ก
คำนำ
คู่มือนี้เป็นเอกสารส่วนหนึ่งในโครงการวิจัยการทดลองใช้กรอบสมรรถนะผู้เรียนระดับ
ประถมศึกษาปีที่ 4-6 สำหรับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
ร่วมกับคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการจัดทำ
แนวทางการนำกรอบสมรรถนะหลักของผู้เรยี นระดบั ประถมศึกษาปที ี่ 4-6 สำหรับหลกั สตู รการศึกษา
ขั้นพื้นฐานสู่การพัฒนาผู้เรียน พร้อมทั้งนำกรอบสมรรถนะหลักของผู้เรียนดังกล่าวลงสู่การปฏิบัติใน
สถานศึกษา และจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายในการขับเคลื่อนการนำกรอบสมรรถนะหลักของผู้เรียน
สำหรับหลกั สตู รการศกึ ษาขั้นพนื้ ฐานสูก่ ารปฏบิ ตั ิต่อไป
ในการนี้ เพื่อให้การวิจัยบรรลุตามวัตถุประสงค์กล่าวคือเพื่อให้ได้แนวทางการนำกรอบ
สมรรถนะของผู้เรียนระดบั การศึกษาขัน้ พน้ื ฐานไปใช้ในสถานศึกษาระดับประถมศึกษาได้อย่างแท้จริง
คณะผู้วิจัยและคณะทำงานจึงได้คดั เลือกสถานศกึ ษากลมุ่ เป้าหมายเขา้ รว่ มโครงการวจิ ัยเพ่ือทดลองใช้
กรอบสมรรถนะในการพัฒนาผู้เรียนในโรงเรียนของตน และไดด้ ำเนินการจดั ทำคู่มือฉบับน้ีเพื่อใช้เป็น
ส่วนหนึ่งในการสร้างความรู้ความเข้าใจและให้แนวปฏิบัติที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมแก่ครูและผู้บริหารใน
โรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย โดยอาศัยข้อมูลสำคัญจากคู่มือการนำกรอบสมรรถนะหลักของผู้เรียนระดับ
ประถมศึกษาปีที่ 1-3 ไปใช้ และการศึกษาค้นคว้าเอกสาร งานวิจัย มาจัดระบบและเสนอแนวทาง
เพ่ิมเติม ประกอบกับการแก้ไขเพม่ิ เติมอีกครง้ั ภายหลังส้ินสุดโครงการจากผลการสังเคราะห์ข้อมูลจาก
ผลการวิจัยในครั้งนี้ ซึ่งทำให้ได้แนวทางและข้อมูลอันเป็นประโยชน์ที่ช่วยเติมเต็มให้คู่มือฉบับนี้
มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าคู่มือนี้จะเป็นต้นทุนทางความรู้และความคิดที่สำคัญ
ในการนำพาครผู สู้ อนก้าวผ่านแนวทางการจัดการเรยี นการสอนทีค่ ุ้นชินในปจั จุบันสู่การเรียนการสอน
ฐานสมรรถนะในอนาคตได้อยา่ งมน่ั ใจ
คณะผู้วิจัยขอขอบคุณสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาในการสนับสนุนอันดียิ่ง ขอกราบ
ขอบพระคณุ รองศาสตราจารย์ ดร.ทิศนา แขมมณี ท่ปี รกึ ษา ขอขอบพระคณุ นกั วิจัยร่วม คณะทำงาน
และวิทยากร ท่านผู้บริหารและคณะครผู ้รู ่วมโครงการ ตลอดจนผมู้ สี ่วนเก่ยี วขอ้ งทกุ ท่านไว้ ณ ทน่ี ี้
คณะผวู้ ิจยั ในโครงการผลการทดลองใชก้ รอบสมรรถนะผเู้ รียน
ระดับประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 สำหรบั หลกั สตู รการศึกษาขนั้ พนื้ ฐาน
ข
สารบัญ
หน้า
คำนำ .............................................................................................................................................................. ก
สารบญั ........................................................................................................................................................... ข
สารบัญภาพ .....................................................................................................................................................ง
สารบัญตาราง ................................................................................................................................................. จ
ตอนท่ี 1 บทนำ............................................................................................................................................. 1
การดำเนินการพฒั นากรอบสมรรถนะหลกั ของผู้เรยี นสำหรบั หลักสตู รการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน ....................... 3
ตอนท่ี 2 กรอบสมรรถนะหลักของผูเ้ รียนระดับการศกึ ษาขั้นพื้นฐาน ฉบบั แกไ้ ขเพม่ิ เติม มถิ ุนายน 256410
กรอบสมรรถนะหลกั ของผ้เู รียนระดับการศกึ ษาขนั้ พ้นื ฐาน ....................................................................... 11
สมรรถนะหลกั สำคัญ ................................................................................................................................ 13
สมรรถนะในความฉลาดรู้พ้นื ฐาน (Competencies in Basic Literacy).................................................. 16
ค่านิยมร่วมและคุณธรรม .......................................................................................................................... 18
แนวทางการนำกรอบสมรรถนะหลักของผู้เรียนระดับการศึกษาขน้ั พ้ืนฐาน สูก่ ารพัฒนาผู้เรียน
ในสถานศกึ ษา........................................................................................................................................... 21
ตอนที่ 3 การนำกรอบสมรรถนะหลกั ผูเ้ รยี นระดับการศึกษาขั้นพน้ื ฐานไปใช้ในการออกแบบหลกั สตู ร
สถานศึกษาและการจดั การเรยี นการสอน.................................................................................................... 24
การนำกรอบสมรรถนะสำหรับผเู้ รยี นระดับการศึกษาข้ันพ้ืนฐานไปใชใ้ นการออกแบบหลกั สตู ร
สถานศกึ ษา............................................................................................................................................... 25
การเช่ือมโยงกรอบสมรรถนะสำหรบั ผเู้ รียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สู่การจัดการเรียนการสอน ........... 35
ห้ามเผยแพร่ คัดลอก จัดทำสำเนา และอา้ งองิ โดยไม่ไดร้ ับอนุญาต
ค
ตอนที่ 4 หลักการและแนวทางการออกแบบการจดั การเรียนรู้บนฐานสมรรถนะ ...................................... 44
การเช่ือมโยงสมรรถนะหลักสำหรับผู้เรียนระดบั การศกึ ษาข้ันพ้ืนฐาน กบั กลุม่ สาระการเรียนรู้.................. 45
แนวทางในการนำสมรรถนะหลกั ระดบั การศกึ ษาขั้นพนื้ ฐานและระดบั ชน้ั ประถมศกึ ษาปีที่ 4-6
สู่การจัดการเรยี นการสอนฐานสมรรถนะ .................................................................................................. 68
กลุ่มที่ 1: การนำกรอบสมรรถนะหลักสู่การพฒั นาผู้เรียนบนฐานหลกั สูตรอิงมาตรฐาน....................... 73
กลมุ่ ที่ 2: การนำกรอบสมรรถนะหลกั สู่การพัฒนาผเู้ รยี นโดยอิงฐานสมรรถนะและ
หลกั สูตรองิ มาตรฐาน........................................................................................................ 86
กลุ่มที่ 3: การนำกรอบสมรรถนะหลักสกู่ ารพัฒนาผู้เรียนบนฐานสมรรถนะ ..................................... 103
ตอนท่ี 5 การประเมนิ สมรรถนะ (Competency-based Assessment) ............................................1455
การประเมินสมรรถนะคืออะไร มลี ักษณะอย่างไร ? .............................................................................1455
การประเมินสมรรถนะทำไดอ้ ย่างไร? มีขนั้ ตอนอย่างไร ใช้วิธีการใดได้บ้าง............................................1477
ตัวอย่างการประเมนิ สมรรถนะ..............................................................................................................1511
ความรูเ้ พม่ิ เติม: การวดั และประเมินผล การจัดการเรียนรูฐ้ านสมรรถนะ ..............................................1600
รายการอา้ งองิ ...........................................................................................................................................1777
รายชอ่ื คณะผจู้ ดั ทำคู่มอื การนำกรอบสมรรถนะหลกั ของผู้เรยี น ระดับประถมศกึ ษาปีท่ี 4-6 ไปใช้ใน
การพัฒนาผเู้ รียน ...................................................................................................................................17979
ห้ามเผยแพร่ คดั ลอก จัดทำสำเนา และอ้างอิง โดยไมไ่ ดร้ บั อนุญาต
ง
สารบญั ภาพ
หน้า
ภาพท่ี 1 กรอบสมรรถนะหลกั ของผ้เู รยี นระดบั การศึกษาขั้นพนื้ ฐาน............................................................. 11
ภาพท่ี 2 สมรรถนะหลักของผู้เรยี นระดับการศกึ ษาข้นั พ้ืนฐาน...................................................................... 13
ภาพที่ 3 สมรรถนะในความฉลาดรู้พ้นื ฐาน (Competencies in Basic Literacy)........................................ 16
ภาพท่ี 4 คา่ นยิ มร่วมและคุณธรรม................................................................................................................ 18
ภาพท่ี 5 ตวั อย่างการเชือ่ มโยงสมรรถนะ “ทักษะการคดิ ข้ันสูงและนวตั กรรม” กับองค์ประกอบ
ของหลักสูตร................................................................................................................................ 30
ภาพที่ 6 แนวทางการจัดการเรียนการสอนฐานสมรรถนะทเ่ี ชอ่ื มโยงกบั รายวชิ าทป่ี รากฎในหลักสตู ร
สถานศกึ ษา.................................................................................................................................. 39
ภาพท่ี 7 ข้ันตอนการออกแบบหลกั สูตรรายวิชาสำหรบั การจดั การเรยี นการสอนฐานสมรรถนะ
ตามแนวทางที่ 1 และ แนวทางท่ี 2.............................................................................................. 40
ภาพท่ี 8 ข้ันตอนการออกแบบหลักสตู รรายวิชาสำหรบั การจัดการเรียนการสอนฐานสมรรถนะ
ตามแนวทางท่ี 3 .......................................................................................................................... 41
ภาพที่ 9 ข้ันตอนการออกแบบหลักสตู รรายวิชาสำหรบั การจดั การเรยี นการสอนฐานสมรรถนะ
ตามแนวทางท่ี 5 7 8 ................................................................................................................... 42
ภาพที่ 10 ขัน้ ตอนการออกแบบหลกั สูตรรายวชิ าสำหรับการจดั การเรยี นการสอนฐานสมรรถนะ
ตามแนวทางท่ี 6 .......................................................................................................................... 43
ภาพที่ 11 รปู แบบของการประเมนิ ผลเพ่ือการเรียนรู้ในช้นั เรียน.................................................................167
ภาพที่ 12 การจัดการเรียนรโู้ ดยใชแ้ นวคดิ การให้ข้อมูลย้อนกลบั ...............................................................175
หา้ มเผยแพร่ คัดลอก จัดทำสำเนา และอ้างองิ โดยไมไ่ ดร้ ับอนุญาต
สารบญั ตาราง จ
หน้า
ตารางที่ 1 ปจั จยั ทเ่ี ก่ยี วขอ้ งสำหรับการพิจารณากำหนดสมรรถนะในหลักสตู รสถานศกึ ษา .......................... 27
ตารางท่ี 2 ตวั อยา่ งโครงสร้างหลกั สูตรสถานศกึ ษาท่ีนำสมรรถนะทักษะการคิดขน้ั สูงและนวตั กรรมไปใช้
ร่วมกับหลักสตู รองิ มาตรฐาน........................................................................................................ 32
ตารางที่ 3 ตวั อย่างโครงสรา้ งหลกั สูตรสถานศึกษาทน่ี ำสมรรถนะทักษะการคดิ ขน้ั สูงและนวัตกรรมไปใช้
รว่ มกับหลกั สูตรท่ีอิงบรบิ ทเป็นฐาน.............................................................................................. 33
ตารางท่ี 4 การเปรียบเทียบลักษณะของการจดั การเรียนการสอนแบบฐานสมรรถนะและแบบดัง้ เดิม
(สจุ ติ รา ปทมุ ลงั การ์, 2552)......................................................................................................... 69
ตารางท่ี 5 การเปรียบเทียบแนวทางการจัดการเรียนการสอนและการวดั ผลประเมินผลแบบดั้งเดมิ
และแบบฐานสมรรถนะ (สจุ ติ รา ปทมุ ลงั การ์, 2552) ................................................................... 69
ตารางท่ี 6 ระดบั สมรรถนะและคำบรรยายระดบั สมรรถนะ ........................................................................169
ตารางที่ 7 ระดบั ความสามารถและคำบรรยายระดับความสามารถ.............................................................170
ห้ามเผยแพร่ คดั ลอก จัดทำสำเนา และอ้างองิ โดยไม่ไดร้ ับอนุญาต
1
ตอนที่ 1
บทนำ
สืบเนื่องจากการที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมาตรา 258จ. ด้านการศึกษาบัญญัติให้มี
การปฏริ ปู ประเทศดา้ นการศึกษา และมาตรา 261 บญั ญัติให้การปฏริ ปู ตามมาตรา 258จ. ดา้ นการศึกษา และ
ให้มคี ณะกรรมการท่ีมีความเปน็ อิสระคณะหน่ึงที่คณะรฐั มนตรแี ต่งตั้งดำเนินการศึกษาและจัดทำข้อเสนอแนะ
และรา่ งกฎหมายทเี่ กี่ยวข้องในการดำเนินการให้บรรลุเปา้ หมายเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีดำเนนิ การนั้น สง่ ผลให้
มีการแต่งตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษาและคณะอนุกรรมการเพื่อดำเนินการตามภารกิจท่ี
รัฐธรรมนูญได้กำหนดไว้ หลังจากที่ได้มีการศึกษาข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับการจัดการศึกษาที่ผ่านมา
คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรปู การศึกษาจึงกำหนดให้ดำเนินการศึกษาหาแนวทางในการปฏิรูปการศึกษา
ด้านการจัดการเรียนการสอน โดยให้ดำเนินการครอบคลุมประเด็นการปฏิรูปด้านหลักสูตรการเรียนการสอน
และการประเมินผล รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้เกี่ยวข้องเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว
จากผลการศึกษาและการรับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องในจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ รวมทั้งการศึกษา
ดูงานในโรงเรียนและสถานศึกษาต่างๆ ทำให้คณะอนุกรรมการด้านการจัดการเรียนการสอนได้ข้อมูล
ความคิดเห็น แนวทางและข้อเสนอแนะจำนวนมาก โดยมีประเด็นปัญหาสำคัญดังนี้ 1) ด้านหลักสูตร พบว่า
การที่หลกั สูตรแกนกลางการศึกษาข้ันพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้กำหนดใหเ้ ด็กระดบั ประถมศึกษาตอนตน้
(ป. 1 – 3) ต้องเรียน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้โดยมีตัวชี้วัดจำนวนมากนั้น ทำให้เกิดปัญหาแก่ครูและเด็ก
ครูจำเป็นต้องเร่งสอน จึงทำให้ผู้เรียนไม่ประสบความสำเร็จในการเรียน ไม่มีความสุขในการเรียนและเกิดผล
กระทบอื่นๆ ตามมา ครูจำนวนมากเห็นว่าควรลดสาระการเรียนรู้ใหน้ อ้ ยลงและให้เวลากับการพัฒนาการอา่ น
ออกเขียนได้ คิดเลขเป็น เพราะเป็นฐานที่สำคัญของการเรียนรู้ในเรื่องอื่นๆ นอกจากนั้น ตามหลักพัฒนาการ
เด็ก เด็กระดับประถมศึกษาตอนต้น (อายุ 6 – 9 ปี) นั้นอยู่ในช่วงรอยเชื่อมต่อระหว่างเด็กปฐมวัย (0 – 8 ปี)
และประถมศึกษา ซึ่งเป็นช่วงทีเ่ ดก็ อยู่ในระหว่างการปรับตัว จึงควรมีการปรับหลกั สตู รและการเรียนการสอน
ให้มีความยืดหยุ่นสูง เพื่อช่วยให้ครูสามารถพัฒนาเด็กที่มีความพร้อมแตกต่างกันมากในช่วงวัยนี้ได้พัฒนาไป
ตามลำดับขั้น โดยเฉพาะเด็กในเขตพื้นที่หา่ งไกลทีม่ ีความแตกต่างกันหลากหลายทางด้านภูมิสังคมและบริบท
2) ด้านการเรียนการสอน พบว่า ครูยังจัดการเรียนการสอนที่เน้นการให้เนื้อหาความรู้เป็นหลัก การสอนของ
ครูยังไปไมถ่ ึงการชว่ ยให้ผ้เู รยี นเกิดความเข้าใจและเกดิ สมรรถนะทตี่ ้องการ ผเู้ รียนยงั ไมส่ ามารถนำความรู้ไปใช้
ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน 3) ดา้ นการวัดและประเมินผล พบว่า การวดั และประเมนิ ผลทำใหค้ รูต้องเร่ง
สอน ผู้เรียนจำนวนไมน่ ้อยไมป่ ระสบความสำเร็จในการเรยี นและขาดความสุขในการเรียน รวมทงั้ การประเมิน
โรงเรยี นดว้ ยเครื่องมือและมาตรฐานเดยี วกันหมด ทำให้เกดิ ความไม่เปน็ ธรรมโดยเฉพาะกับโรงเรียนที่มีบริบท
และปจั จยั สนบั สนนุ ท่ไี ม่เออื้ ต่อการพฒั นา
หา้ มเผยแพร่ คดั ลอก จัดทำสำเนา และอา้ งองิ โดยไมไ่ ดร้ บั อนญุ าต
2
ในการปฏิรูปการเรียนการสอน นอกจากจะต้องแสวงหาแนวทางแก้ปัญหาดังกล่าวแล้ว ยังต้อง
คำนึงถึงความต้องการของสังคม ประเทศ และโลกในยุคปัจจุบันและอนาคตท่ีมีการเปล่ียนแปลงอย่างรวดเร็ว
ในทกุ ๆ ดา้ น โดยเฉพาะการเปลีย่ นแปลงดา้ นเทคโนโลยที ส่ี ่งผลต่อวถิ ีชีวิตรอบดา้ น เดก็ ไทยในปัจจบุ นั ตอ้ งการ
ความรู้ทักษะและสมรรถนะชุดใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิม จึงเป็นหน้าที่ของการศึกษาที่จะต้องตอบสนอง
ความต้องการดังกล่าวรวมไปถึงการตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ชาติในการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ
โดยเฉพาะทางด้านเศรษฐกิจที่ต้องการให้ประเทศไทยเข้าสู่ความเป็นไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งต้องการพลเมืองที่มี
ความสามารถในการคิดสร้างสรรค์และผลติ นวตั กรรมได้
จากประเด็นปัญหาและความต้องการข้างต้นคณะอนุกรรมการด้านการเรียนการสอนจึงเห็นควรให้มี
การจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายเสนอต่อคณะรัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มีการพิจารณาดำเนินการ
ปรับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ให้มุ่งเน้นการพัฒนาผู้เรียนให้เกิดสมรรถนะ
ชุดใหม่ที่เหมาะสมกับยุคสมัยและแนวโน้มอนาคต เพื่อให้เห็นแนวคิดและแนวทางในการดำเนินการตาม
ข้อเสนอเชงิ นโยบายอย่างเป็นรูปธรรม คณะอนุกรรมการดา้ นการเรียนการสอนจึงจัดให้มีคณะทำงานวางแผน
พัฒนากรอบสมรรถนะหลกั สูตรการศกึ ษาข้ันพื้นฐานขึ้นเพือ่ ดำเนินงานดังกล่าว ซึ่งคณะทำงาน ฯ ได้พิจารณา
แล้ว เห็นควรให้ดำเนินการในลักษณะของโครงการวิจัยเพื่อพัฒนากรอบสมรรถนะหลักของผู้เรียนในระดับ
ประถมศึกษาตอนต้น (ป. 1 – 3) เป็นการนำร่อง เพราะระดับนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่เป็นฐานสำคัญในการเรียนรู้
ของผู้เรียน และเป็นระดับที่ควรมีการลดสาระการเรียนรู้และปรับหลักสูตรให้มีความยืดหยุ่นเพื่อตอบสนอง
ความแตกต่างที่หลากหลายของผู้เรียนและบริบท รวมทั้งให้สอดรับกับพัฒนาการของเด็กในช่วงรอยเชื่อมต่อ
ระหว่างปฐมวัยและประถมศึกษา ผลการศึกษาวิจัยตามโครงการจะช่วยให้ได้กรอบสมรรถนะหลักของผู้เรียน
ในระดับประถมศึกษาตอนต้น (ป. 1 – 3) รวมทั้งแนวทางในการพัฒนาผู้เรียนให้เกิดสมรรถนะดังกล่าว เพื่อ
นำเสนอตอ่ คณะรัฐมนตรแี ละหน่วยงานทเ่ี กย่ี วข้องได้พิจารณาดำเนินการตอ่ ไป
หา้ มเผยแพร่ คดั ลอก จัดทำสำเนา และอา้ งอิง โดยไมไ่ ดร้ ับอนญุ าต
3
การดำเนนิ การพัฒนา
กรอบสมรรถนะหลักของผูเ้ รยี น
สำหรบั หลักสตู รการศกึ ษาข้ันพ้นื ฐาน
จากแนวคิดดังกล่าวทำให้การพัฒนากรอบสมรรถนะหลักของผู้เรียนสำหรับหลักสูตรการศึกษาข้ัน
พน้ื ฐานดำเนินการมาอยา่ งตอ่ เนือ่ งโดยการดำเนินการนั้นมี 2 ชว่ งสำคญั ดังนี้
ช่วงที่ 1 การทำงานพัฒนากรอบสมรรถนะหลักของผู้เรียนระดับประถมศึกษาปีท่ี
1-3 สำหรับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดการศึกษา
ฐานสมรรถนะ
การทำงานในช่วงนี้เป็นการทำงานช่วงแรกที่เกิดขึ้นในการจัดทำกรอบสมรรถนะหลักของผู้เรียน
ระดับการศึกษาขน้ั พน้ื ฐานคณะทำงานได้ดำเนินการโดยยดึ หลักสำคญั 6 ประการ ดังนี้ 1) ตอบสนองนโยบาย
ระดับชาติ อาทิ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ยุทธศาสตร์ชาติ แผนปฏิรูปประเทศด้านต่าง ๆ นโยบาย
และแผนการศึกษาชาติ และมาตรฐานการศึกษา 2) มุ่งเตรียมผู้เรียนให้มีความรู้ ทักษะ คุณลักษณะ และ
สมรรถนะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพในโลกปัจจุบันและอนาคตที่มีการเปลี่ยนแปลง
อย่างรวดเร็ว 3) ส่งเสริมการใช้ศาสตร์พระราชา รวมทั้งพระราโชบายที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10
ได้พระราชทานแก่รัฐบาลและประชาชน 4) ให้ความสำคัญกับการดำรงรักษาความเป็นไทยในโลกสากล
การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ศาสนา ความดีงาม และความเป็นชาติไทย 5) ให้มีความเหมาะสมกับผู้เรียน
ตามหลักพัฒนาการ และสามารถตอบสนองความแตกต่างที่หลากหลายของผู้เรียน วิถีชีวิต ภูมิสังคม และ
บริบท และ 6) มงุ่ พัฒนาคุณภาพการศกึ ษาใหไ้ ด้มาตรฐานสากล
สำหรบั กระบวนการพัฒนากรอบสมรรถนะและการนำสมรรถนะสูก่ ารพฒั นาผเู้ รยี นมกี ารดำเนินการ
10 ขน้ั ตอนดงั นี้
1. ศกึ ษาแนวคดิ หลกั การทเ่ี ก่ยี วข้องจากเอกสารและงานวิจยั ทเี่ ก่ียวข้องเก่ียวกับประเด็นที่เก่ียวข้อง
ทั้งความหมายของสมรรถนะ หลักสูตรสมรรถนะ แนวทางการพัฒนาสมรรถนะ การนำสมรรถนะไปใช้
ตัวอย่างหลักสตู รฐานสมรรถนะของประเทศตา่ งๆ ครอบคลุมทุกภมู ิภาค และหลกั สูตรประเภทตา่ ง ๆ
2. ศึกษาข้อมูลและแนวคิดพื้นฐานที่เกี่ยวข้องที่นำมาใช้ในการกำหนดกรอบสมรรถนะ โดยเฉพาะ
ศาสตร์พระราชา พระราโชบายที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 พระราชทานแก่รัฐบาลและประชาชน
นโยบายระดับชาติ ได้แก่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ยุทธศาสตร์ชาติ แผนปฏิรูปประเทศด้านต่าง ๆ
นโยบายและแผนการศึกษาชาติ และมาตรฐานการจัดการศึกษา บริบทด้านต่างๆ องค์ความรู้ ทักษะ
ห้ามเผยแพร่ คดั ลอก จัดทำสำเนา และอ้างอิง โดยไมไ่ ดร้ บั อนญุ าต
4
ค ุ ณ ล ั ก ษ ณ ะ แ ล ะ ส ม ร ร ถ น ะ ท ี ่ จ ำ เ ป ็ น ต ่ อ ก า ร ด ำ ร ง ช ี ว ิ ต อ ย ่ า ง ม ี ค ุ ณ ภ า พ ใ น โ ล ก ป ั จ จ ุ บ ั น แ ล ะ อ น า ค ต ท ี ่ มี
การเปลย่ี นแปลงอย่างรวดเร็ว คณุ ภาพการศึกษาระดับมาตรฐานสากล วิถชี ีวติ ภูมสิ ังคม และสาระท่ีเก่ียวข้อง
กับคุณลักษณะในการดำรงรักษาความเป็นไทยในโลกสากล การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ศาสนา ความดีงาม
และความเปน็ ชาติไทย หลกั จติ วทิ ยา พฒั นาการของผเู้ รียน
3. วิเคราะห์ข้อมูล แนวคิดและหลักการ และนำมาใช้ในการกำหนดสมรรถนะหลักท่ีเป็นสมรรถนะท่ี
จำเป็นสำหรับผู้เรียนทุกคนในการเรียนรู้ การทำงานการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพในครอบครัว ชุมชน สังคม
ประเทศและโลก และเปน็ สมรรถนะที่มีลกั ษณะเป็นกลางทีส่ ามารถพฒั นาขา้ มกลมุ่ สาระการเรยี นรตู้ ่างๆ หรือ
นำไปประยุกต์ใช้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ ได้สมรรถนะหลักสำคัญ 10 ด้าน คือ (1) สมรรถนะหลักด้าน
ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร (Thai Language for Communication) (2) สมรรถนะหลักด้านคณิตศาสตร์ใน
ชีวิตประจำวัน (Mathematics in Everyday Life) (3) สมรรถนะหลักด้านการสืบสอบทางวิทยาศาสตร์และ
จิตวิทยาศาสตร์ (Scientific Inquiry and Scientific Mind) (4) สมรรถนะหลักด้านภาษาอังกฤษเพื่อ
การสื่อสาร (English for Communication) (5) สมรรถนะหลักด้านทักษะชีวิตและความเจริญแห่งตน (Life
Skills and Personal Growth) (6) สมรรถนะหลักด้านทักษะอาชีพและการเป็นผู้ประกอบการ (Career
Skills and Entrepreneurship) (7) สมรรถนะหลักด้านทักษะการคิดขั้นสูงและนวัตกรรม (Higher Order
Thinking Skills and Innovation Development (HOTS : Critical Thinking, Problem Thinking,
Creative Thinking)) (8) สมรรถนะหลักด้านการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล (Media, Information
and Digital Literacy : MIDL) (9) สมรรถนะหลักด้านการทำงานแบบรวมพลังเป็นทีม และมีภาวะผู้นำ
(Collaboration Teamwork and Leadership) และ (10) สมรรถนะหลกั ด้านการเป็นพลเมืองตื่นรู้ท่ีมีสำนึก
สากล (Active Citizenship with Global Mindedness)
4. นำสมรรถนะหลัก 10 ด้านสู่การพิจารณาของคณะทำงานจัดทำกรอบสมรรถนะหลักของผู้เรียน
ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในคณะกรรมการอิสระเพื่อปฏิรูปการศึกษาพิจารณาความสำคัญ ภาษาที่ใช้ และ
ความเชื่อมโยง
5. จัดทำร่างคำอธิบายและรายละเอียดสมรรถนะของสมรรถนะหลัก 10 ด้านของผู้เรียนระดับ
การศึกษาขั้นพื้นฐานและนำสู่การพิจารณาของคณะทำงานจัดทำ กรอบสมรรถนะหลักของผู้เรียน ระดับ
การศกึ ษาขั้นพ้นื ฐานในคณะกรรมการอสิ ระเพื่อปฏริ ูปการศึกษา และปรบั ปรุงตามคำแนะนำ
6. จัดทำร่างคำอธิบายและรายละเอียดสมรรถนะของสมรรถนะหลัก 10 ด้าน ของผู้เรียนระดับ
ประถมศึกษาตอนต้น (ป. 1 – 3) และนำสู่การพิจารณาของคณะทำงานจัดทำกรอบสมรรถนะหลักของผู้เรยี น
ระดับการศกึ ษาขั้นพน้ื ฐานในคณะกรรมการอิสระเพ่ือปฏริ ปู การศึกษาและปรับปรุงตามคำแนะนำ
7. นำร่างคำอธิบายและรายละเอียดสมรรถนะของสมรรถนะหลัก 4 ด้าน ของผู้เรียนระดบั การศึกษา
ขั้นพื้นฐาน และผู้เรียนระดับประถมศึกษาตอนต้น (ป. 1 – 3) ได้แก่ (1) สมรรถนะหลักด้านภาษาไทยเพื่อ
การสื่อสาร (Thai Language for Communication) (2) สมรรถนะหลักด้านคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน
(Mathematics in Everyday Life) (3) สมรรถนะหลักด้านการสืบสอบทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์
ห้ามเผยแพร่ คดั ลอก จัดทำสำเนา และอา้ งอิง โดยไม่ไดร้ ับอนุญาต
5
(Scientific Inquiry and Scientific Mind) (4) สมรรถนะหลักด้านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร (English for
Communication) และนำส่กู ารพิจารณาของผูท้ รงคณุ วุฒิ และปรับปรุงตามคำแนะนำ
8. นำร่างกรอบสมรรถนะท่ีเป็นแผนภาพ คำอธิบายและรายละเอียดสมรรถนะของสมรรถนะหลัก 10
ด้าน ของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และคำอธิบายและรายละเอียดสมรรถนะของสมรรถนะหลักของ
ผู้เรียนประถมศึกษาตอนต้น (ป.1 – 3) และนำสู่การพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิ และคณะผู้เชี่ยวชาญด้าน
วิชาการและการพฒั นาหลักสตู รของสำนกั งานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพนื้ ฐาน และปรับปรุงตามคำแนะนำ
9. นำกรอบสมรรถนะสู่การพิจารณาของคณะครูในโรงเรียนสังกัดการศึกษากรุงเทพมหานคร
โรงเรยี นสังกัดสำนกั งานคณะกรรมการการศึกษาขน้ั พ้ืนฐาน และโรงเรียนสงั กัดสำนักการศึกษาเอกชน จำนวน
26 คน และวิเคราะห์เชื่อมโยงกบั มาตรฐานและตวั ช้วี ัดของหลักสตู รแกนกลางการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน
10. ระดมความคดิ จากผ้ทู รงคณุ วุฒิ นกั วชิ าการ คณะครูในโรงเรยี นสงั กัดการศกึ ษากรงุ เทพมหานคร
โรงเรียนสงั กัดสำนกั งานคณะกรรมการการศกึ ษาขนั้ พ้ืนฐาน และโรงเรียนสงั กดั สำนักการศึกษาเอกชน จำนวน
26 คน จัดทำคู่มือ และแนวทางในการทดลองใช้กรอบสมรรถนะหลักของผู้เรียนระดับประถมศึกษาตอนต้น
(ป. 1 – 3) โดยการออกแบบแนวทางในการนำสมรรถนะสู่การพัฒนาผู้เรียน 6 แนวทาง และจัดทำตัวอย่าง
กิจกรรมการเรียนร้ใู นการนำสมรรถนะสู่การพัฒนาผู้เรียน
11. ทดลองใช้กรอบสมรรถนะหลักของผ้เู รยี นระดับประถมศึกษาตอนต้น (ป. 1 – 3) เพ่ือศึกษา
ความเปน็ ไปไดใ้ นการนำกรอบสมรรถนะหลกั ของผู้เรียนระดับประถมศกึ ษาตอนต้น (ป. 1 – 3) ไปใช้ในการ
พัฒนาสมรรถนะผ้เู รียนใน โรงเรยี นสังกัดสำนกั งานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกดั กรงุ เทพมหานคร
สำนักคณะกรรมการสง่ เสรมิ การศกึ ษาเอกชน องค์กรปกครองสว่ นท้องถิน่ และโรงเรยี นสังกดั สำนกั งาน
คณะกรรมการ
การอดุ มศกึ ษา โดยเป็นโรงเรยี นทดลองอย่างเป็นทางการ จำนวน 6 โรงเรยี น และโรงเรียนที่เปน็ เครือขา่ ยรว่ ม
ทดลอง จำนวน 18 โรงเรยี น รวมทง้ั ส้นิ 24 โรงเรียน
ผลการทดลองใช้กรอบสมรรถนะหลักของผู้เรียนระดับประถมศึกษาตอนต้น (ป. 1 – 3) ในการ
พัฒนาสมรรถนะผู้เรียนพบข้อมูลที่น่าสนใจ ดังนี้ 1) กรอบสมรรถนะที่พัฒนาขึ้นมีโครงสร้างองค์ประกอบ
สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ที่เก็บจากนักเรียนทั่วประเทศ 2) แนวทางการจัดการเรียนการสอนฐาน
สมรรถนะ 6 แนวทาง สามารถนำไปใช้ได้ดีในการพัฒนาผู้เรียนให้เกิดสมรรถนะท้ัง 10 สมรรถนะ โดยพบว่า
(1) ครูส่วนใหญ่นำแนวทางที่ 1- 3 ไปใช้ (2) การใช้ 6 แนวทางทำให้ครูออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่ทำให้
ผ้เู รยี นสนุกสนาน ได้ลงมือปฏิบตั ิผ่านสถานการณ์ที่มีความหมายซ่ึงส่งผลต่อผู้เรียน สนใจการเรียน เรียนรู้ได้ดี
ยิ่งขึ้น (3) แนวทางที่ 5 และ 6 จะส่งผลต่อการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงระหว่าง สาระ สมรรถนะต่าง ๆ และทำให้
ผู้เรียนพัฒนาสมรรถนะได้ดี 3) ครูที่ร่วมทดลองส่วนใหญ่ยังคงนำแนวทางการจัดการเรียนการสอนฐาน
สมรรถนะไปใช้อย่างต่อเนื่อง แม้การทดลองจะจบลงเนื่องจากเห็นความเปลี่ยนแปลงในห้องเรียนและผู้เรียน
4) ปัจจัยสำคัญที่เอื้อต่อความสำเร็จในการทำงานของครูเพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้ เรียน มี 3 ประการ
(1) การสรา้ งความเข้าใจสมรรถนะและแนวทางการพฒั นาสมรรถนะแก่ครผู ูส้ อนท่ีชดั เจนในลกั ษณะการเรียนรู้
แบบเชิงรุกที่เชื่อมโยง สอดคล้อง กับบริบทการทำงาน และมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง (2) การสนับสนุน
หา้ มเผยแพร่ คดั ลอก จัดทำสำเนา และอา้ งองิ โดยไมไ่ ดร้ ับอนุญาต
6
ทางวิชาการของผู้บริหาร และนักวิชาการทั้งภายในและภายนอก โดยเฉพาะการให้คำแนะนำเกี่ยวกับ
การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ การเลือกสื่อ/การใช้สื่อ และการวัดและประเมินผล
(3) การเรียนรู้ร่วมกนั ของครูผา่ นชุมชนการเรียนรทู้ างวชิ าชีพ
หลังจากนั้นได้มีการได้เผยแพร่องค์ความรู้ต่าง ๆ ที่เป็นผลจากการวิจัยข้างต้น ท้ังในลักษณะ
การประชุมเชิงปฏิบัติการแก่ผู้สนใจทั้งผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาใน
ระดบั การศกึ ษาขั้นพื้นฐาน และระดบั อุดมศึกษาทว่ั ประเทศเผยแพร่เอกสารจำนวน 13 เลม่ และวีดิทัศน์สร้าง
ความเขา้ ใจ สง่ ผลใหเ้ กิดความตื่นตวั และมผี ู้สนใจเรียนรู้เก่ยี วกบั การจัดการศึกษาฐานสมรรถนะมากข้ึน
ช่วงที่ 2 การทำงานพัฒนากรอบสมรรถนะหลักของผู้เรียนระดับประถมศึกษาปีที่
4-6 สำหรับหลักสตู รการศกึ ษาข้นั พ้ืนฐาน
ต่อมาสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาโดยสำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้
กลุ่มมาตรฐานการศึกษาเห็นว่า การทำงานในส่วนการพัฒนากรอบสมรรถนะยังคงค้างอยู่ จึงได้เชิญ
คณะทำงานชุดเดิมร่วมกับคณะทำงานที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับสมรรถนะด้านต่าง ๆ
ร่วมระดมความคิดในการพัฒนาร่างรายละเอียดกรอบสมรรถนะหลักของผู้เรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6
สำหรับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานต่อเนื่องจากการดำเนินการในช่วงต้น โดยใช้หลักการ 6 ประการ ท่ี
กำหนดไว้เดิม และพิจารณาเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการการเรียนรู้ตามช่วงวัย และมโนทัศน์
สำคัญของแต่ละสมรรถนะ แต่เนื่องด้วยในช่วงปลายปี 2562 มีหน่วยงานต่าง ๆ ให้ความสำคัญกับการร่าง
กรอบสมรรถนะหลักของผู้เรียนเพื่อใช้จัดการศึกษาในบริบทที่แตกต่างกันไป รวมถึงมีการเสนอข้อมูลเชิง
นโยบายในการจัดการศึกษาทั้งการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของชาติและการเสนอร่างพระราชบัญญัติ
การศึกษาแห่งชาติ ดังนั้น เพื่อให้การกำหนดกรอบสมรรถนะหลักของผู้เรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4 -6
สำหรับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นไปอย่างมีประสิทธิผลและครอบคลุมในทุกมิติของการจัดการศึกษา
คณะทำงานจึงได้ดำเนินการวิเคราะห์และทบทวนกรอบสมรรถนะหลักของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กับข้อมูลกรอบสมรรถนะหลักของผู้เรียนและผลลัพธ์ทางการศึกษาของหน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่ (1) มาตรฐาน
การศึกษาของชาติ ในรูปของผลลพั ธท์ ่ีพึงประสงค์ของการศึกษา (Desired Outcomes of Education : DOE)
(2) ร่างกรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ซึ่งเป็น
เอกสารนำเสนอในที่ประชุมคณะกรรมการยกร่างแนวทางการพัฒนาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
วันท่ี 3 มกราคม พ.ศ. 2563 (3) ร่างสมรรถนะหลักผูเ้ รียน (Core Competency) ในโครงการวิจัยเพ่ือค้นหา
และพัฒนาผลลัพธ์ที่คาดหวังต่อผู้เรียนและกรอบสมรรถนะหลักของผู้เรียน (วีรพล วีระโชติวศิน และคณะ,
2562) สนบั สนุนโดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวทิ ยาศาสตร์ วจิ ยั และนวัตกรรม (สกสว.) ซง่ึ เปน็ เอกสาร
นำเสนอในทปี่ ระชุมคณะกรรมการยกรา่ งแนวทางการพัฒนาหลกั สูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพืน้ ฐาน วนั ที่ 6 –
7 ธันวาคม พ.ศ. 2562 (4) สมรรถนะหลักของโรงเรียนรุ่งอรุณ ซึ่งเป็นเอกสารนำเสนอในที่ประชุม
คณะกรรมการยกร่างแนวทางการพัฒนาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน วันที่ 6 – 7 ธันวาคม พ.ศ.
หา้ มเผยแพร่ คดั ลอก จัดทำสำเนา และอา้ งองิ โดยไมไ่ ดร้ บั อนญุ าต
7
2562 (5) เกณฑม์ าตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาระดบั ปวช. 2562 และสมรรถนะย่อยระดบั อาชีวศึกษา และ (6)
ร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ จากการทบทวนและวิเคราะห์ข้อมูลข้างต้น พบว่า มีประเด็นท่ี
สอดคล้อง และแตกต่าง ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการทำงานร่างกรอบสมรรถนะหลักของผู้เรียนระดับ
ประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 ได้อย่างดี แต่เนื่องจากการพัฒนารายละเอียดกรอบสมรรถนะหลักของผู้เรียนมี
ลักษณะต่อเนื่องในแต่ละช่วงชั้น คณะทำงานจึงได้ร่างรายละเอียดกรอบสมรรถนะหลักของผู้เรียนระดับ
มัธยมศึกษาปที ่ี 1 – 3 เพมิ่ เติมดว้ ย
เพื่อให้กรอบสมรรถนะหลักของผู้เรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 สำหรับหลักสูตรการศึกษาข้ัน
พื้นฐานที่จัดทำข้ึนมคี วามสมบูรณย์ ิ่งขึน้ จึงได้ดำเนินการศึกษาความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ
ผู้ใช้งาน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเกี่ยวกับ (ร่าง) กรอบสมรรถนะหลักของผู้เรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4 – 6
สำหรับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานขึ้นโดยมีผู้ให้ข้อมูล 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 23 ท่าน
เป็นผู้ที่สามารถให้ข้อเสนอแนะในภาพรวม ซึ่งเป็นผู้ที่มีความเช่ียวชาญด้านหลักสูตรและการสอน การวัดและ
ประเมินผล พัฒนาการเดก็ และผ้ทู ่มี คี วามเช่ียวชาญในสมรรถนะแตล่ ะดา้ น และกลุม่ ผู้ใชก้ รอบสมรรถนะและ
ผ้เู ก่ียวข้อง จำนวน 61 คน จำแนกเปน็ ผบู้ รหิ าร จำนวน 20 คน ครูผู้สอน จำนวน 30 คน ผูป้ กครองโฮมสคูล
(Home School) จำนวน 2 คน นกั วชิ าการในระดับเขตพ้ืนที่การศึกษา จำนวน 6 คน ซ่งึ มเี กณฑ์ในการเลือก
ในหลากหลายมิติ ดังนี้ 1) เป็นกลุ่มบุคคลที่มีบทบาทในการจัดการศึกษา 2) เป็นผู้ที่ปฏิบัติงานในหน่วยงาน
ครอบคลุมในทุกสังกัด ทั้ง กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัย และนวัตกรรม และ เอกชน 3) เป็นผู้ที่ปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่ที่หลากหลายทั้งโรงเรียนที่ดำเนินการปกติ
และโรงเรียนในพื้นที่นวัตกรรม และ 4) เป็นผู้ที่มีประสบการณ์ตั้งแต่ช่วง 3 ปีแรก ผู้มีประสบการณ์
ในการปฏิบัติงาน มากกวา่ 10 – 20 ปี และผ้ทู ี่เกษียณอายุ
ในการดำเนินการมีขั้นตอนดังน้ี 1) ศึกษารายละเอียด (ร่าง) กรอบสมรรถนะหลักของผู้เรียนระดับ
ประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 สำหรับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) พัฒนาเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล
3) กำหนดกลุม่ ผู้ให้ข้อมูลทั้งผูท้ รงคณุ วฒุ ิ ผู้ใช้กรอบสมรรถนะหลักของผเู้ รียน และผู้เกย่ี วขอ้ ง 4) ประสานงาน
และส่งเครื่องมือให้ผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งทางไปรษณีย์ และทางไปรษณีย์อิเลกทรอนิกส์ (Email) เพื่อให้ผู้ใช้
กรอบสมรรถนะและผู้เกี่ยวข้องพิจารณาประเมิน และแสดงความคิดเห็น 5) จัดประชุมสนทนากลุ่ม
ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้ใช้กรอบสมรรถนะ และผู้เกี่ยวข้องเพื่อวิพากษ์กรอบสมรรถนะหลักของผู้เรียน ทั้งในลักษณะ
การประชมุ แบบเดิม และการประชมุ ผ่านระบบซมู (Zoom) 6) ประมวลข้อมูลความคดิ เหน็ วเิ คราะห์ข้อมูลทั้ง
ข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพ 7) นำข้อมูลมาใช้ในการปรับรายละเอียดของกรอบสมรรถนะหลัก
ผู้เรียน และประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและ 8) จัดทำรายงานผลรายงานผลการศึกษา ความคิดเห็นและ
ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับกรอบสมรรถนะหลักของผเู้ รยี นระดับประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 สำหรับหลักสูตรการศึกษา
ข้นั พื้นฐาน
สำหรับผลการดำเนินการศึกษา ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้ใช้งาน และผู้มี
ส่วนเกี่ยวข้องเกี่ยวกับ (ร่าง) กรอบสมรรถนะหลักของผู้เรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 สำหรับหลักสูตร
หา้ มเผยแพร่ คดั ลอก จัดทำสำเนา และอ้างอิง โดยไมไ่ ดร้ ับอนญุ าต
8
การศึกษาขั้นพื้นฐานที่สำคัญ มีดังน้ี 1) ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้ใช้กรอบสมรรถนะและผู้เกี่ยวข้องส่วนใหญ่มีความ
คิดเห็นว่า สมรรถนะหลักในภาพรวมมีความเหมาะสม คำอธิบายสมรรถนะระดับประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 มี
ความเหมาะสม ครอบคลุมในมโนทัศน์สำคัญของสมรรถนะและมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ โดยมี
ข้อเสนอแนะสำคัญดังนี้ 1) ควรปรับและจัดกลุ่มกรอบสมรรถนะ ให้ลดลงและกระชับ มุ่งเน้นสมรรถนะที่
ประเมินได้จริง 2) ควรกำหนดภาพรวมของผู้เรียนให้ชัดเจนเพื่อให้ผู้ปฏิบัติสามารถมองเห็นภาพผู้เรียนใน
ปลายทางได้ตรงกัน โดยผสานสมรรถนะทั้งที่มุ่งสร้างความเป็นตัวตน (Self) กับ สมรรถนะที่อยู่ร่วมกับสังคม
(Social) เพื่อสร้างให้เกิดความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และควรสอดแทรกคุณธรรม (Moral & Value) ให้เห็น
ชัดเจน 3) ควรมุ่งเน้นการใครค่ รวญไตร่ตรอง (Critical Reflection) เพื่อการเรียนรูต้ ลอดชีวิตและการเรยี นรู้
ข้ันสูง (Deep Learning) ซึ่งหมายถึงรูล้ กึ และรเู้ ชือ่ มโยงรวมทง้ั ควรมงุ่ เนน้ สมรรถนะในอนาคต ไดแ้ ก่ การสร้าง
ความเห็นอกเห็นใจ (Empathy) สร้างค่านิยมหลัก (Core Value) ในการสร้างความเป็นตัวตน และเข้าใจ
ถึงประโยชน์ของความขัดแย้งในการอยู่ร่วมกันในสังคมที่มีความหลากหลาย การชื่นชม (Appreciate)
ความหลากหลายของภาษา และการสร้างสมรรถนะที่รองรับสถานการณ์วิกฤต ( Crisis) ในอนาคต
4) ควรเขียนอธิบายสมรรถนะในรูปแบบของ “Core” ที่กว้างและยืดหยุ่น ผู้ใช้สามารถนำไปเติมแตง่ หรือปรบั
ตามบริบท และเขียนให้ผู้ใช้เข้าใจได้ง่ายที่สุด โดยใช้ภาษาที่ง่าย ไม่ต้องมีการแปลความหรือตีความ เข้าใจได้
ตรงกัน 5) ในการนำกรอบสมรรถนะหลักไปสู่การปฏิบัตินั้นควรเน้นให้เห็นถึงความแตกต่างของกรอบ
สมรรถนะกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด เชื่อมโยงสมรรถนะในรูปแบบของ Learning Area และมุ่งเน้น
การเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติและเชื่อมโยงกับชีวิตจริง ส่วนการวัดและประเมินผลควรผ่านการสะท้อนคิด
จากการปฏบิ ตั ผิ ่านช้ินงาน มีการพัฒนาครูใหม้ ีความเข้าใจในสมรรถนะแตล่ ะระดับท่ีตรงกัน สามารถออกแบบ
การเรยี นรู้ได้ และ 6) ควรเปดิ โอกาสให้ผเู้ กย่ี วขอ้ งมสี ว่ นรว่ มในการทำงาน
จากความคิดเห็นและข้อเสนอแนะดังกล่าวส่งผลให้มีการปรับกรอบกรอบสมรรถนะหลัก
10 สมรรถนะ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นสมรรถนะสำคัญในการพัฒนาเด็กและเยาวชนไทยในช่วงเวลา
12 ปี ในการศึกษาสู่การพัฒนากรอบสมรรถนะหลักที่สำคัญ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อพัฒนาคุณภาพ
เด็กไทยที่มีคุณลักษณะของคนไทยที่ต้องการ คือ คนไทยที่ดี มีคุณธรรม และมีความสุข คนไทยที่มี
ความสามารถสูง และพลเมืองไทยที่ใส่ใจสังคมและมีจิตสำนึกสากล บนพื้นฐานการเป็นคนไทยที่ฉลาดรู้
มคี า่ นยิ มร่วมและคุณธรรม โดยการจัดกลุ่มบูรณาการสมรรถนะหลักของผู้เรียน 10 สมรรถนะ ไว้ในสมรรถนะ
หลักระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (Core Competencies of Learners at Basic Education) ที่ประกอบด้วย
สมรรถนะหลักสำคัญ 7 สมรรถนะ ประกอบไปด้วย (1) สมรรถนะหลักด้านทักษะชีวิตและความเจริญแห่งตน
(Life Skills and Personal Growth) (2) สมรรถนะหลกั ด้านทักษะอาชีพและการเปน็ ผปู้ ระกอบการ (Career
Skills and Entrepreneurship) ซึ่งเป็นสมรรถนะที่ช่วยให้เดก็ และเยาวชนเปน็ คนไทยท่ีดี มีคุณธรรม และมี
ความสุข ส่วน (3) สมรรถนะหลักด้านการคิดขั้นสูงและการพัฒนานวัตกรรม (Higher-Order Thinking Skills
and Innovation Development) (4) สมรรถนะหลักด้านการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล (Media
Information and Digital Literacy) (5) สมรรถนะหลักด้านการสื่อสาร (Communication) เป็นสมรรถนะ
ที่ช่วยให้เด็กและเยาวชนเป็นคนไทยที่มีความสมารถสูง สำหรับ (6) สมรรถนะหลักด้านการทำงานแบบรวม
ห้ามเผยแพร่ คัดลอก จัดทำสำเนา และอ้างองิ โดยไมไ่ ดร้ ับอนญุ าต
9
พลังเป็นทีมและมีภาวะผู้นำ (Collaboration, Teamwork and Leadership) และ (7) สมรรถนะหลักด้าน
การเป็นพลเมืองตื่นรู้ที่มีสำนึกสากล (Active Citizenship with Global Mindedness) เป็นสมรรถนะที่ช่วย
ให้เด็กและเยาวชนเป็นพลเมืองไทยที่ใส่ใจสังคมและมีจิตสำนึกสากล ทั้งนี้สมรรถนะหลักระดับการศึกษาข้ัน
พนื้ ฐาน 7 สมรรถนะ ดังกลา่ วนี้ มพี ืน้ ฐานจากความฉลาดรู้พน้ื ฐาน (Basic Literacy) คา่ นยิ มรว่ มและคุณธรรม
เพ่ือการเปน็ พลเมืองไทยในฐานะพลเมืองโลกทม่ี ีคุณภาพในโลกอนาคต
สำหรับสมรรถนะในความฉลาดรู้พื้นฐาน (Competencies in Basic Literacy) ถือเป็นสมรรถนะ
พื้นฐานที่เป็นเครื่องมือสำคัญในการเรียนรู้ (Learning Tools) สมรรถนะเหล่านี้เป็นสมรรถนะสำคัญซึ่งเป็น
ส่วนหนึ่งของความฉลาดรใู้ นด้านน้ันๆ หรอื เรยี กได้ว่าเป็นความฉลาดรู้ (Literacy) ทต่ี ้องพัฒนาแก่ผู้เรียนให้ถึง
ระดับที่เรียกได้ว่าเป็น "สมรรถนะ" โดยสมรรถนะในความฉลาดรู้พื้นฐาน ประกอบด้วย 4 สมรรถนะ ได้แก่
(1) สมรรถนะหลักด้านภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร (Thai Language for Communication) (2) สมรถนะหลัก
ด้านภาษาอังกฤษ/ ภาษาต่างประทศเพื่อการสื่อสาร (English/ Foreign language for Communication)
(3) สมรรถนะหลักด้านคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน (Mathematics in Everyday Life) และ (4) สมรรถนะ
หลกั ด้านการสบื สอบทางวิทยาศาสตร์และจิตวทิ ยาศาสตร์ (Scientific Inquiry and Scientific Mind) ในสว่ น
ของค่านิยมร่วมและคุณธรรม ยึดตามที่ระบุอยู่ในมาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561 ซึ่งถือเป็นแก่นและ
รากฐานสำคัญในการแสดงออกซึง่ สมรรถนะต่าง ๆ
เพื่อความมั่นใจในการนำกรอบสมรรถนะหลักของผู้เรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 สำหรับ
หลักสตู รการศกึ ษาขน้ั พื้นฐาน ส่กู ารพัฒนาสมรรถนะผูเ้ รยี น ในชว่ งปี 2563 จงึ ได้มกี ารนำกรอบสมรรถนะหลัก
ของผเู้ รียนระดับประถมศึกษาปีท่ี 4 – 6 สำหรับหลักสูตรการศึกษาข้ันพื้นฐาน ไปทดลองใชจ้ รงิ ในสถานศึกษา
กลุ่มตัวอย่าง โดยได้จัดทำแนวทางการนำกรอบสมรรถนะหลักของผู้เรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4 - 6
สำหรับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานสู่การพัฒนาผู้เรียน และสื่อ อุปกรณ์ต้นแบบ เพื่อใช้ในการทดลองใช้
กรอบสมรรถนะหลักของผู้เรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 พร้อมทั้งนำข้อมูลสำคัญที่ได้มาใช้ในการ
ปรับปรุงแนวทางการนำกรอบสมรรถนะหลักของผู้เรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 สำหรับหลักสูตร
การศึกษาข้นั พื้นฐานสูก่ ารพฒั นาผเู้ รยี นฉบับนี้ และจดั ทำขอ้ เสนอเชงิ นโยบายตอ่ ไป
หา้ มเผยแพร่ คดั ลอก จัดทำสำเนา และอ้างองิ โดยไมไ่ ดร้ ับอนุญาต
10
ตอนที่ 2
กรอบสมรรถนะหลกั ของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน
ฉบบั แก้ไขเพ่ิมเติม มิถุนายน 2564
สำนักงานเลขาธกิ ารสภาการศกึ ษา ได้ดำเนนิ การโครงการวจิ ยั และพัฒนากรอบสมรรถนะผู้เรียนระดับ
ประถมศึกษาตอนต้น สำหรับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยเผยแพร่กรอบสมรรถนะหลักระดับช้ัน
ประถมศึกษาปีที่ 1-3 และสมรรถนะระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานแก่หน่วยงานการศึกษาและผู้สนใจ เพื่อนำ
กรอบสมรรถนะหลักไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนกับผู้เรียนในโรงเรียนสังกัดหน่วยงานต่าง ๆ ที่จัด
การศึกษาให้กับนักเรียนในระดับประถมศึกษาตอนต้น ต่อมาในช่วงปลายปี 2562 มีหน่วยงานต่าง ๆ ที่มี
บทบาทในการจัดการศึกษาทุกระดับการศึกษาได้นำกรอบสมรรถนะหลักของผู้เรียน ระดับการศึกษาข้ัน
พืน้ ฐานทีพ่ ฒั นาและเผยแพร่ไปใช้ในการดำเนินการพัฒนาสมรรถนะหลักของผู้เรียนทุกระดบั อย่างต่อเน่ืองเพ่ือ
การจัดการศกึ ษาตามภารกจิ ทไ่ี ดร้ บั มอบหมายตามแนวทางการปฏิรปู การศึกษาของประเทศ
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา โดยสำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้
กลุ่มมาตรฐานการศึกษา เล็งเป็นความสำคัญของการจัดการศึกษาที่ใช้สมรรถนะเป็นฐานที่มีความสำคัญยิ่ง
ต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน คระทำงานจึงได้ดำเนินการพัฒนา (ร่าง) กรอบสมรรถนะหลักของผู้เรยี นระดบั
ประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 สำหรับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานต่อเนื่องจากกรอบสมรรถนะหลักของผู้เรียน
ระดับประถมศึกษาตอนต้น และกรอบสมรรถนะหลัก 10 สมรรถนะของระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดย
การพัฒนาปรับปรุงให้ครอบคลุมในทุกมิติของเป้าหมายการจัดการศึกษา โดยได้ดำเนินการวิเคราะห์และ
ทบทวนกรอบสมรรถนะหลักของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานกับข้อมูล กรอบสมรรถนะหลักของผู้เรียน
และผลลัพธ์ทางการศึกษาเพิ่มเติม ได้แก่ (1) มาตรฐานการศึกษาของชาติ ในรูปของผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของ
การศึกษา (Desired Outcomes of Education : DOE) (2) ร่างกรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
5 สมรรถนะของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน (สพฐ.) และ (3) ร่างสมรรถนะหลักผู้เรียน
(Core Competency) ในโครงการวิจัยเพื่อค้นหาและพัฒนาผลลัพธ์ที่คาดหวังต่อผู้เรียนและกรอบสมรรถนะ
หลักของผู้เรียน ซึ่งสนับสนุนโดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สกสว.)
(4) สมรรถนะหลักของโรงเรียนรุ่งอรุณ (5) เกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาระดับ ปวช. 2562 และ
สมรรถนะยอ่ ยระดับอาชวี ศึกษา และ (6) ร่างพระราชบัญญัติการศกึ ษาแห่งชาติ
จากการทบทวนและวิเคราะห์ข้อมูลตามกระบวนการวิจัยดังกล่าว พบว่า มีประเด็นที่สอดคล้องและ
แตกต่างที่เป็นประโยชนซ์ ึ่งสามารถนำมาใช้ในการพัฒนากรอบสมรรถนะหลักของผูเ้ รียนระดับประถมศึกษาปี
ที่ 4 – 6 ได้เปน็ อยา่ งดี และเนื่องจากการพัฒนารายละเอียดกรอบสมรรถนะหลักของผ้เู รยี นมลี ักษณะต่อเน่ือง
ห้ามเผยแพร่ คดั ลอก จัดทำสำเนา และอ้างองิ โดยไม่ไดร้ บั อนญุ าต
11
ที่เชื่อมต่อสมรรถนะของผู้เรียนทุกระดับช่วงช้ัน คณะทำงานจึงได้จัดทำกรอบสมรรถนะหลักของผู้เรยี นระดับ
มัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3 เพิ่มเติมให้ครบทุกระดับช่วงชั้น เพื่อให้กรอบสมรรถนะหลักของผู้เรียนระดับ
ประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 สำหรับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานที่จัดทำขึ้นมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยวิเคราะห์
และสังเคราะห์ข้อมูลผลการวิจัยที่ได้จากการศึกษาความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้ใช้
หลักสตู รและผู้มสี ่วนเกีย่ วขอ้ ง และนำมาปรบั ปรงุ พัฒนากรอบสมรรถนะการศกึ ษาผเู้ รยี นระดบั ประถมศึกษาปี
ที่ 4 – 6 กรอบสมรรถนะหลักของผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 สำหรับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานให้
เหมาะสมตามกระบวนการวิจัยพัฒนาเพื่อให้ได้กรอบสมรรถนะหลักของผู้เรียนที่มีความเหมาะสมสอดคล้อง
กับพัฒนาการของผู้เรียนแต่ละช่วงวัย ครอบคลุมในมโนทัศน์ที่สำคัญของสมรรถนะ และมีความเป็นไปได้ใน
การนำไปใช้ในทางปฏิบัติสำหรับผู้เรียนทุกระดับตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน รายละเอียดของกรอบ
สมรรถนะหลักฉบบั แก้ไขเพ่มิ เติม มดี งั น้ี
กรอบสมรรถนะหลกั ของผเู้ รยี นระดับการศึกษาข้ันพน้ื ฐาน
ภาพท่ี 1 กรอบสมรรถนะหลักของผูเ้ รียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ห้ามเผยแพร่ คัดลอก จัดทำสำเนา และอา้ งอิง โดยไมไ่ ดร้ ับอนญุ าต
12
กรอบสมรรถนะหลักของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานนี้เป็นสมรรถน ะสำคัญที่เด็กและเยาวชน
ไทยต้องได้รับการพัฒนาในช่วงเวลา 12 ปีของการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อให้ก้าวทันและดำรงชีวิตได้อย่างมี
คุณภาพในโลกแห่งการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ เพื่อให้เด็กไทยมีคุณลักษณะของคนไทยที่สมบูรณ์อันประกอบ
ไปดว้ ย คนไทยที่ดี มีคุณธรรม และความสขุ คนไทยที่มีความสามารถสูง และพลเมอื งไทยท่ใี ส่ใจสังคมและ
มีจิตสำนึกสากล บนพื้นฐานของการเป็นคนไทยที่ฉลาดรู้ ซึ่งมีค่านิยมร่วมและคุณธรรม เป็นพื้นฐาน
สมรรถนะหลักที่สำคัญนี้ประกอบไปด้วย (1) สมรรถนะหลักด้านทักษะชีวิตและความเจริญแห่งตน (Life Skills
and Personal Growth) (2) สมรรถนะหลักด้านทักษะอาชีพและการเป็นผู้ประกอบการ (Career Skills and
Entrepreneurship) ซึ่งเป็นสมรรถนะที่ช่วยให้เด็กและเยาวชนเป็นคนไทยที่ดี มีคุณธรรม และความสุข ส่วน
(3) สมรรถนะหลักด้านการคิดขั้นสูงและการพัฒนานวัตกรรม (Higher-Order Thinking Skills and
Innovation Development) (4) สมรรถนะหลักด้านการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล (Media
Information and Digital Literacy) (5) สมรรถนะหลักด้านการสื่อสาร (Communication) เป็นสมรรถนะที่
ช่วยให้เด็กและเยาวชนเป็นคนไทยท่ีมีความสามารถสูง สำหรับ (6) สมรรถนะหลักด้านการทำงานแบบรวมพลัง
เปน็ ทีม และมีภาวะผนู้ ำ (Collaboration, Teamwork and Leadership) และ (7) สมรรถนะหลกั ดา้ นการ
เปน็ พลเมืองตื่นรู้ที่มสี ำนึกสากล (Active Citizenship with Global Mindedness) เป็นสมรรถนะท่ีช่วยให้เด็ก
และเยาวชนเป็นพลเมืองไทยที่ใส่ใจสังคมและมีจิตสำนึกสากล ทั้งนี้ สมรรถนะดังกล่าวมีพื้นฐานมาจาก
สมรรถนะในความฉลาดรู้พ้นื ฐานและค่านยิ มรว่ มและคุณธรรม เพ่ือการเปน็ พลเมืองไทยในฐานะพลเมืองโลกท่ีมี
คณุ ภาพในโลกอนาคต
หา้ มเผยแพร่ คัดลอก จัดทำสำเนา และอ้างองิ โดยไมไ่ ดร้ ับอนุญาต
13
สมรรถนะหลักสำคญั 7 สมรรถนะ
ภาพที่ 2 สมรรถนะหลกั ของผู้เรยี นระดับการศกึ ษาขน้ั พื้นฐาน
สมรรถนะหลักที่สำคัญของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วยสมรรถนะ 7 ประการ
ไดแ้ ก่
(1) สมรรถนะหลักด้านทกั ษะชีวติ และความเจรญิ แหง่ ตน (Life Skills and Personal
Growth) หมายถึง ความสามารถที่จำเป็นในการใช้ชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพและมีความสุข โดยการน้อมนำ
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้สร้างความสมดุลและพอดีในการใช้ชีวิตอย่างยั่งยืน มีการตระหนักรู้
ตนเอง เข้าใจอารมณ์ความรู้สึกของตนเองและผู้อื่น รู้จุดเด่นและจุดควรพัฒนาของตนและนำมาใช้ใน
การกำหนดเป้าหมายของชีวิต มีทักษะการเรียนรู้และการกำกับตนเอง มีสติสัมปชัญญะ มีคุณธรรม น้อมนำ
หลกั ศาสนาท่ีตนนับถือมาเปน็ เครือ่ งยดึ เหน่ยี วในการดำรงชีวิต กิน อยู่ ดู ฟงั เป็น สามารถปอ้ งกนั ตนเองและ
หลีกเลี่ยงจากภัยต่างๆ บริหารจัดการตนเองและดำเนินชีวิตสู่เป้าหมาย ปรับตัวและฟื้นคืนสภาพอยา่ งรวดเรว็
เมื่อเผชิญกับปัญหาและความเปลี่ยนแปลง สร้างปฏิสัมพันธ์ทีด่ ี พร้อมเกื้อกูล ช่วยเหลือเพื่อน ครอบครัว และ
ผู้เกี่ยวข้อง เพื่อความสุขในการอยู่ร่วมกัน ปฏิบัติหน้าที่ต่อสังคมได้เหมาะสมกับบทบาทและหน้าท่ี
มีการพัฒนาตนเองให้มีชีวิตอย่างสมดุลทุกด้าน ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม สติปัญญา และ
สุนทรียะ มีความพึงพอใจในการใช้ชีวิต นับถือตนเอง พึ่งพาตนเอง และพัฒนาตนเองให้มีสุขภาวะที่ดี
หา้ มเผยแพร่ คดั ลอก จัดทำสำเนา และอ้างองิ โดยไมไ่ ดร้ ับอนญุ าต
14
มีสุนทรียภาพ ชื่นชมความงามของธรรมชาติและศิลปวัฒนธรรม เห็นความสำคัญ มีส่วนร่วมในการรักษา
สืบทอด ส่งตอ่ ทะนบุ ำรุงรักษาวัฒนธรรมใหด้ ำรงสืบทอดตอ่ ไปได้
(2) สมรรถนะหลักด้านทักษะอาชีพและการเป็นผู้ประกอบการ (Career Skills and
Entrepreneurship) หมายถึง ความสามารถของบุคคลที่มุ่งเน้นการสร้างความพร้อมสำหรับการทำงาน
การประกอบอาชีพ และเป็นผู้ประกอบการที่เกื้อกูลสังคม โดยบุคคลต้องรู้จักความถนัด และความสนใจของ
ตนเอง และนำส่กู ารเลือกอาชีพทเี่ หมาะสมกบั ตนเอง การพัฒนาทักษะในการทำงาน การทำงานดว้ ยการพ่ึงพา
ตนเอง ยึดหลักการบริหารจัดการ และการนำหลกั ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการปฏิบัตงิ านดา้ นการเงนิ
เป็นการประกอบการที่เน้นนวัตกรรม การสร้างผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ที่มีคุณภาพสูง มีจรรยาบรรณพร้อม
รบั ผดิ ชอบสงั คม
(3) สมรรถนะหลักด้านการคิดขั้นสูงและการพัฒนานวัตกรรม (Higher Order
Thinking Skills and Innovation Development: HOTS) หมายถึง การคิดที่มีความซับซ้อน
ประกอบด้วยกระบวนการหรือขั้นตอนของการคิดหลายขั้นตอน ในแต่ละขั้นตอนต้องอาศัยทักษะการสื่อสาร
และทักษะการคิดที่เป็นแกนหลายทักษะ เพื่อให้ได้คำตอบหรือบรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการ เช่น การตัดสินใจ
การแก้ปัญหา การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ในที่นี้ กำหนดเป็นสมรรถนะ 5 ด้าน ได้แก่ การสืบสอบ การคิดอย่างมี
วจิ ารณญาณ การคิดแกป้ ญั หา การคดิ สร้างสรรค์ และการพฒั นานวตั กรรม
(4) สมรรถนะหลักด้านการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล (Media Information
and Digital Literacy) คือ ความสามารถในการเข้าถงึ เข้าใจ สร้าง และใช้สื่อสารสนเทศและเทคโนโลยี
ดจิ ทิ ลั เพอ่ื การเรียนรู้และใชเ้ ป็นเครอื่ งมอื ในการเปล่ียนแปลงสงั คมอย่างรู้เทา่ ทนั ตนเอง รู้เท่าทันสือ่ และรู้เทา่
ทันสังคม โดยเฉพาะสือ่ ซงึ่ มกี ารพัฒนาอย่างซับซอ้ น กลายเปน็ สอ่ื หลอมรวม (Convergence) สามารถจำแนก
สมรรถนะของผู้เรียน ตามช่องทางและลักษณะของสื่อได้ 3 ประการคอื 1) การรเู้ ทา่ ทันสอื่ (Media Literacy)
คือ ความสามารถในการอ่านสื่อให้ออก มีทักษะ ในการเข้าถึงสือ่ วิเคราะห์สื่อ ตีความเนื้อหาของส่ือ ประเมิน
คุณค่าและเข้าใจผลกระทบของสื่อ และสามารถใช้สื่อให้เกิดประโยชน์ได้ 2) การรู้เท่าทันสารสนเทศ
(Information Literacy) คือ ความสามารถในการประเมิน เลือกใช้ และสื่อสารข้อมูลในหลากหลายรูปแบบ
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง และเรียนรู้ตลอดชีวิต และ 3) การรู้เท่าทันดิจิทัล (Digital
Literacy) คือ ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เครื่องมือสื่อสาร สื่อออนไลน์ต่าง ๆ เพื่อค้นหาข้อมูล
ประมวลผล และสร้างสรรคข์ อ้ มลู ได้ หลากหลายรูปแบบ
(5) สมรรถนะหลักด้านการสื่อสาร (Communicative Competency) หมายถึง
ความสามารถในการรับสาร การส่งสาร และการแลกเปลี่ยน/ถ่ายทอดขอ้ มูลสารสนเทศ ประสบการณ์ ความรู้
ความคิด ได้ถูกต้องตามโครงสร้างและกฎเกณฑ์ทางภาษาด้วยวัจนภาษา รวมถึงการใช้อวัจนภาษา
ในการส่ือสาร ผา่ นสาร/ขอ้ ความ/ภาพ/สัญลักษณ์ และสามารถเลือกเนื้อหาและกลวิธใี นการสื่อสารในรูปแบบ
หา้ มเผยแพร่ คัดลอก จัดทำสำเนา และอา้ งอิง โดยไม่ไดร้ ับอนญุ าต
15
ต่าง ๆ ได้เหมาะสมตามระดับการสื่อสาร บริบท สังคม วัฒนธรรม บนฐานคุณธรรม จริยธรรม เข้าใจ
ความต้องการในการสื่อสารของตนเอง และเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น สื่อสารได้บรรลุตามวัตถุประสงค์
สอดคล้องกับกาลเทศะ เกิดความราบรื่น สื่อสารอย่างมีวิจารณญาณและสร้างสรรค์เพื่อให้เกิดประโยชน์
ในการพัฒนาตนเองในด้านสติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และก่อประโยชน์แก่สังคม รวมถึงเพื่อสร้างสัมพันธภาพ
ทด่ี กี ับผอู้ ื่นได้อยา่ งมปี ระสิทธภิ าพ
(6) สมรรถนะหลักด้านการทำงานแบบรวมพลังเป็นที ม และมีภาวะผู้นำ
(Collaboration, Teamwork and Leadership) หมายถึง การร่วมกันทำงานตามบทบาทเพื่อให้
บรรลุเป้าหมายที่กำหนดร่วมกัน อีกทั้งส่งเสริม บ่มเพาะความสัมพันธ์ทางบวก โดยผู้เกี่ยวข้องตระหนักใน
การสนับสนุน แบ่งปนั แลกเปลยี่ นความรู้ และความคดิ พรอ้ มสนับสนุนเกื้อกูลกนั ทุกด้าน นอกจากนี้ต้องใส่ใจ
ในการประสานความคิด ประนีประนอม เสนอทางเลือกและแนวปฏิบัติที่ทุกฝ่ายยอมรับ สร้างและรักษา
ความสัมพันธ์ทางบวกกับสมาชิก ส่วนภาวะผู้นำเป็นคุณลักษณะของบุคคลที่สามารถแก้ปัญหาและใช้
มนุษยสัมพันธ์ที่ดีเพื่อชี้แนะแนวทางให้ไปสู่เป้าหมายและสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อื่นได้พัฒนาตนเองและนำ
จดุ เด่นของแตล่ ะคนมาใช้ปฏิบัตงิ านในฐานะสมาชิกกลุ่มท่ดี ี เพอ่ื ใหบ้ รรลผุ ลสำเรจ็ รว่ มกนั
(7) สมรรถนะหลักด้านพลเมืองตื่นรู้ที่มีสำนึกสากล (Active Citizens with Global
Mindedness) หมายถึง การเป็นพลเมืองที่ตระหนักในศักยภาพของตนเอง ศรัทธา และเชื่อเรื่องศักดิ์ศรี
ความเป็นมนุษย์ การอยู่ร่วมกันท่ามกลางความหลากหลาย มีความรู้ ความสามารถเชิงการเมืองที่เอื้อให้
สามารถอยู่ร่วมกันและปกครองกันเอง ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ตระหนกั ในบทบาทและหน้าท่ี สิทธิและเสรภี าพ ความเทา่ เทียมและเป็นธรรม มีความเปน็ เหตเุ ป็นผล มีสำนึก
การเป็นเจ้าของประเทศ ร่วมกันปรึกษาหารือเพื่อแสวงหาแนวทางการแก้ปัญหา/ ความขัดแย้งด้วยสันติวิธี
หรือพฒั นาสร้างสรรคส์ ังคมโดยรวมรว่ มกันในระดับต่างๆ ได้แก่ ชุมชน ท้องถ่ิน ประเทศชาติ อาเซียนและโลก
เห็นความเก่ียวเนอ่ื งเช่ือมโยงทีส่ ่งผลถงึ กนั และกนั ทั้งหมด
สมรรถนะหลักสำคัญทั้ง 7 สมรรถนะนี้มีความสัมพันธ์ สอดคล้อง
เชอ่ื มโยงกับสมรรถนะในความฉลาดรูพ้ นื้ ฐานในลักษณะของการสนับสนนุ ซ่ึงกัน
และกัน และเลื่อนไหล (flow) หากัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของสมรรถนะ
หลักด้านการคิดขั้นสูงและการพัฒนานวัตกรรม และสมรรถนะหลักด้าน
การส่ือสาร
หา้ มเผยแพร่ คัดลอก จัดทำสำเนา และอา้ งองิ โดยไมไ่ ดร้ บั อนุญาต
16
สมรรถนะในความฉลาดรูพ้ นื้ ฐาน (Competencies in Basic Literacy)
ภาพท่ี 3 สมรรถนะในความฉลาดรู้พนื้ ฐาน (Competencies in Basic Literacy)
ในสว่ นของ สมรรถนะในความฉลาดรู้พ้ืนฐาน (Competencies in Basic Literacy) น้นั สามารถ
อธิบายได้ดงั นี้
ความฉลาดรู้พื้นฐาน (Basic Literacy) หมายถึง ความรอบรู้ในศาสตร์/ สาระ/ เรื่องใดๆ ที่เป็น
ความจำเป็นพื้นฐานสำหรับทุกคน เพื่อใช้ในการดำรงชีวิตในสังคม ซึ่งในความฉลาดรู้แต่ละเร่ือง จะประกอบ
ไปด้วย ความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) เจตคติ (Attitude) และคุณลักษณะ (Attribute) ในเรื่องนั้น ๆ
รวมไปถึงสมรรถนะ (Competency) ที่เกิดจากการนำความรู้ ทักษะ เจตคติและคุณลักษณะ ในเรื่องนั้น ๆ
ไปใช้ประโยชน์ในชีวิต ซึ่งจะส่งผลให้การเรียนรู้เกิดเป็นความฉลาดรู้ สมรรถนะในความฉลาดรู้พื้นฐาน
แต่ละเรื่องมีทั้งสมรรถนะเฉพาะที่จำเป็นสำหรบั การเรยี นร้เู ฉพาะเรื่อง และสมรรถนะหลักหรือสมรรถนะท่ัวไป
(Core Competency) ที่สามารถนำไปใชห้ รือนำไปพฒั นาใหแ้ กผ่ ้เู รียนไดใ้ นเร่อื งอ่นื ๆ
หา้ มเผยแพร่ คดั ลอก จัดทำสำเนา และอ้างอิง โดยไมไ่ ดร้ บั อนุญาต
17
ในทางการศึกษา ประเทศไทยจัดใหค้ วามฉลาดรู้ทางภาษา (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) คณิตศาสตร์
และวิทยาศาสตร์ เป็นพ้นื ฐานสำคัญทจ่ี ำเป็นสำหรับผเู้ รยี นทกุ คน
สำหรับสมรรถนะในความฉลาดรูพ้ ื้นฐาน (Competencies in Basic Literacy) นั้นถือเป็นสมรรถนะ
พื้นฐานที่เป็นเครื่องมือสำคัญในการเรียนรู้ (Learning Tools) สมรรถนะเหล่านี้เป็นสมรรถนะสำคัญซึ่งเป็น
ส่วนหนงึ่ ของความฉลาดรู้ในดา้ นนนั้ ๆ หรอื เรียกได้วา่ เป็นความฉลาดรู้ (Literacy) ทต่ี อ้ งพัฒนาแก่ผู้เรียนให้ถึง
ระดับที่เรียกได้ว่าเป็น “สมรรถนะ” โดยสมรรถนะในความฉลาดรู้พื้นฐาน ประกอบด้วย 4 สมรรถนะ ได้แก่
(1) สมรรถนะหลักด้านภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร (Thai Language for Communication) (2) สมรถนะหลัก
ด้านภาษาอังกฤษ/ ภาษาต่างประทศเพื่อการสื่อสาร (English/ Foreign language for Communication)
(3) สมรรถนะหลักด้านคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน (Mathematics in Everyday Life) และ (4) สมรรถนะ
หลักด้านการสืบสอบทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ (Scientific Inquiry and Scientific Mind)
รายละเอียดคำอธิบายสมรรถนะในความฉลาดรู้พ้นื ฐาน มีดงั น้ี
สมรรถนะท่ี 1 ในความฉลาดรพู้ น้ื ฐาน
สมรรถนะหลักดา้ นภาษาไทยเพ่ือการส่ือสาร (Thai Language for Communication) หมายถึง
หมายถึง ความสามารถในการสื่อสารโดยใช้ภาษาไทยเป็นเครื่องมือ ในการรับ แลกเปลี่ยน และถ่ายทอดสาร
ผ่านช่องทางหลากหลายอย่างถูกต้อง เหมาะสม มีวิจารญาณ มีเจตนาที่ดี อยู่บนพื้นฐานของค่านิยมและ
คุณธรรม เพื่อแจ้งข้อมูล รับทราบข้อมูล ให้ความรู้ เรียนรู้ สร้างความเพลิดเพลิน ชักจูง/ โน้มน้าว/ จูงใจ
ตัดสินใจหรือกระทำการใดๆ อันนำไปสู่การสร้างความเข้าใจที่ตรงกัน ชีวิตที่มีคุณภาพ ก่อประโยชน์ให้แก่
ตนเองและสังคม จรรโลงสังคมให้ดีขึ้น รวมถึงการสืบสาน ถ่ายทอดและต่อยอดสิ่งที่ดีงามของภูมิปัญญาและ
วัฒนธรรมไทย โดยใช้การฟัง ดู พูด อา่ นและเขยี น
สมรรถนะที่ 2 ในความฉลาดรพู้ ้นื ฐาน
สมรรถนะหลักด้านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร (English for Communication) หมายถึง
ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร แลกเปลี่ยนและถ่ายทอดข้อเท็จจริง อารมณ์
ความรูส้ ึก ความคิดเห็น และความต้องการ เพอ่ื ให้เกิดความเข้าใจอันดี และสามารถเข้าถงึ ข้อมลู ต่าง ๆ ในโลก
ได้อย่างเสรี มปี ระสทิ ธภิ าพ สร้างสรรค์ เหมาะสมกบั บรบิ ททางสงั คมและวฒั นธรรมท่หี ลากหลาย
ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากล (International Language) สำหรับการสื่อสารกับผู้คนร่วมวัฒนธรรม
และต่างวัฒนธรรม เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งข้อมลู และส่ือตา่ งๆอยา่ งเสรี การมีสมรรถนะภาษาอังกฤษใน
ระดบั ที่สอื่ สารได้ดีช่วยพัฒนาคณุ ภาพชวี ิตของผู้เรยี นในฐานะพลเมืองของประเทศไทยและโลก
สมรรถนะท่ี 3 ในความฉลาดรู้พ้ืนฐาน
สมรรถนะหลักด้านคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน (Mathematics in Everyday Life) หมายถึง
การบูรณาการเนื้อหาสาระของคณิตศาสตร์กับอีกหลาย ๆ สาขาวิชาเข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างมี
ความหมาย เป็นการนำความรู้ไปเชื่อมกับปัญหา สถานการณ์ในชีวิตประจำวันที่ผู้เรียนพบ ทำให้ผู้เรียน
หา้ มเผยแพร่ คัดลอก จัดทำสำเนา และอ้างองิ โดยไมไ่ ดร้ ับอนุญาต
18
มองเห็นความเชื่อมโยงระหว่างคณิตศาสตร์กับโลกที่เป็นจริง เป็นการประยุกต์เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
หรอื ใช้ในการทำงานท่เี หมาะสมตามวัย
สมรรถนะที่ 4 ในความฉลาดรู้พ้ืนฐาน
สมรรถนะหลักด้านการสืบสอบทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ (Scientific Inquiry and
Scientific Mind) หมายถึง ความสามารถในการสืบเสาะหาความรู้โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ อธิบาย
ปรากฏการณร์ อบตัวโดยใช้เครื่องมือหรือวิธีการที่เหมาะสม เชอ่ื มโยงความสัมพนั ธ์ของปรากฏการณ์อย่างเป็น
เหตุเป็นผล แสดงข้อคิดเห็นในการโต้แย้งโดยใช้หลักฐานและเหตุผลประกอบอย่างสมเหตุสมผล และเป็น
ผู้มีคณุ ลกั ษณะหรือลกั ษณะนสิ ยั ของบุคคลท่ีเกดิ จากการศึกษาหาความรดู้ ว้ ยกระบวนการทางวทิ ยาศาสตร์
ค่านิยมรว่ มและคณุ ธรรม
ภาพท่ี 4 ค่านิยมรว่ มและคณุ ธรรม
สำหรับค่านิยมร่วมและคุณธรรม ซึ่งถือเป็นแก่นและรากฐานสำคัญในการแสดงออกซึ่งสมรรถนะ
ต่าง ๆ ในที่นี้ยึดถือตามที่ระบุไว้ในมาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561 ในรูปแบบของผลลัพธ์ท่ี
พงึ ประสงค์ ซงึ่ ไดร้ ะบไุ ว้ว่า คา่ นยิ มร่วม ประกอบไปด้วยความเพยี รอันบรสิ ุทธ์ิ ความพอเพยี ง วถิ ปี ระชาธิปไตย
ความเท่าเทียมเสมอภาค คุณธรรม คือ ลักษณะนิสัยและคุณธรรมพื้นฐานที่เป็นความดีงาม เช่น ความมีวินัย
หา้ มเผยแพร่ คดั ลอก จัดทำสำเนา และอา้ งอิง โดยไม่ไดร้ บั อนญุ าต
19
ความขยัน ความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ ฯลฯ ซึ่งหมายความรวมถึงค่านิยมร่วมและคุณธรรมที่เป็นไปตาม
หลักศาสนา บรรทัดฐาน หรือแนวปฏิบัติที่ชุมชนหรือบริบทนั้นๆ ยึดถือ ค่านิยมร่วมและคุณธรรมนี้ถือเป็น
แก่นและรากฐานสำคัญในการแสดงออกซึ่งสมรรถนะต่าง ๆ
สมรรถนะหลักของผู้เรียนข้างต้นสามารถพัฒนาได้ผ่านการศึกษาสาระวิชาหรือศาสตร์สาขาวิชา
ต่างๆ การกำหนดขอบข่ายการเรียนรู้ การจัดประสบการณ์และกิจกรรม ตลอดจนการเรียนรู้ผ่าน
ประเด็นสำคัญในปัจจุบนั และการเรยี นร้จู ากบริบทตา่ งๆ
หา้ มเผยแพร่ คดั ลอก จัดทำสำเนา และอ้างอิง โดยไมไ่ ดร้ ับอนญุ าต
20
กรอบสมรรถนะหลักของผู้เรียนนี้ยังมิใช่หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็น
เพียงองค์ประกอบหน่ึงของหลักสูตรที่มคี วามสำคญั มากเพราะเปน็ เป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียน ซึ่ง
สามารถนำไปใช้ในการจดั การศกึ ษาข้ันพื้นฐานผ่านการออกแบบหลักสูตรสถานศึกษา การออกแบบ
รายวิชาหรือกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน หรือการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ในระดับการเรียนการสอน
ในชั้นเรยี น ซง่ึ จำเป็นตอ้ งวิเคราะห์เชือ่ มโยงกับหลกั สตู รท่ใี ชอ้ ย่ใู นขณะนนั้
อย่างไรก็ดี กรอบสมรรถนะหลักของผู้เรียนนี้ สามารถนำไปใช้ในการออกแบบหลักสูตรสถานศึกษา
การออกแบบรายวิชาหรือกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน หรือการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ในระดับการเรียน
การสอนในช้ันเรยี นได้ โดยศกึ ษารายละเอียดของคำอธิบายสมรรถนะ ระดบั สมรรถนะ และพฤติกรรมบ่งชี้ของ
แต่ละสมรรถนะ ซึ่งมีที่มาจากการพิจารณาร่วมกันจากทั้ง (1) พัฒนาการของผู้เรียน และ (2) ธรรมชาติและ
ลักษณะเฉพาะของแต่ละสมรรถนะ ให้มคี วามสอดคล้องและเชื่อมโยงกันในทุกระดับ โดยในทน่ี ไี้ ด้จำแนกระดับ
สมรรถนะออกเปน็ 4 ระดับ ได้แก่
ระดบั 1 หมายถงึ ระดับสมรรถนะของผูเ้ รยี นวัยเด็กตอนกลาง อายุ 7 – 9 ปี
ระดับ 2 หมายถึง (เทียบเท่าระดบั ชั้นประถมศกึ ษาปีที่ 1 – 3 ตามหลักสตู รปัจจุบัน)
ระดับ 3 หมายถึง ระดบั สมรรถนะของผูเ้ รียนวยั เดก็ ตอนปลาย อายุ 10 – 12 ปี
ระดบั 4 หมายถึง (เทียบเทา่ ระดบั ช้ันประถมศึกษาปีท่ี 4 – 6 ตามหลักสูตรปัจจุบนั )
ระดบั สมรรถนะของผเู้ รียนวยั รุ่นตอนตน้ อายุ 13 – 15 ปี
(เทียบเทา่ ระดับชั้นมธั ยมศึกษาปีที่ 1 – 3 ตามหลักสูตรปจั จุบนั )
ระดบั สมรรถนะของผเู้ รียนวัยรนุ่ ตอนกลาง อายุ 16 – 18 ปี
(เทียบเทา่ ระดับชั้นมธั ยมศึกษาปที ่ี 4– 6 ตามหลักสูตรปัจจุบัน)
นอกจากนี้ เมื่อนำกรอบสมรรถนะข้างต้นนี้ไปทดลองใช้จริงในสถานศึกษาแล้ว ส่งผลให้ได้แนวทาง
การใช้กรอบสมรรถนะในประเด็นท่ีนา่ สนใจ ดังน้ี
หา้ มเผยแพร่ คดั ลอก จัดทำสำเนา และอา้ งอิง โดยไม่ไดร้ บั อนญุ าต
21
แนวทางการนำกรอบสมรรถนะหลักของ
ผู้เรียนระดบั การศึกษาขั้นพน้ื ฐาน
สู่การพฒั นาผ้เู รยี นในสถานศึกษา
ผู้บริหาร ครู และผู้สนใจสามารถนำรายละเอียดของคำอธิบายสมรรถนะ ระดับสมรรถนะ และ
พฤติกรรมบ่งชี้ของแต่ละสมรรถนะไปใช้เป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนได้ ทั้งในการออกแบบหลักสูตร
สถานศึกษา และในการออกแบบการเรยี นการสอนและการประเมนิ ดงั นี้
การออกแบบหลกั สตู รสถานศึกษา
ผู้สนใจสามารถนำกรอบสมรรถนะนี้ไปใช้ในการออกแบบหลักสูตรสถานศึกษาได้โดยการพิจารณา
กำหนดสมรรถนะในหลักสูตรสถานศึกษา และการเชื่อมโยงการนำกรอบสมรรถนะไปใช้กับองค์ประกอบของ
หลักสูตรดังรายละเอียดในตอนต่อไป ซึ่งสิ่งหนึ่งที่ควรพิจารณาและเกี่ยวพันกับการให้ความสำคัญกับ
การพัฒนาสมรรถนะแก่ผู้เรียนอย่างเป็นองค์รวมก็คือการกำหนดค่าน้ำหนักหรือการจัดสรรเวลาในโครงสร้าง
ของหลักสูตรเพื่อการพัฒนาสมรรถนะต่าง ๆ อาทิ ในกรณีที่สถานศึกษามุ่งเน้นการพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง
และการพฒั นานวตั กรรม ในโครงสรา้ งหลักสูตรก็จะปรากฏการจดั สรรเวลาในรายวิชา กิจกรรม หรือโครงการ
เพื่อพัฒนาสมรรถนะนี้มากกว่าสมรรถนะด้านอื่น ๆ หรือในอีกกรณี หากผู้เรียนในสถานศึกษามีปัญหาหรือ
ต้องการการพัฒนาสมรรถนะในบางสมรรถนะมากกว่าด้านอื่น ๆ เช่น สมรรถนะการสื่อสาร ในโครงสร้าง
หลักสูตรสถานศึกษาก็จะปรากฏการจัดสรรเวลาในรายวิชา กิจกรรม หรือโครงการเพื่อพัฒนาสมรรถนะ
การส่อื สารนีม้ ากกวา่ สมรรถนะด้านอื่นไดเ้ ช่นกัน
นอกจากนนั้ การพจิ ารณากำหนดสัดส่วน/ การให้นำ้ หนกั ของการพฒั นาสมรรถนะในความฉลาดรู้
พื้นฐาน (Competencies in Basic Literacy) ทั้ง 4 สมรรถนะ กับ สมรรถนะหลักของผู้เรียน (Student
Core Competency) ทั้ง 7 สมรรถนะนี้ ควรต้องพิจารณาจัดสัดส่วนให้เหมาะสมกับพัฒนาการตามช่วงวัย
และหลักการในการจัดการศกึ ษาในแต่ละระดับนั้น ๆ อาทิ ในระดับประถมศึกษาตอนต้นทีม่ ุ่งเน้นการส่งเสริม
การรู้พื้นฐาน (Basic Literacy) ก็ควรพิจารณากำหนดค่าน้ำหนักหรือมุ่งเน้นที่การพัฒนาสมรรถนะใน
ความฉลาดรู้พื้นฐานทั้ง 4 ประการก่อนเพื่อให้มีพื้นฐานเพียงพอที่จะเสริมสร้างสมรรถนะหลักทั้ง 7 ประการ
ตอ่ ไป สว่ นในระดบั ประถมศกึ ษาตอนปลายก็ค่อย ๆ เพมิ่ เตมิ การส่งเสรมิ สมรรถนะหลักดา้ นตา่ ง ๆ ให้มากขนึ้
นอกจากน้ี ในส่วนของหลักสูตรระดับมัธยมศึกษา โดยเฉพาะมัธยมศึกษาตอนปลายที่ผู้เรียนสามารถ
เลือกเรียนได้ตามความถนัดและความสนใจเพื่อต่อยอดสู่การศึกษาต่อและการประกอบอาชีพ ก็สามารถ
หา้ มเผยแพร่ คัดลอก จัดทำสำเนา และอ้างองิ โดยไมไ่ ดร้ ับอนญุ าต
22
เพิ่มเติมการมุ่งเน้นการพัฒนา สมรรถนะเฉพาะ (Specific Competency) ซึ่งเป็นสมรรถนะเฉพาะวิชา/
สาขาวิชา ซึ่งลักษณะเป็น “ทักษะ” (Skill) และจำเป็นสำหรับวิชานั้น ๆ เพิ่มเติมให้เหมาะสมกับโปรแกรม
การเรียนของผู้เรียนได้ เช่น ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย จะมีสมรรถนะเฉพาะของวิชา เช่น สมรรถนะ
ด้านการประพันธ์ การเขียนกลอน โคลง ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ มีสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์
โดยเฉพาะ เปน็ ต้น ทง้ั น้ี เมอ่ื ผสู้ อนได้วิเคราะหส์ มรรถนะเฉพาะของศาสตรส์ าขาวชิ าต่าง ๆ เหล่าน้ี ก็จะพบว่า
มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับสมรรถนะหลักที่กำหนดไว้ เช่น สมรรถนะการประพันธ์ที่เป็นสมรรถนะเฉพาะใน
การเรียนวิชาด้านภาษาก็จะมีความสัมพันธ์กับสมรรถนะการสื่อสารที่เป็นสมรรถนะหลักสำคัญประการหนึ่ง
หรือสมรรถนะด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ก็จะมีความเกี่ยวพันอย่างใกล้ชิดกับสมรรถนะการคิดขั้นสูง
เป็นต้น ดังนั้น ในการพัฒนาสมรรถนะเฉพาะก็จะถือว่าเป็นการสมรรถนะหลักไปด้วยพร้อมกัน ขึ้นอยู่กับว่า
ผู้สอนมุ่งเน้นการกำหนดวัตถปุ ระสงค์ การออกแบบกิจกรรม และการประเมินในสมรรถนะด้านใดเปน็ สำคญั
การออกแบบการเรยี นการสอนและการประเมินสมรรถนะ
คำอธิบายสมรรถนะ ระดับสมรรถนะ และพฤติกรรมบ่งชี้ของแต่ละสมรรถนะที่กำหนดไว้ให้นั้น
มีลักษณะกว้างๆ เพื่อให้ครอบคลุมการจัดการศึกษาในบริบทที่แตกต่างหลากหลาย และมีความยืดหยุ่น
ในการนำไปใช้หรือปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับผู้เรียนในสถานศึกษาของตน ตลอดจนอาจมีคำใหม่หรือ
มโนทัศน์สำคัญที่ครูไม่คุ้นเคยและไม่เคยปรากฏในหลักสูตรฉบับเดิมมาก่อน เนื่องจากการจัดทำ
กรอบสมรรถนะนส้ี ่วนหน่งึ มาจากการสังเคราะห์ข้อมูลเก่ยี วกบั ทักษะอนาคตหรือทักษะสำคัญในศตวรรษท่ี 21
ดังนั้น ในการนำกรอบสมรรถนะไปใช้ในการออกแบบการเรียนการสอนและการประเมิน ครูผู้สอนอาจ
จำเป็นต้องศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับมโนทัศน์สำคัญดังกล่าว และพิจารณาออกแบบการเรียนการสอน
ให้เหมาะสมตามบริบทของตนโดยพิจารณาว่าผู้เรียนจำเป็นต้องมีความรู้ ทักษะ หรือคุณลักษณะใดบ้าง ที่จะ
ช่วยสง่ เสริมใหเ้ กดิ สมรรถนะนั้น ๆ ได้ ซึ่งแต่ละสถานศึกษาสามารถกำหนดชุดความรู้ ทักษะ หรือคุณลกั ษณะ
ที่แตกต่างกันได้เช่นเดียวกัน ในส่วนของการวัดและการประเมิน ยังคงจำเป็นต้องออกแบบแนวทาง/ วิธี/
เครื่องมือวัดและประเมินให้เหมาะสมกับสมรรถนะที่ต้องการประเมิน โดยออกแบบเกณฑ์การประเมิน
ให้มีรายละเอียด พฤติกรรมบ่งชี้ และระดับท่ีเหมาะสมกับผู้เรียนในชั้นเรียนหรือสถานศึกษาของตน
ที่อาจมรี ายละเอยี ดแตกตา่ งไปจากสถานศึกษาอื่น ๆ ได้
ดงั รายละเอียดในแนวทางและตวั อยา่ งในตอนตอ่ ไป
ทง้ั น้ี รายละเอยี ดของสมรรถนะหลกั ของผ้เู รียน (Student Core Competency) 7 สมรรถนะ ได้แก่
(1) ทักษะชีวิตและความเจริญแห่งตน (2) ทักษะอาชีพและการเป็นผู้ประกอบการ (3) การคิดขั้นสูงและ
การพัฒนานวัตกรรม (4) การรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล (5) การสื่อสาร (6) การทำงานแบบรวมพลงั
เป็นทีม และมีภาวะผู้นำ และ (7) การเป็นพลเมืองตื่นรู้ที่มีสำนึกสากล) และ สมรรถนะในความฉลาดรู้
พื้นฐาน (Competencies in Basic Literacy) 4 สมรรถนะ ได้แก่ (1) ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร
หา้ มเผยแพร่ คดั ลอก จัดทำสำเนา และอา้ งอิง โดยไมไ่ ดร้ ับอนญุ าต
23
(2) ภาษาอังกฤษ/ ภาษาต่างประทศเพื่อการสื่อสาร (3) คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน และ (4) การสืบสอบ
ทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์) นี้ ผู้สนใจสามารถศึกษารายละเอียดของคำอธิบายสมรรถนะ ระดับ
สมรรถนะ และพฤติกรรมบ่งชี้ของแต่ละสมรรถนะได้จากเอกสารกรอบสมรรถนะหลักของผู้เรียนระดับ
การศกึ ษาขั้นพน้ื ฐาน ฉบบั แก้ไขเพ่ิมเติม มิถุนายน 2564
หา้ มเผยแพร่ คดั ลอก จัดทำสำเนา และอ้างองิ โดยไม่ไดร้ ับอนุญาต
24
ตอนท่ี 3
การนำกรอบสมรรถนะหลักผู้เรยี นระดับการศกึ ษาขั้นพ้ืนฐาน
ไปใช้ในการออกแบบหลกั สตู รสถานศกึ ษาและการจัดการเรียนการสอน
กรอบสมรรถนะหลักผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นสมรรถนะหลักที่สำคัญของผู้เรียนระดับ
การศึกษาขั้นพื้นฐานที่จะต้องได้รับการพัฒนาในช่วงเวลา 12 ปี ในระบบการจัดการศึกษาของประเทศ
เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้ก้าวทันต่อความเปลี่ยนแปลงและการดำรงชีวิตให้มีคุณภาพใ นโลกแห่งศตวรรษ
ที่ 21 ทั้งนี้ “กรอบสมรรถนะหลักผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มิใช่หลักสูตรฐานสมรรถนะ” และ
“มิใช่สูตรสำเร็จ” ที่สถานศึกษาสามารถนำไปใช้ได้ทันที แต่จะต้องมีการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาฐาน
สมรรถนะโดยศึกษากรอบสมรรถนะหลักให้เข้าใจเป็นอย่างดีก่อน พร้อมกับพิจารณากำหนดสมรรถนะใน
หลักสูตรสถานศึกษาเพื่อเชื่อมโยงการนำกรอบสมรรถนะไปใช้กับองค์ประกอบของหลักสูตร ให้สอดคล้องกับ
จุดเน้นละบริบทของโรงเรียน นำไปสู่การกำหนดโครงสร้างของหลักสูตร กำหนดค่าน้ำหนักหรือจัดสรรเวลา
เรยี นในแต่ละระดับชัน้ และพฒั นารายวิชากิจกรรม หรอื โครงการตา่ งๆ เพื่อพัฒนาให้ผเู้ รยี นเกิดสมรรถนะตาม
จดุ เนน้ ของสถานศึกษา
เมื่อสถานศึกษาได้กำหนดโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะแล้ว จะนำมาสู่การเขียน
คำอธิบายรายวิชาที่สอดคล้องกับสมรรถนะหลักที่มุ่งเน้นโดยชุดความรู้ ทักษะ หรือคุณลักษณะที่จะช่วย
ส่งเสริมให้เกิดสมรรถนะนั้น ๆ ได้ ซึ่งแต่ละสถานศึกษาสามารถกำหนดชุดความรู้ ทักษะ หรือคุณลักษณะท่ี
แตกต่างกันได้ตามบรบิ ทของโรงเรียน เพื่อให้ครูผู้สอนสามารถออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนท่ีมุ่งเนน้ ให้
ผู้เรียนพัฒนาสมรรถนะตามเป้าหมายของหลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะและเป้าหมายของรายวิชา
รวมถึงกำหนดแนวทาง/ วิธี/ เครื่องมือวัดและประเมินให้เหมาะสมกับสมรรถนะที่ต้องการประเมิน โดย
ออกแบบเกณฑ์การประเมินให้มีรายละเอียด พฤติกรรมบ่งชี้ และระดับที่เหมาะสมกับผู้เรียนในชั้นเรียนหรือ
สถานศึกษาของตนทอี่ าจมรี ายละเอียดแตกต่างไปจากสถานศกึ ษาอ่นื ๆ ได้
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าขณะท่ีเขียนเอกสารคู่มือน้ี หลักสูตรฐานสมรรถนะระดบั ชาติ ยังอยู่ในระหว่าง
การดำเนนิ การพัฒนา ซ่งึ กรอบของหลักสูตรระดบั ชาติ จำเป็นตอ้ งมกี ารออกแบบโครงสร้างและองค์ประกอบ
ของหลักสตู รเพือ่ ใชเ้ ป็นแนวทางในการดำเนินการจดั ทำหลักสูตรสถานศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ แต่สถานศึกษา
สามารถพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะขึ้นมาได้ โดยใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พทุ ธศกั ราช 2551 เปน็ ฐานในการทำงานเพ่อื เช่อื มโยงกรอบสมรรถนะหลักผเู้ รียนไปสูก่ ารจัดการเรียนการสอน
และพฒั นาสมรรถนะแก่ผู้เรียน หรอื พฒั นาหลักสตู รสถานศึกษาฐานสมรรถนะจากจุดเน้นในการพัฒนาผู้เรียน
และเชอื่ มโยงกรอบสมรรถนะหลกั ผเู้ รียนไปสกู่ ารจดั การเรยี นการสอน ดงั รายละเอียด
ห้ามเผยแพร่ คัดลอก จัดทำสำเนา และอ้างอิง โดยไมไ่ ดร้ บั อนุญาต
25
การนำกรอบสมรรถนะสำหรับผู้เรียนระดับ
การศึกษาขัน้ พื้นฐาน
ไปใชใ้ นการออกแบบหลักสตู รสถานศกึ ษา
หลักสูตรสถานศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับทุกโรงเรียน โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในการขับเคลื่อนและ
ดำเนินการจัดการศึกษาให้เกิดผลบรรลุตามจุดเน้นของโรงเรียน (School Concept) หรือความมุ่งหวัง
ที่โรงเรียนได้ตั้งไว้ กล่าวคือ หากโรงเรียนมีจุดเน้นหรือความมุ่งหวังในการจัดการศึกษาที่มักปรากฏในรูปของ
เจตนารมย์ ปรัชญา วิสัยทัศน์ และพันธกิจของโรงเรียนเช่นใดแล้ว หลักสูตรสถานศึกษาย่อมถูกพัฒนาให้เป็น
กรอบการดำเนินงานในทางปฏิบัติของผู้เกี่ยวข้องทุกคนเพื่อพัฒนานักเรียนให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนา
ตามจุดเน้นหรือความมุ่งหวงั เช่นนัน้ การออกแบบหลักสูตรสถานศึกษาจงึ เปน็ กลไกสำคัญสำหรับการปฏิบัติท่ี
ชว่ ยใหจ้ ดุ เนน้ หรอื ความมุ่งหวังทีโ่ รงเรียนไดต้ ้ังไวบ้ รรลุผลสำเรจ็ เมื่อพิจารณาในแง่ของการพัฒนาและส่งเสริม
สมรรถนะสำคัญสำหรับผู้เรียน หลักสูตรสถานศึกษาย่อมปัจจัยสำคัญที่มีส่วนอย่างมากในการดำเนินการ
ขับเคลื่อนการพัฒนาและส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะต่างๆ ได้ ด้วยเหตุนี้เอง หากโรงเรียนมีจุดเน้น
หรือความมุ่งหวังในการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นการพัฒนาและส่งเสริมสมรรถนะสำคัญให้กับผู้เรียนแล้ว
การออกแบบหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนย่อมต้องสอดคล้องกับแนวคิดการออกแบบหลักสูตรฐาน
สมรรถนะ (Competency-based Curriculum) ซ่ึงมีสาระสำคัญที่ผู้พัฒนาหลักสูตรควรศึกษาและทำ
ความเข้าใจ ประกอบด้วย (1) การพิจารณากำหนดสมรรถนะในหลักสูตรสถานศึกษา (2) การเชื่อมโยงการนำ
กรอบสมรรถนะไปใช้กับองค์ประกอบของหลักสตู ร และ (3) รูปแบบและตัวอย่างการนำกรอบสมรรถนะไปใช้
ในการออกแบบหลักสูตรสถานศึกษา โดยรายละเอยี ดของสาระสำคญั แตล่ ะประเด็นมดี ังนี้
การพิจารณากำหนดสมรรถนะในหลกั สูตรสถานศึกษา
ดังทก่ี ล่าวไปขา้ งต้น หลกั สตู รสถานศึกษาเปน็ เคร่ืองมือสำคัญสำหรับโรงเรยี นในการจัดการศึกษาเพื่อ
พัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และบรรลุเป้าหมายตามที่สถานศึกษากำหนดไว้ หลักสูตรสถานศึกษาของ
สถานศึกษาแต่ละแห่งจึงต้องมีความแตกต่างเฉพาะตัวและต้องสามารถตอบสนองความต้องการที่เป็นจุดเน้น
หรือความมุ่งหวังในการจัดการศึกษาของโรงเรียน ซึ่งในที่นี้ หมายถึง สิ่งที่โรงเรียนกำหนดไว้เพื่อเป็นแนวทาง
ในการจดั การศกึ ษา ซ่ึงครอบคลุมตง้ั แต่ความเช่ือหรือปรัชญาโรงเรียน วสิ ยั ทศั น์ พนั ธกิจ จดุ มุ่งหมายในการจัด
การศกึ ษา ตลอดจนเป้าหมายของหลักสตู รสถานศึกษา ทมี่ าของการกำหนดจุดเน้นของโรงเรียนดังที่กล่าวไปน้ี
จำเป็นต้องมาจากการวเิ คราะห์ หารือ และลงขอ้ สรุปร่วมกนั ระหว่างผู้มสี ว่ นเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาของ
โรงเรยี น อาทิ ผู้บริหารโรงเรยี น ครูผู้สอน ผูเ้ รียน ผปู้ กครอง ชุมชน องคก์ รหรือหน่วยงานภายนอกที่เก่ียวข้อง
ห้ามเผยแพร่ คดั ลอก จัดทำสำเนา และอ้างองิ โดยไมไ่ ดร้ ับอนุญาต
26
กับโรงเรียน โดยมากแลว้ จุดเน้นของโรงเรียนจำเปน็ ต้องเป็นส่ิงทีต่ อบสนองความต้องการที่ผู้มีสว่ นเก่ียวข้องกับ
การจัดการศึกษาของโรงเรียนพิจารณาเห็นว่าเป็นความต้องการจำเ ป็นหรือเป็นประเด็นปัญหาสำคัญท่ี
เกี่ยวข้องกับผูเ้ รียน โรงเรียน ชุมชน หรือสังคม ยกตัวอย่างเช่น หากโรงเรยี นตั้งอยูใ่ นบริบทนอกเมอื งที่มพี ืน้ ท่ี
เกษตรกรรม ครอบครวั ของนักเรยี นส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร ทำไรท่ ำนาและทอผ้า เม่ือโรงเรียนแห่ง
นี้วิเคราะหจ์ ดุ เนน้ ของโรงเรียนจึงมีความจำเป็นต้องกำหนดการพัฒนานักเรยี นเรื่องเกษตรกรรมเข้าไปร่วมด้วย
เนอ่ื งจากเป็นประเด็นท่ีมคี วามเกี่ยวขอ้ งกับนักเรยี นและบรบิ ทท่ตี ั้งของโรงเรียน เป็นต้น
กรอบสมรรถนะหลักของผเู้ รียนระดับการศกึ ษาข้ันพ้ืนฐานประกอบดว้ ยสมรรถนะหลักและพฤติกรรม
บ่งชี้ในด้านต่างๆ ท่ีสถานศึกษาสามารถนำมาปรับใช้ในการจัดการศึกษาและในการออกแบบหลักสูตร
สถานศกึ ษาของตนเองได้ การพิจารณาเลือกว่าจะนำสมรรถนะหลักตัวใดไปใช้ในการจัดการศึกษาของโรงเรียน
ขนึ้ อยู่กบั จดุ เน้นของโรงเรยี นเป็นสำคัญ ผมู้ สี ว่ นเกยี่ วข้องกับการจัดการศึกษาของโรงเรียนจำเปน็ ต้องวิเคราะห์
จุดเน้นของโรงเรียนว่าจะพัฒนาผู้เรียนไปในทิศทางใด จุดเน้นดังกล่าวนี้ย่อมต้องปรากฎในข้อมูลพื้นฐานของ
โรงเรยี น ได้แก่ ปรัชญาโรงเรยี น วิสัยทศั น์ พันธกจิ จุดม่งุ หมายในการจดั การศกึ ษา และเป้าหมายของหลักสูตร
สถานศึกษา ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาสามารถพิจารณาข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียนเหล่านี้ว่า
เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กับสมรรถนะหลักด้านใด อาจสรุปได้ว่าการนำกรอบสมรรถนะไปใช้ในการออกแบบ
หลักสูตรสถานศึกษานั้น จำเป็นต้องอ้างอิงจุดเน้นของโรงเรียนเป็นสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทิศทาง
การพัฒนาผู้เรียนที่ตอบสนองความต้องการของโรงเรียน เพราะจะทำให้การกำหนดสมรรถนะหลักที่โรงเรียน
เลือกใช้ตอบโจทย์ความต้องการของโรงเรียนได้อย่างตรงจุด อีกทั้งยังช่วยทำให้แนวทางการพัฒนาสมรรถนะ
หลักแก่ผ้เู รยี นมีความชดั เจนมากยิ่งข้ึน ดังนัน้ การพฒั นาผู้เรียนใหเ้ กิดสมรรถนะหลักด้านดงั กล่าวย่อมมีโอกาส
ประสบความสำเรจ็ มากยิ่งข้ึน อยา่ งไรก็ตาม ถึงแมว้ า่ การพจิ ารณาเลือกสมรรถนะมาใชใ้ นหลักสตู รสถานศึกษา
จำเป็นตอ้ งอา้ งองิ มาจากจดุ เนน้ ของโรงเรียน แตอ่ ันที่จรงิ แล้วในการออกแบบหลักสูตรสถานศึกษาควรกำหนด
สมรรถนะทุกด้านให้ครบถ้วนตามที่หลักสูตรชาติหรือส่วนงานบังคับบัญชากำหนด เนื่องจากกรอบสมรรถนะ
หลักทุกด้านมุ่งพัฒนาการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ การออกแบบหลักสูตรสถานศึกษาจำเป็นต้อง
พัฒนาผู้เรียนให้เป็นมนษุ ย์ที่สมบูรณ์จึงต้องกำหนดสมรรถนะให้ครบถ้วนทุกด้าน แต่การให้น้ำหนักสมรรถนะ
แต่ละด้านอาจแตกต่างกันไปข้นึ อยู่กับจดุ เน้นของโรงเรยี น ยกตวั อยา่ งเช่น หากจดุ เน้นของโรงเรียนม่งุ เน้นเรื่อง
การพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงและนวัตกรรมให้กบั ผู้เรียน น้ำหนักที่ปรากฎในรายวิชาในหลักสูตรสถานศึกษา
ยอ่ มตอ้ งเช่อื มโยงสัมพันธก์ บั สมรรถนะดา้ นดังกล่าวมากกว่าสมรรถนะดา้ นอื่นๆ เปน็ ตน้
อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาพิจารณาวิเคราะห์จุดเน้นหรือความมุ่งหวังของ
โรงเรยี นแลว้ การกำหนดเลือกสมรรถนะในหลักสูตรสถานศึกษาอาจดำเนนิ การได้หลากหลายระดับ ขึ้นอยู่กับ
บริบทของโรงเรียนเป็นสำคัญ ในระดับใหญ่ที่สุดคือการกำหนดสมรรถนะที่เป็นจุดเน้นและความมุ่งหวังของ
โรงเรียน โดยอาจพิจารณาว่าสมรรถนะใดมีความสอดคล้องและมคี วามต้องการจำเป็นสำหรับผเู้ รยี นหรอื บริบท
แวดล้อมของโรงเรียน โดยอาจกำหนดในรูปแบบของการผสมผสานกับสมรรถนะที่มีอยู่แล้วตามหลักสูตร
แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานในกรณีที่สมรรถนะที่คัดเลือกมานั้นสอดคล้องกับสมรรถนะตามหลักสูตร
ห้ามเผยแพร่ คัดลอก จัดทำสำเนา และอา้ งองิ โดยไมไ่ ดร้ บั อนุญาต
27
แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพอดี หรืออาจกำหนดเพิ่มเติมจากสมรรถนะที่มีอยู่ตามหลักสูตรแกนกลาง
การศึกษาข้ันพน้ื ฐานในกรณีทสี่ มรรถนะที่คดั เลือกมานั้นมีความแตกตา่ งไป ในระดับเล็กที่สุดอาจกำหนดเลือก
สมรรถนะที่ตรงกับกจิ กรรมท่ีปรากฎตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาไว้แล้ว กล่าวคือ ยดึ กจิ กรรมการเรียนรู้
เปน็ ตัวตั้งต้นจากน้ันวิเคราะห์งาน (Task) ท่ปี รากฎในกิจกรรมนั้นๆ วา่ สามารถพัฒนาหรือส่งเสริมให้ผู้เรียนได้
ฝกึ ฝนสมรรถนะใดบา้ ง เป็นตน้
นอกจากการพิจารณากำหนดสมรรถนะในหลักสูตรสถานศึกษาจะขึ้นอยู่ กับจุดเน้นหรือความมุ่งหวัง
ในการจัดการศึกษาของโรงเรียนแล้ว ผู้ออกแบบหลักสูตรสถานศึกษาอาจพิจารณาจากปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
5 ประการ ดงั ทีแ่ สดงในตารางท่ี 1 ได้แก่ (1) ความพรอ้ มของผู้บริหาร (2) ความพร้อมของครู (3) ความ
พร้อมของผู้เรียน (4) ความพร้อมของทรัพยากรและสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ และ (5) ความพร้อมของ
บริบทแวดล้อมโรงเรียน ปัจจัยความพร้อมทั้ง 5 ประการนี้สะท้อนให้เห็นภาพว่าการกำหนดสมรรถนะใด
สมรรถนะหนึ่งในหลักสูตรสถานศึกษาจำเป็นต้องพิจารณาถึงความพร้อมของโรงเรียนในมิติต่าง ๆ ด้วย
เนื่องจากแนวคิดหลักสูตรฐานสมรรถนะจะเกิดผลสำเร็จได้นัน้ จำเป็นต้องอาศัยการประสานความร่วมมือจาก
ผู้เกี่ยวข้อง ดังนั้นหากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาและส่งเสริม
สมรรถนะให้กับผู้เรียนในทิศทางเดียวกัน แน่นอนว่าการนำหลักสูตรสถานศึกษาที่มุ่งเน้นการพัฒนาและ
สง่ เสริมสมรรถนะไปใช้ย่อมมภี าพของการทำงานท่ีเปน็ ระบบ โอกาสที่ผ้เู รยี นจะเกดิ การเรียนรู้ ไดร้ ับการฝึกฝน
และพฒั นาสมรรถนะยอ่ มมีโอกาสสำเรจ็ ผลได้มากยงิ่ ขึน้
ตารางที่ 1 ปัจจัยที่เกีย่ วขอ้ งสำหรับการพจิ ารณากำหนดสมรรถนะในหลกั สูตรสถานศกึ ษา
ปัจจัยความพรอ้ ม คำอธิบาย
ความพร้อมของผู้บรหิ าร ผู้บริหารควรมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องและชัดเจนเกี่ยวกับแนวคิด
หลกั สูตรฐานสมรรถนะ รวมถงึ มคี วามเชอื่ และความตระหนักรู้ถึงความสำคัญ
ในการพัฒนาหรือส่งเสริมสมรรถนะให้กับผู้เรียนจนเกิดผลจริง ผู้บริหารต้อง
เป็นผู้กำหนดนโยบายและมีการบริหารจัดการที่ส่งเสริมแล ะสนับสนุน
การจัดการเรียนการสอนของครูเพื่อพัฒนาหรือส่งเสริมสมรรถนะตามจุดเน้น
หรือความมงุ่ หวงั ของโรงเรยี นให้กับผเู้ รียนได้อย่างเตม็ ที่ ให้ครูมีอิสรภาพทาง
วิชาการในการออกแบบหลักสูตรและการจดั การเรียนการสอนที่ทำให้ผู้เรียน
เกิดสมรรถนะได้อย่างแท้จริง รวมถึงผู้บริหารต้องแสดงบทบาทเป็น
ผู้สนับสนุนการทำงานของครูในทุกมิติ ประสานความรู้ความเข้าใจและ
การทำงานร่วมกันของบุคลากรทุกฝ่าย ทุกระดับในการจัดการเรียนการสอน
เพื่อส่งเสริมสมรรถนะตามจุดเน้นหรือความมุ่งหวังของโรงเรยี นให้แก่ผูเ้ รียน
และผูบ้ รหิ ารตอ้ งสามารถลดข้อจำกัดหรือความท้าทายที่เป็นอุปสรรคสำหรับ
ห้ามเผยแพร่ คดั ลอก จัดทำสำเนา และอา้ งอิง โดยไม่ไดร้ ับอนุญาต
28
ปัจจัยความพร้อม คำอธบิ าย
ครูในการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาหรือส่งเสริมสมรรถนะสำคัญใหก้ บั
ผเู้ รยี นได้
ความพรอ้ มของครู ครูควรมคี วามรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องและชัดเจนเกย่ี วกับแนวคิดหลักสูตรฐาน
สมรรถนะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเชื่อมโยง
ระหว่างหลักสูตรสถานศึกษา การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (การสอน) รวมถึง
การประเมินผลที่มุ่งเน้นการพัฒนาและส่งเสริมสมรรถนะตามจุดเน้นหรือ
ความมุ่งหวังของโรงเรียน ครูต้องมีทักษะการสอนที่หลากหลาย สร้างสรรค์
และยืดหยุ่นเพื่อที่จะสามารถเชื่อมโยงสมรรถนะที่ปรากฎในหลักสูตร
สถานศึกษากับเนื้อหาตามมาตรฐานการเรียนรู้หรือตัวชี้วัดและบริบทในชั้น
เรียนในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งผลให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะได้
จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวิเคราะห์งาน (Task) ที่เป็นส่วนสำคัญสำหรับ
การพัฒนาและเปิดโอกาสให้ผูเ้ รียนไดฝ้ กึ ฝนและแสดงสมรรถนะของบทเรียน
นั้นๆ ครูต้องมองเห็นความสำคัญของการพัฒนาและส่งเสริมสมรรถนะตาม
จดุ เนน้ หรือความมงุ่ หวังของโรงเรยี นให้กับผู้เรยี น รวมถงึ ตอ้ งมีความสามารถ
ในการประสานงานกับผูเ้ กี่ยวข้องทุกฝ่ายเพ่ือทำให้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนสอดคล้องกบั หลักสูตรสถานศึกษาและมุ่งเน้นการพฒั นา
และส่งเสรมิ สมรรถนะใหก้ บั ผเู้ รยี นได้โดยแทจ้ ริง
ความพรอ้ มของผเู้ รียน ผู้เรียนต้องมีความพร้อมในการเรียนรู้และต้องสามารถแสดงศักยภาพและ
ความสนใจของตนเองในการเรียนรู้ออกมาได้ เพื่อที่ครูจะสามารถวิเคราะห์
ศักยภาพและความสนใจของผู้เรียนเพ่ือเชื่อมโยงกับสมรรถนะและเนื้อหาที่
ระบุไว้ในหลักสูตรสถานศึกษา รวมถึงเพื่อออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ท่ี
พัฒนาและส่งเสริมสมรรถนะที่ตอบสนองต่อศักยภาพและความสนใจของ
ผู้เรียนได้อย่างแทจ้ ริง นอกจากนี้ ผู้เรียนต้องมีความพร้อมสำหรับการเรียนรู้
เชิงรุก (Active Learning) เน่ืองจากการพัฒนาและส่งเสริมสมรรถนะน้ัน
จำเป็นต้องอาศัยการเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัตจิ ริง (Hands-on Learning)
ดังนั้นผู้เรียนจำเป็นต้องมีความพร้อมและกระตือรือร้นในการเรียนรู้หรือมี
สว่ นร่วมในกิจกรรมอย่างมาก
ความพรอ้ มของทรัพยากร โรงเรียนต้องมีความทรัพยากรและสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้สำหรับผู้เรียน
และส่ิงสนับสนุนการเรยี นรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติจริงหรอื การเปิดโอกาสให้
ผู้เรียนได้ทำงาน (Task) ที่ฝึกฝนหรือแสดงสมรรถนะ ทรัพยากรในที่นี้มิได้
หมายรวมถึงเพียงมิติเรื่องการจัดสรรงบประมาณเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึง
ทรัพยากรด้านบุคลากร โดยเฉพาะจำนวนบุคลากรครูที่มีความรู้ความเข้าใจ
ห้ามเผยแพร่ คดั ลอก จัดทำสำเนา และอ้างองิ โดยไม่ไดร้ บั อนุญาต
29
ปัจจยั ความพรอ้ ม คำอธิบาย
และมีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาและส่งเสริม
ความพร้อมของบริบท สมรรถนะ ทรัพยากรด้านเวลา เช่น กรอบระยะเวลาของวิชาหรือกิจกรรมท่ี
แวดลอ้ มโรงเรียน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนและพัฒนาสมรรถนะได้อย่างเพียงพอ รวมถึง
ทรัพยากรด้านสื่อและสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่มีเพียงพอกับจำนวนนักเรียน
ในการเปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคนได้มีโอกาสฝึกฝนและพัฒนาสมรรถนะใน
การลงมอื ปฏบิ ัติทำงานจริง
บริบทแวดล้อมโรงเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งชุมชน จำเปน็ ต้องมีความเข้าใจท่ี
ตรงกันกับโรงเรียนในการพัฒนาและส่งเสริมสมรรถนะให้กับผู้เรียน เมื่อมี
ความเข้าใจที่ตรงกันแล้ว ชุมชนจำเป็นต้องส่งเสริมและสนับสนุนการจัด
การเรียนการสอนของโรงเรียนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนพัฒนาและฝึกฝน
สมรรถนะผา่ นการลงมอื ปฏบิ ตั ิทำงานจริง
การเชอื่ มโยงการนำกรอบสมรรถนะไปใชก้ ับองค์ประกอบของหลักสตู ร
สำหรับกระบวนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่อ้างอิงกรอบสมรรถนะหลัก ผู้พัฒนาหลักสูตร
สามารถวางแผนและออกแบบหลักสูตรสถานศึกษาโดยพิจารณาตามองค์ประกอบสำคัญของหลักสูตร ได้แก่
(1) เป้าหมายของหลักสูตรสถานศึกษา (2) โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษาและรายวิชาหรือกิจกรรม
(3) แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และ (4) การประเมินผลเพื่อสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร เม่ือ
พิจารณาภาพที่ 5 จะพบว่าเมื่อผู้พัฒนาหลักสูตรพิจารณากำหนดสมรรถนะที่สอดคล้องตามจุดเน้นของ
โรงเรียนแล้ว สมรรถนะที่โรงเรียนกำหนดย่อมมีผลต่อองค์ประกอบสำคัญของหลักสูตร ยกตัวอย่างเช่น หาก
โรงเรียนพิจารณากำหนดใช้สมรรถนะทักษะการคิดขั้นสูงร่วมกับจดุ เน้นของโรงเรียน องค์ประกอบสำคัญของ
หลักสตู รจะปรากฏการเชื่อมโยงสมรรถนะด้านดงั กล่าวไว้อย่างชัดเจน เป้าหมายของหลักสูตรสถานศึกษาจะมี
การกำหนดเป้าหมายให้นักเรียนสามารถนำทักษะการคิดขั้นสูงไปใช้ในชีวิตประจำวัน รวมถึงโครงสร้าง
หลักสูตรสถานศึกษาย่อมต้องปรากฎรายวิชาหรือกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักเรียนได้นำทักษะการคิดขั้นสูงไปใช้
ในชวี ติ ประจำวนั ดังเช่นกจิ กรรมชุมชนของเราท่ีเป็นรายวชิ าใช้ปัญหาในชุมชนเป็นจดุ เร่ิมตน้ การเรียนรู้และใช้
กระบวนการคิดในการดำเนินการ โดยแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มุ่งเน้นการจัดกิจกรรมในรายวิชาท่ี
ส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้ทักษะการคิดขั้นสูงไปใช้ในการแก้ปัญหาและบูรณาการเชื่อมโยงกับวิชาอื่น รวมถึง
การประเมนิ ผลการเรยี นรเู้ พอื่ สำเร็จการศึกษาตามหลกั สูตรที่เน้นการประเมินผลทกั ษะการคิดขนั้ สูงของผู้เรียน
โดยอ้างอิงเกณฑต์ ามพฤติกรรมบ่งชข้ี องสมรรถนะทักษะการคดิ ขัน้ สงู และนวตั กรรม
หา้ มเผยแพร่ คัดลอก จัดทำสำเนา และอา้ งอิง โดยไม่ไดร้ ับอนุญาต
30
องค์ประกอบสำคัญของหลักสตู ร ตัวอยา่ งการเชอ่ื มโยงสมรรถนะ “ทักษะการคดิ ขน้ั สูงฯ”
เป้าหมายของหลักสตู รสถานศกึ ษา
นกั เรียนสามารถนำทักษะการคดิ ขน้ั สูงไปใช้ในชีวิตประจำวัน
โครงสร้างหลักสตู รสถานศึกษา
(รายวชิ าหรือกิจกรรม) กจิ กรรมชมุ ชนของเรา (รายวชิ าทใ่ี ชป้ ญั หาในชุมชนเป็น
จุดเรมิ่ ต้นการเรยี นรู้และใช้กระบวนการคดิ ในการดำเนนิ การ)
แนวทางการจัดกิจกรรมการเรยี นรู้
การจดั กิจกรรมในรายวิชาท่สี ง่ เสรมิ ให้ผูเ้ รียนใช้ทกั ษะการคิด
การประเมินผล ข้นั สงู ไปใชใ้ นการแกป้ ญั หาและบูรณาการเชื่อมโยงกบั วิชา
เพ่อื สำเรจ็ การศกึ ษาตามหลักสูตร
อนื่
การประเมนิ ผลทักษะการคิดขน้ั สงู ของผ้เู รยี นโดยอ้างอิง
เกณฑต์ ามพฤตกิ รรมบง่ ชข้ี องสมรรถนะ
ภาพท่ี 5 ตัวอย่างการเชื่อมโยงสมรรถนะ “ทกั ษะการคดิ ข้ันสูงและนวัตกรรม” กบั องค์ประกอบของหลักสูตร
รูปแบบและตัวอยา่ งการนำกรอบสมรรถนะไปใชใ้ นการออกแบบหลกั สตู รสถานศึกษา
ในทางปฏิบัติ การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่นำกรอบสมรรถนะไปใช้สามารถดำเนินการได้ด้วย
กระบวนการที่หลากหลาย ซ่งึ สามารถยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสมของโรงเรยี น แตใ่ นบรบิ ทปัจจุบันผู้พัฒนา
หลักสูตรสามารถพิจารณากระบวนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่นำกรอบสมรรถนะไปใช้ได้ 2 รูปแบบ
ประกอบด้วย (1) การออกแบบหลักสูตรสถานศึกษาที่นำกรอบสมรรถนะไปใช้ร่วมกับหลักสูตรอิงมาตรฐาน
(Standard-based Curriculum) และ (2) การออกแบบหลกั สูตรสถานศกึ ษาท่ีนำกรอบสมรรถนะไปใชร้ ่วมกับ
หลกั สูตรทอี่ ิงบริบทเปน็ ฐาน (Context-based Curriculum) ซง่ึ กระบวนการออกแบบหลกั สตู รสถานศึกษาท้ัง
สองรปู แบบนน้ั มีรายละเอียดแตกต่างกัน ดงั ต่อไปน้ี
(1) การออกแบบหลักสูตรสถานศกึ ษาที่นำกรอบสมรรถนะไปใชร้ ว่ มกบั หลักสูตรองิ มาตรฐาน
หลักสูตรอิงมาตรฐาน หมายถึง หลักสูตรที่กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายในการพัฒนา
ผู้เรียน โดยมาตรฐานการเรียนรู้เหล่านั้นจะถูกใช้เป็นกรอบในการกําหนดเนื้อหา ทักษะกระบวนการ
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตลอดจนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและการวัดประเมินผลการเรียนรู้เพ่ือ
รบั ประกนั วา่ ผู้เรียนจะได้รับการพัฒนาใหบ้ รรลุมาตรฐานการเรียนรู้ไว้อย่างครบถ้วน หลักสูตรชาติ (National
Curriculum) ส่วนมากมักจะถูกพัฒนาในรูปแบบของหลักสูตรอิงมาตรฐาน เนื่องจากการกำหนดมาตรฐาน
การเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ รวมถงึ ตัวชี้วดั การเรียนรู้จะช่วยทำให้การจัดการศึกษาในทุกระดับของประเทศน้ัน
มีความเป็นเอกภาพและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ดังเช่นที่กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดให้หลักสูตร
ห้ามเผยแพร่ คดั ลอก จัดทำสำเนา และอา้ งอิง โดยไม่ไดร้ บั อนุญาต
31
แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลักสูตรชาติซึ่งหลักสูตรดังกล่าวมีรูปแบบเป็นหลักสูตรอิงมาตรฐาน
อย่างไรก็ตาม แม้วา่ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาข้ันพ้ืนฐานจะเป็นหลักสูตรอิงมาตรฐาน ซ่ึงมกี ารกำหนดสาระ
มาตรฐาน และตัวชี้วัดชั้นปีเอาไว้แล้วอย่างชัดเจน ผู้พัฒนาหลักสูตรยังคงสามารถนำกรอบสมรรถนะไปใช้
ร่วมกับหลักสูตรที่อ้างอิงแนวคิดดังกล่าวได้ เพียงแต่รูปแบบการกำหนดรายวิชาตามโครงสร้างหลักสูตร
สถานศึกษาอาจถูกจำกัดเนื่องด้วยความจำเป็นที่ต้องคงโครงสร้ างหลักสูตรสถานศึกษาไว้ตามที่หลักสูตร
แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดไว้ให้ครบถ้วน แต่สามารถสอดแทรกรายละเอียดที่เป็นจุดเน้นของ
โรงเรียนและสมรรถนะหลักที่กำหนดในรายวิชาพื้นฐานได้โดยที่ต้องระบุตัวชี้วัดชั้นปีของรายวิชาให้ครบถ้วน
ตามที่หลักสูตรกำหนดไว้ อย่างไรก็ตาม ในการออกแบบหลักสูตรสถานศึกษาที่เป็นรูปแบบหลักสูตรอิง
สมรรถนะนั้น ผู้พัฒนาหลักสูตรสามารถกำหนดสิ่งที่เป็นจุดเน้นของโรงเรียนและสมรรถนะหลักได้ในรายวิชา
เพิ่มเติมและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนได้อย่างอิสระ เนื่องจากผู้พัฒนาหลักสูตรจำเป็นต้องกำหนดผลการเรียนรู้
(Learning Outcome) ของรายวิชาหรือกิจกรรมเอง ซึ่งการกำหนดผลการเรียนรู้ดังกล่าวส่วนหนึ่งย่อมต้องมี
ผลมาจากสิ่งที่เป็นจุดเน้นของโรงเรียน รวมถึงสมรรถนะหลักที่รายวิชาหรือกิจกรรมนั้นสามารถพัฒนาให้เกิด
ขึ้นกับผู้เรียนได้ เมื่อพิจารณาตัวอยา่ งโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษาที่เป็นหลักสูตรอิงมาตรฐานและนำกรอบ
สมรรถนะมาใช้ร่วมด้วย ดังที่นำเสนอในตารางที่ 2 เมื่อโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษามาจากหลักสูตร
แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน จะพบว่าโครงสร้างรายวิชาพื้นฐานตลอดจนสัดส่วนจำนวนชั่วโมงจะยังคงยึด
ตามโครงสร้างที่ถูกระบุในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาข้ันพื้นฐาน ซึ่งนอกจากโรงเรียนจะสามารถสอดแทรก
การพัฒนาสมรรถนะทักษะการคิดขั้นสูงและนวัตกรรมในรายวิชาพื้นฐานแล้ว สถานศึกษายังสามารถกำหนด
รายวิชาเพ่ิมเตมิ ตลอดจนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่มุ่งเน้นการพัฒนาผู้เรียนให้เกิดสมรรถนะด้านดังกลา่ วได้อีก
ด้วย ดังเช่นตัวอย่างที่มีการกำหนดรายวิชาสืบสอบสร้างสรรค์โดยใช้โครงงานเป็นฐานและกิจกรรมชุมชนของ
เรา ที่เป็นรายวิชาและกิจกรรมที่โรงเรียนกำหนดมาเพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะการคิดขั้นสูงและ
นวัตกรรมเป็นการเฉพาะ โดยสรุป แม้โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนแห่งนี้จะปรากฎรายวิชา
พน้ื ฐาน จำนวนชว่ั โมง รวมถึงตวั ช้ีวดั ท่ีเป็นไปตามหลักสตู รแกนกลางการศกึ ษาขั้นพ้ืนฐาน แต่ผู้พัฒนาหลกั สตู ร
ยงั สามารถกำหนดการพฒั นาสมรรถนะได้ในรายวชิ าเพมิ่ เติมและกจิ กรรมพัฒนาผูเ้ รียน
ห้ามเผยแพร่ คัดลอก จัดทำสำเนา และอา้ งองิ โดยไมไ่ ดร้ ับอนุญาต
32
ตารางที่ 2 ตัวอย่างโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษาที่นำสมรรถนะทักษะการคิดขั้นสูงและนวัตกรรมไปใช้
ร่วมกบั หลักสูตรองิ มาตรฐาน
เวลาเรยี น
รายวิชา / กจิ กรรม ระดบั ประถมศึกษา
ป.1 ป.2 ป.3 ป.4 ป.5 ป.6
กลมุ่ สาระการเรยี นรู้
ภาษาไทย 200 200 200 160 160 160
คณติ ศาสตร์ 200 200 200 160 160 160
วิทยาศาสตร์ 80 80 80 120 120 120
สงั คมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม 40 40 40 80 80 80
ประวัตศิ าสตร์ 40 40 40 40 40 40
สขุ ศึกษาและพลศึกษา 40 40 40 80 80 80
ศลิ ปะ 80 80 80 80 80 80
การงานอาชพี และเทคโนโลยี 40 40 40 40 40 40
ภาษาต่างประเทศ 120 120 120 80 80 80
รวมเวลาเรยี น (พื้นฐาน) 840 840 840 840 840 840
รายวิชาเพม่ิ เติม
สบื สอบสร้างสรรคโ์ ดยใชโ้ ครงงานเปน็ ฐาน* 40 40 40 40 40 40
รวมเวลาเรยี น (เพมิ่ เติม) 40 40 40 40 40 40
กจิ กรรมพฒั นาผู้เรียน
กจิ กรรมแนะแนว 40 40 40 40 40 40
กจิ กรรมนักเรยี น
- กจิ กรรมลกู เสอื – เนตรนารี 40 40 40 40 40 40
- กจิ กรรมเพ่ือสงั คมและสาธารณประโยชน์ (10) (10) (10) (10) (10) (10)
- กจิ กรรมชมุ ชนของเรา* 40 40 40 40 40 40
รวมเวลากิจกรรมพัฒนาผเู้ รยี น 120 120 120 120 120 120
รวมเวลาเรยี นทงั้ หมด 1,000 ชั่วโมง/ปี 1,000 ชั่วโมง/ปี
หมายเหตุ *รายวชิ าและกิจกรรมท่ีกำหนดไว้สำหรับการพัฒนาสมรรถนะทักษะการคดิ ขั้นสงู และนวัตกรรม
สำหรบั ผู้เรยี น
หา้ มเผยแพร่ คดั ลอก จัดทำสำเนา และอ้างองิ โดยไมไ่ ดร้ บั อนญุ าต
33
(2) การออกแบบหลักสตู รสถานศกึ ษาทน่ี ำกรอบสมรรถนะไปใชร้ ่วมกับหลกั สตู รที่อิงบริบทเปน็ ฐาน
หลักสูตรอิงบริบทเป็นฐาน หมายถึง หลักสูตรที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยพิจารณาจากความต้องการจำเป็น
ของโรงเรยี นและบรบิ ทโดยรอบเปน็ สำคัญ โดยเชือ่ มโยงความรูแ้ ละประสบการณ์การเรียนรู้เข้ากับสถานการณ์
ที่ผู้เรียนกำลังประสบในชีวิตประจำวัน ในการออกแบบหลักสูตรสถานศึกษาที่นำกรอบสมรรถนะไปใช้รว่ มกับ
หลักสูตรลักษณะนี้ ผู้พัฒนาหลักสูตรสามารถใช้จุดเน้นของโรงเรียนเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการทำงาน
โดยเริ่มต้นจากกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียน ได้แก่ ปรัชญาโรงเรียน วิสัยทัศน์ พันธกิจ
จุดมุ่งหมายในการจัดการศึกษา และเป้าหมายของหลักสูตรสถานศึกษา ซึ่งมีที่มามาจากการอ้างอิง
ความต้องการจำเป็นของบริบทเป็นสำคัญ เมื่อผู้พัฒนาหลักสูตรได้ข้อสรุปเกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียน
แล้ว จึงกำหนดการเชื่อมโยงกรอบสมรรถนะให้ครบถ้วน ทั้งนี้ หากโรงเรียนมีจุดเน้นของโรงเรียนที่สอดคล้อง
สัมพันธ์กับสมรรถนะหลักตัวใดตัวหนึ่งเป็นการเฉพาะ ผู้พัฒนาหลักสูตรสามารถกำหนดน้ำหนักการพัฒนา
สมรรถนะด้านนัน้ ๆ ให้กบั ผเู้ รยี นมากกวา่ สมรรถนะด้านอ่ืนๆ ได้ ดงั เช่นตวั อยา่ งท่นี ำเสนอในตารางท่ี 3 ซึ่งเป็น
โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษาที่นำสมรรถนะทักษะการคิดขั้นสูงและนวัตกรรมไปใช้ร่วมกับหลักสูตรที่อิง
บริบทเป็นฐาน ข้อสังเกตที่เห็นได้อย่างชัดเจนในโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษาดังกล่าวคือการมีอิสระของ
สถานศึกษาในการกำหนดรายวิชาหรือกิจกรรมตามความต้องการของโรงเรียน ซึ่งรายวิชาและกิจกรรมที่
โรงเรียนกำหนดสามารถเชื่อมโยงหรือสอดแทรกการพัฒนาสมรรถนะหลักด้านต่างๆ ให้กับผู้เรียนได้ ดังเช่น
ตัวอย่างโครงสร้างหลักสูตรที่โรงเรียนมุ่งเน้นการพัฒนาสมรรถนะทักษะการคิดข้ันสูงและนวัตกรรม จึง
กำหนดให้มีรายวิชาหรือกิจกรรมที่จะพัฒนาสมรรถนะด้านดังกล่าวในหลายส่วน เช่น การคิดคำนวณและ
วทิ ยาศาสตรร์ อบตวั สงั คมและความเปน็ มนุษย์ หรอื โลกของงานและการประกอบอาชีพ เป็นต้น
ตารางที่ 3 ตัวอย่างโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษาที่นำสมรรถนะทักษะการคิดขั้นสูงและนวัตกรรมไปใช้
ร่วมกับหลักสตู รทอ่ี งิ บริบทเป็นฐาน
รายวิชา / กิจกรรม เวลาเรยี น
ระดับประถมศกึ ษา
ป.1 ป.2 ป.3 ป.4 ป.5 ป.6
การคดิ คำนวณและวิทยาศาสตรร์ อบตวั * 200 200 200 200 200 200
ภาษา ศลิ ปะ และวฒั นธรรม 200 200 200 200 200 200
ภาษาองั กฤษเพ่ือการส่ือสารในชวี ติ ประจำวนั 200 200 200 200 200 200
สงั คมและความเป็นมนุษย์* 120 120 120 120 120 120
เทคโนโลยใี นชวี ติ ประจำวนั * 80 80 80 80 80 80
สุขภาวะกายและจิตใจ 80 80 80 80 80 80
ความสขุ และสุนทรยี ะจากสิ่งรอบตัว 80 80 80 80 80 80
โลกของงานและการประกอบอาชพี * 40 40 40 40 40 40
รวมเวลาเรยี นท้ังหมด 1,000 ช่ัวโมง/ปี 1,000 ชั่วโมง/ปี
หมายเหตุ *รายวิชาและกิจกรรมทก่ี ำหนดไวส้ ำหรับการพฒั นาสมรรถนะทักษะการคดิ ขน้ั สูงและนวัตกรรมสำหรับผู้เรยี น
ห้ามเผยแพร่ คัดลอก จัดทำสำเนา และอา้ งองิ โดยไม่ไดร้ บั อนญุ าต
34
ตวั อยา่ งโครงสร้างหลักสตู รสถานศกึ ษาของโรงเรียนสจุ ิปุลิ จ.ฉะเชิงเทรา ท่ีมลี กั ษณะเปน็ หลักสตู ร
ทอ่ี ิงบริบทเปน็ ฐานและยึดกรอบสมรรถนะหลกั ของผเู้ รยี นระดบั การศึกษาขน้ั พนื้ ฐาน
โรงเรียนมุ่งเน้นการพัฒนาสมรรถนะทีจ่ ำเป็นในการดำรงชีวิตและภาวะผู้นำแก่ผู้เรียน จึงได้ออกแบบ
หลักสูตรโดยจัดเป็น 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่ 1) กลุ่มสาระการเรียนรู้หลักพื้นฐาน ได้แก่ ภาษาไทย
ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วทิ ยาศาสตร์ และภาษาจนี 2) กลมุ่ สาระเพอื่ การพฒั นาทักษะและชวี ิตของผู้เรียน
ได้แก่ ดนตรี วิทยาการคำนวณ ว่ายน้ำ 7Habits และการคิดเชิงออกแบบ และ 3) กลุ่มการเรียนรู้แบบ
บูรณาการตามขอบข่าย ได้แก่ ขอบข่ายการเรียนรู้ด้านสุขภาวะกายและจิต ขอบข่ายการเรียนรู้ด้านภาษา
ศิลปะและวัฒนธรรม ขอบข่ายการเรียนรู้ด้านโลกของงานและการประกอบอาชีพ ขอบข่ายการเรียนรู้ด้าน
คณิตศาสตร์ วทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี และขอบข่ายการเรียนรู้ด้านสงั คมและความเป็นมนุษย์ ดังนี้
หา้ มเผยแพร่ คัดลอก จัดทำสำเนา และอา้ งองิ โดยไม่ไดร้ ับอนญุ าต
35
การเช่ือมโยงกรอบสมรรถนะสำหรบั
ผเู้ รียนระดบั การศกึ ษาขัน้ พื้นฐาน
สู่การจัดการเรียนการสอน
ในกรณีที่สถานศึกษายังมิได้พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะและยังคงใช้หลักสูต ร
สถานศึกษาเดิม ครูผู้สอนก็สามารถออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นพัฒนาสมรรถนะให้ผู้เรียนใน
ระดับชั้นเรียนได้เช่นกัน ซึ่งในช่วงระยะเวลาในการเปลี่ยนผ่านจากหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พทุ ธศกั ราช 2551 ที่เปน็ หลักสตู รอิงมาตรฐาน ไปสูก่ ารใชห้ ลักสตู รฐานสมรรถนะ การพฒั นาคุณภาพผู้เรียนที่
เป็นความคาดหวังจำเป็นต้องมีวิธีการดำเนินการที่นำไปสู่การปรับใช้สมรรถนะเป็นฐานอย่างค่อยเป็นค่อย ไป
เพื่อเสริมสร้างระบบการศึกษาและระบบการเรียนรู้ในช่วงเวลาสำคัญ รวมทั้งมีระยะเวลาที่เหมาะสมใน
การเปลี่ยนผ่าน (Managing the Transition) และปรับช่วงเปลี่ยนผ่านจากการเน้นเนื้อหาวิชา (Subject-
based) ไปสู่หลักสูตรฐานสมรรถนะ (Competency-based Curriculum) อย่างรอบคอบ เม่ือพิจารณา
แนวทางการนำกรอบสมรรถนะหลักมาสู่การพัฒนาผู้เรียนของโครงการวิจัยและพัฒนากรอบสมรรถนะผู้เรยี น
ระดับประถมศึกษาตอนต้น (ป. 1 - 3) สำหรับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทั้ง 6 แนวทาง จึงมีการจัดกลุ่ม
แนวทางทั้ง 6 แนวทาง ตามลำดับการเปลี่ยนผ่านจากหลักสูตรอิงมาตรฐานมาสู่หลักสูตรฐานสมรรถนะเป็น
3 กลมุ่ ได้แก่
กลุ่มที่ 1: การนำกรอบสมรรถนะหลักสู่การพัฒนาผู้เรียนบนฐานหลักสูตรอิง
มาตรฐาน
แนวทางในกลุ่มนี้เหมาะสมสำหรับใช้จัดการเรียนรู้แก่ผู้เรียนในสถานศึกษาที่ยังใช้หลักสูตรเดิมที่มี
ลักษณะเป็นหลักสูตรอิงมาตรฐานเป็นหลัก หรือสำหรับผู้ที่สนใจและเพิ่งเริ่มต้นจัดการเรียนรู้แบบฐาน
สมรรถนะ เน่อื งจากมลี กั ษณะทอี่ ิงกับวธิ ีคดิ ในการออกแบบการเรียนการสอนเช่นเดิมสูง ไมแ่ ตกตา่ งไปจากที่ได้
ดำเนินการอยู่มากนัก และอาจยังถือวา่ ไม่ใช่การจดั การเรยี นรู้ฐานสนมรรถนะโดยสมบูรณ์ แนวทางในกลุ่มน้มี ี
2 แนวทาง ไดแ้ ก่
แนวทางที่ 1 : ใช้งานเดิม เสริมสมรรถนะ การสอนแนวทางที่ 1 นี้เป็นการสอนตามปกติที่
สอดแทรกสมรรถนะ ซงึ่ ครูไดว้ เิ คราะหแ์ ผนการจัดการเรียนรู้เดิมที่มีการออกแบบตามหลกั สูตรองิ มาตรฐานมา
กำหนดความฉลาดรู้พื้นฐาน (Competencies in Basic Literacy) และสมรรถนะหลัก 7 สมรรถนะ (Core
Competency) เพื่อส่งเสริมพัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะตามที่ครูเห็นว่าสอดคล้องกับการบทเรียนนั้นเข้าไป
ห้ามเผยแพร่ คดั ลอก จัดทำสำเนา และอ้างองิ โดยไมไ่ ดร้ ับอนุญาต
36
และอาจปรบั กจิ กรรม หรือคิดกจิ กรรมต่อยอด เพื่อใหผ้ เู้ รียนได้พฒั นาสมรรถนะนั้นย่ิงข้ึน หรอื ได้สมรรถนะอ่ืน
เพิ่มมากขนึ้ ชว่ ยเพ่ิมการเรยี นรูข้ องผูเ้ รียนให้เข้มขน้ และมีความหมายยงิ่ ข้ึน
แนวทางท่ี 2 : ใช้งานเดิม ต่อเติมสมรรถนะ การสอนแนวทางนี้เป็นการต่อยอดจากแนวทางที่ 1
กล่าวคือ เมื่อครูเริม่ คุ้นเคยกับสมรรถนะมากขึน้ และตอ้ งการให้ผูเ้ รียนได้รับประโยชน์จากสมรรถนะมากยิ่งขึ้น
ครูก็สามารถตัดสินใจว่าตนจะนำสมรรถนะใดเข้ามาในบทเรียน และออกแบบกิจกรรมเพิ่มเติมโดยใช้
สถานการณ์ต่างๆ เพื่อต่อยอดให้ผู้เรียนได้นำความรู้ ทักษะ และเจตคติ ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ที่
หลากหลาย เพือ่ พฒั นาผู้เรียนให้มีสมรรถนะในเรื่องท่เี รียนรู้นั้นมากยิ่งข้ึน ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนใช้ความรู้ ทักษะ
ไดจ้ รงิ ในสถานการณท์ ่หี ลากหลาย และพฒั นาผ้เู รยี นไดม้ ากข้ึน
กลมุ่ ที่ 2: การนำกรอบสมรรถนะหลกั สูก่ ารพัฒนาผ้เู รยี นโดยองิ ฐานสมรรถนะหรือ
หลักสูตรอิงมาตรฐาน
แนวทางในกลมุ่ นี้สามารถใช้จัดการเรยี นรูแ้ กผ่ ู้เรียนในสถานศึกษาที่ยังใชห้ ลักสูตรเดิมท่ีมีลักษณะเป็น
หลักสตู รองิ มาตรฐานก็ได้ หรอื ใชใ้ นสถานศกึ ษาทมี่ งุ่ เน้นการจัดการศึกษาฐานสมรรถนะก็ไดเ้ ชน่ กัน เน่ืองจากมี
ลักษณะท่ยี ดื หยุ่น สามารถปรับใช้ได้ตามแตบ่ ริบทของสถานศกึ ษา แนวทางในกล่มุ น้ีมี 2 แนวทาง ไดแ้ ก่
แนวทางที่ 3 : ใช้รูปแบบการเรียนรู้ สู่การพัฒนาสมรรถนะ การสอนตามแนวทางนี้ เป็นการสอน
ที่เหมาะสำหรับครูที่มีรูปแบบหรือนวัตกรรมการสอนที่เป็นรูปแบบเฉพาะ แนวทางนี้ครูจะนำรูปแบบ
การเรียนรู้ที่ใช้เดิมมาวิเคราะห์เชื่อมโยงกับสมรรถนะความฉลาดรู้พื้นฐาน ( Competencies in Basic
Literacy) และสมรรถนะหลกั 7 สมรรถนะ (Core Competency) ท่สี อดคล้องกบั รูปแบบการเรียนรู้ หรือเปน็
หน่วยการเรียนรู้เดิมที่มีกระบวนการสอนตามรูปแบบที่ครูคัดสรรว่าสามารถพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนได้ และ
พิจารณาความสอดคล้องระหว่างจุดหมายของรูปแบบ แนวคิดทฤษฎีพืน้ ฐานและขั้นตอนการสอนของรูปแบบ
กับสมรรถนะที่มุ่งพัฒนา พิจารณาว่าสามารถปรับหรือเพิ่มขั้นตอนย่อยเพื่อเพิ่มหรือเน้นทักษะสำคัญๆของ
สมรรถนะได้อย่างมีประสทิ ธิภาพและครอบคลุมเปา้ หมาย ซึ่งช่วยใหผ้ ู้เรียนเกดิ การเรียนรูต้ ามจุดเน้น แนวคิด
และจุดประสงค์ของรูปแบบการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อการเกิดสมรรถนะที่มุ่งพัฒนาผู้เ รียนตามผลลัพธ์การเรียนรู้
(Learning Outcomes) ทก่ี ำหนด
แนวทางที่ 4 : สมรรถนะเปน็ ฐาน ผสานตัวช้ีวัด การสอนตามแนวทางน้ีเป็นการนำสมรรถนะมาเป็น
ฐานในการวางแผนออกแบบการจัดการเรียนการสอน โดยการพิจารณาความสอดคล้องของสมรรถนะกับ
ตัวชว้ี ัดทส่ี อดคลอ้ งกนั มาใช้ในการออกแบบการสอน เพ่อื ใหผ้ เู้ รยี นไดเ้ รียนรู้ท้งั เน้ือหาสาระ ทกั ษะ และเจตคติ
ค่านิยมตามที่ตัวชี้วัด/ ผลการเรียนรู้ที่กำหนด ไปพร้อมกับการพัฒนาสมรรถนะหลักที่จำเป็นต่อชีวิตของเขา
ครูจะนำสมรรถนะหลักที่ต้องการและตัวชี้วัดชั้นปีที่สอดคล้องกันมาออกแบบการสอนที่บูรณาก ารสมรรถนะ
ห้ามเผยแพร่ คัดลอก จัดทำสำเนา และอ้างอิง โดยไมไ่ ดร้ บั อนุญาต
37
ความฉลาดรู้พื้นฐาน (Competencies in Basic Literacy) และสมรรถนะหลัก 7 สมรรถนะ (Core
Competency) ที่ต้องการเน้น มาใช้อย่างกลมกลืน ซึ่งเป็นแนวทางที่เหมาะสมกับครูที่ได้ทดลองพัฒนา
สมรรถนะผู้เรียนตามแนวทางที่ 2 และแนวทางที่ 3 มาแล้วระยะหนึ่งจนมีความมั่นใจมากขึ้น และพร้อมที่จะ
ก้าวออกจากการสอนแบบเดิมๆไปสกู่ ารสอนทเี่ นน้ สมรรถนะอยา่ งเต็มตวั หรอื ครูทเ่ี หน็ ประโยชน์ของสมรรถนะ
และต้องการจะออกแบบแผนการสอนของตน โดยใช้สมรรถนะเป็นตัวนำในการวางแผนเพื่อพัฒนาคุณภาพ
ผู้เรยี น แต่ขณะเดียวกนั ก็ครอบคลมุ ตัวชวี้ ัดท่ีหลักสูตรสถานศึกษากำหนดไว้อย่างครบถ้วน
กลุ่มที่ 3: การนำกรอบสมรรถนะหลกั สู่การพฒั นาผเู้ รยี นบนฐานสมรรถนะ
แนวทางในกลุ่มนีเ้ หมาะสมสำหรับใชจ้ ัดการเรียนรูแ้ ก่ผู้เรียนในสถานศึกษาที่มุ่งเน้นการจัดการศึกษา
ฐานสมรรถนะเป็นหลัก เนื่องด้วยกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะตามที่กำหนด
เป็นสำคัญ และมีลักษณะของออกแบบการเรียนรู้แบบบูรณาการทั้งการบูรณาการระหว่างสาระต่าง ๆ
บูรณาการการพฒั นาสมรรถนะ และการบรู ณาการกบั วิถีชีวติ ของผูเ้ รียน แนวทางในกลมุ่ นม้ี ี 4 แนวทาง ได้แก่
แนวทางที่ 5 : บูรณาการผสานหลายสมรรถนะ การสอนตามแนวทางนี้ เป็นการนำสมรรถนะ
ความฉลาดรู้พื้นฐาน (Competencies in Basic Literacy) และสมรรถนะหลัก 7 สมรรถนะ (Core
Competency) ที่เกี่ยวข้องมาออกแบบการสอนที่มีลักษณะเป็นหน่วยบูรณาการที่ช่วยให้เด็กได้เรียนรู้อย่าง
เป็นธรรมชาติ และเห็นความสัมพันธ์ระหว่างวิชา/กลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ การออกแบบในลักษณะ
การบรู ณาการผสานหลายสมรรถนะตามแนวทางนีเ้ ป็นการจัดการเรยี นรู้ในลักษณะองค์รวมทน่ี ำส่ิงท่ีเกิดขึ้นใน
ชีวิตจริง สังคม และโลก เช่น สถานการณ์ ประเด็นสำคัญในสังคม ปรากฎการณ์ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้เรียน
โดยผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงการเรียนรู้กับประสบการณ์ในชีวิตจริงและส ามารถนำไปใช้ในชีวิตจริงอย่างมี
ความสขุ เป็นพลเมืองไทยท่ีมีคุณภาพในอนาคต แนวทางการออกแบบการจัดการเรยี นการสอนตามแนวทางน้ี
จึงเป็นกลวิธีการบูรณาการการสอนที่สอดคล้องกับการใช้สมรรถนะเป็นฐานในการจัดการเรีย นการสอนฐาน
สมรรถนะ (Competency-based Instruction : CBI) มากทสี่ ุด
แนวทางที่ 6 : สมรรถนะชีวิตในกิจวัตรประจำวัน การสอนตามแนวทางนี้ เป็นแนวทางการนำ
สมรรถนะความฉลาดรูพ้ ื้นฐาน (Competencies in Basic Literacy) และสมรรถนะหลัก 7 สมรรถนะ (Core
Competency) มาวิเคราะห์ความสอดคล้องกับเป้าหมาย จุดเน้น อัตลักษณ์ หรือเอกลักษณ์ ที่สถานศึกษา
กำหนดให้เป็นจุดเน้น เพื่อสร้างสรรค์การเรียนรู้อย่างสอดคล้องสัมพันธ์กับการดำเนินชีวิตประจำวันปกติของ
นกั เรียนและสอดคล้องกิจกรรมตา่ งๆ ท่ีมกั เกิดในโรงเรยี น นบั เป็นการฝกึ / พัฒนาสมรรถนะน้ันๆ ได้อยา่ งซ้ำๆ
อีกทั้งเป็นไปตามธรรมชาติปกตขิ องชีวิตนักเรียน เช่น ช่วงเวลากิจกรรมหน้าเสาธง กิจกรรมตามโครงการของ
สถานศึกษา และกิจกรรมวันสำคัญต่าง ๆ เป็นต้น กิจกรรมที่จัดมีความยืดหยุ่น และท้าทายที่จะเผชิญ
สถานการณ์ตามธรรมชาติของชีวิต เพื่อสอดแทรกการพัฒนาสมรรถนะเข้าในกิจวัตรประจำวันของผู้เรียนท่ี
เหมาะสมกับผู้เรียนแต่ละช่วงวัย และเมื่อฝึกพัฒนาสมรรถนะนั้นๆได้อย่างคล่องแคล่วและผ่านสถานการณ์
ห้ามเผยแพร่ คัดลอก จัดทำสำเนา และอ้างองิ โดยไม่ไดร้ บั อนุญาต
38
ต่างๆ ผู้เรียนจะค่อยๆ มีสมรรถนะนั้นๆ อย่างแท้จริง สามารถนำความรู้ ทักษะ และ ประสบการณ์ ไปใช้ใน
สถานการณ์ต่าง ๆ ในการดำเนนิ ชีวิตจรงิ
แนวทางท่ี 7 : การเรียนรู้สมรรถนะแบบผสมผสาน (Hybrid Competency Learning)
การเรียนรู้สมรรถนะแบบผสมผสาน เป็นการสร้างสรรค์การเรียนรู้สมรรถนะในหลากหลายรูปแบบ ให้
ความสำคัญกับการบูรณาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับบริบทในชีวิตจริงที่บ้านของผู้เรียนและยืดหยุ่นไปตาม
สถานการณ์ ความพร้อม และบริบทของโรงเรียน เป็นการออกแบบภายใต้ข้อจำกัดที่ต้องมีความยืดหยุ่นและ
ยังคงทำให้เกิดการเรยี นรู้ทสี่ ามารถพฒั นาสมรรถนะของผูเ้ รียน ทั้งการพฒั นาสมรรถนะในความฉลาดรู้พ้ืนฐาน
(Competencies in Basic Literacy) และสมรรถนะหลัก 7 สมรรถนะ (Core Competency) ให้เป็นไปตาม
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ต้องการได้ โดยยึดหลักในการออกแบบการเรียนรู้และพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน โดยให้
ความสำคัญกับการบูรณาการเรียนรู้ในสถานการณ์ที่มีความเหมาะสม และสามารถผสมผสานวิธีการเรียน
การสอนได้หลากหลาย โดยแบ่งรูปแบบวิธีการเรียนรู้ออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ การเรียนการสอนทางไกล
(Distance Learning) การเรียนแบบเผชิญหน้า (Face to Face Learning) และการเรียนแบบผสมผสาน
(Blended Learning) การใช้แนวทางนี้ในการส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียนจะทำใหค้ รูเปลีย่ นมมุ มองและสามารถ
ออกแบบการเรียนรู้ในสถานการณ์ใหม่ ภายใต้ข้อจำกัดต่าง ๆ และมีความสัมพันธ์กับบริบทและชีวิตจริงของ
ผู้เรียน ทัง้ ที่บ้านและโรงเรียน เกดิ เป็นสมรรถนะที่มฐี านของความเป็นจริงในชีวิตประจำวนั
แนวทางที่ 8 : เชื่อมงาน ประสานการเรียนรู้สู่การพัฒนาสมรรถนะทั้งโรงเรียน (Whole-School
Learning) การส่งเสริมสมรรถนะหลักของผู้เรียนสามารถทำได้ทั้งในห้องเรียน นอกห้องเรียน นอกโรงเรียน
ที่บ้าน ในชุมชน อีกทั้งผ่านการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน โดยการเรียนรู้จากเรื่องราว/ประเด็น/เนื้อหา/ต้นทุน
ของโรงเรียนหรือชุมชน / บทเรียนทมี่ ีความหมายร่วมกันท่เี ป็นจุดเน้นสำคัญของโรงเรยี น และนำสู่การพัฒนา
ผเู้ รยี นทง้ั โรงเรียน (Whole-School) โดยการกำหนดสมรรถนะท่ีจะพฒั นา ออกแบบสาระการเรียนรู้ และงาน
การเรยี นร้ทู ่เี หมาะสมกับนักเรียนทุกชนั้ ทุกกลุ่ม ตามลกั ษณะพน้ื ฐานความรู้ท่ีมี ระดับพัฒนาการและประเด็น
ที่เป็นความสนใจทั้งรายบุคคล รายกลุ่ม และชั้นเรียน การใช้แนวทางนี้ในการส่งเสริมสมรรถนะจะทำให้เกิด
การเรียนรู้ในเรื่องเดียวกัน แต่ต่างกันในประเด็นย่อย และความลุ่มลึกในสิ่งที่เรียน ส่งผลต่อการแลกเปลี่ยน
เรยี นรู้ แบง่ ปันประสบการณ์ระหว่างกนั เกดิ การเรยี นร้เู ชงิ ลึก ทส่ี ำคัญคอื สามารถเช่อื มโยงความรู้ ทกั ษะ และ
คณุ ลักษณะท่ไี ด้เรียนรู้ไปใช้ไดจ้ ริงผ่านสถานการณ์หลากหลายท้ังในหอ้ งเรียน นอกหอ้ งเรียน และชวี ิตจริง ช่วย
ปลูกฝงั สมรรถนะสำคญั ต่อการดำรงชวี ติ ประจำวันใหเ้ กดิ ขนึ้ อย่างย่ังยนื
สำหรับส่วนการเชื่อมโยงกับโครงสร้างรายวิชาและโครงสร้างเวลาเรียน ที่ปรากฎในหลักสูตร รวมถึง
รายวิชา/กิจกรรมที่อาจอยู่นอกเหนือหลักสูตร (Extra-Curricular Activities) จะเห็นได้ว่าแนวทางการจัด
การเรียนการสอนฐานสมรรถนะบางกลุ่มสามารถเชื่อมโยงกับรายวิชาของกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่มีสาระ
มาตรฐาน และตัวชี้วัดชั้นปีกำกับอยู่ ดังเช่น กลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 3 ในขณะที่บางแนวทางการจัดการเรียน
การสอนฐานสมรรถนะสามารถเชื่อมโยงกับรายวิชาพื้นฐาน รายวิชาเพิ่มเติม กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน รายวิชา
หรือกิจกรรมอื่น ๆ ที่อยู่นอกเหนือหลักสูตรสถานศึกษา แนวทางการจัดการเรียนการสอนฐานสมรรถนะจึง
ห้ามเผยแพร่ คดั ลอก จัดทำสำเนา และอา้ งองิ โดยไม่ไดร้ ับอนญุ าต
39
สามารถเชื่อมโยงกับหลักสูตรสถานศึกษาได้อย่างยืดหยุ่น โดยเชื่อมโยงได้ทั้งกับสาระ มาตรฐาน ตัวชี้วัดชั้นปี
รวมถึงผลการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในรายวิชาเพิ่มเติม และเป้าหมายของรายวิชา/กิจกรรมที่ไม่อยู่ในโครงสร้าง
หลักสูตร ซึ่งกระบวนการออกแบบหลักสูตรสถานศึกษาจะมีความแตกต่างกันไปตามจุดเน้นและบริ บทที่
แตกตา่ งกันของสถานศกึ ษา ดงั ภาพที่ 6
แนวทางการจดั การเรยี นการสอนฐานสมรรถนะ โครงสร้างรายวชิ าทีป่ รากฎในหลกั สตู รสถานศกึ ษา
กลุ่มที่ 1 การนำกรอบสมรรถนะหลกั ส่กู ารพัฒนา (ตามโครงสร้างหลักสตู รแกนกลางการศึกษาขั้นพน้ื ฐาน พ.ศ. 2551)
ผู้เรียนบนฐานหลกั สูตรอิงมาตรฐาน
รายวิชาพนื้ ฐาน 8 สาระการเรยี นรู้
แนวทางท่ี 1: ใชง้ านเดมิ เสริมสมรรถนะ
แนวทางท่ี 2: ใช้งานเดมิ ตอ่ เตมิ สมรรถนะ (อ้างองิ ตามสาระ มาตรฐาน และตัวช้วี ดั ช้นั ป)ี
กลมุ่ ที่ 2 การนำกรอบสมรรถนะหลักสู่การพฒั นา รายวชิ าเพม่ิ เติม (ตามจุดเน้นของสถานศึกษา)
ผู้เรียนโดยอิงฐานสมรรถนะหรอื หลักสูตรอิงมาตรฐาน
(อา้ งองิ ตามผลการเรยี นรทู้ ี่คาดหวงั ของรายวิชา)
แนวทางที่ 3: ใช้รูปแบบการเรียนรู้ ส่กู ารพัฒนาสมรรถนะ
แนวทางท่ี 4: สมรรถนะเป็นฐาน ผสานตัวชวี้ ัด กจิ กรรมพัฒนาผู้เรียน
(ตามจุดเนน้ ของสถานศกึ ษา)
(อา้ งอิงตามผลการเรยี นร้ทู ี่คาดหวังของรายวชิ า)
กลุ่มที่ 3 การนำกรอบสมรรถนะหลักสกู่ ารพัฒนา รายวิชา/กจิ กรรมทอี่ ยนู่ อกเหนอื โครงสร้างหลกั สตู ร
ผู้เรียนบนฐานสมรรถนะ (Extra-curricular Activities)
แนวทางที่ 5: บูรณาการผสานหลายสมรรถนะ
แนวทางที่ 6: สมรรถนะชวี ติ ในกจิ วัตรประจำวนั
แนวทางที่ 7 : การเรียนรูส้ มรรถนะแบบผสมผสาน
แนวทางที่ 8 : เชอ่ื มงาน ประสานการเรยี นรูส้ ู่การพฒั นา
สมรรถนะทง้ั โรงเรยี น
ภาพที่ 6 แนวทางการจดั การเรยี นการสอนฐานสมรรถนะทเี่ ช่ือมโยงกับรายวิชาท่ปี รากฎในหลกั สตู รสถานศกึ ษา
ห้ามเผยแพร่ คัดลอก จัดทำสำเนา และอา้ งองิ โดยไม่ไดร้ บั อนุญาต
40
สำหรับการออกแบบหลักสูตรฐานสมรรถนะที่เชื่อมโยงแนวทางการจัดการเรียนการสอน
ฐานสมรรถนะทั้ง 3 กลุ่มนั้น เมื่อพิจารณากระบวนการออกแบบหลักสูตรโดยทั่วไปทั้ง 4 ขั้นตอน ได้แก่
(1) การกำหนดเป้าหมายหลักสูตร/รายวิชา (2) การคัดเลือกเนื้อหาหรือประสบการณ์ (3) การจัดโครงสร้าง
เนื้อหา/ประสบการณ์และการจัดกิจกรรม และ (4) การกำหนดวิธีการวัดประเมินผลการเรียนรู้ตามเป้าหมาย
หลักสูตร/รายวิชา ครผู ู้สอนที่ประสงค์จะนำแนวทางการจดั การเรียนการสอนฐานสมรรถนะทง้ั 3 กลุ่มไปใช้น้ัน
สามารถออกแบบหลกั สตู รรายวิชาตามข้ันตอนท้ัง 4 ขั้นตอนได้ โดยมรี ายละเอียดในการดำเนินการที่แตกต่าง
กนั เล็กนอ้ ย ซึง่ จะสามารถอธบิ ายไดต้ ามลำดบั ดงั ตอ่ ไปนี้
กลุ่มที่ 1 การนำกรอบสมรรถนะหลักสู่การพัฒนาผู้เรียนบนฐานหลักสูตรอิงมาตรฐาน มีลักษณะ
เฉพาะที่มงุ่ เน้นการเช่ือมโยงสมรรถนะเข้าสู่สาระ มาตรฐาน และตวั ชีว้ ัดช้นั ปีในกลุ่มสาระการเรียนรใู้ นรายวิชา
พ้ืนฐานท้งั 8 กลุม่ สาระการเรยี นรู้ โดยเฉพาะอยา่ งยิ่งการจดั การเรียนการสอนฐานสมรรถนะตาม แนวทางท่ี 1
ใช้งานเดิม เสริมสมรรถนะ และ แนวทางที่ 2 ใช้งานเดิม ต่อเติมสมรรถนะ ที่มีการกำหนดตัวชี้วัดชั้นปีตาม
กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่จะจัดการเรียนการสอนฐานสมรรถนะเป็นตัวตั้ง เมื่อกำหนดตัวชี้วัด (อาจจะมากกว่า
หนึ่งกลุ่มสาระการเรียนรู้) ได้แล้ว จึงเป็นขั้นตอนของการคดั เลือกเนือ้ หา/ประสบการณ์ทีส่ อดคล้องกบั ตวั ช้วี ัด
ชั้นปีนั้น ๆ จากนั้นวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ครอบคลุมตัวชี้วัด เนื้อหา/ประสบการณ์ ในขั้นตอนน้ี
จะสามารถเห็นถึงสิ่งที่ผู้เรียนจะต้องปฏิบัติหรือภาระงานที่สะท้อนถึงความรู้ (K) ทักษะ (S) และคุณลักษณะ
(A) ตามตัวช้ีวัดชน้ั ปที ่ีกำหนด ขัน้ ตอนนีเ้ องครูผู้สอนสามารถพิจารณากรอบสมรรถนะท่สี อดคล้องกับกิจกรรม
การเรียนรู้ที่กำหนดได้ เมื่อกำหนดสมรรถนะที่ต้องการพัฒนาให้กับผู้เรียนได้แล้ว จึงกำหนดวิธีวัดประเมินผล
ตวั ชว้ี ดั พรอ้ มกับสมรรถนะทค่ี วรจะเกดิ ขน้ึ ได้ ดงั ท่นี ำเสนอลำดบั ข้ันตอน ในภาพท่ี 7
กำหนดตวั ชวี้ ัด คดั เลือกเนอ้ื หา/ประสบการณ์ วางแผนการจดั กจิ กรรมการเรียนรู้
ตามกล่มุ สาระ ทีส่ อดคลอ้ งกบั ตวั ชี้วัดที่ ทค่ี รอบคลุมตัวชว้ี ดั /เนือ้ หา/
กำหนด ประสบการณ์
การเรียนรู้
กำหนดวธิ ีการวดั ผลประเมินผล วเิ คราะห์สมรรถนะทส่ี อดคล้อง
ตวั ชี้วดั ช้ันปี ทกี่ ำหนดพรอ้ มกบั กบั กจิ กรรมการเรียนรูท้ ีก่ ำหนด
สมรรถนะที่เกดิ ข้นึ
ภาพท่ี 7 ข้ันตอนการออกแบบหลกั สตู รรายวชิ าสำหรับการจดั การเรยี นการสอนฐานสมรรถนะ
ตามแนวทางที่ 1 และ แนวทางท่ี 2
ห้ามเผยแพร่ คัดลอก จัดทำสำเนา และอา้ งองิ โดยไม่ไดร้ ับอนญุ าต
41
กลุ่มที่ 2 การนำกรอบสมรรถนะหลักสู่การพัฒนาผู้เรียนโดยอิงฐานสมรรถนะหรือหลักสูตร
อิงมาตรฐาน ประกอบด้วยแนวทางการจัดการเรียนการสอนฐานสมรรถนะ แนวทางที่ 3: ใชร้ ปู แบบการเรยี นรู้
สู่การพัฒนาสมรรถนะ และแนวทางที่ 4 : สมรรถนะเป็นฐาน ผสานตัวชี้วัด จุดเด่นของทั้งสองแนวทางนี้คือ
การมุ่งเน้นการพัฒนาสมรรถนะเป็นตวั ตั้งโดยผสมผสานกบั อีกจดุ เน้นหนึ่งท่ีมีความแตกตา่ งกัน โดยแนวทางท่ี
3 ใช้รูปแบบการเรียนรู้ สู่การพัฒนาสมรรถนะ จะมุ่งเน้นการเชื่อมโยงการพัฒนาสมรรถนะร่วมกับรูปแบบ
การเรียนรู้ที่ผู้สอนกำหนด สำหรับกระบวนการออกแบบหลักสูตรรายวิชาตามแนวทางที่ 3 ใช้รูปแบบ
การเรียนรู้ สู่การพัฒนาสมรรถนะ จะเริ่มต้นจากการกำหนดรูปแบบการเรียนรู้ จากนั้นจึงวิเคราะห์งาน
สถานการณ์ หรือปัญหา เมื่อได้งาน สถานการณ์ หรือปัญหาที่จะใช้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ภายใต้รูปแบบ
การเรียนรู้แล้ว จึงวิเคราะห์สมรรถนะที่ผู้เรียนน่าจะได้พัฒนาสมรรถนะในการทำงานหรือจัดการกับ
สถานการณ์หรือปัญหานั้น โดยอาจวิเคราะห์สาระ มาตรฐาน ตัวชี้วัดชัน้ ปี หรือผลการเรียนรู้ ท่ีอาจเกี่ยวข้อง
เชื่อมโยงกับงาน สถานการณ์ หรือปัญหาที่กำหนดในรูปแบบการเรียนรู้ร่วมด้วยได้ เมื่อวิเคราะห์งาน
สถานการณ์ หรอื ปญั หา ร่วมกับสมรรถนะ รวมถึงสาระ มาตรฐาน ตวั ชว้ี ดั ชนั้ ปี หรือผลการเรยี นรู้แล้ว จึงเป็น
การกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เป็นไปตามเง่ือนไขของรูปแบบการเรียนรู้ท่ีกำหนดและครอบคลุมสมรรถนะที่
ระบไุ ว้ และวางแผนกำหนดวธิ กี ารประเมนิ ผลที่ครอบคลุมสมรรถนะทีผ่ ูเ้ รียนพงึ ปฏบิ ตั ิได้ต่อไป ดังทน่ี ำเสนอใน
ภาพที่ 8
กำหนดรูปแบบการเรยี นรู้ วเิ คราะห์งาน สถานการณ์ หรือปญั หาท่ี วเิ คราะห์สมรรถนะท่ีเกิดขนึ้ จาก
สำหรบั การจดั การเรียนรู้ จะใช้ร่วมกบั รูปแบบที่กำหนด การทำกิจกรรมตามรูปแบบการ
กำหนดวธิ ีการวดั ผล วางแผนการจดั กิจกรรมการเรียนรู้ เรียนรูแ้ ละวิเคราะห์เนอ้ื หา/
ประเมนิ ผลสมรรถนะ ท่ีครอบคลุมสมรรถนะ ประสบการณห์ รอื สาระ/
มาตรฐาน/ตวั ชว้ี ดั /
ผลการเรยี นร้ทู ่เี กย่ี วข้อง (ถา้ มี)
ที่สมั พนั ธก์ บั สมรรถนะ
ภาพที่ 8 ขัน้ ตอนการออกแบบหลกั สตู รรายวิชาสำหรบั การจดั การเรียนการสอนฐานสมรรถนะตามแนวทางที่ 3
กลุ่มที่ 3 การนำกรอบสมรรถนะหลักสู่การพัฒนาผู้เรียนบนฐานสมรรถนะ คือ แนวทางที่ 5:
บูรณาการผสานหลายสมรรถนะ แนวทางที่ 6: สมรรถนะชีวิตในกิจวัตรประจำวัน แนวทางที่ 7: การเรียนรู้
สมรรถนะแบบผสมผสาน (Hybrid Competency Learning) และแนวทางท่ี 8: เช่อื มงาน ประสานการเรยี นรู้
สู่การพัฒนาสมรรถนะทั้งโรงเรียน (Whole-School Learning) ซึ่งเป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนฐาน
สมรรถนะที่ไม่จำเป็นต้องอ้างอิงสาระ มาตรฐาน ตัวชี้วัดชั้นปีของกลุ่มสาระการเรียนรู้กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
เป็นการเฉพาะ เนื่องจากเป็นการจัดการเรียนการสอนที่ยึดกรอบสมรรถนะหลักเป็นตัวตั้ง กระบวนการ
ห้ามเผยแพร่ คดั ลอก จัดทำสำเนา และอา้ งอิง โดยไมไ่ ดร้ บั อนุญาต
42
ออกแบบหลักสูตรรายวิชาตามแนวทางที่ 5 แนวทางที่ 7 และแนวทางที่ 8 จะเริ่มต้นด้วยการกำหนดกรอบ
สมรรถนะหลักที่ประสงค์จะพัฒนาให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน โดยอาจมีลักษณะเป็นงาน (Task) สถานการณ์
(Situation) หรือปัญหา (Problem) จากนั้นวิเคราะห์เนื้อหาและประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสาระ
มาตรฐาน ตัวชี้วัดช้ันปีของกลุ่มสาระการเรยี นรู้ รวมถึงผลการเรียนรู้ที่คาดหวังในรายวิชาที่อาจเกี่ยวข้องหรือ
เป็นส่วนหนงึ่ ของงาน สถานการณ์ หรอื ปัญหาทีก่ ำหนดไว้ เมื่อวเิ คราะห์ผลการเรยี นรู้ (Learning Outcomes)
ทั้งหมดเรียบร้อยแล้ว จึงกำหนดการจัดกิจกรรมการเรยี นรู้ที่ครอบคลมุ งาน สถานการณ์ หรือปัญหาที่กำหนด
ไว้ และกำหนดการวัดประเมินผลการเรียนรตู้ ามกรอบสมรรถนะหลกั ท่ีควรจะเกดิ ขึน้ กับผเู้ รียน ดงั กระบวนการ
ทน่ี ำเสนอในภาพท่ี 9
กำหนดสมรรถนะท่ตี ้องการ วเิ คราะห์งาน สถานการณ์ หรือปัญหาที่ วิเคราะหเ์ นื้อหา/ประสบการณ์หรือ
พัฒนาให้เกดิ ข้นึ กับผู้เรยี น ผเู้ รียนจะสามารถใช้สมรรถนะทกี่ ำหนดได้ สาระ/มาตรฐาน/ตวั ช้ีวัด/ผลการ
เรียนรทู้ เี่ กย่ี วข้อง (ถา้ มี) ท่ีสมั พนั ธ์
กำหนดวิธกี ารวัดผล วางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ประเมินผลสมรรถนะ ที่ครอบคลุมสมรรถนะ กบั สมรรถนะที่กำหนด
ภาพที่ 9 ข้ันตอนการออกแบบหลักสูตรรายวชิ าสำหรับการจดั การเรียนการสอนฐานสมรรถนะตามแนวทางท่ี 5 7 8
ในขณะที่ แนวทางที่ 6 สมรรถนะชวี ติ ในกิจวตั รประจำวนั จะม่งุ เน้นการเชื่อมโยงการพฒั นาสมรรถนะ
ร่วมกับสถานการณ์หรือเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันที่ผู้เรียนพึงประสบ แนวทางนี้มีลักษณะสำคัญคือการจัด
กิจกรรมที่ไม่ได้มุ่งเน้นการกำหนดเนื้อหาสาระแบบตายตัว (Content Free) มีผลทำให้กระบวนการออกแบบ
หลักสูตรรายวิชาจะเริ่มต้นจากการวิเคราะห์งาน สถานการณ์ หรือปัญหาที่พบร่วมกันกับผู้เรียน จากนั้น
วิเคราะห์สมรรถนะที่ผู้เรียนพึงจะปฏิบัติในการทำงานหรือจัดการสถานการณ์หรือปัญหานั้น ตามด้วย
การวิเคราะห์เนื้อหาหรือประสบการณ์ที่อาจเชื่อมโยงไปถึงสาระ มาตรฐาน ตัวชี้วัด หรือผลการเรียนรู้ที่
เกี่ยวข้องได้ ซึ่งการวิเคราะห์ดังกล่าวจะยึดสมรรถนะท่ีกำหนดเป็นแกนหลัก จากนั้นจึงเป็นขั้นตอนของ
การวางแผนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ครอบคลุมสมรรถนะ ตลอดจนวิธีการวัดประเมินผลสมรรถนะดังกล่าว
ดังกระบวนการ ภาพท่ี 10
ห้ามเผยแพร่ คดั ลอก จัดทำสำเนา และอา้ งองิ โดยไม่ไดร้ ับอนญุ าต
43
วิเคราะหง์ าน สถานการณ์ หรือปญั หา วเิ คราะห์สมรรถนะ วเิ คราะหเ์ นือ้ หา/ประสบการณ์
ทพ่ี บร่วมกันกับผเู้ รียน ท่ีเกดิ ข้ึนจากการทำงาน หรอื สาระ/มาตรฐาน/ตวั ชวี้ ัด/
ในกจิ วตั รประจำวัน ผลการเรียนรูท้ ่ีเก่ยี วขอ้ ง(ถา้ มี)
นั้น
ทส่ี มั พันธ์กบั สมรรถนะ
กำหนดวธิ กี ารวัด วางแผนการจดั กิจกรรมการเรยี นรู้
ประเมินผลสมรรถนะ ทค่ี รอบคลมุ สมรรถนะ
ภาพที่ 10 ขั้นตอนการออกแบบหลักสูตรรายวชิ าสำหรบั การจัดการเรียนการสอนฐานสมรรถนะตามแนวทางที่ 6
จะเห็นได้ว่า กรอบสมรรถนะสำหรับผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานสามารถนำมาสู่การออกแบบ
หลักสูตรสถานศึกษาและการจัดการเรียนการสอนฐานสมรรถนะได้ตามแนวทางที่เสนอแนะ 6 แนวทาง ที่ได้
พัฒนามาจาก ผลการวิจัยและพัฒนากรอบสมรรถนะผู้เรียนระดับประถมศึกษาตอนต้น สำหรับหลักสูตร
สถานศึกษา (สำนกั งานเลขาธกิ ารสภาการศึกษา, 2562) และคณะวจิ ัยได้นำแนวทางการจัดการเรียนการสอน
ดงั กล่าวมาจัดกลุ่ม 3 กลุม่ เพ่อื ใหส้ ถานศกึ ษาและครผู สู้ อนสามารถนำไปพัฒนาการจัดการเรยี นการสอนที่เน้น
สมรรถนะเป็นฐานได้ตามความต้องการที่สอดคล้องกับบริบทของตน คือ การนำกรอบสมรรถนะหลักสู่
การพัฒนาผู้เรียนบนฐานหลักสูตรอิงมาตรฐาน การนำกรอบสมรรถนะหลักสู่การพัฒนาผู้เรียนโดยอิงฐาน
สมรรถนะหรือหลักสตู รองิ มาตรฐาน และการนำกรอบสมรรถนะหลกั สกู่ ารพัฒนาผเู้ รยี นบนฐานสมรรถนะ
ดังนั้น แนวทางการจัดการเรยี นการสอนฐานสมรรถนะ 6 แนวทางนี้ จึงสามารถเชือ่ มโยงกับหลกั สตู ร
สถานศึกษาได้อย่างยืดหยุ่น และนำมาใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนและการวัดผลประเมินผลใน
ช่วงเวลาของการเปลี่ยนผ่านจากหลักสูตรอิงมาตรฐาน (Standard-based Curriculum) มาสู่หลักสูตรฐาน
สมรรถนะ (Competency-based Curriculum) อย่างกลมกลืนตามบรบิ ทของสถานศึกษา โดยเชอ่ื มโยงได้ท้ัง
8 กลุ่มสาระการเรียนรูแ้ ละกจิ กรรมพฒั นาผเู้ รียน สาระ มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชว้ี ดั ช้ันปี รวมถงึ ผลการเรียนรู้
ที่กำหนดไว้ในรายวิชาเพิ่มเติม ตลอดจนเป้าหมายของรายวิชา/กิจกรรมที่ไม่อยู่ในโครงสร้างหลักสูตร ได้ตาม
ความพร้อมและจุดเนน้ ของสถานศึกษา
ห้ามเผยแพร่ คัดลอก จัดทำสำเนา และอ้างอิง โดยไม่ไดร้ ับอนุญาต
44
ตอนท่ี 4
หลกั การและแนวทางการออกแบบการจัดการเรยี นรู้บนฐานสมรรถนะ
กรอบสมรรถนะหลักสำหรับผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่กำหนดขึ้น มีลักษณะเป็นสมรรถนะ
หลัก (Core Competencies) ซึ่งหมายถึง สมรรถนะที่มีความสำคัญที่เป็นความสามารถที่จำเป็นสำหรับ
ผ้เู รยี นทกุ คน เปน็ สมรรถนะท่ีแสดงถึงความสามารถแบบไต่ระดับตามพัฒนาการของนักเรียนแต่ละช่วงวัยไปสู่
ระดับความสามารถที่สูงกว่าของแต่ละชั้นปี รวมทั้งในลักษณะเฉพาะการทำงาน หรือสมรรถนะวิชาชีพ หรือ
สมรรถนะองค์กรในอนาคตของผูเ้ รียน โดยสมรรถนะหลักระดับการศึกษาขั้นพืน้ ฐาน 7 สมรรถนะนี้ มีพื้นฐาน
จากความฉลาดร้พู ้นื ฐาน (Competencies in Basic Literacy) คา่ นยิ มรว่ มและคณุ ธรรม เพอ่ื การเป็นพลเมือง
ไทยในฐานะพลเมอื งโลกท่มี คี ุณภาพในโลกอนาคต
สมรรถนะในความฉลาดรู้พื้นฐาน (Competencies in Basic Literacy) ถือเป็นสมรรถนะพื้นฐานท่ี
เปน็ เครื่องมือสำคัญในการเรียนรู้ (Learning Tool) สมรรถนะเหลา่ นเี้ ป็นสมรรถนะสำคัญซ่ึงเป็นส่วนหนึ่งของ
ความฉลาดรู้ในด้านน้นั ๆ หรอื เรยี กไดว้ ่าเป็นความฉลาดรู้ (Literacy) ท่ตี ้องพฒั นาแก่ผู้เรียนให้ถึงระดับที่เรียก
ไดว้ า่ เป็น “สมรรถนะ” สมรรถนะในความฉลาดรู้พนื้ ฐาน ประกอบดว้ ยสมรรถนะ 4 สมรรถนะหลัก ได้แก่
1) สมรรถนะหลกั ด้านภาษาไทยเพอ่ื การสอ่ื สาร (Thai Language for Communication)
2) สมรรถนะหลักด้านภาษาอังกฤษเพ่ือการสื่อสาร (English for Communication)
3) สมรรถนะหลกั ด้านคณติ ศาสตร์ในชีวติ ประจำวนั (Mathematics in Everyday Life) และ
4) สมรรถนะหลกั ด้านการสบื สอบทางวทิ ยาศาสตร์และจติ วทิ ยาศาสตร์ (Scientific Inquiry and
Scientific Mind)
ในส่วนของสมรรถนะหลักสำหรบั ผเู้ รยี นระดบั การศึกษาขั้นพื้นฐาน 7 สมรรถนะ ประกอบด้วย
1) สมรรถนะหลกั ด้านทักษะชีวติ และความเจริญแห่งตน (Life Skills and Personal Growth)
2) สมรรถนะหลกั ด้านทกั ษะอาชีพและการเป็นผู้ประกอบการ (Career Skills and
Entrepreneurship)
3) สมรรถนะหลกั ด้านการคิดข้นั สงู และการพัฒนานวัตกรรม (Higher-Order Thinking Skills and
Innovation Development)
4) สมรรถนะหลกั ด้านการรู้เท่าทันส่ือ สารสนเทศ และดจิ ิทลั (Media Information and Digital Literacy)
5) สมรรถนะหลักด้านการสื่อสาร (Communication)
6) สมรรถนะหลักด้านการทำงานแบบรวมพลงั เป็นทีม และมีภาวะผ้นู ำ (Collaboration,
Teamwork and Leadership)
7) สมรรถนะหลกั ด้านการเป็นพลเมอื งต่ืนรทู้ ่ีมสี ำนกึ สากล (Active Citizenship with Global
Mindedness)
หา้ มเผยแพร่ คัดลอก จัดทำสำเนา และอา้ งองิ โดยไม่ไดร้ ับอนุญาต