128
สถานการณ์ตา่ งๆ ผู้เรียนจะคอ่ ยๆ มสี มรรถนะน้ันๆ อยา่ งแท้จรงิ สามารถนำความรู้ ทักษะ และประสบการณ์
ไปใช้ในสถานการณ์ต่างๆ ในการดำเนินชีวิตจริง โดยสามารถจัดเป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้เรียนรู้และพัฒนา
อย่างเป็นขั้นตอน ตามแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่ออกแบบอย่างเป็นทางการ และการพัฒนาตามธรรมชาติ
จากสถานการณ์ในชีวิตประจำวันในลักษณะต่าง ๆ 3 ประการ ประกอบดว้ ย
(1) กิจกรรมเสริมหลักสูตร (Co-Curriculum Activities) เป็นกิจกรรมที่กำหนดเป็นส่วนหนึ่งของ
หลักสูตร มีการออกแบบโครงสร้างของกิจกรรม การดำเนินการ และการประเมินผลการร่วมกิจกรรมและ
นับเป็นหนึ่งของหลักสูตร ได้แก่ กิจกรรมแนะแนว กิจกรรมชุมนมุ /ชมรม กิจกรรมลูกเสือ/ยุวกาชาด กิจกรรม
เพือ่ สงั คมและสาธารณะประโยชน์
(2) กิจกรรมพิเศษ (Extra-Curriculum Activities) เป็นกิจกรรมที่โรงเรียนจัดเป็นวาระตาม
เหตุการณ์ เทศกาล และโอกาส ที่สถานศึกษาจัดขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์หรือได้พัฒนาสมรรถนะ
หลัก ได้แก่ การทัศนศึกษา การร่วมกิจกรรมในชุมชน การเชิญวิทยากรมาบรรยาย การชมภาพยนตร์
การทำงานหรือเรยี นรจู้ ากวิทยากรท่ีเปน็ ภูมปิ ัญญาในท้องถน่ิ การฝึกงานในสถานประกอบการหรอื ชุมชน
(3) หลักสูตรแฝง (Hidden Curriculum) การออกแบบสิ่งแวดล้อมทั้งทางกายภาพในสถานศึกษา
และแบบอยา่ งการมีปฏสิ ัมพันธเ์ พ่ีอให้ผูเ้ รยี นได้เรียนรู้และพฒั นาสมรรถนะหลัก รวมท้ังความสัมพันธ์บ้านและ
ชุมชน ได้แก่ แบบอย่างของการเป็นผพู้ ฒั นาสมรรถนะ สภาพแวดลอ้ มเอื้อให้เกดิ การพัฒนาสมรรถนะ
➢ ขัน้ ตอนการออกแบบกจิ กรรมพัฒนาสมรรถนะผา่ นการปฏิบัตกิ ิจวัตรประจำวัน
1) ขั้นเตรยี มการ
1.1 สำรวจกจิ วัตรประจำวนั ของผู้เรียนซ่ึงมที ้ังกิจวัตรท่ีเป็นรายวนั รายสัปดาห์ รายเดือน รายภาค
และรายปี จดั ทำเป็นรายการไว้
1.2 จดั ทำรายละเอียดของกจิ กรรมทีท่ ำในกิจวตั รต่าง ๆ โดยเร่ิมตน้ ทำไปทลี ะกจิ วตั รดงั น้ี
1) ระบจุ ดุ ประสงคห์ ลักของกิจวตั รน้นั
2) พิจารณาว่าสมรรถนะอะไรที่สามารถนำมาเพิ่มเติม เพื่อช่วยให้ทำกิจวัตรนั้นได้ดีขึ้น
(สามารถใชร้ ายการสมรรถนะหลกั ชว่ ยในการวิเคราะห์ ตรวจสอบ)
3) นำสมรรถนะที่เพ่มิ ไปเตมิ ในจุดประสงค์ขอ้ 1
1.3 กำหนดสาระความรู้ (K) ทักษะ (P) และคุณลักษณะ (A) รวมทั้งตัวชี้วัดของ KPA ที่จำเป็นต่อ
การเสริมสร้างสมรรถนะทต่ี อ้ งการ เพือ่ ใช้เปน็ แนวทางในการจดั การเรียนรู้
1.4 จดั ทำเอกสารความรเู้ สริมสำหรบั ครูเนื่องจากการดูแล ตดิ ตาม กำกับพฤติกรรมของผู้เรียนนั้น
ไมไ่ ดเ้ ปน็ หนา้ ท่ขี องครูประจำชนั้ เพียงผู้เดียว แตเ่ ปน็ หนา้ ทข่ี องครทู กุ คนท่ีจะต้องเอาใจใส่ดูแล สมรรถนะหลาย
สมรรถนะอาจไม่ได้อยู่ในความชำนาญของครูทุกคน ดังนั้น ครูที่มีความรู้ ความเข้าใจที่เกี่ยวข้อกับสมรรถนะ
นั้นๆ จึงควรจัดทำเอกสารให้ความรู้เสริมแก่ครูคนอื่น เพื่อให้มีความเข้าใจตรงกันในประเด็นที่ต้องการเสริม
ใหแ้ กผ่ เู้ รยี น ดังนนั้ ครทู กุ คนจึงมีตวั ช่วยในการร่วมกันพฒั นาผ้เู รียนให้ไปในทิศทางเดียวกนั
หา้ มเผยแพร่ คดั ลอก จัดทำสำเนา และอา้ งอิง โดยไมไ่ ดร้ บั อนญุ าต
129
กิจกรรมประจำวันที่นักเรียนทำเป็นประจำมักเป็นการกระทำที่ทำเหมือน ๆ กัน และซ้ำๆ กัน
ไมว่ า่ จะเรยี นในระดับใด ทำให้นกั เรยี นไมไ่ ดม้ ีการเรยี นรเู้ พ่ิมขน้ึ ดงั นั้นจงึ ควรที่ครูจะต้องร่วมกันคิดว่า ในแต่ละ
ระดับชั้นหรือช่วงชั้น นักเรียนควรจะต้องมีสมรรถนะเพิ่มขึ้นคือสามารถดูแล รักษาวินัยของหมู่คณ ะได้ ซ่ึง
หมายถงึ การที่นักเรียนจะต้องมสี มรรถนะอื่น ๆ เพมิ่ ขน้ึ เช่น การสงั เกต การปฏสิ มั พนั ธ์กับบุคคลและหมู่คณะ
การส่ือสารอย่างเหมาะสม และการแกป้ ัญหาตา่ ง ๆ ประจำวนั
2. ขนั้ ปฏิบตั กิ ารซอ่ มเสรมิ สมรรถนะ
2.1 เริ่มต้นจากการสำรวจพฤติกรรมการปฏิบัติกิจวัตรของผู้เรยี นเป็นรายบุคคลโดยใช้รูบริกส์เปน็
เครอ่ื งมอื
2.2 วิเคราะห์ข้อมูลจากผลการสำรวจ พฤติกรรมใดที่ผู้เรียนยังไม่ได้ปฏิบัติ หรือปฏิบัติแต่ไม่มี
คุณภาพ หรือปฏิบัติแต่ไม่สม่ำเสมอ ตัวอย่างเช่น ในกิจวัตรการเคารพธงชาติในตอนเช้าของทุกวัน อาจพบว่า
นักเรยี นจำนวนไม่นอ้ ยยังจำเนือ้ เพลง และร้องเพลงชาติไม่ได้
2.3 นำผลการวิเคราะหข์ อ้ มูล มาออกแบบการจดั กจิ กรรมเพื่อซอ่ มหรือเสรมิ สมรรถนะ เชน่
1) ในกรณีที่มีพฤติกรรมที่เป็นปัญหาร่วมของผู้เรียนซึ่งอาจจะเป็นพฤติกรรมที่ต้องซ่อมหรือ
เสริมเพ่มิ เตมิ แลว้ แต่กรณี ให้ครอู อกแบบกิจกรรมซ่อม หรอื เสรมิ การเรยี นรใู้ นเรอื่ งนน้ั โดยอาจสอนในชั้นเรียน
ในกลุ่มสาระที่เกี่ยวข้อง หรือจัดในเวลาของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนหรืออาจจะนัดหมายเรียนนอกเวลา หรือ
อาจจะใช้กลยุทธ์ให้เพื่อนสอนเพื่อน ซึ่งในการดำเนินการนี้ครูสามารถใช้ประโยชน์จากเอกสาร สาระ ทักษะ
และคุณลกั ษณะทจ่ี ำเปน็ ต่อการพัฒนาสมรรถนะ ซ่ึงได้จดั ทำไว้ตามท่ีระบไุ ว้ใน ข้อ 1.3) ของขัน้ ดำเนินการ
2) ในกรณที ี่เปน็ ปัญหารายบคุ คล ครอู าจใชก้ ารแนะนำหรือสอนเป็นรายบุคคล หรอื ให้เพื่อน
ชว่ ยเพื่อน หรือให้ผู้เรยี นดำเนินการเรยี นรู้ด้วยตนเอง โดยครเู ปน็ ที่ปรกึ ษา
ทั้งนี้ครูควรเก็บข้อมูลของนักเรียนเป็นรายบุคคล เพื่อช่วยให้เห็นภาพรวมของนักเรียนแต่ละคน ซึ่ง
สะท้อนจุดอ่อน จุดแข็งของนักเรียน และช่วยให้รู้ว่าควรให้การดูแลติดตามและกำกับนกั เรียนคนใดในเรือ่ งใด
เพื่อช่วยให้ไม่เป็นภาระมากสำหรับครู ครูสามารถจัดระบบให้นักเรียนเป็นผู้เก็บข้อมูล และติดตาม กำกับ
พฤตกิ รรมของกันและกัน โดยครูควรมีการติดตามผลเปน็ ระยะ ๆ และมีการส่มุ ตรวจสอบตามความเหมาะสม
สรุปการออกแบบกิจกรรมพัฒนาสมรรถนะผ่านการปฏบิ ัตกิ จิ วัตรประจำวนั
- วิเคราะห์กิจกรรมในชวี ิตประจำวนั ของของผ้เู รยี นเพ่ือกำหนดประเด็นที่สามารถจัดใหเ้ ปน็ จุดเน้นเพื่อให้
ผ้เู รียนได้พัฒนาสมรรถนะ
- คัดเลือกกิจกรรมสำคัญหรือเงื่อนไขในกิจกรรมเสริมหลักสูตร กิจกรรมพิเศษ หลักสูตรแฝง และ/หรือ
กจิ กรรมอน่ื ๆ ทสี่ ถานศกึ ษาใชเ้ ป็นสถานการณห์ รืองานที่เอือ้ ให้ผู้เรยี นไดพ้ ัฒนาสมรรถนะ
- ออกแบบแนวทางการพัฒนาโดยขยายรายละเอียดงานและการปฏิบัติกิจกรรมในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่
หลากหลายให้ผู้เรียนได้เรียนรู้หรือพัฒนาอย่างเป็นระบบขั้นตอน แล้วกำหนดแนวทางดำเนินการเพื่อให้ผู้ท่ี
รับผดิ ชอบและผทู้ ี่เกย่ี วขอ้ งได้มแี นวทางการดำเนินการไปในทศิ ทางเดยี วกัน
- กำหนดแนวทางการประเมินสมรรถนะหลกั ของผูเ้ รยี น โดยเป็นการประเมินแบบไมเ่ ปน็ ทางการหรือการ
ประเมินตามสภาพจริง เช่น การสะทอ้ นการเรียนรู้ การเขียนบนั ทกึ ประจำวัน การสะท้อนจากมุมมองหรือความ
คิดเหน็ ของเพ่อื น ครู และผู้ทเี่ ก่ียวข้อง (การประเมิน 360 องศา)
ห้ามเผยแพร่ คดั ลอก จัดทำสำเนา และอา้ งอิง โดยไม่ไดร้ บั อนญุ าต
130
ตวั อยา่ ง สมรรถนะชวี ติ ในกจิ วตั รประจำวัน
ในกจิ กรรมเสรมิ หลักสตู ร: กจิ กรรมชมุ นุมภาษาไทย
กิจกรรม สมรรถนะ/ทกั ษะย่อย
ประชุมเพ่ือวางแผนการจัดกิจกรรมชุมนุม ภาษาไทยเพื่อการส่อื สาร
1. รว่ มกนั ตั้งเป้าหมายการจดั กิจกรรมชมุ นุมภาษาไทย
โดยระดมความถนดั ความสนใจของผเู้ รยี น - ใชภ้ าษาไทยในการศึกษาเรยี นรู้ สรา้ งความเขา้ ใจ
2. ลงพื้นทเ่ี พื่อสำรวจสภาพปัญหาในชุมชนและท้องถ่นิ พื้นฐานทางสังคม วัฒนธรรม และภูมิปญั ญาของไทย
เพอ่ื ใหไ้ ดป้ ระเดน็ มาออกแบบกิจกรรมชมุ นุมในลกั ษณะ มีความภาคภมู ิ ผกู พนั ความเป็นไทย สามารถกลน่ั กรอง
ของการเรียนรู้เพื่อรับใชส้ งั คม (Service Learning) สบื สานสงิ่ ดีงามทบี่ รรพบรุ ุษสรา้ งไวแ้ ละพัฒนาให้มี
หรอื การเรยี นรโู้ ดยใช้ชมุ ชนเปน็ ฐาน (Community- คุณคา่ ต่อไป
based Learning) โดยใช้ความร้ทู างภาษาไทยไปช่วย ทักษะการคิดขัน้ สูงและนวัตกรรม
แกป้ ัญหาหรือทำงาน เช่น การร่วมกันทำจดหมายขา่ ว - ใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจเร่อื งตา่ ง ๆ บนฐานของ
เกย่ี วกับสุขภาพอนามัย การปฏิบัติตนในสถานการณ์ ข้อมลู เหตผุ ล หลกั ฐาน รวมท้ังการพจิ ารณาอยา่ วงรอบ
COVID-19 เพ่ือให้ความร้แู กช่ ุมชน ด้านท้ังด้านคุณ โทษ และความเหมาะสมตามหลกั
3. วางแผนการทำงานและแบ่งหนา้ ท่คี วามรบั ผิดชอบ กฎหมาย ศีลธรรมคณุ ธรรม ค่านยิ ม รวมท้ังความเช่ือ
ของสมาชิกในชุมนุม และบรรทดั ฐานของสงั คมและวฒั นธรรม
ดำเนนิ กิจกรรมตามแผนงานท่วี างแผนไว้ การทำงานแบบรวมพลงั เป็นทมี และมภี าวะผู้นำ
1. ดำเนนิ กิจกรรมตามแผนที่วางไวต้ ามระยะเวลาท่ี - มีทกั ษะการเป็นผนู้ ำ และการเปน็ สมาชิกกลุ่มท่ีดี
กำหนด สามารถทำงานกลุม่ ด้วยกระบวนการทำงานที่ดีมี
2. มีการทบทวนการทำงาน การแบ่งปันประสบการณ์ ประสิทธภิ าพ
การทำงานเป็นระยะ เพื่อปรับปรงุ วิธกี ารทำงานให้มี - รบั ฟงั ยอมรบั เคารพความคิดเห็น และมุมมองที่
คุณภาพมากขน้ึ แตกตา่ งของผ้อู ่ืนอย่างจรงิ ใจ เพือ่ ให้เกดิ ความเข้าใจอัน
3. ประชุมเขยี นสมุดการเรียนรู้ และแลกเปล่ยี นเรียนรู้ ดีระหวา่ งกันอย่างแทจ้ ริง
4. ส่อื สารการทำงานกบั สังคมออนไลน์เพื่อสร้างสังคม การรู้เทา่ ทันสื่อ สารสนเทศและดิจิทัล
ดิจิทัล เพือ่ ประชาสัมพันธ์การทำงานของชุมชน และ - ใชค้ วามรแู้ ละความเข้าใจด้านสอื่ สารสนเทศและ
เพอื่ ใชเ้ ป็นข้อมลู ในการระดมทุนสำหรับขยายพ้ืนทก่ี าร เทคโนโลยีดจิ ิทัลอยา่ งรับผิดชอบและมจี ริยธรรม ท้งั เพ่ือ
ทำงาน การเรยี นรู้ การใชช้ ีวิต และสัมพันธ์กบั บุคคลอ่ืน ๆ ใน
โลกของความจริงและโลกเสมือนท่ตี ้องสมั พนั ธก์ ับ
สรปุ การเรียนรูแ้ ละเผยแพร่ความรู้ เทคโนโลยีดิจัลในสถานการณ์ตา่ ง ๆ
1. รวบรวมหลกั ฐานการปฏิบัติงาน ไดแ้ ก่ รายการ
การเปน็ พลเมืองทเ่ี ขม้ เขง็ /ต่ืนรู้ทมี่ สี ำนกึ สากล
ของจดหมายข่าวทีด่ ำเนนิ การผลติ ความคดิ เหน็ หรือบท - ร่วมมอื กับผูอ้ น่ื ในการทำงวานสาธารณะและจติ อาสา
สัมภาษณ์ของผู้ที่อา่ นจดหมายข่าว ภาพถา่ ยตา่ ง ๆ
ห้ามเผยแพร่ คดั ลอก จัดทำสำเนา และอ้างอิง โดยไม่ไดร้ ับอนญุ าต
131
กิจกรรม สมรรถนะ/ทกั ษะย่อย
2. ออกแบบการจดั นทิ รรศการ - มสี ว่ นรว่ มกบั กลมุ่ หน่วยงานหรือองค์กรเพื่อกจิ การ
3. ดำเนินการจดั งานเปิดบ้าน (Open House) สาธารณะ เป็นอาสาสมัครในประเดน็ ทางสังคมที่
ของชมุ นุมภาษาไทย หลากหลาย สามารถทำงานกับชมุ ชนและภาคประชา
สงั คมระดบั ตา่ ง ๆ ที่เหมาะสมตามความรู้ความสามารถ
การประเมินการร่วมกิจรรมชมุ นุม ของตนเอง
การประเมนิ กจิ กรรมชมุ นุม เปน็ การตรวจสอบ
ความสามารถและพฒั นาการด้านตา่ ง ๆ ตาม
วัตถปุ ระสงค์ท่กี ำหนด ดว้ ยวิธกี ารท่ีหลากหลายและ
ประเมนิ ตามสภาพจรงิ โดยกำหนดผลการประเมิน
"ผา่ น" และ ''ไม่ผ่าน''
ผา่ น หมายถึง ผูเ้ รียนมเี วลาเขา้ ร่วม
กิจกรรมครบตามเกณฑ์ ปฏิบัตกิ จิ กรรมและมีผลงาน/
ชิ้นงาน/คณุ ลักษณะตามเกณฑ์ท่ีสถานศึกษากำหนด
ไมผ่ ่าน หมายถงึ ผู้เรยี นมีเวลาเข้ารว่ ม
กิจกรรมไม่ครบตามเกณฑ์ ไม่ผา่ นการปฏิบัติกิจกรรม
หรอื มีผลงาน/ช้ินงาน/คุณลกั ษณะไม่เป็นไปตามเกณฑท์ ่ี
สถานศึกษากำหนด
ตัวอยา่ ง สมรรถนะชวี ิตในกิจวตั รประจำวัน
ในกจิ กรรมเสรมิ หลกั สูตร: กจิ กรรมทัศนศึกษา
กิจกรรม สมรรถนะ/ทกั ษะย่อย
1. การวางแผนรว่ มกันระหว่างผู้สอนและผู้เรียนใน ภาษาไทยเพอื่ การสอื่ สาร
เรื่องวตั ถปุ ระสงค์ สถานท่ี การเดนิ ทาง เร่อื งที่จะศึกษา - พูด อา่ น และเขียนภาษาไทยให้ถูกตอ้ งตาม
วิธศี ึกษา คา่ ใช้จ่าย กำหนดการเดนิ ทางและหน้าท่คี วาม อักขรวิธี โยเลือกใชค้ ำศัพท์ ความรู้เก่ยี วกับหลักภาษา
รับผดิ ชอบ และกลวิธตี ่าง ๆ รว่ มกบั ประสบการณช์ ีวติ ในการ
2. เดินทางออกไปยงั สถานท่เี ปา้ หมายซ่ึงอยนู่ อก นำเสนอและปลิตผลงานต่าง ๆ อย่างงเหมาะสมและ
โรงเรยี น หรอื นอกสถานท่ที ่เี รียนกนั อย่เู ปน็ ปกติ สรา้ งสรรค์
3. ดำเนนิ การตามกระบวนการในการศึกษาสง่ิ ที่
ต้องการเรยี นร้ใู นสถานทนี่ ั้น ทักษะชีวติ และความเจรญิ แหง่ ตน
4. สรุปผลการเรียนรู้ หรอื ผู้สอนและผู้เรียน - รกั ษาระเบยี บวนิ ยั ของสงั คม สรา้ งและรักษา
หา้ มเผยแพร่ คัดลอก จัดทำสำเนา และอ้างองิ โดยไม่ไดร้ ับอนุญาต
กจิ กรรม 132
สรุปผลการเรยี นรู้ และเดินทางกลบั
สมรรถนะ/ทกั ษะย่อย
ความสัมพันธ์อนั ดกี บั ผู้อน่ื รับผดิ ชอบในบทบาทหนา้ ท่ี
ของตนที่มีต่อครอบครัวและสังคม
- มสี นุ ทรียภาพ ชืน่ ชมความงามในธรรมชาติ
ศลิ ปวัฒนธรรมและรกั ษาเอกลกั ษณ์ความเป็นไทยให้
ธำรงตอ่ ไป
การทำงานแบบรวมพลงั เป็นทมี และมภี าวะผนู้ ำ
- มีทักษะการเป็นผนู้ ำ และารเปน็ สมาชกิ กลมุ่ ท่ีดี
สามารถทำงานกล่มุ ดว้ ยกระบวนการทำงานท่ีดีมี
ประสิทธภิ าพ
ตวั อยา่ ง สมรรถนะชวี ิตในกิจวัตรประจำวัน
ในหลกั สตู รแฝง: การสรา้ งบรรยากาศวนิ ัยเชงิ บวกในสถานศกึ ษา
กจิ กรรม สมรรถนะ/ทักษะย่อย
โรงเรียนสร้างวนิ ยั เชิงบวกในสถานศกึ ษา โดย การเป็นพลเมอื งท่ีเขม้ แข็ง/ตื่นร้ทู ่ีมสี ำนกึ สากล
1. ออกแบบให้คณุ ครูทกุ คนมสี ติกเกอร์รูปดาว - เคารพสิทธแิ ละเสรีภาพของตนเองและผู้อื่น
เม่อื นกั เรยี นแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมตามท่ปี รัชญา เคารพและปฏบิ ัตติ ามกฎ กติกา ข้อตกลง และ
ของโรงเรยี น เชน่ การกล้าแสดงความคิดเห็น การมงุ่ มั่น กฎหมาย รวมท้ังแนวปฏบิ ตั ิตามขนบธรรมเนียมและ
ในการทำงาน ครูจะติดสตกิ เกอรบ์ นเสื้อให้แก่นักเรียน ประเพณี
2. นกั เรียนนำสตเิ กอร์ที่ได้รับในแตล่ ะวนั ไปติดไว้ ทักษะชีวิตและความเจรญิ แห่งตน
ท่ปี า้ ยนิเทศประจำชนั้ เรยี น - ควบคุมอารมณ์ ความคิดและพฤติกรรมให้
3. นกั เรียนรว่ มกนั แนะนำเพือ่ น ๆ ให้ปฏิบัติตม แสดงออกอย่างเหมาะสม รักษาบคุ ลกิ ภาพความเป็น
ระเบยี บวินยั ของโรงเรียน เพื่อใหม้ สี ติกเกอรท์ ี่มากพอ ไทยใหผ้ สานกับสากลอยา่ งกลมกลืน
สำหรบั ใชเ้ ป็นรางวัลของชัน้ เรียน เช่น ชัน้ เรียนท่ีสะสม
สติกเกอรไ์ ด้ครบ 100 ภายในเวลา 1 สปั ดาห์ สามารถ
แลกกับทำกิจกรรมปาร์ต้ีพิซซ่า (Pizza Party) ไดใ้ น
ตอนบ่ายวนั ศุกร์ก่อนกลับบ้าน
แนวทางการเชื่อมโยงกรอบสมรรถนะสำหรับผู้เรียนระดับการศึกษาข้ันพื้นฐานสู่การจัดการเรียน
การสอนฐานสมรรถนะทั้ง 6 แนวทางข้างต้น ครูผู้สอนสามารถนำสมรรถนะในความฉลาดรู้พื้นฐาน
(Competencies in Basic Literacy) และสมรรถนะหลักระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (Core Competency)
ห้ามเผยแพร่ คัดลอก จัดทำสำเนา และอา้ งองิ โดยไมไ่ ดร้ ับอนญุ าต
133
มาออกแบบเชื่อมโยงกับการจัดการเรียนการสอนตามรายวิชาของกลุ่มส าระการเรียนรู้ที่มีมาตรฐานและ
ตัวชี้วัดชั้นปี หรือกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน หรือกิจกรรมตามกิจวัตรที่ผู้เรียนปฏิบัติในสถานศึกษาทุกกิจกรรม
หรือหากสถานศึกษามีความพร้อมในการใช้สมรรถนะเป็นฐานอย่างเต็มรูปแบบ ก็สามารถนำไปออกแบบ
การจัดการเรียนการสอนได้ตามบริบททต่ี ้องการ ดงั น้ันการนำสมรรถนะมาใช้พัฒนาการจัดการเรียนการสอน
ฐานสมรรถนะในช่วงเวลาของการปรับเปลี่ยนไปสู่หลักสูตรฐานสมรรถนะอยา่ งเต็มรูปแบบทง้ั 6 แนวทาง จึงมี
ความยืดหยุ่นต่อการปฏิบัติ โดยมีกระบวนการออกแบบหลักสูตรสถานศึกษาและการจัดการเรียนการสอน
ฐานสมรรถนะที่มีความแตกต่างกนั ไปตามความพร้อมและบริบทท่ีแตกต่างกันของสถานศึกษา
นอกจากนี้ ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาของการนำกรอบสมรรถนะและแนวทางการจัดการเรียน
การสอนทง้ั 6 แนวทางไปปรบั ใช้ในสถานศกึ ษา ได้เกิดสถานการณ์การแพรร่ ะบาดของเช้อื COVID-19 เป็นผล
ให้สถานศึกษาต้องปรับกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับสถานการณ์แพร่ระบาดตามนโยบายของ
รัฐบาลและหน่วยงานต้นสังกัด โดยมีสถานศึกษาท่ีได้พัฒนาแนวทางการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสมรรถนะ
ให้กับผู้เรียนทั้งการจัดกิจกรรมในสถานศึกษาและการจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ที่บ้านโดยใช้การเรียน
การสอนแบบ Online และกิจกรรม Home-based Learning ทำให้สถานศึกษาได้พัฒนาแนวทางการจัด
การเรียนการสอนฐานสมรรถนะเปน็ แนวทางท่ีเนน้ การใช้การสอนแบบ Online ภายใต้สถานการณ์แพรร่ ะบาด
COVID-19 เกิดเปน็ แนวทางเพิม่ เติมในการจดั การเรยี นร้สู มรรถนะ ดังนี้
แนวทางที่ 7: การเรยี นรู้สมรรถนะแบบผสมผสาน (Hybrid Competency
Learning)
การออกแบบการเรยี นรู้และพฒั นาสมรรถนะผูเ้ รียนท่ีให้ความสำคัญกับการบรู ณาการเรยี นรู้
ที่เหมาะสมกับบริบทในชีวิตจริงที่บ้านของผู้เรียนและยืดหยุ่นไปตามสถานการณ์ ความพร้อม และ
บริบทของโรงเรียน สามารถเกิดข้นึ ไดใ้ นหลากหลายรูปแบบ ทงั้ การเรยี นการสอนทางไกล (Distance
Learning) และการเรยี นแบบเผชิญหนา้ (Face to Face Learning) หรอื เปน็ การผสมผสานทั้งสอง
แบบเข้าดว้ ยกัน ในสถานการณท์ ม่ี คี วามเหมาะสม
➢ ลกั ษณะ
การเรียนรู้สมรรถนะแบบผสมผสาน เป็นการสร้างสรรค์การเรียนรู้สมรรถนะในหลากหลาย
รปู แบบ โดยการพิจารณาในบรบิ ทของทบี่ ้านและโรงเรียน ความพร้อมของนักเรยี น ผปู้ กครอง และครูผู้สอน
มีความเหมาะสมสอดคลอ้ งกบั สถานการณ์และเหตุการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตจรงิ เป็นการออกแบบภายใตข้ อ้ จำกัดท่ี
ต้องมีความยืดหยุ่นและยังคงทำให้เกิดการเรียนรู้ที่สามารถพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียน ทั้งการพัฒนา
หา้ มเผยแพร่ คัดลอก จัดทำสำเนา และอ้างองิ โดยไม่ไดร้ บั อนญุ าต
134
สมรรถนะในความฉลาดรู้พื้นฐาน (Competencies in Basic Literacy) และสมรรถนะหลัก 7 สมรรถนะ
(Core Competency) ให้เป็นไปตามผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ต้องการได้ โดยยึดหลักในการออกแบบการเรียนรู้
และพฒั นาสมรรถนะผู้เรียน โดยใหค้ วามสำคัญกบั การบูรณาการเรยี นรู้ในสถานการณ์ท่ีมีความเหมาะสม และ
สามารถผสมผสานวิธีการเรียนการสอนได้หลากหลาย โดยแบ่งรปู แบบวิธกี ารเรยี นรู้ออกเปน็ 3 ประเภท ได้แก่
(1) การเรียนการสอนทางไกล (Distance Learning) โดยในการเรียนการสอนรูปแบบนี้ เป็น
การเรียนการสอนที่ผู้เรียนใช้เวลาอยู่กับการเรียนรู้ที่บ้านเป็นหลัก ดังนั้น ต้องคำนึงถึงบริบทของที่บ้านของ
ผ้เู รียนเปน็ สำคญั โดยใช้วิถีชีวติ ของผู้เรียนท่ีบ้านเป็นฐานในการเรียนรู้ และเนน้ การเรียนรู้แบบเป็นรายบุคคล
หรือออกแบบการเรียนรู้ที่เน้นความสัมพันธ์ในครอบครัว ซึ่งสามารถดำเนินการได้ 3 รูปแบบ ได้แก่
1) การเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ สามารถดำเนินการได้ทั้งแบบประสานเวลาหรือเรียลไทม์ (Real time) โดย
ผู้เรียนและครูผู้สอนจะสามารถปฏิสัมพันธ์และตอบสนองได้อย่างทันทีทันใด และแบบไม่ประสานเวลาหรือ
ไลฟ์ไทม์ (Life time) ซึ่งจะสามารถยืดหยุ่นเวลาในการเรียนได้ตามความสะดวกของผู้เรียน 2) การเรียนรู้ที่
บ้านผ่านชุดสื่อและเอกสารที่โรงเรียนจัดส่งมาให้ โดยมุ่งเน้นการปฏิบัติและลงมือทำด้วยตนเอง และ 3) การ
เรยี นรูท้ บี่ า้ นผา่ นงานหรือกจิ กรรมแบบ home-based learning ทคี่ รูและผูป้ กครองร่วมกันออกแบบ
(2) การเรียนแบบเผชิญหน้า (Face to Face Learning) ในการเรียนการสอนรูปแบบน้ี ผู้เรียน
ยังสามารถใช้พื้นที่ของโรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ได้ แต่ด้วยข้อจำกัดในเรื่องของการเว้นระยะห่างและจำนวน
ผู้เรียนในแต่ละกลุ่ม การออกแบบการจัดการเรียนรู้จึงควรเน้นการเรียนรู้เป็นรายบุคคล และการเรียนรู้เป็น
กล่มุ เลก็
(3) การเรียนแบบผสมผสาน (Blended Learning) เป็นการเรียนการสอนที่ผสมผสานระหว่าง
การเรียนการสอนทางไกล (Distance Learning) และการเรียนแบบเผชิญหน้า (Face to Face Learning)
โดยเป็นการออกแบบการเรียนรู้ที่มีการผสมผสานระหว่างบริบททั้งที่บ้านและโรงเรียนที่มีความสัมพันธ์
เชื่อมโยง และทำให้ผเู้ รยี นมองเหน็ การเรยี นรทู้ ี่สามารถบูรณาการใช้ในชีวติ จรงิ ได้
การใช้แนวทางนี้ในการส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียนจะทำให้ครูเปลี่ยนมุมมองและสามารถออกแบบ
การเรียนรใู้ นสถานการณ์ใหม่ ภายใต้ข้อจำกัดต่าง ๆ และมีความสมั พันธ์กับบริบทและชวี ิตจริงของผูเ้ รียน ทง้ั ที่
บ้านและโรงเรยี น เกิดเปน็ สมรรถนะทีม่ ีฐานของความเป็นจรงิ ในชวี ติ ประจำวัน
➢ ข้นั ตอนการออกแบบการเรยี นรู้แบบผสมผสาน
1. ศึกษาแนวทางการจดั การเรียนการสอนทม่ี คี วามเปน็ ไปได้ เมอื่ เกิดสถานการณ์ตา่ ง ๆ เช่น
1) การสอนแบบ On Site คือให้มาเรียนในโรงเรียนได้ตามปกติ แต่ยังคงต้องปฏิบัติตาม
มาตรการการเฝ้าระวงั และเว้นระยะห่างทางสังคม
2) การสอนแบบ On Air คือการให้นักเรียนศึกษาผ่าน DLTV ทั้งรายการที่ออกตามตาราง
และรายการทด่ี ยู ้อนหลังโดยใชโ้ รงเรียนวังไกลกงั วลเป็นฐานในการจดั การเรียนการสอน
หา้ มเผยแพร่ คดั ลอก จัดทำสำเนา และอา้ งอิง โดยไมไ่ ดร้ ับอนุญาต
135
3) การสอนแบบ Online ให้ครูเป็นผู้จัดการเรียนการสอน ผ่านเครื่องมือที่ทางโรงเรียน
กระจายไปสู่นักเรยี น
4) การสอนแบบ On Demand เป็นการใช้งานผ่านแอปพลิเคชั่นต่างๆ ที่ครูกับนักเรียนใช้
ร่วมกัน
5) การสอนแบบ On Hand คือการจัดวัสดุ อุปกรณ์ ใบงาน แบบเรียน ให้กับนักเรียน โดย
ครูเปน็ ผสู้ นับสนุนการเรียนรู้หรอื ให้ผ้ปู กครองทำหน้าทเ่ี ปน็ ครูคอยชว่ ยเหลือ
2. สำรวจความพรอ้ มและบรบิ ทของทบี่ ้านและโรงเรยี น พร้อมเลอื กแนวทางการจัดการเรียนการ
สอนทม่ี คี วามเปน็ ไปได้และมีความเหมาะสม
3. ศึกษากรอบสมรรถนะหลกั ของผเู้ รียน กำหนดผลลพั ธก์ ารเรยี นรู้
4. กำหนดบทเรียน กจิ กรรมการเรยี นรู้ พนื้ ท่กี ารเรียนรู้ และสง่ิ สนับสนุนในการเรยี นรแู้ ละพัฒนา
สมรรถนะของผเู้ รียน
5. วเิ คราะห์สถานการณจ์ ริงตามบริบทท่บี า้ นและโรงเรยี น เพ่ือกำหนดประเดน็ ทส่ี ามารถจัดใหเ้ ปน็
จดุ เน้นใหผ้ ูเ้ รยี นไดพ้ ัฒนาความฉลาดรู้พ้นื ฐาน (Competencies in Basic Literacy) และ
สมรรถนะหลัก 7 สมรรถนะ (Core Competency)
6. ออกแบบแนวทางการพัฒนาผู้เรียนร่วมกันระหว่างบ้านและโรงเรียน โดยกำหนดผลลัพธ์
การเรียนรู้ที่ต้องการ และจัดให้มีความยืดหยุ่นในวิธีการ และเวลาที่ใช้ในการดำเนินการแต่ละ
กจิ กรรม
7. กำหนดแนวทางการประเมินสมรรถนะหลักของผู้เรียนในแนวทางท่ีมีความหลากหลายตามสภาพ
จริงโดยเป็นการประเมิน ร่วมกันระหว่างบ้านและโรงเรียน โดยอาจเป็นการสะท้อนการเรียนรู้
การเขียนบันทึกประจำวัน การสะท้อนจากมุมมองหรือความคิดเห็นของผู้ปกครอง ครู หรือผู้ที่
เก่ยี วข้อง
ตัวอย่าง การจดั การเรยี นร้แู บบ Home-based Learning ของโรงเรียนสจุ ิปลุ ิ
ตวั อย่าง : การเรียนการสอนทางไกล (Distance Learning )
ใช้รูปแบบการเรยี นการสอนแบบ Online รว่ มกับการเรียนรู้แบบ Home–Based Learning
ภารกิจ การจัดการเรยี นรู้ สมรรถนะ/ทักษะย่อย
ถวั่ มหศั จรรย์
1. ครูจัดเตรียม เมลด็ ถ่วั 3 ชนิดทีผ่ ู้เรยี น สมรรถนะหลกั ด้านการสบื
รู้จัก พรอ้ มอุปกรณ์การปลกู และใบงาน สอบทางวิทยาศาสตร์และ
สรุปความคิด ส่งให้กับนักเรียน เพอื่ นำไป จิตวิทยาศาสตร์ (Scientific
เรียนร้ทู ่บี า้ น Inquiry and Scientific Mind)
ห้ามเผยแพร่ คดั ลอก จัดทำสำเนา และอ้างอิง โดยไมไ่ ดร้ ับอนญุ าต
136
ภารกจิ การจดั การเรยี นรู้ สมรรถนะ/ทักษะย่อย
2. คณุ ครใู ช้ Zoom Application เพื่อ 1) ต้งั คำถามท่นี ำไปส่กู าร
ชวนนกั เรียนใหเ้ กิดความสงสัย และคน้ หา สำรวจตรวจสอบตามการออกแบบ
ความแตกตา่ งของถวั่ 3 ชนดิ โดยใช้ ทก่ี ำหนด หรือออกแบบ และ
ทกั ษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เช่น นำเสนอวิธกี ารสำรวจตรวจสอบ
การสงั เกต การจำแนกประเภท การต้งั โดยใช้เคร่ืองมือช่วยในการสำรวจ
ปญั หา การตง้ั สมมตฐิ าน การทดลอง การ ตรวจสอบและสรปุ เพ่ือตอบคำถาม
บนั ทกึ เกบ็ รวบรวมข้อมูล และการบนั ทกึ - รวบรวมขอ้ มูลท่ีเกี่ยวข้องกับ
ผล การแก้ปัญหา กำหนดเกณฑ์
3. ใหน้ กั เรียนไปสืบค้นขอ้ มลู วธิ ีการ อปุ สรรคและขอ้ จำกัดท่สี อดคลอ้ ง
ทดสอบความแตกต่างของถั่ว 3 ชนิด ดว้ ย และตรงกบั ประเดน็ ปัญหา นำสู่
ตนเอง เช่นการนำไปปลูกและ การพิจารณาวิธกี ารใหมใ่ นการ
สังเกตการณ์เจริญเตบิ โต โดยนกั เรยี น แก้ปัญหาท่ีเป็นไปได้ ปรับปรุง
สังเกตการเจริญเตบิ โตของถ่ัว และสรุปลง แนวทางการแก้ปัญหานั้นโดยใช้
ในแผนผงั ความคดิ รูปแบบตา่ ง ๆ ข้อมูลจากการทดสอบ
4. นกั เรียนประมาณการความสัมพันธ์
และสัดส่วนของการเจรญิ เตบิ โตของเมล็ด
ถว่ั กบั อตั ราการงอกของตน้ ถ่ัว สงั เกต สมรรถนะหลกั ด้านทกั ษะชวี ิต
บันทกึ และสรปุ ผล และความเจริญแห่งตน
4. หลงั จากที่ถวั่ เร่มิ เจรญิ เตบิ โต ให้ 1) ตดั สินใจเลอื กทํากจิ กรรมที่
นกั เรียนเลอื กถ่ัว 1 ชนิดไปประกอบ สนใจตามความถนัด และ
อาหารใหเ้ หมาะสม โดยมีการจดบันทกึ ความสามารถอย่างม่ันใจ
ชนดิ ของถ่ัวท่ีไปประกอบอาหาร และ แสดงออก และตอบสนองต่อ
จำนวนวันทเ่ี จรญิ เตบิ โตจนสามารถนำไป อารมณ์ และความรสู้ ึกของ
ประกอบอาหารได้ รวมถึงอธิบายชนดิ ตนเอง และผู้อื่นในทางบวก
ของอาหารท่ีทำจากต้นถั่ว พร้อม
สว่ นประกอบและคุณค่าของอาหารได้
5. ออกแบบและตกแต่งจานอาหารให้มี
ความสรา้ งสรรค์ โดยให้นกั เรียนต้งั ชือ่
เมนอู าหารของตน
6. นำอาหารที่ทำ ไปใหส้ มาชิกในบ้าน
อย่างน้อย 2 คนไดช้ มิ รสชาติพรอ้ มกับ
หา้ มเผยแพร่ คดั ลอก จัดทำสำเนา และอา้ งอิง โดยไม่ไดร้ ับอนญุ าต
137
ภารกจิ การจดั การเรยี นรู้ สมรรถนะ/ทกั ษะย่อย
ร่วมประเมนิ ผลงาน เม่ือเสรจ็ แล้วใหเ้ ขียน
สรปุ การทำอาหารครงั้ นี้
7. คุณครใู ช้ Zoom Application ให้
นกั เรียนสะท้อนผลการดำเนนิ งานและสง่ิ
ที่ไดเ้ รยี นรู้ ในระหวา่ งการทำกิจกรรม
หมายเหตุ สามารถปรับกิจกรรมเป็นการเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended Learning) ที่ใช้การเรียน
การสอนทางไกล (Distance Learning) ร่วมกับการเรียนแบบเผชิญหน้า (Face to Face Learning) โดย
ผสมผสานระหว่างบริบททั้งที่บ้านและโรงเรียน เช่น การต่อยอดกิจกรรมเดิม ให้นักเรียนนำถั่วที่ปลูกจากที่
บ้าน มาทำแปลงผักร่วมกันระหว่างเพื่อนในห้องเรียน และยังดำเนินการศึกษาการเติบโตอย่างต่อเนื่องจนถงึ
การงอกเปน็ เมลด็ ถัว่ ตอ่ ไป
นอกจากน้แี ล้ว ข้อมูลการดำเนนิ งานของสถานศึกษาทำให้เหน็ แนวทางที่น่าสนใจท่ีมีความเป็นไปได้ใน
การนำมาใชพ้ ฒั นาสมรรถนะแก่ผู้เรยี น ดังแนวทางตอ่ ไปน้ี
แนวทางที่ 8: เชอ่ื มงาน ประสานการเรียนร้สู ู่การพัฒนาสมรรถนะทงั้ โรงเรยี น
(Whole-School Learning)
การพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนเกิดได้ทั้งในห้องเรียน นอกห้องเรียน นอกโรงเรียน ที่บ้าน ใน
ชุมชนและการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน จากการเรียนรู้ในสิ่งที่มีความหมายร่วมกันอันเป็นจุดเน้น
สำคัญของโรงเรียน และนำสู่การพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนทั้งโรงเรียน (Whole-School) โดย
การออกแบบงานการเรียนรู้อย่างเหมาะสมกับผู้เรียนแต่ละชั้น แต่ละกลุ่ม ซึ่งจะส่งผลการเรียนรู้
เชิงลึกที่มีความหมาย การประยุกต์ใช้ความรู้ผ่านสถานการณ์หลากหลายทั้งในห้องเรียน นอก
หอ้ งเรียน และชวี ติ จริง
➢ ลักษณะ
การสง่ เสริมสมรรถนะหลักของผู้เรยี นสามารถทำได้ท้ังในห้องเรียน นอกห้องเรยี น นอกโรงเรียน ที่
บ้าน ในชมุ ชน อีกทงั้ ผ่านการปฏิบัติกิจวัตรประจำวนั โดยการเรียนรูจ้ ากเร่ืองราว/ประเด็น/เน้ือหา/ต้นทุนของ
โรงเรียนหรือชุมชน / บทเรียนที่มีความหมายร่วมกันที่เป็นจุดเน้นสำคัญของโรงเรียน และนำสู่การพัฒนา
ผเู้ รียนท้งั โรงเรยี น (Whole-School) โดยการกำหนดสมรรถนะท่ีจะพัฒนา ออกแบบสาระการเรียนรู้ และงาน
หา้ มเผยแพร่ คัดลอก จัดทำสำเนา และอ้างองิ โดยไมไ่ ดร้ ับอนุญาต
138
การเรยี นรทู้ เ่ี หมาะสมกับนักเรียนทุกชั้น ทุกกลุม่ ตามลกั ษณะพน้ื ฐานความรู้ท่ีมี ระดับพฒั นาการและประเด็น
ทเี่ ป็นความสนใจท้งั รายบคุ คล รายกลุ่ม และชนั้ เรยี น
การใช้แนวทางนี้ในการส่งเสริมสมรรถนะจะทำให้เกิดการเรียนรู้ในเรื่องเดียวกัน แต่ต่างกันใน
ประเด็นย่อย และความลุ่มลึกในสิ่งที่เรียน ส่งผลต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แบ่งปันประสบการณ์ระหว่างกัน
เกิดการเรียนรู้เชิงลึก ที่สำคัญคือสามารถเชื่อมโยงความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะที่ได้เรียนรู้ไปใช้ได้จริงผ่าน
สถานการณ์หลากหลายทั้งในห้องเรียน นอกห้องเรียน และชีวิตจริง ช่วยปลูกฝังสมรรถนะสำคัญต่อการดำรง
ชวี ิตประจำวนั ใหเ้ กดิ ขึ้นอย่างยั่งยืน
➢ ขนั้ ตอนการออกแบบการจดั การเรียนการสอน แบบเชอ่ื มงาน ประสานการเรียนรู้
1. ศกึ ษากรอบสมรรถนะหลกั ของผูเ้ รยี น
2. สำรวจสิ่งที่เป็นประเด็นร่วมที่เป็นจุดเน้นสำคัญของโรงเรียนซึ่งอาจจะเป็นประเด็นปัญหาสำคัญ
เนือ้ หาสาระท่ที ุกคนตอ้ งเรยี นรู้ ต้นทนุ ของโรงเรียนหรือชมุ ชน โดยเปิดโอกาสให้ผู้เกยี่ วข้องทุกส่วนมีส่วนร่วม
ในการคดั เลือก
3. กำหนด บทเรียน/หน่วยการเรียนรู้ย่อย สำหรับผู้เรียนแต่ละชั้น แต่ละกลุ่ม ตลอดจนกิจกรรม/
งานการเรียนรู้ที่ทุกกลุ่มเรียนรู้ร่วมกัน และกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยในส่วนผู้บริหารต้องพิจารณา
ระบบการบริหารจัดการทางวิชาการเพื่อให้ครูและบุคลากรทำงานร่วมกัน จัดสรร สื่อ แหล่งเรียนรู้ พื้นที่
การเรยี นรู้ และสง่ิ สนบั สนนุ การเรยี นรู้และการทำงานรว่ มกนั
4. ร่วมกันออกแบบบทเรยี น/หนว่ ยการเรยี นรู้ย่อยท่ีมีลักษณะบรู ณาการ สำหรบั ผู้เรยี นแตล่ ะช้ัน แต่
ละกลุ่ม โดยเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เชิงรุก ผ่านรูปแบบการเรียนรู้ต่าง ๆ ทั้งในห้องเรียน นอกห้องเรียน นอก
โรงเรียน ทบ่ี ้าน ในชุมชน อกี ทั้งผา่ นการปฏบิ ตั ิกจิ วตั รประจำวัน กจิ กรรมชุมนมุ ชมรม กิจกรรมเสริมหลักสูตร
และกิจกรรมพิเศษต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกับประเด็นที่กำหนด โดยแต่ละบทเรียน/หน่วยการเรียนรู้ย่อยกำหนด
รายละเอียด เกี่ยวกับจุดเน้น สาระสำคัญ สมรรถนะที่ต้องการพัฒนา ผลลัพธ์การเรียนรู้ สาระการเรียนรู้
กลยุทธ/์ หลักการการจดั การเรยี นรู้ งานการเรยี นรู้ และแนวทางการวดั และประเมนิ ผล
5. ผเู้ กย่ี วข้อง ทง้ั ครูผูส้ อนรายวิชาต่าง ๆ ผปู้ กครอง และผูร้ ูใ้ นชุมชนร่วมกันพฒั นาสมรรถนะผู้เรียน
วดั และประเมนิ ผลสมรรถนะ ซอ่ มเสรมิ เตมิ เต็ม ร่วมกันถอดบทเรียน และนำขอ้ มูลมาปรบั ปรงุ พฒั นางาน
ตัวอยา่ ง
ตัวอย่างที่ 1 กรณที ่ีโรงเรียนมจี ุดเนน้ ในการส่งเสริมให้นักเรียนเป็นนวัตกร (innovators) ดังนั้น จึง
ได้วิเคราะห์สมรรถนะที่สำคัญจำเปน็ และนำมาเป็นหลักในการออกแบบหน่วยการเรียนรู้บูรณาการในทุกกลุ่ม
สาระการเรียนรู้และทุกระดับชั้นให้มีเป้าหมายร่วมเช่นเดียวกัน คือ การส่งเสริมสมรรถนะ คุณลักษณะ และ
ทักษะที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและพัฒนานวัตกรรมแก่ผู้เรียน ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการคิดต่าง ๆ เช่น
ห้ามเผยแพร่ คดั ลอก จัดทำสำเนา และอา้ งอิง โดยไม่ไดร้ บั อนุญาต
139
การคิดเชิงออกแบบ การแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ กระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบ ความใฝ่รู้ ความอดทน
ต่อความยากลำบากและการล้มเหลว ฯลฯ ตลอดจนมกี ารจัดชุมนมุ ชมรม กจิ กรรมพฒั นาผู้เรียน และโครงการ
พิเศษต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับจุดเน้นและเป้าหมายนี้ โดยอาศัยข้อมูลสภาพปัญหาชุมชนมาเป็นฐานใน
การกำหนดโจทย์งานการพัฒนานวัตกรรมเพื่อให้ได้นวัตกรรมที่สามารถนำไปใช้ได้จริงในชุมชนหรือใน
ชีวิตประจำวัน ซึ่งอาศัยความร่วมมือของผู้ปกครองและชุมชนในการให้ข้อมูล ทดลองใช้ ตลอดจนร่วมรับฟัง
การนำเสนอและรว่ มประเมินผลงานของนักเรียน
ตัวอย่างที่ 2 โรงเรียนประชาราษฎร์บำเพ็ญได้พิจารณาแล้วพบว่าโรงเรียนของตนมีจุดเด่นเรื่องงาน
สหกรณ์ในโรงเรียน ซึ่งนักเรียนทุกระดับชั้นจะได้มีโอกาสในการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อนำมาจัดจำหน่ายใน
สหกรณ์โรงเรยี น โรงเรียนจึงไดม้ ีแนวความคิดทจี่ ะออกแบบการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ โดยกำหนดให้การ
จัดการเรียนการสอนทุกกลุ่มสาระการเรียนร้แู ละทุกระดับชนั้ ใช้หัวเร่ือง (theme) “สหกรณโ์ รงเรียน” ร่วมกัน
เพ่อื เชอ่ื มโยงการเรียนรู้ใหเ้ กย่ี วข้องกนั ทุกกลุ่มสาระ จากนน้ั ใหค้ รสู รา้ งแผนการจดั การเรียนรฐู้ านสมรรถนะที่มี
ลักษณะบูรณาการทุกกลุ่มสาระ ที่ให้ครูทุกคนร่วมมือกันในการออกแบบการเรียนรู้ โดยครูจะพิจารณาว่าแต่
ละรายวชิ าในแตล่ ะกลุ่มสาระการเรียนรู้มีหวั ข้อการสอนเรื่องใดบ้างท่เี กย่ี วข้องกับหวั เรื่อง (Theme) ท่ีกำหนด
ให้ครอบคลุมสมรรถนะ และตัวชี้วัดของแต่ละรายวิชา จากนั้นแบ่งกิจกรรมการเรียนรู้ให้ครูแต่ละกลุ่มสาระ
เปน็ ผ้รู ับผดิ ชอบสอน ดังภาพ
หา้ มเผยแพร่ คัดลอก จัดทำสำเนา และอ้างองิ โดยไม่ไดร้ ับอนุญาต
140
?ไมร่ จู้ ะเร่ิมตน้ คดิ ออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนฐานสมรรถนะจากจดุ ไหนดี
คณุ ครทู ี่ทราบคำตอบแลว้ ได้แนะนำไว้ว่า ในการพฒั นาสมรรถนะแก่ผู้เรยี นน้ันสามารถเร่ิมตน้ จากหลักการ
หรือคำถามใดคำถามหน่งึ ดังต่อไปน้ีได้ ☺
1. ชวี ิตจริง/วิถีชีวิต/ ชีวิตประจำวัน ของนกั เรยี นเปน็ อยา่ งไร เขาควรทำอะไรได้ (Authentic Learning -
การเรียนร้ตู ามสภาพจริง)
2. มงี านใดบ้างที่นักเรยี นควรทำได้ หรือมีสถานการณ์ใดบา้ งท่นี กั เรียนควรได้เรยี นรู้ (Task-based
Learning/ Situated Learning)
3. ส่งิ ใดทนี่ ักเรียนกำลงั สนใจ ช่ืนชอบ และให้ความสำคัญ กระหายใครร่ ู้ (Meaningful Learning
การเรยี นรู้อยา่ งมคี วามหมาย)
4. ในโรงเรียนหรอื ในชุมชนมที รัพยากร สง่ิ แวดล้อม หรอื แหล่งเรียนรู้สำคัญใดบ้างที่ใช้เป็นพื้นท่ีพัฒนา
นักเรียนได้ (Resource-based Learning) หรอื มีกจิ กรรมชุมชน/ งานประเพณ/ี หรอื เทศกาลใดท่ี
สามารถใช้เป็นพ้นื ที่เรยี นร้ไู ด้ (event/ festival)
5. ในโรงเรียน/ในชุมชน/ในสังคม/ในโลก ขณะนี้มีปรากฏการณ์ ประเด็นความเคลอ่ื นไหวใดท่ีสำคัญ หรอื
มปี ญั หาใดทคี่ วรศึกษา/ไดร้ ับการแก้ไข (Problem-based Learning/ Phenomenon-based
Learning/ Issues & Trend/ Community-based Learning)
6. โรงเรยี นมจี ุดเดน่ / จดุ เนน้ / โครงการ/ กิจกรรมสำคัญใดที่ใชเ้ ป็นประเด็นและพืน้ ทก่ี ารเรียนรู้ของ
นักเรยี นได้ (School focus)
7. นักเรยี นมีศักยภาพหรือความสามารถใดท่ีโดดเดน่ ควรไดร้ ับการส่งเสริมสนบั สนนุ
ห้ามเผยแพร่ คดั ลอก จัดทำสำเนา และอา้ งองิ โดยไม่ไดร้ บั อนุญาต
141
หลกั การเร่ิมต้นคิดออกแบบการเรียนการสอนฐานสมรรถนะ
ในการเริ่มตน้ คดิ ออกแบบการเรียนการสอนฐานสมรรถนะ สามารถดำเนนิ การได้ดังน้ี
1) การวิเคราะห์สภาพชีวิตจริง/วิถีชีวิต/ ชีวิตประจำวัน ของนักเรียนว่าเป็นอย่างไร เขาควรทำอะไร
ได้ ซึ่งสอดคล้องกับหลักการเรียนรู้ตามสภาพจริง (Authentic Learning) ตัวอย่างเช่น โรงเรียน ก. วิเคราะห์
ว่านักเรียนควรที่จะสามารถพึ่งพาดูแลตนเองในการทำอาหารสำหรับตนเองและดูแล เพื่อนหรือบุคคลใน
ครอบครัวได้ จึงได้กำหนดหน่วยการเรียนรู้ “อาหารดี มีประโยชน์” ขึ้น เพื่อให้นักเรียนได้เรยี นรู้ตั้งแตก่ ารคิด
เมนูอาหาร การหาสูตร การจัดซื้อ/การจัดเตรียมวัตถุดิบ การวางแผน การปรุงอาหาร การประเมินผลและ
สะท้อนคิดการทำงานของตน ซึ่งช่วยให้นักเรียนได้พัฒนาสมรรถนะหลักด้านทักษะอาชีพและการเป็น
ผู้ประกอบการ และสมรรถนะการทำงานแบบรวมพลังเป็นทีม และมีภาวะผู้นำ หรือตัวอย่างเช่น โรงเรียน ค.
ทว่ี ิเคราะหแ์ ล้วพบว่า นักเรยี นมีการใชภ้ าษาถิ่นของภูมภิ าคต่าง ๆ กนั มากในชีวิตประจำวัน ทัง้ ในโรงเรียนและ
บริเวณชุมชน เนื่องจากนักเรียนในโรงเรียนและคนในชุมชนมาจากภูมิภาคที่หลากหลาย จึงได้ออกแบบ
บทเรียนว่าด้วยภาษาถิน่ ท่ตี อ้ งใชใ้ นชวี ติ ประจำวนั ซึ่งถอื เป็นการสง่ เสรมิ สมรรถนะการส่ือสารแกน่ กั เรยี น
2) การวิเคราะห์ว่ามีงานใดบ้างที่นักเรียนควรทำได้ หรือมีสถานการณ์ใดบ้างที่นักเรียนควรได้เรียนรู้
ซึ่งสอดคล้องกับหลักการเรียนรู้จากงาน (Task-based/ Work-based Learning) และหลักการเรียนรู้ผ่าน
สถานการณ์ (Situated Learning) เช่น โรงเรียน ข. นักเรียนทุกระดับชั้นจะมีงานออกแบบผลิตภัณฑ์และลง
มอื ผลิตมาจำหน่ายในสหกรณโ์ รงเรียนเพ่ือเป็นรายได้ จงึ ไดใ้ ช้งานนเ้ี ป็นพื้นทใี่ นการฝึกสมรรถนะแก่ผู้เรียน ทั้ง
สมรรถนะหลักด้านทักษะอาชีพและการเป็นผู้ประกอบการ และสมรรถนะหลักด้านคณิตศาสตร์ใน
ชีวิตประจำวัน
3) การวเิ คราะหค์ วามสนใจ ความชืน่ ชอบ ส่ิงท่ีผู้เรียนกระหายใคร่รู้และใหค้ วามสำคญั ซ่ึงสอดคล้อง
กับหลักการออกแบบกิจกรรมตามความสนใจของผู้เรียนและหลักการเรียนรู้อย่างมีความหมาย (Meaningful
Learning) เชน่ นกั เรยี นโรงเรยี น ค. มคี วามช่ืนชอบและสนใจการเลน่ เกมเป็นอยา่ งมาก ครูจงึ นำความสนใจน้ี
มาใช้ออกแบบบทเรียนให้นกั เรียนได้สร้างเกมจากโปรแกรมคอมพิวเตอรเ์ พื่อใหเ้ พื่อนได้เล่น ซึ่งทำให้นักเรียน
ได้พัฒนาสมรรถนะหลักด้านการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล สมรรถนะหลักด้านการคิดขั้นสูงและ
การพัฒนานวัตกรรม และสมรรถนะหลักด้านภาษาอังกฤษเพื่อการส่ือสาร (การใช้และการออกแบบโปรแกรม
ต้องใช้ภาษาองั กฤษ)
4) การวเิ คราะห์วา่ ในโรงเรียนหรือในชมุ ชนมีทรัพยากร ส่ิงแวดล้อม หรอื แหล่งเรียนรู้สำคัญใดบ้างท่ีใช้
เป็นพื้นที่พัฒนานักเรียนได้ ซึ่งสอดคล้องกับหลักการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรยี นรู้ (Resource-based Learning)
หรือมีกิจกรรมชุมชน/ งานประเพณี/ หรือเทศกาลใดที่สามารถใช้เป็นพื้นที่เรียนรู้ได้ (event/ festival) เช่น
โรงเรียน ก. ใช้เทศกาลสงกรานต์เป็น theme ในการออกแบบบทเรียน โดยให้นักเรียนได้สืบค้นประวัติ
ความเป็นมาว่าเทศกาลนี้ถือเป็นเทศกาลของไทยใช่หรือไม่ ซึ่งทำให้พบข้อถกเถียงในหลายประเด็นที่น่าสนใจ
ตลอดจนออกแบบกิจกรรมงานสงกรานต์ในโรงเรียนเพื่อให้คุณครูและนักเรียนได้เข้าร่วม ทำให้เรียนรู้ตั้งแต่
ห้ามเผยแพร่ คัดลอก จัดทำสำเนา และอ้างอิง โดยไม่ไดร้ ับอนญุ าต
142
เรื่องดนตรี การละเล่นไทย วัฒนธรรมประเพณีของไทยและเอเชีย มารยาทไทย ซึ่งถือเป็นการส่งเสริม
สมรรถนะหลักด้านการเป็นพลเมืองตืน่ รูท้ ี่มีสำนึกสากล สมรรถนะการทำงานแบบรวมพลังเป็นทีมและมภี าวะ
ผู้นำ และสมรรถนะหลักด้านการสืบสอบทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ ในสมรรถนะย่อยที่ 4
การโตแ้ ย้งในประเดน็ สำคญั หรือโรงเรียน ข. มตี ลาดสดทอ่ี ย่ใู นพ้นื ทใี่ กล้เคยี งกบั โรงเรียน คณุ ครูจึงได้ออกแบบ
กิจกรรมให้นักเรียนได้ไปเลือกซื้อสินค้าต่าง ๆ ในตลาด หรือโรงเรียน ค. ที่มีสวนดาดฟ้า (Rooftop Garden)
ทโี่ รงเรยี นวางแผนใหเ้ ปน็ แหล่งเรียนรูเ้ รอ่ื งการปลกู พชื ผักสวนครวั ในพื้นทจ่ี ำกดั แกน่ ักเรียน
5) การวิเคราะห์ว่าในโรงเรียน/ในชุมชน/ในสังคม/ในโลก ขณะนี้มีปรากฏการณ์ ประเด็นความ
เคลื่อนไหวใดที่สำคัญ หรือมีปัญหาใดที่ควรศึกษา/ได้รับการแก้ไข ซึ่งสอดคล้องกับหลักการเรียนรู้โดยใช้
ปัญหาเป็นฐาน การเรียนรู้โดยใชป้ รากฏการณ์เปน็ ฐาน การเรียนรู้ผ่านประเด็นทางสังคม และการเรียนร้โู ดย
อาศัยชุมชนเป็นฐาน (Problem-based Learning/ Phenomenon-based Learning/ Issues & Trend/
Community-based Learning) เช่น โรงเรียน ก. ที่พบว่ามีปัญหาเรือ่ งขยะและพลังงานไฟฟ้า ทั้งในโรงเรยี น
และครัวเรือน จึงได้ออกแบบหน่วยการเรียนรู้ “พลังงานไฟฟ้าใกล้ตัว” และ “การจัดการขยะ” ซึ่งนักเรียน
ได้รับการพัฒนาสมรรถนะหลักด้านการเป็นพลเมืองตืน่ รูท้ ี่มีสำนึกสากล สมรรถนะหลักด้านการคิดขั้นสูงและ
การพัฒนานวัตกรรม และสมรรถนะการทำงานแบบรวมพลังเปน็ ทีมและมภี าวะผู้นำ รวมทั้งได้นำสถานการณ์
การแพร่ระบาดของเชื้อไวรสั มาให้นักเรยี นได้ออกแบบอปุ กรณแ์ ละนวตั กรรมต่าง ๆ ในการป้องกนั ตนเอง
6) การวิเคราะหว์ ่าโรงเรยี นมีจดุ เด่น/ จดุ เน้น/ โครงการ/ กิจกรรมสำคัญใดที่ใช้เปน็ ประเด็นและพ้ืนที่
การเรียนรู้ของนักเรียนได้ (School focus) เช่น ในโรงเรียน ข. มีโครงการยุวเกษตร และโครงการสหกรณ์
โรงเรียนที่มีความโดดเด่น เนื่องจากเป็นพื้นที่ในการส่งเสริมทักษะแก่ผู้เรียนในหลายด้าน มีนักเรียนได้เรียนรู้
ผ่านโครงการเหล่านี้เป็นจำนวนมากในทุกระดับชั้น และยังถือเป็นแหล่งเรียนรู้ของผู้ปกครองและชุมชน
โรงเรียนจึงใช้โครงการเหลา่ นี้เป็นพื้นที่ในการพัฒนาสมรรถนะแก่ผู้เรียน หรือโรงเรียน ค. ที่มุ่งเน้นการพัฒนา
ความเป็นผู้นำแก่นักเรียน ซึ่งถือเป็นจุดเน้นสำคัญของโรงเรียน โรงเรียนจึงใช้กิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องใน
การพัฒนาสมรรถนะแก่นักเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมรรถนะหลักด้านการทำงานแบบรวมพลังเป็นทีมและมี
ภาวะผ้นู ำ
7) การวิเคราะห์ศักยภาพหรือความสามารถที่โดดเด่นของนักเรียนว่ามีสิ่งใดที่ควรได้รับการส่งเสริม
สนับสนุน เช่น โรงเรียน ก. มีนักเรียนที่มีศักยภาพทางดนตรีไทย จึงสร้างพื้นที่ในการฝึกและแสดง
ความสามารถนั้นทั้งในกจิ กรรมต่าง ๆ ของโรงเรียนและเวทีภายนอกโรงเรียน ซงึ่ ทำใหไ้ ด้ฝึกสมรรถนะหลักด้าน
ทักษะชีวิตและความเจริญแห่งตน ในการรู้จักตนเอง การตระหนักรู้ การเห็นคุณค่าในตนเอง และการจัดการ
ตนเอง รวมถงึ สนุ ทรียะ
ดังปรากฏแนวความคดิ ในตัวอย่างแผนหนา้ เดียวของครโู รงเรียนสุจปิ ุลิ ดังภาพ
หา้ มเผยแพร่ คัดลอก จัดทำสำเนา และอา้ งองิ โดยไม่ไดร้ ับอนุญาต
143
ห้ามเผยแพร่ คดั ลอก จัดทำสำเนา และอ้างองิ โดยไม่ไดร้ ับอนุญาต
144
ห้ามเผยแพร่ คดั ลอก จัดทำสำเนา และอ้างองิ โดยไม่ไดร้ ับอนุญาต
145
ตอนท่ี 5
การประเมินสมรรถนะ (Competency-based Assessment)
การประเมินถือเป็นประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่งในการนำ กรอบสมรรถนะหลักของผู้เรียน สู่
การปฏิบัติ เนื่องด้วยมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดและถือเป็นเนื้อเดียวกันกับการพัฒนาสมรรถนะแก่ผู้เรียนท่ี
จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลจากการประเมินในการค้นหาศักยภาพและชี้ทิศทางการพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียน
ต่อไป การประเมินสมรรถนะนี้มีลักษณะเป็น “การประเมินการเรียนรู้ (assessment)” ที่มุ่งเน้นการรวบรวม
สารสนเทศเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน มากกว่าที่จะเป็นการประเมินในลักษณะของ
“การประเมินผล (evaluation)” ทม่ี ุง่ ตดั สนิ คณุ ค่า การประเมนิ สมรรถนะมีสาระสำคัญ ดังน้ี
การประเมินสมรรถนะคืออะไร
มีลกั ษณะอย่างไร ?
การประเมินสมรรถนะมุ่งเน้นการประเมินความสามารถที่เป็นองค์รวมของผู้เรียนในลักษณะของ
การประเมินการปฏิบัติ (Performance Assessment) ว่าผู้เรียน “ทำได้” บรรลุตามเกณฑ์ความสำเร็จที่
กำหนดไวห้ รอื ไม่
การประเมินสมรรถนะในทีนี้มักเกิดขึ้นในลักษณะของการประเมิ นผลรวม (Summative
assessment) ในช่วงทา้ ยบทเรียนหรือทา้ ยหนว่ ยการเรยี นรู้ ภายหลังจากท่ีผ้เู รยี นได้เรียนรู้ความรู้ ทกั ษะ และ
คุณลักษณะต่าง ๆ ที่สำคัญจำเป็นหรือหลอมรวมเป็นพื้นฐานของสมรรถนะนั้น ๆ แล้ว ซึ่งในระหว่างการจัด
กิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะต่าง ๆ เหล่านั้น ผู้สอนก็สามารถออกแบบ
การประเมินความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะต่าง ๆ ในลักษณะของการประเมินระหว่างเรียน (Formative
Assessment) โดยใช้เครอื่ งมือ/ วิธีวดั ตา่ ง ๆ ไดต้ ามปกติ ไม่ว่าจะเปน็ แบบทดสอบ แบบวัด การตรวจแบบฝึก
ฯลฯ หรืออาจมีการวัดสมรรถนะย่อย ๆ ในระหว่างการเรียนการสอนก็ได้เช่นกัน ซึ่งมักอยู่ในลักษณะของ
การประเมนิ ตามสภาพจริง (Authentic Assessment)
กล่าวได้ว่า การประเมินสมรรถนะเป็นการช่วยให้เห็นความสามารถที่เป็นองค์รวมของผู้เรียน (วัด
สมรรถนะทีเ่ ป็นองค์รวมขอการใช้ความรู้ ทกั ษะ และคณุ ลกั ษณะ) โดยครทู ำการทดสอบพฤติกรรมการปฏิบัติ
(Performance Assessment) ของผู้เรียนตามเกณฑ์ที่กำหนด (Performance Criteria) โดยใช้แบบประเมิน
การปฏบิ ัติ (Performance test)
หา้ มเผยแพร่ คัดลอก จัดทำสำเนา และอ้างอิง โดยไมไ่ ดร้ บั อนุญาต
146
การวัดเน้นการประเมินองค์รวมของสมรรถนะด้วยเคร่ืองมือประเมินตามความเหมาะสมและประเมนิ
เมอื่ ผ้เู รยี นพร้อมที่จะรับการประเมิน หากประเมนิ ผา่ น ผูเ้ รียนจะสามารถก้าวสจู่ ุดประสงค์การเรียนรู้ขั้นต่อไป
ได้ หากยังไม่ผ่าน ผู้เรียนจะได้รับการสอนซ่อมเสริม จนกระทั่งบรรลุผล ผู้เรียนแต่ละคนจะก้าวหน้าไปตาม
ความสามารถของตน อาจกา้ วหน้าไปไดเ้ รว็ ในบางสาระ และอาจไปไดช้ ้าในบางสาระตามความถนดั ของตน
ลกั ษณะสำคญั ของการประเมนิ สมรรถนะ
1. การประเมินการเรียนรู้เป็นกิจกรรมที่เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนการสอนตามปกติ
มีลักษณะเป็นการประเมินแบบ Formative Assessment ซึ่งมีการเก็บข้อมูลการเรียนรู้ของผู้เรียนเพื่อให้
ความชว่ ยเหลอื ตามปญั หาและความตอ้ งการของผูเ้ รียนแต่ละคน
2. ใช้การประเมินตามสภาพจริง (Authentic Assessment) จากสิ่งที่ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริง และ
ความก้าวหน้าในการปฏิบัติงาน เช่น การประเมินจากการปฏิบัติ (Performance assessment) หรือ
การประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio Assessment) รวมถึงการประเมินตนเอง (Student Self-
assessment) และการประเมนิ โดยเพือ่ น (Peer Assessment)
3. การประเมินที่เป็นการตัดสินผลการเรียนรู้ จะมุ่งวัดสมรรถนะอันเป็นองค์รวมของความรู้
ทกั ษะ เจตคติ และคณุ ลักษณะตา่ ง ๆ
4. ใช้วิธีการวัดจากพฤติกรรม /การกระทำ/ การปฏิบัติ (Performance Test) ที่แสดงออกถึง
ความสามารถในการใช้ความรู้ ทักษะ เจตคติ และคุณลักษณะต่าง ๆ ตามเกณฑ์การปฏิบัติ (Performance
Criteria) ทีก่ ำหนดเป็นการวัดอิงเกณฑ์ มใิ ชอ่ งิ กล่มุ และมหี ลักฐานการปฏิบัติ (Evidence) ใชต้ รวจสอบได้
5. ใช้สถานการณ์เป็นฐาน เพื่อให้บริบทการวัดและประเมินเป็นสภาพจริงมากขึ้น เช่น อาจ
เตรียมบริบทเป็นข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว สถานการณ์จำลอง หรือสถานการณ์เสมือนจริงใน
คอมพวิ เตอร์ ซึ่งสามารถประเมนิ ได้หลายประเดน็ ในสถานการณ์เดยี วกนั
6. ผู้เรียนจะได้รับการประเมินเมื่อพร้อม และเป็นการประเมินความก้าวหน้าตามอัตราของ
ตนเอง ดว้ ยเครอ่ื งมอื วดั ทเ่ี ขา้ ถงึ ความเช่ียวชาญของผู้เรยี น การประเมินจะเป็นไปตามลำดับข้นั ของสมรรถนะที่
กำหนด หากไม่ผา่ นจะตอ้ งไดร้ ับการซ่อมเสรมิ จนกระทัง่ ผ่านจงึ จะก้าวไปสลู่ ำดับข้ันต่อไป
7. การรายงานผล เป็นการให้ข้อมูลพัฒนาการและความสามารถของผู้เรียนตามลำดับขั้นที่
ผ้เู รียนทำได้ตามเกณฑท์ ก่ี ำหนด
หา้ มเผยแพร่ คัดลอก จัดทำสำเนา และอ้างอิง โดยไม่ไดร้ บั อนุญาต
147
การประเมนิ สมรรถนะทำไดอ้ ย่างไร?
มขี ้นั ตอนอย่างไร ใช้วธิ กี ารใดได้บ้าง
ในการประเมินสมรรถนะมีขน้ั ตอนและวิธีการดังนี้
ขน้ั ตอนการประเมนิ สมรรถนะ
การประเมินสมรรถนะมีขัน้ ตอนทีส่ ำคัญประกอบด้วย
1. การกำหนดสมรรถนะให้มีความชัดเจนในระดับพฤติกรรมที่สังเกตได้ (What) โดยระบุ
การกำหนดเกณฑ์การปฏิบตั ิทีด่ ีให้มีความชัดเจน (Performance Criterion) ซึ่งสิง่ ทจ่ี ะตอ้ งประเมินท่ีอาจเป็น
กระบวนการ (Process) หรือผลงาน (Product) รวมถึงลักษณะกลุ่มเป้าหมายในการประเมินทั้งใน ระดับ
รายบุคคล (Personal Level) หรอื เปน็ รายกลมุ่ (Group Level)
2. การออกแบบกิจกรรมการเรยี นรูห้ รือการพัฒนาสมรรถนะร่วมกับการประเมนิ สมรรถนะ หรอื
การกำหนดสถานการณ์ในการประเมินที่เกิดพฤติกรรมทีเ่ กิดขึ้นแบบองค์รวมหรือบูรณาการร่วมกับสมรรถนะ
ยอ่ ยอนื่
3. กำหนดลักษณะการประเมิน (Assessment Specification) ซึ่งประกอบด้วยวิธกี ารประเมนิ
กรอบการประเมินที่ต้องเป็นตัวแทนของพฤติกรรมที่ใช้ในการวัดสมรรถนะได้อย่างครบถ้วนครอบคลุมเกณฑ์
การประเมินหรือเกณฑ์การให้คะแนนและกำหนดน้ำหนักคะแนน รวมถึงการกำหนดผู้มีส่วนร่วมใน
การประเมินการเรียนรู้ ซ่งึ สารสนเทศเหล่านี้ผู้เรยี นต้องมีสว่ นในการรับรู้ และอาจมีส่วนในการร่วมสร้างเกณฑ์
การให้คะแนนดงั กล่าวได้
4. ดำเนินการประเมินตามสถานการณ์การประเมินที่กำหนด เพื่อใช้เป็นหลักฐาน (Evidence)
ในการสะท้อนระดับการพัฒนาของสมรรถนะที่ต้องการประเมิน เช่น ภาพ การบันทึกเสียง วิดีทัศน์ ชิ้นงาน
ใบงาน โครงการ รายงาน และรายงานวจิ ยั เปน็ ตน้
5. แปลผลการให้คะแนนรวมถึงการสะท้อนข้อมูล เพื่อให้ข้อมูลย้อนกลับในการพัฒนาผู้เรียน
และการพัฒนากิจกรรมการพัฒนาและการประเมินนั้น เช่น การสะท้อนผลถึงความรู้จำเป็นในการลงมือ
ปฏบิ ตั ิการนั้น ทงั้ ความรู้พื้นฐาน และความรู้ในเชิงวิธดี ำเนนิ การ และความสามารถยอ่ ยปฏบิ ัตใิ นการนำความรู้
ไปใช้โดยปรับให้เหมาะกับสถานการณ์ รวมถึงการลงมือปฏิบัติด้วยการบูรณาการทั้งความรู้ ทักษะ
ความสามารถ และกรอบของคุณลักษณะการปฏิบัติที่ดี เจตคติต่อการปฏิบัติหรือค่านิยมที่ดีเป็นเครื่องกำกับ
ในการปฏิบตั ทิ ี่ซบั ซ้อนในชวี ติ ประจำวันได้ เปน็ ตน้
หา้ มเผยแพร่ คัดลอก จัดทำสำเนา และอา้ งอิง โดยไมไ่ ดร้ ับอนญุ าต
148
วิชัย วงศ์ใหญ่ และ มารุต พัฒผล (2562) ได้กล่าวถึงขั้นตอนการประเมินตามสภาพจริงอิง
สมรรถนะ ไวด้ ังตอ่ ไปนี้
1. ผเู้ รียนประเมนิ สมรรถนะตนเอง เปน็ การสรา้ งการรับรูส้ มรรถนะตนเองของผู้เรียน เพอ่ื สร้าง
แรงจูงใจภายในสำหรับการมุ่งมั่นพยายามพัฒนาสมรรถนะของตนเองในอนาคต อีกทั้งเป็นการกระตุ้นทักษะ
การกำหนดเปา้ หมายของตนเอง (Self-Direction)
2. ผู้สอนประเมินสมรรถนะของผู้เรียน เป็นการตรวจสอบสมรรถนะของผู้เรียนที่มีอยู่ใน
ปัจจุบันโดยผู้สอน เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูล (Based Line Data) สำหรับกำหนดเป้าหมายเพื่อพัฒนาสมรรถนะ
ตอ่ ไป
3. ร่วมกันกำหนดเป้าหมายอิงสมรรถนะ เป็นการกำหนดเกณฑ์หรือเป้าหมายการพัฒนา
สมรรถนะของผู้เรียนในลักษระของการเสริมพลงั สมรรถนะ (Competency Empowerment) โดยผเู้ รียนเป็น
ผู้มีบทบาทหลักในการกำหนดเป้าหมายสมรรถนะที่ต้องการบรรลุ ผู้สอนให้คำชี้แนะแนวทางการกำหนด
เปา้ หมายใหก้ บั ผูเ้ รียน
4. ร่วมกันพัฒนาให้บรรลุเป้าหมายสมรรถนะ เป็นการพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียนใน
กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่มีลักษณะเป็นการบูรณาการไปกับกิจกรรม (Competency-based Learning)
ผู้เรียนมคี วามมุ่งม่นั พยายามและกระตอื รือร้นในการพฒั นาสมรรถนะของตนเองโดยผสู้ อนมีบทบาทเปน็ โคช้
5. ประเมินความก้าวหน้าอยา่ งต่อเน่ือง เปน็ การตรวจสอบความก้าวหน้าของสมรรถนะผู้เรียน
ตามแนวทางการประเมินสภาพจริง และนำผลการประเมินมาปรับปรุงกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้
ตอบสนองความต้องการตามธรรมชาติของผู้เรยี น และระดับสมรรถนะท่มี อี ยูใ่ นปจั จุบัน
วธิ ีการวดั และประเมนิ สมรรถนะ
การวัดและประเมินฐานสมรรถนะจำเป็นจะต้องใช้เทคนิค/วิธีการที่ใช้ในการป ระเมินตามสภาพ
จริง เพื่อสังเกตการการกระทำ รวมถึงการแสดงออกหลายๆ ด้านของนักเรียนตามสภาพความเป็นจริง ทั้งใน
และนอกห้องเรยี น รวมถึงเลอื กวิธกี ารทหี่ ลากหลายในการประเมินการเรียนรู้ ตัวอย่างเชน่
1. การสังเกตการทำงานเดี่ยวและการทำงานกลุ่ม (Observation) ซึ่งเป็นการประเมินที่เป็นไป
ได้ทั้งที่เป็นทางการและไม่ทางการ การประเมินโดยการสังเกตเป็นการประเมินร่วมด้วยกับการประเมิน
ภาคปฏิบัตแิ ละการประเมนิ ตามสภาพจรงิ
2. การสอบถาม สมั ภาษณ์ (Interview, Questioning) โดยใชก้ ารมปี ฏิสัมพันธ์พดู คยุ เพื่อพัฒนา
การเรียนรู้ รวมถึงการประเมินการเรียนรู้ไปในกระบวนการนั้น ซึ่งการสัมภาษณ์มีจุดดีในการตรวจสอบ
ความเขา้ ใจได้ลกึ ซงึ้ กว่าการวัดประเมนิ ผลท่เี ป็นการสอ่ื สารทางเดยี ว
3. การประเมินผลงาน (Assignment) เป็นการประเมินที่เกิดจากการมอบหมายงานให้อ่าน
การศึกษาด้วยตนเอง นอกเหนือจากที่จะได้สารสนเทศว่าผู้เรียนยังมีสิ่งที่ต้องปรับปรุงช่วยเหลืออย่างไร แล้ว
หา้ มเผยแพร่ คัดลอก จัดทำสำเนา และอา้ งอิง โดยไมไ่ ดร้ บั อนุญาต
149
ยังสามารถได้สาระสนเทศเชิงการสะท้อนการเรียนรู้ของผู้เรียนเพื่อเป็นประโยชน์ในการปรับการเรียน
เปลีย่ นการจัดการเรียนการสอนได้อกี ด้วย
4. การทดสอบ (Testing) เปน็ การประเมนิ ทเ่ี ปน็ ทางการ โดยใชร้ ปู แบบการทดสอบท่เี ป็นปรนัย
และอัตนัย สามารถใช้ในการตรวจสอบความเข้าใจ ประเมินพัฒนาการการเรียนรู้ และวินิจฉัยการเรียนรู้ของ
ผู้เรียนเพื่อตรวจสอบความคลาดเคลื่อนในการเรียนรู้ โดยทั่วไปการทดสอบใช้ในการวัดคุณลักษณะด้าน
พุทธิพิสัย ความสามารถในการคิดขั้นสูงซึ่งแบบทดสอบที่มีรูปแบบอัตนัยจะเป็นที่นิยมใช้ในการวัดสมรรถนะ
การคดิ ขน้ั สูงได้
5. การบันทึกการเข้ารว่ มกจิ กรรม (Attendance) เป็นการประเมินการมีสว่ นร่วมในการดำเนนิ
กิจกรรมการเรียนรู้ การสะท้อนผลการเรยี นรจู้ ากผเู้ รยี นในการร่วมกจิ กรรมได้เพ่ิมเติม
6. การใช้แฟ้มสะสมงาน (Portfolio) เป็นการประเมินที่มีเป้าหมายในการเก็บรวบรวมชิ้นงาน
ทราบถึงพัฒนาการแต่ละชิ้นงาน มีการสะท้อนผลการจัดทำชิ้นงานผ่านผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่
การพัฒนาชิ้นงานให้ดียิ่งขึ้นต่อไป ทั้งนี้ผู้จัดทำชิ้นงานสามารถเลือกสรรได้ว่าจะนำผลงานใดเพื่อนำมาใช้ใน
การประเมนิ ผลลพั ธก์ ารเรียนร้ใู นช่วงทา้ ย
7. การประเมินภาคปฏิบัติ (Performance Assessment) เป็นการประเมินที่ต้องอาศัย
การสังเกต การวางแผนกำหนดสถานการณ์จำลองที่กระตุ้นให้ผู้เรียนได้แสดงพฤติกรรมที่ผ่านการฝึกฝน
เรียนรู้มาแล้ว โดยมีการกำหนดเกณฑ์การประเมินว่ามีเป้าหมายในการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน
ในด้านใดบา้ ง
8. การประเมนิ ผลตามสภาพจริง (Authentic Assessment) เปน็ การประเมินทีม่ ีความใกล้เคียง
กับการประเมินภาคปฏิบตั ิ โดยทั่วไปเป็นการบูรณาการสมรรถนะทีส่ ำคัญจากการฝึกฝนเรียนรู้เพื่อแสดงออก
ในสถานการณ์ความเป็นจริง หรอื สถานการณท์ ผ่ี เู้ รยี นตอ้ งเผชญิ ในชวี ติ ประจำวนั
9. การประเมินผลในสถานที่ทำงานจริง (Workplace Assessment) เป็นการประเมินภายหลงั
จากการฝึกฝนผู้เรียนใหม้ ีความพร้อมท้ังดา้ นความร้พู น้ื ฐาน ทกั ษะ ความสามารถ และเจตคตติ ่อการทำงานที่ดี
เพ่อื ให้สามารถทำงานในสถานการณจ์ ริงในสถานที่ทำงาน ชมุ าชน หรอื สถานประกอบการ เป็นต้น
10. การประเมินแบบศูนย์การประเมิน (Assessment Center) เป็นการประเมินสมรรถนะ
ที่ประกอบด้วย สถานการณ์จำลองที่ออกแบบกิจกรรมเพื่อให้ผู้ประเมินได้แสดงออกถึงสมรรถนะแฝงที่อยู่ใน
ตัวของผู้เรียนรู้ในลักษณะฐานปฏิบัติกิจกรรม โดยทั่วไปนิยมในการประเมินหลายสมรรถนะ มีผู้ประเมิน
มากกวา่ หน่งึ ขึน้ ไป
11. การประเมินตนเอง (Self-Assessment) เป็นการประเมินทผี่ ู้รับการฝึกฝนเรียนรู้ ได้มีโอกาส
ในการพิจารณาความสามารถหรือการทำงานของตน ตระหนกั หรือรับรู้ถงึ จุดเด่นและจดุ ที่ควรได้รับการพัฒนา
ของตนเอง จากเกณฑก์ ารประเมนิ ท่ีกำหนดขึ้น เพ่อื ใหผ้ ูป้ ระเมนิ ได้สาระสนเทศในการฝึกฝนพัฒนาตนต่อไปใน
อนาคต
ห้ามเผยแพร่ คดั ลอก จัดทำสำเนา และอ้างอิง โดยไม่ไดร้ บั อนุญาต
150
12. การประเมินเพื่อน (Peer Assessment) เป็นการประเมินที่ผู้ร่วมทำกิจกรรมฝึกฝนเรียนรู้
ได้มีโอกาสในการให้สาระสนเทศหรือข้อมูลย้อนกลับให้แก่เพื่อนร่วมการทำกิจกรรมการเรียนรู้ ซึ่งทำให้
ผู้ประเมินได้เห็นท้ังจุดเด่นและจุดที่ควรได้รับการพัฒนาของเพื่อนร่วมการทำกิจกรรมการเรียนรู้ นำมาสู่
การสะทอ้ นกลับในการพฒั นาตนเองในอนาคตต่อไป
การประเมนิ ผลเป็นการรวบรวมหลักฐานผลการเรียนรวู้ ่าผเู้ รียนมีความกา้ วหน้าถึงเกณฑ์ หรือระดับที่
กําหนดในมาตรฐาน หรือ ตามผลการเรียนรู้ที่กำหนดในหน่วยสมรรถนะ สมรรถนะย่อย และตัวชี้วัด เพื่อ
ตัดสินว่า ผู้เรียนสําเร็จตามสมรรถนะที่กําหนดหรือไม่ การประเมินผลการจัดหลักสูตรแบบฐานสมรรถนะ
ควรทําควบคู่กับการเรียนการสอน โดยวัดทั้งความรู้และทักษะและการนําไปประยุกต์ใช้ ดังนั้น การวัดและ
ประเมินผลสมรรถนะของผู้เรียนระดับประถมศึกษาไม่ควรเน้นการไม่ประเมินผลตามตัวชี้วัด แต่เน้น
การประเมินเพื่อการเรียนรู้ Assessment for Learning (AFL) ที่ช่วยวินิจฉัยกระบวนการ วิธีการเรียนรู้
และให้ข้อมูล เพื่อปรับปรุงวิธีการเรียนรู้และการทำงานของผู้เรียน โดยการประเมินจะให้ความสำคั ญกับ
การประเมินแบบย่อย (Formative Assessment) อย่างต่อเนื่อง เพื่อติดตามดูความก้าวหน้า วินิจฉัยจุดด้อย
จดุ เดน่ ของผู้เรียน ให้ขอ้ มลู ย้อนกลบั และเปน็ การประเมินการจัดกจิ กรรมการเรยี นการสอนของผู้สอนไปดว้ ย
การประเมินเพื่อการเรียนรู้ (AFL - Assessment for Learning) อาศัยข้อมูล
สารสนเทศทางการประเมินเป็นข้อมูลย้อนกลับ เพื่อวินิจฉัยปัญหาการเรียนรู้ของนักเรียน
ปรับปรุงวิธีการเรียนรู้หรือวิธีการทำงานของนักเรียน เพื่อพัฒนานักเรียนเป็นรายบุคคล
ผู้สอนวางแผนการเรียนในขั้นต่อไปให้บรรลุผลสำเร็จโดยให้ข้อมูลที่มีคุณค่า ประกอบด้วย
1) การให้ข้อมูลกระตุน้ การเรยี นรู้ (Feed-up) 2) การให้ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) และ
3) การให้ข้อมูลเพื่อการเรียนรู้ต่อยอด (Feed forward) (สำนักงานราชบัณฑิตยสภา,
2562)
ผเู้ รยี นเปน็ ผจู้ ัดทำบันทึกการเรียนรู้ของตนเอง ผู้สอนเปน็ ผู้จัดทำสมุดรายงานผลการเรียนรู้ (สมุดพก
เดิม) โดยจัดทำเป็นรายงานความก้าวหน้าของนักเรียน ในการพัฒนาสมรรถนะด้านต่าง ๆ โดยผู้สอนทำ
การวิเคราะห์และบันทึกร่องรอยของการแสดงให้เห็นถึงการใช้สมรรถนะของผู้เรี ยนในเหตุการณ์ที่ถูกกำหนด
ขึ้น หรอื เป็นเหตกุ ารณจ์ ริงท่ีเกิดข้ึนตามธรรมชาติ
นอกจากนี้ การประเมินสมรรถนะต่างๆ แบบสรุปรวม (Summative Assessment) เพื่อวัดและ
ตัดสินกระบวนการเรียนรู้ (The End of Learning Process) โดยอาจใช้วิธีการประเมินที่หลากหลาย ได้แก่
การสังเกต (Observation) รายการประเมิน (Checklist) การสาธิตและตั้งคําถาม (Demonstration and
Questioning) แบบทดสอบและข้อสอบอัตนัย (Pen and Paper Test and Essays) ซึ่งใช้ประเมินด้าน
หา้ มเผยแพร่ คัดลอก จัดทำสำเนา และอา้ งองิ โดยไม่ไดร้ บั อนุญาต
151
ความรู้ การสอบปากเปล่า (Oral Test) การทําโครงงาน (Projects) สถานการณ์จําลอง (Simulations)
แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolios) การประเมินผลโดยการใช้คอมพิวเตอร์ (Computer-based Assessment)
เปน็ เครอ่ื งมือในการสร้างแบบทดสอบและบันทกึ ผลได้
ตวั อย่างการประเมินสมรรถนะ
เนื่องด้วยคำอธิบายและพฤติกรรมบ่งชี้ของสมรรถนะหลักของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานนั้น
เป็นการกำหนดไว้อย่างกว้าง ๆ และมีความยืดหยุ่นในการนำไปใช้ สถานศึกษาแต่ละแห่งจึงสามารถกำหนด
รายละเอยี ดของเกณฑก์ ารประเมนิ ในลกั ษณะของระดบั คณุ ภาพไดด้ ังตัวอยา่ ง
ตวั อย่างการกำหนดระดับคุณภาพของสมรรถนะ
สมรรถนะหลักด้านทักษะการคดิ ขน้ั สูงและนวตั กรรม (Higher Order Thinking Skills and
Innovation Development)
ตัวอยา่ งการกำหนดระดบั คุณภาพสำหรับการประเมนิ
สมรรถนะการคดิ แกป้ ญั หาของนกั เรยี นระดบั ประถมศกึ ษาตอนปลาย
ระดับคุณภาพ การคิดแกป้ ญั หา
ระดับ 1 สามารถระบุปัญหาที่เกิดขึ้น และอธิบายผลกระทบของปัญหาได้คร่าวๆ สามารถระบุสาเหตุ
และวธิ ีการแก้ไขปัญหาได้ และลงมือแก้ปญั หาโดยต้องอาศยั ความช่วยเหลือจากผอู้ ื่น
ระดับ 2 สามารถระบุปัญหาที่เกิดขึ้น และอธิบายผลกระทบของปัญหาที่เกิดขึ้นต่อตนเองได้อย่าง
ชัดเจน สามารถระบุสาเหตุและวิธีการแก้ไขปัญหาที่หลากหลายและมีความเป็นไปได้จริง
ในทางปฏิบัติ และลงมือแก้ปัญหาด้วยตนเอง ด้วยวิธีการที่คัดเลือกไว้ โดยดำเนินการตาม
ข้นั ตอนที่ได้วางแผนไว้
ระดบั 3 สามารถระบุปัญหาท่ีเกิดขึ้น และอธิบายผลกระทบของปัญหาที่เกิดขึ้นต่อตนเองและผู้อื่นได้
สามารถระบสุ าเหตุและวธิ ีการแกไ้ ขปญั หาที่หลากหลายและมีความเปน็ ไปได้จรงิ ในทางปฏบิ ตั ิ
และสามารถอธิบายผลที่จะเกิดขึ้นจากวิธีการแก้ไขปัญหาเหล่านั้น และลงมือแก้ปัญหาด้วย
ตนเอง ด้วยวธิ ีการทค่ี ดั เลอื กไวแ้ ละดำเนนิ การตามขนั้ ตอนของวิธีการจนปัญหาไดร้ ับการแกไ้ ข
ห้ามเผยแพร่ คัดลอก จัดทำสำเนา และอ้างองิ โดยไมไ่ ดร้ บั อนุญาต
152
ตัวอยา่ งการกำหนดระดับคุณภาพสำหรับการประเมนิ
สมรรถนะการพฒั นานวตั กรรมของนักเรยี นในทกุ ช่วงชั้น
ระดับ ระดบั การพัฒนานวตั กรรม
สมรรถนะ คุณภาพ
ระดบั ระดบั 1 ออกแบบนวัตกรรมอย่างง่าย เช่น ของเล่น สิ่งประดิษฐ์ ของใช้ การแสดงออกทาง
ประถมต้น ดนตรี ศลิ ปะ เพอื่ แก้ปญั หาสิ่งท่พี บเห็นรอบตัวและอธบิ ายวิธกี ารทำงานของนวัตกรรม
ตามความคิดหรอื จนิ ตนาการได้
ระดบั 2 ออกแบบนวัตกรรมอยา่ งง่ายเพ่อื แกป้ ญั หาสง่ิ ทพ่ี บเห็นรอบตัวและอธบิ ายวธิ ีการทำงาน
ของนวัตกรรมตามความคิดหรือจินตนาการได้ และสามารถนำเสนอแนวทางใน
ระดับ 3 การปรับปรุงพัฒนานวัตกรรมตามความคิดหรือจินตนาการได้อย่างชัดเจน มี
รายละเอียดท่ีเปน็ ไปได้
ระดับ ระดบั 1 ออกแบบนวัตกรรมอย่างง่ายเพื่อแก้ปัญหาสิ่งที่พบเห็นรอบตัว อธิบายวิธีการทำงาน
ประถม ของนวัตกรรมตามความคิดหรือจินตนาการได้ นำเสนอแนวทางในการปรับปรุงพัฒนา
ปลาย นวัตกรรมตามความคดิ หรือจนิ ตนาการ และปรบั ปรงุ พัฒนานวัตกรรมตามทนี่ ำเสนอได้
อยา่ งชดั เจน สมบรู ณ์
ระดับ 2 ออกแบบนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาสิ่งที่พบเห็นรอบตัวบนพื้นฐานของข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
กับสภาพปญั หา และอธิบายวิธีการทำงานของนวัตกรรมที่พัฒนาขึน้ ตามความคิดหรือ
ระดับ 3 จินตนาการได้โดยมเี หตผุ ลประกอบ
ออกแบบนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาสิ่งที่พบเห็นรอบตัวบนพื้นฐานของข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
ระดับ ระดับ 1 กับสภาพปัญหาและอธิบายวิธีการทำงานของนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นตามความคิดหรือ
มัธยมตน้ จินตนาการโดยมีเหตุผลประกอบ สามารถระบุจุดเด่นและข้อจำกัดของนวัตกรรมและ
นำเสนอแนวทางในการปรบั ปรงุ พัฒนานวัตกรรมโดยมีพนื้ ฐานของแนวคิดรองรับอย่าง
มเี หตุมผี ล
ออกแบบนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาสิ่งที่พบเห็นรอบตัวบนพื้นฐานของข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
กับสภาพปัญหาและอธิบายวิธีการทำงานของนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นตามความคิดหรือ
จินตนาการโดยมีเหตุผลประกอบระบุจุดเด่นและข้อจำกัดของนวัตกรร มและนำเสนอ
แนวทางในการปรับปรุงพัฒนานวัตกรรมโดยมีพื้นฐานของแนวคิดรองรับอย่างมีเหตุมี
ผล และปรับปรุงพัฒนานวัตกรรมตามที่นำเสนอได้โดยมีพื้นฐานของแนวคิดรองรับ
อย่างมีเหตมุ ผี ล
ออกแบบนวัตกรรมที่เกิดจากการต่อยอด ประยุกต์หรือริเริ่มบนพื้นฐานของ
การวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาสภาพปัญหา มีวิธีการแก้ปัญหาหลายวิธีและ
เลือกแนวทางการแก้ปัญหาที่เหมาะสมมีเหตุผลรองรับอย่างชัดเจนบนพื้นฐานของ
การมีแนวคิด หลักการ ทฤษฎีรองรับ และอธิบายวิธีการทำงานของนวัตกรรม ระบุ
จุดเด่นและขอ้ จำกัดของนวัตกรรมทพี่ ฒั นาข้ึนได้
หา้ มเผยแพร่ คัดลอก จัดทำสำเนา และอา้ งองิ โดยไมไ่ ดร้ บั อนุญาต
153
ระดับ ระดบั การพัฒนานวตั กรรม
สมรรถนะ คณุ ภาพ
ระดบั 2 ออกแบบนวัตกรรมที่เกิดจากการต่อยอด ประยุกต์หรือริเริ่มบนพื้นฐานของ
การวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาสภาพปัญหา มีวิธีการแก้ปัญหาหลายวิธีและ
เลือกแนวทางการแก้ปัญหาที่เหมาะสมมีเหตุผลรองรับอย่างชัดเจนบนพื้นฐานของ
แนวคิด หลักการ ทฤษฎีรองรับ และอธิบายวิธีการทำงานของนวัตกรรม ระบุจุดเด่น
และขอ้ จำกดั ของนวตั กรรมทพ่ี ัฒนาข้ึนบนพนื้ ฐานของแนวคดิ หลกั การ ทฤษฎีที่รองรบั
ทดสอบนวัตกรรมกับกลุ่มเป้าหมายและนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงพัฒนา
นวัตกรรมโดยมีพืน้ ฐานของแนวคิดรองรับอย่างมเี หตมุ ผี ล
ระดบั 3 ออกแบบนวัตกรรมที่เกิดจากการต่อยอด ประยุกต์หรือริเริ่มบนพื้นฐานของ
การวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาสภาพปัญหา มีวิธีการแก้ปัญหาหลายวิธีและ
เลือกแนวทางการแก้ปัญหาที่เหมาะสมมีเหตุผลรองรับอย่างชัดเจนบนพื้นฐาน ของ
แนวคิด หลักการ ทฤษฎีรองรับ และอธิบายวิธีการทำงานของนวัตกรรม ระบุจุดเด่น
และข้อจำกัดของนวตั กรรมที่พัฒนาขึ้นบนพื้นฐานของแนวคิด หลักการ ทฤษฎีรองรบั
ทดสอบนวัตกรรมกับกลุ่มเป้าหมายและนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงพัฒนา
นวัตกรรมโดยมีพื้นฐานของแนวคิดรองรับอย่างมีเหตุมีผล ปรับปรุงพัฒนานวัตกรรม
ตามข้อค้นพบและอธิบายคุณค่าของผลงานที่พัฒนาขึ้นโดยมีเหตุผลประกอบบน
พ้ืนฐานของแนวคิด หลักการ ทฤษฎีรองรบั
ระดบั ระดบั 1 ออกแบบนวัตกรรมที่เกิดจากการต่อยอด ประยุกต์หรือริเริ่มโดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่
มธั ยม อย่างเหมาะสมคุ้มค่าบนพื้นฐานของการสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาสภาพ
ปลาย ปัญหา มีวิธีการแก้ปัญหาหลายวธิ แี ละเลอื กแนวทางการแกป้ ัญหาที่เหมาะสมมีเหตุผล
รองรับอย่างชัดเจนและอธิบายวิธีการทำงานของนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นเหมาะสมตาม
หลักศีลธรรม คุณธรรม ค่านิยม รวมทั้งความเชื่อและบรรทัดฐานของเศรษฐกิจ สังคม
วัฒนธรรมและสงิ่ แวดลอ้ มโดยระบุแนวคิด หลกั การ ทฤษฎรี องรับอยา่ งมเี หตุมีผล
ระดบั 2 ออกแบบนวัตกรรมที่เกิดจากการต่อยอด ประยุกต์หรือริเริ่มโดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่
อย่างเหมาะสมคุ้มค่าบนพื้นฐานของการสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาสภาพ
ปัญหา มีวิธีการแก้ปัญหาหลายวิธีและเลอื กแนวทางการแก้ปัญหาที่เหมาะสมมีเหตุผล
รองรับอย่างชัดเจนและอธิบายวิธีการทำงานของนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นเหมาะสมตาม
หลักศีลธรรม คุณธรรม ค่านิยม รวมทั้งความเชื่อและบรรทัดฐานของเศรษฐกิจ สังคม
วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมโดยระบุแนวคิด หลักการ ทฤษฎีรองรับอย่างมีเหตุมีผล
สามารถทดสอบนวัตกรรมกับกลุม่ เปา้ หมายและนำเสนอแนวทางในการปรบั ปรุงพฒั นา
นวัตกรรมที่เหมาะสมตามหลักศลี ธรรม คณุ ธรรม ค่านยิ ม รวมทัง้ ความเชอ่ื และบรรทัด
ฐานของเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมโดยระบุแนวคิด หลักการ ทฤษฎี
รองรับอย่างมเี หตุมผี ล
หา้ มเผยแพร่ คัดลอก จัดทำสำเนา และอา้ งองิ โดยไมไ่ ดร้ ับอนญุ าต
154
ระดับ ระดับ การพัฒนานวัตกรรม
สมรรถนะ คณุ ภาพ
ระดับ 3 ออกแบบนวัตกรรมที่เกิดจากการต่อยอด ประยุกต์หรือริเริ่มโดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่
อย่างเหมาะสมคุ้มค่าบนพื้นฐานของการสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาสภาพ
ปัญหา มีวิธีการแกป้ ัญหาหลายวธิ แี ละเลอื กแนวทางการแก้ปัญหาท่ีเหมาะสมมีเหตุผล
รองรับอย่างชัดเจนและอธิบายวิธีการทำงานของนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นเหมาะสมตาม
หลักศีลธรรม คุณธรรม ค่านิยม รวมทั้งความเชื่อและบรรทัดฐานของเศรษฐกิจ สังคม
วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม โดยระบุแนวคิด หลักการ ทฤษฎีรองรับอย่างมีเหตุมีผล
สามารถทดสอบนวัตกรรมกบั กลุม่ เป้าหมายและนำเสนอแนวทางในการปรับปรงุ พฒั นา
นวตั กรรมท่ีเหมาะสมตามหลักศีลธรรม คณุ ธรรม คา่ นยิ ม รวมทัง้ ความเช่อื และบรรทัด
ฐานของเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมโดยระบุแนวคิด หลักการ ทฤษฎี
รองรับอย่างมีเหตุมีผล สามารถปรับปรุงพัฒนานวัตกรรมตามข้อค้นพบและอธิบาย
คุณค่าของผลงานที่พัฒนาขึ้นเหมาะสมตามหลักศีลธรรม คุณธรรม ค่านิยม รวมทั้ง
ความเชื่อและบรรทัดฐานของเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมโดยระบุ
แนวคิด หลักการ ทฤษฎีรองรับอย่างมีเหตุมีผล ตลอดจนสามารถเผยแพร่นวัตกรรม
มีผ้นู ำนวัตกรรมไปใช้ต่อ และเหน็ ผลท่ีเกดิ จากการใชน้ วตั กรรม
ตวั อยา่ งการออกแบบเครื่องมอื วธิ ีวัด และเกณฑก์ ารประเมิน
ในแผนการจัดการเรียนรขู้ องครูผู้สอนปรากฏข้อมลู การออกแบบแนวทางการวดั และประเมินดังนี้
การประเมินตัวช้วี ดั ชน้ั ปีจากการตรวจผลงานที่ไดจ้ ากการปฏบิ ตั จิ ริงระหวา่ งสอน
มาตรฐาน ค 2.1 ป.6/2: แสดงวิธหี าคำตอบของโจทย์ปญั หาเกยี่ วกับความยาวรอบรูปและพื้นที่ของ
รูปหลายเหลีย่ ม
มาตรฐาน ค 2.2 ป.6/1: จำแนกรูปสามเหล่ียมโดยพิจารณาจากสมบัตขิ องรูป
มาตรฐาน ค 2.2 ป.6/2: สร้างรปู สามเหล่ยี มเม่ือกำหนดความยาวของด้านและขนาดของมุม
ห้ามเผยแพร่ คดั ลอก จัดทำสำเนา และอา้ งองิ โดยไม่ไดร้ บั อนญุ าต
155
ตวั อย่างเกณฑก์ ารใหค้ ะแนนประเมินสมรรถนะในความฉลาดรู้พ้นื ฐาน
คณิตศาสตร์ในชีวติ ประจำวัน
รายการประเมนิ เกณฑก์ ารใหค้ ะแนน 1: ปรบั ปรงุ
5 : ดีมาก 4 : ดี 3 : ปานกลาง 2 : พอใช้
กจิ กรรมสร้าง -แกป้ ัญหา โดย -แก้ปญั หา โดย -แกป้ ัญหา โดย -แกป้ ญั หา โดย ทำไดไ้ มถ่ ึงเกณฑ์
รปู สามเหล่ียม ใช้ความรูท้ าง ใช้ความร้ทู าง ข้างตน้ หรือไม่มี
และหาพนื้ ที่ คณิตศาสตรท์ ี่มี ใช้ความร้ทู าง ใช้ความร้ทู าง คณิตศาสตรท์ ่ีมี รอ่ งรอย
ความยาวรอบ ในการแกป้ ัญหา แก้ปัญหา ใน การดำเนิน
รูป ใน คณติ ศาสตรท์ มี่ ี คณิตศาสตรท์ ีม่ ี ชีวิตประจำวนั ได้ การแกป้ ัญหา
ชีวิตประจำวนั ได้ เปน็ บางเร่ือง
สมรรถนะท่ี 1 อย่างเหมาะสม แกป้ ญั หา ใน แก้ปญั หา อยา่ ง และ
การแก้ปญั หาใช้ กับวยั และ คำนงึ ถึงความ
ความรู้ทาง คำนงึ ถงึ ชีวติ ประจำวนั ได้ ใน สมเหตสุ มผล
คณิตศาสตร์ทมี่ ี ความสมเหตุ ของคำตอบท่ีได้
แกป้ ญั หา ใน สมผลของ อยา่ งเหมาะสม ชีวติ ประจำวนั ได้ - มรี อ่ งรอย
ชวี ิตประจำวนั คำตอบทไ่ี ด้ การแก้ปญั หา
ใหเ้ หมาะสมกบั -ใช้ยุทธวิธี กบั วยั และ อยา่ งเหมาะสม บางส่วน เรม่ิ คดิ
วยั ดำเนินการ ว่าทำไมจึงต้อง
โดยใช้ แกป้ ัญหาสำเรจ็ คำนึงถึง กับวยั และ ใชว้ ธิ กี ารน้ันแล้ว
กระบวนการ อยา่ งมี หยดุ อธิบายต่อ
แก้ปญั หาทาง ประสทิ ธภิ าพ ความสมเหตุ คำนงึ ถงึ ไมไ่ ด้ แกป้ ญั หา
คณติ ศาสตร์ -อธบิ ายถงึ ไม่สำเรจ็
อย่างเหมาะสม เหตผุ ลในการใช้ สมผลของ ความสมเหตุ
และคำนงึ ถงึ วิธีการดงั กลา่ ว
ความสมเหตุ ได้เขา้ ใจชดั เจน คำตอบท่ีได้ สมผลของ
สมผลของ
คำตอบทไี่ ด้ - ใชย้ ุทธวิธี คำตอบทไี่ ด้
ดำเนินการ - ใชย้ ทุ ธวิธี
แก้ปัญหาสำเรจ็ ดำเนนิ การ
- อธิบายถึง แกป้ ญั หา
เหตผุ ล สำเร็จเพียง
ในการใช้วธิ กี าร บางส่วน
ได้ชดั เจนเป็น อธบิ ายถึงเหตผุ ล
ส่วนใหญ่ ในการใช้วิธกี าร
ดังกล่าวได้
บางสว่ น
กจิ กรรม ธ.ธง มีการอ้างองิ มกี ารอ้างอิงท่ี เสนอแนวคิดไม่ -มคี วามพยายาม ไม่มแี นวคดิ
คนนิยม เสนอแนวคิด ถูกต้องบางส่วน สมเหตุสมผล
ประกอบ และเสนอ ประกอบการ เสนอแนวคดิ ประกอบ
สมรรถนะท่ี 4 การตดั สินใจ แนวคิด ตดั สินใจ
อธิบายความรู้ อย่างมเี หตผุ ล ประกอบ การตัดสนิ ใจ ไม่
การตดั สนิ ใจ มกี ารเชอ่ื มโยง
กบั สาระอื่นใด
หา้ มเผยแพร่ คัดลอก จัดทำสำเนา และอา้ งอิง โดยไม่ไดร้ บั อนญุ าต
รายการประเมิน เกณฑก์ ารใหค้ ะแนน 156
5 : ดมี าก 4 : ดี 3 : ปานกลาง 2 : พอใช้ 1: ปรบั ปรงุ
หรอื หลักการ -นำความรู้ ประกอบการ -นำความรู้ -นำความรู้
อย่างงา่ ยที่ หลักการ และ
สะทอ้ น หลักการ และใช้ ตดั สนิ ใจ หลกั การ และ วิธีการทาง
ให้เห็นถึง คณติ ศาสตร์ใน
ความเช่อื มโยง วิธกี ารทาง -นำความรู้ วธิ ีการทาง การเชือ่ มโยงยัง
ภายใน ไม่ไดเ้ ปน็ สว่ น
คณิตศาสตร์ คณติ ศาสตร์ใน หลกั การ และใช้ คณิตศาสตร์ไป ใหญ่
เชอ่ื มโยง
คณติ ศาสตรก์ บั การเชอื่ มโยงทาง วธิ กี ารทาง เชอ่ื มโยงทาง
ศาสตร์อืน่ ๆ
และเช่อื มโยง คณติ ศาสตร์ได้ดี คณติ ศาสตร์ใน คณติ ศาสตร์ได้
คณิตศาสตรก์ บั
ชวี ิตประจำวนั กบั สาระอื่นใน การเชื่อมโยง บา้ ง
อยา่ ง
สมเหตุสมผล ชีวติ ประจำวนั ทางคณิตศาสตร์ บางสว่ น
ตามวัย
เพ่ือชว่ ยใน ได้เปน็ สว่ นใหญ่
การแกป้ ญั หา กบั สาระอน่ื ใน
หรือประยกุ ต์ใช้ ชวี ติ ประจำวนั
ไดอ้ ย่าง เพอ่ื ชว่ ยใน
สอดคล้องและ การแกป้ ัญหา
เหมาะสมดี หรือประยกุ ตใ์ ช้
ได้บางส่วน
ตวั อย่างเกณฑก์ ารให้คะแนนประเมินสมรรถนะหลกั
สมรรถนะหลกั ดา้ นทกั ษะชีวิตและความเจริญแห่งตน
(Life Skills and Personal Growth)
รายการประเมิน เกณฑก์ ารใหค้ ะแนน 1: ปรับปรงุ
5 : ดมี าก 4 : ดี 3 : ปานกลาง 2 : พอใช้
กิจกรรม ตัดสนิ ใจเลอื กทำ ตัดสินใจเลือกทำ ตดั สนิ ใจเลอื กทำ ไม่สามารถ ไม่สามารถ
การคดั เลอื ก กจิ กรรมท่ีตน กจิ กรรมที่ตน กจิ กรรมท่ีตน ตัดสินใจเลือกทำ ตัดสนิ ใจเลือกทำ
สมรรถนะที่ 1 สนใจตาม สนใจตาม สนใจตาม กิจกรรมที่ตน กจิ กรรมทต่ี น
ความถนดั และ ความถนัด และ ความถนดั และ สนใจตาม สนใจตาม
ตดั สินใจเลอื กทำ ความสามารถ ความสามารถ ความสามารถได้ ความถนดั และ ความถนัดและ
กิจกรรมทต่ี น อยา่ งมน่ั ใจ แตย่ ังขาด แต่ขาดความ ความสามารถ ความสามารถ
หา้ มเผยแพร่ คัดลอก จัดทำสำเนา และอ้างอิง โดยไม่ไดร้ บั อนญุ าต
157
รายการประเมนิ เกณฑก์ ารให้คะแนน 1: ปรับปรงุ
5 : ดมี าก 4 : ดี 3 : ปานกลาง 2 : พอใช้
สนใจ ตาม แสดงออกและ ความมัน่ ใจอยู่ ม่ันใจ ขาดความมน่ั ใจ ขาดความม่นั ใจ
บา้ ง แสดงออก แสดงออกและ แสดงออกและ ไม่สามารถ
ความถนัด และ ตอบสนองต่อ และตอบสนอง ตอบสนองตอ่ ตอบสนองต่อ แสดงออกและ
ต่ออารมณ์ และ อารมณ์ และ อารมณ์ และ ตอบสนองต่อ
ความสามารถ อารมณ์ และ ความรู้สกึ ของ ความร้สู ึกของ ความรูส้ ึกของ อารมณ์ และ
ตนเองและผอู้ น่ื ตนเองและผ้อู ื่น ตนเองและผู้อนื่ ความรูส้ ึกของ
อย่างมั่นใจ ความรูส้ ึกของ ในทางบวกได้ ในทางบวกได้ ในทางบวกได้ ตนเองและผ้อู ่นื
แสดงออกและ ตนเองและผอู้ ่นื เป็นเป็นสว่ น เป็นบางคร้งั และมกั
ตอบสนองตอ่ ในทางบวกได้ ใหญ่ แสดงออกในทาง
ลบ
อารมณ์ และ
ความร้สู กึ ของ
ตนเองและผอู้ ่ืน
ในทางบวก
ตวั อย่างเกณฑ์การให้คะแนนประเมนิ สมรรถนะหลกั
สมรรถนะหลกั ดา้ นการทำงานแบบรวมพลงั เป็นทีม และมีภาวะผูน้ ำ
(Collaboration, Teamwork and Leadership)
รายการประเมิน เกณฑก์ ารให้คะแนน 1: ปรบั ปรุง
5 : ดมี าก 4 : ดี 3 : ปานกลาง 2 : พอใช้
การปฏิบัติงาน เป็นผนู้ ำและ เปน็ ผนู้ ำและ เปน็ ผ้นู ำและ เป็นผูน้ ำและ เป็นผูน้ ำและ
เป็นสมาชิกทไี่ ม่
กลุ่มสมรรถนะท่ี เป็นสมาชิกทด่ี ี เป็นสมาชกิ ท่ดี ี เป็นสมาชิกท่ดี ี เปน็ สมาชิกทีด่ ี ดีทุกสถานการณ์
จะแสดงออกได้
1 เป็นผูน้ ำและ ของกลุ่ม ของกลุ่ม ของกลุ่ม ในบาง อยา่ งเหมาะสม
โดยตอ้ งอาศยั
เป็นสมาชกิ ทีด่ ี แสดงออกได้ แสดงออกได้ แสดงออกได้ สถานการณ์ ผชู้ ีแ้ นะทุกคร้ัง
ของกลมุ่ อยา่ งเหมาะสม อย่างเหมาะสม อยา่ งเหมาะสม จะแสดงออกได้
แสดงออกได้ มีแรงบันดาลใจ
อยา่ งเหมาะสม ในการพัฒนา มีแรงบันดาลใจ แตข่ าดแรง อย่างเหมาะสม
มีแรงบนั ดาลใจ ตนเองใหเ้ ปน็ ที่
ในการพัฒนา ไวว้ างใจ ในการพัฒนา บันดาลใจในการ โดยต้องอาศยั ผู้
ตนเองเม่อื มผี ู้อ่นื พัฒนาตนเอง ช้ีแนะเปน็
ชี้แนะ บางคร้งั
ตนเองใหเ้ ปน็ ท่ี
ไวว้ างใจ
หา้ มเผยแพร่ คดั ลอก จัดทำสำเนา และอ้างองิ โดยไม่ไดร้ ับอนุญาต
158
ตัวอยา่ งการจดั ทำรายงานผลการศกึ ษาท่สี ะทอ้ นให้เหน็ สมรรถนะของผ้เู รยี นเป็นรายบคุ คล
ในที่นี้ ขอเสนอตัวอย่างการจัดทำรายงานผลการศึกษาของผู้เรียนในโรงเรียนสุจิปุลิ จ.ฉะเชิงเทรา
ทส่ี ะท้อนถงึ ผลการประเมินสมรรถนะได้อย่างเป็นองคร์ วมและมองเห็นระดับสมรรถนะของผู้เรยี นแต่ละคนที่มี
ความโดดเด่นแตกต่างกัน ซึ่งสามารถใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาผู้เรียนได้อย่างมีทิศทาง เนื่องจากข้อมูล
ดังกล่าวสะท้อนถึงสมรรถนะด้านที่ผู้เรียนมีความโดดเด่นและด้านที่ผู้เรียนยังสามารถพัฒนาได้อีก ซึ่ง
เมื่อประกอบกับข้อมูลความเรียงที่ผู้สอนบรรยายเพิ่มเติม สามารถช่วยให้มองเห็นศักยภาพของผู้เรียนเป็น
รายบคุ คล
ห้ามเผยแพร่ คัดลอก จัดทำสำเนา และอา้ งอิง โดยไมไ่ ดร้ ับอนญุ าต
159
ห้ามเผยแพร่ คดั ลอก จัดทำสำเนา และอ้างองิ โดยไม่ไดร้ ับอนุญาต
160
ความรเู้ พิ่มเตมิ : การวดั และประเมนิ ผล
การจดั การเรยี นร้ฐู านสมรรถนะ
การวัดและประเมินผลสมรรถนะของผู้เรียน เป็นองค์ประกอบสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
เพื่อทำให้ได้ข้อมูลสารสนเทศที่จำเป็นในการพิจารณาว่าผู้เรียนเกิดคุณภาพการเรียนรู้ตามจุดประสงค์
สมรรถนะที่ตั้งไว้มากน้อยเพียงใด ซึ่งมีรูปแบบและวัตถุประสงค์ต่างกันไป โดยการประเมินผลเพื่อการเรียนรู้
เปน็ กลวิธีในการวัดผลมวี ตั ถุประสงค์เพื่อใหผ้ ้เู รยี นเรียนรู้และมีความมนั่ ใจในการประเมนิ ตนเองและผู้เรียนอ่ืน
(Self-Assessment และ Peer-Assessment) เพื่อความเข้าใจในสมรรถนะของตนได้ลุ่มลึกยิ่งขึ้น อีกท้ัง
สามารถกำหนดแนวในการพัฒนาตนเองได้อย่างยั่งยืน การประเมินผลเพื่อการเรียนรู้จึงไม่ใช่เพียงแต่การให้
คุณค่าของผลสัมฤทธ์เิ ท่านน้ั แต่เปน็ ข้นั ตอนแรกในการนำไปสูก่ ารเกดิ สงั คมแห่งการเรยี นรู้ท่ีเขม้ แขง็ ตามโมเดล
การเรียนรู้สว่ นบุคคล (Jones, 2005)
Wolf (1995, p. 1) ได้กำหนดนิยามการประเมินสมรรถนะ (Competency-based Assessment)
ว่า เป็นรูปแบบการประเมินที่สร้างจากลักษณะเฉพาะย่อย ๆ ของผลลัพธ์การเรียนรู้ การกำหนดผลลัพธ์การ
เรียนรู้จึงประกอบด้วยลักษณะทั่วไป (General) และลักษณะเฉพาะ (Specific) ซึ่งทั้งผู้ประเมิน ผู้รับ
การประเมินหรือผู้เรียน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอื่น สามารถตัดสินได้สอดคล้องตรงกันอย่างสมเหตุสมผล ด้วย
การตระหนักถึงผลลัพธ์การเรยี นรู้ทั้งท่ีเป็นเชิงวิชาการและคุณลักษณะอื่น ๆ เพื่อรับรองความก้าวหน้าที่แสดง
ให้เหน็ ถงึ ผลลัพธก์ ารเรยี นรู้ท่บี รรลุในระยะเวลาทีแ่ ตกตา่ งกันของผ้เู รยี น
สุวิมล ว่องวาณิช (2546) ได้กล่าวถึงแนวโน้มของการประเมินผลการเรียนรู้จะอยู่บนพื้นฐานของ
วิธีการต่อไปน้ี
1. รายวิชาเป็นหน่วยของการวิเคราะห์ ควรใช้การประเมินที่ใช้ผลการปฏิบัติงานเป็นฐาน
(Performance-based Assessment) โดยเน้นการให้ผู้เรียนประยุกต์ความรู้ ทักษะและบูรณาการเข้ากับ
การปฏบิ ตั งิ านท่ีซบั ซ้อนในสภาพท่เี กิดข้นึ ตามธรรมชาติ
2. การประเมินจะอิงข้อมูลเชิงคุณภาพ หลักฐานที่ใช้มีความหลากหลายและสิ่งที่ถูกประเมิน
เป็นพหมุ ิติ เช่น ความรู้ ทกั ษะ ความคิดสรา้ งสรรค์ คุณธรรม จติ สำนึกตอ่ สงั คม
3. การประเมนิ ต้องอิงกับบริบทของท้องถิ่น
4. การประเมินต้องวัดผ่านพฤติกรรม ผลงานที่เกิดขึ้นจากการเรียนวิชาต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน
ดังนั้นการประเมนิ จึงต้องยึดหลกั การเปรียบเทียบพฤติกรรมของผูเ้ รยี นในแต่ละช่วงเวลา มุ่งเน้นการประเมนิ
หา้ มเผยแพร่ คดั ลอก จัดทำสำเนา และอา้ งอิง โดยไม่ไดร้ บั อนุญาต
161
เชงิ คณุ ภาพท่ีเก่ยี วข้อง กับสภาพความเป็นจริงท่ีจะสง่ ผลต่อพฤติกรรมและพฒั นาการของผ้เู รียนอย่างต่อเน่ือง
ชัดเจน ตรวจสอบได้ อีกทง้ั สามารถนำไปประยกุ ตใ์ ชใ้ นสภาพความเปน็ จริงได้
ขจรศักดิ์ ศิริมยั (2554) กล่าวไวว้ า่ การวัดและประเมนิ สมรรถนะจำแนกเป็นกลมุ่ ใหญ่ ๆ 3 กลมุ่ คือ
1. Tests of Performance เป็นแบบทดสอบที่ให้ผู้รับการทดสอบ ทำงานบางอย่าง เช่น
การเขียนอธิบายคำตอบ การเลือกตอบข้อที่ถูกที่สุด หรือการคิดว่าถ้ารูปทรงเรขาคณิตที่แสดงบนจอหมุนไป
แลว้ จะเปน็ รูปใด แบบทดสอบประเภทนี้ออกแบบมาเพ่ือวัดความสามารถของบุคคล (Can Do) ภายใต้เงื่อนไข
ของการทดสอบ ตัวอย่างของแบบทดสอบประเภทนี้ได้แก่ แบบทดสอบความสามารถทางสมองโดยทั่วไป
(General Mental Ability) แบบทดสอบที่วัดความสามารถเฉพาะ เช่น Spatial Ability หรือความเข้าใจด้าน
เครอ่ื งยนตก์ ลไก และแบบทดสอบทว่ี ดั ทกั ษะหรอื ความสามารถทางด้านรา่ งกาย
2. Behavior Observations เป็นแบบทดสอบที่เกี่ยวข้องกับการสังเกตพฤติกรรมของผู้รับ
การทดสอบในบางสถานการณ์ แบบทดสอบประเภทนี้ต่างจากประเภทแรกตรงที่ผู้เข้ารับการทดสอบไม่ต้อง
พยายามทำงานอะไรบางอย่างท่ีออกแบบมาเป็นอยา่ งดแี ลว้ แต่จะวัดจากการสังเกต และประเมินพฤติกรรมใน
บางสถานการณ์ เช่น การสังเกตพฤติกรรมการเข้าสังคม พฤติกรรมการทำงาน การสัมภาษณ์ก็อาจจัดอยู่ใน
กลุ่มน้ดี ว้ ย
3. Self-Reports เป็นแบบทดสอบที่ให้ผู้ตอบรายงานเกี่ยวกับตนเอง เช่น ความรู้สึก ทัศนคติ
ความเชื่อ ความสนใจ แบบทดสอบบุคลิกภาพ แบบสอบถาม แบบสำรวจความคิดเห็น ต่าง ๆ การตอบคำถาม
ประเภทน้ีอาจจะไม่ได้เก่ียวข้องกับความรู้สึกท่ีแท้จริงของผู้ตอบก็ได้ การทดสอบบางอย่าง เช่น การสัมภาษณ์
อาจเป็นการผสมกันระหว่าง Behavior Observations และ Self-Reports เพราะการถามคำถามใน
การสัมภาษณ์อาจเกี่ยวข้องกับความรู้สึก ความคิด และทัศนคติของผู้ถูกสัมภาษณ์และในขณะเดียวกัน
ผู้สัมภาษณก์ ็สงั เกตพฤติกรรมของผู้ถกู สมั ภาษณด์ ว้ ยในขณะเดยี วกัน
เนื่องจากสมรรถนะเป็นคุณลักษณะเชิงพฤติกรรม ดังนั้น การวัดหรือประเมินที่สอดคล้องที่สุด คือ
การสังเกตพฤติกรรม ในการสังเกตพฤติกรรมนั้นมีสมมติฐาน 2 ประการที่จะทำให้การสังเกตพฤติกรรมมี
ความถูกต้อง กล่าวคือ (1) ผู้ที่สังเกตและประเมินต้องทำด้วยความตรงไปตรงมา (2) ผู้ที่สังเกตและประเมิน
ต้องใกล้ชิดเพียงพอที่จะสังเกตพฤติกรรมของผู้ที่ถูก ประเมินได้ตามรูปแบบที่กำหนดไว้นั้นผู้ประเมินต้องทำ
ความเข้าใจกับความหมายและระดับของสมรรถนะที่จะประเมิน และประเมินว่าพฤติกรรมการทำงานโดย
รวม ๆ ของผู้ได้รับการประเมินนั้นสอดคล้องกับระดับสมรรถนะระดับใด โดยผู้ประเมินต้องหมั่นสังเกตและ
บนั ทึกพฤตกิ รรมการทำงานของผทู้ ี่ถูกประเมินไว้เปน็ ระยะ ๆ เพ่อื ให้เปน็ หลักฐานยืนยันในกรณีท่ีผู้ถูกประเมิน
ไม่เห็นด้วยกับระดับสมรรถนะท่ีได้รบั การประเมิน การวัดสมรรถนะทำได้ค่อนข้างลำบาก จึงต้องอาศัยวิธีการ
หรือใชเ้ คร่อื งมอื บางชนิดเพอื่ วัดสมรรถนะของบคุ คล ดงั นี้
ห้ามเผยแพร่ คดั ลอก จัดทำสำเนา และอ้างองิ โดยไมไ่ ดร้ ับอนุญาต
162
1. ประวัติการทำงานของบุคคล ว่าทำอะไรบ้าง มีความรู้ ทักษะ หรือความสามารถอะไร เคยมี
ประสบการณ์อะไรมาบา้ ง จากประวัตกิ ารทำงานทำให้ได้ข้อมลู ส่วนบุคคล
2. ผลประเมินการปฏิบัติงาน (Performance Appraisal) ซึ่งจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติงานใน
2 ลักษณะ คือ 2.1) ผลการปฏิบัติที่เป็นเนื้องาน (Task Performance) เป็นการทำงานที่ได้เนื้องานแท้ ๆ
2.2) ผลงานการปฏบิ ัตทิ ี่ไมใ่ ชเ่ นื้องาน แตเ่ ป็นบรบิ ทของเนือ้ งาน (Contextual Performance) ไดแ้ ก่ ลักษณะ
พฤตกิ รรมของคนปฏิบัติงาน เชน่ การมนี ้ำใจเสยี สละชว่ ยเหลอื คนอ่ืน เป็นต้น
3. ผลการสัมภาษณ์ (Interview) ได้แก่ ข้อมูลที่ได้จากการสมั ภาษณ์ อาจจะเป็นการสัมภาษณ์แบบมี
โครงสร้าง คือ กำหนดคำสัมภาษณ์ไว้แล้ว สัมภาษณ์ตามที่กำหนดประเด็นไว้ กับการสัมภาษณ์แบบแบบไม่มี
โครงสร้าง คือ สอบถามตามสถานการณ์ คล้ายกับเป็นการ พูดคุยกันธรรมดาๆ แต่ผู้สัมภาษณ์จะต้องเตรียม
คำถามไวใ้ นใจ โดยใช้กระบวนการสนทนาใหผ้ ถู้ กู สมั ภาษณส์ บายใจ ใหข้ อ้ มูลท่ตี รงกับสภาพจรงิ มากท่สี ดุ
4. ศูนย์ประเมิน (Assessment Center) เป็นศูนย์รวมเทคนิคการวัดทางจิตวิทยา หลายๆ อย่างเข้า
ดว้ ยกนั รวมทัง้ การสนทนากลมุ่ แบบไม่มหี ัวหนา้ กลมุ่ รวมอย่ดู ว้ ยในศูนย์นี้
5. การประเมินผลการปฏิบัติงานแบบ 360 องศา (360 Degree Feedback) หมายถึง การประเมิน
รอบด้าน ได้แก่ การประเมินจากเพื่อนร่วมงาน ผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชา และลูกค้า เพื่อตรวจสอบ
ความรู้ ทักษะ และ คณุ ลกั ษณะ
การตรวจสอบสมรรถนะจะตรวจสอบวา่ พฤติกรรมท่ีเกิดขึน้ น้ันเป็นสมรรถนะที่ต้องการหรือไม่ และมี
ขอ้ สังเกตดังนี้
1. เปน็ พฤติกรรมที่สงั เกตได้ อธิบายได้
2. สามารถลอกเลยี นแบบได้
3. มผี ลกระทบตอ่ ความกา้ วหน้าขององค์กร
4. เปน็ พฤติกรรมท่สี ามารถนำไปใชไ้ ดห้ ลายสถานการณ์
5. เป็นพฤตกิ รรมท่ตี อ้ งเกดิ ขนึ้ บ่อยๆ
ทางเลอื กของการประเมินสมรรถนะ หากไมป่ ระเมนิ สมรรถนะด้วยการสังเกต จะสามารถประเมินดว้ ย
วธิ ใี ดไดบ้ า้ ง ทางเลอื กคอื การจำแนกพฤติกรรมในแตล่ ะระดบั สมรรถนะ ออกเป็นขอ้ ๆ แลว้ ใหผ้ ปู้ ระเมินตอบ
ว่า ผู้ได้รับการประเมินมีพฤติกรรมแบบนั้นน้อย ปานกลาง หรือมาก ซึ่งเป็นวิธีการที่ทำให้แบบประเมินมี
ความยาวมากขึ้น นอกจากนั้น อาจมีความยุ่งยากในการวิเคราะหค์ ะแนน และมีค่าใช้จ่ายในการจ้างออกแบบ
เพิ่มขึ้น ที่สำคัญไม่ว่าจะประเมินแบบใด ถ้าผู้ประเมินไม่ได้ประเมิน อย่างตรงไปตรงมาผลการประเมินก็จะ
ไมเ่ ท่ียงตรงอยู่ดี
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (2556) กล่าวว่าการประเมินผลแบบฐานสมรรถนะ ไม่ได้ดี
ไปกว่าหรือแตกต่างไปจากวิธีการประเมินแบบเดิม (Traditional Assessment) หรือแบบอื่น ๆ เพียงแต่
การประเมนิ แบบฐานสมรรถนะใหค้ วามสำคญั กับสมรรถนะทก่ี ำหนด
ห้ามเผยแพร่ คดั ลอก จัดทำสำเนา และอา้ งองิ โดยไมไ่ ดร้ บั อนญุ าต
163
ในการฝึกอบรมหรือศึกษาทางวิชาชีพ การประเมินผลที่เน้นการปฏิบัติ (Performance-based
Assessment) เน้นท่กี ระบวนการเรียนรแู้ ละการปฏิบตั ิ ซงึ่ มักจะประเมินทกั ษะ 4 ดา้ น คอื
1. ทกั ษะตามภาระงาน (Task Skills) ความสามารถในการปฏบิ ัตภิ าระงานแตล่ ะชิน้
2. ทกั ษะการจัดการ (Task Management Skills) ความสามารถในการจดั การกับภาระงาน
และ กจิ กรรมทีต่ อ้ งปฏบิ ัติภายใต้งานน้ัน ๆ
3. ทักษะในคาดการณอ์ ปุ สรรคปญั หาทีอ่ าจเกิดขนึ้ (Contingency Skills) การประเมนิ
ทักษะใชไ้ ด้ดโี ดย กำหนดสถานการณจ์ ำลอง
4. ทักษะตามบทบาทและงานท่ีรับผิดชอบและสภาพแวดล้อม (Job/Role Environment) รวมถึง
การทำงานรว่ มกับผ้อู ่ืน
การประเมินสมรรถนะต่าง ๆ สามารถกระทำได้แต่อาจไม่สมบูรณ์ หากขาดความเข้าใจเกี่ยวกับ
สมรรถนะที่ต้องการพัฒนา รวมถึงกรอบการพัฒนาหรือการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เกิดมีสมรรถนะท่ี
ประสงค์ให้เกิดขน้ึ ดงั น้นั การทำความเขา้ ใจสมรรถนะท่ีมุ่งประเมินจนสามารถกำหนดความหมาย ตวั ชว้ี ัด และ
เกณฑ์สมรรถนะท่ีพึงพอใจ จึงเป็นมีความสำคัญเป็นอันดับต้น สำหรับกรอบการพัฒนาหรือการจัด
ประสบการณ์การเรียนรู้ที่รองรับการพัฒนาสมรรถนะโดยทั่วไปมักมีลักษณะของการมีส่วนร่วมของผู้ เรียนใน
การทำกจิ กรรม การลงมือปฏบิ ัติงาน เพื่อให้เกดิ เป็นกระบวนการเรยี นรแู้ ละผลลัพธ์การเรยี นรู้ที่เป็นหลักฐาน/
ชน้ิ งาน ตามที่กำหนดสมรรถนะและตัวช้ีวดั ไว้ ตวั อย่างเชน่ การจดั การเรียนรูแ้ บบอภปิ ราย การใชก้ ระบวนการ
กลุม่ การทำแบบโครงงาน การใชก้ ารวจิ ยั เป็นฐาน เป็นต้น
กรอบการประเมินสมรรถนะ
จากหลักการประเมินการเรียนรู้ข้างต้น การประเมินสมรรถนะจึงต้องมีการออกแบบร่วมด้วยกับ
การจดั ประสบการณก์ ารเรียนรู้ควบคู่กัน โดยมีเป้าหมายทงั้ การได้มาซ่ึงสารสนเทศในการพัฒนาสมรรถนะของ
ผู้เรียนระหว่างกระบวนการจัดการเรียนการสอน และการตัดสินผลสมรรถนะตามระดับความสามารถเมื่อ
สิ้นสุดการจัดการเรียนการสอนที่กำหนดไว้ กล่าวคือเป็นการประเมินผลต้องครอบคลุมการดำเนินงาน
ทั้งที่เป็นการประเมินเป็นการเรียนรู้ (Assessment as Learning) การประเมินเพื่อการเรียนรู้
(Assessment for Learning) และการประเมินผลการเรียนรู้ (Assessment of Learning) ซึ่งโดยทั่วไป
ควรมีการให้น้ำหนักความสำคัญของการประเมิน 2 ประการแรก โดยหากว่าการดำเนินการประเมินในท้ัง
2 ประการแรก สามารถดำเนินการได้อย่างมปี ระสิทธภิ าพแล้ว การประเมนิ ผลการเรียนรู้ในขั้นตอนสุดท้ายจะ
ประสบความสำเร็จตามไปด้วย กล่าวได้ว่าการประเมินการเรียนรู้สามารถดำเนินได้ทั้งระหว่างกระบวนการ
เรียนการสอนและสนิ้ สดุ การเรยี นการสอน
สุจิตรา ปทุมลังการ์ (2552) กล่าวว่า การประเมินผลบนฐานสมรรถนะ (Competency-based
Assessment) เปน็ การรวบรวมหลกั ฐานผลการเรียนรวู้ ่าผเู้ รียนมีความกา้ วหนา้ ถงึ เกณฑห์ รือระดับที่กำหนดใน
หา้ มเผยแพร่ คัดลอก จัดทำสำเนา และอา้ งองิ โดยไม่ไดร้ ับอนญุ าต
164
มาตรฐานหรือตามผลการเรียนรู้ที่กำหนดในหน่วยสมรรถนะ สมรรถนะย่อยและตัวชี้วัด เพื่อตัดสินว่าผู้เรียน
สำเร็จตามสมรรถนะที่กำหนดหรือไม่ การประเมินผลการจัดหลักสูตรแบบฐานสมรรถนะควรทำควบคู่ (Built
in) กับการเรียนการสอน โดยวัดทั้งความรู้ ทักษะ และการประยุกต์ใช้ โดยให้ความสำคัญกับสมรรถนะท่ี
กำหนด โดยมลี กั ษณะ ดังน้ี
1. เน้นกระบวนการเรียนรู้ (Learning Process) และมีการประเมินให้ความสำคัญกับการประเมิน
แบบย่อย (Formative Assessment) อย่าต่อเนื่อง เพื่อติดตามดูความก้าวหน้า วินิจฉัยจุดด้อย จุดเด่นของ
ผู้เรียน ให้ข้อมูลย้อนกลับ และเป็นการประเมินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของผู้สอนไปด้วย ใน
ขณะเดียวกันต้องมีการสอบสรุป/การประเมินผลรวม (Summative Assessment) เพื่อวัดและตัดสิน
กระบวนการเรียนรู้ (The End of Learning Process) ตอนเรยี นจบรายวชิ า
2. ใช้การอิงเกณฑ์ (Criterion Referenced) วดั ความสำเร็จในการปฏิบตั ิของผเู้ รยี นเป็นรายบุคคล
เพื่อให้ ผู้เรียนได้รับการพัฒนา ใช้ศักยภาพตามความสามารถโดยไม่ต้องเปรียบเทียบกับผู้อื่นและตัดสิน
แบบองิ กล่มุ
3. ประเมินสมรรถนะที่สำคัญ (Crucial Outcomes) ก่อนเพราะผลการเรียนรู้/การปฏิบัติของ
ทุกสมรรถนะ มีความสำคัญไม่เท่ากัน บางสมรรถนะอาจมีความสำคัญกว่าอีกสมรรถนะหนึ่ง ที่ครูผู้สอน
จำเป็นตอ้ งตง้ั ขอ้ จำกัดในการเรียนร้แู ละการประเมนิ ผล
4. บูรณาการสมรรถนะต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกัน ไม่ประเมินแยกตามหน่วยสมรรถนะ หรือ
หน่วยสมรรถนะย่อยออกจากกัน แม้ว่ากรอบมาตรฐานสมรรถนะจะกำหนดแยกเป็นหน่วยสมรรถนะ
สมรรถนะย่อย และตัวบ่งชี้ ไม่ได้หมายความว่าผู้สอนจะต้องสอนหรือประเมินผลแยก แต่ละสมรรถนะ เพราะ
ในการจัดเนื้อหาการสอนแต่ละหน่วยอาจต้องเกี่ยวข้องกับสมรรถนะต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องหรือ
ต่อเนอื่ งกนั
การประเมนิ การเรยี นรู้ตอ้ งอาศัยการมสี ่วนรว่ มของทัง้ ผเู้ รยี น เพ่ือนนกั เรียน ครผู ู้สอน รวมถึงผมู้ ีส่วน
เกี่ยวข้องอื่น เช่น ผู้ปกครอง ชุมชนที่นักเรียนเข้าไปเรียนรู้ สถานที่ฝึกงานหรือฝึกประสบการณ์ เพื่อให้
สารสนเทศในการพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียนได้อยา่ งรอบด้านหลากหลาย ทั้งจากการประเมินตนเอง และผู้มี
ส่วนเกี่ยวข้องต่าง ๆ กระบวนการเหลา่ นี้สรา้ งขอ้ มูลย้อนกลบั การสะท้อนผลการเรยี นเรียนรู้ทั้งแบบแยกส่วน
และการประเมินการเรียนรู้สมรรถนะที่บูรณาการทั้งด้านทักษะ ความรู้ ความสามารถ และการปฏิบัติตาม
กรอบลักษณะคณุ ลกั ษณะอนั พึงประสงค์ท่ดี ใี นการทำงาน
การประเมินผลควรทำให้ผู้เรียนสนใจและเห็นความสำคัญโดยทำเป็นรายการ (Assessment Lists)
แสดงลำดับขั้นพัฒนาการ (Benchmarks) ของความรู้ ทักษะ และนิสัยพฤติกรรมการทำงานตามวัฏจักรของ
การเรียนรู้ (The Cycle of Learning)
ในเอกสารสรุปภาพรวมของกรอบหลักสูตรสำหรับการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษา
ตอนปลาย ปี 2015 เรื่อง Competence – based Curriculum ของคณะกรรมการการศึกษารวันดาและ
หา้ มเผยแพร่ คัดลอก จัดทำสำเนา และอา้ งอิง โดยไมไ่ ดร้ บั อนญุ าต
165
กระทรวงศึกษาธิการแห่งสาธารณรัฐรวันดาได้จำแนกรูปแบบการประเมิน (Types of Assessment) ใน
หลกั สตู รฐานสมรรถนะไว้ดงั นี้
1. การประเมนิ ผลแบบตอ่ เน่ืองสมำ่ เสมอ (Continuous assessment)
2. การประเมินผลแบบสรุปรวม (Summative Assessment)
3. การตรวจสอบเขตพ้นื ท่ี (District Examinations)
4. การประเมนิ ผลสมั ฤทธิท์ างการเรียนในโรงเรียนในรวันดา (Learning Achievement in
Rwandan Schools - LARS)
5. การตรวจสอบระดบั ชาติ (National Examinations)
ส่ิงท่ีควรประเมนิ ในโรงเรยี นไดแ้ ก่
1. ความรู้และความเข้าใจ เด็กแสดงออกถึงความเข้าใจในสาระวิชาหรือไม่ เด็กแตกฉานใน
มโนทัศน์วิชาได้หรือยงั ตวั บ่งช้ีคอื ความถูกต้องของคำตอบ ความเชอื่ มโยงของความคดิ การให้เหตุผลที่ถูกต้อง
ตามตรรกะ
2. ทักษะการปฏิบัติ เด็กปฏิบัติในการสอบความถนัดและการปฏิบัติได้อย่างไร ตัวบ่งชี้ คือ
ความแมน่ ยำ การใช้วิธีการท่ีถกู ตอ้ ง ผลงานทมี่ ีคณุ ภาพ ความเรว็ และประสทิ ธภิ าพ การเชื่อมโยง
3. เจตคติและค่านิยม เด็กตอบสนองต่อภารกิจและสถานการณ์อย่างไร อะไรคือพฤติกรรมของเด็ก
ตัวบ่งชี้คือ วิธีปฏิบัติต่อสถานการณ์ การเห็นคุณค่าของภารกิจที่ได้รับมอบหมาย ความประทับใจใน
สถานการณ์ การบิดเบอื น การใช้เหตุผล การยืนกราน หนักแนน่ และขันตธิ รรม
4. สมรรถนะทั่วไป อะไรคือลำดับขั้นที่ต้องทำตามภารกิจที่ได้รับ อะไรคือเหตุผลเบื้องหลัง
เด็กเอาชนะสิ่งท้าทายแต่ละอย่างได้อย่างไร ตัวบ่งชี้คือ การใช้เหตุผล การบิดเบือนการนำเสนอ การตัดสิน
คณุ คา่ การประยกุ ต์ใชค้ วามรู้
วิธกี ารประเมินผลแบบฐานสมรรถนะ
สุจิตรา ปทุมลังการ์ (2552) กล่าวถึง การประเมินผลบนฐานสมรรถนะ (Competency-based
Assessment) จะใชว้ ธิ ีการประเมินผลท่ีหลากหลาย ไดแ้ ก่
1. การสงั เกต (Observation)
2. รายการประเมิน (Checklist)
3. การสาธติ และการตง้ั คำถาม (Demonstration and Question)
4. แบบทดสอบและขอ้ สอบอัตนยั (Pen and Paper Test and Essays)
5. การสอบปากเปลา่ (Oral Test)
6. การทำโครงงาน (Projects)
7. สถานการณ์จำลอง (Simulations)
8. แฟม้ ผลงาน (Portfolios)
9. การประเมินผลโดยใช้คอมพวิ เตอร์ (Computer-based Assessment)
หา้ มเผยแพร่ คดั ลอก จัดทำสำเนา และอา้ งอิง โดยไม่ไดร้ ับอนญุ าต
166
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแหง่ ชาติ (2542) ได้กลา่ วถงึ วธิ ีการประเมินโดยสงั เขปดังน้ี
1. การสังเกต เป็นวิธีที่ดีมากวิธีหนึ่งในการเก็บข้อมูลพฤติกรรมด้านการใช้ความคิดการปฏิบัติง าน
และโดยเฉพาะดา้ นอารมณ์ ความรสู้ กึ และลักษณะนสิ ยั สามารถทำไดท้ ุกเวลา ทุกสถานท่ี ทัง้ ในหอ้ งเรียน นอก
ห้องเรียน หรือในสถานการณ์อื่นนอกโรงเรียน เครื่องมืออื่น ๆ ที่ใช้ประกอบการสังเกต ได้แก่ แบบตรวจสอบ
รายการ แบบมาตราสว่ นประมาณค่า แบบบันทึกระเบียนสะสม เปน็ ตน้
2. การสัมภาษณ์ เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ใช้เก็บข้อมูลพฤติกรรมด้านต่างได้ดี เช่น ความคิด (สติปัญญา)
ความรู้สกึ กระบวนการทำงาน วธิ แี ก้ปญั หา ฯลฯ ใชป้ ระกอบการสังเกตเพ่อื ใหไ้ ดข้ ้อมูลที่มั่นใจมากย่ิงข้ึน
3. การตรวจงานเป็นการวัดและประเมินผลท่เี นน้ การนำผลการประเมินไปใช้ทันทีใน 2 ลกั ษณะ คือ
เพื่อการช่วยเหลือนักเรียนและเพื่อปรับปรุงการสอนของครู จึงเป็นการประเมินที่ควรดำเนินการตลอดเวลา
เช่น การตรวจแบบฝึกหัด ผลงานภาคปฏิบัติ โครงการ/โครงงานต่าง ๆ เป็นต้น งานเหล่านี้ควรมีลักษณะที่ครู
สามารถประเมินพฤติกรรมระดับสูงของนักเรียนได้ เช่น แบบฝกึ หดั ทีเ่ น้นการเขียนตอบ เรียบเรียง สร้างสรรค์
(ไม่ใช้แบบฝึกหัดที่เลียนแบบข้อสอบเลอื กตอบ ซึ่งมักประเมินได้เพียงความรู้ความจำ) งานโครงการ โครงงาน
ที่เน้นความคิดขั้นสูงในการวางแผนจัดการดำเนินการ และแก้ปัญหาสิ่งที่ควรประเมินควบคู่ไปด้วยเสมอใน
การตรวจงาน (ทั้งงานเขียนตอบและปฏบิ ัต)ิ คอื ลกั ษณะนิสัยและคุณลักษณะทด่ี ีในการทำงาน
4. การรายงานตนเอง เป็นวิธีการใหเ้ ขียนบรรยายหรือตอบคำถามสั้นๆ หรือตอบแบบสอบถามที่ครู
สร้างขึ้น เพื่อสะท้อนถึงการเรียนรู้ของนักเรียนทั้งความรู้ ความเข้าใจ วิธีคิดวิธีทำงานความพอใจในผลง าน
ความต้องการพฒั นาตนเองให้ดีย่ิงขน้ึ
5. การใช้บันทึกจากผู้ที่เกี่ยวข้อง เป็นการรวบรวมข้อมูลความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับตัวนักเรียน
ผลงานนักเรียน โดยเฉพาะความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของนักเรียนจากแหล่งต่าง ๆ เช่น จากเพื่อนครูโดย
ประชุมแลกเปล่ียนข้อมลู จากเพ่อื นนักเรียนโดยจัดชว่ั โมงสนทนาวิพากษผ์ ลงาน (นักเรียนตอ้ งได้รับคำแนะนำ
มาก่อนเกี่ยวกับหลักการ วิธีวิจารณ์เพื่อการสร้างสรรค์) จากผู้ปกครองโดยจดหมาย/สารสัมพันธ์ที่ครู หรือ
โรงเรยี น กับผปู้ กครองมีถงึ กนั โดยตลอดเวลา
6. การใช้ข้อสอบแบบเน้นการปฏิบัติจริง ในกรณีที่ครูต้องการใช้แบบทดสอบขอเสนอแนะให้ใช้
แบบทดสอบภาคปฏิบัตทิ ี่เน้นการปฏบิ ตั จิ ริง ซ่งึ มลี ักษณะดังตอ่ ไปนี้
6.1 ปัญหาต้องมีความหมายต่อผู้เรียน และมีความสำคัญเพียงพอที่จะแสดงถึงภูมิความรู้ ของ
นักเรียนในระดบั ชั้นนนั้ ๆ
6.2 เปน็ ปญั หาทีเ่ ลียนแบบสภาพจริงในชีวิตของนักเรียน
6.3 แบบสอบตอ้ งครอบคลมุ ทัง้ ความสามารถและเน้ือหาตามหลกั สูตร
6.4 นักเรียนต้องใช้ความรูค้ วามสามารถ ความคิดหลาย ๆ ด้านมาผสมผสาน และแสดงวิธีคิดได้
เป็นขน้ั ตอนทีช่ ัดเจน
6.5 ควรมคี ำตอบถกู ได้หลายคำตอบ และมีวธิ ีการหาคำตอบไดห้ ลายวิธี
6.6 มเี กณฑก์ ารใหค้ ะแนนตามความสมบูรณ์ของคำตอบอย่างชดั เจน
หา้ มเผยแพร่ คดั ลอก จัดทำสำเนา และอ้างอิง โดยไม่ไดร้ ับอนญุ าต
167
7. การประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมงาน แฟ้มสะสมงานหมายถึง สิ่งที่ใช้สะสมงานของนักเรียนอย่างมี
จุดประสงค์ ที่แสดงให้เห็นถึงความพยายาม ความก้าวหน้า และผลสัมฤทธิ์ในเรื่องนั้น ๆ หรือหลาย ๆ เรื่อง
การสะสมนนั้ นักเรียนมสี ่วนร่วมในการเลือกเน้ือหา เกณฑก์ ารเลือกเกณฑ์การตัดสิน ความสามารถ/คุณสมบัติ
หลกั ฐานการสะท้อนตนเอง
8. การใช้การประเมินผลเพ่ือการเรียนรูใ้ นชั้นเรียน รูปแบบของการประเมินผลเพื่อการเรียนรู้ในชน้ั
เรยี นสามารถทำได้ในรปู แบบของการทำกิจกรรมในลักษณะภาระงาน (Task) และการถามคำถามผู้เรียนอย่าง
เป็นธรรมชาติซึ่งไม่ใช่การทดสอบ อาจจัดในรูปแบบการพูดคุยกับผู้เรียน หรือการตัดสินใจบางอย่างเพ่ือ
สะทอ้ นข้อมลู เชิงคณุ ภาพเกี่ยวกับสมรรถนะของผู้เรยี นทำใหผ้ ู้เรียนได้พัฒนาตนเอง เมื่อส้ินสุดบทเรียนครูต้อง
ประเมินวา่ ผู้เรียนได้เรียนรูอ้ ะไรเพม่ิ เตมิ โดยมีข้นั ตอนดงั นี้
°·µ¥ª´»¦³r
°µ¦Á¦¸¥
¦ª°ªµ¤Á
oµÄª´»¦³r
°o¼Á¦¸¥
°·µ¥É·É¸o¼Á¦¸¥o°µÎ¨³µÎÁÈo°n
³εÁrµ¦¦³Á¤·Â¨³¦ª
Ä®oðµo¼Á¦¸¥ÅoÄoÁrµ¦¦³Á¤·Á¡É°ºÁ
oµÄ¤µ¦µÂ¨³µ¦ÄoÁr
Ä®oµÎ³ε¨³µ¦´»µ¦Á¦¸¥
°Ân¨³»¨Â¨³Ä®oµÎ¡¼Â³Îµ
Ä®oðµÄ®oo¼Á¦¸¥Åo¦´µ¦¦³Á¤·µo¼Á¦¸¥°Éº
Ä®oðµÄ®oo¼Á¦¸¥Åo¦³Á¤·Á°
¦¼ÁÈo¼ÎµÄµ¦¦³Á¤·¨µo¼Á¦¸¥
Ä®o¨°¨´É¸¦¼Á
¸¥Âno¼Á¦¸¥
Ä®oðµo¼Á¦¸¥Åo¡´µÁ°µ¨°¨´
ภาพที่ 11 รปู แบบของการประเมินผลเพ่ือการเรียนรู้ในชนั้ เรียน
หา้ มเผยแพร่ คัดลอก จัดทำสำเนา และอ้างองิ โดยไมไ่ ดร้ ับอนญุ าต
168
การประเมินสมรรถนะ มีหลายวิธีทั้งนี้ขึ้นกับประเภทของสมรรถนะที่จะประเมิน โดยวิธีประเมินจะ
ประกอบด้วยตัวบ่งชี้และเกณฑ์ที่จะนำมาใช้ประเมิน 3 ด้าน คือ ความรู้ พฤติกรรมการทำงาน และทัศนคติ
ส่งผลให้ผลของการประเมินสามารถบ่งชี้ให้เห็นถึงระดับสมรรถนะของแต่ละบุคคลว่ามีส มรรถนะใน
การปฏิบัติงานในระดับใด จะต้องผ่านการประเมินด้วยวิธีการต่าง ๆ ดังที่ กิตติพงษ์ เลิศเลียงชัย ( 2547) ได้
กล่าวว่า การประเมินสมรรถนะมีหลายวิธีที่จะสามารถชี้ให้เห็นได้ว่า บุคลากรนั้นมีสมรรถนะแต่ละเรื่องอยู่ใน
ระดบั ใด หลักทั่วไปจะใชว้ ิธีการดังน้ี
1. ให้ผู้ประเมินได้มีโอกาสประเมินความสามารถของตนเองก่อน และให้ผู้ประเมินได้ประเมินผู้รับ
การประเมินคนนน้ั ในลักษณะต่างคนต่างประเมนิ และมาคยุ กนั เพ่ือหา ข้อสรุปใหไ้ ด้วา่ สมรรถนะแต่ละเร่ืองน้ัน
ความสามารถของบคุ ลากรนั้นควรจะอยู่ท่ีระดบั ใดจงึ จะถกู ต้อง
2. ในกรณีที่การประเมินมีความเหน็ แตกตา่ งกนั อาจจะต้องใชว้ ิธีการทห่ี ลากหลาย เชน่
- ดูจากปัจจัยแวดล้อมทีผ่ ่านมาประกอบการประเมิน
- ใชว้ ิธีสอบเปน็ ตวั วัดผลการประเมินได้เช่น สมรรถนะ ในเร่อื งของความรู้
- ดูจากพฤติกรรมและวิธีการทำงาน ดูจากการแก้ไขปัญหาหรืออาจจะใช้ วิธีการสัมภาษณ์ใน
เชิงพฤติกรรมเพื่อให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้แสดงถึงพฤติกรรมและบทบาทของเขา ในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เรียก
กนั วา่ STAR Technique คือ
S = Situation ให้ผู้ประเมินพูดถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงใน แต่ละเรื่องที่ต้องการ
ประเมินวา่ เมือ่ เกิดปัญหาอยา่ งนี้แลว้ เขาแก้ปญั หาเรื่องนอ้ี ย่างไร เหตกุ ารณ์ เป็นอยา่ งไร
T = Task และในเหตุการณ์นั้นผู้รับการประเมินคนนั้นมีกิจกรรมในการแก้ปัญหา
อยา่ งไรบา้ งและจะทำอยา่ งไรบ้างในเหตุการณ์นัน้ ๆ
A = Action ผู้รับการประเมินคนนั้นมีกิจกรรมในการแก้ปัญหาอย่างไรบ้าง และจะ
ทำอยา่ งไรบ้างในเหตุการณน์ ั้น ๆ
R = Result ผลที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร ซึ่งผลที่ได้จากการสัมภาษณ์ในเชิงพฤติกรรม
จะเปน็ เคร่ืองมอื ในการพิสจู น์ว่า ผูร้ บั การประเมินคนน้ันมคี วามรู้ความสามารถ ในเรอื่ งน้ันจริงหรือไม่
3. การประเมินสมรรถนะนั้นผลการประเมินจะเป็นเรื่อง ๆ ไปไม่สามารถเฉลี่ยกัน ได้ว่าการมีระดับ
ความสามารถในสมรรถนะเรือ่ งนมี้ ากไปทดแทนสมรรถนะในเร่ืองท่ีขาดไมไ่ ด้ต้องพจิ ารณาเปน็ เรอื่ ง ๆ ไป
ผลการประเมินสมรรถนะจะบ่งชี้ให้เห็นถึงการปฏิบัติงานของแต่ละบุคคลจะมีระดับสมรรถนะที่
แตกต่างกัน ดังที่ ชนะ กสิภาร์ (2546) เสนอแนวคิดคุณสมบัติของนักเรียนอาชีวศึกษาแนวใหม่ (Thai
Vocational Qualifications: TVQ) 6 ระดับ แนวคิดดังกล่าวจัดให้สมรรถนะเป็นฐานและแบ่งเป็น 6 ระดับ
เป็นรูปแบบการพัฒนาตนที่เรียกว่า “การศึกษาและการฝึกอบรมฐานสมรรถนะ” (Competency-based
Education and Training) มรี ายละเอียดสมรรถนะแต่ละระดับ ดงั ตารางท่ี 6
หา้ มเผยแพร่ คัดลอก จัดทำสำเนา และอา้ งอิง โดยไมไ่ ดร้ บั อนุญาต
169
ตารางที่ 6 ระดับสมรรถนะและคำบรรยายระดบั สมรรถนะ
ระดับสมรรถนะ คำบรรยายสมรรถนะ
ระดบั 1
ระดบั 2 ทำงานประจำให้ได้ตามมาตรฐานการผลิตของอุตสาหกรรมและมาตรฐาน
ที่วิสาหกิจ กำหนดสามารถที่จะแสดงทักษะการเรียนรู้และการพัฒนา
ระดับ 3 ปรับปรุงตนเอง
ระดับ 4 งานที่ยากขึ้น หรืองานไม่ประจำที่ต้องรับผิดชอบด้วยตนเองบ้างหรือมี
ระดับ 5 อิสระในการทำ โดยปกติทำเป็นทีม สามารถที่จะแสดงทักษะการเรียนรู้
ระดับ 6 การพัฒนาปรับปรุง ตนเอง และแสดงร่องรอยหลักฐานการศึกษาแนว
ปฏบิ ัติที่ดีของสถานประกอบการ
งานที่ยากและงานที่ไม่ประจำที่ต้องรับผิดชอบพอสมควรและมีอิสระใน
การทำ โดยมคี นอน่ื ควบคมุ และแนะนำบ้าง สามารถท่จี ะแสดงทกั ษะการ
เรยี นรกู้ ารพฒั นา ปรบั ปรุงตนเอง
สามารถที่จะปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้างานหรือผู้บริหารระดับล่าง
และวธิ ีปรับปรุง กระบวนการอย่างต่อเน่อื ง
สามารถที่จะปฏิบัติงานในฐานะผู้บริหารระดับกลางซึ่งเกี่ยวข้องกับ
การจัดการคนอื่น ในการวางแผนที่สร้างสรรค์การจัดการโครงการและ
การพฒั นาบคุ ลากรมกี ารบันทึก การพัฒนาอาชพี อย่างต่อเน่อื ง
สามารถที่จะปฏิบัติงานในฐานะผู้บริหารระดับสูงซึ่งเกี่ยวข้องกับ
การวางแผน ยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการ การเงินของธุรกิจการ
ดำเนินการเปลีย่ นแปลง การปฏบิ ัตงิ านมกี ารบันทกึ การพัฒนาอาชีพอย่าง
ตอ่ เน่อื ง
ตารางท่ี 6 แสดงใหเ้ หน็ ว่าระดับสมรรถนะเร่ิมจากระดบั 1 ข้นั พืน้ ฐาน จนถึง ระดับ 6 แต่ละระดับจะ
ระบุความสามารถท่ีแตกตา่ งกันอย่างเด่นชัด โดยระดับ 6 เป็นระดับ ขั้นสงู สดุ ที่เป็นผบู้ ริหารในระดับสูงต้องใช้
ความรู้ความสามารถในการบรหิ ารจัดการขนั้ สงู
เทื้อน ทองแก้ว (2550) กล่าวว่า ระดับสมรรถนะ หมายถึง ระดับความรู้ทักษะและ คุณลักษณะซึ่ง
แตกตา่ งกนั แบง่ ออกเป็น 2 ประเภท คอื
1. แบบกำหนดเป็นสเกล (Scale) สมรรถนะแตล่ ะตวั จะกำหนดระดบั ความรู้ ทักษะและคุณลักษณะ
แตกต่างกันตามปัจจัยจะกำหนดเป็นตัวชี้บ่งพฤติกรรม (Behavioral Indicator) ที่สะท้อนถึงความสามารถใน
แต่ละระดับ (Proficiency Scale) โดยกำหนดเกณฑ์การจัดระดับ ความสามารถไว้ 5 ระดับ คือ 1) ระดับ
เริ่มต้น (Beginner) 2) ระดับมีความรู้บ้าง (Novice) 3) ระดับมีความรู้ปานกลาง (Intermediate) 4) ระดับมี
ความรสู้ งู (Advance) และ 5) ระดบั ความเชย่ี วชาญ (Expert)
ห้ามเผยแพร่ คดั ลอก จัดทำสำเนา และอา้ งองิ โดยไมไ่ ดร้ ับอนุญาต
170
2. แบบไม่กำหนดเป็นสเกล เป็นสมรรถนะที่เป็นพฤติกรรมเชิงความรู้สึก หรือ เจตคติที่ไม่ต้องใช้
สเกล เช่น ความซือ่ สตั ยค์ วามตรงต่อเวลา เปน็ ตน้
อาภรณ์ ใจเทย่ี ง (2551) ได้กลา่ วว่า การกำหนดระดบั ขั้นของสมรรถนะไดน้ ัน้ แบ่งเป็น
1. ขัน้ ความรู้ (Knowledge) เป็นขนั้ เริม่ ต้น หรอื เปน็ ข้นั พ้ืนฐาน (Basic Level)
2. ขั้นทกั ษะ (Skill) หรือเปน็ ขน้ั ประสบการณ์ (Experience Level)
3. ขน้ั เชยี่ วชาญ (Expert Level)
ฐิติพัฒน์ พิชญธาดาพงศ์ (2549) กล่าวว่า ระดับของสมรรถนะ เป็นการกำหนดระดับทักษะ ความรู้
ความสามารถของสมรรถนะ แบง่ ความสามารถออกเปน็ 5 ระดับ ดงั ตารางท่ี 7
ตารางที่ 7 ระดบั ความสามารถและคำบรรยายระดบั ความสามารถ
ระดับความสามารถ คำอธบิ ายระดบั ความสามารถ
(Proficiency (Proficiency Description)
Level)
L1 มีความรู้และทักษะในขั้นพื้นฐาน สามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติงาน
Beginner ประจำวันตามหน้าที่ ที่รับผิดชอบ และงานที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน รวบรวม
ข้อมูล ปญั หาอุปสรรค ทีพ่ บในการปฏิบตั ิงาน รวมทง้ั สามารถให้คำแนะนำ
เบอ้ื งต้นแกผ่ ู้เกยี่ วข้องได้
L2 มีความรู้และทักษะในปัจจัยต่าง ๆ ในรายละเอียด สามารถนำความรู้และ
Well-trained ทกั ษะที่มีมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานต่าง ๆ ไดอ้ ย่างเหมาะสม อธิบาย/
สอน สาธิตงาน ของตนให้ผู้อื่นได้รวมทั้งสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า/
L3 เบอื้ งตน้ ได้
Experienced มีความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานที่มีความซับซ้อนได้สามารถนำมาใช้
ปรับปรุง การปฏิบัติงานเพื่อสร้างเสริมผลการปฏิบัติงานที่ดีขึ้น สามารถ
L4 วางแผน ควบคุม ติดตามงาน และให้คำปรึกษาแนะนำกบั ผู้เกี่ยวข้องภายใน
Advanced องคก์ รได้
มีความรู้และทักษะในการปฏบิ ัตงิ านทซี่ ับซ้อนสงู สามารถนำมาประยุกต์ใช้
งานเชิงวิชาการ วางแผน การให้คำปรึกษาแนะนำภายนอกองค์กรได้
อธิบายภาพรวม ของหน่วยงานและสามารถกำหนด/พัฒนารูปแบบวิธีการ
ปฏิบัติงานใหม่ๆ รวบรวม/ ประยุกต์ใช้กระบวนการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ
รวมทั้งถา่ ยทอดแผนงานเชิงกลยุทธ์ ภายในองค์กรได้
ห้ามเผยแพร่ คดั ลอก จัดทำสำเนา และอ้างองิ โดยไมไ่ ดร้ บั อนุญาต
171
ระดับความสามารถ คำอธิบายระดับความสามารถ
(Proficiency (Proficiency Description)
Level)
L5 มีความเชี่ยวชาญ ชำนาญระดับสูง สามารถคิดในเชิงยุทธศาสตร์นโยบาย
Expert ประเมิน คาดการณ์แนวโน้ม การคิดค้นสร้างนวัตกรรม ถ่ายทอดกลยุทธ์สู่
การปฏิบัติรวมทั้ง เป็นที่ปรึกษา/คณะกรรมการระดับองค์กรวิชาชีพทั้ง
ภายในประเทศและหรือนานาชาติ
จากตารางท่ี 7 แสดงระดับความสามารถและคำบรรยายระดับความสามารถ ต้งั แต่ขน้ั L1 ซ่งึ มีความรู้
และทกั ษะในขัน้ พน้ื ฐาน ถงึ L5 มีความเชี่ยวชาญ ชำนาญระดบั สูง
สรุปได้ว่า การวัดและการประเมินผลควรกำหนดระดับสมรรถนะ เป็นการกำหนดระดับซึ่งจะบ่งชี้ถึง
ระดับความรู้ความสามารถ เจตคติในการปฏิบัติงาน โดยระดับความสามารถของสมรรถนะแต่ละระดับ จะ
แตกต่างกันตามลักษณะงานและความเหมาะสมที่แสดงถึงสมรรถนะในการปฏิบัติงานของแต่ละบุคคลท่ี
แตกต่างกันตามลำดับ มีลักษณะการประเมินที่เป็นระบบที่สอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอนฐาน
สมรรถนะโดยใช้เครื่องมือท่ีหลากหลายและมีการประเมินอย่างต่อเนื่อง ทัง้ น้ีผสู้ อนจะต้องนำเสนอจุดประสงค์
การเรียนรใู้ ห้ ผเู้ รียนทราบ มีเกณฑก์ ารประเมนิ ทชี่ ัดเจน วิธกี ารใหค้ ะแนนมีความยตุ ธิ รรม และผู้เรียนได้มีส่วน
ร่วมในการประเมิน เพื่อให้ผลที่ได้การวัดและประเมินผลมีความถูกต้องและตรวจสอบได้ และผลการประเมิน
จะสะท้อนสมรรถนะของผู้เรยี นทเ่ี กดิ จากการเรยี นรู้ของหลักสูตรฐานสมรรถนะไดอ้ ยา่ งแทจ้ รงิ
การประเมินเพื่อการเรียนรู้และการให้ขอ้ มลู ย้อนกลบั
Frey & Fisher (2011) กล่าวถึงการประเมินเพ่ือการเรยี นรู้ (Assessment for Learning) ในลกั ษณะ
ของ การประเมินการเรียนรู้ที่เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนการสอน โดยเสนอว่าการให้ข้อมูล
ย้อนกลับเป็นส่วนหนึ่งของระบบการประเมินระหว่างเรียน (Formative Assessment System) ที่มี
ประสทิ ธิภาพ ประกอบไปด้วยขัน้ 4 ขั้นตอนท่ีต่อเน่ืองกัน ได้แก่ 1) การให้ขอ้ มูลกระตนุ้ การเรยี นรู้ (Feed-Up)
2) การตรวจสอบความเข้าใจ (Checking for Understanding) 3) การให้ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback)
และ 4) การให้ข้อมูลเพื่อการเรียนรู้ต่อยอด (Feed-Forward) ซึ่งแต่ละขั้นตอนนั้นสามารถนำมาใช้เป็น
กระบวนการเรียนการสอนได้ดงั รายละเอยี ดต่อไปนี้
ข้ันท่ี 1 การให้ข้อมูลกระตุ้นการเรียนรู้ (Feed-Up) เปน็ ขัน้ ตอนแรกของระบบการประเมินระหว่าง
เรียนที่ทำให้นักเรียนเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ การให้ข้อมูลกระตุ้นการเรียนรู้นี้ประกอบไปด้วย 3 วิธีการ
ได้แก่ การกำหนดวตั ถปุ ระสงค์ การสร้างแรงจงู ใจ และการตง้ั เป้าหมาย ซึ่งแต่ละวธิ ีการมีรายละเอยี ด ดงั นี้
ห้ามเผยแพร่ คัดลอก จัดทำสำเนา และอ้างอิง โดยไม่ไดร้ บั อนุญาต
172
1. การกำหนดวตั ถปุ ระสงค์ ในการเรียนรแู้ ต่ละบทเรียน ครูจำเปน็ ตอ้ งใหข้ ้อมลู เกีย่ วกบั วตั ถุประสงค์
การเรยี นรแู้ ก่นกั เรียน โดยเชือ่ มโยงใหเ้ ห็นว่าบทเรยี นนน้ั มคี วามสำคญั และเกยี่ วข้องกบั ตวั นักเรยี น
2. การสร้างแรงจูงใจ ครูสร้างแรงจูงใจให้แก่นักเรียนโดยการชี้ให้เห็นว่ากระบวนการเรียนรู้
กระบวนการคิดของนักเรียนนั้นสามารถพัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงได้ รวมถึงกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความมุ่งมั่น
และความพยายามในการเรียนรู้
3. การตั้งเป้าหมาย เป้าหมายในการเรียนรู้มีหลายประเภทที่แตกต่างกัน ครูจำเป็นต้องช่วยให้
นักเรียนตั้งเป้าหมายที่เหมาะสมกับตนเอง เป้าหมายที่จะประสบความสำเร็จนั้นจะต้องสอดคล้องกับ
วัตถุประสงค์ท่กี ำหนด และนักเรยี นไดร้ บั แรงจงู ใจเพอื่ นำไปสูเ่ ป้าหมายทตี่ ้ังไว้
ขั้นที่ 2 การตรวจสอบความเข้าใจ (Checking for Understanding) การตรวจสอบความเข้าใจ
ในขั้นตอนนี้ไม่ใช่การประเมินเพื่อตัดสินผลการเรียนรู้ แต่เป็นการตรวจสอบความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของ
นักเรียนเพื่อนำไปกำหนดแนวทางการเรียนการสอนในครั้งต่อไป โดยทั่วไปแล้วครูใช้เทคนิคที่หลากหลาย
ในการตรวจสอบความเข้าใจแต่ละบทเรียน เฟรย์และฟิชเชอร์ (2007a อ้างถึงใน Frey & Fisher, 2011) ได้
นำเสนอแนวทางทค่ี รูส่วนใหญ่ใช้ตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียน ตัวอยา่ งเช่น การใชค้ ำถาม (Questioning)
การเขียนสรุปความ (Summary Writing) การนำเสนอ (Presentations) การใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิด (Think-
Pair-Share) การทดสอบสั้น (Short Quizzes) การเติมคำลงในช่องว่าง (Cloze and Maze Procedures)
เปน็ ต้น
ขั้นที่ 3 การให้ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) นักเรียนส่วนใหญ่ไม่เห็นคุณค่าของข้อมูลย้อนกลับ
เนื่องจากข้อมูลย้อนกลับที่นักเรียนได้รับนั้นไม่เพียงพอหรือไม่ได้เสนอแนะให้นักเรียนเพิ่มเติม ดังนั้นการให้
ข้อมูลย้อนกลับจึงต้องให้อย่างมีวัตถุประสงค์และเหมาะสมกับนักเรียนแต่ละคน การให้ข้อมูลย้อนกลับตาม
แนวคิดของเฟรย์และฟิชเชอร์แบ่งการให้ข้อมูลย้อนกลับออกเป็น 4 ระดับซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ใน
ขั้นตอนที่ 1 การให้ข้อมูลกระตุ้นการเรียนรู้ (Feed-Up) ประกอบไปด้วย การให้ข้อมูลย้อนกลับเกี่ยวกับงาน
(Feedback about the Task) การให้ข้อมูลย้อนกลับเกี่ยวกับกระบวนการทำงาน (Feedback about the
Processing of the Task) การให้ข้อมูลย้อนกลับเกี่ยวกับการกำกับตนเอง (Feedback about Self-
Regulation) และการใหข้ ้อมูลย้อนกลบั เกย่ี วกบั ตวั ตนของนักเรยี น (Feedback about the Self as a Person)
1. การให้ข้อมูลย้อนกลับเกี่ยวกับงาน (Feedback about the Task) คือการให้ข้อมูลย้อนกลับ
เกี่ยวกับการปฏิบัติงานของนักเรียน โดยครูจะระบุว่าคำตอบของนักเรียนนั้นถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง การให้
ข้อมูลย้อนกลับในระดับนี้เรียกว่าข้อมูลย้อนกลับเพื่อแก้ไข (Corrective Feedback) เป็นการให้ข้อมูล
ย้อนกลับที่ครูส่วนใหญ่นิยมใช้มากที่สุด ทั้งนี้ครูสามารถให้ข้อมูลย้อนกลับโดยระบุเฉพาะส่วนที่นักเรียนทำ
หา้ มเผยแพร่ คัดลอก จัดทำสำเนา และอ้างองิ โดยไมไ่ ดร้ ับอนญุ าต
173
ถูกต้อง หรือระบุเฉพาะส่วนที่เป็นข้อผิดพลาดของนักเรียน หรือชี้นำให้นักเรียนเห็นข้อผิดพลาดและแก้ไข
ข้อผิดพลาดนนั้ ให้ถกู ต้องด้วยตนเอง ตวั อยา่ งของการให้ข้อมลู ย้อนกลับเพ่ือแก้ไข เช่น “คำตอบของนักเรียนที่
ตอบว่า 12 นั้นถูกต้องแล้ว” “นักเรียนควรอ่านข้อความในย่อหน้าที่ 3 อีกครั้งเนื่องจากยังตอบคำถามผิด”
เป็นต้น
2. การให้ข้อมูลย้อนกลับเกี่ยวกับกระบวนการทำงาน (Feedback about the Processing of the
Task) ข้อมูลย้อนกลับในระดับนี้มุ่งเน้นไปทีก่ ระบวนการที่นักเรียนใช้ทำงานหรือปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมาย
ให้เสร็จสมบูรณ์ ครูสามารถให้ข้อมูลย้อนกลับโดยการเสริมต่อการเรียนรู้ (Scaffold) ให้นักเรียนใช้
กระบวนการทำงานน้นั ดว้ ยความชำนาญข้ึน หรอื นำไปปรับใช้กับการปฏิบัตงิ านอ่นื และพฒั นาใหก้ ระบวนการ
ดังกล่าวเป็นกระบวนการทำงานของตนเอง ตัวอย่างของการให้ข้อมูลย้อนกลับในระดับนี้ เช่น “นักเรียนใช้
ขนั้ ตอนแรกและข้นั ตอนสุดท้ายเพือ่ แกส้ มการนัน้ ใช่หรือไม่” “นกั เรยี นมีวธิ ีการสรุปคำตอบจากการระดมสมอง
อย่างไร” เป็นตน้
3. การให้ข้อมูลย้อนกลับเกี่ยวกับการกำกับตนเอง (Feedback about Self-Regulation) การให้
ข้อมูลย้อนกลับในระดับนี้เกี่ยวข้องกับการประเมินตนเองของนักเรียน ครูให้ข้อมูลเพื่อให้นักเรียนประเมิน
ความรู้ ความสามารถ และผลสัมฤทธิ์ด้วยตนเอง วิธีการนี้นักเรียนจะต้องควบคมุ พฤติกรรมการทำงานของตน
เพอ่ื นำไปสเู่ ป้าหมายทตี่ ้ังไว้ ตัวอย่างของการให้ข้อมลู ย้อนกลับประเภทน้ี เชน่ “ครสู ังเกตวา่ การมสี ่วนร่วมของ
นักเรยี นส่งผลใหท้ กุ คนในกลุ่มเขา้ ใจ” “ครคู ิดว่าสงิ่ ทนี่ กั เรยี นตั้งใจทำสำเร็จแลว้ ใช่ไหม” เป็นต้น
4. การให้ข้อมูลย้อนกลับเกี่ยวกับตัวตนของนักเรียน (Feedback about the Self as a Person)
การให้ข้อมูลย้อนกลับในระดับน้ีเน้นไปท่ีการยกย่องหรือชมเชยนักเรียนเพื่อให้นักเรียนเปลี่ยนแปลงตนเอง
ทั้งในด้านความพยายาม ความสนใจ การมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ และการรับรู้ความสามารถของตนเอง ทั้งนี้
การให้ข้อมูลย้อนกลับในระดับน้ีควรเน้นให้นักเรียนเกิดความมุ่งมั่นในการทำงาน หรือควบคุมตนเองเพื่อ
ทำงานนั้นให้สำเร็จ ดังนั้นข้อมูลย้อนกลับประเภทนี้จึงมักปรากฏควบคู่กับการชื่นชมผลงาน เช่น “นักเรียนมี
ความมุ่งม่ันตั้งใจที่ดีมากเพราะครูสังเกตว่านักเรียนทำงานนี้มาหลายนาทีแล้ว” “เธอเป็นนักเรียนที่ยอดเยี่ยม
มากเพราะเธอใหค้ วามสำคัญกบั การทำงานกล่มุ จนประสบผลสำเร็จ” เปน็ ตน้
นอกจากการพิจารณาระดับของข้อมูลย้อนกลับแล้ว ครูต้องพิจารณาเกี่ยวกับกลุ่มเปรียบเทียบใน
การให้ข้อมูลย้อนกลับ ครูสามารถให้ข้อมูลย้อนกลับโดยการเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดขึ้น เปรียบเทียบ
กับเกณฑ์มาตรฐาน หรือเปรียบเทียบกับนักเรียนเป็นรายบุคคล ทั้งนี้การให้ข้อมูลย้อนกลับที่มีประสิทธิภาพ
ต้องคำนึงถึงเกณฑ์ 4 ข้อ ได้แก่ (1) ตรงตามเวลา (2) มีความเฉพาะเจาะจง (3) เข้าใจได้ และ (4) สามารถ
ดำเนินการได้ ทั้งนี้การให้ข้อมูลย้อนกลับสามารถดำเนินการได้ 3 รูปแบบ ได้แก่ การให้ข้อมูลย้อนกลับด้วย
ห้ามเผยแพร่ คดั ลอก จัดทำสำเนา และอ้างองิ โดยไมไ่ ดร้ ับอนญุ าต
174
วาจา (Oral Feedback) การใหข้ อ้ มูลย้อนกลบั ดว้ ยลายลักษณ์อักษร (Written Feedback) และการให้ข้อมูล
ยอ้ นกลับโดยเพอ่ื นนกั เรยี น (Peer Feedback)
อยา่ งไรก็ตามการให้ข้อมูลย้อนกลับบางคร้ังเป็นข้อมูลทธี่ รรมดา นักเรยี นอาจไมเ่ ข้าใจข้อมูลย้อนกลับ
ที่ได้รับ หรือข้อมูลย้อนกลับที่ได้รับมาจะนำไปใช้พัฒนาหรือปรับปรุงตนเองอย่างไร ดังนั้นการให้ข้อมูล
ย้อนกลับ (Feedback) จึงตอ้ งให้รว่ มกับการใหข้ อ้ มลู เพื่อการเรยี นร้ตู ่อยอด (Feed-Forward) ในขน้ั ตอ่ ไป
ขั้นที่ 4 การให้ข้อมูลเพื่อการเรียนรู้ต่อยอด (Feed-Forward) เป็นขั้นตอนที่มุ่งเน้นการชี้แนะ
แนวทางและวิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับนักเรียนเป็นรายบุคคล โดยครูใช้คำถามกระตุ้นให้นักเรียนท บทวน
ตนเองเกี่ยวกับประเด็นที่ไม่ทราบ ประเด็นที่สับสน และประเด็นที่เข้าใจคลาดเคลื่อน เพื่อให้นักเรียนเรียนรู้
ดว้ ยตนเอง (Self-Learning) เพิ่มเติมและนำไปพฒั นาการเรยี นรูต้ ่อไป การให้ข้อมูลเพื่อการเรียนรู้ต่อยอดน้ียัง
รวมไปถงึ การเพ่มิ แรงบันดาลใจ การให้กำลงั ใจ และการเสรมิ พลังการเรียนร้แู กน่ ักเรยี น
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา (2560) ได้นำเสนอแนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิด
การให้ข้อมูลย้อนกลับ อ้างอิงตามแนวคิดการให้ข้อมูลย้อนกลับของเฟรย์และฟิชเชอร์ ซึ่งมีรายละเอียดตาม
ภาพตอ่ ไปน้ี
หา้ มเผยแพร่ คดั ลอก จัดทำสำเนา และอา้ งองิ โดยไมไ่ ดร้ บั อนุญาต
175
การจดั การเรยี นร้โู ดยใช้แนวคิดการใหข้ ้อมลู ยอ้ นกลับ
ขนั้ นำ การกระตุ้นและการสรา้ งแรงจูงใจในการเรยี นรู้
ขั้นสอน - การสงั เกต
- ซักถาม
- การแสดงออก
- กจิ กรรม
การตรวจสอบความเขา้ ใจ
- การสงั เกต ซกั ถาม
- การพูด การนำเสนอ
- การเขยี น
- กระบวนการทำงาน
- โครงงาน
การใหข้ อ้ มูลยอ้ นกลับ
- ภาระงาน
- กระบวนการภาระงาน
- การควบคุมตนเอง
- การเปน็ ตวั ตนของตนเอง
การใหข้ อ้ มูลยอ้ นกลับเพอ่ื กระตุ้นความกา้ วหนา้
ในการเรยี น
- ครูและนกั เรียนสะท้อนผลการประเมิน
ข้นั สรปุ ตนเอง การให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อ
กระต้นุ ความก้าวหนา้ ในการเรียน
- การเสรมิ แรงเพ่อื การปรบั ปรงุ พฒั นา
เรียนรู้ตอ่ ยอด
ภาพท่ี 12 การจัดการเรียนรโู้ ดยใชแ้ นวคิดการให้ขอ้ มูลยอ้ นกลับ
(สำนกั วิชาการและมาตรฐานการศกึ ษา, 2560)
หา้ มเผยแพร่ คัดลอก จัดทำสำเนา และอ้างองิ โดยไม่ไดร้ บั อนุญาต
176
จากแผนภาพข้างต้นจะเห็นได้ว่า การจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการให้ข้อมูลย้อนกลับตามแนวทาง
ของสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษานั้น ได้นำแนวคิดการใหข้ ้อมูลย้อนกลบั ของเฟรย์และฟิชเชอร์มาใช้
ครบทั้ง 4 ขั้นตอน กล่าวคือในขั้นนำ ใช้ขั้นตอนที่ 1 การให้ข้อมูลกระตุ้นการเรียนรู้ (Feed-Up) ขั้นสอนใช้
ขั้นตอนที่ 2 การตรวจสอบความเข้าใจ (Checking for Understanding) และขั้นตอนที่ 3 การให้ข้อมูล
ย้อนกลบั (Feedback) สำหรบั ขัน้ สรุป ใชข้ ้ันตอนท่ี 4 การให้ข้อมลู เพ่ือการเรียนรตู้ อ่ ยอด (Feed-Forward)
จากการศึกษาเกี่ยวกับแนวคิดข้อมูลย้อนกลับ ผู้วิจัยจึงสรุปได้ว่าแนวคิดการให้ข้อมูลย้อนกลับของ
เฟรย์และฟิชเชอร์เป็นส่วนหนึ่งของระบบการประเมินระหว่างเรียนที่มีประสิทธิภาพ ประกอบไปด้วยขั้นตอน
4 ข้นั ตอน ดังตอ่ ไปนี้
ขั้นที่ 1 การให้ข้อมูลกระตุ้นการเรียนรู้ (Feed-Up) เป็นการให้ข้อมูลพื้นฐานของการเรียนรู้ ได้แก่
จุดประสงค์การเรียนรู้ ภาระงาน และวิธีการประเมินผลที่ชัดเจน นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการตั้งเป้าหมายใน
การเรยี นรแู้ ละการสร้างแรงจงู ใจให้แกน่ กั เรยี น
ขัน้ ท่ี 2 การตรวจสอบความเข้าใจ (Checking for Understanding) เป็นการประเมนิ ส่ิงท่ีนักเรียนได้
เรียนรู้เพื่อพิจารณาความก้าวหน้าของนักเรียนตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยใช้วิธีการที่หลากหลายใน
การตรวจสอบความเข้าใจ
ขั้นที่ 3 การใหข้ ้อมูลยอ้ นกลบั (Feedback) เปน็ การใหข้ ้อมลู สารสนเทศเกี่ยวกับความสำเร็จและสิ่งที่
จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาหรือปรับปรุงแก้ไขแก่นักเรียน โดยการให้ข้อมูลย้อนกลับมีทั้งหมด 4 ระดับ ได้แก่
1) การให้ข้อมูลย้อนกลับเกี่ยวกับงาน 2) การให้ข้อมูลย้อนกลับเกี่ยวกับกระบวนการทำงาน 3) การให้ข้อมูล
ยอ้ นกลบั เกี่ยวกับการควบคุมตนเอง และ 4) การใหข้ ้อมูลย้อนกลบั เกยี่ วกับตวั ตนของนักเรียน
ขั้นที่ 4 การให้ข้อมูลเพื่อการเรียนรู้ต่อยอด (Feed-Forward) เป็นการให้ข้อมูลภายหลังการเรียนรู้
เพื่อให้นักเรียนทบทวนสิ่งที่นักเรียนยังเข้าใจคลาดเคลื่อน หรือทบทวนเพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดในงานของตน
รวมถงึ การให้กำลังใจหรอื คำแนะนำแกน่ ักเรยี นเพอื่ นำไปพฒั นาการเรยี นรตู้ ่อไป
หากครูหรือผู้สนใจศึกษาข้อมูลทัง้ หมดขา้ งตน้ นี้กจ็ ะช่วยให้เหน็ แนวทางและได้แนวความคดิ ใน
การออกแบบการประเมินฐานสมรรถนะย่ิงข้ึน
ห้ามเผยแพร่ คดั ลอก จัดทำสำเนา และอ้างองิ โดยไมไ่ ดร้ ับอนญุ าต
177
รายการอา้ งอิง
ขจรศักด์ิ ศริ ิมัย. (2554). เรอื่ งน่ารู้เก่ยี วกับสมรรถนะ [ออนไลน์]. เขา้ ถึงได้จาก
http://competency.rmutp.ac.th/wp-content/uploads/2011/01/aboutcompetency.pdf
ทิศนา แขมมณ.ี (2562). องค์ประกอบสำคญั ของสมรรถนะ. โปรแกรมนำเสนอ.
ทศิ นา แขมมณี และคณะ. (2562). เข้าใจสมรรถนะอย่างง่าย ฉบบั ประชาชน เข้าใจหลักสตู รฐานสมรรถนะ
อย่างง่าย ฉบับครู ผ้บู รหิ าร และบุคลากรทางการศึกษา. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา: บริษัท
21 เซนจูรี่ จำกดั .
เทอ้ื น ทองแก้ว. (2550). สมรรถนะ(Competency): หลักการและแนวปฏิบัต.ิ กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราช
ภัฏสวนดสุ ิต.
วิชัย วงใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2562). การประเมินตามสภาพจริงอิงสมรรถนะ (Authentic
competency-based assessment). กรงุ เทพฯ: ศูนย์ผูน้ ำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนร้.ู
สำนกั วชิ าการและมาตรฐานการศึกษา. (2551). แนวทางในการจัดทำกรอบหลกั สูตรระดับทอ้ งถ่ิน ตาม
หลกั สตู รแกนกลางการศึกษาข้ันพนื้ ฐาน พทุ ธศักราช 2551. สืบค้นจาก
http://nptedu.go.th/nites/NPT%20Local%20Cur/intro.pdf
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศกึ ษาแหง่ ชาต.ิ (2542). คู่มือการประกนั คุณภาพของสถานศึกษา.
กรงุ เทพฯ: โรงพมิ พ์คุรสุ ภาลาดพรา้ ว.
สำนกั งานราชบัณฑิตยสภา. (2561). พจนานกุ รมศัพทศ์ ึกษาศาสตร์ร่วมสมยั ชุดการประเมิน การวจิ ัยและ
การประกันคณุ ภาพ. กรงุ เทพฯ : สำนักงานราชบัณฑิตยสภา.
สำนักงานเลขาธกิ ารสภาการศกึ ษา. (2562). รายงานผลการวิจยั และพัฒนากรอบสมรรถนะผเู้ รียนระดับ
ประถมศกึ ษาตอนต้นสำหรับหลกั สตู รการศึกษาข้ันพื้นฐาน. สำนักมาตรฐานการศึกษาและ
พัฒนาการเรียนรู้ สำนกั งานเลขาธกิ ารสภาการศึกษา.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศกึ ษา. (2562). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะผเู้ รยี นระดับการศึกษาข้นั พืน้ ฐาน
สำนกั มาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สำนกั งานเลขาธกิ ารสภาการศึกษา. (2562). กรอบสมรรถนะหลกั ผเู้ รียนระดบั การศกึ ษาขัน้ พนื้ ฐานและ
ระดบั ประถมศกึ ษาตอนต้น (ป.1-3). สำนักมาตรฐานการศึกษาและพฒั นาการเรียนรู้ สำนักงาน
เลขาธกิ ารสภาการศึกษา.
ห้ามเผยแพร่ คดั ลอก จัดทำสำเนา และอา้ งองิ โดยไมไ่ ดร้ บั อนุญาต