The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

เอกสารประกอบการเรียน ท่าศาลาศึกษา

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

เอกสารประกอบการเรียน ท่าศาลาศึกษา

เอกสารประกอบการเรียน ท่าศาลาศึกษา

Keywords: ท่าศาลา

หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 190 อุปกรณ์ที่จ�ำเป็น ๑. ปุ๋ยเร่ง สูตร ๘-๒๔-๒๔ / ๙-๒๔-๒๔ / ๑๒-๒๔-๑๒ ต้นละ ๑ กิโลกรัม ๒. กรรไกรตัดแต่ง ๓. ไม้กวาดใบไม้หรือหญ้า ๔. ปล้อง ๕. เครื่องฉีดพ่น การผลิตมังคุดนอกฤดู เป็นวิธีที่นิยมท�ำกันในพื้นที่ภาคใต้โดยเฉพาะในพื้นที่ จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งมีปัจจัยที่เอื้อต่อการผลิตเป็นอย่างยิ่ง จึงพบว่ามีเกษตรกรประสบความส�ำเร็จหลายท่าน


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 191 เมืองมหาวิทยาลัย บทที่ ๗ สาระส�ำคัญ ประวัติความเป็นมาของการก่อตั้งมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เหตุผลการเกิดศูนย์การแพทย์ของมหาวิทยาลัย วลัยลักษณ์และผลที่เกิดขึ้นจากการก่อตั้งมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ตัวชี้วัด ๑. อธิบายประวัติความเป็นมาการก่อตั้งมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ๒. อธิบายถึงเหตุผลการก่อตั้งศูนย์การแพทย์ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ๓. อธิบายที่เกิดขึ้นจากการก่อตั้งมหาวิทยาลัย ๔. มีทักษะในการน�ำเสนอ โดยการถ่ายทอดความรู้จากการฟังบรรยายไปยังบุคคลอื่น ๆ ได้ ขอบข่ายเนื้อหา เรื่องที่ ๑ ประวัติความเป็นมาของการก่อตั้งมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เรื่องที่ ๒ การเกิดศูนย์การแพทย์ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เรื่องที่ ๓ ผลที่เกิดขึ้นในการก่อตั้งมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เวลาที่ใช้ในการศึกษา ๔ ชั่วโมง สื่อการเรียนรู้ ๑. เอกสารประกอบการเรียนหลักสูตรรายวิชาเลือกท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ๒. คู่มือนักศึกษา รายวิชาเลือกท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ๓. สื่อเสริมการเรียนรู้อื่น ๆ


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 192 เรื่องที่ ๑ ประวัติความเป็นมาของการก่อตั้งมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ๑.๑ ภูมิหลังมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เกิดขึ้นจากความพยายามของชาวนครศรีธรรมราชที่ต้องการจะมีสถาบัน การศึกษาระดับอุดมศึกษาขึ้นในจังหวัด ความคิดนี้ถูกจุดประกายและก ่อตัวมาตั้งแต ่ปี๒๕๑๐ จนกระทั่ง ในปีพุทธศักราช ๒๕๒๗ นายอเนก สิทธิประศาสน์ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช สมัยนั้นในนามของชาว นครศรีธรรมราชได้เสนอเรื่องไปยังรัฐบาล ให้พิจารณาจัดตั้งมหาวิทยาลัย ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ขณะเดียวกัน ประชาชนได้รวมตัวกันจัดตั้งเป็นคณะกรรมการรณรงค์ให้มีมหาวิทยาลัยที่จังหวัดนครศรีธรรมราชเพื่อแสดงถึงพลัง ความตั้งใจให้รัฐบาลทราบ วันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๓๔ คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติโครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัย ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช พร้อมทั้งได้น�ำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณา เพื่อขอพระราชทานนามมหาวิทยาลัย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู ่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า “มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์” อันเป็นสร้อยพระนามในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์อัครราชกุมารีเมื่อวันที่๘ กุมภาพันธ์๒๕๓๕ และเมื่อวันที่๒๙ มีนาคม ๒๕๓๕ ทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์พุทธศักราช ๒๕๓๕ โดยพระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลบังคับใช้ได้ในวันที่ ๘ เมษายน ๒๕๓๕ หลังจากที่ประกาศในราชกิจนุเบกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จึงได้ถือเอาวันที่๒๙ มีนาคม ๒๕๓๕ เป็นวันสถาปนามหาวิทยาลัย นับตั้งแต่พระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์พุทธศักราช ๒๕๓๕ มีผลบังคับใช้ได้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการจัดหาที่ดิน เพื่อจัดตั้ง มหาวิทยาลัยที่จังหวัดนครศรีธรรมราชโดยคณะกรรมการชุดนี้ได้พิจารณาที่ดินสาธารณะประโยชน์ใน อ�ำเภอท่าศาลา ที่ขึ้นทะเบียนไว้เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๗๖ คือ ที่ดินสงวนทุ่งบ้านไผ่ กับที่ดินสงวน ทุ่งคลองปุด ทุ่งหาดทรายขาว และทุ่งบ่อนิง เป็นที่ตั้งมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์และกระทรวงมหาดไทยได้อนุมัติในหลักการให้ใช้ที่ดินสาธารณะ ประโยชน์ดังกล ่าว ๙,๐๐๐ ไร ่ โดยมหาวิทยาลัยเป็นผู้จ ่ายเงินชดเชยค ่าทรัพย์สินและผลอาสินให้แก ่ราษฎร ที่อยู่ในพื้นที่นั้น ขณะเดียวกันกระทรวงมหาดไทยได้อนุญาตให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร โดยส�ำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม ด�ำเนินการจัดสรรให้ราษฎรครัวเรือนละห้าไร่ตามกฎหมายที่ปฏิรูป ที่ดินเมื่อวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๓๗ เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ราษฎรที่ไม่มีที่อยู่อาศัยและที่ท�ำกิน อันเนื่องมาจากการจัดตั้งมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์และ เมื่อวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๔๐ ได้มีพิธีมอบหนังสืออนุญาต ให้เข้าท�ำประโยชน์(ส.ป.ก.๔-๐๑) ให้แก่ ราษฎรรุ่นแรก ๑.๒ ประวัติความเป็นมาของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พ.ศ. ๒๕๑๐ ชาวนครศรีธรรมราชเริ่มก่อตัวเรียกร้องให้มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๒๒ ส.ส. นครศรีธรรมราช เริ่มเสนอร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. ๒๕๒๗ ประชาชนรวมตัวกันจัดตั้งคณะกรรมการรณรงค์ให้มีมหาวิทยาลัยที่จังหวัดนครศรีธรรมราช คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการให้มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยใหม่ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ๑๓ กันยายน ๒๕๓๑ คณะรัฐมนตรีมีมติให้จัดตั้งวิทยาลัยนครศรีธรรมราช สังกัดมหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์เพื่อยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศต่อไป


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 193 ๔ เมษายน ๒๕๓๓ คณะรัฐมนตรียกเลิกมติเดิมและอนุมัติให้จัดตั้งมหาวิทยาลัย ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ๒๐สิงหาคม๒๕๓๔คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติโครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ๘ กุมภาพันธ์๒๕๓๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มหาราช พระราชทานชื่อว่า มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์พุทธศักราช ๒๕๓๕ ๒๙ มีนาคม ๒๕๓๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มหาราช ทรงลงพระปรมาภิไธย ในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์พุทธศักราช ๒๕๓๕ และมหาวิทยาลัยถือเอาวันนี้เป็นวันสถาปนา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ๗ เมษายน ๒๕๓๕ ประกาศพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์พุทธศักราช ๒๕๓๕ ในราชกิจจา นุเบกษา ๘ เมษายน ๒๕๓๕ พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์พุทธศักราช ๒๕๓๕ มีผลบังคับใช้ ๘ เมษายน ๒๕๓๖ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์อัครราชกุมารีพระราชทานพระอนุญาตให้อัญเชิญ ตราพระนามของพระองค์ท่านเป็นตราประจ�ำมหาวิทยาลัย ๒๔ มิถุนายน ๒๕๓๖ จัดตั้งส�ำนักงานอธิการบดีและหน่วยประสานงานมหาวิทยาลัย วลัยลักษณ์ กรุงเทพมหานคร ๑๐ มกราคม ๒๕๓๙ รัฐบาลโดยมติคณะรัฐมนตรีอนุมัติโครงการอุทยานการศึกษาเฉลิมพระเกียรติ ในวโรกาสเฉลิมฉลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี ๒๑ มกราคม ๒๕๓๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราชพระราชทานชื่ออุทยาน การศึกษาเฉลิมพระเกียรติ ๒๙ มีนาคม ๒๕๓๙ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์อัครราชกุมารี เสด็จพระราชด�ำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ณ อ�ำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ๑ กรกฎาคม ๒๕๔๐ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เข้าด�ำเนินงาน ณ ที่ตั้งมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อ�ำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๔๑ เปิดด�ำเนินการรับนักศึกษารุ่นแรกขึ้นทะเบียน ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๔๑ เปิดสอนวันแรก ๑.๒.๑ ฐานะและรูปแบบ ฐานะและรูปแบบตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พุทธศักราช ๒๕๓๕ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีฐานะเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐมีรูปแบบเป็นมหาวิทยาลัยในก�ำกับของรัฐบาลบริหารอิสระ จากระบบราชการ มีระบบบริหารงานเป็นของตนเอง เป็นมหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบ (Comprehensive University) ที่มีการพัฒนาสภาพแวดล้อมให้ลักษณะเป็นเมืองมหาวิทยาลัยในรูปแบบ (Residential University) และเป็น มหาวิทยาลัยเพื่อชุมชนโดยจัดพื้นที่ทั้งหมดของมหาวิทยาลัยให้เป็นแหล่งศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบ ในลักษณะ อุทยานการศึกษาและเป็นมหาวิทยาลัยที่มีวิทยาเขตเดียว


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 194 ๑.๒.๒ ภารกิจ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีภารกิจหลัก ๔ ประการ คือ ๑. ผลิตและพัฒนาก�ำลังคนระดับสูงให้มีมาตรฐานที่สอดคล้องกับความต้องการ ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคใต้และของประเทศ ๒. ด�ำเนินการศึกษาค้นคว้าวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ใหม ่ให้สามารถน�ำไปใช้ ในการผลิตให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพเพื่อความสามารถในการพึ่งตนเองในการแข่งขันในระดับนานาชาติ ๓. ให้บริการทางวิชาการแก่หน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชนในด้านการให้ค�ำปรึกษา และแนะน�ำการวิจัยและพัฒนาการทดสอบการส�ำรวจรวมทั้งการฝึกอบรมและการพัฒนาอันก่อให้เกิดการถ่ายทอด เทคโนโลยีที่จ�ำเป็นและเหมาะสมเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของภูมิภาคและประเทศชาติ ๔. อนุรักษ์และฟื้นฟูศิลปะและวัฒนธรรมอันเป็นจารีตประเพณีรวมทั้งศิลปะบริสุทธิ์ และศิลปะประยุกต์เพื่อให้มหาวิทยาลัยเป็นศูนย์รวมของชุมชนและเป็นแบบอย่างที่ดีของสังคม ๑.๒.๓ ตราประจ�ำมหาวิทยาลัย เป็นตราสัญลักษณ์ที่อัญเชิญตราพระนามย่อ “จภ” ภายใต้จุลมงกุฎ ซึ่งเป็นตราพระนาม ในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์อัครราชกุมารี ๑.๒.๔ วิสัยทัศน์ “เป็นองค์การธรรมรัฐ เป็นแหล่งเรียนรู้เป็นหลักในถิ่น เป็นเลิศสู่สากล” มหาวิทยาลัยในก�ำกับของรัฐที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระร าชท านชื่อว ่ า “มห าวิทย าลัยวลัยลักษณ์”อันเป็นสร้อยพระน ามในสมเด็จพระเจ้ าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี(ร.๙) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เป็นมหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบ (Comprehensive University) ที่จัดการเรียนการสอนครอบคลุมทั้งด้าน วิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีและสังคมศาสตร์โดยพัฒนาสภาพแวดล้อมให้เป็นเมืองมหาวิทยาลัยในรูปแบบ Residential University ๑.๒.๕ ระบบการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ใช้ระบบหน่วยวิชา (Course Unit) จัดการเรียนการสอนแบบ ไตรภาค (Trimester) ปีหนึ่งแบ่งเป็น ๓ ภาคการศึกษา นักศึกษาระดับปริญญาตรีจะใช้เวลาศึกษาตามหลักสูตร ๔, ๕ และ ๖ ปีตามล�ำดับ โดยมหาวิทยาลัยก�ำหนดให้นักศึกษาไปปฏิบัติงาน สหกิจศึกษา(CooperativeEducation) เป็นระบบการศึกษาที่จัดให้มีการผสมผสานการเรียนของนักศึกษาภายในมหาวิทยาลัย และสถานประกอบการ เพื่อเพิ่มประสบการณ์เสริมทักษะด้านวิชาชีพแก่นักศึกษาให้สามารถน�ำทฤษฎีไปสู่ภาคปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม พัฒนาบัณฑิตให้มีคุณภาพสูงขึ้นและตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน โดยนักศึกษาจะต้องออกไปปฏิบัติงาน จริงในสถานประกอบการ อย่างน้อย ๑ ภาคการศึกษา โดยคณาจารย์ร่วมกับสถานประกอบการจะนิเทศงาน และประเมินนักศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพ ศักยภาพนักศึกษา และน�ำข้อมูลที่ได้จากการนิเทศมาพัฒนาหลักสูตร และงานวิชาการของสถานศึกษา


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 195 ๑.๒.๖ การรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีก�ำหนดรับนักศึกษาในระดับปริญญาตรีดังนี้ ๑. ประเภทรับตรงทั่วประเทศด้วยPortfolioเดือนตุลาคม ๒๕๖๐ -กุมภาพันธ์๒๕๖๑ ๒. ประเภทโควตา ๑๔ จังหวัดภาคใต้และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์เดือนธันวาคม ๒๕๖๐ – เมษายน ๒๕๖๑ ๓. รับสมัครนักศึกษาระบบส่วนกลาง (ทปอ.) เดือนพฤษภาคม ๒๕๖๑ ๔. ประเภท Admissions (สกอ.) เดือนมิถุนายน ๒๕๖๑ การรับสมัครนักศึกษาหลักสูตรแพทยศาสตร์ส�ำนักวิชาแพทยศาสตร์ใน ๕ จังหวัด คือ จังหวัดนครศรีธรรมราช ภูเก็ต ตรัง กระบี่และพังงา โดยมีเกณฑ์คุณสมบัติตามที่มหาวิทยาลัยก�ำหนด ๑.๒.๗ ปณิธานมหาวิทยาลัย มีจุดมุ่งหมายหลักในการบุกเบิกแสวงหา บ�ำรุงรักษาและถ่ายทอดความรู้เพื่อสร้างสรรค์ จรรโลงความก้าวหน้า และความเป็นเลิศทางวิชาการ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาบุคคลให้เป็นผู้มีความเรือง ปัญญาและคุณธรรม รวมทั้งเอื้ออ�ำนวยต่อความเจริญของสังคมและของมนุษยชาติมิมีวันเสื่อมสูญ มุ่งสร้างบัณฑิต ให้เป็นทั้ง คนดีและคนเก่ง โดยเน้น ๑. ความเป็นคนที่ทันสมัยในฐานะพลเมือง และพลโลก ที่มีอุดมการณ์ประชาธิปไตย รู้รอบ และมีทัศนคติที่กว้างไกล ๒. ความเป็นนักวิชาการและวิชาชีพชั้นสูงที่มีความรู้ความสามารถและทักษะในสาขา ที่ศึกษาลึกซึ้ง และประยุกต์ไปสู่การปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ๓. ความเป็น “ศึกษิต” ที่มีมโนธรรม คุณธรรม และจรรยาวิชาชีพ ๑.๒.๘ เพลงประจ�ำมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มีเพลงประจ�ำมหาวิทยาลัยหลายเพลง เช่น เพลงรวมใจมวล เพลงแสดม ่วงในดวงใจ เพลงแสดม ่วงสามัคคีเพลงรักวลัยลักษณ์ เพลงร�ำวงลูกมวล เพลงราตรีแสดม ่วง เพลงเพื่อโลกสวยเพลงวลัยลักษณ์ของเรา เพลงศรัทธารักวลัยลักษณ์เพลงสายใยวลัยลักษณ์เพลงสู้ด้วยใจเพลงลา แล้ววลัยลักษณ์เป็นต้น


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 196 ๑.๒.๙. ส�ำนักวิชาและหลักสูตรการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เปิดรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา(โท-เอก) ดังนี้ ส�ำนักวิชา ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก วิทยาศาสตร์ - วิทยาศาสตร์เชิงค�ำนวณ - เคมี - ฟิสิกส์ - วิทยาศาสตร์เชิงค�ำนวณ - เคมี - ฟิสิกส์ - วิทยาศาสตร์เชิงค�ำนวณ ศิลปศาสตร์ - ภาษาอังกฤษ - ภาษาจีน - อาเซียนศึกษา - ไทยศึกษาบูรณาการ - ภาษาอังกฤษ - เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ศึกษา - ภาษาอังกฤษ - เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ศึกษา - เอเซียศึกษา การจัดการ - บัญชี - เศรษฐศาสตร์ - บริหารธุรกิจ - บริหารธุรกิจ (อุตสาหกรรมท่องเที่ยว) - บริหารธุรกิจ - บริหารธุรกิจ สารสนเทศศาสตร์ - นิเทศศาสตร์ - เทคโนโลยีสารสนเทศ - การจัดการสารสนเทศ ดิจิทัล - เทคโนโลยีมัลติมีเดียและ แอนิเมชัน - วิศวกรรมซอฟต์แวร์ - การจัดการเทคโนโลยี สารสนเทศ - การจัดการเทคโนโลยี สารสนเทศ เทคโนโลยีการเกษตร - นวัตกรรมการเกษตรและ การประกอบการ - อุตสาหกรรมเกษตร - วิทยาศาสตร์การเกษตร - อุตสาหกรรมเกษตร - วิทยาศาสตร์การเกษตร - อุตสาหกรรมเกษตร วิศวกรรมศาสตร์และ ทรัพยากร - วิศวกรรมไฟฟ้า - วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ - วิศวกรรมพอลิเมอร์ - วิศวกรรมโยธา - วิศวกรรมเคมีและ กระบวนการ - เทคโนโลยีการจัดการ ทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่ง - วิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม - วัสดุศาสตร์และ วิศวกรรมวัสดุ - วิศวกรรมโยธาและ สิ่งแวดล้อม - วิศวกรรมเคมี - วัสดุศาสตร์และ วิศวกรรมวัสดุ - วิศวกรรมโยธา และสิ่งแวดล้อม - วิศวกรรมเคมี


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 197 ส�ำนักวิชา ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก สหเวชศาสตร์ - เทคนิคการแพทย์ - กายภาพบ�ำบัด - เทคนิคการแพทย์ (Bilingual program) - ชีวเวชศาสตร์ - ชีวเวชศาสตร์ ศิลปศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ - พยาบาลศาสตร์ (การพยาบาลผู้ใหญ่) - พยาบาลศาสตร์ (การพยาบาลเวชปฏิบัติ ชุมชน) - ภาษาอังกฤษ - เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ศึกษา - เอเซียศึกษา ประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล สถาปัตยกรรมศาสตร์ และการออกแบบ - สถาปัตยกรรมศาสตร์ - การออกแบบอุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ และบรรจุภัณฑ์ - การออกแบบภายใน - ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตร์ เภสัชศาสตร์ - เภสัชศาสตร์ - วิทยาการด้านยาและ เครื่องส�ำอาง - วิทยาการด้านยาและ เครื่องส�ำอาง แพทยศาสตร์ - แพทยศาสตร์ - วิทยาศาสตร์การแพทย์ - วิทยาศาสตร์การแพทย์ รัฐศาสตร์และ นิติศาสตร์ - รัฐศาสตร์ - นิติศาสตร์ - รัฐประศาสนศาสตร์ - นิติศาสตร์กฎหมาย ประยุกต์(ทวิภาษา) - รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์** - รัฐศาสตร์ ตะวันออกกลางศึกษา** - รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์** - รัฐศาสตร์ ตะวันออกกลางศึกษา** วิทยาลัย ทันต แพทยศาสตร์นานาชาติ - ทันตแพทยศาสตร์* วิทยาลัยสัตวแพทย ศาสตร์อัครราชกุมารี - สัตวแพทยศาสตร์* วิทยาศาสตร์ทางการ สัตวแพทย์ศาสตร์* วิทยาลัยนานาชาติ - วิศวกรรมนวัตกรรมดิจิทัล* - ศิลปศาสตร์กิจการ สาธารณะ* - บริหารธุรกิจ การวิเคราะห์ โลจิสติกส์และการจัดการ ซัพพลายเชน* * หลักสูตรนานาชาติ ** หลักสูตรที่อยู่ระหว่างด�ำเนินการ


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 198 ๑.๒.๑๐ Wireless Campus แหล่งเรียนรู้ไร้ขีดจ�ำกัด มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้น�ำระบบเครือข่ายไร้สายมาใช้ในมหาวิทยาลัยเพื่อความคล่อง ตัวของนักศึกษาในการรับส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายได้ตลอดเวลา นักศึกษาสามารถใช้คอมพิวเตอร์พีซีหรือโน้ตบุ๊คเพื่อค้นคว้าข้อมูลในห้องสมุด หรือใช้อินเตอร์เน็ตจากสนามหญ้า หอพักนักศึกษา หรือบริเวณใด ๆ ของมหาวิทยาลัยได้ ๑.๒.๑๑ Green Campus แหล่งเรียนรู้ภายใต้สิ่งแวดล้อมที่ดี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เป็นมหาวิทยาลัยที่เป็นอุทยานการศึกษาได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู ่หัว(รัชกาลที่ ๙) พระราชทานชื่อว ่า “อุทยานการศึกษาเฉลิมพระเกียรติ” โดยได้ออกแบบพื้นที่ทั้งหมดกว่า ๙,๐๐๐ ไร่ ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่รื่นรมย์ทั้งด้านธรรมชาติสิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีศาสนาศิลปะวัฒนธรรมและโบราณคดีฯลฯ มีทางเดินหลังหลังคาคลุม (CoverWalkWay) เชื่อมต่อ อาคารเรียนต่าง ๆ เพื่อให้นักศึกษาเดินหรือใช้จักรยานในพื้นที่มหาวิทยาลัยเพื่อความปลอดภัย ประหยัดพลังงาน ด้วยความคาดหวังให้มหาวิทยาลัยแห่งนี้เป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว ร่มรื่น เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีสิ่งแวดล้อมที่ดี ๑.๒.๑๒ กิจกรรมนักศึกษา มหาวิทยาลัยได้จัดระบบส ่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมนักศึกษาเป็นเครื่องมือส�ำคัญ ในการพัฒนานักศึกษาให้เป็นบัณฑิตที่ ดีและเก่ง สามารถท�ำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดีและมีจิตส�ำนึกสาธารณะ ภายใต้ โครงสร้างองค์การนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัยเพียงระดับเดียวประกอบด้วย สภานักศึกษา องค์การนักศึกษา และชมรม โดยเน้นให้นักศึกษาเป็นศูนย์กลางในการจัดกิจกรรมซึ่งนักศึกษาสามารถรวมกันจัดตั้งชมรม หรือกลุ่ม กิจกรรมตามความสนใจภายในองค์การนักศึกษา และเข้าร่วมกิจกรรมกับชมรมต่าง ในด้านต่าง ๆ ได้แก่ ๑. ด้านพัฒนาทักษะบุคลิกภาพและคุณภาพชีวิต ๒. ด้านกีฬาพลานามัย ๓. ด้านศิลปะและวัฒนธรรม ๔. ด้านพัฒนาสังคมและบ�ำเพ็ญประโยชน์ ๕. ด้านอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ๖. ด้านวิชาการ มหาวิทยาลัยจัดบริการและสวัสดิการนักศึกษาควบคู่ไปกับการจัดการเรียนการสอน โดยจัดสภาพแวดล้อมในมหาวิทยาลัยให้เอื้ออ�ำนวยต่อการพัฒนานักศึกษาทั้งทางร่างกายอารมณ์สังคม สติปัญญา และบุคลิกภาพ ดังนี้ ๑. บริการสุขภาพอนามัยและประกันสุขภาพ ๒. บริการให้ค�ำปรึกษาและแนะแนว ๓. บริการด้านการสื่อสาร ๔. บริการด้านทหารและการเดินทาง ๕. ทุนการศึกษา ๖. หอพักนักศึกษา มหาวิทยาลัยจัดหอพักนักศึกษาภายในมหาวิทยาลัยให้เป็นชุมชน แห่งการเรียนรู้อยู่อาศัยและเอื้ออาทร (Living Learning and Caring Center) โดยจัดให้มีบริการและสวัสดิการ ต่าง ๆ ในแต่ละหอพัก และมีที่ปรึกษาหอพักเป็นพี่เลี้ยงตลอด 24 ชั่วโมง


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 199 โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นโรงพยาบาลในสังกัด มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ซึ่งเกิดจากความต้องการของประชาชนในพื้นที่ จัดตั้งเพื่อให้บริการและเป็นโรงพยาบาลชั้นน�ำของภาคใต้ตอนบน บนพื้นที่ ๔๐๕ ไร่ วันที่ ๒๔ เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เปิดโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์(ระยะน�ำร่อง) ณ อาคารวิจัยวิทยาการสุขภาพ วันที่ ๒๓ เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๐ นายจ�ำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นประธานเปิดโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์(ระยะแรก) อย่างเป็นทางการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เปิดโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ในระยะเริ่มแรกได้เปิด เพื่อให้บริการแก่บุคลากร นักศึกษา และประชาชนทั่วไป พร้อมทั้งสนับสนุนด้านการเรียนการสอน ด้านการวิจัย ด้านบริการวิชาการ แก่ส�ำนักวิชากลุ่ม วิทยาศาสตร์สุขภาพของมหาวิทยาลัย ตามนโยบายการก่อสร้างโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ปี๒๕๕๓ รัฐบาลได้จัดงบ ประมาณในการก่อสร้าง จ�ำนวนเงิน ๕,๖๐๐ ล้านบาท บนเนื้อที่ ๔๐๕ ไร่ และเริ่มก่อสร้างประมาณเดือน มีนาคม ปี๒๕๕๙ จ�ำนวน ๗ อาคาร ประกอบไปด้วย อาคาร A, B, C, D, E, และ F ซึ่งคาดว่าก่อสร้างแล้วเสร็จในปี๒๕๖๒ รับรองผู้มาใช้บริการมากกว่า ๑,๐๐๐,๐๐๐ คนต่อปีเมื่อการก่อสร้างตึกแล้วเสร็จ พร้อมเปิดให้บริการใน ปี๒๕๖๓ ก็จะเพิ่มจ�ำนวนเตียงจนถึง ๗๕๐ เตียงและเปิดให้บริการรักษาในระดับตติยภูมิคือให้บริการดูแลรักษาโรคที่ซับซ้อน และใช้เครื่องมือที่เป็นเทคโนโลยีชั้นสูงใหม่ล่าสุดรวมถึงการศึกษาวิจัยการใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ด้วยรวมทั้งจัดตั้งศูนย์ ความเป็นเลิศ ๔ ด้าน ได้แก่ ๑. ด้านศูนย์หัวใจ ๒. ด้านศูนย์มะเร็ง ๓. ด้านศูนย์ผิวหนัง ๔. ด้านศูนย์ผู้สูงอายุ และเป็นศูนย์ในการรับส่งต่อผู้ป่วยจากโรงพยาบาลอื่น ๆ ในเขตภาคใต้ตอนบน โดยมีผู้อ�ำนวยการคนแรก คือ นายแพทย์จรัส จันทร์ตระกูล ด�ำรงต�ำแหน่งเมื่อวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๐ เรื่องที่ ๒ การเกิดศูนย์การแพทย์ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 200 พันธกิจของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ต่อการพัฒนาชุมชนและสังคม ภายใต้วิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ที่มุ่งเป็น “หลักในถิ่น” มหาวิทยาลัยมีความมุ่งมั่น ที่จะรับ ใช้ชุมชนและสังคม โดยเน้นการบูรณาการองค์ความรู้จากคณาจารย์นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญจาก ทุกหน่วยงาน ของมหาวิทยาลัยเพื่อส่งมอบองค์ความรู้หลักวิชาการและแนวปฏิบัติเพื่อช่วยเหลือและร่วมแก้ไขปัญหาของชุมชน และสังคม โดยมีศูนย์บริการวิชาการเป็นหน่วยงานหลักในการก�ำหนดทิศทางการด�ำเนินงานด้านวิชาการรับใช้สังคม ร่วมประสานงานความร่วมมือระหว่างส�ำนักวิชา บูรณการความร่วมมือกับเครือข่ายภายนอกมหาวิทยาลัยทั้งภาครัฐ และเอกชน รวมทั้งท�ำงานร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชน เพื่อสร้างผลประโยชน์แก่ภาพรวมทุกภาคส่วน ที่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนเชิงประจักษ์ ศูนย์บริการวิชาการได้สร้างแบบจ�ำลองต้นไม้แห่งความสุข มวล. (WU HAPPY TREE) เพื่อสร้างแนวทาง การท�ำงานน�ำผลงานวิชาการ วิจัย และนวัตกรรมจากมหาวิทยาลัย เพื่อพัฒนาต่อยอดการใช้ในชุมชน ต้นไม้แห่ง ความสุข เพื่อสร้างความสุขให้กับชุมชนแบบองค์รวม Holistic area based development โดยประกอบด้วย ๕ กิ่งก้านความสุขในมิติต่าง ๆ ดังนี้ ด้านอาชีพ มุ่งสร้าง ยกระดับ และผลักดันให้ชุมชนมีอาชีพที่ยั่งยืน สร้างรายได้และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น บนพื้นฐานตามความต้องการ จุดเด ่นของพื้นที่ บริบทชุมชน และความถนัดของชุมชนเป้าหมาย ประยุกต์ใช้ ความเป็นเลิศทางวิชาการจากมหาวิทยาลัยเพื่อตอบโจทย์ตามแง่มุมที่ชุมชนต้องการ การด�ำเนินงานในช่วงเวลา ที่ผ่านมามีหลากหลายพื้นที่ได้ยกระดับอาชีพเพื่อความยั่งยืนอย่างชัดเจน อาทิการยกระดับการผลิตและการแปรรูป ส้มโอทับทิมสยาม โดยร่วมมือกับภาคเอกชน มูลนิธิและภาครัฐเกษตรอ�ำเภอผู้น�ำหมู่บ้าน ผู้น�ำศาสนาและประชาชน ในพื้นที่ยกระดับการแปรรูป และการผลิตโดยชีวินทรีย์เชื้อราไตรโคเดอมาร์ซึ่งช่วยให้ผลผลิตส้มโอมีคุณภาพมากขึ้น ลดการใช้สารเคมีและลดต้นทุนการผลิต โครงการยกระดับสินค้าปลาดุกร้าท่าซัก ควบคุมความชื้นและกระบวนการจัดท�ำบรรจุภัณฑ์รวมทั้งยื่น จดมาตรฐานสินค้า น�ำมาซึ่งผลงานรางวัลสินค้ายอดเยี่ยมมอบให้โดยหลายหน่วยงาน นอกจากนี้ยังน้อมรับโครงการพระราชด�ำริสร้างชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียงที่ได้รับรางวัลระดับชาติ โดยท�ำงานร่วมมือแบบบูรณาการกับทุกภาคส่วนที่มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น ชุมชนบ้านวังอ่าง ชุมชนสาธิตวลัยลักษณ์ ซึ่งเป็นพื้นที่น�ำร่องท�ำงานร่วมกับเครือข่าย HABโดยความร่วมมือกับภาคเอกชน บริษัท เบทาโกรและ ๑๑ มหาวิทยาลัย เครือข่ายทั่วประเทศ โครงการฟื้นฟูทรัพยากรปูม้า เป็นโครงการวิชาการรับใช้สังคม อีกโครงการที่สร้างรายได้เพิ่มให้ กับชาวประมงชายฝั่งและประมงพาณิชย์ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดสุราษฎร์ธานีชาวประมงมีผล จับปูม้าเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว น�ำมาซึ่งรายได้รวมทั้งผลงานวิจัยโครงการนี้น�ำไปใช้ประโยชน์เพื่อประเมินยกระดับ การพัฒนาทางการประมงของไทยโดยสามารถยกระดับจากเดิมระดับ C เป็นระดับ A จากผู้ประเมินจากต่างประเทศ ท�ำให้เพิ่มปริมาณส่งออกของปูม้าไปยังต่างประเทศโดยมีอัตราการเติบโตของการส่งออกกว่าร้อยละ ๑๕๔ ต่อยอด การว่าจ้างงานในประเทศ และน�ำมาสู่การเพิ่มขึ้นของการจ้างงานในโรงงานอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เรื่องที่ ๓ ผลที่เกิดขึ้นในการก่อตั้งมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 201 นอกจากนี้ยังมีโครงการอีกจ�ำนวนมากซึ่งด�ำเนินการโดยการบูรณาการความร่วมมือของทุกภาคส่วน เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของชุมชน เช่น การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ บ้านแหลมโฮมสเตย์ท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ทางทะเลอันดับ ๑ ของประเทศไทยโครงการน�้ำส้มจากยกระดับการปลูกข้าวแปรรูปไม้ยางพาราและปาล์ม ยกระดับ สินค้าพื้นเมือง มังคุด ทุเรียน และอื่น ๆ อีกมากมาย ด้านสุขภาพ การจัดตั้งศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์นับจุดเด่นและโอกาสของมหาวิทยาลัย ในการบริการสังคมในมิติสุขภาพ การให้ค�ำปรึกษาทางด้านสุขภาพ และการบริการหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ให้กับชาว จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ด�ำเนินการอย ่างต ่อเนื่อง อีกทั้งผลงานการวิจัยรับใช้สังคมทางด้านการยกระดับ ความเป็นอยู่ผู้สูงอายุ และสร้างเครือข่ายผู้สูงอายุในพื้นที่ จังหวัดนครศรีธรรมราช และพื้นที่จังหวัดใกล้เคียง โครงการวิจัยและการบริการวิชาการเกี่ยวกับการป้องกันไข้เลือดออก ป้องกันพยาธิในเด็กและการประยุกต์ใช้สมุนไพร ในชุมชนเพื่อไล่ยุง ได้ด�ำเนินการโดย ส�ำนักวิชาด้านสุขภาพอย่างต่อเนื่องจนเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน ด้านการศึกษาด้วยภารกิจหลักทางด้านการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยบุคลากรที่มีคุณภาพในการสอน ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้ร่วมบูรณาการเพื่อบริการวิชาการแก่โรงเรียนและชุมชนในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช โรงเรียนชุมชนใหม ่ โรงเรียนขยายโอกาสซึ่งตั้งอยู ่หลังมหาวิทยาลัยในพื้นที่ชุมชนสาธิตวลัยลักษณ์พัฒนา เป็นโรงเรียนหนึ่งซึ่งเป็นพื้นที่ด�ำเนินโครงการโรงเรียนต้นแบบ การยกระดับการเรียนการสอ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้ร่วมออกแบบการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ทั้งในเรื่องโครงสร้างหลักสูตรร่วมสอนโดยเฉพาะในรายวิชาภาษา ต่างประเทศเช่น ภาษาอังกฤษ จีน มาลายูอีกทั้ง จัดท�ำโครงการศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตามศาสตร์พระราชา เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ทักษะการด�ำรงชีวิต วางแผนการท�ำการเกษตรบนพื้นฐานของ business model และ หารายได้ช่วยเหลือครอบครัว ผลกระทบที่สร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนในเรื่องภาษาอังกฤษสามารถท�ำให้ นักเรียนสอบแข่งขันทักษะค�ำศัพท์ภาษาอังกฤษ ได้อันดับหนึ่งของภาคใต้และได้เหรียญทองแดงจากการประกวด ระดับประเทศ นักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาสแห่งนี้สามารถสอบการแข่งขันเพื่อเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนระดับจังหวัด เป็นอันดับที่ ๙ ผลกระทบเชิงบวกเหล่านี้ท�ำให้นักเรียนในโรงเรียนเพิ่มขึ้นจากเดิม ๔๐-๕๐ คน เป็น ๒๐๐ กว่าคน อันเป็นผลมาจากการรับรู้และการจัดการเรียนการสอนควบคู่การปฏิบัติในโรงเรียนที่มีมาตรฐานทางการศึกษาสูงขึ้น นอกจากนี้มหาวิทยาลัยยังมีโครงการสอนทักษะภาษาอังกฤษให้กับ ชุมชนชายฝั่งเพื่อเป็นกลไกส่งเสริมการท่องเที่ยว เชิงนิเวศให้กับชุมชน และโครงการให้ค�ำปรึกษาทางวิชาการต่าง ๆ อีกมากมาย ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม การพัฒนาอย่างยั่งยืนตามโจทย์Sustainable development goals และแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเชื่อมโยงกับทิศทางการวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ และ งานวิจัยที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์วิชาการรับใช้สังคมตามบริบทพื้นที่จึงเป็นผลงาน เชิงประจักษ์ในหลายมิติเช่น โครงการบริหารจัดการทรัพยากรปูม้าแบบมีส่วนร่วม ธนาคารปูม้า ซึ่งมีขอบเขตพื้นที่ ในจังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดสุราษฎร์ธานีจ�ำนวนกว่า ๖๐ ธนาคารปูม้าได้ด�ำเนินการตลอดแนวชายฝั่ง ทั้งสองจังหวัด ส่งผลให้เกิดเครือข่ายชุมชน ที่เข้มแข็งกว่า ๖๐ ชุมชนที่ขับเคลื่อนกิจกรรมอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากร ทางทะเลและชายฝั่งผลงานวิจัยสามารถน�ำมาใช้ประโยชน์ในเชิงนโยบายเพื่อก�ำหนดพื้นที่แหล่งอนุบาลสัตว์น�้ำในพื้นที่ เพิ่มผลจับปูม้า ในพื้นที่ ท�ำให้ระบบนิเวศชายฝั่งและทรัพยากรประมงมีจ�ำนวนมากขึ้น โครงการทะเลสุขเพื่อบริหาร จัดการทรัพยากรทะเลและสร้างความสุขให้ชุมชนชายฝั่ง ลดและแก้ปัญหาขยะทะเล ด�ำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความตระหนักให้ชุมชน และสร้างเครือข่ายดูแลทรัพยากรทะเล โครงการบริหารจัดการน�้ำ ในภาพรวม


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 202 ทั้งแก้ปัญหาน�้ำท่วม ภัยแล้ง ดินถล่ม หลุมยุบ ด�ำเนินการอย่างต่อเนื่องโดยนักวิชาการ ในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นนักวิจัยหลักในการป้อนข้อมูลให้กับจังหวัดในการบริหารจัดการทรัพยากรน�้ำในพื้นที่ นอกจากนี้นักวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้ออกแบบและจัดสร้างเตาเผาขยะที่ได้มาตรฐานเพื่อช่วยก�ำจัดขยะ ทุกชนิดในพื้นที่ รวมทั้งขยะอันตรายซึ่งก�ำจัดยากนับเป็นการแบ่งเบาช่วยเหลือสังคมที่มหาวิทยาลัยตั้งอยู่ ด้านสังคมและวัฒนธรรม เมืองนครศรีธรรมราชได้ขนานนามว่าเป็นเมืองแห่งอารยธรรม การรวบรวม คุณค ่าและความเป็นตัวตนของเมืองนครศรีธรรมราช เพื่อเผยแพร ่ต ่อสาธารณะในบริบทที่โดดเด ่นของพื้นที่ โดยใช้วิชาการในมหาวิทยาลัยเป็นกลไกที่ด�ำเนินการอยู่ตลอดเวลา โบราณสถานต่าง ๆ เช่น โบราณสถานตุมปัง โบราณสถานเขาคาโบราณสถานวัดโมคลาน มหาวิทยาลัยได้ด�ำเนินการศึกษาข้อมูลวิชาการและน�ำไปสู่การใช้วิชาการ เทคโนโลยีเสมือนจริงเพื่อจ�ำลองภาพเมืองโบราณ เพื่อเล่าขานต่อคนในพื้นที่ เด็กเยาวชน นักเรียน นักศึกษาหรือส่ง เสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ท�ำให้สังคมพัฒนาบนรากฐานของบริบทของชุมชน และอีกตัวอย่างของการท�ำงาน อย่างต่อเนื่อง ประสมประสานการเรียนการสอน การบริการวิชาการ ในมิติสังคมวัฒนธรรมในพื้นที่อุโบสถสถาน วัดแดงอ�ำเภอเชียรใหญ่จังหวัดนครศรีธรรมราชรวมถึงการสนับสนุนทางวิชาการและการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อน วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก การบริการวิชาการ ผ่านแนวทางวิชาการรับใช้สังคม หรือ Social engagement นับเป็นภารกิจหลัก อย่างหนึ่งของมหาวิทยาลัยที่มุ่งเน้นการน�ำองค์ความรู้และนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชน แบบองค์รวม โดยความร่วมมือของทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐเอกชน และชุมชน เพื่อสร้างชุมชนต้นแบบอย่างเป็นรูปธรรม


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 203 บรรณานุกรม กรมศิลปากร. (๒๕๒๘). ประชุมศิลาจารึกภาคที่ ๑. พระนคร : ส�ำนักนายกรัฐมนตรี. กรมศิลปากร. (๒๕๒๘). ประชุมศิลาจารึกภาคที่ ๒. พระนคร : ส�ำนักนายกรัฐมนตรี. กรมศิลปากร. (๒๕๒๘). ประชุมศิลาจารึกภาคที่ ๓. พระนคร : ส�ำนักนายกรัฐมนตรี. กลุ่มจารีตประเพณี. (๒๕๖๓). ต�ำนานพระธาตุและต�ำนานเมืองนครศรีธรรมราช. กรุงเทพฯ : ส�ำนัก วรรณกรรมและประวัติศาสตร์กรมศิลปากร. กัตติกา ศรีมหาวโร (บรรณาธิการ). (๒๕๖๐). ชื่อบ้านนามเมือง ๑๒๐ ปีท่าศาลา. นครศรีธรรมราช : เม็ดทราย. ก่องแก้ว วีระประจักษ์และจ�ำปา เยื้องเจริญ. (๒๕๒๙). “จารึกวัดมหาธาตุเมืองนครศรีธรรมราช” ใน จารึกใน ประเทศไทย เล่ม ๒ : อักษรปัลลวะ อักษรมอญ พุทธศตวรรษที่ ๑๒-๒๑ (กรุงเทพฯ : หอสมุด แห่งชาติกรมศิลปากร, ๒๕๒๙), ๓๘-๔๑. ขนิษฐา อินทร์จันทร์. (๒๕๔๐). ประวัติและผลงานของนายจงกิตติ์ คุณารักษ์. (ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช). จารึกถึงการยกทัพเรือเข้าโจมตีดินแดนศรีวิชัย รวมทั้งตามพรลิงค์ (เมืองนครศรีธรรมราช). ๒๕๕๗. สืบค้น เมื่อ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๖๓. แหล่งที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/อาณาจักรศรีวิชัย. จ�ำปา เยื้องเจริญ. (๒๕๒๒). ศิลาจารึกวิหารโพธิ์ลังกา เลขที่ น.ศ. ๒ ระหว่าง พ.ศ. ๑๗๗๕-๑๘๒๕. ศิลปากร, ๒๕๒๓(๕), ๙๔-๙๘. ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). (๒๕๕๗).จารึกพ่อขุนรามค�ำแหง. (ปี) สืบค้นเมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๕๗ จาก db.sac.or.th › inscriptions. นพรัตน์สมพื้น. (๒๕๓๕). การบูรณะปรียอดทองค�ำพระบรมธาตุเจดีย์. กรุงเทพฯ : กรุงสยามพริ้นติ้งกรุ๊ป. นริศรานุวัติวงศ์, สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยา. (๒๕๑๗). ๒๔๐๖-๒๔๙๐ จดหมายระยะทางไปตรวจราชการ แหลมมลายู ร.ศ.๑๒๑. กรุงเทพฯ : ประชาช่าง. น�้ำตกสุนันทา นครศรีธรรมราช. สืบค้นจาก https://travel.mthai.com/blog/๖๒๙๙๘.html ด�ำริห์เรืองสุธรรม. (๒๕๔๔). ขบวนการแรงงานไทยในการต่อต้านกองทัพญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ. ดิเรก ชัยนาม. (๒๕๐๙). ไทยกับสงครามโลกครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ : แพร่พิทยา. เทพชูทับทอง. (๒๕๔๖). พระพุทธสิหิงค์. ต่วย’ตูน พิเศษ, ๑๐๕. [ม.ป.ท.: ม.ป.พ.]. บุญเสริม แก้วพรหม. (๒๕๔๐). ท่าศาลา ๑๐๐ ปี. นครศรีธรรมราช : ส�ำนักงานคุรุสภาอ�ำเภอท่าศาลา. โบราณสถานวัดโมคลาน การขาดความเข้าใจของชุมชนคือตัวตนที่ขาดหาย. (๒๕๕๕). สืบค้นจาก http://oknation.nationtv.tv/blog/nn๑๒๓๔/๒๐๑๒/๑๒/๒๔/entry-๑ ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๒ (พิมพ์ครั้งที่ ๒). (๒๔๗๐). พระนคร : โรงพิมพ์บ�ำรุงนุกูลกิจ. ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๕๓ (พิมพ์ครั้งที่ ๒). (๒๔๗๖). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร. ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๗๓ “การแต่งตั้งข้าราชการเมืองนครศรีธรรมราชครั้งราชกาลที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๕๔”. (๒๔๘๕). [ม.ป.ท.: ม.ป.พ.]. (พิมพ์เป็นที่อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพเจ้าจอมสว่าง ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๕).


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 204 ปรีชา นุ่นสุข. (๒๕๒๓). จารึกหุบเขาช่องคอย : หน้าใหม่ของประวัติศาสตร์ภาคใต้. ศิลปวัฒนธรรม, ๑(๗), ๔๘–๕๙. ประวัติพระอธิการแดง จน.ทสโร (พ่อท่านแดง )วัดโทตรี. (๒๕๑๑). [ม.ป.ท.: ม.ป.พ.]. (พิมพ์เป็นอนุสรณ์ใน งานฌาปนกิจศพของท่านเมื่อวันที่ ๑๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๑). พรรณีบัวเล็ก. (๒๕๔๐). จักรวรรดินิยมญี่ปุ่นกับพัฒนาการทุนนิยมไทย : ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๑-๒ (พ.ศ.๒๔๕๗-๒๔๘๔). กรุงเทพฯ: ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. พระเครื่องตั้มศรีวิชัย. (๒๕๖๐). ประวัติพระอธิการแดง. สืบค้นจาก http://www.tumsrivichai.com พระเจ้าราเชนทร์โจฬะแห่งเมืองตันจาวูร์(ตันชอร์) รัฐทมิฬนาฑูพ.ศ.๑๕๗๓. (๑๕๖๘). [ม.ป.ท.: ม.ป.พ.]. พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์. (๒๔๕๐). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ไทย. พิธีนั่งเจ้าเข้าทรง บวงสรวงพ่อท่านกลาย. (๒๕๖๓). สืบค้นจาก http://klai.go.th/klai๑๑.php. ภูมิปัญญาแห่งแผ่นดิน: หนังสือส่งเสริมความรู้เพื่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟูศิลปะภูมิ. (ม.ป.ป). [ม.ป.ท.: ม.ป.พ.]. อบต. ท่าศาลา. (ม.ป.ป.). สงขลา: บลูอิมเมจ. รายการรัชกะดุ๊กออนทัวร์. (๘ พฤษภาคม ๒๕๕๖). พิพิธภัณฑ์หาดทรายแก้ว ผู้ใหญ่เยิ้ม เรืองดิษฐ์. [รายการโทรทัศน์]. สืบค้นจาก https://www.youtube.com/watch?v=๒HUqv๒kuIVQเทศบาล ยอร์ช เซเดส์. (๒๕๒๙). จารึกวัดหัวเวียงเมืองไชยา จารึกในประเทศไทย เล่ม ๔ อักษรขอม พุทธศตวรรษที่ ๑๗-๑๘. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร. ยอร์ช เซเดส์. (๒๕๒๙). จารึกวัดมเหยงค์ ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม ๑: อักษรปัลลวะ หลังปัลลวะ พุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๔. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร. ยอร์ช เซเดส์และคณะ. (๒๕๒๙). จารึกวัดเสมาเมือง. ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม ๑: อักษรปัลลวะ หลังปัลลวะ พุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๔. น. ๑๘๗-๒๒๒. กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติกรมศิลปากร. วินัย ชามทอง. (๒๕๕๗). อนุสรณ์จอน ชามทอง: สงครามมหาเอเชียบูรพาและสงครามเมืองเชียงตุง ๒๔๘๔-๒๔๘๕. นครศรีธรรมราช : (ม.ป.พ.). วิกีพีเดียสารานุกรม. (๒๕๖๐). อ�ำเภอพรหมคีรี. สืบค้นเมื่อ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๖๓ สืบค้นจาก https://th.wikipedia.org/wiki/อ�ำเภอพรหมคีรี วิกิพีเดียสารานุกรม. (๒๕๖๐). วัดโมคลาน. สืบค้นเมื่อ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๖๓ สืบค้นจาก https://th.wikipedia.org/wiki/วัดโมคลาน วิกีพีเดียสารานุกรม. (๒๕๖๐). อ�ำเภอนบพิต�ำ. สืบค้นเมื่อ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๖๓ สืบค้นจาก https://th.wikipedia.org/wiki/อ�ำเภอนบพิต�ำ วิชิตสรไกร, พระยา. และ วิเศษอักษรสาร, พระ. (๒๔๗๘). รายงานจัดการศึกษาและการพระศาสนากับกวี นิพนธ์ของท่านเจ้าคุณพระรัตนธัชมุนี. (พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพของท่านเจ้าคุณพระรัตน ธัชมุนี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร. วิเชียร ณ นคร และคณะ. (๒๕๒๑). นครศรีธรรมราช. กรุงเทพฯ : อักษรสัมพันธ์. วิทยากร เชียงกูล. (๒๕๔๕). เศรษฐกิจไทย.เศรษฐกิจโลก. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เดือนตุลาจ�ำกัด. เรือประมงพื้นบ้าน. (๒๕๖๓). สืบค้นจาก https://www.fisheries.go.th/rgm-songkhla/pdf/ DomesticFishingVessel.pdf


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 205 ศิริรัตน์หวันเหล็ม. (๒๕๕๖). เอกสารประกอบการเรียนสาระเศรษฐศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖. นครศรีธรรมราช : (ม.ป.พ.). (เอกสารอัดส�ำเนา). สถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒสงขลา. (๒๕๒๙). ภยาหง ใยโหนด: หัตถกรรม. สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้. ๗, น. ๒๙๕๕-๒๙๕๗. กรุงเทพฯ : อมรินทร์การพิมพ์. สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้. ๗, น. ๒๙๕๕-๒๙๕๗. กรุงเทพฯ: อมรินทร์การพิมพ์. สมพุทธ ธุระเจน. (๒๕๖๒). ย้อนรอย ๑๐๐ ปีนครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช : อักษรการพิมพ์. ส่วนสื่อสารองค์การ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. (ม.ป.ป.). ข้อมูลมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. (เอกสารอัดส�ำเนา). นครศรีธรรมราช : มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. ส�ำนักงานทะเบียน อ�ำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช. (๒๕๖๓). ข้อมูลประชากรจากส�ำนักทะเบียน อ�ำเภอท่าศาลา ณ วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๓. นครศรีธรรมราช: ส�ำนักงานทะเบียนฯ. ส�ำนักงานประมง อ�ำเภอท่าศาลา. (๒๕๖๓). ข้อมูลขึ้นท�ำเบียนการท�ำประมงอ�ำเภอท่าศาลา พ.ศ.๒๕๖๒ วันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๓. นครศรีธรรมราช: ส�ำนักงานประมงฯ. สืบพงศ์ธรรมชาติ(บรรณาธิการ). (๒๕๕๓). โบราณสถานตุมปัง โบราณสถานและโบราณวัตถุในจังหวัด นครศรีธรรมราช. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. นครศรีธรรมราช : มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. สุจินต์พิมเสน. (๒๕๒๙). หมอนทอง ชีวิตและผลงานของนายจงกิตติ์ คุณรักษ์. กรุงเทพฯ: อมรินทร์ การพิมพ์. [ม.ป.ท. : ม.ป.พ.]. (พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพของท่านเมื่อวันที่ ๑๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๑). หัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผาบ้านมะยิง. (๒๕๖๒). สืบค้นจาก http://www.tungsong.com/ NakhonSr/manufacture/machin_din/ index_machin.html หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมท้องถิ่น จังหวัดนครศรีธรรมราช ส�ำนักศิลปวัฒนธรรม สถาบัน ราชภัฎนครศรีธรรมราชและสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช. (๒๕๔๔). แหล่งศิลปกรรม อ�ำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช : ไทม์พริ้นติ้ง. อนัญญา โปราณานนท์และคณะ. (๒๕๔๒). เศรษฐศาสตร์ทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ ๔). กรุงเทพฯ: เสมาสาส์น. อนุสรณ์งานฌาปนกิจศพก�ำนันจงกิตติ์ คุณารักษ์. (๒๕๕๔). [ม.ป.ท.: ม.ป.พ.]. (พิมพ์เป็นอนุสรณ์ใน งานฌาปนกิจศพของท่านเมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๔). อมรศักดิ์สวัสดี. (๒๕๖๓). ผลที่เกิดกับชุมชนในการก่อตั้งมหาวิทยาลัย. (เอกสารอัดส�ำเนา) : นครศรีธรรมราช: จังหวัดนครศรีธรรมราช. อวนลากหน้าดินในประเทศไทย. (๒๕๖๓). สืบค้นจาก http://repository.seafdec.or.th/ handle/๒๐.๕๐๐.๑๒๐๖๗/๑๔๒. กั้น เชาวพ้อง. (๒๕๖๓, ๗ กันยายน). ภูมิปัญญาด้านศิลปและวัฒนธรรม ศิลปะการแสดงมโนราห์. นางวนิดา เกิดด้วยทอง. สัมภาษณ์. กิบหลีหมาดจิ. (๒๕๖๑, ๑๙ พฤษภาคม). ภูมิปัญญาท้องถิ่น สาขาหัตถกรรม การจักสานไม้ไผ่. นางสุดารัตน์จันทร์อ�ำไพ. สัมภาษณ์. จ�ำลอง เมฆาวรรณ์. (๒๕๖๓, ๗ กันยายน). ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านศิลปและวัฒนธรรม ศิลปะการท�ำเครื่องดนตรี ชุดมโนราห์. นางวนิดา เกิดด้วยทอง. สัมภาษณ์.


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 206 จ�ำเนียร ค�ำหวาน. (๒๕๖๓, ๗ กันยายน). ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านศิลปะและวัฒนธรรม ด้านหนังตะลุง. นายทรงชัย ชูประสูติ. สัมภาษณ์. บุญเสริม แก้วพรหม. (๒๕๖๑, ๑๙ พฤษภาคม). บุคคลส�ำคัญอ�ำเภอท่าศาลา. นางกัลยา สุทิน. สัมภาษณ์. เยิ้ม เรืองดิษฐ์. (๒๕๖๑, ๑๙ พฤษภาคม). บุคคลส�ำคัญอ�ำเภอท่าศาลา. นางกัลยา สุทิน. สัมภาษณ์. หมูด ทรงเลิศ. (๒๕๖๒, ๒๐ พฤษภาคม). ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านหัตถกรรม การต่อเรือประมงพื้นบ้าน. นางกัลยา สุทิน. สัมภาษณ์. จ�ำเป็น รักษ์เมือง. (๒๕๖๒, ๒๕ พฤษภาคม). ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านหัตถกรรม เครื่องปั้นดินเผาบ้านมะยิง. นางสาวสัจมาศ กัลยาโพธิ์และนายทรงชัย ชูประสูติ. สัมภาษณ์. ลาวัลย์ปริงทอง. (๒๕๖๐, ๑๐ พฤาภาคม). ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้าน สาขาคหกรรม การท�ำน�้ำมันสกัดเย็น. นางสาวทิพย์วัลย์พรมมา. สัมภาษณ์. เลื่อน พรหมวี. (๒๕๖๒, ๒๔ สิงหาคม). ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้าน สาขาเกษตรกรรม ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจ พอเพียง. นางสาวสุภาณีมะหมีน. สัมภาษณ์. นิวัฒน์ดิมาร. (๒๕๖๒, ๑๕ มีนาคม). ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้าน สาขาเกษตรกรรม ด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์ ทางเกษตร ยาเส้น “ยากลาย”. นางสาวทิพวัลย์พรมมา. สัมภาษณ์. ผ่องศรีมะหมัด. (๒๕๖๒, ๒๐ มีนาคม). ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้าน สาขาเคหกรรม การท�ำปลาร้าฝังดิน. นางสาวทิพวัลย์พรมมา. สัมภาษณ์. นิคม คงทน. (๒๕๖๑, ๒๐ เมษายน). บุคคลส�ำคัญของอ�ำเภอท่าศาลา. นางกัลยา สุทิน. สัมภาษณ์. สุพจน์ศรีสุชาติ. (๒๕๖๑, ๑๐ พฤษภาคม). ภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านสาขาเกษตรกรรม ด้านศูนย์เรียนรู้ เศรษฐกิจพอเพียง. นางสาวสุภาณีมะหมีน. สัมภาษณ์. เสวก ยุโส้. (๒๕๖๑, ๑ พฤษภาคม). ภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านหัตถกรรม การท�ำกรงนก. นางกัลยา สุทิน. สัมภาษณ์. อารีเชาวลิต. (๒๕๖๑, ๑๐ พฤษภาคม). ภูมิปัญญาท้องถิ่น สาขาคหกรรม การท�ำขนมไทย ขนมเปียกปูน นายวิทยา โชติกะ. สัมภาษณ์. ฉลวย ปล้องเกิด. (๒๕๖๑, ๑๐ พฤษภาคม). ภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านหัตถกรรม การท�ำอิฐมอญ. นางสาวสัจมาศ กัลยาโพธิ์. สัมภาษณ์. เจริญ โต๊ะอิแต. (๒๕๖๓, ๕ มีนาคม). ภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านประมง. นางกัลยา สุทิน. สัมภาษณ์. ยุโสบ หล้าเก. (๒๕๖๑, ๑๒ มีนาคม). ภูมิปัญญาท้องถิ่น สาขาคหกรรม การท�ำน�้ำตาลมะพร้าว. นางกัลยา สุทิน. สัมภาษณ์. หนูพัน สังวาล. (๒๕๖๒, ๒๕ เมษายน). ภูมิปัญญาท้องถิ่น สาขาคหกรรม การท�ำขนมกะละแม “ยาหนม” นางกัลยา สุทิน. สัมภาษณ์. ธีระชัย ช่วยชู. (๒๕๖๒, ๒๕ พฤษภาคม). ภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านสาขาเกษตรกรรม การท�ำปุ๋ยหมักชีวภาพ. นายวิทยา โชติกะ. สัมภาษณ์. สมจิตร เดชบุญ. (2562, 10 พฤษภาคม). ภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านสาขาเกษตรกรรม การท�ำปุ๋ยหมักชีวภาพ และปุ๋ยมูลใส้เดือน. นางสาวอาทิตย์ดาว แสงวิจิตร. สัมภาษณ์.


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 207 ภาคผนวก


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 208 ประกาศส�ำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดนครศรีธรรมราช เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาเนื้อหาประกอบหลักสูตรรายวิชาท่าศาลาศึกษา ด้วยส�ำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดนครศรีธรรมราชโดยศูนย์การศึกษานอก ระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอ�ำเภอท่าศาลา ประสงค์จะด�ำเนินการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาท่าศาลาศึกษาเพื่อน�ำไปใช้จัด กิจกรรมการเรียนรู้ให้กับนักศึกษา กศน.อ�ำเภอท่าศาลา ได้เรียนรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของชุมชน วิถีชีวิตความเป็นอยู่ วัฒนธรรม ประเพณีและทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนพื้นที่อ�ำเภอท่าศาลา เพื่อให้นักศึกษา และบุคลากร กศน.อ�ำเภอท่าศาลา ได้มีความรู้ความเข้าใจถึงแก่นแท้ของอ�ำเภอท่าศาลา อันจะน�ำไปสู่การรักถิ่นฐานบ้านเกิด ทั้งร่วมอนุรักษ์ พัฒนา สืบสาน และ สืบทอดสู่คนรุ่นต่อไป ดังนั้น เพื่อให้ได้ข้อมูลเนื้อหาสาระประกอบหลักสูตรได้สมบูรณ์และเป็นไปตามหลักวิชาการการจัดท�ำเอกสารประกอบ หลักสูตร จึงแต่งตั้งคณะกรรมการ ดังนี้ ๑. คณะกรรมการที่ปรึกษา ประกอบด้วย ๑.๑ นางเกษร ธานีรัตน์ ผู้อ�ำนวยการส�ำนักงาน กศน.จังหวัดนครศรีฯ ประธานกรรมการ ๑.๒ นางวิไลวรรณ ดาราพงศ์ รองผู้อ�ำนวยการส�ำนักงาน กศน.จังหวัดนครศรีฯ รองประธานกรรมการ ๑.๓ ผศ.ดร.นิลรัตน์นวกิจไพฑูรย์ รองคณบดีฝ่ายวางแผนและวิจัย กรรมการ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช ๑.๔ ผศ.ดร.สืบพงศ์ธรรมชาติ อดีตผู้อ�ำนวยการส�ำนักอาศรม กรรมการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปัจจุบัน ด�ำรงต�ำแหน่ง ผู้อ�ำนวยการสถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตจังหวัดสงขลา ๑.๕ ผศ.ดร.ไพโรจน์นวลนิ่ม รองคณบดีส�ำนักวิชาการจัดการ กรรมการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ๑.๖ นางกัลยา สุทิน ผู้อ�ำนวยการ กศน.อ�ำเภอท่าศาลา กรรมการและเลขานุการ มีหน้าที่ อ�ำนวยความสะดวกให้ค�ำปรึกษาการด�ำเนินการเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การด�ำเนินการพัฒนาเอกสาร ประกอบหลักสูตรเป็นไปด้วยความเรียบร้อย


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 209 ๒. คณะกรรมการด�ำเนินการพัฒนาจัดท�ำเนื้อหาประกอบหลักสูตร ประกอบด้วย ๒.๑ คณะผู้จัดท�ำเนื้อหา บทที่ ๑ เรื่องภาพลักษณ์ท่าศาลา ประกอบด้วย ๒.๑.๑ นางกนกวรรณ ชูโชติ ข้าราชการครูคศ. ๒ ประธานกรรมการ โรงเรียนวัดชลทาราม ๒.๑.๒ นางมะลิพรรณ วงศ์สวัสดิ์ ครูอาสาสมัคร กศน. กรรมการ ๒.๑.๓ นางสาวอาทิตย์ดาว แสงวิจิตร ครูกศน. ต�ำบล กรรมการและ เลขานุการ ๒.๒ คณะผู้จัดท�ำเนื้อหา บทที่ ๒ เรื่องพัฒนาการด้านประวัติศาสตร์อ�ำเภอท่าศาลา ประกอบด้วย ๒.๒.๑ นายจ�ำรัส เพชรทับ อดีตศึกษานิเทศก์ส�ำนักงาน ประธานกรรมการ สพป. เขต ๔ จังหวัดนครศรีธรรมราช ข้าราชการบ�ำนาญ) ๒.๒.๒ นายมนตรีพรหมมา อดีตอาจารย์ใหญ่โรงเรียนวัดยางงาม กรรมการ สพป. เขต ๔ จังหวัดนครศรีธรรมราช (ข้าราชการบ�ำนาญ) ๒.๒.๓ นายบุญเสริม แก้วพรหม อดีตศึกษานิเทศก์ส�ำนักงาน กรรมการ สพป. เขต ๔ จังหวัดนครศรีธรรมราช (ข้าราชการบ�ำนาญ) ๒.๒.๔ นายจรัญ ปลอดชูแก้ว ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ ๑๒ ต�ำบลโมคลาน กรรมการ อ�ำเภอท่าศาลา ๒.๒.๕ นายวิชาญ เชาวลิตร อดีตข้าราชการครู กรรมการ โรงเรียนท่าศาลาประสิทธิศึกษา สพป. เขต ๔ จังหวัดนครศรีธรรมราช (ข้าราชการบ�ำนาญ) ๒.๒.๖ นางสาวลัดดา ลือชา ครูช�ำนาญการ กรรมการและเลขานุการ ๒.๒.๗ นางสุดารัตน์จันทร์อ�ำไพ ครูกศน. ต�ำบลโมคลาน กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ๒.๓ คณะผู้จัดท�ำเนื้อหา บทที่ ๓ เรื่องนามบ้านนามเมือง ประกอบด้วย ๒.๓.๑ นางบุษบา ดวงขจี ข้าราชการครูคศ.๓ โรงเรียนท่าศาลา ประธานกรรมการ ๒.๓.๒ นางจุไรรัตน์ช่วยชู ครูอาสาสมัคร กศน.อ�ำเภอท่าศาลา กรรมการ ๒.๓.๓ นางกุสุมาลย์พูลแก้ว ครูอาสาสมัคร กศน.อ�ำเภอท่าศาลา กรรมการและเลขานุการ ๒.๔ คณะผู้จัดท�ำเนื้อหา บทที่ ๔ เรื่องรุ่งเรืองวิถี ประกอบด้วย ๒.๔.๑ นางศิริรัตน์หวันเหล็ม ข้าราชการครูคศ. ๓ ประธานกรรมการ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์๘ ๒.๔.๒ นางสาวสัจมาศ กัลยาโพธิ์ ครูอาสาสมัคร กศน.อ�ำเภอท่าศาลา กรรมการ ๒.๔.๓ นางวนิดา เกิดด้วยทอง ครูกศน. ต�ำบลดอนตะโก กรรมการและเลขานุการ


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 210 ๒.๕ คณะผู้จัดท�ำเนื้อหา บทที่ ๕ เรื่องบุคคลส�ำคัญท่าศาลา ประกอบด้วย ๒.๕.๑ นางกัลยา สุทิน ผู้อ�ำนวยการ กศน.อ�ำเภอท่าศาลา ประธานกรรมการ ๒.๕.๒ นางกนกวรรณ ชูสุวรรณ ครูช�ำนาญการพิเศษ กรรมการ ๒.๕.๓ นางมยุรีสุตศิริ ครูการศึกษาพิเศษ กรรมการ ๒.๕.๔ นางนลินรัชต์ยุเหล็ก ครูกศน. ต�ำบลตลิ่งชัน กรรมการและเลขานุการ ๒.๖ คณะผู้จัดท�ำเนื้อหา บทที่ ๖ เรื่องภูมิปัญญาท่าศาลา ประกอบด้วย ๒.๖.๑ นางวาสินีนาคงาม บรรณรักษ์ช�ำนาญการพิเศษ ประธานกรรมการ ๒.๖.๒ นางสาวสุภาณีมะหมีน ครูกศน. ต�ำบลสระแก้ว กรรมการ ๒.๖.๓ นายเลื่อน พรหมวี ภูมิปัญญา ต�ำบลสระแก้ว กรรมการ ๒.๖.๔ นางสาวทิพวัลย์พรมมา ครูการศึกษาพิเศษ กรรมการและเลขานุการ ๒.๗ คณะผู้จัดท�ำเนื้อหา บทที่ ๗ เรื่องเมืองมหาวิทยาลัย ประกอบด้วย ๒.๗.๑ ผศ.ดร.ไพโรจน์นวลนิ่ม รองคณบดีส�ำนักวิชาการจัดการ ประธานกรรมการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ๒.๗.๒ นายวิทยา โชติกะ ครูกศน.ต�ำบลไทยบุรี กรรมการและเลขานุการ มีหน้าที่ ส่งเสริมสนับสนุน ให้ค�ำปรึกษา ข้อเสนอแนะ ตลอดจนเขียนเนื้อหาประกอบหลักสูตรรายวิชาเลือก ให้มีคุณภาพ ถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์บรรลุตามวัตถุประสงค์ตามที่ตั้งไว้ ๓. ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี ประกอบด้วย นางกัญญาทิพย์เสนาะวงศ์ ครูช�ำนาญการพิเศษ ประธานกรรมการ สถาบันการศึกษาภาคตะวันออก นางสาวชนะจิต โมฬิยสุวรรณ ศึกษานิเทศก์ส�ำนักงาน กรรมการและเลขานุการ กศน. จังหวัดพัทลุง มีหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุน ให้ค�ำปรึกษา ข้อเสนอแนะ การจัดท�ำพัฒนาสื่อ การน�ำเทคโนโลยีมาใช้ประกอบการ จัดการเรียนการสอน หลักสูตรรายวิชาเลือกให้มีคุณภาพ ถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์บรรลุตามวัตถุประสงค์ตามที่ตั้งไว้ ๔. ผู้เชี่ยวชาญด้านวัดผลประเมินผลการศึกษา ประกอบด้วย ๔.๑ ผศ.ดร.นิลรัตน์นวกิจไพฑูรย์ รองคณบดีฝ่ายวางแผนและวิจัย ประธานกรรมการ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช ๔.๒ นางสาวชมพูชุตินันทกุล ข้าราชการครูช�ำนาญการพิเศษ กรรมการ กศน. อ�ำเภอปากพนัง ๔.๓ นางกัลยา สุทิน ผู้อ�ำนวยการ กศน.อ�ำเภอท่าศาลา กรรมการและเลขานุการ ๔.๓ นางสุดารัตน์จันทร์อ�ำไพ ครูกศน.ต�ำบลโมคลาน กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ มีหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุน การด�ำเนินการจัดท�ำและออกแบบเครื่องมือวัดผลประเมินผลการประเมินการจัดการ เรียนการสอน และการประเมินการใช้หลักสูตรรายวิชาเลือกให้มีคุณภาพ ถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์ บรรลุตามวัตถุประสงค์ ตามที่ตั้งไว้


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 211 ๕. ผู้เชี่ยวชาญด้านพิสูจน์อักษร การใช้ภาษาและการอ้างอิง ๕.๑ นางเฉลิมลักษณ์เติมภาชนะ ครูช�ำนาญการพิเศษ ประธานกรรมการ กศน.อ�ำเภอเฉลิมพระเกียรติ ๕.๒ นางจุไรรัตน์ช่วยชู ครูอาสาสมัคร กศน.อ�ำเภอท่าศาลา กรรมการ ๕.๓ นางสาวสัจมาศ กัลยาโพธิ์ ครูอาสาสมัคร กศน.อ�ำเภอท่าศาลา กรรมการ ๕.๔ นางวาสินีนาคงาม บรรณรักษ์ช�ำนาญการพิเศษ กรรมการและเลขานุการ กศน.อ�ำเภอท่าศาลา มีหน้าที่ตรวจสอบ ตัวอักษรการพิมพ์ถูก- พิมพ์ผิดและการอ้างอิงในบรรณานุกรม เอกสารประกอบหลักสูตรวิชาเลือก ให้มีคุณภาพ ถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์บรรลุตามวัตถุประสงค์ตามที่ตั้งไว้ ให้ผู้ได้รับการแต่งตั้งปฏิบัติงานด้วยความรับผิดชอบ ทุ่มเท เสียสละ เพื่อประโยชน์สูงสุดของทางราชการ ทั้งนี้ตั้งแต่ วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๐ (นางเกษร ธานีรัตน์) ผู้อ�ำนวยการส�ำนักงาน กศน.จังหวัดนครศรีธรรมราช


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 212 คณะผู้จัดทำ ปรึกษา ๑. นายเรวัฒน์เพ็ชรสงฆ์ ผู้อ�ำนวยการ ส�ำนักงาน กศน.จังหวัดนครศรีฯ ๒. นางเกษร ธานีรัตน์ อดีตผู้อ�ำนวยการ ส�ำนักงาน กศน.จังหวัดนครศรีฯ ๓. นางวิไลวรรณ ดาราพงศ์ รองผู้อ�ำนวยการ ส�ำนักงาน กศน.จังหวัดนครศรีฯ ๔. ผศ.ดร.สืบพงศ์ธรรมชาติ อดีตผู้อ�ำนวยการส�ำนักอาศรม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปัจจุบัน ด�ำรงต�ำแหน่งผู้อ�ำนวยการสถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตในจังหวัดสงขลา ๕. ผศ.ดร.ไพโรจน์นวลนิ่ม รองคณบดีส�ำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ๖. ผศ.ดร.นิลรัตน์นวกิจไพฑูรย์ รองคณบดีฝ่ายวางแผนและวิจัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช ๗. ดร.กัตติกา ศรีมหาวโร อดีตผู้อ�ำนวยการโรงเรียนบ้านสระบัว สพป. เขต ๔ จังหวัดนครศรีธรรมราช (ข้าราชการบ�ำนาญ) ๘. นายจ�ำรัส เพชรทับ อดีตศึกษานิเทศก์ส�ำนักงาน สพป. เขต ๔ จังหวัดนครศรีธรรมราช (ข้าราชการบ�ำนาญ) ๙. นายบุญเสริม แก้วพรหม อดีตศึกษานิเทศก์ส�ำนักงาน สพป. เขต ๔ จังหวัดนครศรีธรรมราช (ข้าราชการบ�ำนาญ) ๑๐. นายมนตรีพรหมา อดีตอาจารย์ใหญ่โรงเรียนวัดยางงาม สพป. เขต ๔ จังหวัดนครศรีธรรมราช (ข้าราชการบ�ำนาญ) คณะท�ำงาน ๑. นางกัลยา สุทิน ผู้อ�ำนวยการ กศน.อ�ำเภอท่าศาลา ๒. นางสาวนวลพรรณ ศาสตร์เวช อดีตศึกษานิเทศก์ส�ำนักงาน กศน. ๓. นายวิชาญ เชาวลิตร อดีตข้าราชการครูโรงเรียนท่าศาลาประสิทธิศึกษา สพป. เขต ๔ จังหวัดนครศรีธรรมราช (ข้าราชการบ�ำนาญ) ๔. นางบุษบา ดวงขจี ข้าราชการครูคศ.๓ โรงเรียนท่าศาลาประสิทธิศึกษา ๕. นางกนกวรรณ ชูโชติ ข้าราชการครูคศ. ๒ โรงเรียนวัดชลทาราม ๖. นางศิริรัตน์หวันเหล็ม ข้าราชการครูคศ. ๓ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์๘ ๗. นางสาวชนะจิต โมฬิยสุวรรณ ศึกษานิเทศก์ส�ำนักงาน กศน. จังหวัดพัทลุง ๘. นางกัญญาทิพย์เสนาะวงศ์ ครูช�ำนาญการพิเศษ สถาบันการศึกษาภาคตะวันออก ๙. นางสาวชมพูชุตินันทกุล ข้าราชการครูช�ำนาญการพิเศษ กศน. อ�ำเภอปากพนัง ๑๐. นายจรัญ ปลอดชูแก้ว ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ ๑๒ ต�ำบลโมคลาน อ�ำเภอท่าศาลา ๑๑. นายเลื่อน พรหมวี ภูมิปัญญา ต�ำบลสระแก้ว ๑๒. นางกนวรรณ ชูสุวรรณ ครูช�ำนาญการพิเศษ กศน.อ�ำเภอท่าศาลา


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 213 ๑๓. นางสาวลัดดา ลือชา ครูช�ำนาญการ กศน.อ�ำเภอท่าศาลา ๑๔. นางวาสินีนาคงาม บรรณารักษ์ช�ำนาญการพิเศษ ๑๕. นางสาวฉัตรติมา ผัดวิเศษ ครูผู้ช่วย กศน.อ�ำเภอท่าศาลา ๑๖. นางมะลิพรรณ วงศ์สวัสดิ์ ครูอาสาสมัคร กศน.อ�ำเภอท่าศาลา ๑๗. นางจุไรรัตน์ช่วยชู ครูอาสาสมัคร กศน.อ�ำเภอท่าศาลา ๑๘. นางสาวสัจมาศ กัลยาโพธิ์ ครูอาสาสมัคร กศน.อ�ำเภอท่าศาลา ๑๙. นางกุสุมาลย์พูลแก้ว ครูอาสาสมัคร กศน.อ�ำเภอท่าศาลา ๒๐. นางสาวอาทิตย์ดาว แสงวิจิตร ครูกศน.ต�ำบลท่าศาลา กศน.อ�ำเภอท่าศาลา ๒๑. นางสุดารัตน์จันทร์อ�ำไพ ครูกศน.ต�ำบลโมคลาน กศน.อ�ำเภอท่าศาลา ๒๒. นางสาวจันทิมา เชยกาญจน์ ครูกศน.ต�ำบลท่าขึ้น กศน.อ�ำเภอท่าศาลา ๒๓. นายวิทยา โชติกะ ครูกศน.ต�ำบลไทยบุรีกศน.อ�ำเภอท่าศาลา ๒๔. นางวนิดา เกิดด้วยทอง ครูกศน.ต�ำบลดอนตะโก กศน.อ�ำเภอท่าศาลา ๒๕. นางสาวสุภาณีมะหมีน ครูกศน.ต�ำบลสระแก้ว กศน.อ�ำเภอท่าศาลา ๒๖. นางสาวพัชรกัญญ์ล่องแก้ว ครูกศน.ต�ำบลกลาย กศน.อ�ำเภอท่าศาลา ๒๗. นางนลินรัชต์ยุเหล็ก ครูกศน.ต�ำบลตลิ่งชัน กศน.อ�ำเภอท่าศาลา ๒๘. นายปัญญา ราหุกาญจน์ ครูกศน.ต�ำบลหัวตะพาน กศน.อ�ำเภอท่าศาลา ๒๙. นายทรงชัย ชูประสูติ ครูกศน.ต�ำบลโพธิ์ทอง กศน.อ�ำเภอท่าศาลา ๓๐. นางสาวทิพวัลย์พรมมา ครูการศึกษาพิเศษ กศน.อ�ำเภอท่าศาลา ๓๑. นางนิภาพรณ์กระจ่างฉาย ครูการศึกษาพิเศษ กศน.อ�ำเภอท่าศาลา บรรณาธิการกิจ ๑. นางกัลยา สุทิน ผู้อ�ำนวยการ กศน.อ�ำเภอท่าศาลา ๒. ผศ.ดร.สืบพงศ์ธรรมชาติ อดีตผู้อ�ำนวยการส�ำนักอาศรม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปัจจุบัน ด�ำรงต�ำแหน่งผู้อ�ำนวยการสถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตในจังหวัดสงขลา ๓. นายจ�ำรัส เพชรทับ อดีตศึกษานิเทศก์ส�ำนักงาน สพป. เขต ๔ จังหวัดนครศรีธรรมราช (ข้าราชการบ�ำนาญ) ๔. นายบุญเสริม แก้วพรหม อดีตศึกษานิเทศก์ส�ำนักงาน สพป. เขต ๔ จังหวัดนครศรีธรรมราช (ข้าราชการบ�ำนาญ) ๕. นายมนตรีพรหมา อดีตอาจารย์ใหญ่โรงเรียนวัดยางงาม สพป. เขต ๔ จังหวัดนครศรีธรรมราช (ข้าราชการบ�ำนาญ) ๖. นางสาวนวลพรรณ ศาสตร์เวช อดีตศึกษานิเทศก์ส�ำนักงาน กศน. ๗. นางกนกวรรณ ชูโชติ ข้าราชการครูคศ. ๒ โรงเรียนวัดชลทาราม ๘. นางศิริรัตน์หวันเหล็ม ข้าราชการครูคศ. ๓ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์๘


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 214 พิสูจน์อักษร ๑. นางวาสินีนาคงาม บรรณรักษ์ช�ำนาญการพิเศษ กศน.อ�ำเภอท่าศาลา ๒. นางกนวรรณ ชูสุวรรณ ครูช�ำนาญการพิเศษ กศน.อ�ำเภอท่าศาลา ๓. นางสุดารัตน์จันทร์อ�ำไพ ครูกศน.ต�ำบลโมคลาน กศน.อ�ำเภอท่าศาลา ๔. นางสาวอาทิตย์ดาว แสงวิจิตร ครูกศน.ต�ำบลท่าศาลา กศน.อ�ำเภอท่าศาลา ๕. นางเฉลิมลักษณ์เต็มภาชนะ ครูช�ำนาญการพิเศษ กศน.อ�ำเภอเฉลิมพระเกียรติ ออกแบบปก ส�ำนักพิมพ์หจก.ประยูรการพิมพ์


Click to View FlipBook Version