔ ๒.๙ หมู่ ๙ บ้านด่านภาษี ๑๐๔ ๒.๑๐ หมู่ ๑๐ บ้านบ่อนนท์ ๑๐๕ ๒.๑๑ หมู่ ๑๑ บ้านฝายท่า ๑๐๕ ๒.๑๒ หมู่ ๑๒ บ้านในไร่ ๑๐๕ ๒.๑๓ หมู่ ๑๓ บ้านในไร่ บ้านเตาหม้อใต้ บ้านสวนพริก ๑๐๕ ๒.๑๔ หมู่ ๑๔ บ้านแหลม ๑๐๕ ๒.๑๕ หมู่ ๑๕ บ้านบางตง ๑๐๖


สารบัญ (ต่อ) หน้า บทที่ ๔ รุ่งเรืองวิถี ๑๐๗ เรื่องที่ ๑ เรียนรู้วิถีชีวิตและอาชีพ ๑๐๙ ๑.๑ อาชีพเกษตรกรรมที่โดดเด่นในปัจจุบันที่มีอยู่ในชุมชน ๑๑๐ ๑.๒ อาชีพพาณิชย์ที่ก้าวไกลในปัจจุบัน ๑๑๑ ๑.๓ อาชีพบริการในปัจจุบัน ๑๑๒ ๑.๔ การสืบสานการละเล่นที่โดดเด่นที่คงอยู่ในชุมชน ๑๑๓ ๑.๕ หัตถกรรมที่มีอยู่ในชุมชน ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคน ๑๑๔ ในอดีตและหัตถกรรมที่ผลิตขึ้นเพื่อสังคมปัจจุบัน ๑.๕.๑ การท�ำผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา ๑๑๔ ๑.๕.๒ การท�ำหางอวน ๑๑๕ ๑.๕.๓ การท�ำว่าว ๑๑๕ ๑.๕.๔ การท�ำกรงนก ๑๑๖ ๑.๖ อาชีพประมง และวิถีชีวิตของชาวประมงพื้นบ้าน ๑๑๗ เรื่องที่ ๒ การอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งทะเล ๑๑๘ ๒.๑ สถานการณ์ป่าชายเลนอ�ำเภอท่าศาลา ๑๑๘ ๒.๒ การอนุรักษ์ป่าชายเลน ๑๑๙ เรื่องที่ ๓ แหล่งท่องเที่ยวในอ�ำเภอท่าศาลา ๑๒๐ ๓.๑ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ๑๒๐ ๓.๑.๑ อุทยานแห่งชาติเขานัน ๑๒๐ ๓.๑.๒ หาดทรายแก้ว ๑๒๑ ๓.๑.๓ หาดท่าสูงบน ๑๒๑ ๓.๑.๔ หาดซันไรส์ ๑๒๒ ๓.๑.๕ บ้านแหลมโฮมสเตย์ ๑๒๒ ๓.๒ แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ๑๒๓ ๓.๒.๑ โบราณสถานวัดโมคลาน ๑๒๓ ๓.๒.๒ โบราณสถานตุมปัง ๑๒๓ บทที่ ๕ บุคคลส�ำคัญท่าศาลา ๑๒๔ เรื่องที่ ๑ ประวัติบุคคลส�ำคัญ ที่ประสบผลส�ำเร็จในการประกอบอาชีพ ๑๒๕ และบุคคลที่มีคุณค่าควรค่าแก่การยกย่อง กระท�ำคุณงามความดีให้กับชุมชน ๑.๑ พระอธิการแดง จนทสโร (พ่อท่านแดง) ๑๒๕


สารบัญ (ต่อ) หน้า ๑.๒ นายจงกิตติ์ คุณารักษ์ ๑๒๘ ๑.๓ นายบุญเสริม แก้วพรหม ๑๓๔ ๑.๔ นางเยิ้ม เรืองดิษฐ์ ๑๓๖ ๑.๕ นายนิคม คงทน ๑๓๙ บทที่ ๖ ภูมิปัญญาท่าศาลา ๑๔๓ เรื่องที่ ๑ ความหมายของภูมิปัญญาไทย ๑๔๕ เรื่องที่ ๒ ประวัติ องค์ความรู้ของภูมิปัญญาท้องถิ่นอ�ำเภอท่าศาลา ๑๔๕ ๒.๑. ด้านศิลปกรรมและวัฒนธรรม ๑๔๕ ๒.๑.๑ นางกั้น เชาวพ้อง ศิลปการแสดงมโนราห์ ๑๔๕ ๒.๑.๒ นายจ�ำลอง เมฆาวรรณ์ การท�ำเครื่องดนตรีมโนราห์ ๑๔๖ ๒.๑.๓ นายจ�ำเนียร ค�ำหวาน ภูมิปัญญาหนังตะลุง ๑๔๗ ๒.๒ ด้านคหกรรม ๑๔๘ ๒.๒.๑ นางผ่องศรี มะหมัด การท�ำปลาร้าฝังดิน ๑๔๘ ๒.๒.๒ นางสาวลาวัลย์ ปริงทอง การท�ำน�้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น ๑๕๑ ๒.๒.๓ นายยุโสบ หล้าเก ท�ำน�้ำตาลมะพร้าว ๑๕๓ ๒.๒.๔ นางอารี เชาวลิต การท�ำขนมไทย (ขนมเปียกปูน) ๑๕๕ ๒.๒.๕ นายหนูพัน สังวาลย์ การท�ำขนมกะละแม ๑๕๖ ๒.๓ ด้านหัตถกรรม ๑๕๘ ๒.๓.๑ นางจ�ำเป็น รักเมือง การท�ำหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผาบ้านมะยิง ๑๕๘ ๒.๓.๒ นายเสวก ยุโส้ การท�ำกรงนก ๑๖๓ ๒.๓.๓ นายกิบหลี หมาดจิ การท�ำหัตถกรรมจักสานไม้ไผ่ ๑๖๖ ๒.๓.๔ นายหมูด ทรงเลิศ การต่อเรือประมงพื้นบ้าน ๑๖๗ ๒.๓.๕ นางฉลวย ปล้องเกิด การท�ำอิฐแดงหรืออิฐมอญ ๑๖๙ ๒.๔ ด้านสาขาประมง ๑๗๒ ๒.๔.๑ นายเจริญ โต๊ะอิแต การท�ำประมงพื้นบ้านการดุหล�ำและธนาคารปู ๑๗๒ ๒.๕ ด้านเกษตรกรรม ๑๗๔ ๒.๕.๑ นายนิวัฒน์ ดิมาร การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรยาเส้น“ยากลาย” ๑๗๔ ๒.๕.๒ นายธีรชัย ช่วยชู การท�ำปุ๋ยหมักชีวภาพ ๑๗๗ ๒.๕.๓ นางสมจิตร เดชบุญ การเลี้ยงไส้เดือน“ปุ๋ยมูลไว้เดือน” ๑๘๑ ๒.๕.๔ นายสุพจน์ ศรีสุชาติ การเกษตรน้อมน�ำเศรษฐกิจพอเพียง ๑๘๕ ๒.๕.๕ นายเลื่อน พรมวี ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านนายเลื่อน ๑๘๗


สารบัญ (ต่อ) หน้า บทที่ ๗ เมืองมหาวิทยาลัย ๑๙๑ เรื่องที่ ๑ ประวัติความเป็นมาของการก่อตั้งมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ๑๙๒ เรื่องที่ ๒ การเกิดศูนย์การแพทย์ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ๑๙๙ เรื่องที่ ๓ ผลที่เกิดขึ้นในการก่อตั้งมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ๒๐๐ บรรณานุกรม ๒๐๓ ภาคผนวก ๒๐๗ - ประกาศส�ำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดนครศรีธรรมราช ๒๐๘ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาเนื้อหาประกอบหลักสูตร - คณะผู้จัดท�ำ ๒๑๒


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 1 สาระส�ำคัญ เรียนรู้เกี่ยวกับที่ตั้ง อาณาเขต ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะภูมิอากาศ ประชากร การเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ การประกอบอาชีพ การจัดการศึกษา ประเพณีความเชื่อของอ�ำเภอท่าศาลา ตัวชี้วัด ๑. ระบุที่ตั้ง อาณาเขต ภูมิประเทศ ภูมิอากาศอ�ำเภอท่าศาลา ๒. ปฏิบัติจัดท�ำแผนที่ภาพของชุมชนที่นักศึกษาอาศัยอยู่ ๓. อธิบายลักษณะประชากร เศรษฐกิจ การศึกษา และการประกอบอาชีพของประชาชนในพื้นที่ อ�ำเภอท่าศาลา ๔. อธิบายความเป็นมา ประโยชน์เกี่ยวกับประเพณีวัฒนธรรมในอ�ำเภอท่าศาลา ๕. ทักษะการน�ำเสนอข้อมูลโดยการสื่อสารการฟังการพูด น�ำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับภาพลักษณ์ท่าศาลา การเมืองการปกครองอ�ำเภอท่าศาลา ๖. ตระหนักเห็นความส�ำคัญและมีส่วนร่วมในการปฏิบัติตน ฟื้นฟูอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น และแหล่งท่องเที่ยวของอ�ำเภอท่าศาลา ขอบข่ายเนื้อหา เรื่องที่ ๑ ที่ตั้ง อาณาเขต ลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ อ�ำเภอท่าศาลา ๑.๑ ที่ตั้ง อาณาเขตอ�ำเภอท่าศาลา ๑.๒ ลักษณะภูมิประเทศ อ�ำเภอท่าศาลา ๑.๓ ล�ำน�้ำที่ส�ำคัญอ�ำเภอท่าศาลา ๑.๔ ลักษณะภูมิอากาศ อ�ำเภอท่าศาลา ๑.๕ การคมนาคมของอ�ำเภอท่าศาลา เรื่องที่ ๒ ประชากร การเมืองการปกครอง ส่วนราชการ (ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค) และหน่วยงาน รัฐวิสาหกิจ ๒.๑ ประชากร อ�ำเภอท่าศาลา ๒.๒ การเมืองการปกครอง อ�ำเภอท่าศาลา ๒.๓ ส่วนราชการ (ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค) และหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ อ�ำเภอท่าศาลา เรื่องที่ ๓ เศรษฐกิจและการประกอบอาชีพ ๓.๑ การวิเคราะห์ศักยภาพด้านเศรษฐกิจและการประกอบอาชีพ ๓.๒ การวิเคราะห์ศักยภาพด้านอุตสาหกรรม ๓.๓ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภาพลักท่าศาลา บทที่ ๑


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 2 เรื่องที่ ๔ การศึกษาในอ�ำเภอท่าศาลา ๔.๑ การศึกษาปฐมวัย ๔.๒ การศึกษาในระบบ ๔.๓ สถาบันระดับอุดมศึกษา ๔.๔ การศึกษานอกระบบ เรื่องที่ ๕ ประเพณี ความเชื่อ ในอ�ำเภอท่าศาลา ๕.๑ ประเพณีท�ำบุญลอยแพ “บ้านบ่อนนท์” ๕.๒ ประเพณีท�ำบุญสารทเดือนสิบแห่หมฺรับ ๕.๓ ประเพณีชักพระวัฒนธรรมวิถีชีวิตคนท่าศาลา ๕.๔ ประเพณีให้ทานไฟ ๕.๕ พิธีนั่งเจ้าเข้าทรง บวงสรวงทวดกลาย ๕.๖ ประเพณีรดน�้ำด�ำหัวผู้สูงอายุในวันสงกรานต์ ๕.๗ ประเพณีฮารีรายอ ๕.๘ ประเพณีถือศีลอดเดือนรอมฎอนของไทยมุสลิม ๕.๙ ประเพณีลอยกระทง เวลาที่ใช้ในการศึกษา ๑๔ ชั่วโมง สื่อการเรียนรู้ ๑. เอกสารประกอบการเรียนหลักสูตรรายวิชาเลือกท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ๒. คู่มือนักศึกษา รายวิชาเลือกท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ๓. สื่อเสริมการเรียนรู้อื่น ๆ


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 3 ๑.๑ ที่ตั้ง อาณาเขตอ�ำเภอท่าศาลา อ�ำเภอท ่าศาลาตั้งอยู ่ริมทะเลอ ่าวไทย อยู ่ทางทิศเหนือของอ�ำเภอเมืองนครศรีธรรมราช ห่างจากศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช ประมาณ ๓๐ กิโลเมตร ที่ตั้งของที่ว่าการอ�ำเภออยู่ที่ถนนนครศรีท่าศาลา หมู่ที่ ๑ ต�ำบลท่าศาลา อ�ำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช มีอาณาเขต ดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับ อ�ำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อ่าวไทย ทิศใต้ ติดต่อกับ อ�ำเภอเมืองและอ�ำเภอพรหมคีรีจังหวัดนครศรีธรรมราช ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อ�ำเภอนบพิต�ำ จังหวัดนครศรีธรรมราช เรื่องที่ ๑ ที่ตั้ง อาณาเขต ลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ อำเภอท่าศาลา


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 4 ๑.๒ ลักษณะภูมิประเทศอ�ำเภอท่าศลา อ�ำเภอท ่าศาลามีพื้นที่ประมาณ ๓๖๓.๘๙๑ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๒๒๗,๔๓๒ ไร ่ แบ่งเป็น ดังนี้ ๑.๒.๑ พื้นที่ราบเชิงเขา อยู ่ทางด้านทิศตะวันตกเกิดจากแนวเทือกเขาหลวง ได้แก่ พื้นที่ ต�ำบลตลิ่งชัน และบางส่วนของต�ำบลสระแก้ว โมคลาน ดอนตะโก มีป่าไม้อุดมสมบูรณ์มีพื้นที่บางส่วนอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติเขานัน เป็นแหล่งต้นน�้ำของคลองหลายสายที่ไหลผ่านหล่อเลี้ยงพื้นที่อ�ำเภอท่าศาลาลงสู่อ่าวไทย สภาพดินเป็นดินร่วนและดินร่วนปนทราย เหมาะแก่การท�ำสวนผลไม้ยางพารา เลี้ยงสัตว์เป็นต้น ๑.๒.๒ พื้นที่ราบและที่ราบลุ่ม อยู่ทางตอนกลางของพื้นที่ตามแนวยาวจากทิศเหนือจรดทิศใต้ ได้แก่ ต�ำบลไทยบุรีต�ำบลหัวตะพาน และบางส่วนของต�ำบลท่าขึ้น ต�ำบลโมคลาน ต�ำบลดอนตะโก ต�ำบลโพธิ์ทอง ซึ่งพื้นที่ราบและที่ราบลุ่มใช้เป็นที่ในการท�ำนาและท�ำสวน ๑.๒.๓ พื้นที่ราบชายฝั ่งทะเล ทางทิศตะวันออกตามแนวชายฝั ่งจากทิศเหนือจรดทิศใต้ ประมาณ ๒๐ กิโลเมตรชายฝั่งเป็นหาดทรายสลับกับป่าชายเลน ประเภทป่าโกงกาง ป่าแสม ได้แก่ พื้นที่ต�ำบลกลาย ต�ำบลสระแก้ว ต�ำบลท่าขึ้น ต�ำบลท่าศาลา ต�ำบลโพธิ์ทอง เป็นแหล่งท่องเที่ยวการท�ำประมงชายฝั่ง การเพาะเลี้ยง สัตว์น�้ำ พื้นที่ราบใช้ท�ำสวนมะพร้าว สวนยาง สวนผลไม้และการเลี้ยงสัตว์ ๑.๓ ล�ำน�้ำที่ส�ำคัญของอ�ำเภอท่าศาลา อ�ำเภอท่าศาลามีล�ำน�้ำธรรมชาติที่ส�ำคัญ ดังนี้ ๑.๓.๑ คลองกลาย ต้นน�้ำเกิดจากเทือกเขาหลวง ไหลผ่านเขตอ�ำเภอนบพิต�ำ ต�ำบลนบพิต�ำ ต�ำบลกะหรอ ในเขตอ�ำเภอท่าศาลาไหลผ่านต�ำบลสระแก้ว และต�ำบลกลาย ออกทะเลที่ปากน�้ำกลาย ๑.๓.๒ คลองท่าเปรงต้นน�้ำเกิดจากเขาทุ่งใน เทือกเขาหลวงไหลผ่านอ�ำเภอนบพิต�ำ ต�ำบลกะหรอ ในเขตอ�ำเภอท่าศาลาไหลผ่านต�ำบลไทยบุรีต�ำบลท่าขึ้น ต�ำบลท่าศาลา ออกทะเลที่ปากน�้ำท่าสูง ๑.๓.๓ คลองท่าพุดต้นน�้ำเกิดจากเขาไม้แบ่ง เทือกเขาหลวงไหลผ่านอ�ำเภอนบพิต�ำ ต�ำบลกะหรอ ในเขตอ�ำเภอท่าศาลาไหลผ่านต�ำบลไทยบุรีต�ำบลท่าศาลา ออกทะเลที่ปากน�้ำท่าสูง ๑.๓.๔ คลองชุมขลิง ต้นน�้ำเกิดจากเทือกเขาหลวงอ�ำเภอพรหมคีรีไหลผ่านต�ำบลหัวตะพาน เรียกว่าคลองขุด ไหลผ่านต�ำบลโมคลาน เรียกว่า คลองวัดโหนด ไหลผ่านต�ำบลโพธิ์ทองเรียกว่า คลองบ้านยิง ไหลไปบรรจบที่ปากคลองปากโพธิ์สู่คลองปากพยิง ออกสู่ทะเลที่ปากน�้ำปากพยิง ต�ำบลปากพูน อ�ำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ๑.๒.๕ คลองในเขียวหรืออ้ายเขียว ต้นน�้ำเกิดจากเขาขี้แรด เทือกเขาหลวงในเขตอ�ำเภอพรหมคีรี ไหลผ่านอ�ำเภอท่าลา ต�ำบลดอนตะโก เรียกว่า คลองจันพอ ไหลผ่านต�ำบลโมคลานเรียกว่า คลองอู่ตะเภาไหลผ่าน ต�ำบลโพธิ์ทอง เรียกว่า คลองไหล ไปบรรจบที่ปากคลองปากโพธิ์สู่คลองปากพยิง ออกสู่ทะเลที่ปากน�้ำปากพยิง ต�ำบลปากพูน อ�ำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ๑.๓.๖ คลองห้วยหินลับ ต้นน�้ำเกิดจากเทือกเขาหลวงในเขตอ�ำเภอพรหมคีรีไหลผ ่าน อ�ำเภอท่าศาลา ต�ำบลดอนตะโก เรียกว่า คลองลาว ไหลผ่านต�ำบลโมคลาน เรียกว่า คลองโต๊ะเน็ง ไหลไปบรรจบ ที่ปากคลองปากโพธิ์สู่คลองปากพยิงออกสู่ทะเลที่ปากน�้ำปากพยิงต�ำบลปากพูนอ�ำเภอเมืองจังหวัดนครศรีธรรมราช หมายเหตุ : ปากคลองปากโพธิ์บรรจบด้วยสายน�้ำ ๓ สาย คือ คลองบ้านยิง คลองอู่ตะเภา คลองโต๊ะเน็ง


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 5 สระน�้ำระหว่างสันทราย ๑. ห้วยเตาฮือ พื้นที่ ๓ ไร่ ต�ำบลตลิ่งชัน ๒. หนองหงส์ พื้นที่ ๖ ไร่ ต�ำบลดอนตะโก ๓. สระทิดเมือง พื้นที่ ๓ ไร่ ต�ำบลท่าศาลา หนองบึง แบ่งตามต�ำบล มีดังนี้ - ต�ำบลกลาย หนองน�้ำพังปริง หนองเปาะ หนองน�้ำเวียน -ต�ำบลท่าขึ้น คลองเตียน หนองคลองตะเคียน หนองทุ่งลานควาย หนองคลองเกาะ หนองหารอีโป๊ะ คลองท่านาย คลองโอทอง ทุ่งสงวนไสโก - ต�ำบลตลิ่งชัน หนองยายเขียว ห้วยเตาฮือ - ต�ำบลไทยบุรีหนองขี้เป็ด หนองหารเป็ด หนองวังแร่ หนองท่าจีน คลองลานควาย - ต�ำบลสระแก้ว ทอนฟ้าผ่า ทอนเกาะดง ทอนผู้ใหญ่ส่ง คลองกลาย หนองทอนมเหยงค์ - ต�ำบลดอนตะโก หนองหงส์ - ต�ำบลหัวตะพาน คลองชุมขลิง หมายเหตุ หนองบึงบางแห่งตื้นเขินในช่วงหน้าแล้ง ๑.๔ ลักษณะภูมิอากาศของอ�ำเภอท่าศาลา อ�ำเภอท่าศาลาอยู่ติดทะเลจึงมีลมทะเลและลมบกพัดผ่านตลอดปีท�ำให้อากาศอบอุ่น มีฝนตกชุก ตลอดปีโดยจะตกหนักในเดือนพฤศจิกายน - เดือนธันวาคม ปริมาณน�้ำฝนเฉลี่ยปีละ ๒,๕๐๐ ลูกบาศก์เมตร มี๒ ฤดูกาล คือ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือน มกราคม - กรกฎาคม และฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม อ�ำเภอท่าศาลาเป็นอ�ำเภอหนึ่งในกลุ่มอ�ำเภอตอนเหนือของตัวเมืองนครศรีธรรมราช ที่มีลักษณะพื้นที่พิเศษ คือ ลักษณะภูมิประเทศด้านตะวันตกเป็นเทือกเขาสูงเสมือนก�ำแพงด่านหลังตอนกลางนั้นเป็นที่ราบและด้านตะวันออก จดแนวชายทะเล จึงท�ำให้เกิดลักษณะเฉพาะของอากาศและสามารถแบ่งลมได้เป็น ๔ กลุ่ม ดังนี้ ๑.๔.๑ ลมบกลมทะเลถือว่าเป็นลมประจ�ำวัน ตอนกลางวัน(ลมทะเล)จะพัดจากทะเลขึ้นฝั่งและ ตอนกลางคืน(ลมบก) จะพัดจากฝั่งสู่ทะเล ส่งผลให้พื้นที่อ�ำเภอท่าศาลาอากาศสบายได้รับลมตลอดเวลา ๑.๔.๒ ลมมรสุม อ�ำเภอท่าศาลาในรอบหนึ่งปีจะมี๒ มรสุม ๑) ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือเกิดในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์จะน�ำฝนตก จากทะเลจีนใต้เข้าสู่อ่าวไทย ๒) ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้เกิดช ่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคมจะมีฝนมาก ฝั่งอันดามัน และส่งผลให้มีฝนบ้างในเขตอ�ำเภอท่าศาลา ๑.๔.๓ ลมประจ�ำถิ่น เป็นลมที่คนท้องถิ่นนครศรีธรรมราชแถบทะเลทางตอนเหนือ ได้จ�ำแนก ลมมรสุมมาเป็นลม ๘ ทิศ เพื่อประโยชน์ของการท�ำกิจกรรม การเดินทาง การเพาะปลูกและอื่น ๆ ดังนี้ ๑) ลมอุตรา ลมพัดจากทิศเหนือประมาณเดือนกันยายน ๒) ลมว ่าว ลมพัดจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือช ่วงเดือนตุลาคม ถึงเดือนมกราคม พร้อมลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือลักษณะฟ้าลั่นลึก ๆ สั่นสะเทือน ทะเลกัดเซาะชายหาด ๓) ลมออก ลมพัดจากทิศตะวันออก


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 6 ๔) ลมเภา หรือลมเภา ๔๐ ลมเภา ๔๕ พัดจากทิศตะวันออกเฉียงใต้ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนเมษายน ประมาณ ๔๐ – ๔๕ วัน น�ำทรายมาคืนชายหาด บางพื้นที่ชาวบ้าน เรียกว่าลมดับหาด หรือลมพระ ๕) ลมหลาตัน พัดจากทิศใต้หมายถึง ลมที่พัดให้เรือใบมาจากกลันตันได้ ๖) ลมพลัดยา พัดจากทิศตะวันตกเฉียงใต้พร้อมลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ๗) ลมพลัดกลาง พัดมาจากทิศตะวันตก บางพื้นที่เรียกว่าลมหัวษา น�ำพาความหนาวเย็น จากเทือกเขาลงสู่พื้นราบ ๘) ลมพลัดหลวง พัดจากทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มีความแรงสูงเป็นลมที่นักเดินทาง เรือใบจะกลัวมาก เพราะจะน�ำเรือกลับเข้าฝั่งยาก ๑.๔.๔ ลมพายุ ตัวอ�ำเภอท่าศาลาเป็นเขตรับลมพายุจากอ่าวไทย ซึ่งช่วง ๑๐๐ ปีที่ผ่านมา ได้เกิด ๓ เหตุการณ์คือ ๑) ลมพายุโซนร้อนแฮเรียสเมื่อวันที่๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ เสียหายมากที่บ้านปากดวด ต�ำบลกลาย ๒) ลมพายุโซนร้อนฟอร์เรสต์เมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๕ ๓) ลมพายุโซนร้อนปาบึก เมื่อวันที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๒ อ�ำเภอท่าศาลา ได้รับความเสียหายเล็กน้อย เหนือ ลมอุตรา ลมประจำถิ่น (ภาษาสิชล - ท่าศาลา) (ลม ๘ ทิศ) ลมหลาตัน ใต้ คลื่นกัดเซาะชายหาดฟ้าลั่นลึก ลมเภา ตะวันออกเฉียงเหนือ ลมว่าว คลื่นจะแต่งชายหาด ลมดับหาด ลมพระ ตะวันออกเฉียงใต้ ตะวันออกเฉียงเหนือ ลมพลัดหลวง ลมพลัดกลาง/ลมหัวษา ตะวันตก ลมออก ตะวันออก ลมพลัดยา ตะวันตกเฉียงใต้


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 7 ๑.๕ การคมนาคมของอ�ำเภอท่าศาลา การเดินทางของชาวอ�ำเภอท่าศาลา ปัจจุบันใช้การเดินทางคมนาคม ๓ ช่องทาง ๑ .)การคมนาคม ทางบกได้แก่รถยนต์การเดินทางโดยรถยนต์สาธารณะ ที่ใช้ในปัจจุบัน ได้แก่รถตู้รถสองแถวรถโดยสารประจ�ำทาง (รถมินิบัส จากจังหวัดสุราษฎร์ธานีไปสู่อ�ำเภอเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งจะผ่านตัวอ�ำเภอท่าศาลา)และหรือรถทัวร์ เดินทางระยะทางไปกรุงเทพมหานคร การเดินทางภายในตัวอ�ำเภอก็จะมีรถสองแถว รถจักรยานยนต์๒.) คมนาคม ทางน�้ำ เป็นการเดินทางทางน�้ำคนโดยทั่วไปไม่นิยมใช้มีบ้างที่ยังใช้การเดินทางทางน�้ำ เช่น เรือ การบรรทุกสินค้าแร่ และชาวประมงในการออกไปประกอบอาชีพ ๓.)การคมนาคมทางอากาศซึ่งท่าอากาศยานจังหวัดนครศรีธรรมราช อยู่ห่างจากตัวอ�ำเภอ ท่าศาลา ประมาณ ๑๕ กิโลเมตร ประชาชนมักจะใช้เส้นทางการเดินทางท่าอากาศยาน ไปกรุงเทพมหานครการเดินทางของประชาชน ยังมีความต้องการและหลากหลายตามสภาพพื้นที่ พื้นที่ใดใกล้แม้น�้ำ ล�ำคลอง ก็ยังมีการสัญจรทางน�้ำ แต่ปัจจุบันความเจริญทางด้านเศรษฐกิจ การขนส่ง การคมนาคมมีการสร้างถนน เพิ่มมากขึ้นท�ำให้ความคล่องตัวในการเดินทาง คนส่วนใหญ่ของประชาชนใช้การเดินทางทางบก ทางอากาศ และ ทางน�้ำตามล�ำดับ วิถีชีวิตเปลี่ยนไปท�ำให้บางชุมชนที่เคยเป็นท ่าเรือ ยังคงเหลือไว้เป็นท ่าเรืออนุสรณ์สถาน ไม่มีการเดินทางทางน�้ำ เด็กรุ่นหลานก็ต้องมีการเรียนรู้ว่าชุมชนใดที่ภูมิหลังอย่างไร ท�ำความเข้าใจเรียนรู้วิถีชีวิต ของคนได้ดียิ่งขึ้น ๑.๕.๑ การคมนาคมทางบกของอ�ำเภอท่าศาลา การคมนาคม คือ การไปมาติดต่อระหว่างท้องถิ่นต่าง ๆ เริ่มจากระหว่างหมู่บ้าน ต�ำบล อ�ำเภอ จังหวัด โดยใช้เส้นทาง ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ หรือ ถนนเพชรเกษม เป็นถนนสายหลักที่ไปสู่ภาคใต้ ดังตามตารางที่ ๑ ตารางที่ ๑ แสดงเส้นทางหลวงแผ่นดินในเขตภาคใต้ ดังนั้น เส้นทางรถยนต์มักจะพบว่าเป็นเส้นทางหลวงแผ่นดิน - เส้นทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข ๔ เพชรเกษม สายกรุงเทพมหานครฯ - สะเดา - เส้นทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข ๔๔ สายอ่าวลึก- หินโงก “ถนนเซาท์เทิร์น” - เส้นทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข ๔๒๑ ถนน สายกาเน๊ะ - สตูล ถนนเลี่ยงเมืองสตูล - เส้นทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข ๔๐๕๕ ถนนปาดังเบซาร์- สงขลา - เส้นทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข ๔๐๑ ถนนนครศรีธรรมราช - สู่จังหวัดสุราษฎร์ธานี - เส้นทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข ๔๑๔๐ ท่าศาลา - นบพิต�ำ - เส้นทางหลวงชนบท หมายเลข ๓๐๕๐ แยกหน้าทับ - พรหมคีรี ป้ายทางหลวง การแบ่งภาค ทางหลวงที่ขึ้นต้นด้วยหมายเลข 4 แสดงว่าทางสายนั้นอยู่ในภาคใต้


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 8 ๑.๕.๒ การคมนาคมทางอากาศ : อ�ำเภอท่าศาลา ห่างจากท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช ประมาณ ๑๕ กิโลเมตร ปัจจุบันมีสายการบิน นกแอร์แอร์เอเชีย ไทยไลอ้อนแอร์ ไทยสมายล์และไทยเวียตเจ็ท ให้บริการบินตรงสู่กรุงเทพฯ เชียงใหม่สายการบินที่ให้บริการ ๑.๕.๓ การคมนาคมทางน�้ำของอ�ำเภอท่าศาลา ท่าศาลาเมืองติดต่อทางน�้ำ ในอดีตเป็นเมืองท่าที่ส�ำคัญ เป็นเส้นทางการขนส่งทางน�้ำ อ�ำเภอท่าศาลา ปัจจุบันมีท่าเทียบเรือใช้ในการขนส่งสินค้าเอกชน ดังนี้ เรือขนถ่านหินอ�ำเภอท่าศาลา ท่าเทียบเรือเชฟรอนอ�ำเภอท่าศาลา ท่าเทียบเรือ อ�ำเภอท่าศาลา ท่าเทียบเรือที่ใช้ในการขนส่งสินค้า ตารางที่ ๒ ข้อมูลท่าเทียบเรือที่ใช้ของเอกชน ที่ เจ้าของ ตำบลสถานที่ตั้ง ประเภท ท่าเทียบเรือขนาดไม่เกิน ๕๐๐ ตันกรอส ๑ บริษัท พิพัฒน์กร จำกัด ชายฝั่งทะเลอ่าวไทย ต.ท่าขึ้น อ.ท่าศาลา แร่ ท่าเทียบเรือขนาดไม่เกิน ๒๐ ตันกรอส ๑ นายฉัตรชัย ง่านวิสุทธิพันธ์ คลองท่าสูง ต.ท่าศาลา อ.ท่าศาลา สินค้า ๒ นายนภดล แปกพงค์ ม.๒ ต.ท่าศาลา อ.ท่าศาลา สินค้า ๓ นางพวงเพ็ญ พงค์สุวรรณ คลองท่าสูง ต.ท่าศาลา อ.ท่าศาลา สินค้า ๔ เอเชียเหมืองแร่อุตสาหกรรม ๑๕๔/๒ ม.๖ ต.ท่าศาลา อ.ท่าศาลา แร่


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 9 ๒.๑ ประชากรอ�ำเภอท่าศาลา โดยมีจ�ำนวนประชากร ดังตารางที่ ๓ ดังนี้ ตารางที่ ๓ แสดงข้อมูลจ�ำนวนประชากรอ�ำเภอท่าศาลาจ�ำแนกตามต�ำบล ลำดับ ที่ ตำบล จำนวน หมู่บ้าน จำนวน ครัวเรือน จำนวนประชากร ชาย หญิง รวม ๑ ท่าศาลา ๑๕ ๑๐,๒๒๖ ๑๔,๗๑๒ ๑๕,๐๘๓ ๒๙,๗๙๕ ๒ ท่าขึ้น ๑๕ ๔,๒๖๓ ๖,๘๗๑ ๗,๐๖๗ ๑๓,๙๓๘ ๓ โมคลาน ๑๕ ๓,๘๒๔ ๗,๓๘๖ ๗,๒๗๕ ๑๔,๖๖๑ ๔ กลาย ๑๒ ๓,๑๒๙ ๔,๓๖๑ ๔,๔๖๕ ๘,๘๒๖ ๕ สระแก้ว ๑๑ ๓,๑๗๒ ๔,๓๕๔ ๔,๕๙๘ ๘,๙๕๒ ๖ ไทยบุรี ๑๐ ๒,๕๑๓ ๓,๙๙๘ ๖,๓๕๕ ๑๐,๓๕๓ ๗ ตลิ่งชัน ๙ ๒,๗๗๐ ๔,๔๐๘ ๔,๔๐๖ ๘,๘๑๔ ๘ หัวตะพาน ๙ ๑,๕๕๙ ๒,๕๓๐ ๒,๕๕๔ ๕,๐๘๔ ๙ โพธิ์ทอง ๘ ๒,๖๒๘ ๔,๖๐๙ ๔,๖๗๓ ๙,๒๘๒ ๑๐ ดอนตะโก ๖ ๑,๕๙๘ ๒,๔๘๓ ๒,๖๔๖ ๕,๑๒๙ รวม ๑๑๐ ๓๕,๖๘๒ ๕๕,๗๑๒ ๕๙,๑๒๒ ๑๑๔,๘๓๔ ที่มา : ข้อมูลประชากรจากส�ำนักทะเบียนอ�ำเภอท่าศาลา ณ วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ ต�ำบลที่มีประชากรมากที่สุด คือ ต�ำบลท่าศาลา รองลงมา คือ ต�ำบลโมคลาน ต�ำบลท่าขึ้น ต�ำบลไทยบุรี ต�ำบลโพธิ์ทอง ต�ำบลสระแก้ว ต�ำบลกลาย ต�ำบลตลิ่งชัน ต�ำบลดอนตะโกและต�ำบลหัวตะพาน ๒.๒ การเมืองการปกครองอ�ำเภอท่าศาลา อ�ำเภอท่าศาลา แบ่งการปกครองออกเป็น ๑๐ ต�ำบล จ�ำนวน ๑๑๐ หมู่บ้าน มีก�ำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรก�ำนัน แพทย์ประจ�ำต�ำบล ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ฝ่ายปกครอง และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ฝ่ายรักษาความสงบ รวมทั้งสิ้น จ�ำนวน ๔๓๒ คน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีจ�ำนวน ๑๑ แห่ง คือ ๑ เทศบาล ๑๐ องค์การบริหารส่วนต�ำบล มีสมาชิกสภาเทศบาล จ�ำนวน ๑๑ คน มีสมาชิกองค์การบริหารส่วนต�ำบล จ�ำนวน ๒๐๔ คน พื้นที่บริเวณของต�ำบล แต่ละต�ำบลในเขตอ�ำเภอท่าศาลา โดยมีรายละเอียด ตามตารางที่ ๔ ดังนี้ เรื่องที่ ๒ ประชากร การเมืองการปกครอง ส่วนราชการอำเภอท่าศาลา


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 10 ๒.๓ ส่วนราชการ (ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค) และหน่วยงานรัฐวิสาหกิจอ�ำเภอท่าศาลา อ�ำเภอท่าศาลา มีส่วนราชการ (ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค) และหน่วยงานรัฐวิสาหกิจในพื้นที่ จ�ำนวน ๒๗ แห่ง ดังนี้ ๑. ที่ท�ำการปกครองอ�ำเภอท่าศาลา ๒. สถานีต�ำรวจภูธรอ�ำเภอท่าศาลา ๓. ส�ำนักงานปศุสัตว์อ�ำเภอท่าศาลา ๔. ส�ำนักงานที่ดินจังหวัดนครศรีธรรมราช สาขาอ�ำเภอท่าศาลา ๕. ส�ำนักงานสรรพากรพื้นที่นครศรีธรรมราช สาขาอ�ำเภอท่าศาลา ๖. ส�ำนักงานสรรพสามิตพื้นที่นครศรีธรรมราช สาขาอ�ำเภอท่าศาลา ๗. ส�ำนักงานพัฒนาชุมชนอ�ำเภอท่าศาลา ๘. หน่วยสัสดีอ�ำเภอท่าศาลา ๙. ส�ำนักงานเกษตรอ�ำเภอท่าศาลา ๑๐. ส�ำนักงานท้องถิ่นอ�ำเภอท่าศาลา ๑๑. ส�ำนักงานสาธารณสุขอ�ำเภอท่าศาลา ๑๒. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต�ำบล ๑๓. ส�ำนักงานประมงอ�ำเภอท่าศาลา ๑๔. ส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 ๑๕. ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อ�ำเภอท่าศาลา ๑๖. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ๑๗. โรงพยาบาลท่าศาลา ๑๘. ศูนย์พัฒนาศักยภาพอาชีพคนพิการจังหวัดนครศรีธรรมราช ชื่อหน่วยงาน พื้นที่ (ตร.กม.) ๑. เทศบาลตำบลท่าศาลา ๑.๒๔ ๒. องค์การบริหารส่วนตำบลท่าศาลา ๒๖.๘๔ ๓. องค์การบริหารส่วนตำบลกลาย ๔๑.๓๓๖ ๔. องค์การบริหารส่วนตำบลดอนตะโก ๒๗.๙๑ ๕. องค์การบริหารส่วนตำบลตลิ่งชัน ๖๐.๖๒๖ ๖. องค์การบริหารส่วนตำบลท่าขึ้น ๔๗ ๗. องค์การบริหารส่วนตำบลไทยบุรี ๒๘.๗๒ ๘. องค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์ทอง ๒๗.๙๙ ๙. องค์การบริหารส่วนตำบลโมคลาน ๓๙.๘๔ ๑๐. องค์การบริหารส่วนตำบลหัวตะพาน ๓๐.๑๗ ๑๑. องค์การบริหารส่วนตำบลสระแก้ว ๓๙.๖๑ ตารางที่ ๔ แสดงพื้นที่การปกครองก�ำกับดูแลของหน่วยงานในพื้นที่ เทศบาล และองค์การบริหารส่วนต�ำบล


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 11 ๑๙. อุทยานแห่งชาติเขานัน ๒๐. หมวดการทางอ�ำเภอท่าศาลา ๒๑. ส�ำนักงานกองทุนสงเคราะห์การท�ำสวนยางอ�ำเภอท่าศาลา ๒๒. ส�ำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอ�ำเภอท่าศาลา ๒๓. บริษัทไปรษณีย์ไทย จ�ำกัด สาขาท่าศาลา ๒๔. ทีโอทีจ�ำกัด สาขาท่าศาลา ๒๕. การประปาส่วนภูมิภาคอ�ำเภอท่าศาลา ๒๖. ส�ำนักงานหน่วยโครงการชลประทานคลองคูถนน ๒๗. ศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อ�ำเภอท่าศาลา มีธนาคารพาณิชย์ จ�ำนวน ๙ แห่ง ดังนี้ ๑. ธนาคารออมสิน สาขาท่าศาลา ๒. ธนาคารกรุงไทย สาขาท่าศาลา ๓. ธนาคารกสิกรไทย สาขาท่าศาลา ๔. ธนาคารกรุงเทพ สาขาเทสโก้โลตัส ๕. ธนาคารออมสิน สาขามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ๖. ธนาคารไทยพาณิชย์สาขาเทสโก้โลตัส ๗. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาปากน�้ำกลาย ๘. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาท่าศาลา ๙. ธนาคารกรุงไทย สาขามหาวิทยาลัยลักษณ์


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 12 ๓.๑ การวิเคราะห์ศักยภาพด้านเศรษฐกิจและการประกอบอาชีพ ประชากรในอ�ำเภอท่าศาลา มีการประกอบอาชีพที่หลากหลาย เกษตรกรรม เช่น ท�ำสวน ท�ำนา ท�ำการประมง และการปศุสัตว์โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ๓.๑.๑ การท�ำการเกษตรกรรม ประชากรอ�ำเภอท่าศาลา ร้อยละ ๖๐ ประกอบท�ำสวน ท�ำนา ร้อยละ ๗.๑ พืชเศรษฐกิจที่ส�ำคัญ เช่น ทุเรียน ปาล์มน�้ำมัน ยางพารา ผลไม้มะพร้าว ปริมาณพื้นที่และจ�ำนวน ครัวเรือนที่ด�ำเนินการปลูกพืชเศรษฐกิจ อ�ำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ของปีพ.ศ. ๒๕๖๒ ข้อมูล จากส�ำนักงานเกษตรอ�ำเภอท่าศาลา ข้อมูลดังตาราง ที่ ๕ ดังนี้ ตารางที่ ๕ ข้อมูลแสดงจ�ำนวนครัวเรือน และพื้นที่ในการท�ำการเกษตรของประชาชนในเขตพื้นที่อ�ำเภอท่าศาลา ชนิด จ�ำนวน (ครัวเรือน) พื้นที่ (จ�ำนวนไร่) ๑. ข้าว ๑,๒๑๕ ๕,๙๒๐ ๒. ยางพารา ๕,๘๗๑ ๔๓,๐๗๘ ๓. ปาล์มน�้ำมัน ๒,๙๗๕ ๒๒,๐๕๐ ๔. มะพร้าว ๑,๓๔๓ ๔,๕๗๒ ๕. ทุเรียน ๒,๑๕๕ ๑๐,๘๒๓ ๕. มังคุด ๒,๕๒๔ ๕,๕๗๙ ๗. ลองกอง ๔๘๐ ๑,๑๔๗ ๘. เงาะ ๓๒๗ ๘๔๕ ๙. โกโก้ ๕๑ ๒๐๗ รวมจ�ำนวน ๑๕,๙๕๔ ๙๗,๓๓๑ ๓.๑.๒ การท�ำประมงชายฝั่งและเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำ ประชากรอ�ำเภอท่าศาลา ร้อยละ ๗ ประกอบอาชีพประมงชายฝั่งและเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำ โดยแยกเป็น - การท�ำประมง มีเรือประมง จ�ำนวน ประมาณ ๓๘๗ ล�ำ - เพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำ มีเกษตรกรเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำ จ�ำนวน ๙๙๑ ราย ใช้พื้นที่เพาะเลี้ยง สัตว์น�้ำ จ�ำนวน ๔,๒๗๘.๐๙ ไร่ พื้นที่ฟาร์ม จ�ำนวน ๖,๘๑๘.๑๐๕ ไร่ ได้แก่การเลี้ยงกุ้งขาวกุ้งกุลาด�ำ ปลาหมอไทย ปลาช่อน ปลากะพงขาวในกระชัง เรื่องที่ ๓ เศรษฐกิจและการประกอบอาชีพอำเภอท่าศาลา


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 13 ข้อมูลทะเบียนผู้เพาะเลี้ยงสัตว์และสัตว์น�้ำ ๑. เกษตรกรมายื่นขอขึ้นทะเบียนผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำ (ทบ.๑) ทุกประเภท จ�ำนวน ๙๙๗ ราย คิดเป็นพื้นที่ ๑,๙๖๗.๘๖ ไร่ข้อมูลปรากฏตารางที่ ๖ และ ๗ ดังนี้ ตารางที่ ๖ เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนประเภทฟาร์มยังชีพและพาณิชย์ของอ�ำเภอท่าศาลา ประเภทฟาร์ม จำนวนเกษตรกร พื้นที่ในการเลี้ยง (ไร่) ฟาร์มเพื่อยังชีพ ๓๔๗ ๒๙๐.๒๕ ฟาร์มเพื่อพาณิชย์ ๖๕๐ ๑,๖๗๗.๖๑ รวม ๙๙๗ ๑,๙๖๗.๘๖ ที่มา : ข้อมูลจาก ประมงอ�ำเภอท่าศาลา พ.ศ. ๒๕๖๒ ณ วันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ ตารางที่ ๗ เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนประเภทพาณิชย์แยกตามกลุ่มชนิดสัตว์น�้ำ ประเภทฟาร์ม จ�ำนวนเกษตรกร พื้นที่ในการเลี้ยง (ไร่) ปลาน�้ำจืด ๓๙๒ ๑,๖๗๗.๖๑ ปลาทะเล ๑๑๔ ๒๑.๔๘ กุ้งทะเล ๑๐๓ ๑,๑๒๑.๘๔ สัตว์น�้ำอื่น ๆ ๒๐ ๑๓.๖๙ ปู ๑๑ ๗๒.๘๐ สัตว์น�้ำสวยงาม ๑๐ ๐.๖๖ ที่มา : ข้อมูลจาก ประมงอ�ำเภอท่าศาลา พ.ศ. ๒๕๖๒ ณ วันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ ๒. เกษตรกรมายื่นขอขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการด้านประมง(ทบ.๒)แยกตามประเภทการด�ำเนินกิจการ ตามตารางที่ ๘ ดังนี้ ตารางที่ ๘ จ�ำนวนผู้ประกอบการด้านประมง (ทบ.๒) แยกตามประเภทการด�ำเนินกิจการ ประเภทผู้ประกอบการ จ�ำนวน (ราย) แพ พ่อค้า ผู้รวบรวม ๓๑ สถานประกอบการแปรรูปเบื้องต้น ๑๐ สถานประกอบการแปรรูปพื้นเมือง ๓ สถานประกอบการห้องเย็น ๑ ผู้ค้าปัจจัยการผลิตสัตว์น�้ำ ๑ ผู้น�ำเข้าและส่งออกสัตว์น�้ำ ๑ รวม ๔๗ ที่มา : ข้อมูลจาก ประมงอ�ำเภอท่าศาลา พ.ศ. ๒๕๖๒ ณ วันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๓


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 14 ๓. จ�ำนวนเกษตรกรที่มาขึ้นทะเบียนผู้ท�ำการประมง (ทบ.๓) โดยแยกเป็นต�ำบล ตามตารางที่ ๙ ดังนี้ ตารางที่ ๙ จ�ำนวนเกษตรกรที่มาขึ้นทะเบียนผู้ท�ำการประมง (ทบ.๓) แยกเป็นต�ำบล ต�ำบล จ�ำนวน (ราย) ต�ำบลท่าศาลา ๓๐๙ ต�ำบลไทยบุรี ๗๗ ต�ำบลท่าขึ้น ๓๗ ต�ำบลตลิ่งชัน ๗ ต�ำบลหัวตะพาน ๓ ต�ำบลโมคลาน ๒ รวม ๔๓๕ ที่มา : ข้อมูลจาก ประมงอ�ำเภอท่าศาลา พ.ศ. ๒๕๖๒ ณ วันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ ๔. จ�ำนวนเรือประมง แยกเป็นประเภท ประมงพาณิชย์และประมงพื้นบ้าน มีดังนี้ ๔.๑ เรือประมงพาณิชย์ทั้งหมด จ�ำนวน ๙๙ ล�ำ โดยแยกเป็น ๔.๑.๑ เรืออวนลาก จ�ำนวน ๘๑ ล�ำ โดยแยกเป็น - อวนลากคานถ่าง จ�ำนวน ๒๕ ล�ำ - อวนลากแผ่นตะเฆ่จ�ำนวน ๕๖ ล�ำ ๔.๑.๒ เรืออวนตาติด จ�ำนวน ๒ ล�ำ ๔.๑.๓ เรือลอบปูจ�ำนวน ๑๖ ล�ำ ๔.๒ เรือประมงพื้นบ้าน ทั้งหมดจ�ำนวน ๖๔๗ ล�ำ หมายเหตุ : อวนลาก เป็นเครื่องมือประมงที่ใช้อวนลักษณะคล้ายถุง แล้วใช้เรือลากจูงให้เคลื่อนที่ ไปข้างหน้าอย ่างต ่อเนื่องในการจับสัตว์น�้ำ อวนลากเป็นเครื่องมือที่ใช้จับสัตว์น�้ำที่อาศัยอยู ่ที่บริเวณพื้นทะเล หรือเหนือพื้นทะเล ซึ่งมีทั้งชนิดที่อยู่รวมกันเป็นฝูง หรือแพร่กระจายเป็นบริเวณกว้าง ขณะท�ำการประมงสัตว์น�้ำ ที่อยู่หน้าปากอวนจะถูกกวาดต้อนให้เข้าไปรวมกันที่ก้นถุง ซึ่งเป็นส่วนท้ายสุดของอวน ในการลากอวนจ�ำเป็นต้องมี อุปกรณ์หรือวิธีการช่วยให้ปากอวนกางหรือถ่างออกวิธีที่นิยมใช้กันแพร่หลายมีอยู่๓ วิธีคือใช้เรือสองล�ำใช้แผ่นตะเฆ่ และใช้คานถ่าง อวนลากหน้าดินในประเทศไทยแบ่งตามวิธีการท�ำประมงออกเป็น ๔ ชนิดคือ อวนลากคานถ่าง อวนลากแผ่นตะเฆ่ อวนลากแคระ และอวนลากคู่ (ส�ำนักงานฝ่ายฝึกอบรม ศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้, ๒๕๕๐) ประมงพื้นบ้าน หมายความว่า การท�ำการประมงในเขตทะเลชายฝั่งไม่ว่าจะใช้เรือประมง หรือใช้ เครื่องมือโดยไม่ใช้เรือประมง ทั้งนี้ที่มิใช่เป็นประมงพาณิชย์ ประมงพาณิชย์หมายความว่าการท�ำการประมงโดยใช้เรือประมงที่มีขนาดตั้งแต่สิบตันกรอสขึ้นไป หรือเรือประมงที่ใช้เครื่องยนต์มีก�ำลังแรงม้าถึงขนาดที่รัฐมนตรีประกาศก�ำหนด


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 15 ผลผลิตจากการท�ำการประมง ผลผลิตจาการท�ำประมงของประชาชนอ�ำเภอท ่าศาลาจากการจับสัตว์น�้ำในทะเล สัตว์น�้ำจืด ในแหล่งน�้ำธรรมชาติและจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำ ข้อมูลจาก ประมงอ�ำเภอท่าศาลา พ.ศ. ๒๕๖๒ ณ วันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ รายละเอียด ดังนี้ ๑. ปริมาณการจับสัตว์น�้ำประมงพาณิชย์โดยประมาณต่อปี ข้อมูลดังนี้ ๒. ปริมาณการจับสัตว์น�้ำจืดในแหล่งน�้ำธรรมชาติ โดยประมาณทั้งสิ้น ๑๔,๕๕๐ กิโลกรัม - ปลานิล จ�ำนวน ๑,๕๐๐ กิโลกรัม - ปลาช่อน จ�ำนวน ๑,๐๐๐ กิโลกรัม - ปลาหมอไทย จ�ำนวน ๘๐๐ กิโลกรัม - ปลาตะเพียน จ�ำนวน ๕๐๐ กิโลกรัม - ปลากระดี่ จ�ำนวน ๔๕๐ กิโลกรัม - ปลาดุก จ�ำนวน ๓๐๐ กิโลกรัม - สัตว์น�้ำอื่น ๆ จ�ำนวน ๑๐,๐๐๐ กิโลกรัม ๓. ปริมาณการการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำ จ�ำนวน ทั้งสิ้น ๑,๒๕๑.๘๐ ตัน - กุ้ง จ�ำนวน ๑,๑๓๐ ตัน - ปลากะพงขาว จ�ำนวน ๙๗ ตัน - ปลาดุก จ�ำนวน ๑๒ ตัน - ปลาหมอ จ�ำนวน ๗.๕ ตัน - ปลานิล จ�ำนวน ๔.๕ ตัน - ปูทะเล จ�ำนวน ๐.๘ ตัน ชนิดสัตว์น�้ำ จ�ำนวนสัตว์น�้ำที่จับได้ (กก.) หมึกกระดอง ๔๒๘,๑๗๒ สัตว์น�้ำชนิดอื่น ๆ ๓๕๙,๒๙๐ กุ้ง ๒๑๕,๗๙๖ หมึกกล้วย ๙๒,๔๒๘ ปูม้า ๘๖,๓๔๓ ปลาตาหวาน ๕๗,๙๓๖ หมึกสาย ๕๐,๐๔๐ ปลาทรายแดง ๒๒,๕๒๐ ปลาสีกุน ๑๕,๙๔๐ ปลาทูลัง ๑๒,๗๐๒ ปลาปากคม ๕,๓๗๐ ปลากะพง ๒,๑๖๐ กั้ง ๑,๑๓๐ ปลาเก๋า ๘๕๖


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 16 ๓.๑.๓ การปศุสัตว์ประชากรอ�ำเภอท่าศาลา จ�ำนวน ๗,๙๙๙ ราย ร้อยละ ๒๐ ของประชากร ประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์แหล่งข้อมูลการเลี้ยงสัตว์ที่ส�ำคัญ อ�ำเภอท่าศาลาจังหวัดนครศรีธรรมราชของปีพ.ศ. ๒๕๖๒ โดยส�ำนักงานปศุสัตว์อ�ำเภอท่าศาลา โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ๑) โคเนื้อ จ�ำนวน ๑๓,๑๖๗ ตัว เกษตรกร จ�ำนวน ๒,๘๓๗ ราย ๒) โคนม จ�ำนวน ๓๔ ตัว เกษตรกร จ�ำนวน ๖ ราย ๓) กระบือ จ�ำนวน ๒๖๑ ตัว เกษตรกร จ�ำนวน ๓๒ ราย ๔) สุกร จ�ำนวน ๒๖,๔๑๑ ตัว เกษตรกร จ�ำนวน ๗๔๔ ราย ๕) แพะ จ�ำนวน ๒,๖๙๕ ตัว เกษตรกร จ�ำนวน ๓๔๑ ราย ๖) แกะ จ�ำนวน ๓๗ ตัว ๗) ไก่พื้นเมือง จ�ำนวน ๒๐๗,๓๗๑ ตัว เกษตรกร จ�ำนวน ๔,๒๔๙ ราย ๘) ไก่เนื้อ จ�ำนวน ๓๐๒,๗๐๐ ตัว เกษตรกร จ�ำนวน ๑๑๐ ราย ๙) ไก่ไข่ จ�ำนวน ๒๐๘,๗๓๒ ตัว เกษตรกร จ�ำนวน ๑๖๓ ราย ๑๐) เป็ดไข่ จ�ำนวน ๕๔,๔๖๔ ตัว เกษตรกร จ�ำนวน ๔๑๔ ราย ๑๑) นกกระทา จ�ำนวน ๔๕,๘๑๕ ตัว ๓.๒ การวิเคราะห์ศักยภาพด้านอุตสาหกรรมและพาณิชย์ อ�ำเภอท่าศาลา มีการประกอบอาชีพด้านอุตสาหกรรมและพาณิชย์คิดเป็นร้อยละ ๓ โดยมีราย ละเอียด ดังนี้ ๑) การท�ำเหมืองแร่ดังนี้๑. โรงแยกแร่จ�ำนวน ๓ แห่ง ๒. เหมืองแร่แบไรท์จ�ำนวน ๑ แห่ง ๓. เหมืองแร่เฟลด์สปาร์จ�ำนวน ๓ แห่ง ๒) โรงอิฐ จ�ำนวน ๑๔ แห่ง ๓) โรงผลิตเครื่องปั้นดินเผา (ขนาดเล็ก) จ�ำนวน ๒ แห่ง ๔) โรงเลื่อยแปรรูปไม้ยางพารา จ�ำนวน ๔ แห่ง ๕) โรงค้าไม้จ�ำนวน ๔ แห่ง ๖) โรงงานแปรรูปยางของสหกรณ์จ�ำนวน ๓ แห่ง ๗) โรงน�้ำแข็ง จ�ำนวน ๓ แห่ง ๘) อู่ต่อเรือ จ�ำนวน ๕ แห่ง ๙) โรงงานคอนกรีตผสมส�ำเร็จ จ�ำนวน ๓ แห่ง ๑๐) ปั๊มน�้ำมัน จ�ำนวน ๑๙ แห่ง ๑๑) ปั๊มแก๊ส LPG จ�ำนวน ๑ แห่ง ๑๒) บริษัท/ห้างหุ้นส่วน จ�ำนวน ๕๖ แห่ง ๑๓) โรงแรม จ�ำนวน ๑๒ แห่ง ๑๔) ห้างเทสโก้โลตัส (Tesco Lotus) จ�ำนวน ๑ แห่ง ๑๕) ร้านเซเว่น อีเลเว่น (๗-Eleven) จ�ำนวน ๓ แห่ง ๑๖) ร้านค้าปลีกทั่วไป จ�ำนวน ไม่น้อยกว่า ๕๐ ร้าน


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 17 ๓.๓ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อ�ำเภอท่าศาลา มีทรัพยากรธรรมชาติที่หลากหลาย ทั้งป่าไม้แร่ธาตุ และทรัพยากรชายฝั ่ง โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ๓.๓.๑ ป่าไม้อ�ำเภอท่าศาลามีป่าไม้ในเขตอุทยานแห่งชาติเขานัน ต�ำบลตลิ่งชัน พื้นที่ป่าไม้ ประมาณ ๒๐,๐๐๐ ไร่ พืชพรรณ ในอุทยานแห่งชาติเขานัน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าดงดิบชื้นที่อุดมสมบูรณ์ครอบคลุม มากกว่า ๙๐ เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ มีพันธุ์ไม้ที่มีค่าหลายชนิด เช่น ยาง หลุมพอ ตะเคียนทอง ไข่เขียว ตะเคียนทราย เสียดช่อ และจ�ำปาป่า เป็นต้น ๓.๓.๒ แร่ธาตุอ�ำเภอท่าศาลาเป็นอ�ำเภอที่มีแร่ธาตุหลายชนิด ได้แก่ แร่ดีบุก แบไรท์วุลแฟรม เฟลด์สปาร์ในต�ำบลตลิ่งชัน และทรายในคลองกลาย ต�ำบลตลิ่งชัน ต�ำบลสระแก้ว ต�ำบลกลาย ๓.๓.๓. ทรัพยากรชายฝั่ง อ�ำเภอท่าศาลามีชายหาดฝั่งทะเลยาวประมาณ ๒๐ กิโลเมตร และ พื้นที่ป่าชายเลนอันอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร ไม่น้อยกว่า ๔,๐๐๐ ไร่ และเป็นแหล่งขยายพันธุ์และ ที่อยู่อาศัยของสัตว์นานาชนิด เช่น กุ้ง หอย ปูโดยเฉพาะปลาบางชนิดเข้ามาเลี้ยงตัวในวัยอ่อนในแหล่งน�้ำชายฝั่ง อันสมบูรณ์จนเจริญเติบโตแล้วออกสู่ทะเลลึกเพื่อการแพร่พันธุ์วางไข่ในทะเลลึกแล้วเข้ามาเติบโตในชายฝั่งสืบพันธุ์ และเป็นห่วงโซ่อาหาร ณ ป่าชายเลนต่อไป เรื่องที่ ๔ การศึกษาในอำเภอท่าศาลา อ�ำเภอท่าศาลา มีการจัดการศึกษา ๓ รูปแบบ คือการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษา ตามอัธยาศัย คือ ๑. การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่ก�ำหนดจุดมุ่งหมายวิธีการศึกษาหลักสูตรระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของ การส�ำเร็จการศึกษาที่แน่นอน ๒. การศึกษานอกระบบเป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการก�ำหนดจุดมุ่งหมายรูปแบบ วิธีการจัดการ ศึกษาระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขส�ำคัญของการส�ำเร็จการศึกษา โดยเนื้อหา และหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม ๓. การศึกษาตามอัธยาศัยเป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง ตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อม และโอกาส โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์สังคม สภาพแวดล้อม สื่อหรือแหล่งความรู้อื่น ๆ โดยมีหน่วยงานการศึกษาและสถานศึกษาที่จัดการศึกษา ดังนี้ ๔.๑ การศึกษาปฐมวัย คือ ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ที่อยู่ในวัดและมัสยิด จ�ำนวน ๒๘ แห่ง ๔.๒ การศึกษาในระบบ ของอ�ำเภอท่าศาลา มีสถานศึกษาในสังกัด ดังนี้ ๔.๒.๑ โรงเรียนในสังกัดส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต ๔ จ�ำนวน ๔๓ แห่ง โรงเรียนขยายโอกาส จ�ำนวน ๑๓ แห่ง เช่น โรงเรียนท่าศาลา โรงเรียนปทุมมานุกูล โรงเรียน บ้านสองแพรกมิตรภาพที่๙๒ โรงเรียนบ้านท่าสูงโรงเรียนวัดชลธาราม โรงเรียนบ้านทุ่งเกราะโรงเรียนวัดหญ้าปล้อง โรงเรียนบ้านทุ่งชน โรงเรียนชุมชนใหม่ โรงเรียนวัดเทวดาราม โรงเรียนราชประชานุเคราะห์๘ เป็นต้น ๔.๒.๒ โรงเรียนในสังกัดส�ำนักงานการศึกษาเขตมัธยมที่ ๑๒ จ�ำนวน ๓ แห่ง ประกอบด้วย โรงเรียนท่าศาลาประสิทธิ์ศึกษา โรงเรียนโมคลานประชาสรรค์และโรงเรียนสระแก้วรัตนวิทย์ ๔.๒.๓ โรงเรียนในสังกัดเอกชน จ�ำนวน ๓ แห่ง ประกอบด้วย โรงเรียนอนุบาลอินทิรา โรงเรียนสตรีด�ำรงเวท โรงเรียนอนุบาลวัยวัฒน์


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 18 ๔.๒.๔ โรงเรียนสอนศาสนา จ�ำนวน ๓ แห่ง ประกอบด้วย โรงเรียนปัญญาสารธรรมมูลนิธิ มัสยิดนูรุดดีนยามาอาตุลอิสลาม และโรงเรียนประทีปศาสน์อิสมาอีลอนุสรณ์ ๔.๓ สถาบันระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เป็นสถาบันอุดมศึกษาในก�ำกับของรัฐบาล ที่จัดการเรียนการสอนครอบคลุม ทั้งด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์แพทย์ศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฯลฯ มีสภาพแวดล้อมให้เป็น เมืองมหาวิทยาลัย ที่มีระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการแบบครบวงจรค�ำว่า“วลัยลักษณ์”เป็นสร้อยพระนาม ในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์อัครราชกุมารีตั้งอยู่ในเขตต�ำบลไทยบุรีและต�ำบลหัวตะพาน อ�ำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช บนเนื้อที่กว่า ๙,๐๐๐ ไร่ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีพื้นที่ใหญ่มากที่สุด ของประเทศไทยและอาเซียน ๔.๔ การศึกษานอกระบบ อ�ำเภอท่าศาลา มีสถานศึกษาที่จัดการศึกษานอกระบบ จ�ำนวน ๑ แห่งคือศูนย์การศึกษานอกระบบ โรงเรียนอ�ำเภอท่าศาลาได้เปลี่ยนชื่อตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. ๒๕๕๑ เปลี่ยนชื่อเป็น ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอ�ำเภอท่าศาลา(กศน.อ�ำเภอท่าศาลา) มีผลบังคับ ใช้ตั้งแต่วันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๕๑ โดยมีและห้องสมุดประชาชนอ�ำเภอท่าศาลา จ�ำนวน ๑ แห่ง และมีกศน.ต�ำบล จ�ำนวน ๑๐ แห่งและปัจจุบันได้ประกาศราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้พ.ศ. ๒๕๖๖ ยกระดับ กศน. เป็นกรมส่งเสริมการเรียนรู้ประกาศเมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ และได้ยกเลิกพระราชบัญญัติส่งเสริม การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยยกระดับจากส�ำนักงาน กศน. เป็น “กรมส่งเสริม การเรียนรู้” มีหน้าที่จัดส่งเสริมและสนันสนุนการเรียนรู้๓ รูปแบบ คือ การเรียนรู้ตลอดชีวิต การเรียนรู้เพื่อพัฒนา ตนเอง และการเรียนรู้เพื่อคุณวุฒิตามระดับและการศึกษาในระดับอ�ำเภอ ใช้ชื่อเรียกว่า “ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ อ�ำเภอท่าศาลา” ๑. กศน.ต�ำบลกลายตั้งอยู่ที่ศาลาเอนกประสงค์หมู่ที่๑๑ บ้านในไร่ต�ำบลกลายอ�ำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ๒. กศน.ต�ำบลสระแก้ว ตั้งอยู่ที่ อาคารห้องสมุดโรงเรียนบ้านเราะ หมู่ที่ ๓ ต�ำบลสระแก้ว อ�ำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ๓. กศน.ต�ำบลท่าศาลาตั้งอยู่ที่บ้านในไร่อาคารศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรต�ำบลท่าศาลา หมู่ที่ ๑๒ ต�ำบลท่าศาลา อ�ำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ๔. กศน.ต�ำบลตลิ่งชัน ตั้งอยู่ที่บ้านปลักปลา อาคารในวัดปลักปลา หมู่ที่ ๒ ต�ำบลตลิ่งชัน อ�ำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ๕. กศน.ต�ำบลโมคลาน อาคารองค์การบริหารส่วนต�ำบลโมคลาน(หลังเก่า) ตั้งอยู่บ้านต้นเลียบ หมู่ที่ ๕ ต�ำบลโมคลาน อ�ำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ๖. กศน.ต�ำบลท่าขึ้น ตั้งอยู ่อาคารเอนกประสงค์ประจ�ำหมู ่บ้าน บ้านส�ำนักม ่วง หมู ่ที่ ๖ ต�ำบลท่าขึ้น อ�ำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ๗. กศน.ต�ำบลไทยบุรีตั้งอยู่ที่อาคาร กศน.ต�ำบลไทยบุรีบริเวณรั้วเดียวกับองค์การบริหาร ส่วนต�ำบลไทยบุรีบ้านต้นกระท้อน หมู่ที่ ๗ ต�ำบลไทยบุรีอ�ำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ๘. กศน.ต�ำบลโพธิ์ทองตั้งอยู่ที่ศูนย์ราชการโพธิ์ทอง บ้านสองแพรก หมู่ที่๑ ต�ำบลบ้านสองแพรก ต�ำบลโพธิ์ทอง อ�ำเภอท่าศาลาจังหวัดนครศรีธรรมราช


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 19 เรื่องที่ ๕ ประเพณี ความเชื่อ และพิธีกรรม ในอำเภอท่าศาลา ๙. กศน.ต�ำบลดอนตะโก ตั้งอยู่ที่อาคารเอนกประสงค์ประจ�ำหมู่บ้าน บ้านชุมแสง หมู่ที่ ๒ ต�ำบลดอนตะโก อ�ำเภอท่าศาลาจังหวัดนครศรีธรรมราช ๑๐. กศน.ต�ำบลหัวตะพาน ตั้งอยู ่ที่อาคารศูนย์ถ ่ายทอดเทคโนโลยีประจ�ำต�ำบลหัวตะพาน บ้านวัดประดู่ หมู่ที่ ๗ ต�ำบลหัวตะพาน อ�ำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช อ�ำเภอท่าศาลา ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ คิดเป็นร้อยละ ๖๘.๔๒ ศาสนาอิสลาม คิดเป็น ร้อยละ ๓๑.๔๕ ศาสนาคริสต์คิดเป็นร้อยละ ๐.๑๒ โดยมีศาสนสถาน ดังนี้วัดจ�ำนวน ๔๖ แห่ง มัสยิดจ�ำนวน ๓๒ แห่ง และโบสถ์คริสต์จ�ำนวน ๑ แห่ง งานประเพณีท้องถิ่นที่ส�ำคัญ ๕.๑ ประเพณีท�ำบุญลอยแพ “บ้านบ่อนนท์” หมู่ที่ ๑๐ ต�ำบลท่าศาลา อ�ำเภอท่าศาลา ประเพณีลอยแพสะเดาะเคราะห์เป็นประเพณีทางศาสนาพราหมณ์ ซึ่งท้องถิ่นนี้ได้สืบสาน ถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษมาเป็นเวลา ๑๐๐ ปีเศษ จากต�ำนาน เล่าต่อกันมาว่าเป็นการท�ำบุญอุทิศส่วนกุศล ให้กับผู้พระคุณ คือ เทพเจ้าแห่งปฐพีและเทพเจ้าแห่งวารีซึ่งพวกเราได้อยู่อาศัยท�ำมาหากินทั้งบนดินและในน�้ำ ประเพณีลอยแพเป็นประเพณีเก่าแก่ที่ชาวบ้านในท้องถิ่นได้จัดให้มีและสืบทอดกันมาเป็นเวลาช้านานหลายชั่วอายุคน เป็นประเพณีที่แสดงให้เห็นถึงความเชื่อถือในการสะเดาะเคราะห์ เพื่อน�ำเอาสิ่งชั่วร้ายออกไปจากตัวเองและท�ำบุญ อุทิศส่วนกุศลให้แก่สิ่งต่าง ๆ ในทะเลที่เราได้ล่วงล�้ำและท�ำลาย ในช่วงเวลาหลังวันเข้าพรรษาของทุกปีก่อนถึง วันลอยแพชาวบ้านในชุมชน จะช่วยกันตัดไม้ไผ่มาประกอบเป็นรูปเรือตกแต่งด้วยธงชายให้ดูสวยงามจากนั้นจะตัดเล็บ ตัดผมใส่ลงไปในแพ หรือเรือไม้ไผ่โดยเชื่อว่าเป็นการสะเดาะเคราะห์น�ำสิ่งชั่วร้ายต่างๆออกไปจากตัวก่อนจะน�ำแพ ไปลอยลงทะเลก่อน จะถึงวันลอยแพจะมีการจัดงานสมโภช ๑ คืน พอรุ่งเช้าจะมีการตักบาตรท�ำบุญทางศาสนา ฟังธรรม ถวายอาหารเพลแด่พระสงฆ์หลังจากเสร็จพิธีจึงจะรวมกันน�ำแพไปลอยออกสู่ท้องทะเล อีกต�ำนานหนึ่งเล ่าในอดีตได้ บังเกิดโรคระบาดมีผู้คนล้มตายจ�ำนวนมาก เหลือผู้คนไม่กี่คนคนที่มีชีวิตอยู่มีชื่อตามค�ำบอกเล่า ของปู่ย่าตายาย ๖ คน คือนายแหม นายด�ำนายเอียด นายนุด นายหมูและนายแก้ว เมื่อทั้ง ๖ มาพบกัน นายแหมก็เล่าว่าตนเองนอนไม่ค่อยหลับเมื่อหลับตา ก็จะได้ยินเสียงเหมือนลูกเมียมาร้องไห้อยู ่ตลอด ทั้งคืน แม้ว่าอยากจะส่งอาหารสิ่งของท�ำบุญไปให้ ก็ท�ำไม่ได้เพราะไม่มีวัดให้ไปท�ำบุญ ทั้งหมดจึงร่วมกันหาวิธีน�ำอาหารไปลอยน�้ำที่ทางน�้ำไหล โดยตัดต้นกล้วยเอาไม้มาเสียบให้ติดกัน เพื่อสร้างเป็นแพปูด้วยใบกล้วยและน�ำอาหาร และสิ่งของที่ต้องการท�ำบุญมาวางน�ำแพพร้อมอาหารและสิ่งของ ดังกล่าวไปลอยในแม่น�้ำ พร้อมตั้งจิตอธิษฐานอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เมื่อได้ปฏิบัติดังกล่าว พบว่า เสียงเหมือนลูกเมียมาร้องไห้ที่เคยได้ยินก็หายไป จึงมีความเชื่อต ่อ ๆ กันมาว ่าผู้ที่ตายไปแล้วได้รับส ่วนบุญ


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 20 จากการกระท�ำพิธีลอยแพ และเป็นการขับไล่สิ่งอัปมงคลออกไปจากหมูบ้านประชาชนในพื้นที่อ�ำเภอท่าศาลา จึงได้สืบทอดอนุรักษ์ประเพณีลอยแพมาตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๓๖๓ จนถึงปัจจุบัน ๕.๒ ประเพณีท�ำบุญสารทเดือนสิบแห่หมฺรับ ประเพณีบุญสารทเดือนสิบ มีการสืบทอดกันมายาวนานหลายร้อยปีซึ่งได้รับอิทธิพลด้านความเชื่อ ที่มาจากศาสนาพราหมณ์โดยมีการผสมผสานกับความเชื่อทางพระพุทธศาสนาที่เข้ามาในภายหลังโดยมีจุดมุ่งหมาย ส�ำคัญ เพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศลให้แก่ดวงวิญญาณ ของบรรพชนและญาติที่ล่วงลับ ซึ่งได้รับการปล่อยตัวมาจากนรก เนื่องจากผลกรรมที่ตนได้เคยท�ำไว้ตอนที่ยังมีชีวิตอยู่ โดยจะเริ่มปล่อยตัวจากนรกในทุกวันแรม ๑ ค�่ำเดือน ๑๐ เพื่อมายังโลกมนุษย์ ในการมาขอรับส ่วนบุญจากลูกหลานญาติพี่น้องที่ได้เตรียมการอุทิศไว้ให้เป็นการแสดง ความกตัญญูกตเวทีต่อผู้ล่วงลับหรือที่ เรียกกันว่า “วันรับตายาย” หรือเป็นวันบุญแรก หลังจากนั้น ก็จะกลับไปยัง นรกในวันแรม ๑๕ ค�่ำเดือน ๑๐ เรียกว่า “วันส่งตายาย” หรือเป็นวันบุญหลังหรือบุญใหญ่ ซึ่งวันนี้มีแห่กระจาด ที่มีการบรรจุขนมเดือนสิบ อาหารแห้ง ของใช้ผลไม้และอื่น ๆ พร้อมภัตตาหาร (ปิ่นโต) ไปวัด เมื่อถึงวันแรม ๑๔ ค�่ำเดือนสิบ ซึ่งเรียกกันว่า “วันหลองหมฺรับ” (หฺมฺรับ อ่านออกเสียง ม ควบ ร เป็นค�ำภาษาไทยถิ่นใต้)แต่ละครอบครัวหรือวงศ์ตระกูลจะร่วมกันน�ำข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ มาจัดเป็นหมฺรับส�ำหรับ การจัดหฺมฺรับนั้น ไม่มีรูปแบบที่แน่นอนจะจัดเป็นรูปแบบใดก็ได้แต่ล�ำดับการจัดของลงหฺมฺรับจะเหมือน ๆ กัน คือ เริ่มต้นจะน�ำกระบุงกระจาดถาดหรือกะละมัง มาเป็นภาชนะแล้วรองก้นด้วยข้าวสารตามด้วยหอม กระเทียม พริก เกลือ กะปิน�้ำตาล และเครื่องปรุงอาหารที่จ�ำเป็นอื่น ๆ ต่อไปก็ใส่ของจ�ำพวกอาหารแห้ง เช่น ปลาเค็ม เนื้อเค็ม และผักผลไม้ที่เก็บไว้ได้นาน เช่น ฟักเขียว ฟักทอง มะพร้าว ขมิ้น มัน ลางสาด เงาะ ลองกอง กล้วย อ้อย ข้าวโพด ข่า ตะไคร้ฯลฯ จากนั้นก็ใส่ของใช้ในชีวิตประจ�ำวัน เช่น ไต้น�้ำมันมะพร้าว น�้ำมันก๊าด ไม้ขีด หม้อ กระทะ ถ้วยชาม เข็ม-ด้ายและเครื่องเชี่ยนหมาก สุดท้ายใส่สิ่งที่ส�ำคัญที่สุดของหฺมฺรับ คือ ขนม ๕ อย่าง (บางท่านบอกว่า ๖ อย่าง) ซึ่งขนมแต่ละอย่างล้วนมีความหมายในตัวเอง ได้แก่ ขนมพอง เป็นสัญลักษณ์แทนแพ ส�ำหรับผู้ล่วงลับใช้ล่อง ข้ามห้วงมหรรณพ ขนมลาแทนเครื่องนุ่งห่มแพรพรรณ ขนมกงหรือขนมไข่ปลา แทนเครื่องประดับ ขนมดีซ�ำ แทนเงินเบี้ยส�ำหรับใช้สอยขนมบ้าแทนสะบ้าใช้เล่นในกรณีที่มีขนม ๖ อย่างจะเพิ่มขนมลาลอยมัน ซึ่งใช้แทนฟูกหมอน เข้าไปด้วย การยกหฺมฺรับ ในวันแรม ๑๕ ค�่ำเดือนสิบ ซึ่งเป็น วันยกหมฺรับต่างก็จะน�ำหมฺรับพร้อมภัตตาหารไปวัด โดยแต่ละคนจะแต่งตัวอย่างสะอาดและสวยงามเพราะ ถือเป็นการท�ำบุญครั้งส�ำคัญ วัดที่ไปมักจะเป็นวัดใกล้บ้าน หรือวัดที่ตนศรัทธาการยกหมฺรับไปวัดอาจต ่าง ครอบครัวต ่างไปหรืออาจจัดเป็นขบวนแห ่ ทั้งนี้ เพื่อต้องการ ความสนุกสนานรื่นเริงด้วย วัดบางแห่งอาจจะจัดให้มีการประกวดหฺมฺรับ ในส่วนของจังหวัดนครศรีธรรมราชนั้น จะจัดให้มีขบวนแห่หมฺรับอย่างยิ่งใหญ่ตระการตาในงานเดือนสิบของทุก ๆ ปีโดยมีองค์กรทั้งภาครัฐและองค์กร เอกชนต่างส่งหฺมฺรับของตนเข้าร่วมขบวนแห่และร่วมการประกวดซึ่งในช่วงเทศกาลนี้สามารถจูงใจนักท่องเที่ยว ให้มาท่องเที่ยวจังหวัดนครศรีธรรมราชมากยิ่งขึ้น เมื่อขบวนแห่หฺมฺรับมาถึงวัดแล้วก็จะร่วมกันถวายภัตตาหารแก่ภิกษุสงฆ์ เสร็จแล้วจะร่วมกัน “ตั้งเปรต”เพื่อแผ่ส่วนบุญส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วในอดีตมักตั้งเปรตบริเวณโคนต้นไม้หรือบริเวณก�ำแพงวัด แต่ปัจจุบัน นิยมตั้งบน”หลาเปรต” หรือร้านเปรต โดยอาหารที่จะตั้งนั้นจะเป็นขนม ๕ อย่างหรือ ๖ อย่างดังกล่าว ข้างต้น รวมถึงอาหารอื่น ๆ ที่บรรพชนชื่นชอบเมื่อตั้งเปรตเสร็จพระสงฆ์จะสวดบังสุกุลโดยจับสายสิญจน์ที่ผูกไว้ กับหลาเปรต เมื่อพิธีสงฆ์เสร็จสิ้นผู้คนจะร่วมกัน “ชิงเปรต” โดยการแย่งชิงอาหารบนหลาเปรต ทั้งนี้ นอกจาก เพื่อความสนุกสนานแล้วยังมีความเชื่อว่า หากใครได้กินอาหารบนหลาเปรตจะได้รับกุศลแรงเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง และครอบครัว


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 21 ชิงเปรต เป็นกิจกรรมหนึ่งในประเพณีของภาคใต้ที่ท�ำกันในวันสารทเดือนสิบเป็นประเพณีที่ ด�ำรงอยู่บนความเชื่อของการนับถือผีบรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้ว หากยังมีบาปอยู่จะกลายเป็นเปรตในภูมินรกปีหนึ่ง จะถูกปล่อยให้มาเมืองมนุษย์๑๕ วัน โดยมาในวันแรม ๑ ค�่ำเดือน ๑๐ ซึ่งถือว่าเป็นวัน “รับเปรต” หรือวันสารทเล็ก ลูกหลานต้องเตรียมขนมมาเลี้ยงดูให้อิ่มหมีพีมัน และฝากกลับเมืองเปรตในวันแรม ๑๕ ค�่ำเดือน ๑๐ นั้นคือวันส่งเปรต กลับคืนเมืองเรียกกันว่า“วันสารทใหญ่”ผู้เฒ่าผู้แก่หลายคนยืนยันว่าการชิงเปรตไม่เป็นความอัปมงคลแก่ผู้ชิงเปรต แต่อย่างใด ในทางตรงกันข้ามกลับถือว่าเป็นการได้บุญเพราะเชื่อกันว่าหากลูกหลานของเปรตใดชิงได้เปรตตนนั้น ย่อมได้รับส่วนบุญส่วนกุศลนั้น ๕.๓ ประเพณีชักพระวัฒนธรรมวิถีชีวิตคนท่าศาลา “อี้สาระพา เฮโล เฮโล ไอ้ไหรกลมกลม หัวนมสาวสาว ไอ้ไหรยาวยาว สาวสาวชอบใจ” ในเสียงบทกลอนสุดแสนทะลึ่งดังมาจากผู้ถือเชือกเส้น ฝ่ายชายขับร้องหยอกล้อหญิงสาว ขณะออกแรงดึงนมพระ สร้างความสนุกสนาน และตลกขบขันเรียกรอยยิ้ม และเสียงหัวเราะจากทุกคนจนลืมความเหนื่อยไปสิ้น ประเพณี ชักพระหรือลากพระนั้น เป็นประเพณีท้องถิ่นของชาวใต้ที่ได้มีการสืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยศรีวิชัยเป็นประเพณีท�ำบุญ ในวันออกพรรษา ปฏิบัติตามความเชื่อว่าเมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปจ�ำพรรษา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อโปรด พระมารดาเมื่อครบพรรษาจึงเสด็จกลับมายังโลกมนุษย์พุทธศาสนิกชนไปรับเสด็จแล้วอัญเชิญพระพุทธเจ้าประทับ บนบุษบกแล้วแห่แหน ประเพณีลากพระวันแรม ๑ ค�่ำ เดือน ๑๑ เป็นการแสดงออกถึงความพร้อมเพรียงสามัคคีพร้อมใจ กันในการท�ำบุญท�ำทาน ชาวบ้านเชื่อว ่าอานิสงส์ในการลากพระจะท�ำให้ฝนตกต้องตามฤดูกาลเกิดคติเชื่อว ่า “เมื่อพระหลบ (กลับ) หลังฝนจะตกหนัก” นมพระจึงสร้างสัญลักษณ์พญานาค เพราะเชื่อว ่าเป็นการให้น�้ำ การลากพระจึงสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของคนในสังคมเกษตร เป็นประเพณีที่ปฏิบัติตามความเชื่อว่าใครได้ ลากพระทุกปีจะได้บุญมากส่งผลให้พบความส�ำเร็จในชีวิตดังนั้น เมื่อนมพระลากผ่านหน้าบ้านของใครคนที่อยู่ในบ้าน จะออกมาช่วยลากพระ และคนบ้านอื่นจะมารับทอดลากพระต ่ออย ่างไม ่ขาดสาย ท�ำให้เกิดแรงบันดาลใจ แต่งบทร้อยกรองส�ำหรับขับร้องในขณะที่ช่วยกันลากพระ ซึ่งมักจะเป็นบทกลอนสั้น ๆ ตลกขบขัน และโต้ตอบกัน ได้ฝึกทั้งปัญญาและการปฏิภาณไหวพริบ นมพระ หมายถึง พาหนะที่ใช้บรรทุกพระลากนิยมท�ำ ๒ แบบ คือลากพระทางบกเรียกว่า นมพระ ลากพระทางน�้ำ เรียกว่า “เรือพระ” นมพระสร้างเป็นร้านม้า มีไม้สองท่อนรองรับข้างล่างท�ำเป็นรูปพญานาค มีล้อ ๔ ล้ออยู่ใต้ตัวพญานาคร้านม้าใช้ไม้ไผ่สานท�ำฝาผนังตกแต่งลวดลายระบายสีสวยรอบ ๆ ประดับด้วยผ้าแพรสี ธงริ้ว ธงสามชาย ธงราว ธงยืนห้อยรยางค์ ประดับต้นกล้วย ต้นอ้อย ทางมะพร้าว ดอกไม้สดท�ำอุบะห้อยระย้า มีต้มห่อด้วยใบพ้อแขวนหน้านมพระตัวพญานาคประดับกระจกแวววาวสีสวยข้างๆ นมพระแขวนโพน กลอง ระฆัง ฆ้อง ด้านหลัง นมพระวางเก้าอี้เป็นที่นั่งของพระสงฆ์ยอดนมอยู่บนสุดของนมพระ ได้รับการแต่งอย่างบรรจงดูแล เป็นพิเศษ เพราะความสง่าได้สัดส่วนของนมพระขึ้นอยู่กับยอดนม การอัญเชิญพระลากขึ้นประดิษฐานบนนมพระ พระลาก คือ พระพุทธรูปยืน แต ่ที่นิยมคือ พระพุทธรูปปางอุ้มบาตร เมื่อถึงวันขึ้น ๑๕ ค�่ำเดือน ๑๑ พุทธบริษัทจะสรงน�้ำพระลากเปลี่ยนจีวรแล้วอัญเชิญ ขึ้นประดิษฐานบนนมพระแล้วพระสงฆ์จะเทศนาเรื่องการเสด็จไปดาวดึงส์ของพระพุทธเจ้าตอนเช้ามืดในวันแรม ๑ ค�่ำ เดือน ๑๑ ชาวบ้านจะมาตักบาตรหน้านมพระเรียกว่าตักบาตรหน้าล้อเสร็จแล้วจึงอัญเชิญพระลากขึ้นประดิษฐาน บนนมพระในตอนนี้บางวัดจะท�ำพิธีทางไสยศาสตร์ เพื่อให้การลากพระราบรื่น ปลอดภัย การลากพระ จะใช้เชือก


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 22 แบ่งผูกเป็น ๒ สาย เป็นสายผู้หญิงและสายผู้ชาย โดยใช้โพน (ปืด) ฆ้อง ระฆัง เป็น เครื่องตีให้จังหวะเร้าใจ ในการลากพระ คนลากจะเบียดเสียดกันสนุกสนานและประสานเสียงร้องบทลากพระ เพื่อผ่อนแรง ๕.๔ ประเพณีให้ทานไฟ การให้ทานไฟเป็นประเพณีต้นแบบเฉพาะของ พุทธศาสนิกชนชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ได้ปฏิบัติสืบต ่อกันมาเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน แต ่ประเพณีการให้ทานไฟนี้อาจจะไม ่คุ้นหู หรือเป็นที่รู้จัก ของผู้ที่ไม่สันทัดกับประเพณีทางถิ่นใต้อาจจะคิดว่า เป็นการให้“ไฟ” เป็นทาน หรือถวายไฟร้อน ๆ แก่พระภิกษุสงฆ์เคยมีผู้เข้าใจว่า “ถวายถ่านไฟ” เพราะภาษาถิ่นใต้ออกส�ำเนียง“ทาน”เป็น “ถ่าน” จึงเข้าใจไปอย่างนั้น การให้ทานไฟนี้เป็นการถวาย อาหารร้อน ๆแก่พระภิกษุสามเณรในฤดูหนาวหรือ ในช่วงอากาศเย็นของชาวนครศรีธรรมราช ประเพณี นี้เป็นภูมิปัญญาของชาวบ้านที่มีความเชื่อใน พระพุทธศาสนา ต้องการท�ำบุญกับพระภิกษุ สามเณร โดยการถวายอาหารบิณฑบาตภายในวัดเพราะเมื่ออากาศหนาวเย็นพระภิกษุสามเณรไม่สะดวกที่จะออก ไปบิณฑบาตนอกวัดจึงก่อกองไฟให้เกิดความอบอุ่น และให้พระสงฆ์ได้ฉันอาหารร้อน ๆ ไปพร้อมกันด้วย เพื่อให้ พระภิกษุสงฆ์เกิดความอบอุ่นในตอนเช้ามืดของคืนที่มีอากาศหนาวเย็น โดยใช้ลานวัดเป็นที่ก่อไฟแล้วท�ำขนม ถวายพระ ซึ่งเป็นการท�ำบุญอย่างหนึ่งที่มีมาแต่สมัยพุทธกาลและนิยมท�ำกันจนกลายเป็นประเพณีท้องถิ่นของ จังหวัดนครศรีธรรมราช ประวัติความเป็นมาของประเพณีการให้ทานไฟนี้ มีเรื่องราวความเป็นมา ตั้งแต่สมัยพุทธกาลว่า ณ เมืองสาวัตถีนครหลวงแห่งแคว้นโกศล ที่ปกครองโดยพระเจ้าปเสนทิโกศล ซึ่งเป็นกษัตริย์ที่เป็นพุทธมามกะ และเป็นศาสนูปถัมภกอีกทั้งเป็นเมืองที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับจ�ำพรรษามากที่สุดคือรวมทั้งหมด ๒๕ พรรษา ครั้งหนึ่ง พระเจ้าปเสนทิโกศลประทับอยู่บน ปราสาทชั้นบนทอดพระเนตรไปทางถนนในพระนคร เห็นพระภิกษุ จ�ำนวนนับร้อยนับพันไปยังบ้านของท่านอนาถปัณฑิกเศรษฐีบ้าง บ้านของนางวิสาขาบ้าง และบ้าน ของคนอื่น ๆ บ้างเพื่อรับบิณฑบาตบ้าง เพื่อฉันภัตตาหารบ้างพอเห็น ดังนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงโปรดฯ ให้จัดภัตตาหารอันประณีต เพื่อพระภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป แต่ปรากฏว่าไม่มีพระมารับสักรูปคงมีแต่พระอานนท์ เพียงรูปเดียวเท่านั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงกริ้วภิกษุทั้งหลาย จึงเสด็จไปเฝ้าพระพุทธเจ้าและกราบทูลว่าได้ ให้ห้องเครื่องจัดภัตตาหาร ตั้งไว้ถวายพระประมาณ ๕๐๐ รูป ไม่ปรากฏมีพระมารับกันเลย ของที่จัดไว้เหลือเดน อยู่อย่างนั้น เหตุใดพระภิกษุไม่เห็นความส�ำคัญในพระราชวังเลย นี่เรื่องอะไรกันพระพุทธเจ้าได้ทรงฟังพระด�ำรัส ดังนั้น ก็เข้าพระทัยตลอดไม่ตรัสต�ำหนิโทษพระภิกษุทั้งหลาย และถวายพระพรว่า “สาวกของอาตมภาพไม่มี ความคุ้นเคยกับมหาบพิตร เพราะเหตุที่ไม่มีความคุ้นเคยนั่นเองจึงไม่พากันไป” เมื่อเรื่องนี้ผ่านไปแล้ว พระเจ้า ปเสนทิโกศลทรงครุ่นคิดอยู่ว่าพระพุทธองค์ตรัส แต่ว่าสาวกของพระองค์ไม่มีความคุ้นเคย ในราชส�ำนัก ทรงด�ำริ ต่อไปว่าถ้าภิกษุสามเณรมีความคุ้นเคยในราชส�ำนักแล้วก็คงจะพากันเข้ามาวันละมาก ๆ ดูเหมือนพากันไปในบ้าน ของนางวิสาขา และบ้านของอนาถปัณฑิกเศรษฐีทรงคิดอยู่ว่า “ท�ำอย่างไรพระเณรจะมีความคุ้นเคยกับเราได้” พระองค์ทรงพิจารณาถึงสภาพในฤดูหนาวในเมืองสาวัตถีพระภิกษุสามเณรคงหนาวเย็นกว่าฆราวาสผู้อยู่ครองเรือน


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 23 ทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งยามออกบิณฑบาตในตอนเช้าตรู่ความหนาวเย็นคงเป็นอุปสรรคมาก เพราะพระภิกษุสงฆ์ เป็นผู้ครองผ้ากาสาวพัสตร์เพียง ๓ ผืน นอกจากนี้ยังท�ำให้พระภิกษุที่ท�ำหน้าที่เผยแผ่พระพุทธศาสนาอยู่ตามวัด และสถานที่ต่าง ๆ บางรูปร่างกายอ่อนแอถึงกับอาพาธได้พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงเกิดความเวทนา และก่อไฟถวาย พระให้ได้ผิงในยามใกล้รุ่ง ต่อมาชาวเมืองเห็นว่า การให้ทานไฟในตอนใกล้รุ่งอีกไม่นานฟ้าก็จะสว่าง จึงได้เสาะหาหัวเผือก หัวมันมาเผา และน�ำแป้งมาปรุงเป็นภัตตาหารถวาย พระภิกษุ สามเณร เป็นการท�ำบุญจะได้อานิสงส์มากขึ้น เมื่อพระพุทธศาสนาเผยแผ่มาทางภาคใต้ของไทย โดยเฉพาะที่จังหวัดนครศรีธรรมราชประเพณีให้ทานไฟพลอย ตกทอดมาถึงพุทธศาสนิกชนชาวนครศรีธรรมราชด้วย ประเพณีการให้ทานไฟนิยมประกอบพิธีกันในเดือนอ้าย หรือเดือนยี่ของทุกๆ ปี(ประมาณปลายเดือนธันวาคมถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์) ซึ่งเป็นช่วงหรือฤดูที่อากาศหนาวเย็น ในภาคใต้ปัจจุบันนิยมท�ำกันในวันเสาร์ที่๒ ของเดือนมกราคม เพราะตรงกับวันเด็กแห่งชาติทางสถานศึกษาได้น�ำเด็ก ครูและผู้ปกครองมาประกอบพิธีให้ทานไฟในบริเวณวัดที่ใกล้โรงเรียนนับเป็นกิจกรรมเสริมหลักสูตรของเด็กที่เกี่ยวกับ พระพุทธศาสนาด้วย ในตอนรุ ่งหรือเช้าตรู ่ในวันนัดหมายที่จะให้ทานไฟชาวบ้านพุทธศาสนิกชนในละแวกนั้น จะพร้อมใจมากันที่วัด โดยจัดแจงเตรียมอุปกรณ์ เช่น ถ่าน ไม้ฟืน เตาไฟ พร้อมด้วยเครื่องปรุงอาหาร หรือเครื่องท�ำขนมไปด้วยเมื่อถึงบริเวณวัดก็ช่วยกัน ก่อกองไฟและปรุง อาหารท�ำขนมกันทันทีกองไฟ จะก ่อกี่กองก็ได้ขึ้นอยู ่กับจ�ำนวนของพระภิกษุ สามเณรภายในวัด เมื่อก่อกองไฟเสร็จแล้วก็นิมนต์ พระมาผิงไฟ เพื่อให้ร่างกายอบอุ่น อาหารและขนม ที่ปรุงสุกแล้วยังร้อน ๆอยู่ก็ถวายประเคนพระภิกษุ สามเณรให้ฉันได้ทันทีไม่ต้องเจริญพระพุทธมนต์ หรือกล่าวค�ำถวายสังฆทานเหมือนกับพิธีท�ำบุญในโอกาสอื่นขณะที่ท�ำขนมกันไปพระสงฆ์ก็ฉันไปพร้อม ๆ กันขณะ เดียวกันชาวบ้านจะจัดเตรียมถุงหรือภาชนะเพื่อให้พระภิกษุสามเณรบรรจุอาหารน�ำไปฉันในตอนเพลเพราะตอนเช้า ไม่ได้ออกรับบิณฑบาตตามปกติเหมือนทุกวัน เมื่อฉันเสร็จแล้วอาจจะอาราธนาให้ประธานสงฆ์กล่าวสัมโมทนียกถา ก็ได้เสร็จแล้ว ประธานสงฆ์จะให้พร อุบาสกอุบาสิกากรวดน�้ำรับพร อาหารที่จะถวายพระภิกษุ สามเณรส่วนใหญ่ จะเป็นอาหารที่ปรุงง่ายเป็นอาหารพื้นบ้านที่ยังร้อนอยู่ เช่น ข้าวต้ม ข้าวผัด ข้าวหมกไก่ ข้าวย�ำ ข้าวเหนียวปิ้ง ข้าวเหนียวหลาม หมี่ผัด หรือเป็นอาหารอื่น ๆ ก็ได้ที่สมควรแก่สมณะบริโภค ส่วนขนมก็จะเป็นขนมทางถิ่นใต้ ขนมพื้นบ้านอะไรก็ได้แต่ส่วนใหญ่จะนิยมขนมที่สามารถปรุงเสร็จในเวลาอันรวดเร็วขนมส่วนมากจะปรุงโดยใช้ไฟแรง เช่น ขนมเบื้อง ขนมครก ขนมโค ขนมพิมพ์ขนมจาก ขนมจู้จุน อย่างไรก็ตามปัจจุบันขนม และอาหารในประเพณีให้ทานไฟเพิ่มขึ้นจ�ำนวนมากมายตามความสะดวก และศรัทธาของชาวบ้าน มีทั้งอาหารพื้นเมืองอาหารประจ�ำภาคต่างๆในประเทศไทยและอาหารฝรั่งพร้อมทั้งผลไม้ และเครื่องดื่มเป็นจ�ำนวนมาก


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 24 ๕.๕ พิธีนั่งเจ้าเข้าทรง บวงสรวงทวดกลาย การเชิญเจ้าเข้าทรง การเชิญเจ้าเข้าทรงถือเป็นเรื่องส�ำคัญที่สุดที่บุคคลต้องปฏิบัติให้ถูกต้องต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่นับถือบูชา เป็นการบวงสรวงเพื่ออ้อนวอนขอพรต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์นั้น เพื่อให้เกิดสิริมงคลแก่ผู้ปฏิบัติและบุคคลทั่วไป การเชิญเจ้า เข้าทรงก็หมายถึง การเรียกดวงวิญญาณให้มาปรากฏนั่นเอง การเชิญเจ้าเข้าทรงของทวดกลายที่กระท�ำอยู่มี๒ แบบ คือ การเชิญเจ้าเข้าทรงแบบธรรมดาเป็นแบบง ่าย ๆ ต้องมี “คนทรง” หรือบางทีเรียกว่า “ม้าทรง” และคนกล่าวคาถา เพื่อเรียกดวงวิญญาณทวดกลายให้มาสิงสู่คนทรงอีกคนหนึ่ง คนทรงจะต้องนั่งสมาธิคลุมด้วยผ้าขาว ประนมมือท�ำจิตใจ ให้สงบที่สุดซึ่งหาได้ไม่ง่ายนักแล้ววิญญาณจะเข้าสู่คนทรง แล้วบอกเรื่องราวต่าง ๆ ให้ฟังอีกแบบหนึ่งเป็นพิธีท�ำกันใหญ่ โตต้องใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ มากมีการตระเตรียมงานไว้ล่วงหน้า ซึ่งจัดท�ำกันทุกปีปีละครั้ง ท�ำกันที่ศาลเจ้าเลยทีเดียว และ มีล�ำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ การปลูกโรงพิธี ก่อนถึงก�ำหนดที่จะมีการท�ำพิธีเชิญเจ้าเข้าทรงประมาณ ๔-๕ วัน ทางคณะกรรมการจัดงานจะช่วย กันปลูกโรงพิธีชั่วคราวขึ้นหลังหนึ่งใกล้ๆ ศาลเจ้าที่ตลาดสระแก้ว โรงพิธีกว้างยาวพอสมควร ภายในยกพื้นขึ้นสูง ประมาณครึ่งเมตรแบ่งเป็นที่ตั้งเครื่องบวงสรวงต่างๆไว้ตอนหนึ่งอีกตอนหนึ่งเป็นที่นั่งของคณะมโนราห์ซึ่งใช้บรรเลง เป็นเครื่องประโคมเวลาเรียกดวงวิญญาณของทวดกลายและบริวารคนอื่น ๆ ให้มาเข้าทรงเมื่อปลูกโรงเสร็จแล้ว ก็จะน�ำสายสิญจน์มาขึงไว้รอบโรงพิธีทั้งสี่ด้าน และจะมีการตกแต่งโรงพิธีอย่างสวยงาม ประดับด้วยธงทิวไปทุกทิศ เป็นบริเวณกว้าง อุปกรณ์ที่จะใช้ประกอบเวลาท�ำพิธีมีมากมายหลายอย่าง ได้แก่ ๑. บายสีประดิษฐ์ด้วยใบตอง ต้องท�ำ ๗ ยอด แต่ละยอดต้องเสียบด้วยดอกไม้ขาว ๒. ธูปและเทียน เฉพาะเทียนต้องใช้๙ เล่ม เพราะหมายถึง ทวดกลายและบริวารของท่านด้วย ๓. ดาบ เป็นดาบคู่จะน�ำมาตั้งไว้หน้าโต๊ะบูชา ๔. ส�ำรับ จะประกอบด้วยอาหารทั้งหมด ๑๒ อย่าง จะขาดอย่างหนึ่งอย่างใดไม่ได้ซึ่งเป็นแบบ ฉบับที่จัดกันมานานแล้ว ได้แก่ข้าว แกงส้ม ขนมโค ขนมแดง ขนมขาว ข้าวเหนียว กล้วย อ้อย ปลามีหัวมีหางที่สุก แล้ว แกงจืด ย�ำ ข้าวตอก ๕. เบาะ ปูด้วยผ้าขาวใช้ส�ำหรับเป็นที่นั่งของคนทรง เมื่อดวงวิญญาณของทวดกลายเข้าทรงแล้ว ทั้งหมดนี้จะจัดเอาไว้ในโรงพิธีที่จัดไว้ส่วนหนึ่ง มองดูแล้วเหมือนจะมีมนต์ขลังอะไรสักอย่างหนึ่ง


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 25 พิธีเชิญเจ้าเข้าทรง เมื่อถึงวันก�ำหนดพิธีมาถึงคณะกรรมการจะต้องเตรียมอุปกรณ์ต่างๆดังที่กล่าวแล้วไว้ให้เรียบร้อย ตั้งแต่ตอนเช้าสายขึ้นมาก็จะมีผู้คนเริ่มหลั่งไหลไปร่วมในพิธีนี้มากขึ้น ซึ่งแต่ละครั้งจะมีผู้คนไปร่วมนับเป็นพัน ๆคน ถือว่าเป็นงานบุญกุศลงานหนึ่งของท้องถิ่นนี้เมื่อเตรียมอะไรทุกอย่างเรียบร้อยแล้วพิธีการจะเริ่มขึ้น โดยคณะมโนราห์ ก็จะกล่าวค�ำเชิญวิญญาณทวดกลายไปเรื่อย ๆ เช่นเดียวกันซึ่งค�ำเชิญหรือเรียกทวดกลาย ดังนี้ ฤกษ์งามยามดี ปานนี้ชอบยามพระเวลา ชอบฤกษ์เบิกโรง บวงสรวงราชครูถ้วนหน้า จ�ำเพาะเจาะจง ท่านกลายตัวยงตัวกล้า ท่านกลายของข้า ท�ำไมเรียกนานขานยาก เชิญพ่อท่านมานั่ง ไม่ให้ร้อยชั่งล�ำบาก เข้าปลาของหายาก หมากพลูมาสู่ให้พ่อกิน ฯลฯ หัวหน้าคณะมโนราห์ก็จะเรียกทวดกลายไปเรื่อย ๆ พร้อมกับจังหวะของดนตรีที่ตีประโคม ฟังดูขนพองสยองเกล้าท�ำอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งมีใครสักคนหนึ่งวิ่งตะโกนมาแต่ไหนไม่ทราบ ส่งเสียงดัง ครวญครางโวยวายเนื้อตัวสั่น วิ่งเข้าไปในโรงพิธีขึ้นไปจับดาบที่ตั้งเตรียมไว้แล้วกระโจนขึ้นไปนั่งขัดสมาธิบนเบาะ ที่ตั้งเตรียมไว้สองมือชูดาบออกกวัดแกว่งปากก็ค�ำรามไปเรื่อยๆเนื้อตัวสั่นระรัวไปหมดนี้แสดงว่าทวดกลายเข้าทรง ใครสักคนหนึ่งคนใดเข้าแล้วตอนนี้เครื่องประโคมพร้อมทั้งคนเชิญหยุดคนจะเฮโลเข้าล้อมโรงพิธีเบียดเสียดยัดเยียด เข้าไปดูกันแน่นไปหมดต่อจากนั้น ก็จะมีคนเข้าไปกราบกรานแล้วถามไถ่ทุกข์สุกต่างๆ หรือไม่ทวดกลายพูดออกมา ให้ฟังเองว่าให้คนทั่ว ๆ ไปท�ำอย่างหรือปฏิบัติอย่างไร ใครท�ำผิดก็จะรู้กันตอนนี้เมื่อได้เวลาพอสมควรแล้วคนทรง ก็จะเปล่งเสียงออกมาดังๆว่า“กูกลับแล้ว”จากนั้นคนทรงก็ล้มกลิ้งลงนอนเหมือนคนหมดสติอยู่พักใหญ่ต่อจากนั้น ทุกคนก็จะน�ำสิ่งของต่าง ๆ เช่น อาหาร เงินทองเล็ก ๆ น้อย ๆ พร้อมกับตัดเล็บ เส้นผมไปใส่ในแพรที่เตรียมไว้ แล้วน�ำไปลอยในคลองกลาย เป็นการสะเดาะเคราะห์และอุทิศส่วนกุศลให้แก่ทวดกลายด้วย ข้อสรุปและข้อเสนอแนะ ตามที่ได้กล่าวมา ทวดกลายได้เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ขึ้นนี้ก็เพราะทวดกลายเป็นบุคคลส�ำคัญมาก่อน เป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงในการรบเป็นถึงทหารเอกของเมืองนครศรีธรรมราช ทั้งนี้ก็เพราะบรรพบุรุษของท ่าน เคยเป็นนักรบมาก่อน ท่านจึงเป็นเชื้อสายของเลือดนักสู้อย่างแท้จริง เป็นเชื้อผู้ดีมีตระกูล ประกอบทั้งเป็นผู้มีวิชา ความรู้ในทางไสยศาสตร์มีเวทมนต์คาถาอยู่ยงคงกระพันหาตัวจับยาก สามารถน�ำสมัครพรรคพวกหนีเอาตัวรอดได้ ทุกครั้ง มีความรักความเมตตาต่อสมัครพรรคพวกยิ่งนัก ซึ่งเป็นที่ยกย่องนับถือของบุคคลทั่วไปในสมัยเมื่อท่านยังมี ชีวิตอยู่ไม่เป็นบุคคลที่เห็นแก่ตัว ท�ำความดีเพื่อส่วนรวม จากความดีเด่นต่างๆเหล่านี้เป็นผลบุญที่ตามสนองให้ท่าน เกิดศักดิ์สิทธิ์ขึ้นในภายหลังยังความเคารพนับถือแก่คนทั่วไปมานานแล้วและจะคงยังมีต่อไปอย่างไม่มีวันเสื่อมสลาย ชาวต�ำบลกรุงชิง นบพิต�ำ สระแก้วต�ำบลกลายและต�ำบลใกล้เคียงรู้สึกภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ทวดกลายเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ของเขาและเป็นบรรพบุรุษของท้องถิ่นที่ให้ความคุ้มครองตลอดมา ทวดกลายจึงเป็นเทพประจ�ำท้องถิ่นโดยเฉพาะ


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 26 เมื่อท่านได้ทราบเรื่องราวมาโดยตลอดแล้วเพื่อเป็นสิริมงคลจึงขอให้ท่านผู้อ่านทุกท่านปฏิบัติตาม กติกาที่ทวดกลายได้วางเอาไว้เช่น ไม่ท�ำให้น�้ำในคลองกลายสกปรกโดยประการทั้งปวงให้บุคคลอยู่ในศีลธรรมกระท�ำ แต ่ความดีให้ปฏิบัติตามเมื่อดวงวิญญาณของท ่านมากระซิบบอกแล้วอ�ำนาจบุญบารมีของทวดกลายจะให้ ความคุ้มครองท่านเสมอ ๕.๖ ประเพณีรดน�้ำด�ำหัวผู้สูงอายุในวันสงกรานต์ กตัญญุตา น�ำพาซึ่งสิริมงคลชีวิต ท�ำบุญเดือนห้า หรือขึ้นปีใหม่ไทยประเพณีของคนไทยที่มีมา ยาวนาน พิธีดังกล่าวจะมีการรดน�้ำพระพุทธรูป พระสงฆ์และผู้หลักผู้ใหญ่ เรียกว่า“สรงน�้ำ” หรืออีกอย่างหนึ่งเรียกว่า ตรุษสงกรานต์โดยตรุษสงกรานต์ คือ วันที่ พระอาทิตย์เคลื่อนย้ายจากฤดูหนาว เข้าสู่ฤดูร้อน ในระยะนี้เรียกว่าตรุษสงกรานต์ เพราะมีก�ำหนด ท�ำในเดือนห้าจึงได้ชื่อเรียกอีกอย ่างหนึ่งว ่า “บุญเดือนห้า” โดยถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทย ในสมัยโบราณหรือเรียกอย ่างเป็นทางการว ่า “วันสงกรานต์” วันสงกรานต์นอกจากจะเป็นวันขึ้นปีใหม่ไทยแล้ว สิ่งที่ส�ำคัญประการหนึ่ง คือ กิจกรรมที่เกิดขึ้น ในวันนี้จะมีการจัดท�ำบุญปีใหม่ สรงน�้ำพระและรดน�้ำด�ำหัวผู้ใหญ่ เพื่อขอพรให้เป็นสิริมงคลกับชีวิตของลูกหลาน ในการเริ่มต้นปีถัดไปอย่างราบรื่นและมีความสุข ดังนั้น วันดังกล่าวจึงเปรียบเสมือนเป็นวันครอบครัวได้รวมญาติ พี่น้องและลูกหลานที่ท�ำงานไกลบ้านได้กลับมาฉลองปีใหม่ร่วมกันอย่างพร้อมหน้าพร้อมตากันอีกวันหนึ่ง ลูกหลาน ได้แสดงออกถึงความรักความกตัญญูต่อ พ่อ แม่ ปู่ย่า ตา ยาย และผู้สูงอายุสร้างสัมพันธ์อันดีในครอบครัวอันจะน�ำ มาซึ่งความมั่นคงของสังคม การที่เด็กและเยาวชนได้รับการปลูกฝังคุณลักษณะที่ดีในเรื่องของความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ ถือเป็นเรื่องที่ดีเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้สังคมการเลี้ยงดูของครอบครัว เป็นสิ่งส�ำคัญที่จะช่วยอบรมและส่งเสริม พฤติกรรมของเด็กเยาวชนให้มีคุณลักษณะของการเป็นคนมีความกตัญญูความตระหนักรู้ในบุญคุณของบุคคล และสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อตนเองทั้งโดยตรงและโดยอ้อม กิจกรรมวันกตัญญูมีการสรงน�้ำพระในวันตรุษสงกรานต์ศาสนาพุทธใช้ค�ำว่าถวายเครื่องเถราภิเษก (สรงน�้ำพระ) มีจิตศรัทธาที่จะให้พระวรกายของพระพุทธเจ้าสะอาดปราศจากมลทิน ผลบุญนอกจะท�ำให้เรา เป็นผู้มีความสดชื่นเย็นกายเย็นใจ ไม่มีเรื่องขุ่นข้องหมองใจแล้ว ยังมีอานิสงส์ท�ำให้ได้ไปสู่สวรรค์ชั้นดุสิตเลยทีเดียว อีกทั้ง กิจกรรมรดน�้ำด�ำหัวผู้สูงอายุเพื่อขอขมาและขอพรจากญาติผู้ใหญ ่ หรือผู้สูงอายุที่เป็นที่เคารพนับถือ เพื่อเป็นสิริมงคลกับชีวิตและครอบครัวต่อไป ๕.๗ ประเพณีฮารีรายอ วันฮารีรายอ (ตามภาษามาลายูปัตตานี) หรือวันฮารีรายา (ภาษามาลายูกลาง) เป็นวันรื่นเริงของ ชาวมุสลิมทั่วโลก ซึ่งใน ๑ ปีชาวมุสลิม มีวันฮารีรายอ ๒ ครั้ง คือ อีดิลฟิตรีตรงกับวันขึ้น ๑ ค�่ำ เดือนเชาวาล ซึ่งเป็นเดือน ๑๐ ตามปฏิทินอิสลาม คือ วันออกบวช และ อีดิลอัฏฮา ตรงกับวันที่ ๑๐ เดือน ซุลฮิจญะ หรือตรงกับ เดือน ๑๒ ของปฏิทินอิสลาม เป็นการฉลองวันออกฮัจญ์ซึ่งในวันดังกล่าวชาวมุสลิมจะไปเยี่ยมเยียน พ่อแม่ญาติพี่น้อง


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 27 เพื่อนบ้านเพื่ออภัยต่อกันในสิ่งที่ผ่านมา โดยในวันอีดีลฟิตรีมุสลิมทุกคนจะต้องจ่ายซะกาตฟิตเราะห์ (การบริจาค ข้าวสาร) คือการบริจาคทานแก่คนยากจนอนาถา ส่วนในวันอีดิลอัฏฮา จะมีการเชือดสัตว์พลีค�ำว่า อัฎฮา แปลว่า การเชือดพลีเป็นการเชือดสัตว์ เพื่อเป็นอาหารแก่ประชาชนและคนยากจน อีดิลอัฏฮา หมายถึง วันรื่นเริงเนื่องในวันเชือดสัตว์พลีตรงกับวันที่ สิบ ของเดือนซุลฮจญะ เป็นเวลาเดียวกับการประกอบพิธีฮัจญ์ ที่เมืองเมกกะของชาวอิสลามทั่วโลก ชาวไทยอิสลาม จึงนิยมเรียกวันตรุษนี้ว่า วันอีดใหญ่ และท�ำกุรบันแจกจ่ายเนื้อเพื่อเป็นทานแก่ญาติมิตร สัตว์ที่ใช้ในการเชือดพลี ได้แก่ อูฐ วัว แพะ ถือเป็นการขัดเกลาจิตใจ ของมนุษย์ให้เป็นผู้บริจาค เป็นการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อเพื่อนมนุษย์ ในวันฮารีรายอชาวมุสลิมจะเดินทางกลับภูมิล�ำเนาของตน มาร่วมประกอบพิธีกรรมทางศาสนาโดยพร้อมเพรียงกัน ได้พบปะ สังสรรค์กับเพื่อนญาติพี่น้อง เพื่อจะได้ขออภัยต่อกัน ส�ำหรับพิธีกรรมในวันดังกล่าวชาวมุสลิมจะตื่นนอนแต่เช้าตรู่โดยเฉพาะผู้หญิงจะตกแต่งบ้านเรือน ให้สะอาดสวยงามเป็นพิเศษ จัดเตรียมอาหารขนมต่าง ๆ ไว้ต้อนรับเพื่อนญาติพี่น้องและแขกที่มาเยี่ยมเยียน หลังเสร็จสิ้นภารกิจแล้วจึงจะอาบน�้ำช�ำระร่างกายให้สะอาด เรียกว่า อาบน�้ำสุนัต ก�ำหนดเวลาอาบตั้งแต่เที่ยงคืน เริ่มต้นวันฮารีรายอจนถึงพระอาทิตย์ตกแต่เวลาที่ดีที่สุด และเป็นที่นิยมอาบน�้ำสุนัตคือเมื่อแสงอรุณขึ้นขอบฟ้า ในวันฮารีรายอในขณะอาบน�้ำสุนัตทุกคนจะต้องกล่าวดุอาร์เป็นการขอพรจากนั้นจะเดินทางไปมัสยิดเพื่อละหมาด และเยี่ยมเยียนญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้วในกุโบร์หรือสุสาน ที่ตั้งอยู่ภายในมัสยิดนั้น ๆ“มาโซ๊ะยาวีก้าวสู่การเป็น มุสลิมที่สมบูรณ์” พิธีเข้าสุนัตถือเป็นส่วนหนึ่งของความดีตาม บทบัญญัติอิสลามที่ “อัลลอฮฺ” ทรงบัญญัติแก่บ่าว ของพระองค์และท�ำให้ความดีทั้งภายนอกและภายในมีความสมบูรณ์ เนื่องจากเป็นการช�ำระความสกปรก สร้างความสะอาดการเข้าสุนัตเป็นพิธีกรรมที่ส�ำคัญอย่างหนึ่งของคนมุสลิม ถือกันว่าคนมุสลิมที่แท้จริงต้องเข้าสุนัต ถ้าไม่เข้าถือว่าเป็นมุสลิมที่ไม่สมบูรณ์การเข้าสุนัตภาษามาลายูเรียกว่า มาโซ๊ะยาวีภาษาอาหรับเรียกว่า คิตาน คือ การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย ซึ่งเป็นแนวทางของท่านศาสดามุฮัมมัด(ซ.ล.) ดังที่ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล.) ได้กล่าวว่าสี่ประการซึ่งเป็นแนวทางของบรรดานบีดังนี้๑. การท�ำคิตาน(ขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ) ๒. การใช้ ของหอม ๓. การแปรงฟัน ๔. การแต่งงาน การเข้าสุนัตจ�ำเป็นส�ำหรับผู้ชายมุสลิมอีกทั้งทางด้านวงการแพทย์สมัยใหม่ได้วิเคราะห์มาแล้วว่า การขลิบหนังหุ้มปลาย อวัยวะเพศนั้นมีคุณประโยชน์มากมาย เช่น สามารถป้องกันการเป็นมะเร็งอวัยวะเพศชายได้ เนื่องจากไม่มีการหมักหมมของสิ่งสกปรกต่าง ๆ เพราะง่ายต่อการท�ำความสะอาด ซึ่งการเข้าสุนัตจะกระท�ำเมื่อถึง วัยอันควรคือช่วงอายุระหว่าง ๘ -๑๓ ปีการขลิบในสมัยก่อนนิยมกระท�ำกันในเวลาเช้าประมาณ ๐๘.๐๐–๑๐.๐๐ น. หรือตอนเย็นเพราะเป็นช่วงที่อากาศเย็นกว่าช่วงเวลาตอนกลางวัน เมื่อขลิบแล้วเลือดจะไหลไม่มากและหยุดง่าย หลังจากท�ำการขลิบแล้วใช้เวลารักษาประมาณ ๑๕ วันก็หายเป็นปกติ ๕.๘ ประเพณีถือศีลอดเดือนรอมฎอนของไทยมุสลิม ในทุก ๆ ปีศาสนิกชนมุสลิมในศาสนาอิสลามจะปฏิบัติภารกิจถือศีลอดเดือนรอมฎอน เป็นการทดสอบความศรัทธาอันแรงกล้าต่อองค์พระผู้เป็นเจ้าที่ประทาน พระบัญญัติแก่มวลมนุษย์เพื่อฝึกฝน ให้มวลมนุษย์รู้จักความอดกลั้นอดทน มีจิตใจ หนักแน่น และไม่ท้อถอยอย่างง่ายดายต่อความยากล�ำบากที่เผชิญอยู่ ณ เบื้องหน้ารอมะฎอนหรือ รอมฎอน คือ เดือนที่ ๙ ของ ปฏิทินฮิจญ์เราะห์หรือปฏิทินอิสลามเป็นเดือนที่มุสลิม ถือศีลอดทั้งเดือน ด้วยเหตุนี้จึงเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่าเดือนบวช เป็นเดือนที่ส�ำคัญที่สุดเดือนหนึ่งเนื่องจากชาวมุสลิม


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 28 จะต้องปฏิบัติเพราะเป็นศาสนบัญญัติด้วยการ งดอาหารทุกชนิดรวมถึงน�้ำดื่ม ในช ่วงเวลา พระอาทิตย์ขึ้น - พระอาทิตย์ตกดิน รวมทั้งให้อดทน ต่อสิ่งรอบตัวหยุดท�ำความชั่ว และออกห่างจากสิ่ง หรือคนที่จะชักน�ำเราไปสู ่การฝ ่าฝืนค�ำสั่งของ พระเจ้า ไม่ว่าจะโดยมือ (ท�ำร้ายหรือขโมย) เท้า (เดินไปสู่สถานที่ต้องห้าม) ตา (ดูสิ่งลามก) หู เช่น การฟังสิ่งไร้สาระ (ฟังเรื่องชาวบ้านนินทากัน) ปาก(การนินทาว่าร้ายคนอื่น โกหกโป้ปด) เดือนรอมฎอนเป็นเดือนที่จูงใจให้ผู้ศรัทธาท�ำความดีมากยิ่งขึ้นกว่าเดือน อื่น ๆเน้นการบริจาคทาน หัวใจจะจดจ่ออยู่กับการแสดงความเคารพภักดี(อิบาดะฮฺ)ต่ออัลลอฮฺและหันไปหาพระองค์ มากขึ้น เรียกได้ว่ารอมฏอนเป็นเดือนแห่งการอบรมจิตใจนั่นเองเพราะจะไม่ท�ำสิ่งไร้สาระจะท�ำอะไรต้องระมัดระวัง ทุกการกระท�ำและค�ำพูด มิเช่นนั้นก็จะเป็นการถือศีลอดที่ได้แค่เพียง การอดอาหาร เท่านั้นเอง รวมทั้งจะได้รับรู้ ความยากล�ำบากคนที่ยากไร้ด้วย การถือศีลอดเดือนรอมฎอนตามบัญญัติอิสลามเป็นอิบาดะฮฺ ที่ต้องมีการปฏิบัติ ในประชาชาติอิสลามโดยพร้อมเพรียงกัน เพราะต้องปฏิบัติในช่วงเดือนรอมฎอน ที่มีเพียงเดือนเดียวต่อปีจึงท�ำให้ ชาวมุสลิมต้องตระหนักถึงความเป็นปึกแผ่นของการถือศีลอดในเดือนรอมฎอน ตามค�ำสอนของอัลลอฮฺตะอาลา ที่ตรัสไว้ว่า “เดือนรอมฎอนนั้นเป็นเดือนที่อัลกุรอานถูกประทานลงมาในฐานะเป็นข้อแนะน�ำส�ำหรับมนุษย์และ เป็นหลักฐานอันชัดเจนเกี่ยวกับข้อแนะน�ำนั้น และเกี่ยวกับสิ่งที่จ�ำแนกระหว่างความจริงกับความเท็จ ดังนั้น ผู้ใด ในหมู่พวกเจ้าเข้าอยู่ในเดือนนั้นแล้วก็จงถือศีลอดในเดือนนั้นเถิด” ประชาชนอ�ำเภอท่าศาลาที่นับถือศาสนาอิสลาม เรียกว่า “ชาวมุสลิม” ดังนั้น ชาวมุสลิมจะท�ำการละศีลอดเมื่อพระอาทิตย์ลับขอบฟ้าโดยมารวมตัวกันที่มัสยิด หรือ สถานที่นัดหมายเพื่อละศีลอดพร้อมกันร่วมรับประทานอาหารพร้อมกันและพบปะสนทนาซึ่งกิจกรรมดังกล่าว แสดงออกถึงความสามัคคีของชาวมุสลิม เพื่อส่งเสริมความสามัคคีสมานฉันท์ของชาวมุสลิมทุกหมู่เหล่าให้เด็กเยาวชน และประชาชนในพื้นที่มีความรู้ความเข้าใจเกิดความตระหนักในการส่งเสริมศาสนา กิจกรรมอันดีงาม และสืบสาน ประเพณีที่มีคุณค่าของท้องถิ่นที่ถูกต้องให้คงอยู่สืบไป และเป็นการปฏิบัติให้สอดคล้องกับแนวนโยบายของรัฐบาล และเพื่อส่งเสริมให้เกิดความสันติสุขอย่างยั่งยืน สาระส�ำคัญของการถือศีลอดในเดือนรอมฎอน นั้นมีวัตถุประสงค์คือ เพื่อให้ผู้ถือศีลอดได้สัมผัส และรับรู้ถึงความทุกข์ยากล�ำบาก ได้เรียนรู้ถึงอุปสรรคต่าง ๆ ของการด�ำเนินชีวิต และเมื่อได้สัมผัส ได้รับรู้ถึง ความทุกข์ยากแล้วการถือศีลอดจึงส่งผลสืบเนื่องให้ผู้ถือศีล นั้นรู้จักอดกลั้นอดทนต่อความทุกข์ยากต่างๆด้วยความ พากเพียรและสติปัญญา กล่าวคือ ฝึกฝนจิตใจของชาว มุสลิมทุกคนให้เป็นผู้มีสติหนักแน่น มีจิตใจอดทนอดกลั้น ทั้งต่อความหิวโหยต่อความโกรธความปรารถนาแห่งอารมณ์และสิ่งยั่วยวนนานับประการซึ่งผลที่ได้จากความเพียร คือการพัฒนาตนเองไปในทางที่ดีมีความใฝ่สูงด้านจิตใจอยู่ตลอดเวลา จิตสงบ ไม่ฟุ้งซ่านและพร้อมที่จะเผชิญ และฝ่าฝันอุปสรรคต่าง ๆ นานา มุ่งสู่ความส�ำเร็จ การถือศีลอดในเดือนรอมฎอนของ ชาวมุสลิมจึงมีคุณประโยชน์ อย่างยิ่งต่อการด�ำเนินชีวิตต่อหน้าที่การงาน และกิจวัตรประจ�ำวันของชาวมุสลิมนอก เหนือไปจากความย�ำเกรง และศรัทธาอย่างแรงกล้าที่จะได้ใกล้ชิดพระผู้เป็นเจ้า นอกเหนือจากการได้สัมผัสความทุกข์ยากและการอดทนแล้ว การถือศีลอดรอมฎอนยังเป็นกุศโลบายให้มวลมนุษย์รู้จักด�ำรงชีพด้วยความสมถะและเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ แก่ผู้อื่น แก่นธรรมนี้คือ การขัดเกลาจิตใจให้ละเว้นจากความละโมบ และความตระหนี่นั่นเองซึ่งเป็นกุญแจส�ำคัญต่อการ อยู่ร่วมกันในสังคมของมนุษย์


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 29 ชาวมุสลิมที่จะถือศีลอดได้จะต้องบรรลุศาสนะภาวะ มีอายุ๑๕ ปีขึ้นไป และหญิงที่เริ่มมีประจ�ำเดือน จะต้องเริ่มถือศีลอดในปีนั้น ๆเป็นผู้ที่มีร่างกายสมบูรณ์ไม่เจ็บป่วยไม่อยู่ในระหว่างการเดินทาง หากมีเหตุดังกล่าว เกิดขึ้นสามารถขอผ่อนผันได้โดยเมื่อหายป่วยไข้โดยสมบูรณ์หรือเสร็จสิ้นการเดินทางจะต้องกลับมาถือศีลอดให้ครบ ตามจ�ำนวนวันที่ขาดหายไป และผู้ที่ได้รับการยกเว้นเข้าถือศีลอดในเดือนรอมฎอนแต่ให้จ่ายซะกาตประเภทอาหาร แก่ผู้ยากไร้เป็นการทดแทน ได้แก่คนชรา คนป่วยเรื้อรังที่แพทย์วินิจฉัยว่ารักษาไม่หายหญิงมีครรภ์และแม่ลูกอ่อน ที่ให้นมทารก ซึ่งเกรงว่าการ ถือศีลอดอาจเป็นอันตรายแก่ทารก บุคคลที่สุขภาพไม่สมบูรณ์ซึ่งเมื่อเขาถือศีลอด จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ บุคคลที่ท�ำงานหนักบุคคลที่ท�ำงานกลางแจ้งเช่น งานในเหมืองงานในทะเลทรายเป็นต้น ผู้ที่จะถือศีลอดต้องมีความพร้อมทั้งด้านร่างกายและจิตใจและมีความแน่วแน่ที่จะฝ่าฟันอุปสรรค ความยากล�ำบากด้วยความสมัครใจตลอดเดือนรอมฎอน ภารกิจที่ผู้ถือศีลอดควรกระท�ำตลอดช่วงเดือนรอมฎอน คือ การศึกษาพระคัมภีร์อัลกุรอ่านเพื่อท�ำความเข้าใจ อย่างถ่องแท้และสามารถ ปฏิบัติตามพระวัจนะของพระเจ้าได้ โดยไม ่ผิดเพี้ยน ด้วยคติทางศาสนาว ่าเดือนรอมฎอน คือ เดือนที่พระผู้เป็นเจ้าทรงประทานคัมภีร์อัลกุรอ ่าน ให้เป็นธรรมนูญชีวิตของมุสลิมทุกคนพึงยึดถือ ปฏิบัติไว้ให้มั่นชาวมุสลิมจึงยึดถือว ่าเดือนรอมฎอนเป็นเดือน ที่มีความประเสริฐ การปฏิบัติศาสนพิธีและท่องค�ำภีร์อัลกุรอ่านในเดือนรอมฎอนนี้จึงปฏิบัติเป็นกรณีพิเศษ ระยะเวลาการถือศีลอดในแต่ละวันจะด�ำเนินไป ในช่วงรุ่งอรุณจนถึงพลบค�่ำเมื่อพ้นเวลาดังกล่าว แล้วจึงสามารถละศีลอดสามารถรับประทานอาหารดื่มเครื่องดื่มและปฏิบัติกิจวัตรได้ตามปกติแต่ต้องกระตือรือร้น ในการละศีลอดทันทีในเวลาที่พระผู้เป็นเจ้าได้ก�ำหนดไว้ให้เพื่อการรักษาคุณงามความดีของผู้ปฏิบัติวิธีการละศีลอด ที่ชาวมุสลิมยึดถือคือให้รีบละศีลอดก่อนละหมาดและรับประทานผลอินทผลัมและดื่มน�้ำเพื่อชดเชยน�้ำวิตามินแร่ธาตุ และสารอาหารที่จ�ำเป็นที่สูญเสียไปในระหว่างวันการถือศีลอดจะด�ำเนินไปตลอดทั้งเดือนรอมฎอน กระทั่งเข้าสู่ ๑๐ คืน สุดท้ายของเดือนชาวมุสลิมจะปฏิบัติศาสนกิจเรียกว่า เอี๊ยะติกาฟ คือ การบ�ำเพ็ญตนเพื่อประกอบศาสนกิจ ในมัสยิดอาทิการละหมาดการอ่านค�ำภีร์อัลกุรอ่าน การขอดุอาอ์ที่จะต้องปฏิบัติภายในมัสยิดเท่านั้นและไม่สามารถ ออกจากมัสยิดได้นอกจากเหตุจ�ำเป็นเท่านั้นเมื่อสิ้นสุดการถือศีลอด ในวันอีฎิลฟิตรีหรือวันอีด คือ วันที่ ๑ ของ เดือนเชาวาล (เดือน ๑๐ ต่อจากเดือนรอมฎอน) ชาวมุสลิมจะอาบน�้ำช�ำระร่างกาย สวมเสื้อผ้าสวยงาม ทานอาหาร เล็กน้อยก่อนจะไปร่วมละหมาดอีฎิลฟิตรีซึ่งเป็นการละหมาดร่วมกันที่ลานกว้าง จ่ายซะกาต(ฟิตเราะห์) เยี่ยมเยียน ญาติมิตรเพื่อให้อภัยและอวยพรให้แก่กันเพื่อเริ่มต้นการด�ำเนินชีวิตในวันใหม่อย่างผาสุก ๕.๙ ประเพณีลอยกระทง “ลอย ๆ กระทง ลอยกระทงกันแล้ว ขอเชิญน้องแก้วออกมาร�ำวง ๆ วันลอย กระทง บุญจะส่ง ให้เราสุขใจ ๆ” ค ว า ม รู้ สึ ก สุ ขใจ แ ล ะ ค ว า ม สนุกสนานจาก ท่วงท�ำนองบทเพลง เสียงดนตรี ที่คุ้นหูมาตั้งแต่เด็ก ๆ สื่อสารให้รู้สึกถึงบรรยากาศ ริมสายน�้ำยามค�่ำคืน แสงไฟระยิบระยับเมื่อยาม แสงเทียนในกระทงส่องแสงกระทบคลื่นผิวน�้ำมองดู กระทงที่ก�ำลังล่องลอยไหลไปกับสายน�้ำให้พัดพา เคราะห์โศกโรคภัยที่เอาใส ่ลงในกระทงให้แม ่น�้ำ กลืนกินความโชคร้ายทั้งมวล


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 30 ลอยกระทงเป็นประเพณีของไทยที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาแต่โบราณ ในอดีตงานลอยกระทงเริ่มท�ำตั้งแต่ กลางเดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒ ซึ่งเป็นฤดูน�้ำหลาก น�้ำจะเต็มสองฝั่งแม่น�้ำที่นิยมมาก คือ ช่วงวันเพ็ญเดือน ๑๒ เพราะพระจันทร์เต็มดวงท�ำให้แม่น�้ำใสสะอาดแสงจันทร์ส่องเวลากลางคืน เป็นบรรยากาศที่สวยงาม เหมาะแก่การ ลอยกระทงเดิมพิธีลอยกระทงเรียกว่า พระราชพิธีจองเปรียงชักโคม ลอยโคม ซึ่งเป็นพิธีของ พราหมณ์เพื่อบูชาพระ เป็นเจ้าทั้งสาม คือ พระอิศวร พระนารายณ์และพระพรหม ครั้นคนไทยรับนับถือ พระพุทธศาสนา ก็ท�ำพิธียกโคม เพื่อบูชาพระบรม สารีริกธาตุ พระจุฬามณีณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ลอยโคมบูชาพระพุทธบาท ณ หาดทรายแม่น�้ำ นัมมทานทีประเทศอินเดีย เมื่อครั้งสุโขทัยเรียกว่าการลอยพระประทีปหรือลอยโคม เป็นงานนักขัตฤกษ์รื่นเริงของประชาชน ทั่วไป ต่อมานางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์สนมเอกของพระร่วง ได้คิดประดิษฐ์ดัดแปลงเป็นรูปกระทงดอกบัว แทนการลอยโคม พระร่วงทรงให้ลอยกระทงตามสายน�้ำไหลในหนังสือต�ำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ พระร่วงตรัสว่า “แต่นี้สืบไปเบื้องหน้า โดยล�ำดับกษัตริย์ในสยามประเทศถึงกาลก�ำหนดนักขัตฤกษ์วันเพ็ญเดือน ๑๒ ให้ท�ำโคมลอย เป็นรูปดอกบัวอุทิศสักการบูชาพระพุทธบาทนัมฆทานทีตราบเท่ากัลปาวสาน”การลอยกระทงหรือลอยโคม ในสมัย นางนพมาศกระท�ำ เพื่อเป็นการสักการะรอยพระพุทธบาทที่แม่น�้ำนัมมทานทีซึ่งเป็นแม่น�้ำสายหนึ่งอยู่ในแคว้น ทักขิณาบถของประเทศอินเดียปัจจุบัน เรียกว่า แม่น�้ำเนรพุททา การลอยกระทงในปัจจุบันยังคงรักษารูปแบบเดิมเอาไว้ได้ตามสมควร เมื่อถึงวันเพ็ญพระจันทร์ เต็มดวงในเดือน ๑๒ ชาวบ้านจะจัดเตรียมท�ำกระทงจากวัสดุ ที่หาง่ายตามธรรมชาติเช่น หยวกกล้วยและดอกบัว น�ำมาประดิษฐ์เป็นกระทงสวยงาม ปักธูปเทียน และดอกไม้เครื่องสักการบูชาก่อนท�ำการลอยในแม่น�้ำก็จะอธิษฐาน ในสิ่งที่มุ ่งหวัง พร้อมขอขมาต ่อพระแม ่คงคาตามคุ้มวัดหรือสถานที่จัดงานหลายแห ่ง มีการประกวดกระทง ประกวดนางนพมาศและมีมหรสพสมโภชในตอนกลางคืน นอกจากนั้นยังมีการจุดดอกไม้ไฟ พลุตะไลซึ่งในการเล่น ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ วัสดุที่น�ำมาใช้กระทงควรเป็นของที่สามารถย่อยสลายได้ง่ายตามธรรมชาตินอกจากนี้แล้ว ส�ำหรับความเชื่อของคนไทยยังมีเหตุผลอื่นที่ให้เกิดประเพณีลอยกระทง เช่น การลอย กระทงเพื่อขอขมาแก่ พระแม่คงคา เพราะได้อาศัยน�้ำท่านกินและใช้อีกทั้งมนุษย์มักจะทิ้งขยะและถ่ายสิ่งปฏิกูลลงไปในน�้ำด้วยหรือเพื่อ ลอยทุกข์โศกโรคภัยและสิ่งไม่ดีคล้ายกับพิธีลอยบาปของพราหมณ์


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 31 พัฒนาการด้านประวัติศาสตร์อำ เภอท่าศาลา บทที่ ๒ สาระส�ำคัญ เรียนรู้เกี่ยวกับล�ำดับความเป็นมาของอ�ำเภอท่าศาลา ตั้งแต ่อาณาจักรตามพรลิงค์สมัยกรุงสุโขทัย สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย สมัยกรุงธนบุรี จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ตัวชี้วัด ๑. อธิบายความเป็นมาของอ�ำเภอท่าศาลาสมัยก่อนยุคประวัติศาสตร์ ๒. ระบุหลักฐานที่ส�ำคัญที่ค้นพบสมัยก่อนยุคประวัติศาสตร์ยุคหิน และยุคโลหะ ๓. อธิบายความเป็นมาของอ�ำเภอท่าศาลาช่วงที่เป็นแคว้นอิสระบนคาบสมุทรมลายู ๔. เปรียบเทียบความแตกต่างของอาณาจักรตามพรลิงค์ในแต่ละยุค ๕. สาเหตุที่ส�ำให้อาณาจักรตามพรลิงค์ล้มสลาย ๖. อธิบายประวัติความเป็นมาท่าศาลาช่วงที่เป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรไทย ๗. เปรียบเทียบวิถีชีวิตการอยู่ร่วมกันของประชาชนอ�ำเภอท่าศาลาจากอดีตถึงปัจจุบัน ๘. มีทักษะในการสื่อสาร โดยการฟัง การซักถาม การถ่ายทอดความรู้จากการฟังบรรยาย ไปยังบุคคล อื่น ๆ ได้ ๙. น�ำเสนอข้อมูลพัฒนาการประวัติศาสตร์อ�ำเภอท่าศาลาด้วยแผนผังความคิด ขอบข่ายเนื้อหา เรื่องที่ ๑ อ�ำเภอท่าศาลาในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ๑.๑ ยุคหิน ๑.๒ ยุคโลหะ เรื่องที่ ๒ อ�ำเภอท่าศาลาช่วงที่เป็นแคว้นอิสระบนคาบสมุทรมลายู ๒.๑ ท่าศาลายุคก่อนอาณาจักรตามพรลิงค์ ๒.๒ อาณาจักรตามพรลิงค์ยุคที่ ๑ ๒.๓ แหล่งโบราณคดีที่ส�ำคัญสมัยอาณาจักรตามพรลิงค์ยุคที่ ๑ ๒.๓.๑ โบราณสถานวัดโมคลาน ๒.๓.๒ แหล่งโบราณคดีทุ่งน�้ำเค็ม ๒.๓.๓ โบราณสถานวัดไทรขาม ๒.๓.๔ โบราณสถานวัดตาเณร ๒.๓.๕ โบราณสถานตุมปัง (วัดร้าง) ๒.๓.๖ โบราณสถานเกาะพระนารายณ์ ๒.๓.๗ โบราณสถานวัดมเหยงคณ์


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 32 ๒.๓.๘ โบราณสถานวัดนางตรา หรือสมัยก่อนเรียกว่าวัดพะนังตรา ๒.๓.๙ โบราณสถานบ้านนางน�ำ สังข์ทอง ๒.๓.๑๐ โบราณสถานบ้านนายสว่าง พรหมสุวรรณ ๒.๓.๑๑ โบราณสถานวัดป่าเรียน ๒.๓.๑๒ โบราณสถานวัดดอนใคร เรื่องที่ ๓ อ�ำเภอท่าศาลาช่วงที่เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรไทย ๓.๑ ยุคกรุงสุโขทัย (พ.ศ. ๑๗๘๐ - ๑๙๘๑) ๓.๒ ยุคกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. ๑๘๙๓ - ๒๓๑๐) ๓.๓ สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ๓.๔ สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง ๓.๕ สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ๓.๖ ยุคกรุงธนบุรี พ.ศ. ๒๓๑๐ - ๒๓๒๕ ๓.๗ ยุคกรุงรัตนโกสินทร์พ.ศ. ๒๓๒๕ - ถึงปัจจุบัน เวลาที่ใช้ในการศึกษา ๔๐ ชั่วโมง สื่อการเรียนรู้ ๑. เอกสารประกอบการเรียนหลักสูตรรายวิชาเลือกท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ๒. คู่มือนักศึกษา รายวิชาเลือกท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ๓. สื่อเสริมการเรียนรู้อื่น ๆ


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 33 2ชุมชนซึ่งเป็นที่ตั้งของอ�ำเภอท่าศาลาปัจจุบัน ได้ปรากฏหลักฐานร่องรอยการอาศัยของมนุษย์มาตั้งแต่ ยุคหินปรากฏชัดจากการพบเครื่องมือในเขตลุ ่มน�้ำคลองกลายและบริเวณใกล้เคียง และต ่อเนื่องมาทุกลุ ่มน�้ำ ในเขตอ�ำเภอท่าศาลาจนกลายเป็นชุมชนลุ่มน�้ำ พัฒนามาเป็นชุมชนเมืองและเป็นอาณาจักรในเวลาต่อมา ดังนี้ อาณาจักรตามพรลิงค์เป็นอาณาจักรที่อยู่ตั้งบนคาบสมุทรสยาม เริ่มพุทธศตวรรษที่๖ แบ่งออกเป็น ๓ ยุค คือ ตามพรลิงค์ยุคที่หนึ่งมีศูนย์กลางที่สิชลและท่าศาลา ซึ่งปรากฏหลักส�ำคัญแหล่งโบราณสถานส�ำคัญกระจายอยู่ ทั่วไปตลอด ๑๑ ลุ่มน�้ำส�ำคัญในนครศรีธรรมราชโดยมีศาสนาพราหมณ์เป็นหลักยุคที่สองมีศูนย์กลางที่เมืองพระเวียง ซึ่งชนส ่วนใหญ ่เปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธแบบมหายานและยุคที่สาม มีศูนย์กลางที่เมืองนครศรีธรรมราช โดยถือศาสนาพุทธแบบหินยานเป็นหลักครั้นถึงต้นพุทธศตวรรษที่๑๘ ได้เปลี่ยนชื่อเมืองมาเป็นศรีธรรมราชมหานคร หรือเรียกว่า ศิริธรรมนครในพงศาวดารโยนก สมัยกรุงสุโขทัยต�ำนานเมืองนครศรีธรรมราชบันทึกว่า พ.ศ. ๑๘๓๐ พระพนมทะเลศรีมเหสวัสดิทราธิราช ผู้ครองเมืองเพชรบุรีซึ่งเป็นหลานปู่ของพระเจ้าศรีธรรมโศกราช ที่ถูกส่งไปปกครองเมืองเพชรบุรีครั้นอาณาจักร นครศรีธรรมราชล ่มสลายจากโรคระบาด พระเจ้าศรีธรรมโศกราชสิ้นพระชนม์จากโรคห ่าบ้านเมืองขาดผู้น�ำ พระพนมทะเลศรีมเหสวัสดิทราธิราชจึงส ่งพระพนมวังกับพระนางสะเดียงทองมาซ ่อมเมืองนครศรีธรรมราช พระพนมวังและพระนางสะเดียงทองยกพลมาตั้งหลักที่เมืองจงสระ (อ�ำเภอเวียงสระ) เนื่องจากเวลานั้น เมืองนครศรีธรรมราชเป็นเมืองร้าง ถึงสมัยเจ้าศรีราชาเป็นพระเจ้าศรีธรรมโศกราชได้ซ ่อมองค์พระบรมธาตุ ซ่อมวัดวาอาราม ซ่อมบ้านเมือง จัดส่งผู้คนไปถางป่าเป็นนาตามที่ต่าง ๆ ทั่วภาคใต้เฉพาะที่ท่าศาลา พระพนมวัง ส่งคนมาถางป่าเป็นนาที่ ทุ่งกะโดน (บ้านโดน) ที่ทุ่งไผ่ (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์) ให้นายอายเจ้าปา เอาคนไปสร้างป่าเป็นนาแลรักษาพระใน วัดพะนังตรา (วัดนางตรา) ให้นายแก้ว นายใสตั้งบ้านอยู่กรุงชิง (นบพิต�ำ) เป็นต้น สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น เมื่อ พ.ศ. ๑๘๙๓ สมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) ก่อนนี้ นครศรีธรรมราชเกิดโรคระบาดกลายเป็นเมืองร้าง หลังจากซ่อมแซมเมืองนครศรีธรรมราชเสร็จแล้วมีผู้คนพลเมือง กลับมาอยู ่อาศัยอีกครั้ง แต ่ผู้น�ำของนครศรีธรรมราชไม ่เข้มแข็งพอที่จะตั้งตนเป็นผู้น�ำบนคาบสมุทรมลายู ได้เมืองนครศรีธรรมราชจึงเป็นประเทศราชของกรุงศรีอยุธยา สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง พงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศบันทึกว่า ประมาณ พ.ศ. ๒๐๗๓ พระมหาจักร พรรดิราชาธิราช (พระเทียรราชา) ทรงเห็นว่า ขุนอินทรเทพ มีความดีความชอบช่วยก�ำจัด ขุนวรวงศาธิราช และ แม่ศรีสุดาจันทร์ พระองค์แต่งตั้งขุนอินทรเทพเป็นเจ้าพระยาศรีธรรมโศกราช พระราชทานลูกพระสนมองค์หนึ่ง เจียดทองคู่หนึ่ง พานทองคู่หนึ่ง เต้าน�้ำทอง กระบี่ กั้นหยั่น เสลี่ยงงา เสลี่ยงกลีบบัว เครื่องสูง เป็นต้น ช่วงเวลานี้ นครศรีธรรมราชเป็นประเทศราชของกรุงศรีอยุธยา สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายครั้งรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พ.ศ. ๒๒๗๕ - ๒๓๐๑ จากค�ำสั่งแต่งตั้ง พระยาไชยาธิเบศร์เป็นเจ้าพระยานครศรีธรรมราชในสมุดต�ำแหน่งมีชื่อเมืองและชื่อข้าราชการเมืองนครศรีธรรมราช อยู่ด้วย น่าเสียดายที่สมุดต�ำแหน่งแต่งตั้งข้าราชการยังหาไม่พบจึงไม่ทราบว่าท่าศาลาในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ มีเมืองใดบ้าง แต่ละเมืองมีใครเป็นเจ้าเมืองและมีใครเป็นข้าราชการ เรื่องที่ ๑ อำเภอท่าศาลาในยุคก่อนประวัติศาสตร์


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 34 สมัยกรุงธนบุรีครั้งพระเจ้าตากสินมหาราช พ.ศ. ๒๓๑๐ - ๒๓๒๕ พระเจ้าตากสินเข้ายึดครอง นครศรีธรรมราช ตั้งเจ้านราสุริยวงศ์ปกครองเมืองนครศรีธรรมราช เจ้านราสุริยวงศ์ทิวงคตเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๙ พระเจ้าตากสินยกฐานะเมืองนครศรีธรรมราชเป็น ประเทศราช แต่งตั้งพระปลัดหนูผู้รั้งเมืองนครศรีธรรมราช เป็น พระเจ้านครศรีธรรมราช สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ครั้งรัชกาลที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๕๒-๒๓๖๙ จากค�ำสั่งแต่งตั้งข้าราชการเมือง นครศรีธรรมราช พ.ศ. ๒๓๕๔ เรื่อง แต่งตั้งพระบริรักษ์ภูเบศร์เป็นพระยานครศรีธรรมราช แผ่นดินท่าศาลาเวลานั้น ประกอบด้วยเมืองใหญ ่ ๒ เมือง ได้แก่ เมืองไทยบุรี(ออกหลวงไทยบุรีศรีมหาสงคราม) เมืองอินทรคีรี (หลวงอินทรคีรีศรีสงคราม) และเมืองย่อย ๕ เมือง คือ เมืองท่าสูง (เมืองเพชรชลธี) เมืองร่อนกะหรอ (ขุนไชยบุรี) เมืองนบพิต�ำ (ขุนเดชธานีคุนบพิต�ำ) เมืองกลาย(ขุนพิชัยธานีศรีสงคราม) เมืองโมคลาน (ขุนทัณฑ์ธานี) เมืองไทยบุรี และเมืองอินทรคีรีเป็นเมืองขนาดใหญ่ศักดินา ๑,๒๐๐ ไร่ที่เหลือเป็นเมืองขนาดเล็กฐานะเจ้าเมืองเทียบเท่านายอ�ำเภอ เทียบเท่าก�ำนัน เทียบเท่าผู้ใหญ่บ้าน ศักดินา ๖๐๐ ไร่ ๔๐๐ ไร่ และ ๒๐๐ ไร่ พื้นที่บางส่วนของเมืองอินทรคีรี โอนมาอยู่กับอ�ำเภอกลาย(ท่าศาลา)คือต�ำบลดอนตะโกและต�ำบลทอนหงส์ปัจจุบันต�ำบลทอนหงส์โอนกลับไปอยู่ กับอ�ำเภอพรหมคีรี(เมืองอินทรคีรี) การศึกษาประวัติความเป็นมาของท่าศาลาจะท�ำการศึกษา ดังนี้ ตอนที่ ๑ ท่าศาลาสมัยก่อนยุคประวัติศาสตร์ ประกอบด้วย ๑.๑ ยุคหิน ๑.๒ ยุคโลหะ ตอนที่ ๒ ท่าศาลาช่วงที่เป็นแคว้นอิสระ บนคาบสมุทรมลายู ประกอบด้วย ๒.๑ ท่าศาลายุคก่อนอาณาจักรตามพรลิงค์ ๒.๒ ท่าศาลายุคอาณาจักรตามพรลิงค์ประกอบด้วย ๒.๒.๑ อาณาจักรตามพรลิงค์ยุคที่หนึ่ง (สิชล - ท่าศาลา) ๒.๒.๒ อาณาจักรตามพรลิงค์ยุคที่สอง (เมืองพระเวียง) ๒.๒.๓ อาณาจักรตามพรลิงค์ยุคที่สาม (เมืองนครศรีธรรมราช) ตอนที่ ๓ ท่าศาลาช่วงที่เป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรไทย อันประกอบด้วย ๓.๑ สมัยกรุงสุโขทัย ๓.๒ สมัยกรุงศรีอยุธยา ๓.๓ สมัยกรุงธนบุรี ๓.๔ สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ จะกล่าวโดยละเอียดต่อไป


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 35 ๑.๑ ยุคหิน หลักฐานโบราณวัตถุที่ขุดพบในเขตอ�ำเภอท่าศาลา บอกให้รู้ว่าอ�ำเภอท่าศาลา มีมนุษย์อยู่ อาศัยกันมาตั้งแต่ยุคหิน โดยขุดพบเครื่องมือหินขัดลักษณะคล้ายระนาดหิน ที่บ้าน นายชม เต็มสงสัย ริมคลองกลาย ต�ำบลสระแก้ว อ�ำเภอท่าศาลา ซึ่งเป็นผู้ดูแล สวนมะพร้าวของนายเห้ง คุณารักษ์ ขุดพบขณะก�ำลัง ขุดหลุมปลูกมะพร้าว เป็นเครื่องมือยุคหินใหม่ช่วงอายุ ๔,๐๐๐ - ๖,๐๐๐ ปีกล่าวได้ว่ายุคหินแผ่นดินท่าศาลา บางส่วนน่าจะจมอยู่ใต้ทะเล พื้ น ที่ สูง บ ริ เ ว ณ ต�ำ บ ล น บ พิ ต�ำ ต�ำบลกะหรอ ต�ำบลไทยบุรีและต�ำบลท่าศาลา ต�ำบลสระแก้วเป็นต้น พื้นที่ของต�ำบลดังกล่าวน�้ำทะเล ท่วมไม่ถึง แผ่นดินบริเวณนี้เป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ ยุคหินใหม่ ขุดพบเครื่องมือใช้สอยที่ท�ำมาจากหิน และ ท�ำมาจากดินเผาตามสถานที่ต่าง ๆ จากโบราณวัตถุที่พบโดยเฉพาะใน แหล ่งโบราณคดียุคหินใหม ่ แสดงถึงการกระจายตัวของ การตั้งชุมชนบนพื้นราบเชิงเขา พื้นราบริมน�้ำ พื้นราบแนวสันทรายโดยมีแม่น�้ำล�ำคลองที่เกิดจากภูเขาทางตอนกลาง ไหลลงสู่ที่ราบทั้งด้านตะวันออก และด้านตะวันตก เป็นเส้นทางการเชื่อมโยง การเคลื่อนย้าย การกระจายตัวของ กลุ ่มชุมชนเกษตรกรรมต ่อเนื่องมาจนย ่างเข้าสู ่ยุคประวัติศาสตร์ก�ำหนดอายุชุมชนโบราณยุคหินใหม ่ในพื้นที่ จังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่ามีอายุประมาณ ๒,๐๐๐ - ๔,๐๐๐ ปีมาแล้ว เครื่องมือหินขัดขุดพบที่บ้านของนายชม เต็มสงสัย ริมคลองกลาย ต�ำบลสระแก้ว อ�ำเภอท่าศาลา คล้ายกับระนาดที่ท�ำมาจากหินหลายชิ้น แต่ละชิ้นสั้นยาวไม่เท่ากัน เคาะจะมีเสียงสูงเสียงต�่ำเหมือนเสียงดนตรี ยังพบเครื่องมือหินขัดรูปร่างคล้ายระนาดเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์ของวัดป่าเรียน ต�ำบลตลิ่งชัน อ�ำเภอท่าศาลา ขุดพบขวานหินหลายชิ้นทั้งขวานหินมีบ่าและไม่มีบ่าแหล่งโบราณคดีวัดป่าเรียนมีโบราณวัตถุตั้งแต่ยุคหิน ยุคโลหะ ยุคศาสนาพราหมณ์และยุคศาสนาพุทธ เป็นแหล่งโบราณคดีที่ส�ำคัญมาก ยังไม่มีการส�ำรวจศึกษาโดยละเอียด ภาพเครื่องมือหินขัด ลักษณะคล้ายระนาดหิน พบที่บ้านนายชม เต็มสงสัย ริมคลองกลาย ต�ำบลสระแก้ว อ�ำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ภาพเครื่องมือหินขัดคล้ายระนาดหิน ขุดพบที่แหล่งโบราณคดีวัดป่าเรียน ต�ำบลตลิ่งชัน อ�ำเภอท่าศาลา ตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์วัดป่าเรียน เจ้าอาวาส วัดป่าเรียนสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นเครื่องมือเกษตรอย่างใดอย่างหนึ่ง ภาพมีดหินเฉือนเนื้อสัตว์ เครื่องมือมีดหินมีคมใช้เฉือนเนื้อสัตว์ เนื้อปลา เป็นเครื่องมือของมนุษย์ในสมัยหินใหม่ พบที่วัดป่าเรียน ต�ำบลตลิ่งชัน อ�ำเภอท่าศาลา ตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์วัดป่าเรียน เรื่องที่ ๑ ท่าศาลายุคก่อนประวัติศาสตร์


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 36 ๑.๒ ยุคโลหะ อายุ ๒,๕๐๐ - ๔,๐๐๐ ปีโลหะที่มนุษย์น�ำมาท�ำเป็นเครื่องมือครั้งแรก เรียกว่า “ส�ำริดโลหะ”ส�ำริดท�ำได้โดยการหลอมทองแดงกับตะกั่วหรือทองแดงกับดีบุกเข้าด้วยกัน โดยใช้ความร้อนไม่มากนัก ไม่นานก็ค้นพบวิธีถลุงเหล็ก การถลุงเหล็กต้องใช้ความร้อนมากกว่าการท�ำส�ำริดนับจากบัดนั้นเป็นต้นมา มนุษย์น�ำ โลหะมาท�ำเครื่องใช้ไม้สอยแทนที่เครื่องมือหิน เช่น น�ำโลหะมาท�ำเป็นมีด น�ำมาท�ำเป็นอาวุธ น�ำมาท�ำเครื่องมือ การเกษตร และน�ำโลหะมาท�ำรูปเคารพบูชา เช่น พระพุทธรูป(พุทธ) พระวิษณุ (พราหมณ์) เป็นต้น การตั้งถิ่นฐาน ช่วงที่สองของท่าศาลา (ช่วงแรกอยู่บนภูเขาอาศัยอยู่ในถ�้ำและเพิงผา) เริ่มต้นจากยุคหินใหม่มนุษย์ลงจากภูเขา มาอาศัยบนพื้นราบระหว่างเชิงเขาและสันทรายเข้าสู่ชุมชนกสิกรรมมีการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์เครื่องมือโลหะมีผล ต่อพัฒนาการของชุมชนเกษตรกรรม ท�ำให้ปลูกข้าวได้มากกว่าเดิม เนื่องจากสนิมเหล็กท�ำให้เหล็กเสื่อมสภาพเร็ว กว่าสนิม ที่เกิดกับส�ำริด จึงพบเห็นโบราณวัตถุที่ท�ำจากเหล็กน้อยมาก ส่วนใหญ่พบเครื่องมือที่ท�ำจากส�ำริด มนุษย์ เริ่มตั้งถิ่นฐานอย่างถาวร เลือกตั้งถิ่นฐานในภูมิประเทศที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก ชุมชนโบราณจึงมีอยู่ ตามที่ราบลุ่มด้านหลังสันทราย โดยเฉพาะสองฝั่งคลองในเขตอ�ำเภอท่าศาลาผู้คนรวมกันเป็นกลุ่มก้อน บ้านเรือน สิ่งก่อสร้างท�ำจากวัสดุที่มีอยู่ตามธรรมชาติเช่น บ้านเรือนท�ำด้วยไม้ไผ่ หลังคามุงจาก พื้นปูไม้กระดาน วัสดุที่น�ำมา ใช้ไม่มั่นคงแข็งแรงเสื่อมสลายได้ง่าย การคมนาคมการขนส่งอาศัยล�ำน�้ำเป็นหลักโดยใช้เรือ ใช้แพรวมทั้งการเดินเท้า และการใช้สัตว์เป็นพาหนะเดินทางไปมาหาสู่กับชุมชนอื่น ๆ ชุมชนในยุคโลหะ มีการพบกลองมโหระทึกส�ำริดที่ภาคใต้รวม ๑๓ ใบ พบที่นครศรีธรรมราช ๕ ใบ ดังนี้พบที่ต�ำบลท่าเรือ อ�ำเภอเมือง ๑ ใบ พบที่อ�ำเภอฉวาง ๒ ใบ พบที่ต�ำบลท่าขึ้น อ�ำเภอท่าศาลา ๑ ใบ พบที่ ต�ำบลเทพราช อ�ำเภอสิชล ๑ ใบ นอกจากนี้ยังพบที่ชุมพร ๓ ใบ พบที่สุราษฎร์ธานี๕ ใบ แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการ ด้านโลหะกรรม ที่น�ำมาใช้ในการประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อของชุมชน กลองมโหระทึกเป็นวัตถุที่น�ำเข้ามา ภาพโบราณวัตถุยุคโลหะ ภาพแรกโลหะส�ำริดกลองมโหระทึกน�ำเข้าจากเมืองธันหัว ทางตอนใต้ของเวียดนาม พบที่คลองท่าทน บ้านยวนเฒ่า ต�ำบลเทพราช อ�ำเภอสิชล อีกภาพไม่ทราบรายละเอียด อาจเป็นพานพุ่ม หรือ จานทรงสูง


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 37 ยุคก่อนประวัติศาสตร์หรือยุคประวัติศาสตร์ก�ำหนดโดยใช้ตัวอักษรที่ขีดเขียนเป็นสัญลักษณ์แทนภาษาพูด ยุคก่อนประวัติศาสตร์ไม่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรอาจมีการวาดภาพเอาไว้บนผนังถ�้ำและเพิงผาแต่เป็นเพียง รูปวาดไม่ใช่ตัวหนังสือหรือตัวอักษร จึงไม่ถือว่าเป็นยุคประวัติศาสตร์ ยุคประวัติศาสตร์มีการบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ เหตุการณ์ต่าง ๆ เอาไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น บันทึก เรื่องราวเอาไว้โดยแกะสลักเป็นตัวอักษรลงบนหินเรียกว่าศิลาจารึก บันทึกไว้บนดินเหนียวน�ำดินเหนียวไปเผาไฟ จนกลายเป็นดินเผา เรียกว่า อักษรคูนิฟอร์ม (ตะวันออกกลาง) สามารถคงสภาพอยู่ได้เป็นเวลานานหลายพันปี หากบันทึกไว้บนแผ่นทองค�ำสามารถคงสภาพอยู่ได้นานหลายหมื่นปีเนื่องจากแผ่นทองค�ำไม่เป็นสนิม ส�ำหรับหัวข้อ ท่าศาลาในช่วงที่เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอิสระบนคาบสมุทรมลายูแบ่งเป็น ๒ ช่วงคือ ท่าศาลายุคก่อนอาณาจักร ตามพรลิงค์(พ.ศ. ๑ - ๖๐๐) และท่าศาลายุคอาณาจักร ตามพรลิงค์(พ.ศ. ๖๐๑ - ๑๘๒๐) มีรายละเอียด ดังนี้ จากชุมชนภายนอก เมื่อมีการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้า มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมความเชื่อกับชุมชนโพ้นทะเล ที่มาจากประเทศอินเดีย เปอร์เซีย อาหรับ จีน เจนละ จามปา และเวียดนาม เป็นต้น กลองมโหระทึกทั้ง ๑๓ ใบ ท�ำขึ้นช่วง พ.ศ. ๒๐๐ - ๓๐๐ เป็นศิลปะแบบ ดองซอน น�ำเข้าจากเมืองธันหัวตอนใต้ลุ่มแม่น�้ำแดง ประเทศเวียดนาม พบกลองมโหระทึกที่คลองท่าทน เขายวนเฒ่าต�ำบลเทพราชอ�ำเภอสิชล หน้ากลองเส้นผ่าศูนย์กลาง ๕๒ เซนติเมตร คลองท่าทน เป็นสายน�้ำใหญ่ไหลอยู่ทางทิศตะวันตกและทิศเหนือของเขาคา สมัยโบราณคลองท่าทนเป็นสายน�้ำ ที่ส�ำคัญ เป็นแหล่งน�้ำหล่อเลี้ยงศาสนสถานของพราหมณ์บนเขาคา บนสันทรายปากคลองท่าทนเป็นท่าเรือขนาดใหญ่ ทุกวันนี้เรียกว่า บ้านท่าหมาก เรือจากเมืองอื่นแล่นเข้าออกท่าเรือแห่งนี้อยู่เสมอ จึงพบโบราณวัตถุในคลองท่าทน ถ้าค้นหากันจริงจังคงพบโบราณวัตถุอีกมาก อ�ำเภอท่าศาลาพบวัตถุคล้ายกลองมโหระทึกที่สวนมะพร้าวของ นายไพศักดิ์ย้อยนวล ที่ปากน�้ำคลองเราะยังมีหม้อดิน โถน�้ำเต้าจีนใส่เหล้า ก�ำไล แผ่นทอง มีด หม้อ วางอยู่ใกล้กัน นายไพศักดิ์ ย้อยนวล น�ำไปเก็บไว้ที่วัดพระบรมธาตุต ่อมากลองมโหระทึกถูกน�ำไปเก็บไว้ที่จังหวัดสงขลา โดยเจ้าหน้าที่ได้มาสอบถามนายไพศักดิ์ย้อยนวล ถึงรายละเอียดของสถานที่และการขุดพบ ภาพศิลาจารึกวัดมเหยงคณ์ พบที่วัดมเหยงคณ์ บ้านลุ่มโหนด ต�ำบลสระแก้ว อ�ำเภอท่าศาลา เมื่อ พุทธศตวรรษที่ ๑๒ จุดเริ่มต้นของยุคประวัติศาสตร์ บนคาบสมุทรมลายู ตัวอักษรปัลวะ ภาษาสันสกฤต ผู้จารึกน่าจะเป็นชาวอินเดียแท้ เพราะตัวอักษรที่ เกะสลักลงบนก้อนหินสวยงามมาก ศิลาจารึกหลักนี้ ตั้งแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร เรื่องที่ ๒ อำเภอท่าศาลาช่วงที่เป็นแคว้นอิสระบนคาบสมุทรมลายู


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 38 ๒.๑ ท่าศาลายุคก่อนอาณาจักรตามพรลิงค์ (พุทธศตวรรษที่ ๑-๖ พ.ศ. ๑-๖๐๐) เวลานี้ยังอยู่ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ มนุษย์ลงจากภูเขามาอาศัยอยู่บนพื้นราบกว้างระหว่าง เทือกเขาหลวงกับสันทรายของชายฝั่งอ่าวไทย ประกอบอาชีพท�ำกสิกรรมเพาะปลูกเลี้ยงสัตว์ประมาณต้นพุทธศตวรรษ ชาวอินเดียแล ่นเรือมาค้าขายและเผยแผ ่ศาสนา มาแสวงหาทรัพย์สมบัติในดินแดนที่ เรียกกันว ่า สุวรรณภูมิ โดยเดินเรือมาถึงฝั่งตะวันตกแล้วขึ้นบกที่ตักโกลาและท่าต่าง ๆ เดินทางข้ามคาบสมุทรถึงฝั่งตะวันออกที่เรียกกันว่า คาบสมุทรมลายู พุทธศตวรรษที่ ๓ พราหมณ์ชาวอินเดียกับคนพื้นเมืองกัมพูชาร่วมกันก่อตั้ง อาณาจักรฟูนัน ขึ้นในดินแดนของประเทศกัมพูชา อาณาจักรฟูนันมีอ�ำนาจครอบคลุมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมด กล่าวเฉพาะ คาบสมุทรมลายูชาวอินเดียที่เดินทางเข้ามามีอารยธรรมเหนือกว่าชาวพื้นเมือง ตั้งตนเป็นผู้น�ำเกิดเป็นชุมชน ขนาดย ่อมกระจัดกระจายอยู ่บนคาบสมุทรมลายูการเกิดชุมชนขนาดย ่อมดังกล ่าว ในขณะที่ผู้คนของชุมชน ไม่มีความรู้เรื่องสุขภาพอนามัยเป็นสาเหตุส�ำคัญที่ท�ำให้เกิดโรคระบาด จนต้องอพยพโยกย้ายถิ่นที่อยู่อาศัยกันเสมอ อ�ำเภอท่าศาลาเป็นส่วนหนึ่งของคาบสมุทรมลายู มีลักษณะการเกิดชุมชนโบราณในแบบเดียวกันชุมชนท่าศาลา และชุมชนอื่นในละแวกนี้นิยมสร้างบ้านที่อยู่อาศัยใกล้กับแม่น�้ำล�ำคลอง เช่น ชุมชนลุ่มน�้ำคลองกลายอันเป็นสายน�้ำ ขนาดใหญ่ ชุมชนลุ่มน�้ำคลองท่าเปรง (คลองเตาหม้อ) ชุมชนลุ่มน�้ำคลองท่าพุด (คลองท่าพุดสายเก่า) ชุมชนลุ่มน�้ำ คลองตูน (คลองยายปุด คลองสิงห์) ชุมชนลุ่มน�้ำคลองเกียบ(คลองลุ่มเข้) ชุมชนลุ่มน�้ำคลองชุมขลิง (คลองมะยิง) ชุมชนลุ่มน�้ำคลองลาว (คลองโต๊ะเน็ง) และชุมชนลุ่มน�้ำคลองอ้ายเขียว (คลองอ้ายคูคลองหญ้าปล้อง คลองจันพอ คลองอู่ตะเภา) เป็นต้น การเข้ามาของชาวอินเดียน�ำความเชื่อทางศาสนาเข้ามาด้วยศาสนาพราหมณ์มีทั้งลัทธิไศวนิกาย และลัทธิไวษณพนิกาย ศาสนาพุทธมีทั้งหินยานและมหายาน ชาวอินเดียที่เข้ามามีทั้งนักแสวงโชคลาภ โจรผู้ร้าย ขุนนาง นักบวชและเชื้อพระวงศ์ของกษัตริย์อีกหลายร้อยปีต ่อมาเกิดเป็นแว ่นแคว้นอิสระเล็ก ๆ มากมาย หลายแว่นแคว้น จากนั้นมีการรวบรวมแคว้นต่างๆเข้าด้วยกัน พัฒนาเป็นอาณาจักรที่มีกษัตริย์ปกครองอาณาจักร กว้างใหญ่ขึ้นมีเขตแดนชัดเจนขึ้น มีสิ่งก่อสร้างของศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธสร้างอยู่บนเนินเขาบ้างสร้างอยู่บน พื้นราบบ้าง มีอยู่มากมายกระจายไปทั่วทั้งอ�ำเภอท่าศาลา อ�ำเภอสิชลและอ�ำเภออื่น ๆ พบเห็นได้โดยทั่วไป ๒.๒ อาณาจักรตามพรลิงค์ยุคที่ ๑ (พุทธศตวรรษที่ ๗-๑๓ พ.ศ. ๖๐๑ ถึง พ.ศ. ๑๓๐๐) อาณาจักรตามพรลิงค์ปรากฏให้เห็นเป็นครั้งแรกเมื่อต้นพุทธศตวรรษที่ ๗ บันทึกคัมภีร์มหา นิทเทศติสสเมตเตยยสูตร อันเป็นวรรณคดีอินเดียโบราณบันทึกเป็นภาษาบาลีเมื่อพุทธศตวรรษที่ ๘ กล่าวถึง การเดินทางของนักเผชิญโชคเพื่อแสวงหาโชคลาภ แสวงหาความร�่ำรวยในดินแดนต่าง ๆ ชื่อเมืองที่ปรากฏอยู่ใน คัมภีร์มหานิทเทศติสสเมตเตยยสูตร เป็นเมืองท่าในภูมิภาคที่ตั้งอยู่บนเส้นทางการค้าและการเดินเรือเช่น เมืองท่า ในอินเดียเมืองท่าอเล็กซานเดรียเมืองท่าในศรีลังกาเมืองท่าในพม่าเมืองท่าในชวาและเมืองท่าบนคาบสมุทรมลายู เมืองท่าเหล่านี้มีอยู่เมืองหนึ่งเรียก กะมะลิง หรือ ตะมะลิง เมืองกะมะลิงที่กล่าวนี้ หมายถึง เมืองตามพรลิงค์ ซึ่งเป็นเมืองท่าที่ส�ำคัญบนคาบสมุทรสยามตั้งแต่ศตวรรษที่ ๗ อาณาจักรตามพรลิงค์ยุคที่ ๑ อาณาจักรตามพรลิงค์ ในยุคนี้ตั้งอยู่บริเวณ อ�ำเภอสิชล และอ�ำเภอท่าศาลา มีศูนย์กลางอยู่ที่เขาคา พระราชวังของอาณาจักรตามพรลิงค์ น ่าจะอยู ่บริเวณวัดสุธรรมาราม (สระใหญ่) ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเขาคา บ้านเรือนของชาวเมือง ตามพรลิงค์กระจายไปทั่วภูมิภาค ปัจจุบันเหลือซากโบราณสถานโบราณวัตถุอยู่ในต�ำบลโมคลาน ต�ำบลดอนตะโก ต�ำบลท่าศาลาต�ำบลไทยบุรีต�ำบลท่าขึ้น ต�ำบลสระแก้วต�ำบลตลิ่งชัน ต�ำบลกลายของอ�ำเภอท่าศาลาต�ำบลนาเหรง ของอ�ำเภอนบพิต�ำ ต�ำบลฉลองต�ำบลเสาเภาต�ำบลเทพราชต�ำบลสิชลต�ำบลทุ่งปรังต�ำบลเขาน้อยของอ�ำเภอสิชล ส่วนท่าเรือใหญ่ของอาณาจักรตามพรลิงค์ควรจะอยู่ที่ปากน�้ำ คลองท่าทน ตรงบริเวณ บ้านท่าหมาก ยังมีท่าเรือ


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 39 อื่น ๆเช่น ท่าเรือปากน�้ำคลองท่าหิน สองฝั่งคลองท่าหิน มีศาสนสถานและบ้านเรือนของชาวเมืองตามพรลิงค์อยู่อาศัย กันหนาแน่น ยังมีท่าเรือที่ปากน�้ำคลองกลาย ท่าเรือปากคลองกลายก็มีความส�ำคัญมากเช่นเดียวกัน มีศาสนสถาน และบ้านเรือนของชาวเมืองตามพรลิงค์อยู่อาศัยกันหนาแน่นทั้งทางฝั่งสระแก้ว (ฝั่งขวา) และฝั่งกลาย (ฝั่งซ้าย) ท่าเรือปากน�้ำคลองท่าเปรง หรือเรียกว่า ปากคลองเตาหม้อขุดพบสิ่งของโบราณมากมาย ท่าเรือปากน�้ำคลองท่าสูง ริมคลองท่าสูงในที่ดินของผู้ใหญ่อาภรณ์บุญญวงศ์ขุดพบดาบโบราณสร้อยทองค�ำ ชิ้นส่วนกระดูกมนุษย์(ทรัพย์สมบัติ ที่ขุดพบถูกชาวบ้านถือครองเป็นเจ้าของ) ท่าเรือปากคลองชุมขลิง ท่าเรือปากคลองในเขียวอู่ตะเภาเป็นท่าเรือส�ำคัญ ของศาสนาพราหมณ์เป็นท่าเรือของชุมชนโบราณโมคลาน ขุดพบเหรียญเงินฟูนัน ๑๕๐ เหรียญ เป็นต้น ตามท่าเรือ ของปากน�้ำดังกล่าว มักขุดพบโบราณวัตถุเป็นจ�ำนวนมากเช่น ซากเรือเดินทะเล โอ่ง ไห หม้อจาน ชาม เหรียญเงิน เหรียญทอง และมีการขุดพบกลองมโหระทึกส�ำริดวัฒนธรรมดองซอนในประเทศเวียดนามพบที่คลองท ่าทน บ้านเขายวนเฒ่า ต�ำบลเทพราช อ�ำเภอสิชล เป็นต้น เมื่อกล่าวถึงอาณาจักรตามพรลิงค์มีหลักฐานบอกเล่าถึงอาณาจักรแห่งนี้อยู่มากมาย ทั้งในบันทึก ของอินเดีย จีน อาหรับ ทุกคนยอมรับว่ามีอาณาจักรนี้อยู่ที่นครศรีธรรมราช แต่นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดี กลับหลีกเลี่ยงที่จะบอกว ่าอาณาจักรตามพรลิงค์ตั้งอยู ่ที่ใด มีบางคนตั้งสมมุติฐานว ่าอาณาจักรตามพรลิงค์ น่าจะตั้งอยู่ที่เดียวกับเมืองพระเวียง หรือเมืองตามพรลิงค์น่าจะตั้งอยู่ที่เดียวกับเมืองนครศรีธรรมราช อย่างไรก็ตาม มีความจริงอยู่อย่างหนึ่งคือ ชื่อของอาณาจักรตามพรลิงค์มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับศาสนาพราหมณ์แต่หลักฐาน ที่มีอยู่ในเมืองพระเวียง และหลักฐานที่มีอยู่ในเมืองนครศรีธรรมราช ไม่พบโบราณสถานของพราหมณ์ขนาดใหญ่ อยู่เลย อาณาเขตเมืองพระเวียงทิศใต้จดคลองคูพาย ทิศเหนือ จดคลองสวนหลวง และขยายไปถึงคลองป่าเหล้า เมืองพระเวียงมีแต่วัดวาอารามของศาสนาพุทธ เช่น วัดสวนหลวงตะวันออก วัดสวนหลวงตะวันตก วัดบ่อโพง วัดเพชรจริกตะวันออก วัดเพชรจริกตะวันตก วัดพระเวียง วัดกุฏิวัดพระเสด็จ นอกเมืองทางเหนือก็มีวัดชายนา วัดท้าวโคตร วัดโคกธาตุ เป็นต้น ขณะที่อาณาเขตเมืองนครศรีธรรมราชทิศใต้จดคลองป่าเหล้า ทิศเหนือ จดคลอง หน้าเมือง ไม ่พบไม ่เห็นโบราณสถานของพราหมณ์ที่มีขนาดใหญ ่อยู ่ในตัวเมือง แม้แต ่การประกอบพิธีกรรม ของพราหมณ์เมืองนครศรีธรรมราชก็ใช้วัดพระบรมธาตุเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรม เนื่องจากไม่มีโบสถ์พราหมณ์ ให้ใช้นั่นเอง โบราณสถานที่มีอยู่ก็เป็นวัดวาอารามของศาสนาพุทธ เช่น วัดพระบรมธาตุ วัดหน้าพระบรมธาตุ วัดหน้าพระลาน วัดสระเรียง วัดพระนคร วัดเสมาเมือง วัดเสมาชัย วัดสวนป่าน เป็นต้น โบราณสถานของพราหมณ์ ที่มีอยู่ก็มีขนาดเล็ก เช่น ฐานพระเลี่ยม หอพระอิศวร หอพระนารายณ์และเสาชิงช้าสิ่งก่อสร้างดังกล่าวถูกสร้างขึ้น มาในชั้นหลังอีกทั้งโบราณวัตถุที่เป็นรูปเคารพของศาสนาพราหมณ์เช่น พระวิษณุพระศิวะศิวลึงค์ฐานโยนิโทรณะ รวมทั้งศิลาจารึกหลักต่างๆสิ่งดังกล่าวเหล่านี้สามารถเคลื่อนย้ายไปมาได้โบราณวัตถุที่มีอยู่ในเมืองพระเวียงที่มีอยู่ ในเมืองนครศรีธรรมราชถูกเคลื่อนย้ายมาจากอ�ำเภอท่าศาลา สิชล นบพิต�ำ พรหมคีรีเป็นต้น ที่กล่าวว่าอาณาจักร ตามพรลิงค์ยุคแรกตั้งอยู่ที่เมืองพระเวียง หรือ อาณาจักรตามพรลิงค์ยุคแรกตั้งอยู่ที่เมืองนครศรีธรรมราช จึงไม่เป็น ความจริง แต่มีหลักฐานบ่งบอกอย่างชัดเจนในศิลาจารึกว่าเมืองพระเวียงและเมืองนครศรีธรรมราช เป็นศูนย์กลาง ของอาณาจักรตามพรลิงค์เช่นเดียวกัน แต่เป็นในช่วงหลังเมื่ออาณาจักรตามพรลิงค์หันมานับถือศาสนาพุทธแล้ว โดยเป็นศูนย์กลางอาณาจักรตามพรลิงค์ในยุคที่ ๒ และยุคที่ ๓ ตามล�ำดับ อาณาจักรตามพรลิงค์ต้องอยู่คู่กับศาสนาพราหมณ์ชื่อของอาณาจักรมาจากสิ่งที่ส�ำคัญที่สุด ของศาสนาพราหมณ์ดังนั้น ที่ตั้งของอาณาจักรตามพรลิงค์ต้องมีสิ่งก่อสร้างของศาสนาพราหมณ์ในขณะที่แผ่นดิน ของอ�ำเภอสิชลและแผ่นดินของอ�ำเภอท่าศาลา เต็มไปด้วยโบราณสถานโบราณวัตถุของศาสนาพราหมณ์ดังนั้น อาณาจักรตามพรลิงค์จึงเริ่มต้นจากอ�ำเภอสิชลและอ�ำเภอท่าศาลา ที่กล่าวมานี้อาจเป็นค�ำตอบของค�ำถามที่ว่า


Click to View FlipBook Version