The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

เอกสารประกอบการเรียน ท่าศาลาศึกษา

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

เอกสารประกอบการเรียน ท่าศาลาศึกษา

เอกสารประกอบการเรียน ท่าศาลาศึกษา

Keywords: ท่าศาลา

หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 40 โบราณสถานของศาสนาพราหมณ์ในอ�ำเภอสิชล และในอ�ำเภอท่าศาลา เกิดขึ้นมาได้อย่างไร ใครเป็นคนสร้าง ขึ้นมาเพื่ออะไร ท�ำไมต้องสร้างเสียใหญ่โตมโหฬารอย่างนี้โบราณสถานโบราณวัตถุที่มีอยู่ในพื้นที่ของอ�ำเภอสิชล และ ในพื้นที่ของอ�ำเภอท่าศาลา จะได้รวบรวมแล้วน�ำมาบันทึกไว้ในเอกสารฉบับนี้โดยละเอียดต่อไป ค�ำว่า ตามพรลิงค์อันเป็นชื่อของอาณาจักรตามพรลิงค์นั้น เป็นค�ำผสมมาจากค�ำว่าตามพรแปลว่า ทอง หรือ ทองแดงกับค�ำว่าลิงค์หรือลึงค์คืออวัยวะเพศชาย หมายถึงลิงค์ของพระศิวะ หรือศิวลึงค์ตั้งอยู่บน ฐานโยนิโทรณะ แทนอวัยวะเพศหญิงของพระอุมา ใช้ในการประกอบพิธีกรรมส�ำคัญของศาสนาพราหมณ์ ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๗ - ๑๓ ถือเป็น ยุคทองของสิชล-ท่าศาลา เพราะมีสิ่งก่อสร้างของศาสนาพราหมณ์เกิดขึ้น เป็นอันมาก รวมทั้งบ้านเรือนที่อยู่อาศัยของชาวเมือง กล่าวได้ว่า สิชล-ท่าศาลา มีสิ่งก่อสร้างของศาสนาพราหมณ์ มากที่สุด มากยิ่งกว่าพื้นที่ใดบนคาบสมุทรมลายูพื้นที่อ�ำเภอท่าศาลาและอ�ำเภอสิชลนับเนื่องเป็นพื้นที่เดียวกัน หากเป็นแคว้นก็ถือว่าอยู่ในแคว้นเดียวกัน โบราณสถานโบราณวัตถุที่ค้นพบอยู่ในแหล่งเดียวกัน ไม่สามารถแบ่ง เป็นส่วน ๆ ได้ดังนั้น การส�ำรวจค้นหาศึกษาโบราณสถานโบราณวัตถุ ที่มีปรากฏในทุกอ�ำเภอต้องท�ำไปพร้อมกัน เพราะเกิดในยุคเดียวกัน นายคงเดช ประพัฒน์ทอง อดีตนักโบราณคดีอาวุโสท ่านหนึ่งเรียกพื้นที่ อ�ำเภอสิชล และ อ�ำเภอท่าศาลา ที่พบโบราณสถานโบราณวัตถุของศาสนาพราหมณ์เป็นจ�ำนวนมากว่า ไศวภูมิมณฑล แปลว่า มณฑลสถานแห่งพระศิวะ โบราณสถานโบราณวัตถุที่มีอยู่มากมายนี้เอง นักโบราณคดีหลายท่านลงความเห็นว่า สิชล-ท่าศาลา คือศูนย์กลางของ อาณาจักรตามพรลิงค์โบราณสถานเขาคาเป็นสถานที่ส�ำคัญที่สุดของอาณาจักร ตามพรลิงค์ เพราะมีก้อนหินลักษณะคล้ายศิวลึงค์อยู่บนเนินเขาด้านทิศเหนือ แท่งหินธรรมชาติที่ตั้งเด่นเป็นสง่า อยู่บนฐานหินนี้จะต้องเป็นสัญลักษณ์สูงสุดทางศาสนาพราหมณ์ซึ่งจะเป็นอะไรอย่างอื่นไปไม่ได้นอกจาก ศิวลึงค์ บางท่านเรียกศิวลึงค์นี้ว่า ลิงคบรรพต แท่งหินโบราณด้านทิศเหนือของเขาคาเข้าข่าย ลิงคบรรพต เป็นการเลือก ชัยภูมิที่มีความเหมาะสมกับคติความเชื่อทางศาสนาเกิดบูรณาการในการสร้างบ้านเมือง ที่ผูกพันอยู่กับภูเขาศักดิ์สิทธิ์ บนภูเขามีสิ่งที่พระศิวะทรงประทานมาให้เป็นลึงค์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเรียกว่าสวยัมภูลึงค์ถ้าหากสวยัมภูลึงค์ เกิดการแตกหักต้องเอาทองหรือทองแดงไปซ่อม นี้อาจเป็นที่มาของค�ำว่า ตามพรลิงค์ลิงคบรรพตเป็นศาสนสถาน พราหมณ์แห่งแรกที่สร้างบนเขาคา มีลักษณะเป็นเทวสถานกลางแจ้งไม่มีตัวอาคารครอบคลุม สร้างกลมกลืนอยู่กับ ธรรมชาติจากนั้น ก็มีการสร้างเทวสถานเพิ่มเติมบนเนินเขาทางด้านทิศใต้อาจารย์ก่องแก้ว วีระประจักษ์ผู้เชี่ยวชาญ พิเศษภาษาโบราณ กรมศิลปากร ให้ข้อสังเกตเกี่ยวกับการอธิบายว่า สิ่งใดคือ ลิงคบรรพต โดยดูที่องค์ประกอบ แวดล้อมของสถานที่แห่งนั้น ถ้ามีองค์ประกอบแวดล้อมบ่งบอกโดยชัดเจนว่าสิ่งนั้นสร้างขึ้น หรือปรับใช้เพื่ออุทิศแด่ พระศิวะการสถาปนาศิวลึงค์ที่มีอยู่ในธรรมชาติบนยอดเขาถือว่าสิ่งนั่น คือลิงคบรรพต การที่มีโขดหินในธรรมชาติ โผล่พ้นดินขึ้นมาท�ำมุมเอียง ๗๐-๘๐ องศา สูง ๒ เมตร เศษหินก้อนนี้มีร่องรอยการกะเทาะที่ขอบส่วนบน ท�ำให้มี ลักษณะคล้ายเส้นเอ็นของหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายเรียกว่าเส้นพรหมสูตรสลักเป็นเส้นดิ่งบนส่วนหน้าแล้วลาก ลงมาทางซ้ายและทางขวา จากนั้นก็ลากให้ไปพบกันที่ด้านหลัง เรียกว่า เส้นปารศวสูตร แม้ศิวลึงค์จากแท่งหิน ธรรมชาติแท ่งนี้จะมีเส้นพรหมสูตรและปารศวสูตรไม ่ชัดเจน ไม ่เหมือนกับศิวลึงค์ที่มนุษย์สกัดขึ้นมาจากหิน แต ่องค์ประกอบของศาสนสถานแห ่งนี้ บ ่งชี้ว ่าแท ่งหินนี้เป็นศิวลึงค์สัญลักษณ์แทนองค์พระศิวะ ดังนั้น ชื่อของ อาณาจักรตามพรลิงค์ น่าจะได้มาจาก ศิวลึงค์ ที่สถิตอยู่บนเนินเขาด้านทิศเหนือของโบราณสถานเขาคา หรือ อาจได้มาจาก ศิวลึงค์ทองค�ำ จ�ำนวน ๔ องค์ที่ขุดพบ ในถ�้ำเขาพลีเมือง ต�ำบลสิชล อ�ำเภอสิชล เมื่อเร็ว ๆ นี้ จากข้อความ ที่ว่า “ตั้งดินตั้งฟ้า ตั้งหญ้าเข็ดมอน โมคลานตั้งก่อน เมืองนครตั้งหลัง เบื้องหน้า พระยัง เบื้องหลังพระภูมี ต้นศรีมหาโพธิ ห้าโบสถ์หกวิหาร เจ็ดทวารแปดเจดีย์”อันเป็นลายแทงบอกแหล่งสมบัติ


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 41 ของวัดโมคลาน โมคลานตั้งก่อน เมืองนครตั้งหลัง บอกให้รู้ว่าแผ่นดินท่าศาลาได้รวมตัวเป็นแว่นแคว้นอย่างชัดเจน บ้านเมืองมีความเจริญรุ่งเรืองมานานแล้ว เมืองนครศรีธรรมราชเพิ่งจะมาสร้างกันทีหลัง ดังนั้น สมมุติฐานที่ว่า สิชล - ท่าศาลาเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรตามพรลิงค์จากโบราณสถานและโบราณวัตถุที่พบชัดเจนว่าอาณาจักร ตามพรลิงค์ตั้งอยู่ที่อ�ำเภอสิชลและอ�ำเภอท่าศาลา นอกจากนี้ยังมีพื้นที่ในอ�ำเภอใกล้เคียง คือ อ�ำเภอนบพิต�ำ อ�ำเภอพรหมคีรีอ�ำเภอลานสกาอ�ำเภอพระพรหม อ�ำเภอร่อนพิบูลย์อ�ำเภอจุฬาภรณ์และอ�ำเภอเมืองในแต่ละพื้นที่ มีโบราณสถานโบราณวัตถุอีกเป็นจ�ำนวนมาก อาณาเขตของเมืองตามพรลิงค์นับเนื่องจากหุบเขาช ่องคอย ในเขตอ�ำเภอจุฬาภรณ์ไล่ขึ้นไปทางทิศเหนือถึงคลองเหลงในเขตอ�ำเภอสิชลอาณาบริเวณเมืองตามพรลิงค์กว้างขวาง ใหญ ่โตมากโดยไม ่มีก�ำแพงล้อมรอบ เขตอิทธิพลของอาณาจักรตามพรลิงค์ครอบคลุมคาบสมุทรมลายูทั้งหมด ยังมีชุมชนพราหมณ์ขนาดใหญ ่ที่ไชยากษัตริย์ปกครองอาณาจักรตามพรลิงค์ เรียกว ่า ราชวงศ์ไศเลนทร์ ราชวงศ์ไศเลนทร์เป็นราชวงศ์ที่ยิ่งใหญ่มาก ปกครองที่ชวาสุมาตราคาบสมุทรมลายูอาณาจักรเจนละอาณาจักรขอม อาณาจักรจามปา ราชวงศ์ไศเลนทร์ ปกครองครอบคลุมทั่วเอเชียอาคเนย์รูปแบบศิลปวัฒนธรรมการปกครองของ ราชวงศ์ไศเลนทร์ไม่มีศูนย์กลางควบคุมอยู่ที่เมืองใดเมืองหนึ่งแต่เป็นรูปแบบทางศิลปวัฒนธรรมของกลุ่มบ้านเมือง ที่อยู่รวมกันมีรูปแบบศิลปวัฒนธรรมเดียวกัน มีถิ่นก�ำเนิดมาจากอินเดียใต้เหมือนกัน แว่นแคว้นเหล่านี้มีความสัมพันธ์ เกี่ยวข้องกันทางเศรษฐกิจการเมืองและสังคม อยู่รวมกันเป็นสหพันธรัฐโดยมีศูนย์อ�ำนาจตั้งอยู่ในรัฐที่เข้มแข็งที่สุด ศูนย์อ�ำนาจสามารถเคลื่อนย้ายจากรัฐหนึ่งไปยังอีกรัฐหนึ่ง ขึ้นอยู่กับว่าผู้น�ำของรัฐใดเข้มแข็งที่สุด แต่ก็ไม่มีอ�ำนาจ ที่แท้จริงในการบังคับบัญชาบ้านเมืองอื่น เพราะแต่ละรัฐยังมีอิสระในการปกครองตนเองอย่างสมบูรณ์แต่มีการยอมรับ ซึ่งกันและกันเพื่อเข้ารวมในสหพันธรัฐเพื่อผลประโยชน์ทางการค้าการเดินทางไปมาหาสู่การมีความเลื่อมใสศรัทธา ในสิ่งเดียวกัน นายยอร์ชเซเดส์คิดว่านี่เป็นเครือข่ายอารยธรรมแบบศรีวิชัยเลยเรียกแว่นแคว้นที่อยู่รวมกันในเอเชีย อาคเนย์ว่า อาณาจักรศรีวิชัย อันเป็นการเข้าใจผิดข้อเท็จจริงมีว่า อาณาจักรศรีวิชัยเกิดจากแนวคิดและทฤษฏีของ ยอร์ชเซเดส์นักประวัติศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ชาวฝรั่งเศสค�ำว่าศรีวิชัยของนายยอร์ช เซเดส์มาจากศิลาจารึกหลักที่ ๒๓ จารึกเมื่อ พ.ศ. ๑๘๑๘ พบที่วัดเสมาเมือง อ�ำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช จารึกว ่าศรีวิชเยนทรราชา อันเป็นชื่อของกษัตริย์พระองค์หนึ่งของอาณาจักรตามพรลิงค์ ไม ่ใช ่เมืองศรีวิชัย หรืออาณาจักรศรีวิชัยแต่อย่างใด ที่มีการอ้างหลักฐานที่อินโดนีเซียบอกว่ามีค�ำว่า ศรีวิชัย นั้นก็ยังไม่ชัดเจนนักดังนั้น นักประวัติศาสตร์นักโบราณคดีทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติหลายคน ลงความเห็นว่าอาณาจักรศรีวิชัยไม่มีตัวตนอยู่จริง ของจริงที่มีอยู ่ในเวลานั้น คือ อาณาจักรตามพรลิงค์ที่ สิชล - ท่าศาลา กับอาณาจักรตามพรลิงค์ที่ไชยา เมื่อพุทธศตวรรษที่ ๖ - ๑๓ และอาณาจักรตามพรลิงค์ที่ นครศรีธรรมราชกับอาณาจักรตามพรลิงค์ที่สุวรรณปุระ (ไชยา) เมื่อพุทธศตวรรษที่ ๑๓ – ๑๙ ดังนั้น ที่เรียกว่าอาณาจักรศรีวิชัยควรเปลี่ยนเป็น อาณาจักรแห่งราชวงศ์ไศ เลนทร์จะถูกต้องยิ่งกว่า เพราะทุกเมืองปกครองโดยกษัตริย์จากราชวงศ์ไศเลนทร์อาณาจักรศรีวิชัยเป็นอาณาจักร ที่สมมุติขึ้นมาโดยยอร์ช เซเดส์(Gorge Coedes) นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีชาวฝรั่งเศสแนวคิดและทฤษฎี ของ ยอร์ช เซเดส์จึงยังไม่ชัดเจนแต่อย่างไรก็ตามแนวคิดของ ยอร์ช เซเดส์ยังส่งอิทธิพลต่อประวัติศาสตร์ชาติไทย และประวัติศาสตร์ของชาติต่าง ๆ ในเอเชียอาคเนย์เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน อาณาเขตของอาณาจักรตามพรลิงค์ยุคที่ ๑ (สิชล - ท่าศาลา) ด้านตะวันออกจดอ่าวไทย ด้านตะวันตกจดทะเลอันดามัน ด้านเหนือพื้นที่ครอบคลุมถึงเมืองเพชรบุรี(พริบพรี) ด้านใต้ถึงเมืองตรัง แต่ยังไม่ครอบคลุมไปจนสุดแหลมมลายู เพราะทางภาคใต้ยังมีอาณาจักร ลังกาสุกะ สร้างขึ้นในศตวรรษที่ ๗ ยุคเดียวกับอาณาจักรตามพรลิงค์ ปัจจุบันลังกาสุกะกลายเป็นแหล่งโบราณคดีที่ส�ำคัญ ตั้งอยู่ในจังหวัดปัตตานี อาณาจักรลังกาสุกะเป็นอาณาจักรอิสระนับถือศาสนาพุทธ มีอิทธิพลครอบคลุมพื้นที่ตั้งแต่จังหวัดตรังลงไปจนสุด


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 42 ปลายแหลมมลายูอาณาจักรลังกาสุกะรุ่งเรืองจนถึงศตวรรษที่๑๑ เสื่อมอ�ำนาจลงกลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักร ตามพรลิงค์ยุคที่ ๑ (สิชล - ท่าศาลา) ถึงพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ลังกาสุกะล่มสลายกลายเป็นเมืองร้างเนื่องจากตัวเมือง อยู่ห่างไกลจากทะเล ก่อนหน้านี้มีการสร้างเมืองใหม่ที่อยู่ใกล้กับทะเลคือ เมืองปัตตานีช่วงที่สร้างเมืองปัตตานี เป็นเวลาของอาณาจักรตามพรลิงค์ยุคที่ ๓ ศูนย์กลางอยู่ที่เมืองนครศรีธรรมราช ปัตตานีมีฐานะเป็นเมือง ๑๒ นักษัตร ของเมืองนครศรีธรรมราชอาณาจักรตามพรลิงค์ยุคที่ ๑ สิชล - ท่าศาลา ล่มสลายกลายเป็นเมืองร้างประมาณ พุทธศตวรรษที่ ๑๓ เนื่องจากศาสนาพราหมณ์เสื่อมความนิยม ในขณะที่ศาสนาพุทธได้รับความนิยมมากขึ้นกว้างขึ้น ศาสนสถานของพราหมณ์หลายแห่งถูกรื้อถอน น�ำอิฐมาสร้างศาสนสถานของพุทธ กรอบประตูกรอบหน้าต่าง ส่วนประกอบอื่นถูกรื้อน�ำมาปักเป็นเสาเรียงรายอยู่ริมทางเดินหน้าวัดโมคลาน แต่ปัจจุบันถูกถอนน�ำไปกองรวมกัน ไว้ใกล้สนามเด็กเล ่นของโรงเรียนวัดโมคลาน โบราณสถานพราหมณ์ที่วัดไทรขามถูกรื้อน�ำมาสร้างวัดไทรขาม ส ่วนโบราณวัตถุ ถูกชาวบ้านหยิบฉวยไปครอบครองเป็นเจ้าของ มีโบราณวัตถุบางชิ้นถูกน�ำไปไว้ที่วัดจันพอ ช่วงที่พระครูวิสุทธิจารีเป็นเจ้าอาวาสวัดจันพอและเจ้าคณะอ�ำเภอกลาย(ท่าศาลา) เช่น ฐานโยนิโทรณะที่ได้มาจาก วัดไทรขาม ปัจจุบันตั้งตากแดดตากฝนอยู่ทางทิศเหนือของศาลาการเปรียญวัดจันพอ อาณาจักรตามพรลิงค์ยุคที่ ๑ สิชล - ท่าศาลา ล ่มสลายต้องย้ายไปตั้งมั่นในที่แห ่งใหม ่ ขณะที่ศาสนาพุทธนิกายมหายานก�ำลังเจริญรุ ่งเรือง มีการสร้างเมืองสร้างวัดบนสันทรายของหาดทรายแก้วเป็น อาณาจักรตามพรลิงค์ยุคที่ ๒ โดยศูนย์กลางอยู่ที่ เมืองพระเวียง ส่วนอาณาจักรตามพรลิงค์ยุคที่ ๒ ศูนย์กลางที่เมืองพระเวียง ระหว่างคลองคูพายกับคลองสวนหลวง จะไม่กล่าวถึงในตอนนี้และอาณาจักรตามพรลิงค์ยุคที่ ๓ ศูนย์กลางที่เมืองนครศรีธรรมราช ระหว่างคลองป่าเหล้า กับคลองหน้าเมือง มีเมืองบริวาร ๑๒ เมือง เรียกว่าเมืองสิบสองนักษัตร ๒.๓ แหล่งโบราณคดีที่ส�ำคัญสมัยอาณาจักรตามพรลิงค์ยุคที่ ๑ แหล่งโบราณคดีที่ส�ำคัญสมัยอาณาจักรตามพรลิงค์ยุคที่ ๑ อ�ำเภอท่าศาลา (พุทธศตวรรษที่ ๗ - ๑๓ หรือ พ.ศ. ๖๐๑ - ๑๓๐๐) ประกอบด้วยแหล่งโบราณสถาน ดังนี้ ๒.๓.๑ โบราณสถานวัดโมคลาน หมู่ ๑๒ ต�ำบลโมคลาน อ�ำเภอท่าศาลาจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นเทวาลัยของศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย เมื่อพุทธศตวรรษที่ ๑๑ - ๑๒ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ต่อมา มีโบราณสถานของพุทธศาสนาสร้างซ้อนทับลงไป ๓ หลัง โดยหันด้านหน้าไปทางทิศเหนืออาคารด้านตะวันออก ประดิษฐานพระพุทธรูป ตรงกลางเป็นเจดีย์องค์ใหญ่ด้านตะวันตกเป็นเจดีย์องค์เล็กด้านหลังเจดีย์องค์เล็กเป็นโบราณ สถานของพราหมณ์ภายในโบราณสถานของพราหมณ์มีเทวรูปตั้งอยู่บนแท่นเทวรูป พบแต่แท่นเทวรูป ส่วนเทวรูป ยังหาไม่พบเข้าใจว่าคงจะถูกน�ำไปไว้ที่อื่น นอกจากนี้ยังพบศิวลึงค์ฐานโยนิโทรณะ ชิ้นส่วนสถาปัตยกรรมได้แก่ ธรณีประตูกรอบประตู(หินแกะสลัก)กรอบหน้าต่าง เสาหิน ฐานเสา เป็นต้น พบสระน�้ำที่ใช้ในพิธีกรรมของศาสนา พราหมณ์และศาสนาพุทธ อยู่ทางตะวันออกของก�ำแพงแก้ว จ�ำนวน ๑ สระ ด้านหลังของอาคารทั้งหมด ห่างไป ทางทิศใต้ประมาณ ๒๕ เมตร เป็นอาคารที่อยู่อาศัยของสงฆ์จ�ำนวน ๒ หลัง เรียกว่า เขตสังฆาวาส มีก�ำแพงแก้วล้อม สังฆาวาสกินอาณาเขตถึงตัวอาคารเรียนโรงเรียนวัดโมคลาน ด้านทิศใต้ของสังฆาวาสมีบ่อน�้ำตื้น ๑ บ่อรอบสังฆาวาส มีคูระบายน�้ำเสีย คูระบายน�้ำปล่อยน�้ำเสียทอดยาวไปลงทะเลทางด้านทิศตะวันออก พบเห็นอยู่ในสวนป่าของวัด ตอนที่ขุดแต ่งโบราณสถานโมคลานประมาณปี๒๕๓๘ สมัยที่อาจารย์ฉลาด หนูเมือง เป็นอาจารย์ใหญ่ โรงเรียนวัดโมคลาน ปัจจุบันคูระบายน�้ำถูกน�้ำฝนชะดินลงไปถมจนมองไม่เห็น


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 43 ภาพโบราณสถานโบราณวัตถุ ศาสนาพราหมณ์ที่ “โมคลาน” ขณะก�ำลังขุดแต่ง เห็นเสาศิลาที่ใช้ปักเป็นทางเข้าวัดโมคลาน ก่อนถูกถอนมากองรวมกัน ไว้ใกล้กับสนามเด็กเล่นของโรงเรียนวัดโมคลาน ภาพอาคารด้านตะวันออก เป็นอาคารทางพุทธศาสนา เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป ภาพอาคารด้านตะวันตก ด้านหน้าเป็นอาคารทางพุทธศาสนา ประดิษฐานเจดีย์องค์เล็ก ด้านหลังเจดีย์องค์เล็กเป็นโบราณสถาน ของพราหมณ์ โบราณสถานของพราหมณ์ขุดพบศิวลึงค์ ฐานโยนิโทรณะ กรอบประตู ธรณีประตู เป็นต้น ภาพอาคารตรงกลาง เป็นอาคารทางพระพุทธศาสนา เป็นที่ประดิษฐาน เจดีย์องค์ใหญ่ ภาพรวมโบราณสถานโมคลาน อาคารทั้ง ๓ หลังเรียงกันแนวตะวันออกตะวันตก ทางด้านขวามีอาคารซ้อนกันอยู่หลายหลัง ด้านหน้าเป็นเจดีย์ ของศาสนาพุทธ ด้านหลังของเจดีย์เป็นโบราณสถานของพราหมณ์ อาคารของ พราหมณ์ซ้อนกันอยู่ ๒ - ๓ หลัง และ หันหน้าไปทิศตะวันออก


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 44 ภาพจากแหล่งโบราณโมคลาน เสาหินหน้าวัดโมคลานที่ปักเป็นแนวทางเดินหน้าวัด ถูกถอนน�ำมารวมไว้ตรงนี้ ชิ้นส่วนฐานเสา กรอบประตู ธรณีประตู กรอบหน้าต่าง เป็นต้น น�ำมากองรวมกันไว้ใกล้สนามเด็กเล่นของโรงเรียนวัดโมคลาน อ�ำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ภาพบริเวณสังฆาวาสวัดโมคลาน ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของพุทธาวาส บริเวณนี้น่าจะเป็นที่ตั้งของกุฏิสงฆ์ ด้านหลังของกุฏิมองเห็นแนวก�ำแพงล้อมรอบกุฏิ และล้อมรอบบริเวณใช้สอยของสังฆาวาสทั้งหมด มีอาณาบริเวณกว้างใหญ่กว่าแนวก�ำแพงแก้วของเขตพุทธาวาสที่อยู่ด้านหน้า แนวก�ำแพงสังฆาวาสเข้าไป ถึงครึ่งหนึ่งของพื้นที่อาคารเรียนโรงเรียนวัดโมคลาน ภาพกลางอาจารย์ภาณุน�ำนักเรียนวัดโมคลานออกส�ำรวจพื้นที่ ภาพพระพุทธรูป พบที่วัดโมคลาน อายุ พุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๗ ลักษณะ เป็นพระพุทธรูปยืน หัตถ์ซ้ายแสดงปางวิตรรกะ พระพักตร์เหลี่ยม พระนลาฎกว้าง พระนาสิกใหญ่ พระโอษฐ์กว้าง เกตุมาลาเป็นรูปกรวยแหลม ลักษณะของพระพุทธรูปเป็นศิลปะแบบเขมร ช่วงเวลาที่โบราณสถาน พราหมณ์โมคลาน ปรับเปลี่ยนมาเป็นพุทธศาสนา เมื่อพุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๘ พบพระพุทธรูปองค์นี้ตอนขุดแต่งโบราณสถานวัดโมคลานเมื่อ ปี ๒๕๓๘ ผู้เขียนจ�ำได้ว่าตอนนั้นอาจารย์ ฉลาด หนูเมือง เป็นอาจารย์ใหญ่ โรงเรียนวัดโมคลาน พระพุทธรูปองค์นี้จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 45 ๒.๓.๒ แหล่งโบราณคดีทุ่งน�้ำเค็ม พบที่ต�ำบลโมคลาน อ�ำเภอท่าศาลาเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๐ - ๒๕๑๑ ปัจจุบันตั้งอยู่ในพื้นที่ หมู่ที่ ๑๒ ต�ำบลโมคลานของอ�ำเภอท่าศาลา ชาวบ้านขุดดินบริเวณทุ่งน�้ำเค็ม (น�ำดินมาท�ำอิฐ และเครื่องปั้นดินเผา) อยู่ห่างจากโบราณสถานโมคลานไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ ๑ กิโลเมตร (จากลักษณะทางภูมิศาสตร์พื้นดินบริเวณนี้ในยุคนั้นมีสภาพเป็นท้องทะเล) ได้พบเงินเหรียญแบบฟูนันอยู่ลึกลงไป ในดิน ๑.๕ เมตร เป็นเหรียญแบบเดียวกับที่เคยพบที่เมืองออกแก้วประเทศเวียดนาม แบบเดียวกับที่เคยพบบริเวณ ชุมชนโบราณ ในเขตภาคกลางของประเทศไทย เหรียญเงินฟูนันที่พบอยู่รวมกันในกระปุกจ�ำนวน ๑๕๐ เหรียญ แสดงว่าดินแดนแถบนี้มีการติดต่อค้าขายกับดินแดนในประเทศกัมพูชา และเวียดนามมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๓ เพราะอาณาจักรฟูนันเกิดขึ้นในดินแดนประเทศเขมรช่วงพุทธศตวรรษที่ ๓ หมายถึงดินแดนแถบนี้มีการติดต่อกับ แว่นแคว้นอื่นมาก่อนแล้วประมาณ ๑,๘๐๐ - ๒,๒๐๐ ปีนับจากเวลาปัจจุบัน (๒๕๖๐) ๒.๓.๓ โบราณสถานวัดไทรขาม วัดไทรขาม ตั้งอยู่ที่ หมู่ ๖ ต�ำบลดอนตะโก อ�ำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นวัดเก่าโบราณ วัดไทรขามแต่เดิมเป็นโบราณสถานของพราหมณ์ลักษณะเป็นเนินดินมีพื้นที่ประมาณ ๑๐ ไร่ มีผู้พบโบราณวัตถุที่เรียกว่าฐานโยนิโทรณะ มีอายุรุ่นราวคราวเดียวกับโบราณวัตถุที่วัดโมคลาน บางชิ้นเป็นเศษซาก วางเกะกะอยู่ในวัด บางชิ้นถูกน�ำไปไว้ที่อื่น ๆ นอกจากนี้ยังพบโบราณวัตถุอีกหลายชิ้น ตามประวัติของวัดไทรขาม กล่าวว่าแต่ก่อนวัดไทรขามเป็นวัดร้างอยู่ในการดูแลของวัดจันพอเวลานั้น เจ้าอาวาสวัดจันพอคือพระครูวิสุทธิจารี ภาพเหรียญเงิน พบที่ “ทุ่งน�้ำเค็ม” ต.โมคลาน อ.ท่าศาลา คล้ายกับที่พบในเมืองโบราณ “ทวารวดี” ในเขตภาคกลาง ภาพซ้ายคือป้ายชื่อวัดไทรขามสมัยก่อน ภาพขวาคือป้ายวัดไทรขามในปัจจุบัน


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 46 (พ่อท่านพุ่ม) ได้น�ำฐานโยนิโทรณะและโบราณวัตถุต่างๆไปเก็บไว้ที่วัดจันพอ หินที่เป็นโบราณวัตถุบางชิ้นถูกน�ำมา ท�ำเป็นหินลับมีดตั้งอยู่ข้างออกโรงธรรมวัดจันพอ ๒.๓.๔ โบราณสถานวัดตาเณร(วัดร้าง) เป็นโบราณสถานของศาสนาพราหมณ์จากการสอบถาม ผู้คนในท้องที่ต�ำบลโพธิ์ทองอ�ำเภอท่าศาลา บอกว่าตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของมัสยิดอิสลามบ้านตีนดอน ต�ำบลโพธิ์ทองอ�ำเภอท่าศาลาโดยสอบถามจากนายหนังจ�ำเนียร ค�ำหวาน และนายเขียน รูปโอ เล่าว่าบริเวณนี้เป็นแหล่งโบราณ สถานที่ส�ำคัญมากช่วงแรกมีการขุดพบเทวรูป พระวิษณุอยู่ในการ ครอบครองของเอกชน เวลานี้ตั้งแสดงอยู ่ในพิพิธภัณฑสถาน แห่งชาตินครศรีธรรมราช ปัจจุบันแหล่งโบราณสถานวัดตาเณร มีพื้นที่น้อยลงเกิดจากการบุกรุกของชาวบ้านทางการควรเข้ามา ควบคุมดูแลให้เข้มงวดมากกว่านี้เพราะต่อไปอาจจะไม่เหลือแหล่ง โบราณสถานแห่งนี้อีกเลย ๒.๓.๕ โบราณสถานตุมปัง (วัดร้าง) โบราณสถานตุมปังตั้งอยู่ณหมู่ที่๖ ต�ำบลไทยบุรีอ�ำเภอท่าศาลาจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นแหล่งโบราณสถานในเขตพื้นที่ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พบว่าอิทธิพลของวัฒนธรรมอินเดีย กระจายอยู่ จ�ำนวนมากจากการส�ำรวจของกรมศิลปากรเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๖ ขุดพบชิ้นส่วนเทวรูปพระนารายณ์สกัดจากหิน (ตอน นั้นเข้าใจว่าเป็นรูปเคารพของศาสนาพราหมณ์) โบราณสถานตุมปังแห่งนี้อาจบอกร่องรอยของประวัติศาสตร์ได้ไม่ เพียงแต่ประวัติศาสตร์ของอ�ำเภอท่าศาลา หากศึกษากันอย่างละเอียด อาจบ่งบอกความเป็นมาของอาณาจักรตาม ภาพซ้ายคือทรากโยนิโทรณะวางอยู่รอบโคนไม้ ภาพขวาคือสระน�้ำที่ใช้ในพิธีกรรมของพราหมณ์กรุด้วยอิฐโบราณ ภาพพระวิษณุ ขุดพบที่วัดตาเณร อยู่ทางทิศตะวันออก ของสุเหร่าบ้านตีนดอน ต�ำบลโพธิ์ทอง อ�ำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ยุคพุทธศตวรรษที่ ๑๐ - ๑๒


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 47 พรลิงค์ได้ดังนั้น โบราณสถานตุมปัง จึงมีความส�ำคัญ มากโดยเฉพาะทางมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ในฐานะ เจ้าของพื้นที่ท�ำการศึกษาเบื้องต้นพบเห็นความต่อเนื่อง และการเรียงล�ำดับช่วงเวลาของชุมชนในยุคต่าง ๆ ซึ่ง ก็คือ การเรียงล�ำดับความเป็นมาของประวัติศาสตร์ เมืองนครศรีธรรมราชนั่นเอง แหล ่งโบราณคดีแห ่งนี้ ตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มทางทิศตะวันตกของสันทรายช่วงฤดู ฝนมีน�้ำท่วมขังบริเวณโบราณสถาน ด้านทิศตะวันออก เฉียงใต้มีลักษณะคล้ายคันดิน กั้นระหว ่างพื้นที่ลุ ่ม ด้านทิศตะวันออกกับพื้นที่ของโบราณสถานอย่างชัดเจน คล้ายกับการสร้างคันดินป้องกันน�้ำท่วม จึงเห็นความ แตกต่างของพืชที่อยู่นอกคันดินกับพืชที่อยู่ทางทิศตะวัน ตกได้ชัดเจน ลักษณะทั่วไป เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๖ กรมศิลปากรท�ำการส�ำรวจแหล่งโบราณสถานตุมปัง อย่างเป็นทางการ พบว่าบริเวณแหล่งศิลปกรรมโบรานสถานตุมปัง มีสภาพโดยทั่วไปเป็นพื้นราบตั้งอยู่ระหว่าง แนวสันทรายท่าสูงกับแนวเทือกเขาหลวง พื้นที่บริเวณนี้เหมาะกับการท�ำนาปลูกข้าว เพราะเป็นที่ราบลุ่มก่อนถึง ตัวสันทรายท่าสูงในสมัยก่อนเต็มไปด้วยต้นยางนา มีกอไผ่ขึ้นกระจัดกระจายทั่วไป สลับกับป่าละเมาะในตอนหลัง พื้นที่บริเวณโบราณสถานมีผู้น�ำยางพาราไปปลูกเอาไว้ส่วนรอบนอกออกไปเป็นที่ราบโล่งมีต้นยางนา มีกอไผ่ เหลืออยู่บ้าง แหล่งโบราณคดีตุมปังประกอบด้วยโบราณสถาน ๔ อาคาร ปลูกสร้างต่างยุคต่างสมัยกันแต่อยู่ภายใน แนวก�ำแพงแก้วเดียวกัน มีทางเข้าออกทางเดียวประตูตัดแนวก�ำแพงแก้วด้านทิศตะวันออก เส้นทางเข้าออกเดิม เข้าทางทิศตะวันออก ปัจจุบันเข้าออกทางด้านทิศใต้ โบราณสถานตุมปัง ตั้งอยู่ ณ หมู่ที่ ๖ ต�ำบลไทยบุรี อ�ำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นแหล่งโบราณสถาน ในเขตพื้นที่ของมหาวิทยาลัย วลัยลักษณ์ พบว่าอิทธิพลของวัฒนธรรมอินเดีย จากการส�ำรวจของกรม ศิลปากรเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๖ ขุดพบชิ้นส่วนท่อนล่างของ เทวรูปพระนารายณ์ ภาพเนินโบราณสถานตุมปัง ซึ่งตอนแรกเข้าใจว่าเป็นแหล่งโบราณสถาน ของศาสนาพราหมณ์ แต่เมื่อมีการขุดพบรูปเคารพของพระโพธิสัตว์ พระอวโลกิเตศวรได้ครบถ้วน ท�ำให้ทราบว่าเป็นโบราณสถานของศาสนา พุทธลัทธิมหายาน ภาพวาดเนินโบราณสถานตุมปัง มี 4 เนิน โดยมีแนวก�ำแพงแก้วล้อมรอบเนิน ที่ ๑-๒ ส่วนเนินที่ ๓-๔ มีแนวก�ำแพงแก้วเดียวกัน เนินที่ ๑ พบส่วนล่าง ของรูปเคารพ และ พบส่วนล�ำตัวของรูปเคารพ เนินที่ ๓ พบพระเศียร ของรูปเคารพ เมื่อน�ำมารวมกันกลายเป็นรูปเคารพพระโพธิสัตว์ พระอวโลกิเตศวร และ/หรือ พระศรีอารียเมตไตรย์


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 48 อาคารหมายเลขหนึ่ง เป็นสิ่งก่อสร้างสมัยแรกสุดของแหล่งโบราณคดีอาคารก่อด้วยอิฐ ทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด ๓.๓๐ x ๓.๓๐ ตารางเมตร ภายในมีห้องรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด ๒.๕๐ x๑.๖๐ ตารางเมตร ประกอบด้วยผนัง ๓ ด้าน ด้านทิศตะวันออกเป็นทางเข้า ไม่พบพื้นห้องภายในอาคาร การขุดค้นพบโบราณวัตถุเช่น ชิ้นส่วนรูปเคารพสลักจากหินทรายท่อนล�ำตัว ตั้งแต่คอลงมาถึง บั้นเอว ชิ้นส่วนรูปเคารพสลักท่อนแขนและมือ อนึ่งอาคารหมายเลขหนึ่งเคยขุดพบท่อนล่างของพระอวโลกิเตศวรเมื่อหลายปีก่อน สามารถต่อเข้ากับส่วนล�ำตัว ที่พบทีหลังจากอาคารหมายเลขหนึ่งเหมือนกัน และต่อได้พอดีกับเศียรของพระอวโลกิเตศวรที่ขุดได้จากอาคาร หมายเลขสาม เศียรรูปเคารพสวมเทริดสูงด้านหน้าของเทริดเจาะเป็นช่องเล็กๆรูปสามเหลี่ยม ท�ำให้สันนิษฐานว่า ภาพพระโพธิสัตว์หรือองค์พระอวโลกิเตศวร โบราณวัตถุของศาสนาพุทธลัทธิมหายาน ขุดพบที่โบราณสถานตุมปัง มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ต�ำบลไทยบุรี อ�ำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ตอนแรกเข้าใจว่าเป็นรูปเคารพของศาสนาพราหมณ์ แต่ปัจจุบันทราบว่าเป็นรูปเคารพของของศาสนาพุทธ ลัทธิมหายาน เรียกว่าพระอวโลกิเตศวร หรือ พระศรีอารียเมตไตรย์ ภาพของนักเรียน โรงเรียนเมืองนครศรีธรรมราช ก�ำลังศึกษาโบราณสถานตุมปัง ที่อาคารหมายเลขสี่


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 49 รูปเคารพองค์นี้อาจเป็นพระโพธิสัตว์เพราะช่องเล็ก ๆ นี้คล้ายช่องส�ำหรับใส่พระพุทธรูป อันเป็นลักษณะทาง ประติมานวิทยาของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร หรืออาจ ใช้บรรจุสถูปขนาดเล็ก อันเป็นลักษณะทางประติมาน วิทยาของพระโพธิสัตว์ศรีอารียเมตไตรยซึ่งเป็นที่เคารพ บูชาทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายาน ชิ้นส่วนทั้งหมดที่ได้ จากการขุดแต่งสามารถต่อได้เป็นองค์เดียวกัน ปัจจุบัน จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาตินครศรีธรรมราช อาคารหมายเลขสองเป็นสิ่งก่อสร้าง ในสมัยที่ ๒ ของแหล่ง เหลือเพียงส่วนฐานของอาคาร ที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสส่วนบนของอาคารสมบูรณ์ที่สุด คือด้านทิศใต้มองเห็นรูปแบบการก ่ออิฐของอาคาร ประกอบด้วยชั้นฐานเขียง ถัดขึ้นมามีชั้นฐานบัว แต ่ส ่วนบนจากนี้ไปเสื่อมสภาพทั้งหมด ส่วนบนของ อาคารมีร่องรอยการลักลอบขุดค้นหาสิ่งมีค่า อาคารหมายเลขสาม เป็นสิ่งก่อสร้าง สมัยสุดท้ายเป็นอาคารก่ออิฐฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส ภายใน เป็นห้องสี่เหลี่ยมขนาดเล็กๆ ประกอบด้วยผนัง ๓ ด้าน ทางทิศตะวันออกเป็นช่องทางเข้า-ออกรูปแบบคล้าย เทวสถานในศาสนาพราหมณ์ฐานอาคารพบว่าค่อนข้าง สมบูรณ์ทั้ง ๔ ด้าน ภายในอาคารปูพื้นด้วยแผ่นอิฐเต็ม พื้นที่ จัดว่าเป็นโบราณสถานที่สมบูรณ์ที่สุดใน จ�ำนวน ๔ แห่ง พบเศียรรูปเคารพตรงพื้นที่ทางเข้าอาคารหลังนี้ ด้วย อาคารหมายเลขสี่ อยู่ในสมัยเดียว กับอาคารหมายเลขสาม เป็นโบราณสถานที่พบจากการ ขุดขยายพื้นที่ มีลักษณะเป็นแนวอิฐสี่เหลี่ยมผืนผ้า ก ่อชนกับก�ำแพงแก้วของอาคารหมายเลขหนึ่ง เป็นอาคารโปร่งมีชุดหลังคาเป็นเครื่องไม้พบฐานเสา หินทราย ๔ คู่ฝังอยู่ในแนวก�ำแพงอิฐตรงกลางของห้อง ก่ออิฐที่มีรูปแบบคล้ายฐานรูปเคารพ ทางเข้าอาคารก่อ เป็นทางขึ้นเล็ก ๆ ด้วยอิฐ อยู่ทางทิศตะวันออกตรงกับ ประตูของก�ำแพงแก้ว ด้านทิศตะวันออก หน้าประตู ภาพอาคารหมายเลข ๑ น่าจะมีรูปเคารพเป็นพระอวโลกิเตศวรวางอยู่ภายใน เนื่องจากพบท่อนล่าง และ ทอนล�ำตัวของพระอวโลกิเตศวรฝังอยู่ภายใน บริเวณนี้ เป็นอาคารหลังแรกที่ก่อสร้างในพื้นที่โบราณสถานตุมปัง ภาพอาคารหมายเลข ๒ อยู่ทางขวามือของอาคารหมายเลข 1 สร้างเป็นล�ำดับ ที่ ๒ สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นเจดีย์และมีฐานเป็นสี่เหลี่ยม อาจคล้ายกับ พระบรมธาตุไชยา เพราะมีอิฐที่สกัดเป็นบัวหงายอยู่ที่ฐานของเจดีย์ ภาพอาคารหมายเลข ๓ ตั้งอยู่หน้าอาคารหมายเลข 2 ทางขวาของอาคาร มีประตูทางเข้าสู่อาคารหมายเลข 2 ประตูตัดผ่านก�ำแพงแก้วชั้นใน อาคารนี้ อาจเป็นเจดีย์ หรือ พุทธสถาน เพราะขุดพบเศียรพระอวโลกิเตศวรที่อาคาร หลังนี้ ภาพอาคารหมายเลข ๔ สร้างอยู่หน้าอาคารหมายเลข ๑ ก่อสร้างหลังสุด หน้าอาคารมีทางขึ้นเล็กๆ ตัวอาคารมีหลังค่าคลุมมีเสา ๔ คู่ ฐานเสาท�ำด้วย หินสลักเป็นรูส�ำหรับวางเสาไม้ ๘ ต้น ตรงกลางอาคารก่ออิฐรูปสี่เหลี่ยม น่าจะใช้วางดอกไม่ธูปเทียนบูชาพระอวโลกิเตศวรที่อยู่ในอาคารหมายเลข ๑ ที่อยู่ข้างหลัง ด้านหลังอาคารหมายเลข 4 มีประตูผ่านก�ำแพงแก้วเข้าไปใน อาคารหมายเลข ๑ ได้


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 50 ก�ำแพงแก้วทางทิศตะวันออกมีคันดินอันเป็นทางเดิน หลักเข้าสู่โบราณสถานวัดตุมปังสองข้างคันดินมีสระน�้ำ ขนาบซ้ายขวา น�้ำในสระทั้งสองน�ำมาใช้บริโภคอุปโภค สระน�้ำต่ออยู่กับคูน�้ำที่ขุดล้อมรอบก�ำแพงแก้วเอาไว้อีก ชั้นหนึ่ง ก�ำแพงแก้ว โบราณสถานทั้งหมด มีก�ำแพงแก้วล้อมรอบ ส่วนใหญ่มีสภาพช�ำรุดจากการ ขุดแต่งล�ำดับการสร้างก�ำแพงแก้วดังนี้แนวก�ำแพงแก้ว แรกสุดเป็นก�ำแพงแก้วรอบอาคารหมายเลขหนึ่ง โดย มุมก�ำแพงพบร่องรอยการเซาะร่องอิฐคล้ายต้องการท�ำ ลวดลายประดับ ปรากฏอยู่ที่มุมก�ำแพงด้านตะวันออก เฉียงเหนือ และด้านตะวันตกเฉียงเหนือ ต่อมามีการ สร้างก�ำแพงสมัยที่ ๒ ซึ่งล้อมรอบอาคารหมายเลขสอง เชื่อมต ่อกับก�ำแพงแก้วรอบอาคารหมายเลขหนึ่ง โดยก่อปิดทับลวดลายเสามุมก�ำแพงด้วย สมัยสุดท้าย คือก�ำแพงแก้วรอบอาคารหมายเลขสาม มีขนาดใหญ่ กว ่าก�ำแพงแก้วรอบโบราณสถานอีกสองหลัง โดย ก�ำแพงแก้วเดิมมีความกว้างประมาณ ๑ เมตร ส ่วนก�ำแพงแก้วในสมัยสุดท้ายกว้างประมาณ ๑.๕ - ๒ เมตร ทั้งนี้มีร่องรอยการก่อสร้างก�ำแพงซ้อน เพิ่มเติมขนาดของก�ำแพงที่บริเวณก�ำแพงแก้วด้านทิศใต้ ของอาคารหมายเลขสาม ตรงบริเวณรอยต่อกับก�ำแพงแก้ว ทิศใต้ของอาคารหมายเลขหนึ่ง บริเวณช่วงกลาง ของก�ำแพงจะเห็นแนวก�ำแพงแก้วเดิมเรียงตัวต่อเนื่องอย่างชัดเจน ถัดไปทางทิศตะวันออกห่างจากแนวก�ำแพงอิฐ ๑ เมตรรอบก�ำแพงแก้วทั้ง ๔ ด้าน มีคูน�้ำล้อมรอบ คูน�้ำกว้างประมาณ ๒.๕ เมตรคูน�้ำอยู่ห่างจากก�ำแพงแก้ว ๒ เมตร โดยคูน�้ำด้านทิศใต้เชื่อมต่ออยู่กับสระน�้ำด้านทิศใต้ มีสระน�้ำโบราณรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ๒ สระกว้าง ๑๒ เมตรยาว ๖๐ เมตรลึกประมาณ ๒ - ๓ เมตร ระหว่างสระน�้ำทั้งสองมีคันดินกว้าง ๕ เมตรแนวคันดินสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นเส้นทางเข้าโบราณสถาน เพราะตรงกับ ประตูทางเข้าโบราณสถานซึ่งมีอยู ่เพียงประตูเดียว นอกจากนี้ยังพบเครื่องถ้วยชามของจีนอีกหลายชิ้น เช ่น ชามเคลือบสีเขียวสลักด้านนอกเป็นลายกลีบบัว ผลิตจากเตาหลงฉวนมณฑลเจ้อเจียง มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ พบคณฑีเคลือบสีเขียวและสีเหลืองลวดลายพรรณพฤกษาพิมพ์นูนสมัยราชวงศ์หมิง พุทธศตวรรษที่ ๒๑ จักรพรรดิเจี้ยจิ้ง พบถ้วยขนาดเล็กเคลือบขาวท�ำจากเตาเต๋อฮั่ว มณฑลฝูเจี้ยน ครั้งราชวงศ์ชิงตอนต้น อายุราว พุทธศตวรรษที่ ๒๓ มีการพบอิฐโดยทั่วไป ขนาดของอิฐยาว ๓๒ ซม. กว้าง ๑๗ ซม. หนา ๗ ซม. นอกจากพื้น ยังมีการพบอิฐที่ท�ำการขัดฝน เข้าใจว่าโบราณสถานแห่งนี้มีการท�ำบัวคว�่ำบัวหงายหรือลูกแก้วด้วย ด้วยเหตุที่สถาน ที่แห่งนี้ไม่พบกรอบประตูและธรณีประตูที่ท�ำจากหิน ไม่พบฐานโยนิโทรณะไม่พบศิวลึงค์ไม่พบรูปเคารพองค์พระวิษณุ เป็นต้น จึงแน่ใจได้ว่าตุมปังไม่ใช่โบราณสถานของพราหมณ์ ภาพก�ำแพงแก้ว ล้อมรอบโบราณสถานตุมปังทั้งหมด ก�ำแพงแก้วด้านหน้า หนาประมาณ ๑๒๕ เซนติเมตร ก�ำแพงแก้วด้านหลังหนาประมาณ ๑ เมตร บริเวณก�ำแพงแก้วทางขวามือของภาพเป็นประตูทางเข้าโบราณสถานตุมปัง มีเพียงประตูเดียว สมัยโบราณเส้นทางเข้าสู่โบราณสถานมาทางทิศตะวันออก ของตุมปัง (ทางเข้าปัจจุบันมาทางทิศใต้) ภาพประตูทางเข้าโบราณสถานตุมปัง เป็นประตูเดียวที่ผ่านก�ำแพงแก้ว เข้าไปในโบราณสถาน ถ่ายภาพที่หน้าประตูมุมกล้องมองมาจากทิศตะวันออก เข้าไปเป็นอาคารหมาย ๔ สร้างอยู่ข้างหน้า ถัดไปเป็นอาคารหมายเลข ๑


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 51 ๒.๓.๖ โบราณสถานเกาะพระนารายณ์เป็นโบราณสถานเก่าแก่ของอ�ำเภอท่าศาลา มีอายุช่วง พุทธศตวรรษที่ ๑๑ - ๑๓ มีผู้ขุดพบรูปพระวิษณุ (พระนารายณ์) สร้างตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ ลัทธิไวษณพนิกาย จ�ำนวน ๒ องค์ไวษณพนิกายในท่าศาลามีพบไม่กี่แห่ง ที่พบส่วนใหญ่จะเป็นไศวนิกายหลักฐาน ที่พบมีซากเศษอิฐกระจัดกระจัดกระจายทั่วบริเวณแหล่งโบราณสถาน และยังพบสระน�้ำโบราณปัจจุบันสระน�้ำโบราณ ถูกถมไปบ้างแล้วส�ำหรับพระวิษณุ(พระนารายณ์)ตามหลักฐานกล่าวว่า พบพระวิษณุที่วัดเกาะพระนารายณ์๒ องค์ คือ องค์พระวิษณุท�ำจากศิลาสูง ๖๘ เซนติเมตร อายุประมาณครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ ๑๓ อีกองค์ท�ำจากศิลา สูง ๕๒ เซนติเมตรอายุประมาณครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ ๑๓ มีลักษณะพระวรกายแสดงกล้ามเนื้อตามธรรมชาติ พระอังสากว้าง บั้นพระองค์คอด พระอุระกว้าง ทรงพระภูษาโจงขมวดเป็นปมอยู่ใต้พระนาภีพระกรทั้ง ๔ ข้าง หักหายไปแต่ก็สลักให้แยกออกจากพระวรกาย องค์พระวิษณุทั้ง ๒ องค์ เก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์นครศรีธรรมราช วัดเกาะพระนารายณ์ชาวบ้านเรียกว่า วัดเกาะรายณ์ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของวัดนางตรา (ประมาณ ๕๐๐ เมตร) หมู่ ๓ ต�ำบลไทยบุรีอยู่ริมถนนสายท่าศาลา-นบพิต�ำ ตรงข้ามกับปั๊มน�้ำมันของสหกรณ์อ�ำเภอท่าศาลา ภาพคันดินทางเข้าโบราณสถานตุมปัง เป็นคันดินที่เดินเข้ามาทางทิศตะวันออก ด้านซ้ายมือของภาพเป็นสระน�้ำโบราณ ทางขวามือของภาพก็เป็นสระน�้ำโบราณเหมือนกัน ภาพพระวิษณุ พุทธศตวรรษที่ ๑๑ - ๑๓ ขุดพบจากวัดเกาะพระนารายณ์ (ร้าง) ทางตะวันตกเฉียงเหนือของวัดนางตรา หมู่ที่ ๓ ต�ำบลไทยบุรี อ�ำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 52 ๒.๓.๗ โบราณสถานวัดมเหยงคณ์สถานที่ตั้ง บ้านลุ่มโหนด หมู่ที่๒ ต�ำบลสระแก้วอ�ำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช อาณาเขต ทิศเหนือติดต่อกับคลองกลาย ทิศใต้ติดต่อกับสวนยางของนายโสภาค ช่วยเชื้อ ติดต ่อกับป ่าช้าและสวนของชาวบ้าน ทิศตะวันตกติดต ่อกับทอนวัดมเหยงคณ์ (ทอน หมายถึงแผ ่นดิน ซึ่งเดิมเป็นส่วนหนึ่งของสายน�้ำ ปัจจุบันเป็นพื้นดินที่ลุ่มไม่มีน�้ำ) มเหยงคณ์ เป็นส่วนหนึ่งของคลองกลายในอดีต ก่อนที่คลองกลายเปลี่ยนทิศทางไปอยู่ที่อื่น ประวัติความเป็นมา จากการสันนิษฐานแหล่งศิลปกรรมวัดมเหยงคณ์อายุประมาณ พุทธศตวรรษที่ ๑๓ มีการเล่าขานต�ำนานเกี่ยวกับประวัติการสร้างวัดกล่าวว่า ผู้สร้างได้น�ำข้าวของเงินทองมาสร้าง พระบรมธาตุนครศรีธรรมราช ล ่องเรือมาตามล�ำน�้ำกลายมาถึงบริเวณนี้ ทราบว ่าพระบรมธาตุสร้างเสร็จแล้ว ด้วยจิตศรัทธาก็ไม่น�ำข้าวของกลับ แต่ได้สร้างวัดบริเวณนี้แทน คือวัดมเหยงคณ์อีกกระแสหนึ่งกล่าวว่าวัด มเหยงคณ์ คือ วัดที่ผู้มียศฐาบรรดาศักดิ์บารมีสูงเป็นผู้สร้าง ดังนั้นค�ำว่า มเห น่าจะมาจากค�ำ มหา แปลว่า ใหญ่ ชื่อสมณศักดิ์ ที่สอบไล่ได้ชั้นเปรียญ มเหยงคณ์จึงน่าจะมาจากค�ำว่า มเหยงคณ์ตามต�ำแหน่งและชื่อของผู้สร้างเองอีกด้วย ลักษณะทั่วไปแหล่งศิลปกรรมวัดมเหยงคณ์ตั้งอยู่บนที่ราบลุ่ม อยู่ทางทิศใต้ของคลองกลาย ทางทิศเหนือและทิศตะวันตกของวัดเป็นทอนที่ลุ่มต�่ำกว่าที่ตั้งของวัดประมาณ ๑.๕ เมตรในฤดูแล้งชาวบ้านจะเข้าไป ใช้พื้นที่ท�ำการเกษตรกรรม หลักฐานที่พบ พบว่าวัดมเหยงคณ์เป็นวัดเก่าแก่โบราณ คือ ได้พบซากอุโบสถมีก�ำแพง โดยรอบอุโบสถ และยังมีเจดีย์บริวาร ๙ องค์แต่ได้มีการขุดค้นหลายครั้ง ประกอบกับชาวบ้านท�ำไร่รุกล�้ำเข้าไป ในที่ดินของวัด จึงท�ำให้ไม่สามารถเห็นลักษณะองค์เจดีย์ในปัจจุบันได้ชัด แต่มีซากและต�ำแหน่งที่ประดิษฐาน พระพุทธรูป พระประธานในพระอุโบสถวัดมเหยงคณ์กล่าวกันว่า มีลักษณะเดียวกันกับพระประธานใน พระอุโบสถ วัดนางตราเป็นพระพิมพ์ดินเผาสีขาวอมเหลืองแต่ถูกช้างแทงปรักหักพัง มีผู้เก็บไปไว้ที่วัดประดู่หอม อ�ำเภอท่าศาลา นอกจากนี้ชาวบ้านยังขุดพบพระพิมพ์จ�ำนวนมากบริเวณพื้นที่ใกล้วัด ชาวบ้านเรียกว่า “พระทอนไม้สูง” ประมาณ ๒ ปีมานี้กรมศิลปากรได้ท�ำการขุดค้นบริเวณพระอุโบสถ พบพระท�ำด้วยหินทรายแดง ๒ องค์ปางสมาธิชาวบ้าน ยังได้ขุดพบใบเสมา ลูกนิมิต เสาหิน และ หม้อใส่กระดูก ปัจจุบันวัดมีเพียงกุฏิโรงธรรม และ โรงครัว ยังไม่เป็น อาคารถาวร สภาพพระอุโบสถและบริเวณภายในวัดเป็นป่ารกปกคลุมด้วยวัชพืช เช่น หญ้าคา หญ้าไมยราพ ยังมิได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์ ภายในวัดปัจจุบันมีพระจ�ำพรรษา ๒ - ๓ รูป และที่ส�ำคัญได้พบหลักศิลาจารึก หลักที่ ๒๗ ซึ่งได้มีการแปลไว้ดังนี้ ภาพศิลาจารึกวัดมเหยงคณ์ บ้านลุ่มโหนด ต�ำบลสระแก้ว อ�ำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 53 ค�ำแปลจากศิลาจารึกวัดมเหยงคณ์…….พระระเบียงและห้องอาหารกับอุโบสถาคาร อาหารสาหรับคณะสงฆ์และบุคคลต่างๆ....การนมัสการพระบารมี ํ การเขียนหนังสือจาหน่ายน�้ ํำหมึกกับแผ่น (ส�ำหรับ เขียน)..... เครื่องบูชาอาหารเครื่องบารุงคณะพราหมณ์ของพระอคัสติมหาตมัน.... ํ มีทั้งธรรมเทศนา ประกอบด้วยธูป ประทีป พวงมาลัยธงพิดาน จามร ประดับด้วยธงจีน ..... บุญกุศลอื่น ๆตามคําสอน คือการปฏิบัติพระธรรมไม่ขาด สักเวลาการบริบาลประชาราษฎร์การทนต่ออิฎฐารมณ์และอนิฎฐารมณ์การช�ำนะอินทรีย์สังวร(ให้ราบ)...ผู้ได้ทรัพย์ สมบัติโดยความองอาจ …ชื่อ อรรณาย.... นอกจากนั้นยังพบปริศนาค�ำทายที่เป็นมุขปาฐะ ซึ่งกล่าวถึงวัดมเหยงคณ์ ไว้ดังนี้ “วัดมเหยงคณ์ มีธงสามชาย แม่น�้ำกลาย อยู่ฝ่ายอุดร มีโหนดต้นอ่อน มีท้อนต้นแฉ้ ใครรู้จักแก้ กินไม่สิ้นเหลย” ภาพแนวก�ำแพงแก้ว วัดมเหยงคณ์ ที่ขุดแต่งเมื่อเร็วๆ นี้ ที่เห็นเป็นแนวก�ำแพงแก้วด้านทิศใต้ ยังขุดส�ำรวจไปเพียงเล็กน้อย คาดว่าพื้นที่ในก�ำแพงแก้ว น่าจะมีโบราณวัตถุฝังอยู่ในพื้นดินเป็นจ�ำนวนมาก การขุดแต่งคราวนี้ท�ำโดยคณะสงฆ์ในวัดมเหยงคณ์ ไม่เกี่ยวกับกรมศิลปากรแต่อย่างใด อิฐที่ท�ำเป็นแนว ก�ำแพงมีขนาดเล็กกว่าที่โบราณสถานตุมปัง ภาพพระพุทธรูป แกะสลักจากหินทรายแดงทั้ง 2 องค์ ปางมารวิชัย องค์แรกขุดพบเศียรพระด้วย ส่วนองค์ที่สองพบส่วนที่เป็นหัวไหลด้านขวาตกอยู่ใกล้ๆ เป็นศิลปะสมัยอยุธยา ขุดพบที่วัดมเหยงคณ์ ต�ำบลสระแก้ว อ�ำเภอท่าศาลา


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 54 ๒.๓.๘ โบราณสถานวัดนางตรา หรือสมัยก่อนเรียกว่า วัดพะนังตราตั้งอยู่ที่หมู่๓ ต�ำบลไทยบุรี อ�ำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช อาณาเขต : ทิศเหนือ ติดต่อกับทุ่งนาและถนนสายท่าศาลา-นบพิต�ำ ทิศใต้ติดต่อกับถนนในหมู่บ้าน ทิศตะวันออก ติดต่อกับโรงเรียน วัดนางตรา ทิศตะวันตกติดต่อกับ ทุ่งนา ประวัติความเป็นมาแหล่งศิลปกรรม วัดนางตรา อาจมีอายุตั้งแต ่สมัยอาณาจักรตามพรลิงค์ ยุคที่หนึ่ง สิชล-ท่าศาลา จนถึงอาณาจักรศรีโพธิ์อายุอยู่ในช่วง พุทธศตวรรษ ๑๒ - ๑๘ ลักษณะทั่วไป สภาพภูมิประเทศโดย ทั่วไปของแหล ่งศิลปกรรมวัดนางตราเป็นที่ราบรอบบริเวณ วัดนางตราเป็นทุ่งนาโล่งวัดนางตรามีลักษณะรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยม ผืนผ้า มีเนื้อที่ประมาณ ๘ ไร่ หลักฐานที่หลงเหลือบอกว่าเป็น วัดเก่า ก่อนท�ำการขุดค้นพระอุโบสถซึ่งกว้างประมาณ ๕ เมตร ยาวประมาณ ๑๕ เมตร ท�ำด้วยอิฐหน้าวัว มีคูรอบพระอุโบสถ มีเจดีย์ประธานลักษณะคล้ายพระบรมธาตุเมืองไชยาอยู ่ทาง ทิศเหนือขนาดฐานประมาณ ๘ x ๘ เมตรสูงประมาณ ๑๖ เมตร แต่ยอดหักสภาพเจดีย์ปัจจุบันมีแต่กองอิฐไม่มีอะไรหลงเหลืออยู่ เลยซากเจดีย์องค์ประธานเหลือเพียงซากเนินดินสูงเท่าจอมปลวก ขนาดใหญ ่ส ่วนพระอุโบสถ มีการบูรณปฏิสังขรณ์ใหม ่เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๔ สร้างองค์พระต่อกับพระเศียรที่ขุดพบใช้เป็นพระประธานในพระอุโบสถ เช่น เดิมมีเนินดินอยู่ทางทิศ เหนือของวัดเรียกว ่า ดอนท�ำเนียบ เชื่อว ่าเป็นที่ประทับของเจ้าหญิงสุพัตรา ในครั้งที่สร้างวัดหลักฐานที่พบ ๑. พระพุทธรูปยืน ท�ำด้วยส�ำริดสูง ๔๓ เซนติเมตรอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ๒. พระอุโบสถกว้างประมาณ ๕ เมตร ยาวประมาณ ๑๕ เมตร ท�ำด้วยอิฐขนาดใหญ่ (อิฐหน้าวัว) มีคูล้อมรอบพระอุโบสถ ภาพเสมาธรรมจักร ภาพแรกเป็นชิ้นส่วนเสมาธรรมจักรเหลือเฉพาะส่วนดุมเกือบครึ่งซีก มีซี่ล้อธรรมจักร ๒ ซี่ ขอบล้อด้านนอกหักหายไปหมด ชิ้นส่วน เสมาท�ำด้วยดินเผา ภาพที่สองชิ้นส่วนเสมาธรรมจักรมีซี่ล้อ ๒ ซี่ และ มีขอบล้อเสมาธรรมจักร ชิ้นส่วนเสมาท�ำด้วยดินเผา ทั้งสองชิ้นขุดพบที่วัดมเหยงคณ์ ตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช ภาพพระพุทธรูปส�ำริดวัดนางตรา ต�ำบลท่าศาลา อ�ำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ลักษณะแบบเขมรพุทธศตวรรษที่ ๑๕ ตามค�ำบอกเล่า ว่าฝังอยู่ใต้ฐานพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นมาทีหลัง ปัจจุบันเก็บรักษาที่วัดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 55 ภาพเจดีย์วัดนางตรา สันนิษฐานว่ารูปแบบของเจดีย์คล้ายกับเจดีย์พระบรมธาตุไชยา ภาพนี้มีการบูรณะเบื้องต้นโดยน�ำอิฐที่ถูกรื้อกระจัดกระจาย จากการขุดหาพระนางตรา น�ำมาวางเรียงซ้อนกันคร่าวๆ ให้คล้ายกับเจดีย์ ภาพเจดีย์วัดนางตรา หมู่ ๓ ต�ำบลท่าศาลา อ�ำเภอท่าศาลา ถูกขุดค้นหา “พระนางตรา” สมัยสงครามเวียดนามจนมีสภาพพังเสียหายยับเยิน สันนิษฐาน ว่ารูปทรงเป็นแบบเดียวกับเจดีย์พระบรมธาตุไชยา ภาพบนได้รับการบูรณะครั้งแรก ส่วนภาพล่างมีการสร้างฐานพระพุทธรูปครอบเจดีย์เอาไว้ข้างใน และสร้างพระพุทธรูปวางอยู่บนฐานครอบเจดีย์ จากการสอบถามชาวบ้านรอบวัดนางตราเล่าว่า โบราณวัตถุขุดพบที่วัดนางตราถูกฝังอยู่ใต้ฐานพระพุทธรูป องค์นี้


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 56 ภาพโบสถ์วัดนางตรา เดิมมีขนาดใหญ่กว่านี้ มีก�ำแพงล้อมรอบทั้ง ๔ ด้าน สูงประมาณ 1 เมตร ข้างบนเป็นลานดิน มีโรงเรือนสร้างแบบง่ายๆ แค่กันแดด กันฝนให้กับพระพุทธรูป ลานดินถูกขุดคุ้ยหา “พระนางตรา” มีสภาพเสียหายยับเยินเช่นกัน ประมาณ 20 กว่าปีที่ผ่านมาจึงสร้างโบสถ์หลังที่เห็นอยู่นี้ขึ้นมา โบสถ์เก่าโบราณหันหน้าไปทางทิศเหนือ ส่วนโบสถ์ที่สร้างใหม่หลังนี้หันหน้าไปทางทิศใต้ แต่พระพุทธรูปในโบสถ์หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ภาพพระนางตรา พระเครื่องดังของอ�ำเภอท่าศาลา ภาพพระนางสุพัตรา เชื่อกันว่าเป็นผู้สร้างวัดนางตรา


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 57 ๒.๓.๙ โบราณสถานบ้านนางน�ำ สังข์ทอง (บ้านทุ่งพันธ์ ๑) เลขที่ ๓๗๘ ม.๗ บ้านทุ่งพันธ์ ต�ำบลกลาย เขตลุ่มน�้ำคลองท่าลาด ประวัติความเป็นมาปัจจุบัน บนเนินโบราณสถานแห่งนี้ถูกขุดค้นจนหมดสภาพโดยไม่เหลือ ร่องรอยหลักฐานทางโบราณคดีเหลืออยู่เลย เหลือเฉพาะเพียงอิฐที่มีการขุดค้นและวางไว้อย่างไม่มีระเบียบบนเนิน โบราณสถานเดิมนั้น ถูกขุดเป็นหลุมลึกลงไปประมาณ ๒ เมตรรอบ ๆ ปกคลุมไปด้วยวัชพืชมากมายหลายชนิดมีการ ปลูกกล้วยบนเนินโบราณสถานแห ่งนี้ลักษณะทั่วไป ประชากรส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในถิ่นนี้ตั้งแต่ต้นไม่มีการอพยพ เคลื่อนย้ายเพิ่มมาแต่อย่างใด ประชากรมีอาชีพท�ำนา ท�ำ สวนยางพาราและมีการเลี้ยงสัตว์เป็นรายได้ของครอบครัว หลักฐานที่พบ ๑. ศิวลึงค์องค์ที่เก็บรักษาไว้ ที่วัดดอนใครมีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๔ ๒. โยนิโทรณะ ท�ำด้วยหินปูน เก็บรักษาไว้ณ วัดดอนใคร อายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษ ที่ ๑๒ - ๑๔ ๓. สระน�้ำโบราณ มีสระน�้ำ โบราณทางทิศใต้และทิศตะวันตกของเนินโบราณสถาน ทิศละ ๑ สระ ห่างจากโบราณสถานสระละ ๑๐๐ เมตร ๔. อิฐโบราณ อิฐโบราณ จากโบราณสถานแห ่งนี้สภาพที่สมบูรณ์มีขนาดหนา ๗ เซนติเมตร กว้าง ๑๗ เซนติเมตร ยาว ๓๐.๕ เซนติเมตร อิฐเหล่านี้ยังมีกระจายอยู่ในพื้นที่ ๕. พระพิฆเนศ จ�ำนวน ๑ องค์ ท�ำด้วยศิลา สูง ๒๐ เซนติเมตร ถูกชาวบ้านขายไปอยู่แถว อ�ำเภอทุ่งสง ๒.๓.๑๐ โบราณสถานบ้านนายสว่าง พรหมสุวรรณบ้านทุ่งพันธ์หมู่๒ ต�ำบลกลายอ�ำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เขตลุ่มน�้ำคลองท่าลาด อาณาเขต ทิศเหนือ ติดต่อกับคลองท่าลาด ทิศใต้ติดต่อกับถนน เข้าหมู่บ้านดอนใคร ทิศตะวันออกติดต่อกับสวนยาง ทิศตะวันตกติดต่อกับสวนยางลักษณะทั่วไป ลักษณะภูมิประเทศ โดยทั่วไปเป็นที่ราบ รอบบริเวณเป็นสวนยางพารา ห่างจากเนินโบราณไปทางทิศเหนือประมาณ ๒๐๐ เมตร เป็นคลองท่าลาด ลักษณะของแหล่งศิลปกรรม โบราณสถานบ้านทุ่งพันธ์ บริเวณสวนของนายสว่าง พรหมสุวรรณ มีลักษณะเป็นเนินดินโบราณ ซึ่งในปัจจุบันเนินโบราณได้ถูกท�ำลายไปหมดแล้ว มีเศษอิฐกระจัดกระจายไปทั่วรอบ บริเวณบนเนินโบราณสถานมีขนาดประมาณ ๘x๑๕ ตารางเมตร ชิ้นส่วนโบราณวัตถุที่พบ ๑. ศิวลึงค์ พบศิวลึงค์ ท�ำด้วยศิลาทรายตาม “ประเพณีนิยม”อยู่ในราวพุทธศตวรรษที่๑๒ ถึงกลางพุทธศตวรรษที่๑๓ ปัจจุบันนี้เก็บรักษาไว้ ณวัดดอนใคร ๒. ธรณีประตู พบธรณีประตูท�ำด้วยหินปูนซึ่งช�ำรุด ๑ ชิ้น ขนาดกว้าง ๕๓ เซนติเมตรยาว ๘๔ เซนติเมตร หนา ๖ เซนติเมตรเก็บรักษาไว้ที่วัดดอนใคร ๓. ซากอิฐโบราณกระจัดกระจายอยู่บนเนินโบราณอันที่มีสภาพสมบูรณ์ มีขนาดกว้าง ๒๐ เซนติเมตร ยาว ๓๐ เซนติเมตร หนา ๗ เซนติเมตร ภาพฐานโยนิโทรณะ ขุดพบที่บ้านนางน�ำ สังข์ทอง บ้านทุ่งพันธ์ ต�ำบลกลาย อ�ำเภอท่าศาลา เก็บรักษาไว้ที่โรงเรียนวัดดอนใคร ตอนหลัง เกิดช�ำรุด จึงน�ำไปไว้ที่วัดดอนใคร ปัจจุบันไม่ทราบว่ายังมีอยู่หรือไม่ ภาพศิวะลึงค์ ขุดพบที่บ้านนางน�ำ สังข์ทอง บ้านทุ่งพันธ์ ต�ำบลกลาย อ�ำเภอท่าศาลา เก็บรักษาไว้ที่วัดดอนใคร ปัจจุบันไม่ทราบว่ายังมีอยู่หรือไม่


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 58 ๒.๓.๑๑ แหล่งโบราณสถานวัดป่าเรียน วัดป่าเรียนตั้งอยู่ที่ต�ำบลตลิ่งชัน (แยกจากต�ำบลกลาย) อ�ำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นแหล่งโบราณสถานยุคแรกๆของศาสนาพราหมณ์พบเห็นวัตถุโบราณ เป็นฐานโยนิโทรณะ กรอบประตูธรณีประตู บานประตู ทุกอย่างท�ำด้วยหินทราย พบกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป เจ้าอาวาสวัดป่าเรียนบอกว่าฐานโยนิโทรณะและศิวลึงค์ชุดที่สมบูรณ์มีผู้ขอน�ำไปไว้ที่จังหวัดเชียงใหม่ ส่วนฐานโยนิ ที่มีขณะนี้เป็นฐานโยนิรุ่นเก่าที่ยังไม่ท�ำร่องน�้ำให้น�้ำไหลเวลาที่ท�ำการสรงน�้ำศิวลึงค์ นอกจากนี้ยังพบขวานหิน ทั้งมีบ่าและไม่มีบ่า รวมทั้งที่คิดว่าเป็นระนาดหินด้วย เจ้าอาวาสวัดป่าเรียนให้ความเห็นว่าน่าจะไม่ใช่ระนาดหิน แต่น่าจะเป็นเครื่องมือท�ำการเกษตร ๒.๓.๑๒ โบราณสถานวัดดอนใคร สถานที่ตั้ง บ้านดอนใคร ต�ำบลกลาย อ�ำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราชอาณาเขต: ทิศเหนือติดต่อกับถนนเข้าหมู่บ้าน ทิศใต้ติดต่อกับบ้านนาเพรง ทิศตะวันออก ติดต่อกับบ้านทุ่งพันธ์ ทิศตะวันตก ติดต่อกับโรงเรียนวัดดอนใคร ลักษณะทั่วไป สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไป ของแหล่งศิลปกรรมวัดดอนใคร มีพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม ด้านทิศเหนือเป็นทุ่งนา ด้านทิศใต้เป็นที่ราบและมีต้นไม้ ขึ้นปกคลุม ลักษณะของแหล่งศิลปกรรมวัดดอนใคร มีพื้นที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีเนื้อที่ประมาณ ๔๐ ไร่รอบบริเวณ วัดปกคลุม ไปด้วยต้นไม้เล็กและต้นไม ่ใหญ ่ วัดดอนใครเป็นที่รวบรวมโบราณวัตถุที่พบอยู ่ในบริเวณนั้น เช ่น บริเวณแหล่งโบราณคดีบ้านทุ่งพันธ์หลักฐานที่พบ ๑. ศิวลึงค์ท�ำด้วยหินทรายมีขนาดดังนี้ส่วนยอด (รุทธภาค) ส่วนกลาง (วิษณุภาค) และส่วนฐาน (พรหมภาค) สูงเท่ากัน คือ ส่วนละ ๒๙ เซนติเมตร ฐานกว้าง ๑๙ เซนติเมตร ศิวลึงค์องค์นี้เป็นศิวลึงค์ ภาพโบราณวัตถุพบที่วัดป่าเรียน รูปร่างลักษณะคล้ายบานประตูหิน ธรณีประตู และ ภาพล่างมีลักษณะคล้ายศิวลึงค์วางอยู่บนฐานโยนิโทรณะ แบบที่ไม่มีร่องน�้ำมนต์ เป็นโยนิที่สร้างขึ้นในยุคแรก ๆ ที่ศาสนาพราหมณ์เผยแผ่เข้ามาที่คาบสมุทรมลายู คาดว่าแหล่งโบราณสถานแห่งนี้น่าจะมีอายุ อยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๗ คือ พ.ศ. ๖๐๑ เป็นต้นมา


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 59 ประเภท ประเพณีนิยม มีลักษณะการถ่ายทอดจากรูปทรงเรขาคณิตส่วนยอดเป็นรูปโค้งส่วนกลางเป็นรูปแปดเหลี่ยม ส่วนฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยม อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๓ พบที่บริเวณโบราณสถานบ้านโคกตึก ปัจจุบันทางวัด ได้สร้างที่ประดิษฐานไว้ที่มิดชิดและปลอดภัย ๒. ศิวลึงค์มีลักษณะคล้ายกับองค์ก่อน แต่มีขนาดสูงกว่าองค์ก่อน ท�ำด้วยหินทราย เหมือนกัน มีขนาดดังนี้ส่วนฐาน (พรหมภาค) สูง ๓๑ เซนติเมตร ส่วนกลาง (วิษณุภาค) สูง ๒๙ เซนติเมตร ส่วนยอด (รุทธภาค) สูง ๓๒ เซนติเมตร ลักษณะต่าง ๆ เหมือนองค์ก่อนทุกประการ องค์นี้ปัจจุบันเจ้าอาวาสยังเก็บ รักษาไว้ในกุฏิเจ้าอาวาส ๓. ฐานโยนิโทรณะ (ฐานศิวลึงค์) ท�ำด้วยหินปูนเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาด ๑๐๐ x ๑๐๐ เซนติเมตร หนา ๙ เซนติเมตร ตรงกลางมีรูเส้นผ่าศูนย์กลาง ๒๔ เซนติเมตร อายุราวพุทธศตวรรษ ที่ ๑๒ - ๑๔ ชาวบ้านท�ำฐานขึ้นมาเพื่อรองรับไม่ให้โยนิโทรณะตั้งอยู่บนพื้นดิน ๔. ฐานโยนิโทรณะ ท�ำด้วยหินทรายสีขาว มีขนาดกว้าง ๙๕ เซนติเมตร ยาว ๙๘ เซนติเมตร ตรงกลาง มีรูกว้าง ๓๗ เซนติเมตร ปัจจุบันมีรอยร้าวตรงกลาง ชาวบ้านได้ยกไว้เหนือพื้นดิน ๕. ธรณีประตู ท�ำด้วยหินปูน ช�ำรุด ๑ ชิ้น มีขนาดกว้าง ๕๓ เซนติเมตร ยาว ๘๔ เซนติเมตร หนา ๖ เซนติเมตร ปัจจุบันจมดินอยู่ใกล้พระอุโบสถ หลังเก่าของวัด ๖. หินบดยา เป็นหินทราย ใช้ส�ำหรับบดยา ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๘ - ๑๙ ดินแดนสุวรรณภูมิประกอบด้วยแว่นแคว้นน้อยใหญ่มากมายหลายแคว้น เช่น แคว้นจักรตามพรลิงค์ที่นครศรีธรรมราช แคว้นเพชรบุรี(พริบพรี) แคว้นทวาราวดีที่อู่ทอง สุพรรณบุรีและ นครปฐม แคว้นสุโขทัย แคว้นโยนก (เชียงแสน) ส�ำหรับแคว้นโยนก (เชียงแสน) ถูกกองทัพของมอญโจมตี เมื่อ ปีพ.ศ. ๑๗๓๑ ต่อมาถูกน�้ำท่วมซ�้ำจนเมืองเชียงแสนล่มสลายกลายเป็นเมืองร้างต้องย้ายเมืองไปอยู่ที่เวียงปรึกษา เป็นเวลา ๙๔ ปีต ่อมาเกิดแผ ่นดินไหวท�ำให้เวียงปรึกษากลายเป็นเมืองร้าง จนถึงสมัยของพญาเม็งราย สร้างเมืองเชียงรายเมื่อ พ.ศ. ๑๘๐๕ จากนั้นพญาเม็งรายส่งกองทัพเข้ายึดครองอาณาจักรหริภุญชัย (ล�ำพูน) ของพระนางจามเทวีเมื่อ พ.ศ. ๑๘๓๕ รวบรวมเมืองต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ก่อตั้งเป็นแคว้นจักรล้านนา มีเมืองเชียงราย เป็นศูนย์กลาง ช่วง พ.ศ. ๑๘๒๐ - ๑๘๒๕ อาณาจักรตามพรลิงค์ที่เมืองนครศรีธรรมราชล่มสลายเนื่องจากเกิดโรคระบาด เรียกว่า ไข้ยมบน ชาวเมืองนครศรีธรรมราชล้มตายเป็นจ�ำนวนมาก พระเจ้าศรีธรรมโศกราช (พระเจ้าพงศาสุระ) กษัตริย์เมืองนครศรีธรรมราชสวรรคตจากโรคระบาดในครั้งนั้นด้วย เมืองนครศรีธรรมราชจึงกลายเป็นเมืองร้าง ชาวเมืองหลบหนีโรคร้ายไปอยู่ตามป่าเขา ดังนั้น แคว้นตามพรลิงค์ที่นครศรีธรรมราชจึงขาดผู้น�ำ เมือง ๑๒ นักษัตร มีสภาพเป็นรัฐอิสระแต่ไม่มีใครที่มีความสามารถรวบรวมเมือง ๑๒ นักษัตรให้กลับมาเป็นรัฐอิสระและเป็นศูนย์กลาง ของคาบสมุทรมลายูได้อีกเลย ๓.๑ ยุคกรุงสุโขทัย (พ.ศ. ๑๗๘๐ - ๑๙๘๑) พ่อขุนรามค�ำแหง พ.ศ. ๑๘๒๒ - ๑๘๔๒ จากข้อความในศิลาจารึกหลักที่ ๑ มีบางตอนกล่าวถึง เมืองนครศรีธรรมราช ความว่า “เบื้องตะวันตกเมืองสุโขทัยมีอรัญญิก (อไรญิก) พ่อขุนรามค�ำแหงกระท�ำโอยทาน แก ่มหาเถรสังฆราชปราชญ์เรียนจบปิฎกไตร หลวกกว ่าปู ่ครูในเมืองนี้ ทุกคน ลุกแต ่เมืองนครศรีธรรมราช เรื่องที่ ๓ ท่าศาลาช่วงที่เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรไทย


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 60 มาในกลางอรัญญิก (อไรญิก) มีพิหารอันณึ่ง มนใหญ่สูงงามแก่กม มีอัฎฐารส อันณึ่งลุกยืน” ช่วงที่พ่อขุนรามค�ำแหง เป็นกษัตริย์ครองแคว้นสุโขทัย แคว้นนครศรีธรรมราชเป็นรัฐอิสระ ซึ่งตรงกับสมัยของพระเจ้าศรีธรรมโศกราช (พระเจ้าจันทรภาณุ และพระเจ้าพงศาสุระ) จนกระทั่งประมาณ พ.ศ. ๑๘๒๐ - ๑๘๒๕ แคว้นตามพรลิงค์ ที่นครศรีธรรมราชล่มสลายจากไข้ห่า บ้านเมืองขาดผู้น�ำ แต่เมืองนครศรีธรรมราชก็ไม่ได้ตกเป็นส่วนหนึ่งของแคว้น สุโขทัยแต่อย่างใดศิลาจารึกหลักที่ ๑ หน้า ๔ กล่าวว่า “ปราบเบื้องตะวันออกรอดสรลวงสองแควสคา เท้าฝั่งของ ถึงเวียงจันทน์เวียงค�ำเป็นที่แล้ว เบื้องหัวนอนรอดคนที พระบาง แพรก สุวรรณภูมิ ราชบุรี เพชรบุรี ศรีธรรมราช ฝั่งทะเลสมุทรเป็นที่แล้วเบื้องตะวันตกรอดเมืองฉอดเมือง...น หงสาวดีสมุทรหาเป็นแดนเบื้องตีนนอน รอดเมืองแพร่ เมืองน่าน เมือง...น เมืองพลัว พ้นฝั่งของ เมืองชวาเป็นที่แล้ว” จากศิลาจารึกหลักที่ ๑ แว่นแคว้นที่ระบุอยู่ในศิลา จารึกดังกล่าว คือ ดินแดนที่สุโขทัยมีการติดต่อมีความสัมพันธ์ทางการทูต และเกี่ยวข้องในเรื่องของการค้าขาย แลกเปลี่ยนสินค้า มากกว่าที่แว่นแคว้นดังกล่าวจะตกเป็นเมืองขึ้นของกรุงสุโขทัยเพราะเขตแดนอาณาจักรสุโขทัย ทิศตะวันตกครอบคลุมถึงเมืองหงสาวดีคิดยังไงก็เป็นไปได้ยากมาก หากมาดูเบื้องหัวนอน (ใต้)ที่บันทึกว่าอาณาเขต ของสุโขทัยถึงนครศรีธรรมราชก็ไม ่น ่าจะเป็นไปได้เพราะทิศใต้มีอาณาจักรทวารวดีปกครองอยู ่ หลังจากนั้น พระเจ้าอู่ทองซึ่งสืบเชื้อสายจากอาณาจักรทราวดีอพยพชาวเมืองไปสร้างเมืองใหม่ที่หนองโสนและตั้งกรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. ๑๘๙๓ นอกจากนี้ทางตอนใต้ของอาณาจักรทวารวดียังมีอาณาจักรเพชรบุรีซึ่งกษัตริย์ราชวงศ์ปัทมวงศ์ ปกครองอยู่ส่วนเบื้องตีน(เหนือ) ที่บอกว่าข้ามฝั่งโขงไปถึงเมืองชวาไม่ทราบว่าเมืองชวาคือเมืองอะไรตั้งตรงส่วนไหน ของภาคเหนือ และในเวลานั้นพระยาเม็งรายก�ำลังเป็นใหญ่อยู่ที่เมืองเชียงราย เมื่อ พ.ศ. ๑๘๓๕ ยังส่งกองทัพโจมตี เมืองหริภุญชัยของพระนางจามเทวีผนวกเข้ามาเป็นส ่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนา ดังนั้น ศิลาจารึกของ พ่อขุนรามค�ำแหง ซึ่งเป็นตอนที่ ๒ ที่จารึกขึ้นสมัยหลัง ที่ขึ้นต้นด้วย “เมื่อชั่วพ่อขุนราม...” จึงเป็นการจารึก เพื่อเทิดพระเกียรติและตามวรรณกรรมชินกาลมาลีปกรณ์แต่ง พ.ศ. ๒๐๖๐ โดยพระรัตนปัญญาเถระปราชญ์ แห่งล้านนาก็ได้เขียนไว้ว่าพระร่วงประสงค์ที่จะทอดพระเนตรทะเลจึงเดินทางไปเมืองนครศรีธรรมราช ที่ส�ำคัญแคว้นตามพรลิงค์มีเชื้อสายกษัตริย์ปัทมวงศ์ส่งไปปกครองเมืองเพชรบุรีต�ำนานเมือง นครศรีธรรมราช กล่าวว่า พ.ศ. ๑๘๓๐ พระพนมทะเลศรีมเหสวัสดิทราธิราชผู้ครองเมืองเพชรบุรีหลานปู่ของ พระเจ้าศรีธรรมโศกราช (อาจเป็นหลานปู่ของพระเจ้าจันทรภาณุ) ที่ส่งไปปกครองเมืองเพชรบุรีครั้นอาณาจักร นครศรีธรรมราชล่มสลายจากโรคระบาด ท�ำให้พระเจ้าศรีธรรมโศกราช (พระเจ้าพงศาสุระ) สิ้นพระชนม์จากโรคห่า บ้านเมืองขาดผู้น�ำ พระพนมทะเลศรีมเหสวัสดิทราธิราชกษัตริย์เมืองเพชรบุรีจึงส่งพระพนมวังกับพระนางสะเดียงทอง มาซ่อมแซมเมืองนครศรีธรรมราช มอบผู้คนหลายร้อยคนรวมทั้งมอบข้าวของเครื่องใช้เดินทางมาซ่อมพระบรมธาตุ ที่นครศรีธรรมราช พระพนมวังและพระนางสะเดียงทองยกพลมาตั้งหลักที่เมืองจงสระ (อ�ำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี) เนื่องจากเวลานั้นเมืองนครศรีธรรมราชเป็นเมืองร้างพระพนมวังจัดส่งผู้คนไปถางป่าเป็นนา ตามที่ต่าง ๆ ทั่วภาคใต้เช่น สร้างนาทุ่งเขน สร้างนาท่าทอง(เมืองท่าทอง) สร้างนาตระชน (เมืองสิชล) ให้นายราช นายเขียวสร้างนาเมืองไชยา นายยอดสร้างนาเวียง กล่าวเฉพาะที่ท่าศาลา พระพนมวังส่งคนมาถางป่าเป็นนาที่ ทุ่งกะโดน (บ้านโดน) ที่ทุ่งไผ่ (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์) ให้นายอาย เจ้าปา เอาคนไปสร้างป ่าเป็นนาแลรักษาพระ ในวัดพะนังตรา (วัดนางตรา) ให้นายแก้ว นายใส ตั้งบ้านอยู่ กรุงชิง (นบพิต�ำ) เมืองอลองให้นายเชียงแสนอยู่ (เมืองอลองปัจจุบันต�ำบลฉลองอ�ำเภอสิชล) ไชยคราม ให้นายมงคลอยู่ (ไชยครามคือต�ำบลไชยคราม อ�ำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี) เป็นต้น


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 61 รายละเอียดเพิ่มเติมอีกว่า ผู้ครองอาณาจักรเพชรบุรี(พริบพรี) พระพนมทะเลศรีสวัสดิทราธิราช มีลูกชายชื่อ พระพนมวัง มีลูกสะใภ้ชื่อพระนางสะเดียงทอง พระพนมวังกับนางสะเดียงทองเมื่อมาอยู่ที่เมืองจงสระ ก็มีลูก ๓ คน คือ เจ้าศรีราชา เมียชื่อนางสนส่งไปปกครอง เมืองสระอุเลา (ปัจจุบันคืออ�ำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี)ต่อมาได้วันการสถาปนาเป็นพระเจ้าศรีธรรมโศกราช ปกครองเมืองตามพรลิงค์และท�ำการบูรณะ พระบรมธาตุ เจ้าสนตราเป็นสตรีมีผัวชื่อพระอินทรราชาถูกส ่งไปปกครอง เมืองตระหนอม สร้างนาศรีชิน สร้างนาสะเพียง (เมืองตระหนอมปัจจุบัน คือ อ�ำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช) เจ้ากุมาร มีเมียชื่อนางจันทร์ ถูกส่งไปปกครอง เมืองท่าทอง สร้างนาทุ่งเอน (เมืองท่าทองปัจจุบันคือต�ำบลท่าทอง อ�ำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี) ครั้นพระพนมวังทิวงคต เจ้าศรีราชาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระเจ้าศรีธรรมโศกราช จัดการศพ พระพนมวังเสร็จแล้วน�ำกระดูกธาตุไปบรรจุที่เขาอัศริจัน โดยก่อพระเจดีย์ไว้ในถ�้ำและให้พันวังอยู่รักษาพระธาตุนั้น การซ่อมองค์พระธาตุและบ้านเรือนในเมืองนครศรีธรรมราชเสร็จเรียบร้อยเจ้าศรีราชาและพระนางสนจึงย้ายมาอยู่ ที่เมืองนครศรีธรรมราช ส ่วนเมืองจงสระก็แต ่งตั้งพระยาดีอยู ่เป็นผู้ปกครอง เอาไว้คานอ�ำนาจกับกองก�ำลัง จากเมืองอื่น ๆ จากนั้นเจ้าศรีราชา ก็แต่งตั้งให้เจ้ากุมารและนางจันทร์กลับไปปกครองเมืองท่าทองเหมือนเดิม รวมทั้งสั่งให้สร้างป่าเป็นนา ให้นายหมันคงไปสร้างป่าเป็นนาที่ ต�ำบลพนัง (อ�ำเภอปากพนัง) ให้นายศรีทอง เอาคนไปสร้างป่าเป็นนาที่ ต�ำบลบางจาก (ต�ำบลบางจาก อ�ำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช) ให้นายจัน นายพรมไชย นายเทพ ตั้งบ้านอยู่ ต�ำบลเจ้าเหล็ก (น่าจะเป็นบ้านโรงเหล็ก อ�ำเภอนบพิต�ำ) ให้นายสามบุรีรัด นายพรฤๅไชย นายสีวังไส เอาคนไปสร้างป่าเป็นนาที่ ต�ำบลหญิงปลดต่อพะนังตรา (วัดนางตรา ต�ำบลท่าศาลา อ�ำเภอท่าศาลา) ให้นายศรีเมืองนายปรัชญารับเอาคนไปสร้างป่าเป็นนาที่หนองไผ่(ทุ่งบ้านไผ่) ที่ทุ่งบ้านไผ่ในปัจจุบัน มีวัดร้างรวมทั้งมีชุมชนโบราณอยู่เป็นจ�ำนวนมาก เช่น วัดจันตก วัดจันออก วัดคลองดิน (เหนียว) วัดขุนโขลง วัดกลาง วัดท่าคอย วัดม่วงมอน วัดกุล วัดนางตรา วัดเกาะพระนารายณ์ วัดนาเตย เป็นต้น ที่ส�ำคัญสถานที่ แห่งนี้มีโบราณสถานตุมปัง ที่ได้อธิบายไว้แล้วอันเป็นวัดในพระพุทธศาสนาลัทธิมหายาน นาลึก(ยังไม่พบหลักฐาน ว่าเป็นสถานที่แห่งใด) คลองกะโดน (น่าจะเป็นบ้านโดนอยู่ติดกับคลองท่าพุดบริเวณที่เรียกว่า คลองอ้ายผลุ้ง และ คลองวังไทร) ต่อกับ ขม้าย (ยังไม่ทราบว่าเป็นที่ใด) ใกล้กับ วัดด่านหลวง(วัดด่านหลวงน่าจะเป็นวัดคลองดินที่มีอยู่ ในปัจจุบัน) ให้นายใสนายแก้วตั้งบ้านอยู ่ กรุงชิง (นบพิต�ำ) ให้นายไชย นายจัน เอาคนไปสร้างป ่าเป็นนาที่ ต�ำบลกระแด๊ะ (บ้านกระแด๊ะ หรือคลองกระแด๊ะ อ�ำเภอกาญจนดิษฐ์จังหวัดสุราษฎร์ธานี) เป็นต้น เรื่องราวเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่ท่าศาลาในยุคกรุงสุโขทัย มีบอกไว้เป็นเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยดังกล่าว โดยเรื่องราวส่วนใหญ่ที่มีอยู่ มีเนื้อหาเกี่ยวข้องเฉพาะเมืองนครศรีธรรมราชกับเมืองสุโขทัย ซึ่งมีอยู่ในศิลาจารึก หลักที่ ๑ พ.ศ. ๑๘๓๕ กล่าวถึงเรื่องราวของพ่อขุนรามค�ำแหงมหาราช ศิลาจารึกหลักที่ ๒ พ.ศ. ๑๘๘๐ - ๑๙๑๐ พบที่วัดศรีชุมเมืองเก่าสุโขทัย ซึ่งกล่าวถึงเรื่องราวของพระมหาเถรศรีศรัทธาราชจุฬามุนีศรีรัตนลังกาทีปมหาสามี ศิลาจารึกหลักที่ ๓ พ.ศ. ๑๙๐๐ พบที่วัดนครชุมเมืองก�ำแพงเพชร กล่าวถึง พญาลือไทยโอรสของพญาเลอไทย พระนัดดาพระยารามราชเสวยราชย์ที่เมืองศรีสัชนาลัยสุโขทัยเมื่อปี๑๘๙๐ นอกจากนี้ยังมีศิลาจารึกอีกหลายหลัก เช่น ศิลาจารึกวัดป่ามะม่วง ศิลาจารึกวัดอโศการาม และ ศิลาจารึกวัดบูรพาราม เป็นต้น


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 62 ๓.๒ ยุคกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. ๑๘๙๓ - ๒๓๑๐) สมัยกรุงศรีอยุธยา อาณาจักรตามพรลิงค์ที่เมืองนครศรีธรรมราช รวมทั้งเมือง ๑๒ นักษัตร ต้องตกเป็นประเทศราชของอาณาจักรอยุธยาโดยต้องส่งดอกไม้เงินดอกไม้ทองแสดงความจงรักภักดีแก่กรุงศรีอยุธยา ในเวลาต่อมากรุงศรีอยุธยาได้ส่งคนมาปกครองควบคุมดูแลเมืองนครศรีธรรมราช ด้วยเหตุนี้ราชวงศ์ไศเลนทร์ หรือราชวงศ์ปัทมวงศ์ที่เคยปกครองอาณาจักรตามพรลิงค์มานาน ต้องสูญสิ้นอ�ำนาจต้องสูญสิ้นราชวงศ์กลายมาเป็น คนธรรมดาสามัญ จากบัดนั้นเป็นต้นมา อาณาจักรตามพรลิงค์ที่เมืองนครศรีธรรมราชไม่สามารถพลิกฟื้นคืนอ�ำนาจ มาเป็นศูนย์กลางบนคาบสมุทรมลายูได้อีกต้องตกอยู่ภายใต้การปกครองของกรุงศรีอยุธยาเป็นเวลานานถึง ๔๑๗ ปี โดยแบ่งออกเป็น ๓ ช่วง ดังนี้ ๓.๒.๑ สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น พ.ศ. ๑๘๙๓ สมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่๑ (พระเจ้าอู่ทอง) กรุงศรีอยุธยายิ่งใหญ ่ขึ้นเรื่อย ๆ ขยายเขตแดนถึงอาณาจักรสุโขทัย ขยายเขตแดนเข้าไปในอาณาจักรล้านนา ที่เมืองเชียงใหม ่ ทางใต้บนคาบสมุทรมลายูกรุงศรีอยุธยาขยายอาณาเขตครอบคลุมถึงอาณาจักรตามพรลิงค์ ที่นครศรีธรรมราช เขตอ�ำเภอท ่าศาลาอยู ่ภายใต้การปกครองของเมืองนครศรีธรรมราช ที่ต้องขึ้นต ่ออยุธยา ชุมชนต่าง ๆ ในอ�ำเภอท่าศาลาจากการสร้างป่าเป็นนา ก็ได้มีการพัฒนาต่อเนื่อง ผสมผสาน วัฒนธรรมท้องถิ่นเดิม กับส่วนกลางมากขึ้น ๓.๒.๒ สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง พ.ศ. ๑๙๘๗ สมัยเจ้าสามพระยาพร้อมราชโอรส พระราเมศวร ตีล้านนาไทยได้เรียกว่า สงครามปราบพรรค อพยพชาวล้านนา ๑๒๐,๐๐๐ คน ส่วนหนึ่งมาไว้ที่เมือง นครศรีธรรมราช เป็นการลดอ�ำนาจของล้านนาไทย และเพิ่มประชากรให้เมืองนครศรีธรรมราช ตามประวัติศาสตร์ เมืองนครศรีธรรมราช กล่าวว่า ชาวล้านนาไทยได้ซ่อมแซมก�ำแพงเมืองนครศรีธรรมราช ปักเสาไม้พูนดินท�ำเป็น ก�ำแพงเมือง แทนก�ำแพงเมืองดั้งเดิมของเมืองนครศรีธรรมราช ที่มีแต่แนวคันดินและคูน�้ำล้อมรอบท�ำให้ก�ำแพง เมืองนครศรีธรรมราชมั่นคงยิ่งกว่าก่อน และส่วนหนึ่งให้ไปอยู่เมืองฉลองปัจจุบัน พ.ศ. ๑๙๙๘ สมเด็จพระบรม ไตรโลกนาถเปลี่ยนฐานะเมืองนครศรีธรรมราช จากเมืองพระยามหานครมาเป็นหัวเมืองเอก เจ้าเมืองมีบรรดาศักดิ์ เป็นเจ้าพระยาศรีธรรมราชครั้น พ.ศ. ๒๐๙๑ ขุนอินทรเทพ เจ้ากรมพระต�ำรวจขวาและคณะได้ก�ำจัดขุนวรวงศาธิราช และเจ้าแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์จึงได้อัญเชิญพระเทียรราชาให้ลาผนวชและขึ้นครองราชย์ ทรงพระนามว่า สมเด็จ พระมหาจักรพรรดิราชาธิราช (พระเทียรราชา) เมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์แล้ว ทรงแต่งตั้งขุนนางผู้มีความดีความชอบ เช่น ขุนพิเรนทรเทพ สถาปนาเป็นสมเด็จพระธรรมราชาธิราชส�ำเร็จราชการเมืองพิษณุโลก ส่วนขุนอินทรเทพ ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ส�ำเร็จราชการเมืองนครศรีธรรมราช เมื่อ พ.ศ. ๒๑๐๐ ชาวโปรตุเกส ที่เข้ามาค้าขายแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เข้ามาที่กรุงศรีอยุธยาและที่นครศรีธรรมราช ทางกรุงศรีอยุธยาเห็นว่า เมืองนครศรีธรรมราชมีความส�ำคัญ จึงให้ช่างชาวโปรตุเกสปรับปรุงก�ำแพงเมืองนครศรีธรรมราชให้แข็งแรงมั่นคง ช่างชาวโปรตุเกสจึงสร้างท�ำก�ำแพงเมืองนครศรีธรรมราชด้วยอิฐก�ำแพงเมืองนครศรีธรรมราช จึงมั่นคง มานาน นับร้อยปี ๓.๒.๓ สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย สมัยพระนารายณ์มหาราช พ.ศ. ๒๑๙๙ - ๒๒๓๑ เป็นช่วงเวลาที่กรุงศรีอยุธยาเข็มแข็งที่สุดแม่ทัพเอกของพระนารายณ์คือเจ้าพระยาโกษาธิบดี(เหล็ก) พระนารายณ์ ส่งกองทัพกรุงศรีอยุธยาบุกเข้ายึดครอง เมืองจิตตะกอง สิเรียม ย่างกุ้ง แปร ตองอูหงสาวดีเป็นต้น เมืองดังกล่าว ถูกผนวกเข้ามาอยู่ในอ�ำนาจของกรุงศรีอยุธยาในสมัยของพระนารายณ์มหาราชเมืองนครศรีธรรมราชได้รับการดูแล เอาใจใส่เป็นอย่างดีสมเด็จพระนารายณ์โปรดให้สร้างก�ำแพงเมืองนครศรีธรรมราชขึ้นใหม่ตามแบบฝรั่ง เรียกว่า แบบชาโต (Chateau) ก�ำแพงเมืองนครศรีธรรมราชที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นก�ำแพงที่สร้างในสมัยพระนารายณ์


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 63 มหาราช ในสมัยของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พ.ศ. ๒๒๗๕ - ๒๓๐๑ มีค�ำสั่งแต่งตั้งพระยาไชยาธิเบศร์เป็นเจ้าพระยา นครศรีธรรมราชค�ำสั่งดังกล่าวมีชื่อเมืองและชื่อของข้าราชการแต่ละเมืองอยู่ด้วย น่าเสียดายที่ค�ำสั่งแต่งตั้งข้าราชการ ดังกล ่าวยังหาไม ่พบ จึงไม ่ทราบว ่าท ่าศาลาของเราในสมัยพระเจ้าอยู ่หัวบรมโกศ มีเมืองใดบ้างแต ่ละเมือง มีใครเป็นเจ้าเมือง มีใครเป็นข้าราชการ เข้าใจว่าค�ำสั่งแต่งตั้งข้าราชการ ดังกล่าว สูญหายไปช่วงเสียกรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐ ซึ่งในตอนนั้นกรุงศรีอยุธยาถูกพม่าเผาท�ำลายจนไม่หลงเหลืออะไรเลย เรื่องราวของท่าศาลายุคกรุงศรีอยุธยาไม่มีหลักฐานอะไรให้เห็นชัดเจน สมัยกรุงศรีอยุธยาสันนิษฐาน ว ่าดินแดนของท ่าศาลาในปัจจุบัน ประกอบด้วยเมืองเล็ก ๆ ๕ - ๖ เมือง อยู ่ห ่างจากเมืองนครศรีธรรมราช ไปทางทิศเหนือ เมืองเหล่านี้เป็นแหล่งปลูกข้าวเพื่อใช้เป็นอาหาร และผลไม้ มะพร้าว หมากพลู เลี้ยงชาวเมือง นครศรีธรรมราชช่วงเวลาที่บ้านเมืองเป็นปกติดีอยู่ และข้าวบางส่วนถูกเก็บสะสมเอาไว้ในยุ้งฉางเพื่อใช้ในยาม เกิดศึกสงคราม นอกจากนี้ เมืองเล็ก ๆ ๕ - ๖ เมือง ในดินแดนของท่าศาลาถูกใช้เป็นแหล่งเกณฑ์กองก�ำลังทหาร ช่วงเวลาที่เมืองนครศรีธรรมราชท�ำสงครามกับไทรบุรีหรือปัตตานีเวลาที่เมืองไทรบุรีหรือปัตตานีแข็งเมืองไม่ยอมขึ้น กับไทยเจ้าเมือง หลายเมืองจากท ่าศาลาจะท�ำหน้าที่ควบคุมกองทหาร พากองทหารไปรวมกับเมืองอื่น ที่เมืองนครศรีธรรมราช เพื่อยกทัพลงใต้ไปปราบไทรบุรีหรือปัตตานีต่อไป เมืองที่อยู่ในเขตอ�ำเภอท่าศาลา ได้แก่ เมืองอินทรคีรี (อ�ำเภอพรหมคีรี) เมืองไทยบุรี (ท่าศาลา ท่าขึ้น หัวตะพาน โพธิ์ทอง ไทยบุรี) เมืองร่อนกะหรอ (ต�ำบลกะหรอ) เมืองนบพิต�ำ (อ�ำเภอนบพิต�ำ) เมืองกลาย (ต�ำบลกลาย) เมืองโมคลาน (ต�ำบลโมคลาน)ยังมีเมืองที่ อยู่ทางเหนือ เช่น เมืองอลอง (ฉลอง) เมืองตระชล (สิชล) เมืองตระหนอม (ขนอม) เมืองกาญจนดิษฐ์ (สระอุเลา) เมืองท่าทอง เมืองท่าอุแท เหนือสุดคือเมืองท่าข้าม(เมืองพุนพิน)อยู่ริมแม่น�้ำหลวง(แม่น�้ำตาปี) ถ้าข้ามแม่น�้ำหลวง เป็นเขตแดนของเมืองไชยา (ในพงศาวดารเมืองไชยา เรียกว่า เมืองบันไทสมอเป็นภาษาขอมเพราะไชยาเคยตกเป็น เมืองขึ้นของขอม) เมืองไชยาเป็นเมืองขนาดใหญ่ เป็นหนึ่งในเมือง ๑๒ นักษัตร ที่อยู่ภายใต้การปกครองของ เมืองนครศรีธรรมราชมาแต่โบราณ บางช่วงเมืองไชยาก็เคยเป็นศูนย์กลางการปกครองบนคาบสมุทรมลายู เรียกว่า อาณาจักรศรีโพธิ์ (สุวรรณปุระ) ดังนั้น เมืองนครศรีธรรมราชก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรศรีโพธิ์ ทั้งนี้ เพราะเมืองนครศรีธรรมราชกับเมืองสุวรรณปุระมีผู้น�ำมาจากราชวงศ์ไศเลนทร์หรือปัทมวงศ์เหมือนกันอาจพูดได้ว่า เป็นเมืองพี่เมืองน้อง การที่เมืองใดจะก้าวขึ้นเป็นผู้น�ำบนคาบสมุทรมลายูขึ้นอยู่กับสติปัญญาบารมีอ�ำนาจและ ความเป็นผู้น�ำของเจ้าเมืองนั้น ๆ ๓.๓ ยุคกรุงธนบุรี พ.ศ. ๒๓๑๐ – ๒๓๒๕ พ.ศ. ๒๓๑๐ กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า ในปีเดียวกันนั้นพระยาตากสินรวบรวมกองก�ำลังทหารขับ ไล่พม่าออกไป จากแผ ่นดินสยาม ใช้เมืองธนบุรีเป็นศูนย์กลางในการรวมอาณาจักรสยามสถาปนาตนเป็น พระเจ้าตากสิน ท�ำหน้าที่รักษาการผู้น�ำประเทศ เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า เมืองนครศรีธรรมราชรวมทั้งเมือง บนคาบสมุทรมลายูเช่น เมืองชุมพร เมืองไชยา เมืองท่าทอง เมืองระนอง เมืองถลาง เมืองตรัง เมืองพัทลุง เมือง สงขลาเมืองยะลาเมืองปัตตานีเมืองสายบุรีเมืองกลันตัน เมืองไทรบุรีเมืองปะลิศเมืองปาหัง เมืองตรังกานูเป็นต้น เมื่อกรุงศรีอยุธยาหมดสภาพการเป็นศูนย์กลางทุกเมืองดังกล่าวต่างก็เป็นอิสระ เมืองหลักที่อยู่ตามภูมิภาคต่าง ๆ ตั้งตนเป็นผู้น�ำรวบรวมเมืองที่อยู่ใกล้ๆเข้าด้วยกันและคุมก�ำลังกันเอาไว้หลวงสิทธิ์นายเวรมหาดเล็ก(พระปลัดหนู) ผู้ตั้งเมืองนครศรีธรรมราช เนื่องจากพระยาราชสุภาวดีเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชถูกถอดจากต�ำแหน่ง ตั้งเมืองนครศรีธรรมราชเป็นรัฐอิสระ รวบรวมบ้านเมืองบนคาบสมุทรมลายูแม้จะรวบรวมได้ไม่หมดทุกเมืองก็ตาม แต่ถือว่าเมืองนครศรีธรรมราชในเวลานั้นมีความเข้มแข็งมาก


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 64 พ.ศ. ๒๓๑๒ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงให้เจ้าพระยาจักรี(แขก) เป็นแม่ทัพใหญ่คุมกองก�ำลัง ๕,๐๐๐ คน ยกไปตีเมืองนครศรีธรรมราชทางบก เมื่อยกกองทัพข้ามแม ่น�้ำหลวง (แม ่น�้ำตาปี) ไปถึง ท่าหมาก แขวงอ�ำเภอล�ำพูน (ปัจจุบันอยู ่ในพื้นที่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี)แม่ทัพนายกองไม่สามัคคีเข้าตีค่าย ชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช (เมืองท่าทอง) ไม่พร้อมกัน จึงเสียทีแก ่กองทัพเมืองนครศรีธรรมราช พระยา ศรีพิพัฒน์และพระยาเพชรบุรีเสียชีวิตในสนามรบ พระยาจักรี(แขก) จึงถอยทัพกลับไปตั้งหลักอยู่ที่เมือง ไชยา เมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทราบข่าวการเสียที แก่กองทัพเมืองนคร จึงยกกองทัพเรือมีทหารจ�ำนวน ๑๐,๐๐๐ คน ลงไปช่วยเหลือ ครั้นกองทัพเรือถึงเมือง ไชยาได้ส่งทหารขึ้นบกสมทบกับทหารของพระยาจักรี เดินทัพไปทางบกผ่านท่าศาลาเข้าตีนครศรีธรรมราช ฝ่ายกองทัพเรือก็ล่องเรือตามไปถึงปากพญาท่าน�้ำเมือง นครศรีธรรมราชกองทัพบกรวมกับกองทัพเรือเข้าตีค่าย ปากพญาพร้อมกัน อุปราชจันทร์แม่ทัพเมืองนครศรีธรรมราชถูกจับกุม พระยานครศรีธรรมราช (หนู) พร้อมกับ ครอบครัวหนีไปสงขลาและหนีต่อไปยังเมืองปัตตานีกองทัพของพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงรุกไล่เข้าเมืองนครศรีธรรมราช ได้โดยง่ายดาย ท่าศาลายุคกรุงธนบุรีพ.ศ. ๒๓๑๐ ขณะที่กรุงศรีอยุธยาถูกพม่าเผาท�ำลายจนย่อยยับเหลือไว้แต่ เพียงเศษซากปรักหักพัง เมืองนครศรีธรรมราชก็อยู่ในลักษณะเดียวกัน ชาวบ้านถูกทหารพม่าไล่จับไล่ฆ่า จนต้อง ทิ้งบ้านทิ้งเมืองหนีไปอยู่ตามป่าเขาทุกข์ยากล�ำบากกันทุกผู้ทุกคน ครั้นพระเจ้าตากสินขับไล่พม่าพ้นไปจากแผ่นดินไทย ชาวบ้านชาวเมืองจึงอพยพกลับมาอยู ่อาศัยในบ้านในเมืองของตนในเขตอ�ำเภอท ่าศาลาสมัยก ่อนมีเมืองใหญ ่ น้อยหลายเมือง ชาวบ้านกลับมายังเมืองของตนทุกคนจึงสามารถด�ำเนินชีวิตกันได้ตามปกติช ่วงเวลานั้น เมืองนครศรีธรรมราชตั้งตนเป็นอิสระเมืองในเขตอ�ำเภอท่าศาลา ได้แก่ เมืองไทยบุรีเมืองร่อนกะหรอเมืองนบพิต�ำ เมืองกลาย เมืองโมคลาน และเมืองอินคีรีต่างก็สนับสนุนเมืองนครศรีธรรมราชให้ตั้งตนเป็นรัฐอิสระ สะสมเสบียง อาหารและส้องสุมผู้คนฝึกปรือทหารเตรียมการเอาไว้ให้พร้อม เพื่อรับศึกที่อาจจะมีมาในวันข้างหน้า อย่างไรก็ตาม เรื่องราวเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่ท่าศาลาช่วงกรุงธนบุรีมีน้อยมาก มีเพียงเรื่องเล่าจากปากต่อปาก ไม่แน่ใจว่าจะมี ความจริงมากน้อยแค่ไหน ๓.๔ ยุคกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. ๒๓๒๕ – ถึงปัจจุบัน เรื่องราวเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ของอ�ำเภอท่าศาลาสมัยรัตนโกสินทร์ มีบันทึกเป็นหลักฐาน ในรูปแบบต่าง ๆ เอาไว้ค่อนข้างมาก เช่น พงศาวดาร ค�ำสั่ง หมายเหตุรายงานต่าง ๆ บันทึกต่าง ๆ เป็นต้น ดังนั้น ข้อความบางข้อความดังกล่าวต่อไปนี้จะเป็นภาษาโบราณจึงมีการเขียนตัวอักษร และการสะกดค�ำของคนในสมัย โบราณ ภาพอนุสาวรีย์พระบรมรูปทรงม้าสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี สร้างประดิษฐาน อยู่ที่วัดเขาขุนพนม ต�ำบลบ้านเกาะ อ�ำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช ชาวเมืองนครศรีธรรมราชเชื่อว่า พระเจ้าตากสินหลบออกมาจากที่คุมขัง เมืองธนบุรี ทรงผนวชเป็นพระสงฆ์มาจ�ำพรรษาอยู่ ณ วัดเขาขุนพนม ส�ำหรับ อนุสาวรีย์พระบรมรูปทรงม้าแห่งนี้ ลูกหลานและผู้มีจิตศรัทธาเชื่อมั่นใน พระเจ้าตากสินช่วยกันสร้างถวาย


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 65 รัชกาลที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (พ.ศ. ๒๓๒๕ - ๒๓๕๒) พระองค์สร้างเมืองหลวงแห่งใหม่โดยย้ายราชธานีจากฝั่งธนบุรีมาสร้างที่ฝั่งพระนคร เมื่อสร้าง กรุงรัตนโกสินทร์แล้วเสร็จเพียง ๓ ปีพระเจ้าปดุงกษัตริย์พม่ายกกองทัพมาประชิดชายแดนไทย มีจ�ำนวนทหาร มหาศาลถึง ๑๕๐,๐๐๐ คน แบ่งเป็น ๙ ทัพ ยกเข้ามา ๕ ทาง ทัพที่ ๑ ชุมนุมพลที่เมืองมะริดเข้ามาทางด ่าน สิงขร ตีชุมพรเรื่อยไปจนถึงสงขลา ทัพที่ ๒ ชุมนุมพลที่เมืองทะวายเข้ามาทางด่าน บ้องตี้เข้าตีราชบุรีเพชรบุรีถึงชุมพร รวมกับทัพที่ ๑ ยกลงใต้ ทัพที่ ๓ เข้าทางด่านเชียงแสนเข้าตีล�ำปางสุโขทัย ลงไปถึงกรุงเทพฯ ทัพที่ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ชุมนุมพลที่เมาะตะมะยกเข้า มาทางด่านเจดีย์๓ องค์มุ่งหน้าเข้าตีกรุงเทพฯ ทัพที่ ๙ เข้ามาทางด่านแม่ละเมาเข้าตีเมืองตาก ก�ำแพงเพชร ลงมาถึงกรุงเทพฯ ทัพไทยรับทัพพม ่าที่ชายแดน โดยเข้ายึดทุ่งลาดหญ้าเอาไว้ได้ก่อนทัพพม่าลงมาจากเขา ทัพ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ของพม่าจึงติดอยู่บนเทือกเขาบรรทัดลงมาตั้งหลักบนพื้นราบ ไม่ได้ยากล�ำบากในการต่อสู้ซ�้ำถูกกองโจรของไทยตัดเสบียงตัดก�ำลัง ไปเรื่อย ๆ กองทัพพม ่าได้รับความเสียหายมากเดินหน้าก็ไม ่ได้ พระเจ้าปดุงต้องสั่งถอยทัพกลับพม่า เมื่อเสร็จศึกที่ทุ่งลาดหญ้า ไทยส่งกองทัพไปช่วยทางภาคใต้และภาคเหนือ จนทหารพม่าต้องถอยทัพกลับทั้ง ๙ ทัพ สงคราม ๙ ทัพในครั้งนี้ไทยได้ชัยชนะอย่างงดงาม กล่าวเฉพาะทัพที่ ๑ ของพม่าจากเมืองมะริดเข้ามาทางด่านสิงขร มีผลโดยตรงกับชุมพร ไชยา ท่าทอง ขนอม สิชล ท่าศาลา นครศรีธรรมราช สงขลา และพัทลุง เวลานั้นผู้ท�ำหน้าที่เป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช คือ เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (พัฒน์) ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชในสมัยรัชกาลที่ ๑ เจ้าพระยา นครพัฒน์เป็นบุตรเขยของเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (หนู) การสู้รบกับทหารพม่าทางฝั่งตะวันออกที่เมืองท่าทอง อันเป็นเมืองหน้าด่านของเมืองนครศรีธรรมราชในเวลานั้นเจ้าเมืองท่าทอง คือ หลวงวิสิทธิสงครามทหารของ หลวงวิสิทธิสงครามต่อสู้กับทหารพม่าอย่างดุเดือด ท�ำให้ทหารทั้งสองฝ่ายล้มตายลงเป็นจ�ำนวนมากแต่เมืองท่าทอง ก็ไม่สามารถต้านทานทหารพม่าได้ต้องทิ้งเมืองพาชาวเมืองหลบหนีเข้าป่าเขา ทัพของพม่ายกต่อมาถึงเมืองตระหนอม เมืองตระชน เมืองอลอง เมืองกลาย เมืองไทยบุรี เมืองกะหรอ เมืองโมคลาน เมืองอินทรคีรี เมืองไชยมนตรี และ เมืองนครศรีธรรมราช เมืองเหล่านี้เห็นทีว่าจะสู้พม่าไม่ได้จึงร้างเมืองสั่งให้ผู้คนล่าถอยหลบหนีเข้าป่า ทหารพม่า จึงบุกเข้ายึดเมืองนครศรีธรรมราชเอาไว้ได้จากนั้นทหารพม ่าก็ยกไปโจมตีเมืองสงขลาและเมืองพัทลุงต ่อไป ที่เมืองพัทลุงมีพระอธิการรูปหนึ่งเรียกกันว่า พระมหาช่วยเมื่อเจ้าเมืองพัทลุงหลบหนีทหารพม่า พระมหาช่วยรวบรวม ชาวบ้านต่อสู้กับทหารพม่าอย่างกล้าหาญ ต้านทานทหารพม่าเอาไว้จนไม่สามารถยึดเมืองพัทลุงได้เมื่อทางเมืองหลวง เสร็จศึกทางด่านเจดีย์สามองค์แล้ว จึงจัดแบ่งกองทัพลงมาช่วยทางปักษ์ใต้ทุกฝ่ายช่วยกันขับไล่พม่าจนล่าถอย กลับไปจนหมดสิ้น เมื่อพระมหาช่วยลาสิกขาบท รัชกาลที่ ๑ โปรดเกล้าแต่งตั้งเป็น พระยาทุกขราษฎร์ด�ำรงต�ำแหน่ง กรมการเมืองพัทลุง


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 66 กองก�ำลังทางเรือของพม่าทางฝั่งตะวันตกเข้าโจมตีตะกั่วป่า ตะกั่วทุ่ง เข้าล้อมเมืองถลางเอาไว้ ที่เมืองถลางบังเกิดวีรสตรี๒ ท่าน คือ คุณหญิงจันทร์และนางมุกน้องสาว ท�ำการต่อสู้กับทหารพม่าอย่างอาจหาญ จนได้รับชัยชนะ โดยพม่าไม่สามารถยึดเมืองถลางได้ต้องล่าถอยกลับไป คุณหญิงจันทร์และนางมุกน้องสาวมีความดี ความชอบ ได้รับการโปรดเกล้าแต่งตั้งเป็น ท้าวเทพสตรีและ ท้าวศรีสุนทร ส�ำหรับดินแดนในเขตอ�ำเภอท่าศาลาสมัยรัชกาลที่ ๑ ช่วงแรกที่ท�ำสงครามกับพม่า บ้านเรือนไร่นา การท�ำมาหากินการด�ำรงชีวิตคงยากล�ำบากมาก ถูกทหารพม่าไล่จับไล่ฆ่าต้องหลบหนีกันวุ่นวาย แต่เมื่อเหตุการณ์ สงบเมืองไทยบุรีอันเป็นศูนย์กลางของท่าศาลาในเวลานั้น รวมทั้งเมืองกลายเมืองกะหรอเมืองนบพิต�ำ เมืองโมคลาน เมืองอินทรคีรีบ้านเมืองดังกล่าวก็กลับมาอยู่กันเป็นปกติ รัชกาลที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (พ.ศ. ๒๓๕๒ - ๒๓๖๗) พม่าเตรียมการยกกองทัพมาโจมตีไทย ๒-๓ ครั้งแต่มีเหตุให้ต้องยุติเสียทุกครั้ง มีครั้งเดียวเมื่อสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเสด็จสวรรคตไทยผลัดเปลี่ยนแผ่นดิน พม่าจึงคิดมาตีหัวเมืองชายทะเลเพื่อริบทรัพย์จับเชลย การมาตีไทยในครั้งนี้อะเติงหวุ่นแม่ทัพใหญ่ไม่ได้มาเอง เพียงแต่ จัดให้ทัพบกเข้าตีเมืองชุมพรและเมืองไชยา ทัพเรือตีเมืองตะกั่วป่า และเมืองตะกั่วทุ่งแล้วล้อมเมืองถลางไว้๒๗ วัน จึงเข้าเมืองถลางได้ รัชกาลที่ ๒ โปรดให้กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์เป็นแม่ทัพ ยกลงไปช่วยทัพไทยตีพม่าแตกพ่ายกลับไปหมดได้เมืองถลางคืนมา แต่เมืองถลางเสียหายยับเยินเพราะถูกพม่าเผา นับเป็นการสงคราม ระหว ่างไทยและพม ่าครั้งสุดท้ายในสมัยพระเจ้าปดุง ทางฝั่ง ตะวันออกสงครามคราวนี้ทัพพม่าและไทยสู้รบกันที่ชุมพรและไชยา แต่ถูกกองทัพของกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ขับไล่ต้องถอย ร ่นกลับไป สงครามไม ่ลุกลามถึงเมืองท ่าทอง เมืองตระหนอม เมืองตระชล เมืองอลอง และเมืองไทยบุรีเมืองดังกล่าวจึงไม่เกิด ความเสียหายแต่อย่างใดแต่การด�ำรงชีวิตของชาวบ้านก็ยากล�ำบาก เนื่องจากอยู่ในภาวะของสงคราม การท�ำมาหากินประกอบอาชีพ ท�ำนาเพาะปลูกไม่ได้การค้าขายก็ไม่สะดวกเหมือนก่อน แต่หลังจาก เสร็จสงครามวิถีชีวิตของชาวบ้านก็กลับมาอยู่กันตามปกติ รัชกาลที่ ๒ จัดระเบียบบริหารราชการเมืองนครศรีธรรมราช พ.ศ. ๒๓๕๔ โดยยึดแนวทาง จากท�ำเนียบข้าราชการเมืองนครศรีธรรมราชครั้งสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเมื่อ พ.ศ. ๒๒๘๕ โดยออกค�ำสั่งแต่งตั้ง ข้าราชการเมืองนครศรีธรรมราชเมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๔ จากค�ำสั่งนี้เองท�ำให้เราทราบถึงอาณาเขตของเมืองนครศรีธรรมราช รวมทั้งบุคลากรที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองข้าราชการ นายที่นายแขวงและนายด่าน สรุปสาระส�ำคัญของท�ำเนียบ ข้าราชการเมืองนครศรีธรรมราชครั้งรัชกาลที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๕๔ พิจารณาคัดเลือกเฉพาะหัวข้อที่ส�ำคัญ ที่เกี่ยวข้องกับ บ้านเมืองของอ�ำเภอท ่าศาลาในยุคปัจจุบันอาจกล ่าวถึงเรื่องราวของเมืองอื่น ๆ ที่อยู ่ใกล้กับอาณาเขตของ อ�ำเภอท่าศาลาและส่วนเกี่ยวข้องพาดพิงถึงอ�ำเภอท่าศาลาซึ่งจะได้สรุปสาระส�ำคัญเป็นข้อๆโดยทั้งหมดได้คัดลอก จากประชุมพงศาวดารฉบับที่ ๗๓ ซึ่งทั้งหมดเป็นภาษาไทยโบราณที่ใช้ในสมัยรัชกาลที่ ๒ รายละเอียด ดังนี้


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 67 ๑. ท�ำเนียบข้าราชการเมืองนครศรีธรรมราชครั้งรัชกาลที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๕๔ โดยยึดแนวทาง จากท�ำเนียบข้าราชการเมืองนครศรีธรรมราช ครั้งพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศสมัยกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. ๒๒๘๕ ครั้งนั้น แต ่งตั้ง พระยาไชยาธิเบศร์เป็นเจ้าพระยานครศรีธรรมราช ครั้นในสมัยรัชกาลที่ ๒ มีการแต ่งตั้งข้าราชการ เมืองนครศรีธรรมราช พ.ศ. ๒๓๕๔ แต่บทกล่าวน�ำอ้างถึงข้าราชการเมืองนครศรีธรรมราชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พ.ศ. ๒๒๘๕ ระบุว่าเป็น พระยาสุโขทัยแสดงว่าผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชสมัยพระเจ้าอยู่หัว บรมโกศมี๒ คน คือ พระยาไชยาธิเบศร์และ พระยาสุโขทัย และพระยาสุโขทัยนี้เองที่อาจเป็นญาติผู้ใหญ่ของ หลวงสิทธิ์นายเวรมหาดเล็ก(ตามประวัติบอกว่าหลวงสิทธิ์นายเวรมหาดเล็กเป็นหลานของเจ้าพระยานครคนก่อน) ครั้นถึงสมัยพระเจ้าเอกทัศน์ หลวงสิทธิ์นายเวรมหาดเล็ก ได้รับการแต่งตั้งเป็น พระปลัดเมืองนครศรีธรรมราช (พระปลัดหนู)ศักดินา ๓,๐๐๐ เมื่อเจ้าพระยานครศรีธรรมราช(พระยาราชสุภาวดี)กระท�ำความผิดถูกถอดออกจาก ต�ำแหน่งพระปลัดหนูจึงรักษาราชการเป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช จนกระทั่งกรุงศรีอยุธยาเสียให้แก่พม่าเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐ เมืองนครศรีธรรมราชเป็นอิสระ พระปลัดหนูจึงตั้งตนเป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช (เอกสารท�ำเนียบ ข้าราชการเมืองนครศรีธรรมราชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พ.ศ. ๒๒๘๕ คงสูญหายไปช่วงที่กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า ถูกพม่าเผาท�ำลายเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐) ๒. สมัยรัชกาลที่ ๒ กรุงรัตนโกสินทร์เจ้าพระยานครเข้าไปเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทมีความปรากฏ ตามประชุมพงศาวดารฉบับที่ ๗๓ ว่า “แจ้งราชการนะกรุงเทพมหานคร กราบทูลพระกรุนาว่าสูงอายุหลงลืม จึงทรงพระกรุนาตรัสเหนือเกล้าฯ สั่งว่า ฝ่ายปักส์ไต้เมืองนครสรีธัมมราชไหย่กว่าหัวเมืองทั้งปวง เปนที่พ�ำนักอาสัย แก่แขกเมืองและลูกค้านานาประเทส เจ้าพระยานครสูงอายุ ไห้เลื่อนขึ้นเปน เจ้าพระยาสุธัมมนตรี สรีโสกราชวง เชสถ พงส์ลือไชย อนุทัยธิบดี อภัยพิรินปรากรมพาหุ เปนผู้ไหย่อยู่ไน เมืองนคร ไห้ พระบริรักส์ภูเบสร เปนพระยาสรีธัมมโสกราช ชาติ เดโชชัย มไหสุริยาธิบดี อภัยพิริยปรากรมพาหุ พระยานครสรีธัมมราช ออกมา ครองเมืองส�ำเหร็ดกิจสุขทุขของอานาประชาราสดร์ต่างพระเนตรพระกรรณสืบไป”*(เจ้าพระยานครที่เข้าเฝ้าสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัยรัชกาลที่๒ กราบทูลว่าสูงอายุหลงลืม คือเจ้าพระยานครพัฒน์ส่วนเจ้าพระยานครคนใหม่ ที่ได้รับการแต่งตั้ง คือ เจ้าพระยานครน้อย) ๓. พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสักดิพลเสพย์ * มีความปรากฏตามประชุมพงศาวดาร ฉบับที่ ๗๓ ว่า “กราบทูลพระกรุนาว่าพระหลวงกรมการเมืองนคร ขาดมิครบตามต�ำแหน่งและซงพระกรุณา โปรดเกล้าฯไห้จัดแจงขึ้นไห้ครบคาบตามต�ำแหน่ง นะวัน จันทร์เดือน ๑๒ ขึ้น ๕ ค�่ำปีมะแม ตรีสก พระหลวงกรมการ พร้อมกันไห้หลวงเทพสนามผู้ว่าที่จ่า หลวงแพ่งนอก หลวงแพ่งไน กรมการคนเก่าเชินพระอัยยการต�ำแหน่งนายทหาน หัวเมืองซงช�ำระไหม่ขุนทิพยมนเทียรเชินพระอัยยการไนพระบรมโกสซึ่งซงพระกรุนา โปรดเกล้าฯไว้ส�ำหรับเมือง กับสมุดต�ำแหน่งพระหลวงกรมการเมืองนคร ครั้งพระยาสุโขทัยออกมาเปนเจ้าพระยานคร ดูแลไน พระอัยยการ มีแต่กรมการผู้ไหย่ สมุดต�ำแหน่งครังพระสุโขทัย เปนเจ้าพระนครนั้น มีกรมการขุนหมื่นผู้น้อยหยู่ด้วย จึงเอาบันจบ คัดขึ้น เป็นจ�ำนวนกรมการเมืองนครสรีธัมมราช ตามต�ำแหน่งแต่ก่อน” ๔. แต่งตั้งออกพระสรีราชสงครามราชภักดีเป็นปลัดเมืองนคร * มีความปรากฏตามประชุม พงศาวดารฉบับที่ ๗๓ ว่า “ถือสักดินา ๓๐๐๐ ฝ่ายขวา ถือตรารูปโตยืนบนแท่น เครื่องประจ�ำยสมีช้างพลาย ๑ ช้างพัง ๑ จ�ำลอง ๒ ทงทวน ๔ นวม ๖ แหลน ๔ ปืนนกสับ หลังช้าง ๒ กระบอก หมวกม้า ๒ เครื่องม้า ๒๐ ปืนกระสุนนิ้วกึ่ง ๓ บันดาสักดิ์๑๘ กระบอก ปืนนกสับบันดาสักดิ์๒๔ กระบอก ปืนนกสับ ชเลยสักดิ์๑๘ กระบอก เสื้อพล ๔๒ หอกเขน ๓๐ ทวนเท้า ๑๕ เรือพนัก ๒ ได้รับพระราชทานกิจกะทงความและข้าวผูกกึ่งเจ้าเมือง และ ที่พกหมากต�ำบลพเนียนขนอมขึ้นส�ำหรับที่ ๓ ต�ำบล มีนาสัดทิสตะวันออกเมือง ๒ เส้น (แต่งตั้งออกพระศรีราช สงครามเป็นพระปลัดเมืองนครศรีธรรมราช ศักดินา ๓,๐๐๐ ไร่)”*


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 68 ๕. ออกหลวงไทยบุรี สรีมหาสงคราม * มีความปรากฏตามประชุมพงศาวดารฉบับที่ ๗๓ “ถือสักดินา ๑๒๐๐ ฝ่ายซ้าย ถือตรารูปโต มีช้างพลาย ๑ จ�ำลอง ๑ ทวน ๒ นวม ๓ แหลน ๒๐ ปืนนกสับหลังช้าง ๑ กะบอก ปืนนกสับชเลยสักดิ์๖ กะบอก ปืนกะสุนนิ้วกึ่งชเลยสักดิ์๑ กะบอก หอกเขน ๑๕ ทวน ๕๑ เท้า ๖ และได้รับ ผลพระราชทานไพร่เลวที่ไทยบุรีและได้พิจารนาความต�่ำแสน ซึ่งราสดรร้องฟ้องแก่กันบรรจบราชการได้เรียกส่วย อากรไนที่ได้รับพระราชทานค่าค�ำนับรึชาพาสีส่วย ขุนราชบุรีรองที่ไทยบุรีถือสักดินา ๔๐๐ หมื่นเทพบุรีสมุห์บัญชี ถือสักดินา ๒๐๐ หมื่นบาลบุรี” “หมื่นสิทธิสารวัด ถือสักดินา ๒๐๐ เมืองเพ็ชรชลธีเมืองท่าสูงขึ้นไทยบุรี ถือสักดินา ๒๐๐ ที่วัดโทลายสาย ๑ วัดตะหมาย ๑ วัดพนังตรา ๑ เปนที่เลนทุบาตร หยู่ไนที่ไทยบุรีสิริหลวง ขุน หมื่น ไนที่ไทยบุรีหลวง ๑ ขุน ๑ หมื่น ๓ เมือง ๑ รวม ๖ คน” (ออกหลวงไทยบุรีศรีสงครามเป็นเจ้าเมืองไทยบุรีอาณาเขตเมืองไทยบุรีในปัจจุบันแบ่งออกเป็น ๕ ต�ำบลคือต�ำบลไทยบุรีต�ำบลท่าขึ้น ต�ำบลท่าศาลาต�ำบลหัวตะพาน และต�ำบลโพธิ์ทอง ทั้ง ๕ ต�ำบลรวมเรียกว่า ลายสาย ต�ำบลหัวตะพานสมัยก่อนเรียกว่า หัวตะพานลายสาย) ๖. ขุนพิชัยธานีสรีสงคราม * มีความปรากฏตามประชุมพงศาวดารฉบับที่ ๗๓ “นายที่กลาย นา ๖๐๐ ฝ่ายซ้าย หมื่นราชบุรีรองที่กลาย นา ๓๐๐ หมื่นรักสาบุรี สมุห์บัญชีนา ๒๐๐ หมื่นอินทบุรีพันพูน นายที่กลาย ๕๕ วัดเหยงคน์เปนที่เลนทุบาตไนที่กลาย สิริขุน หมื่น ที่กลาย ขุน ๑ หมื่น ๓ พัน ๑ รวม ๕ คน” (ขุนพิชัยธานีศรีสงครามเป็นเจ้าเมืองกลาย (ต�ำแหน่งนายอ�ำเภอ) เมืองกลายปัจจุบันถูกแบ่งออกเป็น ๓ ต�ำบล คือ ๑.ต�ำบลกลาย ๒.ต�ำบลสระแก้ว ต่อมาต�ำบลกลายแยกเป็น ๓.ต�ำบลตลิ่งชัน)* ๗. ขุนไชยบุรี* มีความปรากฏตามประชุมพงศาวดารฉบับที่ ๗๓ “นายที่ร ่อนกะหรอ ถือสักดินา ๔๐๐ หมื่นสักดิบุรีรองที่ร่อนกะหรอ นา ๓๐๐ หมื่นจงบุรี สมุห์บัญชีนา๒๐๐ สิริขุน หมื่นที่ร่อนกะหรอ ขุน ๑ หมื่น ๒ รวม ๓ คน”* (ขุนไชยบุรีเป็นนายที่ร่อนกะหรอ(ต�ำแหน่งก�ำนัน) เมืองร่อนกะหรอปัจจุบันถูกแบ่งออก เป็น ๒ ต�ำบล คือ ต�ำบลกะหรอ และ ต�ำบลนาเหรง) ๘. ขุนเดชธานีคุนบพิต�ำ * มีความปรากฏตามประชุมพงศาวดารฉบับที่ ๗๓ “นายที่นบพิต�ำ นา ๔๐๐ ฝ่ายขวา หมื่นหานบุรีรองที่นบพิต�ำ นา ๓๐๐ หมื่นจบบุรี สมุห์บัญชีนา ๒๐๐ สิริขุน หมื่น ที่นบพิต�ำ ขุน ๑ หมื่น ๒ รวม ๓ คน “ (ขุนเดชธานีคุนบพิต�ำเป็นนายที่นบพิต�ำ (ต�ำแหน่งก�ำนัน) เมืองนบพิต�ำปัจจุบันแบ่งออก เป็น ๒ ต�ำบล คือ ต�ำบลนบพิต�ำ และ ต�ำบลกรุงชิง) ๙. ขุนทันท์ธานี* มีความปรากฏตามประชุมพงศาวดารฉบับที่ ๗๓ นายที่วัดโมคลาน นา ๔๐๐ ฝ่ายซ้าย หมื่นชนบุรีรองที่วัดโมคลาน นา ๓๐๐ ที่วัดโมคลานเปนที่เลนทุบาตรไนที่ช้างซ้ายสิริขุนหมื่น ที่วัดโมคลาน ขุน ๑ หมื่น ๑ รวม ๒ คน (ขุนทันฑ์ธานีเป็นนายที่เมืองโมคลาน (ต�ำแหน่งก�ำนัน) เมืองโมคลานปัจจุบัน คือ ต�ำบลโมคลาน และบางส่วนของเมืองโมคลานที่แยกไปขึ้นกับต�ำบลทอนหงส์ของอ�ำเภอพรหมคีรี๔ หมู่บ้าน คือ บ้านดอนคา บ้านวังลุง บ้านชุมขลิง และบ้านทอนหงส์) ๑๐. หลวงอินทรคิรีสรีสงคราม * มีความปรากฏตามประชุมพงศาวดารฉบับที่๗๓ นายที่อินทรคิรี นา ๑๒๐๐ ฝ่ายขวา มีช้างพลายช้างจ�ำลอง ๑ ทงทวน ๒ หมวก ๓ แหลน ๒ นวม ๓ ปืนนกสับ บันดาสักดิ์๕ กะบอก เสื้อ ๔ หอกเขน ๑๐ เสื้อพล ๑๐ ทวนเท้า ๕ ได้เรียกส่วยอากรไนที่ ได้รับพระราชทาน ค่าค�ำนับรึชาพาสีส่วย ขุนเพ็ ชรคิรีรองอินทรคิรีนา ๔๐๐ หมื่นทิพคิรีสมุห์บัญชีนา ๒๐๐ หมื่นพลคิรีสมุห์บัญชี“ “หมื่นสารวัด “ “ ที่วัดโพธิ์ ดอนซาย ๑ วัดไหย่รัตนโพธิ๑ วัดจันพอ ๑ รวม ๓ วัดเปนที่เลนทุบาตร ไนที่อินทรคิรีสิริหลวงขุน หมื่น ที่อินทรคิรี หลวง ๑ ขุน ๑ หมื่น ๓ รวม ๕


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 69 (หลวงอินทรคีรีศรีสงครามเป็นเจ้าเมืองอินทรคีรีเมืองอินทรคีรีแบ่งเป็น ๘ ต�ำบลคือ ๑.ต�ำบลอินคีรี ๒. ต�ำบลบ้านเกาะ ๓. ต�ำบลนาเรียง ๔.ต�ำบลพรหมโลก ๕.ต�ำบลทอนหงส์อาณาเขตบางส่วนของเมืองอินทรคีรี เคยมาขึ้นกับอ�ำเภอกลาย คือ บ้านอ้ายเขียว บ้านอ้ายคูบ้านคลองเมียด บ้านวัดใหม่ เป็นต้น ตอนที่ต�ำบลทอนหงส์ ไปขึ้นกับอ�ำเภอพรหมคีรีมี๓ หมู่บ้านของเมืองโมคลาน ๑ หมู่บ้านของหัวตะพาน (เมืองไทยบุรี) ที่แยกไปขึ้นกับ ต�ำบลทอนหงส์อ�ำเภอพรหมคีรีคือ บ้านทอนหงส์ บ้านดอนคา บ้านวังลุง และบ้านชุมขลิง ๖. ต�ำบลดอนตะโก เคยอยู่ในเขตของเมืองอินทรคีรีแต่ถูกจัดให้มาขึ้นกับอ�ำเภอกลาย(ปัจจุบันอ�ำเภอกลายเปลี่ยนเป็นอ�ำเภอท่าศาลา) ๗. ต�ำบลนาทราย เคยอยู่ในเขตของเมืองอินคีรีแต่ถูกจัดให้มาขึ้นกับอ�ำเภอกลางเมือง ๘. ต�ำบลท่างิ้ว เคยอยู่ในเขต เมืองอินทรคีรีแต่ถูกจัดให้มาขึ้นกับอ�ำเภอกลางเมือง (ปัจจุบันอ�ำเภอกลางเมืองเปลี่ยนเป็นอ�ำเภอเมือง) พื้นที่ ของเมืองอินทรคีรีที่มีมาแต่เดิม (ก่อนถูกน�ำไปรวมกับอ�ำเภอเมืองเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๐) เมื่อตั้งเป็นอ�ำเภอพรหมคีรี ๙ สิงหาคม ๒๕๑๗ มีเหลือเพียง ๕ ต�ำบลโดยถูกตัดไปขึ้นกับอ�ำเภอท่าศาลา ๑ ต�ำบลและถูกตัดไปขึ้นกับอ�ำเภอเมือง ๒ ต�ำบล) ๑๑. หมื่นสรีเดชะ * มีความปรากฏตามประชุมพงศาวดารฉบับที่ ๗๓ นายด่านกลาย นา ๓๐๐ ฝ่ายซ้าย หมื่นพล ปลัดด่านกลาย นา ๒๐๐ ขุนแพทย์เดชะ นายด่านท่าสูง นา ๓๐๐ ฝ่ายซ้าย หมื่นเพ็ชร ปลัดด่าน ท่าสูง นา ๒๐๐ ขุนไชยสาคร นายด่านมะยิง นา ๓๐๐ ฝ่ายซ้าย หมื่นไชยเดชะ ปลัดด่านมะยิง นา ๒๐๐ เป็นต้น รัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๓๖๗ - ๒๓๙๔) ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ศึกจากพม่าหมดไปเนื่องจากพม่าทะเลาะกับอังกฤษ การที่พม่าเตรียมตัวมารบ กับไทยก็ต้องล้มเลิกไป อังกฤษท�ำสงครามกับพม่าต้องเสียเปรียบด้านภูมิประเทศ รวมทั้งทหารอังกฤษล้มตาย จาก ไข้ป่า อังกฤษจึงขอก�ำลังกองทัพไทย ไทยส่งทหารไปช่วยอังกฤษรบกับพม่าเมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๗ แต่แม่ทัพไทยกับ ทหารอังกฤษขัดแย้งกันที่เมืองมะริดไทยจึงถอนทัพกลับ แต่อังกฤษ ไม่ละความพยายามขอก�ำลังจากไทยอีกไทยส่งทัพไปช่วยอังกฤษรบ พม่า เมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๘ แต ่ก็ขัดแย้งกันในการครอบครองเมือง เมาะตะมะไทยจึงถอนทัพกลับ ช ่วงหลังอังกฤษเน้นกองทัพเรือ เข้าโจมตีเมืองชายทะเลของพม่า หลังจากนั้นอังกฤษก็เข้ายึดครอง ประเทศพม่าได้ส�ำเร็จส่วนกองทัพไทยก็ติดพันกับการท�ำศึกกับลาว ในสมัยของพระเจ้าอนุวงศ์ เมื่อจัดการกับเวียงจันทน์ได้แล้ว กองทัพไทยก็เข้าไปติดพันกับการท�ำศึกกับญวนจากปัญหาของเขมร ไทยกับญวนรบกันไปรบกันมาถึง ๑๕ ปีสุดท้ายญวนก็ขอหย่าศึก กับไทยเพราะต้องไปรบกับฝรั่งเศสเนื่องจากฝรั่งเศสกระหายที่จะได้ ญวนเป็นประเทศอาณานิคมของตน ไทยกับญวนจึงตกลงกันได้ว่า จะให้เขมรขึ้นทั้งไทยขึ้นทั้งญวน ข้อตกลงดังกล่าว จึงเกิดปัญหาขึ้น เมื่อฝรั่งเศสได้ญวนเป็นอาณานิคม ฝรั่งเศสอยากได้เขมรด้วยโดยอ้าง ว่าเขมรเป็นเมืองขึ้นของญวน เหตุการณ์ต่าง ๆ เรื่องราวต่าง ๆ ในเขตอ�ำเภอท่าศาลา ในสมัยของสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่มีข้อมูลรายละเอียดใด ๆ บ้านเมืองในเขตอ�ำเภอท่าศาลาเวลานั้นก็ยังประกอบด้วยเมืองไทยบุรีเมืองกลาย เมืองร ่อนกะหรอ เมืองนบพิต�ำ เมืองโมคลาน และเมืองอินทรคีรีในส ่วนของเมืองไทยบุรีที่บ้านเราน ่าจะมี


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 70 การเปลี่ยนแปลงเจ้าเมือง เนื่องจากออกหลวงไทยบุรีถึงแก่กรรม ขุนราชบุรีรองเจ้าเมืองไทยบุรีจึงขึ้นเป็นเจ้าเมือง ไทยบุรีเจ้าเมืองไทยบุรีท่านนี้มีอ�ำนาจมีบารมีมาก รัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๓๙๔ - ๒๔๑๑) ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ประเทศไทยเปิดประเทศติดต่อกับต่างประเทศอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะฝรั่ง ทางยุโรปและอเมริกา มีการเจริญสัมพันธไมตรีและ มีการติดต่อทางการทูตกับหลายสิบประเทศ เนื่องจากรัชกาล ที่ ๔ มีโอกาสศึกษาเล่าเรียนศิลปวิทยาของพวกฝรั่งขณะที่พระองค์ทรงผนวชสามารถตรัสและเขียนภาษาอังกฤษได้ ครั้นลาผนวชและขึ้นครองราชย์จึงเรียนรู้เข้าใจแนวคิดของพวกฝรั่งได้เป็นอย่างดีประกอบกับขณะที่ทรงผนวชได้ เสด็จท่องไปทั่วประเทศรู้เห็นเหตุการณ์ต่างๆรู้เห็นความเป็นอยู่ทุกข์สุขของอาณาประชาราษฎร์สามารถน�ำมาเป็น ข้อมูลในการบริหารจัดการบ้านเมือง เนื่องจากพระองค์มีความรู้ ทางวิทยาศาสตร์สามารถค�ำนวณการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงที่ ต�ำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ค�ำนวณได้อย ่างแม ่นย�ำ ล่วงหน้า ๒ ปีก่อนเกิดสุริยุปราคาจริงในปีพ.ศ. ๒๔๑๑ ด้วยความ สามารถทางด้านวิทยาศาสตร์ของพระองค์ดังกล่าว เมื่อวันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๕ รัฐบาลไทยโดยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ประกาศยกย ่องสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวเป็น พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทยย้อนกลับไปในปีที่เกิด สุริยุปราคา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๑ ครั้นสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จกลับ พระนครก็มีอาการพระประชวรจับไข้ทรงทราบว ่า น่าจะไม่หายจากอาการประชวรวันพฤหัสบดีขึ้น ๑๕ ค�่ำ เดือน ๑๑ ตรงกับ วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๑๑ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต พระชนมายุรวม ๖๔ พรรษา สมัยสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ คงมีเรื่องราวเหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นที่ท่าศาลาบ้านเรามากมาย หลายสิ่งหลายอย่าง อาจมีหมายเหตุของทางราชการบันทึกเอาไว้อาจมีบันทึกของหน่วยงานราชการบันทึกเอาไว้ อาจมีคนหลายคนบันทึกเรื่องราวเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้นเอาไว้แต่ในขณะนี้ยังไม่มีเวลาค้นหาศึกษาแล้วน�ำ มาบอกน�ำมาเล่า หรือ น�ำมาเขียนให้ได้อ่านกัน รัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๔๑๑ - ๒๔๕๓) สมัยรัชกาลที่ ๕ ช่วงเวลาที่พระองค์ครองราชย์ยาวนานถึง ๔๒ ปีจึงมีเรื่องราวต่าง ๆ เหตุการณ์ ต่าง ๆ เกิดขึ้นเป็นจ�ำนวนมาก เนื่องจากบ้านเมืองมีความเจริญมากขึ้น จึงมีการบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในรูปแบบ ต่าง ๆ เช่น ภาพถ่าย หนังสือพิมพ์กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ค�ำสั่ง บันทึกต่าง ๆ เช่น บันทึกประจ�ำวัน บันทึก การประชุม บันทึกรายการ สมุดหมายเหตุรายงานต่าง ๆ จดหมาย เป็นต้น เรื่องราวที่เกิดขึ้นจึงมีหลักฐานปรากฏ ให้เห็นเป็นจ�ำนวนมาก แต่จะกล่าวเฉพาะเรื่องราวเหตุการณ์ ที่เกี่ยวข้องกับนครศรีธรรมราช ท่าศาลา และอ�ำเภอ ใกล้เคียงที่อาจพาดพิงถึงกัน


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 71 รัชกาลที่ ๕ กับการจัดระบบการปกครองเมืองนครศรีธรรมราช เมืองนครศรีธรรมราชมีระบบ การปกครอง ที่เป็นต้นแบบให้เมืองอื่น ตั้งแต ่ปลายกรุงศรีอยุธยาสมัย พระเจ้าอยู ่หัวบรมโกศ สมัยนั้น เมืองนครศรีธรรมราชแบ่งการปกครองเป็น ๒ ส่วน คือการปกครองภายในตัวเมืองนครศรีธรรมราชและการปกครอง ท้องที่ ระบบการปกครองของนครศรีธรรมราช มีระเบียบแบบแผน ที่ชัดเจน โดยเฉพาะการปกครองส่วนท้องที่ของเมืองนครศรีธรรมราช โดยแบ่งออกเป็น บ้าน แขวง อ�ำเภอ และเมือง ครั้นรัชกาลที่ ๕ จัดระบบการปกครองเรียกว่าแบบมณฑลเทศาภิบาล การปกครอง แบบเทศาภิบาลน�ำวิธีการปกครองส่วนท้องที่ของเมืองนครศรีธรรมราช มาใช้โดยระบบเทศาภิบาล มีวิธีจัดการปกครองคล้ายกับการปกครอง ส่วนท้องที่ ที่มีมาแต่เดิมของเมืองนครศรีธรรมราช การปกครอง ส่วนท้องที่ที่มีมาแต่เดิมชื่อ ต�ำแหน่งต่าง ๆ เก่าและใหม่มีดังนี้ เก่าเรียกบ้าน หัวหน้าบ้าน เรียกว่าแก่บ้าน - ใหม่ เรียกบ้าน หัวหน้าบ้าน เรียกว่า เจ้าบ้าน เก่าเรียกแขวง หัวหน้าแขวงเรียกว่า นายที่ - ใหม่ เรียกหมู่บ้าน หัวหน้าหมู่บ้านเรียกว่า ผู้ใหญ่บ้าน เก่าเรียกอ�ำเภอ หัวหน้าอ�ำเภอเรียกว่า นายที่- ใหม่ เรียกต�ำบล หัวหน้าต�ำบลเรียกว่า ก�ำนัน เก่าเรียกเมือง หัวหน้าเมืองเรียกว่าเจ้าเมือง- ใหม่ เรียกอ�ำเภอ หัวหน้าอ�ำเภอ เรียกว่า นายอ�ำเภอ การปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ ๕ รศ.๑๑๖ (วันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๔๔๐) ได้ประกาศ จัดตั้งจังหวัดนครศรีธรรมราช และมีอ�ำเภอต่าง ๆ ๙ อ�ำเภอ ๑ กิ่ง ดังนี้ ๑. อ�ำเภอกลางเมือง (อ�ำเภอเมือง) ๒. อ�ำเภอทุ่งสง ๓. อ�ำเภอเบี้ยซัด (อ�ำเภอปากพนัง) ๔. อ�ำเภอฉวาง ๕. อ�ำเภอสิชล ๖. อ�ำเภอเขาพังไกร (อ�ำเภอหัวไทร) ๗. อ�ำเภอล�ำพูน (อ�ำเภอนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี) ๘. อ�ำเภอร่อนพิบูลย์ ๙. อ�ำเภอกลาย (อ�ำเภอท่าศาลา) ๑๐. กิ่งอ�ำเภอเขาแก้ว (อ�ำเภอลานสกา) ส�ำหรับอ�ำเภอกลาย ต่อมาสมัยรัชกาลที่ ๖ พ.ศ. ๒๔๔๙ เปลี่ยนชื่อเป็นอ�ำเภอท่าศาลาและมี นายอ�ำเภอท่าศาลา พ.ศ.๒๔๔๐ ถึงปัจจุบัน ดังนี้ ๑. นายเจริญ พ.ศ. ๒๔๔๐ - ๒๔๔๒ ๒. นายเงิน พ.ศ. ๒๔๔๒ - ๒๔๔๗


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 72 ๓. ขุนช�ำนาญยุวกิจ พ.ศ. ๒๔๔๗ - ๒๔๔๙ ๔. นายครวญ (บูรณภวังค์) พ.ศ. ๒๔๔๙ - ๒๔๕๐ ราชทินนามหลังสุดคือ หลวงนิวาศวัฒนกิจ ๕. หลวงกัลยา พ.ศ.๒๔๕๐-๒๔๕๑ ๖. ขุนสงบธานีพ.ศ.๒๔๕๑-๒๔๕๑ ๗. นายชื่น สุคนธหงส์(พระเสน่หามนตรี) พ.ศ.๒๔๕๒-๒๔๕๓ ๘. ขุนรัฐวุฒิวิจารณ์(นายเขียน มาลยานนท์) พ.ศ.๒๔๕๕-๒๔๕๙ ๙. นายพร้อม ณ ถลาง (พระยาอมรฤทธิธ�ำรง) พ.ศ.๒๔๕๙-๒๔๖๐ ๑๐. นายเจือ ศรียาภัย พ.ศ. ๒๔๖๐ - ๒๔๖๑ ๑๑. หลวงระวังประจันตคาม พ.ศ. ๒๔๖๑ - ๒๔๖๒ ๑๒. หลวงประชาภิบาล พ.ศ. ๒๔๖๓ - ๒๔๖๙ ๑๓. หลวงมหานุภาพปราบสงคราม พ.ศ. ๒๔๖๗ - ๒๔๖๙ ๑๔. หลวงณรงค์วงษา พ.ศ. ๒๔๖๕ - ๒๔๗๐ ๑๕. นายสนธิเกตกะโกมล พ.ศ. ๒๔๗๐ - ๒๔๗๒ ๑๖. หลวงรักษ์นรกิจ พ.ศ. ๒๔๗๒ - ๒๔๗๗ ๑๗. ขุนประจักษ์ราษฎร์บริหาร พ.ศ. ๒๔๗๗ - ๒๔๗๙ ๑๘. นายชาย โชติกะพุกกะนะ พ.ศ. ๒๔๗๙ - ๒๔๘๐ ๑๙. ขุนสิทธิ์ธุรการ (รองอ�ำมาตย์โท พร้อม ยังบรรเทา) พ.ศ. ๒๔๘๐ - ๒๔๙๐ ๒๐. ร.ต.อ.จรูญ ศิริพานิช พ.ศ. ๒๔๙๐ - ๒๔๙๕ ๒๑. นายพาทย์รัตนพรรณ์พ.ศ. ๒๔๙๕ - ๒๔๙๘ ๒๒. นายกระจ่าง คิรินทร์นนท์พ.ศ. ๒๔๙๖ - ๒๕๐๑ ๒๓. นายศุภโยค พานิชวิทย์พ.ศ. ๒๕๐๑ - ๒๕๐๘ ๒๔. นายพยุง คันธวงค์พ.ศ. ๒๕๐๘ - ๒๕๐๙ ๒๕. นายสวัสดิ์รัตนศิริพ.ศ. ๒๕๐๙ - ๒๕๑๔ ๒๖. นายผ่อง ช�ำนาญกิจ พ.ศ. ๒๕๑๕ - ๒๕๑๖ ๒๗. ร.อ.สุชาติบ�ำรุงกรณ์พ.ศ. ๒๕๑๖ - ๒๕๑๗ ๒๘. นายประกิจ เทพชนะ พ.ศ. ๒๕๑๗ - ๒๕๑๙ ๒๙. ว่าที่ ร.ต.พิมล สุวรรณสุภา พ.ศ. ๒๕๑๙ - ๒๕๒๒ ๓๐. นายสัมพันธ์รื่นรมย์พ.ศ. ๒๕๒๒ - ๒๕๒๔ ๓๑. นายประเวศ ราชฤทธิ์พ.ศ. ๒๕๒๔ - ๒๕๒๙ ๓๒. นายถาวร บุญยะวันตัง พ.ศ. ๒๕๒๙ - ๒๕๓๐ ๓๓. นายยศ แก้วมณีพ.ศ. ๒๕๓๐ - ๒๕๓๑ ๓๔. นายบัญชา ถาวรานุรักษ์พ.ศ. ๒๕๓๑ - ๒๕๓๔ ๓๕. นายบุญชอบ พัฒนสงค์พ.ศ. ๒๕๓๔ - ๒๕๓๙ ๓๖. นายองอาจ สนทะมิโน พ.ศ. ๒๕๓๙ - ๒๕๔๑ ๓๗. นายอริยะ รังสิตสวัสดิ์พ.ศ. ๒๕๔๑ - ๒๕๔๒ ๓๘. นายศิริพัฒ พัฒกุล พ.ศ. ๒๕๔๒ - ๒๕๔๖


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 73 ๓๙. นายอรุณ พุมเพรา พ.ศ. ๒๕๔๖ - ๒๕๔๗ ๔๐. นายไชยยศ ธงไชย พ.ศ. ๒๕๔๗ - ๒๕๔๘ ๔๑. นายด�ำรง ดวงแข พ.ศ. ๒๕๔๙ - ๒๕๔๙ ๔๒. นายโอภาส ยิ่งเจริญ พ.ศ. ๒๕๕๐ - ๒๕๕๒ ๔๓. นายเสรีทวีพันธุ์พ.ศ. ๒๕๕๒ - ๒๕๕๕ ๔๔. นายถาวรวัฒน์คงแก้ว พ.ศ. ๒๕๕๕ - ๒๕๕๗ ๔๕. นายสุระ สุรวัฒนากูล พ.ศ. ๒๕๕๗ - ๒๕๕๘ ๔๖. นายรังสรรค์รัตนสิงห์พ.ศ. ๒๕๕๘ - ๒๕๕๘ ๔๗. นายไตรรัตน์ไชยรัตน์พ.ศ. ๒๕๕๘ - ๒๕๖๑ ๔๘. นายสุพงษ์วิณัย ชูยก พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๖๓ จดหมายระยะทางไปตรวจราชการแหลมมลายู ร.ศ. ๑๒๑ (พ.ศ. ๒๔๔๕) สมเด็จพระเจ้า บรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ จดหมายระยะทางไปตรวจราชการแหลมมลายูร.ศ. ๑๒๑ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยา นริศรานุวัตติวงศ์ เป็นเอกสารส�ำคัญฉบับหนึ่งที่แสดงถึงสภาพของพื้นที่ สังคม ชุมชนและวัฒนธรรมอ�ำเภอกลาย (ท่าศาลา) ในห้วงปีร.ศ. ๑๒๑ (พ.ศ. ๒๕๔๕) โดยเฉพาะในระหว่างวันที่ ๑-๓ กรกฎาคม ๒๕๔๕ ซึ่งเป็นวันเวลา ที่สมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์เสด็จผ่านพื้นที่อ�ำเภอกลายคัดลอกข้อความ โดยคงอักขรวิธีตามต้นฉบับ ดังปรากฏเอกสาร (หน้า ๗๓ – ๗๖) ดังนี้ “พระยาสุนทราธุรกิจ (ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช) ยื่นโปรแกรม ดังนี้ วันที่ ๒๑ ออกจากปากพนัง พักร้อนป่าหวายข้ามคลองชะเมาแรมฝั่งซ้ายแขวงอ�ำเภอเมือง วันที่ ๒๒ ออกจากที่พักคลองชะเมา พักร้อนท่าเรือ ถึงนครนมัสการพระธาตุ-แต่ชะเมา ไปท่าเรือ ๓๒๕ เส้น แต่ท่าเรือไปกลางเมือง ๒๐๐ เส้น รวมทาง ๕๒๕ เส้น วันที่ ๒๓ ดูวัดพระธาตุ วันที่ ๒๔ ไปสวนราชฤดีเข้าไปวัดพระธาตุ มีการสวดมนต์ฉลองพระเย็น วันที่ ๒๕ เข้าไปวัดพระธาตุ เลี้ยงพระ เย็นไปวัดดูละครฉลองพระ วันที่ ๒๖ ไปดูถนนเมืองตรัง (ถนนที่จะสร้างไปเมืองตรัง (ถนนราชด�ำเนิน) เริ่มจากศาลามีไชย) วันที่ ๒๗ ไปปากพนัง เปิดคลอง (เปิดใช้งานคลองสุขุม) ค้างคืน วันที่ ๒๘ กลับจากปากพนัง วันที่ ๒๙ ปรึกษาราชการ วันที่ ๓๐ พัก วันที่ ๑ กรกฎาคม ๑๒๑ ไปกาญจนดิษฐ์โปรแกรมต่อ พระยาสุขุมให้ที่สงขลา (ให้โปรแกรมขณะ ประทับที่สงขลา) วันที่ ๑ กค. ๑๒๑ ออกจากนคร พักร้อนปากมยิง แรมท่าสูง อ�ำเภอกลาย วันที่ ๒ กค. ๑๒๑ ออกจากท่าสูง พักร้อนคลองกลาย แรมปากดวด วันที่ ๓ กค. ๑๒๑ ออกจากปากดวด พักร้อนเสาเพา แรมสิชล วันที่ ๔ กค. ๑๒๑ ออกจากสิชล พักร้อนคลองเลง ๒๐๕ แรมเขาหินเหล็กไฟ ๑๘๙ วันที่ ๕ กค. ๑๒๑ ออกจากเขาหินเหล็กไฟพักร้อนเขาพระอินทร์๑๓๐ แรมพรมแดนไชยา ๑๔๕


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 74 ระยะทางจากสิชลถึงคลองเลง(คลองเหลง) ๒๐๕ เส้น -ระยะทางจากคลองเลง(คลองเหลง)ข้ามเขาหัวช้าง ถึงเขาหินเหล็กไฟ ๑๘๙ เส้น -ระยะทางจากเขาหินเหล็กไฟถึงเขาพระอินทร์๑๓๐ เส้น ระยะทางจากเขาพระอินทร์ ถึงพรมแดนไชยา ๑๔๕ เส้น ที่ตั้งของเมืองนครไล่เลียงได้ความจากพระยาจางวาง คือ พระยานครศรีธรรมราช (หนู) เป็นผู้ว่าราชการ จังหวัดนครศรีธรรมราชแต่ไม่สามารถสนองตอบการปกครองยุคใหม่สมัยรัชกาลที่๕ จึงถูกถอดออกจากผู้ว่าราชการ จังหวัด แต่งตั้งเป็นพระยาจางวางเมืองนครศรีธรรมราช และแต่งตั้งพระยาสุนทราทรธุรกิจ (ปรีชา หมีณ ถลาง) มาเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช) เนินทรายซึ่งเปนถนนเดินมานี้เปนเนินยาวเรียกดอนเมืองเมืองตามขวาง ท�ำเต็มเนื้อเนิน (ตัวเมืองนครท�ำตามขวางวางเต็มเนื้อที่บนสันทราย) นอกก�ำแพงออกไปก็เปนนา ข้างเหนือมียาว ต่อไปถึงท่าวังปากพญาแลต่อไปจนถึงท่าแพแม่น�้ำปากพูน (สันทรายยังต่อเนื่องไปถึงอ�ำเภอขนอม) ทางใต้ต่อแต่เมือง ไปจนคลองการเกตคือปลายน�้ำคลองปากแพรก ปากน�้ำเมืองนครมี๑๒ ปาก คือ ๑.ปากพนัง ๒.ปากบางจาก ๓.ปากนคร ๔.ปากพญา ๕.ปากพูน ๖.ปากมยิง ๗.ปากท่าสูง ๘.ท่าหมาก (ไม่ทราบว่าเป็นที่แห่งใดอาจเป็นปากเราะ ก็ได้) ๙. คลองกลาย ๑๐. ปากสิชล ๑๑. ปากขนอม ๑๒.ปากไชยคราม เริ่มต้นจากโปรแกรมต่อ วันที่ ๑ กค. ๑๒๑ ที่เกี่ยวข้องกับอ�ำเภอกลาย (ท่าศาลา) อังคาร ๑ ก.ค. ๑๒๑ (พ.ศ. ๒๔๔๕) เวลา ๕.๑๕ ขึ้นม้าไปทางฟากตกเปนป่าลเมาะแล้วต่อไปกลาย (หมายถึงไปอ�ำเภอกลาย) เปนป่าแดง ซีกออกก็เปนป่าลเมาะแลป่าแดง แต่ข้างในเห็นต้นมพร้าวแปลว่ามีบ้าน เมื่อจวนถึงท่าแพ มีถนนตัดขวางสายหนึ่ง เปนสี่แยก แยกออกไปลงบ้านปากพูน แยกตกไปลงคลองขุดใหม่ เชื่อมปากพญาไปปากพูน แต่เปนถนนโคลน ๆ ขี่ม้าตรงไปทางเหนือ สองฟากทางมีบ้านแลสวน ๕.๓๕ ถึงพลับพลาท่าแพอยู่ริมแม่น�้ำปากพูนหยุดพักม้า ถนนที่ มาเปนทางเก่าตัดกว้างแปดวา พื้นเปนทรายมีหญ้าขึ้นแต่ได้ท�ำอิมปรูฟใหม่(ปรับปรุงใหม่)คือโกยทรายข้างๆ มาพูน ขึ้นตรงกลางกว้างประมาณ ๑๐ ศอก สูงศอกหนึ่ง ตั้งใจจะให้เปนถนน สายโทรเลขไปริมทางซีกออก พาดสองสาย เสาสายเรียบร้อยหมด ณ ท่าแพนั้น เทศา(หมายถึงสมุหเทศาภิบาลมณฑลนครศรีธรรมราชพระยาสุขุมนัยวินิต) ได้พาไปดูคลองใหม่ขุดเชื่อมระหว่างปากพญาไปปากพูน(คลองขุดทางตะวันตกของสันทรายหลังกองทหารในปัจจุบัน โดยเชื่อมคลองปากพญา(ท่าดี)กับคลองปากพูน(นอกท่ากับปลายอวน)เข้าด้วยกัน แต่เดิมคงมีร่องน�้ำตามธรรมชาติ เชื่อมถึงกันอยู่แต่ขุดลอกให้ลึกเพื่อให้เรือจากคลองปากพูนสามารถแล่นไปยังคลองปากพญาได้)ซึ่งปิดไว้ให้ทรายจม แต่ไม่ได้เห็นท�ำนบมิได้ด้วยรกเดินบุกไม่ไหว เวลาเที่ยง ๒๕ ขึ้นม้าออกจากพลับพลาท่าแพข้ามตะพาน เสนาบดีสั่งเหนือแม่น�้ำปากพูนไป แม่น�้ำปากพูน เป็นแม่น�้ำใหญ่ตะพานยาวถึง ๓๐ วา ขึ้นฝั่งเหนือมีทางตรงไปทางหนึ่ง ทางแยกเลียบริมแม่น�้ำไปทางตะวันออก ทางหนึ่งว่าไปลงปากน�้ำปากพูน สายโทรเลข ๒ สายนั้น ตรงไปตามทางข้างเหนือสายหนึ่งเลี้ยวแยกไปตามถนนปากน�้ำ ปากพูน สายหนึ่ง เปนสายโทรศัพท์(สายโทรเลข) ปากน�้ำ ขี่ม้าไปตามทางข้างเหนือ ทางตอนนี้ไม่มีพูนทรายเปนถนน เปนแต่ทางพื้นทรายมีหญ้าขึ้นโดยปกติเปน ช่องกว้าง ๘ วา เสาโทรเลขปักไปกลาง สองข้างทางเปนป่าแดง แต่เปนป่าจริงแต่ซีกออกซีกตกเปนแต่ตม ข้างในมีบ้านแลไร่สับปะรดเป็นอันมาก(บริเวณนี้ปัจจุบันเป็นสวนมะพร้าว ขนาดใหญ่) ทางนั้นตั้งใจจะคุ้ยให้เปนทรายโล่งไปสักแปดศอก แต่ไม่ส�ำเร็จ ท�ำได้นิดหนึ่งแล้วก็เปนไปโดยธรรมดา สิ้นไร่สับปะรสแล้วสองข้างทางเปนป่าแดงแท้แลต่อไปนี้เปนไม้ใหญ่แซม ต่อไปอีกเปนไม้เบญพรรณใหญ่ๆขึ้นทึบไว้ จนเกือบถึงคลองปากมยิง กลับเปนป่าแดงอีก ทางคงกว้างแปดวาตามเดิม แต่การแต่งทางนั้น ลดลงเพียงแต่เปนไม้ กอเตี้ยริมทางแต่ก็ไม่ส�ำเร็จอีกต่อไปคงเปนไม้กอเล็กรกขึ้น ต่อแนวไม้ใหญ่มาจนจดทางงูเลื้อยโดยธรรมดาเสาโทรเลข ไปกลางช่องที่ฟันไม้ใหญ่ไว้กว้าง ๘ วานั้น เสาสายเรียบร้อยหมด เมื่อจวนถึงคลองปากมยิงพื้นที่เปนแอ่งต�่ำแล้วขึ้น เนินสูงก็คือคันคลองปากมยิง เปนคลองกว้างประมาณ ๑๖ - ๑๗ วา เขาท�ำตพานเรียก (เขียนผิด) ข้ามม้าไปจนถึง


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 75 ที่พักร้อน ซึ่งปลูกไว้รับที่ริมฝั่งเหนือ(ฝั่งอ�ำเภอกลาย) เข้าหยุดพักที่นั่นในเวลาบ่าย ๑.๓๐ พระยาสุนทรา น�ำนายเงิน นายอ�ำเภอกลายซึ่งมาคอยรับให้รู้จัก เวลาบ่าย ๓.๒๕ กินข้าวแล้วออกเดินทางที่พักมยิง เดินทางตอนนี้เปลี่ยนเปนกระบวนช้างขี่พังเล็บด�ำไป ตามทาง พื้นเปนทรายตัดช่องไม้กว้าง ๘ วาเหมือนกัน ในพื้นช่องเปนหญ้าแลกอไม้เล็ก แต่เขาถางคุ้ยกลางไว้ เหลือแต่ทรายกว้างวาหนึ่งเสาโทรเลขไปช่องกลางสองข้างเปนป่าแดงข้างในเห็นจะมีบ้านบ้างเพราะเห็นคนมีมาเปน แขกมาก (น่าจะเป็นบ้านสระบัว) เสาโทรเลขตอนนี้ช�ำรุดหลายต้น ที่ยืนคอดอยู่ก็มีบ้าง ที่ล้มแล้วเอาลวดไม้ปักแทน ไว้ก็มีเดินไปถึงเวลาบ่าย ๓.๔๕ ทิ้งทางโทรเลข(ไม่เดินไปตามทางที่มีเสา โทรเลข)เดินแยกตัดทางไปตะวันออก ลงฝั่งทะเล(ตรงนี้ปัจจุบันน่าจะเป็นบ้านในถุ้ง) ทางประมาณ ๑๐ เส้น ถึงฝั่งทะเลเดินเลียบตามชายหาดเหตุที่ตัดทาง มาเดินริมทะเลนี้เพราะจะเดินไปถึงแม่น�้ำท่าสูงตามทางโทรเลข ช้างจะข้ามไม่ได้เพราะในท้องคลองเป็นหล่มเลน (คลองท่าสูง) ตัดลงทะเลเพื่อจะไปข้ามทางปากน�้ำซึ่งเป็น ที่ทราย เหตุที่ตัดก่อนไกลก็เพราะที่ใกล้แม่น�้ำท่าสูง พื้นเปนพรุหล่มทั้งนั้น (ปัจจุบันคือคลองเคย) ที่ริมหาดทรายซึ่งเดินเลียบไปนั้น เปนบ้านแลสวนมพร้าวตลอดไป (ปัจจุบันคือบ้านบางใบไม้และด่านภาษี) จนเวลาบ่าย ๔.๓๕ ถึงปากน�้ำท่าสูง (ปากน�้ำบางใบไม้) เดินช้างข้ามปากน�้ำ ตามแนวหาด น�้ำลึกเพียงท้องช้างขึ้นหาดฟากโน้นเดินต่อไปตามชายหาดแต่แม่น�้ำหาได้ปักตรงเข้าไปในพื้นแผ่นดินไม่ แฝงไปกับหลังหาด (คือบริเวณอ่าวท่าศาลา) ที่แท้ยังไม่ถึงแม่น�้ำตรงนั้นคือทะเล เปนแต่คลื่นซัดทรายมาเปนหาด เดินไปจน ๔.๕๐ ฝั่งในสนหาดตลิ่ง เปลี่ยนเปนโคลนมีต้นโกงกางขึ้น ฝั่งนอกหาดเบรกวอเตอร (อ่าวท่าศาลาเป็นบ่อ พักน�้ำขนาดใหญ่รับน�้ำจากคลองท่านายคลองท่าเปรงคลองท่าพุด(คลองฆ่าสัตว์)และคลองท่าสูงก่อนไหลลงทะเล ที่ปากน�้ำท่าศาลา) กว้างออกไปทุกทีจนถึงฝั่งในหมดหาด ฝั่งนอกก็มีพรรณไม้ขึ้นบ้าง มีคนปลูกมพร้าวไว้พึ่งงอกขึ้น รุ่น ๆ เวลาบ่าย ๕ โมง ๕ มินิต ถึงที่พักท่าสูง (น่าจะเป็นบ้านพักรับรองที่ด่านภาษี) เขาปลูกไว้รับบนเบรก วอเตอร หน้าค่ายชิดทะเล หลังชิดแม่น�้ำ เข้าหยุดพักที่นั้น นายเงินล่วงหน้ามารับ (นายเงินเป็นนายอ�ำเภอกลายคนที่ ๒) พอถึงที่พักเห็นยังวัน จึงเลยเดินไปถึงที่พักโทรศัพท์ท่าสูง(โทรเลข) อยู่เหนือที่พักไปประมาณ ๑๐ เส้น ตรงนั้นพื้นสูงเปนที่แง่ปากน�้ำแท้(คลองท่าสูง)สายข้ามตรงนั้น (สายหมายถึงสายโทรเลข) ที่ข้ามกว้างประมาณ๒ เส้น โรงโทรศัพท์(โทรเลข) เป็นโรงจากหลังคาปั้นหญ้า (ปั้นหยา) ตรวจดูข้างในเรียบร้อย ท�ำเปนสองห้อง ห้องนอกเปน ห้องโทรศัพท์(โทรเลข) มีโทรศัพท์(โทรเลข) ติดอยู่เรียบร้อย ห้องในเปนที่ พนักงานอยู่ พนักงานมีอยู่ที่โรงนั้น คือ นายจรไลน์แมน เป็นคนเมืองนี้ (คนอ�ำเภอกลาย) ท�ำมาแต่ศก ๑๑๗ (พ.ศ. ๒๔๔๑) ได้เงินเดือน ๑๕ บาท มีคนการใช้สองคน ไต่ถามดูได้ความว่าสายเวลานี้ดี๗ วันออกเดินตรวจไปนครทีหนึ่ง (เครื่องโทรเลขในเวลานี้ใช้งาน ได้ใน ๗ วัน จะเดินตรวจสายโทรเลขจากอ�ำเภอกลายไปชุมสายนครศรีธรรมราชทีหนึ่ง) บ่าย ๕.๓๐ กลับมาถึงที่พัก เวลาบ่าย ๕.๕๗ พระยาสุขุมมาชวนลงเรือเข้าไปเที่ยวในแม่น�้ำ แม่น�้ำนี้แยกไปเป็นห้าทาง แต่ได้ไปทาง หนึ่งซึ่งจะไปสู่ที่ว่าการอ�ำเภออันตั้งอยู่ต�ำบลท่าศาลา เวลาย�่ำค�่ำ ๑๐ ถึงท่าน�้ำท่าศาลา (ศาลาน�้ำ)ขึ้นเดินไปบนถนน เขาตัดไว้กว้าง ๔ วา ตรงไปไร่สาย (ลายสาย) ทางบนดอนว่าเปนบ้านใหญ่มีคนมาก (เป็นชุมชนใหญ่มีบ้านเรือนผู้คน มาก) สองข้างทางที่ท่าน�้ำมีโรงเจ๊กขายของสองฟากกว่าสิบ ท่วงทีคล้ายเมืองกระบี่แต่เลวกว่าสักหน่อย ว่าตั้งขาย พวกไร่สาย (ลายสาย) ลงมาซื้อ พ้นตลาดขึ้นไปถึงบ้านอ�ำเภอ (บ้านพักนายอ�ำเภอในปัจจุบัน) เกือบเป็นเรือนตุ๊กตา จมอยู่ในหญ้าต่อบ้านอ�ำเภอไปมีบ้านพักข้าราชการใหญ่กว่าบ้านอ�ำเภอนิดหนึ่งต่อไปถึงดงยาง(ต้นยางนา) มีที่ว่าการ อ�ำเภอท�ำไว้ในดงยางร่มรื่นดี(คืออาณาบริเวณที่เป็นที่ว่าการอ�ำเภอท่าศาลาในปัจจุบัน) ที่ว่าการอ�ำเภอนั้นขนาดพอดี สมกับประเทศ (ภูมิประเทศ) หลังคาจากฝาไม้ไผ่ (คงเป็นอาคารที่ว่าการอ�ำเภอกลายหลังแรก ก่อนสร้างถาวร เป็นอาคารไม้ชั้นเดียวใต้ถุนโล่ง หลังคามุงด้วยกระเบื้องซึ่งอาคารถาวรหลังนี้ก็ถูกรื้อถอนไปแล้วโดยสร้างเป็นอาคาร สองชั้นหลังที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน โดยสร้างลงบนที่ดินที่เคยเป็นอาคารถาวรหลังแรกนั่นเอง) ดูแล้วกลับมาลงเรือ


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 76 เวลาย�่ำค�่ำ ๓๕ กลับมาที่พัก ริมฝั่งน�้ำเป็นต้นโกงกาง เห็นต้นมะพร้าวข้างในเป็นหมู่ ๆ บางหมู่โกงกางขาดเป็นช่อง เห็นบ้านเรือน ท�ำให้เข้าใจว่ามีบ้านในโกงกาง เวลาย�่ำค�่ำ ๕๐ ถึงที่พัก เวลาค�่ำมีโนรา ๒ โรง หนัง (ตะลุง) ๒ โรง นอนค้างที่นั่น แต่พระยาสุนทราล่วงหน้าไปจัดการข้างหน้า เหตุด้วยที่พักต�ำบลนี้อ�ำเภอลักขู (อ�ำเภอกลาย) จัดไม่เรียบร้อยไม่พอเทศา (พระยาสุขุมนัยวินิต) ระยะทางที่เดินมาวันนี้แต่กลางเมือง (ตัวเมืองนครศรีธรรมราช) มาถึงคลองปากมยิงที่พักร้อน ๔๕๖ เส้น จากปากมยิงถึงท่าสูง ๑๙๘ เส้น รวมสองระยะทางเปน ๖๕๔ เส้น (๒๖ กิโลเมตร)” ด้านการศึกษา สมัยโบราณการศึกษามีเฉพาะในวัดและในวังเท่านั้น ยังไม่มีโรงเรียนหรือชั้นเรียนแต่อย่างใด การสอน วิชาชีพช่างสิบหมู่สอนกันที่บ้านของช่างนั้น ๆ ไม่มีการเรียนการสอนวิชาสามัญ ถึงรัชกาลที่ ๕ พ.ศ. ๒๔๑๔ สร้างโรงเรียนหลวงเป็นครั้งแรกในพระบรมมหาราชวัง จัดให้กับลูกหลานเชื้อพระวงศ์และ บุตรข้าราชการ ปีพ.ศ. ๒๔๒๘ ตั้งโรงเรียนเพื่อราษฎรครั้งแรกที่วัดมหรรณพาราม ประชาชนทั่วไปได้ศึกษาเล่าเรียน การจัดการศึกษา เริ่มกระจายไปทั่วประเทศเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๑ กล่าวเฉพาะการจัดการศึกษาของมณฑลนครศรีธรรมราช พระศิริธรรมมุนี (พ่อท่านม่วง) ในฐานะผู้อ�ำนวยการศึกษามณฑลนครศรีธรรมราช กับพระยาสุขุมนัยวินิตสมุหเทศาภิบาลมณฑล นครศรีธรรมราช ปรึกษาหารือกันก่อตั้งโรงเรียนทั่วทั้งมณฑลนครศรีธรรมราชจัดตั้งโรงเรียนในจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุงสงขลาจะนะ เทพา หนองจิก ปัตตานียะหริ่งและสายบุรีเฉพาะที่นครศรีธรรมราชจัดตั้งรวม ๑๑ โรงเรียน มีชื่อคล้องจองว่า ๑.สุขุมาภิบาลวิทยา ๒.วัฒนานุกูล ๓.ไพบูลย์บ�ำรุง ๔.ราษฎรผดุงวิทยา ๕.เกษตราภิสิจน์ ๖.นิตยาภิรมย์ ๗.วิทยาคมนาคะวงษ์ ๘.บรรจงอนุกิตย์ ๙.น้อยประดิษฐ์ผดุงผล ๑๐.อุบลบริหาร ๑๑.ทัศนาคารสโมสร แม้จะมีปัญหาอุปสรรคสร้างโรงเรียนไม่ครบตามที่ด�ำริไว้แต่จัดสร้างโรงเรียนอื่นขึ้นทดแทน มีรายละเอียด ดังนี้ ๑. โรงเรียนสุขุมาภิบาลวิทยา เดิมเป็นโรงเรียนราษฎร์ เรียกว่า วิทยาลัยเชลยศักดิ์ตั้งอยู่ที่ วัดท่าโพธิ์ผู้ก่อตั้งโรงเรียนคือ พระมหาม่วงรัตนธโช(พระรัตนธัชมุนีศรีธรรมราช) ปี๒๔๔๒ พระมหาม่วงโอนวิทยาลัย เชลยศักดิ์ให้เป็นโรงเรียนหลวงอยู่ในความอุปการะของสมุหเทศาภิบาล พระยาสุขุมนัยวินิต (ปั้น สุขุม) โดยเปลี่ยน ชื่อโรงเรียนเป็น โรงเรียนสุขุมาภิบาลวิทยา ถึงปี๒๔๖๐ รัชกาลที่ ๖ พระราชทานชื่อเป็น โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ๒. โรงเรียนวัฒนานุกูล ตั้งที่วัดหมาย อ�ำเภอกลาย (ท่าศาลา) เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๔ นายเจริญ กรมการอ�ำเภอ (ตรงนี้ไม่ถูกเพราะ พ.ศ. ๒๔๔๔ นายเจริญย้ายนายเงินมาเป็นนายอ�ำเภอกลาย) พระเสนเจ้าอธิการ หมวดให้การสนับสนุน พ่อท่านเสนเป็นเจ้าอาวาสวัดสโมสร (วัดดาน) เป็นเจ้าคณะต�ำบลท่าศาลา และ เป็นรอง เจ้าอธิการอ�ำเภอกลาย นายแก้วพนักงานเก็บเงินค ่านาเป็นครูผู้สอน เพียงปีเดียวครูแก้วลาออก ปี๒๔๔๕ โรงเรียนวัฒนานุกูลย้ายไปวัดท่าสูง อาจารย์เฉยเจ้าอาวาสวัดท่าสูงเป็นผู้อุปถัมภ์ให้พระคงเป็นครูผู้สอน สมัยต่อมา โรงเรียนวัดท่าสูงมีครูปานเป็นครูใหญ่ ท่านแต่งกายนุ่งผ้าม่วงโจงกระเบน ใส่เสื้อราชปะแตน ครูเปลี่ยน ลัพนาเคนทร์ (ผัวป้าคงบ้านท่าสูง)ครูเหมือน นพรัตน์(ลูกผู้ใหญ่ร่ม นพรัตน์และทวดขี้หมูบ้านท่าสูง)ครูสว่างตันติกุลครูด�ำรงลิเอ็ม (ผัวของน้าล้านลูกสาวยายเข็มบ้านในไร่) ครูนิล อภัย เป็นคนปากพนังมาได้เมียที่ปากพะยิงมีลูกหลายคน ครูนิล เป็นครูโรงเรียนไพศาลสถิตย์ หลังจากนั้นมาอยู่ที่ท่าศาลาสอนที่โรงเรียนวัดท่าสูง มาได้กับนางอุ่น (แม่ชีอุ่น) สุทิน มีลูกชายเท่าที่ทราบ คือ นายมณีพัฒน์อภัย และยังได้กับป้าปริ่ม ลูกสาวของยายหม้อ คณะนา มีลูกอีก ๒ คน คือ นายจินดา อภัย และนายอุดม อภัย โรงเรียนวัดท่าสูงเปิดสอนเป็นเวลา ๒๕ ปีก่อนหน้านั้น ๒ - ๓ ปีขุนเทพบุรี (นายตุด ปทุมา) น่าจะเป็นก�ำนันต�ำบลท่าศาลาอาสาจะสร้างโรงเรียนใหม่ บนที่ดินที่เคยเป็นพลับพลาที่พักของ


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 77 ข้าราชการเมืองนครศรีธรรมราช ที่เคยมาควบคุมการสร้างทางสายศาลาน�้ำ-ลายสายถนนสร้างเสร็จแล้วที่ดินพลับพลา ถูกทิ้งร้างอยู่ เมื่อขุนเทพบุรีสร้างอาคารเรียนแล้วเสร็จ พ.ศ.๒๔๗๑ โรงเรียนวัดท่าสูงย้ายนักเรียนย้ายครูมาอยู่ ที่โรงเรียนปทุมานุกูล ครูที่ย้ายมา เช่น ครูด�ำรง ลิเอ็ม ครูสว่าง ตันติกุล เป็นต้น ป้าหลิว แซ่ตัน ปัจจุบันอายุ ๙๕ ปี เล่าว่าเวลานั้นเรียนชั้น ป.๒ ห้องครูสว่าง ตันติกุล ครูสว่างมีศักดิ์เป็นอาของ ป้าหลิว เมื่อย้ายจากวัดท่าสูงมาที่ ปทุมานุกูล ป้าหลิวไม่มาเรียนที่โรงเรียน ปทุมานุกูลอีกเลย (พ.ศ.๒๕๖๔ โรงเรียนปุมานุกูลอายุครบ ๑๒๐ ปี) ๓. โรงเรียนไพบูลย์บ�ำรุงตั้งที่วัดเสาธงทองอ�ำเภอเบี้ยซัด(ปากพนัง) ปัจจุบันโรงเรียนปากพนัง ๔. โรงเรียนราษฎรผดุงวิทยา ตั้งที่วัดพระนคร พระครูกาชาดให้การสนับสนุน ปัจจุบันโรงเรียน กัลยาณีศรีธรรมราช ๕. โรงเรียนเกษตราภิสิจน์ตั้งที่วัดร่อนนอก อ.ร่อนพิบูลย์ขุนเกษตรพาหนะ ให้การสนับสนุน ๖. โรงเรียนนิตยาภิรมย์ โรงเรียนตั้งในวัดแต ่ไม ่ระบุชื่อวัด อยู ่ในอ�ำเภอทุ ่งสง นายเที่ยง กรมการอ�ำเภอให้การสนับสนุน เลือกพระในวัดนั้นส่งไปฝึกหัดครูกับพระมหาไวที่วัดท่าโพธิ์ ๗. โรงเรียนวิทยาคมนาคะวงษ์ตั้งที่วัดม ่วง อ�ำเภอฉวาง นายนาค กรมการอ�ำเภอ และ ผู้น�ำชาวบ้านให้การสนับสนุน มีพระทองเป็นครูผู้สอน ยังส่งพระล้อม พระช่วยไปฝึกหัดครูกับพระมหาไวที่วัดท่าโพธิ์ อีกด้วย ๘. โรงเรียนบรรจงอนุกิตย์ด�ำริว่าจะตั้งโรงเรียนที่วัดสัมพันธ์อ�ำเภอพระแสง ขุนบรรจงสารา กรมการอ�ำเภอพระแสงเป็นผู้ให้การสนับสนุน ขุนบรรจงสาราอาสาว่าจะสอนพระหนูให้สามารถท�ำหน้าที่เป็นครูได้ โรงเรียนบรรจงอนุกิตย์ไม่สามารถเปิดสอนได้จัดตั้งโรงเรียนที่วัดหน้าราหู(วัดหน้าพระบรมธาตุ) อ�ำเภอกลางเมือง เป็นการทดแทน ๙. โรงเรียนน้อยประดิษฐ์ผดุงผล ตั้งโรงเรียนที่อ�ำเภอล�ำพูน ตอนแรกคิดว่าจะตั้งที่วัดเวียงสระ แต่ก็มีปัญหาบางอย่างไม่สามารถตั้งโรงเรียนได้ตอนหลังพบกับนายน้อยกรมการอ�ำเภอล�ำพูน จึงด�ำริจะตั้งโรงเรียน ที่วัดบ้านนา เตรียมพระสงฆ์เข้ามาศึกษาวิชาครูที่วัดท่าโพธิ์การตั้งโรงเรียนที่วัดบ้านนาก็ยังท�ำไม่ได้เพราะชาวบ้าน ป่วยเป็นโรคฝีดาษ ต้องย้ายไปเปิดเรียนที่วัดปากแพรก ๑๐. โรงเรียนอุบลบริหารตั้งที่วัดใหม่ (วัดปทุมทายการาม)อ�ำเภอสิชลใช้ศาลาวัดใหม่เป็นสถาน ที่เรียน พระอุปัชฌาย์แก้วเป็นครูสอนในชั้นต้นไปก่อน และ ส่งพระกรดไปเรียนการเป็นครูที่วัดท่าโพธิ์ เพื่อกลับไป สอนยังโรงเรียนเดิม ๑๑. โรงเรียนทัศนาคารสโมสร ตั้งที่วัดเขาน้อย อ�ำเภอสิชล นายทัศน์หลานเจ้าพระยานคร เป็นผู้ให้การสนับสนุน ให้พระอธิการวัดเขาน้อยเป็นครูสอนชั้นต้นไปก่อน พร้อมกับเลือกพระอันดับสองรูปส่งไปฝึกหัด ครูที่วัดท่าโพธิ์ การปกครองส่วนท้องถิ่น การปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ราษฎรปกครองกันเองดูแลกันเอง เพราะคนที่รู้ความต้องการของชาวบ้าน ดีที่สุดคือคนที่เป็นชาวบ้านด้วยกัน การจัดการปกครองดังกล่าว จัดเป็น สุขาภิบาล และ เทศบาล สุขาภิบาล แห่งแรกของประเทศไทย คือ สุขาภิบาลท่าฉลอม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๘ หลังจากนั้นก็กระจายไปทั่วทุกจังหวัด ข้าหลวงเทศาภิบาล ข้าราชการอ�ำเภอกลาย (ท่าศาลา) ครั้งรัชกาลที่ ๕ พระยาสุขุมนัยวินิต (ปั้น สุขุม)


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 78 ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ ยกเลิกต�ำแหน่งเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ยุคสุดท้ายเป็นสมัยของพระยา นครศรีธรรมราช (หนูพร้อม) จากประวัติตระกูล ณ นคร บอกว่าชื่อหนูเพียงค�ำเดียวรัชกาลที่ ๕ แต่งตั้ง พระยาสุขุม นัยวินิต มาด�ำรงต�ำแหน ่งข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลนครศรีธรรมราช ต�ำแหน ่งหลังสุดคือ เจ้าพระยายมราช พระยาสุขุมนัยวินิต ด�ำรงต�ำแหน ่งตั้งแต ่ พ.ศ. ๒๔๓๙ - ๒๔๔๙ ส ่วนเมืองนครศรีธรรมราชเปลี่ยนเป็น จังหวัดนครศรีธรรมราช แต ่งตั้งพระยานครศรีธรรมราช (หนู) กลับมาเป็นผู้ว ่าราชการจังหวัด เรียกว ่า พระยาสุธรรมมนตรีศรีธรรมราช (หนู) ช่วง พ.ศ. ๒๔๔๐ - ๒๔๔๗ พระยาสุขุมนัยวินิตริเริ่มสร้างโรงเรียนในเขต ท้องที่มณฑลนครศรีธรรมราชหลายโรงเรียน โดยความร่วมมือของพระรัตนธัชมุนี(ท่านม่วงวัดท่าโพธิ์) ท่านม่วง ท�ำหน้าที่คล้ายศึกษาธิการมณฑล โรงเรียนวัฒนานุกูล เป็นโรงเรียนแรกของอ�ำเภอกลาย (ท่าศาลา) นายเจริญ เป็นนายอ�ำเภอโรงเรียนตั้งที่วัดหมายสอนเมื่อปีพ.ศ. ๒๔๔๔ (สมัยของนายเงินเป็นนายอ�ำเภอ) นายแก้วอดีตพนักงาน เก็บเงินค่านาเป็นครูผู้สอน สอนเพียงปีเดียวครูแก้วลาออกไปสอบเป็นข้าราชการโรงเรียนย้ายไปอยู่ที่วัดท่าสูงเรียกว่า โรงเรียนวัดท่าสูง เมื่อปีพ.ศ. ๒๔๔๕ อาจารย์เฉยเป็นเจ้าอาวาส ตั้งพระคงเป็นครูผู้สอน เมื่อสิ้นบุญอาจารย์เฉย พระคต พระประสิทธิ์และ พระด�ำรง มาจากกะลันตัน พี่น้องของครูด�ำรงบอกว่ามาจากกะลันตัน แต่ตามประวัติ วัดท่าสูงบอกว่ามาจาก อ�ำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส มาสักการะบูชาพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช ช่วงเวลานั้น ชาวกะลันตันจากประเทศมาเลเซียนิยมนั่งรถไฟมาสักการะพระบรมธาตุกันมาก พระทั้งสามรูปพัก ที่วัดจันทาราม เจ้าอาวาสวัดท่าโพธิ์แต่งตั้งพระคตรักษาการเจ้าอาวาสวัดท่าสูง เมื่อท่านเฉยมรณภาพ พระคตจึงขึ้นเป็นเจ้าอาวาส พระประสิทธิ์เป็นรอง เจ้าอาวาส ส ่วนพระด�ำรงท�ำหน้าที่เป็นครูสอนนักเรียน โรงเรียนวัดท ่าสูงเปิดสอน พ.ศ. ๒๔๔๕-๒๔๗๐ เป็นเวลา ๒๕ ปีครั้นปีพ.ศ. ๒๔๗๑ โรงเรียนย้ายไปสอนที่ โรงเรียนปทุมานุกูล จนถึงบัดนี้ ประมาณ พ.ศ. ๒๔๔๐ - ๒๔๔๒ พระยาสุขุมนัยวินิตสั่งท�ำถนนจากศาลาน�้ำตรงไปหลายสาย เลยไปถึงโรงเหล็ก เป็นระยะทาง ๗๐๐ เส้น (๒๘ กิโลเมตร)และสายหน้าอ�ำเภอกลายไปจรดคลองท่าสูง ๑๐๐ เส้น (๔ กิโลเมตร)ถนนกว้าง ๓ วา ๑ ศอก บริษัท เบอร์ลี่ยุคเกอร์เป็นผู้รับจ้างท�ำถนน โดยใช้รถตักดิน (แบคโฮ) น่าจะน�ำมา จากปทุมธานีเวลานั้น บริษัทขุดคลองและคูนาสยาม ก�ำลังขุดคลองที่ทุ่งรังสิตปทุมธานี(พ.ศ. ๒๔๓๓ - ๒๔๔๘) รถแบคโฮขุดคูน�ำดินขึ้นมาท�ำถนนทั้งสองข้างทางเมื่อถนนสร้างเสร็จผู้คนพากันมาปลูกสร้างบ้านเรือนอยู่ทั้งสองข้าง ของถนน ตั้งแต ่ศาลาน�้ำไปจนถึงลายสายถึงโรงเหล็กถนนใช้งานได้ไม ่นาน ช ่วงหน้าฝนที่บ้านเรา ฝนตกหนัก น�้ำจากคลองท ่าพุดรวมกับน�้ำจากคลองในหัน ไหลลงคูของถนนหน้าบ้านก�ำนันส้วน สุประดิษฐ์ น�้ำไหลแรง กัดเซาะคูท�ำให้คูลึกและกว้างขึ้น ในที่สุดคูของถนนกลายเป็นคลองเรียกว่าคลองคูถนนมาจนถึงบัดนี้จากถนนที่ผู้คน ใช้สัญจรจากศาลาน�้ำถึงบ้านโรงเหล็ก ถนนกลายเป็นคลองเปลี่ยนทางสัญจรเป็นทางน�้ำไหล การท�ำถนนสายศาลาน�้ำ-ลายสาย-โรงเหล็กเกิดกรณีนาหัวแตก บางคนเคยได้ยินมาบ้าง บางคน เพิ่งได้ยินเป็นครั้งแรก นาหัวแตกตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเปลวตูกป่าช้าของวัดประดู่หอม นาหัวแตกเป็นที่นาของตระกูล สามารถ เล่ากันว่า มีข้าราชการเมืองนครคนหนึ่งรับค�ำสั่งจากพระยาสุขุมนัยวินิต ให้มายึดที่นาของชาวบ้านเพื่อใช้ ท�ำถนนสายศาลาน�้ำ-ลายสาย ขณะยืนชี้นิ้วจะยึดเอาที่นาของพี่น้องตระกูลสามารถเจ้าของที่นาไม่ยินยอมเกิด การโต้เถียงกันขึ้น เมื่อพูดกันไม่รู้เรื่องเจ้าของนาตีหัวข้าราชการผู้นั้นจนหัวแตกตีหัวแล้วขี่ช้างกลับบ้าน แต่เป็นเรื่อง ที่แปลกมากเพราะไม่มีการฟ้องร้องแก่กัน ทั้งนี้เพราะว่าคนในตระกูลสามารถมีญาติพี่น้องท�ำงานอยู่ในแผนกอัยการ และศาลเมืองนคร ที่นาตรงนี้จึงเรียกกันว่า นาหัวแตก นี่คือผลจากการยึดที่ดินของชาวบ้านโดยพลการอย่างไรก็ตาม ตอนยึดที่ดินของตาเดช หวายน�ำ สร้างที่ว่าการอ�ำเภอท่าศาลาและยึดที่ดินของตาเคว็ดฤทธีสร้างบ้านพักนายอ�ำเภอ สร้างบ้านพักข้าราชการไม่มีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นเพราะผู้ถูกยึดที่ดินไม่มีใคร กล้าขัดขืน ญาติพี่น้องที่เคยยิ่งใหญ่ ล้มหายตายจากกันไปหมดอ�ำนาจวาสนาไม ่มีคนคอยคุ้มกะลาหัว (ตาเดช เป็นลูกหลานของออกหลวงไทยบุรี อดีตเจ้าเมืองไทยบุรีตาเคว็ด ฤทธีเป็นลูกหลานของหมื่นคง)


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 79 พระยาสุขุมนัยวินิตสั่งสร้างโรงเรียน สร้างทาง สร้างคูคลองชลประทาน เช่น สั่งให้ขุดคลองสุขุม ที่อ�ำเภอปากพนัง เพื่อชักน�้ำจากคลองปากพนังไปใช้ในการเพาะปลูก ใช้รถตักดิน (แบคโฮ) น�ำมาจากทุ่งรังสิต จังหวัดปทุมธานีเช่นกัน แน่นอนว่าการสร้างคลองสุขุมต้องยึดที่ดินของชาวบ้าน ใช้วิธีการเดียวกับการสร้างถนน สายท่าศาลา-บ้านโรงเหล็กคลองสุขุมกั้นอ�ำเภอเมืองกับอ�ำเภอปากพนัง นอกจากนี้ยังมีคลองนครพญา (เชื่อมคลอง ปากพนังกับคลองปากนคร)คลองหัวไทร-ระโนดคลองคอกช้างคลองกระใหญ่ในเขตจังหวัดสงขลาและจังหวัดพัทลุง พระยาสุขุมนัยวินิตข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลนครศรีธรรมราช รื้อก�ำแพงเมืองนครศรีธรรมราช ด้านตะวันออก ด้านทิศใต้ด้านทิศตะวันตก และทิศเหนือบางส่วน น�ำอิฐก�ำแพงเมืองมาท�ำเป็นถนนรอบเมือง นครศรีธรรมราช เป็นความผิดพลาดที่ร้ายแรงมาก ช่วงหลังพระยาสุขุมนัยวินิติมักไปอยู่ที่เมืองสงขลา ท่านและ ลูกหลานของท่านมีความสัมพันธ์กับตระกูลสุคนธหงส์ หาดใหญ่ช่วงเวลานั้นเป็นชุมทางรถไฟสายใต้มีรถไฟเข้า ตัวเมืองสงขลา มีรถไฟไปสะเดา มีรถไฟไปสุไหงโกลก เมื่อ ๓๐ กว่าปีที่ผ่านมาลูกหลานของตระกูลสุขุมและตระกูล สุคนธหงส์ โดยคุณหญิงชื่นจิต สุขุม สร้างโรงแรมระดับ ๕ ดาวขึ้นมาที่อ�ำเภอหาดใหญ่ เมื่อ ปี๒๕๑๕ ตั้งชื่อว่า โรงแรมสุคนธา ชื่อโรงแรมก็น่าจะมาจากชื่อสกุลสุคนธหงส์นั่นเอง โรงแรมนี้ถูกรื้อถอนแล้วสร้างใหม่เปลี่ยนชื่อเป็น โรงแรมโนโวเทล เซ็นทารา หาดใหญ่ รัชกาลที่ ๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๔๕๓ - ๒๔๖๘) พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู ่หัวหรือ พระบาทสมเด็จ พระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่๖ แห่งพระบรมราชจักรี วงศ์ เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น ๒ ค�่ำ ปีมะโรง วันที่ ๑ มกราคม ๒๔๒๓ เป็นพระราชโอรส พระองค์ที่ ๒๙ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินินาถ ทรงศึกษา ภาษาไทยและภาษาอังกฤษจนพระชนมายุ ๑๔ พรรษา ศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษด้านการทหารที่แซนเฮิสต์ ศึกษาประวัติศาสตร์และกฎหมายที่ออกซ์ฟอร์ดเป็นกษัตริย์พระองค์แรกของประเทศไทยที่เรียนจบจากต่างประเทศ ขณะประทับที่อังกฤษ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จสวรรคต พระมงกุฎเกล้าได้รับการแต ่งตั้งเป็น สยามมกุฎ ราชกุมารแท่นพระเชษฐาครั้นรัชกาลที่๕ พระราชบิดาเสด็จสวรรคต เมื่อวันเสาร์ที่๒๓ ตุลาคม ปีจอ พุทธศักราช ๒๔๕๓ พระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู ่หัวเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติต ่อ และเสด็จ สวรรคตเมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๖๘ รวมพระชนมพรรษา ๔๕ พรรษา ด�ำรงอยู่ในราชสมบัติรวม ๑๕ ปี สรุปเหตุการณ์ส�ำคัญสมัยรัชกาลที่ ๖ (ที่เกี่ยว เนื่องถึงอ�ำเภอท่าศาลา) ๑. ร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรประกาศสงครามกับ เยอรมันเมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่ ๑ เมื่อ ๒๒ กรกฎาคม ๒๔๖๐ และส่งทหารไปร่วมรบกับฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง เพราะฝ ่ายสัมพันธมิตรเป็นฝ ่ายชนะสงคราม ไทยจึงเป็นฝ ่ายที่ ชนะสงครามด้วย ได้โอกาสแก้ไขสนธิสัญญากับต่างประเทศที่ไทย


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 80 เสียเปรียบ เช่น สนธิสัญญาสิทธิสภาพนอกอาณาเขต สนธิสัญญาจ�ำกัดอ�ำนาจการเก็บภาษีของพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สนธิสัญญาจ�ำกัดอ�ำนาจกลางประเทศไทย ๒. คนไทยและครอบครัวชาวไทยเริ่มใช้นามสกุลเป็นครั้งแรกเมื่อ ๑ เมษายน ๒๔๕๖ ก่อนหน้านี้ ก็มีการใช้นามสกุลกันบ้างแต่ไม่นิยมแพร่หลายสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามสกุลให้กับผู้ที่ต้องการ เป็นจ�ำนวนมาก ส่วนผู้คนทั่วไปทั้งประเทศต่างตั้งชื่อสกุลกันเองตามใจชอบ ๓. สมเด็จพระมงกุฎเกล้าทรงมีความรู้ความสามารถในการประพันธ์เป็นอย่างยิ่งได้ประพันธ์ วรรณกรรมต่าง ๆ เอาไว้เป็นจ�ำนวนมาก พระองค์ได้รับพระสมัญญานามว่า พระมหาธีรราชเจ้า หนังสือที่พระองค์ ทรงประพันธ์ปัจจุบันถูกน�ำมาใช้ในการศึกษา ๔. จัดตั้ง กองเสือป่า ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อ ๑ พฤษภาคม ๒๔๕๔ ปัจจุบันพัฒนา มาเป็น ลูกเสือ-เนตรนารีเพื่อฝึกเยาวชนให้มีความรักชาติมีวินัยกล้าหาญ เสียสละ เป็นคนดีมีคุณธรรม เมื่อโตขึ้น ก็จะเป็นประชาชนที่มีค่ามีคุณภาพ ๕. จัดตั้งโรงเรียนแทนการสร้างวัดด้วยเห็นว่ามีวัดอยู่เป็นจ�ำนวนมากแล้วในการสร้างวัดก็เพื่อใช้ ในการศึกษาดังนั้น จึงทรงจัดสร้างโรงเรียนขึ้นแทน เช่น สร้างโรงเรียนมหาดเล็กหลวง ปัจจุบัน คือโรงเรียนวชิราวุธ วิทยาลัย และ ส่งเสริม โรงเรียนราชวิทยาลัย ปัจจุบันคือ โรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่รัชกาลที่ ๕ ทรงสร้างเอาไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๐ นอกจากนี้ยังทรงยกฐานะโรงเรียนข้าราชการพลเรือน ที่รัชกาลที่ ๕ ทรงสร้างเอาไว้ขึ้นเป็น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อันเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๙ เหตุการณ์ส�ำคัญดังกล่าว ท�ำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่อ�ำเภอท่าศาลาของเราด้วยเช่นเดียวกัน เช่น มีการสร้างโรงเรียนที่ท่าศาลากระจายไปทั่วทุกต�ำบลคนท่าศาลามีนามสกุลใช้เกิดเป็นเครือญาติที่ใช้นามสกุลเดียวกัน สถานศึกษาทั้งประถมศึกษาและ มัธยมศึกษา มีการจัดกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารีในการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย ทั้งชั้นประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และ มัธยมศึกษาตอนปลาย บทประพันธ์ของรัชกาลที่ ๖ หลายเรื่องถูกน�ำ มาให้นักเรียนได้ศึกษาได้เรียนรู้เป็นต้น รัชกาลที่ ๗ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๔๖๘ - ๒๔๗๘) พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรีล�ำดับที่ ๗ แห่งราช อาณาจักรสยาม พระองค์เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันพุธ แรม ๑๔ ค�่ำ เดือน ๑๑ ปีมะเส็ง เวลา ๑๒.๒๕ นาฬิกา หรือ ตรงกับวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๖ พระองค์เป็นพระราชโอรส องค์ที่ ๗๖ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู ่หัว และสมเด็จ พระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพระพันปีหลวง สมเด็จ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นเสวยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ เมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘ ทรงสละราชสมบัติเมื่อวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ (ศักราชแบบเก่า) รวมด�ำรงสิริราชสมบัติ๙ ปีเสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ รวมพระชนมพรรษา ๔๗ พรรษา สรุปเหตุการณ์ส�ำคัญสมัยรัชกาลที่ ๗ (ที่เกี่ยวข้องส่งผลถึง ท่าศาลาบ้านเรา) ๑. เป็นช่วงเวลาหลังสงครามโลกครั้งที่ ๑ ทุกประเทศทั่ว โลกได้รับความเสียหายจากสงครามที่เกิดขึ้น เมื่อเสร็จสิ้นสงครามท�ำให้ภาวะ


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 81 เศรษฐกิจตกต�่ำ ข้าวปลาอาหารสิ่งบริโภคอุปโภคขาดแคลน ประชาชนชาวโลกอยู่กันอย่างยากล�ำบาก ทั้งประเทศ ผู้แพ้สงครามและประเทศผู้ชนะสงคราม ต่างตกอยู่ในสภาพเดียวกัน ประเทศไทยของเราเศรษฐกิจตกต�่ำเป็นอย่างมาก ข้าวยากหมากแพง สินค้าบริโภคอุปโภคขาดแคลน เงินทองขาดแคลนมีไม่พอจ่ายเป็นเงินเดือน ต้องปลดพนักงาน ข้าราชการออกจากงาน สร้างความเดือดร้อน สร้างความไม่พอใจไปทั่วประเทศอันเป็นสาเหตุส�ำคัญที่ท�ำให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงการปกครองในเวลาต่อมา ๒. คณะราษฎร์ท�ำการปฏิวัติยึดอ�ำนาจการปกครองประเทศ เพื่อเปลี่ยนการปกครองจากระบบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นการปกครองในระบบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ ขณะที่ สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวแปรพระราชฐานที่วังไกลกังวล อ�ำเภอหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์หลังการเฉลิมฉลอง ครบ ๑๕๐ ปีแห่งการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์โดยพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวยอมสละอ�ำนาจของพระองค์อยู่ภายใต้ กฎหมายรัฐธรรมนูญ และทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศไทยเมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ ๓. จากการปกครองในระบบประชาธิปไตยที่ด�ำเนินอยู่ในเวลานั้น มีข้อขัดแย้งกับพระเจ้าอยู่หัว อยู่หลายประการ ท�ำให้พระองค์ตัดสินใจสละราชสมบัติ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสมัยรัชกาลที่ ๗ มีผลถึงท่าศาลาบ้านเราเพียงไม่กี่เรื่อง เรื่องแรกเกี่ยวกับ ความเดือดร้อนจากภาวะเศรษฐกิจตกต�่ำทั่วโลก บ้านเราได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน เรื่องที่สองคือการเปลี่ยนแปลง การปกครอง จากระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นการปกครองระบบประชาธิปไตย ท�ำให้จังหวัดนครศรีธรรมราช (รวมทั้งอ�ำเภอท่าศาลา) มีผู้แทนราษฎรเป็นครั้งแรกจากการเลือกตั้งโดยอ้อมเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๖ คือ รองอ�ำมาตย์โท มงคล รัตนวิจิตร ครั้นถึง พ.ศ. ๒๔๘๐ มีการเลือกตั้งจากราษฎรโดยตรงแบ่งเขตเลือกตั้งเป็น ๒ เขต มีผู้แทน ๒ คน คือ นายฉ�่ำ จ�ำรัสเนตรและขุนบุรณวาท (พร้อย ณ นคร)ครั้นถึง พ.ศ. ๒๔๘๑ มีการเลือกตั้งโดยตรงแบ่งเป็น ๒ เขต มีผู้แทน ๒ คน คือ นายฉ�่ำ จ�ำรัสเนตรและ นายเปี่ยม บุณยะโชติถึงปี๒๔๘๙ มีการเลือกตั้งโดยแบ่งออกเป็น ๒ เขต มีผู้แทน ๒ คน เขต ๑ คือ ร้อยตรีมงคล รัตนวิจิตร เขต ๒ คือ นายคล่อง ไตรสุวรรณ เป็นต้น รัชกาลที่ ๘ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล (พ.ศ. ๒๔๗๘ - ๒๔๘๙) พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระราชสมภพเมื่อวันอาทิตย์ขึ้น ๓ ค�่ำ เดือน ๑๑ ปีฉลูณ เมืองไฮเดลแบร์ก ประเทศเยอรมนีตรงกับวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๘ เป็นพระโอรส ในสมเด็จ พระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดชกรมหลวงสงขลานครินทร์ (เวลาต ่อมาด�ำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรมพระบรมราชชนก) และ หม่อมศรีสังวาลย์ (เวลาต ่อมาด�ำรงพระยศเป็น สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี) มีพระเชษฐภคินีและพระอนุชาร ่วมพระชนกชนนีอีก ๒ พระองค์ ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ครองราชย์สมบัติเป็น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เสด็จขึ้น ครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ล�ำดับที่๘ แห่งราชวงศ์จักรีเมื่อ ๒ มีนาคม ๒๔๗๗ ขณะที่มีพระชนมายุเพียง ๘ พรรษาและประทับอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จึงมีการแต่งตั้งคณะผู้ส�ำเร็จราชการแทนพระองค์เพื่อท�ำหน้าที่บริหารราชการ แผ่นดินจนกว่าพระองค์จะทรงบรรลุนิติภาวะ


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 82 สรุปเหตุการณ์ส�ำคัญสมัยรัชกาลที่ ๘ สงครามมหาเอเชียบูรพา (พ.ศ. ๒๔๘๔ - ๒๔๘๘) เช้าวันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ ซึ่งขณะนั้นสถานการณ์โลกอยู่ในขั้นวิกฤตด้วยค่ายมหาอ�ำนาจตะวันตก มีความขัดแย้งระหว่างกันสูง ญี่ปุ่นเองก็ปูกระแสต่อต้านมหาอ�ำนาจตะวันตกที่เข้ามายึดครอง มีอาณานิคมในเอเชีย โฆษณาว่าจะปลดแอกชาวเอเซียให้พ้นจากชนชาติผิวขาว ขณะที่ชาวไทยรวมทั้งชาวนครศรีธรรมราช ก�ำลังตื่นเต้น กับการจัดงานฉลองรัฐธรรมนูญที่กรุงเทพฯและที่สนามหน้าเมือง เช้าวันนั้นมีฝนตกหนัก เวลาประมาณ ๐๕.๓๐ น. ทางจังหวัดนครศรีธรรมราชก็ได้รับโทรเลข แจ้งข่าวจากสงขลาว่าญี่ปุ่นส่งเรือรบและยกพลขึ้นบกที่สงขลาแล้ว กระทั่ง ๐๖.๓๐ น. กองทหารญี่ปุ ่นก็มาปรากฏตัวที่ท ่าแพพร้อมเรือท้องแบนขนอาวุธยุทโธปกรณ์มากมาย ซึ่งขณะนั้นทหารไทยที่ค่ายวชิราวุธ ภายใต้การน�ำของพลเอกหลวงเสนาณรงค์ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกได้ประชุม และสั่งการวางก�ำลังเตรียมพร้อมไว้ตลอดแนว จากท่าแพถึงโรงทหารและได้บันทึกรายงานว่า “...การอ�ำนวยการรบ ท�ำได้ไม่สะดวกนักเพราะตลอดเวลาฝนได้ตกลงมาอย่างหนัก จริงอยู่ก่อนที่หน่วยทหารจะเข้ายึดแนวนั้น ถึงหาก จะได้เตรียมตัวไว้แล้วแต่โดยเหตุ ที่ไม่แจ่มแจ้งพอ คือ ไม่ทราบว่าทางฝ่ายญี่ปุ่นมีก�ำลังเท่าใดมาขึ้นบกจริงที่ใดบ้าง แนวจึงสับสนกันอยู่บ้างถึงกระนั้นก็นับว่าได้ปฏิบัติการทันเหตุการณ์กล่าวคือ พอกระผมสั่งการต่อสู้ต้านทาน เจ้าหน้าที่ต่าง ๆ ก็เริ่มด�ำเนินงานตามหน้าที่ของตน หน่วยทหารก็เคลื่อนที่เข้าประจ�ำแนวตามล�ำดับ ได้ปฏิบัติตาม อย่างรวดเร็วกล้าหาญเป็นที่น่าชมเชยไม่มีแม้แต่คนเดียวที่แสดงความอิดเอื้อนหรือหวาดกลัว บางคนที่ไม่มีหน้าที่รบ โดยตรงเช่น พลทหารประจ�ำตัวก็ได้มารับจ่ายอาวุธกระสุน และอาสาเข้าท�ำการรบด้วย...”ซึ่งพอจะล�ำดับเหตุการณ์ จากบันทึกต่าง ๆ ได้ดังนี้ เวลา ๐๓.๐๐ น. ทหารญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกที่ปราจีนบุรีสมุทรปราการ ประจวบคีรีขันธ์สุราษฎร์ธานีและ ปัตตานีเวลา ๐๕.๐๐ น.ข้าหลวงประจ�ำจังหวัดและผู้บังคับบัญชาทหารบกค่ายวชิราวุธได้รับทราบข่าวทางโทรเลข จากจังหวัดสงขลา สั่งเตรียมพร้อมทั้งทหาร พลเรือน และ ประชาชน รวมทั้งยุวชนทหารหลายร้อยคนอีกด้วย เวลา ๐๖.๐๐ น. ทหารญี่ปุ่น ๑ หมู่ พร้อมเรือท้องแบนหลายล�ำปรากฏที่ท่าแพ เวลา ๐๖.๕๐ น. เสียงปืน นัดแรก ดังขึ้นจากทหารไทยมีเสียงตอบโต้ระหว่างกันด้วยเสียงปืนเล็กปืนกลติดต่อกันบางครั้งได้ยินปืนใหญ่ การสู้รบรุนแรง ยิ่งขึ้นตามล�ำดับ เวลา ๐๗.๒๐ น. สั่งระงับการส่งก�ำลังทหารจากนครศรีธรรมราชที่จะไปเสริมก�ำลังรบที่สงขลา แต่ให้มาเสริมก�ำลังสู้รบกับญี่ปุ่นที่ท่าแพ เวลา ๐๗.๓๐ น.รัฐบาลไทยสั่งหยุดยิงชั่วคราวเพื่อรอค�ำสั่งจากผลการเจรจา ที่กรุงเทพฯเวลา ๐๘.๐๐ น.กองก�ำลังร.พัน ๓๙ กลับทัพจากลงใต้มาขึ้นเหนือสู่สมรภูมิระหว่างค่ายวชิราวุธกับท่าแพ เวลา ๐๘.๔๐ น. ยุวชนทหารประมาณ ๑๗๐ - ๓๕๐ คน ชุมนุมกันที่โรงเรียนเบญจมราชูทิศด้วยความรู้สึกว่าอยาก ไปรบกับผู้รุกราน ถ้าไปพร้อมกับส่วนหลังเกรงว่าจะไม่ได้รบ จึงเคลื่อนพลผ่านตลาดท่าวังมีพระภิกษุสงฆ์ประชาชน ชาวนครศรีธรรมราช คอยเป็นก�ำลังใจอวยชัยให้พรอย่างเนืองแน่น ถึงสมรภูมิได้รับอาวุธแยกย้ายกันจัดขบวนรบ ร่วมกับก�ำลังทหารขณะนั้นรัฐบาลให้ค�ำขวัญว่า ถ้าปราชัยแก่ไพรี ให้ได้แต่ปฐพีไม่มีคน ซึ่งทางจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้ปฏิบัติตามค�ำกล่าวดังกล่าวท�ำการเผาศาลากลางจังหวัดเมื่อสถานการณ์คับขัน เวลา ๐๙.๒๐ น. หลังการประชุม หัวหน้าส่วนราชการที่ศาลากลางจังหวัด มทบ.๖ รายงานสถานการณ์ว่าฝ่ายเราอยู่ในฐานะเสียเปรียบทั้งก�ำลังพล และอาวุธก่อนจะเดินทางมาศาลากลาง เครื่องบินรบและเครื่องบินช่วยรบของข้าศึก ๔ - ๕ เครื่อง มาบินวนเวียนอยู่ เหนือเขตทหาร แต่ยังไม่มีการใช้อาวุธกับฝ่ายเรา แต่การสู้รบที่ท่าแพฝ่ายเราสูญเสียทหารกล้าไปแล้วหลายนาย รวมทั้งพันตรีหลวงราญรอนสงคราม รองเสธ.มทบ.๖ และร้อยตรีประยงค์ ไกรกิตติผบ.หมวด ป.พัน ๑๕ เวลา ๐๙.๓๐ น. ข้าหลวงได้รับโทรเลขจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยว่า ให้หยุดรบกับญี่ปุ่น ให้ญี่ปุ่นผ่าน และพักในประเทศไทยได้เวลา ๐๙.๕๐ น. ผบ.มทบ.๖ ได้รับค�ำสั่งทางวิทยุจากผู้บังคับบัญชาการทหารสูงสุด จอมพลแปลก พิบูลสงคราม ให้หยุดรบ หลีกทางให้ญี่ปุ่นผ่านไป แล้วรอฟังค�ำสั่ง เวลา ๑๐.๑๐ น. มทบ.๖


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 83 แต่งตั้งคณะผู้เจรจาการศึกฝ่ายไทยพร้อมธงขาว เพื่อเจรจาการศึกกับญี่ปุ่น เวลา ๑๐.๒๐ น. คณะเจรจาการศึก ฝ่ายญี่ปุ่นปรากฏตัวพร้อมธงขาว เวลา ๑๐.๔๐ น. เปิดการเจรจาบนถนนราชด�ำเนินได้ผล สรุปว่าทั้งฝ่ายไทย และฝ่ายญี่ปุ่นได้ทราบค�ำสั่งให้หยุดรบแล้ว แต่ขณะนั้นทหารญี่ปุ่นมีการเคลื่อนไหวเพื่อชิงความได้เปรียบ วิ่งไปมา ระหว่างต้นไม้ก�ำบังตัวเคลื่อนที่เข้าหาทหารไทย ทหารไทยจึงยิงเพื่อยุติการเคลื่อนที่ของญี่ปุ่น จึงเกิดการยิงโต้ตอบ กันขึ้นอย่างรุนแรงถึงขั้นตะลุมบอน มีผู้เสียชีวิตต่อหน้าคณะผู้เจรจาทั้งสองฝ่าย ซึ่งต้องหลบเข้าหาที่ก�ำบังในบ่อดิน ลูกรังข้างทาง เวลา ๑๐.๕๐ น. หลังการเป่าแตรหยุดยิงหลายครั้งก็ยังไม่หยุดยิงตะลุมบอนกันไปมาผู้เจรจาทั้งสอง ฝ่ายจึงจัดหาผู้ห้ามยิงฝ่ายละ๑ คน เดินคล้องแขนเคียงคู่กันไปทางทิศเหนือซึ่งญี่ปุ่นตรึงอยู่ แล้ววกกลับมาทางใต้ ที่ฝ่ายไทยตรึงอยู่ การรบของทั้งสองฝ่ายจึงยุติลง เวลา ๑๑.๔๐ น. ผู้ห้ามยิงทั้งสองคนเดินกลับมาถึงที่เจรจาการศึก อีกครั้ง เวลา ๑๑.๔๕ น. เริ่มต้นเจรจากันใหม่ได้ความว่าทางญี่ปุ่นไม่ได้ตั้งใจรุกรานประเทศไทยหรือบุกเมือง นครศรีธรรมราช แต่เข้าใจว่าให้กองก�ำลังของญี่ปุ่นผ่านประเทศไทยไปมลายูและสิงคโปร์เพื่อขับไล่คนผิวขาว ผลการเจรจาญี่ปุ่นขอ ๕ ข้อคือ พักผ่าน ฐานบิน เขตทหารและรักษาสนามบิน เวลา ๑๒.๑๐ น.การเจรจาครั้งที่สอง ฝ่ายไทยยินยอมเพียง ๔ ข้อ ขอยกเว้นข้อ ๕ ญี่ปุ่นจะต้องรักษาสนามบินเอง โดยก�ำหนดให้คลองท่าวังเป็นเส้นเขต แบ่งทหารไทยและทหารญี่ปุ่น และฝ่ายญี่ปุ่นต้องไม่กระท�ำการใด ๆ ที่เสื่อมเสียเกียรติยศแก่ชาวไทยและชาติไทย เป็นอันขาดและนัดเจรจาท�ำความตกลงในรายละเอียดในเวลา ๑๓.๐๐ น. หากพ้นก�ำหนดฝ่ายญี่ปุ่นไม่แจ้งข้อขัดข้อง หรือขอเลื่อนการเจรจาการรบทั้งสองฝ่าย การรบเพื่อขับไล่ทหารญี่ปุ่นให้พ้นไปจากแผ่นดินไทยอาจเริ่มขึ้นอีกครั้ง เวลา ๑๓.๐๐ น. เจรจายุติการรบ เวลา ๑๔.๐๐ น. ยุติการรบ ส�ำหรับการยกพลขึ้นบกของญี่ปุ่นบนดินแดนไทยครั้งนี้ นับว่าสมรภูมิเมืองนครศรีธรรมราชรุนแรงที่สุด ทหารและพลเรือนได้ร่วมกันประกอบวีรกรรมอย่างกล้าหาญ พลเอกหลวงเสนาณรงค์ผบ.มทบ.๖ ขณะนั้นบันทึก ไว้ว่า “การรบได้เป็นไปโดยกระชั้นชิดในเวลารวดเร็ว ฝ่ายเราได้รุกเข้าไปจนถึงท่าเรือห่างจากข้าศึกเพียง ๑๐ เมตร ส่วนย่อยของเราได้ตะลุมบอน เสียงไชโยดังลั่นทุกแนวที่เรายึดคืนได้ข้าศึกถอยแล้ว ๆ เราร้องบอกกัน ไม่มีครั้งใด ที่จะได้เห็นการต่อสู้อย่างทรหดจนถึงตะลุมบอนเหมือนอย่างในครั้งนี้” ณ สมรภูมิแห่งนี้๓๘ ชีวิตของทหารไทย ได้พลีไว้เพื่อพิทักษ์รักษาเอกราชของชาตินายทหารสัญญาบัตร ๓ นาย นายทหาร ๓ นาย และพลทหาร ๓๒ นาย รวมกับทหารที่เสียชีวิตในภาคใต้ทั้งหมดจาก ชุมพร ประจวบคีรีขันธ์สงขลา และ ปัตตานีรวมเป็น ๑๑๖ นาย จารึกรายชื่ออยู่ที่ฐานของอนุสาวรีย์วีระไทย (เจ้าพ่อด�ำ)ซึ่งออกแบบจัดสร้างโดย อาจารย์ศิลป์พีระศรีเพื่อร�ำลึกถึง วีรกรรมในครั้งนั้น ทุกวันที่ ๘ ธันวาคม ของทุกปีจะมาร่วมกันท�ำบุญตักบาตรและวางพวงมาลา ณ อนุสาวรีย์แห่งนี้ เสมอมา ทหาร และ ยุวชนทหาร จากท่าศาลาที่ร่วมรบในสงครามมหาเอเชียบูรพา จากการศึกษาค้นหาประวัติของนายอ�ำเภอท่าศาลาในอดีต ท�ำให้เราทราบถึง ชื่อบุคคล เรื่องราว เหตุการณ์ ในช่วงเวลานั้น ๆ ได้เช่น พบว่า พ.ศ. ๒๔๘๔ ขุนสิทธิ์ธุรการ (รองอ�ำมาตย์โท พร้อม ยังบรรเทา) เป็นนายอ�ำเภอท่าศาลาก�ำนันอ้น พงศ์สุวรรณ เป็นก�ำนันต�ำบลท่าศาลาครูลภ ด�ำรักษ์เป็นศึกษาธิการอ�ำเภอท่าศาลา ครูคล่องเวทยาวงศ์เป็นครูใหญ่โรงเรียนปทุมานุกูลครูเนียม ฤทธิมนตรีเป็นครูใหญ่โรงเรียนมัธยมบูรณวิทยาวัดท่าสูง ช่วง พ.ศ. ๒๔๘๓ - ๒๔๘๔ โรงเรียนบูรณวิทยาถูกยุบมีโรงเรียนมัธยมด�ำรงเวทจัดตั้งขึ้นมาแทน นักเรียนโรงเรียนมัธยม บูรณวิทยาย้ายไปเรียนในเมืองนครศรีธรรมราช ไปเข้าเรียนที่โรงเรียนนครสมาคม ที่โรงเรียนเบญจมราชูทิศ แต่ก็มีบางคนเรียนที่โรงเรียนด�ำรงเวท เช่น อาจารย์เกยูร ไชยานุพงศ์อดีตอาจารย์ใหญ่โรงเรียนวัดคงคา นอกจากนี้ ท�ำให้รู้ว่าขุนสิทธิ์ธุรการสั่งให้ครูลภ ด�ำรักษ์ไปขุดหาพระนางตราที่วัดนางตราน�ำมาเก็บรักษาไว้ที่บ้านพักนายอ�ำเภอ เป็นต้น ส�ำหรับช่วงสงครามหาเอเชียบูรพา มีชาวท่าศาลาเข้าไปเกี่ยวข้องกับสงครามหลายคน ดังนี้


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 84 พลทหารจอน ยุวชนทหารประโพธิ ยุวชนทหารครื้น ๑. ร.ท.พิชิต สมภู่ ท่านเป็นเขยท่าศาลา สมรสกับป้าสุพร เสพย์ธรรม ลูกสาวของตาสายบัวยายเอียด เสพย์ธรรม เนื่องจากมีการจัดตั้งหน่วยทหารบกขึ้นหลายหน่วยในภาคใต้จึงได้ย้ายกองบัญชาการมณฑล ทหารบกที่ ๕ ต�ำบลพงสวาย อ�ำเภอเมือง จังหวัดราชบุรีมาตั้งที่ต�ำบลปากพูน อ�ำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๒ เพื่อปกครองบังคับบัญชาหน่วยทหารในภาคใต้รวมทั้งกองพันทหารปืนใหญ่ที่๑๕ ซึ่งตั้งอยู่ที่ต�ำบล ปากพูนอยู่ก่อนแล้วต่อมาเปลี่ยนชื่อหน่วยเป็นมณฑลทหารบกที่ ๖ โดยมีนายพลตรีหลวงเสนาณรงค์เป็นผู้บัญชาการ มณฑลทหารบกที่ ๖ ร.ท.พิชิต สมภู่ ก็ย้ายมาจากราชบุรีในครั้งนั้นด้วย ไม่ทราบว่าท่านเป็นคนราชบุรีหรือเป็นคน จังหวัดใดในภาคกลาง เป็นผู้หนึ่งที่ร ่วมรบในสงครามมหาเอเชียบูรพา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๔ ท ่านกล ่าวเอาไว้ว ่า “ญี่ปุ่นมันเคลื่อนที่แปลก วิ่งขึ้นมาเป็นแถวขบวน แถวหน้ากระดาน วิ่งแล้วหมอบ วิ่งแล้วหมอบ พอหมอบแล้วหา ที่ก�ำบัง พอมันจะหาที่หมายต้องกระโดดออกมาเราก็ยิงมัน ในที่สุดถึงตัวกัน ถึงขั้นตะลุมบอน คนไหนที่ถึงตัวก็ใช้ดาบ ปลายปืน ไม่ใช้ปืนแล้วทีนี้” ร.ท.พิชิต สมภู่ อดีตทหารค่ายวชิราวุธ จังหวัดนครศรีธรรมราช เล่าถึงเหตุการณ์ยกพล ขึ้นบกของกองทัพญี่ปุ่นเข้าสู่ประเทศไทยตามจุดต่างๆ ทางภาคใต้เมื่อวันที่๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ ช่วงสงครามโลก ครั้งที่ ๒ ท่านรอดตายจากสงคราม ได้รับเหรียญตรามากมายเกษียณราชการทหารแล้วยังมีชีวิตยืนยาวหลายสิบปี เกษียณออกมาประกอบอาชีพท�ำการเกษตร ปัจจุบันท่านถึงแก่กรรมแล้ว ๒. พลทหารจู้ พรหมมาศ เป็นชาวท่าศาลา บ้านอยู่ประตูช้างตะวันออก ต่อสู้กับทหารญี่ปุ่น จนตัวตายในสมรภูมิรบ ได้รับการเลื่อนยศเป็น จ.ส.อ.จู้พรหมมาศ ได้รับการจารึกชื่อที่ฐานของอนุสาวรีย์วีระไทย ภายในค่ายวชิราวุธ ๓. พลทหารปาน ร่วมสนิท ชาวท่าศาลา บ้านอยู่หัวตะพาน เป็นน้องชายของลุงหนูร่วมสนิท ท่านรอดตายจากสงคราม ได้รับเหรียญชัยสมรภูมิปัจจุบันถึงแก่กรรมแล้ว ๔. พลทหารจอน ชามทองชาวท่าศาลาอยู่บ้านยาง(วัดพระเลียบ)จับได้ใบแดงจึงเป็นพลทหาร เกณฑ์อยู่ที่ค่ายวชิราวุธร่วมท�ำสงครามมหาเอเชียบูรพาและรอดตายจากสงคราม หลังจากนั้นถูกส่งไปรบที่เชียงตุง (ไทยใหญ่หรือสาธารณะรัฐไทยเดิม) ในประเทศพม่ากลับมาถึงบ้านจึงปลดประจ�ำการช้ากว่าคนอื่น ๆ ท่านได้รับ เหรียญกล้าหาญ (เหรียญชัยสมรภูมิ) พลทหารจอน ชามทอง เป็นบิดาของอาจารย์วินัย ชามทอง อดีตผู้อ�ำนวยการ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จังหวัดนครศรีธรรมราช ลูกคนอื่น เช ่น นายธนากร ชามทอง (ผู้ใหญ ่เพลิน) นายยุทธศักดิ์ชามทอง (รงค์) เป็นต้น


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 85 ๕. พลทหารหนูกลั่น ศรีจันทร์ชาวท่าศาลา เป็นคนบ้านโพธิ์ต�ำบลไทยบุรีท่านรอดตาย จากสงคราม หลังสงครามได้รับการปูนบ�ำเหน็จความดีความชอบ ได้รับเหรียญชัยสมรภูมิได้รับการแต่งตั้งให้เป็น นักการภารโรง โรงเรียนปทุมานุกูล ปัจจุบันท่านถึงแก่กรรมแล้ว ๖. พลทหารชื่น สุดคิด ชาวท่าศาลา บ้านอยู่ประตูช้างตะวันตก (บ้านปลักตอ) ท่านรอดตาย จากสงครามไทยญี่ปุ่นที่ท่าแพ จากนั้นถูกส่งไปรบที่เชียงตุง (สาธารณะรัฐไทยเดิม) ตามนโยบายของจอมพลแปลก พิบูลย์สงคราม ซึ่งญี่ปุ ่นต้องการให้ไทยร ่วมรบในสงครามด้วย หลังจากเสร็จสงคราม พลทหารชื่น สุดคิด ปลดประจ�ำการกลับมาบ้านได้รับเหรียญกล้าหาญ เหรียญชัยสมรภูมิพลทหารชื่น สุดคิด เป็นบิดาของ อาจารย์บุญโชค สุดคิด ผู้อ�ำนวยการโรงเรียนบ้านส�ำนักม่วง อาจารย์สุจินต์สุดคิด ผู้อ�ำนวยการโรงเรียนชุมชนใหม่ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ๗. พลทหารสว่าง พาหนะ ชาวท่าศาลา อยู่บ้านรั้ว เป็นน้องชายของนางหนูคล้าย พาหนะ นางหนูคล้ายได้กับผู้ใหญ่สีนวล ไทยสุชาติอดีตผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๔ ต�ำบลไทยบุรีพลทหารสว่าง พาหนะ ต่อสู้กับ ทหารญี่ปุ่นจนตัวตายในสมรภูมิรบ ได้รับการเลื่อนยศเป็น จ.ส.อ.สว่าง พาหนะได้รับการจารึกชื่อที่ฐานของอนุสาวรีย์ วีระไทย ทราบเรื่องของท่านจากอาจารย์ประโพธิกาญจนภักดิ์ที่บันทึกไว้ในหนังสืออนุสรณ์จอน ชามทองซึ่งบรรยาย เรื่องราวของทหารผ่านศึกสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ ๘. พลทหารเทิ่ม สุขแก้ว ชาวท่าศาลา บ้านอยู ่วัดเทวดาราม ต�ำบลท ่าขึ้น ท่านรอดตาย จากสงคราม ได้เหรียญกล้าหาญ เหรียญชัยสมรภูมิทราบเรื่องของท่านจากอาจารย์แจ้ง ปาลิโพธิ ๙. ยุวชนทหารแนบ สรรพบพิตร ชาวท่าศาลา บ้านวัดพระหมาย จบมัธยมต้นจากโรงเรียน บูรณะวิทยาช่วงสงครามท่านก�ำลังเรียนชั้นมัธยมปีที่ ๔ โรงเรียนนครสมาคม (วัดจันทาราม) เข้าร่วมสงครามที่ท่าแพ เมื่อปี๒๔๘๔ ได้รับเหรียญชัยสมรภูมิหลังจากจบการศึกษาออกมาเป็นครูที่โรงเรียนบ้านสระบัว ลาออกมาเป็น ครูใหญ ่โรงเรียนด�ำรงเวท เป็นผู้จัดการเป็นเจ้าของโรงเรียนไปพร้อมกัน ปัจจุบันท ่านยังมีชีวิตอยู ่ อายุ ๙๒ ปี(๒๔๖๖ - ๒๕๕๘) ท่านมีบ้านพักที่ศาลาน�้ำ ต�ำบลท่าศาลา อ�ำเภอท่าศาลา ๑๐. ยุวชนทหารจ�ำเริญ ภูมิมาศ ชาวท่าศาลา ลูกหลานของหมื่นแสนบุรีบ้านอยู่ศาลาน�้ำ ตลาดท่าศาลา ภรรยาเป็นครูชื่อนางศุภมาศ ภูมิมาศ (ครูบวน) ท่านรอดชีวิตจากสงคราม ได้รับเหรียญกล้าหาญ เมื่อเรียนจบแล้วรับราชการกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย คนท่าศาลามักเรียกท่านว่า หลัดเริญ ต�ำแหน่ง ครั้งสุดท้ายเป็นหัวหน้ากิ่งอ�ำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช และ ท่านเกษียณราชการในต�ำแหน่งหัวหน้า กิ่งอ�ำเภอนาบอน ปัจจุบันท่านถึงแก่กรรมแล้ว ภาพพลทหาร และ ยุวชนทหาร พลทหารผ่านศึกสวมหมวกเหล็กนั่งอยู่ใน รถเข็น สวมชุดทหารเสื้อแขนยาว กางเกงขายาว มีผ้าพันแข้ง สวมรองเท้าหนัง สีด�ำ ภาพยุวชนทหาร อยู่ในท่ายืน สวมหมวกทรงหม้อตาลสีเขียว กระบังหน้า สีด�ำท�ำด้วยหนังหรือวัสดุเทียมหนัง สวมชุดยุวชนทหารเสื้อแขนยาว กางเกง ขาสั้น ถุงเท้ายาวสีด�ำ รองเท้าหนังสีด�ำ ทุกคนประดับเหรียญชัยสมรภูมิ ยุวชน ทหารคนทางซ้ายดูคล้ายครูเฉลิมอดีตนายธนาคารออมสินสาขาท่าศาลา


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 86 ๑๑. ยุวชนทหารเฉี้ยง จินดาฤกษ์ชาวท่าศาลา บ้านเดิมอยู่วัดเทวดาราม ท่านเป็นนักเรียนโรงเรียน นครสมาคม (วัดจันทาราม) เข้าร่วมสงครามที่ท่าแพเมื่อปี๒๔๘๔ ท่านรอดชีวิตจากสงคราม ได้รับเหรียญกล้าหาญ ต่อมาประกอบอาชีพเป็นพ่อค้าอยู่ที่ตลาดท่าศาลา เป็นประธานสุขาภิบาลต�ำบลท่าศาลาเป็นเวลานานหลายปี ติดต่อกัน ก่อนที่ลูกชายของท่านจะท�ำหน้าที่เป็นนายกเทศบาลต�ำบลท่าศาลาในเวลาต่อมาท่านถึงแก่กรรมแล้ว จากโรคลมปัจจุบัน ลูกชายคนที่เป็นนายกเทศบาลต�ำบลท่าศาลาก็ถึงแก่กรรมแล้วเช่นกัน จากการถูกลอบท�ำร้ายเมื่อ หลายปีก่อน ๑๒. ยุวชนทหารมนูญ บุญญวงศ์ชาวท่าศาลา บ้านอยู่ฝายท่า ลูกชายของก�ำนันหลิว-ป้าผ่อง บุญญวงศ์ตอนเกิดสงครามท่านเรียนที่โรงเรียนเบญจมราชูทิศเข้ารวมรบสนับสนุนทหารที่ท่าแพ รอดตายจากสงคราม ได้รับเหรียญชัยสมรภูมิเมื่อเรียนจบก็เข้ารับราชการเป็นครูที่อ�ำเภอท่าศาลา ปัจจุบันท่านถึงแก่กรรมแล้ว ๑๓. ยุวทหารสมบูรณ์ เชาวลิต เป็นชาวท่าศาลา อยู่ที่ไทยบุรีช่วงเกิดสงครามมหาเอเซียบูรพา ท่านเรียนชั้นมัธยมปลายที่โรงเรียนเบญจมราชูทิศ เป็นยุวชนทหารเข้าร่วมสงครามด้วย ท่านรอดตายจากสงคราม ได้รับเหรียญกล้าหาญ เป็นเหรียญชัยสมรภูมิเมื่อเรียนจบออกมาเป็นครูทราบว่าท่านเคยเป็นครูใหญ่โรงเรียน ปทุมานุกูล หลังจากนั้นสอบบรรจุเป็นข้าราชการกรมป่าไม้และโอนไปสังกัดกรมป่าไม้จนเกษียณราชการ ปัจจุบัน ท่านยังมีชีวิตอยู่โดยมีบ้านพักอยู่ที่กรุงเทพมหานคร ๑๔. ยุวชนทหารประโพธิ กาญจนภักดิ์ชาวท่าศาลา บ้านเดิมอยู่ที่บ้านรั้ว ต�ำบลไทยบุรีลูกชาย ของครูฟื้น-ป้าสายห้วยกาญจนภักดิ์ตอนเกิดสงครามไทยญี่ปุ่นที่ท่าแพ ก�ำลังเรียนที่โรงเรียนเบญจมราชูทิศเข้าร่วม สงครามเมื่อ ๘ ธันวาคม ๒๔๘๔ รอดตายจากการรบ ได้รับเหรียญชัยสมรภูมิเรียนจบโรงเรียนเบญจมราชูทิศ มาท�ำงาน เป็นเสมียนบนอ�ำเภอท่าศาลา ต่อมาบรรจุเป็นครูสอนในเขตอ�ำเภอท่าศาลา ต�ำแหน่งสุดท้ายเป็นอาจารย์ใหญ่ โรงเรียนวัดคงคา อ�ำเภอท่าศาลา (บัดนี้อยู่ในเขตของอ�ำเภอนบพิต�ำ) ปัจจุบันยังมีชีวิตอยู่ ๑๕. ยุวชนทหารแจ้ง ปาลิโพธิชาวท่าศาลา บ้านอยู ่ในตลาดท ่าศาลา ตอนเกิดสงคราม ไทยรบญี่ปุ่นที่ท่าแพ ท่านเรียนชั้นมัธยมที่โรงเรียนเบญจมราชูทิศ เข้าร่วมสงครามในวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๔๘๔ ณ สมรภูมิรบท ่าแพ รอดตายจากสงคราม ได้รับเหรียญชัยสมรภูมิเมื่อเรียนจบจากโรงเรียนเบญจมราชูทิศ ท่านเป็นครูสอนนักเรียนโรงเรียนราษฎร์ต่อมาสอบบรรจุเป็นข้าราชการครูต�ำแหน่งครั้งสุดท้ายเป็นอาจารย์ใหญ่ โรงเรียนวัดเทวดาราม สมรสกับครูเกสรข้าราชการครูโรงเรียนปทุมานุกูล ครูเกสรถึงแก ่กรรมเมื่อปี๒๕๕๗ อาจารย์แจ้ง ปาลิโพธิร่างกายยังแข็งแรงมีชีวิตยืนนานอีกหลายปีท่านกรุณาให้ข้อมูลยุวชนทหารที่เป็นเพื่อนกันมา เสียดายที่ไม่มีรูปของท่านในขณะที่แต่งเครื่องแบบยุวชนทหารเมื่อปี๒๔๘๔ ๑๖. ยุวชนทหารฉลาด อรชร ชาวท่าศาลา อยู่ในตลาดท่าศาลา ตอนเกิดสงครามก�ำลังเรียน ชั้นมัธยมที่โรงเรียนเบญจมราชูทิศ เข้าร่วมสงครามไทยญี่ปุ่นที่ท่าแพ ได้รับเหรียญชัยสมรภูมิเรียนจบออกมา บรรจุเป็นครูที่โรงเรียนบ้านท่าสูง ถูกย้ายไปสอนที่โรงเรียนบ้านปากลงต�ำบลนบพิต�ำ จากนั้นได้ลาออกมาประกอบ อาชีพส่วนตัว สมรสกับครูเพิ่มลูกสาวของหมื่นอุไร ปัจจุบันถึงแก่กรรมแล้วทั้งสองท่าน ๑๗. ยุวชนทหารครื้น สุประดิษฐ์ชาวท่าศาลา อยู่ที่บ้านยาง (บ้านวัดพระเลียบ) ต�ำบลท่าขึ้น ตอนสงครามก�ำลังเรียนชั้นมัธยมในตัวเมืองนครศรีธรรมราชรวมรบในสงครามไทยญี่ปุ่นที่ท่าแพ รอดตายจากการรบ ได้รับเหรียญชัยสมรภูมิเมื่อเรียนจบออกมาบรรจุเป็นข้าราชการครู เคยเป็นครูสอนที่โรงเรียนปทุมานุกูล ต�ำแหน่ง ครั้งสุดท้ายเป็นครูโรงเรียนวัดพระเลียบ สมรสกับนางประจวบ ศรีนุรักษ์ ปัจจุบันมีบ้านพักที่บ้านยางทางทิศเหนือ ของวัดพระเลียบ ยังมีชีวิตอยู่ทั้งสองท่าน ๑๘. ยุวชนทหารสมัย บุญสิงห์ ชาวท่าศาลา บ้านอยู่นบพิต�ำ (ปัจจุบันเป็นอ�ำเภอนบพิต�ำ) ช่วงเกิดสงครามก�ำลังเรียนอยู่ในตัวเมืองนครศรีธรรมราชผ่านการฝึกวิชายุวชนทหารเข้าร่วมรบในสงครามไทยญี่ปุ่น ที่ท่าแพ รอดตายจากสงครามได้รับเหรียญชัยสมรภูมิไม่ทราบรายละเอียดของท่านมากนัก ข้อมูลของท่านได้จาก อาจารย์แจ้ง ปาลิโพธิ


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 87 ๑๙. ยุวชนทหารวิชัย อรชรชาวท่าศาลาอยู่ในตลาดท่าศาลาเป็นน้องของยุวชนทหารฉลาดอรชร ท่านเรียนชั้นมัธยมที่โรงเรียนเบญจมราชูทิศ เข้าร่วมสงครามไทยญี่ปุ่นที่ท่าแพ รอดตายจากสงคราม ได้รับเหรียญ ชัยสมรภูมิเรียนจบออกมาท�ำงานเป็นครูอยู่ช่วงหนึ่งจากนั้นได้ลาออกมาประกอบชีพส่วนตัวสมรสกับ ครูสุปรานีอรชร ต�ำแหน่งครั้งสุดท้ายครูสุปรานีเป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๘ ส�ำหรับยุวชนทหารวิชัย อรชร และ ภรรยาถึงแก่กรรมแล้วทั้งสองท่าน ๒๐. ยุวชนทหารนิจ วัยวัฒน์เป็นชาวท่าศาลา เป็นบุตรของหมื่นวัยวัฒน์วิจารณ์อดีตผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๑ ต�ำบลท่าศาลา หมอนิจเป็นน้องชายของป้าศรีนวล ปักเข็ม บ้านเดิมของท่านอยู่ ณ ที่ตั้งโรงเรียนอนุบาล วัยวัฒน์ในปัจจุบันนี้เริ่มเรียนประถมที่โรงเรียนปทุมานุกูล เรียนชั้นมัธยมที่โรงเรียนเบญจมราชูทิศ เกิดสงครามไทย ญี่ปุ่นที่ท่าแพ จึงเข้าร่วมในการท�ำศึกครั้งนั้นด้วย ท่านรอดตายจากสงครามได้รับเหรียญชัยสมรภูมิเข้ากรุงเทพศึกษา ด้านสาธารณะสุขศาสตร์จบออกมารับราชการเป็นเจ้าหน้าที่สาธารณะสุขอ�ำเภอเกาะลันตาจังหวัดกระบี่ต่อมาย้าย มาที่อ�ำเภอสิชลและย้ายมาเป็นสาธารณสุขอ�ำเภอท่าศาลา ตอนหลังลาออกจากราชการ อีกหลายปีต่อมาหมอนิจ ตั้งโรงเรียนอนุบาลวัยวัฒน์บนที่ดินที่เป็นส่วนแบ่งของตนเอง เปิดท�ำการเรียนการสอนมาจนถึงทุกวันนี้ปัจจุบันยุวชน ทหารนิจ วัยวัฒน์ถึงแก่กรรมแล้วเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๙ ที่กรุงเทพมหานคร ยังมีทหารเกณฑ์ยุวชนทหารและลูกเสือ ที่เป็นชาวท่าศาลาอีกหลายคน รายชื่อของท่านเหล่านั้น ยังไม่ได้บันทึกเอาไว้ในเอกสารชิ้นนี้หากมีการค้นพบทีหลังจะได้น�ำมาบันทึกเอาไว้เพื่อความภูมิใจในบรรพบุรุษ ของลูกหลานชาวท่าศาลาในยุคปัจจุบัน รัชกาลที่ ๙ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (พ.ศ. ๒๔๘๙ - ๒๕๕๙) พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ราชสกุล มหิดล สายหนึ่งของราชวงศ์จักรี ประสูติที่โรงพยาบาลเมาต์ออเบิร์น เมืองเคมบริดจ์รัฐแมสซาชูเซตส์สหรัฐอเมริกา วันจันทร์เดือยอ้าย ขึ้น ๑๒ ค�่ำ นพสก จุลศักราช ๑๒๘๙ ตรงกับ วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๗๐ เหตุที่สมภพที่สหรัฐอเมริกาก็เพราะพระบรมราชชนก และ พระบรมราชชนนีทรงก�ำลังศึกษาวิชาการอยู่ที่นั่น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดชเป็นพระโอรสองค์ที่ ๓ ในสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์เป็นสมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดช วิกรม พระบรมราชชนกในเวลาต่อมา และ หม่อมสังวาล มหิดล ณ อยุธยา (ตระกุลเดิม ตะละพัฏ) เป็นสมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนีในเวลาต ่อมา ประสูติแล้วทรงได้รับพระราชทาน นามว่า พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช มีพระเชษฐาภคินี และพระเชษฐา ๒ พระองค์คือ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้า กัลยานิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์และพระบาทสมเด็จ พระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติเมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๔๘๙ รวมด�ำรงสิริราชสมบัติ๗๐ ปีเสด็จสวรรคตเมื่อ วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ รวมพระชนมพรรษา ๘๙ พรรษา


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 88 เหตุการณ์ส�ำคัญสมัยรัชกาลที่ ๙ ๑. กรณีพิพาทเขาพระวิหารระหว่างไทยกับกัมพูชา ความขัดแย้งเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๑ จาก ปัญหาของการอ้างสิทธิเหนือดินแดนบริเวณปราสาทพระวิหาร ชายแดนอ�ำเภอกันทรลักษณ์จังหวัดศรีสะเกษ และ ชายแดนของกัมพูชาด้านจังหวัดพระวิหารสาเหตุส�ำคัญเกิดจากการถือแผนที่ปักปันเขตชายแดนตาม แนวสันน�้ำของ เทือกเขาพนมดงรักคนละฉบับ ท�ำให้เกิดปัญหาพื้นที่ทับซ้อนของทั้งสองฝ่ายในพื้นที่อันเป็นที่ตั้งของตัวปราสาท โดย ทั้งสองฝ่ายทั้งไทยและกัมพูชายินยอมให้มีการพิจารณาปัญหาโดยศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ(ศาลโลก) ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๒ คดีนี้ศาลโลกได้ตัดสินให้ตัวปราสาทตกเป็นของกัมพูชา เมื่อ วันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๕ ด้วยคะแนนเสียง ๙ ต่อ ๓ ท่ามกลางความไม่พอใจของฝ่ายไทย ซึ่งเห็นว่าศาลโลกตัดสินคดี อย่างไม่เป็นธรรม อย่างไรก็ตามการตัดสินครั้งนี้ไม่สามารถแก้ปัญหาเรื่องอาณาเขตทับซ้อนระหว่างไทยกับกัมพูชา ยังคงเป็นปัญหาเรื้อรังมาจนถึงปัจจุบัน และได้เกิดปัญหาขึ้นมาอีกเมื่อ ๕-๖ ปีที่ผ่านมานี้เอง พ.ศ.๒๕๐๑-๒๕๐๒ สถานีวิทยุกระจายเสียงรายงานถึงความขัดแย้งเรื่องเขาพระวิหาร ระหว่างประเทศไทยกับประเทศกัมพูชา ท�ำให้ ประชาชนทั้งประเทศเกิดความไม่พอใจ ท�ำให้เกิดการประท้วงของประชาชนชาวไทยไปทั่วประเทศ ที่อ�ำเภอท่าศาลา ข้าราชการ ประชาชน นักเรียน เดินขบวนชูธงชาติแหแหนประท้วงกัมพูชาไปตามถนนในตัวอ�ำเภอท่าศาลาเดินขบวน จากหน้าอ�ำเภอไปหัวถนน ไปศาลาน�้ำไปตลาดอาทิตย์จรด คลองท่าสูง ๒. มหาวาตภัย พ.ศ. ๒๕๐๕ พายุเริ่มก่อตัวจากหย่อมความกดอากาศต�่ำเป็นพายุดีเปรสชั่น ในทะเลจีนใต้ตอนล่างนอกชายฝั่งประเทศเวียดนาม เมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ แล้วค่อยๆเคลื่อนตัวไปทาง ตะวันตกเข้ามาในอ่าวไทย ทวีก�ำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนนอกชายฝั่งจังหวัดสงขลาเรียกว่า พายุโซนร้อนแฮร์เรียต (Harriet) จากนั้นพายุเปลี่ยนทิศทางตรงมายังจังหวัดนครศรีธรรมราช เคลื่อนขึ้นฝั ่งตอนค�่ำของ วันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๐๕ ตรงบริเวณแหลมตะลุมพุก อ�ำเภอปากพนัง ด้วยความเร็วลมสูงสุด ๙๕ กิโลเมตรต่อชั่วโมง ขึ้นฝั่งที่ อ�ำเภอท่าศาลา ประมาณ ๒๑.๓๐ น. เมื่อขึ้นฝั่งความเร็วลมลดลงกลายเป็นพายุดีเปรสชั่น เคลื่อนผ่านนครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานีกระบี่ พังงา ภูเก็ตและลงทะเลอันดามัน เมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๐๕ ก่อนสลายตัวไปในอ่าวเบงกอล ใกล้กับประเทศบังคลาเทศเมื่อวันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๐๕ พายุแฮร์เรียตสร้างความเสียหายรุนแรงในพื้นที่ภาคใต้ ของประเทศไทย ตอนขึ้นฝั่งขนาดเมฆฝนของพายุมีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๓๐๐ กิโลเมตร กินพื้นที่เป็นวงกว้างก่อให้เกิด ฝนตกหนัก เกิดลมกรรโชกแรง เกิดลมหมุนวนอย ่างแรงโยกต้นไม้ล้มลงทุกทิศทุกทาง คลื่นลมในอ ่าวไทย ซัดแหลมตะลุมพุกในอ�ำเภอปากพนังอย่างหนักกวาดบ้านเรือนกวาดผู้คนลงทะเลเสียหายล้มตายลงเป็นจ�ำนวนมาก ทิศเหนือของจังหวัดนครศรีธรรมราชอาณาบริเวณความเสียหายถึงอ�ำเภอสิชล และ อ�ำเภอขนอม ที่อ�ำเภอท่าศาลา เกิดความเสียหายหนักทุกพื้น ภาพแหลมตะลุมพุก อ�ำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ภาพซ้ายมือ เป็นรูปร่างลักษณะของแหลมตะลุมพุกในปัจจุบัน ส่วนภาพขวามือ เป็นภาพที่ แสดงให้เห็นถึงความเสียหายจากพายุแฮร์เรียตเมื่อปี 2505 ภาพความเสียหายที่อ�ำเภอท่าศาลา ไม่มีแสดงไว้ให้เราได้เห็นเนื่องจากไม่ได้เก็บภาพเอาไว้ แต่ความเสียหายก็ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันสักเท่าไร ไฟไหม้ปากดวด ราชชนนีเสด็จ


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 89 ๓. จัดตั้งโรงเรียนท่าศาลาประสิทธิ์ศึกษา โรงเรียนท่าศาลาประสิทธิ์ศึกษาเป็นโรงเรียนประเภท สหศึกษาสังกัดกรมสามัญจัดตั้งตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๑๗ เป็นโรงเรียน มัธยมศึกษาขนาดใหญ่ประจ�ำอ�ำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช รับนักเรียนชั้น มศ. ๑ - ๓ ระยะแรกใช้ศาลา โรงธรรมวัดท ่าสูง ใช้ใต้ถุนกุฏิเจ้าอาวาสหลังที่สองและใช้ใต้ถุนกุฏิยาวเป็นที่เรียน โดยศึกษาธิการอ�ำเภอ นายสันติสุทธิพันธ์ เป็นผู้ประสานงานโดยใช้ชื่อพระครูประสิทธิ์ถาวรการเจ้าอาวาสวัดท่าสูง ที่อนุญาตให้ใช้ที่ดิน พระวัดนอกน�ำมาตั้งเป็นชื่อของโรงเรียนว่า โรงเรียนท่าศาลาประสิทธิ์ศึกษา (ท.ศ.) โดยมีอาจารย์ระวัย แก้วเขียว เป็นอาจารย์ใหญ่คนแรกการใช้ที่ดินพระวัดนอกสร้างโรงเรียนวัดท่าสูงมีการท�ำบุญล้างป่าช้าด้วยเพราะยังมีกระดูก ของคนตายฝังไว้ในพื้นที่พระวัดนอกอีกมาก เมื่อสร้างอาคารเรียนบนที่ดินพระวัดนอกเสร็จแล้ว จึงย้ายนักเรียนย้าย ครูออกจากวัดท่าสูงมาเรียนในอาคารใหม่ จากตอนนั้นถึงตอนนี้โรงเรียนท่าศาลาประสิทธิ์ศึกษาขยายชั้นเรียน และ ห้องเรียนเพิ่มมากขึ้น ๔. จัดตั้งอ�ำเภอพรหมคีรีเมื่อวันที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๑๗ กระทรวงมหาดไทยประกาศให้ ต�ำบลพรหมโลกต�ำบลบ้านเกาะต�ำบลอินคีรีที่อยู่ในเขตอ�ำเภอเมืองนครศรีธรรมราชและต�ำบลทอนหงส์ที่อยู่ในเขต อ�ำเภอท่าศาลาจัดตั้งเป็นกิ่งอ�ำเภอพรหมคีรี๗-๘ ปีต่อมากิ่งอ�ำเภอพรหมคีรียกฐานะเป็นอ�ำเภอพรหมคีรีเมื่อวันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๒๔ ต�ำบลทอนหงส์ของอ�ำเภอท่าศาลาไปตั้งเป็นต�ำบลทอนหงส์ของอ�ำเภอพรหมคีรีดังนั้น หมู่บ้าน โรงเรียน บุคลากรและวัดถูกโอนไปสังกัดอ�ำเภอพรหมคีรีดังเคยอธิบายแล้วว่าเขตต�ำบลทอนหงส์เดิม ประกอบด้วย พื้นที่ของ ๒ เมืองคือส่วนหนึ่งของเมืองโมคลานมีหลายหมู่บ้าน เช่น บ้านทอนหงส์บ้านชุมขลิง บ้านดอนคา บ้านวังลุง เป็นต้น และส่วนหนึ่งของเมืองอินคีรีมีหลายหมู่บ้าน เช่น บ้านเก้ากอ บ้านในเขียว บ้านอ้ายคูบ้านคลองเมียดเป็นต้น วัดของอ�ำเภอท่าศาลาไปอยู่กับอ�ำเภอพรหมคีรีดังนี้วัดทอนหงส์วัดท่ายายหนีวัดคงคาวง (วัดอ้ายเขียว) โรงเรียน ที่เคยอยู่กับอ�ำเภอท่าศาลาโอนไปขึ้นกับอ�ำเภอพรหมคีรีดังนี้ โรงเรียนบ้านชุมขลิง โรงเรียนชุมชนวัดทอนหงส์ โรงเรียนบ้านวังลุง โรงเรียนบ้านในเขียวครูอาจารย์ที่เคยอยู่ในสังกัดอ�ำเภอท่าศาลาต้องโอนไปสังกัดอ�ำเภอพรหมคีรี เช่น อาจารย์ธง ทัศนโกวิท ครูใหญ่โรงเรียนชุมชนวัดทอนหงส์อาจารย์นิยม กิ่งรัตน์อาจารย์ประจวบ คุณโลก อาจารย์ผลึก หวายน�ำ อาจารย์จิตต์เกิดสมบัติอาจารย์จิตต์บ้านอยู่ดอนคาอ�ำเภอพรหมคีรีแต่ไปเป็นครูใหญ่โรงเรียน วัดสวนหมาก อ�ำเภอท่าศาลา เป็นต้น การจัดตั้งกิ่งอ�ำเภอพรหมคีรีท�ำให้พื้นที่ของอ�ำเภอท่าศาลาลดลงเช่น พื้นที่การเกษตร พื้นที่ป่า พื้นที่แหล่งท่องเที่ยว เช่น ภูเขา น�้ำตกสายน�้ำ ล�ำคลองถ�้ำ และแหล่งโบราณคดีท�ำให้ผลประโยชน์ที่อ�ำเภอท่าศาลา ได้รับอยู่ต้องหลุดลอยไป จ�ำนวนประชากรของอ�ำเภอท่าศาลาโดยรวมก็ลดลงไปด้วย ๕. พายุโซนร้อนฟอร์เรสต์ (Forrest)ก่อตัวขึ้นในมหาสมุทรแปซิฟิกเมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๕ เมื่อเคลื่อนตัวสู่ทะเลจีนใต้ตอนล่าง ได้อ่อนก�ำลังลงกลายเป็นหย่อมความกดอากาศต�่ำอยู่ระยะหนึ่ง ต ่อมาวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ได้ทวีก�ำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชัน และทวีก�ำลังเป็นพายุเขตร้อนตามล�ำดับ เคลื่อนตัวเข้าสู่อ่าวไทยและขึ้นฝั่งบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราชในขณะที่เป็นพายุเขตร้อน เมื่อวันที่๑๕ พฤศจิกายน พัดผ่านอ�ำเภอท่าศาลา อ�ำเภอสิชล เคลื่อนตัวผ่านสุราษฎร์ธานีพังงา ลงสู่ทะเลอันดามันในวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน พายุลูกนี้ขณะอยู่ในทะเลท�ำให้เกิดคลื่นลมแรงจัดเมื่อเคลื่อนขึ้นสู่ฝั่งจึงท�ำความเสียหายอย่างมากมายให้แก่บ้านเรือน โรงเรียน วัดวาอาราม ไร่นา ผู้คน สัตว์เลี้ยง ในจังหวัดนครศรีธรรมราช และสุราษฎร์ธานีประเมินความเสียหาย มากกว่า ๓,๐๐๐ ล้าน บาท


Click to View FlipBook Version