The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

เอกสารประกอบการเรียน ท่าศาลาศึกษา

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

เอกสารประกอบการเรียน ท่าศาลาศึกษา

เอกสารประกอบการเรียน ท่าศาลาศึกษา

Keywords: ท่าศาลา

หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 90 พายุฟอร์เรสต์ขึ้นฝั่งที่อ�ำเภอท่าศาลาตอนกลางวันช่วงบ่ายประมาณ ๑๓.๓๐ น. ความแรง ของพายุฟอร์เรสต์น้อยกว่าความแรงของพายุแฮร์เรียตเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๕ จ�ำไม่ได้ว่ามีคนเสียชีวิตหรือไม่ความเสียหาย ส่วนใหญ่เกิดขึ้นกับตัวอาคารบ้านเรือน โรงเรียน วัดวาอาราม เรือสัตว์เลี้ยง บ้านของราษฎรพังเสียหายหลายหลัง อาคารเรียนส่วนใหญ่เสียหายที่กระเบื้องมุงหลังคา ถูกแรงลมพัดกระหน�ำท�ำให้กระเบื้องหลุดร่วงแตกหักลงมา ๖. จัดตั้งมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (วันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๓๕) เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๐ ชาวนครศรีธรรมราชเริ่มรณรงค์ เรียกร้องให้มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยใน จังหวัดนครศรีธรรมราช จนกระทั่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อ วันที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๑ ให้จัดตั้งวิทยาลัย นครศรีธรรมราชสังกัดมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เพื่อยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศในอนาคตแต่ก็ได้ยกเลิก มติดังกล่าวในเวลาต่อมาและอนุมัติให้จัดตั้งมหาวิทยาลัยที่จังหวัดนครศรีธรรมราชเมื่อวันที่๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ เมื่อวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานนามว่า“มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์”อันเป็นสร้อยพระนามในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี๑๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ สภานิติบัญญัติแห่งชาติมีมติให้ความเห็นชอบ พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย วลัยลักษณ์พ.ศ. ๒๕๓๕ และเมื่อวันที่๒๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงลงพระปรมาภิไธย ด้วยเหตุนี้มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ถือเอาวันที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นวันสถาปนามหาวิทยาลัย ดังนั้น วันที่ ๒๙ มีนาคมของทุกปีจึงเป็นวันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์วันที่ ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๖ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์อัครราชกุมารีพระราชทานพระอนุญาตให้อัญเชิญอักษรย่อ คือ พระนาม จ.ภ. ซึ่งเป็นพระนามย่อของพระองค์มาเป็นตราประจ�ำมหาวิทยาลัย ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๖ จัดตั้ง ส�ำนักงานอธิการบดีและหน่วยประสานงานมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์กรุงเทพมหานคร ณ อาคารทบวงมหาวิทยาลัย ถนนศรีอยุธยา เขตพญาไท กรุงเทพมหานครและในวันที่ ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ สภามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยมีศาสตราจารย์ดร.เกษม สุวรรณกุลเป็นนายกสภามหาวิทยาลัยท่านแรกและศาสตราจารย์ดร.วิจิตรศรีสะอ้าน ด�ำรงต�ำแหน่งรักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ วันที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จ พระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์อัครราชกุมารีเสด็จพระด�ำเนินเป็นองค์ประธานในพิธี วางศิลาฤกษ์อาคารมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อ�ำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช วันนี้เป็นวันมงคลยิ่ง ของชาวมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ วันที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ จัดแถลงข ่าวเรื่องการเปิดรับนักศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๔๑ วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ เปิดเรียนเปิดสอนเป็นวันแรก เบื้องหลังและผลพวงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์พื้นที่นับหมื่นไร่ที่ใช้จัดตั้งมหาวิทยาลัย วลัยลักษณ์ พื้นที่บริเวณนี้ผ่านความเจริญและผ่านความเสื่อมมาแล้วหลายครั้ง มนุษย์ลงมาจากภูเขาละทิ้งเถื่อนถ�้ำ และเพิงผา มาอาศัยอยู่บนพื้นราบตามสองฝั่งของล�ำน�้ำคลองชุมขลิง คลองเกียบ ครองตูล คลองปุด คลองท่าพุด และคลองท่าเปรง พัฒนาจากชุมชนบรรพกาลมีการเพาะปลูกเลี้ยงสัตว์อยู่อาศัยต่อเนื่องกันมาจนกลายเป็นชุมชนใหญ่ มีหมู่บ้านขนาดใหญ่หลายหมู่บ้าน วัดวาอารามโบสถ์พราหมณ์ถูกก่อสร้างขึ้นมาตามความเชื่อของผู้คนในแต่ละยุค แต่ละสมัย ชุมชนของหมู่บ้านบางครั้งก็ถูกภัยของโรคร้ายหรืออาจเกิดภัยพิบัติจากสงคราม ท�ำให้ผู้คนละทิ้งถิ่นฐาน หลบไปอยู่ในที่ปลอดภัย หลังจากนั้นก็หวนกลับมาอยู่อาศัยกันใหม่ เป็นอยู่แบบนี้ต่อเนื่องกันมานานนับพันปีพื้นที่ ของมหาวิทยาลัยจึงมีหมู่บ้านมีศาสนสถานทั้งของพุทธและของพราหมณ์อยู่เป็นจ�ำนวนมากเช่น โบราณสถานตุมปัง วัดเกาะพระนารายณ์วัดนางตรา วัดท่าคอย วัดแสงแรง วัดจันตก วัดจันออก วัดกลาง วัดนาเตย วัดท่าสูง (ตั้งอยู่ ริมสันทรายด้านตะวันตก)วัดขุนโขลงวัดดาน วัดคลองดิน วัดกุลวัดม่วงมอน วัดนางสระ(ปัจจุบันคือวัดสระประดิษฐ์) วัดป่า (โมคลาน) วัดใหญ่(วัดใหญ่รัตนโพธิ์) เป็นต้น ดังได้อธิบายเอาไว้ว่า ข้าวมีความส�ำคัญมาก พื้นที่บริเวณนี้ ผู้คนในสมัยก่อนจึงใช้ท�ำนาปลูกข้าว มีผู้คนอาศัยกันที่พื้นราบทางด้านตะวันตกของสันทราย อยู่กันเป็นหมู่บ้าน ขนาดใหญ่ ขณะที่พื้นที่บนสันทรายยังเป็นป่ารกทึบไม่มีบ้านไม่มีผู้คนอยู่อาศัย บนสันทรายจึงเต็มไปด้วยต้นไม้ ขนาดใหญ่ เช่น ต้นยางนา ต้นตะเคียน ยังมีไม้ขนาดใหญ่ประเภทไม้เนื้ออ่อนอีกมากมายหลายพันธุ์อย่างไรก็ตาม


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 91 แม้สันทรายจะไม่มีผู้คนอยู่อาศัย แต่ปากน�้ำของสันทรายกลับมีผู้คนอยู่อาศัยกันเป็นจ�ำนวนมาก เพราะตรงปากน�้ำ เป็นทางเข้าออกของผู้คนที่เดินทางโดยทางเรือไปยังสถานที่ ที่อยู่ไกลออกไปจากชุมชนที่ตนอยู่อาศัย รวมทั้งเรือ จากต่างประเทศที่แวะเวียนเข้ามารับส่งสินค้า เช่น อินเดีย อาหรับ จีน ลังกา ชวา เขมร ญวน เป็นต้น ครั้นเวลาผ่านไปไม่นานนักช่วงหนึ่งร้อยกว่าปีที่ผ่านมาชาวบ้านอพยพไปปลูกสร้างบ้านเรือน บนสันทรายดังนั้น ก่อนการใช้พื้นที่ดังกล่าวจัดตั้งมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์พื้นที่บริเวณนี้จึงเป็น ที่นาและป่าละเมาะ มีกอไผ่ขึ้นกระจัดกระจายเรียกว่าทุ่งบ้านไผ่ บ้านเรือนผู้คนมีไม่มากนักเนื่องจากชาวบ้านส่วนใหญ่ขึ้นไปอยู่อาศัย บนสันทรายกันเกือบหมดเมื่อมีการสร้างมหาวิทยาลัยก็ต้องย้ายชาวบ้านไปอยู่ในชุมชนใหม่โดยแบ่งที่ดินให้ชาวบ้าน ได้ท�ำมาหากินครอบครัวละ ๕ ไร่ชุมชนใหม่อยู่ทางตะวันตกของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์บางครอบครัวก็ไม่ยอมย้าย ไปอยู่ในชุมชนใหม่ยังคงอาศัยที่บ้านของตนทางราชการน่าจะจัดสรรที่ดินด้านตะวันตกที่ยังพอมีอยู่เช่น ที่ดินริมคลอง วังแร่ที่ปัจจุบันให้ชาวบ้านเช่าปลูกแตงโม จัดสรรให้กับชาวบ้านส่วนที่ยังไม่ย้ายออกไป ไม่แน่นักครั้งนี้ชาวบ้าน อาจจะย้ายออกไปก็ได้ซึ่งจะท�ำให้มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีอาณาบริเวณที่เป็นเอกเทศ มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยดี ๗. การจัดตั้งองค์การบริหารส่วนต�ำบล มีชื่อย่ออย่างเป็นทางการว่าอบต. มีฐานะเป็นนิติบุคคล และเป็นหน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสภาต�ำบล และองค์การบริหาร ส่วนต�ำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และแก้ไขเพิ่มเติมจนถึงฉบับที่ ๖ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยยกฐานะของสภาต�ำบลที่มีรายได้ โดยไม ่รวมเงินอุดหนุน ในปีงบประมาณที่ล ่วงมาติดต ่อกันสามปีเฉลี่ยไม ่ต�่ำกว ่าปีละหนึ่งแสนห้าหมื่นบาท ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๗ มีองค์การบริการส่วนต�ำบลทั้งสิ้น ๕,๓๓๕ แห่ง ทั่วประเทศ องค์การบริหาร ส่วนต�ำบล ประกอบด้วยสภาองค์การบริหารส่วนต�ำบล และนายกองค์การบริหารส่วนต�ำบล สภาองค์การบริหาร ส่วนต�ำบลประกอบด้วยสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนต�ำบล จ�ำนวนหมู่บ้านละ ๒ คน เลือกตั้งโดยราษฎรผู้มีสิทธิ์ เลือกตั้งในแต่ละหมู่บ้าน ในเขตองค์การบริหารส่วนต�ำบลนั้นๆกรณีเขตต�ำบลมีเพียง ๑ หมู่บ้าน ให้มีสมาชิกองค์การ บริหารต�ำบลได้๖ คน กรณีมี๒ หมู่บ้าน มีสมาชิกสภาต�ำบลได้หมู่บ้านละ ๓ คน รวมกันมีได้ไม่เกิน ๖ คน องค์การบริหารส ่วนต�ำบลมีนายกองค์การบริหารส ่วนต�ำบล ๑ คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งจากราษฎรโดยตรง ภายในต�ำบลนั้นๆและ นายกองค์การบริหารส่วนต�ำบลสามารถแต่งตั้งรองนายกองค์การบริหารส่วนต�ำบลได้๒ คน ภายในองค์การบริหารส ่วนต�ำบลมีข้าราชการจากกระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ เท ่าที่จ�ำเป็นมาปฏิบัติหน้าที่ เป็นข้าราชการประจ�ำ โดยอยู่ภายใต้การควบคุมของปลัดองค์การบริหารส่วนต�ำบล ๘. จัดตั้งอ�ำเภอนบพิต�ำ พื้นที่อ�ำเภอนบพิต�ำทุกต�ำบลแต่เดิมเป็นส่วนหนึ่งของอ�ำเภอท่าศาลา เมื่อวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๘ กระทรวงมหาดไทยแยกพื้นที่ของอ�ำเภอท่าศาลา คือ ต�ำบลนบพิต�ำ และ ต�ำบลกะหรอ ไปจัดตั้งเป็นกิ่งอ�ำเภอนบพิต�ำ หมายความว่า น�ำเมืองร่อน กะหรอและเมืองนบพิต�ำ ในอดีตไปจัดตั้ง เป็นกิ่งอ�ำเภอนบพิต�ำ การจัดตั้งกิ่งอ�ำเภอนบพิต�ำมีผลตั้งแต่วันที่๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๘ ต่อมาในวันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะ กิ่งอ�ำเภอนบพิต�ำขึ้นเป็นอ�ำเภอนบพิต�ำ มีผลตั้งแต่วันที่ ๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐ เมื่อต�ำบลกะหรอและต�ำบลนบพิต�ำตั้งเป็นกิ่งอ�ำเภอนบพิต�ำมีหมู่บ้าน วัด โรงเรียน บุคลากรอาคารสถานที่และสิ่งต่างๆถูกโอนไปสังกัดกิ่งอ�ำเภอนบพิต�ำ เช่น บ้านตลาดจันทร์บ้านไสรักษ์บ้านสะดวด บ้านอู่ทอง บ้านหัวทุ่ง บ้านตลาดศุกร์บ้านนานอน บ้านนาเหรง บ้านในตูล บ้านโรงเหล็ก บ้านท่าพุด บ้านลานวัว บ้านวังเลา บ้านพังหรัน บ้านทอนผักกูด บ้านสวนกลาง บ้านราโพธิ์ บ้านนบ บ้านเปียน บ้านปากลง บ้านกรุงชิง บ้านทับน�้ำเต้าเป็นต้น หากพูดถึงทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ ที่อ�ำเภอท่าศาลาเคยได้รับผลประโยชน์จากดินแดนแถบนี้ เมื่อเกิดกิ่งอ�ำเภอนบพิต�ำท�ำให้อ�ำเภอท่าศาลาสูญเสียผลประโยชน์ที่ได้จากทรัพยากรธรรมชาติไปทั้งหมดอย่างไร ก็ตามในการท�ำเหมืองแร่ต่าง ๆ ที่ตั้งของบริษัทเหมืองแร่ก็ยังตั้งมั่นอยู่ที่อ�ำเภอท่าศาลาปัจจุบัน อ�ำเภอนบพิต�ำ เป็นแหล่งดูดทรายที่ส�ำคัญที่สุดในจังหวัดนครศรีธรรมราช คลองกลายมีแหล่งทรายตลอดล�ำน�้ำ ทรายถูกดูดถูกขน เข้าตัวจังหวัดและอ�ำเภอต่างๆในแต่ละวันจ�ำนวนมหาศาลรถ ๔ ล้อรถ ๖ ล้อรถ ๑๐ ล้อรถพ่วง ๑๘ ล้อขนทราย


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 92 จากคลองกลายทั้งกลางวันกลางคืน มีผลกระทบกับธรรมชาติเป็นอย่างมากเพราะการดูดทรายท�ำให้พื้นดินริมคลอง กลายเช่น สวนยางพาราสวนปาล์มน�้ำมัน ไร่ข้าวโพดไร่ยาสูบ ไร่พริกสไลด์ลงไปแทนทรายที่ถูกดูดเกิดความเสียหาย กับคนที่มีที่ดินอยู่ริมคลอง ที่ส�ำคัญคือในอดีตทรายจากคลองกลายถูกกระแสน�้ำพัดลงสู่ท้องทะเลแต่ละปีจะมีทราย ไหลลงทะเลเป็นจ�ำนวนมากเมื่อขาดทรายที่จะเติมลงไปในทะเลเพราะทรายถูกดูดเสียก่อนไปถึงทะเลจึงไม่มีทราย ไหลลงทะเลมาหลายปีแล้วถึงวันนี้ทะเลเริ่มกินพื้นดินริมชายหาดบริเวณต�ำบลกลายต�ำบลสระแก้วต�ำบลท่าขึ้น และ ต�ำบลท่าศาลา ชาวบ้านต้องสูญเสียพื้นที่สวนมะพร้าวปีละ ๑-๒ แถว ทุกปีเพราะทะเลรุกคืบเข้ามากินสวนมะพร้าว ของชาวบ้าน ดังนั้น ควรยกเลิกสัมปทานดูดทรายในคลองกลายเพราะเกิดผลเสียมากกว่าผลดี รัชกาลที่ ๑๐ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร (พ.ศ.๒๕๕๙ – ถึงปัจจุบัน) สมเด็จพระเจ้าอยู ่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงเป็นพระราชโอรส ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันจันทร์ที่ ๒๘ ก.ค.๒๔๙๕ ณ พระที่นั่ง อัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ได้รับพระราชทานพระนามว ่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ ทรงมีพระเชษฐภคินีคือ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดีและพระขนิษฐา ๒ พระองค์คือ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติสยามบรมราชกุมารีและสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์อัครราชกุมารี พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดชทรงสถาปนาขึ้น เป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้า มหาวิชราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมารเมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๑๕ ขณะนั้นทรงเจริญพระชนมายุ ๒๐ พรรษา นับเป็นกระบวนการ สืบราชสันตติวงศ์ที่ชัดเจนตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการ สืบสันตติ วงศ์พ.ศ.๒๔๖๗ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระราชสมภพ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๕) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ ๑๐ แห่งราชวงศ์จักรีเสด็จขึ้น ครองราชย์เมื่อวันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ จนถึงปัจจุบัน เป็นพระราชโอรสพระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จ พระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พันปีหลวง พระองค์มีพระเชษฐภคินีและพระขนิษฐภคินีร่วมพระราชชนนี๓ พระองค์ ในหลวงร.10 พระราชทางโครงการ“จิตอาสาเราท�ำความดีด้วยหัวใจ”เพื่อส่งเสริมให้คนไทย สมัครสมานสามัคคีสร้างสรรค์ความดีเพื่อประโยชน์ต่อประเทศชาติไม่หวังสิ่งตอบแทน


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 93 นามบ้าน นามเมือง บทที่ ๓ สาระส�ำคัญ ลักษณะการตั้งถิ่นฐาน หลักฐาน ภูมิหลังความเป็นมาของการตั้งชื่อหมู่บ้านในต�ำบลท่าศาลา และต�ำบล ในเขตอ�ำเภอท่าศาลา ตัวชี้วัด ๑. อธิบายภูมิหลังความเป็นมาของการตั้งชื่อต�ำบลในอ�ำเภอท่าศาลา ๒. อธิบายภูมิหลังความเป็นมาการตั้งชื่อหมู่บ้านในต�ำบลท่าศาลา ๓. มีทักษะในการสื่อสาร โดยการฟัง การซักถาม การสัมภาษณ์ การจดบันทึก และการถ่ายทอด ความรู้จากการฟังการบรรยาย การสัมภาษณ์น�ำข้อมูลไปเสนอให้บุคคลอื่น ๆ ได้ ๔. มีการจัดท�ำรายงานการศึกษาความเป็นมาของบ้าน ชุมชน ในต�ำบลที่นักศึกษาอาศัยอยู่ ขอบข่ายเนื้อหา เรื่องที่ ๑ ภูมิหลัง ความเป็นมาการตั้งชื่อต�ำบลในอ�ำเภอท่าศาลา ๑.๑ ต�ำบลท่าศาลา ๑.๒ ต�ำบลสระแก้ว ๑.๓ ต�ำบลโพธิ์ทอง ๑.๔ ต�ำบลดอนตะโก ๑.๕ ต�ำบลท่าขึ้น ๑.๖ ต�ำบลกลาย ๑.๗ ต�ำบลหัวตะพาน ๑.๘ ต�ำบลโมคลาน ๑.๙ ต�ำบลไทยบุรี ๑.๑๐ ต�ำบลตลิ่งชัน เรื่องที่ ๒ ภูมิหลัง ความเป็นมาการตั้งชื่อหมู่บ้านในต�ำบลท่าศาลา ๒.๑ หมู่ ๑ บ้านโดน ๒.๒ หมู่ ๒ บ้านเตาหม้อเหนือ บ้านโคกเหรียง บ้านสี่กั๊ก บ้านทุ่งเขื่อน ๒.๓ หมู่ ๓ บ้านท่าสูง บ้านนางตรา ๒.๔ หมู่ ๔ บ้านท่าสูงบน ๒.๕ หมู่ ๕ บ้านในถุ้ง ๒.๖ หมู่ ๖ บ้านสระบัว ๒.๗ หมู่ ๗ บ้านหน้าทับ ๒.๘ หมู่ ๘ บ้านปากน�้ำใหม่


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 94 ๒.๙ หมู่ ๙ บ้านด่านภาษี ๒.๑๐ หมู่ ๑๐ บ้านบ่อนนท์ ๒.๑๑ หมู่ ๑๑ บ้านฝายท่า ๒.๑๒ หมู่ ๑๒ บ้านในไร่ ๒.๑๓ หมู่ ๑๓ บ้านในไร่ บ้านเตาหม้อใต้บ้านสวนพริก ๒.๑๔ หมู่ ๑๔ บ้านแหลม ๒.๑๕ หมู่ ๑๕ บ้านบางตง เวลาที่ใช้ในการศึกษา ๘ ชั่วโมง สื่อการเรียนรู้ ๑. เอกสารประกอบการเรียนหลักสูตรรายวิชาเลือกท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ๒. คู่มือนักศึกษา รายวิชาเลือกท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ๓. สื่อเสริมการเรียนรู้อื่น ๆ


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 95 ดินแดนนี้เป็นที่ตั้งของเมืองโบราณพลเมืองเป็นคนไทยเผ่าไทโยจากหลักฐานที่ค้นพบ อ�ำเภอท่าศาลา มีการปกครองระบบหัวเมืองมาแต่ปลายสมัยอยุธยา และในสมัยรัชกาลที่ ๒ โปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นศักดิ์พลเสพย์จัดตั้งราชการเมืองนครศรีธรรมราชให้ครบทุกต�ำแหน่ง ซึ่งอ�ำเภอท่าศาลา แยกการปกครอง ดังนี้ ๑. เมืองไทยบุรีมีออกหลวงไทยบุรีสงครามเป็นนาย ถือศักดินา ๑,๒๐๐ ไร่ ขุนราชบุรีเป็นรอง ถือศักดินา ๔๐๐ ไร่ หมื่นเทพบุรีกับหมื่นบานบุรีเป็นสมุห์บัญชีถือศักดินา ๒๐๐ ไร่ หมื่นสิทธิ์เป็นสารวัตรถือศักดินา ๒๐๐ ไร่ ๒. เมืองร่อนกะหรอ (ต�ำบลกะหรอ กิ่งอ�ำเภอนบพิต�ำ) ขุนชัยบุรีเป็นนาย ถือศักดินา ๔๐๐ ไร่ หมื่นศักดิ์บุรีเป็นรอง ถือศักดินา ๓๐๐ ไร่ หมื่นจงบุรีเป็นสมุห์บัญชีถือศักดินา ๒๐๐ ไร่ ๓. เมืองกลายขุนพิชัยธานีสงคราม เป็นนายถือศักดินา ๖๐๐ ไร่ หมื่นราชบุรีเป็นรองถือศักดินา ๓๐๐ ไร่ หมื่นรักษาบุรีกับหมื่นอินศรีเป็นสมุห์บัญชีถือศักดินา ๒๐๐ ไร่ ๔. เมืองโมคลาน ขุนทัณฑ์ธานีเป็นนาย ถือศักดินา ๔๐๐ ไร่ หมื่นชลบุรีเป็นรอง ถือศักดินา ๓๐๐ ไร่ ๕. เมืองนบพิต�ำขุนเดชธานีนบพิต�ำ เป็นนายถือศักดินา ๔๐๐ ไร่ หมื่นหาญ เป็นรองถือศักดินา ๓๐๐ ไร่ หมื่นจบบุรีเป็นสมุห์บัญชีถือศักดินา ๒๐๐ ไร่ ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ แห ่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีการปฏิรูปการปกครองเป็นมณฑล ร.ศ.๑๑๖ ออกเป็น ๙ อ�ำเภอ คือ อ�ำเภอกลางเมือง อ�ำเภอเบี้ยซัด อ�ำเภอร่อนพิบูลย์อ�ำเภอสิชล อ�ำเภอล�ำพูน อ�ำเภอฉวาง อ�ำเภอทุ่งสง อ�ำเภอกลาย อ�ำเภอเขาพังไกร อ�ำเภอกลายมี๑๐ ต�ำบล คือ ต�ำบลกลาย ต�ำบลท่าศาลา ต�ำบลท่าขึ้น ต�ำบลสระแก้ว ต�ำบลไทยบุรี ต�ำบลกะหรอ ต�ำบลนบพิต�ำ ต�ำบลหัวตะพาน ต�ำบลโมคลาน ต�ำบลดอนตะโก มีนายเจริญ เป็นนายอ�ำเภอคนแรก เมื่อ ร.ศ. ๑๑๖-๑๑๘ ที่ว่าการอ�ำเภอตั้งอยู่ริมทะเลบ้านปากน�้ำท่าสูง ได้ย้ายไปตั้งที่วัดชลธาราม (วัดเตาหม้อ) จนถึง พ.ศ. ๒๔๕๙ จึงได้ย้ายที่ว ่าการอ�ำเภอมาตั้งในบ้านศาลาน�้ำ ที่เรียกกันว่า ท่าหลา เพราะมีศาลาที่ท่าเรือ เปลี่ยนชื่ออ�ำเภอกลาย มาเป็น อ�ำเภอท่าศาลา ปัจจุบัน อ�ำเภอท่าศาลา มีการแบ ่งการปกครองออก เป็น ๑๐ ต�ำบล คือ ต�ำบลท่าศาลา ต�ำบลสระแก้ว ต�ำบลโพธิ์ทอง ต�ำบลดอนตะโกต�ำบลท่าขึ้น ต�ำบลกลายต�ำบลหัวตะพาน ต�ำบลโมคลาน ต�ำบลไทยบุรีและต�ำบลตลิ่งชัน โดยแต่ละต�ำบลมีประวัติความเป็นมา ดังนี้ ๑.๑ ต�ำบลท่าศาลา ตามหนังสือท่าศาลาศึกษาด้วยรักและภูมิใจในแผ่นดิน ท่าศาลา ๑๐๐ ปีพ.ศ. ๒๕๔๑ โดยอาจารย์บุญเสริม แก้วพรหมได้เขียน ไว้ในหน้า ๑๓ “ท่าศาลา”กล่าวว่า บ้านท่าศาลา คือ ชื่อหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ เรื่องที่ ๑ ภูมิหลัง ความเป็นมาของการตั้งชื่อตำบลในอำเภอท่าศาลา


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 96 ริมคลองท่าศาลาเป็นคลองเล็ก ๆ แยกจากคลองท่าสูง เป็นท่าจอดเรือสินค้าจากต่างเมือง และมีศาลาพักร้อน ปลูกอยู่ที่ ท่าจอดเรือ “ท่าศาลา” จึงเป็นชื่อหมู่บ้านตามนัยนี้และเมื่อย้ายที่ตั้งจากวัดเตาหม้อมาตั้งที่หมู่บ้านนี้ จึงเปลี่ยนเป็นชื่ออ�ำเภอท่าศาลาเป็นไปตามชื่อหมู่บ้าน ปัจจุบันมีศาลาซึ่งเป็นพื้นคอนกรีต มุงกระเบื้องเป็นศาลาถาวร ตั้งอยู่ริมคลองท่าศาลา บริเวณท่าจอดเรือสมัยก่อนอยู่หลังหนึ่งเรียกว่า“ศาลาน�้ำ”(ศาลาดังกล่าวได้รับการปรับปรุง โดยสุขาภิบาลท่าศาลา) ค�ำว่า “ท่าศาลา” เป็นค�ำที่ออกเสียงตามภาษากลางซึ่งเป็นภาษาราชการ แต่ภาษาใต้ ซึ่งเป็นภาษาพูดของคนนครโดยทั่วไปนั้นคงเรียกว่า “ท่าหลา” นั้นเอง ๑.๒ ต�ำบลสระแก้ว ชื่อต�ำบลสระแก้วตามประวัติศาสตร์ที่สืบทราบว่า มีคนไปขุดดินเพื่อตกแต่งสระน�้ำจะได้ใช้น�้ำที่ดี ก็พบลูกแก้วสีเขียวและเป็นกี่ลูกก็หาทราบไม่ต่อมาจึงเรียกพื้นที่นี้ว่าสระแก้วและในปีพ.ศ. ๒๓๕๔ ตรงกับรัชกาลที่๒ แห ่งกรุงรัตนโกสินทร์ เจ้าพระยานครศรีธรรมราชได้จัดการปกครองเมืองนครให้ทันสมัยแบบเมืองกรุง และ ส่วนภายนอกเมืองแบ่งการปกครองออกเป็นเมืองย่อย ๆ ได้๑๐ เมือง ๑๔ อ�ำเภอ ๒๖ ต�ำบล ๓ แขวง ๔ ด่าน อดีตเป็นการปกครองแบบอ�ำเภอสิชล ต ่อมาแบ ่งเขตการปกครองเป็นอ�ำเภอกลายขึ้นด้วยอ�ำเภอหนึ่งโดยตั้ง ที่ท�ำการอ�ำเภอที่วัดมเหยงค์ของต�ำบลสระแก้วก็ต้องอยู่ภายใต้การปกครองของอ�ำเภอกลายไปด้วย มีขุนพิชัยธานี ศรีสงคราม เป็นหัวหน้า ต่อมาในรัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้ตราพระราชบัญญัติการปกครองท้องถิ่นขึ้น เสียใหม่ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๐ โดยตัดค�ำว่าเมืองออก และจัดตั้งอ�ำเภอขึ้นทั่วประเทศ เมืองนครก็คงเหลือ ๙ อ�ำเภอ ค�ำว่ากลายก็คงเป็นอ�ำเภอคงเดิม การปกครองภายในอ�ำเภอก็แยกออกเป็นต�ำบลสระแก้ว ถูกจัดตั้งขึ้นเป็นต�ำบล ๆ หนึ่งด้วย ปัจจุบันต�ำบลสระแก้วแบ่งการปกครองออกเป็น ๑๑ หมู่บ้าน ๑.๓ ต�ำบลโพธิ์ทอง ต�ำบลโพธิ์ทองเป็นต�ำบลที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่โดยแยกมาจากต�ำบลหัวตะพานเดิม ส่วนมากจะอพยพ จากถิ่นที่อยู่อื่น คือผู้ที่นับถือศาสนาพุทธซึ่งส่วนใหญ่จะมาจากต�ำบลหัวตะพานและชุมชนดั้งเดิม คือ“ชุมชนบ้านโคก” ซึ่งเป็นชุมชนโบราณตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกสุดของหมู่ที่ ๑ ต�ำบลโพธิ์ทองติดต่อกับต�ำบลหัวตะพาน ต่อมาได้อพยพ มาตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนใหม่ บริเวณสันทรายทางด้านทิศตะวันออกในหมู่ที่ ๑, ๒ของต�ำบล ปัจจุบัน “บ้านโคก” ไม่มีสภาพเป็นชุมชนอีก ส่วนผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งมีประมาณ ๘๐% ของจ�ำนวนประชากรทั้งหมดของต�ำบล ส่วนหนึ่งมาจาก “เมืองสตูล” (ไทรบุรี) จากค�ำบอกเล่าของผู้เฒ่า ผู้แก่ชาวมุสลิมในเขตพื้นที่ต�ำบลโมคลาน และ ต�ำบลโพธิ์ทอง เล่าต่อ ๆ กันมาว่า ชาวมุสลิมในต�ำบลโพธิ์ทองและต�ำบลโมคลานเป็นลูกหลานสืบเชื้อสายมาจาก “ปังลิมอ เจ๊ะเต๊ะ” แม่ทัพเมืองสตูล ที่ถูกกวาดต้อนพร้อมเครือญาติและทหารบางส่วนมายังเมืองนครศรีธรรมราช เมื่อคราวเจ้าเมืองไทรบุรีไม่ยอมอ่อนข้อต่อไทยซึ่งเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชยกก�ำลังเข้าปราบปรามและกวาดต้อนมา โดยมาตั้งถิ่นฐานครั้งแรก ที่ทุ่งบ้านใหญ่ ต�ำบลโมคลาน และสืบเชื้อสายอยู่ในเขตต�ำบลโมคลาน และต�ำบลโพธิ์ทอง ในปัจจุบัน ส่วนที่มาของชื่อต�ำบล กล่าวขานกันมาว่า มีที่ดอนอยู่ที่หนึ่ง ซึ่งมีต้นโพธิ์ทองต้นใหญ่ต้นหนึ่งได้ให้ร่มเงา เป็นที่พักอาศัยถาวรจนถึงปัจจุบันนี้เมื่อแยกจากต�ำบลหัวตะพานจึงได้ชื่อต�ำบลว่า“ต�ำบลโพธิ์ทอง”ต�ำบลโพธิ์ทอง เป็นต�ำบลที่มีความสงบมาช้านาน มีความอุดมสมบูรณ์ทางด้านกสิกรรม มีความเป็นอยู่อย่างเรียบง่ายและประชาชน ยึดมั่นในศาสนา


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 97 ๑.๔ ต�ำบลดอนตะโก ดอนตะโกแดนดินถิ่นโบราณ เคียงคู่โมคลานเก่าก่อน มีถิ่นมีทั้งที่ลุ่มและที่ดอน เป็นบ้านเกิด เมืองนอนบรรพชนท่านขุนพันธ์ข้าวปลาอาหารทั้งพืชผลอุดมนัก ประเพณีดีงามก็ประจักษ์ยึดมั่น เข้าสู่ยุคสมัยปัจจุบัน ก็รู้กันมีผักปลอดสารไร้พิษภัย ดอนตะโก คือ ดอนโกที่เรียกขานเคียงคู่โมคลานเก่าก่อน ดอนตะโก เป็นชุมชนที่เคยเจริญรุ่งเรืองมาก่อน พร้อมๆกับชุมชนโมคลาน ในสมัยอาณาจักร ตามพรลิงค์พบร่องรอยทางโบราณสถานของศาสนาพราหมณ์หลายแห่ง บริเวณสองฝั่งล�ำห้วยหินลับ เช่น อิฐโบราณ ในบ้านวังหินเขตรอยต่อของหมู่ที่ ๔ กับหมู่ที่ ๖ อิฐโบราณที่วัดไทรขาม หมู่ที่ ๖ อิฐโบราณเหล่านี้มีรูปแบบ และขนาด ที่ใกล้เคียงกับที่ในเทวสถานแห ่งอื่น ๆ พบส ่วนฐานของศิวลึงค์ (โยนิ) หลายชิ้น ลักษณะคล้ายคลึงกับที่พบ ในศาสนสถานวัดโมคลาน เมื่อพุทธศาสนามาเผยแผ ่ความเจริญรุ ่งเรืองตามแนวทางพุทธศาสนาเข้ามาแทนที่ ในสมัยพระเจ้าศรีธรรมโศกราชได้น�ำพระบรมธาตุมาจากอินเดีย สร้างวัดสร้างเจดีย์ถือเป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึง ความเหลื่อมใสศรัทธาในพุทธศาสนา ท�ำให้บารมีของพุทธศาสนาครอบคลุมไปทั่ว ร่องรอยของความเจริญทางพุทธศาสนา พบว่ามีวัดร้างในอาณาเขตของชุมชนรวม ๙ วัด คือ ๑. วัดป่ายาง อยู่ในหมู่ที่ ๒ บ้านป่ายาง ๒. วัดโคกบาก อยู่ในหมู่ที่ ๓ บ้านโคกบาก ๓. วัดจัน อยู่ในบ้านจันพอ ปัจจุบันอยู่ในเขตอ�ำเภอพรหมคีรี ๔. วัดยายทิ่น อยู่ในหมู่ที่ ๕ บ้านหญ้าปล้อง ๕. วัดกอ เป็นวัดร้างอยู่ในเขตหมู่ที่ ๕ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งโรงเรียนวัดหญ้าปล้อง ๖. วัดเก่า เป็นวัดร้างอยู่ในบ้านหญ้าปล้องปัจจุบันอยู่ในเขตอ�ำเภอพรหมคีรี ๗. วัดนอกท่อง เป็นวัดร้างอยู่ในเขตหมู่ที่ ๖ บ้านปาวา ๘. วัดนาเหม็ด เป็นวัดร้างอยู่ในเขตหมู่ที่ ๖ บ้านนาลุย ๙. วัดไทรขาม เป็นวัดเก่าแก่ ได้บูรณะขึ้นมาใหม่อยู่ในเขตหมู่ที่ ๖ ร่องรอยความเจริญทางพุทธศาสนาบ่งบอกถึงความเจริญของชุมชนมาตั้งสมัยอดีต ชุมชนริมฝั่ง ลุ่มน�้ำคลองอ้ายเขียวและห้วยหินลับ มีร่องรอยความเจริญปรากฏให้เห็นตามยุคสมัยของอาณาจักรไทย แต่ด้วย เหตุผลใดไม่แน่ชัด ชุมชนริมฝั่งล�ำห้วยหินลับถูกทิ้งให้รกร้างกลายเป็นป่าทึบไม่มีผู้คนอาศัย ขณะที่ชุมชนใกล้เคียง อื่น ๆ ผู้คนอาศัยสืบเนื่องติดต่อกันเรื่อยมาตามวิถีชีวิตแบบไทย ๆ ก่อเกิดชื่อดอนตะโกสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น บริเวณนี้อยู่ภายใต้การปกครองของเมืองอินคีรี สมัยรัชกาลที่ ๕ มีการเปลี่ยนรูปแบบการปกครองได้แบ่งการบริหารส่วนท้องถิ่นเป็น มณฑลเมืองอ�ำเภอต�ำบลและ หมู่บ้าน เมืองอินคีรีส่วนหนึ่งมาขึ้นต่ออ�ำเภอกลาย ยึดเขตคลองอ้ายเขียวเป็นแนวแบ่งแยก ผู้น�ำท้องถิ่นชื่อนายเปีย จากบ้านดอนโก (ต่อมาคือนายเปีย เขตพงศ์สมัย รัชกาลที่ ๖) ได้รับการสนับสนุนจากชาวบ้านให้เป็นตัวแทน เข้าประชุมเพื่อตั้งต�ำบลบ้านดอนโกจึงใช้เป็นชื่อต�ำบล ด้วยเข้าใจว่า ค�ำว่า “โก” หมายถึง ต้นตะโก ที่รู้จักกัน ในภาษาราชการ ดอนโก จึงถูกเปลี่ยนเป็น ดอนตะโก ทั้ง ๆ ที่ต้นตะโกไม่มีในท้องถิ่น และไม่เป็นที่รู้จักของ คนในท้องถิ่นโดยทั่วไป


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 98 ที่มาของชื่อ ดอนตะโก มีสองประเด็น คือ ๑. สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น พระอ�ำไพเป็นแม่ทัพได้เดินทางไปตีเมืองไทรบุรีและได้น�ำเชลย มาตั้งถิ่นฐานท�ำไร่ ท�ำนา ในบ้านดอนโก มีผู้น�ำกลุ่ม ชื่อ โต๊ะโป ผู้คนเรียกชื่อบริเวณชุมชนนั้นว่า ดอนโต๊ะโป ต่อมาเพี้ยนเป็น ดอนตะโก (ที่มา:องค์การบริหารต�ำบลดอนตะโก) ๒. ดอนตะโก มาจาก ชื่อต้นไม้ประจ�ำถิ่นชนิดหนึ่งในเทือกเขาหลวงและมีทั่วไปในบริเวณ ลุ่มน�้ำอ้ายเขียว ชาวบ้านเรียกว่า ต้นโก เป็นไม้ยืนต้นเนื้ออ่อนขนาดใหญ่โตเร็ว มีผลเป็นพวงคล้ายล�ำไย ผลแก่ มีรสเปรี้ยว ชาวบ้านน�ำมาท�ำน�้ำพริก ผลสุกรสเปรี้ยวลดลง เป็นอาหารสัตว์ป่า เช่น กระรอก ชาวบ้านเล่าว่า มีต้นโกใหญ่ในท้องถิ่น และเรียกที่ดอนที่มีต้นโกขึ้นอยู่ในบริเวณนั้นว่า ดอนโก ตามลักษณะเด่นที่พบเห็น ต้นโกใหญ่ อายุร้อยปีมีปรากฏให้เห็นในบ้านดอนโกสืบมาจนถูกลมพายุพัดโค่นล้มในปีพ.ศ. ๒๕๐๕ คงมีต้นโกให้เห็นโดยทั่วไป ในพื้นที่ต�ำบลดอนตะโก ชาวบ้านโดยทั่วเข้าใจว ่าต้นโก คือ ต้นตะโกในภาษาราชการ ที่มาของชื่อดอนตะโก จะเป็นแบบใดไม ่ส�ำคัญเท ่ากับปัจจุบัน ดอนตะโกยังเป็นอู ่ข้าวอู ่น�้ำ มีพื้นดินที่อุดมสมบูรณ์ มีพืชผักธรรมชาติ ดอนตะโกได้รับการพัฒนาให้เป็นแหล่งผลิตพืชผักปลอดสารพิษส่งขายทั่วประเทศ ต�ำบลดอนตะโกตั้งอยู ่ทางตอนใต้ของอ�ำเภอท่าศาลา ห ่างจากตัวอ�ำเภอท่าศาลาประมาณ ๑๖ กิโลเมตร มีเนื้อที่๒๗.๙๑ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๑๗,๔๔๔ ไร่ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบและที่ราบลุ่ม มีคลองอ้ายเขียวไหลขั้นเขตอ�ำเภอพรหมคีรีทางตอนใต้ มีห้วยหินลับและคลองลาวกั้นเขตต�ำบลโมคลาน ทางตอนเหนือ ทิศตะวันออกติดต่อต�ำบลโมคลาน ทิศตะวันตกติดต่ออ�ำเภอพรหมคีรีมีประชากรประมาณ ๔,๙๒๐ คน ส ่วนใหญ ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช ่น ท�ำสวน ท�ำนา เลี้ยงสัตว์ เป็นแหล ่งผลิตอาหารที่ส�ำคัญแห ่งหนึ่ง ของอ�ำเภอท่าศาลา ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีวัด ๓ แห่ง คือ วัดจันพอ วัดหญ้าปล้อง วัดไทรขาม มีโรงเรียน ๔ โรง คือ โรงเรียนบ้านฉาง โรงเรียนวัดจันพอ โรงเรียนวัดหญ้าปล้อง โรงเรียนบ้านวังหิน แบ่งเขต การปกครองเป็น ๖ หมู่บ้าน ๑.๕ ต�ำบลท่าขึ้น “ท่าขึ้น” ปัจจุบันเป็นชื่อของต�ำบลหนึ่งในอ�ำเภอท่าศาลา ที่มาตามประวัติจากหลายที่ อาจไม่เหมือนกันหรือจากค�ำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ที่เล่าต่อกันมา แต่ที่ยกมาอ้างอิงได้จากข้อความในหนังสือ พระราชพงศาวดาร กรุงศรีอยุธยา ฉบับหอสมุดแห่งชาติหน้า ๕๑๒ ว่าในสมัยอยุธยาเป็นราชธานีในรัชกาล พระเภทราชา แห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง ระหว่างปีพ.ศ. ๒๒๓๒ - ๒๒๔๙ ซึ่งได้มีสงครามเกิดขึ้นในปีพ.ศ. ๒๒๓๙ เมื่อทางกรุงศรีอยุธยายกทัพมาตีเมืองนครศรีธรรมราชทัพเรือจากกรุงศรีอยุธยาได้ขึ้นบกในสถานที่บริเวณนั้น สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นแถวบริเวณวัดทางขึ้นในปัจจุบัน ตามค�ำเรียกของชาวบ้านซึ่งปัจจุบัน เรียกว่า “ท่าขึ้น” ซึ่งต่อมาได้เป็นต�ำบลหนึ่งของอ�ำเภอกลาย ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อปีพ.ศ. ๒๔๔๑ สถานที่ที่ตั้งอ�ำเภอกลาย ในอดีต อยู่ที่วัดทางขึ้นในปัจจุบัน ต่อมาการสัญจรไปมาไม่สะดวก ได้ย้ายอ�ำเภอกลายไปไว้ที่วัดเตาหม้อ และภายหลังย้าย ที่ว่าการอ�ำเภอไปตั้งที่ท�ำการปัจจุบัน และได้เปลี่ยนชื่อเป็น “อ�ำเภอท่าศาลา” เมื่อปีพ.ศ. ๒๔๕๙ “ต�ำบลท่าขึ้น” เดิมชื่อ “ต�ำบลบ้านเตาหม้อ” อ�ำเภอกลาย สาเหตุที่ได้ชื่อต�ำบลท่าขึ้น เนื่องด้วย ในอดีตการเดินทางไปนครศรีธรรมราช ทั้งทางทิศเหนือหรือทิศใต้มีท่าเรือรับคนโดยสารตั้งแต่สิชลถึงนครศรีธรรมราช และมีท่าเรือจ�ำนวน ๔ ท่าเรือ ดังนี้๑. บ้านท่าหมาก ๒. บ้านท่าคลองกลาย ๓. บ้านท่าขึ้น ๔. ปากน�้ำท่าศาลา เมื่อมีการเปลี่ยนแปลง “อ�ำเภอกลาย” เป็น “อ�ำเภอท่าศาลา” ทางราชการได้ย้ายอ�ำเภอไปอยู่ ติดกับ ท่าน�้ำท่าศาลาจึงได้ชื่อว่า“อ�ำเภอท่าศาลา”ส�ำหรับ “ท่าขึ้น” ทางราชการได้เปลี่ยนแปลงจากต�ำบลเตาหม้อ


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 99 ไปเป็นต�ำบลท่าศาลา ระหว่างต�ำบลสระแก้วและต�ำบลท่าศาลาจึงได้ตั้งชื่อว่า “ท่าขึ้น” เพื่อให้ใกล้เคียงกับที่เคย เรียกว่า “ทางขึ้นและทางลง” ที่ชาวบ้านใช้เป็นเส้นทางไปนครศรีธรรมราช จึงตั้งว่า “ต�ำบลท่าขึ้น” ส�ำหรับ ท่าปากน�้ำกลายเปลี่ยนเป็นต�ำบลสระแก้ว ฝั่งคลองกลายทางทิศเหนือเรียกว่า “ต�ำบลกลาย” และ “ท่าหมาก” เป็นชื่อของบ้านจากสิชลไปถึงนครศรีธรรมราช ซึ่งในอดีตการเดินทางจะไปทางเรือหรือเดินเท้าเท่านั้น แหล่งที่มาของผู้คนและการตั้งถิ่นฐาน สันนิษฐานว่าผู้คนที่อาศัยอยู่ในต�ำบลท่าขึ้น สืบทอดมาจากบรรพบุรุษตั้งแต่สมัย กรุงศรีอยุธยา ที่ยกทัพมาตีเมืองนครศรีธรรมราช และมีลูกหลานสืบทอดทายาทเป็นรุ ่นๆ สืบต ่อกันมาจนถึงปัจจุบันโดยมี การตั้งถิ่นฐานเพื่อพักอาศัยในบริเวณที่กรุงศรีอยุธยา ยกทัพเรือขึ้นบกเพื่อมาตีเมืองนครศรีธรรมราช ๑.๖ ต�ำบลกลาย ชื่อต�ำบลกลาย ตั้งอยู่ในพื้นที่เป็นเมืองประวัติศาสตร์ยาวนาน เคยเป็นที่ตั้งของ กิ่งอ�ำเภอกลาย มาก่อน ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ มีการปฏิรูปการปกครอง ทรงกระจายอ�ำนาจ ไปสู่หัวเมือง แบ่งการปกครองออกเป็นมณฑลกลาย (ท่าศาลา) ตั้งที่ วัดเตาหม้อ (วัดชลธารามในปัจจุบัน) และ ครั้งสุดท้ายย้ายไปตั้งในตลาดท่าศาลามาจนปัจจุบันนี้ ต�ำบลกลายในอดีตเป็นต�ำบลที่กว้าง มีพื้นที่ติดชายทะเล ที่ราบลุ่มที่ราบเชิงเขาและภูเขาแต่ปัจจุบัน ได้แยกส่วนที่เป็นภูเขา ที่ราบเชิงเขา และที่ราบบางส่วนออกไปตั้งเป็นต�ำบลตลิ่งชันเสียส่วนหนึ่ง ส่วนที่มาของชื่อต�ำบลกลายกลายเป็นชื่อของการเปลี่ยนแปลงคือเมื่อถึงฤดูน�้ำหลากปากน�้ำกลาย มีการเปลี่ยนแปลงสภาพอยู่เสมอตามความรุนแรงของกระแสน�้ำที่กัดเซาะตลิ่ง ท�ำให้ปากน�้ำต้องเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา จึงให้ชื่อว่า “กลาย” ๑.๗ ต�ำบลหัวตะพาน ต�ำบลหัวตะพาน เป็นต�ำบลเก ่าแก ่ต�ำบลหนึ่ง จากการสอบถามจากอาจารย์กิตติอะหลีแอ อาจารย์โรงเรียนวัดโมคลาน ได้เล่าว่าต�ำบลนี้เกิดก่อนกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีและในครั้งที่เกิดสงครามเก้าทัพ พ.ศ. ๒๓๒๘ กษัตริย์พม่าชื่อว่าปะดุง ขึ้นครองราชย์คิดจะแผ่อ�ำนาจครอบคลุมดินแดนสุวรรณภูมิและคิดจะท�ำลาย อาณาจักรไทย ไม่ให้เจริญเติบโตเป็นอาณาจักรใหญ่อย่างกรุงศรีอยุธยาได้อีก พระเจ้าปะดุงจัดทัพเป็น ๙ ทัพ หวังจะให้กองทัพเหล่านี้รุกเข้าท�ำลายหัวเมืองต่าง ๆ ตั้งแต่เหนือจดใต้แล้วเข้าบรรจบเข้าตีกรุงเทพมหานคร ตามยุทธวิธีดั้งเดิมที่เคยใช้ได้ดีในสมัยอยุธยามาแล้วโดยทัพที่ ๑ แบ่งเป็นทัพบกและทัพเรือ ทัพบกมีหน้าที่ตีหัวเมือง ทางปักษ์ใต้ตั้งแต่ชุมพรถึงสงขลา เป็นการตัดความช่วยเหลือจากทางใต้ส่วนทัพเรือมีหน้าที่ตีหัวเมืองทางชายฝั่ง ทะเลตะวันตก ตั้งแต ่เมืองตะกั่วป ่า ไปถึงเมืองถลาง และยังมีหน้าที่หาเสบียงอาหารให้แก ่กองทัพอีกด้วย เมืองนครศรีธรรมราช มีพระเจ้าธรรมาและพระเจ้ายายมราชเป็นแม่ทัพคอยประจันหน้ากับพม่าอยู่ พม่าได้ยกทัพมา ทางทิศเหนือผ ่านบ้านปากลง พอผ ่านมาถึงบริเวณนี้ก็ได้สู้รบกันขึ้น ต ่างฝ ่ายก็ได้เสียชีวิตด้วยคมหอกคมดาบ หัวขาด สบั่นเพ่นพ่าน ต่อมาชาวบ้านเรียกหมู่บ้านนี้“บ้านหัวพ่าน” ซึ่งเป็นภาษาปักษ์ใต้เรียกว่า ไม่เป็นระเบียบ และบ้านหัวพ ่านหรือบ้านหัวตะพานจริง ๆ มีอาณาบริเวณไม ่กว้างมากนักจุดกลางของหมู ่บ้านอยู ่ที่บ้าน นายแคล้ว บุญเพ็ง นายลึกลับ บุญเพ็ง และบ้านนายยวง และเปลี่ยนจากบ้านหัวพ่านเป็นบ้านหัวตะพานในสมัย ขุนหัวตะพานเป็นก�ำนันต�ำบลหัวตะพาน


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 100 ๑.๘ ต�ำบลโมคลาน “ตั้งดิน ตั้งฟ้า ตั้งหญ้าเข็ดมอน โมคลานตั้งก่อน เมืองคอนตั้งหลัง” บทกลอนนี้แสดงให้เห็น ความเก่าแก่ของบ้านโมคลาน ซึ่งเป็นชุมชนโบราณ ที่มีอายุประมาณ ๕,๐๐๐ – ๘,๐๐๐ ปีมาแล้ว ได้มีการศึกษา ส�ำรวจชุมชนโมคลานตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๐ พบหลักฐานทางโบราณคดีที่เกี่ยวเนื่องกับอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ ลัทธิไศวนิกาย ใน พ.ศ. ๒๕๑๑ ศาสตราจารย์ลูฟส์(H.H.E.Loofs) แห่งโครงการส�ำรวจทางโบราณคดีไทย - อังกฤษ ได้เข้าส�ำรวจและมีความเห็นว่า เนินโบราณสถานของโมคลาน หรือแนวหินตั้งจัดอยู่ในวัฒนธรรมหินใหญ่ และ ห่างจากเนินโบราณสถานโมคลานไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ ๑ กิโลเมตร ซึ่งแต่เดิมเป็นพรุลึกมาก เรียกว่า “ทุ่งน�้ำเค็ม” ปัจจุบันตื้นเขิน ชาวบ้านได้ขุดพบเงินเหรียญแบบฟูนัน จึงสันนิษฐานว่า บ้านโมคลาน อาจเป็นชุมชนเมืองท่าที่ส�ำคัญแห่งหนึ่งมาตั้งแต่สมัยโบราณ มีการติดต่อกับชุมชนภายนอก จากหลักฐานที่พบ ทั้งเทวสถาน โบราณวัตถุในศาสนาพราหมณ์สระน�้ำโบราณ แสดงให้เห็นถึงความรุ่งเรืองของศาสนาพราหมณ์ ลัทธิไศวนิกายใน บ้านโมคลานแต่ต่อมาอิทธิพลของพุทธศาสนาได้เข้ามาแพร่หลายในบ้านโมคลาน เพราะพบหลักฐาน โบราณวัตถุสถานทางศาสนาพุทธอยู่มากเช่นเดียวกัน แต่โบราณสถานทางศาสนาของบ้านโมคลาน คงจะถูกทอดทิ้ง ไปเป็นเวลานาน อาจจะก่อนหรือพร้อมกับการอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานของชาวไทยมุสลิม จากรัฐไทรบุรีกลันตัน และตรังกานูตั้งแต ่ พ.ศ. ๒๔๘๐ เป็นต้นมา ปัจจุบันประชากรส ่วนใหญ ่ของบ้านโมคลานจึงเป็นไทยมุสลิม ร้อยละ ๗๐ อีกร้อยละ ๓๐ เป็นชาวไทยพุทธ ลักษณะทั่วไปบ้านโมคลานเป็นชุมชนใหญ่ อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติการตั้งถิ่นฐาน ของประชากรตั้งอยู่ตามแนวยาวของสันทรายเก่า ลักษณะของชุมชนกระจายในแนวยาวเหนือ-ใต้ มีล�ำน�้ำไหล มาจากเทือกเขานครศรีธรรมราช ผ ่านชุมชนโมคลาน ๒ สาย แล้วไปลงทะเลที่อ ่าวไทย ได้แก่ คลองชุมขลิง (คลองยิง) และคลองโต๊ะแน็ง (คลองโมคลาน) แต่เดิมคลองทั้งสองนี้คงเป็นแม่น�้ำขนาดใหญ่เพราะยังมีร่องรอย ของตะกอนและการกัดเซาะ แต่ปัจจุบันตื้นเขิน มีที่ราบลุ่มทั้งสองฝั่งของคลอง ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ ประชากร ในชุมชนโมคลานจึงมีอาชีพท�ำนา และท�ำสวนมะพร้าว ยางพาราและสวนผลไม้บนสันทราย และยังมีอาชีพ ท�ำเครื่องปั้นดินเผามีชื่อเสียงมาตั้งแต่สมัยก่อน หลักฐานที่พบ ๑. หลักหิน มีหลักหินแสดงขอบเขตของโบราณสถาน หรือเขตวัดจ�ำนวนหลายแนวแต่ละแนว ปักหลักหินเป็นแนวตรงกันไป ทุก ๆ ต้นปักเป็นระยะห่างเท่า ๆ กัน ๒. ซากเจดีย์ พบอยู่ทางทิศตะวันออกของแนวหลักหินแนวแรก มีลักษณะคล้ายจอมปลวก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๒๐ เมตร มีผู้คนจ�ำนวนมากได้ขุดหาสมบัติเพราะพบลายแทง ได้พบของมีค่าหลายอย่าง เช่น เงิน และทอง เป็นต้น ๓. ซากเทวสถาน พบใกล้ๆ ซากเจดีย์ ได้ค้นพบหินที่เป็นชิ้นส่วนของอาคารวางระเกะระกะ อยู่บนเนินทั้งธรณีประตูกรอบประตู เสา ฐานเสา ต่อมาได้น�ำชิ้นส่วนของอาคารเหล่านี้มาสร้างกุฏิทางทิศเหนือ ของเนินโบราณสถานเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๘ ในปัจจุบันยังคงปรากฏร่องรอยของเสากุฏิดังกล่าวอยู่ชิ้นส่วนของอาคาร ที่น�ำมาสร้างกุฏินี้ส่วนหนึ่งเป็นหินที่มีการสลักลวดลายด้วย ส่วนโบราณวัตถุหลายชิ้นที่พบบนเนินโบราณสถาน ได้เคลื่อนย้ายออกมาวางไว้ตามบริเวณโคนต้นไม้ทางทิศเหนือของเนิน ๔. โยนิโทรณะได้พบโยนิโทรณะในซากของเทวสถานหลายชิ้น แต่บางชิ้นก็ไม่สมบูรณ์ส่วนศิวลึงค์ ในเทวสถานนั้น พระภิกษุรูปหนึ่งได้เคลื่อนย้ายออกไปนอกชุมชนโบราณสถานโมคลาน


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 101 ๕. พระพุทธรูปปูนปั้น ได้พบพระพุทธรูปปูนปั้นซึ่งช�ำรุดขนาดสูงราว ๕๐ เซนติเมตร จ�ำนวน ๑ องค์ปัจจุบันไม่ทราบว่าถูกเคลื่อนย้ายไป ณ ที่ใดและพบชิ้นส่วนของพระพุทธรูปมากมายทั้งบริเวณบนเนิน โบราณสถานและใต้ต้นจันทน์ทางทิศเหนือของเนิน ปัจจุบันเศียรพระพุทธรูปจ�ำนวนหนึ่งยังประดิษฐานอยู่ในวิหาร ของวัดโมคลาน ๖. สระน�้ำโบราณ ทางทิศตะวันออกของเนินโบราณสถานมีสระน�้ำโบราณอยู่ ๓ สระ สระน�้ำ โบราณเหล่านี้มีขนาดใหญ่มากขุดเป็นแนวไปตามสันทราย สระแรกห่างจากเนินโบราณสถานประมาณ ๕๐ เมตร และสระสุดท้ายซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๕๐ ถึง ๖๐ เมตร อยู่ห่างจากเนินโบราณสถาน มากที่สุดคือ ประมาณ ๑๐๐ เมตร ๑.๙ ต�ำบลไทยบุรี ต�ำบลไทยบุรีก่อนที่มาของต�ำบลไทยบุรีพื้นที่ละแวกนี้เป็นทุ่งน�้ำราด (น�้ำท่วมในฤดูน�้ำหลาก) เหมาะส�ำหรับการเพาะปลูก การท�ำนา เรียกกันว่า ทุ่งลายสาย (ทุ่งลายสายภาษาปักษ์ใต้) เล่ากันว่าทุ่งลายสาย มีพื้นที่มากมายตั้งแต่ทุ่งบ้านไผ่ทุ่งบ้านโพธิ์ทุ่งปลายยางโจร ทุ่งลาดจระเข้(ทุ่งลานเข้) ทุ่งไม้มูก ทุ่งนาตรอก ทุ่งปลักจอก ทุ่งคูเถร ทุ่งนางตรา ทุ่งบ้านไร่ ทุ่งบ้านจาด ทุ่งแฝด ทุ่งใน ทุ่งป่าไสย ทุ่งวัดป่าท่าขึ้น รวมกันแล้วมีเส้นทางติดต่อกัน ได้ทุกพื้นที่ฤดูน�้ำหลากน�้ำจากเทือกเขานครศรีธรรมราชก็ไหลมาท่วมทุ่งเหล่านี้เต็มทั่วทุกพื้นที่ก่อนจะไหลลงสู่ทะเล ท�ำให้พื้นที่บริเวณนี้อุดมสมบูรณ์เหมาะกับการท�ำนา ปลูกข้าวซึ่งเป็นอาชีพหลักเลยเรียกว่า ทุ่งหลายสายและนาน ๆ เลยเพี้ยนตามส�ำเนียงท้องถิ่นจาก ทุ่งหลายสาย มาเป็น ทุ่งลายสายสมัยเจ้าพระยานครศรีธรรมราช(น้อย) ได้ท�ำการ ยกทัพไปตีเมืองไทรบุรีชนะสงครามกลับมา ได้กวาดต้อนพลเมืองชาวเมืองไทรบุรีมาขึ้นทัพที่ท่าขึ้น (ชายทะเล) และได้ขึ้นมาตั้งถิ่นฐานบริเวณชายทะเลตลอดแนวเข้าไปถึงในตัวเมืองนครศรีธรรมราช และทุ่งลายสายบางส่วน ไทรบุรีขึ้นเป็นท้องที่การปกครองตามชื่อเมืองไทรบุรีที่ไปตีทัพชนะกลับมาโดยมีจุดศูนย์กลางที่บริเวณทุ่งไม้มูกไทรบุรี เป็นท้องที่การจัดการปกครองเป็นเมืองเรียกว่า เมืองไทยบุรีขึ้นอยู่กับหัวเมืองนครศรีธรรมราชซึ่งมี๑๑ เมือง ได้แก่ ท่าทอง สมุย ปากพนัง ปรามบุรีอินทรคีรีไชยมนตรีไทยบุรีฉลอง พิชัย ตรัง เป็นต้น ออกหลวงไทยบุรีศรีมหาสงคราม เป็นผู้รักษาเมืองไทยบุรีถือศักดินา ๑,๒๐๐ ไร่ ขุนราชบุรี ถือศักดินา ๔๐๐ ไร่ เป็นผู้ช่วยต่อมามีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมืองไทยบุรีกลายมาเป็น ต�ำบลไทยบุรีขึ้นอยู่กับ อ�ำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราชจนถึงปัจจุบัน ๑.๑๐ ต�ำบลตลิ่งชัน ต�ำบลตลิ่งชันแยกออกมาจากต�ำบลกลายความเป็นมาของต�ำบลตลิ่งชันมีล�ำคลองกลายไหลผ่าน ซึ่งที่ตั้งของต�ำบล มีตลิ่งสูงชัน ชาวบ้านจึงเรียกต่อกันมาว่า ตลิ่งชัน จนถึงปัจจุบัน


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 102 เรื่องที่ ๒ ภูมิหลัง ความเป็นมาของการตั้งชื่อหมู่บ้านในตำบลท่าศาลา ต�ำบลท่าศาลา อ�ำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ปัจจุบัน มีจ�ำนวน ๑๕ หมู่บ้าน ซึ่งแต่ละหมู่บ้าน มีประวัติภูมิหลังความเป็นมาของการตั้งชื่อหมู่บ้านที่น่าสนใจ ดังนี้ ๒.๑ หมู่ ๑ บ้านโดน หรือบ้านโดนเหนือ บ้านโดนเหนือ จะเป็นแอ่งลุ่มน�้ำขนาดใหญ่จะมีต้นไม้ขึ้นจ�ำนวนมากปกคลุมโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต้นโดนจ�ำนวนมาก ชาวบ้านเรียกติดปากว่าบ้านโดนตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน แต่ชื่อจะซ�้ำรวมอยู่กับบ้านโดน ซึ่งเป็นที่ตั้งของวัดนางตราเลยท�ำให้เรียกชื่อกันสับสนเลยมีการแบ่งแยกกันชัดเจน เลยตกลงกันว่าเรียกหมู่บ้านหมู่ที่๑ เป็นบ้านโดนเหนือ บ้านนางตราเป็นบ้านโดนใต้ชาวบ้านเลยเรียกชื่อติดปากเป็นบ้านโดนเหนือ นับแต่นั้นเป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน ๒.๒ หมู่ ๒ บ้านเตาหม้อเหนือ บ้านโคกเหรียง บ้านสี่กั๊ก บ้านทุ่งเขื่อน บ้านเตาหม้อเหนือ เดิมเป็นป่ารกร้าง มีชาวจีนอพยพหนีภัยสงครามเก้าทัพ มาจากเมืองถลาง จังหวัดภูเก็ต มาปั้นหม้อดินขายอยู่บริเวณสองฝั่งคลองจึงเรียกบริเวณสองฝั่งคลองว่าบ้านเตาหม้อและเรียกคลองนี้ว่า คลองเตาหม้อเป็นคลองที่เชื่อมต่อกับคลองบ่อนนท์และออกสู่ทะเลได้จึงมีเรือส�ำเภามาติดต่อค้าขาย บ้านเตาหม้อ จึงเป็นแหล่งชุมชนและยังเคยใช้เป็นสถานที่ตั้งที่ว่าการอ�ำเภอชั่วคราวเรียกว่าอ�ำเภอกลายก่อนย้ายไปสร้างอ�ำเภอ ใหม่ คือ อ�ำเภอท่าศาลาในปัจจุบัน หลักฐานที่น่าเชื่อได้ว่าบริเวณนี้เคยเป็นแหล่งปั้นหม้อดินมาก่อน คือ มีสระร้าง ขนาดใหญ่หลังวัด ซึ่งตอนนี้ถมปลูกปาล์มไปมากแล้วและสระในซอยฤทธีตอนนี้ก็ถูกถมไปหมดแล้วเช่นกัน บ้านโคกเหรียงเนื่องจากมีต้นเหรียงใหญ่อยู่บนโคกซึ่งเป็นลานกว้างผู้คนส่วนใหญ่อพยพจากต่างถิ่น เช่น สงขลา หัวไทรเชียรใหญ่ปากพนัง มาตั้งคณะร�ำวงและใช้ลานโคกเหรียงเป็นที่ซ้อมจึงเรียกว่าร�ำวงคณะโคกเหรียง บ้านสี่กั๊ก เนื่องจากเป็นเส้นทางสี่แยก มีต้นมะม่วงใหญ่สองต้นร่มรื่น เมื่อคนสัญจรไปมาค้าขาย ระหว่างสิชล- ท่าศาลา หรือจากบ่อนนท์บ้านโคกเหรียง ไปท�ำนาหรือเลี้ยงวัวควายแถวทุ่งยางเตี้ยเมื่อเดินทางมา ถึงบริเวณนี้ก็จะหยุดพักบริเวณนี้จึงเรียกว่าสี่กั๊กเส้นทางนี้ยังใช้เป็นเส้นทางเกวียน บรรทุกของไปขายรวมทั้งบรรทุก อิฐและกระเบื้องดินเผาจากริมคลองบ่อนนท์ไปขายด้วย นอกจากนี้บริเวณต้นมะม่วงใหญ่ยังเคยใช้เป็นลานเล่นสะบ้า ซึ่งนิยมเล่นกันในเทศกาลเดือนห้าตามประเพณีปีใหม่ไทย ปัจจุบันมีถนนคอนกรีตเชื่อมจากทางสี่แยกถึงหาดทรายแก้ว บ้านทุ่งเขื่อน เมื่อก่อนเป็นป่ารกร้างเต็มไปด้วยต้นไม้ใหญ่ และป่าหญ้าคาไม่มีคนอาศัยอยู่ ต่อมา มีคนอพยพมาจากระโนด หัวไทร มาหักร้างถางพงสร้างบ้านเรือนอาศัยอยู่จึงเรียกบริเวณนี้ว่า บ้านทุ่งเถื่อน ต่อมาเพี้ยน มาเป็นบ้านทุ่งเขื่อน พื้นที่บ้านทุ่งเขื่อนได้ถูกจัดแบ่งอย่างลงตัวคือ บริเวณริมคลองและตอนกลางจากสะพานบางบก ถึงคลองบ่อนนท์ใช้เป็นที่อยู่อาศัย ท�ำสวนมะพร้าว ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ ทางทิศใต้และทิศเหนือ เป็นพื้นที่ท�ำนา ทางทิศใต้มีหนองน�้ำชื่อ ปลักเดียน ทิศเหนือเป็นทุ่งกว้างไปจดทุ่งทางขึ้น มีหนองน�้ำใหญ่สองแห่ง คือ ปลักนมหวัด และปลักลึก มีทุ่งสงวนเลี้ยงสัตว์และป่าเสม็ดที่กว้างใหญ่มาก มีบางบูลเป็นล�ำน�้ำที่แยกจากคลองบ่อนนท์เป็นล�ำน�้ำ ที่มีกุ้ง หอย ปูปลาอุดมสมบูรณ์มาก บริเวณริมคลองบ่อนนท์ฝั่งนี้ยังเคยเป็นที่ตั้งโรงอิฐและกระเบื้องดินเผา บุคคลแรก ที่มาตั้งโรงอิฐ คือ นายขาบ บุญฉาย หลังจากนั้นมีคนมาสร้างโรงอิฐ โรงกระเบื้องเพิ่มขึ้นหลายโรง โดยขนส่งสินค้า ทางเรือและทางเกวียน ต่อมาเมื่อมีการตัดถนนสายหลักเช่น แถวบางปูคลองเคยและกระเบื้องดินเผาก็ไม่เป็นที่นิยม เพราะแตกได้ง่าย โรงอิฐ โรงกระเบื้อง แถวนี้จึงถูกทิ้งให้รกร้างอยู่หลายปีเจ้าของก็ย้ายถิ่นฐานไปอยู่ที่อื่นกันหมด ต่อมาที่บริเวณนี้เลยถูกเปลี่ยนสภาพเป็นนากุ้ง และสวนปาล์มอย่างที่เห็นในปัจจุบัน


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 103 สมัยก ่อนบ้านทุ ่งเขื่อนยัง เป็นแหล ่งท�ำข้าวเกรียบว ่าวที่มีชื่อเสียงโด ่งดัง ทั้งน�ำไปผิงขายเอง ตามเทศกาลและงานวัดต่าง ๆ และมีแม่ค้ามารับข้าวเกรียบดิบผิงขาย ความเชื่อของชุมชนบ้านทุ่งเขื่อน ในอดีต ชาวทุ่งเขื่อนเชื่อว่า มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์คอยคุ้มครองปกปักรักษา ชาวบ้านจะนับถือทวดทุ่งคาตานมหวัด เมื่อสัตว์เลี้ยง สูญหายหรือเจ็บป่วย ชาวบ้านจะบ่นให้ทวดทุ่งคา ตานมหวัดช่วยเมื่อสมปรารถนาก็จะต้มเปียก (ข้าวต้ม) ไปเป็น เครื่องเซ่นไหว้ปัจจุบันศาลาทวดของเก่าช�ำรุดทรุดโทรม ชาวบ้านจึงร่วมกันสร้างขึ้นใหม่ตั้งอยู่ที่เชิงสะพานทางแยก จากบ้านทุ่งเขื่อนไปท่าศาลา (ใกล้บ้านทิพย์อาภากุล) ๒.๓ หมู่ ๓ บ้านท่าสูง บ้านนางตรา บ้านท่าสูง เดิมมีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบสูงกว่าระดับน�้ำในฤดูน�้ำหลาก ท�ำให้น�้ำท่วมไม่ถึง ประกอบ กับในบริเวณดังกล่าวมีล�ำคลองไหลผ่านหลายสาย เช่น คลองท่าสูง คลองสิงห์คลองโก ในสมัยโบราณ พื้นที่แห่งนี้ จึงได้ถูกใช้เป็นท่าเทียบเรือขนส่งสินค้าซึ่งมีท่าเรือขนส่งอยู่ในระดับสูง เมื่อมาตั้งบ้านเรือนจึงเรียกพื้นที่บริเวณนี้ว่า “บ้านท ่าสูง” อีกทั้งมีพระภิกษุมาเผยแพร ่ศาสนาและเลือกที่ตั้งวัดให้เหมาะสมจึงเลือกบริเวณนี้เป็นที่ตั้งวัด จึงเรียกวัดนี้ว่า วัดท่าสูง มาจนถึงปัจจุบันนี้ ๒.๔ หมู่ ๔ บ้านท่าสูงบน บ้านท่าสูงบน เป็นหมู่บ้านเก่าแก่ มีมานานกว่า ๒๐๐ ปีชื่อว่าท่าสูงบน เพราะว่าสมัยก่อน มีนักเดินทางมาทางทะเลมองเห็นพื้นที่ของหมู่บ้านนี้เป็นสูงเนินตลอดทั้งหมู่บ้าน เมื่อน�ำเรือเข้ามาเทียบท่า ปรากฏว่า เป็นเนินสูงตลอดทั้งหมู่บ้าน คนรุ่นก่อนจึงตั้งชื่อให้กับหมู่บ้านนี้ว่า“บ้านท่าสูงบน”ต้นตระกูลของชาวบ้านท่าสูงบน สืบเชื้อสายมาจากชาวมาเลเซีย สังเกตได้ที่นามสกุลจะมีค�ำว่า“โต๊ะ” น�ำหน้า เช่น โต๊ะหมาด โต๊ะหมาน โต๊ะหาด โต๊ะเต็บ โต๊ะหล้าหวีฯลฯ ชาวบ้านท่าสูงนับถือศาสนาอิสลามตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีวัฒนธรรม ประเพณีที่เป็นค�ำสอน ของศาสนาอิสลาม เช่น การแต่งกายของสุภาพสตรีต้องแต่งกายให้มิดชิดขณะที่ออกนอกบ้าน ต้องกราบไหว้ พระผู้เป็นเจ้าทุกวัน ต้องให้เกียรติซึ่งกันและกัน ต้องมีเมตตา ต้องซื่อสัตย์ต้องมีความยุติธรรม ต้องเชื่อฟังค�ำสั่ง ของพระเจ้า ๒.๕ หมู่ ๕ บ้านในถุ้ง ชุมชนบ้านในถุ้งเป็นชุมชนเก่าแก่มีการตั้งบ้านเรือนมานานชุมชน มีอายุประมาณ ๓๐๐ - ๔๐๐ ปี ผู้อาวุโสของชุมชนเล่าว่า ค�ำว่า “บ้านในถุ้ง” นั้นเพี้ยนมาจากค�ำเดิมที่เรียกว่า “บ้านในทุ่ง” ซึ่งเป็นค�ำที่เรียกตาม ลักษณะภูมิประเทศในบริเวณนี้ซึ่งมีสภาพพื้นที่เป็นทุ่งนาผืนใหญ่กลุ่มแรกที่มาเริ่มหมู่บ้านส่วนใหญ่มาจากรัฐต่างๆ ของประเทศมาเลเซีย เช่น รัฐปีนัง ตรังกานูกลันตัน ซึ่งหนีภัยสงครามล่าอาณานิคมของประเทศอังกฤษ และมา จากต่างจังหวัด เช่น มาจากจังหวัดสงขลา ปัตตานียะลา เมื่อก่อนส่วนใหญ่จะพูดภาษามาลายูบ้านในถุ้ง เดิมมีชื่อ เรียกกันหลายชื่อ เช่น เรียกกันว่าบ้านท่าสูงล่าง บ้านปากน�้ำ บ้านสันติสุข บ้านลองอ (แปลว่า สบาย) สมัยก่อนบ้านในถุ้งมีความอุดมสมบูรณ์ประชาชนอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุขมีความสะดวกสบาย ในทุกๆด้านเหมาะแก่การตั้งบ้านเรือนเพราะ“ หนึ่งอุดมสมบูรณ์สองพื้นกว้างสามสัญจรสะดวก บริเวณอื่นเป็นป่า โกงกางอยู่ไม่ได้แต่บริเวณนี้เป็นสันดอนหมดไม่มีป่าโกงกางเลยตั้งแต่ริมดอนปากน�้ำของท่าสูงบน มันจะเป็นสันดอน ไปถึงปากพะยิง และติดต่อราชการกับอ�ำเภอก็สะดวก” (ศุภชัย ยะปาก, สัมภาษณ์๘ มกราคม ๒๕๔๕)


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 104 หากพิจารณาจากสภาพพื้นที่แล้วจะเห็นว่าบริเวณที่ตั้งของบ้านในถุ้ง มีความเหมาะสมดังค�ำกล่าว ข้างต้น ด้วยการเป็นพื้นที่ที่มีบริเวณแนวสันทรายที่กว้างและเป็นเนินสูงสามารถป้องกันน�้ำท่วมอีกทั้งบริเวณโดยรอบ ยังเป็นป ่า จากป ่าชายเลนท�ำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น�้ำ สะดวกต ่อการหากินและการน�ำทรัพยากร จากป่าชายเลนมาใช้ประโยชน์ดังนั้น ชุมชนบ้านในถุ้ง จึงสามารถตั้งได้อย่างมั่งคง ด้วยมีฐานทรัพยากรที่ส�ำคัญ ตลอดมานั่น คือ ทรัพยากรสัตว์น�้ำจากทะเล (ผู้ให้ข้อมูล นายอะมาตย์ไทรทอง อยู่บ้านเลขที่ ๘๔/๗ หมู่ที่ ๕ กับ นายอดิศร เสมอภพ อยู่บ้านเลขที่ ๑๕ หมู่ที่ ๕ บ้านในถุ้ง) ๒.๖ หมู่ ๖ บ้านสระบัว บ้านสระบัว หมู่บ้านชายทะเลแถบนี้เมื่อหลายสิบปีก่อนถูกเชื่อมด้วยคลอง เรียกว่า “คลองถุ้ง” ในคลองช่วงหมู่ ๖ ในอดีตชุมชนแห่งนี้เคยมีพื้นที่ที่สระบัวหลวงขนาดใหญ่อยู่ใจกลางของชุมชน จึงเรียกชื่อหมู่บ้าน ว่า บ้านสระบัว ซึ่งปัจจุบันคลองสายนี้ได้เปลี่ยนแปลงเหลือเพียงร่องรอยความเป็นคลองด้วยป่าจากและวัชพืช ๒.๗ หมู่ ๗ บ้านหน้าทับ บ้านหน้าทับ จากการศึกษาหมู่บ้านหน้าทับ เป็นหมู่บ้านที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน โดยชื่อ ของหมู่บ้าน ได้มาจากในสมัยสงคราม ๙ ทัพ พ.ศ. ๒๓๒๘ พม่าได้ยกทัพมาจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยเดินทัพ ข้ามเขาหลวงเข้าเขตอ�ำเภอท่าศาลา ที่ปากลง เจ้าพระยานคร(พัฒน์) ได้วางแผนตั้งรับ ที่อ�ำเภอท่าศาลา เป็นระยะ ๆสนามรบที่ส�ำคัญ คือ บ้านชุมโลง บ้านป่าโหลน บ้านหัวพาน (ต�ำบลหัวตะพาน ปัจจุบัน)ส่วนบ้านหน้าทับก็เป็นที่ตั้ง ทัพของเจ้าพระยานครและเป็นฐานทัพที่ส�ำคัญในสมัยนั้น ดังนั้น เป็นบ้านหน้าทับ จึงมีชื่อมาถึงปัจจุบัน เมื่อก่อน หมู่บ้านหน้าทัพจะเขียนด้วยตัวอักษร“พ”เป็นหน้าทัพ แต่ในปัจจุบันได้เปลี่ยนมาเป็น “หน้าทับ”เพื่อความสวยงาม และถูกต้อง หมู่บ้านหน้าทับได้เริ่มก่อตั้งในปีพ.ศ. ๒๓๒๘ หรือประมาณ ๒๓๐ ปีมาแล้ว คนกลุ่มแรกที่เริ่มก่อตั้ง หมู่บ้านจากหลักฐานที่มีอยู่และจากการสัมภาษณ์ของคนเฒ่าคนแก่ทราบว่าคนกลุ่มแรกที่มาส่วนมากนับถือศาสนา อิสลาม ที่พอจะมีหลักฐาน คือ นายหวันเหล็ม นางเยาะ ซึ่งเป็นต้นตระกูลหวันเหล็ม (ผู้ให้ข้อมูล นายผีน ใบเต้ อยู่บ้านเลขที่ ๘/๑ หมู่ที่ ๗ บ้านหน้าทับ กับ นายสุธรรม โต๊ะหมาด อยู่บ้านเลขที่ ๑๔๓ หมู่ที่ ๗ บ้านหน้าทับ) ๒.๘ หมู่ ๘ บ้านปากน�้ำใหม่ บ้านปากน�้ำใหม่ แยกมาจากหมู่ที่ ๗ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๑ เมื่อก่อนเป็นแผ่นดินติดกับหมู่ที่ ๑๔ และแยกออกจากหมู่ที่ ๑๔ โดยมีคลองกั้นระหว่างหมู่บ้าน เมื่อปีพ.ศ. ๒๔๘๑ เกิดน�้ำท่วมใหญ่เลยเรียกกันว่า “ปากน�้ำใหม่” ๒.๙ หมู่ ๙ บ้านด่านภาษี บ้านด่านภาษีหมู่บ้านตั้งอยู่ทางตะวันออกของอ�ำเภอท่าศาลา โดยตั้งอยู่ริมทะเลฝั่งอ่าวไทย ทางด้านทิศเหนือติดคลองท่าสูงหรือแม่น�้ำท่าศาลา ซึ่งติดกับหมู่บ้านหมู่ที่ ๔ ต�ำบลท่าศาลา ส่วนตะวันตกอยู่ติดกับ คลองท่าสูงเช่นกัน และเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านหมู่ที่ ๑๒ ส่วนด้านทิศใต้เขตหมู่บ้านอยู่ติดต่อกับหมู่ที่ ๕ สถานที่ท่องเที่ยว มีหาดเขื่อนด่านภาษีในอดีตเดิมเคยเป็นที่ตั้งของด่านศุลกากรจัดเก็บภาษีของเรือสินค้าที่ผ่านเข้าออกในคลองท่าสูง เพราะในสมัยก่อนชาวบ้านใช้การสัญจรทางน�้ำเป็นส่วนใหญ่ ชื่อของหมู่บ้านจึงได้เรียกตามที่ตั้งของด่านศุลกากร ซึ่งมีการจัดเก็บภาษีจึงเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้านด่านภาษีในปัจจุบัน


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 105 ๒.๑๐ หมู่ ๑๐ บ้านบ่อนนท์ บ้านบ่อนนท์ มีความหมายว ่า ได้มีคนสามคนหนีโรคระบาดมาจากบ้านสวนพริก โดยมี ๑. นายเอียด เพชรทอง ๒. นายแก้ว นนทา ได้มาพักอาศัยอยู่และก็ได้มีบ่อ ๑ บ่อ อยู่ใต้ต้นนนท์ มีสัตว์ทุกชนิด มากินน�้ำอยู่เป็นประจ�ำ เมื่อนายเอียดและนายแยมอยู่นานประมาณ ๓– ๔ ปีจึงได้ปลูกศาลา ๑ หลัง ใกล้กับต้นนนท์ เพื่อไว้พักร้อนหรือนอนค้างคืนก็ได้คนที่ผ่านไปมาเรียกกันว่า“บ่อนนท์”เมื่อก่อนมีบ่ออยู่ที่ใต้ต้นนนท์แต่ว่าต้นนนท์ ได้ล้มตายหายไปหมดแล้ว แต่ที่ได้เห็นอยู่บัดนี้ก็มีร่องรอยอยู่เท่านั้นจึงจัดตั้งเป็นหมู่บ้านตามท�ำเนียบหมู่บ้าน จึงเรียกกันว่า บ้านบ่อนนท์จนถึงบัดนี้ ๒.๑๑ หมู่ ๑๑ บ้านฝายท่า บ้านฝายท่า แยกจากหมู่ ๓ เมื่อปีพ.ศ. ๒๕๒๖ ตั้งชื่อหมู่บ้านว่า บ้านฝายท่า ๒.๑๒ หมู่ ๑๒ บ้านในไร่ บ้านในไร่ก่อนจะมีการตั้งหมู่ที่๑๒ ซึ่งแยกตัวมาจากหมู่ที่๓ ในสมัยก่อนชาวบ้านนิยมท�ำนา ท�ำไร่ คนที่ในตลาดจะเรียกชาวบ้านแถบนี้ว่า“คนในไร่”เมื่อมีการตั้งหมู่บ้านขึ้นก็ได้ชื่อว่าบ้านในไร่ บ้านในไร่ที่คนในตลาด เรียกจะมี๒ แห่ง บ้านในไร่ที่เป็นหมู่ที่ ๑๒ คือบ้านในไร่ทางทิศใต้คือ บริเวณตลาดอาทิตย์ท่าสูง ส่วนบ้านในไร่ ทางทิศเหนือของตลาด เป็นเขตพื้นที่หลังโรงเรียนท่าศาลา คือหมู่ที่ ๑๓ ในปัจจุบัน ๒.๑๓ หมู่ ๑๓ บ้านในไร่ บ้านเตาหม้อใต้ บ้านสวนพริก บ้านในไร่ สมัยก่อนคนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ในตลาดท่าศาลา ส่วนหนึ่งจะมาท�ำนา ท�ำไร่ บริเวณนี้ เมื่อใครถามว่าไปไหนก็จะบอกว่าไปในไร่จึงเรียกกันติดปากว่าบ้านในไร่จนถึงปัจจุบัน บ้านเตาหม้อใต้ เดิมเป็นป่ารกร้าง มีชาวจีนอพยพหนีภัยสงครามเก้าทัพ มาจากเมืองถลาง จังหวัดภูเก็ต มาปั้นหม้อดินขายอยู่บริเวณสองฝั่งคลองจึงเรียกบริเวณสองฝั่งคลองว่าบ้านเตาหม้อและเรียกคลองนี้ว่า คลองเตาหม้อเป็นคลองที่เชื่อมต่อกับคลองบ่อนนท์และออกสู่ทะเลได้จึงมีเรือส�ำเภามาติดต่อค้าขาย บ้านเตาหม้อ จึงเป็นแหล่งชุมชน หลักฐานที่น่าเชื่อได้ว่าบริเวณนี้เคยเป็นแหล่งปั้นหม้อดิน คือ มีสระร้างขนาดใหญ่ สันนิฐานว่า น่าจะขุดเอาดินมาปั้นหม้อตอนหลังคนไม่นิยมใช้หม้อดินและคงไม่มีทายาทสืบทอดอาชีพนี้เลยสูญหายอีกอาชีพหนึ่ง ที่มีหลังการปั้นหม้อก็คือการท�ำเครื่องจักสานด้วยไม้ไผ่โดยเฉพาะเข่งไม้ไผ่ของชุมชนบ้านเตาหม้อใต้โดยไปตัดไม้ไผ่ แถวคลองท่าพุด แล้วล่องลงมาตามคลองคูถนน มาพักไว้ในคูถนน บริเวณสะพานคลองฆ่าสัตว์ (แถวบ้านครูถนอม นงค์นวล) ปัจจุบันอาชีพนี้ก็หายไปจากบ้านเตาหม้อเช่นกัน บ้านสวนพริก จากค�ำบอกเล่าของนายน้อม ฤทธีเล่าว่า สมัยสงครามเก้าทัพ ที่พม่า ยกทัพมาตี เมืองถลาง จังหวัดภูเก็ต มีชาวจีนสองพี่น้องหนีภัยสงครามจากเมืองถลางมาปลูกพริก และท�ำมาค้าขายอยู่บริเวณนี้ จึงเรียกว่า บ้านสวนพริก ๒.๑๔ หมู่ ๑๔ บ้านแหลม บ้านแหลม หมู่บ้านแหลม เดิมที่เป็นอาณาเขตติดต่อกับหมู่ที่ ๗ และเคยเป็นหมู่ที่ ๗ มาก่อน แต่ระยะเวลาผ่านพ้นไป จึงได้แยกหมู่บ้านใหม่มาเป็นหมู่ที่ ๑๔ บ้านแหลมในปัจจุบัน ซึ่งค�ำว่า “บ้านแหลม” มีที่มาจากคนในสมัยก่อนที่อยู่ในช่วงแหลมตะลุมพุกได้อพยพมาอยู่อาศัยในหมู่บ้านนี้ มีทั้งชาวพุทธและอิสลาม


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 106 เข้ามาอาศัยอยู่ปรองดองกันเหมือนกับเป็นบ้านพี่เมืองน้องให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีการรวมตัวกันสร้างบ้าน เป็นหลักแหล่งรวมกันมากขึ้น ๆ กลายเป็นหมู่บ้าน ที่มีคนเรียกรวม ๆ กันว่า “บ้านแหลม” ซึ่งอาชีพหลักของ คนในหมู่บ้านตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนั่นก็คืออาชีพประมง เพราะท�ำเลที่ตั้งนั้นมีความเหมาะสมกับอาชีพนี้มากกว่า อาชีพอื่น ๆ (ผู้ให้ข้อมูล นายหรูน ตาหลีอยู่บ้านเลขที่ ๑๓๑/๓๔ นายอนุรักษ์ เหมรึก อยู่บ้านเลขที่ ๑๓๗/๒๒ หมู่ที่ ๑๔ บ้านแหลม) ๒.๑๕ หมู่ ๑๕ บ้านบางตง บ้านบางตง เดิมที่เป็นหมู่ที่ ๗ เป็นป่าที่มีต้นไม้หลากหลายชนิดเช่น ไม้ยาง ไม้สัก และอื่น ๆ มีสัตว์ร้ายหลายชนิด เช่น งู เสือ กะจง นกหลายชนิดที่อาศัยอยู่ในป่าแห่งนี้ได้มีคนแรก ที่เข้ามาอยู่ในป่าแห่งนี้ คือ นายโกบ มะหมีน ได้เข้ามาอาศัยอยู่หลังจากนั้น นายโกบ มะหมีน ได้ชักชวนเพื่อน ๆ หลายคนเข้ามาอาศัย และปลูกสร้างบ้านเรือนเพื่ออาศัยกันหลายคนแล้ว ได้ชื่อหมู่บ้านแห่งนี้ว่า บ้านบางตง สาเหตุเพราะมีไม้ไผ่ตงมาก ที่ขึ้นอยู่ริมคลองเขตโพธิ์ทอง เมื่อปีพ.ศ. ๒๕๓๒ ได้แยกหมู่บ้านนี้เป็นหมู่ที่ ๑๕


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 107 รุ่งเรืองวิถี บทที่ ๔ สาระส�ำคัญ สภาพ วิถีชีวิต และการประกอบอาชีพเกษตรกรรม หัตถกรรม ประมงพื้นบ้าน ทรัพยากรชายฝั่งทะเล แหล่งท่องเที่ยวของชุมชนในพื้นที่อ�ำเภอท่าศาลา ตัวชี้วัด ๑. อธิบายลักษณะวิถีชีวิตและอาชีพของประชาชนในอ�ำเภอท่าศาลา ๒. อธิบายประโยชน์ของการเรียนรู้วิถีชีวิตและอาชีพของประชาชนในพื้นที่อ�ำเภอท่าศาลา ๓. มีทักษะในการสื่อสาร โดยการฟัง การซักถาม การสัมภาษณ์และการถ่ายทอดความรู้จากการฟัง บรรยายไปยังบุคคลอื่น ๆ ได้ ๔. การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สืบสาน วิถีชีวิต อาชีพต่าง ๆ การละเล่น หัตถกรรม และการอนุรักษ์ โบราณสถานและแหล่งท่องเที่ยวทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของอ�ำเภอท่าศาลา ๕. มีความตระหนักถึงคุณค่าวิถีชีวิตอาชีพต่างๆการละเล่น หัตถกรรม โบราณสถาน แหล่งท่องเที่ยว ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของอ�ำเภอท่าศาลา ขอบข่ายเนื้อหา เรื่องที่ ๑ เรียนรู้วิถีชีวิตและอาชีพ ๑.๑ อาชีพเกษตรกรรมที่โดดเด่นในปัจจุบันที่มีอยู่ในชุมชน ๑.๒ อาชีพพาณิชย์ที่ก้าวไกลในปัจจุบัน ๑.๓ อาชีพบริการในปัจจุบัน ๑.๔ การสืบสานการละเล่นที่โดดเด่นที่คงอยู่ในชุมชน ๑.๕ หัตถกรรมที่มีอยู ่ในชุมชน ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนในอดีตและหัตถกรรม ที่ผลิตขึ้นเพื่อสังคมปัจจุบัน ๑.๕.๑ เครื่องปั้นดินเผา ๑.๕.๒ การท�ำหางอวน ๑.๕.๓ การท�ำว่าว ๑.๕.๔ การท�ำกรงนก ๑.๖ อาชีพประมง และวิถีชีวิตของชาวประมงพื้นบ้าน เรื่องที่ ๒ การอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งทะเล ๒.๑ สถานการณ์ป่าชายเลนอ�ำเภอท่าศาลา ๒.๒ การอนุรักษ์ป่าชายเลน


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 108 เรื่องที่ ๓ แหล่งท่องเที่ยวในอ�ำเภอท่าศาลา ๓.๑ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ๓.๑.๑ อุทยานแห่งชาติเขานัน ๓.๑.๒ หาดทรายแก้ว ๓.๑.๓ หาดท่าสูงบน ๓.๑.๔ หาดซันไรส์ ๓.๑.๕ บ้านแหลมโฮมสเตย์ ๓.๒ แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ๓.๒.๑ โบราณสถานโมคลาน ๓.๒.๒ โบราณสถานตุมปัง เวลาที่ใช้ในการศึกษา ๒๐ ชั่วโมง สื่อการเรียนรู้ ๑. เอกสารประกอบการเรียนหลักสูตรรายวิชาเลือกท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ๒. คู่มือนักศึกษา รายวิชาเลือกท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ๓. สื่อเสริมการเรียนรู้อื่น ๆ


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 109 เกษตรพัฒนา พาณิชย์ก้าวไกล น�้ำใจบริการ สืบสานการละเล่น ดีเด่นด้านหัตถกรรม ดื่มด�่ำการประมง ด�ำรงอนุรักษ์ ที่พักแหล่งท่องเที่ยว (คุณบท มุขปาฐะ) จากคุณบท มุขปาฐะ เป็นการสื่อสารถึงชุมชนชาวอ�ำเภอท่าศาลา ที่มีความอุดมสมบูรณ์ เจริญรุ่งเรือง จนถึงปัจจุบัน ซึ่งประกอบด้วย วิถีชีวิตด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เรียนรู้วิถีชีวิตและอาชีพ อาชีพส่วนใหญ่ของประชาชนในอ�ำเภอท่าศาลา มีอาชีพการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ การประมง การท�ำนา ท�ำไร ่ ท�ำสวน และหัตถกรรม ท่าศาลาเป็นอ�ำเภอที่ติดชายฝั่งอ่าวไทย มีลักษณะทางภูมิศาสตร์ดิน น�้ำ อากาศ ที่เอื้อต ่อการปลูกพืช ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นมะพร้าว ปาล์มน�้ำมันแถบต�ำบลที่ติด ชายฝั่งทะเล ในบางพื้นที่ของต�ำบลท่าศาลา ต�ำบลกลาย ต�ำบลท่าขึ้น การท�ำนาข้าว ในบางพื้นที่ของต�ำบลโพธิ์ทอง ต�ำบลโมคลาน ต�ำบลดอนตะโก ต�ำบลไทยบุรีนอกจากนี้ยังมีการท�ำสวนยางพารา สวนผลไม้เงาะ ทุเรียน มังคุด ลองกอง ในต�ำบลกลาย ต�ำบลสระแก้ว ต�ำบลตลิ่งชัน ต�ำบลที่อยู่ติดชายฝั่งทะเลจะมีอาชีพประมง รุ่งเรืองวิถี การท�ำสวนมะพร้าว การท�ำนา เรื่องที่ ๑ เรียนรู้วิถีชีวิตและอาชีพ


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 110 ๑.๑ อาชีพเกษตรกรรมที่โดดเด่นในปัจจุบันที่มีอยู่ในชุมชน ผลิตผลทางการเกษตรที่โดดเด่นของอ�ำเภอท่าศาลาได้แก่ ทุเรียนซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่ส�ำคัญของ อ�ำเภอท่าศาลา หลังจากเหตุการณ์พายุโซนร้อน แฮเรียต ปีพ.ศ. ๒๕๐๕ ชาวบ้านหันมาปลูกผลไม้ต่างๆและยางพารา ต่อมาเกิดพายุ “ฟอร์เรสต์” เคลื่อนขึ้นฝั่งในปีพ.ศ. ๒๕๓๕ ส่งผลให้สวนทุเรียนพื้นเมืองและผลไม้ต่าง ๆ ได้รับ ความเสียหายจ�ำนวนมาก เกษตรกรจึงหันไปปลูกทุเรียนพันธุ์และไม้ผลอื่น ๆ ทดแทน หลังจากที่ยางพารามีราคา ตกต�่ำลงอย่างต่อเนื่อง เกษตรกรจึงหันมาปลูกทุเรียนพันธุ์ เนื่องจากมีราคาดีประกอบกับสภาพพื้นที่ ดิน น�้ำ และ อากาศเหมาะแก ่การปลูกทุเรียน เกษตรกรมีประสบการณ์ในการปลูกทุเรียนนอกฤดูมายาวนานกว ่า ๒๐ ปี โดยเฉพาะเมื่อผลิตทุเรียนนอกฤดูกาลราคาสูงกว่าทุเรียนตามฤดูกาล ๒ - ๓ เท่าซึ่งผลผลิตทุเรียนนอกฤดูที่ได้ มาตรฐานนั้น ผลโตเต็มที่จะมีน�้ำหนักประมาณ ๖ - ๗ กิโลกรัม ราคาออกจากสวนกิโลกรัมละ สูงกว่า ๑๐๐ บาท และมีตลาดรองรับในการส่งออก โดยเฉพาะจีนเป็นประเทศที่มีการบริโภคผลไม้ไทยสูงมาก นอกจากนี้ ทางส�ำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ช ่วยประสานเพื่อ การเชื่อมโยงกับตลาดใหม่ๆ เพิ่มเติมจากการส่งจ�ำหน่ายให้กับประเทศจีน เช่น ประเทศเกาหลีและรัสเซีย เป็นต้น พื้นที่ที่ปลูกทุเรียนมากในอ�ำเภอท่าศาลา คือ ต�ำบลตลิ่งชัน ต�ำบลกลาย ต�ำบลสระแก้ว ส�ำนักงาน เกษตรอ�ำเภอท่าศาลาได้มีการส่งเสริมให้มีการผลิตทุเรียนนอกฤดูทั้งนี้เกษตรกรในพื้นที่ได้มีการรวมกลุ่มผู้ปลูกทุเรียน ต�ำบลตลิ่งชัน ขึ้นเป็นวิสาหกิจชุมชน รูปแบบเกษตรแปลงใหญ่ โดยมีแปลงสาธิตทุเรียนนอกฤดูกาลหลายแปลง เช่น แปลงของนายพงศ์พัฒน์เทพทองผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๒ ต�ำบลตลิ่งชัน เป็นแปลงเรียนรู้ต้นแบบ ในการถ่ายทอดเทคนิค การจัดการสวน การใช้ปุ๋ยเพื่อลดต้นทุนการผลิต การปรับปรุงผลผลิตเพื่อให้ได้คุณภาพสอดคล้องกับความต้องการ ของตลาด และมีการรับรองมาตรฐานสินค้า GAP นอกจาก ทุเรียนแล้วยังมีลองกองเงาะ มังคุดซึ่งได้ชื่อว่าเป็นราชินีผลไม้ก็ท�ำรายได้ให้กับเกษตรกร ในอ�ำเภอท่าศาลาไม่น้อยในแต่ละปีโดยเฉพาะเมื่อออกนอกฤดูกาล มังคุดราคาสูงถึงกิโลกรัมละ ๑๐๐ - ๒๐๐ บาท นอกจากผลไม้แล้วท ่าศาลายังมีการปลูกยาสูบที่มีชื่อเสียงที่ต�ำบลกลายหรือเรียกว ่า ยากลาย ซึ่งสร้างรายได้ ให้เกษตรกรนอกเหนือจากการท�ำสวนผลไม้


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 111 ๑.๒ อาชีพพาณิชย์ก้าวไกลในปัจจุบัน พาณิชย์ก้าวไกลเป็นการส่งเสริมความเข้มแข็งให้ธุรกิจรายย่อยรายเล็กและรายกลางในการน�ำพา เศรษฐกิจของให้เติบโตอย่างมั่นคงมั่งคั่งและยั่งยืน มีการยกระดับคุณภาพการประกอบธุรกิจ มีแหล่งที่เป็นศูนย์กลาง ทางด้านพาณิชยกรรม เช่น ตลาดนัดแต่ละชุมชน ตลาดสดร้านค้าต่างๆร้านสะดวกซื้อตลอดถึงห้างสรรพสินค้าๆ เป็นต้น การมีตลาดในทุกระดับสะท้อนให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ในพื้นที่ มีการแลกเปลี่ยนจับจ ่ายใช้สอย แสดงให้เห็นถึงเศรษฐกิจที่ดี กิจกรรมทางเศรษฐกิจอ�ำเภอท่าศาลาจะมีทั้งการผลิตการบริโภคการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ ภายในชุมชนของตนเองและกับต ่างชุมชน ดังนั้น ชุมชนมีส ่วนร ่วมในการร ่วมคิด ร ่วมตัดสินใจ ร ่วมท�ำ ร ่วมรับผลประโยชน์ ในการด�ำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจต ่างๆ ทั้งด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม บริการ ทั้งในด้านการผลิตและการบริโภค มังคุด ลองกอง ห้างเทสโก้โลตัส ตลาดสี่แยกวัดโหนด ตลาดนับอนุสรณ์ เงาะ


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 112 ตลาดเปิดท้ายหมอจวน ตลาดนัดวันพฤหัสบดี (หลาดหัด) ช่างตัดผม ๑.๓ อาชีพบริการในปัจจุบัน การบริการเป็นอาชีพที่ช่วยอ�ำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ บุคคลที่มีอาชีพทางด้านการบริการ เช่น พนักงานขับรถโดยสาร ช่างตัดผม ช่างเสริมสวย พนักงานต้อนรับ พนักงานเสิร์ฟอาหาร เป็นต้น อาชีพบริการเป็นงานที่ต้องให้ลูกค้าประทับใจ การให้บริการที่ดีด้วยความจริงใจ มีมิตรไมตรี และซื่อสัตย์จะท�ำให้ลูกค้าประทับใจและใช้บริการไปนานๆ ชาวท่าศาลาเป็นคนที่มีนิสัยเอื้อเฟื้อ เกื้อกูล มีน�้ำใจ เป็นมิตรกับคนทั่วไปซึ่งเป็นคุณสมบัติของการให้บริการที่ดี


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 113 โรงแรมที่พัก ร้านอาหารและเครื่องดื่ม ๑.๔ การสืบสานการละเล่นและการแสดงพื้นบ้านที่โดดเด่นที่คงอยู่ในชุมชน อ�ำเภอท่าศาลา เมื่อประชาชนมีเวลาว่างจากการท�ำงาน ก็มีกิจกรรมที่ท�ำให้เกิดความสนุกสนาน รื่นเริงผ่อนคลาย มีการแข่งขัน มีกฎกติกาการเล่นหรือการแข่งขันง่ายๆไม่สลับซับซ้อนมากนักจุดประสงค์ส่วนใหญ่ มุ่งเพื่อให้เกิดความสนุกสนาน เพื่อออกก�ำลังกายและก่อให้เกิดความสามัคคีทั้งระหว่างผู้เล่นและผู้ชม เช่น กีฬาชนไก่ ในหมู่ชนที่เป็นมุสลิมจะพบมีการเลี้ยงนกกรงหัวจุก (นกปรอทหัวโขน) และจะมีการแข่งประชันเสียงนกกรงหัวจุก ซึ่งสนามแข่งนกสามารถเคลื่อนย้ายได้แล้วแต่ความเหมาะสม และนอกจากการละเล่นแล้วยังมีการแสดงพื้นบ้าน ในอ�ำเภอท่าศาลา เช่น โนรา(มโนราห์) เพลงบอก หนังตะลุง ลิเกฮูลู


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 114 ๑.๕ หัตถกรรมที่มีอยู่ในชุมชน ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนในอดีตและหัตถกรรม ที่ผลิตขึ้นเพื่อสังคมปัจจุบัน หัตถกรรม เป็นอาชีพที่ต้องอาศัยแรงงานฝีมือในครัวเรือน วัตถุดิบก็เป็นทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น นั้นๆและใช้เทคโนโลยีที่เป็นความรู้ที่สืบทอดต่อกันมาจากบรรพบุรุษ ผลิตผลจากการท�ำอาชีพหัตถกรรมเป็นประเภท ข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจ�ำวัน เช่น เครื่องปั้นดินเผา การทอหางอวน การท�ำว่าว การท�ำกรงนก เป็นต้น ๑.๕.๑ การท�ำผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา กลุ ่มเครื่องปั้นดินเผากลุ ่มแม ่บ้านเกษตรกรบ้านมะยิง ตั้งอยู ่ บ้านมะยิง หมู ่ที่ ๖ ต�ำบลโพธิ์ทองอ�ำเภอท่าศาลาเล่าให้ฟังว่าอาชีพท�ำเครื่องปั้นดินเผาในชุมชนท�ำกันมาโบราณนานมากสืบทอดกันมา ประมาณ ๑๐๐ ปีสมัยก่อนท�ำเครื่องปั้นดินเผาพื้นเมืองแบบโบราณ จะปั้นหม้อยาส่วนใหญ่สมัยพ่อแม่คนรุ่นเดิม ๆ จะท�ำกันเป็นระบบครอบครัวจากเดิมท�ำกันแค่ ๑ - ๒ ครอบครัว ปัจจุบันเป็นกลุ่ม ๑๐ กว่าครัวเรือน การร�ำมโนราห์


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 115 ๑.๕.๒ การท�ำหางอวน บ้านหน้าทัพเป็นหมู ่บ้านชายทะเล ราษฎรในท้องถิ่นนับถือศาสนาอิสลามและ พุทธ ประกอบอาชีพการท�ำประมงมาแต่ดั้งเดิม ได้น�ำยอดใบลานที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาท�ำเป็นเส้น แล้วตากแดดให้แห้ง จากนั้นก็น�ำมาทอและม้วนคล้ายกรวย เพื่อท�ำเป็นอุปกรณ์ในการหาปลาขนาดเล็ก โดยน�ำไปติดไว้ที่ปลายอวน จึงเรียกติดปากกันว่า“หางอวน”แต่ปัจจุบันชาวประมงเปลี่ยนมาใช้เชือกไนลอนแทน ท�ำให้หางอวนถูกลดบทบาทลง การท�ำหางอวนเพื่อวัตถุประสงค์เดิมจึงเปลี่ยนไปเป็นการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เช่น กระเป๋า หมวก เป็นต้น ปัจจุบันมีการรวมกลุ่มในการท�ำหางอวนและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากหางอวน กลุ่มผลิตภัณฑ์ หางอวนบ้านหน้าทัพ ตั้งอยู ่ที่บ้านเลขที่ ๒๕๑ หมู ่ ๑๕ บ้านหน้าทัพ ต�ำบลท่าศาลา อ�ำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ๑.๕.๓ การท�ำว่าว หมู่บ้านในถุ้งอยู่ห่างจากตัวเมือง ๒๔ กิโลเมตร เป็นชื่อหมู่บ้านชาวประมงที่มีบรรยากาศ ของหมู่บ้านชายทะเลซึ่งนอกจากชาวบ้านจะท�ำอาชีพประมงแล้วยามว่างจะผลิตว่าวผ้าเป็นรูปนกหลากสีวางขาย อยู่สองข้างทางซึ่งสามารถใช้เป็นของที่ระลึกและใช้งานได้จริง ลักษณะการท�ำว่าวในชุมชน จะท�ำ ๒ ลักษณะ กล่าวคือ ๑.ว่าวที่เล่นกับลมทะเล ๒.ว่าวที่เล่นกับลมทั่วไป โดยว่าวจะโครงสร้างที่แตกต่างกันออกไป และจะแบ่งย่อย ออกได้อีก เป็นว่าวที่มีเสียง และว่าวที่ไม่มีเสียงโดยมีตัว เช่น ว่าวที่มีเสียง ได้แก่ ว่าวโนรา ว่าววงเดือน ว่าวควาย เป็นต้น ว่าวที่ไม่มีเสียง ได้แก่ ว่าวนก ว่าวจุฬา ว่าวปักเป้า เป็นต้น ส่วนแอกที่คอยให้เสียงท�ำมาจากเส้นหวาย ใบลาน วัตถุดิบในการท�ำหางอวน ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากหางอวน การท�ำว่าวของชุมชนบ้านในถุ้ง


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 116 และท�ำด้วยเลือดอีกาจะท�ำให้ได้เสียงที่ดีและมีความทนทานต่อลม โดยปกตินั้นสามารถที่จะท�ำว่าวได้ประมาณ วันละ ๑๐ ตัวต่อคน เอกลักษณ์ของว่าวในชุมชนจะมีลายกอ และมีราคาตั้งแต่หลักสิบถึงหลักหมื่น ตามขนาด และรูปแบบ ๑.๕.๔ การท�ำกรงนก วิถีชีวิตของชาวบ้านภาคใต้การเดินทางจากตัวอ�ำเภอเมืองเข้าสู ่อ�ำเภอท่าศาลา เข้าเขตบ้านสระบัว บ้านในถุ้ง อ�ำเภอท่าศาลาสองข้างทางจะพบเห็นมีร้านขายกรงนกทั้งสองข้างทางพบเห็นร้านค้า ที่จ�ำหน่ายหลากหลายรูปแบบกรงนกเป็นวิถีชีวิตของชาวไทยมุสลิม ที่นิยมชมชอบการแข่งขันศิลปะฟังเสียงนก ประชันแข่งขันกัน ยามเช้าเสาร์-อาทิตย์มักจะพบเห็นชาวบ้านน�ำนกของตนเองน�ำไปแข่งขันนกเพื่อฟังเสียงอันไพเราะ ของนกแต่ละตัวที่ส่งเสียงแหลม ไพเราะยาวนาน การเลี้ยงนกปรอดหัวโขนเคราแดง (นกกรงหัวจุก) เป็นที่นิยมเลี้ยง กันมากในภาคใต้และมีการส่งเสริมการแข่งขันกันอย่างแพร่หลายการผลิตกรงนกจึงเป็นการผลิตสินค้าอีกอย่างหนึ่ง เพื่อสนองความต้องของคนในท้องถิ่นและคนทั่วไปในชุมชนมุสลิม อ�ำเภอท่าศาลาจึงมีอาชีพการท�ำกรงนกเกิดขึ้น เพื่อเป็นการสนองความต้องการของ ผู้เลี้ยงนก เช่น การผลิตกรงนก การผลิตชิ้นส่วนกรงนก ร้านขายกรงนก และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการเลี้ยงนก เป็นต้น การผลิตกรงนกผู้ผลิตจะส่งสินค้าให้ร้านค้าขายกรงนกในชุมชน และบางส่วนก็น�ำไปขายส่งในท้องที่อื่น หรือจังหวัดต่างๆในภาคใต้นอกจากการผลิตกรงนกกรกงหัวจุกแล้วเนื่องจาก ชุมชนคนมุสลิมนิยมเลี้ยงนกเขาจึงมีการผลิตกรงนกจึงเป็นอีกอาชีพหนึ่งของคนในท้องถิ่น กรงนกเขาชวาจะมีลักษณะ ทรงกลมโค้งจะมีความอ่อนช้อยมากกว่าและมีขนาดใหญ่กว่าส่วนกรกงหัวจุกจะมีลักษณะสี่เหลี่ยมด้านบนจะแคบ กว่าด้านล่างและขนาดก็จะเล็กกว่าด้วย การท�ำกรงนกกรงหัวจุก


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 117 ๑.๖ อาชีพประมง และวิถีชีวิตของชาวประมงพื้นบ้าน ชุมชนอ่าวท่าศาลา อ�ำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นชุมชนอันร�่ำรวยด้วยทรัพยากร ชายฝั่งทะเลและวัฒนธรรมของชาวพุทธและชาวมุสลิม ที่อาศัยอยู่ร่วมกันมาอย่างยาวนาน ด้วยลักษณะพิเศษ ทางภูมิประเทศ พื้นที่ทะเลอ่าวท่าศาลาอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพันธุ์สัตว์น�้ำ การประมงจึงเป็นหนึ่งในเศรษฐกิจหลัก ของที่นี่จนได้รับการขนานนามว่าเป็นอ่าวทองค�ำ การประกอบอาชีพประมงท�ำให้เกิดภูมิปัญญาการด�ำน�้ำฟังเสียงปลา ในท้องทะเลที่เรียกว่า “ดูหล�ำ” การท�ำประมงพื้นบ้านในอ�ำเภอท่าศาลา


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 118 เรื่องที่ ๒ การอนุรักษ์ชายฝั่งทะเลอำเภอท่าศาลา ๒.๑ สถานการณ์ป่าชายเลนในอ�ำเภอท่าศาลา ในอดีตชายฝั ่งทะเลต�ำบลท่าศาลา เป็นแหล ่งท ่องเที่ยวที่ส�ำคัญของจังหวัดนครศรีธรรมราช เนื่องจากมีหาดทรายที่สวยงามเป็นที่รู้จักกันอย่างดีคือ หาดสระบัวแต่ในปัจจุบันเกิดการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ และผลจากการด�ำเนินกิจกรรมของมนุษย์ ท�ำให้ หาดทรายเหล่านี้กลายสภาพจากหาดทรายเป็นหาดเลน ท�ำให้ชายฝั่งทะเลท่าศาลา มีพื้นที่เป็นหาดเลนว่างเปล่า เพิ่มมากขึ้น จึงได้เกิดกิจกรรมการมีส่วนร่วมในการปลูก ป่าชายเลนของหน่วยงานต่าง ๆ และชาวบ้านในชุมชน ตั้งแต ่ พ.ศ. ๒๕๒๐ เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน และ มีการขยายพื้นที่เพิ่มจากบ้านแหลม บ้านหน้าทัพ บ้านสระบัว ต�ำบลท่าศาลา ป ่าชายเลนเป็นป ่าที่ให้ ประโยชน์ต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ อย่างมากมายมหาศาล เนื่องจากป่าชายเลนเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ ที่อุดมสมบูรณ์มีความส�ำคัญและประโยชน์ ประโยชน์ของป่าชายเลน มีดังต่อไปนี้ ๑. เป็นแหล่งพลังงาน อาหาร และที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์ตามธรรมชาติ ๒. ช่วยป้องกันชายฝั่งทะเลจากการกัดเซาะพังทลายก�ำบังคลื่น ลม กระแสน�้ำและพายุที่พัดมา ท�ำลายทรัพย์สินบริเวณบ้านเรือน ที่อยู่อาศัย ๓. ช่วยดักตะกอน สิ่งปฏิกูล และสารพิษต่างๆ ไม่ให้ไหลลงสู่ทะเล ๔. เป็นแหล่งวัตถุดิบผลิตภัณฑ์จากไม้ที่ใช้ในการก่อสร้าง เป็นเสาเข็ม ๕. เป็นแหล่งเชื้อเพลิง เช่น การท�ำถ่านจากไม้ในป่าชายเลน ๖. เป็นแหล่งวัตถุดิบในการผลิตอาหาร ยา และเครื่องดื่ม ๗. เป็นแหล่งสร้างรายได้และแหล่งบริโภคอาหารที่ส�ำคัญของมนุษย์ ๘. เป็นแหล่งประมงชายฝั่ง แหล่งอาศัยของลูกปลา ลูกกุ้ง และสัตว์น�้ำวัยอ่อนอื่น ๆ ๙. เป็นที่วางไข่ ที่อนุบาลสัตว์น�้ำวัยอ่อน เป็นแหล่งอาหารและเจริญเติบโตของสัตว์น�้ำเศรษฐกิจ นานาชนิด ๑๐. เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศรวมไปถึงแหล่งพักผ่อนหย่อนใจของมนุษย์


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 119 ๒.๒ การอนุรักษ์ป่าชายเลน ทรัพยากรป่าชายเลน ถือได้ว่าเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีคุณค่าสูง มีความส�ำคัญต่อชีวิตมนุษย์ และสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในระบบนิเวศ การอนุรักษ์และรักษาสภาพแวดล้อมจึงจ�ำเป็นต้องหาแนวทางในการอนุรักษ์ป่า ชายเลนที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ การอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรป่าชายเลน โดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วม จากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลนพื้นที่หาดสระบัว เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนและปรับปรุงการมีส่วนร่วมของประชาชนรวมทั้งการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิด การมีส่วนร่วมของชุมชน องค์กรท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมากยิ่งขึ้นในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน และเพื่อให้การมีส่วนร่วมสอดคล้องกับความต้องการและสภาพปัญหาของชุมชนในการจัดการป่าชายเลนครั้งต่อไป แนวทางการอนุรักษ์ป่าชายเลนที่ส�ำคัญ ดังต่อไปนี้ ๑. สร้างจิตส�ำนึกและเสริมสร้างแรงจูงใจต่างๆ ให้กับชุมชน เพื่อให้ชุมชนมีความรู้และ ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบนิเวศ และความส�ำคัญของป่าชายเลน การสร้างความเข้าใจให้กับประชาชน ในชุมชนให้เข้าใจว่าตนเองจะเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์จากการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลน ๒. ก�ำหนดกฎระเบียบการใช้ประโยชน์ป่าชายเลนของชุมชน โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เช่น กฎระเบียบเกี่ยวกับการห้ามตัดไม้ในป่าชายเลน ๓. ก�ำหนดพื้นที่และช่วงเวลาในการอนุรักษ์ทรัพยากรประมง เช่น ห้ามจับปลา ในฤดูวางไข่ การท�ำธนาคารปูเป็นต้น ๔. ปล่อยพันธุ์สัตว์น�้ำและปลูกป่าชายเลน ในพื้นที่ว่างเปล่าและในพื้นที่เสื่อมโทรมเพื่อสร้าง ความอุดมสมบูรณ์ให้กับทรัพยากรธรรมชาติและเพิ่มความหลากหลายของชนิดพันธุ์สัตว์น�้ำ ป่าชายเลน ณ บริเวณอ่าวทองค�ำ “บ้านแหลมโฮมสเตย์”


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 120 กิจกรรมปลูกป่าชายเลน เรื่องที่ ๓ แหล่งท่องเที่ยวในอำเภอท่าศาลา อ�ำเภอท ่าศาลาเป็นอ�ำเภอที่เก ่าแก ่ มีพื้นที่เป็นพื้นที่ราบชายฝั ่งทะเลและพื้นที่ราบเชิงเขาท�ำให้มี แหล่งท่องเที่ยวทั้งทางวัฒนธรรม และแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติทั้งชายหาด และน�้ำตกให้ได้ศึกษาเรียนรู้ และพักผ่อนหย่อนใจหลายแห่ง ดังต่อไปนี้ ๓.๑ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ อ�ำเภอท ่าศาลามีแหล ่งท ่องเที่ยวทางธรรมชาติทั้งที่เป็นอุทยานแห ่งชาติที่มีน�้ำตกที่สวยงาม และชายหาดที่สวยงามหลายแห่ง ดังนี้ ๓.๑.๑ อุทยานแห่งชาติเขานัน อุทยานแห่งชาติเขานัน ห่างจากอ�ำเภอท่าศาลา ๓๐ กิโลเมตร อุทยานมีเนื้อที่ประมาณ ๒๗๒,๕๐๐ ไร่ หรือ ๔๓๖ ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ของอ�ำเภอท่าศาลา อ�ำเภอสิชล และอ�ำเภอนบพิต�ำ มีอาณาเขตที่ครอบคลุมเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเขานัน และ เขตป่าสงวนแห่งชาติป่ากรุงชิงบางส่วน ลักษณะเป็นเทือกเขา สูงสลับซับซ้อน เป็นแนวติดต ่อมาจากอุทยานแห ่งชาติ เขาหลวง เป็นป่าต้นน�้ำของคลองหลายสายอุทยานแห่งชาติ เขานันมีสถานที่กางเต็นท์บริการนักท่องเที่ยว การเดินทาง จากตัวเมืองใช้เส้นทางหลวงหมายเลข ๔๐๑ จนข้ามคลอง กลายผ่านบ้านสระแก้วอ�ำเภอท่าศาลา หลักกิโลเมตรที่๑๑๐


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 121 แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าบ้านปากเจา เข้าสู่ที่ท�ำการอุทยานประมาณ ๑๕ กิโลเมตร อุทยานแห่งชาติเขานันมีสถานที่ ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ คือ น�้ำตกสุนันทา เป็นน�้ำตกขนาดเล็กที่มีความงดงามตามธรรมชาติสายน�้ำไหลจากเทือกเขา นันผ่านหน้าผาชันลงสู่แอ่งน�้ำเบื้องล่าง และไหลลงสู่ล�ำคลองกลาย ซึ่งเป็นล�ำน�้ำสายส�ำคัญในเขตอ�ำเภอท่าศาลา สามารถจัดกิจกรรมล่องแพตามล�ำน�้ำได้ในช่วงฤดูน�้ำหลาก ๓.๑.๒ หาดทรายแก้ว หาดทรายแก้ว ตั้งอยู่ หมู่ที่ ๑ ต�ำบลท่าขึ้น เป็นหาดทรายที่สวยงามมากแห่งหนึ่งใน อ�ำเภอท่าศาลา นักท ่องเที่ยวสามารถมานั่งชมพระอาทิตย์ขึ้น เล ่นน�้ำทะเล กินอาหารทะเลสด ๆ รสชาติดี และมีพิพิธภัณฑ์วัตถุโบราณให้ได้ศึกษา มีบริการที่พัก ร ่มรื่น สวยงามตามแบบชายฝั ่งทะเลตะวันออก ด้วยแนวหาดทรายยาวที่มีทิวสนและดงมะพร้าวเป็นฉากหลัง ๓.๑.๓ หาดท่าสูงบน หาดท่าสูงบน ตั้งอยู่หมู่ที่ ๔ ต�ำบลท่าศาลาเป็นหาดทรายขาวละเอียด ทอดยาว มีต้นสน และพวกผักบุ้งทะเล ตั้งอยู ่ไม ่ไกลจากตัวอ�ำเภอ มีบริเวณหาดที่กว้าง สามารถที่จะกางเต้นท์หรือพักผ ่อน โดยการน�ำอาหารไปรับประทานเองหรือรับบริการจากร้านอาหารที่มีไว้บริการอาหารทะเลสด ๆ ให้นักท่องเที่ยว น�้ำตกสุนันทา หาดทรายแก้ว


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 122 ๓.๑.๔ หาดซันไรซ์ หาดซันไรซ์ตั้งอยู่หมู่ที่๙ ต�ำบลท่าศาลาเป็นชายหาดที่เหมาะแก่การพักผ่อน มีร้านอาหาร อาหารทะเลสด ๆ และที่พักไว้บริการนักท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นซันไรซ์ซีฟู๊ด และโรงแรมซันไรซ์ ๓.๑.๕ บ้านแหลมโฮมสเตย์ บ้านแหลมโฮมสเตย์ตั้งอยู่หมู่ที่ ๗ และหมู่ที่ ๑๔ ต�ำบลท่าศาลา เป็นการท�ำท่องเที่ยว จากกลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลน โดยที่นี่มีโฮมสเตย์หลายหลัง มีแบบนอนแยกเป็นบ้านแบบส่วนตัว ๑ หลัง มีกิจกรรม ให้ได้สัมผัสและเรียนรู้ผ ่านวิถีชีวิตความเป็นอยู ่ของชุมชน เช ่น การทอลาน (ทอใบลาน) ภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่มีมานานกว่า ๑๐๐ ปีได้เรียนรู้การท�ำกรงนก เลี้ยงนกกรงหัวจุก ซึ่งที่บ้านแหลมได้ชื่อว่าเป็นแหล่งผลิตใหญ่ที่สุด นั่งเรือออกไปท�ำสปาโคลนในทะเล ปลูกป่าโกงกางศึกษาระบบป่าชายเลน เรียนรู้เสน่ห์ปลายจวักการท�ำเครื่องแกง รสเด็ดกับกลุ่มท�ำเครื่องแกง นักท่องเที่ยวสามารถเลือกเรียน การท�ำเคย(กะปิ) การท�ำรังนก การเลี้ยงดูนกนางแอ่น ที่บ้านนกนางแอ่น หรือเรียนรู้การแกะใบจาก หาดซันไรซ์ ภาพวิถีชีวิตของชุมชนบ้านแหลมโฮมสเตย์


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 123 ๓.๒ แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม อ�ำเภอท่าศาลามีแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมหลายแห่ง เช่น โบราณสถานโมคลานและโบราณ สถานตุมปัง โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ๓.๒.๑ โบราณสถานวัดโมคลาน โบราณสถานวัดโมคลาน เดิมเป็นเทวสถานของศาสนาฮินดูลัทธิไศวนิกายขนาดใหญ่ มาก่อนอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๔ ต่อมาเทวสถานแห่งนี้ถูกทิ้งร้างไป จนสมัยอยุธยากลุ่มชุมชนได้มาสร้าง วัดขึ้นใหม่ จนปี๒๔๘๐ มีพระมาสร้างเป็นส�ำนักสงฆ์และเป็นวัดหลักฐานที่ยังคงมีอยู่ ให้เห็น ได้แก่ แนวเสาหิน หินแกะสลัก กรอบประตูอาคาร ธรณีประตูชิ้นส่วนโยนิและศิวลึงค์สระน�้ำโบราณ แท่นตั้งเทวรูป กรมศิลปากร ได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานไว้ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๘ สถานที่ตั้ง โบราณสถานวัดโมคลาน ตั้งอยู่ ณ บ้านโมคลาน หมู่ที่ ๑๒ ต�ำบลโมคลาน อ�ำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ๓.๒.๒ โบราณสถานตุมปัง โบราณสถานตุมปังอยู่ในเขตมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ต�ำบลไทยบุรีอ�ำเภอท่าศาลา เป็นแหล่งโบราณคดีที่ได้รับอิทธิพลของวัฒนธรรมอินเดียแพร่กระจายอยู่เป็นจ�ำนวนมาก ร่องรอยที่เหลือให้เห็น อย่างเด่นชัด คือ ศาสนสถานในศาสนาพราหมณ์ ทั้งไศวนิกายและไวษณพนิกาย และศาสนาพุทธ จากการส�ำรวจ แหล่งโบราณคดีตุมปังโดยกรมศิลปากร ในปีพ.ศ. ๒๕๓๖ โบราณสถานตุม


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 124 บุคคลสำ คัญท่าศาลา บทที่ ๕ สาระส�ำคัญ บุคคลส�ำคัญที่ประสบความส�ำเร็จในการประกอบอาชีพ และท�ำคุณงามความดีให้กับชาวท่าศาลา ตัวชี้วัด ๑. อธิบายประวัติบุคคลส�ำคัญของชุมชนในแต่ละสาขา ๒. ยกตัวอย ่างบุคคลที่ประสบความส�ำเร็จในการประกอบอาชีพเละบุคคลที่ท�ำคุณงามความดี ให้กับชาวอ�ำเภอท่าศาลา ๓. แสดงข้อคิดที่ได้จากการเรียนรู้ประวัติบุคคลที่ท�ำคุณงามความดีกับชุมชน หรือบุคคลที่ประสบ ความส�ำเร็จในการประกอบอาชีพ ๔. มีทักษะในการสื่อสาร โดยการฟัง การซักถาม การสัมภาษณ์ โดยการถ ่ายทอดความรู้จาก การฟังบรรยายไปยังบุคคลอื่น ๆ ได้ ๕. แสดงทัศนคติแนวคิดที่มีต่อ บุคคลส�ำคัญของอ�ำเภอท่าศาลา ๖. น�ำเสนอผลจากการศึกษาค้นคว้า จากผลงานเอกสารรายงานต่าง ๆ ๗. ตระหนักและเห็นคุณค่าของบุคคลส�ำคัญของอ�ำเภอท่าศาลา ขอบข่ายเนื้อหา เรื่องที่ ๑ ประวัติบุคคลส�ำคัญที่ประสบความส�ำเร็จในการประกอบอาชีพ และบุคคลที่มีคุณค่า ควรแก่การยกย่อง ที่กระท�ำคุณงามความดีให้กับชุมชนและชาวอ�ำเภอท่าศาลา ๑.๑ พระอธิการแดง จันทสโร (พ่อท่านแดง) ๑.๒ นายจงกิตติ์ คุณารักษ์ ๑.๓ นายบุญเสริม แก้วพรหม ๑.๔ นางเยิ้ม เรืองดิษฐ์ ๑.๕ นายนิคม คงทน เวลาที่ใช้ในการศึกษา ๑๔ ชั่วโมง สื่อการเรียนรู้ ๑. เอกสารประกอบการเรียนหลักสูตรรายวิชาเลือกท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ๒. คู่มือนักศึกษา รายวิชาเลือกท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ๓. สื่อเสริมการเรียนรู้อื่น ๆ


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 125 เรื่องที่ ๑ ประวัติบุคคลสำคัญที่ประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพ และบุคคลที่มีคุณค่า ควรแก่การยกย่อง ที่กระทำคุณงามความดีให้กับชุมชน และชาวอำเภอท่าศาลา คนดีท่าศาลาในที่นี้อาจจะมีหลาย ๆ คนที่เกิดในพื้นที่อ�ำเภอท่าศาลาไปสร้างชื่อเสียงในระดับประเทศ หรือบุคคลที่ท�ำคุณประโยชน์ให้กับชาวอ�ำเภอท่าศาลา ได้ร่วมกันสร้างชื่อเสียงให้กับอ�ำเภอ และมีคุณงามความดี ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อชาวอ�ำเภอท่าศาลา บางท่านยังคงมีชีวิตอยู่และบางท่านได้จากโลกนี้ไปแล้ว แต่คุณงาม ความดีที่ท่านเหล่านั้นได้กระท�ำมาควรค่าแก่การระลึกถึง และการยกย่อง ถึงคุณงามความดีไว้ให้รุ่นลูกรุ่นหลาน ได้เรียนรู้เพื่อเป็นข้อมูล และแรงบันดาลใจในการขับเคลื่อนและสร้างบ้านเมืองในท่าศาลาได้เจริญก้าวหน้า ในที่นี้ ขอยกตัวอย่าง บุคคลที่ยังด�ำรงอยู่ในอ�ำเภอท่าศาลาและยังคงตั้งรกรากหลักฐานให้กับครอบครัวและมีหลักฐาน ที่ปรากฏ เป็นบุคคลที่ควรค่าแก่การศึกษา ดังนี้ ๑. พระอธิการแดง จันทสโร (พ่อท่านแดง)อดีตเจ้าอาวาสวัดโทตรีพระอาจารย์เกจิที่ชาวบ้าน ได้ให้ความเคารพบูชาเพราะเป็นพระเกจินักพัฒนา ๒. นายจงกิตติ์ คุณารักษ์อดีตก�ำนันต�ำบลสระแก้วผู้สร้างความเจริญทุกด้านให้กับ ต�ำบลสระแก้ว โดยเฉพาะด้านการเกษตรเป็นผู้ก ่อตั้ง และริเริ่มการปลูกทุเรียนเป็นคนแรกของอ�ำเภอท ่าศาลาจนมีชื่อเสียง ด้านการปลูกผลไม้โดยเฉพาะทุเรียนมีเงินสะพัดระดับต�ำบลและระดับจังหวัดนครศรีธรรมราช ๓. นายบุญเสริม แก้วพรหม อดีตข้าราชการบ�ำนาญ ผู้อนุรักษ์ภาษาไทยดีเด่นเป็นบุคคลที่มี ความรู้ความสามารถในการการแต ่งหนังสือ ทั้งร้อยแก้ว ร้อยกรอง และผลิตสื่อประกอบการเรียนการสอน ด้านภาษาไทยจนได้รับการยกย่องระดับประเทศจากกระทรวงศึกษาธิการกระทรวงวัฒนธรรม และหน่วยงานอื่น ๆ มากมายควรค่าแก่การเรียนรู้และศึกษาถึงความสามารถของท่านด้านภาษาไทย ๔. นางเยิ้ม เรืองดิษฐ์อดีตผู้ใหญ่บ้านต�ำบลท่าขึ้น เป็นผู้ที่สะสมวัตถุโบราณ ดาบ กริช ลูกปัด โอ่ง ไห ตั้ง เตียงโบราณ ๕. นายนิคม คงทน อดีตผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๕ ต�ำบลสระแก้ว อ�ำเภอท่าศาลา ๑.๑ พระอธิการแดง จันฺทสโร (พ่อท่านแดง) พระอธิการแดง จันฺทสโร เดิมชื่อ ไข่แดง คงพันธุ์ เกิดเมื่อวัน ๑ฯ ๒ ๑๒ ค�่ำ ปีกุน วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๔๔๒ ที่บ้านโคกหว้า หมู่ที่๒ ต�ำบลไทยบุรีอ�ำเภอท่าศาลา นครศรีธรรมราช เป็นบุตรของนายหนู นางซัง มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน ๕ คน คือ ๑.พระอธิการแดง จันทสโร เป็นบุตรคนโต ถัดไปน้อง ๆ เป็นผู้หญิง จ�ำนวน ๔ คน ตามล�ำดับ ดังนี้๑. นางสาวนิ่ม คงพันธุ์๒. นางส้มทับ สมหมาย ๓. นางวุ้น บุญสว่าง และ ๔. นางพร้อม การะนัด เด็กชายไข ่แดง เมื่อคลอดจากครรภ์มารดาแล้ว บังเอิญน�้ำนมมารดาไม่ออก ถึงแม้ว ่าหมอต�ำแยจะนวดเคล้าคลุก ปลุกปล�้ำสักเท ่าไร ๆ ก็ยังไม ่ออกอยู ่นั้นเอง เลยจนปัญญาของ หมอต�ำแย และมารดาที่จะเลี้ยง หาน�้ำนมเลี้ยงลูกได้ในสมัยนั้น จึงได้ตกลงใจยกเด็กชายไข่แดงให้เป็นบุตรบุญธรรมแก่นางทองด�ำ


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 126 หมอต�ำแยไปเลี้ยงไว้ตั้งแต่แรกคลอดได้๖ – ๗ วัน นางทองด�ำก็ยินดีรับไปเลี้ยงไว้ที่ประตูช้าง หมู่ที่ ๓ ต�ำบลไทยบุรี โดยให้กินนมของนางจอกซึ่งเป็นบุตรีของนางทองด�ำ ได้กินนมร ่วมกับเด็กหญิงมุมและกินนมบุตรนางทุ ่ม บุตรของนางทองด�ำอีกคนหนึ่งซึ่งได้กินร่วมกันกับเด็กชายบึ้ง ภายหลังนางหนูและนางซังได้ไปเยี่ยมเยียนนางทองด�ำ และบุตรของแกอยู่เสมอเห็นว่านางทองด�ำเอาใจใส่ต่อเด็กชายไข่แดงบุตรของแกเป็นอย่างดีนายหนูจึงได้มอบนา หน้าบ้านประตูช้าง จ�ำนวน ๑๐ กระบิ้ง พร้อมกับควายไถนาคู่หนึ่งเพื่อให้นางทองด�ำท�ำกินไปชั่วคราว พร้อมกับได้ เลี้ยงเด็กชายไข่แดงไปด้วยจนกว่าเด็กชายไข่แดงได้บรรลุนิติภาวะต่อไป ประวัติด้านการศึกษา เมื่ออายุย่างเข้าเขตการศึกษา ในสมัยนั้นนางทองด�ำมิได้นิ่งนอนใจ ได้น�ำเด็กชายไข่แดงไปมอบไว้ กับอาจารย์เฉยเจ้าอาวาสวัดท่าสูงในสมัยนั้น ท่านอาจารย์ก็ได้รับไว้ให้ฝึกหัดอ่าน นโมฯกขฯต่อมาจนเวลาล่วงเลย มาหลายปีเด็กชายไข่แดงก็ยังเขียนไม่ได้และอ่านไม่ออกอยู่นั่นเองจนสุดที่อาจารย์จะฝึกให้รู้ได้อยู่วัดมาประมาณ ๗ - ๘ ปีก็พอเขียนได้บ้างบางตัว ที่ได้เห็นแบบแต่อ่านไม่ออกหรือบางทีก็อ่านปากเปล่าได้บ้าง แต่เขียนตัวไม่ถูก อยู่ท�ำนองนั้น เมื่ออายุประมาณ ๑๗ - ๑๘ ปีแล้ว วันหนึ่งนางทองด�ำไปท�ำบุญที่วัด แล้วเลยถามถึงนายไข่แดง ถึงการเรียนว่าเป็นอย่างไรบ้างลูกอ่านออกแล้วบ้างหรือนายไข่แดงก็ได้ว่าให้ฟัง ๒, ๓ ค�ำ คือกขเท่านั้น นางทองด�ำ ว่าแกมาทุกครั้งคราวถามแล้วก็ได้แต่กขเท่านั้น แกคิดจนใจมากจนไปถามอาจารย์ว่าเป็นอย่างไรบ้างท่านสมภาร พระวัดนี้รู้จักแต่ ก ข เท่านั้นหรือเห็นลูกฉันมาอยู่นานแล้วได้แต่ ก ข เท่านั้น อาจารย์เฉยตอบว่า ไม่ใช่เช่นนั้นโยม พระเณร ตลอดจนเด็กอื่น ๆ ทุกคน เขาอ่านออกเขียนไปได้แล้วทั้งนั้น แต่นายไข่แดง ลูกแกมันโง่เอง ฉันสุดปัญญา เสียแล้ว เมื่อนางทองด�ำได้รับค�ำตอบจากสมภารเช่นนั้น ก็คิดน้อยใจว่าลูกเรามันโง่เอาจริง ๆ มาอยู่วัดตั้ง ๗ - ๘ ปี แล้ว ก็เขียนไม่ได้อ่านไม่ออก เห็นท่าจะไม่ไหวเสียแล้ว จึงให้กราบท่านอาจารย์กลับไปอยู่บ้านกับแกอีกต่อไป ประวัติด้านการบรรพชาอุปสมบท พ.ศ. ๒๔๖๓ การบรรพชาอุปสมบท การบวชโดยท่านพระครูวิสุทธิจารีเจ้าอาวาสวัดจันพอ เป็นพระอุปัชฌาย์ เจ้านาคไข่แดงได้กล่าวขานนาคถูกต้องคล่องแคล่วชัดเจนได้ดีประชุมสงฆ์ครบองค์ก�ำหนด เป็นปกตัตต์ในพัทธสีมาวัดท่าสูงการอุปสมบทก็ได้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยในวันนั้น จนเสร็จจบพิธีลง พระอุปัชฌาย์ ให้นามว่า พระแดง ฉายา จันทสโร ท่านได้จ�ำพรรษา ณ วัดท่าสูงถึง ๕ พรรษา พ.ศ. ๒๔๖๘ หลวงพ่อแดง ย้ายมาอยู่ที่ วัดโคกเหล็ก ที่วัดโคกเหล็กขาดพระลงต้องตกเป็นวัดร้าง ว่างพระอยู่ในระหว่างนั้น นายหนูผู้เป็นโยมพ่อพร้อมด้วยญาติพี่น้องบ้านโคกหว้าและชาวบ้านใกล้เคียงบริเวณวัดนั้น ก็ได้ตกลงพร้อมกันไปขอนิมนต์พระแดง จันฺทสโร ต่อท่านอาจารย์เฉยให้มาช่วยรักษาวัดที่วัดโคกเหล็ก การมาอยู่ที่ วัดโคกเหล็กของท่านในครั้งนั้น ก็สุดแสนจะยากล�ำบากยากแค้นมากเพราะเป็นวัดที่ตั้งอยู่กลางป่าดงพงไพร ห่างไกล หมู่บ้านคนพอควร รอบ ๆ วัดล้วนเป็นป่ายางสูงสล้างไปหมด สิ่งก่อสร้างที่มีอยู่ในวัดนั้นมาก่อน ก็มีอุโบสถโบราณ ที่เก่าแก่คร�่ำคร่า ซึ่งยังคงมีอยู่จนทุกวันนี้หลังหนึ่งกับกุฏิเก่าหลังหนึ่ง และหอฉันเก่าหลังหนึ่งเท่านั้น มีลานวัดเล็ก ๆ อยู ่ใกล้อุโบสถซึ่งเป็นพื้นสูงอยู ่นิดหน ่อยเท ่านั้น นอกนั้นก็เป็นที่ป ่ามีพื้นที่ราบลุ ่มต�่ำเป็นป ่าน�้ำราดรุงรังไปด้วย ป่าละเมาะเต็มไปด้วยหญ้าคาและหญ้าอื่น ๆเต็มไปทั้งวัดเมื่อพระแดงจันทสโร ได้มาอยู่ท่านก็ได้ออกปากไหว้วาน บรรดาญาติโยมที่อยู่ใกล้บริเวณวัดนั้น ช่วยกันแผ้วถางดายหญ้าจุดไปเรื่อยมาค่อยบุกเบิกเขตวัดให้กว้างขวางออกไป ตั้งหลายเท่าของวัดเดิม เพราะในสมัยนั้นที่ทางต่างๆ ที่รกร้างว่างเปล่าอยู่แทบทั้งนั้น ไม่มีใครเข้าจับจองเป็นเจ้าของ ท่านก็ได้ลงมือหักป่าลงให้กลายเป็นวัดวาอารามมิใช่น้อย ต้องโค่นแผ่ต้นไม้ใหญ่ๆ เอาเสียมากทีเดียว พร้อมกันนั้น ก็ได้ติดตามไปด้วยการปลูกผลอาสินไว้ส�ำหรับวัดเป็นอันมาก ทั้งที่เป็นไม้ประเภทล้มลุกและยืนต้น เช่น กล้วย อ้อย หมาก มะพร้าว และผลไม้อื่น ๆ อีกมาก เมื่อขยายเขตวัดให้กว้างขวางออกไป ก็จ�ำเป็นจะต้องให้มีรั้วรอบขอบชิด


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 127 บริเวณวัด ท่านก็จะต้องปลุกปล�้ำท�ำงานชนิดนี้อยู่ไม่ได้เว้นแต่ละวัน บางครั้งแถมกลางคืนเข้าไปด้วย ท่านได้เลือกเอา ลูกวัวนิลตัวผู้ตัวหนึ่งมารูปร่างลักษณะคล่องแคล่วอ้วนพีดีท่านได้ให้นายแพบเป็นผู้น�ำวัวตัวนั้นมาที่วัด และมอบให้ นายแพบเป็นผู้เลี้ยงดูอยู่มาประมาณ ๓ - ๔ ปีลูกวัวตัวนั้นก็เจริญเติบโตขึ้นอย่างผิดปกติเหตุเพราะอาศัยหญ้าดีน�้ำดี และการเอาใจใส่เลี้ยงดูเป็นอย่างดีเจ้าลูกวัวตัวนี้ก็กลายเป็นวัวถึกคึกคะนองไปตามประสาของสัตว์อยู่มาวันหนึ่ง วัวตัวนี้เห็นเพื่อนวัวฝูงทั้งหลาย มีวัวตัวผู้และตัวเมียเป็นอันมากได้ลอบเข้ามากินหญ้าอยู่ในวัด มันแสดงท่าทีจะออก ไปต่อสู้ขับไล่ขวิดแก่บรรดาพวกวัวเหล่านั้น พ่อท่านแดงท่านได้เห็นความดิ้นรนของมันมากขึ้น จึงได้ลงจากกุฏิเข้าไป แก้เชือกล่ามเพื่อจะพาไปผูกไว้เสียที่อื่น ให้พ้นฝูงวัวเหล่านั้นเสียก่อนแล้วค่อยกลับมาไล่ฝูงวัวเหล่านั้นต่อไป เจ้าโคนิล ของท่านไม่ยอมไปกับท่าน มันดิ้นรนจะไปหาวัวฝูงนั้นจนได้แต่ท่านก็ไม่ยอมให้มันไปเจ้านิลตัวนั้นมันโกรธมาก จึงพุ่งเข้าขวิดพ่อท่านแดงเอาจนล้มลุกคลุกคลานหลายตลบ ผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ขณะนั้นต่างก็ตกใจ ได้รีบวิ่งมาช่วย กันตัวพ่อท่านแดงออกไป และช่วยกันไล่ไอ้นิลให้หลบออกไปจากนั้น ก็ได้ช่วยกันพยุงท่านขึ้นกุฏิเพื่อท�ำแผลให้ พ่อท่านแดง แต่ปรากฏว่าพ่อท่านแดงท่านไม่มีแผลเลย มีแต่เพียงรอยฟกช�้ำด�ำเขียวเท่านั้น เหตุการณ์นี้ท�ำให้คนทั้ง หลายต่างพากันเชื่อว่าพ่อท่านแดงท่านศักดิ์สิทธิ์มีผู้คนย�ำเกรงมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องการบนบานท่านให้ช่วยเหลือ ในเวลาที่ชาวบ้านต้องทุกข์ได้ยากนานาประการ เป็นต้นว่า ถึงคราวเจ็บไข้ได้ป่วยต่าง ๆ หรือเรื่องเกี่ยวกับหมูไข้ ควายสูญนี้เป็นที่ประจักษ์ศักดิ์สิทธิ์มานักต่อนักแล้ว นอกจากนี้สุดแล้วแต่ใครจะต้องการบนบานด้วยเรื่องอะไร ได้ทุกอย่าง พ.ศ. ๒๔๗๕ - ๒๕๐๗ หลวงพ่อแดง ย้ายมาอยู่วัดโทตรี ต�ำบลกะหรอก�ำลังตกอยู่ในสภาพรวนเร อยู่มาก เหตุด้วยว่าขาดสมภารผู้ปกครองวัดลง ยังคงเหลือแต่เพียงพระภิกษุใหม่ที่เพิ่งบวชยังไม่ได้พรรษารูปหนึ่ง ชื่อ พระติ่ม เท่านั้น ซึ่งเป็นการยากที่พระใหม่จะปกครองวัดแต่เพียงผู้เดียวด้วยพรรษายังไม่มาก พ่อท่านแดงจ�ำพรรษา วัดโทตรีบริเวณวัดที่รกรุงรังปกคลุมด้วยไม้ไผ่ป่าและไม้ขี้แรด ในลานวัดก็ปกคลุมด้วยกอหญ้าและทางมะพร้าวแห้ง ที่กระรอกกัดเล่นลงอยู่เกลื่อนกลาดดูระเกะระกะเต็มไปหมดสิ่งก่อสร้างในวัดโทตรีก็มีอุโบสถหลังหนึ่งซึ่งท่านสมภาร ก่อน ๆ สร้างไว้ซึ่งยังไม่ส�ำเร็จกุฏิก็มีเพียงกุฏิหลังเล็ก ๆ เพียงสองหลัง ท่านก็ได้สั่งบรรดาพวกชาวบ้านเหล่านั้นว่า “เมื่อโยมให้ฉันมาอยู่ให้แล้วพวกโยม และชาวบ้านทางนี้ต้องช่วยกันตกแต่งวัดให้ฉันบ้าง”ชาวบ้านทุกๆคนก็รับปาก ต่อท่านว่า“เมื่อถึงวันพระ ๘ ค�่ำ ๑๕ ค�่ำแล้วจะน�ำจอบและพร้ามาช่วยกันถากถางต่อๆไปทุกวันพระ”การพัฒนาวัด ให้มีความเจริญ บูรณปฏิสังขรณ์โรงอุโบสถก่อน ก่อสร้างพระประธานก่อนในอุโบสถในการสร้างพระประธาน ก่อสร้าง โรงครัวขึ้นใหม่ซ้อนอีกหลังหนึ่ง เพราะโรงครัวชั่วคราวนั้นได้ช�ำรุดทรุดโทรมไปมาก การสร้างกุฏิหลังใหม่ที่ตกแต่ง ซ่อมแซมสิ่งต่าง ๆ ที่ได้รับความเสียหายจากวาตภัย เป็นต้นว่า เสนาสนะของวัดต้นไม้ต่าง ๆ ที่ได้รับความเสียหาย ทดแทนของเดิมการปรับปรุง และการสร้างโรงธรรม พ.ศ. ๒๕๐๗ สร้างศาลากลางวัด และ พ.ศ. ๒๕๐๙ ขยายเขตศาลากลางวัดเพื่อให้พอเป็นที่บ�ำเพ็ญ ประโยชน์ได้ด้วยกันในทุกเทศกาล พ.ศ. ๒๕๐๙ พ่อท่านแดงท่านเริ่ม อาพาธ แต่ท่านก็ยังพยายามปรับปรุงตกแต่งวัดและพระพุทธ ศาสนามิได้หยุดหย่อน จนไม่ค่อยมีเวลาพักผ่อนเลยครั้นปีพ.ศ.๒๕๑๐ ความเจ็บป่วยของท่านก็เริ่มก�ำเริบหนักยิ่งขึ้น ท่านก็พยายามรักษาพยาบาลเสมอมา แต่ว่าอาการของท่านนั้นถึงแม้ว่าจะพยายามรักษาพยาบาลสักเท่าไหร่แล้ว ก็มีแต่ทรงกับทรุดเท่านั้น แต่แม้ท่านอาพาธอยู่ท่านก็ยังคงด�ำเนินการบ�ำรุงก่อสร้างวัดมาโดยตลอด จนในที่สุด อาการอาพาธของท่านได้ทรุดหนักลงทุกวัน ๆเป็นที่เป็นห่วงกังวลของชาวบ้านทั้งใกล้และไกลยิ่งนักจนในที่สุดท่าน ก็ได้ปล่อยให้ความอาลัยอาวรณ์ ท่ามกลางความวิปโยคให้แก่บรรดาศิษย์ยานุศิษย์ ญาติมิตรและผู้ที่เคารพศรัทธา ท่านเป็นอันมาก ท่านก็ได้ถึงมรณะเมื่อ วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๑๐ เดือน ๑๒ แรม ๔ ค�่ำ วันจันทร์


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 128 นับแต่ท่านอุปสมบทมาตลอดทั้งชีวิต ท่านได้บ�ำเพ็ญบ�ำรุงพระพุทธศาสนามาตลอดทั้งที่วัดโคกเหล็กซึ่งต้องเผชิญกับ ความยากล�ำบากนานาประการ แต่ด้วยความเป็นเนื้อนาบุญ ท่านก็ฝ่าฟันมาได้ทั้งเมื่อท่านมาอยู่ ณ วัดโทตรี เป็นเวลา ๒๐ ปีท่านก็ได้บ�ำเพ็ญประโยชน์ไว้เป็นอันมาก เป็นต้นว่า การปลูกสร้างกุฏิวิหารต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่ เป็นการก่อสร้างในสมัยของท่านทั้งสิ้น ท่านเป็นอาจารย์ผู้ชอบท�ำบุญท�ำทาน ไม่ยึดติดในทรัพย์หรือวัตถุใดๆส่งเสริม ให้ทุกคนเป็นคนดีท่านอุตส่าห์พยายามตักเตือนพร�่ำสอนเสมอ ยอมสละทรัพย์ส่วนตัว และชักชวนคนอื่นบริจาค เพื่อบ�ำรุงพระศาสนา อันนับได้ว่าท่านเป็นพระภิกษุที่หาได้ยากยิ่ง พ่อท่านแดง จนฺทสโร ท่านเป็นผู้ตั้งมั่นอยู่ในหลักธรรมแห่งพระพุทธศาสนา ท่าปฏิบัติศาสนกิจ อันเที่ยงแท้แน่นอนโดยไม่หยุดยั้ง อันก่อให้เกิดผลงอกงามไพบูลย์จึงเป็นที่ก่อให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธาของ ประชาชนเป็นส่วนมาก นับว่าท่านได้เป็นผู้ท�ำนุบ�ำรุงเชิดชูพระพุทธศาสนา โดยตั้งจิตศรัทธาเพราะท่านได้เริ่มปฏิบัติ ในทางนี้เป็นเวลานานจนตลอดอายุขัยของท่านทีเดียว ท่านได้ก่อสร้างถาวรวัตถุไว้ประจ�ำส�ำนักของท่านไว้มากมาย ล้วนแต่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่พระพุทธศาสนาอันยั่งยืนอยู่ตราบเท่าทุกวันนี้การปฏิบัติกิจของท่านที่เป็นประจ�ำแล้ว โดยส่วนมากก็หนักไปทางปลูกสร้างผลอาสินต่าง ๆ และการตกแต่งปัดกวาดนี้ก็เป็นกิจวัตรของท่านเป็นประจ�ำ ท่านได้ทุ่มเทก�ำลังกายของท่านเข้าปฏิบัติงานประเภทนี้ด้วยน�้ำใจที่ชอบพอเอาแท้จริง ยอมอดทน ต่อความล�ำบาก ตรากตร�ำทั้งกลางวัน และกลางคืน แทบไม่มีเวลาพักผ่อน ด้วยเหตุนี้ที่ท�ำให้สุขภาพของท่านทรุดโทรมลงไปมาก ถึงกระนั้น ท่านก็มิได้ลดละทอดทิ้งกิจการงานของท่านได้โดยง่ายดายด้วยความเพียรพยายามเพื่อฝากไว้ให้เป็นที่เจริญ ตาเจริญใจแก่ผู้ได้พ�ำนักพักพิงของอนุชนรุ่นหลังต่อไป ๑.๒ นายจงกิตติ์ คุณารักษ์ (ก�ำนันหีด) นายจงกิตติ์คุณารักษ์(ก�ำนันหีด) เป็นบุตรของนายธีระชัยและนางสร้วงคุณารักษ์ซึ่งมีเชื้อสายจีน เกิดเมื่อวันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๑ เดือนสี่ ปีชวด ณ บ้านศาลาสามหลัง บ้านเลขที่ ๔๑ หมู่ ๗ ต�ำบลสระแก้ว อ�ำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นบุตรคนที่ ๓ มีพี่น้องร ่วมบิดามารดาเดียวกัน ๕ คน ประกอบด้วย ๑.นายวีระศักดิ์ คุณารักษ์ ๒.นายชัยวัฒน์ คุณารักษ์ ๓.นายจงกิตติ์คุณารักษ์ ๔.นายโกเวทย์คุณารักษ์และ ๕.นางจิตราภรณ์คุณารักษ์ ประวัติการศึกษา พุทธศักราช ๒๔๙๗ อายุ๗ ปีเข้าโรงเรียน ปทุมานุกูล พุทธศักราช ๒๕๐๑ เข้าศึกษาในระดับมัธยมศึกษา ตอนต้นที่โรงเรียนจรัสพิชากร อ�ำเภอเมือง นครศรีธรรมราช เป็นเวลา ๑ ปีและได้ย้ายไปศึกษาต ่อเนื่องจากสอบเข้าเรียนต ่อได้ ที่โรงเรียนเบญจมราชูทิศ เมื่อปี๒๕๐๒ ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๐๗ และไม่ได้ศึกษาต่อในระดับ อุดมศึกษาต้องช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพการท�ำสวน ส่วนพี่ๆ น้องๆเอาดีทางการเรียนหนังสือต่อมาท่านก�ำนัน จงกิตติ์คุณารักษ์ได้สมรสกับนางยินดียุเหล็ก ซึ่งเป็นบุตรของนายเจียมและนางฮ้วง ยุเหล็ก มีบุตรด้วยกัน ๒ คน คือ ๑.นายเกียรติคุณ คุณารักษ์และ ๒.นายอัครวุฒิคุณารักษ์ จากที่ท่านไม่ได้ศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาท่านมาช่วยเหลืองานทางบ้านอย่างเต็มตัว ประกอบ กับอาชีพเดิมของครอบครัวซึ่งมีอาชีพ ท�ำสวนยางพารา มะพร้าว ยาเส้น เป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนผันชีวิต


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 129 ของท่านก�ำนันจงกิตติ์คุณารักษ์ ได้เริ่มค้าขายท่านเริ่มต้นด้วยการสร้างเกวียนขึ้นมาใช้เป็นพาหนะในการบรรทุก ยางพาราออกตระเวนรับซื้อในหมู่บ้านเพื่อน�ำไปขายต่อให้กับพ่อค้าคนกลางตลอดระยะเวลา ๖ ปีเต็มที่ด�ำเนินการ อย่างนี้ก็สามารถเก็บเงินได้ก้อนหนึ่ง และน�ำเงินไปซื้อที่ดินบริเวณใกล้บ้านได้จ�ำนวน ๒๓ ไร่ ความคิดที่จะท�ำ สวนทุเรียนได้เกิดขึ้น เมื่อบิดาของคุณจงกิตติ์คุณารักษ์ เดินทางกลับมาจากการไปกรุงเทพ และได้น�ำพันธุ์ทุเรียน พันธุ์ดี(หมอนทอง) จากเมืองนนทบุรีจ�ำนวน ๑๓ กิ่ง และได้น�ำมาปลูกไว้ในสวนที่ดินแปลงหลังบ้านที่อาศัยอยู่ ทุเรียนเจริญเติบโตและได้ขยายพันธุ์การปลูกทุเรียนในพื้นที่ของตนเองที่ได้ซื้อไว้จ�ำนวน ๒๓ ไร่ เริ่มลงมือปลูก ในปี๒๕๑๓ ท�ำการปลูกสวนผลไม้(ทุเรียนเต็มตัว) โดยดูแลเอาใจใส่บ�ำรุงรักษาอีก ๕ ปีต่อมาจนทุเรียนได้ผลผลิตที่ดี ได้ขยายพื้นที่ปลูก โดยจัดซื้อที่ดินเพิ่มอีก ๗ ไร่และได้ใช้พื้นที่ดังกล่าวปลูกทุเรียน ท่านได้เรียนรู้ทดลอง และศึกษา เกี่ยวกับการท�ำสวนทุเรียนอย่างจริงจัง ด�ำเนินการท�ำสวนทุเรียนเพื่อการค้า สามารถผลิตทุเรียนออกดอกผลติดต่อ กันไม่ทิ้งช่วง (ทั้งในฤดูและนอกฤดู) ท�ำให้เกิดรายได้ปีละ ๘ - ๙ แสนบาท และส่งผลต่อการขยายพื้นที่ดิน และเพิ่ม การปลูกทุเรียนออกไปอีกหลายแปลง และได้ทดลองปลูกลองกองระหว่างแถวของการปลูกทุเรียนในเนื้อที่ ๘๐ ไร่ ซึ่งเป็นการท�ำการเกษตรแบบผสมผสานได้อย่างลงตัว และได้มีการแนะน�ำให้เพื่อนบ้าน ญาติที่จะปลูกทุเรียน โดยมีการเพาะพันธุ์ด้วยวิธีการติดตาทุเรียนพันธุ์(หมอนทอง) บนต้นกล้า (ทุเรียนบ้าน)ขยายพันธุ์ไปสู่ตลาดหลายๆ อ�ำเภอต ่างก็มาซื้อพันธุ์ไปขยายพันธุ์ไปที่แหล ่งอื่น ๆในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดใกล้เคียง (จากการสัมภาษณ์นางยินดีคุณารักษ์) และส่งผลในปัจจุบัน พื้นที่ต�ำบลสระแก้ว และต�ำบลใกล้เคียงได้มาการปลูก ทุเรียนพันธุ์หมอนทอง ผลผลิตและราคาทุเรียนสูง ส่งผลให้ต�ำบลแถบนี้และใกล้เคียงมีรายได้ของประชากรสูง และ มีชื่อเสียงเป็นแหล่งผลิตทุเรียนในฤดูและนอกฤดูในปี๒๕๕๙ ส�ำนักงานเกษตรอ�ำเภอท่าศาลา ได้ประกาศจัดตั้ง สวนทุเรียนแปลงใหญ่ เป็นจุดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การท�ำทุเรียนเพื่อการค้า การส่งออก ในเขตอ�ำเภอท่าศาลา ประวัติด้านการงาน คุณจงกิตติ์ คุณารักษ์เข้าสู่ต�ำแหน่งทางราชการเมื่ออายุ๒๗ ปีเนื่องจากเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ และความดีจนเป็นที่ยอมรับของราษฎรในท้องถิ่น ดังนี้คือ ๑. พุทธศักราช ๒๕๑๘ ด�ำรงต�ำแหน่งราษฎรผู้ทรงคุณวุฒิ(ในการได้รับการคัดเลือกจาก ประชาชนในหมู่บ้าน หมู่บ้านๆ ละ ๑ คน เข้ามาท�ำหน้าที่เป็นกรรมการในสภาต�ำบล) ๒. พุทธศักราช ๒๕๑๙ ด�ำรงต�ำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๗ ต�ำบลสระแก้วและได้รับการแต่งตั้ง เป็นก�ำนันต�ำบลสระแก้วในเวลาเดียวกัน ท ่านได้รับการคัดเลือกให้เป็นก�ำนันต�ำบลสระแก้ว เมื่อ วันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๑๙ และได้ด�ำรงต�ำแหน่งเป็นประธานสภาต�ำบลสระแก้ว ได้ยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนต�ำบล เมื่อ ปีพ.ศ. ๒๕๓๙ ท่านจึงได้ด�ำรงต�ำแหน่งประธานองค์การบริหารส่วนต�ำบลสระแก้ว และได้ปฏิบัติหน้าที่ท�ำงาน ด้วยความทุ่มเท เสียสละ ในการพัฒนาให้กับท้องถิ่นต�ำบลสระแก้วในการสร้างถนนหลายสายและส่งเสริมกิจกรรม ด้านต่าง ๆ ครอบคลุมหลากหลายทุกกิจกรรม จนได้รับรางวัล ก�ำนันดีเด่นระดับอ�ำเภอ จ�ำนวน ๔ ครั้ง เมื่อปี พุทธศักราช ๒๕๓๑, ๒๕๓๒, ๒๕๓๔ และ ๒๕๓๕ และรางวัลก�ำนันยอดเยี่ยมแหนบทองค�ำ จ�ำนวน ๒ ครั้ง คือ ครั้งที่ ๑ ปีพุทธศักราช ๒๕๓๑ ได้รับรางวัลก�ำนันแหนบทองค�ำ สมัยรัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงมหาดไทย นายอเนก สิทธิประศาสน์ เป็นประธานในพิธีมอบรางวัล และด้วยการท�ำงาน ที่มีการด�ำเนิน อย่างต่อเนื่องและสร้างคุณงามความดีแก่ชุมชน ครั้งที่ ๒ ปีพุทธศักราช ๒๕๔๐ ได้รับรางวัลก�ำนันแหนบทองค�ำอีกครั้ง ในวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๔๐ โดยมีนายเสนาะเทียนทองรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นประธาน พิธีมอบรางวัลเป็นรางวัล


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 130 ที่ได้สร้างความภาคภูมิใจอย ่างสูงสุดในชีวิตราชการของก�ำนัน (อ้างในการสัมภาษณ์นายจงกิตติ์ คุณารักษ์ ผู้ให้สัมภาษณ์โดยนางสาวขนิษฐา อินทร์จันทร์ผู้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๔๐) ๓. พุทธศักราช ๒๕๒๑ ด�ำรงต�ำแหน ่งประธานศิษย์เก ่าโรงเรียนเบญจมราชูทิศ ประจ�ำปี การศึกษา ๒๕๐๗ ๔. พุทธศักราช ๒๕๓๓ ด�ำรงต�ำแหน่งประธานมูลนิธิเทพโรจน์ประชาปิติเพื่อก่อสร้างโรงพยาบาล โดยใช้ชื่อว่า“โรงพยาบาลมูลนิธิโรจน์ประชาปิติ” แต่งบประมาณไม่เพียงพอ ดังนั้น อาคารดังกล่าว จึงอุทิศให้กับ หน่วยงานราชการ ปัจจุบัน เป็นศูนย์ฟื้นฟูคนพิการภาคใต้ตั้งอยู่ต�ำบลสระแก้ว อ�ำเภอท่าศาลา ๕. พุทธศักราช ๒๕๒๕ ด�ำรงต�ำแหน่งประธานมูลนิธิธรรมศาสตร์ศึกษาคุณารักษ์ ท�ำหน้าที่ ประธานในการก่อสร้างและจัดสรรงบประมาณ ส�ำหรับซื้อหนังสือและอุปกรณ์ไว้ในห้องสมุด ที่ตั้งขึ้น ณ วัดนากุน หมู่ที่ ๖ ต�ำบลสระแก้ว อ�ำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ๖. พุทธศักราช ๒๕๓๕ ด�ำรงต�ำแหน่ง รองประธานชมรมก�ำนันผู้ใหญ ่บ้านซึ่งท�ำหน้าที่ให้ ความช ่วยเหลือแก ่ก�ำนันและผู้ใหญ ่บ้านในอ�ำเภอท่าศาลา กรณีที่บาดเจ็บ ตาย เกษียณอายุ และหมดวาระ การด�ำรงต�ำแหน่ง โดยจัดตั้งเป็นกองทุนสวัสดิการ ๗. พุทธศักราช ๒๕๓๖ ด�ำรงต�ำแหน่งประธานกลุ่มกาแฟสระแก้ว ท�ำหน้าที่การรวบรวมกาแฟ ที่เกษตรกรเก็บได้และจัดส่งให้แก่ผู้ส่งออกที่มารับซื้อในท้องถิ่นต�ำบลสระแก้ว และต�ำบลกลาย ด้านสาธารณูปโภคพื้นฐาน ด้านการสร้างและปรับปรุงถนน เป็นปัจจัยส�ำคัญของการพัฒนาชุมชนของการเพิ่มศักยภาพในการขนส่ง ความสะดวกในการเดินทางติดต่อกันของประชาชน และส่งผลต่อการค้าขายสินค้าภายในชุมชน ระหว่างชุมชน ภายในและภายนอก เพิ่มศักยภาพด้านการค้าขายของชุมชน ซึ่งท่านก�ำนัน จงกิตติ์คุณารักษ์ ได้วางรากฐาน ของการพัฒนาให้กับพื้นที่ต�ำบลสระแก้ว โดยด�ำเนินการดังนี้ การพัฒนาถนน และสารธารณูปโภค เช่น ๑. ปรับปรุงถนนสายสามแยกบ้านปาน - ทางสายเก่า ในหมู ่ที่ ๔ ระยะทาง ๗๕๐ เมตร ด้วยงบประมาณ ๙๔,๕๔๓ บาท ๒. ปรับปรุงทางเข้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสายนากุน - ทุ่งปรือระยะทาง ๘๐๐ เมตรด้วยงบประมาณ ๑๐๘,๘๐๐ บาท ๓. ปรับปรุงถนนสายสามแยกสงวน -สายเกาลุมรั้วหญ้าระยะทาง ๑,๔๔๐ เมตรด้วยงบประมาณ ๑๙๐,๐๐๐ บาท ๔. การปรังปรุงซ ่อมแซมถนนโดยหลบหลุมที่เกิดจากภาวะน�้ำท่วมสายสามแยกต้นตอ – บ้านส�ำนักม่วง ระยะทาง ๑,๙๕๐ เมตร งบประมาณ ๑๔๐,๐๐๐ บาท ๕. ปรับปรุงซ่อมแซมถนนโดยกลบหลุมที่เกิดจากน�้ำท่วมสายศาลาสามหลัง- บ้านส�ำนักระยะทาง ๑,๙๕๐ เมตร เงินงบประมาณ ๑๔,๐๐๐ บาท ๖. ปรับปรุงถนนสายหัวคู- ปลักดุก ระยะทาง ๓,๐๕๐ เมตร ด้วยงบประมาณ ๓๙๒,๗๔๐ บาท ๗. การก่อสร้างถนนสายปลักดุก-ในญาติระยะทาง ๑,๐๐๐ เมตรด้วยงบประมาณ๒๖๒,๐๐๐ บาท (อ้างในขนิษฐา อินทร์จันทร์ ประวัติและผลงานของนายจงกิตติ์คุณารักษ์ : ก�ำนันแหนบทองค�ำ ต�ำบลสระแก้ว อ�ำเภอท่าศาลา หน้า๑๔)


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 131 ๘. การพัฒนาด้านประปาหมู่บ้านขนาดเล็กให้กับราษฎรหมู่ที่๓ และหมู่ที่๖ ได้ใช้อุปโภค บริโภค อย่างทั่วถึงทุกครัวเรือน ๙. เมื่อปี๒๕๒๘ ท่านก�ำนัน ได้จ�ำท�ำหนังสือประสานไปยังการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอ�ำเภอท่าศาลา เพื่อให้มีไฟฟ้าครบทุกครัวเรือนในทุกบ้านของต�ำบลสระแก้ว ๑๐. เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๓๙ ท่านก�ำนันได้ประสานไปยังองค์การโทรศัพท์อ�ำเภอท่าศาลา เพื่อให้มีโทรศัพท์สาธารณะใช้ทุกหมู่บ้าน จึงท�ำให้ประชาชนทุกหมู่บ้านมีโทรศัพท์ใช้หมู่บ้าน ๆ ละ ๑ ตู้ท�ำให้การ ติดต่อสื่อสารสะดวกรวดเร็วและเป็นที่พึงพอใจให้กับประชาชนในต�ำบลสระแก้วทุกคน ด้านการศึกษา ๑. พุทธศักราช ๒๕๑๘ ท่านก�ำนันจงกิตติ์คุณารักษ์ร่วมกับผู้ใหญ่บ้าน ด�ำเนินการทอดผ้าป่า หาเงินทุนสร้างห้องสมุดโรงเรียนบ้านชุมโลง เป็นเงิน จ�ำนวน ๑๘๐,๐๐๐ บาท และด�ำเนินการสร้างแล้วเสร็จ เมื่อปี๒๕๒๐ ๒. พุทธศักราช ๒๕๒๐ ร่วมกิจกรรมกับโรงเรียนกลุ่มสระแก้วจัดสร้างสนามกีฬาสนามฟุตบอล และอุปกรณ์การกีฬา และให้การสนับสนุนการด�ำเนินงานเกี่ยวกับกีฬาชุมชน เช่น เงินรางวัลในการจัดการแข่งขัน กีฬากลุ่มโรงเรียนสระแก้วเป็นประจ�ำทุกปี ๓. พุทธศักราช ๒๕๒๑ จัดตั้งกองทุนให้กับนักเรียนที่เรียนดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์เป็นจ�ำนวน ๑๖ ทุน ใช้ชื่อว่า“ทุนตระกูลปักเข็ม”ซึ่งเดิมเป็นทุนของนางสร้วงคุณารักษ์ผู้เป็นมารดาเป็นเงิน จ�ำนวน ๘,๐๐๐ บาท ต่อปีและมีการเพิ่มทุนขึ้นเรื่อย ๆ ทุก ๆ ปี ๔. พุทธศักราช ๒๕๓๖ ได้สนับสนุนการจัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขึ้นในต�ำบลสระแก้ว จ�ำนวน ๓ แห่ง คือ ๑) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านชุมโลง หมู่ที่ ๒ ๒) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเราะ หมู่ที่ ๓ และ ๓) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนากุนหมู่ที่ ๖ โดยด�ำเนินการช่วยเหลือด้าน ต่างๆเช่น ให้เงินกองทุน จ�ำนวน ๓๕,๐๐๐ บาท ทั้งสามแห่ง ในการท�ำอาหารเลี้ยงเด็กเนื่องจากในกิจกรรมวันเด็กและวันแม่เป็นประจ�ำทุกปี ๕. พุทธศักราช ๒๕๓๗ ร ่วมกันราษฎรบริจาคเงินสมทบทุนสร้างรั้วและประตูเหล็กดัด โรงเรียนบ้านน�้ำตก เป็นเงิน ๑๔,๕๐๐ บาท ๖. พุทธศักราช ๒๕๔๑ จัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านในญาติหมู่ที่ ๑๑ ต�ำบลสระแก้ว และ ท่านได้ท�ำหน้าที่เป็นประธานในพิธีเปิดศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เมื่อวันที่ ๗ กุมภาพันธ์๒๕๔๑ ด้านการพัฒนาสตรี เมื่อพุทธศักราช ๒๕๓๙ ท่านได้จัดตั้งกลุ่มกองทุนพัฒนาสตรีต�ำบลสระแก้วขึ้น โดยท่านท�ำหน้าที่ เป็นประธาน และได้รับการคัดเลือกเป็นประธานกลุ่มกองทุนพัฒนาสตรีอ�ำเภอในขณะนั้น และกลุ่มกองทุนพัฒนาสตรี จังหวัดตามล�ำดับ การจัดตั้งกลุ่มกองทุนพัฒนาสตรีของต�ำบลสระแก้วได้ด�ำเนินงานโดยกลุ่มแม่บ้านโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อหาเงินเข้ากองทุนให้ราษฎรที่ต้องการกู้ยืมเงินไปใช้ในการประกอบอาชีพ ดอกเบี้ยร้อยละ ๑ ต่อปีการด�ำเนินการ หาเงินเข้ากองทุนของกลุ่มแม่บ้านเพื่อให้กลุ่มมีการด�ำเนินงานและจัดตั้งกองทุน ซึ่งในขณะนั้น มีเงินทุนหมุนเวียน กองทุน จ�ำนวน ๕๐,๐๐๐ บาท และได้ส่งเสริมเสริมให้มีการจัดตั้งกลุ่มกองทุนสตรีในต�ำบลใกล้เคียงและในอ�ำเภอ ต่าง ๆ ของจังหวัดนครศรีธรรมราช อีกด้วย


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 132 ในการนี้ท่านก�ำนันจงกิตติ์คุณารักษ์ ได้อุทิศที่ดินในการด�ำเนินการที่ท�ำการกลุ่ม และที่ท�ำการ หมู่บ้าน เพื่อเป็นที่ท�ำการสาธารณประโยชน์ในชุมชน ครั้งแรกอุทิศพื้นที่ดิน จ�ำนวน ๔ ไร่และได้อุทิศพื้นที่เพิ่มอีก ๓ ไร่ รวมจ�ำนวน ๗ ไร่ เพื่อสร้างศาลาเอนกประสงค์ซึ่งปีพ.ศ. ๒๕๕๙ จากการสัมภาษณ์ (นางวันดีคุณารักษ์) ภริยา ได้กล่าวว่าสถานที่ปัจจุบันได้ใช้ประโยชน์เป็นที่ท�ำการกลุ่มอาชีพต่างๆเช่น กลุ่มไม้ผล(รับซื้อมังคุด)ธนาคารหมู่บ้าน พัฒนา ที่ท�ำการปุ๋ย ที่ท�ำการกองทุนเงินล้าน ที่ท�ำการกลุ่มข้าวสาร ที่ท�ำการกลุ่มกล้วยกรอบทอง ปัจจุบันสมาชิก กลุ่มขนมกล้วยกรอบทองต�ำบลสระแก้วได้ใช้พื้นที่แห่งนี้บางส่วนเป็นที่ท�ำการกลุ่ม ในผลิตและจ�ำหน่ายกล้วยกรอบ กล้วยกวน โดยใช้ชื่อผลิตภัณฑ์ (กล้วยกรอบทอง) และสถานที่ออกก�ำลังกายของประชาชนในชุมชน ภายใต้การ สนับสนุนอุปกรณ์จากบริษัทเชฟรอน การพัฒนาผู้พิการ พุทธศักราช ๒๕๓๓ ท่านก�ำนันจงกิตติ์คุณารักษ์ด�ำรงต�ำแหน่งประธานมูลนิธิเทพโรจน์ประชาปิติ เพื่อก่อตั้งโรงพยาบาลมูลนิธิเทพโรจน์ประชาปิติ” ซึ่งวางศิลาฤกษ์ก่อสร้างเมื่อ วันที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๓ ก�ำหนดแล้วเสร็จภายใน ๕ ปีการก่อสร้างโดยความร่วมมือร่วมใจของชุมชนในท้องถิ่นด�ำเนินการไปได้ประมาณ ๒ ปี ก็หยุดชะงักเพราะงบประมาณไม่พอที่จะด�ำเนินการต่อไป ประธานและคณะกรรมการมูลนิธิเทพโรจน์ประชาปิติ จึงได้ประชุมปรึกษาหารือกัน และลงมติมอบให้กรมประชาสงเคราะห์ด�ำเนินการ จึงได้โอนกรรมสิทธิ์ทีดิน จ�ำนวน ๕ ไร่เศษ พร้อมตัวอาคารให้ด้วยในวันที่ ๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๔ กรมประชาสงเคราะห์จึงได้ท�ำการปรับปรุง อาคารให้เหมาะสม ประกาศจัดตั้งเป็นศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการภาคใต้จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งปัจจุบันสถานที่ ดังกล่าว ได้เป็นที่พัฒนาศักยภาพคนพิการที่หลั่งไหลมาจากต่างจังหวัด เป็นที่ฝึกอาชีพและสถานที่ที่เป็นเครือข่าย ของหน่วยงาน กศน. เข้าไปจัดการศึกษาให้กับกลุ่มเป้าหมายพิการที่สามารถเรียนหนังสือ ตามหลักสูตรการศึกษา นอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ และการจัดการศึกษาตามอัธยาศัยให้กับเด็กและเยาวชน ที่พิการได้รับการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อน�ำความรู้ไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักศึกษาพิการ ด้านการเกษตร พุทธศักราช ๒๕๐๗ หลังจากที่ท่านจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ท่านไม่ได้ศึกษาต่อ ท่านเป็นบุตรชายที่เสียสละมาช่วยเหลือกิจการครอบครัวมาท�ำสวน และระยะเริ่มต้นกลับมาอยู่กับพ่อแม่และได้สร้าง เกวียนเพื่อเป็นพาหนะขึ้นมาเล่มหนึ่งเพื่อท�ำการรับซื้อยางพาราตามหมู่บ้านและชุมชนต่างๆในพื้นที่เพื่อซื้อยางพารา ในหมู่บ้านเพื่อนไปขายต่อกับพ่อค้าอีกทอดหนึ่ง ท�ำงานอย่างนี้อย่างต่อเนื่อง ๖ ปีต่อมาก็สามารถเก็บเงินได้ก้อนหนึ่ง และได้น�ำไปซื้อที่ดินบริเวณใกล้บ้านได้จ�ำนวน ๒๓ ไร่และประกอบกับบิดาเดินทางกลับมาจากกรุงเทพได้น�ำทุเรียน พันธุ์ดี(หมอนทอง) จากเมืองนนทบุรีมาจ�ำนวน ๑๓ กิ่ง จึงได้น�ำไปปลูกบนพื้นที่ดินหลังบ้าน ทุเรียนงอกงาม อย่างรวดเร็ว ก็ได้ความคิดว่าที่ดินที่ซื้อไว้น่าจะทดลองปลูกสวนทุเรียน ซึ่งในช่วงนั้นก็ไม่ได้คิดว่าจะประสบผลส�ำเร็จ ในด้านการปลูกทุเรียน ที่สร้างรายได้เป็นอย่างดีให้กับครอบครัว พุทธศักราช ๒๕๑๓ เริ่มการปลูกทุเรียน ท�ำสวนทุเรียนอย่างจริงจังโดยขยายการปลูกบนพื้นที่ จ�ำนวน ๒๓ ไร่ และได้เฝ้าดูแลเอาใจใส่บ�ำรุงรักษา ตามความสามารถของตนเองที่พอจะท�ำได้เพราะยังไม่มีความรู้ ทางด้านการเกษตรเท่าใดนักแต่อาศัยว่าเป็นลูกชาวสวนมาก่อนโดยใช้ความรู้และประสบการณ์ที่มีอยู่จากรุ่นพ่อแม่ ที่ท�ำการเกษตรที่ตกทอดความรู้มาสู่รุ่นลูก ท่านก�ำนันจงกิตติ์คุณารักษ์ได้มีความเพียรความพยายามในการท�ำการ เกษตรด้านนี้ใช้เวลา ๕ ปีต่อมาจนกว่าได้ผลผลิตทุเรียนที่ได้ปลูกก็ได้ผลผลิต และส่งผลให้พุทธศักราช ๒๕๒๑


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 133 ท่านก�ำนันสามารถซื้อที่ดินเพิ่มในบริเวณที่ติดกับสวนทุเรียนอีก ๗ ไร่ และได้ปลูกทุเรียนเพิ่มเติมขยายจากพื้นที่เดิม รวมพื้นที่ในการปลูกทุเรียน เป็นจ�ำนวน ๓๐ ไร ่ ท�ำให้ท ่านได้เริ่มศึกษาและขณะเดียวกันท ่านด�ำรงต�ำแหน่ง เป็นผู้น�ำชุมชน “ก�ำนัน” ท่านได้ศึกษาการปลูกทุเรียนโดยการศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง ทดลองการสังเกตและอาศัย ประสบการณ์จากการลงมือท�ำ การท�ำสวนทุเรียนของท่านก�ำนัน ใช้วิธีการตามธรรมชาติไม่ใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ ไม ่ใช้สารเคมีแต ่ท ่านใช้ปุ๋ยหมักที่ท�ำเองและได้จ�ำหน ่ายให้แก ่ประชาชนในต�ำบลอีกด้วย และเป็นจุดเริ่มต้น การท�ำสวนทุเรียนเพื่อการค้าได้อย่างสมบูรณ์ผลผลิตทุเรียนได้ผลผลิตติดต่อกันไม่ทิ้งช่วง ในปีหนึ่ง ๆ ท�ำรายได้ ๘ - ๙ แสนบาท และขยายการปลูกทุเรียนในพื้นที่อีกหลายแปลง ปัจจุบันมีพื้นที่ที่ปลูกทุเรียน จ�ำนวน ๘๐ ไร่ นอกจากนั้นการท�ำสวนทุเรียนได้ปลูกลองกองระหว ่างแถวของทุเรียนซึ่งเป็นการท�ำสวนที่ได้รับผลเป็นอย ่างดี และท่านได้ขยายองค์ความรู้ให้กับเพื่อนบ้านในระดับอ�ำเภอ และระดับจังหวัด ได้มีการปลูกทุเรียน เป็นแปลงสาธิต และการเรียนรู้การปลูกทุเรียนระดับจังหวัดนครศรีธรรมราช ปีพุทธศักราช ๒๕๒๘ ท่านก�ำนันจงกิตติ์คุณารักษ์ ได้รับรางวัลเกษตรกรตัวอย่างและดีเด่น จากอ�ำเภอท่าศาลา เนื่องจากเป็นผู้ที่ประสบผลส�ำเร็จในการท�ำสวนทุเรียน จนมีชื่อเสียงและยังส่งเสริมสนับสนุน ให้ราษฎรในต�ำบลปลูกทุเรียน ส่งผลให้รายได้เพิ่มขึ้นกับราษฎรที่ปลูกทุเรียนในพื้นที่ระดับต�ำบลและต�ำบลใกล้เคียง และท่านได้อุปการะรับนักศึกษาจากสถาบันการศึกษาจากสถาบันต่าง ๆ ทั่วภาคใต้เช่น วิทยาลัยเกษตรกรรม นครศรีธรรมราชวิทยาลัยเกษตรกรรมระยองและจากวิทยาลัยต่างๆในจังหวัดพัทลุง พังงาสงขลาฯลฯ มาฝึกงาน ในสวนทุเรียนของท่านก�ำนัน ชื่อสวนทุเรียนว่า “สวนคุณรักษา” และได้ช่วยเหลือในด้านอาหาร ที่พัก รวมทั้งเป็น วิทยากรกิตติมศักดิ์ในการบรรยายพิเศษแก่นักศึกษาเป็นประจ�ำทุกปีจนท่านได้รับการยกย่องจากกรมอาชีวศึกษา โดยมอบเกียรติบัตร“ผู้ช่วยเหลือและสนับสนุนอย่างดียิ่งในการฝึกงานภายนอกสถานที่”เมื่อวันที่๑ มกราคม ๒๕๓๕ ปีพุทธศักราช ๒๕๓๖ เป็นผู้น�ำในการเกษตร ท่านได้เป็นผู้ริเริ่มการท�ำเกษตรแผนใหม่มาใช้ และเผยแพร่ให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น ได้แก่ การท�ำเกษตรไร่นาสวนผสม โดยการปลูกลองกอง ขุดบ่อเลี้ยงปลา และการเลี้ยงตะพาบน�้ำในสวนทุเรียน ซึ่งตะพาบน�้ำเป็นสัตว์เศรษฐกิจชนิดใหม่ที่สามารถท�ำรายได้ให้กับผู้ที่เลี้ยง หลายหมื่นบาท นับว่าท่านก�ำนันจงกิตติ์คุณารักษ์ เป็นผู้น�ำชุมชนที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล และเป็นนักบริหาร ของชุมชน นักพัฒนาชุมชน เป็นผู้น�ำที่ดีมีคุณภาพ มีความสามารถบริหารราชการและงานอื่น ๆ อันเป็นประโยชน์ ต่อท้องถิ่น การด�ำเนินงานตามนโยบายบรรลุตามเป้าหมายของทางราชการเป็นที่ยอมรับของราษฎรและทางราชการ จนเกษียณอายุราชการท ่านมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในการปลูกทุเรียนและลองกองพันธุ์ดีการเลี้ยงตะพาบน�้ำ ซึ่งผลผลิตดังกล่าวส่งออกจ�ำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ ส่งผลให้เศรษฐกิจในโซนแถบนี้ ประกอบด้วย ต�ำบลสระแก้วต�ำบลท่าขึ้น ต�ำบลตลิ่งชัน และต�ำบลกลาย นิยมปลูกทุเรียน ที่ได้เกิดจากการน�ำและความคิดก้าวหน้า ในการน�ำประชาชนมาสนใจการปลูกทุเรียน จากสภาพที่โดนพายุ ในปีพ.ศ. ๒๕๔๒ หันกลับมาสนใจปลูกทุเรียน ส่งผลให้มีรายได้สูง และเป็นผู้ที่มีรายได้ดีระดับแนวหน้าของอ�ำเภอท่าศาลา นั้นเป็นข้อมูลถึงการเปลี่ยนแปลง ถึงความเจริญ ที่นักพัฒนาผู้นี้ได้น�ำมาใช้และเกิดมักเกิดผล ในปัจจุบันมีร้านค้าขายสินค้านเกษตรอยู่แถบตลิ่งชัน จุดรับซื้อผลผลิตทางการเกษตรด้านมังคุด ทุเรียน เพื่อการส่งออก ก็เกิดขึ้นเหมือนดอกเห็ดในพื้นที่ต�ำบลสระแก้ว และพื้นที่ใกล้เคียงเช่น ต�ำบลตลิ่งชัน ผลพวงที่เกิดจากการกระท�ำตามแนวความคิดของท่านก�ำนันจงกิตติ์คุณารักษ์ เป็นบุคคลที่เป็นต้นแบบของการท�ำการเกษตรก้าวหน้า เกษตรเพื่อการค้าของอ�ำเภอท่าศาลา วาระสุดท้ายของชีวิต ท่านก�ำนันจงกิตติ์คุณารักษ์ ได้เสียชีวิต ศิริอายุรวม ๖๔ ปีเมื่อ วันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๕๔ เวลา ๑๘.๓๐ น. ณ โรงพยาบาลนครินทร์การจากไปของท่านเป็นสัจธรรมของมนุษย์ (เกิด แก่


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 134 เจ็บ และตาย) แต่คุณงามความดีที่ท่านได้กระท�ำให้กับประชาชนในต�ำบลสระแก้ว ชาวอ�ำเภอท่าศาลา และ ชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช ยังคงอยู่ในความทรงจ�ำของบุตร หลาน ประชาชนทุกคนที่ได้รับอนิจสงค์จากความดี ที่ท่านได้กระท�ำไว้ปรากฏหลักฐานร่องรอยให้เห็นความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมืองที่ท่านได้กระท�ำไว้ให้เยาวชน รุ่นหลัง ได้ระลึกถึงคุณงามความดีได้เรียนรู้ศึกษาเป็นอนุสรณ์แห่งความดีและเป็นแบบอย่างให้เยาวชนได้เทิดทูน บูชาและระลึกถึงท่านต่อไป ๑.๓ นายบุญเสริม แก้วพรหม ประวัติส่วนตัวเกิดเมื่อปี๒๔๙๙ ในครอบครัวชาวนาเป็นชาวท่าศาลา นครศรีธรรมราชโดยก�ำเนิด เรียนหนังสือชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนวัดยางงาม และโรงเรียนวัดเทวดาราม ซึ่งเป็นโรงเรียนประชาบาลใกล้บ้าน เรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่โรงเรียนประจ�ำจังหวัดนครศรีธรรมราช เบญจมราชูทิศ เรียนจบการศึกษาวิชาครู ระดับประกาศนียบัตรวิชาการการศึกษา(ป.กศ.)จากวิทยาลัยครูนครศรีธรรมราชรุ่นที่๑๗ (เข้าเรียนปีการศึกษา ๒๕๑๖ จบปีการศึกษา ๒๕๑๗) จากนั้นศึกษาด้วยตนเอง โดยสอบวิชาชุดของคุรุสภาได้วุฒิประโยคพิเศษครูมัธยม (พ.ม.)แล้วศึกษาต่อเนื่องในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท โดยการเรียนระบบการเรียนการสอนทางไกลมหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช ได้รับปริญญาศึกษาศาสตร์บัณฑิต (ศษ.บ.)และศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต(ศษ.ม.)สาขาหลักสูตร และการสอนภาษาไทย ตามล�ำดับ เริ่มรับราชการเป็นครูประชาบาลตั้งแต่อายุ ๑๘ ปีที่โรงเรียนวัดนาเหรง อ�ำเภอนบพิต�ำ ในต�ำแหน่ง ครูจัตวา เมื่อปี๒๕๑๘ ย้ายไปเป็นครูในโรงเรียนวัดเทวดา รามและโรงเรียนวัดยางงาม อ�ำเภอท่าศาลาซึ่งเป็นโรงเรียน ที่เคยเรียนในระดับประถมศึกษา รวมเวลาเป็นครูในห้องเรียน ๑๐ ปีจากนั้นตั้งแต่ปี๒๕๒๘ เปลี่ยนสายงาน เป็นต�ำแหน่งศึกษานิเทศก์ส�ำนักงานการประถมศึกษาอ�ำเภอท่าศาลาส�ำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช และส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราชเขต ๔ ตามล�ำดับ จนเกษียณอายุราชการเมื่อ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๙ เป็นผู้สนใจและรักในการเขียนมาตั้งแต่เรียนชั้นประถมศึกษาเริ่มเขียนบทร้อยกรองเผยแพร่ในหนังสือพิมพ์นิตยสาร สถานีวิทยุ ตั้งแต่เรียนชั้นมัธยมตอนต้นเมื่อปี๒๕๑๔ ในนามปากกา “รัตนธาดา แก้วพรหม” และใช้นามดังกล่าว ในการเขียนมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีงานเขียนทั้งร้อยแก้ว ร้อยกรอง และงานต�ำราวิชาการทางภาษาไทยและ ศิลปวัฒนธรรมเผยแพร่มาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้นได้ท�ำกิจกรรมในกลุ่มวรรณกรรมต่าง ๆ เช่น กลุ่มนักกลอน ยุววรรณศิลป์ (๒๕๑๕) ชมรมดอกไม้นครศรีธรรมราช (๒๕๒๑) กลุ่มนาคร (๒๕๒๔) เป็นประธานภาคใต้สมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย (๒๕๔๒-๒๕๕๘)รวมทั้งได้ท�ำกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาทักษะทางด้านภาษาและวรรณกรรมแก่นักเรียนนักศึกษาและ ครูอาจารย์ควบคู่ไปด้วยอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาร่วม ๔๐ กว่าปีโดยเฉพาะกิจกรรมในนาม “ส�ำนักกวีน้อยเมืองนคร” ที่ส่งเสริมการเขียนร้อยกรองแก่นักเรียนนักศึกษานั้นเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางโดยทั่วไป (ตั้งแต่๒๕๔๔ - ปัจจุบัน) เป็นกรรมการ/ประธานกรรมการการประกวดแข ่งขันบทร้อยกรอง เช ่น เวทีกลอนเดือนสิบ ในงานประเพณีเทศกาลเดือนสิบจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยศูนย์วัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 135 (ตั้งแต่ ๒๕๒๙ - ปัจจุบัน) การประกวดร้อยกรองในงานวันมัธยมศึกษา จังหวัดนครศรีธรรมราช (ตั้งแต่ ๒๕๓๖- ปัจจุบัน)การแข่งขันร้อยกรองของอาศรมวัฒนธรรม วลัยลักษณ์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์(ตั้งแต่ ๒๕๔๗ - ปัจจุบัน) เป็นต้น มีผลงานบทร้อยกรองเผยแพร่ ทางหนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสารและวิทยุกระจายเสียง โดยใช้นามปากกา “รัตนธาดา แก้วพรหม” และนามอื่น ๆ ตั้งแต่ก�ำลังเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ (ปี๒๕๑๔) และ ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน มีผลงานบทร้อยกรองขนาดสั้นความยาว ๒- ๑๐ บท ประมาณ ๒,๐๐๐ ส�ำนวน (๒๕๖๑) ผลงานบทร้อยกรอง จัดพิมพ์รวมเล่มเผยแพร่แล้ว เช่น “ค�ำกรอง” (ร่วมกับเพื่อนนักกลอน อื่นๆ-๒๕๑๘), “ดอกไม้ป่า” (๒๕๒๒), นวนิยายร้อยกรองเรื่อง “สองร้อยปีฤๅสิ้นเสดสา” (เขียนร่วมกับนักเขียน กลุ่มนาคร-๒๕๒๖), บทกวีบันทึกเหตุ“ปีโรงน�้ำแดง : ปักษ์ใต้มหาวิปโยค ๒๕๓๑” (๒๕๓๒), “ค�ำพร” (๒๕๓๒), “เทียนทิพย์ที่ทอแสง” (๒๕๓๙), “เพียงกรวดทราย” (๒๕๔๗), “ภาษิตค�ำร้อย” (๒๕๔๙), “ผู้ชนะ” (๒๕๕๐), “ฝากหัวใจไปถึงขวัญ”(๒๕๕๑),“เธอไม่ได้หายไปไหน”(๒๕๕๓),“เธอ..คนขีดเส้นใต้” (๒๕๕๔),“อ่านให้ใครฟัง” (๒๕๕๕), “บินหลงฟ้า” (๒๕๕๖), “ศรัทธารังรอง” (๒๕๕๖), “คิดถึงนะคนดี” (๒๕๕๗), “เกิดเป็นครู” (๒๕๕๙), “ท�ำนองไทย” (๒๕๕๙) เป็นต้น ผลงานวิชาการ รวมบทความเฉพาะที่ว่าด้วยบทร้อยกรอง เช่น “การอ่านร้อยกรองและ ท�ำนองเสนาะ” (๒๕๓๙), “การสอนและเขียนบทร้อยกรองส�ำหรับเด็กปฐมวัย” (๒๕๔๒, ๒๕๔๙), “คู่มือสอน เขียนเรียนร้อยกรอง ก้าวที่เริ่มต้นของกวีน้อยเมืองนคร” (๒๕๔๕), “กลวิธีสอนเขียนเรียนร้อยกรอง” (๒๕๔๖), “เดินย้อนรอยนักกลอนเมืองนคร” (๒๕๕๐, ๒๕๕๕), “บทบันทึกแห่งเวทีกลอนเดือนสิบ” (๒๕๕๐, ๒๕๕๘), “เวทีกลอนเดือนสิบคือความมั่นคงและลงตัว” (๒๕๕๐, ๒๕๕๘), “เส้นทางสายนี้..กวีน้อยเมืองนคร” (๒๕๕๐), “คือสายพันธุ์กวีศรีธรรมราช” (๒๕๕๐), “วรรณกรรมว่อนไหวในเมืองนคร” (๒๕๕๐), “ชุดกิจกรรมการนิเทศ โครงการกวีน้อยเมืองนคร” (๒๕๕๒), “บทเรียนเขียนร้อยกรอง เดินทีละก้าว” (๒๕๖๑) ผลงานที่ภาคภูมิใจ เช ่น เป็นกรรมการจัดท�ำหนังสือแบบเรียนภาษาไทยชุดพื้นฐานภาษา ของกระทรวงศึกษาธิการและเป็นผู้เขียนบทร้อยกรองท้ายบทเรียนในหนังสือแบบเรียนชุดดังกล่าว, บทร้อยกรองชื่อ “ผู้ชนะ” ได้รับการคัดเลือกเป็นบทอาขยานส�ำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาตั้งแต่ปี๒๕๔๒ จนถึงปัจจุบัน ฯลฯ เกียรติคุณที่ได้รับ เช ่น กรมสามัญศึกษามอบโล ่เชิดชูเกียรติผู้สนับสนุนส ่งเสริมศูนย์พัฒนา วิชาภาษาไทย(๒๕๔๐),กระทรวงการท่องเที่ยวและการกีฬามอบโล่ผู้มีผลงานด้านนันทนาการดีเด่น สาขาวรรณศิลป์ (๒๕๔๗), ได้รับเกียรติยกย่องเป็น“ศิษย์เก่าดีเด่น”ของสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช ประจ�ำปี๒๕๕๖, ได้รับการประกาศเกียรติคุณเป็น “ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด ่น” เนื่องในวันภาษาไทยแห ่งชาติ ประจ�ำปี๒๕๕๖ ของกระทรวงวัฒนธรรม, ส�ำนักกวีน้อยเมืองนครได้รับการประกาศเกียรติคุณเป็น “องค์กรผู้มี คุณูปการต ่อการใช้ภาษาไทย” เนื่องในวันภาษาไทยแห ่งชาติประจ�ำปี๒๕๕๗ ของกระทรวงวัฒนธรรม, ได้รับการเชิดชูเกียรติให้รับรางวัลคนดีแทนคุณแผ่นดิน ประจ�ำปี๒๕๕๗ โดยเครือเนชั่นกรุ๊ป รับรางวัลจากองคมนตรี นายแพทย์เกษม วัฒนชัย, ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานประกาศมอบโล ่รางวัลผู้มีคุณูปการ ต ่อการพัฒนาคุณภาพภาษาไทย เนื่องในวันภาษาไทยแห ่งชาติประจ�ำปี๒๕๕๙, มณทลทหารบกที่ ๔๑ กองทัพภาคที่ ๔ ประกาศเชิดชูเกียรติเป็น ๘๙ ปราชญ์ตามรอยพ่อ ประจ�ำปี๒๕๕๙, มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มอบโล่ ผู้มีคุณูปการในวาร ๒๕ ปีมหาวิทยาลัย ๒๕๖๐,สถาบันสุนทรภู่ มอบรางวัลสถาบันสุนทรภู่เพื่อเชิดชูเกียรติผู้ส่งเสริม ร้อยกรองไทย ประเภทบุคคล และมอบรางวัลเดียวกัน ประเภทองค์กร ให้แก่ส�ำนักกวีน้อยเมืองนคร (๒๕๖๐) มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชมอบโล่เชิดชูเกียรติเป็นศิษย์เก่าดีเด่น ประจ�ำปี๒๕๖๒ ฯลฯ


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 136 ปัจจุบัน ท�ำหน้าที่เป็นประธานสภาวัฒนธรรมอ�ำเภอท่าศาลา ประธานส�ำนักกวีน้อยเมืองนคร ประธานกองทุนในสวนขวัญจิรวรรณ แก้วพรหม มี“ปณิธานแห่งความเป็นครู” ที่เขียนเป็นบทกลอนไว้ตั้งแต่สมัย เป็นนักศึกษาครูและเพื่อนร่วมรุ่นต่างจดจ�ำเป็นแนวทางร่วมกันว่า.. “แม้ที่นี่ไม่มีฟ้าสีสวย แต่ครูขออยู่ด้วยช่วยสอนหนู ด้วยอยากเห็นดอกไม้ป่าน่าชื่นชู ครูจะอยู่จนที่นี่..ฟ้าสีทอง” และมี“ปณิธานแห่งวิถี” ที่มุ่งมั่นและยึดถือมาตลอดชีวิต โดยเขียนเป็นบทกลอนไว้บทหนึ่งว่า “อยู่ให้เห็นเป็นหลักมีศักดิ์ศรี ส่งเสริมคนดีดีให้เป็นใหญ่ ไม่สังฆกรรมไม่ตามหลังคนจังไร รักษาความเป็นไทยและเป็นธรรม” ๑.๔ นางเยิ้ม เรืองดิษฐ์ : พิพิธภัณฑ์ลูกปัดโบราณ หาดทรายแก้ว เกิดเมื่อวันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๑ ณ บ้านเลขที่ ๕ หมู่ที่ ๑ ต�ำบลท่าขึ้น อ�ำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นบุตรของนายเชย บุญวรรณ นางเขียน บุญวรรณ มีพี่น้อง ๙ คน นางเยิ้ม เป็นบุตร ล�ำดับที่ ๖ พ่อแม่มีอาชีพท�ำนาอยู่ชายทะเลเลี้ยงลูก ๙ คน ด้วยความยากล�ำบากลูกๆ ทุกคนจบชั้น ป.๔ ทุกคนยกเว้น น้องๆรุ่นหลังๆผู้ใหญ่เยิ้มเป็นผู้สนับสนุนส่งเสริมให้น้องๆ ได้เรียนต่อกันโรงเรียนที่อยู่ใกล้บ้าน คือโรงเรียนวัดทางขึ้น การไปเรียนเดินไปช่วงเช้าน�้ำทะเลลดก็เดินริมชายหาดเดินไป โรงเรียนทุกวันพบเห็นอะไรที่ซัดเข้ามาชายหาดก็มักเก็บมา เช่น ไหเก่า ถ้วยชามหัก ๆ ตนเองก็เก็บมาเพราะนิสัยชอบ ของเก่าเก็บทุกอย่าง “เพราะของใหม่วันนี้ต่อไปเป็นของเก่า ในวันข้างหน้ายิ่งเป็นของเก่ายิ่งมีคุณค่าถึงแม้ว่าคนอื่นไม่เห็น คุณค่าก็ตาม”และวัตถุชิ้นแรกที่เริ่มสะสมเป็นจริงเป็นจังคือ เหล็กขูด(ที่ขูดมะพร้าว)ชุมชนที่นางเยิ้ม เรืองดิษฐ์อาศัยอยู่ เรียกว่า “ท่าขึ้น” เป็นท่าเรือเรือยนต์ที่บรรทุกคนสิ่งของ จากสิชลไปท ่าศาลาไปปากพนังโดยมาขึ้นฝั ่งที่ท ่าขึ้น ความยากล�ำบากของครอบครัวที่แร้นแค้นล�ำบาก ช่วงฤดูที่ กุ้งเคยมีชายฝั ่งพ ่อก็ได้ไปลากกุ้งเคยมาท�ำไว้กินภายใน ครอบครัวเหลือก็ได้ขาย แม่เป็นแบบอย่างที่ดีท�ำให้ตนเอง ไม่เคยลืมเคยจีลีปลีเขียว(ปิ้งกะปิกินกับพริกสีเขียว) ที่พ่อแม่ มากินข้าวแทนกับข้าวยามอดยากหาอะไรไม่ได้พ่อออกไปหาปลาริมฝั่งทะเลเพื่อลากแหให้ได้ปลาเป็นอาหารให้ลูกๆ ได้กิน หาปลาตามท้องนา นี่เป็นวิถีชีวิตที่เด็กหญิงเยิ้มเห็นภาพเหล่านั้นมาตลอดพอจบชั้น ป.๔ เด็กหญิงเยิ้ม บุญวรรณ ได้ออกมาท�ำอาชีพค้าขายเพื่อช่วยเหลือทางบ้านไปอยู่ประจ�ำในตัวอ�ำเภอท่าศาลา พี่สาวคนโตลงทุนให้ก�ำไรที่ได้ แบ่งให้นางเยิ้มได้ไปจุนเจือครอบครัวของพ่อแม่และพี่ น้อง โดยเริ่มต้นจาก“เดียด ทูน หาบ เข็ญ”โดยมีพัฒนาการ ท�ำการค้าจากการเดียดโดยระหว่างที่เรียน ชั้นประถมทุกวันศุกร์เย็นเดินทางไปบ้านพี่สาวคนโตเพื่อไปช่วยขายถั่ว ตามโรงวิคหนังบ้านก�ำนันพล(โรงภาพยนตร์บ้านก�ำนันพล)ตามบ้านคน ชุมชน เดินเร่ขายไปเรื่อยๆจนหมดวันจันทร์ ก็กลับมาเรียนหนังสือกระท�ำอย่างนี้จบชั้น ป.๔ และหลังจบการศึกษา จึงตัดสินใจช่วยเหลือทางบ้านออกมาค้าขาย อย่างจริงจัง มาอาศัยบ้านพี่สาวอยู่ เพื่อให้มีรายได้จุนเจือช่วยเหลือทางบ้านได้ช่วยส่งน้อง ๆ ได้เรียนหนังสือ


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 137 พี่สาวไปเรียนตัดเย็บเสื้อผ้า พี่ชายน�ำความรู้การท�ำไอศกรีมจากพี่เขยมาท�ำไอศกรีมขายเมื่อการค้าขายเริ่มดีขึ้นเรื่อยๆ จึงตัดสินใจเช่าบ้านอยู่ในตัวอ�ำเภอท่าศาลา บริเวณตรงข้ามทางเข้าวัดท่าสูงในปัจจุบัน เป็นบ้านห้องแถวเล็ก ๆ โดยให้น้อง ๆ มาอาศัยอยู่ด้วยกันมาเรียนหนังสือในตัวอ�ำเภอและช่วยกันท�ำขนมขายกัน การเป็นคนที่อดทน มุ่งมั่น บากบั่น ต่อความยากล�ำบาก นางเยิ้มได้ค้าขายหลาย ๆ เช่น ถั่วต้ม นึ่งมันขาย ลูกชิ้นย่าง ลูกชิ้นนึ่ง อ้อยควั่น ขายปลาหมึก โอเลี้ยง ชาเย็น ขายที่ด้านหน้าโรงเรียนด�ำรงเวท โรงเรียนปทุมมา โรงเรียนท่าศาลา และโรงเรียน ท่าศาลาประสิทธิ์ศึกษา ช่วงหน้ามะม่วงจะดองมะม่วงอ่อน ดองกระท้อนไว้ท�ำมะม่วงแช่อิ่ม กระท้อนฉุน กระท้อน แช่อิ่ม หน้าฝนจะขายของประเภทนึ่ง ๆ ย่าง ๆ จะได้ตอบสนองความต้องการของลูกค้า (เคล็ดลับทุกอย่างที่ดอง ต้มน�้ำสุกใส่เกลือแล้วน�ำผลไม้ต่างๆไปใส่โอ่งดินหรือดินเคลือบ ดองทั้งเปลือก) เมื่อได้ที่ค่อยน�ำมาปลอกเปลือกออก น�ำไปล้างความเค็มแล้วน�ำมาแช่น�้ำหวานก็จะได้ผลไม้แช่อิ่มที่สุดอร่อย หน้าผลไม้ขายส้มผลไม้โดยเฉพาะสับปะรด น�ำมาท�ำแยมสับปะรดก็จะท�ำเองเพื่อลดต้นทุนและได้ก�ำไรมาก ๆ เพื่อขายคู่กับขนมปังปิ้ง การไปซื้อเผือกมา จากตลาดหัวอิฐในเมืองนครศรีธรรมราช น�ำมาต้มขายก็เลือกเผือกที่จะเริ่มงอกหน่อราคาต้นทุนถูก และน�ำมาตั้งไว้ ถ้ายังไม่ได้ต้มก็จะรักษาความสดของเผือกเวลาน�ำไปนึ่งก็จะได้รดชาดที่หวานอร่อยจนเป็นที่เลื่องลือท�ำอร่อยขายดี และประกอบกับเริ่มเก็บและการออม เริ่มหยอดกระปุกออมสินของตนเองโดยแบ่งเป็น ๓ กระปุกกล่าวคือออมเก็บ ออมเป็นเงินทุนหมุนเวียน ออมเพื่อช่วยเหลือน้อง ๆ และครอบครัว กระท�ำอย่างนี้โดยจนเห็นช่องทางที่จะค้าขาย ขยายการท�ำงานให้โตมากยิ่งขึ้นและเมื่ออายุได้๑๖ - ๑๘ ปีเป็นลูกจ้างท้ายรถ ซื้อแตงโม ซื้อ-ขาย ผลไม้ไปที่ไหน ไปด้วยกัน โดยไปเป็นลูกน้องคนอื่นในการค้าขายผลไม้ข้ามต่างจังหวัดไปซื้อ ทุเรียน เงาะไปส่งขายราชบุรีสุไหโกลก ไปทั่วภาคตะวันออก ภาคอีสาน (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ภาคกลางและน�ำของจากภาคอื่น ๆ น�ำมาขายในพื้นที่ อ�ำเภอต่างๆของบ้านเราด�ำเนินการจนเป็นลูกน้องคนเก่ง นายจ้างให้ด�ำเนินการเองคนเดียวกระท�ำมานานหลายสิบ ปีเริ่มเห็นช่องทาง จึงออกมาท�ำเองค้าขายเป็นของตนเองและเริ่มเก็บเงินได้มากขึ้น จึงเริ่มซื้อที่ดินเก็บไว้ระหว่างที่ เมื่ออายุ๓๐ ปีกว่าๆด�ำเนินการอย่างนั้นก็เริ่มเก็บสะสมวัตถุโบราณโดยเฉพาะลูกปัด ที่มีชาวประมงจากจังหวัดกระบี่ พบเจอลูกปัดอยู่ในโอ่งและเมื่อเห็นว่า นางเยิ้ม เรืองดิษฐ์เป็นคนชอบวัตถุโบราณ มาน�ำเสนอขายจึงตัดสินใจซื้อ จนพี่ๆ น้องและเพื่อนบ้านโจทย์กล่าวขานว่า “ผู้หญิงบ้าลูกหิน” แต่ด้วยความชอบไม่คิดอะไรมากมายและมองเห็น คุณค่าของที่ได้มา ขณะที่คนอื่นมองไม่เห็นคุณค่า โดยตัดสินใจขายที่ดินที่เคยซื้อเก็บสะสมไว้น�ำออกมาขายเพื่อ น�ำมาซื้อวัตถุโบราณ อาจจะผิดดังค�ำที่เขากล ่าวมา มีเหตุการณ์การบูรณะวัดพระบรมธาตุวรมหาวิหาร (หรือ วัดพระมหาธาตุ) ที่ชาวบ้านเรียกกันติดปากพระเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ช�ำรุดเสียหายกรมศิลปากรมีการบูรณะสังขรณ์ โดยผู้ว่าราชการจังหวัดสมัยนั้น นายชาญชัย สุนทรมัฏฐ์ ได้กล่าวถึง “ถ้าจะไปหาลูกปัดแบบนี้ไปหาที่สาวเยิ้ม เพราะเก็บสะสมไว้มากท่านได้พูดกับกรมศิลปากรให้ทางคณะที่ด�ำเนินการเรื่องนี้ ทางคณะกรรมการวัดไปซื้อลูกปัดสีจากเมืองนอกมาบูรณะต ่อมาท ่านผู้ว ่าราชการจังหวัด นครศรีธรรมราช น�ำคณะกรมศิลปากรและนักข่าวที่ติดตามมาดูลูกปัดที่นางเยิ้มได้สะสมไว้ทุกคนตะลึงตั้งแต่บัดนั้น เป็นต้นมาทุกคนเริ่มรู้จักนางเยิ้มมากยิ่งขึ้น ครั้งหนึ่ง หน้าของลูกปัดที่น�ำลงมาจากยอดพระบรมธาตุมีรูป “สุริยะเทพ” หายไป นายแพทย์ปัญชา ณ นคร น�ำนักข่าวมาสัมภาษณ์นางเยิ้ม เรืองดิษฐ์ว่ามีความเป็นมาอย่างไร ออกรายการ ถ่ายทอดสดช่องทีวีไทยโดยการเสวนาด้วยกัน ๔ ท่าน หนึ่งในสี่ท่านนั้นคือ นางเยิ้ม เรืองดิษฐ์พิธีกรซึ่งเป็นผู้ด�ำเนิน รายการตั้งค�ำถามว่า“จริงไหมที่เขาว่า ผู้ใหญ่เยิ้มนี่บ้าลูกหิน” ผู้ใหญ่เยิ้มกล่าวว่า“กระจกส่องหน้า กริยาส่องใจ การกระท�ำของคนไม่เหมือนหัน ฉันจบแค่ ป.๔ มีความรู้น้อยนิดแต่ความคิดไม่เหมือนคนอื่นเขา ทุกคนเลยเรียกว่า ผู้หญิงเก็บตกแต่ทุกสิ่งทุกอย่างเราท�ำตามรอยยุคลบาทของพ่อหลวง พ่อหลวงได้พูดไว้ว่าก้อนอิฐก้อนเดียวเม็ดกรวด เม็ดเดียวถ้าเราทุกคนช่วยกันรักษาใครก็เอาของเราไปไม่ได้ฉันคนหนึ่งแหละค่ะแล้วท่านละคะ ท่านเป็นศาสตราจารย์


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 138 เป็นดอกเตอร์ท่าน เคยท�ำอย่างฉันได้ไหมคะ” นี่คือค�ำตอบที่ฉันให้กับคนทุกคนในวันนั้นเมื่อปิดท้ายรายการพิธีกรพูด ว่าอยากให้ข้อคิดแก่คนไทยที่นั่งชมรายการนี้อยู่ “ฉันก็บอกว่า ถ้าฉันพูดถูกเอาไปคิดแต่ถ้าฉันพูดผิดฉันขอโทษ ครอบครัวยิ่งใหญ่คือชาติไทยของเราทั้งสองล้นเกล้าคือบิดรและมารดาเหล่าประชากรเหมือนที่น้องคลานตามกันมา เป็นของแน่ว่า ย่อมมีผิดบ้างหมองใจ ดังเพื่อนไทยที่เคยหมางใจกันมา โปรดลืมเถิดหนา คิดว่าผ่านไปเหมือนฝัน รักกันดีกว่าหันหน้าสามัคคีกัน จงสมานฉันท์ป้องกันแคว้นไทย น้องพี่วิวาทคอยแต่มาดหมางกัน เหมือนดั่งมีดปั่นใจ พ่อแม่แค่ไหน อีกเป็นเส้นทางให้คนนอกย�่ำยีดวงใจอย่าไปใส่ใจไม่นานหายพลัน” และต่อมามีชาวต่างชาติมาขอซื้อ ที่ดินเพื่อท�ำรีสอร์ทในราคาแพงๆแต่ผู้ใหญ่เยิ้ม เรืองดิษฐ์ก็ไม่ยอมขายทุกสิ่งทุกอย่างถ้าไม่มีความอดทนจะไม่มีวันนี้ เรารัก พ่อแม่ พี่ น้องแผ่นดิน แผ่นดินนี้จะไม่ให้ใครแม้คนที่ใช้ท�ำอาชีพยังมีอยู่ ทองค�ำเปลวไปเปลวของใหม่ในวันนี้ คือของเก่าในวันข้างหน้า คนเราต้องมีความซื่อสัตย์ต่อตัวเอง ของโบราณอย่างไร มีอยู่เพิ่มทุกวัน เหมือนปลูกต้นไม้ ต้องดูแล ปัจจุบันนางเยิ้ม เรืองดิษฐ์ เป็นเจ้าของรีสอร์ท “หาดทรายแก้ว” ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ ต�ำบลท่าขึ้น อ�ำเภอท่าศาลาจากการชอบสะสมของเก่ามาตั้งแต่อายุ๑๐ ปีของสะสมส่วนใหญ่รับซื้อจากชาวบ้านจากแหล่งต่างๆ โดยเฉพาะรับซื้อจากชาวประมงที่งมโบราณวัตถุได้จากซากเรือโบราณที่อับปางใต้ทะเล โดยในอดีตชาวประมง มักจะน�ำโบราณวัตถุที่ “งม” (พบเจอ) ได้มาแลกกับข้าวสารและไก่ นางเยิ้ม เรืองดิษฐ์ หลงใหลการสะสมของเก่า จนถึงกับเคยขายที่ดินมา ซื้อจานราชวงศ์ซ้องอายุกว่าพันปี ในราคากว่า เจ็ดหมื่นบาท โดยเชื่อว่าใครครอบครองจาน ใบนี้จะมีกินไม่มีวันหมด ผู้ใหญ่เยิ้มเองเชื่อถือในปาฏิหารย์ ของโบราณวัตถุมากเพราะสามารถท�ำให้ป้าเยิ้มถูกหวยแล้ว ได้เงินมาก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ ได้พิพิธภัณฑ์หาดทรายแก้วตั้งอยู่ ภายในรีสอร์ท “หาดทรายแก้ว”อยู่ติดทะเลจัดแสดงโบราณ วัตถุและศิลปวัตถุ โดยแบ่งออกเป็นห้อง ๆ ของส่วนใหญ่ ที่จัดแสดงคือเครื่องปั้นดินเผาโบราณ ถ้วยชาม เหล็กขูดหรือ กระต่ายขูดมะพร้าวและเครื่องมือท�ำมาหากิน เครื่องจักสาน ลูกปัดโบราณ เครื่องรางของขลัง เป็นเครื่องประดับที่มี ความงดงาม แฝงไว้ด้วยความเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์ ส ่งพลัง อานุภาพแก ่ผู้ที่เชื่อถือศรัทธาทั้งทางด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาดปลอดภัย และค้าขายร�่ำรวยถึงขนาดบางแห่ง รวบรวมจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์“พิพิธภัณฑ์ลูกปัดโบราณ” เป็นผู้ที่เก็บสะสมมาเป็นเวลาสิบปีปัจจุบัน ถือว่าลูกปัด อยู่ในความครอบครองมากที่สุด จึงได้จัดสร้างพิพิธภัณฑ์ขึ้นมา เพื่อให้ลูกปัดและของโบราณที่พบในประเทศไทย รวมถึงกระต่ายขูดมะพร้าว ปืนโบราณ ไหโบราณ กริชโบราณ เชี่ยนหมากโบราณ ไม่สูญหายออกไปนอกประเทศ ลูกหลาน เยาวชนรุ่นหลังจะได้ศึกษารู้ประวัติความเป็นมาเพื่อเป็นวิทยาทาน “ผู้ใหญ่เยิ้ม เรืองดิษฐ์”เล่าว่า ปัจจุบัน ลูกปัดโบราณหาชมได้ยาก รางวัลชีวิต ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช เมื่อปี พุทธศักราช ๒๕๕๓


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 139 ๑.๕ นายนิคม คงทน เกิดเมื่อวันที่๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๖ อาศัยอยู่ณ บ้านเลขที่๕๒ หมู่ที่๑ ต�ำบลท่าขึ้น อ�ำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นบุตรของนายยกเอี้ยน นางจีบ คงทน มีพี่น้องร่วมบิดา มารดา จ�ำนวน ๓ คน ปัจจุบัน อยู่บ้านเลขที่ ๑๙๔ หมู่ที่ ๕ ต�ำบลสระแก้ว อ�ำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราชจบการศึกษาสูงสุดระดับมัธยมศึกษา ๖ โรงเรียนมัธยมศึกษาชายด�ำรงค์เวท อ�ำเภอท่าศาลา สมรสกับนางนันทาชูเสน มีบุตรธิดาจ�ำนวน ๔ คน ประกอบ อาชีพเกษตรกรรม ด�ำรงต�ำแหน่งรองนายกองค์การบริหาร ส่วนต�ำบลสระแก้ว ตั้งแต่ วันที่ ๑๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ จนถึงปัจจุบัน (ขณะที่จัดเก็บข้อมูล ปี๒๕๖๐) อดีตเป็น ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๕ ต�ำบลสระแก้ว และเป็นคณะกรรมการ ต่าง ๆ ในชุมชนและในหน่วยงานราชการที่เชิญมา ประวัติการด�ำรงชีวิต “จากวิกฤติ ทางธรรมชาติ เป็นโอกาสสร้างครูเกษตรชุมชนสระแก้ว” ปีพ.ศ. ๒๕๐๕ อ�ำเภอท่าศาลาประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติ เนื่องจากพายุโซนร้อนแฮเรียส เป็นเหตุให้จบมัธยมศึกษา ปีที่ ๖ จากโรงเรียนมัธยมชายด�ำรงเวท ไม่ได้ศึกษาต่อต้องออกมาท�ำงานช่วยเหลือครอบครัวในฐานะบุตรชายคนโต เปิดโอกาสให้น้องๆได้เรียนหนังสือโดยการสร้างสวนยางพาราจ�ำนวน ๘๐ ไร่การบุกเบิกท�ำสวนยางต้องใช้แรงกาย ล้วน ๆ ไม่มีเครื่องมือผ่อนแรง มีแต่จอบ พร้า ขวาน และเลื่อยตัดไม้ที่ใช้คนสองคนช่วยกันฉุดและดัน เริ่มจากการ แผ้วถางป่า โค่นล้มไม้ขนาดใหญ่ โดยใช้ขวานและเลื้อยตัดไม้ใช้ไฟสุมขอนไม้แล้วลากให้กระจายโดยให้ไฟที่สุมขอน เป็นตัวท�ำลายตอไม้น้อยใหญ่จนเป็นที่โล่ง แล้วจึง ลงมือปลูกยางพารา ขณะที่ต้นยางโต ๑-๓ ปีปลูกพืชแซม ได้แก่ ข้าวไร่ข้าวโพด ยาสูบ (ยากลาย) พริกขี้หนูและกล้วย การท�ำการเกษตรในระยะแรกด้วยความอุดมสมบูรณ์ของดิน ไม่ต้องอาศัยปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลงแต่อย่างใด การบุกเบิกในระยะนี้ต้องอาศัยความอดทน ความทุ่มเท และ ความเพียรพยาม ตามสโลแกนของรัฐบาลยุคนั้น “งานคือเงิน เงินคืองาน บันดาลสุข”ความขยันสามารถเลี้ยงตนเอง ได้การประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรมจึงเกิดรายได้ส่งผลให้พ่อเฒ่าแม่เฒ่ายกตัวอย่าง เป็นแบบอย่างให้กับบุคคล อื่นๆในชุมชน และเป็นที่ยอมรับของคนในชุมชน นับได้ว่าเป็นครูชุมชนที่สอนโดยการลงมือปฏิบัติให้ดูเป็นแบบอย่าง ชุมชนจึงตื่นตัวหันมาท�ำการเกษตรอย่างจริงจัง โดยการปลูกผักสวนครัวและพืชอายุสั้น เป็นอาชีพเสริม ก่อนผลผลิต ยางพาราจะกรีดหน้ายางได้การด�ำเนินการดังกล่าวเป็นที่ยอมรับและได้รับการยกย่องให้เป็นผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๕ ต�ำบลสระแก้ว อ�ำเภอท่าศาลา เมื่อวันที่ ๔ กุมภาพันธ์พ.ศ. ๒๕๒๖ “การท�ำความดี ใช้หนี้แผ่นดิน” ในปี ๒๕๒๐ ได้เกิดแนวคิดที่จะพัฒนาชุมชนด้านคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะความมั่นคงในอาชีพของตนเอง จึงเห็นควรจะพัฒนาสติปัญญาของคนก่อน พัฒนาคนให้ได้ผล คนต้องมี ส่วนร่วมในการพัฒนา คนต้องมีปลุกจิตส�ำนึกให้คนตื่นขึ้นมาเป็นการจุดประกายแห่งจิตสารธารณะที่มีในแต่ละคน ได้เกิดแสงสว่างขึ้น จึงได้เริ่มโครงการสร้างห้องสมุดของชุมชนสระแก้วโดยระดมทุนจากชุมชน จ�ำนวน ๔๐๐,๐๐๐ บาทเศษ เป็นผลงานชิ้นแรกที่ภาคภูมิใจและต่อมาปี๒๕๒๑ การสร้างเมรุเผาศพ ณ วัดสระแก้วโดยการระดมทุนจาการบริจาค การทอดผ้าป่า เป็นเมรุหลังแรกของอ�ำเภอท่าศาลา ด้วยเงินงบประมาณ ๙๐๐,๐๐๐ บาทเศษ และปีพ.ศ. ๒๕๒๓ สร้างศาลาบ�ำเพ็ญกุศลศพ คู่กับเมรุเพื่อใช้ในการบ�ำเพ็ญกุศลศพที่วัดสระแก้ว โดยเปลี่ยนค่านิยมการตั้งบ�ำเพ็ญกุศล


Click to View FlipBook Version