The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

เอกสารประกอบการเรียน ท่าศาลาศึกษา

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

เอกสารประกอบการเรียน ท่าศาลาศึกษา

เอกสารประกอบการเรียน ท่าศาลาศึกษา

Keywords: ท่าศาลา

หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 140 ศพที่บ้าน มาตั้งไว้ที่วัดซึ่งเป็นศูนย์รวมของชุมชนแทนที่จะกระท�ำที่บ้าน เพื่อลดอบายมุข เช ่น การเลี้ยงสุรา การเล่นการพนัน ในปีพ.ศ. ๒๕๒๔ – ๒๕๔๖ ก ่อสร้างโรงพยาบาลชุมชนบ้านสระแก้ว โดยมีผู้บริจาคที่ดิน ประกอบด้วย นายคณิต นเรธรณ์, นายพนม นเรธรณ์และนางวิภาภรณ์แก้วสีทอง รวมพื้นที่จ�ำนวน ๔ ไร่เศษ ด�ำเนินการขอนับบริจาคเป็นทุนจดทะเบียน จ�ำนวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท ก ่อตั้ง “มูลนิธิเทพโรจน์ประชาปิติ” เพื่อรับบริจาคหาทุนในการก ่อสร้างโรงพยาบาลชุมชนบ้านสระแก้ว โดยไม ่ใช้งบประมาณของทางราชการ โดยขอรับบริจาคจากคนในชุมชน และทอดผ้าป่าสามัคคีแข่งฟุตบอลจากกรุงเทพกับทีมพ่อค้าประชาชน ที่สนาม กีฬาจังหวัดนครศรีธรรมราช ตอนกลางคืนจัดงานมโหรสพ หนังตะลุง มโนราห์ ที่สนามหน้าเมือง การด�ำเนินการ มอบให้กระทรวงสาธารณสุขเพื่อเป็นโรงพยาบาลชุมชน แต่หน่วยงานดังกล่าวไม่สามารถรับได้เนื่องจากติดขัด เรื่องงบประมาณต่อเนื่อง เช่น ค่าเครื่องมือแพทย์ค่าบุคลากร และค่าใช้จ่ายในการด�ำเนินการ ต่อมาปีพ.ศ. ๒๕๒๖ จึงมอบอาคารพร้อมที่ดินให้กรมประชาสงเคราะห์เป็น “ศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการภาคใต้” ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น “ศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการนครศรีธรรมราช” รับคนพิการจาก ๑๔ จังหวัดภาคใต้ฝึกอาชีพให้ปีละ ๑ รุ่น จ�ำนวน ไม่เกิน ๕๐ คน จากการด�ำเนินการเสียสละอุทิศตนท�ำงานให้เกิดประโยชน์กับชุมชน โดยไม่มีต�ำแหน่งและสิ่งตอบแทน แต่เป็นคุณค่า เมื่อต�ำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๕ ต�ำบลสระแก้ว ว่างลง ชาวบ้านในชุมชนขอให้ช่วยรับต�ำแหน่งผู้ใหญ่ บ้าน ปีพ.ศ. ๒๕๒๔ จนกว่าจะหาบุคคลที่เหมาะสมได้ปรากฏว่า เป็นเวลา ๒๐ ปีกับ ๑ เดือน ที่ยังครองต�ำแหน่ง ผู้ใหญ่บ้าน จนเกษียณอายุราชการ เมื่อวันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๔๖ ธรรมชาติ คือครูของเกษตรกร ปีพ.ศ. ๒๕๓๕ เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติครั้งที่๒ เนื่องจากพายุดีเฟรสชั่น สวนยางพาราโดนพายุ จึงเปลี่ยนสภาพสวนยางพาราเป็นการปลูกทุเรียนแบบพัฒนาคือใช้ระบบน�้ำหยดและใช้ปุ๋ยเคมีการปลูกพืชเชิงเดี่ยว เพื่อมุ่งเน้นเชิงพาณิชย์โดยไม่ค�ำนึงถึงระบบนิเวศ จึงท�ำให้เกิดปัญหาตามมามากมาย เป็นต้นว่า ใช้เงินลงทุนสูง มีการใช้สารเคมียาฆ่าแมลงยาก�ำจัดวัชพืชเริ่มแรกคิดว่าการใช้สารเคมีน่าจะมีอนาคตที่สดใสเพราะช่วยประหยัดเวลา ประหยัดพลังงาน แต่เมื่อเวลานาน ๆ ความเสียหายส่งผลต่อสภาพดินเริ่มแข็งตัว โรคพืชเริ่มมากขึ้น ในที่สุดทุเรียน ค่อย ๆ ตายไปจนหมด นี่คือบทเรียนธรรมชาติสอนเราจากประสบการณ์ดังกล่าวจึงปรึกษาผู้รู้เกี่ยวกับระบบนิเวศ แล้วน�ำไปใช้กับการสร้างสวนยางพาราในระบบใหม่ โดยการปลูกแตงโมพืชอายุหมุนเวียน โดยการปลูกแตงโมและฝักเขียวในระบบน�้ำหยดปีที่ ๓ จะปลูกมะเขือ ปีที่๔ จะไม่สามารถปลูกพืชอื่นได้เพราะยางพาราโตขึ้นมีร่มเงามากการก�ำจัดหญ้าภายในสวนยางพารา จะใช้ระบบตัดหญ้าที่ได้น�ำมาเลี้ยงโคขุนมูลโคที่ได้น�ำมาใช้ผลิตก๊าซชีวภาพในการหุงต้มน�้ำล้างคอกโคขุนน�ำมาเป็นปุ๋ย น�้ำมูลโคและเศษหญ้าที่เหลือท�ำปุ๋ยหมักน�ำมาใช้ในสวนยางพาราจากประสบการณ์เป็นเกษตรกร ท�ำสวน เลี้ยงสัตว์ ตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๕๐๙ จนถึงปัจจุบัน จึงได้รับมอบหมายจาก อบต.ต�ำบลสระแก้ว ให้เป็นผู้ดูแลการส่งเสริมอาชีพ ด้านการเกษตรให้กับประชาชนในพื้นที่ โดยการปลูกผักสวนครัว พืชอายุสั้นหมุนเวียน และจัดตั้งกลุ่มอาชีพต่าง ๆ โดยใช้เวลาว่างสร้างงานเกิดรายได้เพื่อลดรายจ่ายประจ�ำวันของครัวเรือน และได้สร้างองค์ความรู้แนะน�ำผ่านศูนย์บริการ และถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจ�ำต�ำบลสระแก้ว บ้านโคกตะเคียน หมู่ที่ ๔ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง บ้านหัวคูหมู่ที่ ๙ ทั้งสองศูนย์เปรียบเสมือนห้องเรียนตามธรรมชาติของต�ำบลสระแก้ว ให้นักเรียน นักศึกษาได้ใช้ท�ำ โครงงาน ท�ำรายงานประกอบการเรียน และสนองนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้เพื่อการพัฒนาอาชีพให้ยั่งยืน ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดย


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 141 ๑. เรื่องน�้ำ หากไม่มีแหล่งน�้ำตามธรรมชาติจะต้องมีบ่อน�้ำตื้น บ่อบาดาลหรือขุดสระน�้ำแก้มลิง เก็บน�้ำไว้ใช้ ๒. เรื่องดิน จะต้องปรับสภาพดินที่เคยถูกท�ำลายด้วยสารเคมีและปุ๋ยเคมีให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ และหาพันธุ์ใหม่มาปลูกที่เหมาะสมกับสภาพของดิน ๓. การบ�ำรุงรักษา หลังปลูกพืช ควรใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยน�้ำชีวภาพซึ่งเกษตรกรสามารถผลิต ได้เองจากการเลี้ยงสัตว์ ๓.๑ การเลี้ยงหมูคอนโดผลิตปุ๋ยน�้ำหมักชีวภาพ จากมูลสัตว์และน�้ำล้างคอกซึ่งมีบ่อเก็บน�้ำ ผ่านการฆ่าเชื้อน�ำไปใช้แทนปุ๋ยเคมีสามารถลดค่าใช้จ่ายจากปุ๋ยเคมีร้อยละ ๘๐ ๓.๒ การเลี้ยงโคขุนพันธุ์เนื้อ ลูกผสมแบบบูรณาการ เพื่อให้โคกับสวนอยู ่ด้วยกันได้ โดยตัดหญ้าจากสวนมาให้วัว เป็นอาหารหยาบของวัว หรือโค กากหญ้าที่โคกินเหลือผสมกับมูลโคท�ำเป็นปุ๋ยหมัก น�ำมาใช้กับพืช แทนปุ๋ยเคมี ๓.๓ การเลี้ยงเป็ดและไก่ (พันธุ์ไข่)ช่วยปราบหญ้าและปุ๋ยโดยใช้อวนล้อมสวนปล่อยไก่ เป็ด ช่วยปราบหญ้า มูลเป็นปุ๋ยช่วยปรับสภาพดิน ลดการใช้สารเคมีผลิตจากไก่ออกเป็นไข่น�ำมาบริโภคและท�ำอาหารได้ ๔. เลี้ยงแมลงเศรษฐกิจ “ผึ้งโพรงไทย” ช ่วยผสมเกสรเพิ่มผลผลิตกับไม้ผล และมีรายได้ จากการผลิตคือน�้ำผึ้ง ลงทุนน้อยไม่ต้องให้อาหารแต่ได้ผลผลิต น�้ำผึ้ง มาจ�ำหน่ายได้ รางวัล ๑. ปีพ.ศ. ๒๕๓๗ รางวัลหมู่บ้านบรรลุสุขภาพดีถ้วนหน้า บ้านสระแก้ว หมู่ที่ ๕ ๒. ปีพ.ศ. ๒๕๓๗ รางวัลโครงการพัฒนาต�ำบลดีเด่นระดับ จังหวัดนครศรีธรรมราช ๓. ปีพ.ศ. ๒๕๓๗ รางวัลโครงการพัฒนาต�ำบลดีเด่นระดับภาคการขุดลอกสระน�้ำคลองลุ่มเตย หมู่ที่ ๕ ต�ำบลสระแก้ว ๔. ปีพ.ศ. ๒๕๓๙ รางวัลผู้ปฏิบัติความดีความชอบในการปฏิบัติหน้าที่ผู้ใหญ่บ้าน รางวัลที่ ๑ จากกระทรวงมหาดไทย ๕. ปีพ.ศ. ๒๕๔๐ รางวัลต�ำบลพัฒนาดีเด่นระดับภาค ๖. ปีพ.ศ. ๒๕๔๑ รางวัลโล่เกียรติคุณบุคคลตัวอย่าง สาขาผู้ใหญ่บ้านดีเด่นของอ�ำเภอท่าศาลา ๗. ปีพ.ศ.๒๕๔๑ รางวัลผู้ใหญ่บ้ายยอดเยี่ยม แหนบทองค�ำ จากกระทรวงมหาดไทย ๘. ปีพ.ศ. ๒๕๔๕ เกียรติบัตร “พ่อแห่งชาติ” ๙. ปีพ.ศ.๒๕๕๓ รับพระราชทานปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชา เกษตรศาสตร์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ๑๐. ปีพ.ศ. ๒๕๕๖ รับพระราชทานเหรียญสมนาคุณ สภากาชาดไทย ชั้นที่ ๓ ๑๑. ได้รับการเผยแพร่ในหนังสือ “สานฝัน ๘๐ ความดีถวายในหลวง” ของกรมพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์หน้า ๒๐๘ นายนิคม คงทน “คนผู้รัก” ๑๒. ได้รับการตีพิมพ์หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๔๙ คอลัมภ์ผู้น�ำท้องถิ่นเกี่ยว กับการบริหารงาน หัวข้อ “สร้างความดีใช้หนี้แผ่นดิน” โดยคุณอธิวัฒน์ไชยนุรัตน์ ๑๓. ได้รับการตีพิมพ์บทความสะท้อนความส�ำเร็จในการพัฒนาอาชีพ การเลี้ยงผึ้งโพรงไทย การ เลี้ยงด้วงสาคูแบบพัฒนา ในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์หน้า ๒๘ ฉบับวันที่ ๒๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๖


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 142 ๑๔. ได้รับการตีพิมพ์วารสาร โรงพยาบาลปีที่ ๕ ฉบับที่ ๓๑ พฤศจิกายน – ธันวาคม ๒๕๔๙ หน้า ๕๒ - ๕๓ ศาลาดอกล�ำดวน ชื่อเรื่อง “บุคคลตัวอย่างแห่งเมืองท่าศาลา” โดยคุณอนงค์มีพวกมาก ๑๕. ได้รับการตีพิมพ์วารสาร โรงพยาบาลปีที่ ๑๑ ฉบับที่ ๖๓ มีนาคม – เมษายน ๒๕๕๕ หน้า ๒๔ - ๒๕ ศาลาดอกล�ำดวน ชื่อเรื่อง “ปราชญ์เกษตร คงทน ตอนที่ ๑” โดยคุณอนงค์มีพวกมาก ๑๖. สารคดีรายการพ่อหลวงในดวงใจเรื่องการเลี้ยงโคขุนแบบบูรณาการและการเลี้ยงผึ้งโพรงไทย แบบพัฒนา ถ่ายทอดทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย จังหวัดนครศรีธรรมราช ๑๗. สารคดีรายการรอบรู้ถิ่นไทย เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ตอนการเพาะแตนเปียนก�ำจัดแมลงด�ำ หนามมะพร้าวระบาดท�ำลายสวนมะพร้าว การเพาะเชื้อไตรโคเดอร์ม่า ก�ำจัดโรคราไวทอปเทอริ่งรากโคน การผลิต น�้ำหมักชีวภาพ น�้ำส้มควันไม้ไว้ใช้ป้องกันและก�ำจัดแมลงศัตรูพืช ปรับสภาพดิน ถ่ายทอดออกอากาศทางสถานีวิทยุ โทรทัศน์แห่งประเทศไทย จังหวัดนครศรีธรรมราช


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 143 ภูมิปัญญาท่าศาลา บทที่ ๖ สาระส�ำคัญ ความหมาย ความส�ำคัญของภูมิปัญญาไทย และเรียนรู้ประวัติทักษะกระบวนการ และองค์ความรู้ ของภูมิปัญญา ในเขตพื้นที่อ�ำเภอท่าศาลา ตัวชี้วัด ๑. อธิบายประวัติของภูมิปัญญาท้องถิ่น ทักษะกระบวนการและองค์ความรู้ในศาสตร์แขนงต่างๆเกี่ยวกับ ในชุมชน ๒. วิเคราะห์เคล็ดลับ องค์ความรู้ของภูมิปัญญาท้องถิ่น ๓. มีทักษะในการสื่อสาร โดยการฟัง การซักถาม การสัมภาษณ์ โดยการถ่ายทอดความรู้จากการฟัง บรรยายไปยังบุคคลอื่นๆได้ ๔. มีการฝึกปฏิบัติและทักษะการเรียนรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่น ๕. การน�ำเสนอผลงานจากการศึกษาค้นคว้าองค์ความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่น ๖. ตระหนักและเห็นคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่นของอ�ำเภอท่าศาลา ขอบข่ายเนื้อหา ๑. ความหมายของภูมิปัญญาไทย ๒. ประวัติ องค์ความรู้ของภูมิปัญญาท้องถิ่นอ�ำเภอท่าศาลา ๒.๑ ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านศิลปกรรม ๒.๑.๑ นางกั้น เชาวพ้อง ศิลปะการแสดงมโนราห์ ๒.๑.๒ นายจ�ำลอง เมฆาวรรณ์การท�ำเครื่องดนตรีชุดมโนราห์ ๒.๑.๓ นายจ�ำเนียร ค�ำหวาน หนังตะลุง ๒.๒ ภูมิปัญญาท้องถิ่น สาขาคหกรรม ๒.๒.๑ นางผ่องศรีมะหมัด การท�ำปลาร้าฝังดิน ๒.๒.๒ นางสาวลาวัลย์ปริงทอง การท�ำน�้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น ๒.๒.๓ นายยุโสบ หล้าเก ท�ำน�้ำตาลมะพร้าว ๒.๒.๔ นางอารีเชาวลิต การท�ำขนมไทย (ขนมเปียกปูน) ๒.๒.๕ นายหนูพัน สังวาลย์การท�ำขนมกะละแม ๒.๓ ภูมิปัญญาท้องถิ่น สาขาหัตถกรรม ๒.๓.๑ นางจ�ำเป็น รักเมือง การท�ำหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผาบ้านมะยิง ๒.๓.๒ นายเสวก ยุโส้การท�ำกรงนก ๒.๓.๓ นายกิบหลีหมาดจิการท�ำหัตถกรรมจักสานไม้ไผ่


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 144 ๒.๓.๔ นายหมูด ทรงเลิศ การต่อเรือประมงพื้นบ้าน ๒.๓.๕ นางฉลวย ปล้องเกิด การท�ำอิฐแดงหรืออิฐมอญ ๒.๔ ภูมิปัญญาท้องถิ่น สาขาประมง ๒.๔.๑ นายเจริญ โต๊ะอิแต การท�ำประมงพื้นบ้านการดุหล�ำและธนาคารปู ๒.๕ ภูมิปัญญาท้องถิ่น สาขาเกษตรกรรม ๒.๕.๑ นายนิวัฒน์ดิมาร การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรยาเส้น“ยากลาย” ๒.๕.๒ นายธีรชัย ช่วยชูการท�ำปุ๋ยหมักชีวภาพ ๒.๕.๓ นางสมจิตร เดชบุญ การเลี้ยงไส้เดือน“ปุ๋ยมูลไส้เดือน” ๒.๕.๔ นายสุพจน์ศรีสุชาติการเกษตรน้อมน�ำเศรษฐกิจพอเพียง ๒.๕.๕ นายเลื่อน พรมวีศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านนายเลื่อน เวลาที่ใช้ในการศึกษา ๒๐ ชั่วโมง สื่อการเรียนรู้ ๑. เอกสารประกอบการเรียนหลักสูตรรายวิชาเลือกท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ๒. คู่มือนักศึกษา รายวิชาเลือกท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ๓. สื่อเสริมการเรียนรู้อื่น ๆ


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 145 เรื่องที่ ๑ เรื่องที่ ๒ ความหมายของภูมิปัญญาไทย ประวัติและองค์ความรู้ของภูมิปัญญา ความหมายของภูมิปัญญา หรือWisdomหมายถึงความรู้ความสามารถความเชื่อ ที่น�ำมาไปสู่การปฏิบัติ เพื่อแก้ไขปัญหาของมนุษย์หรือ ภูมิปัญญา คือ พื้นความรู้ของปวงชนในสังคมนั้น ๆ และปวงชนในสังคมยอมรับรู้ เชื่อถือ เข้าใจ ร่วมกัน เรียกว่า ภูมิปัญญา ภูมิปัญญาไทย หมายถึงองค์ความรู้ความสามารถและทักษะของคนไทยอันเกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ ที่ผ่านกระบวนการเรียนรู้เลือกสรร ปรุงแต่ง พัฒนา และถ่ายทอดสืบต่อกันมา เพื่อใช้แก้ปัญญาและพัฒนาวิถีชีวิต ของคนไทยให้สมดุลกับสภาพแวดล้อมและเหมาะสมกับยุคสมัย ภูมิปัญญาไทยนี้มีลักษณะเป็นองค์รวม มีคุณค่า ทางวัฒนธรรมเกิดขึ้นในวิถีชีวิตไทย ซึ่งภูมิปัญญาท้องถิ่นอาจเป็นที่มาขององค์ความรู้ที่งอกงามขึ้นใหม่ที่จะช่วย ในการเรียนรู้การแก้ปัญหาการจัดการและการปรับตัวในการด�ำเนินวิถีชีวิตของคนไทยลักษณะองค์รวมของภูมิปัญญา มีความเด่นชัดในหลายด้าน เช่น ด้านเกษตรกรรม ด้านอุตสาหกรรม และหัตถกรรม ด้านการแพทย์แผนไทย ด้านการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ด้านกองทุนและธุรกิจชุมชน ด้านศิลปกรรม ด้านภาษาและวรรณกรรม ด้านปรัชญา ศาสนา และประเพณีและด้านโภชนาการ วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และ ภูมิปัญญาพื้นที่อ�ำเภอท่าศาลาได้ปรากฏ บุคคลที่เป็นแบบอย่างหลายด้าน ๆ เช่น ๑. ศิลปและวัฒนธรรม เช่น มโนราห์การร้อยลูกปัดส�ำหรับชุดการแต่งกายมโนราห์หนังตะลุง ๒. ด้านคหกรรม การท�ำน�้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น การขนมไทย การท�ำเส้นขนมจีน การท�ำกะปิ การท�ำปลาร้าฝังดิน ๓. ด้านหัตถกรรมพื้นบ้าน การท�ำกรงนก การท�ำหางอวน การท�ำเครื่องปั้นดินเผา การท�ำ อิฐมอญ การจักสานผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่การท�ำว่าว ๔. ด้านประมง การต่อเรือประมงพื้นบ้าน การอนุรักษ์พันธุ์ปูม้า การสร้างบ้านปลา ๕. ด้านเกษตรกรรม การท�ำการเกษตรแบบพอเพียง ด้านปลูกยาเส้น (ยากลาย) ๒.๑ ด้านศิลปะและวัฒนธรรม ๒.๑.๑ นางกั้น เชาวพ้อง ภูมิปัญญาด้านศิลปะการแสดงมโนราห์ ภาษาใต้เรียกว่า “โนรา” ภาษากลางเรียกว่า “มโนราห์” นางกั้น เชาวพ้อง ภาษาถิ่นใต้เรียกว ่า “โนรากั้น” หรือภาษากลาง เรียกว่า มโนราห์กั้น เริ่มต้นของการร�ำโนรา นางกั้นบันเทิงศิลป์ เล่าว่าตอนอายุ๑๕ ปีตอนนั้นมีการประกวดโนราท่านนั่งอยู่ ที่บ้านแล้วมีคณะโนราผ่านหน้าบ้าน เขาชวนนางกั้นให้ร�ำโนรา ท ่านก็ไปเมื่อไปแล้วตอนกลับเขากลับอีกทาง นางกั้น ก็เลยจ�ำเป็นต้องอยู่กับคณะมโนราจนถึง ๓ ปีจึงได้กลับบ้าน และมาตั้งคณะโนรา เรียกขานนามว ่า “โนรากั้น” ความสามารถการแสดงโนราเป็นอย่างมาก และเป็นศิลปิน คณะโนรากั้นบันเทิงศิลป์ ปัจจุบันอายุ ๘๖ ปีเกิดวันอาทิตย์เดือนสี่ ปีจอ พ.ศ. ๒๔๗๖ จบการศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ จากโรงเรียนวัดจันพอ หมู่ ๓ ตําบลดอนตะโก อําเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 146 ที่มีประชาชนชื่นชม รวมถึงเป็นบุคคลที่มีน�้ำใจมีความเอื้ออาทร เสียสละ เป็นที่รักใคร่ของบุคคลทั่ว ๆ ไป จึงทําให้มี คนมาฝากตัวเป็นลูกศิษย์ฝึกหัดรําโนราอยู ่ตลอดเวลารุ ่นแล้วรุ ่นเล ่า โนรากั้นยินดีและเต็มใจถ ่ายทอดความรู้ ซึ่งลูกศิษย์ที่โนรากั้นได้ฝึกหัดมีทั้งเด็กและผู้ใหญ่จํานวนไม่น้อยกว่า ๑๐๐ คน จากการที่นางกั้น เชาวพ้อง หรือโนรากั้นบันเทิงศิลป์ได้แสดงโนรามาเป็นเวลายาวนานกว่า ๖๘ ปี และประสบผลสาเร็จในอาชีพ ํ เลี้ยงครอบครัวส่งให้ลูกได้เรียนหนังสือสร้างฐานะความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นด้วยการราโนรา ํ ตลอดจนมีลูกศิษย์มากมายไม่ต�่ำกว่า ๑๐๐ คน เป็นบุคคลที่ครองตัวครองตน ประพฤติตนอยู่ในศีลธรรมอันดี และได้บําเพ็ญตนเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น รวมถึงสังคมส่วนรวมต่าง ๆ มามากมาย อีกทั้งมีความรู้ความสามารถ ในด้านการแสดงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นหลายด้าน จนเป็นที่ยอมรับจึงเป็นปูชนียบุคคลที่สําคัญ อีกคนหนึ่งที่ยังคง สืบสานเอกลักษณ์ ในศิลปะการแสดงอันเป็นภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของภาคใต้ไว้ได้อย่างดียิ่ง นางกั้น เชาวพ้อง จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง(โนรา) พุทธศักราช ๒๕๖๑ ๒.๑.๒ นายจ�ำลอง เมฆาวรรณ์ ภูมิปัญญา การท�ำเครื่องดนตรี ชุดมโนราห์


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 147 นายจ�ำลอง เมฆาวรรณ์ เกิดเมื่อปี๒๕๘๔ มีลูกทั้งหมด ๘ คน ครูจ�ำลอง มีอาชีพ ท�ำเครื่องดนตรีมาตั้งแต่เด็ก ๆ โดยเริ่มต้นการฝึกในโรงหนังมโนราห์อาศัยความรักจากการที่อยู่กินนอนในโรงหนัง มโนราห์ซึมซับการร�ำมโนราห์ครูพักลักจ�ำหัดท�ำเครื่องดนตรีขึ้นเอง การซ่อมเครื่องดนตรีลองผิดลองถูก ครูจ�ำลอง ท�ำเครื่องดนตรีมาตั้งแต่อายุประมาณ ๑๗-๑๘ ปีพร้อมเล่นมโนราห์ด้วย ครูจ�ำลอง ท�ำเครื่องดนตรีทุกชนิดที่เกี่ยวกับอุปกรณ์มโนราห์ ทับ กลอง โหม่ง แกระ ปี่ เครื่องดนตรีต่าง ๆ ท�ำจากไม้ขนุน ไม้จ�ำปา ไม้รักเขา ส่วนหนังต้องใช้หนังค่าง หนังแพะ (เสียงจะทุ้ม) หนังกลอง ก็หามาจากโรงฆ่าสัตว์สมัยก่อนลิงค่างหาง่าย หนังของลิงค่าง จึงน�ำมาใช้เป็นหนังกลอง แต่ปัจจุบันนิยมใช้ฟิล์ม เพราะหนังสัตว์หายากและต้องฆ่าสัตว์ตัวหนึ่งใช้ได้๕-๖ ปีช่วงหนังหายาก ครูจ�ำลอง ดูกลองสากลว่าเค้าใช้อะไร ท�ำหน้ากลอง เห็นกลองสากลใช้ฟิล์มเลยประยุกต์ใช้กับโทนเป็นต้นมา ซึ่งฟิล์มจะใช้ได้นานกว ่า ส ่วนไม้ขนุน ซึ่งหาง ่ายกว ่า สีเนื้อไม้สวย การรัดหนังกลองสมัยก ่อนใช้หวาย แต ่ในปัจจุบันใช้เอ็นรัดหนังกับหน้ากลอง ส่วนพวกโลหะที่ติดเครื่องดนตรีจะสั่งซื้อจากกรุงเทพ ครูจ�ำลองท�ำแต่พวกงานไม้อุปกรณ์ต่าง ๆ ดัดแปลงขึ้นมาเอง เนื่องจากลูกเขยเป็นช่างอยู่แล้ว เมื่อมีเวลาว่างลูกเขยจะมาช่วยท�ำอุปกรณ์ เครื่องดนตรีเป็นการเรียนรู้ไปในตัว ตอนนี้นายจ�ำลอง เมฆาวรรณ์แก่มากแล้วไม่ได้เล่นมโนราห์แล้ว ให้ลูก ๆ หลาน ๆ เล่น ช่างประเสริฐ นายประเสริฐ โสมนัส ลูกเขย กล่าวว่า ผมเห็นพ่อท�ำอุปกรณ์ดนตรีและ ส่วนตัวก็ชอบงานไม้งานช่างทุกอย่างอยู่แล้ว เห็นพ่อท�ำแล้วชอบ ซึ่งตอนนี้ในจังหวัดนครศรธรรมราชไม่มีที่ไหนท�ำ เครื่องดนตรีอีกแล้ว ส่วนมากตามโรงหนังตะลุงและโรงมโนราห์คนที่มาซื้อส่วนใหญ่จะเป็นนักเรียน นักศึกษา โรงเรียนก็มาสั่งจากผม กลองโทนปกติราคาคู่ละ ๔๐๐๐ บาท กลองตัวละ ๓๕๐๐ ราคาตามขนาดของกลอง โหม่ง ตัวละ ๖๐๐๐ นอกจากนี้ช่างประเสริฐและลูกสาวนายจ�ำลองเมฆาวรรณ์ยังท�ำชุดมโนราห์เทริดงานลูกปัดมโนราห์ ซึ่งงานเหล่านี้เข้ามาเยอะจนท�ำไม่ทัน ๒.๑.๓ นายจ�ำเนียร ค�ำหวาน ภูมิปัญญาหนังตะลุง เกิดเมื่อวันที่ ๒๓ มกราคม ๒๔๘๒ ณ บ้านหัวเกียน ต�ำบลท ่าขึ้น อ�ำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นบุตรของนายร่าน (หนังร่าน) กับนางพูล ค�ำหวาน ปู่ชื่อนายเรื่อย ค�ำหวาน บิดาและปู่ เป็นนายหนังตะลุงที่มีชื่อเสียงในอดีตจึงกล่าวได้ว่าหนังจ�ำเนียร ค�ำหวาน เกิดในตระกูลของศิลปิน จึงมีวิญญาณของศิลปิน อยู่ในสายเลือด นายหนังจ�ำเนียรค�ำหวาน สมรสกับ นางกิ้มแจ้ง มีบุตรธิดา ๙ คน ชายจ�ำนวน ๕ คน หญิงจ�ำนวน ๔ คน ชีวิตครอบครัวหารายได้จากการประกอบอาชีพศิลปินมาเลี้ยง ครอบครัวและส่งบุตร ธิดาได้ศึกษาและประกอบอาชีพที่มั่นคง นายจ�ำเนียรค�ำหวาน จบการศึกษาชั้นประถมปีที่๔ จากโรงเรียน วัดสโมสร ต�ำบลหัวตะพาน อ�ำเภอท่าศาลาและได้ศึกษาวิชา ทางพระพุทธศาสนาจบนักธรรมตรีณ วัดท่าสูงอ�ำเภอท่าศาลา ขณะบวชบรรพชาอุปสมบท เมื่ออายุ๒๐ - ๒๓ ได้๓ พรรษา ความสามารถของนายหนังจ�ำเนียร ค�ำหวาน เป็นศิลปิน ทั้งทางด้านมโนราห์หนังตะลุง โดยเริ่มหัด มโนราห์และหนังตะลุงตั้งแต่วัยเด็ก เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๐๒


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 148 โดยมีคุณปู่ (หนังเรื้อยค�ำหวาน) และคุณพ่อเป็นผู้ฝึกและถ่ายทอดวิชาความรู้ให้และเริ่มออกแข่งขัน เมื่ออายุ๑๙ ปี นายหนังจ�ำเนียรได้เริ่มเป็นที่รู้จักของประชาชนโดยการเล่นประชันกันกับหนังตะลุงในสมัยนั้น และค่อยๆ มีชื่อเสียง มาเรื่อย ๆ คู่แข่งในรุ่นเดียวกัน เช่น นายหนังประยูรใหญ่ หนังแคล้วเสียงทอง หนังปรีชาและหนังบุญชุม ทางด้าน การแสดงมโนราห์ เช่นกัน ก็ได้ประชันแข่งขัน นายหนังจ�ำเนียร ค�ำหวานได้ถ่ายทอดความรู้มีลูกศิษย์ลูกหา นับเป็นสิบ ๆ คณะจนกล่าวได้ว่าการแสดงของท่านได้แสดงความสามารถทั้งทางด้านศิลปะ การแสดงมโนราห์ และการเล่นหนังตะลุงควบคู่กันตลอดมาการเล่นหนังตะลุงของนายหนังจ�ำเนียรค�ำหวานถือว่าเป็นการแสดงชั้นครู ที่ยึดถือเป็นแบบฉบับได้ทั้งสิ้น ตั้งแต่เครื่องดนตรีเรื่องที่แสดงการด�ำเนินเรื่อง บทกลอน การลากรูป หรือเชิดรูป น�้ำเสียงการว่าบท การเจรจาและมีการประสมกลมกลืน เป็นองค์ประกอบของหนังตะลุง ผลงานของท่านเป็นศิลปิน นักแสดงที่น่าชื่นชมของประชาชน มาเป็นเวลานานรวมกว่า ๔๐ ปีจนได้รับเกียรติคุณ เช่น รางวัลโล่ทองค�ำ จากการประชันโรงกับหนังเคล้าน้อยและหนังปรีชา ณ สนามที่ว ่าการอ�ำเภอท่าศาลา รางวัลขันน�้ำพานรอง จากการประชันโรงกับนายหนังปรีชา หนังเคล้าน้อย หนังประยูร ๒.๒ ด้านคหกรรม ๒.๒.๑ นางผ่องศรี มะหมัด (ฉูดะ) ภูมิปัญญา : การท�ำปลาร้าฝังดิน ต�ำบลกลาย นางผ่องศรีมะหมัด(ฉูดะ) เกิดวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๐๕ อายุ๕๕ ปีบ้านเลขที่ ๑๗๒/๒ หมู่ที่ ๑๑ ต�ำบลกลาย อ�ำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ในสมัยโบราณ ปลาเป็นอาหารหลักอย่างหนึ่ง ของคนไทย ซึ่งหาได้ง่ายตามแม่น�้ำล�ำคลอง ทะเล ดังนั้น ในวันที่จับปลาได้มากก็จะมีการแบ่งปันให้ญาติหรือเพื่อนบ้านได้รับประทานกัน อย่างทั่วถึงตามนิสัยโอบอ้อมอารีของคนไทยในสมัยก่อนส่วนที่เหลือจะเก็บรักษาไว้โดยการหมักเกลือ ท�ำเป็นปลาร้า ตากแดด หรือย่างรมควัน ส่วนผลไม้อาจน�ำมากวน ซึ่งเป็นการระเหยเอาน�้ำออก เพื่อท�ำให้ผลไม้นั้น สามารถเก็บไว้


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 149 ได้นาน อาจจะเติมน�้ำตาลด้วยหรือไม่ก็ได้เพื่อให้รสชาติดีขึ้น ถึงแม้ว ่าคนในสมัยก ่อนจะไม ่ทราบทฤษฎีหรือหลักการ ในการถนอมรักษาผลิตผลการเกษตร ในด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแต่ก็ได้มีการปฏิบัติต่อ ๆ กันมาหลายชั่ว อายุคน เป็นวิธีง ่าย ๆ ไม ่มีกรรมวิธียุ ่งยากหรือซับซ้อน โดยอาศัยธรรมชาติเป็นส่วนช่วยในการถนอมรักษา อาจจะ มีทั้งการเก็บในลักษณะสดและแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร ชนิดใหม่ โดยที่คุณภาพเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด และสามารถ เก็บไว้ได้นาน ซึ่งพอจะสรุปได้ดังนี้ นางผ่องศรีมะหมัด เป็นเจ้าของภูมิปัญญาการท�ำปลาร้าฝังดิน ตั้งบ้านเรือนอาศัยอยู่ใน ต�ำบลกลาย ซึ่งเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอพียง มีแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย มีทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์มากมาย ปัจจุบัน นางผ่องศรีมะหมัด ประกอบอาชีพชาวประมง นางผ่องศรีมะหมัดได้มีการถ่ายทอดความรู้ในการท�ำปลาร้า ให้นักศึกษา ชาวบ้าน การท�ำปลาร้าฝังดิน เป็นการรักษาคุณภาพปลาร้า ซึ่งปลาร้าฝังดินเป็นปลาร้ามีรดชาติหอม อร่อย สามารถเก็บไว้ได้นานของชาวประมงในพื้นที่ต�ำบลกลาย ขั้นตอนและกระบวนการในท�ำปลาร้าฝังดิน ขั้นตอนที่ ๑ น�ำปลาสด ๆ ได้แก่ ปลาจวด ปลาอินทรีย์ ปลากุเลา ที่ขึ้นจากทะเล โดยไม่แช่น�้ำแข็ง มาขอดเกร็ดและล้างให้สะอาดให้สะอาดจากการสอบถามภูมิปัญญา ปลาที่สดไม่ผ่านการแช่น�้ำแข็ง เมื่อเป็นปลาร้าแล้วจะมีความหอม


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 150 ขั้นตอนที่ ๒ เมื่อแช่น�้ำเปล่าครบ ๖ ชั่วโมงแล้ว น�ำปลามาคลุกเคล้ากับเกลือผง และ น�ำเกลือจุกเข้าไปในท้องปลาด้วยในปริมาณที่พอเหมาะ ขั้นตอนที่ ๓ น�ำปลาที่ห่อด้วยกระดาษซับมันแล้ว ฝังทรายลงในบ่อซีเมนต์แล้วกลบ ให้มิดชิดใช้เวลาในการฝังกลบ ๓ วัน


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 151 ขั้นตอนที่ ๔ น�ำปลาที่ห่อด้วยกระดาษซับมันแล้ว ฝังทรายลงในบ่อซีเมนต์แล้วกลบให้ มิดชิดใช้เวลาในการฝังกลบ ๓ วัน ขั้นตอนที่ ๕ น�ำปลาร้าที่ฝังกลบในดินทรายขึ้นมาล้างให้สะอาด แล้วตากแดด ให้แห้ง ใช้เวลาตาก ๒ วัน จึงจะน�ำปลาร้ามาทอดได้ ๒.๒.๒ นางสาวลาวัลย์ ปริงทอง ภูมิปัญญา : น�้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น ชื่อเล่น กะเมาะ เกิด ๒๘ มกราคม ๒๕๐๕ อยู่บ้านเลขที่ ๑๕๔ หมู่ที่ ๑๑ ต�ำบลกลาย จังหวัดนครศรีธรรมราช เรียนรู้วิธีกี่ท�ำน�้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น จากคุณครูปรารม มุสิก อดีตครูโรงเรียนบ้านพังปริง กะเมาะได้ไปช ่วยคุณครูท�ำ ตั้งแต ่คั้นมะพร้าว และช่วย ตักน�้ำมันเมื่อน�้ำมันไช้ได้เป็นวิชาความรู้ติดตัวมา ตั้งแต่อายุ ของกะเมาะ ๔๐ ปีและมาเริ่มท�ำจริงจังเป็นอาชีพ เมื่ออายุ ๕๓ ปีโดยมีคณะอาจารย์จากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มาให้ความรู้และเทคนิคการท�ำมะพร้าว เพราะรู้ว่าในชุมชน มีมะพร้าวเยอะโดยมาสอนและน�ำเครื่องมือปั้นที่เป็น ข้อเหวี่ยงให้น�้ำกะทิแตกตัวโดยแยกน�้ำกับน�้ำมันออกมา แต่ต้องใช้เวลาในการนั่งเฝ้ามะพร้าว ใช้กระแสไฟฟ้าและ เสียเวลามาก ๆ กว ่าที่เคยท�ำเลยตัดสินใจไม ่ใช้อุปกรณ์ ชนิดดังกล่าวที่ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ให้มาแต่กลับมาท�ำ โดยรูปแบบเดิมกล่าวโดยมีบริษัทเชพรอน สนับสนุนส่งเสริม โดยสนับสนุนให้การอบรม โดยน�ำอาจารย์จากมหาวิทยาลัย ราชภัฎนครศรีธรรมราช มาช่วยสอนและเพิ่มเติมให้ความรู้ และได้รับการสนับสนุนจากหน ่วยงาน กศน. สนับสนุน ส ่งเสริมให้ถ ่ายทอดความรู้กับเพื่อนบ้าน โดยน�ำมาเป็น ภูมิปัญญาและสนับสนุนในการพาไปดูงานให้เกิดการเรียน สนับสนุนงบสถานที่ท�ำการกลุ ่มเป็นที่ฝึกประสบการณ์ ช่างไฟฟ้าภายในบ้าน และช ่างทาสีโดยใช้ที่ท�ำการกลุ ่ม เป็นที่ฝึกประสบการณ์ให้กับผู้เรียน กลุ ่มได้พัฒนา


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 152 ที่ท�ำการกลุ่ม และวิทยาลัยเทคนิคสิชล สนับสนุนครุภัณฑ์ เช่น โต๊ะ ชั้นวางภาชนะและอุปกรณ์ ท�ำให้กลุ่มได้มี การด�ำเนินงานที่เข้มแข็งมากยิ่งขึ้น กระบวนการท�ำ ดังนี้การท�ำ น�้ำมันสกัดเย็น (น�้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์) อุปกรณ์ และวัตถุดิบ ประกอบด้วย ๑. ขวดโหลแก้วหรือภาชนะอื่น ๆ ใช้ในการหมัก ๒. ผ้าขาวบางตาถี่ ๓. ผ้าพลาสติก ๔. กะละมัง ๕. เนื้อมะพร้าวสดขูด ๑ กิโลกรัม ๖. น�้ำอุ่น ๕๐ องศาเซลเซียส ๑ ลิตร ๗. ยางรัดหรือเชือก วิธีท�ำ ๑. น�ำเนื้อมะพร้าวขูดใส่กะละมังเติมน�้ำอุ่นอุณหภูมิ๕๐ องศาเซลเซียสในอัตราส่วนเนื้อมะพร้าว ขูด ๑ ส่วนต่อน�้ำอุ่น ๑ ส่วน ๒. คั้นน�้ำกะทิในกะละมัง แล้วใช้ผ้าขาวบางกรองเอากากมะพร้าวทิ้งไป ๓. น�ำน�้ำกะทิที่คั้นได้ใส่ในขวดโหลหรือภาชนะอื่น ๆ ที่มีทรงสูงให้น�้ำกะทิอยู่ห่างจากปากขวดโหล อย่างน้อย ๒ นิ้ว ปิดปากขวดโหลด้วยผ้าพลาสติก ใช้หนังยางหรือเชือกรัดให้แน่น ตั้งทิ้งไว้๓๖-๔๘ ชั่วโมง ๔. จากนั้นน�้ำมันมะพร้าวจะแยกตัวออกจากน�้ำ ลอยอยู่ด้านบนของภาชนะใช้กระบวยตักน�้ำมัน ออกมาใส่ขวดโหลอีกใบ ตั้งทิ้งไว้๒-๓ วัน ให้ตกตะกอน กรองด้วยผ้าขาวบางตาถี่ เอาแต่น�้ำมันใสๆ มาบรรจุขวดสีชา หรือสีเขียว สีน�้ำเงิน ที่มีฝาปิดสนิท ข้อจ�ำกัด ๑. คุณภาพของมะพร้าวที่ใช้ในการท�ำต้องใช้มะพร้าวแก่จัดคาต้นหรือเมื่อไปซื้อมะพร้าวขูด ควรเลือกมะพร้าวให้แม่ค้าขูด ไม่ซื้อชนิดที่ขูดไว้แล้ว เพื่อให้แน่ใจว่าได้มะพร้าวขูดที่ใหม่จริง ๆ ๒. น�้ำที่ใช้คั้นกะทิไม่ควรร้อนเกินกว่า ๕๐ องศาเซลเซียส เพราะความร้อนจะเปลี่ยนโครงสร้าง และคุณสมบัติของน�้ำมันให้เปลี่ยนแปลงไป ๓. ในการหมักควรจะหาปิดฝาให้แน ่นหนา หลีกเลี่ยงการถูกแสงแดดแดดและไม ่ควรหมัก เกิน ๒ วัน เพราะจะท�ำให้เกิดกลิ่นเหม็นหืน ๔. มะพร้าวขูด ๑ กิโลกรัม ให้น�้ำมันได้๑๕๐ กรัม หากต้องการมากกว่านั้นสามารถเพิ่มปริมาณ มะพร้าวได้ตามความต้องการ ๕. ควรน�ำบรรจุใส่ขวดสีชา หลีกเลี่ยงแสงแดดและน�้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นสามารถเก็บไว้ใช้ได้ นานถึง ๒ ปี ๖. ไม่ควรตั้งน�้ำมันไว้ในห้องครัวหรือที่อับชื้น เพราะเชื้อแบคทีเรียท�ำให้น�้ำมันมีกลิ่นหืนได้ ๗. การด�ำเนินการท�ำน�้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น ไม่ควรด�ำเนินลงมือท�ำในช่วงฤดูฝน เพราะสภาพ อากาศชื้น การแยกตัวของชั้นน�้ำมันกับน�้ำจะไม่ได้ผล ปัจจุบันกะเมาะได้ศึกษาหาความรู้ลองผิดลองถูกเรียนรู้จากผู้รู้สามารถผลิตสบู่ที่มีส่วนผสมน�้ำมัน สกัดเย็น การท�ำครีมบ�ำรุงผิวที่มีส่วนผสมน�้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น ได้เกิดผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้นให้กับกลุ่มโดยมีผลิตภัณฑ์ ของกลุ่มเพิ่มขึ้น


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 153 ๒.๒.๓ นายยุโสบ หล้าเก ภูมิปัญญาบ้าน การท�ำน�้ำตาลมะพร้าว : ต�ำบลโมคลาน นายยุโสบ หล้าเก ชื่อเล่น บังโสบ เกิดวันที่ ๒ เดือน เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๘ ที่อยู่ปัจจุบัน บ้านเลขที่ ๑๑๑ หมู่ที่ ๑๑ ต�ำบลโมคลาน อ�ำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช น�้ำตาลมะพร้าว (น�้ำตาลปี๊บหรือน�้ำตาลก้อน) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์พื้นบ้านที่ผลิตโดยอาศัย ภูมิปัญญาชาวบ้านมาเป็นเวลาช้านาน สามารถน�ำมาประกอบอาหารไทยได้ทั้งคาวและหวาน เป็นที่โปรดปราน ของทั้งคนไทยและคนต่างชาติอาหารที่ท�ำจากน�้ำตาล มะพร้าวเช่น แกงกะทิหรือขนมหวานต่างๆจะมีรสชาติ หอม หวาน และมัน ตาลมะพร้าวของแท้ที่นับวันเริ่ม จะหาได้ยากขึ้น นายยุโสบ หล้าเก เป็นครอบครัวหนึ่ง ที่อยู่ต�ำบลโมคลาน อ�ำเภอท่าศาลาได้อนุรักษ์และสืบทอด เจตนารมความรู้จากบิดา มารดาจนสู่รุ่นลูก เพื่อไม่ให้ อาชีพดังกล่าวสูญหายจัดท�ำเป็นอาชีพรายได้ประจ�ำของ ครอบครัว และสอนลูกให้ทุกคนได้เรียนรู้ประกอบอาชีพ การท�ำน�้ำตาลมะพร้าวให้มีรายได้เลี้ยงครอบครัวของ ตนเอง อีกทั้งเป็นการอนุรักษ์สืบไว้เป็นวัฒนธรรม ภูมิปัญญาของท้องถิ่น ครอบครัวของนายยุโสบ หล้าเก ได้ปลูกมะพร้าวในพื้นที่บริเวณรอบบ้านหลายไร่ ปลูกมาตั้งแต่รุ่นพ่อของนายยุโสบ ต่อมารุ่นนายยุโสบ ได้ดูแลเอาใจใส ่ การสานต ่อปลูกซ ่อมแซมต้นที่ตาย และมีการปลูกขยายจ�ำนวนต้นมะพร้าวเพิ่มขึ้น นายยุโสบ ได้ช่วยพ่อแม่ได้เรียนรู้วิธีการปาดน�้ำหวานจากงวงมะพร้าว การป ่ายปีนต้นมะพร้าวซึ่งต้องอาศัยความช�ำนาญ ความแข็งแรง และความพร้อมของร่างกาย และต้องมี ความขยัน ความอดทนในการท�ำ ตื่นเช้ามาต้องสาละวนกับการขึ้นไปปาดน�้ำหวานสาย ๆ ขึ้นไปเก็บน�้ำหวาน และปาดรอบใหม่ ท�ำวนเวียนอย่างนี้ทุกวัน แสดงว่าได้น�้ำหวานมะพร้าวเก็บได้วันละสองรอบ ยกเว้นว่าวันใดฝนตก มาก ๆ ไม่สามารถขึ้นไปเก็บน�้ำหวานได้ก็จะหยุด เพราะจะเกิดความเสี่ยง นายยุโสบ ได้ด�ำรงต�ำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน ท�ำหน้าที่ผู้ใหญ่บ้านจนปลดเกษียณอายุ และขณะเดียวกันได้ท�ำอาชีพเสริมการท�ำน�้ำตาลจากมะพร้าวเลี้ยงจุนเจือ ครอบครัวส่งให้ลูกได้เรียนจบการศึกษาระดับปริญญาตรีปัจจุบันได้มอบความรู้ให้ลูกท�ำต่อรุ่นลูกซึ่งได้รับการศึกษา น�ำความรู้จากวิชาการที่ร�่ำเรียนจบจากช ่างยนต์ น�ำมาผลิตนวัตกรรมการโซมน�้ำตาลด้วยเครื่องกลแทนการใช้ แรงงานคน ซึ่งได้เห็นความก้าวหน้าด้านอาชีพจากรุ่นสู่รุ่นได้เป็นอย่างดี การเข้ามาบริเวณบ้านจะเห็นต้นมะพร้าวล�ำต้นโดนบากเป็นช่วง ๆ ถ้าใครไม่สังเกต ก็จะไม่รู้ว่าท�ำไมล�ำต้นมะพร้าวจึงเป็นเช่นนั้น ไม่ปกติเหมือนต้นมะพร้าวที่เราเห็นทั่วไป ได้รับค�ำตอบจากเจ้าของ ทราบว่าเป็นการบาก “ถากล�ำต้น” ให้เป็นร่องลึก ๆ เพื่อให้ปีนป่ายขึ้นไปเอาน�้ำตาลมะพร้าวได้สะดวก ต้องน�ำขวด ไปรองรับ ๒ ช่วง กล่าวคือ ช่วงเช้าที่ไปปาดน�้ำตาลและน�ำภาชนะไปรองรับน�้ำหวานจากมะพร้าว และในขวดนั้น มักใส่ไม้พะยอม หรือไม้เคียม เพื่อป้องกันการบูดเมื่อน�้ำหวานท�ำปฏิกิริยากับอากาศ น�้ำหวานจากมะพร้าวจะมีรสชาติ


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 154 เปลี่ยนไป และจะเปรี้ยว ชาวบ้านจึงนิยมใส่ไม้เคียมดังกล่าว และช่วงที่ไปเก็บน�้ำหวานก็น�ำขวด หรือกระบอกไม้ใผ่ ไปสลับสับเปลี่ยนเพื่อไว้รองรับรอบต่อไป เมื่อช่วงสายของแต่ละวันจะขึ้นไปเก็บน�้ำหวานจากมะพร้าวลงมาเคี้ยว และตั้งไฟให้งวด โดยใช้เวลานานหลายชั่วโมงการสังเกตการณ์น�ำมาผ่านกระบวนการเคี่ยว ใช้เวลา ๕ - ๖ ชั่วโมง การสังเกตว่าน�้ำตาลเคี่ยวได้พอดีสังเกตจากการปริมาณน�้ำหวานจะงวด ภาษาถิ่น “น�้ำตาลเริ่มโพ้”และสีของน�้ำหวาน จะเป็นสีน�้ำตาลเข้ม นายยุโสบ หล้าเกเล่าว่าเพื่อให้น�้ำตาลขึ้นรูปได้ง่ายจะใช้น�้ำตาลทรายผสมนิดหน่อยแต่ถ้าต้องการ น�้ำตาลมะพร้าวไม่เจือปนก็จะไม่ต้องใช้น�้ำตาลทรายผสมน�้ำตาลมะพร้าวที่ได้ที่มีเนื้อเหลวอ่อนตัว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ความต้องการของลูกค้าเป็นหลักเวลาเคี่ยวน�้ำตาลจะเคี่ยวน�้ำตาลกันตอนสาย ๆ เป็นต้นไป ผึ้งจะไม ่ค ่อยมา ท�ำความร�ำคาญหรือมาท�ำให้เกิดการปนเปื้อนได้เวลาสายๆ และเที่ยง ๆ ผึ้งจะกลับเข้ารังเพราะอากาศร้อนก็เป็นวิธี ป้องกันด้วยเทใส่ภาชนะ หรือหยอดใส่พิมพ์จนน�้ำตาลเย็น จึงเก็บใส่หีบห่อเพื่อจ�ำหน่ายต่อไป น�้ำตาลสด ๗ ปี๊บ จะเคี่ยว น�้ำตาลได้๓๐ ก.ก. การตลาดไม่ต้องกังวล ผลิตเท่าไหร่ ขายได้หมด นอกจากตลาดในชุมชนแล้ว ยังส ่งไปขาย ตลาดสดในกรุงเทพมหานครอีกด้วย เพราะปัจจุบันระบบ การขนส ่งก้าวไกลไปได้ทุกที่ทั่วไทย อาชีพการท�ำน�้ำตาล จากมะพร้าว ซึ่งท�ำมาจากน�้ำหวานของต้นมะพร้าว เป็นวิถีชีวิตที่ทรงคุณค่า เด็กยุคใหม่ ไม่รู้ที่ไปที่มา ว่าการได้ มาอย่างไร การได้รับรู้ถึง กระบวนการ วิธีการท�ำจะได้เห็น คุณค ่าของที่เราบริโภคขนมหวาน น�้ำตาลจากมะพร้าว เป็นส่วนหนึ่งที่เราบริโภคเข้าไป จะได้คุณค่าของภูมิปัญญา และสืบสานต่อยอดให้เกิดอาชีพและรายได้จากรุ่นสู่รุ่น และ สิ่งที่น ่าภาคภูมิใจที่เห็นได้ชัด ลูกของนายยุโสบ หล้าเก ได้น�ำความรู้จากการเรียนวิชาช่างยนต์ในสถาบันการศึกษา น�ำมาต่อยอดการใช้มอเตอร์หมุนโซมน�้ำตาลให้เย็นในเวลา รวดเร็วและไม่ต้องใช้แรงคนอีกเป็นสิ่งที่ทุ่นแรง และการน�ำ นวัตกรรมมาพัฒนาต ่อยอด สืบสานอาชีพของพ ่อได้ เป็นอย่างดี


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 155 ๒.๒.๔ นางอารี เชาวลิต ภูมิปัญญาการท�ำขนมไทยขนมเปียกปูน นางอารีเชาวลิต ชื่อเล่น แดง เกิดวันที่ ๔ เดือน เมษายน พ.ศ.๒๕๐๑ อายุ ๖๓ ปี ที่อยู่ปัจจุบัน บ้านเลขที่ ๑๐ หมู่ที่ ๙ ต�ำบลไทยบุรีอ�ำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช การท�ำขนมไทย (ขนมเปียกปูน) ถือเป็นผลิตภัณฑ์พื้นบ้านที่ผลิตโดยอาศัย ภูมิปัญญา ชาวบ้านมาเป็นเวลาช้านาน เป็นขนมหวาน เป็นที่โปรดปรานของทั้งคนไทย ขนมที่ท�ำจากใบเตยหอม เช่นหรือขนม หวานต่างๆจะมีรสชาติหอมหวานและมัน องค์ความรู้ที่ได้ ศึกษามานั้นจากบรรพบุรุษที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ปู่ย่าตายาย จนถึงพ ่อ แม ่และประสบการณ์ของตัวเอง ที่ท�ำกันใน ครอบครัวจนถึงปัจจุบันขั้นตอนการปฏิบัติ-การท�ำขนมไทย (ขนมเปียกปูน)การยึดอาชีพของ นางอารีเชาวลิตสามารถ เลี้ยงครอบครัวจากการท�ำขนมไทย(ขนมเปียกปูน) ถือเป็น ผลิตภัณฑ์พื้นบ้านที่ผลิตโดยอาศัยภูมิปัญญาชาวบ้านมาเป็น เวลาช้านาน ได้ท�ำขนมหวานเป็นที่ โปรดปรานของทั้งคน ไทยและคนต่างชาติอาหารที่ท�ำจากใบเตยหอม หรือขนม หวานต่างๆจะมีรสชาติหอม หวานและมัน การอนุรักษ์และ สืบทอดเจตนารมณ์ความรู้จากบิดา มารดาจากรุ ่นสู ่รุ ่น ถ้าไม ่มีสืบทอดต ่อ อาชีพดังกล ่าวสูญหาย จัดท�ำขนม เป็นอาชีพรายได้ประจ�ำของครอบครัวและสอนลูกให้ทุกคน ได้เรียนรู้ประกอบอาชีพการท�ำขนมไทย (ขนมเปียกปูน) ให้มีรายได้เลี้ยงครอบครัวของตนเองอีกทั้งเป็นการอนุรักษ์ สืบไว้เป็นวัฒนธรรมภูมิปัญญาของท้องถิ่นสูตรที่ใช้มะพร้าว ใบเตยหอม แป้งข้าวเจ้าเกลือ น�้ำตาลในสัดส่วนโดยวิธีการ น�ำแป้งข้าวจ้าวจ�ำนวน ๑ กิโลกรัม น�้ำตาลทรายขาวจ�ำนวน ๓ กิโลกรัม เกลือผงประมาณ ครึ่งช้อนกาแฟผสมน�้ำประมาณ ๑ ลิตร บดใบเตยหอมให้ละเอียดกรองกับผ้าขาว น�ำส่วนผสมทั้งหมดกวนให้เข้ากัน ในการกวนต้องใช้เวลา ๓ ชั่วโมง การกวนต้องไปในทิศทางเดียวกันเมื่อครบ จ�ำนวน ๓ ชั่วโมงให้ยกลงจากเตาและใส่ถาดการท�ำขนมไทย(ขนมเปียกปูน)การดูแลควบคุมการป้องกันความสกปรก


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 156 และปนเปื้อนในการท�ำขนมไทย(ขนมเปียกปูน) ได้แก่๑.การท�ำความสะอาดรอบ ๆเตาและท�ำความสะอาดอุปกรณ์ ทุกอย่างทุกวันไม่ให้มีฝุ่นละอองในขณะ การท�ำขนมไทย (ขนมเปียกปูน) ๒. การกองฟืนส�ำหรับการท�ำขนมไทย (ขนมเปียกปูน) ปลอดสารปนเปื้อน ต้องกองฟืนให้เป็นระเบียบไม่กองเกะกะและมีฝุ่นละออง และไม่ใช้เชื้อเพลิง ที่มีกลิ่นเหม็นเช่น ยางรถยนต์หรือวัสดุที่ก่อให้เกิดฝุ่นละออง ๓.อุปกรณ์กระชอนกรองใบเตยหอม ผ้าที่มีสีขาวมากๆ ต้องซักให้สะอาดและตากให้แห้งสนิทอย่าให้มีฝุ่นหรือราขึ้น ภาชนะในการท�ำขนมไทย (ขนมเปียกปูน)ต้องล้างหรือ ต้มน�้ำฆ่าเชื้อให้สะอาดก่อนน�ำมาใช้ทุกครั้ง เทคนิคการท�ำขนมไทย(ขนมเปียกปูน) การก่อไฟให้ไฟพอเหมาะกับ การกวนขนมไทย(ขนมเปียกปูน) เพราะถ้าไฟมากขนมเปียกปูนจะเปลี่ยนสีเป็นสีน�้ำตาลและการกวนต้องไปในทิศทาง เดียวกัน ขนมเปียกปูนจะมีความเหนียวมากขึ้น การพัฒนาของการท�ำขนมไทย(ขนมเปียกปูน) นั้นได้พัฒนาขึ้นเรื่อยๆ จากสมัยก่อนบรรจุลงภาชนะเป็นถาด แต่ปัจจุบันได้มีการบรรจุผลิตภัณฑ์ ได้หลายรูปแบบ เช่น บรรจุเป็นกล่อง เป็นถุง และขวด ขนมอร่อยในแต่ละครั้งนางอารีเชาวลิต กล่าวว่า ของทุกอย่างต้องใหม่ สด เพื่อจะได้ถึง ผู้บริโภคได้อย่างอร่อยและนี่คืออาชีพที่ไม่ควรมองข้าม เป็นขนมพื้นบ้านของคนไทย ที่ทรงคุณค่าและควรจะอนุรักษ์ ไว้ให้ลูกหลาน เยาวชนได้เรียนรู้และเข้าใจวิธีการกระบวนการท�ำอย่างรู้สึกที่เป็นส่วนหนึ่งในการสืบสานต่อยอดและ พัฒนาให้คงอยู่ในสังคมไทย ๒.๒.๕ นายหนูพัน สังวาลย์ การท�ำขนมกะละแม “ยาหนมบ้านคลองดิน” นายหนูพัน สังวาล เกิดวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๔๙๔ อายุ ๖๘ ปีอยู ่บ้านเลขที่ ๔๖/๑ หมู ่ที่ ๑ ต�ำบลหัวตะพาน อ�ำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช กะละแมบ้านคลองดิน ชุมชนหลัง มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์อ�ำเภอท่าศาลา ขนมพื้นบ้านตามวิถีชีวิต ของคนเมืองคอนในอดีต เมื่อมีเทศกาลงานบวช งานแต่ง งานบุญ งานขึ้นบ้านใหม ่ มักนิยมท�ำกะละแม ไว้รับแขกเมื่อมาร ่วมงาน การท�ำยาขนมบ้านคลองดิน “ขนมกะละแม” ในอดีตทุกครอบครัว นิยมท�ำกัน ทุกบ้าน แต่ปัจจุบันน้อยนักที่จะเห็นเพราะ คนปัจจุบัน นิยมขนมเบเกอรี่ขนมไทยชนิดอื่น ๆเช่น ขนมเม็ดขนุน ขนมสังขยา ที่ท�ำง่ายกว่าไม่ยุ่งยากในการท�ำ ท�ำให้สังคมบ้านเราขณะนี้ไม่นิยมท�ำ


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 157 กัน ยังมีครอบครัวของคุณหนูพัน สังวาล ครอบครัวเดียวในละแวกชุมชนนี้ที่ยังคงสืบสานอนุรักษ์ในการกวนขนม กะละแม “ยาหนม” แต่จะกวนก็ต่อเมื่อมียอดสั่งซื้อล่วงหน้าจะไม่กวนตั้งไว้เพราะขนมมีอายุในการจัดเก็บรักษา กระบวนการท�ำขนมกะละแม ใช้เวลาประมาณ ๑๐-๑๒ ชั่วโมงโดยวันแรกของการท�ำคือการเคี่ยวน�้ำกะทิให้แตกมัน ใช้เวลา ๖ ชั่วโมงแล้วตั้งไว้ให้เย็นแล้วตักน�้ำมันจากการเคี่ยวน�้ำกะทิเก็บไว้ประมาณ ๑ กิโลกรัม น�้ำมันที่เคี่ยวที่เหลือ ในกระทะเติมน�้ำตาลลงไปเพื่อป้องกันมิให้น�้ำกะทิที่แตกมันจะเสียง่าย “ขี้มันบูด” เพื่อน�ำไปผสมกับส่วนของแป้ง ที่จะน�ำมากวนในวันรุ ่งขึ้น วันที่สองบดแป้งข้าวเหนียว และน�ำมากวนกับน�้ำมันที่ผสมขี้มันออกสีน�้ำตาลนวล น�ำมากวนในส่วนผสมลงในกระทะ เคี้ยวจนงวดขณะที่เคี่ยวก็คนไม่ให้แป้งของขนมติดก้นกระทะ ใช้เวลา ๕ ชั่วโมง ขนมเริ่มหนืดกวนต้องใช้แรงเยอะๆเริ่มเหนียวกวนไม่ไหวก็จะเติมน�้ำมันมะพร้าวที่ตักเก็บไว้เมื่อวานน�ำมาใช้น�้ำมัน มะพร้าวที่เคี่ยวนี้ไปหยอดไปในกระทะขณะนี้กวนจนกว่าขนมจะงวดได้ที่ รสชาดอร่อย หอม หวาน นิ่ม ๆ และ ซ่อนความเหนียว อร่อยจนอยากจะชิมอีกรอบ สูตรน�้ำตาลมะพร้าว ๖ กิโลกรัม น�้ำตาลทราย ๒ กิโลกรัม ข้าวเหนียว ๓ กิโลกรัม มะพร้าว ๒๕ กิโลกรัม เกลือ ๑ ช้อนโต๊ะแป้งข้าวเจ้า ๓ ช้อนโต๊ะ


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 158 ๒.๓ ด้านหัตถกรรม ๒.๓.๑ นางจ�ำเป็น รักเมือง : หัตถกรรมพื้นบ้าน เครื่องปั้นดินเผาบ้านมะยิง นางจ�ำเป็น รักษ์เมือง ประธานกลุ่มเครื่องปั้นดินเผากลุ่มแม่บ้านเกษตรกร บ้านมะยิง หมู่ที่ ๖ ต�ำบลโพธิ์ทอง อ�ำเภอท่าศาลา เล่าให้ฟังว่า อาชีพท�ำเครื่องปั้นดินเผาในชุมชนท�ำกันมาโบราณนานมาก สืบทอดกันมาประมาณ ๑๐๐ ปีสมัยก่อนท�ำเครื่องปั้นดินเผา พื้นเมืองแบบโบราณ จะปั้นหม้อยาส่วนใหญ่ สมัยพ่อแม่ คนรุ่นเดิม ๆ จะท�ำกันเป็นระบบครอบครัวจากเดิมท�ำกัน แค่ ๑ - ๒ ครอบครัว ปัจจุบันเป็นกลุ่ม ๑๐ กว่าครัวเรือน สมัยก่อนดินที่ในหมู่บ้าน ดินดีเป็นดินเหนียวอยู่ในทุ่งเค็ม ในทุ่งนาบ้านมะยิง นางจ�ำเป็นรักษ์เมืองหรือยายเอียด เป็นอีกคนหนึ่งคนที่มีความภาคภูมิใจมากที่เอา โคมไฟ เครื่องปั้นดินเผาที่ท�ำกับมือส่งเข้าประกวดและก็ได้รับรางวัล สินค้าโอท็อป ชนะเลิศ ๔ ดาวสร้างความภูมิใจให้ตัวเองและ ให้ชุมชน ได้เล ่าถึงอาชีพนี้ว ่า “รู้สึกดีใจที่ได้รักษาอาชีพ เครื่องปั้นดินเผาต่อจากพ่อแม่ที่ท�ำมาเพราะใจรักมีความสุข สร้างรายได้เลี้ยงลูกถึง ๖ คน ได้จนถึงปัจจุบัน ก่อนที่จะคิด รวมกลุ่มมีปัญหาเรื่องของการท�ำเครื่องปั้นดินเผา แต่ก่อน ต ่างคนต ่างครอบครัวก็ท�ำกันมา แล้วก็ขายแข ่งกันแล้วมี การขายตัดราคาช่วงนั้นมีปัญหาขายไม่ได้เลยมาคิดรวมกลุ่ม กันแล้วก็มีการพูดคุยกันในการตกลงเราจะขายสินค้าราคาเหมือนกัน หลังจากจัดตั้งกลุ่ม เครื่องปั้นดินเผากลุ่มแม่ บ้านเกษตรกรบ้านมะยิง ขึ้นเมื่อปี๒๕๔๑ ก็รวมตัวท�ำกันมาตอนนั้นสินค้าที่ท�ำก็มีคนสนใจ ขายดีเพราะตอนนั้นอยู่ ในช่วงเศรษฐกิจดีราคายางก็ดีด้วย ขายดินเผาได้วันละ ๔๐,๐๐๐-๕๐,๐๐๐ บาท สร้างรายได้ให้กับกลุ่มอย่างมาก พอถึงสิ้นปีก็ปันผลก�ำไรหลังจากหักค่าใช้จ่ายด�ำเนินการออกไป จึงปันผลเป็นสิ่งของใช้ให้สมาชิก ท�ำสวัสดิการเจ็บป่วย รักษาพยาบาลด้วยจากนั้นได้มีหน่วยงาน กศน.ต�ำบลโพธิ์ทองอ�ำเภอท่าศาลาและหน่วยงานอื่น ๆของทางราชการ มาที่กลุ่มและแนะน�ำสนับสนุนให้ยกระดับงานฝีมือขึ้นมา ทางกลุ่มเองก็ไปอบรมศึกษาความรู้เพิ่มเติม แล้วน�ำมา พัฒนางานเครื่องปั้นดินเผา” หัตถกรรมที่อยู่คู่กับชุมชนในนครศรีธรรมราชเป็นเวลาหลายร้อยปีแหล่งส�ำคัญที่มีการผลิต มาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบันคือ ที่บ้านปากพะยิงในอ�ำเภอท่าศาลา อยู่ห่างจากชุมชนโบราณสถานวัดโมคลาน ทางทิศเหนือราว ๑๐๐ เมตร มีล�ำน�้ำสายหนึ่งชื่อ “คลองโต๊ะแน็ง” หรือ “คลองควาย” หรือ “คลองโมคลาน” ห่างจากคลองโต๊ะแน็งมาทางเหนือราว ๑ กิโลเมตร มีล�ำน�้ำอีกสายหนึ่งชื่อ “คลองชุมขลิง” (หรือ “คลองยิง” หรือ “คลองมะยิง” คลองทั้งสองนี้ไหลผ ่านสันทรายอันเป็นที่ตั้งของชุมชนโบราณวัดโมคลานไปลงทะเลอ ่าวไทย ทางทิศตะวันออก ระหว่างคลองทั้ง ๒ สายนี้เป็นบริเวณที่ชุมชนแห่งนี้ท�ำเครื่องปั้นดินเผามาแต่โบราณ และมักจะ เรียกกันว่า“แหล่งท�ำเครื่องปั้นดินเผาโมคลาน” หรือ“แหล่งท�ำเครื่องปั้นดินเผาบ้านยิง”อยู่ในหมู่ที่๙ ต�ำบลหัวตะพาน และหมู่ที่ ๑๐ และหมู่ที่ ๑๑ ต�ำบลโมคลาน อ�ำเภอท่าศาลา เนื้อที่ที่ใช้เพื่อการนี้ทั้งที่เคยใช้มาแล้วแต่โบราณ และก�ำลังท�ำต ่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันนี้ประมาณ ๓๐ - ๔๐ ไร ่ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๑ ศูนย์วัฒนธรรมภาคใต้


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 159 สถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราชโดยอาจารย์ชวน เพชรแก้วและคณะได้เริ่มเข้าไปดูการท�ำภาชนะดินเผาที่บ้านมะยิง พบว่า บริเวณนี้เต็มไปด้วยเนินดินขนาดใหญ่ที่ทับถมด้วยเศษภาชนะดินเผา ชาวบ้านเคยขุดดินบนเนินเพื่อขยาย เตาเผาออกไปอีก พบว่าเศษภาชนะดินเผาที่ทับถมกันอยู่ลึกมาก และได้พบเศษดินเผารุ่นเก่าเป็นดินเผาเนื้อแกร่ง เป็นจ�ำนวนมาก ลายบนภาชนะดินเผาที่พบมีหลายลาย เช่น ขุดร่องแถวนอก ประสมด้วยลายจุดประ ลายประทับ เป็นรูปอักษรเอส (S) และลายประทับรูปต้นไม้ที่มียอดคล้ายหัวลูกศร เป็นต้น ลายประทับหลากลายที่มีลักษณะ คล้ายกับลายภาชนะดินเผาแบบทวาราวดีที่ได้จากการขุดค้นทางโบราณคดีที่แหล ่งโบราณคดีบ้านคูเมือง อ�ำเภอสิงห์บุรีจากข้อมูลดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า ชุมชนในบริเวณแห่งนี้ได้มีการท�ำเครื่องปั้นดินเผามาตั้งแต่ โบราณกาล ส�ำหรับเครื่องปั้นดินเผาที่บ้านมะยิงแห่งนี้เกิดในยุคสมัยใดไม่มีข้อมูล ที่แน่ชัด มีแต่ค�ำบอกกล่าวต่อ ๆ กันมาว่า ในสมัยก่อนรัตนโกสินทร์หมู่บ้านแห่งนี้เป็นที่เลี้ยงม้าของท่านขุนคนหนึ่ง เพราะหมู่บ้านแห่งนี้เป็นหมู่บ้าน ที่มีความอุดมสมบูรณ์มีน�้ำล้อมรอบ มีทุ่งกว้างทางตะวันตก และหมู่บ้านแห่งนี้เป็นหมู่บ้านที่เลี้ยงม้าที่ยิ่งใหญ่มาก คนเลยเรียกว่า บ้านม้ายิ่ง ต่อมาหมู่บ้านนี้ได้เกิดโรคระบาดท�ำให้มีคนล้มตายและที่เหลืออพยพหนีออกจากหมู่บ้าน ไปเกือบหมด ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๕ ประมาณปีพ.ศ. ๒๔๒๕ ชาวบ้านมะยิงในตอนนั้นมีคนอาศัยไม่กี่ครอบครัว และหนึ่งในจ�ำนวนนี้คือ ครอบครัวของ นางด้วง–นางนาค ก็ท�ำเครื่องปั้นดินเผา จ�ำพวกหม้อหุงข้าว หม้อต้มยา ท�ำให้ครอบครัวนี้ผลิตหม้อเพิ่มขึ้นและมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น นักปั้นหม้อที่บ้านมะยิง มีทั้งผู้ที่ด�ำเนินการผลิตโดยสืบทอด มาจากบรรพบุรุษหลายชั่วคน สามารถบอกเล่าถึงเทคนิคดั้งเดิม ที่ปัจจุบันสูญหายไปได้และผู้ที่เพิ่งเข้ามาด�ำเนินการ ผลิตที่น�ำเทคนิคจากภายนอกเข้ามาประยุกต์ใช้ดังตัวอย่างต่อไปนี้ ๑. นางเกยูร ชลายนต์นาวิน (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) บ้านเลขที่ ๙๕ หมู่ที่ ๖ บ้านมะยิง ต�ำบลโพธิ์ทอง อ�ำเภอท่าศาลา จังหวัด นครศรีธรรมราช อายุ๖๐ ปีเรียนรู้การปั้นหม้อจากมารดาและบิดา มารดา ชื่อนางเลียบ บัวแก้ว เป็นชาวบ้านมะยิง บิดาเป็นชาวมอญ ชื่อนายเหลียน มาจากปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี รู้วิธีการปั้นหม้อแบบมอญ และน�ำเทคนิคการเผาและสร้างเตาระบายความร้อนแนวเฉียง (เตานอน) แบบมอญ มาปรับใช้แทนเตาเผาแบบเดิม ซึ่งเป็นเตาแบบระบายความร้อนแนวตั้ง (เตายืนเตากลม) ซึ่งเตานี้พัฒนามาจากการ ขุดจอมปลวกเข้าไป เพื่อใช้เป็นเตา (เตาปลวก) ๒. นางสุดา บุญสิน ต�ำบลปากพูน อ�ำเภอเมืองนครศรีธรรมราช มาตั้งเตาเผา เครื่องปั้นดินเผา ริมถนนสาย ท่าศาลา–นครศรีธรรมราช โดยเรียนรู้เทคโนโลยีการท�ำหม้อจากบรรพบุรุษ และ กลุ่มนักปั้นหม้อที่บ้านมะยิง โดยจ้างช่างสร้างเตาเผา (บาท ๑ ช่างสร้างเตาเผามาจากจังหวัดราชบุรีชื่อนายเจริญ ค่าจ้างสร้างเตาเผาแบบเตา ๐๐๐๑ นอน ๓. ครอบครัวนางจ�ำเป็น รักเมือง ตั้งอยู ่บ้านเลขที่ ๑๘ หมู ่ที่ ๖ ต�ำบลโพธิ์ทอง อ�ำเภอท่าศาลาจังหวัดนครศรีธรรมราช ปัจจุบัน มีลูกหลานสืบทอดกิจกรรมของครอบครัวและยังผลิตเครื่องปั้นดินเผา เพื่อจ�ำหน ่ายในการเลี้ยงครอบครัว ลายบนภาชนะดินเผาที่พบมีลายขูดร ่องแถวนอกประสมด้วยลายจุด ประลายประทับเป็นรูปอักษรเอส (s) ลายประทับรูปต้นไม้ที่มียอดคล้ายหัวลูกศร ลายประทับหลายลายที่มีลักษณะ คล้ายกับลายภาชนะดินเผาแบบทวาราวดีที่ได้จากการขุดค้นทางโบราณคดีที่แหล ่งโบราณคดีบ้านคูเมือง อ�ำเภออินทร์บุรีจังหวัดสิงห์บุรีเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๔ ศูนย์วัฒนธรรมภาคใต้สถาบันราชภัฎนครศรีธรรมราช ได้เข้าไป ส�ำรวจจ�ำนวนผู้ที่ยังคงท�ำภาชนะดินเผาอยู่ ณ แหล่งโบราณคดีแห่งนี้ ปรากฎผลว่ามีผู้ที่ยังคงท�ำภาชนะดินเผา อยู่จ�ำนวน ๑๓ ราย คือ อยู่ในหมู่ที่ ๙ ต�ำบลหัวตะพาน ๙ ราย และหมู่ที่ ๑๑ ต�ำบลโมคลาน ๓ ราย นายจ่าง สุวพันธ์อดีตครูใหญ่โรงเรียนวัดสระประดิษฐาราม หมู่ที่ ๗ ต�ำบลหัวตะพาน อ�ำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวว่า เมื่อตนได้เข้ามาในชุมชนนี้ในปีพ.ศ. ๒๔๗๗ มีผู้ท�ำภาชนะดินเผา


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 160 ราว ๒๐ ครัวเรือน และสอบถามผู้เฒ ่าในขณะนั้นดูได้ความว ่าท�ำมานาน และท�ำต ่อเนื่องกันมาโดยตลอด ดังที่ได้ปรากฏเนินดินและเตาเผาที่มีเศษภาชนะดินเผาทับถมกันอยู่นั้น ในขณะนั้นนิยมท�ำเตาเผาโดยการขุดเนิน จอมปลวกให้เป็นโพรงภายในโพรงนั้น จะมีลักษณะเป็นห้องหรืออุโมงค์ส�ำหรับวางภาชนะในขณะที่เผาส่วนยอด จอมปลวกก็ตัดให้เป็นช่องขนาดใหญ่ เตาชนิดนี้ด้านข้างถูกเจาะเป็นที่สุมไฟ และด้านบนเป็นช่องระบายความร้อน และล�ำเลียงภาชนะขึ้นลงเมื่อจะน�ำเข้าและออกจากเตาเผาครั้งหนึ่งๆถ้าภาชนะที่เผามีขนาดไม่โตนักเช่น หม้อขนาด เส้นผ่าศูนย์กลาง ๖ นิ้ว จะได้ราว ๒๐๐ ใบ เตาเผาแบบนี้นับว่าเป็นเตาเผาที่ท�ำอย่างง่ายๆและเป็นที่สืบทอดกันมา แต่ตั้งเดิม และยังท�ำต่อมาจนบัดนี้โดยมิได้เปลี่ยนแปลงแต่อย่างใดเลย เรียกว่า “เตาหลุม” อันเป็นเตาแบบดั้งเดิม แบบหนึ่ง และเป็นต้นแบบของเตาเผาแบบระบายความร้อนขึ้น เนื่องจากช่องระบายความร้อนกว้างมาก เมื่อเผา ภาชนะจึงต้องใช้เศษภาชนะดินเผาที่แตกๆวางซ้อน กันขึ้นไปบนภาชนะที่จะเผาอีกทีหนึ่ง เพื่อช่วยรักษาความร้อน มิให้พุ่งออกไปทางด้านบนของเตาเร็วเกินไป เตาแบบนี้ให้ความร้อนไม่สูงพอและควบคุมอุณหภูมิไม่ได้ดังนั้น จึงไม่สามารถท�ำภาชนะดินเผาแบบเคลือบได้นายจ่าง สุวพันธ์ได้เคยทดลองท�ำภาชนะดินเผาเคลือบโดยใช้เตาเผา แบบนี้แล้วแต่ไม่ประสบความส�ำเร็จ การศึกษาจากผู้มีประสบการณ์ในการท�ำภาชนะดินเผาในอดีตและปัจจุบัน ในชุมชนโบราณ แห่งนี้ท�ำให้ทราบว่ากรรมวิธีในการผลิตภาชนะดินเผา ณ ชุมชน โบราณแห่งนี้ในปัจจุบันไม่แตกต่างไปจากที่เคยท�ำ มาเมื่อสมัยโบราณเลย โดยมีขั้นตอนการผลิต ดังนี้ วัตถุดิบ ประกอบด้วย ๑. ดิน ๒. ทราย ๓. น�้ำ อุปกรณ์ประกอบด้วย๑. เสียบหรือจอมด้ามสั้น๒.ถังน�้ำ ๓. เครื่องคลุมดิน๔.ลานหรือหลุม ๕. เครื่องโม่ ๖. กระดานรองนวด ๗. เครื่องชั่งน�้ำหนัก ๘. กระดานส�ำหรับรองแท่นดิน ๙. ไม้ตีลาย ๑๐. ลูกถือ ขั้นตอนการผลิต มี๔ ขั้นตอน ดังนี้คือ ๑.การเตรียมดิน ๒.การปั้นขึ้นรูป ๓.การตกแต่ง ๔. การเผา วิธีท�ำ ๑. น�ำดินเหนียวมาจากบริเวณที่ราบลุ่มต�่ำเรียกว่า “ทุ่งน�้ำเค็ม” ซึ่งอยู ่ทางทิศ ตะวันออกของบ้านมะยิง มายังบริเวณที่ตั้งเผาบนสันทรายเอาดินเหนียวที่ได้มาซึ่งมีความชื้นพอเหมาะที่จะท�ำภาชนะ ดินเผาได้ก็จะพรมน�้ำเอาผ้าคลุมแล้วเก็บไว้แต่หากดินเปียกเกินไปต้องวางให้หมาดเสียก่อน เอาดินที่เตรียมไว้มาสับ เป็นชิ้นด้วยไม้ไผ่บาง ๆ ซึ่งเรียกว่า “ไม้ไผ่ฉาก” เพื่อให้เนื้อดินเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน ๒. น�ำดินที่สับเป็นเนื้อเดียวกันดีแล้วนั้น มาคลุกผสมด้วยทรายละเอียด ใช้เท้านวดย�่ำ และคลุกเคล้าด้วยมือให้เนื้อดินกับทรายเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน แล้วเอาผ้าคลุมไว้เป็นที่น่าสังเกตว่าการท�ำภาชนะที่นี่ ไม่ได้มีแกลบข้าวเป็นส่วนผสม (โดยปกติการท�ำภาชนะดินเผาในที่อื่น ๆ มักจะใช้แกลบข้าวหรือผงเชื้อ คือ ดินผสม แกลบเผาแล้วต�ำป่นละเอียดมาผสมกับดินเหนียวที่จะใช้ท�ำภาชนะดินเผาและการใช้แกลบเป็นส่วนผสมนี้มีมาตั้งแต่ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในยุคหินกลางประมาณ ๙,๐๐๐ ปีมาแล้ว อย่างที่ถ�้ำผีจังหวัดแม่ฮ่องสอนส่วนที่แหล่ง โบราณคดีโนนนกทาจังหวัดขอนแก่น และที่แหล่งโบราณคดีบ้านเชียงจังหวัดอุดรธานีจากการวิเคราะห์เศษภาชนะ ดินเผาก็พบว่ามีการใช้แกลบข้าวเช่นนี้และใช้ต่อมาจนปัจจุบันนี้ที่บ้านค�ำอ้อ ซึ่งอยู่ไม่ห่างไปจากแหล่งโบราณคดี บ้านเชียง นักโบราณคดีบางท่านจึงตั้งข้อสังเกตว่าการท�ำภาชนะดินเผาที่บ้านค�ำอ้อน่าจะท�ำต่อเนื่องมาจากวัฒนธรรม บ้านเชียง)


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 161 ๓. น�ำดินที่เตรียมไว้แล้วมาขึ้นรูปโดยใช้แป้นหมุน แป้นหมุนที่ใช้ในแหล่งนี้มีทั้งแป้นหมุน ชิ้นเดียว(ซึ่งพบว่าแป้นหมุนลักษณะนี้เริ่มมีการใช้ครั้งแรกที่เมืองเออร์(ur) ในสุเมอร์เมื่อประมาณ ๔,๐๐๐ - ๓๕,๐๐ ปีมาแล้ว)และแป้นหมุน ๒ ชิ้น (ซึ่งพบว่ามีใช้ครั้งแรกที่เมืองฮาเซอร์(Hazor) ในอียิปต์เมื่อประมาณ ๓,๓๐๐ ปีมาแล้ว) แป้นหมุนนั้นในชุมชนนี้เรียกว ่า “มอน” ในขณะใช้แป้นหมุนขึ้นรูปนั้น จะใช้น�้ำประสาน ซึ่งชาวบ้านเรียกว ่า “น�้ำเขลอะ” คือ น�้ำละลายด้วยดินเหนียวให้ข้นชุบผ้าลูบไปตามผิวภาชนะรูปทรงที่ต้องการในขณะที่อีกคนหนึ่ง ช่วยหมุนแป้นข้างในภาชนะใช้ลูกถือ (หินดุ) ซึ่งชุมชนนี้เรียก “ลูกเถอ” ตกแต่งในขณะขึ้นรูป ๔. ตกแต่งและต่อหู (หากมีหู) หลังจากที่ขึ้นรูปเรียบร้อยแล้ว ใช้เชือกที่ท�ำจากใย ใบสับปะรดตัดที่ก้นให้ก้นภาชนะหลุดออกจากแป้นหมุน น�ำภาชนะที่ขึ้นรูปเรียบร้อยแล้วมาวางให้หมาดแล้ว ฝากระป๋องขูดตกแต่งผิว จากนั้นจึงใช้ลูกสะบ้าถูที่ผิวเป็นการขัดมัน ๕. แต่งผิวภายในด้วยลูกถือ ส่วนภายนอกใช้ไม้แบบตีให้เป็นลาย หรือกดลายประทับ ตามต้องการ ลูกถือ ไม้ตีลาย กดลายประทับ ๖. วางภาชนะไว้ในที่ร่ม ราว ๓ - ๔ วัน จนภาชนะนั้นแห้งสนิท (ไม่นิยมตากแดด เพราะภาชนะจะแตก) เมื่อภาชนะแห้งสนิทแล้ว น�ำเข้าเตาเผาแบบหลุมโดยมีชั้นส�ำหรับวางภาชนะ(Fire bars)รองรับ วางภาชนะซ้อนทับกันขึ้นมาราว ๑๐๐ - ๒๐๐ ใบ เมื่อภาชนะซ้อนกันขึ้นมาจนถึงปากอุโมงค์ของเตาแล้ว เอาเศษภาชนะดินเผาที่แตก ๆ และมีขนาดใหญ่ๆ ปิดบนภาชนะเหล่านั้นจนเต็ม ๗. สุมไฟตอนล่างของหลุมทางช่องของเตาหรืออุโมงค์ที่ขุดไว้ส�ำหรับสุมไฟ (มีเพียง ช ่องเดียว) เมื่อไฟลุกจะเผาภาชนะซึ่งวางอยู ่บนชั้นข้างบน ควันและความร้อนจะระบายออกทางปากอุโมงค์ เตาหลุมแบบนี้จะให้ความร้อนไม่เกิน ๘๐๐ - ๙๐๐ องศาเซลเซียส ภาชนะดินเผาที่ได้จากการเผาด้วยเตาหลุมแบบนี้ จึงไม่แกร่งพอมีความพรุน ดูดซึมน�้ำได้ดีเวลาจับต้องจะหนึบมือ เนื้อดินยังหลอมติดไม่ค่อยสนิทเพราะอุณหภูมิ ในขณะที่เผายังต�่ำต้องระมัดระวังเรื่องความร้อนมาก ต้องควบคุมเรื่องการสุมไฟอยู่ตลอดระยะเวลาแห่งการเผา กล่าวคือ ตอนเริ่มเผาให้ใช้เพียงควันไฟผ่านภาชนะเท่านั้น ระยะนี้จึงมักจะใช้วัสดุหรือไม้ที่ให้ควันได้ดีเช่น ไม้ผุ และกาบมะพร้าว หากให้ไฟแรงในระยะแรกภาชนะจะแตก รมควันดังกล ่าวนี้ ๖ ชั่วโมง จึงจะให้ไฟแรงได้ ซึ่งการรมตอนนี้ชาวบ้านเรียกว่า “รมเบา” เมื่อรมเบาผ่านไปแล้วก็ให้ไฟแรง ขั้นนี้ชาวบ้านเรียกว่า “รมหนัก” หรือ “โจ้หม้อ” โดยใช้ฟืนที่ให้ความร้อนสูง และต้องควบคุมอยู่ตลอดเวลา ใช้เวลารมหนักราว ๓ - ๕ ชั่วโมง จึงเอาฟืนออกจากเตาให้หมด แล้วเปลี่ยนเป็นรมควันอีกเพื่อให้ภาชนะมีผิวสวยไม่ด�ำ เมื่อไฟดับสนิท และภาชนะ ภายในเตาเย็นตัวดีแล้วจึงเอาภาชนะที่เผาแล้วออกจากเตาได้โดยล�ำเลียงออกมาทางปากอุโมงค์ซึ่งจะได้ภาชนะ ที่สวยงาม ในราว พ.ศ. ๒๔๘๙ – ๒๔๙๐ มีการผลิตภาชนะดินเผาในชุมชนโบราณแห่งนี้มากที่สุด เพราะเป็นระยะ หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ซึ่งภาคใต้ได้ประสบวิกฤตการณ์จากสงครามครั้งนี้ด้วย ท�ำให้มีผู้ต้องการใช้ภาชนะดินเผา มากเป็นพิเศษ สิ่งที่ผลิตในระยะนั้นคือโอ่งน�้ำ อ่างสวด หม้อข้าว หม้อแกงกระทะขัน กรอง(กะชอน) เนียง(คล้ายไห ส่วนปากกว้างกว่า) และกระถาง โดยท�ำได้วันละ ๑๐๐ - ๑๕๐ ใบต่อคน เส้นทางล�ำเลียงภาชนะดินเผาออกขาย ในสังคมภายนอกขณะนั้นคือ คลองโต๊ะแน็ง และคลองชุมขลิง โดยใช้เรือใบบรรทุกมาส ่งที่ท ่าแพและท ่าโพธิ์ อันอยู่ในบริเวณเมืองนครศรีธรรมราช เพื่อล�ำเลียงต่อไปยังปากพนัง เกาะสมุย สิชล ปากนคร และปากพญา เรือใบ แต่ละล�ำบรรทุกภาชนะดินเผาได้ราวเที่ยวละ ๑,๐๐๐ - ๒,๐๐๐ ใบ แต่ละครอบครัวบรรทุกออกไปขายเดือนละ ๑ เที่ยว ราคาขายในระยะนั้น อย่างหม้อขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๖ นิ้วขายราคาร้อยละ ๓ บาทถึงปีพ.ศ. ๒๕๔๑ ราคาใบละ ประมาณ ๕๐ - ๑๐๐ บาท


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 162 ถ้าใครผ ่านไปแถวต�ำบลโพธิ์ทอง อ�ำเภออ�ำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช จะเห็นเครื่องปั้นดินเผามากมายขายอยู่ริมทาง ท�ำให้ผู้ที่สัญจรผ่านไปมาอดใจไม่ไหวต้องจอดแวะมาเลือกซื้ออยู่ตลอด สองฝั่งถนน นับเป็นการสร้างรายได้สร้างอาชีพให้กับชุมชนบ้านมะยิง ชุมชนที่ยังสืบทอดการท�ำเครื่องปั้นดินเผา จากบรรพบุรุษ ขณะเดียวกันยายเอียดที่สังขารโรยราขึ้นทุกวัน ยายเอียดยังมีความกังวลใจว่าลูก ๆ จะท�ำต่อจากเราได้หรือเปล่า เพราะตอนนี้เศรษฐกิจเริ่มไม่ดีแล้ว สินค้าก็วางขายยาก ท�ำให้รายได้ลดลงไม่เหมือน ปีก ่อนที่ผ ่านม ถ้าหากมีคนสนใจจะมาเรียนรู้วิชา เครื่องปั้นดินเผาสร้างอาชีพ ยายเอียดบอกยินดีที่จะสอนให้ เพราะการท�ำเครื่องปั้นดินเผานั้นไม่ยากเลยแต่ต้องมีใจรัก จริงๆโดยเริ่มจากการเตรียมดิน ทรายละเอียดการหมักดิน/ โม ่ดิน/อุปกรณ์เครื่องโม ่ดินเดิมสมัยก ่อนใช้วิธีการเหยียบ และต้องมีเทคนิคการผสมผสานการหมักดิน/การขึ้นรูป/ การดึงรูปทรงตามความต้องการแต ่ละชิ้นงาน ต้องระวัง อย่าให้ดินที่ปั้นแข็งเกินไปเพราะจะท�ำให้จัดรูปทรงล�ำบาก ยายเอียดยังตัดพ้อว ่า เคยมีคนมาดูแล้วทดลองท�ำแล้ว แต่ไม่ส�ำเร็จและก็เคยมีคนมาลงทุนสร้างโรงอบ ตอนแรกปั้น ไปส่งโรงอบสักระยะก็เลิกไป เพราะเขามาขอมาลงทุนหุ้นส่วน กับทางกลุ ่มเรา แต ่ยายเอียดไม ่รับเพราะเขาจะมาหวัง ผลประโยชน์จากกลุ่มเครื่องปั้นดินเผาพวกเราเท่านั้น และ เมื่อขั้นตอนที่จะน�ำเข้าโรงอบก็จะมีพิธีกรรมตามความเชื่อ ยายเอียดเล่า ก่อนเผาต้องมีการเซ่นสังเวยเตาเผา ถ้าไม่ท�ำ หรือลืมเซ่นสังเวย เครื่องปั้นดินเผาที่น�ำเข้าเตาเผาจะแตก เกือบหมด เครื่องเซ ่นสังเวยนั้นจะเริ่มด้วยการจุดธูป ๓ ดอก ปักไว้ที่บนหัวเตาและนิมนต์พระมาท�ำพิธี พร้อมฉันภัตตาหาร ที่บ้านด้วย ได้แก่ ข้าวปลาอาหารคาวหวานที่พอจะหาได้แล้วยกมืออธิษฐานว่า จะเอาของเข้า เตาเผาแล้ว เสร็จก็น�ำเครื่องปั้นที่เตรียมอบเข้าเตาเผา เผาเสร็จแล้ว ก็ต้องอธิษฐานบอกว่าจะเอาเครื่องปั้นดินเผา ออกจากเตา สมัยก่อนใช้วิธีการเผากลางแจ้ง แต่ต่อมาเผากับจอมปลวก ท�ำเป็นโพรงแล้วใช้ไม้ฟื้นใส่แล้วเผา แล้วก็พัฒนาท�ำโรงอบก็ปั้นโรงอบขึ้น มีดินเหนียวและฟาง อิฐ เป็นส่วนประกอบในการท�ำ


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 163 “มีความกังวลใจว่าจะไม่มีใครสืบทอดช่างเครื่องปั้นดินเผา หารุ่นลูกหลานบ้านมะยิงจะไม่มี เพราะเด็กรุ่น ๆ ไม่ค่อยสนใจ เพราะวิถีชีวิตของชุมชน สภาพสังคมสิ่งแวดล้อม ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเข้ามา มีอิทธิพลอย่างมาก วัฒนธรรมตะวันตก เป็นปัญหาและอดห่วงไม่อยากให้สูญหายไป และยังมีข้อจ�ำกัดในเรื่อง การส่งออกดินเผาของกลุ่ม อยากให้มีหน่วยงาน ไปช่วยสนับสนุนเครื่องปั้นดินเผาอย่างจริงจัง อยากให้ปรับปรุง คุณภาพ ทั้งกระบวนการผลิต พัฒนารูปแบบให้สวยงาม และคุณภาพของดิน อุปกรณ์ที่ทันสมัย เพราะไม่อยากให้ อาชีพเครื่องปั้นดินเผาสูญหายไปเพราะเป็นอาชีพท�ำมาตั้งแต่โบราณอยากให้อนุรักษ์ไว้คู่บ้านมะยิงสืบทอดเป็นมรดก และที่ส�ำคัญ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านมะยิงอย่างน้อยได้มีความรักสามัคคีช่วยเหลือกันมา ท�ำอาชีพ สร้างรายได้ และช่วยกันท�ำสวัสดิการในกลุ่มที่ดีสร้างรายได้ให้คนรุ่นหลังต่อไป” ยายเอียด กล่าวในที่สุด ๒.๓.๒ นายเสวก ยุโส้ ชื่อเล่น“หวอสาน”ภูมิปัญญาหัตกรรมพื้นบ้าน การท�ำกรงนก (ปัจจุบัน ท่านเสียชีวิต แล้ว เมื่อวันที่ ๘ กันยายน ๒๕๖๓ ) นายเสวก ยุโส้ ชื่อเล่น“หวอสาน” อายุ ๘๓ ปี จบการศึกษาประถมศึกษาปีที่ ๔ วัน/เดือน/ปี - ๒๔๘๐ นับถือศาสนา อิสลาม บ้านเลขที่ ๙๘/๑ ม.๖ ต�ำบลท่าศาลา อ�ำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช กรงนกเป็นวิถีชีวิตของชาวไทยมุสลิม ที่นิยมชมชอบการแข่งขันศิลปะฟังเสียงนก ประชันแข่งขันกัน ยามเช้าเสาร์อาทิตย์ มักจะพบเห็นชาวบ้านน�ำนกของตนเอง ได้น�ำไปแข ่งขันนก เพื่อฟังเสียงอันไพเราะของนกแต ่ละตัว ที่ส่งเสียงแหลม ไพเราะยาวนาน วิถีชีวิตของชาวบ้านภาคใต้ การเดินทางจากตัวอ�ำเภอเมืองเข้าสู่อ�ำเภอท่าศาลา เข้าเขต บ้านสระบัว บ้านในถุ้ง อ�ำเภอท่าศาลาสองข้างทางจะพบเห็น มีร้านขายกรงนกทั้งสองข้างทางพบเห็นร้านค้าที่จ�ำหน่าย หลากหลายรูปแบบ ในการนี้การท�ำกรงนกเป็นอาชีพที่ท�ำให้ บุคคลที่นิยมชมชอบการท�ำกรงนก ซึ่งเป็นงานศิลปะ ต้องใช้ ความอดทน ความพยายาม เป็นอาชีพที่ก ่อให้เกิดรายได้ ในการเลี้ยงครอบครัวของชาวบ้านที่ชื่นชอบ การท�ำกรงนก สืบทอดจากรุ ่นสู ่รุ ่น ไม ่มีการเรียนรู้จากสถาบันการศึกษา แต่เป็นการเรียนรู้จากวิถีชีวิตจากรุ่นพ่อสู่ลูก นายเสวก ยุโส้เป็นช่างไม้เกิดประกายความคิดในการฝึกฝนการเป็นช่างไม้และได้มีพ่อค้า จากยะลา ปัตตานีได้เสนอรูปแบบกรงนกตามความต้องการของตลาดให้นายเสวกยุโส้เป็นผู้ผลิตเริ่มฝึกท�ำตามแบบ และเป็นที่นิยมและเป็นที่ชื่นชอบของลูกค้า จนต้องจัดตั้งเป็นโรงงานมีลูกมือหลายชีวิตที่มีฝึกกับท่าน ฝึกจนเกิด ความช�ำนาญไปรับงานท�ำเป็นโรงงานหลายแหล่ง ละแวกชุมชนสองข้างทางตั้งแต่โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ที่ ๘ จนถึงชุมขนบ้านในถุ้ง ชุมชนแถบนี้ส่วนใหญ่เป็นประชาชนที่นับถือศาสนาอิสลาม มักนิยมชมชอบการแข่งขันนก และจะมีช่างการท�ำกรงนกหลายสิบโรง ปัจจุบัน ปี๒๕๖๒ ยังคงมีการท�ำกรงนกไม่กี่โรงแล้ว นายเสวก ยุโส้ หรือคนในชุมชนมักเรียกกันว่า“หวอสาน”เริ่มจากท�ำกรงนกเขาใหญ่ พ.ศ. ๒๕๑๗ โดยท�ำกันในครอบครัวในพี่น้อง หาเลี้ยงครอบครัว กรงนกลูกแรกท�ำมาจากไม้ฝาบ้านได้ฝึกการท�ำ และพัฒนารูปแบบ ต่อมาได้สั่งซื้อไม้และก็ได้ท�ำ


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 164 มาเรื่อยๆจนมีคนมาจ้างท�ำกรงนกหัวจุกโดยเขาเอาแบบมาให้ดูแล้วให้ท�ำตามแบบ ตามจ�ำนวนที่ลูกค้าสั่งซึ่งหวอสาน ไม่มีใครสอนและไม่ได้ไปเรียนที่ไหน โดยดูเอาจากแบบที่ลูกค้าเอามาให้ลูกค้าคนแรกที่เอาแบบกรงนกหัวจุกมาให้ จากจังหวัดยะลาราคากรงนกลูกแรกราคาประมาณ๔๕ บาท จนปัจจุบันกรงนกมีหลายแบบท�ำกรงนกถือว่าหวอสาน เป็นคนแรกในบ้านสระบัวระยะเวลาการท�ำกรงนก ๔๖ ปีนายหวอสานมีลูกศิษย์และลูกน้องเป็นจ�ำนวนมากที่ได้มา เรียนการท�ำกรงนก ต่อมากกิจการชะลอตัวมีหลายครอบครัวหยุดกิจการไปและนายหวอสานมีอายุเข้าวัยชรามาก รุ่นลูก ๆ ได้สืบสานต่อเจตนารมย์ของบิดาในบรรดาลูก ๆ ๑๐ คน มีคนเดียวที่ยังคงยึดอาชีพการท�ำกรงนก ก็คือ นายนัฐพงศ์ยุโส้ที่ด�ำเนินการกิจการต่อจากบิดา วิธีการท�ำกรงนกกรงหัวจุก นิยมทรงสี่เหลี่ยมคางหมูสูงประมาณ๓๐ นิ้วด้านล่างกว้างประมาณ๑๔ นิ้ว มีส่วนประกอบ ที่ส�ำคัญ ๓ ส่วนเช่นกัน ได้แก่ โครงกรง ซี่กรง และหัวกรง อุปกรณ์เบื้องต้นส�ำหรับผู้ที่สนใจเริ่มท�ำกรงเครื่องเลื่อยไม้ เครื่องไสไม้แม็คลม สว่านพร้อมดอกสว่าน เลื่อยฉลุยมือ หรือเครื่องพร้อมใบเลี่อย ไม้บรรทัดยาว ๖๐ เซ็นติเมตร กาวร้อน ไม้พร้อมซี่ลายกรงกาวลาเท็กแบบกรง หินเจียรมือหรือหินเจียรแท่น(ตัวนี้ถ้าแต่งเสากรงไม่มากก็ไม่จ�ำเป็น ครับโครงกรงนกกรงหัวจุก เน้นที่พยายามใช้ไม้เนื้อแข็งน�ำมาเลื่อยซอนเป็นชิ้นส่วนต่างๆ ถึง ๑๘ ชิ้น ได้แก่ ๑. ไม้เสา มีจ�ำนวน ๔ อันโดยเลื่อยไม้ขนาดกว้าง ๒ เซนติเมตร แล้วน�ำมาตัดให้เท่ากับ ความสูงของกรง โดยขนาดของกรงมีขนาด ๑๓ ซี่ ๑๕ ซี่ ๑๗ ซี่และ ๒๑ ซี่ ตามแต่ความต้องการของตลาดหรือ ที่ลูกค้าสั่ง กรงขนาด ๑๓ ซี่ ความสูงโดยประมาณ ๔๖.๕ เซนติเมตร กรงขนาด ๑๕ ซี่ ความสูงโดยประมาณ ๕๓.๕ เซนติเมตร เมื่อได้ไม้ที่ตัดแล้วน�ำไปไสให้หน้าไม้เสมอกัน ๒. ไม้คานบน ยาวประมาณ ๑๒ นิ้ว จ�ำนวน ๕ อันเมื่อเลื่อยไม้ได้ตามขนาดที่ต้องการ ก็น�ำไปไสกับเครื่องไสไม้เพื่อให้หน้าไม้เรียบเสมอกัน หลังจากนั้นก็น�ำไปติดกระดาษที่วาดลายไว้แล้วก็น�ำเข้า เครื่องฉลุลายเพื่อฉลุลายไม้ตามแบบที่วาดไว้เจาะรูด้วยสว่าน ตาเล็ก เจาะทะลุบนสันให้รับกัน เพื่อไว้เสียบร้อยซี่กรง มีการถือเคล็ดเกี่ยวกับจ�ำนวนรูที่เจาะ ให้เจาะเป็นจ�ำนวนคี่ เช่น ๑๓, ๑๕, ๑๗, ๑๙ หรือ๒๑ รูตามความเล็กใหญ่ของกรง ๓. ไม้คานล่าง ยาวประมาณ ๑๔ นิ้ว จ�ำนวน ๕ ชิ้น เมื่อเลื่อยไม้ได้ตามขนาดที่ต้องการ ก็น�ำไปไสกับเครื่องไสไม้เพื่อให้หน้าไม้เรียบเสมอกัน หลังจาก นั้นก็น�ำไปติดกระดาษที่วาดลายไว้แล้วก็น�ำเข้าเครื่องฉลุลาย


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 165 เพื่อฉลุลายไม้ตามแบบที่วาดไว้เจาะรูด้วยสว่านตาเล็กเจาะทะลุบนสันให้รับกัน เพื่อไว้เสียบร้อยซี่กรง มีการถือเคล็ด เกี่ยวกับจ�ำนวนรูที่เจาะ ให้เจาะเป็นจ�ำนวนคี่ เช่น ๑๓, ๑๕, ๑๗, ๑๙ หรือ๒๑ รูตามความเล็กใหญ่ของกรง ๔. ไม้คั่นกรง ยาวประมาณ ๑๒.๕ นิ้ว จ�ำนวน ๔ อันเจาะรูด้วยสว่านตาเล็ก เจาะทะลุ บนสันให้รับกัน เพื่อไว้เสียบร้อยซี่กรง มีการถือเคล็ดเกี่ยวกับจ�ำนวนรูที่เจาะให้เจาะเป็นจ�ำนวนคี่ เช่น ๑๓, ๑๕, ๑๗, ๑๙ หรือ๒๑ รูตามความเล็กใหญ่ของกรง การประกอบเป็นตัวกรงนกกรงหัวจุก ๑. เสาทั้ง ๔ เสา ที่ท�ำเสร็จแล้วมายิงประกบกับคานบนและคานล่างเจาะรูด้วยสว่าน ตาเล็ก เจาะทะลุบนสันให้รับกัน เพื่อไว้เสียบร้อยซี่กรงโดยใช้แม็คลมทั้ง ๔ ด้านให้ยึดติดกัน ๒. ส่วนบนของกรงที่เจาะด้วยสว่านตาเล็กเจาะทะลุบนสันให้รับกัน เพื่อไว้เสียบร้อยซี่กรง มาประกอบ ๓. ไม้คั่นกรง จ�ำนวน ๔ อัน ที่เจาะรูด้วยสว่านตาเล็ก เจาะทะลุบนสันให้รับกัน เพื่อไว้ เสียบร้อย ซี่กรงแล้ว ใช้แม็คลมยิงประกอบกับ โครงกรงนก ๔. ร้อยซี่กรงนกด้วยไม้ไผ่ส�ำหรับท�ำกรงนกตามขนาดของกรง ๕. รูปกรงนกที่ร้อยซี่ส�ำเร็จแล้ว การตกแต่งกรงนกกรงหัวจุก ใส่ตะขอเกี่ยวการทาชเล็คทุกซี่ของกรงเพื่อรักษาความคงทน และใส่อุปกรณ์ขอนไม้เล็กๆ ส�ำหรับให้นกได้เกาะในตัวภายในของกรงกรณีที่ลูกค้าต้องการของกรงนกประดับประดาด้วยการฝังมุกต้องมีการสั่ง เป็นกรณีพิเศษ เพราะจะต้องมีการน�ำไม้เกรดเอ เพื่อสร้างความสวยงามให้กับตัวกรง และการฝังมุกต้องระบุ ความสวยงาม ราคาจะแตกต่างกัน ราคาปกติ๔๐๐-๕๐๐ บาท ถ้าฝังมุกตกแต่ง ราคาก็จะเพิ่มสูงขึ้นเป็นหลักหมื่น หลักแสน ขึ้นอยู่กับการชนิดของไม้ที่จะน�ำมาท�ำ และปริมาณมุกที่ใช้ในการตกแต่ง และต้องมีการสั่งล่วงหน้า เพื่อส่งไปให้ช่างด้านศิลปะ ที่มีความช�ำนาญเฉพาะการฝังมุกกรงนกโดยเฉพาะการท�ำกรงนกเป็นอาชีพที่เด็กเยาวชน ควรสนใจเห็นคุณค่าทางศิลปะในการใช้ลายฉลุเพื่อให้งานออกมาวิจิตรบรรจง สวยงาม ต้องอาศัยความอดทน ความพยายาม และบางพื้นที่ลงมุกยิ่งท�ำให้เพิ่มมูลค่าและควรค่าแก่การเรียนรู้อนุรักษ์การท�ำกรงนกให้เยาวชนรุ่นลูก รุ่นหลานได้เรียนรู้และสืบสานต่อกับวิถีชีวิตชาวไทยมุสลิม


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 166 ๒.๓.๓ นายกิบหลี หมาดจิ ภูมิปัญญาด้านหัตกรรมพื้นบ้านจักสาน นายกิบหลีหมาดจิชื่อเล่นกิบ เกิดวันที่–เดือน - พ.ศ.๒๔๙ เกิดจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่อยู่ บ้านเลขที่ ๗๒ หมู่ที่ ๙ ต�ำบลโมคลาน อ�ำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เรียนรู้การจักสานและได้สืบทอดความรู้จากบิดา มารดา ชุมชนหมู่บ้านของภูมิปัญญา ชื่อชุมชน “บ้านในซอง” ตั้งอยู่หมู่ที่ ๙ ต�ำบลโมคลาน อ�ำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ในสมัยก่อนชุมชน “บ้านในซอง” มีไม้ไผ่จ�ำนวนมากชาวบ้านในชุมชนจึงได้น�ำไม้ไผ่มาแปรรูปจักสานมาใช้สอยในครัวเรือน อาชีพการจักสานไม้ไผ่ของชุมชน“บ้านในซอง”เป็นอาชีพเสริม หลังจากเสร็จฤดูกาลท�ำนา เมื่อชาวบ้านเสร็จฤดูกาลท�ำนา ก็หันมาท�ำอาชีพจักสานไม้ไผ่ ปัจจุบันอาชีพการจักสานไม้ไผ่ได้สูญหายไปเรื่อย ๆ จากชุมชน ไม่ค่อยมีหลงเหลือให้ลูกๆ หลาน ๆได้ดูจากเหตุผลดังกล่าวนายกิบหลีหมาดจิจึงได้อนุรักษ์และสืบทอด เจตนารมย์ของบิดา มารดาไม่ให้อาชีพดังกล่าวสูญหายจัดท�ำเป็นอาชีพเสริมของครอบครัวและสอนลูกหลานให้ทุกคน ได้เรียนรู้เพื่ออนุรักษ์สืบไว้ของวัฒนธรรมท้องถิ่น ผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่ที่ได้จัดท�ำขึ้น ได้แก่ เข่ง สุ่ม ฝาชีลั่น (ข้องใส่ปลา) คันเบ็ด ไม้กวาด อีเนียว (ที่ดักปลา) ว่าว เป็นต้น อาชีพจักสานไม้ไผ่ เป็นรายได้เสริมให้กับครอบครัว กลัวอาชีพดังกล่าวจะหายไปจากหมู่บ้าน อยากให้ลูกๆ หลาน ๆเห็นความส�ำคัญเรียนรู้สืบทอดวัฒนธรรมให้กับชุมชน ของตนเอง ท�ำให้ชุมชนเห็นความส�ำคัญของอาชีพจักสานไม้ไผ่มีการรวมกลุ่มกันในชุมชน วัสดุท้องถิ่นน�ำมาใช้ให้เกิด ประโยชน์ เช่น ไผ่แทนวัสดุพลาสติก การประกอบอาชีพต้องมีคุณธรรมในการท�ำงาน ผลงานที่ออกมา เขาน�ำไปใช้ จะต้องมีคุณภาพไม่ว่า นายกิบหลีหมาดจิจะได้รับรายการสั่งสินค้ามากเพียงใด นายกิบหลีหมาดจิจะต้องท�ำให้มี คุณภาพเป็นที่พอใจของลูกค้าทุกครั้งและสอนลูกๆ หลาน ๆเสมอว่า“ทุกคนที่เกิดมาจะต้องท�ำตนให้เป็นประโยชน์ อย่าปล่อยเวลาให้สูญเปล่า จะให้ท�ำชีวิตมีความสุข”


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 167 ๒.๓.๔ นายหมูด ทรงเลิศ : หัตกรรมพื้นบ้าน การต่อเรือประมงบ้านพื้นบ้าน อ�ำเภอท่าศาลาเป็นอ�ำเภอที่อยู่ติดทะเลอ่าวไทยตอนกลางทะเลทอดยาวจากอ�ำเภอเมือง อ�ำเภอท่าศาลา อ�ำเภอสิชล และอ�ำเภอขนอม ตลอดแนวอ�ำเภอท่าศาลาจะมีประชาชนกลุ่มประมง ส่วนใหญ่นับถือ ศาสนาอิสลาม วิถีชีวิตกลุ่มประมง ออกเรือไปหาปลา กุ้ง ปู ในทะเลน�ำทรัพยากรมาจ�ำหน่ายสู่ตลาดในท้องถิ่น ตลาดใน เมืองท่าศาลา และในตัวอ�ำเภอเมือง เพื่อส่งออกไปจ�ำหน่าย ให้กับประชาชน ต่างอ�ำเภอและต่างจังหวัดต่อไป สิ่งหนึ่ง ที่เป็นศาสตร์ความรู้ที่น่าสนใจของการประกอบอาชีพประมง นอกจากเทคนิคความช�ำนาญในการสังเกตลักษณะน�้ำ พันธุ์ปลาต่างๆเครื่องมือท�ำมาหากินก็คือเรือเป็นสิ่งที่ส�ำคัญ เป็นพาหนะในการที่จะน�ำชาวประมงออกสู่ทะเลเปรียบเสมือน บ้านหลังที่สองของพวกเขาที่ต้องมีการดูแลเอาใจใส่เมื่อช�ำรุด ก็ต้องน�ำเรือมาซ่อมแซม บ�ำรุงรักษาหรือสร้างขึ้นมาใหม่ ภู มิ ปั ญ ญ า ใ น เ รื่ อง นี้ คื อ ๑.) ครอบครัว นายกาหรีม หลงจิซึ่งท่านมีอาชีพท�ำเรือ ประมง และมีการถ่ายทอดองค์องค์ความรู้ให้กับบุตรชาย ๒ คน คือ นายกาหลิหลงจินายอลิหลงจิได้สืบทอดองค์ ความรู้ให้กับบุตรทั้งสองเป็นช่างต่อเรือประมงพื้นบ้าน ๒.) บังหรีม ๓.) นายบังสาน ๔.) นายหมูด ทรงเลิศ ในที่นี้ได้ ไปสัมภาษณ์และถอดองค์ความรู้การต่อเรือประมงพื้นบ้าน นายหมูด ทรงเลิศ เกิดเมื่อวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๔๙๖ อยู่บ้านเลขที่ ๒๒๙/๑ หมู่ที่ ๕ บ้านในถุ้ง ต�ำบลท่าศาลา อ�ำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เดิมเป็นคนพื้นที่อ�ำเภอร่อนพิบูลย์มาตั้งรกราก ปักฐานมีครอบครัวที่อ�ำเภอท่าศาลาเมื่อปี๒๕๑๗ มีบุตรจ�ำนวน ๖ คน จุดเริ่มต้นเป็นลูกจ้างอู่ต่อเรือพาณิชย์ ในตัวอ�ำเภอท่าศาลาเป็นเวลา ๓ ปีเมื่อเกิดความช�ำนาญจึงเริ่มหันมารับจ้างต่อเรือด้วยตนเองเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๒๑ จนถึงปัจจุบัน ด้วยฝีมือและความเชี่ยวชาญในการต่อเรือประมงพื้นบ้านเป็นที่รู้จักและมีชื่อเสียงในระดับชุมชน ชาวประมงพื้นบ้าน ราคาว่าจ้างต่อล�ำประมาณ ๔๐,๐๐๐ ถึง ๕๐,๐๐๐ บาท ต่อเรือ ๑ ล�ำ โดยผู้จ้างด�ำเนินการ ออกค่าใช้จ่ายในการจัดหาและจัดซื้อวัสดุให้ครบทุกอย่าง ช่างต่อเรือด�ำเนินการออกแรงท�ำเพื่อให้ได้มาซึ่งล�ำเรือ อย่างเดียว การด�ำเนินการไม่มีพิมพ์เขียวเป็นการสร้างจากการตกลงกับผู้ว่าจ้างจนเข้าใจ ขนาด รูปทรง ก็ลงมือ ท�ำการต่อเรือ วัสดุอุปกรณ์ในการท�ำ ประกอบด้วย ๑. ไม้ตะเคียนทอง ๒. เลื้อยตัดไม้๓. กบไสไม้ ๔. สว่าน ๕. น็อต ๖. ตะปูขนาด ๓ - ๔ นิ้ว ๗. เหล็กต้นแบบวัดขนาดของกงเพื่อใช้ขึ้นรูปกง ๘. กากีบ (ตัวค�้ำไม้ ให้โค้งงอตามความต้องการ ๙.ขี้ชัน ๑๐.น�้ำมันยาง ๑๑.จารบี๑๒.ปูนแดงกรณีที่ซ่อมแซมล�ำเรือเก่าลูกค้าต้องการ ใช้ไฟเบอร์แทนการอุดรอยรั้วด้วยขี้ชันเพื่อปิดตัวเรือเคลือบทั้งล�ำเรือไม่ให้น�้ำรั่วซึมเข้ามาในล�ำเรือได้ส่วนปะกอบ ด้วย ใยแก้ว (คล้ายๆผ้ามุ้ง )ดินไฟเบอร์น�้ำยาไฟเบอร์และตัวเร่งท�ำให้แข็งจับตัวเร็ว (ใช้๒-๓ ช้อนชา) ใช้เวลา ๑ - ๒ วัน ขั้นตอนการลงไฟเบอร์ ห้ามโดนน�้ำหรือน�้ำฝน ดังนั้น จะต้องท�ำในช่วงที่ฝนไม่ตก มิฉะนั้นขั้นตอนการติดไฟเบอร์ ก็จะไม่ได้ผล


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 168 ขั้นตอนกระบวนการผลิต / วิธีท�ำในขั้นเตรียมการจะประกอบด้วยเตรียมหาไม้ตามชนิด ที่ต้องการใช้งาน การน�ำต้นไม้มาใช้การท�ำล�ำเรือจะต้องดูความกว้าง ความสูงของล�ำต้นเป็นส�ำคัญ กล ่าวคือ จะต้องมีขนาดรอบโคนต้น ความกว้างของเนื้อไม้๑๕๐ - ๒๐๐ เซนติเมตรความสูง ๑๐ - ๑๒ เมตรจึงตัดมาท�ำเรือได้ และเตรียมเครื่องมือที่ใช้ในการต่อเรือทุกชนิด พอได้พร้อมตามเนื้องานแล้วจึงด�ำเนินขั้นตอนการต่อเรือ ซึ่งสามารถ แบ่งขั้นตอนได้ดังนี้ ๑. วางกระดูกงูเป็นขั้นตอนแรกของการต่อเรือกระดูกงูเปรียบได้กับ สันหลังของคน จึงต้องวางไม้กระดูกงูที่ดัดโค้งไปตามรูปท้องเรือให้โค้งกับน�้ำ (ตามเครื่องวัดระดับด้วยปรอท และขึงเชือกให้ตรง) กระดูกงูเสร็จโดยหาไม้แกนส�ำคัญ ขนาดความหนา ๒ - ๒.๕ นิ้วกว้าง ๑ นิ้วขนาดความยาวของกระดูกงูไม่ควรน้อย กว่า ๑๐ เมตร ๒. ตั้งโขนเรือหรือทวนหัว โขนคือไม้ที่เสริมหัวเรือและท้ายเรือให้งอนเชิดขึ้น (เรียกว่า แม่ย่านาง) โขนจะต่อมาจากกระดูกงูเรือ ๓. ขึ้นไม้กระดานตัวล�ำเรือข้างละ ๔ แผ่น ขนาดความยาวต้องมากกว่ากระดูกงู ถ้ากระดูกงูยาว ๑๐ ไม้กระดานต้องยาว ๑๒-๑๓ เพราะต้องไปตีเชื่อมกับโขนที่ยึดติดกับล�ำเรือ ทั้งสองข้างมีกงพราง จ�ำลองเพื่อต้องการมิให้ไม้กระดานหุบเข้าไปข้างใน ช่วงที่ขึ้นไม้กระดานแผ่น ๑-๒ จะต้องใช้ไฟลนไม้กระดานให้อ่อน ตัวเพื่อจัดรูปทรงโค้งงอได้ตามความต้องการของนายช่างและไม่ท�ำให้ไม้แตกหักจากการดัดไม้กระดานแผ่นที่ ๓ - ๔ ทั้งสองข้างของล�ำเรือไม่ต้องใช้ไฟลน ให้กากีบและตัว (กงพราง) หรือตัวกงจ�ำลอง ๔. วางกงเป็นโครงเรือ วางพาดไปตามความยาวของเรือเป็นหลักให้กงตั้งซึ่งจะติดกับ กงยาก กงตั้งจะโค้งไปตามลักษณะความลึกของท้องเรือ ตั้งแต่หัวเรือขนานกันไปเรื่อย ๆ จนถึงท้ายเรือ ๕. ขึ้นกระดานเรือคือการวางกระดานเรือต่อจากแผ่นที่ ๔ ต่อไม้กระดานขึ้นไปด้านบน อีกข้าง ๆ ละ ๕ แผ่น เพื่อให้เป็นรูปเรือ และตามความสูงของเรือ โดยใช้ตะปูยึดไม้กระดานกับแกน ๖. ใช้ตัวถีบขึ้นจุดส่วนหัวเรือกลางและส่วนท้ายของล�ำเรือเพื่อให้ได้ความกว้างสมส่วน ตามกับความยาวของล�ำเรือ ๗. ขั้นตอนการท�ำกงมือลิงหรือวางตะเข้เรือ ทับกับกงตั้งอีกทีหนึ่งเพื่อให้เรือแข็งแรง เสริมกระดูกงูให้แข็งแรงขึ้นเริ่มต้นจากหัวเรือไปท้ายเรือ มีขนาดความหนาประมาณ ๔-๕ นิ้ว ตัดเป็นรูปทรงโค้งงอ ตามขนาด(ส่วนนี้คล้ายๆกับซี่โครงของมนุษย์)ซึ่งจะน�ำมาวางด้านในของท้องเรือสลับไปมาทางด้านซ้ายและด้านขวา การวางรูปแบบฟันปลาโดยวางจุดเริ่มต้นตั้งแต่จุดกลางของล�ำเรือกรณีที่กระดูกงูยาว ๙ เมตรความกว้างของล�ำเรือ ๒๘๕ เซนติเมตร การวงกงเรือจะต้องวางจากจุดกึ่งกลางของล�ำเรือวางขึ้นไปด้านบนของล�ำเรือ ด้านท้ายของล�ำเรือ ระยะห่างระหว่างกง ๑๕ เซนติเมตรการวางกงเรือสลับไม้กงไม้กงวางด้านหลังของกงเพื่อไปหาส่วนท้ายเรือและหัวเรือ


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 169 ๘. ปากถ้วย การหุ้มของแกมเรือ ใช้ส�ำหรับการลากอวนไม่ให้อวนติดหัวกง ๙. ลูกกล้วย (ราวทู)ส�ำหรับเรือใหญ่ให้สวยงาม และกันน�้ำสาดเข้าล�ำเรือเวลาเรือเล่น การโต้คลื่น น�้ำจะไปปะทะกับลูกกล้วยและท�ำให้เรือน�้ำกระเด็นออกจากล�ำเรือและป้องการกระแทกกรณีใช้เทียบเรือ จอดท่าเรือ ๑๐. ตัวโขน – โขนท้าย เป็นตัวสูงขึ้นมาจากหัวเรือและท้ายเรือ การตกแต่งประดับให้ เกิดความสวยงามตามเอกลักษณ์ของชุมชน ๑๑. การขัดไม้ของล�ำเรือด้านนอกเพื่อให้เรียบ และเกิดความสวยงาม ๑๒. ตอกหมันด้วยการน�ำด้ายดิบผสมชันยาเรือ พร้อมไปกับน�้ำมันยางผสมปูนแดง เพื่ออุดรูสลักและรอยต่อระหว่างแผ่นกระดานเพื่อป้องกันน�้ำรั่วเข้าไปภายในเรือ ๑๓. ทาสีเรือ เพื่อกันแดดกันฝน กันน�้ำ กันตัวเพรียง บริเวณท้องเรือและกระดานเรือ มักนิยมทาสีเขียว ส่วนราโทและกาบอ่อนมักจะทาสีส้มกับสีขาว ๑๔. วางเครื่องยนต์ไว้ของตัวเรือ บริเวณส่วนท้องเรือมีไม้สองท่อนวางขนานกันและเชื่อม กับใบทวนเรือซึ่งยื่นออกไปหลังหลักทรัพย์ท้ายเรือ นายหมูด ทรงเลิศกล่าวว่า“หาคนที่จะมาต่อเรือและรับช่วงต่อจากตนเองยากมากแม้กระทั่งลูกๆ ก็ไม่สนใจเพราะเป็นงานกรรมกร เหนื่อยต้องตากแดดตากลม เพราะเราใช้วิถีชีวิตและการท�ำที่ริมชายฝั่ง เรือ ๑ ล�ำ ต้องใช้เวลาหลายเดือน ต้องใช้ความอดทน ความพยายาม ใจสู้เพื่อให้งานส�ำเร็จการท�ำงานแข่งกับตัวเอง” จุดเด่น ของภูมิปัญญาการท�ำเรือประมงของนายนายหมูด ทรงเลิศ ท�ำโดยไม้ต้องมีแบบพิมพ์เขียว ในการสร้างเรือแต่ละล�ำ ขึ้นโครงสร้างของล�ำเรือตามขนาดของผู้ว่าจ้างเป็นหลักว่าต้องการขนาดล�ำเรือกว้างยาวเท่าไหร่ การออกแบบโครง และสร้างฐานตามแบบฉบับของเขา และออกแบบไปท�ำไปตามองค์ความรู้ที่มีจากการประสบการณ์ที่ สั่งสมจนเกิด ความช�ำนาญไม ่มีวิชาที่สอนให้ท�ำในสถาบันการศึกษา แต ่เป็นสถาบันชีวิตที่ต้องเรียนรู้และฝึกจากการสั่งสม ประสบการณ์ของตนเองมาตลอดชั่วชีวิตผู้ที่หลงใหลล�ำเรือว่าด้วยการต่อเรือเป็นศาสตร์และศิลปะ ที่น่าควรยกย่อง และเข้าไปเรียนรู้เพื่อรุ่นเยาวชนได้เห็นคุณค่าและสืบสานต่อยอดและควรค่าแก่การอนุรักษ์ ๒.๓.๕ นางฉลวย ปล้องเกิด (ป้าพร) หัตถกรรมพื้นบ้านการท�ำอิฐแดง หรืออิฐมอญ เกิดเมื่อวันที่๑ เมษายน ๒๔๙๙ อยู่บ้านเลขที่๒๒/๒ หมู่ที่๖ ต�ำบลโพธิ์ทองอ�ำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เริ่มจากสมัยป้าพรเด็ก ๆ ได้ไปวิ่งเล่นบ้านลุงเจียม ปลอดชูแก้ว (พี่ของแม่) ไปช่วยเล่นดิน ช ่วยท�ำบ้าง ตามประสาเด็ก ๆ ได้เรียนรู้แบบไม ่รู้ตัวเห็นคุณลุง ท�ำมาตลอดสมัยก่อนท�ำด้วยแรงงานคนล้วน ๆใช้คนนวดดินเหนียว เมื่อป้าพรอายุได้๒๑ ปีเริ่มสนใจในอาชีพการท�ำอิฐเพราะได้แต่งงาน มีครอบครัว ประกอบกับแม ่ของป้าพรสนใจท�ำโรงอิฐในพื้นที่ ต�ำบลโมคลาน ตนเองจึงไปร ่วมเรียนรู้อย ่างจริงจังกับแม ่ ต่อมา ในชุมชนนี้อยู ่ใกล้กับชุมชนของต�ำบลปากพูน อ�ำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีเพื่อนบ้านหลายครอบครัวท�ำกิจการโรงอิฐ และเพื่อนบ้านซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้าน คือ ผู้ใหญ่มน ได้น�ำเทคโนโลยี เครื่องจักรมาช ่วยในการท�ำอิฐ ตนเองก็สนใจเพื่อลดการใช้แรง ในการท�ำอิฐดินเหนียวที่ใช้ในการท�ำอิฐเป็นดินเหนียวล้วน ๆในแปลง


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 170 พื้นที่นาของตนเองและครอบครัว การใช้ดินเหนียวปนทรายมาก ๆ จะท�ำให้หักง่ายก้อนอิฐจะแตกหลังจากเผาดิน ให้เป็นอิฐแล้วดังนั้น การท�ำอิฐจะต้องค�ำนึงถึงคุณภาพของดินด้วยเป็นส�ำคัญ อิฐที่ป้าพรท�ำ มีอิฐชนิด ๘ รูกับอิฐทึบ การตลาดส่ง ๆ ไปเกาะสมุย จังหวัดสุราษฏร์ธานีกระบี่ พัทลุง ตรัง พังงา ภูเก็ต ปัจจุบัน ป้าพรได้มอบธุรกิจการ ท�ำอิฐให้กับบุตรชาย สืบทอดกิจการต่อจากตน คือ นายพิชิต ปล้องเกิด ลักษณะทั่วไป อิฐมอญเป็นวัสดุที่ผลิตมาจากการน�ำดินเหนียวมาเผาเพื่อให้ได้วัสดุที่คงรูป มีความแข็งแรงการใช้อิฐมอญในงานก่อสร้างมีมากหลากหลายจึงมีคนรู้จักและใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศไทย เนื่องจากเชื่อมั่นในความคงทน และผลิตได้ในประเทศจากแรงงานท้องถิ่น คุณสมบัติของอิฐมอญจะยอมให้ความร้อน ผ่าน-เข้าออกได้ง่ายเก็บความร้อนในตัวเองได้นาน เนื่องจากอิฐมอญ มีความจุความร้อนสูงสามารถเก็บกักความร้อน ไว้มากโดยที่ค่อย ๆ ถ่ายเทจากภายนอก จึงเหมาะแก่การใช้งานในช่วงเวลากลางวัน วัสดุอุปกรณ์ในการท�ำอิฐ เครื่องมือส�ำคัญในการท�ำอิฐ ส่วนใหญ่ผู้ประกอบการจะคิด ประดิษฐ์ขึ้นใช้เองเพื่อประหยัด โดยน�ำวัสดุที่หาได้จากพื้นบ้านดัดแปลงต่อเติมเป็นเครื่องมือเครื่องใช้เว้นแต่ ที่ท�ำไม่ได้เป็นเครื่องทุ่นแรงที่เป็นเครื่องจักรกลส�ำหรับเครื่องมือหลัก ๆ ได้แก่ ๑. ปุ้งกี๋ เมื่อก่อนสานด้วยหวายและไม้ไผ่ ต่อมาหวาย และไม้ไผ่ขาดแคลนจึงหันมาใช้ พลาสติกในการจักสานแทน บ้างก็ใช้ยางรถยนต์เก่าซึ่งได้รับความนิยมไม่แพ้กัน ใช้ส�ำหรับงานโกยที่ต้องขนย้ายทั่วไป ๒. พลั่ว ท�ำจากแผ่นเหล็ก มีไม้ไผ่เป็นด้าม ใช้ในการตักดิน แกลบ และคลุกเคล้าดิน แกลบ น�้ำให้เป็นเนื้อเดียวกัน ๓. คราด ท�ำด้วยเหล็กเช่นเดียวกับพลั่ว แต่มีหลักต่างกันคือ มีหน้าเป็นซี่กลม ๆ ๖ ซี่ ส่วนใหญ่ ใช้ไม้ไผ่ท�ำด้าม ใช้ส�ำหรับเกลี่ยแกลบให้ทั่วขณะเผาอิฐและงานโกย สิ่งต่าง ๆ ๔. ไม้ไสดิน หรือไม้แซะดิน ใช้ส�ำหรับปรับลานตากดินที่มีเศษดินจากการไสแท่งดิน ให้ได้รูปทรงตกหล่นอยู่จ�ำนวนมากโดยจะใช้ไม้ไสดินนี้ท�ำการไสดินออกจากลานเพื่อให้ลานดินสะอาดและเรียบร้อย ๕. รถเข็น ท�ำขึ้นง่าย ๆ จากเศษไม้ที่เหลือใช้เริ่มจากต่อส่วนของกระบะก่อนจากนั้น ล้อรถจักรยาน ที่ไม่ใช้งานแล้วมาใส่ท�ำให้สะดวกในการไสลากขึ้น ประโยชน์ของรถเข็นก็คือ ใช้ในการขนย้ายดิน จากกองเพื่อน�ำไปหมักและขนย้ายดินที่ปั่นจนได้ที่แล้วไปกองส�ำหรับอัดลงพิมพ์เป็นอิฐ ๖. การวางระบบน�้ำส่วนใหญ่ใช้ในขั้นตอนการผสมดิน และระหว ่างการอัดดิน ใส่แบบพิมพ์


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 171 ๗. เครื่องปั่นดิน เดิมขั้นตอนการผสมดินส�ำหรับท�ำอิฐผู้ผลิตจะใช้วิธีย�่ำด้วยเท้า จนส่วนต่างๆเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน ทว่าเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาได้มีผู้คิดค้นเครื่องมือในการผสมดินที่ทันสมัยขึ้นมาใช้แทน เครื่องมือดังกล่าวเรียกว่าเครื่องปั่นดิน ขณะใช้งานมีเครื่องยนต์ขนาดก�ำลัง ๙ แรงมาให้พลังงาน เป็นที่นิยมมาก ในปัจจุบันเพราะสามารถผสมดินได้ครั้งละมาก ๆ และใช้เวลาสั้นกว่าการผสมด้วยการย�่ำจากแรงคน ๘. โรงเผาอิฐ สมัยก่อนผู้ผลิตมักกันกลางแจ้ง เนื่องจากประหยัดต้นทุนในการสร้าง โรงเผาอิฐข้อเสียคือไม่สามารถเผาอิฐในช่วงฤดูฝนได้ภายหลังจึงได้สร้างโรงเผาอิฐขึ้น ลักษณะก็คือเป็นโรงไม้หลังคา จากส่วนของหลังคามีลักษณะเป็นทรงจั่วสูงเชิงชนิดคาอยู่ระดับศีรษะไม่มีฝาด้านในใช้ส�ำหรับเป็นที่เผาอิฐและเก็บอิฐ ทั้งชนิดที่เตรียมเผาและเผาสุกแล้ว ๙. แบบพิมพ์มีด้วยกัน ๓ ชนิด แบบพิมพ์ไม้ชนิดนี้สามารถท�ำขึ้นใช้เองได้แบบพิมพ์ โลหะ มีสองลักษณะคือ ท�ำจากเหล็กหรือสแตนเลสราคาค่อนข้างสูงและแบบพิมพ์พลาสติก ปัจจุบันได้รับความนิยม มากกว่าแบบพิมพ์ชนิดอื่น เนื่องจากมีราคาย่อมเยา สะดวกทนทานต่อการใช้งาน ที่ส�ำคัญคืออิฐที่ได้จากแบบพิมพ์ พลาสติกยังให้ความสวยงามไร้ต�ำหนิพอ ๆ กับพิมพ์โลหะชนิด สแตนเลส ซึ่งดีกว่าเเบบพิมพ์ไม้มาก นอกจากนี้ ยังมีอุปกรณ์อ�ำนวยความสะดวกอื่น ๆอีกอาทิเครื่องไสดิน มีดปาดดิน ไม้ตบ ใช้ส�ำหรับตกแต่งแท่งอิฐ ที่ได้จากพิมพ์ ไม้ให้ได้รูปสวยงาม กระแตง ส�ำหรับงานขนย้ายทั่วไป ติ้ว ส�ำหรับนับจ�ำนวนเวลาขนอิฐขึ้นรถในขั้นตอนการขาย แผงเหล็ก ส�ำหรับกันความร้อนไม่ให้กระจายออกมานอกโรงเผาอิฐขณะท�ำการเผา เป็นต้น มาตรวัดคุณภาพอิฐ การท�ำอิฐให้ได้คุณภาพและมีต้นทุนต�่ำ สิ่งส�ำคัญคือต้องรู้จักเลือกใช้วัตถุดิบที่เหมาะสมและอยู่ใกล้แหล่งผลิต วัตถุดิบที่ว่า ได้แก่ ดิน แกลบ น�้ำ ดินที่ใช้ท�ำอิฐคือ ดินเหนียว มีอยู่ดัวยกันหลายชนิด แต่ละชนิดจะให้คุณสมบัติ แตกต่างกัน เช่น ดินเหนียวปูน มีลักษณะเป็นดินที่มีธาตุปูนผสมอยู่มาก สังเกตจากดินมีสีออกขาวนวลเมื่อน�ำมา ท�ำอิฐจะได้อิฐสีเหลืองอ่อน ไม่แดงเข้มสวยงาม ดินเหนียวแก่ มีความเหนียวมากเมื่อกองทิ้งไว้นาน ๆจะแข็งคล้ายหิน มีข้อเสียคือเมื่อน�ำไปท�ำอิฐจะเกิดการรัดตัวจนแท่งอิฐบิดงอดินทั้งสองชนิดนี้ไม่นิยมน�ำมาท�ำอิฐเนื่องจากมีคุณภาพต�่ำ ท�ำให้อิฐขายไม่ได้ราคา ดินเหนียวที่ได้รับความนิยม น�ำไปท�ำอิฐคือ ดินเหนียวปนทรายละเอียดเดิมผู้ผลิตจะได้ดิน ชนิดนี้จากใต้แม่น�้ำ ปัจจุบันเปลี่ยนไปใช้ดินที่ได้จากบนบกที่มีคุณสมบัติเหมือนกันแทนเพราะสะดวกกว่าการลงไป เอาดินจากแม่น�้ำขึ้นมา ขั้นตอนการท�ำอิฐ ๑. นวดดิน ขั้นแรกเริ่มกัน โดนฉีดน�้ำเพื่อให้ดินชุมชื่น ๒. ใช้เครื่องจักรตักดินเข้ารางสับ เพื่อตีดินให้ละเอียด ๓. ดินออกเป็นแผ่นยาว ๔. มีเครื่องตัดจ�ำนวนก้อนขนาดที่ต้องการ ๘ นิ้ว ๕ นิ้ว จ�ำนวน ๘ รู ๕. มีเครื่องยับเพื่อให้ก้อนดินขาดเป็นชิ้น และจัดลงบนรถเข็นเพื่อน�ำไปตาก ในโรงตาก ๓ วัน เพื่อลดปริมาณความชื้นของก้อนดินที่ยังไม่ได้เผาเตรียมความพร้อมเข้าเตาเผาหลังจากตากไว้ในโรงตาก ๓ วัน ๖. น�ำอิฐมาจัดวางเรียงในเตาเผาอิฐ จะใช้เวลา ๑-๒ วัน และรมควัน ๓ วัน ๓ คืน ต่อเนื่องกันโดยสังเกตว่าอิฐเป็นไปหมดทุกก้อน ก็จะแสดงให้เห็นว่าอิฐนั้นเผาได้ที่แล้วลดปริมาณไฟ และดับไฟในที่สุด ตั้งไว้ประมาณ ๑ - ๒ วัน ให้อิฐเย็นตัว แล้วน�ำอิฐมาจากเตาเผา จัดเรียงเป็นชุดก้อนใหญ่ ๆ พร้อมจ�ำหน่าย ก้อนมัดใหญ่ๆ ๑ ชุด มีประมาณ ๒๐,๐๐๐ - ๓๐,๐๐๐ ก้อน


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 172 ๒.๔ ด้านประมง ๒.๔.๑ นายเจริญ โต๊ะอิแต ภูมิปัญญาประมงพื้นบ้าน การดุหล�ำ และธนาคารปู นายเจริญ โต๊ะอิแต (บังมุ)ผู้ที่อนุรักษ์การสืบทอดภูมิปัญญาการดุหล�ำ ยังคงด�ำเนินการ การหาปลาด้วยการฟังเสียงของปลาใต้ท้องทะเลเพื่อใช้ในการออกหาปลาให้กับครอบครัวและยังคงสืบทอดวิถีชีวิต ดังกล่าวให้คงอยู่กับชุมชนบ้านในถุ้ง ด้วยอุดมการณ์รักท้องถิ่นทะเลอ่าวท่าศาลาเป็นคนที่มีถิ่นก�ำเนิด ณ บ้านในถุ้ง ต�ำบลท่าศาลา อ�ำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เกิดวันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๑๑ ชีวิตวัยเด็กการวิ่งเล่น และหาประสบการณ์การเรียนรู้วิถีชีวิตการท�ำอาชีพประมง โดยเริ่มช่วยพ่อออกหาปลาตั้งแต่ ๙ ปีเข้าไปเรียนรู้วิธีการ ท�ำการประมงจากพ่อ เริ่มแตกหนุ่มได้อายุ ๑๖ เริ่มลงมือ ปฏิบัติด้วยตนเองด้วยการลงมือเป็นผู้ช่วยของพ่อ และเริ่ม ลงศึกษาเรียนรู้การฟังเสียงปลา โดยการด�ำน�้ำทะเล โดยการจ�ำแนกเสียงร้องของปลาในน�้ำ ฝึกการเรียนรู้ว ่า เสียงแบบใดเป็นฝูงปลาชนิดใด การใช้สัญญาณเสียงในน�้ำ โดยการด�ำลงไปในน�้ำ โดยการบอกเล่าจากรุ่นสู่รุ่น นายเจริญ โต๊ะอิแต ฟังเสียงฝูงของปลาโดยใช้วิธีการด�ำน�้ำทะเล ไม่ใช้ เครื่องมือใด อาศัยประสบการณ์ล้วน ๆ และสมาธิในการหา ฝูงปลา ทิศทางในการลงไปอยู่ในน�้ำและประสบการณ์ฟังเสียง ปลาใต้น�้ำ “ดุหล�ำ” กล่าวคือ การที่คนลงด�ำน�้ำโดยการฟัง เสียงปลาใต้น�้ำไป เพื่อฟังว่าจะมีปลาและปลาชนิดใด โดย นายเจริญ โต๊ะอิแต สามารถจ�ำแนกว่าเป็นปลาประเภทใด เช่น ปลาจวดหางรอก(เกร็ดจะเนียน ล�ำตัวจะเหลืองลักษณะ ฟันไม่มีเคี้ยว แต่ลักษณะฟันเล็ก ๆ) (ปลาจวดสองซี่จะมี ลักษณะเขี้ยวสองสี่ด้านล่างด้านบนหนึ่ง) เสียงปลาแต่ละชนิด จะส่งเสียงแตกต่างกัน ทั้งหมดทั้งมวลล้วนอาศัยประสบการณ์ การฟังเสียงปลาต้องใช้ประสบการณ์จริงในการแยกแยะ เสียงปลา เรียนรู้ทิศทางของลมทั้งสิ้น บางครั้งการหาปลา นอกจากจะอาศัยโชคช ่วยแล้วต้องอาศัยในเดือนมืด ท้องฟ้ามืดจะเห็นฝูงปลาแหวกว่ายเป็นฝูงได้ชัด ลักษณะฝูงปลาที่มักจะอยู่รวมกันเป็นฝูงรวมกัน เช่น ปลาจวด ปลาลัง (ปลาทู) ทะเลปักษ์ใต้บริเวณท้องทะเลอ่าวไทยบริเวณ อ�ำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช คลอบคลุม พื้นที่หลายอ�ำเภอเช่น อ�ำเภอท่าศาลาอ�ำเภอสิชล“อ่าวทองค�ำ”การหาปลาในเวลากลางคืนในท้องทะเลอันเวิ้งว้าง สามารถแยกแยะชนิดของปลาโดยใช้พลายน�้ำ (แสงของน�้ำ) เพราะแสงของดวงจันทร์สาดส่องมายังตัวของปลา ปลาสามารถสะท้อนแสงให้เห็นเป็นเงาแสงได้สังเกตว่า จะเป็นปลาที่มักแวกว่ายเป็นฝูง ลักษณะคลื่นกระแสใต้น�้ำ แรงมักจะได้ปูเพราะปูจะฝังตัวในโพรงและใต้ดินท้องทะเลช่วงฤดูที่สามารถหาสัตว์น�้ำได้๑)ระหว่างเดือนมกราคม ถึงเดือนกุมภาพันธ์ปลาลัง(ปลาทู) กุ้ง(ไม่มีการส่งเสริมและมักจะเกาะในฝูงปลา) ๒) ระหว่างเดือนมีนาคม ถึงเดือน เมษายน กั้ง ปริมาณมาก ๓) ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนพฤศจิกายน จะเทศกาลที่มีปูปลาจวด สามารถรับ ชมรายการจากการสัมภาษณ์และจัดท�ำรายการทีวีจาก “ดุหล�ำคนฟังเสียงปลา รายการทีวีช่อง CNN”


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 173 ชาวประมงบ้านพื้นบ้านได้ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น การรู้ทิศทางลม เพื่อก�ำหนดเครื่องมือ ในการจับปลา ก�ำหนดเวลาการจับตามลักษณะ ลมแปดทิศ ท�ำให้ชาวประมงพื้นบ้านมีความหลากหลายในการใช้ เครื่องมือท�ำมาหากิน ได้แก่ อวน เบ็ด แห ลอบ หรือใช้ภูมิปัญญากาน�้ำ ลมแปดทิศคือ ลมหายใจของธรรมชาติ ที่สร้างให้ทุกชีวิตสมดุล และความสมบูรณ์ของจังหวัดนครศรีธรรมราชโดยเฉพาะอ่าวท่าศาลา ได้รับอิทธิพลจากลม มรสุม ๒ ด้าน คือ มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ เรียกว่า ลมว่าว ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้เรียกว่า ลมพลัด ลมที่พัด จากทิศตะวันออกเฉียงใต้เรียกว่าลมพลัดหลวงลมที่พลัดจากทิศเหนือเรียกว่าลมอุตราลมที่พัดจากทิศใต้เรียกว่า ลมสลาตัน ลมที่พัดจากทิศตะวันออกเรียกว่าลมออกลมที่พัดจากตะวันออกเฉียงเหนือเรียกว่าลมเภาลมทั้ง ๘ ทิศ มีอิทธิพลต่อชาวประมงในการวางแผนการจับสัตว์น�้ำโดยการใช้เครื่องมือที่เหมาะสม แต่ละช่วงของแต่ละเดือน จะจับปลาได้แต่ละชนิดที่แตกต่างกันท�ำให้ชาวประมงได้เรียนรู้ชีวิตและการสรรหาอุปกรณ์เครื่องมือในการหาปลาให้ เหมาะสมในแต่ละช่วงเวลา นายเจริญ โต๊ะอิแต “บังมุ” เป็นคนสู้ชีวิต เป็นคนรุ่นใหม่ที่ชอบแสดงออกและเป็นผู้น�ำ ในการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ธนาคารปูม้าและประมงชายฝั่งบ้านในถุ้ง อ�ำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นผู้ก่อการดีในการขับเคลื่อนการฟื้นฟูชายฝั่งตั้งแต่ ปี๒๕๔๕ จากการร่วมมือกัน จ�ำนวน ๖ - ๗ คน โดยมีการหา แนวร่วมในการขับเคลื่อน จ�ำนวน ๓๐ คน ปัจจุบัน มีสมาชิกเพิ่มขึ้น โดยมีความคิดเมื่อ ๑๐ ปีที่ผ่านมาผลักดัน เรือพาณิชย์ออกจากอ่าวท่าศาลาเข้ามาหาหอยลาย หาปลาริมตลิ่งถ้าชาวบ้านจับหาหอยไปกินไปขายได้โดยการด�ำ งม ห้ามใช้คราดหอยลาย หอยแครง ท�ำให้ขุดโคลนขึ้นมา ไถหน้าโคลนใต้ดิน ท�ำให้แก๊สไข่เน่าขึ้นมาบนผิวน�้ำ ส่งผลต่อ ชีวิตต่อสัตว์น�้ำชายฝั่งเกิดสภาวะการท�ำลายธรรมชาติประกอบกับ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ชุมพร สุราษฎร์ธานี ปิดอ่าว ห้ามจับสัตว์น�้ำ ๑๕ กุมภาพันธ์ถึง ๑๕ พฤษภาคม ท�ำให้เรือประมงจากแหล่งอื่นมารุนหอย ส่งผลต่อ การพลิกโคลนตม ท�ำให้แก๊สไข่เน่าขึ้นมา ท�ำลายสัตว์น�้ำชนิดอื่น ๆ ส่งผลต่อการท�ำหากินของชาวประมงพื้นบ้าน นายเจริญได้ร่วมกัน ต่อต้าน การจัดตั้งกลุ่มเพื่ออนุรักษ์สัตว์น�้ำ เพื่อให้ลูกหลานได้มีทรัพยากรอันอุดมสมบูรณ์ใช้บริโภค กันต ่อไป โดยการท�ำงานของกลุ ่มอนุรักษ์ การปกป้องและการบริบาลปู น�ำปูที่มีไข ่นอกกระดอง ที่แก ่เต็มที่ โดยให้ชาวประมงได้น�ำปูที่ยังมีชีวิตอยู่มาให้กับกลุ่ม เพื่อจะได้อนุบาลปูให้ไข่ปูฝักตัวอ่อน ก่อนปล่อยลงไปสู่ธรรมชาติ เพื่อเพิ่มปริมาณปูในทะเลให้มีคู่กับอ่าวท่าศาลา การด�ำเนินการดังกล่าว ส่งผลให้หลายหน่วยงานได้มองเห็นคุณค่า การท�ำงานของกลุ่ม สมาคมรักทะเลไทย มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์อบต.สนับสนุน เพื่อนในเฟสบุ๊คเห็นการท�ำงาน ของคณะ โดยมีการสนับสนุนเงิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท สร้างอาคาร ปี๒๕๕๘ โดยมีการรวมกลุ่มออมทรัพย์บ้านในถุ้ง เพื่อออมเงิน ๕๐ บาทต่อเดือน ปัจจุบัน ๒๕๖๒ มีเงินทุนหมุนเวียนล้านกว่าบาท เพื่อให้สมาชิกได้กู้ยืมไปซื้ออุปกรณ์ ในการท�ำการประมงชายฝั่งกรณีเครื่องมือที่ใช้ท�ำมาหากินเกิดการเสียหาย สมาชิกสามารถมากู้ยืมเงินเพื่อไปจัดซื้อ อุปกรณ์เกี่ยวกับการท�ำประมงได้ท�ำให้วิถีชีวิตของชาวบ้านในถุ้งเริ่มเห็นความส�ำคัญของการรวมกลุ่มอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ รางวัลที่ได้รับ ๑. สนง.คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติมอบรางวัลชนะเลิศ ประเภทบุคคลทั่วไป จากการ ประกวดคลิปวีดิโอสื่อสร้างสรรค์เพื่อการขยายผลธนาคารปูม้าและการอนุรักษ์ทรัพยากรปูม้า ประจ�ำปี๒๕๖๑ ๒. กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มอบโล่เกียรติยศ ให้นายเจริญ โต๊ะอิแต “ทสม. ดีเด่น จังหวัดนครศรีธรรมราช” เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๕๙ ๓. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มอบเกียรติคุณ แด่ ชุมชนบ้านในถุ้ง “ชุมชนต้นแบบหลัก ในถิ่นมวล.” ประจ�ำปี๒๕๖๒ ๔. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตรมอบรางวัล“กลุ่มอนุรักษ์ประมงพื้นบ้านในถุ้ง จังหวัดนครศรีธรรมราช ” สถาบันเกษตรกรแห่งชาติประเภทเกษตรกรเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำ ประจ�ำปี๒๕๖๒


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 174 ๒.๕ ด้านเกษตรกรรม ๒.๕.๑ นายนิวัฒน์ ดิมาร : การแปรรูปทางการเกษตร ยาเส้น “ยากลาย” นายนิวัฒน์ดิมาร ภูมิปัญญาการแปรรูปการเกษตรยาเส้น “ยากลาย” บ้านเลขที่ ๒๓/๒ หมู่ที่ ๖ ต�ำบลกลาย บ้านบ่อกรูด อ�ำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เกิดวันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๐๒ ยากลายเป็นที่เลื่องลือมาตั้งแต ่สมัยก ่อน ระยะเวลา ๑๐๐ กว่าปีผ่านมา ดินแดน แถบลุ่มแม่น�้ำกลายสองฝั่งแม่น�้ำกลาย ครอบคลุมพื้นที่อ�ำเภอท่าศาลา และอ�ำเภอนบพิต�ำ (ที่แยกเป็นอ�ำเภอใหม่) จากพื้นที่ของอ�ำเภอท่าศาลา บริเวณ ต�ำบลสระแก้ว ต�ำบลกลาย ต�ำบลตลิ่งชัน บริเวณแถบนี้เป็นพื้นที่แม่น�้ำกลาย ไหลผ่านท�ำให้มีความอุดมสมบูรณ์ยามน�้ำหลากได้พัดพาน�ำความอุดมสมบูรณ์ของแร่ธาตุท�ำให้เป็นที่กล่าวขานว่า ยาเส้นที่มาจากพื้นที่ต�ำบลกลาย มีกลิ่น และรสชาติยากลาย มีกลิ่นฉุน ไม่เหมือนที่อื่น คอยาเส้นมักจะนิยมบริโภค จนเป็นที่รู้จัก ถ้าจะสูบยาเส้นควรจะเป็นยากลาย นามชื่อเลื่องลือ กล่าวขานในหมู่ผู้สูบนิยมชมชอบ พ่อค้ายาเส้น จึงบอกที่มีว่า“ยากลาย” ยากลายเป็นยาสูบที่ปลูกในเขตท้องที่ต�ำบลกลายอ�ำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช มีชื่อเสียงในด้านที่มีรสชาติที่มีความฉุนจัด(เมาจัด) และมีราคาค่อนข้างสูงการปลูกยาสูบที่ต�ำบลกลาย คงท�ำกันมา แล้วไม่ต�ำกว่า ๑๐๐ ปีเพราะชาวบ้านที่มีอายุประมาณ ๗๐ - ๘๐ ปีในขณะนี้เล่าว่า ตั้งแต่เกิดมาก็เห็นบรรพบุรุษ ของเขาปลูกยากลายกันอยู่แล้ว อนึ่งยากลายยังแพร่พันธุ์ ไปสู่ต�ำบลที่ใกล้เคียง เช่น ต�ำบลตลิ่งชัน ต�ำบลสระแก้ว ต�ำบลท่าศาลา และต�ำบลกะหรอ กิ่งอ�ำเภอนบพิต�ำ เป็นต้น ยากลายเป็นพันธุ์ไม้ล้มลุกให้ประโยชน์ปีเดียวก็ตาย มีล�ำต้นอ่อนเปราะ ภายในล�ำต้นกลวง ล�ำต้นโดยขณะเส้นผ่านศูนย์กลาง ๑.๕-๒.๐ นิ้ว ไม่มีกิ่ง ใบกว้างประมาณ ๒๐ - ๓๐ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๓๐ - ๕๐ เซนติเมตรโดยแตกออกจากล�ำต้นตั้งแต่โคนจนถึงยอดต้นยากลายมีความสูงประมาณ๑๐๐ - ๑๕๐ เซนติเมตร ใบหนา มีขนเล็กน้อยถ้าจับดูจะรู้สึกเหนียวหนืดผิดกับใบไม้อื่น ความสูงของต้นและความโตของใบจะขึ้นอยู่กับอาหาร ที่ได้รับด้วย แต ่อย ่างไรก็ตามชาวไร ่ยากลายเล ่าว ่า ยากลายนั้นจะมีขนาดล�ำต้น ความสูงและความโตของใบ พร้อมทั้งความเหนียวหนืดที่เหนือกว่าที่มีผู้น�ำไปปลูกในแหล่งอื่น แม้แต่ปลูกในเขตใกล้เคียงในจังหวัดนครศรีธรรมราช ทั้งนี้อาจเป็นเพราะความอุดมสมบูรณ์ของดินในเขตต�ำบลกลายก็เป็นได้


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 175 การท�ำไร่ “ยากลาย” มีขั้นตอน ดังนี้ ๑. การเตรียมพื้นที่ เดิมนั้นจะใช้เป็นป่ารกร้างว่างเปล่าที่ได้มาด้วยการจับจองแต่ปัจจุบันชาวบ้าน จะปลูกยากลายกันในพื้นที่สวนยางพื้นเมืองที่ได้รับการสงเคราะห์ให้ปลูกยางพันธุ์ดีแทนยางพันธุ์พื้นเมือง การเตรียมดินจะเริ่มประมาณช่วงเดือน กุมภาพันธ์– เดือนมีนาคม ชาวไร่จะถางป่าโดยฟันต้นไม้เล็ก ๆ ออกให้ทั่ว ก ่อนแล้วจึงโค ่นต้นไม้ใหญ ่ ๆ ลงให้หมดแล้วปล ่อยทิ้งไว้ สักระยะหนึ่งกะประมาณให้แห้ง พอจะเผาติดไฟซึ่งส่วนใหญ่ ราวๆ ๑ เดือน ก็จุดเผาได้การเผานั้นจะเริ่มจุดทางด้านเหนือ เพื่อให้ไฟลุกไปได้ทั่วไร่ เมื่อเสร็จการเผาแล้วชาวบ้านก็จะเริ่ม “ปรนไร่” คือเก็บใบไม้และกิ่งไม้ที่ไม่ติดไฟมากองเผาอีกจน หมดแล้วใช้“ไม้หมรูน”ลากหรือดันขี้เถ้าให้กระจายทั่วพื้นที่ ขั้นตอนการเก็บเศษไม้มาเผา เรียกว่า “ปรนไร่” หลังจากนั้น ก็ขุดร่องเป็นแปลงปลูก ๒. การเตรียมพันธุ์พันธุ์ยากลายที่ใช้ปลูก กันในทุก ๆ ปีนั้นชาวบ้านเก็บเมล็ดพันธุ์ยาไว้จากการปลูก ในปีก่อน ส�ำหรับในการปลูกในปีถัดไป จะไม่มีการไปเอาพันธุ์ จากในท้องที่อื่น ๆการเก็บเมล็ดพันธุ์ยานั้น ชาวบ้านจะปล่อย ให้ต้นยาที่เก็บใบหมดแล้วออกดอกและฝัก เมื่อฝักแก่เต็มที่ แล้วก็จะตัดมาทั้งล�ำต้นมาผึ่งไว้ที่แห้ง เก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้ปลูก เริ่มด้วยการเอาเมล็ดพันธุ์ยาที่เตรียมไว้ห่อผ้าแช่น�้ำ ๑ - ๒ คืน แล้วน�ำไปเพาะในกระบะดินหรือดินปนทรายที่เตรียมไว้ คอยรดน�้ำให้ดินเปียกชุ่มอยู่เสมอ ประมาณ ๑ เดือน ก็จะได้ ต้นกล้ายาสูบมีใบราว ๒ - ๓ ใบ จึงย้ายต้นกล้าไปแยกเพาะ ช�ำไว้อีก การย้ายต้นกล้าไปเพาะใบนี้เรียกว่า “ฉุนลูกยา” ในการย้ายไปปลูกอาจปลูกช�ำในกระเปาะเล็กๆ หรือปลูกในร่องฉุน ถ้าปลูกในร่องฉุนจะปลูกห่างประมาณ ๕ - ๖ นิ้ว ต่อต้น ระยะแรก ๆ จะต้องรดน�้ำทุกวันและท�ำหลังคาบังแดดให้ด้วย ซึ่งจะใช้ทางมะพร้าวกันเป็นส ่วนใหญ ่ หรืออาจจะมีใบไม้อื่นบ้าง เช่น ระก�ำ เมื่อต้นกล้าแข็งแรงดีแล้วก็เอาหลังคาออก ต้นกล้านี้เมื่อมีใบราว ๔ - ๕ ใบ หรือมีความสูงประมาณ ๖ - ๘ นิ้ว ก็น�ำไปปลูกได้ ๓. การปลูก ฤดูการปลูกยากลายนั้น ชาวบ้านจะเริ่มลงมือปลูกในเดือนพฤษภาคม หรือที่เรียก กันว่าเดือน ๖ เพราะช่วงนี้จะมีฝนตกอันเนื่องมาจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งเรียกกันว่า “ฝนพลัด” การปลูก ระยะห่างระหว่างต้น ประมาณ ๗๐ - ๗๕ เซนติเมตร ก่อนขุดหลุมจะมีการขึงเชือกกะระยะห่างให้เรียบร้อย เมื่อปลูกแล้วก็จะดูเป็นแถวสวยงามและง่ายแก่การบ�ำรุงรักษาและการเก็บผลผลิต ก่อนปลูกจะมีการใส่ปุ๋ยรองหลุม เดิมจะนิยมใช้มูลค้างคาว แต่ปัจจุบันจะใช้ปุ๋ยเคมี๑๒-๑๒-๑๗-๒ ใช้ประมาณหลุมละ ๑ ช้อนโต๊ะ คลุกเคล้ากับดิน ให้ทั่วแล้วปลูกต้นยาลงไป ต้องพยายามให้ล�ำต้นตั้งตรง เสร็จแล้วถมดินให้แน่น เด็ดใบล่างทิ้งประมาณ ๑ - ๒ ใบ มักจะปลูกเวลาเย็น เชื่อกันว่าต้นยาจะตั้งตัวได้เร็ว (เข็งแรง) หากไม่มีฝนหลังจากปลูกแล้วต้องท�ำเพิงก�ำบังแดด และรดน�้ำอยู่ ๗ - ๑๐ วัน เมื่อต้นยาแข็งแรงดีแล้วก็เอาที่ก�ำบังแดดออก


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 176 ๔. การบ�ำรุงรักษา หลังจากปลูกเสร็จแล้วก็ต้องหมั่นก�ำจัดวัชพืช เพื่อไม่ให้แย่งอาหารต้นยาสูบ และค่อยก�ำจัดตัวหนอนซึ่งจะกัดกินใบและยอดเมื่อต้นยาสูบมีความสูงประมาณ ๑ ศอก หรือชาวบ้านจะกะประมาณ จากจ�ำนวนใบ คือมีประมาณ ๗-๘ ใบ เป็นระยะที่ต้นก�ำลังเจริญเติบโตก็ต้อง ใส่ปุ๋ยให้อีกครั้งหนึ่ง โดยการโรยปุ๋ยรอบ โคนต้นยาไว้ให้สูง ซึ่งชาวบ้านเรียกกันว่า “พูนยา” วิธีการนี้เป็นการปิดปุ๋ยไม่ให้น�้ำชะไปที่อื่น และเป็นการป้องกัน ไม่ให้ต้นยาล้มได้ง่ายเมื่อถูกลมพัดเมือต้นยามีใบประมาณ ๑๘-๒๐ ใบ ชาวบ้านก็จะเด็ดยอดทิ้งเสียเพื่อลดความเจริญ เติบโตทางด้านความสูงแต่ให้มาเจริญที่ใบ ใบจะได้รับอาหารมากขึ้นโตและหนาขึ้น ในช่วงนี้ต้องคอยหมั่นหักแหนะ “แขนง” ของต้นยาสูบที่งอกจาก ล�ำต้นที่โคนใบให้หมด เพื่อมิให้แย่งอาหารจากส่วนที่อื่น ๆ เมื่อเห็นว่าใบยาสูบ มีสีเขียวแก่และปลายใบสุด มีสีด�ำก็แสดงว่าใบยาสูบเริ่มแก่เก็บได้แล้ว ซึ่งเวลาทั้งหมดในการท�ำไร่ยาสูบนี้ประมาณ ๖ เดือนอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตยาเส้นมีดังนี้๑.อุปกรณ์การหั่นยา ภาษาถิ่นใต้“เขอขวานยา” ๒. ม้ารองนั่ง ๓. มีด ๔. หินลับมีด ๕. แผงยา ๖. เสื่อ ๗. ราวตากยา การผลิตยาเส้น “ยากลาย” เป็นยาเส้นที่มีชื่อเสียงที่เป็นที่รู้จักกันดี ในแง่คุณภาพของเส้นยา กล่าวกันว่าเส้นจะเล็กนิ่มไม่หยาบแข็งสีคล�้ำ มีน�้ำมันดิน ไม่แห้งหยาบกระด้าง และที่ขึ้น ชื่อลือชามากที่สุดก็ในด้านรสชาติเป็นยาเส้นที่มีรสฉุน มีความเมาจัด ซึ่งสิ่งเหล ่านี้เป็นสิ่งที่ชาวไร ่ภูมิใจมาก ชาวไร่ยากลายเล่าว่า นอกจากคุณภาพของดินและลักษณะอากาศที่เหมาะสมกับยาสูบชนิดนี้แล้ว เขาเชื่อว่าเทคนิค และวิธีการต่าง ๆ ของระยะเวลาการเก็บ การบ่มใบยา การหั่นตลอดจนการเก็บรักษายาเส้น เป็นสิ่งที่ส�ำคัญ ที่ช่วยให้ยากลายมีคุณลักษณะเหล่านี้กลวิธีการผลิตยากลายเริ่มตั้งแต่การเก็บใบยาสูบ เมื่อชาวไร่รู้ว่าถึงเวลาจะเก็บ ได้แล้วเขาจะแบ่งใบยาออกเป็น ๓ พวกคือตีนยาได้แก่ใบยาสูบที่อยู่ส่วนล่างของล�ำต้น คือส่วนโคนต้นนับจากพื้นดิน มา ๕ - ๖ ใบ ตีนยาจะมีคุณภาพต�่ำ ไม่ฉุนจัดเหมือนใบส่วนอื่น ๆกลางยาได้แก่ใบยาสูบที่ถัดจากตีนยาขึ้นมานับตั้งแต่ ใบที่ ๗ ถึงใบที่ ๑๑ หรือ ๑๒ กลางยามีจ�ำนวนราว ๕ - ๖ ใบ กลางยามีคุณภาพดีกว่าและราคาสูงกว่าตีนยายอดยา คือส่วนที่เหลือทั้งหมดมีประมาณ ๕ - ๑๐ ใบ จัดเป็นใบยาที่ดีที่สุด รสฉุนจัดที่สุดและราคาแพงมากที่สุดเรียกว่า “ยายอด” ปัจจุบันชาวสวนยาทั่วไปมักแบ่งใบยาออกเพียง ๒ พวกคือตีนยากับยอดยาเท่านั้น ส่วนกลางยาจะรวมกับ ส่วนยอดเพราะจะได้ปริมาณมาก แต่ชาวไร่ยากลายจะแบ่ง ตามแบบเดิม เพราะกลัวว่าจะท�ำให้คุณภาพยาเส้นต�่ำลง การเก็บรักษาใบยาสูบนั้นจะเริ่มเก็บใบยาจากตีนยาก่อนแล้ว น�ำมาบ่มไว้โดยวางใบยาพาดทับซ้อนกันโดยให้ส่วนของปลาย ใบแต่ละใบยื่นโผล่ออกมาประมาณ ๑ ใน ๕ ของความยาว ใบ การเก็บยาในวันหนึ่งก็บ่มไว้กองหนึ่งไม่ปะปนกัน พื้นที่ใช้ บ่มยานั้นควรมีอากาศถ่ายเทได้สะดวกส่วนใหญ่จะบ่มที่ขน�ำ บ่มไว้๔ - ๕ คืน ก็พร้อมที่จะน�ำไปขวานได้ตอนนี้ใบยาจะมี ลักษณะสีค่อนข้างเหลือง น�ำมาดึงเอาก้านใบออกเรียกว่า “รูดยา”วางเป็นกองๆกองละประมาณ ๑๐๐ ใบ แล้วม้วน ให้แน่นเป็นมัดๆแต่ต้องไม่โตกว่าช่องวงกลมของขื่อขวานยา แล้วมัดด้วยเชือกกล้วยหรือตอกคล้า ไว้เป็นมัดๆซึ่งนิยมท�ำ กันในตอนเย็นหรือตอนกลางคืนรุ่งเช้าจึง “ลงมือฝาน หรือ หั่นในภาษากลาง” การฝานยาเป็นงานที่ค่อนข้างยากและ เป็นเทคนิคอย่างหนึ่งที่ต้องอาศัยทักษะเฉพาะบุคคลวิธีการ ฝานจะเอาม้วนใบยาวางในรางของขื่อฝานยาจับด้วยมือซ้าย


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 177 ใช้มือขวาจับมีด มือซ้ายดันม้วนใบยาออกมาเบาๆ ทีละนิดจับมีดโดยให้คมมีดชิดกับหน้าขื่อสันมีดผายออกเล็กน้อย แล้วยกมีดฝานเป็นจังหวะเล็กน้อย เส้นยาจะได้มีเส้นละเอียดเล็กเท่ากันทุกเส้น เป็นงานที่ต้องอาศัยความช�ำนาญ ของแต่ละคน และที่ส�ำคัญมีดฝานยาจะต้องลับให้คมอยู่เสมอ ปกติแล้วงานฝานยาส่วนใหญ่จะเป็นหน้าที่ของผู้ชาย ผู้หญิงจะมีหน้าที่ตากยา คือเอาเส้นยาที่ฝานได้แล้วมาวางเรียงบนแผงยาไปตามความยาวของแผง ไม่ให้ยาหนา หรือบางเกินไปเพราะหากหนาจะท�ำให้แห้งช้า แต่ถ้าบางนักจะท�ำให้ยาพับได้เล็ก ยาเส้นแต่ละแผงจะแบ่งได้๒ พับ ซึ่งเวลาตากยาก็จะต้องแบ่งออกเป็น ๒ ส่วนเท่าๆกัน เมื่อตากเส้นแล้วก็จะต้องน�ำไปผึ่งแดดวันที่มีแสงแดดจ้าทั้งวัน ผึ่งแดดวันเดียวก็ใช้ได้โดยจะต้องมีการ“แปร”คือ พลิกเอาด้านล่างขึ้นบนซึ่งจะท�ำกันในตอนเที่ยงแล้วตากน�้ำค้างต่อ อีก ๑ คืน การตากน�้ำค้างนั้นก็เพื่อให้เส้นยาที่แห้งเกรียมอ่อนตัวลงสะดวกในการจับพับเป็นพับ ๆแล้วการเก็บยาเส้น ให้มีคุณภาพดีอยู ่ได้นานชาวไร ่ยากลายเล ่าว ่าจะต้องเก็บไว้ในที่มิดชิดไม ่ให้ถูกลมถูกน�้ำ สมัยก ่อนจะเก็บไว้ใน โอ่งปากเล็ก กระบอกไม้ไผ่ วิธีเหล่านี้เขาเก็บรักษาไว้เพื่อบริโภคเอง ปัจจุบันยากลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่ส�ำคัญของ ชาวต�ำบลกลาย เป็นสินค้าที่ท�ำรายได้ให้แก่อ�ำเภอท่าศาลามาก จะมีพ่อค้าต่างจังหวัดมาซื้อยากลาย ต่อจากพ่อค้า คนกลางซึ่งเป็นคนในท้องถิ่นอีกทีหนึ่งส่วนมากจะเป็นพ่อค้าจากจังหวัดยะลา ปัตตานีนราธิวาสซึ่งจะขายกันในราคา สูงพอสมควรประชาชนทั่วไป มักจะพบเห็นวิถีชีวิตของชุมชน ที่มีการปลูกยาเส้น บางครอบครัวปลูกก่อนลงต้นสวน ยางพารา บางครอบครัวท�ำการปลูกยาเส้นอย่างเดียว แต่ก็มีสัดส่วนน้อยกว่าการท�ำสวนผลไม้ที่ได้ราคาดีกว่า เสน่ห์ของการท�ำยากลาย อยู่ที่การหั่นใบยาให้เป็นฝอย ๆ เป็นเส้นที่สม�่ำเสมอ ต้องรู้จักใช้อุปกรณ์ในการหั่น และ ความช�ำนาญในการท�ำเด็กและเยาวชนควรที่จะเรียนรู้และน่าจะพัฒนาน�ำนวัตกรรมมาช่วยในการผลิตยามากยิ่งขึ้น และปัจจุบัน ยังมีจ�ำนวนครอบครัวที่ยังคงสืบสานการปลูกยากลาย จ�ำนวนไม่มากมักแต่ก็ยังมีหลายครอบครัว ที่ด�ำเนินการเรื่องนี้บริเวณสองฝั่งแม่น�้ำกลาย ยังคงสภาพอยู่และในตัวอ�ำเภอท่าศาลา มีโรงงานบ่มยาและรับซื้อยา ที่ส่งอออกไปขายในจังหวัดและต่างจังหวัด บริเวณโรงงานที่รับซื้อยังคงเหลือ ๑ โรงเยาวชนรุ่นหลังควรจะต้องเรียนรู้ วิถีชีวิตของประชาชนในพื้นที่ บ้านเกิดของตนเองให้ได้อย่างถ่องแท้และอย่างเข้าใจในการสืบสาน พัฒนา ต่อยอด ผลผลิตให้มีความเป็นทันสมัยต่อไป ๒.๕.๒ นายธีรชัย ช่วยชู : การท�ำปุ๋ยหมัก ศูนย์เรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม ่ประจ�ำต�ำบลไทยบุรี กลุ ่มปุ๋ยหมักชีวภาพ ที่ท�ำการผู้ใหญ ่บ้าน หมู ่ที่ ๙ ต�ำบลไทยบุรีอ�ำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีนายธีรชัย ช่วยชูอายุ ๕๓ ปีเป็นผู้ใหญ่บ้าน และประธาน โดยนายธีรชัยช่วยชูเป็นนักเรียนหลักสูตร ประกาศนียบัตรอาชีพ (ปอ.ของ กศน.อ�ำเภอท่าศาลา) มีความกระตือรือร้นประชุมประจ�ำหมู่บ้านทุกเดือนในการ พัฒนาหมู่บ้าน และเข้าร่วมประชุมวางแผนในการท�ำแผน จุลภาคทุก ๆ ครั้งที่ ครูกศน.ต�ำบลไทยบุรีได้ประสาน พื้นที่หมู่ที่ ๙ ได้เสนอในที่ประชุมการท�ำปุ๋ยหมักชีวภาพ ทางสมาชิกกลุ่มก็เห็นด้วย ในการท�ำปุ๋ยหมัก (สูตรรวม)


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 178 ปุ๋ยหมัก หมายถึง ปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จากหมักบ่มสารอินทรีย์ด้วยจุลินทรีย์ที่ท�ำหน้าที่ย่อย สลายอินทรีย์วัตถุให้สลายตัว และผุพังไปบางส่วน ท�ำให้ได้ปุ๋ยที่มีลักษณะสีคล�้ำด�ำ มีลักษณะเป็นผง ละเอียด เหมาะส�ำหรับการปรับปรุงดิน และให้ธาตุอาหารแก ่พืช วัสดุอินทรีย์ที่ใช้ส�ำหรับการหมัก อาจเป็นเศษพืชสด วัสดุอินทรีย์เผา รวมถึงอาจผสมซากของสัตว์ หรืออาจผสมปุ๋ยคอกก็ได้และหากน�ำมากองรวมกัน พร้อมรดน�้ำ อย่างสม�่ำเสมอจุลินทรีย์ก็จะท�ำการย่อยสลายขึ้นซึ่งสังเกตได้จากกองปุ๋ยหมักจะมีความร้อนเกิดขึ้น เมื่อเกิดความร้อน จึงจ�ำเป็นต้องคลุกกลับกองปุ๋ย และรดน�้ำให้ทั่ว ซึ่งจะท�ำให้จุลินทรีย์ย่อยสลายสารอินทรีย์ได้อย่างทั่วถึง และ หากความร้อนในกองปุ๋ยหมักมีอุณหภูมิใกล้เคียงกันในทุกจุดและความร้อนมีน้อยจึงจะแสดงได้ว่า ปุ๋ยหมักปุ๋ยพร้อม ใช้งานแล้ว ปุ๋ยหมักที่ย่อยสลายได้ดีแล้วจะมีลักษณะเป็นเม็ดละเอียดสีน�้ำตาลด�ำ มีความร่วนซุย และมีกลิ่นฉุน ของการหมัก เมื่อน�ำปุ๋ยหมักไปใช้ในแปลงเกษตรก็จะช ่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน ทั้งช ่วยเพิ่ม แร ่ธาตุ อินทรีย์วัตถุ ปรับสภาพความเป็นกรด-ด่าง และช่วยให้ดินอุ้มน�้ำได้ดีขึ้น เป็นต้น การด�ำเนินโครงการ การเรียนและ การฝึกปฏิบัติ การเตรียมวัสดุ ๑. มูลโค จ�ำนวน ๒๐ กระสอบ ๆ ๕๐ บาท ๒. มูลไก่จ�ำนวน ๒๐ กระสอบ ๆ ละ ๔๕ บาท ๓. ปุ๋ยยูเรีย ๑ กระสอบ ๑๐๐๐ บาท ๔. ขุยมะพร้าว ๑ รถ หกล้อ ๆ ละ ๒๐๐๐ บาท ๕. การน�้ำตาลลิตรละ ๕๐ บาท ๖. หัวเชื้อจุลินทรีย์ลิตรละ ๑๒๐ บาท ๗. ร�ำละเอียดกระสอบละ ๓๐๐ บาท ๘ มูลค้างคาวกระสอบละ ๒๐๐ บาท ๙. ผ้ายางคลุมกองปุ๋ยหมักผืนละ ๕๐๐ บาท


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 179 การเตรียมอุปกรณ์ ๑. โรงเรือนขนาดกว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๑๐ เมตร ๒. จอบ ๓. ผ้ายางคลุมกองปุ๋ยหมักผืนละ ๕๐๐ บาท ๔. บัวรดน�้ำ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยหมักชีวภาพ และวิธีท�ำปุ๋ยหมัก ๑. กระบวนการหมักของปุ๋ยหมัก ๑.๑ การหมักแบบใช้ออกซิเจน เมื่อวัสดุหมักเกิดการย ่อยสลายจนได้ สารอินทรีย์ตั้งต้นได้แก่ ไขมัน โปรตีนคาร์โบไฮเดรต เซลลูโลส ลิกนิน ฯลฯ สารเหล่านี้จะถูกจุลินทรีย์จ�ำพวก ที่ใช้ออกซิเจนย่อยสลายด้วยการดึงออกซิเจนมาใช้ในกระบวนการ และสุดท้ายจะได้ผลิตภัณฑ์เป็นฮิวมัส น�้ำ ก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์(CO๒) แอมโมเนีย (NH๓) ซัลเฟอร์ไดออกไซด์(SO๒) และพลังงานความร้อน ๑.๒ การหมักแบบไม่ใช้ออกซิเจน สารอินทรีย์จะถูกย่อยสลายในสภาพที่ ไม่มีออกซิเจน โดยอาศัยการท�ำงานของจุลินทรีย์จ�ำพวกที่ไม่ใช้ออกซิเจน ๒ กลุ่ม คือจุลินทรีย์สร้างกรดและจุลินทรีย์ สร้างมีเทน ซึ่งจะท�ำให้เกิดผลิตภัณฑ์สุดท้ายได้แก่ก๊าซมีเทน (CH๔)ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(CO๒)แอมโมเนีย(NH๓) และพลังงานความร้อน ๒. ปุ๋ยหมักชีวภาพ และวิธีการท�ำ ปุ๋ยหมักชีวภาพ เป็นวิธีการท�ำปุ๋ยหมัก ที่มีการพัฒนาขึ้น เพื่อให้การย่อยสลายเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วด้วยการเติมหัวเชื้อจุลินทรีย์หรือEM เพื่อเร่งกระบวนการ หมัก ท�ำให้เกิดปุ๋ยจากอินทรีย์วัตถุที่มีการปลดปล่อยธาตุอาหารออกมาได้เร็วขึ้น แบ่งเป็นชนิดต่าง ๆ ได้แก่ ๒.๑. ปุ๋ยหมักจากปุ๋ยคอก วัสดุ และส่วนผสมประกอบด้วย ๑) ปุ๋ยคอก ๑ ส่วน ประมาณ ๑๐ ปี๊ป ๒) แกลบเผา/แกลบด�ำ ๑ ส่วน ๓) ร�ำละเอียด ๑ ส่วน ๔) เชื้อEM ๒๐ ซีซี๕)กากน�้ำตาล ๑๐๐ ซีซี๖) น�้ำ ๑๐ ลิตร วิธีท�ำโดย ๑) ผสมปุ๋ยคอก แกลบด�ำ และวัสดุทุกอย่างให้เข้ากัน ๒) น�ำไปกองบนพื้นซีเมนต์แล้วใช้ผ้าคลุมหรือหากท�ำปริมาณน้อย ให้บรรจุใส่ถังหรือถุงกระสอบ ๓) หมักทิ้งไว้๓๐ วัน ก่อนน�ำใส่ต้นไม้หรือแปลงผัก ๒.๒. ปุ๋ยหมักจากพืช ปุ๋ยหมักฟางข้าว วัสดุ และส่วนผสม ๑) ฟางแห้งสับละเอียด ๑ ส่วน ประมาณ ๑๐ กก. ๒) แกลบดิบ/แกลบเผา ๑ ส่วน ๓) ปุ๋ยยูเรีย ๒๐๐ กรัม ๔) กากน�้ำตาล ๑๐๐ ซีซี๕) เชื้อ EM ๒๐ ซีซี๖) น�้ำ ๑๐ ลิตร วิธีท�ำโดย ๑) คลุกผสมฟาง และแกลบให้เข้ากัน หากมีจ�ำนวนมาก ให้แยกคลุกแล้วค่อยมารวมกันเป็นกองเดียวอีกครั้ง ๒)ผสมเชื้อEM และกากน�้ำตาลร่วมกับน�้ำ หลังจากนั้น ใช้เทราด และคลุกให้เข้ากันกับวัสดุอื่นๆ ๓) น�ำไปหมักในถังถุงกระสอบ หรือ บ่อซีเมนต์นาน ๑-๒ เดือน ก็สามารถน�ำไปใช้ได้ ๒.๓. ปุ๋ยหมักชีวภาพจากเศษอาหาร และขยะ ปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร หากมีเฉพาะเศษอาหารที่เป็นพืชมักจะไม่มีปัญหา เพราะเวลาเน่าจะมีกลิ่นเหม็นไม่รุนแรง เราสามารถน�ำไปคลุกกับ ปุ๋ยคอกในรางท�ำปุ๋ยหมักได้เลยแต่หากมีเนื้อสัตว์จะมีกลิ่นเหม็นรุนแรงส�ำหรับบางครัวเรือนที่มีข้อจ�ำกัดปริมาณเศษ อาหารที่เกิดน้อย หากต้องการท�ำปุ๋ยหมักจ�ำเป็นต้องท�ำรางหมักหรือหลุมหมัก แต่หากจะหมักในถังจะมีข้อจ�ำกัด ที่เต็มเร็ว การท�ำรางหมัก ควรหาพื้นที่ว่างบริเวณหลังบ้าน ขนาดพื้นที่ประมาณ ๑ เมตร x ๑ เมตร ลึกประมาณ


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 180 ๒๐ - ๔๐ เซนติเมตร หรืออาจน้อยกว่า หรืออาจมากกว่าตามความต้องการแต่ควรให้รองรับเศษอาหารให้ได้ประมาณ ๑ เดือน และควรท�ำ ๒ ชุด พร้อมฉาบด้านข้างด้วยปูนซีเมนต์แต่หากไม่มีปัญหาเรื่องน�้ำฝนหรือน�้ำไหลเข้าก็อาจขุด เป็นบ่อดินก็เพียงพอ ทั้งนี้ควรท�ำร่องด้านข้าง เพื่อป้องกันน�้ำไหลเข้า และควรเตรียมผ้าใบคลุมเมื่อฝนตกโดยมีวัสดุ และส่วนผสม ๑) ปุ๋ยคอก ๑ ใน ๔ ส่วนของรางหมัก ๒)แกลบด�ำ ๒ ถัง หรือไม่ใส่ก็ได้๓) น�้ำผสมหัวเชื้อเชื้อEM ๑ ลิตร ๔) กากน�้ำตาล ๑ ลิตร วิธีท�ำโดย ๑) หลังจากที่เตรียมรางหมักแล้ว ให้เทปุ๋ยคอก และแกลบด�ำรอง ในรางไว้เมื่อมีเศษอาหาร ให้น�ำมาใส่ในราง พร้อมใช้จอบคลุกผสมกับปุ๋ยคอก ๒) รดด้วยน�้ำหัวเชื้อชีวภาพ และ กากน�้ำตาลบริเวณที่ใส่เศษอาหารเล็กน้อยหากมีเศษอาหารเกิดขึ้นอีก ก็น�ำมาคลุก และใส่น�้ำหัวเชื้อ ตามด้วยกาก น�้ำตาลเรื่อย ๆ จนเต็มบ่อ หากเต็มบ่อแล้วให้น�ำผ้าคลุกมาปิดไว้และทิ้งไว้ประมาณ ๑ เดือน ก่อนตักออกน�ำไปใช้ ประโยชน์ ระหว่างที่หมักทิ้ง ให้น�ำเศษอาหารที่เกิดในแต่ละวันมาหมักในอีกบ่อ ซึ่งจะเวียนกันพอดีในรอบเดือน ทั้งนี้บางครัวเรือน อาจไม่สะดวกในการหาซื้อหัวเชื้อหรือกากน�้ำตาลดังนั้น จึงไม่ต้องใช้ก็ได้แต่จ�ำเป็นต้องมีปุ๋ยคอก หรือใช้ปุ๋ยอื่น เช่น ปุ๋ยมูลไก่ ซึ่งส่วนนี้จ�ำเป็นต้องใช้นอกจากการน�ำเศษอาหารมาท�ำปุ๋ยหมักแล้ว ปัจจุบันยังนิยม น�ำเศษอาหารท�ำน�้ำหมักชีวภาพ ซึ่งก็ง่าย และสะดวกไปอีกแบบ อ่านเพิ่มเติม น�้ำหมักชีวภาพ หลักพิจารณาปุ๋ยหมักพร้อมใช้ ๑. ปุ๋ยหมักจะมีสีน�้ำตาลเข้มถึงด�ำ ๒. อุณหภูมิทั่วกองปุ๋ยหมักมีค่าใกล้เคียงกัน เนื่องจากเกิดปฏิกิริยาการหมัก เกือบหมดแล้ว ๓. หากใช้นิ้วมือบี้ก้อนปุ๋ยหมักจะแตกยุ่ยออกจากกันง่าย ๔. พบเห็ด เส้นใยรา หรือ พืชอื่นขึ้น ๕. กลิ่นของกองปุ๋ยหมักจะมีกลิ่นฉุนที่เกิดจากการหมัก ๖. หากน�ำปุ๋ยหมักไปวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการจะพบอัตราส่วนของคาร์บอน และไนโตรเจน ประมาณ ๒๐ : ๑ หรือคาร์บอนมีค่าน้อยกว่า ๒๐ (ไนโตรเจนยังคงเป็น ๑) การน�ำปุ๋ยหมักไปใช้ ๑. ใช้ในขั้นตอนเตรียมดิน/เตรียมแปลง ด้วยการน�ำปุ๋ยหมักชีวภาพ โรยบนแปลง ๒ - ๓ ก�ำมือ/ตารางเมตร ก่อนจะท�ำการไถพรวนดินรอบ ๒ หรือ ก่อนการไถยกร่อง ๒. ใช้ในแปลงผัก และสวนผลไม้ด้วยการน�ำปุ๋ยหมักชีวภาพ ๑ - ๒ ก�ำมือ โรยรอบโคนต้น ประโยชน์ปุ๋ยหมัก ๑. เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน ทั้งปริมาณอินทรียวัตถุ แร่ธาตุอาหาร ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ๒. ช่วยในการย่อยสลายซากพืช ซากสัตว์ในดิน ท�ำให้ธาตุอาหารถูกพืชน�ำ ไปใช้ได้รวดเร็วขึ้น ๓. ช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในดิน


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 181 ๔. ช่วยต้านการแพร่ของจุลินทรีย์ก่อโรคพืชชนิดต่างๆในดิน ๕. ท�ำให้ดินมีความร่วนซุยจากองค์ประกอบของดินที่มีดิน อินทรีย์วัตถุน�้ำ และอากาศในสัดส่วนที่เหมาะสม ๖. ช่วยปรับสภาพ pH ของดิน ให้เหมาะสมกับการปลูกพืช ๗. ช ่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดึงแร ่ธาตุของพืชจากปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอื่น ที่เกษตรกรใส่ ๘. ช่วยดูดซับความชื้นไว้ในดินให้นานขึ้น ท�ำให้ดินชุ่มชื้นตลอดเวลา ๒.๕.๓ นางสมจิตร เดชบุญ : การท�ำปุ๋ยมูลใส้เดือน นางสมจิตร เดชบุญ ชื่อเล่น จิต เกิดวันที่ ๙ เดือน สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๐ ที่อยู่บ้านเลขที่ ๒๐๖/๓ หมู่ที่๓ ต�ำบลท่าศาลาอ�ำเภอท่าศาลาจังหวัดนครศรีธรรมราชวุฒิการศึกษา ประถมศึกษาสืบทอดการท�ำนา ปลูกข้าวมาตั้งแต่สมัยรุ่นพ่อ-แม่ ใช้วัว ใช้ควาย ไถนา เพราะแต่ ก่อนเคยใช้ปุ๋ยเคมีในการท�ำนาปลูกข้าว จนท�ำให้ข้าวมีผลผลิต น้อยลง เนื่องจากดินเกิดความกร่อย แข็ง ดินขาดความอ่อนนุ่ม ไส้เดือนเริ่มหายไป จึงเกิดความตระหนักว ่าการใช้ปุ๋ยเคมี เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และปุ๋ยก็มีราคาสูงขึ้น แต่ด้วยใจรัก ในการท�ำเกษตร ท�ำนาปลูกข้าว จึงเริ่มหันมาใช้ขี้วัว ปุ๋ยหมัก ชีวภาพ ในการปรับปรุงดิน จากการซื้อปุ๋ยที่อื่นมาใช้ได้สักระยะ หนึ่งดินที่เสียก็เริ่มดีขึ้นเรื่อย ๆ จนมีโอกาสได้ไปศึกษาดูงาน จากที่ต่างๆและไปอบรมแกนน�ำเศรษฐกิจพอเพียงปีพ.ศ. ๒๕๕๔ ก็ได้น�ำความรู้ที่ได้จากการไปศึกษาดูงานมาลงมือปฏิบัติท�ำที่ บ้านบริเวณบ้านและในสวนของตนเอง ก็ได้เริ่มผลิตปุ๋ยหมัก ชีวภาพใช้เอง ลดปัญหาดินเสื่อม และไม่ต้องซื้อปุ๋ยราคาแพง จากท�ำนาปลูกข้าวอย่างเดียวก็ได้มีความคิดที่จะหารายได้เพิ่ม และใช้ประโยชน์จากที่ดินของตนเองให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุดและลดความเสี่ยงในการท�ำนาปลูกข้าวอย่างเดียว ให้มีรายได้จากหลายๆ ทางตามแนวทางพระราชด�ำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชรัชกาลที่ ๙ เรื่องการ มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีรู้จักพอกิน พอใช้จึงได้เริ่มปลูกผักชนิดต่าง ๆ ไว้รอบ ๆ บริเวณบ้าน และได้ศึกษา ทดลองการท�ำปุ๋ยหมักชีวภาพใช้เองและปลูกพืชผักสวนครัวไว้กินเองและปัจจุบันสามารถผลิตปุ๋ยหมักแบบน�้ำและ แบบแห้งไว้จ�ำหน่ายได้และเป็นสมาชิกกลุ่มเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชฯในปีพ.ศ. ๒๕๕๔ และให้ความรู้กับชาวบ้านได้รู้ถึงความส�ำคัญของปุ๋ยว่าปุ๋ยเป็นสิ่งที่มีคุณค่ามาก ในการท�ำเกษตร แต่ก็ยังไม่ได้รับความสนใจหรือแพร่หลายเท่าที่ควร อาจจะเป็นเพราะสาเหตุหลายประการ เช่น เกษตรกรยังไม่ตระหนักถึงความส�ำคัญที่แท้จริงของปุ๋ยหมักว่ามีคุณค่าเพียงใด ในการช่วยปรับปรุงดินให้ดีขึ้น หรือ ช่วยรักษาสภาพความอุดมสมบูรณ์ของดินให้ดีอยู่เสมอ ไม่เสื่อมโทรมลงเรื่อย ๆ อย่างเช่นปัจจุบัน เหตุผลส�ำคัญ อีกประการหนึ่ง คือ เกษตรกรยังขาดแหล่งข้อมูลที่จะให้ความรู้ความเข้าใจในการท�ำปุ๋ยอย่างถูกวิธี


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 182 องค์ความรู้ด้านการท�ำปุ๋ย นางสมจิตร เดชบุญ เริ่มท�ำการเกษตรสิ่งหนึ่งที่คิดว่าจ�ำเป็นอย่างมากในการท�ำเกษตร นั่นก็คือ ปุ๋ย แต่สิ่งที่ก�ำลังท�ำอยู่นี้คือ ต้องท�ำปุ๋ยที่ปลอดภัยทั้งผู้ผลิตและจนส่งถึงมือผู้บริโภค ผลผลิตที่ เราปลูก เราต้องบริโภคได้เช่นกันและได้พบกับค�ำว่า “เกษตรอินทรีย์ซึ่งมันตอบโจทย์ในความหมายในแบบที่ดิฉันต้องการ” ปุ๋ยคืออาหารของพืช ที่เมื่อพืชได้รับไปแล้วจะท�ำให้พืชผักผลไม้เจริญงอกงามนั่นเองการท�ำเกษตรอินทรีย์ก็ต้องใช้ปุ๋ย ซึ่งปุ๋ยก็มีส่วนส�ำคัญไม่แพ้สิ่งอื่นเช่นกัน ต้องเป็นปุ๋ยที่มาจากธรรมชาติเท่านั้นไม่ว่าจะเป็น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยขี้ไก่ ปุ๋ยขี้หมู หรือแม้กระทั้งปุ๋ยน�้ำที่หมักจากเศษใบไม้เศษพืชผักผลไม้และปุ๋ยที่หมักจากเศษปลา แต่ปุ๋ยที่หาได้ง่ายในชุมชน ของเราก็คือ ปุ๋ยคอก(ปุ๋ยขี้วัว)และหลายคนอาจจะเข้าใจผิดว่าเมื่อได้ปุ๋ยคอกมาแล้วก็น�ำไปใส่พืชเลย ทั้งที่ยังเปียก หรือสดอยู่ไม่ผิดแต่กว่าที่ปุ๋ยคอกจะย่อยสลายต้องใช้เวลานาน กว่าที่พืชจะสามารถน�ำไปใช้ประโยชน์ได้ก็ไม่รู้ว่าต้อง ใช้เวลากี่วัน ทั้งนี้ปุ๋ยคอกสด ๆ ที่น�ำไปใช้โดยที่ยังไม่ผ่านกระบวนการย่อยสลาย มีธาตุอาหารมากก็จริง แต่พืชจะยัง ไม่สามารถน�ำไปใช้ได้เนื่องจากจุลินทรีย์ในดิน จะดึงไนโตรเจนจากพืชมาช่วยในการย่อยสลายปุ๋ยคอก จึงท�ำให้พืช ขาดไนโตรเจนในช่วงนั้น จนเป็นสาเหตุให้ใบเหลืองซีดด้วยเหตุนี้จึงจ�ำเป็นต้องท�ำปุ๋ยคอกหมักเพื่อให้ผ่านกระบวนการ ย่อยสลายและพืชก็จะสามารถน�ำสารอาหารในปุ๋ยคอกหมักไปใช้เลยไม่ได้เพราะปุ๋ยคอกหมักที่ตักใส่กระสอบทิ้งไว้ วันแรก ๆ ตัวปุ๋ยคอกหมักมันร้อนมาก ๆ เนื่องจากตอนนี้มันจะเกิดกระบวนการย่อยสลาย และถ้าเราไม่หมักก่อน ก็จะเป็นสิ่งที่พืชจะได้รับแทนที่จะได้ประโยชน์ อาจจะกลายเป็นโทษแทนก็ได้ ทั้งนี้ได้สังเกตจากที่เคยท�ำมา โดยน�ำปุ๋ยคอกมาใหม่ ๆ อยากให้พืชเจริญเติบโตดีจัดเต็ม ใส่ไม่ยั้ง หวังว่าพืชจะงอกงาม แต่สุดท้ายใบเหลือง ทั้งที่บ้างครั้งก็เข้าใจว่าเราใส่ปุ๋ยดีๆ ให้กับพืชแล้ว เพราะฉะนั้น ก่อนใช้เราใช้หมักปุ๋ยคอกควรน�ำไปตากให้แห้งก่อน เพื่อที่พืชจะสามารถน�ำธาตุอาหารที่อยู่ในปุ๋ยคอกหมักไปใช้ได้เลย การปลูกพืชถ้าเราใส่ใจเขา ดูแลเขาดีๆ เขาก็จะ เจริญเติบโตงอกงามมาให้เราได้ชื่นชม ขอเพียงเข้าใจหลักการของธรรมชาติเท่านั้นก็พอ ส่วนประกอบของ การท�ำปุ๋ยหมักชีวภาพ ประกอบด้วย ๑. ปุ๋ยคอก(ขี้วัว) ๑ ส่วน (๑ กระสอบ ๒. แกลบ ๑ ส่วน (๑ กระสอบ) ๓. ร�ำ ๑ ส่วน (๑ กระสอบ) ๔. น�้ำ EM ขยาย ๑ ลิตร ๕. กากน�้ำตาล ๑ ลิตร ขั้นตอนการท�ำ ขั้นแรก น�ำปุ๋ยคอกที่ได้มาตากแดดให้แห้งเกลี่ยให้โดนแดดทิ้งไว้๑-๒ แดด ถ้าปุ๋ยคอกที่ได้มา แห้งแล้วก็ไม่ต้องตากเมื่อปุ๋ยคอกแห้งแล้ว ก็เตรียมส่วนผสมให้พร้อม ปุ๋ยคอก ,ร�ำ ข้าวเปลือก = ๑:๑:๑


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 183 เทส่วนผสมทั้งหมดลงพื้นใช้จอบเกลี่ยคลุกเคล้าให้เข้ากัน ขั้นตอนนี้จะใช้เวลาพอสมควรเติมน�้ำ EM ขยาย และกากน�้ำตาลที่เตรียมไว้ผสมน�้ำให้เข้ากันน�ำไป รดที่กองปุ๋ยคอกที่เตรียมไว้ถ้าไม่มีบัวรดน�้ำใช้ขันตักไป ก็ได้จากนั้นใช้จอบคลุกเคล้าให้เข้ากัน ใช้เวลาพอสมควรครับ ลองใช้มือบีบดูไม่แห้งหรือไม่เปียกเกินไปอย่างที่บอก ตอนต้น ถ้ายังแห้งอยู่ เพิ่มน�้ำอีกได้เลยโดยไม่จ�ำเป็นต้อง ๒๕ ลิตร แล้วใช้จอบเกลี่ยไปด้วยเรื่อย ๆ เสร็จแล้วตักใส่ไว้ ในกระสอบ ตั้งไว้ในที่อากาศถ่ายเทสะดวกในวันแรกปิดปากถุง ปรากฏว่าปุ๋ยคอกร้อนมากเราจึงจ�ำเป็นต้องเปิดปาก กระสอบให้ความร้อนของตัวปุ๋ยระบายออก ผ่านไป ๒ วัน เริ่มหายร้อนแล้ว ตัวปุ๋ย เองเริ่มมีการย่อยสลาย สังเกตจากมีฝ้าขาว ๆ อยู่ทั่วไป ผ่านไป ๓ วัน บางส่วนเริ่มย่อยสลายแล้ว ผ่านไป ๕ วัน ลองใช้มือขย�ำดูรู้สึกว่าจะเป็นขุย ๆ ผ่านไป ๗ วัน จับขึ้น มาขย�้ำดูสังเกตดูว่าฝุ่นคลุ้ง หลังจากนั้นผ่านไปประมาณ ๑ อาทิตย์ก็สามารถน�ำไปใช้กับผลผลิตของเราได้ระยะนี้ ใช้มือขย�้ำให้แตก รู้สึกว่าจะแตกง่าย ๆ แสดงว่าสามารถ น�ำไปใส่ผลผลิตและพืชผักสวนได้ การเลี้ยงไส้เดือนดิน และการท�ำปุ๋ยไส้เดือนดิน การเลี้ยงไส้เดือนดิน และการท�ำปุ๋ยไส้เดือนดินการให้ความรู้เกี่ยวกับการท�ำปุ๋ยหมักให้กับ สมาชิกกลุ่มนั้นป้าจิตได้เล่าให้ฟังว่า การน�ำเศษซากหรือวัสดุต่าง ๆ ที่ได้มาจากสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะอย่างยิ่งจ�ำพวก พืชเช่น เศษหญ้าใบไม้ฟางข้าวผัก หรือแม้แต่ขยะมูลฝอยตามบ้านเรือนมากองรวมกัน รดน�้ำให้มีความชื้นพอเหมาะ หมักไว้จนกระทั่งเศษหรือวัสดุเหล่านั้นย่อยสลายและแปรสภาพเป็นปุ๋ยต่อไป การเลี้ยงไส้เดือนดิน มีหลายแบบหลาย วิธีใช้กะละมังกลม หรือ บ่อซีเมนต์หรือบ่อปูนกลมก็ได้การเลี้ยงไส้เดือนดินของ ศูนย์เศรษฐกิจพอเพียงบ้านโคกอิฐ ใช้วิธีการเลี้ยงโดยใช้กะละมังกลมเนื่องจากโรงเรือนมีพื้นที่จ�ำกัดแต่ก็ไม่เป็นปัญหาเพราะทางศูนย์เศรษฐกิจพอเพียง เลี้ยงไส้เดือนแบบคอนโด จึงท�ำให้ประหยัดพื้นที่ วัสดุและอุปกรณ์ในการเลี้ยงไส้เดือน ๑. กะลังมังสีด�ำ ความกว้างประมาณ ๑ ศอก (ใบละไม่เกิน ๒๐ บาท) ๒. ขี้วัวแห้ง เก็บเศษฟาง หรือวัสดุที่ปนมากับขี้วัวออกให้เหลือแค่ขี้วัวจริง ๆ ๓. ไส้เดือนดินพันธุ์แอฟริกันที่ใช้เลี้ยงกันทั่วไป ประมาณ ๓ ขีด ๔. กากมะพร้าวสับ หรือใบไม้แห้ง (ใบมะขามเทศ, ใบก้ามปู)


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 184 วิธีและขั้นตอนในการเลี้ยงไส้เดือน ๑. น�ำกะละมังไปเจาะรูโดยใช้สว่าน ๒ หุน เจาะให้ทั่วกะละมังเพื่อให้น�้ำไหลผ่านออกได้ สะดวก ๒. น�ำขี้วัวมาท�ำการรดน�้ำ ให้ขี้วัวเปียก เพื่อล้างความร้อนของขี้วัวและแก๊สออกให้หมด รดน�้ำขี้วัว ประมาณ ๑ - ๒ อาทิตย์แล้วแต่ความร้อนของขี้วัว ๓. น�ำกากมะพร้าวสับมาผสม ประมาณ ๓๐% ของขี้วัว ๗๐% น�ำมาผสมให้เข้ากัน มะพร้าวสับ ควรแช่น�้ำก่อนเพื่อล้างยางของมะพร้าวออกไป ที่ผสมกากมะพร้าวผสม เพื่อช่วยในการเพิ่มความเย็น ให้กับขี้วัว ผสมเข้ากันแล้วน�ำไปใส่ในกะละมัง ประมาณครึ่งกะละมัง ๔. ใส่ไส้เดือน ๓ ขีดลงบนขี้วัวผสมไว้ในกะละมังแล้วน�ำไว้ในโรงเรือนที่เย็น โดยท�ำเป็น ชั้นเหล็กหรือชั้นท่อพีวีซีก็ได้ไส้เดือนชอบความชื้นและเย็น รดน�้ำ ให้ความชื้นกับไส้เดือน ๓ - ๔ วันต่อครั้ง ประมาณ ๑ เดือน หรือ ๒ เดือน เราก็จะได้ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือน เต็มกะละมัง สามารถน�ำไปใส่ พืช ผักผลไม้ หรือจ�ำหน่ายได้ ภาพการจัดกิจกรรม (การเลี้ยงไส้เดือนและการท�ำปุ๋ยมูลไส้เดือน)


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 185 ภาพการจัดกิจกรรม กศน.ต�ำบลท่าศาลา น�ำนักศึกษา ม.ปลาย ศึกษาแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านโคกอิฐ ๒.๕.๔ นายสุพจน์ ศรีสุชาติ ด้านการเกษตรน้อมน�ำเศรษฐกิจพอเพียงต�ำบลสระแก้ว ชื่อเล่นลุงพจน์เกิดวันที่๕เดือนมกราคมพ.ศ.๒๔๘๙จังหวัดที่เกิดจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่อยู่บ้านเลขที่๓๖/๒ หมู่ที่๔ บ้านโคกตะเคียน ต�ำบลสระแก้วอ�ำเภอท่าศาลาจังหวัดนครศรีธรรมราชวุฒิการศึกษา ป.๔ และปริญญาบัณฑิตกิตติมศักดิ์หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาเกษตรศาสตร์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏ นครศรีธรรมราชมีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านดิน และ การเกษตร ปัจจุบันประกอบอาชีพ เกษตรกร นายสุพจน์ ศรีสุชาติหมอดินอาสาประจ�ำหมู ่บ้าน และเป็นหนึ่ง ในปราชญ์ของศูนย์เรียนรู้การพัฒนาที่ดินตามแนว เศรษฐกิจพอเพียงของ ต�ำบลสระแก้ว อ�ำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เล ่าถึงความเป็นมาของการ พัฒน าผืนดินจนท�ำให้ช าวบ้ านที่นี่อยู ่ดีกินดีขึ้น ก ่อนหน้านี้ชาวบ้านที่นี่มีฐานะยากจน รายได้น้อย เพราะดินเสื่อมปลูกอะไรไม่ค ่อยได้ผล จึงคิดหาอาชีพ สร้างรายได้ด้วยการรวมตัวกันตั้งกลุ่มเลี้ยง ผึ้งโพรงไทย ขึ้นมาก่อนเพื่อเป็นอาชีพเสริม ต่อมาเพื่อนบ้านใกล้เคียง ให้ความสนใจกันเป็นอย่างมาก อีกทั้ง ได้มีหน่วยงาน ราชการต่าง ๆ หลายหน ่วยเข้ามาดูแลและสนับสนุน รวมทั้งองค์การบริหารส ่วนต�ำบลที่เข้ามาสนับสนุนกิจกรรมต ่าง ๆ พร้อมทั้งสนับสนุนในด้านงบประมาณใน การรวมกลุ่ม จนกลุ่มเติบโตแข็งแรงและได้ขยายผลเป็นศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีประจ�ำต�ำบล


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 186 ศูนย์แห่งนี้มีการรวมตัวของชาวบ้านกันหลายกลุ่มไม่ว่าจะเป็น กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มผึ้งโพรง ไทยกลุ่มเลี้ยงด้วงสาคูกลุ่มเกษตรผสมผสาน โดยกลุ่มเกษตรผสมผสานนั้นจะมีเจ้าหน้าที่จากกรมพัฒนาที่ดินเข้ามา แนะน�ำเรื่องการท�ำน�้ำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ การบ�ำรุงชั้นดิน การเลี้ยงหมูหลุม ท�ำน�้ำส้มควันไม้และท�ำแก๊สชีวภาพ เพื่อลดต้นทุนในการผลิตและสร้างรายได้เสริมให้กับชาวบ้าน นายสุพจน์ถือว่าเป็นเกษตรกรตัวอย่าง ที่ท�ำเกษตร โดยวิธีการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ โดยการใช้ปุ๋ยหมัก พด.๑ และปุ๋ยอินทรีย์น�้ำมาบ�ำรุงดิน โดยใช้ปุ๋ยหมักในอัตรา ๑.๕ กิโลกรัม/ต่อตารางเมตร โดยหว่านทั่วพื้นที่บริเวณแปลงผัก แล้วสับกลบเล็กน้อยเพื่อให้คลุกเคล้ากับดิน ในส่วนของปุ๋ยอินทรีย์น�้ำที่ได้จากการหมักผลไม้และผัก จะน�ำไปฉีดพ่นที่ใบและล�ำต้น ๑๐ วันต่อครั้ง หรือรดลงดิน บริเวณทรงพุ่ม โดยผสมปุ๋ยอินทรีย์เข้มข้น ๑ ลิตรต่อน�้ำสะอาด ๓๐๐ ลิตร รด ๑๐ วัน ต่อครั้งเพื่อเร่งการเจริญเติบโต ของพืชผัก เพิ่มการขยายตัวของใบและยืดตัวของล�ำต้น ท�ำให้พืชผักออกดอกและติดผลดีขึ้น นอกจากนี้ ในสวนจะวางท่อระบบน�้ำแบบสปิงเกอร์และน�้ำหยด นอกจากนั้นแล้วก็สร้างบ่อกักเก็บน�้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง ปลูกหญ้าแฝก เพื่อป้องกันการชะล้างหน้าดิน เพิ่มรายได้เสริมด้วยการเลี้ยงปลาไว้ในบ่อน�้ำ โดยใช้น�้ำหมัก พด.๒ เลี้ยงปลาเพื่อ ลดอัตราการตายและท�ำให้ปลาที่เลี้ยงไว้ได้น�้ำหนักดีอีกด้วย นอกจากนี้ยังลดการใช้สารเคมีในการป้องกันแมลงศัตรูพืช โดยใช้วิธีการกางมุ้งในการผลิตผัก ท�ำปุ๋ยหมักเพื่อควบคุมเชื้อโรคภายในดิน โดยใช้สารเร ่งซุปเปอร์ พด. ๓ ในสวนทุเรียนเพื่อแก้ปัญหาโรครากเน ่าในสวนทุเรียนให้น้อยลง ท�ำให้รากแข็งแรงและเจริญเติบโตได้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยพืชสดในสวนยางพาราโดยหว่านเมล็ดถั่วพุ่ม ทั่วแปลงในอัตรา ๘ กิโลกรัมต่อไร่ หลังถั่วพุ่ม ออกดอก ก็ไถกลบให้ปุ๋ยพืชสดย่อยสลายบ�ำรุงดินต่อไป แนวคิด/ปรัชญาความเชื่อผลจากการหันมาท�ำเกษตรแบบผสมผสานโดยใช้สารอินทรีย์ และวัตถุดิบในท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์เพื่อลดต้นทุน ท�ำให้ชาวบ้านมีความเป็นอยู่ดีขึ้นมาก โดยเปรียบเทียบได้จากที่ เมื่อก่อนปลูกผัก ๑ ไร่ จะมีต้นทุนค่าปุ๋ย ค่าเมล็ดพันธุ์ค่าแรง ถึง ๑๒,๐๐๐ บาท แต่หลังจากที่ชาวบ้านหันมาใช้ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์น�้ำ น�้ำส้มควันไม้ที่ผลิตเอง ท�ำให้สามารถลดต้นทุนเหลือแค่ ๙,๕๐๐ บาท/ ไร่ ผลงานที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน นายสุพจน์ถือว่าเป็นเกษตรกรตัวอย่าง ที่ท�ำเกษตร โดยวิธีการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์โดยการใช้ปุ๋ยหมัก พด.๑ และปุ๋ยอินทรีย์น�้ำมาบ�ำรุงดิน โดยใช้ปุ๋ยหมักในอัตรา ๑.๕ กิโลกรัมต่อตารางเมตร โดยหว่านทั่วพื้นที่บริเวณแปลงผัก แล้วสับกลบเล็กน้อยเพื่อให้คลุกเคล้ากับดิน ในส่วนของ ปุ๋ยอินทรีย์น�้ำที่ได้จากการหมักผลไม้และผักจะน�ำไปฉีดพ่นที่ใบและล�ำต้น ๑๐ วันต่อครั้ง หรือรดลงดินบริเวณทรงพุ่ม โดยผสมปุ๋ยอินทรีย์เข้มข้น ๑ ลิตรต่อน�้ำสะอาด ๓๐๐ ลิตร รด ๑๐ วันต่อครั้ง เพื่อเร่งการเจริญเติบโตของพืชผัก เพิ่มการขยายตัวของใบและยืดตัวของล�ำต้น ท�ำให้พืชผักออกดอกและติดผลดีขึ้น นอกจากนี้ในสวนจะวางท่อระบบ น�้ำแบบสปิงเกอร์และน�้ำหยด นอกจากนั้นแล้วก็สร้างบ่อกักเก็บน�้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง ปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันการชะล้าง หน้าดิน เพิ่มรายได้เสริมด้วยการเลี้ยงปลาไว้ในบ่อน�้ำ โดยใช้น�้ำหมัก พด.๒ เลี้ยงปลาเพื่อลดอัตราการตายและท�ำให้ ปลาที่เลี้ยงไว้ได้น�้ำหนัก แนวทางการใช้ชีวิตด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทุกวันนี้พอใจและมีความสุขกับชีวิตเป็นอย่างมาก เพราะสิ่งที่พวกเราท�ำมาทั้งหมดนั้น ท�ำให้ช่วยลดต้นทุนในการผลิต เกษตรกรมีความรู้เพิ่มมากขึ้น ชาวบ้านที่นี่ลดการใช้สารเคมีลงไปมาก อยู่กันแบบ เศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชด�ำริของในหลวงที่บอกว่า ปลูกทุกอย่างที่กินได้เหลือกินก็ขายเป็นรายได้ อีกอย ่างให้ท ่องคาถานี้ให้ขึ้นใจว ่าต้องรู้จัก “ขยัน ประหยัด อด ออม” ถ้าครอบครัวไหนยึดหลัก ๔ ข้อนี้ได้ ผมรับรองว่าไม่ยากจนครับ” นายสุพจน์บอกทิ้งท้ายด้วยรอยยิ้ม


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 187 ๒.๕.๕ นายเลื่อน พรมวี : ศูนย์เรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจชุมชน นายเลื่อน พรมวีเกิดวันที่ ๒๘ เดือน.ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ อายุ๖๓ ปีอยู่บ้านเลขที่ ๑๖ หมู่ที่ ๙ ต�ำบลสระแก้ว อ�ำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ประวัติการศึกษา ส�ำเร็จการศึกษาระดับชั้น ประถมศึกษาจากโรงเรียนวัดยางงาม และระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.ศ. ๓)จากโรงเรียนวัดเทวดาราม ต�ำบลท่าขึ้น อ�ำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ประวัติครอบครัว บิดานายกัน พรมวีมารดานางจบ พรมวีคู่สมรส นางอุไรวรรณ (คงทน) พรมวีบุตร ๓ คน เป็นผู้จัดตั้งศูนย์เรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเน้นการท�ำสวนแบบผสมผสาน ด้วยการท�ำเกษตร แบบอินทรีย์ชีวภาพ จุดเด่นของสวนนายเลื่อน พรมวี ประกอบด้วยการผลิตมังคุดในฤดูกาลและนอกฤดูกาล การเลี้ยงหมูคอนโด ระบบการปลูกพืชแบบผสมผสาน การใช้เทคโนโลยีระบบน�้ำแบบสปริงเกอร์การใช้เชื้อรา ไตรโคเดอร์มาควบคุมโรคพืช การผลิตน�้ำหมักชีวภาพ และการน�ำหลักวิชาการมาใช้ร่วมกับ ภูมิปัญญาชาวบ้าน องค์ความรู้การจดบันทึกข้อมูลต่างๆเช่น ต้นทุนการผลิต รายได้จากการผลิต ราคาที่ขายได้ตลอดจนการค�ำนวณ ผลตอบแทนที่ได้จากการขายผลผลิต เป็นที่ส�ำคัญ ในการท�ำการเกษตร ซึ่งสวน นายเลื่อน พรมวีได้ท�ำการ จดบันทึกข้อมูลดังกล่าวไว้เป็นลายลักษณ์อักษรที่ชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการผลิตมังคุด ถือได้ว ่าเป็นอีกจุดเด ่นหนึ่งของสวนนายเลื่อน พรมวี แนวคิด/ปรัชญาความเชื่อการเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว ถือเป็นสิ่งที่ส�ำคัญอีกประการหนึ่ง สวนนายเลื่อน พรมวี ได้ด�ำเนินการตามแนวทางของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ ปลูกพืชที่มีความหลากหลายทั้งพืชผักสวนครัวและ พืชเศรษฐกิจหลักโดยเน้นการสร้างรายได้ทั้งแบบรายวัน รายเดือนและรายปี การผลิตมังคุดนอกฤดูบ้านสระแก้ว โดย : นายเลื่อน พรมวี ที่อยู่ : ๑๖ หมู่ที่ ๙ ต�ำบลสระแก้ว อ�ำเภอท่าศาลา มังคุดท่าศาลามีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักทั้งในและต่างประเทศมีลักษณะที่โดดเด่น คือ มีรสชาติ หวาน อมเปรี้ยว ถูกปากคนไทย ผลมีขนาดประมาณ ๘ – ๑๐๐ กรัมต่อผล ๘ – ๑๐ ผลต่อกิโลกรัม ผิวเรียบสีแดง อมส้ม ไม่มียางเนื้อในสีขาวไม่เป็นเนื้อแก้วเหมาะต่อการส่งออกเป็นพืชเศรษฐกิจภายในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ๙ อ�ำเภอ ได้แก่ อ�ำเภอท่าศาลา อ�ำเภอสิชล อ�ำเภอนบพิต�ำ อ�ำเภอพรหมคีรีอ�ำเภอลานสกา อ�ำเภอชะอวด อ�ำเภอร่อนพิบูลย์อ�ำเภอเมือง และอ�ำเภอพระพรหม อ�ำเภอท่าศาลาจะปลูกมากที่ต�ำบลสระแก้ว และค่อนข้าง จะปลูกเป็นส่วนมาก ผลผลิตมังคุดในฤดูกาล จะออกในช่วง กรกฎาคมและสิงหาคม แต่ราคาจะตกต�่ำ ประมาณ กิโลกรัมละ ๓๐ – ๕๐ บาท ดังนั้นการที่มีการผลิตมังคุดนอกฤดูกาลจึงเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกษตรกรมีราย ได้ที่เพิ่มขึ้นและราคาสูงขึ้นตามปัจจัยที่ตลาดต้องการมากกว่าผลผลิตมังคุดตามฤดูกาลที่ปกติมังคุดนอกฤดูกาล


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 188 จะมีราคาสูงกิโลกรัมละประมาณ ๑๒๐ – ๑๘๐ บาท ซึ่งจะออกสู่ตลาดประมาณ เดือนมกราคม ถึง เดือนมีนาคม ท�ำให้มีเงินหมุนเวียนในระบบเป็นจ�ำนวนมาก ขั้นตอนการผลิตมังคุดนอกฤดู ขั้นตอนที่ ๑ : ตัดแต่งกิ่ง(เดือนกุมภาพันธ์)การเตรียมต้นมังคุดให้พร้อมในการออกดอก มีวิธีการ ดังนี้ ๑. สังเกตดูใบของมังคุดจะต้องมีใบกว้างและหนาอยู ่ในระยะเพหลาด (ใบเพหลาด หมายถึง ใบที่ไม่แก่และไม่อ่อน) ๒. กวาดหญ้าบริเวณใต้ทรงพุ่มออกไว้นอกบริเวณทรงพุ่ม ๓. ตัดแต่งกิ่งน�้ำค้างภายในทรงพุ่มและปลายกิ่งให้สูงจากพื้นดิน ๑.๕๐ ถึง ๒.๐๐ เมตร ๔. เปิดยอดสุดออกเพื่อให้แสงเข้าภายในทรงพุ่มได้ซึ่งจะท�ำให้ต้นมีความ แข็งแรง ผลผลิตออกมามีผิวลายน้อย ผลผลิตจะโตกว่าต้นที่ไม่เปิดยอด และมังคุดจะออกดอกก่อน ขั้นตอนที่ ๒ : เปิดตาออก(เดือนมิถุนายน-กรกฎาคม)ตรวจดูความพร้อมของต้นและใบ มังคุดว่ามีความพร้อมที่จะออกดอกหรือไม่ซึ่งมังคุดต้นที่พร้อมจะออกดอกจะต้องมีลักษณะ ดังนี้ ๑. ใบมังคุดใบหนาและเขียวกว้าง ๒. สีใบเหมือนกันทั่วต้นและมีปลายใบเหลือง ๓. ให้น�้ำติดต่อกัน ๓ วัน จึงใส่ปุ๋ย ๔. กวาดใบออกแล้วใส่ปุ๋ยเร่ง สูตร ๘-๒๔-๒๔ / ๙-๒๔-๒๔ / ๑๒-๒๔-๑๒ ต้นละ ๑ กิโลกรัม ๕. ให้ปุ๋ยทางใบ โดยการฉีดพ่นทุก ๗-๑๕ วัน / ครั้ง ให้ชุ่มทั้งรอบทรงพุ่ม ขั้นตอนที่ ๓ : บ�ำรุงดอกและลูก ป้องกันเพลี้ยไฟไรแดง ให้ตรวจดูต้นมังคุด ถ้าต้นพร้อม ออกดอกจะมีลักษณะ ดังนี้ ๑. งดน�้ำและปุ๋ย ๒. ใบร่วงใต้โคนถึง ๗๐ เปอร์เซ็นต์หรือยัง ๓. กิ่งมังคุดเหี่ยวถึงปล้องที่ ๒ หรือยัง ๔. เมื่อปล้องที่ ๒ เหี่ยวมองเห็นชัดเจนแล้ว ให้เราให้น�้ำ ๕๐ เปอร์เซ็นต์ ๕. สังเกตการณ์แตกตาดอกว่ามีจ�ำนวนเท่าไหร่ ถ้าไม่ได้๒๐ เปอร์เซ็นต์ ให้เรางดน�้ำต่อไปอีก ๖. เมื่อดอกออกถึง ๓๐-๔๐ เปอร์เซ็นต์ให้น�้ำสม�่ำเสมอ วันเว้นวัน ๗. ให้สังเกตดูว่าดอกที่ออกมาว่ามียางหรือไม่ถ้ายางออกรอบต้นเกิน ๑๐ ดอก ให้เราใช้ยาเลย ๘. ให้สังเกตลูกหากลูกมีขนาดเท่ากับด้ามของมีดพร้า ให้ใส่ปุ๋ยบ�ำรุง สูตร ๑๓-๑๓-๒๑


หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 189 สรุปตารางการผลิตมังคุดนอกฤดู ๑. เดือนธันวาคม-เดือนมกราคม เป็นช่วงของการเก็บเกี่ยวผลผลิตนอกฤดู ๒. เดือนกุมภาพันธ์ให้ตัดแต่งกิ่งของมังคุดใส่ปุ๋ยและให้น�้ำมากประมาณ ๖๐ % โดยใช้ปุ๋ยชีวภาพควบคู่กับปุ๋ยเคมีที่มีเลขตัวหน้าสูง เพื่อเร่งใบชุดที่ ๑ ชักน�ำให้แตกใบอ่อนหลังเก็บเกี่ยว ๒ อาทิตย์ ๓. เดือนมีนาคม ให้ฉีดยาป้องกันหนอนกัดกินใบและเพลี้ยไฟไรแดง ๔. เดือนเมษายน ใบชุดที่ ๒ มีลักษณะเป็นเพหลาด ในช่วงนี้ให้น�้ำ ใส่ปุ๋ยเร่ง นับเวลาหลังเก็บเกี่ยว ๑๔ - ๑๖ สัปดาห์หรือ ๑๐๐ วันนั่นเอง จากนั้นให้งดน�้ำ ๙ สัปดาห์หรือ ๒ เดือนครึ่ง ๕. เดือนมิถุนายน เมื่องดให้น�้ำ ๙ สัปดาห์จะสังเกตเห็นลักษณะของมังคุดที่แล้ง น�้ำจน กิ่งมังคุด ปล้องที่๒ เหี่ยวถ้าจะเห็นให้ชัดเจนให้ดูที่ใบปลายสุดมีอาการปลายใบตกแล้วให้น�้ำครั้งแรก ประมาณ ๓๐ - ๔๐ มิลลิเมตร พร้อมกับฉีดพ่นปุ๋ยเร่งให้ชุ่มทั้งต้น ถ้าหากมังคุดยังไม่ออกดอกให้รดน�้ำอีกครั้งระยะห่าง ๗ - ๑๐ วัน จ�ำนวนน�้ำที่ให้ประมาณ ๑๗.๕-๒๐ มิลลิลิตร ๖. เดือนกรกฎาคมมังคุดจะออกดอก ๗. ในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนพฤศจิกายนให้น�้ำอย่างสม�่ำเสมอ ๘. ประมาณต้นเดือนกันยายนใส่ปุ๋ยสูตรเสมอเพื่อบ�ำรุงต้นและผล ๙. เดือนกันยายนให้ใส่ปุ๋ยที่มีตัวเลขหลังสูงเช่น ๑๓ - ๑๓ - ๒๑ เพื่อบ�ำรุงผลมังคุด ๑๐. เมื่อเข้าเดือนธันวาคม มีนาคม ก็สามารถเก็บเกี่ยวมังคุดขายได้ซึ่งรวมระยะ เวลาตั้งแต่มังคุดเริ่มออกดอกจนถึงเก็บเกี่ยวผลผลิตใช้ระยะเวลาประมาณ ๖ เดือน


Click to View FlipBook Version